chanuch magazine no.1/2011

Page 1


เด่นในฉบับ “การศึกษาถือเป็นหน้าที่ที่ท้องถิ่นจะต้องพัฒนา โดยท้องถิ่นในที่นี้ มิได้หมายถึง อบต. อบจ. เทศบาลเท่านั้น แต่ยังรวมถึงความร่วมมือ ที่จะเกิดขึ้นกับชุมชนและประชาชนด้วย”

สมพร ใช้บางยาง ประธานอนุกรรมการด้านการคัดเลือกจังหวัดดีเด่น ประจำปี ๒๕๕๔ กล่าวในการประชุม “ชุมชนท้องถิ่นกับการปฏิรูปประเทศไทยสู่สังคมแห่งการเรียนรู้” ดูใน หน้า ๑๐-๑๑

“หากประเทศไทยยังไม่ปรับวิธีคิดและโครงสร้างการบริหารที่มีลักษณะดึง “เด็กหัวกะทิ” เข้าหัวเมืองใหญ่และกรุงเทพฯ ปัญหาเด็กออกนอกระบบ การศึกษาจะเพิ่มสูงขึ้นในปี ๒๕๕๔-๒๕๕๕” ศ.ดร.ไพฑูรย์ สินลารัตน์ นักการศึกษาอาวุโส อดีตคณบดีคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย กล่าวในการปาฐกถาเสาหลักของแผ่นดิน ดูในหน้า ๑๒-๑๓

“ปัญหาความไม่สงบชายแดนภาคใต้นั้นไม่สามารถดับได้ด้วยปืน แต่ดับได้ด้วยโอกาส และความเท่าเทียมทางการศึกษา”

ดร.อมรวิชช์ นาครทรรพ ผู้จัดการโครงการ Child watch และ ที่ปรึกษาวิชาการ สสค. กล่าว ในพิธีการลงนามข้อตกลง ระหว่าง สสค. และองค์กรภาคี ดูใน หน้า ๑๔

“เรามาช่วยกันคิดว่า จะสอนยังไงให้สอดคล้องกับ พ.ร.บ.การศึกษาฯ ...ให้ชาวบ้านหรือชุมชนมีส่วนร่วมในการสอนวิชานี้ และเอาภูมิปัญญา ชาวบ้านมาออกแบบบทปฏิบัติการสำหรับนักเรียน”

ติดต่อ จดหมายข่าว “ชนวน” ได้ที่ สำนักงานส่งเสริมสังคม แห่งการเรียนรู้และคุณภาพ เยาวชน (สสค.) เลขที่ ๓๘๘ ชั้น ๑๓ อาคาร เอ ถ.พหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร ๑๐๔๐๐ โทรศัพท์ ๐๘๐ ๕๘๗ ๘๙๐๙ เข้าชมฉบับอิเล็กทรอนิกส์ และติดตามข่าวสารจาก สสค. ได้ที่ www.QLF.or.th

อ.สุพัตรา แพงภูงาน คุณครูวิทยาศาสตร์ไฟแรงแห่งโรงเรียนแคนดงพิทยาคม จ.บุรีรัมย์ พาเยี่ยมชมกิจกรรม “แคนดง แคนดู” แหล่งเรียนรู้งอกได้ ดูใน หน้า ๑๘-๑๙ “อาจารย์ต๊ะ” กิจการ ช่วยชูวงศ์ ผู้เชี่ยวชาญการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ ไขเคล็ด เปิดโลกสร้างการเรียนรู้ให้สนุกและเข้าถึงหัวใจแห่งสาระในคอลัมน์ “ข้างๆ ครู” หน้า ๒๗


เรื่อง จากปก

ก้าวข้ามความเหลื่อมล้ำ แห่งโลกการเรียนรู้

กองบรรณาธิการ

“ความเหลื่อมล้ำ”

คำสุดฮิตแห่งปี ๒๕๕๓ และเป็น “ชนวน” ที่นำไปสู่ความเคลื่อนไหวทางสังคมอย่างเข้มข้นในปีที่ผ่านมาคำนี้ ว่ากันว่ามีพรมแดนกว้างไกล ไม่เว้นแม้แต่ในเรื่องของ โอกาสแห่งการเรียนรู้ นี่ไม่ได้เป็นคำกล่าวอ้างลอยๆ แต่ได้รับการยืนยันผ่าน แผนปฏิบัติการปฏิรูปประเทศไทย เพื่อสร้างสังคมแห่งความเป็นธรรม ซึ่งคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบในหลักการ และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปดำเนินการต่อ เมื่อวันที่ ๑๑ มกราคม ๒๕๕๔ โดยมีสาระสำคัญส่วนหนึ่งว่าด้วยเรื่องของการสร้างอนาคตของชาติ ด้านการพัฒนาคน เด็ก และเยาวชน รวมอยู่ด้วย รายละเอียดในแผนปฏิบัติการฉบับนี้นำเสนอข้อมูลเชิงประจักษ์ ซึ่งชี้ถึงสภาพปัญหา และกลุ่มเป้าหมายที่ยังขาดโอกาสทางการศึกษาและพัฒนาตนเองเอาไว้อย่างชัดเจน ถือเป็นการชี้โอกาสอันท้าทายให้แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาสังคมในการคลี่คลายเงื่อนปมหลักๆ ที่เหนี่ยวรั้งการพัฒนาศักยภาพของสมาชิกรุ่นต่อๆ ไป และกลายเป็นจุดตั้งต้นโครงการใหม่ที่ สสค. ชักชวนองค์กรและชุมชนทั่วไทย จับมือเดินหน้าไปด้วยกันนับแต่ไตรมาสที่สองของปีนี้


ไข “ข้อเท็จจริง” เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ ประเทศไทย ณ วันที่มีโรงเรียนทั่งถึงทุกตำบล อีกทั้ง รัฐบาลยัง ก้าวหน้าถึงขั้นประกาศนโยบาย “เรียนฟรี” ในชั้นการศึกษาภาคบังคับ ๑๒ ปีแรก เชื่อหรือไม่ว่ายังมีเด็กและเยาวชนที่อยู่ในวัยเรียนที่ยังขาด โอกาสทางการศึกษาและพัฒนาตนเองอยู่นับสิบล้านคน! ยิ่งไปกว่านั้น คาดว่าจะยังมีเด็กอีกจำนวนหนึ่งที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง ที่จะออกจากระบบการศึกษาเพิ่มขึ้นในอนาคต ลูกหลานไทยทีต่ กอยูใ่ นสภาพ “ด้อยโอกาสทางการศึกษา” เหล่านี้ แยกแยะออกได้เป็น ๑๕ กลุ่ม เมื่อรวมเข้าด้วยกันกับประชากรวัยแรงงาน ที่ที่ต้องการการศึกษาต่อและเพิ่มทักษะในการประกอบอาชีพ ทว่า ไม่มี โอกาสที่จะพัฒนาศักยภาพของตน กลุ่มผู้ที่ด้อยโอกาสทางการศึกษาและ เรียนรู้ในสังคมไทยก็นับรวมได้ถึง ๑๓ ล้านคน โดยแยกแยะได้เป็น ๕ กลุ่มหลัก ดังนี้ • กลุม่ เด็กนอกระบบการศึกษา จำนวน ๑.๗ ล้านคน • กลุ่มเด็กพิการ จำนวน ๑ แสนคน • กลุ่มเด็กในชนบทห่างไกลที่ยังขาดการเข้าถึงทางการศึกษา อย่างมีคุณภาพ จำนวน ๕ แสนคน • กลุ่มเด็กที่ถูกดำเนินคดี จำนวน ๕ หมื่นคน • กลุ่มประชากรที่ต้องการการศึกษาต่อและเพิ่มทักษะในการ ประกอบอาชีพ จำนวน ๘.๘ ล้านคน


เด็กพิการ ๑.๗ ล้านคน

ลูกคนงาน ก่อสร้าง

เด็กถูก บังคับค้า ประเวณี

เฉพาะที่ต้องการ พัฒนาศักยภาพ

เด็ก เร่ร่อน

เด็กด้อยโอกาส ๕ ล้านคน

แม่วัยรุ่น ๑ แสนคน

ประชาชน ด้อยโอกาส ๘.๘ ล้านคน

เด็กติด เชื้อ HIV

เด็ก ๓ จังหวัด ภาคใต้ ๕ หมื่นคน

เด็กถูก บังคับขาย แรงงาน

เด็กใน สถานพินิจ ๖ หมื่นคน เด็กติด ยาเสพติด

การสร้างโอกาสเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ ยังมีกลุ่มผู้ด้อยโอกาสทางการศึกษา กำลังเผชิญกับความเหลื่อมล้ำกว่า ๑๓.๘ ล้านคน

เด็กยากจน พิเศษ

เด็ก ไร้สัญชาติ ๓ แสนคน

เด็กยากจน ๓ ล้านคน เด็กกำพร้า ๙ หมื่นคน

เด็กชนบท ห่างไกล ๑.๖ แสนคน

กลั่น ๔ มาตรการ เสริมฐานสร้างปัญญา จากสถานการณ์ดังกล่าว นำมาสู่การกำหนดมาตรการ ๔ ประการ เพื่อเป็นหลักในการกออกแบบโครงการและกิจกรรมใน การลดความเหลื่อมล้ำในสังคมโดยการยกระดับคุณภาพชีวิตใน กลุ่มเด็กด้อยโอกาส เด็กนอกระบบการศึกษา และในกลุ่มแรงงาน นอกระบบ โดยมาตรการทั้งสี่ประกอบด้วย ๑. มาตรการเพื่ อ การเข้ า ถึ ง บริ ก ารพื้ น ฐานโดย สนับสนุนงบประมาณเพื่อทดแทนส่วนที่ยังขาดความเท่า เทียม (เมื่อเปรียบเทียบต้นทุนต่อหน่วยด้านการศึกษาของเด็ก กลุ่ ม ด้ อ ยโอกาสบางกลุ่ ม กั บ เด็ ก ทั่ ว ไป) โดยการสนั บ สนุ น งบ ประมาณสำหรับบริการพื้นฐานตั้งแต่แรกเกิดจนถึงวัยที่จะดูแล ตนเองได้ มาตรการนี้ มีองค์กรหลักที่รับผิดชอบคือ หน่วยงาน ของรัฐกลุ่มเป้าหมายที่จำเป็นที่ต้องได้รับมาตรการนี้ เช่น กลุ่ม เด็กยากจนพิเศษ เด็กในชนบทห่างไกล เป็นต้น นอกจากนี้ ยัง หมายรวมถึงเงื่อนไขทางกฏหมายที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของรัฐที่จะ ช่วยผ่อนคลายความทุกข์ยากของเด็กด้วย เช่น กรณีเด็กต้องคดี ฯลฯ ๒. มาตรการด้านการสร้างโอกาสทางการศึกษาทาง เลือกหรือการศึกษาตามความจำเป็นพิเศษที่เหมาะสม รวม

ถึงการจัดระบบดูแลที่เหมาะสมมาตรการนี้ องค์กรหลักที่รับผิด ชอบคือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และ NGOsมาตรการนี้ เหมาะกับกลุ่มเป้าหมาย เช่น เด็กพิการ เด็กติดเชื้อเอชไอวี เด็ก ที่มีความผิดปกติทางพัฒนาการ เป็นต้น ๓. มาตรการการสร้างงาน หรือโอกาสในการสร้าง รายได้ องค์ ก รหลั ก ที่ รั บ ผิ ด ชอบคื อ ภาคเอกชนและองค์ ก ร ปกครองส่ ว นท้ อ งถิ่ น มาตรการนี้ เ หมาะกั บ เด็ ก ด้ อ ยโอกาสที่ ต้องหารายได้เลี้ยงครอบครัวหรือกำลังจะก้าวเข้าสู่ตลาดแรงงาน ๔. มาตรการการฟื้ น ฟู ส ภาพ ทั้ ง ด้ า นร่ า งกายและ จิตใจ มาตรการนี้ มีองค์กรหลักที่รับผิดชอบคือ องค์กรพัฒนา เอกชน มาตรการนี้เหมาะสมกับเด็กกลุ่มที่ถูกย่ำยีทางสังคมเด็กที่ ต้องบังคับค้าประเวณีเด็กถูกบังคับขายแรงงาน เป็นต้น อย่างไรก็ตาม มีข้อพึงตระหนักว่า บรรดาเด็กด้อย โอกาสทางการศึกษาแต่ละกลุ่มมักประสบสภาพปัญหาอัน ซั บ ซ้ อ นจำเป็ น ต้ อ งอาศั ย มาตรการแก้ ไ ขมากกว่ า หนึ่ ง มาตรการ


ติดต่อรับเอกสารและซีดีคู่มือการคัดเลือกครูสอน ดีและครูผู้รับทุนครูสอนดี ประจำปี ๒๕๕๔ ได้ที่ สำนักงาน สสค. หรือดาวน์โหลดได้จากเว็บไซต์ www.qlf.or.th

เชิดชู “ครูสอนดี” ยุทธวิธีปฏิรูปประเทศไทย ท่ามกลางสภาวการณ์ปัจจุบัน ความศรัทธาที่คนทั่วไปมี ต่อวิชาชีพครูกำลังลดน้อยถอยลง ทั้งที่ครูเป็นอาชีพที่สำคัญมาก เพราะเป็นอาชีพ “สร้างคนให้เป็นคน” “ครู” ต้องอยู่กับเด็กกับเยาวชนมีภาระหน้าที่ถ่ายทอด ศิลปวิทยาการ ขัดเกลา อบรมบ่มนิสัย เพื่อยกระดับสติปัญญา อารมณ์ ร่างกายและจิตใจให้พวกเขาเหล่านั้นมีความสมบูรณ์ เหมาะสม พร้อมที่จะมีอนาคที่ดีงาม สามารถนำพาตนเอง สังคม และประเทศชาติ ให้อยู่รอดปลอดภัย และเจริญรุ่งเรือง ด้ ว ยเหตุ นี้ ภารกิ จ เชิ ด ชู ยกย่ อ ง ครู ส อนดี จึ ง เป็ น เจตนารมณ์สำคัญยิ่ง ที่ช่วยจรรโลงสร้างสรรค์คุณค่าของครูให้ ปรากฏ ในเวลาเดียวกันยังหวังเรียกกระแสตระหนักทั้งของครู และสังคม ให้ร่วมสร้าง “ครูดีเพื่อศิษย์” ทั้งแผ่นดิน อันเป็นการ ยกระดับคุณภาพคนแห่งอนาคต และถื อ เป็ น หนึ่ ง ในสิ่ ง ที่ จ ะโน้ ม นำความเท่ า เที ย ม ด้านคุณภาพการศึกษาให้แก่เด็กไทยทั่วประเทศ ในการประชุ ม คณะรั ฐ มนตรี เมื่ อ วั น ที่ ๑๑ มกราคม ๒๕๕๔ ซึ่ ง ได้ มี ม ติ เ ห็ น ชอบในหลั ก การแผนปฏิ บั ติ ก ารปฏิ รู ป ประเทศไทย “เพื่ออนาคตคนไทยที่เท่าเทียมและเป็นธรรม” นั้น คณะรัฐมนตรีเห็นควรให้มีการดำเนินโครงการที่จะทำให้สังคม ไทยร่วมกันคืนครูดีให้ศิษย์ เชิงชู ยกย่อง “ครูสอนดี” พร้อมกับ ให้ สสค. ทำหน้าที่เป็นเลขานุการของ คณะกรรมการกำกับ ทิศทางและนโยบายการดำเนินงานตามแผนปฏิรูปประเทศไทย “เพื่ อ อนาคตคนไทยที่เท่าเทียมและเป็นธรรม” ด้านการสร้าง

อนาคตของชาติ ด้วยการพัฒนาคน เด็ก และเยาวชน ด้วยความเชื่อว่า “ครู” เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการ ปฏิรูปการเรียนรู้ และ คุณภาพการศึกษาจะไม่ดีเกินกว่า คุณภาพครู ใครกันหรือคือ “ครูสอนดี” แนวทางปฏิบัติในการเฟ้นหาครูสอนดีนั้น ให้ความสำคัญ ทั้ง “ครูในและนอกเครื่องแบบ” หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ ทั้งครูที่อยู่ ในระบบการศึกษา และนอกระบบการศึกษา ที่ทุ่มเทแรงกายแรง ใจและสติปัญญาให้แก่ลูกศิษย์ นั่นหมายถึงว่า “ครู” เหล่านี้ไม่ได้จำกัดแวดวงอยู่แค่ใน รั้วโรงเรียน แต่หมายรวมถึงผู้ที่มีบทบาทให้การเรียนรู้ในทุกรูป แบบ โดยอาศัยแกนกลางในการขับเคลื่อนการศึกษาในรูปแบบ ใหม่จากการประสานภาคประชาสังคม คือ “ชุมชน และ ท้อง ถิ่น” ทั้งในระดับจังหวัด และเขต/เมืองพัทยา/เทศบาล/องค์การ บริหารส่วนตำบล คณะกรรมการเพื่ อ การคั ด เลื อ กครู ส อนดี แ ละ ลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาระดับจังหวัด และ คณะ กรรมการเพื่อการคัดเลือกครูสอนดีและลดความเหลื่อมล้ำ ทางการศึ ก ษาระดั บ ท้ อ งถิ่ น คื อ กลไกดำเนิ น กระบวนการ สรรหา และเชิดชู “ครูสอนดี” ที่เริ่มเดินหน้าอย่างเต็มตัว ตั้งแต่ เดือนมิถุนายนที่ผ่านมา โดยมีเป้าหมาย ๓ ส่วน ได้แก่


๑. ดำเนินการคัดเลือก “ครูสอนดี” จำนวน ๒๐,๐๐๐ คน เพื่อเชิดชูและรับมอบรางวัลๆ ละ ๑๐,๐๐๐ บาท ๒. ดำเนินการคัดเลือก “ครูผู้รับทุนครูสอนดี” จำนวน ๖๐๐ ทุน เพื่อสร้างเครือข่ายครูสอนดีหน้าใหม่ เป้าหมายคือ ครูที่ ปฏิบัติงานในพื้นที่ห่างไกลหรือครูสำหรับเด็กด้อยโอกาส ทุนละ ๕๐๐,๐๐๐ บาท สำหรับการดำเนินโครงการเพื่อพัฒนาครูสอนดี หน้าใหม่เป็นเวลา ๓ ปี ๓. การคั ด เลื อ กจั ง หวั ด ดี เ ด่ น คั ด สรรครู ส อนดี ๑๐ จังหวัด เพื่อส่งเสริมกระบวนการคัดเลือกที่โปร่งใสเป็นธรรมและ สังคมมีส่วนร่วม โดยจัดเป็นงบประมาณสำหรับปฏิรูปการศึกษา ของจังหวัดๆ ละ ๕ ล้านบาท งบประมาณสำหรั บ ส่ ว นแรกมาจากภาคเอกชน จำนวน ๒๐๐ ล้านบาท ส่วนที่ ๒ และ ๓ เป็นทุนจากรัฐบาล จำนวน ๓๕๐ ล้านบาท ปฏิบัติการเลือกเฟ้นเบ่งบานทั่วไทย ขณะนี้ คณะกรรมการคัดเลือกครูสอนดี ได้รับการ แต่ ง ตั้ ง ขึ้ น ทุ ก จั ง หวั ด อี ก ทั้ ง ยั ง ลงลึ ก ถึ ง ระดั บ ท้ อ งถิ่ น ทุ ก ตำบลหนแห่งทั่วประเทศไทยแล้ว

