จดหมายข่าว สปสช. เขต ๑๑ สุราษฎร์ธานี ปีที่ ๖ ฉบับที่ ๓ เดือนมีนาคม ๒๕๖๒

Page 1

จดหมายข่ า ว สปสช. เขต ๑๑ สุราษฎร์ธานี ปีที่ ๖ ฉบับที่ ๓ มีนาคม ๒๕๖๒

สำ�นักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต ๑๑ สุราษฎร์ธานี ๙๑/๑ อาคารพีซีทาวเวอร์ (ชั้น ๑๐) หมู่ ๑ ถนนกาญจนวิถี ตำ�บลบางกุ้ง อำ�เภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี โทร. ๐๗๗ ๒๗๔ ๘๑๑ โทรสาร ๐๗๗ ๒๗๔ ๘๑๘


จากใจผู้บริหาร

นายอุทัย หมั่นเทียนติพันธ์

สวัสดีครับเดือนมีนาคม 2562 สำ�นักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเขต 11 สุราษฎร์ธานีมีเรื่องสาระดีๆจะสื่อสารให้พี่น้องได้ทราบดังนี้ครับ เรื่องแรก ขอเน้นย้ำ�ว่า สำ�นักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติชื่อย่อว่า “สปสช.” เป็นองค์กรที่ถูกกฎหมายคือ พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๕ ตั้งขึ้นมาเพื่อเป็นตัวแทนของประชาชน ในการทำ � ให้ ป ระชาชนได้ รั บ บริ ก ารทางด้ า นการรั ก ษาพยาบาลและบริ ก ารทางด้ า น สาธารณสุขต่าง ๆ ให้ได้ตามชุดสิทธิประโยชน์ที่ควรจะได้รับตั้งขึ้นมาเพื่อ พ.ศ. ๒๕๔๕ รวมถึงปัจจุบันก็ย่างเข้าสู่ปีที่ ๑๗ แล้วซึ่งถ้าเป็นเรื่องราวที่คนทั่วไปได้ยินและรู้จักก็คือ


โครงการ ๓๐ บาทรักษาทุกโรคเดิมนั่นเองครับ ขณะนี้เรื่องระบบหลักประกันสุขภาพของคนไทย ได้เป็นที่รู้จักและเป็นต้นแบบให้กับประเทศต่างๆ ทั้งในภูมิภาคเอเซียและประเทศต่างๆเกือบทั่วโลก ทีเดียวครับ เรื่องที่สอง อยากจะเล่าให้พ่อแม่พี่น้องได้ ทราบว่าในปีที่ ๑๗ ของระบบหลักประกันสุขภาพ ของคนไทยนั้ น ได้ อ ยู่ เ บื้ อ งหลั ง ในการช่ ว ยเหลื อ ประชาชนมิให้ล้มละลายจากการเจ็บป่วยไว้เป็น จำ � นวนมากไม่ ต้ อ งไปแบกรั บ ค่ า รั ก ษาโรคที่ มี ราคาสูง ๆ ในภาวะเศรษฐกิจซบเซาอีกด้วย เรื่องที่สาม สำ�นักงานหลักประกันสุขภาพ แห่งชาติหรือ สปสช. ได้มีระบบบริการรับโทรศัพท์ ถามข้อมูล ๒๔ ชั่วโมงที่เรียกว่า Call Center โดย โทรได้ที่หมายเลย ๑๓๓๐ โดยในปัจจุบันได้จัดให้ มีล่ามภาษามือเชื่อมกับระบบนี้เพื่อให้ความช่วย เหลือคนพิการทางการได้ยินอีกด้วยครับ เรื่องที่สี่ คือจะแจ้งว่า สปสช. ได้ร่วมมือ กับกระทรวงสาธารณสุของค์การบริหารส่วนตำ�บล (อบต.) เทศบาลเมืองเทศบาลตำ�บลร่วมกันตัง้ กองทุน ที่มีชื่อเรียกว่า “กองทุนตำ�บล” หรือชื่อเต็มว่า กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติระดับท้องถิ่น หรือพื้นที่ที่ให้ทั้งโรงพยาบาล รพ.สต. องค์กรภาค ประชาชนต่าง ๆ เขียนโครงการไปขอรับการสนับสนุน งบประมาณเพื่ อ นำ � ไปทำ � งานด้ า นการส่ ง เสริ ม สุขภาพและป้องกันโรคในพื้นที่ ได้เป็นอย่างดีมีงบประมาณหลายล้านบาทในแต่ละกองทุนเลยนะครับรวมถึงการมีระบบ งานดูแลผู้สูงอายุที่ติดบ้านติดเตียงที่รัฐบาลให้งบประมาณมาร่วมที่กองทุนตำ�บลหลายแห่งอีกด้วย เรื่องที่ห้า ในปี ๒๕๖๒ นี้ สปสช. ได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งกรมราชทัณฑ์และกระทรวงสาธารณสุขที่จะเข้าไป จัดระบบเพื่อดูแลทางด้านสุขภาพแก่ผู้ต้องขังในเรือนจำ�ทุกแห่งทั่วประเทศรวมถึงร่วมมือกับกรมการศาสนาวัดองค์กรทางพระ สงฆ์ ในการจัดให้มีการถวายความรู้ทางด้านการดูแลสุขภาพและเรื่องหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเพื่อให้วัดต่างๆมีระบบการ ดูแลทางด้านสุขภาพของพระสงฆ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพไม่ตกอยู่ในภาวะความเสี่ยงด้วยโรคเบาหวานความดันโลหิตสูงหรือ ภาวะเสี่ยงทางด้านสุขภาพต่างๆน่ะครับ สำ�หรับฉบับนี้ขอนำ�เรียนแจ้งให้ท่านผู้อ่านได้ทราบเพียง ๕ เรื่องก่อนนะครับฉบับหน้าจะนำ�สาระดี ๆ มาแจ้งให้ ทราบกันอีกนะครับ

