ชุมชนวังโซกุน ฉบับ 1

Page 1


ชุ ม ชนวั ง โชกุ น 2


“เศรษฐกิจพอเพียงเป็นเสมือนรากฐานของชีวิต รากฐานความมั่นคงของแผ่นดิน เปรียบเสมือนเสาเข็ม ที่ถูกตอกรองรับบ้านเรือนตัวอาคารไว้นั่นเอง สิ่งก่อสร้างจะมั่นคงได้ก็อยู่ที่เสาเข็ม แต่คนส่วนมากมองไม่เห็นเสาเข็ม และลืมเสาเข็มเสียด้วยซ้ำ�ไป”

พระราชดำ�รัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จากวารสารชัยพัฒนาประจำ�เดือนสิงหาคม ๒๕๔๒

ชุ ม ชนวั ง โชกุ น 3


บทบรรณาธิการ

ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์

นายดำ�ริห์ บุญจริง นายธีระยุทธ เอี่ยมตระกูล นายเชิดศักดิ์ ชูศรี นายฉัตรป้อง ฉัตรภูติ นายวงศศิริ พรหมชนะ นายไพศาล ตรีธัญญา นายจงภัก ใจดี นายสงวน มงคลศรีพันเลิศ นายสมพร อภิวัฒน์วราวงศ์ นายธรรมรัตน์ สุวรรณนิตย์ นายสานนท์ คงเสน

ฝ่ายผลิตนิตยสาร

บรรณาธิการบริหาร : นายชาคฤช ศรีภิรมย์มิตร บรรณาธิการอำ�นวยการ : นายวิทยา ศรีภิรมย์มิตร รองบรรณาธิการ : นายอัฐพงศ์ ประสานราษฏร์ ผู้จัดการ : น.ส.เพชรน้ำ�ผึ้ง คุ้มเอียด เลขานุการ : นายธีรชาติ ชุมพล เหรัญญิก : นายอโนทัย ศรีภิรมย์มิตร น.ส.วันดี เสนทรัพย์

ที่ปรึกษาฝ่ายผลิต

: นายณรงค์ศักดิ์ พฤกษาไพบูลย์ นางศศิวิมล บุญบรรเทิง น.ส.สมฤทัย ณรงค์เปลี่ยน ออกแบบรูปเล่ม : บ. คิด ทำ�ดี มีเดีย จก.

สถานที่ตั้ง

หมู่ที่ 3 บ้านบางเบา ตำ�บลตะปาน อำ�เภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี โทร. 08 1788 2359 08 1893 2334 08 7266 0601

สืบเนือ่ งจากความเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่ เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและต่อเนื่องตลอดระยะเวลา หลายทศวรรษ ที่ได้สง่ ผลให้สงั คมไทยก้าวไปสูค่ วาม เป็นสังคมทุนนิยมทีม่ ตี ลาดการค้าและพ่อค้าคนกลาง เป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ซึ่งได้ก่อให้เกิดผล กระทบอันยิ่งใหญ่ต่อ “ความคิด” ของประชาชน คนในชาติ โดยหันมาให้ความสำ�คัญกับ “เงิน” จน อาจกล่าวได้ว่า “เงิน” กลายเป็นเป้าหมายสูงสุด ของการดำ�เนินชีวติ เพราะเป็นสิง่ เดียวทีส่ ามารถสร้าง หรือทำ�ให้ได้มาซึง่ ปัจจัยทีม่ คี วามสำ�คัญต่อการดำ�รงชีวติ ตลอดจนสามารถเติมเต็ม ความต้องการต่างๆ ที่นอกเหนือได้ ประชาชนทุกกลุม่ ทุกชนชัน้ จึงต่างดิน้ รนและพยายามปรับเปลีย่ นวิถชี วี ติ ให้ อยู่ในแนวทางที่เอื้อต่อการได้มาซึ่งเงินทองจำ�นวนมาก โดยหลงลืมความสามารถ ในการพึง่ พาตัวเอง โดยเฉพาะประชาชนทีท่ �ำ หน้าทีเ่ ป็นผูผ้ ลิตอาหาร อาทิ ชาวสวน ชาวนา ชาวไร่ ต่างต้องยอมให้การกำ�หนดราคาต้นทุนผลิตและราคาขายเป็นหน้าที่ ของพ่อค้า จนต้องหันมาทำ�การเกษตรเชิงเดี่ยว ซึ่งเสี่ยงต่อภาวะขาดทุน ในที่สุด ก็เกิดปัญหาหนี้สินสะสมและไม่สามารถรักษาที่ดินทำ�กินอันเป็นมรดกตกทอด ไว้ ได้ ขณะที่แหล่งอาหารคุณภาพที่ปราศจากสารเคมีและสารพิษก็ลดจำ�นวน ลงอย่างเร็ว ส่งผลให้สุขภาพของประชาชนถดถอย ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาสังคม อย่างรอบด้านตามมาในระยะยาว แต่นับเป็นโชคดีของชาวไทยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงพระปรีชา ด้วยทรง ค้นพบทางออกที่จะทำ�ให้ประชาชนมีความสุขและพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน นั่นคือ “เศรษฐกิจพอเพียง” แนวคิดเศรษฐกิจทฤษฎีใหม่ที่มุ่งเน้นให้ประชาชน หลุดออกจากความคิดทีถ่ กู ครอบงำ�ให้เป็นและเดินตาม โดยลุกขึน้ ยืนหยัดช่วยเหลือ ตนเองด้วยสองมือ... จากวันที่ทรงค้นพบถึงวันนี้นับเป็นเวลากว่า 2 ทศวรรษแล้ว ที่ผู้ดำ�เนินตามรอยเท้าของพ่อต่างพิสูจน์ ให้เห็นชัดว่า แนวทางนี้ ไม่เพียงสามารถ ปลดหนี้ แต่ยังสร้างรายได้และสร้างความสุขที่มั่นคงยั่งยืนให้เกิดขึ้นจริง แม้จะมี ที่ดินทำ�กินเพียง 1 ไร่ก็ตาม และด้วยเหตุที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีมีปัญหาประชาชนขาดแคลนที่ดินทำ�กิน ยืดเยื้อมายาวนาน จนมีการรวมตัวกันออกมาประท้วงเรียกร้องให้รัฐจัดสรรที่ดิน ทำ�กินให้ รัฐบาลสมัยนั้น (ฯพณฯ ท่านทักษิณ ชินวัตร) จึงได้มีมติคณะรัฐมนตรี ให้จังหวัดจัดสรรที่ดินแก่ประชาชน แต่เนื่องจากประชาชนต้องการที่ดินคนละ จำ�นวนหลายๆ ไร่ คณะผูบ้ ริหารจังหวัดสุราษฎร์ธานีในแต่ละยุคสมัยจึงได้นอ้ มนำ� เอาทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียงเข้ามาร่วมแก้ปัญหา โดยมีนายอำ�เภอทุกอำ�เภอเป็น ผู้ประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐ เอกชน และภาคประชาชนเพื่อให้ เกิดการทำ�งานที่สอดคล้อง สามารถแก้ไขปัญหา และทำ�ความเข้าใจกับประชาชน โดยก่อให้เกิดประโยชน์สงู สุดจากการพึง่ พาตนเองได้ ซึง่ เป็นความเข้มแข็งทีแ่ ท้จริง ของชุมชนและประเทศชาติ โดยในท้องที่อำ�เภอพุนพินนั้นก็มีชุมชน “วังโชกุน” และ “ศูนย์เรียนรู้ วิถีชีวิตชุมชนแบบพอเพียง เพื่อแก้จนฅนสหกรณ์” เป็นศูนย์เรียนรู้ต้นแบบของ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งไม่เพียงเป็นตัวอย่างที่ดีของการแก้ปัญหาการขาดแคลน ทีด่ นิ ทำ�กินเท่านัน้ แต่ชมุ ชนและศูนย์ฯ แห่งนีย้ งั เป็นแหล่งท่องเทีย่ วเกษตรอินทรีย์ ต้นแบบ และเป็นต้นแบบของการทำ�งานในอีกหลายเรือ่ งที่ได้รวบรวมไว้ภายในเล่ม ชาคฤช ศรีภิรมย์มิตร บรรณาธิการบริหาร

ชุ ม ชนวั ง โชกุ น 4


04 06 08 11 12

สารบัญ

บทบรรณาธิการ ข่าวสังคมวังโชกุน รายงานพิเศษ : เปิดใจผู้อยู่เบื้องหลังความสำ�เร็จของชุมชนวังโชกุน ที่ตั้งและขนาดพื้นที่ชุมชนวังโชกุน ผู้ใหญ่ยอดเยี่ยม : ผู้ใหญ่ชาคฤช ศรีภิรมย์มิตร

รางวัลอันทรงเกียรติผู้ใหญ่บ้านยอดเยี่ยม (แหนบทองคำ�) 16 ประวัติความเป็นมา : อาจารย์สงวน มงคลศรีพันเลิศ ประธานศูนย์เรียนรู้วิถีชุมชนแบบพอเพียงเพื่อแก้จนฅนสหกรณ์ 18 องค์ความรู้ : ณ ศูนย์เรียนรู้วิถีชุมชนแบบพอเพียง เพื่อแก้จนฅนสหกรณ์ (วังโชกุน) 26 คนสู้ชีวิต : อัฐพงศ์ ประสานราษฎร์ 27 คนสู้ชีวิต : จิราพร คุ้มเอียด / โชคชัย ช้างนรินทร์

28 สะพานทวีทรัพย์ประสานราษฎร์ : เส้นทางเชื่อมไมตรีของชาวพุนพิน-ชาวบ้านนาเดิม 30 เมนูอาหารแก้จน : “หัวปลีทอด” “แกงกะทิหยวกกล้วยใส่กุ้งสด” 32 ท่องเที่ยว : ขอพรพระนอน นมัสการพระเกจิดัง “วัดประชาวงศาราม” 34 ศิลปะกับชีวิต : ชุมชนวังโชกุนกับการส่งเสริมศิลปะวัฒนธรรม (นายสุวรา พรามณ์เสน)

ชุ ม ชนวั ง โชกุ น 5


ข่าวสังคมวังโชกุน

“กลุ่มรักษ์สันติพัฒนา” เข้าอบรมวิถีพอเพียงที่ “ศูนย์เรียนรู้วิถีพอเพียง เฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา”

ตลอดเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2557 แกนนำ� “กลุ่มรักษ์สันติพัฒนา” นำ�สมาชิกกลุ่มกว่าร้อยคนจากอำ�เภอเคียนซามาเข้าร่วมอบรม วิถเี ศรษฐกิจพอเพียงที่ “ศูนย์เรียนรูว้ ถิ พี อเพียง เฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา” ทัง้ นีเ้ พือ่ เตรียมความพร้อมให้แก่สมาชิกในการดำ�เนินชีวติ อย่าง มีประสิทธิภาพภายหลังจากที่ได้รบั การจัดสรรทีด่ นิ จากรัฐ โดย “ศูนย์เรียนรูว้ ถิ พี อเพียง เฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา” นำ�โดยผู้ ใหญ่ชาคฤช ศรีภิรมย์มิตร และนายวิทยา ศรีภิรมย์มิตร อดีตนายกองค์การบริหารส่วนตำ�บลตะปาน อำ�เภอพุนพิน ได้จัดวิทยากรผู้เชี่ยวชาญมาแนะนำ� วิธที �ำ เกษตรผสมผสาน พร้อมทัง้ จัดให้ผเู้ ข้าอบรมได้ ใช้ชวี ติ ร่วม (Home Stay) กับชาวบ้านวังโชกุนเพือ่ เรียนรูว้ ถิ ชี วี ติ พอเพียงอย่างใกล้ชดิ ซึง่ นอกจากจะเป็นการถ่ายทอดองค์ความรูจ้ ากชาวบ้านสูช่ าวบ้านทีก่ อ่ ให้เกิดความเข้าใจอย่างตรงจุดแล้ว ยังเป็นการส่งเสริมสายสัมพันธ์ทดี่ รี ะหว่าง ชาวจังหวัดเดียวกันอย่างน่าประทับใจด้วย กลุ่มรักษ์สันติพัฒนา คือกลุ่มประชาชนผู้ไร้ที่ดินทำ�กินชาวอำ�เภอเคียนซา จังหวัดสุราษฎร์ธานี ปัจจุบันมีสมาชิกประมาณ 300 คน โดย ได้ด�ำ เนินการจดทะเบียนก่อตัง้ กลุม่ อย่างเป็นทางการเมือ่ พ.ศ.2554 มีคณะกรรมการบริหารกลุม่ ซึง่ ได้จากการคัดเลือกของสมาชิกทัง้ หมด รวม 11 คน เพื่อทำ�หน้าที่ประสานความเป็นหนึ่งเดียวของกลุ่ม และเป็นตัวแทนกลุ่มในการดำ�เนินการต่างๆ อันอยู่ภายใต้กรอบกฎหมาย กับหน่วยงานภาครัฐและอื่นๆ เพื่อผลักดันให้เกิดการแก้ไขปัญหาที่ดินทำ�กินอย่างยั่งยืน

ชุ ม ชนวั ง โชกุ น 6


14 กุมภาพันธ์ เปิดโครงการ Full moon ธรรมะ บ้านบางเบา

เนื่องด้วยในปี 2557 วันมาฆบูชาเวียนมาตรงกับเทศกาลวัน วาเลนไทน์ ชาวบ้านบางเบา นำ�โดยผู้ ใหญ่ชาคฤช ศรีภริ มย์มติ ร เห็น เป็นนิมิตหมายที่ดีในการรณรงค์ ให้ประชาชนหันมาให้ความสำ�คัญ กับการเข้าวัดฟังธรรมในวันพระเหมือนดังเช่นที่เคยเป็นในอดีต จึง ได้ถือฤกษ์ดีวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ประกาศให้เป็น “วันแห่งความรัก อันบริสุทธิ์” พร้อมทั้งริเริ่มโครงการ “Full moon ธรรมะ ฟังธรรม ในวันพระจันทร์เต็มดวง” ณ สำ�นักสงฆ์บา้ นบนไร่ ซึง่ จะจัดกิจกรรม ทุกวันพระใหญ่หรือวันเพ็ญขึน้ 15 ค่�ำ ต่อเนือ่ งตลอดทัง้ ปี 2557 โดย มีการนิมนต์พระมาเทศนาธรรมให้ประชาชนได้เข้าใจถึงหลักธรรม คำ�สอนของพระพุทธเจ้า และสามารถนำ�หลักศีลธรรมมาใช้เพือ่ การ อยู่ร่วมกันอย่างมีคุณธรรม นอกจากนี้ ยังจัดให้มีการบริจาคทรัพย์ ร่วมกันเพื่ออุทิศให้กับเจ้ากรรมนายเวร โดยในเบื้องต้นเงินบริจาค ดังกล่าวนี้จะได้นำ�มาสมทบทุนสร้างเมรุ สำ�นักสงฆ์บ้านบนไร่ เพื่อ ใช้ ในการฌาปณกิจศพประชาชนในพืน้ ทีท่ เี่ สียชีวติ ซึง่ ผู้ ใหญ่ชาคฤช ได้กล่าวเกี่ยวกับเป้าหมายของการใช้เงินบริจาคว่า.... “ผมมีความตั้งใจจะสร้างเมรุให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งปี ตอนนี้ ก็ดำ�เนินการไปแล้ว 60% ใช้เม็ดเงินไปแล้ว 1,200,000 บาท การ ดำ�เนินการเรามีพันธสัญญากับผู้รับเหมาในวงเงิน 2 ล้านบาท ทีนี้ ผมเห็นว่าในพืน้ ทีเ่ กาะรอบนอกของจังหวัดในวันเพ็ญขึน้ 15 ค่ำ� ของ ทุกเดือนจะมีงานฟูลมูนปาร์ตี้ เราก็เลยมาพูดคุยกับชาวบ้าน เป็นการ ปรึกษาร่วมกันกับหลายๆ ฝ่าย เพื่อหาแนวทางจัดงานฟูลมูนธรรมะ บ้านบางเบา เพราะผมเชือ่ ว่าธรรมะช่วยจรรโลงชีวติ จรรโลงหัวใจได้ เพราะเราใช้แนวทางดำ�เนินชีวติ แบบเศรษฐกิจพอเพียง จะพอเพียง ได้จริงก็ตอ้ งบรรจุดว้ ยคำ�ว่าศีลธรรมเข้าไปด้วย จะได้เต็ม 100% และ ให้มกี ารร่วมกันทำ�บุญเพือ่ หารายได้สว่ นหนึง่ ไปสร้างสิง่ ทีเ่ ราตัง้ หวัง ไว้ ในสำ�นักสงฆ์ หรือนำ�ไปสร้างและบูรณะเรือพนมพระไปสู่งาน ประจำ�ปีของจังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งบ้านบางเบาเราส่งประกวด ทุกปี ตรงนี้จะใช้เม็ดเงินอีกมาก ถึงแม้เราจะเป็นชุมชนเล็กๆ แต่ถ้า ชาวบ้านเริม่ ปฏิบตั ิ ผมเชือ่ ว่าเราจะขยายเข้าสูช่ มุ ชนใหญ่ๆ ได้ เพราะ วันนีเ้ ราเป็นชุมชนต้นแบบของอำ�เภอพุนพิน และอยูใ่ นสุราษฎร์ธานี โมเดลด้วยครับ”

ชุ ม ชนวั ง โชกุ น 7


รายงานพิเศษ

เปิดใจผู้อยู่เบื้องหลังความส�ำเร็จ ของชุมชนวังโชกุน กว่าที่ชุมชนวังโชกุนจะกลายมาเป็นชุมชนเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ เพื่อแก้ปัญหาความยากไร้ เนื่องจากขาดแคลนที่ดินท�ำกินของประชาชนได้นั้น ต้องผ่านการต่อสู้ฝ่าฟันกับอุปสรรคนานัปการ จนมีการพัฒนามาตามล�ำดับ โดยได้รับการสนับสนุนจากคณะบริหารจังหวัด น�ำโดยผู้ว่าราชการ จังหวัดอย่างต่อเนื่องถึง ร่วมด้วยส�ำนักงานธนารักษ์พื้นที่ จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยท่านผู้เกี่ยวข้อง ได้เปิดใจถึงความพยายามในวันวานเมื่อแรกเริ่มก่อตั้งชุมชนว่า....