เกณฑ์ ๓ ประเด็น เลือกเฟ้น “ครูสอนดี” เกณฑ์การคัดเลือกครูสอนดี มีด้วยกัน ๓ ประเด็น ได้แก่ • ครูที่จัดกระบวนการสอนได้ดีและพัฒนาต่อเนื่อง • ครูที่ทำให้ลูกศิษย์มีความสำเร็จและความก้าวหน้า ในทางการเรียนและการใช้ชีวิต • ครูที่มีความประพฤติเป็นแบบอย่างที่ดีน่ายกย่อง

ยิ่งไปกว่านั้น ปฏิบัติการครั้งนี้ยังมีเจตนารมณ์ในการ ยกระดับวิชาชีพครู ให้สมคุณค่า ทั้งโดยการเพิ่มวิทยฐานะ วิชาชีพให้มีผลตอบแทนเหมาะสม รวมทั้งสร้างกลไกการ สนั บ สนุ น ให้ ค รู ส อนดี มี ก ำลั ง ใจต่ อ การพั ฒ นาตน รวมทั้ ง ขยายเครือข่าย “ครูสอนดีหน้าใหม่” ที่มีความเชี่ยวชาญใน วิชาที่สอนอย่างแท้จริง เพื่อเตรียมความพร้อมในการปฏิรูป การศึกษาในทศวรรษที่สอง สสค. ขอเชิ ญ ชวนผู้ ส นใจเข้ า ร่ ว มเป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ใน ความเคลื่อนไหวครั้งสำคัญนี้ร่วมกับสมาชิกในท้องถิ่นของ ท่าน นีค่ อื โอกาสสำคัญทีค่ นไทยจะช่วยกันยกระดับคุณภาพ เพื่ อ สร้ า งรากฐานแห่ ง ความเจริ ญ รุ่ ง เรื อ งอั น การศึกษาให้แก่ลูกหลานด้วยการเชิดชูคนดี มั่นคงฝากไว้ให้แก่แผ่นดิน และลูกหลานของเราสืบไป

นายนพพร สุวรรณรุจิ รองเลขาธิการสภาการศึกษา ในฐานะประธานคณะทำงานยกร่างหลักเกณฑ์และวิธีการในการคัดเลือก “ครูสอนดี”

ผู้ที่จะทำหน้าที่เฟ้นหาจังหวัดดีเด่นในการคัดเลือกครูสอนดี ๒๕๕๔ ประกอบด้วยคณะกรรมการ สสค. คณะอนุกรรมการในการวางเกณฑ์และคัดเลือก โดยมีหลักเกณฑ์การคัดเลือก ดังนี้ • การบริหาร พิจารณาจากการวางแผน การกำหนดหลักเกณฑ์ แนวทาง การประสานงาน การ บริหารงบประมาณ การประชา-สัมพันธ์ ความร่วมมือกับโครงการ ทั้งนี้ สสค. ได้วาง แนวทางสำหรับคัดเลือกครูสอนดีที่เป็นมาตรฐานกลางไว้ โดยจังหวัดและท้องถิ่นสามารถ กำหนดเพิ่มเติมได้ • การดำเนินงานถูกต้องตามหลักเกณฑ์และมีความโปร่งใสพิจารณาจากกระบวนการดำเนิน งานต่างๆ เช่น การแต่งตั้งคณะกรรมการระดับจังหวัดและท้องถิ่น การสรรหาครูสอนดี การ คัดเลือกครูสอนดีและทุนครูสอนดี การรับฟังข้อทักท้วง และการพิจารณาวินจิ ฉัยข้อ ทักท้วง และการปรับใช้กระบวนการตามบริบทของพื้นที่ การระดมความร่วมมือ • ผลการดำเนินงาน พิจารณาจากผลการคัดเลือก เป็นผลที่ทำให้เกิดการยอมรับ ของคนในพื้นที่ว่า บุคคลดังกล่าวเป็นคนดีจริงๆ มีฐานข้อมูลครูสอนดี มีการ สรุปบทเรียนและข้อเสนอแนะในการทำงาน


ชนวน

ความจริง

ศูนย์ข้อมูลนวัตกรรมความรู้ สสค.

เจาะแดนสนธยา “๑๕ กลุ่มเด็กด้อยโอกาส” คือใคร อยู่ที่ไหน? สสค. ได้ประมวลข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์กลุ่มเด็กด้อย โอกาสและเด็กนอกระบบการศึกษาในสังคมไทยจากแหล่งต่างๆ เพื่อให้เห็นรายละเอียดของปัญหา พบว่าจำแนกออกได้เป็น ๑๕ กลุ่ม ดังนี้ ๑. เด็กเร่รอ่ นจรจัด มีจำนวน ๓๐,๐๐๐ คน เด็กส่วนใหญ่ ประสบปัญหาครอบครัวแตกแยก ถูกทารุณกรรม บางส่วนออกมา เร่ร่อนเพื่อหารายได้ช่วยเหลือครอบครัว และหนีตามเพื่อนมา เร่ร่อน เด็กกลุ่มนี้กำลังเผชิญความเสี่ยงสูงต่อปัญหายาเสพติด การขายบริการทางเพศ และอาชญากรรม เนื่องจากถูกทำร้าย ถูกล่วงละเมิดทางเพศ และการเจ็บป่วย ขณะนี้มีองค์กรของภาค รัฐและองค์กรเอกชนเข้าช่วยเหลือได้เพียง ๕,๐๐๐ คน ยังมีเด็ก เร่ร่อนนอกระบบจำนวนมากในหลายพื้นที่ที่รอความช่วยเหลือกว่า ๑๕,๐๐๐-๒๐,๐๐๐ คน ความต้องการของเด็กในกลุ่มนี้คือ การช่วยเหลือต่อเนื่อง ระยะยาว ซ่อมแซมสภาพพื้นฐานในชีวิต และช่วยเหลือเยียวยา ครอบครัว จากนั้นจึงนำเด็กกลับเข้าสู่ระบบการศึกษา ๒. เด็กไร้สัญชาติ มีจำนวน ๒๐๐,๐๐๐-๓๐๐,๐๐๐ คน ใน จำนวนนี้มีอยู่ ๑๐๐,๐๐๐ คน ที่ยังขาดโอกาสทางการศึกษา เด็ก กลุ่มนี้เป็นเด็กจากชนกลุ่มน้อยที่เข้ามาพักพิงในประเทศไทย มีทั้ง ที่อยู่มานานเป็นชั่วอายุคน และเพิ่งอพยพเข้ามาอยู่ จึงยังไม่ถูก รับรองสัญชาติ ทำให้ไม่มีโอกาสได้รับบริการเท่าเทียมกับเด็ก ทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งโอกาสทางการศึกษา ไม่มีสิทธิรับทุน

แม้เรียนดี เสี่ยงต่อการถูกล่อลวงไปค้ามนุษย์ ขาดสิทธิทางการ รักษาพยาบาล และไม่สามารถเดินทางไกลได้ เพราะไม่ได้รับการ รับรองสิทธิการเป็นพลเมือง ความต้องการจำเป็นของเด็กกลุ่มนี้คือ การให้สิทธิและ โอกาสต่อเด็กไร้สัญชาติ ทั้งทางกฎหมายรับรองและสิทธิการเข้า ถึงโอกาสทางการศึกษา การดูแลรักษาพยาบาล และสิทธิการเดิน ทางออกนอกพื้นที่ได้ รวมถึงกลไกการติดตามคุ้มครองเด็กไร้ สัญชาติที่มีแนวโน้มสูญหายและเสี่ยงต่อขบวนการค้ามนุษย์ ๓. ลูกของแรงงานต่างด้าว มีจำนวน ๒๕๐,๐๐๐ คน ปั ญ หาสำคั ญ ของเด็ ก ในกลุ่ ม นี้ คื อ ขาดโอกาสทางการศึ ก ษา เนื่องจากต้องอพยพตามผู้ปกครองเข้ามาทำงาน และเป็นกลุ่มที่ ต้องเป็นแรงงานเด็ก จึงไม่มีเวลาเรียนในระบบโรงเรียนปกติ ความต้องการของเด็กกลุ่มนี้จึงต้องการการศึกษารูปแบบ พิ เ ศษ บนพื้ น ฐานของความต้ อ งการให้ ก ารศึ ก ษาที่ มี คุ ณ ภาพ เหมาะสมกับวิถีชีวิตรวมถึงการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ และส่งเสริม ยอมรับในความหลากหลายทางวัฒนธรรม ๔. เด็กติดเชื้อเอดส์ มีจำนวน ๕๐,๐๐๐ คน เด็กเหล่านี้ ติดเชื้อเอดส์จากพ่อแม่ จึงมีจำนวนไม่น้อยที่เป็นทั้งเด็กกำพร้า และติดเชื้อเอดส์ ทำให้ต้องเผชิญกับปัญหาทางสุขภาพ ขาดการ ยอมรับจากสังคมทำให้ผู้ป่วยเข้าไม่ถึงบริการด้านสุขภาพ การส่ง ต่ อ ของเด็ ก ระหว่ า งองค์ ก รไม่ เ ป็ น ความลั บ และเด็ ก ที่ ป่ ว ยไม่ สามารถอยู่ร่วมกับครอบครัวได้


เด็กในกลุ่มนี้จึงต้องการการดูแลเอาใจใส่จากครอบครัว เครือญาติ การดูแลด้านสุขภาพ การพักฟื้นเยียวยา และได้รับ การรักษาพยาบาลตามสิทธิอย่างต่อเนื่อง ระบบสวัสดิการดูแล เด็กติดเชื้อ การเข้าใจและยอมรับจากสังคม และโอกาสในการ ศึกษาเช่นเดียวกับเด็กปกติ ๕. กลุ่มแม่วัยรุ่น มีจำนวน ๑๐๐,๐๐๐คนซึ่งเป็นสาเหตุที่ ทำให้เกิดเด็กกำพร้าที่ถูกทอดทิ้ง โดยกลุ่มแม่วัยรุ่น ต้องการ ความรู้ ค วามเข้ า ใจในเรื่ อ งการเลี้ ย งลู ก รวมถึ ง ความต้ อ งการ โอกาสทางการศึกษาเด็ก ๖. กำพร้าถูกทอดทิ้ง มีจำนวน ๘๘,๗๓๐ คน ซึ่งถูก ทอดทิ้งตามโรงพยาบาล สถานรับเลี้ยงเด็ก และที่สาธารณะ โดย มีสาเหตุจากแม่ที่อยู่ในวัยเรียน และแม่ที่ไม่สามารถเลี้ยงลูกได้ เด็ ก ในกลุ่ ม นี้ น อกจากต้ อ งการโอกาสทางการศึ ก ษา เหมื อ นเด็ ก ทั่ ว ไปตั้ ง แต่ ป ฐมวั ย แล้ ว ยั ง ต้ อ งการความรั ก ความ เอาใจใส่เป็นพิเศษ เพื่อให้เด็กสามารถปรับตัวกับสังคมได้ ๗. เด็กถูกบังคับใช้แรงงาน โดยเฉพาะเด็กอายุต่ำกว่า ๑๕ ปีที่ถูกบังคับเป็นแรงงานอย่างผิดกฎหมายมีจำนวน ๑๐,๐๐๐ คน ซึ่งมีจำนวนมากที่ยังไม่เข้าถึงระบบการคุ้มครองของกฎหมาย และบริการทางสังคม เนื่องจากสถานประกอบการมีลักษณะซ่อน เร้น เช่น โรงงานขนาดเล็กตามห้องแถวและชานเมือง ความต้องการของเด็กในกลุ่มนี้คือ ความช่วยเหลือทั้งทาง สุขภาพ จิตใจ และโอกาสกลับสู่ระบบการศึกษา การมีงานทำที่ มั่นคงเพื่อหนีความยากจนในอนาคต ๘. เด็กถูกบังคับให้ค้าประเวณี รวมถึงเด็กที่ทำงานใน สถานบริการ เช่น สนุ๊กเกอร์คลับ ผับ คาเฟ่ ฯลฯ โดยพบว่ามี เด็กอายุต่ำกว่า ๑๘ ปี ที่เข้าสู่การค้าประเวณี ไม่ต่ำกว่า ๒๕,๐๐๐ คน โดยพบว่า ความต้องการของเด็กกลุ่มนี้คือ ความช่วยเหลือทั้งทาง สุขภาพ จิตใจ โอกาสทางการศึกษา รวมถึงกลไกทางสังคมและ ชุมชนในการให้กำลังใจ เพื่อฟื้นฟูจิตใจ ปลูกจิตสำนึกให้รักศักดิ์ ศรีความเป็นมนุษย์ การฝึกฝนอาชีพให้มีงานทำ ๙. เด็กติดยา มีจำนวน ๑๐,๐๐๐ คน โดยกระจายอยู่ใน เขตกรุงเทพฯและเมืองใหญ่ รวมถึงพืน้ ทีใ่ นจังหวัดชายแดนภาคใต้ เด็กกลุ่มนี้มีความต้องการฟื้นฟูสภาพร่างกาย สมอง การ เยียวยาจิตใจและคืนความมั่นใจในการกลับสู่สังคม/ชุมชน ตลอด

จนความต้องการการศึกษาทั้งสายสามัญและสายอาชีพ ๑๐. เด็กยากจนพิเศษ หรือเด็กที่ครอบครัวมีรายได้รวม กันไม่เกิน ๒๐,๐๐๐ บาท/ปี มีจำนวน ๒,๙๗๘,๗๗๐ คน เด็กในกลุ่มนี้ต้องการการสนับสนุนโอกาสทางการศึกษาที่ มีคุณภาพตั้งแต่ปฐมวัยจนถึงขั้นสูงสุดตามศักยภาพ ๑๑. เด็กที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกล ถิ่นทุรกันดาร มีจำนวน ๑๖๐,๐๐๐ คน เด็กกลุ่มนี้ต้องการการสนับสนุนโอกาสทางการศึกษา ที่มีคุณภาพตั้งแต่ปฐมวัยจนถึงชั้นสูงสุดตามศักยภาพเช่นกัน ๑๒. เด็กออทิสติก เด็กที่มีความบกพร่องในการเรียนรู้ (LD) เด็กสมาธิสั้น (ADHD) มีจำนวนถึง ๒,๕๐๐,๐๐๐ คน หรือ ประมาณ ๑ ใน ๕ ของเด็กในวัยเรียนในระดับชั้นอนุบาลถึง มัธยม (๓-๑๘ ปี) ซึ่งเด็กในกลุ่มนี้มีทั้งอยู่ในระบบการศึกษาและ นอกระบบการศึกษา ซึ่งขาดการส่งเสริมดูแลตามพัฒนาการการ เรียนรู้อย่างเข้าใจ เด็กในกลุ่มนี้จึงมีความต้องการเฉพาะทั้งในด้านการเลี้ยง ดูในครอบครัวและการให้การศึกษาของโรงเรียนที่ต้องมีการจัด ระบบคัดกรอง วินิจฉัย และดูแลอย่างเหมาะสม ๑๓. เด็กพิการ มีจำนวน ๑๐๐,๐๐๐คน เด็กกลุ่มนี้มีความต้องการในด้านโอกาสในการเรียนและ การมีงานทำ ๑๔. เด็ก ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีจำนวน ๔๐,๐๐๐คน เด็กกลุ่มนี้มีความต้องการในด้านโอกาสในการเรียนและ การมีงานทำ ๑๕. เด็กเยาวชนที่ถูกดำเนินคดี มีจำนวน ๖๐,๐๐๐คน เด็กกลุ่มนี้มีความต้องการโอกาสในการมีงานทำและการ สร้างรายได้ วันนี้พวกเขาคือเด็กเล็กๆ ที่ดูเสมือนไม่สลักสำคัญ...แต่ พรุ่งนี้เขาคือผู้กำหนดความเป็นไปของประเทศ มีหนทางใดบ้างที่เราจะช่วยกันผลักดันให้เด็กไทยที่ถูกทิ้ง อยู่ใน “แดนสนธยา”เหล่านี้ ก้าวสู่แสงสว่าง เพื่อ “สร้างอนาคต” ให้แก่สังคมที่เราทุกคนใช้ชีวิตทั้ง ยามสุขและทุกข์ร่วมกันแห่งนี้...


ชนวน

ชวนคิด

กองบรรณาธิการ

ชวนท้องถิ่นปฏิรูปประเทศ สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ ปรัชญาที่ สสค. เชื่อมั่นและเน้นย้ำในการทำงานนับตั้งแต่ก้าวแรกก็คือ การส่งเสริมให้เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้และ คุณภาพเยาวชน” ไม่ใช่หน้าที่ของผู้เชี่ยวชาญหรือนักการศึกษา แต่เป็นเรื่องของเราทุกคนในสังคมในการร่วมกันพัฒนาการ ศึกษา (All for Education) เพื่อลูกหลานและประเทศไทย ระหว่างเดือนเมษายน-มิถุนายนที่ผ่านมา สสค. ได้จัดการประชุมใหญ่ขึ้น ๒ ครั้ง โดยมีเนื้อหาว่าด้วยการระดมพลัง จากชุมชนท้องถิ่นในการยกระดับการศึกษา เริ่มต้นด้วยการประชุม “จังหวัดและชุมชนท้องถิ่น จะปฏิรูปประเทศด้านการ ศึกษาได้อย่างไร” เมื่อวันที่ ๒๙-๓๐ เมษายน และตามด้วยครั้งล่าสุด ได้แก่ การประชุม “ชุมชนท้องถิ่นกับการปฏิรูปประเทศ ไทยสู่สังคมแห่งการเรียนรู้” จัดขึ้นระหว่าง วันที่ ๗-๘ มิถุนายน ๒๕๕๔ ที่ผ่านมา “ชนวน” ได้คัดสรรสาระสำคัญที่น่าสนใจจากเวทีล่าสุดมานำเสนอ ผู้ที่สนใจรายละเอียดทั้งหมด โปรดติดตามจาก เว็บไซต์ สสค.

ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร รองประธาน สสค. การเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ ไม่ใช่เพียงแค่ส่งเสริมการเด็ก และเยาวชนไปโรงเรียนเท่านั้น แต่ ทำอย่างไรจึงจะสร้างภูมิคุ้มกันทาง สังคม ติดอาวุธทางความคิด ดังนั้นการทำงานเรื่องนี้ไม่ใช่หน้าที่ของ กรมใดกรมหนึ่งเท่านั้น แต่ทุกคนต้องช่วยกันในฐานะที่เราเป็นส่วนหนึ่ง ของสังคม เราเป็นคนหนึ่งของประเทศไทย การปฏิรูปการเรียนรู้จึงเป็น หน้าที่ของทุกคน ครูที่ดีก็จะสร้างลูกศิษย์ที่ดี ครูที่ดีก็จะรักษาแผ่นดิน ไว้ได้ เพราะครูคือคนที่สร้างลูกศิษย์ที่จะเป็นคนดูแลแผ่นดิน การพั ฒ นาเด็ ก ด้ อ ยโอกาสนั้ น คงไม่ มี ใ ครที่ จ ะรู้ ดี ม ากกว่ า คนในพื้นที่ ชุมชนจะรู้ว่าเด็กเหล่านี้อยู่ที่ไหน สภาพปัญหาคืออะไร การพัฒนาทักษะทางอาชีพนั้น หากพึ่งความช่วยเหลือจาก หน่วยงานภาครัฐคงไม่เพียงพอ ท้องถิ่นควรเน้นการพัฒนาทักษะอาชีพ ให้สอดคล้องบริบทและความต้องการของชุมชน การฝึกอาชีพมี ๒ รูป แบบ คือ การฝึกทักษะที่ตรงกับงาน และการฝึกทักษะในการทำอาชีพ เสริมทำให้มีรายได้เพิ่มมากขึ้น แม้การเริ่มต้นในครั้งนี้ เราจะเริ่มต้นเพียงก้าวเล็กๆ แต่จะเป็น ก้าวแรกที่จะทำให้สังคมขับเคลื่อนต่อไปได้ เราทำตัวอย่างที่ดี เพื่อจะ

๑๐

ส่งต่อไปยังหน่วยงานที่รับผิดชอบที่มีหน้าที่โดยตรง นำไปขยายผลและ หากลไกรองรับเพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนต่อไปได้ ดร.อมรวิชช์ นาครทรรพ ผู้อำนวยการสถาบันรามจิตติ และ ที่ปรึกษาวิชาการ สสค. สถานการณ์การศึกษาไทยในปัจจุบันพบว่า ๑. ในพื้นที่ด้อยโอกาส ยากจน มีอัตราการเรียนที่ไม่มีคุณภาพ นักเรียนมีปัญหาการศึกษา ต้องออกจากการเรียน ก่อคดีอาชญากรรม การตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ สภาพพื้นที่ยังเป็นสิ่งที่ซ้ำเติม เกิดปัญหา สังคมรวยกระจุก จนกระจาย ไม่อาจปล่อยให้รัฐจัดการเพียงผู้เดียวได้ เพราะอาจแก้ปัญหาได้ไม่ทั่วถึง ดังนั้นท้องถิ่นจึงต้องมาร่วมจัดการ ๒. ครูมีความแปลกแยกจากท้องถิ่น จะทำอย่างไรที่จะให้ครู ได้รับการอุปถัมป์ สนับสนุนจากท้องถิ่น ครูเป็นครูที่ตอบตอบโจทย์ท้อง ถิ่น ตอบสนองความต้องการพัฒนาการศึกษาของท้องถิ่น ๓. ชุมชนท้องถิ่นเกิดความสูญเสียทั้ง เศรษฐกิจและสังคม จากการจัดการศึกษาที่ไม่มีคุณภาพ ส่งผลต่อคุณภาพของเด็กเยาวชน ไทย เกิด เด็กเสี่ยง เด็กออกจาก รร.ก่อนจบภาคบังคับ เด็กนอก


ระบบ พ่อแม่ เสียค่าใช้จ่ายจำนวนมากในการส่งลูกเรียนในเมือง ไม่เกิดความผูกพันกับท้องถิ่น มีแนวโน้มทิ้งท้องถิ่นไปทำงานที่อื่น ดั ง นั้ น การลดความเหลื อ มล้ ำ ทางการศึ ก ษาให้ ท้ อ งถิ่ น จัดการ จึงไม่ใช่เพียงการลดความสูญเสียทางเศรษฐกิจเท่านั้นแต่ เป็นการลดความสูญเสียทางสังคมด้วย หากการศึกษาในท้องถิ่นดี จะช่วยรักษาสังคมไว้ได้และลดปัญหาสังคม สิ่งสำคัญที่สุดคือ การดูแลลูกหลานอย่างดีด้วยน้ำพักน้ำ แรงของคนในชุมชน ทำให้เด็กและเยาวชนผูกพันกับท้องถิ่น รู้บุญ คุณท้องถิ่น รักท้องถิ่น และพร้อมจะทำงานเพื่อท้องถิ่น ส่งผลต่อ ให้ชุมชนท้องถิ่นเกิดความเข้มแข็ง สิ่งที่ สสค. จะทำในปีนี้ ถือเป็นบททดสอบบทแรก ไม่ว่า จะเป็นเรื่องการคัดเลือกครูดี ๒๐,๐๐๐ คน การดูแลเด็กด้อยโอกาส การพัฒนาทักษะอาชีพ เพื่อเพิ่มรายได้ให้เยาวชนและประชาชนใน ท้องถิ่นในจังหวัดนำร่อง ๑๕-๒๐ จังหวัด ซึ่งดำเนินการโดยองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น ๗๐-๑๐๐ แห่ง จะส่งผลต่อเด็ก เยาวชน ประชาชน กว่า ๘๐ ล้านคน นายสมพร ใช้บางยาง ประธานอนุกรรมการ ด้านการคัดเลือกจังหวัดดีเด่น ประจำปี ๒๕๕๔ สิ่งสำคัญของการปฏิรูปประเทศ คือจะที่ต้องให้ความ สำคัญกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การกระจายอำนาจและส่ง เสริมให้ชุมชน และท้องถิ่นเข้มแข็ง ซึ่งที่ผ่านมานั้น ประเทศไทย บริหารประเทศแบบรวมศูนย์อำนาจ ส่งผลให้ปัญหาต่างๆ ไม่ได้ รับการแก้ได้อย่างตรงจุด ตรงประเด็น และทันเวลา ถึงเวลาแล้วที่ เราต้องคืนอำนาจให้แก่ประชาชน ให้ประชาชนเป็นผู้ดูแลและ จัดการตนเอง การศึ ก ษาถื อ เป็ น หน้ า ที่ ที่ ท้ อ งถิ่ น จะต้ อ งพั ฒ นา โดย

ท้องถิ่นในที่นี้ มิได้หมายถึง อบต. อบจ. เทศบาล เท่านั้น แต่ยัง หมายรวมถึงความร่วมมือที่จะเกิดขึ้นกับชุมชนและประชาชนด้วย หลั ก คิ ด สำคั ญ ที่ ใ ห้ ค วามสำคั ญ กั บ ท้ อ งถิ่ น เนื่ อ งจาก องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นองค์กรที่ใกล้ชิดกับประชาชนมาก ที่สุด มีความพร้อมทั้งด้านงบประมาณ คน เครื่องมือ และสิ่ง สำคัญที่สุดคือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นองค์กรที่มาจาก ประชาชน ท้องถิ่นเป็นผู้ที่รู้ปัญหาของตนเองดีที่สุด จึงเป็นเหตุผล ที่ต้องส่งเสริมให้ท้องถิ่นเป็นผู้จัดการและมีบทบาทเป็นผู้รับผิดชอบ ต่อประชาชน ทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยง ไม่ใช่ผู้ปฏิบัติ และด้วยเหตุนี้ แนวคิดของปฏิรูปประเทศไทยจึงเน้นการส่งเสริมให้ชุมชนท้องถิ่น เป็นฐานของประเทศ ภาครัฐจะต้องลดบทบาทตนเองให้น้อยลง และเพิ่มบทบาทของท้องถิ่นให้มากขึ้น รวมถึงให้ความสำคัญกับ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ บางส่วนจากการปาฐกถาพิเศษ “ชุมชนท้องถิ่นกับการปฏิรูปการเรียนรู้”

ศ.นพ.ประเวศ วะสี ประธานคณะกรรมการ สมัชชาปฏิรูปประเทศ ที่ผ่านมาเราพัฒนาการศึกษาด้วยกระบวนการที่ทำโดยชุมชนท้องถิ่นไม่ สำเร็จ เพราะเราสร้างเจดีย์จากยอด ทำให้ไม่เกิดความยั่งยืน ดังนั้น เราจะต้อง สร้างพระเจดีย์จากรากฐาน เพราะหากฐานเจดีย์แข็งแรงจะสามารถรองรับเจดีย์ ให้มั่นคงได้เป็นอย่างดี ฐานเจดีย์นั้นเปรียบเสมือน ชุมชน หากชุมชนแข็งแรงจะ รองรับประเทศไทยให้มั่นคง แข็งแรงได้เช่นเดียวกันด้วย โดยกระบวนการชุมชน เริ่มต้นที่ • ผู้นำหมู่บ้านแต่ละหมู่บ้าน มาร่วมกันเป็นสภาผู้นำชุมชน • สภาผู้นำชุมชนร่วมกันสำรวจข้อมูลของชุมชน • นำข้อมูลที่ได้จากการสำรวจมาจัดทำแผนชุมชนร่วมกัน • นำแผนชุมชนที่จัดทำขึ้น เสนอต่อสภาประชาชน ซึ่งสภาประชาชน ประกอบด้วยประชาชนในชุมชน • ชุมชนยอมรับเพราะเป็นแผนที่เกิดจากตนเอง จะทำให้สามารถร่วม ขับเคลื่อนร่วมกันได้ทั้งชุมชน เมื่อเกิดการขับเคลื่อน ชุมชนก็พัฒนาและดีขึ้นเป็นลำดับ โดยเชื่อมโยง และบูรณาการร่วมกับ ๘ เรื่องข้างต้น คือ เศรษฐกิจ จิตใจ สังคม วัฒนธรม สิ่ง แวดล้อม สุขภาพ การศึกษา และประชาธิปไตย ในด้านการบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมให้จังหวัดจัดการตนเอง (ชุมชน จัดการตนเอง ท้องถิ่นจัดการตนเอง) อาจมีภาคีพัฒนาจังหวัดแบบบูรณาการ หรืออาจเรียกว่า “ประชาคมจังหวัด” โดยผู้นำท้องถิ่นร่วมทำหน้าที่ใน คณะ กรรมการปฏิรูปการเรียนรู้จังหวัด ซึ่งจะทำหน้าที่เชื่อมโยง ประสานงานกับ ประชาคมจังหวัด ทั้งนี้ ประชาคมจังหวัด หรือ ภาคีพัฒนาจังหวัดอย่างบูรณาการ เปรียบ เสมือนศูนย์ประสานงาน ทำหน้าที่ในการสำรวจข้อมูลจังหวัด ร่วมสร้างวิสัยทัศน์ และเป้าหมายร่วมของจังหวัด ประสานงานการปฏิรูปตามเป้าหมาย ประสานการ สนับสนุนจากทั้งภายในและภายนอก ประเมินและติดตามผลการปฏิบัติ เรียนรู้ ร่วมกันและปรับตัว จะทำให้การพัฒนางานดีขึ้นเรื่อยๆ ภาคีพัฒนาจังหวัดอย่างบูรณาการมีองค์ประกอบจากหลายภาคส่วน ดำเนินงานโดยเชื่อมโยงเรื่องที่เกี่ยวข้อง เช่น เศรษฐกิจ โดยมีเป้าหมาย เกิด สัมมาชีพเต็มพื้นที่ ส่งผลให้เกิดแห่งความร่มเย็นเป็นสุข ดังนั้นการศึกษาต้อง เข้าไปร่วม (Engage Education) และการศึกษาจะต้องเป็นส่วนหนึ่งของการ พัฒนาอย่างบูรณาการ การแสวงหาความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยในท้องถิ่น ดึง มหาวิทยาลัยมาร่วมพัฒนาด้วย เนื่องจากมหาวิทยาลัยถือเป็นทรัพยากรเพื่อการ เรียนรู้ และในระหว่างการทำงานควรมีการเรียนรูร้ ว่ มกันในการปฏิบตั ิ (Interactive learning through action) ทำให้เกิดปัญญาร่วม (Wisdom) นำไปสู่ความ

เชื่อถือไว้วางใจกัน ทั้งหมดนี้จะนำไปสู่การเรียนรู้สำหรับคนทั้งมวล (Learning for All) และทุกคน ทุกส่วนมีประโยชน์เพื่อการเรียนรู้ (All for l) นำไปสู่ “การศึกษารักษาทุกโรค” (Education cure All)

๑๑


ชนวน

ปัญญา

รศ.ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ

ส่องแว่นขยาย... พิษ “เหลื่อมล้ำ” สะเทือนโครงสร้างการศึกษา

๑๒


การปาฐกถาเสาหลักของแผ่นดิน ชุด ความเหลื่อมล้ำ และความไม่เป็นธรรมในการเข้าถึงทรัพยากรและบริการพื้นฐาน ของประเทศไทย เป็นกิจกรรมทางปัญญาที่ดำเนินการอย่างต่อ เนื่องมาตั้งแต่ต้นปี ๒๕๕๔ จัดโดย ภาควิชาการวางแผนภาคและ เมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการปาฐกถา ครั้งที่ ๕ ซึ่งจัดเมื่อวันที่ ๘ มิถุนายน ๒๕๕๔ ศ.ดร.ไพฑูรย์ สินลารัตน์ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัย ธุ ร กิ จ บั ณ ฑิ ต ได้ ก ล่าวปาฐกถาในหัวข้อ ความเหลื่อมล้ำและ ความไม่เป็นธรรมทางการศึกษา โดยให้ข้อมูลสถานการณ์ที่ควร ค่าต่อการเผยแพร่อย่างยิ่ง ปัญหาเด็กหลุดระบบมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ข้อมูลส่วนหนึ่งที่สะท้อนปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการ ศึ ก ษาในประเทศไทยว่ า ยั ง มี ค่ อ นข้ า งสู ง โดยขึ้ น กั บ ฐานะทาง สังคม การเงิน อาชีพการงานของพ่อแม่ ผู้ปกครอง และสถานที่ เรียนว่าอยู่ในตัวเมืองหรือชนบท ก็คือ สถานการณ์นักเรียนออก จากระบบโรงเรียน สถิติในปี ๒๕๕๑ พบว่า มีนักเรียนออกจากระบบ ๓.๑ ล้ า นคน จากทั้ ง หมด ๑๔.๓ ล้ า นคน ปี ต่ อ มา ๒๕๕๒ สถานการณ์ยังไม่ดีขึ้น โดยพบว่า นักเรียนออกจากระบบ ๒.๙ ล้านคน จากทั้งหมด ๑๓.๙ ล้านคน ศ.ดร.ไพฑูรย์ คาดการณ์ว่า หากประเทศไทยยังไม่ปรับ วิธีคิดและโครงสร้างการบริหารที่มีลักษณะดึงเด็กเข้าส่วนกลาง โดย “เด็ ก หั ว กะทิ ” ถูก ดึ ง ไปเรี ย นหั วเมื อ งใหญ่ แ ละกรุง เทพฯ ปัญหาเด็กออกจากระบบการศึกษาจะเพิ่มสูงขึ้นในปี ๒๕๕๔๒๕๕๕ พัฒนาการศึกษาไทยเดินหน้าสู่ “ขาลง” ข้ อ มู ล ด้ า นผลการประเมิ น คุ ณ ภาพการศึ ก ษา พบว่ า พัฒนาการของการศึกษาไทยลดลงทุกปี และแนวโน้มยังคงเป็น เช่นนี้ต่อไป ขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านอย่าง สิงคโปร์ ญี่ปุ่น และ เกาหลีใต้ พัฒนาขึ้นทุกปี ทั้งนี้ ข้อมูลจากการสำรวจจังหวัดที่มีพัฒนาการด้านการ ศึกษาก้าวหน้าทีส่ ดุ ของไทย พบว่า ๕ อันดับแรก ได้แก่ กรุงเทพฯ ชลบุรี สิงห์บุรี นนทบุรี และสงขลา ส่ ว นจั ง หวั ด ที่ รั้ ง ตำแหน่ ง พั ฒ นาการศึ ก ษา ๕ อั น ดั บ สุ ด ท้ า ย ได้ แ ก่ อุ บ ลราชธานี ตาก บุ รี รั ม ย์ นราธิ ว าส และ แม่ฮ่องสอน

ไม่เรียนต่อเพราะ “ทุนไม่ถึง” อี ก ประเด็ น หนึ่ ง ที่ ศ.ดร.ไพฑู ร ย์ ชี้ ใ ห้ เ ห็ น ในฐานะ สัญญาณของพิษ “ความเหลื่อมล้ำ” ทางเศรษฐกิจและสังคมที่ส่ง ผลกระทบต่อโอกาสทางการศึกษา ก็คือ แนวโน้มการเรียนต่อ ระดับปริญญาตรี ที่พบว่า กำลังก้าวไปในทิศทางเดียวกับการ ศึกษาขั้นพื้นฐาน และคนที่เข้าสู่การศึกษาระดับปริญญาตรีมีแนว โน้มลดลงเรื่อยๆ เพราะต้องผ่านการสอบหลายครั้ง และเผชิญ การแข่งขันสูง หากไม่มีเงินเรียนกวดวิชา หรืออยู่ในสถาบันการ ศึ ก ษาชื่ อ ดั ง ที่ เ ป็ น แหล่ ง รวมครู ที่ มี คุ ณ ภาพ ก็ จ ะต้ อ งหลุ ด จาก ระบบการศึกษา เหลื่อมล้ำลึกซึ้งไปถึงแวดวง “ครู” ศ.ดร.ไพฑูรย์ ชี้ข้อเท็จจริงอีกแง่มุมหนึ่งที่สะท้อนสภาพ ความเหลื่อมล้ำ และนำไปสู่ช่องโหว่ในการกระจายโอกาสการ ศึกษาที่มีคุณภาพสู่เยาวชนอย่างเท่าเทียมกัน นั่นคือ เรื่องของ ตำแหน่งทางวิชาการ ซึ่งเป็นเครื่องบ่งบอกว่า ครูหรืออาจารย์ผู้ สอนมีการพัฒนาศักยภาพและความรู้ใหม่ๆ แค่ไหน โดยนำเสนอ ว่า ปัจจุบัน ผู้สอนที่มีตำแหน่งทางวิชาการระดับศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ มากกว่า ร้อยละ ๗๐ อยู่ในมหาวิทยาลัยของรัฐในเขตกรุงเทพฯ และหัวเมืองใหญ่ ที่ เหลื อ ร้ อ ยละ ๓๐ กระจายอยู่ ใ นมหาวิ ท ยาลั ย เอกชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล และ มหาวิทยาลัยราชภัฏ ซึ่ง ถือว่าเป็นจำนวนที่น้อยมาก นี่เป็นเพียงบางแง่มุมของความ “เหลื่อมล้ำ” ที่สั่นสะเทือนโครงสร้างการศึกษา และส่งผลกระทบมาถึง “ปัญญา” ของลูกหลานไทย ถือเป็นโจทย์อันท้าทาย ที่ไม่อาจนิ่งเฉยได้...

