Chinese New Year

Page 1

戲 เว็บ งิ้ว.คอม www.ngiew.com

เรียนรู้ดูงิ้วแต้จิ๋ว วันที่ 3-4 กุมภาพันธ์ 2554 ณ หอศิลป์กรุงไทย อาคารสาขาเยาวราช (ซอยเยาวราช 23 ใกล้สี่แยกราชวงศ์) หนึ่งกิจกรรมสร้างสรรค์ในโครงการ “กิจกรรมหอศิลป์กรุงไทย สานใจสืบทอดวัฒนธรรมจีน” โดยการสนับสนุนจาก บมจ. ธนาคารกรุงไทย ร่วมกับ คณะท�ำงานร่วมย่านจีนถิ่นบางกอก ส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสมาคมศิลปบูรพา แห่งประเทศไทย


ก�ำหนดการ วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2554

“เรียนรู้ดูงิ้วแต้จิ๋ว” : กิจกรรมและการแสดงบริเวณโรงงิ้ว

11:00 เป็นต้นไปเริ่มกิจกรรมบริเวณรอบโรงงิ้วด้านล่าง อาทิ เช่น • เปิดรับลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรมเที่ยวชมและถ่ายภาพหลังโรงงิ้ว • สาธิตการท�ำน�้ำตาลปั้น • สาธิตและร่วมระบายสีหน้างิ้วปูนปาสเตอร์ ฟรี! • บริการแต่งหน้างิ้ว ฟรี • บริการแต่งชุดงิ้วและถ่ายภาพเป็นที่ระลึก • จ�ำหน่ายสินค้าของที่ระลึกแบบงิ้วๆ 11:30-12:30 เริ่มทัวร์เที่ยวหลังโรงงิ้ว และถ่ายภาพ 13:00-15:00 พิธีกรน�ำเสนอข้อมูลและเกร็ดความรู้ประกอบการชมการแสดง • การแสดงชุดที่ 1 : งิ้วเบิกโรง - การแสดงงิ้วสิริมงคล (ป่วงเซียง) โป๊ยเซียนห่อสิ่ว/ เทียวเกียกวง/ เซียงกี่ซั้งจื้อ/ เกี่ยเสี่ยหวย • การแสดงชุดที่ 2 : งิ้วพูดไทยชุดเปาบุ้นจิ้น ตอนประหารหลานชาย (เปาเหมี่ยน) 15:00-20:00 ร่วมรับเสด็จสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี 20:00-21:00 พิธีกรน�ำเสนอข้อมูลและเกร็ดความรู้ประกอบการชมการแสดง • การแสดงชุดที่ 3 : งิ้วเปลี่ยนหน้า • การแสดงชุดที่ 4 : งิ้วเด็กคู่แรกของไทย ชุด “กั้งเง็กกั่วก๊วย” • การแสดงชุดที่ 5 : งิ้วเบิกโรงชุด “หลักก๊กฮงเสี่ยง” แบบสั้น

----------------------------ปิดงาน------------------------------หมายเหตุ :

ก�ำหนดการอาจมีการ เปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม


ก�ำหนดการ วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2554

“เรียนรู้ดูงิ้วแต้จิ๋ว” : กิจกรรมและการแสดงบริเวณโรงงิ้ว

11:00 เป็นต้นไปเริ่มกิจกรรมบริเวณรอบโรงงิ้วด้านล่าง อาทิ เช่น • เปิดรับลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรมเที่ยวชมและถ่ายภาพหลังโรงงิ้ว • สาธิตการท�ำน�้ำตาลปั้น • สาธิตและร่วมระบายสีหน้างิ้วปูนปาสเตอร์ ฟรี! • บริการแต่งหน้างิ้ว ฟรี • บริการแต่งชุดงิ้วและถ่ายภาพเป็นที่ระลึก • จ�ำหน่ายสินค้าของที่ระลึกแบบงิ้วๆ 11:30-12:30 เริ่มทัวร์เที่ยวหลังโรงงิ้ว และถ่ายภาพ 13:00-15:00 เริ่มกิจกรรมบนเวที พิธีกรน�ำเสนอข้อมูลและเกร็ดความรู้  ประกอบการชมการแสดง • การแสดงชุดที่ 1 : งิ้วเบิกโรง - การแสดงงิ้วสิริมงคล (ป่วงเซียง) หลักก๊กฮงเสี่ยง/ เทียวเกียกัว/ เซียงกี่ซั้งจื้อ/ เกี่ยเสี่ยหวย • การแสดงชุดที่ 2 : งิ้วพูดไทยชุดเปาบุ้นจิ้น ตอนประหารหลานชาย (เปาเหมี่ยน) 17:30-18:30 บริการแต่งชุดงิ้วและถ่ายภาพเป็นที่ระลึกบนเวที 18:30-19:30 สาธิตท่วงท่าลีลางิ้ว 19:30-20:30 พิธีกรน�ำเสนอข้อมูลและเกร็ดความรู้ประกอบการชมการแสดง • การแสดงชุดที่ 3 : งิ้วเด็กคู่แรกของไทย ชุด “ถ่อฮวยก้วยโต่ว” • การแสดงชุดที่ 4 : งิ้วเบิกโรง - การแสดงงิ้วสิริมงคล (ป่วงเซียง) โป๊ยเซียนห่อสิ่ว/ เทียวเกียกวง/ เซียงกี่ซั้งจื้อ ----------------------------ปิดงาน------------------------------หมายเหตุ :

ก�ำหนดการอาจมีการ เปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม


สารบัญ

1. ข้อมูลประกอบการชมการแสดง

หน้า 1

การแสดงชุดงิ้วเบิกโรง (ป่วงเซียง)................................................................................................................... 1

การแสดงแห่งความเป็นสิริมงคล........................................................................................................................ 1

การแสดงชุดงิ้วพูดไทย ............................................................................................................................................ 3

เรื่อง เปาบุ้นจิ้น ตอนประหารหลานชาย (เปาเหมี่ยน)............................................................. 3

การแสดงชุดงิ้วเด็ก..................................................................................................................................................... 3

เรื่อง “ถ่อฮวยก้วยโต่ว” 《桃花过渡》...................................................................................... 3 เรื่อง “กั้งเง็กกั่วก้วย”《绛玉掼粿》............................................................................................. 4

รายนามผู้แสดง............................................................................................................................................................ 5

2. เกร็ดความรู้เกี่ยวกับโป๊ยเซียน (เทพเจ้าจีน).................................................................................................. 6 3. เกร็ดความรู้เกี่ยวกับหลักก๊กฮงเสี่ยง..................................................................................................................... 9 4. เกร็ดความรู้เกี่ยวกับเปาบุ้นจิ้น............................................................................................................................... 10 5. คณะผู้ด�ำเนินงาน: กิจกรรมเรียนรู้ดูงิ้วแต้จิ๋ว................................................................................................. 15 6. ท�ำความรู้จัก www.ngiew.com....................................................................................................................... 16

戲 เว็บ งิ้ว.คอม www.ngiew.com


ข้อมูลประกอบการชมการแสดง การแสดงชุดงิ้วเบิกโรง (ป่วงเซียง) - การแสดงแห่งความเป็นสิริมงคล ป่วงเซียงคือการแสดงนำ�ก่อนที่จะมีการแสดงงิ้วเรื่องประจำ�คืน เป็นการแสดงความเคารพและการแสดง ถวายต่ อ ศาลเจ้ า ที่ ค ณะงิ้ ว ไปทำ�การแสดงในขณะเดี ย วกั น ก็ เ ป็ น การอวยพรให้ กั บ ผู้ ช มและคณะงิ้ ว ทีม่ าทำ�การแสดงเองไปด้วยในตัวประกอบด้วยการแสดงงิว้ 5 ชุดทีท่ กุ คณะงิว้ จะต้องเล่นเป็นปฐมฤกษ์ หรือ เบิกโรง ตามลำ�ดับการแสดงต่อไปนี้ 1. ชุดอวยพรอายุยั่งยืน《贺寿》(ฮ่อสิ่ว) การแสดงชุดนี้จะมี 2 แบบขึ้นอยู่กับความต้องการ ของผู้ว่าจ้างคณะงิ้ว และขึ้นอยู่กับความพร้อมของคณะงิ้วนั้นๆ โดยมีรายละเอียด คือ แบบที่ 1 ชุดโป๊ยเซียงเค่งสิ่ว《八仙庆寿》ฉากนี้แสดงการออกมารวมตัวของแปดเซียน (โป๊ยเซียง/โป๊ยเซียน) เพื่อแสดงความเคารพเทพเจ้าในศาลเจ้า แปดเซียนเทพเจ้าแห่งลัทธิเต๋า ที่มีชื่อเสียงอย่าง มากกับการบันดาลโชคลาภ อายุมั่นขวัญยืน และยศถาบรรดาศักดิ์ ออกมาร่ายรำ�กล่าวงคำ�อวยพร ระยะเวลา การแสดงประมาณ 3-5 นาที (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมใน “เกร็ดความรู้เกี่ยวกับโป๊ยเซียน” หน้า 6) แบบที่ 2 ชุดแต่งตั้งขุนพลหกรัฐ《六国封相》(หลักก๊กฮงเสี่ยง) เป็นชุดพิเศษที่จำ�เป็นต้อง ใช้นักแสดงเป็นจำ�นวนมาก ประกอบด้วย นักรบทั้ง 6 รัฐ ออกมาร่ายรำ�กลางเวที สีสันของชุดทั้ง 6 รัฐที่ แตกต่างกัน ดนตรีที่เร้าใจ ลีลาที่สวยงาม เป็นการแสดงเรื่องราวของบรรดาขุนพลหกรัฐจากแคว้นต่างๆ ที่กระจัดกระจายอยู่ตามพื้นที่ต่างๆ ของจีนด้วยการปกครองตนเองท่ามกลางความขัดแย้งและศึกสงครามจน สามารถมารวมตัวกันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ภายใต้ความสามัคคีปรองดองกันอย่างน่าภาคภูมิ (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมใน “เกร็ดความรู้เกี่ยวกับหลักกีกฮงเสี่ยง” หน้า 9) 2. ชุดอวยพรยศถาบรรดาศักดิ《 ์ 跳加冠》(เทียวเกียกวง) เป็นการแสดงทีผ่ แู้ สดงใส่หน้ากาก สีขาวแสดงเพียงท่าทาง และแสดงโดยใช้ผ้าแดงที่เขียนคำ�สิริมงคลเป็นตัวหนังสือประกอบการแสดง ซึ่งคำ�เหล่านี้ จะแตกต่างกันไปตามแต่ลักษณะของงาน หากเป็นการฉลองวันเกิดเทพประจำ�ศาลก็จะเขียนไว้ว่า “ฉิ้งจู๋เซียน ชิว” (เสี้ยตั่งโชยชิว) และอีกด้านหนึ่งเขียนว่า “เหอจิ่งผิงอัน” (หักเจ่งเผ่งอัง) แปลว่า ฉลองวันเกิดเทพให้ มีอายุยืนยาว และขอให้มีความสุขกันทั่วหน้า หากเป็นการฉลองตอบแทนคุณเทพปลายปี จะเขียนว่า “ต๋าเสี้ย เซินเอิ่น” (ตั๊กเตี่ซิ่งอึง) “เหอจิ่งผิงอัน” (หักเจ่งเผ่งอัง) แปลว่า ตอบแทนคุณเจ้า ขอให้มีความสุขกันทั่วหน้า

