QC-INT481-Lecture 05-Qc building law part II

Page 1

กฏหมายอาคาร ตอนที่2 Building Law II

QC. INT 481 ACADEMIC YEAR 2013 / FIRST SEMESTER DEPARTMENT OF INTERIOR DESIGN


บ้านแถว ห้องแถว ตึกแถว ทาวน์เฮาส์ บ้านแฝด •

"ห้องแถว" เป็นอาคารที่กฎหมายการก่อสร้างไทยให้สิทธิ พิเศษ กับ ห้องแถว ไม่ว่าจะเป็น เรื่อง ของ การก่อสร้าง ที่จอดรถ ระยะ และ แนวต่างๆ ก็กําหนดให้สิทธิ กับห้องแถว กฎ กระทรวง ฉบับที่ ๕๕ ออกความตาม พรบ. ควบคุม อาคาร


บ้านแถว ห้องแถว ตึกแถว ทาวน์เฮาส์ บ้านแฝด •

"ห้องแถว" เป็นอาคารที่กฎหมายการก่อสร้างไทยให้สิทธิ พิเศษ กับ ห้องแถว ไม่ว่าจะเป็น เรื่อง ของ การก่อสร้าง ที่จอดรถ ระยะ และ แนวต่างๆ ก็กําหนดให้สิทธิ กับห้องแถว "ห้องแถว" หมายถึง ร้านค้า อาคารพาณิชย์ ที่สร้าง ติดๆกัน ริมถนน กฎหมาย มีศัพท์ หลายตัว ที่ ต้อง เข้าใจ เป็นพื้นฐาน ก่อนก็คือ คําว่า "ห้องแถว, ตึกแถว, บ้านแถว, บ้านแฝด"


บ้านแถว ห้องแถว ตึกแถว ทาวน์เฮาส์ บ้านแฝด •

ห้องแถว หมายถึงอาคารที่ สร้างด้วยไม้หรือวัสดุที่ไม่ทนไฟ สร้างติดๆกันเป็นแถวยาวๆ แล้วก็แบ่ง ออก เป็นคูหา ตั้งแต่ ๒ คูหา เป็นต้นไป (กฎ ๕๕ ข้อ ๑)


บ้านแถว ห้องแถว ตึกแถว ทาวน์เฮาส์ บ้านแฝด •

ตึกแถว เหมือนกับห้องแถวทุกอย่าง แต่สร้างด้วย วัสดุทนไฟ เป็นส่วนใหญ่ (กฎ ๕๕ ข้อ ๑)


บ้านแถว ห้องแถว ตึกแถว ทาวน์เฮาส์ บ้านแฝด •

บ้านแถว ที่เราเรียกเป็นภาษาชาวบ้านกันว่า "ทาวน์เฮาส์" นั่นเอง จะสร้างด้วยวัสดุทนไฟหรือไม่ทน ไฟก็ได้ (แปลว่าทาวน์เฮาส์ก็คือตึกแถวหรือห้องแถวอย่างหนึ่งนั่นเอง) แต่ที่สําคัญก็คือ ต้องใช้เป็น ที่อยู่อาศัย และห้ามสูง เกินกว่า ๓ ชั้น(ทําไมถึงห้ามสูงเกินกว่า ๓ ชั้นนั้น ซึ่งชั้นลอยไม่นับว่าเป็น "ชั้น" จะมีชั้นลอยอีก ๓ ชั้นก็ได้ กฎหมายไม่ได้ห้ามไว้ (กฎ ๕๕ ข้อ ๑)


บ้านแถว ห้องแถว ตึกแถว ทาวน์เฮาส์ บ้านแฝด •

บ้านแฝด บางคน ก็เรียกเป็น ภาษาฝรั่ง ว่า Duplex House หมายถึง ห้องแถว หรือ ตึกแถว ที่ สร้างติดกันแค่ ๒ หลัง ที่สําคัญ ก็คือ ต้อง ใช้เป็น ที่อยู่ อาศัย และ ต้อง มีพื้นที่ ด้านข้าง ส่วนที่ไม่ ติดกัน โดยกําหนด อีกว่าจะต้องมีทางเข้าออก ของ แต่ละ ยูนิต แยกจากกัน ไม่กําหนด จํานวน ชั้น ว่ามีเพียง ๓ ชั้น อย่าง ทาวน์เฮาส์ (กฎ ๕๕ ข้อ ๑)