ติดตามข้อมูลจาก การปาฐกถาเสาหลักของแผ่นดิน ชุด ความเหลื่อมล้ำและความไม่เป็นธรรมในการ เข้าถึงทรัพยากรและบริการพื้นฐานของประเทศไทย ได้ที่เว็บไซต์ www.cuurp.org/thaiequity

๑๓


สคส.

ขอขยาย

กองบรรณาธิการ

คิด “ดับไฟ” ต้องใช้ “ปัญญา”

๑๔

เมื่อวันที่ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๕๔ ณ ห้องประชุมกระทรวงศึกษาธิการ ได้มีการ ลงนาม ข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการเพื่อการพัฒนาการศึกษาในเขตพัฒนา พิ เ ศษเฉพาะกิ จ จั ง หวั ด แดนภาคใต้ ระยะที่ ๒ ระหว่ า งกระทรวงศึ ก ษาธิ ก าร สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้ และคุณภาพเยาวชน (สสค.) ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ สำนักงาน กองทุน สนั บสนุ นการวิจั ย (สกว.) สำนั กงานปลั ดกระทรวงศึ กษาธิ การ สำนั กงาน เลขาธิการสภาการศึกษา และ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา โดยการดำเนิน งานดั ง กล่ า วอยู่ ภ ายใต้ โครงการความร่ ว มมื อ เพื่ อ พั ฒ นาการศึ ก ษาในจั ง หวั ด ชายแดนภาคใต้ระยะที่ ๒ พ.ศ.๒๕๕๔-๒๕๕๖ ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร รองประธานคณะกรรมการส่งเสริมสังคมแห่งการ เรียนรู้และคุณภาพเยาวชนคนที่ ๒ กล่าวว่า ภารกิจหนึ่งที่สำคัญของ สสค. คือ การ แก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ซึ่งมีผู้ประสบปัญหานี้อยู่ถึง ๕ ล้านคน โดย ส่วนหนึ่งในจำนวนนั้น ได้แก่ กลุ่มเด็กในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่มีการประมาณการณ์ ไว้ว่า ตั้งแต่ปี ๒๕๔๗ จนถึงปัจจุบัน มีจำนวนเด็กกำพร้าในพื้นที่ ๓ จังหวัดชายแดน ภาคใต้ มากถึง ๕,๑๑๑ ราย และยังมีเด็กอีกจำนวนมากเสี่ยงต่อการไม่ได้เรียนต่อ เพราะต้องดิ้นรนหาเลี้ยงชีพ อีกทั้งยังเสี่ยงต่อการถูกชักชวนให้กระทำผิดในลักษณะ ต่างๆ นอกจากนี้ ข้อมูลของ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) พบว่า ที่ผ่านมามีเด็กที่ออกกลางคันก่อนจบการศึกษาภาคบังคับ (ม.๓) ประมาณ ๔๐,๐๐๐ คน และอีก ๑๐,๐๐๐ คน เป็นเด็กกลุ่มเสี่ยงที่ออกกลางคันในแต่ละปี “ในความร่วมมือเพื่อการพัฒนาการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ครั้งนี้ สสค. มุ่งเน้นการทำงานในกลุ่มเด็กนอกระบบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเฉพาะโจทย์ การวิจยั ควบคูก่ บั การทำงานในพืน้ ทีเ่ รือ่ งการลดความเหลือ่ มล้ำและการช่วยเหลือเด็กด้อย โอกาสนอกระบบการศึกษาและเด็กกลุ่มเสี่ยงในระบบการศึกษา” ดร.กฤษณพงศ์ กล่าว ดร.อมรวิชช์ นาครทรรพ ที่ปรึกษาด้านวิชาการ สสค. กล่าวว่า ปัญหา ความไม่สงบชายแดนภาคใต้นั้นไม่สามารถดับได้ด้วยปืน แต่ดับได้ด้วยโอกาสและความ เท่าเทียมทางการศึกษา ทั้งนี้ ข้อค้นพบจากชุดโครงการวิจัยของ สกว. ระหว่างปี ๒๕๔๗-๒๕๕๐ ชี้ว่า การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ในสามจังหวัดภาคใต้ต้องสอดคล้องกับ วัฒนธรรมท้องถิ่น โดยครอบคลุมใน ๓ ประเด็นคือ คุณภาพการศึกษา การส่งเสริม ทักษะอาชีพ และ การเรียนศาสนาอย่างพอเพียง โดยไม่เน้นความรู้เชิงวิชาการ แต่มุ่ง ทำให้เกิดผลกระทบต่อการทำงานในพื้นที่และยกระดับทักษะคุณภาพชีวิต “สสค. มองว่า โครงการนี้จะเป็นตัวต่อสำคัญในการช่วยให้เกิดความสงบสุขใน พื้นที่ ๓ จังหวัดภาคใต้ ทำให้เกิดการสร้างนวัตกรรม และการขยายผลเครือข่ายในพื้นที่ ทำให้กระบวนการศึกษานำมาซึ่งความเข้มแข็งของชุมชนได้อย่างผาสุขต่อไป” ดร.

อมรวิชช์ กล่าวในตอนท้าย


“หนึ่งภาพ เหนือกว่า (สอน) พันคำ” สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการ เรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) ร่วม Shutterism.com เปิดนิทรรศการภาพถ่าย เพื่อสังคมแห่งการเรียนรู้ (Learning & Sharing): จาก “ภาพถ่าย” สู่ “สื่อการ เรียนรู้ไร้ขีดจำกัด” พร้ อ มมอบรางวั ล ให้ ผู้ ป ระกวด ภาพถ่ายสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ทั้งหมด ๒๖ รางวัล และร่วมแลกเปลี่ยนความคิด ในหัวข้อ “พลังภาพ สือ่ และสารคดีเพือ่ การ เรียนรู”้ ณ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อิน ทปัญโญ เมื่อเดือนพฤษภาคม ที่ผ่านมา คุ ณ สุ ช านนท์ กิ ติ พู ล วงษ์ ว นิ ช ผู้ที่ได้รับรางวัล “ป๊อบปูล่าโหวต” จาก ภาพที่มีชื่อว่า “ก่อนออกพรรษา” กล่าวว่า ภาพนี้ ถ่ า ยตอนไปเที่ ย วที่ อ.เชี ย งคาน จ.เลย ในช่วงวันก่อนออกพรรษา ภาพที่ ถ่ายมาเป็นภาพชาวบ้านกำลังต่อนั่งร้าน โครงเหล็ ก ทำป้ า ยไฟเขี ย นว่ า “ออก พรรษา” เพื่อใช้ในงาน โดยส่วนตัวคิดว่า เป็นภาพที่สะท้อนแง่มุมหลากหลาย ทั้ง ด้านวัฒนธรรม ความเป็นอยู่ และความ ตั้งใจของมนุษย์ในการทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง คุณวินนิวัตร ไตรตรงสัตย์ ผู้ที่ ได้ รั บ รางวั ล ลำดั บ ที่ ๓ ในชื่ อ ภาพ “อนาคตสังคมแห่งชุมชน” กล่าวว่า ภาพ ที่ ส่ ง ประกวดครั้ ง นี้ มุ่ ง สะท้ อ นให้ เ ห็ น ถึ ง วัฒนธรรมความเป็นอยู่ และการใช้ชีวิต ของคนในชุมชนบริเวณศาลเจ้าตลาดบ้าน ใหม่ อ.แปดริ้ว จ.ฉะเชิงเทรา ซึ่งดูเป็น เรื่องราวปกติที่เด็กๆ มักจะรวมตัวกันเพื่อ สนทนาหรื อ ทำกิ จ กรรมกันยามว่าง แต่ อาจจะเป็นมุมมองเล็กๆ น้อยๆ ที่สังคม ไทยไม่ได้สังเกต โดยเฉพาะเด็กที่นั่งเล่นก็ ทำให้ภาพมีเรื่องราว สื่อถึงสังคมแห่งการ เรียนรู้ได้ชัดเจน

คุณเกรียงไกร ไวยกิจ หนึ่ ง ใน คณะกรรมการตัดสินภาพถ่าย กล่าวถึง บทบาทช่างภาพในการรับใช้สังคมว่า ภาพ ที่ถูกมองผ่านเลนส์ไม่ได้เป็นเพียงภาพที่ผู้ ถ่ า ยมองเห็ น แต่ เ ป็ น สิ่ ง ที่ ผู้ ถ่ า ยภาพ ต้ อ งการจะถ่ า ยทอดผ่ า นจิ ต สำนึ ก และ กระบวนการคิ ด วิ เ คราะห์ ในฐานะช่ า ง ภาพคนหนึ่ ง จึ ง มี ค วามตระหนั ก ถึ ง การ ปลู ก จิ ต สำนึ ก ที่ ดี ต่ อ เพื่ อ นมนุ ษ ย์ ผ่ า น ภาพถ่าย ว่าทำอย่างไรให้ผู้คนดูภาพแล้ว สามารถอยู่ร่วมกันบนโลกนี้ได้ ช่วยสร้าง ให้ มี จิ ต สำนึ ก ที่ คิ ด ถึ ง คนอื่ น ๆ มากกว่ า คิดถึงแต่ความต้องการของตัวเองเป็นหลัก หากเกิดภาวะดังกล่าว ทั้ง “ภาพ” และ “ช่างภาพ” จะช่วยกันรับใช้สังคมได้อย่าง บริสุทธิ์ใจ อาจารย์ ส รรชั ย หนองครุ ด ผู้ ด ำเนิ น โครงการยุ ว วิ จั ย ประวั ติ ศ าสตร์ ท้องถิ่น เชื่อมโยงจากเรื่องภาพถ่ายไปสู่ การใช้ภาพเพื่อจัดกระบวนการเรียนรู้ให้แก่ เยาวชนว่า การใช้ภาพถ่าย หนังสั้น หรือ สื่ อ การเรี ย นรู้ ด้ า นไอที อื่ น ๆ เป็ น สื่ อ สามารถสร้ า งการเรี ย นให้ แ ก่ เ ด็ ก และ เยาวชนได้ ง่ า ยกว่ า การเรี ย นในหนั ง สื อ หรือการวิจัย ในสังคมยุคไอที “การเรียนรู้ คู่คมเลนส์” จึงเป็นสิ่งที่ช่วยต่อยอดการ เรียนรู้ที่กระทำผ่านประสบการณ์จริง ไปสู่ การเปลี่ยนแปลงได้ ยกตัวอย่างเช่น การ มอบหมายให้ทำหนังสารคดีสั้น ถ้าเด็กไม่ ตกผลึกทางความคิด เขาก็จะไม่สามารถ เล่าเรื่องได้ อาจารย์ ส รรชั ย ชี้ ว่ า การใช้ สื่ อ ด้านภาพจัดกระบวนการเรียนรู้สามารถนำ ไปสู่ ผ ลดี ไ ด้ ถึ ง ๓ แง่ มุ ม ได้ แ ก่ หนึ่ ง เนื้อหานำพาสู่กระบวนการคิดวิเคราะห์ได้ ตั้ ง แต่ ก ารตั้ ง คำถาม การวิ เ คราะห์

“ก่อนออกพรรษา”

“อนาคตแห่งสังคมชุมชน”

สังเคราะห์ เก็บข้อมูลที่ได้มา ทำให้เด็ก เรียนรู้ที่จะคิดและพยายามหาคำตอบด้วย ตัวเอง สอง ส่งเสริมการทำงานเป็นหมู่ คณะ ทำให้เกิดการเรียนรู้ที่ไม่ได้คิดแต่จะ เอาตัวเองรอด และ สาม ครูและเพื่อนครู ได้ปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ ผ่านการสร้าง การเรียนรู้ให้สอดคล้องความต้องการของ ศิษย์ ภาพสวยๆ ที่ชนะการประกวด สสค. ได้จัดแสดงไว้ที่หอจดหมายเหตุ พุ ท ธทาส อิ น ทปั ญ โญตลอดเดื อ น พฤษภาคม หากไม่ ส ะดวกไปชมใน สถานที่ จ ริ ง คลิ ก เข้ า ชมทางหน้ า จอ ได้ที่ คลังภาพเพื่อการเรียนรู้ http:// apps.qlf.or.th/gallery และ Facebook : learningsharing

๑๕


หัว ชนวน ทีมงาน สสค.

ตามไปดู…ชั้นเรียนมัธยมก้าวไกลทั่วไทย “ชนวนชวนตะลุย” ฉบับนี้ อัดแน่นไปด้วยข่าวดี...คลิปเด่น ที่ส่งตรงจากชั้นเรียนมัธยมทั้ง ๔ ภาค ผลัดกันบอกเล่าข่าวคราวความ ก้าวหน้า อันเป็นดอกผลจาก ชุดโครงการส่งเสริมนวัตกรรมระดับ มัธยมศึกษา ครั้งที่ ๑/๒๕๕๓ ที่ สสค. สนับสนุนทุนทั้งสิ้น ๒๒๖ โรงเรียน และเริ่มดำเนินการตั้งแต่ปลายปี ๒๕๕๓ เป็นต้นมา ตามไปดูกันเลย โรงเรียนวัดดอนทรายแก้ว จังหวัดชุมพร ด้ ว ยความตั้ ง ใจในการพั ฒ นา กระบวนการเรียนรู้ไปสู่ผู้เรียนให้บรรลุเป้า หมาย คื อ สามารถแก้ ปั ญ หาในชี วิ ต ประจำวัน และสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ อย่างมีความสุข โรงเรียนวัดดอนทราย แก้ว จังหวัดชุมพร จึงเดินหน้าโครงการ “การพัฒนาทักษะชีวิตจากโครงการพัฒนาพื้นที่หนองใหญ่ตาม พระราชดำริ” ในการสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้ให้แก่เด็กนักเรียน คุณครูกาญจนา สิบพลาง ผู้รับผิดชอบโครงการ กล่าวว่า การดำเนินการพัฒนาทักษะชีวิตจากศูนย์การเรียนรู้ตามศาสตร์พระ ราชาโครงการพัฒนาพื้นที่หนองใหญ่ตาพระราชดำริ จังหวัดชุมพร ถือ เป็นการให้นักเรียนได้เรียนรู้จากแหล่งการเรียนรู้ที่มีคุณค่าในการแก้ไข ปัญหาน้าท่วมของในหลวงให้กับชาวจังหวัดชุมพร อีกทั้งยังให้มีการ พัฒนาพื้นที่หนองใหญ่ให้เป็นแหล่งการเรียนรู้ โดยใช้ภูมิปัญญาชาว บ้านช่วยแก้ไขสภาพดิน จัดพื้นที่ว่างเปล่าให้เกิดประโยชน์ตามแนว ทฤษฎีปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเมื่อนักเรียนได้สัมผัส รับรู้ มีจิต สาธารณะต่อสังคม รู้จักช่วยเหลือเกื้อกูลกัน รู้คุณค่าของการอนุรักษ์ ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งเอื้อประโยชน์ให้กับมนุษย์อย่างมากมาย มหาศาล โรงเรียนบ้านอีเซ (คุรุราษฎร์วิทยา) จังหวัดศรีสะเกษ คุณครูพีรชัย วงษ์เลิศ ผู้รับผิด ชอบ โครงการการเสริมสร้างทักษะ กระบวน-การเรียนรู้ด้วยโครงงาน กั บ แ ห ล่ ง เ รี ย น รู้ ใ น ท้ อ ง ถิ่ น โรงเรียนบ้านอีเซ(คุรุราษฎร์วิทยา) รายงานว่ า ภายหลั ง จากที่ ไ ด้ รั บ ทุ น จาก สสค. ก็ได้จัดสัมนาวิชาการ โดย มี คณะครู ผู้นำนักเรียน ผู้นำชุมชน ปราช์ญชาวบ้าน เข้าร่วมวางแผน

๑๖

ในประเด็นสำคัญ อาทิ จะทำอย่างไรเพื่อให้เด็กและเยาวชนสืบทอด วัฒนธรรมของชุมชนรวมถึงเกิดสำนึกรักถิ่นฐานบ้านเกิด รวมถึงขั้น ตอนการถ่ายทอดวัฒนธรรม อาชีพท้องถิ่น และองค์ความรู้ที่มีอยู่ใน ชุมชนสู่นักเรียน คุณครูพีรชัย เล่าต่อว่า ที่ประชุมซึ่งประกอบไปด้วยทุกภาค ส่วน อาทิ นายก อบต.อีเซ กำนันตำบลอีเซ กรรมการสถานศึกษา คณะครูพร้อมชุมชนประชุม ที่เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ ได้ประเด็นการ เรียนรู้ที่จะต้องสืบค้นในหัวข้อหลัก ได้แก่ ภูมิปัญญาท้องถิ่น แหล่ง เรียนรู้ที่อยู่ในท้องถิ่น อาชีพที่มีในท้องถิ่น และที่นักเรียนอยากทำมี อะไรบ้าง และสุดท้าย คือ เรื่องของบุคคลสำคัญในท้องถิ่นตำบลอีเซ “หากได้นำรูปแบบการจัดกิจกรรมเรียนรู้สู่โครงงานให้ครู แต่ละกลุ่มสาระร่วมกันจัดกระบวนการเรียนรู้เช่นนี้ด้วยแล้ว โรงเรียน บ้านอีเซ คงจะเป็นแหล่งตำราของท้องถิ่น ให้ผู้คนรุ่นหลังๆ ได้สืบค้น เรื่องราวดีๆ ต่อไปครับ” คุณครูพีรชัย กล่าวสิ่งที่หวังในใจ...ขอลุ้นให้ ถึงฝั่งฝันโดยราบรื่น โรงเรียนบ้านฝั่งตื้น จ.เชียงราย โครงการห้ อ งสมุ ด มี ชี วิ ต ครอบครั ว อริ ย ะชน (Mini Living Library Family) เกิดขึ้น ที่ นี่ เ พื่ อ ส่ ง เสริ ม นิ สั ย รั ก การอ่ า น และต้ อ งการให้ เ ยาวชนในวั น นี้ ก ล า ย เ ป็ น พ่ อ แ ม่ ที่ เ ข้ า ใ จ กระบวนการเรี ย นรู้ โ ดยใช้ ทั ก ษะ การอ่านอบรมสั่งสอนลูก คุณครูสมศรี ทุ่งสงค์ ในฐานะผู้รับผิดชอบโครงการ กล่าวว่า เพื่อเสริมสร้างนิสัยรักการอ่านหนังสือของนักเรียนลดลง ในยุคโลกา ภิวัฒน์ อยากให้ผู้ปกครองและชุมชนมีส่วนร่วมในการสร้างนิสัยรักการ อ่าน ให้แก่ลูกหลาน เพื่อสร้างนิสัยใฝ่รู้ให้ยั่งยืน และการจัดกิจกรรม ห้องสมุดมีชีวิตครอบครัวอริยะชน ก็เป็นการสร้างสรรค์โลกของการ เรียนรู้ใหม่แก่ เยาวชนและสมาชิกทุกคนในหมู่บ้าน เขตบริการของ โรงเรียน สสค. ขอชื่นชมและยินดีด้วยที่ห้องสมุดมีชีวิตครอบครัว อริยะชน จากโรงเรียนบ้านฝั่งตื้น ได้คัดเลือกให้ได้รับรางวัลรอง ชนะเลิศอันดับ ๑ ภายหลังเข้าร่วมอบรมและประกวดห้องสมุด TK park Living Library Award ครั้งที่ ๓