ภาพการแสดงชุดหลักก๊กฮงเสี่ยง 1.


3. ชุดนางฟ้าประทานบุตร《仙姬送子》(เซียงกีซั้งจื้อ) เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับชายตระกูล ยากจน ชื่อ ต๋งย่ง (ตั้งย้ง) ด้วยความกตัญญูยอมขายตัวเป็นทาส เพื่อนำ�เงินมาฝังศพบิดา นางฟ้าองค์ที่ 7 เห็น เข้าเกิดความสงสาร จึงยอมเป็นภรรยาเพื่อจะช่วยให้ต๋งย่งพ้นจากความลำ�บาก ต่อมาต๋งย่ง สอบได้จอหงวน นางฟ้าได้กลับไปสู่สวรรค์แล้วนำ�บุตรมาส่งให้จอหงวนต๋งย่ง ในการแสดงมีการออกแบบท่ารำ�โดยใช้นักแสดง หญิงเจ็ดคน ร่ายรำ�ด้วยท่าทางที่งดงาม เปรียบเสมือนก้อนเมฆที่ล่องลอยอยู่รายรอบ สอดคล้องกับบทร้องใน การแสดงที่ว่า : “โจ่ยหมิ่งไล้ตี คาซีเซียงแกอัวชี” (ที่ปรากฏต่อหน้า คือ ภรรยาที่เป็นเทพของข้าใช่ไหม) , “เยี้ยงเอี่ย” (ใช่แล้ว), “กี้ลี่เซียงแกอั๋วชี ห่อปุ๊กบั๊วะไค หุ่งบู่เซียงกี่” (ถ้าเป็นภรรยาที่เป็นเทพของข้า ขอ ให้เมฆหมอกจางหายไป และเราทั้งสองจะได้พบหน้ากัน), “ซิวขี้หุ่งบู่” (เมฆหมอกจงจางหายไป) การแสดงงิ้ว ชุดนี้เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับโชคชะตา ความสุขสมหวัง และการขอบุตร 4. ชุดเฉลิมฉลองจอหงวน《京城会》(เกียเสี่ยหวย หรือชุดพบปะที่เมืองหลวง) เป็น เรื่องของลวี่เหมิงเจิ้น หรือ หลื่อโมงเจ่ง ซึ่งเป็นชายยากจน ได้แม่นางหลิวจากตระกูลมั่งคั่งเป็นภรรยา แม่นาง หลิวสู้ทนกับหลื่อโมงเจ่งมาช้านานจน หลื่อโมงเจ่งสอบได้จอหงวนและมารับแม่นางหลิวไปเป็นฮูหยิน งิ้วชุดนี้ ตัดตอนมาจากงิ้วเรื่อง “พั่วหยาวจี้” งิ้วชุดนี้เกี่ยวกับ ความสุข ความสมหวัง เป็นฉากที่มีการร้องรับกันยาว ที่สุด ตัวพระจะแต่งชุดข้าราชการแดง มายืนรับตัวนางหรือฮูหยินที่เดินทางจากบ้านเกิดเพื่อมาอยู่ด้วยที่จวนใน เมืองหลวง ความที่ร้องเป็นการพรรณนาถึงความสัตย์ซื่อและมั่นคงในรักที่ทั้งสองมีต่อกัน

ภาพการแสดงชุดเฉลิมฉลองจอหงวน

การแสดงชุดอวยพรยศถาบรรดาศักดิ์

5. ชุดเจ่งแป๊《净棚》หรือ พระเจ้าหลี่ซื่อเหมิน (หลี่ซื่อมิ้น ของแต้จิ๋ว) ตามความเชื่อของ การแสดงงิ้วจำ�เป็นต้องอัญเชิญพระเจ้าหลี่ซื่อเมิ้น ซึ่งเป็นผู้ถือกำ�เนิดการแสดงงิ้วออกมานำ�ร่ายรำ�และร้องเพลง ที่สื่อความมหมายถึงความยั่งยืนยาวนานของการแสดงงิ้วต่อไป เพื่อเป็นสิริมงคลแก่บรรดานักแสดงงิ้วและชาว คณะงิ้ว มีความเชื่อว่าฉากเจ่งแป๊ช่วยขับสิ่งอัปมงคลมิให้มารบกวนหลอกหลอนคณะผู้แสดง ฉากนี้จะแสดงโดย นักแสดงอาวุโสคนเดียวออกมาร้องร่ายประกอบกับเสียงเป่าแตรยาว (ในอดีตแตรยาวใช้เป่านำ�ขบวนเสด็จ ขององค์จักรพรรดิ หรือขบวนทัพ เป็นสัญญาณบอกกล่าวให้ชาวบ้านหลบหลีกขบวนที่เคลื่อนผ่านมา เสียงแตร ยาวจึงเป็นเสมือนเสียงขับไล่สิ่งจัญไรชั่วร้าย) ในการแสดงชุดนี้ใช้คำ�ร้องซึ่งมักจะฟังจับความกันไม่ค่อยได้ เพราะถือเป็นการอ่านตามสำ�เนียงโบราณ (คล้ายกับคำ�สวดหรือร่ายมนตรา) ชาวบ้านทั่วไปเรียกฉากนี้ว่า  ฉากหลี่ ซื่ อ หมิ ง ขั บ ร่ า ย《李世民净棚》แต่ ที่ ถู ก แล้ ว น่ า จะเรี ย กว่ า ลี ฮ่ อ งเต้ ถั ง หมิ ง อ๋ อ งขั บ ร่ า ย 唐明皇净棚(李隆基)เพราะองค์ถังหมิงอ๋องเป็นผู้ริเริ่มการขับแสดงงิ้วในอุทยานหลวง ภายหลัง จึงแพร่หลายสู่ชาวบ้านทั่วไป ในยุคถังไท่จู่ (เนื่องจากในสมัยหลี่ซื่อหมิงยังไม่มีการเล่นหรือฝึกแสดงงิ้วเลย) 2.


ปัจจุบันการแสดงชุดนี้ อาจใช้เป็นการแสดงชุดแรกของการแสดงิ้วชุดเบิกโรง (ป่วงเซียง) หรือเป็นชุด นำ�เข้าสู่การแสดงงิ้วเรื่องยาวตามความต้องการของเจ้าภาพ หรือไม่อาจจะถูกตัดทอนออก

การแสดงชุดงิ้วพูดไทย เรื่อง เปาบุ้นจิ้น ตอน ประหารหลานชาย (เปาเหมี่ยน)

เปาบุ้ น จิ้ น เมื่ อ แรกเกิ ด มี ห น้ า ตาที่ อั ป ลั ก ษณ์ จ นบิ ด ามารดา ตั ด สิ นใจจะนำ�ไปทิ้ งในป่ า แต่ ด้ ว ยความเมตตาของพี่ ส ะใภ้ ค นโตได้ ข อรั บ เปาบุ้นจิ้นมาเลี้ยงดู ให้นมให้ข้าวไปพร้อมกับบุตรชายของตนเอง ซึ่งมีชื่อว่า “เปาเหมี่ยน” เมื่อเติบใหญ่ทั้งสองอาหลานสามารถสอบเข้ารับราชการได้ทั้งคู่ ในเวลาต่อมาเปาเหมี่ยนได้ถูกร้องเรียนจากชาวบ้านในโทษฐาน ฉ้อราษฎร์บังหลวง ข่มเหงรังแกประชาชน สร้างความเดือดร้อยให้แก่ราษฎร มากมายโทษฐานสาหัสนัก และด้วยความซื่อสัตย์ ยุติธรรม และยึดมั่นใน ภาพเปาบุ้นจิ้น คุณธรรมอย่างแรงกล้า เปาบุน้ จิน้ ตัดสินคดีความด้วยการสัง่ ประหารชีวติ หลาน ชายของตน สร้างความโศกเศร้าเสียใจแก่ตนเองและพี่สะใภ้เป็นยิ่งนัก คดีนี้เป็นคดีที่ถูกกล่าวขานทั่วทั้งแผ่นดิน ในการยึดมั่นความยุติธรรมขจัดปัดเป่าทุกข์โศกให้กับปวงประชาราษฎร์ สมกับสมญานามที่เรียกขานว่า “ผู้ทำ�ฟ้าให้ชัชวาล” (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมใน “เกร็ดความรู้เกี่ยวกับเปาบุ้นจิ้น” หน้า 10)