นายดำ�ริห์ บุญจริง

ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี พ.ศ. 2552-2553

“ปัญหาประชาชนยากจน และไร้ที่ดินท�ำกิน เป็นปัญหา ใหญ่ของประเทศที่มีมานานแล้ว และตัวผมเองได้มีโอกาส ท�ำงานติดตามปัญหานี้มาตั้งแต่สมัยยังเป็นปลัดจังหวัด สุราษฎร์ธานี จนมาเป็นรองผู้ว่าราชการจังหวัด และผู้ว่า ราชการจังหวัด จากประสบการณ์ทคี่ ลุกคลีกบั ปัญหานีม้ านาน ผมจึงคิดว่าการให้ทดี่ นิ ท�ำกินกับประชาชนเป็นสิบๆ ไร่ ตามมติ ครม.ในเวลานัน้ ไม่สามารถแก้ปญ ั หาให้ชาวบ้านได้จริง สวน ทางกับบรรดานักวิชาการ หรือ รมต. หรือคนทีท่ �ำงานนัง่ โต๊ะ ทั้งหลาย แม้แต่สื่อมวลชนเองที่เชื่อกันว่าวิธีนี้จะแก้ปัญหา ได้ ทีผ่ มไม่เห็นด้วยเพราะในการท�ำเกษตรบนทีด่ นิ 10 ไร่ขนึ้ ไปนั้นเป็นเรื่องยากมาก เพราะทุกอย่างมีตน้ ทุน แล้วทีด่ นิ ก็ ไม่ได้อยู่ติดถนน ต้องนั่งรถเข้าไปไกล ยิ่งการปลูกปาล์มนั้น ต้องใช้น�้ำ ใช้ปุ๋ย ต้องจ้างคนดูแล แม้แต่เวลาตัดปาล์มก็ยัง ต้องจ้าง แต่ชาวบ้านเขามีเงินทุนไม่พอ ดังนั้นผลผลิต ก็ยอ่ มน้อยไปด้วย ท�ำไปท�ำมาก็ขาดทุน จนต้องเลิกท�ำไปบ้าง

หรือต้องการขายที่ดินบ้าง แม้จะเป็นที่ นส. 3 แต่เวลานั้น ราคาที่ดินก็สูงถึงไร่ละ 50,000 บาท ชาวบ้านก็อยากจะขาย เพื่อเอาเงินไปซือ้ ทีด่ นิ ทีอ่ ื่น แล้วไปท�ำอาชีพอื่น หรือบางคน คิดว่าขายไปแล้วค่อยกลับมาเรียกร้องเอาที่ใหม่ก็มี เพราะ เกิดความเข้าใจผิดว่ารัฐต้องดูแล ส่วนปัญหาในทางปฏิบัติ ผมก็ไม่รู้ว่าประชาชนจะต้องรออีกกี่ร้อยปีจึงจะได้รับที่ดิน เพราะล�ำบากมากที่รัฐจะไปหาที่ดินจ�ำนวนมหาศาล และถ้า มีการเรียกร้องกันทางกฎหมายก็ตอ้ งใช้เวลาต่อสูก้ นั ยาวนาน แล้วประชาชนจะท�ำอย่างไร พอดี ว ่ า ตอนนั้ น ในพื้ น ที่ แ ถวภาคอี ส านเขามี ก ารท�ำ “เศรษฐกิจประณีต” คือมีการจัดสรรที่ดินในพื้นที่จ�ำกัดแค่ 1-2 ไร่ไปท�ำการเกษตรและเป็นที่อยู่อาศัย โดยแบ่งพื้นที่ให้ เกิดประโยชน์สูงสุดตามหลักการว่า ชาวบ้านต้องมีอยู่ มีกิน มีเหลือ ซึ่งจะไปจ�ำหน่ายต่อไป เขาบริหารจัดการพื้นที่หมด ว่าตรงไหนปลูกข้าว ตรงไหนปลูกผักที่กินได้ เช่น พวกพริก มะเขือ ตรงไหนขุดบ่อเลีย้ งปลา เลีย้ งสัตว์ และมีการหมุนเวียน เอาสิง่ ทีค่ ดิ ว่าหมดประโยชน์แล้วเช่น เอาแกลบ เอามูลสัตว์ มาท�ำปุ๋ย ท�ำให้ชาวบ้านมีรายได้จากผลผลิต ซึ่งรวมทั้งเพื่อ การกินอยู่และการจ�ำหน่ายตกเดือนละเป็นหมื่นบาท ผมก็ เลยน�ำเรื่องนี้มาปรึกษาหารือในที่ประชุมว่า นี่ต่างหากคือ ทางแก้ปัญหาที่ดินท�ำกินที่แท้จริง เมื่อที่ประชุมเห็นด้วย ผมก็มาปรึกษากับผู้ ใหญ่ชาคฤช ซึ่งเขาก็เป็นหนึ่งในผู้น�ำชุมชนที่มาเรียกร้องสิทธิอยู่ ผมก็ อธิบายข้อเท็จจริงให้เขาฟัง ชาคฤชพิจารณาแล้วก็เห็นด้วย กับผมว่าจะใช้วิธีเศรษฐกิจประณีต ก็คือเศรษฐกิจพอเพียง นัน่ เอง จากนัน้ ก็มาท�ำความเข้าใจกับกลุม่ ชาวบ้านต่างๆ ผม ต้องไปเชิญอาจารย์สงวน มงคลศรีพันเลิศ ซึ่งขณะนั้น ท�ำงานด้านเศรษฐกิจพอเพียงอยูท่ จี่ งั หวัดกระบีม่ าเข้าประชุม ด้วย เพื่ออธิบายให้ชาวบ้านฟังว่าในที่ดิน 1-2 ไร่นี้จะสร้าง ประโยชน์ ให้เขาอย่างไร จากนั้นผมก็มอบหมายให้รองผวจ.

ชุ ม ชนวั ง โชกุ น 8


ไปด�ำเนินการต่อ ทีส่ ดุ ก็ประสานกับกรมธนารักษ์ และสามารถ น�ำที่ดินที่ตะปานมาจัดสรรให้ประชาชนได้ส�ำเร็จเป็นพื้นที่ แรกของจังหวัด โดยจัดสรรให้กลุ่มของผู้ ใหญ่ชาคฤชเป็น กลุ่มน�ำร่อง เพื่อเป็นตัวอย่างให้ประชาชนอีกหลายพันคน ทีย่ งั รอทีด่ นิ อยูไ่ ด้เห็น ตอนนัน้ เราจัดส่งชาวบ้านไปอบรมถึง กระบี่ เพราะการจะท�ำให้ที่ดินแค่ 1-2 ไร่สร้างประโยชน์ได้ ชาวบ้านต้องมีภมู ปิ ญ ั ญา มีองค์ความรูเ้ สียก่อน ขณะเดียวกัน ผมต้องท�ำความเข้าใจกับนายอ�ำเภอและข้าราชการ และให้ นโยบายเขาไปศึกษาเรื่องนี้ด้วยเพื่อจะได้ท�ำความเข้าใจกับ ชาวบ้านได้ถูกต้อง ในช่วงแรกของการมอบเอกสารสิทธิ์นี้ เรามอบที่ดินให้ ประชาชนคนละ 2 ไร่เลย เป็นการตัดปัญหาที่ประชาชนจะ มองว่า 1 ไร่นนั้ อึดอัดเกินไป โดยมีการแบ่งสรรให้มพี นื้ ทีส่ ว่ น กลางที่สมาชิกชุมชนสามารถใช้ท�ำประโยชน์ร่วมกันได้ เช่น ท�ำกิจกรรม เป็นศูนย์เรียนรู้ แต่หลังจากนั้นก็เกิดปัญหาอีก ว่า มีประชาชนจากจังหวัดอื่นในภาคใต้ต้องการได้ที่ดินด้วย ขนาดญาติของผมที่อยู่นครศรีธรรมราช ยังโทร.มาหาผมว่า ท�ำอย่างไรจึงจะได้บ้าง ผมก็ถามว่า แล้วที่ดินของตัวเอง ไปไหน เขาบอกไม่มีแล้ว แบ่งให้ลูกๆ ไปหมด ผมก็ตอบไป ว่า ถ้าทุกคนอยากได้ที่ดินแล้วมาเรียกร้องเอา อย่างนี้ต่อไป เด็กๆ ก็ไม่ตอ้ งเรียนหนังสือ ไม่ตอ้ งมีใครท�ำมาหากินกันแล้ว มานั่งประท้วงกันหมด... เมื่อมอบเอกสารสิทธิท์ ดี่ นิ แล้ว ผู้ ใหญ่ชาคฤชกับอาจารย์ สงวนก็เป็นแกนน�ำในการปฏิบัติ ระหว่างนั้นผมทราบว่า ผู้ ใหญ่ชาคฤชเองก็ต้องต่อสู้เยอะ เพราะคนที่ ไม่ได้รับการ จัดสรรที่ดินซึ่งมีจ�ำนวนมากก็มาต่อว่าหาว่าผู้ ใหญ่กินหัวคิว บ้าง โจมตีว่าไม่ยุติธรรมบ้าง ซึ่งผมไม่เคยไปสนใจตรงนั้น หลังจากทีผ่ มเกษียณ ผูว้ า่ ราชการจังหวัดท่านต่อไป ก็มาสาน นโยบายตรงนี้ ต ่ อ และจั ด สรรงบประมาณสนั บ สนุ น ต่อเนื่อง เพราะปัญหาความไม่เข้าใจของประชาชนที่ยัง ต้องการที่ดินเป็น 10 ไร่นั้นยังมีอยู่มาก และตั้งกลุ่มมา ประท้วงเรียกร้องที่ศาลากลางอยู่เรื่อยๆ ถึ ง วั น นี้ ผ มก็ ยั ง เชื่อ ว่ า การแก้ ป ั ญ หาที่ ดิ น ท�ำกิ น ให้ แ ก่ ประชาชนผู้ยากไร้นั้น ต้องใช้หนทางนี้ ไม่ใช่การไปหยิบยื่น ที่ดินจ�ำนวนมากให้ แต่ต้องให้องค์ความรู้ ให้ปัญญาเพื่อ ประชาชนจะได้รวู้ ธิ จี ดั การ ทีส่ �ำคัญคือต้องหนักแน่นว่าอย่างไร จึงเป็น “ความพอเพียงที่พอดี” ไม่ใช่แค่ประชาชนเท่านั้น แต่ผู้ที่เป็นหัวหน้าหรือผู้น�ำชุมชนเองก็ต้องเข้าใจตรงนี้ด้วย ไม่ใช่คิดถึงผลประโยชน์มากเกินไปจนทุกอย่างเบี่ยงเบนไป หมด อย่างไรก็ตาม ผมดีใจครับทีช่ นุ ชนวังโชกุนมีการพัฒนา ไปได้ดใี นระดับหนึง่ มีการก่อตัง้ ศูนย์แห่งใหม่ทสี่ ะดวกสบาย ขึ้น แต่ในความคิดของผม ก็อยากให้ตระหนักว่าอย่างไรจึง เรียกว่า “พอเพียง” ครับ”

นายเชิดศักดิ์ ชูศรี

ผูว้ า่ ราชการจังหวัสรุ าษฎร์ธานี พ.ศ. 2555-2555

“หลังจากที่ผมได้รับแต่งตั้งให้มาด�ำรงต�ำแหน่งผู้ว่า ราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานีเมื่อเดือนเมษายน 2555 ผม ก็ได้ทราบจากท่านนายอ�ำเภอพุนพิน ธนารักษ์พื้นที่ รวม ทัง้ ผู้ ใหญ่ชาคฤชว่า ได้มโี ครงการพัฒนาชุมชนวังโชกุนหรือ ทีต่ ะปานนีเ้ พื่อให้ประชาชนมีสว่ นร่วมในการพัฒนาตนเอง โดยได้ รั บ จั ด สรรที่ ดิ น ให้ ไ ด้ เ ช่ า ท�ำกิ น ตามแนวปรั ช ญา เศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ใน พื้นที่คนละ 1-2 ไร่ และมีรัฐเข้าไปช่วยเหลือให้ความรู้ ใน เชิงวิชาการเป็นแนวทางปฏิบตั ิ ซึง่ แนวคิดนีร้ เิ ริม่ โดยท่านผู้ ว่าด�ำริห์ บุญจริงเมื่อครัง้ ทีท่ า่ นเป็นผูว้ า่ ราชการจังหวัด ต้อง ยกความดีให้ท่านกับทีมงานในยุคนั้นนะครับ ที่สามารถ เปลี่ยนแปลงแนวคิดใหม่เพื่อการแก้ปัญหาที่ดินท�ำกินให้ ประชาชนได้ส�ำเร็จ ช่วงที่ผมด�ำรงต�ำแหน่งนั้น ทางชุมชนก็ได้มีการด�ำเนิน การจัดตัง้ ศูนย์อบรมให้ประชาชนเข้ามาเตรียมความพร้อม ในการเข้าร่วมโครงการมานานระยะหนึ่งแล้ว และถือว่า เป็นโครงการน�ำร่องที่มีผลส�ำเร็จ ผมเห็นประโยชน์ว่า โครงการนี้จะช่วยประชาชนที่ยากจนได้จริง จึงมาสานต่อ โดยในเวลานัน้ ทางเทศบาลนครสุราษฎร์ธานีได้ขอใช้พนื้ ที่ บริเวณต�ำบลตะปานไว้ผนื หนึง่ เพื่อใช้เป็นทีท่ งิ้ ขยะแต่ยัง ไม่ได้มีการด�ำเนินการ ผมจึงเข้าไปเจรจากับทางเทศบาล ว่าจะขอน�ำทีด่ นิ ผืนนีม้ าจัดสรรให้ราษฎรเพิม่ ในทีส่ ดุ เทศบาล ก็เห็นชอบด้วยโดยให้มาครึ่งหนึ่งก่อน จากนั้นผมก็มอบ นโยบายให้กับแกนน�ำชุมชนโดยผู้ ใหญ่ชาคฤชกับคณะ กรรมการหมู่บ้านไปท�ำการพัฒนาพื้นที่และจัดสรรให้แก่ ราษฎร พร้อมกันนั้นก็สนับสนุนเงินงบประมาณส่วนตัว จ�ำนวน 1 ล้านบาท เพื่อการจัดสร้างศูนย์เรียนรู้เพิ่มเติม

ชุ ม ชนวั ง โชกุ น 9


ตลอดเวลาที่ผมท�ำงานอยู่สุราษฎร์ฯ ราว 5-6 เดือน ผม พยายามสนับสนุนโครงการอย่างเต็มก�ำลัง พยายามติดตาม ทางธนารักษ์ และเร่งรัดในเรื่องการขออนุมัติจากส่วนกลาง ให้กระบวนการต่างๆ เดินหน้ารวดเร็วขึน้ ก่อนทีผ่ มจะเกษียณ เราจึงสามารถมอบเอกสารสิทธิ์ในที่ดินให้แก่ประชาชนเพิ่ม เติมได้จ�ำนวนหนึง่ และหลังจากเกษียณผมก็ทราบว่าผู้ ใหญ่ ชาคฤชและทีมงานยังสานต่อโครงการนี้อย่างเข้มแข็ง ซึ่ง ผมก็ดใี จทีม่ สี ว่ นผลักดันโครงการนี้ เพราะจะท�ำให้ประชาชน หลุดพ้นความยากจนและมีโอกาสมีทดี่ นิ เป็นของตนเอง ทัง้ ยังตกทอดถึงลูกหลานได้ แม้จะไม่มีกรรมสิทธิ์ที่จะไปซื้อไป ขายก็ตาม ส�ำหรับชาวบ้านแล้วที่ดินท�ำกินคือความมั่นคง และความภาคภูมใิ จนะครับ ตอนรับมอบนีบ่ างคนถึงกับน�ำ้ ตา ไหลเลย เพราะในชีวิตไม่เคยมีที่ดินเป็นของตัวเองมาก่อน ผมคิดว่าความส�ำเร็จของโครงการนี้เป็นความภาคภูมิใจ ร่วมกันระหว่างภาครัฐและภาคประชาชน เพราะเป็นโครงการ ที่น�ำความสุขที่ยั่งยืนมาสู่พี่น้องประชาชน เนื่องจากเขา สามารถยืนด้วยขาตัวเอง หากมีโอกาสผมก็ยนิ ดีทจี่ ะสนับสนุน โครงการนี้ให้เป็นต้นแบบสู่ภูมิภาคอื่นครับ”