โรงเรียนฟากท่าวิทยา จังหวัดอุตรดิตถ์ กิจกรรมผ้าไทย โครงการโรงเรียนนิยมไทย ของ โรงเรียน ฟากท่าวิทยา จังหวัดอุตรดิตถ์ จัดพานักเรียนที่เข้าร่วมโครงการศึกษา ดู ง านในพื้ น ที่ เ กี่ ย วกั บ การทอผ้ า พื้ น เมื อ ง โดยมี จุ ด มุ่ งหมายเพื่อให้ เยาวชนได้เรียนรูข้ นบธรรมเนียม วัฒนธรรมไทย ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ที่ ผ่ า นมา และส่ ง ภาพมาบอกเล่ า แทนถ้ อ ยคำว่ า สนุ ก และคึ ก คั ก กั น ขนาดไหน ...รอติดตามกันต่อไปว่า ผลพวงจากการศึกษาดูงานครัง้ นี้ จะต่อยอดไปสู่อะไรกันบ้าง โรงเรียนบ้านอินทร์แปลง จ.สกลนคร อาจารย์สืบศักดิ์ สวัสดิ์ คุณครูผู้รับผิดชอบโครงการการเรียนการ สอนหุ่ น ยนต์ บั ง คั บ มื อ จากโรงเรี ย นบ้ า นอิ น ทร์ แ ปลง จ.สกลนคร รายงานว่ า ขณะนี้ ท างได้ ข ยายผลฝึ ก สอนไปยั ง โรงเรี ย นมั ธ ยม

วานรนนิวาส พร้อมกับกอดคอกันคว้ารางวัลรางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ ๒ มาได้ จากการแข่งขันโครงการหุ่นยนต์มาด้วย

นอกจากนี้เด็กที่เข้าร่วมโครงการ ในโรงเรี ย นบ้ า นอิ น ทร์ แ ปลงยั ง ได้ รั บ รอง ชนะเลิ ศ อั น ดั บ ที่ ๑ โครงงานหุ่ น ยนต์ ระดับประถมศึกษา และรับรางวัลชนะเลิศ หุ่ น ยนต์ ต่ อ สู้ ระดั บ มั ธ ยมศึ ก ษาตอนต้ น ก่ อ นที่ จ ะได้ รั บ เลื อ กเป็ น ตัวแทนทีมชาติไทยเข้าร่วมการแข่งขัน ระดับนานาชาติ ที่ประเทศจีน ประมาณเดือนสิงหาคมนี ้ “ครูอย่างเรา ถ้าให้ทำเอกสารทางวิชาการเราไม่ค่อยถนัดสัก เท่าไร แต่ถ้าเป็นการสอนการปฏิบัติ เราถนัด ...จะทำให้เต็มที่ พวกเรา เหมือนอยู่แนวหน้าในการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ ยังไงก็จะปฏิบัติ หน้าที่ให้ดีที่สุด เพื่อเด็กไทยของเรา เมืองไทยของเรา” คุณครูสืบศักดิ์ กล่าวทิ้งท้ายด้วยถ้อยคำที่เราขอปรบมือให้ดังๆ ฉบั บ หน้ า เรามี ส กู้ ป เจาะลึ ก โครงการนี้ ม าเล่ า อย่ า ง ละเอียด สนุกมากๆ โปรดติดตาม

คลิป เด็ด...จ.บคุรลีรัมิกย์ ด่วน!

ขึ้นเรื่อยๆ และสามารถใช้ โรงเรียนภัทรบพิตร ข้ามามีบทบาทต่อชีวิตประจำวันมาก เ ่ ที สาร อ ่ ื ารส ละก ศแ นเท ารส ส ลยี ารจัดการ เพราะเห็นความสาคัญของเทคโนโ ัมย์ จึงได้ใช้ โครงการพัฒนาระบบก ร ี ร ุ จ.บ ร ต ิ รบพ ท ั นภ ย เรี โรง จาก ณครูบรรลุ ชูช่อ รงเรียน เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ที่สาคัญ คุ งนวัตกรรมการเรียนรู้ให้แก่เด็กๆ ในโ า ้ อง ยสร ว ่ มาช S) (LM ย า ข่ อ รื บเค ู้เรียนให้สูงขึ้น อีกทั้งบริบทโดยทั่วไปข องผ นข ย รี เรียนการสอนบนระบ ารเ างก ท ์ ธิ ฤท ม สั ผล บ ั ระด เครื่องมือที่ช่วยยก ความรู้ด้าน คุณครูบรรลุ กล่าวว่า โครงการนี้เป็น ์และด้านบุคลากรครูที่ผ่านการอบรม กรณ ป ุ อ ดุ ส นวั า ด้ ง ้ ทั อน ารส นก ย เรี การ ด มาช่วยในการจั หวัดบุรีรัมย์ เพื่อที่จะยก โรงเรียนมีความพร้อมในการนำ ICT ย ให้เป็นต้นแบบของโรงเรียนในจัง า ข่ อ รื บเค ระบ บน อน ารส นก ย เรี การ จัด อช่วยในการพัฒนา ICT มาทุกคน จึงต้องพัฒนาระบบการ ให้สูงขึ้น โดยอาศัย ICT เป็นเครื่องมื ย์ ม ั ร ี ร บุ ด หวั ง จั น ่ ี นท ย เรี โรง ของ อน .th และคลิกอ่าน ระดับคุณภาพการจัดการเรียนการส ัทรบพิตรได้ที่ www.phatthara.ac นภ ย รี รงเ โ ์ ไซต บ เว็ ย า ข่ อ รื นเค า ่ นผ ีย ้าเว็บไซต์ สสค. คลิกเข้าไปดูรูปแบบการพัฒนาบทเร บรรลุ ชูช่อ ได้ในระบบสมาชิกบนหน ครู ณ คุ ของ ” อน ารส นก ย รี ารเ นาก ฒ พั บทความ “Best ด้านการใช้ ICT เพื่อ

พบว่า บ่อย รรณบุรี ห้ คุณครูเจษฎา เนตรสว่างวิชา ทำใ โรงเรียนทุ่งแฝกพิทยาคม จ.สุพ า นม า ่ ผ ่ ที อน ารส ากก จ ์ ารณ บก ้ แต่ประส ์และเครื่องมือที่ใช้ใน การทดลองนับเป็นหัวใจในการเรียนรู ทักษะไปสู่องค์ความรู้ได้ อีกทั้งอุปกรณ จาก งผล มโย อ ่ ชื รถเ ามา ส ่ ะไม ีสาห วแล ยนล้มเหล อบการสาธิตเทคนิคปฏิบัติการเคม ระก อป โ ี ครั้งที่การทดลองในวิชาเคมีของนักเรี ด วี อน รส กา อ ่ สื นา ฒ ั รพ อื่น จึงริเริ่ม โครงกา ้ในวิชาเคมีให้ มี การทดลองก็มีอัตรายมากกว่าในสาขา อที่จะช่วยพัฒนากิจกรรมการเรียนรู งมื อ ่ ื งคร า ร้ ใจส ง ้ ตั า วว่ า ่ กล ฎา โดยคุณครูเจษ ่งโครงการนี้ไม่เพียงจะ รับนักเรียนในระดับมัธยมศึกษา าสตร์ให้สูงขึ้นได้อย่างเป็นรูปธรรม ซึ ยาศ ท นวิ ย รี ารเ างก ท ์ ธิ ฤท ม สั ผล และ กิจกรรมที่ ทดลอง ครูผู้สอนก็จะได้เรียนรู้รูปแบบการจัด ผล ประสิทธิภาพ เพื่อยกระดับทักษะการ น ป็ เ ุ เหต น ็ งเป า ย่ อ ห้ ใ ต์ ก ยุ ประ งสนุกสนานและนำไป ช่วยให้นักเรียนได้เรียนรู้วิชาเคมีอย่า เรียนวิทยาศาสตร์ด้วย ช่วยให้เด็กๆ ได้เป็นส่วนหนึ่งกับการ ที่ www.qlf.or.th ่องการเตรียมละลายสารมาตรฐานได้ เรื ลอง ทด การ ต ธิ อสา โ ี ด วิ ป ิ คล ชม ก ิ คล ๆ ที่นี่... ่องไหนเด่น เราจะขยายข่าวให้ฟรี ส่งข่าวและคลิปมาแบ่งปันกันที่ เรื

๑๗


ชนวน

นวัตกรรม

วราภรณ์ พันธุ์พงศ์

“แคนดง”...แคนดู เส้นทางสร้างแหล่งเรียนรู้งอกได้! ช่ ว งเดื อ นธั น วาคม ๒๕๕๓ จนถึ ง มกราคม ๒๕๕๔ บรรยากาศภายในห้ อ งเรี ย นวิ ช าวิ ท ยาศาสตร์ ข องนั ก เรี ย น โรงเรียนแคนดงพิทยาคม จังหวัดบุรีรัมย์ มีชีวิตชีวาขึ้นมา ทั น ที เมื่ อ เด็ ก ๆ ได้ เ รี ย นรู้ ห ลั ก ทฤษฎี ท างวิ ท ยาศาสตร์ ผ่ า น กระบวนการทดลองที่เกี่ยวข้องกับเรื่องราวใกล้ตัว ไม่ว่าจะเป็น ไข่เค็ม ถั่วงอก เส้นไหม กระติบข้าว เหนียว หนังสติ๊ก สบู่สมุนไพร ฯลฯ ก็กลายเป็นของสนุกใน ชั้นเรียนได้! แคนดงพิทยาคม เป็นชื่อสถานศึกษาในอำเภอแคนดง จังหวัดบุรีรัมย์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๓๒ เปิดสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ ถึง ๖ มีจำนวน นักเรียน ๑,๐๑๒ คน และครู ๓๘ คน อ.สุ พั ต รา แพงภู ง า เป็ น ผู้ ริ เ ริ่ ม ชั ก ชวนเพื่ อ นครู วิทยาศาสตร์ที่มีอยู่ทั้งสิ้น ๑๐ คนในโรงเรียนแห่งนี้ ให้มาร่วมกัน พัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ภายใต้ โครงการที่ชื่อว่า “บทปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ที่สอดแทรกภูมิ ปัญญาท้องถิ่น” ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจาก สำนักงานส่งเสริม สังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) “ก่อนเสนอโครงการเราก็มาช่วยกันคิดว่า จะสอนยังไงให้ สอดคล้องกับ พ.ร.บ.การศึกษาปี ๒๕๔๒ ให้ประชาชนชาวบ้าน หรือชุมชนมีส่วนร่วมในการสอนวิชานี้ และเอาภูมิปัญญาชาวบ้าน มาออกแบบบทปฏิบัติการสำหรับนักเรียน” อ.สุพัตรา กล่าว ที่ผ่านมานักเรียนแคนดงพิทยาคมมักไม่มีโอกาสสัมผัสบท ปฏิบัติการทดลองวิทยาศาสตร์ เนื่องจากครูไม่ค่อยได้สอน ซึ่ง

๑๘

ส่วนใหญ่เกิดจากความไม่สันทัดและขาดประสบการณ์ มักสอน ตามหลักทฤษฎีมากกว่า เรียกกันว่า “แล็บแห้ง” แต่โครงการนี้ เปิดโอกาสให้กลุ่มครูผู้สอนวิชาวิทยาศาสตร์มีโอกาสศึกษาแนวคิด และรูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยบทปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ที่ สอดแทรกภูมิปัญญาท้องถิ่นร่วมกัน ก่อนจะช่วยกันสร้างและ พัฒนาบทปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ดังกล่าวจำนวน ๑๐ บท ตัวอย่างบทปฏิบัติการวิทยาศาสตร์หัวข้อหนึ่ง ก็คือ การ ย้อมเส้นไหมจากสีธรรมชาติ ก่อนลงมือปฏิบัติการทดลอง เด็กจะได้รับประเด็นคำถาม ก่อนว่า ความเป็นกรดหรือด่างส่งผลต่อคุณภาพของสีย้อมเส้น ไหมอย่างไรบ้าง จากนั้น เด็กจะได้รับความรู้วิธีการย้อมสีเส้นไหม โดยการเตรียมน้ำสำหรับย้อมซึ่งได้จากส่วนประกอบจากพืชหรือ สัตว์ เช่น แก่นเข ครั่ง ดอกอัญชัน และต้นคราม ขั้นตอนต่อไปคือ การต้มเส้นไหม และย้อมสีไหม ซึ่งใน ขั้นตอนนี้จะต้องเพิ่มสารละลายที่มีความเป็นกรดหรือด่างใส่ลงไป ด้วย เช่น น้ำมะกรูด น้ำส้มสายชู ปูนแดง ปูนกินหมาก แล้วครู จะให้เด็กสังเกตผลการทดลองที่ได้ว่า เส้นไหมที่ได้จากการย้อมสี เดียวกันแต่ใส่สารละลายต่างชนิดกันลงไป จะให้สีของเส้นไหมที่ แตกต่างกันอย่างไร หลังจากลงมือทำบทปฏิบัติการวิทยาศาสตร์แต่ละครั้ง เสร็จแล้ว เด็กๆ จะมีโอกาสเขียนคำอธิบายผลการทดลอง ก่อน จะสรุ ป ผลการทดลอง และตอบคำถามภายหลั ง การทดลอง พร้อมกับทำแบบทดสอบความเข้าใจด้วย ดังที่ครูผู้สอนมุ่งให้เด็ก ได้ฝึกทักษะการสื่อสารทั้งการพูดและการเขียน


จดจ่อกับบทปฏิบัติการ “กระติบข้าวเหนียว จากวัสดุในท้องถิ่น”

โฉมหน้า “ถั่วงอกไห แคนดง แคนดู”

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของเด็กหลังจาก ได้เรียนผ่านบทปฏิบัติการฯเหล่านี้มีระดับสูงกว่าก่อนเข้าเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕ นอกจากนี้จากการประเมิน ผลของครูผู้สอน ยังพบว่าบทปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ทั้ง ๑๐ หัวข้อมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ทั้งหมด บทปฏิบัติการฯบางเรื่อง เช่น “ถั่วงอกแคนดงแคนดู” ครูได้เชิญเจ้าของกิจการการเพาะถั่วงอกในไห (ถั่วงอกไห แคน ดงแคนดู) หนึ่งในผลิตภัณฑ์โอท็อปประจำอำเภอแคนดง เข้ามา เป็นวิทยากรสาธิตการเพาะเมล็ดถั่วให้โตเป็นถั่วงอกในไห อันช่วย ทำให้เด็กๆ สนใจมากขึ้น สิ่ ง ที่ จ ะดำเนิ น ต่ อ ไปในภาคเรี ย นแรกของปี ก ารศึ ก ษา ๒๕๕๔ ก็ คื อ การพั ฒ นาและหาประสิ ท ธิ ภ าพบทปฏิ บั ติ ก าร วิทยาศาสตร์จากการจัดกิจกรรมในระยะที่ ๑ และจัดทำคู่มือครู ในการใช้บทปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ นอกจากนี้ ยั ง จะมอบหมายให้ นั ก เรี ย นได้ ว างแผนและ ออกแบบบทปฏิบัติการวิทยาศาสตร์เพิ่มเติม ด้วยการสืบค้นข้อมูล ในท้องถิ่นจากปราชญ์ชาวบ้านหรือการทดลองเพื่อขยายความรู้ จากบทปฏิบัติการเดิม ๒๐ บท ถึ ง ช่ ว งเวลานั้ น บรรยากาศของการเรี ย นรู้ ภ ายใน ห้ อ งเรี ย นวิ ช าวิ ท ยาศาสตร์ ข องทุ ก ชั้ น เรี ย นน่ า จะเป็ น ไปอย่ า ง คึกคัก และสนุกสนานมากขึ้น เพราะเป็นการเรียนจากบทเรียนที่ ออกแบบโดยนักเรียนรุ่นพี่ และเป็ น การเรี ย นรู้ จ ากสิ่ ง ใกล้ ตั ว ที่ ท ำให้ พ วกเขา เข้าใจวิถีชีวิตของตนเองลึกซึ้งกว่าที่เคยมาเป็นมา...

สนุกกับการย้อมเส้นไหมจากสีธรรมชาติ

ยกนิ้วให้!