การแสดงชุดงิ้วเด็กเรื่อง “ถ่อฮวยก่วยโต่ว”

《桃花过渡》

นับเป็นการแสดงอันเก่าแก่ของจีน บ้างว่าเป็นเรื่องจริง บ้างว่าเป็นเรื่องเแต่ง “ถ่อฮวย” เป็นชื่อ ของสาวใช้ ผู้ที่กำ�ลังจะเดินทางไปรับนายหญิงของตนที่อีกฝั่งของแม่น้ำ� จึงเป็นที่มาของชื่อว่า ถ่อฮวยกั๊วโต่ว (กั๊วโต่ว แปลว่า ข้ามฟาก) นางว่าจ้างเรือแจว โดยมีผู้เฒ่าวัย 62 ปี เป็นคนพาย ระหว่างทาง ทั้ง 2 ได้มีการ สนทนาปะทะคารม ซึ่งแฝงไปด้วยอารมณ์ขัน โดยใช้ภาษาแต้จิ๋วอันเป็นภาษาที่คนไทยเชื่อสายจีนในเยาวราช คุ้นเคยกันเป็นอย่างดี มาใช้โต้ตอบกัน นอกเหนือจากการโต้ตอบกันไปมาแล้ว นักแสดงยังต้องแสดงท่าทาง ประกอบไปด้วย เพื่อให้ผู้ชมสามารถจินตนาการตามได้ว่าทั้งสองกำ�ลังสนทนากันบนเรือ อันเป็นเอกลักษณ์ที่ สำ�คัญของงิ้วที่จะต้องมีทั้งการร้องและร่ายรำ�ไปในเวลาเดียวกัน

ภาพการแสดงชุดงิ้วเด็ก เรื่อง ถ่อฮวยก่วยโต่ว 3.


การแสดงชุดงิ้วเด็ก เรื่อง “กั้งเง็กกั่วก๊วย”《绛玉掼粿》(กั้งเง็กส่งขนม) เริ่มเรื่องด้วยเสียงแจ้วๆ ของสาวใช้นางน้อย “กั้งเง็ก” ในมือถือตระกร้าบรรจุขนมซึ่งโกวเนี้ยของนาง สั่งให้นำ�ไปมอบให้แก่ชายหนุ่มนักปราชญ์ผู้เป็นที่รักของโก้วเนี้ยนายหญิงของตน เมื่อเสร็จภารกิจส่งขนม ระหว่างทางกลับบ้าน กั้งเง็กก็ได้พบกับ “ตั่วเอี๊ย” ลูกชายคนโตของตระกูลเพ้ง ผู้มั่งคั่งนาม “เผ่งกุงจั่ง” ผู้ซึ่งจอมเจ้าชู้ ซึ่งมีความพอใจในตัวกั้งเง็กจึงถือโอกาสเกี้ยวพาราสี หาทางจับผิด กั้งเง็กผู้ซึ่งฉลาดหลักแหลม สามารถโต้ตอบตั่วเอี้ยได้อย่างชาญฉลาด ตั่วเอี้ยจึงใช้กลเม็ดด้วยการทวงบุญคุณเลี้ยงดู และบอกเจตจำ�นงค์ว่า ประสงค์จะได้นางเป็นอนุภรรยา กั้งเง็กรู้จักเจ้านายของตนดีว่าเป็นคนที่เกรงกลัวภรรยามาก จึงยิ้มเยาะวางแผน อยู่ในใจทำ�ทียอมรับจะแต่งงานด้วย โดยนัดแนะว่าจะไปพบตั่วเอี๊ยที่ห้องหนังสือเวลายาม 3 คืนนี้โดยจะ ปรบมือ 2 ครั้งเป็นการส่งสัญญาณ และขอให้ตั่วเอี๊ยดับไฟในห้องให้สนิท จากนั้น กั้งเง็กน้อยทำ�ทีร้องไห้กลับ เข้าบ้านไปพบคุณนาย และรายงานไปว่าถูกตั่วเอี้ยบังคับให้แต่งงานกับเขา โดยให้ไปพบที่ห้องหนังสือในคืนนี้ ตั่วไน่โกรธเป็นฟืนไฟ จึงวางแผนแก้เผ็ดตั่วเอี๊ยโดยได้รับความร่วมมือจากกั้งเง็กเป็นอย่างดี

นักแสดงตัวน้อย

ภาพการแสดงชุด หลักก๊กฮงเสี่ยง โดยนักแสดงกิติมศักดิ์ แห่ง งิ้ว.คอม 4.

ถ่อฮวยรุ่นจิ๋ว


รายนามผู้แสดง การแสดงชุดงิ้วเบิกโรง

ฐาปะนะ วงษ์สาธิตศาสตร์ สมชาย เสรีเจริญชัย พชร สิทธิพลเจริญ กนกธร ตั้งกิติธร เสี้ยวยู้ แซ่ลิ้ม

วริทธิ์ธร ตั้งกิติธร คำ�ก้อน ชัยประสิทธิ์ ไพลิน บุญยิ้ม กิติพงษ์ สุขศรี

การแสดงชุดงิ้วพูดไทย เรื่อง เปาบุ้นจิ้น ตอนประหารหลานชาย

สมพร นุชกาง สุมา จรัสแนว เพ็กเง็ก แซ่ลิ้ม กนกธร ตั้งกิติธร จรูญศรี สุดเสน่ห์ ไพลิน บุญยิ้ม คำ�ก้อน ชัยประสิทธิ์ สมชาย เสรีเจริญชัย พชร สิทธิพลเจริญ

ประเสริฐ จินดาอุมเศรษฐ์ เสี้ยวยู้ แซ่ลิ้ม กิติพงษ์ สุขศรี วริทธิ์ธร ตั้งกิติธร นะมะปักษ์ พร้อมทรัพย เวธกา เบญจอัศวมงคล วัชรี สงวนยศ ฉัตรสุดา ประเสริฐแก้ว ศิริพร ส่งแก้ว

การแสดงชุดงิ้วเปลี่ยนหน้า

เพ็กเง็ก แซ่ลิ้ม

การแสดงชุดงิ้วเด็ก

ชมพูนุท วงศ์พิมล นวพร วงศ์พิมล

เวธกา เบญจอัศวมงคล

นักดนตรี

ชัยยันต์ ทองอ่วมใหญ่ ** กลอง กู๋เกี่ยงฮั้ว ** ขิม วิชัย แซ่เต็ง ** ซอ

ศุภโชค ทะวารี ** แกห้วย ชุมพล พร้อมทรัพย์ ** แกห้วย-กลอง(เย็น)

ประกอบโรง ฉาก และอักษรไฟวิ่ง

น้อย จรัสแนว จินเซิง แซ่ลี้

เจ้าหน้าที่ 2 ท่าน

5.


เกร็ดความรู้เกี่ยวกับโป๊ยเซียน (เทพเจ้าจีน)

ภาพโป้ยเซียนนั่งเรือข้ามทะเล ภาพจาก hudong.com โป๊ยเซียน (จีน: 八仙; พินอิน: bā xiān; ออกเสียงว่า “ปาเซียน”) คือ เซียนแปดองค์ ตามความเชื่อในลัทธิเต๋าของจีน เป็นเทพเจ้าที่ชาวจีนนับถือมาช้านาน นับเป็นหนึ่งในบรรดาเซียนนับร้อยๆ องค์ของจีน แต่เซียนทั้งแปดนี้ นับว่าเป็นที่รู้จักดีและได้นับการนับถืออย่างกว้างขวาง ในศาลเจ้าตามหมู่บ้าน ของชาวจีน มักจะมีแท่นบูชาที่ปูด้วยผ้ามีภาพวาดเซียนทั้งแปดรวมเป็นกลุ่ม บ้างก็เป็นภาพเซียนนั่งเรือกลับ จากการไปงานเลี้ยงของพระนางไซอ๋องโบ้ (งานเลี้ยงของทวยเทพและเซียนต่างๆ) สมาชิกทั้ง 8 ในกลุ่มของ โป๊ยเซียนนั้นแตกต่างกันไปตามยุคสมัย แต่ปัจจุบันโป๊ยเซียนมีด้วยกัน คือ

6.

ภาษาจีนกลาง

ภาษาจีนแต้จิ๋ว

อักษรจีน

พินอิน

หลี่เถียกว่าย จงหลีฉวน เฉากว๋อจิ้ว หาญเซียงจื่อ เหอเซียนกู หลานไฉเหอ จางกว๋อหล่าว ลิต้งปิน

ทิ ก๋วย ลี้ ฮั่นจงหลี เชาก๊กกู๋ ฮั้นเซียงจื่อ ฮ่อเซียนโกว น่าไชหัว เจียงกั๋วเล้า ลือท่งปิน

李鐵拐 鐘离權 曹國舅 韓湘子 何仙姑 藍采和 張果老 呂洞賓

Lǐ Tiěguǎi Zhōnglí Quán cáo guó jiù hán xiāng zi hé xiān gū Lán Cǎihé Zhāng Guǒ Lǎo Lü Dongbin


เซียนแต่ละองค์ในบรรดา 8 องค์นี้ มีประวัติที่มา และอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์แตกต่างกันไป ดังนี้

