จดหมายข่าว สปสช. เขต ๑๑ สุราษฎร์ธานี ปีที่ ๖ ฉบับที่ ๒ เดือนมกราคม ๒๕๖๒

Page 1

จดหมายข่ า ว สปสช. เขต ๑๑ สุราษฎร์ธานี ฉบับเดือนเดือนมกราคม ๒๕๖๒

ปีที่ ๖ ฉบับที่ ๒ เดือนมกราคม ๒๕๖๒

สำ�นักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต ๑๑ สุราษฎร์ธานี ๙๑/๑ อาคารพีซีทาวเวอร์ (ชั้น ๑๐) หมู่ ๑ ถนนกาญจนวิถี ตำ�บลบางกุ้ง อำ�เภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี โทร. ๐๗๗ ๒๗๔ ๘๑๑ โทรสาร ๐๗๗ ๒๗๔ ๘๑๘


จากใจผู้บริหาร สวัสดีครับผมนายอุทัย หมั่นเทียนติพันธ์ มารับตำ�แหน่งผู้อำ�นวยการ สปสช.เขต ๑๑ สุราษฎร์ธานีเมื่อวันที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๖๑ นี่เองในช่วงนี้ เป็นช่วงของเดือนสุดท้ายแห่งปี พ.ศ.๒๕๖๑ และจะเป็นช่วงเทศกาลปีใหม่ซึ่ง หน่วยงานต่างๆก็ทยอยมอบของขวัญเชิงนโยบายและบริการให้แก่ประชาชน ในโอกาสที่จะขึ้นศักราชใหม่ปี พ.ศ.๒๕๖๒ นี้ในส่วนของ สปสช. เองก็มีของ ขวัญที่จะมอบให้แก่ประชาชนในวาระนี้หลายเรื่องเช่นกันคือเจ็บป่วยฉุกเฉิน ระหว่างเดินทางก็สามารถเข้ารับบริการ นายอุทัย หมั่นเทียนติพันธ์ ๑. ที่โรงพยาบาลใกล้จุดเกิดเหตุได้และของผู้มีสิทธิทุกสิทธิบริการนะครับด้วยนโยบาย UCEP ของรัฐบาลหาก เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของสำ�นักงานการแพทย์ฉุกเฉิน (สพฉ.) กำ�หนดจะสามารถใช้บริการได้ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ส่วนสิทธิบัตรทองก็สามารถใช้สิทธิเจ็บป่วยฉุกเฉินหรือเหตุสมควรตามมาตรา ๗ ใน พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพ แห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๕ กำ�หนดได้ โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายเช่นกันครับ ๒. สิทธิคนพิการก็สามารถขอใช้บริการที่หน่วยบริการได้ทุกแห่งทั่วไทยด้วยการยื่นบัตรประจำ�ตัวประชาชนแบบ Smart Card เพียงใบเดียวซึ่งเป็นความร่วมมือของหลายหน่วยงานเมื่อเดือนนี้เองครับ ๓. การเพิ่มสิทธิประโยชน์ “ชุดรองรับสิ่งขับถ่ายจากทวารเทียม” หรือ “ถุงทวารเทียม” ซึ่งทำ�จากยางพาราของ พี่น้องชาวใต้เข้าบรรจุในสิทธิประโยชน์แล้วเป็นการช่วยเหลือผู้ป่วยมะเร็งลำ�ไส้ ใหญ่ที่มีปัญหาจากการขับถ่าย กว่า ๕๔,๐๐๐ คนเลยทีเดียว

๔. นอกจากนียังมีการเพิ่มสิทธิประโยชน์ยากดฮอร์ โมนตามบัญชียา จ. ๒ จำ�นวน ๒ รายการเพื่อช่วยเหลือกับ ผู้ป่วยที่มีปัญหาในด้านฮอร์ โมนการเจริญเติบโตผิดปกติอีกด้วย ๕. การลดค่าโทรศัพท์ของผู้ที่ติดต่อสอบถามข้อมูลบริการของ สปสช. และทุกสิทธิผ่านหมายเลข ๑๓๓๐ เหลือ เพียง ๑ บาทไม่จำ�กัดเวลาจากเดิมครั้งละ ๓ บาททำ�ให้สะดวกขึ้นกับผู้ ใช้บริการเป็นอย่างยิ่ง ก็ขอความร่วมมือไปยังหน่วยบริการและภาคีเครือข่ายในการสร้างหลักประกันสุขภาพได้ช่วยกันเผยแพร่ ข่าวสารเพื่อช่วยกันสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่ประชาชนทั่วไปให้ได้รับรู้ต่อไปด้วยก็จะเป็นกุศลอย่างใหญ่หลวง ทีเดียวครับพบกันฉบับหน้าครับ

