Annual Report 2011 (Thai)

Page 1

รายงานประจำ � ปี 2554 บริษัท ไรมอน แลนด์ จำ�กัด (มหาชน)



สารบัญ สาส์นจากประธานกรรมการบริษัท สาส์นจากกรรมการผู้อำ�นวยการ

4 6

ส่วนที่ 1: บทวิเคราะห์

บทวิเคราะห์ผลการดำ�เนินงาน บทวิเคราะห์ฐานะการเงิน บทวิเคราะห์ตลาดและการแข่งขัน บทวิเคราะห์โครงการ ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม รายงานการกำ�กับดูแลกิจการของคณะกรรมการตรวจสอบ คณะกรรมการบริษัท

ส่วนที่ 2: ข้อมูลบริษัท โครงสร้างการถือหุ้นของบริษัท ข้อมูลทั่วไปของบริษัทฯ บริษัทย่อย และบริษัทอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ผู้ถือหุ้นและโครงสร้างเงินทุน การจัดการ รายการระหว่างกัน ปัจจัยเสี่ยง

ส่วนที่ 3: งบการเงิน

รายงานของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต งบการเงินรวม หมายเหตุประกอบงบการเงินรวม

8 11 14 19 26 28 34 39 41 42


สาส์นจากประธานกรรมการบริษัท

สมโภชน์ อินทรานุกูล ภายใต้มาตรฐานบัญชีใหม่ ไรมอน แลนด์สามารถรับรู้รายได้จากการขายก็ต่อเมื่อมีการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดให้กับลูกค้าแล้วเท่านั้น ซึ่งแตก ต่างจากวิธีการรับรู้รายได้แบบเดิมที่รับรู้รายได้ตามอัตราส่วนของงานที่ทำ�แล้วเสร็จ (Percentage of Work Completion) ที่ผู้พัฒนา อสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทยรวมถึงไรมอน แลนด์ถือปฎิบัติก่อนหน้านี้ ภายใต้ข้อจำ�กัดตามมาตรฐานบัญชีจึงไม่สามารถสะท้อนให้เห็นถึง ความสำ�เร็จและความก้าวหน้าที่แท้จริงของบริษัทในปีที่ผา่ นมา ทั้งๆ ที่ในปี 2554 บริษัทมียอดขายที่แข็งแกร่งในทุกๆ โครงการ แต่ต้อง รายงานผลขาดทุนในปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม ตามมาตราฐานบัญชีใหม่ บริษัทมีทิศทางการรับรู้รายได้ที่มั่นคงในอนาคตจากกำ�หนดการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดโครงการ เดอะริเวอร์ในปี 2555 โครงการ 185 ราชดำ�ริในปี 2556 และโครงการซายร์ วงศ์อมาตย์ในปี 2557 ในปี 2554 บริษัทฯ มีเหตุการณ์สำ�คัญต่างๆ เกิดขึ้น ดังนี้ 1. การรวบรวมเงินลงทุนในธุรกิจหลัก ภายใต้แผนการรวบรวมเงินลงทุนในธุรกิจหลักของบริษทั บริษทั ฯ ได้เข้าซือ้ หุน้ ส่วนทีเ่ หลือทัง้ หมด ของบริษัท ตากสิน โฮเทล โฮลดิ้ง จำ�กัด และบริษัท ไรมอน แลนด์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำ�กัด ซึ่งเป็นบริษัทที่เป็นเจ้าของโครงการ เดอะริเวอร์ และซายร์ วงศ์อมาตย์ตามลำ�ดับ ส่งผลให้ปจั จุบนั บริษทั ฯ มีสดั ส่วนการถือหุน้ ร้อยละ 100 ในโครงการหลักของบริษทั ทุกโครงการ 2. การสร้างความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ ภายใต้แผนงานในการขยายฐานลูกค้าและลดความเสีย่ งจากการพึง่ พาลูกค้ากลุม่ ใดกลุม่ หนึง่ เป็น หลัก บริษัทได้ทำ�การเปิดตัวโครงการคอนโดมีเนียมภายใต้ 2 แบรนด์ใหม่ ได้แก่ แบรนด์ ซายร์ ซึ่งเป็นแบรนด์สไตล์รีสอร์ทแบรนด์แรกของ บริษทั เพือ่ ตอบสนองความต้องการของคนกรุงเทพทีก่ �ำ ลังมองหาทีพ่ กั ตากอากาศ และแบรนด์ ยูนกิ ซ์ ทีไ่ ด้ผสมผสานจุดเด่นทีเ่ ป็นเอกลักษณ์ ของบริษัทภายใต้คอนเซ็ปส์ห้องขนาดกระทัดรัด โดยมีลูกค้ากลุ่มเป้าหมายเป็นลูกค้าวัยหนุ่มสาวที่กำ�ลังมองหาคอนโดมีเนียมคุณภาพเยี่ยมใน ราคาที่เหมาะสม

4 รายงานประจำ�ปี 2554


3. การกำ�กับดูแลกิจการที่ดี บริษัทฯ ยังมุ่งมั่นที่จะพัฒนาขั้นตอนการกำ�กับดูแลกิจการเพื่อให้เกิดความโปร่งใสและความน่าเชื่อถืออยู่ตลอด เวลา โดยได้มีการมอบหมายให้ฝ่ายทรัพยากรบุคคลกำ�หนดอำ�นาจความรับผิดชอบและการรายงานในแต่ละส่วนให้ชัดเจนและรัดกุมยิ่งขึ้น รวม ไปถึงการกำ�หนดค่าตอบแทนที่มีมาตรฐาน เพื่อลดอัตราการหมุนเวียนของพนักงาน (Employee turnover) และพัฒนากระบวนการสรรหา หรือว่าจ้างให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น 4. อัตราการกู้ยืมที่ลดลง บริษัทฯ มีหนี้สินที่มีดอกเบี้ยสุทธิ (Net interest-bearing debt) ณ ปลายเดือนธันวาคม 2554 เป็นมูลค่า 6 พันล้านบาท ส่งผลให้บริษัทมีอัตราส่วนของหนี้สินสุทธิต่อมูลค่าตลาดรวมของบริษัท (Company’s market Enterprise Value) ลดลงจากกว่าร้อยละ 70 เมื่อปี 2553 อยู่ที่ประมาณร้อยละ 61 ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2554 ในภาพรวม บริษัทฯ พร้อมสำ�หรับการเติบโตไปอย่างมั่นคงในอนาคตข้างหน้า และเหนือสิ่งอื่นใด ไรมอน แลนด์ จะยังคงยึดมั่นในคำ�สัญญา ที่มีต่อลูกค้าและจะทุ่มเทเพื่อมาตรฐานสูงสุดในการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เฉกเช่นที่ผ่านมา ในฐานะประธานกรรมการของบริษัท ผมขอขอบคุณผู้ถือหุ้น ผู้บริหาร พนักงาน และผู้เกี่ยวข้องทุกท่าน สำ�หรับการสนับสนุนเป็นอย่างดี ตลอดปีที่ผ่านมา และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าเราจะก้าวไปสู่อนาคตที่สดใสในปีหน้าร่วมกัน

นายสมโภชน์ อินทรานุกูล ประธานกรรมการบริษัท

รายงานประจำ�ปี 2554 5


สาส์น จากกรรมการผู้อำ�นวยการ มร. อูแบร์ วิริออท ภายหลังการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์และการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างบริษัทในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา บริษัท ไรมอน แลนด์ จำ�กัด (มหาชน) สามารถ กลับมาเติบโตได้อย่างแข็งแกร่งอีกครั้งในปี 2554 ถึงแม้วา่ เศรษฐกิจโลกอยูใ่ นสภาวะทีเ่ ปราะบางประกอบกับปัญหาอุทกภัยครัง้ ใหญ่ในปีทผี่ า่ นมา ไรมอน แลนด์ ยังคงมียอดขายเพิม่ ขึน้ อย่างต่อ เนื่อง โดยในปี 2554 บริษัทมียอดขายเพื่มขึ้นร้อยละ 23 เมื่อเทียบกับปีที่ผา่ นมา หรือมียอดขายสูงถึงกว่า 5 พันล้านบาท ซึ่งส่งผลให้ ยอด Backlog หรือยอดขายที่ยังไม่รับรู้รายได้ ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2554 มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้นถึง 1.74 หมื่นล้านบาท โดยประมาณ 2 ใน 3 ของยอดขายทั้งหมดมาจากโครงการเดอะริเวอร์ (มียอดขายแล้วกว่าร้อยละ 76 ณ สิ้นปี) และอีกประมาณ 1 ใน 4 มาจากโครงการ 185 ราชดำ�ริ (มียอดขายแล้วกว่าร้อยละ 51 ณ สิ้นปี) นอกจากนี้ สถานะการเติบโตของบริษัทยังได้เข้าสู่ภาวะขยายตัว ซึ่งรวมถึงการขยายผลิตภัณฑ์ การลงทุนหรือพัฒนาในธุรกิจที่ต่อเนื่องหรือ เกื้อหนุนกัน โดยในปีที่ผ่านมา บริษัทได้ทำ�การเปิดตัวโครงการใหม่ 3 โครงการ ดังนี้ 1. โครงการวิว - ตั้งอยู่หน้าโครงการเดอะริเวอร์ เป็นโครงการชอปปิ้งมอลล์ในกรุงเทพมหานครโครงการแรกของบริษัท เปิดตัวไปเมื่อ ไตรมาสแรกของปี 2554 ที่ผ่านมา มีกำ�หนดเสร็จสมบรูณ์ในเดือนเมษายน 2555 โดยสิ้นปี 2554 โครงการวิวมีผู้เช่าซึ่งเป็นร้านค้าปลีก ชั้นนำ�ต่างๆ แล้วกว่าร้อยละ 60 ของพื้นที่เช่าทั้งหมด 2. ซายร์ วงศ์อมาตย์ - ตั้งอยู่บนหาดวงศ์อมาตย์ พัทยา ติดกับโครงการนอร์ทพอยท์ ประกอบไปด้วยห้องชุดประมาณ 480 ยูนิต มี มูลค่าขายรวมทัง้ สิน้ ประมาณ 2.8 พันล้านบาท เปิดตัวโครงการไตรมาสแรกของปี 2554 ทีผ่ า่ นมา มีก�ำ หนดจะแล้วเสร็จภายในปี 2557 โครง การซายร์ วงศ์อมาตย์ได้รบั การตอบรับจากลูกค้าเป็นอย่างดี โดย ณ สิน้ เดือนปี 2554 มียอดขายแล้วกว่าร้อยละ 59 ของพืน้ ทีข่ ายทัง้ หมด 3. ยูนิกซ์ เซาท์พัทยา - เปิดตัวเมื่อปลายปี 2554 ที่ผา่ นมา โครงการยูนิกซ์ เซาท์พัทยา ถือเป็นโครงการแรกของบริษัทภายใต้ แบรนด์ ใหม่ “ยูนิกซ์” ที่บริษัทมุ่งเน้นการสร้างความแตกต่างด้วยการออกแบบที่ชาญฉลาดสำ�หรับห้องขนาดกระทัดรัดภายใต้คอนเซ็ป “ฮิป” เพื่อ ดึงดูดกลุ่มลูกค้าที่อายุน้อย ชาวต่างชาติที่ทำ�งานในอีสเทิร์นซีบอร์ด รวมถึงผู้ที่กำ�ลังมองหาบ้านพักตากอากาศ โครงการยูนิกซ์ เซาท์พัทยา

6 รายงานประจำ�ปี 2554


มีมูลค่าโครงการประมาณ 2.95 พันล้านบาท มีกำ�หนดก่อสร้างแล้วเสร็จประมาณปลายปี 2557 โดยกว่าร้อยละ 20 ของจำ�นวนห้องชุด (จากทั้งหมด 1,207 ยูนิต) ถูกขายไปหลังเปิดตัวโครงการเพียง 2 สัปดาห์ ความสำ�เร็จในการเปิดตัวโครงการใหม่ทั้ง 3 โครงการนั้น ถือเป็นเครื่องสะท้อนถึงชื่อเสียงและการเติบโตของไรมอน แลนด์ ซึ่งในปีที่ผา่ นมา สัดส่วนลูกค้าชาวไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2554 คิดเป็นยอดขายกว่า 2 ใน 3 ของยอดขายทั้งหมดของบริษัท ด้วยมูลค่าโครงการที่ขายแล้วและยังไม่ขายในปัจจุบันซึ่งมีมูลค่ารวมกว่า 3.12 หมื่นล้านบาทหรือประมาณ 1 พันล้านเหรียญสหรัฐที่ยังไม่มี การรับรู้รายได้ บริษัทยังมีแผนที่จะเปิดตัวโครงการใหม่อีกอย่างต่อเนื่อง นับเป็นสิ่งรับประกันถึงกระแสเงินสดที่มั่นคงและความสามารถในการ ทำ�กำ�ไรในอนาคต ความสำ�เร็จในปีทผี่ า่ นมาของบริษทั เริม่ ได้รบั การยอมรับจากตลาดทุนมากขึน้ เห็นได้จากราคาหุน้ ทีเ่ พิม่ ขึน้ กว่าร้อยละ 150 ในปีทผี่ า่ นมา และสำ�หรับ ในอนาคตข้างหน้า หากมองการรับรูร้ ายได้ที่จะเกิดขึน้ อย่างต่อเนื่องจากการโอนห้องชุด รวมทั้งอัตราส่วนทางตลาดทุน (Market multiples) ของบริษทั ทีย่ งั ต่�ำ กว่าบริษทั อสังหาริมทรัพย์ในตลาดอีกมาก บริษทั มีความเชือ่ มัน่ ว่าจะสามารถสร้างผลตอบแทนทีด่ ใี ห้กบั ผูถ้ อื หุน้ ได้ในอนาคต ผมขอถือโอกาสนี้ขอบคุณลูกค้า พนักงาน พันธมิตรทางธุรกิจ แล้วผู้เกี่ยวข้องทุกท่านที่ให้การสนับสนุนและความไว้วางใจบริษัทเป็นอย่างดี ตลอดปีที่ผ่านมา ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่าเราจะก้าวเดินไปข้างหน้าด้วยกันอีกครั้งในปี 2555

มร. อูแบร์ วิริออท กรรมการผู้อำ�นวยการ

รายงานประจำ�ปี 2554 7


บทวิเคราะห์ผลการดำ�เนินงาน ในปี 2554 บริษัทมียอดขายหรือยอด PRE-SALE จำ�นวนประมาณ 5,000 ล้านบาทซึ่งเพื่มขึ้นจากปีก่อนประมาณร้อยละ 23 ส่งผลให้ ยอดขายที่ยังไม่รับรู้รายได้ (Backlog) ณ สิ้นปี 2554 เพิ่มขึ้นเป็นกว่า 17,400 ล้านบาท ด้วยยอดขายที่ยังไม่รับรู้รายได้ (Backlog) ที่มีกว่า 17,000 ล้านบาทนั้นเป็นสิ่งที่รับประกันถึงกระแสเงินสดที่มั่นคงของบริษัทฯที่จะได้รับ อย่างต่อเนื่องในอนาคต ซึ่งตัวเลขทางบัญชีที่นำ�เสนอไม่ได้แสดงถึงการเติบโตที่แท้จริงของบริษัทฯในช่วงที่ผา่ นมา ภายใต้มาตรฐานบัญชีใหม่ บริษัทฯสามารถรับรู้รายได้จากการขายได้ก็ต่อเมื่อมีการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดเท่านั้น แม้ว่าโครงการจะอยู่ระหว่าง การก่อสร้างและบริษัทได้รับชำ�ระเงินค่างวดจากลูกค้าแล้วก็ตาม ภายใต้มาตรฐานใหม่นี้ ส่งผลให้ในปี 2554 บริษัทสามารถรับรู้รายได้เพียง 1,152 ล้านบาท โดยเป็นการรับรู้รายได้จากโครงการนอร์ทพ้อยท์และโครงการเดอะไฮทส์ ภูเก็ต เท่านั้น บทสรุปงบกำ�ไรขาดทุน (งบการเงินรวม) ปี 2554 (ล้านบาท) รายได้รวม ค่าใช้จ่ายดำ�เนินงานสุทธิ กำ�ไร (ขาดทุน) ก่อนหักค่าใช้จ่ายทางการเงิน ภาษี ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำ�หน่าย (EBITDA) ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำ�หน่าย กำ�ไร (ขาดทุน) ก่อนหักค่าใช้จ่ายทางการเงิน และภาษี (EBIT) ค่าใช้จ่ายทางการเงิน ภาษีเงินได้นิติบุคคล ส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย กำ�ไร (ขาดทุน) สุทธิ กำ�ไร (ขาดทุน) ต่อหุ้นขั้นพื้นฐาน

ปี 2553 (ล้านบาท) อัตราการเปลี่ยนแปลง (%) (ปรับปรุงใหม่)

1,228 (1,344)

3,492 (3,235)

-65% -58%

(116) (41) (157) (114) (209) 6 (474) (0.15)

257 (25) 232 (152) (21) 4 63 0.02

n.a. 64% n.a. -25% 895% n.a. n.a. n.a.

ในปี 2554 บริษัทและบริษัทย่อยมีขาดทุนสุทธิจากการดำ�เนินงานตามงบการเงินรวมเป็นจำ�นวน 474 ล้านบาท ในขณะที่ในปี 2553 บริษัท และบริษัทย่อยมีกำ�ไรสุทธิอยู่ที่ 63 ล้านบาท โดยมีสาเหตุสำ�คัญดังต่อไปนี้ 1. ในเดือนธันวาคม 2554 ได้มีพระราชกฤษฎีกาประกาศลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลจากอัตราร้อยละ 30 เป็นร้อยละ 23 ในปี 2555 และเป็นร้อยละ 20 ตั้งแต่ปี 2556 เป็นต้นไป ส่งผลให้ ค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้นิติบุคคลที่เกิดจากผลกระทบต่อการคำ�นวณสินทรัพย์ภาษี เงินได้รอการตัดบัญชีเพิ่มขึน้ เป็นจำ�นวน 278 ล้านบาท (เป็นรายการที่เกิดขึน้ เพียงครั้งเดียว และแสดงรายละเอียดในหมายเหตุประกอบ งบการเงินข้อ 15) ทั้งนี้หากไม่รวมค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้จากการปรับลดอัตราภาษีดังกล่าวบริษัทและบริษัทย่อยจะมีขาดทุนสุทธิจากการดำ�เนินงานตามงบการ เงินรวมเป็นจำ�นวน 196 ล้านบาท 2. บริษัทสามารถรับรู้รายได้จากการขายและการโอนโครงการอสังหาริมทรัพย์ได้น้อยกว่าปีก่อน เป็นจำ�นวน 2,089 ล้านบาท หรือ ลดลง ประมาณร้อยละ 64

8 รายงานประจำ�ปี 2554


รายได้ ภายใต้มาตรฐานบัญชีใหม่ บริษัทฯสามารถรับรู้รายได้จากการขายได้ก็ต่อเมื่อมีการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดเท่านั้น แม้ว่าโครงการจะอยู่ระหว่าง การก่อสร้างและบริษัทได้รับชำ�ระเงินค่างวดจากลูกค้าแล้วก็ตาม ภายใต้มาตรฐานใหม่นี้ ในปี 2554 บริษัทสามารถรับรู้รายได้จากการขาย อสังหาริมทรัพย์เพียง 1,152 ล้านบาท ซึ่งน้อยกว่าปี 2553 เป็นจำ�นวน 2,089 ล้านบาท หรือ ลดลงประมาณร้อยละ 64 ทั้งนี้หากบริษัทฯและบริษัทย่อยสามารถรับรู้รายได้ด้วยวิธีอัตราส่วนของงานที่ทำ�เสร็จ บริษัทฯและบริษัทย่อยจะมีรายได้รวมในปี 2554 ประมาณ 3,549 ล้านบาท ในปี 2554 ร้อยละ 94 ของรายได้รวม มาจากการรับรู้รายได้ของโครงการอสังหาริมทรัพย์ 2 โครงการซึ่งได้แก่ โครงการนอร์ทพ้อยท์ พัทยา จำ�นวน 1,062 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 87 ของรายได้รวม และโครงการเดอะไฮทส์ ภูเก็ตจำ�นวน 90 ล้านบาท หรือคิดเป็น ร้อยละ 7 ของรายได้รวม โครงการ โครงการเดอะไฮทส์ ภูเก็ต โครงการนอร์ทพ้อยท์ อื่น ๆ* รวม

ปี 2554 รายได้ (ล้านบาท) 90 1,062 76 1,228

% 7% 87% 6% 100%

ปี 2553 รายได้ (ล้านบาท) 425 2,816 251 3,492

% 12% 81% 7% 100%

* รวมถึงรายได้โครงการอื่น รายได้จากค่าเช่าและการบริการ ค่านายหน้า ดอกเบี้ย กำ�ไรจากอัตราแลกเปลี่ยน และรายได้จากการโอนกลับค่าเผื่อผลขาดทุนจากการลดมูลค่าที่ดินรอการขาย

ต้นทุนขาย ในปี 2554 บริษัทฯและบริษัทย่อยมีต้นทุนขายลดลงคิดเป็นร้อยละ 64 จากปีที่ผา่ นมา ซึ่งเป็นไปตามสัดส่วนการรับรู้รายได้จากการขาย อสังหาริมทรัพย์ที่ลดลง

โครงการ โครงการเดอะไฮทส์ ภูเก็ต โครงการนอร์ทพ้อยท์ รวม

ปี 2554 ต้นทุนขาย (ล้านบาท) 62 757 819

ปี 2553 % ต้นทุนขาย (ล้านบาท) 8% 92% 100%

306 2,008 2,314

% 13% 87% 100%

กำ�ไรขั้นต้น แนวโน้มอัตรากำ�ไรขั้นต้นของบริษัทและบริษัทย่อยมีทิศทางที่สูงขึ้น โดยที่ในปี 2552 บริษัทและบริษัทย่อยมีอัตรากำ�ไรขั้นต้นอยู่ที่ร้อยละ 26 ต่อมาในปี 2553 และ 2554 บริษัทสามารถรักษาอัตรากำ�ไรขั้นต้นอยู่ที่ร้อยละ 29 ซึ่งสูงกว่าอัตรากำ�ไรขั้นต้นในอดีต ซึ่งแสดงถึง ความสามารถในการทำ�กำ�ไรของบริษัทและบริษัทย่อยยังอยู่ในเกณฑ์ที่ดี

รายงานประจำ�ปี 2554 9


ค่าใช้จ่ายการขายและบริหาร ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารเป็นค่าใช้จ่ายหลักอันดับที่สองของบริษัทฯ คิดเป็นร้อยละ 41 ของค่าใช้จา่ ยรวมในปี 2554 ค่าใช้จา่ ยในการ ขายและบริหารเพิ่มขึ้นจาก 543 ล้านบาทในปี 2553 เป็น 577 ล้านบาทในปี 2554 คิดเป็นอัตราการเพิ่มขึ้นร้อยละ 6 เนื่องจากค่าใช้จ่ายที่ เกี่ยวข้องกับพนักงานเพิ่มขึ้นเพื่อรองรับกับการเปิดโครงการใหม่และการโอนกรรมสิทธิอาคารชุดให้กับลูกค้า รายการค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร เงินเดือนและผลประโยชน์อื่นของพนักงาน ค่าตอบแทนผู้บริหาร ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำ�หน่าย ภาษีธุรกิจเฉพาะและค่าธรรมเนียมการโอน ค่าใช้จ่ายในการขายอื่น ค่าใช้จ่ายบริหารโครงการ ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ รวม

ปี 2554 (ล้านบาท) 89.4 53.7 41.0 46.4 142.0 61.7 142.6 576.8

ปี 2553 อัตราการเปลี่ยนแปลง (ล้านบาท) (%) 77.9 39.6 25.4 99.6 145.2 54.9 100.6 543.2

14.76% 35.61% 61.42% -53.41% -2.20% 12.39% 41.75% 6.19%

ปรับลดดอกเบี้ยค้างรับจากเงินให้กู้ยืมแก่กิจการที่ควบคุมร่วมกัน ในปี 2553 บริษัทฯได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมแก่กิจการที่ควบคุมร่วมกันสองแห่ง จากอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี ลดลง เหลืออัตราดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี โดยให้มีผลบังคับย้อนหลังตั้งแต่วันที่ในสัญญากู้ยืม บริษัทฯได้บันทึกปรับปรุงดอกเบี้ยค้างรับดัง กล่าวแล้วเป็นจำ�นวนเงินประมาณ 94 ล้านบาท

ส่วนแบ่งขาดทุนจากเงินลงทุนในการร่วมค้า ในปี 2553 กิจการที่ควบคุมร่วมกันแห่งหนึ่งได้ขายที่ดินในราคาที่ต่ำ�กว่าภาระหนี้ (มูลค่าของเงินกู้รวมถึงดอกเบี้ย) ซึ่งกิจการที่ควบคุมร่วม กันแห่งนั้นมีต่อสถาบันการเงินและบริษัทฯ ทำ�ให้บริษัทฯต้องรับรู้ส่วนแบ่งขาดทุนจากเงินลงทุนในกิจการที่ควบคุมร่วมกันตามสัดส่วนการ ลงทุน

ค่าใช้จ่ายทางการเงิน ค่าใช้จ่ายทางการเงินส่วนใหญ่ที่บริษัทฯ กู้มาเพื่อการพัฒนาโครงการจะถูกบันทึกเข้าเป็นต้นทุนของโครงการจนกว่าการก่อสร้างจะแล้วเสร็จ ดังนั้น ในปี 2554 บริษัทฯ มีคา่ ใช้จ่ายทางการเงินน้อยกว่าปีที่ผ่านมาเนื่องจากการที่ลูกค้าได้มีการทยอยรับโอนห้องชุดในโครงการต่างๆ ขอ งบริษัทฯ ซึ่งส่งผลให้บริษัทฯสามารถชำ�ระเงินกู้ยืมจากสถาบันการเงินและส่งผลให้คา่ ใช้จา่ ยทางการเงินลดลง

10 รายงานประจำ�ปี 2554


บทวิเคราะห์ฐานะการเงิน บทสรุปงบแสดงฐานะทางการเงิน (งบการเงินรวม) ปี 2554 (ล้านบาท) เงินสด หรือรายการเทียบเท่าเงินสด ต้นทุนโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ สินทรัพย์หมุนเวียนอื่นๆ ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์* สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่น รวมสินทรัพย์ หนิ้สินหมุนเวียน หนิ้สินไม่หมุนเวียน รวมหนี้สิน รวมส่วนของผู้ถือหุ้น รวมหนี้สิน และส่วนของผู้ถือหุ้น

662 12,620 614 200 1,203 15,299 7,887 6,809 14,696 603 15,299

ปี 2553 (ล้านบาท) อัตราการเปลี่ยนแปลง (ปรับปรุงใหม่) (%) 581 9,868 356 241 1,358 12,404 6,177 4,828 11,005 1,399 12,404

14% 28% 72% -17% -11% 23% 28% 41% 34% -57% 23%

*ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์รวมถึงอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน สิทธิการเช่า และที่ดินรอการพัฒนา

สินทรัพย์ สินทรัพย์รวมของ ไรมอน แลนด์ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554 มีมลู ค่าเปลีย่ นแปลงเพิม่ ขึน้ คิดเป็นอัตราร้อยละ 23 เมือ่ เทียบกับสินทรัพย์ รวม ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2553 การเปลี่ยนแปลงในสินทรัพย์ที่สำ�คัญของบริษัทฯและบริษัทย่อยมีดังนี้ 1. ต้นทุนโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพิ่มขึ้น 2,752 ล้านบาท และเงินจ่ายล่วงหน้าผู้รับเหมาเพิ่มขึ้น 295 ล้านบาท จากปีที่ผ่านมา เนื่องมาจากความคืบหน้าของการก่อสร้าง โครงการ เดอะริเวอร์ และ โครงการ 185 ราชดำ�ริ 2. เงินให้กู้ยืมระยะยาวแก่กิจการที่ควบคุมร่วมกัน ลดลงเป็นจำ�นวนเงิน 258 ล้านบาท จากปีที่ผ่านมา เนื่องจาก ในระหว่างปี บริษัทฯได้ ซื้อหุ้นร้อยละ 49 ในบริษัท ไรมอน แลนด์ เรสซิเด้นซ์ จำ�กัด และ บริษัท ไรมอน แลนด์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำ�กัด ทำ�ให้เปลี่ยนสถานะ จากกิจการที่ควบคุมร่วมกันเป็นบริษัทย่อย

หนี้สิน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554 บริษัทฯ และบริษัทย่อยมีหนี้สินที่มีดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นประมาณ 2 พันล้านบาท จาก 4.6 พันล้านบาท ในปี 2553 เป็น 6.6 พันล้านบาท ในปี 2554 เนื่องจากบริษัทเบิกเงินกู้เพื่อใช้ในการพัฒนาโครงการซึ่งรวมถึงการจ่ายเงินให้ผู้รับเหมาตามความ คืบหน้าของโครงการ นอกจากนี้ ในปี 2554 หนี้สินที่ไม่มีดอกเบี้ย เพิ่มขึ้นประมาณ 1.7 พันล้านบาท จาก 6.4 พันล้านบาท ในปี 2553 เป็น 8.1 พันล้านบาท ในปี 2554 เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของยอดขายในแต่ละโครงการ และการจ่ายเงินดาวน์ของลูกค้าตามสัญญาจะซื้อจะขาย โดยบริษัทได้รับเงินดาวน์จากลูกค้าในปี 2554 จำ�นวนประมาณ 1.4 พันล้านบาท

รายงานประจำ�ปี 2554 11


ส่วนของผู้ถือหุ้น ณ สิ้นปี 2554 บริษัทฯ มีส่วนของผู้ถือหุ้นจำ�นวน 603 ล้านบาท ลดลง 795 ล้านบาทคิดเป็นร้อยละ 57 จากปี 2553 เนื่องจาก ผลขาดทุนในปี 2554 จำ�นวน 474 ล้านบาท และบริษัทฯได้บันทึกส่วนเกินเงินลงทุนซึ่งเกิดจากการซื้อเงินลงทุนในบริษัทย่อยเพิ่มใน ราคาที่สูงกว่ามูลค่าตามบัญชีของบริษัทย่อย ณ วันที่ซื้อเป็นจำ�นวน 321 ล้านบาท

กระแสเงินสด ในช่วงปี 2552 – 2554 บริษัทฯ มีกระแสเงินสดสุทธิจากกิจกรรมการดำ�เนินงานเป็นจำ�นวน (469) ล้านบาท 349 ล้านบาท และ (1,043) ล้านบาทตามลำ�ดับ ในปี 2554 บริษัทฯ มีกระแสเงินสดจ่ายสุทธิจากกิจกรรมการดำ�เนินงานจำ�นวน (1,043) ล้านบาท สาเหตุ ส่วนใหญ่เกิดจากจ่ายค่าก่อสร้างตามความคืบหน้าในการก่อสร้างโครงการของบริษัทและบริษัทย่อย ส่งผลให้บริษัทและบริษัทย่อยมี กระแสเงินสดจ่ายในเรื่องของการพัฒนาโครงการเป็นจำ�นวน (2,186) ล้านบาท และการรับเงินมัดจำ�จากการขายห้องชุดเป็นจำ�นวน 1,231 ล้านบาท ในช่วงปี 2552 – 2554 บริษัทฯ มีกระแสเงินสดสุทธิจากกิจกรรมการลงทุนเป็นจำ�นวน (76) ล้านบาท 988 ล้านบาท และ (503) ล้านบาทตามลำ�ดับ ในปี 2554 บริษัทฯ มีกระแสเงินสดจ่ายสุทธิจากกิจกกรรมการลงทุน เนื่องจากบริษัทฯได้ซื้อเงินลงทุนและสิทธิ เรียกร้องหนี้ในบริษัทย่อยเป็นจำ�นวน 517 ล้านบาท ในช่วงปี 2552 – 2554 บริษัทฯ มีกระแสเงินสดสุทธิจากกิจกรรมการจัดหาเงินเป็นจำ�นวน 543 ล้านบาท (1,090) ล้านบาท และ 1,627 ล้านบาทตามลำ�ดับ การกูย้ มื จากสถาบันการเงินเป็นแหล่งเงินทุนหลักของบริษทั ฯทีน่ �ำ มาใช้ในการพัฒนาโครงการ เงินสดรับสุทธิ ในกิจกรรมการจัดหาเงินเป็นผลมาจากการกูย้ มื เงินระยะยาวจากสถาบันการเงินเพิม่ ขึน้ ซึง่ เป็นไปตามความคืบหน้างานก่อสร้างของโครงการ

สภาพคล่อง บริษัทฯ มีสภาพคล่องดีกว่าปีที่ผา่ นมา โดยที่บริษัทฯ ได้ใช้จา่ ยเงินจำ�นวนประมาณ 1,043 ล้านบาท ในกิจกรรมดำ�เนินงาน และใช้จา่ ย เงินจำ�นวนประมาณ 503 ล้านบาท ในกิจกรรมลงทุน และรับเงินจากกิจกรรมจัดหาเงินจำ�นวน 1,627 ล้านบาท ส่งผลให้บริษัทฯ มีเงินสดสุทธิเพิ่มขึ้นประมาณ 81 ล้านบาท จากปีที่ผา่ นมา นอกจากนี้บริษัทฯมีสภาพคล่องที่สูงขึ้นเล็กน้อย สามารถแสดงได้โดย อัตราส่วนสภาพคล่องของบริษัทเพิ่มขึ้นจาก 1.75 เท่า ในปี 2553 เป็น 1.76 เท่า ในปี 2554 และอัตราส่วนสภาพคล่องหมุนเร็ว เพิ่มขึ้นจาก 0.15 เท่า ในปี 2553 เป็น 0.16 เท่า ในปี 2554 นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงนโยบายการรับรู้รายได้ในวันที่ 1 มกราคม 2554 ส่งผลให้บริษัทและบริษัทย่อยต้องบันทึกขาดทุนสะสม เพิ่มขึ้นเป็นจำ�นวน 1,247 ล้านบาทซึ่งเป็นสาเหตุสำ�คัญที่ส่งผลให้อัตราส่วนหนี้สินที่มีดอกเบี้ยต่อทุน (Interest-Bearing Debt to Equity) เพิ่มขึ้นจาก 3.27 เท่า เป็น 11.01 เท่า อย่างไรก็ตาม อัตราส่วนหนี้สินต่อทุนไม่มีผลกระทบต่อการดำ�เนินงานของบริษัท และบริษัทย่อย เนื่องจากการดำ�รงอัตราส่วนหนี้สินต่อทุนยังเป็นไปตามสัญญากู้ยืมเงินที่บริษัทฯมีกับธนาคาร 1 แห่งนั้น คำ�นวณจาก งบการเงินเฉพาะกิจการ ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ 1.63 เท่า

12 รายงานประจำ�ปี 2554


สรุปอัตราส่วนทางการเงินที่สำ�คัญ (งบการเงินรวม) อัตราส่วนแสดงสภาพคล่อง (Liquidity Ratios) อัตราส่วนสภาพคล่อง (เท่า) อัตราส่วนสภาพคล่องหมุนเร็ว (เท่า) อัตราความสามารถในการทํากําไร (Profitability Ratios) อัตรากำ�ไรขั้นต้น(1) (%) อัตรากำ�ไรสุทธิ (%) อัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้น (%) อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ (%) อัตราส่วนแสดงประสิทธิภาพการดำ�เนินงาน (Efficiency Ratios) อัตราส่วนหมุนเวียนของสินทรัพย์รวม (เท่า) อัตราส่วนหมุนเวียนของสินทรัพย์ถาวร (เท่า) อัตราส่วนการชำ�ระหนี้ (Leverage Ratios) อัตราส่วนหนี้สินต่อทุน (เท่า) อัตราส่วนหนี้สินที่มีดอกเบี้ยต่อทุน (เท่า) อัตราส่วนความสามารถในการชำ�ระดอกเบี้ย(2) (เท่า) อัตราส่วนต่อหุ้น (Per Share Ratios) มูลค่าตามบัญชีต่อหุ้น(3) (เท่า) กำ�ไรต่อหุ้น (บาท) อัตราการเติบโต (% ต่อปี) อัตราการเติบโตของสินทรัพย์รวม (%) อัตราการเติบโตของหนี้สินรวม (%) อัตราการเติบโตของทุน (%) อัตราการเติบโตของรายได้รวม (%) อัตราการเติบโตของค่าใช้จ่ายดำ�เนินงานรวม(4) (%)

ปี 2554

ปี 2553 (ปรับปรุงใหม่)

1.76 0.16

1.75 0.15

28.88% -38.62% -47.60% -3.42%

28.60% 1.82% 3.33% 0.57%

0.08 25.36

0.29 47.24

24.37 11.01 -1.37

7.87 3.27 1.53

0.18 -0.15

0.43 0.02

23.34% 33.54% -56.87% -64.83% -51.15%

26.61% 50.82% -44.06% 1.65% -9.21%

(1) อัตรากำ�ไรขั้นต้น = (รายได้จากการขาย-ต้นทุนขาย) / รายได้จากการขาย โดยรายได้จากการขาย หมายถึง รายได้ที่ถูกรับรู้จากการขายหน่วยในอาคารชุดพักอาศัย (2) อัตราส่วนความสามารถในการชำ�ระดอกเบี้ย = กำ�ไร(ขาดทุน) ก่อนค่าใช้จ่ายทางการเงินและภาษี / ค่าใช้จ่ายทางการเงิน โดยค่าใช้จ่ายทางการเงิน หมายถึง ดอกเบี้ยและค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่กี่ยวข้องกับกิจกรรมจัดหาเงินกู้ เช่น ค่าธรรมเนียมการจัดการเงินกู้ (3) มูลค่าตามบัญชีไม่รวมส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย (4) ไม่รวมการปรับลดดอกเบี้ยค้างรับจากเงินให้กู้ยืมแก่กิจการที่ควบคุมร่วมกัน และผลขาดทุนจากการลดมูลค่าของที่ดินรอการขาย

รายงานประจำ�ปี 2554 13


การตลาดและภาวการณ์แข่งขัน

สถานการณ์ตลาดห้องชุดพักอาศัย ในปี 2554 กรุงเทพฯ ปี 2554 ได้เกิดวิกฤติการณ์มหาอุทกภัยน้ำ�ท่วมขึ้นระหว่างฤดูมรสุมในประเทศไทย โดยเหตุการณ์เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่ปลายเดือนกรกฎาคม น้ำ�ท่วมได้แผ่ขยายเข้าท่วมจังหวัดทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลาง โดยเฉพาะจังหวัดที่อยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำ�เจ้าพระยาและลุ่ม แม่น้ำ�แม่กลอง ต่อมา ในเดือนตุลาคมน้ำ�ท่วมได้ไหลบ่าเข้ามารวมทั้งท่วมขังในบางพื้นที่ของกรุงเทพมหานคร และได้ท่วมยาวนานจนถึงกลาง เดือนมกราคม 2555 ซึ่งมหาอุทกภัยดังกล่าวได้ส่งผลกระทบต่อชีวิตประชาชนเป็นจำ�นวนถึง 13.6 ล้านคนโดยประมาณ (อ้างจากข้อมูล ทางสถิติของรัฐบาล) ถึงแม้ว่าพื้นที่ส่วนใหญ่ในตัวเมืองกรุงเทพมหานครจะสามารถป้องกันน้ำ�ท่วมได้สำ�เร็จ แต่ตลาดอสังหาริมทรัพย์ในกรุงเทพมหานครก็ได้รับ ผลกระทบจากความเสียหายดังกล่าว อาทิ การขาดแคลนวัสดุกอ่ สร้าง (Supply chain) ส่งผลให้การพัฒนาโครงการต้องหยุดชะงัก มีความ ล่าช้า การเปิดตัวโครงการใหม่ๆ ถูกเลื่อนออกไป ในขณะที่อาคารห้องชุดพักอาศัยที่เสร็จสมบูรณ์แล้วก็ไม่สามารถดำ�เนินการโอนกรรมสิทธิ์ให้ กับผู้ซื้อได้เนื่องจากอุปสรรคในการเดินทางเข้าพื้นที่บางส่วนของกรุงเทพมหานคร เป็นตามความคาดหมาย ตัวเลขการจดทะเบียนที่พักอาศัยในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลในปี 2554 มีจำ�นวนลดลง เมื่อเปรียบเทียบกับ ปีที่ผา่ นมา กล่าวคือ ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนธันวาคมปี 2554 มีจำ�นวนการจดทะเบียนที่พักอาศัยทั้งหมด 93,533 ยูนิต ในขณะที่ ปี 2553 มีจำ�นวนการจดทะเบียนที่พักอาศัยทั้งหมด 106,893 ยูนิต เช่นเดียวกับยอดขายอาคารห้องชุด (Presales) ของผู้ประกอบ การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำ�ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่ลดลงจากจำ�นวน 72,200 ล้านบาทในปี 2553 คงเหลือ จำ�นวน 61,930 ล้านบาทในปี 2554 แม้วา่ ตลาดอสังหาริมทรัพย์จะชะลอตัว แต่กย็ งั คงเห็นการเปิดตัวโครงการคอนโดมิเนียมอย่างต่อเนือ่ งทัง้ ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยมีการเปิดตัวห้องชุดจำ�นวนประมาณ 36,932 ยูนติ ในตลอดปีทผี่ า่ นมา ซึง่ ในปี 2554 ได้มกี ารเปิดให้บริการเส้นทางรถไฟฟ้าบีทเี อส (BTS) ใหม่อกี 5 สถานี เริม่ จากสถานีออ่ นนุชถึงสถานีแบริง่ นับเป็นแรงผลักดันสำ�คัญในการพัฒนาโครงการบริเวณพืน้ ทีร่ อบนอกกรุงเทพมหานคร ชั้นใน ในขณะที่ต้นทุนเฉลี่ยในการพัฒนาค่อนข้างคงที่แต่ขนาดของห้องชุดเล็กลง ในปี 2554 มีห้องชุดประมาณร้อยละ 70 ของจำ�นวนห้องชุดที่เปิดตัวเป็นห้องชุดระดับล่าง โดยห้องชุดเหล่านี้ตั้งอยู่บริเวณชานเมืองและ มีราคาขายเฉลี่ยต่ำ�กว่า 2 ล้านบาท และร้อยละ 22 เป็นอาคารห้องชุดระดับกลาง ตั้งอยู่ใกล้กับเส้นทางรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT) และรถไฟฟ้า บีทีเอส (BTS) มีราคาขายเฉลี่ยระหว่าง 2-5 ล้านบาท ส่วนที่เหลือร้อยละ 8 เป็นอาคารห้องชุดระดับบน ตั้งอยู่ในพื้นที่ศูนย์กลางธุรกิจ โดยมีราคาขายสูงกว่า 5 ล้านบาท 14 รายงานประจำ�ปี 2554


การจดทะเบียนที่อยู่อาศัยใหม่ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล

36,813

จำ�นวนยูนิต 40000 38000

100%

36000

90%

30,127

34000

14000

17,355

25,671

24,633 20,568

22,661

22,598

23,295

22,714 18,244

16,070

14,868

15,631

16000

11,989

18000

15,584

20000

13,781

22000

14,098

24000

16,572

20,874

26000

21,339

24,276

25,449

30000 28000

80%

26,718

32000

70%

60%

50%

40%

12000

30%

10000 8000

20%

6000 4000

10%

2006

2007

2009

บ้านปลูกเอง

2010

รวม

Q4/11

Q3/11

Q2/11

Q1/11

Q4/10

Q3/10

Q2/10

Q1/10

Q4/09

Q3/09

Q2/09

Q1/09

Q4/08

Q3/08 2008

แหล่งที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย บ้านจัดสรร อพาร์ทเมนท์และคอนโด

Q2/08

Q1/08

Q4/07

Q3/07

Q2/07

Q1/07

Q4/06

Q3/06

Q2/06

0

Q1/06

2000 0

2011

ร้อยละคอนโดมิเนียม

ยอดพรีเซลล์คอนโดมิเนียมของบริษัทอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำ�จดทะเบียน ล้านบาท

13,399

13,998

11,206

7,397

9000

8,516

15000 12000

21,094

11,360

19,814

15,137 Q4/09

18000

15,427

21000

Q3/09

24000

19,931

27000

23,328

30000

6000

2009

2010

Q4/11

Q3/11

Q2/11

Q1/11

Q4/10

Q3/10

Q2/10

Q1/10

Q2/09

0

Q1/09

3000

2011

แหล่งที่มา: ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

รายงานประจำ�ปี 2554 15


พัทยา แม้เมืองพัทยาจะไม่ถกู น้�ำ ท่วมเหมือนกรุงเทพมหานคร แต่กไ็ ด้รบั ผลกระทบในส่วนของจำ�นวนนักท่องเทีย่ วชาวต่างชาติทลี่ ดลงในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี อย่างไรก็ตาม ภาวะการณ์ลดลงของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติถูกทดแทนด้วยนักท่องเที่ยวภายในประเทศจำ�นวนมากที่มองหาที่พัก พิงในช่วงเหตุการณ์อุทกภัยน้ำ�ท่วม จึงส่งผลให้ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในเมืองพัทยามีผลประกอบการที่ดีเกือบตลอดทั้งปี ตลาดที่อยู่อาศัยในพัทยาแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มหลัก ดังนี้ (1) กลุ่มที่ซื้อเพื่อเป็นบ้านพักตากอากาศของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ (2) กลุ่ม ที่ซื้อเพื่อเป็นบ้านพักตากอากาศช่วงวันหยุดของคนกรุงเทพฯ และ (3) กลุ่มที่ซื้อเพื่อเป็นบ้านหลังแรกหรือยกระดับที่พักของคนท้องถิ่นเอง และ/หรือเป็นที่อยู่อาศัยของคนทำ�งานในเขตพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก (Eastern Seaboard) ประเด็นที่นา่ สนใจ คือ กลุ่มผู้ซื้อชาวต่างชาติ เหล่านี้เคยเป็นกลุ่มผู้ซื้อส่วนใหญ่ที่มีความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยในพัทยาในช่วงปี 2551-2552 แต่ในปัจจุบัน ผู้ซื้อคนไทยกลับกลายเป็น กลุ่มขับเคลื่อนสำ�คัญของตลาดที่อยู่อาศัยให้เติบโตขึ้น หน่วยงานการปกครองท้องถิ่นของพัทยาเองก็มีเป้าหมายชัดเจนที่จะผลักดันให้พัทยาเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวและการขนส่ง การพัฒนา ต่างๆ รวมไปถึงการเชื่อมต่อขยายเส้นทางรวมถึงเส้นทางมอเตอร์เวย์จากพัทยาไปนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด การขยายเส้นทางเชื่อมต่อ สนามบินสุวรรณภูมิ ทางเดินรถรางเพื่อง่ายต่อการสัญจรในพัทยา และการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาเพื่อเพิ่มความสามารถในการสัญจรประจำ� วัน ล้วนแล้วแต่มีวัตถุประสงค์เดียวกันคือเพื่อดึงดูดให้เกิดการท่องเที่ยว การประกอบธุรกิจ และการอยู่อาศัยอย่างถาวรในเมืองพัทยา ซึ่ง ท้ายที่สุดเมืองพัทยาเองก็จะได้รับผลพลอยได้จากการลงทุนขนาดใหญ่ของภาคเอกชน ไม่วา่ จะเป็นศูนย์การค้า ร้านค้าปลอดภาษี โรงแรม เซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์ และอุทยานสวนน้ำ� ในปี 2554 มีจำ�นวนโครงการคอนโดมิเนียมที่เปิดตัวใหม่ในพัทยาทั้งหมด 26 โครงการ ซึ่งคิดเป็นจำ�นวนห้องชุดทั้งหมดประมาณ 14,498 ยูนิต โดยร้อยละ 3 ของห้องชุดทั้งหมดเป็นโครงการหรูริมทะเลที่มีราคามากกว่า 5 ล้านบาท และอีกร้อยละ 11 ของจำ�นวนห้องชุดทั้งหมด เป็นโครงการระดับกลาง ราคาอยู่ระหว่าง 2-5 ล้านบาท ตั้งอยู่ใกล้ทะเลหรือถนนตรงข้ามทะเล สำ�หรับห้องชุดที่มีราคาต่ำ�กว่า 2 ล้านบาทซึ่ง โดยมากตั้งอยู่ห่างจากชายฝั่งคิดเป็นร้อยละ 86 ของจำ�นวนห้องชุดทั้งหมด

