หนูน้อยจ้าวเวหาทีวีไทย สพฐ. ชิงถ้วยพระราชทานในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่​่หัว ปี 2551

Page 1

หนูน้อยจ้าวเวหา ทีวีไทย สพฐ.

ชิงถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

สำ�นักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำ�นักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน


คำ�นำ� การจัดการแข่งขันเครื่องบินจำ�ลองและวิทยุบังคับ “หนูน้อยจ้าวเวหา” ทีวีไทย สพฐ. เป็นความโครงการในร่วม มือระหว่างสำ�นักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ร่วมกับสมาคมกีฬาเครื่องบินจำ�ลองและวิทยุบังคับ สถานี โทรทัศน์ทีวีไทยและ สำ�นักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สสส. ในการอบรมค่ายวิทยาศาสตร์อากาศยาน และถ่ายทอดสดการแข่งขันเครื่องบินจำ�ลองและวิทยุบังคับ ซึ่งเป็นการส่งเสริมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ด้านกลศาสตร์ที่ เป็นรูปธรรมและบูรณาการกับสาระต่างๆ อย่างต่อเนื่อง การจัดการแข่งขันเครื่องบินจำ�ลองและวิทยุบังคับ “หนูน้อยจ้าวเวหา” ทีวีไทย สพฐ. ชิงถ้วยพระราชทานใน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากหน่วยงานต่าง ๆ นับว่าเป็นสิ่งที่ค่ายิ่งสำ�หรับการจัดการ ศึกษาแบบบูรณาการในสาระวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ พลศึกษา การงานอาชีพเทคโนโลยี และศิลปะการออกแบบ สร้างเครื่องบินจำ�ลองที่สามารถบังคับควบคุมด้วยวิทยุ และยังเป็นเครื่องมือในการปลูกฝังให้มีคุณลักษณะนิสัยในการ ทำ�งานเป็นทีมและความสามารถซึ่งกันและกัน ความสามัคคีให้กับผู้เรียนตามเป้าหมายของการจัดการศึกษาให้เป็นคนดี มีคุณธรรมควบคู่กับความรู้ ความสามารถและสมรรถภาพในการทำ�งาน สำ�นักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานหวังเป็นอย่างยิ่งว่ารายงานผลการแข่งขันเครื่องบินจำ�ลองและวิทยุ บังคับชิงถ้วยพระราชทานในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฉบับนี้ จะช่วยจุดประกายให้เกิดการเรียนรู้ที่เป็นการบูรณา การแบบองค์รวมด้วยเครื่องบินจำ�ลองและวิทยุบังคับจะขยายวงกว้างไปสู่การพัฒนานักเรียนในโรงเรียนต่างๆอย่างกว้าง ขวางต่อไป

สำ�นักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา

สำ�นักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน


สารบัญ ชิงถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หนูน้อยจ้าวเวหา ทีวีไทย สพฐ. วัตถุประสงค์ ก้าวแรก “หนูน้อยจ้าวเวหา” ความร่วมมือจากหน่วยงานต่าง ๆ ของการจัดการแข่งขัน สมาคมกีฬาเครื่องบินจำ�ลองและวิทยุบังคับ กิจกรรมการดำ�เนินโครงการ ภาคผนวก แนวคิดการออกแบบเครื่องบิน ประเภทความคิดสร้างสรรค์สวยงามบินได้ คำ�สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการจัดแข่งขันเครื่องบินจำ�ลองและวิทยุบังคับ “หนูน้อยจ้าวเวหา” ทีวีไทย สพฐ.ชิงถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

1 1 4 4 5 6 8 33 39 39 48


ก้าวแรก “หนูน้อยจ้าวเวหา”

ชิงถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเเจ้าอยู่หัว

โครงการแข่งขันเครื่องบินจำ�ลองและวิทยุบังคับ “หนูน้อยจ้าวเวหา : Young Pilot TV Thai” เป็นความร่วมมือระหว่างสำ�นักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) ร่วมกับสมาคมกีฬาเครื่องบิน จำ�ลองและวิทยุบังคับ สถานีโทรทัศน์ทีวีไทยและ สำ�นักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ในการอบรมค่ายวิทยาศาสตร์อากาศยานและถ่ายทอดสดการแข่งขันเครื่องบินจำ�ลองและวิทยุบังคับ ซึ่ง เป็นการส่งเสริมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ด้านกลศาสตร์ที่เป็นรูปธรรมและบูรณาการกับสาระต่างๆ เช่น ศิลปะ การออกแบบ เทคโนโลยี คณิตศาสตร์ และการงานอาชีพ ที่นำ�ไปสู่ชีวิตประจำ�วัน ให้กับนักเรียนกลุ่มสนใจ ได้เรียนรู้วิทยาศาสตร์การบิน และการประดิษฐ์เครื่องบินจำ�ลอง โดยเรียนรู้และฝึกทำ�งานเป็นทีมในการ ออกแบบ ประกอบเครื่องบิน ฝึกทดลองบิน และแข่งขันเป็นทีม ๆ ละ 3 คน พร้อมครูผู้ควบคุมอีก 1 คน ซึ่ง เป็นการบูรณการความรู้จากทฤษฎีและหลักการทางกลศาสตร์ ผสมผสานกับการออกแบบเทคโนโลยี ออก มาเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่เป็นรูปธรรม สามารถ เคลื่อนไหวได้ บินได้ และควบคุมได้ด้วยวิทยุบังคับ ซึ่งนอกจาก ได้รับความรู้ ทัศนคติ และทักษะในการฝึกบินแล้ว ยังเป็นการปลูกฝังจิตวิทยาศาสตร์ให้เกิดกับนักเรียนที่ เข้าร่วมโครงการ

วัตถุประสงค์

1. เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ วิชาฟิสิกส์สาขากลศาสตร์จากนามธรรมให้เป็นรูปธรรม เรื่อง แรงกระทำ� กฎ แรงโน้มถ่วง และวิทยาศาสตร์การบิน การประดิษฐ์เครื่องบินจำ�ลองและวิทยุบังคับให้กับ นักเรียนกลุ่มที่สนใจ 2. เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนได้เล่นกีฬาห่างไกลยาเสพติดและส่งเสริมการใช้เวลาว่างเป็นประโยชน์ 1


สำ�นักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ความร่วมมือจากหน่วยงานต่าง ๆ ของการ จัดการแข่งขัน 1. สถานีโทรทัศน์ทีวีไทย ถ่ายทอดสดการแข่งขัน ทุกภาค ๆ ละ 1 ชั่วโมง ส่วนการแข่งขันระดับ ประเทศถ่ายทอดสดรวม 2 ชั่วโมงเต็ม รวมทั้งค่าใช้จ่ายทุกรายการของเจ้าหน้าที่สถานีโทรทัศน์ 2. สมาคมกีฬาเครื่องบินจำ�ลองและวิทยุบังคับ เป็นคณะกรรมการ กรรมการตัดสิน สถานที่จัดแข่งขัน และวัสดุ อุปกรณ์ประกอบการแข่งขัน 3. สำ�นักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ออกค่าใช้จ่ายในส่วนของค่าอาหาร ค่าที่พักให้ นักเรียนที่เข้าร่วมการแข่งัจน ถ้วยรางวัล และเงินรางวัลผู้ชนะการแข่งขันทั้งระดับภาค และระดับชิงแชมป์ ประเทศไทย เกียรติบัตร และปีกสามารถ (รางวัลทีมที่ชนะการแข่งขัน) รวมทั้งค่าใช้จ่ายของเจ้าหน้าที่ สพฐ. ที่ร่วมดำ�เนินงานในโครงการนี้ 4. สสส. สนับสนุนการดำ�เนินงานและเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์การบินให้กับสมาคมกีฬา เครื่องบินจำ�ลองและวิทยุบังคับ

หนูน้อยจ้าวเวหา ทีวีไทย สพฐ.

2


สมาคมกีฬาเครื่องบินจำ�ลองและวิทยุบังคับ

ชิงถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเเจ้าอยู่หัว

สมาคมกี ฬ าเครื่ อ งบิ น จำ � ลองและวิ ท ยุ บั ง คั บ เป็ น องค์ ก รไม่ ห วั ง กำ�ไร (Non Profit Organizer) สังกัดการกีฬาแห่งประเทศไทย โดยไม่มี งบประมาณเป็นองค์กรที่ให้การศึกษาด้านวิทยาศาสตร์อากาศยานจัดฝึก อบรมการสร้างเครื่องบินจำ�ลองวิทยุบังคับให้กับนักเรียน นักศึกษา และ องค์กรต่างๆ ที่สนใจด้านอากาศยาน โดยใช้ทุนส่วนตัวเหมาะสำ�หรับตั้งแต่ ชั้นประถมปลาย จนถึงมหาวิทยาลัยโดยมีนายพิศิษฐ์ มิตรเกื้อกูล เป็น นายกสมาคมกีฬาเครื่องบินและวิทยุบังคับ ได้ดำ�เนินงานมากว่า 7 ปี ได้เดิน ทางสอนมากว่า 3000 โรงเรียน โดยนายพิศิษฐ์ มิตรเกื้อกูล ดำ�รงตำ�แหน่ง นายกสมาคมฯ ได้เผยแพร่ความรู้พื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์อากาศยาน โดยการสอนสร้างเครื่องบินจำ�ลองวิทยุบังคับแก่นักเรียนตั้งแต่ประถมถึง ระดับมหาวิทยาลัย โดยใช้ทุนส่วนตัวในระยะ 6 ปีแรก ในปีที่ 7 สมาคมได้ รับการสนับสนุนการถ่ายทอดสดจากทีวีไทย ทีวีสาธารณะ เพื่อจัดแข่งขัน กีฬาเครื่องบินจำ�ลองวิทยุบังคับ และได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก สำ�นักงานคณะกรรการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยสำ�นักพัฒนานวัตกรรม การศึกษา และสำ�นักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยจัดการแข่งขันหนูน้อยจ้าวเวหาทีวีไทย ถ้วยพระราชทาน เป็นพระมหากรุณาธิคุณ จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อันนับเป็นพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าล้นกระหม่อมที่ทรงมีต่อสมาคม กีฬาเครื่องบินจำ�ลองและวิทยุบังคับ นายพิศิษฐ์ มิตรเกื้อกูล ทีมงานสมา คมฯทีวีไทยทีวีสาธารณะและเยาวชนไทยอย่างหาที่สุดมิได้ โดยทรง พระราชทานถ้วยรางวัลแก่นักกีฬาผู้ชนะเลิศ การแข่งขันหนูน้อยจ้าวเวหาทีวีไทยทั้งสี่ประเภทจัดโดยสมาคมกีฬาเครื่อง บินจำ�ลองและวิทยุบังคับ สนามสุดท้ายที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราช 3


สำ�นักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

หนูน้อยจ้าวเวหา ทีวีไทย สพฐ.

มงคลรัตนโกสินทร์วิทยาเขตวังไกลกังวล อำ�เภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งจะมีการแข่งขันในวัน อาทิตย์ที่ 11 ตุลาคม 2552 บัดนี้การทำ�ความดีเพื่อวงการการศึกษา และวงการกีฬา ของสมาคมกีฬาเครื่องบินจำ�ลองและวิทยุ บังคับ โดยการนำ�ของนายพิศิษฐ์ มิตรเกื้อกูล อยู่ในสายพระเนตรของพระองค์ ทรงเป็นฝนจากฟ้า ขอพระองค์ทรงพระเจริญ ข้าพระพระพุทธเจ้า นายพิศิษฐ์ มิตรเกื้อกูล และทีมงานสมาคมกีฬาเครื่องบินจำ�ลองและวิทยุบังคับ ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ

4


กิจกรรมการดำ�เนินโครงการ

1. การจัดค่ายอบรมวิทยาศาสตร์อากาศยาน เครื่องบินจำ�ลองและวิทยุบังคับ ระดับภูมิภาค ก่อนการแข่งขันในระดับภูมิภาคได้มีการ จัดอบรมค่ายวิทยาศาสตร์อากาศยาน อบรมการ ประกอบเครื่องบินและการใช้วิทยุบังคับให้เครื่อง บินสามารถบินได้ใน 4 รูปแบบคือ 1) ประเภทบิน ผาดโผน 2) ประเภทบินทิ้งสัมภาระตรงจุด 3) การออกแบบเครื่องบินสวยงามสร้างสรรค์ 4) ประเภทบินนาน ดังนี้

วัน เดือน ปี

สนามอบรม

1. ภาคใต้ 2. ภาคอีสานตอนบน 3. ภาคอีสานตอนล่าง 4. ภาคเหนือตอนบน 5. ภาคเหนือตอนล่าง

23-25 มี.ค. 2552 15 - 17 พ.ค. 2552 20 - 22 พ.ค. 2552 8 - 10 เม.ย. 2552 3 - 5 เม.ย. 2552

โรงเรียนวชิราวุธราชวิทยาลัย จ.สงขลา โรงเรียนประจักษ์ศิลปาคาร จ.อุดรธานี โรงเรียนบุญวัฒนา จ.นครราชสีมา สนามกีฬา 700 ปี จ.เชียงใหม่ โรงเรียนจุฬาภรณ์ราชวิทยาลัย จ.พิษณุโลก

6. ภาคตะวันออก

18 - 20 มิ.ย. 2552

โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติพระศรีนครินทร์ 100 ทีมๆ ละ 3 คน รวม 300 คน พระบรมราชชนนี จ.ระยอง สำ�นักงานเขตพื้นที่การศึกษา เขต 1 100 ทีมๆ ละ 3 คน รวม 300 คน จ.สุพรรณบรี

7. ภาคกลาง

8 - 10 ก.ค. 2552

ชิงถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเเจ้าอยู่หัว

การอบรมระดับภาค

จำ�นวนทีม 100 ทีมๆ ละ 3 คน รวม 300 คน 50 ทีมๆ ละ 3 คน รวม 150 คน 50 ทีมๆ ละ 3 คน รวม 150 คน 50 ทีมๆ ละ 3 คน รวม 150 คน 50 ทีมๆ ละ 3 คน รวม 150 คน

5


สำ�นักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

2. การจัดแข่งขันเครื่องบินจำ�ลองและวิทยุบังคับ “หนูน้อยจ้าวเวหา” ระดับภูมิภาค

หนูน้อยจ้าวเวหา ทีวีไทย สพฐ.

การแข่งขันระดับภาค 1. ภาคใต้ 2. ภาคเหนือ 3. ภาคอีสาน 4. ภาคตะวันออก 5. ภาคกลาง

6

วัน เดือน ปี 2 - 3 พ.ค. 2552 13 - 14 มิ.ย. 2552 4 - 5 ก.ค. 2552 8 - 9 ส.ค. 2552 5 - 6 ก.ย. 2552

สนามแข่งขัน สนามกีฬาจิระนคร จ.สงขลา สนาม ม.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย สนามกีฬากลาง จ.หนองคาย สนามกีฬากลาง จ.จันทบุรี สนามกีฬากลาง จ.สุพรรณบุรี

จำ�นวนทีม 100 ทีม รวม 300 คน 100 ทีม รวม 300 คน 100 ทีม รวม 300 คน 100 ทีม รวม 300 คน 100 ทีม รวม 300 คน


3. การจัดค่ายอบรมวิทยาศาสตร์อากาศยาน เครื่องบินจำ�ลองและวิทยุบังคับ ระดับประเทศ

ชิงถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเเจ้าอยู่หัว

การจั ด กิ จ กรรมค่ า ยอบรมจั ด ขึ้ น ที่ ศู น ย์ ก ารทหาร ราบค่ายธนะรัชต์ จ.ประจวบคีรีขันธ์ มีกิจกรรมอบรม การประกอบเครื่องบินและการใช้วิทยุบังคับให้เครื่องบิน สามารถบินได้ ในรูปแบบต่าง ๆ คือ บินผาดโผน บินทิ้ง สัมภาระตรงจุดการออกแบบเครื่องบินสวยงามสร้างสรรค์ และ บินนานและ การฝึกควบคุมการบินและการใช้วิทยุ บังคับทั้ง 4 ประเภท กิ จ กรรมค่ า ยอบรมก่ อ นการแข่ ง ขั น เป็นการเตรียมความพร้อม และเพิ่มพูนทักษะ ให้กับนักเรียน หนูน้อยจ้าวเวหาที่เป็นตัวแทน ในระดับภูมิภาค ซึ่งนอกจากความรู้และ ทักษะที่ได้รับแล้ว กิจกรรมในค่ายครั้งนี้ ได้ สร้างเสริมประสบการณ์ ชีวิตในการอยู่ร่วมกัน เป็นหมู่คณะ ระเบียบวินัย ความสามัคคี เสีย สละ แบ่งปันน้ำ�ใจให้กับเพื่อนร่วมค่าย ทำ�ให้ ลดบรรยากาศของการมุ่งแข่งขันเพื่อชนะได้

7


สำ�นักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

กิจกรรมวันที่ 4 ตุลาคม 2552 : การลงทะเบียน , พี่ ๆ ดูแลน้องด้วยกิจกรรม สร้างความคุ้นเคยและบันเทิง

หนูน้อยจ้าวเวหา ทีวีไทย สพฐ.

ช่วงเช้าพี่เลี้ยงจาก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ จ.นนทบุรี รับลงทะเบียนคณะ นักกีฬาที่เข้าร่วมกิจกรรมค่ายอบรม มีการเล่นกิจกรรมสันทนาการบ้างเพื่อไม่ให้นักเรียนเกิดความเบื่อ หน่าย ช่วงบ่าย เดินทางออกจาก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ วิทยาเขตวังไกลกังวล เพื่อไปยังค่ายที่พัก ณ ค่ายธนะรัชต์ ช่วงเย็น วิทยากรทหารปฐมนิเทศเรื่อง ระเบียบและกฎเกณฑ์การอยู่ร่วมกันภายในค่ายและรับ ประทานอาหารเย็นที่โรงเลี้ยง วิทยากรทหารนำ�นักเรียนทำ�กิจกรรมสันทนาการ สวดมนต์ แผ่เมตตา เข้า นอน

8


วันที่ 5 ตุลาคม 2552 : กิจกรรมค่ายฝึกบังคับการบินโดยคณะวิทยากรจากสมาคมเครื่องบินจำ�ลอง และวิทยุบังคับได้ให้ความรู้และพูดคุย ตอบข้อซักถาม กับนักเรียน แต่ละคน ตามความต้องการและสนใจ ซึ่งเป็นการเรียนรู้ตามศักยภาพของผู้เรียนและ ฝึกการแก้ปัญหา สรุปสาระสำ�คัญได้ดังนี้ คุณดำ�รงยุทธ นันทปราโมทย์ ที่ ปรึ ก ษาสมาคมเครื่ อ งบิ น จำ � ลองและวิ ท ยุ บังคับ : แนะนำ�เรื่องการเข้าค่ายและกล่าวถึง ความเป็นมาในการจัดค่ายในครั้งนี้ ในปีนี้มี การแข่งขันทั้งหมดรวม 6 สนาม มีเด็กแข่งขัน ในระดั บ ประถมศึ ก ษาถึ ง ระดั บ มั ธ ยมศึ ก ษา ตอนต้น ในปีหน้าอาจจะมีการแข่งขันเพิ่มขึ้น เป็น 8 สนาม และจะมีการขยายการแข่งขัน ไปถึงระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยจะมีพัฒนาการแข่งขันเครื่องบินเป็นแบบ 4 Channel และ กล่าวว่าการฝึกซ้อมต้องใช้เวลา กว่าจะเป็นแชมป์ต้องฝึกฝนอย่างหนัก ชิงถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเเจ้าอยู่หัว

คุณพิสิษฐ์ มิตรเกื้อกูล นายกสมาคมเครื่องบิน จำ�ลองและวิทยุบังคับ : จัดกิจกรรมให้ครูที่พานักเรียน มาแข่งขันกันได้ แข่งขันบังคับเครื่องบินโดยอบรมการ สร้างเครื่องบินวิทยุบังคับให้กับครูและนักเรียนเพิ่มเติม เพื่อที่ครูจะได้นำ�ไปสร้างและซ่อมเครื่องบังคับวิทยุเอง ได้ เพื่อจะได้ไม่ต้องรอส่งมาซ่อมที่สมาคมเพียงอย่าง เดียว โดยจะมีอาจารย์ประดิษฐ์ บุญเส็ง ครูโรงเรียนแสวงหาวิทยาคม จ.อ่างทอง เป็นผู้สอน โดย

9


สำ�นักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

หนูน้อยจ้าวเวหา ทีวีไทย สพฐ.