หน้า ๑


เรื่องเล่า เร้าพลัง จดหมายข่าว สปสช.เขต ๑๑ สุราษฎร์ธานีในรูปแบบ E-book เป็น ฉบับที่ ๒ ของปีงบประมาณปี ๒๕๖๒ ซึ่งได้เกริ่นนำ�ด้วยจากใจจากนายอุทัย หมั่นเทียนติพันธ์ ผู้อำ�นวยการสำ�นักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต ๑๑ สุราษฎร์ธานี มาทักทายสวัสดีปีใหม่ ๒๕๖๒ และบอกเล่าถึงของขวัญการ เพิ่มสิทธิประโยชน์หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ให้กับประชาชนคนไทยได้รับ ความสะดวกในการใช้สิทธินั้น มาที่เรื่องเล่า เร้าพลัง ในฉบับนี้ก็จะสมทบ เรื่ อ งสิ ท ธิ ที่ ป ระชาชนคนไทยได้ รั บ ในการดำ � เนิ น งานดู แ ลผู้ ป่ ว ยจิ ต เวชใน ชุมชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของโรงพยาบาลสวนสราญรมย์ อำ�เภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งปัจจุบันปัญหาการเจ็บป่วยด้วยโรคทางจิตยังคงเป็น หนึง่ ในปัญหาสาธารณสุขทีส่ �ำ คัญเนือ่ งจากประชาชนต้องเผชิญกับสถานการณ์ การเปลี่ ย นแปลงทางเศรษฐกิ จ สั ง คมและเทคโนโลยี ที่ ก้ า วล้ำ � ก่ อ ให้ เ กิ ด นายแพทย์จุมภฏ พรมสีดา ผู้อำ�นวยการโรงพยาบาลสวนสราญรมย์ ความเครียดและส่งผลต่อภาวะสุขภาพจิตของประชาชน จดหมายข่าว พาคุณผู้อ่านมาที่โรงพยาบาล (รพ.) สวนสราญรมย์ จ.สุราษฎร์ธานี ซึ่งเป็นศูนย์เชี่ยวชาญ รักษาผู้ป่วยโรคทางจิตเวชทุกชนิดทั้งเด็กและผู้ ใหญ่ ประจำ�เขตสุขภาพที่ ๑๑ ใน ๗ จังหวัดภาคใต้ตอนบนได้แก่ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ระนอง พังงา ภูเก็ต และกระบี่ พลิกโฉมการดูแลฟื้นฟูร่างกาย จิตใจ สังคมและ อาชีพที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทยได้พบกับ นายแพทย์จุมภฏ พรมสีดา ผู้อำ�นวยการโรงพยาบาลสวนสราญรมย์และทีมงาน โดยนายแพทย์จุมภฎ กล่าวว่า การป่วยด้านจิตเวช เป็นโรคเรื้อรังเหมือนโรคเบาหวาน ความดัน โลหิตสูง ซึ่งต้องทานยาและปฎิบัติตัวตามคำ�แนะนำ�ของแพทย์ โดยไม่ให้ อาการที่เป็นกำ�เริบ จะต้องมีการควบคุมเยียวยาให้เป็นปกติได้ซึ่งจะต้องดูแล ผู้ป่วยจิตเวชให้ได้ผลดีต้องดูแลในระยะยาว สปสช.ส่งข่าว : แล้วการที่ผู้ป่วยเข้ารักษา ได้กลับออกไปใช้ชีวิตกับครอบครัวเป็นลักษณะแบบไหนบ้างคะ? นายแพทย์จุมภฏ : กล่าวให้เข้าใจง่าย ๆ คือ แบ่งได้เป็น ๔ ประเภทที่ ๑ ในการรักษาเมื่อออกไปแล้วก็ประกอบอาชีพได้ ประเภทที่ ๒ เมื่อกลับไปอยู่บ้าน ก็พอที่จะดูแลกิจวัตร ของตัวเองได้ ประเภทที่ ๓ เมื่อกลับไปอยู่บ้าน แต่ยังต้อง ให้ ค รอบครั ว ช่ ว ยกระตุ้ น ในการทำ � กิ จ วั ต รประจำ � วั น ของ ตัวเองแต่ก็ดูแลตัวเองได้ ในระดับหนึ่ง และประเภทที่ ๔ ยังมีอาการรุนแรง ยังต้องรักษาอยู่ที่โรงพยาบาลต่อไป