แนวโน้มตลาดในปี 2555 บริษัทคาดว่าจะมีโครงการห้องชุดพักอาศัยใหม่เกิดขึ้นในกรุงเทพมหานครเป็นจำ�นวนมาก ซึ่งจะตั้งอยู่รอบบริเวณสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT) และรถไฟฟ้าบีทีเอส (BTS) ที่จะเปิดบริการเพิ่มเร็วๆ นี้ ส่วนโอกาสที่โครงการห้องชุดพักอาศัยใหม่ที่จะเกิดขึ้นในเขตศูนย์กลางธุรกิจอาจจะถูก จำ�กัดมากขึน้ กว่าเดิม เนือ่ งจากการมีอยูอ่ ย่างจำ�กัดของทีด่ นิ และมูลค่าทีด่ นิ ทีส่ งู ขึน้ ยิง่ ไปกว่านัน้ ทางสำ�นักงานกรุงเทพมหานครคาดการณ์วา่ จะ ดำ�เนินการวางผังเมืองใหม่ใน 12 เดือนข้างหน้านี้ ซึง่ จะส่งผลกระทบต่อปัจจัยพืน้ ฐานทางการตลาดในด้านต่างๆ ไม่วา่ จะเป็นขนาดพืน้ ทีก่ อ่ สร้าง สูงสุดตามกฎหมาย เกณฑ์ความสูงสิ่งปลูกสร้างและข้อกำ�หนดทางด้านสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พื้นที่ตรอกเล็กๆ ในกรุงเทพมหานคร ชั้นใน ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นเหตุให้ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์จะเปิดโครงการใหม่บริเวณรอบนอกเมืองหรือบริเวณใกล้ถนนสายหลัก เช่น ถนน สุขุมวิท รัชดา และพระราม 9 เป็นต้น ในเมืองพัทยา บริษัทคาดว่าการพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยระดับบนส่วนมากจะเกิดขึ้นในบริเวณศูนย์กลางเมืองพัทยา โดยเฉพาะอย่างยิ่งบน เขาพระตำ�หนัก พัทยาใต้ ซึ่งเป็นทำ�เลที่ผู้ซื้อภายในประเทศและนักลงทุนชื่นชอบ การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์บริเวณแนวชายฝั่งหรือติดทะเลจะ ถูกจำ�กัดมากขึ้นเนื่องจาการที่ดินที่ติดทะเลมีอยู่อย่างจำ�กัด อย่างไรก็ตาม พื้นที่ที่ยังเป็นที่นิยมอย่างหาดวงศ์อมาตย์ ยังคงมีความต้องการ สูงสำ�หรับผู้ซื้อทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติเพราะเป็นพื้นที่ที่มีวิวทะเลสวยงามและมีหาดที่มีความเป็นส่วนตัวมาก บริษัทยังคาดว่าจากนโยบายการเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ�ที่จะมีผลบังคับใช้ในเดือน เมษายน 2555นี้ อาจส่งผลให้ต้นทุนค่าก่อสร้างมีแนวโน้มจะปรับ ตัวสูงขึ้นทั่วประเทศ ซึ่งจะส่งผลให้ราคาขายห้องชุดพักอาศัยในเขตชั้นในของกรุงเทพมหานครและพัทยาขยับตัวสูงขึ้น ดังนั้น มีความเป็นไป ได้สูงที่ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์จะยังคงมีแนวโน้มในการพัฒนาลดขนาดของห้องชุดที่ตั้งอยู่ในทำ�เลดังกล่าวอย่างต่อเนื่องซึ่งส่งผลให้ผู้ซื้อ บางกลุ่มหันไปซื้อห้องชุดที่ใหญ่กว่าบริเวณรอบนอกเมืองแทน ในด้านของอุปสงค์ บริษัทคาดว่าการฟื้นตัวอย่างเข้มแข็งในปี 2555 เนื่องจากความเชื่อมั่นของผู้บริโภคภายในประเทศเพิ่มสูงขึ้นภายหลังจาก เหตุการณ์น้ำ�ท่วม การเพิ่มขึ้นของจำ�นวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ การปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยและอัตราดอกเบี้ยต่ำ� อย่างไรก็ตาม บริษัท คาดว่าความคาดหวังในการซื้ออสังหาริมทรัพย์ของผู้บริโภคจะเพิ่มมากขึ้นอย่างชัดเจนเนื่องจากผู้บริโภคกลุ่มนี้ต้องสูญเสียบ้านหรือที่อยู่ อาศัยได้รับความเสียหายจากสถานการณ์น้ำ�ท่วม และบ่อยครั้งมีสาเหตุมาจากการก่อสร้างที่ต่ำ�กว่ามาตรฐาน ด้วยเหตุผลดังกล่าว ผู้พัฒนา อสังหาริมทรัพย์ระดับบนที่นำ�เสนอโครงการที่มีคุณภาพ มาตรฐานด้านความปลอดภัยดีเยี่ยมและประสิทธิภาพการบริการหลังการขาย น่าจะได้ รับประโยชน์ส่วนใหญ่หลังจากการฟื้นตัวครั้งนี้ 16 รายงานประจำ�ปี 2554


กลุ่มลูกค้าของบริษัทไรมอน แลนด์ จำ�กัด (มหาชน) กลุ่มลุกค้าที่สำ�คัญที่สุดของไรมอน แลนด์คือกลุ่มลูกค้าชาวไทยมียอดขายสูงถึง 3,107 ล้านบาทในปี 2554 เพิ่มขึ้นจาก 2,800 ล้าน บาท (เพิ่มขึ้นร้อยละ11) ในปี 2553 ซึ่งเมื่อรวมกับยอดขายอีก 460 ล้านบาทที่มาจากชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย ทำ�ให้อุปสงค์ ในประเทศคิดเป็นประมาณร้อยละ 70 ของยอดขายทั้งหมดในปี 2554 ส่วนกลุ่มลูกค้าชาวต่างประเทศในปี 2554 มีมูลค่าสูงถึง 1,468 ล้านบาท เพิ่มจาก 1,200 ล้านบาท (เพิ่มขึ้นร้อยละ 22) ในปี 2553 โดย ผู้ซื้อชาวรัสเซีย ชาวอังกฤษ และชาวสิงคโปร์ เป็นผู้ซื้อ 3 อันดับแรก เป็นที่น่าสังเกตุวา่ กลุ่มลูกค้าชาวต่างชาติหลักเป็นกลุ่มผู้ซื้อชาวเอเชีย ซึ่งคิดเป็นร้อยละ12.95 ของยอดขายทั้งหมดในปี 2554 หรือคิดเป็นร้อยละ 34 ของยอดขายชาวต่างชาติทั้งหมด นอกจากปริมาณ ความต้องการซื้อสูงจากนักลงทุนชาวสิงคโปร์แล้ว บริษัทยังพบว่ากลุ่มผู้ซี้อชาวจีน ชาวญี่ปุ่นและชาวเกาหลีใต้ก็มีความต้องการซื้อเพิ่มสูง ขึ้นอย่างชัดเจนอีกด้วย สำ�หรับกลุ่มผู้ซื้อชาวยุโรปที่เคยเป็นกลุ่มผู้ซื้อหลักของบริษัท มียอดขายคิดเป็นมูลค่า 575 ล้านบาท คิดเป็นร้อย ละ 11.42 ของยอดขายทั้งหมด สาเหตุหลักที่ฐานกลุ่มลูกค้าของบริษัทเปลี่ยนไป คือ เรื่องวิกฤติเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศยุโรป การแข็งค่า เงินบาทต่อสกุลเงินยูโร และข้อจำ�กัดเรื่องการปล่อยเงินกู้สำ�หรับผู้ซื้อชาวต่างชาติในประเทศไทย จึงเป็นผลให้ยอดขายของบริษัทที่มีต่อกลุ่ม ลูกค้าประเทศยุโรปใกล้เคียงกับปีที่ผา่ นมา เนือ่ งด้วยความหลากหลายทางด้านภูมศิ าสตร์ของโครงการต่างๆ ของบริษทั ฯ ในปี 2554 บริษทั มียอดขายระหว่างโครงการในกรุงเทพมหานคร และพัทยามีปริมาณที่ใกล้เคียงกัน ซึ่งได้แก่ ยอดขายของโครงการเดอะริเวอร์และ โครงการ 185 ราชดำ�ริ คิดเป็นร้อยละ 47 ของยอดขาย ทัง้ หมดในปี 2554 ส่วนทีเ่ หลือ ร้อยละ 53 เป็นยอดขายของโครงการนอร์ทพ้อยท์ โครงการซายร์ วงศ์อมาตย์ และโครงการยูนกิ ซ์ พัทยาใต้ ความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ของบริษัทสนับสนุนให้ปี 2554 บริษัทมียอดขายเป็นไปตามเป้าหมาย กล่าวคือ ยอดขายห้องชุดพักอาศัย ระดับบนสุด (Top End) มูลค่ามากกว่า 10 ล้านบาทขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 57 ของยอดขายทั้งหมดของไรมอน แลนด์ ในปี 2554 ยอด ขายห้องชุดพักอาศัยระดับบน (High End) มูลค่าระหว่าง 5-10 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 17 ของยอดขายทั้งหมด และส่วนยอดขายที่ เหลือร้อยละ 26 เป็นยอดขายห้องชุดพักอาศัยระดับกลาง (Mid End) มูลค่าต่ำ�กว่า 5 ล้านบาท ความหลากหลายของโครงการและกลยุทธ์ทางการตลาดของบริษทั ทำ�ให้ในปี 2554 ไรมอน แลนด์สามารถสร้างส่วนแบ่งทางการตลาดได้เพิม่ สูง ขึน้ โดยเฉพาะอย่างยิง่ ส่วนแบ่งทางการตลาดภายในประเทศ โดยสรุปบริษทั ได้ลดความเสีย่ งทีอ่ าจจะเกิดขึน้ และตัง้ เป้าหมายสูก่ ารเติบโตอย่างมัน่ คง ในปีต่อๆ ไป ในการก้าวไปข้างหน้าบริษัทยังคงมุ่งมั่นที่จะขยายธุรกิจอย่างต่อเนื่องและมุ่งเน้นไปที่ตลาดหลักของบริษัทอย่างกรุงเทพมหานคร และพัทยา รวมทั้งแบรนด์ที่เป็นเอกลักษณ์ (Signature Brand) ของบริษัท อย่างลอฟท์ ซายร์ และยูนิกซ์

รายงานประจำ�ปี 2554 17


ยอดขายไรมอน แลนด์ในกรุงเทพฯและพัทยา ปี 2554

7.83% Asia 2.62% America

9.05% 12.47% Western Europe Eastern Europe 18.41% 0.36%

2.85% 16.64%

66.68% Thailand 1.35% Others 1.42% 60.31%

ส่วนแบ่งทางการตลาดปี 2554 พัทยา กรุงเทพฯ

18 รายงานประจำ�ปี 2554


บทวิเคราะห์โครงการ บริษัท ไรมอน แลนด์ จำ�กัด (มหาชน) เป็นบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในเชิงพาณิชย์เพื่อขาย และ/หรือเพื่อปล่อยเช่า โดยเน้นหนักการ พัฒนาโครงการพักอาศัยสำ�หรับตลาดระดับกลางถึงระดับบนของประเทศไทย ที่มีความโดดเด่นและน่าสนใจ บริษัทฯได้ส่งมอบโครงการที่มี คุณภาพที่สร้างความพึงพอใจให้ลูกค้าอย่างต่อเนื่อง โครงการหลายโครงการที่บริษัทฯพัฒนาได้การยอมรับจากตลาดและสถาบันชั้นนำ�โดย จะเห็นได้ว่าบริษัทได้รับรางวัลจากสถาบันชั้นนำ�ต่างๆอย่างสม่ำ�เสมอ บริษัทฯได้มีส่วนกระตุ้นในการยกระดับมาตรฐานการออกแบบ และการ ก่อสร้างโครงการต่างๆในกรุงเทพมหานคร และจังหวัดแหล่งท่องเที่ยวที่พักตากอากาศเป็นเวลาต่อเนื่อง

รายละเอียดโครงการของบริษัท ไรมอน แลนด์ จำ�กัด (มหาชน) ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554 โครงการ

ลักษณะ ปีที่เปิด โครงการ โครงการ

ขนาดที่ดิน พื้นที่ขาย จำ�นวน มูลค่า ราคาขาย ปีที่ โครงการ (ตาราง หน่วย ขาย ถัวเฉลี่ย ก่อสร้าง (ไร่-งาน- เมตร) (ยูนิต/ โครงการ (บาทต่อตา เสร็จ วา) หลัง) (ล้าน รางเมตร) สมบูรณ์ บาท)

โครงการที่สร้างเสร็จแล้ว เดอะล็อฟท์ สาทร เดอะเลคส์ คอนโดมิเนียม เดอะลีเจ้นด์ ศาลาแดง นอร์ทชอร์ กะตะ การ์เด้นส์ เดอะล็อฟท์ เย็นอากาศ เดอะไฮทส์ ภูเก็ต นอร์ทพ้อยท์ โครงการในปัจจุบัน เดอะริเวอร์ 185 ราชดำ�ริ ซายร์ วงศ์อมาตย์ ยูนิกซ์ เซาท์ พัทยา

ทาวน์เฮ้าส์ คอนโดมิเนียม คอนโดมิเนียม คอนโดมิเนียม คอนโดมิเนียม คอนโดมิเนียม คอนโดมิเนียม คอนโดมิเนียม

ไตรมาสที่ 1 ไตรมาสที่ 3 ไตรมาสที่ 1 ไตรมาสที่ 3 ไตรมาสที่ 4 ไตรมาสที่ 3 ไตรมาสที่ 4 ไตรมาสที่ 4

2546 2546 2547 2547 2547 2548 2548 2549

3-0-64 1-2-90.5 1-1-40 2-1-51 5-0-59.4 3-0-19.1 14-0-41.2 12-0-54

3,486 26,062 9,672 21,271 6,767 17,240 13,337 40,133

25 165 75 193 33 176 51 376

400 1,685 842 1,490 447 1,234 1,205 4,850

115,000 65,000 87,000 71,000 66,000 72,000 90,500 125,000

2547 2548 2548 2549 2549 2550 2551 2553

คอนโดมิเนียม คอนโดมิเนียม คอนโดมิเนียม คอนโดมิเนียม

ไตรมาสที่ 1 ปี 2550

12-3-41 4-1-62.9 5-3-70 7-0-16

104,000 38,000 28,500 46,155

838 268 480 1,200

14,950 9,600 2,800 2,950

145,000 250,000 100,000 65,000

2555 2556 2557 2557

ปี ปี ปี ปี ปี ปี ปี ปี

ไตรมาสที่ 3 ปี 2553 ไตรมาสที่ 1 ปี 2554 ไตรมาสที่ 4 ปี 2554

ตั้งแต่ปี 2548 เป็นต้นมา บริษัท ไรมอน แลนด์ จำ�กัด (มหาชน) ได้พัฒนาและส่งมอบโครงการคอนโดมิเนียมพักอาศัยที่มีคุณภาพให้กับ ลูกค้าไปแล้ว 8 โครงการ โดยโครงการเหล่านี้มีมูลค่ารวมกว่า 12,000 ล้านบาท โดย 4 โครงการเป็นโครงการในกรุงเทพฯชั้นใน (ภาย ใต้ 3 แบรนด์ คือ เดอะล็อฟท์ เดอะเลคส์ และ เดอะลีเจ้นด์) 2 โครงการเป็นโครงการที่พัทยา (นอร์ทชอร์ และ นอร์ทพ้อยท์) และอีก 2 โครงการเป็นโครงการที่ภูเก็ต (กะตะการ์เด้นส์ และ เดอะ ไฮทส์) ปัจจุบัน บริษัทฯ อยู่ระหว่างการพัฒนาโครงการ 5 โครงการ ซึ่งมีมูลค่าขายรวมกว่า 30,300 ล้านบาท ซึ่งได้แก่ โครงการ เดอะ ริเวอร์ ซึ่งเป็นโครงการที่พักอาศัยขนาดใหญ่ติดแม่น้ำ�เจ้าพระยาในกรุงเทพฯ โครงการ 185 ราชดำ�ริ โครงการที่พักอาศัยที่ขายพร้อมกรรมสิทธิ์ใน ที่ดินแห่งสุดท้ายบนถนนราชดำ�ริ โครงการซายร์ วงศ์อมาตย์และโครงการยูนิกซ์ เซาท์พัทยา ที่พัทยา และโครงการวิว ช้อปปิ้งมอลล์แห่งแรก ของบริษัทฯ ที่ตั้งอยู่หน้าโครงการเดอะริเวอร์

รายงานประจำ�ปี 2554 19


ในไตรมาสที่ 4 ปี 2554 บริษัทฯได้เปิดตัวโครงการใหม่ภายใต้แบรนด์ใหม่ที่ชื่อว่า “ยูนิกซ์” ขึ้นที่พัทยา ซึ่งการเปิดตัวแบรนด์ใหม่ภายใต้ชื่อ “ยูนิกซ์” นี้ เป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์การสร้างความหลากหลายของผลิตภัณฑ์เพื่อขยายตลาดหรือขยายกลุ่มลูกค้าของบริษัทให้กว้างขวาง ขึ้น ซึ่งแบรนด์ใหม่นี้จะผสมผสานจุดเด่นที่เป็นเอกลักษณ์ของไรมอน แลนด์ โดยเน้นคุณภาพของโครงการในราคาที่ลูกค้าสัมผัสได้ ประกอบ กับการสร้างความแตกต่างด้วยการออกแบบที่ชาญฉลาดสำ�หรับห้องขนาดกะทัดรัด เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่กำ�ลังมองหา โครงการคอนโดมิเนียมที่มีคุณภาพ ในราคาที่เหมาะสม

โครงการในปี 2554

ในปี 2554 บริษัท ไรมอน แลนด์ จำ�กัด (มหาชน) มีโครงการที่อยู่ระหว่างการพัฒนาเพื่อขายและ/หรือเพื่อปล่อยเช่า 6 โครงการ ดังนี้

ล้านบาท

31%

(ค)

มูลค่า โครงการ 14,950

82% 76%

มูลค่า ขาย

43%

10,723

10,723

มูลค่าโครงการ มูลค่าขายส่วนที่ถูกรับรู้รายได้ หมายเหตุ (ก) (ค)

พื้นที่ที่ขายได้ ต่อ พื้นที่ขายทั้งหมดของโครงการ (ข) เงินที่ได้รับ ต่อ มูลค่าขายทั้งหมดของโครงการ (ง)

%

%

พื้นที่ขาย(ก)

เงินที่ได้รับ (ข)

มูลค่าขายส่วนที่ยังไม่ถูกรับรู้รายได้

% การก่อสร้าง(ง)

มูลค่าโครงการส่วนที่ยังไม่ได้ขาย

เงินที่ได้รับ ต่อ มูลค่าทั้งหมดตามสัญญาซื้อขายที่มี ค่าใช้จ่ายในการพัฒนาโครงการ ต่อ มูลค่าการพัฒนาโครงการทั้งหมด

โครงการเดอะริเวอร์ ตั้งอยู่ติดริมแม่น้ำ�เจ้าพระยา โครงการเดอะริเวอร์เป็นโครงการที่ใหญ่ที่สุดในกลุ่มบริษัท ไรมอน แลนด์ โครงการ เดอะริเวอร์ ถูกพัฒนาขึ้น ภายใต้บริษัทตากสิน พร็อพเพอร์ตี้ส์ จำ�กัด โครงการมีมูลค่าขายรวมประมาณ 14,950 ล้านบาท โครงการได้รับการตอบรับอย่างดีจาก ลูกค้า ปัจจุบันโครงการมียอดขายแล้วประมาณ 10,723 ล้านบาท (เป็นยอดขาย ณ สิ้นปี 2554) หรือคิดเป็นร้อยละ 76 ของพื้นที่ขาย โครงการทั้งหมด

20 รายงานประจำ�ปี 2554


ในปี 2554 โครงการมีความคืบหน้าในการก่อสร้างไปอย่างมาก งานโครงสร้างหลักของอาคาร เอ และอาคาร บี ซึ่งสูง 69 ชั้นและ 41 ชั้นตามลำ�ดับได้เสร็จสมบูรณ์แล้ว โดยบริษัทฯ คาดว่าจะสามารถโอนโครงการให้กับลูกค้าได้ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2555 และเมือ่ โครงการ เดอะ ริเวอร์ สร้างเสร็จสมบูรณ์จะเป็นอาคารที่พักอาศัยริมแม่น้ำ�ที่สูงที่สุดในกรุงเทพมหานคร

ล้านบาท

14%

(ค)

มูลค่า โครงการ 9,600 51%

มูลค่า ขาย

30%

4,450

4,450

12%

มูลค่าโครงการ มูลค่าขายส่วนที่ถูกรับรู้รายได้ หมายเหตุ (ก) (ค)

%

%

พื้นที่ขาย(ก)

เงินที่ได้รับ (ข)

% การก่อสร้าง(ง)

มูลค่าขายส่วนที่ยังไม่ถูกรับรู้รายได้

พื้นที่ที่ขายได้ ต่อ พื้นที่ขายทั้งหมดของโครงการ (ข) เงินที่ได้รับ ต่อ มูลค่าขายทั้งหมดของโครงการ (ง)

มูลค่าโครงการส่วนที่ยังไม่ได้ขาย เงินที่ได้รับ ต่อ มูลค่าทั้งหมดตามสัญญาซื้อขายที่มี ค่าใช้จ่ายในการพัฒนาโครงการ ต่อ มูลค่าการพัฒนาโครงการทั้งหมด

โครงการ 185 ราชดำ�ริ โครงการ 185 ราชดำ�ริ เป็นโครงการอสังหาริมทรัพย์คอนโดมิเนียมหรู เพื่ออยู่อาศัยที่ตั้งอยู่ในทำ�เลทอง บนถนนราชดำ�ริที่ผู้ซื้อสามารถ ถือครองกรรมสิทธิ์โดยสมบูรณ์ (Freehold) โครงการตั้งอยู่ใกล้ย่านธุรกิจหลัก ช้อปปิ้งมอลล์ระดับพรีเมียม สถานศึกษาชั้นแนวหน้า สถานทูต โรงแรมระดับบน ความร่มรื่นเขียวขจีของสวนลุมพินี ไปจนถึงสมาคมราชกรีฑาสโมสร โครงการ 185 ราชดำ�ริ ประกอบด้วยห้อง ชุดทั้งหมดจำ�นวน 268 ยูนิต โดย ณ สิ้นปี 2554 บริษัทขายโครงการไปแล้วคิดเป็นประมาณร้อยละ 51 ของพื้นที่ขายโครงการทั้งหมด รายงานประจำ�ปี 2554 21


ล้านบาท

186

82%

มูลค่า โครงการ 4,850

(ค)

100% 97% 84%

มูลค่า ขาย

4,089

3,903

มูลค่าโครงการ มูลค่าขายส่วนที่ถูกรับรู้รายได้

หมายเหตุ (ก) (ค)

พื้นที่ที่ขายได้ ต่อ พื้นที่ขายทั้งหมดของโครงการ (ข) เงินที่ได้รับ ต่อ มูลค่าขายทั้งหมดของโครงการ (ง)

%

%

พื้นที่ขาย(ก)

เงินที่ได้รับ (ข)

มูลค่าขายส่วนที่ยังไม่ถูกรับรู้รายได้

% การก่อสร้าง(ง)

มูลค่าโครงการส่วนที่ยังไม่ได้ขาย

เงินที่ได้รับ ต่อ มูลค่าทั้งหมดตามสัญญาซื้อขายที่มี ค่าใช้จ่ายในการพัฒนาโครงการ ต่อ มูลค่าการพัฒนาโครงการทั้งหมด

โครงการนอร์ทพ้อยท์ โครงการนอร์ทพ้อยท์ เป็นโครงการห้องชุดพักอาศัยเกรดเอแห่งที่สองของ ไรมอน แลนด์ ในพัทยา ด้วยพื้นที่ด้านหน้าติดชายหาดกว้าง 80 เมตร บนหาดวงศ์อมาตย์ พัทยา นอร์ทพ้อยท์เป็นโครงการทีใ่ ห้ทงั้ ทิวทัศน์ทสี่ วยงามสมบรูณข์ องอ่าวไทยพร้อมสิง่ อำ�นวยความสะดวก ที่ครบครัน โดยโครงการได้เสร็จสมบรูณ์แล้ว และบริษัทฯได้โอนห้องชุดพักอาศัยส่วนใหญ่ให้กับลูกค้าแล้ว โครงการนอร์ทพ้อยท์ประกอบ ด้วยห้องชุดทั้งหมดจำ�นวน 376 ยูนิต โดยยอดขาย ณ สิ้นปี 2554 มีมูลค่าคิดเป็นประมาณร้อยละ 84 ของพื้นที่ขายโครงการทั้งหมด

22 รายงานประจำ�ปี 2554


ล้านบาท

8%

(ค)

มูลค่า โครงการ 2,800 59%

มูลค่า ขาย

1,451

1,451

14%

มูลค่าโครงการ มูลค่าขายส่วนที่ถูกรับรู้รายได้

หมายเหตุ (ก) (ค)

%

%

พื้นที่ขาย(ก)

เงินที่ได้รับ (ข)

6%

% การก่อสร้าง(ง)

มูลค่าขายส่วนที่ยังไม่ถูกรับรู้รายได้

พื้นที่ที่ขายได้ ต่อ พื้นที่ขายทั้งหมดของโครงการ (ข) เงินที่ได้รับ ต่อ มูลค่าขายทั้งหมดของโครงการ (ง)

มูลค่าโครงการส่วนที่ยังไม่ได้ขาย

เงินที่ได้รับ ต่อ มูลค่าทั้งหมดตามสัญญาซื้อขายที่มี ค่าใช้จ่ายในการพัฒนาโครงการ ต่อ มูลค่าการพัฒนาโครงการทั้งหมด

โครงการซายร์ วงศ์อมาตย์ เป็นโครงการห้องชุดพักอาศัยแห่งที่สามของไรมอน แลนด์ ในพัทยา ด้วยพื้นที่ติดชาดหาดวงศ์อมาตย์และโครงการนอร์ทพ้อยท์และห่างจาก กรุงเทพฯ เพียง 90 นาที โครงการได้ถูกพัฒนาบนพื้นที่กว่า 5 ไร่ โดดเด่นด้วยอาคารคู่ สูง 37 และ 53 ชั้น ถูกออกแบบให้สามารถเห็นทิวทัศน์มุมกว้างรอบด้าน สวยงามอันน่าตื่นตาตื่นใจของอ่าวไทย โครงการซายร์ วงศ์อมาตย์ ประกอบด้วยห้องชุดทั้งหมดจำ�นวน 480 ยูนิต หลากหลายทั้งแบบ ห้องสตูดิโอ แบบ 1-2 ห้องนอน และแบบห้องเล่นระดับ โดยยอดขาย ณ สิ้นปี 2554 มีมูลค่าคิดเป็นประมาณร้อยละ 59 ของพื้นที่ขาย โครงการทั้งหมด รายงานประจำ�ปี 2554 23


ล้านบาท

2%

(ค)

มูลค่า โครงการ 2,950

612

20%

มูลค่า ขาย

9%

612

มูลค่าโครงการ

มูลค่าขายส่วนที่ถูกรับรู้รายได้ หมายเหตุ (ก) (ค)

พื้นที่ที่ขายได้ ต่อ พื้นที่ขายทั้งหมดของโครงการ (ข) เงินที่ได้รับ ต่อ มูลค่าขายทั้งหมดของโครงการ (ง)

%

%

พื้นที่ขาย(ก)

เงินที่ได้รับ (ข)

มูลค่าขายส่วนที่ยังไม่ถูกรับรู้รายได้

0%

% การก่อสร้าง(ง)

มูลค่าโครงการส่วนที่ยังไม่ได้ขาย

เงินที่ได้รับ ต่อ มูลค่าทั้งหมดตามสัญญาซื้อขายที่มี ค่าใช้จ่ายในการพัฒนาโครงการ ต่อ มูลค่าการพัฒนาโครงการทั้งหมด

โครงการยูนิกซ์ เซาท์ พัทยา โครงการยูนิกซ์ เซาท์ พัทยาเป็นโครงการห้องชุดพักอาศัยแห่งที่สี่ของกลุ่มบริษัทไรมอน แลนด์ ในพัทยาที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อตอบสนองความ ต้องการของลูกค้าทีม่ ลี กู ค้าระดับกลางทัง้ ชาวไทยและชาวต่างชาติทอี่ าศัยอยูใ่ นพัทยา และชาวกรุงเทพทีก่ �ำ ลังมองหาบ้านพักตากอากาศหรือบ้าน พักหลังที่สองสำ�หรับวันหยุดพักผ่อน โครงการยูนิกซ์ เซาท์ พัทยา ตั้งอยู่บนพื้นที่กว่า 7 ไร่บริเวณเขาถนนพระตำ�หนัก ซึ่งเป็นที่ดินของ บริษัทย่อยแห่งหนึ่ง โครงการยูนิกซ์ เซาท์ พัทยา ประกอบไปด้วยห้องชุดจำ�นวน 1,200 ยูนิต มีราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 65,000 บาทต่อตาราง เมตร และมีขนาดห้องโดยเฉลี่ยไม่เกิน 40 ตารางเมตร โดยยอดขาย ณ สิ้นปี 2554 มีมูลค่าประมาณ 612 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 20 ของพื้นที่ขายโครงการทั้งหมด โครงการมีกำ�หนดการที่จะก่อสร้างให้แล้วเสร็จในปลายปี 2557

24 รายงานประจำ�ปี 2554


โครงการวิว เป็นโครงการไลฟ์สไตล์ช็อปปิ้งเซ็นเตอร์ (Lifestyle Shopping Centre) ขนาด 3,000 – 4,000 ตารางเมตร ตั้งอยู่หน้าโครงการ เดอะริเวอร์ บนถนนเจริญนคร บนพื้นที่รวมประมาณ 2- 3 ไร่ โครงการประกอบไปด้วยอาคาร 4 ชั้น รวมใต้ดิน 1 อาคาร โดยมีผู้เช่าหลัก เป็นซุปเปอร์มาร์เก็ตและผู้เช่าอื่นๆ ซึ่งอาจประกอบไปด้วยร้านอาหาร ร้านกาแฟ ร้านเบเกอรี่ ร้านไอศกรีม ร้านแว่นตา เป็นต้น บริษัทมีแผนที่ จะเปิดตัวโครงการในไตรมาสที่ 2 ของปี 2555

การพัฒนาโครงการใหม่ บมจ. ไรมอน แลนด์ มีแผนในการพัฒนาโครงการอย่างต่อเนื่องโดยมีแผนที่จะพัฒนาโครงการใหม่อย่างน้อย 1–2 โครงการในแต่ละปี โดย โครงการใหม่จะมีมลู ค่าโครงการอยูร่ ะหว่าง 2,500 ล้านบาท ถึง 5,000 ล้านบาท (ทัง้ นีข้ นึ้ อยูก่ บั ขนาดทีด่ นิ และข้อกฎหมายทีเ่ กีย่ วข้อง) โดยจะ เน้นการพัฒนาโครงการในกรุงเทพมหานคร และหัวเมืองท่องเทีย่ วเป็นหลัก โดยยังคงเน้นการพัฒนาโครงการในระดังกลางและระดับบนเป็นหลัก

รายงานประจำ�ปี 2554 25


ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

ไรมอน แลนด์ ตระหนักดีวา่ การดำ�เนินกิจกรรมเพือ่ สังคมและสิง่ แวดล้อมจะประสบความสำ�เร็จได้กด็ ว้ ยความอุตสาหะและการสนับสนุนอย่างต่อ เนื่อง ด้วยเหตุนี้เอง บริษัทจึงสานต่อการสนับสนุนโครงการต่างๆ มากมายตลอดปี 2554 ทั้งยังตกลงให้การสนับสนุนแก่กิจกรรมใหม่ๆ โดยมีจุดหมายเพื่อสร้างประโยชน์แก่สังคม และกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน ตลอดระยะเวลา 4 ปีที่ผ่านมา ไรมอน แลนด์ ได้สนับสนุนการดำ�เนินงานของมูลนิธิที่อยู่อาศัยเพื่อมนุษยชาติ ประเทศไทย ซึ่งเป็นองค์กรไม่ แสวงหาผลกำ�ไรที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อ ปี 2541 โดยมีวัตถุประสงค์ในการแก้ไขปัญหาด้านที่อยู่อาศัย และขจัดสภาพการไร้ที่อยู่อาศัยให้บรรเทาลง หรือหมดไปจากสังคมไทย ในปี 2554 ทีมผู้บริหารพร้อมด้วยพนักงานไรมอน แลนด์ จำ�นวน 30 คน ได้ลงพื้นที่ทำ�กิจกรรมร่วมกับมูลนิธิ เพื่อสร้างบ้านจำ�นวน 2 หลังให้แก่ชาวบ้านในชุมชนที่ต้องการที่อยู่อาศัยในบริเวณนิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์น ซีบอร์ด ไรมอน แลนด์ ยังคงมุ่งมั่นปฏิบัติตามอุดมการณ์ของบริษัทใน “การพัฒนาสิ่งแวดล้อมให้ดียิ่งขึ้น” ด้วยการสนับสนุนโครงการศูนย์เพาะกล้า ไม้บ้านซับใต้ ณ เขตวนอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ของมูลนิธิปลูกต้นไม้วันนี้ (Plant-A-Tree-Today – PATT) อย่างต่อเนื่อง โดยพนักงาน และลูกค้าของไรมอน แลนด์ จำ�นวนหนึ่ง ได้เดินทางสู่เขาใหญ่เป็นครั้งที่สี่นับตั้งแต่การริเริ่มโครงการดังกล่าวในปี 2551 เพื่อนำ�กล้าไม้ลงปลูก และร่วมให้ความรู้ดา้ นปัญหาสิ่งแวดล้อมแก่เยาวชนในพื้นที่

26 รายงานประจำ�ปี 2554


นอกจากนี้ ไรมอน แลนด์ ยังรับอุปการะ “พังไรมอน” ลูกช้างเพศเมียของปางช้างอนันตรา จังหวัดเชียงราย โดยรับผิดชอบค่าอาหารและ ค่าเลี้ยงดูเพื่อให้ช้างได้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ใกล้ชิดกับธรรมชาติ ทั้งนี้ การอุปการะพังไรมอน เป็นการสร้างความมั่นใจว่าช้าง ซึ่งเป็นสัตว์ป่า ที่กำ�ลังถูกคุกคาม และยังเป็นสัตว์ประจำ�ชาติไทย จะได้รับการดูแลเลี้ยงดูอย่างปลอดภัยตลอดอายุขัย สำ�หรับกิจกรรมเพื่อสังคมที่ไรมอน แลนด์ให้การสนับสนุนเพิ่มเติมในปี 2554 นั้น มีทั้งการสนับสนุนการแข่งขันเอเชียน บีชโปโล แชมเปี้ยน ชิพ ที่จัดขึ้นเพื่อหารายได้สมทบทุน “โครงการกำ�ลังใจ” ในพระดำ�ริ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา และการร่วมสนับสนุนการจัด ทำ�หนังสือ“King Bhumibol Adulyadej: A Life’s Work” เพื่อเทอดพระเกียรติเนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงมี พระชนม์มายุครบ 84 พรรษา และบอกเล่าเรือ่ งราวประวัตแิ ละพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ตัง้ แต่เสด็จขึน้ ครองราชสมบัติ เป็นพระมหากษัตริย์องค์ที่ 9 ในปี พ.ศ. 2489 จวบจนปัจจุบัน ซึ่งรายได้จากการขายหนังสือจะทูลเกล้าถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยเสด็จพระราชกุศลตามพระราชอัธยาศัย ไรมอน แลนด์ จะยังคงเดินหน้าสานต่อกิจกรรมและโครงการเพื่อประโยชน์แก่สังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง เพื่อตอกย้ำ�การ มีส่วนร่วมในการพัฒนาสิ่งแวดล้อมให้ดียิ่งขึ้น และร่วมผนึกกำ�ลังกับพันธมิตรทางธุรกิจในการมอบโอกาสให้แก่สังคมและชุมชนที่ยังต้องการ ความช่วยเหลือต่อไป

รายงานประจำ�ปี 2554 27


รายงานของคณะกรรมการตรวจสอบ ประจำ�ปี 2554 เรียน ท่านผู้ถือหุ้น บริษัท ไรมอน แลนด์ จำ�กัด (มหาชน) คณะกรรมการตรวจสอบของบริษัท ไรมอน แลนด์ จำ�กัด (มหาชน) ประกอบด้วยกรรมการอิสระ 3 ท่าน ซึ่งมีคุณสมบัติครบถ้วนตาม ข้อกำ�หนดและแนวทางปฏิบัติที่ดีของคณะกรรมการตรวจสอบของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ปัจจุบันคณะกรรมการตรวจสอบของ บริษทั ฯ ประกอบด้วย นายกิตติ คชนันทน์ เป็นประธานกรรมการตรวจสอบ นายสมโภชน์ อินทรานุกลู และนายจิรวุฒิ คุวานันท์ เป็นกรรมการ การตรวจสอบ คณะกรรมการตรวจสอบ ได้ปฏิบัต ิหน้ าที่ต ามขอบเขต หน้ าที่ และความรับผิดชอบที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษ ั ท ฯ ซึ่งสอดคล้องกับข้อกำ�หนดของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยในรอบปีบัญชี 2554 ได้จัดให้มีการประชุมคณะกรรมการตรวจสอบ จำ�นวน 4 ครั้ง และในปี 2554 จนถึงวันที่รายงาน จำ�นวน 1 ครั้ง รวมทั้งสิ้น 5 ครั้ง โดยเป็นการร่วมประชุมกับผู้บริหาร ผู้สอบบัญชีและผู้ตรวจสอบภายในตามความเหมาะสม ซึ่งสรุปสาระสำ�คัญได้ดังนี้ 1. สอบทานงบการเงินรายไตรมาสและงบการเงินประจำ�ปี 2554 เพื่อนำ�เสนอคณะกรรมการบริษัทฯ พิจารณาอนุมัติ โดยได้สอบถามและ รับฟังคำ�ชี้แจงผู้บริหารและผู้สอบบัญชี ในเรื่องความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูลในงบการเงินและความเพียงพอในการเปิดเผยข้อมูล รวมถึงรับทราบแผนการตรวจสอบบัญชีของผูต้ รวจสอบบัญชีประจำ�ปี 2554 ซึง่ คณะกรรมการตรวจสอบมีความเห็นสอดคล้อง กับผู้สอบบัญชีวา่ งบการเงินดังกล่าวมีความถูกต้องตามที่ควรในสาระสำ�คัญตามมาตรฐานการบัญชีที่รับรองทั่วไป 2. สอบทานข้อมูลการดำ�เนินงานและระบบการควบคุมภายใน เพื่อประเมินความเพียงพอ เหมาะสม และประสิทธิผลของระบบการควบคุม ภายใน อันจะช่วยส่งเสริมให้การดำ�เนินงานบรรลุตามเป้าหมายทีก่ �ำ หนดไว้ โดยพิจารณาจากรายงานการตรวจสอบภายในประจำ�ปี 2554 ตามแผนงานที่ได้รบั อนุมัติ ซึ่งครอบคลุมระบบงานที่ส�ำ คัญของบริษทั ฯ โดยได้ติดตามให้ฝา่ ยจัดการมีการปรับปรุงแก้ไขตามข้อเสนอ แนะของผูต้ รวจสอบภายในอย่างต่อเนือ่ ง นอกจากนีไ้ ด้ประเมินระบบการควบคุมภายตามแนวทางทีก่ �ำ หนด โดยสำ�นักงานคณะกรรมการ กำ�กับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งคณะกรรมการตรวจสอบมีความเห็นว่าบริษัทฯ มีระบบการควบคุมภายในที่ดี มีระบบการ ติดตามควบคุมดูแลการดำ�เนินงานของบริษัทฯ และบริษัทย่อยอย่างเพียงพอ เหมาะสม และมีประสิทธิผล 3. สอบทานการตรวจสอบภายใน โดยพิจารณาภารกิจ ขอบเขตการปฏิบัติงาน หน้าที่ และความรับผิดชอบ ความเป็นอิสระ อัตรา กำ�ลัง และงบประมาณของหน่วยงานตรวจสอบภายใน และแผนการตรวจสอบประจำ�ปีที่จัดทำ�ขึ้น คณะกรรมการตรวจสอบมีความ เห็นว่า การตรวจสอบภายในมีความเพียงพอ เหมาะสม และมีการติดตามอย่างต่อเนื่องแล้ว 4. สอบทานการการปฏิบัติตามกฎหมาย ซึ่งคณะกรรมการตรวจสอบมีความเห็นว่า ไม่พบประเด็นที่เป็นสาระสำ�คัญในเรื่องการไม่ปฏิบัติ ตามกฎหมาย ข้อกำ�หนดของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และกฎหมายอืน่ ๆ ทีเ่ กีย่ วข้องกับธุรกิจของบริษทั ฯ รวมถึงข้อผูกพัน ที่บริษัทฯ มีไว้กับบุคคลภายนอก 5. สอบทานระบบบริหารความเสี่ยง ให้มีความเชื่อมโยงกับระบบการควบคุมภายในเพื่อจัดการความเสี่ยงทั่วทั้งบริษัทฯ โดยได้พิจารณา สอบทานนโยบาย และแนวทางการบริหารความเสี่ยง รวมถึงความคืบหน้าของการบริหารความเสี่ยง ซึ่งบริษัทฯ อยู่ระหว่างการ พัฒนาระบบการบริหารความเสี่ยงให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้น 6. สอบทานรายการที่เกี่ยวโยงกันและการเปิดเผยข้อมูลของรายการดังกล่าว ตามข้อกำ�หนดของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และ สำ�นักงานคณะกรรมการกำ�กับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ซึง่ ผูส้ อบบัญชีมคี วามเห็นว่ารายการค้ากับบริษทั ทีเ่ กีย่ วข้องกันทีม่ สี าระ สำ�คัญได้เปิดเผยและแสดงรายการในงบการเงินและหมายเหตุประกอบการเงินแล้ว และคณะกรรมการตรวจสอบมีความเห็นสอดคล้อง กับผู้สอบบัญชี รวมทั้งมีความเห็นว่า รายการดังกล่าวเป็นรายการที่สมเหตุสมผล และเป็นประโยชน์สูงสุดต่อการดำ�เนินธุรกิจของบ ริษัทฯ รวมทั้งมีการเปิดเผยข้อมูลอย่างถูกต้องและครบถ้วน

28 รายงานประจำ�ปี 2554


7. พิจารณาคัดเลือก เสนอแต่งตั้ง และเสนอค่าตอบแทนผู้สอบบัญชีประจำ�ปี 2555 เพื่อนำ�เสนอต่อคณะกรรมการบริษัทฯ ให้ขอ อนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นประจำ�ปี 2555 ซึ่งคณะกรรมการตรวจสอบได้พิจารณาผลการปฏิบัติงาน ความเป็นอิสระ และความเหมาะ สมของค่าตอบแทนแล้ว เห็นควรเสนอแต่งตั้ง นางสาวศิราภรณ์ เอื้ออนันต์กุล ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต เลขทะเบียน 3844 หรือ นายณรงค์ พันตาวงษ์ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต เลขทะเบียน 3315 หรือ นายศุภชัย ปัญญาวัฒโน ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต เลขทะเบียน 3930 แห่งบริษัท สำ�นักงาน เอินส์ท แอนด์ ยัง จำ�กัด เป็นผู้สอบบัญชีของบริษัทฯ ประจำ�ปี 2555 พร้อมด้วยค่า ตอบแทนเป็นจำ�นวนเงินไม่เกิน 1,350,000 บาท โดยคณะกรรมการตรวจสอบมีความเห็นเกี่ยวกับการเสนอแต่งตั้งผู้สอบบัญชีดัง กล่าวดังนี้ ในรอบปีบัญชีที่ผ่านมา ผู้สอบบัญชีได้ปฏิบัติงานด้วยความรู้ความสามารถในวิชาชีพ และให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับระบบการควบคุม ภายในและ ความเสี่ยงต่าง ๆ รวมทั้งมีความเป็นอิสระในการปฏิบัติงาน มีการปฏิบัติสอดคล้องกับข้อกำ�หนดของสำ�นักงานคณะกรรมการกำ�กับหลัก ทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ในเรือ่ งการกำ�หนดให้บริษทั จดทะเบียนต้องจัดให้มกี ารหมุนเวียนผูส้ อบบัญชีทลี่ งลายมือชือ่ กำ�กับรับรองงบการ เงินทุก 5 รอบบัญชี ทั้งนี้หากผู้สอบบัญชีได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้สอบบัญชีประจำ�ปี 2555 จะเป็นปีที่ 2 ติดต่อกัน ผู้สอบบัญชีไม่มี ความสัมพันธ์ใด ๆ กับบริษัทฯและบริษัทย่อย ความเห็น/ข้อสังเกตจากการปฏิบัติหน้าที่ โดยสรุปคณะกรรมการตรวจสอบได้ปฏิบตั หิ น้าทีค่ รบถ้วนตามทีไ่ ด้ระบุไว้ในกฎบัตรคณะกรรมการตรวจสอบทีไ่ ด้รบั อนุมตั จิ ากคณะกรรมการ บริษัทฯ และได้สอบทานรายการดังกล่าวข้างต้น และมีความเห็นว่า บริษัทฯมีการรายงานข้อมูลทางการเงินและการดำ�เนินงานอย่างถูกต้อง มีระบบการควบคุมภายใน การตรวจสอบภายในมีการปฏิบัติตามกฎหมาย ข้อกำ�หนดและข้อผูกพันต่าง ๆ มีการเปิดเผยรายการที่เกี่ยว โยงกันอย่างถูกต้อง และมีการปฏิบัติงานที่สอดคล้องกับหลักการกำ�กับดูแลที่ดีแล้ว วันที่ 1 มีนาคม 2555 ในนามคณะกรรมการตรวจสอบ

(นายกิตติ คชนันทน์) ประธานคณะกรรมการตรวจสอบ

รายงานประจำ�ปี 2554 29


คณะกรรมการบริษัท คณะกรรมการของบริษัท ไรมอน แลนด์ ประกอบไปด้วยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์อันยาวนานและหลาก หลายในธุรกิจ อสังหาริมทรัพย์และธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง คณะกรรมการมีส่วนสำ�คัญในการให้คำ�ปรึกษาและแนะนำ�ผู้บริหารถึง แนวทางในการสร้างมูลค่าระยะ ยาวให้แก่ผู้ถือหุ้น และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

นายสมโภชน์ อินทรานุกูล

30

ประธานกรรมการ กรรมการอิสระ และกรรมการตรวจสอบ

นายทาลาล เจ เอ็ม เอ อัล บาฮาร์

กรรมการ และประธานกรรมการบริหาร

นายแวเนอร์ โยฮานเนส เบอร์เกอร์

กรรมการ และกรรมการบริหาร

นายอูแบร์ โรมารี่ แบร์ตร็อง วิริออท

กรรมการ กรรมการบริหาร และกรรมการผู้อำ�นวยการ

นายกิตติ ตั้งศรีวงศ์

กรรมการ กรรมการบริหาร และเลขานุการบริษัท

นายกิตติ คชนันทน์

กรรมการ กรรมการอิสระ และประธานกรรมการตรวจสอบ

นายจิรวุฒิ คุวานันท์

กรรมการ กรรมการอิสระ และกรรมการตรวจสอบ

นายนูแมน โมฮัมเหม็ด นูแมน โมฮัมเหม็ด

กรรมการ

นายเปียแรส โรดิโก มอร์ริอาร์ตี้ อัลวาเรซ

กรรมการ

Annual Report 2011


โครงสร้างการถือหุน้

ของบริษทั ไรมอน แลนด์ จำ�กัด (มหาชน) ในปี 2554 บริษัท ไรมอน แลนด์ จำ�กัด (มหาชน)

บริษัทย่อยที่ดำ�เนินกิจการ ณ ปัจจุบัน บริษัท คอนเท็มโพรารี่ พร็อพเพอร์ตี้ จำ�กัด พัฒนาโครงการเดอะล็อฟท์ เย็นอากาศ

98.59% 99.99%

บริษัทย่อยที่ไม่มีการประกอบกิจการ บริษัท นอร์ทพอยท์ พีอาร์ซี จำ�กัด (เดิมชื่อ บริษัท ไวร์เลส วัน เรสซิเด้นซ์ จำ�กัด)

11% บริษัท เดอะ ริเวอร์ จำ�กัด(ก)

88.99%

95%

บริษัท ไรมอน แลนด์ แพลนเนอร์ จำ�กัด

99.99% 99.99%

บริษัท ตากสิน พร็อพเพอร์ตี้ส์ จำ�กัด พัฒนาโครงการเดอะริเวอร์ บริษัท ไรมอน แลนด์ รีสอร์ทส์ จำ�กัด เพื่อการลงทุนและบริการ

บริษัท ไรมอน แลนด์ พาร์ค วิว ดีเวลลอปเม้นส์ จำ�กัด

99.93%

บริษัท ไรมอน แลนด์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำ�กัด(ข) พัฒนาโครงการ ซายร์ วงศ์อมาตย์

99.99%

บริษัท ไรมอน แลนด์ เรสซิเด้นซ์ จำ�กัด(ค)