อ.สนอง อิ น ละคร และ อ.ไมตรี ศี ร ษะภู มิ อดีตศึกษานิเทศก์ เขตการศึกษา ๑๐ ผู้ติดตามโครงการ ส่งเสริมนวัตกรรมสร้างสรรค์การเรียนรู้ระดับมัธยมศึกษา สสค. พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง กล่าวถึง โครงการนี้ด้วยความเห็นพ้องกันว่า มีความสร้างสรรค์ตรง ที่เปิดโอกาสให้นักเรียนได้คิดพัฒนาต่อยอดความรู้จากบท เรียนเดิม “บทปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ของเขามีขนมจีนใส่สี ต่างๆ ทำไข่เค็ม เอาวิทยาศาสตร์มาผนวกกับภูมิปัญญา ท้องถิ่น ครูทำอยู่ประมาณเก้าบทเรียน แล้วให้นักเรียนไป คิดต่อ ให้กระบวนการแล้วนะ ต่อไปเด็กทำ ชอบที่ให้ นักเรียนคิดทำ แหนมสมุนไพร ปลาหลดสมุนไพร ไม่ใช่ ปลาหลดตากแห้งธรรมดา แต่มันเพิ่มมูลค่านะ “โรงเรียนนี้ ครูวิทย์เก่ง เขารับการอบรมเรื่องนี้มา มีทีมวัยรุ่น เขาทำงานสนุก ทำสบายๆ”

๑๙


ชนวน

นวัตกรรม

วราภรณ์ พันธุ์พงศ์

ลับวิทยายุทธ์ “ฟุด-ฟิด-ฟอ-ไฟ” ในบ้านเกิด ภาษาอังกฤษแม้ไม่ใช่ภาษาประจำชาติของคนไทย แต่ก็ เป็นภาษาที่คนเกือบทั่วโลกยอมรับให้เป็นเครื่องมือสำหรับการ สื่อสารของคนระหว่างเชื้อชาติ จึงมีความจำเป็นที่ต้องเรียนรู้ และควรมีทักษะถึงขั้นนำไปใช้สื่อสารได้จริง แต่จากประสบการณ์การจัดการเรียนการสอนของกลุ่ม สาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นที่ โรงเรียนด่านแม่คำมันพิทยาคม อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ พบว่า แม้เรียนภาษาอังกฤษมานานหลายปีแล้ว แต่นักเรียนส่วน ใหญ่ยังขาดความมั่นใจในการนำไปใช้ ในเทอมแรกของปีการศึกษา ๒๕๕๓ กลุ่มสาระการเรียน รู้ภาษาต่างประเทศ ได้ทดลองวิธีใหม่ โดยจัดกิจกรรมเสริมให้กับ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ โดยการพาไปทัศนศึกษายัง สถานที่ท่องเที่ยว พร้อมมอบหมายภารกิจให้สัมภาษณ์นักท่อง เที่ยวชาวต่างชาติ และพบว่า นักเรียนสนุกสนานกับการเรียนรู้ และมีความมั่นใจมากขึ้น นัน่ คือทีม่ าของ โครงการพัฒนาความสามารถในการใช้ ภาษาอังกฤษเพือ่ การสือ่ สารของนักเรียน ด้วยประสบการณ์ เชิงบวก ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจาก สสค. อาจารย์วจีพร สุขสมบูรณ์ ครูชำนาญการพิเศษ ตำแหน่ง หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ และหัวหน้างาน ประกันคุณภาพภายใน ของโรงเรียนแห่งนี้เล่าให้ “ชนวน” ฟังว่า “นั ก เรี ย นที่ เ รี ย นอยู่ ใ นโรงเรี ย นมั ธ ยมประจำตำบลนั้ น ส่วนใหญ่มีความรู้พื้นฐานทางภาษาที่ค่อนข้างต่ำ มีเจตคติที่ไม่ดี ต่อการเรียนรูภ้ าษาอังกฤษ จึงเกิดแนวคิดว่าหากนักเรียนได้เรียนรู้ โดยได้ลงมือทำกิจกรรมต่างๆ ทัง้ ในสถานการณ์จำลอง สถานการณ์ จริง สถานทีจ่ ริง กับชาวต่างชาติจริงๆ ด้วยกิจกรรมในบรรยากาศ ที่น่าสนใจ ท้าทายความสามารถ น่าจะทำให้นักเรียนมีทัศนคติ

๒๐

ต่อการเรียนภาษาอังกฤษ ชอบที่จะเรียนรู้และทำกิจกรรมต่างๆ ที่ได้รับมอบหมาย ตลอดจนได้ทั้งความรู้ ทักษะและประสบการณ์ ที่จะจดจำได้อย่างคงทน” สถานการณ์อันเป็น “ที่เกิดเหตุ” ของกิจกรรมโครงการนี้ มุ่ ง ที่ เ รื่ อ งของการท่ อ งเที่ ย ว ซึ่ ง เป็ น เรื่ อ งที่ น่ า สนุ ก และท้ า ทาย สำหรับผู้เรียน ซึ่งเป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ จำนวน ทั้งหมด ๗๙ คน หน่วยการเรียนการสอนที่สามารถเชื่อมโยงเข้ากับเรื่อง การท่องเที่ยวได้อย่างชัดเจนมีด้วยกัน ๔ หน่วย ได้แก่ Amazing Uttaradit, Would you like to visit Uttaradit?, Let’s visit us และ Welcome โดยมีกิจกรรมเสริม นอกห้องเรียนที่เกี่ยวข้องกับหน่วยการเรียนการสอนเหล่านี้ด้วย กัน ๒ กิจกรรม คือ Field Trip และการอบรมเชิงปฏิบัติการสร้าง เว็บไซต์เพื่อประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยว Field Trip เป็นกิจกรรมเสริมการเรียนรู้ในหน่วยการ เรียนการสอนเรื่อง Would you like to visit Uttaradit? ด้วย


การนำนั ก เรี ย นออกไปทำกิ จ กรรมนอกสถานที่ จ ำนวน ๑ วั น ได้แก่ สนามบินสุโขทัยและอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ซึ่งเป็น สถานที่ที่มีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติแวะเวียนมาเป็นประจำ “การนำนั ก เรี ย นไปที่ ส นามบิ น สุ โ ขทั ย ก็ เ พื่ อ กระตุ้ น ให้ นักเรียนได้เห็นความสำคัญของการมีความสามารถในการใช้ภาษา อังกฤษเพื่อการสื่อสาร ส่วนที่อุทยาประวัติศาสตร์สุโขทัยนั้น เป็น สถานที่ที่มีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติมากอยู่เสมอ สิ่งที่คาดหวัง จากกิจกรรมนี้คือนักเรียนมีความมั่นใจในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อ การสื่อสารมากขึ้น มีทัศนคติที่ดีต่อการเรียนรู้ ด้วยเหตุนี้จึงเลือก รูปแบบการทำกิจกรรมด้วยการพาไปยังสถานที่จริง” ภายหลังจากที่นักเรียนได้เรียนรู้วิธีการตั้งคำถามและขั้น ตอนการสัมภาษณ์จากหน่วยการเรียนรู้ Would you like to visit Uttaradit? จากห้องเรียนแล้ว ก็ถึงเวลาที่จะได้ทดลองนำบท สนทนาต่างๆ ที่ช่วยกันจัดทำขึ้น มาทดลองใช้กับชาวต่างชาติ จริงๆ จุดหมายปลายทางแห่งแรกของการเดินทางคือสนามบิน สุโขทัย ต่อด้วยอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย นักเรียนแต่ละกลุ่ม จะต้องทำงานที่ได้รับมอบหมาย ด้วยการถามคำถามเป็นภาษา อังกฤษจำนวน ๑๐ ข้อ โดยแต่ละกลุ่มที่มีสมาชิกด้วยกัน ๑๒ คน ได้ช่วยกันเรียบเรียงจากชั้นเรียนก่อนหน้านี้แล้ว อาจารย์วจีพรได้เล่าถึงบรรยากาศความตื่นเต้นที่ตั้งต้น ขึ้นตั้งแต่การเดินทางว่า “ในขณะที่เดินทาง นักเรียนแต่ละคน แต่ละกลุ่มได้ฝึก ทบทวนการถามและวิธีการสัมภาษณ์ด้วยความตั้งใจ โดยไม่มีการ ร้องรำทำเพลงเหมือนการไปทัศนศึกษาครัง้ อืน่ ๆ จนพนักงานขับรถ จ้างเหมาแปลกใจและชมว่า ทำไมนักเรียนของอาจารย์ใฝ่เรียนรู้ และอยู่ในระเบียบวินัยดีจริงๆ แต่ที่จริงแล้วเป็นเพราะทุกคนต่าง ก็ตื่นเต้นที่จะได้สนทนากับฝรั่งตัวเป็นๆ ในสถานที่ท่องเที่ยวจริง ต่างหาก” บรรยากาศในการสอบถามข้อมูลจากนักท่องเที่ยวของ นักเรียนแต่ละกลุ่มในอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยเป็นไปอย่าง สนุกสนาน “แม้ว่าบางคนยังออกเสียงได้ไม่ดีนัก แต่ก็ยังพยายามที่ จะสื่อสารออกมา นอกจากนี้นักท่องเที่ยวบางคนยังเสนอแนะว่า ในแบบสอบถามไม่ควรกำหนดตัวเลือก ควรให้นักท่องเที่ยวตอบ แบบอิสระ เพือ่ ฝึกทักษะการเขียนและการสะกดคำของนักเรียนด้วย” อาจารย์วจีพร ย้อนเล่าถึงบรรยากาศ “การเรียนการสอน” ในวันนัน้ ทิชชากร คำแก้ว นักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมนี้ ได้ร่วม แบ่งปันความประทับใจที่ระคนความตื่นเต้นไว้ว่า

“ที่ อุ ท ยานประวั ติ ศ าสตร์ สุ โ ขทั ย นั้ น เป็ น ครั้ ง แรกที่ ไ ด้ สนทนากับเจ้าของภาษาตัวเป็นๆ ตอนที่เริ่มสัมภาษณ์ชาวต่าง ชาติคนแรกผมรู้สึกตื่นเต้นมากครับ เพราะไม่รู้ว่าจะคุยกับเขารู้ เรื่องหรือเปล่า แต่เมื่อเริ่มถามคำถาม เขาก็ตอบกลับมาอย่าง รวดเร็ ว ซึ่ ง ผมและเพื่ อ นก็ ค่ อ ยๆ ช่ ว ยกั น ฟั ง จนรู้ เ รื่ อ ง เมื่ อ สัมภาษณ์คนแรกเสร็จ ก็เริ่มคนที่ ๒ ทันที ทำให้ความตื่นเต้นเริ่ม จางหายไป ทุกคนภายในกลุ่มรวมทั้งผมก็เริ่มฟังรู้เรื่องมากขึ้น และเริม่ สนุกมากขึน้ เรือ่ ยๆ ทำให้การสัมภาษณ์นนั้ ง่ายขึน้ กิจกรรม ภายในวันนั้นทำให้ผมประทับใจเป็นอย่างมาก ถึงแม้ว่าจะไม่ใช่ กิจกรรมที่ง่ายเลย แต่พวกเราก็สามารถทำกิจกรรมนั้นได้สำเร็จ” ในโครงการนี้ ยั ง ได้ ก ำหนดกิ จ กรรมการจั ด อบรมเชิ ง ปฏิบัติการสร้างเว็บไซต์ เพื่อประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวของ จั ง หวั ด อุ ต รดิ ต ถ์ โดยเป็ น กิ จ กรรมที่ บู ร ณาการเข้ า กั บ รายวิ ช า คอมพิวเตอร์ โดยเนื้อหาการเรียนรู้มีความสอดคล้องกับหน่วยการ เรียนรู้หัวข้อ Let’s visit us หากสนใจเข้าเยี่ยมชม สามารถเข้าไป ที่ http://www.utd๓๑๑.ob.tc “จากการทำงานโครงการนี้ ดิฉันเกิดความตระหนักจาก การลงมือปฏิบัติจริงว่า หากนักเรียนมีทัศนคติเชิงบวกต่อรายวิชา และผู้สอนแล้ว จะทำให้นักเรียนมีความพยายามและกระตือรือร้น ที่จะเรียนรู้มากยิ่งขึ้น แม้ว่าจะยังไม่สามารถทำให้นักเรียนมีความ สามารถทางภาษาเพิ่มขึ้นได้อย่างชัดเจนทุกคนก็ตาม แต่ทัศนคติ ของนักเรียนก็ดีขึ้นมาก อีกทั้งการบูรณาการเข้ากับรายวิชาอื่นใน ประเด็นเดียวกัน ทำให้นักเรียนสามารถนำความรู้และทักษะใน รายวิชาต่างๆ มาสร้างสรรค์งานได้อย่างดีเยี่ยม อีกทั้งยังเป็นการ ลดภาระงานที่ซ้ำซ้อนของนักเรียนลง “สิ่ ง ที่ ส ำคั ญ ที่ สุ ด คื อ โครงการนี้ ทำให้ นั ก เรี ย นมี ความสุขในการเรียนรู้และการมาเรียนมากขึ้น” อ.วจีพร กล่าวทิ้งท้ายพร้อมกับรอยยิ้มเมื่อย้อนนึกถึง “ก้าวใหม่” ที่ เธอร่วมสร้างก้าวนี้

๒๑


ประกาศผลการพิจารณาทุน โครงการนวัตกรรมสร้างสรรค์การเรียนรู้ระดับประถมศึกษา ครั้งที่ ๑/๒๕๕๔ (สสค.) ได้ประกาศสนับสนุนโครงการนวัตกรรมสร้างสรรค์ ตามที่สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน

การเรียนรู้ระดับประถมศึกษา ครั้งที่ ๑/๒๕๕๔ นั้น สสค.ขอประกาศผลการดำเนินการดังนี้ ๑. มีโรงเรียนส่งโครงการเข้ารับพิจารณาจำนวนรวม ๕๙๙ โครงการ ครอบคลุม ๑,๐๑๗ โรงเรียนรวมงบประมาณที่เสนอขอ จำนวน ๖๕,๕๙๖,๕๗๕ บาท ทั้งนี้ สสค. มีงบประมาณสำหรับจัดสรรสนับสนุนได้ในวงเงินรวม ๔๐,๐๐๐,๐๐๐ บาทเท่านั้น ๒. โครงการผ่านเกณฑ์การพิจารณาทั้งสิ้น ๓๖๒ โครงการ ครอบคลุม ๘๙๘ โรงเรียน ซึ่งจะดำเนินการใน ๖๘ จังหวัด รวมงบ ประมาณทั้งสิ้น ๓๙,๖๙๘,๕๘๕ บาท ๓. การพิจารณากลั่นกรองโครงการข้างต้นดำเนินการโดยคณะผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน ๗๒ ท่าน โดยพิจารณาตามหลักเกณฑ์ พิจารณาและหลักเกณฑ์จัดลำดับความสำคัญตามที่ประกาศไว้ ทั้งนี้ โครงการที่ผ่านการพิจารณาบางกรณีอาจต้องมีการปรับปรุงแก้ไข ในรายละเอียด รวมถึงการปรับปรุงงบประมาณให้เหมาะสมก่อนดำเนินการทำข้อตกลงรับทุน เมื่อโครงการได้รับการปรับปรุงแก้ไขและ ทำข้อตกลงเสร็จสิ้นแล้วจึงจะถือว่าสมบูรณ์พร้อมที่จะดำเนินงานได้ โครงการที่ผ่านการทำข้อตกลงแล้วจะเริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือน กรกฎาคม - สิงหาคม ๒๕๕๔ เป็นต้นไป โดยโครงการส่วนใหญ่มีระยะดำเนินการระหว่าง ๘-๑๒ เดือน

รายชือ่ โครงการทีผ ่ า่ นการพิจารณา (ณ วันที่ ๑ มิถน ุ ายน ๒๕๕๔) ประเภทโครงการกลุ่ม

๒๒

ลำดับ จังหวัด โรงเรียน

ลำดับ จังหวัด โรงเรียน

ลำดับ จังหวัด โรงเรียน

๑ กรุงเทพมหานคร วัดเศวตฉัตร ๒ ขอนแก่น เทศบาลคุ้มหนองคู ๓ ขอนแก่น บ้านกุดธาตุ ๔ ขอนแก่น บ้านนาก้านเหลือง ๕ ขอนแก่น บ้านหนองแดง ๖ ขอนแก่น บ้านหนองนาคำ ๗ ชัยภูมิ บ้านโนนเห็ดไคล ๘ ชัยภูมิ บ้านโป่งนกพิทยา สาขาบ้านคลองผักหวาน ๙ ชัยภูมิ บ้านส้มป่อย ๑๐ เชียงราย บ้านฝั่งตื้น ๑๑ เชียงใหม่ บ้านดง ๑๒ เชียงใหม่ บ้านน้ำตกแม่กลาง ๑๓ เชียงใหม่ บ้านแม่ทัง ๑๔ เชียงใหม่ บ้านห่างหลวง ๑๕ นครปฐม วัดลำลูกบัว ๑๖ นราธิวาส วัดโคกมะม่วง ๑๗ น่าน บ้านป่าลาน ๑๘ น่าน บ้านปิงใน ๑๙ บุรีรัมย์ บ้านโสกแต้ ๒๐ บุรีรัมย์ วัดอินทบูรพา ๒๑ ปัตตานี ชุมชนบ้านปูยุด ๒๒ พระนครศรีอยุธยา วัดห้วยจระเข้ (เกตุอร่ามอุปถัมภ์) ๒๓ พัทลุง บ้านท่านางพรหม (ธนาคารกรุงเทพ ๘) ๒๔ พิจิตร บ้านมาบแฟบ ๒๕ พิษณุโลก บ้านหนองกรับ ๒๖ พิษณุโลก วัดท่าหมื่นราม

๒๗ เพชรบุรี ๒๘ เพชรบูรณ์ ๒๙ เพชรบูรณ์ ๓๐ เพชรบูรณ์ ๓๑ เพชรบูรณ์ ๓๒ แพร่ ๓๓ มหาสารคาม ๓๔ มหาสารคาม ๓๕ มหาสารคาม ๓๖ มหาสารคาม ๓๗ แม่ฮ่องสอน ๓๘ ยโสธร ๓๙ ยโสธร ๔๐ ยโสธร ๔๑ ยโสธร ๔๒ ร้อยเอ็ด ๔๓ ร้อยเอ็ด ๔๔ ลพบุรี ๔๕ ลำปาง ๔๖ ลำปาง ๔๗ เลย ๔๘ เลย ๔๙ เลย ๕๐ เลย ๕๑ ศรีสะเกษ ๕๒ ศรีสะเกษ

๕๓ ศรีสะเกษ ๕๔ ศรีสะเกษ ๕๕ ศรีสะเกษ ๕๖ ศรีสะเกษ ๕๗ ศรีสะเกษ ๕๘ สกลนคร ๕๙ สระแก้ว ๖๐ สุโขทัย ๖๑ สุโขทัย ๖๒ สุพรรณบุรี ๖๓ สุรินทร์ ๖๔ สุรินทร์ ๖๕ สุรินทร์ ๖๖ อำนาจเจริญ ๖๗ อำนาจเจริญ ๖๘ อุตรดิตถ์ ๖๙ อุตรดิตถ์ ๗๐ อุทัยธานี ๗๑ อุบลราชธานี ๗๒ อุบลราชธานี ๗๓ อุบลราชธานี ๗๔ อุบลราชธานี ๗๕ อุบลราชธานี ๗๖ อุบลราชธานี

