Final report resize

Page 1



siam inovation district research report 2016


siam inovation district research report 2016

คำนำ สยามสแควร์เป็นพื้นที่ภายใต้ความดูแลของสำนักทรัพย์สิน แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นพื้นที่ศูนย์กลาง

ปี 2016

ทางเศรษฐกิ จ ที ่ ม ี ค วามสำคั ญ ที ่ ส ุ ด แห่ ง หนึ ่ ง ของกรุ ง เทพมหานคร เนื ่ อ งจากเป็ น ศู น ย์ ก ลางการเดิ น ทางด้ า นระบบ ประเทศไทยตัง้ เป้าหมายในการ

ขนส่งมวลชนและเป็นพื้นที่พาณิชยกรรมการค้าที่ใหญ่ที่สุดของกรุงเทพมหานคร มีประชาชนทุกกลุ่มเดินทางเข้าสู่พื้นที่เป็น

เดินหน้าเข้าสูก่ ารเป็นประเทศ

ปริมาณหลายแสนคนในแต่ละวัน ซึ่งทำให้พื้นที่สยามสแควร์ มีความเหมาะสมในทุกๆด้านในการผลักดันให้เป็นพื้นที่

ไทย 4.0 หรือเป็นระบบเศรษฐกิจทีข่ บั เคลือ่ นด้วยนวัตกรรม

เมื อ งต้ น แบบด้ า นนวั ต กรรม การแสดงและประชาสั ม พั น ธ์ ท างด้ า นนวั ต กรรม และเทคโนโลยี ต ่ า งๆ นอกจากนี ้

(Value–Based Economy) ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาโมเดล

การเป็นพื้นที่ภายใต้ความดูแลของหน่วยงานการศึกษา และใกล้กับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ยังเอื้อประโยชน์ให้พื้นที่

3.0 จากการลงทุนทรัพยากร จำนวนมากแต่ได้ผลตอบแทน

สยามสแควร์สามารถพัฒนาไปเป็นศูนย์กลางการเชื่อมต่อข้อมูลระหว่างองค์ความรู้ทางวิชาการและนวัตกรรม และพัฒนา

ทางเศรษฐกิจน้อย ไปสู่การลงทุนน้อยแต่ได้ผลตอบแทนมาก

ไปสูร่ ะบบธุรกิจและอุตสาหกรรมต่างๆ ให้เกิดเป็นรูปธรรม ซึง่ จะทำให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจจากทุกภาคส่วน และทำให้เกิด

หรือเป็นการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจผ่านการใช้ความรู้และ

การปฏิรูปโครงสร้างทางเศรษฐกิจในภาพรวมตามเป้าหมายของภาครัฐได้

หลักการทางวิชาการเข้ามามีส่วนช่วยในระบบอุตสาหกรรม และเศรษฐกิจของประเทศ

ด้วยเหตุนี้ โครงการการศึกษาการพัฒนาย่านนวัตกรรมสยามสแควร์ ภายใต้แนวคิดของศูนย์กลางนวัตกรรมแห่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงได้ถกู ริเริม่ ขึน้ เพือ่ ทำให้เกิดการศึกษา สำหรับนำข้อมูลไปใช้ประกอบการพิจารณาการพัฒนา

การกระตุ้นการพัฒนาด้านนวัตกรรมเพื่อตอบรับกับ

พืน้ ทีท่ ง้ั ในด้านรูปแบบทางกายภาพ รวมไปถึงกิจกรรมและนโยบายต่างๆ ผ่านการศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาโครงการ

นโยบายทางด้านเศรษฐกิจดังกล่าวจำเป็นต้องมีพื้นที่ที่มี

ลักษณะของรูปแบบพื้นที่ กิจกรรม และองค์ ประกอบต่างๆ เพื่อส่งเสริมให้ย่านสยามแสควร์กลายเป็นย่านนวัตกรรม

ศักยภาพในการเป็นพื้นที่ต้นแบบ เพื่อประชาสัมพันธ์แนวคิด

อย่ า งเป็ น รู ป ธรรม มี ค วามสอดคล้ อ งกั บ แผนแม่ บ ทการพั ฒ นาจุ ฬ าลงกรณ์ ม หาวิ ท ยาลั ย ครบรอบ 100 ปี

และเอื้อให้เกิดการต่อยอดการพัฒนาธุรกิจทุกประเภทต่อไป

ตอบรั บ กั บ แผนการพั ฒ นาเศรษฐกิ จ ของประเทศไทย และกลายเป็ น พื ้ น ที ่ ศ ู น ย์ ก ลางด้ า น นวั ต กรรมที ่ ส ำคั ญ ของ

ซึ่งพื้นที่ที่สำคัญแห่งหนึ่งในประเทศไทยที่มีศักยภาพในทุกๆ

กรุงเทพมหานครต่อไปในอนาคต

ด้าน เพื่อการพัฒนาในลักษณะของการเป็นพื้นที่ศูนย์กลาง ทางด้านนวัตกรรม ได้แก่ พื้นที่สยามสแควร์


siam inovation district research report 2016

สารบัญ บทที่ 1 บทนำ 1.1 หลักการและเหตุผล 1.2 วัตถุประสงค์ 1.3 ขอบเขตของการศึกษา

หน้า 1 3 4 4

บทที่ 2 แผนการดำเนินงาน 2.1 ขั้นตอนการดำเนินงาน 2.2 เป้าหมายและผลลัพธ์ 2.3 ระยะเวลาในการดำเนินงาน 2.4 ที่มาของข้อมูล

5 7 8 8 9

บทที่ 3 นวัตกรรมและพฤติกรรมของกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ความหมายของนวัตกรรม กระบวนการเกิดนวัตกรรม 3.1 กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในระบบการสร้างนวัตกรรมทั้งหมด 3.2 พฤติกรรมการรับรู้ข่าวสารของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 3.3 สรุปความสัมพันธ์ของกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมด

11 13 15 15 27 33

บทที่ 4 วิเคราะห์พฤติกรรม และกิจกรรมของนวัตกร 4.1 ประเภทของนวัตกรรม 4.2 กระบวนการเกิดนวัตกรรม 4.3 รูปแบบพฤติกรรมของนวัตกรที่ได้จากการสัมภาษณ์ 4.4 สรุปรูปแบบพฤติกรรมของนวัตกรที่ได้จากการสัมภาษณ์ 4.5 สรุปรูปแบบพื้นที่และกิจกรรม ที่ตอบสนองต่อความต้องการของนวัตกร

35 37 38 41 47 53


siam inovation district research report 2016

บทที่ 5 วิเคราะห์ต้นทุนทางนวัตกรรมของพื้นที่ 5.1 วิเคราะห์กายภาพของพื้นที่ 5.1.1 บทบาทของพื้นที่ย่านในระดับเมือง 5.1.2 วิเคราะห์ศักยภาพพื้นที่สยามสแควร์การประเมินราคาที่ดิน 5.1.3 วิเคราะห์ศักยภาพพื้นที่สยามสแควร์ จำนวนผู้ใช้บริการรถไฟฟ้า บีทีเอส 5.1.4 วิเคราะห์ศักยภาพพื้นที่สยามสแควร์ทางการค้าด้วยการจัดเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดิน 5.1.5 วิเคราะห์ศักยภาพพื้นที่สยามสแควร์ทางการค้าด้วยจำนวนสถานประกอบการ จำแนกตามเขต 5.1.6 วิเคราะห์ศักยภาพพื้นที่สยามสแควร์ทางการค้าด้วยการจัดเก็บภาษีป้าย 5.1.7 วิเคราะห์ศักยภาพพื้นที่สยามสแควร์ทางการค้าด้วยจำนวนพาณิชยกรรมประเภทต่างๆ 5.1.8 ประวัติความเป็นมาของพื้นที่สยาม - ปทุมวัน 5.1.9 การกระจายตัวของพื้นที่ co working space ในเมืองกรุงเทพฯ 5.1.10 เอกลักษณ์ของพื้นที่สยาม ( Characteristic of siam ) 5.1.11 ขอบเขตของพื้นที่ศึกษา และการใช้ประโยชน์ที่ดิน 5.1.12 แนวคิดของการพัฒนาในย่าน 5.1.13 พื้นที่ที่ก่อให้เกิดนวัตกรรมกรรมในย่านสยาม - ปทุมวัน 5.1.14 สรุปภาพรวมการวิเคราะห์กายภาพ ของย่านสยาม - ปทุมวัน 5.2 วิเคราะห์กิจกรรมของพื้นที่ 5.2.1 ขอบเขตการวิเคราะห์พื้นที่ 5.2.2 การใช้งานพื้นที่สยามในปัจจุบันเวลาปกติ 5.2.3 การใช้งานพื้นที่สยาม ในปัจจุบันเวลาจัดงาน 5.2.4 การดูแลในใช้งานพื้นที่จอดรถในปัจจุบัน 5.2.5 พื้นที่จัดงานและกิจกรรมของสยามสแควร์ 5.2.6 ความสัมพันธ์ของขนาดและประเภทของพื้นที่ในการจัดทำกิจกรรม 5.2.7 รายละเอียดพื้นทีและกิจกรรมของย่านสยามสแควร์ 5.2.8 รายละเอียดพื้นทีและกิจกรรมในสยามสแควร์ 5.2.9 รายละเอียดพื้นที่และกิจกรรมของอาคารที่สำคัญต่างๆในบริเวณสยามสแควร์ 5.2.10 สรุปการใช้งานกิจกรรมใน พื้นที่ต่างๆของสยามสแควร์ 5.2.11 สรุปสัดส่วนพื้นที่การใช้งานบริเวณตึกแถวในสยามสแควร์ 5.2.12 สรุปความเป็นไปได้ในการเกิดกิจกรรมเชิงนวัตกรรมใน พื้นที่สยามสแควร์

หน้า 65 68 69 70 71 72 73 74 75 77 78 79 84 87 88 89 90 91 93 97 100 102 105 113 124 125 126


siam inovation district research report 2016

5.3 วิเคราะห์ประชากรของพื้นที่ 5.3.1 จำนวน และ ประเภทของประชากร 5.3.2 ประเภทของกิจกรรม กับประชากรในพื้นที่ 5.3.3 วิเคราะห์ความหนาแน่นระหว่าง กิจกรรมของประชากรกับพื้นที่ 5.3.4 วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่าง กิจกรรมของประชากรกับพื้นที่ 5.3.5 สรุปความสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรมของประชากรวัยต่างๆ กับ พื้นที่ 5.3.6 สรุป สัดส่วน กิจกรรมของประเภทประชากรวัยต่างๆในพื้นที่ 5.4 สรุปต้นทุนทางนวัตกรรม 5.5 สรุปศักยภาพ โอกาสและปัญหา ในการพัฒนาย่านนวัตกรรม 5.6 วิเคราะห์คู่แข่งทางตรง และทางอ้อม บทที่ 6 บทสรุปและข้อเสนอแนะ 6.1 กรณีศึกษา 6.2 ความหนาแน่นของกิจกรรมแต่ละพื้นที่ 6.3 รูปแบบการพัฒนาย่านปทุมวัน 6.4 วิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายของแต่ละกิจกรรม 6.5 วิเคราะห์ด้านกระบวนการ เกิดนวัตกรรมจากกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่สยามสแควร์ 6.6 วิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายในย่านสยามสแควร์และพื้นที่โดยรอบในเชิงนวัตกรรม 6.7 รูปแบบการพัฒนาพื้นที่สยามสแควร์ 6.8 รูปแบบการพัฒนาพื้นที่อาคาร 6.9 ข้อเสนอแนะการใช้งานพื้นที่ภายในอาคาร 6.10 ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและการจัดการให้เกิดย่านนวัตกรรม

หน้า 127 130 133 136 142 143 144 146 149 151 153 159 161 163 165 168 169 175 176 181


1

Siam inovation district research report 2016

บทนำ

ที่มาและความสำคัญของโครงการย่านนวัตกรรมสยามสแควร์ หรือ Siam inovation district ซึ่งเป็นโครงการภายใต้นโยบายของศูนย์กลาง นวัตกรรมแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CU Innovation Hub) รวมไป ถึงวัตถุประสงค์ของการศึกษาโครงการ

page 1


page 2

Siam inovation district research report 2016

- 1.1 หลักการและเหตุผล - 1.2 วัตถุประสงค์ของโครงการ - 1.3 ขอบเขตของการศึกษา

3 4 4


Siam inovation district research report 2016

page 3

1.1 หลักการและเหตุผล

สภาวะเศรษฐกิจประเทศไทยในปัจจุบัน กำลังประสบกับปัญหา และภาวะ คุ ก คามจากปั จ จั ย ต่ า งๆ ซึ ่ ง ทำให้ เ ศรษฐกิ จ ของประเทศ ไม่ ส ามารถเจริ ญ เติ บ โตได้ อ ย่ า ง มี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ โดยปั ญ หาสำคั ญ ประการหนึ ่ ง ที ่ ป ระเทศไทยกำลั ง ประสบอยู ่ ค ื อ ปั ญ หา “กับดักประเทศรายได้ปานกลาง” อันเป็นผลมาจากโมเดลเศรษฐกิจที่ไม่สามารถตอบสนองต่อ ความเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์โลก และเมื่อพิจารณาโมเดลเศรษฐกิจในอดีตของประเทศ ไทย จะพบว่าประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลง โมเดลเศรษฐกิจมาเป็นลำดับขั้น จากโมเดล 1.0 หรือการลงทุนทางเศรษฐกิจที่ให้ความสำคัญ ด้านเกษตรกรรม เปลี่ยนเป็นโมเดล 2.0 ซึ่ง เป็นโมเดลเศรษฐกิจที่ให้ความสำคัญกับระบบ อุตสาหกรรมเบา และก้าวเข้าสู่รูปแบบโมเดล เศรษฐกิจ 3.0 ที่ให้ความสำคัญกับอุตสาหกรรมหนัก ซึ่งเป็นโมเดลเศรษฐกิจที่ใช้อยู่ใน ปัจจุบัน สำหรับโมเดลเศรษฐกิจ 3.0 นี้ ทำให้ประเทศไทยประสบกับปัญหากับดัก รายได้ปานกลาง และความไม่สมดุลในการพัฒนาเศรษฐกิจ ทำให้รัฐบาลมีความจำเป็นต้อง ปฏิรูปโครงสร้างทางเศรษฐกิจเพื่อก้าวข้ามปัญหาต่างๆที่กำลังประสบอยู่ เพื่อทำให้ประเทศไทย เดินหน้าเข้าสู่การเป็นประเทศไทย 4.0 หรือเป็นระบบเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม (Value–Based Economy) ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาโมเดล 3.0 จากการลงทุนทรัพยากร จำนวนมากแต่ได้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจน้อย เป็นการลงทุนน้อยแต่ได้ผลตอบแทนมาก หรือเป็นการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจผ่านการใช้ความรู้และหลักการทางวิชาการเข้ามามีส่วนช่วย ในระบบอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจของประเทศ

การปฏิรูปโครงสร้างทางเศรษฐกิจของประเทศ ให้กลายเป็นรูปแบบการ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจโดยการใช้นวัตกรรม จำเป็นต้องใช้องค์ความรู้และการประชาสัมพันธ์ที่มี ประสิทธิภาพสูง เพื่อให้ความรู้และความเข้าใจในนวัต กรรม สามารถเผยแพร่ไปสู่กลุ่ม อุตสาหกรรมทุกรูปแบบ ตั้งแต่อุตสาหกรรมขนาดเล็ก ไปจนถึงอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ รวมไปถึงการเผยแพร่สู้กลุ่มคนทุกกลุ่มโดยไม่จำกัดเพศและวัย ซึ่งจะเป็นการช่วยพัฒนาและ เพิ่มมูลค่าของสินค้าและการบริการประเภทต่างๆ ให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น สามารถขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจในภาพรวมของประเทศไทยให้เจริญเติบโตได้มากขึ้นตามเป้า หมายของภาครัฐ ผ่านการเผยแพร่องค์ความรู้และกระตุ้นให้เกิดการใช้นวัตกรรมต่างๆ ใน การพัฒนาเศรษฐกิจ ดังนั้น การกระตุ้นการพัฒนาด้านนวัตกรรมดังกล่าวจำเป็นต้องมี พื้นที่ที่มีศักยภาพในการเป็นพื้นที่ต้นแบบ เพื่อประชาสัมพันธ์แนวคิด และเอื้อให้เกิดการต่อ ยอดการพัฒนาธุรกิจทุกประเภทต่อไป ซึ่งพื้นที่ที่สำคัญแห่งหนึ่งในประเทศไทย ที่มีศักยภาพ ในทุกๆด้าน เพื่อการพัฒนาในลักษณะของการเป็นพื้นที่ศูนย์กลางทางด้านนวัตกรรม ได้แก่ พื้นที่สยามสแควร์ สยามสแควร์เป็นพื้นที่ภายใต้ความดูแลของสำนักทรัพย์สิน แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นพื้นที่ศูนย์กลางทางเศรษฐกิจที่มีความสำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของ กรุงเทพมหานคร เนื่องจากเป็นศูนย์กลางการเดินทางด้านระบบขนส่งมวลชนและเป็นพื้นที่ พาณิชยกรรมการค้าที่ใหญ่ที่สุดของกรุงเทพมหานคร มีประชาชนทุกกลุ่มเดินทางเข้าสู่พื้นที่ เป็นปริมาณหลายแสนคนในแต่ละวัน ซึ่งทำให้พื้นที่สยามสแควร์ มีความเหมาะสมในทุกๆด้าน ในการผลักดันให้เป็นพื้นที่เมืองต้นแบบด้านนวัตกรรม การแสดงและประชาสัมพันธ์ทางด้าน นวัตกรรม และเทคโนโลยีต่างๆ นอกจากนี้ การเป็นพื้นที่ภายใต้ความดูแลของหน่วยงานการ ศึกษา และใกล้กับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ยังเอื้อประโยชน์ให้พื้นที่สยามแควร์สามารถ พัฒนาไปเป็นศูนย์กลางการเชื่อมต่อข้อมูลระหว่างองค์ความรู้ทางวิชาการและนวัตกรรม และ พัฒนาไปสู่ระบบธุรกิจและอุตสาหกรรมต่างๆ ให้เกิดเป็นรูปธรรม ซึ่งจะทำให้เกิดการพัฒนา เศรษฐกิจจากทุกภาคส่วน และทำให้เกิดการปฏิรูปโครงสร้างทางเศรษฐกิจในภาพรวมตาม เป้าหมายของภาครัฐได้


Siam inovation district research report 2016

page 4

1.3 ขอบเขตของการศึกษา ด้วยเหตุนี้ โครงการการศึกษาการพัฒนาย่านนวัตกรรมสยาม สแควร์ จึงมีความสำคัญในการศึกษา เพื่อทำให้เกิดการนำข้อมูลไปใช้ประกอบการ พิ จ ารณาการ พั ฒ นาพื ้ น ที ่ ท ั ้ ง ในด้ า นรู ป แบบทางกายภาพ รวมไปถึ ง กิ จ กรรมและ นโยบายต่ า งๆผ่ า นการ ศึ ก ษาความเป็ น ไปได้ ใ นการพั ฒ นาโครงการ ลั ก ษณะของ รู ป แบบพื ้ น ที ่ กิ จ กรรม และองค์ ประกอบต่ า งๆ เพื ่ อ ส่ ง เสริ ม ให้ ย ่ า นสยามแสควร์ กลายเป็ น ย่ า นนวั ต กรรมอย่ า งเป็ น รู ป ธรรม มี ค วามสอดคล้ อ งกั บ แผนแม่ บ ทการ พัฒนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยครบรอบ 100 ปี ตอบรับกับแผนการพัฒนา เศรษฐกิ จ ของประเทศไทย และกลายเป็ น พื ้ น ที ่ ศ ู น ย์ ก ลางด้ า น นวั ต กรรมที ่ ส ำคั ญ ของกรุงเทพมหานครต่อไปในอนาคต

1.2 วัตถุประสงค์ 1. ศึกษาปัจจัยและองค์ประกอบในด้านต่างๆ เพื่อพิจารณาความเป็นไปได้ในการพัฒนา โครง- การย่านนวัตกรรมสยามสแควร์ ทั้งในด้านการพัฒนาพื้นที่และด้านนโยบายต่างๆ 2. ศึกษาพฤติกรรมของกลุ่มผู้ใช้งานที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการใช้พื้นที่สยามสแควร์ และ กลุ่มผู้ มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่มในระบบ Ecosystem ของการเกิดนวัตกรรม โดย เฉพาะกับนวัตกร เพื่อวิเคราะห์ลักษณะพฤติกรรมและการใช้พื้นที่ รวมไปถึงความต้องการ ด้านพื้นที่ในอนาคต 3. สำรวจและเก็บข้อมูลในเชิงพื้นที่ รวมไปถึงส่วนอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำมาใช้ประกอบ การวางแผนและพิจารณาด้านการออกแบบย่านนวัตกรรมสยามสแควร์ ให้สามารถรองรับต่อความต้อง การในการใช้งานจริง 4. นำเสนอแนวทางในการออกแบบพื้นที่และการพัฒนาลักษณะทางกายภาพ เพื่อทำให้ เกิดการ พัฒนาย่านให้กลายเป็นย่านนวัตกรรมอย่างเป็นรูปธรรม และสอดคล้องกับความ ต้องการในการใช้งานจริง 5. แสดงข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและการจัดการพื้นที่ตามข้อมูลจากการวิเคราะห์

1. ศึกษาพฤติกรรมและกิจกรรมของกลุม่ ผูใ้ ช้งานทุกรูปแบบในพืน้ ทีส่ ยามแสควร์ และกลุม่ ผูม้ ี ส่วนได้ส่วนเสียในระบบการเกิดนวัตกรรม โดยเฉพาะกลุ่มนวัตกร เพื่อวิเคราะห์ความต้องการใน การใช้พื้นที่ของกลุ่มคนต่างๆ รวมไปถึงพฤติกรรมการเรียนรู้และรับข่าวสาร 2. ศึกษาพื้นที่ภายในสยามแสควร์ที่เหมาะสมต่อการพัฒนาเป็นพื้นที่นวัตกรรม เพื่อให้เกิดการ กระตุ้นการใช้งานพื้นที่และทำให้เกิดการพัฒนาย่านในภาพรวมให้เป็นย่านนวัตกรรม 3. ศึกษาแนวคิดต่างๆที่เกี่ยวข้อง รวมไปถึงนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาด้านนวัตกรรม เพื่อหาความเป็นไปได้และโอกาสในการพัฒนาพื้นที่ให้มีความ เหมาะสม 4. วิเคราะห์ความเหมาะสมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และโอกาสทางด้านเศรษฐกิจของผู้สนับสนุน โครงการต่างๆ ที่จะมีบทบาทต่อการพัฒนาโครงการในอนาคต 5. วิเคราะห์หาต้นทุนทางนวัตกรรมของพื้นที่ 5.1 ต้นทุนทางนวัตกรรมเชิงพื้นที่ (Hardware)หรือ ลักษณะและรูปแบบของพื้นที่ใน สยามสแควร์ ที่มีศักยภาพในการนำมาประยุกต์ใช้เป็นพื้นที่กิจกรรม ที่ส่งเสริมงานนวัตกรรม (Mapping available space) 5.2 ต้นทุนทางนวัตกรรมเชิงกิจกรรม (Software) หรือ ลักษณะของกิจกรรมที่เกิด ขึ้นภายในระยะเวลา 6 เดือนย้อนหลังในพื้นที่สยามสแควร์ 6. จัดทำข้อเสนอแนะและแนวทางในการออกแบบพื้นที่ เพื่อให้พื้นที่ย่านสยามสแควร์ สามารถ พัฒนาเป็นพื้นที่ย่านนวัตกรรมที่มีศักยภาพ สอดคล้องต่อการใช้งานจริงของกลุ่มผู้ใช้งานกลุ่ม ต่างๆ มีการต่อยอดต้นทุนเดิมซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของพื้นที่ ซึ่งส่งเสริมให้พื้นที่มีความแตก ต่าง จากย่านนวัตกรรมอื่นๆ 7. จัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์ในรูปแบบดังนี้ 7.1รูปเล่มรายงานจำนวน 3 ฉบับ 7.2 ไฟล์ข้อมูลบันทึกในแผ่นซีดี จำนวน 3 ชุด


2

Siam inovation district research report 2016

แผนการดำเนินงาน โครงการย่านนวัตกรรมสยามสแควร์ (Siam innovation district) เป็นโครงการที่มุ่งเน้นการศึกษาในหัวข้อสำคัญ 2 ส่วน คือ 1.การศึกษาใน ลักษณะทางกายภาพ และ 2.การศึกษาพฤติกรรม ความต้องการ และข้อมูล เชิงกิจกรรมของกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในระบบการสร้างนวัตกรรม

page 5


page 6

Siam inovation district research report 2016

- 2.1 ขั้นตอนการดำเนินงาน - 2.2 เป้าหมายและผลลัพธ์ - 2.3 ระยะเวลาในการดำเนินงาน

7 8 8


Siam inovation district research report 2016

page 7

2.1 ขั้นตอนการดำเนินงาน

1. การสรุปขอบเขตของการศึกษาเบื้องต้น เพื่อวิเคราะห์ขอบเขตการศึกษา วัตถุประสงค์ของการศึกษา และวิธีการดำเนินงาน 2. การลงพื้นที่ศึกษา คือ พื้นที่สยามสแควร์ ทั้งในระดับย่านและระดับอาคาร เพื่อ สำรวจและจัดเก็บข้อมูล ในด้านลักษณะทางกายภาพ ข้อมูลด้านประชากร กิจกรรม ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ ทั้งในลักษณะข้อมูลปฐมภูมิและข้อมูลทุติยภูมิ 3. สัมภาษณ์กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในระบบนิเวศทางธุรกิจ (Ecosystem) ของ การเกิดนวัตกรรม รวมไปถึงผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง และกลุ่มนวัตกรที่เข้ามาใช้พื้นที่ สยามสแควร์ เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลด้านกิจกรรมและความต้องการใช้พื้นที่ 4. วิเคราะห์ข้อมูลเชิงกายภาพและกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ที่ได้จากการสำรวจ ซึ่ง เป็นต้นทุนในการพัฒนาโครงการเชิงกายภาพ เพื่อประเมินโอกาส ศักยภาพในการ พัฒนาพื้นที่ จุดแข็ง จุดอ่อน รวมไปถึงปัจจัยต่างๆ ที่เอื้อให้เกิดการพัฒนา 5. วิเคราะห์แบบสอบถาม การสัมภาษณ์กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และคำแนะนำจาก ผู้เชี่ยวชาญในด้านต่างๆ เพื่อประเมินพฤติกรรม ความต้องการ และปัจจัยต่างๆที่ เกี่ยวข้องกับการสร้างนวัตกรรมและธุรกิจเกิดใหม่ (Start - up) ซึ่งเป็นต้นทุน ในการพัฒนาพื้นที่ในเชิงกิจกรรม 6. สรุปข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์ ทั้งต้นทุนทางลักษณะกายภาพ (Hardware) และต้นทุนทางด้านกิจกรรมและประชากรในพื้นที่ (Software) เพื่อประเมินความ สัมพันธ์ของข้อมูลทั้งสองด้าน 7. นำข้อมูลจากการประเมินมาใช้ในการวิเคราะห์ด้านการออกแบบพื้นที่ รวมไปถึง การสร้างข้อเสนอแนะในการบริหารจัดการพื้นที่ เพื่อทำให้เกิดการสร้างเป็นย่าน นวัตกรรม ซึ่งตอบสนองต่อความต้องการจริงของนวัตกร รวมไปถึง กลุ่มผู้มี ส่วนได้ส่วนเสียต่างๆ 8. นำเสนอข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและการบริหารจัดการ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อ การนำไปใช้บริหารจัดการกิจกรรมในพื้นที่ รวมไปถึงการพัฒนาย่านในอนาคต

ประเด็น

การศึกษาต้นทุนทางด้านกายภาพ (Hardware) ภายในพื้นที่ศึกษา

สิ่งที่ต้อง วิเคราะห์

การพัฒนา ย่านนวัตกรรม

การพัฒนา อาคาร นวัตกรรม

กิจกรรมและ ประชากร ในพื้นที่ศึกษา

กิจกรรมและ ประชากร ในระบบ นวัตกรรม

วิธีการ ให้ได้มา ซึ่งข้อมูล

ประเมินข้อมูลและ ศักยภาพของพื้นที่ ในระดับย่าน เช่น การสัญจร ขนาด ฯลฯ ทั้งพื้นที่ศึกษา

สำรวจอาคารและ พื้นที่อื่นๆ ที่มีโอกาส ในการพัฒนา เช่น อาคารใหญ่ ลาน อาคารพาณิชย์

ทำแบบสอบถามโดย คนภายในพื้นที่ศึกษา รวมไปถึงข้อมูลที่ได้ จากผู้ที่เกี่ยวข้อง และการสังเกต

สัมภาษณ์กลุ่ม ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในระบบการเกิด นวัตกรรมทั้งหมด

เป้าหมาย

ข้อมูลพื้นที่ต่างๆ ภายในย่านที่มีโอกาส ในการพัฒนาเป็น พื้นที่เชิงนวัตกรรม

ข้อมูลการจัดการ อาคารเพื่อใช้เป็น พื้นที่นวัตกรรม และข้อเสนอแนะ ด้านการจัดการ

ผลลัพธ์

การศึกษาต้นทุนทางด้านกิจกรรม (Software) ของระบบนวัตกรรม

ข้อมูลพฤติกรรม ความต้องการเชิงพื้นที่ รูปแบบการเรียนรู้และการรับรู้ รวมไปถึง การทำงานต่างๆเพื่อให้เกิดนวัตกรรม หรือธุรกิจเกิดใหม่ (Start-up)

การสรุปข้อมูลเชิงพื้นที่ร่วมกับกิจกรรม - ข้อมูลความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย - ข้อมูลด้านพื้นที่ที่มีโอกาสในการพัฒนา - ข้อมูลด้านต้นทุนทางกายภาพ และกิจกรรม - ข้อเสนอแนะในการจัดกิจกรรมและพัฒนาพื้นที่

+ ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและการจัดการ


Siam inovation district research report 2016

2.2 เป้าหมายและผลลัพธ์

page 8

รายละเอียด

ตุลาคม

พฤศจิกายน

ธันวาคม

1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 4 1 การสรุปขอบเขตของการศึกษาเบื้องต้น เพื่อ 1. รายงานการวิเคราะห์ข้อมูลลักษณะทางกายภาพของพื้นที่สยามสแควร์ในปัจจุบัน รวมไปถึงข้อมูลรายละเอียดพื้นที่ที่มีโอกาสในการพัฒนา เช่น อาคารใหญ่ ลานต่างๆ ทั้งในอาคารและภายนอกอาคาร รวมไปถึงอาคารพาณิชย์ต่างๆภายในพื้นที่ 2. รายงานการวิเคราะห์ข้อมูลทางด้านกิจกรรมและประชากร ซึ่งเกี่ยวข้องกับระบบ การเกิดนวัตกรรมและธุรกิจเกิดใหม่(Start - up) ผ่านการสรุปข้อมูลด้านกิจกรรม ต่างๆภายในพื้นที่ และจากการศึกษาพฤติกรรมของกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในระบบ โดยเฉพาะกลุ่มนวัตกร 3. ข้อเสนอแนะในด้านการออกแบบและการจัดกิจกรรมในพื้นที่ ทั้งในเชิงการพัฒนา อาคารเพื่อเป็นศูนย์กลางทางด้านนวัตกรรมของย่าน การพัฒนาอาคารและพื้นที่ต่างๆ ภายในย่าน รวมไปถึงรูปแบบกิจกรรมที่เหมาะสมกับพื้นที่ที่แตกต่างกัน เพื่อทำให้ เกิดการพัฒนาสยามสแควร์ไปเป็นพื้นที่ย่านนวัตกรรมในอนาคต 4. ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและการจัดการพื้นที่ เพื่อทำให้โครงการสามารถดำเนิน การไปได้ ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

วิเคราะห์ขอบเขตการศึกษา วัตถุประสงค์ของ การศึกษา และวิธีการดำเนินงาน

2 ลงพื้นที่สยามสแควร์ เพื่อสำรวจและจัดเก็บ

ข้อมูล ทั้งในระดับย่านและระดับอาคาร ใน ด้านลักษณะทางกายภาพ ข้อมูลด้านประชากร รวมไปถึงกิจกรรมที่เกิดขึ้นในพื้นที่

3 วิเคราะห์ข้อมูลทั้งทางด้านกายภาพและกิจกรรม

- วิเคราะห์ข้อมูลต้นทุนทางด้าน Hardware จากการสำรวจ และข้อมูลจากหน่วยงาน - วิเคราะห์ข้อมูลต้นทุนทางด้านกิจกรรม จากการสัมภาษณ์กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในระบบ นวัตกรรมและธุรกิจเกิดใหม่ (Start-up)

4 การสรุปข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์ทั้งในเชิง

2.3 ระยะเวลาในการดำเนินงาน

Hardware และ Software - สรุปข้อมูลด้านความต้องการและพฤติกรรม ของกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียโดยเฉพาะนวัตกร - แนวทางการพัฒนาพื้นที่และกิจกรรมที่เหมาะ สมกับพื้นที่ต่างๆที่มีลักษณะแตกต่างกัน

5 การจัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์เพื่อนำเสนอผล ระยะเวลาในการดำเนินการ ตั้งแต่วันที่ 14 ตุลาคม – 29 ธันวาคม 2559 รวมระยะเวลา 2 เดือน 15 วัน โดยมีรายละเอียดในการดำเนินงานดังต่อไปนี้

ของการศึกษาและข้อมูลที่ได้จากการศึกษา - ผลการศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนา โครงการ จากต้นทุนทางนวัตกรรมทั้งหมด - ข้อเสนอแนะด้านการออกแบบพื้นที่ กิจกรรม และเชิงนโยบาย - การบริหารจัดการพื้นที่


3

Siam inovation district research report 2016

นวัตกรรม และ พฤติกรรมของ กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย(Stakeholders) การสร้างนวัตกรรม และการสร้างธุรกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม จำเป็นต้องอาศัย กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่างๆ เข้ามาเป็นตัวช่วยผลักดัน ให้แต่ละกระบวนการของการเกิด นวัตกรรม สามารถสำเร็จไปได้ ดังนั้น การศึกษาพฤติกรรมของกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ต่างๆ จะทำให้เกิดความเข้าใจในความต้องการเชิงกิจกรรมและความต้องการเชิงพื้นที่

page 9


CR : http://www.bangkokarchitect.com/oba-wp/wp-content/uploads/2015/12/OBA_SQ1_002.jpg

page 10

Siam inovation district research report 2016

-

ความหมายของนวัตกรรม กระบวนการเกิดนวัตกรรม 3.1 กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในระบบทั้งหมด 3.2 พฤติกรรมการรับรู้ข่าวสาร 3.3 สรุปความสัมพันธ์ของกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในระบบทั้งหมด

11 12 13 25 31


Siam inovation district research report 2016

ความหมาย ของนวัตกรรม ความหมายของนวัตกรรม Mariana du Plessi (2007) ได้ให้คำนิยามของนวัตกรรมว่า “เป็นการสร้างความรู้และ ความคิดใหม่ เพื่อให้ผลลัพธ์ใหม่ทางธุรกิจ ซึ่งให้ความสำคัญกับการปรับปรุงกระบวนการ ดำเนินธุรกิจภายในองค์กร และโครงสร้างธุรกิจเพื่อสร้างสินค้าและบริการที่สร้างขึ้นตาม ความต้องการของตลาด"

page 11

8

STAKE HOLDERS

8 กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

ดังนั้น นวัตกรรม คือ การสร้างสิ่งใหม่ รวมถึงการปรับปรุงและพัฒนาให้ดีขึ้น ทั้งสินค้า บริการ และกระบวนการ โดยการนำเอาสิ่งนั้นมาจัดให้เป็นระบบหรือกระบวนการ เพื่อสร้าง ผลลัพท์ทางธุรกิจ

6

PRO CESSES

ความคิดสร้างสรรค์ คือ การคิดค้นสิ่งใหม่หรือแนวทางใหม่ เพื่อให้เกิดผลลัพท์ที่เป็น รูปธรรม เช่น สิ่งประดิษฐ์ ดนตรี การแสดง และไม่เป็นรูปธรรม เช่น วิธีแก้ปัญหาบางอย่าง ซึ่งความคิดสร้างสรรค์ไม่จำเป็นต้องนำไปสู่ธุรกิจ แต่นวัตกรรมทุกอย่างต้องเกิดจากความ คิดสร้างสรรค์

6 กระบวนการ

4

SPACE 4 รูปแบบพื้นที่


Siam inovation district research report 2016

page 12

กระบวนการเกิดนวัตกรรม

ริชาร์ด คูเปอร์ (Ricard cooper) พบว่ากระบวนการเกิดนวัตกรรมมีทั้งหมด 6 กระบวนการ คือ (1)การเริ่มแนวคิด (2) การตรวจสอบและรับความรู้เกี่ยวกับแนวคิด เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและความน่าเชื่อถือ ให้กับแนวคิด (3) กระบวนการวางแผนธุรกิจ กระบวนการนี้คือการนำแนวคิดไปสู่ระบบของ ธุรกิจให้สามารถเกิดขึน้ จริง (4) กระบวกการพัฒนาต้นแบบการผลิต และ (5) กระบวนการ ทดสอบกับกลุ่มตัวอย่างต้องมาควบคู่กัน เพื่อตรวจสอบผลที่ได้และนำกลับไปพัฒนาจนได้ ผลลัพท์ที่ดีที่สุดที่สามารถเข้าสู่กระบวนการสุดท้ายคือ (6) กระบวนการนำออกสู่ท้องตลาด ซึ่งทุกกระบวนการสามารถตรวจสอบและปรับปรุง เพื่อให้เกิดผลผลิตที่ตรงตามความต้อง การของกลุ่มเป้าหมายที่สุด

Tidd ed al. (2005) ได้อธิบายถึงองค์ประกอบความสำเร็จของการเกิดนวัตกรรม ประกอบไปด้วย 3 ข้อ คือ (1) กระบวนการสร้างนวัตกรรม ต้องมีพื้นที่ในการสร้างแรง บันดาลใจและมีพื้นที่สำหรับหาความรู้เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ (2) ทรัพยากรทางนวัตกรรม ทั้งการระดมทุนและสร้างทีม เป็นองค์ประกอบสำคัญในการนำนวัตกรรมเข้าไปสู่ระบบของ ธุรกิจที่สามารถทำให้เกิดขึ้นจริง และ (3) ความสามาถในการจัดการนวัตกรรมของผู้บริหาร ในองค์กร ซึ่งบรรยากาศการทำงานภายในองค์กรส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับผู้บริหารองค์กร จาก ผลการศึกษา Roderic (2007) ได้มีการสรุปบรรยากาศที่เอื้อให้เกิดการสร้างนวัตกรรม คือ การให้พนักงานได้มีส่วนร่วมในการกำหนดเป้าหมาย พนักงานมีอิสระในการคิด มีอิสระ ในการสอบถาม และมีอิสระในการสร้างนวัตกรรม ดังนั้นพื้นที่ในการทำงานจึงมีความสำคัญ ซึ่งต้องเป็นพื้นที่ที่เอื้อให้เกิดการสร้างแรงบันดาลใจ มีแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ และเป็นพื้นที่ ที่สามารถลองผิดลองถูกได้ เพื่อให้ผ่านกระบวนการพัฒนาต้นแบบและทดสอบกลุ่มตัวอย่าง จนได้ผลผลิตที่สามารถออกสู่ท้องตลาดได้

Ricard Cooper àÃÔ่Áá¹Ç¤Ô´

Discovery Idea

µÃǨÊͺá¹Ç¤Ô´ ¡ÒÃÇҧἹ áÅÐÃѺ¤ÇÒÁÃÙŒ ¸ØáԨ

Scoping

Business model

¡ÒþѲ¹Ò ¡ÒùํÒÍÍ¡ ¡Ò÷´Êͺ µŒ¹áºº¡ÒüÅÔµ ¡Ñº¡ÅØ‹ÁµÑÇÍ‹ҧ ÊÙ‹·ŒÍ§µÅÒ´

Prototyping

Testing

Full launch

ขั้นตอนการเกิดนวัตกรรม ทำให้นวัตกรต้องมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกับกลุ่มบุคคลอื่นๆที่มีหน้าที่แตกต่างกันไป เรียกว่า กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในระบบการเกิดนวัตกรรม หรือ Stakeholders ซึ่งกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่างๆ มีบทบาทหน้าที่ พฤติกรรม และการรับรู้หรือการเรียนรู้ที่แตกต่างกันออกไป รวมถึงมีปฏิสัมพันธ์กับนวัตกรในขั้นตอนของระบบ การเกิดนวัตกรรมที่แตกต่างกัน การศึกษาพฤติกรรมของกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่างๆ จะช่วยทำให้เกิดความเข้าใจในความต้องการที่แท้จริงของคนทุกกลุ่ม นำไปสู่การสร้างแรงกระตุ้น ให้เกิดการร่วมมือกันและการดึงดูดกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่มให้เข้ามาอยู่ร่วมกันในระบบโดยสมบูรณ์ เกิดเป็นระบบนิเวศทางธุรกิจเกิดใหม่ (Start-up Ecosystem)


Siam inovation district research report 2016

page 13

3.1 กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders) ในระบบการสร้างนวัตกรรมทั้งหมด การพัฒนาธุรกิจเกิดใหม่ (Startup) เป็นการพัฒนาธุรกิจที่มีเป้าหมาย ในการเติบโตของธุรกิจแบบก้าวกระโดด มีรูปแบบการทำธุรกิจที่สามารถสร้างรายได้แบบ ทำซ้ำและเกิดการขยายธุรกิจออกไปได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้น ธุรกิจเกิดใหม่หรือ Startup จึ งมี ร ู ป แบบทางการบริหารจัดการธุรกิจ ที่แตกต่า งไปจากวิสาหกิจขนาดกลางและขนาด ย่อม (SMEs) และส่งผลให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในระบบธุรกิจเกิดใหม่มีความแตกต่างกัน ออกไปด้ ว ย โดยธุ ร กิ จ เกิ ด ใหม่ สามารถจำแนกกลุ ่ ม ผู ้ ม ี ส ่ ว นได้ ส ่ ว นเสี ย ในระบบทั ้ ง หมด ตามขั ้ น ตอนการพั ฒ นานวัตกรรม ออกเป็น 8 กลุ่ม ได้แ ก่ กลุ่มนวัตกร (Innovator), รั ฐ บาล(Government), ภาคสื ่ อ ประชาสั ม พั น ธ์ (Media), กลุ ่ ม นั ก ลงทุ น (Venture capital), ผู้ประกอบการธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจเกิดใหม่(Entrepreneur), สถาบัน การเงิ น (Banking), สถาบั น การศึ ก ษา/สถาบั น วิ จ ั ย (Institution) และองค์ ก รผู ้ ใ ห้ การสนับสนุน (Accelerator)

บทบาทและหน้าที่ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

นวัตกร (Innovator)

รัฐบาล (Government)

ภาคสื่อ (Media)

นักลงทุน (VC)

ผู้ประกอบการ (Entrepreneur)

สถาบันการเงิน (Banking)

สถาบันการศึกษา (Institution)

องค์กรสนับสนุน (Accelerator)

นวัตกร (Innovator) นวัตกร เป็นกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในระบบธุรกิจเกิดใหม่ที่สำคัญที่สุด เนื่องจากเป็นผู้คิดค้นและขับเคลื่อนแนวคิดทางด้านธุรกิจต่างๆให้เกิดขึ้น และพัฒนาให้ เกิดเป็นธุรกิจในที่สุด โดยในอดีต นวัตกรจะมีความเกี่ยวข้องกับนวัตกรรมประเภท เทคโนโลยีหรือดิจิตอลที่มีความล้ำสมัย แต่ในปัจจุบัน มีผลิตภัณฑ์และการให้บริการต่างๆ ที่เกิดขึ้นโดยนวัตกร ซึ่งเป็นแนวคิดที่แปลกใหม่นอกเหนือไปจากการใช้เทคโนโลยีและระบบ ดิจิตอลด้วย สำหรับประเทศไทย แนวคิดการทำธุรกิจเกิดใหม่โดยกลุ่มนวัตกรกำลังเป็น ที่นิยมและเติบโตขึ้นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นนวัตกรรุ่นใหม่ ซึ่งอยู่ในช่วงวัยจบการศึกษาหรือ เป็นเยาวชน จะมีการต่อยอดแนวคิดการทำธุรกิจหรือการผลิตมาจากการเรียนการสอนใน สถาบัน ซึ่งเป็นกลุ่มนวัตกรซึ่งยังไม่มีประสบการณ์และความรู้ในการทำธุรกิจมาก่อน รวมไป ถึง กลุ่มนวัตกรผู้มีประสบการณ์จากการเข้าร่วมงานกับบริษัทขนาดใหญ่มาแล้ว นวัตกร เหล่านี้ ต่างพากันขับเคลื่อนธุรกิจเกิดใหม่ในประเทศไทยให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่ง เกิดเป็นกระแสใหม่ทางการประกอบธุรกิจที่ทำให้ภาครัฐต้องหันมาให้ความสนใจและผลักดัน นโยบายต่างๆให้เกิดความตอบรับกับกระแสทางเศรษฐกิจ อีกทั้งยังส่งผลต่อการเปลี่ยน แปลง ของค่านิยมในการบริโภคของประชาชนโดยทั่วไปในปัจจุบันด้วย เป็นที่น่าสังเกตว่า แม้จะมีกลุ่มนวัตกรเป็นจำนวนมากในประเทศไทยที่ผลัก ดันธุรกิจของตนเองให้เกิดขึ้นในช่องทางต่างๆ แต่กลับมีธุรกิจเพียง 1-2 %เท่านั้นที่ประสบ ความสำเร็จหรือสามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ ในขณะที่ส่วนที่เหลือเกิดความล้มเหลวและ ถอนตัวออกไปในเวลาไม่นาน เนื่องมาจากรูปแบบทางธุรกิจที่จำเป็นต้องเติบโตให้ได้อย่าง ก้าวกระโดด ดังนั้น เพื่อทำให้ธุรกิจเกิดใหม่สามารถประสบความสำเร็จได้ตามเป้าหมาย นวัตกรจึงเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียสำคัญที่จะชี้วัดความสำเร็จของธุรกิจนั้นๆ โดยนวัตกรที่จะ สามารถประสบความสำเร็จในประกอบธุรกิจได้ จำเป็นต้องมีหน้าที่สำคัญ 2 ประการ (Paul Graham,2005) ได้แก่ 1) ทำธุรกิจที่นำเสนอสิ่งที่เป็นที่ต้องการของตลาดที่มีขนาดใหญ่ และ 2) มีความสามารถในการเข้าถึงตลาดที่ใหญ่นั้นได้


Siam inovation district research report 2016

จากการสรุปบทบาทและหน้าที่สำคัญของนวัตกร จะสังเกตเห็นได้ว่า ไม่เพียงแค่แนวคิดหรือรูปแบบธุรกิจที่คิดค้นโดยนวัตกรจะมีความสำคัญ แต่ความรู้ และประสบการณ์ในการทำธุรกิจ รวมไปถึงความสามารถในการเข้าถึงกลุ่มผู้มีส่วนได้ ส่วนเสียกลุ่มอื่นๆ ก็เป็นปัจจัยสำคัญที่ชี้วัดความสำเร็จของธุรกิจนั้นๆด้วย นวัตกรที่ประสบความสำเร็จ จึงจำเป็นต้องมีบทบาทในการเข้าถึงกลุ่ม ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและตลาดให้ได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการเข้าถึงความช่วยเหลือโดยภาครัฐบาล, การเข้าถึงภาคสื่อประชาสัมพันธ์เพื่อผลักดันให้ธุรกิจ เป็นที่รู้จักของประชาชนโดยทั่วไปและตลาดผลิตภัณฑ์นั้น, การเข้าถึงนักลงทุนเพื่อให้ได้ มาซึ่งเงินลงทุนทำธุรกิจ, การสร้างความสัมพันธ์กับผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้อง, การเข้าถึงองค์ความรู้ใหม่ๆและบุคลากรที่มีความสามารถ ที่เกิดขึ้นจากสถาบันวิจัยหรือสถาบัน การศึกษา และการเข้าถึงองค์กรผู้สนับสนุนเพื่อทำให้ธุรกิจสามารถดำเนินการไปได้อย่าง ก้าวกระโดด นวัตกรจึงเป็นศูนย์กลางในการเชื่อมต่อกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่างๆ ให้เข้ามาร่วมมีปฏิสัมพันธ์กันในระบบนิเวศทางธุรกิจเกิดใหม่(Startup Ecosystem) เพื่อขับเคลื่อนธุรกิจใหม่ๆออกมาสู่ตลาด สำหรับตอบรับกับกระแสความนิยมของการ บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา และตอบสนองต่อแนวโน้มการพัฒนาเศรษฐกิจใน ภาพรวมระดับประเทศ

page 14

รัฐบาล (Government)

ระบบนิเวศทางธุรกิจเกิดใหม่ เป็นระบบที่เกิดขึ้นครั้งแรกในประเทศสหรัฐอเมริกา แต่เป็นระบบที่เกิดขึ้นจากพลวัตของเมืองหรือความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและ ค่ า นิ ย มในการบริ โ ภคของชาวอเมริ ก ั น ซึ ่ ง ส่ ง ผลให้ แ รงงานวั ย กลางคนในบริ ษ ั ท ต่ า งๆ เกิ ด ความคิดอยากมีธุรกิจเป็นของตนเอง จึงได้ลาออกจากงานและผันตัวมาเป็นนวัตกร แล้วเช่า พื้นที่สำหรับทำเป็นสำนักงานธุรกิจตั้งต้น ภายใต้บรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่เอื้อประโยชน์ ต่อการดำรงชีวิตและคิดค้นงานใหม่ๆ ซึ่งทำให้กระแสนิยมเกิดการดึงกลุ่มคนที่มีความต้องการ ในแบบเดี ย วกั น มารวมกั น ในพื ้ น ที ่ Silicon Valley ทำให้ เ กิ ด เป็ น โมเดลต้ น แบบการ พัฒนาพื้นที่ธุรกิจเกิดใหม่ที่หลายประเทศต้องการนำไปใช้กับการพัฒนากับเมืองของตนเอง รัฐบาลในหลายประเทศ เห็นถึงความสำคัญของธุรกิจเกิดใหม่ และทราบถึง อิทธิพลของธุรกิจที่เกิดขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อค่านิยมในการบริโภคของประชาชนและเศรษฐกิจ ในภาพรวม รัฐบาลต่างๆจึงมีนโยบายในการนำแนวคิดพื้นที่ย่านธุรกิจเกิดใหม่ไปใช้เป็นโมเดล ต้นแบบในการพัฒนาตนเอง ไม่ว่าจะเป็นประเทศในแถบยุโรปอย่าง สหราชอาณาจักร เยอรมันนี ไปจนถึงประเทศฝั่งตะวันออกอย่างเกาหลีใต้ ญี่ปุ่น รวมถึงประเทศไทยด้วย รัฐบาลไทย จึงถือเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียสำคัญอีกฝ่ายหนึ่ง ซึ่งมีหน้าที่ใน การผลักดันนโยบายและให้การสนับสนุนวงการธุรกิจเกิดใหม่ ไม่เพียงเฉพาะในแง่การเงิน แต่ รวมไปถึง การพัฒนานโยบายเศรษฐกิจในภาพรวม การเปิดช่องทางให้ภาคเอกชนและประชาชน โดยทั่วไป ได้มีโอกาสในการเข้าถึงทรัพยากรทางความรู้ และเป็นผู้กำหนดทิศทางการพัฒนา ประเทศ ให้มีการนำแนวคิดด้านนวัตกรรมและการประกอบธุรกิจเกิดใหม่ มาใช้เป็นแรงขับเคลื่อน เศรษฐกิจในภาพรวม


Siam inovation district research report 2016

page 15

จากบทบาทและความสำคัญดังกล่าว รัฐบาลจึงมีหน้าที่สำคัญในการ ผลักดันนโยบายทางเศรษฐกิจในภาพรวม ให้เป็นเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม ไม่ว่า จะเป็นการผลักดันทางด้านสื่อสารสนเทศและการประชาสัมพันธ์ต่างๆ การให้งบประมาณ สนับสนุนธุรกิจเกิดใหม่ การให้องค์ความรู้ การสร้างช่องทางให้เกิดการพบกันระหว่างกลุ่ม คนที่มีความสามารถแตกต่างกัน การสร้างความร่วมมือแบบประชารัฐ ไปจนถึงการผลักดัน ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงค่านิยมในการบริโภคของประชาชนโดยทั่วไป ให้หันมาสนใจในด้าน นวัตกรรมและธุรกิจเกิดใหม่มากยิ่งขึ้น

นับตั้งแต่อดีตเป็นต้นมา รัฐบาลถือเป็นบุคคลสำคัญผู้ทำหน้าที่กำหนด ทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ โดยในอดีต ประเทศไทยมีนโยบายการพัฒนา เศรษฐกิจด้วยโมเดล 1.0 หรือการพัฒนาโดยให้ความสำคัญกับภาคการเกษตร เนื่อง จากเป็นต้นทุนทางทรัพยากรที่แข็งแรงที่สุดของประเทศ ก่อนจะพัฒนามาเป็นโมเดล 2.0 ซึ่งให้ความสำคัญกับระบบอุตสาหกรรมเบา และเดินหน้ามาสู่โมเดล 3.0 หรือการให้ความ สำคัญกับอุตสาหกรรมหนักเป็นหลัก ตามความต้องการขยายตลาดและทรัพยากรจาก ต่างประเทศ ซึ่งทำให้ประเทศไทย ประสบกับปัญญาสภาวะกับดักรายได้ปานกลาง และ ความฝื ด เคื อ งในการเดิ น หน้ า พั ฒ นาประเทศชาติ ดั ง นั ้ น รั ฐ บาลจึ ง เห็ น ความสำคั ญ ใน เทคโนโลยี นวัตกรรม การขับเคลื่อนธุรกิจด้วยองค์ความรู้ใหม่ๆ และได้นำมาใช้เป็นแผน ยุทธศาสตร์สำคัญในการพัฒนาแผนเศรษฐกิจของประเทศไปสู่เศรษฐกิจแบบ “Value – Based Economy” หรือ “เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม”