บ้านแถว ห้องแถว ตึกแถว ทาวน์เฮาส์ บ้านแฝด •

อาคารพาณิชย์ คืออาคารที่ใช้เพื่อ ประโยชน์ทาง พาณิชยกรรม, บริการธุรกิจ หรือ อุตสาหกรรม แล้วก็ ให้รวมถึง อาคาร ที่ก่อสร้าง ห่างจาก ถนนสาธารณะไม่เกิน ๒๐ เมตร ซึ่ง "อาจ" ใช้เพื่อ ประโยชน์ในการ พาณิชย์ได้(ข้อกําหนด เกี่ยวกับ อาคารพาณิชย์ และ อุตสาหกรรม กฎ ๕๕ ข้อ ๑)


บ้านแถว ห้องแถว ตึกแถว ทาวน์เฮาส์ บ้านแฝด •

ดาดฟ้า หมายถึง พื้นที่ ส่วนบนสุดของ อาคาร ที่ไม่มี หลังคา ปกคลุม และบุคคลสามารถเข้าไป ใช้สอยได้ (ซึ่งจะต่างกับ Flat Roof ที่เป็นแค่หลังคา ที่ไม่ใช้ สอยโดยทั่วไป) ซึ่ง ดาดฟ้านี้ ถ้าไป สร้าง ใกล้ๆ กับที่ดินบุคคลอื่น จะต้องมีผนังทึบสูงไม่น้อยกว่า ๑.๘๐ เมตร โดยรอบ และ นับเป็น ส่วน ของ อาคาร อีกด้วย (กฎ ๕๕ ข้อ ๑ และข้อ ๕๐)


บ้านแถว ห้องแถว ตึกแถว ทาวน์เฮาส์ บ้านแฝด •

ที่ว่าง หมายถึง พื้นที่ ที่ไม่มีอะไร มาคลุม แต่ ห้าม ก่อสร้าง อาคาร หรือ ส่วนของ อาคาร ที่สูง เกินกว่า ๑.๒๐ เมตร จะทําเป็นที่จอดรถ บ่อน้ํา เลี้ยงยุง บ่อน้ําใช้ สระว่ายน้ํา ที่พักขยะ บ่อพัก น้ําเสีย หรือ อะไรก็ได้


บ้านแถว ห้องแถว ตึกแถว ทาวน์เฮาส์ บ้านแฝด •

ความสูงของอาคาร ปัญหา อยู่ที่ การวัดความสูง ของ อาคาร ในกรณีที่ มีการ กําหนด เรื่อง ความ สูง วัดความสูง ของ อาคาร กันที่ ระยะ จากระดับถนน หรือ ระดับ พื้นที่ ก่อสร้าง ขึ้นไปถึง ส่วน ของ อาคาร ที่สูงสุด สํารับ อาคาร ทรงจั่ว หรือ ปั้นหยา ให้วัดถึง ยอดผนัง ของ ชั้นสูงสุด (กฎ ๕๕ ข้อ ๔๔)


ห้องแถว ตึกแถว •

กว้าง-ยาว-พื้นที่ ที่น้อยที่สุดและยาวที่สุดของห้องแถวตึกแถว กําหนดให้ต้องมีขนาดความกว้าง (ตั้งฉาก)ไม่น้อยกว่า ๔.๐๐ เมตร ยาวหรือลึกก็ห้ามน้อยกว่า ๔.๐๐ เมตร แต่จะ ลึกมากๆ ก็ไม่ได้ กําหนด ให้ลึกที่สุดได้ไม่เกิน ๒๔.๐๐ เมตร และ ต้อง มี พื้นที่ ชั้นล่าง แต่ละ ห้อง (คูหา) ไม่น้อยกว่า ๓๐ ตารางเมตร ถ้าจะให้สรุปความง่ายๆก็คือ ต่อไป ห้องแถว ที่มี ขนาดเล็ก ที่สุด จะต้อง มีขนาด ไม่น้อย กว่า ๔.๐๐x๗.๕๐ เมตร เพราะ มีการ กําหนด พื้นที่ชั้นล่าง เอาไว้ด้วย (กฎ ๕๕ ข้อ ๒)


ห้องแถว ตึกแถว •

ห้องแถวลึกๆจะต้องมี Open Court ๑๐% ของพื้นชั้นล่าง เพื่อให้มีการ ถ่ายเทอากาศ ที่ดี ถ้า ตึกแถวห้องแถวที่มีความลึกมากกว่า ๑๖.๐๐ เมตร จะต้อง มีที่ว่าง ปราศจาก สิ่ง ปกคลุมที่ ระยะ ความลึกที่ ๑๒.๐๐-๑๖.๐๐ เมตร เป็น Open Court ขนาดพื้นที่ ไม่น้อยกว่า ๑๐% ของพื้นที่ ชั้น ล่าง และ Open Court นี้จะเป็น รูปทรงอะไรก็ได้ครับ (กฎ ๕๕ ข้อ ๒ วรรค ๒)


