Bon voyage penang september2013

Page 1


BON VOYAGE

เรื่อง / ภาพ piyalak nakayodhin

170 ● IMAGE SEPTEMBER 2013 ●


ขบวนรถไฟสายกรุงเทพฯ-บัตเตอร์เวอร์ธ น�ำเราสู่จุดหมายปลายทาง ที่รัฐปีนังแห่งประเทศมาเลเซียเฉก เช่นที่เคยพาเราเยือนเมื่อสิบปีที่แล้ว ภายในตู้นอนปรับอากาศของรถไฟ ไทยดูราวกับไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง บรรยากาศยังให้ความคลาสสิกของ การเดินทางเคลือ่ นช้าไปบนรางเหล็ก อาจต่ า งกันที่ผู้โดยสารง่วนอยู่กับ โทรศั พ ท์ มือ ถือ มากกว่า หนังสือ บทสนทนา หรือทิวทัศน์ด้านนอกที่ ดอกไม้สะพรั่งบานรับหน้าร้อนที่ผ่าน มา ด้วยตัวเลขอุณหภูมิยามบ่ายแสน ใจร้าย 39 องศาเซลเซียส

ขวักไขว่มาก อีกวิธีคือนั่งเรือเฟอร์รี่จากท่าเรือ บัตเตอร์เวอร์ธบริเวณสถานีรถไฟฯ (ค่าบริการ 1.20 ริงกิตต่อคน รถยนต์ 7.70 ริงกิต) มาถึงตัวเกาะ ปีนังที่จอร์จทาวน์ (George Town) เมืองหลวง ของรัฐปีนัง จากนั้นจะนั่งแท็กซี่ รถเมล์ หรือเดิน ก็แล้วแต่สะดวก จะให้ดี ใช้สิทธิ์รถเมล์ฟรี (CAT (Central Area Transit) free shuttle) ที่เทศบาล ปีนังจัดไว้ให้ สังเกตป้ายด้านหน้ารถเขียนว่า Hop On FREE ที่ผ่านป้ายรถเมล์ด้านหน้าท่า เรือ (George Town Ferry Terminal) บรรดาผู้ ที่อาศัยในปีนังนั่งรถเมล์ฟรีสายนี้มากพอๆ กับ นักท่องเทีย่ วทีไ่ ม่ตอ้ งไปซือ้ ตัว๋ รถน�ำเทีย่ ว Hop On Hop Off เช่นเมืองท่องเที่ยวอื่นๆ เพราะแล่นไป ตามถนนสายส�ำคัญและสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ของเมืองหลวง จอร์จทาวน์ไม่ใช่เมืองใหญ่โต แต่อัดแน่น

รถไฟจอดสถานีปาดังเบซาร์ ใ นสายวั น ต่ อ มา ผู ้ โ ดยสารต้ อ งถื อ สั ม ภาระ ลงไปผ่ า นด่ า นตรวจคน เข้ าเมื อ ง ประทับตราออก จากประเทศไทย แล้วเดิน ไ ป อี ก ด ้ า น เ พื่ อ ป ร ะ ทั บ ตราเข้ า ประเทศมาเลเซี ย กลับขึ้นมานั่งโบกี้เดิม แต่ เจ้ า หน้ า ที่ แ ละผู ้ โ ดยสาร ชุ ด ใหม่ ต ่ า งสั ญ ชาติ กั น แล้ว แม้วิวสองข้างทางยัง คงเป็นท้องทุ่งเกษตรกรรม แซมแทรกด้ ว ยบ้ า นเรื อ น ไม่ แ ตกต่ า งระหว่ า งไทยมาเลเซีย แต่ดูเหมือนการ รถไฟมาเลเซี ย เตรี ย มช่ อ ง ทางรองรับการเข้าร่วมประชาคมอาเซียนไว้ไม่ มากก็น้อย การก่อสร้างขยับขยายเส้นทางรถไฟ อาคารสถานีรถไฟบางแห่งใหม่เอี่ยมรอเปิดใช้ งานเต็ ม อั ต รา ขณะที่ อ าการเหนื่ อ ยหอบของ ผู ้ โ ดยสารหลากสั ญ ชาติ จ ากการยกสั ม ภาระ เดินขึ้นลงสะพานลอยไปยังท่าเรือเฟอร์รี่ข้ามไป ยังเกาะปีนงั คงเป็นเพียงความไม่สะดวกชัว่ คราว ระหว่างการปรับปรุงสถานีรถไฟบัตเตอร์เวอร์ธ (Butterworth) จุดคมนาคมหลักของรัฐปีนัง อัน ประกอบไปด้วยเกาะปีนงั (ภาษามาเลย์คอื Pulau (เกาะ) Pinang) ในช่องแคบมะละกา และแผ่นดิน ใหญ่มาเลเซียในเขตจังหวัดเวลเลสลีย์ (Province Wellesley ภาษามาเลย์เรียก Seberang Parai) เชื่อมถึงกันด้วยสะพานปีนังยาว 13.5 กิโลเมตร หากขับรถเข้าเกาะปีนังผ่านสะพานปีนัง ต้องจ่ายค่าธรรมเนียม (มอเตอร์ไซค์ 1.40 ริงกิต รถเก๋งสี่ล้อ 7 ริงกิต) ขาออกไม่ต้องจ่าย แต่พึง หลีกเลี่ยงชั่วโมงเร่งด่วนช่วงเช้าและเย็นซึ่งรถรา