หน้า ๒


สปสช.ส่งข่าว : ยกตัวอย่างผู้ป่วยแต่ละประเภทให้ฟังหน่อยคะ? นางสาวพรประไพ แขกเต้า พยาบาลวิชาชีพชำ�นาญการ หัวหน้ากลุ่มงาน สุขภาพจิตและจิตเวชชุมชน โรงพยาบาลสวนสราญรมย์ เล่าให้เราฟังว่า ผู้ป่วยที่ กลับไปใช้ชีวิตอยู่ที่บ้านได้แล้ว ญาติก็ต้องยอมรับ เข้าใจปัญหาและการดูแลผู้ป่วยด้วย แล้วทางงานจิตเวชชุมชน ก็จะติดตามเยี่ยมว่ากลับไปแล้วใช้ชีวิตอยู่ได้ดีมั๊ย บางราย เป็นปัญหาเรื้อรังที่ญาติไม่สามารถจัดการได้ ยกตัวอย่าง มีผู้ป่วยคนหนึ่งเมื่อกลับ ไปใช้ชีวิตที่บ้าน สิ่งที่ยังควบคุมตัวเองไม่ได้ ในเรื่องกินกาแฟ คือ ฉีกซองกาแฟแล้ว กรอกเข้าปากเลยทีละ ๒-๓ ซอง ทางทีมจิตเวชชุมชน รพ.สต. หรืออสม.เชี่ยวชาญด้าน นางสาวพรประไพ แขกเต้า หัวหน้าสุขภาพจิตและจิตเวชชุมชน สุขภาพจิตที่ ได้รับการอบรมจากกรมสุขภาพจิต ก็จะติดตามและให้คนในครอบครัว โรงพยาบาลสวนสราญรมย์ ซ่อนกาแฟอย่าให้ผู้ป่วยเห็นแล้วหยิบไปกินอีก และบอกตาม ร้านค้าในหมูบ่ า้ นด้วยไม่ให้ขายกาแฟให้ผปู้ ว่ ยคนนี้ ก็ได้ความ ร่วมมือเป็นอย่างดี นีเ้ ป็นตัวอย่างที่ไม่หนักหนาอะไรคะ จะเล่า ถึงผู้ป่วยจิตเวชอีกประเภทที่มีอาการมากกว่าคือ หูแว่ว เป็น ผู้หญิงอายุ ๒๐ กว่าปี ก็ให้การรักษาดูแลพร้อมกับบอกคุณแม่ ให้เข้าใจเธอ และตัวเธอเองก็ต้องเข้าใจตัวเองให้อยู่กับเสียง ที่แว่วให้ได้ ไม่ว่าเสียงแว่วให้ไปกระโดดน้ำ�ที่บ่อ ให้วิ่งไปที่ถนน ให้เอาหัวโขกกับฝาผนัง เมื่อได้ยินให้เธอรีบมาบอกแม่ทันที แม่ ก็ต้องฟังแล้วรีบช่วยเหลือหากิจกรรมอย่างอื่นให้ ทำ� หลีกเลี่ยงจากสถานการณ์หูแว่วนั้น ก็อยู่บ้าน ได้กนิ ยาตรงเวลา และนัดมาดูอาการที่โรงพยาบาล เป็นระยะ ตอนนี้อาการดีขึ้น คุณภาพชีวิตดีขึ้นค่ะ และก็มีตัวอย่างที่ดีด้วยมีกระบวนการดูแลแบบ มิตรภาพบำ�บัด การให้ชุมชนเข้ามาช่วยเหลือ ดูแล ทีมนักสังคมสงเคราะห์และนักอาชีวบำ�บัด ก็ช่วยเหลือต่อค่ะ ติดต่อหางานให้ทำ�ในโรงงานได้ ก็สามารถดูแลตัวเองได้ นายแพทย์จมุ ภฏ เสริมว่า ที่โรงพยาบาลจะมีกิจกรรมการฟื้นฟูฝึกอาชีพให้ กับผู้ป่วยจะเน้นตามความสามารถของผู้ป่วยโดยยึดตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเช่นงานเกษตรกรรมการ ปลูกผัก เลี้ยงหมูเลี้ยงปลาเพื่อให้มีรายได้ สร้างความภาคภูมิใจตนเอง ซึ่งได้ผลดีมาก และทุกคนจะได้รับการฝึก สติและสมาธิจากทีมสหวิชาชีพนี่ละครับคนรอบข้าง คนในครอบครัวและสังคมใกล้ชิด ต้องช่วยกันดู อย่าซ้ำ�เติม และให้กำ�ลังใจ ภาระที่ครอบครัวต้องดูแลผู้ป่วยจิตเวชมีอยู่ ๔ ส่วนใหญ่ ๆ คือ