$ $

$

THAILAND 1.0

THAILAND 2.0

THAILAND 3.0

THAILAND 4.0

เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วย ภาคการเกษตร

เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วย ภาคอุตสาหกรรมเบา

เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วย ภาคอุตสาหกรรมหนัก

เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วย นวัตกรรม


Siam inovation district research report 2016

ภาคสื่อประชาสัมพันธ์ (Media) ภาคสื่อประชาสัมพันธ์ เป็นอีกกลุ่มสำคัญที่ทำให้เกิดการผลักดัน ธุรกิจของนวัตกรออกมาสู่ตลาด เพื่อให้เป็นที่รู้จักของประชาชนโดยทั่วไป โดยเป็นได้ ทั้งกลุ่มจากภาครัฐและภาคเอกชน ซึ่งมีระดับและจุดประสงค์ของการสนับสนุนธุรกิจ เกิดใหม่และนวัตกรรมที่แตกต่างกัน โดยมีบทบาทและหน้าที่ที่สำคัญ ได้แก่ t °¡º y º ¡µÂ« µ« j¥ ¡® °¨¯ ¯ n»£® j° « º¡µÂ« ¡°¥ « ¶¡ ² ©¡µ« ¥¯ ¡¡ ของตนเอง t °¡¨¡k° º ¡µ« j° ·k ³Â ³ ¥° ¨ ½ ½ k° º ³ ¥ ¯ ©¡µ« °¡¡¥ £¶j ° ¨¯ « กลุ่มที่มีความสนใจใกล้เคียงกัน เพื่อทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนซึ่งแนวคิดใหม่ๆ และการ ต่อยอดไปสู่การพัฒนาธุรกิจของตนเองให้มีความเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น t °¡º k° ´ ¥° k« °¡ ¡² « £¶j £· k° »£® ¡® ° ¯Â¥¾ ¡¥ ¾ ´ °¡º£µ« รูปแบบการประชาสัมพันธ์ที่สามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าแต่ละกลุ่มอย่างได้ผลจริง โดย เฉพาะกลุ่มนวัตกรรมที่มีตลาดเฉพาะ หรือ Niche market t °¡¨¡k° ° £¯ § n»£® ¥° j°º µÂ« µ«½©k ¯ ¶¡ ² « º« ¼ © k° ³Â ° ¨µÂ« ประชาสัมพันธ์ มีความแตกต่างจากการโฆษณา คือ การเป็นช่องทางการสื่อสารและ ประชาสัมพันธ์ โดยมีสื่อกลางหรือองค์กรเข้ามารองรับและสนับสนุนการประชาสัมพันธ์ ซึ่งสามารถสร้างความน่าเชื่อถือ และมีประสิทธิภาพมากกว่าการโฆษณาด้วยตนเอง สำหรับหน้าที่ในการผลักดันด้านสื่อสารสนเทศและการประชาสัมพันธ์ อ้างอิงข้อมูลจากเว็ปไซต์ IUrban รัฐบาลมีองค์กรผู้ทำหน้าที่ดังกล่าวคือ สำนักงาน คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ได้ดำเนินการปรับแผนยุทธศาสตร์ ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ พ.ศ. 2560 – 2564 โดยจะใช้ แผนแม่บทฉบับสมบูรณ์เป็นตัวกำหนดทิศทางพัฒนา หรือขอบข่าย วัตถุประสงค์ในการเปิดรับโครงการต่างๆ ให้สอดคล้องกับนโยบาย Thailand 4.0 ซึ่งเป็นหนึ่งในกลไกที่ช่วยผลักดันให้ผู้ประกอบการในภาคเศรษฐกิจสำคัญหันมาดำเนิน ธุรกิจด้วยดิจิทัลควบคู่ไปด้วย

page 16

โดยแผนยุ ท ธศาสตร์ ข องกทปส. ได้ ก ำหนดทิ ศ ทางการพั ฒ นาประเทศไป สู ่ 4 ด้ า นหลั ก ๆ ซึ ่ ง เอื ้ อ ประโยชน์ ใ ห้ น วั ต กรและผู ้ ป ระกอบการต่ า งๆ ได้ ร ั บ ความช่ ว ยเหลื อ และการสนับสนุนทางด้านสื่อสารสนเทศและการดำเนินการต่างๆ ประกอบด้วย 1) ด้าน Financial Technology ส่งเสริมการพัฒนาความรู้และความ เข้าใจของนวัตกร ผู้ประกอบการ และประชาชนทั่วไปในการใช้ประโยชน์ธุรกิจและเทคโนโลยี ที ่ เ กี ่ ย วข้ อ งกั บ การเงิ น รวมไปถึ ง สร้ า งความตระหนั ก รู ้ ถ ึ ง ความมั ่ น คงปลอดภั ย ทางด้ า น สารสนเทศ การพั ฒ นานวั ต กรรมเพื ่ อ เชื ่ อ มโยงเศรษฐกิ จ ดิ จ ิ ท ั ล เข้ า กั บ โครงสร้ า งของภาค รัฐ เป็นต้น 2) ด้ า น Smart Healthcare ส่ ง เสริ ม การพั ฒ นาความรู ้ แ ละความเข้ า ใจแก่ นวั ต กร ผู ้ ป ระกอบการ และประชาชนด้ า นสุ ข ภาพ ในเชิ ง การป้ อ งกั น โรคภั ย ไข้ เ จ็ บ ด้วยเทคโนโลยีต่าง การพัฒนานวัตกรรมทางการแพทย์เพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุ (Aging society) และการเข้าถึงบริการทางการแพทย์อย่างทั่วถึงสำหรับทุกวัย ด้วยเทคโนโลยีการ เชื่อมโยงเครือข่ายอินเตอร์เน็ตระยะไกล เป็นต้น 3) ด้ า น Smart City ส่ ง เสริ ม การนำเทคโนโลยี ม าประยุ ก ต์ ใ ช้ เ พื ่ อ การ บริ ห ารจั ด การเมื อ งได้ อ ย่ า งมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ ผ่ า นการเชื ่ อ มโยงเครื อ ข่ า ยอิ น เตอร์ เ น็ ต ด้ ว ย เทคโนโลยีใหม่ เช่น Li-Fi (Light Fidelity) นวัตกรรมการประมวลผลข้อมูลแบบกลุ่มเมฆ และการจัดเก็บ ข้อมูลเพื่อส่งเสริมการรักษาสิ่งแวดล้อม การใช้พลังงานอย่างยั่งยืน 4) ด้าน Smart Agriculture ส่งเสริมการพัฒนาความรู้และความเข้าใจในเทคโนโลยี ด ้ า นการเกษตรที ่ ม ี ค ุ ณ ภาพ เพื ่ อ ปรั บ เปลี ่ ย นไปสู ่ ก ารเกษตรยุ ค ใหม่ ที ่ เ ป็ น มิตรกับสิ่งแวดล้อม เป็นการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการเพิ่มปริมาณและสร้างมูลค่า เพิ่มให้ผลผลิต ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมเพื่อลดผลกระทบและสามารถปรับตัว ต่ อ การเปลี ่ ย นแปลงของสภาพภู ม ิ อ ากาศ และสนั บ สนุ น ให้ SMEs ทุ ก ภาค ทั ้ ง ภาคเกษตร อุ ต สาหกรรม และภาคบริ ก ารให้ เ ข้ า ถึ ง ฐานองค์ ค วามรู ้ (knowledge base) และสามารถ แข่งขันได้ทั้งใน เวทีระดับภูมิภาคและเวทีระดับโลก


Siam inovation district research report 2016

page 17

4 กลุ่มธุรกิจซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก กทปส ที่มา : https://www.iurban.in.th/pr/132214/


Siam inovation district research report 2016

สำหรับในส่วนของการสนับสนุนด้านการเงิน ทางด้านกสทช.ได้จัดตั้ง “กอง ทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อ ประโยชน์สาธารณะ” หรือ กทปส.ขึ้น เพื่อสนับสนุนและเปิดโอกาสให้ประชาชน นวัตกร ผู้ประกอบการ นักวิจัยและนักพัฒนา คณะครูอาจารย์ ทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน ได้ นำเสนอผลงานโครงการต่างๆที่สอดคล้องกับนโยบายของภาครัฐ รวมถึงงบประมาณ ที่ต้องการให้สนับสนุนมายัง กทปส. เพื่อขอรับทุนสำหรับนำไปพัฒนาโครงการต่อไป แต่เป็นที่น่าสังเกตว่า แม้จะมีการอนุมัติวงเงินกองทุนวิจัยและพัฒนาฯ ให้แก่ โครงการต่างๆ ที่นำเสนอเข้ามาในปี พ.ศ.2557 ถึง 600 ล้านบาท แต่ปรากฏว่า มีโครงการที่ผ่านการอนุมัติเพียง 34 โครงการ หรือคิดเป็นมูลค่า 159 ล้านบาท เท่านั้น อันมีสาเหตุมาจากโครงการส่วนใหญ่เป็นโครงการที่มีวัตถุประสงค์ที่ไม่สอดคล้องกับนโยบายของภาครัฐ อีกทั้งการประชาสัมพันธ์และการเข้าถึงข้อมูลโดยนวัตกร และประชาชนทั่วไปยังไม่มีประสิทธิภาพ ทำให้นวัตกรและประชาชนทั่วไป ขาดความรู้ และความเข้าใจในเรื่องการสนับสนุนโดยภาครัฐ และขนาดตลาดการทำธุรกิจเกิดใหม่ อย่างไรก็ตาม แม้ภาคสื่อประชาสัมพันธ์จากภาครัฐจะมีอุปสรรคในการเข้าถึง บุคคลทั่วไป แต่ด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศในปัจจุบันมีความคลอบคลุมและเข้าถึงง่าย จากทุกกลุ่มคน ทำให้การประชาสัมพันธ์ สามารถทำได้ง่ายผ่านสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ ซึ่งช่องทางที่ได้รับความนิยมในการประชาสัมพันธ์มากที่สุด อ้างอิงจากการเก็บข้อมูล โดยบุคคลทั่วไปและการสัมภาษณ์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง พบว่า มีการใช้ Facebook ใน การประชาสัมพันธ์ธุรกิจหรือกิจกรรมมากที่สุด เนื่องจากสามารถประชาสัมพันธ์ได้ หลากหลายรูปแบบ ทั้งในลักษณะของรูปภาพ วีดีโอ สื่ออื่นๆหรือการเชิญชวนเข้าร่วม กิจกรรมต่างๆ รวมไปถึงการสร้างกลุ่มผู้มีความสนใจในด้านเดียวกัน เพื่อทำให้เกิด การสร้างเครือข่ายทางนวัตกรรมหรือการประกอบธุรกิจประเภทเดียวกัน รองลงมาคือ ช่องทางการใช้แอพพลิเคชั่นส่งข้อความ เช่น Line หรือ Facebook messenger ในการประชาสัมพันธ์และบอกต่อไปสู่กลุ่มบุคคลใกล้ชิด อีกทั้งยังมีภาคเอกชนที่คอยสนับสนุนการจัดกิจกรรม การสร้างเครือข่าย ทางสังคม เพื่อรวมกลุ่มนวัตกรแบบเดียวกันหรือมีความสนใจในธุรกิจที่คล้ายกัน รวม ไปถึงการสนับสนุนช่องทางในการประชาสัมพันธ์ต่างๆเช่น HUBBA, True, DTAC หรือ AIS ซึ่งเป็นภาคเอกชนสำคัญซึ่งมีบทบาทในการช่วยประชาสัมพันธ์และรวมกลุ่ม เครือข่ายทางธุรกิจให้เกิดขึ้นเป็นชุมชนที่เข้มแข็ง

page 18

นักลงทุน (Venture capital)

นักลงทุน คือผู้สนับสนุนธุรกิจให้สามารถเกิดขึ้นจริง และเป็นผู้ผลักดันให้แนว คิดต่างๆของนวัตกร สามารถดำเนินการไปได้อย่างประสบความสำเร็จ โดยสามารถแบ่งรูปแบบ ของนักลงทุนออกเป็น 2 ประเภท (ที่มา : www.it24hrs.com) ได้แก่ 1.Venture Capital หรือเรียกย่อๆ ว่า VC คือ ธุรกิจเงินร่วมลงทุน โดย ลงทุนเหมือนเป็นหุ้นส่วนกับบริษัท Startup มีการลงทุนระยะยาวประมาณ 3-5 ปี ซึ่งมักเป็น นักลงทุนในรูปแบบขององค์กร การลงทุนของ VC จึงมักจะมีมูลค่าที่สูงกว่า Angel investor 2.Angel Investor มักเป็นนักลงทุนรายอิสระหรือกลุ่มนักลงทุนอิสระที่ใช้ เงินส่วนตัวในการลงทุนในธุรกิจ จึงเสนอเงินที่น้อยกว่า VC เหมาะกับธุรกิจที่ลงทุนไม่สูงมาก โดย Angel investor มักเป็นเจ้าของธุรกิจส่วนตัว ที่มีประสบการณ์ในการเริ่มต้นและขยายธุรกิจ ซึ่งอาจจะเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารธุรกิจในลักษณะที่แตกต่างกันไป นักลงทุนจึงเป็นกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่สำคัญต่อนวัตกรเป็นอย่างมาก ใน ระบบนิเวศทางธุรกิจจึงจำเป็นต้องผลักดันให้นวัตกรสามารถเข้าถึงนักลงทุนหรือแหล่งเงินทุนต่าง ๆ เพื่อทำให้แนวคิดหรือไอเดียของนวัตกรสามารถผลักดันออกมาเป็นแผนธุรกิจได้จริงต่อไป


Siam inovation district research report 2016

page 19

ผู้ประกอบการธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจเกิดใหม่ (Entrepreneur) จากนโยบายทางเศรษฐกิจโดยภาครัฐ ทำให้เศรษฐกิจในภาพรวมและค่านิยม ในการบริโภคของประชาชนในประเทศเปลี่ยนแปลงไปในระดับใหญ่ โดยประชาชนหัน มาให้ ค วามสนใจในการใช้ เ ทคโนโลยี แ ละดิ จ ิ ต อลเพื ่ อ การเข้ า ถึ ง การอุ ป โภคบริ โ ภค รวมไป ถึงการให้ความสนใจกับสินค้าและธุรกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมมากยิ่งขึ้น แสดงให้เห็น จากการที ่ ม ี ร ู ป แบบธุ ร กิ จ และผู ้ ป ระกอบการธุ ร กิ จ ประเภทใหม่ ๆ เกิ ด ขึ ้ น อย่ า งต่ อ เนื ่ อ งเป็ น จำนวนมากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะ ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรม หรือธุรกิจที่ เกี่ยวข้องกับการค้า การให้บริการ และการสนับสนุนธุรกิจเกิดใหม่ ผู้ประกอบการธุรกิจรูปแบบหนึ่งที่เป็นที่กำลังได้รับความนิยมจาก ทั้งผู้ ประกอบการและนวั ต กรในช่ ว งเวลานี ้ คื อ ธุ ร กิ จ ประเภทการให้ บ ริ ก ารเชิ ง พื ้ น ที ่ แ ละการจั ด กิจกรรม เพื่อสนับสนุนกลุ่มนวัตกรและธุรกิจเกิดใหม่ หรือCo – creation space ซึ่ง เป็นธุรกิจที่ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากทั้งกลุ่มนวัตกรและบุคคลทั่วไป จากการมีผล ประกอบการที ่ เ พิ ่ ม ขึ ้ น อย่ า งต่ อ เนื ่ อ ง และมี ก ารขยายสาขาไปในพื ้ น ที ่ ต ่ า งๆของเมื อ งเป็ น จำนวนมาก รูปแบบของพื้นที่ Co – creation space เป็นการให้บริการเชิงพื้นที่ สำหรับการสร้างผลงาน การคิดค้นนวัตกรรมหรือการจัดกิจกรรมเพื่อทำให้เกิดการต่อยอด ของนวัตกร รวมไปถึงการรวมกลุ่มเพื่อสร้างเครือข่ายของผู้ประกอบการที่มีความสนใจใน ด้านเดียวกัน ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในกลุ่มบุคคลทั่วไปว่า Co - working space เป็นพื้นทีที่ มีลักษณะของการเปิดให้บุคคลทั่วไปหรือสมาชิกได้มีโอกาสเข้ามาใช้พื้นที่เพื่อการตั้งต้นธุรกิจ ของตนเอง ใช้ทำงาน คิดค้นนวัตกรรม การติดต่อทางธุรกิจ หรือการจัดกิจกรรมต่างๆ ใน ลักษณะแบบกึ่งสาธารณะ โดยอาจมีบริการการจัดห้องประชุม พื้นที่สำหรับการสัมมนา เพื่อ รองรับการบริหารธุรกิจ รวมไปถึงการให้บริการด้านอาหาร เครื่องดื่ม ฯลฯ เพื่อทำให้เกิด สิ่งแวดล้อมในการทำงานที่ดีแก่ผู้ใช้งาน

ข้อมูลจากศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง หรือ Urban Design and Development Center (UDDC) ได้สรุปข้อมูลประเภทของผู้ประกอบการธุรกิจที่ เกี่ยวข้องกับธุรกิจเกิดใหม่ หรือรูปแบบของพื้นที่ Co – creation space ไว้ทั้งหมด 7 ประเภท ตามลักษณะการให้บริการและกิจกรรมที่เกิดขึ้นในพื้นที่ โดยมีรายละเอียดดัง ต่อไปนี้ 1) Coffee shop plus คือ ธุรกิจประเภทร้านอาหารหรือร้านกาแฟ ซึ่งมีเป้าหมายหลักใน การให้บริการด้านพื้นที่แก่กลุ่มบุคคลทั่วไป ไม่เจาะจงว่าต้องเป็นนวัตกรหรือมีความสนใจ เฉพาะด้านในการเข้ามาใช้บริการพื้นที่ในการคิดค้นงาน ทำงาน ติดต่อพูดคุยทางธุรกิจ หรือ จัดกิจกรรมต่างๆ โดยมีการให้บริการอาหารและเครื่องดื่มแก่ผู้มาใช้บริการ เพื่อเพิ่มรายได้ให้ กับธุรกิจของตน โดยเป็นรูปแบบของพื้นที่ที่ได้รับความสนใจและเกิดขึ้นมากที่สุดในปัจจุบัน 2) Co – learning space คือ ธุรกิจการให้บริการพื้นที่สำหรับการจัดกิจกรรมหรือ Workshop สำหรับบุคคลทั่วไป ซึ่งมีการพัฒนาพื้นที่ให้มีการใช้งานได้หลากหลายรูปแบบ สำหรับจัดกิจกรรมได้หลายประเภท โดยเป็นพื้นที่ที่เอื้อให้เกิดการเรียนรู้และการทำงานจริง ผ่านการทำงานร่วมกับผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ที่มีประสบการณ์ในด้านนั้นๆ และเรียนรู้ขั้นตอนการ ทำด้วยตนเอง 3) Co – working space คือ ธุรกิจประเภทการให้บริการพื้นที่สำหรับทำงาน โดยเฉพาะ กลุ่มคนรุ่นใหม่ นักศึกษาหรือนวัตกรที่กำลังตั้งต้นธุรกิจเกิดใหม่ ซึ่งยังไม่มีพื้นที่สำนักงาน เป็นของตนเอง จึงจำเป็นต้องใช้พื้นที่สำหรับการทำงานร่วมกัน หรือการนัดพบ ประชุมกันใน ลักษณะของพื้นที่กึ่งสาธารณะ อาจมีลักษณะคล้าย Coffee shop plus มีการให้บริการ อาหารและเครื่องดื่มพอประมาณ เพื่อทำให้เกิดความสะดวกต่อการนั่งทำงานในพื้นที่เป็นระยะ เวลานาน แต่มีจุดประสงค์หลักทางธุรกิจคือการให้บริการและตอบสนองความต้องการเชิง พื้นที่แก่นวัตกร


Siam inovation district research report 2016

Coffee shop plus

page 20

Cognitive space

Co - learning space Co - working space

Information space

Incubators Collectives Uni labs

Development space

Labs Physical space 4) Incubators คือธุรกิจการสนับสนุนนวัตกรในการตั้งต้นธุรกิจของตนเอง มีบทบาท ในการบ่มเพาะนวัตกรให้เกิดความรู้และความเข้าใจในธุรกิจและศาสตร์แห่งผู้ประกอบการ โดยการให้ความรู้ตั้งแต่แรกเริ่มการทำธุรกิจ ไปจนถึงการผลิตและการนำออกสู่ตลาดเพื่อ การพาณิชย์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นองค์กรภาคเอกชนรายใหญ่ ที่มีความสนใจในการหาแนวคิด ใหม่ๆในการผลิตสินค้าและการให้บริการ จึงทำการสนับสนุนนวัตกรที่มีความคิดใหม่ๆโดย เข้าไปช่วยสนับสนุนเพื่อทำให้เกิดการต่อยอดและการลงทุน ปัจจุบันผู้ประกอบการเกือบ ทั้งหมดเป็นองค์กรที่ให้บริการเกี่ยวกับธุรกิจทางด้านเทคโนโลยีและดิจิตอล 5) Collectives คือธุรกิจการให้บริการพื้นที่สำหรับผู้มีความสนใจเฉพาะด้าน หรือกลุ่ม นวัตกรที่มีความสนใจในงานประเภทใดประเภทหนึ่ง โดยมีการให้บริการพื้นที่อย่างครบ วงจร รวมถึงการเรียนการสอนเพื่อการพัฒนาบุคลากรในศาสตร์นั้นๆอย่างเป็นระบบ เช่น สตูดิโอสอน ปั้นเซรามิค สตูดิโองานศิลปะ สถาบันสอนโปรแกรมทางคอมพิวเตอร์ โรงเรียนสอนทำ อาหาร ฯลฯ ซึ่งเอื้อให้เกิดการรวมกลุ่มและสร้างเครือข่ายของผู้ที่มี ความสนใจในสิ่งเดียวกัน ให้มาพบปะพูดคุย แลกเปลี่ยน หรือเริ่มทำธุรกิจด้วยกัน และมี ความเข้มแข็งของชุมชนในการผลักดันธุรกิจของตนเองเข้าสู่ตลาดการค้า

6) Uni labs คือธุรกิจการให้บริการพื้นที่สำหรับการวิจัยและการทำงาน โดยมีสถาบันการศึกษา เป็นผู้สนับสนุนหลักในการใช้พื้นที่ของมหาวิทยาลัย ให้ภาคเอกชน นวัตกรและกลุ่มบุคคลทั่วไปได้ มีโอกาสเข้ามาใช้ทรัพยากรของมหาวิทยาลัยในการผลักดันให้ธุรกิจมีการพัฒนา โดยตั้งอยู่บนพื้น ฐานขององค์ความรู้ (Knowledge base economy) โดยสถาบันการศึกษา เป็นกลุ่มผู้มีส่วน ได้ส่วนเสีย ที่มีทรัพยากรความรู้ ผลงานวิจัย ผู้เชี่ยวชาญ รวมไปถึงบุคลากรต่างๆมากมาย ที่ สามารถนำออกสู่สาธารณะและต่อยอดเป็นธุรกิจเพื่อทำให้เศรษฐกิจในภาพรวมเกิดการพัฒนาไป เป็นเศรษฐกิจที่ตั้งอยู่บนฐานขององค์ความรู้ได้ 7) Labs คือ ธุรกิจการให้บริการพื้นที่สำหรับวิจัยและการทำงาน ซึ่งให้บริการโดยภาคเอกชน หรือองค์กรที่มีศักยภาพในการให้บริการในด้านนั้นๆ โดยเปิดให้เช่าพื้นที่ อุปกรณ์ เครื่องมือต่างๆ และทรัพยากรต่อนวัตกร ผู้ที่มีความสนใจ และกลุ่มบุคคลทั่วไป เพื่อให้เข้ามาคิดค้น สร้างสรรค์ หรือผลิตชิ้นงานตัวอย่าง (Prototype) ก่อนจะนำไปพัฒนาเพื่อใช้งานจริง


Siam inovation district research report 2016

page 21

สถาบันการศึกษา / สถาบันวิจัย (Institution) เนื่องจากวงการธุรกิจเกิดใหม่ในปัจจุบัน เป็นธุรกิจที่มีความผูกพันกับ นวัตกรรมและเทคโนโลยีเป็นอย่างมาก การขับเคลื่อนธุรกิจด้วยนวัตกรรมหรือตั้งอยู่บน ฐานขององค์ ค วามรู ้ จ ึ งเป็น สิ่ง สำคัญ สถาบัน การศึก ษาและสถาบันวิจัยต่างๆทั้งจากภาค รัฐและภาคเอกชนจึงเข้ามามีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนทรัพยากรทางความรู้และบุคคล ที ่ ม ี ค ุ ณ ภาพให้ ก ั บ ระบบเศรษฐกิ จ โดยในปั จ จุ บ ั น มี โ ครงการการพั ฒ นาและสนั บ สนุ น ธุรกิจเชิงนวัตกรรมและธุรกิจเกิดใหม่โดยสถาบันต่างๆมากมาย โดยเฉพาะจากสถาบันการ ศึ ก ษา และมหาวิ ท ยาลั ย ต่ า งๆ เช่ น ศู น ย์ ก ลางนวั ต กรรมแห่ ง จุ ฬ าลงกรณ์ ม หาวิ ท ยาลั ย (CU Innovation Hub), โครงการอาคาร KMUTT Knowledge Exchange for Innovation Center (KX) โดยมหาวิ ท ยาลั ย เทคโนโลยี พ ระจอมเกล้ า ธนบุ ร ี ซึ ่ ง เป็ น โครงการการพัฒนาอาคารนวัตกรรมการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมให้นิสิตนักศึกษาของสถาบัน และประชาชนทั ่ ว ไป มี โ อกาสในการเข้ า ถึ ง นวั ต กรรมและองค์ ค วามรู ้ จ ากทางมหาวิ ท ยาลั ย ไปพั ฒ นาและต่ อ ยอดสู ่ ก ารประกอบธุ ร กิ จ และการผลิ ต เพื ่ อ ใช้ ง านจริ ง หรื อ ตั ว อย่ า งการ พั ฒ นาจากภาครั ฐ เช่ น โครงการย่า นนวัตกรรมโยธี เป็นโครงการที่จัดตั้งโดยสำนักงาน นวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ซึ่งเป็นโครงการย่านเพื่อให้เกิดกิจกรรมและการจัดการร่วมกันของคนในชุมชนภายในพื้นที่อย่างชัดเจน มีการร่วมแบ่งปันทรัพยากรและร่วม รังสรรค์นวัตกรรมให้ตรงกับเป้าหมายของแต่ละองค์กร หรือให้ตรงความต้องการของคน ภายในย่ า น โดยมี น วั ต กรรมด้ า นการแพทย์ แ ละการรั ก ษาพยาบาลเป็ น ตั ว ขั บ เคลื ่ อ นหลั ก (Medical hub) โดยหน้ า ที ่ ห ลั ก ของสถาบั น ต่ า งๆ ในการสนั บ สนุ น ธุ ร กิ จ ทางนวั ต กรรม และธุ ร กิ จ เกิ ด ใหม่ เพื ่ อ สร้ า งให้ ร ะบบนิ เ วศทางธุ ร กิ จ เกิ ด ความสมบู ร ณ์ อ้ า งอิ ง ข้ อ มู ล ได้ จากสำนักนวัตกรรมแห่งชาติ มีหน้าที่สำคัญคือ 1) การเป็นผู้สนับสนุนด้านการลงทุน (Seed funding) 2) การเป็นสื่อกลางและผู้ประสานงานในการสร้างเครือข่ายผู้ประกอบการและนวัตกร และสร้างสังคมของนวัตกรที่มีความสนใจเดียวกัน 3) การเป็นผู้ให้ความรู้และประสบการณ์แก่นวัตกร และ 4) การเป็นผู้สนับสนุนด้านพื้นที่,ความรู้,คำปรึกษา,ทรัพยากรอุปกรณ์ และบุคคลากรที่มีความรู้ความสามารถ

ซึ่งสถาบันนวัตกรรมแห่งชาติ มีนโยบายที่ให้ความสำคัญกับสถาบันการ ศึกษา อย่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะกลุ่มผู้สนับสนุนนวัตกรรมในด้านบุคลากร และองค์ความรู้ต่างๆ ซึ่งจะช่วยขับเคลื่อนนวัตกรรมและธุรกิจเกิดใหม่ให้เติบโตไปได้อย่าง มีประสิทธิภาพ บนฐานของผลงานวิจัยที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และบุคคลากรที่มี ความรู้ ความเชี่ยวชาญในสาขาเฉพาะด้านนั้นๆ อีกทั้งข้อมูลจากกลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจเกิดใหม่ และนวัตกรรม ยังแสดงให้เห็นว่า ในปัจจุบัน สถาบันการศึกษาโดยเฉพาะมหาวิทยาลัยเริ่ม เข้ามามีบทบาทในเชิงการสนับสนุนองค์ความรู้และทรัพยากรต่างๆให้แก่กลุ่มธุรกิจ เพื่อ ต่อยอดให้เกิดเป็นเศรษฐกิจบนฐานขององค์ความรู้ ผ่านการลงทุนในธุรกิจที่มีแนวโน้มจะ ประสบความสำเร็จและเป็นกระแสที่ต้องการของตลาดใหญ่ เพื่อนำรายได้ของธุรกิจนั้นๆ ไปต่อยอดให้กับนวัตกรและธุรกิจใหม่ๆต่อไปในอนาคต นอกจากนี้ สถาบันการเงินอาจเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องในด้านการเป็นผู้ ให้บริการด้านความรู้และการให้คำปรึกษาในการทำธุรกิจ โดยในปัจจุบันมีโครงการโดย สถาบันการเงินที่เกี่ยวข้องได้จัดทำโครงการต่างๆขึ้นมาแล้วมากมาย ไม่ว่าจะเป็นโครงการ KASIKORN Business – Technology Group (KBTG) โดยธนาคารกสิกรไทย ซึ่งเป็นโครงการที่มุ่งเน้นคิดค้นนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ๆ โดยเฉพาะนวัตกรรมทาง การเงินรูปแบบใหม่ (Fintech) เพื่อตอบสนองและก้าวทันพฤติกรรมผู้บริโภคยุคดิจิตอล ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว หรือโครงการ SCB Innovation Center ที่มีบทบาท ในการให้คำปรึกษาและช่วยเหลือธุรกิจเกิดใหม่ เพื่อรองรับกระบวนการพัฒนาแนวคิดให้ กลายเป็นผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์ต่อไปในอนาคต

สถาบัน การศึกษา

สถาบัน วิจัย

สถาบัน การเงิน

ศูนย์ การผลิต

องค์กร ภาครัฐ


Siam inovation district research report 2016

page 22

องค์กรผู้สนับสนุน / ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ (Accelerator / Incubator) องค์กรผู้สนับสนุนมีลักษณะและหน้าที่คล้ายกับกลุ่มสถาบันการศึกษา หรือสถาบันวิจัย แต่มีความแตกต่างในด้านวัตถุประสงค์ของการจัดตั้ง และความสัมพันธ์ ที่มีต่อระบบการผลิตนวัตกรรม โดยเป็นองค์กรที่จัดตั้งโดยภาคเอกชน มีวัตุประสงค์ใน การให้บริการเชิงพื้นที่และความรู้แก่นวัตกร โดยมุ่งหวังการสร้างประโยชน์จากการลงทุน ร่วมกับธุรกิจที่มีแนวโน้มในการเติบโตสูง ซึ่งจะเกิดประโยชน์ต่อองค์กรในอนาคต องค์กรผู้สนับสนุน / ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ เป็นกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย กลุ่มใหม่ที่กำลังเป็นที่สนใจในวงการธุรกิจเกิดใหม่และกลุ่มนวัตกร โดยเป็นองค์กรที่เกิด ขึ้น โดยมีบทบาทและหน้าที่สำคัญในการช่วยสนับสนุนทั้งทางด้านองค์ความรู้ สถานที่ การสร้างเครือข่าย การจัดกิจกรรมดึงดูดกลุ่มนวัตกรและผู้ประกอบการ การสร้างแนว คิดอย่างผู้ประกอบการให้แก่นวัตกร (Entrepreneurial Mindset) และการผลักดัน ธุรกิจตั้งแต่ขั้นตอนตั้งต้น ไปจนถึงกระบวนการสุดท้ายเพื่อผลักดันผลิตภัณฑ์ออกสู่ ท้องตลาด โดยองค์กรที่สนับสนุนส่วนใหญ่เป็นองค์กรที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจดิจิตอล เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Tech start - up) โดยมีตัวอย่างโครงการเช่น t "*4 5IF 4UBSU61 u º y ¼ ¡ °¡ ¡® ¥ » ¥ ² ° ¶¡ ² « "*4 º µÂ«©° นวัตกรและธุรกิจใหม่ที่เกี่ยวข้องกับสื่อสารสนเทศและการพัฒนาแอพพลิเคชั่น ที่มีเงิน รางวัลสำหรับทีมผู้ชนะถึง 1 ล้านบาท พร้อมการสนับสนุนทางธุรกิจเพื่อการต่อยอดและ สร้างผลิตภัณฑ์จริง t %5"$ "DDFMFSBUF u ¼ ¡ °¡ ¡® ¥ » ¥ ² ° ¶¡ ² « %5"$ ³Â ® ¯ เลือกทีมที่มีผลงานน่าสนใจเข้า Boot camp หรือหลักสูตรการอบรมอย่างเต็มระบบ เพื่อการบ่มเพาะธุรกิจตั้งแต่แรกเริ่ม พร้อมสนับสนุนเชิงพื้นที่และการสร้างเครือข่าย และ รับเงินทุนสนับสนุนหรือ Seed Funding สูงสุดถึง 1.5 ล้านบาท t 5SVF *ODVCF u ¼ ¡ °¡ ¡® ¥ » ¥ ² ° ¶¡ ² « 5SVF ³Â ®½©kº ² º¡²Â k แสนบาทแก่ทีมที่ได้รับคัดเลือก และพาไปเข้าอบรมในหลักสูตรการพัฒนาธุรกิจตั้งแต่ แรกเริ่ม รวมไปถึงการสนับสนุนเชิงพื้นที่ให้แก่นวัตกร ให้มีพื้นที่สำนักงานชั่วคราวสำหรับ การตั้งต้นธุรกิจของตนเอง เช่น พื้นที่ True incube ในสยามสแควร์ หรือ Digital park เป็นต้น

AIS The startUp ที่มา : http://itbiz.lekasina.com/archives/10120

DTAC Accelerate ที่มา : https://www.mxphone.net/190816-freshket-and-fastwork-winner-dtac-accelerate-batch-4

True Incube ที่มา : http://www.investorz.com/investorz-com


Siam inovation district research report 2016

page 23

โดยองค์กรผู้สนับสนุน/ ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ มีหน้าที่สำคัญในระบบการผลิต นวัตกรรมหรือการสนับสนุนธุรกิจเกิดใหม่ ได้แก่ 1) การเป็นผู้ให้บริการด้านพื้นที่ หรือ Work Space – เป็นการให้บริการ พื้นที่สำหรับทำงานที่เป็นระบบ มีสิ่งอำนวยความสะดวก อินเทอร์เน็ตและอุปกรณ์สำนักงานบาง ส่วนที่จำเป็น รองรับนวัตกรและกลุ่มธุรกิจตั้งต้น ให้มีที่ทำงานพร้อมอินเทอร์เน็ตและเครือข่าย ทางสังคมในรูปแบบเดียวกัน ซึ่ง Work Space นี้อาจมาพร้อมกับบริการพื้นฐานที่บริษัททุก บริษัท จำเป็นต้องมี แต่อาจไม่สะดวกที่ผู้ประกอบการใหม่ๆจะลงทุนทำเอง เช่นเบอร์โทรศัพท์ ที่อยู่บริษัท เลขานุการ การรับส่งจดหมาย ห้องประชุม เป็นต้น ทำให้ธุรกิจเกิดใหม่หลายๆที่จะ มีที่อยู่บริษัทที่ จดทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าเป็นที่อยู่ขององค์กรผู้สนับสนุนหรือผู้ให้ บริการพื้นที่นั้น 2) การเป็นผู้ให้บริการด้านการประกอบธุรกิจ (Business Consulting) – การให้ คำปรึกษาทางธุรกิจ ตั้งแต่ขั้นพื้นฐาน เช่น การจดทะเบียนบริษัท กฏหมายการค้า แรงงาน การตลาด การเงิน การบัญชี ไปจนถึงทักษะการบริหารธุรกิจ (Management skills) และ การพาผู้ประกอบการเข้าอบรมตามสถานบันการศึกษา หรือจัดการอบรมจากผู้ ประกอบการต่างๆ ที่ประสบความสำเร็จแล้วรายอื่นๆ 3) การเป็นผู้สร้างเครือข่ายความสัมพันธ์ของผู้ประกอบการ (Network) – โดย “เครือข่าย” หมายถึง เครือข่ายของกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในระบบนิเวศทางธุรกิจเกิดใหม่ ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นนักลงทุนหรือผู้ให้คำแนะนำทางธุรกิจ เกิดเป็นเครือข่ายหรือ Connection ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญ ที่จะทำให้ผู้ประกอบการสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุน โอกาสทางด้านธุรกิจ และ ความรู้ที่สามารถหาได้ด้วยตนเอง นอกเหนื อ จากองค์ ก รขนาดใหญ่ ผ ู ้ ใ ห้ ก ารสนั บ สนุ น ทางธุ ร กิ จ แล้ ว ยั ง มี รู ป แบบการให้ บ ริ ก ารการบ่ ม เพาะธุ ร กิ จ โดยเอกชนรายย่ อ ย โดยเป็ น การให้ บ ริ ก ารในเชิ ง พื ้ น ที ่ การให้ เ ช่ า สำนั ก งานชั ่ ว คราวพร้ อ มสิ ่ ง อำนวยความสะดวกและอุ ป กรณ์ ต ่ า งๆที ่ ม ี ความจำเป็ น ต่ อ การดำเนิ น ธุ ร กิ จ ตั ว อย่ า งเช่ น GLOWFISH OFFICES ซึ ่ ง เป็ น ผู ้ ใ ห้ บริ ก ารการเช่ า พื ้ น ที ่ ส ำนั ก งานชั ่ ว คราวแก่ ธ ุ ร กิ จ เกิ ด ใหม่ แ ละนวั ต กร ซึ ่ ง สามารถเดิ น ทาง เข้ามาทำงานในพื้นที่ใจกลางเมืองได้อย่างสะดวกรวดเร็ว โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายมากเท่า กับการเช่าสำนักงานทั่วไป

HUBBA Co - working spacce ที่มา : http://hubbathailand.com/


Siam inovation district research report 2016

page 24

สถาบันการเงิน (Banking) สถาบันการเงิน เป็นกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีบทบาทหน้าที่ในการให้ การสนับสนุนด้านเงินลงทุน ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจ Start-up หรือวิสาหกิจขนาดกลางหรือ ขนาดย่อม (SMEs) ต่างจำเป็นต้องใช้เงินลงทุนในการตั้งต้นบริษัทหรือธุรกิจของตน เองทั้งสิ้น สถาบันการเงินต่างๆจึงมีนโยบายในการตอบรับการกระตุ้นเศรษฐกิจโดยภาค รัฐบาล ผ่านการสนับสนุนให้เกิดธุรกิจเกิดใหม่ต่างๆ และนอกจากบทบาทด้านการเงินแล้ว สถาบันการเงินบางแห่งยังสนับสนุนนวัตกรและธุรกิจเกิดใหม่ผ่านการอบรวม การสัมนา และให้ความรู้ต่างๆด้านการเงินและการลงทุนอีกด้วย สถาบันการเงิน ยังสามารถเข้ามาอยู่ในกลุ่มขององค์กรผู้สนับสนุน / ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ ได้ด้วยเช่นกัน โดยเป็นโครงการที่มีวัตถุประสงค์หลักในการบ่มเพาะ ธุรกิจ และนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเงิน หรือ Financial Technology (Fintech) เช่น • โครงการ KASIKORN Business–Technology Group(KBTG) โดยธนาคารกสิกรไทย ซึ่งเป็นโครงการที่มุ่งเน้นคิดค้นนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ๆ โดย เฉพาะนวัตกรรมทางการเงินรูปแบบใหม่ (Fintech) เป็นแหล่งของนวัตกรรมและ เทคโนโลยี ใ หม่ ๆ สำหรั บ ระบบการทำงานใช้ ห ลั ก Agile working , Lean Startup ทำให้การทำงานรวดเร็ว ฝ่ายไอทีและฝ่ายธุรกิจทำงานร่วมกันง่ายขึ้น รวมไป ถึงกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ด้วย การสร้างบรรยากาศให้แตกต่างไปจากบริษัทธนาคาร เดิม เช่น ห้อง Creative Box, ลิฟต์อัจฉริยะ, ห้องสันทนาการ, มุมสีเขียว เพื่อ ตอบสนองและก้าวทันพฤติกรรมผู้บริโภคยุคดิจิตอลที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว • โครงการ SCB Innovation Center I ที่มีบทบาทในการให้คำปรึกษาและ ช่วยเหลือธุรกิจเกิดใหม่ สร้างการบ่มเพาะแนวคิดของนักธุรกิจสตาร์ทอัพทั้งชาวไทยและ ชาวต่างประเทศ ผ่านการให้บริการพื้นที่ทำงานร่วมกัน (co-working space) และห้องปฏิบัติการพร้อมด้วยอุปกรณ์, เทคโนโลยี Cloud computing บน Platform เพื่อรองรับกระบวนการพัฒนาแนวคิดให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์ ต่อไปในอนาคต

KASIKORN Business–Technology Group(KBTG) ที่มา : http://marketeer.co.th/archives/80902

SCB Innovation Center ที่มา : https://plus.google.com/108103304177606995372


Siam inovation district research report 2016

3.2 พฤติกรรมการรับรู้ข่าวสารของ กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย พฤติ ก รรมการเรี ย นรู ้ แ ละการรั บ รู ้ ข ่ า วสารของกลุ ่ ม ผู ้ ม ี ส ่ ว นได้ ส ่ ว นเสี ย ทั้งหมดในระบบนิเวศทางธุรกิจเกิดใหม่ เป็นการศึกษาพฤติกรรมในการรับสาร การเข้าถึง ข้ อ มู ล และการรั บ รู ้ ก ารประชาสั ม พั น ธ์ จ ากองค์ ก รและหน่ ว ยงานต่ า งๆ เพื ่ อ ทำให้ เ กิ ด การ เข้าร่วมกิจกรรมหรือการเข้าร่วมกลุ่มผู้ที่มีความสนใจในด้านนวัตกรรมเช่นเดียวกัน รวม ไปถึงพฤติกรรมและวิธีในการเรียนรู้สิ่งใหม่ โดยแบ่งพฤติกรรมที่แตกต่างกันออกเป็น 9 กลุ ่ ม ตามรู ป แบบของกลุ ่ ม ผู ้ ม ี ส ่ ว นได้ ส ่ ว นเสี ย ซึ ่ ง เก็ บ ข้ อ มู ล จากการทบทวนวรรณกรรม หรืองานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้ข่าวสาร การสัมภาษณ์ การทำแบบสอบถามจากกลุ่ม ตัวอย่างทั้งหมด 100 ชุด และการรับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญในกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่างๆ สามารถสรุปข้อมูลได้ดังต่อไปนี

page 25

นอกจากนี้ ข้อมูลจากYOZZO CO.,LTD บริษัทผู้ให้บริการการวิจัย ตลาดและคำปรึกษาด้านโทรคมนาคม ได้นำเสนอข้อมูลสถิติผู้ใช้อินเตอร์เน็ตในไทยตลอด ปี พ.ศ. 2558 โดยเก็บข้อมูลในส่วนต่างๆ ทั้งปริมาณผู้ใช้งาน กลุ่มช่วงอายุ รูปแบบ วัตถุประสงค์ ช่วงเวลาที่ใช้งาน ระยะเวลาในการใช้งาน รวมไปถึงข้อมูลด้านอื่นๆ จาก National Statistical Office of Thailand Survey | ICT 2015 (83,880 households sampled) สามารถสรุปรายละเอียดได้ดังต่อไปนี้

3.2.1. พฤติกรรมการรับรู้ข่าวสารโดยทั่วไปในชีวิตประจำวัน เนื่องด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศในปัจจุบัน การติดต่อสื่อสารและการรับ รู้ข่าวสาร ต่างๆ สามารถเข้าถึงได้ทุกกลุ่มคนผ่านอินเตอร์เน็ตและสื่อสังคมออนไลน์ จาก การสำรวจการมี แ ละการใช้ เ ทคโนโลยี ส ารสนเทศในครั ว เรื อ นของสำนั ก งานสถิ ต ิ แ ห่ ง ชาติ ในปี พ.ศ. 2554 พบว่า ประชากรอายุ 6 ปีขึ้นไปมีสัดส่วนที่ใช้อินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นใน ทุกกลุ่มอายุ โดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่นที่มีอายุระหว่าง15-24 ปี มีสัดส่วนการใช้ อินเตอร์เน็ตสูงกว่ากลุ่มอื่น และการใช้อินเทอร์เน็ตของกลุ่มวัยรุ่นจะมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ในอนาคต โดยกลุ่ม ช่ว งอายุท ี่ม ีก ารใช้อ ิน เตอร์เน็ตสูงสุดคือกลุ่มวัยรุ่นอายุ 15 – 24 ปี รองลงมาคือกลุ่มเยาวชนอายุ 6 -14 ปี, กลุ่มวัยทำงานอายุ 25 -34 ปี, กลุ่มผู้ใหญ่ อายุ 35 – 49 ปี และกลุ่มผู้สูงอายุ ตั้งแต่อายุ 50 ปีขึ้นไปตามลำดับ โดยแต่ ล ะกลุ ่ ม ต่างมีวัตถุประสงค์ในการเข้าถึงข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตและการรับรู้ข่าวสาร ที่แตกต่างกัน

แผนภูมิแสดงอัตราการเติบโตของการใช้อินเตอร์เน็ตและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ที่มา : YOZZO CO.,LTD

1.การใช้งานอินเตอร์เน็ตของคนไทยตั้งแต่ช่วงปีพ.ศ. 2554 ถึงปีพ.ศ. 2558 พบว่า มีการใช้โทรศัพท์มือถือเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกับการใช้อินเตอร์เน็ต ในขณะที่มีการ ใช้งานคอมพิวเตอร์ลดลง และมีการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ใช้อินเตอร์เน็ตอย่างต่อเนื่องในแต่ละ ปี ทั้งสาเหตุจากนวัตกรรมความก้าวหน้าของโทรศัพท์มือถือที่สามารถทำงานได้หลากหลาย และรูปแบบของพฤติกรรมการเรียนรู้และการรับรู้ที่เปลี่ยนไปของผู้บริโภค


Siam inovation district research report 2016

2. ผู้บริโภคมีระยะเวลาการใช้อุปกรณ์ต่างๆในการเข้าถึงสื่อและข่าวสารต่างๆที่เปลี่ยนแปลงไปจากในอดีต โดยในปัจจุบันผู้บริโภคใช้เวลาผ่านโทรศัพท์มือถือ มากที่สุดเป็นอันดับ1 โดยเฉลี่ย 4.2 ชั่วโมง/วัน อันดับ2คือ โทรทัศน์2.6 ชั่วโมง/วัน อันดับ3 คือแท็ปเล็ต 2 ชั่วโมง/วัน และอันดับที่ 4 คือ คอมพิวเตอร์ อยู่ที่ 1.5 ชั่วโมง /วัน โดยมีวัตถุประสงค์การใช้อินเตอร์เน็ต ดังนี้ อันดับที่ 1 ใช้สื่อสังคมออนไลน์ 87% อันดับที่ 2 ดูวีดีโอหรือคลิปต่างๆ 72% อันดับที่ 3 เกมและนันทนาการ 43%

3. ช่องทางการรับรู้ข่าวสารผ่านสื่อสังคมออนไลน์ที่มีผู้ใช้บริการมาก ที่สุดตามอันดับ (วิเคราะห์ตามข้อมูล Daily access) ได้แก่ อันดับที่ 1 Facebook 87% อันดับที่ 2 YouTube 75% อันดับที่ 3 Google+ 27% อันดับที่ 4 Instagram 20% อันดับที่ 5 Twitter 8%

4.ในขณะที่แอพพลิเคชั่นข้อความที่ใช้สื่อสารและรับส่งข่าวสารกันใน สังคมออนไลน์ที่นิยมมากที่สุดตามอันดับ (วิเคราะห์ตามข้อมูล Daily access) ได้แก่ อันดับที่ 1 Line 66% อันดับที่ 2 Facebook 46% อันดับที่ 3 WhatsApp 10% อันดับที่ 4 Skype 10% อันดับที่ 5 WeChat 6%

page 26

$

PLAY

$

GAMES

$

อันดับ 1 ใช้สื่อสังคมออนไลน์

อันดับ 2 ดูวีดีโอหรือคลิปต่างๆ

อันดับ 3 เกมและนันทนาการ

อันดับ 1 Facebook

อันดับ 2 YouTube

อันดับ 3 Google+

อันดับ 1 Line

อันดับ 2 Facebook Messenger

อันดับ 3 WhatsApp


Siam inovation district research report 2016

page 27

5. ประเทศไทยใช้ Facebook มากเป็นอันดับ 8 ของโลก และเป็นอันดับ 3 ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และช่วงเวลาที่คนไทยโพสต์ facebook มากที่สุด คือ อันดับ 1 10.00-12.00น อันดับ 2 13.00-16.00น. อันดับ 3 20.00-21.00น. ส่วนช่วงเวลาที่คน Like แชร์และคอมเม้นต์ใน facebook มากที่สุด คือ วันพุธ 9.00-16.00น. ช่วงเวลา 16.00 และ 20.00น. ของอาทิตย์-พฤหัส ทั้งนี้ช่วงเวลาที่ Like แชร์และคอมเม้นต์ใน facebook น้อย คือ 5 ทุ่มถึง 8 โมงเช้า (ที่มา: https://www.it24hrs.com) 6. สำหรับสถิติการติดตามข่าวสาร โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ เก็บ รวบรวมข้อมูลเดือน พ.ค.-มิ.ย. 2558 พบว่า มีการรับรู้ข่าวสารประจำวันด้วยวิธี ทั้งแบบออนไลนืและไม่ออนไลน์ โดยมีผลสำรวจดังนี้ อันดับที่ 1 เลือกเสพข่าวสารทางหนังสือพิมพ์ ร้อยละ 67.3 อันดับที่ 2 ข้อความในสื่อสังคมออนไลน์/อีเมล คือ ร้อยละ 51.6 โดยกลุ่มที่มีการรับรู้ข่าวสารจากหนังสือพิมพ์ ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มนัก ธุรกิจ พนักงานออฟฟิศ และผู้สูงอายุ ในขณะที่การใช้สื่อออนไลน์เป็นกลุ่มเยาวชนและ พนักงานออฟฟิศซึ่งเป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่มากกว่า แต่ทุกกลุ่มอายุ ล้วนมีอัตราการรับรู้ ข่าวสาร และใช้สื่อสังคมออนไลน์เพิ่มมากขึ้น จากผลการศึกษา พบว่า ข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์กลุ่มนวัตกร ผู้ประกอบการ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มอื่นๆ รวมไปถึงประชาชนโดยทั่วไป มีความ สอดคล้องกับข้อมูลตามผลสำรวจด้านการตลาดข้างต้น โดยช่องการการติดตามหรือรับ รู้ข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรม ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในทุกกลุ่ม คือ สื่อสังคม ออนไลน์ โดยจัดเรียงอันดับตามความนิยมได้ดังต่อไปนี้ อันดับที่ 1 กลุ่มหรือเพจในด้านนวัตกรรมทาง Facebook อันดับที่ 2 การส่งข้อความหรือประชาสัมพันธ์ทาง Line group อันดับที่ 3 การบอกต่อของกลุ่มคนรอบตัวที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรม ในด้านนั้นๆ เช่น เพื่อนร่วมงาน อาจารย์ หรือผู้ที่สนใจในนวัตกรรมด้านเดียวกัน

อันดับ 1 10.00 - 12.00

อันดับ 3 20.00 21.00 อันดับ 2 13.00 - 16.00

$ $

$

อันดับ 1 ติดตามข่าวสารทางหนังสือพิมพ์

อันดับ 1 Facebook Page

อันดับ 2 ติดตามข่าวสารทางสื่อสังคมออนไลน์

อันดับ 2 Line group

อันดับ 3 เครือข่ายทางสังคม


Siam inovation district research report 2016

page 28

3.2.2. พฤติกรรมในการเรียนรู้สิ่งใหม่ พฤติ ก รรมการเรี ย นรู ้ ส ิ ่ ง ใหม่ ใ นปั จ จุ บ ั น สามารถทำได้ ง ่ า ยและ สะดวกรวดเร็วมากขึ้นกว่าในอดีต เนื่องจากอินเตอร์เน็ตและเทคโนโลยีต่างๆช่วยทำให้ การเรียนรู้เกิดขึ้นได้ทุกที่ทุกเวลา (Ubiquitous) ทำให้คนส่วนใหญ่เลือกวิธีการเรียนรู้ สิ่งใหม่ผ่านเทคโนโลยีและสื่อสังคมออนไลน์ เมื่อต้องการรู้เรื่องอะไรที่ไม่เคยรู้มาก่อน สามารถทำได้ง่ายเพียงแค่ใช้ Search engine ต่างๆ ข้ อ มู ล จากการทำแบบสอบถามโดยกลุ ่ ม ตั ว อย่ า งและการสั ม ภาษณ์ ก ลุ ่ ม ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย พบว่า การเรียนรู้สิ่งใหม่เกิดขึ้นได้จากหลายรูปแบบ โดยอาจเกิดขึ้น จากการแลกเปลี่ยนกันโดยบุคคลที่มีความแตกต่างทางสายอาชีพ ต่างเพศ ต่างวัย ต่าง สถานะหรือต่างประสบการณ์ บางกรณีเป็นการเรียนรู้ลักษณะคล้ายความสัมพันธ์แบบ ผู้มีประสบการณ์น้อยกว่า เรียนรู้สิ่งใหม่จากผู้ที่มีประสบการณ์มากกว่าเช่น นักธุรกิจรุ่น ใหม่ มีการเรียนรู้แนวคิดทางธุรกิจหรือ Business model จากผู้ที่มีประสบการณ์มาก กว่า หรือผู้อาวุโสในองค์กร ในขณะที่การเรียนรู้สิ่งใหม่ อาจเกิดขึ้นจากการที่ผู้มีประสบการณ์มากกว่าหรืออาวุโสกว่า ได้เรียนรู้จากผู้ที่อาวุโสน้อยกว่าได้ เช่น การที่หัวหน้าหรือ ผู้บริหารองค์กร เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ความต้องการของลูกค้าจากการแลกเปลี่ยนแนวคิดกับ ลูกน้องหรือเยาวชนรุ่นใหม่ นากจากการเรี ย นรู ้ จ ากผู ้ ท ี ่ ม ี ช ่ ว งวั ย และประสบการณ์ แ ตกต่ า งกั น แล้ ว การแลกเปลี ่ ย นระหว่ า งสายอาชี พ ยั ง สามารถทำให้ เ กิ ด การเรี ย นรู ้ ส ิ ่ ง ใหม่ ไ ด้ ด ้ ว ยเช่ น กั น เช่น นวัตกรด้านเทคโนโลยีหรือการผลิตเกม เป็นนักศึกษาจบใหม่ มีความรู้ความสามารถ ในด้านSoftware และโปรแกรมต่างๆสูง แต่ไม่มีประสบการณ์หรือความรู้พื้นฐานทาง ด้านธุรกิจเลย ดังนั้น จึงทำการแลกเปลี่ยนแนวคิดและข้อมูลกับเพื่อนซึ่งศึกษาอยู่ในสาขา ธุรกิจ และทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ใหม่ซึ่งกันและกัน โดยมีพื้นฐานของความแตก ต่างและความพร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่อยู่เสมอ เป็นพื้นฐานของการสร้างให้เกิดการเรียน รู้สิ่งใหม่

งาน Startup Thailand 2016, กรุงเทพ ที่มา : http://www.thailandstartup.org/

นอกจากนี้ พฤติกรรมในการเรียนรู้สิ่งใหม่ ยังเกิดขึ้นได้จากการ จัดกิจกรรมโดยองค์กรต่างๆ ซึ่งเป็นกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในระบบนวัตกรรม โดย ข้อมูลจากการสัมภาษณ์พบว่า กิจกรรมที่ได้รับความสนใจจากกลุ่มนวัตกรมากที่สุด ในการเข้าร่วมเพื่อให้เกิดการเีรยนรู้สิ่งใหม่ คือกิจกรรมการอบรม หรือการเข้าร่วม ในศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ หรือการสมัครเข้าร่วมโครงการเพื่อเรียนรู้การทำธุรกิจ เพื่อหา ผู้สนับสนุนผ่านเงินลงทุนและเงินรางวัลจากการประกวด (Pitching) ซึ่งความ แตกต่างของวิธีการในการเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อเรียนรู้สิ่งใหม่ ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ และความสามารถของแต่ละบุคคล ตัวอย่างเช่น - ผู้ที่ไม่มีพื้นฐานเกี่ยวกับนวัตกรรมหรือการประกอบธุรกิจมาก่อน เลือกจะเข้า ร่วมกิจกรรมในงานกิจกรรม (Event) ขนาดใหญ่ก่อน เพื่อเรียนรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ นวัตกรรม เช่นงาน Startup Thailand 2016 - ผู้ที่มีพื้นฐานหรือประสบการณ์ในวงจรนวัตกรรมแล้ว จะเลือกไปที่ที่สามารถสร้าง โอกาสทางความรู้และการสร้างเครือข่ายได้มากขึ้น เช่น กลุ่มนวัตกรทางด้านธุรกิจ เพื่อสังคม (Social enterprise) เลือกเข้าร่วมงานอบรมหรือ Event ที่จัดกิจกรรมและการบรรยายในหัวข้อเฉพาะด้าน หรือเลือกเข้าร่วมโครงการอบรม และประกวดรูปแบบธุรกิจ (Business model) เพื่อหาผู้ร่วมลงทุน ตัวอย่างเช่น งาน Social Enterprise Week Thailand 2015 เป็นต้น


Siam inovation district research report 2016

page 29

ไม่มีความรู้ด้านนวัตกรรม 11%

3.2.3. พื้นฐานความรู้ที่มีเกี่ยวกับนวัตกรรม พื้นฐานความรู้ที่มีเกี่ยวกับนวัตกรรม สามารถจำแนกข้อมูลออกเป็น 2 ส่วน คือ ข้อมูลด้านความรู้พื้นฐานโดยกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในระบบนวัตกรรม และอีก กลุ่มคือ กลุ่มประชาชนทั่วไป ซึ่งเป็นกลุ่มผู้ใช้บริการหรือผลิตภัณฑ์ทางด้านนวัตกรรม ที่เกิดขึ้นจากกระบวนการการเกิดนวัตกรรม โดยข้อมูลความรู้พื้นฐาน สามารถจัดเก็บได้ จากการสัมภาษณ์กลุ่มผมีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม และการทำแบบสอบถามจากประชาชน โดยทั่วไป โดยใช้เกณฑ์การตั้งคำถามพื้นฐานเกี่ยวกับความหมาย หรือภาพจำที่มีเกี่ยวกับ นวัตกรรม สำหรับกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในระบบการเกิดนวัตกรรม ทุกกลุ่มล้วน มีความรู้พื้นฐานทางด้านนวัตกรรมเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว โดยกลุ่มนวัตกร จะมีความเข้าใจ ในความรู้เฉพาะด้านที่ตนเองเรียนหรือมีประสบการณ์มาเป็นอย่างดี เช่น นวัตกรด้านไอที หรือซอฟต์แวร์ จะมีความเชี่ยวชาญในด้านนั้นสูง สามารถต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ที่สร้าง รายได้ได้ แต่อาจมีความรู้พื้นฐานทางด้านธุรกิจน้อย ในขณะที่กลุ่มนักลงทุน หรือสถาบัน ต่างๆ แม้จะไม่ได้มีความรู้ระดับลึกเท่ากับนวัตกรด้านนั้นๆ แต่มีความรู้พื้นฐานที่สามารถ ติดต่อธุรกิจหรือเข้าใจในนวัตกรรมต่างๆทางด้านนั้นได้เป็นอย่างดี เช่น กลุ่มสถาบันการ เงิน แม้จะไม่มีความสามารถในการผลิตซอฟต์แวร์ด้านการเงินเอง แต่สามารถเข้าใจใน นวัตกรรมด้าน Fin-tech ที่ผลิตโดยนวัตกรได้ สำหรับกลุ่มประชาชนทั่วไป จากการทำแบบสอบถามและการสัมภาษณ์ พบว่า ประชาชนทั่วไปมีความรู้เกี่ยวกับนวัตกรรม โดยการตีความเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความ ทันสมัยถึง 27%, เป็นสิ่งที่ทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น 19%, เป็นสิ่งเก่าที่เกิดการพัฒนา ในรูปแบบใหม่ 16%, เป็นสิ่งใหม่ในโลกที่ไม่เคยมีมาก่อน 14% และเป็นองค์ความรู้ใหม่ ๆ 7% โดยมีกลุ่มตัวอย่างที่คิดถึงนวัตกรรมในเชิงของธุรกิจหรือการสร้างมูลค่าเพิ่ม เพียง 6% เท่านั้น ในขณะที่ประชาชนกว่า 11% ไม่มีความรู้พื้นฐานหรือภาพจำเกี่ยวกับ นวัตกรรมเลย

