britp´¹µÃÕ(ºÃÔµp)ºÔ´
britp´¹µÃÕ(ºÃÔµp)ºÔ´ ปิยะพิณ ท้าวเงิน
คำ�นำ�
ฉันยอมรับอย่างหน้าไม่อายเลยว่า ฉันคงมีชีวิตอยู่ต่อไปไม่ได้ ถ้าโลกนี้ไร้ซึ่งเสียงเพลง คงเป็นเพราะตัง้ แต่จำ� ความได้ ฉันอยูก่ บั พ่อ ผูช้ ายทีม่ กั จะเปิด เพลงฟังเสมอๆ ไม่ว่าจะเป็นที่บ้าน หรือระหว่างขับรถไปยังที่ต่างๆ ฉัน มักจะได้ยินเสียงเพลงจากเครื่องเสียงเครื่องโปรดของพ่อ ท่านมักร้อง เพลงคลอไประหว่างขับและฉันก็ชอบทีจ่ ะนัง่ ฟังเสียงคลอนัน้ พร้อมกับ จ�ำเนื้อเพลงแต่ละท่อนๆ ไม่ว่าจะเป็นเพลงไทยสากล หรือเพลงสากล (ส่วนใหญ่มักเป็นอย่างหลัง)
ฉันมักใช้เวลาไปกับการจดจ้องรายละเอียดของปกซีดี และเพลง ที่ได้ยินตามร้านซีดีต่างๆ และมักเพลิดเพลินกับการไปคอนเสิร์ตของวง ดนตรี ไม่ว่าจะทั้งไทยและเทศ กระทั่งถึงเวลาที่ฉันเติบโตขึ้น ฉันหลงใหลไปกับเพลงเกาหลีบ้าง ญี่ปุ่นบ้าง ตามกระแสของวัยรุ่นในยุคนั้น แต่ฉันก็สามารถกลับมายัง รากฐานในการฟังเพลงแบบเดิม คือ เพลงสากล จนถึงวันที่ฉันแน่ใจแล้ว ว่า ฉันจะลงหลักปักฐาน (ในการฟังเพลง) กับดนตรีสากล อย่างแน่นอน แต่กเ็ หมือนกับหนังสือ ทีจ่ ะต้องมีเล่มโปรด ฉันเองก็มแี นวเพลงที่ เป็นที่โปรดปราน นั่นคือบริตป็อป ด้วยความเรียบง่ายของดนตรี แต่แฝง ด้วยความแยบคายของเนื้อหาที่ใส่เข้ามา หากคุณไม่คุ้นเคยกับแนวเพลงบริตป็อป ฉันขอแนะน�ำ ให้คุณ ลองเปิดอ่านเรื่องราวภายในเล่มพร้อมกับลองเปิด Youtube และค้นหา ชื่อของนักดนตรีภายในเล่มและฟังไปด้วย ก็ได้
ไม่แน่ คุณอาจจะตกหลุมรักบริตป็อป อย่างที่ฉันเป็นอยู่ตอนนี้
ขอให้มีความสุขกับเสียงเพลงทุกวันนะคะ ปิยะพิณ ท้าวเงิน
Content
สารบัญ 08 WARM UP 14 กว่าจะบริตป็อป 26 เวลคั่มทูไทยแลนด์ 32 บิด(บริต) แบบไทย 68 เรารัก(บริต)ไทยแบนด์
WARM UP
WARM UP
13
โลกของเรานั้นมีอายุยาวนาน นานจนเราต้องหาที่นั่งเงียบๆ สบายๆ เอาไว้ ใช้ความคิดกันว่าหากจะค�ำนวณเวลานั้น ก็คงต้องนับตั้งแต่รุ่นที่เราสามารถเรียกตัว เองได้เต็มมากว่า ‘มนุษย์’นั้น ช่วงนี้ ก็น่าจะเป็นยุคศตวรรษที่ 21 ได้แล้ว ดนตรี คือ สิ่งที่มนุษย์ค้นพบมาเกือบจะพร้อมๆ กับพัฒนาการของมนุษย์ตั้งแต่ยังเป็นมนุษย์ ในช่วงยุคก่อนประวัติศาสตร์หรือมนุษย์ถ�้ำนั่นเอง พูดง่ายๆ คือ บรรดามนุษย์ถ�้ำทั้ง หลาย เมื่ออาศัยรวมกัน ครั้นจะจ้องหน้ากันเฉยๆ ก็คงจะเกิดอาการเบื่อ ซึม ออก อาการท�ำนองว่า “นี่พวกเราไม่มีอะไรท�ำกันรึอย่างไร?” จนต้องก้มลงมองนิ้วมองมือ ตนเอง และไอ้การมองนิ้วมองมือท�ำให้พวกเขามองเห็นมือของตนเองนั้น เวลาเอา มาประกบกันก็จะเกิดเป็นเสียงขึ้นมา ยิ่งไปกว่านั้นเมื่อยิ่งตบก็จะได้ยินเสียงตบๆ ที่ ว่าเป็นจังหวะน่ะสิ ซึ่งเสียงจังหวะๆ ดังกล่าวได้บังเกิดเกิดความสนุกสนาน คลาย ความเบื่อได้ หรืออาจช่วยกันหาเศษไม้กิ่งไม้ แล้วน�ำมากระทบกัน เกิดเป็นจังหวะที่ แปลกกว่าเสียงปรบมือ ยิ่งไปกว่านั้น น�ำสองอย่างมาผสมกัน ผลที่ได้ก็เกิดเป็นเสียง เพลง หรือดนตรีมาตั้งแต่ตอนนั้นเลย บริตป็อป : ดนตรีบริตบิด
WARM UP กระทั่งศตวรรษที่ 12 ค�ำว่า ‘ดนตรี’ ก็ได้เกิดขึ้นอย่างจริงๆ จังๆ เสียที โดย พัฒนามาพร้อมๆ กับการพัฒนาอุตสาหกรรมและสังคม ได้เกิดยุคสมัยของดนตรี มากมาย ไม่ว่าจะเป็นยุคที่เริ่มต้นจากดนตรีภายในโบสถ์ ที่ร้องเพื่อแสดงความ ศรัทธาต่อคริสตจักร เรื่อยมาจนถึงยุคบาโรค ที่เกิดนักประพันธ์มากมายหลายท่าน ไม่ว่าจะเป็นโมสาร์ท บีโธเฟ่น เรื่อยมาจนถึงยุคคลาสสิก และในยุคปัจจุบันซึ่งผสม ผสานเอาศิลปะอิมเพรสชั่นนิส ศิลปะที่เน้นสร้างความสมจริง มีเนื้อหาประชด ประชันสังคม ดังที่เราได้ยินกันในปัจจุบัน แต่ดนตรีที่กล่าวมาเป็นเพียงดนตรีคลาสสิกหรือดนตรีบรรเลงกันในฮอลล์ ใหญ่ๆ เท่านั้นเอง แล้วดนตรี หมายถึงดนตรีที่เราฟังกันในปัจจุบันละ ได้ถูกพัฒนา กันตั้งแต่ตอนไหน 14
แนวดนตรีที่เราฟังกันในปัจจุบันนั้นมีอยู่เยอะแยะมากมาย อาทิ ป็อป ร็อก คลาสสิค แจ๊ส บลูส์ โฟล์ก คันทรี อิเล็กทรอนิกส์ ฯลฯ เยอะเกินจนไม่รู้จะเรียก แนวดนตรีที่เพิ่งเกิดขึ้นใหม่อย่างไรดี แต่แนวดนตรีที่คนทั่วไปนิยมฟัง นิยมเสพย์ นั้นก็คงหนีไม่พ้นดนตรีป็อป ดนตรีป็อปนั้นมีมาตั้งแต่ทศวรรษที่ 1950s โดยดนตรี ป็อปนั้นถูกแต่งขึ้นมาโดยมีจุดประสงค์หลักคือเพื่อความเพลิดเพลินและการหวัง กลุ่มคนฟังกลุ่มใหญ่ ซึ่งจุดมุ่งหมายดังกล่าวถือว่าท�ำส�ำเร็จเพราะ ถึงแม้แต่ละยุค จะมีแนวดนตรีที่เด่นๆ ในยุคนั้น ทว่าเจ้าดนตรีป็อปที่ว่า ไม่ว่าจะผ่านไปกี่สิบปี แนว เพลงมันจะล�้ำแค่ไหน เพลงป็อปมันก็ยังคงขายได้ตลอดกาลนะสิ หากไม่เชื่อคุณลองสมมติตัวเองเป็นเด็กวัยรุ่นมัธยมไทยคนหนึ่ง ที่ทุกเย็น หลังเรียน คุณกับกลุ่มเพื่อนฝูงจะต้องพากันไปเดินเล่นลัลล้าที่สยาม ระหว่างเดิน เล่นอยู่นั้นคุณก็จะได้ยินเสียงเพลงซึ่งเป็นเพลงป็อปอยู่ดี แต่ใช่ว่าคนเราจะชอบฟังเพลงป็อปๆ ที่นิยมขายความฝันหวานแหวว จ�ำพวกเธอรักฉัน ฉันรักเธอ เธอรักเขา แต่ฉันรักเธออะไรท�ำนองนี้ไปเสียหมด คนเรา
บริตป็อป : ดนตรีบริตบิด
WARM UP ก็ย่อมมีทางเลือกที่จะฟังเพลงในแนวที่แตกต่างจากชาวบ้าน อย่างเช่นเธอชอบซื้อ ซีดีที่ B2S แต่ฉันจะซื้อที่ร้านโดเรมียังไงละ ก็เราไม่ได้ใช้หูคู่เดียวกันเสียหน่อย ไอ้ความต่างที่ว่านั้น ท�ำให้เกิดแนวดนตรีที่เราๆ ท่านๆ เรียกกันว่า ‘ดนตรี ทางเลือก’ หรือ ‘Alternative Music’ นั่นเอง แล้วไอ้เจ้าดนตรีอัลเทอร์เนทีฟนั้นน่ะ เขาก็ว่าๆ เป็นค�ำเรียกของทางฝั่งอังกฤษ ส่วนทางฝั่งอเมริกาเขามีค�ำเรียกของเขา เอาไว้ว่า ‘โมเดิร์นร็อก’ แต่ไม่ว่าจะเรียกยังไง ลักษณะของดนตรีมันก็คือๆ คล้ายๆ กันอยู่นะ อัลเทอร์เนทีฟ หรือเจ้าดนตรีทางเลือกที่เราเรียกๆ กัน หากจะลากยาว ไปถึงต้นตอ ก็ต้องขุดกันยาวนานมาก เอาเป็นว่า ดนตรีประเภทนี้นั้นมีต้นตอมา จากเพลงร็อก ซึ่งก็ถือเป็น Popular Music นั่นแหละ แต่ดนตรีร็อกนั้น มีที่มาที่ยาว กว่านั้น เพราะถือก�ำเนิดแตกหน่อมาจากดนตรีบลูส์ซึ่งเป็นดนตรีของชนผิวด�ำ หรือ ชนชั้นทาสที่หลั่งไหลเข้ามาในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยเป็นการน�ำเสนอเอาเรื่อง ราวอันแสนรันทด หวานอมขมกลืนของตนมาถ่ายทอดออกมาเป็นบทเพลง เพราะ ไอ้ค�ำว่า ‘บลูส์’ (Blues) นั้นไม่ได้แปลว่า สีฟ้า เพียงอย่างเดียวนะ ยังมีความหมาย ว่า เศร้าโศก ซึ่งบรรยายสภาพชีวิตของชนชั้นทาสที่ถูกกดขี่ในช่วงยุคศตวรรษที่ 19 ได้เป็นอย่างดี ซึ่งดนตรีบลูส์ก็ได้ถูกแตกหน่อออกมาเยอะแยะมากมาย รวมไปถึง ดนตรีร็อกนั่นเอง
15
กลับมาที่ดนตรีอัลเทอร์เนทีฟ ดนตรีประเภทนี้ได้ถูกค้นพบในช่วง ทศวรรษที่ 1980s ซึ่งลักษณะเด่นของอัลเทอร์เนทีฟคือ การไม่อิงค่าย หรือกระแส หลัก ซึ่งก็คือดนตรีป็อปทั่วๆไป หรือที่เราเรียกดนตรีประเภทนี้แบบง่ายๆ ว่า ดนตรี อินดี้นั่นไง
อัลเทอร์เนทีฟก็แบ่งเป็นหลายประเภทอยู่เหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็น
บริตป็อป : ดนตรีบริตบิด
WARM UP กรันจ์ อินดี้ป็อป โกธิกร็อก บริตป็อป หรืออินดี้ป็อป ซึ่งมันมีรายละเอียดปลีกย่อยที่ ต่างกันออกไป แต่สิ่งที่เราอยากจะน�ำเสนอให้คุณได้รู้จักคือ ดนตรีที่มาจากประเทศ อังกฤษ พูดถึงประเทศอังกฤษ ประเทศนี้นับได้ว่าเป็นประเทศต้นๆ ที่ทุกคนใฝ่ฝัน อยากไปเยือน เพราะเต็มไปด้วยวัฒนธรรม ผู้คน วิถีชีวิตที่มีเสน่ห์ยิ่งนัก รวมไปถึงเรื่องของดนตรี ประเทศอังกฤษถือได้ว่าเป็นประเทศที่มีความ ครีเอทีฟอย่างมาก คือเป็นประเทศช่างคิด ช่างสรรหาสิ่งใหม่ๆ มาไม่ให้น้อยหน้า ประเทศพันธมิตรอย่างสหรัฐอเมริการนั่นเอง ดนตรีของอังกฤษนั้น ว่ากันว่า มีเสน่ห์ น่าหลงใหล และสร้างแรงบันดาลใจให้กับศิลปินทั่วโลก ไม่เว้นแม้แต่ศิลปินไทย ไม่ ว่าจะเป็น ครับ โมเดิร์นด็อก สครับบ์ เพลย์กราวด์ ต่างก็ได้รับอิทธิพลของความช่าง คิดของประเทศอังกฤษไปด้วย 16
ดนตรีของประเทศอังกฤษนั้นมีความหลากหลายอยู่ก็จริง แต่มีดนตรี ประเภทหนึ่งที่เราสามารถเรียกได้เต็มปากว่า เป็นลายเซ็นของชนชาติอังกฤษอย่าง แท้จริง นั่นคือ ‘ดนตรีบริตป็อป’ แล้วดนตรีบริตป็อปที่ว่านั้นมันมีลักษณะอย่างไร แล้วอิทธิพลที่ส่งผลต่อ วงการเพลงบ้านเรานั้น มันส่งผลขนาดไหนกัน?
แล้วคนไทยอย่างเราจะชอบดนตรีพวกบริตๆ ป็อปๆ ได้หรือเปล่านะ?
หากคุณต้องการค�ำตอบจากเรา ขอให้คุณเปิดเพลงของ ครับ สครับบ์ หรือ กรีซซี่ คาเฟ่เอาไว้นะ หลังจากนั้นก็ค่อยๆ พลิกไปที่หน้าถัดไปได้เลย britpop
บริตป็อป : ดนตรีบริตบิด
WARM UP
17
บริตป็อป : ดนตรีบริตบิด
WARM UP
18
บริตป็อป : ดนตรีบริตบิด
กว่าจะบริตป็อป
กว่าจะ
บริตป็อป
19
บริตป็อป : ดนตรีบริตบิด
กว่าจะบริตป็อป
20
บริตป็อป : ดนตรีบริตบิด
กว่าจะบริตป็อป
21
ก่อนจะเล่าถึงดนตรีบริตป็อป เราจะพาคุณย้อนไปยังยุคทศวรรษที่ 1950s ยุคซึ่งดนตรีเป็นอีกหนึ่งทางเลือกของการผ่อนคลายของผู้คนในยุคดังกล่าว ดนตรี ร็อกซึ่งเดิมมีชื่อเรียกว่า ‘ร็อก แอนด์ โรล’ (Rock ‘N’ Roll) เป็นดนตรีที่เน้นจังหวะ ของดนตรีบลูส์ และใช้เสียงแซกโซโฟนเป็นเสียงน�ำตามด้วยเสียงกีตาร์ โดยมีราชา เพลงร็อกแอนด์โรล ‘Elvis Presley’ (เอลวิส เพรสลีย์) เป็นผู้น�ำดนตรีสไตล์นี้ แต่ น่าเสียดายหลังจากหมดยุคของคุณปู่เอลวิสแล้วนั้น ดนตรีประเภทนี้เริ่มมีการ เปลี่ยนแปลง โดยได้ใส่ความรุนแรงทั้งด้านเนื้อหาหรือเนื้อเพลงและด้านดนตรี เข้าไป พอเปลี่ยนไปแบบนี้ ก็ท�ำให้ไม่ได้รับความนิยม หน�ำซ�้ำเจ้าดนตรีร็อกแอนด์ โรล ฉบับปรับปรุงใหม่ดันถูกต่อต้านจากผู้ฟังที่มีอายุเนื่องจากการสร้างสรรค์ดนตรี ที่รุนแรงกว่าเดิม จนท�ำให้ดนตรีประเภทดังกล่าวถูกมองว่าเป็นดนตรีปีศาจ ผิดหลัก ศาสนาและถูกจ�ำกัดการฟังไปเลย
บริตป็อป : ดนตรีบริตบิด
กว่าจะบริตป็อป เมื่อถึงยุคทศวรรษที่ 1960s ณ แดนผู้ดี ประเทศสหราชอาณาจักร สี่หนุ่ม จากเมืองลิเวอร์พูล ได้แก่ จอห์น เลนนอน พอล แม็กคาร์ตนีย์ จอร์จ แฮร์ริสัน และ ริงโก สตาร์ พวกเขาทั้งสี่คนรวมตัวกันท�ำวงดนตรี กลายมาเป็นยอดวง เดอะบีเทิลส์ (The Beatles) โดยการขัดสีฉวีวรรณดนตรีร็อกแอนด์โรลให้เสียใหม่ เริ่มต้นจากการ โละเครื่องดนตรีจ�ำพวกเครื่องเป่า หรือที่เรียกกันว่าบิ๊กแบนด์ออกไป และให้คงเหลือ แค่เครื่องดนตรีไม่กี่ชิ้น ซึ่งในตอนแรกการท�ำดนตรีแบบนี้ถูกเรียกว่า The Shadows’ style (เดอะชาโดวส์ สไตล์) เพราะมาจากวง The Shadows วงดนตรีรุ่นพี่ของ เดอะบีเทิลส์ซึ่งถือว่าเป็นหัวหอกของการเล่นดนตรีในลักษณะดังกล่าว เครื่องดนตรี ที่ถือเป็นหัวใจส�ำคัญของดนตรีในสไตล์นี้ ประกอบไปด้วย เบส กีตาร์ กลอง และ ใช้เสียงร้องโดยเอาวิธีการประสานเสียงมาใส่ รวมไปถึงเสียงกีตาร์ในสไตล์อังกฤษ ที่เป็นเอกลักษณ์ คือมีเสียงที่แตกพร่านั่นเอง รวมไปถึงลักษณะของเนื้อเพลงที่เริ่ม ต้นด้วยอินโทร ตามด้วยการร้องท่อนสองท่อน แล้วก็ตามด้วย hook ซึ่งลักษณะของ เพลงดังกล่าวได้กลายเป็นโครงสร้างต้นแบบของ Popular Music มาจนถึงทุกวันนี้ 22
อินดี้ ปะทะ เมนสตรีม กระทั่งการมาถึงของทศวรรษที่ 1970s ดนตรีร็อกจึงเกิดการเบ่งบานขึ้น แต่ดนตรีมักมีสองฟากฝั่งเสมอ สองฝั่งที่ว่าคือฝั่งอังกฤษ กับ สหรัฐอเมริกา และ แนวของดนตรีจะมีสองแนว สองลักษณะที่แบ่งแยกชัดเจนออกไปเลย คืออินดี้ หรือ พวกดนตรีอิสระ (Independent) กับเมนสตรีม (Mainstream)
เมนสตรีมคืออะไร?