ทิก๋วยลี้

ทิกว๋ ยลี้ เดิมแซ่ หลี่ ชือ่ เหียน เกิดยุคชุนชิว เป็นคนรูปร่างสูงใหญ่ สติปญ ั ญาเฉลียวฉลาด หน้าตาดี ไม่ชอบทำ� มาหากินหรือมีครอบครัวเหมือนชาวบ้าน ชอบทางบำ�เพ็ญตบะถือศีลกินเจ เห็นว่า อำ�นาจวาสนา ลาภยศสรรเสริญ สมบัติพัสถาน ล้วนเป็นภาพมายา ดุจเมฆหมอกลอยกลางอากาศ ไม่นานก็จางหายไป เมื่อหลี่เหียนพิจารณา เห็นสัจธรรมเช่นนี้ จึงตัดสินใจสละทางโลก อำ�ลาญาติมิตรไปบำ�เพ็ญพรตอยู่ในถ้ำ� จนสามารถถอดกายทิพย์ และจิตวิญญาณออกจากร่าง วันหนึง่ มีนดั ต้องไปเข้าเฝ้า ลีเลากุน ผูเ้ ป็นอาจารย์ทเี่ ขาหัวซัน จึงฝากลูกศิษย์ให้ดแู ลร่าง จะไปแต่กายทิพย์ ส่วนร่างทิ้งไว้ที่นี่ ถ้าเกิน 7 วันเรายังไม่กลับ ให้เผาร่างได้เลย เมื่อท่านถอดจิตไปแล้ว มารดาผู้เป็นศิษย์ป่วยหนัก คนทางบ้านมาส่งข่าวให้รีบกลับ ศิษย์ไม่อาจทนอยู่เฝ้าร่างได้ จึงนำ�ร่างไปเผาในวันที่ 6 ท่านกลับมาในวันที่ 7 ไม่พบลูกศิษย์ ไม่เห็นร่างของตน ก็เข้าใจ แต่ไม่เคืองไม่แยแสกระไร ไปเข้าร่างขอทานขาพิการที่เพิ่งเสียชีวิต ร่างใหม่ของท่านจึงขาพิการข้างหนึ่ง ดังในรูปทุกวันนี้ เวลาเดินใช้ไม้เท้าเหล็กค้ำ� คนจึงเรียกว่า ทิก๋วยลี้

ฮั่นจงหลี

ฮั่นจงหลี่ (จงหลีเฉวียน) มีชีวิตในสมัยถัง เป็นบุตรของแม่ทัพ จงหลีจาง วันที่เกิด มีแสงสว่างจ้าไปทั้ง จวนแม่ทัพ ผู้คนตกใจคิดว่าไฟไหม้วิ่งไปยังจวนจะดับไฟ พอไปถึงไม่เห็นมีอะไร มีแต่ฮูหยิน ภรรยาแม่ทัพคลอด บุตรเป็นชาย มีลักษณะดีผิดแผกเด็กทั่วไป เมื่อโตขึ้นได้ไต่เต้าเป็นแม่ทัพ คราวหนึ่ง นำ�ทัพไปปราบกบฏคนฮวน เกิดพ่ายศึกยับเยิน ตัวเขาหนีรอดคนเดียวเข้าไปในหุบเขา ได้พบกับนักพรตชรา ว่ากันว่าคือ ทิก้วยลี ได้รับ ถ่ายทอดเคล็ดบำ�เพ็ญธรรมต่อมาได้บำ�เพ็ญเพียรจนสำ�เร็จเป็นเซียน

เชาก๊กกู๋

เชาก๊กกู๋ (เฉากั๋วจิ้ว) เดิมชื่อ เชาจิ่งซิว เป็นน้องชายของพระราชินี เชาฮองเฮา แห่งราชวงศ์ซ่ง เชาก๊กกู๋ เป็นคนเที่ยงตรง มีเมตตา รักสงบ ไม่ชอบโก้หรู เนื่องจากละอายที่ เชายี น้องชายถืออำ�นาจพี่สาว เที่ยวก่อกรรม ทำ�ชั่วจนถูกท่านเปาตัดสินประหารชีวิต จึงตัดสินใจขึ้นเขาบำ�เพ็ญเพียร ต่อมาเขาได้พบกับ ฮั่นจงหลี และ ลื่อต้งปิง ลื่อต้งปิง ถามว่า ได้ข่าวว่าท่านบำ�เพ็ญธรรม ธรรมที่ท่านบำ�เพ็ญอยู่ที่ใด เชาก๊กกู๋ ชี้นิ้วขึ้นฟ้า ลื่อต้งปิง ถามอีกว่า ฟ้าอยู่ที่ใด เชาก๊กกู๋ ก็ชี้ที่หัวใจ ฮั่นจงหลีหัวเราะแล้วพูดว่า ใจก็คือฟ้า ฟ้าก็คือใจ บัดนี้ท่านค้นพบตัวเองแล้ว จากนั้น เซียนทั้งสองจึงถ่ายทอดมรรควิธีแก่ เชาก๊กกู๋ จนบำ�เพ็ญสำ�เร็จเป็นเซียน

ฮั่นเซียงจื่อ

หันเซียงจื่อ สมญานาม ชิงฟู เกิดในสมัยถัง วันที่ 10 เดือนสิบ พ.ศ. 1320 กำ�พร้าพ่อแม่แต่เด็ก อยู่กับ หันยู่ ผู้เป็นอา ซึ่งเป็นขุนนางชั้นผู้ใหญ่ นิสัยรักสันโดษชอบปลีกวิเวก วันหนึ่ง ท่าน ลื่อโจ้ว ได้มาโปรดจน บำ�เพ็ญสำ�เร็จเป็นเซียน หันเซียงจื่อ ยังกตัญญู โปรด หันยู่ ให้ละทิ้งตำ�แหน่งขุนนางมาบำ�เพ็ญธรรม ใช้เวลา ถึง 9 ปี จึงโปรดสำ�เร็จ

ฮ่อเซียนโกว

ฮ่อเซียนโกว (เหอเซียนกู) เดิมชื่อ ฮ่อค้วง เป็นนางฟ้าหนึ่งเดียวในคณะแปดเซียน เกิดในสมัยราชวงศ์ ถัง เป็นชาวเมืองกวงโจว เป็นคนใจบุญและฉลาด วันหนึ่ง ได้พบกับเซียน ลื่อต้งปิง เซียนเห็นแววส่งผลท้อให้ เมื่อกินผลท้อนั้นแล้วก็สำ�เร็จเป็นเซียน 7.


น่าไชหัว

น่าไชหัว เป็นคนสมัยถัง ชอบใส่เสื้อผ้าขาด ใส่รองเท้าข้างเดียว ถือกรับไม้ยาวฟุตเศษ เที่ยวเดินร้องเพลง ขอทานเรื่อยไป เพลงที่ร้องมีเนื้อเพลงเป็นคติเตือนใจคน เมื่อได้เงินก็เอามาร้อยเป็นพวงแล้ววิ่งลากไปตามถนน เชือกขาดเงินหลุดหล่นหายไปก็ไม่สนใจ มีเงินเหลือกินก็นำ�ไปแจกจ่ายแก่คนยากจน หน้าร้อนใส่เสื้อหนา หน้าหนาวหิมะตกกลับใส่เสื้อตัวเดียวนอนบนหิมะ ต่อมา ทิก๋วยลี้ และ ฮั่นจงหลี ได้มาชวนไปบำ�เพียรเพียร จน สำ�เร็จเป็นเซียน

เจียงกั๋วเล้า

ตำ�นานหนึ่งว่า เจียงกั๋วเล้า (จางกั๋วเหล่า) เป็นคนสมัยถังเป็นนักพรตจำ�ศีลภาวนาที่จงเถียวซันไปไหน มาไหนมักจะขี่ลาเผือกกลับหัว โดยหันหน้าไปทางหางลา โดยให้สอดคล้องกับบัณฑิตในยุดสมัยนั้นคนหนึ่ง ที่ ป ระชดบ้ า นเมื อ งโดยการขี่ ล าหั น หลั ง เหมื อ นเป็ น การบอกว่ า บ้ า นเมื อ งสั บ สนวุ่ น วายจนคนงุ น งง ต้องขี่ลากลับหลังลานี้เป็นลาวิเศษ ไม่ใช้สามารถเก็บพับใส่ในกระเป๋าดั่งกระดาษ เวลาขี่เอาน้ำ�พ่น ก็กลายเป็นลา ดังเดิม อีกตำ�นานหนึ่งก็ว่า ในสมัยดึกดำ�บรรพ์มีพญาค้างคาวเผือกตัวหนึ่ง ได้จำ�ศีลบำ�เพ็ญเพียรโดยกิน แสงอาทิตย์และแสงจันทร์เป็นอาหารและอยู่ในถ้ำ�จนสำ�เร็จเป็นเซียน ได้กลายร่างเป็นชายชราผิวพรรณผ่องใส แข็งแรงคือ เจียงกั๋วเล้า นั่นเอง