สิ่งที่ทำให้คุณภาพชีวิต ของมนุษย์ดีขึ้น 19%

องค์ความรู้ใหม่ๆ 7%

การเปลี่ยนแปลงสิ่งเดิม ด้วยวิธีการแบบใหม่ๆ 16%

สิ่งใหม่ในโลก ที่ไม่เคยมีมาก่อน 14%

การสร้างมูลค่าเพิ่ม 6% ผลิตภัณฑ์ไฮเทค 27%

แผนภูมิวงกลมแสดงความรู้พื้นฐานที่มีต่อนวัตกรรมโดยประชาชนทั่วไป

3.2.4. สิ่งที่สามารถสร้างแรงจูงใจให้กับกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การสร้างแรงจูงใจให้กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย มารวมกันในพื้นที่ เพื่อสร้างให้เกิดระบบนิเวศทางธุรกิจที่สมบูรณ์ จะเกิดขึ้นได้จากการศึกษาความ ต้องการและพฤติกรรมของแต่ละกลุ่ม เพื่อนำมาปรับใช้ในพื้นที่ สำหรับดึงดูดให้แต่ ละกลุ่มมาเจอกัน โดยแต่ละกลุ่มจะมีความต้องการหรือแรงจูงใจที่แตกต่างกันตามแต่ ประสบการณ์และหน้าที่ของแต่ละบุคคล


Siam inovation district research report 2016

- พื้นที่ทำงาน สำนักงาน หรือติดต่อ ธุรกิจที่มีราคาถูก มีบรรยากาศที่ดี เอื้อ ให้ เ กิ ด ความคิ ด สร้ า งสรรค์ ใ นการผลิ ต นวัตกรรม มีการให้บริการ 24 ชม. - กิจกรรมที่ได้ความรู้ ได้ประโยชน์ต่อ การดำเนินธุรกิจของตนเอง - การสร้างเครือข่ายและการได้พบปะกับ ผู้ที่มีความรู้ หรือ นักลงทุน

นวัตกร (Innovator)

page 30

- การได้โอกาสในการประชาสัมพันธ์ถึง บทบาทและความสำคัญของภาครัฐ - พื้นที่จัดแสดงงานหรือจัดกิจกรรมที่มี ขนาดใหญ่ สำหรับภาครัฐได้มีโอกาสจัด งานให้แก่ประชาชน

รัฐบาล (Government)

- ค่าเช่าพื้นที่ที่มีความเหมาะสม สามารถ ทำให้ เ กิ ด ธุ ร กิ จ สำหรั บ สนั บ สนุ น นวั ต กร ได้ เช่น การเปิดเป็น Co - working space ราคาถูก - การสร้างเครือข่ายผู้ประกอบการที่มี ความเข้มแข็ง และมีการร่วมมือกันใน การจัดกิจกรรมต่างๆในพื้นที่ - การได้ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่มีกลุ่มลูกค้า หรือได้ผลตอบแทนต่อธุรกิจสูง

- การได้ร่วมลงทุนในธุรกิจที่มีโอกาสใน การเติบโตสูง หรือธุรกิจที่ได้รับความ สนใจโดยวงกว้าง - การสร้างเครือข่ายกับกลุ่มผู้มีส่วนได้ ส่วนเสียอื่นๆในระบบการเกิดนวัตกรรม - พื้นที่สำหรับการจัดงานกิจกรรมต่าง ๆ หรือการจัดประชาสัมพันธ์สถาบันการ เงินนั้นๆ

ผู้ประกอบการ (Entrepreneur)

สถาบันการเงิน (Banking)

การได้โอกาสในการประชาสัมพันธ์ ธุ ร กิ จ ใหม่ ๆ ที ่ ก ำลั ง เป็ น กระแสของโลก ได้ก่อน - การมีโอกาสสร้างเครือข่ายทางภาค ประชาสัมพันธ์ หรือเครือข่ายข่าวสาร เกี่ยวกับนวัตกรรม

ภาคสื่อ (Media) - การมีโอกาสได้ประชาสัมพันธ์และทำ หน้าที่ของการตอบแทนสังคม - มีโอกาสสนับสนุนให้เกิดการพัฒนา บุคลากรของสถาบัน เพื่อเพิ่มชื่อเสียง และความน่าเชื่อถือของสถาบัน - การได้เป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือ ธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ

สถาบันการศึกษา (Institution)

- การมีพื้นที่ให้กับธุรกิจของตนหรือ เป็นที่ตั้งของสำนักงานชั่วคราว ติดต่อ ประสานงานในพื้นที่กลางเมืองได้ - การมีบรรยากาศที่ดี เหมาะแก่การนัด พบหรือจัดประชุมอย่างสร้างสรรค์ - การมีสิ่งอำนวยความสะดวกหรือผล ตอบแทนในการให้ความรู้ หรือให้ความ ช่วยเหลือแก่นวัตกร

นักลงทุน (VC) - ค่าเช่าพื้นที่ที่มีความเหมาะสม สามารถ ทำให้ เ กิ ด ธุ ร กิ จ สำหรั บ สนั บ สนุ น นวั ต กร ได้ - การมีพื้นที่จัดงานกิจกรรมต่างๆ หรือ การประชาสั ม พั น ธ์ อ งค์ ก รให้ เ ป็ น ที ่ ร ู ้ จ ั ก และเอื้อให้นวัตกรใหม่ๆ เกิดความสนใจ เข้าร่วมในโครงการขององค์กรนั้นๆ

องค์กรสนับสนุน (Accelerator)


Siam inovation district research report 2016

page 31

3.3 สรุปความสัมพันธ์ของกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมด

รัฐบาล (Government)

รัฐบาลมีบทบาทในการสนับสนุนการเกิดนวัตกรรม ในประเทศไทย ผ่านการสนับสนุนด้านนโยบายใน ระดับประเทศ ไปจนถึงการสนับสนุนทางด้านการ ประชาสัมพันธ์ การเงิน และการสนับสนุนองค์กร และกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่างๆทั้งระบบการเกิด นวัตกรรม

องค์กรสนับสนุน (Accelerator)

ผู้สนับสนุนหรือสถาบันต่างๆที่มีนโยบายในการ ให้ความรู้และคำปรึกษาทางด้านธุรกิจ จะช่วย ตรวจสอบแนวคิดและแนะนำแนวทางการพัฒนา ธุรกิจ ให้สามารถดำเนินไปอย่างเป็นรูปธรรมได้

สถาบัน (Institution)

นวัตกร (Innovator)

Discovery Idea

ผู้ประกอบการ (Entrepreneur) ให้บริการด้านพื้นที่ สำหรับนัดพบปะ พูดคุย แลกเปลี่ยนแนวคิดระหว่างนวัตกร รวมไปถึง การจัดกิจกรรมเพื่อสร้างแรงบันดาลใจต่างๆ

Scoping

ในขั้นตอนนี้ หลังจากนวัตกรมีแนวคิดในการทำ ธุรกิจแล้ว จะต้องวางแผนการการทำธุรกิจ การ ลงทุน รวมไปถึงการวางแผนในอนาคต ซึ่งกลุ่ม นักลงทุนและสถาบันการเงินอาจเข้ามามีบทบาท ในด้านการสนับสนุนเงินลงทุนเริ่มทำธุรกิจ หรือ การวางแผนการเงินให้กับธุรกิจในอนาคต

Business model

องค์กรสนับสนุน (Accelerator)

สถาบัน (Institution)

นักลงทุน (VC)

สถาบันการเงิน (Banking)


Siam inovation district research report 2016

องค์กรสนับสนุน (Accelerator)

สถาบัน (Institution)

นักลงทุน (VC)

สถาบันการเงิน (Banking)

page 32

การสร้างนวัตกรรม หากเป็นการสร้างนวัตกรรม ประเภทผลิตภัณฑ์ นวัตกรจำเป็นต้องติดต่อกับ ผู้ให้สนับสนุนด้านการผลิต เช่น โรงงาน ศูนย์วิจัย สถานศึกษา หรือองค์กรต่างๆที่มีศักยภาพในการ ผลิตชิ้นงานนั้นๆ หรือหากเป็นนวัตกรรมเชิง เทคโนโลยีและดิจิตอล อาจมีการใช้สร้างความ รว่มมือกับองค์กรผู้สนับสนุนหรือนักลงทุนต่างๆ

ภาคสื่อ (Media)

องค์กรสนับสนุน (Accelerator)

นักลงทุน (VC)

ผู้ประกอบการ (Entrepreneur)

Full launch

Testing

Prototyping

การผลิตนวัตกรรมเพื่อนำเข้า สู่ตลาดการค้าจริง จำเป็นต้อง มีการประชาสัมพันธ์และการ เผยแพร่ให้เป็นที่รู้จักของกลุ่ม เป้าหมายหลักในนวัตกรรมนั้น เพื่อทำให้ธุรกิจมียอดขายที่เพิ่ม สูงขึ้นอย่างก้าวกระโดดตาม รูปแบบของธุรกิจ Start-up ที่จำเป็นต้องเติบโตในเวลาอัน รวดเร็วก่อนจะประสบความสำเร็จ

นวัตกร (Innovator)

ขั้นตอนการทดลองอาจทดสอบกับกลุ่มตัวอย่าง หรือการทดลองกับบุคคลทั่วไป โดยภาคสื่อหรือ ผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้อง มีบทบาทและความ สามารถในการช่วยเหลือการทดลองนวัตกรรม ก่อนนำไปสู่การผลิตและจัดจำหน่ายจริง

ภาคสื่อ (Media)

องค์กรสนับสนุน (Accelerator)

นักลงทุน (VC)

สถาบัน (Institution)

ผู้ประกอบการ (Entrepreneur)


Siam square innovation district research report 2016

page 33

ที่มาและการจัดเก็บข้อมูล 1.การเก็บข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data) เป็นการเก็บข้อมูลโคยตรงจากการสัมภาษณ์และการสังเกต โดยมีรายละเอียดในการเก็บ ข้อมูลดังต่อไปนี้

1.3 การลงสำ รวจพื้นที่สยามแสควร์(Observation) เพื่อเก็บข้อมูลลักษณะทางกายภาพและ ปริมาณประชากรในพื้นที่ โดยมีรายละเอียดในการเก็บข้อมูลดังต่อไปนี้

1.1 การเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์ (Interview Administered Questionnaire) ใช้การเก็บ ข้อมูลจากกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมด 5 กลุ่ม จาก 8 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มนวัตกร กลุ่มผู้ประกอบ การธุรกิจที่เกี่ยวข้อง นักลงทุน สถาบันการศึกษา และองค์กรผู้สนับสนุน เพื่อวิเคราะห์การมีส่วน ร่วมในกระบวนการผลิตนวัตกรรมและการสร้างธุรกิจเกิดใหม่

1.3.1 การนับจำ นวนประชากรที่สัญจรผ่านในพื้นที่หรือทำ กิจกรรมในพื้นที่ในแต่ละ จุด ในช่วงเวลาต่างๆ โดยเก็บข้อมูลแบบนั่งประจำ จุดเพื่อตรวจนับพฤติกรรมและจัดกลุ่มประชากร ตามที่ได้จัดกลุ่มไว้ โดยแบ่งออกเป็นการเก็บข้อมูลในช่วงวันธรรมดา (จันทร์ - ศุกร์) และวันหยุด (เสาร์ - อาทิตย์) และแบ่งออกเป็นกลุ่มช่วงเวลาเช้า (8.00 – 10.00 น.) ช่วงกลางวัน (12.00 – 14.00 น.) และช่วงเย็นคือ (18.00 – 20.00 น.) เริ่มเก็บข้อมูลตั้งแต่วันจันทร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2559 จนถึงวันอาทิตย์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 ผ่านตารางการประเมินพื้นที่และการจัดกลุ่ม ประชากร 1.3.2 การวั ด ขนาดพื้ น ที่ แ ละเก็ บ ข้ อ มู ล ลั ก ษณะทางกายภาพของพื้ น ที่ ต่ า งๆที่ มี ศักยภาพในการพัฒนาไปเป็นพื้นที่เชิงนวัตกรรม โดยการสำ รวจและวัดขนาดพื้นที่ต่างๆร่วมกับ สำ นักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผ่านตารางการประเมินพื้นที่ ซึ่งมีการประเมิน พื้นที่ในหัวข้อสำ คัญต่างๆดังต่อไปนี้ - ขนาดของพื้นที่ในเชิงสัดส่วน ความกว้าง ความยาว ความจุ - กิจกรรมที่อนุญาตและนิยมจัดในพื้นที่ต่างๆ - ประเภทของพื้นที่(ลาน / เส้นทางสัญจร / พื้นที่ภายในอาคาร/พื้นที่ภายนอกอาคาร ) - คุณภาพของพื้นที่ (มุมมอง / ความปลอดภัย / ความสะดวกในการเข้าถึง / ระยะห่าง จากสถานีขนส่งมวลชน / กิจกรรมในพื้นที่)

1.2การใช้แบบสอบถามกับกลุ่มประชาชนทั่วไปในพื้นที่สยามสแควร์และผู้ที่มีความเกี่ยวข้องกับ ระบบการผลิตนวัตกรรมและธุรกิจเกิดใหม่ เพื่อวิเคราะห์พฤติกรรมและความต้องการของประชาชน ทั่วไปหากมีการพัฒนาสยามสแควร์ให้เป็นย่านนวัตกรรมในอนาคต โดยใช้แบบสอบถามทั้งหมด 100 ชุด เริ่มเก็บข้อมูลตั้งแต่วันจันทร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2559 จนถึงวันอาทิตย์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 ผ่านชุดคำ ถามในหัวข้อต่างๆดังต่อไปนี้ 1.2.1 คำ ถามที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและข้อมูลส่วนบุคคล สำ หรับการวิเคราะห์ พฤติกรรมและความต้องการในเชิงพื้นที่และการมีส่วนร่วมกับระบบนวัตกรรม 1.2.2 คำ ถามที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่สยามสแควร์ ทั้งในเชิงการรับรู้และความคาดหวังใน การพัฒนาไปในเชิงนวัตกรรมในอนาคต 1.2.3 คำ ถามที่เกี่ยวข้องกับระบบนวัตกรรม และประสบการณ์ที่มีต่อธุรกิจที่เกี่ยวข้อง กับนวัตกรรม เพื่อนำ ไปสู่การวิเคราะห์การพัฒนาย่านนวัตกรรมให้สอดคล้องกับความต้องการของ ทุกกลุ่มเป้าหมาย

ตัวอย่างแบบสอบถามออนไลน์ ที่มา : ทีมวิจัย

การลงพื้นที่สำ รวจ ที่มา : ทีมวิจัย


Siam square innovation district research report 2016

page 34

2. การเก็บข้อมูลทุติยภูมิ 2.1 การเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับระบบนวัตกรรม ด้วยวิธีการทบทวนวรรณกรรม (Literature review) ผ่านข้อมูลจากวิทยานิพนธ์ บทความทางวิชาการ ข่าว และสื่อสารสนเทศต่างๆ เพื่อ วิเคราะห์หาองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับระบบนวัตกรรมและการสร้างธุรกิจเกิดใหม่ 2.2 การเก็บข้อมูลเชิงสถิติเชิงกิจกรรม โดยเฉพาะข้อมูลในด้านสถิติการรับรู้ข่าวสาร พฤติกรรมในการรับรู้ข่าวสาร การมีส่วนร่วมในระบบนวัตกรรม และการเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆที่ เกี่ยวข้อง ผ่านข้อมูลจากหน่วยงานต่างๆและบริษัทเอกชนผู้เผยแพร่ข้อมูลสถิติ 2.3 การเก็บข้อมูลทุติยภูมิที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่สยามสแควร์จากสำ นักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทั้งในเชิงลักษณะทางกายภาพ ระบบสาธารณูปโภคและสิ่งอำ นวยความ สะดวกที่จัดเตรียมไว้ สถิติเชิงกิจกรรม เช่น จำ นวนผู้ประกอบการ สัดส่วนและประเภทของกิจกรรม ที่มีในพื้นที่สยามสแควร์ ปริมาณการสัญจร ปริมาณที่จอดรถ รวมไปถึงข้อมูลในด้านเศรษฐกิจ เช่น ราคาค่าเช่าพื้นที่ต่างๆ และความคุ้มทุน

การทบทวนวรรณกรรมและแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับระบบนวัตกรรมและธุรกิจ Start - up ที่มา : ทีมวิจัย


4

siam inovation district research report 2016

วิเคราะห์พฤติกรรม กิจกรรมของนวัตกร การวิเคราะห์พฤติกรรมและกิจกรรมในกระบวนการเกิดนวัตกรรมของ เหล่านวัตกร เพือ่ ให้ทราบความต้องในเชิงพืน้ ทีแ่ ละกิจกรรม ทีส่ นับสนุนให้เกิด นวักรรมอย่างมีประสิทธิภาพ

page 35


siam inovation district research report 2016

-

ประเภทของนวัตกรรม กระบวนการเกิดนวัตกรรม รูปแบบพฤติกรรมของนวัตกรที่ได้จากการสัมภาษณ์ สรุปรูปแบบพฤติกรรมของนวัตกรที่ได้จากการสัมภาษณ์ สรุปรูปแบบพื้นที่และกิจกรรม ที่ตอบสนองต่อความต้องการ ของนวัตกร

page 36

37 38 41 47 53


siam inovation district research report 2016

page 37

ประเภทของนวัตกรรม Jay and Leonard (2001) Jung and Wu (2006) ได้เสนอให้นวัตกรรมแบ่ง ออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ (1) นวัตกรรมด้านสินค้า/ผลิตภัณฑ์ (Product innovations) เป็นนวัตกรรม การผลิตสินค้าหรือบริการโดยตรง สามารถสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายได้โดยตรง (2) นวัตกรรมด้านกระบวนการ (Process innovations) คือนวัตกรรม ที ่ ม ี อ ิ ท ธพลโดยอ้ อ มต่ อ สิ น ค้ า และบริ ก าร เช่น การจัดการ การประชาสัมธ์ ซึ่งอาจจะ มี ผ ลกระทบต่ อ สมาชิ ก และความสั ม พั น ธ์ ขององค์กร หรือเป็นนวัตกรรมที่ออกมาใน รู ป แบบการสร้ า งความบั น เทิ ง เช่ น เกมส์ กระบวนการเก็บข้อมูลคือการสัมภาษณ์นวัตกร ซึ่งแบ่งได้ดังนี้ นวัตกรรมด้านสินค้า/ผลิตภัณฑ์ (Product innovations) -การผลิตยาแก้เมา (อาจารอนนี่) -การทำการเกษตรในเขตเมือง (Urban farming) นวัตกรรมด้านกระบวนการ (Process innovations) -การผลิตเกมส์ (น้องเจมส์) -การสร้างแอฟฟริเคชั่นพัฒนาการเด็ก -การวางแผนธุรกิจ เพื่อเอื้อให้คนสูงอายุ ช่ ว ยอธิ บ ายความรู ้ ใ นองค์ ก รแก่ เ ด็ ก ที ่ เ ข้ า มาทำงานใหม่ -การนำระบบอินเตอร์เน็ตมาช่วยในการสอน พิเศษ (Skooldio)

*https://i.ytimg.com/

*http://video.newsserve.net/


siam inovation district research report 2016

page 38

กระบวนการและพืน้ ทีเ่ กิดนวัตกรรม Ricard Cooper (1993) µÃǨÊͺá¹Ç¤Ô´ ¡ÒÃÇҧἹ àÃÔ่Áá¹Ç¤Ô´ áÅÐÃѺ¤ÇÒÁÃÙŒ ¸ØáԨ

Discovery Idea

Scoping

¡ÒþѲ¹Ò ¡ÒùํÒÍÍ¡ ¡Ò÷´Êͺ µŒ¹áºº¡ÒüÅÔµ ¡Ñº¡ÅØ‹ÁµÑÇÍ‹ҧ ÊÙ‹·ŒÍ§µÅÒ´

Business model

Prototyping

Testing

Full launch

พื้นที่การเกิดนวัตกรรม REFINE

WICKED PROBLEM

BUILD

ITERATIVE PROCESS

INTERGRATE

DESK RESEARCH

Cognitive Space

QUALITATIVE AND QUANTITATIVE RESEARCH

CONCEPTUALIZING AND PROTOTYPING

Information Space

Devleopment Space

BUILDING AND IMPLEMENTING

Physical Space


siam inovation district research report 2016

page 39

พื้นที่การเกิดนวัตกรรม

PROTOTYPING

RELAX MIXED USE

FORMAL SPACE

VISUAL THINKING DIVERSITY

EXPERIMENT

Cognitive Space

Information Space

Devleopment Space

Physical Space

พื้นท่ีการรับรู้และความคิด

พื้นที่ด้านข้อมูลข่าวสาร

พื้นท่ีการพัฒนาความคิด

พื้นท่ีแสดงกายภาพ

พื้นที่การทำงานทางความคิดจาก จุดเริ่มต้นของการรับรู้ระหว่าง บุคคลและสภาพแวดล้อมทาง กายภาพต่างๆรอบตัว

พื้นท่ีทางด้านข้อมูลข่าวสาร การแลกเปล่ียนรับข้อมูลข่าวสาร ที่ไม่ใช่แค่โรงเรียน เป็นการกระตุ้น ทางความคิดท่ีสามารถเปล่ียน แปลงได้ตามช่วงเวลา

พื้นที่การพัฒนาและต่อยอดทาง ความคิดทั้งในการทดลอง เพื่อ สร้างต้นแบบของนวัตกรรม

พื้นที่การทำงานทางความคิดจาก จุดเริ่มต้นของการรับรู้ระหว่าง บุคคลและสภาพแวดล้อมทาง กายภาพต่างๆรอบตัว


siam inovation district research report 2016

page 40

พื้นที่การเกิดนวัตกรรม

ORGANIZATION

TRAINING

COMMUNICATION

Cognitive Space

Information Space

Devleopment Space

Physical Space

พื้นท่ีการรับรู้และความคิด

พื้นที่ด้านข้อมูลข่าวสาร

พื้นท่ีการพัฒนาความคิด

พื้นท่ีแสดงกายภาพ

พื้นที่การทำงานทางความคิดจาก จุดเริ่มต้นของการรับรู้ระหว่าง บุคคลและสภาพแวดล้อมทาง กายภาพต่างๆรอบตัว

พื้นท่ีทางด้านข้อมูลข่าวสาร การแลกเปล่ียนรับข้อมูลข่าวสาร ที่ไม่ใช่แค่โรงเรียน เป็นการกระตุ้น ทางความคิดท่ีสามารถเปล่ียน แปลงได้ตามช่วงเวลา

พื้นที่การพัฒนาและต่อยอดทาง ความคิดทั้งในการทดลอง เพื่อ สร้างต้นแบบของนวัตกรรม

พื้นที่การทำงานทางความคิดจาก จุดเริ่มต้นของการรับรู้ระหว่าง บุคคลและสภาพแวดล้อมทาง กายภาพต่างๆรอบตัว


siam inovation district research report 2016

page 41

รูปแบบพฤติกรรมของนวัตกร จากการสัมภาษณ์ นวัตกรรม ด้านสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ (Product innovations) การผลิตยาแก้เมา (อาจารอนนี่) พบว่าสิ่งสำคัญที่สุด คือ ความเชี่ยวชาญ ในกระบวนการผลิตยา ทั้งให้ความรู้ ความ เชือ่ มัน่ การหาพืน้ ทีป่ ฏิบตั กิ าร ซึง่ ทรัพยากรณ์ บุคคลมาจากคนที่คุ้นเคย เช่น เพื่อน ญาติ พี่น้อง เป็นต้น ส่วนการทดลองกับกลุม่ ตัวอย่าง มีลกั ษณะ การผลิตที่แล้วเสร็จ และเลือกกลุ่มตัวอย่าง ขนาดเล็ก ทดลองจำหน่ายและสำรวจความ พึงพอใจ ถ้าต้องการขยายกลุ่มเป้าหมาย ต้องมีการวางแผนการตลาดและการประชาสัมธ์

àÃÔ่Áá¹Ç¤Ô´

Discovery Idea

µÃǨÊͺá¹Ç¤Ô´ áÅÐÃѺ¤ÇÒÁÃÙŒ

Scoping

¡ÒÃÇҧἹ ¸ØáԨ

Business model

¡ÒþѲ¹Ò ¡Ò÷´Êͺ µŒ¹áºº¡ÒüÅÔµ ¡Ñº¡ÅØ‹ÁµÑÇÍ‹ҧ

Prototyping

Testing

¡ÒùํÒÍÍ¡ ÊÙ‹·ŒÍ§µÅÒ´

Full launch

¡Ô¨¡ÃÃÁ·Õ่à¡Ô´ à¡Ô´¨Ò¡»˜ÞËÒ ÁÕÍÒ¡ÒûǴÈÕÃÉÐËÅѧ¡Òô×่Á

»ÃÖ¡ÉÒ¨Ò¡¼ÙŒàªÕ่ÂǪÒÞ (Ό·Õ่ÁÕ¤ÇÒÁÃÙŒàÃ×่ͧÂÒ)

-ÁÕ¤ÇÒÁÃÙŒàÃ×่ͧ¸ØáԨ -¡ÅØ‹Á໇ÒËÁÒ¢ͧ¸ØáԨÁÕ ÅѡɳÐ੾ÒСÅØ‹Á (¢¹Ò´àÅ็¡) -·Ø¹à¾Õ§¾Í -ÊÌҧ·ÕÁ¨Ò¡¤¹ÃÙŒ¨Ñ¡ (¤¹ÃÙŒ¨Ñ¡ ¢Í§á¿¹)

·Õ่¹Ñ่§¤Ø¡Ѻ¼ÙŒàªÕ่ÂǪÒÞ (ºŒÒ¹)

-·Õ่¹Ñ่§¤Ô´¤¹à´ÕÂÇ ËŒÍ§»¯ÔºÑµÔ¡Òà -·Õ่¾Ù´¤Ø»ÃÖ¡ÉÒ໚¹¡ÅØ‹Á¢¹Ò´ àÅ็¡ 㹡ÒäØÂäÍà´ÕÂà¾×่ÍãËŒ ÁռٌËÇÁ¸ØáԨ ÁÕ¤ÇÒÁ໚¹Ê‹Ç¹µÑÇ

¡Ò÷´Åͧ¨Ò¡ËŒÍ§»¯ÔºÑµÔ¡Òà (ΌÊÒÁÒö㪌ˌͧ»®ÔºÑµÔ¡Òà ¨Ò¡ÁËÒÅÑÂä´Œ)

ãËŒ¤¹ÃÙŒ¨Ñ¡ ËÃ×ÍÌҹ¡Ô¹´×่Á·Õ่ÃÙŒ¨Ñ¡ ·´Êͺ¤ÇÒÁ¾Ö§¾Í㨠«Ö่§¾ºÇ‹Ò ÁÕ¤ÇÒÁ¾Íã¨à»š¹Ê‹Ç¹ãËÞ‹

¢ÒÂãËŒ¡ºÑ ¤¹ÃÙ¨Œ ¡Ñ ËÃ×ÍÌҹ¡Ô¹´×Á่ ·ÕÃ่ ¨Œ Ù ¡Ñ «Ö§่ ¡ÒûÃЪÒÊÑÁ¾Ñ¹¸ ¤Í× ¡Òú͡µ‹Í

Ìҹ¡Ô¹´×่Á

Ìҹ¡Ô¹´×่Á

¾×้¹·Õ่ ·Ø¡·Õ่·Õ่·ํÒãËŒà¡Ô´áçºÑ¹´ÒÅ㨠㹪ÕÇÔµ»ÃШํÒÇѹ

¤ÇÒÁµŒÍ§¡Òà ¶ŒÒµŒÍ§¡ÒâÂÒ¸ØáԨ µŒÍ§¡Ò÷ÕÁ ¡ÒõÅÒ´ »ÃЪÒÊÑÁ¾Ñ¹¸

* UDDC

¶ŒÒµŒÍ§¡ÒâÂÒ¸ØáԨ -µŒÍ§¡Òà ¡ÒûÃЪÒÊÑÁ¾Ñ¹¸ ÊÔ¹¤ŒÒ -¡Ò÷´Êͺ¤×Í¡ÒâÒ 㹡ÅØ‹Á·Õ่ãËÞ‹¢Ö้¹ áÅÐÊํÒÃǨ¼ÅµÍºÃѺ


siam inovation district research report 2016

page 42

นวัตกรรม ด้านสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ (Product innovations) การทำการเกษตรในเขตเมือง (Urban farming) วัตถุประสงค์เริม่ ต้น คือ การช่วยเหลือกลุม่ ผูส้ งู อายุให้มงี านทำ โดยการเข้าไปให้ความรู้ เรื่องการปลูกผักในพื้นที่เมือง เพื่อจำหน่าย ซึ่งผู้ทำโครงการมีบทบาทในการหาแหล่งที่ สามารถเอาผลผลิตออกสู่ท้องตลาด ช่วงเวลาทีส่ มั ภาษณ์ ถือเป็นช่วงทีธ่ รุ กิจประ สบผลที่น่าพึงพอใจในขั้นต้น คือ สามารถ ออกสูท่ อ้ งตลาด ในกลุม่ เป้าหมายขนาดเล็ก แต่วตั ถุประสงค์ของโครงการ คือ ต้องการ ขนายแนวคิดนี้ โดยการนำแนวคิดไปเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ ซึง่ วิธที เ่ี ลือกใช้คอื การเข้าร่วม โครงการประกวด (CU innovation hub) เพื่อการประชาสัมธ์ หาทุน หาทีม และสร้าง ความน่าเชื่อถือของแนวคิด

àÃÔ่Áá¹Ç¤Ô´

Discovery Idea

µÃǨÊͺá¹Ç¤Ô´ áÅÐÃѺ¤ÇÒÁÃÙŒ

Scoping

¡ÒÃÇҧἹ ¸ØáԨ

Business model

¡ÒþѲ¹Ò µŒ¹áºº¡ÒüÅÔµ

Prototyping

¡Ò÷´Êͺ ¡Ñº¡ÅØ‹ÁµÑÇÍ‹ҧ

Testing

¡ÒùํÒÍÍ¡ ÊÙ‹·ŒÍ§µÅÒ´

Full launch

¡Ô¨¡ÃÃÁ·Õ่à¡Ô´ à¡Ô´¨Ò¡»˜ÞËÒ ÁÕͧ¤ ¤ÇÒÁÃÙŒàÃ×่ͧ¡ÒûÅÙ¡¼Ñ¡ã¹ ·Õ่µŒÍ§¡ÒÃãËŒÊѧ¤Á¼ÙŒÊÙ§ÍÒÂØ ¾×¹ ้ ·Õ่àÁ×ͧ à¾×่ÍãËŒ¤ํÒ»ÃÖ¡ÉÒ ÁÕ§Ò¹·ํÒ â´Â¡ÒûÅÙ¡¼Ñ¡«Ö่§µŒÍ§ ¡Ñº¼ÙŒÊÙ§ÍÒÂØ ÁÕ¡ÒÃàµÃÕÂÁ¾×้¹·Õ่¢ÒÂ

-ÁÕ¤ÇÒÁÃÙŒàÃ×่ͧ¸ØáԨ -¡ÅØ‹Á໇ÒËÁÒ¢ͧ¸ØáԨÁÕ ÅѡɳÐ੾ÒСÅØ‹Á (¢¹Ò´àÅ็¡) -·Ø¹à¾Õ§¾Í -ÁÕ·ÕÁÍÂÙ‹áÅŒÇ (ÁÕ¸ØáԨÍ×่¹)

¡Ò÷´ÅͧãËŒ¼ÙŒÊÙ§ÍÒÂØ»ÅÙ¡¼Ñ¡ ·Õ่ºŒÒ¹ ¨Ò¡¡ÒÃÃÇÁµÑÇ໚¹ à¤Ã×Í¢‹ÒÂàÅ็¡æ áÅÐàÍÒÁÒ¢ÒÂ

¹ํÒ仢ÒÂÊÙ‹µÅÒ´ «Ö่§¾ºÇ‹Ò ÁÕ¤¹Ê¹ã¨«×้Í (໚¹¤¹ ੾ÒСÅØ‹Á)

¢ÂÒ¡ÒÃÃѺ¼Ñ¡¨Ò¡à¤Ã×Í¢‹Ò ¼ÙÊŒ §Ù ÍÒÂØ ãˌ䴌»ÃÔÁÒ³¼Ñ¡ ·ÕÁ่ Ò¡¾Í à¾×Í่ ÍÍ¡ÊÙµ‹ ÅÒ´¢¹Ò´ ãËÞ‹¢¹Ö้ ÍÒ¨¨ÐÁÕ¡ÒÃÊÌҧáºÃ¹´

¾×้¹·Õ่ËÒͧ¤ ¤ÇÒÁÃÙŒ ·Ñ้§¨Ò¡ ˹ѧÊ×Í ÍÔ¹àµÍà à¹็µ

¾×้¹·Õ่¾Ù´¤Ø»ÃÖ¡ÉÒ໚¹¡ÅØ‹Á ¢¹Ò´àÅ็¡ã¹¡Ò÷ํÒ§Ò¹ (office)

¾×้¹·Õ่»ÅÙ¡¼Ñ¡

·Õº ่ ÒŒ ¹ áÅТÒ·ҧÍÔ¹àµÍà à¹็µ

µÅÒ´¢¹Ò´ãËÞ‹¢Ö้¹ ઋ¹ «Ùà»Íà ÁÒà à¡็µ

µŒÍ§¡ÒâÂÒÂâÁà´Å¸ØáԨ¹Õ้ ࢌÒÊÙ‹¡ÒûÃСǴà¾×่Í »ÃЪÒÊÑÁ¾Ñ¹¸ á¹Ç¤Ô´ (cu innovation hub)

µŒÍ§¡ÒâÂÒÂâÁà´Å¸ØáԨ¹Õ้ ࢌÒÊÙ‹¡ÒûÃСǴà¾×่Í -Ëҷع -ËÒ·ÕÁ àÍÒ¤ÇÒÁÃÙŒàÃ×่ͧ¡Òà »ÅÙ¡¼Ñ¡ã¹¾×้¹·Õ่àÁ×ͧä»à¼Âá¾Ã‹ (cu innovation hub)

¾×้¹·Õ่ ·Ø¡·Õ่·Õ่·ํÒãËŒà¡Ô´áçºÑ¹´ÒÅ㨠㹪ÕÇÔµ»ÃШํÒÇѹ

¤ÇÒÁµŒÍ§¡Òà µŒÍ§¡ÒâÂÒÂâÁà´Å¸ØáԨ¹Õ้ ¨Ö§µŒÍ§¡ÒõÅÒ´·Õ่ãËÞ‹¢Ö้¹ ÁÒÃͧÃѺ (¼Ñ¡¨Ò¡à¤Ã×Í¢‹Ò¼ٌÊÙ§ÍÒÂØ)


page 43

siam inovation district research report 2016

นวัตกรรม ด้านกระบวนการ (Process innovations) การผลิตเกมส์ (น้องเจมส์) เป็นตัวแทนของการเกิดนวัตกรรมทีเ่ ริม่ จาก การมีทกั ษะ และนำผลผลิตทีไ่ ด้จากทักษะนัน้ เข้าประกวดโครงการต่างๆ จนได้รับรางวัล จึงคิดทำเป็นธุรกิจ แต่ยงั ไม่มคี วามรู้ ซึง่ ธุรกิจ เริม่ ต้น (startup) ในประเทศไทยมีลกั ษณะ นี้ ทำให้ยังไม่ประสบผลสำเร็จเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นความต้องการของนวัตกรกลุ่มนี้ คือ ความรู้เรื่องธุรกิจทั้งหมด ตั้งแต่การหาทุน หาทีม แผนธุรกิจ การทดสอบกลุม่ เป้าหมาย การประชาสัมพันธ์ เพื่อให้สามารถนำออกสู่ ท้องตลาดได้ นอกจากนั้น ยังมีความแตก ต่างของนวัตกรรมด้านกระบวนการจาก นวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์ คือ พื้นที่ทำงาน หรือพืน้ ทีพ ่ ฒ ั นาต้นแบบสามารถมีขนาดเล็ก ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่จะสามารถเข้ามาอยู่ใน พื้นที่สยาม ซึ่งความต้องการส่วนใหญ่คือ สามารถในการเป็นเจ้าของพื้นที่ทำงานนั้น มีอุปกรณ์ครบครัน และราคาค่าครองชีพ ไม่แพง

àÃÔ่Áá¹Ç¤Ô´

Discovery Idea

µÃǨÊͺá¹Ç¤Ô´ áÅÐÃѺ¤ÇÒÁÃÙŒ

Scoping

¡ÒÃÇҧἹ ¸ØáԨ

Business model

¡ÒþѲ¹Ò ¡Ò÷´Êͺ µŒ¹áºº¡ÒüÅÔµ ¡Ñº¡ÅØ‹ÁµÑÇÍ‹ҧ

Prototyping

¡Ô¨¡ÃÃÁ·Õ่à¡Ô´ àÃÔ่Á¨Ò¡¤ÇÒÁªÍºã¹¡Òà àÅ‹¹à¡ÁÊ ª×่¹ªÍººÒ§»ÃÐàÀ· ¢Í§à¡ÁÊ

¨Ö§¹ํÒÁÒ໚¹ËÑÇ¢ŒÍ·ํÒÇÔ·ÂÒ¹Ô¾¹¸Ø â´ÂÊ‹§à¢ŒÒ»ÃСǴà¾×่ÍÊÌҧ¤ÇÒÁ àª×่ÍÁÑ่¹Ã‹ÇÁ´ŒÇ «Ö่§¨Ðä´ŒÃѺ¤ÇÒÁÃÙŒ¨Ò¡ÍÒ¨ÒÃÂ

Testing

¡ÒùํÒÍÍ¡ ÊÙ‹·ŒÍ§µÅÒ´

Full launch

ãËŒ¤¹ÃÙŒ¨Ñ¡ÅͧàÅ‹¹à¡ÁÊ ÂѧäÁ‹¶Ö§¢Ñ้¹µÍ¹ÍÍ¡ÊÙ‹·ŒÍ§µÅÒ´ ÊÁѤÃãËŒ¤¹à¢ŒÒÁÒàÅ‹¹¼‹Ò¹ ÍÔ¹àµÍà à¹็µ «Ö่§¼Å¹‹Ò¾Í㨠ᵋ໇ÒËÁÒ¤×Íà» ´ºÃÔÉÑ· ¨Ö§¤Ô´à¡ÁÊ ãËÁ‹à¾×่ÍÃѺ¡Ñº¡ÅØ‹Á ໇ÒËÁÒÂàªÔ§¾Ò³ÔªÂ «Ö่§áµ¡µ‹Ò§ ¨Ò¡¡ÒÃÊ‹§»ÃСǴ

àÁ×่Í»ÃСǴª¹Ð ÁÕà§Ô¹·Ø¹ ¨Ö§ÍÂÒ¡·Õ่¨Ð·ํÒãˌ໚¹¸ØáԨ â´Â¡ÒÃà» ´ºÃÔÉÑ· «Ö่§ÁÕ¡ÒÃࢌÒËÇÁÊÑÁ¹Ò¸ØáԨà¾×่Í ÈÖ¡ÉÒ¤ÇÒÁÃÙŒà¾Ô่ÁàµÔÁ

à¡Ô´¢Ö้¹µÍ¹Ê‹§»ÃСǴ ¤×Í¡ÒÃÁÕ¾×้¹·Õ่Õ·Õ่ÊÒÁÒö·ํҧҹ䴌 µÅÍ´àÇÅÒ ÃÒ¤Ò¤‹Ò¤ÃͧªÕ¾¶Ù¡ ÁÕ¤ÇÒÁ໚¹à¨ŒÒ¢Í§¾×้¹·Õ่ áÅÐÍØ»¡Ã³

§Ò¹ÊÑÁ¹Òà¡Õ่ÂǡѺ¸ØáԨ Ëҷعà¾Ô่Áã¹ÍÔ¹àµÍà à¹็µ (àÇ็ºä«µ ÃдÁ·Ø¹)

ઋҤ͹â´ÍÂÙ‹

ÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑ ÍÔ¹àµÍà à¹็µ

µŒÍ§¡Ò÷ÕÁËÃ×ͤÇÒÁÃÙŒ 㹡ÒÃÊÌҧ¸ØáԨ µŒÍ§¡ÒÃáËÅ‹§à§Ô¹·Ø¹à¾Ô่Á

µŒÍ§¡Òþ×้¹·Õ่·ํÒ§Ò¹¢¹Ò´ àÅ็¡¶Ö§»Ò¹¡ÅÒ§ (office)

µŒÍ§¡Òþ×้¹·Õ่·´Êͺ¡ÅØ‹Á µÑÇÍ‹ҧ·Õ่ÁÕ¤ÇÒÁËÅÒ¡ËÅÒÂ

¾×้¹·Õ่ ·Ø¡·Õ่·Õ่·ํÒãËŒà¡Ô´áçºÑ¹´ÒÅ㨠ÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑ -·Õ่¹Ñ่§¤Ô´¤¹à´ÕÂÇ â¤Ã§¡ÒûÃСǴ -·Õ่¾Ù´¤Ø»ÃÖ¡ÉÒ໚¹¡ÅØ‹Á¢¹Ò´ àÅ็¡ 㹡ÒäØÂäÍà´ÕÂ

¤ÇÒÁµŒÍ§¡Òà ¾×้¹·Õ่㹡ÒäԴ§Ò¹ ÃÒ¤Ò¶Ù¡ ÁÕÍØ»¡Ã³ ¤Ãº (ÍÔ¹àµÍà à¹็µ »ÅÑ๊¡ ¡Ãдҹ ·Õ่à¡็º¢Í§)

µŒÍ§¡Ò÷ÕÁËÃ×ͤ¹·Õ่ÁÕ¤ÇÒÁ ªํÒ¹ÒÞã¹àÃ×่ͧ¡ÒÃÊÌҧà¡ÁÊ ÁÒãËŒ¤ํÒ»ÃÖ¡ÉÒËÃ×ÍËÇÁ·ํÒ§Ò¹

µŒÍ§¡ÒÃà» ´ºÃÔÉѷ㹡ÒüÅÔµ à¡ÁÊ à¾×่Í¢ÒÂà¡ÁÊ àͧ


siam inovation district research report 2016

page 44

นวัตกรรม ด้านกระบวนการ (Process innovations) การสร้างแอฟฟริเคชั่น พัฒนาการเด็ก การสร้างแอฟฟริเคชัน่ พัฒนาการเด็ก ซึง่ มี ความแตกต่างจากการผลิตเกมส์ขา้ งต้น คือ มีความรู้หรือประสบการณ์เรื่องธุรกิจ และ ความต้องการ คือ การนำออกสู่ตลาดมา จากบริษัทนำผลผลิตนี้ไปใช้ ดังนั้นจึงต้อง การความน่าเชื่อถือของแนวคิด และความ สามารถในการติดต่อสัมพันธ์กับบริษัทที่มี ความสนใจในแนวคิด เป็นที่มาของการนำผลผลิตเข้าสู่โครงการ ประกวด (CU innovation hub) และ ความต้องการอีกอย่างหนึง่ คือ การหาพืน้ ที่ ทดสอบกับกลุม่ ตัวอย่างทีม่ คี วามหลากหลาย

àÃÔ่Áá¹Ç¤Ô´

Discovery Idea

µÃǨÊͺá¹Ç¤Ô´ ¡ÒÃÇҧἹ áÅÐÃѺ¤ÇÒÁÃÙŒ ¸ØáԨ

Scoping

Business model

¡ÒþѲ¹Ò ¡ÒùํÒÍÍ¡ ¡Ò÷´Êͺ µŒ¹áºº¡ÒüÅÔµ ¡Ñº¡ÅØ‹ÁµÑÇÍ‹ҧ ÊÙ‹·ŒÍ§µÅÒ´

Prototyping

Testing

Full launch

¡Ô¨¡ÃÃÁ·Õ่à¡Ô´ àÃÕ¹àÃ×่ͧ¤ÍÁ¾ÔÇàµÍà ¨Ö§ÁÕ ¤ÇÒÁµŒÍ§¡ÒÃÍÂÒ¡¼ÅÔµ á;¾ÅÔपÑ่¹

-ËÒ¤ÇÒÁÃÙŒàÃ×่ͧ¾Ñ²¹Ò¡ÒÃà´็¡ áÅÐʹ㨠-µŒÍ§¡ÒäÇÒÁ¹‹Òàª×่Ͷ×Í ã¹á¹Ç¤Ô´

-ÁÕ¤ÇÒÁÃÙŒàÃ×่ͧ¸ØáԨ -µŒÍ§¡ÒÃÃдÁ·Ø¹ -ÊÌҧ·ÕÁ¨Ò¡¤¹ÃÙŒ¨Ñ¡ (·Õ่·ํÒ§Ò¹)

à¡Ô´·Õ่ºŒÒ¹

µŒÍ§¡ÒáÅØ‹Á໇ÒËÁÒ·Õ่ËÅÒ¡ ËÅÒÂ㹡Ò÷´Åͧ㪌

໇ÒËÁÒ¤×͹ํÒäÍà´Õ¹Õ้ä»àÊ¹Í ¡ÑººÃÔÉÑ··Õ่ÁÕ¤ÇÒÁµŒÍ§¡ÒùํÒ ä»ãªŒã¹¸ØáԨ

ÊÌҧ¤ÇÒÁ¹‹Òàª×่Ͷ×Í´ŒÇ¡Òü‹Ò¹ â¤Ã§¡Òâͧ CU innovation hub

¤ÇÒÁÃÙŒà¾Ô่ÁàµÔÁáÅСÒõԴµ‹Í ¡ÑººÃÔÉÑ· ¼‹Ò¹ CU innovation hub

à¡Ô´·Õ่ºŒÒ¹

¨Ö§à¢ŒÒÁÒ·Õ่ CU innovation hub

ºÃÔÉÑ··Õ่ÊÒÁÒöÃдÁ·Ø¹ä´Œ

µŒÍ§¡ÒÃͧ¤ ¡ÃËÃ×ÍʶҺѹ㹠¡ÒÃÃѺÃͧ à¾×่ÍÊÌҧ¤ÇÒÁ ¹‹Òàª×่Ͷ×Í áÅÐãËŒ¤ÇÒÁÃÙŒ

µŒÍ§¡Òþ×้¹·Õ่·Õ่ÊÒÁÒöµÔ´µ‹Í ¡Ñº¼ÙŒ·Õ่ÊÒÁÒöÃдÁ·Ø¹ä´Œ

¾×้¹·Õ่ ·Ø¡·Õ่·Õ่·ํÒãËŒà¡Ô´áçºÑ¹´ÒÅ㨠㹪ÕÇÔµ»ÃШํÒÇѹ

¤ÇÒÁµŒÍ§¡Òà µŒÍ§¡Òþ×้¹·Õ่·´Êͺ¡ÅØ‹Á µÑÇÍ‹ҧ·Õ่ÁÕ¤ÇÒÁËÅÒ¡ËÅÒÂ


siam inovation district research report 2016

page 45

นวัตกรรม ด้านกระบวนการ (Process innovations) การวางแผนธุรกิจ เพือ่ เอือ้ ให้ คนสูงอายุชว่ ยอธิบายความรูใ้ น องค์กรแก่เด็กทีเ่ ข้ามาทำงานใหม่ ซึง่ การนำออกสูท่ อ้ งตลาดมีความคล้ายคลึง กับการสร้างแอพพริเคชั่นพัฒนาการเด็ก คือ ต้องการให้บริษัทเข้ามาช่วยเรื่องการ ออกสู่ท้องตลาด หรือให้บริษัทสามารถนำ แผนธุรกิจนี้ไปใช้ในองค์กร ซึง่ ความรูต้ า่ งๆ ส่วนใหญ่มาจากงานประชุม สัมนา และการเข้า ร่วมโครงการประกวด ทัง้ กระบวนการค้นหา แนวคิด และการสร้างแผนธุรกิจ ดังนั้นการ จั ด งานต่ า งๆจึ ง ถื อ เป็ น พื ้ น ที ่ ส ำคั ญ ที ่ ใ ห้ ความรู้ และโครงการประกวดถือเป็นพื้นที่ สำคัญในการสร้างความน่าเชื่อถือของแนว คิดและติดต่อสัมพันธ์กับบริษัทต่างๆได้

àÃÔ่Áá¹Ç¤Ô´

Discovery Idea

µÃǨÊͺá¹Ç¤Ô´ áÅÐÃѺ¤ÇÒÁÃÙŒ

Scoping

¡ÒÃÇҧἹ ¸ØáԨ

Business model

¡Ò÷´Êͺ ¡ÒþѲ¹Ò µŒ¹áºº¡ÒüÅÔµ ¡Ñº¡ÅØ‹ÁµÑÇÍ‹ҧ

Prototyping

Testing

¡ÒùํÒÍÍ¡ ÊÙ‹·ŒÍ§µÅÒ´

Full launch

¡Ô¨¡ÃÃÁ·Õ่à¡Ô´ à¡Ô´¨Ò¡»˜ÞËÒ ·Õ่µŒÍ§¡ÒÃãËŒÊѧ¤Á¼ÙŒÊÙ§ÍÒÂØ ÁÕ§Ò¹·ํÒ â´Â¡ÒÃ͸ԺÒÂͧ¤ ¤ÇÒÁÃÙŒãËŒà´็¡½ƒ¡§Ò¹ à¾×่ÍäÁ‹à»š¹ÀÒÃСѺÇÑ·ํÒ§Ò¹

ËÒ¤ÇÒÁÃÙŒµÒÁ§Ò¹ÊÑÁ¹Ò ¡ÒûÃЪØÁàªÔ§»¯ÔºÑµÔ¡Òà TCDC

-໇ÒËÁÒ¢ͧ¸ØáԨ ¤×Í¡ÒÃÃдÁ·Ø¹ -ËÒ¤ÇÒÁÃÙŒàÃ×่ͧ¸ØáԨ¨Ò¡ â¤Ã§¡ÒûÃСǴ -ÊÌҧ·ÕÁ¨Ò¡¡ÒÃࢌÒâ¤Ã§¡Òà »ÃСǴ

àÁ×่Íä´ŒÃѺ¤ÇÒÁÃÙŒà¾Ô่ÁàµÔÁ ¨Ö§¹ํÒä»ÊÙ‹¡ÒþѲ¹ÒâÁà´Å ¤×Í¡ÒûÃÖ¡Éҡѹ㹷ÕÁ

§Ò¹ÊÑÁ¹Ò §Ò¹»ÃЪØÁàªÔ§»®ÔºÑµÔ¡ÒÃ

CU innovation hub

¾×้¹·Õ่·Õ่ÊÒÁÒö»ÃЪØÁä´Œ (Ìҹ¡Òá¿,ºŒÒ¹)

µŒÍ§¡ÒÃãËŒÁÕ¡ÒèѴ§Ò¹µ‹Ò§æ ·Õ่à¡Õ่ÂÇ¢ŒÍ§¡Ñº¸ØáԨáÅФÇÒÁ ÃÙŒ·Õ่à¡Õ่ÂÇ¢ŒÍ§

µŒÍ§¤ÇÒÁÃÙŒËÃ×Í·ÕÁ 㹡ÒÃÊÌҧ¸ØáԨ µŒÍ§¡ÒÃáËÅ‹§à§Ô¹·Ø¹à¾Ô่Á

µŒÍ§¡Òþ×้¹·Õ่·ํÒ§Ò¹¢¹Ò´ àÅ็¡¶Ö§»Ò¹¡ÅÒ§ (office)

µŒÍ§¡ÒÃͧ¤ ¡Ã·Õ่ÊÒÁÒöÁÒ ·´Êͺà¾×่ÍËÒ»˜ÞËÒ·Õ่à¡Ô´¢Ö้¹

ÂѧäÁ‹¶Ö§¢Ñ้¹µÍ¹ÍÍ¡ÊÙ‹·ŒÍ§µÅÒ´

µŒÍ§¡ÒÃ˹‹Ç§ҹ ËÃ×Íͧ¤ ¡Ã ·Õ่ÊÒÁÒö¹ํÒÁÒ·´Êͺ䴌

µŒÍ§¡ÒúÃÔÉÑ··Õ่¨ÐÃдÁ·Ø¹ ËÃ×͹ํÒäÍà´ÕÂä»ãªŒã¹¸ØáԨ

¾×้¹·Õ่ ·Ø¡·Õ่·Õ่·ํÒãËŒà¡Ô´áçºÑ¹´ÒÅ㨠㹪ÕÇÔµ»ÃШํÒÇѹ

¤ÇÒÁµŒÍ§¡ÒÃ


siam inovation district research report 2016

page 46

นวัตกรรม ด้านกระบวนการ (Process innovations) การนำระบบอินเตอร์เน็ต มาช่วยในการสอนพิเศษ (Skooldio) ซึ่งถือเป็นตัวอย่างการสร้างนวัตกรรมของ คนทีม่ คี วามรูค้ วามชำนาญจนสามารถสร้าง ความเชื่อมั่นให้กับผลงาน ความต้องการ หลักๆ คือ ทีมที่มีความสามารถในด้านการ นำออกสู ่ ท ้ อ งตลาด เช่ น ที ม กราฟฟิ ค ทีมประชาสัมพันธ์ และทีมจัดการการเงิน ดังนั้น เพื่อให้เอื้อต่อการค้นหาทรัพยากร บุคคลที่มีความสามารถ ควรมีการจัดงานที่ สามารถทำให้คนทีม่ ที กั ษะหรือความชำนาญ ด้านต่างๆ มาเจอกัน เพือ่ แลกเปลีย่ นพูดคุย และตอบสนองกับความต้องการ

àÃÔ่Áá¹Ç¤Ô´

Discovery Idea

µÃǨÊͺá¹Ç¤Ô´ áÅÐÃѺ¤ÇÒÁÃÙŒ

Scoping

¡ÒÃÇҧἹ ¸ØáԨ

Business model

¡ÒþѲ¹Ò µŒ¹áºº¡ÒüÅÔµ

Prototyping

¡Ò÷´Êͺ ¡Ñº¡ÅØ‹ÁµÑÇÍ‹ҧ

¡ÒùํÒÍÍ¡ ÊÙ‹·ŒÍ§µÅÒ´

Testing

Full launch

¡Ô¨¡ÃÃÁ·Õ่à¡Ô´ ¤¹ÃÙŒ¨Ñ¡ÁÕ»˜ÞËÒàÃ×่ͧ â¤Ã§ÊÌҧ¡ÒÃÊ͹¾ÔàÈÉ ¨Ö§µŒÍ§¡ÒÃ㪌ÍÔ¹àµÍà à¹็µ 㹡Òê‹ÇÂ㹡ÒÃÊ͹·Õ่ááæ 㹡Ãا෾

à¤ÂÁÕ»ÃÐʺ¡Òó 㹡Òà ·ํÒ§Ò¹·Õ่ºÃÔÉÑ· ¡Ùà¡ÔÅ

-ÁÕͧ¤ ¤ÇÒÁÃÙŒàÃ×่ͧ¸ØáԨ ·ํÒãËŒÊÒÁÒö´Ö§Í§¤ ¡Ãà¢ŒÒ ÁÒŧ·Ø¹ä´Œ -ÁÕ·ÕÁÍÂÙ‹áÅŒÇ

¾Ñ²¹Ò㹺ÃÔÉÑ·

·´Åͧ㹡ÒÃàÃÕ¹¡ÒÃÊ͹

ÂѧäÁ‹¶§Ö ¢Ñ¹้ µÍ¹ÍÍ¡ÊÙ·‹ ÍŒ §µÅÒ´ ¡ํÒÅѧ¤Ô´àÃ×Í่ §âÁà´Å¸ØáԨàÃ×Í่ § ઋ¹ ¡ÒÃà¡็º¤‹ÒºÃÔ¡Òà ËÒ¤¹ÁÒª‹Ç àÃ×Í่ §»ÃЪÒÊÑÁ¾Ñ¹¸

Êํҹѡ§Ò¹ (office)