นายจงภัก ใจดี

จากการทำ�งานทีผ่ า่ นมาผมประเมินว่าโดยรวมแล้วเราสามารถ แก้ปญ ั หาทีด่ นิ ทำ�กินให้ประชาชนได้ผลดีระดับหนึง่ ครับ เพราะยัง พบว่ามีกลุ่มประชาชนผู้ได้รับสิทธิ์ไปแล้ว ไม่ได้เข้าไปอยู่ในพื้นที่ ทีจ่ ดั สรรให้ จึงไม่ได้พฒ ั นาพืน้ ทีต่ ามความเหมาะสมทีค่ วรจะเป็น อาจเพราะความไม่พร้อมด้านสาธารณูปโภค เพราะทีด่ นิ แต่ละจุด อยูห่ า่ งไกล แล้วการดำ�เนินการติดตัง้ น้�ำ ประปา ไฟฟ้า ฯลฯ เหล่า นีต้ อ้ งใช้งบประมาณมากครับ อีกทัง้ ในระยะแรกเรายังไม่ได้มกี าร พัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ได้รับสิทธิ์ จนกระทั่งมีการจัดสรรที่ดิน ให้ประชาชนทีต่ ะปาน ซึง่ ต้องถือว่าทีน่ เี่ ป็นต้นแบบทีด่ มี ากครับ เพราะ ชาวชุมชนตะปานเขามีการจัดให้ประชาชนได้อยูอ่ าศัยแบบเฉพาะ จุดในบริเวณพืน้ ทีจ่ ดั สรร เขาจึงสามารถเข้าไปทำ�งานในพืน้ ที่ได้ และมีการนำ�องค์ความรูท้ ฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียงเข้ามาอบรมให้ ผู้ได้รบั สิทธิ์ได้น�ำ ไปพัฒนาคุณภาพชีวติ รวมถึงบริหารจัดการทีด่ นิ ทำ�กินของตน ซึง่ ก็เป็นการง่ายต่อเราในการตรวจสอบด้วยว่าบุคคล ทีเ่ ราได้มอบทีด่ นิ ให้ไปแล้วนัน้ เขานำ�พืน้ ที่ไปใช้ประโยชน์อย่างไร เพราะถ้าเขาไม่อยู่ เราก็ต้องถือว่าเขาทำ�ผิดหลักเกณฑ์ สุดท้าย ก็ตอ้ งยกเลิกสิทธิเ์ พือ่ นำ�ไปจัดสรรให้คนอืน่ ๆ ทีม่ คี วามต้องการแทน เพราะฉะนัน้ ในการจัดสรรทีด่ นิ ครัง้ ต่อๆ ไป เราจึงได้น�ำ หลักเกณฑ์ แบบที่ตะปานมาใช้ คือให้ประชาชนได้เข้าอยู่อาศัยในพื้นที่และ มีกระบวนการให้องค์ความรู้ด้านการพัฒนาพื้นที่ควบคู่ไปด้วย ซึ่งผมเชื่อว่าจะเป็นวิธีแก้ปัญหาพื้นที่ทำ�กินได้อย่างยั่งยืนครับ ขณะนี้เรามีแผนงานที่จะนำ�ที่ดินของธนารักษ์มาจัดสรรให้ ประชาชนชาวสุราษฎร์ฯ อย่างต่อเนื่องครับ โดยในปี 2557 นี้ เราได้จัดเตรียมที่ดินไว้ผืนหนึ่ง และได้ประกาศให้ประชาชนได้ ทราบไปเมือ่ กลางเดือนมีนาคมทีผ่ า่ นมาแล้วว่า ให้ประชาชนมายืน่ ความประสงค์ โดยประชาชนทีร่ วมตัวกันเป็นกลุม่ สามารถมายืน่ ความประสงค์ได้ทจี่ งั หวัด ตัง้ แต่วนั ที่ 10-30 เมษายน 2557 ส่วน ประชาชนที่ไม่สามารถรวมเป็นกลุม่ ก็สามารถไปยืน่ ความประสงค์ ได้ ที่ อำ � เภอที่ ต นเองมี ภู มิ ลำ � เนาอยู่ ใ นช่ ว งเวลาเดี ย วกั น นี้ เราจะเริ่มจัดสรรในวันที่ 7 กรกฎาคมที่จะถึงนี้ครับ ถ้าเรามีพื้นที่ เพียงพอรองรับประชาชนที่มีคุณสมบัติครบตามหลักเกณฑ์ ได้ทุกคนเราก็จัดสรรให้ ไป แต่ถ้าไม่พอก็ต้องคัดสรรผู้มีสิทธิ์ ด้วยการจับสลากครับ”

ผูอ้ �ำ นวยการส่วนจัดการฐานข้อมูล สำ�นักงานกรมธนารักษ์พน้ื ทีจ่ งั หวัดสุราษฎร์ธานี

“ในเรื่องของการจัดการฐานข้อมูลที่ดินที่ทำ�กินเพื่อราษฎร ผูย้ ากไร้ ในจังหวัดสุราษฎร์ฯ ส่วนใหญ่ทดี่ นิ ทีน่ �ำ มาจัดสรรเป็นทีด่ นิ ของกรมธนารักษ์ครับ จะมีสว่ นของ สปก. เล็กน้อยเท่านัน้ ซึง่ เราได้ ดำ�เนินการมาตัง้ แต่ปี พ.ศ. 2549 จนถึงปัจจุบนั โดยเป็นการดำ�เนิน การตามมติคณะรัฐมนตรี เมือ่ วันที่ 26 สิงหาคม 2546 ว่าให้ราษฎร ผู้ยากไร้ได้รับที่ดินคนละไม่เกิน 10 ไร่ แต่ทั้งนี้ผู้ที่จะได้รับจัดสรร ต้องมีคุณสมบัติเข้าหลักเกณฑ์ที่ทางศูนย์อำ�นวยการแก้ไขปัญหา ที่ดินทำ�กินจังหวัดสุราษฎร์ธานีกำ�หนด ซึ่งจนถึงปัจจุบันนี้เราได้ จัดสรรที่ดินให้ประชาชนสุราษฎร์ฯ ไปแล้ว 2,900 รายครับ ชุ ม ชนวั ง โชกุ น 10


ที่ตั้งและขนาดพื้นที่ชุมชนวังโชกุน

ชุมชนวังโชกุน หรือศูนย์เรียนรูว้ ถิ ชี วี ติ ชุมชนแบบพอเพียงเพือ่ แก้จนฅนสหกรณ์ฯ ตัง้ อยูห่ มูท่ ี่ 3 บ้านบางเบา ตำ�บลตะปาน อำ�เภอ พุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีพนื้ ทีท่ งั้ สิน้ 1,400 ไร่ โดยเป็นทีด่ นิ ราชพัสดุ แปลง สฎ 848 ซึง่ อยูใ่ นความดูแลของกรมธนารักษ์จงั หวัด สุราษฎร์ธานี พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นแปลงเกษตรผสมผสานตามแนวคิดทฤษฎี “เศรษฐกิจพอเพียง” พระราชดำ�ริในพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว โดยประชาชนผู้ได้รับสิทธิ์ในสัญญาเช่าที่ดินแต่ละแปลงต่างแบ่งพื้นที่ให้มีการปลูกผักสวนครัว สมุนไพรพื้นบ้าน ไม้ ผล ข้าว ตลอดจน ทำ�ปศุสัตว์ขนาดเล็กทั้งสัตว์บกและน้ำ� ทั้งนี้บางแปลงยังคงมี “ส้มโชกุน” ซึ่งเป็นไม้ผลที่เคยปลูกในพื้นที่มาก่อน และยังได้จัดแบ่งให้มีพื้นที่ดำ�เนินการ ซึ่งประกอบด้วย อาคารที่ทำ�การศูนย์ฯ อาคารประชุมสัมมนา แปลงสาธิตองค์ความรู้ อาคาร เด็กก่อนวัยเรียน และอาคารฝึกปฏิบัติ

ลักษณะภูมิประเทศ และภูมิอากาศ

พืน้ ทีข่ องชุมชนวังโชกุนมีลกั ษณะเป็นทีร่ าบลุม่ ทีม่ คี วามลาดเทและเป็นลอนลูกคลืน่ ทิศใต้มสี ระน้�ำ ขุดขนาดใหญ่ชอื่ ว่า “บึงชนาธิป” กว้าง 275 ไร่ ลึก 15 เมตร และมี “คลองชิงโส” ซึง่ ไหลจากเขาชิงโส ผ่านชุมชนบ้านเขาพระ และชุมชนวังโชกุน ก่อนจะไหลไปบรรจบกับแม่น�้ำ ตาปี ทีบ่ ริเวณหมูท่ ี่ 2 บ้านตะปาน ตำ�บลตะปาน นอกจากนีบ้ ริเวณศูนย์ฯ ยังมีสระเก็บน้�ำ 2 แห่ง และมีล�ำ คลองสายเล็กโดยรอบ ซึง่ ชาวบ้านร่วมด้วย ผูน้ �ำ ชุมชนขุดขึน้ โดยได้รบั การอนุเคราะห์งบประมาณจาก “นายชาคฤช ศรีภริ มย์มติ ร” ผู้ ใหญ่บา้ น มีอณ ุ หภูมเิ ฉลีย่ 24.20 องศาเซลเซียส มีปริมาณฝน ปานกลาง ส่งผลให้ผลผลิตทางการเกษตรอุดมสมบูรณ์

สภาพทางเศรษฐกิจ

ชาวชุมชนวังโชกุนร้อยละ 80 ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทีเ่ หลือร้อยละ 20 ประกอบอาชีพค้าขาย รับจ้างและอืน่ ๆ สามารถจำ�แนกเป็น จำ�นวนครัวเรือน ดังนี้ 1. เกษตรกร จำ�นวน 728 ครัวเรือน 2. ค้าขาย จำ�นวน 27 ครัวเรือน 3. อื่น ๆ จำ�นวน 157 ครัวเรือน สถานะและสิทธิในที่ดินทำ�กิน ชาวชุมชนมีสิทธิในที่ดินทำ�กินตามสัญญาเช่าที่ดินราชพัสดุ กรมธนารักษ์ 100 %

ผลิตผลที่สำ�คัญและช่องทางการตลาด

ผลผลิตหลักคือสินค้าเกษตรเพื่อสุขภาพ ได้แก่ พืชผักสวนครัว และผลไม้ไร้สารเคมี อาทิ ชะอม ผักหวาน ผักกาดหอม ถั่วพู ถั่วฝักยาว มะเขือ กล้วย มะละกอ ส้มโชกุน ฯลฯ โดยสามารถจำ�แนกเป็นพื้นที่ทางการเกษตรได้ดังนี้ 1. สวนผลไม้ สวนผสม พืชไร่ เฉลี่ยคละ จำ�นวน 212 ไร่ 2. ผักสวนครัว ผักต่างๆ จำ�นวน 600 ไร่ (บริเวณศูนย์เรียนรู้ฯ) ทัง้ นีผ้ ลผลิตดังกล่าวจะนำ�ไปจำ�หน่ายในตลาดนัดภายในชุมชนและชุมชนใกล้เคียง ซึง่ เป็นการเพิม่ รายได้ครัวเรือนให้แก่ชาวชุมชน ได้อย่างมาก คิดเป็นจำ�นวนเงินเฉลีย่ 700 บาท/ครัวเรือน/เดือน นอกจากนีย้ งั มีพอ่ ค้าคนกลางเดินทางเข้ามาซือ้ ถึงในพืน้ ที่ ปัจจุบนั ยัง ได้รบั การส่งเสริมจากพาณิชย์จงั หวัดสุราษฏร์ธานี เพือ่ นำ�ผลผลิตไปจำ�หน่ายในห้างสรรพสินค้าชัน้ นำ� อาทิ เทสโก้ โลตัส และเซ็นทรัล พลาซา สาขาจังหวัดสุราษฏร์ธานี

ชุ ม ชนวั ง โชกุ น 11


ชุชุมมชนวั ชนวังงโชกุ โชกุนน 1212


ผู้ใหญ่ยอดเยี่ยม

รางวัลอันทรงเกียรติ ผู้ ใหญ่บ้านยอดเยี่ยม (แหนบทองค�ำ)

ชาคฤช ศรีภิรมย์มิตร

สังคมชุมชนจะสามารถพัฒนาก้าวหน้าไปได้ไกลแค่ไหน มิได้ขึ้นอยู่กับการมีมวลสมาชิกที่ “คิดดี ท�ำดี” เท่านั้น หากชุมชนยังต้องมี “ผู้น�ำที่ดี” ซึ่งค�ำว่า“ดี” ในที่นี้มีความหมายลึกซึ้งเกินกว่าการมีความรู้ มีความ สามารถมากมายนัก... เพราะยังต้องประกอบด้วยความมีคุณธรรม จริยธรรม โดย เฉพาะอย่างยิ่ง มีความเข้าใจในชุมชนทุกมิติอย่างถ่องแท้ ไม่ว่า จะเป็นสภาพภูมิศาสตร์ สังคม เศรษฐกิจ ประเพณี วัฒนธรรม ศาสนา วิถชี วี ติ และค่านิยม กระทัง่ ประวัตคิ วามเป็นมาและสาย สัมพันธ์ของสมาชิกในชุมชนของตน อีกทัง้ ต้องมีความเข้มแข็ง ของกายใจ และมีความเสียสละที่ยิ่งใหญ่... เพื่อเป็นการเชิดชูเกียรติแก่ผู้น�ำชุมชนทรงคุณค่าเหล่านี้ รัฐ จึงได้มอบรางวัลต่างๆ เพื่อเป็นเครื่องหมายแห่งความดีงาม และ นับเป็นเรื่องน่ายินดียงิ่ ของชาวบ้านบางเบา อ�ำเภอพุนพิน จังหวัด สุราษฎร์ธานี ทีน่ ายชาคฤช ศรีภิรมย์มิตร ผู้ ใหญ่บ้านของพวก เขา ได้รับรางวัลผู้ ใหญ่บ้านยอดเยี่ยม (แหนบทองค�ำ) ประจ�ำ ปี พ.ศ. 2556... “ผลงานโดดเด่นที่ท�ำให้ผมได้รางวัลมี 2 เรื่องคือ การดูแล ปัญหาความปลอดภัยภายในหมูบ่ า้ นเกีย่ วกับเรื่องยาเสพติด และ โครงการเศรษฐกิจพอเพียง กรณียาเสพติดนั้นเราปฏิบัติตาม นโยบายของทางรัฐบาล และอาศัยมาตรการในการปกครองชาว บ้านแบบพ่อปกครองลูก คือให้ โอกาสและให้อภัย หมายความ ว่าถ้าเรารู้ว่าคนไหนเสพยาหรือค้ายา เราก็จะเรียกมาคุยก่อน เพื่อท�ำความเข้าใจและให้ โอกาสเขาได้ปรับปรุงตัวเอง โดยให้ เวลาเตือน 2 ครั้ง ถ้ายังมีครั้งที่ 3 เราจะลงโทษโดยน�ำชื่อเขาไป ติดที่ศาลาในหมู่บ้านเป็นการประกาศว่าคนๆ นี้มีพฤติกรรมเสพ ยาหรือค้ายา โดยมีรายละเอียดส่วนตัวด้วยว่าเป็นลูกเต้าเหล่า ใคร ซึ่งมาตรการนี้ ได้ผลครับ เพราะเขาจะเกิดความรู้สึกผิดที่ ท�ำให้ครอบครัวเดือดร้อน เสียชื่อเสียง นีเ่ ป็นขัน้ ทีห่ นึง่ ขัน้ ทีส่ อง เราจะใช้มาตรการปราบปราม โดยส่งตัวเข้าค่ายบ�ำบัดเพราะ ถือว่าผู้เสพยาคือผู้ป่วย ซึ่งในค่ายบ�ำบัดจะมีกระบวนการดูแล ทั้งร่างกายและจิตใจ ถ้าเขาอาสาที่จะพาตัวเองเข้าบ�ำบัด เราก็ จะให้ โอกาสโดยส่งชื่อให้กับทางอ�ำเภอและราชการหน่วยต่างๆ เพื่อบอกว่าคนๆ นี้มีความตั้งใจที่จะเลิก จากนั้นทางอ�ำเภอก็จะ น�ำไปบ�ำบัดตามแหล่งที่ทางราชการจัดไว้ แต่ถ้ายังไม่ฟัง เราจะ ชุชุมมชนวั ชนวังงโชกุ โชกุนน 1313