ใช้เวลาประมาณ 2 วันและจะมีแนวคิดในการปรับปรุงเกณฑ์การตัดสินประเภทบินสร้างสรรค์สวยงาม ในปีถัดไป เป็นสัดส่วนคะแนนความสวยงาม : บินได้ เป็น 50:50 และจุดประกายแนวคิดที่ทำ�ให้หุ่น ยนต์บินได้ ซึ่งเป็นการยกระดับคุณภาพและความสามารถด้านการบินของนักเรียนให้สูงขึ้น

10

อาจารย์และนักศึกษาพี่เลี้ยงจาก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ : กล่าวถึงงานวิจัยเรื่องใบพัดเครื่องบินที่วิจัยให้ กับสมาคมฯ ซึ่งนับเป็นก้าวแรกของคณาจารย์ และนักศึกษาไทยในการผลิตนวัตกรรมใบพัด ประกอบเครื่องบินที่ต้องการมีลักษณะแข็งแรง และยืดหยุ่น ซึ่งได้ใช้ความพยายามถึง 3 ครั้ง จึงได้ใบพัด และมอบชุดใบพัดเครื่องบินให้กับ ทางสมาคมฯ เพื่อให้นักเรียนได้ทดลองใช้ใน การฝึกซ้อมในค่ายครั้งนี้ และถ้าใบพัดหัก ก็ให้ นำ�มาเปลี่ยนใบใหม่ได้ โดยทางมหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิจะเก็บข้อมูล เพื่อใช้ในงานวิจัยต่อไป

คุณสุรเกียรติ ลิบลับ : กล่าวแนะนำ�นักเรียน ว่า ใบพัดเครื่องบินมีความสำ�คัญในการบิน และ ต้องรู้จักและสังเกตในสิ่งที่เราเล่น, ต้องเรียนรู้จาก การปฏิบัติ การบินผาดโผน และบินนาน ต้องมี เทคนิคในการปรับตัวเครื่องบิน เช่นในเรื่องของ การตั้งมุมปีก การติดใบพัด ให้ส่วนโค้งอยู่ด้าน หน้า ส่วนเรียบหันเข้ามอเตอร์ องศาของลำ�ตัวและ ปีกเครื่องบินมีผลในการบินด้านประหยัดพลังงาน ซึ่ ง นับเป็น การปลูกจิต วิทยาศาสตร์ระหว่างการ เข้าค่ายเรียนรู้


เวลาประมาณ 13.00 น. แบ่งกลุ่มนักเรียนที่มาร่วมกิจกรรมค่ายแต่ไม่ได้มาแข่งขัน เพื่อประดิษฐ์ เครื่องบินจากโฟม และให้นักเรียนที่แข่งขันแต่ละประเภท ได้ทดสอบบินเพื่อวัดทักษะการบังคับเครื่อง บิน แต่เกิดฝนตกจึงเข้าที่อบรมเพื่อทำ�กิจกรรมสันทนาการ เวลาประมาณ 16.30 น. พันเอกอานนท์ เพชรคำ� มาเยี่ยมชมกิจกรรมค่าย คุณพิสิษฐ์ มิตรเกื้อกูล นายก สมาคมจึงได้สาธิตการบินทิ้งระเบิดปิงปอง และแนะนำ� การบังคับเครื่องบินจำ�ลอง ให้กับพันเอก อานนท์ พร้อม ทั้งมอบเครื่องบินพร้อมชุดบังคับวิทยุ 1 ชุดด้วย ชิงถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเเจ้าอยู่หัว

เวลาประมาณ 19.00 น. หลังจากคณะครูและ นักเรียนร่วมรับประทานอาหารเย็น ทางค่ายได้เชิญ พันตรีบุญเรือง จันทร์วิมล ซึ่งเป็นอนุศาสนาจารย์ มาอบรมธรรมะให้กับนักเรียน โดยมีเนื้อหาเกี่ยว กับวันออกพรรษา , ความเป็นมาของการทอดกฐิน, สังคหวัตถุ 4 , ความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหา กษัตริย์ ซึ่งมีสื่อเป็น PowerPoint รวมทั้งบทเพลง แปลง 2 เพลง ที่แปลงมาจากเพลงยอดนิยม คือ เพลง มันต้องถอนและเพลงหนุ่มบาวสาวปาน โดยเปลี่ยน ชื่อเพลงเป็นมันต้องสอนมีเนื้อหาเกี่ยวกับธรรมะส่ง ผลให้เด็กที่เข้าอบรมได้รับความสนุกสนานพร้อมได้ รับการขัดเกลาจิตใจไปในตัวด้วย

11


สำ�นักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

วันที่ 6 ตุลาคม 2552 : เรียนรู้อุปกรณ์รับ – ส่งเพื่อควบคุมการบิน ควบคู่กับ การเสริมสร้างคุณธรรมประจำ�ใจ ในช่วงเช้าถึงช่วงบ่าย อาจารย์ประดิษฐ์ บุญเส็ง ได้ อธิบายหลักการในการทำ�งานของเครื่องส่งและรับ สัญญาณวิทยุ และสอนวิธีการสร้างแผงวงจรทั้งภาค ส่งและรับ

หนูน้อยจ้าวเวหา ทีวีไทย สพฐ.

ในช่วงเย็นอาจารย์อรวรรณ โอวรารินทร์ จาก สพฐ. ได้เรียกประชุมครูที่มาควบคุมทีมนักเรียน เข้าแข่งขัน เพื่อสอบถามถึงปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นในระหว่างการเข้าค่ายฝึกอบรมและหลังจาก นักเรียนและคณะครูร่วมรับประทานอาหารเย็นแล้วก็เริ่มกิจกรรมต่อนำ�โดยวิทยากรทหาร และก่อน เข้านอนนักเรียนได้นั่งสมาธิ

12


วันที่ ึ7 ตุลาคม 2552 : ถ่ายทอด แบ่งปัน เรียนรู้

ช่วงเข้ามีการสอนทำ�เครื่องบินให้กับเด็กนักเรียนศูนย์เยาวชนในค่ายธนะรัชต์

ชิงถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเเจ้าอยู่หัว

และในตอนบ่ายมีการแบ่งนักเรียนเป็นกลุ่มเพื่อฝึกการบินประเภทต่าง ๆ แล้วซ้อมที่ละทีมร่วม กัน โดยคุณพิสิษฐ์ได้ให้คำ�แนะนำ�อย่างใกล้ชิด เพื่อให้เด็กนักเรียนได้ซ้อมกันอย่างทั่วถึง และแบ่งกลุ่มเด็ก นักเรียนศูนย์เยาวชนในค่ายฯให้ได้ลองประดิษฐ์เครื่องบินด้วยตนเอง

13


สำ�นักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

วันที่ 8 ตุลาคม 2552 : เรียนรู้การบินในโครงการพระราชดำ�ริฝนหลวง

หนูน้อยจ้าวเวหา ทีวีไทย สพฐ.

ช่วงเช้ามีการนำ�นักเรียนไปเยี่ยมชมศูนย์ฝนหลวง – หัวหิน ตั้งอยู่ที่ ท่าอากาศยานหัวหิน ต.บ่อฝ้าย อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ข้อมูลด้านการปฏิบัติการฝนหลวง ประกอบด้วย - พื้นที่รับผิดชอบ เขื่อน/อ่างเก็บน้ำ� พื้นที่การเกษตร - สภาพความพร้อมการปฏิบัติการ สารเคมี เครื่องบิน - การปฏิบัติการฝนหลวงในแต่ละขั้นตอนตามตำ�ราพระราชทาน - ผลการติดตามสภาพอากาศในแต่ละพื้นที่ปฏิบัติการรายชั่วโมง เด็กนักเรียนได้ชมการบินของเครื่องบินของศูนย์ฝนหลวง เรียนรู้ขั้นตอนการทำ�ฝนหลวง และครูบาง ท่านได้ขึ้นเครื่องบินไปทำ�ภารกิจฝนหลวงด้วย

14


วันที่ 9 ตุลาคม 2552 : ฝึกซ้อมบินในสนามจริงและแข่งขัน ลงทะเบียนและแข่งขันประเภทบินสร้างสรรค์สวยงาม ณ โรงอาหาร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราช มงคลรัตนโกสินทร์ วิทยาเขตวังไกลกังวล

ส่วนนักเรียนที่ลงแข่งขันประเภทอื่นก็ได้ฝึกซ้อมกันที่สนามกีฬามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราช มงคลรัตนโกสินทร์ วิทยาเขตวังไกลกังวล เพื่อลดความตื่นเต้นและสร้างความคุ้นเคยในสนามแข่ง จริงให้กับทีมที่ร่วมแข่งขัน ชิงถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเเจ้าอยู่หัว 15


สำ�นักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

4. การขอพระราชทานถ้วยรางวัลและการอัญเชิญถ้ายรางวัลพระราชทาน

หนูน้อยจ้าวเวหา ทีวีไทย สพฐ.

นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงพระราชทานถ้วยรางวัลให้ทีมที่ ชนะเลิศการแข่งขันทั้ง 4 ประเภท รวม 4 ถ้วย มีลำ�ดับขั้นตอนการดำ�เนินงานเกี่ยวกับถ้วยพระราชทานดังนี้ 1) การขอพระราชทานถ้วยรางวัลดำ�เนินการโดยสมาคมกีฬาเครื่องบินจำ�ลองและวิทยุบังคับ โดยทำ� หนังสือถึงสำ�นักราชเลขาธิการ สำ�นักพระราชวัง พร้อมเอกสารโครงการวิธีดำ�เนินการ

16


2) การสร้างถ้วยพระราชทาน (ถ้วยทอง) สำ�หรับรางวัลที่ 1 รวม 4 ประเภท (4 ถ้วย) โดยส่งเจ้าหน้าที่ จากสำ�นักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ไปประสานสำ�นักราชเลขานุการ สำ�นักพระราชวัง ในส่วน ของการตรวจสอบข้อความในถ้วย พร้อมแนบหนังสือพระราชทานถ้วยรางวัล

ชิงถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเเจ้าอยู่หัว

3) การอัญเชิญถ้วยพระราชทานจากเทศบาลเมืองหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เวลา 8.00 น. โดย ขบวนวงดุริยางค์และรถขบวนบุปผชาติแห่ ริ้วขบวนกีฬาถือธง ภ.ป.ร. และธงชาติ และริ้วขบวนนักกีฬา แต่ละประเภท ตามด้วยรถที่อัญเชิญถ้วยพระราชทาน แห่รอบเทศบาลเมืองหัวหิน

17


สำ�นักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

และเคลื่อนขบวนมายังสนามกีฬาในเวลา 10.00 น. จึงได้อัญเชิญถ้วยพระราชทานไว้บนแท่นประรำ�พิธี ซึ่ง ประกอบด้วยโต๊ะหมู่บูชา มีพระบรมฉายาลักษณ์อยู่กลาง ด้านซ้ายของพระบรมฉายาลักษณ์เป็นธงชาติ ด้านขวาของพระบรมฉายาลักษณ์เป็นธง ภ.ป.ร.สีเหลือง โต๊ะหมู่ชั้นบนสุดเป็นพุ่มเงิน พุ่มทองหรือแจกัน

หนูน้อยจ้าวเวหา ทีวีไทย สพฐ.

4) การอัญเชิญถ้วยพระราชทานขึ้นประดิษฐานบนแท่นวางถ้วยพระราชทานบนอัฒจันทร์เพื่อมอบ ให้ผู้ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ ดังนี้ พิธีกรเบิกประธานไปยังหน้าพระบรมฉายาลักษณ์ ถวายความเคารพ เปิดกรวย ประธาน เป็นผู้ดำ�เนินการอัญเชิญถ้วยพระราชทานประดิษฐานบนแท่นพร้อมโต๊ะหมู่บูชา (ผู้บริหารระดับสูงเป็นผู้รับ ถ้วยพระราชทาน) วงดุริยางค์บรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมีขณะอัญเชิญถ้วยมาวางที่โต๊ะหมู่และทำ�พิธี เปิดกรวยก่อนการมอบถ้วย

18


5. การจัดแข่งขันเครื่องบินจำ�ลองและวิทยุบังคับ “หนูน้อยจ้าวเวหา” ทีวีไทย สพฐ. ชิงถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

สำ�นักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานร่วมกับสมาคมกีฬาเครื่องบินจำ�ลองและวิทยุบังคับ และสถานีโทรทัศน์ทีวีไทยได้กำ�หนดจัดการแข่งขันระดับประเทศ ระหว่างวันที่ 10 – 11 ตุลาคม 2552 ณ สนามกีฬามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ วิทยาเขต วังไกลกังวล จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดย ได้แบ่งการแข่งขันเป็น 4 ประเภท ดังนี้

1) การแข่งขันประเภทบินผาดโผน

ชิงถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเเจ้าอยู่หัว

กติกาได้กำ�หนดเวลาในการแข่งขัน 2.30 นาที ถ้าเครื่องบินตกและยังไม่หมดเวลา สามารถนำ�เครื่องบิน บินต่อได้จนหมดเวลาแต่ต้องปล่อย (Start) เครื่องบินและควบคุมการบิน ในพื้นที่ที่ กรรมการกำ�หนดไว้ทุกครั้ง ถ้าเครื่องบินสามารถบินลอดบ่วงได้แล้ว แต่ชนบ่วงตกในระยะ 2 เมตรจากบ่วง จะไม่ได้คะแนน (กรรมการจะตีเส้น 2 เมตรไว้เป็นเส้นกำ�หนดจุดห้ามตก) ซึ่งบ่วงที่ใช้ในการแข่งขันมี 3 ขนาด ถ้าบินลอดบ่วงจะได้คะแนนดังนี้ บ่วงใหญ่สุด 10 คะแนน บ่วงขนาดกลาง 20 คะแนน บ่วงขนาด เล็กสุด 30 คะแนนสำ�หรับการนับคะแนนรวมให้ตามบ่วงที่บินลอดได้ ทีมใดได้คะแนนมากที่สุดเป็นผู้ชนะ โดยมี 2 รอบคือ 1) การแข่งขันรอบคัดเลือก จะคัดทีมที่ทำ�คะแนนได้มากที่สุด 5 ทีม 2) รอบชิงชนะเลิศ จะ แข่งขันเฉพาะ 5 ทีม ที่ผ่านการคัดเลือก ส่วนเครื่องบินที่จะใช้แข่งขันทางสมาคมจัดเตรียมให้ทีมละ2 ลำ� เท่านั้น และแต่ละทีมสามารถนำ�เครื่องบินมาเองได้ 1 ลำ� แต่จะต้องผ่านการตรวจจากกรรมการก่อนทำ�การ แข่งขัน

19


สำ�นักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

หนูน้อยจ้าวเวหา ทีวีไทย สพฐ.

2) การแข่งขัน ประเภทบินนาน กติกากำ�หนดให้แข่งขันพร้อมกันครั้งละ 5 ทีม เครื่องบินต้องบินเหนือบริเวณพื้นที่ และความสูงที่กรรมการกำ�หนด ( ประมาณ 20 เมตร ) ส่วนผู้ควบคุมเครื่องบินต้องอยู่ในจุดที่กรรมการ กำ�หนดเท่านั้น หาก เครื่องบินตก หรือสันนิษฐานว่าตก (ไม่สามารถมองเห็นเครื่องบินได้) จะถือว่าสิ้นสุด การแข่งขัน สำ�หรับเครื่องบินที่ใช้แข่งขันจะเป็นเครื่องบินที่สมาคมฯจัดให้แต่ถ้าเครื่องบินตกบนสิ่งก่อสร้าง หรือค้างต้นไม้หรือสิ่งอื่นใดให้ถือว่าเครื่องบินตกและทีมที่บินได้นานที่สุดเป็นผู้ชนะตามลำ�ดับ (การแข่งขัน รอบคัดเลือก จะคัดทีมที่ทำ�เวลาได้นานที่สุด 5 ทีม เข้ารอบชิงชนะเลิศ)

3) การแข่งขัน ประเภททิ้งสัมภาระตรงจุด กติกาเวลาในการแข่งขัน 2.30 นาที กำ�หนดให้เครื่องบินบินทิ้งสัมภาระไม่ต่ำ�กว่า ความสูงที่กรรมการกำ�หนดเหนือเป้าหมาย (ไม่ต่ำ�กว่า 5 เมตร) ส่วนผู้ควบคุมเครื่องบินต้องอยู่ในจุดที่ กรรมการกำ�หนดเท่านั้น และทีมสามารถทิ้งสัมภาระได้เพียง 2 ครั้ง นับคะแนนครั้งที่ดีที่สุดเท่านั้น กรณี คะแนนเท่ากันหลายทีม ทีมที่ใช้เวลาน้อยที่สุดเป็นทีมชนะสำ�หรับ ถ้าเครื่องบินตกและยังไม่หมดเวลา สามารถส่งเครื่องบินบินต่อได้จนหมดเวลา กรรมการจะตัดสินทีมที่ทิ้งสัมภาระลงในวงที่ได้คะแนนสูงสุดเป็น ผู้ชนะ ในกรณีทิ้งสัมภาระ ลงนอกวงคะแนน กรรมการจะวัดระยะจากจุดกึ่งกลางวงคะแนนถึงจุดที่สัมภาระ ตก เพื่อหาผู้ชนะตามลำ�ดับ กำ�หนดการแข่งขันเป็น 2 รอบคือ 1) การแข่งขันรอบคัดเลือก จะเอาทีมที่ทำ�คะแนนได้มากที่สุด5ทีม 2) รอบชิงชนะเลิศ สำ�หรับเครื่องบินที่จะใช้แข่งขันทางสมาคมฯจะจัดเตรียมให้ทีมละ 2 ลำ�เท่านั้น และ แต่ละทีม สามารถนำ�เครื่องบินมาเองได้ 1 ลำ� แต่จะต้องผ่านการตรวจจากกรรมการ ก่อนทำ�การแข่งขัน

20


ชิงถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเเจ้าอยู่หัว

4) การแข่งขันประเภทความคิดสร้างสรรค์สวยงามบินได้ กติกากำ�หนดเวลาการแข่งขัน 2 นาทีหรือ 120 วินาที โดยแต่ละทีมจะต้องออกแบบ และลงมือสร้างเครื่องบินเอง พร้อมตั้งชื่อเครื่องบินที่จะสร้างและนำ�เสนอถึงแรงบันดาลใจในการออกแบบ โดยเขียนบรรยายลงในกระดาษ A4 (สามมารถเตรียมความพร้อมมาจากบ้านได้) สำ�หรับอุปกรณ์การ สร้างและเครื่องมือการสร้างทางสมาคมจะจัดเตรียมไว้ให้แบบเดียวกับการอบรม ให้กับทุกทีมที่เข้าแข่งขัน นอกจากนั้นนักกีฬาสามารถนำ�อุปกรณ์ตกแต่งสวยงามมาได้ แต่จะต้องนำ�มาลงมือทำ�ที่สนามแข่งเท่านั้น ส่วนคะแนนจะแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ 1) คะแนนสร้างสรรค์สวยงาม 70 % (โดยคะแนนสร้างสรรค์สวยงาม จะใช้กรรมการจากมวลชน 30 ท่าน) 2) คะแนนบินได้ 30 % และจะคัดเอาทีมที่ได้คะแนนสูงสุด 5 ทีม ติดอุปกรณ์การบิน เพื่อแข่งรอบชิงชนะเลิศโดยทำ�การแข่งขันการบินพร้อมกัน5 ลำ� โดยกำ�หนดการให้ คะแนนการบินดังนี้ บินได้ 120 วินาที 30 คะแนน บินได้ 100 วินาที 25 คะแนน บินได้ 80 วินาที 20 คะแนน บินได้ 60 วินาที 15 คะแนน บินได้ 40 วินาที 10 คะแนน บินได้ 20 วินาที 5 คะแนน (บินได้ไม่ถึง 20 วินาทีถือว่าบินไม่ได้ จะไม่ได้คะแนนบิน) วิธีการให้คะแนน จะให้เครื่องบินบินเหนือบริเวณพื้นที่ที่กรรมการ กำ�หนด และเมื่อบินครบ 2 นาที จะต้องนำ�เครื่องบินกลับลงในพื้นที่ที่กำ�หนดเท่านั้น หากไม่สามารถนำ� เครื่องบินลงกลับมาในบริเวณที่กำ�หนดได้ ไม่มีการตัดสินคะแนนบินส่วนผู้ควบคุมเครื่องบินต้องอยู่ในจุดที่ กรรมการกำ�หนดเท่านั้น และจะนำ�คะแนนสร้างสรรค์สวยงามและคะแนนบินได้มารวมกัน ทีมใดได้คะแนน สูงสุดเป็นผู้ชนะ

21


สำ�นักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

6. ผลการแข่งขันหนูน้อยจ้าวเวหา ทีวีไทย สพฐ. ชิงถ้วยรางวัล พระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 1) ประเภทบินผาดโผน (บินลอดบ่วง) รางวัลที่

ทีม/ โรงเรียน

1

ทีมนาคำ�ไฮ 1 โรงเรียนชุมชนนาคำ�ไฮวิทยา

2

ทีม Y.C.P. โรงเรียนยางชุมน้อยพิทยาคม

3

ทีมศรีนครินทร์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระ ศรีนครินทร์พะเยา

ชื่อ - สกุล 1.ด.ช.อนุสรณ์ ถาวะโร 2.ด.ช.อภิเชฎ ทองมล 3.ด.ช.ธีระวัฒน์ แสพลกรัง 1.ด.ช.จิรศักดิ์ บุญลา 2.ด.ช.กิตติพงษ์ ชาลี 3.ด.ช.พิทักษ์พงษ์ ไพกะเพศ 1.ด.ช.สธน สมฤท์ 2ด.ช.รุจิกร ทะริยะ 3.ด.ช.สุพศิน ปังประเสริฐกุล

ครูผู้ควบคุม นายทองมาก พลแก้ว

นายธนกฤต เกตุไชเลิศ

นายวศิน มังคลาด

2) ประเภททิ้งสัมภาระตรงจุด

หนูน้อยจ้าวเวหา ทีวีไทย สพฐ.