Êํҹѡ§Ò¹ (office)

ʶҺѹàÃÕ¹¾ÔàÈÉ

ʶҺѹàÃÕ¹¾ÔàÈÉ

¾×้¹·Õ่ ¾×้¹·Õ่·Õ่·ํÒãËŒà¡Ô´¡Òþٴ¤Ø »˜ÞËÒ¸ØáԨ áÅÐÊÌҧáçºÑ¹´ÒÅã¨

¤ÇÒÁµŒÍ§¡Òà µŒÍ§¡Òä¹à¡‹§ -ª‹ÇÂã¹àÃ×่ͧ¡ÃÒ¿¿ ¤ -ª‹ÇÂ㹡ÒèѴ¡Òà àÃ×่ͧ¡ÒÃà¡็º ¤‹ÒºÃÔ¡Òà (developer)

µŒÍ§¡Ò÷ÕÁ »ÃЪÒÊÑÁ¾Ñ¹¸


siam inovation district research report 2016

page 47

สรุปรูปแบบพฤติกรรม ของนวัตกรจากการสัมภาษณ์ ¡Ãкǹ¡ÒÃàÃÔ่Áá¹Ç¤Ô´

สรุปรูปแบบพฤติกรรมของ กระบวนการเริ่มแนวคิด คือการค้นหาแนวคิดในการสร้าง นวั ต กรรม ซึ ่ ง เกิ ด จากหลายปั จ จั ย เช่ น ปั ญ หาในชี ว ิ ต ประจำวั น เกิ ด จากทั ก ษะ ความชำนาญเฉพาะเรือ่ ง หรือเกิดจากความ ต้องการหรือความสนใจเฉพาะเรื่อง จนนำ ไปสู ่ แ นวคิ ด และการหาความรู ้ เ พิ ่ ม เติ ม ซึ่งพื้นที่ที่ต้องการ คือ พื้นที่ทำงานที่สร้าง แรงบันดาลใจ ทัง้ งานนิทรรศการ งานสัมมนา งานแสดงสิ่งใหม่ และพื้นที่ทำกิจกรรมเชิง ปฏิบตั กิ ารเฉพาะเรือ่ ง รวมถึงพืน้ ทีท่ ส่ี ามารถ ค้นหาความรู้ด้วยต้นเอง ซึ่งพื้นที่กิจกรรม เหล่านีส้ ามารถเกิดขึน้ ในสยามแสควร์ เพือ่ เปิด กิจกรรมสูส่ าธารณะได้ดี ทัง้ ร้านคาเฟ่ทม่ี อี ยู่ ในพื้นที่ อาคารว่าง เและลานกิจกรรมต่างๆ

Discovery Idea

¤ÇÒÁµŒÍ§¡Òà พื้นที่ทำงาน พื้นที่พูดคุย

พื้นที่ทำงานร่วมกัน (Co-working space)

เกิดปัญหา มีทักษะเฉพาะด้าน (คอมพิวเตอร์ แอพพลิเคชั่นฯลฯ) ความต้องการทำเฉพาะเรื่อง

ได้แนวคิด ค้นหาแนวคิด

ได้แนวคิด

หาความรู้เพิ่มเติม หาความรู้เพิ่มเติม

ค้นหาแนวคิด

ได้แนวคิด

หาความรู้เพิ่มเติม

หาแนวคิด หาแรงบันดาใจ เฉพาะเรื่อง

คนที่มีทักษะเหมือนกัน แลกเปลี่ยนกัน

นิทรรศการ สัมมนา (Event ,Seminar)

กิจกรรมเชิงปฎิบัติการ (Confernces ,Workshop)

แสดงสินค้าใหม่ๆ ( Trade shows ,showcase)

หาความรู้ด้วยตัวเอง ห้องสมุด ,อินเตอร์เน็ต (Library ,eLearning , Co-working space)

ความหนาแน่นของความสามารถ ในการเกิดกิจกรรมแต่ละพื้นที่ ความหนาแน่น มาก

ความหนาแน่น น้อย

สยามสแควร์

พื้นที่พัฒนาใหม่ (ศูนย์วิจัย ผู้ประกอบการ)

มหาวิทยาลัย

พื้นที่ภายในอาคารขนาดเล็ก หรือปานกลาง พื้นที่ภายในอาคารขนาดปานกลาง หรือขนาดใหญ่ พื้นที่ภายในอาคาร หรือพื้นที่กึ่งภายนอก ภายใน ขนาดปานกลางหรือขนาดใหญ่ พื้นที่ภายนอกอาคาร ขนาดเล็ก พื้นที่ภายนอกอาคาร ขนาดใหญ่


page page148

siam inovation district research report 2016

สรุ ป รู ป แบบพฤติ ก รรม ของกระบวนการตรวจสอบ แนวคิดและรับความรู้ คือกระบวนการที่สร้างความเชื่อ มั่นและความน่าเชื่อถือของแนวคิด ซึ่งเกิด ขึ้นได้ทั้งจากการอ้างอิงแหล่งความรู้ที่น่า เชือ่ ถือ (งานวิจยั ) และการผ่านโครงการต่างๆ ซึง่ ส่วนใหญ่จะอยูใ่ นพืน้ ทีส่ ถาบันหรือบริษทั ขนาดใหญ่ บทบาทของพื้นที่สยามควรเป็น พื้นที่ประชาสัมพันธ์ พื้นที่ที่สามารถติดต่อ สื่อสารกับองค์กรเบื่องต้นหรือพื้นที่จัดการ ประกวดเกีย่ วกับนวัตกรรม ให้สาธารณะชน สามารถเข้าฟังเพื่อสร้างแรงบันดาลใจ

¡Ãкǹ¡ÒõÃǨÊͺá¹Ç¤Ô´áÅÐÃѺ¤ÇÒÁÃÙŒ สถาบัน เข้าร่วมโครงการจัดการประกวด

Scoping

รับความรู้จากผู้เชี่ยวชาญ

¤ÇÒÁµŒÍ§¡ÒÃ

โครงการจัด ประกวดของภาครัฐ

วิทยานิพนธ์หรืองานวิจัย จากสถาบัน

คณะหรือภาควิชา ของมหาวิทยาลัย

อ้างอิงจากวิทยานิพนธ์ หรือผลการวิจัย เข้าร่วมโครงการจัดการประกวดของภาครัฐ เข้าร่วมโครงการจัดการประกวดของเอกชน เข้าร่วมโปรแกรมหรือกิจกรรมต่างๆ

โครงการจัด ประกวดของเอกชน

งานจัดประกวด CU innovation hub

ไมโครซอฟท์ (Imagine Cup)

บริษัท เอสซีจี (SCG)

ได้รับความน่าเชื่อถือ ของแนวคิด ได้รับความรู้เรื่องแนวคิด ที่สนใจเพิ่มเติม

เข้าร่วมโปรแกรมหรือ กิจกรรมต่างๆขององค์กร บริษัท ทรู ,ร้านโกรท (True incube , Growth cafe & co)

ความหนาแน่นของความสามารถ ในการเกิดกิจกรรมแต่ละพื้นที่ ความหนาแน่น มาก

สยามสแควร์ พื้นที่ภายในอาคารขนาดเล็ก หรือปานกลาง พื้นที่ภายในอาคารขนาดปานกลาง หรือขนาดใหญ่ พื้นที่ภายในอาคาร หรือพื้นที่กึ่งภายนอก ภายใน ขนาดปานกลางหรือขนาดใหญ่

ความหนาแน่น น้อย

พื้นที่พัฒนาใหม่ (ศูนย์วิจัย ผู้ประกอบการ)

มหาวิทยาลัย 50 25

200 100


page page149

siam inovation district research report 2016

สรุ ป รู ป แบบพฤติ ก รรม กระบวนการวางแผนธุรกิจ ¡Ãкǹ¡ÒÃÇҧἹ¸ØáԨ คื อ การนำแนวคิ ด เข้ า สู ่ ก ระบวน การทางธุ ร กิ จ ดั ง นั ้ น การหาทรั พ ยากร ทางนวัตกรรม เช่น การหาทีม การหาทุน และการหาความรูเ้ รือ่ งธุรกิจจึงเป็นสิง่ สำคัญ ในเรื่องการหาทีม ต้องการกิจกรรมหรือ งานทีม่ กี ารรวมคนทีม่ ที กั ษะได้มาเจอกัน เพือ่ แลกเปลี่ยนแนวคิดและธุรกิจ หรืออาจรวม กลุ่มการสร้างธุรกิจ ส่วนเรื่องการหาทุนและการหาความรู้ ส่วน ใหญ่ คือการเข้าร่วมโครงการประกวดที่ มอบทุนและผลักดันให้มีการสร้างธุรกิจที่ ต่อเนื่อง ซึ่งในโครงการจะได้รับคำปรึกษา จากผู้เชี่ยวชาญและได้เข้าร่วมหลักสูตรที่ เกีย่ วข้องกับธุรกิจ นอกจากนัน้ การหาทุนใน การสร้างธุรกิจยังมีงานประเภทการผลัก ดันให้เกิดการระดมทุน (pitching) เพื่อให้ ผูป้ ระกอบหรือนักลงทุนได้มาพบกับนวัตกรรม ใหม่ๆ ทีม่ ปี ระโยชน์ตอ่ องค์กร หรือสามารถ ติดต่อสื่อสารกับนวัตกรได้

Business model

หาทรัพยากรทางนวัตกรรม หาทีม หาทุน และหาความรู้ เรื่องธุรกิจ

¤ÇÒÁµŒÍ§¡ÒÃ

กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ เพื่อติดต่อ สัมพันธ์หรือหาทีม กับคนที่มีความสามารถ เช่น Fast Forward Your Business World Tour

เข้าร่วมงานที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ นำแนวคิดเข้าร่วมโครงการจัดประกวด นำแนวเข้าร่วมงานประเทภ Pitching

องค์กรที่จัดโครงการประกวด (เช่น CU innovation hub) ได้ทุน ได้รับคำปรึกษา จากผู้ที่มีความรู้

ได้ทีมที่มีความสามารถ เกิดการระดมทุน และได้เข้าหลักสูตรเกี่ยวกับธุรกิจ การระดมทุน (Funding)

ได้เข้าร่วมหลักสูตร ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ

งานประเทภ Pitching

พื้นที่ติดต่อ สัมพันธ์เบื้องต้น

ความหนาแน่นของความสามารถ ในการเกิดกิจกรรมแต่ละพื้นที่ ความหนาแน่น มาก

ความหนาแน่น น้อย

สยามสแควร์

พื้นที่ภายในอาคารขนาดเล็ก หรือปานกลาง พื้นที่ภายในอาคารขนาดปานกลาง หรือขนาดใหญ่

พื้นที่พัฒนาใหม่ (ศูนย์วิจัย ผู้ประกอบการ)

มหาวิทยาลัย 300 150


page page150

siam inovation district research report 2016

สรุ ป รู ป แบบพฤติ ก รรม กระบวนการพั ฒ นาต้ น แบบการผลิต มีความแตกต่างกันของพื้นที่การ พัฒนา ระหว่างนวัตกรรมด้านสินค้าหรือ ผลิตภัณฑ์ และนวัตกรรมด้านกระบวนการ ซึง่ นวัตกรรมด้านสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ตอ้ ง การพื้นที่ปฏิบัติการที่มีความเฉพาะเจาะจง และต้องการผูเ้ ชียวชาญในการควบคุม ดังนัน้ พื้นที่ลักษณะนี้จะเกิดขึ้นในห้องปฏิบัติการ ห้องทดลอง หรือศูนย์วิจจัย อันส่งผลให้ สามารถเกิดได้นอ้ ยในพืน้ ทีส่ ยาม แต่นวัตกรรม ด้านกระบวนการ ซึ่งอาศัยทักษะของผู้ทำ เป็นส่วนใหญ่ ดังนัน้ สามารถใช้พน้ื ทีข่ นาดเล็ก อันส่งผลให้นวัตกรรมบางชนิดสามารถเกิด ในพื้นที่สยามได้ พืน้ ทีท่ ม่ี อี ยูใ่ นปัจจุบนั ได้แก่ โกลว์ฟชิ (Glowfish) มีลกั ษณะเป็นสำนักงาน ขนาดเล็ก มีความเป็นเจ้าของพืน้ ทีแ่ ละมีความ เป็นส่วนตัว

¡Ãкǹ¡ÒþѲ¹ÒµŒ¹áºº¡ÒüÅÔµ Prototyping

นวัตกรรมด้านสินค้า/ผลิตภัณฑ์ (Product innovations) นวัตกรรมด้านกระบวนการ (Process innovations)

หาพื้นที่พัฒนาผลิตภัณฑ์ (lab) หาพื้นที่ทำงาน

¤ÇÒÁµŒÍ§¡Òà ศูนย์รวมข้อมูลที่เกี่ยวข้อง กับการผลิตนวัตกรรม สยามอินฟอร์เมชั่น เซ็นเตอร์

ที่จดสิทธิบัตร

สำนักงาน ที่สามารถมีในพื้นที่สยามได้ ขนาดเล็ก กลาง

พื้นที่ผลิตนวัตกรรมตัวอย่าง ห้องทดลอง (lab)

ห้องปฏิบัติการ (studio)

พื้นที่ติดต่อสัมพันธ์เบื้องต้น พื้นที่พัฒนาผลิตภัณฑ์ พื้นที่ทำงาน

ศูนย์วิจัย

(Glowfish)

ความหนาแน่นของความสามารถ ในการเกิดกิจกรรมแต่ละพื้นที่ ความหนาแน่น มาก

ความหนาแน่น น้อย

สยามสแควร์

พื้นที่ภายในอาคารขนาดเล็ก หรือปานกลาง พื้นที่ภายในอาคารขนาดปานกลาง หรือขนาดใหญ่

พื้นที่พัฒนาใหม่ (ศูนย์วิจัย ผู้ประกอบการ)

มหาวิทยาลัย 300 150


page 1 51 page

siam inovation district research report 2016

สรุ ป รู ป แบบพฤติ ก รรม กระบวนการทดสอบกับ กลุ ่ ม ตั ว อย่ า ง พื้นที่สยามสแควร์ มีบทบาทเป็น พื้นที่เกิดสิ่งใหม่ๆ และสามารถเปลี่ยนแปลง ได้ตลอดเวลา ทำให้กลุม่ เป้าหมายมีลกั ษณะ เป็นคนรุ่นใหม่และมีความหลากหลายของ คนที่เข้ามาในพื้นที่ ดังนั้นกระบวนการเกิด นวัตกรรมในขั้นตอนของการทดสอบกับ กลุ่มเป้าหมาย จึงมีความเหมาะสมกับพืนที่ สยามสแควร์ เป็นอย่างมาก กิจกรรมทีเ่ กิดขึน้ ได้แก่ กิจกรรมประเภทการทดลองใช้ผลผลิต ของนวัตกรรมทีม่ ขี นาดใหญ่ เช่น เกมส์ใหม เฟอร์นเิ จอร์ใหม่ เเป็นต้น ซึง่ ต้องใช้พน้ื ทีแ่ ละ ระยะเวลาของการเก็บข้อมูลต่อกลุม่ เป้าหมาย ดังนั้นสามารถอยู่ในอาคารและจัดเป็นพื้นที่ ทีส่ ามารถทำกิจกรรมร่วมกันได้ และกิจกรรม การเปิดตัวสินค้าตัวอย่าง เพือ่ ทดสอบความ พึงพอใจ ซึง่ ใช้เวลาน้อยกว่า อาจเป็นกิจกรรม ในอาคารหรือนอกอาคารได้

¡Ãкǹ¡Ò÷´Êͺ¡Ñº¡ÅØ‹ÁµÑÇÍ‹ҧ Testing

นวัตกรรมด้านสินค้า/ผลิตภัณฑ์ (Product innovations) นวัตกรรมด้านกระบวนการ (Process innovations)

¤ÇÒÁµŒÍ§¡ÒÃ

การเปิดตัวนวัตกรรมด้านกระบวนการ (Program ,Application)

ทดลองนวัตกรรมด้านสินค้ากับ กลุ่มเป้าหมายที่หลากหลาย

พื้นที่ทดลองใช้สินค้า

การทดสอบสินค้ากับกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่สยาม ด้วยการทดลองสินค้าตัวอย่าง (ส่วนใหญ่สินค้าประเภทของกิน) และตอบแบบสอบถาม ด้วยงานเปิดตัวผลิตภัณฑ์

งานทดลองสินค้าตัวอย่าง ทดสอบความพึงพอใจ

งานเปิดตัว

พื้นที่ทดลองใช้งาน

ความหนาแน่นของความสามารถ ในการเกิดกิจกรรมแต่ละพื้นที่ ความหนาแน่น มาก

ความหนาแน่น น้อย

สยามสแควร์

พื้นที่พัฒนาใหม่ (ศูนย์วิจัย ผู้ประกอบการ)

มหาวิทยาลัย

พื้นที่ภายในอาคารขนาดเล็ก หรือปานกลาง พื้นที่ภายในอาคารขนาดปานกลาง หรือขนาดใหญ่ พื้นที่ภายในอาคาร หรือพื้นที่กึ่งภายนอก ภายใน ขนาดปานกลางหรือขนาดใหญ่ พื้นที่ภายนอกอาคาร ขนาดเล็ก พื้นที่ภายนอกอาคาร ขนาดใหญ่ 300 150


page page1 52

siam inovation district research report 2016

สรุ ป รู ป แบบพฤติ ก รรม กระบวนการนำสู ่ ท ้ อ ง ตลาด พื ้ น ที ่ ส ยามสแควร์ เ ป็ น พื ้ น ที ่ เ ชิ ง พาณิชยกรรมทีส่ ำคัญของกรุงเทพมหานคร มาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และมีแนวโน้ม เป็นย่านที่ได้รับความนิยมในอนาคต ดังนั้น กระบวนการนำออกสู่ท้องตลาดจึงถือเป็น บทบาทของพื้นที่สยามสแควร์ การทำให้พื้นที่มีการเปลี่ยนแปลงจากการ ขายสินค้าแฟชั่นเข้าสู่พาณิชยกรรมในเชิง นวัตกรรม จึงต้องมีการสร้างมาตรการ การสร้างแรงจูงใจ ให้เกิดการกระตุ้น การ นำสินค้าและบริการในเชิงนวัตกรรมเข้ามาใน พื ้ น ที ่ ทั ้ ง การขายสิ น ค้ า และบริ ก ารด้ า น นวัตกรรม การส่งเสริมบริการหรือกิจกรรม ที่สนับสนุนนวัตกรรม การเปลี่ยนรูปแบบ สถาปัตยกรรมหรือวัสดุให้สร้างภาพจำของ ย่านนวัตกรรม รวมถึงการจัดงานรวบรวม นวัตกรรม เพื่อเป็นการกระตุ้นให้เกิดการ ประชาสัมพันธ์ย่านนวัตกรรมในพื้นที่สยาม สแควร์

¡Ãкǹ¡ÒùํÒÊÙ‹·ŒÍ§µÅÒ´ Full launch

บทบาทสำคัญของพื้นที่สยาม คือพื้นที่พาณิชยกรรม

สร้างมาตรการ กำหนดประเภทพาณิชยกรรมในพื้นที่สยาม ให้มีปริมาณของสินค้าประเภทนวัตกรรมเพิ่มขึ้น จัดงานหรือกิจกรรมเกี่ยวกับนวัตกรรมในพื้นที่สยาม

¤ÇÒÁµŒÍ§¡ÒÃ

กำหนดพาณิชยกรรมประเภท นวัตกรรมในพื้นที่สยามเพิ่มขึ้น

สินค้าหรือบริการ ด้านวัตกรรม

สินค้าหรือบริการ ที่มาสนับสนุนนวัตกรรม

งานนวัตกรรมประจำปี เปลี่ยนรูปแบบสถาปัตยกรรม หรือวัสดุ เพื่อสร้างภาพจำของย่านนวัตกรรม

พื้นที่ประชาสัมพันธ์ และเผยแพร่ข่าวสาร

งานนวัตกรรมยิ่งใหญ่ ประจำปี

ความหนาแน่นของความสามารถ ในการเกิดกิจกรรมแต่ละพื้นที่ ความหนาแน่น มาก

ความหนาแน่น น้อย

สยามสแควร์

พื้นที่พัฒนาใหม่ (ศูนย์วิจัย ผู้ประกอบการ)

มหาวิทยาลัย

พื้นที่ภายในอาคารขนาดเล็ก หรือปานกลาง พื้นที่ภายในอาคารขนาดปานกลาง หรือขนาดใหญ่ พื้นที่ภายในอาคาร หรือพื้นที่กึ่งภายนอก ภายใน ขนาดปานกลางหรือขนาดใหญ่ พื้นที่ภายนอกอาคาร ขนาดเล็ก พื้นที่ภายนอกอาคาร ขนาดใหญ่ 300 150


siam inovation district research report 2016

page 53

สรุปความต้องการของนวัตกร ในเชิงพื้นที่ กิจกรรม และวัตถุประสงค์ของ กิจกรรม

กิจกรรม พื้นที่ภายในอาคารขนาด เล็กหรือปานกลาง

จากกระบวนการเกิ ด นวั ต กรรม และการสัมภาษณ์นวัตกร หรือนักธุรกิจเกิด ใหม่ (startup) พบว่าในประเทศไทยยังไม่ได้ มีพื้นที่สนับสนุนธุรกิจด้านนวัตกรรมอย่าง กว้างขวาง เป็นพื้นที่สำหรับคนเฉพาะกลุ่ม และความต้องการส่วนใหญ่คือความรู้ที่ถูก ต้อง ทันสมัย รับรูไ้ ด้อย่างรวดเร็ว ซึง่ ปัจจุบนั กิจกรรมประเภทสัมมนา นิทรรศการ เพือ่ ให้ ความรู้ และสร้างแรงบันดาลใจ จึงตอบสนอง ต่อความต้องการ โดยเฉพาะพืน้ ทีส่ี ยามสแควร์ มีความเหมาะสมอย่างมากในการนำข้อมูล ต่างๆออกสูส่ าธารณะ เพือ่ ให้เกิดพืน้ ทีส่ ร้าง ปฏิสัมพันธ์กับบุคคลทุกกลุ่มที่มีความสนใจ และเกิดระบบของธุรกิจทีเ่ อือ้ ให้เกิดนวัตกรรม

พื้นที่ภายในอาคาร ขนาดปานกลางหรือขนาดใหญ่

วัตถุประสงค์

พื้นที่ทำงานร่วมกัน (co-working space) กิจกรรมเชิงปฎิบัติการ (Workshop,studio) ห้องสมุด (Library ,eLearning) พื้นที่ให้ข้อมูล (Information center) กิจกรรมประเภทการฝึกอบรมธุรกิจ (Pitch Sessions and Trainings) กิจกรรมสำหรับการระดมทุน (Funding) เช่นงาน Pitching

เพื่อเป็นพื้นที่ในการพบปะพูดคุย และพื้นที่ทำงาน เพื่อกระตุ้นให้คนที่มีทักษะเหมือนกันแลกเปลี่ยนความรู้กัน เพื่อให้สามารถหาความรู้ด้วยตัวเอง เพื่อเป็นศูนย์รวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการผลิตนวัตกรรม เพื่อเพิ่มความรู้และทักษะสำหรับธุรกิจ เพื่อให้หุ้นส่วนในระบบธุรกิจ (Partnership) มาพบกับนวัตกรหรือนวัตกรรมใหม่ๆ

กิจกรรมประเภททดสอบผลิตภัณฑ์กับกลุ่มเป้าหมาย (testing)

เพื่อทดลองนวัตกรรมด้านสินค้ากับกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลาย

กิจกรรมประเภทงานนิทรรศการ สัมมนา (Event ,Seminar) กิจกรรมประเภทงานนิทรรศการ สัมมนา (Event ,Seminar) พื้นที่ภายในอาคาร กิจกรรมประเภทการจัดประกวดนวัตกรรม หรือพื้นที่กึ่งภายนอกและภายใน กิจกรรมประเภทงานสัมนาที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ ขนาดปานกลางหรือขนาดใหญ่ กิจกรรมประเภทงานนวัตกรรมประจำปีภายในอาคาร (Exhibitions and Fairs )

เพื่อหาแนวคิด หาทิศทาง หาแรงบันดาใจในการสร้างนวัตกรรม เพื่อให้ความรู้ กระแสของโลกธุรกิจ เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือของแนวคิดและเพื่อให้ได้รับความรู้ เพื่อติดต่อสัมพันธ์ระหว่างคนที่มีทักษะ ทางธุรกิจในเรื่องใดเรื่องหนึ่งมาเจอกัน เพื่อแสดงนวัตกรรมใหม่ๆ

พื้นที่ภายนอกอาคาร ขนาดเล็ก

กิจกรรมประเภทงานแสดงสินค้าใหม่ๆ (Trade shows ,showcase) กิจกรรมประเภทการทดลองสินค้าตัวอย่าง

เพื่อหาแนวคิด หาแรงบันดาลใจในการสร้างนวัตกรรม เพื่อทำการทดสอบสินค้ากับกลุ่มตัวอย่างที่มีความหลากหลาย

5

พื้นที่ภายนอกอาคาร ขนาดใหญ่

กิจกรรมประเภทงานนวัตกรรมประจำปี

เพื่อกระตุ้นให้เกิดการรับรู้ย่านนวัตกรรม

6

กิจกรรมอื่นๆ

สนับสนุนกิจกรรมพาณิชยกรรมเชิงนวัตกรรม เปลี่ยนรูปแบบสถาปัตยกรรมหรือวัสดุ

เพื่อกระตุ้นให้เกิดการรับรู้ย่านนวัตกรรม เพื่อสร้างภาพจำของย่านนวัตกรรม


siam inovation district research report 2016

รายละเอียดความต้องการ ของพื ้ น ที ่ ภ ายในอาคาร ขนาดเล็กหรือปานกลาง

page 54

1

ลักษณะกิจกรรมประเภท พื้นที่ ทำงานร่วมกัน (co-working space) เพื่อเป็นพื้นที่ในการพบปะพูดคุย ทำงาน ทั้งลักษณะนั่งทำคนเดียวหรือสำนักงาน ขนาดเล็ก รวมถึงโปรแกรมที่มีประโยชน์ ต่อธุรกิจเริ่มต้น

กรณีศึกษา The CAFE Lab Knowleddge capital ที่ Grand Front Osaka ขนาดพืน้ ที่ 273 ตารางเมตร นัง่ ได้ทง้ั หมด 99 ที่ มีการเพิ่มประเภทการใช้งานที่นอก เหนือจากร้านกาแฟ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ ประกอบไปด้วย พืน้ ทีส่ ำหรับหนังสือ พืน้ ทีจ่ ดั งานนิทัศการขนาดเล็ก พื้นที่เชิงปฏิบัติงาน หรือทอร์กโชว์ ทีน่ ง่ั สำหรับทำงานและสามารถ หาความรูด้ ว้ ยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (E-book) ผ่านแท็บเล็ต ซึง่ มีการตรวจสอบความรูแ้ ละ มีการปรับเปลี่ยนเนื้อหาให้มีความทันสมัย ตลอดเวลา

ข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://kc-i.jp/en/facilities/the-lab/cafe-lab/ ปัจจุบนั พืน้ ทีส่ ยามสแควร์เริม่ มีพน้ื ทีป่ ระเภททำงานร่วมกันและมีโปรแกรมในการสนับสนุนธุรกิจ เกิดใหม่ เช่น โกลว์ฟชิ ทรูคอฟฟี่ เป็นต้น ดังนัน้ ถ้ามีการสนับสนุนร้านคาเฟ่หรือร้านกาแฟอืน่ ๆ ให้มกี ารปรับเปลีย่ นพืน้ ทีห่ รือเพิม่ กิจกรรมเพือ่ สนับสนุนธุรกิจเกิดใหม่ จะเกิดพืน้ ทีร่ วมทรัพยากร บุคคลและความรู้ เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนพูดคุยกันได้


siam inovation district research report 2016

รายละเอียดความต้องการ ของพื ้ น ที ่ ภ ายในอาคาร ขนาดเล็กหรือปานกลาง

page 55

1

ลักษณะกิจกรรมประเภทกิจกรรม เชิงปฎิบัติการ (Workshop,studio) เพื่อกระตุ้นให้คนที่มีทักษะเหมือนกันแลก เปลี ่ ย นความรู ้ ก ั น และเกิ ด แนวคิ ด ในการ สร้างนวัตกรรม

กรณีศึกษา Blackhorse Workshop ที่กรุงลอนดอน เป็นพืน้ ทีเ่ ช่าสำหรับสำหรับทำกิจกรรมเชิงปฏิบตั กิ าร ทัง้ ระยะสัน้ (ชัว่ โมง,วัน) และระยะ ยาว (เดือน,ปี) โดยระบบสมาชิก มีกจิ กรรมครบในพืน้ ทีเ่ ดียว ทัง้ ส่วนคาเฟ่ (Cafe) ส่วนหลักสูตร สำหรับการเรียน (Classes & Training) ส่วนการจัดงานและนิทรรศการ (Exhibition & Venue Hire) ส่วนห้องปฎิบตั กิ ารขนาดเล็ก (Open Access Workshop Storage and Studio Space) การผลิตหรือสร้างผลิตภัณฑ์ที่มีความเฉพาะ (Fabrication Services)

ในปัจจุบัน เริม่ มีกระแสการสร้างพืน้ ทีส่ ำหรับทำกิจกรรม เชิงปฎิบตั กิ าร (Conferences ,Workshop) สอดแทรกอยูใ่ นพืน้ ทีพ่ าณิชยกรรมกลางเมือง เพือ่ ความสะดวกในการเดินทาง สะดวกต่อการ เชื่อมพื้นที่กับกิจกรรมอื่นๆ โดยเฉพาะพื้นที่ ปฏิ บ ั ต ิ ก ารขนาดเล็ ก และขนาดปานกลาง (studio, bench space) เพื่อเพิ่มทักษะ และลองผิดลองถูกต่อผลิตภัณฑ์ต่างๆ ซึง่ Blackhorse Workshopถือเป็นตัวอย่าง ของการเปิดพื้นที่ปฏิบัติการสาธารณะกลาง เมือง มีจุดเด่นคือ มีการจัดหลักสูตรสำหรับ การเรียนปฏิบตั กิ าร ซึง่ มีความหลากหลายของ ประเภทกิจกรรม สลับสับเปลี่ยนกันไปตลอด ทั้งปี โดยเฉพาะประเภทที่ใช้พื้นที่ไม่ใหญ่มาก เช่น ประเภทแฟชัน (Fashion Design) ประเภท งานศิลปะ (Fine Art) ประเภทออกแบบตกต่าง ภายใน (Interior Design) ประเภทการพิมพ์และ สิง่ ท่อ (Screen Printing and Textiles) และสามารถทดลองปฎิบตั ไิ ด้จริง ซึง่ มีอปุ กรณ์ ครบครัน หรือสามารถเลือกเวลาของการใช้พน้ื ที่ ปฏิบตั กิ ารตามความต้องการของผูใ้ ช้บริการ

สามารถหาข้อมูลเพิม่ เติมได้ที่ http://www.blackhorseworkshop.co.uk/abo/


siam inovation district research report 2016

รายละเอียดความต้องการ ของพื ้ น ที ่ ภ ายในอาคาร ขนาดเล็กหรือปานกลาง

1

ลักษณะกิจกรรมประเภทห้องสมุด (Library ,eLearning) เพือ่ ให้สามารถ หาความรู้ด้วยตัวเอง ลักษณะกิจกรรมประเภทพื้นที่ ให้ขอ้ มูล (Information center) เพือ่ เป็นศูนย์รวมข้อมูลทีเ่ กีย่ วข้องกับการผลิต นวัตกรรม ทัง้ การติดต่อ และการจดสิทธิบตั ร การใช้ระบบอินเตอร์เน็ตในการจัดเก็บข้อมูล หรือจัดเก็บความรูท้ ำให้สามารถใช้พน้ื ทีข่ นาดเล็ก ในการเก็บข้อมูลจำนวนมาก ค้นหาได้สะดวก และสามารถปรับเปลี่ยนข้อมูลได้ง่าย ทำให้เกิด ความทันสมัยของข้อมูล ซึ่งมีความเหมาะสมกับข้อมูลที่จะเอื้อให้เกิดนวัตกรรมต่างๆ กรณีศึกษา Official New York City Information Center ที่มหานครนิวยอร์ก

page 56

สามารถค้ น หาข้ อ มู ล ด้ ว ยระบบทั ช สกรี น (the touch-screen tables) ทั ้ ง ข้ อ มู ล ทั่วไป โครงการที่เกิด ขึ ้ น รวมถึ ง สามารถ บันทึกข้อมูลทีส่ นใจได้

สามารถมี ป ฎิ ส ั ม พั น ธ์ ก ั บ แผนที ่ ขนาดใหญ่ ทัง้ ข้อมูลและรูปภาพประกอบและ มีการปรับเปลีย่ นพืน้ ทีส่ ำคัญให้มคี วามทันสมัย

รวมทั ้ ง สามารถส่ ง ข้ อ มู ล ต่ า งๆ ทัง้ ข้อมูลของตัวเองและข้อมูลทีไ่ ด้ เพือ่ ปริน้ ออกมาได้ และมีผู้เชี่ยวชาญผู้ประจำเพื่อให้ ข้อมูลอืน่ ๆ รวมถึงการใช้บริการต่างๆ เช่น การ ซือ้ ตัว๋ ระบบขนส่ง สถานที่ หรือกิจกรรมต่างๆ

หาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.wxystudio.com/projects/architecture/ nyc_information_center


siam inovation district research report 2016

รายละเอียดความต้องการ ของพื ้ น ที ่ ภ ายในอาคาร ขนาดเล็กหรือปานกลาง ลั ก ษณะของกิ จ กรรมประเภท การฝึกอบรมธุรกิจ (Pitch Sessions and Trainings) เพือ่ เพิม่ ความรูแ้ ละทักษะ สำหรับธุรกิจ ทัง้ การเข้าฟังบรรยาย การนัง่ พูดคุยกับผูเ้ ชียวชาญและการทำกิจกรรมร่วม กันในหลักสูตร ซึง่ ส่วนใหญ่จะมาจากการเข้า ร่วมโครงการหรือโครงการประกวด ลั ก ษณะของกิ จ กรรมสำหรั บ การระดมทุน (Funding) เช่นงานPitching เพือ่ ให้หนุ้ ส่วนในระบบธุรกิจ (Partnership) ทั้งผู้ประกอบนักลงทุนได้มาพบกับนวัตกร หรือนวัตกรรมใหม่ๆทีม่ ปี ระโยชน์ตอ่ องค์กร และเกิดการตกลงเพื่อนำผลงานไปใช้

1 กรณีศึกษา Silicon Valley Innovation Center (Accelerator Program) เป็นพื้นที่รวมทรัพยากร ทั้ง บุคคลและข้อมูล ทีม่ ปี ระสบการณ์และความ น่าเชื่อถือ การเข้าร่วมโดยระบบสมาชิก สามารถ เข้าร่วมทัง้ พืน้ ทีท่ ำงานร่วมกัน (collaborative working space) เข้าร่วมกับกิจกรรมของ กลุม่ เครือข่าย (Networking activities) สามารถได้รบั คำปรึกษาจากผูเ้ ชีย่ วชาญ พูดคุย กับคนทีม่ แี นวคิดเหมือนกัน หรือแตกต่างกัน รวมทั้งพูดคุยกับผู้ประกอบการหรือบริษัท เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการของหลักสูตร (Educational Events)

page 57

หลักสูตร (Educational Events) มีการจัดประจำทุกสัปดาห์ หรือทุกเดือน เช่น งาน Innovation Insights Speaker Series: The Ten Faces of Innovation

จะมี ท ั ้ ง ส่ ว นบรรยายที ่ ต ้ อ งการพื ้ น ที ่ ท ี ่ สามารถปรับเปลี่ยนได้สะดวก เมื่อมีการ เปลีย่ นกิจกรรมและมี ก ารร่ ว มทำกิ จ กรรม ของหลั ก สู ต รพร้ อ มการนำเสนอเพื ่ อ ฝึ ก ทั ก ษะและทำความเข้ า ใจ

สามารถเปิดโอกาศหรือแนวทางในการเข้าหาบริษัท (Access to SVIC Corporate Clients) ได้รับคำแนะนำหรือความช่วยเหลือเรื่องกฏหมาย (Legal Assistance) ได้รับการเข้าถึงทีมหรือบุคคลที่มีศักยภาพในการพัฒนาธุรกิจ (Management Team Search) นำไปสู่การนำเสนอผลงานสู่บริษัทหรือนักลงทุน (Demo Day)เพื่อการระดม ทุนและนำไปสูธ่ รุ กิจได้จริง เช่นงาน Opera Software: Monetizing Traffic ต้องการพื้นที่ที่สามารถมีปฏิสัมพันธ์กับสมาชิกทั้งหมดได้ง่าย

หาข้อมูลเพิม่ เติมได้ที่ https://www.facebook.com/SiliconValleyInnovationCenter/ http://svicenter.com/accelerator/


siam inovation district research report 2016

รายละเอียดความต้องการ ของพื ้ น ที ่ ภ ายในอาคาร ขนาดปานกลางหรือใหญ่

page 58

2

ลั ก ษณะของกิ จ กรรมประเภท ทดสอบผลิ ต ภั ณ ฑ์ ก ั บ กลุ ่ ม เป้ า หมาย (testing) เพื ่ อ ทดลองนวั ต กรรมด้ า น สินค้ากับกลุม่ เป้าหมายทีห่ ลากหลาย เพือ่ ทด ลองสินค้าตัวอย่าง ทดสอบความพึงพอใจ เพื ่ อ เปิ ด ตั ว และทดลองใช้ น วั ต กรรมด้ า น กระบวนการ (Program ,Application) กรณีศึกษา Sekisui House Sumufumulab future life showroom ภายใน Knowleddge capital ที่ Grand Front Osaka เป็นพืน้ ทีแ่ สดง สิง่ ประดิษฐ์ ในอนาคตและสามารถทดลองใช้เพื่อดูความ พึงพอใจของผู้ใช้บริการ การแสดงนวั ต กรรม ประเภทสิ น ค้ า หรื อ ผลิตภัณฑ์ในชีวิตประ จำวัน ที่ Sekisui House Sumufumula future life showroom

การแสดงนวัตกรรมประเภทกระบวนการ ตั ว อย่ า งเช่ น พื ้ น ที ่ docomo osaka (docomo Shop) ใน Knowleddge capital ที่ Grand Front Osaka


siam inovation district research report 2016

รายละเอียดความต้องการ พืน้ ทีภ่ ายในอาคารหรือกึง่ ภายในภายนอกอาคาร ขนาดปานกลางหรือใหญ่ ลั ก ษณะของกิ จ กรรมประเภท งานนิ ท รรศการ สั ม มนา (Event, Seminar) ที่เปิดสู่สาธารณะ มีลักษณะ มี ผ ู ้ บ รรยาย (Speaker) และผู ้ ฟ ั ง (Audience) เพื่อหาแนวคิด หาทิศทาง หาแรงบั น ดาใจในการสร้ า งนวั ต กรรม ลั ก ษณะของกิ จ กรรมประเภท งานนิ ท รรศการ สั ม มนา (Event, Seminar) ที่เปิดสู่สาธารณะ มีลักษณะ มี ผ ู ้ บ รรยาย (Speaker) และผู ้ ฟ ั ง (Audience) เพื ่ อ ให้ ค วามรู ้ ก ระแสของ โลกธุรกิจ

page 59

3 ในพื้นที่ขนาดเล็ก ปั จ จุ บ ั น ได้ น ิ ย มทำพื ้ น ที ่ ให้มีความยืดหยุ่นในการ ปรับเปลีย่ นให้มกี ารใช้งาน ทีห่ ลากหลาย ดังนัน้ การ สร้างพืน้ ทีย่ กระดับและโอบ ล้อมพื้นที่ตรงกลางโดย สามารถปรั บ เปลี ่ ย นได้ ก็ เ ป็ น ทางเลื อ กที ่ ด ี ข อง การมีพื้นที่จำกัด กรณี ศ ึ ก ษา Knowledge theater ภายใน Knowleddge capital ที ่ Grand Front Osaka สามารถจุคนได้ 380 คน ซึ ่ ง ควรมี ก ารโอบ ล้อมหรือมีการยกระดับ ขึ้นเพื่อให้สามารถมอง เห็นได้ชัดเจนและรู้สึกถึง การได้รับข้อมูลหรือการ มีส่วนร่วมกับงาน

*https://depauldemontracks.wordpress.com/

*http://www.amphibianstage.com/venue/black-box


siam inovation district research report 2016

รายละเอียดความต้องการ พืน้ ทีภ่ ายในอาคารหรือกึง่ ภายในภายนอกอาคาร ขนาดปานกลางหรือใหญ่ ลั ก ษณะของกิ จ กรรมประเภท การจั ด ประกวดนวั ต กรรม เพื ่ อ สร้ า ง ความน่ า เชื ่ อ ถื อ ของแนวคิ ด และเพื ่ อ ให้ ได้รับความรู้เรื่องแนวคิดที่สนใจเพิ่มเติม กรณีศกึ ษา งาน Imagine Cup 2012 kicks off in Sydney Australia ที่ the Sydney Convention Centre คือการจัดประกวดของบริษัทไมโครซอฟท์ ผลิตผลงานด้วยระบบไมโครซอท์ ซึ่งถือ เป็ น การประกวดระดั บ โลก

page 60

3 ลั ก ษณะของกิ จ กรรมประเภท งานสัมนาที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ เพื่อติด ต่ อ สั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งคนที ่ ม ี ท ั ก ษะ ความ สามารถ ประสบการณ์ ทางธุรกิจในเรื่อง ใดเรื่องหนึ่งมาเจอกัน เพื่อการแลกเปลี่ยน แนวคิ ด พู ด คุ ย หรื อ การรวมที ม ในการ ประกอบธุ ร กิ จ (คนที ่ ม ี ค วามสามารถมา รวมกัน) กรณีศกึ ษา งาน Fast Forward Your Business World Tour จัดที่ Aotea Centre, 50 Mayoral Dr, CBD, Auckland

ลั ก ษณะของกิ จ กรรมประเภท งานนวั ต กรรมประจำปี ภ ายในอาคาร (Exhibitions and Fairs) เพื่อแสดง นวั ต กรรมใหม่ ๆ กรณีศกึ ษา Event lab ภายใน Knowleddge capital ที่ Grand Front Osaka การเตรียมพื้นที่ว่างอาคารเพื่อใช้ในการจัด กิจกรรมแสดงนวัตกรรม คือการเตรียม พื้นที่ให้มีลักษณะโล่งที่สุด หรือเรียบง่าย ที่สุดเพื่อให้แต่ละแนวคิดหลักในการจัดงาน หรือแต่ละบริษทั สามารถใส่แนวคิดของตัวเอง ได้อย่างเต็มที่ เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ตามกระแสในแต่ละยุค


siam inovation district research report 2016

รายละเอียดความต้องการ ของพื้นที่ภายนอกอาคาร ขนาดเล็ก

page 61

4

ลั ก ษณะของกิ จ กรรมประเภท งานแสดงสินค้าใหม่ๆ (Trade shows ,showcase) เพือ่ หาแนวคิดหาแรงบันดาล ใจในการสร้างนวัตกรรม กรณี ศ ึ ก ษา งาน Innorobo expo in Paris ซึ่งมีการแสดงหุ่นยนต์ ภายนอกอาคารเพื่อให้สามารถมีปฏิสัมพันธ์ กับคนภายนอก (จาก Skolkovo Innovation Center to showcase) หรือมีพน้ื ทีใ่ นการแสดงนวัตกรรม ใหม่ๆภายนอกอาคาร เช่น ฟิวเจอร์คาร์

*http://sk.ru/news/b/pressreleases/archive/2016/05/23/top-robotics-projects-from-skolkovo innovation-center-to-showcase-at-innorobo-expo-in-paris.aspx

ลักษณะของกิจกรรมประเภทการ ทดลองสินค้าตัวอย่าง พร้อมด้วยการสำรวจ ความพึงพอใจ และงานเปิดตัวนวัตกรรม ด้านกระบวนการ (Program ,Application) เพื่อทำการทดสอบสินค้ากับกลุ่มตัวอย่างที่ มีความหลากหลายให้สามารถนำไปพัฒนา ผลิ ต ภั ณ ฑ์ ใ ห้ ต รงกั บ ความต้ อ งการ ซึ ่ ง พบบ่อยในพื้นที่สยามสแควร์

การทดลองสินค้าประเภท ผลิตภัณฑ์ตัวอย่าง ซึ่งใน พื้นที่สยามสแควร์ จะเป็น กิจกรรม ที่ใช้พื้นที่ขนาด เล็ ก แต่ มี ก ารเคลื่ อ นที่ ไ ป ทั่ ว บริ เ วณ

การทดลองสินค้าตัวอย่าง ของนวัตกรรมด้านกระบวน การจะเป็นงานเปิดตัวโปร แกรม แอปพริเคชัน่ ทีใ่ ห้ทำ ลองใช้กอ่ นการเผยแพร่จริง


siam inovation district research report 2016

รายละเอียดความต้องการ ของพื้นที่ภายนอกอาคาร ขนาดใหญ่

page 62

4

ลักษณะของกิจกรรมประเภท งานนวัตกรรมประจำปี (อาจเป็นงานใหญ่ ประจำปี) เพื่อกระตุ้นให้เกิดการรับรู้ย่าน นวัตกรรม นวัตกรได้มพ ี น้ื ทีใ่ นการแสดงผล งานและผู้ประกอบการสามารถมีพื้นที่เลือก สรรค์นวัตกรรมที่ตนสนใจไปใช้ในธุรกิจ และสามารถทำให้ออกสู่ท้องตลาดได้จริง กรณีศึกษา งาน Startup Village ในรัฐเซีย เป็นพื้นที่พบปะกันระหว่างกลุ่มคนในระบบ ธุรกิจ ซึ่งปี 2015 พบว่ามีผู้เข้าร่วมงาน ประมาณ 10,000 คน มีนกั ธุรกิจเริม่ ต้น (Startups) ประมาณ 2,000 คน มีนัก ลงทุนประมาณ500 คน นักข่าวประมาณ 350 คน คนร่วมงานในระดับปริญญาโท อีก 170 คน ในพื้นที่จัดงาน 80,000 ตารางเมตร ภายในงานประกอบด้วยเวทีในการ พู ด คุ ย เรื ่ อ งธุ ร กิ จ หรื อ นวั ต กรรมต่ า งๆ มีการแสดงผลผลิตนวัตกรรมใหม่ๆให้คน ได้ทดลองใช้และมีการอธิบายผลงานที่นำ มาแสดง แก่รัฐบาลหรือบริษัทต่างๆ

ข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://sk.ru/technopark/b/weblog/archive/2015/06/30/ startup-village-2015--eastern-europe_1920_s-biggest-startup-conference.aspx


siam inovation district research report 2016

รายละเอียดความต้องการ ของกิจกรรมอื่นๆ

page 63

5

เช่น การสร้างมาตรการ การสร้าง แรงจูงใจ ให้เกิดการกระตุน้ การนำสินค้าและ บริการในเชิงนวัตกรรมเข้ามาในพื้นที่ สนับสนุนกิจกรรมพาณิชยกรรม เชิงนวัตกรรม และพาณิชยกรรมที่ส่งเสริม หรื อ สนั บ สนุ น ให้ เ กิ ด นวั ต กรรมเพิ ่ ม ขึ ้ น แทนกิ จ กรรมประเภทพาณิ ช ยกรรมเชิ ง แฟชั่น ทั้งสินค้าและบริการ กรณี ต ั ว อย่ า ง ภายใน Knowleddge capital ที่ Grand Front Osaka กำหนด ให้ พ าณิ ช ยกรรมต้ อ งมี ส ิ น ค้ า นวั ต กรรม เช่น Subway 831 (Vegetable) Lab จะมีการปลูกผักภายในอาคารทีม่ พ ี น้ื ทีข่ นาด เล็ก โดยใช้นวัตกรรม

Asics Store Osaka เป็นพืน้ ที่ พาณิชยกรรม ภายใน Knowleddge capital ที่ Grand Front Osaka ใช้นวัตกรรม ในการทดลองสินค้า เช่น ร้านรองเท้ามีพน้ื ที่ ทดลองการเดิน


siam inovation district research report 2016

รายละเอียดความต้องการ ของกิจกรรมอื่นๆ เช่น การสร้างมาตรการ การสร้าง แรงจูงใจ ให้เกิดการกระตุน้ การนำสินค้าและ บริการในเชิงนวัตกรรมเข้ามาในพื้นที่ เปลีย่ นรูปแบบสถาปัตยกรรม หรื อ วั ส ดุ เพื ่ อ สร้ า งภาพจำของย่ า น นวัตกรรมและสามารถใช้เป็นพื้นที่ประชาสัมพันธ์ขา่ วสารหรือโฆษณา กรณีตัวอย่าง Surrey Art Gallery ที ่ Chuck Bailey Recreation Center ,Cannada ได้ ส ร้ า งผนั ง อาคารในรู ป แบบ ผนั ง อิ เ ล็ ก ทรอนิ ก ส์ (Urban screen) เพื ่ อ ใช้ เ ป็ น พื ้ น ที ่ ป ระชาสั ม พั น ธ์ แ ละ ยังสามารถเผยแพร่สื่อมิเดียร์ต่างๆ เพื่อ ความบั น เทิ ง และยั ง ทำให้ พ ื ้ น ที ่ โ ดยรอบ เป็ น พื ้ น ที ่ ร วมคนพั ก ผ่ อ นหย่ อ นใจได้ อี ก ด้ ว ย

5

page 64


5

Siam inovation district research report 2016

วิเคราะห์ต้นทุนทาง นวัตกรรมของพื้นทÕ่

การวิเคราะห์ต้นทุนทางนวัตกรรม มีวัตถุประสงค์เพื่อให้สามารถวางแผน การพัฒนาย่านนวัตกรรมอย่างมีเหตุลและตอบสนองความต้องการของนวัตกร และเชื่อมต่อกับบุคคลภายนอกย่านนวัตกรรม

page 65


Siam inovation district research report 2016

page 66

วเิคราะหก์ายภาพของพน้ืท่ี -

บทบาทของพน้ืทย่ีา่นในระดบัเมอืง วเิคราะหศ์กัยภาพพน้ืทส่ียามสแควรก์ารประเมนิราคาทด่ีนิ วเิคราะหศ์กัยภาพพน้ืทส่ียามสแควร์ จำนวนผใู้ชบ้รกิารรถไฟฟา้ บทีเีอส วเิคราะหศ์กัยภาพพน้ืทส่ียามสแควรท์างการคา้ ดว้ยการจดัเกบ็ภาษโีรงเรอืนและทด่ีนิ วเิคราะหศ์กัยภาพพน้ืทส่ียามสแควรท์างการคา้ ดว้ยจำนวนสถานประกอบการ จำแนกตามเขต วเิคราะหศ์กัยภาพพน้ืทส่ียามสแควรท์างการคา้ ดว้ยการจดัเกบ็ภาษปีา้ย วเิคราะหศ์กัยภาพพน้ืทส่ียามสแควรท์างการคา้ ดว้ยจำนวนพาณชิยกรรมประเภทตา่งๆ ประวตัคิวามเปน็มาของพน้ืทส่ียาม - ปทมุวนั การกระจายตวัของพน้ืท่ี co working space ในเมอืงกรงุเทพฯ เอกลักษณข์องพน้ืทส่ียาม ( Characteristic of siam ) ขอบเขตของพน้ืทศ่ีกึษา และการใชป้ระโยชนท์ด่ีนิ แนวคดิของการพฒ ั นาในยา่น พน้ืทท่ีก่ีอ่ใหเ้กดินวตักรรมกรรมในยา่นสยาม - ปทมุวนั สรปุภาพรวมการวเิคราะหก์ายภาพ ของยา่นสยาม - ปทมุวนั

68 69 70 71 72 73 74 75 77 78 79 84 87 88

วเิคราะหก์ิจกรรมของพน้ืท่ี - ขอบเขตการวเิคราะหพ ์ น้ืท่ี - การใช้งานพน้ืทส่ียามในปจัจบุนัเวลาปกติ - การใช้งานพน้ืทส่ียาม ในปจัจบุนัเวลาจดังาน

89 90 91

การดแูลในใชง้านพน้ืทจ่ีอดรถในปจัจบุนั พน้ืทจ่ีดังานและกจิกรรมของสยามสแควร์ ความสมัพนัธข์องขนาดและประเภทของพน้ืทใ่ีนการจดัทำกจิกรรม รายละเอยีดพน้ืทแีละกจิกรรมของยา่นสยามสแควร์ รายละเอยีดพน้ืทแีละกจิกรรมในสยามสแควร์ รายละเอยีดพน้ืทแ่ีละกจิกรรมของอาคาร์ ทส่ีำคญ ั ตา่งๆในบรเิวณสยามสแควร์ - สรปุการใชง้านกจิกรรมใน พน้ืทต่ีา่งๆของสยามสแควร์ - สรปุสดัสว่นพนื้ทกี่ารใชง้านบรเิวณตกึแถวในสยามสแควร์ - สรปุความเปน็ไปไดใ้นการเกดิ กจิกรรมเชงินวตักรรมใน พน้ืท่ีสยามสแควร์ วิเคราะหป์ระชากรของพน้ืท่ี

93 97 100 102 105 113

-

127 130 133 136 142 143

-

จำนวน และ ประเภทของประชากร ประเภทของกจิกรรม กบัประชากรในพน้ืท่ี วเิคราะหค์วามหนาแนน่ระหวา่ง กจิกรรมของประชากรกบัพน้ืท่ี วเิคราะหค์วามสมัพนัธร์ะหวา่ง กจิกรรมของประชากรกบัพน้ืท่ี สรปุความสมัพนัธร์ะหวา่งกจิกรรมของประชากรวยัตา่งๆ กบั พน้ืท่ี สรปุ สดัสว่น กจิกรรมของประเภทประชากรวยัตา่งๆในพน้ืท่ี

สรปุตน้ทนุทางนวตักรรม สรปุศกัยภาพ โอกาสและปญ ั หา ในการพฒ ั นายา่นนวตักรรม วเิคราะหค์แู่ขง่ทางตรง และทางออ้ม

124 125 126

144 146 149


Siam inovation district research report 2016

page 67

วิเคราะห์ต้นทุนในการ เกิดย่านนวัตกรรม

วิเคราะห์กายภาพของพื้นที่ บทบาทของพื้นที่ย่านในระดับเมือง

ขอบเขตการวิเคราะห์พื้นที่

ประวัติความเป็นมาของพื้นที่สยาม - ปทุมวัน

การใช้งานพื้นที่สยาม ในปัจจุบันเวลาปกติ

การกระจายตัวของพื้นที่ co working space ในเมืองกรุงเทพฯ

จำนวน และ ประเภทของประชากร

การใช้งานพื้นที่สยาม ในปัจจุบันเวลาจัดงาน ประเภทของกิจกรรม กับประชากรในพื้นที่

รายละเอียดพื้นทีและกิจกรรม ของย่านสยามสแควร์

เอกลักษณ์ของพื้นที่สยาม ( Characteristic of siam ) รูปแบบของการ สัญจรในพื้นที่

ขอบเขตของพื้นที่ศึกษา และการใช้ประโยชน์ที่ดิน

รูปแบบโครงการ พัฒนาของย่าน โครงการพัฒนาแล้ว ในปัจจุบัน พ.ศ. 2559 โครงการที่กำลังพัฒนา ในปัจจุบัน

พื้นที่จัดงานและกิจกรรมของ สยามสแควร์

พื้นที่ที่ก่อให้เกิดนวัตกรรมกรรม ในย่านสยาม - ปทุมวัน สรุปภาพรวมการวิเคราะห์กายภาพ ของย่านสยาม - ปทุมวัน

แนวทางการพัฒนา โครงการ ( UDDC ) รายละเอียดโครงการพัฒนา สวนหลวง - สามย่าน

แบบ Indoor แบบ Outdoor แบบ Outdoor - Indoor

ความสัมพันธ์ของขนาดและประเภท ของพื้นที่ในการจัดทำกิจกรรม รูปพื้นทีและกิจกรรมของสยามสแควร์

แนวคิดของการพัฒนาในย่าน

วิเคราะห์ประชากรของพื้นที่

วิเคราะห์กิจกรรมของพื้นที่

รายละเอียดพื้นทีและกิจกรรมของ สยามสแควร์

รายละเอียดพื้นทีและกิจกรรมของ อาคารพาณิชยกรรมในสยามสแควร์

วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่าง กิจกรรมของประชากรกับพื้นที่

สรุปความสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรม ของประชากรวัยต่างๆ กับ พื้นที่

รายละเอียดพื้นทีและกิจกรรมของ อาคารที่สำคัญต่างๆในสยามสแควร์

สรุปการใช้งานกิจกรรมใน พื้นที่ต่างๆของสยามสแควร์

สรุป สัดส่วน กิจกรรมของประเภท ประชากรวัยต่างๆในพื้นที่

สรุปความเป็นไปได้ในการเกิด กิจกรรมเชิงนวัตกรรมใน

พื้นที่สยามสแควร์

สรุปต้นทุนทางนวัตกรรม จับต้องได้ ( Tangible )