บ้านท่าลาว (พัชรศาสน์- ราษฎร์นเุ คราะห์) บ้านกกไทร บ้านฟองใต้ บ้านวังบาล บ้านหนองจอกวังกำแพง บ้านใหม่จัดสรร บ้านโคกกลางน้ำจัน้ จอมศรี บ้านเชียงยืน ศรีโกสุมวิทยามิตรภาพ ที่ ๒๐๙ หนองแวงบกไผ่ล้อมวิทยา บ้านอมพาย บ้านตาดทอง บ้านสงเปือย บ้านหนองขอนโพนสิม ฟ้าหยาดราษฎ์นิยม บ้านหนองนกทา เมืองจำปาขัน บ้านด่านไทยล้อม ทุ่งฝางวิทยา บ้านท่าเวียง บ้านแก่งเกลี้ยง บ้านนามาลา บ้านนาแห้ว บ้านเหล่ากอหก บ้านแก บ้านโดด

บ้านสามแยกหินกอง บ้านหนองคู บ้านหนองหวาย บ้านอีเซ (คุรุราษฎร์วิทยา) อนุบาลอุทุมพรพิสัย ผักแพวบำรุงวิทยา ตำรวจตระเวนชายแดน ประชารัฐบำรุง ๑ วัดปากพระ วัดหางตลาด บ้านหนองกระดี่ บ้านกระเบื้อง บ้านระไซร์ เมืองที บ้านโคกกลางเหนือ บ้านหนองสามสี หนองดินดำ ชุมชนวัดบรมธาตุ วัดวังกะพี้ (วิเชียรประ ชานุกูล) วัดทัพหมัน เทศบาล ๒ (พิบูลวิทยาคาร) บ้านนาเลิน บ้านแพง บ้านสร้างถ่อ บ้านหนองแฝกยางเครือ บ้านห่องขอน


ประกาศผลการพิจารณาทุน โครงการนวัตกรรมสร้างสรรค์การเรียนรู้ระดับประถมศึกษา ครั้งที่ ๑/๒๕๕๔ ประเภทโครงการเดี่ยว ลำดับ จังหวัด โรงเรียน ๑ กระบี่ บ้านแหลมโพธิ์ ๒ กรุงเทพมหานคร พระตำหนักสวนกุหลาบ ๓ กาญจนบุรี ตำรวจตระเวนชายแดน บ้านประตูด่าน ๔ กาญจนบุรี บ้านท่ามะกา ๕ กาญจนบุรี บ้านเหมืองสองท่อ ๖ กาญจนบุรี บ้านใหม่ (จีนาภักดิว์ ทิ ยา) ๗ กาญจนบุรี บ้านใหม่พัฒนา ๘ กาญจนบุรี วัดศรีโลหะราษฎร์บำรุง ๙ กาญจนบุรี วัดสำนักคร้อ ๑๐ กาฬสินธุ์ ดงสมบูรณ์ประชารัฐ ๑๑ กาฬสินธุ์ ไทยรัฐวิทยา ๓๕ (คำกั้ง) ๑๒ กาฬสินธุ์ บ้านม่วงวิทยายน ๑๓ กาฬสินธุ์ สว่างกิจวิทยา ๑๔ กำแพงเพชร คีรีวงศ์วัฒนา ๑๕ กำแพงเพชร บ้านเก่า ๑๖ กำแพงเพชร บ้านเขาพริกไทย ๑๗ กำแพงเพชร บ้านวังน้ำแดง ๑๘ กำแพงเพชร บ้านสุขสำราญ ๑๙ ขอนแก่น บ้านนาแพงคุรุรัฐสามัคคี ๒๐ ขอนแก่น บ้านโนนรังวิทยาคาร ๒๑ ขอนแก่น บ้านเพี้ยฟานโนนตุ่น ๒๒ ขอนแก่น บ้านวังสวาบ ๒๓ ขอนแก่น บ้านสันติสุข ๒๔ จันทบุรี บ้านทรัพย์เจริญ ๒๕ ฉะเชิงเทรา บ้านคลองอุดม ๒๖ ชลบุรี สวนป่าคลองตาเพชรบน ๒๗ ชัยภูมิ โคกเพชรวิทยาคาร ๒๘ ชัยภูมิ จัตุรัสวิทยานุกูล ๒๙ ชัยภูมิ ชุมชนบ้านหนองบัวแดง ๓๐ ชัยภูมิ ชุมชนหนองบัว (ทองวิทยานุกูล) ๓๑ ชัยภูมิ ไทยรัฐวิทยา ๑๙ (บ้านคำน้อย) ๓๒ ชัยภูมิ บ้านโคกแฝกดอนทะยิง ๓๓ ชัยภูมิ บ้านโนนคร้อ ๓๔ ชัยภูมิ บ้านโป่งนกพิทยา ๓๕ ชัยภูมิ บ้านละหาน (อภิรักษ์วิทยา) ๓๖ ชัยภูมิ บ้านวังตาท้าว ๓๗ ชัยภูมิ บ้านหนองคัน ๓๘ ชัยภูมิ บ้านหนองโจด ๓๙ ชัยภูมิ บ้านหนองฉิม (สิงห์จันทร์บำรุง) ๔๐ ชัยภูมิ บ้านหนองม่วง

ลำดับ จังหวัด โรงเรียน ๔๑ ชัยภูมิ บ้านหนองหญ้าปล้อง ๔๒ ชัยภูมิ บ้านห้วยเกตุ ๔๓ ชัยภูมิ บ้านห้วยหว้า ๔๔ ชัยภูมิ หว้านไพรสามัคคี ๔๕ ชุมพร บ้านกลาง ๔๖ เชียงราย ท่าก๊อพลับพลาพิทยา ๔๗ เชียงราย ทุง่ ห้าราษฎร์สามัคคีวทิ ยา ๔๘ เชียงราย บ้านแจมป๋อง ๔๙ เชียงใหม่ ชุมชนวัดท่าเดื่อ ๕๐ เชียงใหม่ เทศบาลดอกเงิน ๕๑ เชียงใหม่ เทศบาลวัดเชียงยืน ๕๒ เชียงใหม่ เทศบาลวัดท่าสะต๋อย ๕๓ เชียงใหม่ บ้านคุณแม่ ๕๔ เชียงใหม่ บ้านบวกเปา ๕๕ เชียงใหม่ บ้านหนองปิด ๕๖ เชียงใหม่ บ้านหนองหาร (ทิพวันอุทิศ) ๕๗ เชียงใหม่ อนุบาลเชียงใหม่ ๕๘ เชียงใหม่ อนุบาลหนองป่าครั่ง ๕๙ ตรัง บ้านคลองโตน ๖๐ ตรัง บ้านจิจิก ๖๑ ตรัง บ้านลำภูรา ๖๒ ตรัง บ้านวังลำ ๖๓ ตราด บ้านอ่างกะป่อง ๖๔ ตาก กลาโหมราชเสนา ๖๕ นครนายก อนุบาลองครักษ์ (ผดุงองครักษ์ประชา) ๖๖ นครปฐม เทศบาล ๕ วัดพระปฐมเจดีย์ ๖๗ นครปฐม บ้านห้วยขวาง ๖๘ นครปฐม วัดพระมอพิสัย ๖๙ นครพนม บ้านปากอูน (ปากอูนผดุงวิทย์) ๗๐ นครพนม บ้านหนองบ่อ ๗๑ นครพนม เมืองนครพนม ๗๒ นครราชสีมา ชุมชนคงวิทยา ๗๓ นครราชสีมา ไตรมิตรวิทยา ๗๔ นครราชสีมา บ้านกุดสระแก้ว ๗๕ นครราชสีมา บ้านคลองเดื่อ ๗๖ นครราชสีมา บ้านโนนสำราญ ๗๗ นครราชสีมา บ้านเมืองเก่า ๗๘ นครราชสีมา บ้านสว่างนาดี ๗๙ นครราชสีมา บ้านหนองโจด ๘๐ นครราชสีมา บ้านหนองบัวทุ่ง ๘๑ นครราชสีมา วัดมิตรภาพวนาราม

ลำดับ จังหวัด โรงเรียน ๘๒ นครราชสีมา เสนานุเคราะห์ ๘๓ นครราชสีมา แหลมทองวิทยานุสรณ์ ๘๔ นครราชสีมา อนุบาลมณีราษฎร์คณาลัย ๘๕ นครศรีธรรมราช เจริญรัชต์ภาคย์ ๘๖ นครศรีธรรมราช บ้านปลายรา ๘๗ นครศรีธรรมราช วัดโคกทราง ๘๘ นครศรีธรรมราช วัดสามัคคีนุกูล ๘๙ นครสวรรค์ บ้านโคกมะขวิด ๙๐ นครสวรรค์ บ้านปางสุด ๙๑ นครสวรรค์ วัดสว่างวงษ์ (ตาคลีประชานุกูล) ๙๒ นครสวรรค์ วัดหนองโรง ๙๓ นครสวรรค์ วัดหัวถนน ๙๔ นนทบุรี วัดลุ่ม ๙๕ นนทบุรี ศรีสังวาลย์ ๙๖ นราธิวาส บ้านเกาะสะท้อน ๙๗ น่าน บ้านน้ำโมง ปางสา ๙๘ น่าน บ้านปางเป๋ย ๙๙ น่าน บ้านผาหลัก ๑๐๐ น่าน บ้านร้อง ๑๐๑ บุรีรัมย์ บ้านดงกระทิง (มิตรภาพนุสรณ์) ๑๐๒ บุรีรัมย์ บ้านหนองตะเคียน ๑๐๓ บุรีรัมย์ วัดหลักศิลา ๑๐๔ บุรีรัมย์ อนุบาลโนนสุวรรณ ๑๐๕ ปทุมธานี วัดเปรมประชากร ๑๐๖ ประจวบคีรีขันธ์ บ้านลาดวิถี ๑๐๗ ประจวบคีรีขันธ์ วัดธงชัยธรรมจักร ๑๐๘ ปราจีนบุรี บ้านโนนสูง ๑๐๙ ปัตตานี ไทยรัฐวิทยา ๕๒ (ชุมชนบ้านต้นไพ) ๑๑๐ ปัตตานี บ้านกือยา ๑๑๑ ปัตตานี บ้านตะบิ้ง ๑๑๒ ปัตตานี บ้านทุ่งเค็จ ๑๑๓ พระนครศรีอยุธยา คอตัน ๑๑๔ พะเยา ชัยชุมภู ๑๑๕ พะเยา บ้านสถาน ๑๑๖ พะเยา อนุบาลเชียงม่วน ๑๑๗ พังงา นิคมสร้างตนเอง ๑ ๑๑๘ พัทลุง เทศบาลเขาชัยสน ๑๑๙ พัทลุง บ้านเกาะเสือ ๑๒๐ พัทลุง บ้านท่าแค (วันครู ๒๕๐๐) ๑๒๑ พัทลุง บ้านไทรทอง ๑๒๒ พัทลุง บ้านโหล๊ะเร็ด

๒๓


ประกาศผลการพิจารณาทุน โครงการนวัตกรรมสร้างสรรค์การเรียนรู้ระดับประถมศึกษา ครั้งที่ ๑/๒๕๕๔ ลำดับ จังหวัด โรงเรียน ๑๒๓ พัทลุง วัดดอนศาลา ๑๒๔ พัทลุง วัดบ้านสวน ๑๒๕ พิจิตร วัดบ้านพังน้อย ๑๒๖ พิษณุโลก คลองวัดไร่ ๑๒๗ พิษณุโลก บ้านโคกใหญ่ ๑๒๘ พิษณุโลก บ้านนาล้อม ๑๒๙ พิษณุโลก บ้านหนองกะท้าว ๑๓๐ พิษณุโลก บ้านห้วยน้ำปลา ๑๓๑ เพชรบุรี บ้านเขาย้อย ๑๓๒ เพชรบุรี บ้านต้นเกด ๑๓๓ เพชรบุรี วัดดอนไก่เตี้ย ๑๓๔ เพชรบุรี วัดเพรียง (วิเทศราษฎร์วัฒนา) ๑๓๕ เพชรบูรณ์ ชุมชนบ้านโภชน์ ๑๓๖ เพชรบูรณ์ บ้านซับขลุง ๑๓๗ เพชรบูรณ์ บ้านบุฉนวน ๑๓๘ เพชรบูรณ์ บ้านป่าบง ๑๓๙ เพชรบูรณ์ บ้านห้วยผักไล ๑๔๐ เพชรบูรณ์ บ้านหัวนา ๑๔๑ เพชรบูรณ์ บ้านอมกง ๑๔๒ แพร่ ชุมชนบ้านหนุนเหนือ (แสงศรีวิทยา) ๑๔๓ แพร่ ไทยรัฐวิทยา ๓๑ (ทุ่งน้าวพุทธิมาศึกษากร) ๑๔๔ แพร่ บ้านวังฟ่อน (สิทธิราษฎร์บำรุง) ๑๔๕ แพร่ บ้านสวนเขื่อน (ราษฎร์บูรณวิทยา) ๑๔๖ แพร่ ประชารัฐวิทยาคาร ๑๔๗ แพร่ วัดห้วยหม้าย (หมายประชากร) ๑๔๘ มหาสารคาม บ้านดู่หนองโก ๑๔๙ มหาสารคาม บ้านเม่นใหญ่ ๑๕๐ มหาสารคาม บ้านศรีอรุณ ๑๕๑ มหาสารคาม บ้านหนองโจดสวนมอน ๑๕๒ มุกดาหาร บ้านนาทาม ๑๕๓ แม่ฮ่องสอน บ้านช่างหม้อ ๑๕๔ แม่ฮ่องสอน บ้านแม่แลบ ๑๕๕ แม่ฮ่องสอน บ้านไม้สะเป่ ๑๕๖ แม่ฮ่องสอน บ้านยาป่าแหน ๑๕๗ แม่ฮ่องสอน บ้านหนองแห้ง ๑๕๘ แม่ฮ่องสอน ศึกษาสงเคราะห์ แม่ฮ่องสอน ๑๕๙ แม่ฮ่องสอน อนุบาลเทศบาล แม่ลาน้อย ๑๖๐ ยโสธร บ้านดงเจริญ

๒๔

ลำดับ จังหวัด โรงเรียน ๑๖๑ ยโสธร บ้านนาคำ (นาคำวิทยาคาร) ๑๖๒ ยโสธร บ้านมะพริกดู่โพนสิม ๑๖๓ ยโสธร บ้านหนองยาง ๑๖๔ ยโสธร ประชาสงเคราะห์ ๑๖๕ ร้อยเอ็ด บ้านคูเมือง ๑๖๖ ร้อยเอ็ด บ้านแดงโนนสว่าง ๑๖๗ ร้อยเอ็ด บ้านปกภาร (ปอภารราษฏร์) ๑๖๘ ร้อยเอ็ด บ้านสะอาด (สะอาดวิทยาคาร) ๑๖๙ ร้อยเอ็ด บ้านห้วยโนนตาล (สหราษฎร์วิทยาสรรค์) ๑๗๐ ร้อยเอ็ด บ้านเหล่าน้อย ๑๗๑ ร้อยเอ็ด บ้านแห่ประชานุกูล ๑๗๒ ระนอง บ้านละอุ่นใต้ ๑๗๓ ระยอง ชุมชนวัดตะเคียนงาม ๑๗๔ ระยอง วัดหนองกันเกรา ๑๗๕ ลพบุรี บ้านซับหินขวาง ๑๗๖ ลพบุรี บ้านท่ามะนาว ๑๗๗ ลพบุรี บ้านท่าหลวง ๑๗๘ ลพบุรี บ้านลำโป่งเพชร ๑๗๙ ลพบุรี บ้านสวนมะเดื่อ ๑๘๐ ลพบุรี บ้านหนองประดู่ ๑๘๑ ลำปาง ชุมชนบ้านสา ๑๘๒ ลำปาง เทศบาล ๔ (บ้านเชียงราย) ๑๘๓ ลำปาง บ้านปงถ้า ๑๘๔ ลำปาง บ้านม่วง ๑๘๕ ลำปาง บ้านหนองนาว ๑๘๖ ลำปาง บ้านไหล่หิน ๑๘๗ ลำปาง ปางกุ่มวิทยา ๑๘๘ ลำพูน บ้านกลางวิทยานุกูล ๑๘๙ ลำพูน บ้านทุ่งข้าวหาง ๑๙๐ ลำพูน บ้านทุ่งหัวช้าง ๑๙๑ ลำพูน บ้านไร่ดง ๑๙๒ ลำพูน บ้านหนองบัว ๑๙๓ ลำพูน บ้านหนองหลัก ๑๙๔ ลำพูน บ้านห้วยงูสิงห์ ๑๙๕ ลำพูน บ้านห้วยปิง ๑๙๖ ลำพูน วัดศรีบังวัน ๑๙๗ เลย ชุมชนบ้านด่านซ้าย ๑๙๘ เลย บ้านโคกงาม ๑๙๙ เลย บ้านปวนพุ ๒๐๐ ศรีสะเกษ บ้านกระเจา ๒๐๑ ศรีสะเกษ บ้านกระหวัน