หน้า ๓


๑.ดูแลไม่ให้เกิดอันตรายต่อผู้ป่วย ๒.ดูแลความเป็นอยู่ในการช่วยเหลือผู้ป่วยให้ดำ�รงชีวิตอยู่ได้ ๓.ดูแลการรักษาการใช้ยา ๔.การดูแลความประพฤติไม่ให้ผู้ป่วยสร้างความเดือดร้อนแก่ผู้อื่น รวมทั้งทำ�ให้ญาติไม่เป็นอันทำ�มาหากินเสียสุขภาพกันไปทั้งบ้านอีกทั้งยังถูกมองด้วยทัศนคติในแง่ลบจาก คนหรืออาจเป็นที่รังเกียจของเพื่อนบ้านซึ่งการรักษาผู้ป่วยจะรักษาด้วยการให้ยารับประทานไปตลอดเนื่องจากโรคนี้ สามารถรักษาให้หายได้และทำ�ความเข้าใจกับผู้ป่วยให้ผู้ป่วยได้กลับมาเป็นกำ�ลังของสังคมอีกต่อไป สปสช.ส่งข่าว : จำ�นวนผู้ป่วยที่พักรักษาในโรงพยาบาลสราญรมย์มีจำ�นวนกี่คนคะ? นายแพทย์จุมภฏ : ถ้าเทียบกับเมื่อก่อน โรงพยาบาลสวนสราญรมย์ มีจำ�นวนเตียง ๑,๐๐๐ เตียงและคนไข้เต็มถึง ขั้นล้น ที่มีคนไข้เข้ารักษามากเพราะเข้ารับการรักษาช้า คนรอบข้างก็คิดว่าไม่เป็นไร รอจนอาละวาดญาติควบคุมไม่ได้ หรือกำ�เริบหนักๆ เข้าการรักษาให้หายก็ยากขึ้นด้วย ที่นี้ก็มีปัญหา ญาติไม่รับตัวกลับไปก็อยู่กันเต็มโรงพยาบาล แต่ใน ปัจจุบัน มีคนไข้ ในจำ�นวน ๓๕๐ คน และคนไข้นอกจำ�นวน ๒๕๐ คน เห็นถึงความแตกต่างของจำ�นวนเป็นอย่างมาก สปสช.ส่งข่าว : เห็นถึงจำ�นวนที่แตกต่างกันอย่างมาก เพราะเหตุใดคะ? นายแพทย์จุมภฏ : เนื่องจากทางโรงพยาบาลสวนสราญรมย์เป็นแม่ข่ายและมีโรงพยาบาลอำ�เภอในจังหวัดต่าง ๆ ในพื้นที่ เป็นลูกข่ายที่ผู้ป่วยเข้ารักษาได้เลย หากเกินเยียวยาของพื้นที่ก็ส่งมาที่แม่ข่าย เมื่ออาการอยู่ในระดับที่กลับ บ้านได้ก็จะมีการส่งกลับและให้พื้นที่ติดตามเฝ้าระวังกันต่อไป นับว่าเป็นปัจจัยแห่งความสำ�เร็จในการดูแลรักษาผู้ป่วย จิตเวชได้อย่างมีประสิทธิภาพ คือเครือข่ายการดูแลผู้ป่วยกระจายในพื้นที่ ทำ�ให้เข้าถึงบริการการรักษาได้อย่าง รวดเร็ว มีการคัดกรองเฝ้าระวัง ดูแลต่อเนื่อง การยอมรับของสังคมในพื้นที่มีมากขึ้น ตลอดจนถึงคุณภาพของยาด้วย