รายละเอียดพื้นทีและกิจกรรมของ ห้างสรรพสินค้ารอบสยามสแควร์

วิเคราะห์ความหนาแน่นระหว่าง กิจกรรมของประชากรกับพื้นที่

จับต้องไม่ได้ ( Intangible )

สรุปศักยภาพ โอกาสและปัญหา ในการพัฒนาย่านนวัตกรรม

วันธรรมดา ( weekday ) วันหยุด ( weekend )

กิจกรรมของประเภท ประชากรในพื้นที่ ( weekday ) กิจกรรมของประเภท ประชากรในพื้นที่ ( weekend )


Siam inovation district research report 2016

page 68

วิเคราะห์กายภาพของพื้นที่ บทบาทของพื้นที่ย่านในระดับเมือง จากการวิจัยค้นคว้าของหน่วย งาน UDDCหรือศูนย์ออกแบบ และพัฒนาเมืองUrban Design and Development Center ได้ทำการวิจัยพื้นที่ เมืองกรุงเทพมหานคร โดยผล การค้นคว้าศึกษานั้น ระบุว่าพื้นที่ บริเวณสยาม - ปทุมวัน เป็นย่าน ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจเป็น อันดับต้นของเมืองเนื่องจากเป็น ย่านใจกลางของเมืองใหม่ก่อนจะ เข้าสู่เมืองเก่า อาทิเช่น เยาวราช และ เกาะรัตนโกสินทร์ นั้นทำให้ บทบาทของย่านเปรียบเสมือน พื้นที่ของการถ่ายเทของคน จำนวนมากและด้วยการสนับสนุน ของระบบขนส่งมวลชนสาธารณะ ดังนั้นย่านสยาม - ปทุมวัน จึ ง เป็ น ย่ า นที ่ ม ี แ นวโน้ ม ในการ พั ฒ นาเพื ่ อ ตอบรั บ สิ ่ ง ใหม่ อนาคตของเมืองกรุงเทพ ฯ

* UDDC

250 125

1000 500


page 69

Siam inovation district research report 2016

วิเคราะห์ศกั ยภาพพืน้ ทีส่ ยามสแควร์ การประเมินราคาทีด ่ นิ ผลการศึกษาอันดับราคาทีด่ นิ ทีแ่ พงทีสดุ แถลง วันพุธที่ 27 เมษายน 2559 1. บริเวณสยามสแควร์ ชิดลม เพลินจิตเพราะ มีรถไฟฟ้าวิ่งตัดกัน 2 สาย เป็นศูนย์กลาง ธุรกิจทีข่ ยายตัวสูงสุดโดยเฉพาะธุรกิจค้าปลีก แซงหน้าสีลมและเยาวราชทีเ่ คยแพงทีส่ ดุ ไปแล้ว 2. สุขมุ วิท-ไทมสแควร์ 3. สีลมตกอันดับลงมาเพราะมีรถไฟฟ้าวิง่ ผ่าน เพียงสายเดียว แม้วา่ การประเมินราคาของราชการจะปรับตัว ช้าและถูกกว่าราคาตลาดมาก อย่างเช่นสีลมมี ราคาแพงทีส่ ดุ ที่ 1,000,000บาทต่อตารางวา เนือ่ งจาก เป็นศูนย์กลางทางการเงินของประเทศ มีอาคารสำนักงานอยูม่ ากมาย แต่ในความเป็นจริง ราคาทีด่ นิ ตามราคาตลาดขึน้ กับพืน้ ทีต่ ามแนว รถไฟฟ้าแถวสยาม ชิดลม เพลินจิตซึง่ ราชการ ประเมินไว้เพียง 900,000 บาทต่อตารางวา สยามสแควร์ มีราคาทีด่ นิ สูง เนือ่ งจาก เป็นทำเล ด้านการค้า มีศนู ย์การค้าทีป่ ระสบความสำเร็จ และทีส่ ำคัญมีคา่ เช่าต่อตารางเมตรสูงกว่าพืน้ ที่ สํานักงาน ถึงตารางเมตรละ 2,500 - 5,000 บาท ซึง่ สำนักงานทีส่ ลี ม มีคา่ เช่าตารางเมตรละ 700 -1,000 บาท แม้ศนู ย์การค้าจะมีพนื้ ทีใ่ ช้สอยสุทธิ ต่อพืน้ ทีก่ อ่ สร้างน้อยกว่าอาคารสำนักงาน แต่ก็ ยังสร้างรายได้ ได้มากกว่า

LEGEND สยามสแควร์ สุขุมวิท ไทมส์สแควร์ สีลม ถนนวิทยุ

0

2,400

4,800

9,600

14,400

ทีม่ า : ศูนย์ขอ้ มูลวิจยั และประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย

19,200


page 70

Siam inovation district research report 2016

วิเคราะห์ศกั ยภาพพืน้ ทีส่ ยามสแควร์ จำนวนผูใ้ ช้บริการรถไฟฟ้า บีทเี อส ข้อมูล เดือนกุมภาพันธ์-ธันวาคม 2557

14,577,047

16,353,746 22,802,460

10,645,097 17,919,996

12,421,774

LEGEND สถานีสยาม คนใช้บริการมากที่สุด (จุดตัดบีทีเอส 2 สาย) สถานีอื่น ที่มีคนใช้บริการมากกว่า 10 ล้านคน 0

2,400

4,800

9,600

14,400

19,200

ทีม่ า : อ้างอิงบริษทั ขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)


Siam inovation district research report 2016

วิเคราะห์ศกั ยภาพพืน้ ทีส่ ยามสแควร์ ่ นิ ทางการค้า ด้วยการจัดเก็บภาษีโรงเรือนและทีด ผลการจัดเก็บภาษีโรงเรือนและทีด่ นิ รายรับจริง งบประมาณ ปี 2557 ตัง้ แต่ ตุลาคม 2556-กันยายน 2557 ภาษีโรงเรือนและทีด่ นิ คือ ภาษีทจี่ ดั เก็บจากโรงเรือนหรือ สิง่ ปลูกสร้างอย่างอืน่ หรือทีด่ นิ ทีใ่ ช้ตอ่ เนือ่ งกับ โรงเรือน หรือสิง่ ปลูกสร้างอืน่ ๆ ทัง้ สิน้ ทีใ่ ช้เช่าหรือ ทีท่ ำการค้าหรือเป็นทีไ่ ว้สนิ ค้า หรือทีป่ ระกอบการ อุตสาหกรรมหรือให้ญาติ พ่อ แม่ บุตร หรือผูอ้ นื่ อยูอ่ าศัยและทีใ่ ช้ในกิจการอืน่ ๆ เป็นต้น จะเห็นว่ามูลค่าของการจัดเก็บภาษีโรงเรือน และทีด่ นิ ในกรุงเทพมหานคร สูงสุดจะอยูท่ ยี่ า่ นปทุมวัน เนือ่ งจากมีมลู ค่าอสังหาริมทรัพย์และทีด่ นิ สูงกว่า พืน้ ทีอ่ นื่ โดยเฉพาะพืน้ ทีส่ ยามสแควร์ ดังนัน้ ถ้าจะเปรียบเทียบศักยภาพพืน้ ทีใ่ น กรุงเทพมหานคร พืน้ ทีส่ ยามสแควร์ถอื เป็นพืน้ ทีท่ มี่ ี ศักยภาพในการแข่งขันทีด่ ที สี่ ดุ ทัง้ ด้านอสังหาริมทรัพย์ ทีด่ นิ และการค้าพืน้ ทีห่ นึง่

ทีม่ า : ฝ่ายวิชาการ (ทะเบียนและสถิต)ิ กองรายได้ สำนักการคลัง

page 71


Siam inovation district research report 2016

page 72

วิเคราะห์ศกั ยภาพพืน้ ทีส่ ยามสแควร์ ทางการค้า ด้วยจำนวนสถานประกอบการ ข้อมูล เดือนธันวาคม 2556 เขต

กรงุเทพมหานคร คลองเตย คลองสาน คลองสามวา คน ั นายาว จตจุก ั ร จอมทอง ดอนเมอืง ดน ิ แดง ดสุต ิ ตลง่ิชน ั ทววีฒ ั นา ทงุ่ครุ ธนบรุี บางกอกนอ้ย บางกอกใหญ่ บางกระปิ บางขน ุ เทย ี น บางเขน บางคอแหลม บางแค บางซอ่ื บางนา บางบอน บางพลด ั บางรก ั บงึกม ุ่ ปทม ุ วน ั ประเวศ ปอ้มปราบศต ั รพ ู า่ย พญาไท พระโขนง พระนคร ภาษเีจรญ ิ มน ี บรุี ยานนาวา ราชเทวี ราษฎรบ ์ รูณะ ลาดกระบงั ลาดพรา้ว วงัทองหลาง วฒ ั นา สวนหลวง สะพานสงู สม ั พน ั ธวงศ์ สาทร สายไหม หนองแขม หนองจอก หลก ั ส่ี หว้ยขวาง

สถานประกอบการ (แห่ง) 5,081 2,096 1,842 1,784 5,686 2,941 1,614 2,524 1,180 1,569 1,367 1,995 1,720 1,680 975 4,829 5,150 3,420 2,072 3,359 1,953 3,177 3,714 1,975 7,079 3,161 5,074 4,341 2,447 2,271 2,210 2,479 1,884 1,949 3,783 3,025 1,378 1,995 3,145 4,415 6,780 3,983 1,653 2,543 3,232 1,569 1,994 804 2,050 5,078

5,686

5,078 5,074 7,079

6,780 5,081

5,150

LEGEND สยามสแควร์ เขตปทุมวัน เขตที่มีสถานประกอบการมากกว่า 5,000 แห่ง

0

2,400

4,800

9,600

14,400

19,200

ทีม่ า : อ้างอิงข้อมูลสำนักเงินสมทบ สำนักงานประกันสังคม


Siam inovation district research report 2016

วิเคราะห์ศกั ยภาพพืน้ ทีส่ ยามสแควร์ ทางการค้า ด้วยการจัดเก็บภาษีปา้ ย ผลการจัดเก็บภาษีปา้ ย รายรับจริง งบประมาณ ปี 2557 ตัง้ แต่ ตุลาคม 2556-กันยายน 2557 ภาษีปา้ ย คือ ภาษีทเี่ ก็บจากป้ายทีแ่ สดงชือ่ ยีห่ อ้ หรือเครือ่ งหมายทีใ่ ช้ในการประกอบการค้า หรือ ประกอบกิจการอืน่ เพือ่ หารายได้หรือโฆษณาการค้า หรือกิจการอืน่ เพือ่ หารายได้ไม่วา่ จะแสดงหรือโฆษณา ไว้ทวี่ ตั ถุใด ๆ ด้วยอักษรภาพหรือเครือ่ งหมาย ทีเ่ ขียนและสลักจารึกหรือทำให้ปรากฎด้วยวิธอี นื่ ดังนัน้ การจัดเก็บภาษีปา้ ย จึง สามารถนำมา วิเคราะห์พนื้ ทีท่ มี่ ศี กั ยภาพทางการค้าได้ ซึง่ รายรับ จากการจัดเก็บภาษีมาก ถือว่ามีการประกอบกิจการ ทางการค้ามาก หรือพืน้ ทีม่ ศี กั ยภาพทางการค้า ซึง่ เขตปทุมวันสามารถเก็บภาษีปา้ ยได้รองจาก เขตจตุจกั ร ทีเ่ ป็นพืน้ ทีก่ ารค้าตลาดนัดจตุจกั ร และส่วนใหญ่ของการจัดเก็บภาษีเขตปทุมวัน มาจาก พืน้ ทีส่ ยามสแควร์ ดังนั้นจึงถือว่าสยามสแควร์ มีศักยภาพทาง การค้าอีกพืน้ ทีห่ นึง่ ในกรุงเทพมหานคร

ทีม่ า : ฝ่ายวิชาการ (ทะเบียนและสถิต)ิ กองรายได้ สำนักการคลัง

page 73


page 74

Siam inovation district research report 2016

วิเคราะห์ศกั ยภาพพืน้ ทีส่ ยามสแควร์ ทางการค้า ด้วยจำนวนพาณิชยกรรมประเภทต่างๆ ข้อมูลเมือ่ ธันวาคม พ.ศ. 2557

ลำดับ

เขต

โรงภาพยนตร์ โรงแรม ศูนย์การค้า ซุปเปอร์มาร์เก็ต มินม ิ าร์ท ร้านอาหาร

แผงจำหน่าย อาหารริมบาทวิถี

ตลาด

จากข้อมูลพบว่า เขตปทุมวัน มีจำนวนของพาณิชกรรมประเภทต่างๆ รวมอยู่ จำนวนมากอันดับต้นๆ ของกรุงเทพมหานคร ย่านหนึง่ แบ่งเป็นประเภทต่างๆ ดังนี้ - โรงภาพยนต์ มีจำนวนมากอันดับ 5 - โรงแรม มีจำนวนมากอันดับ 1 ควบคู่กับเขตวัฒนา - ศูนย์การค้า มีจำนวนมากอันดับ 2 รองจากเขตราชเทวี - ซุปเปอร์มาเก็ต มีจำนวนมากอันดับ 3 - ร้านอาหาร มีจำนวนมากที่สุด - แผงจำหน่ายอาหารริมบาทวิถี มีจำนวนมากอันดับที่ 5 - ตลาด มีเพียงแห่งเดียว ดังนั้นถ้าจะเปรียบเทียบศักยภาพพื้นที่ในเชิง องค์ประกอบของย่านพาณิชยกรรมในกรุงเทพ มหานคร เขตปทุมวันหรือพืน้ ทีส่ ยามสแควร์ถอื เป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพในการแข่งขันที่ดีที่สุด ด้านหนึ่ง ทีม่ า : 50 สำนักงานเขต กองสุขาภิบาลอาหาร สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร

LEGEND จำนวนในเขตปทุมวัน เท่ากับจำนวนในเขตปทุมวัน มากกว่าจำนวนในเขตปทุมวัน น้อยกว่าจำนวนในเขตปทุมวัน น้อยกว่าจำนวนในเขตปทุมวันมาก


Siam inovation district research report 2016

page 75

ประวัติความเป็นมาของพื้นที่สยาม - ปทุมวัน

การวิเคราะห์ประวัติศาสตร์เป็นปัจจัยสำคัญในการเลือกพัฒนาพื้นที่เนื่องจากเราจะสามารถมองเห็นถึง ศักยภาพและความสำคัญของย่านได้อย่างมีความเข้าใจ ผู้วิจัยได้ทำการแบ่งช่วงของความเป็นมาด้วย เหตุการณ์ที่ก่อให้ เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญที่ส่งผลต่อภาพลักษณ์ของย่าน

PATHUMWAN SQUARE = SIAM SQUARE เกิดการพัฒนาพื้นที่อย่างต่อเนื่อง 2510 โรงหนังสยาม โรงโบว์ลิ่ง , โรงแรมสยามอินเตอร์ คอนติเนนตัล (สยามพารากอน) 2511 โรงหนังลิโด 2512 โรงหนังสกาล่า

2505

เป็นย่านศูนย์การค้าเชิงแบบและเปิดโล่ง เกิดรูปแบบธุรกิจต่างๆเข้ามาสู่ตัวพื้นที่

ช่วงสร้างย่านค้าขายก่อสร้างอาคาร พาณิชยกรรมขึ้นลักษณะเป็นอาคาร 3 ชั้นครึ่งเพื่อป้องกันการบุกรุกที่ดิน ของชุมชนแออัดที่อยู่อาศัยแต่เดิม มีการสร้าง ศูนย์การค้า “ไดมารู” เป็นห้างแรกที่ใช้บันไดเลื่อนบริเวณ ราชประสงค์ เกิดธุรกิจหลากหลายเช่น ร้านหนังสือ ร้านเสื้อผ้า ร้านตัดผม และร้านอาหาร ซึ่งย้ายมาจากย่านแฟชั่นที่เกิดขึ้นก่อน เช่น วังบูรพา สุรวงค์ สีลม เป็นต้น

FIRST PLACE FOR DEVELOPMENT

2509

2528 ทำให้เกิดแหล่งรวมวัยรุ่นในยุคนั้นทั้ง แฟชั่นเบ็ดเสร็จครบวงจร เป็นสถานที่มีการ ทดลองสินค้า และกิจกรรมการตลาด แบบแปลกใหม่ ที่เข้มข้นสุดแห่งหนึ่งใน กรุงเทพฯ เกิดศูนย์การค้ามาบุญครอง 2527 ได้มีการรื้อโรงโบว์ลิ่งออกแล้วสร้างเป็น อาคารขนาดใหญ่ซึ่งปัจจุบันก็คือโรงแรม โนโวเทล สยามสแควร์

YOUNG GENERATION


Siam inovation district research report 2016

2540

page 76

MEDIA ENTERTAINMENT

FUTURE OF THAILAND

เกิดเหตุการณ์วิกฤติเศรษฐกิจ เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของพื้นที่การขึ้น ราคาค่าเช่าร้านค้าปิดตัวลงเกิดการเข้า มาแทนที่ของที่เรียนพิเศษ เกิดรถไฟฟ้าและ โครงการ Siam Square Animation Windows เป็นการเผยแพร่ภาพผ่านทางจอโทรทัศน์ พลาสม่า กลายเป็น แหล่งรวมโมเดลลิ่ง บรรดาวัยรุ่นที่มีฝันอยากเป็นดารา นักร้องการเปิดตัวธุรกิจใหม่ๆพื้นที่จัด งานอีเวนท์ งานนิทรรศการ คอนเสิร์ต

ห้ามแผงลอยตั้งขายของ กลุ่มคนช่วงเย็น มีปริมาณน้อยลง สยามยังคงถูกใช้เป็นพื้นที่สำหรับวัยรุ่นใน การจัดกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งในด้าน แฟชั่น การแสดง ค้าขาย รวมถึงร้านอาหารที่หลากหลาย ปัจจุบันพื้นที่ บางบล็อคของสยามสแควร์ กำลังจะหมดสัญญา ส่งผลให้จะมีการพัฒนา ในรูปแบบใหม่เกิดขึ้น ที่จะสอดคล้องกับ สภาพแวดล้อม และเศรษฐกิจ

2550 2550 เปลี่ยนเซ็นเตอร์พ้อยท์เป็นอาคาร ดิจิตอล เกตเวย์ คอนเซ็ปต์ ดิจิตอล ซิตี้ ดิจิเทนเมนต์ แห่งเรียนรู้เทคโนโลยีรูปแบบใหม่ ที่มาพร้อมกับความสนุกสนาน 2553 แก้ปัญหาที่จอดรถ สร้างอาคาร สยามกิตติ์ต่อมาสยามสแควร์ได้มีโครงการ วีวาทาวน์ เปิดตัวเมื่อวันที่ 31ก.ค.2554 2553 ปัญหาทางการเมือง โรงหนังสยาม ไฟไหม้ ต่อมาพัฒนาพื้นที่เป็น สยามสแควร์วัน และเกิดการตั้งของแผงลอย นำผู้คนเข้าสู่พื้นที่

DIGITAL TECHNOLOGY

2559


Siam inovation district research report 2016

page 77

การกระจายตัวของพื้นที่ co working space ในเมืองกรุงเทพฯ ในปัจจุบันเองการกระจายตัว ของพื้นที่co working space ในกรุงเทพฯนั้นเมีการเติบโตขึ้น อย่ า งมากโดยการกระจายตั ว ส่วนใหญ่จะเกาะตามแนวรถไฟฟ้า เพื ่ อ ความสะดวกต่ อ การเข้ า ถึ ง และจากที่เราได้กล่าวแล้วนั้นการ เกิดย่านนวัตกรรมจะต้องมีภาค การศึกษาเข้ามามีส่วนร่วมนั้นเป็น การบ่งบอกถึงย่าน สยาม ปทุมวัน ที่มีสถานศึกษาในทุก ระดับอยู่ติดกับย่นพาณิชยกรรม หลักของเมืองและยังมีการเกิดขึ้น ของ co wroking space ต่างๆในสยามด้วยเช่นกันนั้นจึง ส่งผลต่อการเลือกพื้นที่ย่านนี้สู่ การเปลี่ยนแปลง LEGEND Site project Co working space Education

* UDDC

250 125

1000 500


Siam inovation district research report 2016

page 78

เอกลักษณ์ของพื้นที่สยาม ( Characteristic of siam ) จากการสรุปรวมทุกความเห็นของพื้นที่ย่านสยาม - ปทุมวันทำให้เราได้เอกลักษณ์สยามไว้ดังนี้

01 History

02 Statistic

03 Real life

04 Interview

Shopping District

Tourist District

Trendsetter District

Variety District

໚¹Â‹Ò¹·Õ่ÁÕ¡Ô¨¡ÃÃÁ event à¡Ô´¢Ö้¹ÁÒ¡·Õ่Êش㹡ÃØ§à·¾Ï à»š¹à»‡ÒËÁÒ¢ͧ¹Ñ¡·‹Í§à·Õ่ÂÇ ·Ñ้§ã¹´ŒÒ¹¡Ô¨¡ÃÃÁµ‹Ò§æ áÅÐÍÒËÒùҹҪ¹Ô´·Õ่໚¹ ÌҹªÑ้¹¹ํҢͧâÅ¡

໚¹Â‹Ò¹¹ํÒà·Ã¹´ ¢Í§»ÃÐà·È äÁ‹Ç‹Ò¨ÐÁÕ¡ÒÃà» ´µÑÇÍÐäÃãËÁ‹ ¢Í§ÊÔ¹¤ŒÒµ‹Ò§æ ¨ÐµŒÍ§ÁÕ¡Òà ໠´µÑÇáºÃ¹´ ·Õ่ÊÂÒÁÊá¤Çà ÍÂÙ‹µÅÍ´àÇÅÒ

໚¹Â‹Ò¹·Õ่ÁÕ¤ÇÒÁËÅÒ¡ËÅÒ ·Ñ้§ã¹´ŒÒ¹àÈÃÉ°¡Ô¨áÅÐÊѧ¤Á à¹×่ͧ¨Ò¡ÁÕ¾×้¹·Õ่àª×่ÍÁµ‹Í ¡ÑºÊ¶Ò¹ÈÖ¡ÉÒ ·ํÒãËŒÁÕ¡Òà àª×่ÍÁµ‹Í¡Ñ¹ÃÐËÇ‹Ò§¾×้¹·Õ่ÁÒ¡ ¡Ç‹Ò‹ҹ¾Ò³ÔªÂ¡ÃÃÁâ´Â ·Ñ่Çä»

໚¹Â‹Ò¹·Õ่ÁÕ¡ÒáÃШءµÑǢͧ Ìҹ¤ŒÒ ˌҧÊÃþÊÔ¹¤ŒÒ ªÑ้¹¹ํÒ ÁÒ¡·Õ่ÊØ´¢Í§»ÃÐà·È «Ö่§¹ํÒ¾Ò áºÃ¹´ ªÑ้¹¹ํÒ áÅСÅØ‹Á¤¹·Õ่ ໚¹¹Ñ¡·‹Í§à·Õ่ÂÇ·Ñ้§ä·ÂáÅÐ µ‹Ò§»ÃÐà·È

Designed by Freepik / Flaticon


Siam inovation district research report 2016

page 79

ขอบเขตของพื ้ น ที ่ ศ ึ ก ษา และการใช้ ป ระโยชน์ ท ี ่ ด ิ น

คลองแสนแสบ

8

1 7 9 2

4

ทอง

10

1

ถนนบรรทัด

ย่านที่พักอาศัย รองรับนักท่องเที่ยว

2 สนามกีฬาแห่งชาติ 3 สวนหลวงสแควร์ - สามย่าน ิ

5

ถนนราชดำร

ย่านสยาม-ปทุมวันได้ทำการ กำหนดขนาดของย่านด้วยเส้น ทางคมนาคมทั้งถนน และคลอง เพื่อให้ได้พื้นที่การศึกษาที่ชัดเจน ซึ่งทำให้เราค้นพบว่าย่านนี้นั้นเป็น ย่านที่มีรูปแบบการพัฒนามาจาก เจ้ า ของใหญ่ ร ายเดี ย วนั ้ น คื อ สถานศึกษา และมีภาคเอกชน เป็นกำลังสำคัญต่อกระบวนการ เปลี่ยนแปลงย่านรูปแบบการใช้ ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่ 60 % เป็ น พื ้ น ที ่ ข องสถานศึ ก ษาโดย ประกอบด้วย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา โรงเรียนสาธิตปทุมวัน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลตะวั น ออกวิ ท ยาเขต อุเทนถวาย

3

4 สยาม - มาบุญครอง 5 โรงเรียนเตรียมอุดมฯ - อุเทนฯ - สาธิตปทุมวัน 6 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 7 วัดปทุมวนาราม - วังสระประทุม

6 11

8 พื้นที่สวนสาธารณะ 9 เซนทรัลเวิร์ด 10 สำนักงานตำรวจแห่งชาติ 11 ราชกรีฑาสโมสร 12 สภากาชาดไทย - โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

มีย่านพาณิชยกรรมโดย ประมาณ 25 % โดยตั้งอยู่ บริเวณรอบสถานีรถไฟฟ้าสยาม และบริเวณถนนบรรทัดทองซึ่ง เป็ น พื ้ น ที ่ ข องจุ ฬ าที ่ จ ะพั ฒ นา เป็นย่านพาณิชยกรรมในอนาคต

LEGEND ถนน

พระ

ราม

4

12

ที่อยู่อาศัย พื้นที่ราชการ พื้นที่กำลังพัฒนา จุฬาฯ พื้นที่ จุฬาฯ เส้นทางคมนาคม 50 25

พื้นที่พาณิชยกรรม พื้นที่สีเขียว พื้นที่ศาสนสถาน สถานีรถไฟฟ้า ขอบเขตพื้นที่ 200

100


page 80

Siam inovation district research report 2016

รู ป แบบของการ สั ญ จรในพื ้ น ที ่ ย่านสยาม - ปทุมวันเป็นพื้นที่ ที่ี มีระบบขนส่งมวลชนสาธาณะ หลากหลายรูปแบบเข้ามาในพื้นที่ ทั้งระบบรางระบบรถยนตร์และ การบริการอื่นๆซึ่งเป็นส่วนสำคัญ ในการพัมนาเนื่องจากมีระบบโครง สร้างพื้นฐานรองรับเพื่อการเข้า ออกของประชากรในพื้นที่และนอก พื้นที่ ซึ่งเป็นผลดีต่อการพัฒนา ย่านในอนาคตโดยสำคัญสุด คือ มีการเชื่อมต่อระหว่างพื้นที่ พาณิชยกรรมสยามเข้าสู่พื้นที่ การศึกษา

400m. 400m.

‹ҹÊÂÒÁÊá¤ÇÃ

‹ҹ¾Ñ²¹ÒãËÁ‹ ÊǹËÅǧ

LEGEND

400m.

ขอบเขตพื้นที่ เส้นทางคมนาคม สถานี BTS พื้นที่สถานศึกษา เส้นทางรถไฟฟ้าสายสีลม เส้นทางรถไฟฟ้าสายสุขุมวิท เส้นทางรถไฟฟ้ามหานคร เส้นทางรถรถเมล์ เส้นทางรถ Shuttle bus ของจุฬาฯ ทางเดินลอยฟ้า เส้นทาง monorail (แผนยกเลิกแล้ว) 50 25

200 100


page 81

Siam inovation district research report 2016

รู ป แบบโครงการ พั ฒ นาของย่ า น ในย่านสยาม - ปทุมวันนั้นมี โครงการทั้ง อสังหาริมทรัพย์ พื้นที่สาธารณะ และอาคาร พาณิชยกรรมที่กำลังพัฒนาซึ่ง จะทำให้เกิดการกระตุ้นการพัฒนา พื้นที่โดยรอบในอนาคตซึ่งเป็น ผลดีต่อย่านนวัตกรรม

10

6

1

2

5

โครงการที่กำลังพัฒนา 1. ZY Walk 2. โครงการอุทยานจุฬาฯ 100 ปี 3. โครงการหมอน 21-22 4. โครงการศูนย์ราชการ โครงการในอนาคตในสยาม 5. โครงการพัฒนาอาคารสยามกิตติ์ 6. โครงการพัฒนาอาคารโบนันซ่า โครงการคอนโดเกิดใหม่ 7. คอนโด Ashton จุฬา-สีลม 8. คอนโด IDEO Q จุฬา-สามย่าน 9. คอนโด The Room พระราม 4 10. คอนโด Klass Siam

4

9 3

8

7

LEGEND ขอบเขตพื้นที่ เส้นทางคมนาคม สถานี BTS พาณิชยกรรม ที่อยู่อาศัย โครงการพัฒนาไม่หวังผลกำไร คอนโด 50 25

200 100


Siam inovation district research report 2016

page 82

โครงการพั ฒ นาแล้ ว ในปั จ จุ บ ั น พ.ศ. 2559

1 I’m park

2 ย่านการค้า CU Sport Zone

4 คอนโด CU Terrace

5

7 ตลาดสามย่าน

สวนหลวงสแควร์

8 Siam Square One ref : http://realhomecondo.blogspot.com/2015/06/blog-post_7.html

3 Center Point of Siam Square

6

Siam Center

9 Siam Discovery


Siam inovation district research report 2016

page 83

โครงการที ่ ก ำลั ง พั ฒ นาในปั จ จุ บ ั น 1

2

3

4

5

6

7 â¤Ã§¡ÒáÓÅѧ¾Ñ²¹Ò

â¤Ã§¡Òä͹â´à¡Ô´ãËÁ‹

1. ZY Walk 2. â¤Ã§¡ÒÃËÁ͹ 21-22 3. â¤Ã§¡ÒÃÍØ·ÂÒ¹¨ØÌÒÏ 100 »‚

4. ¤Í¹â´ Ashton ¨ØÌÒ-ÊÕÅÁ 5. ¤Í¹â´ IDEO Q ¨ØÌÒ-ÊÒÁ‹ҹ 6. ¤Í¹â´ The Room ¾ÃÐÃÒÁ 4 7. ¤Í¹â´ Klass Siam

ref : http://realhomecondo.blogspot.com/2015/06/blog-post_7.html


Siam inovation district research report 2016

page 84

แนวคิ ด ของการ พั ฒ นาในย่ า น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถานศึกษาที่สำคัญภายในย่าน ได้มีแนวคิดในการพัฒนาที่ต้อง การจะพัฒนาเชื่อมต่อพื้นที่ของ มหาวิทยาลัยเข้าด้วยการและ พัฒนาพื้นที่ส่วนหนึ่งบริเวณติด ถนนบรรทัดทองเป็นพื้นที่ พาณิชยกรรมในอนาคต โดยแนวคิดหลักในการพัฒนาคือ การเชื่อมต่อเป็นแนวแกนไปสู่พื้น ที่สีเขียวสาธารณะ คือ อุทยาน 100 ปี จุฬาฯ

SPORT & HEALTH

SCIENCE PARK

᡹¡ÒÃàª×่ÍÁâ§

COMMERCIAL& ENTERTRAINMENT

TRANSPORTATION HUB

TRANSPORTATION HUB

LEGEND ขอบเขตพื้นที่ เส้นทางคมนาคม สถานี BTS พาณิชยกรรม ที่อยู่อาศัย พื้นที่การพัฒนาใหม่ การเชื่อมโยง 50 25

200 100


Siam inovation district research report 2016

page 85

แนวทางการพั ฒ นา โครงการ ( UDDC ) UDDC หรือ ศูนย์ออกแบบ Urban และพัฒนาเมือง Design and Development Center ได้จัดทำแผนพัฒนาของ พื้นที่ของจุฬา ฯ บริเวณสวนหลวง สามย่ า นติ ด ถนนบรรทั ด ทองให้ กลายเป็ยย่านนวัตกรรมที่จะลองรับ รูปแบบการดำเนินชีวิตในอีก 20 ปีข้างหน้า โดยจะเป็นส่วนสำคัญที่จะ เชื่อมโยงกับการพัฒนาบริเวณสยาม สแควร์ด้วยเช่นกันโดยจากการศึกษา บริเวณสวนหลวงสามย่านนั้นจะทำ หน้าที่เป็นพื้นที่ที่คิดค้น วิจัย ทดลอง ถึงนัวตกรรมต่างๆและบริเวณสยาม เป็ น พื ้ น ที ่ ใ นการแสดงออกถึ ง นวัตกรรมที่สามารถใช้งานได้จริง หรือสร้างมูลค่ากับประชาชนได้แล้ว

LEGEND ขอบเขตพื้นที่ เส้นทางคมนาคม สถานี BTS สถานีรถไฟฟ้าในอนาคต ระบบรางเชื่อมต่อในอนาคต ย่านพาณิชยกรรม แหล่งเรียนรู้ วิทย์กีฬา และที่อยู่อาศัย ย่านที่อยู่อาศัยใหม่และศูนย์ราชการ ย่านที่อยู่อาศัย แหล่งงาน แหล่งเรียนรู้เชิงนวัตกรรมชั้นดี ย่านสำนักงานและพาณิชยกรรมหนาแน่น ย่านสำนักงานและพาณิชยกรรมหนาแน่นสูง 50 25

200 100


Siam inovation district research report 2016

page 86

รายละเอี ย ดโครงการพั ฒ นาสวนหลวง - สามย่ า น

Walking path Raffles Place, Singapore

โครงการพัฒนาสวนหลวง - สามย่าน ให้เป็นย่านนวัตกรรมนั้นเป็นโครงการที่มีความสำคัญใน การพัฒนาย่านนวัตกรรมของสยามสแควร์เป็นอย่างมาก โดยบริเวณสามย่าน - สวนหลวง นั้นจาก วิสัยทัศน์ของโครงการที่ต้องการให้เป็นย่านที่ผสมผสานทั้งพื้นที่ที่อยู่อาศัย พื้นที่พาณิชยกรรมและอาคารสำนักงานที่จะตอบโจทย์การใช้ชีวิตในอนาคต โดยใช้หลักการออกแบบที่ ผสมผสานด้วยเรื่องของ Smart city และนวัตกรรมต่างๆของเมือง การนำพลังงานจากธรรมชาติ มาใช้ให้เป็นประโยชน์ในหลากหลายรูปแบบนำมาใช้ในการสร้างพื้นที่ ดังนั้นพื้นที่สยามที่เป็นพื้นที่อยู่ ติดกับมหาลัยจึงเปรียบเสมือนพื้นที่ที่เป็นจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของย่านที่จะเข้า สู่การพัฒนาในรูปแบบใหม่ของเมือง

https://en.wikipedia.org/wiki/Raffles_Place

Biomass Urban sky walk

Hotchkiss School, Salisbury Xinyi, Teipei

https://urbanreport.wordpress.com/2013/06/10/9-pedestrian-friendlyelements-in-taipei/

Walking path Chueca & Fuencarral Street, Madrid

รายละเอียดพื้นที่ของโครงการพัฒนาย่านนวัตกรรมสวนหลวง - สามย่าน http://www.mundo-guides.com/madrid_shopping_streets/

Retail space - 27,000 sq.m. ( + 68,000 sq.m. )

Population Population - D- time 64,200 คน - N- time 24,000 คน - D- time + 16,000 คน - N- time +4,200 คน

Co - creation space - 164,000 sq.m.

Hotel - 126,000 sq.m. ( + 5,500 sq.m. )

Conventional office - 220,000 sq.m. ( + 58,500 sq.m. )

Biomass Hotchkiss School, Salisbury

Co-Creation space

Wetland / Swale Chula U, Bangkok

Conventional office - 220,000 sq.m. ( + 58,500 sq.m. )

Resdidential - 289,000 sq.m. ( + 22,000 sq.m. )

Parking lots - 16,000 คัน ( + 2,000 คัน )

Residential ( ,1 ,2

UPPER PODIUM

TOWER LOWER PODIUM

5-6

)

Corporate Office/ Co-working space/ Fitness

Co-creation space (Loft co-creation, Startup)

2-4 1

Everyday use retail ( !"#$$

)

,

%#&$

http://www.archdaily.com/340641/hotchkiss-biomass-power-plantcenterbrook-architects-and-planners !!#$$

'#$$

'#$$


Siam inovation district research report 2016

page 87

พื ้ น ที ่ ท ี ่ ก ่ อ ให้ เ กิ ด นวั ต กรรมใน ย่ า นสยาม - ปทุ ม วั น ผู้วิจัยได้ทำการแบ่งพื้นที่ที่ก่อ ให้เกิดกระบวนการทางนวัตกรรม ไว้ จ ากการสรุ ป ทฤษฏี แ บ่ ง เป็ น 4 พื้นที่ด้วยกัน -Cognitive Space พื้นท่ีการรับรู้และความคิด -Information Space พื้นที่ด้านข้อมูลข่าวสาร -Devleopment Space พื้นท่ีการพัฒนาความคิด -Physical Space พื้นท่ีแสดงกายภาพ ซึ่งเมื่อทำการวิเคราะห์พื้นที่ทำ ให้ ท ราบถึ ง ศั ก ยภาพของย่ า น สยาม - ปทุมวัน โดยพบกว่ามี การกระจายตัวของรูปแบบพื้นที่ ที่สอดคล้องกันอย่างเห็นได้ชัดนัน้ แสดงให้เห็นถึงความเป็นไปได้ ในการพัฒนาของย่านไป สู่วิสัยทัศน์ที่ตั้งใจไว้

LEGEND Cognitive Space จามจุรีสแควร์ สวนหลวงแสควร์ I’m Park NE8T Too Fast Too Sleep Information Space RABBIT HUB William Warren Library TK Park Draft Board CU LIBRARY CU MUSUEM TCDC COMMONS Development Space CU INNOVATION HUB WOLF SYN - HUB DISCOVERY HUBBA Physical Space ห้องสมุดศิลปะ (BACC) SIAM SQUARE 1 MBK CENTRAL WORLD ขอบเขตพื้นที่ เส้นทางคมนาคม สถานี BTS 50 25

200 100


Siam inovation district research report 2016

page 88

สรุ ป ภาพรวมการวิ เ คราะห์ ก ายภาพ ของย่ า นสยาม - ปทุ ม วั น

01 02 03

DEVELOPMENT โครงการพัฒนาพื้นที่ของจุฬาในการพัฒนาย่านนวัตกรรมบริเวณ สวนหลวง - สามย่าน ที่เป็นแรงผลักดันต่อการพัฒนาพื้นที่บริเวณสยามของโครงการ

ACCESSIBILITY

พื้นที่การวิจัยสามารถเชื่อมต่อด้วยระบบคมนาคมที่รองรับหลากหลายรูปแบบ ซึ่งสะดวกต่อการพัฒนาและการใช้งานย่านในอนาคต

HISTORY

ประวัติของพื้นที่มีความเป็นมา เป็นส่วนสำคัญในการส่งผลการ พัฒนาพื้นที่เนื่องจากเป็นย่านที่มีเหตุการณ์สำคัญมาอย่างยาวนาน

EXPAND

04

การขยายตัวของธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับ START UP กระจุกตัวอยู่บริเวณพื้นที่ โดยรอบของย่าน ซึ่งเป็นแนวโน้มสำคัญในการพัฒนาต่อเป็นย่านในอนาคต

ECONOMY

Designed by Freepik / Flaticon


page 89

Siam inovation district research report 2016

วิเคราะห์กิจกรรมของพื้นที่ ขอบเขตการวิเคราะห์พื้นที่ จากวิสัยทัศน์ของ CU INOVATION HUB นั้นได้ระบุให้สยามเป็นพื้นที่ใน การสร้างย่านนวัตกรรมโดย กำหนด บทบาทของพื้นที่คือ

ถนนอังรีดูนังต์

สยามสแควร์ ซอย 5

สยามสแควร์ ซอย 4

สยามสแควร์ ซอย 3

สยามสแควร์ ซอย 2

สยามสแควร์ ซอย 1

สยาม

ถนนพญาไท

สยามสแควร์ ซอย 8

สยามสแควร์ ซอย 9

สยามสแควร์ ซอย 10

สยามสแควร์ ซอย 7 สยามสแควร์ ซอย 11

ดังนั้นการวิเคราะห์กิจกรรม ของพื้นที่จะทำให้เราทราบถึง แนวโน้มของการจัดการให้เกิดย่าน นวัตกรรมโดยขอบเขตของการ วิจัยจะต้องครอบคลุมถึงพื้นที่ห้าง สรรพสินค้ารอบสยามสแควร์ เพื่อให้เห็นถึงระบบของพื้นที่

ถนนพระราม 1

สยามสแควร์ ซอย 6

1.Demonstrates cutting-edge innovations 2.Inspires the next generation

จุฬาลงกรณ์ ซอย 64 Legend Block A Block B Block C

Block G Block H Block I

Block J Block K Block L 200

50 25

Block D Block E Block F

100


Siam inovation district research report 2016

page 90

การใช้ ง านพื ้ น ที ่ ส ยาม ในปั จ จุ บ ั น เวลาปกติ ปัจจุบันพื้นที่สยามมประเด็น หลักของการใช้งาน คือ

ถนนอังรีดูนังต์

สยามสแควร์ ซอย 6

สยามสแควร์ ซอย 5

สยามสแควร์ ซอย 4

สยามสแควร์ ซอย 8

สยามสแควร์ ซอย 9

ลานจอดรถที่ 2

สยามสแควร์ ซอย 7

สยามสแควร์ ซอย 10

ลานจอดรถที่ 1

สยามสแควร์ ซอย 11

1

สยาม

สยามสแควร์ ซอย 3

สยามสแควร์ ซอย 2

สยามสแควร์ ซอย 1

ถนนพระราม 1

ถนนพญาไท

1.ระบบการสั ญ จรที ่ ม ี ป ั ญ หา ของสยามคือการตัดกันระหว่าง ระบบทางเดินเท้าและระบบถนน ทำให้เกิดการเชื่อมต่อที่ไม่สมบูรณ์ ของกิจกรรมและการเดินทางของ รถยนต์และพื้นที่บริเวณนี้นั้นยัง เป็นพื้นที่การจราจรหนาแน่นจึง เกิดผลกระทบต่อพื้นที่โดยรอบ 2. ที่จอดรถการจัดการที่ไม่เป็น ระบบจอดรถบนพื ้ น ที ่ ผ ิ ว ถนน หรือที่จอดรถไม่เพียงพอ ทำให้การสร้างกิจกรรมต่อพื้นที่ สาธารณะนั้นไม่สามารถทำได้โดย สะดวกซึ่งหากเมื่อมีการใช้งาน พื้นที่สาธารณะต้องมีการปรับ ปรุงและพัฒนา

ลานจอดรถที่ 3

LEGNED 1 5

เส้นทางการสัญจร 200

50 25

ที่จอดรถนอกอาคาร ที่จอดรถในอาคาร

100


Siam inovation district research report 2016

page 91

การใช้ ง านพื ้ น ที ่ ส ยาม ในปั จ จุ บ ั น เวลาจั ด งาน

ถนนพระราม 1

ถนนอังรีดูนังต์

สยามสแควร์ ซอย 5

สยาม

สยามสแควร์ ซอย 4 สยามสแควร์ ซอย 7

สยามสแควร์ ซอย 8

ถนนพญาไท

ในเวลาที่สยามสแควร์ที่การ จัดงานแล้วนั้นตามกฏระเบียบ นั้นได้ระบุไว้ให้เป็นปิดพื้นที่เป็น พื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งโดยมีการจ่าย ค่าชดเชยจากรายได้ของการเป็น พื้นที่ลานจอดรถซึ่งเราพบ ประเด็นที่ว่าในกรณีเมื่อมีการจัด งานการเชื่อมต่อจากฝั่งห้างสรรพ สินค้าของเครือสยามภิวัฒน์ จะ สามารถเชื่อมต่อกับบริเวณสยาม ได้ดีและเป็นพื้นที่การผสมผสาน ระหว่างภายนอกและภายในอาคาร ได้ดีกว่าในส่วนตั้งแต่สยามสแควร์ ซอย8ทำให้การเชื่อมต่อจากทาง มหาวิทยาลัยเข้าสู่ตัวพื้นที่ได้ยาก กว่ากรณีที่มีการจัดงานในพื้นที่ สยาม แห่งนี้

LEGNED 1 5

5

เส้นทางการสัญจร พื้นที่จัดกิจกรรม 200

50 25

ที่จอดรถนอกอาคาร ที่จอดรถในอาคาร

100


Siam inovation district research report 2016

page 92

รายละเอี ย ดพื ้ น ท่ ี แ ละกิ จ กรรม ของย่ า นสยามสแควร์ 13

14 32

ถนนพระราม 1 19

scoping

information space

bussiness model prototyping testing full launch

36

17

30

สยามสแควร์ ซอย 6

ถนนอังรีดูนังต์

35

28

สยามสแควร์ ซอย 8

21

38 29

สยามสแควร์ ซอย 10

25

9

34 สยามสแควร์ ซอย 7

6

22

8

26

5

37

สยามสแควร์ ซอย 9

24

39

สยามสแควร์ ซอย 4

สยามสแควร์ ซอย 2

23

สยามสแควร์ ซอย 3

สยามสแควร์ ซอย 1

1

7

สยามสแควร์ ซอย 5

18

4

11

20

cognitive space

3

2

Innovation space

idea thinking

33

31

สยามสแควร์ ซอย 11

Innovation process

15 12

ถนนพญาไท

ในพื้นที่สยามสแควร์เป็นพื้นที่ที่มีการใช้งานที่ หลากหลายโดยเฉพาะการจัดงานหรือกิจกรรมต่างๆ บนพื้นที่สาธารณะหรือลานโล่งของอาคารการวิเคราะห์ รายละเอียดของพื้นที่จะเป็นการบ่งบอกถึงศักยภาพที่ เกิดขึ้นของพื้นที่กิจกรรมต่างๆ ว่ามีรายละเอียด อย่างไร และทางทีมวิจัยได้ทำการวิเคราะห์ร่วมกับบริบท ของกระบวนการเกิดนวัตกรรม ทั้งหมด 6 ขั้นตอน 4 พื้นที่ โดยระบุตามความเหมาะสมที่พื้นที่นั้นสามารถจัด กิจกรรมได้

10

จุฬาลงกรณ์ ซอย 64

27

200

50 25

development space

physical space

22 ลานจอดรถที่ 1

29 สยามสแควร์ ซอย 5

36 ลานเชื่อมรถไฟฟ้า

16 อาคารโตโยต้า

23 สยามสแควร์ ซอย 1

30 ลานหน้า MBK center

37 sunken court

17 Glowfish

24 สยามสแควร์ ซอย 2

18 สยามพิฆเนศ

25 ลานจอดรถที่ 2

19 True Incube

26 สยามสแควร์ ซอย 3

8

Siam Square 1

15

2 True สยามสแควร์ ซอย 1

9

Novotel

3 Growth

10 Siamkit

4 โรงภาพยนตร Lido

11

5 Now 26

12 BACC หอศิลป์

6 True สยามสแควร์ ซอย 3

13

7 Centerpoint Siam

14 Siam Center

1 โรงภาพยนตร์ Scala

MBK center Siam Discovery

100

Siam Paragon

20

ตึกแถวว่างบริเวณลานจอดรถที่ 1

27 ลานจอดรถที่ 3

38 สวนบริเวณสยามพิฆเนศ 31 ลานหน้า BACC ลานระหว่าง Siam center 39 Sit In 32 -Siam Discovery ลานระหว่าง Siam center 33 -Siam Paragon 34 ลานระหว่างหน้า Centerpoint Siam

21

ตึกแถวว่างบริเวณลานจอดรถที่ 2

28 park @ siam

35 ลานหน้า สยามสแควร์ ซอย 7


Siam inovation district research report 2016

page 93

การใช้ ง านพื ้ น ที ่ จ อดรถ โดยรอบสยามในปั จ จุ บ ั น

Legend จำนวน 2,500 คัน จำนวน 500 คัน

ถนนพระราม 1

สยาม

ถนนอังรีดูนังต์

สยามสแควร์ ซอย 6

สยามสแควร์ ซอย 5

สยามสแควร์ ซอย 4

สยามสแควร์ ซอย 3

ลานจอดรถที่ 3

200

50 25

สยามสแควร์ ซอย 8

สยามสแควร์ ซอย 9

ลานจอดรถที่ 2

สยามสแควร์ ซอย 7

สยามสแควร์ ซอย 10

ลานจอดรถที่ 1

สยามสแควร์ ซอย 11

1

ถนนพญาไท

จำนวน 4,000 คัน

สยามสแควร์ ซอย 1

จำนวน 1,500 คัน

สยามสแควร์ ซอย 2

จำนวน 2,500 คัน

100


page 94

Siam inovation district research report 2016

การใช้ ง านพื ้ น ที ่ จ อดรถ ในสยามในปั จ จุ บ ั น

Legend จำนวน 236 คัน จำนวน 270 คัน

ถนนพระราม 1

สยาม

ถนนอังรีดูนังต์

สยามสแควร์ ซอย 6

สยามสแควร์ ซอย 5

สยามสแควร์ ซอย 4

สยามสแควร์ ซอย 3 ลานจอดรถที่ 2

ลานจอดรถที่ 3

200

50 25

สยามสแควร์ ซอย 8

ลานจอดรถที่ 1

สยามสแควร์ ซอย 7 สยามสแควร์ ซอย 9

ground floor 1,833 คัน

สยามสแควร์ ซอย 11

ground floor 236 คัน

ถนนพญาไท

1

สยามสแควร์ ซอย 10

สยามสแควร์ ซอย 1

จำนวน 763 คัน

สยามสแควร์ ซอย 2

จำนวน 800 คัน

100


Siam inovation district research report 2016

page 95

การดู แ ลในใช้ ง านพื ้ น ที ่ สยามในปั จ จุ บ ั น Legend ส่วนทรัพย์สินจุฬา ฯ ส่วนของ siam piwat ส่วนของ MBK

ถนนพระราม 1

สยาม

ถนนอังรีดูนังต์

สยามสแควร์ ซอย 6

สยามสแควร์ ซอย 5

สยามสแควร์ ซอย 4

ลานจอดรถที่ 3

200

50 25

สยามสแควร์ ซอย 8

สยามสแควร์ ซอย 9

ลานจอดรถที่ 2

สยามสแควร์ ซอย 7

สยามสแควร์ ซอย 10

ลานจอดรถที่ 1

สยามสแควร์ ซอย 11

ถนนพญาไท

1

สยามสแควร์ ซอย 3

สยามสแควร์ ซอย 2

สยามสแควร์ ซอย 1

ส่วนของ BBAC

100


page 96

Siam inovation district research report 2016

การใช้ ง านที ่ จ อดรถ พื ้ น ที ่ ส ยาม Siam square จอดฟรี 15 นาทีแรก ชั่วโมงแรก คิดค่าบริการ 10 บาท ชั่วโมงที่2-4 คิดค่าบริการชั่วโมงละ 20 บาท ชั่วโมงที่ 5 เป็นต้นไปคิดค่าบริการชั่วโมงละ 30 บาท Siam square 1 จอดไม่เกิน 1 ชั่วโมง คิดค่าบริการ 10 บาท ชั่วโมงที่2-4 คิดค่าบริการชั่วโมงละ 20 บาท ชั่วโมงที่ 5 เป็นต้นไปคิดค่าบริการชั่วโมงละ 30 บาท แท็กซี่ สามล้อ จอดฟรี 15 นาที จอดเกินคิด 100 บาท

BACC ชมนิทรรศการประทับตราจอดรถฟรี 2 ชม. ที่ชั้น 5 ค่าบริการที่จอดรถ 15 นาทีแรก ไม่เสียค่าบริการ 15 นาที – 2 ชั่วโมง ค่าบริการ 20 บาท ชั่วโมงที่ 3 – 4 ค่าบริการชั่วโมงละ 30 บาท ชั่วโมงที่ 5 ขึ้นไป ค่าบริการชั่วโมงละ 40 บาท

ถนนอังรีดูนังต์

สยามสแควร์ ซอย 6

สยามสแควร์ ซอย 5

สยามสแควร์ ซอย 7 สยามสแควร์ ซอย 9

ลานจอดรถที่ 2

สยามสแควร์ ซอย 4

สยามสแควร์ ซอย 3

สยามสแควร์ ซอย 2

สยาม

สยามสแควร์ ซอย 10

ลานจอดรถที่ 1

สยามสแควร์ ซอย 11

Siam paragon จอดฟรี 30 นาทีแรก ( เฉพาะ จ. - ศ. ) จอดฟรี 2 ชั่วโมงแรก ( เฉพาะ ส. - อา. และวันหยุดนักขัตฤกษ์ ) ชั่วโมงต่อไปชั่วโมงละ 30 บาทจอดเกิน 6 ชั่วโมงขึ้นไปคิดชั่วโมงละ 60 บาท

สยามสแควร์ ซอย 1

MBK มาบุญครอง 4 ชั่วโมงแรก 40 บาท ชั่วโมงต่อไปชั่วโมงละ 20 บาท เกิน 15 นาที คิดเป็น 1 ชั่วโมง โปร ฯ เวลา 18.00-06.00 ค่าจอด 40 บาท

1

ถนนพญาไท

Siam Discovery - Siam Center จอดฟรี 30 นาทีแรก ( เฉพาะ จ. - ศ. ) จอดฟรี 2 ชั่วโมงแรก เ( ฉพาะ ส. อา. และวันหยุดนักขัตฤกษ์ ) ชั่วโมงต่อไปชั่วโมงละ 30 บาท จอดเกิน 6 ชั่วโมงคิดชั่วโมงละ 60 บาท

ถนนพระราม 1

สยามสแควร์ ซอย 8

อาคารวิทยกิตติ์ - อาคารสยามกิตติ์ ชั่งโมงที่ 1- 4 ชั่วโมงละ 10 บาท ตั่งแต่ชั่วโมงที่ 5 ชั่วโมงละ 20 บาท

ลานจอดรถที่ 3

LEGNED 1 5

เส้นทางการสัญจร 200

50 25

ที่จอดรถนอกอาคาร ที่จอดรถในอาคาร

100


page 97

Siam inovation district research report 2016

พื้นที่จัดงานและกิจกรรมของ สยามสแควร์ แ บบ Indoor 1

โรงภาพยนตร์ Scala

2 True สยามสแควร์ ซอย 1 Growth

4 โรงภาพยนตร Lido 13

14

6 True สยามสแควร์ ซอย 3

3

2

19

Siam Square 1

17

4

8 6

14 Siam Center 15 Siam Paragon 16 อาคารโตโยต้า 17 Glowfish

20

21

Novotel

ถนนอังรีดูนังต์

13 Siam Discovery

9

5

สยามสแควร์ ซอย 11

12 BACC หอศิลป์

ถนนพญาไท

11 MBK center

สยามสแควร์ ซอย 6

1

7

สยามสแควร์ ซอย 3

11

สยามสแควร์ ซอย 2

สยามสแควร์ ซอย 1

10 Siamkit

18

4

สยามสแควร์ ซอย 5

9 Novotel

สยามสแควร์ ซอย 7 สยามสแควร์ ซอย 9

8

ถนนพระราม 1

Centerpoint Siam

สยามสแควร์ ซอย 10

7

สยามสแควร์ ซอย 4

5 Now 26

15 12

สยามสแควร์ ซอย 8

3

10

จุฬาลงกรณ์ ซอย 64

Siamkit

18 สยามพิฆเนศ 19 True Incube 20 ตึกแถวว่างบริเวณลานจอดรถที่ 1 21 ตึกแถวว่างบริเวณลานจอดรถที่ 2

200

50 25

100


page 98

Siam inovation district research report 2016

พื้นที่จัดงานและกิจกรรมของ สยามสแควร์ แ บบ Outdoor 1

ลานจอดรถที่ 1

2 สยามสแควร์ ซอย 1 3 สยามสแควร์ ซอย 2

ลานหน้า BACC

11

ลานระหว่าง Siam center -Siam Discovery ลานระหว่าง Siam center -Siam Paragon

12

13 ลานระหว่างหน้า Centerpoint Siam

1

3

5

4

8 13 สยามสแควร์ ซอย 7 14

7

ถนนอังรีดูนังต์

10

2

สยามสแควร์ ซอย 6

ลานหน้า MBK center

สยามสแควร์ ซอย 5

9

สยามสแควร์ ซอย 8

สยามสแควร์ ซอย 5

สยามสแควร์ ซอย 9

8

สยามสแควร์ ซอย 4

park @ siam

สยามสแควร์ ซอย 3

7

9

สยามสแควร์ ซอย 10

ลานจอดรถที่ 3

สยามสแควร์ ซอย 2

6

ถนนพระราม 1

สยามสแควร์ ซอย 11

สยามสแควร์ ซอย 3

12

สยามสแควร์ ซอย 1

5

ถนนพญาไท

4 ลานจอดรถที่ 2

11 10

จุฬาลงกรณ์ ซอย 64

6

14 ลานหน้า สยามสแควร์ ซอย 7 200

50 25

100


Siam inovation district research report 2016

page 99

พื้นที่จัดงานและกิจกรรม ของสยามสแควร์ แ บบกึ ่ ง Outdoor - Indoor

ถนนพระราม 1

สยามสแควร์ ซอย 6

สยามสแควร์ ซอย 4

3

สยามสแควร์ ซอย 5

1

สยามสแควร์ ซอย 3

ถนนอังรีดูนังต์

2

สยามสแควร์ ซอย 8

สยามสแควร์ ซอย 7 สยามสแควร์ ซอย 9

สวนบริเวณสยามพิฆเนศ

สยามสแควร์ ซอย 10

3

สยามสแควร์ ซอย 2

sunken court

สยามสแควร์ ซอย 11

2

สยามสแควร์ ซอย 1

ลานเชื่อมรถไฟฟ้า

ถนนพญาไท

1

จุฬาลงกรณ์ ซอย 64

200

50 25

100


page 100

Siam inovation district research report 2016

ความสัมพันธ์ของขนาดและประเภท ของพื้นที่ในการจัดทำกิจกรรม

การวิเคราะห์ระหว่างขนาดของพื้นที่และกิจกรรมที่เกิดขึ้นในปัจจุบันของพื้นที่กับประเภทของพื้นที่ใน ขอบเขตพื้นที่การวิจัย เพื่อความเข้าใจของความสัมพันธ์ของกิจกรรมที่เกิดขึ้นในพื้นที่ซึ่งสรุปได้ดังตาราง