รางวัลที่

22

ทีม/ โรงเรียน

1

ทีมแรพเตอร์ โรงเรียนประเทียบวิทยาทาน

2

ทีมเมืองสุพรรณ โรงเรียนเมืองสุพรรณบุรี

3

ทีม Dragonball โรงเรียนโคกศรีเมือง

ชื่อ - สกุล 1.ด.ช.วชิระ รักอิสระ 2.ด.ช.มนตรี บรรจบ 3.ด.ช.สุริยา เอี่ยมคต 1.ด.ช.ไตรรัตน์ แก้วปาน 2.ด.ช.วิทยา สุวรรณ 3.ด.ช.ศราวุฒิ กัลยา 1.ด.ช.ธนกิจ เจียงวิเศษ 2.ด.ช.ธนาคม อนันทวัน 3.ด.ช.ปิยะวัฒน์ พิมพรัตน์

ครูผู้ควบคุม นายบรรชัย เบ็ญจสิงห์

นายณัฐวัฒน์ ไกรเภา

ว่าที่พ.ต.เอื้อน วิเศษชาติ


3) ประเภทบินนาน รางวัลที่ 1

ทีม/ โรงเรียน ทีมบ้านพริก 1 โรงเรียนวัดบ้านพริก ทีมอินทรีย์น้อย

2

โรงเรียนสิชลคุณาธารวิทยา

3

ทีม R.S.D. 1 โรงเรียนรัษฎา

ชื่อ - สกุล 1.ด.ช.ณัฐพงศ์ รวมพล 2.ด.ช.สุทอน บุยไทยกลาง 3.ด.ช.สาวิทย์ เสนอใจ 1.ด.ช.นภดล โชติพรหมวรรณ 2.ด.ช.กฤตยศ กาญจนดุล 3.ด.ช.ณัฐยศ จันทบุรี 1.ด.ช.ประทีป คงกล้า 2.ด.ช.กฤนติน ศรีสุข 3.ด.ช.ฤทธิไกร บุญไกร

ครูผู้ควบคุม นายสุริยา จันทร์ประสพโชค

นายนิคม กาญจนาพงศ์

นายมานพ นานอน

4) ประเภทความคิดสร้างสรรค์สวยงามบินได้ ทีม/ โรงเรียน

1

ทีมกิ่วลม 3 กิ่วลมวิทยา

2

ทีมมออีแดง 2 โรงเรียนบ้านหนองเม็กพิทยา

3

ทีมปทุมเทพวิทยาคาร โรงเรียนปทุมเทพวิทยาคาร

ชื่อ - สกุล 1.ด.ช.ภัทรภูมิ ยอดทาเครือ 2.ด.ญ.เบญจมาศ ศรีเงิน 3.ด.ญ.เสาวลักษณ์ 1.ด.ช.ไพรวรรณ ไชยขันตรี 2.ด.ช.วัชระ ลายงาม 3.นายสืบสกุล พร้อมพรม 1.ด.ช.ชานนท์ อินทะวงศ์ 2.ด.ช.ธนวัฒน์ จันทร์ส่องแสง 3.ด.ช.ณัฐวัฒน์ เกศกองกาญจน์

ครูผู้ควบคุม นายเดชา ทนันไชย

นางสนิดา โกศล

นายสมคิด ไชยวงศ์

ชิงถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเเจ้าอยู่หัว

รางวัลที่

23


สำ�นักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

7. พิธีมอบถ้วยรางวัลถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พิธีมอบถ้วยพระราชทาน นักเรียนทีมที่ได้รับรางวัลชนะเลิศรวม 4 ประเภท (4 ทีม) รับถ้วยรางวัล พระราชทานจากแท่นประดิษฐานบนอัฒจันทร์

หนูน้อยจ้าวเวหา ทีวีไทย สพฐ.

พิธีมอบถ้วยรางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 (ถ้วยรางวัลจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ) และถ้วยรางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2 (ถ้วยรางวัลจากคุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน) โดยผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์นายวีระ ศรีวัฒนตระกูล เป็นมอบถ้วยรางวัล

24


8. ก้าวต่อไปของ “หนูน้อยจ้าวเวหา”

ชิงถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเเจ้าอยู่หัว

จากการจัดกิจกรรมอบรมค่ายวิทยาศาสตร์อากาศยานและแข่งขันเครื่องบินจำ�ลองและวิทยุบังคับ ในครั้งนี้ ทำ�ให้คณะครู นักเรียน ทั่วประเทศมีความต้องการที่จะร่วมกิจกรรมในครั้งต่อไป คณะกรรมการ จึงได้พิจารณาเพิ่มกิจกรรมการจัดการแข่งขันในปีต่อไปให้มากขึ้น โดยเพิ่มจำ�นวนการจัดอบรมในทุกภาค โดยในการจัดการแข่งขันปีต่อไป จะได้มีการเพิ่มประเภทการแข่งขันเป็น เครื่องบินบังคับแบบสามมิติ เพื่อ ให้เด็กนักเรียนได้ฝึกบังคับเครื่องบินที่ต้องใช้ทักษะการบินใกล้เคียงกับเครื่องบินจริงมากยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นการ พัฒนาต่อยอดให้กับทีมที่ผ่านการเรียนรู้ฝึกบังคับการบินและเข้าแข่งขันจนได้รับรางวัลที่ 1 – 3 ทุกภูมิภาค และอาจจะมีการอบรมครูฝึกประกอบ และซ่อมเครื่องบังคับวิทยุ โดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญจากสมาคมเพื่อนำ� ความรู้ที่ได้นำ�ไปถ่ายทอดให้กับนักเรียน เป็นการเพิ่มจำ�นวนเครือข่ายวิทยากร เพื่อเพิ่มโอกาสในการเรียน รู้มากยิ่งขึ้น ในด้านการแข่งขัน อาจจะมีการเปิดโอกาสให้กับนักเรียน นักศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอน ปลาย และนักเรียนสายอาชีวศึกษา รวมถึงนักเรียนของศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนด้วย

25


สำ�นักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

9. การออกแบบการเรียนรู้เรื่อง เครื่องบินเล็กบังคับวิทยุ แผนการสอนเรื่อง การออกแบบและประดิษฐ์เครื่องบินจำ�ลอง

หนูน้อยจ้าวเวหา ทีวีไทย สพฐ.

ครูผู้สอน นายอนุสรณ์ อาจสาลี

26

โรงเรียนบ้านน้ำ�เกลี้ยง สำ�นักงานเขตพื้นที่การศึกษาศรีสะเกษ เขต 1 ต.น้ำ�เกลี้ยง อ.น้ำ�เกลี้ยง จ.ศรีสะเกษ


แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้ กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน สาระการเรียนรู้ ชุมชนนักบินน้อย ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1-3 หน่วยที่ 2 การออกแบบและประดิษฐ์เครื่องบินจำ�ลอง สอนวันที่ ................. เดือน พฤษภาคม 2552 จำ�นวน 9 ชั่วโมง ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง ผู้เรียนสามารถ 1. บอกถึงวัสดุ อุปกรณ์สำ�หรับการออกแบบและประดิษฐ์เครื่องบินจำ�ลองวิทยุบังคับได้ 2. อธิบายขั้นตอนการออกแบบและประดิษฐ์เครื่องบินจำ�ลองวิทยุบังคับได้ 3. ออกแบบและประดิษฐ์เครื่องบินจำ�ลองวิทยุบังคับได้ 4. บอกถึงข้อควรระวังและความสำ�คัญของการออกแบบและประดิษฐ์เครื่องบินจำ�ลองและวิทยุบังคับ ได้ 5. ทำ�งานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข เนื้อหา /สาระการเรียนรู้ ขั้นตอนการประดิษฐ์เครื่องบินจำ�ลองวิทยุบังคับ วัสดุ อุปกรณ์ เทคนิควิธีการประดิษฐ์ เครื่องบินจำ� ลองวิทยุบังคับ และการตรวจเช็คจุดศูนย์ถ่วง (C.G.) ของเครื่องบินก่อนการเล่น สื่ออุปกรณ์ 1. ใบงาน ใบงานที่

วัสดุ อุปกรณ์ ขนาดของส่วนประกอบต่าง ๆ ของเครื่องบินจำ�ลองฯ ขั้นตอนการประดิษฐ์เครื่องบินจำ�ลองวิทยุบังคับ

เวลา (นาที) 10 10

2. ใบความรู้ - ใบความรู้ที่ 1.1 วัสดุ อุปกรณ์ ขนาดของส่วนประกอบต่างๆ ของเครื่องบินจำ�ลอง - ใบความรู้ที่ 1.2 ขั้นตอนการประดิษฐ์เครื่องบินจำ�ลองวิทยุบังคับ 3. อื่น ๆ - เพาเวอร์พอยต์เรื่อง วัสดุ อุปกรณ์ ขนาดของส่วนประกอบต่าง ๆ ของเครื่องบินจำ�ลองและขั้นตอน การประดิษฐ์เครื่องบินจำ�ลองวิทยุบังคับ - สื่อนำ�เสนอในรูปแบบเว็บไซต์เรื่องความรู้เกี่ยวกับวัสดุอุปกรณ์และขนาดของส่วนประกอบต่าง ๆ ของเครื่องบินจำ�ลองวิทยุบังคับ - สื่อนำ�เสนอในรูปแบบเว็บไซต์เรื่องขั้นตอนการประดิษฐ์เครื่องบินจำ�ลองวิทยุบังคับ - คอมพิวเตอร์ (โปรแกรมเบราเซอร์) - คอมพิวเตอร์ (โปรแกรม PowerPoint) - เครื่องฉายภาพ โปรเจคเตอร์

ชิงถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเเจ้าอยู่หัว

1.1 1.2

เรื่อง

27


สำ�นักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

กระบวนการจัดการเรียนรู้ 1. การจัดเตรียม 1.1 จัดทำ�สลากเพื่อแบ่งผู้เรียนออกเป็น 7 กลุ่ม กลุ่มละ 3 คน 1.2 จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์จำ�นวน 7 ชุด 2. ขั้นตอนการดำ�เนินงาน 2.1 ผู้สอนบอกจุดประสงค์และอธิบายวิธีการทำ�กิจกรรมที่ 1 2.2 แบ่งผู้เรียนออกเป็น 7 กลุ่มใหญ่ (กลุ่มละ 3 คน) โดยการจับสลาก 2.3 ให้สมาชิกภายในกลุ่มแบ่งหน้าที่การทำ�งานเป็นระบบโดยนักเรียนกำ�หนดหน้าที่ในการทำ� งานของแต่ละคนเอง 2.4 ครูให้ใบงานและใบความรู้ให้นักเรียนศึกษาจากใบงานและใบความรู้ที่ 1.1 และ 1.2 2.5 นักเรียนศึกษาวัสดุ อุปกรณ์ ขนาดของส่วนประกอบต่าง ๆ ของเครื่องบินจำ�ลองวิทยุบังคับ รวมถึงขั้นตอนการประดิษฐ์เครื่องบินจำ�ลองวิทยุบังคับจากอินเตอร์เน็ต เพ่ิมเติม 2.6 หลังจากนั้นให้สมาชิกในกลุ่มสรุปองค์ความรู้ที่ได้จากการศึกษา หน้าชั้นเรียน 2.7 ผู้สอนสุ่มกลุ่มตอบคำ�ถามตามใบงาน เพื่อตรวจสอบว่าถูกต้องหรือไม่ กรณีที่คำ�ตอบมี ความคิดเห็นแตกต่างกัน ให้สมาชิกในกลุ่มอื่นเสนอแนะและแก้ไขเพ่ิมเติมให้คำ�ตอบถูกต้อง 2.8 ผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันสรุปความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการออกแบบและประดิษฐ์เครื่องบิน จำ�ลองวิทยุบังคับ

หนูน้อยจ้าวเวหา ทีวีไทย สพฐ.

การวัดและประเมินผล 1. ใช้แบบสังเกตพฤติกรรมการทำ�งานของนักเรียนเป็นกลุ่ม ในภาคผนวก ง 2. ตรวจคำ�ตอบจากใบงาน 3. ตรวจชิ้นงานโดยประเมินโดยครู ประเมินโดยผู้เรียนประเมินตนเองและประเมินโดยบุคคลอื่น แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม 1. เว็บไซต์สมาคมกีฬาเครื่องบินจำ�ลองและวิทยุบังคับที่ URL: http://www.oknation.net/blog/pisitmit 2. เว็บไซต์ http://192.168.100.1/f-snet1.htm (เว็บการศึกษาโรงเรียนบ้านนำ�้เกลี้ยง) ข้อเสนอแนะ 1. การจัดห้องเรียน ควรติดหมายเลขกลุ่มไว้ที่โต๊ะสำ�หรับกลุ่ม 5 กลุ่ม กลุ่มละ 8 คน 2. ควรติดหมายเลขประจำ�เครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อบอกให้ ผู้เรียนทราบว่าเนื้อหาที่ใช้ศึกษาประ จำ�เครื่องนั้นเป็นกลุ่มย่อยหมายเลขใด

28


ใบงานที่ 1.1 เรื่อง วัสดุ อุปกรณ์ ขนาดของส่วนประกอบต่างๆ ของเครื่องบินจำ�ลองวิทยุบังคับ สมาชิกกลุ่มที่ ........................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................ ................................................................................................................................................................ ................................................................................................................................................................ 1. ให้ผู้เรียนแต่ละกลุ่มย่อย ศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับ วัสดุ อุปกรณ์ ขนาดของส่วนประกอบต่างๆ ของเครื่อง บินจำ�ลองวิทยุบังคับ ดังนี้ 1. ศึกษาจากใบความรู้ที่ 1.1 เรื่องวัสดุ อุปกรณ์ ขนาดของส่วนประกอบต่าง ๆ ของเครื่องบินจำ�ลอง วิทยุบังคับแล้วตอบคำ�ถามต่อไปนี้ 1) วัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้ในการประดิษฐ์เครื่องบินจำ�ลองวิทยุบังคับ ท่ีสำ�คัญมีอะไรบ้างบอกมาพอสังเขป

................................................................................................................................................................ ................................................................................................................................................................ ................................................................................................................................................................ ................................................................................................................................................................ ................................................................................................................................................................ ................................................................................................................................................................ ................................................................................................................................................................

ชิงถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเเจ้าอยู่หัว

................................................................................................................................................................ ................................................................................................................................................................ ................................................................................................................................................................ ................................................................................................................................................................ ................................................................................................................................................................ ................................................................................................................................................................ . 2) ส่วนประกอบต่าง ๆ และขนาดของส่วนประกอบต่าง ๆ ของเครื่องบินจำ�ลองวิทยุบังคับ มีอะไรบ้างและมี ขนาดเท่าไหร่ บอกมาโดยละเอียด

29


สำ�นักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ใบงานที่ 1.2 เรื่อง ขั้นตอนการประดิษฐ์เครื่องบินจำ�ลองวิทยุบังคับ สมาชิกกลุ่มที่ ......................................................................................................................................... .............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................... ............................................................................................................................................................... 1. ให้ผู้เรียนแต่ละกลุ่มย่อย ศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับ ขั้นตอนการประดิษฐ์เครื่องบินจำ�ลองวิทยุบังคับ ดังนี้ 1. ศึกษาจากใบความรู้ที่ 1.2 ขั้นตอนการประดิษฐ์เครื่องบินจำ�ลองวิทยุบังคับแล้วตอบคำ�ถาม ต่อไปนี้ 1) ขั้นตอนการประดิษฐ์เครื่องบินจำ�ลองวิทยุบังคับ ที่สำ�คัญมีอะรไบ้างบอกมาพอสังเขป . ............................................................................................................................................................... ............................................................................................................................................................... ............................................................................................................................................................... ............................................................................................................................................................... ............................................................................................................................................................... ..............................................................................................................................................................

หนูน้อยจ้าวเวหา ทีวีไทย สพฐ.

2) ข้อสำ�คัญ หรือข้อควรระวังในการประดิษฐ์เครื่องบินจำ�ลองวิทยุบังคับ มีอะไรบ้าง

30

............................................................................................................................................................... ............................................................................................................................................................... ............................................................................................................................................................... ............................................................................................................................................................... ............................................................................................................................................................... ............................................................................................................................................................... ...............................................................................................................................................................


ใบความรู้ที่ 1.1 เรื่อง วัสดุ อุปกรณ์ ขนาดของส่วนประกอบต่างๆ ของเครื่องบินจำ�ลองวิทยุบังคับ

ชิงถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเเจ้าอยู่หัว

วัสดุ อุปกรณ์ในการประดิษฐ์เครื่องบินจำ�ลองวิทยุบังคับ 1. โฟมเกรด A หนา 2 นิ้ว หรือ หนา 5 ซ.ม. ขนาดกว้าง 11 ซ.ม. ยาว 60 ซ.ม. จำ�นวน 1 ชิ้น ใช้ทำ�ลำ�ตัว 2. โฟมเกรด A หนา 3/4 นิ้ว หรือหนา 2 ซ.ม. ขนาดกว้าง 15.5 ซ.ม. ยาว 43 ซ.ม. จำ�นวน 2 ชิ้น ใช้ทำ�ปีก 3. โฟมอัดแน่นแบบกล่องหนา 5 มม. ขนาดกว้าง 12 ซ.ม. ยาว 30 ซ.ม. จำ�นวน 1 ชิ้น ใช้ทำ� แพนหางแนวนอน 4. โฟมอัดแน่นแบบกล่องหนา 5 ซ.ม. ขนาดกว้าง 12 ซ.ม. ยาว 15 ซ.ม. จำ�นวน 1 ชิ้น ใช้ทำ� แพนหางแนวตั้ง 5. กาว UHU POR จำ�นวน 1 หลอด 6.กระดาษทราย เบอร์ 380 หรือ 400 จำ�นวน 1 แผ่น 7. คัดเตอร์ 8. ปากกา 9. ไม้เสียบลูกชิ้นจำ�นวน 3 อัน 10. ยางรัดของวงใหญ่ 4 เส้น 11. เทป OPP 12. แบบตัดตัว แบบตัดปีก แบบตัดองศา แบบตัดแพนหางแนวนอน (STAB) แบบตัด แพนหางแนวตั้ง (FIN) 13. หม้อแปลงไฟฟ้า 6-12 V. ขนาด 5 AM. 14. แบบลวดตัดตัวยาว 10 ซ.ม. แบบลวดตัดปีกยาว 65 ซ.ม. แบบลวดตัดองศายาว 20 ซ.ม.

31


สำ�นักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ใบความรู้ที่ 1.2 เรื่องขั้นตอนการประดิษฐ์เครื่องบินจำ�ลองวิทยุบังคับ

ขั้นตอนการประดิษฐ์เครื่องบินจำ�ลองวิทยุบังคับ

หลังจากตัดโฟมได้ขนาดตามที่ต้องการแล้ว นำ�แบบไม้ลำ�ตัว ที่เตรียมไว้แต่ทีแรก มาประกบ ทาบลงบนโฟมทั้งสองข้าง

หนูน้อยจ้าวเวหา ทีวีไทย สพฐ.

เมื่อนำ�แบบไม้ลำ�ตัวมาประกบโฟมทั้งสองข้างเรียบร้อยแล้ว จับให้มั่นอย่าให้แบบขยับ เพราะจะตัดโฟมได้ไม่ตรงแบบ นำ� เครื่องCNC ขนาดตัวเล็ก ต่อสายไฟเข้ากับหม้อแปลง เปิดกระแสไฟฟ้า DC 6 Volt นำ�เครื่องCNC วางทาบลงบนโฟม ลวด ความร้อนจะเกิดความร้อนลงไปตัดโฟม ลากตามแบบไม้ลำ�ตัว

วางลากไปตามแบบไม้ โฟมจะโดนความร้อนตัด ออกเป็นชิ้นๆ โดยไม่มีเศษโฟม ดังในภาพด้านล่าง

32


ตัดบริเวณส่วนหัวของเครื่องบิน ควรจะช่วยกันสองคน โดยท่านหนึ่งจับให้มั่น และอีกท่านหนึ่งคอยใช้เครื่องCNC ตัดโฟมออกเป็นชิ้นๆ

ใช้เครื่องCNC ตัดโดยรอบแบบไม้ลำ�ตัว ในรูปกำ�ลังตัดบริเวณที่จะวางหางแนวระดับ

ชิงถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเเจ้าอยู่หัว

33


สำ�นักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

หนูน้อยจ้าวเวหา ทีวีไทย สพฐ.