99.99%

บริษัท ไรมอน แลนด์ ยูนิกซ์ จำ�กัด(ง) (เดิมชื่อ บริษัท เพลินจิต เรสซิเด้นซ์ จำ�กัด) พัฒนาโครงการ ยูนิกซ์ เซาท์ พัทยา

49%

บริษัท ไรมอน แลนด์ เซอร์วิสเซส จำ�กัด(จ) (เดิมชื่อ บริษัท เพลินจิต แมเนจเม้นท์ จำ�กัด)

99.94%

51%

หมายเหตุ ก) ตามมติทป่ี ระชุมวิสามัญผูถ้ อื หุน้ เมอ่ื วันที่ 23 ธันวาคม 2553 ได้อนุมตั เิ กีย่ วกับการซือ้ หุน้ ในบริษทั เดอะ ริเวอร์ จำ�กัด จำ�นวน 1,848,005 หุน้ จากแบงค์คอ๊ ก พร็อพเพอร์ต้ี อินเวสเมนท์ส พีทีอี ลิมิเต็ด ทั้งนี้ ก่อนการซื้อหุ้นในบริษัท เดอะ ริเวอร์ จำ�กัด บริษัทฯและบริษัทย่อยถือหุ้นในบริษัท เดอะ ริเวอร์ จำ�กัด คิดเป็นร้อยละ 84.85 ของหุ้นทั้งหมดใน บริษัท เดอะ ริเวอร์ จำ�กัด และภายหลังการซื้อหุ้นในบริษัท เดอะ ริเวอร์ จำ�กัดดังกล่าว บริษัทฯและบริษัทย่อยจะถือหุ้นในบริษัท เดอะ ริเวอร์ จำ�กัด รวมกันคิดเป็นประมาณ ร้อยละ 99.84 ของจำ�นวนหุ้นทั้งหมดในบริษัท เดอะ ริเวอร์ จำ�กัด ข) เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2554 บริษัทฯได้ซื้อหุ้นร้อยละ 49 ในบริษัท ไรมอน แลนด์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำ�กัด ส่งผลให้บริษัทฯ มีสัดส่วนการถือหุ้นในบริษัทไรมอน แลนด์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำ�กัด เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 51 เป็นร้อยละ 99.99 ซึ่งได้เปลี่ยนสถานะจากกิจการที่ควบคุมร่วมกันเป็นบริษัทย่อย ค) เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2554 บริษัทฯได้ซื้อหุ้นร้อยละ 49 ในบริษัท ไรมอน แลนด์ เรสซิเด้นซ์ จำ�กัด และซื้อหุ้นร้อยละ 49 ในบริษัท เพลินจิต เรสซิเด้นซ์ จำ�กัด (บริษัทย่อย ของบริษัท ไรมอน แลนด์ เรสซิเด้นซ์ จำ�กัด โดยการถือหุ้นในร้อยละ 51) ส่งผลให้บริษัทฯ มีสัดส่วนการถือหุ้นในบริษัท ไรมอน แลนด์ เรสซิเด้นซ์ จำ�กัด เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 51 เป็นร้อยละ 99.99 และถือหุ้นในบริษัท เพลินจิต เรสซิเด้นซ์ จำ�กัด ในสัดส่วนร้อยละ 49 ซึ่งได้เปลี่ยนสถานะจากกิจการที่ควบคุมร่วมกันเป็นบริษัทย่อย ง) เดิมชื่อบริษัท เพลินจิต เรสซิเด้นซ์ จำ�กัด โดยได้จดทะเบียนเปลี่ยนชื่อกับ กระทรวงพาณิชย์ เป็น บริษัท ไรมอน แลนด์ ยูนิกซ์ จำ�กัด เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2554 จ) เดิมชื่อบริษัท เพลินจิต แมเนจเม้นท์ จำ�กัด โดยได้จดทะเบียนเปลี่ยนชื่อกับ กระทรวงพาณิชย์ เป็น บริษัท ไรมอน แลนด์ เซอร์วิสเซส จำ�กัด เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2554 และ บริษัทฯได้ซื้อหุ้นจำ�นวนร้อยละ 99.94 จากบริษัท ไรมอน แลนด์ ยูนิกซ์ จำ�กัด (เดิมชื่อบริษัท เพลินจิต เรสซิเด้นซ์ จำ�กัด) เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2554 ส่งผลให้บริษัทฯ มีสัดส่วนการถือหุ้นในบริษัท ไรมอน แลนด์ เซอร์วิสเซส จำ�กัด เป็นจำ�นวนร้อยละ 99.94

Annual Report 2011

31


ข้อมูลทั่วไปของบริษัทฯ บริษัทย่อย และบริษัทอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ชื่อบริษัท (ทะเบียนบริษัท) 1)

ที่อยู่

บริษทั ไรมอน แลนด์ จำ�กัด อาคารเดอะมิลเลนเนีย ชั้น 22 ห้อง 2201-3 (มหาชน) เลขที่ 62 ถนนหลังสวน แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน (0107536001508) กรุงเทพมหานคร 10330 โทรศัพท์: 66 (0) 2651 9601-4, 66 (0) 2651 9615-6 โทรสาร: 66 (0) 2651 9614 E-mail: info@raimonland.com Website: www.raimonland.com

ลักษณะธุรกิจ พัฒนาอสังหาริมทรัพย์

ทุนจดทะเบียน (บาท) 3,250,385,569

ทุนชำ�ระแล้ว สัดส่วน (บาท) การลงทุน 3,250,385,569

-

บริษัทย่อย

32

1)

บริษัท เดอะ ริเวอร์ จำ�กัด (0105534045182)

อาคารเดอะมิลเลนเนีย ชั้น 22 ห้อง 2201-3 เลขที่ 62 ถนนหลังสวน แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330 โทรศัพท์: 66 (0) 2651 9601-4, 66 (0) 2651 9615-6 โทรสาร: 66 (0) 2651 9614

พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ และ/หรือลงทุนในบริษัทย่อย เพื่อพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์

1,232,030,000

1,232,030,000

99.84%

2)

บริษัท ตากสิน พร็อพเพอร์ตี้ส์ จำ�กัด (0105530057879)

อาคารเดอะมิลเลนเนีย ชั้น 22 ห้อง 2201-3 เลขที่ 62 ถนนหลังสวน แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330 โทรศัพท์: 66 (0) 2651 9601-4, 66 (0) 2651 9615-6 โทรสาร: 66 (0) 2651 9614

พัฒนาอสังหาริมทรัพย์

375,000,000

375,000,000

99.84%

3)

บริษัท คอนเท็มโพรารี่ พร็อพเพอร์ตี้ จำ�กัด (0105526003476)

อาคารเดอะมิลเลนเนีย ชั้น 22 ห้อง 2201-3 เลขที่ 62 ถนนหลังสวน แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330 โทรศัพท์: 66 (0) 2651 9601-4, 66 (0) 2651 9615-6 โทรสาร: 66 (0) 2651 9614

การลงทุน และพัฒนาอสังหาริมทรัพย์

200,000,000

200,000,000

98.59%

4)

บริษัท ไรมอน แลนด์ รีสอร์ทส์ จำ�กัด (0105550123958)

อาคารเดอะมิลเลนเนีย ชั้น 22 ห้อง 2201-3 เลขที่ 62 ถนนหลังสวน แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330 โทรศัพท์: 66 (0) 2651 9601-4, 66 (0) 2651 9615-6 โทรสาร: 66 (0) 2651 9614

การลงทุนและบริการ

1,000,000

250,000

99.93%

5)

บริษัท ไรมอน แลนด์ แพลนเนอร์ จำ�กัด (0105543094441)

อาคารเดอะมิลเลนเนีย ชั้น 22 ห้อง 2201-3 เลขที่ 62 ถนนหลังสวน แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330 โทรศัพท์: 66 (0) 2651 9601-4, 66 (0) 2651 9615-6 โทรสาร: 66 (0) 2651 9614

จัดทำ�แผนและบริหารแผน ฟื้นฟูกิจการ

2,000,000

2,000,000

95.00%

6)

บริษทั ไรมอน แลนด์ พาร์ค วิว ดีเวลลอปเม้นส์ จำ�กัด (0105549121467)

อาคารเดอะมิลเลนเนีย ชั้น 22 ห้อง 2201-3 เลขที่ 62 ถนนหลังสวน แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330 โทรศัพท์: 66 (0) 2651 9601-4, 66 (0) 2651 9615-6 โทรสาร: 66 (0) 2651 9614

พัฒนาอสังหาริมทรัพย์

100,000,000

100,000,000

99.99%

7)

บริษัท นอร์ทพอยท์ พีอาร์ซี จำ�กัด (0105551107123) (เดิมชื่อ “บริษัท ไวร์เลส วัน เรสซิเด้นซ์ จำ�กัด”)

อาคารเดอะมิลเลนเนีย ชั้น 22 ห้อง 2201-3 เลขที่ 62 ถนนหลังสวน แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330 โทรศัพท์: 66 (0) 2651 9601-4, 66 (0) 2651 9615-6 โทรสาร: 66 (0) 2651 9614

พัฒนาอสังหาริมทรัพย์

10,000,000

2,500,000

99.99%

8)

บริษัท ไรมอน แลนด์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำ�กัด (0105549013966)

อาคารเดอะมิลเลนเนีย ชั้น 22 ห้อง 2201-3 เลขที่ 62 ถนนหลังสวน แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330 โทรศัพท์: 66 (0) 2651 9601-4, 66 (0) 2651 9615-6 โทรสาร: 66 (0) 2651 9614

พัฒนาอสังหาริมทรัพย์

500,000,000

500,000,000

99.99%

Annual Report 2011


ชื่อบริษัท (ทะเบียนบริษัท)

ที่อยู่

ลักษณะธุรกิจ

ทุนจดทะเบียน (บาท)

ทุนชำ�ระแล้ว สัดส่วน (บาท) การลงทุน

9)

บริษัท ไรมอน แลนด์ เรสซิเด้นซ์ จำ�กัด (0105551069892)

อาคารเดอะมิลเลนเนีย ชั้น 22 ห้อง 2201-3 เลขที่ 62 ถนนหลังสวน แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330 โทรศัพท์: 66 (0) 2651 9601-4, 66 (0) 2651 9615-6 โทรสาร: 66 (0) 2651 9614

พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ และ/หรือลงทุนในบริษัทย่อย เพื่อพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์

10,000,000

10,000,000

99.99%

10)

บริษัท ไรมอน แลนด์ ยูนิกซ์ จำ�กัด (0105551070491) ( เดิมชื่อ “บริษัท เพลินจิต เรสซิเด้นซ์ จำ�กัด”)

อาคารเดอะมิลเลนเนีย ชั้น 22 ห้อง 2201-3 เลขที่ 62 ถนนหลังสวน แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330 โทรศัพท์: 66 (0) 2651 9601-4, 66 (0) 2651 9615-6 โทรสาร: 66 (0) 2651 9614

พัฒนาอสังหาริมทรัพย์

10,000,000

10,000,000

99.99%

11)

บริษัท ไรมอน แลนด์ เซอร์วิสเซส จำ�กัด (0105553005034) ( เดิมชือ่ “บริษทั เพลินจิต แมเนจเม้นท์ จำ�กัด”)

อาคารเดอะมิลเลนเนีย ชั้น 22 ห้อง 2201-3 เลขที่ 62 ถนนหลังสวน แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330 โทรศัพท์: 66 (0) 2651 9601-4, 66 (0) 2651 9615-6 โทรสาร: 66 (0) 2651 9614

พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ และ/หรือ เพื่อการลงทุน และ/หรือเพื่อการดำ�เนินงาน

500,000

500,000

99.94%

อาคารเลครัชดา ชั้น 33 เลขที่ 193/136-137 ถนนรัชดาภิเษก แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110 โทรศัพท์: 66 (0) 2264 0777 โทรสาร: 66 (0) 2264 0789-90 Website: www.ey.com

ผู้สอบบัญชีของ บมจ. ไรมอน แลนด์ และบริษัทย่อย

N/A

N/A

N/A

บริษัทอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง 1)

บริษัท เอินส์ท แอนด์ ยัง จำ�กัด

2)

บริษัท อัลเลน แอนด์ อาคารสินธร 3 ชั้น 22 โอเวอรี่ (ประเทศไทย) 130-132 ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี จำ�กัด เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330 โทรศัพท์: 66 (0) 2263 7600 โทรสาร: 66 (0) 2263 7699 Website: www.allenovery.com

ที่ปรึกษากฎหมายของ บมจ. ไรมอน แลนด์

N/A

N/A

N/A

3)

บริษัท สำ�นักงานกฎหมาย อาคาร เอส เอส พี ทาวเวอร์ 3 ชั้น 19 กรุงเทพ จำ�กัด 88 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500 โทรศัพท์: 66 (0) 2267 2460 โทรสาร: 66 (0) 2267 2464 Website: www.bangkokjurist.com

ที่ปรึกษากฎหมายของ บมจ. ไรมอน แลนด์

N/A

N/A

N/A

4)

บริษัท สำ�นักงานกฎหมาย บรรจง แอนด์ วิทยา จำ�กัด

ที่ปรึกษากฎหมายของบริษัทย่อย

N/A

N/A

N/A

5)

บริ ษั ท ศู น ย์ รั บ ฝากหลั ก 62 อาคารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ทรัพย์ (ประเทศไทย) จำ�กัด ถนนรัชดาภิเษก เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 โทรศัพท์ : 66 (0) 2229-2800 โทรสาร : 66 (0) 2654-5427 TSD Call center: 0 2229-2888 Website: www.tsd.co.th

นายทะเบียนหลักทรัพย์กฎหมายของ บมจ. ไรมอน แลนด์

N/A

N/A

N/A

อาคารวอลล์สตรีททาวเวอร์ ชั้น 9 33/35, 33/39-40 ถนนสุรวงศ์ แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500 โทรศัพท์: 66 (0) 22361950, 66 (0) 22366163 โทรสาร: 66 (0) 2236 3916 Website: www.bcvidhya.com

Annual Report 2011

33


ผู้ถือหุ้นและโครงสร้างเงินทุน โครงสร้างเงินทุนของบริษัทไรมอน แลนด์ จำ�กัด (มหาชน) ประกอบด้วยเงินทุนจากส่วนของผู้ถือหุ้นและเงินทุนจากการกู้ยืม

เงินทุนจากส่วนของผู้ถือหุ้น (Equity Financing)

หุ้นสามัญ ณ 31 ธันวาคม 2554 บริษัทมีทุนจดทะเบียนเป็นหุ้นสามัญทั้งหมด โดยมีรายละเอียดทุนจดทะเบียน และทุนที่ออกจำ�หน่ายและชำ�ระเแล้วดังนี้ 31 ธันวาคม 2554 3,250.4 3,250.4

ทุนจดทะเบียนทั้งหมด (ล้านหุ้น)* ทุนที่ออกจำ�หน่ายและชำ�ระเต็มมูลค่าแล้วทั้งหมด (ล้านหุ้น) หมายเหตุ: * มูลค่าที่ตราไว้ หุ้นละ 1 บาท

ผู้ถือหุ้น รายชื่อผู้ถือหุ้นและสัดส่วนการถือหุ้นรายใหญ่ 10 อันดับแรก ที่ปรากฏตามสมุดจดทะเบียนผู้ถือหุ้น ณ วันที่ 2 ธันวาคม 2554

รายชื่อผู้ถือหุ้น IFA HOTELS & RESORTS 3 LTD Quam Securities Company Limited A/C Client นายศิริศักดิ์ สนโสภณ บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำ�กัด. นายอานนท์ชัย วีระประวัติ นายสมพงษ์ ชลคดีดำ�รงกุล ม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล นายณรัตน์ สุขถิ่นไทย นายประวิทย์ จรุงพิทักษ์สกุล นางสาวจันทนา จินดาพรบูรณะ รวม

สัดส่วนการถือหุ้น (%) 41.08% 6.98% 3.86% 3.35% 3.08% 1.98% 1.34% 0.98% 0.93% 0.77% 64.35%

ณ วันปิดสมุดทะเบียนเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2554 บริษัทมีทุนจดทะเบียน 3,250,385,569 บาท (หุ้นสามัญจำ�นวน 3,250,385,569 หุ้น มูลค่า ตราไว้หุ้นละ 1 บาท) ชำ�ระเต็มมูลค่าแล้วทั้งหมด ทั้งนี้ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ 10 อันดับแรก มีสัดส่วนการถือหุ้นร้อยละ 64.35 ของจำ�นวนหุ้นที่ชำ�ระ แล้วทั้งหมด โดย IFA Hotels & Resorts 3 Ltd. (“IFA HR 3”) เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ในบริษัทไรมอน แลนด์ จำ�กัด (มหาชน) คิดเป็นร้อยละ 41.08 ของจำ�นวนหุ้นที่ชำ�ระแล้วทั้งหมด

34

Annual Report 2011


เงินทุนจากการกู้ยืม (Debt Financing) เงินทุนจากการกู้ยืมของ ไรมอน แลนด์ มีรายละเอียดดังแสดงในตารางต่อไปนี้

ประเภทหนี้สิน

เงินกู้ยืมระยะสั้นจากสถาบันการเงิน เงินกู้ยืมระยะสั้นจากผู้ถือหุ้นรายใหญ่ เงินกู้ยืมระยะยาวจากสถาบันการเงิน * อื่นๆ *

รวมหนี้สินที่มีดอกเบี้ยทั้งหมด

หน่วย : ล้านบาท

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554 ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2553 30 6,607 -

6,637

30 3 4,540 4

4,577

หมายเหตุ * รวมเงินกู้ยืมที่ถึงกำ�หนดชำ�ระภายในหนึ่งปี

นโยบายการจ่ายเงินปันผล บริษัทฯ มีนโยบายจ่ายเงินปันผลในรูปของเงินสดไม่เกินร้อยละ 50 ของกำ�ไรสุทธิหลังหักภาษีเงินได้และสำ�รองตามกฎหมาย เมื่อบริษัทฯ มีกำ�ไรและไม่มี ผลขาดทุนสะสม สำ�หรับนโยบายจ่ายเงินปันผลของบริษัทย่อย ขึ้นอยู่กับมติของที่ประชุมผู้ถือหุ้นของแต่ละบริษัทจะกำ�หนด

Annual Report 2011

35


การจัดการ โครงสร้างการจัดการของบริษัท ไรมอน แลนด์ จำ�กัด (มหาชน) ในปี 2554

คณะกรรมการบริษัท

คณะกรรมการตรวจสอบ

คณะกรรมการบริหาร

ผู้ตรวจสอบภายใน

กรรมการผู้อำ�นวยการ นายอูแบร์ โรมารี่ แบร์ตร็อง วิริออท ผู้อำ�นวยการฝ่ายบริหาร และการจัดการ นายกิตติ ตั้งศรีวงศ์

36

ผูอ้ �ำ นวยการ ฝ่ายการเงินโครงการ

ผู้อำ�นวยการ ฝ่ายงานวางแผนและการลงทุน

ผู้อำ�นวยการ ฝ่ายประสานงานโครงการ

นางสาวลมัย พิชญ์ตระกลู

นางสาวจรรย์จิรา พนิตพล

นายมนตรี เหมวิจิตร

ผู้อำ�นวยการฝ่ายบริหาร งานลูกค้าสัมพันธ์

ผูอ้ �ำ นวยการ ฝ่ายขายและการจัดการ

ผู้อำ�นวยการ ฝ่ายพัฒนาโครงการ

ผู้อำ�นวยการ ฝ่ายทรัพยากรบุคคล

นายเปียแรส อัลวาเรซ

นายสตีเฟน แอนโธนี บราจัก

นายเจราร์ด โคเนอร์ ฮิลลี่

นาง วัลลภา พูลทรัพย์

Annual Report 2011


คณะกรรมการบริษัท คณะกรรมการบริษัท ไรมอน แลนด์ จำ�กัด (มหาชน) ณ ปัจจุบัน มี 9 ท่าน ดังรายชื่อต่อไปนี้ 1. 2. 3. 4. 5. 6. 7. 8. 9.

นายสมโภชน์ อินทรานุกูล นายทาลาล เจ เอ็ม เอ อัล บาฮาร์ นายแวเนอร์ โยฮานเนส เบอร์เกอร์ นายอูแบร์ โรมารี่ แบร์ตร็อง วิริออท นายนูแมน โมฮัมเหม็ด นูแมน โมฮัมเหม็ด นายเปียแรส โรดิโก มอร์ริอาร์ตี้ อัลวาเรซ นายกิตติ ตั้งศรีวงศ์ นายกิตติ คชนันทน์ นายจิรวุฒิ คุวานันท์

ประธานกรรมการ กรรมการอิสระ และกรรมการตรวจสอบ กรรมการ และประธานกรรมการบริหาร กรรมการ และกรรมการบริหาร กรรมการ กรรมการบริหาร และกรรมการผู้อำ�นวยการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการบริหาร และเลขานุการบริษัท กรรมการ กรรมการอิสระ และประธานกรรมการตรวจสอบ กรรมการอิสระ และกรรมการตรวจสอบ

จำ�นวนครั้งที่เข้าร่วมประชุมในรอบปี 2554 ในปี 2554 คณะกรรมการบริษัทฯ มีการประชุมทั้งสิ้น จำ�นวน 7 ครั้ง ซึ่งจำ�นวนครั้งที่กรรมการแต่ละท่านเข้าร่วมประชุม มีรายละเอียดดังนี้

รายชื่อกรรมการ

1) นายสมโภชน์ อินทรานุกูล 2) นายทาลาล เจ เอ็ม เอ อัล บาฮาร์ 3) นายแวเนอร์ โยฮานเนส เบอร์เกอร์ 4) นายอูแบร์ โรมารี่ แบร์ตร็อง วิริออท 5) นายนูแมน โมฮัมเหม็ด นูแมน โมฮัมเหม็ด 6) นายเปียแรส โรดิโก มอร์ริอาร์ตี้ อัลวาเรซ 7) นายกิตติ ตั้งศรีวงศ์ 8) นายกิตติ คชนันทน์ 9) นายจิรวุฒิ คุวานันท์

จำ�นวนครั้ง ที่เข้าร่วมประชุม 7 1 7 5 7 6 2

จำ�นวนครั้ง ที่ขาดประชุม 7 6 7 2 1 5

อำ�นาจกรรมการและข้อจำ�กัดอำ�นาจกรรมการ นายกิตติ ตัง้ ศรีวงศ์ หรือ นายอูแบร์ โรมารี่ แบร์ตร็อง วิรอิ อท หรือ นายแวเนอร์ โยฮานเนส เบอร์เกอร์ หรือ นายทาลาล เจ เอ็ม เอ อัล บาฮาร์ หรือ นายนูแมน โมฮัมเหม็ด นูแมน โมฮัมเหม็ด หรือ นายเปียแรส โรดิโก มอร์ริอาร์ตี้ อัลวาเรซ กรรมการสองในหกคน ลงลายมือชื่อร่วมกัน และประทับตราสำ�คัญของบริษัทฯ

Annual Report 2011

37


ขอบเขตอำ�นาจหน้าที่ของกรรมการบริษัทฯ กรรมการของบริษัทฯ ต้องปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามกฎระเบียบ ข้อกฎหมาย วัตถุประสงค์การดำ�เนินงาน และข้อบังคับบริษัทฯ ตลอดจนมติที่ ประชุมผู้ถือหุ้น ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต โดยห้ามมิให้กรรมการบริษัทฯ ประกอบกิจการ เข้าเป็นหุ้นส่วน เข้าเป็นผู้ถือหุ้น หรือเป็นกรรมการใน นิติบุคคลอื่นที่มีลักษณะธุรกิจอย่างเดียวกันและเป็นการแข่งขันกับกิจการของบริษัทฯ เว้นแต่จะแจ้งให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้นทราบก่อนที่จะมีมติแต่งตั้ง หาก กรรมการมีส่วนได้เสียไม่ว่าโดยทางตรงหรือโดยทางอ้อมในสัญญาใดๆ ที่ทำ�กับบริษัทฯ หรือได้มีการถือหุ้นหรือถือหุ้นกู้ในจำ�นวนที่เพิ่มขึ้นหรือลด ลงในบริษัทฯ หรือบริษัทในเครือ ทั้งนี้ กรรมการต้องแจ้งให้บริษัทฯ ทราบโดยไม่ล่าช้า

คณะกรรมการบริหาร คณะกรรมการบริหารของบริษัทฯ ประกอบด้วย 1. 2. 3. 4.

น ายทาลาล เจ เอ็ม เอ อัล บาฮาร์ นายแวเนอร์ โยฮานเนส เบอร์เกอร์ นายอูแบร์ โรมารี่ แบร์ตร็อง วิริออท นายกิตติ ตั้งศรีวงศ์

ป ระธานกรรมการบริหาร กรรมการบริหาร กรรมการบริหาร กรรมการบริหาร

ขอบเขตอำ�นาจหน้าที่และความรับผิดชอบของคณะกรรมการบริหาร 1. มีอำ�นาจหน้าที่และความรับผิดชอบในการบริหารงานในเรื่องเกี่ยวกับการดำ�เนินงานตามธุรกิจปกติและงานบริหารของบริษัทฯ 2. กำ�หนดนโยบาย แผนธุรกิจ งบประมาณ โครงสร้างการบริหารงาน และอำ�นาจการบริหารต่างๆ 3. เสนอแนวทางในการดำ�เนินธุรกิจให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ เพื่อให้คณะกรรมการบริษัทฯ พิจารณา 4. ตรวจสอบและติดตามผลการดำ�เนินงานของบริษัทฯ ตามนโยบายที่กำ�หนดไว้ ทั้งนี้ อำ�นาจหน้าที่ของคณะกรรมการบริหารจะไม่รวมถึงการอนุมัติรายการใดที่อาจมีความขัดแย้ง หรือรายการใดที่คณะกรรมการบริหารหรือบุคคล ที่อาจมีความขัดแย้ง มีส่วนได้เสีย หรือผลประโยชน์ในลักษณะอื่นใดที่ขัดแย้งกับบริษัทฯ หรือบริษัทย่อยตามกฎเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์แห่ง ประเทศไทย ซึ่งการอนุมัติรายการในลักษณะดังกล่าวจะต้องเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ และ/หรือที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ เพื่อพิจารณาอนุมัติรายการดังกล่าวตามข้อบังคับของบริษัทฯ หรือตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกำ�หนดไว้

38

Annual Report 2011


คณะกรรมการตรวจสอบ คณะกรรมการตรวจสอบของบริษัทฯ ประกอบด้วย 1. น ายกิตติ คชนันทน์ 2. นายจิรวุฒิ คุวานันท์ 3. นายสมโภชน์ อินทรานุกูล

ป ระธานคณะกรรมการตรวจสอบ กรรมการตรวจสอบ กรรมการตรวจสอบ (มีความรู้ทางด้านบัญชี)

ขอบเขตอำ�นาจหน้าที่และความรับผิดชอบของคณะกรรมการตรวจสอบ 1. สอบทานและพิจารณาร่วมกับผู้สอบบัญชีและ/หรือฝ่ายจัดการ เพื่อยืนยันถึงความมีประสิทธิผล และความเพียงพอของระบบควบคุมภายใน และ มาตรฐานการปฏิบัติงานของการตรวจสอบภายใน 2. สอบทานงบการเงินเพื่อให้บริษัทฯ มีรายงานทางการเงินอย่างถูกต้องและเปิดเผยอย่างเพียงพอ ก่อนที่จะนำ�ส่งให้หน่วยงานกำ�กับดูแล 3. สอบทานการปฏิบัติงานของบริษัทฯ ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัทฯ 4. พิจารณาเปิดเผยข้อมูลในกรณีที่เกิดรายการที่เกี่ยวโยงกันหรือรายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ให้ถูกต้องครบถ้วนตามกฎระเบียบ ต่างๆ 5. จัดทำ�รายงานการสอบทานกิจการของคณะกรรมการตรวจสอบ และเปิดเผยไว้ในรายงานประจำ�ปีของบริษัทฯ รวมทั้งให้ความเห็นเกี่ยวกับ กระบวนการจัดทำ�และการเปิดเผยข้อมูลในรายงานทางการเงิน และความเห็นเกี่ยวกับระบบการควบคุมภายในของบริษัทฯ โดยประธานกรรมการ ตรวจสอบเป็นผู้ลงนาม 6. เสนอรายชื่อผู้สอบบัญชีแก่คณะกรรมการบริษัทฯ และผลตอบแทนในการสอบบัญชีของแต่ละปี เพื่อขอรับการแต่งตั้งจากที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น และเป็นผู้สอบทานและประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้สอบบัญชี 7. รายงานการดำ�เนินงานของคณะกรรมการตรวจสอบให้คณะกรรมการบริษัทฯ ทราบอย่างน้อยไตรมาสละ 1 ครั้ง 8. ร่วมให้ความเห็นในการพิจารณา แต่งตั้ง ถอดถอน และพิจารณาผลงานและค่าตอบแทนของผู้ตรวจสอบภายใน 9. ปฏิบัติงานอื่นใดตามที่คณะกรรมการบริษัทฯ มอบหมายและคณะกรรมการตรวจสอบเห็นชอบด้วย ระยะเวลาในการดำ�รงตำ�แหน่งคราวละ 4 ปี ในกรณีที่ตำ�แหน่งกรรมการตรวจสอบว่างลง เพราะเหตุอื่นนอกจากถึงกำ�หนดออกตามวาระ ให้คณะกรรม การบริษัทฯ แต่งตั้งบุคคลที่มีคุณสมบัติครบถ้วนเข้าเป็นกรรมการตรวจสอบแทน โดยบุคคลที่เข้าเป็นกรรมการตรวจสอบแทนจะอยู่ในตำ�แหน่งได้ เพียงวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการตรวจสอบซึ่งตนเข้าดำ�รงตำ�แหน่งแทนนั้น

Annual Report 2011

39


ผู้บริหาร รายชื่อผู้บริหารบริษัทฯ 1) นายอูแบร์ โรมารี่ แบร์ตร็อง วิริออท 2) นายกิตติ ตั้งศรีวงศ์ 3) นางสาวลมัย พิชญ์ตระกูล 4) นายสตีเฟน แอนโธนี่ บราจัก 5) นายเจราร์ด โคเนอร์ ฮิลลี่ 6) นายมนตรี เหมวิจิตร 7) นายเปียแรส โรดิโก มอร์ริอาร์ตี้ อัลวาเรซ 8) นางสาวจรรย์จิรา พนิตพล 9) นางวัลลภา พูลทรัพย์

กรรมการ กรรมการบริหาร และกรรมการผู้อำ�นวยการ กรรมการ กรรมการบริหาร และผู้อำ�นวยการฝ่ายบริหารและการจัดการ ผู้อำ�นวยการฝ่ายการเงินโครงการ ผู้อำ�นวยการฝ่ายขายและการจัดการ ผู้อำ�นวยการฝ่ายพัฒนาโครงการ ผู้อำ�นวยการฝ่ายประสานงานโครงการ ผู้อำ�นวยการฝ่ายบริหารงานลูกค้าสัมพันธ์ ผู้อำ�นวยการฝ่ายงานวางแผนและการลงทุน ผู้อำ�นวยการฝ่ายทรัพยากรบุคคล

ขอบเขตอำ�นาจหน้าที่ของกรรมการผู้อำ�นวยการ ตามมติที่ประชุมของคณะกรรมการของ บริษัทฯ ครั้งที่ 9/2549 ของบริษัท ไรมอน แลนด์ จำ�กัด (มหาชน) ในวันที่ 11 สิงหาคม 2549 ได้ มีการพิจารณากำ�หนดขอบเขตอำ�นาจหน้าที่ของกรรมการผู้อำ�นวยการของบริษัทฯ ไว้ ดังนี้ กรรมการผู้อำ�นวยการมีขอบเขตการดำ�เนินงานตามธุรกิจปกติ ในเรื่องของการอนุมัติงบประมาณลงทุน ค่าใช้จ่ายในการดำ�เนินงาน การซื้อสินทรัพย์ ถาวร การขายสินค้าคงเหลือ และการดำ�เนินการอื่นๆ รวมถึงมีอำ�นาจในการกระจายอำ�นาจในการบริหารให้แก่ผู้รับผิดชอบงานบริหารของบริษัทฯ ใน ลำ�ดับถัดไป ซึ่งได้ผ่านการเห็นชอบจากคณะกรรมการของบริษัทฯ อย่างไรก็ตาม อำ�นาจในการบริหารงานและการมอบอำ�นาจดังกล่าวข้างต้นจะไม่รวม ถึงการบริหารงานและการมอบอำ�นาจ ที่ทำ�ให้กรรมการผู้อำ�นวยการและผู้รับมอบอำ�นาจสามารถอนุมัติรายการที่กรรมการผู้อำ�นวยการและผู้รับมอบ อำ�นาจหรือบุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง มีส่วนได้ส่วนเสียหรืออาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ในลักษณะอื่นกับบริษัทฯ และ/หรือบริษัทย่อย

การสรรหากรรมการและผู้บริหาร การสรรหาคณะกรรมการบริษัทฯ การแต่งตั้งกรรมการของบริษัทฯ จะต้องได้รับการอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้น เว้นแต่กรณีที่ตำ�แหน่งกรรมการว่างลงด้วยเหตุอื่นนอกเหนือจากการ ครบกำ�หนดตามวาระ ให้คณะกรรมการบริษัทฯ เป็นผู้พิจารณาและอนุมัติบุคคลเข้าดำ�รงตำ�แหน่งกรรมการแทน ทั้งนี้ บุคคลจะที่เข้าเป็นกรรมการตรวจ สอบแทน จะดำ�รงตำ�แหน่งได้เพียงวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการซึ่งตนเข้าดำ�รงตำ�แหน่งแทนนั้น การคัดสรรบุคคลที่จะเข้าดำ�รงตำ�แหน่งเป็นกรรมการบริษัทฯ ไม่จำ�เป็นต้องผ่านขั้นตอนของคณะกรรมการสรรหา (Nominating Committee) ทั้งนี้ คณะกรรมการบริษัทฯ มีหน้าที่ในการพิจารณาคัดเลือกบุคคลผู้มีคุณวุฒิ ความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งมีคุณสมบัติ ครบถ้วน โดยไม่มีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจำ�กัดและประกาศคณะกรรมการกำ�กับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ทั้งนี้ หลัก เกณฑ์และวิธีการในการคัดสรรหากรรมการของบริษัทฯ สามารถสรุปได้ ดังนี้ ตามข้อบังคับของบริษัทฯ หมวดที่ 4 เรื่องคณะกรรมการ กำ�หนดให้คณะกรรมการของบริษัทฯ ประกอบด้วยกรรมการจำ�นวนไม่น้อยกว่า 5 ท่าน และกรรมการไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำ�นวนกรรมการทั้งหมดต้องมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร

40

Annual Report 2011


การเลือกตั้งกรรมการของบริษัทฯ ให้กระทำ�โดยที่ประชุมผู้ถือหุ้น ทั้งนี้ ให้กระทำ�ตามหลักเกณฑ์ และวิธีการดังต่อไปนี้ 1) ผู้ถือหุ้นคนหนึ่งมีคะแนนเสียง เท่ากับ 1 หุ้น ต่อ 1 เสียง 2) ในการเลือกกรรมการ อาจใช้วิธีออกเสียงลงคะแนนเลือกกรรมการเป็นรายบุคคลคราวละคนหรือคราวละหลายๆ คนตามแต่ที่ประชุมผู้ถือหุ้นจะ เห็นสมควร แต่ในการลงมติแต่ละครั้ง ผู้ถือหุ้นต้องออกเสียงด้วยคะแนนที่มีตามข้อ 1 ทั้งหมดจะแบ่งคะแนนเสียงแก่คนใดมากน้อยเพียงใดไม่ได้ (ลงคะแนนแบบ Non-Cumulative Voting เท่านั้น) 3) ในการออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้งกรรมการให้ใช้เสียงข้างมาก หากมีคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ผู้เป็นประธานที่ประชุมเป็นผู้ออกเสียงชี้ขาด 4) ในการประชุมสามัญประจำ�ปีทุกครั้ง ให้กรรมการออกจากตำ�แหน่ง 1 ใน 3 เป็นอัตรา ถ้าจำ�นวนกรรมการที่จะแบ่งออกให้ตรงเป็น 3 ส่วนไม่ได้ ก็ให้ออกโดยจำ�นวนใกล้กับส่วน 1 ใน 3 กรรมการผู้ออกจากตำ�แหน่งตามข้อนี้จะเลือกตั้งให้เข้ารับตำ�แหน่งอีกก็ได้ 5) กรรมการที่จะต้องออกจากตำ�แหน่งในปีแรก และปีที่ 2 ภายหลังจดทะเบียนแปรสภาพเป็นบริษัทมหาชน ให้จับสลากกันว่าผู้ใดจะออก ส่วนปีหลังๆ ต่อไปให้กรรมการคนที่อยู่ในตำ�แหน่งนานที่สุดนั้น เป็นผู้ออกจากตำ�แหน่ง นอกจากการพ้นตำ�แหน่งตามวาระแล้ว กรรมการพ้นจากตำ�แหน่งเมื่อ

ก. ตาย ข. ลาออก ค. ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจำ�กัด ง. ที่ประชุมผู้ถือหุ้นลงมติให้ออก จ. ศาลมีคำ�สั่งให้ออก

6) เมื่อกรรมการคนใดจะลาออกจากตำ�แหน่งให้ยื่นใบลาออกต่อบริษัทฯ ทั้งนี้ การลาออกมีผลนับแต่วันที่ใบลาออกไปถึงบริษัทฯ และกรรมการซึ่ง ลาออกจะแจ้งการลาออกของตนให้ที่นายทะเบียนทราบด้วยก็ได้

การสรรหากรรมการอิสระ บริษัทฯ ได้ตระหนักถึงความสำ�คัญของคณะกรรมการอิสระ ซึ่งจะทำ�หน้าที่ตรวจสอบและดูแลการทำ�งานของคณะกรรมการบริหารให้มีความโปร่งใส ภายใต้ระบบการควบคุมภายในที่เหมาะสม และเป็นไปตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพในการทำ�งาน ของบริษัทฯ ให้ดียิ่งขึ้น ทั้งนี้ ผู้ที่จะดำ�รงตำ�แหน่งคณะกรรมการอิสระจะต้องเป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ด้านต่างๆ ซึ่งบริษัทฯ ได้กำ�หนดหลักเกณฑ์การคัดเลือกคณะกรรมการอิสระ โดยคณะกรรมการบริษัทฯ จะแต่งตั้งคณะกรรมการย่อยที่จะเสนอรายชื่อผู้ที่มี คุณสมบัติเหมาะสม และนำ�เสนอต่อคณะกรรมการบริษัทฯ เพื่อพิจารณา เมื่อได้บุคคลที่สรรหาแล้ว จึงนำ�เสนอรายชื่อเสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อ พิจารณาแต่งตั้งตามหลักเกณฑ์ที่กำ�หนดในข้อบังคับของบริษัทฯ ต่อไป โดยผู้ที่จะเข้าดำ�รงตำ�แหน่งกรรมการอิสระของบริษัทฯ ต้องมีคุณสมบัติดัง ต่อไปนี้

Annual Report 2011

41


1) ต้องถือหุ้นของบริษัทฯ น้อยกว่าร้อยละ 1 ของจำ�นวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมด 2) ต้องไม่มีส่วนร่วมในการบริหารงาน ไม่เป็นลูกจ้าง พนักงาน หรือที่ปรึกษาที่ได้รับเงินเดือนประจำ� หรือเป็นผู้มีอำ�นาจควบคุมบริษัทฯ บริษัทใน เครือ บริษัทร่วม หรือบุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง โดยต้องไม่มีผลประโยชน์หรือส่วนได้เสียในลักษณะดังกล่าวมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 2 ปี ตลอดจนไม่เป็นผู้มีนิติสัมพันธ์กับบุคคลที่ให้การปรึกษาทางด้านกฎหมาย หรือผู้สอบบัญชีแก่บริษัทฯ หรือบริษัทในเครือด้วย 3) ต ้องไม่มีความสัมพันธ์ทางธุรกิจ ทั้งในด้านการเงินและบริหารงานของบริษัทฯ บริษัทในเครือ บริษัทร่วม หรือบุคคลที่อาจมีความขัดแย้งคิด เป็นจำ�นวนมากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 3 ของสินทรัพย์ที่มีตัวตนสุทธิ (Net Tangible Assets) ทั้งนี้ หมายรวมถึงการไม่เป็นลูกค้า ผู้จัดหา วัตถุดิบ เจ้าหนี้/ลูกหนี้การค้า เจ้าหนี้/ลูกหนี้เงินให้กู้ยืม โดยไม่มีผลประโยชน์หรือส่วนได้เสียใดๆ กับทางบริษัทฯ 4) ไม่เป็นญาติสนิทกับผู้บริหาร ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทฯ บริษัทในเครือ บริษัทร่วม หรือบุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง และไม่สามารถได้รับการ แต่งตั้งให้เป็นตัวแทน เพื่อรักษาผลประโยชน์กรรมการหรือผู้ถือหุ้นรายใหญ่

ค่าตอบแทนผู้บริหาร ค่าตอบแทนที่เป็นตัวเงิน ค่าตอบแทนในตำ�แหน่งกรรมการบริษัทฯ รายชื่อกรรมการ

ค่าตอบแทนปี 2554 (บาท)

1) นายสมโภชน์ อินทรานุกูล 2) นายกิตติ คชนันทน์

1,020,000 480,000 1,500,000

รวม ค่าตอบแทนผู้บริหาร ลักษณะค่าตอบแทน เงินเดือน โบนัส โครงการสะสมหุ้นสำ�หรับพนักงาน เงินสมทบกองทุนสำ�รองเลี้ยงชีพ อื่นๆ

รวม

42

Annual Report 2011

ค่าตอบแทนปี 2554 (บาท) 42,331,473 6,954,504 1,575,592 1,315,186

52,176,755


สรุปข้อมูลเกี่ยวกับโครงการสะสมหุ้นสำ�หรับพนักงาน Employee Joint Investment Program (EJIP) เงินลงทุนของพนักงาน

เงินสมทบของบริษัท สมทบเงินให้พนักงานเพื่อซื้อหุ้นชองบริษัท เป็นประจำ�ทุกงวด

แบ่งเงินเดือนบางส่วนซื้อหุ้นของบริษัทเป็นประจำ� ทุกงวด (ตามความสมัครใจ)

ตัวแทนดำ�เนินการ บริษัทหลักทรัพย์เป็นตัวแทนดำ�เนินการ... - ซื้อหุ้นของบริษัทในแต่ละงวด ตามที่กำ�หนด - จัดสรรหุ้นที่ซื้อในแต่ละงวดลงในบัญชีของพนักงานแต่ละคน

วัตถุประสงค์ของโครงการ Employee Joint Investment Program (EJIP) เป็นโครงการสำ�หรับพนักงาน ผู้บริหาร และกรรมการ ของบริษัทจดทะเบียนที่มีการทยอยลงทุน ในหุ้นของบริษัทจดทะเบียนที่ตนทำ�งานอยู่ โดยลงทุนเป็นรายงวด สม่ำ�เสมอ ด้วยหลักการเฉลี่ยต้นทุน (Dollar Cost Average) และสมัครเข้าร่วม โครงการตามความสมัครใจ EJIP เป็นรูปแบบหนึ่งของการให้ผลตอบแทนแก่พนักงาน ผู้บริหาร และกรรมการของบริษัทฯ โดยสร้างความรู้สึกมีส่วนร่วมให้แก่พนักงาน ผู้บริหาร และกรรมการในความเป็นเจ้าของบริษัท (Ownership) และเป็นแรงจูงใจให้เกิความจงรักภักดีกับองค์กรและร่วมทำ�งานกับบริษัทฯ ในระยะยาว (Longterm incentives) วันที่คณะกรรมการบริษัทฯ มีมติให้ดำ�เนินโครงการ EJIP อายุโครงการ บริษัทที่เข้าร่วมโครงการ คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ อัตราการจ่าย กำ�หนดการซื้อหุ้น เงื่อนไขการถือครอง (Silent period)

ตัวแทนดำ�เนินการ ผลประโยชน์ในหลักทรัพย์

ภาษีที่เกี่ยวข้อง

13 พฤษภาคม 2554 4 ปี 3 เดือน บมจ. ไรมอน แลนด์ ผู้บริหารที่ได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการบริษัทฯ 50 : 50 (บริษัท : พนักงาน) ทุกเดือนตามวันที่บริษัทกำ�หนดไว้แน่นอน • ห้ามขายในปีแรก • ขึ้นปีที่ 2 ขายได้ ร้อยละ 20 (ยกเว้นกรรมการผู้จัดการไม่สามารถขายได้) • ขึ้นปีที่ 3 ขายได้ ร้อยละ 30 • ขึ้นปีที่ 4 ขายได้ ร้อยละ 30 • ขึ้นปีที่ 5 ขายได้ ร้อยละ 20 (ยกเว้นกรรมการผู้จัดการสามารถขายได้ร้อยละ 40) บริษัท หลักทรัพย์ ฟิลลิป (ประเทศไทย) จำ�กัด (มหาชน) • เงินปันผล จะตกกับผู้บริหารในฐานะเจ้าของหลักทรัพย์โดยตรง • ผลประโยชน์ในด้านราคา (Capital gain) จะตกแก่ผู้บริหาร เมื่อผู้บริหารมีสิทธิขายหลักทรัพย์ • ผู้บริหารสามารถใช้สิทธิอื่นๆ ในหุ้นที่ถือครอง เช่น สิทธิในการจองซื้อหุ้นเพิ่มทุน (Right issue) ใบ สำ�คัญแสดงสิทธิ (Warrant) การเข้าร่วมประชุมผู้ถือหุ้น (Shareholders’ Meeting) • ผู้บริหารที่เข้าร่วมโครงการต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำ�หรับจำ�นวนที่บริษัทสมทบให้ • บริษัทสามารถหักลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลจากจำ�นวนเงินที่สมทบให้กับผู้บริหารได้

Annual Report 2011

43


นโยบายการกำ�กับดูแลกิจการ บริษัท ไรมอน แลนด์ จำ�กัด (มหาชน) ได้กำ�หนดนโยบายการบริหารงานให้มีการกำ�กับดูแลกิจการที่ดี (Good Corporate Governance) ซึ่งเป็นไป ตามแนวทางของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยยึดหลักการบริหารงานด้วยความโปร่งใส (Transparency) ความซื่อสัตย์ (Integrity) มีความ รับผิดชอบต่อผลการปฏิบัติงานตามหน้าที่ (Accountability) เพื่อการดำ�เนินกิจการให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล โดยบริษัทฯ ได้จัดตั้งคณะกรรมการ ตรวจสอบซึ่งประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจำ�นวน 3 ท่าน เพื่อทำ�หน้าที่ตรวจสอบและดูแลการทำ�งานของคณะกรรมการบริหารอย่างเป็นอิสระ พร้อม ทั้งได้แต่งตั้งผู้ตรวจสอบภายในขึ้นตั้งแต่ปลายปี 2546 เพื่อรองรับการกำ�กับดูแลกิจการที่ดียิ่งขึ้น ทั้งนี้ โครงสร้างของคณะกรรมการตรวจสอบและ ผู้ตรวจสอบภายใน มีความเป็นอิสระจากคณะกรรมการบริหารของบริษัทฯ นอกจากนี้ คณะกรรมการของบริษัทฯ ได้ให้คำ�มั่นที่จะปฏิบัติตามข้อพึง ปฏิบัติที่ดี สำ�หรับกรรมการบริษัทจดทะเบียน (Code of Best Practice for Directors of Listed Companies) และหลักเกณฑ์ในการปฏิบัติ ตามหลักการกำ�กับดูแลที่ดี 5 ข้อ (Principle of Good Corporate Governance) ประจำ�ปี 2546 ดังรายละเอียดต่อไปน 1) สิทธิของผู้ถือหุ้น •

คณะกรรมการบริษัทฯ เห็นว่านโยบายและวิธีการกำ�กับดูแลกิจการที่ดี เป็นสิ่งสำ�คัญยิ่งต่อ การดำ�เนินธุรกิจของบริษัทฯ และต่อ ผู้ลงทุน คณะกรรมการบริษัทฯ จึงกำ�หนดนโยบายและขั้นตอนการปฏิบัติงานเพื่อรองรับการบริหารงานให้เป็นไปด้วยความโปร่งใส ภายใต้กรอบกฎหมายและจริยธรรมทางธุรกิจ เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้ถือหุ้น และไม่ให้เกิดปัญหาความขัดแย้งทางผล ประโยชน์ ควบคุมบริหารความเสี่ยงให้เหมาะสม รวมทั้งมีการสอบทานระบบการตรวจสอบภายในโดยกรรมการอิสระ/กรรมการ ตรวจสอบ