สปสช.ส่งข่าว : ขอสอบถามถึงเรื่องโรคซึมเศร้าที่ ในสังคมบอกว่ามีกันมากขึ้นจริงมั๊ยคะ? นายแพทย์จุมภฏ : ความจริงแล้วปริมาณไม่ได้มากกว่าเดิมเลยครับ แต่การที่คนรู้จักอาการของโรคนี้ ว่าอาการ เช่นนี้เป็นโรคซึมเศร้า เมื่อรู้ตัวได้เร็วขึ้นก็หาทางแก้ไขหรือป้องกันไม่ให้เป็นมากกว่าเดิมได้เร็วขึ้น ทำ�ให้เหมือนกับ ว่าเยอะขึ้นครับ ซึ่งเมื่อก่อนกว่าจะรู้ตัวก็เป็นหนักถึงขั้นต้องใช้กระบวนการรักษาที่ซับซ้อนขึ้นครับ นายแพทย์จุมภฏ ได้กล่าวอีกว่า รพ.สวนสราญรมย์ร่วมกับกรมควบคุมความประพฤติบำ�บัดฟื้นฟูผู้ติดยาและอาการทางจิตอยู่ในภาวะ สงบด้วยชุมชนบำ�บัดแบบโฮมสเตย์ด้วยจัดที่พักคล้ายรีสอร์ทใช้เวลา ๔ เดือนร้อยละ ๗๐ ไม่กลับไปเสพซ้ำ�มีอาชีพ รายได้พร้อมเป็นแหล่งศึกษาดูงานทั้งในและต่างประเทศโรคจิตเวชที่พบได้บ่อยในผู้ที่ใช้ยาเสพติดคือโรคจิตเภท

หน้า ๔


พบได้ร้อยละ ๗๐ รองลงมาคือโรคซึมเศร้าและโรคบุคลิกผิดปกติแบบต่อต้านสังคมก้าวร้าวทำ�ร้ายคนอื่น พบได้ประมาณร้อยละ ๓๐ ในการบำ�บัดฟื้นฟูขณะนี้มีบ้านพักทั้งหมด ๙ หลังรับได้๖๐ คน มีพยาบาลดูแล ตลอด ๒๔ ชั่วโมง มีระบบการติดตามผลการรักษาหลังจำ�หน่าย ๑ ปีการบำ�บัดฟื้นฟูฯจะทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคมจิตวิญญาณและอาชีพ ใช้เวลาที่เกิดประโยชน์และมีรายได้ เพื่อสร้างความมั่นใจและภาคภูมิใจให้ผู้ป่วย เนื่องจากผู้ที่ติดยาส่วนใหญ่จะขาดโอกาสในการประกอบอาชีพที่สำ�คัญได้ ให้ครอบครัวเข้ามาร่วมทำ�ครอบครัว บำ�บัด๗-๘ครั้งระหว่างที่ผู้ป่วยบำ�บัดรักษา โดยให้ความรู้ความเข้าใจเรื่องปัญหายาเสพติดรวมทั้งผลกระทบ และแบบแผนการดำ�เนินชีวิตหลังผ่านการบำ�บัด สำ�หรับในกลุ่มของผู้ป่วย ได้เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยได้ระดม สมองและร่วมกันตั้งกฎเหล็ก ๖ ข้อที่ทุกคนต้องเคร่งครัดปฏิบัติตามในการใช้ชีวิตร่วมกัน คือไม่ใช้สารเสพ ติดทุกชนิดไม่ทะเลาะวิวาท ไม่มีเพศสัมพันธ์ห้ามลักขโมย ไม่ออกนอกสถานบำ�บัด พัฒนาตนเองให้ดีขึ้น โดย ทุกเช้าจะมีการฝึกสติ หลังเคารพธงชาติ และก่อนนอนทุกวันและฝึกทำ�สมาธิขณะทำ�กิจกรรมกลุ่มทุกประเภท สวดมนต์ทุกวันพระใหญ่ ซึ่งจะให้ผลในด้านการสร้างพลังความเข้มแข็งจิตใจ การดำ�เนินชีวิตอย่างมีสติ สปสช.ส่งข่าว : ขอให้ผู้อำ�นวยการกล่าวแนวคิดฝากกับท่านผู้อ่านคะ? นายแพทย์จุมภฏ : คงต้องบอกว่าการทำ�บุญใดก็ไม่สามารถส่งผลบุญกลับไปได้ อย่างรวดเร็วเหมือนกับการทำ�บุญช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ด้วยกันโครงการคืนชีวิตใหม่ ให้ผู้ป่วยจิตเวชเป็นโครงการที่สร้างชีวิตใหม่ให้คนหนึ่งคนกลับไปใช้ชีวิตต่ออย่างปกติ สุขเพียงแค่คนในสังคมช่วยกันให้กำ�ลังใจและไม่ทำ�กิริยารังเกียจพวกเขาเหล่านี้นั่น ก็เพียงพอแล้วกับสิ่งที่คนเหล่านี้ต้องการจากคนในสังคมซึ่งสิ่งที่เป็นผลลัพธ์สูงสุด ของทีมจิตเวชชุมชนนั้นต้องคืนคนเดิมให้สู่ครอบครัวและคืนคนที่มุ่งมั่นไม่เกี่ยวข้อง กับยาเสพติดอีกต่อไป พัชรี เพชรอักษร รายงาน