หลังจากตัดโฟมโดยรอบแล้ว นำ�แบบออกจากโฟม

34


ข้อควรระวังในการตัดโฟมลำ�ตัว โดยเฉพาะตรงบริเวณวางแพนหางแนวระดับ ควรตัดให้ตรงตามแบบ เพราะหากตัด แล้วไม่ได้ระดับ การควบคุมการบินจะทำ�ได้ยากมาก หลังจากได้ลำ�ตัวเครื่องบิน ขั้นตอนต่อไปจะเป็นการประดิษฐ์ช่วงของ แพนหางเครื่องบิน แพนหางเครื่องบินมีหน้าที่ในการปรับระดับการบิน ทั้งในแนวระดับ และแนวดิ่ง ดังนั้นแพนหางเครื่องบินจำ�ลองจึง แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ แพนหางแนวระดับ และแพนหางแนวดิ่ง

ชิงถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเเจ้าอยู่หัว

ลักษณะของแพนหางแนวระดับซึ่งทำ�จากโฟมอัด หนา 5 มม. การติดตั้งแพนหางแนวระดับ เริ่มจากการใช้กาว UHU สีเขียว ทาลงบนลำ�ตัวบริเวณที่วางหาง

35


สำ�นักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

หลังจากทากาวUHU แล้ว รอให้แห้ง 3-5 นาที หรือช่วยให้แห้งด้วยการพัดให้แห้งเร็วขึ้น หลังจากแล้ววางทาบแพน หางแนวระดับ ลงบนตรงกลางด้านท้ายของลำ�ตัว

หนูน้อยจ้าวเวหา ทีวีไทย สพฐ.

หลังจากติดตั้งแพนหางระดับแล้ว ขั้นตอนต่อไปติดแพนหางแนวดิ่ง

แพนหางแนวดิ่งทำ�มาจากโฟมเกรดA หนา 5 มม. มีขนาดดังรูป

36


การติดตั้งแพนหางแนวดิ่ง นำ�แพนหางมาลองวางทาบให้ตั้งฉากกับแพนหางแนวระดับ

ใช้หัวแร้งทำ�การวางรอยในการวางแพนหางแนวดิ่ง

ชิงถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเเจ้าอยู่หัว

37


สำ�นักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

หลังจากเซาะร่องเล็กๆ เพื่อการวางแพนหางแนวดิ่งเรียบร้อย ทำ�การทากาวUHU เป็นแนวยาวจากเซาะร่องจนถึงปลาย หาง รอกาวจนแห้ง 3-5 นาที นำ�แพนหางแนวดิ่งมาวางบนแนวกาว ให้ได้แนวตั้งฉาก และตรงกึ่งกลางของลำ�ตัวพอดีดังรูป

ลำ�ตัวติดตั้งแพนหางเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อไปจะเป็นการสร้างปีกเครื่องบินจำ�ลอง

หนูน้อยจ้าวเวหา ทีวีไทย สพฐ.

ปีกเครื่องบินมีหน้าที่ในรักษาระดับการทรงตัวของเครื่องบินจำ�ลองทั้งลำ� และการบังคับเลี้ยวซ้าย เลี้ยวขวา และใช้ใน การติดตั้งมอเตอร์ที่บริเวณใต้ปีกเครื่องบินจำ�ลอง

ปีกเครื่องบินจำ�ลองทำ�มาจากโฟมเกรดA มีความหนา 2 ซ.ม. ตัดให้ได้ขนาด 15.5x40.5 ซ.ม. จำ�นวน 2 แผ่น

นำ�แบบไม้ตัดโค้งปีกที่มีลักษณะโค้ง ตามแบบที่กล่าวมาแล้วในบทที่ 1 มาตรวจความเรียบร้อย 38


นำ�โฟม มาวางบนแบบไม้ตัดโค้งปีก ดังภาพ

จะเห็นว่าหลังตัดโค้งปีกแล้ว โฟมส่วนบนจะหลุดออกจากโฟมส่วนล่างที่โค้งเป็นปีกเครื่องบินแล้ว

ชิงถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเเจ้าอยู่หัว

นำ�เครื่องCNC ขนาดใหญ่ เปิดกระแสไฟฟ้าDC 12 Volt ทาบลวดความร้อน ลงบนโฟม ด้านหน้า และค่อยๆลากไป บนแบบไม้ตัดโค้ง ไปจนสุดแบบไม้ตัดโค้ง ปิดเครื่องแปลงไฟฟ้าให้เรียบร้อย

นำ�โฟมส่วนบนออก ส่วนนี้จะไม่ใช้ ทิ้งได้เลย

39


สำ�นักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

โฟมส่วนล่างจะมีลักษณะที่โค้ง ตามแบบที่ต้องการ ทำ�การตัดให้ได้ 2 ชิ้น เหมือนกัน

หนูน้อยจ้าวเวหา ทีวีไทย สพฐ.

หลังจากได้ปีก 2 ชิ้นเหมือนกันเรียบร้อยแล้ว จะต้องนำ�มาตัดองศาปีก ด้วยแบบตัดองศาปีก ที่มีความเอียง ของแบบประมาณ 3-5 องศา

นำ�ปีกทั้งสองข้างมาวางลงบนแบบไม้ตัดองศา ลักษณะการวางต้องวางให้สลับความหนาของปีก และให้ ด้านท้ายของโฟมทั้งสองข้างเสมอกัน

40


ใช้เครื่องCNC ขนาดใหญ่ ตัดองศาปีก โดยให้ลวดความร้อนแนบกับแบบไม้ตัดองศาตามความเอียง

หลังจากตัดเสร็จเรียบร้อย นำ�ปีกสองข้างมาต่อกันดูว่าได้องศาตามที่ต้องการ โดยใช้ข้างที่มีรอยตัดองศามา

การต่อปีกใช้กาวUHU สีเขียว มาทาบริเวณที่มีรอยตัดองศาปีก เพียงข้างเดียว แล้วละเลงกาวทั่วทั้งสองข้าง รอให้แห้งประมาณ 3-5 นาที หรือช่วยพัดให้แห้ง หลังจากนำ�ปีกมาต่อกัน ลักษณะจะออกมาเป็นรูปตัว V

ชิงถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเเจ้าอยู่หัว

ต่อกัน

41


สำ�นักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

เพื่อความแข็งแรง จะพันด้วยสติ๊กเกอร์เทป ประมาณ 3-4 รอบ ขณะพันรอบเทป ควรรีดให้เรียบ เพื่อเพิ่ม ความแข็งแรงของปีก เพราะปีกเป็นส่วนที่รับแรงลมมากที่สุด

หนูน้อยจ้าวเวหา ทีวีไทย สพฐ.

หลังจากได้ปีกและลำ�ตัวเรียบร้อยแล้ว ที่นี้มาถึงขั้นตอนการติดตั้งปีกให้เข้ากับลำ�ตัว จะเห็นว่าลักษณะปีกเป็นรูปตัววี การวางบนลำ�ตัว ซึ่งเป็นแนวราบจะทำ�ให้ปีกไม่นิ่งกระโดดกระเตง จึงต้องเซาะร่องลำ�ตัวเพื่อวางปีกไม่นิ่งไม่กระโดดกระเดง วัดระยะบนลำ�ตัวประมาณ ¼ ขอความยาวลำ�ตัว เป็นจุดเริ่มต้นของการเซาะร่อง ร่องจะมีความยาวเท่ากับความกว้างของปีก เครื่องบินจำ�ลอง

ทำ�การขีดเส้นแนวการเซาะร่อง บนลำ�ตัวเครื่องบิน

42


ในการเซาะร่องเราใช้หัวแร้งที่ให้ความร้อนได้ดี ทำ�การเซาะร่อง ความกว้างประมาณ 1 นิ้ว และลึกประมาณ 1.5 นิ้ว จะได้ลักษณะร่องวางปีกดังภาพ

ชิงถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเเจ้าอยู่หัว

หลังจากได้ปีกแล้ว จะเป็นขั้นตอนในการทำ�ไม้เสียบเพื่อรัดยางยึดปีกเครื่องบิน โดยการนำ�ไม้เสียบลูกชิ้น มาเสียบที่ ลำ�ตัว วัดระยะจากปากร่องลงมา 1 นิ้ว และมาในแนวราบอีก 1.5 นิ้ว จะได้ตำ�แหน่งไม้เสียบส่วนหน้า

เช่นเดียวกันในส่วนหลังของลำ�ตัว วัดระยะจากปากร่องส่วนหลังลงมาแนวดิ่ง 1 นิ้ว และวัดมาด้านหลังในแนวราบ 43


สำ�นักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

อีก 1.5 นิ้ว จะได้ตำ�แหน่งการเสียบไม้ลูกชิ้นส่วนหลัง

หลังจากเสียบไม้เสร็จเรียบร้อยแล้ว นำ�ปีกมาวางทาบบนบริเวณเซาะร่องที่ได้ทำ�ไว้แล้ว และนำ�หนังยางวงใหญ่ มารัด ในลักษณะไขว้กัน

หนูน้อยจ้าวเวหา ทีวีไทย สพฐ.

รัดไขว้กันทั้งสองเส้น ในลักษณะดังภาพ เท่านี้การประดิษฐ์เฉพาะลำ�ตัวก็เสร็จเรียบร้อยแล้ว จะได้เครื่องบินที่ยังไม่ ได้ตบแต่งสติ๊กเกอร์เทป เรื่องการติดสติ๊กเกอร์ เป็นศิลปะส่วนตัวแล้วแต่จินตนาการของตนเอง การประดิษฐ์เครื่องบินจำ�ลอง เรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อไปเป็นการติดตั้งมอเตอร์ และการหาสมดุลของเครื่องบินจำ�ลองวิทยุบังคับ

เครื่องวิทยุบังคับเครื่องบินจำ�ลอง สามารถหาซื้อได้ตามท้องตลาดทั่วไป หรือสามารถประดิษฐ์เองได้ สมาคมกีฬา เครื่องบินจำ�ลองและวิทยุบังคับมีการสอนด้านนี้อีกหลักสูตร เครื่องวิทยุบังคับประกอบด้วย ภาคส่งสัญญาณ ภาครับสัญญาณ และมอเตอร์ส่งกำ�ลังพร้อมใบพัด ในที่นี้เราใช้เครื่องวิทยุบังคับแบบ 2 แชทแนล ของต่างประเทศที่ธรรมดาที่สุด

44


นำ�เครื่องบินจำ�ลองที่เสร็จแล้ว เฉพาะส่วนปีก นำ�ปีกมาคว่ำ�ลงบนพื้น ควรมีวัสดุรองรับตรงกลางของปีก เพื่อป้องกัน ความเสียหายของปีก ให้ด้านที่มีส่วนหนาของปีก หรือเรียกว่าชายหน้าปีก หันออกนอกตัวของผู้ทำ�การติดตั้ง

ทำ�การวัดระยะจากจุดกึ่งกลางของปีก มาข้างละ 13 ซ.ม. ทั้งสองข้าง ทำ�ตำ�หนิไว้

นำ�มอเตอร์ภาครับสัญญาณมาติดตั้ง ให้สังเกตสายไฟสีน้ำ�เงินจะอยู่ด้านขวามือของผู้ที่ติดตั้งเสมอ

ชิงถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเเจ้าอยู่หัว

45


สำ�นักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ใช้กาวUHUสีเขียว ทาลงบนโฟมปีก หรือใช้กาวสองหน้าก็ได้ ในตำ�แหน่งด้านในของเส้นที่ทำ�ตำ�หนิ 13 ซ.ม. ไว้ทั้ง สองข้าง ละเลงให้ทั่วรวมทั้งตัวมอเตอร์ด้านที่จะติดลงบนโฟมด้วย รอให้แห้งประมาณ 3-5 นาที

หนูน้อยจ้าวเวหา ทีวีไทย สพฐ.

หลังจากรอให้แห้งแล้ว นำ�มอเตอร์มาติดลงบนตำ�แหน่งที่ต้องการ ทั้งสองข้าง

ด้วยเหตุว่าเวลาบินมอเตอร์จะเกิดความร้อนทำ�ให้มอเตอร์หลุดได้ง่าย และเพื่อความแข็งแรง จะนำ�เทปกาวใย สับปะรดมาติดลงไปอีกชั้นหนึ่ง การติดเทปกาวใยสับปะรด ควรรีดให้เรียบจริง เพราะหากไม่เรียบเวลาบินจะมีลมแทรก เข้าไป จะทำ�ให้เทปหลุดง่าย

46


เก็บสายไฟให้เรียบร้อย นำ�ปีกมาประกบกับลำ�ตัว รัดยางให้เรียบร้อย

ก่อนทำ�การบิน จะต้องหาสมดุลของเครื่องบินจำ�ลองเสียก่อน เพื่อประสิทธิภาพการบิน วิธีการหาสมดุลมีดังนี้

ชิงถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเเจ้าอยู่หัว

นำ�นิ้วชี้ทั้งสองข้าง ชี้ลงบนส่วนที่หนาที่สุดของปีก และยกรอยขึ้น น้ำ�หนักจะไปลงอยู่ด้านหางของลำ�ตัว นำ� แบตเตอรี่มาถ่วงทุกส่วนของลำ�ตัว ไล่จากหางถึงด้านหัวของเครื่องบิน จนกว่าลำ�ตัวจะขนานกับพื้นโลก วางแบตเตอรี่ ตำ�แหน่งนั้น

47


สำ�นักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ทำ�ตำ�หนิตำ�แหน่งที่สมดุลไว้ เพื่อทำ�การขุดลำ�ตัวฝังแบตเตอรี่

หนูน้อยจ้าวเวหา ทีวีไทย สพฐ.

ใช้หัวแร้งทำ�การเซาะร่องเพื่อฝังแบตเตอรี่ ทำ�การฝังแบตเตอรี่และรัดยางให้เรียบร้อย

48

เสร็จเรียบร้อยพร้อมบินแล้วครับ


10. กระบวนการเรียนรู้ที่เกิดระหว่างการอบรม , และการแข่งขัน และผลลัพธ์ด้านอื่นๆ การปลูกฝังคุณธรรมที่พึงประสงค์ให้กับผู้เรียน 1) การรู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย ในระหว่างเข้าค่ายอบรม วิทยากรทหารและเจ้าหน้าที่จากทั้งสมาคมฯและจาก สพฐ.ได้บ่ม เพาะอุปนิสัยการมีน้ำ�ใจเป็นนักกีฬา รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย พยายามปลูกฝังให้เด็กๆเหล่านี้ไม่มุ่งที่จะเอาชนะ การแข่งขันจนลืมไปว่าที่สำ�คัญไม่แพ้กัน คือ การได้รู้จักเพื่อนใหม่และต้องเรียนรู้รวมทั้งพยายามรักษา ความสัมพันธ์ที่ไม่ง่ายนักจึงจะได้มารู้จักและได้ทำ�กิจกรรมร่วมกันเช่นนี้ ดังจะเห็นได้ว่าเด็กเหล่านี้มาจาก ทั่วทุกภูมิภาคระหว่างแข่งขัน เมื่อทีมของตนเองได้รับชัยชนะการแสดงความดีใจเป็นเรื่องธรรมดาแต่ขณะ เดียวกันก็ไม่แสดงอากัปกิริยาถากถางเยาะเย้ยต่อผู้แพ้ ส่วนผู้แพ้ก็ไม่ได้แสดงความไม่พอใจออกไปหากแต่ ยินดีต่อผู้ชนะและน้อมรับผลการตัดสินจากคณะกรรมการ

ชิงถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเเจ้าอยู่หัว

2) การทำ�งานเป็นทีม (Team work) วันแข่งขันสร้างเครื่องบินประเภทสร้างสรรค์สวยงามบินได้ ทุกทีมจะแบ่งหน้าที่กันไม่ว่าจะ เป็นช่วยกันออกแบบเครื่องบิน,ตัดโฟม,ตัดและติดสติ๊กเกอร์,ระบายสี,ตกแต่งเครื่องบินให้ดูประณีต สวยงาม เป็นต้น ส่วนการแข่งขันเครื่องบินประเภทอื่น ทุกทีมก็จะแบ่งหน้าที่เช่นเดียวกัน เช่น คนหนึ่งบังคับเครื่อง บิน,คนหนึ่งปล่อยเครื่องบินร่อน ส่วนอีกคนหนึ่งคอยเก็บเครื่องบิน

49


สำ�นักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

หนูน้อยจ้าวเวหา ทีวีไทย สพฐ.

3) ความสามัคคีในหมู่คณะ การร่วมแรงร่วมใจในทีมของตน สร้างทิศทางของทีมให้ไปในแนวเดียวกันตลอดจนการ ทำ�งานเป็นทีม ส่งผลให้เด็กๆมีความหวังและพยายามมุ่งไปสู่สิ่งที่ตัวเองมุ่งหวังไว้ด้วยวิถีทางที่ถูกต้องตาม ที่ได้รับการอบรมบ่มเพาะจากวิทยากรและเจ้าหน้าที่จากสมาคมฯและ สพฐ.

4) ความมีน้ำ�ใจ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เมื่อทำ�กิจกรรมร่วมกันทั้งวันย่อมมีความเหน็ดเหนื่อยเกิดขึ้น ทางสมาคมและ สพฐ.จะ จัดอาหารว่างและมีการรับประทานอาหารร่วมกันที่โรงเลี้ยงของค่ายธนะรัชต์ ไม่ว่าจะหิวเพียงใด จะเห็นอยู่ เสมอว่าพวกเขาหยิบยื่นอาหารแบ่งปันกันรับประทานตลอด หรือแม้กระทั่งการแบ่งปันความรู้เมื่อเพื่อนๆ ไม่เข้าใจโดยไม่มีการแบ่งพรรคแบ่งพวก 5) อดทนและฝ่าฟันอุปสรรค การที่ได้มาเรียนรู้ในค่ายนี้ ทำ�ให้นักเรียนได้เรียนรู้ทักษะ ทั้งทางด้านการอยู่ร่วมกัน และทักษะการเรียนรู้เรื่องการบังคับเครื่องบิน บางครั้งก็มีปัญหาและอุปสรรค นักเรียนสามารถอดทนและ ผ่านอุปสรรคไปได้ด้วยดี เป็นประสบการณ์ที่ดีที่นักเรียนจะได้จดจำ�เป็นประสบการณ์ที่ดีในชีวิต 6) ส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีในครอบครัว ขณะที่เด็กๆกำ�ลังรับการอบรมทั้งภาควิชาการและกิจกรรมสันทนาการ ผู้ปกครอง และผู้เกี่ยวข้องที่ได้ร่วมพัก ณ ค่ายธนะรัชต์และบางส่วนที่พักนอกค่ายต่างได้เห็นลูกหลานของตนร่วม กิจกรรม, ได้รับทราบพูดคุยถามไถ่สารทุกข์สุขดิบซึ่งกันและกันทำ�ให้เด็กรู้สึกอบอุ่น,รับประทานอาหารร่วม กัน และยังได้ร่วมกิจกรรมครอบครัวสุขสันต์ในวันที่ 11 ตุลาคม 2552 ซึ่งเป็นรอบชิงชนะเลิศ 7) ความสำ�นึกในหน้าที่ของพลเมือง หน้าที่ต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ถือเป็นความโชคดีอย่างยิ่งที่ วิทยากรทหารเป็นผู้ถ่ายทอดให้จะแต่งกายเข้าค่ายอบรมและในช่องการแข่งขัน ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีอยู่ แล้วว่าองค์กรทหารเป็นองค์กรที่ยึดมั่นตลอดทั้งมีหน้าที่ปกป้องรักษาสามสถาบันหลักของชาติด้วยชีวิต วิทยากรทหารทุกท่านได้ใช้เทคนิคง่ายๆ เช่น อบรมธรรมะผ่านเพลงยอดนิยม นำ�สปอร์ตโฆษณามา ดัดแปลงสอดแทรกเนื้อหาเรื่องการงดดื่มสุราและการเอาใจเขามาใส่ใจเรา , ฝึกระเบียบแถว , การให้ร้อง เพลงสรรเสริญพระบารมีทุกวัน และการให้สวดมนต์ก่อนนอนทุกคืน

50


11. การประเมินการจัดการแข่งขันเครื่องบินจำ�ลองและวิทยุบังคับ แบบสอบถามความพึงพอใจโครงการอบรมและแข่งขันเครื่องบินจำ�ลองวิทยุบังคับ “หนูน้อยจ้าวเวหา” ทีวีไทย สพฐ. ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม (กรุณาทำ�เครื่องหมาย 1. เพศ ชาย หญิง 2. สถานะภาพ ครูผู้ควบคุมทีม นักกีฬา/นักเรียน (ม.ต้น)

นักกีฬา/นักเรียน (ประถม)

3. ประเภท (กรณีครูผู้สอน / นักกีฬา) สามารถตอบได้มากกว่า 1 ข้อ บินนาน บินผาดโผน ประเด็นวัดความพึงพอใจ

1. ด้านหลักสูตรและการจัดการโครงการ 1.1 ระยะเวลาการอบรมเหมาะสมกับหลักสูตรที่จัดอบรม

มากที่สุด (5)

บุคลากร/อื่น ๆ ..........