ลือท่งปิน

ลื่อท่งปิง (หลวี่ต้งปิง) หรีอ ลื่อโจ้ว:หลวี่จู่ เกิดวันที่ 14 เดือนสี่ สมัยราชวงศ์ถัง เป็นคนเฉลียวฉลาด แต่เด็ก เคยไปสอบจิ้นซื่อสองครั้ง แต่ตก อายุ 64 ท่องเที่ยวพเนจรทั่ว ระหว่างพักโรงเตี๊ยมเมือง หันเอ้อ ได้พบ กับอาจารย์ ฮั่นจงหลี ทั้งสองสนทนาเรื่องธรรมะถูกอัธยาศัย ลื่อต้งปิงถอนใจว่า ชีวิตช่างอาภัพ สอบจิ้นซื่อไม่ ได้สักครั้ง ฮั่นจงหลีเอาหมอนในย่ามยื่นให้ พร้อมกล่าว เจ้าจงหนุนหมอนใบนี้ ทำ�ให้ทุกอย่างสมหวัง จึงหนุน หมอนหลับไม่รู้ตัว ขณะนั้นเจ้าของโรงเตี๊ยมกำ�ลังนึ่งข้าวเกาเหลียงอยู่ ลื่อต้งปิงได้ฝันเห็นอนาคตว่า ชั่วครู่เดียว ชีวิตขึ้นๆ ลงๆ เปลี่ยนแปลงมากมาย ตั้งแต่สอบได้จิ้นซื่อ เป็นนายอำ�เภอเมืองลั่วหยังได้เลื่อนตำ�แหน่งหลายครั้ง กระทั่งเป็นแม่ทัพรบชนะข้าศึก มีอำ�นาจวาสนา มั่งมีศรีสุข 50 ปี เป็นอัครมหาเสนาบดี 10 ปี ต่อมาถูกปลด ออกจากตำ�แหน่ง ชีวิตตกระกำ�ลำ�บาก ตื่นขึ้น ฮั่นจงหลีกล่าวว่า เกาเหลียงยังไม่สุก ฝันจบชั่วชีวิต ลื่อต้งปิง แปลกใจ อาจารย์รู้ความฝัน ฮั่นจงหลีว่า ชีวิตคนก็เป็นเช่นนี้แหละ ลื่อต้งปิงจึงปลงตก ละกิเลส ขอปวารณา เป็นศิษย์ ฮั่นจงหลีได้นำ�ลื่อต้งปิงไปบำ�เพ็ญเพียรที่เขานกกระเรียนและถ่ายทอดเคล็ดลับ จนสำ�เร็จเป็นเซียน ตามความเชื่อ เทพเจ้าทั้ง 8 องค์นี้จะอยู่ด้วยกันเสมอ ขาดองค์ใดองค์หนึ่ง ไม่ได้ เพราะเป็นเทพที่มีหน้า ที่คุ้มครองและช่วยเหลือมนุษย์ที่ตกทุกข์ได้ยาก ตามความเชื่อมนุษย์จะขอพรจากเซียนทั้งแปดให้เรื่องที่แตกต่าง กันไปดังนี้ 1. เซียนพิการ (หลีทิก๊วย) ขอพรเพื่อใหัหายจากโรคภัยไข้เจ็บทั้งปวง 2. เซียนห้องสมุด (ฮั่นเจ็งลี้) ขอพรใพ้มีความกล้าหาญ เข้มแข็ง เอาชนะศัตรูได้ 3. เซิยนอาจารย์ (ลื่อท่งปิน) ขอพรค้าขายร่ำ�รวย เป็นมหา เศรษฐี 4. เซียนค้างคาวเผือก (เตียกั๊วเล่า) ขอพรให้มีเสน่ห์ เป็นที่นิยมรักใคร่ของคนทั้งหลาย 5. เซียนวณิพก (น่าไชฮั้ว) ขอพรให้เป็นศิลปินที่มีคนนิยม 6. เซียนสาวสวย (ฮ้อเซียนโกว) ขอพรให้อายุยืน รูปร่างสวยงาม สติปัญญาดี 7. เซียนกวี (ฮั้นเจียงจือ) ขอพรให้เป็นนักประพันธ์ กวีที่มีชื่อเสียง 8. เซียนถ้ำ� (เชาก๊กกู๋) ขอพร มิให้ภูตผีภัยพาลมารบกวน อ้างอิง

วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี, โป๊ยเซียน. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก http://th.wikipedia.org/wiki/โป๊ยเซียน ----------------, โป๊ยเซียน (เทพเจ้าจีน). [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก http://th.wikipedia.org/wiki/โป๊ยเซียน_(เทพเจ้าจีน) www.hudong.com, ภาพโป้ยเซียนนั่งเรือข้ามทะเล [ออนไลน์] http://tupian.hudong.com/a0_00_38_01300000197318123063385581874_jpg.html

8.


เกร็ดความรู้เกี่ยวกับหลักก๊กฮงเสี่ยง หลักก๊กฮงเสี่ยง

(六国封相) “หลักก๊กฮงเสี่ยง” เป็นงิ้วป่วงเซียง ชุดพิเศษที่กล่าวว่า พิเศษ เพราะการแสดงชุดนี้ จำ�เป็นต้องใช้ นักแสดงเป็นจำ�นวนมาก จึงมิใช่ทุกคณะจะสามารถแสดงการแสดงชุดนี้ได้ ต้องเป็นคณะที่ใหญ่พอสมควร จึง จะมีจำ�นวนนักแสดงเพียงพอ นักรบทั้ง 6 รัฐ ออกมาร่ายรำ�กลางเวที สีสันของชุดทั้ง 6 รัฐที่แตกต่างกัน ดนตรีที่เร้าใจ ลีลาที่ สวยงาม ผู้ที่สำ�คัญที่สุดในงิ้วเรื่องนี้ กลับไม่ใช่เหล่านักรบทั้ง 6 รัฐ แต่คือ อัครมหาเสนาบดีร่วมของรัฐทั้ง 6 ผู้มีนามว่า “ซูฉิน” (โซวชิ้ง)(苏秦) ซูฉิน เป็นบุคคลในยุคประวัติศาสตร์จีน ในสมัยจั้นกว๋อ ในสมัยนั้น ประเทศจีนได้แบ่งออกเป็นรัฐ ใหญ่ๆ 7 รัฐ ประกอบด้วย ฉี ฉู่ เอี้ยน จ้าว เว่ย หาน และเฉิน ในเวลานั้น มีผู้คนจำ�นวนมาก ที่พยายาม จะเสนอความคิดของตนต่อรัฐต่างๆ เพราะหากความคิดของใครถูกนำ�ไปใช้ ชื่อเสียงของเจ้าของความคิดย่อม ต้องดังเป็นพลุแตก ซูฉินถือเป็นหนึ่งในคนจำ�นวนนั้น ผิดแต่ว่า เขาไม่ได้อยากมีชื่อเสียง แต่เพราะเขาเชื่อมั่น ในความรู้ของตนมากกว่าคนอื่น

ภาพการแสดง หลักก๊กฮงเสี่ยงบนเวทีมีนักรบทั้ง 6 รัฐ ก�ำลังร่ายร�ำกลางเวที ซูฉิน เป็นคนที่มีปณิธานที่จะทำ�การใหญ่ ในปีหนึ่ง เขาได้ออกเดินทางไปรัฐฉิน และได้เสนอนโยบาย ให้กลืนรัฐเล็กๆ แต่เนื่องจากในขณะนั้นรัฐฉินยังไม่มีความพร้อมจึงปฎิเสธเขาไป การเดินทางอันยาวไกล ทำ�ให้ ค่าใช้จ่ายของเขาค่อยๆ ร่อยหรอลง เสื้อผ้าชำ�รุด เขาจึงตัดสินใจกลับบ้าน เมื่อกลับถึงบ้าน ด้วยสภาพของเขา ที่กลับมา แม้แต่ภรรยาก็ไม่ลุกมาจากเครื่องทอผ้ามาต้อนรับ พี่สะใภ้ก็ไม่ทำ�อาหารให้ทาน พ่อแม่ก็ไม่สนใจ ใน บางตำ�นาน ยังกล่าวด้วยซ้ำ� ว่าวันเกิดพ่อแม่ ซูฉินและภรรยานำ�เหล้าไปฉลองวันเกิดพ่อแม่ เมื่อพ่อแม่รับเหล้า ไป ก็บอกว่า เหล้าของเขาเปรี้ยว 9.


ปีต่อมา ภรรยาของเขาจึงนำ�เหล้าจากบ้านข้างๆ ไปให้แทน แต่พ่อแม่สามีก็ยังบอกว่าเปรี้ยว นาง จึงบอกว่า เหล้านี้มาจากป้าข้างบ้าน พ่อแม่สามีกลับด่าว่านางว่า “เหล้าที่ผ่านมือพวกเจ้า เปรี้ยวทั้งนั้น แหละ” แต่การกระทำ�เหล่านี้ มิได้ทำ�ให้เขาท้อแท้เลย กลับทำ�ให้เขาพากเพียรมากกว่าแต่ก่อน ยามง่วงก็ใช้ลิ่ม แทงต้นขาของตนเอง เพื่อขจัดความง่วง เพื่อจะได้อ่านตำ�ราต่อ หลังจากที่เขาพากเพียรจนเห็นควรว่า น่าจะออก เสนอนโยบายใหม่ได้แล้ว จึงออกเดินทางอีกครั้ง ในครั้งนี้เขาเสนอกลยุทธ์ใหม่ คือ “กลยุทธ์ผสานแนวตั้ง” โดยการรวมรัฐทั้ง 6 อันประกอบไปด้วย ฉี ฉู่ เอี้ยน เจ้า เว่ย หาน รวมเป็นพันธมิตรเพื่อต่อต้านรัฐฉิน เพราะในขณะนั้น รัฐฉิน เข้มแข็งมากที่สุด ผลปรากฏว่า เมื่อรัฐแรกเห็นด้วย ก็ได้มอบตรามหาเสนาบดีให้กับซูฉิน เพื่อไปเจรจากับอีก 5 รัฐที่เหลือ รัฐที่เหลือเหล่านี้ เมื่อเห็นตรา ก็เกิดความเชื่อใจ จึงได้ร่วมเป็นพันธมิตร เมื่อแผนนี้สำ�เร็จ ก็ทำ�ให้รัฐฉินไม่สามารถเข้ามาขยาย อำ�นาจในรัฐที่เหลือได้นานถึง 15 ปี จนกระทั่งจิ๋นซีฮ่องเต้รวมแผ่นดิน “หลักก๊กฮงเสี่ยง” จึงไม่ใช่แต่การแสดงเพื่อความสวยงาม แต่เป็นการแสดงที่แฝงด้วยคติสอนใจ ที่ว่า “ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำ�เร็จอยู่ที่นั่น การศึกษาเป็นสิ่งสำ�คัญ ปณิธานก็เป็นสิ่งที่ ขาดไม่ได้ ความผิดพลาดล้มเหลวเป็นบันไดก้าวแรกแห่งความสำ�เร็จ” เพื่อให้ชนทุกชั้น คนทุกวัย ได้เอาเยี่ยงอย่าง “ซูฉิน” หรือโซวชิ้ง ผู้ทำ�หน้าที่และความฝันของตนให้เป็นจริงด้วยความพยายามที่ไม่สิ้นสุด อ้างอิง

แปลงนาม, งิ้วแต้จิ๋วเบิกโรง (ป่วงเซียง) ,BLOGGANG, (ปรับปรุงล่าสุด วันที่ 5 มีนาคม 2553), [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=plaengnam&month=01-2008&date=13&group=2&gblog=5 (เข้าถึงเมื่อ:10 มกราคม 2554).