ห้องแถว ตึกแถว •

ความสูงของพื้นชั้นล่างและกันสาดของห้องแถวริมถนน แต่เดิมกฎหมายก็เคย มีกําหนดไว้ เรื่องนี้ เหมือนกันว่า พื้นชั้นล่าง ของ ห้องแถวจะต้องสูงกว่าทางเท้าสาธารณะไม่น้อยกว่า ๐.๑๐ เมตร และ จะต้องมี กันสาด สูงกว่า ทางเท้า ที่ระยะ ๓.๒๕ เมตร (ที่กําหนด ไว้ เช่นนี้ก็เพื่อ ให้กันสาด มีระดับ เท่าๆกันทุกห้อง และ สามารถ กันแดด กันฝนให้ กับ ประชาชน เดินเท้าทั่วไปได้) •

กฏหมายเดิม


ห้องแถว ตึกแถว กฎกระทรวงฉบับที่ ๕๕ พื้นชั้นล่างจะต้องสูงกว่าทางเท้าที่ ๐.๑๐ เมตร หรือ ๐.๒๕ เมตร จาก ระดับ กึ่งกลางถนน พอดิบพอดี ห้ามขาดห้ามเกิน (กฎ ๕๕ ข้อ ๒ วรรค ๓)

กฏกระทรวงใหม่


ห้องแถว ตึกแถว •

กันสาด ให้มีความสูง ของกันสาด "ไม่น้อยกว่า ๓.๒๕ เมตร" (กฎ ๕๕ ข้อ ๔๓)


ห้องแถว ตึกแถว ทาวน์เฮาส์ •

แต่ไม่เหมือนกันนัก ในส่วนของความกว้าง และ ความลึก นัน ้ เหมือนกัน คือ ต้อง ไม่น้อยกว่า ๔.๐๐ เมตร และ ลึกไม่เกิน ๒๔ เมตร เหมือนกัน แต่ ขนาด พื้นที่ ของ ทาวน์เฮาส์ เล็กกว่า เพราะ กําหนดไว้เพียง ๒๔ ตรม. (ของห้องแถวตึกแถวบอกไว้ที่ ๓๐ ตรม.) ทําให้ขนาด ของ ทา วน์เฮาส์ ที่เล็กที่สุด ก็คือ ๔.๐๐ x ๖.๐๐ เมตร (ตึกแถว ๔.๐๐ x ๗.๕๐ เมตร) การออกแบบ เพื่อ การอยู่อาศัย และ การพาณิชย์ จึง แตกต่างกัน (กฎ ๕๕ ข้อ ๓)


ทาวน์เฮาส์ •

courtyard townhouse chinese

ทาวน์เฮาส์ลึกๆก็ต้องมี Open Court แต่โตกว่าตึกแถว เพราะของตึกแถวธรรมดากําหนดไว้ว่า ถ้าห้องยาวๆ เกินกว่า ๑๖ เมตร จะ ต้องมี open court ในคูหาพื้นที่ไม่น้อยกว่า ๑๐% ของพื้นที่ชั้นล่าง แต่หากเราเอาตึกแถวนั้น มาอยู่อาศัยกลายเป็นทาวน์เฮาส์ ขนาด ของ open court จะต้องโตขึ้นเป็น ๒๐% ของพื้นที่ชั้นล่าง (อย่าลืมว่าพื้นที่ ชั้นล่างของทาวน์เฮาส์จะต้องมีพื้นที่ไม่น้อยกว่า ๒๔ ตารางเมตร ตามที่กล่าวไปแล้วด้วยนะ) และขอย้ําว่า open court นี้จะต้องเป็น "ที่ว่าง" ที่เปิดโล่งทะลุเมฆ เลย จะมีหลังคาคุ้มแดด คุ้มฝนไม่ได้เด็ดขาด หากกลัวว่าแดด -ฝนจะเข้าบ้าน คราวนี้ก็จะต้องแก้ปัญหาทางด้านการ design กันเองล่ะครับ (กฎ ๕๕ ข้อ ๓)


V

Townhouse courtyard


V

Townhouse courtyard


V

Townhouse courtyard


V

Townhouse courtyard


ทาวน์เฮาส์ •

กันสาด ให้มีความสูง ของกันสาด "ไม่น้อยกว่า ๓.๒๕ เมตร" (กฎ ๕๕ ข้อ ๔๓)