บินทั้งสัมภาระ มาก (4)

ปานกลาง (3)

บินสร้างสรรค์สวยงาม น้อย (2)

น้อยที่สุด (1)

ไม่มี/ ไม่พบ

1.2 ความสามารถของวิทยากรในการถ่ายทอดความรู้ 1.3 การอบรมมีกระบวนการและขั้นตอนเป็นระบบชัดเจน 1.4 หลักสูตรมีความเหมาะสม 2. ด้านสิ่งอำ�นวยความสะดวก 2.1 มีอุปกรณ์และเครื่องมือที่ทันสมัยในการอบรม/แข่งขัน 2.2 สถานที่/พื้นที่และบรรยากาศเอื้ออำ�นวยต่อผู้เข้าอบรม 2.4 มีเอกสาร/แผ่นพับ/ข้อมูลการอบรม , แข่งขัน 2.5 ความสะอาดของสถานที่ เป็นระเบียบ 3. ด้านการแข่งขัน 3.1 การประชาสัมพันธ์ล่วงหน้า 3.2 การประชาสัมพันธ์ระหว่างการแข่งขัน 3.3 ระยะเวลาในการจัดการแข่งขัน 3.4 เกณฑ์การตัดสินและกรรมการ 3.5 การรายงานผลการแข่งขัน 3.6 การดำ�เนินการแข่งขันโดยภาพรวม 4. โดยภาพรวมทั้งหมดท่านมีความพึงพอใจอยู่ในระดับใด

กรุณาตอบแบบสอบถามต่อหน้า 2

ชิงถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเเจ้าอยู่หัว

2.3 การประสานงานและการประชาสัมพันธ์

51


สำ�นักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

หนูน้อยจ้าวเวหา ทีวีไทย สพฐ.

1. สิ่งที่ควรปรับปรุง .............................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................. 2. ข้อเสนอแนะ .............................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. 3. ความประทับใจ / ประโยชน์ที่ได้รับ .............................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................. ................................................................................................

52

“ขอบคุณสำ�หรับความร่วมมือ”


ประเด็นวัดความพึงพอใจ 1.1 ระยะเวลาการอบรมเหมาะสมกับหลักสูตรที่จัดอบรม 1.2 ความสามารถของวิทยากรในการถ่ายทอดความรู้ 1.3 การอบรมมีกระบวนการและขั้นตอนเป็นระบบชัดเจน 1.4 หลักสูตรมีความเหมาะสม 1.5 เนื้อหาวิชาที่ได้รับเป็นประโยชน์ 2.1 มีอุปกรณ์และเครื่องมือที่ทันสมัยในการอบรม/แข่งขัน 2.2 สถานที่/พื้นที่และบรรยากาศเอื้ออำ�นวยต่อผู้เข้าอบรม 2.3 การประสานงานและการประชาสัมพันธ์ 2.4 มีเอกสาร/แผ่นพับ/ข้อมูลการอบรม , แข่งขัน 2.5 ความสะอาดของสถานที่ เป็นระเบียบ 3.1 การประชาสัมพันธ์ล่วงหน้า 3.2 การประชาสัมพันธ์ระหว่างการแข่งขัน 3.3 ระยะเวลาในการจัดการแข่งขัน 3.4 เกณฑ์การตัดสินและกรรมการ 3.5 การรายงานผลการแข่งขัน 3.6 การดำ�เนินการแข่งขันโดยภาพรวม 4. โดยภาพรวมทั้งหมดท่านมีความพึงพอใจอยู่ในระดับใด

ค่าเฉลี่ย 3.85 4.28 3.74 3.97 4.13 4.04 3.84 3.65 3.36 3.57 3.82 3.87 3.97 4.04 4.19 4.07 4.01

ความหมาย มาก มาก มาก มาก มาก มาก มาก มาก ปานกลาง มาก มาก มาก มาก มาก มาก มาก มาก ชิงถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเเจ้าอยู่หัว

หมายเหตุ 0 = ไม่มี /ไม่พบ ,1 = น้อยที่สุด ,2 = น้อย , 3 = ปานกลาง, 4 = มาก, 5 = มากที่สุด ระยะเวลาการอบรมเหมาะสมกับหลักสูตรที่จัดอบรม มีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับ มาก ความสามารถของวิทยากรในการถ่ายทอดความรู้ มีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับ มาก การอบรมมีกระบวนการและขั้นตอนเป็นระบบชัดเจน มีะดับความพึงพอใจอยู่ในระดับ มาก หลักสูตรมี ความเหมาะสม มีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับ มาก เนื้อหาวิชาที่ได้รับเป็นประโยชน์ มีระดับความพึง พอใจอยู่ในระดับ มาก สถานที่/พื้นที่และบรรยากาศเอื้ออำ�นวยต่อผู้เข้าอบรม มีะดับความพึงพอใจอยู่ใน ระดับ มาก การประสานงานและการประชาสัมพันธ์ มีะดับความพึงพอใจอยู่ในระดับ มาก มีเอกสาร/แผ่น พับ/ข้อมูลการอบรม , แข่งขัน มีะดับความพึงพอใจอยู่ในระดับ ปานกลาง ความสะอาดของสถานที่ เป็น ระเบียบ มีะดับความพึงพอใจอยู่ในระดับ มาก การประชาสัมพันธ์ล่วงหน้า มีะดับความพึงพอใจอยู่ใน ระดับ มาก ระยะเวลาในการจัดการแข่งขัน มีะดับความพึงพอใจอยู่ในระดับ มาก เกณฑ์การตัดสินและ กรรมการ มีะดับความพึงพอใจอยู่ในระดับ มาก การรายงานผลการแข่งขัน มีะดับความพึงพอใจอยู่ใน ระดับ มาก การดำ�เนินการแข่งขันโดยภาพรวม มีะดับความพึงพอใจอยู่ในระดับ มาก โดยภาพรวมทั้งหมด ท่านมีความพึงพอใจอยู่ในระดับ มาก

53


สำ�นักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

หนูน้อยจ้าวเวหา ทีวีไทย สพฐ.

ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากครู นักเรียน 1. สิ่งที่ควรปรับปรุง ควรควบคุมและเข้มงวดกับระยะเวลาในการอบรม มากกว่านี้ ระยะเวลาใน การอบรมยาวเกินไป ควรจัดให้กระชับกว่านี้ ประชาสัมพันธ์น้อยเกินไป ขาดการประสานงานกับหน่วยงาน ที่เป็นเจ้าภาพ 2. ข้อเสนอแนะ - เสียงประชาสัมพันธ์ในตอนการแข่งขันประเภทต่าง ๆ ในสนามเบามาก ผู้ชม ด้านนอก ฟังไม่ได้ยิน จึงไม่ทราบรายละเอียดในการแข่งขัน -ควรจัดนิทรรศการให้ความรูก้ ารประกอบเครือ่ งบินให้มากกว่านีเ้ พราะจะมีประโยชน์ กับนักเรียนและผู้ที่ชมงาน - ควรมีการประชาสัมพันธ์ให้มากกว่านี้ เพราะบางทีเด็กนักเรียนในพื้นที่ยังไม่รู้เลยว่า มีการแข่งขัน - การประสานงานกันระหว่างหน่วยงานที่จัด น่าจะมากกว่านี้ จะทำ�ให้งานออกมา สมบูรณ์มากกว่านี้ - อยากให้มีการแสดงของทีมงานมากกว่านี้ 3. ความประทับใจ/ ประโยชน์ที่ได้รับ - ได้ชมการแสดง เอาเทคโนโลยีมาใช้ให้เป็นประโยชน์ - เป็นการแข่งขันที่ไม่เคยจัดในท้องถิ่น จึงมีความประทับใจมาก และได้รับประโยชน์ จากการประกอบเครื่องบิน - ให้ความสนุกสนานเพลิดเพลิน ตื่นเต้นน่าสนใจ - สร้างความสามัคคีให้นักเรียน - เยาวชนไทยได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ - ทำ�ให้นักเรียนมีความสนใจในสิ่งที่เห็น ทำ�ให้เกิดการอยากเรียนรู้เพิ่มมากขึ้น

54


ภาคผนวก

ชิงถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเเจ้าอยู่หัว

55


สำ�นักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ผลการแข่งขันภาคใต้ ประเภท

รางวัลที่

ภาค

ชื่อ-สกุล

ผู้ควบคุม

1.นายมูฮัมหมัดอามีน มะมิง 1

โรงเรียนพัฒนาอิสลามวิทยา

2.นายอาซิม ฮาเซะมิง

นายซาอุดิ สาเมาะ

บินผาดโผน

3.นายคอเล็ด ปายอ 2

1.ด.ช.ธราดล สิงห์ธงยาม เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ภูเก็ต 2.ด.ญ.ธัญกมล จันทร์แนบ ( ศูนย์เยาวชนเทศบาลนครภูเก็ต) 3.ด.ช.ไกรวิชญ์ จันทร์แนม

นายพิศิษฐ์ คำ�เกลี้ยง

1.ด.ช.อภิวัฒน์ คลายขจร 3

โรงเรียนบ้านเขาพระ

2.ด.ช.ธีรภัทร์ ตรีสมโภชน์

นางปิยภรณ์ ปานกำ�เหนิด

3.ด.ช.ศรชัย สดศรี 1.ด.ช.วีรเทพ ชุมุเช่งกาญจน์ 1

โรงเรียนไชยาวิทยา

2.ด.ช.พชรพล แท่นนิล

นางสาวทัศนียา เพชรชู

บินทิ้งสัมภาระ

3.ด.ช.ภัทรพล แท่นนิล 1.ด.ช.นราทร ทองอ่อน 2

โรงเรียนรัษฎา

2.ด.ช.เทน แสนสุข

นายมานพ นานอน

3.นายพรชัย ปั้นทอง 1.ด.ช.จีรชาติ วิบูลธนไพศาล 3

บ้านป่าซางนาเงิน

2.ด.ช.สุเมธ วิบูลพันธ์ทิพย์

นายณรงค์ ทัญญาสัก

3.ด.ช.สุรชัย วิบูลมงคลพร 1.ด.ช.จิรายุ นิลพันธุ์ 1

วรนารีเฉลิม จังหวัดสงขลา

2.ด.ช.โบส เกิดพุ่ม

นางลาดวัลย์ เมืองศรี

บินนาน

3.ด.ช.ปรัชญา ชะโณวรรณะ 1.ด.ช.ประทีป คงกล้า 2

โรงเรียนรัษฎา

2.ด.ช.กฤนติน ศรีสุข

นายมานพ นานอน

3.ด.ช.ฤทธิไกร บุญไกร 3

โรงเรียนสิชลคุณาธารวิทยา

2.ด.ช.กฤตยศ กาญจนดุล 1.นายธนกร นานอน

1

โรงเรียนรัษฎา

2.ด.ช.สิทธิพล มากเพ็ง

นายมานพ นานอน

3.ด.ช.ยุทธชัย ชุมลาภ 1.ด.ช.ภูธเรศ หนูประพันธ์ 2

โรงเรียนมหาวชิราวุธ

2.ด.ช.นัฐพล เวชศาสตร์

นายวัรเดช เงารังษี

3.ด.ช.กริช ประยูรชาติ 1.ด.ช.วิรายุทธ เสียงเพราะ 3

โรงเรียนสิชลคุณาธารวิทยา

2.ด.ช.วิษณุ รัญเวศ 3.ด.ช.เฉลิมวิทย์ จิตเขม้น

56

นายนิคม กาญจนาพงศ์

3.ด.ช.ณัฐยศ จันทบุรี

บินสร้างสรรค์ สวยงาม

หนูน้อยจ้าวเวหา ทีวีไทย สพฐ.

1.ด.ช.นภดล โชติพรหมวรรณ

นายสุมิตร สำ�แดงสาร


ผลการแข่งขันภาคเหนือ ประเภท

รางวัลที่

ภาค

ชื่อ-สกุล

ผู้ควบคุม

1.ด.ช.สธน สมฤท์ 1

เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ พะเยา

2ด.ช.รุจิกร ทะริยะ

นายวศิน มังคลาด

บินผาดโผน

3.ด.ช.สุพศิน ปังประเสริฐกุล 1.นายธนกร สอนวงษา 2

โรงเรียนฟากกว๊านวิทยาคม

2.นายนราวิทย์ นาแพร่

นายศุภโชค แสงทอง

3.นายรณฤทธิ์ นักไร่ 1.ด.ช.วุฒิพงษ์ อยู่คล้าย 3

บางกระทุ่มพิทยาคม

2.ด.ช.จิรวัฒน์ พรมชาวนา

นายยุทธนา พุกเฉย

3.ด.ช.กฤษฎา พูลรักษ์ 1.นายบุญฤทธิ์ ตาใจ 1

โรงเรียนฟากกว๊านวิทยาคม

2.นายสุวราม เครือคำ�

นายแอ๊ด ชาวน่าน

บินทิ้งสัมภาระ

3.นายณัฏธ์ เต่าทอง 1.ด.ช.ขานน พอใจ 2

เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ พะเยา

2.ณัฐพงษ์ นาวา

นายวศิน มังคลาด

3.ด.ช.ณัฐปคัลป์ 1.ด.ช.ภัทรพล เล็กกระโทน 3

บางกระทุ่มพิทยาคม

2.ด.ช.วัยชัย นพรัตน์

นายยุธนา พุกเฉย

3.ด.ชงชนวัฒน์ บัวสัมฤทธิ์ 1.ด.ช.เจษฎา เสือเงิน 1

เก้าเลี้ยววิทยา

2.ด.ช.วันชัย เสือเจริญ

นายสังสรรค์ แต่งสุข

1.ด.ช.บุญเติม ฉ่ำ�เฉื่อย 2

บ้านร้องยุ้งข้าว

นายสถาพร ดีอินทร์

นายคณิต ห้อยพูน

นายมงคล ดอกสันเที้ยะ 1.นายธีรวัฒน์ จันทร์สว่าง 3

สองพิทวิทยาคม(แพร่)

2.นายศุพีรณัฐ บุญศิริ

นายนรินทร์ เชื้อหมอ

3.นายสถาปนิก แก้วกาศ 1.ด.ช.ภัทรภูมิ ยอดทาเครือ 1

กิ่วลมวิทยา

2.ด.ญ.เบญจมาศ ศรีเงิน

นายเดชา ทนันไชย

บินสร้างสรรค์ สวยงาม

3.ด.ญ.เสาวลักษณ์ 1.ด.ญ.จินดารัตน์ สาระคน 2

อนุบาลบึงนารางห้วยแก้ว

2.ด.ญ.ธนิษฐา บุญพร้อม

นางสาลี บญคล้าย

3.ด.ญ.ธัญญาลักษณ์ แสงประสิทธิ์ 1.ด.ช.เพทาย สุภาษา 3

เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ พะเยา

2.ด.ช.ภัทรพงษ์ สุหินตานุเคราะห์

นายวศิน มังคลาด

ชิงถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเเจ้าอยู่หัว

บินนาน

3.ด.ช.ยุทธพงษ์ ไพลย์ดำ�

3.ด.ช.ณัฐศรันย์ ปิงเมือง

57


สำ�นักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ผลการแข่งขันภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประเภท

รางวัลที่

ภาค

ชื่อ-สกุล

ผู้ควบคุม

1.ด.ช.จิรศักดิ์ บุญลา 1

โรงเรียนยางชุมน้อยพิทยาคม

2.ด.ช.กิตติพงษ์ ชาลี

นายธนกฤต เกตุไชเลิศ

บินผาดโผน

3.ด.ช.พิทักษ์พงษ์ ไพกะเพศ 1.ด.ช.อนุสรณ์ ถาวะโร 2

โรงเรียนชุมชนนาคำ�ไฮวิทยา

2.ด.ช.อภิเชฎ ทองมล

นายทองมาก พลแก้ว

3.ด.ช.ธีระวัฒน์ แสพลกรัง 1.ด.ญ.ปิยธิดา อิลาน้อย 3

โรงเรียนบ้านหนองเม็กพิทยา

2.นายทศพล กัลยาสาย

นายวีระเดช เสาธงรุ่งเรืองชัย

3.นายณัฐพล เบ้ามณี 1.ด.ช.พรทวี ใสดา 1

โรงเรียนห้วยทับทันวิทยาคม

2.ด.ช.อรรถพล โคตรพันธ์

นายอุกฤต ทีงาม

บินทิ้งสัมภาระ

3.ด.ช.รุจิกร หนูโต 1.ด.ช.ธนกิจ เจียงวิเศษ 2

โรงเรียนโคกศรีเมือง

2.ด.ช.ธนาคม อนันทวัน

ว่าที่พ.ต.เอื้อน วิเศษชาติ

3.ด.ช.ปิยะวัฒน์ พิมพรัตน์ 1.ด.ช.จิรวัฒน์ ถิ่นแสนดี 3

โรงเรียนอนุกูลนารี

2.ด.ช.ธนกิจ รัตนสินทวีสุข

นางสาวสาวิตรี ตุ้มวลี

3.ด.ช.รชฏ กองอุดม 1.ด.ช.คฑาวุธ อินทรีแก้ว 1

โรงเรียนห้วยทับทันวิทยาคม

2.ด.ช.ชุติพงศ์ นวสินมัยนาม

นายอุกฤต ทีงาม

บินนาน

3.ด.ช.ทรงศักดิ์ ใจมนต์ 1.ด.ช.วุฒิชัย บุญมี 2

โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 29

2.นายสายรุ่ง นามวิชา

นายนันทกานต์ ทองคำ�

3.นายจักรพันธ์ ศรีเมือง 3

โรงเรียนบ้านหมู่ม่นโนนสว่าง

2.ด.ช.ธนกฤต สุกัลป์ 1.ด.ช.ไพรวรรณ ไชยขันตรี

1

โรงเรียนบ้านหนองเม็กพิทยา

2.ด.ช.วัชระ ลายงาม

นางสนิดา โกศล

3.นายสืบสกุล พร้อมพรม 1.ด.ช.ลัญจกร คัตพันธ์ 2

โรงเรียนท้าวสุรนารี (2521)

2.ด.ช.ไชยรัตนื ทาชาติ

นางสาวฉันทนา กล้ำ�สำ�โรง

3.ด.ช.ประภาส คำ�ศรี 1.ด.ช.ชานนท์ อินทะวงศ์ 3

โรงเรียนปทุมเทพวิทยาคาร

2.ด.ช.ธนวัฒน์ จันทร์ส่องแสง 3.ด.ช.ณัฐวัฒน์ เกศกองกาญจน์

58

นายวรรธนะ พุทธเพาะ

3.ด.ช.รติกานต์ วงศ์ตระกูลกานต์

บินสร้างสรรค์ สวยงาม

หนูน้อยจ้าวเวหา ทีวีไทย สพฐ.