เกร็ดความรู้เกี่ยวกับเปาบุ้นจิ้น

包青天 ข้อมูลส่วนตัว

10.

ภาพวาดเปาบุ้นจิ้น

เกิด พ.ศ. 1542 สถานที่เกิด นครเหอเฟย์ มณฑลอานฮุย ประเทศจีน เสียชีวิต พ.ศ. 1605 สถานที่เสียชีวิต นครไคฟง มณฑลเหอหนาน ประเทศจีน อายุ 63 ปี งาน-อาชีพ ข้าราชการพลเรือน คู่สมรส เจิงฮูหยิน ถุงฮูหยิน ซุนฮุหยิน บุตร เปาอี้ (包繶) เปาซัว (包綬)


เปาบุ้นจิ้นในการแสดงงิ้ว แสดงโดย สุมา จรัสแนว

ประวัติชีวิต

เปาเจิ่ง (包拯) , สมัญญาว่า “ซีเหริน” (希仁; “ยอดคน”) , นามที่ได้รับการเฉลิมเมื่อ ถึงแก่กรรมแล้วว่า “เสี้ยวสู้” (孝肅; “ผู้เป็นปูชนียะประหนึ่งบิดามารดา”) หรือรู้จักในไทยตามสำ�เนียงแต้จิ๋ว ว่า “เปาบุ้นจิ้น” เป็นข้าราชการชาวจีน มีชีวิตอยู่จริงในรัชสมัยสมเด็จพระจักรพรรดิเหรินจงแห่งราชวงศ์ซ่ง มีชื่อเสียงมากและเป็นที่สรรเสริญในด้านความซื่อสัตย์และความยุติธรรม กระทั่งต่อมาภายหลังได้รับยกย่องใน เอเชียว่าเป็นเทพเจ้าแห่งความยุติธรรมและเป็นสัญลักษณ์แห่งความยุติธรรม เปาเจิ่ง หรือ เปาบุ้นจิ้น ถือกำ�เนิดขึ้นในครอบครัวนักวิชาการแห่งนครเหอเฟย์ มณฑลอานฮุย ที่ซึ่งใน ปัจจุบันประดิษฐานวัดเจ้าเปา (包公祠; คำ�อ่าน: เปากงฉือ) วัดดังกล่าวสถาปนาขึ้นใน พ.ศ. 1609 ใกล้กับ สุสานของเปาเจิ่ง เมื่ออายุได้ยี่สิบเก้าปีได้เข้ารับการทดสอบหลวง และผ่านการทดสอบระดับสูงสุด ได้รับแต่งตั้งเป็น บัณฑิตเรียกว่า “จินฉื่อ” และต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ว่าราชการกรุงไคฟง อันเป็นเมืองหลวงแห่งประเทศจีน ในสมัยราชวงศ์ซ้ง ในสมัยที่ดำ�รงตำ�แหน่งหน้าที่ในราชการ เปาเจิ่งไม่ปรานีและประนีประนอมกับความทุจริต ใด ๆ เลย เปาเจิ่งนั้นมีนิสัยรักและเทิดทูนความยุติธรรม ปฏิเสธที่จะเข้าถึงอำ�นาจหน้าที่โดยวิถีทางอันมิชอบ บุคคลผู้หนึ่งที่ชิงชังเปาเจิ่งนักได้แก่ราชครูผัง (龐太師; คำ�อ่าน: ผังไท้ชือ) อย่างไรก็ดี ยังไม่ปรากฏข้อมูล ทางประวัติศาสตร์ที่แน่ชัดรับรองว่าราชครูผังผู้นี้มีความชิงชังในเปาเจิ่งจริง นอกจากนี้ การปฏิบัติราชการโดย บริสุทธิ์ยุติธรรมอย่างไม่เห็นแก่หน้าผู้ใดยังทำ�ให้เปาเจิ่งมีความขัดแย้งกับข้าราชการชั้นสูงบางกลุ่ม ซึ่งรวมถึง นายกรัฐมนตรีซ้งหยาง เปาเจิ่งเคยสั่งลดขั้นตำ�แหน่งและปลดข้าราชการถึงสามสิบคนในคราเดียวกัน เหตุเพราะ ทุจริตต่อหน้าที่ราชการ รับและ/หรือติดสินบน และละทิ้งหน้าที่ราชการ กับทั้งเปาเจิ่งยังเคยกล่าวโทษจางเหยา จั๋ว พระปิตุลาของพระวรชายา ถึงหกครั้ง อย่างไรก็ดี เนื่องจากความซื่อสัตย์และเฉียบขาดในการปฏิบัติหน้าที่ จนเป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัย สมเด็จพระจักรพรรดิเหรินจงจึงมิได้พระราชทานราชทัณฑ์แก่เปาเจิ่งในอันที่ได้ ล่วงเกินบุคคลสำ�คัญดังกล่าวนี้ อย่างไรก็ตาม เพื่อนร่วมงานและผู้สนับสนุนคนสำ�คัญคนหนึ่งของเปาเจิ่ง ได้แก่ อ๋องแปด (八王爺; คำ�อ่าน: ปาหวังอี๋) ซึ่งเป็นพระมาตุลาในสมเด็จพระจักรพรรดิเหรินจง 11.


เปาเจิ่งถึงแม้รับราชการเป็นเวลากว่าสี่สิบห้าปีและมีตำ�แหน่งหลากหลาย เริ่มตั้งแต่เป็นนายอำ�เภอ ผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้ตรวจราชการแผ่นดิน ผู้ว่าราชการกรุง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และได้เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมหกเดือนก่อนถึงแก่อสัญกรรม เป็นต้น แต่ผู้คนมักรู้จักเปาเจิ่งในด้านตุลาการ แม้ว่าความจริงแล้วเปาเจิ่งไม่ได้มีอาชีพเป็นตุลาการโดยตรงก็ตาม ความเด็ดเดี่ยวและกล้าตัดสินใจ ทำ�ให้ผู้คน พากันยกย่องและคอยร้องทุกข์ต่อเปาเจิ่งเสมอ เปาเจิ่งมีหลักในการปฏิบัติราชการว่า “จิตใจสะอาดบริสุทธิ์คือหลักแก้ไขปัญหามูลฐาน ความเที่ยงตรงเป็นหลักในการดำ�เนินชีวิต จงจดจำ�บทเรียนในประวัติศาสตร์ไว้และอย่าให้คนรุ่น หลังเย้ยหยันได้” ด้านความเป็นอยู่ส่วนตัวและอัธยาศัยนั้น ประวัติศาสตร์จีนบันทึกไว้ว่า เปาเจิ่งเป็นคนตรง ไปตรงมา รังเกียจข้าราชการฉ้อราษฎร์บังหลวง และกดขี่ขูดรีดประชาชน แม้จะเกลียดคนเลวแต่ก็มิใช่เป็น คนดุร้าย เปาเจิ่งเป็นคนซื่อสัตย์และให้อภัยคนทำ�ผิดโดยไม่เจตนา กับทั้งไม่เคยคบคนง่ายๆ อย่างไร้หลักการ ไม่เสแสร้งทำ�หน้าชื่นและป้อนคำ�หวานเพื่อเอาใจคน มีชีวิตความเป็นอยู่อย่างเปิดเผย ไม่มีลับลมคมใน การที่ เปาเจิ่งได้รับยกย่องว่าเป็นประดุจเทพเจ้าแห่งความยุติธรรมทำ�ให้ชาวจีนเชื่อว่า เปาเจิ่งนั้นกลางวันตัดสินคดี ความในมนุษยโลก กลางคืนไปตัดสินคดีความในยมโลก ในปัจจุบันในงิ้วตลอดจนในละครและภาพยนตร์ ผู้แสดงมักแสดงเป็นเปาเจิ่งโดยมีใบหน้าสีดำ� และมี พระจันทร์เสี้ยวอันเป็นเครื่องหมายที่มีมาแต่กำ�เนิดประดิษฐานอยู่บนหน้าผาก ใช้เครื่องประหารเป็นชุดซึ่งได้รับ พระราชทานจากสมเด็จพระจักรพรรดิอีกด้วย โดยชุดเครื่องประหารประกอบด้วย เครื่องประหารหัวสุนัข สำ�หรับประหารอาชญากรที่เป็นสามัญชน เครื่องประหารหัวพยัคฆ์สำ�หรับอาชญากรที่เป็นข้าราชการและผู้มี บรรดาศักดิ์ และเครื่องประหารหัวมังกรสำ�หรับพระราชวงศ์ นอกจากนี้ เปาเจิ่งยังได้รับพระราชทานหวายทองคำ� จากสมเด็จพระจักรพรรดิพระองค์ก่อนโดยให้สามารถใช้เฆี่ยนตีสั่งสอนสมเด็จพระจักรพรรดิพระองค์ปัจจุบันได้ และกระบี่ อ าญาสิ ท ธิ์ โ ดยให้ มี อ าญาสิ ท ธิ์ ส ามารถประหารผู้ ใ ดก็ ไ ด้ นั บ แต่ ส ามั ญ ชนจนถึ ง เจ้ า โดยไม่ต้องได้รับพระราชานุญาตก่อนตามธรรมเนียมปฏิบัติ แต่หลังจากประหารแล้วให้จัดทำ�รายงานกราบบังคม ทูลทราบพระกรุณาด้วย เป็นที่มาของสำ�นวนจีนว่า “ฆ่าก่อน รายงานทีหลัง” (先斬後奏, คำ�อ่าน: เซียนฉ่านโฮ้วโจ้ว) เปาเจิ่งเป็นที่เลื่องลือกันทั่วไปถึงความเข้มงวดในการปฏิบัติราชการ ความกตัญญูกตเวที และการ ปฏิเสธความอยุติธรรมและการทุจริตในหน้าที่ราชการชนิดหัวชนฝา ชื่อเสียงดังกล่าวทำ�ให้ เปาเจิ่งกลายเป็น สัญลักษณ์แห่งความบริสุทธิ์ยุติธรรม (清官, คำ�อ่าน: ชิงกวน) และได้รับความนิยมอย่างรวดเร็วกระทั่งต่อ มาได้รับความนับถือเลื่อมใสถึงขนาดยกย่องเสมอเทพเจ้า เรื่องราวเกี่ยว กับเปาเจิ่งได้รับการเล่าขานและมีการ สร้างสรรค์วรรณกรรมหลายเรื่อง ทำ�ให้ เปาเจิ่งเป็นที่รู้จักในชื่อ “เปากง” (包公; “ปู่เปา” “ท่านเปา” หรือ “เจ้าเปา”) “เปาไตจื้อ” (包待制; “ว่าที่ราชเลขาฯ เปา”) “เปาหลงถู” (包龍圖; “เปาผู้เป็นประดุจ มังกร” ชื่อนี้รู้จักในไทยว่า “เปาเล่งถู”) และ “เปาชิงเทียน” (包青天; “เปาผู้ทำ�ให้ฟ้ากระจ่าง”) เปาเจิ่งมีชีวิตอยู่ในช่วงก่อนสมัยสุโขทัยเมื่อเทียบกันแล้ว ส่วนชื่อ “เปาบุ้นจิ้น” ในไทยเป็นคำ� อ่านสำ�เนียงแต้จิ๋ว ซึ่งสำ�เนียงจีนกลางว่า “เปาอุ๋นเจิ่ง” หรือ “เปาเหวินเจิ่ง” นอกจากนี้ ในไทยเอง คำ� “เปาบุ้นจิ้น” หรือ “ท่านเปา” ยังมีความหมายว่า ตุลาการ ศาล หรือผู้พิพากษาอีกด้วย และบางทีก็เจาะจง ว่าหมายถึงตุลาการที่เที่ยงธรรมด้วย 12.