ไรมอน แลนด์ ได้มีการเปิดเผยข่าวสารข้อมูลปัจจุบันสู่สาธารณะผ่านทางประวัติบริษัทฯ (Corporate Profile) เว็บไซต์ของ บริษัทฯ และจดหมายข่าวบริษัทฯ ทั้งในรูปแบบภาษาไทยและภาษาอังกฤษ นอกจากนี้ ในการประชุมผู้ถือหุ้นทุกครั้ง ผู้ถือหุ้นจะได้ รับหนังสือเชิญประชุม แสดงวัน เวลา และสถานที่จัดการประชุม พร้อมทั้งรายละเอียดข้อมูลประกอบการประชุมเป็นเวลาล่วงหน้า ไม่น้อยกว่า 7 วันก่อนการประชุม นอกจากนี้ จะมีการแนบความเห็นของคณะกรรมการบริษัทฯ ในแต่ละระเบียบวาระประกอบด้วย เพื่อให้ผู้ถือหุ้นได้รับข้อมูลที่เพียงพอและทันต่อเวลาในการตัดสินใจสำ�หรับการประชุมที่จัดขึ้นในแต่ละครั้ง

ไรมอน แลนด์ ตระหนักถึงสิทธิของผู้ถือหุ้นในการเข้าถึงข้อมูล และการเปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นซักถามแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอ แนะ จึงได้จัดให้มีตัวแทนจากคณะกรรมการบริหาร ฝ่ายจัดการ กรรมการตรวจสอบ และผู้สอบบัญชี เข้าร่วมในการประชุมแต่ละ ครั้ง โดยทางบริษัทฯ จะดำ�เนินการบันทึกการประชุมให้ถูกต้องครบถ้วน ให้ผู้ถือหุ้นสามารถตรวจสอบได้ และจะจัดส่งสำ�เนารายงาน การประชุมผู้ถือหุ้นในแต่ละครั้งต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยภายใน 14 วัน นับแต่วันประชุมผู้ถือหุ้น ทั้งนี้ รายงานการ ประชุมผู้ถือหุ้นจะถูกนำ�เสนอให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้นพิจารณารับรองในการประชุมผู้ถือหุ้นครั้งต่อไป

2) การปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมกัน

44

ผู้ถือหุ้นทุกรายมีสิทธิในการเข้าร่วมประชุม และออกเสียงอย่างเท่าเทียมกันตามข้อบังคับของบริษัทฯ ในกรณีที่ผู้ถือหุ้นไม่สามารถ เข้าร่วมประชุมได้ด้วยตนเอง ผู้ถือหุ้นสามารถมอบฉันทะให้ผู้รับมอบฉันทะเข้าร่วมประชุมแทนได้ โดยบริษัทฯ ได้เสนอทางเลือกเพิ่ม เติมให้ผู้ถือหุ้นสามารถมอบฉันทะในการแสดงความคิดเห็นให้แก่กรรมการอิสระของบริษัทฯ ได้ ทั้งนี้ ผู้ถือหุ้นทุกรายจะได้รับการ ดูแลอย่างเท่าเทียมกันในสิทธิต่างๆ ที่ผู้ถือหุ้นพึงได้รับ

ประธานการประชุมผูถ้ อื หุน้ จะเปิดโอกาสให้ผถู้ อื หุน้ แสดงความคิดเห็น และเสนอข้อซักถาม ทีเ่ กีย่ วเนือ่ งกับระเบียบวาระการประชุมนั้นๆ หรือเกี่ยวกับบริษัทฯ โดยรวม

คณะกรรมการบริษัทฯ จะเปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นออกเสียงเลือกตั้งกรรมการเป็นรายบุคคล

คณะกรรมการบริษัทฯ จะใช้บัตรเลือกตั้งในระเบียบวาระการประชุมสำ�คัญ เช่น การเลือกตั้งกรรมการ การทำ�รายการเกี่ยวโยง ระหว่างกัน การเข้าซื้อกิจการ การขายสินทรัพย์สำ�คัญ เป็นต้น

Annual Report 2011


3) บทบาทของผู้มีส่วนได้เสีย •

บริษัทฯ ให้ความสำ�คัญต่อสิทธิของผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องกับบริษัทฯ ทุกกลุ่ม อาทิเช่น พนักงาน ผู้บริหาร ผู้จัดหาวัตถุดิบ เจ้าหนี้ ลูกค้า ผู้ร่วมทุน ผู้สอบบัญชี ตลอดจนชุมชนและภาครัฐ เมื่อมีเหตุการณ์ใดที่เกี่ยวข้องกับสิทธิของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ข้างต้น บริษัทฯ จะคำ�นึงถึงความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่ายภายใต้กรอบของกฎหมายและกฎเกณฑ์ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

คณะกรรมการบริษัทฯ ได้กำ�หนดนโยบายการดำ�เนินงานอย่างเป็นธรรมแก่ผู้มีส่วนได้เสียในแต่ละฝ่าย โดยมีวัตถุประสงค์ในการนำ� ไปสู่การปฏิบัติและการวัดผลอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อเป็นการป้องกัน มิให้มีการละเมิดสิทธิของผู้มีส่วนได้เสีย รวมทั้งกำ�หนด มาตรการในการชดเชยกรณีที่มีการละเมิดสิทธิทางกฎหมายของผู้มีส่วนได้เสียทุกราย

4) ความโปร่งใสของการเปิดเผยข้อมูล •

บริษัทฯ ตระหนักถึงความสำ�คัญของการเปิดเผยข้อมูลที่มีความถูกต้องแม่นยำ� ครบถ้วน โปร่งใส และรวดเร็ว ทั้งในส่วนของ ข้อมูลด้านการเงินและข้อมูลทั่วไป ตลอดจนข้อมูลอื่นๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อราคาหลักทรัพย์ของบริษัทฯ ซึ่งแม้ว่าทางบริษัทฯ จะยังไม่ได้มีการแต่งตั้งหน่วยงานด้านนักลงทุนสัมพันธ์ (Investor Relation) แต่ได้มอบหมายความรับผิดชอบในการดำ�เนินงาน ด้านการสื่อสารต่อนักลงทุนให้ฝ่ายการเงินเป็นผู้ดูแล เพื่อเป็นการรับรองการเปิดเผยข้อมูลที่สมบูรณ์ โปร่งใส และทันเวลาสำ�หรับ นักลงทุน

คณะกรรมการบริษัทฯ เป็นผู้รับผิดชอบต่อความถูกต้องแม่นยำ�ของงบการเงินและงบการเงินรวม ของบริษัทฯ และบริษัทย่อย รวมทั้งสารสนเทศทางการเงินที่ปรากฏในรายงานประจำ�ปี ซึ่งจัดทำ�ขึ้นตามมาตรฐานการบัญชีที่รับรองทั่วไปในประเทศไทย ทั้งนี้ การจัดทำ�งบการเงินต้องใช้ดุลยพินิจและประมาณการด้วยความระมัดระวังอย่างถี่ถ้วน เพื่อเป็นการรับรองการเปิดเผยข้อมูล สำ�คัญในรายละเอียดประกอบงบการเงินที่เพียงพอและเหมาะสม

คณะกรรมการบริษัทฯ ได้จัดเตรียมระบบการควบคุมภายในที่มีประสิทธิภาพ ในการยืนยันว่าการบันทึกข้อมูลทางการเงินมีความถูก ต้องแม่นยำ� สมบูรณ์ และเพียงพอที่จะดำ�รงรักษาไว้ซึ่งทรัพย์สิน และช่วยในการระบุจุดอ่อน เพื่อให้ทราบถึงมาตรการป้องกันการ ทุจริตหรือการดำ�เนินงานที่ผิดปกติอย่างมีนัยสำ�คัญ

คณะกรรมการบริษัทฯ มีความเห็นว่า ระบบการควบคุมภายในของบริษัทฯ โดยรวมอยู่ในระดับที่น่าพอใจ ซึ่งเป็นการยืนยันความ น่าเชื่อถือของงบการเงินของบริษัทฯและบริษัทย่อย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554

บริษัทฯ ได้กำ�หนดค่าตอบแทนกรรมการอย่างชัดเจน โปร่งใส และเหมาะสม โดยมีการศึกษาเทียบเคียงกับค่าตอบแทนของบริษัท อื่นๆ ในอุตสาหกรรมเดียวกัน ทั้งนี้ ค่าตอบแทนกรรมการจะต้องได้รับการอนุมัติโดยผู้ถือหุ้นในการประชุมผู้ถือหุ้น ส่วนค่า ตอบแทนผู้บริหารจะต้องได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการ หรือคณะกรรมการบริหารบริษัทฯ ซึ่งจะนำ�ผลการดำ�เนินงานและ ความสำ�เร็จของผู้บริหารมาพิจารณาด้วย

5) ความรับผิดชอบของคณะกรรมการ •

คณะกรรมการบริษัทฯ ประกอบด้วยกรรมการ 9 ท่าน ได้แก่

กรรมการบริหาร กรรมการซึ่งไม่ได้เป็นกรรมการบริหาร กรรมการอิสระ

จำ�นวน 4 ท่าน จำ�นวน 2 ท่าน จำ�นวน 3 ท่าน

คณะกรรมการอิสระ ประกอบด้วย ประธานกรรมการและกรรมการตรวจสอบจำ�นวน 2 ท่าน รวมทั้งหมด 3 ท่าน รวมแล้วคิด เป็นจำ�นวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของคณะกรรมการบริษัทฯ ซึ่งนับว่าเหมาะสม โดยคณะกรรมการอิสระ/คณะกรรมการตรวจสอบ ได้รับการสนับสนุนให้แสดงความคิดเห็น และทบทวนการดำ�เนินงานและสอบทานรายการทางธุรกิจอย่างอิสระ ตลอดจนมีส่วนร่วม ในการประเมินผลระบบการตรวจสอบ และระบบการควบคุมภายในของทางบริษัทฯ Annual Report 2011

45


บริษัทฯ มีแผนการกำ�หนดขอบเขตอำ�นาจหน้าที่และความรับผิดชอบของคณะกรรมการ คณะกรรมการบริหาร คณะกรรมการ ตรวจสอบ และกรรมการผู้อำ�นวยการไว้อย่างชัดเจน นอกจากนี้ ประธานกรรมการยังดำ�รงตำ�แหน่งเป็นกรรมการอิสระ ไม่มีความ สัมพันธ์กับผู้บริหาร มิได้เป็นตัวแทนผู้ถือหุ้นรายใหญ่ และมิได้เป็นบุคคลเดียวกันกับกรรมการผู้อำ�นวยการ •

กรรมการของ ไรมอน แลนด์ จะปฏิบัติหน้าที่โดยคำ�นึงถึงผลประโยชน์สูงสุดของบริษัทฯ ผู้มีส่วนได้เสีย และผู้ถือหุ้น ดังแสดง ในรายละเอียดต่อไปนี้

1)

ทบทวนและอนุมัติในประเด็นสำ�คัญของการดำ�เนินธุรกิจ เช่น วิสัยทัศน์และพันธกิจ กลยุทธ์ทางธุรกิจ เป้าหมายด้าน การเงิน ความเสี่ยง และแผนปฏิบัติงานหลักของบริษัทฯ

2)

ติดตามการดำ�เนินงานที่นำ�ไปสู่การปฏิบัติของผู้บริหาร เพื่อเป็นการรับรองประสิทธิภาพและประสิทธิผล

3)

ระบุและอนุมัตินโยบายการกำ�กับดูแลกิจการ และทบทวนนโยบายดังกล่าวให้มีความสอดคล้องกันอย่างสม่ำ�เสมออย่าง น้อยปีละ 1 ครั้ง

4)

รับรองระบบควบคุมภายใน รวมไปถึงการควบคุมด้านการเงิน การปฏิบตั ใิ ห้สอดคล้องกับนโยบาย และทบทวนระบบ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

การกำ�กับดูแลด้านการใช้ข้อมูลภายใน บริษัทฯ ได้ตระหนักถึงความสำ�คัญของการป้องกันข้อมูลภายในของบริษัทฯ จึงได้กำ�หนดนโยบายและวิธีการดูแลผู้บริหารเพื่อมิให้มีการนำ�ข้อมูล ภายในของบริษัทฯ ไปใช้เพื่อเป็นประโยชน์ส่วนตน โดยมีมาตรการลงโทษตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการดำ�เนินคดีทางอาญา นอกจากนี้ บริษัทฯ ได้จำ�กัดการเข้าถึงข้อมูลของผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ให้อยู่ในวงจำ�กัด เพื่อเป็นการยืนยันไม่ให้ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทำ�การซื้อขายหลักทรัพย์ขอ งบริษัทฯ และ/หรือนำ�ข้อมูลไปใช้ ในกรณีที่บริษัทฯ ต้องเข้าทำ�รายการใดที่อาจมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของราคาหลักทรัพย์ โดยห้ามมิให้มีการเปิด เผยข้อมูลเหล่านั้นแก่ผู้อื่นจนกว่าจะได้แจ้งข้อมูลนั้นต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยแล้ว นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังกำ�หนดให้ผู้บริหารรายงานการเปลี่ยนแปลงการถือหลักทรัพย์ต่อสำ�นักงานคณะกรรมการกำ�กับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ตามมาตรา 59 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และจัดส่งสำ�เนารายงานนี้ให้แก่บริษัทฯ ในวันเดียวกันกับวันที่ส่ง รายงานต่อสำ�นักงานคณะกรรมการกำ�กับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์

46

Annual Report 2011


บุคลากร จำ�นวนพนักงาน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554 บริษัทฯ มีพนักงานจำ�นวนทั้งสิ้น 137 คน ซึ่งไม่รวมกรรมการจำ�นวน 9 คน โดยแบ่งตามสายงานหลักได้ ดังนี้

สายงาน 1) สำ�นักผู้บริหาร 2) ฝ่ายวางแผนและนโยบาย 3) ฝ่ายการเงินและบัญชี 4) ฝ่ายทรัพยากรบุคคล 5) ฝ่ายโอนกรรมสิทธิ์และจัดซื้อ 6) ฝ่ายธุรการ 7) ฝ่ายวิจัยและพัฒนา 8) ฝ่ายพัฒนาโครงการ 9) ฝ่ายลูกค้าสัมพันธ์ 10) ฝ่ายการตลาด 11) ฝ่ายประสานงานโครงการ 12) ฝ่ายขาย 13) ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ

รวม

จำ�นวนพนักงาน 4 3 15 4 3 15 4 9 25 18 5 28 4

137

ค่าตอบแทนพนักงาน ลักษณะค่าตอบแทน เงินเดือน ค่าล่วงเวลา โบนัส ค่านายหน้า เงินสมทบกองทุนสำ�รองเลี้ยงชีพ อื่น ๆ

รวม

ค่าตอบแทนปี 2554 (บาท) 61,551,708 13,082,279 8,116,240 2,676,747 12,127,252

97,554,226

Annual Report 2011

47


การควบคุมภายใน บริษัท ไรมอน แลนด์ จำ�กัด (มหาชน) (“บริษัท”) ได้ตระหนักถึงความสำ�คัญของระบบการควบคุมภายในที่เพียงพอและเหมาะสมกับการดำ�เนิน ธุรกิจ รวมทั้งมีเจตนารมณ์ในการดำ�เนินธุรกิจให้เจริญเติบโตอย่างยั่งยืน โปร่งใส มีคุณธรรมและสามารถตรวจสอบได้ รวมทั้งการกำ�หนดภาระ หน้าที่ ความรับผิดชอบและอำ�นาจในการดำ�เนินการทั้งระดับบริหารและระดับปฏิบัติการอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร โดยครอบคลุมการควบคุมระบบการ เงิน การดำ�เนินการ การใช้ทรัพยากร การดูแลทรัพย์สินของบริษัท รวมทั้งกฎระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้บริษัทสามารถบริหารงานได้อย่างมี ประสิทธิภาพ และประสิทธิผล สามารถลดหรือป้องกันความเสี่ยงต่างๆ รวมทั้งบรรลุวิสัยทัศน์และพันธกิจของบริษัทที่ตั้งไว้ คณะกรรมการบริษัทได้มอบหมายให้ คณะกรรมการตรวจสอบ ให้คำ�แนะนำ�ในกระบวนการจัดทำ�รายงานทางการเงินของบริษัท เพื่อให้เป็นไปตามหลัก การบัญชีที่รับรองโดยทั่วไป และเป็นไปตามกฏข้อบังคับของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย รวมทั้งข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องซึ่งหน้าที่ความรับผิด ชอบของคณะกรรมการตรวจสอบ ได้รวมถึงการสอบทานความเหมาะสม ตลอดจนประสิทธิภาพและ ประสิทธิผลของการปฏิบัติตามหลักการกำ�กับ ดูแลกิจการที่ดี (Good Corporate Governance) ตลอดจนความเหมาะสมของระบบการควบคุมภายใน และกระบวนการตรวจสอบ, การคัดเลือก ผู้ตรวจสอบบัญชี ตลอดจนการให้ความเห็นของผู้สอบบัญชี และหน้าที่อื่นตามที่คณะกรรมการบริษัทมอบหมาย บริษัทฯ ได้จัดตั้งฝ่ายตรวจสอบภายใน ซึ่งรายงานโดยตรงต่อคณะกรรมการตรวจสอบ ฝ่ายตรวจสอบภายในมีหน้าที่รับผิดชอบในการสอบทาน ความเหมาะสมของระบบการควบคุมภายในของบริษัทฯ โดยฝ่ายตรวจสอบภายในมีหน้าที่ในการรายงานสิ่งที่ตรวจพบ ตลอดจนข้อเสนอแนะ ให้แก่ฝ่าย บริหารและคณะกรรมการตรวจสอบรับทราบ ซึ่งคณะกรรมการตรวจสอบจะทำ�การสอบทานรายงานการตรวจสอบภายในของฝ่ายตรวจสอบภายใน เพื่อให้มั่นใจได้ว่า ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงพัฒนาระบบการควบคุมภายในได้รับการปฏิบัติโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ฝ่ายตรวจสอบภายในได้ ดำ�เนินการสอบทานระบบการควบคุมภายใน ของกระบวนการจัดซื้อ และเจ้าหนี้ กระบวนการขาย/การตลาดและลูกหนี้ กระบวนการบริหารงานบุคคล กระบวนการบริหารทรัพย์สิน บัญชีและการเงิน ตลอดจนการดำ�เนินงานอื่นๆแล้ว ภายหลังการตรวจสอบ ผู้ตรวจสอบภายในจะจัดทำ�รายงานการตรวจสอบภายใน และร่วมประชุมกับคณะกรรมการตรวจสอบ ผู้สอบบัญชีภายนอก และฝ่ายบริหารของบริษัทฯ เพื่อหารือและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับข้อเท็จจริงและข้อพึงแก้ไข พร้อมทั้งเสนอแนะแนวทางแก้ไขปรับปรุง เพื่อให้ บริษัทฯ มีระบบการควบคุมภายในที่ดียิ่งขึ้นต่อไป ในปี 2554 คณะกรรมการตรวจสอบของบริษัทฯ ได้มีการประชุมรวม 4 ครั้ง เพื่อทบทวนการกำ�กับดูแลกิจการ พิจารณางบการเงินรายไตรมาส และงบการเงินประจำ�ปี ทบทวนการเปิดเผยข้อมูลในหมายเหตุประกอบงบการเงิน ตลอดจนหารือและรับฟังคำ�ชี้แจงและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับปัญหาและ การป้องกันแก้ไข ทั้งนี้ คณะกรรมการตรวจสอบพิจารณาแล้วมีความเห็นว่าในปีที่ผ่านมา บริษัทฯ ได้จัดทำ�รายงานทางการเงินตามมาตรฐานการบัญชี มีการเปิดเผยข้อมูลระบบการควบคุมภายในและระบบการตรวจสอบที่เพียงพอ ซึ่งสอดคล้องตามข้อกำ�หนดทางกฎหมายที่สำ�คัญ หรือข้อบังคับที่ เกี่ยวข้องอย่างครบถ้วน นอกจากนี้ ยังมีความพยายามในการดำ�เนินการแก้ไขตามคำ�แนะนำ�ของผู้ตรวจสอบภายในและคณะกรรมการตรวจสอบ เพื่อ การกำ�กับดูแลกิจการที่ดีและเป็นประโยชน์สูงสุดต่อบริษัทฯ และผู้ถือหุ้น

48

Annual Report 2011


Annual Report 2011

49

73

1

นายสมโภชน์ อินทรานุกูล

อายุ (ปี)

ลำ�ดับ ชื่อ-สกุล / ตำ�แหน่ง ที่ สัดส่วนการ ถือหุ้นในบริษัท (%)

Chartered Director Class รุ่น 3/2008 (CDC 3/2008)

Director Accreditation Program รุ่น 63/2007 (DAP 63/2007)

Directors Certification รุ่น 24/2002 (DCP 24/2002)

ปริญญาบัตร นักศึกษาวิทยาลัยป้องกัน ราชอาณาจักร

หลักสูตรผู้บริหารระดับสูง สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์

บัญชีบัณฑิต - หุน้ สามัญ คณะพาณิ ช ยศาสตร์ แ ละการบั ญ ชี (RAIMON) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ไมม่ ี

คุณวุฒิทางการศึกษา

-

2551 - ปัจจุบัน

2538 – ปัจจุบัน

2542 - ปัจจุบัน

2542 - ปัจจุบัน

2546 - ปัจจุบัน

2546 - ปัจจุบัน

ชื่อหน่วยงาน/บริษัท/ประเภทธุรกิจ

ประธานกรรมการ/ บมจ. ไรมอน แลนด์ กรรมการอิสระ/ - ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ กรรมการตรวจสอบ ประธานกรรมการ บจ. เอส ซี เอ็ม บี - ธุรกิจทีป่ รึกษาทางการเงิน ประธานกรรมการ บมจ. ทรัพย์ศรีไทย ตรวจสอบ - ธุรกิจคลังสินค้า ประธานกรรมการ บมจ. เทเวศประกันภัย ตรวจสอบ - ธุรกิจประกันภัย ประธานกรรมการ บจ. สยามแอดมินนิสเทรทีฟ แมเนจเม้นท์ - ธุรกิจบริการงานธุรการ ประธานกรรมการ บมจ. ไฮไฟ โอเรียนท์ ไทย จำ�กัด ตรวจสอบ - ธุรกิจนำ�เข้าและจำ�หน่ายเครื่องไฟฟ้า

ความสัมพันธ์ทาง ประสบการณ์ทำ�งานในระยะ 5 ปีย้อนหลัง ครอบครัวระหว่างผูบ้ ริหาร ช่วงเวลา ตำ�แหน่ง

รายละเอียดเกี่ยวกับผู้บริหารและผู้มีอำ�นาจควบคุมบริษัท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554


50

Annual Report 2011

33

2

* บริษัท ไรมอน แลนด์ ยูนิกซ์ จำ�กัด เดิมชื่อ บริษัท เพลินจิต เรสซิเด้นซ์ จำ�กัด โดยได้จดทะเบียนเปลี่ยนชื่อกับกระทรวงพาณิชย์เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2554

หุ้นสามัญ (RAIMON) ไม่มี

สัดส่วนการ ถือหุ้นในบริษัท (%)

* บริษัท นอร์ทพอยท์ พีอาร์ซี จำ�กัด เดิมชื่อ บริษัท ไวร์เลส วัน เรสซิเด้นซ์ จำ�กัด โดยได้จดทะเบียนเปลี่ยนชื่อกับกระทรวงพาณิชย์เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2554

บริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาธุรกิจศึกษา มหาวิทยาลัย โลโยลา แมรี เมาท์ ลอสแอนเจลิส มลรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา

คุณวุฒิทางการศึกษา

หมายเหตุ : (1) บริษัทย่อยในเครือ ไรมอน แลนด์

นายทาลาล เจ เอม็ เอ อัล บาฮาร์ (Mr. Talal J M A Al Bahar) (มีอ�ำ นาจลงนามผูกพันบริษทั ฯ)

อายุ (ปี)

ลำ�ดับ ชื่อ-สกุล / ตำ�แหน่ง ที่ -

2550 – ปัจจุบัน

2550 - ปัจจุบัน

2551 – ปัจจุบัน

2551 – ปัจจุบัน

2552 – ปัจจุบัน

2552 – ปัจจุบัน

2552 – ปัจจุบัน

2550 – ปัจจุบัน

2551 – ปัจจุบัน

2549 – ปัจจุบัน

ชื่อหน่วยงาน/บริษัท/ประเภทธุรกิจ

กรรมการและประธาน บมจ. ไรมอน แลนด์ กรรมการบริหาร - ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ประธานกรรมการ บจ. ไอเอฟเอ โฮเทลส์ และรสี อร์ท เค เอส ซี ซี - ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ กรรมการ/ ประธาน บจ. ไอเอฟเอ โฮเทลส์ และรีสอร์ท เจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหาร - ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ กรรมการ บจ. เดอะ ริเวอร์ (1) - ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ บจ. ตากสิน พร็อพเพอร์ตส้ี ์ (1) กรรมการ - ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ บจ. นอร์ทพอยท์ พีอาร์ซี (1) กรรมการ (บจ. ไวร์เลส วัน เรสซิเด้นท์*) - ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ บจ. ไรมอน แลนด์ เรสซิเด้นซ์ (1) กรรมการ - ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ บจ. ไรมอน แลนด์ ยูนกิ ซ์ (1) กรรมการ (บจ.เพลินจิต เรสซิเด้นซ์*) - ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ บจ. คอนเท็มโพรารี่ พร็อพเพอร์ต้ี (1) กรรมการ - ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ บจ. ไรมอน แลนด์ พาร์ค วิว กรรมการ ดีเวลลอปเม้นส์ (1) - ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์

ความสัมพันธ์ทาง ประสบการณ์ทำ�งานในระยะ 5 ปีย้อนหลัง ครอบครัวระหว่างผูบ้ ริหาร ช่วงเวลา ตำ�แหน่ง

รายละเอียดเกี่ยวกับผู้บริหารและผู้มีอำ�นาจควบคุมบริษัท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554 (ต่อ)


Annual Report 2011

51

-หุ้นสามัญ (RAIMON) ไม่มี

* บริษัท ไรมอน แลนด์ เซอร์วิสเซส จำ�กัด เดิมชื่อ บริษัท เพลินจิต แมเนจเม้นท์ จำ�กัด โดยได้จดทะเบียนเปลี่ยนชื่อกับกระทรวงพาณิชย์เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2554

* บริษัท นอร์ทพอยท์ พีอาร์ซี จำ�กัด เดิมชื่อ บริษัท ไวร์เลส วัน เรสซิเด้นซ์ จำ�กัด โดยได้จดทะเบียนเปลี่ยนชื่อกับกระทรวงพาณิชย์เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2554

หมายเหตุ : (1) บริษัทย่อยในเครือ ไรมอน แลนด์

วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาการจัดการและบริหารอาคาร มหาวิทยาลัยพริทอเรีย ประเทศแอฟริกาใต้

2552 - ปัจจุบัน

2552 – ปัจจุบัน

2552 - ปัจจุบัน

2551 - ปัจจุบัน

2553 - ปัจจุบัน

2548 - ปัจจุบัน

2549 - ปัจจุบัน

2548 - ปัจจุบัน

2550 - ปัจจุบัน

2550 - ปัจจุบัน

ชื่อหน่วยงาน/บริษัท/ประเภทธุรกิจ

กรรมการ

บจ. ไรมอน แลนด์ ดีเวลลอปเม้นท์ (1) - ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ กรรมการ บจ. ไรมอน แลนด์ แพลนเนอร์ (1) - ธุรกิจบริหารแผนฟื้นฟูกิจการ กรรมการอิสระ Druke & Scull - ธุรกิจที่ปรึกษาด้านการก่อสร้าง กรรมการ/กรรมการ บมจ. ไรมอน แลนด์ บริหาร - ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ผู้อำ�นวยการฝ่าย บจ. ไอเอฟเอ โฮเทลส์ และรีสอร์ท บริหารและการจัดการ - ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ กรรมการ บจ. ไรมอน แลนด์ เซอร์วิสเซส (1) (บจ. เพลินจิต แมเนจเม้นท์*) - ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และ/หรือลงทุน บจ. ไรมอน แลนด์ เรสซิเด้นซ์ (1) กรรมการ - ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ บจ. ตากสิน พร็อพเพอร์ตี้ส์ (1) กรรมการ - ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ บจ. คอนเท็มโพรารี่ พร็อพเพอร์ตี้ (1) กรรมการ - ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ บจ. นอร์ทพอยท์ พีอาร์ซี (1) กรรมการ (บจ. ไวร์เลส วัน เรสซิเด้นท์*) - ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์

ความสัมพันธ์ทาง ประสบการณ์ทำ�งานในระยะ 5 ปีย้อนหลัง ครอบครัวระหว่างผูบ้ ริหาร ช่วงเวลา ตำ�แหน่ง

-

นายแวเนอร์ โยฮานเนส เบอร์เกอร์ (Mr. Werner Johannes Burger) (มีอำ�นาจลงนามผูกพันบริษัทฯ)

42

สัดส่วนการ ถือหุ้นในบริษัท (%)

3

คุณวุฒิทางการศึกษา

-

อายุ (ปี)

2 (ต่อ) นายทาลาล เจ เอ็ม เอ อัล บาฮาร์ (Mr. Talal J M A Al Bahar) (มีอ�ำ นาจลงนามผูกพันบริษทั ฯ)

ตำ�แหน่ง

ลำ�ดับที่ ชื่อ-สกุล /

รายละเอียดเกี่ยวกับผู้บริหารและผู้มีอำ�นาจควบคุมบริษัท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554 (ต่อ)


52

Annual Report 2011

นายอูแบร์ โรมารี่ แบร์ตร็อง วิรอิ อท (Mr. Hubert Romary Bertrand Viriot) (มีอำ�นาจลงนามผูกพันบริษัทฯ)

4

34

อายุ (ปี)

สัดส่วนการ ถือหุ้นในบริษัท (%)

บริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาการจัดการ โรงแรมและการท่องเที่ยว โรงเรียนการโรงแรมกลิยอง ประเทศสวิสเซอร์แลนด์

บริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาการ - หุ้นสามัญ จัดการโรงแรมและการท่องเที่ยว (RAIMON) ระหว่างประเทศ ไม่มี มหาวิทยาลัยเวลส์ สหราชอาณาจักร

คุณวุฒิทางการศึกษา

* บริษัท ไรมอน แลนด์ เซอร์วิสเซส จำ�กัด เดิมชื่อ บริษัท เพลินจิต แมเนจเม้นท์ จำ�กัด โดยได้จดทะเบียนเปลี่ยนชื่อกับกระทรวงพาณิชย์เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2554

* บริษัท ไรมอน แลนด์ ยูนิกซ์ จำ�กัด เดิมชื่อ บริษัท เพลินจิต เรสซิเด้นซ์ จำ�กัด โดยได้จดทะเบียนเปลี่ยนชื่อกับกระทรวงพาณิชย์เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2554

* บริษัท นอร์ทพอยท์ พีอาร์ซี จำ�กัด เดิมชื่อ บริษัท ไวร์เลส วัน เรสซิเด้นซ์ จำ�กัด โดยได้จดทะเบียนเปลี่ยนชื่อกับกระทรวงพาณิชย์เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2554

หมายเหตุ : (1) บริษัทย่อยในเครือ ไรมอน แลนด์

นายแวเนอร์ โยฮานเนส เบอร์เกอร์ (Mr. Werner Johannes Burger) (มีอำ�นาจลงนามผูกพันบริษัทฯ)

3 (ต่อ)

ตำ�แหน่ง

ลำ�ดับที่ ชื่อ-สกุล /

-

-

กรรมการ กรรมการ กรรมการ

2552 - ปัจจุบัน 2552 - ปัจจุบัน 2552 – ปัจจุบัน

2552 – ปัจจุบัน

2552 – ปัจจุบัน

2552 – ปัจจุบัน

2552 – ปัจจุบัน

2552 - ปัจจุบัน

2553 - ปัจจุบัน

บจ. ไรมอน แลนด์ ยูนิกซ์ (1) (บจ.เพลินจิต เรสซิเด้นซ์*) - ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ บจ. ไรมอน แลนด์ แพลนเนอร์ (1) - ธุรกิจบริหารแผนฟื้นฟูกิจการ บจ. ไรมอน แลนด์ พาร์ค วิว ดีเวลลอปเม้นส์ (1) - ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ บจ. ไรมอน แลนด์ ดีเวลลอปเม้นท์ (1) - ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ บจ. เดอะ ริเวอร์ (1) - ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์

ชื่อหน่วยงาน/บริษัท/ประเภทธุรกิจ

กรรมการ/ บมจ. ไรมอน แลนด์ กรรมการบริหาร/ - ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ กรรมการผูอ้ �ำ นวยการ กรรมการ บจ. ไรมอน แลนด์ เซอร์วิสเซส (1) (บจ. เพลินจิต แมเนจเม้นท์*) - ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และ/หรือลงทุน บจ. นอร์ทพอยท์ พีอาร์ซี (1) กรรมการ (บจ. ไวร์เลส วัน เรสซิเด้นท์*) - ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ บจ. ไรมอน แลนด์ รีสอร์ทส์ (1) กรรมการ - ธุรกิจการลงทุนและบริการ บจ. เดอะ ริเวอร์ (1) กรรมการ - ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ บจ. ตากสิน พร็อพเพอร์ตี้ส์ (1) กรรมการ - ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ บจ. ไรมอน แลนด์ เรสซิเด้นซ์ (1) กรรมการ - ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์

กรรมการ

2552 – ปัจจุบัน

2549 - ปัจจุบัน

กรรมการ

2552 - ปัจจุบัน

ความสัมพันธ์ทาง ประสบการณ์ทำ�งานในระยะ 5 ปีย้อนหลัง ครอบครัวระหว่างผูบ้ ริหาร ช่วงเวลา ตำ�แหน่ง

รายละเอียดเกี่ยวกับผู้บริหารและผู้มีอำ�นาจควบคุมบริษัท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554 (ต่อ)


Annual Report 2011

53

นายอูแบร์ โรมารี่ แบร์ตร็อง วิรอิ อท (Mr. Hubert Romary Bertrand Viriot) (มีอำ�นาจลงนามผูกพันบริษัทฯ)

อายุ (ปี)

คุณวุฒิทางการศึกษา

สัดส่วนการ ถือหุ้นในบริษัท (%)

* บริษัท ไรมอน แลนด์ ยูนิกซ์ จำ�กัด เดิมชื่อ บริษัท เพลินจิต เรสซิเด้นซ์ จำ�กัด โดยได้จดทะเบียนเปลี่ยนชื่อกับกระทรวงพาณิชย์เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2554

หมายเหตุ : (1) บริษัทย่อยในเครือ ไรมอน แลนด์

4 (ต่อ)

ตำ�แหน่ง

ลำ�ดับที่ ชื่อ-สกุล /

กรรมการ

2550 - ปัจจุบัน

กรรมการ กรรมการ รองประธาน กรรมการ

2550 - ปัจจุบัน 2550 - ปัจจุบัน 2548 - ปัจจุบัน

2550 - ปัจจุบัน กรรมการ

กรรมการ

2551 – ปัจจุบัน

ความสัมพันธ์ทาง ประสบการณ์ทำ�งานในระยะ 5 ปีย้อนหลัง ครอบครัวระหว่างผูบ้ ริหาร ช่วงเวลา ตำ�แหน่ง

รายละเอียดเกี่ยวกับผู้บริหารและผู้มีอำ�นาจควบคุมบริษัท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554 (ต่อ) บจ. ไรมอน แลนด์ ยูนิกซ์ (1) (บจ.เพลินจิต เรสซิเด้นซ์*) - ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ บจ. คอนเท็มโพรารี่ พร็อพเพอร์ตี้ (1) - ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ บจ. ไรมอน แลนด์ พาร์ค วิว ดี เวลลอปเม้นส์ (1) - ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ บจ. ไรมอน แลนด์ ดีเวลลอปเม้นท์ (1) - ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ บจ. ไรมอน แลนด์ แพลนเนอร์ (1) - ธุรกิจบริหารแผนฟื้นฟูกิจการ บจ. ไอเอฟเอ โฮเทลส์ และรีสอร์ท - ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์

ชื่อหน่วยงาน/บริษัท/ประเภทธุรกิจ


54

Annual Report 2011

36

นายนูแมน โมฮัมเหม็ด นูแมน โมฮัมเหม็ด (Mr. Numan Mohamed Numan Mohamed)

นายเปียแรส โรดิโก มอร์ริอาร์ตี้ 45 อัลวาเรซ (Mr. Piaras Rodrigo Moriarty Alvarez)

นายกิตติ ตั้งศรีวงศ์ (มีอำ�นาจลงนามผูกพันบริษัทฯ)

5

6

7

* บริษัท ไรมอน แลนด์ ยูนิกซ์ จำ�กัด เดิมชื่อ บริษัท เพลินจิต เรสซิเด้นซ์ จำ�กัด โดยได้จดทะเบียนเปลี่ยนชื่อกับกระทรวงพาณิชย์เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2554

* บริษัท ไรมอน แลนด์ เซอร์วิสเซส จำ�กัด เดิมชื่อ บริษัท เพลินจิต แมเนจเม้นท์ จำ�กัด โดยได้จดทะเบียนเปลี่ยนชื่อกับกระทรวงพาณิชย์เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2554.

- หุ้นสามัญ (RAIMON) 1,000,000 หุ้น

- หุ้นสามัญ (RAIMON) ไม่มี

- หุ้นสามัญ (RAIMON) ไม่มี

สัดส่วนการ ถือหุ้นในบริษัท (%)

* บริษัท นอร์ทพอยท์ พีอาร์ซี จำ�กัด เดิมชื่อ บริษัท ไวร์เลส วัน เรสซิเด้นซ์ จำ�กัด โดยได้จดทะเบียนเปลี่ยนชื่อกับกระทรวงพาณิชย์เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2554

ประกาศนียบัตรชั้นสูงการบริหาร เศรษฐกิจสาธารณะสำ�หรับนักบริหารระดับ สูง (รุ่นที่ 9)

Directors Certification Program รุ่น 43/2004 (DCP 43/2004)

บัญชีบัณฑิต มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาการบริหารและพัฒนาธุรกิจ อสังหาริมทรัพย์ สถาบัน ดูไบ เรียล เอสเตท ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์

บัณฑิตสาขาการเงิน มหาวิทยาลัยเดอพอล ชิคาโก มลรัฐอิลลินอยส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา

คุณวุฒิทางการศึกษา

หหมายเหตุ : (1) บริษัทย่อยในเครือ ไรมอน แลนด์

42

อายุ (ปี)

ตำ�แหน่ง

ลำ�ดับที่ ชื่อ-สกุล /

-

-

-

กรรมการ กรรมการ 2550 - ปัจจุบัน

กรรมการ

กรรมการ

2551 - ปัจจุบัน

2551 - ปัจจุบัน

2551 - ปัจจุบัน

กรรมการ 2553 - ปัจจุบัน

บจ. ไรมอน แลนด์ เซอร์วิสเซส (1) (บจ. เพลินจิต แมเนจเม้นท์*) - ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และ/หรือลงทุน บจ. นอร์ทพอยท์ พีอาร์ซี (1) (บจ. ไวร์เลส วัน เรสซิเด้นท์*) - ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ บจ. ไรมอน แลนด์ เรสซิเด้นซ์ (1) - ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ บจ. ไรมอน แลนด์ ยูนิกซ์ (1) (บจ. เพลินจิต เรสซิเด้นซ์*) - ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ บจ. ไรมอน แลนด์ แพลนเนอร (1) ธุรกิจบริหารแผนฟื้นฟูกิจการ

กรรมการ/กรรมการ บมจ. ไรมอน แลนด์ บริหาร/ผูอ้ �ำ นวยการฝ่าย - ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ บริหาร และการจัดการ/ เลขานุการบริษทั

บจ. ไอเอฟเอ โฮเทลส์ และรีสอร์ท - ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์

บมจ. ไรมอน แลนด์ - ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์

บมจ. ไรมอน แลนด์ - ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ บจ. ไอเอฟเอ โฮเทลส์ และรีสอร์ท - ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์

ชื่อหน่วยงาน/บริษัท/ประเภทธุรกิจ

2547 - ปัจจุบัน

2547-ปัจจุบัน

กรรมการ/ผู้อำ�นวย การฝ่ายบริหารงาน ลูกค้าสัมพันธ์ รองประธานฝ่าย ลูกค้าสัมพันธ์

รองประธานอาวุโส ฝ่ายบริหารและการ เงิน

2546-ปัจจุบัน

2553- ปัจจุบัน

กรรมการ

2553- ปัจจุบัน

ความสัมพันธ์ทาง ประสบการณ์ทำ�งานในระยะ 5 ปีย้อนหลัง ครอบครัวระหว่างผูบ้ ริหาร ช่วงเวลา ตำ�แหน่ง

รายละเอียดเกี่ยวกับผู้บริหารและผู้มีอำ�นาจควบคุมบริษัท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554 (ต่อ)


Annual Report 2011

55

นายกิตติ ตั้งศรีวงศ์ (มีอำ�นาจลงนามผูกพันบริษัทฯ)

หมายเหตุ : (1) บริษัทย่อยในเครือ ไรมอน แลนด์

7 (ต่อ)

ตำ�แหน่ง

ลำ�ดับที่ ชื่อ-สกุล /

อายุ (ปี)

คุณวุฒิทางการศึกษา

สัดส่วนการ ถือหุ้นในบริษัท (%)

กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ ที่ปรึกษาการเงิน อาวุโส

2550 - ปัจจุบัน 2549 - ปัจจุบัน 2549 - ปัจจุบัน 2548 - ปัจจุบัน 2548 – ปัจจุบัน 2547 - ปัจจุบัน 2541 - 2545

ความสัมพันธ์ทาง ประสบการณ์ทำ�งานในระยะ 5 ปีย้อนหลัง ครอบครัวระหว่างผูบ้ ริหาร ช่วงเวลา ตำ�แหน่ง

รายละเอียดเกี่ยวกับผู้บริหารและผู้มีอำ�นาจควบคุมบริษัท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554 (ต่อ)

บจ. ไรมอน แลนด์ รีสอร์ทส์ (1) - ธุรกิจการลงทุนและบริการ บจ. ไรมอน แลนด์ พาร์ค วิว ดีเวลลอปเม้นส์ (1) - ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ บจ. ไรมอน แลนด์ ดีเวลลอปเม้นท์ (1) - ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ บจ. เดอะ ริเวอร์ (1) - ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ บจ. ตากสิน พร็อพเพอร์ตี้ส์ (1) - ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ บจ. คอนเท็มโพรารี่ พร็อพเพอร์ตี้ (1) - ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ บจ. ไพรซ์วอเตอร์เฮ้าส์คูเปอร์ส เอฟ เอ เอส - ธุรกิจที่ปรึกษาทางการเงิน

ชื่อหน่วยงาน/บริษัท/ประเภทธุรกิจ


56

Annual Report 2011

60

นายกิตติ คชนันทน์

นายจิรวุฒิ คุวานันท์

8

9

52

อายุ (ปี)

ตำ�แหน่ง

ลำ�ดับที่ ชื่อ-สกุล / สัดส่วนการ ถือหุ้นในบริษัท (%)

Directors Certification Program รุ่น 43/2004 (DCP 43/2004)

บริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาการตลาด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ วิทยาลัย อินชัวรันซ์ มลรัฐนิวยอร์ค ประเทศสหรัฐอเมริกา

พาณิชยศาสตรบัณฑิต คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

- หุ้นสามัญ (RAIMON) ไม่มี

บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต - หุ้นสามัญ สาขาบริหารธุรกิจ (RAIMON) มหาวิทยาลัย นอร์ท เท็กซัส ประเทศ ไม่มี สหรัฐอเมริกา

คุณวุฒิทางการศึกษา

-

-

2530 - ปัจจุบัน

2545 - ปัจจุบัน

2546 - ปัจจุบัน

2544 - ปัจจุบัน

2547 - 2554

2547 - ปัจจุบัน

CINMIT Co., Ltd. - ธุรกิจที่ปรึกษาทางการเงิน สถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง - ธุรกิจวิจัยและให้คำ�ปรึกษา

บมจ. ไรมอน แลนด์ - ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์

ชื่อหน่วยงาน/บริษัท/ประเภทธุรกิจ

กรรมการอิสระและ บมจ. ไรมอน แลนด์ กรรมการตรวจสอบ - ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ กรรมการอิสระ บมจ. ไรมอน แลนด์ - ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ กรรมการบริหาร กลุ่มบริษัท โค้วยูฮะ มอเตอร์ - ธุรกิจรถยนต์

กรรมการอิสระ และ ประธานกรรมการ ตรวจสอบ กรรมการและ กรรมการตรวจสอบ ที่ปรึกษา

ความสัมพันธ์ทาง ประสบการณ์ทำ�งานในระยะ 5 ปีย้อนหลัง ครอบครัวระหว่างผูบ้ ริหาร ช่วงเวลา ตำ�แหน่ง

รายละเอียดเกี่ยวกับผู้บริหารและผู้มีอำ�นาจควบคุมบริษัท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554 (ต่อ)


Annual Report 2011

57

51

นายเจราร์ด โคเนอร์ ฮิลลี่ (Mr. Gerard Conor Healy)

นางสาวลมัย พิชญ์ตระกูล

นายมนตรี เหมวิจิตร

10

11

12

53

41

อายุ (ปี)

ตำ�แหน่ง

ลำ�ดับที่ ชื่อ-สกุล /

ประกาศนียบัตรการวิจัยทางสังคม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA)

ประกาศนียบัตร สาขาการตลาดขั้นสูง มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์

บริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาการตลาด มหาวิทยาลัยรามคำ�แหง

เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต สถาบันเทคโนโลยีทางสังคม

บริหารธุรกิจบัณฑิต คณะบัญชี มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

บัญชีมหาบัณฑิต คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

สถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยวิทยาลัยดับลิน ประเทศไอร์แลนด์

คุณวุฒิทางการศึกษา

- หุ้นสามัญ (RAIMON) 875 หุ้น

- หุ้นสามัญ (RAIMON) ไม่มี

- หุ้นสามัญ (RAIMON) 23,745 หุ้น

สัดส่วนการ ถือหุ้นในบริษัท (%)

-

-

-

2543 - 2547

2548 - ปัจจุบัน

2544 - 2550

2550 - 2551

2551-ปัจจุบัน

2539 – 2545

2545 – ปัจจุบัน

ผูอ้ �ำ นวยการฝ่าย ประสานงานโครงการ ผู้อำ�นวยการ โครงการ

ผู้อำ�นวยการฝ่าย การเงิน ผู้อำ�นวยการฝ่าย การเงิน ผู้อำ�นวยการฝ่าย การเงิน

ผูอ้ �ำ นวยการฝ่าย พัฒนาโครงการ ผู้จัดการฝ่ายพัฒนา สถาปัตยกรรม

ความสัมพันธ์ทาง ประสบการณ์ทำ�งานในระยะ 5 ปีย้อนหลัง ครอบครัวระหว่างผูบ้ ริหาร ช่วงเวลา ตำ�แหน่ง

รายละเอียดเกี่ยวกับผู้บริหารและผู้มีอำ�นาจควบคุมบริษัท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554 (ต่อ)

บมจ. ไรมอน แลนด์ - ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ บมจ. ไรมอน แลนด์ - ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์

บมจ. ไรมอน แลนด์ - ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ บมจ. เมเจอร์ ดีเวลลอปเมนท์ - ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ บจ. เดซติเนชั่น พรอพเพอร์ตี้ส์ - ธุรกิจโรงแรมและพัฒนา อสังหาริมทรัพย์

บมจ. ไรมอน แลนด์ - ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ บจ. วู้ดส์ เบก็อท (ไทยแลนด์) - ธุรกิจออกแบบและตกแต่งอาคาร

ชื่อหน่วยงาน/บริษัท/ประเภทธุรกิจ


58

Annual Report 2011

44

นางวัลลภา พูลทรัพย์

นางสาวจรรย์จิรา พนิตพล

นายสตีเฟน แอนโธนี่ บราจัก (Mr. Stephen Anthony Brajak)

13

14

15

44

35

อายุ (ปี)

ตำ�แหน่ง

ลำ�ดับที่ ชื่อ-สกุล /

สมาชิก สมาคม International Businessman’s Association of Phuket (IBAP)

วิทยาลัย โฮลี สปิริต (วิทยาลัยเซนต์ปอล)

บริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ

บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยซานฟรานซิสโก ประเทศสหรัฐอเมริกา

ศิลปศาสตร์บัณฑิต เอกภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต เอกภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คุณวุฒิทางการศึกษา

-หุ้นสามัญ (RAIMON) ไม่มี

- หุ้นสามัญ (RAIMON) ไม่มี

- หุ้นสามัญ (RAIMON) ไม่มี

สัดส่วนการ ถือหุ้นในบริษัท (%)