1.ด.ช.วรัชญ์ พุทธเพาะ

นายสมคิด ไชยวงศ์


ผลการแข่งขันภาคตะวันออก ประเภท

รางวัลที่

ภาค โรงเรียนเบญจมานุสรณ์

1

ชื่อ-สกุล

ผู้ควบคุม

1.ด.ช.ธนสิทธิ์ ศิลสังวรณ์ 2.ด.ช.วิศรุต สมเทพ

นายพิทยา ปฏิโค

บินผาดโผน

3.ด.ช.กฤติมุข อินทอง โรงเรียนวัดท่าเรือ 2

1.ด.ช.ปฏิภาณ เพชรแสง 2.ด.ช.ณัฐสิทธิ์ ทานันท์

นายจารึก ธงสุวรรณ

3.ด.ช.ธีรพล พงษ์ภักดีสกุล โรงเรียนบึงศรีราชาพิทยาคม 3

1.ด.ช.สิทธิชัย จันทร์แจ่ม 2.ด.ช.วสันต์ สังข์เสวก

นางขนิษฐา สรีกะกูล

3.ด.ช.เกรียงศักดิ์ เชื้อเพชร โรงเรียนวัดท่าเรือ 1

1.นายประวิทย์ สมอโพรง 2.นายกิตติชัย ยงสุข

นายจารึก ธงสุวรรณ

บินทิ้งสัมภาระ

3.ด.ช.ประภาณ สังวร โรงเรียนวัดท่าเรือ 2

1.ด.ช.ศุภน์ฐ ช่างเรือ 2.ด.ช.ชาญนรงค์ คงคารัตน์

นายจารึก ธงสุวรรณ

3.ด.ช.พลวัตร สุขอัคตะ โรงเรียนเบญจมานุสรณ์ 3

1.ด.ช.ธัณนิชา สังข์ศรี 2.ด.ช.นัชชา บุญไยประการ

นายพิทยา ปฏิโค

3.ด.ช.ภิตติ ตุงคะสูดา โรงเรียนเบญจมานุสรณ์ 1

1.ด.ช.สมชาย เชาว์ดี 2.ด.ช.ณัฐศกดิ์ โรจน์วิรัฐ

นายพิทยา ปฏิโค

บินนาน

โรงเรียนชลราษฎรอำ�รุง 2

1.ด.ช.ตรัย เงินเล็ก 2.ด.ช.ณิชภัทร คุณจักร

นายปุณณรัตน์ ธำ�รงพัฒนารักษ์

3.ด.ชงปิยพัทร์ เยาว์วัฒนานุกุล โรงเรียนชลราษฎรอำ�รุง 3

1.ด.ช.ชลดนัย เสมอวงศ์ 2.ด.ช.อทธิเทพ ปานหลาย

นายปุณณรัตน์ ธำ�รงพัฒนารักษ์

3.ด.ช.ณัฏฐ์ สกุลโชติกโรจน์ โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฏ์ 1

1.ด.ญ.จิตสุภา แพน้อย 2.ด.ญ.รัตนาวดี ฑีฆะวงษ์

นายชูชาติ แพน้อย

บินสร้างสรรค์ สวยงาม

3.ด.ญ.ภัสสร เหลียงพานิช โรงเรียนวัดท่าเรือ 2

1.ด.ช.ชนะภัย บุญมาก 2.นายปฐวี ตระกูล

นายจารึก ธงสุวรรณ

3.ด.ช.ประนัต สมอโพรง โรงเรียนดัดดรุณี 3

1.ด.ญ.มุรนุดา บุญสิทธิ์ 2.ด.ญ.นันทรัตนื ศรีจันทร์ดี

ชิงถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเเจ้าอยู่หัว

3.ด.ช.นฤมินทร์ เกษมวงศ์

นางเกษแก้ว ชัยศิริ

3.ด.ญ.ปิยนุช เรืองดชติ

59


สำ�นักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ผลการแข่งขันภาคกลาง ประเภท

รางวัลที่

ภาค

ชื่อ-สกุล

ผู้ควบคุม

1.ด.ช.กีรติ กลีบทอง 1

โรงเรียนวิสุทธรังษี

2.ด.ช.ศุภโชค รุ่งชีวิน

นายสมศักดิ์ เหลืองมังกร

บินผาดโผน

3.ด.ช.สุกฤษฎิ์ ยิ่งถาวร 1.ด.ช.กิตติ นิยมทอง 2

โรงเรียนบางปลาม้า”สูงสุมารย์ผดุงวิทย์”

2.ด.ช.สหรัฐ สาลีผล

นายกมล เรือนทอง

3.ด.ช.พรเจริญ โพธิ์ศรีทอง 1.ด.ช.วชิระ รักอิสระ 3

โรงเรียนประเทียบวิทยาทาน

2.ด.ช.อัสนี อัถมี

นายสมพร อัฐมาลา

3.ด.ช.สุรศักดิ์ อัถมี 1.ด.ช.ไตรรัตน์ แก้วปาน 1

โรงเรียนเมืองสุพรรณบุรี

2.ด.ช.วิทยา สุวรรณ

นายณัฐวัฒน์ ไกรเภา

บินทิ้งสัมภาระ

3.ด.ช.ศราวุฒิ กัลยา 1.ด.ช.เกรียงศักดิ์ โปรางแสน 2

โรงเรียนประเทียบวิทยาทาน

2.ด.ช.มนตรี บรรจบ

นายบรรชัย เบ็ญจสิงห์

3.ด.ช.สุริยา เอี่ยมคต 1.ด.ช.อนุสรณ์ รอดจินดา 3

โรงเรียนหลักสองส่งเสริมวิทยา

2.ด.ช.ภานุพงศ์ นพคุณ

นางสาวสุภาพร ลิ้มเกษตรสกุล

3.ด.ช.ภานุวัฒน์ กล่ำ�สนอง 1.ด.ช.ทักษิณ จำ�รงศักดิ์ 1

โรงเรียนประเทียบวิทยาทาน

2.ด.ช.พลากร อุดม

นายสมนาม ณ เชียงใหม่

บินนาน

3.ด.ช.ณัฐกานต์ ปัญญายิ่ง 1.ด.ช.วนัส ธิงาศักดิ์ 2

โรงเรียนอัสสัมชัญบางรัก

2.ด.ช.วัรภัทร วงศ์สันติเมธ

นายโอภาส ธิราศักดิ์

3.ด.ช.เฉลิมชนม์ เจริยพร 3

โรงเรียนวัดบ้านพริก

2.ด.ช.สุทอน บุยไทยกลาง 1.ด.ช.ณัฐพงศ์ มะลิวัลย์

1

โรงเรียนบางปลาม้า”สูงสุมารย์ผดุงวิทย์”

2.ด.ช.ฌาวิทยื อ่อนละมัย

นายกมล เรือนทอง

3.ด.ช.ภัทรพล จุ้ยเจริญ 1.ด.ญ.ศรัญญา ก่อกิจสุนทรสาคร 2

โรงเรียนหลักสองส่งเสริมวิทยา

2.ด.ญ.อารีรัตน์ บัวผัน

นายสุภา เกาะเต้น

3.ด.ญ.อรอุมา จันทร์ดี 1.ด.ช.โยธิน ทองไทย 3

โรงเรียนวัดบางปิ้ง

2.ด.ช.ธีรดนย์ แก้วผูก 3.ด.ช.ชนาวุฒิ แสนจำ�สาร

60

นายสุริยา จันทร์ประสพโชค

3.ด.ช.สาวิทย์ เสนอใจ

บินสร้างสรรค์ สวยงาม

หนูน้อยจ้าวเวหา ทีวีไทย สพฐ.

1.ด.ช.ณัฐพงศ์ รวมพล

นาวสาวณรินทร์ทิพย์ ปาลวงศ์


แนวคิดการออกแบบเครื่องบิน ประเภทความคิดสร้างสรรค์สวยงามบินได้ ชิงถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเเจ้าอยู่หัว 61


สำ�นักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

แนวคิดการออกแบบเครื่องบินประเภทความคิดสร้างสรรค์สวยงามบินได้ ชื่อทีม RSD 3 โรงเรียน รัษฎา จังหวัดตรัง NO.Z001

ผู้ร่วมแข่งขัน 1.ด.ช.ยุทธชัย ชุมลาก 2.ด.ช.สิทธิพล มากเส็ง 3.นายธนากร นานอน

แนวคิด

ปัจจุบันเครื่องบินเป็นเทคโนโลยีทางคมนาคมที่ล้ำ�ยุคและพัฒนาก้าวหน้าไปอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ประโยชน์สูงสุดแก่ มนุษยชาติควบคู่ไปกับการพิทักษ์สิ่งแวดล้อมโลกได้อย่างยั่งยืน คณะกลุ่ม RSD 3 ได้คิดประยุกต์มาจากเครื่องบินจริงกับรูปทรงของเหยี่ยว โดยออกแบบลำ�ตัวเป็นรูปทรงนกเหยี่ยว แต่ลวดลายที่ติดจะเป็นรูปแบบของเครื่องบิน ซึ่งผสมผสานกันได้ลวดลายที่กลมกลืนสวยงาม ในการใช้สีสันทับซ้อนผสม กันเป็นสีใหม่ โดยเรียงเป็นโทนสี เพื่อให้เด่นชัดเราใช้สีเข้มในการใส่ลวดลาย ใช้โทนสีร้อนในการติดไล่สีก็เพราะว่าโทน ร้อนในความคิดของกลุ่ม RSD 3 คือ แสดงถึงความกระตือรือร้น มุ่งมั่น และที่ใช้รูปแบบเหมือนเหยี่ยว เพราะว่าเหยี่ยว แสดงถึงความเด็ดเดี่ยว นิ่ง สุขุม การทำ�และออกแบบครั้งนี้ กลุ่ม RSD 3 คิดว่ามีความสวยงามพอที่จะแข่งขันได้ดี และ ทั้งนี้คือแนวคิดของกลุ่ม RSD 3 ครับ

หนูน้อยจ้าวเวหา ทีวีไทย สพฐ.

ชื่อทีม ลูกน้ำ�เงินขาว โรงเรียน มหาวชิราวุธ จ.สงขลา NO.Z002

ผู้ร่วมแข่งขัน 1. ด.ช.กริช ประยูรชาติ 2. ด.ช.ภูรเรศ หนูประพันธ์ 3. ด.ช.นัฐพล เวชศาสตร์

แนวคิด พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 หรือสมเด็จพ่อที่ชาวมหาวชิราวุธเคารพและสักการะเป็นอย่างสูง ได้เป็นผู้บุกเบิกและนำ�เครื่องบินเข้าสู่ประเทศเป็นพระองค์แรก และต่อมาเครื่องบินก็ได้มีการพัฒนามาเป็นลำ�ดับ ในขณะที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จเยี่ยมประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2498 ได้ทรงพบกับความทุกข์ยากอันเนื่องมาจากความผันแปรไม่แน่นอนของฝน จึงได้ดำ�ริ 2 สิ่ง คือ 1. เขื่อน 2. ฝนเทียม และหลังจากการคิดวิเคราะห์ค้นคว้าจึงสำ�เร็จ โดยมีผู้สนองพระดำ�ริคือ หม่อมราชวงศ์เทพทิธ์ เทวกุล และ โครงการฝนหลวงจึงสำ�เร็จ PC - 6 เป็นเครื่องบินของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สร้างขึ้นเพื่อใช้ในการปฏิบัติภารกิจฝน หลวงโดยเฉพาะ แนวคิดได้เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2552 เมื่อทางการจัดการแข่งขันโครงการหนูน้อยจ้าวเวหาได้พาไปชม วิธีการทำ�ฝนหลวง จึงสนใจ และได้ค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติมจนได้ PC – 6 เป็นไอเดีย จึงจำ�ลองขนาดและลองสร้างขึ้นมาจน สำ�เร็จ“ไม่ต้องแห่นางแมวแล้ว เย้ !”

62


ชื่อทีม นกแอ่นแล่นลม โรงเรียน สิชลคุณาธารวิทยา จ.นครศรีธรรมราช NO.Z003

ผู้ร่วมแข่งขัน 1. ด.ช.วิรายุทธ เสียงเพรา 2. ด.ช.พัฒนะ ศิลปะรัศมี 3. ด.ช.เฉลิมวิทย์ จิตรเขม้น

แนวคิด ทีมของกระผมได้แนวคิดนี้มาเนื่องจาก โรงเรียนของพวกผมตั้งอยู่ในอำ�เภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช ในอำ�เภอ สิชลมีแหล่งท่องเที่ยวสำ�คัญของประเทศอยู่ ที่สำ�คัญคือ มังกรทะเลใต้ ซึ่ง ณ สถานที่แห่งนี้ จะเป็นจุดชมวิวที่สวยมากแห่ง หนึ่ง ในเวลาเช้าตรู่ของทุกวันจะมีฝูงโลมามาเล่นน้ำ�กันประมาณ 3-5 ตัว ซึ่งเมื่อได้เห็นแล้วจะประทับใจมาก พวกผมจึงมี แนวคิดว่าหากโลมาบินได้จะเป็นสิ่งใหม่ ในการใช้สีพวกผมใช้สีไม่เกิน 4 สี เพราะจะช่วยเป็นการประหยัดด้วยครับ

ชื่อทีม BJSTP 5 โรงเรียน เบญจมราชรังสฤษฎิ์ NO.ZOO4 ผู้ร่วมแข่งขัน

“กระต่ายทรง” แนวคิดการออกแบบเครื่องบินเป็นรูปกระต่าย ซึ่งหมายถึงปีเถาะ ตรงกับปีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลย เดชทรงพระราชสมภพ มีแพนหางดิ่งเป็นเลขเก้า(๙) รองรับด้วยดอกบัวที่แพนหางระดับหมายถึงคุณธรรม ใช้สีเหลืองเป็น ที่พื้นเขียนลวดลายไทยด้วยสีน้ำ�เงิน (หมายถึงพระมหากษัตริย์ไทย) เป็นการผสมผสานศิลปวัฒนธรรมไทยกับอากาศยาน การบิน พวกเรา “มุ่งมั่นตั้งใจทำ�ความดีเพื่อพ่อหลวง”

ชิงถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเเจ้าอยู่หัว

1. ด.ญ.จิตสุภา แพน้อย 2. ด.ญ.รัตนาวดี ฑีฆะวงษ์ 3. ด.ญ.ภัสสร เหลียงพานิช

63


สำ�นักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ชื่อทีม รุ้งกินน้ำ� โรงเรียน วัดท่าเรือ NO.Z005

ผู้ร่วมแข่งขัน 1. ด.ช.ชนะภัย บุญมาก 2. ด.ช.ประนัต สมอโพรง 3. นายปฐวี ตระกูล

แนวคิด แรงบันดาลใจได้มาจากชื่อโรงเรียนของพวกผม ชื่อโรงเรียนวัดท่าเรือ จึงได้ทำ�เครื่องบินที่เป็นรูปเรือ เรือที่พวกผม ชอบและมีความประทับใจก็คือ เรือสุพรรณหงส์ ซึงเป็นเรือพระที่นั่งของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทุกครั้งที่มีพระ ราชพิธีทางน้ำ� เรือสุพรรณหงส์จะมีความสง่างามขณะที่ลอยอยู่ในน้ำ� พวกผมจึงอยากเห็นว่าถ้าเรือสุพรรณหงส์ลอยอยู่บน ท้องฟ้าจะมีความสง่างามเหมือนตอนที่ลอยอยู่ในน้ำ�หรือเปล่า และในการแข่งขันหนูน้อยจ้าวเวหาทุกครั้ง พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวทรงทอดพระเนตรการแข่งขันและได้พระราชทานถ้วยรางวัลให้กับผู้ชนะ ผมจึงต้องการสร้างเครื่องบินที่ เป็นรูปเรือสุพรรณหงส์เพื่อถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อพระองค์ท่านทรงจะสบายพระทัยและหายจากอาการ ประชวร ขอพระองค์ทรงพระเจริญ

หนูน้อยจ้าวเวหา ทีวีไทย สพฐ.

ชื่อทีม ดัดดรุณี young pilot โรงเรียน ดัดดรุณี จ.ฉะเชิงเทรา NO.Z006

ผู้ร่วมแข่งขัน 1. ด.ญ.นันทรัตน์ ศรีจันทร์ดี 2. ด.ญ.มุขสุดา บุญสิทธิ์ 3. ด.ญ.ปิยนุช เรืองโชติ

แนวคิด เนื่องจากจังหวัดฉะเชิงเทรามีชื่อเรียกอีกอย่างว่า “เมืองแปดริ้ว” และที่นำ�เครื่องบินมาทำ�ทรงปลาช่อน เพราะจังหวัดฉะเชิงเทรามีปลา ช่อนขนาดใหญ่มาก เมื่อนำ�มาแร่ทำ�ปลาเค็มสามารถแร่ได้ถึงแปดริ้ว จึงเรียกเป็นที่ติดปากว่า “แปดริ้ว” เรื่อยมา การทำ� เครื่องบินรูปแบบปลาช่อนในครั้งนี้ สามารถสื่อความหมายถึงที่มาของตำ�นานเมืองแปดริ้ว ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัด ฉะเชิงเทรา แต่เนื่องจากปลาช่อนตามธรรมชาติมีสีสันที่ไม่สวยงาม เราจึงใส่สีสันให้ปลาช่อนมีสีสันเพิ่มมากขึ้น โดยได้แรง บันดาลใจมาจากปลากัด เพราะปลากัดมีสีสันที่หลากหลายและสวยงาม และจังหวัดฉะเชิงเทรายังเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลา กัดแหล่งใหญ่ของประเทศไทยอีกด้วย วิธีการในการประดิษฐ์เครื่องบินคือ นำ�เกล็ดปลาที่คัดเลือกแล้วมาย้อมสีตามต้องการ แล้วนำ�มาติดจนครบเป็นตัวปลา ในส่ ว นของปี ก เครื่ อ งบิ น ได้ ล วดลายเป็ น ปี ก ค้ า งคาวเนื่ อ งมาจากจั ง หวั ด ฉะเชิ ง เทราเป็ น ที่ เ ดี ย วใน ประเทศไทยเป็ น ที่ ที่ พ บว่ า มี ค้ า งคาวแม่ ไ ก่ พ บได้ ที่ วั ด โพธิ์ บ างคล้ า จึ ง เป็ น แนวคิ ด การทำ � เครื่ อ งบิ น “ปลาช่ อ นแฟนซี ”

64


ชื่อทีม สูงสุมาร โรงเรียน บางปลาม้า “สูงสุมารผดุงวิทย์ NO.Z007

ผู้ร่วมแข่งขัน 1. ด.ช.ณัฐพงศ์ มะลิวัลย์ 2. ด.ช.ฌาณวิทย์ อ่อนละมัย 3. ด.ช.ภัทรพล จุ้ยเจริญ

แนวคิด การสร้างเครื่องบินปลาม้านี้ได้จากชื่อรงเรียนและชื่ออำ�เภอที่เป็นที่ที่มีปลาม้ามากที่สุด จึงนำ�ปลาม้ามาเป็นแบบ เครื่องบินในการแข่งครั้งนี้ เครื่องบินปลาม้านี้ได้ฝึกทำ�มาหลายแบบจนได้ทรงนี้มา ในการออกแบบครั้งนี้ได้คำ�นึงถึงเรื่อง สวยงามและบินได้เป็นหลักจนตอนนี้เครื่องบินได้ดี ปลาม้านี้เป็นปลาที่มีรสชาติอร่อยและโด่งดังในตอนที่ ฯพณฯ บรรหาร ศิลปะอาชา ยังเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 21 ของประเทศไทย โดยปลาม้านี้เป็นที่นิยมไปทั่วในช่วงเวลานั้น เราจึงได้นำ�ปลาม้า มาประดิษฐ์เครื่องบินในครั้งนี้

ชื่อทีม หลักสอง โรงเรียน หลักสองส่งเสริมวิทยา NO.Z008

ผู้ร่วมแข่งขัน 1. ด.ญ.อารีรัตน์ บัวผัน 2. ด.ญ.ศรัญญา ก่อกิจสุนทรสาร 3. ด.ญ.อรอุมา จันทร์ดี

“เรือสุพรรณหงส์” ที่ข้าพเจ้าเลือกทำ�เครื่องบินวิทยุบังคับจำ�ลองรูปเรือสุพรรณหงส์ขึ้นมา เพราะเรือสุพรรณหงส์เป็นเรือพระที่นั่งที่องค์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช (รัชกาลที่ ๙ องค์ปัจจุบัน) ได้ทรงประทับเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ โดยเรือลำ�นี้ได้พาดผ่านแม่น้ำ�เจ้าพระยา เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ซึ่งเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์นี้ ได้แกะสลักลายไทยไว้บนเรืออย่างอ่อนช้อยและงดงาม เป็นเอกลักษณ์ของชาวไทยเพื่อ สืบสานและอนุรักษ์วัฒนธรรมให้มีสืบต่อไป การที่ทำ�เรือสุพรรณหงส์ที่ลอยอยู่ในน้ำ�ให้กลายเป็นเครื่องบินสุพรรณหงส์ที่อยู่บนท้องฟ้านั้น เนื่องจากต้องการปรับ เปลี่ยนเครื่องบินที่มีรูปแบบมาตรฐานเดิม ให้กลายเป็นรูปแบบที่หลากหลายสวยงาม และสามารถบินได้เสมือนกับเครื่องบิน วิทยุบังคับจริง

ชิงถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเเจ้าอยู่หัว

65


สำ�นักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ชื่อทีม สำ�เภาสาคร 1 โรงเรียน วัดบางปิ้ง NO.Z009

ผู้ร่วมแข่งขัน 1. ด.ช.โยธิน ทองไทย 2. ด.ช.ธีรดนย์ แก้วผูก 3. ด.ช.ชนาวุฒิ แสนจำ�สาร

หนูน้อยจ้าวเวหา ทีวีไทย สพฐ.