หน้า ๓


เรื่องเล่า เร้าพลัง จดหมายข่าว สปสช.เขต ๑๑ สุราษฎร์ธานี ในรูปแบบ E-book เป็นฉบับที่ ๓ ของปีงบประมาณปี ๒๕๖๒ ซึ่งได้เกริ่นนำ�ด้วยจากใจจาก นายอุทัย หมั่นเทียนติพันธ์ ผู้อำ�นวยการสำ�นักงานหลักประกันสุขภาพ แห่งชาติ เขต ๑๑ สุราษฎร์ธานี บอกเล่าถึงสิทธิประโยชน์หลักประกัน สุขภาพแห่งชาติย่างเข้าสู่ปีที่ ๑๗ ซึ่งเป็นต้นแบบให้กับประเทศต่าง ๆ ทั้ง ในภูมิภาคเอเซียและประเทศต่าง ๆ เกือบทั่วโลก มาที่เรื่องเล่า เร้าพลัง ในฉบับนี้ก็เผยแพร่การดำ�เนินงานที่เป็นต้นแบบการพัฒนาสุขภาพ ชีวติ ในชุมชน ที่ผสานกับสุขภาพชุมชนในพื้นที่ของชุมชนตำ�บลนาขา อำ�เภอหลังสวน จังหวัดชุมพรโดยความร่วมมือทั้ง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำ�บลนาขา ของผูน้ �ำ ท้องถิน่ ทีป่ ระกอบไปด้วย นายอำ�เภอหลังสวน นายกองค์การบริหารส่วนตำ�บล และผู้นำ�ท้องที่ ประกอบไปด้วยกำ�นัน ผู้ ใหญ่บ้านสารวัตรใหญ่สภ.บ้านในหูตชมรมผู้สูงอายุ ชมรมอสม. วัด โรงเรียนและ บ้านเรือน โดยชมรมผู้สูงอายุโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำ�บลนาขาจัดทำ�โครงการสร้างสุขภาพคนสามวัย (บวร = บ้าน วัด โรงเรียน) โดยขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพตำ�บลนาขาที่ได้สร้างสุขภาพคนสามวัย (บวร) โดยขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ ขององค์การบริหารส่วนตำ�บล นาขาอำ�เภอหลังสวน จังหวัดชุมพร ร่วมมือกันมุง่ เน้นการส่งเสริมการมีสว่ นร่วมดูแลสุขภาพของประชาชนจากหลายภาคส่วน ในชุมชนมีภาคีเครือข่ายในพื้นที่เข้ามาร่วมดำ�เนินการส่งเสริมให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเกิดความตระหนักปรับเปลี่ยนพฤติกรรม สุขภาพของประชาชนดูแลสุขภาพได้ด้วยตนเองและผู้สูงอายุที่อยู่ติดเตียงในชุมชนภายใต้ โครงการการดูแลระยะยาวด้าน สาธารณสุขสำ�หรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในพื้นที่ (Long-Term-Care) ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ นายอรรถพร ตระหง่าน ผู้อำ�นวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำ�บลนาขา เล่าให้ ฟังว่าในตำ�บลนาขา มี ๑๓ หมู่บ้าน รพ.สต.อยู่ ๒ แห่ง รพ.สต.ห้วยเหมือง ดูแลประชากรจำ�นวน ๒,๐๐๐ คนใน ๑ หมู่บ้าน ซึ่งตั้งอยู่บนเขาเดินทางลำ�บากหน่อยครับและ รพ.สต.นาขา ดูแล ประชากร ๑๒ หมู่บ้านจำ�นวน ๗,๐๐๐ กว่าคน หากรวมแรงงานต่างด้าวและคนไทยภาคอื่น ที่เข้ามาเป็นแรงงานก็ร่วม ๑๐,๐๐๐ คน ซึ่งตำ�บลนาขาเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุและมีประชากรที่อยู่ ในวั ย พึ่ ง พิ ง ได้ แ ก่ เ ด็ ก และผู้ สู ง อายุ เ ป็ น จำ � นวนมากซึ่ ง เป็ น ผลมาจากการลดลงของอั ต รา การเกิดและอัตราการตายของประชากรทำ�ให้จำ�นวนและสัดส่วนประชากรเด็กและสูงอายุของ นายอรรถพร ตระหง่าน ตำ�บลเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วหลายหน่วยงานได้ ให้ความสำ�คัญกับการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่สังคม สูงวัยและเริ่มออกมาตรการรับมือในด้านต่างๆ เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับผู้สูงอายุประกอบ กั บ สภาพสั ง คมไทยเปลี่ ย นแปลงไปจากอดี ต ทำ � ให้ ปั ญ หาของผู้ สู ง อายุ ม ากขึ้ น ตามไปด้ ว ย ไม่ ว่ า จะเป็ น ปั ญ หาด้ า นสุ ข ภาพปั ญ หารายได้ ปัญหาจิตใจและปัญหาการถูกทอดทิ้ง