ใช้มาตรการขัน้ สุดท้ายคือกฎหมาย จับกุมส่งเจ้าหน้าทีต่ �ำรวจ เพื่อรับโทษต่อไป หลังจากด�ำเนินการตามมาตรการนี้ เห็นได้ ชัดว่าทัง้ ผูเ้ สพและผูค้ า้ ในพืน้ ที่มเี ปอร์เซ็นต์ลดลงมาก แต่ยงั ไม่หมดไปเสียทีเดียว หมายความว่าในพืน้ ที่ไม่มผี เู้ สพผูค้ า้ แต่ กลับขยายออกไปหมู่บ้านใกล้เคียง จนผมต้องเข้าไปคุยว่า ถ้าคุณยังติดยาและเสพยาก็ขอให้ออกไปจากที่นี่ และหา มาตรการป้องกันร่วมกับหมู่บ้านใกล้เคียงด้วย ซึ่งได้รับความ ร่วมมือดีครับ ส่วนเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง วันนี้ “ศูนย์เรียนรูว้ ถิ พ ี อเพียง เฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา” ซึ่งต่อยอดมาจากชุมชนวัง โชกุน ได้ท�ำการเปิดอบรมให้ชาวบ้านหลายๆ กลุม่ เข้ามาศึกษา ดูงานเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง สืบเนื่องจากทางราชการประกาศ ให้เป็นพืน้ ที่ ‘โครงการสุราษฎร์ โมเดล’ ซึง่ ในการจัดสรรพืน้ ที่ ของเรานีม้ หี ลายระบบ ตัง้ แต่ 10 ไร่ลงมาจนถึง 1 ไร่ 2 ไร่ เรา พิสจู น์ได้วา่ ถ้าใช้ระบบเศรษฐกิจพอเพียงในการดูแลพืน้ ที่ 1-2 ไร่ ประชาชนจะอยูไ่ ด้อย่างสบาย และยืนยันว่ามีรายได้มากกว่า ผู้ที่ ได้ที่ดิน 10 ไร่แล้วไม่ท�ำอะไรเลย!... ผมเชื่อว่าถ้าเราไม่น�ำ พีน่ อ้ งทีต่ อ้ งการทีด่ นิ เข้าสูก่ ระบวนการแลกเปลีย่ นเรียนรูด้ า้ น เศรษฐกิจพอเพียงจะกลายเป็นปัญหาหนักในอนาคต เนื่องจาก ราษฎรส่วนใหญ่ไม่ยอมรับมาตรการอื่น...แต่เมื่อพูดว่าเศรษฐกิจ พอเพียงเป็นแนวคิดของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ พระราชทานให้ประชาชนเป็นแนวทางในการด�ำรงชีวิตอย่าง มีความสุขยั่งยืน แบบนี้ประชาชนฟัง เพราะมีพระองค์เป็น

เสมือนเครื่องยึดเหนีย่ วจิตใจ จากนัน้ เมื่อได้มาอบรมเขาจึงจะ เห็นภาพชัดจากตัวอย่างทีค่ นอื่นๆ ท�ำส�ำเร็จไปแล้ว จนเกิดเป็น ความหวังขึน้ มาว่าเขาเองก็ท�ำได้ ตอนนีค้ นทีเ่ ข้ามาอบรมส่วน ใหญ่มาจากอ�ำเภอเคียนซา บ้านนาสาร และคนในพื้นที่ อาทิ กลุม่ รักษ์สนั ติพฒ ั นา กลุม่ เกษตรด�ำรงธรรม กลุม่ เกษตรก้าวหน้า ซึ่งต้องการเข้าสู่กระบวนการเข้ารับจัดสรรที่ดินจากรัฐ พวก เราพยายามอย่างมากทีจ่ ะท�ำให้ชาวบ้านที่ได้รบั การจัดสรรทีด่ นิ ไปแล้วรักษาที่ดินไว้ ให้ได้อย่างยั่งยืน ด้วยการให้ความรู้เกี่ยว กับการเกษตร การใช้ที่ดินอย่างถูกต้องและคุ้มค่า หากขาด ความรู้นี้ ผมมั่นใจว่าชาวบ้านจะน�ำที่ดินไปขายสูงถึง 70-80% ในฐานะที่เป็นผู้ ใหญ่บ้าน ก็พยายามใช้อ�ำนาจหน้าที่ของการ ปกครองท้องที่น�ำพาชุมชนตลอดจนชุมชนรอบข้างที่เข้ามา อบรมทีศ่ นู ย์ฯ ให้เดินไปข้างหน้าอย่างมีเป้าหมายและมียทุ ธวิธี ถูกต้อง มีกฎระเบียบรองรับ เป้าหมายคือให้ชาวบ้านมีความ สุขตามนโยบายของผู้ว่าราชการจังหวัดครับ” แม้ว่าผลงานที่ผ่านมาและที่ก�ำลังด�ำเนินการของผู้ ใหญ่ บ้านยอดเยี่ยม (แหนบทองค�ำ) ผู้มีนามว่าชาคฤช แห่งบ้าน บางเบาจะเป็นภารกิจที่หนักหนา แต่ถึงอย่างนั้นเขาก็ยังมี เรี่ยวแรงและก�ำลังใจต่อสู้เพื่อชุมชนอันเป็นที่รักอย่างไม่รู้จัก เหน็ดเหนื่อย โดยได้วางเป้าหมายการดูแลชุมชนในอนาคตไว้ อย่างน่าสนใจว่า... “เราไม่เน้นวัตถุ ไม่ได้นกึ ถึงความเจริญว่าต้องมีเหมือนบ้าน เมืองใหญ่ๆ แต่เราต้องการให้ชาวบ้าน มี 4 อย่างคือ มีอาชีพ ที่มั่นคง มีที่อยู่ที่มั่นคง มีกินมีใช้ที่มั่นคง และทุกคนที่ใช้ชีวิต อยู่บนรากฐานของเศรษฐกิจพอเพียง ที่พึ่งพาตัวเองได้และ เอือ้ เฟือ้ เผื่อแผ่ซงึ่ กันและกัน ความเจริญทางวัตถุและเทคโนโลยี จ�ำเป็นต้องมีเพิม่ ขึน้ และเป็นไปตามวัฏจักร แต่ควรเป็นไปตาม ความเหมาะสมกับท้องที่ ผมถือว่าถ้ามุง่ เน้นแต่วตั ถุสงิ่ ก่อสร้าง ให้เกิดความเจริญ มองแล้วสวยงาม แต่ชาวบ้านกลับมีชีวิต อยูอ่ ย่างไร้คณ ุ ภาพ ก็ถอื เป็นการไร้ประสิทธิภาพในการพัฒนา ครับ”

ชุชุมมชนวั ชนวังงโชกุ โชกุนน 1414


ชุชุมมชนวั ชนวังงโชกุ โชกุนน 1515


ประวัติความเป็นมา

อาจารย์สงวน มงคลศรีพันเลิศ ประธานศูนย์เรียนรู้วิถีชุมชน แบบพอเพียงเพื่อแก้จนฅนสหกรณ์

อาจารย์สงวน มงคลศรีพันเลิศ ก�ำเนิดในครอบครัวชาว มุ ส ลิ ม ที่ จั ง หวั ด พั ท ลุ ง เมื่ อ 20 สิ ง หาคม พ.ศ. 2502 หลังจากจบการศึกษาในระดับอาชีวะ จึงได้เข้าท�ำงานในโรงงาน อุตสาหกรรมในนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ ในเขตปริมณฑลนาน นับสิบปี ต่อมาได้พบว่าการท�ำงานเป็นลูกจ้างในโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ นั้น แม้จะได้รับเงินเดือนเป็นจ�ำนวนมากถึงหลักหลายหมื่น แต่ก็ยังไม่ สามารถหลุดพ้นจากความยากจนได้ ทุกสิน้ เดือนเมื่อท�ำบัญชีครัวเรือนแล้ว ก็ยังพบว่าไม่มีเงินเหลือ อีกทั้งยังต้องจากครอบครัวมาอยู่ไกลโดยล�ำพัง ซึง่ ปราศจากความสุข จึงแน่ใจว่ามีบางสิง่ ในชีวติ ผิดพลาดเกิดขึน้ และตัดสิน ใจอย่างเด็ดเดีย่ วทีจ่ ะเปลีย่ นวิถชี วี ติ ของตนเอง โดยลาออกจากงานประจ�ำ ขายรถยนต์ แล้วเดินทางกลับมาพ�ำนักกับภรรยาที่จังหวัดกระบี่ โดยตั้งใจ จะมาเป็น “เกษตรกร” ตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว ท่ามกลางกระแสความไม่เห็นด้วยของญาติพี่น้อง เพื่อนฝูง และบุคคลที่รู้จัก เนื่องจากเห็นว่าไม่เคยมีประสบการณ์ แม้แต่ต้นยางสัก ต้นก็ยงั ไม่เคยลงมือปลูก จึงน่าจะน�ำไปสูค่ วามล้มเหลว ซึง่ เป็นการเสียเวลา เปล่า... แต่ด้วยความเชื่อมั่นในวิถีพอเพียง ตลอดจนเชื่อมั่นในองค์พระบาท สมเด็จพระเจ้าอยูห่ ัวว่า “พ่อไม่เคยหลอกลูก” อาจารย์สงวนจึงมุง่ มัน่ และ ทุ่มเทก�ำลังใจตลอดจนก�ำลังกาย ลงมือท�ำการเกษตรผสมผสาน โดยปลูก ผักต่างๆ ด้วยตนเองภายในสวนยาง เมื่อได้ผลผลิตก็น�ำขึน้ รถจักรยานยนต์ เก่าๆ ขับไปขายให้แก่ชาวบ้านทัว่ ไปในละแวกนัน้ โดยเดือนแรกมีรายได้จาก การขายผักเพียง 900 บาท ซึ่งน้อยกว่าเงินเดือนประจ�ำที่เคยได้รับหลาย เท่านัก และสร้างความหวั่นวิตกให้แก่ตัวอาจารย์เองไม่น้อย แต่เมื่อน�ำมา ท�ำบัญชีครัวเรือนก็กลับพบว่ายังมีเงินเหลือถึง 300 บาท ณ จุดนี้เองที่ ชุ ม ชนวั ง โชกุ น 16


ก่อเกิดก�ำลังใจอันยิง่ ใหญ่วา่ ได้พบหนทางทีถ่ กู แล้ว แต่กระนัน้ ก็ยังพยายามแสวงหาความรู้ และถามตัวเองอยู่ในใจเสมอว่า “พอเพียงดีจริงไหม” หลังจากนัน้ ทุกครัง้ ทีท่ ราบข่าวการอบรม การเกษตรของหน่วยงานต่างๆ อาจารย์จะเพียรพยายามหา โอกาสเข้าไปร่วมศึกษาและแลกเปลี่ยนความรู้ โดยคิดว่าแม้ จะต้องรอทั้งวันเพื่อให้ ใครสักคนพูดเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง สักค�ำก็นับว่าคุ้มค่าแล้ว แต่แล้ววันหนึ่ง อาจารย์ได้มีโอกาส พบกับหัวหน้าเกษตรจังหวัดท่านหนึง่ และได้รบั ค�ำแนะน�ำจาก ท่านผู้นั้นว่าการท�ำการเกษตรนั้นเป็นเรื่องที่ดี แต่จะประสบ ความส�ำเร็จได้ต้องมีพื้นที่ติดน�้ำ จึงเกิความฉงนในใจว่า แล้ว ประชาชนผู้ยากไร้ ไม่มีเงินซื้อที่ดินติดริมน�้ำจะท�ำอย่างไร จะ ไม่มวี นั พบความสุขทีย่ งั่ ยืนเลยกระนัน้ หรือ ตัง้ แต่นนั้ เป็นต้นมา อาจารย์จงึ ตัง้ ปณิธานว่า “ต่อแต่นี้ ไปจะขอท�ำงานและเรียนรู้ เพื่อช่วยเหลือคนจน คนด้อยโอกาสที่ ไม่มีหนทางไป” ไม่กปี่ หี ลังจากที่ ได้ทมุ่ เทก�ำลังกายและใจต่อเนื่อง อาจารย์ สงวนก็สามารถสร้างสวนเกษตรผสมผสานชื่อว่า “ศูนย์เรียน รูเ้ ศรษฐกินพอเพียงบ้านเขากลม” ซึง่ เป็นสวนเกษตรพอเพียง ตามรอยเท้าพ่อได้เป็นผลส�ำเร็จด้วย “วิธคี ดิ สวนทาง” คือเลิก ท�ำตามในสิ่งที่ถูกท�ำให้คิดและเชื่อว่าเป็นเช่นนั้น จนสามารถ

ท�ำดังปณิธานที่ตั้งไว้ได้นั่นคือ การติดอาวุธทางปัญญาให้แก่ ประชาชนด้วยการถ่ายทอดองค์ความรู้ที่ ได้จากการต่อยอด ทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยมีเกษตรกรจากทัว่ ทัง้ จังหวัดและทีอ่ ยูใ่ กล้เคียงเดินทางมา ศึกษาดูงานอย่างสม�่ำเสมอ เป็นเหตุให้จังหวัดส่งรายชื่อเข้า ประกวดจนได้รบั รางวัลเกษตรกรดีเด่นของภาคใต้ และเกษตรกร ดีเด่นแห่งชาติตามล�ำดับ ซึ่งในครั้งหลังนี้อาจารย์ได้มีโอกาส เข้าเฝ้าสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี อย่าง ใกล้ชิด โดยพระองค์พระราชทานวัวให้แก่อาจารย์ตามที่กราบ บังคมทูลขอเป็นจ�ำนวน 4 ตัว ซึง่ เป็นวัวสายพันธุญ ์ ปี่ นุ่ ทีม่ ปี ญ ั หา กับแมลงในภูมอิ ากาศร้อนชืน้ โดยเฉพาะอย่างยิง่ “ยุง” ทัง้ นีเ้ พื่อ ศึกษาเรียนรู้ และพัฒนาวิธกี ารเลีย้ ง ตลอดจนการพัฒนาสาย พันธุ์ ซึง่ อาจารย์กส็ ามารถปฏิบตั จิ นเป็นผลส�ำเร็จ หลังจากนัน้ จึงได้มีโอกาสถวายงานด้านการเผยแพร่ทฤษฎีเศรษฐกิจพอ เพียง ในต�ำแหน่งทีป่ รึกษาคณะท�ำงานที่ 1 คณะท�ำงานโครงการ พระราชด�ำริในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และ ยังคงถวายงานถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านเศรษฐกิจพอเพียงให้ แก่ประชาชนทัง้ ชาวไทยและชาวต่างประเทศอย่างไม่ค�ำนึงถึง ความทุกข์ยากของตนมาจนถึงปัจจุบัน

ชุ ม ชนวั ง โชกุ น 17


องค์ความรู้

ณ ศูนย์เรียนรู้วิถีชุมชนแบบพอเพียง เพื่อแก้จนฅนสหกรณ์ (วังโชกุน)