ด้ว ยรูป รส กลิ่น เสียงของวิถีชีวิตผู้คนหลาก เชื้อชาติหลายศาสนานานาวัฒนธรรมที่ทับซ้อน อยู่ร่วมกันอย่างสมานฉันท์ ประจักษ์พยานชัด แจ้งอยู่ที่ Street of Harmony เส้นทางเดินหนึ่ง กิโลเมตรพาดผ่านชุมชนและศาสนสถานตั้งแต่ คริสต์ พุทธ เต๋า ขงจื๊อ ฮินดู อิสลาม เริ่มตั้งแต่โบสถ์อัสสัมชัญ (Cathedral of the Assumption และ St.George’s Church) บนถนนฟาร์กฮู าร์ (Lebuh (ถนนในภาษามาเลย์) Farquhar) ไปจนถึงสุเหร่ามาเลย์ (Malay Mosque) ที่ถนนมัสยิด กาปิตาน เกลิง (Jalan Masjid Kapitan Keling) โดยเฉพาะศาลเจ้าแม่กวนอิม (Goddess of Mercy Temple) วัดแขก (Sri Mariamman Temple) และสุ เ หร่ า Kapitan Keling Mosque ซึ่งตั้งอยู่ใกล้กันมาก ไม่นับว่าตรงข้าม ศาลเจ้าแม่กวนอิมคือ Little India ทีม่ ไิ ด้เฉพาะคน อินเดียเท่านั้น แต่คนจีน คนมาเลย์ นักท่องเที่ยว ต่างชาติล้วนเดินพลุกพล่าน และจะว่าไป ห้วง

แห่งการเดินเทีย่ วอยูใ่ นจอร์จทาวน์คอื ชีวติ ชีวาอัน หลากหลายที่ผสมปนเปด้วยควันธูป กลิ่นก�ำยาน เสียงเรียกละหมาด ไอพวยพุ่งจากหม้อต้มน�้ำซุป บะหมี่ คนซือ้ คนขายต่อรองราคา เสียงปีน๊ ปีน๊ เรียก ผู้โดยสารของรถสามล้อที่ตกแต่งพู่ดอกไม้ให้รถ ดูวิลิศมาหราเพื่อน�ำพาผู้โดยสารซอกแซกตรอก ซอยและถนนหนทางที่อาคารบ้านเรือน สถานที่ ราชการในสถาปัตยกรรมสไตล์โคโลเนียลยังคง ตระหง่านให้ย้อนถึงวันวาน สภาพบ้านเมืองของจอร์จทาวน์คล้ายคลึง กับเขตเมืองเก่าภูเก็ตบ้านเรา เพียงแต่อาคาร สไตล์โคโลเนียลหลงเหลืออยู่บนถนนสามสี่เส้น ในภูเก็ต แต่จอร์จทาวน์คอื ทัง้ เมือง โดยเฉพาะเมือ่ จอร์จทาวน์ได้รับการขานชื่อเป็นแหล่งมรดกโลก เมื่อปี ค.ศ. 2008 ร่วมกับมะละกาในฐานะเมือง ประวัติศาสตร์แห่งช่องแคบมะละกา (Melaka and George Town, Historic Cities of the Straits of Malacca) ที่พัฒนาความเป็น ศูนย์กลางแลกเปลีย่ นการค้า และวัฒนธรรมระหว่างโลก ตะวั น ออกกั บ ตะวั น ตกจน เป็นเมืองท่าหลากวัฒนธรรม ด้วยสถาปัตยกรรมและภูมิทัศน์เมืองอันเป็นเอกลักษณ์ สะท้อนยุคสมัย ขณะที่มะละการุ่งเรืองใน ช่วงศตวรรษ 15 และยุคที่ โปรตุเกสกับดัตช์เข้ามาตอน ต้นศตวรรษ 16 จอร์จทาวน์ ก็เผยให้เห็นยุคอังกฤษจาก ปลายศตวรรษ 18 ทางการ ปีนังเล็งเห็นถึงมรดกตกทอด ทางประวัติศาสตร์ที่ไม่อาจ ปล่อยให้สูญหายไปได้ จึงออกนโยบายก�ำหนด พื้นที่อนุรักษ์ไปพร้อมกับการวางผังเมืองตั้งแต่ ในยุค 1970s ซึ่งกว่าจะเป็นรูปเป็นร่าง เห็นผล ก็อาศัยเวลาเป็นสิบๆ ปี จนในช่วงต้นยุค 1990s โครงการบูรณะปรับปรุงอาคารต่างๆ ถึงเรียก ความสนใจจากชาวเมือ งที่ตื่นตัวปกปักรักษา และเห็นคุณค่าในมรดกตกทอดของเมือง อันน�ำ มาสู่การปรับโฉมอาคารสถานที่ราชการ แมนชั่น หรือแม้แต่ห้องแถวของชาวบ้านที่อย่างน้อยก็ยัง ไม่โดนทุบท�ำลายไปมากนัก ห้องแถวสองสามชั้นสไตล์โคโลเนียลบาง หลังสีซีด เก่าคร�่ำ แต่คราบเปรอะเปื้อนที่ก�ำแพง เหล่านัน้ ก็เหมือนเป็นลายแทงบอกเล่าเรือ่ งราวแต่ หนหลัง บางบ้านได้รับการตกแต่ง ทาสีใหม่ เพิ่ม ความสดใสให้ความเก่า บ้างกลายเป็นตึกเรียบๆ ดูน่าเบื่อแบบสมัยปัจจุบัน แต่ก็นั่นแหละ การ ดูแลรักษาอาคารเก่าแก่มาพร้อมกับค่าใช้จา่ ยสูง ทีห่ ลายคนต้องยอมแพ้ ผูม้ สี ตางค์สกั หน่อย บ้างมี ●