หน้า ๔


และยังบอกอีกว่า ในการเตรียมความพร้อมในการดูแลผู้สูงอายุในชุมชนนั้นได้ร่วมมือกันทุกฝ่ายทุกกลุ่มวัยต้องมาเรียนรู้ ร่วมกันในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุโดยการทำ�กิจกรรมร่วมกันการทำ�กิจกรรมด้านส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคกิจกรรม ส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมร่วมกันทัง้ ผูส้ งู อายุเยาวชนผูน้ ำ�อสม. และประชาชนจะเป็นการปลูกฝังให้ทกุ คนได้ซมึ ซับแนวคิด ทั้งการดูแลสุขภาพการใช้ชีวิตห่างไกลอบายมุขโดยใช้วัดเป็นศูนย์กลางใช้ศาสนาในการบำ�บัดโรคตามวิถีพุทธซึ่งสามารถ นำ�ไปประยุกต์ ใช้ ในชีวิตประจำ�วันได้เป็นอย่างดี

สปสช.ส่งข่าว : ที่บอกว่า บวร นั้นมีพระสงฆ์ ผู้สูงอายุ เยาวชนผู้นำ�ท้องถิ่นและท้องที่ ร่วมทั้ง อสม. และ

ประชาชนได้ทำ�กิจกรรมร่วมกันโดยใช้กิจกรรมทางศาสนาเป็นสื่อกลางอย่างไรคะ?