-

-

-

2546 - 2547

2547 – 2549

2549 - 2551

2551- ปัจจุบัน

2547 - 2549

2549 - 2551

2551 - ปัจจุบัน

2548 - 2551

2551 - 2554

2554 - ปัจจุบัน

ชื่อหน่วยงาน/บริษัท/ประเภทธุรกิจ

บจ. บางกอก แคปปิตอล แอลิอันซ์ - ธุรกิจบริหารสินทรัพย์

บมจ. ไรมอน แลนด์ - ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ บจ. บางกอก แคปปิตอล แอลิอันซ์ - ธุรกิจบริหารสินทรัพย์

ผู้อำ�นวยการฝ่ายขาย บมจ. ไรมอน แลนด์ และการจัดการ - ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ผู้จัดการทั่วไป บมจ. ไรมอน แลนด์ - ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ผู้จัดการฝ่ายการ บจ. ทรอพพิเคิลไลฟ์ พัฒนาธุรกิจการขาย - ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และการตลาด ผู้จัดการฝ่ายการ บจ. ก่อสร้างนพวงศ์ พัฒนาธุรกิจการขาย - ธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง และการตลาด

ผูอ้ �ำ นวยการฝ่ายงาน วางแผนและการลงทุน ผู้อำ�นวยการฝ่าย บริหารสินทรัพย์และ การวางแผน รองผู้อำ�นวยการ ฝ่ายบริหารสินทรัพย์

บมจ. ไรมอน แลนด์ - ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ บจ. ยัม เรสเทอรองตส์ อินเตอร์ เนชั่นแนล - ธุรกิจแฟรนไชส์ร้านอาหารบริการด่วน ผู้อำ�นวยการ บจ. ชูโอ เซ็นโก ฝ่ายทรัพยากรบุคคล - ธุรกิจโฆษณา

ผูอ้ �ำ นวยการ ฝ่ายทรัพยากรบุคคล ผูจ้ ดั การ ฝ่ายทรัพยากรบุคคล

ความสัมพันธ์ทาง ประสบการณ์ทำ�งานในระยะ 5 ปีย้อนหลัง ครอบครัวระหว่างผูบ้ ริหาร ช่วงเวลา ตำ�แหน่ง

รายละเอียดเกี่ยวกับผู้บริหารและผู้มีอำ�นาจควบคุมบริษัท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554 (ต่อ)


Annual Report 2011

59

• BPI ถือหุ้นร้อยละ 15 ใน RV และ BPI เป็ น บริ ษ ั ทในเครื อ ของ IFA ซึ ่ ง เป็ นผู ้ ถ ื อ หุ้ นรายใหญ่ ของ ไรมอน แลนด์ โดยถื อ หุ้ น คิ ด เป็ น ร้อยละ 41.08 ของหุ้นที่จำ�หน่ายได้ แล้วทั้งหมดของบริษัทฯ • กรรมการผู้มีอำ�นาจร่วมกันของ ไรมอน แลนด์ และ IFA ได้แก่ (1) นายทาลาล อัล บาฮาร์ (2) นายแวเนอร์ โยฮานเนส เบอร์เกอร์

• IFA RLD ถือหุ้นร้อยละ 49 ใน RLD และ IFA RLD เป็นบริษัทใน เครือของ IFA ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นราย ใหญ่ของ ไรมอน แลนด์ โดยถือ หุ้นคิดเป็นร้อยละ 41.08 ของหุ้น ที่จำ�หน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทฯ • กรรมการผู้มีอำ�นาจร่วมกันของ ไรมอน แลนด์ และ IFA ได้แก่ (1) นายทาลาล อัล บาฮาร์ (2) นายแวเนอร์ โยฮานเนส เบอร์เกอร์

• แบงค์ค๊อก พร็อพ เพอร์ตี้ อินเวสเมนท์ พีทีอี ลิมิเต็ด (BPI) • บริษัท ไรมอน แลนด์ จำ�กัด (มหาชน) (ไรมอน แลนด์) • บริษัท เดอะ ริเวอร์ จำ�กัด (RV)

• บริษัท IFA Raimon Land Development Co., Ltd. (IFA RLD) • บริษัท ไรมอน แลนด์ จำ�กัด (มหาชน) (ไรมอน แลนด์) • บริษัท ไรมอน แลนด์ ดี เ วลลอปเม้ น ท์ จำ � กั ด (RLD)

15/11/53 8/12/53 และ 18/04/54

17/03/54 11/04/54 และ 29/09/54

ความสัมพันธ์

บุคคลที่เกี่ยวโยงกัน

วันที่แจ้งรายการ

รายการระหว่างกัน มูลค่าของรายการ

• ไรมอน แลนด์ ซื้อหุ้นจำ�นวน 24.5 ล้านหุ้น 280 ล้านบาท ใน RLD (คิดเป็นร้อยละ 49 ของหุ้นทั้งหมดใน RLD) จาก IFA RLD และเงินกู้ยืมที่ IFA RLD ให้แก่ RLD จำ�นวน 144.3 ล้านบาท และดอกเบี้ย ค้างชำ�ระจำ�นวน 55.2 ล้านบาท รวมเป็นหนี้เงินกู้ และดอกเบี้ยทั้งสิ้นจำ�นวน 199.5 ล้านบาท (ยอด ค้างชำ�ระ ณ วันที่ 17 มีนาคม 2554)

• ไรมอน แลนด์ ซือ้ หุน้ ใน RV จำ�นวน 1.85 ล้าน 315 ล้านบาท หุน้ (คิดเป็นร้อยละ 15 ของหุน้ ทัง้ หมดใน RV) จาก BPI ภายหลังจากการซือ้ หุน้ บริษทั และบริษทั ย่อยถือ หุน้ ใน RV ประมาณร้อยละ 99.84

ลักษณะของรายการ

ความเห็นของคณะกรรมการและคณะกรรมการตรวจสอบ

• ไรมอน แลนด์ ใช้ เงิน กู้จากสถาบันการเงิน ในการ ชำ�ระราคาค่าหุ้นร้อยละ 49 ใน RLD และหนี้เงินกู้ IFA RLD

การซื้อหุ้นร้อยละ 49 ใน RLD จาก IFA RLD จะ ทำ�ให้บริษัทสามารถควบคุมและกำ�หนดแนวทางในการ พัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ ซึ่ง RLD จะเป็น ผู้ดำ�เนินโครงการได้อย่างชัดเจน และทำ�ให้โครงสร้าง การถือหุ้นใน RLD ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบริษัท มี ความชัดเจนและไม่มีลักษณะของความขัดแย้งทางผล ประโยชน์ระหว่างผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัท และ บริษัท นอกจากนี้ บริษัทจะได้ผลประโยชน์ส่วนต่าง ของราคาซื้อขายหุ้นร้อยละ 49 ใน RLD และหนี้ เงินกู้ IFA RLD เนื่องจาก IFA RLD ขายหุ้นร้อย ละ 49 ใน RLD และหนี้เงินกู้ IFA RLD โดยมี ส่วนลด ให้แก่บริษัท

• ไรมอน แลนด์ ใช้ เงิน การซือ้ หุน้ ร้อยละ 15 ใน RV จาก BPI จะทำ�ให้บริษทั กู้จากสถาบันการเงิน ในการ สามารถควบคุ ม และกำ � หนดแนวทางในการพั ฒ นา ชำ�ระค่าหุ้นดังกล่าวให้แก่ BPI โครงการเดอะ ริเวอร์ ได้อย่างชัดเจน โครงการ เดอะ ริเวอร์ เป็นอาคารชุดพักอาศัยขนาดใหญ่ตั้ง อยู่ริมฝั่งแม่น้ำ�เจ้าพระยา หากโครงการดังกล่าวได้รับ การพัฒนาจนแล้วเสร็จ โครงการดังกล่าวจะสร้าง ผลกำ�ไรให้แก่ บริษัทและบริษัทย่อย ตามสัดส่วน การถือหุ้นร้อยละ 99.84 นอกจากนี้ การที่บริษัท ซื้อหุ้นใน RV จะทำ�ให้โครงสร้างการถือหุ้นใน RV ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบริษัท มีความชัดเจนและไม่มี ลักษณะของความขัดแย้งทางผลประโยชน์ระหว่าง ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัท และบริษัท

หมายเหตุ


60

Annual Report 2011

บุคคลที่เกี่ยวโยงกัน

• บริษัท IFA Raimon Land Residences Company Limited (IFA RLR) • บริษัท IFA Ploenchit Residences Company Limited (IFA PR) • บริษัท ไรมอน แลนด์ จำ�กัด (มหาชน) (ไรมอน แลนด์) • บริษัท ไรมอน แลนด์ เรสซิเด้นซ์ จำ�กัด (RLR) • บริษัท เพลินจิต เรสซิเด้นซ์ จำ�กัด (PR)

วันที่แจ้งรายการ

1/06/54 และ 6/06/54

• บริษัท IFA RLR และ IFA PR เป็นบริษัทในเครือของ IFA ซึ่งเป็นผู้ ถือหุ้นรายใหญ่ของ ไรมอน แลนด์ โดยถื อ หุ้ น คิ ด เป็ น ร้ อ ยละ 41.08 ของหุ ้ น ที ่ จ ำ � หน่ า ยได้ แ ล้ ว ทั ้ ง หมด ของบริษัทฯ • ไรมอน แลนด์ และ IFA RLR ถือ หุ้นคิดเป็นร้อยละ 51 และร้อยละ 49 ของหุ้นทั้งหมดใน RLR ตามลำ�ดับ • RLR และ IFA PR ถือหุ้นคิดเป็น ร้อยละ 51 และร้อยละ 49 ของหุ้น ทั้งหมดใน PR ตามลำ�ดับ • กรรมการผู้มีอำ�นาจร่วมกันของ ไรมอน แลนด์ IFA, RLR และ PR ได้แก่ (1) นายทาลาล อัล บาฮาร์ (2) นายแวเนอร์ โยฮานเนส เบอร์เกอร์

ความสัมพันธ์

มูลค่าของรายการ

• ไรมอน แลนด์ ซื้อหุ้นสามัญร้อยละ 49 ใน 4 บาท RLR จาก IFA RLR ในราคา 1 บาท • ไรมอน แลนด์ ซื้อหุ้นสามัญร้อยละ 49 ใน PR จาก IFA PR ในราคา 1 บาท • ไรมอน แลนด์ รับโอนสิทธิเรียกร้องในหนี้เงินกู้ ยืมและดอกเบี้ยค้างชำ�ระจำ�นวน 352.17 ล้านบาท (ยอดคงเหลือ ณ 31/05/54) จาก IFA RLR ในราคา 1 บาท • ไรมอน แลนด์ รับโอนสิทธิเรียกร้องในหนี้เงินกู้ ยืมและดอกเบี้ยค้างชำ�ระจำ�นวน 692.87 ล้านบาท (ยอดคงเหลือ ณ 31/05/54) จาก IFA PR ใน ราคา 1 บาท

ลักษณะของรายการ

ความเห็นของคณะกรรมการและคณะกรรมการตรวจสอบ

• PR อาจได้รับคืนภาษีจาก ไม่เกี่ยวข้อง เนื่องจากมูลค่าและขนาดรายการยังไม่ กรมสรรพากร ประมาณ ถึงเกณฑ์ที่กำ�หนดตามประกาศของตลาดหลักทรัพย์ 40.52 ล้ า นบาทและเงิ น จากทรัพย์สินอื่นๆ ซึ่งเงิน จำ�นวนดังกล่าว PR จะนำ�ไป ชำ�ระคืนหนี้เงินกู้ยืมแก่ RLR และ IFA PR ตามสัดส่วน การถือหุ้นใน PR (ก่อนการ ซื้ อ หุ้ นในครั้ ง นี้ ) ทั้ ง นี้ เ มื่ อ RLR ได้รับชำ�ระคืนหนี้เงินกู้ ยืมดังกล่าวจาก PR แล้ว RLR จะนำ � เงิ น ดั ง กล่ า วไป ชำ�ระคืนหนี้เงินกู้ยืมให้แก่ ไร มอน แลนด์ และ IFA RLR ตามสั ด ส่ ว นการถื อ หุ้ นใน RLR (ก่ อ นการซื้ อ หุ้ นใน ครั้งนี้) ต่อไป

หมายเหตุ


ความจำ�เป็นและความสมเหตุสมผลของรายการ การทำ�รายการระหว่างกันของบริษัทดังกล่าวข้างต้นมีความจำ�เป็นและสมเหตุสมผล เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อบริษัทฯ อีกทั้งยังเป็นไปตาม ลักษณะการประกอบธุรกิจโดยทั่วไป โดยมีการกำ�หนดค่าตอบแทน ค่าธรรมเนียม และเงื่อนไขต่างๆ อ้างอิงตามราคาตลาดที่เหมาะสม เช่นเดียวกับ การทำ�รายการระหว่างกันของบริษัทฯ กับบุคคลหรือธุรกิจอื่นๆ ที่ไม่มีความเกี่ยวข้องกัน ทั้งนี้ การทำ�รายการระหว่างกันดังกล่าวไม่มีการถ่ายเทผล ประโยชน์ระหว่างบริษัทฯ กับบุคคลอื่นใดที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ หรือมีส่วนได้ส่วนเสีย คณะกรรมการตรวจสอบของบริษัทฯ รับ ทราบและเห็นด้วยต่อการตัดสินใจและการดำ�เนินการของคณะกรรมการบริษัทฯ และ/หรือคณะผู้บริหาร โดยได้พิจารณาถึงความเหมาะสมในการทำ� รายการระหว่างกันทั้งหมดในปี 2554

มาตรการหรือขั้นตอนการอนุมัติการทำ�รายการระหว่างกัน การอนุมัติรายการระหว่างกันของบริษัทดังกล่าว ได้ปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อบังคับ ประกาศ คำ�สั่ง หรือ ข้อกำ�หนดของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยที่กรรมการหรือบุคคลที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ หรือมีส่วนได้ส่วนเสียกับบริษัทใน รายการระหว่างกันนั้นๆ จะไม่มีส่วนร่วมในการพิจารณาอนุมัติรายการดังกล่าว เว้นแต่ เป็นกรณีที่ได้รับการพิจารณายกเว้นตามกฎหมายว่าด้วยหลัก ทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อบังคับ ประกาศ คำ�สั่ง หรือข้อกำ�หนดของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในเรื่องการเปิดเผยข้อมูลและการปฏิบัติการ ของบริษัทจดทะเบียนในรายการที่เกี่ยวโยงกัน พ.ศ. 2546

นโยบายหรือแนวโน้มการทำ�รายการระหว่างกันในอนาคต บริษัทฯ อาจมีการทำ�รายการระหว่างกันในอนาคต หากบริษัทฯ เห็นว่าการเข้าทำ�รายการนั้นๆ จะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อบริษัทฯ โดยบริษัทฯ ได้ กำ�หนดนโยบายในการเข้าทำ�รายการระหว่างกันที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตให้เป็นไปตามลักษณะการดำ�เนินธุรกิจการค้าทั่วไป ในราคาตลาดที่ยุติธรรม เช่นเดียว กับการทำ�รายการระหว่างกันของบริษัทฯ กับบุคคลหรือธุรกิจอื่นๆ ที่ไม่มีความเกี่ยวข้องกัน บริษัทฯ จะมุ่งมั่นยึดหลักปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วย หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อบังคับ ประกาศ คำ�สั่ง หรือข้อกำ�หนดของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย รวมถึงการปฏิบัติตามข้อกำ�หนด เกี่ยวกับการเปิดเผยรายการที่เกี่ยวโยงกัน และการได้มาหรือจำ�หน่ายไปซึ่งทรัพย์สินของบริษัทฯ และบริษัทย่อย นอกจากนี้ คณะกรรมการตรวจสอบ จะเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ ในการพิจารณาอนุมัติการเข้าทำ�รายการระหว่างกัน เพื่อแสดงความคิดเห็นในเรื่องความเหมาะสมด้านราคา และ ความสมเหตุสมผลของการเข้าทำ�รายการด้วย

Annual Report 2011

61


ปัจจัยความเสี่ยง

1) ความเสี่ยงเกี่ยวกับการดำ�เนินธุรกิจ ความเสี่ยงในการสรรหาที่ดินเพื่อพัฒนาโครงการ เนื่องจาก ไรมอน แลนด์ ไม่มีนโยบายการซื้อที่ดินเก็บสะสมไว้เพื่อรอการพัฒนา เว้นแต่จะเป็นที่ดินที่บริษัทฯ เล็งเห็นว่ามีศักยภาพสูงในการพัฒนาและ ราคาอยู่ในระดับที่เหมาะสมและให้ผลตอบแทนคุ้มค่าแก่การลงทุนดังนั้น การสรรหาหรือการซื้อที่ดินที่ตั้งอยู่ในทำ�เลที่ดี ในราคาที่เหมาะสม จึงเป็นความ เสี่ยงหลักและเป็นปัจจัยหลักของความสำ�เร็จของการดำ�เนินธุรกิจของบริษัทฯ เช่นกัน บริษัทฯ ได้ลดความเสี่ยงในการสรรหาที่ดินเพื่อพัฒนาโครงการด้วยการใช้เครือข่ายหรือเน็ตเวิร์กที่กว้างขวางของนายหน้าสรรหาที่ดิน (Broker) เว็บไซต์ของบริษัท กรรมการ และผู้บริหารของบริษัทฯ โดยเครือข่ายหรือเน็ตเวิร์กที่เข้มแข็งนี้ช่วยให้บริษัทฯ สามารถสรรหาหรือซื้อที่ดินที่ตั้งอยู่ ในทำ�เลที่ดีในราคาที่เหมาะสมได้ นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังลดความเสี่ยงโดยการให้ความสำ�คัญในการทำ�วิจัยและสำ�รวจตลาดอย่างมาก โดยจากผลการทำ� วิจัยและสำ�รวจตลาดนี้เองทำ�ให้บริษัทฯ สามารถนำ�ข้อมูลที่ได้ไปวิเคราะห์เพื่อพิจารณาและลดความเสี่ยงในการซื้อที่ดินได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ความเสี่ยงในการพัฒนาโครงการ ความผันผวนของราคาวัสดุก่อสร้างจะส่งผลกระทบต่อต้นทุนการพัฒนาโครงการ ซึ่ง ไรมอน แลนด์ ได้ลดความเสี่ยงอันเกิดจากความผันผวน ของราคาวัสดุก่อสร้าง โดยส่วนใหญ่ การว่าจ้างผู้รับเหมาในส่วนของงานโครงสร้าง จะเป็นการว่าจ้างผู้รับเหมาเพียงรายเดียวและทำ�สัญญาการ ก่อสร้างแบบเบ็ดเสร็จ (Turnkey Construction Contract) ส่งผลให้ ไรมอน แลนด์ สามารถควบคุมต้นทุนการก่อสร้างได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ เพื่อเป็นการลดต้นทุน ไรมอน แลนด์ ยังได้จัดซื้อวัสดุก่อสร้างในบางรายการที่สามารถจัดซื้อจากผู้ผลิตโดยตรง เช่น เหล็ก กระเบื้อง เป็นต้น ยิ่ง ไปกว่านั้น ในบางกรณี เพื่อเป็นการลดความเสี่ยง ไรมอน แลนด์ ได้กำ�หนดราคาส่งมอบวัสดุก่อสร้างไว้ล่วงหน้าเพื่อลดความผันผวนของราคาวัสดุ ก่อสร้างซึ่งจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อต้นทุนการก่อสร้าง นอกจากการผันผวนของราคาวัสดุก่อสร้างแล้ว การจัดหาหรือว่าจ้างผู้รับเหมาที่มีความสามารถยังเป็นอีกปัญหาหนึ่ง ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อ คุณภาพและเวลาการส่งมอบงานของโครงการได้ บริษัทฯ มีแนวทางการบริหารความเสี่ยงในส่วนนี้อยู่ 3 วิธี ดังน 1. ไรมอน แลนด์ มีระบบการบริหารและตรวจสอบระดับความเสี่ยงในการพัฒนาโครงการทุกๆ โครงการของบริษัทฯ ซึ่งเริ่มตั้งแต่ แนวทางกำ�กับการคัดเลือกผู้รับเหมาที่มีความเข้มงวด การทดสอบประสิทธิภาพของวัสดุก่อสร้างหลัก (เช่น เหล็ก หน้าต่าง กระจก และอิฐ) การมองหาเทคโนโลยีใหม่ ซึ่งมุ่งเน้นพัฒนาทั้งทางด้านเทคนิคและคุณภาพของวัสดุก่อสร้าง และการเพิ่มประสิทธิภาพและ การจัดการระบบการดำ�เนินงานก่อสร้าง เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในด้านการบริหารค่าใช้จ่าย และการต่อรองราคาวัสดุ ในขณะที่ คุณภาพของผลิตภัณฑ์นั้นยังคงเดิมหรือดีขึ้น ทั้งนี้ ในการทำ�สัญญาว่าจ้างผู้รับเหมาในการก่อสร้างโครงการของบริษัทฯ ส่วน ใหญ่นั้น บริษัทฯ จะทำ�สัญญาในแบบกำ�หนดราคาเหมารวม (Fixed Lump Sum Price) เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงในการเพิ่มขึ้น ของต้นทุนวัสดุก่อสร้าง นอกจากนี้ ในบางกรณีบริษัทฯ จะทำ�การชำ�ระเงินล่วงหน้า หากการชำ�ระเงินล่วงหน้านั้นสามารถลดต้นทุน หรือลดความเสี่ยงของการเพิ่มขึ้นของต้นทุนให้บริษัทฯ ได้ 2. ไรมอน แลนด์ บริหารความเสี่ยงในการพัฒนาโครงการโดยการจัดจ้างที่ปรึกษาภายนอก ซึ่งมีความรู้ ความสามารถ และมีความ เชี่ยวชาญโดยตรงสำ�หรับแต่ละโครงการของบริษัทฯ โดยหลักเกณฑ์ในการคัดเลือกที่ปรึกษา จะคำ�นึงถึงความเชี่ยวชาญเฉพาะ สาขา จำ�นวนของบุคลากรที่มีความสามารถและเป็นที่ยอมรับ ความสามารถในการนำ�เทคโนโลยีและอุปกรณ์ที่ทันสมัยมาใช้เพื่อทำ�การ ควบคุมคุณภาพของงาน และต้นทุนการก่อสร้างให้เป็นไปตามที่บริษัทกำ�หนด รวมถึงเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพในการทำ�งาน วิธี การก่อสร้างที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ คณะที่ปรึกษาจะเป็นผู้เสนอรายชื่อของผู้รับเหมาและ/หรือ Supplier ให้กับบริษัทฯ โดยที่ผู้จัดการโครงการจะเป็นผู้ควบคุม ติดตามและตรวจสอบรายงานความคืบหน้างานก่อสร้างของผู้รับเหมา ซึ่งรวมถึงการ เจรจาต่อรองราคาด้วย 3. ในทุกโครงการของบริษทั ฯ จะคัดเลือกผูร้ บั เหมาจากบริษทั ฯ ชัน้ นำ�ทีเ่ ป็นทีย่ อมรับในระดับสากล โดยหลักการในการคัดเลือกผูร้ บั เหมา ประกอบด้วย ความสามารถในการเป็นผูร้ บั ผิดชอบในการบริหารและก่อสร้างโครงการแต่เพียงผูเ้ ดียว การประสานงานในเรือ่ งของการ ออกแบบ ความสามารถในการส่งต่อหรือประสานงานโดยรวม บุคลากรและทรัพยากรทีพ่ ร้อมและมคี ณ ุ ภาพ ทัง้ ทางด้านการเงิน เทคโนโลยี และการบริหารงาน ประวัตกิ ารทำ�งาน และชือ่ เสียงทีไ่ ว้วางใจได้ในการส่งมอบงานทีเ่ สร็จสมบูรณ์ภายในระยะเวลาและงบประมาณทีก่ �ำ หนด 62

Annual Report 2011


ความเสี่ยงด้านการขาย ระยะเวลาที่ใช้ในการขายโครงการหนึ่ง ๆ มีความสำ�คัญเป็นอย่างยิ่งต่อบริษัทฯ พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ประเภทคอนโดมิเนียมเช่น ไรมอน แลนด์ เนื่องจากระยะเวลาในการขายที่รวดเร็วนั้นจะช่วยลดความเสี่ยงทางด้านการเงินและภาระต่าง ๆ ที่บริษัทฯ ต้องรับผิดชอบต่อโครงการนั้น ๆ นอกจาก นี้ ยังทำ�ให้สามารถบริหารความเสี่ยงในการพัฒนาโครงการได้ง่ายขึ้น เนื่องจากโครงการคอนโดมิเนียมของ ไรมอน แลนด์ มีระยะเวลาในการก่อสร้างใน แต่ละโครงการประมาณ 2-4 ปี ดังนั้นบริษัทจึงให้ความสำ�คัญในการการบริหารการขาย การควบคุมงานก่อสร้างให้เสร็จทันตามกำ�หนดพร้อมส่งมอบ ให้กับลูกค้า รวมถึงการบริหารงบกระแสเงินสด ให้มีประสิทธิภาพ บริษัทจึงได้ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ทางการตลาด เพื่อกระตุ้นยอดขายผ่านการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ และกิจกรรมส่งเสริมการขายอย่างเหมาะสมกับสถานะการณ์ และสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน เพื่อให้สามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าของบริษัท โดยไรมอน แลนด์ ได้จัดตั้งฝ่ายลูกค้าสัมพันธ์ เพื่อดูแลลูกค้า รายงานความคืบหน้าโครงการ รวมถึงกระบวนการเรียกเก็บชำ�ระเงินจากลูกค้าอย่างเป็น ระบบ ทั้งนี้จากสภาวะการแข่งขันในตลาดอสังหาริมทรัพย์ในปัจจุบัน ความผันผวนทางภาวะเศรษฐกิจ เหตุภัยพิบัติทางธรรมชาติและความไม่แน่นอน ทางการเมืองที่อาจส่งผลกระทบต่อระยะเวลาในการขายโครงการได้ ไรมอน แลนด์ มุ่งเน้นการบริหารความเสี่ยงในการขาย โดยการเลือกสรรทำ�เลที่ตั้งในการพัฒนาโครงการที่จะต้องตั้งอยู่ในทำ�เลที่ดีและเหมาะสม การ สร้างชื่อเสียงบริษัทฯ ให้เป็นที่ยอมรับ (Brand Building) การริเริ่มแนวความคิดใหม่ๆ ในการพัฒนาโครงการ การทำ�ความเข้าใจตลาด และการขยาย ฐานลูกค้า บริษัทฯ มีความเชื่อมั่นว่าทำ�เลที่ดีและเหมาะสมเป็นปัจจัยที่มีความสำ�คัญอย่างยิ่งในการลดความเสี่ยงในการขายโครงการ ด้วยเหตุนี้ บริษัทฯ จึงให้ความสำ�คัญกับการเลือกสรรทำ�เลที่ดีและเหมาะสม ด้วยการทำ�วิจัยและการศึกษาความเป็นไปได้อย่างละเอียด ซึ่งรวมถึงการประเมินทำ�เลที่ตั้งของ โครงการ สภาพแวดล้อม ตลาดและการแข่งขัน จำ�นวนคู่แข่ง กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ระบบโครงสร้างพื้นฐาน และระบบขนส่งสาธารณะ ปัจจุบันการสร้างชื่อเสียงของบริษัทฯ (Brand Building) ให้เป็นที่ยอมรับนั้นเริ่มเห็นผลชัดเจนขึ้น เมื่อบริษัทฯ ได้เป็นที่รู้จักในฐานะบริษัทฯ พัฒนา อสังหาริมทรัพย์ชั้นนำ�ในตลาดที่อยู่อาศัยระดับพรีเมี่ยม และโครงการต่างๆ ของ ไรมอน แลนด์ ได้รับการยอมรับทั้งในประเทศและต่างประเทศ อัน เป็นผลมาจากการส่งมอบคุณค่าของโครงการที่สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ ซึ่งทำ�ให้ ไรมอน แลนด์ มีลูกค้าที่กลับมาซื้อโครงการ ของบริษัทฯ (Repeat Customer) เป็นจำ�นวนมาก โดยลูกค้าเหล่านี้ได้มองเห็นคุณค่าของโครงการของบริษัทฯ ทั้งในแง่การซื้อเพื่ออยู่อาศัยเอง และในแง่ของการลงทุน ในอดีตลูกค้าประมาณร้อยละ 50 ของบริษัทเป็นชาวต่างชาติ จึงส่งผลบริษัทจึงมีความเสี่ยงในด้านการขายหากประเทศเหล่านั้นประสบปัญหาทางด้าน การเงิน หรือเศรษฐกิจ ดังนั้นในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาบริษัทจึงได้หันมาให้ความสำ�คัญกับตลาดภายในประเทศมากขึ้นโดยเฉพาะตลาดลูกค้าชาวไทยเพื่อ ลดความเสี่ยงหรือความผันผวนด้านการขาย โดยในปี 2554 บริษัทประสบความสำ�เร็จในการขยายตลาดไปยังลูกค้าชาวไทยอย่างมากโดยในปี 2554 ยอดขายประมาณร้อยละ 65 เป็นของลูกค้าชาวไทย ในขณะเดียวกับบริษัทก็ยังให้ความสำ�คัญกับลูกค้าชาวต่างชาติเพิ่มเติม โดยในปี 2554 บริษัท ได้ขยายฐานลูกค้าที่ให้กว้างขวางขึ้นเนื่องจากกลุ่มลูกค้าหลายประเทศในแถบทวีปยุโยป ได้ลดลงเนื่องจากปัญหาวิกฤตทางการเงินและการอ่อนตัวของค่า เงิน โดยบริษัทมีลูกค้าจากกลุ่มประเทศเอเซียซึ่งรวมถึงเกาหลีใต้ จีน ไต้หวัน และรัสเซีย มากขึ้น ทั้งนี้การขยายฐานลูกค้าของบริษัทเป็นรากฐานในการ ริเริ่มโครงการใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นกระบวนการสำ�คัญที่ทำ�ให้ บริษัทฯ สามารถลดความเสี่ยงในการแข่งขันและการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ของลูกค้าได้ เนื่องจากบริษัทฯ สามารถปรับกลยุทธ์ทางธุรกิจให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและเศรษฐกิจที่มีการเปลี่ยนแปลง และสามารถพัฒนารูป แบบโครงการซึ่งตรงกับความต้องการของลูกค้าได้ นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังเชื่อมั่นว่าการขยายฐานลูกค้าภายในประเทศจะช่วยลดความเสี่ยงที่เกิดจาก ความผันแปรทางเศรษฐกิจในต่างประเทศได้

ความเสี่ยงของการเปลี่ยนแปลงกฎหมาย ข้อกำ�หนด และระเบียบปฏิบัติของหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง ความเสี่ยงของการเปลี่ยนแปลงกฎหมาย ข้อกำ�หนดและระเบียบปฏิบัติของหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง เช่น พระราชบัญญัติผังเมือง พระราช บัญญัติควบคุมอาคาร กฎกระทรวงที่เกี่ยวข้องที่มีผลต่อการออกแบบอาคาร อาทิ การกำ�หนดอัตราส่วนพื้นที่ว่างต่อพื้นที่อาคาร (Open Space Ratio, OSR) และการกำ�หนดอัตราส่วนพื้นที่อาคารรวมต่อพื้นที่ดิน (Floor Area Ratio, FAR) ตลอดจนข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร ระเบียบ ข้อบังคับของกรมที่ดินและกรมธนารักษ์ รวมทั้งข้อกำ�หนดที่เกี่ยวกับใบอนุญาตสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะโครงการอาคารสูงและอาคารขนาดใหญ่พิเศษ ซึ่งบริษัทฯ ได้พยายามลดความเสี่ยงดังกล่าว ด้วยการติดตามข้อมูลการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวกับหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิด ตลอด จนมีการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ โดยพิจารณาตามกฎหมาย ข้อกำ�หนดและระเบียบปฏิบัติในปัจจุบันอย่างละเอียด ดังนั้น บริษัทฯ จึงมั่นใจ ได้ว่าโครงการต่างๆ ของบริษัทฯ ได้คำ�นึงถึงการปฏิบัติตามกฎหมาย ข้อกำ�หนดและระเบียบปฏิบัติของหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด นอกจากนี้ ในส่วนของการออกแบบเพื่อพัฒนาโครงการ บริษัทฯ ได้นำ�นวัตกรรมและเทคโนโลยีทันสมัยมาปรับใช้ โดยคำ�นึงถึงความเป็นมิตรกับสิ่ง แวดล้อมอีกด้วย

Annual Report 2011

63


จากสถานะการณ์น้ำ�ท่วมที่เกิดขึ้นในกรุงเทพมหานคร และหลายจังหวัดในประเทศไทยในปี 2554 ที่ผ่านมา ได้ส่งผลกระทบต่อตลาดอสังหาริมทรัพย์ เป็นอย่างมาก แต่เหตุการณ์ดังกล่าวไม่ได้มีผลกระทบต่อโครงการของบริษัทโดยตรง (แต่มีผลกระทบทางอ้อมต่อบริษัท) เนื่องจากโครงการของ บริษัทเป็นโครงการคอนโดมิเนียมที่ตั้งอยู่ในทำ�เลที่ดีไม่โดนน้ำ�ท่วม โดยเหตุการณ์น้ำ�ท่วมดังกล่าวได้ส่งผลในทางบวกต่อโครงการคอนโดมิเนียมที่ ตั้ง อยู่ในทำ�เลที่ดีรวมถึงโครงการคอนโดมิเนียมในพัทยาด้วย ซึ่งโครงการ นอร์ทพ้อยท์ พัทยา และ โครงการ ซายร์ วงศ์อมาตย์ พัทยา ก็มียอดขาย ที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก จากเหตุการณ์ภัยภิบัติน้ำ�ท่วมดังกล่าวอาจทำ�ให้ รัฐบาล ต้องกำ�หนดนโยบาย หรือดำ�เนินการเพื่อออกกฏหมาย ระเบียบข้อบังคับ การจัดระเบียบผังเมืองใหม่ เพื่อแก้ปัญหา และรับมือกับสถานะการณ์น้ำ�ท่วมที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต จึงอาจส่งผลกระทบในการจัดหาทำ�เล ที่ตั้งเพื่อ พัฒนาโครงการใหม่ในอนาตคของบริษัท เพื่อลดความเสี่ยงในการเปลี่ยนแปลงของกฏหมาย ข้อกำ�หนด และระเบียบปฎิบัติของหน่วยงานราชการ บริษัทจะทำ�การติดตามข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิด

2) ความเสี่ยงในด้านการเงินและความเสี่ยงอื่นๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น ความเสี่ยงในการจัดหาทุนเพื่อพัฒนาโครงการ โดยปกติการพัฒนาโครงการคอนโดมิเนียมต้องการเงินทุนในช่วงแรกค่อนข้างสูงและต้องใช้เวลาประมาณ 3 - 5 ปี กว่าจะได้รับผลกำ�ไรและทุนกลับ คืน ดังนั้น ความสามารถของบริษัทฯ ในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่มีต้นทุนต่ำ�จึงนับเป็นปัจจัยที่มีความสำ�คัญอย่างมากต่อความสำ�เร็จของโครงการ ทั้ง ทางด้านผลกำ�ไรและสภาพ คล่อง โดยบริษัทต้องอาศัยศักยภาพเฉพาะตัวในด้านการบริหารต้นทุน ในภาวะที่ต้นทุนมีทิศทางปรับสูงขึ้น ไม่ว่าจะเป็นราคา วัสดุก่อสร้าง ราคาที่ดิน รวมถึงการควบคุมคุณภาพของงานก่อสร้างให้เสร็จทันตามกำ�หนดเวลา ซึ่งแหล่งเงินทุนหลักในการพัฒนาโครงการของบ ริษัทฯ พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ส่วนใหญ่มี 3 แหล่ง ได้แก่ เงินทุนหมุนเวียนของบริษัทฯ เงินกู้ยืมจากสถาบันการเงิน และเงินค่างวดตามสัญญาจาก ลูกค้า อันได้แก่ เงินดาวน์และเงินโอน ดังนั้น ปัญหาส่วนหนึ่งในการจัดหาเงินทุนเพื่อพัฒนาโครงการมักเกิดจากความล่าช้าในการขาย การไม่สามารถ จัดเก็บค่างวดตามสัญญาจากลูกค้า และการไม่ได้รับการสนับสนุนทางด้านการเงินจากสถาบันการเงิน ไรมอน แลนด์ ได้ลดความเสี่ยงในการขายโดยการคัดสรรทำ�เลที่ดีและเหมาะสม การพัฒนาโครงการที่มีคุณภาพผสานกับการประยุกต์ใช้นวัตกรรมและ เทคโนโลยีทันสมัย โดยคำ�นึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม จนเป็นที่ยอมรับทั้งจากในประเทศและในต่างประเทศ ตลอดจนความเข้าใจในลูกค้าซึ่งนำ�ไปสู่ การขยายฐานลูกค้า และ ไรมอน แลนด์ ได้ลดความเสี่ยงจากการไม่สามารถจัดเก็บค่างวดตามสัญญาจากลูกค้าโดยเก็บเงินดาวน์ในสัดส่วนที่สูงกว่าค่า เฉลี่ยของอุตสาหกรรม โดยเก็บเงินดาวน์ประมาณร้อยละ 25-40 ของราคาขาย นอกจากนี้ ไรมอน แลนด์ ได้สร้างประวัติการเป็นลูกค้าชั้นดีและได้รับการสนับสนุนทางด้านการเงินที่ดีมาโดยตลอดจากสถาบันการเงินในประเทศหลาย แห่ง ดังนั้น ไรมอน แลนด์ มั่นใจว่าจะได้รับการสนับสนุนด้านการเงินเป็นอย่างดีเหมือนที่ผ่านมา รวมทั้ง ไรมอน แลนด์ ยังมีความสัมพันธ์ที่ดีกับนัก ลงทุนและ/หรือกองทุนส่วนบุคคลหลายแห่ง ซึ่งให้การสนับสนุนบริษัทฯ ทั้งในการให้เงินทุนและการร่วมลงทุนในโครงการตลอดมา

ความเสี่ยงจากการผันผวนของอัตราดอกเบี้ย การกู้เงินของบริษัทฯ ส่วนใหญ่ใช้อัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัว (floating rate) หรือ MLR ซึ่งอิงกับภาวะการตลาด ดังนั้น ความผันผวนของอัตรา ดอกเบี้ยจึงอาจส่งผลกระทบต่อการดำ�เนินงานและกระแสเงินสดของบริษัทฯ แต่อย่างไรก็ตาม ความผันผวนดังกล่าวมีผลกระทบน้อยมากต่อการ ดำ�เนินงานและกระแสเงินสดของบริษัทฯ แต่ทั้งนี้แนวโน้มการปรับขึ้นของอัตราดอกเบี้ย อาจส่งผลกระทบทั้งในด้านกำ�ลังซื้อ และความสามารถในการ ขอสินเชื่อที่ลดลง ของลูกค้าโครงการที่ใช้สินเชื่อจากสถาบันการเงิน

ความเสี่ยงจากการที่ผู้ถือหุ้นรายใหญ่สามารถควบคุมมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นและมีอำ�นาจในการบริหารบริษัทฯ IFA Hotels & Resorts 3 Ltd. (IFA HR3) เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัทฯ ส่งผลให้ IFA HR3 สามารถเข้ามามีอำ�นาจในการบริหารจัดการบ ริษัทฯ ตลอดจนแต่งตั้งตัวแทนเข้ามาเป็นกรรมการของบริษัทฯ รวมถึงสามารถที่จะรวบรวมเสียงส่วนใหญ่ในการลงมติผู้ถือหุ้นในเรื่องต่างๆ ที่ ต้องได้รับเสียงข้างมากของจำ�นวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นที่มาประชุมและมีสิทธิออกเสียงลงคะแนนได้ แต่อย่างไรก็ตาม IFA HR3 ไม่มีสิทธิออก เสียงลงคะแนนในวาระที่ตนเป็นผู้มีส่วนได้เสีย และเพื่อให้การบริหารงานและดำ�เนินงานเป็นไปอย่างโปร่งใส ตรวจสอบได้และมีการถ่วงดุล บริษัทฯ จึง ได้มีการแต่งตั้งบุคคลภายนอกเป็นกรรมการอิสระและคณะกรรมการตรวจสอบเพื่อเข้ามากำ�กับดูแล ซึ่งเป็นไปตามหลักการกำ�กับดูแลกิจการที่ดี (Good Corporate Governance) ตามแนวทางของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

64

Annual Report 2011


ความเสี่ยงจากการพึ่งพิงความช่วยเหลือทางการเงินจากผู้ถือหุ้นใหญ่ ในระหว่างปี 2553 - 2554 บริษัทได้ชำ�ระคืนเงินกู้พร้อมดอกเบี้ยเงินกู้ยืมให้กับ IFA HR3 ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554 บริษัทฯ ไม่มียอดหนี้คงค้างกับ IFA HR3 ในปัจจุบัน บริษัทฯ ยังไม่มีความจำ�เป็นที่จะต้องได้รับความช่วยเหลือทางการเงินจากผู้ ถือหุ้นรายใหญ่ แต่อย่างไรก็ตาม ในอนาคตหากบริษัทฯ ต้องการความช่วยเหลือทางการเงินจาก IFA HR 3 บริษัทฯ คาดว่าบริษัทฯ จะได้รับการ สนับสนุนทางการเงินจาก IFA HR 3 โดยที่ผ่านมา ทาง IFA HR3 ได้ให้การสนับสนุนบริษัทฯ ด้วยดีมาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็นการให้วงเงินกู้เพิ่มเติม หรือการขยายระยะเวลาชำ�ระคืนเงินกู้และดอกเบี้ย บริษัทฯ จึงมั่นใจว่าจะได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดีในอนาคตเช่นกัน

ความเสี่ยงจากการเข้าไปช่วยเหลือทางการเงินในบริษัทย่อยหรือบริษัทที่เกี่ยวข้อง ไรมอน แลนด์ ได้ให้ความช่วยเหลือทางการเงินโดยให้กู้ยืมและค้ำ�ประกันบริษัทย่อยหรือบริษัทที่เกี่ยวข้อง ซึ่งอาจมีความเสี่ยงที่จะทำ�ให้เกิดค่าใช้ จ่ายหรือมีภาระผูกพันถ้าหากบริษัทย่อยหรือบริษัทที่เกี่ยวข้องไม่สามารถชำ�ระคืนหนี้ได้ อย่างไรก็ตามการให้ความช่วยเหลือดังกล่าว บริษัทฯ ได้ จำ�กัดเฉพาะบริษัทที่บริษัทฯ มีอำ�นาจในการควบคุมและบริหารเท่านั้น ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์รายการที่เกี่ยวโยงกันตามแนวทางของ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยอย่างเคร่งครัดเพื่อลดความเสี่ยงด้านนี้ กล่าวคือ บริษัทฯ จะเสนอขอความเห็นจากคณะกรรมการตรวจสอบและขอ อนุมัติจากคณะกรรมการบริษัทฯ และ/หรือที่ประชุมผู้ถือหุ้นในกรณีที่เข้าเกณฑ์ตามที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกำ�หนด นอกจากนี้แล้วหากบริษัทฯ และ/หรือบริษัทย่อยมีสภาพคล่องส่วนเกิน บริษัทฯ และ/หรือบริษัทย่อยจะบริหารจัดการให้เกิดผลตอบแทนและ ประโยชน์สูงสุดแก่กลุ่มบริษัททั้งทางตรงและทางอ้อมในฐานะที่บริษัทฯ เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ด้วยการให้กู้ยืมระหว่างกัน

ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงมาตรฐานการรับรู้รายได้ ในอดีต บริษัทฯ และบริษัทย่อยรับรู้รายได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ตามวิธีอัตราส่วนของงานที่ทำ�สำ�เร็จ ต่อมาในปี 2554 บริษัทได้เปลี่ยนแปลง นโยบายบัญชีเรื่องการรับรู้รายได้ตามตามมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 18 (ปรับปรุง 2552) เรื่องรายได้ กำ�หนดให้บริษัทฯต้องรับรู้รายได้จากการขาย สินค้าซึ่งรวมถึงอสังหาริมทรัพย์ที่พัฒนาเพื่อขายเมื่อบริษัทฯได้โอนความเสี่ยงและผลตอบแทนที่สำ�คัญให้แก่ผู้ซื้อแล้ว การเปลี่ยนแปลงนี้ทำ�ให้บริษัท และบริษัทย่อยมีกำ�ไรสำ�หรับปี 2554 ลดลงเป็นจำ�นวน 461 ล้านบาท (เฉพาะของบริษัทฯ : กำ�ไรเพิ่มขึ้นเป็นจำ�นวน 9 ล้านบาท) อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงวิธีการรับรู้รายได้ดังกล่าวไม่ได้ส่งผลกระทบต่อกระแสเงินสด การดำ�เนินงาน และความสามารถในการขายหน่วยในอาคาร ชุดพักอาศัยของบริษัทฯและบริษัทย่อยแต่อย่างใด ทั้งนี้บริษัทฯและบริษัทย่อยยังคงสามารถรับรู้รายได้ในส่วนที่จะโอนออกจากกำ�ไรสะสมเนื่องจากการ เปลี่ยนแปลงนโยบายบัญชีดังกล่าวเมื่อบริษัทฯและบริษัทย่อยได้โอนความเสี่ยงและผลตอบแทนที่สำ�คัญให้แก่ผู้ซื้อในอนาคต

ความเสี่ยงจากการไม่ได้รับผลตอบแทนในรูปของเงินปันผล จากการเปลีย่ นแปลงมาตรฐานการบัญชีเรือ่ งการรับรูร้ ายได้สง่ ผลให้บริษทั ต้องบันทึกขาดทุนสะสมเพิม่ ขึน้ ซึง่ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554 บริษัท ยังมีขาดทุนสะสมเป็นจำ�นวน 604 ล้านบาท ทำ�ให้บริษัทไม่สามารถจ่ายเงินปันผลให้กับผู้ถือหุ้นได้ตามกฎหมาย โดยผู้ถือหุ้นมีความเสี่ยงที่จะไม่ได้รับ เงินปันผลตามนโยบายเงินปันผลที่กำ�หนดจนกว่าบริษัทจะล้างขาดทุนสะสมได้หมด

ความเสี่ยงจากการขาดแคลนบุคลากรที่มีคุณภาพ เนื่องจากธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เป็นธุรกิจที่ต้องพึ่งพาความรู้ความสามารถของบุคลากรเป็นสำ�คัญ บริษัทฯ จึงสรรหาบุคลากรที่มีความ สามารถและมีศักยภาพเข้าร่วมงานกับบริษัทฯ โดยบริษัทฯ ตระหนักถึงความสำ�คัญของบุคลากรเหล่านี้เป็นอย่างดี และมีมาตรการในการสร้างขวัญและ กำ�ลังใจ และให้โอกาสแก่พนักงานในการก้าวหน้าและพัฒนาทั้งด้านส่วนตัวและหน้าที่การงานอย่างต่อเนื่อง ด้วยการจัดสรรผลตอบแทนและสวัสดิการที่ เหมาะสม และการให้โอกาสในการฝึกอบรม ทั้งนี้ บริษัทฯ เชื่อว่าจะสามารถลดความเสี่ยงในการสูญเสียบุคลากรเหล่านี้ได้

Annual Report 2011

65


ความเสี่ยงจากสถานการณ์ทางการเมือง จากเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมืองในประเทศ รวมทั้งความขัดแย้งของคนในชาติ ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งกระทบต่อกลุ่มลูกค้าในประเทศในเรื่อง ความเชื่อมั่นในนโยบายและมาตรการการจัดการรัฐบาลและมีผลกระทบต่อความเชื่อมั่นด้านความปลอดภัยของกลุ่มลูกค้าต่างชาติในการลงทุนในธุรกิจ อสังหาริมทรัพย์ ลูกค้าจึงชะลอการตัดสินใจที่จะซื้อคอนโดมิเนียมเพื่อพักอาศัยหรือเพื่อการลงทุน ดังนั้น บริษัทฯจึงต้องติดตามสถานการณ์ทางการ เมืองและอาจมีแผนการบริหารจัดการเพื่อรองรับและแก้ไขปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นและมีผลต่อการดำ�เนินการของบริษัทฯในอนาคตไว้อย่างรัดกุม ประกอบ กับบริษัทฯได้มีนโยบายลดความเสี่ยงของการขาย โดยมุ่งเน้นไปที่ตลาดลูกค้าภายในประเทศ โดยการขยายโครงการเพื่อตอบสนองความต้องการของ ลูกค้าระดับกลางถึงระดับบนมากขึ้น

66

Annual Report 2011


งบการเงิน

บริษัท ไรมอน แลนด์ จำ�กัด (มหาชน) บริษัทย่อย และกิจการที่ควบคุมร่วมกัน รายงาน และ งบการเงินรวม 31 ธันวาคม 2554 Annual Report 2011