ห้องแถว ตึกแถว ทาวน์เฮาส์ • •

ตึกแถว ทาวน์เฮาส์ ตอนนี้ ห้ามทํา ยาวๆ มีการ กําหนด จํานวนคูหา กําหนดจํานวนความยาวของแถว กําหนด เรื่องพื้นที่ เว้นว่าง กําหนด เรื่อง การ ห้าม ก่อสร้าง หรือใช้ สอยพื้นที่ เว้นว่าง ระหว่างแถว และ มีการกําหนด อื่นๆ อีก ไม่น้อย ที่เราจะต้อง เริ่มปรับเปลี่ยน ความเคยชินที่ เราใช้มาตลอดหลายสิบปี หัน มาดู กฎหมายใหม่ กันแล้ว ก่อนที่จะออกแบบ ศึกษาความเป็น ไปได้ใน การลงทุน หรือ ก่อนที่จะ ขออนุญาตก่อสร้าง


ห้องแถว ตึกแถว ทาวน์เฮาส์ •

อย่าทําตึกแถว ทาวน์เฮาส์ติดกันเกินกว่า ๑๐ ห้อง

แต่เดิมกําหนดไว้ว่าห้ามสร้างเกินกว่า ๒๐ ห้อง (คูหา) ติดต่อกัน แต่ตอนนี้กฎหมายกําหนดไม่ให้เกินกว่าแค่ ๑๐ ห้อง (กฎ ๕๕ ข้อ ๔)

อย่าทําตึกแถว ทาวน์เฮาส์ติดกันแล้วมีความยาวเกินกว่า ๔๐ เมตรนะครับ


ห้องแถว ตึกแถว ทาวน์เฮาส์ •

แต่เดิมนั้นกฎหมายบางฉบับได้ กําหนดไว้ว่า ห้ามสร้างห้องแถวหรือทาวน์เฮาส์ ติดต่อกัน เกินแล้ว วัดความยาว ได้ เกิน กว่า ๘๐ เมตร แต่ตอนนี้ กฎหมายใหม่กําหนดไว้แค่ ๔๐ เมตรแล้ว โดย ไม่ คํานึงว่า ขนาดความกว้างของ ตึกแถวแต่ละคูหา จะเป็น ขนาด เท่าไหร่ เช่นถ้า เราจะสร้าง ทาวน์เฮาส์ หน้ากว้าง แต่ละ คูหา ๘.๐๐ เมตร เราก็สร้าง ได้แค่ ๕ ห้อง ติดต่อกันเท่านั้น หาก ทาวน์เฮาส์ หน้ากว้าง ๖.๐๐ เมตร ก็สร้าง ได้แค่ ๖ ห้องเท่านั้น เพราะถ้าสร้าง ๗ ห้องก็จะยาว รวมกัน = ๔๒ เมตร ก็เกิน กว่า ๔๐ เมตร ก็เป็น อันว่า ผิดกฎหมาย สร้างไม่ได้ครับ (กฎ ๕๕ ข้อ ๔)


ห้องแถว ตึกแถว ทาวน์เฮาส์ •

ในอดีตเลี่ยงกฎหมายในพื้นที่ที่ห้ามสร้างตึกแถว (เช่นพื้นที่สีเขียว ตาม พระราชบัญญัติ การผังเมือง เป็นต้น) ก็เลี่ยง โดยการ สร้างตึกแถว ที่แต่ละคูหาแยกโครงสร้างออกจากกัน และ ให้ ห่างกัน น้อยๆๆๆๆ (บางแห่งห่างกันแค่ ๑๐ ซม. เท่านั้น) แต่ตอนนี้กฎกระทรวงฉบับที่ ๕๕ ได้โดย บอกไว้ ชัดเจน ว่า "การวัด ความยาว แถว ของ ตึกแถว ทาวน์เฮาส์ จะวัด ระยะ จาก จุดศูนย์กลาง ของ เสาสุดท้าย ไม่ว่า จะเป็นเจ้าของ เดียวกัน หรือไม่ หรือ จะใช้ โครงสร้าง เดียวกัน หรือ แยกออกจากกัน ก็ตาม (กฎ ๕๕ ข้อ ๔)