เมนสตรีมคือ แนวดนตรีป็อป ร็อก แดนซ์ ที่เราพบ ได้ยินทั่วไป หรือพวก ที่เป็นที่รู้จัก เป็นที่ยอมรับเสมอ และไม่ว่าจะเกิดอะไรก็ตาม ดนตรีดังกล่าวก็จะอยู่ ยืนยงตลอด ซึ่งเนื้อหาของดนตรีเมนสตรีม จะเกี่ยวข้องกับเรื่องราวสามัญของชีวิต คนเรา นั่นก็คือ ‘ความรัก’ บริตป็อป : ดนตรีบริตบิด
กว่าจะบริตป็อป
แล้วอินดี้ละ?
อินดี้นั้นมาจากค�ำว่า Independent หรืออิสระนั่นเอง ซึ่งค�ำว่าอิสระใน ทางดนตรีนั้นหมายถึงการสร้างสรรค์ดนตรีแบบอิสระ ท�ำตามใจฉัน ไม่สนใจว่าสิ่ง ที่คนทั่วไปเสพย์นั้นเป็นอย่างไร ชาวบ้านร้านตลาดเขานิยมกันแบบไหน ฉันจะยึด จะท�ำเพลงในแบบของฉันเอง เนื้อหาก็จะไม่ก�ำหนดตายตัว เอาเป็นว่า เมนสตรีมนั้นคือดนตรีที่ปรากฏตามหน้าปัดวิทยุ หรือรายการ เพลงทั่วไป มีเนื้อหาง่ายๆ เน้นน�ำเสนอเรื่องราวพื้นฐานของคนเรา นั่นคือเรื่องของ ความรัก ส่วนดนตรีอินดี้คือดนตรีที่มีแก่นหลักคือความเป็นอิสระ ไม่ว่าจะเป็นการ ท�ำดนตรี หรือเรื่องของเนื้อเพลงที่สามารถน�ำเรื่องราวการใช้ชีวิต หรือแก่นทาง ประวัติศาสตร์มาใส่ไว้ในบทเพลงนั่นเอง 23
อังกฤษ: ประเทศช่างครีเอทีฟ – อเมริกา: ประเทศจอมขัดเกลา ด้วยความที่เป็นประเทศที่มีความเป็นอิสระเสรี กล้าคิด กล้าแหกกรอบ และชอบที่จะเป็นจุดเริ่มต้นแห่งการนับหนึ่งใหม่เสมอ ดนตรีหลากหลายแนวล้วน แต่ถูกค้นพบขึ้นในประเทศที่เป็นเกาะเล็กๆ ประเทศนี้ด้วยเช่นกัน สหรัฐอเมริกา ประเทศที่ถือได้ว่าเป็นเจ้าแห่งสื่อทั้งโลก ก็มักจะหยิบแนว ดนตรีของอังกฤษ ไปขัดเกลาเสียใหม่ ท�ำให้ดนตรีที่ตอนแรกเป็นดนตรีอินดี้เก๋ๆ กลายสภาพมาเป็นดนตรีเมนสตรีมถูกจริตคนทั่วไปนั่นเอง แต่ใช่ว่าคนในประเทศเสรีอย่างสหรัฐอเมริกาจะชื่นชอบดนตรีเมนสตรีม ที่มีเนื้อหาซ�้ำๆ ว่าฉันรักเธอ แต่ไม่รักฉันไปซะทุกคน ประเทศนี้ยังมีกลุ่มคนหัวศิลปะ ซึ่งพวกเขาแสดงตนว่าเป็นศิลปินอิสระเหมือนกัน เพียงแต่ถูกจ�ำกัดให้เล่นกันใน วงจ�ำกัด ซึ่งในยุคนั้นคือใต้ดิน เพราะพวกเขายังถูกจ�ำกัดสิทธิเสรีภาพอยู่ เลยเป็น บริตป็อป : ดนตรีบริตบิด
กว่าจะบริตป็อป
24
The Stone Roses
บริตป็อป : ดนตรีบริตบิด
“ ศิลปะนั้นสามารถสื่อสาร ถ่ายทอดภายใต้รูปแบบที่ หลากหลาย โดยเฉพาะดนตรี นั้นก็มีรูปแบบที่ไม่จ�ำกัด ไม่ว่า จะเป็นร็อก ป็อป ดนตรีแจ๊ส หรืออิเล็กทรอนิกส์ก็ดี ”
กว่าจะบริตป็อป ที่มาของดนตรี Underground หรือดนตรีใต้ดินนั่นเอง โดยดนตรีประเภทนี้มีกลุ่ม ศิลปินใต้ดินในยุคแรก อย่าง Velvet Underground หรือ Bob Dylan ซึ่งอุดมการณ์ ของกลุ่มศิลปินใต้ดินนั้น ถือว่าสิ่งที่พวกเขาน�ำเสนอนั้นเป็นศิลปะ เพราะศิลปะนั้น สามารถสื่อสารถ่ายทอดภายใต้รูปแบบที่หลากหลาย โดยเฉพาะดนตรีนั้นก็มีรูป แบบที่ไม่จ�ำกัด ไม่ว่าจะเป็นร็อก ป็อป ดนตรีแจ๊ส หรืออิเล็กทรอนิกส์ก็ดี ยิ่งไปกว่า นั้นดนตรีดังกล่าวอาจผสมผสานกันแบบในหลุดกรอบของทฤษฎีทางดนตรีก็ได้ โดยดนตรีที่ว่านั้น เป็นที่รู้จักในชื่อ ‘ดนตรีแนวทดลอง หรือ Experimental’ ที่เรา รู้จักกันดีในปัจจุบัน
เกิดทุนนิยม เกิด MTV แต่อินดี้ก็ยังคงอยู่ เมื่อโลกดนตรีได้ก้าวเข้าสู่ยุคทศวรรษที่ 1980s วงการดนตรีเริ่มเข้า วงการธุรกิจอย่างเต็มตัว 100 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากเกิดค�ำว่า Hi-Technology ท�ำให้ โทรทัศน์ก้าวเข้ามามีบทบาทกับครอบคลุมคนทั้งโลกอย่างแท้จริง รวมไปถึงการ ก�ำเนิดของ MTV หรือช่องเพลงที่ฉายผ่านทางเคเบิล ท�ำให้ดนตรีถูกกลับให้มาเป็น สินค้าอย่างเต็มตัว โดยขายแพ็กเก็จจิ้ง (Packaging) หรือรูปแบบของปกอัลบั้ม และหน้าตาภาพลักษณ์ของศิลปินผ่านช่องทางโปรโมตซึ่งก็คือ MTV ท�ำให้มิวสิก วิดีโอเข้ามามีบทบาท ท�ำให้โลกของเรายึดอยู่ที่เมนสตรีม
25
แม้ว่าในยุค 1980s วงการดนตรีได้ก้าวเข้าสู่กระแสหลักอย่างเต็มตัว แต่ ก็ยังมีวงดนตรีโดยเฉพาะวงดนตรีอังกฤษที่ยังคงยึดสไตล์การท�ำเพลงแบบอังกฤษ อยู่ โดยแหกกรอบออกไปเป็นอิสระ ไม่สนใจกระแสของเมนสตรีม ไม่ว่าจะเป็น The Cure, New Order, The Smiths, The Stone Roses ซึ่งมีรูปแบบทางการ สร้างสรรค์ดนตรีเป็นแบบเดียวกันกับเดอะบีเทิลส์ ทว่ามีกลิ่นอายที่หลุดกรอบออก มาจากของเดิม คือเพิ่มกลิ่นอายความเป็นอังกฤษลงไป อย่าง New Order, The Cure นั้นมีการผสมผสานดนตรีเต้นร�ำ ความเป็นป็อปของเดอะบีเทิลส์ มาใส่ไว้ใน เพลง หรือ The Stone Roses นั้นได้ท�ำดนตรีในรูปแบบอินดี้แดนซ์ที่มีจังหวะของ บริตป็อป : ดนตรีบริตบิด
กว่าจะบริตป็อป เพลงร็อกผสมอยู่ด้วย แต่วงที่กล่าวมากลับไม่โด่งดังเทียบเท่าวงเดอะบีเทิลส์ได้เลย เพียงแต่เป็นที่รู้จักในวงแคบเท่านั้นเอง
ก่อนจะบริตป็อป มี ‘พรี-บริตป็อป’ ด้วยนะเออ
26
ก่อนจะเกิดดนตรีแนวใหม่ มันจะต้องมีสิ่งที่เป็นแรงกระตุ้น แรงผลักดัน ให้สร้างสรรค์อะไรเสียใหม่ บริตป็อปเองก็เช่นกัน กว่าจะถึงยุคบริตป็อป มันก็ต้องมี ยุคพรี-บริตป็อป หรือยุคก่อนของบริตป็อป อันได้แก่ แรงกระตุ้นจาก ‘เดอะ สมิธส์’ (The Smiths) ปรากฏการณ์ของการคลั่งวงดนตรีจากเมืองแมนเชสเตอร์ ที่เขา (ชา วอังกฤษน่ะ) เรียกกันว่า ‘แมดเชสเตอร์’ (Madchester) รวมไปถึงปรากฏการณ์กรัน จ์ระเบิดเมืองที่มีวงดนตรีจากอเมริกาก้าวเข้ามาท�ำเพลงโหวกเหวกโวยวายจนฮิตไป ทั่วโลก นั่นคือวง ‘เนอร์วานา’ (Nirvana) ทั้งหมดล้วนเป็นปัจจัยส�ำคัญที่เร่งให้เกิด ดนตรีบริตป็อป หนึ่ง ในปัจจัยที่เอ่ยมา เดอะ สมิธส์ ถือว่าเป็นแรงผลักดันที่ส�ำคัญของ วงการดนตรีอังกฤษในช่วงต้นยุคทศวรรษที่ 1980s เพราะการเมืองในช่วงนั้นถือได้ ว่าคุกุร่น ไม่ว่าจะเป็นการต่อต้านนายกรัฐมนตรี มาร์กาเรต แทตเชอร์ ความหยิ่ง ผยองในความเป็นอังกฤษ เลือกที่จะแต่งกายให้ดูสกปรกมากกว่าการไว้ผมยาว เยี่ยงร็อกสตาร์ในช่วงนั้น แต่สิ่งที่เป็นเอกลักษณ์ของ เดอะสมิธส์ และเป็นลายเซ็น ของเพลงอังกฤษคือ รูปแบบทางดนตรีที่ผสมผสานระหว่างเสียงกีตาร์แบบดิบๆ ไร้การปรุงแต่ง เข้ากับเนื้อเพลงที่ไม่มีเรื่องทุกข์โศกให้ต้องเครียดตาม ซึ่งการผสม ผสานที่ว่ามันดันไปโดนใจคนที่รู้สึกว่าชีวิตตัวเองมันช่างน�้ำเน่าสิ้นดี! สอง ปรากฏการณ์ ‘แมดเชสเตอร์’ หลังจาก เดอะสมิธส์ โด่งดังเป็นพลุ แตกที่บ้านเกิดของพวกเขา ได้มีวงจ�ำพวกเดียวกันยิ่งไปกว่านั้นยังเป็นคนบ้าน เดียวกันอย่าง แฮปปี้ มันเดย์ส Happy Mondays และวงที่เกิดจากการรวมตัวกัน ของสมาชิกที่เหลือจาก ‘จอย ดิวิชั่น’ (Joy Division) นั่นคือวง ‘นิว ออร์เดอร์’ (New
บริตป็อป : ดนตรีบริตบิด
กว่าจะบริตป็อป Order) รวมไปถึง ‘เดอะสโตนโรสเซส’ (The Stone Roses) ซึ่งแต่ละวงที่กล่าวมา แม้กระทั่งเดอะสมิธส์นั้น เป็นวงที่มีกระบวนการท�ำงานที่ท�ำทุกกระบวนการเอง ไม่ พึ่งค่ายใหญ่ อันเป็นสัญลักษณ์ของดนตรีอินดี้ แต่มีสิ่งหนึ่งที่เปลี่ยนไป คือการเพิ่ม ‘ความเป็นเชิงพาณิชย์’ เข้าไปในงาน ไม่ว่าจะเป็นการน�ำเอาเรื่องเพศ ยา และวิถีร็ อกแอนด์โรลเข้าไปใส่ในงาน และอีกสิ่งที่ส�ำคัญคือการร้องด้วยการใช้ส�ำเนียงแมน เชสเตอร์แบบแท้ๆ และหลีกเลี่ยงการร้องด้วยส�ำเนียงอเมริกันซึ่งเป็นส�ำเนียงสากล นั่นเอง อย่ า งสุ ด ท้ า ยที่ ถื อ เป็ น แรงกระตุ ้ น เฮื อ กสุ ด ท้ า ยให้ ด นตรี บ ริ ต ป็ อ ปได้ บังเกิดคือการเกิดขึ้นของดนตรีกรันจ์ ซึ่งหัวหอกของดนตรีกรันจ์ก็คือ เนอร์วานา นั่นเอง ดนตรีของพวกเขานั้น แม้ว่าจะไม่โดดเด่นในเรื่องของการสร้างสรรค์ทาง ดนตรี แต่สิ่งที่แทนพรสวรรค์ด้านดนตรีคือพลังวัยหนุ่มของสมาชิกในวงที่ทุ่มไป ในการเล่นดนตรี อันเป็นที่น่าทึ่งแก่บรรดานักดนตรีทั่วสหรัฐและลามไปถึงสหราช อาณาจักรด้วย เมื่อมาถึงที่สหราชอาณาจักร ประเทศที่ได้ชื่อว่าเป็นบ้านเกิดของ เพลงร็อก ก็ต้องกลับมานั่งคิดการท�ำเพลงแบบใหม่เพื่อเอามาใช้ต่อสู้กับเพลงกรัน จ์ และนั่นถือเป็นการกระตุ้นให้เกิดดนตรีบริตป็อปขึ้นมาได้อย่างสมบูรณ์เสียด้วย
27
Britpop = British Lifestyle หากจะพูดถึงเสน่ห์ของดนตรีบริตป็อป นอกจากเรื่องของภาคดนตรีที่ สร้างสรรค์กันอย่างไม่สนใจค่ายเล็กค่ายใหญ่แล้ว ความน่าสนใจอีกอย่างคงหนีไม่ พ้นเรื่องของเนื้อเพลง ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ลึกซึ้ง และแสบสันต์เป็นที่สุด สิ่งที่ท�ำให้เนื้อเพลงของบริตป็อปมีรูปแบบที่แตกต่างจากเนื้อเพลงใน ท้ อ งตลาดอย่างแรกเห็นจะเป็นเพราะวิถีชีวิตของชาวอั ง กฤษนั้ นมี เ อกลั กษณ์ เฉพาะตัว ด้วยความเป็นคนเจ้าคิด ช่างหาค�ำมาเปรียบเทียบมากมาย รวมไป ถึงมองโลกในแง่ของความเป็นจริง เนื้อเพลงแต่ละเพลงจึงสื่อผ่านสิ่งต่างๆ ที่นัก บริตป็อป : ดนตรีบริตบิด
กว่าจะบริตป็อป ดนตรีได้พบมาอย่างเต็มที่ รวมไปถึงมีความอิสระ ไม่มีการเข้าไปกดดันจากสื่อหรือ ฝ่ายการเมือง จึงสามารถน�ำเอาเรื่องราวของบุคคลต่างๆ รวมไปถึงเรื่องราวทาง ประวัติศาสตร์ สามารถแต่งเพลงประชดสังคมอย่างเพลง Girls And Boys ของ Blur นั้นเสียดสีไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตของวัยรุ่นอังกฤษ แม้กระทั่งเรื่องหนักๆ อย่างเรื่อง การเมือง เช่นเพลง Sunday Bloody Sunday ของ U2 เพลง If You Tolerate This Your Children Will Be Next ของ Manic Street Preachers ก็พูดเรื่องการสูญเสีย จากสงคราม หรือเพลงสองแง่สองง่ามอย่าง Do You Remember the First Time ของ Pulp
28
แม้กระทั่งเพลงรัก นักดนตรีเลือกใช้ค�ำที่มีมิติที่ลึกล�้ำกว่า ค�ำง่ายๆ เช่นค�ำ ว่า ฉันรักเธอ เธอรักเช่น อย่างเพลง The Scientist ของ Coldplay วงบริตป็อปชื่อดัง ในยุคหลัง ที่ไม่มีค�ำว่า love อยู่ในเนื้อเพลงแม้แต่ประโยคเดียว แต่ความหมายของ เพลงนี้ ได้น�ำหลักวิทยาศาสตร์เรื่องกฎแรงโน้มถ่วงมาเขียน ว่าเราควรจะเดินหน้า หรือถอยหลังกลับไปเริ่มต้นใหม่กับความรักดีหรือไม่ ซึ่งการใช้ค�ำเปรียบเปรยท�ำให้ เพลงมีความแหลมคม มีชั้นเชิงมากกว่าเพลงในกระแสหลักที่พูดเรื่องเดียวกัน