IMAGE SEPTEMBER 2013

171


จิตใจอนุรักษ์ควบคู่งานบริการ บ้างผลักดันธุรกิจ ด้วยความอยาก ก็อาศัยไปซือ้ หรือเช่าตึกแถวบ้าง แมนชั่นบ้าง แล้วปรับปรุงเป็นที่พัก ร้านกาแฟ บาร์ แกลเลอรี่ พิพิธภัณฑ์ ร้านค้า สองเท้าจึงเป็น พาหนะดียิ่งในการเดินชมเมืองมรดกโลกที่ถนน หนทางไม่ได้กว้างขวาง ทั้งมีซอยเล็กตรอกน้อย ให้ซอกซอนเสาะหา เช่นเดียวกับสองล้อที่เลน จักรยานมีมานานแล้วทั่วเมือง บ่งให้รู้ว่าปีนังไม่ ได้มองจักรยานเป็นเพียงพาหนะทางเลือก อากาศร้อนเหลือหลายด้วยอุณหภูมิเฉียด สี่สิบองศาเซลเซียสตลอดสัปดาห์ที่เราตกหล่ม หลงใหลอยู่ในเกาะปีนัง อาการปาดเหงื่อ เสื้อ เปียก ครีมกันแดดแทบเอาไม่อยู่ ตามหลอกหลอน ทุกก้าวย่าง ไม่เว้นแม้ยามอาศัยสายลมให้พัด วูบระหว่างปั่นจักรยาน แต่นั่นก็ทดแทนด้วยสิ่ง ประเมินค่าไม่ได้ของประสบการณ์อนั เพลินเพลิด กับความรูส้ กึ ชืน่ ชมทีป่ นี งั น�ำพาอดีตให้เดินเคียงคู่ ปัจจุบันและอนาคต ไม่จ�ำเป็นต้องก่อสร้างอะไร ใหม่ (แต่อาคารห้างสรรพสินค้าใหญ่โตก�ำลังเกิด ขึ้นในเขตเมืองชั้นนอก และการปรับปรุงก่อสร้าง ในเขตเมืองชั้นในคงเป็นเรื่องหลีกเลี่ยงไม่ได้) แค่ รักษาสิ่งที่มีอยู่ และน�ำมาปรับใช้ด้วยความคิด สร้างสรรค์ ทีแ่ น่ๆ ตอบโจทย์เทรนด์ยคุ ถ่ายรูปแล้วแบ่ง ปันในโซเชียล มีเดียได้อย่างดีเยี่ยมด้วยแผนที่ เส้นทางศิลปะ (Street Art in George Town) ให้ นักท่องเที่ยวตามไปเก็บรูปให้ครบ ผลพวงจาก George Town Festival 2012 เทศกาลศิลปะ ดนตรี ละคร เต้นร�ำ โอเปร่า ภาพยนตร์ตลอดหนึ่ง เดือนช่วงมิถุนายนถึงกรกฎาคมซึ่งเริ่มมาตั้งแต่ปี 2010 เพื่อฉลองจอร์จทาวน์เป็นแหล่งมรดกโลก (ครั้งล่าสุดจัดขึ้นวันที่ 7 มิถุนายนถึง 7 กรกฎาคม ค.ศ. 2013) คือโครงการศิลปะบนท้องถนนชุด Mirrors George Town โดย Ernest Zacharevic ที่วาดภาพลงบนผนังและก�ำแพงอาคารหลาย แห่งในจอร์จทาวน์ มุ่งหมายให้ศิลปะเข้าถึงทุก ผู้นามได้ง่าย และดึงภาพความทรงจ�ำเก่าๆ ให้ เติบโตขึ้นในเมือง จิตรกรรมฝาผนังของศิลปินชาวลิทวั เนียคน นี้จึงเป็นรูปคนขับสามล้อ (Trishaw Man) เด็ก บนเก้าอี้ (Boy on Chair) เด็กขี่จักรยานซ้อนท้าย (Kids on Bicycle) ซึ่งนักท่องเที่ยวก็ไม่ใช่แค่ไป ถ่ายรูปด้วยเฉยๆ แต่คิดหาท่าทางที่มีปฏิสัมพันธ์ กับรูปภาพไปด้วย เช่น ไปยืนฉุดรั้งจักรยานไม่ให้ ขี่ไปได้บ้างละ หรือภาพ Old Motorcycle ที่วาด หนุ่มน้อยบนประตูสีแดงในท่านั่งมอเตอร์ไซค์ คันจริงๆ ที่ผูกยึดไว้แน่นหนากับผนัง ก็มีศิลปิน นิรนามมาวาดรูปไดโนเสาร์ไว้ข้างผนัง ศิลปิน ซัคคาเรวิกก็โต้ตอบด้วยการวาดเด็กน้อยและ เส้นเชือกจากตัวไดโนเสาร์ ประหนึ่งหนูน้อยพา 172 ● IMAGE SEPTEMBER 2013 ●