ห้องแถว ตึกแถว ทาวน์เฮาส์ •

"ห้องแถวหรือตึกแถวที่สร้างติดต่อกันไม่ถึง ๑๐ คูหา หรือมีความยาวรวมกันไม่ถึง ๔๐ เมตร แต่มี ช่องว่างระหว่างแถวด้านข้างของห้องแถวหรือตึกแถวนั้นกว้างน้อยกว่า ๔.๐๐ เมตร ไม่ให้ถือว่าช่อง ว่างนั้นเป็นที่ว่าง ....แต่ให้ถือว่าห้องแถวหรือตึกแถวนั้นสร้างต่อเนื่องเป็นแถวเดียวกัน" (กฎ ๕๕ ข้อ ๓๔ วรรค ๔ และ ข้อ ๓๖ วรรค ๓)









ว่าด้วยเรื่อง "ที่ว่างระยะร่น" ของอาคาร


ว่าด้วยเรื่อง "ที่ว่าง ระยะร่น" ของอาคาร


ว่าด้วยเรื่อง "ที่ว่าง ระยะร่น" ของอาคาร


ว่าด้วยเรื่อง "ที่ว่าง ระยะร่น" ของอาคาร


ว่าด้วยเรื่อง "ที่ว่าง ระยะร่น" ของอาคาร


ว่าด้วยเรื่อง "ที่ว่าง ระยะร่น" ของอาคาร


ว่าด้วยเรื่อง "ที่ว่าง ระยะร่น" ของอาคาร


ว่าด้วยเรื่อง "ที่ว่าง ระยะร่น" ของอาคาร


ว่าด้วยเรื่อง "ที่ว่าง" ของอาคาร


ว่าด้วยเรื่อง "ที่ว่าง" ของอาคาร


กฏหมายและข้อกําหนดการก่อสร้างอาคาร •

ให้มีช่วงเสากว้างไม่ต่ํากว่า 3 เมตร ยาวไม่เกิน 16 เมตร พื้นที่ชั้นล่างมีพื้นที่ใช้สอยไม่น้อยกว่า 15 ตารางเมตร ถ้าบ้านแถวมีช่วงเสากว้างถึง 4 เมตร จะสามารถยาวได้ ไม่เกิน 24 เมตร

ถ้ายาวเกิน 16 เมตร ส่วนที่อยู่ระหว่าง 12-16 เมตร ต้อง มีที่ว่าง 10% ของพื้นที่ชั้นล่าง


• •

กฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร สําหรับโครงการที่รัฐจัดให้มีหรือพัฒนา เพื่อเป็นที่อยู่อาศัยสําหรับผู้มีรายได้น้อย •

ให้มีช่วงเสากว้างไม่ต่ํากว่า 3 เมตร ยาวไม่เกิน 16 เมตร พื้นที่ชั้นล่างมีพื้นที่ใช้สอยไม่น้อยกว่า 15 ตารางเมตร ถ้าบ้านแถวมีช่วงเสากว้างถึง 4 เมตร จะสามารถยาวได้ ไม่เกิน 24 เมตร

ถ้ายาวเกิน 16 เมตร ส่วนที่อยู่ระหว่าง 12-16 เมตร ต้อง มีที่ว่าง 10% ของพื้นที่ชั้นล่าง


บ้านแถวสูงไม่เกิน 2 ชั้น หันหน้าเข้าหากัน ไม่มีรั้วกั้น •

ให้มีระยะห่างระหว่างผนังด้านหน้าอาคารไม่น้อยกว่า 4 เมตร


บ้านแถวสูงไม่เกิน 3 ชั้น หันหน้าเข้าหากัน ไม่มีรั้วกั้น •

ให้มีระยะห่างระหว่างผนังด้านหน้าอาคารไม่น้อยกว่า 6 เมตร


ระยะร่นสําหรับบ้านแถวและบ้านแฝดในโครงการ •

ด้านหน้าและด้านข้าง ร่นไม่ต่ํากว่า 1 เมตร และต้อง เปิดประตูหน้าต่างได้

ด้านหลังถ้าไม่มีรั้ว (หันด้านหลังเข้าหากัน) ร่นไม่ต่ํากว่า 2 เมตร

ถ้ามีรั้วกั้นระหว่างกัน ร่นไม่ต่ํากว่า 3 เมตร ระยะจากพื้นถึงฝ้าหรือพื้นถึงท้องพื้น (กรณีไม่มีฝ้า) ไม่น้อย กว่า 2.4 เมตร


อาคารสูงไม่เกิน 5 ชั้น •

กรณีโครงการอยู่ใกล้แหล่งน้ําสาธารณะ เช่น คลอง ที่ไม่ใช่ แม่น้ําหรือแหล่งน้ําขนาดใหญ่ พื้นที่รวม กันไม่เกิน 2,000 เมตร ร่น แนวอาคารไม่น้อยกว่า 1 เมตรและต้องทําระบบบําบัดน้ําเสีย