67


รายงานของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต เสนอต่อผู้ถือหุ้นของบริษัท ไรมอน แลนด์ จำ�กัด (มหาชน) ข้าพเจ้าได้ตรวจสอบงบแสดงฐานะการเงินรวม ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554 งบกำ�ไรขาดทุนเบ็ดเสร็จรวม งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของ ผู้ถือหุ้นรวมและงบกระแสเงินสดรวมสำ�หรับปีสิ้นสุดวันเดียวกันของบริษัท ไรมอน แลนด์ จำ�กัด (มหาชน) บริษัทย่อย และกิจการที่ควบคุมร่วมกัน และได้ตรวจสอบงบการเงินเฉพาะกิจการของบริษัท ไรมอน แลนด์ จำ�กัด (มหาชน) ด้วยเช่นกัน ซึ่งผู้บริหารของกิจการเป็นผู้รับผิดชอบต่อความ ถูกต้องและครบถ้วนของข้อมูลในงบการเงินเหล่านี้ ส่วนข้าพเจ้าเป็นผู้รับผิดชอบในการแสดงความเห็นต่องบการเงินดังกล่าวจากผลการตรวจสอบ ของข้าพเจ้า งบการเงินรวมของบริษัท ไรมอน แลนด์ จำ�กัด (มหาชน) บริษัทย่อย และกิจการที่ควบคุมร่วมกัน และงบการเงินเฉพาะกิจการของ บริษัท ไรมอน แลนด์ จำ�กัด (มหาชน) ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2553 และสำ�หรับปีสิ้นสุดวันเดียวกันที่นำ�มาเปรียบเทียบไว้ ณ ที่นี้ได้ตรวจสอบ ตามมาตรฐานการสอบบัญชีที่รับรองทั่วไปโดยผู้สอบบัญชีท่านอื่นในสำ�นักงานเดียวกันกับข้าพเจ้า และได้แสดงความเห็นไว้อย่างไม่มีเงื่อนไขตามรายงาน ลงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2554 ข้าพเจ้าได้ปฏิบัติงานตรวจสอบตามมาตรฐานการสอบบัญชีที่รับรองทั่วไป ซึ่งกำ�หนดให้ข้าพเจ้าต้องวางแผนและปฏิบัติงานเพื่อให้ได้ความเชื่อมั่นอย่าง มีเหตุผลว่างบการเงินแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำ�คัญหรือไม่ การตรวจสอบรวมถึงการใช้วิธีการทดสอบหลักฐานประกอบรายการ ทั้งที่เป็นจำ�นวนเงินและการเปิดเผยข้อมูลในงบการเงิน การประเมินความเหมาะสมของหลักการบัญชีที่กิจการใช้และประมาณการเกี่ยวกับรายการทางการ เงินที่เป็นสาระสำ�คัญซึ่งผู้บริหารเป็นผู้จัดทำ�ขึ้น ตลอดจนการประเมินถึงความเหมาะสมของการแสดงรายการที่นำ�เสนอในงบการเงินโดยรวม ข้าพเจ้าเชื่อ ว่าการตรวจสอบดังกล่าวให้ข้อสรุปที่เป็นเกณฑ์อย่างเหมาะสมในการแสดงความเห็นของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าเห็นว่า งบการเงินข้างต้นนี้แสดงฐานะการเงิน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554 ผลการดำ�เนินงานและกระแสเงินสดสำ�หรับปีสิ้นสุดวันเดียวกันของ บริษัท ไรมอน แลนด์ จำ�กัด (มหาชน) บริษัทย่อย และกิจการที่ควบคุมร่วมกัน และงบการเงินเฉพาะกิจการของบริษัท ไรมอน แลนด์ จำ�กัด (มหาชน) โดยถูกต้องตามที่ควรในสาระสำ�คัญตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป โดยมิได้เป็นการแสดงความเห็นอย่างมีเงื่อนไขต่องบการเงินข้างต้น ข้าพเจ้าขอให้สังเกตหมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ 3 และข้อ 5 ในระหว่างปี ปัจจุบัน บริษัทฯได้ปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีฉบับปรับปรุงและมาตรฐานการบัญชีใหม่ที่ออกโดยสภาวิชาชีพบัญชีเพื่อจัดทำ�และนำ�เสนองบการเงิน นี้ ทั้งนี้ บริษัทฯได้ปรับย้อนหลังงบการเงิน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2553 และสำ�หรับปีสิ้นสุดวันเดียวกัน เพื่อสะท้อนการเปลี่ยนแปลงนโยบายการ บัญชีเนื่องจากการนำ�มาตรฐานการบัญชีใหม่ดังกล่าวมาถือปฏิบัติ

ศิราภรณ์ เอื้ออนันต์กุล ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต เลขทะเบียน 3844 บริษัท สำ�นักงาน เอินส์ท แอนด์ ยัง จำ�กัด กรุงเทพฯ: 27 กุมภาพันธ์ 2555

68

Annual Report 2011


บริษัท ไรมอน แลนด์ จำ�กัด (มหาชน) บริษัทย่อย และกิจการที่ควบคุมร่วมกัน งบแสดงฐานะการเงิน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554 และ 2553

สินทรัพย์ สินทรัพย์หมุนเวียน เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด เงินฝากธนาคารที่มีภาระผูกพัน ลูกหนี้อื่นกิจการที่เกี่ยวข้องกัน เงินให้กู้ยืมระยะสั้นแก่กิจการที่เกี่ยวข้องกัน และดอกเบี้ยค้างรับ ต้นทุนโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ เงินจ่ายล่วงหน้าผู้รับเหมา ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น รวมสินทรัพย์หมุนเวียน สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน เงินให้กู้ยืมระยะยาวแก่กิจการที่เกี่ยวข้องกัน และดอกเบี้ยค้างรับ เงินลงทุนในบริษัทย่อย เงินลงทุนในการร่วมค้า ที่ดินรอการพัฒนา อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี สิทธิการเช่า เงินมัดจำ� ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่น รวมสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน รวมสินทรัพย์

หมายเหตุ

2554

9 18 8

661,618,586 25,100,000 -

8 10

8, 12 11 12 13 14 15

งบการเงินรวม 2553 (ปรับปรุงใหม่)

(หน่วย: บาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ 2554 2553 (ปรับปรุงใหม่))

580,814,671 25,100,000 -

438,296,803 25,100,000 335,655,440

326,792,170 25,100,000 268,441,081

12,620,106,370 514,025,124 14,657,915 60,322,724 13,895,830,719

9,868,122,434 218,657,379 65,709,184 46,726,055 10,805,129,723

439,005,874 3,347,304,667 304,904,508 14,651,807 10,641,258 4,915,560,357

23,861,884 3,864,026,062 5,372,824 36,789,492 11,085,740 4,561,469,253

14,670,181 38,076,330 65,016,499 1,050,084,032 82,500,000 23,954,723 98,913,026 30,404,281 1,403,619,072 15,299,449,791

258,465,802 4,192,138 7,397,454 39,724,203 107,551,882 1,049,951,717 85,833,333 11,328,033 11,441,805 22,802,944 1,598,689,311 12,403,819,034

1,713,964,476 14,670,181 38,076,330 53,487,180 268,209,075 4,723,033 36,789,492 9,995,335 2,139,915,102 7,055,475,459

258,465,802 1,007,769,834 254,999,940 7,397,454 39,724,203 93,296,847 401,787,062 5,018,033 11,325,493 14,218,964 2,094,003,632 6,655,472,885

หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้

Annual Report 2011

69


บริษัท ไรมอน แลนด์ จำ�กัด (มหาชน) บริษัทย่อย และกิจการที่ควบคุมร่วมกัน งบแสดงฐานะการเงิน (ต่อ) ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554 และ 2553

หมายเหตุ หนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น หนี้สินหมุนเวียน เงินกู้ยืมระยะสั้นจากสถาบันการเงิน เจ้าหนี้การค้าและเจ้าหนี้อื่น ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย เจ้าหนี้เงินประกันผลงาน เจ้าหนี้จากการซื้อเงินลงทุนในบริษัทย่อยเพิ่ม ที่ถึงกำ�หนดชำ�ระภายในหนึ่งปี เจ้าหนี้ภาษีเงินได้ที่ถึงกำ�หนดชำ�ระภายในหนึ่งปี เงินมัดจำ�และเงินรับล่วงหน้าจากลูกค้า เงินกู้ยืมระยะยาวจากสถาบันการเงิน ที่ถึงกำ�หนดชำ�ระภายในหนึ่งปี เงินกูย้ มื ระยะสัน้ จากกิจการทีเ่ กีย่ วข้องกันและดอกเบีย้ ค้างจ่าย ภาษีเงินได้ค้างจ่าย หนี้สินหมุนเวียนอื่น รวมหนี้สินหมุนเวียน รวมหนี้สินไม่หมุนเวียน เจ้าหนี้จากการซื้อเงินลงทุนในบริษัทย่อยเพิ่ม - สุทธิ จากส่วนที่ถึงกำ�หนดชำ�ระภายในหนึ่งปี เจ้าหนีภ้ าษีเงินได้ - สุทธิจากส่วนทีถ่ งึ กำ�หนดชำ�ระภายในหนึง่ ปี เงินกู้ยืมระยะยาวจากสถาบันการเงิน - สุทธิ จากส่วนที่ถึงกำ�หนดชำ�ระภายในหนึ่งปี หนี้สินภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี สำ�รองผลประโยชน์ระยะยาวของพนักงาน หนี้สินไม่หมุนเวียนอื่น รวมหนี้สินไม่หมุนเวียน รวมหนี้สิน

หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้

70

Annual Report 2011

งบการเงินรวม 2554 2553 (ปรับปรุงใหม่)

(หน่วย: บาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ 2554 2553 (ปรับปรุงใหม่))

16 17

30,000,000 981,216,091 51,534,353 89,639,738

30,000,000 703,096,800 27,763,988 76,224,510

30,000,000 429,210,233 38,704,881 50,410,948

30,000,000 320,382,263 25,713,943 57,455,650

11 15 19

57,494,746 143,547,441 6,370,082,392

160,631,407 4,951,892,755

57,494,746 1,526,345,659

160,631,407 1,097,946,960

18 8

15,000,000 100,510,819 48,306,261 7,887,331,841

3,189,190 186,823,545 37,913,541 6,177,535,736

15,000,000 567,708,957 33,969,295 2,748,844,719

231,812,045 28,045,156 1,951,987,424

11 15

29,614,791

54,721,086 -

18 15 20

6,592,229,691 172,021,575 14,097,506 1,081,427 6,809,044,990 14,696,376,831

4,539,811,184 220,998,049 10,711,584 1,647,513 4,827,889,416 11,005,425,152

-

54,721,086 -

1,609,059,748 14,097,506 552,929 1,623,710,183 4,372,554,902

1,817,785,566 10,711,584 1,647,513 1,884,865,749 3,836,853,173


บริษัท ไรมอน แลนด์ จำ�กัด (มหาชน) บริษัทย่อย และกิจการที่ควบคุมร่วมกัน งบแสดงฐานะการเงิน (ต่อ) ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554 และ 2553

หมายเหตุ ส่วนของผู้ถือหุ้น ทุนเรือนหุ้น ทุนจดทะเบียน หุ้นสามัญ 3,250,385,569 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 1 บาท ทุนออกจำ�หน่ายและชำ�ระเต็มมูลค่าแล้ว หุ้นสามัญ 3,250,385,569 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 1 บาท ส่วนเกินของเงินลงทุนในบริษทั ย่อยซึง่ เกิดจากการซือ้ เงินลงทุน ในบริษัทย่อยเพิ่มในราคาที่สูงกว่ามูลค่าตามบัญชีของ บริษัทย่อย ณ วันที่ซื้อ กำ�ไร (ขาดทุน) สะสม จัดสรรแล้ว - สำ�รองตามกฎหมาย ยังไม่ได้จัดสรร ส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ ส่วนของผู้มีส่วนได้เสียที่ไม่มีอำ�นาจควบคุมของบริษัทย่อย รวมส่วนของผู้ถือหุ้น รวมหนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น

หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้

งบการเงินรวม 2554 2553 (ปรับปรุงใหม่)

(หน่วย: บาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ 2554 2553 (ปรับปรุงใหม่))

3,250,385,569

3,250,385,569

3,250,385,569

3,250,385,569

3,250,385,569

3,250,385,569

3,250,385,569

3,250,385,569

11

(564,048,205)

(242,939,538)

-

-

21

36,131,233 (2,123,638,729) 598,829,868 4,243,092 603,072,960 15,299,449,791

36,131,233 (1,649,332,733) 1,394,244,531 4,149,351 1,398,393,882 12,403,819,034

36,131,233 (603,596,245) 2,682,920,557 2,682,920,557 7,055,475,459

36,131,233 (467,897,090) 2,818,619,712 2,818,619,712 6,655,472,885

................................................................................. กรรมการ .................................................................................

Annual Report 2011

71


บริษัท ไรมอน แลนด์ จำ�กัด (มหาชน) บริษัทย่อย และกิจการที่ควบคุมร่วมกัน งบกำ�ไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ สำ�หรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2554 และ 2553

หมายเหตุ กำ�ไรขาดทุน: รายได้ รายได้จากการขายหน่วยในอาคารชุดพักอาศัย รายได้ค่าเช่าและค่าบริการ รายได้อื่น รายได้ค่าบริหารโครงการ รายได้ค่าธรรมเนียมการตลาด รายได้ค่าธรรมเนียมการค้ำ�ประกัน ดอกเบี้ยรับ กำ�ไรจากอัตราแลกเปลี่ยน โอนกลับค่าเผือ่ ผลขาดทุนจากการลดมูลค่าทีด่ นิ รอการขาย อื่น ๆ รวมรายได้ ค่าใช้จ่าย ต้นทุนขายหน่วยในอาคารชุดพักอาศัย ค่าใช้จ่ายในการขาย ค่าใช้จ่ายในการบริหาร ค่าใช้จ่ายอื่น หนี้สงสัยจะสูญจากเงินให้กู้ยืมระยะสั้นแก่บริษัทย่อย หนี้สงสัยจะสูญจากเงินให้กู้ยืมระยะยาวแก่กิจการ ที่ควบคุมร่วมกัน ค่าเผื่อผลขาดทุนจากเงินลงทุนในบริษัทย่อย ค่าเผื่อผลขาดทุนจากเงินลงทุนในการร่วมค้า ปรับลดดอกเบีย้ ค้างรับจากเงินให้กยู้ มื แก่กจิ การทีค่ วบคุมร่วมกัน

รวมค่าใช้จ่าย กำ�ไร (ขาดทุน) ก่อนส่วนแบ่งกำ�ไร (ขาดทุน) จากเงิน ลงทุนในการร่วมค้า ค่าใช้จ่ายทางการเงินและภาษีเงิน ได้นิติบุคคล ส่วนแบ่งกำ�ไร (ขาดทุน) จากเงินลงทุนในการร่วมค้า กำ�ไร (ขาดทุน) ก่อนค่าใช้จา่ ยทางการเงินและภาษีเงินได้นติ บิ คุ คล ค่าใช้จ่ายทางการเงิน กำ�ไร (ขาดทุน) ก่อนภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีเงินได้นิติบุคคล กำ�ไร (ขาดทุน) สำ�หรับปี กำ�ไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นสำ�หรับปี กำ�ไรขาดทุนเบ็ดเสร็จรวมสำ�หรับปี

หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้

72

Annual Report 2011

งบการเงินรวม 2554 2553 (ปรับปรุงใหม่) 1,151,397,885 12,010,578

8 8 8 8

35,904,918 13,299,367 -

(หน่วย: บาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ 2554 2553 (ปรับปรุงใหม่))

3,240,896,690 1,151,397,885 4,115,057 7,150,098

3,240,896,690 4,115,057

11,318,832 50,305,904 33,591,199

30,728,182 89,491,958 31,623,406 17,566,134 -

30,728,183 180,471,155 64,329,844 33,591,199

76,026,294 75,835,588 3,492,089,564

9,444,307 1,337,401,970

65,860,130 3,619,992,258

818,878,641 202,217,472 374,575,907

2,314,016,262 244,716,235 298,490,545

818,878,641 138,705,021 300,828,287

2,314,016,262 181,775,420 257,490,667

8

-

-

-

11,724,000

8 11 12 8

1,395,672,020

93,908,942 2,951,131,984

1,258,411,949

335,115,578 99,999,930 5,099,300 93,908,942 3,299,130,099

(167,426,278) 10,610,535 (156,815,743) (114,710,310) (271,526,053) (208,794,869) (480,320,922) (480,320,922)

540,957,580 (309,138,596) 231,818,984 (151,589,893) 80,229,091 (20,785,712) 59,443,379 59,443,379

78,990,021 78,990,021 (81,111,188) (2,121,167) (133,577,988) (135,699,155) (135,699,155)

320,862,159 320,862,159 (142,713,785) 178,148,374 (64,064,483) 114,083,891 114,083,891

15,632,994 1,228,245,742

12

15


บริษัท ไรมอน แลนด์ จำ�กัด (มหาชน) บริษัทย่อย และกิจการที่ควบคุมร่วมกัน งบกำ�ไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ (ต่อ) สำ�หรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2554 และ 2553

หมายเหตุ การแบ่งปันกำ�ไร (ขาดทุน) ส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ ส่วนทีเ่ ป็นของผูม้ สี ว่ นได้เสียทีไ่ ม่มอี �ำ นาจควบคุมของบริษทั ย่อย

การแบ่งปันกำ�ไรขาดทุนเบ็ดเสร็จรวม ส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ ส่วนทีเ่ ป็นของผูม้ สี ว่ นได้เสียทีไ่ ม่มอี �ำ นาจควบคุมของบริษทั ย่อย

กำ�ไรต่อหุ้น กำ�ไร (ขาดทุน) ต่อหุ้นขั้นพื้นฐาน กำ�ไร (ขาดทุน) ส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ

งบการเงินรวม 2554 2553 (ปรับปรุงใหม่)

(หน่วย: บาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ 2554 2553 (ปรับปรุงใหม่))

(474,305,996) (6,014,926) (480,320,922)

63,625,291 (4,181,912) 59,443,379

(135,699,155)

114,083,891

(474,305,996) (6,014,926) (480,320,922)

63,625,291 (4,181,912) 59,443,379

(135,699,155)

114,083,891

23

หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้

Annual Report 2011

73


74

Annual Report 2011

หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้

ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2553 - ตามที่รายงานไว้เดิม ผลสะสมจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชีเนื่องจาก การนำ�มาตรฐานการบัญชีใหม่มาถือปฏิบัติ ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2553 - หลังการปรับปรุง ซื้อเงินลงทุนในบริษัทย่อยเพิ่ม กำ�ไรขาดทุนเบ็ดเสร็จรวมสำ�หรับปี ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554

ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 - ตามที่รายงานไว้เดิม ผลสะสมจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชีเนื่องจาก การนำ�มาตรฐานการบัญชีใหม่มาถือปฏิบัติ ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 - หลังการปรับปรุง กำ�ไรขาดทุนเบ็ดเสร็จรวมสำ�หรับปี (ปรับปรุงใหม่) ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2553 - หลังการปรับปรุง

11

5

5

3,250,385,569 3,250,385,569

3,250,385,569

3,250,385,569 3,250,385,569

3,250,385,569

ทุนเรือนหุ้น ที่ออก และชำ�ระแล้ว

(242,939,538) (321,108,667) (564,048,205)

(242,939,538)

(242,939,538) (242,939,538)

(242,939,538)

ส่วนเกินของเงินลงทุนใน บริษัทย่อยซึ่งเกิดจากการซื้อ เงินลงทุนในบริษัทย่อยเพิ่ม ในราคาที่สูงกว่ามูลค่า ตามบัญชีของบริษัทย่อย ณ วันที่ซื้อ

36,131,233 36,131,233

36,131,233

36,131,233 36,131,233

36,131,233

จัดสรรแล้ว

(1,134,438,408) (1,649,332,733) (474,305,996) (2,123,638,729)

(514,894,325)

(1,100,554,603) (1,712,958,024) 63,625,291 (1,649,332,733)

(612,403,421)

ยังไม่ได้จัดสรร

กำ�ไร (ขาดทุน) สะสม

งบการเงินรวม ส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ

บริษัท ไรมอน แลนด์ จำ�กัด (มหาชน) บริษัทย่อย และกิจการที่ควบคุมร่วมกัน งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น สำ�หรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2554 และ 2553

(1,134,438,408) 1,394,244,531 (321,108,667) (474,305,996) 598,829,868

2,528,682,939

(1,100,554,603) 1,330,619,240 63,625,291 1,394,244,531

2,431,173,843

รวม ส่วนของผู้ถือหุ้น ของบริษัทฯ

(119,657,660) 4,149,351 6,108,667 (6,014,926) 4,243,092

123,807,011

(60,400,398) 8,331,263 (4,181,912) 4,149,351

68,731,661

ส่วนของ ผู้มีส่วนได้เสีย ที่ไม่มีอำ�นาจ ควบคุม ของบริษัทย่อย

(1,254,096,068) 1,398,393,882 (315,000,000) (480,320,922) 603,072,960

2,652,489,950

(1,160,955,001) 1,338,950,503 59,443,379 1,398,393,882

2,499,905,504

รวม ส่วนของ ผู้ถือหุ้น

(หน่วย: บาท)


Annual Report 2011

75

หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้

ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 - ตามที่รายงานไว้เดิม ผลสะสมจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชีเนื่องจาก การนำ�มาตรฐานการบัญชีใหม่มาถือปฏิบัติ ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 - หลังการปรับปรุง กำ�ไรขาดทุนเบ็ดเสร็จรวมสำ�หรับปี (ปรับปรุงใหม่) ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2553 - หลังการปรับปรุง ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2553 - ตามที่รายงานไว้เดิม ผลสะสมจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชีเนื่องจาก การนำ�มาตรฐานการบัญชีใหม่มาถือปฏิบัติ ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2553 - หลังการปรับปรุง กำ�ไรขาดทุนเบ็ดเสร็จรวมสำ�หรับปี ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554 5

5

3,250,385,569 3,250,385,569

3,250,385,569

3,250,385,569 3,250,385,569

3,250,385,569

หมายเหตุ ทุนเรือนหุ้น ที่ออก และชำ�ระแล้ว

36,131,233 36,131,233 (467,897,090) 36,131,233 36,131,233 36,131,233

36,131,233

จัดสรรแล้ว

บริษัท ไรมอน แลนด์ จำ�กัด (มหาชน) บริษัทย่อย และกิจการที่ควบคุมร่วมกัน งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น (ต่อ) สำ�หรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2554 และ 2553

(120,632,904) 2,818,619,712 (135,699,155) 2,682,920,557

2,939,252,616

(639,404,151) 2,704,535,821 114,083,891 2,818,619,712

3,343,939,972

(หน่วย: บาท)


บริษัท ไรมอน แลนด์ จำ�กัด (มหาชน) บริษัทย่อย และกิจการที่ควบคุมร่วมกัน งบกระแสเงินสด สำ�หรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2554 และ 2553

หมายเหตุ กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำ�เนินงาน กำ�ไร (ขาดทุน) ก่อนภาษี รายการปรับกระทบยอดกำ�ไร (ขาดทุน) ก่อนภาษีเป็นเงินสดรับ (จ่าย) จากกิจกรรมดำ�เนินงาน ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำ�หน่าย ขาดทุน (กำ�ไร) จากการจำ�หน่าย/ ตัดจำ�หน่ายอุปกรณ์ ขาดทุน (กำ�ไร) จากอัตราแลกเปลี่ยนที่ยังไม่เกิดขึ้น โอนกลับค่าเผื่อผลขาดทุนจากการลดมูลค่าที่ดินรอการขาย หนี้สงสัยจะสูญจากเงินให้กู้ยืมระยะสั้นแก่บริษัทย่อย หนีส้ งสัยจะสูญจากเงินให้กยู้ มื ระยะยาวแก่กจิ การทีค่ วบคุมร่วมกัน ค่าเผื่อผลขาดทุนจากเงินลงทุนในบริษัทย่อย ค่าเผื่อผลขาดทุนจากเงินลงทุนในการร่วมค้า ปรับลดดอกเบีย้ ค้างรับจากเงินให้กยู้ มื แก่กจิ การทีค่ วบคุมร่วมกัน ส่วนแบ่งขาดทุน (กำ�ไร) จากเงินลงทุนในการร่วมค้า สำ�รองผลประโยชน์ระยะยาวของพนักงาน รายได้ดอกเบี้ยรับ ค่าใช้จ่ายดอกเบี้ย (ประกอบด้วยดอกเบี้ยจ่ายสำ�หรับการดำ�เนินงาน และดอกเบี้ยจ่ายที่บันทึกเป็นต้นทุนโครงการ) กำ�ไรจากการดำ�เนินงานก่อนการเปลี่ยนแปลงใน สินทรัพย์และหนี้สินดำ�เนินงาน สินทรัพย์ดำ�เนินงานลดลง (เพิ่มขึ้น) ลูกหนี้อื่นกิจการที่เกี่ยวข้องกัน ต้นทุนโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ เงินจ่ายล่วงหน้าผู้รับเหมา สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น เงินมัดจำ� สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่น

หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้

76

Annual Report 2011

งบการเงินรวม 2554 2553 (ปรับปรุงใหม่)

(หน่วย: บาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ 2554 2553 (ปรับปรุงใหม่))

(271,526,053)

80,229,091

(2,121,167)

178,148,374

40,971,317 7,766,065 2,773,599 (10,610,535) 3,385,922 (13,299,367)

25,421,761 (652,005) (21,829,804) (76,026,294) 93,908,942 309,138,596 2,103,941 (50,305,904)

30,376,561 7,670,287 2,773,599 3,385,922 (17,566,134)

15,179,800 (681,300) (21,829,804) 11,724,000 335,115,578 99,999,930 5,099,300 93,908,942 2,103,941 (64,329,844)

386,723,236

369,236,647

161,196,506

215,035,807


บริษัท ไรมอน แลนด์ จำ�กัด (มหาชน) บริษัทย่อย และกิจการที่ควบคุมร่วมกัน งบกระแสเงินสด (ต่อ) สำ�หรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2554 และ 2553 งบการเงินรวม 2554 2553 (ปรับปรุงใหม่) หนี้สินดำ�เนินงานเพิ่มขึ้น (ลดลง) เจ้าหนี้การค้าและเจ้าหนี้อื่น ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย เจ้าหนี้เงินประกันผลงาน เงินมัดจำ�และเงินรับล่วงหน้าจากลูกค้า หนี้สินหมุนเวียนอื่น หนี้สินไม่หมุนเวียนอื่น เงินสดจาก (ใช้ไป) ในกิจกรรมดำ�เนินงาน รับดอกเบี้ย จ่ายดอกเบี้ย รับคืนภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย จ่ายภาษีเงินได้ เงินสดสุทธิจาก (ใช้ไป) ในกิจกรรมดำ�เนินงาน กระแสเงินสดจากกิจกรรมลงทุน เงินฝากธนาคารที่มีภาระผูกพันลดลง (เพิ่มขึ้น) เงินให้กู้ยืมระยะสั้นแก่กิจการที่เกี่ยวข้องกันลดลง เงินให้กู้ยืมระยะยาวแก่กิจการที่เกี่ยวข้องกันลดลง เงินสดจ่ายจากการลงทุนในกิจการที่ควบคุมร่วมกัน เงินสดรับจากการจำ�หน่ายที่ดินรอการขาย เงินสดจ่ายซื้ออาคารและอุปกรณ์ เงินสดรับจากการจำ�หน่ายอาคารและอุปกรณ์ เงินสดจ่ายเพื่อซื้อเงินลงทุนในบริษัทย่อย เงินสดจ่ายสุทธิเพื่อซื้อเงินลงทุนในบริษัทย่อยและ สิทธิในการเรียกร้องหนี้ (หมายเหตุ 11) เงินสดรับจากการซื้อเงินลงทุนในบริษัทย่อย (หมายเหตุ 11) เงินสดสุทธิจาก (ใช้ไป) ในกิจกรรมลงทุน

207,484,424 7,785,204 11,950,775 1,231,389,330 9,692,157 (1,001,342) (588,753,535) 4,814,741 (368,711,611) 11,382,813 (101,578,503) (1,042,846,095)

184,502,168 5,905,846 8,524,481 270,934,849 5,556,872 (2,224,471) 813,455,666 1,892,684 (367,916,139) 19,227,154 (117,705,547) 348,953,818

(หน่วย: บาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ 2554 2553 (ปรับปรุงใหม่)) (154,364,568) 88,396,706 6,767,940 12,847,310 850,533 (7,044,702) 428,398,699 (880,981,209) 39,429,892 5,924,139 (2,224,471) (1,094,585) 332,758,993 859,823,867 128,678,414 2,302,248 (200,714,899) (119,724,703) 6,760,036 11,325,493 (36,789,493) (14,651,807) 739,075,098 230,693,051

- - - (12,710,580) 16,187,477 (315,499,700) 10,226,693

(23,627,272) 163,560,000 576,901,800 (254,490,000) (49,758,697) 2,444,186 -

หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้

Annual Report 2011

77


บริษัท ไรมอน แลนด์ จำ�กัด (มหาชน) บริษัทย่อย และกิจการที่ควบคุมร่วมกัน งบกระแสเงินสด (ต่อ) สำ�หรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2554 และ 2553 งบการเงินรวม 2554 2553 (ปรับปรุงใหม่) กระแสเงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงิน เงินกู้ยืมระยะสั้นจากสถาบันการเงินลดลง เงินกู้ยืมระยะสั้นจากกิจการที่เกี่ยวข้องกันเพิ่มขึ้น (ลดลง) เงินกู้ยืมระยะยาวจากสถาบันการเงินเพิ่มขึ้น (ลดลง) จ่ายชำ�ระเจ้าหนี้จากการซื้อเงินลงทุนในบริษัทย่อย เงินสดสุทธิจาก (ใช้ไป) กิจกรรมจัดหาเงิน เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดเพิ่มขึ้นสุทธิ เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดต้นปี เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดปลายปี

หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้

78

Annual Report 2011

- (1,726,398,955) (540,695,216) 1,278,453,028 1,787,418,507 (101,470,127) (160,631,346) 1,626,787,161 (1,090,111,270) 246,810,737 80,803,915 334,003,934 580,814,671 580,814,671 661,618,586

(หน่วย: บาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ 2554 2553 (ปรับปรุงใหม่)) 315,000,000 (193,725,819) (160,631,346) (39,357,165) 111,504,633 326,792,170 438,296,803

(120,000,000) (536,789,270) 359,927,410 (101,470,127) (398,331,987) 247,391,081 79,401,089 326,792,170


บริษัท ไรมอน แลนด์ จำ�กัด (มหาชน) บริษัทย่อย และกิจการที่ควบคุมร่วมกัน หมายเหตุประกอบงบการเงิน สำ�หรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2554 และ 2553 1. ข้อมูลทั่วไป บริษัท

ไรมอน แลนด์ จำ�กัด (มหาชน) (“บริษัทฯ”) เป็นบริษัทมหาชนซึ่งจัดตั้งและมีภูมิลำ�เนาในประเทศไทย โดยมี IFA Hotels & Resorts 3 Ltd. ซึ่งเป็นบริษัทที่จดทะเบียนจัดตั้งในประเทศคูเวต เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ธุรกิจหลักของบริษัทฯคือการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ที่ อยู่ตามที่จดทะเบียนของบริษัทฯอยู่ที่ 62 อาคารเดอะมิลเลนเนีย ชั้น 22 ห้อง 2201-3 ถนนหลังสวน แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 2. เกณฑ์ในการจัดทำ�งบการเงิน 2.1 งบการเงินนี้จัดทำ�ขึ้นตามมาตรฐานการบัญชีที่กำ�หนดในพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 โดยแสดงรายการในงบการเงิน ตามข้อกำ�หนดในประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้าลงวันที่ 28 กันยายน 2554 ออกตามความในพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 งบการเงินฉบับภาษาไทยเป็นงบการเงินฉบับที่บริษัทฯใช้เป็นทางการตามกฎหมาย งบการเงินฉบับภาษาอังกฤษแปลจากงบการเงินฉบับ ภาษาไทยนี้ งบการเงินนี้ได้จัดทำ�ขึ้นโดยใช้เกณฑ์ราคาทุนเดิมเว้นแต่จะได้เปิดเผยเป็นอย่างอื่นในนโยบายการบัญชี 2.2 เกณฑ์ในการจัดทำ�งบการเงินรวม ก) งบการเงินรวมนี้ได้จัดทำ�ขึ้นโดยรวมงบการเงินของบริษัท ไรมอน แลนด์ จำ�กัด (มหาชน) (ซึ่งต่อไปนี้เรียกว่า “บริษัทฯ”) และบริษัทย่อย (ซึ่งต่อไปนี้เรียกว่า “บริษัทย่อย”) ดังต่อไปนี้

ชื่อบริษัท

ลักษณะธุรกิจ

จัดตั้งขึ้นในประเทศ

บริษัท คอนเท็มโพรารี่ พร็อพเพอร์ตี้ จำ�กัด บริษัท ไรมอน แลนด์ แพลนเนอร์ จำ�กัด บริษัท เดอะ ริเวอร์ จำ�กัด และบริษัทย่อย (ถือหุ้นโดยบริษัทฯร้อยละ 88.99 (2553: ร้อยละ 73.99) และถือทางอ้อมโดยบริษัท คอนเท็มโพรารี่ พร็อพเพอร์ตี้ จำ�กัด ร้อยละ 10.85) บริษัท ไรมอน แลนด์ พร็อพเพอร์ตี้ จำ�กัด บริษัท ไรมอน แลนด์ พาร์ค วิว ดีเวลลอป เม้นส์ จำ�กัด บริษัท ไรมอน แลนด์ รีสอร์ทส์ จำ�กัด บริษัท นอร์ทพอยท์ พีอาร์ซี จำ�กัด (เดิมชื่อ บริษัท ไวร์เลส วัน เรสซิเด้นซ์ จำ�กัด) บริษัท ไรมอน แลนด์ เรสซิเด้นซ์ จำ�กัด (2553: เป็นกิจการที่ควบคุมร่วมกันถือหุ้น โดยบริษัทฯ ร้อยละ 51)

พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ วางแผนและบริหารจัดการ พัฒนาอสังหาริมทรัพย์

ไทย ไทย ไทย

อัตราร้อยละ ของการถือหุ้น 2554 2553 ร้อยละ ร้อยละ 98.59 98.59 95.00 95.00 99.84 84.84

เลิกกิจการ พัฒนาอสังหาริมทรัพย์

ไทย ไทย

- 99.99 99.99 99.99

ลงทุนและให้บริการ พัฒนาอสังหาริมทรัพย์

ไทย ไทย

99.93 99.93 99.99 99.99

พัฒนาอสังหาริมทรัพย์

ไทย

99.99

-

รายงานประจำ�ปี 2554 79


ชื่อบริษัท

ลักษณะธุรกิจ

พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ บริษัท ไรมอน แลนด์ ยูนิกซ์ จำ�กัด (เดิมชื่อ บริษัท เพลินจิต เรสซิเด้นซ์ จำ�กัด) (ถือหุ้นโดยบริษัทฯร้อยละ 49 และถือทาง อ้อมโดยบริษัท ไรมอน แลนด์ เรสซิเด้นซ์ จำ�กัด ร้อยละ 51) (2553: เป็นกิจการที่ ควบคุมร่วมกัน) บริษัท ไรมอน แลนด์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำ�กัด พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ (2553: เป็นกิจการที่ควบคุมร่วมกันถือหุ้น โดยบริษัทฯร้อยละ 51) บริษัท ไรมอน แลนด์ เซอร์วิสเซส จำ�กัด ให้บริการ

จัดตั้งขึ้นในประเทศ ไทย

อัตราร้อยละ ของการถือหุ้น 2554 2553 ร้อยละ ร้อยละ 99.99 -

ไทย

99.99

-

ไทย

99.94

-

เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2554 บริษัทฯได้ซื้อหุ้นเพิ่มเติมในบริษัท เดอะ ริเวอร์ จำ�กัด (บริษัทย่อย) จำ�นวน 1,848,005 หุ้น มูลค่า ที่ตราไว้หุ้นละ 100 บาท ในราคาหุ้นละ 170.45 บาท รวมเป็นจำ�นวนเงิน 315 ล้านบาท โดยคิดเป็นร้อยละ 15 ของทุนจดทะเบียน ของบริษัทย่อยดังกล่าว ทำ�ให้บริษัทฯมีสัดส่วนการลงทุนในบริษัทย่อยดังกล่าวเพิ่มจากร้อยละ 73.99 เป็นร้อยละ 88.99 ของ ทุนจดทะเบียนของบริษัทย่อยดังกล่าว เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2554 บริษัทฯได้ทำ�สัญญาและดำ�เนินการซื้อหุ้นร้อยละ 49 ในบริษัท ไรมอน แลนด์ เรสซิเด้นซ์ จำ�กัด และซื้อหุ้นร้อยละ 49 ในบริษัท เพลินจิต เรสซิเด้นซ์ จำ�กัด (บริษัทย่อยของบริษัท ไรมอน แลนด์ เรสซิเด้นซ์ จำ�กัด โดยการถือ หุ้นในร้อยละ 51) ทำ�ให้บริษัทฯมีสัดส่วนการถือหุ้นในบริษัท ไรมอน แลนด์ เรสซิเด้นซ์ จำ�กัด เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 51 เป็นร้อย ละ 99.99 และถือหุ้นในบริษัท เพลินจิต เรสซิเด้นซ์ จำ�กัด ในสัดส่วนร้อยละ 49 ซึ่งได้เปลี่ยนสถานะจากกิจการที่ควบคุมร่วมกัน เป็นบริษัทย่อยและบริษัทฯได้รวมงบการเงินของบริษัท ไรมอน แลนด์ เรสซิเด้นซ์ จำ�กัด และบริษัทย่อยในการจัดทำ�งบการเงินรวม ตั้งแต่วันที่ 31 พฤษภาคม 2554 เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2554 บริษัทฯได้ทำ�สัญญาและดำ�เนินการซื้อหุ้นร้อยละ 49 ในบริษัท ไรมอน แลนด์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำ�กัด ทำ�ให้บริษัทฯมีสัดส่วนการถือหุ้นในบริษัท ไรมอน แลนด์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำ�กัด เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 51 เป็นร้อยละ 99.99 ซึ่งได้เปลี่ยนสถานะจากกิจการที่ควบคุมร่วมกันเป็นบริษัทย่อยและบริษัทฯได้รวมงบการเงินของบริษัท ไรมอน แลนด์ ดีเวลลอป เม้นท์ จำ�กัดในการจัดทำ�งบการเงินรวมตั้งแต่วันที่ 28 กันยายน 2554 เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2554 บริษัทฯได้ซื้อหุ้นในบริษัท ไรมอน แลนด์ เซอร์วิสเซส จำ�กัด จำ�นวน 4,997 หุ้น มูลค่าตราไว้หุ้น ละ 100 บาท รวมเป็นจำ�นวนเงิน 499,700 บาท โดยคิดเป็นร้อยละ 99.94 ของทุนจดทะเบียนของบริษัทดังกล่าว ข) บริษัทฯนำ�งบการเงินของบริษัทย่อยมารวมในการจัดทำ�งบการเงินรวมตั้งแต่วันที่บริษัทฯมีอำ�นาจในการควบคุมบริษัทย่อย จนถึงวันที่บริษัทฯสิ้นสุดการควบคุมบริษัทย่อยนั้น ค) งบการเงินของบริษัทย่อยได้จัดทำ�ขึ้นโดยใช้นโยบายการบัญชีที่สำ�คัญเช่นเดียวกันกับของบริษัทฯ ง) ยอดคงค้างระหว่างบริษัทฯและบริษัทย่อย รายการค้าระหว่างกันที่มีสาระสำ�คัญได้ถูกตัดออกจากงบการเงินรวมนี้แล้ว จ) ส่วนของผู้มีส่วนได้เสียที่ไม่มีอำ�นาจควบคุม คือ จำ�นวนกำ�ไรหรือขาดทุนและสินทรัพย์สุทธิของบริษัทย่อยส่วนที่ไม่ได้เป็น ของบริษัทฯ และแสดงเป็นรายการแยกต่างหากในส่วนของกำ�ไรหรือขาดทุนรวมและส่วนของผู้ถือหุ้นในงบแสดงฐานะการเงิน รวม 2.3 บริษัทฯจัดทำ�งบการเงินเฉพาะกิจการเพื่อประโยชน์ต่อสาธารณะ โดยแสดงเงินลงทุนในบริษัทย่อย และการร่วมค้าตามวิธีราคาทุน 80 รายงานประจำ�ปี 2554


3. การปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีใหม่ในระหว่างปี ในระหว่างปีปัจจุบันบริษัทฯได้ปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีฉบับปรับปรุงและมาตรฐานการบัญชีใหม่ที่ออกโดยสภาวิชาชีพบัญชีดังนี้ มาตรฐานการบัญชี การนำ�เสนองบการเงิน ฉบับที่ 1 (ปรับปรุง 2552) สินค้าคงเหลือ ฉบับที่ 2 (ปรับปรุง 2552) งบกระแสเงินสด ฉบับที่ 7 (ปรับปรุง 2552) นโยบายการบัญชี การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชี และข้อผิดพลาด ฉบับที่ 8 (ปรับปรุง 2552) ฉบับที่ 10 (ปรับปรุง 2552) เหตุการณ์ภายหลังรอบระยะเวลารายงาน ฉบับที่ 11 (ปรับปรุง 2552) สัญญาก่อสร้าง ฉบับที่ 16 (ปรับปรุง 2552) ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ ฉบับที่ 17 (ปรับปรุง 2552) สัญญาเช่า ฉบับที่ 18 (ปรับปรุง 2552) รายได้ ผลประโยชน์ของพนักงาน ฉบับที่ 19 ฉบับที่ 23 (ปรับปรุง 2552) ต้นทุนการกู้ยืม ฉบับที่ 24 (ปรับปรุง 2552) การเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกัน การบัญชีและการรายงานโครงการผลประโยชน์เมื่อออกจากงาน ฉบับที่ 26 ฉบับที่ 27 (ปรับปรุง 2552) งบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการ ฉบับที่ 28 (ปรับปรุง 2552) เงินลงทุนในบริษัทร่วม การรายงานทางการเงินในสภาพเศรษฐกิจที่เงินเฟ้อรุนแรง ฉบับที่ 29 ฉบับที่ 31 (ปรับปรุง 2552) ส่วนได้เสียในการร่วมค้า ฉบับที่ 33 (ปรับปรุง 2552) กำ�ไรต่อหุ้น ฉบับที่ 34 (ปรับปรุง 2552) งบการเงินระหว่างกาล ฉบับที่ 36 (ปรับปรุง 2552) การด้อยค่าของสินทรัพย์ ฉบับที่ 37 (ปรับปรุง 2552) ประมาณการหนี้สิน หนี้สินที่อาจเกิดขึ้น และสินทรัพย์ที่อาจเกิดขึ้น ฉบับที่ 38 (ปรับปรุง 2552) สินทรัพย์ไม่มีตัวตน ฉบับที่ 40 (ปรับปรุง 2552) อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน มาตรฐานการรายงานทางการเงิน การจ่ายโดยใช้หุ้นเป็นเกณฑ์ ฉบับที่ 2 การรวมธุรกิจ ฉบับที่ 3 (ปรับปรุง 2552) สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนที่ถือไว้เพื่อขายและการดำ�เนินงานที่ยกเลิก ฉบับที่ 5 (ปรับปรุง 2552) การสำ�รวจและประเมินค่าแหล่งทรัพยากรแร่ ฉบับที่ 6 การตีความมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 15 สัญญาการก่อสร้างอสังหาริมทรัพย์ การตีความมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 31 รายได้ - รายการแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับบริการโฆษณา มาตรฐานการบัญชีข้างต้นไม่มีผลกระทบอย่างเป็นสาระสำ�คัญต่องบการเงินนี้ ยกเว้นมาตรฐานการบัญชีดังต่อไปนี้ ซึ่งมีผลกระทบ ต่องบการเงินของบริษัทฯและบริษัทย่อยแห่งหนึ่ง มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 18 (ปรับปรุง 2552) เรื่อง รายได้ มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้กำ�หนดให้กิจการต้องรับรู้รายได้จากการขายสินค้าซึ่งรวมถึงอสังหาริมทรัพย์ที่พัฒนาเพื่อขายเมื่อกิจการ ได้โอนความเสี่ยงและผลตอบแทนที่สำ�คัญให้แก่ผู้ซื้อแล้ว ซึ่งเดิมบริษัทฯและบริษัทย่อยเลือกรับรู้รายได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์

รายงานประจำ�ปี 2554 81


ตามวิธีอัตราส่วนของงานที่ทำ�เสร็จ บริษัทฯและบริษัทย่อยได้เปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชีดังกล่าวในปีปัจจุบันและปรับย้อนหลัง งบการเงินของปีก่อนที่แสดงเปรียบเทียบเสมือนหนึ่งว่าบริษัทฯและบริษัทย่อยรับรู้รายได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นรายได้เมื่อ ได้โอนความเสี่ยงและผลตอบแทนให้แก่ลูกค้ามาโดยตลอด การเปลี่ยนแปลงนี้ทำ�ให้บริษัทฯและบริษัทย่อยมีกำ�ไรสำ�หรับปี 2554 ลด ลงเป็นจำ�นวน 461 ล้านบาท (0.142 บาทต่อหุ้น) (เฉพาะของบริษัทฯ: กำ�ไรเพิ่มขึ้นเป็นจำ�นวน 9 ล้านบาท กำ�ไรต่อหุ้นเพิ่มขึ้น 0.003 บาทต่อหุ้น) อย่างไรก็ตาม บริษัทฯและบริษัทย่อยไม่สามารถเปิดเผยผลกระทบ ต่อรายการแต่ละบรรทัดในงบการเงินสำ�หรับ ปีได้ ทั้งนี้ผลสะสมของการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชีดังกล่าวต่อกำ�ไรสะสมต้นงวดแสดงอยู่ในหมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ 5 มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 19 เรื่อง ผลประโยชน์ของพนักงาน มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้กำ�หนดให้กิจการรับรู้ผลประโยชน์ที่ให้กับพนักงานเป็นค่าใช้จ่ายเมื่อกิจการได้รับบริการจ้างงานจากพนักงาน แล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งกิจการจะต้องประเมินและบันทึกหนี้สินเกี่ยวกับผลประโยชน์ของพนักงานเนื่องจากเกษียณอายุ โดยใช้การ คำ�นวณตามหลักคณิตศาสตร์ประกันภัย ซึ่งในปัจจุบันบริษัทฯรับรู้ผลประโยชน์ที่ให้กับพนักงานดังกล่าวเมื่อเกิดรายการ บริษัทฯและบริษัทย่อยได้เปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชีดังกล่าวในปีปัจจุบันและรับรู้หนี้สินในช่วงที่เปลี่ยนแปลงโดยใช้วิธีปรับย้อน หลังเสมือนว่าได้บันทึกค่าใช้จ่ายผลประโยชน์พนักงานตามมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้มาโดยตลอด การเปลี่ยนแปลงนี้ทำ�ให้บริษัทฯและ บริษัทย่อยมีกำ�ไรสำ�หรับปี 2554 ลดลงเป็นจำ�นวน 2 ล้านบาท (0.001 บาทต่อหุ้น) (เฉพาะของบริษัทฯ: กำ�ไรลดลงเป็นจำ�นวน 2 ล้านบาท กำ�ไรต่อหุ้นลดลง 0.001 บาทต่อหุ้น) ผลสะสมของการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชีดังกล่าวแสดงอยู่ในหมายเหตุ ประกอบงบการเงินข้อ 5 4. มาตรฐานการบัญชีใหม่ที่ยังไม่มีผลบังคับใช้ สภาวิชาชีพบัญชีได้ออกมาตรฐานการบัญชีฉบับปรับปรุงและมาตรฐานการบัญชีใหม่ซึ่งมีผลบังคับใช้สำ�หรับรอบระยะเวลาบัญชีที่ เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2556 ตามรายละเอียดข้างล่างนี้ มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 12 ฉบับที่ 20 (ปรับปรุง 2552) ฉบับที่ 21 (ปรับปรุง 2552) การตีความมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 10 ฉบับที่ 21 ฉบับที่ 25

ภาษีเงินได้ การบัญชีสำ�หรับเงินอุดหนุนจากรัฐบาล และการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับความช่วยเหลือ จากรัฐบาล ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ความช่วยเหลือจากรัฐบาล - กรณีที่ไม่มีความเกี่ยวข้องอย่างเฉพาะเจาะจงกับกิจกรรม ดำ�เนินงาน ภาษีเงินได้ - การได้รับประโยชน์จากสินทรัพย์ที่ไม่ได้คิดค่าเสื่อมราคาที่ตีราคาใหม่ ภาษีเงินได้ - การเปลี่ยนแปลงสถานภาพทางภาษีของกิจการหรือของผู้ถือหุ้น