พื้นที่ขนาดเล็ก กิจกรรมที่น่าสนใจ ในพื้นที่ ปัจจุบัน :

working

learning

meeting

พื้นที่ขนาดกลาง

talking event

3 Growth

พื้นที่ประเภท Indoor

20 ตึกแถวว่างบริเวณลานจอดรถที่ 1 21 ตึกแถวว่างบริเวณลานจอดรถที่ 2

กิจกรรมที่น่าสนใจ ในพื้นที่ ปัจจุบัน :

กิจกรรมที่น่าสนใจ ในพื้นที่ ปัจจุบัน :

live show

events

festival

1 โรงภาพยนตร์ Scala

11

5 Now 26

4 โรงภาพยนตร Lido

12 BACC หอศิลป์

6 True สยามสแควร์ ซอย 3

7 Centerpoint Siam

13

16 อาคารโตโยต้า

8

Siam Square 1

14 Siam Center

9

Novotel

15

17

Glowfish

concert

MBK center Siam Discovery

Siam Paragon

19 True Incube

10 Siamkit

18 สยามพิฆเนศ

ลานระหว่างหน้า Centerpoint Siam 35 ลานหน้า สยามสแควร์ ซอย 7

22 ลานจอดรถที่ 1

29 สยามสแควร์ ซอย 5

23 สยามสแควร์ ซอย 1

30 ลานหน้า MBK center

24 สยามสแควร์ ซอย 2

31 ลานหน้า BACC ลานระหว่าง Siam center 32 -Siam Discovery ลานระหว่าง Siam center 33 -Siam Paragon 34 ลานระหว่างหน้า Centerpoint Siam

25 ลานจอดรถที่ 2 26 สยามสแควร์ ซอย 3 27 ลานจอดรถที่ 3 28 park @ siam

พื้นที่ประเภท กึ่ง Indoor - Outdoor

exhibition

2 True สยามสแควร์ ซอย 1

34

พื้นที่ประเภท Outdoor

full launch conference event

พื้นที่ขนาดใหญ่

36 37 38

ลานเชื่อมรถไฟฟ้า สวนบริเวณสยามพิฆเนศ sunken court

35 ลานหน้า สยามสแควร์ ซอย 7

36 37 38


page 101

Siam inovation district research report 2016

รู ป พื ้ น ท่ ี แ ละกิ จ กรรมของสยามสแควร์

สยามสแควร์ซอย 4

ศูนย์หนังสือจุฬา

ตึกแถวที่ไม่ได้ใช้งาน

มุมอมองสยามด้านบน

ลานหน้า centerpoint siam

ทางเดิน Siam Square 1

ตรอกซฮยในสยาม

ที่จอดรถหลังอาคาร

ลานบริเวณสยามสแควร์ซอย 7

ลานด้านหน้า Siam Square 1

Park @ Siam

สยามสแควร์ซอย 2


page 102

Siam inovation district research report 2016

รายละเอี ย ดพื ้ น ท่ ี แ ละกิ จ กรรมของ ห้ า งสรรพสิ น ค้ า รอบสยามสแควร์ 1. MBK center

: พื ้ น ที ่ indoor พื ้ น ที ่ outdoor

11

30

ประเภทของพื้นที่ในปัจจุบัน : Conference room ( Pathumwan Princess Hotel ) Hall ( Pathumwan Princess Hotel ) Open space , Office Rental

จำนวนที่จอดรถ : 2,500 คัน ความจุ : 1,000 คน พื้นที่จัดงานในอาคาร / 800 คน พื้นที่จัดงานนอกอาคาร ข้อจำกัด : กรณีเป็นโครงสร้างอาคาร มีการใช้เสียง ต้องขออนุญาติ ยกเว้น เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สื่อลามก ( พิจารณาแล้วแต่กรณี ) รูปแบบ กิจกรรมในปัจจุบัน : ความสะดวกในการเข้าถึง :

shopping

events

movie

eating

office

testing

กระบวนการเกิด นวัตกรรมที่เหมาะสมในพื้นที่ : idea thinking full launch

2. Siam Paragon

: พื ้ น ที ่ indoor พื ้ น ที ่ outdoor

15

https://tlongin.files.wordpress.com/2016/03/dsc03544.jpg http://www.chawalunresort.com/wp-content/uploads/2014/04/Chawalun_seminar.jpg http://bangkokforvisitors.com/shopping/malls/BKKmbk.JPG www.mbk-center.co.th/directory/

33

ประเภทของพื้นที่ในปัจจุบัน : Paragon Hall , Exhibition space ,Theater Open space , Office Rental

จำนวนที่จอดรถ : 4,000 คัน ความจุ : 2,000 - 10,000 คน พื้นที่จัดงานในอาคาร / 1,000 คน พื้นที่จัดงานนอกอาคาร

ข้อจำกัด : กรณีเป็นโครงสร้างอาคาร มีการใช้เสียง ต้องขออนุญาติ ยกเว้น เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สื่อลามก ( พิจารณาแล้วแต่กรณี ) รูปแบบ กิจกรรมในปัจจุบัน : shopping

ความสะดวกในการเข้าถึง :

events

movie

eating

office

conference

testing กระบวนการเกิด นวัตกรรมที่เหมาะสมในพื้นที่ : idea thinking full launch

http://www.siamparagon.co.th/directory.php?floor_id=1 http://www.grandsukhumvithotel.com/wp-content/uploads/2014/05/Siam-Paragon-from-Nat-Staion.jpg http://www.tica.or.th/company_images/20090703165153.jpg http://thinkofliving.com/wp-content/uploads/2015/10/Siam-Paragon-Luxury-Property-Showcase-20159.jpg

Designed by Freepik / Flaticon


Siam inovation district research report 2016

3. Siam center

page 103

: พื ้ น ที ่ indoor พื ้ น ที ่ outdoor 14 32

ประเภทของพื้นที่ในปัจจุบัน : Open space

Office Rental

จำนวนที่จอดรถ : 2,500 คัน ความจุ : 600 คน พื้นที่จัดงานในอาคาร ข้อจำกัด : กรณีเป็นโครงสร้างอาคาร มีการใช้เสียง ต้องขออนุญาติ ยกเว้น เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สื่อลามก ( พิจารณาแล้วแต่กรณี ) รูปแบบ กิจกรรมในปัจจุบัน : shopping

events

movie

eating

office

ความสะดวกในการเข้าถึง :

testing idea thinking full launch

กระบวนการเกิด นวัตกรรมที่เหมาะสมในพื้นที่ :

4. Siam Discovey

conference

http://www.philretailers.com/wp-content/uploads/2015/07/Siam-Center-620x330.jpg http://www.siamcenter.co.th/contact.php http://www.personal-shopper-bangkok.com/sites/personal-shopper-bangkok.com/files/imagecache/product_full/ bangkok-personal-shopper-50-photos-siam-center-shops.jpg

: พื ้ น ที ่ indoor 13

ประเภทของพื้นที่ในปัจจุบัน : Open space , Retail Innovation Lab Co - working space , Start-up zone

จำนวนที่จอดรถ : 1,500 คัน ความจุ : 500 คน พื้นที่จัดงานในอาคาร ข้อจำกัด : กรณีเป็นโครงสร้างอาคาร มีการใช้เสียง ต้องขออนุญาติ ยกเว้น เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สื่อลามก ( พิจารณาแล้วแต่กรณี ) รูปแบบ กิจกรรมในปัจจุบัน : ความสะดวกในการเข้าถึง :

shopping

events

กระบวนการเกิด นวัตกรรมที่เหมาะสมในพื้นที่ :

movie

eating

office

conference

bussiness testing model idea thinking full launch

http://www.archdaily.com/796132/siam-discovery-nendo-center-shops.jpg http://yusabuy.com/2016/05/26/siam-discovery/

Designed by Freepik / Flaticon


page 104

Siam inovation district research report 2016

5. BACC

: พื ้ น ที ่ indoor พื ้ น ที ่ outdoor 12 31

ประเภทของพื้นที่ในปัจจุบัน : Main gallery

People's gallery Auditoriumstudio Meeting rooms Multi-function room

Hall Library hall Open space Co - working space Start-up

จำนวนที่จอดรถ : 500 คัน ความจุ : 200 - 2,000 คน พื้นที่จัดงานในอาคาร / 500 คน พื้นที่จัดงานนอกอาคาร

ข้อจำกัด : กรณีเป็นโครงสร้างอาคาร มีการใช้เสียง ต้องขออนุญาติ ยกเว้น เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สื่อลามก ( พิจารณาแล้วแต่กรณี ) รูปแบบ กิจกรรมในปัจจุบัน : shop

events

eating

conference

bussiness model testing กระบวนการเกิด นวัตกรรมที่เหมาะสมในพื้นที่ : idea thinking full launch ความสะดวกในการเข้าถึง :

จากการวิเคราะห์พบว่าพื้นที่อาคาร และห้างสรรพสินค้าส่วนใหญ่ที่อยู่โดยรอบ สยามสแควร์นั้นมีประสิทธิภาพสูงในการจัดกิจกรรมขนาดใหญ่ ที่ตอบโจทย์กับคนจำนวน มาก ซึ่งสอดคล้องกับกระบวนการเกิดนวัตกรรมในขั้นตอน การ Testing และ Full Launch โดยเราสามารถจัดการพื้นที่เพื่อตอบรับได้ และในส่วนของพื้นที่ ที่มีการปรับปรุง ใหม่เช่น Siam Discovery , Siam Center นั้นจะมีการออกแบบของอาคารหรือ แนวคิดในการออกแบบที่รองรับการทำงานในอนาคตซึ่งจะมีพื้นที่สำหรับกิจกรรมที่เกี่ยว ข้องกับกระบวนการเกิดนวัตกรรมอยู่ ในการจัดทำย่านนวัตกรรม จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือของทุกภาคส่วน โดยเฉพาะพื้นที่พาณิชยกรรมขนาดใหญ่เช่นนี้ ซึ่งหากมีการจัดกิจกรรมขึ้นในพื้นที่ต่างๆ ของสยามสแควร์จะส่งผลต่อการรับรู้และการพัฒนาของพื้นที่ได้ http://www.bacc.or.th/content/meeting-rooms.html http://1.bp.blogspot.com/_PEqrc2Gkgl8/TRj3JOpKpXI/AAAAAAAAAHk/mT6P945-9Hc/s1600/BACC_Map.jpg http://exhibition.contestwar.com/sites/exhibition.contestwar.com/files/venue/3_0.jpg http://www.bacc.or.th/images/content/2012-09/03535778.jpg

Designed by Freepik / Flaticon


page 105

Siam inovation district research report 2016

รายละเอี ย ดพื ้ น ที ่ แ ละกิ จ กรรมของอาคาร พาณิ ช ยกรรมภายในบริ เ วณสยามสแควร์

สยามสแควร์ ซอย 8

สยามสแควร์ ซอย 9

สยามสแควร์ ซอย 10

สยามสแควร์ ซอย 11

สยามสแควร์ ซอย 8

สยามสแควร์ ซอย 7 สยามสแควร์ ซอย 9

สยามสแควร์ ซอย 10

สยามสแควร์ ซอย 11

สยามสแควร์ ซอย 7

สยามสแควร์ ซอย 6

FREE

สยามสแควร์ ซอย 5

สยามสแควร์ ซอย 6

สยามสแควร์ ซอย 5

FREE

20 % 20 % 13 % 13 % 3% 1% 4% 7% 9% 7% 2% 1%

สยามสแควร์ ซอย 4

4% 1% 2% 7% 5% 1%

FOOD FASHION RETIALED COSMETIC MASSAGE & SPA CLINIC CAFE CO - WORKING SPACE INSTITUTE BANKING SERVICE

สยามสแควร์ ซอย 3

24 % 24 % 17 % 15 %

ในบริเวณชั้น 2 นั้นจะเป็น ส่วนต่อขยายจากบริเวณชั้น 1 ในกรณีเป็นธุรกิจที่ขยายตัวได้ดี และสร้างผลกำไรหรือจะเป็น การค้าอีกรูปแบบกับชั้น 1 เลย แต่จะมีการใช้ทางขึ้นร่วมกันหรือ แบ่งส่วนของพื้นที่เกิดขึ้นซึ่งเป็น ลักษณะเฉพาะของพื้นที่

สยามสแควร์ ซอย 2

FOOD FASHION RETIALED COSMETIC MASSAGE & SPA CLINIC CAFE INSTITUTE BANKING

สยามสแควร์ ซอย 4

สยามสแควร์ ซอย 3

สยามสแควร์ ซอย 2

สยามสแควร์ ซอย 1

ร้านค้าของสยามสแควร์นั้นธุรกิจที่มี จำนวนมากที่สุดได้แก่ อาหาร แฟชั่น และค้าขาย ซึ่งจำนวนร้านค้าตามความ เป็นจริงแล้วอาจจะคลาดเคลื่อนในบาง ส่วนเนื่องจาก มีจำนวนไม่น้อยที่ผู้ทำ การค้าไม่สามารถคืนกำไรได้ในเวลาเช่า 3 เดือนทำให้ต้องเปลี่ยนุรกิจไป สยาม ยังคงเป็นทำลเทองในการทำการค้าแม้ เศรษฐกิจจะซบเซา

การใช้ประโยชน์พื้นที่สยามในปัจจุบัน ( 2nd floor plan )

สยามสแควร์ ซอย 1

การใช้ประโยชน์พื้นที่สยามในปัจจุบัน ( 1st floor plan )

200

50 25

100


page 106

Siam inovation district research report 2016

สยามสแควร์ ซอย 6

สยามสแควร์ ซอย 5 สยามสแควร์ ซอย 8

สยามสแควร์ ซอย 9

สยามสแควร์ ซอย 10

สยามสแควร์ ซอย 11

สยามสแควร์ ซอย 8

สยามสแควร์ ซอย 7 สยามสแควร์ ซอย 9

สยามสแควร์ ซอย 10

สยามสแควร์ ซอย 7 สยามสแควร์ ซอย 11

67.9 %

2%

สยามสแควร์ ซอย 4

FREE

1.8 % 2.3 % 0.5 % 2% 1% 0.5 % 7% 1% 2% 7% 5%

สยามสแควร์ ซอย 3

FOOD FASHION RETIALED COSMETIC MASSAGE & SPA CLINIC RESIDENTIAL CAFE CO - WORKING SPACE INSTITUTE BANKING SERVICE

สยามสแควร์ ซอย 2

46 %

5%

สยามสแควร์ ซอย 5

สยามสแควร์ ซอย 4

FREE

7% 2.5 % 4% 8% 4.5 % 1% 7% 1% 1% 8% 5%

สยามสแควร์ ซอย 6

FOOD FASHION RETIALED COSMETIC MASSAGE & SPA CLINIC RESIDENTIAL CAFE CO - WORKING SPACE INSTITUTE BANKING SERVICE

สยามสแควร์ ซอย 3

สยามสแควร์ ซอย 2

สยามสแควร์ ซอย 1

ในบริเวณชั้น 3-4นั้นจะเริ่ม มีร้านค้าน้อยลงและเริ่มเป็นส่วน จัดการของร้านค้าซึ่งในบางอาคาร ก็จะไม่มีชั้นนี้หรือมีแค่ 3ชั้นหรือ ในบางคูหาเป็นที่พักอาศัยให้กับ คนงานซึ่งไม่ได้ใช้ประโยชน์หาก สามารถนำมาพัฒนาเป็นพื้นที่ ใช้งานจะเพิ่มการใช้งานได้ดีและ เป็นการเพิ่มมูลค่าพื้นที่

การใช้ประโยชน์พื้นที่สยามในปัจจุบัน ( 4th floor plan )

สยามสแควร์ ซอย 1

การใช้ประโยชน์พื้นที่สยามในปัจจุบัน ( 3rd floor plan )

200

50 25

100


Siam inovation district research report 2016

page 107

1. พื้นที่กิจกรรม ( 0utdoor ) : พื้นที่สยามสแควร์ ซอย 1 : พื ้ น ที ่ outdoor 23

isometric

plan ถนนพระราม 1

27

ขนาดพื้นที่ : 106.3 m. x 14 m. ( 1,488.9 sq.m. ) ความจุ : 500 คน ( 3 คน / ตารางเมตร ) อัตราค่าธรรมเนียม : 183,600 บาท ต่อวัน ( 24 ชม. ) facility : ระบบไฟ ข้อจำกัด : ความสูงไม่เกิน 6 m. กรณีเป็นโครงสร้างอาคาร มีการใช้เสียง ต้องขออนุญาติ การจัดงาน : ยกเว้น เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สื่อลามก ( พิจารณาแล้วแต่กรณี )

รูปแบบ กิจกรรมในปัจจุบัน :

events

exhibition festival live show

testing

กระบวนการเกิด นวัตกรรมที่เหมาะสมในพื้นที่ : idea thinking full launch สยามสแควร์ ซอย 7

: พื ้ น ที ่ indoor พื ้ น ที ่ outdoor พื ้ น ที ่ ก ึ ่ ง indoor -outdoor

Designed by Freepik / Flaticon


page 108

Siam inovation district research report 2016

2. พื้นที่กิจกรรม ( 0utdoor ) : พื้นที่สยามสแควร์ ซอย 3 : พื ้ น ที ่ outdoor

26

plan

isometric ถนนพระราม 1

ขนาดพื้นที่ : 98.7 m. x 14.7 m. ( 1,016.6 sq.m. ) ความจุ : 340 คน ( 3 คน / ตารางเมตร ) อัตราค่าธรรมเนียม : 151,200 บาท ต่อวัน ( 24 ชม. ) facility : ระบบไฟ ข้อจำกัด : ความสูงไม่เกิน 6 m. กรณีเป็นโครงสร้างอาคาร มีการใช้เสียง ต้องขออนุญาติ การจัดงาน : ยกเว้น เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สื่อลามก ( พิจารณาแล้วแต่กรณี ) รูปแบบ กิจกรรมในปัจจุบัน :

สยามสแควร์ ซอย 7

events

exhibition festival live show

testing

กระบวนการเกิด นวัตกรรมที่เหมาะสมในพื้นที่ : idea thinking full launch

Designed by Freepik / Flaticon


page 109

Siam inovation district research report 2016

3. พื้นที่กิจกรรม ( 0utdoor ) : พื้นที่สยามสแควร์ ซอย 5 : พื ้ น ที ่ outdoor

29

isometric

plan ถนนพระราม 1

สยามสแควร์ ซอย 7

ขนาดพื้นที่ : 6.20 m. x 41.7 m. ( 285.6 sq.m. ) 11 m. x 69 m. ( 759 sq.m. ) = 1,017.6 sq.m. ความจุ : 340 คน ( 3 คน / ตารางเมตร ) อัตราค่าธรรมเนียม : 143,900 บาท ต่อวัน ( 24 ชม. ) facility : ระบบไฟ ข้อจำกัด : ความสูงไม่เกิน 6 m. กรณีเป็นโครงสร้างอาคาร มีการใช้เสียง ต้องขออนุญาติ การจัดงาน : ยกเว้น เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สื่อลามก ( พิจารณาแล้วแต่กรณี ) รูปแบบ กิจกรรมในปัจจุบัน :

events

exhibition festival live show

testing

กระบวนการเกิด นวัตกรรมที่เหมาะสมในพื้นที่ : idea thinking full launch

Designed by Freepik / Flaticon


page 110

Siam inovation district research report 2016

พื้นที่กิจกรรม ( 0utdoor ) : พื้นที่สยามสแควร์ ซอย 2 : พื ้ น ที ่ outdoor 24

isometric

plan

ถนนพระราม 1

ขนาดพื้นที่ : 106.3 m. x 14 m. ( 1,488.9 sq.m. ) ความจุ : 500 คน ( 3 คน / ตารางเมตร ) อัตราค่าธรรมเนียม : 151,200 บาท ต่อวัน ( 24 ชม. ) facility : ระบบไฟ ข้อจำกัด : ความสูงไม่เกิน 6 m. กรณีเป็นโครงสร้างอาคาร มีการใช้เสียง ต้องขออนุญาติ การจัดงาน : ยกเว้น เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สื่อลามก ( พิจารณาแล้วแต่กรณี ) รูปแบบ กิจกรรมในปัจจุบัน :

สยามสแควร์ ซอย 7

events

exhibition festival live show

testing

กระบวนการเกิด นวัตกรรมที่เหมาะสมในพื้นที่ : idea thinking full launch

Designed by Freepik / Flaticon


Siam inovation district research report 2016

page 111

พื้นที่กิจกรรม ( 0utdoor ) : พื้นที่ลานจอดรถที่ 2 : พื ้ น ที ่ outdoor

25

isometric

plan

ขนาดพื้นที่ : 59.4 m. x 21.45 m. ( 1,247.2 sq.m. ) ความจุ : 400 คน ( 3 คน / ตารางเมตร ) อัตราค่าธรรมเนียม : 150,000 บาท ต่อวัน ( 24 ชม. ) facility : ระบบไฟ ข้อจำกัด : ความสูงไม่เกิน 6 m. กรณีเป็นโครงสร้างอาคาร มีการใช้เสียง ต้องขออนุญาติ การจัดงาน : ยกเว้น เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สื่อลามก ( พิจารณาแล้วแต่กรณี ) รูปแบบ กิจกรรมในปัจจุบัน :

สยามสแควร์ ซอย 7

events

exhibition festival live show

testing

กระบวนการเกิด นวัตกรรมที่เหมาะสมในพื้นที่ : idea thinking full launch

Designed by Freepik / Flaticon


page 112

Siam inovation district research report 2016

พื้นที่กิจกรรม ( 0utdoor ) : พื้นที่ลานจอดรถที่ 3 : พื ้ น ที ่ outdoor

27

isometric

plan

สยามสแควร์ ซอย 7

ขนาดพื้นที่ : 59.4 m. x 21.45 m. ( 1,247.2 sq.m. ) ความจุ : 400 คน ( 3 คน / ตารางเมตร ) อัตราค่าธรรมเนียม : 100,000 บาท ต่อวัน ( 24 ชม. ) facility : ระบบไฟ ข้อจำกัด : ความสูงไม่เกิน 6 m. กรณีเป็นโครงสร้างอาคาร มีการใช้เสียง ต้องขออนุญาติ การจัดงาน : ยกเว้น เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สื่อลามก ( พิจารณาแล้วแต่กรณี ) รูปแบบ กิจกรรมในปัจจุบัน : events

exhibition festival live show

testing

กระบวนการเกิด นวัตกรรมที่เหมาะสมในพื้นที่ : idea thinking full launch

Designed by Freepik / Flaticon


page 113

Siam inovation district research report 2016

รายละเอี ย ดพื ้ น ที ่ แ ละกิ จ กรรมของอาคาร ที ่ ส ำคั ญ ต่ า งๆในบริ เ วณสยามสแควร์ 1. Siam Square 1

: พื ้ น ที ่ indoor - พื ้ น ที ่ ก ึ ่ ง indoor -outdoor

ประเภทของพื้นที่ในปัจจุบัน : Open space

Retail shop - office

รูปแบบ กิจกรรมในปัจจุบัน : ความสะดวกในการเข้าถึง :

shopping

events

eating

8

18

36 37 38

จำนวนที่จอดรถ : 270 คัน เปอเซนต์ร้านค้าใน Siam Square 1 จากทั้งหมด 335 ยูนิต office

conference

testing

กระบวนการเกิด นวัตกรรมที่เหมาะสมในพื้นที่ : idea thinking full launch

FOOD FASHION RETIALED BEAUTY CAFE BANKING

17 % 12.8 % 6.5 % 1.19 % 1.2 %

61.3 %

Designed by Freepik / Flaticon


page 114

Siam inovation district research report 2016

ลานเชื่อมรถไฟฟ้า จาก Siam Square 1

สวนบริเวณสยามพิฆเนศ

Sunken Court

ความจุ : 200 คน ( 3 คน / ตารางเมตร ) ข้อจำกัด : กรณีเป็นโครงสร้างอาคาร มีการใช้เสียง ต้องขออนุญาติ ยกเว้น เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สื่อลามก ( พิจารณาแล้วแต่กรณี )

ความจุ : 450 คน ( 3 คน / ตารางเมตร ) ข้อจำกัด : กรณีเป็นโครงสร้างอาคาร มีการใช้เสียง ต้องขออนุญาติ ยกเว้น เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สื่อลามก ( พิจารณาแล้วแต่กรณี )

ความจุ : 120 คน ( 3 คน / ตารางเมตร ) ข้อจำกัด : กรณีเป็นโครงสร้างอาคาร มีการใช้เสียง ต้องขออนุญาติ ยกเว้น เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สื่อลามก ( พิจารณาแล้วแต่กรณี )

ประเภทของพื้นที่ในปัจจุบัน : openspace

ประเภทของพื้นที่ในปัจจุบัน : open space

ประเภทของพื้นที่ในปัจจุบัน : open space

รูปแบบ กิจกรรมในปัจจุบัน :

events

concert

กระบวนการเกิด นวัตกรรมที่เหมาะสมในพื้นที่ :

exhibition

festival

รูปแบบ กิจกรรมในปัจจุบัน : live show

testing idea thinking full launch

events

concert

กระบวนการเกิด นวัตกรรมที่เหมาะสมในพื้นที่ :

exhibition

festival

รูปแบบ กิจกรรมในปัจจุบัน : live show

testing idea thinking full launch

events

concert

กระบวนการเกิด นวัตกรรมที่เหมาะสมในพื้นที่ :

exhibition

festival

live show

testing idea thinking full launch

Designed by Freepik / Flaticon


Siam inovation district research report 2016

page 115

Sunken Court

ลานเชื่อมรถไฟฟ้า จาก Siam Square 1 http://f.ptcdn.info/846/019/000/1402148782-allsiamqau-o.jpg

พื้นที่ Siam Square 1 เป็นพื้นที่สำคัญอีกพื้นที่หนึ่งในสยาามสแควร์ เนื่องจากสามารถเชื่อมต่อกับสถานีรถไฟฟ้าสยาม ได้โดยตรงนั้นทำให้เกิดการสัญจรของคนจำนวนมากและจากการสำรวจพบว่าคนส่วนมากจะเดินเชื่อมต่อจากเส้นทางนี้และเข้าสู่ตัว สยามสแควร์ นั่นทำให้พื้นที่กึ่ง Indoor - Outdoor ของพื้นที่นี้มีศักยภาพในการจัดกิจกรรมมากกว่าพื้นที่อื่น และยังมีหลากหลาย พื้นที่ด้วยเช่นกัน ดังนั้นบริเวณของ Siam Square 1 เป็นสถานที่หนึ่งที่สำคัญในการพัฒนา นอกจากนี้กิจกรรมจากสถิติ ทรัพย์สิน จุฬาพบว่า พื้นที่บริเวณนี้เหมาะสมกับการจัดกิจกรรมประเภทนิทรรศการได้เป็นอย่างดีเพราะสามารถเชื่อมต่อไปยังพื้นที่ บริเวณ สยามสแควร์ซอย 5 ได้ด้วย ซึ่งจะทำให้เกิดการไหลของคนและกิจกรรมเมื่อมีงานเกิดขึ้น และอาคารโตโยต้าเอง เป็นอีกพื้นที่ ที่มีความน่าสนใจ และอยู่ในส่วนของ Siam Square 1 ด้วยเช่นกันซึ่งทางทีมผู้วิจัยจะเจาะลึกรายละเอียดในส่วนต่อไป พื้นที่จัดงานกิจกรรมต่างๆชั้นใต้ดิน


page 116

Siam inovation district research report 2016

2. Siamkit

: พื ้ น ที ่ indoor 10

จำนวนที่จอดรถ : 800 คัน ความจุ : 120 คน ( 3 คน / ตารางเมตร ) ข้อจำกัด : กรณีเป็นโครงสร้างอาคาร มีการใช้เสียง ต้องขออนุญาติ ยกเว้น เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สื่อลามก ( พิจารณาแล้วแต่กรณี )

ประเภทของพื้นที่ในปัจจุบัน : school , retail shop - office , open space รูปแบบ กิจกรรมในปัจจุบัน : ความสะดวกในการเข้าถึง :

eating

office

learning

กระบวนการเกิด นวัตกรรมที่เหมาะสมในพื้นที่ :

meeting

scoping

testing

idea thinking full launch

เปอเซนต์ร้านค้าใน Siamkit จากทั้งหมด 43 ยูนิต FOOD RETIALED CAFE INSTITUTE BANKING

7.1 % 2.3 %

23.4 % 16.2 % 51 %

Designed by Freepik / Flaticon


page 117

Siam inovation district research report 2016

3. Scala

: พื ้ น ที ่ indoor 1

ความจุ : 800 คน ( 3 คน / ตารางเมตร ) ข้อจำกัด : กรณีเป็นโครงสร้างอาคาร มีการใช้เสียง ต้องขออนุญาติ ยกเว้น เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สื่อลามก ( พิจารณาแล้วแต่กรณี )

ประเภทของพื้นที่ในปัจจุบัน : Theater , Hall รูปแบบ กิจกรรมในปัจจุบัน : shopping

events

ความสะดวกในการเข้าถึง :

live show

concert

กระบวนการเกิด นวัตกรรมที่เหมาะสมในพื้นที่ : testing

4. Lido

full launch

http://www.innnblog.com/2016/05/review-scala-theatre/ http://www.apexsiam-square.com/img/event/lido-theatre-03-enlarge.jpg

: พื ้ น ที ่ indoor 4

ความจุ : 800 คน ( 3 คน / ตารางเมตร ) ข้อจำกัด : กรณีเป็นโครงสร้างอาคาร มีการใช้เสียง ต้องขออนุญาติ ยกเว้น เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สื่อลามก ( พิจารณาแล้วแต่กรณี )

ประเภทของพื้นที่ในปัจจุบัน : Theater , Hall , Reatail shop รูปแบบ กิจกรรมในปัจจุบัน : shopping

events

ความสะดวกในการเข้าถึง :

live show

concert

กระบวนการเกิด นวัตกรรมที่เหมาะสมในพื้นที่ : testing

5. True Coffee

: พื ้ น ที ่ indoor 2

full launch

http://www.innnblog.com/2016/05/review-scala-theatre/ http://www.apexsiam-square.com/img/event/lido-theatre-03-enlarge.jpg

6

ความจุ : 400 คน ( 3 คน / ตารางเมตร ) ข้อจำกัด : กรณีเป็นโครงสร้างอาคาร มีการใช้เสียง ต้องขออนุญาติ ยกเว้น เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สื่อลามก ( พิจารณาแล้วแต่กรณี )

ประเภทของพื้นที่ในปัจจุบัน : Co - working space , Meeting rooms รูปแบบ กิจกรรมในปัจจุบัน : ความสะดวกในการเข้าถึง : working learning eating meeting

scoping กระบวนการเกิด นวัตกรรมที่เหมาะสมในพื้นที่ : idea thinking

bussiness model testing

http://static.trueplookpanya.com/trueplookpanya/data/product/truespiritnews/images/images_205.jpg http://www.map2cafe.com/wp-content/uploads/2011/05/3131095326_b37494a993_o.jpg https://d1ngln1ji8gbxb.cloudfront.net/14675_b95dbae2062f07bf57ac0d0dbc8fc848

Designed by Freepik / Flaticon


page 118

Siam inovation district research report 2016

9. Centerpoint Siam

: พื ้ น ที ่ indoor , พื ้ น ที ่ outdoor 7 34 35

ความจุ : 200 คน พื้นที่จัดงานในอาคาร / 400 คน พื้นที่จัดงานนอกอาคาร ข้อจำกัด : กรณีเป็นโครงสร้างอาคาร มีการใช้เสียง ต้องขออนุญาติ ยกเว้น เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สื่อลามก ( พิจารณาแล้วแต่กรณี )\

ประเภทของพื้นที่ในปัจจุบัน : Open space , Retail shop - Office รูปแบบ กิจกรรมในปัจจุบัน :

shopping

events

eating

working

ความสะดวกในการเข้าถึง : testing กระบวนการเกิด นวัตกรรมที่เหมาะสมในพื้นที่ : idea thinking full launch https://www.facebook.com/centerpointofsiamsquare/photos/a.642365399277335.1073741834.346626122184599/ 636509663196242/?type=3&theater http://topicstock.pantip.com/chalermthai/topicstock/2007/12/A6122049/A6122049-26.jpg

10. Park @ Siam

: พื ้ น ที ่ outdoor 28

ความจุ : 800 คน ( 3 คน / ตารางเมตร ) ข้อจำกัด : กรณีเป็นโครงสร้างอาคาร มีการใช้เสียง ต้องขออนุญาติ ยกเว้น เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สื่อลามก ( พิจารณาแล้วแต่กรณี )

ประเภทของพื้นที่ในปัจจุบัน : Open space รูปแบบ กิจกรรมในปัจจุบัน : ความสะดวกในการเข้าถึง : events eating relax testing กระบวนการเกิด นวัตกรรมที่เหมาะสมในพื้นที่ : idea thinking full launch http://ed.files-media.com/ud/gal/dcp/20/57248/505329_2824fc4082596ad3c30b0a706def3cc3-800x534-wk.jpg

Designed by Freepik / Flaticon


Siam inovation district research report 2016

9. Novotel

page 119

: พื ้ น ที ่ indoor 9

ความจุ : 200 คน พื้นที่จัดงานในอาคาร / 400 คน พื้นที่จัดงานนอกอาคาร ข้อจำกัด : กรณีเป็นโครงสร้างอาคาร มีการใช้เสียง ต้องขออนุญาติ ยกเว้น เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สื่อลามก ( พิจารณาแล้วแต่กรณี )

ประเภทของพื้นที่ในปัจจุบัน : The Gallery room , Seminar room รูปแบบ กิจกรรมในปัจจุบัน :

events

eating

conference

ความสะดวกในการเข้าถึง :

scoping

testing

กระบวนการเกิด นวัตกรรมที่เหมาะสมในพื้นที่ : idea thinking full launch http://www.novotelbkk.com/meetings-events/the-library/

10. True Incube

: พื ้ น ที ่ indoor พื ้ น ที ่ 19

ความจุ : 800 คน ( 3 คน / ตารางเมตร ) ข้อจำกัด : กรณีเป็นโครงสร้างอาคาร มีการใช้เสียง ต้องขออนุญาติ ยกเว้น เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สื่อลามก ( พิจารณาแล้วแต่กรณี )

ประเภทของพื้นที่ในปัจจุบัน : Co - working space , Meeting rooms , Seminar room รูปแบบ กิจกรรมในปัจจุบัน : conference events

meeting

ความสะดวกในการเข้าถึง : กระบวนการเกิด นวัตกรรมที่เหมาะสมในพื้นที่ :

learning

scoping

bussiness model

testing

idea thinking full launch https://www.facebook.com/trueincube/photos/a.101863666672106.1073741826.101855326672940/ 547026325489169/?type=3&theater Designed by Freepik / Flaticon


page 120

Siam inovation district research report 2016

11. Sit In

: พื ้ น ที ่ indoor 39

ความจุ : 800 คน ( 3 คน / ตารางเมตร ) ข้อจำกัด : กรณีเป็นโครงสร้างอาคาร มีการใช้เสียง ต้องขออนุญาติ ยกเว้น เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สื่อลามก ( พิจารณาแล้วแต่กรณี )

ประเภทของพื้นที่ในปัจจุบัน : Co - working space , Meeting rooms รูปแบบ กิจกรรมในปัจจุบัน :

eating

conference meeting

learning

ความสะดวกในการเข้าถึง :

testing

กระบวนการเกิด นวัตกรรมที่เหมาะสมในพื้นที่ : idea thinking full launch

12. Growth

: พื ้ น ที ่ indoor

https://www.facebook.com/pg/sitinworkspace/photos/?ref=page_internal

3

ความจุ : 800 คน ( 3 คน / ตารางเมตร ) ข้อจำกัด : กรณีเป็นโครงสร้างอาคาร มีการใช้เสียง ต้องขออนุญาติ ยกเว้น เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สื่อลามก ( พิจารณาแล้วแต่กรณี )

ประเภทของพื้นที่ในปัจจุบัน :Co - working space , Meeting rooms , Seminar room รูปแบบ กิจกรรมในปัจจุบัน : meeting

learning

eating

conference

events

bussiness model

ความสะดวกในการเข้าถึง :

scoping

testing

กระบวนการเกิด นวัตกรรมที่เหมาะสมในพื้นที่ : idea thinking full launch https://www.glurr.com/images/topic/0408969001446345193.jpg https://www.facebook.com/pg/GrowthCafeAndCo/photos/?ref=page_internal

Designed by Freepik / Flaticon


page 121

Siam inovation district research report 2016

13. Glowfish

: พื ้ น ที ่ indoor 17

ความจุ : 800 คน ( 3 คน / ตารางเมตร ) ข้อจำกัด : กรณีเป็นโครงสร้างอาคาร มีการใช้เสียง ต้องขออนุญาติ ยกเว้น เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สื่อลามก ( พิจารณาแล้วแต่กรณี )

ประเภทของพื้นที่ในปัจจุบัน :Co - working space , Meeting rooms , Seminar room รูปแบบ กิจกรรมในปัจจุบัน : meeting

learning

eating

conference events

bussiness model

ความสะดวกในการเข้าถึง :

scoping

testing

กระบวนการเกิด นวัตกรรมที่เหมาะสมในพื้นที่ : idea thinking full launch http://www.rattanasak.com/wp-content/uploads/2016/07/Glowfish-Siam-Bangkok-Serviced-Office-Convenient-LocationCommon-Lounge-1200x800-1024x683.jpg http://www.toastmastersevents.org/wp-content/uploads/2015/10/5773_29Jan2016520224_4.jpg http://www.glowfishoffices.com/wp-content/uploads/2015/12/Kuppadeli-at-Glowfish-Siam-New-2016-1200x800.jpg

14. อาคาร NOW 26

: พื ้ น ที ่ indoor 5

ความจุ : 800 คน ( 3 คน / ตารางเมตร ) ข้อจำกัด : กรณีเป็นโครงสร้างอาคาร มีการใช้เสียง ต้องขออนุญาติ ยกเว้น เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สื่อลามก ( พิจารณาแล้วแต่กรณี )

ประเภทของพื้นที่ในปัจจุบัน : Main Gallery , Studio รูปแบบ กิจกรรมในปัจจุบัน : events conference live show exhibition

ความสะดวกในการเข้าถึง : กระบวนการเกิด นวัตกรรมที่เหมาะสมในพื้นที่ :

scoping

testing

idea thinking full launch

Designed by Freepik / Flaticon

http://65.media.tumblr.com/4d6a6bc5445105620f12b9233306f517/tumblr_nmmgpnWAZA1qey787o1_1280.jpg http://pbs.twimg.com/media/Cr450WwUIAAGuwi.jpg


page 122

Siam inovation district research report 2016

11. อาคาร toyota style

: พื ้ น ที ่ indoor 16

ความจุ : 800 คน ( 3 คน / ตารางเมตร ) ข้อจำกัด : กรณีเป็นโครงสร้างอาคาร มีการใช้เสียง ต้องขออนุญาติ ยกเว้น เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สื่อลามก ( พิจารณาแล้วแต่กรณี )

ประเภทของพื้นที่ในปัจจุบัน : Co - working space , Multi-function room , Auditoriumstudio

รูปแบบ กิจกรรมในปัจจุบัน : meeting

learning

events exhibition conference

bussiness model

ความสะดวกในการเข้าถึง :

scoping

testing

กระบวนการเกิด นวัตกรรมที่เหมาะสมในพื้นที่ : idea thinking full launch

Area : 285 sqm Height : 4.5 m Game zone

http://www.thestylebytoyota.com/mobile/mobile_aboutus.php

Area : 148.65 sqm

Height : 4.5 m

Information zone

Relax zone

Regisetration zone

Event zone

Showcase zone http://www.thestylebytoyota.com/cover/king2016/index.html Designed by Freepik / Flaticon


Siam inovation district research report 2016

page 123

Area : 271 sqm Height : 5 m

Area : 293 sqm Height : 5 m

Sharing zone

Exhibition zone

Showproud zone

Showcase zone

Playground zone

Conference zone http://www.thestylebytoyota.com/cover/king2016/index.html Designed by Freepik / Flaticon

อาคาร Toyota Style ตั้งอยู่ในพื้นที่ของ Siam Square เป็นอาคารที่เป็น ประเด็นหลักในการพัฒนาและการวิจัย เนื่องจากได้รับการพิจารณา จากทางจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ซึ่งอาคารนี้เดิมถูกทำหน้าที่ในการแสดงถึงนวัตกรรม ต่างๆของทางบริษัท Toyota นั้นทำให้พื้นที่ สอดคล้องกับแนวทาง ในการพัฒนา ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ปัจจุบันพื้นที่อาคารส่วนใหญ่เป็นการใช้งานแบบไม่เก็บค่าใช้จ่ายและจะเน้นไปในเรื่อง ของการจัดงาน Exhibition ซึ่งทุกครั้งที่มีการจัดงาน Event ต่างๆ เหล่านี้จะมีผู้สนใจ เป็นจำนวนมาก แต่ในช่วงเวลาปกตินั้น การใช้งานพื้นที่จะอยู่ที่บริเวณชั้นใต้ดิน และชั้น 2 โดยกลุ่มผู้ใช้งานส่วนใหญ่จะเป็นวัยเด็กนักเรียน นักศึกษา ที่จะมานั่งทำงาน ทำการบ้าน รอผู้ปกครอง

การวิเคราะห์ศักยภาพและปัญหาของตัวพื้นที่ Accessibility สะดวกทั้งทางเท้าและระบบขนส่ง BTS ระยะทาง 150 เมตร Social Public ติดพื้นที่สาธารณะของสยาม สามารถจัดงานได้หลายรูปแบบ ( ลาน SQ 1 , สยามซอย 5 ) Environment อยู่ในจุดที่คนสัญจรและมองเห็น โดยเฉลี่ย 7,000 คนต่อชั่วโมง ทั้งตอนกลางวันและกลางคืน Management การจัดการพื้นที่ได้ในระยะเวลาอันสั้น

Investment มูลค่าเงินและการลงทุนกับเวลา Space พื้นที่ในอาคารมีขนาดไม่เท่ากัน ทำให้จัดการใช้งานได้ยาก การจัดการกับโครงสร้างเดิม Service การเข้าสู่ตัวอาคารและการออกแบบ Universal Design


page 124

Siam inovation district research report 2016

สรุ ป การใช้ ง านกิ จ กรรมใน พื ้ น ที ่ ต ่ า งๆของสยามสแควร์ 15 13

14 32

33

31

ถนนพระราม 1 3

2

19

36

17

30

สยามสแควร์ ซอย 6

ถนนอังรีดูนังต์

35

27

สยามสแควร์ ซอย 8

21

38 29

สยามสแควร์ ซอย 10

สยามสแควร์ ซอย 11

20

25

9

34 สยามสแควร์ ซอย 7

6

22

8

26

5

37

สยามสแควร์ ซอย 9

24

39

สยามสแควร์ ซอย 4

สยามสแควร์ ซอย 2

23

สยามสแควร์ ซอย 3

สยามสแควร์ ซอย 1

1

7

สยามสแควร์ ซอย 5

18

4

11

ถนนพญาไท

การวิเคราะหกิจกรรมให้พื้นที่สยามสแควร์นั้น พบว่ากิจกรรมที่เกิดขึ้นจะแปรผันตามทิศทางการเข้า ถึงของคนในพื้นที่ที่มีการเข้าถึงสะดวกจากหลากหลาย เส้นทางเข้าถึงได้ง่ายจะทำให้พื้นที่บริเวณนั้นเกิดการ จัดเป็นพื้นที่กิจกรรมมากที่สุดกล่าวคือพื้นที่เหล่านั้น จะสามารถรับรู้ได้มากที่สุดด้วยเช่นกันซึ่งจะส่งผลต่อ ราคาค่าเช่าพื้นที่จะแปรผันตามจำนวนคนที่เดินผ่าน ต่อพื้นที่ในช่วงเวลาหนึ่งด้วยเช่นกันแต่ในทางกลับกัน พื้นที่ที่เป็นสถานที่ทำงานร่วมกัน ( Co - working space ) พื้นที่ทำงาน ( Office ) เป็นกิจกรรม ที่ไม่ต้องการคนในการเดินผ่านมากนักแต่จะเป็นพื้น ที่ที่สามารถรับรู้ไดด้วยการมองผ่านจากสถานที่นั้น บริเวณจุดเชื่อมต่อจากสถานีรถไฟฟ้าสยามจะมีการ จัดกิจกรรมเกิดขึ้นมากที่สุดและมีการเปลี่ยนแปลง ของกิจกรรมที่จัดขึ้นอยู่เสมอในบางสถานที่จะไม่จำ เป็นต้องเดินทางเข้าถึงง่ายแต่สามารถสร้างแรงดึง ดูดทางกิจกรรมได้ ในกรณีที่สถานที่นั้นเป็นพื้นที่ที่ เคยจัดกิจกรรมอยู่แล้วหรือตั้งอยู่มาในช่วงเวลาหนึ่ง การเกิดกิจกรรมจะแปรผันตามการรับรู้ของ สถานที่นั้นและความเป็นส่วนตัวของกิจกรรมนั้น

12

10

จุฬาลงกรณ์ ซอย 64

28

200

50 25

LEGEND

22 ลานจอดรถที่ 1

29 สยามสแควร์ ซอย 5

36 ลานเชื่อมรถไฟฟ้า

16 อาคารโตโยต้า

23 สยามสแควร์ ซอย 1

30 ลานหน้า MBK center

37 sunken court

17 Glowfish

24 สยามสแควร์ ซอย 2

38 สวนบริเวณสยามพิฆเนศ

18 สยามพิฆเนศ

25 ลานจอดรถที่ 2

19 True Incube

26 สยามสแควร์ ซอย 3

1 โรงภาพยนตร์ Scala

8

Siam Square 1

15

2 True สยามสแควร์ ซอย 1

9

Novotel

3 Growth

10 Siamkit

4 โรงภาพยนตร Lido

11

5 Now 26

12 BACC หอศิลป์

6 True สยามสแควร์ ซอย 3

13

7 Centerpoint Siam

14 Siam Center

MBK center Siam Discovery

100

Siam Paragon

20

ตึกแถวว่างบริเวณลานจอดรถที่ 1

27 ลานจอดรถที่ 3

31 ลานหน้า BACC ลานระหว่าง Siam center 32 -Siam Discovery ลานระหว่าง Siam center 33 -Siam Paragon 34 ลานระหว่างหน้า Centerpoint Siam

21

ตึกแถวว่างบริเวณลานจอดรถที่ 2

28 park @ siam

35 ลานหน้า สยามสแควร์ ซอย 7

39 Sit In พื้นที่มีการจัดกิจกรรมมากที่สุด พื้นที่มีการจัดกิจกรรมปานกลาง พื้นที่มีการจัดกิจกรรมน้อย


page 125

Siam inovation district research report 2016

สรุปสัดส่วนพื้นที่การใช้งานบริเวณตึกแถวในสยามสแควร์

Commercial 81 %

Food 20 %

Start up 19 %

Fashion 20 %

01 Cafe 3 % 02 Banking 5 % 03 Institute 8 %

Cosmetic Beauty 19 %

01

Retialed 16 %

02

03

กิจกรรมทุกประเภทที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับธุรกิจเกิดใหม่ มีสัดส่วน ร้อยละ 19 แต่เป็นธุรกิจที่มีการเติบโต้และการใช้งานสูงในขณะท่ีกิจกรรม ที ่ เ กี ่ ย วข้ อ งกั บ ธุ ร กิ จ ท่ ี เ ป็ น เชิ ง พาณิ ช ยกรรมมี แ นวโน้ ม ที ่ จ ะเปลี ่ ย นแปลงตลอดเวลา ดั ง น้ ั น การพั ฒ นาย่ า นนวั ต กรรมเพื ่ อ รองรั บ กลุ ่ ม ธุ ร กิ จ รุ ป แบบใหม่ ใ นอนาคต จำเป็นต้องมีมาตรการในการคัดกรองกิจกรรมและพื้นที่ให้ มี ส ั ด ส่ ว นสนั บ สนุ น การเกิ ด ธุ ร กิ จ รุ ป แบบใหม่ ม ากข้ ึ น หรื อ ในเชิ ง พาณิ ช ยกรรม มีการปรับรูปแบบหรือใช้เทคโนโลยีเชิงนวัตกรรมมกาย่ิงข้ึน การวิ เ คราะห์ พ ื ้ น ที ่ ก ิ จ กรรมของสยามมี ว ั ต ถุ ป ระสงค์ เ พื ่ อ ความเข้ า ใจใน พื้นที่เพื่อสามารถระบบพื้นที่ในการเกิดกระบวนการทางนวัตกรรม และกิ จ กรรมทางนวั ต กรรมได้ ป ั จ จั ย สำคั ญ ในการระบุ พ ื ้ น ที ่ ต ่ า งๆมาจากรู ป แ บบกิจกรรมเดิมของพ้ืนที่ และการใช้งานของกิจกรรมจากประชากรในพ้ืนที่ ซึ ่ ง จากการสำรวจพบว่ า พื ้ น ที ่ ส ยามมี ก ิ จ กรรมที ่ ส ามารถรองรั บ กั บ กระบวน การนวัตกรรมได้โดยสรุปได้เป็นพื้นท่ีต่างๆ


page 126

Siam inovation district research report 2016

สรุ ป ความเป็ น ไปได้ ใ นการเกิ ด กิ จ กรรมเชิ ง นวั ต กรรมใน พื ้ น ที ่ ส ยามสแควร์ !% !#

!$

!" $#

cognitive space : idea thinking

$$

$!

กจิกรรมเชงิปฎบิตักิาร (Workshop - studio) กจิกรรมประเภทหอ้งสมดุ (Library ,eLearning) กจิกรรมประเภทพน้ืทใ่ีหข้อ้มลู (Information center) งานมนาสรา้งแรงบนัดาลใจ Showcase

ถนนพระราม 1 $

#

!) !'

$*

#!

สยามสแควร์ ซอย 6

ถนนองัรดีนูงัต์

#'

!*

#(

กจิกรรมประเภทการฝกึอบรมธรุกจิ (Pitch Sessions and Trainings) กจิกรรมสำหรบัการระดมทนุ (Funding) เชน่งาน Pitching เพอ่ืใหห้นุ้สว่นในระบบธรุกจิ การทดลองผลติภณ ั ฑ์ (หอ้งทดลอง หอ้งปฏบิตักิาร ศนูยว์จัยั

ลกัษณะของกจิกรรมประเภททดสอบผลติภณ ั ฑก์บักลมุ่เปา้หมาย (testing) ลกัษณะของกจิกรรมประเภทงานนทิรรศการ สมัมนา เปดิตวัผลติภณ ํ ฑ์ (Event ,Seminar) (Exhibitions and Fairs)

#)

ุ าลงกรณ์ ซอย 64 จฬ

development space : bussiness model , prototyping

physical space : testing , full launch

สยามสแควร์ ซอย 9

#%

!&

$" สยามสแควร์ ซอย 7 สยามสแควร์ ซอย 10

สยามสแควร์ ซอย 11

##

)

(

#&

%

&

#*

สยามสแควร์ ซอย 4

#"

สยามสแควร์ ซอย 3

#$

'

สยามสแควร์ ซอย 8

ถนนพญาไท

หอ้งสมดุ โครงการจดัประกวด การเขา้รว่มโปรแกรมหรอืกจิกรรมตา่งๆ

สยามสแควร์ ซอย 2

information space : scoping

สยามสแควร์ ซอย 1

!

$)

สยามสแควร์ ซอย 5

!(

"

!!

200

50 25

100

โรงภาพยนตร์ Scala

(

Siam Square 1

!% Siam Paragon

## ลานจอดรถท่ี 1

#) สยามสแควร์ ซอย 5

$& ลานเชอ่ืมรถไฟฟา้

# True สยามสแควร์ ซอย 1

)

Novotel

!& อาคารโตโยตา้

#$ สยามสแควร์ ซอย 1

$* ลานหนา้ MBK center

$'

$ Growth

!*

Siamkit

!'

Glowfish

#" สยามสแควร์ ซอย 2

MBK center

!(

สยามพฆิเนศ

#% ลานจอดรถท่ี 2 #& สยามสแควร์ ซอย 3

!

sunken court

" โรงภาพยนตร Lido

!!

% Now 26

!# BACC หอศลิป์

!)

True Incube

& True สยามสแควร์ ซอย 3

!$

Siam Discovery

#*

ตกึแถววา่งบรเิวณลานจอดรถท่ี 1

#' ลานจอดรถท่ี 3

Centerpoint Siam

$( สวนบรเิวณสยามพฆิเนศ $! ลานหนา้ BACC ลานระหวา่ง Siam center $) Sit In $# -Siam Discovery ลานระหวา่ง Siam center $$ -Siam Paragon $" ลานระหวา่งหนา้ Centerpoint Siam

!"

Siam Center

#!