ชุ ม ชนวั ง โชกุ น 18


ฐานที่ 1

1 ไร่เพียงพอก็สุขพอเพียง

ถ่ายทอดองค์ความรูเ้ รื่อง “เปลีย่ นวิธคี ดิ ก่อนเรียนรูว้ ธิ ที �ำ” เนื่องจาก เกษตรกรส่วนใหญ่มีความเชื่อว่าในสวนปาล์มนั้นปลูกผักไม่ขึ้น เพราะ ปาล์มเป็นพืชที่ต้องการสารอาหารและน�้ำมาก แต่ในฐานนี้จะสอนวิธี ปลูกผักแบบใหม่ให้อยูร่ อดได้ ในสวนปาล์ม อาทิ ปลูกผักไฮโซ ปลูกผัก ริมทางเดิน วิธีการคือน�ำผ้ายางรองพื้นไว้ที่รอบโคนต้นปาล์ม จากนั้น น�ำขุยมะพร้าวมาใส่ให้เต็ม ผ้ายางจะช่วยกักสารอาหารที่หล่อเลี้ยงต้น พืชไว้ไม่ให้ซึมลงดินจนหมด จากนั้นจึงปลูกพืชผักอายุสั้น อาทิ พริก มะเขือ ฯลฯ แล้วน�ำเหล็กมาตอกทีล่ �ำต้นปาล์มเหนือชัน้ ของพืชผักขึน้ ไป เพื่อท�ำคอกเป็ด วค. ย่อมาจาก “เป็ดเวียนโคน” หมายถึงเป็ดที่เลี้ยง อยู่รอบโคนต้นไม้ เป็ดเหล่านี้จะให้มูลเป็ดซึ่งเป็นปุ๋ยชั้นดีแก่ต้นปาล์ม ท�ำให้รากของปาล์มไม่คบื คลานไปไกล จึงสามารถปลูกผักในบริเวณทาง เดินได้ และบริเวณราวหลังคาคอกเป็ดยังสามารถปลูกผักไฮโซ โดยน�ำ วัสุดเหลือใช้ อาทิ ตะแกรงพัดลม กระติกน�้ำ มาดัดแปลงเป็นกระถาง แบบแขวน แล้วปลูกผัก อาทิ ผักกาดหอม ผักคะน้า หรืออื่นๆ นอกจาก นี้ยังสอนวิธีการปลูก “มะพร้าวใต้ดิน” ที่ช่วยประหยัดแรงงานในการ เก็บเกี่ยว โดยน�ำมะพร้าวน�้ำหอมหรือมะพร้าวเบา ซึ่งเมื่อเติบโตพร้อม ให้ผลจะมีความสูงเฉลีย่ 3 เมตร มาปลูกลงในหลุมทีม่ คี วามลึก 1.30 เมตร เพื่อให้ผลมะพร้าวสูงเสมอหน้าดินพอดี ทั้งยังสามารถตัดจั่นเพื่อน�ำ น�้ำหวานมาท�ำน�้ำตาลได้ โดยง่ายอีกด้วย

ฐานที่ 2

เลี้ยงปลาอย่างยั่งยืน

ถ่ายทอดองค์ความรูเ้ รื่อง “การปลูกพืชผสมผสาน” โดยน�ำวัสดุ เหลือใช้ มาท�ำกระถาง อาทิ การปลูกไม้ผลในล้อยางหรือการปลูกกล้วยเพื่อการ ควบคุมได้ หมายถึงสามารถก�ำหนดให้พืชออกผลผลิตในช่วงที่ต้องการ ทัง้ ยังก�ำหนดรสชาติได้ วิธกี ารคือน�ำหน่อกล้วยมาปลูกในหลุมทีเ่ ตรียมไว้ โดยคว�่ำส่วนล�ำต้นลงดินหงายรากขึ้น ซึ่งจะท�ำให้ต้นกล้วยแทงหน่อ เพิ่มได้อีกหลายต้น เมื่อถึงเวลาที่ต้นกล้วยท้อง ก็ใช้มีดแทงกลางต้นใน จุดที่มือเอื้อมถึงเพื่อเป็นช่องทางออกเครือแทนที่จะปล่อยให้ออกปลาย ยอด แล้วใช้ไม่ไผ่ค�้ำไว้ และยังสามารถใส่หัวเชื้อในระยะที่กล้วยเป็นลูก แล้วเพื่อเปลี่ยนรสชาติของกล้วยให้เป็นรสต่างๆ ตามที่ตลาดต้องการ อาทิ รสสตรอว์เบอร์รี ซึ่งเป็นการเพิ่มมูลค่าผลผลิต โดยปัจจุบันกล้วยที่ มีการปรับรสชาติมีราคาจ�ำหน่ายสูงถึง 100-200 บาท/ลูก นอกจากนี้ยัง ถ่ายทอดวิธีการเลี้ยงปลาอย่างยั่งยืน 2 วิธี คือ • เลี้ยงในบ่อซีเมนต์ โดยในบ่อนี้สามารถปลูกข้าวเพื่อการบริโภค ไปควบคู่ และสามารถหมุนเวียนน�ำน�้ำที่ใช้เลี้ยงปลามาเป็นปุ๋ยทดแทน ปุ๋ยเคมี หรือปุ๋ยคอกได้ • เลี้ยงในบ่อผ้ายาง ซึ่งเป็นวิธีที่ประหยัดต้นทุนสูง ใช้พื้นที่เพียง 1 ตารางเมตร ก็สามารถเลี้ยงปลาดุกได้ 100-150 ตัว โดยรักษาความสูง ของระดับน�้ำในระดับ 60 ซม. และไม่ต้องถ่ายน�้ำ เนื่องจากใช้ EM มา ช่วยบ�ำบัด ซึง่ สามารถน�ำน�ำ้ ไปหมุนเวียนเป็นปุย๋ ทดแทนปุย๋ เคมี หรือปุย๋ คอกได้ดี เพราะมีปริมาณ NCK สูงมาก โดยเกษตรกรสามารถน�ำวิธีนี้ เลี้ยงปลาเศรษฐกิจชนิดอื่นที่มีราคาดี อาทิ ปลาสลิด หรือปลานิล ชุ ม ชนวั ง โชกุ น 19


ฐานที่ 3

นายก นารู ข้าวใหม่ปลามัน

ถ่ายทอดองค์ความรูเ้ รื่อง “การท�ำนาโดยไม่ตอ้ งไถ 2 วิธี” วิธีที่ 1 นารู คือขุดหลุมแทงจักลงไปเป็นแปลง สี่เหลี่ยม แล้วปลูกข้าวในแปลงนั้น ซึ่งเหมาะส�ำหรับ เกษตรกรที่พอจะมีที่ดิน วิธีที่ 2 นายก คือการยกข้าว ขึน้ มาปลูกนอกแปลง โดยการน�ำยางรถยนต์ขนาดใหญ่ มาบุดว้ ยผ้ายาง บรรจุดนิ 3 ส่วน คลุกเคล้าด้วยปุย๋ คอก 1 ส่วน แล้วปลูกข้าว โดยดูแลให้น�้ำขังตลอดเวลาตั้ง ไว้กลางแจ้ง วิธีนี้เหมาะกับเกษตรกรที่มีพื้นที่น้อย ทั้ง 2 วิธีมีระยะเก็บเกี่ยว 3 เดือน ในปีหนึ่งๆ จึงสามารถ เก็บเกีย่ วได้ 4 ครัง้ ส�ำหรับการปลูกนายกในยางรถยนต์ นั้น พื้นที่ 1 ล้อจะเก็บเกี่ยวข้าวได้ 1 กิโลกรัม เมื่อน�ำ มาฝัดจะเหลือ 5 ขีด นอกเหนือจากการปลูกข้าวแล้ว ฐานนีย้ งั มุง่ เน้นการ ให้ความรู้เพื่อการกินอยู่อย่างมีคุณภาพแบบองค์รวม คือสอนวิธีการเลี้ยงปลาและปลูกผักในแปลงนารู ซึ่ง ช่วยให้ท�ำนาได้ โดยไม่ต้องใช้ปุ๋ย เพราะน�้ำที่ใช้เลี้ยง ปลาซึ่งมีมูลปลาจะถูกดูดกลับไปหมุนเวียน ในนาข้าว รวมทัง้ แปลงผักทีป่ ลูกอยูเ่ หนือบ่อปลาระหว่างนัน้ ต้นไม้ จะช่วยกรองน�้ำให้สะอาด ก่อนจะหมุนเวียนกลับสู่บ่อ ปลาอีกครั้ง

ชุ ม ชนวั ง โชกุ น 20


ฐานที่ 4

ปศุสัตว์กลุ่มเลี้ยงแพะ

ถ่ายทอดองค์ความรู้เรื่อง “การเลี้ยงแพะเพื่อการ เกษตร” โดยสอนวิธกี ารเลีย้ งแพะพันธุท์ ตี่ ลาดต้องการ อาทิ พันธุ์ชาแนล และการผสมพันธุ์แพะเพื่อสร้างพ่อ แม่สายพันธุ์ ใหม่ๆ ทั้งนี้นอกจากเกษตรกรจะมีรายได้ จากการขายเนื้อแพะ ซึ่งมีราคาสูงถึงกิโลกรัมละ 200 บาทแล้ว ยังมีรายได้จากการจ�ำหน่ายน�้ำนมแพะ และ ยังได้ปุ๋ยคอกจากมูลแพะ ซึ่งน�ำไปปลูกพืชผสมผสาน ในพื้นที่ แพะชาแนลนั้นเกิดจากการพัฒนาการผสมข้าม สายพันธุ์ ระหว่างพันธุพ ์ นื้ เมืองและเบนโก ซึง่ เป็นสาย พันธุ์นม จนมีโครงสร้างสูงใหญ่ แข็งแรง จากนั้นจึง ผสมข้ามสายพันธุ์อีกครั้งกับแพะบอ ซึ่งเป็นแพะเนื้อ จนกลายมาเป็นแพะชาแนลพันธุ์ ใหม่ที่ให้ผลผลิตดีทงั้ เนื้อและนม สามารถเติบโตได้ดีเมื่อเลี้ยงด้วยอาหาร ชีวภาพที่หาได้ง่ายภายในสวน โดยน�ำทางปาล์ม 75 กิโลกรัม และผลปาล์มอ่อน 30 กิโลกรัม มาบดผสม กับน�้ำตาล 5 กิโลกรัม เกลือ 1 กิโลกรัม นอกจากนี้ยัง มีข้อดีคือใช้พื้นที่ในการเลี้ยงน้อย มีความกว้างเพียง 2.30 x 2.30 เมตร ใช้งบประมาณเบื้องต้นเพียงหมื่น กว่าบาท ชุ ม ชนวั ง โชกุ น 21


ฐาน 5

กลุ่มข้าวกล้อง

ถ่ายทอดองค์ความรู้เรื่องการผลิต ข้าวกล้อง ซึ่งก�ำลังเป็นที่ต้องการของ ตลาด โดยปัจจุบนั ทีศ่ นู ย์เรียนรูว้ ถิ ชี มุ ชน แบบพอเพี ย งเพื่อ แก้ จ นฅนสหกรณ์ สามารถผลิตข้าวกล้องได้ 4 ประเภท คือ ข้าวสังข์หยด ข้าวไร่ (ข้าวเล็บด๊ก) ข้าวหอมมะลิ และข้าวเหนียวด�ำ มีวิธี ท�ำคือ น�ำข้าวเปลือกไปตากแดด 1 แดด (1 วัน) น�ำมามาสี จากนัน้ น�ำไปร่อน แล้ว บรรจุถุง

ฐานที่ 6

ปศุสัตว์กลุ่มหมูหลุม

ถ่ายทอดองค์ความรู้เรื่อง “การเลี้ยงหมูเพื่อการเกษตร” โดยขุดปรับพื้นที่บริเวณที่จะเลี้ยงหมูให้เป็นหลุมต�่ำกว่าระดับ หน้าดิน รองพื้นคอกด้วยขุยมะพร้าวหรือแกลบ รดด้วยน�้ำ EM ซึ่งช่วยลดกลิ่นไม่พึงประสงค์จากมูลหมูได้ดี เกษตรกรจะมีราย ได้จากการขายเนื้อหมู และขายปุ๋ยที่ ได้จากมูลของหมูที่ผสมผสานกับขุยมะพร้าว ซึ่งปัจจุบันมีราคาจ�ำหน่ายกระสอบละ 50 บาท ส่วนอาหารที่ใช้เลี้ยงหมูนั้นก็สามารถหาได้ง่าย อาทิ ร�ำข้าว เศษอาหารและพืชผักที่เหลือจากการบริโภค ผสมกับผักกาด ผักบุ้งสับจากในสวน ซึ่งไม่เพียงช่วยลดต้นทุน แต่ยังช่วยป้องกันโรคในหมูด้วย

ชุ ม ชนวั ง โชกุ น 22


ฐานที่ 7

สุขภาพกับสมุนไพรแก้หิว

ถ่ายทอดองค์ความรูเ้ รื่อง “การผลิตอาหารเพื่อ สุขภาพ” อาทิ การเลี้ยงไก่เพื่อบริโภคไข่ ทั้งนี้ ไก่ ไข่ 200 ตัว จะให้ไข่ให้อย่างน้อยวันละ 190 ฟอง ราคาขายฟองละ 3.50 บาท เลีย้ งด้วยกล้วยน�้ำว้า หรือข้าวโพด หัวมัน และมะละกอ ผสมอาหารเม็ด และให้น�้ำ EM เป็นประจ�ำทุกวัน เพื่อช่วยป้องกัน โรค เมื่อหักค่าอาหารแล้ว มีรายได้สุทธิเฉลี่ยวัน ละ 200 บาท โดยพ่อค้ามารับซื้อถึงที่ นอกจากนี้ ยังสอนวิธีปลูกพืชสมุนไพรที่น�ำมาเป็นเครื่องเทศ ประกอบอาหาร โดยเกษตรกรสามารถใช้พนื้ ทีว่ า่ ง รอบบ้านให้เกิดประโยชน์ด้วยการปลูกพริก หอม กระเทียม และพืชผักที่คนไทยนิยมบริโภค เช่น กล้วยน�้ำว้า มะพร้าว มะนาว มะละกอ พริกไทย หอมใหญ่ ปูเล่ ชะอม สะเดา มันปู ผักหวาน หาก มีพนื้ ทีเ่ หลือก็สามารถปลูกไม้ผลยืนต้นแซม ได้แก่ ขนุน ลูกเมียง ลองกอง มะม่วงหิมพานต์ เมื่อเหลือ จากการบริโภคในชีวิตประจ�ำวัน ก็น�ำไปจ�ำหน่าย ที่ตลาด ซึ่งสามารถสร้างรายได้ถึงหลักพันต่อวัน

ชุ ม ชนวั ง โชกุ น 23


ฐานที่ 8

จุลินทรีย์พึ่งพาตัวเองให้รอด และกลุ่มเลี้ยงกบ

ถ่ายทอดองค์ความรูเ้ รื่อง “การท�ำจุลนิ ทรียแ์ ละปุย๋ ต่างๆ” อาทิ • ปุย๋ หมักแห้ง โดยใช้เศษอาหาร ขุยมะพร้าว และปุย๋ คอก เทลงทับกันเป็นชัน้ ๆ ใช้ไม้ไผ่ทเี่ อาข้อออก ปักลงไปเพื่อระบาย ความร้อน แล้วหมักด้วยกากน�้ำตาล หรือ EM นาน 15 วัน • ปุ๋ยน�้ำ โดยเลือกใช้พืชชนิดสีเหลือง เช่น มะละกอ สับปะรด ส้ม น�้ำเต้า อย่างละ 5 กิโลกรัม หั่นหรือสับ ผสมกับ น�้ำ 170 ลิตร และกากน�้ำตาล 20 ลิตร หมักไว้ ในถังพีวีซี นาน 25 วัน หรือ 1 เดือน และถ่ า ยทอดความรู ้ เรื่อ งการเลี้ ย งกบเพื่อ บริ โ ภคและ จ�ำหน่าย ทัง้ นีว้ ธิ กี ารเลีย้ งกบมี 2 วิธี คือการเลีย้ งแบบธรรมชาติ โดยปล่อยให้กบผสมพันธุ์เอง ซึ่งจะอยู่ในช่วงเดือน 6-12 อีก วิธีหนึ่งเรียกว่า “การข่มขืน” เป็นการสร้างบรรยากาศฝนตก เทียมโดยปล่อยนำ�้ ผ่านสปริงเกอร์ แล้วน�ำสังกะสีไปรองไว้บน ปากบ่อ พร้อมด้วยการใช้เสียงฟ้าลั่น การผสมพันธุ์ลักษณะนี้ จะต้องจับกบเป็นคู่ๆ แล้วน�ำไปไว้ ในบ่อมืด เมื่อกบออกไข่จะ ต้องตักตัวพ่อ-แม่พนั ธุอ์ อกโดยเร็ว เพื่อป้องกันไม่ให้กบกินไข่

เมื่อไข่ฟกั เป็นลูกอ๊อดแล้วจึงเลีย้ งด้วยไข่แดงนาน 15 วัน เมื่อ ลูกอ๊อดจะออกหางจึงสามารถให้อาหารนมได้ หลังจากกบมี ขาจึงเริม่ ให้อาหารกบเล็ก จนกระทัง่ ขาหดจึงใช้อาหารกบกลาง นานประมาณ 45 วัน แล้วเปลี่ยนมาใช้อาหารกบใหญ่นาน 2 เดือน จึงสามารถน�ำไปจ�ำหน่าย ในการท�ำบ่อกบนี้ ควรมีขนาด 2 x 3 เมตร สามารถเลี้ยงกบได้ 1,000 ตัว และจะต้องท�ำเนิน ดินให้กบ โดยมีขอนไม้ หรือโฟมด้วย เนื่องจากกบเป็นสัตว์ ครึ่งบกครึ่งน�้ำ ระดับความสูงของน�้ำในบ่อไม่ควรเกิน 30 ซม. หากใช้นำ�้ มากเกินไปกบตัวเล็กจะจมนำ�้ ตาย และต้องท�ำตะแกรง ปิดปากบ่อ ทั้งนี้เพื่อป้องกันศัตรูของกบ ได้แก่ นก และแมว

