กฏหมายและอาคาร ตอนที่1 Building Law I
QC. INT 481 ACADEMIC YEAR 2013 / FIRST SEMESTER DEPARTMENT OF INTERIOR DESIGN
วัตถุประสงค์ของกฏหมายควบคุมอาคาร 1. เพื่อควบคุมการก่อสร้างอาคารต่างๆ 2. เพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน และเพื่อเพิ่ม ประสิทธิภาพในการควบคุมอาคาร
เจตนารมณ์ของกฏหมายควบคุมอาคาร ป้องกันอัคคี ภัย ความ ปลอดภัย
สาธารณสุข
สิ่งแวดล้อม
ความมั่นคง แข็งแรง
ผังเมือง การจราจร สถาปัตยกรรม
การบังคับใช้ พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร 1. 2. 3. 4.
พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร (ฉบับที่ 2 ) พ.ศ. 2535 พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร (ฉบับที่ 3 ) พ.ศ. 2543 พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร (ฉบับที่ 4 ) พ.ศ. 2550
กฏหมาย แม่บท
พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ภายใต้พระราชบัญญัตินี้และกฏหมายประกอบอื่น ๆ ทั้งปวง จะ กล่าวถึง นิยามศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับอาคารและคําอธิบาย ได้แก่ อาคารประเภท ต่างๆ องค์ประกอบของแบบ องค์ประกอบของอาคาร และวัสดุ สาธารณูปโภคที่ เกี่ยวข้องกับงานอาคาร การปลูกสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน เคลื่อนย้าย หรือเปลี่ยน การใช้ ขั้นตอนขออนุญาตปลูกสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน เคลื่อนย้ายหรือเปลี่ยนการ ใช้อาคาร อาทิเช่น รายการเอกสารและหลักฐาน สถานที่ยื่นขอ และเจ้าพนักงาน ค่าธรรมเนียมขั้นตอนและเวลาพิจารณา ผลพิจารณาและคําสั่ง (อนการใช้ใบ อนุญาต อายุ และการต่ออายุใบอนุญาต สถาปัตยกรรม ระบบและสาธารณูปโภค ที่เกี่ยวแก่งานอาคาร ได้แก่ ระยะร่น ที่ว่าง ทางสาธารณะ สุขภัณฑ์ น้ําทิ้ง และ ระบบระบายน้ํา ระบบป้องกันหรือเตือนภัยเพลิงไหม้ การกําจัดสิ่งปฏิกูล อื่น ๆ การก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน เคลื่อนย้ายหรือเปลี่ยนการใช้อาคารโดยไม่ขอ อนุญาต หรือ ผิดแผกจากใบอนุญาต คําสั่งเจ้าพนักงาน
พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร (ฉบับที่ 2 ) พ.ศ. 2535 เป็นการปรับปรุงบทบัญญัติในพระราชบัญญัติควบคุม อาคาร พ.ศ. 2522 ให้เหมาะสมและคล่องตัวมากยิ่งขึ้น (ไม่ต้องขออนุญาติก็ สามาถก่อสร้างได้ แต่ต้องมีวุฒิวิศวกรรับรอง โดยเปลี่ยนจากการยื่นขออนุ ญาติ เป็นการแจ้งขอแทน สามารถดําเนินการก่อสร้างได้เลย)
พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร (ฉบับที่ 3 ) พ.ศ. 2543
เป็นการปรับปรุงบทบัญญัติในพระราชบัญญัติควบคุม อาคาร พ.ศ. 2522 ให้มีมาตรการด้านความปลอดภัยมากขึ้น เช่นการจัดให้มี ทําการตรวจสอบสภาพอาคาร แล้วรายงานผลต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น ทั้งนี้ ตาม หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กําหนดในกฎกระทรวงหรือปรับปรุงการบังคับใช้ ในโรงมโหรสพ สวนสนุก อื่นๆ
พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร (ฉบับที่ 4 ) พ.ศ. 2550 เป็นการเพิ่มข้อความในพระราชบัญญัติควบคุม อาคาร พ.ศ. 2522 “ อาคารที่กระทรวง ทบวง กรม ราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ องค์กร ของรัฐที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ จัดให้มีหรือพัฒนา เพื่อเป็นที่อยู่อาศัยสําหรับผู้มีรายได้น้อย ทั้งนี้ ต้องมิใช่การยกเว้นหรือผ่อน ผันเงื่อนไขเกี่กับความมั่นคงแข็งแรงและความปลอดภัยของอาคารหรือ ความปลอดภัยของผู้ซึ่งอยู่อาศัยหรือใช้อาคาร “
การบังคับใช้ กฏกระทรวง เป็นการกําหนดรายละเอียดวิธีการปฏิบัติ ขออนุญาติ ราย ละเอียดข้อกําหนดทางวิศวกรรม สถาปัตยกรรม
ปัจจุบันมี 63 ฉบับ
การบังคับใช้ ข้อบัญญัติท้องถิ่น กําหนดรายละเอียด เนื่องจากมีความจําเป็นหรือมีตาม เหตุผลพิเศษเฉพาะท้องถิ่น
ข้อบัญญัติ กรุงเทพฯ เทศบัญญัติ เมืองพัทยา ข้อบังคับ อบต.