การตัดสินคดีสำ�คัญ คดีฉาเม่ย (鍘美) : เปาเจิ่งหรือเปาบุ้นจิ้น ได้ตัดสินประหารเฉินชื่อเหม่ย (陳世美) ผู้ทอดทิ้งภรรยาไป สมรสกับพระราชวงศ์จนได้รับพระราชทานยศเป็นพระราชบุตรเขย เมื่อภรรยาพร้อมลูกน้อยเดินทางซมานจาก บ้านเกิดมาตามหาเฉินซื่อเหม่ยในเมืองหลวง แทนที่จะได้รับการอุ้มชูยกย่อง เฉินซื่อเหม่ยปฏิเสธและพยายาม ฆ่าภรรยาของตน ภรรยาของเฉินซื่อเหม่ยผู้นั้นจึงนำ�ความไปร้องต่อศาลกรุงไคฟง ชื่อคดีนี้รู้จักกันทั่วไปจาก ละครโทรทัศน์ชุดเปาบุ้นจิ้นในชื่อ “คดีประหารราชบุตรเขย” คดีหลีเมาฮ้วนไท้จี๋ (貍貓換太子) : หรือคดีเกี่ยวกับการทำ�ลายชื่อเสียงของพระวรชายาด้วยการลักลอบ นำ�ชะมดมาสับเปลี่ยนกับพระราชโอรสที่เพิ่งมีประสูติกาลและต่อไปจะได้ทรงเป็นมกุฎราช กุมาร คดีนี้มีขันที ชื่อ “กัวหวาย” (郭槐) เป็นจำ�เลย ขันทีกัวหวายนั้นสนับสนุนงานของเปาบุ้นจิ้น มาตลอดและเป็นที่ไว้วาง พระราชหฤทัยของสมเด็จพระจักรพรรดิ ทำ�ให้กระบวนการสอบสวนเป็นไปได้โดยลำ�บาก เปาเจิ่งจึงปลอมตัว เป็น “หยานหลัว” (阎罗; “มัจจุราช”) และจำ�ลองยมโลกขึ้นเพื่อล่อลวงให้ขันทีรับสารภาพ ชื่อคดีนี้รู้จัก กันทั่วไปจากละครโทรทัศน์ชุดเปาบุ้นจิ้น ในชื่อ “คดีสับเปลี่ยนองค์ชาย” เกียรติศัพท์และคดีของเปาบุ้นจิ้น เป็นที่ยอมรับและนำ�ถือกันทั่วไป ในประเทศไทยได้มีการนำ�รูป เคารพที่เชื่อกันว่าสร้างขึ้นหลังจากเปาบุ้นจิ้นถึงแก่อนิจกรรมนั้นมาประดิษฐาน โดยตั้งอยู่ที่ อเนกกุศลศาลา ใกล้กับวัดญาณสังวรารามวรมหาวิหาร อำ�เภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี

ตำ�นานเกี่ยวกับเปาบุ้นจิ้นหน้าดำ� อดี ต ชาติ กำ�เนิ ด ของเปาบุ้ น จิ้ น นั้ น เป็ น ผู้ ที่ มี รู ป ร่างหน้าตาสวยงามเป็นสง่าราศรี เป็นดาวเทพอยู่บน สรวงสวรรค์ เป็นบริวารของเง็กเซียนฮ่องเต้และเป็น ดาวเทพที่ทรงไว้ด้วยความยุติธรรม มีชื่อว่า ดาวบุ๋นเข็กแซ คู่กับดาวบู๊เข็กแซ ผู้ที่มีรูปร่างหน้าตาอัปลักษณ์ ทรงไว้ ด้วยความกล้าหาญ ดังมีเรื่องเล่าว่าดังนี้ ในสมัยแผ่นดินซ้อง ซึ่งมีพระเจ้าซ้องจินจงฮ่องเต้ ครองราชสมบั ติ อ ยู่ นั้ น ทางหั ว เมื อ งชายแดนเกิ ด ความ กระด้ า งกระเดื่ อ งเนื่ อ งจากการปกครองของพวก ขุ น นางกั ง ฉิ น มี ก ารช่ อ ราษฎร์ บั ง หลวงกดขี่ ข่ ม เหง อาณาประชาราษฎร์ราษฎรไม่ได้รับความยุติธรรม ระส่ำ�ระส่ายประชาราษฎร์ไม่เป็นอันทำ�มาหำ�กิน

ภาพเปาบุ้นจิ้นในละครโทรศัทน์เกิดความ รับบทโดย จินเชาฉิน (金超群)

พวกขุนนางกังฉินก็ต่างรีดนาทาเร้นเก็บเอาภาษีของราษฎรเอาไปตามใจชอบ จึงเกิดการจลาจลบ้านแตก สาแหรกขาด แบ่งพรรคแบ่งพวก ซ่องสุมผู้คน เกิดรบพุ่งฆ่าฟันกันล้มตายลงเป็นอันมาก ทางเมืองหลวงจัดส่ง กองทัพไปปราบปราม แต่กองทัพก็กลับไปเข้ากับขุนนางกังฉิน มีการเพ็ดทูลฮ่องเต้ในเรื่องต่างๆ องค์ฮ่องเต้จน พระทัยมิรู้ที่จะทรงปราบปรามอย่างไร เพราะพวกขุนนางกังฉินมีมาก แผ่นดินซ้องในระยะนี้จึงเกิดกลียุคขึ้น หา ขุนนางตงฉินซื่อสัตย์ความยุติธรรมแทบไม่มีเหลืออยู่ 13.


พระเจ้าซ้องจินจงฮ่องเต้จึงตรัสเรียกประชุมประมุขอำ�มาตย์ นักปราชญ์ราชบัณฑิต โหราจารย์ ประจำ�ราชสำ�นักเพื่อทรงปรึกษาหารือในในราชการแผ่นดิน ในที่ประชุมจึงกราบทูลแนะนำ�ให้พระองค์ทรง ทำ�การบวงสรวงเทพยดาเง็กเซียนฮ่องเต้เป็นผู้เป็นใหญ่ในสรวงสวรรค์ และทรงอธิฐานขอให้ทรงมีขุนนางที่ ซื่อสัตย์ประกอบด้วยสติปัญญาความรู้มาช่วยทำ�นุบำ�รุงแผ่นดินจากเง็กเซียนฮ่องเต้ผู้ที่อยู่บนสวรรค์ เง็กเซียนฮ่องเต้จึงร้อนอาสน์ สอดส่องทิพเนตรดูเหตุร้ายก็แจ้งในพระทัยว่าพระเจ้าซ้องจินจงฮ่องเต้ ปราถนาและอธิฐานในสิ่งใด จึงมีเทวบัญชาตรัสหาเทพยดาดาวบู๋เข็กแซ ผู้ที่มีรูปร่างหน้าตาอัปลักษณ์เข้าเฝ้า โดยด่วน และเพื่อให้เป็นไปตามดวงชะตาเทวลิขิต ให้เทพยดาดาวทั้งสอง คือ ดาวบุ๋นเข็กแซ และดาวบู๊เข็กแช ลงมาจุติในโลกมนุษย์เพื่อช่วยราชการทำ�นุบำ�รุงแผ่นดินพระเจ้าซ้องจินจงฮ่องเต้สืบไป ฝ่ายเซี่ยงแซไต้ตี ที่ปรึกษาได้ทูลกับเง็กเซียนฮ่องเต้ และเสนอนะว่า ดาวบู้เข็กแซนั้น หน้าตาอัปลักษณ์ ถ้าลงไปจุติในโลกมนุษย์แล้วจะได้รับความทุกยากลำ�บาก ด้วยในขั้นต้นนั้นดาวบู้เข็กแซยังมีเคราะห์กรรมติดตัว อยู่ เมื่อคนทั้งหลายเห็นหน้าตาอันอัปลักษณ์ของเขาแล้วจะพากันกลียดชัง ไม่มีใครอุปถัมภ์ค้ำ�ชูให้พ้นจากความ เดือดร้อนได้ จึงเสนอแนะว่าควรเปลี่ยนศรีษะของดาวบู้เข็กแซกับดาวบุ๋นเข็กแซ เนื่องจากดาวบุ๋นเข็กแซนั้น หน้าตาสวยงาม สมควรให้กลับกลายเป็นหน้าตาอัปลักษณ์เมื่อมีความดีอยู่ในตัวแล้วถึงลงไปเกิดเป็นคนหน้าตา อัปลักษณ์อย่างไรแล้วก็คงไม่ได้รับความทุกยากลำ�บากนัก คงมีผู้สนับสนุนอุปถัมภ์ค้ำ�ชู เง็กเซียนฮ่องเต้เมื่อได้ทรงฟังดังนั้นก็ชอบพระทัยและทรงเห็นด้วย จึงมีพระเทบัญชาให้เทพยดาจัดการ เปลี่ยนศีรษะของดาวบุ๋นเข็กแซ กับ ดาวบู้เข็กแซสลับกลับกันเสีย แล้วจึงส่งมาจุติบนโลกมนุษย์ต่อไป โดย ดาวบุ๋นเข็กแซ ลงมาจุติเป็น “เปาบุ้นจิ้น” ส่วนดาวบู๊เข็กแซ เป็น “ตี้ชิง” ด้วยเหตุนี้แล “เปาบุ้นจิ้น” จึง มีหน้าตาอัปลักษณ์ ส่วน “ตี้ชิง” นั้นจีงปรากฎมีรูปร่างหน้าตาหล่อเหลา นั่นเอง