แนวคิด แรงบันดาลใจในการสร้าง สำ�เภาสาคร 1 คือ เรือสำ�เภาเป็นสัญลักษณ์ประจำ�จังหวัดสมุทรสาคร เพราะจังหวัด สมุทรสาครเป็นจังหวัดเล็กๆที่ติดอ่าวไทย ในสมัยโบราณจึงมีการค้าขายกับต่างประเทศโดยใช้เรือสำ�เภาจีนนั่นเอง และ ประชาชนส่วนใหญ่ก็ไม่รู้จักจังหวัดของเรา พวกเราจึงคิดว่าน่าจะเป็นการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรู้จักจังหวัดเรามาก ขึ้น แรงบันดาลใจอีกข้อหนึ่งคือ เรือสำ�เภามีรูปร่างต่างจากเครื่องบินเมื่อนำ�มาทำ�เป็นเครื่องบินได้จึงเป็นเรื่องท้าทายต่อความ สามารถในการประดิษฐ์เครื่องบินจำ�ลองรูปสาคร 1 เป็นอย่างมากเพื่อให้สามารถบิน และนั่นจึงเป็นแรงบันดาลใจให้เกิด ลวดลายเช่นเดียวกับพระราชนิพนธ์พระมหาชนกที่มีลวดลายสวยงาม โดยเฉพาะคลื่นน้ำ�ทะเลและยังสอนให้รู้ความเพียร เรา เพียรพยายามประดิษฐ์เครื่องบินจำ�ลอง สำ�เภา 1 ให้บินได้และหวังให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงทอดพระเนตร คงเป็น ความภาคภูมิใจที่สุดของชีวิตของผม

ชื่อทีม มออีแดง โรงเรียน บ้านหนองเม็กพิทยา

เหมยุรา

66

“เหมยุรา” เป็นราชาแห่งวิหค เกิดแบบหงส์กับนกยูงวิลาวรรณ “หงส์”เหินหาวเทียบกำ�ลังมังกรได้ สัตว์มงคลคู่มังกรเลิศฤทธา “นกยูง”เอื้อนขับขานหวานเสนาะ ขนปีกหางต่างสีสันเป็นพุ่มพวง “เหมยุรา”สง่างามตามที่หมาย ก่อโชคลาภเกิดโชคดีทวีวิน

NO.Z010

ผู้ร่วมแข่งขัน 1. นายสืบสกุล พร้อมพรม 2. ด.ช.ไพรวรรณ ไชยขันตรี 3. ด.ช.วัชระ ลายงาม

เจ้าแห่งนกทั้งปวงในไพรสัณฑ์ เป็นสัตว์ป่าหิมพานต์เล่าขานมา ยศยิ่งใหญ่เจ้าวิหคแห่งเวหา สูงสง่ากว่าปักษิณสิ้นทั้งปวง เสียงไพเราะก้องกังวานสู่แดนสรวง เพริศกว่านกทั้งปวงในแดนดิน สื่อแทนความยิ่งใหญ่ศิริศิลป์ โบกโบยบินสู่เวหาท้าชิงชัย


แลทิวเขาทอดยาวราวเส้นปั้น มีพืชพรรณมากมายให้ร่มเย็น มออีแดงแห่งนี้มีมนต์ขลัง ได้ชื่นชมธรรมชาติสะอาดตา ความขัดแย้งแบ่งแผ่นดินมิอาจกั้น อยู่ร่วมกันโดยสันติมีกฎเกณฑ์ ขอเพียงเราร่วมกันมุ่งหมั่นสร้าง เพื่อให้ไทยอยู่ร่มเย็นถ้วนหน้ากัน

หลากหลายชั้นเขตแดนเขมร เดินเที่ยวเล่นชมไพรให้เพลินตา ปลุกภวังค์นักท่องไพรให้มาหา ชมพูผาภาพสลักประจักษ์เจน ความสัมพันธ์สองพี่น้องไทย-เขมร หยุดฆ่าเข่นเป็นเพื่อนบ้านสานสัมพันธ์ สู่เส้นทางสามัคคีตามที่ฝัน น้อมถวายพ่อหลวงท่านด้วยดวงใจ

ชื่อทีม ท้าวสุระนารี โรงเรียน ท้าวสุระนารี (2521) NO.Z011

ผู้ร่วมแข่งขัน 1.ด.ช.ลัญจกร คัตพันธ์ 2.ด.ช.ไชยรัตนื ทาชาติ 3.ด.ช.ประภาส คำ�ศรี

จากอดีตจนถึงปัจจุบัน ปัญหาเรื่องความแห้งแล้ง ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล ยังเกิดขึ้นเสมอและยิ่งทวีความรุนแรง ขึ้นเรื่อยๆ อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของโลก ซึ่งเป็นผลมาจากการกระทำ�ของมนุษย์ ส่งผลให้เกิดการขาดแคลน น้ำ� ทั้งน้ำ�ดื่ม น้ำ�ใช้ โดยเฉพาะเกษตร เพราะเมืองไทยเราเป็นเมืองแห่งการเกษตรมานานแล้ว ด้วยเหตุนั้นพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวทรงเห็นความทุกข์ยากเดือดร้อนของประชาชน อันเนื่องมาจากความผันแปรไม่แน่นอนของฝนธรรมชาติ พระองค์ทรงคิดค้นการทำ�ฝนเทียมขึ้นและสร้างเขื่อน เพื่อจุดมุ่งหมายให้ประชาชนได้มีน้ำ�ใช้อย่างพอเพียง ซึ่งมีวิธีของ ในหลวงเป็นวิธีทางวิทยาศาสตร์ สำ�หรับชาวบ้านในภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะมีวิธีทำ�ฝนเหมือนกัน แต่เป็นความเชื่อถือ ที่สืบทอดกันมานาน เช่น พญานาค จะเป็นเทพแห่งความศักดิ์สิทธิ์ตามความเชื่อของชาวพุทธ เป็นเทวดาที่เกี่ยวข้องกับ น้ำ�และฝน เป็นสายรุ้งที่เชื่อมต่อระหว่างโลกมนุษย์กับโลกสวรรค์ เป็นเทพที่ช่วยคุ้มครองปกป้องรักษาให้ฝนตกต้องตาม ฤดูกาล จากความเชื่อดังกล่าวจึงทำ�ให้ชาวภาคตะวันออกเฉียงเหนือส่วนใหญ่มีความเชื่อว่า “พญานาคราชเป็นเทพแห่งฝน” จากความเชื่อจึงเป็นแรงบันดาลใจให้เราสร้างเครื่องบินเป็นพญานาค เพื่อให้เห็นถึงความศรัทธาต่อพญานาค

ชิงถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเเจ้าอยู่หัว

แนวคิด

67


สำ�นักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ชื่อทีม ปทุมเทพวิทยาคาร โรงเรียน ปทุมเทพวิทยาคาร NO.Z012

ผู้ร่วมแข่งขัน 1. ด.ช.ชานนท์ อินทะวงศ์ 2. ด.ช.ธนวัฒน์ จันทร์ส่งแสง 3. ด.ช.ณัฐวัฒน์ เกศทองกาญจน์

แนวคิด พญานาคเป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดหนองคายที่มีบั้งไฟพญานาคอยู่เพียงจังหวัดเดียวในประเทศไทย แล้วก็อยู่ในเทศกาล ออกพรรษาที่มีบั้งไฟพญานาคขึ้นที่จังหวัดหนองคายพอดี จึงอยากเล่าเรื่องราวที่เป็นตำ�นานเกี่ยวกับบั้งไฟพญานาคผ่าน ทางการทำ�เครื่องบินประเภทสวยงาม

ชื่อทีม กิ่วลม 3 โรงเรียน กิ่วลมวิทยา NO.Z013

หนูน้อยจ้าวเวหา ทีวีไทย สพฐ.

ผู้ร่วมแข่งขัน 1. ด.ช.ภัทรภูมิ ยอดทาเครือ 2. ด.ญ.เบญจมาศ ศรีเงิน 3. ด.ญ.เสาวลักษณ์ งามสม

แนวคิด วิหคเหินลม “วิหคเหินลม” เป็นชื่อของเครื่องบินที่ใช้ในการแข่งขันรายการหนูน้อยจ้าวเวหา ทีวีไทย (Young Pilot TV Thai) ของกิ่วลม 3 คำ�ว่า “วิหค” หมายถึง นก “เหินลม” หมายถึง บินไปตามลม ซึ่งเปรียบเสมือนเครื่องบินที่มนุษย์เราได้นำ�เอา วิวัฒนาการมาจากการบินของนกมาใช้ในการสร้างเครื่องบินที่ล่องลอยในสายลม ส่วนการออกแบบลายบนเครื่องบินของทีมกิ่วลม 3 ได้นำ�ลายไทยและสัญลักษณ์ของโรงเรียนกิ่วลมวิทยามาผสม ผสานกับการใช้กากเพชรประดับตกแต่งให้สวยงาม พร้อมกับไม้กวาดขนไก่ใช้แล้วมาใช้ให้เกิดประโยชน์ เครื่องบินเป็นเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่อำ�นวยความสะดวกให้แก่มนุษยชาติในการเดินทางรอบโลก การนำ�ลายไทยมา ออกแบบตกแต่งเครื่องบินเพื่อเป็นการผสมผสานในการนำ�เอกลักษณ์ของชาติไทยซึ่งเป็นศิลปะประจำ�ชาติมาทำ�ให้เกิดความ ลงตัวดูแล้วอ่อนช้อยสวยงาม การนำ�สัญลักษณ์ของโรงเรียน “ก ล” มาประกอบบนส่วนท้ายของเครื่องบิน เพื่อแสดงให้เห็น ชื่อย่อของโรงเรียนกิ่วลมวิทยาที่ผู้เข้าแข่งขันกำ�ลังศึกษาอยู่ และการนำ�กากเพชรสีทองมาประดับตกแต่งบนลำ�ตัวเครื่องบิน ซึ่งเป็นสีแดง ทำ�ให้ลายไทยดูโดดเด่นสวยงามและมีคุณค่า ซึ่งเมื่อเครื่องบินล่องลอยอยู่บนท้องฟ้าจะทำ�ให้ลายไทยซึ่งเป็น สัญลักษณ์ของชาติดูงามระยิบระยับจับตาแก่ผู้ให้ความสนใจทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ

68


การนำ�ไม้กวาดขนไก่ที่ไม่ใช้แล้วมาทำ�เป็นขนของนกในการประกอบบนเครื่องบินลำ�นี้ เป็นการนำ�วัสดุที่เหลือจาก การใช้แล้วมาทำ�ให้เกิดประโยชน์ เพื่อเป็นการลดภาวะโลกร้อนอีกทางหนึ่งด้วย ประโยชน์ที่ได้ในการประดิษฐ์เครื่องบิน 1. ทำ�ให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ 2. นำ�วัสดุที่เหลือใช้แล้วนำ�กลับมาใช้ใหม่ 3. เกิดความสามัคคีในหมู่คณะ 4. ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยช์

ชื่อทีม ชาละวันเหินฟ้า โรงเรียน อนุบาลบึงนาราง (ห้วยแก้ว) NO.Z014 ผู้ร่วมแข่งขัน 1. ด.ญ.จินดารัตน์ สาระคน 2. ด.ญ.ธนิษฐา บุญพร้อม 3. ด.ญ.ธัญญาลักษณ์ แสงประสิทธิ์

แนวคิด จระเข้หรือชาละวัน ลักษณะนั้นคล้ายกับเครื่องบินตรงรูปร่างหน้าตา ส่วนหัวลำ�ตัวหางที่ทรงพลังสามารถนำ�ความ สำ�เร็จมาให้ตัวเองและสังคมได้ และโดยจังหวัดพิจิตรมีตำ�นานพื้นบ้านเรื่องไกรทองซึ่งโด่งดังทั่วประเทศ เราจึงอยากเสนอ เอกลักษณ์ของจังหวัดพิจิตรให้เพื่อนๆได้รู้จัก เพื่อเป็นแรงจูงใจให้เพื่อนไปเยี่ยมเยือนหรือเที่ยวจังหวัดพิจิตรของเรา

ผู้ร่วมแข่งขัน 1. ด.ช.ณัฐศรีย์ ปิงเมือง 2. ด.ช.เพทาย สุภาษา 3. ด.ช.ภัทรพงษ์ สุพิตานุเคราะห์

แนวคิด ของการสร้างเครื่องบินลำ�นี้ขึ้นมา คือ เครื่องบินลำ�นี้ถูกออกแบบมาให้เป็นรถพระที่นั่งขององค์พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว และแปนหางเขียนลายกนกสองข้างเพื่อเทิดพระเกียรติแด่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อหวังลึกๆว่า ในเวลาที่พระองค์ท่านได้ทอดพระเนตรการแข่งขัน เมื่อได้เห็นเครื่องบินของเรา อาจจะทำ�ให้พระองค์ทรงแย้มพระสรวล และรู้สึกพอพระทัยในผลงานและความสามารถของเด็กไทย

ชิงถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเเจ้าอยู่หัว

ชื่อทีม ศรีนครินทร์พะเยา 3 โรงเรียน เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ พะเยา NO.Z015

69


สำ�นักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

หนูน้อยจ้าวเวหา ทีวีไทย สพฐ.

คำ�สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการจัดแข่งขันเครื่องบินจำ�ลอง และวิทยุบังคับ “หนูน้อยจ้าวเวหา” ทีวีไทย สพฐ. ชิงถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

70


คำ�สั่งสำ�นักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน / 2552 ที1738 ่ /

เรื่อง แต่งตัง้ คณะกรรมการจัดแข่งขันเครื่องบินจำ�ลองและวิทยุบังคับ “หนูน้อยจ้าวเวหา” ทีวีไทย สพฐ. ชิงถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ สนามกีฬามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ วิทยาเขตวังไกลกังวล ___________________________ ด้วย สำ�นักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้กำ�หนดจัดแข่งขันเครื่องบินจำ�ลองและวิทยุบังคับ “หนูนอ้ ย จ้าวเวหา” ทีวไี ทย สพฐ. ชิงถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ระหว่างวันที่ 10-11 ตุลาคม 2552 ณ สนามกีฬามหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ วิทยาเขตวังไกลกังวล จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และจัดกิจกรรมค่ายพัฒนาครูและนักเรียนที่ชนะ การแข่งขันจากระดับภูมิภาค ระหว่างวันที่ 4 – 9 ตุลาคม 2552 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้นักเรียนได้เรียน รู้วิทยาศาสตร์อากาศยานอย่างเป็นรูปธรรม และพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ ดังนั้นเพื่อให้การดังกล่าวดำ�เนินงานเป็นไปด้วยความ เรียบร้อยและบรรลุตามวัตถุประสงค์ จึงแต่งตั้งคณะกรรมการดำ�เนินงาน ดังนี้ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่ปรึกษาสำ�นักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ผู้อำ�นวยการสำ�นักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ผู้อำ�นวยการ

ประธาน รองประธาน

2.3

นางสาววันเพ็ญ สุจิปุตโต

สำ�นักงานเขตพื้นที่การศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2 รองผู้อำ�นวยการสำ�นักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา

รองประธาน

2.4

นายบุญเทียม อังสวัสดิ์

รองผู้อำ�นวยการ

รองประธาน

2.5

นายเกษมสุข ศรีชะพา

สำ�นักงานเขตพื้นที่การศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 รองผู้อำ�นวยการ

กรรมการ

2.6

นายสุรินทร์ บัวงาม

สำ�นักงานเขตพื้นที่การศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 รองผู้อำ�นวยการ

กรรมการ

ชิงถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเเจ้าอยู่หัว

1. ทีป่ รึกษา 1.1 คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา 1.2 นายวินัย รอดจ่าย 1.3 นายดิลก พัฒนวิชัยโชติ 2. คณะกรรมการฝ่ายอำ�นวยการจัดงาน 2.1 นางอรทัย มูลคำ� 2.2 ดร.มานะ อัครบัณฑิต

สำ�นักงานเขตพื้นที่การศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2 /2.7 ว่าที่ร้อยเอกวิสาร...

88888 71


สำ�นักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

2.7

ว่าที่ร้อยเอกวิสาร ปัญญชุณห์

2.8 2.9 2.10 2.11 2.12

สำ�นักงานเขตพื้นที่การศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2 ผู้แทนสถานีโทรทัศน์ทีวีไทย ผู้แทนมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ วิทยาเขตวังไกลกังวล ผู้แทนสมาคมเครื่องบินจำ�ลองและวิทยุบังคับ ผู้แทนเทศบาลเมืองหัวหิน ผศ. ชาญชัย อินทรสุนานนท์ ข้าราชการบำ�นาญ

2.13

นางรุจิเรข แสงจิตต์พันธุ์

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร ข้าราชการบำ�นาญ

กรรมการ

นายสมยศ บุตรมณี นางสุนิสาห์ ม่วงคราม

สำ�นักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน นักวิชาการอิสระ นักจัดการงานทั่วไป

กรรมการ กรรมการ

2.16

นางสาววิภาพร นิธิปรีชานนท์

สำ�นักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา นักวิชาการศึกษาชำ�นาญการพิเศษ กรรมการและเลขานุการ

2.17

นางสาวอรวรรณ โอวรารินทร์

สำ�นักพัฒนานวัตกรรมและการจัดการศึกษา นักวิชาการศึกษาชำ�นาญการ กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

2.18

นางสาวดุจดาว ทิพย์มาตย์

สำ�นักพัฒนานวัตกรรมและการจัดการศึกษา นักวิชาการศึกษาชำ�นาญการ กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

2.14 2.15

หนูน้อยจ้าวเวหา ทีวีไทย สพฐ.

3. ฝ่ายปฏิคมและต้อนรับ 3.1 นายวัฒชัย วรรณพิรุณ

กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ

สำ�นักพัฒนานวัตกรรมและการจัดการศึกษา รองผู้อำ�นวยการ

ประธาน

3.2

นางสาววิภาพร นิธิปรีชานนท์

สำ�นักงานเขตพื้นที่การศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2 นักวิชาการศึกษาชำ�นาญการพิเศษ

3.3

นายสุวรรณ จันทร์ศรี

สำ�นักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา นักทรัพยากรบุคคล ชำ�นาญการพิเศษ

กรรมการ

3.4

นายกานต์พงศ์ เกตุลา

สำ�นักงานเขตพื้นที่การศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2 นักวิชาการศึกษาชำ�นาญการ

กรรมการ

3..5

นายจำ�ลอง พึ่งโพธิ์

สำ�นักงานเขตพื้นที่การศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 นักทรัพยากรบุคคล ชำ�นาญการ

กรรมการ

รองประธาน

สำ�นักงานเขตพื้นที่การศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2

888

72

รองผู้อำ�นวยการ

/3.6 นางสาวไพลิน...


3.6

นางสาวไพลิน เกตุธิโภค

นักทรัพยากรบุคคล ชำ�นาญการ

กรรมการ

3.7

นางสายลม จิตระดับ

สำ�นักงานเขตพื้นที่การศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2 นักทรัพยากรบุคคล ชำ�นาญการ

กรรมการ

3.8

นางสมทรง ภิรมย์รส

สำ�นักงานเขตพื้นที่การศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2 นักทรัพยากรบุคคล ชำ�นาญการ

กรรมการ

นางสาวจินตนา สังข์รุ่ง

สำ�นักงานเขตพื้นที่การศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2 เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีชำ�นาญการ

กรรมการ

3.9

ปฏิบัติหน้าที่นักวิชาการศึกษา สำ�นักงานเขตพื้นที่การศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 นักวิชาการศึกษาชำ�นาญการ

กรรมการ

3.11

นางสมสวย เจียรนัย

สำ�นักงานเขตพื้นที่การศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 นักทรัพยากรบุคคล ปฏิบัติการ

กรรมการ

3.12

นางสุภัตรา สุขสวัสดิ์

สำ�นักงานเขตพื้นที่การศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2 นักทรัพยากรบุคคล ปฏิบัติการ

กรรมการ

3.13

นายวิรุตติ์ ราศี

สำ�นักงานเขตพื้นที่การศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2 นิติกร ปฏิบัติการ

กรรมการ

3.14

นางอุษา ยี่รงค์

สำ�นักงานเขตพื้นที่การศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2 เจ้าพนักงานธุรการ ชำ�นาญงาน

กรรมการ

3.15

นางธันยพร มีเนียม

สำ�นักงานเขตพื้นที่การศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2 เจ้าพนักงานธุรการ ชำ�นาญงาน

กรรมการ

3.16

นางสาววาสนา แจ้งเสนาะ

สำ�นักงานเขตพื้นที่การศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2 นักทรัพยากรบุคคล ชำ�นาญการพิเศษ กรรมการและเลขานุการ

3.17

นางสาวยุพิน สว่างศรี

สำ�นักงานเขตพื้นที่การศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2 นักทรัพยากรบุคคล ชำ�นาญการ กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

4. คณะกรรมการค่ายพัฒนาครู นักเรียน 4.1 ว่าที่ร้อยเอกวิสาร ปัญญชุณห์ 4.2

นางสาวดุจดาว ทิพย์มาตย์

สำ�นักงานเขตพื้นที่การศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2 รองผู้อำ�นวยการ สำ�นักงานเขตพื้นที่การศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2 นักวิชาการศึกษาชำ�นาญการ สำ�นักพัฒนานวัตกรรมและการจัดการศึกษา

ประธาน รองประธาน /4.3 นายพิภพ...

888

ชิงถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเเจ้าอยู่หัว

นางอนุชทิตา สีมาพานิช

3.10

73


สำ�นักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

4.3 4.4 4.5

นายพิภพ หอมสุวรรณ

ครูโรงเรียนอนุบาลพนมทวน

กรรมการ

ว่าทีร่ อ้ ยเอกศศวรรธน์ ขรรค์ทพั ไทย

สำ�นักงานเขตพื้นที่การศึกษากาญจนบุรี เขต 2 ศึกษานิเทศก์

กรรมการ

นางสาวอุมาภรณ์ พัฒนะนาวีกุล

สำ�นักงานเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 นักวิชาการศึกษาปฏิบัติการ

กรรมการ

สำ�นักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา 4.6

นายพรชัย ถาวรนาน

นักวิชาการศึกษาปฏิบัติการ

กรรมการ

4.7

นางสาวชิตยาภรณ์ หงษ์ทอง

สำ�นักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา นักวิชาการศึกษาปฏิบัติการ

กรรมการ

นางสาวไพรวรรณ ตระกูลชัยชนะ

สำ�นักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา นักวิชาการศึกษาปฏิบัติการ

กรรมการ

นายวสันต์ สุธาวาส

สำ�นักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา นักวิชาการศึกษาปฏิบัติการ

กรรมการ

นายชัยยุทธ ขุนหลำ�

สำ�นักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา นักวิชาการศึกษาปฏิบัติการ

กรรมการ

นางสุจิตรา พิชัย

สำ�นักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน

กรรมการ

นางสาวอรวรรณ โอวรารินทร์

สำ�นักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา นักวิชาการศึกษาชำ�นาญการ กรรมการและเลขานุการ

นางนุสรา ชื่นประสงค์

สำ�นักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา นักวิชาการศึกษาชำ�นาญการ กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

นางสาววราพร สีเมฆ

สำ�นักงานเขตพื้นที่การศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2 นักวิชาการศึกษาปฏิบัติการ กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

4.8 4.9 4.10 4.11 4.12 4.13

หนูน้อยจ้าวเวหา ทีวีไทย สพฐ.