พื้นที่ที่บังคับใช้ ทั่วไปจะใช้บังคับในพื้นที่ที่มีความเจริญมีการ ก่อสร้างค่อนข้างหนาแน่น
กิจกรรมที่อยู่ใต้ข้อบังคับ ท้องที่ใดที่ได้มีประกาศพระราชกฤษฎีกา เรียกว่า เขตควบคุมอาคาร เจ้าพนักงานท้องถิ่น ผู้ว่าราชการจังหวัด นายกเทศมนตรี นายก อบจ./อบต. นายกเมืองพัทยา
ประเภทอาคาร 6 ประเภท 1) โรงมหรสพ 2) โรงแรม ( 80 ห้อง) 3) สถานบริการ (200 ตร.ม.) 4) อาคารชุด + อยู่อาศัยรวม ( 2,000 ตร.ม.) 5) โรงงาน ( 2 ชั้น + 5,000 ตร.ม.) 6) ป้ายบนดิน สูง 15 ม. หรือ 50 ม2 / ป้ายบนอาคาร 25 ม2
ประเภทอาคารตามมาตรา 32 ทวิ 1) อาคารสูง 2) อาคารชุมนุมคน 3) อาคารขนาดใหญ่พิเศษ
อาคารสูง • คนเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ • สูงตั้งแต่ 23 เมตรขึ้นไป (วัด จ า ก พื้ น ดิ น ที่ ก ่ อ ส ร ้ า ง ถึ ง พื้ น ดาดฟ้ า หรื อ ยอดผนั ง สํ า หรั บ หลังคาทรงจั่ว)
H
อาคารขนาดใหญ่พิเศษ พื้นที่ตั้งแต่ 10,000 ม2 ขึ้นไป
อาคารชุมนุมคน • ใช้ชุมนุมคน > สาธารณะ + กิจกรรม • พื้นที่ตั้งแต่ 1,000 ตร.ม. หรือตั้งแต่ 500 คน
คําจํากัดความที่สําคัญ อาคาร หมายถึง ? (1) อัฒจันทร์ หรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่น เพื่อใช้เป็นที่ชุมนุมของประชาชน (2) เขื่อน สะพาน อุโมงค์ ทาง หรือท่อระบายน้ํา อู่เรือ คานเรือ ท่าน้ํา รั้ว ท่าจอดเรือ กําแพง หรือประตู ที่สร้างขึ้นติดต่อ หรือใกล้เคียงกับที่สาธารณะ หรือสิ่งที่สร้างขึ้นให้ บุคคลทั่วไปใช้สอย (3) ป้าย หรือสิ่งที่สร้างขึ้นสําหรับติด หรือตั้งป้าย ก. ที่ติด และตั้งไว้เหนือที่สาธารณะ และมีขนาดเกินหนึ่งตารางเมตร หรือมีน้ําหนักรวม ทั้งโครงสร้างเกินสิบกิโลกรัม ข. ที่ติดตั้งไว้ในระยะห่างจากที่สาธารณะ ซึ่งเมื่อวัดในทางราบแล้ว ระยะห่างจากที่ สาธารณะมีน้อยกว่าความสูงของป้ายนั้น เมื่อวัดจากพื้นดิน และมีขนาด หรือ น้ําหนัก เกินกว่าที่กําหนดในกฎกระทรวง (4) พื้นที่ หรือสิ่งที่สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นที่จอดรถ ที่กลับรถ และทางเข้าออก ของรถ
คําจํากัดความที่สําคัญ "อาคารสูง" หมายความว่า อาคารที่ก่อสร้างขึ้นเพื่อใช้อาคารหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของอาคาร โดยมี ความสูงตัง้ แต่ 23 เมตร ขึ้นไป