หัวโจกบริตป็อป โอเอซิส (Oasis) วงจากเมืองแมนเชสเตอร์ เริ่มต้นท�ำวงโดยสองพี่น้องตระกูลกัลลาเกอร์ ‘โนล’ และ ‘เลียม’ โอเอซิสถือได้ว่าเป็นวงบริตป็อปที่ประสบความส�ำเร็จวงหนึ่งควบคู่ไปกับวง เบลอ มีเพลงฮิตที่เป็นที่รู้จักไม่ว่าจะเป็น ‘Wonderwall’, ‘Don’t Look Back in Anger’ และ ‘Whatever’ เบลอ (Blur) วงสุดเฟี้ยวที่ประกอบไปด้วยสี่หนุ่มจากลอนดอนวงนี้ถือได้ว่าเป็นวงคู่รักคู่แค้น ของโอเอซิสเลยทีเดียว เพลงที่สร้างชื่อให้กับพวกเขาคือ ‘Parklife’ ที่มีการน�ำ เอาดาราอังกฤษชื่อดังอย่าง Phil Daniels มาร่วมร้องในส�ำเนียงคอกนีย์ ซึ่งเป็น ส�ำเนียงของคนย่านตะวันออกของลอนดอนมาใช้ในเพลง บริตป็อป : ดนตรีบริตบิด
กว่าจะบริตป็อป พัลพ์ (Pulp) วงอัลเทอร์เนทีฟร็อกจากเชฟฟิลด์ เจ้าของเพลง ‘Common People’, ‘Do You Remember The First Time’ หรือ ‘Disco 2000’ ที่เปลี่ยนสมาชิกเป็นว่าเล่น วงนี้ ถือเป็นวงบริตป็อปอีกวงหนึ่งที่มีชื่อเสียงมาก ด้วยเสียงร้องที่ไม่เหมือนใครของ จาร์วิส คอกเกอร์ นักร้องน�ำ รวมไปถึงดนตรีที่มีกลิ่นอายของเพลงดิสโก้หน่อยๆ ท�ำเอาเราหลงรักได้ไม่ยากเลยทีเดียว ซูเอด (Suede) ซูเอดคืออีกวงหนึ่งที่ช่วยวงการดนตรีบริตป็อปให้ขับเคลื่อนไปยังทั่วโลก ถึงแม้ว่าพวกเขาจะไม่ประสบความส�ำเร็จในแง่ชื่อเสียงในแถบอเมริกาซักเท่าไหร่ เพลงที่พวกเราหลงรักพวกเขา เห็นจะเป็นเพลงที่สื่อความเป็นยุค 90s ได้ดีที่สุด อย่าง ‘Trash’ รวมไปถึง ‘Beautiful Ones’ และ ‘Saturday Night’
29
จากซ้ายไปขวาวนตามเข็มนาฬิกา : Oasis, Pulp, Suede, Blur britpop
บริตป็อป : ดนตรีบริตบิด
กว่าจะบริตป็อป
30
การใช้ค�ำเปรียบเปรยท�ำให้เพลงมี ความแหลมคม มีชั้นเชิงมากกว่า เพลงในกระแสหลักที่พูดเรื่อง เดียวกัน
บริตป็อป : ดนตรีบริตบิด
กว่าจะบริตป็อป
31
บริตป็อป : ดนตรีบริตบิด
กว่าจะบริตป็อป
32
บริตป็อป : ดนตรีบริตบิด
เวลคั่มทูไทยแลนด์
เวลคั่มทู
ไทยแลนด์
33
บริตป็อป : ดนตรีบริตบิด
เวลคั่มทูไทยแลนด์
34
Keane Live In Bangkok 2012
บริตป็อป : ดนตรีบริตบิด
เวลคั่มทูไทยแลนด์
35
บริตป็อปบุกไทย อย่างที่เราได้บอกไว้ว่าบริตป็อปนั้นเกิดขึ้นมาตั้งแต่ยุคทศวรรษที่ 1960s โดยวงเดอะบีทเทิ่ลส์เป็นผู้บุกเบิกดนตรีดังกล่าว ซึ่งในประเทศไทย ดนตรีบริตป็อป นั้น ได้เข้ามาในประเทศไทยมาตั้งแต่ช่วงทศวรรษที่ 1980s จาก เดอะ เคียวร์ (The Cure) โดยความสนใจนั้น ถูกจ�ำกัดอยู่ในวงแคบ เพราะกระแสของดนตรีสากลใน บ้านเราช่วงนั้น จะยึดอยู่ที่เพลงในชาร์ตบิลบอร์ดจากประเทศสหรัฐอเมริกา แต่ ยังดีที่มีรายการทางวิทยุซึ่งจัดโดยดีเจรุ่นเก๋าอย่าง ป้าแต๋ว วาสนา วีระชาติพลี ซึ่ง เดิมที ดีเจป้าแต๋วนั้นจัดรายการ Nightspot มาก่อนแต่ไม่เป็นที่รู้จักมากนัก
บริตป็อป : ดนตรีบริตบิด
เวลคั่มทูไทยแลนด์
เริ่มต้นอุตสาหกรรมดนตรีไทย สาเหตุที่ดนตรีสากลยังไม่ได้รับความนิยมนั้น มาจากในช่วงนั้น เพลง ไทยสากลยังคงเป็นที่นิยม โดยเฉพาะการเกิดขึ้นของพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฉบับ ปี พ.ศ. 2521 ที่เป็นกฎหมายใช้ป้องกันการลอกเลียนแบบและการผลิตซ�้ำโดยไม่ ได้รับอนุญาตจากศิลปิน ท�ำให้เพลงไทยสากลจากเดิมเป็นศิลปะ แปรเปลี่ยนเป็น สินค้าไปโดยปริยาย ยิ่งมีพรบ.ลิขสิทธิ์ ก็ยิ่งท�ำให้วงการเพลงไทยขยายตัวเพิ่มน่ะสิ ไม่ว่าจะ เป็นค่ายเพลงที่เปิดกันยิบย่อยเพื่อประกอบธุรกิจเพลงโดยเฉพาะ อาทิ นิธิทัศน์ โรส ซาวด์ แกรมมี่ เป็นต้น
36
เมื่อมีบริษัทค่ายเพลงเกิดขึ้นมามากมาย ทั้งค่ายใหญ่ต่างก็เจริญและ กอบโกยรายได้จากตัวศิลปิน ก็ยังมีค่ายเพลงขนาดเล็ก หรือค่ายเพลงอินดี้เกิดขึ้น อยู่ด้วย ซึ่งค่ายเพลงในอินดี้ของไทยก็มีความหมายเหมือนอินดี้สากลคือ ตัวศิลปิน จะเป็นผู้ผลิตผลงานเอง และท�ำงานโดยการพึ่งพาอาศัยกัน และออกผลงานไม่ แน่นอน
เกิด MTV เกิดเพลงทางเลือก ในปี พ.ศ. 2532 หรือ ค.ศ. 1989 ประเทศไทยเริ่มมีทีวีที่ให้บริการส�ำหรับ สมาชิก หรือเคเบิลทีวี เกิดการน�ำรายการดนตรีจากต่างประเทศ อันได้แก่ ช่องเอ็ม ทีวี (MTV) เข้ามาเผยแพร่ ท�ำให้เกิดกระแสนิยมเพลงแนวใหม่เกิดขึ้น รวมไปถึง การกลับมาของดีเจป้าแต๋วกับรายการ Radioactive นั่นเอง เมื่อโลกต้อนรับยุค 1990s ป้าแต๋วก็เริ่มกลับมาจัดรายการทางวิทยุอีก รอบ ในชื่อรายการ ‘Radioactive’ ซึ่งในช่วงนั้นมีวงดนตรีบริตป็อปอย่าง เบลอ และ โอเอซิส เข้ามาเป็นที่รู้จัก ดนตรีบริตป็อปก็ได้ก้าวเข้ามาให้ชาวไทยได้รู้จักอย่างเต็ม บริตป็อป : ดนตรีบริตบิด
เวลคั่มทูไทยแลนด์ ตัว รวมไปถึงกระแสโลกในช่วงนั้น บริตป็อปคือดนตรีที่ก้าวเข้ามาอยู่ในกระแส หลักอย่างแท้จริง ท�ำให้ทั่วโลกรวมไปถึงเมืองไทย ต่างสนใจในดนตรีประเภทนี้ อย่างเต็มที่ จากนั้นได้มีวงดนตรีวงหนึ่ง ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจทั้งทางด้านเนื้อเพลง และการสร้างสรรค์ดนตรี ได้ส่งเดโมผ่านมาทางรายการวิทยุ Radioactive วง ดนตรีวงนั้น คือ ‘Crub’ หรือ ครับ จากนั้นวงครับก็ได้เล่นในงานเปิดตัวนิตยสาร Generation Terrorist และเป็นที่รู้จักหลังจากนั้นเป็นต้นมา
อินดี้ขยายตัว ค่ายเพลงขยายตัวตาม เมื่อวงการเพลงอินดี้ในไทยเริ่มเปิดกว้าง ค่ายดนตรีค่ายเพลงอิสระทั้ง หลายก็เริ่มเกิดขึ้นมาตามกระแสแนวเพลงที่หลั่งไหลจากการมีช่องรายการดนตรี อย่างเอ็มทีวี จึงได้มีค่ายเพลงอิสระเริ่มเปิดตัวขึ้นมาโดยการผลิตผลงานแนวใหม่ที่ มีลักษณะแตกต่างจากเพลงในกระแสหลัก เพื่อออกมาน�ำเสนอแก่ผู้ฟังกลุ่มใหม่ๆ เช่น ค่ายเบเกอรี่ มิวสิก คือค่ายเพลงเล็กๆ ที่เปิดตัวด้วยวงโมเดิร์นด็อก และมี การออกผลงานเพลงแนวใหม่ อาทิ ฮิปฮอป อาร์ แอนด์ บี กรันจ์ รวมไปถึงงานที่ท�ำ เป็นการทดลองในชุด Sampler
37
ค่าย เกคโค มิวสิก คือค่ายเพลงที่เน้นท�ำดนตรีในแนวเพลงอัลเทอร์เนทีฟ โดยมีวงที่เป็นที่รู้จักจากค่ายนี้ เช่น ครับ(Crub), คิดแนปเปอร์ (Kidnapper) ซึ่งวง ครับ เป็นวงดนตรีแรกๆ ที่ยึดแนวเพลงบริตป็อป ก่อนหน้า โมเดิร์นด็อกไม่นานนัก
บริตป็อป : ดนตรีบริตบิด
เวลคั่มทูไทยแลนด์
“ ยิ่งมีพรบ.ลิขสิทธิ์ ก็ ยิ่งท�ำให้วงการเพลงไทยขยาย ตัวเพิ่มน่ะสิ ไม่ว่าจะเป็นค่ายเพลง ที่เปิดกันยิบย่อยเพื่อประกอบธุรกิจ เพลงโดยเฉพาะ อาทิ นิธิทัศน์ โรส ซาวด์ แกรมมี่ เป็นต้น ”
38
Moderndog
บริตป็อป : ดนตรีบริตบิด
เวลคั่มทูไทยแลนด์
แฟต เรดิโอ : คลื่นแนวๆ ส�ำหรับคนฟังเพลงไม่ตามใคร หากจะพูดถึงช่องทางในการเผยแพร่แนวเพลงที่เรียกเต็มปากได้ว่าเป็น ‘แนวเพลงทางเลือก’ ในช่วงแรกมีสถานีวิทยุ 104.5 MHz หรือ ‘วี เอฟ เอ็ม’ โดย เน้นการเปิดเพลงฮิต ต่อมาได้มีการเปลี่ยนแปลงผู้บริหารเป็นบริษัท คลิก เรดิโอ จ�ำกัด จึงเปลี่ยนแนวเพลงในการจัดรายการให้แตกต่างจากสถานีวิทยุอื่นๆ โดยเริ่ม น�ำเพลงอินดี้มาเปิดให้ผู้ฟังได้ฟัง จนเกิดความนิยม จึงได้เปลี่ยนชื่อรายการมาเป็น แชนแนล วี เอ็ฟ เอ็ม และ แฟต เรดิโอ เมื่อปีพ.ศ. 2544 นอกจากจะจัดรายการวิทยุ แล้ว ยังมีการจัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้ศิลปินได้เข้าถึงกลุ่มแฟนเพลงมากขึ้นด้วย กระทั่งได้เปลี่ยนจาก 104.5 MHz มาเป็น 98 MHz ดังเช่นในปัจจุบัน
โมเดิร์นด็อก : ต้นแบบวงดนตรีทางเลือกส�ำหรับคนรุ่นใหม่
39
ต่อมาไม่นานนัก มีวงดนตรีวงหนึ่ง ซึ่งได้แจ้งเกิดจากการประกวดวงดนตรี โค้กมิวสิกอวอร์ด เมื่อปีพ.ศ. 2535 และถูกดึงเข้าอยู่ในค่ายน้องใหม่ที่มีชื่อว่า ‘เบ เกอรี่ มิวสิก’ วงดนตรีวงนี้มีชื่อว่า ‘โมเดิร์นด็อก’ ซึ่งท�ำให้วงการดนตรีไทยกลับมา คึกคักอีกรอบ หลังจากที่สองค่ายดนตรียักษ์ใหญ่อย่าง แกรมมี่ และอาร์เอส โปรโม ชั่น ต่างก็ถือครองความเป็นหนึ่งและสองของวงการดนตรีไทย โมเดิร์นด็อก นอกจากจะท�ำให้วงการดนตรีนอกกระแสก้าวเข้ามาอยู่ใน โลกของดนตรีวงกว้างได้อย่างภาคภูมิแล้ว แฟชั่นของธนชัย อุชชิน หรือป๊อดนักร้อง น�ำก็เป็นที่นิยมของวัยรุ่นไทยในยุค ‘90s ที่แต่งกายกันด้วยเสื้อผ้าตัวเล็กๆ ไปยัง คอนเสิร์ตของพวกเขา ท่าเต้นอันแสนแปลกประหลาดบนเวที ท�ำให้วัยรุ่นต่างก็ยึด เอาป๊อด และวงโมเดิร์นด็อก เป็นไอคอนของพวกเขาไปด้วย britpop
บริตป็อป : ดนตรีบริตบิด
เวลคั่มทูไทยแลนด์
40
บริตป็อป : ดนตรีบริตบิด
บิด(บริต)แบบไทย
บิด(บริต)
แบบไทย
41
บริตป็อป : ดนตรีบริตบิด
บิด(บริต)แบบไทย
42
บริตป็อป : ดนตรีบริตบิด
บิด(บริต)แบบไทย
43
หากจะพูดถึงวงบริตป็อปในประเทศไทย น้อยคนนักที่สามารถแยก ประเภทของดนตรีได้ว่า วงที่เราชื่นชอบเป็นแนวดนตรีแบบใดกันแน่ แล้วบริตป็อป แบบไทยๆ มันมีลักษณะแบบใด แตกต่างตามความเข้าใจเดิมของเราหรือไม่ ไป เริ่มต้นด้วยการพลิกไปที่หน้าถัดไปเลยดีกว่า
บริตป็อป : ดนตรีบริตบิด
บิด(บริต)แบบไทย
44
บริตป็อป : ดนตรีบริตบิด
บิด(บริต)แบบไทย
‘สครับบ์’ โลกป็อป-ร็อก ของบอลและเมื่อย
45
ในแวดวงวงการดนตรีอินดี้บ้านเรา ไม่มีใครหรือน้อยคนนักที่จะไม่รู้จักคู่ดู โอขวัญใจเด็กแนวอย่าง ‘สครับบ์’ (Scrubb) เจ้าของเพลงรักอารมณ์ดี อย่าง ‘ใกล้’, ‘คู่กัน’ รวมไปถึงการนำ�เอาเพลงความหมายน่ารักๆ ของวงเฉลียงอย่างเพลง ‘เธอ หมุนรอบฉัน ฉันหมุนรอบเธอ’ มาเรียบเรียงดนตรีใหม่ จนกลายเป็นเพลงฮิตประจำ� วงไปเลยทีเดียว
บริตป็อป : ดนตรีบริตบิด