อาคารสูงและอาคารสูงพิเศษ • อาคารสูง คือ อาคารที่สูงเกินกว่า 23 เมตร และจะถือเป็นอาคารใหญ่ พิเศษ หากพื้นที่ทุกชั้น หรือชั้นหนึ่งชั้นใดภายใต้หลังคาเดียวกันมีขนาด ตั้งแต่ 30,000 ตารางเมตรขึ้นไป • ความสูงของอาคารต้องสูงไม่เกินสองเท่าของระยะจากผนังด้านหน้า อาคาร จรดเขตทางถนนฟากตรงข้าม • ส่วนยอดสูงไม่เกิน 2 เมตร


อาคารสูงและอาคารสูงพิเศษ • อาคารพักอาศัยต้องมีที่ว่างไม่น้อยกว่า 30% ของพื้นที่ที่ดินแปลงนั้น • อาคารพาณิชย์ โรงงาน อาคารสาธารณะ ต้องมีที่ว่าง 10% ของ พื้นที่ที่ดินแปลงนั้น • หากมีห้องใต้ดิน ห้องใต้ดินต้องมีระบบระบายอากาศ และบําบัดน้ํา เสียและระบายน้ําทิ้งแยกเป็นอิสระ และห้ามใช้ห้องใต้ดินในการพัก อาศัย • ต้องจัดให้มี – ระบบระบายอากาศ – ระบบไฟฟ้าและระบบป้องกันเพลิงไหม้ – ระบบบําบัดน้ําเสียและระบบระบายน้ําทิ้ง


อาคารสูงและอาคารสูงพิเศษ • อาคารขนาดใหญ่ (สูงเกิน 15 เมตร+พื้นที่รวม 1,000 ตรม. หรือ พื้นที่รวม 2,000 ตรม. ต้องมีที่จอดรถ 120 ตรม/คัน เช่น มีพื้นที่รวม 2,400 ตรม. ต้องมีพื้นที่ให้จอดรถได้ 2,400/120 = 20 คัน • ห้างสรรพสินค้า ให้มีที่จอดรถ 20 ตรม/คัน • อาคารสํานักงานที่มีพื้นที่ 200 ตรม ขึ้นไป ต้องมีพื้นที่จอดรถ 60 ตรม/คัน • ตึกแถวสูงไม่เกิน 4 ชั้น ต้องมีที่จอดรถนอกอาคารห้องละ 1 คัน


ว่าด้วยเรื่อง "ที่ว่าง" ของอาคาร


อาคารสูง และ อาคาร ขนาดใหญ่พิเศษ •

ที่ว่าง รอบอาคารสูง และ อาคาร ขนาดใหญ่พิเศษ ๖.๐๐ เมตร รวมความว่า "ที่ว่าง ที่ รถดับ เพลิง สามารถ วิ่ง ได้โดยสะดวก" ตรงนี้จึง เป็นที่ว่าง ที่เป็น หลุม เป็น บ่อไม่ได้ เพราะ รถดับ เพลิง เขาวิ่ง ไม่สะดวก นะครับ (กฎ ๓๓ ข้อ ๑, กฎ ๕๐ ข้อ ๔ และ กฎ ๕๕ ข้อ ๑)


ว่าด้วยเรื่อง "ที่ว่าง" ของตึกแถว และ ทาวน์เฮาส์ • •

การถอยที่กล่าวไปนั้นไม่ได้หมายความรวมถึงระยะ Setback (1:2) เพราะ ความสูงของอาคารและความกว้าง ของถนน เพราะ กฎหมายบังคับไว้ด้วยไม่มีการยกเว้น และ จะถือว่า ระยะไหนที่ถอยร่นมากที่สุดเป็น ระยะที่เราต้องทํา ไม่เช่นนั้น จะเป็น การออกแบบ ก่อสร้าง ที่ ถูกต้อง เพียงบางข้อ เท่านั้น เพราะ กฎหมายแต่ละข้อมีประสงค์ที่แตกต่างกันไป (กฎ ๕๕ ข้อ ๔๔)


กฏหมายหรือกฏระเบียบที่เกี่ยวข้องกับภัยพิบัติ อัคคีภัย กระทรวงมหาดไทย • พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร (ฉบับที่ 3) พ.ศ 2543 •

พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ 2552

• •

พ.ร.บ ป้องกันและระงับอัคคีภัย พ.ศ 2542 ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การป้องกันและระงับอัคคีภัยในสถานประกอบ การเพื่อความปลอดภัยในการทํางานสําหรับลูกจ้าง ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กําหนดสิ่งที่ทําให้เกิดอัคคีภัยได้ง่าย กฎกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กําหนดเงื่อนไขในการใช้ การเก็บรักษา และการมีไว้ใน ครอบครองซึ่งสิ่งที่ทําให้เกิดอัคคีภัยได้ง่ายและกิจการอันอาจทําให้เกิดอัคคีภัยได้ ง่ายและการจัดให้มีบุคคลและสิ่งจําเป็นในการป้องกันและระงับอัคคีภัย พ.ศ 2548

• •


มาตรฐานการทนไฟของโครงสร้างอาคาร

อัคคีภัย อาคารขนาดเล็กชั้นเดียว อัตราทนไฟไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง อาคารขนาดกลาง อัตราทนไฟไม่น้อยกว่า 1½ ชั่วโมง อาคารขนาดใหญ่ อัตราทนไฟไม่น้อยกว่า

2 ชั่วโมง

อาคารสูงทุกอาคาร อัตราทนไฟไม่น้อยกว่า 4 ชั่วโมง ประตูทนไฟต้องเป็นวัสดุไม่ติดไฟ มีจุดหลอมละลายอย่างน้อย 800˚c


การจัดระบบพื้นที่หนีไฟและระยะสัญจร จํานวนทางหนีไฟ ชั้นแทรกซึ่งใช้ประโยชน์อื่นนอกจาก เก็บของ ที่มีพื้นที่มากกว่า 200 ตาราง เมตร หรือความยาวเกินกว่า 18 เมตร ต้งมีบันไดหนีไฟรับคนสู่ช้างล่างไม่น้อย กว่า 2 บันได อาคารชั้นใดหรือห้องใด ซึ่งมีความจุ คนตั้งแต่ 500- 999 คน จะต้องมี ทางหนีไฟไม่น้อยกว่า 3 ทาง อาคารชั้นใดหรือห้องใด ซึ่งมีความจุ คนตั้งแต่ 1000 คน จะต้องมีทางหนี ไฟไม่น้อยกว่า 4 ทาง


การจัดระบบพื้นที่หนีไฟและระยะสัญจร การจัดวางทางหนีไฟ กรณีผู้ใช้อาคารไม่สามารถออกไปยังพื้นที่โล่ง จะต้องจัดให้มีทางหนีไฟอย่างน้อย 2 ทาง กรณีทางหนีไฟ 2 ทาง ระยะห่างทางหนีไฟทั้ง สองต้องไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของเส้นทแยงมุม ของอาคาร


การจัดระบบพื้นที่หนีไฟและระยะสัญจร สิ่งกีดขวางทางหนีไฟ ทางที่นําไปสู่ทางหนีไฟ ต้องไม่ผ่านห้องครัว ห้องเก็บของ ห้องเปลี่ยนเสื้อผ้า หรือห้องอื่น ๆ ซึ่งปิดด้วยกุญแจ ยกเว้นอาคารขนาดใหญ่อนุโลมให้ผ่านห้องเก็บ ของได้ ทางที่นําไปสู่ทางหนีไฟและประตู ต้องไม่ประดับหรือตกแต่งจนทําให้ปิดบังหรือ เป็นอุปสรรคกับการหนีไฟ ห้ามติดตั้งกระจกเงาที่ประตูหนีไฟ หรือบริเวณใก้ลเคียงจนทําให้เกิดความสับสน ในทิศทางของการหนีไฟ


ส่วนประกอบของอุปกรณส่งนําดับเพลิง เครื่องดับเพลิงมือถือ Fire Hose


อุปกรณ์สัญญาณแจ้งเหตุเตือนภัยเหตุเพลิงไหม้ (Fire Alarm System)


การจัดระบบพื้นที่หนีไฟและระยะสัญจร บันไดหนีไฟ


ว่าด้วยเรื่อง "ที่ว่าง" ของอาคาร


กฏหมายหรือกฏระเบียบที่เกี่ยวข้องกับภัยพิบัติ

อุทกภัย กระทรวงมหาดไทย •

พระราชบัญญัติการชลประทานหลวง พุทธศักราช 2485


กฏหมายหรือกฏระเบียบที่เกี่ยวข้องกับภัยพิบัติ แผ่นดินไหว กระทรวงมหาดไทย •

พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร (ฉบับที่ 3) พ.ศ 2543

พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ 2552

กฏกระทรวง กําหนดการรับน้ําหนัก ความต้านทาน ความคงทนของอาคารและพืน ้ ดินที่รองรับอาคารในการต้านทานแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว พ.ศ 2550