ลำดับ จังหวัด โรงเรียน ๒๐๒ ศรีสะเกษ บ้านโก ๒๐๓ ศรีสะเกษ บ้านขะยูง (ขะยูงศิลป์ศึกษา) ๒๐๔ ศรีสะเกษ บ้านครั่ง ๒๐๕ ศรีสะเกษ บ้านตาปรก ๒๐๖ ศรีสะเกษ บ้านตาลอยหนองคน ๒๐๗ ศรีสะเกษ บ้านตาเอก ๒๐๘ ศรีสะเกษ บ้านโต่งโต้น ๒๐๙ ศรีสะเกษ บ้านทะลอก ๒๑๐ ศรีสะเกษ บ้านทุ่งกอกหนองเกาะ ๒๑๑ ศรีสะเกษ บ้านแทรง ๒๑๒ ศรีสะเกษ บ้านปราสาทเยอ ๒๑๓ ศรีสะเกษ บ้านปะทาย ๒๑๔ ศรีสะเกษ บ้านสวนกล้วย ๒๑๕ ศรีสะเกษ บ้านเสียว ๒๑๖ ศรีสะเกษ บ้านหนองตลาด- โนนเปือย ๒๑๗ ศรีสะเกษ บ้านหว้าน (รัฐราษฎร์นุกูล) ๒๑๘ ศรีสะเกษ บ้านอีหนา (รัฐประชานุกูล) ๒๑๙ ศรีสะเกษ ศรีสะอาดวิทยาคม ๒๒๐ สกลนคร บ้านอีกุด ๒๒๑ สงขลา บ้านควนตานี๊ะ ๒๒๒ สงขลา บ้านทุ่งไม้ด้วน ๑ ๒๒๓ สงขลา บ้านนา ๒๒๔ สงขลา บ้านน้ำกระจาย ๒๒๕ สงขลา บ้านพรุตู ๒๒๖ สงขลา บ้านมุนี ๒๒๗ สงขลา ลำไพลราษฎร์อุทิศ ๒๒๘ สงขลา วัดทรายขาว ๒๒๙ สตูล บ้านค่ายรวมมิตร ๒๓๐ สตูล บ้านตูแตหรำ ๒๓๑ สมุทรปราการ พร้านีลวัชระ ๒๓๒ สมุทรสงคราม วัดเขายี่สาร (ประมุขเวชกิจ) ๒๓๓ สระแก้ว ชุมชนบ้านตาหลังใน ๒๓๔ สระแก้ว บ้านเขาแหลม ๒๓๕ สระแก้ว บ้านหนองเทา ๒๓๖ สระบุรี เทศบาล ๔ หนองแคอนุสรณ์ ๒๓๗ สระบุรี เทศบาล ๕ (วัดดาวเรือง) ๒๓๘ สุโขทัย บ้านตลิ่งชัน ๒๓๙ สุโขทัย บ้านลำคลองยาง ๒๔๐ สุโขทัย บ้านวงพระจันทร์ ๒๔๑ สุโขทัย บ้านสุเม่น


ประกาศผลการพิจารณาทุน โครงการนวัตกรรมสร้างสรรค์การเรียนรู้ระดับประถมศึกษา ครั้งที่ ๑/๒๕๕๔ ลำดับ จังหวัด โรงเรียน ๒๔๒ สุโขทัย วัดเต่าทอง ๒๔๓ สุโขทัย หาดเสี้ยววิทยา ๒๔๔ สุพรรณบุรี ดอนตาจีน ๒๔๕ สุพรรณบุรี วัดสำเภาทอง ๒๔๖ สุราษฎร์ธานี วัดอัมพาวาส ๒๔๗ สุรินทร์ บ้านกะดาด ๒๔๘ สุรินทร์ บ้านดอนแรด (จินดาวิทยาคาร) ๒๔๙ สุรินทร์ บ้านตาลวก ๒๕๐ สุรินทร์ บ้านท่าศิลา ๒๕๑ สุรินทร์ บ้านน้ำเขียว (น้ำเขียววิทยาคม) ๒๕๒ สุรินทร์ บ้านบักดอก ๒๕๓ สุรินทร์ บ้านม่วงหนองตาด ๒๕๔ สุรินทร์ บ้านสวายซอ ๒๕๕ สุรินทร์ อนุบาลชุมพลบุรี ๒๕๖ หนองคาย คำไชยวาล ๒๕๗ หนองคาย ชุมชนบ้านชุมช้าง

ลำดับ จังหวัด โรงเรียน ๒๕๘ หนองคาย บ้านโคกก่อง มิตรภาพที่ ๘๖ ๒๕๙ หนองคาย บ้านดอนแพง ๒๖๐ หนองคาย บ้านท่าสะอาด ๒๖๑ หนองคาย บ้านโนนสำราญ-ยางเรียน ๒๖๒ หนองคาย รุจีจินตกานนท์ ๒๖๓ อำนาจเจริญ บ้านชาด ๒๖๔ อำนาจเจริญ บ้านบุ่งเขียว ๒๖๕ อำนาจเจริญ บ้านสว่างใต้ ๒๖๖ อำนาจเจริญ พัฒนาสามัคคี ๒๖๗ อุดรธานี บ้านโคกสว่างนาดี ๒๖๘ อุดรธานี บ้านทองอินทร์สวนมอญ ๒๖๙ อุดรธานี บ้านนาหว้า (สันติราษฎร์พิทยาคม) ๒๗๐ อุดรธานี บ้านหนองขาม (ค่ายเสนีย์อุปถัมภ์) ๒๗๑ อุตรดิตถ์ ท่าปลาอนุสรณ์ ๑

ลำดับ จังหวัด โรงเรียน ๒๗๒ อุตรดิตถ์ น้ำริดราษฏร์บำรุง ๒๗๓ อุตรดิตถ์ บ้านแพะ ๒๗๔ อุตรดิตถ์ บ้านวังแดง (สหจิตวิทยาคาร) ๒๗๕ อุตรดิตถ์ บ้านวังเบน (ภูธรอุปถัมภ์) ๒๗๖ อุตรดิตถ์ วัดบ้านใหม่ ๒๗๗ อุทัยธานี บ้านโป่งเก้ง ๒๗๘ อุทัยธานี บ้านเพชรน้ำผึ้ง ๒๗๙ อุทัยธานี บ้านหนองมะสัง ๒๘๐ อุทัยธานี วัดทัพหลวง ๒๘๑ อุบลราชธานี เทศบาล ๒ หนองบัว ๒๘๒ อุบลราชธานี บ้านท่าล้ง ๒๘๓ อุบลราชธานี บ้านทุ่งขุนน้อยหนองจาน วิทยา ๒๘๔ อุบลราชธานี บ้านนาชุมใต้ ๒๘๕ อุบลราชธานี บ้านปะอาว ๒๘๖ อุบลราชธานี บ้านป่าโมง

โครงการต่อไปนี้จัดไว้เป็นโครงการสำรองโดยในกรณีที่มีการปรับลดงบประมาณโครงการที่ผ่านเกณฑ์แล้ว หรือมีการสละสิทธิ์ หรือมีเหตุอื่น ซึ่งทำให้มีงบประมาณเหลือเพียงพอ ก็จะนำงบประมาณที่เหลือดังกล่าวสนับสนุนให้กับโครงการสำรองตามลำดับ ดังนี ้ ลำดับ จังหวัด โรงเรียน ๑ สกลนคร ๒ เชียงราย ๓ ขอนแก่น ๔ อ่างทอง ๕ กรุงเทพมหานคร ๖ สมุทรสงคราม ๗ กรุงเทพมหานคร

บ้านยางคำ แม่หลวงอุปถัมภ์ไทยคีรี เทศบาลบ้านหนองแวง เทศบาล ๒ วัดโล่ห์สุทธาวาส ประถมทวีธาภิเศก เมืองสมุทรสงคราม พระหฤทัยคอนแวนต์

ลำดับ จังหวัด โรงเรียน

ลำดับ จังหวัด โรงเรียน

๘ ๙ ๑๐ ๑๑ ๑๒ ๑๓ ๑๔

๑๕ ปัตตานี ๑๖ นครสวรรค์ ๑๗ เชียงใหม่ ๑๘ พิจิตร ๑๙ ศรีสะเกษ ๒๐ ชัยภูมิ

มหาสารคาม ชุมพร กรุงเทพมหานคร กาฬสินธุ์ อ่างทอง นครราชสีมา น่าน

พระกุมารมหาสารคาม ชุมชนมาบอำมฤต ปราโมชวิทยารามอินทรา อนุบาลกาฬสินธุ์ อนุบาลวัดอ่างทอง สุขานารี ริมฝั่งว้าวิทยา

เทศบาล ๕ อาคาร สลากกินแบ่งรัฐบาล เทศบาลวัดไทรเหนือ เทศบาลวัดป่าแพ่ง วัดโพทะเล อนุบาลภูสิงห์ บ้านซับใหม่

สำหรับโครงการยังไม่ผ่านเกณฑ์ในรอบนี้ สสค.ขอเชิญท่านสมัครลงทะเบียนเป็นสมาชิก เพื่อร่วมกันพัฒนาการศึกษาของ ประเทศต่อเนื่องไป ทั้งนี้ สสค.จะได้จัดกิจกรรมพัฒนาทักษะในการจัดทำโครงการ และกิจกรรมน่าสนใจอื่นๆ สำหรับสมาชิกเพื่อร่วม สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ หากมีคำถามเกี่ยวกับประกาศทุนกรุณาติดต่อ primaryschool@QLF.or.th

๒๕


ชนวน

ชวนก้าว

ถึงเวลาสร้าง “แรงงานคุณภาพ” เพื่อเป็นการลดช่องว่างและเพิ่มโอกาสในกาพัฒนาทักษะ ด้านอาชีพและพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในท้องถิ่นที่ และ ส่งเสริมให้เกิดการมีส่วนร่วมพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้อง ถิ่น หน่วยงานหลักทั้งภาครัฐ เอกชน และผู้นำชุมชน ในการ พัฒนาท้องถิ่น จนเกิดกระบวนการทำงานระดับจังหวัดในการ พัฒนาประชากรวัยแรงงานและเป็นต้นแบบที่สามารถขยายผลยัง พื้นที่อื่นๆ ได้ สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรูแ้ ละคุณภาพเยาวชน (สสค.) ขอเชิญชวนจังหวัดที่สนใจและมีความพร้อมร่วมเสนอ ข้ อ มู ล พื้ น ที่ เ พื่ อ คั ด เลื อ กดำเนิ น โครงการส่ ง เสริ ม การพั ฒ นา ประชากรวั ย แรงงานที่ ต้ อ งการเรี ย นต่ อ และเพิ่ ม ทั ก ษะในการ ประกอบอาชีพ

ชนวน

ชวนอ่าน

ข้อเสนอทางเลือกระบบการศึกษา ที่เหมาะสมกับสุขภาวะคนไทย โ ดย : รศ.ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ และคณะ

การจัดการศึกษาของไทยมีวิวัฒนาการมาโดยตลอด และ มี บ ทบาทต่ อ การพั ฒ นาคุ ณ ภาพชี วิ ต ของคนไทย สั ง คม และ ประเทศชาติ มาอย่างยาวนาน จากการจัดการอย่าง “ไร้ระบบ” ในบ้าน วัง วัด จนมีการจัดระบบอย่างมีระเบียบแบบแผน ดังที่ เป็นอยู่ในปัจจุบัน แต่ผลของการจัดการศึกษาทุกวันนี้ก็ยังไม่เป็นที่พึงพอใจ ของสังคมเท่าที่ควร โดยกล่าวกันว่า เป็นการศึกษาที่แยกเอาวิถี ชีวิตวัฒนธรรมออกจากความเป็นมนุษย์ของผู้เรียน จนลืมราก เหง้าและท้องถิ่นของตนเอง ขณะเดียวกัน ยังมีเสียงเรียกร้องถึง “การศึกษาทางเลือก ของประชาชน” ที่ไม่ยึดโยงกับรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง และวิธีการ ใดวิธีการหนึ่งจนขาดความยืดหยุ่น สิ่ ง ที่ สั ง คมปรารถนาก็ คื อ ทำให้ ก ารศึ ก ษาเป็ น ดั ง “สะพาน” เชื่อมโยงไปสู่การมีวิถีชีวิตบนพื้นฐานของการบูรณา การท้องถิ่นและชุมชน เกิดการเรียนรู้อย่างมีความสุข ในรูปแบบ ที่เหมาะสม ตามความต้องการของแต่ละบุคคล ครอบครัว ท้อง ถิ่น และสังคม ที่สามารถใช้การศึกษาเป็นเครื่องมือในการแก้

๒๖

หลักการพิจารณาคัดเลือกข้อเสนอโครงการมีด้วยกัน ๕ ประการ คือ (๑) ส่งเสริมการฝึกอาชีพ (๒) การปรับทัศนคติการ ดำเนินชีวิต (๓) ความร่วมมือกับองค์กรในชุมชน (๔) สนับสนุน การเพิ่มทักษะบริหารจัดการ (๕) รูปแบบและวิธีการเรียนรู้ โดยมี ระยะเวลาการดำเนิ น โครงการไม่ เ กิ น ๑๒ เดื อ น เริ่ ม ดำเนิ น โครงการได้ตั้งแต่เดือนสิงหาคม ๒๕๕๔ เป็นต้นไป จังหวัดที่สมัครใจและมีความพร้อมจะเป็นผูเ้ สนอโครงการ โดยผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการเพื่อการคัดเลือกครูสอน ดีและลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาระดับจังหวัด ดูรายละเอียดได้จากเว็บไซต์ สสค. และสอบถาม เพิ่ ม เติ ม ที่ ท างอี เ มล์ udom@QLF.or.th หรื อ โทรศั พ ท์ ๐๘๙-๖๙๖-๑๗๖๓

ปัญหาชีวิต วิกฤตของสังคม นำไปสู่ การดำรงชีวิตได้อย่างร่มเย็นเป็นสุข หนังสือพ็อคเก็ตบุค้ “รายงาน ข้อเสนอทางเลือกระบบการศึกษา ที่เหมาะสมกับสุขภาวะคนไทย” เป็นความตั้งใจที่จะ ฉายให้เห็นหนทางที่จะบรรลุสภาพอันพึงปรารถนาดังกล่าว โดย ประมวลข้ อ มู ล จากงานวิ จั ย การศึ ก ษาภาคสนาม และองค์ ประกอบที่สำคัญที่สุด ได้แก่ ข้อเสนอจากกระบวนการรับฟัง ความเห็นของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ทั้งจากภาคประชาชน องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น ชุมชน เอกชน สถาบันศาสนา ผู้ทรงคุณวุฒิ และหน่วยงานภาครัฐ ต่อ โครงการศึกษาเพื่อพัฒนาข้อเสนอ ทางเลือกที่เหมาะสำหรับการปฏิรูปการศึกษาเพื่อสุขภาวะ (ปศท.) ซึ่ ง เป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ของความเคลื่ อ นไหวเพื่ อ ร่ ว มสร้ า ง ประเทศไทยให้น่าอยู่ โดยการสนับสนุนจาก สำนักงานกองทุน สนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) คลิ๊กอ่านได้ทันทีที่ www.qlf.or.th


ใช้ อะไรบ้าง?

นักเรียน เป็นนักกีฬา (ซึ่งอาจจะตาบอดด้วย คือไม่เคยเห็นสิ่งที่ครูเลือกมาให้) ครูเป็นโคช ผมมักเห็นนักเรียนเป็นนักว่ายน้ำ ปลายทางของเรา คือ นักเรียนว่ายน้ำเก่ง ซึ่งกว่าจะไปถึงท้ายสระฟากโน้น นักเรียนต้องว่ายน้ำ (ไม่ใช่ครูว่าย) เมื่อครูกับนักเรียนพบกัน ครูจึงใช้เวลาเพียงสั้นๆ เวลาส่วนใหญ่เป็นของนักเรียน ซึ่งกระโดดลงสระ และว่ายน้ำ นี่เป็นแกนสำคัญของการออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอน ซึ่งนักเรียน เป็นนักว่ายน้ำ เป็น active learner และวิชาสำคัญในการเรียนรู้ คือ การคิด ผมดึงวิดีโอคลิป 2 ชิ้นมาจาก สำหรับชวนนักเรียนมาเล่น “คิด”

เนื้อเพลง ดอกชบากับคนตาบอด พิมพ์ลงกระดาษ A5 นักเรียน 2 คน ต่อหนึ่งแผ่น วิดีโอคลิปจาก Youtube (ค้นด้วยคำว่า “ดอกชบากับคนตาบอด”) คลิปหนึ่งร้องโดย คุณวัชระ ปานเอี่ยม อีกคลิปหนึ่ง โดย คุณอธิศรี สงเคราะห์ (จากคอนเสิร์ตเพลงแบบประภาส) ดอกไม้หอม ชนิดไหนก็ได้ ผ้าปิดตา (นักเรียนเตรียมมาเอง)

ลงมื อ

วิ ธีเล่น

ให้นักเรียนได้ใช้ชีวิตในความมืด เพื่อจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับ “การตาบอด” ให้นักเรียนเอาประสบการณ์จากความมืด มา “เล่น” ต่อ เพื่อฝึก “คิด” อย่างมีรสชาติ โดยครูเป็นโคช เพื่อให้สนุกขึ้น เราใช้เพลง ดอกชบากับคนตาบอด มาปรุงรสชาติ ของกิจกรรม จากการมองไม่เห็น นักเรียนจะได้ คิดเล่น ว่า ถ้ามีผู้ที่ใกล้ชิดเรา ตาบอด เราจะนึกวิธีดีๆ อะไรมาให้ เพื่อชีวิตของผู้ที่มองไม่เห็นนั้น จะได้สว่างไสวขึ้น

(ดอกไม้หอมเก็บในถุงมิดชิด) เริ่มโดย เปิดคลิปเพลงแรก (โดยวัชระ ปานเอี่ยม) นักเรียนดูและฟัง จากนั้น ให้นักเรียนอ่านเนื้อเพลงแล้วช่วยกันเขียน (เป็นคู่) ว่า เวลาตาบอด ลำบากอย่างไร? และ ดีอย่างไร? จากนั้นให้นักเรียนคนหนึ่งปิดตา อีกคนหนึ่งไม่ปิดตา ถ้าเรียนชั้นล่าง ให้พากันเดินขึ้นไปชั้นบน (กลับกัน ถ้าเรียนข้างบน) พอขึ้นไปถึงที่หมาย ให้นักเรียนปิดตาทั้ง 2 คน แล้วกลับมาที่ชั้นเรียนให้ได้ อย่างระมัดระวัง เมื่อนักเรียนมาถึงห้อง ยังปิดตาอยู่ ให้ปิดห้องให้มืด คุณครูเปิดถุงให้หอมกลิ่นดอกไม้ เปิดคลิปวิดีโอที่ 2 (เพลงโดย คุณอธิศรี สงเคราะห์) ให้นักเรียนนึกไปว่ามีน้องชาย (หรือน้องสาว) ตาบอด แล้วช่วยกันคิดถึงวิธีใหม่ๆ ที่เราจะทำเพื่อน้องของเรา แล้วให้เตรียมนำมาเล่าให้กันฟังในครั้งเรียนครั้งหน้า (เนื่องจากต้องใช้วิดีโอคลิป ซึ่งมีดนตรี ภาพและเสียงที่ดีมีส่วนช่วยในการสร้างบรรยากาศ การเตรียมอุปกรณ์ล่วงหน้าจะช่วยได้มาก)

สำหรับคุณครูที่สนใจทราบเบื้องหลัง ของกิจกรรม แนะนำให้ดูเรื่องต่อไปนี้ การเรียนรู้ด้วยประสบการณ์ตรง การใช้ประสาทสัมผัสในการเรียนรู้ การทำงานเป็นคู่ และกลุ่มช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของสมอง (ดูเบื้องหลังการออกแบบกิจกรรม และวิธีการเตรียมการเพิ่มเติม ได้ที่ www. QLF.or.th)

๒๗



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.