ฝ่ายบริหารของบริษัทฯเชื่อว่ามาตรฐานการบัญชีข้างต้นจะไม่มีผลกระทบอย่างเป็นสาระสำ�คัญต่องบการเงินเมื่อนำ�มาถือปฏิบัติ ทั้งนี้ ในปี 2553 บริษัทฯได้นำ�มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 12 เรื่องภาษีเงินได้มาถือปฎิบัติก่อนวันที่มีผลบังคับใช้ 5. ผลสะสมจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชีเนื่องจากการนำ�มาตรฐานการบัญชีใหม่มาถือปฏิบัติ ในระหว่างปีปัจจุบัน บริษัทฯได้เปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชีที่สำ�คัญตามที่กล่าวในหมายเหตุ 3 เนื่องจากบริษัทฯนำ�มาตรฐานการ บัญชีฉบับปรับปรุงและมาตรฐานการบัญชีใหม่มาถือปฏิบัติผลสะสมของการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชีดังกล่าวแสดงเป็นรายการ แยกต่างหากในงบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น ผลสะสมต่อกำ�ไรสะสมต้นปี 2554 และ 2553 จากการเปลี่ยนแปลง นโยบายการบัญชีเนื่องจากการนำ�มาตรฐานการบัญชีใหม่มาถือปฏิบัติและมีการปรับย้อนหลังงบการเงิน ประกอบด้วย

82 รายงานประจำ�ปี 2554


ผลสะสมจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชีเรื่อง: การรับรู้รายได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ ผลประโยชน์ของพนักงาน รวม

งบการเงินรวม 2554 2553 (1,246,598) (1,154,929) (7,498) (6,026) (1,254,096) (1,160,955)

(หน่วย: พันบาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ 2554 2553 (113,135) (7,498) (120,633)

(633,378) (6,026) (639,404)

จำ�นวนเงินของรายการปรับปรุงที่มีผลกระทบต่อรายการในงบการเงิน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2553 และสำ�หรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2553 มีดังนี้ (หน่วย: พันบาท) 31 ธันวาคม 2553 งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะกิจการ งบแสดงฐานะการเงิน มูลค่างานที่เสร็จยังไม่ได้เรียกเก็บลดลง (1,770,147) (312,753) ต้นทุนโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพิ่มขึ้น 3,805,693 466,532 อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนเพิ่มขึ้น 39,724 39,724 ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ลดลง (39,724) (39,724) สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีเพิ่มขึ้น 612,010 52,130 ค่าใช้จา่ ยค้างจ่ายลดลง (228,630) (24,719) เงินมัดจำ�และเงินรับล่วงหน้าจากลูกค้าเพิ่มขึ้น 4,045,459 340,549 หนี้สินภาษีเงินได้รอตัดบัญชีเพิ่มขึ้น 74,111 10,712 10,712 สำ�รองผลประโยชน์ระยะยาวของพนักงานเพิ่มขึ้น ส่วนที่เป็นของผู้มีส่วนได้เสียที่ไม่มีอำ�นาจควบคุมของบริษัท ย่อยลดลง (119,658) ขาดทุนสะสมเพิ่มขึ้น (1,134,438) (120,633)

งบกำ�ไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ รายได้จากการขายหน่วยในอาคารชุดพักอาศัยเพิ่มขึ้น (ลดลง) ต้นทุนขายหน่วยในอาคารชุดพักอาศัยเพิ่มขึ้น (ลดลง) ค่าใช้จา่ ยในการขายลดลง ค่าใช้จา่ ยในการบริหารลดลง ค่าใช้จา่ ยพนักงานเพิ่มขึ้น ภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มขึ้น กำ�ไรส่วนที่เป็นของผู้มีส่วนได้เสียที่ไม่มีอำ�นาจควบคุมของ บริษัทย่อยลดลง กำ�ไรส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นของบริษัทใหญ่เพิ่มขึ้น (ลดลง) กำ�ไรต่อหุ้นขั้นพื้นฐานเพิ่มขึ้น (ลดลง) (บาท)

(หน่วย: พันบาท) สำ�หรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2553 งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะกิจการ (229,934) (22,094) (129,314) (1,004) 2,104 13,515

2,514,050 1,794,159 (20,927) (1,004) 2,104 220,947

(70,488) (22,653) (0.01)

518,771 0.16

รายงานประจำ�ปี 2554 83


6. นโยบายการบัญชีที่สำ�คัญ 6.1 การรับรู้รายได้ รายได้จากการขายหน่วยในอาคารชุดพักอาศัย รายได้จากการขายหน่วยในอาคารชุดพักอาศัยรับรู้เป็นรายได้ทั้งจำ�นวนเมื่อมีการโอนความเสี่ยงและผลตอบแทนที่มีนัยสำ�คัญให้กับผู้ ซื้อแล้ว รายได้ค่าเช่าและค่าบริการที่เกี่ยวข้อง รายได้จากค่าเช่าห้องและค่าบริการที่เกี่ยวข้องในอาคารสำ�นักงานและอาคารพักอาศัยจะรับรู้เป็นรายได้ตามเกณฑ์สิทธิ ดอกเบี้ยรับ ดอกเบี้ยรับถือเป็นรายได้ตามเกณฑ์คงค้างโดยคำ�นึงถึงอัตราผลตอบแทนที่แท้จริง 6.2 ต้นทุนการขายหน่วยในอาคารชุดพักอาศัย ใ นการคำ�นวณหาต้นทุนขายหน่วยในอาคารชุดพักอาศัยได้ทำ�การแบ่งสรรต้นทุนการพัฒนาทั้งหมดเกิดขึ้นตามเกณฑ์ราคาขาย 6.3 เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดหมายถึง

เงินสดและเงินฝากธนาคาร และเงินลงทุนระยะสั้นที่มีสภาพคล่องสูง ซึ่งถึงกำ�หนดจ่ายคืน ภายในระยะเวลาไม่เกิน 3 เดือนนับจากวันที่ได้มาและไม่มีข้อจำ�กัดในการเบิกใช้ 6.4 ล ูกหนี้การค้าและค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ ลูกหนี้การค้าแสดงมูลค่าตามจำ�นวนมูลค่าสุทธิที่จะได้รับ

บริษัทฯและบริษัทย่อยบันทึกค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญสำ�หรับผลขาดทุนโดย ประมาณที่อาจเกิดขึ้นจากการเก็บเงินจากลูกหนี้ไม่ได้ ซึ่งโดยทั่วไปพิจารณาจากประสบการณ์การเก็บเงินและการวิเคราะห์อายุหนี้ 6.5 ต้นทุนโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ต้นทุนโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์แสดงตามราคาทุนสุทธิจากค่าเผื่อผลขาดทุนจากการลดลงของมูลค่าโครงการโดยมีราย

ละเอียดการคำ�นวณราคาทุนดังนี้ ที่ดิน

-

บริษัทฯและบริษัทย่อยบันทึกราคาทุนของที่ดินโดยแยกตามแต่ละโครงการ

งานระหว่างก่อสร้าง

-

ต้นทุนงานระหว่างก่อสร้างประกอบด้วยต้นทุนค่าออกแบบ ต้นทุนงานก่อสร้าง ต้นทุนงานสาธารณูปโภคส่วนกลางและดอกเบี้ยจ่ายที่ถือเป็นต้นทุนของโครงการ บริษัทฯและบริษัทย่อยบันทึกต้นทุนค่าออกแบบ ค่าก่อสร้างและงานสาธารณูปโภค ตามที่เกิดขึ้นจริง

6.6 ต้นทุนการกู้ยืม

ต้นทุนการกู้ยืมของเงินกู้ยืมที่ใช้ในการจัดหาหรือก่อสร้างโครงการต่างๆ

ที่ต้องใช้ระยะเวลานานในการทำ�ให้อยู่ในสภาพพร้อมที่จะขาย ได้ถูกนำ�ไปรวมเป็นราคาทุนของโครงการจนกว่าโครงการนั้นจะเสร็จสมบูรณ์ตามที่มุ่งประสงค์หรือหยุดชะงักลงจนกว่าจะมีการดำ�เนิน การพัฒนาต่อไป ส่วนต้นทุนการกู้ยืมอื่นถือเป็นค่าใช้จ่ายในงวดที่เกิดรายการ ต้นทุนการกู้ยืมประกอบด้วยดอกเบี้ยและต้นทุนอื่นที่ เกิดขึ้นจากการกู้ยืมนั้น 84 รายงานประจำ�ปี 2554


6.7 เงินลงทุน ก) เงินลงทุนในการร่วมค้าที่แสดงอยู่ในงบการเงินรวมแสดงมูลค่าตามวิธีส่วนได้เสีย ข) เงินลงทุนในบริษัทย่อย และการร่วมค้าที่แสดงอยู่ในงบการเงินเฉพาะกิจการแสดงมูลค่าตามวิธีราคาทุน 6.8 อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน บริษัทฯบันทึกมูลค่าเริ่มแรกของอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนในราคาทุนซึ่งรวมต้นทุนการทำ�รายการ หลังจากนั้น บริษัทฯจะ บันทึกอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนด้วยราคาทุนหักค่าเสื่อมราคาสะสมและค่าเผื่อการด้อยค่า (ถ้ามี) ค่าเสื่อมราคาของอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนคำ�นวณจากราคาทุนโดยวิธีเส้นตรงตามอายุการให้ประโยชน์โดยประมาณ 20 ปี ค่า เสื่อมราคาของอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนรวมอยู่ในการคำ�นวณผลการดำ�เนินงาน บริษัทฯรับรู้ผลต่างระหว่างจำ�นวนเงินที่ได้รับสุทธิจากการจำ�หน่ายกับมูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์ในส่วนของกำ�ไรหรือขาดทุนใน งวดที่ตัดรายการอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนออกจากบัญชี 6.9 ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ และค่าเสื่อมราคา ที่ดินแสดงมูลค่าตามราคาทุน อาคารและอุปกรณ์แสดงตามราคาทุนหักค่าเสื่อมราคาสะสมและค่าเผื่อการด้อยค่าของสินทรัพย์คา่ เสื่อม ราคาของอาคารและอุปกรณ์คำ�นวณจากราคาทุนของสินทรัพย์โดยใช้วิธีเส้นตรงตามอายุการให้ประโยชน์โดยประมาณดังนี้ อาคารและส่วนปรับปรุงอาคาร อาคารตัวอย่างชั่วคราว เครื่องตกแต่ง ติดตั้งและอุปกรณ์สำ�นักงาน ยานพาหนะ

20 3 3, 5 5

ปี ปี ปี ปี

ค่าเสื่อมราคารวมอยู่ในการคำ�นวณผลการดำ�เนินงาน ไม่มีการคิดค่าเสื่อมราคาสำ�หรับที่ดินและส่วนปรับปรุงที่ดิน บริษัทฯตัดรายการที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ ออกจากบัญชี เมื่อจำ�หน่ายสินทรัพย์หรือคาดว่าจะไม่ได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ ในอนาคตจากการใช้หรือการจำ�หน่ายสินทรัพย์ รายการผลกำ�ไรหรือขาดทุนจากการจำ�หน่ายสินทรัพย์จะรับรู้ในส่วนของกำ�ไรหรือ ขาดทุนเมื่อบริษัทฯตัดรายการสินทรัพย์นั้นออกจากบัญชี 6.10 สิทธิการเช่าและค่าตัดจำ�หน่าย สิทธิการเช่าแสดงมูลค่าตามราคาทุนหลังหักค่าตัดจำ�หน่ายสะสม ค่าตัดจำ�หน่ายของสิทธิการเช่าคำ�นวณจากราคาทุนของสิทธิการเช่า โดยใช้วิธีเส้นตรงตามอายุสัญญาเช่า 6.11 รายการธุรกิจกับบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกัน บุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกันกับบริษัทฯ หมายถึง บุคคลหรือกิจการที่มีอำ�นาจควบคุมบริษัทฯ หรือถูกบริษัทฯควบคุมไม่ว่าจะ เป็นโดยทางตรงหรือทางอ้อม หรืออยู่ภายใต้การควบคุมเดียวกันกับบริษัทฯ นอกจากนี้บุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกันยังหมายรวมถึงบริษัทร่วมและบุคคลที่มีสิทธิออกเสียงโดยทางตรงหรือทางอ้อมทำ�ให้มี อิทธิพลอย่างเป็นสาระสำ�คัญต่อบริษัทฯ ผู้บริหารสำ�คัญ กรรมการหรือพนักงานของบริษัทฯ ที่มีอำ�นาจในการวางแผนและควบคุม การดำ�เนินงานของบริษัทฯ รายงานประจำ�ปี 2554 85


6.12 เงินตราต่างประเทศ รายการที่เป็นเงินตราต่างประเทศแปลงค่าเป็นเงินบาทโดยใช้อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่เกิดรายการ สินทรัพย์และหนี้สินที่เป็นตัวเงินซึ่ง อยู่ในสกุลเงินตราต่างประเทศได้แปลงค่าเป็นเงินบาทโดยใช้อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันสิ้นรอบระยะเวลารายงาน กําไรและขาดทุนที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงในอัตราแลกเปลี่ยนได้รวมอยู่ในการคำ�นวณผลการดำ�เนินงาน 6.13 การด้อยค่าของสินทรัพย์ ทุกวันสิ้นรอบระยะเวลารายงาน บริษัทฯจะทำ�การประเมินการด้อยค่าของที่ดิน อาคารและอุปกรณ์และสินทรัพย์อื่นของบริษัทฯหาก มีข้อบ่งชี้ว่าสินทรัพย์ดังกล่าวอาจด้อยค่า บริษัทฯรับรู้ขาดทุนจากการด้อยค่าเมื่อมูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืนของสินทรัพย์มีมูลค่า ต่ำ�กว่ามูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์นั้น ทั้งนี้มูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืนหมายถึงมูลค่ายุติธรรมหักต้นทุนในการขายของสินทรัพย์ หรือมูลค่าจากการใช้สินทรัพย์แล้วแต่ราคาใดจะสูงกว่า ในการประเมินมูลค่าจากการใช้สินทรัพย์ บริษัทฯประมาณการกระแสเงินสดใน อนาคตที่กิจการคาดว่าจะได้รับจากสินทรัพย์และคำ�นวณคิดลดเป็นมูลค่าปัจจุบันโดยใช้อัตราคิดลดก่อนภาษีที่สะท้อนถึงการประเมิน ความเสี่ยงในสภาพตลาดปัจจุบันของเงินสดตามระยะเวลาและความเสี่ยงซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของสินทรัพย์ที่กำ�ลังพิจารณาอยู่ ใน การประเมินมูลค่ายุติธรรมหักต้นทุนในการขาย บริษัทฯใช้แบบจำ�ลองการประเมินมูลค่าที่ดีที่สุดซึ่งเหมาะสมกับสินทรัพย์ ซึ่งสะท้อน ถึงจำ�นวนเงินที่กิจการสามารถจะได้มาจากการจำ�หน่ายสินทรัพย์หักด้วยต้นทุนในการจำ�หน่าย โดยการจำ�หน่ายนั้นผู้ซื้อกับผู้ขายมี ความรอบรู้และเต็มใจในการแลกเปลี่ยนและสามารถต่อรองราคากันได้อย่างเป็นอิสระในลักษณะของผู้ที่ไม่มีความเกี่ยวข้องกัน บริษัทฯจะรับรู้รายการขาดทุนจากการด้อยค่าในส่วนของกำ�ไรหรือขาดทุน 6.14 ผลประโยชน์ของพนักงาน ผลประโยชน์ระยะสั้นของพนักงาน บริษัทฯรับรู้ เงินเดือน ค่าจ้าง โบนัส และเงินสมทบกองทุนประกันสังคมและโครงการสะสมหุ้นสำ�หรับพนักงานบริษัทฯจดทะเบียนเป็น ค่าใช้จ่ายเมื่อเกิดรายการ ผลประโยชน์หลังออกจากงานของพนักงาน โครงการสมทบเงิน บริษัทฯและพนักงานได้ร่วมกันจัดตั้งกองทุนสำ�รองเลี้ยงชีพ ซึ่งประกอบด้วยเงินที่พนักงานจ่ายสะสมและเงินที่บริษัทฯจ่ายสมทบให้ เป็นรายเดือน สินทรัพย์ของกองทุนสำ�รองเลี้ยงชีพได้แยกออกจากสินทรัพย์ของบริษัทฯ เงินที่บริษัทฯจ่ายสมทบกองทุนสำ�รอง เลี้ยงชีพบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายในปีที่เกิดรายการ โครงการผลประโยชน์หลังออกจากงาน บริษัทฯมีภาระสำ�หรับเงินชดเชยที่ต้องจ่ายให้แก่พนักงานเมื่อออกจากงานตามกฎหมายแรงงาน ซึ่งบริษัทฯถือว่าเงินชดเชยดังกล่าว เป็นโครงการผลประโยชน์หลังออกจากงานสำ�หรับพนักงาน บริษัทฯคำ�นวณหนี้สินตามโครงการผลประโยชน์หลังออกจากงานของพนักงาน โดยใช้วิธีคิดลดแต่ละหน่วยที่ประมาณการไว้ (Projected Unit Credit Method) โดยผู้เชี่ยวชาญอิสระได้ทำ�การประเมินภาระผูกพันดังกล่าวตามหลักคณิตศาสตร์ประกันภัย ผลกำ�ไรหรือขาดทุนจากการประมาณการตามหลักคณิตศาสตร์ประกันภัยสำ�หรับโครงการผลประโยชน์หลังออกจากงานของ พนักงานจะรับรู้ทันทีในกำ�ไรหรือขาดทุน

86 รายงานประจำ�ปี 2554


6.15 ภาษีเงินได้ ภาษีเงินได้ประกอบด้วยภาษีเงินได้ปัจจุบันและภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี ภาษีเงินได้ปัจจุบัน บริษัทฯบันทึกภาษีเงินได้ปัจจุบันตามจำ�นวนที่คาดว่าจะจ่ายให้กับหน่วยงานจัดเก็บภาษีของรัฐ โดยคำ�นวณจากกำ�ไรทาง ภาษีตามหลักเกณฑ์ที่กำ�หนดในกฎหมายภาษีอากร ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี บริษัทฯบันทึกภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีของผลแตกต่างชั่วคราวระหว่างราคาตามบัญชีของสินทรัพย์และหนี้สิน ณ วันสิ้นรอบระยะ เวลารายงานกับฐานภาษีของสินทรัพย์และหนี้สินที่เกี่ยวข้องนั้น โดยใช้อัตราภาษีที่มีผลบังคับใช้ ณ วันสิ้นรอบระยะเวลารายงาน บริษัทฯรับรู้หนี้สินภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีของผลแตกต่างชั่วคราวที่ต้องเสียภาษีทุกรายการ แต่รับรู้สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการ ตัดบัญชีสำ�หรับผลแตกต่างชั่วคราวที่ใช้หักภาษี รวมทั้งผลขาดทุนทางภาษีที่ยังไม่ได้ใช้ในจำ�นวนเท่าที่มีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ที่ บริษัทฯจะมีกำ�ไรทางภาษีในอนาคตเพียงพอที่จะใช้ประโยชน์จากผลแตกต่างชั่วคราวที่ใช้หักภาษีและผลขาดทุนทางภาษีที่ยังไม่ได้ใช้นั้น บริษัทฯจะทบทวนมูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี ณ ทุกสิ้นรอบระยะเวลารายงานและจะทำ�การปรับลด มูลค่าตามบัญชีดังกล่าว หากมีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ว่าบริษัทฯจะไม่มีกำ�ไรทางภาษีเพียงพอต่อการนำ�สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการ ตัดบัญชีทั้งหมดหรือบางส่วนมาใช้ประโยชน์ บริษัทฯจะบันทึกภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีโดยตรงไปยังส่วนของผู้ถือหุ้นหากภาษีที่เกิดขึ้นเกี่ยวข้องกับรายการที่ได้บันทึกโดยตรง ไปยังส่วนของผู้ถือหุ้น 7. การใช้ดุลยพินิจและประมาณการทางบัญชีที่สำ�คัญ ในการจัดทำ�งบการเงินตามมาตรฐานการบัญชีที่รับรองทั่วไป ฝ่ายบริหารจำ�เป็นต้องใช้ดุลยพินิจและการประมาณการในเรื่องที่มีความ ไม่แน่นอนเสมอ การใช้ดุลยพินิจและการประมาณการดังกล่าวนี้ส่งผลกระทบต่อจำ�นวนเงินที่แสดงในงบการเงินและต่อข้อมูลที่แสดง ในหมายเหตุประกอบงบการเงิน ผลที่เกิดขึ้นจริงอาจแตกต่างไปจากจำ�นวนที่ประมาณการไว้ การใช้ดุลยพินิจและการประมาณการที่ สำ�คัญมีดังนี้ ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์และค่าเสื่อมราคา ในการคำ�นวณค่าเสื่อมราคาของอาคารและอุปกรณ์ ฝ่ายบริหารจำ�เป็นต้องทำ�การประมาณอายุการให้ประโยชน์และมูลค่าคงเหลือเมื่อ เลิกใช้งานของอาคารและอุปกรณ์ และต้องทบทวนอายุการให้ประโยชน์และมูลค่าคงเหลือใหม่หากมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น นอกจากนี้ฝ่ายบริหารจำ�เป็นต้องสอบทานการด้อยค่าของที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ในแต่ละช่วงเวลาและบันทึกขาดทุนจากการด้อยค่า หากคาดว่ามูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืนต่ำ�กว่ามูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์นั้น ในการนี้ฝ่ายบริหารจำ�เป็นต้องใช้ดุลยพินิจที่เกี่ยวข้อง กับการคาดการณ์รายได้และค่าใช้จ่ายในอนาคตซึ่งเกี่ยวเนื่องกับสินทรัพย์นั้น สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี บริษัทฯจะรับรู้สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีเมื่อมีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่นอนว่าบริษัทฯจะมีกำ�ไรทางภาษีในอนาคตเพียง พอที่จะใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์ภาษีเงินนั้นได้ ในการนี้ฝ่ายบริหารจำ�เป็นต้องประมาณการว่าบริษัทฯควรรับรู้จำ�นวนสินทรัพย์ภาษี เงินได้รอการตัดบัญชีเป็นจำ�นวนเท่าใด โดยพิจารณาถึงจำ�นวนกำ�ไรที่คาดว่าจะเกิดในอนาคตในแต่ละช่วงเวลา ผลประโยชน์หลังออกจากงานของพนักงานตามโครงการผลประโยชน์ หนี้สินตามโครงการผลประโยชน์หลังออกจากงานของพนักงาน ประมาณขึ้นตามหลักคณิตศาสตร์ประกันภัย ซึ่งต้องอาศัยข้อ สมมติฐานต่าง ๆในการประมาณการนั้น เช่น อัตราคิดลด อัตราการขึ้นเงินเดือนในอนาคต อัตรามรณะ และอัตราการเปลี่ยนแปลง ในจำ�นวนพนักงาน เป็นต้น รายงานประจำ�ปี 2554 87


8. รายการธุรกิจกับกิจการที่เกี่ยวข้องกัน ในระหว่างปี บริษัทฯและบริษัทย่อยมีรายการธุรกิจที่สำ�คัญกับบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกัน รายการธุรกิจดังกล่าวเป็นไปตาม เงื่อนไขทางการค้าและเกณฑ์ตามที่ตกลงกันระหว่างบริษัทฯและบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกันเหล่านั้น ซึ่งเป็นไปตามปกติธุรกิจโดย สามารถสรุปได้ดังนี้

รายการธุรกิจกับบริษัทย่อย (ตัดออกจากงบการเงินรวมแล้ว) รายได้ค่าบริหารโครงการ รายได้ค่าธรรมเนียมการตลาด รายได้ค่าธรรมเนียมการค้ำ�ประกัน

งบการเงินรวม 2554 2553 (ปรับปรุงใหม่)

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2554 2553 (ปรับปรุงใหม่)

-

-

31 54 32

ดอกเบี้ยรับ

-

-

7

ดอกเบี้ยจ่าย (บันทึกเป็นส่วน หนึ่งของต้นทุนโครงการ พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ใน ระหว่างปี 2553 เป็นจำ�นวน 44 ล้านบาท)

-

-

24

รายการธุรกิจกับกิจการที่ควบคุมร่วมกัน ดอกเบี้ยรับ รายได้ค่าธรรมเนียมการตลาด รายการธุรกิจกับบริษัทที่เกี่ยวข้องกัน (เกี่ยวข้องโดยมีกรรมการร่วมกัน) ค่าบริการจ่าย รายการธุรกิจกับผู้ถือหุ้นใหญ่ ดอกเบี้ยจ่าย รายการธุรกิจกับกรรมการและพนักงาน รายได้จากการขายหน่วยใน อาคาร ชุดพักอาศัย

88 รายงานประจำ�ปี 2554

(หน่วย: ล้านบาท) นโยบายการกำ�หนดราคา

31 ตามที่ระบุในสัญญา 169 ราคาเท่ากับบุคคลภายนอก - อัตราร้อยละ 1 ต่อปี ของภาระ ค้ำ�ประกันคงค้างถัวเฉลี่ย 16 อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 5 - 10 ต่อปี 53 อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 5 ต่อปี และ MLR ถัวเฉลี่ย-0.75 ต่อปี (2553: อัตราดอกเบี้ย ร้อยละ 5 ต่อปี และ ร้อยละ 10 ต่อปี)

8 30

48 -

8 30

2

3

1

-

41

-

41 อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 10 ต่อปี และร้อยละ 15 ต่อปี

-

15

-

15 ราคาเทียบเคียงกับราคาตลาด

48 อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี - ราคาเท่ากับบุคคลภายนอก 2 ราคาเทียบเคียงกับราคาตลาด


ยอดคงค้างระหว่างบริษัทฯและบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกัน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554 และ 2553 มีรายละเอียดดังนี้ (หน่วย: พันบาท)

งบการเงินรวม 2554 2553 (ปรับปรุงใหม่) ลูกหนี้อื่นกิจการที่เกี่ยวข้องกัน บริษัทย่อย - บริษัท ตากสิน พร็อพเพอร์ตี้ส์ จำ�กัด - บริษัท ไรมอน แลนด์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำ�กัด บริษัทที่เกี่ยวข้องกัน - บริษัท ชะอำ� แคมปัส ซิตี้ จำ�กัด หัก: ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ สุทธิ เจ้าหนี้อื่นกิจการที่เกี่ยวข้องกัน (หมายเหตุ 17) ผู้ถือหุ้นใหญ่ - IFA Hotels & Resorts 3 Ltd. บริษัทที่เกี่ยวข้องกัน - บริษัท สยาม แอดมินนิสเทรทีฟ แมเนจเม้นท์ จำ�กัด เงินมัดจำ�และเงินรับล่วงหน้าจากกิจการที่เกี่ยวข้องกัน - กรรมการและพนักงาน - บริษัทที่เกี่ยวข้องกัน (มีกรรมการร่วมกัน)

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2554 2553 (ปรับปรุงใหม่)

-

-

314,115 21,540

268,441 -

19,200 (19,200) -

19,200 (19,200) -

19,200 (19,200) 335,655

19,200 (19,200) 268,441

29,983

275

-

275

564 30,547

181 456

41 41

90 365

3,712 34,541 38,253

22,419 37,493 59,912

6,962 6,962

200 200

รายงานประจำ�ปี 2554 89


เงินให้กู้ยืมแก่กิจการที่เกี่ยวข้องกัน และเงินกู้ยืมจากกิจการที่เกี่ยวข้องกัน ยอดคงค้างของเงินให้กู้ยืมและดอกเบี้ยค้างรับ และเงินกู้ยืมและดอกเบี้ยค้างจ่าย ระหว่างบริษัทฯและกิจการที่เกี่ยวข้องกัน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554 และ 2553 และรายการเคลื่อนไหวมีรายละเอียดดังนี้ (หน่วย: พันบาท)

งบการเงินรวม

เงินให้กู้ยืมระยะสั้นแก่กิจการที่เกี่ยวข้องกันและดอกเบี้ยค้างรับ บริษัทที่เกี่ยวข้องกัน - บริษัท ชะอำ� แคมปัส ซิตี้ จำ�กัด เงินให้กู้ยืม ดอกเบี้ยค้างรับ หัก: ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ สุทธิ เงินให้กู้ยืมระยะยาวแก่กิจการที่เกี่ยวข้องกัน และดอกเบี้ยค้างรับ กิจการที่ควบคุมร่วมกัน - บริษัท ไรมอน แลนด์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำ�กัด* เงินให้กู้ยืม ดอกเบี้ยค้างรับ - บริษัท ไรมอน แลนด์ เรสซิเด้นซ์ จำ�กัด* เงินให้กู้ยืม ดอกเบี้ยค้างรับ หัก: ส ำ�รองเผื่อผลขาดทุนจากเงินลงทุนในการ ร่วมค้า (หมายเหตุ 12) สุทธิ เงินกู้ยืมระยะสั้นจากกิจการที่เกี่ยวข้องกันและ ดอกเบี้ยค้างจ่าย ผู้ถือหุ้นใหญ่ - IFA Hotels & Resorts 3 Ltd. ดอกเบี้ยค้างจ่าย

ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม2553

เพิ่มขึ้น ระหว่างปี

ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม2554

ลดลง ระหว่างปี

427,319 401,996 (829,315) -

-

-

427,319 401,996 (829,315) -

150,195 96,306

144,305 8,485

(294,500) (104,791)

-

259,230 87,850 593,581

152,790

(259,230) (87,850) (746,371)

-

(335,115) 258,466

152,790

335,115 (411,256)

-

3,189

-

(3,189)

-

* ในระหว่างปี บริษัทฯได้ซื้อหุ้นร้อยละ 49 ในบริษัท ไรมอน แลนด์ เรสซิเด้นซ์ จำ�กัด และ บริษัท ไรมอน แลนด์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำ�กัด ทำ�ให้เปลี่ยนสถานะจากกิจการที่ควบคุมร่วมกัน เป็น บริษัทย่อย ดังนั้น บริษัทฯจึงได้จัดประเภทเงินให้กู้ยืมแก่กิจการที่ควบคุมร่วมกันและดอกเบี้ยค้างรับเป็นเงินให้กู้ยืมแก่บริษัทย่อยและดอกเบี้ยค้างรับ

90 รายงานประจำ�ปี 2554


เงินให้กู้ยืมระยะสั้นแก่กิจการที่เกี่ยวข้องกัน และดอกเบี้ยค้างรับ บริษัทย่อย - บริษัท ไรมอน แลนด์ พร็อพเพอร์ตี้ จำ�กัด เงินให้กู้ยืม - บริษัท ไรมอน แลนด์ พาร์ค วิว ดีเวลลอปเม้นส์ จำ�กัด เงินให้กู้ยืม ดอกเบี้ยค้างรับ - บริษัท ไรมอน แลนด์ รีสอร์ทส์ จำ�กัด เงินให้กู้ยืม ดอกเบี้ยค้างรับ - บริษัท ไรมอน แลนด์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำ�กัด* เงินให้กู้ยืม ดอกเบี้ยค้างรับ - บริษัท ไรมอน แลนด์ เรสซิเด้นซ์ จำ�กัด* เงินให้กู้ยืม ดอกเบี้ยค้างรับ บริษัทที่เกี่ยวข้องกัน - บริษัท ชะอำ� แคมปัส ซิตี้ จำ�กัด เงินให้กู้ยืม ดอกเบี้ยค้างรับ หัก: ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ สุทธิ

ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม2553

(หน่วย: พันบาท)

งบการเงินเฉพาะกิจการ เพิ่มขึ้น ระหว่างปี

ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม2554

ลดลง ระหว่างปี

285,500

-

-

285,500

16,700 343

835

-

16,700 1,178

6,620 199

445

(560) (68)

6,060 576

-

294,500 110,358

-

294,500 110,358

-

259,230 87,850

(2,331) -

256,899 87,850

427,319 401,996 1,138,677 (1,114,815) 23,862

753,218 (335,115) 418,103

427,319 401,996 (2,959) 1,888,936 - (1,449,930) (2,959) 439,006

รายงานประจำ�ปี 2554 91


เงินให้กู้ยืมระยะยาวแก่กิจการที่เกี่ยวข้องกัน และดอกเบี้ยค้างรับ กิจการที่ควบคุมร่วมกัน - บริษัท ไรมอน แลนด์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำ�กัด* เงินให้กู้ยืม ดอกเบี้ยค้างรับ - บริษัท ไรมอน แลนด์ เรสซิเด้นซ์ จำ�กัด* เงินให้กู้ยืม ดอกเบี้ยค้างรับ หัก: ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ สุทธิ เงินกู้ยืมระยะสั้นจากกิจการที่เกี่ยวข้องกัน และดอกเบี้ยค้างจ่าย บริษัทย่อย - บ ริษัท คอนเท็มโพรารี่ พร็อพเพอร์ตี้ จำ�กัด เงินกู้ยืม ดอกเบี้ยค้างจ่าย - บ ริษัท ตากสิน พร็อพเพอร์ตี้ จำ�กัด เงินกู้ยืม ดอกเบี้ยค้างจ่าย ผู้ถือหุ้นใหญ่ - I FA Hotels & Resorts 3 Ltd. ดอกเบี้ยค้างจ่าย

ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม2553

(หน่วย: พันบาท)

งบการเงินเฉพาะกิจการ เพิ่มขึ้น ระหว่างปี

ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม2554

ลดลง ระหว่างปี

150,195 96,306

144,305 8,485

(294,500) (104,791)

-

259,230 87,850 593,581 (335,115) 258,466

152,790 152,790

(259,230) (87,850) (746,371) 335,115 (411,256)

-

182,500 46,123

9,125

-

182,500 55,248

-

315,000 14,961

-

315,000 14,961

3,189 231,812

339,086

(3,189) (3,189)

567,709

* ในระหว่างงวด บริษัทฯได้ซื้อหุ้นร้อยละ 49 ในบริษัท ไรมอน แลนด์ เรสซิเด้นซ์ จำ�กัด และ บริษัท ไรมอน แลนด์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำ�กัด ทำ�ให้เปลี่ยนสถานะจากกิจการที่ควบคุมร่วมกัน เป็นบริษัทย่อย ดังนั้น บริษัทฯจึงได้จัดประเภทเงินให้กู้ยืมแก่กิจการที่ควบคุมร่วมกันและดอกเบี้ยค้างรับเป็นเงินให้กู้ยืมแก่บริษัทย่อยและดอกเบี้ยค้างรับ

ค่าตอบแทนกรรมการและผู้บริหาร ในระหว่างปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2554 และ 2553 บริษัทฯและบริษัทย่อยมีคา่ ใช้จา่ ยผลประโยชน์พนักงานที่ให้แก่กรรมการและผู้บริหาร ดังต่อไปนี้

ผลประโยชน์ระยะสั้น ผลประโยชน์หลังออกจากงาน รวม

92 รายงานประจำ�ปี 2554

งบการเงินรวม 2554 2553 52 39 1 1 53 40

(หน่วย: ล้านบาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ 2554 2553 52 39 1 1 53 40


ภาระค้ำ�ประกันกับกิจการที่เกี่ยวข้องกัน บริษัทฯและบริษัทย่อยแห่งหนึ่งมีภาระจากการค้ำ�ประกันให้กับกิจการที่เกี่ยวข้องกันตามที่กล่าวไว้ในหมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ

18 เงินให้กู้ยืมระยะสั้นแก่กิจการที่เกี่ยวข้องกันและดอกเบี้ยค้างรับ

เงินให้กู้ยืมแก่บริษัทย่อย เป็นเงินกู้ยืมที่ไม่มีหลักประกัน อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 5-10 ต่อปี และมีกำ�หนดชำ�ระคืนเมื่อทวงถาม บริษทั ฯได้บนั ทึกค่าเผือ่ หนีส้ งสัยจะสูญสำ�หรับเงินให้กยู้ มื ระยะสัน้ แก่และดอกเบีย้ ค้างรับจากบริษทั ไรมอน แลนด์ พร็อพเพอร์ต้ี จำ�กัด ไว้แล้วทั้งจำ�นวน เงินให้กู้ยืมระยะยาวแก่กิจการที่เกี่ยวข้องกันและดอกเบี้ยค้างรับ เงินให้กู้ยืมแก่กิจการที่ควบคุมร่วมกัน เป็นเงินกู้ยืมที่ไม่มีหลักประกัน อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี และมีกำ�หนดชำ�ระคืนภายใน 10 สิงหาคม 2555 ต่อมาเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2553 ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯครั้งที่ 4/2553 มีมติอนุมัติให้ บริษัทฯทำ�การปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมกิจการที่ควบคุมร่วมกันลดลงเหลืออัตราดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี โดยให้มีผล บังคับย้อนหลังตั้งแต่วันที่ในสัญญาเงินให้กู้ยืม (เดือนสิงหาคม 2551) การปรับลดอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวทำ�ให้บริษัทฯบันทึก ปรับปรุงดอกเบี้ยค้างรับลดลงเป็นจำ�นวนเงินประมาณ 94 ล้านบาท และบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายในส่วนของกำ�ไรหรือขาดทุนในปี 2553 บริษัทฯได้บันทึกค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญสำ�หรับเงินให้กู้ยืมระยะยาวแก่และดอกเบี้ยค้างรับจากบริษัท ไรมอน แลนด์ เรสซิเด้นซ์ จำ�กัด ไว้แล้วทั้งจำ�นวน เป็นจำ�นวนเงิน 335 ล้านบาท เงินกู้ยืมระยะสั้นจากกิจการที่เกี่ยวข้องกันและดอกเบี้ยค้างจ่าย เงินกู้ยืมจากบริษัท คอนเท็มโพรารี่ พร็อพเพอร์ตี้ จำ�กัด เป็นเงินกู้ยืมที่ไม่มีหลักประกัน อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 5 ต่อปี และมี กำ�หนดชำ�ระคืนเมื่อทวงถาม เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2554 บริษัทฯได้ทำ�สัญญาเงินกู้ยืมกับบริษัท ตากสิน พร็อพเพอร์ตี้ส์ จำ�กัด (บริษัทย่อยของบริษัท เดอะ ริเวอร์ จำ�กัด) จำ�นวน 315 ล้านบาท เพื่อใช้จ่ายซื้อหุ้นเพิ่มเติมในบริษัท เดอะ ริเวอร์ จำ�กัด เงินกู้ยืมดังกล่าวเป็นเงินกู้ยืมชนิด ไม่มีหลักประกัน อัตราดอกเบี้ย MLR ถัวเฉลี่ย -0.75% โดยมีกำ�หนดชำ�ระคืนเมื่อทวงถาม 9. เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด

เงินสด เงินฝากธนาคาร รวม

งบการเงินรวม 2554 2553 540 263 661,079 580,552 661,619 580,815

(หน่วย: พันบาท) งบการเงินรวม 2554 2553 165 240 438,132 326,552 438,297 326,792

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554 เงินฝากออมทรัพย์ และเงินฝากประจำ� มีอัตราดอกเบี้ยระหว่างร้อยละ 0.50 ถึง 1.25 ต่อปี (2553: ร้อยละ 0.25 ต่อปี) 10. ต้นทุนโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์

ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างระหว่างพัฒนา ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่พัฒนาแล้ว รวม

งบการเงินรวม 2554 2553 (ปรับปรุงใหม่) 11,868,334 4,990,394 751,772 4,889,097 12,620,106 9,879,491

(หน่วย: พันบาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ 2554 2553 (ปรับปรุงใหม่) 2,600,376 2,290,946 746,929 1,584,449 3,347,305 3,875,395 รายงานประจำ�ปี 2554 93


หัก: ค่าเผื่อผลขาดทุนจากการลดลงของ มูลค่าโครงการ ต้นทุนโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ - สุทธิ

12,620,106

(11,369) 9,868,122

3,347,305

(11,369) 3,864,026

ในระหว่างปี 2554 และ 2553 บริษัทฯและบริษัทย่อยได้บันทึกต้นทุนการกู้ยืมจำ�นวนประมาณ 345 ล้านบาท และ 235 ล้าน บาท ตามลำ�ดับ (งบการเงินเฉพาะกิจการ: 90 ล้านบาท และ 75 ล้านบาท ตามลำ�ดับ) เป็นส่วนหนึ่งของต้นทุนโครงการพัฒนา อสังหาริมทรัพย์ โดยอัตราตั้งขึ้นเป็นราคาทุนของต้นทุนโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ประมาณร้อยละ 7 ต่อปี บ ริษัทฯและบริษัทย่อยได้นำ�ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินไปจดจำ�นองไว้กับธนาคารและสถาบันการเงินเพื่อเป็นหลักประกันเงินกู้ยืม ของบริษัทฯและบริษัทย่อยจากธนาคารและสถาบันการเงินดังกล่าว 11. เงินลงทุนในบริษัทย่อย เงินลงทุนในบริษัทย่อยตามที่แสดงอยู่ในงบการเงินเฉพาะกิจการมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ (หน่วย: พันบาท) บริษัท บริษัท คอนเท็มโพรารี่ พร็อพเพอร์ตี้ จำ�กัด บริษัท ไรมอน แลนด์ แพลนเนอร์ จำ�กัด บริษัท ไรมอน แลนด์ พร็อพเพอร์ตี้ จำ�กัด บริษัท ไรมอน แลนด์ พาร์ค วิว ดีเวลลอปเม้นส์ จำ�กัด บริษัท เดอะ ริเวอร์ จำ�กัด และบริษัทย่อย (ถือหุ้นโดยบริษัทฯร้อยละ 88.99 (2553: ร้อยละ 73.99) และถือทางอ้อมโดย บริษัท คอนเท็มโพรารี่ พร็อพเพอร์ตี้ จำ�กัด ร้อยละ 10.85) บริษัท ไรมอน แลนด์ รีสอร์ทส์ จำ�กัด บริษัท นอร์ทพอยท์ พีอาร์ซี จำ�กัด (เดิมชื่อ บริษัท ไวร์เลส วัน เรสซิเด้นซ์ จำ�กัด ) บริษัท ไรมอน แลนด์ เรสซิเด้นซ์ จำ�กัด (2553: เป็นเงินลงทุนในการร่วมค้าถือหุ้นโดย บริษัทฯร้อยละ 51) บริษัท ไรมอน แลนด์ ยูนิกซ์ จำ�กัด (เดิมชื่อ บริษัท เพลินจิต เรสซิเด้นซ์ จำ�กัด) (ถือหุ้นโดยบริษัทฯร้อยละ 49 และทางอ้อม โดยบริษัท ไรมอน แลนด์ เรสซิเด้นซ์ จำ�กัด ร ้อยละ 51) (2553: เป็นเงินลงทุนในการร่วมค้า) บริษัท ไรมอน แลนด์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำ�กัด (2553: เป็นเงินลงทุนในการร่วมค้าถือหุ้นโดย บริษัทฯร้อยละ 51) บริษัท ไรมอน แลนด์ เซอร์วิสเซส จำ�กัด รวม หัก: ค่าเผื่อผลขาดทุนจากเงินลงทุนในบริษัทย่อย เงินลงทุนในบริษัทย่อย – สุทธิ

ทุนเรียกชำ�ระแล้ว 2554 2553 200,000 200,000 2,000 2,000 10,000 100,000 100,000 1,232,030 1,232,030

งบการเงินเฉพาะกิจการ สัดส่วนเงินลงทุน 2554 2553 ร้อยละ ร้อยละ 98.59 98.59 95.00 95.00 - 99.99 99.99 99.99 99.84 84.84

ราคาทุน 2554

2553

196,126 1,900 100,000 1,121,994

196,126 1,900 10,000 100,000 806,994

250 2,500

250 99.93 2,500 99.99

99.93 99.99

250 2,500

250 2,500

10,000

- 99.99

-

5,099

-

10,000

- 99.99

-

-

-

500,000

- 99.99

-

390,695

-

500

- 99.94

-

500 1,819,064 (105,099) 1,713,965

1,117,770 (110,000) 1,007,770

บริษัทฯได้นำ�หุ้นสามัญของบริษัท เดอะ ริเวอร์ จำ�กัด และบริษัท ไรมอน แลนด์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำ�กัด ไปวางเป็นหลักทรัพย์ค้ำ� ประกันเงินกู้ยืมระยะยาวจากธนาคารของบริษัทย่อย

94 รายงานประจำ�ปี 2554


บริษัท ไรมอน แลนด์ พาร์ค วิว ดีเวลลอปเม้นส์ จำ�กัด ในปี 2553 บริษัทฯได้บันทึกค่าเผื่อผลขาดทุนจากเงินลงทุนในบริษัท ไรมอน แลนด์ พาร์ค วิว ดีเวลลอปเม้นส์ จำ�กัด (บริษัท ย่อย) เป็นจำ�นวน 100 ล้านบาท เนื่องจากบริษัทย่อยได้หยุดดำ�เนินธุรกิจ บริษัท เดอะ ริเวอร์ จำ�กัด เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2552 บริษัทฯได้ทำ�สัญญาซื้อหุ้นสามัญของบริษัทย่อยจำ�นวน 3,080,050 หุ้น ในราคา 10.5 ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา ทำ�ให้บริษัทฯมีเงินลงทุนเพิ่มในบริษัทย่อยดังกล่าวเป็นจำ�นวน 361 ล้านบาท และมีสัดส่วนการลงทุนใน บริษัทย่อยเพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ 48.99 เป็นร้อยละ 73.99 ของทุนจดทะเบียนของบริษัทย่อย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554 บริษัทฯมียอดคงเหลือเจ้าหนี้จากการซื้อเงินลงทุนเพิ่มเติมจำ�นวนเงิน 1.8 ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา (คิดเป็นจำ�นวนเงิน 58 ล้าน บาท) มีกำ�หนดชำ�ระคืนโดยแบ่งชำ�ระตามสัญญาจนถึงเดือนพฤษภาคม 2555 เ มื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2553 ที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 1/2553 ได้มีมติอนุมัติการเข้าซื้อ หุ้นสามัญในบริษัท เดอะ ริเวอร์ จำ�กัด จากผู้ถือหุ้นส่วนน้อย จำ�นวน 1,848,005 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้ หุ้นละ 100 บาท ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 15 ของหุ้น ทั้งหมดในบริษัท เดอะ ริเวอร์ จำ�กัด ในราคาหุ้นละ 170.45 บาท รวมเป็นจำ�นวนเงิน 315 ล้านบาท ต่อมาเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2554 บริษัทฯได้ซื้อหุ้นดังกล่าวและจ่ายชำ�ระค่าหุ้นทั้งจำ�นวนในวันที่ 1 เมษายน 2554 ซึ่งทำ�ให้บริษัทฯมีสัดส่วนการลงทุนในบริษัท ย่อยดังกล่าวเพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ 73.99 เป็นร้อยละ 88.99 ของทุนจดทะเบียนของบริษัทย่อยดังกล่าว บ ริษัทฯได้บันทึกส่วนเกินซึ่งเกิดจากการซื้อเงินลงทุนในบริษัทย่อยเพิ่มเติมในราคาที่สูงกว่ามูลค่าตามบัญชีของบริษัทย่อย ณ วันที่ ซื้อจำ�นวนเงิน 321 ล้านบาท (2553: 243 ล้านบาท) ไว้ในส่วนของ ผู้ถือหุ้นภายใต้หัวข้อ “ส่วนเกินของเงินลงทุนในบริษัทย่อย ซึ่งเกิดจากการซื้อเงินลงทุนในบริษัทย่อยเพิ่มในราคาที่สูงกว่ามูลค่าตามบัญชีของบริษัทย่อย ณ วันที่ซื้อ” บริษัท ไรมอน แลนด์ เซอร์วิสเซส จำ�กัด เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2554 บริษัทฯได้ซื้อหุ้นในบริษัท ไรมอน แลนด์ เซอร์วิสเซส จำ�กัด จำ�นวน 4,997 หุ้น มูลค่าตราไว้หุ้น ละ 100 บาท รวมเป็นจำ�นวนเงิน 499,700 บาท โดยคิดเป็นร้อยละ 99.94 ของทุนจดทะเบียนของบริษัทดังกล่าว บริษทั ไรมอน แลนด์ เรสซิเด้นซ์ จำ�กัด และบริษทั ไรมอน แลนด์ ยูนกิ ซ์ จำ�กัด (เดิมชือ่ บริษทั เพลินจิต เรสซิเด้นซ์ จำ�กัด) เ มื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2553 ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ ครั้งที่ 5/2553 ได้มีมติอนุมัติให้บริษัทฯเจรจาซื้อหุ้นร้อยละ 49 ใน บริษัท ไรมอน แลนด์ เรสซิเด้นซ์ จำ�กัด ในราคา 1 บาท จาก IFA Raimon Land Residences Company Limited และซื้อ หุ้นร้อยละ 49 ในบริษัท ไรมอน แลนด์ ยูนิกซ์ จำ�กัด (บริษัทย่อยของบริษัท ไรมอน แลนด์ เรสซิเด้นซ์ จำ�กัด ซึ่งถือหุ้นในร้อย ละ 51) ในราคา 1 บาท จาก IFA Ploenchit Residences Company Limited เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2554 บริษัทฯได้ ทำ�สัญญาและดำ�เนินการซื้อหุ้นดังกล่าว ทำ�ให้บริษัทฯมีสัดส่วนการถือหุ้นในบริษัท ไรมอน แลนด์ เรสซิเด้นซ์ จำ�กัด เพิ่มขึ้นจาก ร้อยละ 51 เป็นร้อยละ 99.99 และถือหุ้นในบริษัท ไรมอน แลนด์ ยูนิกซ์ จำ�กัด ในสัดส่วนร้อยละ 49 และทำ�ให้บริษัท ไรมอน แลนด์ เรสซิเด้นซ์ จำ�กัดและบริษัทย่อย เปลี่ยนสถานะจากกิจการที่ควบคุมร่วมกันเป็นบริษัทย่อย และบริษัทฯได้รวมงบการเงินของ บริษัท ไรมอน แลนด์ เรสซิเด้นซ์ จำ�กัดและบริษัทย่อย ในการจัดทำ�งบการเงินรวมตั้งแต่วันที่ 31 พฤษภาคม 2554 นอกจากนี้ในวันที่ 31 พฤษภาคม 2554 บริษัทฯได้ตกลงทำ�สัญญารับโอนสิทธิเรียกร้องหนี้เงินกู้ยืมจากผู้ถือหุ้นและดอกเบี้ยค้าง ชำ�ระของบริษัท ไรมอน แลนด์ เรสซิเด้นซ์ จำ�กัด จำ�นวน 340 ล้านบาท จาก IFA Raimon Land Residences Company Limited โดยบริษัทฯได้จ่ายชำ�ระเงินจำ�นวน 1 บาทและรับโอนสิทธิเรียกร้องหนี้เงินกู้ยืมจากผู้ถือหุ้นและดอกเบี้ยค้างชำ�ระของบริษัท ไรมอน แลนด์ ยูนิกซ์ จำ�กัด จำ�นวน 669 ล้านบาท จาก IFA Ploenchit Residences Company Limited โดย บริษัทฯได้ จ่ายชำ�ระเงินจำ�นวน 1 บาท