บิด(บริต)แบบไทย เป็นเวลากว่า 10 ปีแล้วที่พวกเขาทั้งสอง ทั้ง ‘บอล’ และ ‘เมื่อย’ ได้ก้าว ออกจากศิลปินอินดี้ มาสู่การเป็นศิลปินในกระแส ไม่ว่าพวกเขาไปเล่นคอนเสิร์ต ที่ไหน การันตีได้ว่า ต้องเป็นคอนเสิร์ตที่สนุกแน่นอน เพราะเนื้อหาที่เล่าเรื่องชีวิต ธรรมดา ผ่านภาษาที่เรียบง่าย บวกกับท่วงทำ�นอง เมโลดี้ฟังสบาย แต่ติดหู ทำ�ให้ นักฟังเพลงรับพวกเขาเข้ามาอยู่ในใจได้อย่างง่ายดาย วันนี้เราได้มีโอกาสพบปะพูดคุยกับ ‘บอล- ต่อพงษ์ จันทร์บุปผา’ หรือ ‘ป้า บอล’ หรือ ‘คุณป้า’ของบรรดาแฟนคลับ บอลคือหนึ่งในสมาชิกของสครับบ์ เขาจะ มาบอกเล่าเรื่องราวการทำ�งาน แรงบันดาลใจของพวกเขาทั้งสอง และการบิดจาก ดนตรีบริตป็อปจนมาเป็นสครับบ์
46
แนวเพลงที่แท้จริงของสครับบ์ บอล : แนวเพลงจริงๆ ของเราสอง จะเรียกว่า ป็อป-ร็อกเลยนะ เพราะเราไม่อยาก สร้างแนวเพลง ไม่อยากกำ�หนดแนวเพลงตัวเองเป็นการเฉพาะเจาะจงมากๆ บาง ครั้งเรารู้สึกว่า บางทีหลายๆ วงถูกจำ�กัดแนว อย่างบริตป็อป คนที่จะพูดได้เต็มปาก ก็ควรจะเปนคนฝั่งอังกฤษ ที่เขาเล่นดนตรีอยู่ในนั้น คือมันเป็นดนตรีป็อปสำ�เนียง ของคนอังกฤษ เราไม่ใช่คนอังกฤษ เราก็ไม่กล้าพูดออกไปนะว่าเราเป็นบริตป็อป เราเลยบอกว่าเราเป็นป็อป-ร็อก ในที่นี้คือพี่กับเมื่อยทำ�ดนตรีฟังง่าย ป็อปปูล่าร์ เป็น อะไรที่เสพย์ง่ายฟังง่าย อีกอย่างเพลงสครับบ์ทำ�นองมันไม่ได้ซับซ้อน เนื้อร้องว่า ด้วยเรื่องง่ายๆ เข้าใจง่าย เข้าใจยากขึ้นอยู่กับช่วงนั้นๆ นี่คือคำ�ว่าป็อป คำ�ว่าร็อกคือ อะไรที่มัน ดุดัน แข็งแกร่งขึ้น สครับบ์อาจจะไม่ได้ร็อก ร็อกในความเข้าใจของคนอื่นคือ โยกหัว ดนตรีหนักหน่วง รุนแรง แต่เพลงเธอ เพลงทุกอย่าง มันก็ร็อกแล้วนะสำ�หรับบางคน ซึ่งนั่นก็ถูกต้อง
บริตป็อป : ดนตรีบริตบิด
บิด(บริต)แบบไทย ถ้าจะลงในรายละเอียดเข้าไปอีก เมื่อยจะเป็นคนที่ไม่ชอบฟังอะไรหนักมาก เป็น คนชอบฟังเมโลดี้ ฟังเนื้อหา ฟังอะไรที่สบาย เรียบง่าย แต่พี่ในส่วนของสครับ บ์เนี่ย ส่วนที่พี่ดูแลจริงๆ คือดนตรี การเรียบเรียง จริงๆ แล้วพี่เป็นคนฟังดนตรีร็อกมาตั้งแต่เด็กๆ ฟัง Guns ‘N’ Roses ฟัง Europe ฟัง Metallica ไปจนถึงเมทัลหนักๆเลย ซึ่งมันก็เป็นไปตามวัย แต่พอโต ขึ้น พอเข้ามหาวิทยาลัยมันจะมีจุดเปลี่ยนคือพอฟังไปจนหนักที่สุดมันก็จะถอย ออกมา เริ่มย่อยลง เริ่มคลี่คลายลง แต่ร็อกก็ยังอยู่ในชีวิตประจำ�วัน เพราะจริงๆ แล้วแม้แต่ในทุกวันนี้ก็ฟังดนตรีทุกชนิดนะ แต่พอถามว่าชอบฟังอะไร จริงๆพี่ฟัง ดนตรีร็อก พี่รู้จักวงร็อกมากกว่าวงบริตป็อปนะ ทั้งฝั่งอเมริกันและฝังอังกฤษ เรา ก็จะชอบฟังได้ทั้งหมด เพราะนั้น คำ�ว่าป็อป-ร็อกเวลาคุยกับเมื่อย มันดูเป็นอะไร ที่เข้ากับเราสองคนดีอะ ป็อปเป็นเมื่อย ร็อกเป็นพี่ เราจะพูดแค่นี้ นี่เรื่องของตัว เองก่อน
47
แต่เวลามีคนพูดว่า สครับบ์เหมือนบริตป็อปจัง เป็นบริตป็อปนะ เราจะไม่ ปฏิเสธ เพราะเราก็ยอมรับว่าลึกๆ เราก็เติบโตมา ได้ทำ�เพลงด้วยกัน มันก็คือ ช่วงมหาวิทยาลัย ซึ่งเราก็ลดทอนกันลงมาแล้ว พี่กับเมื่อยก็เหมือนมาหาจุดตรง กลาง เราฟังวงอย่าง Blur ฟัง Suede ฟังวงอะไรก็แล้วแต่ที่มันเติบโตในช่วงนั้น หรือแม้ปัจจุบันวงต่างๆ ที่ยังอยู่ในปัจจุบันเราก็ฟังกันอยู่ Manic Street Preachers สมัยก่อนเราก็ฟัง คือเราสองคนก็เป็นแฟนป้าวาด อะไรที่เขาใส่ให้เราในช่วง นั้น เราก็เสพย์ ทุกวันนี้มันก็เป็นเรื่องยุคสมัย Two Door Cinema Club เราก็ยังฟัง Black Eyed Peas เราก็ฟัง เพราะเรารู้สึกว่า ในเมื่อเราเป็นนักดนตรีแล้ว การที่เป็นนัก ใคร ก็ตามที่มีอาชีพคำ�ว่านักขึ้นนำ�หน้า นักร้อง นักเขียน นักแสดง นักดนตรี มันคือ ทำ�ให้เราต้องเสพย์เยอะๆ เราก็ต้องฟังเยอะต้องฟังให้หมด แต่สำ�เนียงเวลาที่นำ� เสนอ เราสองคนจะมีอะไรที่ชอบคล้ายๆ กัน ว่าอาจจะชอบฟังหลายๆ อย่าง แต่
บริตป็อป : ดนตรีบริตบิด
บิด(บริต)แบบไทย
48
บริตป็อป : ดนตรีบริตบิด
“ มันก็เป็นคำ�สอน ของผู้ใหญ่ทั่วไปว่า ใครที่ได้ทำ�งาน เลี้ยงตัวเองด้วยอาชีพ ที่เรารัก มันเหมือนกับว่า เราไม่ได้ทำ�งาน ”
บิด(บริต)แบบไทย เวลานำ�เสนอแล้วเราชอบนำ�เสนอประมาณนี้ ซึ่งมันมีกลิ่นของวงต่างๆ เหล่านั้น เจือปน คือเราก็ยินดีถ้าคนอื่นบอกว่าเราเป็นบริตป็อป แต่เรามักจะไม่พูดเองว่าเรา เป็นบริตป็อป แต่ถ้าใครถามจะบอกว่าเป็นป็อปร็อกทั่วไป แต่เราจะไม่นำ�เสนอว่า เราเป็นบริตป็อป
บทเพลงของสครับบ์ บอล : เนื้อหาเป็นเรื่องใกล้ตัว คือ ทำ�อะไรไม่รู้ แต่มีอยู่เรื่องหนึ่งที่เมื่อยจะไม่ทำ�เลย คือ เมื่อยจะไม่เขียนเรื่องที่เมื่อยไม่รู้หรือเรื่องที่ไม่ได้ประสบ เมื่อยจะไม่ได้เขียน เพลงเศร้าจากการที่นั่งสมมติว่า เอ๊ะ ถ้าเราอกหัก เราจะเป็นยังไง เมื่อยจะไม่เขียน เพลงรักจากการที่ยังไม่มีความรัก แต่แบบว่าเอ๊ะ ความรักมันเป็นยังไง แล้วเขียน เพลง เมื่อยจะเขียนเพลงกับอะไรรอบตัวที่รู้สึก สถานที่ก็ต้องเป็นที่ๆ เมื่อยไป ความ รักก็ต้องเป็นความรักที่รู้สึกจริง ความสุขก็จะบอกว่ามีความสุข ช่วงไหนไม่ดีรู้สึก เศร้าก็จะเขียนว่าเศร้า เพราะฉะนั้นเรื่องของเมื่อยเป็นเรื่องของความรู้สึกที่เมื่อยรับ รู้ และรู้สึกได้ จากการที่สิ่งแวดล้อมของสถานที่ ณ เวลานั้นมันมากระทบ มันสรุป ง่ายๆ คือ เรื่องจริงที่เมื่อยเจอและเมื่อยรู้สึก ไม่สมมติเรื่องอะไรขึ้นมาเพื่อเขียนเนื้อ เพลง เพราะฉะ คนฟังเมื่อฟัง สครับบ์ก็จะรู้สึกว่า เอ๊ะ รู้สึกชอบเพลงนี้ ฉันเคยเจอ ฉันเคยเป็นแบบนี้ เพราะเมื่อยไม่ได้เล่าอะไรที่มันวิจิตรพิสดารมาก แค่มันเป็นเรื่อง แบบนี้ เดี๋ยวคนก็เจอ มีคนแบบ เจอกับตัวเอง บรรยากาศแบบนี้ผมหรือหนูเคยไป เจอมา นั่นเป็นการที่เมื่อย คือเชื่อว่าทุกคนพอโตมาก็มีช่วงเวลาที่เคยเจอแบบนั้น ใช่มั้ย เคยสุข เคยเศร้าเคยเหงา เคยรู้สึกดีกับที่นั่นที่ดี ก็ว่าด้วยเรื่องจริงของเวลา และสถานที่ก็แล้วกัน
49
บริตป็อป : ดนตรีบริตบิด
บิด(บริต)แบบไทย
ภาคดนตรี บอล : สครับบ์มีความหลากหลายนะ แนวดนตรีที่ทำ�เราทำ�ได้หมด มีช่วงหนึ่งที่บ้า R&B เราก็ทำ� R&B บางทีอาจจะชอบฮิปฮอป เราก็อาจจะเอาอิทธิพลมา พี่จะรับผิด ชอบเรื่องดนตรี กลิ่นดนตรีเราจะเป็นร็อกอยู่ประมาณนึง เพียงแต่ว่าเราไม่ได้อะไรที่ หนักมาก ที่เป็นร็อกแท้ๆ ลงไป
ไอดอลของสครับบ์
50
บอล : เมื่อยจะชอบโยคีเพลย์บอย วิธีการที่เมื่อยจะเขียนเพลงพื้นฐานที่เมื่อยจะหัด ตาม เมื่อยจะหัดเขียนเพลงตามเพลงของโยคีเพลย์บอย เมื่อยจะดีใจนะ ถ้าคนบอก ว่า เฮ้ย เพลงนี้เหมือนพี่โป้ จะลิงโลด ดีใจ ว่าเราแต่งเพลงคล้ายพี่โป้ นี่คือช่วงแรกที่ หัดเขียน แต่พอเจอกันก็จะจูนกัน ก็จะเปลี่ยนไปโดยปริยาย พี่จะไม่ค่อยยึดติด ตอนเด็กๆ วงที่โตจริงๆจังๆ คงเป็น Nirvana ชอบวงนี้มาก จำ� ได้ว่าตอนที่เคิร์ทตาย พี่ไม่สบาย ป่วยหนักมาก ทำ�ให้ต้องไปแอดมิดที่โรงพยาบาล ตอนอยู่โรงพยาบาลแม่คงเห็นว่าเบื่อๆ เลยซื้อหนังสือให้อ่าน เห็นข่าวว่าเคิร์ทตาย แล้วพอดีเลยมันเป็นเล่มประวัติพอดี ร้องไห้เลยนะ คือพี่เคยคลั่งถึงขนาดจะย้อม ผมขาว เคยเขียนตา แต่งเนื้อแต่งตัว ทำ�นิสัยแบบมัน คือถ้าจำ�ความได้ว่าเราอิน เรา เคยอยากเป็นตัวเขาอะ แต่พอโตมาก็ไม่ค่อยละ พอทำ�งานตรงนี้มันเหมือนกับว่าเรา ไม่มีจะชอบใครนาน แค่รู้สึกว่าชอบแต่ไม่ได้ติดอยู่ในใจนาน แค่รู้สึกว่าชอบ เพราะ รักที่จะชอบหลายๆ วงมากกว่าถ้าจุดร่วมก็คงเป็นโมเดิร์นด็อกนะ
บริตป็อป : ดนตรีบริตบิด
บิด(บริต)แบบไทย
วงการเพลงไทย อดีต และ ปัจจุบัน บอล : พี่ว่ามันต่างกันตรงที่ช่องทาง ช่องทางเดี๋ยวนี้มันง่ายมหาศาล เดี๋ยวนี้คอม เครื่องเดียว กับอินเทอร์เน็ต คุณมีเพลงเป็นของตัวเอง มีแชนเนลเป็นของตัวเอง มี เพจในเฟซบุ๊ค มีช่องทางในการทำ�งานง่ายมาก ทำ�ให้มีวงเกิดขึ้นในปัจจุบัน วันละ ร้อยวงก็ได้ อย่างพี่นี่ทันยุคเก่า เครื่องอัดสี่แถบ ซึ่งอัดเสียงได้คุณภาพโง่ๆ ก็เครื่อง
51
อัลบั้ม ‘ชุดเล็ก‘
บริตป็อป : ดนตรีบริตบิด
บิด(บริต)แบบไทย ละ 20,000 บาทนะ เครื่องอัดดีๆ ก็ 5หมื่นหกหมื่น เพราะฉะนั้น หมดสิทธิ์ ไอ้ตระกูล Bedroom ก็ Bedroom จริงๆ กัดฟันทำ�ในห้องนอน คุณภาพห่วย ปั๊มเทปอะ คิดดู มันยากมาก แล้วยังมีการฝากวางในร้าน อะไรอย่างนี้อีก
52
เมื่อก่อนพอมันมีความยากลำ�บาก มันก็จะแปรผันกันว่า ในเมื่อความยากลำ�บาก มันสูงแล้ว แต่ไอ้วงที่มันฝ่าฟันจนมันสามารถวางอัลบั้มใต้ดินของมันได้ พวกนี้ คือ เดินผ่านขวากหนาม เดินผ่านมีดดาบอะไรไม่รู้มาออกได้ เพราะฉะนั้นพี่รู้สึกวง ใต้ดิน วงทำ�เอง วงอินดี้ในยุคนั้น พี่ว่าวงที่ถูกทำ�คลอดในยุคสมัยก่อนหน้านั้นซัก สิบปีเนี่ย แม่งแกร่ง ทันทีที่ทำ�คลอดได้จะกลายเป็นเด็กที่แข็งแกร่งอะ แทบจะวิ่ง ได้แล้ว วิ่งเก่ง คือทุกคนผ่านความยากลำ�บากแล้ว แต่ทุกวันนี้ทำ�คลอดง่ายอะ เร่ง เชื่อได้ เร่งคลอด มีตู้อบ มีอุปกรณ์เครื่องมือทันสมัย แต่บางทีบางตัวไม่พร้อมเกิด มันก็จะมีเยอะ แต่คุณภาพอาจจะไม่ดี แต่ไม่ได้หมายความว่าไม่มีคุณภาพนะ แค่ จำ�นวนมันเยอะ ตัวที่มีคุณภาพอาจจะเท่ากับยุคก่อนก็ได้ เมื่อก่อนทำ�คลอดได้ 20 ตัว อาจมีตัวดีซัก 15 ตัว แต่ว่าวันนี้มันทำ�คลอดได้วันละ 100 ตัว แต่ตัวดีมันพอๆ กันกับยุคก่อน เพราะฉะนั้นเด็กยุคใหม่ต้องเรียนรู้ ให้ตัวเอง แข็งแกร่ง จะสังเกตเพลงยุคใหม่มันจะมีเสน่ห์มีอะไรเก๋ๆ มีดีไซน์ แต่เราจะรู้สึกว่า ทำ�เพลงขึ้นมาแต่ทำ�ไม่จบอะ เด็กรุ่นใหม่ไอเดียดี แต่ความคิดรวบยอดที่จะทำ�ให้ จบไม่ค่อยได้ กระบวนการการผลิตมันไม่เสร็จ ซึ่งมันก็เป็นข้อดีข้อเสียของทั้งสอง ยุค แต่ข้อที่เหมือนกันคือ เก่งแค่ไหน จะไปได้ไกลแค่ไหนทั้งสองยุคจะต้องมีความ รับผิดชอบต่อตัวเอง รับผิดชอบ
บริตป็อป : ดนตรีบริตบิด
บิด(บริต)แบบไทย