ชุ ม ชนวั ง โชกุ น 24


ฐานที่ 9

ปลูกพืชผสมผสาน

ถ่ายทอดองค์ความรู้เรื่อง “การปลูกพืชผสมผสานเพื่อบริโภคและ จ�ำหน่าย” โดยยึดหลักปลูกพืชทุกชนิดที่กินได้ โดยแบ่งพื้นที่การปลูกเป็น ชัน้ ๆ และเลือกชนิดพืชให้เหมาะสมกับพืน้ ทีแ่ ต่ละชัน้ อาทิ บนพืน้ ดินปลูก พืชหัว พืชต้น และพืชเถา เช่น หัวเผือก หัวมัน หัวบุก ถั่วฝักยาว ถั่วพู มะระ แตงกวา ฟักทอง ส้ม มะม่วง กล้วย มะพร้าว ฯลฯ และปลูกพืชผัก สวนครัวในกระถางซึ่งตั้งได้รอบบริเวณที่ว่าง อาทิ ส้มป่อย ชะอม พริก ตะไคร้ มะนาว มะเขือเทศ ฯลฯ ปลูกข้าวนายก และปลูกผักไฮโซตาม กิ่งก้านของไม้ยืนต้น ระเบียง และรั้ว โดยเกษตรกรสามารถเก็บเกี่ยวผัก เหล่านี้มาบริโภคและจ�ำหน่ายสร้างรายได้ตลอดทั้งปี

ชุ ม ชนวั ง โชกุ น 25


คนสู้ชีวิต

อัฐพงศ์ ประสานราษฎร์ ชายวัย 59 ปี คนนี้ เคยล้มเหลวกับการทำ�ธุรกิจส่งออกใบจาก จนสิ้นเนื้อประดาตัว ต้องขายทรัพย์สมบัติทุกอย่างที่มี กระทั่งบ้านช่อง ที่สร้างมาด้วยน้ำ�พักน้ำ�แรง รวมทั้งสวนยางอันเป็นมรดกจากบุพการี เพื่อนำ�เงินมาล้างหนี้ จนเกือบตัดสินใจฆ่าตัวตาย!... แต่วนั นี้ เขาไม่เพียงมีชวี ติ อยู่ หากยังมีเงินเหลือใช้และได้ความสุข ในครอบครัวกลับคืนมา ทุกครัง้ ทีม่ คี นถามเขาว่ารอดมาได้อย่างไร... เขาจะยิ้มและตอบด้วยเสียงหนักแน่นว่า เพราะบารมีของพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว... “ผมเป็นคนบ้านบางเบา ส่วนภรรยาเป็นคนกาญจนดิษฐ์ เมือ่ ก่อน ผมมีอาชีพครู สอนนักเรียนอยูท่ ี่โรงเรียนเอกชนเล็กๆ ส่วนภรรยาเป็น ข้าราชการ เรามีลกู ชายลูกสาวอย่างละ 1 คน แต่ผมเป็นคนเถรตรง ถ้าให้ ทำ�อะไรที่ไม่ใช่ ผมไม่ชอบ ก็เลยคิดว่าออกมาทำ�ธุรกิจเองดีกว่า แต่กเ็ จ๊ง ที่รอดมาได้เพราะเศรษฐกิจพอเพียงครับ” คุณอัฐพงศ์ ประสาน ราษฎร์ เกริน่ สัน้ ๆ ก่อนจะเล่าย้อนอดีตอันเจ็บปวด โดยหวังว่าจะเป็น แง่คิดแก่ผู้ที่ยากไร้ หรือคนที่กำ�ลังใช้ชีวิตแบบปากกัดตีนถีบ ให้เห็นประโยชน์และคุณค่าของเศรษฐกิจพอเพียงว่า... “ช่วงธุรกิจเจ๊งผมแย่มาก บอกได้เลยว่าถ้าไม่มลี กู 2 คน ก็คงฆ่า ตัวตายแล้ว เพราะรับไม่ได้ทเี่ ราเคยมีบา้ น มีสวน แต่ตอ้ งระเหเร่รอ่ น ไปเช่าเขาอยู่ ตอนนั้นผมเหลือรถปิ๊กอัพตอนเดียวอยู่คันหนึ่ง ลูกก็ ยังเล็ก คนสุดท้องยังเรียนอยู่อนุบาล ผมต้องระหกระเหินหากินทั่ว สุราษฎร์ฯ ยึดอาชีพเร่ขายปลาตามหมู่บ้าน เรียกว่าทำ�เพื่อประทัง ชีวติ ไปวันๆ เพราะเวลาเข้าตาจนสมองมันงงไปหมด เชือ่ ไหมครับว่า ลูกสาวผมเคยย้ายโรงเรียนถึง 5 โรงในปีเดียว เพราะที่ไหนค้าขายไม่ดี เราก็ตอ้ งย้ายหาที่ใหม่ไปเรือ่ ย ไม่เคยรูอ้ นาคต...ผมล้มลุกคลุกคลาน อยู่นาน 12 ปี จับอะไรได้ผมขายหมด แต่ก็ยังไม่ดีขึ้น ผมก็เสียใจว่า ทำ�ให้ภรรยาและลูกต้องมาลำ�บากไปด้วย แต่ความลำ�บากก็ท�ำ ให้ผม ได้ลกู ชายคืน และเป็นแรงผลักให้ผมเดินต่อ เพราะก่อนหน้านัน้ เขา เกเร ชกต่อยกับชาวบ้านไปทั่ว แต่พอเขาเห็นความลำ�บากของพ่อ แม่ ก็กลับตัวมาเป็นเด็กดี ช่วยเหลืองานทุกอย่างเรื่อยมาจนตอนนี้ ชีวติ ผมมาเห็นแสงสว่างอีกครัง้ ก็ตอนทีเ่ ข้ามาอยูก่ บั ชุมชนวังโชกุน ผมรูข้ า่ วเรือ่ งการจัดสรรทีด่ นิ จากผู้ ใหญ่ชาคฤช ซึง่ เป็นหลานของผม วันหนึง่ ผู้ ใหญ่กโ็ ทร. มาหาแล้วบอกว่า ‘น้าวิทย์ผมทำ�เรือ่ งทีด่ นิ สำ�เร็จ แล้วนะ น้ามาอยู่กับผมสิ’ ผมก็ตกลงทันที สิ่งแรกที่ผมคิดตอนนั้น คืออย่างน้อยๆ ลูกจะได้มที ดี่ นิ ทำ�กิน คนที่ไม่มอี ะไรเลยอย่างผม พอ มีอะไรให้อุ่นใจว่ามื้อหน้าเรามีกินแล้ว เพราะผักที่เราปลูกยังมีอยู่ เยอะ แค่กา้ วเท้าออกไปหน้าบ้านก็ได้เห็นผักงอกเงยไปจนถึงพรุง่ นี้ มะรืนนี้ มันก็เกิดความมั่นคงทางใจ ถึงแม้ตอนนั้นผมยังไม่ได้เข้า มาสัมผัสหรือลงมือทำ�เศรษฐกิจพอเพียง แต่ผมเชือ่ พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยูห่ วั ผมเชือ่ ว่าทุกสิง่ ทีพ่ ระองค์ทา่ นทรงสอนเป็นเรือ่ งทีท่ รง คิดมาอย่างดีแล้ว ประชาชนสามารถเชื่อได้ โดยไม่ต้องกรอง ผมจึง ไม่กังวลเลยว่าจะต้องลำ�บากกับวิถีชีวิตเศรษฐกิจพอเพียง หลังจากใช้ชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงมาสักพัก ชีวิตผมก็ ดีขึ้นๆ จนมีกำ�ลังใจมากขึ้น และได้มีโอกาสช่วยเหลือผู้ ใหญ่ในทาง

ความคิด โดยอาศัยประสบการณ์จากการเป็นครูและเคยทำ�ธุรกิจ มาก่อน นำ�เสนอรูปแบบกิจกรรมใหม่ๆ เพื่อพัฒนาชุมชน เพราะผม มองว่าเศรษฐกิจพอเพียงไม่ได้จบลงทีก่ ารเก็บผักปลอดสารพิษรอบๆ บ้านไปขายวันละกิโลฯ สองกิโลฯ แต่เราสามารถต่อยอดไปสูต่ ลาดที่ ใหญ่กว่าเพือ่ รายได้ทยี่ งั่ ยืน เพราะไม่กปี่ เี ราจะเปิดอาเซียนแล้ว ไทย เราน่าจะเป็นแหล่งอาหารที่มีคุณภาพของอาเซียนได้ ตอนนี้ผู้ ใหญ่ ก็มอบหมายให้ผมดูแลที่ผืนหนึ่งเนื้อที่ 10 ไร่ เพื่อใช้ทดลองปลูก ไม้ผลต่างๆ ซึง่ ผมก็น�ำ พันธุ์ไม้ผลพืน้ เมืองของเราจากหลายๆ ท้องที่ มาปลูกเพื่อศึกษา เช่น ทุเรียน และส้มโอทับทิมสยามจากปากพนัง ซึง่ ตอนนีร้ าคาขายส่งประเทศจีนตกลูกละ 300 บาทนะครับ และฝันว่าจะ ต่อยอดไปถึงการพัฒนาสายพันธุ์เพื่อเกษตรกรที่อื่นๆ ด้วย ทีผ่ มและครอบครัวได้ความสุขในชีวติ กลับคืนมาก็ดว้ ยเศรษฐกิจ พอเพียง ซึ่งผมสำ�นึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวตลอดเวลา พูดแล้วน้ำ�ตาไหล... ต่อให้เราขอบคุณ พระองค์ทุกวินาทียังน้อยไป ผมอยากบอกคนไทยว่าให้พิจารณาสิ่ง ที่พระองค์ท่านตรัสแต่ละครั้งให้ดี ผมเชื่อว่าถ้าทำ�ตามคำ�พ่อสอน เราจะไม่ลำ�บาก และอยากจะฝากไปถึงเพื่อนสมาชิกวังโชกุนด้วย ว่า ต้องมีความขยันหมัน่ เพียร ทำ�ให้เหลือกินไว้ วันนีท้ �ำ ได้ 200 บาท แบ่งกินสัก 120 เหลือ 80 เก็บไว้ อีกหน่อยชีวติ จะสบาย และมีเวลา ที่จะสร้างประโยชน์ ให้คนอื่นๆ ต่อไปได้ครับ”

ชุ ม ชนวั ง โชกุ น 26


จิราพร คุ้มเอียด โชคชัย ช้างนรินทร์

บ้านในอดีต

ใครจะคาดคิดว่าแม่ค้าแตงโมที่ร่อนเร่ขายทั่วไป ตามตลาดนัดที่มีรายได้พอประทังชีวิตไปวันๆ นับแต่ มีชีวิตเกิดมา จะสามารถมีรายได้ตกหลักหมื่นบาท ต่อเดือนได้ในวัยที่คนทั่วไปเรียกกันว่า “แก่เกินแกง”

บ้านในปัจจุบนั

แต่วนั นี้ ป้าปาน จิราพร คุม้ เอียด ในวัย 54 ปี และสามี ลุงโชคชัย ช้างนรินทร์ วัย 57 ปี กลับมีชวี ติ อยูอ่ ย่างสุขสบาย เกินคำ�ว่า “พอมีพอกิน” นัน่ เพราะเธอและครอบครัวเลือกทีจ่ ะเปลีย่ นวิถมี า “เดินตามรอยเท้าพ่อ” ด้วยการปลูกทุกอย่างทีก่ นิ กินทุกอย่างทีป่ ลูก และเมือ่ เหลือจึงเก็บขาย สร้างรายได้ อันเป็นหลักสำ�คัญประการหนึง่ ของทฤษฎีเศรษฐกิจพอ เพียง แนวพระราชดำ�ริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั และทุกครัง้ ทีม่ โี อกาส ป้าปานมักจะเล่าถึงวิถขี องพ่อให้ ใครต่อใคร ฟังด้วยความ ปรารถนาดีผสานด้วยความภาคภูมิใจ ดังที่เธอเล่าให้ผู้เขียนฟังว่า... “พืน้ เพป้าเป็นคนกาญจนดิษฐ์ พ่อแม่ของป้ายากจนค่ะ มีลกู เยอะ นับตัวป้าด้วยก็รวม 9 คน ชีวติ ป้าลำ�บากมาก ลำ�บากมาตัง้ แต่เด็กๆ เรียน ก็น้อย จบแค่ ป.4 เพราะไม่มีเงินจะเรียน ต้องออกมาทำ�งานรับจ้าง ไปทั่ว ตื่นตั้งแต่เช้ามืด ออกไปรับจ้าง ใครจ้างอะไรก็ทำ�หมด ได้ 50 บาทก็เอา ป้าไม่เคยขอเงินพ่อแม่ เพราะเขาก็รับจ้างค้าขายเล็กๆ น้อยๆ ลำ�บากมากอยู่แล้ว ไม่อยากรบกวน พอเริ่มโตเป็นสาวป้าก็ มาเป็นแม่ค้าขายผลไม้ มีรถบรรทุกเก่าๆ คันหนึ่งก็ขับไปรับของมา แล้วเร่ขายตามตลาดนัดทั่วไป ได้กำ�ไรนิดหน่อยแค่พออยู่ได้ก็เอา แล้ว จนมาพบสามี เขาเป็นคนบ้านเดียวกับป้า หลังแต่งงานก็มา ช่วยกันขายแตงโม ตระเวนไปทั่ว ไม่รู้จะไปทำ�อาชีพอะไร แต่ป้าไม่ เคยท้อนะ เราสู้ชีวิต เพราะเรามีลูก 2 คน ต้องส่งให้ลูกได้เรียน ก็มี แรงส่งเสียลูกจนจบ ม.3 ตอนนีก้ เ็ ข้ามาอยูเ่ ป็นสมาชิกชุมชนวังโชกุน ด้วย ลูกชายคนโตอายุ 36 ปีแล้ว ส่วนคนเล็กอายุ 33 ปี ทุกคนหัน มาทำ�เศรษฐกิจพอเพียงหมด ที่ป้าเข้ามาเป็นสมาชิกได้เพราะไปได้ยินข่าวว่ารัฐจะให้ที่ดินคน ที่ ไม่มีที่ทำ�กินที่ตะปาน ป้ามีบัตรเหลือง ป้าก็เลยเข้ามาติดต่อที่ อำ�เภอว่าขอเข้าด้วย ตอนนั้นก็เคยได้ยินคำ�ว่าเศรษฐกิจพอเพียงมา เหมือนกันว่า ในหลวงท่านบอกให้ชาวบ้านเลี้ยงเป็ด เลี้ยงไก่ เลี้ยง ปลา ปลูกข้าว ปลูกผักกินเอง มันจะอยู่ได้ อยู่อย่างสบายๆ ไม่ต้อง ไปเป็นลูกจ้างใครเขา หลังจากนั้นป้าก็ได้รับที่ดิน 1 ไร่ และได้อบรมวิถีแบบพอเพียง ป้าก็เลยรู้วิธีปลูกข้าว ปลูกผักแบบผสมผสาน ป้าปลูกพริก มะเขือ แตง ถั่วฝักยาว ผักหวาน มะม่วง เราปลูกเอง เก็บเอง และเอาไป ขายเองที่ตลาดนัด รายได้ดีกว่าตอนขายแตงโมเยอะค่ะ เพราะขาย แตงโมมีทุน เราต้องไปซื้อเขามา ซื้อมา 5,000 ได้กำ�ไรไม่เกิน 2,000 บาท กว่าจะได้เงินเหนือ่ ยค่ะ แล้วแต่กอ่ นป้าขีร่ ถเก่าๆ นะคะ แต่เดีย๋ ว นีป้ า้ ขีส่ ปอร์ตไรเดอร์แล้ว (หัวเราะ) ค่าผ่อนรถเดือนละหมืน่ กว่าบาท