ตกึแถววา่งบรเิวณลานจอดรถท่ี 2

#( park @ siam

$% ลานหนา้ สยามสแควร์ ซอย 7

'


Siam inovation district research report 2016

page 127

วิเคราะห์ประชากรของพื้นที่ จำนวน และ ประเภทของประชากร TOTAL PEOPLE WEEKDAY 90,000persons

WEEKEND 120,000persons

THAI PEOPLE

70 %

15 %

about 22,500persons

33 %

about 49,500persons

46 %

about 69,000persons

Junior High School

Senior High School

Age : 4-6 years old

Bachelor’s degree

Age : 7-12 years old

Age : 13-20 years old

การเดินทางมาที่ : m

การเดินทางมาที่ : s

การเดินทางมาที่ : s

ความถี่ในการใช้พื้นที่ : 3 วัน / อาทิตย์

ความถี่ในการใช้พื้นที่ : 5 วัน / อาทิตย์

ความถี่ในการใช้พื้นที่ : 7 วัน / อาทิตย์

about 150,000persons/week

working

shopping

FOREIGN PEOPLE

30 % นักธุรกิจ นักท่องเที่ยว พนักงานออฟฟิศ

about 60,000persons/week

1.5 % Startup

about 2,250persons

3.3 % Officer

about 4,950persons

1.2 % Adult

Age : 20 - 39 years old

Age : 40 - 59 years old

Age : 45 years old + f

การเดินทางมาที่ : s

การเดินทางมาที่ : s

การเดินทางมาที่ : s

ความถี่ในการใช้พื้นที่ : 6 วัน / อาทิตย์

ความถี่ในการใช้พื้นที่ : 5 วัน / อาทิตย์

about 1,800persons

ความถี่ในการใช้พื้นที่ : 2 วัน / อาทิตย์ Designed by Freepik / Flaticon


page 128

Siam inovation district research report 2016

จำนวน และ ประเภทของประชากร ในวันธรรมดา ( weekday ) WEEKDAY 90,000persons

12 % THAI PEOPLE

about 7,020persons

31 %

about 18,135persons

49 %

about 28,665persons

Junior High School

Senior High School

Bachelor’s degree

Age : 4-6 years old

Age : 7-12 years old

Age : 13-20 years old

การเดินทางมาที่ : m

การเดินทางมาที่ : s

การเดินทางมาที่ : s

65 % about 58,500persons

working

shopping

FOREIGN PEOPLE

35 % นักธุรกิจ นักท่องเที่ยว พนักงานออฟฟิศ about 31,500persons

5.2 % Startup

about 3,042persons

12.1 % Officer

about 7,078persons

0.2 % Adult

Age : 20 - 39 years old

Age : 40 - 59 years old

Age : 45 years old +

การเดินทางมาที่ : s

การเดินทางมาที่ : s

การเดินทางมาที่ : s

about 120persons

Designed by Freepik / Flaticon


page 129

Siam inovation district research report 2016

จำนวน และ ประเภทของประชากร ในวันหยุด ( weekend ) WEEKEND 120,000persons

18 % THAI PEOPLE

about 16,200persons

35 %

about 31,500persons

43 %

about 38,700persons

Junior High School

Senior High School

Bachelor’s degree

Age : 4-6 years old

Age : 7-12 years old

Age : 13-20 years old

การเดินทางมาที่ : m

การเดินทางมาที่ : s

การเดินทางมาที่ : s

75 % about 90,00persons

working

shopping

FOREIGN PEOPLE

25 % นักธุรกิจ นักท่องเที่ยว พนักงานออฟฟิศ about 30,000persons

0.8 %

about 720persons

Startup

0.4 % Officer

about 360persons

2.2 %

about 1,980persons

Adult

Age : 20 - 39 years old

Age : 40 - 59 years old

Age : 45 years old +

การเดินทางมาที่ : s

การเดินทางมาที่ : s

การเดินทางมาที่ : s Designed by Freepik / Flaticon


Siam inovation district research report 2016

page 130

ประเภทของกิจกรรม กับประชากรในพื้นที่

idea thinking

shopping

working

learning

relax

talking

full launch

prototyping

meeting

pototyping

scoping

talking event

conference

testing

planning bussiness

idea thinking

bussiness model testing

1. Routine Activity เป็นรูปแบบกิจวัตรประจำวันใน การใช้งานพื้นที่สยาม 2. Innovation Activity เป็นรูปแบบกิจวัตรของการเกิดน วัตกรร หรือ ( Start up ) 3. Entertainment Activity เป็นรุปแบบกิจวัจรของกิจกรรม ที่ให้ความบันเทิงและทำหน้าที่รวม กลุ่มกันของหลากหลายกลุ่มคน

eating

Innovative Activity

scoping

การวิเคราะห์ประชากรของพื้นที่ นั้นจะทำการสร้างความเชื่อมโยง ระหว่างกิจวัตรประจำวันของกลุ่ม ผู้ใช้งานที่ใช้งานอยู่ที่สยามสแคว ร์กับกระบวนการเกิดนวัตกรรม เพื่อทำการวิเคราะห์ถึงความน่าจะ เป็นของพื้นที่ในสยามว่าพื้นที่ไหน สามารถที่จะต้อบโจทย์และกระตุ้น ให้เกิดการรับรู้ทางนวัตกรรมได้ ดีที่สุดโดยเราได้แบ่งรูปแบบของ กิจกรรมออกเป็น 3 แบบคือ

Routine Activity

Entertainment Activity

events

concert

exhibition

festival

full launch event

live show

movie

Designed by Freepik / Flaticon


page 131

Siam inovation district research report 2016

กิจกรรมของประเภทประชากรในพื้นที่ ( weekday ) 8:00

9:00

10:00

11:00

12:00

1:00

2:00

3:00

4:00

5:00

6:00

7:00

8:00

9:00

10:00

11:00

pototyping

scoping

12:00

learning playing

eating

working

Junior High School

learning

Senior High School

working

eating

relax

learning

conference

festival

eating

eating

talking event

conference

shopping eating

exhibition

learning

showing

eating

eating

meeting

shopping eating

Startup

movie

working

eating

Bachelor’s degree

events

conference

planning bussiness

movie

relax exhibition

movie

testing

learning

relax movie eating

pototyping

meeting

scoping

Officer

planning bussiness

shopping

shopping eating

exhibition

shopping

eating

Adult

movie

Designed by Freepik / Flaticon


Siam inovation district research report 2016

page 132

กิจกรรมของประเภทประชากรในพื้นที่ ( weekend ) 8:00

9:00

10:00

11:00

12:00

1:00

eating

4:00

5:00

eating

6:00

7:00

8:00

9:00

pototyping

full launch event

10:00

11:00

meeting

talking

12:00

eating

learning

learning

eating

playing showing

Senior High School

3:00

playing working

Junior High School

2:00

working

eating

learning

learning shopping

talking event full launch event

movie

festival

eating

learning

eating

festival

eating

working

shopping eating

Bachelor’s degree

learning

showing

exhibition

concert

relax

learning

live show eating

shopping

meeting eating

Startup conference

talking event

exhibition

talking event conference

testing

shopping eating

meeting

eating

movie

learning

exhibition

Officer

relax

relax

shopping

testing

conference

full launch event

eating

eating

meeting

talking

full launch event

movie

shopping eating

Adult

exhibition movie

shopping

Designed by Freepik / Flaticon


page 133

Siam inovation district research report 2016

วิ เ คราะห์ ค วามหนาแน่ น ระหว่ า ง กิ จ กรรมของประชากรกั บ พื ้ น ที ่

ถนนอังรีดูนังต์

สยามสแควร์ ซอย 6

สยามสแควร์ ซอย 5

สยามสแควร์ ซอย 4

สยาม

สยามสแควร์ ซอย 3

สยามสแควร์ ซอย 2

สยามสแควร์ ซอย 1

ถนนพระราม 1

ถนนพญาไท

สยามสแควร์ ซอย 8

สยามสแควร์ ซอย 9

สยามสแควร์ ซอย 10

สยามสแควร์ ซอย 7 สยามสแควร์ ซอย 11

Routine Activity เป็นกิจกรรมที่มีปริมาณเยอะที่สุด ซึ่งจากการวิเคราะห์พฤติกรรมของ ประชากรนั้นเราพบว่าการกระจาย ตัวของสถานที่จะเกาะหลุ่มบริเวณ ที ่ เ ป็ น อาคารสำคั ญ ของสยาม สแควร์โดยกระจายตัวจากความ หนาแน่นมากไปสู่ความหนาแน่นน้อย ซึ่งปัจจัยสำคัญที่เป็นตัวควบคุม พฤติกรรมนี้คือร้านอาหารมากก ว่าร้านค้าเสื้อผ้า หรือแฟชั่นเนื่อง จากร้านค้าเหล่านั้นจะกระจายตัว ตามเส้ น ทางที ่ จ ะไปยั ง ร้ า นอาหาร ส่วนบริเวณที่ไม่มีร้านอาหารตั้งอยู่ นั้นจะมีความหนาแน่นของกิจกรรม น้อยกว่าปัจจัยที่สำคัญรองลงมา คือเส้นทางการเดินและการสัญจร ร้านค้าที่ไม่ได้อยู่ในเส้นทางปกติคือ บริเวณส่วนกลางของสยามสแควร์ จะมีความหนาแน่นน้อยแม้จะเป็น ร้านอาหารชื่อดัง

จุฬาลงกรณ์ ซอย 64

50 25

200 100


siam inovation research report 2016

page 134

วิ เ คราะห์ ค วามหนาแน่ น ระหว่ า ง กิ จ กรรมของประชากรกั บ พื ้ น ที ่

ถนนอังรีดูนังต์

สยามสแควร์ ซอย 6

สยามสแควร์ ซอย 5

สยามสแควร์ ซอย 4

สยาม

สยามสแควร์ ซอย 3

สยามสแควร์ ซอย 2

สยามสแควร์ ซอย 1

ถนนพระราม 1

ถนนพญาไท

สยามสแควร์ ซอย 8

สยามสแควร์ ซอย 9

สยามสแควร์ ซอย 10

สยามสแควร์ ซอย 7 สยามสแควร์ ซอย 11

Innovation Activity เป็นกิจกรรมท่ีเราพบว่าเพ่ิงจะเกิด ข้ึนใหม่ล่าสุดในพื้นท่ีสยามสแควร์ ซึ่งจากการวิเคราะห์พบว่า พฤติกรรมจากวัยต่างๆน้ันพื้นที่ กิจกรรมเหล่าน้ีจะกระจายตัวเป็น สถานที่เป็นตำแหน่งไปและยังไม่มี ความเช่ือมโยงถึงกันซึ่งในกระบวน การเกิดนวัตกรรมนั้นหากในแต่ละ กระบวนการมีตำแหน่งท่ีใกล้เคียง กันหรือเชื่อมโยงกันย่อมทำให้กิจ กรรมเหล่าน้ันเกิดขึ้นได้ง่ายดังน้ัน จากการวิเคราะห์เป็นสถานท่ีท่ีเกี่ยว ข้องกับกระบวนการเกิด นวัตกรรมโดยตรง

จุฬาลงกรณ์ ซอย 64

50 25

200 100


Siam inovation district research report 2016

page 135

วิ เ คราะห์ ค วามหนาแน่ น ระหว่ า ง กิ จ กรรมของประชากรกั บ พื ้ น ที ่

ถนนอังรีดูนังต์

สยามสแควร์ ซอย 6

สยามสแควร์ ซอย 5

สยามสแควร์ ซอย 4

สยาม

สยามสแควร์ ซอย 3

สยามสแควร์ ซอย 2

สยามสแควร์ ซอย 1

ถนนพระราม 1

ถนนพญาไท

สยามสแควร์ ซอย 8

สยามสแควร์ ซอย 9

สยามสแควร์ ซอย 10

สยามสแควร์ ซอย 7 สยามสแควร์ ซอย 11

Entertainment Activity เป็นกิจกรรมที่เป็นสีสันและตัวขับ เคลื่อนพื้นที่สยามสแควร์ โดยเป็นทั้งพ้ืนที่กิจกรรมท้ังขนาด เล็กไปจนขนาดใหญ่สยามถูก ขึ้นชื่อในเรื่องของการจัดงาน นิทรรศการอีเวนท์และงานแฟร์ ต่างๆซึ่งพื้นที่ที่มีการใช้งานสูง ในปัจจุบันเป็นพื้นที่ที่เป็นอาคาร ขนาดใหญ่มากกว่าพ้ืนที่สาธารณะ เน่ ื อ งจากไม่ ต ้ อ งจั ด การเร่ ื อ ง ระบบสัญจรเส้นทางถนน ทางเดินเท้า ยกเว้นในบางพ้ืนที่ ที่ไม่ติดกับทางถนนจะมีความ หนาแน่นในการรวมกลุ่มกันของ กลุ่มคนในวัยต่างๆและความหนา แน่นของกิจกรรมที่มากกว่าพื้นที่ อื่นการเชื่อมต่อจากสถานีรถไฟฟ้า เป็นปัจจัยสำคัญต่อการจัดการ พื้นท่ี และกิจกรรมเหล่าน้ี

จุฬาลงกรณ์ ซอย 64

50 25

200 100


page 136

Siam inovation district research report 2016

วิ เ คราะห์ ค วามสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งกิ จ กรรมของประชากร กั บ พื ้ น ที ่ วั ย เด็ ก ( Junior High School ) เปน็พน้ืทท่ีม่ีกีจิกรรมประเภท routine activity เปน็พน้ืทท่ีม่ีกีจิกรรมประเภท innovation activity เปน็พน้ืทท่ีม่ีกีจิกรรมประเภท entertianment activity

ถนนพระราม 1

สยาม

ถนนอังรีดูนังต์

สยามสแควร์ ซอย 6

สยามสแควร์ ซอย 5

สยามสแควร์ ซอย 4

สยามสแควร์ ซอย 2

สยามสแควร์ ซอย 3

สยามสแควร์ ซอย 8

สยามสแควร์ ซอย 9

สยามสแควร์ ซอย 10

เปน็พน้ืทท่ีม่ีกีจิกรรมประเภท routine activity, entertianment activity innovation activity

สยามสแควร์ ซอย 7 สยามสแควร์ ซอย 11

เปน็พน้ืทท่ีม่ีกีจิกรรมประเภท entertianment activity และ innovation activity

ถนนพญาไท

เปน็พน้ืทท่ีม่ีกีจิกรรมประเภท routine activity และ entertianment activity

สยามสแควร์ ซอย 1

เปน็พน้ืทท่ีม่ีกีจิกรรมประเภท routine activity และ innovation activity

จุฬาลงกรณ์ ซอย 64 LEGEND normal activity entertianment activity innovation activity

50 25

200 100


page 137

Siam inovation district research report 2016

วิ เ คราะห์ ค วามสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งกิ จ กรรมของประชากร กั บ พื ้ น ที ่ วั ย มั ธ ยม ( Senior High School )

เปน็พน้ืทท่ีม่ีกีจิกรรมประเภท routine activity เปน็พน้ืทท่ีม่ีกีจิกรรมประเภท innovation activity ถนนพระราม 1

เปน็พน้ืทท่ีม่ีกีจิกรรมประเภท routine activity, entertianment activity innovation activity

ถนนอังรีดูนังต์

สยามสแควร์ ซอย 6

สยามสแควร์ ซอย 5

สยามสแควร์ ซอย 4

สยามสแควร์ ซอย 3

สยามสแควร์ ซอย 8

สยามสแควร์ ซอย 9

สยามสแควร์ ซอย 10

สยามสแควร์ ซอย 7 สยามสแควร์ ซอย 11

เปน็พน้ืทท่ีม่ีกีจิกรรมประเภท entertianment activity และ innovation activity

สยาม

ถนนพญาไท

เปน็พน้ืทท่ีม่ีกีจิกรรมประเภท routine activity และ entertianment activity

สยามสแควร์ ซอย 1

เปน็พน้ืทท่ีม่ีกีจิกรรมประเภท routine activity และ innovation activity

สยามสแควร์ ซอย 2

เปน็พน้ืทท่ีม่ีกีจิกรรมประเภท entertianment activity

จุฬาลงกรณ์ ซอย 64 LEGEND normal activity entertianment activity innovation activity

50 25

200 100


siam inovation research report 2016

page 138

วิ เ คราะห์ ค วามสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งกิ จ กรรมของประชากร กั บ พื ้ น ที ่ วั ย นั ก ศึ ก ษา ( Bachelor’s degree )

เปน็พน้ืทท่ีม่ีกีจิกรรมประเภท routine activity เปน็พน้ืทท่ีม่ีกีจิกรรมประเภท innovation activity ถนนพระราม 1

เปน็พน้ืทท่ีม่ีกีจิกรรมประเภท routine activity, entertianment activity innovation activity

ถนนอังรีดูนังต์

สยามสแควร์ ซอย 6

สยามสแควร์ ซอย 5

สยามสแควร์ ซอย 4

สยามสแควร์ ซอย 3

สยามสแควร์ ซอย 8

สยามสแควร์ ซอย 9

สยามสแควร์ ซอย 10

สยามสแควร์ ซอย 7 สยามสแควร์ ซอย 11

เปน็พน้ืทท่ีม่ีกีจิกรรมประเภท entertianment activity และ innovation activity

สยาม

ถนนพญาไท

เปน็พน้ืทท่ีม่ีกีจิกรรมประเภท routine activity และ entertianment activity

สยามสแควร์ ซอย 1

เปน็พน้ืทท่ีม่ีกีจิกรรมประเภท routine activity และ innovation activity

สยามสแควร์ ซอย 2

เปน็พน้ืทท่ีม่ีกีจิกรรมประเภท entertianment activity

จุฬาลงกรณ์ ซอย 64 LEGEND normal activity entertianment activity innovation activity

50 25

200 100


siam inovation research report 2016

page 139

วิ เ คราะห์ ค วามสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งกิ จ กรรมของประชากร กั บ พื ้ น ที ่ วั ย ทำงานธุ ร กิ จ แบบใหม่ ( Start up )

เปน็พน้ืทท่ีม่ีกีจิกรรมประเภท routine activity เปน็พน้ืทท่ีม่ีกีจิกรรมประเภท innovation activity ถนนพระราม 1

เปน็พน้ืทท่ีม่ีกีจิกรรมประเภท routine activity, entertianment activity innovation activity

ถนนอังรีดูนังต์

สยามสแควร์ ซอย 6

สยามสแควร์ ซอย 5

สยามสแควร์ ซอย 4

สยามสแควร์ ซอย 3

สยามสแควร์ ซอย 8

สยามสแควร์ ซอย 9

สยามสแควร์ ซอย 10

สยามสแควร์ ซอย 7 สยามสแควร์ ซอย 11

เปน็พน้ืทท่ีม่ีกีจิกรรมประเภท entertianment activity และ innovation activity

สยาม

ถนนพญาไท

เปน็พน้ืทท่ีม่ีกีจิกรรมประเภท routine activity และ entertianment activity

สยามสแควร์ ซอย 1

เปน็พน้ืทท่ีม่ีกีจิกรรมประเภท routine activity และ innovation activity

สยามสแควร์ ซอย 2

เปน็พน้ืทท่ีม่ีกีจิกรรมประเภท entertianment activity

จุฬาลงกรณ์ ซอย 64 LEGEND normal activity entertianment activity innovation activity

50 25

200 100


siam inovation research report 2016

page 140

วิ เ คราะห์ ค วามสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งกิ จ กรรมของประชากร กั บ พื ้ น ที ่ วั ย ทำงานแบบปกติ ( Officer )

เปน็พน้ืทท่ีม่ีกีจิกรรมประเภท routine activity เปน็พน้ืทท่ีม่ีกีจิกรรมประเภท innovation activity ถนนพระราม 1

เปน็พน้ืทท่ีม่ีกีจิกรรมประเภท routine activity, entertianment activity innovation activity

ถนนอังรีดูนังต์

สยามสแควร์ ซอย 6

สยามสแควร์ ซอย 5

สยามสแควร์ ซอย 4

สยามสแควร์ ซอย 3

สยามสแควร์ ซอย 8

สยามสแควร์ ซอย 9

สยามสแควร์ ซอย 10

สยามสแควร์ ซอย 7 สยามสแควร์ ซอย 11

เปน็พน้ืทท่ีม่ีกีจิกรรมประเภท entertianment activity และ innovation activity

สยาม

ถนนพญาไท

เปน็พน้ืทท่ีม่ีกีจิกรรมประเภท routine activity และ entertianment activity

สยามสแควร์ ซอย 1

เปน็พน้ืทท่ีม่ีกีจิกรรมประเภท routine activity และ innovation activity

สยามสแควร์ ซอย 2

เปน็พน้ืทท่ีม่ีกีจิกรรมประเภท entertianment activity

จุฬาลงกรณ์ ซอย 64 LEGEND normal activity entertianment activity innovation activity

50 25

200 100


page 141

Siam inovation district research report 2016

วิ เ คราะห์ ค วามสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งกิ จ กรรมของประชากร กั บ พื ้ น ที ่ วั ย ผู ้ ใ หญ่ ( Adult )

เปน็พน้ืทท่ีม่ีกีจิกรรมประเภท routine activity เปน็พน้ืทท่ีม่ีกีจิกรรมประเภท innovation activity

ถนนพระราม 1

สยาม

ถนนอังรีดูนังต์

สยามสแควร์ ซอย 6

สยามสแควร์ ซอย 5

สยามสแควร์ ซอย 4

สยามสแควร์ ซอย 3

สยามสแควร์ ซอย 8

สยามสแควร์ ซอย 9

สยามสแควร์ ซอย 10

เปน็พน้ืทท่ีม่ีกีจิกรรมประเภท entertianment activity และ innovation activity

สยามสแควร์ ซอย 7 สยามสแควร์ ซอย 11

เปน็พน้ืทท่ีม่ีกีจิกรรมประเภท routine activity และ entertianment activity

ถนนพญาไท

เปน็พน้ืทท่ีม่ีกีจิกรรมประเภท routine activity และ innovation activity

สยามสแควร์ ซอย 2

สยามสแควร์ ซอย 1

เปน็พน้ืทท่ีม่ีกีจิกรรมประเภท entertianment activity

จุฬาลงกรณ์ ซอย 64 LEGEND

เปน็พน้ืทท่ีม่ีกีจิกรรมประเภท routine activity, entertianment activity innovation activity

normal activity entertianment activity innovation activity

50 25

200 100


page 142

Siam inovation district research report 2016

สรุ ป ความสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งกิ จ กรรม ของประชากรวั ย ต่ า งๆ กั บ พื ้ น ที ่

ถนนองัรดีนูงัต์

สยามสแควร์ ซอย 5

สยามสแควร์ ซอย 4

สยามสแควร์ ซอย 6

สยาม

สยามสแควร์ ซอย 3

สยามสแควร์ ซอย 2

สยามสแควร์ ซอย 1

ถนนพระราม 1

ถนนพญาไท

สยามสแควร์ ซอย 8

สยามสแควร์ ซอย 9

สยามสแควร์ ซอย 10

สยามสแควร์ ซอย 7 สยามสแควร์ ซอย 11

ในแตล่ะชว่งวยันน้ัมกีารใชง้าน กิจกรรมที่แตกต่างกันซึ่งพื้น ทส่ียามประชากรทเ่ีปน็กลมุ่ ผใู้ชง้านหลกัคอื นกัเรยีน นักศึกษาที่เป็นผู้ใช้งานประจำ ทง้ัในชว่งวนัธรรมดาและวนั หยดุสว่นนกัทอ่งเทย่ีวตา่งชาติ นั้นจะมีปริมาณมากเช่นกันแต่ จะไม่ได้อยู่ในพื้นที่เท่ากับพวก วยัเรยีนและกจิกรรมสว่นใหญ่ ของพน้ืทส่ียามจะเปน็กจิกรรม ประเภท Entertainment Activity และ Routine Activity ซง่ึมทีง้ัในรปูแบบ อาคาร พน้ืทโ่ีลง่และ อาคาร ขนาดเล็กพื้นที่เล็กๆ ซง่ึมกีารเขา้ถงึของประชากร ได้ ด ี ด ั ง นั ้ น ในการจั ด พื ้ น ที ่ เพื่อกิจกรรมเกี่ยวกับกลุ่มคน จะตอบสนองตอ่ประชากรได้ ทกุวนั

จฬ ุ าลงกรณ์ ซอย 64 LEGEND

routine activity innovation activity entertianment activity

50 25

routine+entertainment+innovation activity routinet+innovation activity routine+entertainment activity entertainment+innovation activity

200 100


page 143

Siam inovation district research report 2016

สรุป สัดส่วน กิจกรรมของประเภทประชากรวัยต่างๆในพื้นที่ 80 %

38 % 52 %

0.2 % 18 %

Junior High School

10 %

ในวยัเดก็นน่ัจะทำกจิกรรมทเ่ีกย่ีวขอ้ง นวตักรรมนอ้ยมากกจิวตัรสว่นใหญค่อืการ เรยีนหนงัสอืในสถานทเ่ีรยีนพเิศษ

Startup

ในวัยทำงาน ธุรกิจรูปแบบใหม่ นั้นจะต้องมีการทำงาน ที่เกิดขึ้นในพื้นที่และกิจกรรมอื่นๆที่กระตุ้นความรู้ ความสามารถซึ่งทำให้ปัจจุบันคนรูปแบบนี้จะอยู่ ในพื้นที่นานที่สุด ด้วยเช่นกัน

50 %

36 % 48 %

10 % 40 %

Senior High School

ในวัยเด็กโตนั่นจะทำกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับ นวัตกรรมเพิ่มมากขึ้น กิจวัตรประจำวันเริ่มมี ความหลากหลายเริ่มมีความสนใจด้านพิเศษมัก จะใช้เวลาอยู่ในช่วงกลางวัน

16 %

Officer

ในวัยทำงานรูปแบบเดิม พนักงานออฟฟิศนั่น จะมีความคล้ายคลึงอยู่บ้างเนื่องจาก จะต้อง เพิ่มเติมความรู้หรือการทำงานร่วมกันกับ กลุ่มคนเหล่านี้ระยะเวลาที่อยู่ในพื้นที่จึงคล้ายคลึงกัน

54 %

60 % 8%

14 % 32 %

Bachelor’s degree

ในวยัรนุ่นน่ัจะทำกจิกรรมทเ่ีกย่ีวขอ้ง นวตักรรมเพม่ิมากขน้ึกจิวตัรประจำวนัเรม่ิมคีวาม หลากหลาย เรม่ิมคีวามสนใจดา้นพเิศษมกัใช้ เวลาอยใู่นชว่งกลางวนัมากกวา่กลางคนื

32 %

Parent

ในวยัผใู้หญเ่ปน็วยัทเ่ีปน็ตวัเพม่ิมลูคา่เศรษฐกจิ ใหก้บัพน้ืทเ่ีนอ่ืงจากมกีำลงัทรพ ั ยใ์นการจบัจา่ย ชาวตา่งชาตเิองสว่นใหญอ่ยใู่นชว่งวยันเ้ีชน่กนั Designed by Freepik / Flaticon


Siam inovation district research report 2016

page 144

วิเคราะห์ต้นทุนทางนวัตกรรม จับต้องได้ ( tangible ) COWORKING TEAM

การขยายตัวของ Co - working space

การเดินทาง ตำแหน่งที่ตั้ง

มีการเพิ่มขึ้นของธุรกิจที่ร้านค้า ร้านกาแฟ ที่มีคุณสมบัติเป็น coworking spaceซึ่งสนับสนุน ธุรกิจรูปแบบใหม่( Start up )

ความหลากหลาย ของคนและกิจกรรม

การเป็นพื้นที่ศูนย์กลางเมือง และจุดตัดของรถไฟฟ้า จะส่งผลให้ย่านพัฒนาและ ประสบความสำเร็จได้

ผลงานวิจัยของ มหาวิทยาลัย

เป็นคุณสมบัติที่สำคัญ ในการพัฒนาเป็นพื้นที่ทาง นวัตกรรมและธุรกิจรูปแบบใหม่ เนื่องจากสามารถ

ผลงานวิจัยของนิสิต นักศึกษา และอาจารย์เป็น ต้นทุนสำคัญในการผลิต งานนวัตกรรม

ความหลากหลาย และขนาดของพื้นที่ เป็นพื้นที่ที่มีรูปแบบพื้นที่หลากหลาย รูปแบบในการใช้งานส่งผล ต่อการสร้างการรับรู้ทางนวัตกรรม ที่หลากหลาย

พื้นที่นำเทรนด์ และทันสมัย เป็นพื้นที่ทันสมัยของการค้า และการเปิดตัวของผลิตภัณฑ์ และธุรกิจต่างๆตั้งแต่ อดีตจนปัจจุบัน

Designed by Freepik / Flaticon


page 145

Siam inovation district research report 2016

วิเคราะห์ต้นทุนทางนวัตกรรม จับต้องไม่ได้ ( intangible ) ค่านิยม และ เครือข่ายทางสังคม

ความรู้ของ บุคคลากกรที่มีประสิทธิภาพ

ย่านสยาม ปทุมวันเป็น ย่านนำเทรนด์ทางสังคม เป็นปัจจัยสำคัญต่อ การเชื่อมต่อกับคนในเมือง

บุคคลากรในพื้นที่เป็น กำลังสำคัญในการพัฒนาและ ผลักดันย่านไปสู่เป้าหมาย ของการเป็นย่านในอนาคต

ความสำคัญและคุณค่า ของมหาวิทยาลัย การเป็นสถานศึกษาย่อม นำพากลุ่มคน และผู้ที่ มีความรู้ความเชี่ยวชาญ มาสู่ตัวพื้นที่โครงการได้

Designed by Freepik / Flaticon


page 146

Siam inovation district research report 2016

ศักยภาพในการพัฒนาย่านนวัตกรรม 01 02 03

PERSONAL บุคคลากรของจุฬาฯ ทั้งนักศึกษา ศิษญ์เก่า และคณาจารย์ที่มีผลงานวิจัยต่างๆที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม

LOCATION

พื้นที่จุฬาและสยามเป็นพื้นที่ที่มีส่วนสำคัญในการสร้างย่าน นวัตกรรรมเนื่องจากเป็นทั้งพื้นที่สร้างนวัตกรรมและ แสดงออกถึงนวัตกรรมสู่สังคม

ACCESSBILITY

การเชื่อมต่อของพื้นที่ภายนอกสู่พื้นที่โครงการสามารถ เชื่อมต่อได้หลายเส้นทางและการเชื่อมต่อด้วยรถไฟฟ้า เป็นสิ่งสำคัญในการดึงคนเข้าสู่พื้นที่

DIVERSITY

04

พื้นที่มีความหลากหลายของกิจกรรมที่ คอยขับเคลื่อยให้พื้นที่มีการใช้งานอยู่ตลอดเวลานอกเหนือจากพาณิชยกรรม และการศึกษา

ECONOMY

05

การเป็นย่านเศรษฐกิจที่สำคัญเป็นทุนเดิมในการพัฒนาพื้นที่ ที่สนับสนุนทั้งในเรื่องของการเข้ามาของคนและ การสร้างมูลค่าให้กับย่าน Designed by Freepik / Flaticon


page 147

Siam inovation district research report 2016

โอกาสในการพัฒนาย่านนวัตกรรม

01 02 03

TRENDSETTER ปัจจุบัน รูปแบบธุรกิจของโลกกำลังเข้าสู่รูปแบบเศรษฐกิจแบบใหม่ ( start up)ซึ่งจะเป็นตัวผลักดันให้พื้นที่ มีการเติบโตของพาณิชยกรรม และการบริการที่เกี่ยวข้องกันเกิดขึ้นในย่าน

LANDOWNER พื้นที่ส่วนใหญ่ของโครงการพัฒนา เป็นพื้นที่ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นอกจากจะสามารถพัฒนาพื้นที่ได้โดยง่ายแล้ว โครงการของจุฬาในการพัฒนาพื้นที่ยังเป็นส่วนสำคัญต่อโครงการ

PARTNERSHIP

การเกิดย่านนวัตกรรมต้องอาศัยความร่วมมือ และความเชี่ยวชาญใน หลากหลายภาคส่วนด้วยบทบาทของจุฬาที่เป็นสถานศึกษาย่อมส่งผล ให้เกิดโครงการและสนับสนุนจากหลายภาคส่วน

VALUE

04

พื้นที่ปทุมวัน สยาม เป็นพื้นที่มีเอกลักษณ์มายาวนานที่เป็นพื้นที่สำคัญ ทางเศรษฐกิจ และด้วยกระแสทาสังคมการเปลี่ยนย่านย่อมต้องเกิดในพื้นที่ ที่ทุกคนรุ้จัก Designed by Freepik / Flaticon


page 148

Siam inovation district research report 2016

ปัญหาของการพัฒนาย่านนวัตกรรม

01 02 03

MONEY เงินลงทุนและค่าเช่าที่เป็นสิ่งสำคัญในโครงการ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาและการพัฒนาคน ซึ่งจะต้องใช้งบประมาณที่สูงและได้ผลตอบแทนทางสังคมมากกว่า ผลกำไรเหมือนธุรกิจโดยทั่วไป

CO OPERATION ความร่วมมือคือ มหาวิทยาลัย และภาครัฐ เป็นปัญหาสำคัญในเรื่อง ระยะเวลาการดำเนินงาน และข้อจำกัดต่างๆ

MANAGEMENT ในการเกิดย่านนวัตกรรมต้องอาศัยการจัดการอย่างเป็นระบบ โดยเฉพาะบุคคลากรที่มีความเข้าใจในกระบวนการนวัตกรรม

STRATEGY

04

กลยุทธ์และการวางเป้าหมายของโครงการการพัฒนาเมืองให้เป็นย่านที่มีประสิทธิภาพย่อม ต้องอาศัยระยะเวลาและกลยุทธ์ใน การบรรลุเป้าหมายอย่างชัดเจน Designed by Freepik / Flaticon


page 149

Siam inovation district research report 2016

วิเคราะห์คู่แข่งทางตรง ในการเกิด Siam Innovation District ภาครัฐ

ภาคเอกชน

Education

Incubators / Accelerators

การพัฒนาของ จุฬาฯ บริเวณพื้นที่สวนหลวง - สามย่าน และสถานศึกษาอื่น ในกรณีที่มีการเกิดโครงการใหม่ๆ จะส่งผลต่อ รูปแบบ การพัฒนาย่าน

ในพื้นที่ สยาม - ปทุมวัน เป็นย่านที่มีบริษัทเอกชนมากมายที่กำลังพัฒนาในเรื่องของ start up ทั้งในด้านเงินทุนและกิจกรรมต่างๆ

Coworking space

Commercial


page 150

Siam inovation district research report 2016

วิเคราะห์คู่แข่งทางอ้อม ในการเกิด Siam Innovation District ภาครัฐ

สถานศึกษา และหน่วยงานรัฐในปัจจุบัน ให้ความสนใจในการพัฒนาของ ธุรกิจรูปแบบนี้ ทำให้มีการพัฒนาที่หลากหลาย และแตกต่างกันไป

ภาคเอกชน

ปัจจุบันไม่ใช่แค่บริเวณพื้นที่ สยาม - ปทุมวันเท่านั้นที่มีการขยายตัวของการพัฒนา ธุรกิจรูปแบบใหม่ แต่กำลังขยายตัวไปในหน่วยงานต่างๆอย่างต่อเนื่อง Incubators / Accelerators

Education

Venture Capital

Government Coworking space


6

Siam inovation district research report 2016

บทสรุปและข้อเสนอแนะ บทสรุปความเป็นไปได้ในการพัฒนาโครงการย่านนวัตกรรมสยามสแควร์ ประกอบไปด้วย ข้อสรุปทางด้านการพัฒนาพื้นที่ การพัฒนาด้าน กิจกรรม ต้นทุนทางนวัตกรรมในพื้นที่ ข้อสรุปความต้องการของกลุ่มผู้ มีส่วนได้ส่วนเสียในระบบ รวมไปถึงข้อเสนอแนะด้านการพัฒนาในอนาคต

page 151


page 152

Siam inovation district research report 2016

- 1.1 หลักการและเหตุผล - 1.2 วัตถุประสงค์ของโครงการ - 1.3 ขอบเขตของการศึกษา

3 4 4


page 153

Siam inovation district research report 2016

Silicon Valley California, United States

ความสำคัญของพื้นที่ Silicon Valleyเป็นพื้นที่ย่านพาณิชยกรรมที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศสหรัฐอเมริกา ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของอ่าวซานฟรานซิสโก เป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของบริษัทเทคโนโลยีที่ใหญ่ที่สุด ของโลก และเป็นที่ตั้งของมหาวิยาลัยที่มีชื่อเสียงทางด้านเทคโนโลยีและธุรกิจอย่างมหาวิทยาลัยสแตนด์ฟอร์ด (Stanford university) โดยในปี ค.ศ.1940 อาจารย์จากมหาวิทยาลัยได้มีนโยบายในการผลักดันและ สนับสนุนให้บุคลากรและนักศึกษาของมหาวิทยาลัย สร้างโอกาสทางธุรกิจผ่านการจัดตั้งบริษัทและธุรกิจของ ตนเอง โดยพื้นที่โดยรอบมหาวิทยาลัยแต่แรกเริ่ม เป็นพื้นที่ผลิตซิลิคอนชิปขนาดใหญ่ และเป็นย่านที่อยู่อาศัย แบบอาคารพาณิชย์(ตึกแถว)ที่มีค่าเช่าราคาถูก จึงเอื้อประโยชน์ให้ธุรกิจเกิดใหม่สามารถเกิดขึ้นในพื้นที่ได้ และ นำไปสู่การขยายตัวของพื้นที่เป็นย่านเศรษฐกิจและธุรกิจทางด้านนวัตกรรมที่สำคัญที่สุดในระดับโลก กิจกรรมภายในพื้นที่ เป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยสแตมฟอร์ด ซึ่งโดยรอบมีกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่รองรับการใช้ งานของบุคลากรจากมหาวิทยาลัย เช่น หอพัก ร้านอาหาร ศูนย์การค้า รวมไปถึงอาคารพาณิชย์ให้เช่าเพื่อทำ เป็นสำนักงานธุรกิจเกิดใหม่ ซึ่งสามารถอยู่อาศัยและทำงานในพื้นที่เดียวกันได้ตลอด 24 ชั่วโมง รวมไปถึง การเป็นที่ตั้งของสำนักงานธุรกิจของเอกชนรายใหญ่ต่างๆ เช่น Google, Facebook, Apple และสำนักงานบริษัทขนาดใหญ่อื่นๆที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมและเทคโนโลยี จุดแข็งของพื้นที่

การเป็นพื้นที่ซึ่งเป็นย่านที่อยู่อาศัยและแหล่งการผลิตที่มีราคาค่าเช่าพื้นที่ถูก มาสู่การเป็น พื้นที่พาณิชยกรรม เป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับธุรกิจซึ่งมีต้นทุนในการลงทุนต่ำหรือธุรกิจเกิดใหม่ ได้มีโอกาส ในการมีพื้นที่ทำงานเป็นของตนเอง ในบรรยากาศการทำงานที่เหมาะสม และเอื้ออำนวยให้เกิดการคิดค้น นวัตกรรมหรือสิ่งใหม่ๆ บนฐานขององค์ความรู้ที่ได้จากอาจารย์และนักศึกษาจากมหาวิทยาลัย ซึ่งส่งผลให้ เอกชนรายใหญ่เกิดความสนใจในการเข้ามาลงทุนในพื้นที่ สิ่งที่สามารถนำมาใช้กับสยามสแควร์ ความเหมาะสมในการใช้อาคารตึกแถวให้กลายเป็นสำนักงานในพื้นที่พาณิชยกรรม ซึ่งเอื้อ ประโยชน์ให้เกิดระบบนิเวศทางธุรกิจและบรรยากาศในการทำงานที่เอื้อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ ต่างจากการ ทำงานในสำนักงานทั่วไป และการอยู่ใกล้มหาวิทยาลัยเช่นเดียวกับที่สยามแสควร์ตั้งอยู่ใกล้กับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะมีโอกาสเอื้อให้เอกชนและภาคธุรกิจสามารถเข้าถึงองค์ความรู้เพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ Silicon Valley, San Francisco Financial District ที่มา : http://foundersguide.com


Siam inovation district research report 2016

page 154

Sangam DMC Seoul, South Korea

ความสำคัญของพื้นที่ Sangam Digital Media City (DMC) เป็นย่านนวัตกรรมครบวงจรที่เกิดขึ้นในกรุง โซล ประเทศเกาหลีใต้ มีชื่อเสียงทางด้านเป็นย่านนวัตกรรมที่มีชื่อเสียงเชิงดิจิตอลและเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นใน ประเทศ ก่อสร้างขึ้นในปี ค.ศ.2002 เพื่อการเป็นย่านนันทนาการสำคัญ ในอดีตเป็นที่ดินที่ใช้ฝังกลบขยะ ภายในเมือง ซึ่งสร้างมลพิษให้แก่พื้นที่โดยรอบ แต่ภายหลังรัฐบาลมีโครงการพัฒนาฟื้นฟูแม่น้ำฮัน พื้นที่ย่าน ซ็องนัมซึ่งอยู่บริเวณตอนเหนือของแม่น้ำจึงได้รับการวางแผนบูรณะฟื้นฟูไปด้วย กิจกรรมภายในพื้นที่ เมืองแห่งเทคโนโลยีและสื่อดิจิตอล ประกอบไปด้วยที่อยู่อาศัยและสำนักงานรูปแบบใหม่ คือ พื้นที่การเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลาด้วยเทคโนโลยี (Ubiquitous) นอกจากนี้ยังมีร้านค้า ศูนย์ประชุม พิพิธภัณฑ์ ศูนย์ประชุม และศูนย์วัฒนธรรม บนที่ตั้งกว่า 570,000 ตร.ม. นอกจากนี้ยังเป็นศูนยกลางทางด้านการ นันทนาการ ภาพยนตร์ เกม ดนตรี และสำนักงานด้านเทคโนโลยีที่มีชื่อเสียงของเกาหลี เช่น LG จุดแข็งของพื้นที่

เป็นพื้นที่ก่อสร้างใหม่ทั้งหมด จึงสามารถวางโครงสร้างพื้นฐานใหม่ที่มีประสิทธิภาพ หรือมี ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสูง อยู่ติดกับสถานีรถไฟเส้นหลักของเมืองเชื่อมต่อกับพื้นที่เศรษฐกิจได้โดยตรง นอกจากนี้ ประเทศเกาหลีเป็นประเทศที่มีชื่อเสียงด้านภาพยนตร์และสื่อบันเทิง ทำให้ถูกผลักดันเป็นประเด็นใน การพัฒนาย่านได้อย่างมีประสิทธิภาพ สิ่งที่สามารถนำมาใช้กับสยามสแควร์ การหยิบจุดแข็งของประเทศมาใช้เป็นประเด็นหลักในการพัฒนาย่าน ซึ่งสยามสแควร์ควร เป็นพื้นที่แสดงเอกลักษณ์ หรือตัวตนของประเทศผ่านกิจกรรมที่เกิดขึ้นภายในพื้นที่ นอกจากนี้แนวคิดการใช้ ชีวิตแบบเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลา ยังส่งเสริมให้เกิดการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่นั้นๆได้อย่างมีประสิทธิภาพมาก ยิ่งขึ้น โดยการใช้เทคโนโลยีและอินเตอร์เน็ต จะช่วยให้เกิดการเรียนรู้ทุกที่ทุกเวลา ไม่จำเป็นต้องเรียนรู้ในห้อง เรียน หรือทำงานในสำนักงานเสมอไป แต่เทคโนโลยีจะทำให้คนเปลี่ยนรูปแบบพฤติกรรมการใช้ชีวิต และส่งผล ให้พื้นที่ต่างๆ เปลี่ยนแปลงรูปแบบการใช้งานไปตามการชี้นำของเทคโนโลยีด้วย

Sangam DMC(Digital Media City), South Korea ที่มา : http://foundersguide.com


Siam inovation district research report 2016

page 155

Kendall Square

Massachusetts, United States

ความสำคัญของพื้นที่ Kendall Square เป็นย่านที่มีชื่อเสียงทางด้านนวัตกรรม ผู้ประกอบการและธุรกิจ เกิดใหม่ หรือ Start-up district ตั้งอยู่บริเวณทิศเหนือของสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (MIT) พื้นที่บางส่วนถือครองโดยมหาวิทยาลัย โดยในอดีตเป็นพื้นที่ศูนย์กลางทางคมนาคมที่สำคัญของเมืองและ เป็นย่านอุตสาหกรรม ต่อมาในปี ค.ศ.2000 จึงได้พัฒนาขึ้นเป็นย่านการค้า สำนักงานและศูนย์วิจัย จากนโยบายการพัฒนาย่านโดยประธานาธิบดี และการขยายตัวของวิทยาเขตสถาบัน MIT เข้ามาในพื้นที่ ทำให้เกิดการพัฒนาพื้นที่ภายใต้ปรัชญา “The Future Lives Here.” กิจกรรมภายในพื้นท่ี เนื่องจากพื้นที่บางส่วน เป็นพื้นที่ที่ถือครองโดยสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ ซึ่งมีชื่อ เสียงระดับโลกในด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม ทำให้เกิดการดึงดูดเอกชนรายใหญ่ให้เข้ามาตั้งบริษัทของ ตนในพื้นที่ เพื่อให้เข้าถึงองค์ความรู้และการให้บริการด้านความรู้และบุคลากรโดยสถาบันได้ โดยสำนักงาน ในพื้นที่ มีทั้งรูปแบบอาคารสำนักงานขนาดใหญ่ที่มีเทคโนโลยีขั้นสูง และอาคารแบบแชร์พื้นที่ร่วมกัน หรือ Shared office space สำหรับธุรกิจ Start-up และนักลงทุนเข้ามาใช้พื้นที่ นอกจากนี้ยังมีที่อยู่อาศัย ร้านอาหาร บึงขนาดใหญ่ สำหรับรองรับการใช้ชีวิตแบบอยู่และทำงานในพื้นที่เดียวกัน จุดแข็งของพื้นที่

จากการที่พื้นที่บางส่วนถูกถือครองโดยสถาบันการศึกษา ทำให้เมื่อมีการขยายวิทยาเขต ออกมาสู่พื้นที่ศูนย์กลางเมือง จึงมีโอกาสพัฒนาให้กลายเป็นย่านมหาวิทยาลัยที่ดึงดูดนักลงทุนและบริษัทต่าง ๆให้เข้ามาลงทุนในพื้นที่ เพื่อได้รับข่าวสารและการติดตามกระแสทางด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นจาก มหาวิทยาลัยเป็นที่แรกๆของโลก เมื่อรู้กระแสหรือนวัตกรรมใหม่ๆได้เป็นคนแรก จึงมีโอกาสสร้างสรรค์ผลงาน ได้ก่อนบริษัทอื่นๆ สิ่งที่สามารถนำมาใช้กับสยามสแควร์ พื้นที่ Kendall squareมีความใกล้เคียงกับสยามสแควร์สูง เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่ถือครอง โดยมหาวิทยาลัย มีโอกาสในการพัฒนาตามนโยบายของมหาวิทยาลัย ซึ่งไม่ควรเป็นแค่พื้นที่เพื่อการพาณิชย์ เพียงอย่างเดียว แต่ควรมีการส่งเสริมกรพัฒนาพื้นที่ในเชิงการสนับสนุนนิสิต นักศึกษา อาจารย์และบุคลากร ของมหาวิทยาลัย ได้มีโอกาสทำงานและใช้พื้นที่ศูนย์กลางเมืองมากกว่าการเป็นย่านค้าขาย ซึ่งเป็นการสร้าง มูลค่าเพิ่มให้พื้นที่ และเป็นการตอบสนองต่อนโยบายการสร้างคุณค่าทางสังคมให้แก่สาธารณะประโยชน์ด้วย Kendall Square ที่มา : http://news.mit.edu


Siam inovation district research report 2016

page 156

Sheffield’s Retail Quarter South Yorkshire, England

ความสำคัญของพื้นที่ Sheffield’s Retail Quarter เป็นโครงการการพัฒนาฟื้นฟูเมืองที่เกิดขึ้นในเมือง เชฟฟีลด์ เขตมหานครในเซาท์ยอร์กเชียร์เคาน์ตี เป็นเมืองเก่าขนาดใหญ่ของประเทศอังกฤษที่มีชื่อเสียงใน ด้านการผลิตเหล็ก โดยโครงการมีจุดประสงค์ในการฟื้นฟูเศรษฐกิจของเมือง จากการที่ขาดแคลนพื้นที่ พาณิชยกรรม และความเสื่อมโทรมลงของกิจกรรมทางเศรษฐกิจในพื้นที่เมืองเก่า ดังนั้น นายกเทศมนตรี จึงมีนโยบายในการฟื้นฟูพื้นที่ให้เป็นย่านพาณิชย์ที่สำคัญ เกิดการจ้างงานในเมืองเพิ่มมากขึ้น ผ่านการ เพิ่มพื้นที่อยู่อาศัย สำนักงาน และร้านค้าต่างๆโดยเฉพาะร้านค้าสินค้าแฟชั่นและร้านอาหาร กิจกรรมภายในพื้นท่ี แผนของโครงการครอบคลุมการพัฒนาพื้นที่กว่า 900,000 ตร.ฟุต โดยเตรียมพื้นที่ กว่า 200,000 ต.ร.ฟุต เป็นพื้นที่อยู่อาศัยและสำนักงานใหม่แทรกไปในพื้นที่พาณิชยกรรมเก่าของตัวเมือง โดยมีเป้าหมายหลักในการสร้างเป็นย่านนันทนาการเพื่อรองรับการทำงาน และความมีชีวิตชีวาในเวลากลางคืน จุดแข็งของพื้นที่

แผนการพัฒนามีเป้าหมายในการฟื้นฟูพื้นที่เมืองเพื่อทำให้เกิดการจ้างงานเพิ่มขึ้นและเกิด การฟื้นฟูพื้นที่พาณิชยกรรมศูนย์กลางเมืองให้กลับมามีบรรยากาศที่ดีอีกครั้ง ผ่านการดึงเอกลักษณ์ของ สถาปัตยกรรม อาคารที่มีประวัติศาสตร์ และบรรยากาศของย่านมาใช้เป็นจุดแข็งในการสร้างบรรยากาศ โดย มีสาธารณะประโยชน์เป็นที่ตั้ง สิ่งที่สามารถนำมาใช้กับสยามสแควร์ พื้นที่ Sheffield’s Retail Quarter มีความใกล้เคียงกับสยามสแควร์ในด้านการเป็น พื้นที่พาณิชยกรรมเก่าของเมือง ซึ่งมีความเสื่อมโทรมและมีการใช้ประโยชน์ที่ดินไม่คุ้มทุน ทำให้มูลค่าที่ดินสูง เกินกว่าผู้ประกอบการรายใหม่จะรองรับได้ การสนับสนุนให้เกิดการใช้ประโยชน์ในช่วงเวลาเย็นและกลางคืน ด้วยกิจกรรมที่หลากหลายจะช่วยแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้ อีกทั้งสยามสแควร์ยังมีเอกลักษณ์ความเป็นย่านแบบ Brick and Mortar หรือลักษณะคล้ายห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ที่ผลักส่วนของร้านค้าออกมาที่ภายนอก เป็น Showcase ของสินค้าที่เรียงกันเป็นถนนคนเดิน ทำให้สยามสแควร์เป็นย่านการค้าที่มีบรรยากาศดีที่สุด แห่งหนึ่งในประเทศ และมีศักยภาพในการพัฒนาเป็นย่านที่มีการใช้งานที่หลากหลายผ่านสถาปัตยกรรมและ บรรยากาศที่มีเอกลักษณ์ Sheffield city centre, England ที่มา : http://foundersguide.com


Siam inovation district research report 2016

page 157

Googleplex

California, United States ความสำคัญของพื้นที่ Googleplex เป็นกลุ่มอาคารสำนักงานใหญ่ของบริษัท Google ตั้งอยู่ที่บริเวณ Mountain View, Santa Clara County เป็นหนึ่งในบริเวณ Silicon Valley ซึ่งเป็นพื้นที่แสดง นวัตกรรมและย่านสำนักงานเทคโนโลยีที่มีความสร้างสรรค์และทันสมัยที่สุดแห่งหนึ่งในโลก ซึ่งเป็นพื้นที่ให้ กำเนิดนวัตกรรมและเทคโนโลยีสำคัญต่างๆมากมายจาก Google และ Android โดยในพื้นที่ประกอบไป ด้วยอาคารที่มีเทคโนโลยีประหยัดพลังงาน รวมไปถึงสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆมากมายที่มีนวัตกรรม แปลกใหม่ และสร้างแรงบันดาลใจให้กับบุคลากรในองค์กรรวมไปถึงบุคคลทั่วไปด้วย กิจกรรมภายในพื้นท่ี พื้นที่ประกอบไปด้วยอาคาร 4 หลังของ Googleplex มีเนื้อที่ 47,038 ตร.ม. โดยซื้อ ต่อมาจาก Silicon Graphics (SGI) เป็นกลุ่มอาคารสำนักงานทั้งพื้นที่ โดยมีสิ่งอำนวยความสะดวกรองรับ ครบทุกประการ ซึ่งเอื้อให้บุคลากรสามารถทำงานในพื้นที่ได้ตลอดเวลาไปพร้อมกับการพักผ่อน ในพื้นที่มีการ เดินทางที่สะดวกสบายด้วยจักรยาน และนวัตกรรมการให้บริการสิ่งต่างๆที่มีเพียงที่นี่ที่เดียว เช่น รถให้บริการ ตัดผม รถยนต์พลังงานไฟฟ้าพร้อมที่จอดหลังคาโซลาเซลล์ ห้องรับประทานอาหารหรือคาเฟ่ที่สามารถเข้ามา รับประทานอาหารได้ตลอดเวลา สระว่ายน้ำ สนามกีฬา และอื่นๆ จุดแข็งของพื้นที่

Googleplex เป็นองค์กรที่ถูกจัดอันดับว่าน่าเข้าร่วมงานที่สุดในโลก ไม่ใช่เพราะค่าตอบ แทนที่สูงที่สุด แต่เพราะวัฒนธรรมองค์กร รวมถึงสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆมากมาย สามารถสร้าง คุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่บุคลากรได้ รวมถึงเอื้อให้เกิดแรงบันดาลใจในการสร้างรรค์สิ่งใหม่ๆออกมาแข่งขันกัน ตลอดเวลา โดยไม่จำเป็นต้องออกจากพื้นทไปที่อื่น สิ่งที่สามารถนำมาใช้กับสยามสแควร์ การสร้างพื้นที่สำหรับสร้างสรรค์หรือสร้างแรงบรรดาลใจให้กับผู้ที่มาใช้งานพื้นที่ จำเป็น ต้องคิดถึงพฤติกรรมและความต้องการในการใช้งานพื้นที่จริง การพัฒนาย่านสยามสแควร์ให้เป็นย่านที่เอื้อให้ เกิดการสร้างแรงบันดาลใจแก่นวัตกรหรือคนรุ่นใหม่ ควรสร้างบรรยากาศที่เหมาะสมในการดำเนินชีวิต หรือแสดงนวัตกรรมที่มีคุณค่า มีประสิทธิภาพออกมา ให้แตกต่างจากย่านธุรกิจทั่วไป ซึ่งไม่ดึงดูดให้นวัตกร หรือคนรุ่นใหม่อยากเดินทางเข้ามาทำงานในพื้นที่ Google plex, California ที่มา : http://www.visitcalifornia.com


Siam inovation district research report 2016

page 158

Grand Front Osaka Osaka, Japan

ความสำคัญของพื้นที่ Grand Front Osaka เป็นกลุ่มอาคารที่มีกิจกรรมแบบผสมผสานหรือMixed use development โดยตั้ง อยู่ที่สถานีรถไฟ JR Osaka Station ในย่านยูเมะดะ เป็นหนึ่งในโครงการ ปรับปรุงพื้นที่รางรถไฟเก่าให้ เป็นย่านที่ทันสมัย ผสมผสานกับความเป็นธรรมชาติของสวนสีเขียว ทั้งบนดาดฟ้า และริมถนนรอบนอกอาคาร เปิดตัวเมื่อปี 2013 โดยภายในอาคารยังเป็นที่ตั้งสำนักงาน พานาโซนิค ซึ่งเป็นศูนย์แสดงด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆของแบรนด์ให้แก่ประชาชนทั่วไป กิจกรรมภายในพื้นท่ี พื้นที่ประกอบด้วยอาคารต่างๆ ได้แก่ อาคารทิศใต้ อาคารทิศเหนือ ห้องโถงกิจกรรม และอาคารที่อยู่อาศัย ภายในแบ่งออกเป็นพื้นที่ร้านค้า ร้านอาหาร โรงแรม สำนักงาน และลานจัดกิจกรรม ชั้น 1-6 เป็นส่วนของร้านขายของตกแต่งบ้าน ชั้น 7-9 เป็นร้านอาหารที่หลากหลายจากทุกภูมิภาคของประเทศ ญี่ปุ่น ชั้นบนเป็นต้นไปคือสำนักงานต่างๆ นอกจากนี้ยังเป็นที่ตั้งของศูนย์พานาโซนิค ภายใน interactive showroom ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด 3 ชั้น รวมกับลานกิจกรรมและ showcase ต่างๆ ในบริเวณพื้นที่ที่ เรียกว่า “Knowledge capital” จุดแข็งของพื้นที่

จุดแข็งของพื้นที่ในด้านนวัตกรรม คือบริเวณพื้นที่ที่เรียกว่า Knowledge capital เป็น พื้นที่ซึ่งแสดงวิสัยทัศน์ของเมืองโอซากา ในด้านการเป็นศูนย์นวัตกรรมที่สำคัญของโลก ผ่านสิ่งอำนวยความ สะดวกและพื้นที่ต่างๆ ได้แก่ Active lab, Event lab, Knowledge salon, Future life showroom, Knowledge theater, Convention, Conference และ Co office space พร้อมกับมีเจ้าหน้าที่ให้ บริการด้านการสื่อสาร ประสานงาน ติดต่อขอรับข้อมูล ให้ความรู้ และสร้างเครือข่ายให้กับนวัตกร ผู้ประกอบการ และคนรุ่นใหม่ให้เกิดแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆออกมาอีกด้วย สิ่งที่สามารถนำมาใช้กับสยามสแควร์ Knowledge capital เป็นกรณีศึกษาของการออกแบบกิจกรรมภายในพื้นที่อาคาร เพื่อ แสดงออกถึงนวัตกรรมและวิสัยทัศน์ทางด้านเทคโนโลยีของเมือง ผ่านกิจกรรมต่างๆที่หลากหลาย และมีกลุ่ม เจ้าหน้าที่ที่มีความรู้ความสามารถคอยให้บริการในเชิงการให้ความรู้ และการสร้างเครือข่ายผ่านกิจกรรมต่างๆ Grand Front Osaka, Japan ที่มา : http://www.osakanight.com


page 159

siam inovation district research report 2016

ความหนาแน่นของกิจกรรมแต่ละพืน้ ที่ (ปัจจุบนั และแผนการพัฒนาในอนาคต) Jan Jan ย่านปทุมวันแบ่งพื้นที่เป็น พื้นที่ สยามสแควร์ มีบทบาทเป็นพื้นที่ทดสอบกับ กลุ ่ ม ตั ว อย่ า งและพื ้ น ที ่ อ อกสู ่ ท ้ อ งตลาด ตัง้ แต่อดีต ซึง่ ปัจจุบนั และพบว่ามีอกี บทบาท หนึ ่ ง ในการเกิ ด นวั ต กรรมคื อ บทบาท เริ ่ ม กระบวนการคิ ด พืน้ ทีส่ ถาบัน ตัวแทนของพืน้ ที่ คือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีบทบาทเป็นพืน้ ที่ ตรวจสอบแนวคิ ด และการวางแผนธุ ร กิ จ ซึง่ ส่วนใหญ่คอื การให้ความรู้ และพื้นที่ภาคเอกชน (การพัฒนา ใหม่ของย่านจากบริษทั ต่างๆ) ซึ่งตัวแทนของ พื้นที่ คือ สวนหลวง สามย่าน มีบทบาทใน การเข้าสู่ธุรกิจ ทั้งตรวจสอบแนวคิดและการ วางแผนธุรกิจ การพัฒนาต้นแบบการผลิต จนมาเป็นผลิตภัณฑ์ออกสูท่ อ้ งตลาด

บทบาทหลัก : พื้นที่สยามสแควร์

-ร้านคาเฟ่ ร้านกาแฟร้าน พื้นที่ทำงานรวม (Co-working space) -ลานกิจกรรมนอกอาคารต่างๆ -อาคารพาณิชยกรรมต่างๆที่สามารถเกิดแนวคิดได้

บทบาทหลัก : พืน้ ทีส่ ถาบันและภาคเอกชน บทบาทหลัก : พื้นที่ของภาคเอกชน -สถาบันการศึกษา (คณะ วิทยานิพนธ์หรือวิจยั ) -องค์กรภาครัฐ (CU innovation hub) -โปรแกรมให้ความรู้ขององค์กรภาคเอกชน (Ture ,Glowfish) ในอนาคตเกิดในพืน้ ทีส่ วนหลวง