ไดโนเสาร์มาเดินเล่น (ภาพเด็กและไดโนเสาร์ ค่อนข้างเลือนรางแล้ว) นีแ่ หละคือความสนุกของ ศิลปะบนท้องถนน อารมณ์ขันของชาวปีนังยังปรากฏอยู่ริม ขอบถนนด้วย Welded Iron Wall Caricatures ประติมากรรมโลหะดัดเชื่อมเป็นรูปร่างและตัว หนังสือบอกเล่าประวัติของถนนสายนั้นๆ (ตาม โครงการฯ มีทงั้ สิน้ 52 ชิน้ ทยอยติดตัง้ แล้วมากกว่า ครึ่ง) เช่น ชิ้นงาน Jimmy Choo เด็กน้อยกับ รองเท้าส้นสูงข้างก�ำแพงบ้านหลังหนึ่งที่ถนนลีท ตัดถนนมันตรี (Lebuh Leith / Lebuh Muntri) ที่ ซึ่งเด็กหนุ่มมาเรียนท�ำรองเท้าเป็นแห่งแรกก่อน จะเติบโตเป็นนักออกแบบรองเท้าชือ่ ดังระดับโลก (จิมมี่ ชูเกิดทีป่ นี งั และยังคงสนับสนุนกิจกรรมใน เมืองเกิดอยู่เสมอ) หรือ Kopi ‘O’ ที่ซอยคิมเบอร์ลี (Lorong Kimberley) บอกเล่ายุคสมัยได้เห็นภาพ เมือ่ ลูกค้าสัง่ กาแฟดับเบิลช็อต ดีแคฟ เอสเปรสโซ่ คุณป้าผู้รับออเดอร์ก็แค่ตะโกนค�ำเดียว “กาแฟ!” เสียงร�ำ่ ลือถึงสตรีตฟูด้ ของปีนงั โด่งดังไม่แพ้ บ้านเรา แผงขายอาหารสองข้างทางหรือที่ชาว ปีนังเรียกกันว่า hawker food เพราะขั้นตอนการ ตระเตรียมอาหารยังใช้วิธีเดิมๆ ที่สืบทอดกันมา หลายชั่วอายุ คนขายขับรถเข็นออกไปตามท้อง ถนนร้องตะโกนเรียกคนซื้อ หรือไม่ก็เข็นรถออก มาขายที่ตลาด ในเมื่อปีนังเต็มไปด้วยผู้คนหลาย เชือ้ ชาติ อาหารจึงมีสารพัด ทัง้ ข้าว ก๋วยเตีย๋ ว ขนม ของกินเล่น ทั้งแบบมาเลย์ จีน (ซึ่งก็มีหลายเผ่า พันธุ์ เช่น ฮกเกี้ยน กวางตุ้ง แต้จิ๋ว) อินเดีย และ เพอรานากัน (Peranakan หรือ Nyonya Food) อาหารลูกผสมระหว่างมาเลย์กับจีนโดยกลุ่มชน เพอรานากัน ซึง่ ก็คอื ลูกหลานทีเ่ กิดจากบรรพบุรษุ เชื้อสายจีนและคนท้องถิ่นมาเลย์ (แบบเดียวกับ เพอรานากันที่ภูเก็ต) มีขนบธรรมเนียมประเพณี พิธีกรรม เครื่องแต่งกาย และอาหารในแบบของ ตนเอง เรียกได้ว่าต้องตระเตรียมพื้นที่กระเพาะ อาหารไปให้ดีทีเดียว (ราคาอาหารถูกและดี) ไม่ ว่าจะเป็น Hokkien Mee บะหมีฮ่ กเกีย้ น ใส่ถวั่ งอก ไข่ตม้ กุง้ หมู ทีป่ ากชามวางช้อนใส่หอมเจียวและ พริก Char Koay Teow ก๋วยเตี๋ยวผัดกับถั่วงอก ใบกุยช่าย กระเทียม พริก ซีอิ๊วด�ำ บางร้านใส่กุ้ง ให้ตัวสองตัว Penang Laksa (Assam Laksa) เส้นก๋วยเตี๋ยวสีขาวคล้ายเส้นเกี้ยมอี๋ในน�้ำซุปข้น คลัก่ ท�ำจากปลาสับ หัวหอม ขมิน้ กะปิ (belacan) ตะไคร้ พริก น�้ำมะขาม เหมือนน�้ำขนมจีน เป็น ก๋วยเตีย๋ วชนิดเดียวของปีนงั ทีใ่ ช้ปลาท�ำน�ำ้ ซุป Lor Bak ไก่ หมู หรือหัวไชเท้าสับ ปรุงรสด้วยเครื่อง เทศ ห่อฟองเต้าหู้ แล้วทอด Nasi Kandar ข้าวราด แกงแบบอินเดีย-มาเลย์ ส่วนใหญ่เป็นแกงกะหรี่ เนื้อ แกงกะทิ ไก่ทอด ผัดผัก Teochew Cendol