4.14

สำ�นักงานเขตพื้นที่การศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2 5. คณะกรรมการจัดขบวนแห่อัญเชิญถ้วยพระราชทาน 5.1

นายอธิคุณ บุตรยิ่ง

รองนายกเทศมนตรีตำ�บลหัวหิน

5.2

นายชำ�นิ แซ่ตั้ง

ผู้อำ�นวยการโรงเรียนหัวหิน

นางรุจิเรข แสงจิตต์พันธุ์

สำ�นักงานเขตพื้นที่การศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2 ข้าราชการบำ�นาญ

5.3

ประธาน รองประธาน กรรมการ

สำ�นักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน /5.4 นางพิมพ์พันธ์ ...

74


888 5.4 5.5 5.6 5.7 5.8 5.9 5.10 5.11 5.12

นางพิมพ์พันธ์ เฮ่งประดิษฐ์

ศึกษานิเทศก์ชำ�นาญการพิเศษ

กรรมการ

ลูกเสือวิสามัญ จำ�นวน 40 คน

สำ�นักงานเขตพื้นที่การศึกษาสงขลา เขต 2 โรงเรียนหัวหิน

กรรมการ

นางจงกลนี วรรณพิรณ ุ

สำ�นักงานเขตพื้นที่การศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2 นักวิชาการศึกษาชำ�นาญการ

กรรมการ

นางดวงเดือน นามนัย

สำ�นักงานเขตพืน้ ทีก่ ารศึกษาประจวบคีรขี นั ธ์ เขต 2 ครูช�ำ นาญการโรงเรียนหัวหิน กรรมการ

นางรุง่ ทิพย์ ยงยืน

สำ�นักงานเขตพืน้ ทีก่ ารศึกษาประจวบคีรขี นั ธ์ เขต 2 ครูชำ�นาญการโรงเรียนหัวหิน กรรมการ

นางสาววิภาพร นิธิปรีชานนท์

สำ�นักงานเขตพื้นที่การศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2 นักวิชาการศึกษาชำ�นาญการพิเศษ กรรมการและเลขานุการ

นางสาวดุจดาว ทิพย์มาตย์

สำ�นักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา นักวิชาการศึกษาชำ�นาญการ กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

นางสาวอรวรรณ โอวรารินทร์

สำ�นักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา นักวิชาการศึกษาชำ�นาญการ กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

นายพิภพ หอมสุวรรณ

สำ�นักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ครูโรงเรียนอนุบาลพนมทวน กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

6.1.2 6.1.3 6.1.4 6.1.5

สำ�นักงานเขตพื้นที่การศึกษากาญจนบุรี เขต 2 รองผู้อำ�นวยการ

ประธาน

นางสาววราพร สีเมฆ

สำ�นักงานเขตพื้นที่การศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2 นักวิชาการศึกษาปฏิบัติการ

กรรมการ

นางสุดจิตร์ ไทรนิ่มนวล

สำ�นักงานเขตพื้นที่การศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2 นักวิชาการศึกษาชำ�นาญการ

กรรมการ

นางนุสรา ชื่นประสงค์

สำ�นักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา นักวิชาการศึกษาชำ�นาญการ กรรมการและเลขานุการ

นางสาวประภัสสร มากดี

สำ�นักงานเขตพื้นที่การศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2 นักวิชาการศึกษาปฏิบัติการ กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

ชิงถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเเจ้าอยู่หัว

6. ฝ่ายทะเบียนรับรายงานตัว 6.1 ฝ่ายรับรายงานตัวนักกีฬา 6.1.1 นางสริษา แสงอุทัย

สำ�นักงานเขตพื้นที่การศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2 /6.1.6 นางสาวประนอม...

75


สำ�นักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

888

6.1.6

นางสาวประนอม พูลสวัสดิ์

พนักงานพิมพ์ดีด กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

สำ�นักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา 6.2 ฝ่ายรับรายงานตัวกิจกรรมครอบครัวสุขสันต์ 6.2.1 ว่าที่ร้อยเอกวิสาร ปัญญชุณห์ รองผู้อำ�นวยการ 6.2.2 6.2.3 6.2.4 6.2.5 6.2.6

นางนภาพร พลหิรัญ

สำ�นักงานเขตพื้นที่การศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2 นักวิชาการศึกษาชำ�นาญการ

กรรมการ

นางสมจิตร์ ชลยุทธประพันธ์

สำ�นักงานเขตพื้นที่การศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2 นักวิชาการศึกษาชำ�นาญการ

กรรมการ

นางสาวสุณี พู่พวง

สำ�นักงานเขตพื้นที่การศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2 นักวิชาการศึกษาชำ�นาญการ กรรมการและเลขานุการ

นายเอกชัย วงศ์ศรีสว่าง

สำ�นักงานเขตพื้นที่การศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2 เจ้าพนักงานธุรการชำ�นาญการ กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

นายพรชัย ถาวรนาน

สำ�นักงานเขตพื้นที่การศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2 นักวิชาการศึกษาปฏิบัติการ กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

7. ฝ่ายประชาสัมพันธ์ 7.1 นายทรงวุฒิ มลิวัลย์ 7.2 เจ้าหน้าที่สถานีโทรทัศน์ทีวีไทย 7.3 7.4

หนูน้อยจ้าวเวหา ทีวีไทย สพฐ.

7.5 7.6

กรรมการ กรรมการ

นางสาวถนอมศรี ลิ่มศิลา

รองผู้อำ�นวยการโรงเรียนท่าม่วงราษฎร์บำ�รุง

กรรมการ

เจ้าหน้าทีป่ ระชาสัมพันธ์ จำ�นวน 2 คน

สำ�นักงานเขตพื้นที่การศึกษากาญจนบุรี เขต 1 ศูนย์สารสนเทศการศึกษาขั้นพื้นฐาน

กรรมการ

นางสาวศุลีพร วงศ์ภานุวัฒน์

สำ�นักงานคณะกรรมการการศึกษาขัน้ พืน้ ฐาน ครูชำ�นาญการพิเศษโรงเรียนท่าม่วงราษฎร์บำ�รุง กรรมการและเลขานุการ

นายวสันต์ สุธาวาส

สำ�นักงานเขตพื้นที่การศึกษากาญจนบุรี เขต 1 นักวิชาการศึกษาปฏิบัติการ กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

นางสาวอุมาภรณ์ พัฒนะนาวีกุล

สำ�นักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา นักวิชาการศึกษาชำ�นาญการ สำ�นักพัฒนานวัตกรรมและการจัดการศึกษา นักวิชาการศึกษาปฏิบัติการ

ประธาน กรรมการ

สำ�นักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา

76

สำ�นักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ผู้อำ�นวยการศูนย์สารสนเทศการศึกษาขั้นพื้นฐาน

8. ฝ่ายการเงินและที่พัก 8.1 นางสาวอรวรรณ โอวรารินทร์ 8.2

ประธาน

/8.3 นางสาวชิตยาภรณ์ ...


888 8.3 8.4 8.5

นางสาวชิตยาภรณ์ หงษ์ทอง

นักวิชาการศึกษาปฏิบัติการ

นางสุดจิตร์ ไทรนิ่มนวล

สำ�นักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา นักวิชาการศึกษาชำ�นาญการ กรรมการและเลขานุการ

นางสาวประนอม พูลสวัสดิ์

สำ�นักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา พนักงานพิมพ์ดีด กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

สำ�นักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา 9. คณะกรรมการจัดขบวนกองเชียร์บนอัฒจันทร์ 9.1 นายสุรินทร์ บัวงาม รองผู้อำ�นวยการ

กรรมการ

ประธาน

นางสาววันเพ็ญ สุจิปุตโต นายสมโภชน์ อนันตโรจน์

สำ�นักงานเขตพื้นที่การศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2 รองผู้อำ�นวยการสำ�นักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ผู้อำ�นวยการโรงเรียนบ้านปากน้ำ�ปราณ

นายศาสตรา สุรยารังสรรค์

สำ�นักงานเขตพื้นที่การศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2 ผู้อำ�นวยการโรงเรียนโรตารี่กรุงเทพ

กรรมการ

นางนิตยา ฤทธอินทร

สำ�นักงานเขตพื้นที่การศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2 ผู้อำ�นวยการโรงเรียนบ้านหนองพลับ

กรรมการ

9.6

นายเชาว์ ผาเป้า

สำ�นักงานเขตพื้นที่การศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2 ผู้อำ�นวยการโรงเรียนบ้านห้วยไทรงาม

กรรมการ

9.7

สำ�นักงานเขตพื้นที่การศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2 ดร.กฤษติกาญจน์ เกษมสุขจรัสแสง ผู้อำ�นวยการโรงเรียนหัวหินวิทยาคม

กรรมการ

9.2 9.3 9.4 9.5

9.9 9.10 9.11 9.12 9.13

นางกมลทิพย์ อิงปัญจลาภ

สำ�นักงานเขตพื้นที่การศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2 ผู้อำ�นวยการโรงเรียนบ้านหนองกระทุ่ม

กรรมการ

ว่าที่ รต.ธนสาร แกมไทย

สำ�นักงานเขตพื้นที่การศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2 ผู้อำ�นวยการโรงเรียนบ้านห้วยผึ้ง

กรรมการ

นางสมจิตร เลิศอาวาส

สำ�นักงานเขตพื้นที่การศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2 ผู้อำ�นวยการโรงเรียนละเมาะ

กรรมการ

นายปรีชา ศรีสมยศ

สำ�นักงานเขตพื้นที่การศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2 ผู้อำ�นวยการโรงเรียนบ้านหนองหอย

กรรมการ

นายสุชาติ ปรีเปรมดิ์

สำ�นักงานเขตพื้นที่การศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2 ผู้อำ�นวยการโรงเรียนบ้านทุ่งยาว

กรรมการ

นายศาล เรืองฤทธิ์

สำ�นักงานเขตพื้นที่การศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2 ผู้อำ�นวยการโรงเรียนบ้านวังก์พง

กรรมการ

ชิงถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเเจ้าอยู่หัว

9.8

รองประธาน กรรมการ

สำ�นักงานเขตพื้นที่การศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2 /9.14 นายสวัสดิ์ ...

77


หนูน้อยจ้าวเวหา ทีวีไทย สพฐ.

สำ�นัก888 งานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

78

9.14

นายสวัสดิ์ เสาหงษ์

ผูอ้ �ำ นวยการโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการปราณบุรี

กรรมการ

9.15

นายณรงค์ชัย สังข์ลาโพธิ์

สำ�นักงานเขตพื้นที่การศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2 ผู้อำ�นวยการโรงเรียนบ้านวังวน

กรรมการ

9.16

นางประทุม เจียมตน

สำ�นักงานเขตพื้นที่การศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2 ผู้อำ�นวยการโรงเรียนอนุบาลหัวหิน

กรรมการ

9.17

นายสมศักดิ์ เนตรเพชร

สำ�นักงานเขตพื้นที่การศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2 ผู้อำ�นวยการโรงเรียนอนุบาลปราณบุรี

กรรมการ

9.18

นายชัยวัฒน์ ฤทธิ์อินทร์

สำ�นักงานเขตพื้นที่การศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2 ผู้อำ�นวยการโรงเรียนบ้านหนองซอ

กรรมการ

9.19

นายสมโภชน์ หมื่นประเสริฐ

สำ�นักงานเขตพื้นที่การศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2 ผู้อำ�นวยการโรงเรียนบ้านทับใต้

กรรมการ

9.20

นายชาตรี สุบรรณภาส

สำ�นักงานเขตพื้นที่การศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2 ผู้อำ�นวยการโรงเรียนบ้านวังยาว

กรรมการ

9.21

นายวิโรจน์ กล่ำ�กล่อมจิตร

สำ�นักงานเขตพื้นที่การศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2 ผู้อำ�นวยการโรงเรียนบ้านห้วยมงคล

กรรมการ

9.22

นายประทิน สืบสุทธา

สำ�นักงานเขตพื้นที่การศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2 ผู้อำ�นวยการโรงเรียนบ้านดอนมะขาม

กรรมการ

9.23

นายสมบูรณ์ พิพัฒน์เสถียรไทย

สำ�นักงานเขตพื้นที่การศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2 ผู้อำ�นวยการโรงเรียนอนุบาลกุยบุรี

กรรมการ

9.24

นายสมสกุล สีสันต์

สำ�นักงานเขตพื้นที่การศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2 ผู้อำ�นวยการโรงเรียนบ้านดอนกลาง

กรรมการ

9.25

นายประสิทธิ์ สุขเกษม

สำ�นักงานเขตพื้นที่การศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2 ผู้อำ�นวยการโรงเรียนบ้านหนองพรานพุก

กรรมการ

9.26

นายพัฒน์ชัย วิเศษสมบัต

สำ�นักงานเขตพื้นที่การศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2 ผู้อำ�นวยการโรงเรียนบ้านห้วยพลับ

กรรมการ

9.27

นายประสาน ปะติเพนัง

สำ�นักงานเขตพื้นที่การศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2 ผู้อำ�นวยการโรงเรียนบ้านหนองตาเมือง

กรรมการ

9.28

นายสุวัฒน์ จับใจ

สำ�นักงานเขตพื้นที่การศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2 ผู้อำ�นวยการโรงเรียนบ้านหนองเกด

กรรมการ

9.29

นายวัชรินทร์ ปลื้มจิตร์

สำ�นักงานเขตพื้นที่การศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2 ผู้อำ�นวยการโรงเรียนบ้านเนินกรวด

กรรมการ

สำ�นักงานเขตพื้นที่การศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2 / 9.30 นายเครือ...


888 9.30 9.31 9.32

นายเครือ ปรีเปรมดิ์

ผู้อำ�นวยการโรงเรียนบ้านหนองหมู

กรรมการ

นางสาวธันยกร ปราณปรีชากุล

สำ�นักงานเขตพื้นที่การศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2 ผู้อำ�นวยการโรงเรียนชินนุกูลวิทยา

กรรมการ

ลูกเสือวิสามัญ จำ�นวน 40 คน

สำ�นักงานเขตพื้นที่การศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2 โรงเรียนหัวหิน

กรรมการ

สำ�นักงานเขตพื้นที่การศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2 9.33 9.34

นางสาวดุจดาว ทิพย์มาตย์

นักวิชาการศึกษาชำ�นาญการ กรรมการและเลขานุการ

นางพิมพ์พันธ์ เฮ่งประดิษฐ์

สำ�นักพัฒนานวัตกรรมและการจัดการศึกษา ศึกษานิเทศก์ชำ�นาญการ กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

สำ�นักงานเขตพื้นที่การศึกษาสงขลา เขต 2 10. ฝ่ายอาหารน้ำ�ดื่มและอำ�นวยความสะดวกต่าง ๆ 10.1 นายชำ�นิ แซ่ตง้ั ผูอ้ �ำ นวยการโรงเรียนหัวหิน 10.2 10.3 10.4

10.6

นางสาวอรวรรณ โอวรารินทร์

สำ�นักงานเขตพืน้ ทีก่ ารศึกษาประจวบคีรขี นั ธ์ เขต 2 นักวิชาการศึกษาชำ�นาญการ

กรรมการ

ลูกเสือวิสามัญ จำ�นวน 40 คน

สำ�นักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา โรงเรียนหัวหิน

กรรมการ

นางจงกลนี วรรณพิรุณ

สำ�นักงานเขตพื้นที่การศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2 นักวิชาการศึกษา ชำ�นาญการ

กรรมการ

นางดวงเดือน นามนัย

สำ�นักงานเขตพื้นที่การศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2 ครูชำ�นาญการโรงเรียนหัวหิน กรรมการและเลขานุการ

นางรุ่งทิพย์ ยงยืน

สำ�นักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2 ครูชำ�นาญการโรงเรียนหัวหิน กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

สำ�นักงานเขตพื้นที่การศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2 11. คณะกรรมการพิธีการมอบถ้วยพระราชทาน 11.1 นายสุรินทร์ บัวงาม รองผู้อำ�นวยการ

ชิงถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเเจ้าอยู่หัว

10.5

ประธาน

ประธาน

สำ�นักงานเขตพื้นที่การศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2 11.2 11.3

นายพิศิษฐ์ มิตรเกือ้ กูล นางสาววิภาพร นิธิปรีชานนท์

นายกสมาคมกีฬาเครือ่ งบินจำ�ลองและวิทยุบงั คับ นักวิชาการศึกษาชำ�นาญการพิเศษ

11.4

สำ�นักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ผู้แทนมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ วิทยาเขตวังไกลกังวล

รองประธาน กรรมการ กรรมการ

/ 11.5 นางรุ่งทิพย์... 79


สำ�นักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

888

11.5

นางรุ่งทิพย์ ยงยืน

ครูชำ�นาญการโรงเรียนหัวหิน

กรรมการ

11.6

ลูกเสือวิสามัญ จำ�นวน 4 คน

สำ�นักงานเขตพื้นที่การศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2 โรงเรียนหัวหิน

กรรมการ

11.7 11.8

นายสุรเกียรติ ลิบลับ นางจงกลนี วรรณพิรุณ

สำ�นักงานเขตพื้นที่การศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2 เจ้าหน้าทีส่ มาคมกีฬาเครือ่ งบินจำ�ลองและวิทยุบงั คับ กรรมการและเลขานุการ นักวิชาการศึกษาชำ�นาญการ กรรมการและผูช้ ว่ ยเลขานุการ

11.9

นางดวงเดือน นามนัย

สำ�นักงานเขตพื้นที่การศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2 ครูชำ�นาญการโรงเรียนหัวหิน กรรมการและผูช้ ว่ ยเลขานุการ

สำ�นักงานเขตพื้นที่การศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2 ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้ เป็นต้นไป

หนูน้อยจ้าวเวหา ทีวีไทย สพฐ.

สั่ง ณ วันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2552

80


เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้อำ�นวยการสำ�นักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา รองผู้อำ�นวยการ สำ�นักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ข้าราชการบำ�นาญ สำ�นักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐาน นักวิชาการศึกษาชำ�นาญการพิเศษ สำ�นักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา นักวิชาการศึกษาชำ�นาญการ สำ�นักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา นักวิชาการศึกษาชำ�นาญการ สำ�นักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา นักวิชาการศึกษาปฏิบัติการ สำ�นักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา นักวิชาการศึกษาปฏิบัติการ สำ�นักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา นักวิชาการศึกษาปฏิบัติการ สำ�นักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา นักวิชาการศึกษาปฏิบัติการ สำ�นักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน สำ�นักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา นักวิชาการศึกษาชำ�นาญการพิเศษ สำ�นักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา นักวิชาการศึกษาปฏิบัติการ สำ�นักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา นักวิชาการศึกษาปฏิบัติการ สำ�นักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา รองผู้อำ�นวยการ สำ�นักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา นักวิชาการศึกษาชำ�นาญการพิเศษ สำ�นักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา นักวิชาการศึกษาปฏิบัติการ

ชิงถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเเจ้าอยู่หัว

ที่ปรึกษา คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา นายวินัย รอดจ่าย นางอรทัย มูลคำ� คณะทำ�งาน นางสาววันเพ็ญ สุจิปุตโต นางรุจิเรข แสงจิตต์พันธุ์ นางสาววิภาพร นิธิปรีชานนท์ นางสาวอรวรรณ โอวรารินทร์ นางสาวดุจดาว ทิพย์มาตย์ นายวสันต์ สุทธาวาส นางสาวไพรวรรณ ตระกูลชัยชนะ นายชัยยุทธ ขุนหลำ� นางสาวชิตยาภรณ์ หงษ์ทอง นางสุจิตรา พิชัย คณะยกร่างเอกสาร นางสาววิภาพร นิธิปรีชานนท์ นายพรชัย ถาวรนาน นางสาวอุมาภรณ์ พัฒนะนาวีกุล คณะตรวจสอบและปรับปรุงเอกสาร นางสาววันเพ็ญ สุจิปุตโต นางสาววิภาพร นิธิปรีชานนท์ ออกแบบรูปเล่ม นายพรชัย ถาวรนาน

คณะผู้จัดทำ�

81


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.