-องค์กรภาคเอกชน (บริษทั ) ในอนาคตเกิดใ สวนหลวง -องค์กรภาครัฐ (CU innovation hub) -จุฬาลงกรณ์ (ความรูธ้ รุ กิจและการติดต่อกับองค

cu innovation hub

cu innovation hub อาคารโตโยต้า

พื้นที่ Co-working space

พื้นที่พัฒนาใหม่ สวนหลวง

พื้นที่พัฒนาใหม่ สวนหลวง

ความรู้ ความ น่าเชื่อถือ

โครงการ สนับสนุนนวัตกรรม

ความรู้

สนับสนุน พื้นที่

โครงการ ผลักดันธุรกิจ


page 160

siam inovation district research report 2016

¡Ãкǹ¡ÒùÓÊÙ‹·ŒÍ§µÅÒ´

องภาคเอกชน

ในอนาคตเกิดในพืน้ ที่

ovation hub)

ละการติดต่อกับองค์กรเอกชน)

บทบาทหลัก : พื้นที่สถาบันและภาคเอกชน

-สถาบันการศึกษา (ห้องทดลอง ห้องปฏิบตั กิ าร ศูนย์วจิ ยั ) -องค์กรภาคเอกชน (ฝ่ายการผลิต ผลิตภัณฑ์) -พื้นที่สยามสามารถเกิดนวัตกรรมด้านกระบวนการ (glowfish)

อาคารโตโยต้า

-ลานกิจกรรมทั่วพื้นที่สยาม -อาคารโตโยต้า

cu innovation hub พื้นที่พัฒนาใหม่ สวนหลวง

เงิน

เงิน ความรู้

บทบาทหลัก : พื้นที่สยามสแควร์ -อาคารพาณิชยกรรมทั้งพื้นที่สยาม -ลานกิจกรรมทั่วพื้นที่สยาม -อาคารโตโยต้า

อาคารโตโยต้า

innovation hub

โครงการ ผลักดันธุรกิจ

บทบาทหลัก : พื้นที่สยามสแควร์

ความรู้ พื้นที่วิจัย

อาคารโตโยต้า

สนับสนุน พื้นที่

โครงการ ผลักดันธุรกิจ

ทดสอบที่ต้องการ พื้นที่ทดสอบ การผลักดัน การทดสอบ เรื่องธุรกิจ ประชาสัมพันธ์ ความเชี่ยวชาญ

สยามสแควร์

ประชาสัมพันธ์

อาคารโตโยต้า


siam inovation district research report 2016

page 161

รูปแบบการพัฒนาย่านปทุมวัน ระยะการกระตุ ้ น ย่ า นสยามสแควร์ Jan 17

Jun 17

Dec 17

Year 5

1 announce 2 renovation 3 siam district

Year 10

4 eco system

Jan 17

1 announce

Jun 17

Dec 17

Year 5

2 renovation 3 siam district

SIAM PARAGON

SIAM DISCOVERY

BACC

ระยะการพั ฒ นาโครงสร้ า งพื ้ น ฐาน และเตรี ย มแหล่ ง ข้ อ มู ล

BACC

MBK CENTER

Year 10

4 eco system

SIAM PARAGON

SIAM DISCOVERY

MBK CENTER SQ 1

CU INNOVATION HUB

SQ 1 CU INNOVATION HUB

SIAM SQUARE

SIAM SQUARE

LIBRARY LAB CU

ขอบเขตการพัฒนา โครงข่ายคมนาคม

ขอบเขตพื้นที่ โครงข่ายคมนาคม

โครงข่ายรถไฟฟ้า

โครงข่ายรถไฟฟ้า

พื้นที่การพัฒนาระยะเวลา 5 ปีแรก 600

150 50

พื้นที่การพัฒนาระยะเวลา 5 ปีแรก

600

150 50

300

พื้นที่สยาม - จุฬาฯ ในช่วงเริ่มปรับปรุงอาคารมีการลงทุนบริษัทที่เกี่ยวข้อง กับ Star up ในพื้นที่สยามจุฬามีการปรับตัวด้านการ ศึกษา พื้นที่การเรียนรู้

300


siam inovation district research report 2016

page 162

ระยะประชาสั ม พั น ธ์ พ ื ้ น ที ่ ส ยามสแควร์ ในบทบาทนวั ต กรรม Jan 17

1 announce

Jun 17

Dec 17

ระยะการเชื ่ อ มโยงพื ้ น ที ่ ย ่ า นปทุ ม วั น

Year 5

2 renovation 3 siam district

BACC

Year 10

4 eco system

Jan 17

Jun 17

1 announce

Dec 17

2 renovation

Year 5

SIAM PARAGON

SIAM DISCOVERY

BACC

MBK CENTER

Year 10

4 eco system

3 siam district

SIAM DISCOVERY

SIAM PARAGON

MBK CENTER INNVATION BUILDING

INNVATION BUILDING

BONUNZA PROJECT

NEW PROJECT SIAM SQUARE

CU INNOVATION HUB

CU INNOVATION HUB

SIAM SQUARE ขอบเขตพื้นที่ โครงการพัฒนาใหม่

SUANLUANG SQUARE

โครงข่ายคมนาคม ขอบเขตพื้นที่

โครงข่ายรถไฟฟ้า

CHULALONGKORN

โครงการพัฒนาใหม่

โครงข่ายรถไฟฟ้าใหม่

โครงข่ายคมนาคม

พื้นที่การพัฒนาระยะเวลา 5 ปีแรก พื้นที่การพัฒนาระยะเวลา 5 ปีแรก

โครงข่ายรถไฟฟ้า พื้นที่การพัฒนาระยะเวลา 5 ปีแรก

50

เริ่มการพัฒนาระยะเวลา 5 ปี

600

150

600

150

300

50

พื้นที่สยาม - จุฬาฯ

ย่านปทุมวัน

พื้นที่มีความเชื่อมโยงกันการสร้างอาคารที่รองรับ สำหรับ Start up และการพัฒนา ที่ทำให้ย่าน เริ่มรู้จัดในเชิงนวัตกรรม

มีการพัฒนาของพื้นที่สวนหลวง (แล้วเสร็จเต็มพื้นที่ การพั ฒ นา 20 ปี ) และเชื ่ อ มโยงย่ า นด้ ว ยระบบ สาธารณะ เกิ ด เป็ น ระบบนวัตกรรมที่สามารถใช้งานได้

300


page 163

siam inovation district research report 2016

วิ เ คราะห์ ก ลุ ่ ม เป้ า หมาย ของแต่ ล ะกิ จ กรรม กลุ่มเป้าหมายในการเกิด นวัตกรรม และสามารถ ทำให้ประสบความสำเร็จ ซึ่งต้องประกอบไปด้วย ระยะการสร้างนวัตกรรม และระยะการเข้าสูงธุรกิจ หรือออกสูท่ อ้ งตลาด ทำ ให้สามารถแบ่งกลุ่มเป้า หมายออกเป็น 2 ลักษณะ คือ กลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย และกลุ่มบุคคลทั่วไป

กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

รัฐบาล

สถาบันการเงิน

บุคคลทั่วไป

เด็ก/มัธยมต้น

สถาบันการศึกษา

มัธยมปลาย

นวัตกร

มหาวิทยาลัย

นักลงทุน

พนักงาน

ผู้ประกอบการ ภาคสื่อ

องค์กรสนับสนุน

Startup

ผู้ใหญ่


page 164

siam inovation district research report 2016

วิ เ คราะห์ ก ลุ ่ ม เป้ า หมาย ของแต่ ล ะกิ จ กรรม กิจกรรม พื้นที่ภายในอาคารขนาด เล็กหรือปานกลาง

พื้นที่ภายในอาคาร ขนาดปานกลางหรือขนาดใหญ่

พื้นที่ภายในอาคาร หรือพื้นที่กึ่งภายนอกและภายใน ขนาดปานกลางหรือขนาดใหญ่

พื้นที่ทำงานร่วมกัน (co-working space) กิจกรรมเชิงปฎิบัติการ (Workshop,studio) ห้องสมุด (Library ,eLearning) พื้นที่ให้ข้อมูล (Information center) กิจกรรมประเภทการฝึกอบรมธุรกิจ (Pitch Sessions and Trainings) กิจกรรมสำหรับการระดมทุน (Funding) เช่นงาน Pitching กิจกรรมประเภททดสอบผลิตภัณฑ์กับกลุ่มเป้าหมาย (testing)

กิจกรรมประเภทงานนิทรรศการ สัมมนา (Event ,Seminar) กิจกรรมประเภทการจัดประกวดนวัตกรรม กิจกรรมประเภทงานสัมนาที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ กิจกรรมประเภทงานนวัตกรรมประจำปีภายในอาคาร (Exhibitions and Fairs )

กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

บุคคลทั่วไป

กลุ่มเป้าหมายหลัก กลุ่มเป้าหมายรอง

กลุ่มเป้าหมายหลัก กลุ่มเป้าหมายรอง

ผู้ประกอบการ

นวัตกร

องค์กรสนับสนุน

นวัตกร

สถาบันการศึกษา

ผู้ประกอบการ

สถาบันการศึกษา

นวัตกร

รัฐบาล

ผู้ประกอบการ

ภาคสื่อ

พื้นที่ภายนอกอาคาร ขนาดใหญ่

กิจกรรมอื่นๆ

กิจกรรมประเภทงานแสดงสินค้าใหม่ๆ (Trade shows ,showcase) กิจกรรมประเภทการทดลองสินค้าตัวอย่าง

นวัตกร

สถาบันการเงิน

สถาบันการศึกษา

นักลงทุน

นวัตกร

องค์กรสนับสนุน

สถาบันการเงิน

สนับสนุนกิจกรรมพาณิชยกรรมเชิงนวัตกรรม เปลี่ยนรูปแบบสถาปัตยกรรมหรือวัสดุ

สถาบันการศึกษา

นวัตกร องค์กรสนับสนุน

รัฐบาล

นักลงทุน

องค์กรสนับสนุน

รัฐบาล ภาคสื่อ

นักลงทุน

สถาบันการศึกษา

นวัตกร

สถาบันการศึกษา

สถาบันการเงิน

นวัตกร

สถาบันการศึกษา

ผู้ประกอบการ

นวัตกร

องค์กรสนับสนุน

ภาคสื่อ องค์กรสนับสนุน

ผู้ประกอบการ

นวัตกร

สถาบันการศึกษา

ภาคสื่อ

รัฐบาล

องค์กรสนับสนุน

นักลงทุน

รัฐบาล

กิจกรรมประเภทงานนวัตกรรมประจำปี

องค์กรสนับสนุน

องค์กรสนับสนุน

องค์กรสนับสนุน

พื้นที่ภายนอกอาคาร ขนาดเล็ก

นวัตกร

องค์กรสนับสนุน

นวัตกร

นวัตกร

นักลงทุน สถาบันการศึกษา

นวัตกร

สถาบันการศึกษา

มัธยมปลาย

เด็ก/มัธยมต้น

มหาวิทยาลัย

Startup

มัธยมปลาย

เด็ก/มัธยมต้น

Startup

พนักงาน

ผู้ใหญ่

มหาวิทยาลัย

มหาวิทยาลัย

Startup

พนักงาน

มัธยมปลาย

Startup

มหาวิทยาลัย

ผู้ใหญ่

พนักงาน

Startup เด็ก/มัธยมต้น

มัธยมปลาย

มหาวิทยาลัย

พนักงาน

Startup

ผู้ใหญ่

มหาวิทยาลัย

พนักงาน

มหาวิทยาลัย

Startup Startup

พนักงาน

ผู้ใหญ่

มหาวิทยาลัย

ผู้ใหญ่

เด็ก/มัธยมต้น

พนักงาน

มัธยมปลาย มัธยมปลาย

มหาวิทยาลัย เด็ก/มัธยมต้น

มัธยมปลาย

พนักงาน

สถาบันการศึกษา

สถาบันการเงิน

Startup เด็ก/มัธยมต้น

มัธยมปลาย

มหาวิทยาลัย

พนักงาน

Startup

ผู้ประกอบการ

ผู้ใหญ่

สถาบันการเงิน

นักลงทุน

พนักงาน

ผู้ใหญ่

สถาบันการเงิน

องค์กรสนับสนุน

มหาวิทยาลัย

Startup

ผู้ประกอบการ

ภาคสื่อ

มหาวิทยาลัย

Startup

มหาวิทยาลัย

ผู้ใหญ่

เด็ก/มัธยมต้น มัธยมปลาย

พนักงาน

ผู้ประกอบการ

มหาวิทยาลัย ผู้ใหญ่

Startup

พนักงาน


page 165

siam inovation district research report 2016

วิเคราะห์ด้านกระบวนการ เกิดนวัตกรรมจากกลุ่ม เป้ า หมายในพื ้ น ที ่ ส ยาม สแควร์

นักเรียน นักศึกษา

002

004

006

¡ÒÃÃÇÁ¡ÅØ‹Á¨Ò¡à¾×่͹ ¤¹ÃÙŒ¨Ñ¡

¾×้¹·Õ่ÊÓËÃѺ·Ó§Ò¹ ÊÒÁÒö·Ó§Ò¹ä´ŒÃÐÂÐÂÒÇ ÊÒÁÒöÁÕ¤ÇÒÁ໚¹à¨ŒÒ¢Í§¾×้¹·Õ่ä´Œ

¡Ô¨¡ÃÃÁÊÓËÃѺ¡ÒÃÃдÁ·Ø¹ Pitching

¾×้¹·Õ่·Ó§Ò¹Ã‹ÇÁ¡Ñ¹ (Co-working space)

มหาวิทยาลัย

มัธยมปลาย เด็ก/มัธยมต้น

¡Ô¨¡ÃÃÁ¡Ãе،¹µ‹Ò§æ

ÈÖ¡ÉÒ¡ÒùํҼŧҹ ࢌÒÊÙ‹¸ØáԨ

ÊÌҧµŒ¹áºº¡ÒüÅÔµ

¡ÒÃÃÇÁ¡ÅØ‹Á+à¡Ô´äÍà´Õ ʋǹãËÞ‹ÁÒ¨Ò¡¤ÇÒÁªÍº áÅзѡÉÐ(Skill)

ËÒ¤ÇÒÁÃÙŒ à¾Ô่Á·Ñ¡ÉÐ

ÍÍ¡ÊÙ‹µÅÒ´

¡Ò÷´Êͺ¡ÅØ‹ÁµÑÇÍ‹ҧ

001

003

005

007

¡Ô¨¡ÃÃÁ·Õ่à¡Ô´¨Ò¡¡ÒÃÈÖ¡ÉÒ (Thesis) ¡Ô¨¡ÃÃÁ»ÃСǴᢋ§¢Ñ¹·Ò§´ŒÒ¹¹Çѵ¡ÃÃÁ ËÃ×ÍÊÔ่§»ÃдÔÉ° µ‹Ò§æ

»ÃÖ¡ÉÒ¼ÙŒàªÕ่ÂǪÒÞ à¢ŒÒËÇÁÊÑÁÁ¹Ò ˌͧÊÁØ´ ࢌÒËÇÁ¡Ô¨¡ÃÃÁàªÔ§»¯ÔºÑµÔ¡Òà (Workshop, Studio)

ʋǹãËÞ‹·´Êͺ¡Ñº¤¹ÃÙŒ¨Ñ¡ 㪌Ê×่ÍÊѧ¤ÁÍ͹äŹ (Social Media) ઋ¹ àÇ็ºä«µ àÇ็ºà¾¨

¾×้¹·Õ่¾Ò³ÔªÂ¡ÃÃÁ ¡ÒûÃЪÒÊÑÁ¾Ñ¹¸


siam inovation district research report 2016

page 166

วิเคราะห์ด้านกระบวนการ เกิดนวัตกรรมจากกลุ่ม เป้ า หมายในพื ้ น ที ่ ส ยาม สแควร์

Start up Startup

002

004

006

¡Ô¨¡ÃÃÁ¾º»ÐÃÐËÇ‹Ò§¹Ñ¡¸ØáԨ (Meeting room) ¾×้¹·Õ่·Ó§Ò¹Ã‹ÇÁ¡Ñ¹ (Co-working space)

¾×้¹·Õ่ÊÓËÃѺ·Ó§Ò¹ ÊÒÁÒö·Ó§Ò¹ä´ŒÃÐÂÐÂÒÇ ÊÒÁÒöÁÕ¤ÇÒÁ໚¹à¨ŒÒ¢Í§¾×้¹·Õ่ä´Œ ¾×้¹·Õ่ËÒ¢ŒÍÁÙÅ »ÃÖ¡ÉÒ¼ÙŒàªÕ่ÂǪÒÞ

¡Ô¨¡ÃÃÁÊÓËÃѺ¡ÒÃÃдÁ·Ø¹ (Funding)

พนักงาน

¡ÒÃÃдÁ·Ø¹ ÊÌҧµŒ¹áºº¡ÒüÅÔµ

¡ÒÃÃÇÁ¡ÅØ‹Á¨Ò¡¤¹ ·Õ่ÁÕ·Ñ¡ÉÐ(Skill)µ‹Ò§¡Ñ¹

ÁÕäÍà´Õ ʋǹãËÞ‹¨Ò¡»˜ÞËÒ ËÃ×ͤÇÒÁʹã¨

Ëҷع ÇҧἹ¸ØáԨ

ÍÍ¡ÊÙ‹µÅÒ´

¡Ò÷´Êͺ¡ÅØ‹ÁµÑÇÍ‹ҧ

001

003

005

007

§Ò¹ÊÑÁ¹Ò·Õ่·ÓãËŒà¡Ô´äÍà´Õ Convention Exhibition

â¤Ã§¡ÒÃËÃ×Íâ»Ãá¡ÃÁ·Õ่ʹѺʹعãËŒà¡Ô´¸ØáԨ ¡Ô¨¡ÃÃÁÊÓËÃѺ¡ÒÃÃдÁ·Ø¹ (Funding) §Ò¹ÊÑÁ¹Òµ‹Ò§æà¡Õ่ÂǡѺ¸ØáԨ

ʋǹãËÞ‹·´Êͺ¡Ñº¤¹ÃÙŒ¨Ñ¡ 㪌Ê×่ÍÊѧ¤ÁÍ͹äŹ (Social Media) ઋ¹ àÇ็ºä«µ àÇ็ºà¾¨

¾×้¹·Õ่¾Ò³ÔªÂ¡ÃÃÁ ¡ÒûÃЪÒÊÑÁ¾Ñ¹¸


siam inovation district research report 2016

page 167

วิเคราะห์ด้านกระบวนการ เกิดนวัตกรรมจากกลุ่ม เป้ า หมายในพื ้ น ที ่ ส ยาม สแควร์

ผู้ใหญ่

ที่มีทักษะ (Skill)

002

004

006

¡Ô¨¡ÃÃÁ¾º»ÐÃÐËÇ‹Ò§¹Ñ¡¸ØáԨ (Meeting room) ºÃÔÉÑ· §Ò¹ÊÑÁ¹Ò·Õ่ÊÒÁÒöà¨Í¤¹·Õ่ÁÕ¤ÇÒÁÊÒÁÒö

¾×้¹·Õ่ÊÓËÃѺ·Ó§Ò¹ ºÃÔÉÑ·

¾×้¹·Õ่¾Ò³ÔªÂ¡ÃÃÁ ¡ÒûÃЪÒÊÑÁ¾Ñ¹¸

ผู้ใหญ่

ÊÌҧµŒ¹áºº¡ÒüÅÔµ

ËÒ¤¹·Õ่à¡‹§áÅÐÁÕ¤ÇÒÁ ÊÒÁÒö㹷ѡÉÐ(Skill) µ‹Ò§¡Ñ¹

ÁÕäÍà´Õ ʋǹãËÞ‹¨Ò¡»˜ÞËÒ ËÃ×ͤÇÒÁʹ㨠+ÁÕá¼¹¡ÒõÅÒ´

ÃдÁ·Ø¹

ÍÍ¡ÊÙ‹µÅÒ´

¡Ò÷´Êͺ¡ÅØ‹ÁµÑÇÍ‹ҧ

001

003

005

µ‹ÍÂÍ´¨Ò¡¸ØáԨ ËÃ×ÍäÍà´ÕÂà´ÔÁ·Õ่ÁÕ

ʋǹãËÞ‹¶ŒÒÁÕª×่ÍàÊÕ§ ¨ÐÁշع¨Ò¡¼ÙŒ»ÃСͺ¡ÒÃÍ×่¹ÁÒàʹÍãËŒ

㪌Ê×่ÍÊѧ¤ÁÍ͹äŹ (Social Media) ઋ¹ àÇ็ºä«µ àÇ็ºà¾¨


page 168

Siam inovation district research report 2016

วิเคราะห์กลุม่ เป้าหมายในย่านสยามสแควร์ และพืน้ ทีโ่ ดยรอบในเชิงนวัตกรรม พื้นที่สยามสแควร์ กลุ ่ ม เป้ า หมายที ่ ต ้ อ งการคื อ สนั บ สนุ น นวั ต กรเพิ ่ ม ขึ ้ น ในพื ้ น ที ่ โดยเฉพาะวั ย มหาวิทยาลัย startup มัธยม ซึง่ มีลกั ษณะ ของการหมุนเวียนของคนภายนอกพื้นที่ ตลอดเวลา พื้นที่พัฒนาใหม่ ส่วนหลวง สามย่าน กลุ ่ ม เป้ า หมายที ่ ต ้ อ งการคื อ สนั บ สนุ น กลุม่ ของนักลงทุน นักวิจยั ผูป้ ระกอบการ ต่างๆ โดยเฉพาะ startup วัยพนักงาน วัยผูใ้ หญ่ ผูเ้ ชีย่ วชาญต่างๆ ซึง่ มีลกั ษณะ ของการอยู่รวมกันของคนภายในพื้นที่ มหาวิทยาลัย เป็นแหล่งรวมคนที่มีความเชี่ยวชาญใน ด้านต่างๆ ดังนัน้ คนทีจ่ ะเข้ามาจึงมีลกั ษณะ ของกลุม่ คนทีจ่ ะเข้ามาหาข้ อ มู ล ที ่ ถ ู ก ต้ อ ง เพื ่ อ เอื ้ อ ต่ อ นวั ต กรรมของตน ดั ง นั ้ น กลุม่ เป้าหมายหลัก คือ ผูใ้ หญ่ นักวิชาการ ต่างๆ และนักธุรกิจ startup นักศึกษา พาณิชยกรรมประเภทอาคารขนาดใหญ่ กลุม่ เป้าหมายหลัก คือ ผูป้ ระกอบการทีส่ นับ สนุนนวัตกรรม นักลงทุนสินค้านวัตกรรม และผูท้ สี่ ามารถจ่ายได้ ส่วนใหญ่คอื วัยผูใ้ หญ่ พนักงานต่างๆ

ผู้ใหญ่

ผู้ประกอบการ

นักลงทุน

รัฐบาล นักลงทุน สถาบันการศึกษา

นวัตกร

Startup

พนักงาน มหาวิทยาลัย

มัธยมปลาย

สถาบันการเงิน

เด็ก/มัธยมต้น

องค์กรสนับสนุน

Startup

มีลักษณะของ การหมุนเวียน ของคนภายนอก พืน้ ทีต่ ลอดเวลา เชิงพาณิชยกรรม

พนักงาน

ผู้ใหญ่

นวัตกร

มหาวิทยาลัย

จำพวก นักลงทุน นักวิจยั ผูป้ ระกอบ ผู้ประกอบการ การต่างๆ สถาบันการเงิน มีลักษณะของ องค์กรสนับสนุน การอยู่รวมกัน ของคนภายใน พื้นที่

ผู้ประกอบการ

ภาคสื่อ

รัฐบาล สถาบันการศึกษา องค์กรสนับสนุน

ผู้ใหญ่ พนักงาน มหาวิทยาลัย

องค์กรสนับสนุน

สถาบันการเงิน

จำพวกนวัตกร มีลักษณะของ การหมุนเวียน ของคนภายนอก พืน้ ทีต่ ลอดเวลา

มหาวิทยาลัย

Startup มัธยมปลาย

พนักงาน เด็ก/มัธยมต้น

ผู้ใหญ่

Startup

จำพวก ผูเ้ ชีย่ วชาญ นักวิชาการต่างๆ และนวัตกรทีต่ อ้ งการหารข้อมูลทีถ่ กู ในการสร้างนวัตกรรม

LEGEND สยามสแควร์ พาณิชยกรรมประเภทอาคารขนาดใหญ่ มหาวิทยาลัย พื้นที่พัฒนาใหม่ ส่วนหลวง สามย่าน

50 25

200 100


siam inovation district research report 2016

page 169

รูปแบบการพัฒนาพืน้ ทีส่ ยามสแควร์ นำเสนอรู ป แบบการจั ด กิ จ กรรม นำไปสู ่ ย ่ า น นวัตกรรมในสยามสแควร์ การพั ฒ นาพื ้ น ที ่ ส ยามสแควร์ ควรมีการพัฒนา ทั้งเชิงพื้นที่และกิจกรรม เพือ่ ให้เกิดการกระตุน้ ตลอดเวลา เอือ้ ให้เกิด ย่านนวัตกรรม ซึง่ การพัฒนาในปีแรก ยังไม่มี พืน้ ทีอ่ าคารทีจ่ ะเป็นศูนย์กลางการติดต่อสือ่ สาร และการประชาสัมพันธ์ ดังนั้นควรมีการจัด กิจกรรมอย่างต่อเนือ่ ง เพือ่ ประชาสัมพันธ์ยา่ นให้ สาธารชนรับรู้ และเมือ่ ได้พน้ ื ทีอ่ าคาร จะต้องมีการ ปรับปรุงอาคารให้เอื้อต่อหน้าที่การใช้งาน ที ่ ไ ด้ ม าจากความต้ อ งการของนวั ต กร และสามารถเริม่ ดำเนินกิจกรรมบางประเภท เช่น ฝึกอบรมเรือ่ งธุรกิจ การแสดงหรือทดสอบ กับกลุม่ ตัวอย่าง ซึง่ ต้องดำเนินพร้อมกับกิจกรรม อืน่ ทัว่ ทัง้ พืน้ ทีส่ ยามสแควร์

Jan

กิจกรรมในช่วง ปีแรก เพื่อกระตุ้นพื้นที่ ย่านนวัตกรรม กิจกรรมในปีถัด ไป หรือกิจกรรม ทีจ่ ดั ทุกปี เพือ่ ให้ เกิดย่านนวัตกรรม ในสยามสแควร์

Feb กิจกรรมทีจ่ ดั ใน 1 เดือน - กิจกรรม Event Learning ตามพืน้ ที่ co-working space (4 ครัง้ ต่อเดือน)

Mar

Apr

May

- กิจกรรมนิทรรศการ เกี่ยวกับ ธุรกิจหรือ นวัตกรรม (showcase expo) (1 ครัง้ ต่อเดือน) กิจกรรมททีจ่ ดั ทุก 3 เดือน -งานใหญ่เกีย่ วกันธุรกิจหรือนวัตกรรม เพือ่ กระตุน้ พืน้ ทีย่ า่ น ทัง้ พืน้ ทีส่ ยามสแควร์

กิจกรรมทุกวัน -แสดงสินค้าหรือทดสอบสินค้า -ฝึกอบรมเรือ่ งธุรกิจ -กิจกรรมเชิงปฏิบตั กิ าร (workshop ,studio)

กิจกรรมททีจ่ ดั ทุก 3 เดือน -เปลีย่ นธีมของสินค้านวัตกรรม ในการแสดงหรือทดสอบกับ กลุม่ ตัวอย่าง


page 170

siam inovation district research report 2016

Jun

July

Aug

- กิจกรรมสัมนา เชิญคนดัง และมีประสบการณ์มาพูด (4 ครัง้ ต่อเดือน)

-แสดงสินค้าหรือ ทดสอบสินค้า (ทุกวัน)

กิจกรรมทีจ่ ดั ใน 1 เดือน -กิจกรรมสัมนา เชิญคนดังและมีประสบการณ์ มาพูด เกี่ยวกับธุรกิจหรือ นวัตกรรม (4ครัง้ ต่อเดือน)

-กิจกรรม Pitching (1ครัง้ ต่อเดือน) -กิจกรรมนิทรรศการ เกีย่ วกับธุรกิจหรือ นวัตกรรม (showcase expo) (1 ครัง้ ต่อเดือน)

Sep

Oct

อาคารโตโยต้าเดิมแล้วเสร็จ -แหล่ ง ข้ อ มู ล แหล่ ง ความรู ้ พื้นที่ติดต่อสัมพันธ์กับบุคคล ทีเ่ กีย่ วข้องกับธุรกิจ เบือ่ งต้น -พื้นที่ทำงาน พื้นที่พูดคุย + พื้นที่ทดสอบสินค้า เพื่อสร้าง แรงบันดาลใจ -พื้นที่จัดกิจกรรมขนาดเล็ก -พื้นที่จัดกิจกรรมขนาดใหญ่

-กิจกรรมประชุม หรือสัมนา (Global Conferenece) เพื่อกระตุ้นกลุ่มบุคคลที่เกี่ยว ข้อง มาเจอกัน (คนมีทักษะมาเจอกัน) กิจกรรมททีจ่ ดั ทุก 1 ปี -งานใหญ่เกีย่ วกันธุรกิจหรือนวัตกรรม เพือ่ กระตุน้ พืน้ ทีย่ า่ น -กิจกรรมประกวดนวัตกรรมเพือ่ เข้าสู่ โครงการ

Nov

Dec


siam inovation district research report 2016

page 171

กิ จ กรรมในช่ ว งปี แ รก (2560) เพื ่ อ กระตุ ้ น พื ้ น ที ่ ย ่ า นนวั ต กรรม

22 19

20

21 33

กิจกรรมทุกวัน

34

32

ถนนพระราม 1

-แสดงสินค้าหรือทดสอบสินค้า (ทุกวัน)

3

2

8

15

9

35

31

5

สยามสแควร์ ซอย 6

16

11

36

27

สยามสแควร์ ซอย 5

37

สยามสแควร์ ซอย 4

25

สยามสแควร์ ซอย 3

24

10

7

28

ถนนอังรีดูนังต์

ถนนพญาไท

13

6

สยามสแควร์ ซอย 7

16

14

สยามสแควร์ ซอย 8

16

26

สยามสแควร์ ซอย 9

23

สยามสแควร์ ซอย 10

กิจกรรม Event Learning ตามพื้นที่ co-working space (4 ครัง้ ต่อเดือน) กิจกรรมสัมนา เชิญคนดังและมีประสบการ มาพูด (4 ครัง้ ต่อเดือน) กิจกรรมนิทรรศการ เกีย่ วกับธุรกิจหรือนวัตกรรม (showcase expo) (1 ครัง้ ต่อเดือน)

สยามสแควร์ ซอย 2

1

สยามสแควร์ ซอย 11

กิจกรรมทีจ่ ดั ใน 1 เดือน

สยามสแควร์ ซอย 1

4

18

29

17

จุฬาลงกรณ์ ซอย 64

30

200

50 25

Glowfish

100

15 Siam Square 1

22 Siam Paragon

29 ลานจอดรถที่ 3

35 ลานเชื่อมรถไฟฟ้า

9 True Centerpoint Siam

16 Novotel

23 ลานจอดรถที่ 1

30 park @ siam

36 sunken court

10 สยามพิฆเนศ

17 Siamkit

24 สยามสแควร์ ซอย 1

31

4 โรงภาพยนตร Lido

11 อาคารโตโยต้า

18 MBK center

25 สยามสแควร์ ซอย 2

32 ลานหน้า BACC

5 Now 26

12 สยามสแควร์ ซอย 7

19 BACC หอศิลป์

26 ลานจอดรถที่ 2

33 ลานระหว่าง Siam center

6 True สยามสแควร์ ซอย 3

13 ลานหน้าCenterpoint Siam 20 Siam Discovery

27 สยามสแควร์ ซอย 3

14 ลานหน้าร้านmilk plus

28 สยามสแควร์ ซอย 5

1

โรงภาพยนตร์ Scala

2 True สยามสแควร์ ซอย 1 3

7

Growth

Centerpoint Siam

8

21 Siam Center

ลานหน้า MBK center

-Siam Discovery 34 ลานระหว่าง Siam center -Siam Paragon

37 สวนบริเวณสยามพิฆเนศ


siam inovation district research report 2016

page 172

กิ จ กรรมในช่ ว งปี แ รก (2560) เพื ่ อ กระตุ ้ น พื ้ น ที ่ ย ่ า นนวั ต กรรม

22 19

20

21 33

กิจกรรมททีจ่ ดั ทุก 3 เดือน

34

32

ถนนพระราม 1 3

2

งานใหญ่เกีย่ วกันธุรกิจหรือนวัตกรรม เพื ่ อ กระตุ ้ น พื ้ น ที ่ ย ่ า น และเป็ น การ ประชาสัมพันธ์ยา่ นนวัตกรรม (ทัง้ พืน้ ที่สยามสแควร์)

8

15

9

35

31

สยามสแควร์ ซอย 6

11

36

27

16

28

ถนนอังรีดูนังต์

5

สยามสแควร์ ซอย 5

25

37

สยามสแควร์ ซอย 4

24

10

7 สยามสแควร์ ซอย 3

สยามสแควร์ ซอย 2

ถนนพญาไท

1

สยามสแควร์ ซอย 1

4

18

13

6

สยามสแควร์ ซอย 8

16

14

สยามสแควร์ ซอย 9

16

26

สยามสแควร์ ซอย 10

23

สยามสแควร์ ซอย 11

สยามสแควร์ ซอย 7 29

17

จุฬาลงกรณ์ ซอย 64

30

200

50 25

Glowfish

100

15 Siam Square 1

22 Siam Paragon

29 ลานจอดรถที่ 3

35 ลานเชื่อมรถไฟฟ้า

9 True Centerpoint Siam

16 Novotel

23 ลานจอดรถที่ 1

30 park @ siam

36 sunken court

10 สยามพิฆเนศ

17 Siamkit

24 สยามสแควร์ ซอย 1

31

4 โรงภาพยนตร Lido

11 อาคารโตโยต้า

18 MBK center

25 สยามสแควร์ ซอย 2

32 ลานหน้า BACC

5 Now 26

12 สยามสแควร์ ซอย 7

19 BACC หอศิลป์

26 ลานจอดรถที่ 2

33 ลานระหว่าง Siam center

6 True สยามสแควร์ ซอย 3

13 ลานหน้าCenterpoint Siam 20 Siam Discovery

27 สยามสแควร์ ซอย 3

14 ลานหน้าร้านmilk plus

28 สยามสแควร์ ซอย 5

1

โรงภาพยนตร์ Scala

2 True สยามสแควร์ ซอย 1 3

7

Growth

Centerpoint Siam

8

21 Siam Center

ลานหน้า MBK center

-Siam Discovery

34 ลานระหว่าง Siam center -Siam Paragon

37 สวนบริเวณสยามพิฆเนศ


siam inovation district research report 2016

page 173

กิจกรรมที่จัดทุกปี เพื่อ ให้เกิดย่านนวัตกรรมใน สยามสแควร์

22 19

20

21 33

34

32

กิจกรรมทุกวัน

ถนนพระราม 1 3

2

8

31

16

สยามสแควร์ ซอย 6

28

สยามสแควร์ ซอย 7 14

สยามสแควร์ ซอย 9

26

16

ถนนอังรีดูนังต์

11 2

36

สยามสแควร์ ซอย 5

37

13

สยามสแควร์ ซอย 10

16

10

5 6

23

7

สยามสแควร์ ซอย 4

25

4

สยามสแควร์ ซอย 3

24

สยามสแควร์ ซอย 11

-กิจกรรมสัมนา เชิญคนดังและมีประสบการณ์ มาพูด เกีย่ วกับธุรกิจหรือนวัตกรรม (4 ครัง้ ต่อเดือน) -กิจกรรม Pitching (1ครัง้ ต่อเดือน) -กิจกรรมนิทรรศการ เกีย่ วกับธุรกิจหรือ นวัตกรรม (showcase expo) (1 ครัง้ ต่อเดือน) นอกอาคาร

สยามสแควร์ ซอย 2

ถนนพญาไท

1

สยามสแควร์ ซอย 1

4

18

กิจกรรมทีจ่ ดั ใน 1 เดือน

35

15

9

สยามสแควร์ ซอย 8

-แสดงสินค้าหรือทดสอบสินค้า -ฝึกอบรมเรือ่ งธุรกิจ -กิจกรรมเชิงปฏิบตั กิ าร (workshop ,studio)

29

17

จุฬาลงกรณ์ ซอย 64

30

200

50 25

Glowfish

100

15 Siam Square 1

22 Siam Paragon

29 ลานจอดรถที่ 3

35 ลานเชื่อมรถไฟฟ้า

9 True Centerpoint Siam

16 Novotel

23 ลานจอดรถที่ 1

30 park @ siam

36 sunken court

10 สยามพิฆเนศ

17 Siamkit

24 สยามสแควร์ ซอย 1

31

อาคารโตโยต้า

18 MBK center

25 สยามสแควร์ ซอย 2

32 ลานหน้า BACC

5

Now 26

12 สยามสแควร์ ซอย 7

19 BACC หอศิลป์

26 ลานจอดรถที่ 2

33 ลานระหว่าง Siam center

6

True สยามสแควร์ ซอย 3

13 ลานหน้าCenterpoint Siam 20 Siam Discovery

27 สยามสแควร์ ซอย 3

Centerpoint Siam

14 ลานหน้าร้านmilk plus

28 สยามสแควร์ ซอย 5

1

โรงภาพยนตร์ Scala

2 True สยามสแควร์ ซอย 1 3

Growth

4 โรงภาพยนตร Lido

7

8

11

21 Siam Center

ลานหน้า MBK center

-Siam Discovery

34 ลานระหว่าง Siam center -Siam Paragon

37 สวนบริเวณสยามพิฆเนศ


siam inovation district research report 2016

page 174

กิจกรรมที่จัดทุกปี เพื่อ ให้เกิดย่านนวัตกรรมใน สยามสแควร์

22 19

20

21 33

34

32

กิจกรรมททีจ่ ดั ทุก 3 เดือน

ถนนพระราม 1 3

2

8

15

9 31

35

4

5

สยามสแควร์ ซอย 6

16 9

11

36

27

สยามสแควร์ ซอย 5

37

สยามสแควร์ ซอย 4

25

สยามสแควร์ ซอย 3

24

10

7

28

ถนนอังรีดูนังต์

ถนนพญาไท

1

สยามสแควร์ ซอย 2

18

สยามสแควร์ ซอย 1

4

13

6

16

14

สยามสแควร์ ซอย 9

กิจกรรมททีจ่ ดั ทุก 1 ปี

16

26

สยามสแควร์ ซอย 10

23

สยามสแควร์ ซอย 11

สยามสแควร์ ซอย 7 สยามสแควร์ ซอย 8

เปลีย่ นธีมของสินค้านวัตกรรมในการ แสดงหรือทดสอบกับกลุม่ ตัวอย่าง กิจกรรมประชุม หรือสัมนา (Global Conferenece) เพื่อกระตุ้นกลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้อง มาเจอกัน (คนมีทักษะ ประสบการณ์ มาเจอกัน)

29

17

จุฬาลงกรณ์ ซอย 64

งานใหญ่เกีย่ วกันธุรกิจหรือนวัตกรรม เพื ่ อ กระตุ ้ น พื ้ น ที ่ ย ่ า น และเป็ น การ ประชาสัมพันธ์ยา่ นนวัตกรรม (ทัง้ พืน้ ที่สยามสแควร์) กิจกรรมประกวดนวัตกรรมเพื่อเข้าสู่ โครงการ

30

200

50 25

Glowfish

100

15 Siam Square 1

22 Siam Paragon

29 ลานจอดรถที่ 3

35 ลานเชื่อมรถไฟฟ้า

9 True Centerpoint Siam

16 Novotel

23 ลานจอดรถที่ 1

30 park @ siam

36 sunken court

10 สยามพิฆเนศ

17 Siamkit

24 สยามสแควร์ ซอย 1

31

4 โรงภาพยนตร Lido

11 อาคารโตโยต้า

18 MBK center

25 สยามสแควร์ ซอย 2

32 ลานหน้า BACC

5 Now 26

12 สยามสแควร์ ซอย 7

19 BACC หอศิลป์

26 ลานจอดรถที่ 2

33 ลานระหว่าง Siam center

6 True สยามสแควร์ ซอย 3

13 ลานหน้าCenterpoint Siam 20 Siam Discovery

27 สยามสแควร์ ซอย 3

14 ลานหน้าร้านmilk plus

28 สยามสแควร์ ซอย 5

1

โรงภาพยนตร์ Scala

2 True สยามสแควร์ ซอย 1 3

7

Growth

Centerpoint Siam

8

21 Siam Center

ลานหน้า MBK center

-Siam Discovery 34 ลานระหว่าง Siam center -Siam Paragon

37 สวนบริเวณสยามพิฆเนศ


page 175

siam inovation district research report 2016

รูปแบบการพัฒนาพืน้ ทีอ่ าคาร ข้อเสนอแนะของอาคาร จากผู้เชี่ยวชาญ 1 ควรมี ค วามต่ อ เนื ่ อ งทางการมองเห็ น กิ จ กรรมทั ้ ง ภายนอกและภายในอาคาร เพื่อเป็นการดึงดูดคนให้เข้าไปในพื้นที่

2 วั ส ดุ ห รื อ รู ป แบบทางสถาปั ต ยกรรม ควรสื่อให้เห็นถึงความทันสมัย เ พ ื ่ อ ส ร ้ า ง ภ า พ จ ำ ข อ ง ย ่ า น นวั ต กรรม และควรมี ห น้ า ที ่ ใ นการประชาสั ม พั น ธ์ ข ่ า ว สารหรือโฆษณา กรณี ศ ึ ก ษา Surrey Art Gallery ที ่ Chuck Bailey Recreation Center ,Cannad ได้สร้างผนังอาคารในรูปแบบ ผนั ง อิ เ ล็ ก ทรอนิ ก ส์ (Urban screen) เพื ่ อ ใช้ เ ป็ น พื ้ น ที ่ ป ระชาสั ม พั น ธและ ยังสามารถเผยแพร่สื่อมิเดียร์ต่างๆ เพื่อ ความบั น เทิ ง

3 รู ป แบบของพื ้ น ที ่ ภ ายในอาคารหรื อ สถาปั ต ยกรรมควรมี ค วามยื ด หยุ น และ สามารถบริหาร จัดการ หรือปรับเปลี่ยน ให้เข้ากับกระแสที่เข้ามาในพื้นที่สยามซึ่งมี การเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ดังนั้นพื้นที่จัด งานควรเรียบง่าย ไม่ใส่แนวคิดของผูอ้ อกแบบ มากนัก เพือ่ ให้สามารถแสดงออกซึง่ แนวคิด ของทีมทีม่ าจัด รวมถึงส่งผลให้เกิดการเปลีย่ น แปลงตลอดเวลาเพื่อดึงดูดให้คนเข้ามาใช้ งานได้เรื่อยๆ

*http://www.amphibianstage.com/venue/black-box


siam inovation district research report 2016

ข้ อ เสนอแนะการใช้ ง าน พื้นที่ภายในอาคาร อาคารโตโยต้า Area : 982 sqm. (239 seats) Height : 4 ชัน้ กิจกรรม - ชัน้ 3 Meeting room - ชัน้ 2 Showcase and Event space - ชัน้ 1 Information center - ชัน้ ใต้ดนิ Co-working space และ Products testing

page 176


page 177

siam inovation district research report 2016

ข้ อ เสนอแนะการใช้ ง าน พื้นที่ภายในอาคาร

โต๊ะทำงาน Area : 49 sqm. (5 desks/17 open seats)

cafe bar/coffee bar Area : 22 sqm.

products testing zone furniture design ลักษณะ Co-working space Area : 62 sqm. (22 open seats)

ชั้นใต้ดิน Area : 280 sqm. (68 seats) Height : 4.5 m. Co-working space และ Products testing กิจกรรม - cafe bar/coffee bar - co-working spcae zone - book corner - products testing zone (แสดงหรือทดสอบผลิตภัณธ์กบั กลุม่ ตัวอย่าง เปลีย่ นธีมทุก 3 เดือน)

ลิพท์ และบันได Area : 28 sqm.

โต๊ะทำงานกลุ่ม หรือ electronic book corner Area : 27 sqm. (5 desks / 10 open seats)

book corner Area : 56 sqm. (4 desks / 12 open seats รวมการเว้นพื้นที่ทางเข้า)

กรณีศึกษา -CAFE Lab. co-working space ที่ สามารถหาความรูใ้ นลักษณะ book corner และ electronic book corner -Docomo osaka การแสดงนวัตกรรม ประเภทกระบวนการ เช่น media design application or program design -Sekisui House Sumufumulab future life showroom เป็นพืน้ ทีแ่ สดงสิง่ ประดิษฐ์ใหม่ๆ และทดลองใช้ ดูความพึงพอใจ ที ่ K nowleddge capital Grand Front Osaka

products testing zone products design /media design / application or program testing Area : 34 sqm.


page 178

siam inovation district research report 2016

ข้ อ เสนอแนะการใช้ ง าน พื้นที่ภายในอาคาร

touch screen wall zone Area : 27 sqm. (10 open seats)

product design zone Area : 19 sqm.

ลิพท์ และบันได Area : 28 sqm.

ชั้น 1 Area : 151 sqm. Height : 4.5 m. Information center กิจกรรม -siam information center -Business information zone (หาข้อมูลทีเ่ กีย่ วข้องกับการผลิตนวัตกรรม รวมทัง้ การติดต่อ และการจดสิทธิบตั ร) -elearning zone -product design zone

touch screen wall Area : 49 sqm.

counter information Area : 20 sqm. (5 desks/17 open seats) the touch-screen tables Area : 57 sqm. (6 desks)

กรณีศึกษา Official New York City Information Center ทีม่ หานครนิวยอร์ก การใช้ระบบอินเตอร์เน็ตในการจัดเก็บข้อมูล สามารถค้ น หาข้ อ มู ล ด้ ว ยระบบทั ช สกรี น (the touch-screen tables)ทั้งข้อมูล ทั่วไป โครงการที่เกิดขึ้นรวมถึงสามารถ บันทึกข้อมูลทีส่ นใจได้ สามารถส่งข้อมูลต่างๆทัง้ ข้อมูลของตัวเอง และข้อมูลที่ได้ เพื่อปริ้นออกมาได้และมีผู้ เชี่ยวชาญผู้ประจำ หาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.wxystudio.com/projects/architecture/ nyc_information_center


page 179

siam inovation district research report 2016

ข้ อ เสนอแนะการใช้ ง าน พื้นที่ภายในอาคาร ชั้น 3 ชั้น 2

meeting room/office Area : 52 sqm. สามารถแบ่งได้ประมาณ 2 ห้อง (2 desks / 20 open seats)

workshops and talk shows Area : 45 sqm. (16 open seats)

ชัน้ 3 Area : 286 sqm. เหลือ 236 sqm. Height : 4.5 m. Meeting room กิจกรรม - meeting room สำหรับ ฝึกอบรมเรือ่ งธุรกิจ (ทุกวัน) กิจกรรม Pitching (1 ครัง้ ต่อเดือน) - office ชัน้ 2 Area : 265 sqm. Height : 4.5 m. Showcase and Event space กิจกรรม cafe bar/coffee bar - showcase and exhibition space Area : 18 sqm. - event space สำหรับ กิจกรรมสัมนาเรือ่ งนวัตกรรมหรือธุรกิจ (4ครัง้ ต่อเดือน) กิจกรรมประชุม หรือสัมนา (GlobalConferenece) (1ครั้งต่อ 3 เดือน) กิจกรรมประกวดนวัตกรรม (1-2 ครั้งต่อปี) - co-working space

ลิพท์ และบันได Area : 28 sqm.

ลิพท์ และบันได Area : 28 sqm.

โต๊ะทำงาน Area : 45 sqm. (5 desks/15 open seats)

พื้นที่สัมมนาขนาดใหญ่ ชั้น 2 Area : 95 sqm. (57 open seats) ชั้น 3 Area : 39 sqm. (23 open seats)

กรณีศึกษา Silicon Valley Innovation Center (Accelerator Program)

หาข้อมูลเพิม่ เติมได้ที่ https://www.facebook.com/SiliconValleyInnovationCenter/ http://svicenter.com/accelerator/

พื้นที่สัมมนาขนาดเล็ก Area : 72 sqm. (40 open seats)

showcase space Area : 72 sqm.

การสร้างพื้นที่ยกระดับและ โอบล้ อ มพื ้ น ที ่ ต รงกลาง โดยสามารถปรับเปลี่ยนได้ ก็เป็นทางเลือกที่ดีของการ มีพื้นที่จำกัด


page 180

siam inovation district research report 2016

กรณีศกึ ษา งาน Fast Forward Your Business World Tour จั ด ที ่ Aotea Centre, 50 Mayoral Dr, CBD, Auckland

ข้ อ เสนอแนะการใช้ ง าน พื้นที่ภายในอาคาร ชั้น 3 ชั้น 2

ลิพท์ และบันได Area : 28 sqm.

meeting room/office Area : 52 sqm. สามารถแบ่งได้ประมาณ 2 ห้อง (2 desks / 20 open seats)

มีการจัดงาน Exhibitions and Fairs ชัน้ 3 Area : 286 sqm. เหลือ 236 sqm. Height : 4.5 m. Meeting room กิจกรรม - meeting room สำหรับ ฝึกอบรมเรือ่ งธุรกิจ (ทุกวัน) กิจกรรม Pitching (1 ครัง้ ต่อเดือน) - office

ชัน้ 2 Area : 265 sqm. Height : 4.5 m. Showcase and Event space cafe bar/coffee bar กิจกรรม Area : 18 sqm. - showcase and exhibition space - event space สำหรับ กิจกรรมสัมนาเรือ่ งนวัตกรรมหรือธุรกิจ (4ครัง้ ต่อเดือน) กิจกรรมประชุม หรือสัมนา (GlobalConferenece) (1ครั้งต่อ 3 เดือน) กิจกรรมประกวดนวัตกรรม (1-2 ครั้งต่อปี) - co-working space

workshops and talk shows Area : 45 sqm. (16 open seats)

ลิพท์ และบันได Area : 28 sqm.

โต๊ะทำงาน Area : 45 sqm. (5 desks/15 open seats)

พื้นที่จัดงาน showcase expo ชั้น 2 Area : 167 sqm. ชั้น 3 Area : 111 sqm.

Open Innovations 2016: top-notch speakers, fantastic ideas, benefits for society

Open Innovations 2013 international forum on high-tech in Moscow


siam inovation district research report 2016

page 181

ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและการ จัดการให้เกิดย่านนวัตกรรม ภาครัฐ ภาครัฐมีเงินในการสนับสนุนเรือ่ งนวัตกรรม แต่ยงั เข้าถึงข้อมูลการสนับสนุนน้อยมาก ดังนั้นภาครัฐควรมีช่องทางในการเผยแพร่เงินสนับสนุนนั้น ทั้งการประชาสัมพันธ์ที่ตรงกับ กลุ่มเป้าหมายมากขึ้น มีความทันสมัย รวดเร็วมากขึ้น ภาครัฐควรมีการประชาสัมพันธ์เรื่องประเภทธุรกิจที่สนับสนุน ประกอบไปด้วยด้าน Financial Technology ด้ า น Smart Healthcare ด้ า น Smart city และ ด้าน Smart agriculture ซึง่ ภาคเอกชนหรือนักธุรกิจเกิดใหม่ (startup) ควรนำแต่ละประเภท ของธุรกิจมาคิดร่วมด้วย หรือการจัดกิจกรรมต่างๆ เกี่ยวกับธุรกิจนวัตกรรมในพื้นที่ สยามสแครว์ควรนำประเภทเหล่านี้มาคิดร่วมด้วยเพื่อให้ ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ ภาคสถาบัน เนือ่ งจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีบคุ ลากรและข้อมูลทางการศึกษาวิจยั อยูจ่ ำนวน มาก แต่ไม่ได้นำออกมาสูส่ าธารณะ หรือนำออกมาในปริมาณน้อย ดังนัน้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ควรมีพื้นที่ในการเข้าถึงข้อมูลได้ง่ายขึ้น หรือมีช่องทางในการติดต่อสื่อสารกับบุคคลหรือ ผู้เชียวชาญเฉพาะในแต่ละด้านเพื่อเอื้อให้กับนวัตกรรมที่มีความน่าเชื่อถือและสามารถเกิด ขึ้นได้จริง

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในบทบาทเจ้าของพื้นที่ จากความต้องการของนวัตกร ทีต่ อ้ งการพืน้ ทีส่ นับสนุนการจัดงานและทำงาน ในราคาถูก และสยามสแควร์ จัดการทรัพย์สนิ โดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดังนัน้ จุฬาลงกรณ์ควรสนับสนุน พืน้ ทีแ่ ละราคาค่าเช่า ทีเ่ หมาะสมให้กบั ธุรกิจเกิดใหม่ ในพืน้ ทีส่ ยามสแควร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ควรมีมาตรการเพื่อสนับสนุนกิจกรรมพาณิชยกรรม เชิงนวัตกรรม และพาณิชยกรรมที่ส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรมเพิ่มขึ้น โดยการควบคุมสัดส่วน เชิงแฟชั่น และเพิ่มสัดส่วนเชิงนวัตกรรม ตัวอย่างเช่น Subway 831 (Vegetable) Lab ที่ Grand Front Osaka จะมีการปลูก ผักภายในอาคารที่มีพื้นที่ขนาดเล็ก โดยใช้นวัตกรรมการปลูกผักเพื่อสามารถนำผักที่ได้มา ใช้ในกิจกรรมเชิงพาณิชยกรรมได้

จุฬาลงกร์มหาวิทยาลัยควรมีการสร้างแรงจูงใจให้เปลี่ยนรูปแบบสถาปัตยกรรม หรือวัสดุ เพื่อสร้างภาพจำของย่านนวัตกรรมและสามารถใช้เป็นพื้นที่ประชาสัมพันธ์ข่าวสาร หรือโฆษณา เช่น ผนังรูปแบบทัชสกรีน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยควรมีมาตรการในการควบคุมลักษณะสถาปัตยกรรม ที่มี เอกลักษณ์ของการใช้งานในระดับพื้นที่ ให้คงความเป็นบรรยากาศของโชว์เคส หรือตึกแถว ที่แสดงหน้าร้าน


Siam square innovation district research report 2016

page 182

áËÅ่§ÍÒ้ §Í§Ô¢Í้ ÁÅÙ - ¡Å่ØÁ§Ò¹Ç¨ÔÂ Ñ áÅлÃÐàÁ¹ Ô ¼Å ¡Í§Â· Ø ¸ÈÒʵú ์ ÃË Ô Òè´ Ñ ¡ÒÃ. ʶµ Ô ¡ Ô Ã§Øà·¾ÁËÒ¹¤Ã»Õ 2557. http://office.bangkok.go.th/pipd. 2557. - à¡ÉÁ¾¹ Ñ ¸์ µÃСÅÙ¢¨ÃÈ¡ Ñ ´.์Ô Ç· Ô ÂÒ¹¾ Ô ¹¸์ á¹Ç·Ò§¡ÒÃÍ͡Ẻ¾¹ ้× ·Ã่Õ Íµ่ÍÃÐËÇÒ่ §ÁËÒÇ· Ô ÂÒÅÂ Ñ È¹ Ù Â์¡ÅÒ§àÁÍקáÅо¹ ้× ·â่Õ ´ÂÃͺ: ¡Ã³È Õ ¡ Ö ÉÒ¨Ì Ø Òŧ¡Ã³Á ์ ËÒÇ· Ô ÂÒÅÂ Ñ . 2557. - ¨ØÌÒŧ¡Ã³์ÁËÒÇ· Ô ÂÒÅÂ Ñ . ¤³Ðʶһµ Ñ Â¡ÃÃÁÈÒʵÃá์ ÅÐÇÈ Ô Ç¡ÃÃÁÈÒʵÃ.์ ÃÒ§ҹ©ºº Ñ ÊÁºÃÙ³์ ¼§ÑáÁ่º·¨Ì Ø Òŧ¡Ã³Á ์ ËÒÇ· Ô ÂÒÅÂ Ñ 100 ».Õ (Á.».·.). 2543. - ¾ÃÃÉÉ Ô °์ µ่ÍÊÇØÃó. ¡ÒÃàÁÍקàÃ่×ͧÊÂÒÁÊá¤ÇÃ.์ 2553. - The Rise of Innovation Districts: A New Geography of Innovation in America. https://www.brookings.edu/wp-content/uploads/2016/07/InnovationDistricts1. pdf. - Robert G. Cooper. Winning at New Products: Creating Value Through Innovation. 2011. - Robert G. Cooper. Generating Breakthrough New Product Ideas: Feeding the Innovation Funnel. 2009. - Marina du Plessis, “The role of knowledge management in innovation”, Journal of Knowledge Management, Vol. 11 Iss: 4, pp.20 - 29. 2007. - http://www.veedvil.com/news/internet-users-and-usage-in-thailand-2016/ - http://www.9tana.com/node/thailand-social-stat-2016/ - https://www.facebook.com/SiliconValleyInnovationCenter - http://svicenter.com/accelerator

¢Í¢Íº¤³ Ø - www.freepik.com - www.pinterest.com - www.issuu.com - https://issuu.com - https://www.flickr.com/ - www.youtube.com


Siam square innovation district research report 2016

page 184




Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.