หน้า ๕


บอกมา..ฝากไป...จากใจอนุกรรมการ ฯ

ปี ๒๕๖๑ ผ่านไป... ต้อนรับปีใหม่๒๕๖๒หรือเรียกได้ว่าอะไรที่เป็นปีจอขอให้ผ่านพ้นไปสวัสดีปีใหม่ขอให้ พบเจอเป็นเรื่องหมูๆ...เขาว่างั้นสิ่งที่ควรจะทำ�ในตอนนี้เพื่อให้ชีวิตเราได้ก้าวไปข้างหน้าอย่างต่อเนื่องก็คือการ วางแผนกำ�หนดเป้าหมายสิ่งที่จะทำ�ตลอดทั้งปีเปรียบเสมือนเรามอบของขวัญให้แก่ผู้อื่นเราก็ควรมอบของขวัญ ให้ตัวเองบ้างวางแผนมอบสิ่งดีๆรับปีใหม่กับ๕ข้อคิดไม่ต้องปวดใจ ๑. เพิ่มพูนความรู้ตั้งแต่ปีใหม่แม้เปิดหน้าจอมือถือก็มีสาระให้ค้นหาค้นพบได้ง่ายอะไรๆในชีวิตก็ดีขึ้นเยอะ ๒. วางแผนการเงินกำ�หนดสัดส่วนการเก็บออมกินใช้จะสุขใจตลอดปีอย่างพอเพียงมีเคล็ดลับการออม ๓. ตั้งเป้าหมายดูแลสุขภาพปีนี้หลายคนหลายหน่วยงานชวนกันวิ่งเพื่อสุขภาพก็อย่าลืมอาหารสุขภาพด้วย ๔. วาดแผนสร้างสุข (Happinometer) สร้างสุขจากการทำ�งานสร้างสมดุลให้กับชีวิต ๕. กำ�หนดเส้นทางชีวิต...ทำ�เพื่ออะไรอาจย่อยเป้าหมายเป็นรายเดือนเป็นความสำ�เร็จสู่ปีต่อๆไป ในปีนี้คณะอนุกรรรมการหลักประกันสุขภาพระดับเขตพื้นที่ (อปสข.) และคณะอนุกรรมการควบคุม คุณภาพและมาตรฐานบริการสาธารณสุขระดับเขตพื้นที่ (อคม.) ร่วมกันกำ�หนดประเด็นการทำ�งานร่วมกัน ๒ เรื่องคือเรื่องอนามัยแม่และเด็กและการจัดการข้อร้องเรียนจากการใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้ามี