ความรู้สึกหลังสครับบ์เป็นที่รู้จักมากขัึ้น บอล : คนใกล้ตัวจะบอกว่า รู้สึกพี่บอลแรดขึ้น (หัวเราะครืน) ไม่รู้สึกยังไงนะ มันดี ใจไปแล้ว ถ้าส่วนตัวมันดีใจไปแล้ว ในแง่ที่ว่า งานอดิเรกที่รักมันเป็นอาชีพไปแล้ว มันเลี้ยงตัวได้ มันก็เป็นคำ�สอนของผู้ใหญ่ทั่วไปว่า ใครที่ได้ทำ�งานเลี้ยงตัวเองด้วย อาชีพที่เรารักอะ มันจะเหมือนเราไม่ได้ทำ�งาน ให้หนักให้เหนื่อย สุดท้าย มันก็เป็น งานที่เรารัก เหนื่อยก็เหนื่อยไม่นาน หนักก็หนักไม่นาน มันฟื้นฟูได้เพราะเรารักที่จะ ทำ�มัน ซึ่งไม่เกี่ยวกับดังมากดังน้อย โอเค ดังมากมันก็ดีตรงที่เลี้ยงตัวได้ดีขึ้นแต่ว่า โดยรวมแล้วไม่มีระดับนะ ความสุขก็คือความสุข เพราะเราก็ไม่ได้ยึดติด สุขอย่างนี้ได้ ความจริงสิ่งที่ต้องทำ� คือการเตรียมตัวลงนะ เพราะว่ามันไม่ได้เป็นอย่างนี้ไปตลอดทั้งชีวิตนะ ก็ดีใจกับ มัน แต่ต้องวางมันเป็น เพราะฉะนั้นก็ใช้ความสุขไปแต่ละวัน ให้โอเคตามอัตภาพ สิ่งที่ต้องเพิ่มขึ้นมาคือ การรักษามาตรฐาน คือเมื่อก่อนเล่นผิด รั่ว ลงมาก็จะหัวเราะ เอิ้กอ้าก แต่สำ�หรับงานที่ได้รับปัจจุบันเราก็ยอมรับว่าเป็นอาชีพมากขึ้น มีการคาด หวังจากคนที่เขาทำ�งาน จากค่าย บางทีก็ต้องซ้อมหนักมากขึ้น ก็จะเรียกซ้อมบ่อย ขึ้น ซ้อมเพื่อให้รู้ว่า ทำ�อาชีพนี้ต้องซ้อม ต้องเตรียมตัว พี่จะบอกว่าคนเราพลาดได้ แต่อย่าพลาดมาก พี่จะมีเส้นแดงกำ�หนดว่าเล่นตก เล่นพลาดได้ แต่ห้ามเกินเส้น ที่กำ�หนดไว้ แย่ได้แต่ห้ามแย่เกินไป ถ้ามันแย่มากก็คงต้องเรียกคุยกัน ปัญหาเกิด จากอะไร ใครไม่เตรียมตัว ไม่มีสมาธิ เกิดจากซาวด์หรืออะไร คือติเพื่อก่อแล้วก็ไป ปรับปรุงคราวหน้าห้ามเกิดแบบนี้อีก ทำ�ให้เป็นระบบมากขึ้น เพื่อที่เราจะยังสนุก กับมันได้เวลาเราไปเล่น คือจะเครียดตอนหลังบ้าน แต่เวลาเล่นก็เล่น สบายๆ
53
บริตป็อป : ดนตรีบริตบิด
บิด(บริต)แบบไทย
Get to know SCRUBB สครับบ์ คือ ศิลปินคู่หู ดูโอ ประกอบไปด้วย “บอล – ต่อพงษ์ จันทร์บุปผา” รับหน้าที่ ดูแลงานด้านดนตรีทั้งหมด “เมื่อย – ธวัชพนธ์ วงศ์บุญศิริ” รับหน้าที่แต่งเนื้อร้อง และร้องนำ� โดยมีโปรดิวเซอร์คู่บุญ “พี่ฟั่น – โกมล บุญเพียรผล” ดูแลในด้านการ ควบคุมการผลิตทั้งหมด
54
อัลบั้ม scrubb & sound about (พ.ศ. 2543) SSS..S..S (พ.ศ. 2546) club (พ.ศ. 2548) mood (พ.ศ. 2550) ชุดเล็ก (พ.ศ. 2551) KID (พ.ศ. 2553)
britpop
บริตป็อป : ดนตรีบริตบิด
บิด(บริต)แบบไทย
55
บริตป็อป : ดนตรีบริตบิด
บิด(บริต)แบบไทย
56
บริตป็อป : ดนตรีบริตบิด
บิด(บริต)แบบไทย
ความเรียบง่าย แต่ลึกซึ้ง ของ ‘เพลย์กราวด์’
57
เมื่อพูดถึงเพลงรักสไตล์เหงาๆ แอบรักข้างเดียว ชื่อของ เพลย์กราวด์ (Playground) ย่อมเป็นหนึ่งในวงที่เป็นที่รู้จักในเพลงรักเหงาๆ ไม่ว่าจะเป็น “มุม”, “โซลเมท” (Soulmate) หรือ “ฟุ้งซ่าน” เรานัดพบกับพวกเขาทั้งสี่ ติ๊ก ตุลย์ ตุ้ย และเก้ง ยามบ่ายในร้านอาหาร ย่านใจกลางเมือง ที่ซึ่งผู้คนพลุกพล่าน พวกเขาทั้งสี่จะพาเราท่องไปในโลกของ เพลย์กราวด์ ทั้งในเรื่องงาน แรงบันดาลใจ และการที่พวกเขาเป็นหนึ่งในวงดนตรี ไทยที่น�ำเอาดนตรีสไตล์บริตป็อปมาใช้ ในรูปแบบไหน พบกับความคิดของพวกเขา ในบทสัมภาษณ์ได้เลย
บริตป็อป : ดนตรีบริตบิด
บิด(บริต)แบบไทย
จุดเริ่มต้นของเพลย์กราวด์ ติ๊ก : เริ่มจากการที่พวกเราเป็นเพื่อนกันตอนเรียนมหาวิทยาลัย ที่คณะศึกษา ศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา แล้วก็เริ่มต้นท�ำกิจกรรมด้วยกัน ท�ำรับน้อง จนปีสาม เริ่มตั้งวง อยากจะมีวงกัน แรกเริ่มมีพี่ติ๊ก เป็นนักร้องน�ำ พี่ตุ้ยมือกีตาร์ พี่เก้งเป็นมือ เบส และพี่น็อตเป็นมือกลอง ในที่สุดก็เป็นวงเพลย์กราวด์และได้ไปเล่นที่ต่างๆ ซึ่ง ตอนนั้นเราทั้งสี่ยังคงเรียนอยู่ ไปเล่นตามสถานีวิทยุ และอีกหลายๆ ที่ กระทั่งมีการ ประกวดที่ a day เราได้ไปประกวดที่นั่น ไปเจอค่ายเพลง RIP Studio ซึ่งเขาชักชวน ให้มาท�ำอัลบั้ม โดยก่อนที่เราจะได้ท�ำอัลบั้ม พี่ติ๊กได้ชวนพี่ตุลย์ ซึ่งเป็นเพื่อนสมัย มัธยมของพี่ติ๊กเข้ามาท�ำวงด้วยกัน พี่ตุลย์เลยกลายเป็นสมาชิกคนที่ 5 ของเพลย์ กราวด์ 58
ก่อร่างสร้างวง ติ๊ก : มันเป็นความฝันของพี่ เพราะตอนเด็กๆ ก็คือ ตอนเราเป็นเด็กประถมเราฟัง ลิฟต์-ออยบ้าง(หัวเราะ) เจ เจตรินบ้าง แต่พอขึ้นมัธยมต้นได้ฟังโมเดิร์นด็อก ก็รู้สึก ว่า นี่แหละชีวิตที่เราต้องการ เพราะในท้องตลาดในยุคพี่ มันจะมีเพลงจ�ำพวกบอย แบนด์อยู่มาก พวกเพลงป็อป แต่พอได้ฟังเพลงที่ศิลปินเขาท�ำเพลงขึ้นเพลง เลย รู้สึกว่านี่เป็นสิ่งที่เราอยากท�ำ เราอยากมีเพลงเป็นของตัวเอง เพลงที่เราแต่งมัน ขึ้นมา แล้วเราเป็นคนร้องเอง หลังจากนั้นเราก็เริ่มพยายามท�ำมันเป็นรูปเป็นร่าง เรื่อยๆ ก็ตั้งแต่ตอนอยู่ม.2 ที่มีความรู้สึกอยากเล่นดนตรี พอตอนที่อยู่ม.ปลายได้ เจอพี่ตุลย์ ซึ่งเขาเล่นกีต้าร์อยู่ก็พยายามให้พี่ตุลย์สอนกีตาร์ จนท�ำส�ำเร็จตอนที่จะ จบมหาวิทยาลัย
บริตป็อป : ดนตรีบริตบิด
บิด(บริต)แบบไทย
“เราได้แรงบันดาลใจเรื่องความรักจากคนรอบๆ ตัว รวมทั้งตัวเองด้วย โดยเลือกเรื่องที่เราอิน เรื่องที่มันกระทบใจ มีความรู้สึกร่วมไปกับมัน” ติ๊ก - เพลย์กราวด์
59
บริตป็อป : ดนตรีบริตบิด
บิด(บริต)แบบไทย
ศิลปินในดวงใจ ติ๊ก : พี่จะชอบโมเดิร์นด็อกมากๆเลย แต่พี่ตุลย์ชอบ ธีร์ ไชยเดช พี่เก้งชอบโยคี เพลย์บอย ชอบวงพอส ตุลย์ : พวกเราฟังเพลงแนวที่ใกล้เคียงกันนะ ส่วนใหญ่ชอบเพลงจากทางค่ายเบเก อรี่ มิวสิกถ้าเป็นสากลจะชอบพวก Nirvana, Red Hot Chili Peppers ส่วนพี่ตุ้ยจะ ชอบพี่แจ้ (หัวเราะ) ติ๊ก : จริงๆ เราจะมีส่วนที่ชอบต่างกัน แล้วก็มีส่วนหนึ่งที่มันทับกันน่ะ ซึ่งส่วนนั้นก็ คือเพลย์กราวด์ 60
แรงบันดาลใจในการท�ำเพลง ติ๊ก : เพลงรักของเพลย์กราวด์ เราได้แรงบันดาลใจเรื่องความรักจากคนรอบๆ ตัว รวมทั้งตัวเองด้วย โดยเลือกเรื่องที่เราอิน เรื่องที่มันกระทบใจ มีความรู้สึกร่วมไป กับมัน อย่างเช่นเพลงปล่อยวาง เพลงนั้นเป็นเพลงที่แต่งตอนเราอกหักครั้งแรก เพลงโซลเมท ก็จะเป็นอารมณ์เวิ่นเว้อ ตอนเป็นโสด ไม่มีใครมอง มองดูคนมีแฟน กันแล้วอิจฉา อะไรแบบนี้
บริตป็อป VS เพลย์กราวด์ เก้ง : คือติ๊กจะเป็นคนเก่งในด้านการซ่อนค�ำอยู่แล้ว เพลงเพลย์กราวด์ที่เราฟังกัน ปกติ มันจะฟังดูเหมือนฟังง่าย แต่จริงๆ แอบซ่อนค�ำเป็นนัยยะ เอาไว้ อย่างค�ำว่า “ยิ้มเบาๆ” ซึ่งค�ำพูดนี้ เราฟังไปก็จะมีความรู้สึกนิดๆ ว่ามันหมายถึงอะไร ซึ่งความ หมายจริงๆ ก็คือ ความหวังดีที่อยู่ไกลๆ ติ๊กจะเป็นคนสนุกแล้วพอแต่งเสร็จจะมา บริตป็อป : ดนตรีบริตบิด
บิด(บริต)แบบไทย เล่าให้ฟังว่า เฮ้ย! เนื้อเพลงตรงนี้มีนัยยะอะไร บวกกับเราได้อิทธิพลเยอะมากใน อัลบั้มชุดแรกกับชุดที่สอง ซึ่งมันแฝงอะไรไว้เยอะมาก พอคนอื่นฟังแล้วได้อะไรที่ แฝงเอาไว้ ก็ท�ำให้รู้สึกสนุก ส่วนทางดนตรีก็เหมือนกัน เราชอบบริตป็อป เพราะว่า ทางด้านดนตรีมันเป็นดนตรีที่เล่นโดยไม่คิดอะไร ปล่อยไปตามอารมณ์ ไม่ต้องระวัง บางทีแบบเราใช้อารมณ์เล่นเพลงที่เราชอบมากๆ ได้
วงบริตป็อปในดวงใจของเพลย์กราวด์ ติ๊ก : พี่ชอบ Coldplay เพราะฟังแล้วรู้สึกเป็นบริตป็อปที่ท�ำให้ฟังง่าย แต่ฟังแล้ว รู้สึกให้อะไร ดูมีอะไร ดูมีการศึกษา (หัวเราะ) ดูเข้าใจง่าย เลยชอบมาก และชอบ เสียงเปียโนด้วย คือวงนี้เป็นวงที่คล้ายๆ กับสิ่งที่เราเป็นคือ เขาไม่ได้เล่นดนตรีเก่ง แต่เรารู้สึกว่าเขาเก่งในเรื่องดีไซน์และการจัดวางแต่ละอย่างไม่ว่าจะเป็นเมโลดี้หรือ ท�ำนองเพลงที่ท�ำให้รู้สึกว่าจริงๆ เราไม่จ�ำเป็นต้องใช้ทักษะเยอะๆ แค่เล่นดนตรี ง่ายๆ แต่ท�ำให้มันเพราะได้ มันอยู่ที่การจัดวาง
61
เก้ง : ของพี่เก้งเป็น Oasis เพราะเป็นวงบริตป็อปที่เข้าเมืองไทยแรกๆ แล้วท�ำให้ เข้าใจว่าบริตป็อปมันต่างกับดนตรีของอเมริกัน ตรงที่มีความเรียบง่ายในภาษา ดนตรีไม่กระโชกโฮกฮาก แต่ว่าได้อารมณ์มากกว่า นอกจากนั้นเขาจะไม่เน้นเรื่อง ของทักษะ ฝีมือ เขาจะไม่รีบ ไม่ฉูดฉาด แต่แฝงไอเดียในเนื้อหา คือเหมือนเค้าเล่น ง่ายแต่มันมีอะไรแฝงน่ะ มันก็เลยกลายเป็นสิ่งที่เราชอบไปด้วย ตุ้ย : ไอดอลอีกวงที่เราชอบคือ The Beatles เรียกได้ว่าเป็นต้นต�ำรับบริตป้อปต้นๆที่ เพลย์กราวด์ชอบกันครับ ฟังๆ ไปก็ไม่มีอะไรยาก เมโลดี้ง่ายๆ ป็อปๆ แต่เท่ มีไอเดีย เป็นต�ำนาน แต่จริงๆ ดูเป็นคนกวนตีน แต่ซ่อนๆ เอาไว้ เท่ดี
บริตป็อป : ดนตรีบริตบิด
บิด(บริต)แบบไทย
กระบวนการท�ำงานของเพลย์กราวด์ ติ๊ก : ส่วนใหญ่ก่อนจะที่เราจะได้เพลงแต่ละเพลง เราก็จะเจอไอเดียที่อยากจะแต่ง เป็นเพลง เลยเริ่มต้นท�ำเพลง แต่วิธีจะมีวิธีที่แตกต่างกัน บางทีก็เขียนเป็นเพลงดิบ เลย บางทีเป็นเนื้อร้อง ท�ำนอง บางทีเราได้จากการไปแจมกันในห้องซ้อมดนตรีก็ มี จากนั้นค่อยมาคิดอีกทีว่าดนตรีเป็นแบบนี้ ควรจะพูดถึงเรื่องอะไร ซึ่งรูปแบบการ ท�ำงาน การแต่งเพลงของพวกเราจะมีหลายรูปแบบมาก แต่ส่วนใหญ่แล้ว เรื่องเนื้อ ร้องพี่จะเป็นคนท�ำ ส่วนดนตรีก็จะช่วยๆ กันท�ำ
62
บริตป็อป : ดนตรีบริตบิด
บิด(บริต)แบบไทย
เสน่ห์ของเพลย์กราวด์ ติ๊ก : ความติดดิน ความเป็นกันเอง ความสนุก พี่รู้สึกว่าคนที่ไปดูโชว์ของเรา เขาจะ ชอบตรงที่ว่าเราเต็มที่กับโชว์ เราจะเต็มที่กับการเล่นคอนเสิร์ตในแต่ละครั้ง ไม่ว่าจะ เล็กจะใหญ่ เราก็จะหัวเหวี่ยงกลับบ้านไปทุกที มันเหมือนกับว่าเราเล่นดนตรีด้วย ความรู้สึกว่าอยากจะเล่น บางคนเขาจะบอกกับเราว่า ศิลปินทั่วไปนะ เขาจะเล่นอีก ระดับหนึ่ง แต่พวกพี่จะเล่นดนตรีกันแบบ เหมือนคนดูเขามาดูเพื่อน มาดูพี่เล่น เราก็ ทักทายแฟนเพลงทุกคนเหมือนพวกเขาเป็นเพื่อน เป็นพี่ เป็นน้อง เจอหน้ากันก็ไม่ใช่ แฟนเพลงนะ แต่เป็นญาติเราน่ะ
การเว้นช่วงการท�ำอัลบั้ม
63