น�้ำ-แข็งไส cendol คือแป้งเป็นเส้นสีเขียวเหมือน ลอดช่อง ใส่น�้ำกะทิ ถั่วแดง น�้ำตาลทรายแดง น�้ำแข็ง ยิ่งได้เดินตามบ้านร้านตลาด โดยเฉพาะ Chowrasta Market ที่ถนนปีนัง (Jalan Penang) อันเต็มไปด้วยแผงขายอาหาร ผัก ผลไม้ (ลูก จันทน์ (nutmeg) ขึ้นชื่อ) ขนม น�้ำดื่ม รวมถึงข้าว ของสารพัน หรือไปนั่งกินที่โต๊ะกลมพื้นหินอ่อน ตามคอฟฟี่ช็อป (Kopitiam) ซึ่งขายอาหารและ เครื่องดื่ม เฉพาะอย่างยิ่งกาแฟชงใส่นม (White Coffee) ที่เรียกเป็นกาแฟโบราณให้เข้าใจง่าย แล้วละก็ ต้องเป็นได้มีอาการเคี้ยวไม่หยุดเช่น ข้าพเจ้าบ้างละ ออกนอกเขตเมืองชั้นในของจอร์จทาวน์ ไปนิดเดียวก็สัมผัสธรรมชาติตากอากาศได้แล้ว นอกจากการนั่งรถเลียบชายฝั่ง ผ่านไปทาง Gurney Drive ซึ่งมีทางเดินริมทะเล ห้างสรรพสินค้า หรู และศูนย์อาหาร (Open Air Hawker Centre) ที่คลาคล�่ำด้วยนักกินจากทุกสารทิศ ก็ยังมี Batu Ferringhi แนวชายหาดที่ผู้คนลงเล่นน�้ำทะเล เล่นกีฬาทางน�้ำ หรืออาบแดด ผ่อนคลายอยู่ตาม โรงแรม รีสอร์ตที่วางตัวเรียงรายเคียงคู่กับร้าน อาหาร ร้านค้าต่างๆ บรรยากาศเหมือนไปพัทยา บางแสน แต่ทนี่ ใี่ ช้เวลาเดินทางจากเมืองหลวงไม่ ถึงครึ่งชั่วโมง หากอยากออกก�ำลังแบบผจญภัยหน่อยก็ เลยบาตู เฟอร์ริงกิขึ้นไปยัง Escape Adventure Theme Park ที่มีก�ำแพงให้ปีนป่าย โหนเชือก โรยตัวด้วยสลิง กระโดดหอคอย สไลเดอร์ลงมา กับห่วงยางด้วยความเร็วรี่ ไปดูผีเสื้อที่ Penang Butterfly Farm