ป้าไม่เคยเดือดร้อน ยิง่ ช่วงหน้าฝนขายได้เฉลีย่ ต่อวันก็เกือบหมืน่ ถ้า ช่วงแล้งรายได้ก็ลดลงไปหน่อย... ป้ากับครอบครัวมาอยู่ที่วังโชกุนเข้าปีที่ 3 แล้ว ชีวิตดีขึ้นมากค่ะ สุขภาพก็แข็งแรงกว่าเก่า เพราะมีความสุขมากกว่าเมือ่ ก่อนไม่รกู้ เี่ ท่า (ยิ้ม) ป้ายืนยันได้ว่าทำ�เศรษฐกิจพอเพียงไม่เครียดเลย เราไม่ต้อง รีบร้อน ไม่เหนื่อย ทำ�อะไรได้ก็ค่อยๆ ทำ�ไป ทำ�ทุกวันอย่าหยุด ทำ� สุดกำ�ลังที่ครอบครัวเราดูแลได้ อย่าเกินตัว คอยดูแลให้มันงอกเงย พอเห็นอะไรที่เราปลูกแล้วมันขึ้นมางามป้าก็ดีใจ เพราะมันเป็นของ เราหมด ไม่ต้องไปซื้อไปหา เก็บผักได้สิบมัดเราก็ได้แล้ว 100 บาท เก็บถั่วได้ 10-20 กิโลฯ ก็ได้แล้ว 400-500 บาท แล้วยังมีมะเขือ มี อย่างอื่นอีกเยอะ ของกินเราก็ไม่ขาด หาได้รอบบ้าน ได้กินอิ่ม ไม่มี สารพิษ ทุกวันนี้ป้าจะตื่นตี 4 แล้วก็จะมาเก็บผัก หุงหาข้าว ทำ�สวน อะไรไปเรือ่ ย พอสิบโมงไปขนของไปขายทีต่ ลาด ขายแค่ 1 ชัว่ โมงก็ หมดแล้วค่ะ เพราะคนต้องการผักปลอดสารมาก เดี๋ยวก็ได้มาแล้ว 2,000-3,000 บาท กลับมาก็ถางหญ้า รดน้ำ�ใส่ปุ๋ย ตอนเย็นก็มาคุย กับเพือ่ นบ้าน แลกเปลีย่ นกันว่าใครเอาอะไรไปขาย ได้เท่าไรกันบ้าง นั่งโม้อวดกันสนุกๆ (หัวเราะ) ป้าเจอกับตัว ป้าเลยเชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวง ช่วยเหลือคนจนได้จริง นี่ป้าก็แนะนำ�ไปหลายคนให้เข้ามา อยาก ให้เขาหมดทุกข์ มีพี่คนหนึ่งเมื่อก่อนแกขายขนมได้วันละไม่กี่บาท ตอนนีแ้ กไม่ขายแล้ว มาทำ�เศรษฐกิจพอเพียงเหมือนป้า สุขสบายไป แล้ว เพราะอายุตั้ง 60-70 ปี จะให้มาทำ�งานหนักๆ ร่างกายก็ไม่ไหว แต่ปลูกผัก เลี้ยงปลา เลี้ยงไก่นี่ใครก็ทำ�ได้ ได้เดินออกกำ�ลังไปด้วย ในหลวงท่านแนะนำ�ให้ลกู ๆ ของท่านสบาย ท่านไม่เคยพูดผิดเลย ถ้า อยากรูว้ า่ พอเพียงเป็นอย่างไรก็มาเยีย่ มป้าได้ บ้านป้าชือ่ บ้านแตงกวา มาเรียนรูธ้ รรมชาติ มาอบรมกันเยอะๆ ลูกหลานจะได้ไม่ล�ำ บากค่ะ...” แม้วา่ วันนี้ “ทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง” จะเป็นทีต่ ระหนักของคนไทย ทั่วไป แต่ข้อสงสัยที่ว่าความพอเพียงช่วยให้มนุษย์มีชีวิตความเป็น อยู่สุขสบายได้อย่างไรก็ยังมีอยู่มาก โดยเฉพาะในกลุ่มชนผู้ซึ่งไม่ เคยสัมผัสวิถีชีวิตพอเพียงด้วยตนเอง เศรษฐกิจพอเพียงมิได้เป็น ทฤษฎีที่เฉพาะเจาะจงว่าเป็นไปเพื่อผู้ยากไร้ หากเป็นทฤษฎีเพื่อ ความสุขยั่งยืนของมวลมนุษยชาติ ไม่ว่าจะจนหรือรวย จะเป็นคน ไทยหรือชนชาติไหน ก็สามารถนำ�วิถีแห่งความพอเพียงนี้ ไปใช้ ให้ ชีวิตเกิดความสำ�เร็จแท้จริงได้ ที่เหลือก็ขึ้นอยู่กับว่ามีความอยากที่ จะ “สำ�เร็จ” หรือไม่ก็เท่านั้น...

ชุ ม ชนวั ง โชกุ น 27


สะพานทวีทรัพย์ประสานราษฎร์

สะพานทวีทรัพย์ประสานราษฎร์ เส้นทางเชื่อมไมตรีของชาวพุนพิน-ชาวบ้านนาเดิม

การคมนาคมที่สะดวกรวดเร็วนั้น ถือเป็นหัวใจสำ�คัญของการพัฒนาท้องถิ่น จนเป็นที่มาของคำ�พูดที่ ใครๆ ต่างยอมรับในความเป็นจริงว่า “ที่ ไหนมีถนน ที่นั่นย่อมมีความเจริญ”... นั่นเพราะถนนมิได้เป็นเพียงเส้นทางสัญจรจากที่หนึ่งไปยัง ที่หนึ่งโดยสะดวกเท่านั้น หากยังได้นำ�พาเอาความศิวิไลซ์ของ ชุมชนเมืองทีม่ ากพัฒนาการอย่างรอบด้านติดตามไปด้วย นัน่ จึง เป็นเหตุให้ผบู้ ริหารบ้านเมืองตลอดจนผูบ้ ริหารท้องถิน่ ของทุกๆ ประเทศให้ความสำ�คัญกับการพัฒนาเส้นทางการคมนาคมเป็น ลำ�ดับต้น ในฐานะที่เป็นสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน เช่นเดียวกับนายวิทยา ศรีภิรมย์มิตร อดีตนายกองค์การ บริหารส่วนตำ�บลตะปาน อำ�เภอพุนพิน และนายสุทธิพงษ์ รอด จิตต์ นายกองค์การบริหารส่วนตำ�บลทรัพย์ทวี อำ�เภอบ้านนาเดิม ที่เล็งเห็นประโยชน์ที่จะเกิดกับประชาชนในท้องถิ่นจากการ

พัฒนาสร้างเส้นทางเชื่อมระหว่างสองอำ�เภอเข้าด้วยกัน ดังนั้น ในปี พ.ศ.2550 ทัง้ สองจึงได้รว่ มคิดและผลักดันให้เกิดโครงการ ก่อสร้าง “สะพานทวีทรัพย์ประสานราษฎร์” ขึน้ เพือ่ ข้ามแม่น�้ำ ตาปี ณ บริเวณบ้านบางเบา หมูท่ ี่ 3 ตำ�บลตะปาน อำ�เภอพุนพิน และบริเวณพืน้ ทีบ่ า้ นจันทร์ โคตร หมูท่ ี่ 5 ตำ�บลทรัพย์ทวี อำ�เภอ บ้านนาเดิม ซึง่ เป็นการย่นระยะการเดินทางจากพืน้ ทีบ่ า้ นบางเบา และหมู่บ้านใกล้เคียงไปสู่อำ�เภอบ้านนาเดิมได้ถึง 15 กิโลเมตร เพราะไม่ต้องผ่านพื้นที่อำ�เภอเคียนซา หลังจากร่วมผลักดันมาอย่างต่อเนือ่ งนาน 3 ปี โครงการก่อสร้าง สะพานดังกล่าวจึงได้รบั การอนุมตั ใิ ห้กอ่ สร้างในเดือนกุมภาพันธ์

ชุ ม ชนวั ง โชกุ น 28


พ.ศ. 2553 และสิน้ สุดสัญญาว่าจ้างก่อสร้างเดือนเมษายน พ.ศ. 2554 รวมระยะเวลาดำ�เนินการก่อสร้างสะพาน 420 วัน มีหน่วย สำ�นักงานก่อสร้างสะพาน กรมทางหลวงชนบท โดย นายพีระพงศ์ พงษ์ประดิษฐ์ เป็นนายช่างควบคุมการก่อสร้าง และบริษทั จตุรมาส จำ�กัด เป็นผู้ก่อสร้าง สะพานทวีทรัพย์ประสานราษฎร์เป็นสะพานคอนกรีต กว้าง 8 เมตร ยาว 100 เมตร ทางเท้าข้างละ 1.50 เมตร และได้ดำ�เนิน ก่อสร้างผิวทางลำ�ลองบดอัดลูกรัง กว้าง 8 เมตร ยาว 2,162 เมตร โดยสร้างในพื้นที่บ้านบางเบา ระยะทาง 695 เมตร และ ในพื้นที่บ้านจันทร์ โคตร ระยะทาง 1,467 เมตร ใช้งบประมาณ ในการดำ�เนินการก่อสร้างทั้งสิ้น 21,790,000 บาท แต่เนื่องจากระหว่างดำ�เนินการก่อสร้างได้เกิดปัญหาและ อุปสรรคจากอุทกภัยครั้งใหญ่ถึง 4 ครั้ง คือ 1. เดือนตุลาคม พ.ศ. 2553 2. เดือนมีนาคม พ.ศ. 2554 3. เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2554 4. เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2554 – เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 ส่งผลให้น้ำ�ท่วมตอม่อจนไม่สามารถดำ�เนินการก่อสร้าง สะพานได้ การก่อสร้างจึงล่าช้าไปจากกำ�หนดเดิม โดยมาแล้ว เสร็จจริงในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 และมีแนวทางพัฒนา ต่อเนือ่ งตามแผนพัฒนาปรับปรุงผิวทางลำ�ลองที่ได้กอ่ สร้างเอา ไว้เป็นถนนลาดยาง โดยใช้งบประมาณ 5,000,000 บาท ซึ่งจะ

ใช้งบเหลือจ่ายประจำ�ปี พ.ศ. 2557 หรืองบประมาณประจำ�ปี พ.ศ. 2558 ในลำ�ดับต่อไป นับเป็นเรื่องที่น่ายินดีว่าตลอด 1 ปีที่สะพานทวีทรัพย์ ประสานราษฎร์ได้เปิดให้ประชาชนสัญจร ไม่เพียงชาวอำ�เภอทัง้ สองจะกระชับสายสัมพันธ์ทดี่ ตี อ่ กันให้แน่นแฟ้นขึน้ เท่านัน้ หาก ประชาชนทั่วไปก็ยังได้รับความสะดวกสบายจากเส้นทางในการ ติดต่อค้าขายและขนส่งสินค้ามากขึ้นด้วย

ชุ ม ชนวั ง โชกุ น 29


เมนูอาหารแก้จน

แต่ไหนแต่ไรมา คนไทยเรา นิยมปลูกพืชผัก ผลไม้ เลี้ยงสัตว์ นานาชนิดไว้รอบบ้าน ไม่เพียงเพื่อ เป็นอาหารเท่านั้น หากยังได้อาศัย แรงงาน ได้ปุ๋ย และยังได้ความ ร่มรื่นตา ร่มเย็นใจ...

“หัวปลีทอด” วันไหนอยากจะต้มยำ�ทำ�แกงอะไร ก็แค่เดินไปเด็ดผัก ตัดกล้วย เก็บไข่ ช้อนปลา แค่นี้ก็ได้อาหารจานเด็ดหลายเมนู อิ่มหนำ� กันไปทั้งครอบครัว แถมยังมีสุขภาพดี เพราะได้รับสารอาหารครบถ้วนทุกหมู่แบบปลอดภัยไร้สารเคมี ตรงกันข้ามกับวิถีชีวิตของ คนในสังคมวันนี้อย่างสิ้นเชิง ที่จะหยิบจับ จะกินอะไรก็ต้องเอาเงินทองมากมายไปซื้อ แล้วบั้นปลายก็นอนทุกข์ทรมานเพราะป่วย เป็นสารพัดโรคจากการบริโภคอาหารขยะสั่งสมมาแรมปี...เพื่อเป็นการส่งเสริมให้คนไทยหันมาให้ความสำ�คัญกับการปลูกผักสวน ครัวรั้วกินได้ คอลัมน์เมนูแก้จน คนสุขภาพในฉบับนี้ จึงขอนำ�เสนอจานเด็ด 2 เมนูที่ชาวสมาชิกชุมชนวังโชกุนการันตีว่าใครได้ชิม เป็นต้องติดใจ... เมนูแรกคือ “หัวปลีทอด” ซึง่ สามารถกินเล่นเป็นอาหารว่างหรือเป็นผักเหนาะคูก่ บั น้�ำ พริก วิธที �ำ ง่ายแสนง่ายเพียงนำ�หัวปลีมาซอยเป็น แว่นบางๆ นำ�มาคลุกเคล้ากับแป้งทอดกรอบ แล้วทอดในน้�ำ มันพืชร้อนๆ จนสุกเหลือง จึงตักขึน้ พักในตะแกรงให้สะเด็ดน้�ำ มันเท่านีก้ น็ �ำ มา รับประทานได้ นอกจากนีย้ งั สามารถดัดแปลงนำ�ผลไม้อนื่ มาทำ�ในลักษณะเดียวกันได้ ไม่วา่ จะเป็นกล้วย มะละกอ ฟักทอง แครอต ฯลฯ ถ้ามีผลผลิตมากก็นำ�มาผนึกถุง ต่อยอดเป็นอาหารว่างจำ�หน่ายหารายได้เพิ่มอีกทาง ชุ ม ชนวั ง โชกุ น 30


เมนูที่ 2 “แกงกะทิหยวกกล้วยใส่กุ้งสด” มี วิธีทำ�ดังนี้.... เครื่องแกง พริกไทย 5-7 เม็ด พริกขี้หนูสด 5 เม็ด ตะไคร้ 1 ต้น หอมแดงไทย 2 หัว กระเทียมไทย 1 หัว กะปิ 1 ช้อนชา น้ำ�ตาลมะพร้าว 1 ½ ช้อนโต๊ะ เกลือแกงป่น ½ ช้อนชา เครื่องปรุง มะพร้าวขูด 1 ถ้วยตวง หยวกกล้วยน้�ำ ว้าอ่อน 1 ถ้วยตวง กุ้งแชบ๊วย หรือกุ้งขาว 10 ตัว ขั้นตอนการทำ� • นำ�มะพร้าวขูดมาคั้นกับน้ำ�อุ่น แยกหัวกะทิ กับหางกะทิไว้ต่างหาก • ตำ�เครื่องแกงทั้งหมดให้ละเอียด • หั่นหยวกกล้วยเป็นท่อนขนาดพอคำ� นำ�ไป แช่ในน้�ำ สะอาด แล้วใช้ตะเกียบหรือแท่งไม้ปนั่ ไป มาเพื่อให้เส้นใยที่ติดอยู่กับหยวกกล้วยออกหมด • แกะเปลือกกุ้ง เอาเส้นดำ�กลางหลังและ ขี้กุ้งออกให้หมด • นำ�หางกะทิใส่หม้อ ยกตั้งไฟร้อนปานกลาง ใส่เครื่องแกงลงละลาย รอจนน้ำ�กะทิเดือดจึง ใส่หยวกกล้วยและกุ้ง รอจนสุกดีจึงเทหัวกะทิ ลงไป คนให้เข้ากัน ปรุงรสด้วยน้ำ�ตาลและเกลือ ให้ออกรสหวานนำ� เจือด้วยรสเค็มปะแล่ม แล้ว ยกลง พร้อมเสิร์ฟ และเพื่อเพิ่มรสชาติให้อร่อยล้ำ�ยิ่งขึ้นนั้น เมนู “แกงกะทิหยวกกล้วยใส่กงุ้ สด” นี้ควรกินกับข้าวซ้อมมือคู่กับแกงพริกปลาใบหร่า (ยี่หร่า) หรือแกงส้มปลา แนมด้วยน้ำ�พริกกะปิและผักเหนาะที่เก็บสดๆ จากริมรั้วบ้าน ที่ขาดไม่ได้คือผัก ผลไม้ชุบแป้งทอด จะ เป็นมะละกอ กล้วย หรือหัวปลี ก็เข้ากั๊น เข้ากัน....