เก้ง : มันจะมีช่วงนึงที่เราไปทัวร์ ก็ท�ำให้เราเว้นช่วงไป และจะมีช่วงที่พวกพี่คิดว่าปี นึงก็น่าจะท�ำอัลบั้มสักอัลบั้มเดียวนะ แล้วก็บางทีมันก็แบบเราแต่งเพลง จากนั้นก็ เลือกๆ กันไป อย่างชุดที่แล้วเรามีเพลงให้เลือกเยอะมาก ก็เลือกเยอะจนแบบ ในที่สุด ก็ได้ ก็ออกมาเป็นอัลบั้มApollo 0.4 มันเหมือนกับว่าเดี๋ยวนี้วงดนตรีมันมีอยู่เยอะ ถ้า ออกบ่อยไป และถ้ามันไม่ใช่ของดีจริง มันก็เสียดายนะ
วงการดนตรี ปัจจุบัน VS อดีต ติ๊ก : ก็ดีนะ มีเพลงให้เราเลือกฟังเยอะ แต่มันก็เป็นอีกเรื่องนึงที่เป็นไปตามยุคสมัย เพียงแต่ว่าตอนนี้มันมีมากจนเราไม่สามารถตั้งใจที่จะฟังเพลงของวงใดวงหนึ่งได้ และฟังเพลงของวงนั้นๆน้อยลงเรื่อยๆ แต่ว่าแต่ละคนก็จะเลือกฟังตามทางที่ชอบ ของแต่ละคน อย่างเราชอบทางนั้น ก็ไปทางนั้นเลย พี่รู้สึกว่าตอนที่พี่เป็นเด็กเนี่ย มัน จะมีค่ายเพลงอยู่น้อยมาก สมมติเดือนนึง เราต้องได้ฟังพี่เจ สองเดือนต่อมาต้องได้ บริตป็อป : ดนตรีบริตบิด
บิด(บริต)แบบไทย
ฟังพี่เอ อนันต์ บุนนาค คือทุกคนจะได้ฟังอันเดียวกัน ท�ำให้เราได้รู้ว่า เราชอบหรือไม่ ชอบ ซึ่งตากจากตอนนี้ที่มันมีความสนใจให้เราเลือกอยู่หลากหลายมาก ท�ำให้เวลา ที่เราไปเจอบางสิ่งบางอย่าง เจอเพลง เจอวงที่เราชอบ เราก็จะรู้สึกดีกับมัน แต่ก็จะ ไม่แมส ไม่ใช่ในกระแสมาก ซึ่งท�ำให้บางที คนที่จะท�ำการตลาด มันจะท�ำการตลาด ได้ยากขึ้น แต่ส�ำหรับคนฟัง มันก็ดีนะ เพราะมีเพลงฟังเยอะขึ้น แต่มันก็มีข้อเสียคือ เราจะอยู่กับเพลงนั้นได้น้อยลง ซึ่งคนที่ท�ำงานตรงนี้ก็รู้สึกไม่ค่อยดีอยู่แล้วนะ เพราะ เพลงแต่ละเพลง มันกลั่นมา ซึ่งเขาเองก็ตั้งใจมาก แต่พอเดี๋ยวนี้ คนอยู่กับเพลงของ เราได้ไม่จบเพลง แค่ท่อนฮุคเขาก็เปลี่ยนแล้ว มันก็รู้สึกแย่ และมันน่าเสียดายนะที่ เขาเห็นคุณค่าของเพลงนั้นๆ ดูเบาบางลง
แผนงานในอนาคต 64
เก้ง : ปีหน้าเพลย์กราวด์จะครบรอบ 10 ปี เราเลยวางบิ๊กโปรเจกต์ โดยมีอัลบั้มใหม่ หนึ่งอัลบั้ม อาจจะมีอัลบั้มรวมฮิตอีกอัน แล้วก็มีกิจกรรมที่จะส่งไปถึงคอนเสิร์ตใหญ่ ในปลายปี โดยซิงเกิลต่อไปจะออกในช่วงต้นพ.ย.แล้วก็จะออกซิงเกิลมาเรื่อยๆ ถึง ต้นปีหน้าครับ
บริตป็อป : ดนตรีบริตบิด
บิด(บริต)แบบไทย
Get to know เพลย์กราวด์ เพลย์กราวด์ วงดนตรีแนวอัลเทอร์เนทีฟ - บริตป็อป จากจังหวัดชลบุรี มี เพลงที่มีชื่อเสียงอย่าง เพลง "มุม" , "โซลเมต" (Soul Mate) , "ปล่อยวาง" และอีก มากมาย โดยในปัจจุบันได้ย้ายมาสังกัดค่าย จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ สมาชิก กฤษติกร พรสาธิต (ติ๊ก) ร้องน�ำ ตุลย์ เหมือนสร้อย (ตุลย์) กีตาร์ วัชระ ชัยพันธุ์ (ตุ้ย) กีตาร์ ปรัชญา ค�ำเมือง (เก้ง) เบส อดีตสมาชิก นุชา สุพานิช (น็อต) กลอง
65
อัลบั้ม Cubic World (พ.ศ. 2547) Mr. Postman (พ.ศ. 2549) Playboy & Girl (พ.ศ. 2551) Apollo 0.4 (พ.ศ. 2552 - 2554) อัลบั้มพิเศษ Box(พ.ศ. 2546) The Great Karaoke Hits (พ.ศ. 2548)
britpop
บริตป็อป : ดนตรีบริตบิด
บิด(บริต)แบบไทย
66
บริตป็อป : ดนตรีบริตบิด
บิด(บริต)แบบไทย
ความร้าวรานอันหอมหวานของ ‘Greasy Cafe’ ’
67
บรรยากาศยามค�่ำคืนบริเวณถนนเลียบทางด่วนรามอินทรา บวกกับฝน ตกพร�ำๆ ท�ำให้ทุกคนนึกอยากกลับบ้านเสียเต็มที แต่ว่าคืนนี้เรามีนัดกับชายหนุ่มผู้ เปลี่ยนการมองโลกความรักให้เป็นมุมมองที่จริงจัง และลึกซึ้งยิ่งกว่าเดิม เขาผู้นั้น คือ เล็ก – อภิชัย ตระกูลเผด็จไกร หรือที่เรารู้จักกันดีในชื่อของ Greasy Cafe’ (กรีซซี่ คาเฟ่)
บริตป็อป : ดนตรีบริตบิด
บิด(บริต)แบบไทย ชายหนุ่มเจ้าของผมยาวสลวยซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของเขานั้นเป็นที่รู้จักจาก การเป็นตากล้องประจ�ำกองถ่ายภาพยนตร์ไทยมากมาย ไม่ว่าจะเป็น ปืนใหญ่ จอม สลัด หรือ ชัมบาลา เขายังมีมุมอีกมุมหนึ่งของการเป็นนักดนตรี โดยใช้ชื่อว่า กรีซ ซี่ คาเฟ่ ซึ่งภายในเวลาไม่ถึงสองปี เขาได้กอบโกยชื่อเสียงรวมไปถึงซื้อใจบรรดานัก ฟังเพลงนอกกระแสไว้อย่างล้นหลาม ด้วยการน�ำเสนอมุมมองความรักในด้านที่เป็น จริงแก่นักฟังเพลง
68
บริตป็อป : ดนตรีบริตบิด
บิด(บริต)แบบไทย
ก่อนจะเป็น Greasy Cafe’ เล็ก : เราเริ่มเล่นดนตรีตั้งแต่เด็กๆ นะ แต่เป็นการเล่นเพื่อความสนุกมากกว่า เล่นกับ เพื่อน ตอนอยู่ที่อังกฤษเรามีโอกาสได้ท�ำวงกับเพื่อนๆ ที่นู่น ชื่อว่า ‘The Light’ แต่มัน ก็ไปไม่รอดนะ ซึ่งตอนนั้นเราก็เรียนด้านถ่ายภาพอยู่พอดี ก็มุ่งมั่นกับการถ่ายภาพ และได้ถ่ายภาพวงดนตรีอินดี้ ซึ่งไอ้การถ่ายภาพก็น�ำพาให้ไปเจอกับพี่รุ่ง เจอวงครับ ได้รู้ว่าเราก็เคยท�ำงานเพลงมาก่อน ก็น่าจะพอได้มั้ง เราก็เลยลองดู เลยเกิด Compliation 001 ขึ้นมา แล้วก็ได้ท�ำงานเป็น Greasy Cafe’ ครับ
69
บริตป็อป : ดนตรีบริตบิด
บิด(บริต)แบบไทย
แรงบันดาลใจในการท�ำงาน เล็ก : ถ้าพูดในส่วนของเนื้อหา ก็คงเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นกับชีวิตเรา กับชีวิตคนรอบข้าง คนที่สนิท ซึ่งมันส่งผลกับความรู้สึกเรามาก เราก็เริ่มเขียน ส่วนด้านดนตรี มันเกิด จากการที่เราชอบวงดนตรีหลายๆ วง แล้วเราก็เอาทุกอย่างมาเข้าเครื่องมูลิเนกซ์ มาปั่นรวมๆ กัน ถ้าจะตอบว่าแนวเพลงของเรา ของ Greasy Cafe’ คืออะไร เราก็ ตอบไม่ถูกนะ
เพลงที่มีความส่วนตัวสูง
70
เล็ก : ซึ่งเราไม่คิดว่าคนจะเข้าใจกันขนาดนี้ โดยเฉพาะอัลบั้มแรกที่ท�ำออกมา มัน เป็นเรื่องส่วนตัวมาก แต่มันก็ไม่ได้มากจนเล่าให้ใครฟังไม่ได้ แต่เรางงตรงที่ เรื่อง ส่วนตัวของเราที่เราน�ำเสนอมันดันไปคล้ายกับเรื่องส่วนตัวของคนอื่น ซึ่งมันเป็น เรื่องดีนะ (ยิ้ม) เพราะเรารู้สึกว่า คนที่ท�ำเพลงร้องเพลง เพลงที่เขาร้อง เขาก็จะต้อง รู้สึกกับมันจริงๆ ไม่ใช่แค่ร้องส่งๆ ให้จบไป เราคิดว่าทุกเพลงที่ร้อง ทุกครั้งที่ได้เล่น ก็ต้องรู้สึกอย่างนั้นจริงๆ อย่าโกหกคนดู เมื่อเรารู้สึกแบบนั้น มันก็ท�ำให้สิ่งที่เรา เขียน ซึ่งก็คือสิ่งที่มันเกิดขึ้นกับตัวเรา เราก็รู้สึกกับมันจริงๆ มันเลยท�ำให้เวลาเราไป เล่น ไปร้องที่ไหน เราก็จะรู้สึกกับมันจริงๆ
ซื่อตรงกับการท�ำเพลง เล็ก : ใช่ อย่าเฟคเลย ถ้าเราโกหกเราจะโกหกได้นานแค่ไหน ไม่นานหรอก สมมติว่า คนๆ นึงหลอกคนอื่นว่าเป็นคนดีแต่จริงๆแล้วไม่ใช่ เขาจะหลอกได้นานแค่ไหน ก็ไม่ นานหรอก สักวันคนก็จะรู้เอง แต่ที่เราท�ำอยู่คือการท�ำในสิ่งที่เราเชื่อแล้วเราท�ำมัน อย่างบ้าคลั่ง สักวันคนจะรู้เองว่า ไอ้บ้าเนี่ยมันเป็นแบบนี้จริงๆ นะ
บริตป็อป : ดนตรีบริตบิด
บิด(บริต)แบบไทย
วิถีแบบกรีซซี่ คาเฟ่ เล็ก : ก็ค่อยๆคิด ค่อยๆ เติม ความจริงเราไม่ค่อยมีแบบแผนในการท�ำงานเท่า ไหร่ แบบท�ำอะไร รู้สึกอะไรยังไงก็ท�ำไปเรื่อยๆ มันก็อาจจะช้ากว่าคนที่วางรูปแบบ แบบแผนเอาไว้แล้ว แต่เราว่าวิธีที่เราท�ำอาจจะผิดก็ได้ เพราะมันท�ำให้ช้า เสียเวลา แต่ว่าเราแค่รู้สึกว่า ไม่เป็นไร เสียเวลาหน่อยก็ได้ แต่ว่าท�ำในทุกขั้นตอนที่ท�ำให้เรา รู้สึกดีกว่า อีกอย่างมันก็ตอบโจทย์ตัวเราเองด้วย
เป้าหมาย กับ ความคาดหวัง เล็ก : ไม่เคย เราไม่เคยตั้งเป้าว่ามันจะต้องเป็นอะไร เราเพียงแต่ท�ำในสิ่งที่เรารู้สึกว่า เราคิดแบบนั้นจริงๆ เราจะท�ำมันให้ดีที่สุดก่อนเลย เราอาจจะเคยๆ คุยกันว่าชุดนี้ จะ ให้มันขนาดไหน แต่ก็ไม่คิดว่าเราจะเก่งพอหรือดีพอที่จะเอาธงไปปักกับมันได้ เราแค่ คิดว่าท�ำออกมาให้ดีที่สุดแค่นั้นพอ แต่ส�ำหรับอัลบั้มชุดล่าสุดสิ่งที่ตั้งใจท�ำมากๆ คือ ดูแลเรื่อง direction ดูแลเรื่องสิ่งที่เป็นอยู่ให้มันชัดเจน
71
ภาคดนตรี เล็ก : ก็มีชุดที่สองให้รัฐ (รัฐ พิฆาตไพรี จาก Tattoo Colour) มาช่วย แต่ในชุดนี้ ติดที่ รัฐงานเยอะ เลยได้พี่รุ่งกับมิ้นต์เข้ามาช่วย แล้วมันมีช่วงที่เรายุ่งมาก ซึ่งเป็นช่วงที่เรา เดินทางไปโปรโมตหนัง เขาก็จะมาช่วยเราบ้าง อัลบั้มแรกเราก็ช่วยกันกับรัฐ เพราะ ว่าเมื่อก่อนเราไม่รู้เรื่องคอมพิวเตอร์ ท�ำไม่เป็นเลย ซึ่งรัฐก็จะเป็นคนเอาสิ่งที่อยู่ข้างใน ของเราออกมาให้ได้ แล้วเราก็จะบอกว่า กลองควรจะเป็นแบบนั้นนะ แต่ตั้งแต่ตอน ท�ำอัลบั้มสามเราก็เริ่มท�ำงานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์เป็นแล้ว เราก็เลยหอบทุกอย่างไป ที่อังกฤษ แล้วก็เริ่มท�ำงานทุกอย่างเป็นชิ้นๆ ท�ำให้อัลบั้มล่าสุดมันค่อนข้างสมบูรณ์ กว่าสองอัลบั้มแรก บริตป็อป : ดนตรีบริตบิด
บิด(บริต)แบบไทย
72
“ เราคิดว่าทุกเพลง ที่ร้อง ทุกครั้งที่ ได้เล่น ก็ต้องรู้สึก อย่างนั้นจริงๆ อย่าโกหกคนดู ”
บริตป็อป : ดนตรีบริตบิด
บิด(บริต)แบบไทย
กรีซซี่ คาเฟ่ กับชื่อเสียงที่ได้รับ เล็ก : อย่างแรกที่รู้สึกก็ต้องดีใจแหละ เป็นใครๆ ก็ดีใจใช่มั้ย แต่ถ้าหมายความว่ามัน ไม่ได้อยู่ในกรรมวิธีแรกของการท�ำงานว่า เราจะต้องท�ำเพลงฮิตนะ จะต้องท�ำเพลง ดัง เราว่าดนตรีแบบเรา มันจะไปคาดหวังอะไรแบบนั้นไม่ค่อยได้ อีกอย่างเราก็ไม่ ได้เก่งมาก ที่สามารถคาดเดาได้ว่าใครชอบเพลงอะไร เพลงไหน เมื่อถึงเวลาเล่นก็รู้ ได้เองนะว่าใครชอบเพลงอะไร แต่เราว่ามันไม่มีสูตรตายตัวว่า ท�ำอย่างนี้แล้วจะดัง นะ เราว่าช่วงที่ท�ำอัลบั้มแรกๆ มันก็มีค�ำถามเกิดขึ้นแล้วเราก็กดดันมากจนท�ำงาน ไม่ได้ ท�ำให้เราท�ำงานไม่ได้แล้ว แล้วเราก็อยู่นิ่งคิดกับสิ่งที่มันเป็น มันเกิดขึ้น จาก นั้นเราก็ไปอังกฤษ ก็เริ่มคุยกับตัวเองว่า เดี๋ยวก่อนนะอัลบั้มแรกกับอัลบั้มที่สอง มัน เกิดจากอะไร มันไม่ได้เกิดมาสิ่งที่เรารู้สึกจริงๆ ก่อนเหรอ ก็ควรท�ำไปตามสัญชาติ ญาณรึเปล่า อย่ามาบอกกับตัวเองว่าเราจะต้องท�ำเพลงดัง คนถึงจะชอบ เราว่า มา ซื่อสัตย์เหมือนเดิม ก็ท�ำอย่างที่รู้สึก แล้วเราก็ท�ำมันอย่างตั้งใจ อย่างบ้าคลั่งมากๆ แค่นั้นก่อนไหม ท�ำให้เราลดความกดดันลง และมันก็เลยท�ำให้เกิดงานนี้ขึ้นมา