ทิวทัศน์จากขบวนรถไฟสายกรุงเทพฯ-บัตเตอร์เวอร์ธ China House (153 Beach Street & 183B Victoria Street) ตึกโบราณที่หน้าแคบแต่ลึกเนื่องจากภาษี สมัยก่อนคิดตามความกว้างของอาคาร ภายในจึง ยาวเหยียดด้วยพื้นที่อเนกประสงค์ทั้งร้านอาหาร เบเกอรี่ บาร์ แกลเลอรี่ศิลปะ 03 Cheong Fatt Tze Mansion หรือ Blue Mansion จากศตวรรษ 19 ปัจจุบันเป็นโรงแรม 04 ภาพเด็กหญิงกังฟู (Kungfu Girl) กับอาคารโคโลเนียล ที่ได้รับการทาสีใหม่สดใส 05 ภายใน Cheong Fatt Tze Mansion เปิดให้เข้าชม โดยไกด์น�ำชมเป็นรอบ 06 ร้านเช่าจักรยานที่ 55 Lebuh Armenian คิดราคาถูก กว่าใคร เพียงวันละ 10 ริงกิต 07 ภาพ Old Motorcycle ที่มีการวาดรูปต่อด้วย ไดโนเสาร์และเด็ก 01 02


03 02

04

05

06

07

IMAGE SEPTEMBER 2013

173


08

10 09

11

174 ● IMAGE SEPTEMBER 2013 ●


How to get there & Facts l การบินไทยและแอร์เอเชียมีเที่ยวบินตรงจาก กรุงเทพฯ สู่ท่าอากาศยานนานาชาติปีนัง (Penang Internation Airport) ทุกวัน ใช้เวลาบินประมาณ 1.45 ชั่วโมง หรือ เดินทางด้วยรถไฟไทยในเส้นทางสายใต้ไปลงทีส่ ถานีบตั เตอร์เวอร์ธ แล้วนั่งเรือเฟอร์รี่ข้ามไปเกาะปีนังได้สะดวก l ทีพ ่ กั มีโรงแรม รีสอร์ต บูตกิ โฮเต็ล และโฮสเทล ราคาประหยัดในเมืองจอร์จทาวน์และชายหาด Batu Ferringhi มีให้เลือกมากมาย ที่พักส่วนใหญ่มีจักรยานให้ยืมหรือ เช่าได้ในราคาไม่แพง (วันละ 15-20 ริงกิตขึ้นไป) l แนะน� ำ Yeng Keng Hotel - 362 & 366 Chulia Street, 10200 George Town, Penang, Malaysia โทรศัพท์ + 60 (รหัสประเทศมาเลเซีย) 4 (รหัสปีนัง) 262 2177 เว็บไซต์ www.yengkenghotel.com.my แมนชั่นจาก ศตวรรษ 19 ที่เหลืออยู่ไม่มากนักในจอร์จทาวน์ ได้รับการ ปรับปรุงเป็นบูติกโฮเต็ลขนาด 20 ห้องพัก บริการดีเลิศ ใส่ใจ รายละเอียด l Yeng Keng Café & Bar ให้บรรยากาศของ คาเฟ่ในยุค 1930s ด้วยเบาะก�ำมะหยี่ บริการอาหารท้องถิ่น และตะวันตก ยามค�่ำคืนเหมาะกับการนั่งดื่มค็อกเทลสบายๆ l Holiday Inn Resort Penang - 72 Batu Ferringhi, 11100 Penang, Malaysia ส�ำรองห้องพัก 001 800 656 888 เว็บไซต์ www.ihg.com และ www.holiday innresorts.com/penang ได้รับการปรับโฉมเมื่อปี ค.ศ. 2010 เตียงใหญ่นอนสบาย ห้องพักสะอาด ตั้งอยู่ริมชายหาด l Ryokan Chic Hostels @ Muntri Street - 62 Muntri Street, 10200 George Town, Penang, Malaysia โทรศัพท์ +604 250 0287 เว็บไซต์ www.myryokan.com/ muntri-street โฮสเทลที่ลบภาพที่พักราคาประหยัดแต่ไม่ สวยไม่สะอาดได้ดียิ่ง ตกแต่งเรียบเก๋ในโทนสีด�ำเทาตัดสีชมพู จัด ใส่ความสบาย สะอาด และอุปกรณ์ไฮเทคที่มีสัญญาณ ไวไฟความเร็วสูงให้เชื่อมต่อโลกไซเบอร์ได้อย่างไม่ติดขัด l ข้อมูลท่องเที่ยว ติดต่อศูนย์ข้อมูลท่องเที่ยว ของ Penang Global Tourism (State Tourism Bureau) ที่ No.10 (Ground Floor), The Whiteaways Arcade, Lebuh Pantai, 10300 George Town, Penang, Malaysia โทรศัพท์ +604-264 1166 เว็บไซต์ www.visitpenang.gov.my l โบรชัวร์ที่น่าเข้าไปหยิบคือ Penang Street Food มีป ระเภทอาหารชวนชิ ม ร้ านอาหาร และแผนที่ ; Street Art in George Town แผนที่ เส้ นทางศิ ลปะบน ท้องถนนในจอร์ จทาวน์ และ George Town World Heritage Site Map แผนที่ เมื อ งจอร์ จ ทาวน์ พ ร้ อ มเส้ น ทางเดินเที่ยวสายต่ า งๆ เพื่ อ ท� ำความรู ้ จั ก และเข้ า ใจใน ประวัติศาสตร์และวิถีชีวิตของชาวปีนัง