นางสาวมะลิวัลย์ ประสพเนตร ประธานชมรมอสม. หมู่ ๗ ตำ�บลนาขา นางสาวเรวดี พรหมสถิตย์ เลขาชมรม อสม.รพ.สต.นาขา และนายอรรถพร ช่วยกันเล่าให้ฟงั ว่าการ ดำ � เนิ น การได้ ป ระชุ ม กั น กั บ คณะกรรมการพั ฒ นาคุ ณ ภาพชี วิ ต (พชต.นาขา) เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพชีวิตและพระครู นิวิฐปัญญาคุณ วัดดอนวาสบ้าง ใต้ต้นโพธิ์บ้าง ห้องประชุมกันบ้าง และการเปิดตัวโครงการ บวรก็เริ่มที่วัดดอนวาส เมื่อเดือน พฤศจิกายน ๒๕๖๐ เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาสุขภาพชีวิต ของ คน ๓ วัย จัดให้มีอบรมให้ความรู้ด้านส่งเสริมสุขภาพและการ ป้ อ งกั น โรคในกลุ่ ม วั ย และใช้ กิ จ กรรมพุ ท ธบำ � บั ด สมาธิ บำ � บั ด รวมทั้งศาสตร์การแพทย์แผนไทยฯลฯ ในการป้องกันโรคมีการ ตรวจคัดกรองสุขภาพเบื้องต้น วัดความดันโลหิต ชั่งน้ำ�หนัก บันทึก ในสมุดประจำ�ตัวเดือนละ ๑ ครั้งวันที่ ๒๒ ของทุกเดือนชาวบ้าน ในชุมชนจะมีพระครูเป็นศูนย์รวมจิตใจอยู่แล้ว ก็นำ�มาต่อยอด การขับเคลื่อนโครงการได้อย่างดี นายอรรถพร เล่าว่าตอนแรก ๆ ก็ยังไม่ค่อยมีคนมาร่วมประชุม ปัญหานี้ก็ร่วมกันแก้ไข นายโชคชัยว่องกูลนายก องค์การบริหารส่วนตำ�บลนาขา แก้ปัญหาอย่างจริงจัง ในเชิงรุกจัดให้มีรถไปรับผู้นำ�ชุมชนให้มาร่วมกิจกรรม นัดกันทุกวันที่ ๒๒ ตามจุดต่างๆและทาง กำ�นันจรูญ พัฒหาญ ก็นำ�โครงการบวรนี้นำ�มาประเมินผลการปฎิบัติหน้าที่ของกำ�นันและผู้ ใหญ่ บ้านในความสำ�เร็จผลงานอีกด้วย ถ้ากล่าวถึงปัจจุบันโครงการนี้มีนักเรียน ๓ โรงเรียนชั้นประถมในตำ�บล จำ�นวน ๑๕๐๒๐๐ คน คือ โรงเรียนบ้านหนองปลา โรงเรียนวัดนพคุณ โรงเรียนในเหมือง ผู้สูงอายุก็ติดใจ มากันเยอะ อสม.มาร่วม ตรวจสุขภาพเบื้องต้นให้ซึ่งจะตั้งหน้าตั้งตารอให้ถึงวันที่ ๒๒ เพื่อจะได้มาเจอกัน เมื่อมีคนเยอะขึ้นงบประมาณเดือนละ ๘,๐๐๐ บาท ก็ไม่เพียงพอก็ต้องใช้เงินสวัสดิการของหมู่บ้านร่วมบ้าง น.ส.นางสาวมะลิวัลย์ ประสพเนตร และนางสาวเรวดี พรหมสถิตย์ เสริมว่าเรามีผู้ ใหญ่ใจดี ลุงประเสริฐ พรหมมา มีอายุ ๙๐ ปี ยังแข็งแรงมาร่วมกิจกรรมแทบจะทุกครั้งและ มีรางวัลพ่อตัวอย่างแห่งชาติการันตีความดีของลุงประเสริฐด้วยคะ ลุงจะสนับสนุนข้าวหม้อ แกงหม้อ ผู้ ใหญ่ใจดีคนอื่น ๆ ก็มีขนมหวานบ้างผลไม้บ้าง ผู้สูงอายุบางคนก็ถือปิ่นโตอาหารมาถวายพระด้วยเลย นายอรรถพร บอกอีกว่าในกิจกรรม จะเชิญวิทยากรมาให้ความรู้เรื่องสุขภาพ การออกกำ�ลังกาย การแช่เท้าด้วยสมุนไพร การตรวจสุขภาพพื้นฐานด้านพระสงฆ์