73
เพลงโปรด เล็ก : ค�ำถามนี้ยากมากเลย เราว่าเราก็ชอบหมดนะ มันขึ้นอยู่กับอารมณ์ตอนนั้นๆ ของเรา อย่างเพลง ภายใต้ท้องฟ้าสีด�ำ เราชอบมาก และไม่คิดว่าคนจะชอบมันเลย เพราะเรารู้สึกว่ามันเป็นเรื่องส่วนตัวมาก แล้วเพลงมันก็ช้ามาก ซึ่งเราไม่คิดว่าคน จะชอบมัน เหมือนอย่างอัลบั้มหลังๆ เรามีเพลงที่มันให้ความรู้สึกที่เปลือยมากๆ ไม่ ได้มีอะไรห่อหุ้ม เป็นแค่กีตาร์โปร่งกับร้อง และมีแค่ทรัมเป็ต เราชอบมันมาก แต่เรา ก็ไม่กล้าคิดว่าคนจะชอบมันรึเปล่า แต่มีแอบคิดนิดนึงนะว่า คนอาจจะชอบมันนะ แต่เราชอบมันแล้ว ส่วนอัลบั้มสามจะรวมเพลงหลายๆ แบบรวมอยู่ในอัลบั้มเดียว ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่คิดตั้งแต่แรกๆ แต่ท�ำไปท�ำมาก็กลายเป็นแบบนั้น คล้ายๆ เพลงจาก อัลบั้มแรก ที่มีเพลงหลายๆ แบบ หลายๆ จังหวะรวมอยู่ในอัลบั้มนั้น
บริตป็อป : ดนตรีบริตบิด
บิด(บริต)แบบไทย
ความสุขในการทัวร์ เล็ก : ก็ดี ดีขึ้นเยอะนะ เราค่อยๆ ทะยานๆ ไปเรื่อยๆ แล้วคนก็เริ่มฟังเพลงเรามากขึ้น ไปเล่นในหลายๆที่ ก็เริ่มมีคนมาดูเยอะขึ้น ภาพรวมก็ดูดีขึ้นนะ
แบกรับความมีชื่อเสียง
74
เล็ก : สองอัลบั้มนั้นมันก็ไม่ดังนะ เพียงแค่ว่ามันค่อยๆซึมเข้าไปเท่านั้นเอง ไม่ได้ แบบ โห ประสบความส�ำเร็จมากขนาดนั้น ไม่เคยรู้สึกว่าประสบความส�ำเร็จเลย ไม่ เคยรู้สึกว่าตัวเองนะประสบความส�ำเร็จแล้ว ไม่นะ เราก็ยังต่อสู้อยู่เหมือนเดิม เพราะ ว่าเราคิดว่าไอ้การที่ประสบความส�ำเร็จน่ะ มันเอาอะไรมาวัด แต่ถ้าในค�ำว่าประสบ ความส�ำเร็จของคนทั่วๆไป คือเข้าใจว่าเราดัง แต่ถ้าหมายความว่าคนฟังเยอะมั้ย ก็ เยอะ ส่วนเรื่องความดัง เราว่าก่อนอื่นนะ เราขอบคุณทุกคนที่ให้โอกาสฟังเพลงของ เรา แต่เรารู้สึกว่าเราไม่ได้เป็นตัวอย่างที่ดีเลย เราอาจจะมีเรื่องที่ไม่ดีในชีวิตเราบาง หนบางครั้งก็ได้ เพราะฉะนั้นเราคิดว่าเราไม่ได้สมควรขนาดนั้น แต่ถ้าใครรู้สึกว่า เออ ชอบเพลงแบบนี้ แล้วก็ลองเล่นดู ก็ไม่เปนไร แต่ไม่ได้รู้สึกว่าจะต้องเป็นไอดอลหรือ เป็นตัวอย่างของใคร คือเราคิดว่าเราไม่ได้ดีพอแบบนั้น
บริตป็อป : ดนตรีบริตบิด
บิด(บริต)แบบไทย
Get to know Greasy Café อภิชัย ตระกูลเผด็จไกร หรือ เล็ก เป็นทั้งช่างภาพนิ่ง นักร้องน�ำ และนักแต่งเพลงใน นามกรีซซี่ คาเฟ่ (Greasy Cafe) สังกัดค่ายสมอลล์รูม นอกจากนี้เขาเป็นช่างภาพ นิ่งของกองถ่ายภาพยนตร์ชั้นน�ำมากมาย อาทิ จัน ดารา, องคุลีมาล, ปืนใหญ่จอม สลัด อัลบั้ม สิ่งเหล่านี้ (พ.ศ. 2551) ทิศทาง (พ.ศ. 2552) The journey without maps (3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555) EP ระยะ Panoramic (The book with sound) อัลบั้มรวมเพลง เพลง หา จากอัลบั้ม Smallroom 001 เพลง พบ จากอัลบั้ม Smallroom 002 (พ.ศ. 2544) เพลง a day จากอัลบั้ม a day Red Label Album (พ.ศ. 2544) เพลง เธอรู้รึเปล่า จากอัลบั้ม Sanamluang Connects เพลง เงินล้าน จากอัลบั้ม Fatcode
75
britpop
บริตป็อป : ดนตรีบริตบิด
บิด(บริต)แบบไทย
76
บริตป็อป : ดนตรีบริตบิด
บิด(บริต)แบบไทย
โคลด์เพลย์ เป็นวงที่คล้ายๆ กับสิ่งที่เรา เป็นคือ เขาไม่ได้เล่นดนตรีเก่ง แต่เรารู้สึก ว่าเขาเก่งในเรื่องดีไซน์และการจัดวางแต่ละ อย่างไม่ว่าจะเป็นเมโลดี้หรือท�ำนองเพลง ที่ท�ำให้รู้สึกว่าจริงๆ เราไม่จ�ำเป็นต้องใช้ ทักษะเยอะๆ แค่เล่นดนตรีง่ายๆ แต่ท�ำให้ มันเพราะได้ มันอยู่ที่การจัดวาง
77
บริตป็อป : ดนตรีบริตบิด
บิด(บริต)แบบไทย
78
บริตป็อป : ดนตรีบริตบิด
เรารัก(บริต)ไทยแบนด์
เรารัก
(บริต)ไทยแบนด์
79
บริตป็อป : ดนตรีบริตบิด
เรารัก(บริต)ไทยแบนด์
80
บริตป็อป : ดนตรีบริตบิด
เรารัก(บริต)ไทยแบนด์
ในอุตสาหกรรมดนตรีปัจจุบัน ปัจจัยส�ำคัญที่ขับเคลื่อนให้วงดนตรีต่างๆ แข่งขันเพื่อน�ำเสนอผลงานที่แตกต่าง และมีเอกลักษณ์นั้นคงหนีไม่พ้น การสร้าง ฐานแฟนเพลง เพื่อให้เหล่านักฟังเพลงผู้หลากหลาย เกิดความสนใจ และตัดสินใจ ลงหลักปักฐาน เป็นแฟนคลับ สนับสนุนพวกเขาขึ้นมา
81
โดยเฉพาะวงการดนตรีในไทย จ�ำนวนแฟนคลับคือสิ่งที่แสดงถึงสถานะ ของวง ยิ่งจ�ำนวนแฟนคลับเยอะเท่าไหร่ นั่นหมายถึงความนิยม และความน่า สนใจของวง ก็พุ่งถึงขีดสุด ซึ่งเท่ากับวงได้ประสบกับความส�ำเร็จไปแล้วโดยไม่ต้อง พึ่งค�ำวิจารณ์แง่บวกจากนักวิจารณ์เพลงเสียด้วย วงดนตรีบริตป็อปในประเทศไทยก็เช่นกัน ด้วยท่วงท�ำนองและค�ำร้อง ที่ไม่ซับซ้อน รวมไปถึงเนื้อเพลงที่มีเนื้อหาที่เป็นนัยยะแฝงซ่อนอยู่ ซึ่งถือเป็น เอกลักษณ์ของดนตรีประเภทนี้ ท�ำให้นักฟังเพลงทั้งขาจรและขาประจ�ำต่างติดใจ จนกลายมาเป็น แฟนคลับ ในที่สุด ทว่าเหตุผลที่พวกเขา เลือกที่จะเป็นแฟนคลับให้กับวงดนตรีบริตป็อป เหล่านี้ คืออะไร และท�ำไมถึงก้าวมาเป็นแฟนคลับและยอมรับว่าวงบริตป็อปที่ว่า เป็นวงดนตรีที่รักของตนนั้น ไปหาค�ำตอบกันเลย บริตป็อป : ดนตรีบริตบิด
เรารัก(บริต)ไทยแบนด์
นิวและนิ่ม
82
บริตป็อป : ดนตรีบริตบิด
“ ความเป็นกันเอง คือ เสน่ห์ของ Scrubb ”
(ล่าง) บอล สครับบ์ และแฟนคลับ รวมไปถึงบิว
เรารัก(บริต)ไทยแบนด์ ค�่ำวันที่ 20 ตุลาคมที่ผ่านมา ถือว่าเป็นวันส�ำคัญอีกวันหนึ่งของวงดนตรี ที่ ณ ขณะนี้เรียกได้ว่าเป็นวงอินดี้ที่ประสบความส�ำเร็จวงหนึ่งของประเทศไทย เนื่องจากเป็นวันที่พวกเขาท�ำการแสดงคอนเสิร์ตในรูปแบบที่ไม่เหมือนคอนเสิร์ต ของวงดนตรีทั่วไป นั่นคือคอนเสิร์ตอันแสนผ่อนคลายและได้แสดงตัวตนของพวก เขาทั้งสองออกมา เขาทั้งสองรวมกันเป็น วงสครับบ์ (Scrubb) คอนเสิร์ตครั้งนี้ เราได้มีส่วนร่วมเป็นหนึ่งในจ�ำนวนผู้ชมของพวกเขา และ ได้เห็นท่าทีที่ผ่อนคลายผสมไปกับความตื่นเต้นของทั้ง บอล และ เมื่อย ระหว่าง การแสดง ได้เห็นอากัปกิริยาของผู้คนที่กระโดดโลดเต้นไปทั้งหอประชุม นอกจากนี้ เรายังได้พบกับกลุ่มแฟนคลับของสครับบ์ ซึ่งมีมากมายหลาย กลุ่ม หลายวัย แต่มีจุดประสงค์เดียวกันคือ การได้พบกับวงที่พวกเขารัก วงนี้ รวม ไปถึง บิว นิว และนิ่ม พวกเธอทั้งสามมีสีหน้าที่สดใสแต่ก็แฝงไปด้วยความเหนื่อยล้าจากการก ระโดดโลดเต้นอยู่ในหอประชุม จึงพากันเดินไปนั่งคุยที่ม้ายาวด้วยความตื่นเต้น ระคนดีใจ
83
สครับบ์กับฉัน บิว : รู้จักมาตั้งแต่ตอนเรียนมัธยมต้นนะ ฟังเพลงทุกอย่าง เข้ากันดี แล้วชอบมาก แต่ก็ไม่ได้จริงจัง ก็พอฟังได้ นิ่ม : ก็ตั้งแต่มัธยมนะ ชอบมานาน ตั้งแต่สมัยสครับบ์ยังไม่ดังเลย (หัวเราะ)
บริตป็อป : ดนตรีบริตบิด
เรารัก(บริต)ไทยแบนด์
รู้ว่ารัก นิ่ม : รู้แต่ตั้งแต่ตอนมัธยมนั่นแหละ (หัวเราะ) เพราะว่าเราชอบตั้งแต่เขายังไม่มีชื่อ เสียงเลย จนตอนนี้เขาดังแล้วเราก็ยังชอบอยู่ นิว : เมื่อตอนเรามาเรียนที่ศิลปากรแล้วต้องอยู่หอ เพื่อนที่เป็นรูมเมทเขาชอบฟังส ครับบ์ แล้วเราก็ได้ฟังด้วย แล้วเราก็ชอบเลย บิว : ตอนนั้นเราเปิดแชนแนลวี แล้วเจอมิวสิกวิดีโอเพลง เธอหมุนรอบฉัน ฉันหมุน รอบเธอ ที่สครับบ์น�ำเพลงของเฉลียงมาเรียบเรียงใหม่ ก็ติดใจวงนี้ แล้วพอมาเจอ รายการทางทีวีที่พวกเขาไปสัมภาษณ์แล้วเขาดูน่ารักดี ก็เลยชอบวงนี้เลย (ยิ้ม) 84
ก่อนหน้านี้เคยชอบนักร้องหรือวงดนตรีวงอื่นบ้างไหม ? บิว : ก็มีไม่ได้ชอบแบบจริงจังนะ แต่เป็นคนชอบฟังเพลงอยู่แล้ว ก็ฟังได้ทุกเพลง เลย ฟังพวกเพลงฮิต ที่เขาเปิดตามวิทยุ ก็ฟัง ฟังได้ทุกแนวเลย
กว่าจะเป็นแฟนคลับ นิว : มันเป็นเรื่องที่ยาวมาก (หัวเราะ) ช่วงธันวาคมเนี่ย อย่างที่รู้ๆ มันจะเป็นเทศกาล ลานเบียร์ แต่เราเรียนที่เพชรบุรี แล้วเราอยากไปดูมากก็เลยคุยกับพี่บอลผ่านทาง ทวิตเตอร์ว่า หนูจะไปหาที่ลานเบียร์นะ พอถึงวันนั้นเราก็ไปหาเขา แล้วพี่บอลก็จ�ำ ได้ว่าเราเคยคุยกันผ่านทวิตเตอร์ ก็เลยประทับใจ มันเหมือนเป็น First Impression ว่าเขาจ�ำเราได้อะ ก็เลยชอบ เลยกลายเป็นแฟนคลับแบบจริงๆ จังๆ เลย นิ่ม : ชอบสครับบ์ที่เพลง ชอบเนื้อเพลง หลังจากนั้นก็ฟังมาเรื่อยๆ จากอัลบั้มแรก จนถึงอัลบั้มล่าสุด ก็ฟังมาเรื่อยๆ ไม่รู้สิ เราชอบเขาสองคนน่ะ จากนั้นเราก็เริ่ม ติดตามผลงาน แล้วก็มาเป็นแฟนคลับได้อย่างไรก็ไม่รู้เหมือนกัน
บริตป็อป : ดนตรีบริตบิด
เรารัก(บริต)ไทยแบนด์
นิว : อยู่ดีๆ ก็เข้ามาเป็นเองเลย (หัวเราะ) บิว : ของเราหลังจากที่ได้ดูผ่านโทรทัศน์ก็ชอบ เลยลองเสิร์ชชื่อวงผ่าน Google แล้วก็ รู้ว่าเขามีเว็บบอร์ดส�ำหรับแฟนคลับวงสครับบ์ด้วย ก็ไปสมัครสมาชิก ซึ่งในเวบบอร์ด เนี่ย พี่บอลจะเข้ามาตอบค�ำถามบ่อยมาก แล้วช่วงนั้นเป็นช่วงที่เราจะไปสอบตรง ก็เลยไปตั้งกระทู้ จุดประสงค์หลักคือ ขอก�ำลังใจในการสอบ ซึ่งพี่บอลก็มาตอบใน กระทู้นั้นว่า ‘โชคดีจงมีแก่เด็กน้อย’ ท�ำให้เรารู้สึกประทับใจในตัวเขามาก จริงๆ แล้ว เพลงของสครับบ์เราก็ชอบมากนะ แล้วพอมาความเป็นกันเองของศิลปินก็ยิ่งท�ำให้ เราชอบเข้าไปใหญ่เลย และก็จะมีไปพูดคุยกับเขาผ่านทาง hi5 ช่วงที่เขายังฮิต hi5 กัน ซึ่งพี่บอลจ�ำเราได้ หลังจากนั้นก็ตอนเราเข้ามาเรียนมหาวิทยาลัยแล้ว ตอนปี 1 ก็ ไปที่ร้านกินดื่ม ซึ่งสครับบ์ก็เล่นอยู่พอดี ก็เข้าไปทักทาย แล้วพี่บอลก็จ�ำเราได้ ท�ำให้ มันยิ่งเพิ่มความประทับใจเข้าไปอีก ว่า โห จ�ำเราได้ด้วย แล้วก็เข้ามาติดตามผลงาน ของพวกเขาเรื่อยๆ ไปดูสครับบ์เล่นตามที่ต่างๆ แล้วก็เข้าไปพูดคุยกันในเวบบอร์ดกับ พี่ๆ ที่เขาชอบสครับบ์เหมือนเรา ก็ยิ่งท�ำให้สนิทกัน เวลาไปดูก็จะนัดกันไปดูสครับบ์ เป็นแก๊งเลย
85