กฎกระทรวงกําหนดหลักเกณฑ์การอนุญาตดัดแปลงอาคารเพื่อเสริมความมั่นคงแข็งแรง ของอาคารให้สามารถต้านแรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหว พ.ศ. 2555
 •

1. กฎกระทรวงนี้ให้ใช้บังคับแก่อาคารตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารในบริเวณที่กําหนดในกฎกระทรวง กําหนดการรับน้ําหนัก ความต้านทาน ความคงทนของอาคาร และพื้นดินที่รองรับอาคารในการต้านทานแรงสั่นสะเทือน ของแผ่นดินไหว พ.ศ. 2550

2. การเสริมความมั่นคงแข็งแรงของอาคารให้สามารถต้านแรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหวอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ ให้ถือว่าเป็นการดัดแปลงอาคารตามกฎกระทรวงนี้

(1) การเพิ่ม ลด หรือขยายรูปทรง สัดส่วน และเนื้อที่ในส่วนของโครงสร้างอาคารที่ใช้ต้านแรงต่าง ๆ เช่น แผ่นพื้น คาน เสา ฐานราก

(2) การเพิ่มโครงสร้างหรือส่วนของโครงสร้างที่ออกแบบให้ต้านแรงด้านข้าง (lateral - force- resisting structures) เช่น กําแพงปีก (wing wall) กําแพงรับแรงเฉือน (shear wall) โครงแกงแนง(braced frame)

(3) การติดตั้งอุปกรณ์สลายพลังงาน (energy - dissipation device) กับอาคารเพื่อทําหน้าที่ลดการสั่น สะเทือนโดยการสลายพลังงาน

(4) การติดตั้งอุปกรณ์ลดการส่งผ่านการสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหว (seismic - isolation device)ที่ส่งผ่าน จากฐานรากหรืออาคารส่วนล่างสู่อาคารส่วนบน

(5) การแยกส่วนโครงสร้างของอาคารที่มีรูปทรงไม่สม่ําเสมอ

(6) การเพิ่มหรือเสริมฐานรากอาคาร


พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๓๕


แหล่งกําเนิดมลพิษอาคารประเภท ก. - อาคารชุดที่มีจํานวนห้องสําหรับใช้เป็นที่อยู่อาศัยรวมกันทุกชั้นของ อาคารหรือกลุ่มของอาคารตั้งแต่ ๕๐๐ ห้องนอนขึ้นไป - โรงแรมที่มีจํานวนห้องสําหรับใช้เป็นห้องพักรวมกันทุกชั้นของ อาคาร หรือกลุ่มของอาคารตั้งแต่ ๒๐๐ ห้องขึ้นไป - โรงพยาบาลของทางราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือสถานพยาบาล ตาม กฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล ที่มีเตียงสําหรับรับผู้ป่วยไว้ค้างคืนรวมกัน ทุกชั้นของอาคาร หรือกลุ่มของอาคาร ตั้งแต่ ๓๐ เตียงขึ้นไป


แหล่งกําเนิดมลพิษอาคารประเภท ก. - อาคารโรงเรียนเอกชน โรงเรียนของทางราชการ สถาบันอุดมศึกษา ของเอกชน หรือสถาบันอุดมศึกษาของทางราชการ ที่มีพื้นที่ใช้สอย รวมกันทุกชั้นของอาคาร หรือกลุ่มของอาคาร ตั้งแต่ ๒๕,๐๐๐ ตาราง เมตรขึ้นไป - อาคารที่ทําการของทางราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์การระหว่างประเทศ หรือของเอกชน ที่มีพื้นที่ใช้สอยรวมกันทุกชั้นของอาคารหรือกลุ่มของ อาคารตั้งแต่ ๕๕,๐๐๐ ตารางเมตรขึ้นไป


แหล่งกําเนิดมลพิษอาคารประเภท ก. - อาคารของศูนย์การค้าหรือห้างสรรพสินค้า ตั้งแต่ ๒๕,๐๐๐ ตารางเมตรขึ้นไป - ตลาดที่มีพื้นที่ใช้สอยรวมกันทุกชั้นของอาคาร ๒,๕๐๐ ตารางเมตรขึ้นไป - ภัตตาคารหรือร้านอาหาร ๒,๕๐๐ ตารางเมตรขึ้นไป


กฏหมายอาคาร ตอนที่2 Building Law II

QC. INT 481 ACADEMIC YEAR 2013 / FIRST SEMESTER DEPARTMENT OF INTERIOR DESIGN


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.