"อาคารขนาดใหญ่พิเศษ" หมายความว่า อาคารที่ก่อสร้างขึ้นเพื่อใช้อาคารหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของ อาคาร โดยมีพื้นที่รวมกันทุกชั้นหรือชั้นหนึ่งชั้นใดในหลังเดียวกันตั้งแ ต่ 10,000 ตารางเมตรขึ้นไป "อาคารชุมนุมคน" หมายความถึง อาคารหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของอาคาร ที่บุคคลอาจข้าไปภายใน เพื่อประโยชน์ในการชุมนุมคนที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 1,000 ตารางเมตรขึ้นไป หรือ ชุมนุมคนได้ตั้งแต่ 500 คนขึ้นไป
“ โรงมหรสพ" หมายความว่า อาคารหรือส่นใดของอาคารที่ใช้เป็นสถานที่สําหรับฉายภาพยนตร์ แสดงละคร แสดงดนตรี หรือการแสดงรื่นเริงอื่นใดและมีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดให้สาธารณชนเข้าชมการ แสดงนั้นเป็นปกติธุระ โดยจะมีค่าตอบแทนหรือไม่ก็ตาม
พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๓๕
4 แหล่งกําเนิดมลพิษอาคารประเภท ก. - อาคารชุดที่มีจํานวนห้องสําหรับใช้เป็นที่อยู่อาศัยรวมกันทุกชั้นของ อาคารหรือกลุ่มของอาคารตั้งแต่ ๕๐๐ ห้องนอนขึ้นไป - โรงแรมที่มีจํานวนห้องสําหรับใช้เป็นห้องพักรวมกันทุกชั้นของ อาคาร หรือกลุ่มของอาคารตั้งแต่ ๒๐๐ ห้องขึ้นไป - โรงพยาบาลของทางราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือสถานพยาบาล ตาม กฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล ที่มีเตียงสําหรับรับผู้ป่วยไว้ค้างคืนรวมกัน ทุกชั้นของอาคาร หรือกลุ่มของอาคาร ตั้งแต่ ๓๐ เตียงขึ้นไป
5 แหล่งกําเนิดมลพิษอาคารประเภท ก. - อาคารโรงเรียนเอกชน โรงเรียนของทางราชการ สถาบันอุดมศึกษา ของเอกชน หรือสถาบันอุดมศึกษาของทางราชการ ที่มีพื้นที่ใช้สอย รวมกันทุกชั้นของอาคาร หรือกลุ่มของอาคาร ตั้งแต่ ๒๕,๐๐๐ ตาราง เมตรขึ้นไป - อาคารที่ทําการของทางราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์การระหว่างประเทศ หรือของเอกชน ที่มีพื้นที่ใช้สอยรวมกันทุกชั้นของอาคารหรือกลุ่มของ อาคารตั้งแต่ ๕๕,๐๐๐ ตารางเมตรขึ้นไป
6 แหล่งกําเนิดมลพิษอาคารประเภท ก. - อาคารของศูนย์การค้าหรือห้างสรรพสินค้า ตั้งแต่ ๒๕,๐๐๐ ตารางเมตรขึ้นไป - ตลาดที่มีพื้นที่ใช้สอยรวมกันทุกชั้นของอาคาร ๒,๕๐๐ ตารางเมตรขึ้นไป - ภัตตาคารหรือร้านอาหาร ๒,๕๐๐ ตารางเมตรขึ้นไป
WEBSITE เกี่ยวกับกฎหมาย สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา www.krisdika.go.th สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ www.asa.or.th สมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ www.eit.or.th
กฏหมายและอาคาร ตอนที่1 Building Law I
QC. INT 481 ACADEMIC YEAR 2013 / FIRST SEMESTER DEPARTMENT OF INTERIOR DESIGN