เพลงโปรดของพวกเรา ทุกคน : โห.... ยากอะ (หัวเราะ) นิ่ม : ของนิ่มเป็น Art Bar น่ะ ไม่รู้เหมือนกันว่าท�ำไม แต่ฟังแล้วมันโดนนะ มันติดหู ด้วย บิว : เพลง See Scape เพลงนี้เป็นเพลงที่เรามีอะไรเยอะกับมันมาก อย่างเช่น ตอ นม.หก เราไปแอบชอบเพื่อน เราก็ไปเขียนเพลงนี้ไว้ที่โต๊ะเขา ตอนท�ำงานก็ใช้เพลงนี้ ในการท�ำงานด้วย
บริตป็อป : ดนตรีบริตบิด
เรารัก(บริต)ไทยแบนด์
สครับบ์กับแรงบันดาลใจในการท�ำงาน บิว : ช่วยได้มากเลยนะ ล่าสุดเลย ต้องท�ำโปรเจกต์จบ ตอนแรกที่คิด เฮ้ย! หัวไม่ แล่นเลย เลยเปิดเพลงของสครับบ์ เพลง See Scape เนี่ยแหละ เราก็ปิ๊งเลย ท�ำให้ ได้หัวข้อของงานทันที นิ่ม : ก็มีนะ เวลาที่เราคิดอะไรไม่ออก ตันๆ ก็หยิบซีดี ฟังเพลงของสครับบ์ ฟังปุ๊ปหัว แล่นทันที คิดออกเลยนะ
ดีใจที่ได้ติดตามสครับบ์ 86
ทุกคน : ดีใจ
ท�ำไมละ ? บิว : เพราะว่า เราผูกพันกับเขาแล้วมั้ง นิว : ใช่ๆ เหมือนกับ เราได้เจอกับเขาบ่อยขึ้น แล้วเขา ทั้งพี่บอลกับพี่เมื่อย ก็จ�ำเรา ได้นะ ก็คุยกับเราอย่างเป็นกันเอง ก็กลายเป็นครอบครัวย่อมๆ ไปแล้ว นิ่ม : ทั้งสองคนจะไม่ท�ำตัวว่าตัวเองเป็นนักร้องที่มีชื่อเสียงแล้ว ก็ยังท�ำตัวปกติ ไม่ เปลี่ยนแปลงตัวเอง นั่นคือสิ่งที่เราดีใจที่ได้เป็นแฟนคลับของพวกเขา ความธรรมดา ของพวกเขา ทุกวันนี้พี่บอลก็ยังคุยเล่นเหมือนพี่เหมือนน้อง เล่นหัวกับพวกเราอยู่ เลย ก็ดีใจนะ เป็นมุมที่น่ารักดีค่ะ britpop
บริตป็อป : ดนตรีบริตบิด
เรารัก(บริต)ไทยแบนด์
87
“ เนื้อหาอันลึกซึ้งของ Greasy Café ท�ำให้เราหนีไปฟังวง อื่นไม่ได้เลย ” ปุ้ยและพี่เล็กในงาน ทีเชิร์ต เฟสติวัล 2012
บริตป็อป : ดนตรีบริตบิด
เรารัก(บริต)ไทยแบนด์ เมื่อพูดถึงเล็ก – อภิชัย ตระกูลเผด็จไกร หรือกรีซซี่ คาเฟ่ มักจะนึกถึงเพลง ที่ว่าด้วยความรักที่หม่นหมอง และเป็นรักในแง่ลบเสียส่วนใหญ่ ซึ่งเนื้อหาว่าด้วย ความรักที่ไม่สมหวัง มักจะเป็นที่นิยมในวงการดนตรีบ้านเราเสมอ แต่เพลงที่น�ำเสนอ ความรักในด้านความเป็นจริง มักจะไม่เป็นเช่นนั้น แต่ค�ำพูดเมื่อครู่นั้นใช้ไม่ได้ผลกับกรีซซี่ คาเฟ่ เพราะบทเพลงของเขาส่วน ใหญ่นั้นน�ำเสนอด้าน ‘สีเทา’ ของความรัก และความ ‘สมจริงสมจัง’ ของชีวิต ซึ่งไม่ เป็นที่นิยมของวงการดนตรีไทย และเกิดความนิยมขึ้นมาอย่างค่อยเป็นค่อยไป จน กลายเป็นปรากฏการณ์ของบรรดาแฟนคลับที่ต่อคิวรอซีดีพร้อมลายเซ็นของเขาเมื่อ งาน เดอะ ลาสท์ แฟตเฟสที่ผ่านมา
88
‘ปุ้ย’ ก็เป็นหนึ่งในแฟนคลับของกรีซซี่ คาเฟ่ ที่ชื่นชอบผลงานของเขาจาก การได้ฟังผ่านทางคลื่นวิทยุ ด้วยเนื้อหาอันแสนเจ็บปวด ทว่าตรงไปตรงมา คือเสน่ห์ ที่ท�ำให้เธอติดตามผลงานเขามาตลอด
แรกพบ ปุ้ย : ตอบไม่ถูกเหมือนกันนะ เพราะว่าจ�ำไม่ได้ น่าจะซักปีหรือสองปีที่แล้ว จากอัลบั้ม แรกของเขา อัลบั้ม ‘สิ่งเหล่านี้’ น่ะ
ความรู้สึกแรกฟัง ปุ้ย : ก็แปลกๆ เพราะมันไม่เหมือนเพลงในท้องตลาดทั่วๆ ไป แต่พอฟังแล้ว เหมือน มันมีแรงดึงดูด แต่ก็จ�ำไม่ได้นะว่าตอนแรกที่ฟัง ฟังเพราะอะไร (หัวเราะ) แต่ไม่น่าจะ เพราะกระแส ถึงมันเป็นกระแส ก็ไม่น่าใช่กระแสของกลุ่มใหญ่ น่าจะฟังจากเพื่อน ฟังตามๆ กัน แต่เขาเท่มากเลยนะ
บริตป็อป : ดนตรีบริตบิด
เรารัก(บริต)ไทยแบนด์
เท่ในแบบพี่เล็ก ปุ้ย : ความเท่ของเขาคือ ท่วงท่าในการร้องเพลง เล่นดนตรี แล้วก็สไตล์ความเป็นตัว เขาน่ะ (ยิ้ม)
กว่าจะมาชื่นชอบ ปุ้ย : ตอนแรก เราก็ไม่รู้จักว่าใครคือกรีซซี่ คาเฟ่ เขาเป็นใคร แต่ว่า เพลงมันมาก่อน มัน เข้ามาในหูเราก่อน ฟังเพลงก่อน รู้สึกว่า เนื้อเพลงเขาเด่นนะ มันมีความลึกซึ้งเหมือน บทกวี ภาษาสวยดี ก็งงว่า เขาท�ำได้ยังไง มันซึ้งนะ มันโดนเลย แล้วมันก็มีเนื้อหามี เรื่องราว มีความเป็นจริง โดยเฉพาะเสียงเขาน่ะ เสียงเขาเป็นเอกลักษณ์ แหบๆหน่อย ร้องได้อารมณ์มาก คือ ทุกอย่างที่เราได้ฟังมันได้อารมณ์มากเลย แล้วมันออกมาซึ้งดี ด้วย แล้วเราชอบเพลง ชอบเมโลดี้ของเพลง และทุกอย่างมันก็ประกอบกัน ซาวด์นู่น นี่นั่น มันก็ โดนหมดเลยนะ มันมีความลึกซึ้ง การใช้ค�ำ ไม่ใช้ค�ำตรงๆ
89
เพลงรักที่ไม่เหมือนเพลงทั่วไป ปุ้ย : ใช่ เหมือนมันผ่านกระบวนการคิดของเขามาแล้ว มันสามารถบอกเล่าเรื่องราว ถึงคนฟังได้ เพราะว่า ตัวพี่เล็กเขาบอกว่าเพลงที่เขาแต่งน่ะ มันมาจากเรื่องจริงที่เกิด จากตัวเขาหรือคนรอบๆ ตัว รอบๆ ข้างเขา
วันแรกพบ ปุ้ย : จ�ำไม่ได้จริงๆ (หัวเราะ) แต่ว่าดูจากลุค จากภายนอกที่เราเห็น เขาก็ดูน่ากลัว น่า เกรงขามนะ แต่ว่าเราก็ชอบเขา จ�ำไม่ได้ว่าเจอตอนไหน แต่จ�ำได้ว่าเจอครั้งแรกก็รู้สึก เขิน เพราะเขาเท่ แล้วเขาพูดจาดีนะ ดูมีความคิด เป็นตัวของตัวเอง ดูมีอะไรซ่อนอยู่
บริตป็อป : ดนตรีบริตบิด
เรารัก(บริต)ไทยแบนด์
เปิดโลกใหม่ ปุ้ย : การที่เราฟังเพลงเขา ก็เหมือนได้เปิดโลกของเรานะ ได้เห็นแง่มุมชีวิต ว่าเป็น อย่างนู้นอย่างนี้ เรื่องความรัก มันมีแง่มุม มีมิติที่ซับซ้อนกว่านั้น มันไม่ใช่ความรัก วัยรุ่น กุ๊กกิ๊ก จีบกัน คือมันมีอะไรมากกว่านั้น มีความหมายอะ
เข้าใจ และเข้าถึง ปุ้ย : ไม่ถึงขนาดนั้นอะ เพราะเพลงส่วนใหญ่มันก็เป็นเรื่องของความรักที่ไม่สมหวัง แล้วเราก็ไม่ได้เจอกับประสบการณ์อะไรเยอะๆ แบบพี่เล็ก แต่ฟังแล้วก็เข้าใจไป ตามเพลง เพราะไม่ใช่ชีวิตของตัวเอง แต่ก็อินอยู่นะ 90
เพลงโปรดของฉัน ปุ้ย : ชอบเพลง ‘ภายใต้ท้องฟ้าสีด�ำ’ มันดูลอยๆ บางทีก็ไม่เข้าใจหรอก (หัวเราะ) ก็ เข้าถึงยากอยู่นะเพลงนี้ แล้วอย่างเพลงความบังเอิญก็ตลกดี มีประชดประชันนะ
เพลงกับสี ปุ้ย : เราว่าเพลงของพี่เล็กเป็นสีเทา มันจะสุขก็ไม่ ทุกข์ก็ไม่ใช่นะ เพลงส่วนใหญ่ ของเขามันจะเป็นมุมที่ไม่ดี ไม่สมหวัง ไม่สวยงาม แต่พอฟังก็ใช่ ดูเป็นชีวิตจริงๆ ของเรานะ
โอกาสของการพบเจอ ปุ้ย : มันก็มีอยู่แล้วนะ ถ้าช่วงไหนที่เขามีงานเยอะ แล้วเล่นอยู่ที่ใกล้ๆ ที่ๆเรา สามารถไปได้ ไปสะดวก และมีเวลาว่างก็จะไป เพราะว่าอยากเจอ ก็ไปดูคอนเสิร์ต ปกติ หลังจากนั้นก็มีถ่ายภาพร่วมกัน นิดนึง (หัวเราะ) ก็อยากจะคุยกับเค้านะ แต่ก็ บริตป็อป : ดนตรีบริตบิด
เรารัก(บริต)ไทยแบนด์ ไม่กล้าคุย เขินน่ะ อ้อ! มีงานๆ หนึ่ง จัดที่พาร์ค แอท สยาม เราได้คุยกับพี่เล็กเรื่อง ที่เขาเคยไปเล่นที่ศิลปากร เราบอกเขาว่างานนั้นสนุกมาก เขาตอบกลับมาว่า ยินดี มาก นู่นนี่นั่น เราก็พบว่าเขาก็พูดคุยดีนะ ท�ำให้เรารู้สึกดีน่ะ
ความรู้สึกจากใจแฟนเพลง ปุ้ย : รู้สึกดีนะ ทุกวันนี้คนก็ชอบ และชื่นชมเขามากขึ้นด้วย มันเลยดูเหมือนกลาย เป็นลัทธิไปเลยอะ (หัวเราะ) ก็มีคนกลุ่มใหญ่ขึ้นนะ แต่เราก็ไม่ได้สนใจแฟนคลับ อยู่แล้วนะ เราแค่เป็นคนๆ หนึ่งที่ชอบงานเพลงของเขา ชอบความจริงใจที่เขาน�ำ เสนอในเพลง ก็ดีใจกับพี่เล็กที่ประสบความส�ำเร็จ ดีนะ ก็ดังๆ ไปเลย เขาจะได้มี ก�ำลังใจในการท�ำงานต่อไป
ฝากถึงพี่เล็ก
91
ปุ้ย : ยินดีด้วยค่ะ แล้วอัลบั้มล่าสุด เขาให้สั่งก่อน เราก็สั่งแล้วนะ ได้มาแล้ว ชอบ มากเลย และอยากจะฝากบอกว่า ก็ขอให้ท�ำผลงานเพลงออกมาเยอะๆ ท�ำเพลง ออกมาเรื่อยๆ ค่ะ
britpop
บริตป็อป : ดนตรีบริตบิด
เรารัก(บริต)ไทยแบนด์
ลึกไม่ลับ ฉบับ ‘แฟนคลับ’ ภายใต้หน้าตาอันแสนธรรมดา แต่งกายด้วยเสื้อผ้าปกติ ใครจะไปรู้ว่า คน เหล่านั้น อาจเป็น ‘แฟนคลับ’ ของวงใดวงหนึ่งก็ได้ เรามี 10 ข้อที่แยกให้เห็นระหว่าง แฟนเพลงทั่วไป กับ แฟนคลับ ลองอ่านและส�ำรวจดูสิ คุณอาจเป็นหนึ่งในนั้นก็ได้
92
- ทราบข่าวเร็ว ลึก กว่าคนทั่วไปเสมอ - ไปคอนเสิร์ต มินิคอนเสิร์ต หรืองานที่มีศิลปินที่ชื่น ชอบ ‘บ่อย’ กว่าปกติ - ซื้อของที่ระลึกของศิลปิน ไม่ว่าจะเป็น เสื้อที-เชิร์ต โปสเตอร์ เข็มกลัด กระเป๋าผ้า ผ้ากันเปื้อน หมวก หรือ ทุกสิ่งทุกอย่างที่มีตราของศิลปินที่ชื่นชอบ - และของที่ระลึกทุกชิ้น จะมีลายเซ็นของศิลปินด้วย ซีดีก็เช่นกัน - ท่องและจ�ำเนื้อเพลงได้ทุกเพลง และทุกท่อน คือสิ่งที่ แฟนคลับอย่างเราต้องท�ำได้! - ซี้ปึกกับทีมงานตั้งแต่ซาวด์ เอนจิเนียร์ ยัน คนขับรถ! - ‘ป้ายไฟ’ คือสิ่งส�ำคัญที่แฟนคลับต้องมี - ต้องสวมเสื้อยืด สะพายกระเป๋าหรือ มีสิ่งของที่เป็น สัญลักษณ์ของศิลปินเมื่อถึงคราวที่ต้องไปคอนเสิร์ต ของศิลปินที่ชื่นชอบ - งานมิวสิกเฟสติวัลที่เหล่าแฟนคลับอย่างเราต้องไป ให้ได้คือ ‘แฟตเฟสติวัล’ เพราะที่นั่น ศิลปินที่เราชอบ จะมาพร้อมกับของที่ระลึกและซีดีและความใกล้ชิด นั่นเอง - ‘รัก’ และ ‘รับได้’ ในสิ่งที่ศิลปินเป็น ไม่ว่าจะด้านดีด้าน ร้ายของเขา (นางเอกสุดๆ)
บริตป็อป : ดนตรีบริตบิด
เรารัก(บริต)ไทยแบนด์
93
p o tp
i r b
บริตป็อป : ดนตรีบริตบิด
ขอขอบคุณ พี่ซี้ด – นรเศรษฐ หมัดคง: ดีเจ, คอลัมนิสต์ดนตรีสากล, อดีตบรรณาธิการนิตยสาร GT, ส�ำหรับข้อมูลเกี่ยวกับดนตรีบริตป็อปดีๆ แบบนี้ พี่บอล สครับบ์ พี่ติ๊ก พี่เก้ง พี่ตุ้ย และพี่ตุลย์ เพลย์กราวด์ พี่เล็ก กรีซซี่ คาเฟ่ ส�ำหรับเวลาที่เสียไปในการให้ข้อมูลกับเด็กตัวเล็กๆ อย่างเรา ขอบคุณไข่มุก มาดแมน ปุ้ย บิว พี่นิว ที่ช่วยเหลือเราตลอด ขอขอบคุณอาจารย์ปฏิมา ส�ำหรับค�ำแนะน�ำดีๆ ค่ะ
ขอบคุณคุณพ่อกับคุณแม่ที่ไม่เคยปิดกั้นการฟังเพลง ขอบคุณมากๆ ค่ะ
จุลนิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญานิเทศศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร ปีการศึกษา 2555 ลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยศิลปากร
“ บริตป็อปมันต่างกับดนตรีของอเมริกัน ตรงที่มีความเรียบง่ายในภาษา ดนตรีไม่กระโชกโฮกฮาก แต่ว่าได้อารมณ์มากกว่า นอกจากนั้นเขาจะไม่เน้นเรื่องของทักษะ ฝีมือ เขาจะไม่รีบ ไม่ฉูดฉาด แต่แฝงไอเดียในเนื้อหา คือเหมือนเค้าเล่นง่ายแต่มันมีอะไรแฝงน่ะ มันก็เลยกลายเป็นสิ่งที่เราชอบไปด้วย ”
วงเพลย์กราวด์