อ้างอิง

นฤบดี วรรธนาคม. (2541). ผลทางสังคมของภาพยนตร์จีนชุด “เปาบุ้นจิ้น” ที่มีต่อผู้ชมในกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ : สาขาวิชานิเทศศาสตร พัฒนาการ ภาควิชาการประชาสัมพันธ์ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (วิทยานิพนธ์ นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต). ศิลปวัฒนธรรม, (28, 7). (2550, พฤษภาคม). หน้า 162. ไทยรัฐ. (2551, 26 กรกฎาคม). ท่านเปาหญิง ICC จ่อนั่งข้าหลวงใหญ่สิทธิฯยูเอ็น. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.thairath.co.th/news.php?section=international&content=98330. (เข้าถึงเมื่อ: 14 กรกฎาคม 2551). ------------, หวั่น “เป้าบุ้นจิ้น” ก่อกระแสเด็ก คนทำ�ผิดต้องตายเท่านั้น!!!. (2549, 8 พฤศจิกายน). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://webboard.mthai.com/52/2006-11-08/280319.html. (เข้าถึงเมื่อ: 14 สิงหาคม 2551).

------------, เปาบุ้นจิ้น - จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี เปาเจิ่ง 包拯. เข้าถึงได้จาก “http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B9%89%E0% B8%99%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B9%89%E0%B8%99”. (เข้าถึงเมื่อ: 10 มกราคม 2554). ------------, เปาบุ้นจิ้น ? ทำ�ไมจึงมีหน้าตาอัปลักษณ์. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=392bbe1855cf3272. (เข้าถึงเมื่อ: 10 มกราคม 2554). Wagner, Donald B. (2001), “The Administration of the Iron Industry in Eleventh-Century China,” Journal of the Economic and Social History of the Orient (Volume 44 2001) : 175-197.

14.


คณะผู้ด�ำเนินงาน กิจกรรมเรียนรู้ดูงิ้วแต้จิ๋ว สุมา จรัสแนว ฐาปะนะ วงษ์สาธิตศาสตร์ ดนุพล ศิริตรานนท์ พชร สิทธิพลเจริญ กิติพล เดชจิรารุวัฒน์ ประเสริฐ จินดาอุดมเศรษฐ สมชาย เสรีเจริญชัย กนกธร ตั้งกิติธร วริทธิ์ธร ตั้งกิติธร ศิรินุช แซ่แต้ ปิโยรส โชคอุดมไพศาล วัชจนา กมลพรมงคล วีณา เบญจอัศวมงคล สมบูรณ์ วงศ์พิมล ทิวา ฉาไธสง ธนพร จรัสแนว

ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ ผู้จัดการงานวิชาการเอกสาร และประชาสัมพันธ์ ฝ่ายวิชาการและข้อมูลด้านศิลปะการ ผู้ช่วยประชาสัมพันธ์ เสนาธิการ และผู้จัดการทั่วไป ผู้ช่วยผู้จัดการทั่วไป ผู้ช่วยบรรยายไทย ผู้ก�ำกับการแสดง ผู้ช่วยผู้ก�ำกับ พิธีกร งานออกแบบศิลป์ งานลงทะเบียน และประชาสัมพันธ์ภายในงาน ผู้จัดการบูธงิ้ว ผู้จัดการบูธปูนปลาสเตอร์ ผู้จัดการบูธน�้ำตาลปั้น ประสานงาน www.ngiew.com ฯลฯ

ขอขอบพระคุณ อากู๋ อาอี๊ พี่ๆ น้องๆ และบุคลากรจากคณะงิ้วต่างๆ และท่านผู้มีเกียรติทุกท่าน ในการ่วมกันอนุรักษ์สืบทอดวัฒนธรรมการแสดงงิ้วไทยให้อยู่คู่สังคมไทยตลอดไป

戲 เว็บ งิ้ว.คอม www.ngiew.com

15.


ท�ำความรู้จักกับ “เว็บ งิ้ว.คอม” ความเป็นมาของเว็บไซต์ เว็บไซต์แห่งนี้เกิดขึ้นจากลูกหลานคนงิ้วบวกกับความภาคภูมิใจในความสามารถของบรรพบุรุษใน ด้านศิลปะการแสดงงิ้ว ที่เคยสร้างเกียรติประวัติให้แก่วงศ์ตระกูลผนวกกับความรู้สึกหวงแหน และต้องการ มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และสืบทอดมรดกทางวัฒนธรรมอันล�้ำค่าของการแสดงงิ้วสู่คนรุ่นใหม่ผ่านทาง เว็บไซต์ www.ngiew.com ภายใต้ชื่อ งิ้ว.คอม โดยสร้างสรรค์ขึ้นเพื่อเป็นสื่อกลางในการเชื่อมโยง เครือข่ายสังคมของคนกลุ่มเล็กๆ ทั้งบนโลกออนไลน์และในชีวิตจริง ที่มีความหลงใหลในมนต์เสน่ห์ ของการแสดงงิ้วในเมืองไทย อีกทั้งยังเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลพื้นฐานด้านศิลปะการแสดงงิ้ว พร้อมทั้งน�ำเสนอ ข่าวคราว ความเคลื่อนไหวของวงการงิ้วในเมืองไทย ด้วยความร่วมมือจากสมาชิกในหลากหลายสาขาอาชีพ ซึ่งทุกท่านล้วนมีทัศนและอุดมการณ์อันมุ่งมั่น ในการอนุรักษ์และสืบทอดศิลปะการแสดงงิ้วไทยให้อยู่คู่บริบท ในการด�ำเนินชีวิตแห่งความหลากหลายทางวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของสังคมไทยตราบนานเท่านาน

พันธกิจ

• ส่งเสริม สนับสนุน และมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และพัฒนาศิลปะการแสดงงิ้วในประเทศไทยให้มีความ เจริญก้าวหน้า และอยู่รอดในสังคมยุคใหม่ • เผยแพร่ศิลปะการแสดงงิ้วให้เป็นที่รู้จัก ยอมรับ และเป็นที่นิยมในกลุ่มเยาวชนรุ่นใหม่ • รวบรวมข้อมูลสารสนเทศที่ส�ำคัญเกี่ยวกับศิลปะการแสดงงิ้วในประเทศไทย

วิสัยทัศน์

• ศิลปะการแสดงงิ้วในประเทศไทยได้รับการยอมรับและกลับมาเป็นที่นิยมอีกครั้งทั้งในกลุ่มผู้สูงอายุ และ เยาวชนคนรุ่นใหม่ • ศิลปะการแสดงงิ้วในประเทศไทยได้มีการพัฒนาและปรับเปลี่ยนรูปแบบไปในเชิงสร้างสรรค์ เกิดการ ผสมผสานทางวัฒนธรรม ก้าวทันโลกสมัยใหม่ และเป็นที่ยอมรับในสังคมอย่างกว้างขวางมากขึ้น • สนับสนุนให้มีการปลูกสร้างมีโรงงิ้วถาวร ส�ำหรับน�ำเสนอศิลปะการแสดงที่ได้รับการพัฒนาเป็นการ แสดงงิ้วที่มีรูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์ของคนไทย แก่กลุ่มผู้ชมคนไทยและชาวต่างประเทศ ส่งผลให้นัก แสดงและผู้ประกอบธุรกิจในอาชีพการแสดงงิ้วมีความมั่นคง และได้รับการยอมรับจากสังคมอย่างกว้าง ขวาง

วัตถุประสงค์ • • • • •

16.

เพื่อให้ความรู้และข้อมูลพื้นฐานเบื้องต้นในการเข้าถึงศิลปะการแสดงงิ้ว เป็นศูนย์กลางในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับศิลปะการแสดงงิ้ว กระตุ้นให้เยาวชนคนรุ่นใหม่หันมาสนใจและรู้สึกหวงแหนศิลปะการแสดงงิ้ว เพื่ออนุรักษ์ศิลปะการแสดงงิ้ว โดยเฉพาะงิ้วในประเทศไทยให้อยู่คู่คนไทยตลอดไป ส่งเสริมและสนับสนุนการต่อยอดทางวิชาการในด้านการอนุรักษ์ ส่งเสริม และพัฒนาศิลปะการแสดงงิ้ว ให้คงอยู่คู่กับสังคมไทยต่อไป


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.