Blow Me Down เวิร์กช็อปเครื่องเป่าจากนักดนตรี หลายวงที่มาร่วม Penang World Music Festival 2013 09 Muntri House อาคารในเส้นทางประวัติศาสตร์ ของ ดร.ซุน ยัด เซ็น ปัจจุบันเป็นคาเฟ่และที่พัก ราคาประหยัด 10 นั่งรถไฟไต่เขาขึ้นไปชมวิวมุมสูงที่ Penang Hill 11 ภาพวาด Old Man โดย Ernest Zacharevic บน ก�ำแพงริมถนนอาร์เมเนียน ภาพด้านขวาคือหนึ่ง ในประติมากรรมโลหะดัดบอกเล่าประวัติของถนน 08

ที่ สุ ด ยอดก็ คื อ Taman Negara Pulau Pinang (Penang National Park) อุทยานแห่ง ชาติทมี่ ขี นาดเล็กทีส่ ดุ ในโลกด้วยพืน้ ทีร่ วม 2,562 เฮกตาร์ (ผืนดิน 1,181 เฮกตาร์ ผืนน�้ำ 1,381 เฮกตาร์) แต่อุดมสมบูรณ์ด้วย 5 ถิ่นที่อยู่อาศัยคือ Lowland Dipterocarp Forest, Hill Dipterocarp Forest, Mangrove Forest, Sandy Beaches/ Sea และ Meromictic Lake ทะเลสาบที่น�้ำจืด จากแม่น�้ำภายในอุทยานแห่งชาติปีนังไหลมา บรรจบกับน�้ำเค็มจากทะเลที่ไหลเข้ามา แต่ไม่ สามารถรวมกันเป็นแผ่นน�้ำเดียวได้ จึงมองเห็น เป็นทะเลสาบสองชั้น นับว่าเป็นคุณสมบัติพิเศษ ที่มีไม่กี่แห่งในโลก ผู้มาเยือนอุทยานฯ ต้องลง ทะเบียนเข้า-ออกก่อนไปเดินปาท่ ่ องธรรมชาติ ช่ ว งปาโกงกางเป็ น จุ ด ดู น กที่ เ ราได้ เ ห็ น ทั้ ง นก ่ อินทรี (White-Bellied Sea Eagle) นกกระยาง (Greater Egret & Lesser Egret) นกกระเต็น (Stockbill Kingfisher) ได้ความรู้เรื่องเต่าทะเล จากศูนย์อนุรักษ์เต่าทะเล (Turtle Hatchery and Conservation Centre) ที่ชายหาด Pantai Kerachut (Kerachut Beach) ซึ่งสามารถลงเล่นน�้ำ ทะเลก่อนหรือหลังเดินปาได้ ่ แต่พูดก็พูด แค่เดิน ตาม Joseph ไกด์น�ำเที่ยวรักษ์ธรรมชาติที่ชี้ชวน บอกเล่าถึงต้นหมากรากไม้ สัตว์ แมลงภายใน อุทยานฯ เนื้อตัวเราก็เปียกซ่กยิ่งกว่าลงน�้ำ เพราะ อากาศและความชืน้ เรียกเหงือ่ ให้ออกมากยิง่ กว่า เข้าห้องอบซาวน่า เส้นทางเดินท่องธรรมชาติยงั มีให้เดินหลาย เส้นที่สวนพฤกษศาสตร์ (Penang Botanic Gardens) แต่เราไม่ทันมีเวลาเดิน เพราะมีภารกิจ สุดระทึกใจอยู่ที่สวนหิน (Quarry Park) ของสวน พฤกษศาสตร์ปีนัง อันเป็นสถานที่จัดเทศกาล ดนตรีสองวัน Penang World Music Festival 2013 (Penang World Music Festival 2014 จัด วันที่ 12-13 เมษายน ค.ศ. 2014) ที่ผู้จัดงานคือ Penang State Tourism Development & Culture Office ปล่อยให้นักดนตรีประหนึ่งทูตวัฒนธรรม น�ำพาผู้ชมเดินทางไปประเทศต่างๆ รอบโลกผ่าน สุ้มเสียงและเครื่องดนตรีพื้นเมือง รายนามศิลปินที่ขอร่ายเรียงให้ครบถ้วน ด้วยความขอบพระคุณก็คือ Alp Bora Quartet (ตุรกี-ออสเตรีย) Oratnitza (บัลแกเรีย) Rimba (มาเลเซีย) Kalayo (ฟิลิปปินส์) Dagaya (ญี่ปุ่น) MU (โปรตุเกส) Nasout (อิหร่าน) Kimi Djabate’ (กีนี-บิสเซา) Inka Marka (อเมริกาใต้) AkashA