หน้า ๕


นำ�โดยพระครูนิวิฐปัญญาคุณ เจ้าอาวาสวัดดอนวาส และรองเจ้าคณะอำ�เภอหลังสวนมาเทศนาสอนการใช้ชีวิตของคน แต่ละวัย ซึ่งบอกได้ว่าช่องว่างระหว่างวัยผู้สูงอายุกับเด็กเยาวชนลดน้อยลงได้ ในการร่วมกิจกรรมที่เราจัดขึ้น และเรา จะมีการจัดกิจกรรมสัญจรไปตามหมู่บ้าน ในแต่ละเดือนโดยมีผู้ ใหญ่บ้านของแต่ละหมู่เป็นเจ้าภาพหาสถานที่ ข้าวปลา อาหารและกิจกรรมโครงการสามวัยได้สัญจรไปที่ รพ.สต.บ้านห้วยเหมืองด้วยแล้วนะครับผู้สูงอายุที่มาร่วมกิจกรรมจะมี เกียรติบัตรที่ ได้รับการลงนามจากท่านผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร และนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดชุมพรให้อีกด้วย โดย จะมีกฎระเบียบว่า ในรอบ ๑ ปี จะต้องขาดการร่วมกิจกรรมไม่เกิน ๓ ครั้งครับ ซึ่งปีที่แล้ว ผู้สูงอายุได้รับเกียรติบัตรจำ�นวน ๖๗ คน นักเรียนก็จะได้รับเกียรติบัตรที่ได้รับการลงนามจากนายอำ�เภอและสาธารณสุขอำ�เภอหลังสวน

สปสช.ส่งข่าว : โครงการสร้างสุขภาพคนสามวัย (บวร) ประสานการทำ�งานกับ โครงการ LTC อย่างไรคะ?

นายอรรถพร : ประสานการเยี่ยมผู้ป่วยติดเตียง พระครูนิวิฐปัญญาคุณนำ�สมาชิกโครงการ ฯ นำ�พระธรรมบำ�บัดโรคลด

โรคเครียดลดภาวะซึมเศร้าและการฆ่าตัวตายของผู้สูงอายุติดเตียง และนำ�ของอาหารแห้งของใช้ที่ชาวบ้านมาทำ�บุญที่วัด ก็นำ�มาให้ผู้สูงอายุที่ขัดสน ลดค่าใช้จ่ายได้เยอะเลยครับ และยังมีทีมหลังสวนสุขใจ ที่ได้รับการอบรมด้านสุขภาพจิต มาร่วมทีมในการเยี่ยมผู้สูงอายุติดเตียงให้มีสุขภาพจิตใจ ที่เข้มแข็งในการสู้กับโรคร้ายให้ได้ด้วยครับ รับเกียรติบัตรบวร 3 วัย

สปสช.ส่งข่าว : พอจะกล่าวได้มั๊ยคะ การ

ดำ�เนินงานที่ผ่านมาครึ่งปีงบประมาณผลที่ ได้รับจาก โครงการ เป็นอย่างไรบ้างคะ ? นายอรรถพร : พระผู้สูงอายุเยาวชนผู้นำ�อสม. และประชาชนสามารถใช้กิจกรรมทางศาสนบำ�บัดมีความรู้และนำ�ศาสน

บำ�บัดไปใช้ ในการลดโรคเครียดลดโรคซึมเศร้าและได้รับการตรวจสุขภาพเบื้องต้นทุกเดือนผู้มีปัญหาด้านสุขภาพได้รับ การดูแลรักษาและส่งต่ออย่างเหมาะสมอีกทั้งยาวชนได้รับความรู้ด้านสุขภาพโดยมีพระและผู้สูงอายุเป็นแบบอย่างใน การมีพฤติกรรมสุขภาพแบบพอเพียงตามวิถีชุมชนรู้จักป้องกันโรคห่างไกลยาเสพติดและอบายมุข ซึ่งผู้เข้ารับการอบรม สามารถนำ�ความรู้และประสบการณ์จากการศึกษาดูงานด้านส่งเสริมสุขภาพมาปรับใช้ ในชีวิตประจำ�วันครับ

หน้า ๖

พัชรี เพชรอักษร รายงาน



http://suratthani.nhso.go.th

บรรณาธิการที่ปรึกษา พญ.อุทุมพร กำ�ภู ณ อยุธยา นายอุทัย หมั่นเทียนติพันธ์ น างสาวจุรีรัตน์ ยงค์ และนายธงชัย สิทธิยุโณ บรรณาธิการ นายชญานิน เอกสุวรรณ ผู้ช่วยบรรณาธิการ นางสาวพัชรี เพชรอักษร กองบรรณาธิการ ทีมงาน สปสช. เขต ๑๑ สุราษฎณ์ธานี

หน้า ๘


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.