คุณค่าทางอาหาร

หยวกกล้วยเป็นอาหารที่เหมาะกับทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนสูงอายุ เนื่องจากมีเนื้อสัมผัสอ่อนนุ่ม เคี้ยวสบาย ย่อยง่ายและมีใยอาหารสูง จึงช่วยดูดซับสารพิษและผลักดันกากอาหารที่ตกค้างในลำ�ไส้ ให้ขับถ่ายออกมาได้คล่องและหมด ท้อง นอกจากนีย้ งั มีสารอาหารทีม่ ปี ระโยชน์ อาทิ คาร์ โบไฮเดรต โปรตีน วิตามินบี 2 วิตามินบี 1 ไนอะซิน วิตามินซี ฟอสฟอรัส เหล็ก และมีแคลเซียมสูง เมื่อมาผสานกับเครื่องแกงที่ทำ�จากสมุนไพรมีน้ำ�มันหอมระเหยและมีรสร้อน จึงมีสรรพคุณป้องกัน หวัด ลดการติดเชื้อทางเดินหายใจ ส่วนกะทิมีกรดไขมันที่ย่อยง่าย ร่างกายสามารถเผาผลาญให้เป็นพลังงานในตับ โดย ไม่สะสมเป็นไขมันเหมือนกับน้ำ�มันไม่อิ่มตัวที่มีโมเลกุลขนาดใหญ่ และยังกระตุ้นให้ต่อมไทรอยด์ทำ�งานดีขี้น ก่อให้เกิดความ ร้อนที่ ไปช่วยเผาผลาญอาหารที่บริโภคพร้อมกันให้เป็นพลังงาน และยังช่วยสลายไขมันที่สะสมอยู่ก่อนหน้า ทั้งยังอุดมด้วย วิตามินอีและมีกรดลอริกสูงมาก ซึ่งช่วยสร้างภูมิคุ้มกันและยับยั้งเชื้อโรค ไม่ว่าจะเป็นแบคทีเรีย เชื้อรา ไวรัส หรือโปรโตซัว ได้ ด้านกุ้งก็เป็นแหล่งโปรตีนชั้นดี และมีโอเมก้า 3 มากกว่าเนื้อสัตว์อื่นๆ รวมทั้งมีธาตุเหล็ก สังกะสี และวิตามินอีสูงเช่นกัน ชุ ม ชนวั ง โชกุ น 31


ท่องเที่ยว

ขอพรพระนอน นมัสการพระเกจิดัง “วัดประชาวงศาราม” ขึ้นชื่อว่าเป็นชาวพุทธแล้ว ทันทีที่มีโอกาสได้ไปเยือนต่างถิ่น ย่อมไม่พลาดการแวะไปสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ อันเป็นศูนย์รวมใจของคนในถิ่นนั้น เพื่อเป็นสิริมงคลและเสริมบารมีบุญให้แก่ชีวิต และถ้าเดินทางมาถึงท้องทีต่ �ำ บลตะปาน อำ�เภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ทีท่ พี่ ทุ ธมามกะไม่ควรพลาดอย่างยิง่ ก็คอื “วัดประชา วงศาราม” หรือวัดบ้านกรูด ซึง่ ไม่เพียงมีพระนอนองค์ ใหญ่ทชี่ าวตะปานศรัทธาในปาฏิหาริยแ์ ห่งความขลังในการขอพรเท่านัน้ แต่ ยังมี “ของดี” ซ่อนอยู่ภายในอีกมากมาย แม้วา่ วัดประชาวงศารามจะมิใช่วดั เก่าแก่ทมี่ อี ายุนบั ร้อยนับพันปี หากเป็นวัดร่วมสมัยทีส่ ร้างขึน้ ในปี พ.ศ. 2502 แต่กม็ ปี ระวัติ ความเป็นมาทีน่ า่ สนใจ ด้วยแรกเริม่ เดิมทีเป็นเพียงสำ�นักสงฆ์ ต่อมาพระครูชยั วงศ์วฒ ุ คิ ณ ุ หรือพ่อท่านวงศ์ เจ้าคณะอำ�เภอพุนพินและ เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน ได้บูรณะและพัฒนาจนได้รับวิสุงคามสีมา ซึ่งพ่อท่านวงศ์ได้เล่าถึงความหลังว่า... ในวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ.2505 พายุโซนร้อนแฮเรียตจากทะเลอันดามันได้ถาโถมขึน้ สูฝ่ งั่ ทีจ่ งั หวัดกระบี่ แล้วเคลือ่ นทีม่ าลงทะเลทีแ่ หลม ตะลุมพุก อำ�เภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช ทิง้ ความหายนะเอาไว้ ในหลายพืน้ ที่ รวมทัง้ ทีพ่ กั สงฆ์บา้ นกรูดด้วย พ่อท่านวงศ์จงึ ปรารถนา จะบูรณะสถานที่ใหม่ พร้อมกับจัดตัง้ เป็นวัดไปในคราวเดียว แต่เนือ่ งจากต้องใช้ปจั จัยจำ�นวนมาก พ่อท่านวงศ์จงึ ได้ขอความช่วยเหลือจาก หลวงพ่อครืน้ โสภโณ ซึง่ เป็นพระอุปฏั ฐากของพ่อท่านคล้าย วาจาสิทธิ์ พระอริยสงฆ์แห่งวัดสวนขัน เพือ่ ขอพึง่ บารมีขององค์หลวงพ่อ เมือ่ พ่อท่านคล้ายทราบเรือ่ งจึงมีเมตตาช่วยจัดหาปัจจัยต่างๆ และอนุญาตให้จดั งานทอดกฐินสมโภชน์ ณ ทีพ่ กั สงฆ์บา้ นกรูดในเดือน พฤศจิกายนปีนั้นเอง และพ่อท่านคล้ายเดินทางมาเป็นองค์ประธานด้วยตนเอง โดยนั่งเรือหางยาวล่องมาตามลำ�น้ำ�ตาปีจาก อำ�เภอฉวาง ผ่านอำ�เภอทุ่งใหญ่ อำ�เภอพระแสง อำ�เภอเคียนซา มาขึ้นฝั่งที่ท่าน้ำ�บ้านแม่แขก แล้วคณะลูกศิษย์จึงจัดให้องค์ท่าน นั่งมาบนแคร่ไม้ที่ผูกติดกับคานหามมายังที่พักสงฆ์บ้านกรูด ชุ ม ชนวั ง โชกุ น 32


แต่กอ่ นพิธที อดกฐินจะเริม่ ขึน้ พ่อท่านวงศ์ได้น�ำ พานดอกไม้ ธูปเทียน เข้าไปกราบนมัสการพ่อท่านคล้ายเป็นการส่วนตัว และ กล่าวถวายทีพ่ กั สงฆ์บา้ นกรูดให้แก่พอ่ ท่านคล้าย พ่อท่านจึงรับ ไว้ แต่มขี อ้ แม้วา่ พ่อท่านวงศ์ตอ้ งอยูด่ แู ลวัดต่อไป เพราะวันข้าง หน้าวัดจะมีความเจริญ กลายเป็นวัดที่สำ�คัญอีกแห่งหนึ่งของ จังหวัด ในครัง้ นัน้ พ่อท่านวงศ์ยงั ได้กล่าวขออนุญาตหล่อพระรูป เหมือนพ่อท่านคล้าย เพื่อหาปัจจัยสร้างวัดเพิ่มเติม พ่อท่าน คล้ายอนุญาตว่า “ให้ท�ำ พระรูปหล่อได้ ทำ�ให้เหมือนฉันนะ” นับเป็นครัง้ แรกทีม่ กี ารสร้างรูปหล่อพ่อท่านคล้าย ซึง่ ปัจจุบนั ยัง ประดิษฐานอยู่ ณ ศาลาพ่อท่านคล้ายภายในวัด และยังเป็นปฐม บทแห่งการสร้างพระพ่อท่านคล้ายก้นอุ พระเครือ่ งทีม่ พี ทุ ธคุณ สูงด้านแคล้วคลาดคงกระพันในเวลาต่อมา... สำ�หรับพ่อท่านวงศ์นั้น นอกจากจะเป็นพระนักพัฒนาที่มี คุณานุคณ ุ มากมายต่อพุทธศาสนาแล้ว ยังเป็นพระเกจิรปู สำ�คัญ ของจังหวัดสุราษฎร์ธานีและภาคใต้ ท่านอุปสมบทเมือ่ อายุ 26 ปี หลังจากบวชได้ 2 พรรษา จึงเกิดความตัง้ ใจแน่วแน่ทจี่ ะออกธุดงค์ โดยตัง้ จิตอธิษฐานต่อหน้าพระประธานว่า “ขอมอบกายถวายชีวติ นี้ ให้แก่ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ จะขอยึดเอาเพศบรรพชิต จนตลอดชีวิต” และในระหว่างที่ธุดงค์ทางภาคเหนือ ท่านได้ ฝากตัวเป็นศิษย์ของพระเกจิและฆราวาสจอมขมังเวทย์หลายท่าน ในจำ�นวนนีม้ ี “ปูโ่ ทน รำ�แพน” ที่โด่งดังด้านเสกกระดาษเป็นธนบัตร นอกจากนี้พ่อท่านวงศ์ยังมีความชำ�นาญในการลงยันต์น้ำ�มัน ในปีหนึง่ ท่านจะทำ�พิธลี งยันต์น�้ำ มันอันศักดิส์ ทิ ธิใ์ ห้ศษิ ยานุศษิ ย์ ในวันไหว้ครูเพียงวันเดียว ซึง่ ตรงกับวันพฤหัสบดีแรกของเดือน 6 ไทย โดยนำ�น้ำ�มันมนต์ที่แช่ด้วยว่านคงกระพันสารพัด ชนิดมาทาบนแผ่นหลัง แล้วใช้เหล็กจารเขียนยันต์ โดย ท่านจะพิจารณาว่า ใครควรลงยันต์อะไร เมื่อศิษย์ได้ลงยันต์ แล้วจะต้องรักษาศีล 5 อย่างเคร่งครัด และงดเว้นการกิน มะเฟืองเนื่องจากจะไปล้างสรรพคุณและความขลังของ ว่านยา นอกจากนีพ้ อ่ ท่านวงศ์ยงั ได้รเิ ริม่ จัดสร้างพุทธสถานและพุทธ วัตถุสำ�คัญขึ้นภายในวัดอีกหลายอย่าง โดยให้ประชาชนได้มี โอกาสร่วมบริจาคทรัพย์สร้างสมบารมี อาทิ “พระพุทธสุมงั คล โลกนาถ” พระพุทธไสยาสน์ขนาดใหญ่ ซึง่ ได้รบั พระราชทานนาม จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ปัจจุบนั ประดิษฐานอยูภ่ ายใน วิหาร และ “มหาพระธาตุเจดีย์ 9 ยอด” สร้างเมื่อพ.ศ. 2547 เพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวโรกาส ครองราชย์ครบ 60 ปี ภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่ ได้รับ ประทานจากสมเด็จพระสังฆราชแห่งประเทศศรีลังกา เชื่อกันว่าหากใครมาวัดนี้และได้กระทำ�ปฏิบัติบูชาครบ 4 ประการ คือกราบขอพรพระนอน นมัสการรูปหล่อพ่อท่านคล้าย วาจาสิทธิ์ เวียนเทียนรอบพระธาตุ 9 ยอด และบูชาพระเครื่อง พ่อท่านคล้ายก้นอุ ชีวิตของผู้นั้นจะแคล้วคลาดจากเรื่องเลว ร้าย ดังนั้น ถ้ามีโอกาสเดินทางผ่านมา จงอย่างพลาดด้วย ประการทั้งปวง....


ศิลปะกับชีวิต

ชุมชนวังโชกุนกับการ

ส่งเสริมศิลปะวัฒนธรรม

การดำ�รงชีวิตอยู่บนโลกใบนี้อย่างมีความสุขแท้จริงนั้น นอกจากมวล มนุ ษย์ จ ะต้ อ งให้ ค วามเคารพในธรรมชาติ เคารพในสรรพสั ต ว์ ทั้ ง ปวงแล้ ว ยังต้องมีศาสนาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ และมีศิลปะ วัฒนธรรม ตลอดจน ประเพณี เพื่อรังสรรค์ความสุนทรีย์ และเป็นสัญลักษณ์แห่งชาติพันธุ์

สุวรา พรามณ์เสน

เช่นเดียวกับชุมชนวังโชกุน ที่นอกจากจะเป็นชุมชนต้นแบบในด้านการเรียนรู้ทฤษฎีเศรษฐกิจ พอเพียงแล้ว ยังให้ความสำ�คัญกับศาสนาและการส่งเสริมศิลปะวัฒนธรรมด้วย โดยมีโครงการจัด ทำ�พิพธิ ภัณฑ์ชมุ ชน เพือ่ นำ�ศิลปะวัตถุโบราณต่างๆ ทีส่ มาชิกชาวชุมชนสะสมไว้และมีความประสงค์ จะมอบให้เป็นสมบัติของชุมชนมาจัดแสดง เพื่อประโยชน์ ในการศึกษาด้านประวัติศาสตร์ และการ ปลูกจิตสำ�นึกให้เยาวชนคนรุน่ ใหม่ให้ได้เข้าใจความเป็นมาของบรรพบุรษุ โดย นายสุวรา พรามณ์เสน สมาชิกรุ่นแรกเริ่มของชุมชนวังโชกุน ผู้เป็นต้นคิดเรื่องการจัดทำ�พิพิธภัณฑ์ชุมชน ได้เล่าถึงที่มา ของโครงการดังกล่าวว่า.... ชุชุมมชนวั ชนวังงโชกุ โชกุนน 3434


“ผมเป็นคนที่หลงใหลและสนใจศึกษาประเพณีวัฒนธรรม โบราณของไทยมาตั้งแต่เด็กๆ แล้วครับ เมื่อมีโอกาสได้เจอะเจอ ศิลปะวัตถุโบราณไม่ว่าจะเป็นอะไรก็แล้วแต่ ผมจะพยายาม อนุรักษ์ไว้ เพราะของเหล่านี้ ไม่ได้มีค่าในทางศิลปะเท่านั้น แต่ยัง มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ด้วย แต่ที่ผมสะสมพระเครื่องมากกว่า อย่างอืน่ เพราะผมใกล้ชดิ พุทธศาสนา เคยบวชเรียนอยูห่ ลายพรรษา อีกอย่างผมเห็นค่าในพุทธคุณและพุทธศิลป์ ไม่ได้สะสมไว้เป็นพุทธ พาณิชย์ครับ ตอนทีบ่ วช ผมได้มโี อกาสศึกษาพระธรรมวินยั จนสอบได้ นักธรรมเอก พร้อมกับเรียนภาษาบาลีจนจบปริญญาตรี ตอนหลังได้ รับพระราชทานเป็นพระมหาเปรียญสี่ ซึง่ จริงๆ แล้วผมจบเปรียญห้า ครับ แต่ไม่ได้ไปรับ (ยิม้ ) ทีแรกทีส่ ะสมก็ตงั้ ใจว่าจะไว้เป็นสมบัตสิ ว่ น ตัว ทำ�ไปทำ�มาก็คิดว่าถ้ามีทุนจะนำ�มารวบรวมจัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์ จะเป็นประโยชน์กว่า เด็กรุ่นหลังจะได้เรียนรู้ว่าคนสมัยก่อนเขามี ความคิด ความเชื่อ มีค่านิยม มีความเป็นอยู่อย่างไรจากการศึกษา ที่มาของวัตถุหรือพระเครื่องแต่ละชิ้น จากนั้นผมก็ได้เข้ามาเป็นสมาชิกวังโชกุน ผมเป็นสมาชิกรุ่น ก่อตั้งนะครับ เป็นแกนนำ�ร่วมกับผู้ ใหญ่มา พอทุกอย่างเข้าที่ เข้าทาง ผมก็เข้ามาช่วยชุมชนด้วยการทำ�หน้าที่เป็นประธานทาง วัฒนธรรมประจำ�ตำ�บลตะปาน เพราะเราถนัดทางนี้ นอกจากนี้ก็ ทำ�หน้าที่ด้านพิธีกรรมและศาสนาต่างๆ ด้วย เช่น เป็นพิธีกรทาง หน้าพระ เป็นผู้จัดการพิธีกรรมทางศาสนา แต่บางทีก็ต้องเป็น โฆษกทั่วไปด้วย อะไรที่ช่วยชุมชนได้ก็ทำ�หมดครับ... แล้ววันหนึ่ง ผมก็เล่าสิ่งที่ผมคิดเรื่องพิพิธภัณฑ์ ให้ผู้ ใหญ่ชาคฤชฟัง ผู้ ใหญ่ก็ เห็นด้วย ผมก็เลยตัดสินใจนำ�ของสะสมทุกอย่างที่มีมาบริจาคให้

กับศูนย์ฯ โดยผู้ ใหญ่ได้จัดสรรพื้นที่ส่วนหนึ่งของศูนย์ฯ เพื่อพัฒนา เป็นพิพิธภัณฑ์ต่อไป แต่ตอนนี้ยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นครับ ผมคิดว่า ในช่วงแรกนี้เราอาจจะจัดทำ�ตู้ โชว์ของเก่าให้คนที่มาอบรมหรือคน ที่มาดูงานและคนในชุมชนได้ชม ส่วนทิศทางในอนาคตว่ารูปแบบ ของพิพิธภัณฑ์จะเป็นอย่างไร จะมีการรวบรวมหรือขอบริจาควัตถุ โบราณจากที่ไหนหรือไม่ ยังต้องมีการประชุมหารือข้อสรุปครับ” แม้วันนี้พิพิธภัณฑ์ชุมชนวังโชกุนจะยังไม่เป็นรูปร่างชัดเจน แต่ ก็นับเป็นการดีที่ชาวชุมชนได้ตระหนักถึงความสำ�คัญของศิลปะ วัฒนธรรม และมีความตั้งใจจริงที่จะอนุรักษ์ไว้เพื่อประโยชน์ของ ส่วนรวม เพราะหากเปรียบประเทศเป็นเสมือนต้นไม้ ใหญ่แล้ว ศิลปะ วัฒนธรรมก็คอื รากแขนงรากหนึง่ ทีม่ คี วามสำ�คัญยิง่ ยวด เพราะมีหน้า ที่ค้ำ�ยันให้ต้นยืนยงอย่างสง่างามไปชั่วกัลปาวสานนั่นเอง...

ชุชุมมชนวั ชนวังงโชกุ โชกุนน 3535


ชุ ม ชนวั ง โชกุ น 36


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.