(มาเลเซีย) Dende & Band (บราซิล-สหรัฐฯ) และ Saharadja (บาหลี อินโดนีเซีย) เห็นได้ถึง ความหลากหลายของประเภทดนตรี ชนิดของ เครือ่ งดนตรี ภาษาของดนตรีไร้พรมแดน หลายวง ประกอบด้วยนักดนตรีหลายชาติ ขณะทีเ่ วิรก์ ช็อป ในช่ ว งบ่ า ยก็ เ ชิ ญ นั ก ดนตรี ป ระเภทเดี ย วกั น เช่น เครื่องสาย เครื่องเป่า เครื่องตี จากวงดนตรี ต่างๆ มาน�ำเสนอเสียงดนตรีของตนและเล่นร่วม กันโดยไม่มกี ารซ้อมมาก่อน เรียกว่าอิมโพรไวส์กนั สดๆ สนุกๆ เรียกร้องผู้ร่วมเวิร์กช็อปให้มีส่วนร่วม ทั้งปรบมือ ลุกขึ้นเต้นไปด้วยกันรอบเวที ครั้นถึงคอนเสิร์ตในช่วงหัวค�่ำถึงเที่ยงคืน มี การจัดเป็นสองเวทีให้เล่นสลับกันซ้าย-ขวาไม่ให้ เป็นการเสียเวลาและอารมณ์ค้างเติ่ง บรรยากาศ เป็นมิตรกับผู้ชมมาก พื้นสนามหญ้าของสวนหิน เป็นที่นั่งที่ผู้ชมเอาเสื่อเอาโสร่งหรือหนังสือพิมพ์ มาปู พวกอยากประชิดเวทีก็ไปยืนอออยู่ด้าน หน้ายักย้ายส่ายสะโพกได้เต็มที่ พอช่วงคั่นห้า นาทีกเ็ คลือ่ นย้ายตัวไปประจันอีกฝัง่ ของเวที ผูช้ ม บางกลุ่มมาเชียร์นักดนตรีของชาติตน เช่นคราว ที่วงจากอิหร่านขึ้นเวที หนุ่มอิหร่านสามคนวาด ลวดลายเต้นร�ำหน้าเวทีให้ผชู้ มได้เฮสนัน่ หรือเมือ่ กลองบราซิลคึกคักก็มีสาวเต้นแซมบ้าอย่างสนุก จนนักดนตรีรีบเชิญมาเต้นบนเวทีให้คนดูได้เห็น ลีลาบราซิลเลียน ที่สนุกเด็ดดวงมากก็คือโชว์ท้ายสุดในคืน สุดท้ายของเทศกาลฯ ที่เชิญนักดนตรีทุกคนขึ้น ไปเล่นร่วมกันเต็มแน่นสองเวที ผลลัพธ์ก็คือการ ประสานเสียงดนตรีของโลกใบนี้ที่ขานรับเสียง กลอง (Daf จากวงอิหร่าน Djembe จากวงบาหลี) ระนาดแอฟริกาตะวันตก (Balafon) ขลุ่ยญี่ป่ ุน ฟลูตบัลแกเรีย ดิดเจอริดู (Didgeridoo) ของอินโดฯ ที่ นั ก เปาดิ ่ ด เจอริ ดู ข องบั ล แกเรี ย ขอยื ม มาเปา ่ กีตาร์จากหลายๆ วง นักดนตรีวงคาลาโยของ ฟิลิปปินส์ลงมาตีฆ้องในกลุ่มคนดูที่เต้นจนลืม เหนื่อย เสียงปรบมือร้องขออังกอร์ไม่มีทีท่าจะ หยุดเสียแล้ว เพราะบัดนี้ เทศกาลปีนังเวิลด์มิวสิก ได้ ห ลอมรวมเหล่ า นั ก ดนตรี แ ละผู ้ ช มต่ า ง สัญชาติให้เป็นหนึ่งเดียวแห่งความสนุกสุด เหวี่ยงร่วมกัน * Special Thanks to Penang Global Tourism (State Tourism Bureau) ●

IMAGE SEPTEMBER 2013

175


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.