หน้า ๖


แผนการดำ�เนินงานโดยเริ่มจากเลือกพื้นที่ดำ�เนินงานโดยเลือกพื้นที่ที่อปสข.หรืออคม.ปฎิบัติงานอยู่ตั้งคณะทำ�งาน ในพื้นที่วางแผนรูปแบบการทำ�งานในพื้นที่ดำ�เนินงานและประเมินผลซึ่งมีหลักในการเลือกพื้นที่ดำ�เนินงานทั้งนี้ โครงสร้างของคณะทำ�งานในพื้นที่จะประกอบด้วย ๑) นพ.สสจ. ๒) ผอ.โรงพยาบาลชุมชน/โรงพยาบาลทั่วไป ๓) ผอ.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำ�บล ๔) อสม. ๕) ศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพในหน่วยบริการ๖) หน่วยรับเรื่องร้องเรียนอื่นที่เป็นอิสระจากหน่วยร้องเรียน/ หน่วยม.๕๐(๕) ๗) อปสข. ๘) อคม. ๙) ศูนย์อนามัยที่๑๑ ๑๐) ตัวแทนพชอ./พชต. ๑๑) สปสช.เขต๑๑และ๑๒) ผู้เกี่ยวข้องอื่นๆตามบริบทพื้นที่ ในส่วนของรูปแบบการทำ�งานนายแพทย์พิทักษ์พลบุณยมาลิกผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุขเขต สุขภาพที่๑๑ได้ ให้นโยบายในการทำ�งาน “การใช้ข้อมูลเป็นตัวตั้งในการวิเคราะห์หาสาเหตุซึ่งเป็นหัวใจในการ แก้ปัญหาและขับเคลื่อนผ่านกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น” ซึ่งคณะอนุกรรมการทั้ง ๒ ชุดได้รับ นโยบายและนำ�ไปสู่การปฎิบติงานในพื้นที่ต่อไป การนำ�ร่องงานอนามัยแม่และเด็กอาจมุ่งดำ�เนินการในพื้นที่กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือ พื้นที่ (กองทุนตำ�บล) ใช้งบประมาณผ่านโครงการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคของกองทุนตำ�บลประสาน ความร่วมมือกับหน่วยงานอื่นๆในพื้นที่ร่วมด้วยช่วยกัน ตามมาตรการเยี่ ย มหนุ น เสริ ม และสร้ า งภาคี เ ครื อ ข่ า ย ติดตามการดำ�เนินงานนำ�ร่องการจัดการข้อร้องเรียนจาก การใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าโดยประสานความ ร่วมมือกับหน่วยงานอื่นๆในพื้นที่เพื่อที่จะร่วมด้วยช่วยกัน พัฒนาคุณภาพมาตรฐานหน่วยบริการลดข้อร้องเรียนลด ความสูญเสียอันมีผลกระทบต่อระบบบริการเป็นต้นแบบ ที่จะเรียนรู้ร่วมกันผู้รับบริการพึงพอใจผู้ ให้บริการมีความ สุขร่วมกัน ภายใต้คณะทำ�งานที่จะทำ�ให้ปีใหม่ปีนี้เป็นปีแห่งความสำ�เร็จเป็นปีที่ทุกคนภาคภูมิใจด้วยการสร้างของขวัญที่ดี ที่สุดที่สามารถทำ�ในพื้นที่ตนเองได้ลองกำ�หนดแผนการสร้างสิ่งดีๆรับปีใหม่ให้ชีวิตพร้อมก้าวไปข้างหน้าอย่าง มั่นคงและมีคุณภาพตามปณิธานที่ตั้งไว้สร้างของขวัญนับความสำ�เร็จในเวลานี้ปีหน้า...ด้วยกัน • ...... กัมปนาจ แย้มแสง ......

หน้า ๗


http://suratthani.nhso.go.th

บรรณาธิการที่ปรึกษา นพ.ภูมิวิชญ์ ขวัญเมือง นายทวีสา เครือแพ นพ.อนุสรณ์ ศิริโชติและนายอุทัย หมั่นเทียนติพันธ์ บรรณาธิการ นายชญานิน เอกสุวรรณ ผู้ช่วยบรรณาธิการ นางสาวพัชรี เพชรอักษร กองบรรณาธิการ ทีมงาน สปสช. เขต ๑๑ สุราษฎณ์ธานี


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.