รายงานประจำ�ปี 2554 95


งบการเงินรวม มูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์และหนี้สินที่ระบุได้ ณ วันที่ซื้อและเงินลงทุนในบริษัท ไรมอน แลนด์ เรสซิเด้นซ์ จำ�กัด และบริษัทย่อย ปรากฏดังนี้ เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่น เงินกู้ยืมระยะสั้นจากผู้ถือหุ้นและดอกเบี้ยค้างจ่าย หนี้สินหมุนเวียนอื่น รวมสินทรัพย์ (หนี้สิน) สุทธิ เงินสดจ่ายเพื่อซื้อเงินลงทุนและสิทธิเรียกร้องหนี้ บวก: เงินลงทุนในการร่วมค้า กระทบยอดเงินสดสุทธิ เงินสดจ่ายเพื่อซื้อเงินลงทุนและสิทธิเรียกร้องหนี้ หัก: เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดของกลุ่มบริษัท เงินสดรับในการซื้อเงินลงทุนในบริษัทย่อย

(หน่วย: พันบาท) 10,227 40,525 (379,197) (6,670) (335,115) (335,115) (335,115) (10,227) 10,227

บริษัท ไรมอน แลนด์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำ�กัด เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2554 ที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 1/2554 ได้มีมติอนุมัติการซื้อหุ้นในบริษัท ไรมอน แลนด์ ดีเวลลอป ร้อยละ 49 ของหุ้นทั้งหมดในบริษัท ไรมอน เม้นท์ จำ�กัด จำ�นวน 24.5 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท คิดเป็น แลนด์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำ�กัด จาก IFA Raimon Land Development Company Limited และซื้อเงินกู้ยืมที่ IFA Raimon Land Development Company Limited ให้แก่บริษัท ไรมอน แลนด์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำ�นวน 144 ล้านบาท และดอกเบี้ย ค้างชำ�ระจำ�นวน 55 ล้านบาท รวมเป็นหนี้เงินกู้และดอกเบี้ยทั้งสิ้นจำ�นวน 199 ล้านบาท (เป็นยอดค้างชำ�ระ ณ วันที่ 17 มีนาคม 2554) ในราคารวมทั้งสิ้น 280 ล้านบาท โดยการซื้อหุ้นดังกล่าวจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อ บริษัท ไรมอน แลนด์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำ�กัด ต้องดำ�เนินการขายโครงการของบริษัทไปแล้วไม่น้อยกว่าร้อยละ 40 ของมูลค่าขายของโครงการทั้งหมด ต่อมาเมื่อวันที่ 28 กันยายน 2554 บริษัทฯได้ทำ�สัญญาซื้อหุ้นร้อยละ 49 ในบริษัท ไรมอน แลนด์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำ�กัด และซื้อสิทธิในการเรียกร้องหนี้เงินกู้ยืมจาก IFA Raimon Land Development Company Limited จำ�นวน 144 ล้านบาท และดอกเบี้ยค้างชำ�ระ จำ�นวน 61 ล้านบาท บริษัทฯได้จา่ ยชำ�ระเงินซื้อเงินลงทุนและสิทธิในการเรียกร้องหนี้ดังกล่าวรวมเป็นจำ�นวน 280 ล้านบาท บริษัทฯมีสัดส่วนการถือหุ้นในบริษัทดังกล่าวเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 51 เป็นร้อยละ 99.99 ซึ่งได้เปลี่ยนสถานะจาก กิจการที่ควบคุมร่วมกันเป็นบริษัทย่อยและบริษัทฯได้รวมงบการเงินของบริษัท ไรมอน แลนด์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำ�กัดในการจัดทำ� งบการเงินรวมตั้งแต่วันที่ 28 กันยายน 2554 งบการเงินรวม มูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์และหนี้สินที่ระบุได้ ณ วันที่ซื้อและเงินลงทุนในบริษัท ไรมอน แลนด์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำ�กัด ปรากฏ ดังนี้ เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด ต้นทุนโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น อุปกรณ์ ที่ดินรอการพัฒนา 96 รายงานประจำ�ปี 2554

(หน่วย: พันบาท) 78,659 667,775 3,074 3,713 200,744


(หน่วย: พันบาท) 95,000 7,779 (14,561) (254,986) (186,800) (280,000) (10,923) (14,671) 294,803 280,000 14,803 294,803

สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอตัดบัญชี สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่น เจ้าหนี้การค้า เงินกู้ยืมระยะสั้นจากผู้ถือหุ้นและดอกเบี้ยค้างจ่าย เงินมัดจำ�และเงินรับล่วงหน้าจากลูกค้า เงินกู้ยืมระยะยาวจากสถาบันการเงิน หนี้สินภาษีเงินได้รอตัดบัญชี หนี้สินหมุนเวียนอื่น รวมสินทรัพย์สุทธิ เงินสดจ่ายเพื่อซื้อเงินลงทุนและสิทธิเรียกร้องหนี้ บวก: เงินลงทุนในการร่วมค้า กระทบยอดเงินสดสุทธิ เงินสดจ่ายเพื่อซื้อเงินลงทุนและสิทธิเรียกร้องหนี้ หัก: เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดของบริษัทย่อย เงินสดจ่ายสุทธิเพื่อซื้อเงินลงทุนในบริษัทย่อยและสิทธิเรียกร้องหนี้

280,000 (78,659) 201,341

12. เงินลงทุนในการร่วมค้า/สำ�รองเผื่อผลขาดทุนจากเงินลงทุนในการร่วมค้า 12.1 รายละเอียดของเงินลงทุนในการร่วมค้า เงินลงทุนในการร่วมค้านี้เป็นเงินลงทุนในกิจการซึ่งบริษัทฯและบริษัทในเครือ IFA Hotels & Resorts 3 Ltd. มีอำ�นาจควบคุมร่วม กันตามสัญญาข้อตกลงระหว่างผู้ถือหุ้น (Shareholder Agreements) มีรายละเอียดดังต่อไปนี้

กิจการ ที่ควบคุมร่วมกัน

ลักษณะธุรกิจ

จัดตั้งขึ้นใน ประเทศ

งบการเงินรวม

สัดส่วนเงิน ลงทุน ราคาทุน 2554 2553 2554 2553 ร้อยละ ร้อยละ

พัฒนา ไทย บริษัท ไรมอน แลนด์ อสังหาริมทรัพย์ เรสซิเด้นซ์ จำ�กัด และบริษัทย่อย บริษัท ไรมอน แลนด์ พัฒนา ไทย ดีเวลลอปเม้นท์ จำ�กัด อสังหาริมทรัพย์ รวม แสดงเป็น - เงินลงทุนในการร่วมค้า - สำ�รองเผื่อผลขาดทุนจากเงินลงทุนในการร่วมค้าแสดงเป็นรายการหักใน เงินให้กู้ยืมระยะยาวแก่กิจการที่ควบคุมร่วมกัน (หมายเหตุ 8)

(หน่วย: พันบาท) มูลค่าตามบัญชีตาม วิธีส่วนได้เสีย 2554 2553

-

51

-

5,099

- (335,115)

-

51

- 255,000 - 260,099

4,192 - (330,923) -

4,192

- (335,115)

รายงานประจำ�ปี 2554 97


(หน่วย: พันบาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ กิจการที่ควบคุม ร่วมกัน

ลักษณะธุรกิจ

จัดตั้ง ขึ้นใน ประเทศ

สัดส่วนเงินลงทุน 2554 ร้อยละ

บริษัท ไรมอน แลนด์ เรสซิเด้นซ์ จำ�กัด และบริษัทย่อย บริษัท ไรมอน แลนด์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำ�กัด รวม

พัฒนาอสังหา ริมทรัพย์

พัฒนาอสังหา ริมทรัพย์

2553 2554 ร้อยละ

ค่าเผื่อการด้อยค่า ของเงินลงทุน 2554 2553

ราคาทุน 2553

มูลค่าตามบัญชีตาม วิธีราคาทุน - สุทธิ 2554 2553

ไทย

-

51

-

5,099

-

(5,099)

-

-

-

51

-

255,000 260,099

-

(5,099)

- 255,000 - 255,000

ไทย

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554 บริษัท ไรมอน แลนด์ เรสซิเด้นซ์ จำ�กัดและบริษัทย่อย และบริษัท ไรมอน แลนด์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำ�กัด ได้เปลี่ยนสถานะจากกิจการที่ควบคุมร่วมกันเป็นบริษัทย่อยตามที่กล่าวในหมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ 11 ในปี 2553 บริษัทฯได้บันทึกค่าเผื่อผลขาดทุนจากเงินลงทุนในบริษัท ไรมอน แลนด์ เรสซิเด้นซ์ จำ�กัด ในงบการเงินเฉพาะกิจการ ทั้งจำ�นวน 12.2 ส่วนแบ่งกำ�ไร (ขาดทุน) ในระหว่างปี บริษัทฯรับรู้ส่วนแบ่งกำ�ไร (ขาดทุน) จากการลงทุนในการร่วมค้าในงบการเงินรวมดังนี้

กิจการที่ควบคุมร่วมกัน บริษัท ไรมอน แลนด์ เรสซิเด้นซ์ จำ�กัดและบริษัทย่อย บริษัท ไรมอน แลนด์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำ�กัด รวม

(หน่วย: พันบาท) งบการเงินรวม ส่วนแบ่งกำ�ไร (ขาดทุน) จากเงินลงทุน ในการร่วมค้าในระหว่างปี 2554 2553 (270,414) 10,611 (38,725) 10,611 (309,139)

12.3 ข้อมูลทางการเงินโดยสรุปของกิจการที่ควบคุมร่วมกัน ก) บริษัท ไรมอน แลนด์ เรสซิเด้นซ์ จำ�กัด และบริษัทย่อย (บริษัท ไรมอน แลนด์ ยูนิกซ์ จำ�กัด (เดิมชื่อ บริษัท เพลินจิต เรสซิเด้นซ์ จำ�กัด)) จำ�นวนรวมส่วนได้เสียในสินทรัพย์ หนี้สิน รายได้และค่าใช้จ่ายที่บริษัทฯมีอยู่ในบริษัท ไรมอน แลนด์ เรสซิเด้นซ์ จำ�กัด และ บริษัทย่อย โดยคิดตามสัดส่วนของการร่วมทุนเป็นดังนี้

98 รายงานประจำ�ปี 2554


สินทรัพย์หมุนเวียน หนี้สินหมุนเวียน สินทรัพย์สุทธิ

รายได้อื่น ค่าใช้จ่ายในการบริหาร ค่าใช้จ่ายทางการเงิน ขาดทุนสุทธิ

ณ วันที่ 31 2554 -

(หน่วย: พันบาท) ธันวาคม 2553 13,200 (348,315) (335,115)

สำ�หรับปีสิ้นสุดวันที่ 2554 -

(หน่วย: พันบาท) 31 ธันวาคม 2553 15,964 (236,654) (49,724) (270,414)

ในเดือนกรกฎาคม 2553 กิจการที่ควบคุมร่วมกันได้ขายที่ดินให้แก่บริษัทที่ไม่เกี่ยวข้องกันแห่งหนึ่ง โดยมีผลขาดทุนจาก การขายที่ดินดังกล่าว ทำ�ให้ในปี 2553 บริษัทฯต้องรับรู้ส่วนแบ่ง ผลขาดทุนจากการลงทุนในการร่วมค้าตามสัดส่วนการ ลงทุนของบริษัทฯจากรายการดังกล่าว ข) บริษัท ไรมอน แลนด์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำ�กัด จำ�นวนรวมส่วนได้เสียในสินทรัพย์ หนี้สิน รายได้และค่าใช้จา่ ยที่บริษัทฯมีอยู่ในบริษัท ไรมอน แลนด์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำ�กัด โดยคิดตามสัดส่วนของการร่วมทุนเป็นดังนี้

สินทรัพย์หมุนเวียน สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน หนี้สินหมุนเวียน หนี้สินไม่หมุนเวียน สินทรัพย์สุทธิ

รายได้อื่น ค่าใช้จ่ายในการขาย ค่าใช้จ่ายในการบริหาร ค่าใช้จ่ายทางการเงิน ภาษีเงินได้ กำ�ไร (ขาดทุน) สุทธิ

ณ วันที่ 31 2554 -

(หน่วย: พันบาท) ธันวาคม 2553 295,636 102,537 398,173 (24,439) (369,542) (393,981) 4,192

สำ�หรับปีสิ้นสุดวันที่ 2554 2,867 (34,412) (3,293) (3,001) 48,450 10,611

(หน่วย: พันบาท) 31 ธันวาคม 2553 5,978 (3,912) (6,810) (33,981) (38,725)

รายงานประจำ�ปี 2554 99


13. อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน มูลค่าตามบัญชีของอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554 และ 2553 แสดงได้ดังนี้

ราคาทุน หัก ค่าเสื่อมราคาสะสม มูลค่าตามบัญชี - สุทธิ

(หน่วย: พันบาท) งบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการ ที่ดินและอาคารสำ�นักงานให้เช่า 2554 2553 53,478 53,478 (15,402) (13,754) 38,076 39,724

การกระทบยอดมูลค่าตามบัญชีของอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนสำ�หรับปี 2554 และ 2553 แสดงได้ดังนี้

มูลค่าตามบัญชีต้นปี - หลังการปรับปรุง ซื้อสินทรัพย์ ค่าเสื่อมราคา มูลค่าตามบัญชีปลายปี

(หน่วย: พันบาท) งบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการ 2554 2553 39,724 41,368 (1,648) (1,644) 38,076 39,724

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554 และ 2553 มูลค่ายุติธรรมของอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน เป็นจำ�นวนเงิน 72 ล้านบาท ซึ่ง ประเมินโดยผู้ประเมินราคาอิสระโดยใช้เกณฑ์เปรียบเทียบกับข้อมูลตลาด (Market Approach) บริษัทฯได้นำ�อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนมูลค่าสุทธิตามบัญชี จำ�นวนประมาณ 38 ล้านบาท ไปจดจำ�นองเพื่อเป็นหลักประกันเงิน กู้ยืมระยะสั้นและเงินกู้ยืมระยะยาวจากสถาบันการเงินของบริษัทฯ

100 รายงานประจำ�ปี 2554


14. ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ (หน่วย: พันบาท)

ที่ดินและ ส่วนปรับปรุง ที่ดิน ราคาทุน 31 ธันวาคม 2552 33,960 ปรับปรุงผลกระทบจากการ เปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชี (20,572) 31 ธันวาคม 2552 (หลังการปรับปรุง) 13,388 ซื้อเพิ่ม จำ�หน่าย/ ตัดจำ�หน่าย 31 ธันวาคม 2553 13,388 ซื้อเพิ่ม จำ�หน่าย/ ตัดจำ�หน่าย อุปกรณ์ของบริษัทย่อย ณ วันซื้อกิจการ 31 ธันวาคม 2554 13,388 ค่าเสื่อมราคาสะสม 31 ธันวาคม 2552 ปรับปรุงผลกระทบจากการ เปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชี 31 ธันวาคม 2552 (หลังปรับปรุง) ค่าเสื่อมราคาสำ�หรับปี ค่าเสื่อมราคาของส่วนที่จำ�หน่าย/ ตัดจำ�หน่าย 31 ธันวาคม 2553 ค่าเสื่อมราคาสำ�หรับปี ค่าเสื่อมราคาของส่วนที่จำ�หน่าย/ ตัดจำ�หน่าย ค่าเสื่อมราคาของอุปกรณ์ของ บริษัทย่อย ณ วันซื้อกิจการ 31 ธันวาคม 2554 ค่าเผื่อการด้อยค่า 31 ธันวาคม 2553 13,288 31 ธันวาคม 2554 13,288 มูลค่าสุทธิตามบัญชี 31 ธันวาคม 2553 100 100 31 ธันวาคม 2554 ค่าเสื่อมราคาสำ�หรับปี 2553 (รวมอยู่ในค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารทั้งจำ�นวน) 2554 (รวมอยู่ในค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารทั้งจำ�นวน)

อาคาร และส่วน ปรับปรุง อาคาร

งบการเงินรวม เครือ่ งตกแต่ง อุปกรณ์ และติดตั้ง สำ�นักงาน ยานพาหนะ

รวม

79,849

58,356 19,672 30,340 222,177

(32,882) 46,967 41,402 88,369 (30,000) 58,369

(24) - (53,478) 58,356 19,648 30,340 168,699 7,242 1,803 - 50,447 (3,090) (497) (333) (3,920) 62,508 20,954 30,007 215,226 9,262 2,129 1,319 12,710 (2,859) (892) (6,005) (39,756) 3,924 1,314 2,750 7,988 72,835 23,505 28,071 196,168

29,053 (12,095) 16,958 782

29,680 12,178 13,337

84,248

(15) - (12,110) 29,680 12,163 13,337 72,138 10,587 2,884 5,215 19,468

17,740 15,201

(1,548) (264) (333) 38,719 14,801 18,219 11,867 2,724 5,213

(7,081)

(1,898)

25,860

1,783 751 1,741 4,275 50,471 17,457 19,168 112,956

4,907 4,907

-

65,722 27,602

23,789 22,364

(2,127) 89,479 35,005

(819) (6,005) (15,803)

-

-

18,195 18,195

6,153 11,788 107,552 6,048 8,903 65,017 19,468 35,005

รายงานประจำ�ปี 2554 101


(หน่วย: พันบาท)

ที่ดินและ ส่วนปรับปรุง ที่ดิน ราคาทุน 31 ธันวาคม 2552 33,960 ปรับปรุงผลกระทบจากการ เปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชี (20,572) 31 ธันวาคม 2552 (หลังการปรับปรุง) 13,388 ซื้อเพิ่ม จำ�หน่าย/ ตัดจำ�หน่าย 31 ธันวาคม 2553 33,960 ซื้อเพิ่ม จำ�หน่าย/ ตัดจำ�หน่าย 31 ธันวาคม 2554 13,388 ค่าเสื่อมราคาสะสม 31 ธันวาคม 2552 ปรับปรุงผลกระทบจากการ เปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชี 31 ธันวาคม 2552 (หลังการปรับปรุง) ค่าเสื่อมราคาสำ�หรับปี ค่าเสื่อมราคาของส่วนที่จำ�หน่าย/ ตัดจำ�หน่าย 31 ธันวาคม 2553 ค่าเสื่อมราคาสำ�หรับปี ค่าเสื่อมราคาของส่วนที่จำ�หน่าย/ ตัดจำ�หน่าย 31 ธันวาคม 2554 ค่าเผื่อการด้อยค่า 31 ธันวาคม 2553 13,288 31 ธันวาคม 2554 13,288 มูลค่าสุทธิตามบัญชี 31 ธันวาคม 2553 100 31 ธันวาคม 2554 100 ค่าเสื่อมราคาสำ�หรับปี 2553 (รวมอยู่ในค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารทั้งจำ�นวน) 2554 (รวมอยู่ในค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารทั้งจำ�นวน)

102 รายงานประจำ�ปี 2554

งบการเงินเฉพาะกิจการ อาคาร เครือ่ งตกแต่ง อุปกรณ์ ยานพาหนะ และติดตั้ง สำ�นักงาน และส่วน ปรับปรุง อาคาร

รวม

79,849

40,295 14,115 19,540 187,759

(32,882) 46,967 41,402 88,369 (30,000) 58,369

(24) - (53,478) 40,295 14,091 19,540 134,281 6,835 1,522 - 49,759 (3,089) (439) - (3,528) 44,041 15,174 19,540 180,512 9,621 2,170 - 11,791 (2,493) (892) (6,005) (39,390) 51,169 16,452 13,535 152,913

29,053

22,323

9,971

8,989

70,336

(12,095) 16,958 782

22,323 6,887

(15) 9,956 1,769

- (12,110) 8,989 58,226 3,122 12,560

17,740 15,201

(1,549) (217) 27,661 11,508 12,111 8,001 1,664 2,877

(1,766) 69,020 27,743

(7,081) 25,860

(1,627) (819) (6,005) (15,532) 34,035 12,353 8,983 81,231

4,907 4,907

-

-

-

18,195 18,195

65,722 27,602

16,380 17,134

3,666 4,099

7,429 4,552

93,297 53,487 12,560 27,743


ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554 บริษัทฯและบริษัทย่อยมีอุปกรณ์และยานพาหนะ จำ�นวนหนึ่งซึ่งตัดค่าเสื่อมราคาหมดแล้วแต่ยังใช้งาน อยู่ มูลค่าตามบัญชีก่อนหักค่าเสื่อมราคาสะสม ของสินทรัพย์ดังกล่าวมีจำ�นวนเงินประมาณ 41 ล้านบาท (งบการเงินเฉพาะกิจการ: 40 ล้านบาท) 15. ภาษีเงินได้ ค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้ของบริษัทฯและบริษัทย่อยสำ�หรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2554 และ 2553 ประกอบด้วยรายการดังต่อไปนี้ (หน่วย: พันบาท) งบการเงินรวม 2554 2553 (ปรับปรุงใหม่) ภาษีเงินได้ปัจจุบัน: ภาษีเงินได้นิติบุคคลสำ�หรับปี รายการปรับปรุงค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้นิติบุคคลของปีก่อน ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี: ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีจากการเกิดผลแตกต่างชั่วคราว และการกลับรายการผลแตกต่างชั่วคราว ผลกระทบต่อภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีจากการ เปลี่ยนแปลงอัตราภาษี ค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้ที่แสดงอยู่ในงบกำ�ไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2554 2553 (ปรับปรุงใหม่)

170,995 (6,462)

237,254 -

(9,293)

-

(234,122)

(216,468)

8,767

64,064

278,384 208,795

20,786

134,104 133,578

64,064

การกระทบยอดระหว่างจำ�นวนค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้กับผลคูณของกำ�ไรทางบัญชีกับอัตราภาษีที่ใช้สำ�หรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2554 และ 2553 แสดงได้ดังนี้ (หน่วย: พันบาท)

กำ�ไร (ขาดทุน) ทางบัญชีก่อนภาษีเงินได้นิติบุคคล อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล กำ�ไร (ขาดทุน) ทางบัญชีก่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลคูณ อัตราภาษี รายการปรับปรุงค่าใช้จา่ ยภาษีเงินได้นิติบุคคลของปีก่อน ผลกระทบต่อภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีจากการ เปลี่ยนแปลงอัตราภาษี ผลกระทบทางภาษีสำ�หรับ: การตัดรายการระหว่างกัน สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอตัดบัญชีที่ไม่รับรู้ในระหว่างปี - ผลขาดทุนทางภาษีของบริษัทย่อย - ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ ค่าใช้จา่ ยที่ไม่สามารถนำ�มาหักภาษีได้ รวม ค่าใช้จา่ ยภาษีเงินได้ที่แสดงอยู่ในงบกำ�ไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ

งบการเงินรวม 2554 2553 (ปรับปรุงใหม่) (271,526) 80,229 30% 30%

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2554 2553 (ปรับปรุงใหม่) (2,121) 178,148 30% 30%

(81,458) (6,462) 278,384

24,069 -

(636) (9,293) 134,104

53,444 -

(9,218)

(42,287)

-

-

12,107 8,339 7,103 18,331 208,795

26,025 7,692 5,287 (3,283) 20,786

8,339 1,064 9,403 133,578

7,692 2,928 10,620 64,064

รายงานประจำ�ปี 2554 103


ส่วนประกอบของสินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีและหนี้สินภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554 และ 2553 ประกอบด้วยรายการดังต่อไปนี้

สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอตัดบัญชี ขาดทุนที่สามารถนำ�ไปใช้หักกับกำ�ไรทางภาษีในอนาคต สำ�รองผลประโยชน์ระยะยาวของพนักงาน ค่าเผื่อการด้อยค่าของเงินลงทุน ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ เงินรับล่วงหน้าและต้นทุนโครงการจากการรับรู้รายได้ ทางบัญชีที่แตกต่างจากทางภาษี อื่นๆ รวมสินทรัพย์ภาษีเงินได้รอตัดบัญชี หนี้สินภาษีเงินได้รอตัดบัญชี ส่วนเกินมูลค่าต้นทุนโครงการ รวมหนี้สินภาษีเงินได้รอตัดบัญชี

งบการเงินรวม 2554 2553 (ปรับปรุงใหม่)

(หน่วย: พันบาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ 2554 2553 (ปรับปรุงใหม่)

95,517 2,820 23,020 135,723

107,641 3,213 34,530 198,541

19,372 2,820 23,020 135,723

107,641 3,213 34,530 198,541

793,004 1,050,084

704,497 1,530 1,049,952

87,274 268,209

56,332 1,530 401,787

172,022 172,022

220,998 220,998

-

-

ในเดือนตุลาคม 2554 คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ปรับลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลจากอัตราร้อยละ 30 เป็น ร้อยละ 23 ในปี 2555 และเป็นร้อยละ 20 ตั้งแต่ปี 2556 เป็นต้นไป และในเดือนธันวาคม 2554 ได้มีพระราชกฤษฎีกาประกาศลดอัตราภาษีเงิน ได้นิติบุคคลเพื่อให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวสำ�หรับปี 2555-2557 บริษัทฯและบริษัทย่อยได้สะท้อนผลกระทบของการ เปลี่ยนแปลงอัตราภาษีดังกล่าวในการคำ�นวณภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีตามที่แสดงไว้ข้างต้นแล้ว ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554 บริษัทฯและบริษัทย่อยไม่ได้บันทึกสินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีสำ�หรับรายการผลแตกต่าง ชั่วคราวที่ใช้หักภาษี และขาดทุนทางภาษีที่ยังไม่ได้ใช้ เป็นจำ�นวนเงิน 536ล้านบาท (งบการเงินเฉพาะกิจการ: 222 ล้านบาท) เนื่องจาก บริษัทฯพิจารณาแล้วเห็นว่าอาจไม่ได้ใช้รายการดังกล่าวเพื่อหักกับกำ�ไรทางภาษีในอนาคต บริษัทย่อยแห่งหนึ่งได้แบ่งชำ�ระภาษีเงินได้ค้างจ่ายสำ�หรับปี 2553 ไปจนถึงเดือนมกราคม 2556 และแบ่งชำ�ระภาษีเงินได้ค้างจ่าย สำ�หรับครึ่งปี 2554 ไปจนถึงเดือนมิถุนายน 2556 ซึ่งแสดงเป็น “เจ้าหนี้ภาษีเงินได้” ในงบแสดงฐานะการเงิน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554 และ 2553 16. เงินกู้ยืมระยะสั้นจากสถาบันการเงิน บริษัทฯมีเงินกู้ยืมระยะสั้นจากสถาบันการเงินจำ�นวน 30 ล้านบาท ซึ่งเงินกู้ยืมดังกล่าวมีอัตราดอกเบี้ยMLR บวกอัตราที่กำ�หนดใน สัญญา และหลักประกันคือการจดจำ�นองที่ดินและอาคารบางส่วนของบริษัทฯ โดยมีกำ�หนดชำ�ระคืนเงินกู้ยืมระยะสั้นในเดือนเมษายน 2555 17. เจ้าหนี้การค้าและเจ้าหนี้อื่น

เจ้าหนี้การค้า - กิจการที่ไม่เกี่ยวข้องกัน เจ้าหนี้อื่น - กิจการที่เกี่ยวข้องกัน เจ้าหนี้อื่น - กิจการที่ไม่เกี่ยวข้องกัน รวมเจ้าหนี้การค้าและเจ้าหนี้อื่น 104 รายงานประจำ�ปี 2554

งบการเงินรวม 2554 2553 798,808 661,846 30,547 456 151,861 40,795 981,216 703,097

(หน่วย: พันบาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ 2554 2553 278,513 279,222 41 365 150,656 40,795 429,210 320,382


รายงานประจำ�ปี 2554 105

ยอดคงเหลือ การชำ�ระคืน หลักประกันเงินกู้ยืม (ล้านบาท) งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะ กิจการ 2554 2553 2554 2553 1) วงเงินกู้ยืมจากธนาคารพาณิชย์แห่ง - 608 - 608 ชำ�ระคืนเมื่อมีการโอนหน่วยในอาคารชุดให้แก่ลูกค้าที่ซื้อ การจำ�นองหน่วยในอาคารชุดพักอาศัยในโครงการอาคาร ชุดของบริษัทฯ หนึ่ง วงเงิน 950 ล้านบาท โดยจะต้องชำ�ระคืนเงินต้นขั้นต่ำ�ตามที่ระบุในสัญญา ภายในระยะเวลา 3 ปี นับจากวันที่เบิกเงินกู้ครั้งแรก 2) วงเงินกู้ยืมจากธนาคารพาณิชย์แห่ง 223 - 223 - มีกำ�หนดชำ�ระคืนภายใน 2 ปี นับจากวันที่เบิกเงินกู้งวด การจำ�นองหน่วยในอาคารชุดพักอาศัยในโครงการอาคาร ชุดในโครงการแห่งหนึ่งของบริษัทฯ ที่ดินของบริษัทฯ หนึ่ง วงเงิน 417 ล้านบาท แรกหรือหลังจากมีการโอนหน่วยในอาคารชุดให้แก่ การโอนสิทธิการรับผลประโยชน์ในสัญญาจะซื้อจะขายใน ลูกค้าที่แล้วแต่อย่างใดจะถึงก่อน อาคารชุดพักอาศัยของโครงการ และการโอนสิทธิการ รับผลประโยชน์ในกรมธรรม์ประกันภัยของโครงการของ บริษัทฯให้แก่ผู้ให้กู้ 3) วงเงินกู้ยืมจากธนาคารพาณิชย์แห่ง 1,381 1,210 1,381 1,210 ชำ�ระคืนเมื่อมีการโอนหน่วยใน อาคารชุดให้แก่ลูกค้าที่ซื้อ การจำ�นองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างในโครงการอาคารชุด ของบริษัทฯและการโอนสิทธิการรับผลประโยชน์จากการ หนึ่ง วงเงิน 2,790 ล้านบาท หรือภายในระยะเวลา 4 ปีนับจากวันที่เบิกเงินกู้ครั้ง ค้ำ�ประกันผลงานตามสัญญาผู้รับเหมาหลักในโครงการ แรกแล้วแต่อย่างใดจะถึงก่อน และเงินฝากธนาคารเป็นจำ�นวนเงิน 25.1 ล้านบาทเป็น ประกัน 20 20 - มีกำ�หนดชำ�ระคืน 4 งวด งวดละ 5 ล้านบาท ภายใน การจำ�นองที่ดินและอาคารบางส่วนของบริษัทฯ 4) วงเงินกู้ยืมจากสถาบันการเงินแห่งหนึ่ง วงเงิน 20 ล้านบาท เดือนมีนาคม 2556

เงินกู้

เงินกู้ยืมระยะยาวเป็นเงินกู้ยืมที่มีหลักประกันซึ่งบริษัทฯและบริษัทย่อยได้รับจากสถาบันการเงินในประเทศ โดยมีรายละเอียดดังนี้

18. เงินกู้ยืมระยะยาวจากสถาบันการเงิน


106 รายงานประจำ�ปี 2554

รวม หัก: ส่วนที่ถึงกำ�หนดชำ�ระภายในหนึ่งปี เงินกู้ยืมระยะยาว สุทธิจากส่วนที่ถึงกำ�หนด ชำ�ระภายในหนึ่งปี

6) วงเงินกู้ยืมจากสถาบันการเงินแห่ง หนึ่ง วงเงิน 1,200 ล้านบาท

5) วงเงินกู้ยืมจากธนาคารพาณิชย์ใน ประเทศ 3 แห่ง วงเงิน 5,480 ล้านบาท (2553: 5,000 ล้านบาท)

เงินกู้

6,592 4,540 1,609 1,818

ยอดคงเหลือ การชำ�ระคืน หลักประกันเงินกู้ยืม (ล้านบาท) งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะ กิจการ 2554 2553 2554 2553 โดยผู้ถือหุ้นของบริษัท เดอะ ริเวอร์ จำ�กัด (ตาม 4,703 2,722 - มีกำ�หนดชำ�ระคืนภายในวันที่ 30 กันยายน 2556 หรือภายหลัง 12 เดือนนับจากวันที่ออกใบอนุญาต สัดส่วนการถือหุ้น) สิทธิการเช่า การโอนสิทธิการรับ เปิดใช้อาคารชุด หรือหลังจากมีการโอนหน่วยอาคาร ผลประโยชน์ในสัญญาจะซื้อจะขายในอาคารชุดพักอาศัย ของโครงการ และการโอนสิทธิการรับผลประโยชน์ ชุดให้แก่ลูกค้าที่ซื้อ แล้วแต่อย่างใดจะถึงก่อน ในกรมธรรม์ประกันภัยของโครงการของบริษัทย่อยให้ แก่ผู้ให้กู้ การจำ�นองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างในโครงการของบริษัท 280 - มีกำ�หนดชำ�ระคืนภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2558 หรือ ภายหลัง 9 เดือนนับจากวันที่ได้รับใบอนุญาต ย่อย จดจำ�นำ�ใบหุ้นของบริษัทย่อย การค้ำ�ประกันโดย ผู้ถือหุ้นของบริษัทย่อย การโอนสิทธิการรับเงินตาม ให้ใช้อาคารชุดในโครงการ แล้วแต่อย่างใดจะถึงก่อน สัญญาจะซื้อจะขายในอาคารชุดพักอาศัยของโครงการ และการโอนสิทธิการรับผลประโยชน์ในกรมธรรม์ประกัน ภัยของโครงการของบริษัทย่อยให้แก่ผู้ให้กู้ 6,607 4,540 1,624 1,818 (15) - (15) -


เงินกู้ยืมธนาคารดังกล่าวคิดดอกเบี้ยในอัตรา MLR ลบอัตราที่กำ�หนดในสัญญา ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554 บริษัทฯและบริษัทย่อยมีวงเงินกู้ยืมระยะยาวที่ยังไม่ได้เบิกใช้เป็นจำ�นวน 3,039 ล้านบาท (งบการ เงินเฉพาะกิจการ: 1,409 ล้านบาท) บริษัท ไรมอน แลนด์ จำ�กัด (มหาชน) เมื่อวันที่ 19 เมษายน 2554 บริษัทฯได้ทำ�สัญญาเงินกู้ยืมระยะยาวกับสถาบันการเงินในประเทศแห่งหนึ่งจำ�นวนเงิน 20 ล้านบาท เพื่อใช้ในเป็นเงินทุนหมุนเวียนของกิจการ เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2554 บริษัทฯได้ทำ�สัญญาเงินกู้ยืมระยะยาวกับธนาคารในประเทศแห่งหนึ่ง โดยกู้ยืมเงินเป็นจำ�นวน 417 ล้านบาท เพื่อจ่ายชำ�ระคืนเงินกู้ยืมระยะยาวจากธนาคารจำ�นวน 137 ล้านบาท และเพื่อจ่ายซื้อหุ้นและสิทธิเรียกร้องหนี้ในบริษัท ไรมอน แลนด์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำ�กัดจำ�นวน 280 ล้านบาท (หมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ 11) ภายใต้สัญญาเงินกู้ยืมของบริษัทฯ บริษัทฯต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขทางการเงินบางประการตามที่ระบุในสัญญา เช่น การดำ�รง อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้นให้เป็นไปตามสัญญา เป็นต้น บริษัท ตากสิน พร็อพเพอร์ตี้ส์ จำ�กัด (บริษัทย่อยของบริษัท เดอะ ริเวอร์ จำ�กัด) เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2554 บริษัท ตากสิน พร็อพเพอร์ตี้ จำ�กัด (บริษัทย่อย) ได้ทำ�สัญญาเงินกู้ยืมระยะยาวกับกลุ่มผู้ให้กู้ซึ่ง ประกอบด้วยธนาคารพาณิชย์ในประเทศ 3 แห่ง โดยเปลี่ยนวงเงินกู้ยืมจากจำ�นวน 5,000 ล้านบาท เป็นจำ�นวน 5,480 ล้านบาท โดยเพิ่มเงินกู้ยืมเพื่อใช้ในการก่อสร้างศูนย์การค้าภายในโครงการของบริษัทย่อย เป็นจำ�นวนเงิน 165 ล้านบาท และเพื่อให้บริษัท ไรมอน แลนด์ จำ�กัด (มหาชน) กู้ยืมเพื่อจ่ายซื้อหุ้นเพิ่มเติมในบริษัท เดอะ ริเวอร์ จำ�กัด เป็นจำ�นวนเงิน 315 ล้านบาท (หมายเหตุ ประกอบงบการเงินข้อ 8 และ 11) บริษัท ไรมอน แลนด์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำ�กัด เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2554 บริษัท ไรมอน แลนด์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำ�กัด (บริษัทย่อย) ได้ทำ�สัญญาเงินกู้ยืมระยะยาว กับธนาคารในประเทศแห่งหนึ่งโดยมีวงเงินกู้ยืมจำ�นวน 1,200 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นเงินกู้ยืมเพื่อจ่ายชำ�ระคืนเงินกู้ยืมระยะยาวจาก ธนาคารเป็นจำ�นวนเงิน 280 ล้านบาท และเพื่อใช้ในการพัฒนาโครงการแห่งหนึ่งของบริษัทย่อยเป็นจำ�นวนเงิน 920 ล้านบาท 19. เงินมัดจำ�และเงินรับล่วงหน้าจากลูกค้า ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554 บริษัทฯและบริษัทย่อยแห่งหนึ่งมีสัญญาขายหน่วยในอาคารชุดพักอาศัยกับผู้จะซื้อรายใหญ่ 2 ราย (ผู้ซื้อในประเทศ 1 ราย ผู้ซื้อต่างประเทศ 1 ราย) โดยมีมูลค่าสัญญารวมประมาณ 953 ล้านบาท (งบการเงินเฉพาะกิจการ: 342 ล้านบาท) และได้รับเงินมัดจำ�รวมเป็นจำ�นวนเงิน 228 ล้านบาท (งบการเงินเฉพาะกิจการ: 108 ล้านบาท) ซึ่งแสดงรวมอยู่ภายใต้ หัวข้อ “เงินมัดจำ�และเงินรับล่วงหน้าจากลูกค้า” ในงบแสดงฐานะการเงิน สัญญาดังกล่าวบริษัทฯผูกพันที่จะช่วยขายต่อแทนในราคาที่ ตกลงและมีทางเลือกให้กับผู้จะซื้อในการขายต่อหน่วยในอาคารชุดพักอาศัยดังกล่าวบางส่วนให้กับผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัทฯ

รายงานประจำ�ปี 2554 107


20. สำ�รองผลประโยชน์ระยะยาวของพนักงาน จ ำ�นวนเงินสำ�รองผลประโยชน์ระยะยาวของพนักงานซึ่งเป็นเงินชดเชยพนักงานเมื่อออกจากงาน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554 และ 2553 แสดงได้ดังนี้

ยอดคงเหลือต้นปี ต้นทุนบริการในปัจจุบัน ต้นทุนดอกเบี้ย ยอดคงเหลือปลายปี

(หน่วย: พันบาท) งบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการ 2554 2553 10,712 8,608 2,958 1,760 428 344 14,098 10,712

ค่าใช้จา่ ยเกี่ยวกับผลประโยชน์ระยะยาวของพนักงานรวมอยู่ในกำ�ไรหรือขาดทุนสำ�หรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2554 จำ�นวน 3 ล้านบาท (2553: 2 ล้านบาท) สมมติฐานที่สำ�คัญในการประมาณการตามหลักคณิตศาสตร์ประกันภัย ณ วันประเมินสรุปได้ดังนี้

อัตราคิดลด อัตราการขึ้นเงินเดือนในอนาคต

งบการเงินรวมและ งบการเงินเฉพาะกิจการ 2554 2553 (ร้อยละต่อปี) (ร้อยละต่อปี) 4 4 4 4

21. สำ�รองตามกฎหมาย ภายใต้บทบัญญัติของมาตรา 116 แห่งพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำ�กัด พ.ศ. 2535 บริษัทฯต้องจัดสรรกำ�ไรสุทธิประจำ�ปี ส่วนหนึ่งไว้เป็นทุนสำ�รองไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 ของกำ�ไรสุทธิประจำ�ปีหักด้วยยอดขาดทุนสะสมยกมา (ถ้ามี) จนกว่าทุนสำ�รองนี้จะมี จำ�นวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ของทุนจดทะเบียน สำ�รองตามกฎหมายดังกล่าวไม่สามารถนำ�ไปจ่ายเงินปันผลได้

108 รายงานประจำ�ปี 2554


22. ค่าใช้จา่ ยตามลักษณะ รายการค่าใช้จ่ายตามลักษณะประกอบด้วยรายการค่าใช้จ่ายที่สำ�คัญดังต่อไปนี้ (หน่วย: พันบาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ 2554 2553

งบการเงินรวม 2554 2553 ต้นทุนขายหน่วยในอาคารชุดพักอาศัย เงินเดือนและผลประโยชน์อื่นของพนักงาน ค่าตอบแทนผู้บริหาร ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำ�หน่าย ภาษีธุรกิจเฉพาะและค่าธรรมเนียมการโอน ค่าใช้จ่ายในการขายอื่น หนี้สงสัยจะสูญจากเงินให้กู้ยืมระยะสั้นแก่บริษัทย่อย หนี้สงสัยจะสูญจากเงินให้กู้ยืมระยะยาวแก่กิจการที่ ควบคุมร่วมกัน ค่าเผื่อผลขาดทุนจากเงินลงทุนในบริษัทย่อย ค่าเผื่อผลขาดทุนจากเงินลงทุนในการร่วมค้า ปรับลดดอกเบี้ยค้างรับจากเงินให้กู้ยืมแก่กิจการที่ ควบคุมร่วมกัน

(ปรับปรุงใหม่)

(ปรับปรุงใหม่)

818,879 2,314,016 86,438 77,952 53,677 39,589 40,971 25,422 46,383 99,559 142,035 145,157 -

818,879 2,314,016 89,438 77,952 53,677 39,589 30,377 15,180 46,383 95,513 78,523 86,262 11,724

-

-

-

335,116 100,000 5,099

-

93,909

-

93,909

23. กำ�ไรต่อหุ้น กำ�ไร (ขาดทุน) ต่อหุ้นขั้นพื้นฐานคำ�นวณโดยหารกำ�ไร (ขาดทุน) สำ�หรับปีที่เป็นของผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ (ไม่รวมกำ�ไรขาดทุน เบ็ดเสร็จอื่น) ด้วยจำ�นวนถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำ�หนักของหุ้นสามัญที่ออกอยู่ในระหว่างปี งบการเงินรวม 2554 2553 (ปรับปรุงใหม่)

กำ�ไร (ขาดทุน) ส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้น ของบริษัทฯ (พันบาท) (474,306) จำ�นวนหุ้นสามัญถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำ�หนัก (หุ้น) 3,250,385,569 กำ�ไร (ขาดทุน) ต่อหุ้น (บาท/หุ้น) (0.15)

63,625 3,250,385,569 0.02

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2554 2553 (ปรับปรุงใหม่) (135,699) 114,084 3,250,385,569 3,250,385,569 (0.04) 0.04

24. กองทุนสำ�รองเลี้ยงชีพ บริษัทฯและพนักงานบริษัทฯได้ร่วมกันจัดตั้งกองทุนสำ�รองเลี้ยงชีพตามพระราชบัญญัติกองทุนสำ�รองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530 ซึ่ง ประกอบด้วยเงินที่พนักงานจ่ายสะสมเป็นรายเดือนในอัตราร้อยละ 3 หรืออัตราร้อยละ 5 ของเงินเดือนพนักงานและเงินที่บริษัทฯ จ่ายสมทบให้ในอัตราร้อยละ 5 กองทุนสำ�รองเลี้ยงชีพนี้บริหารโดยบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กสิกรไทย จำ�กัด และจะจ่ายให้ แก่พนักงานในกรณีที่ออกจากงานตามระเบียบว่าด้วยกองทุนของบริษัทฯ ในระหว่างปี 2554 บริษัทฯได้จา่ ยเงินสมทบกองทุนเป็น จำ�นวนเงิน 4 ล้านบาท (2553: 4 ล้านบาท)

รายงานประจำ�ปี 2554 109


25. ภาระผูกพันและหนี้สินที่อาจเกิดขึ้น 25.1 ภาระผูกพันเกี่ยวกับรายจ่ายฝ่ายทุน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554 บริษัทฯและบริษัทย่อยมีรายจ่ายฝ่ายทุนที่เกี่ยวข้องกับทำ�สัญญาออกแบบและก่อสร้างโครงการเป็น จำ�นวนเงิน 3,461 ล้านบาท (งบการเงินเฉพาะกิจการ: 2,132 ล้านบาท) 25.2 ภาระผูกพันเกี่ยวกับสัญญาให้บริการระยะยาว บริษัทฯและบริษัทย่อยแห่งหนึ่งมีภาระผูกพันตามสัญญาตัวแทนจำ�หน่าย (Sole Agency Agreement) ซึ่งมีคา่ ธรรมเนียมต้องจ่าย ตามสัญญาในอัตราร้อยละ 1 ถึง 4 ของมูลค่าขายหน่วยในอาคารชุดของโครงการ 26. การเสนอข้อมูลทางการเงินจำ�แนกตามส่วนงาน บริษัทฯและบริษัทย่อยดำ�เนินกิจการในส่วนงานหลักทางธุรกิจเดียวคือธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และดำ�เนินธุรกิจในส่วนงานหลักทาง ภูมิศาสตร์เดียวคือในประเทศไทย ดังนั้น รายได้ กำ�ไร (ขาดทุน) และ สินทรัพย์ทั้งหมดที่แสดงในงบการเงินจึงเกี่ยวข้องกับส่วนงาน ทางธุรกิจและส่วนงานทางภูมิศาสตร์ตามที่กล่าวไว้ 27. เครื่องมือทางการเงิน 27.1 นโยบายการบริหารความเสี่ยง เครื่องมือทางการเงินที่สำ�คัญของบริษัทฯและบริษัทย่อยตามที่นิยามอยู่ในมาตรฐานการบัญชีฉบับที่107 “การแสดงรายการและการ เปิดเผยข้อมูลสำ�หรับเครื่องมือทางการเงิน” ประกอบด้วยเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด เงินฝากธนาคารที่มีภาระผูกพัน ลูกหนี้ อื่น เงินให้กู้ยืม เงินลงทุน เจ้าหนี้การค้าและเจ้าหนี้อื่น เจ้าหนี้จากการซื้อเงินลงทุนในบริษัทย่อย เงินกู้ยืมระยะสั้น และเงินกู้ยืมระยะยาว บริษัทฯและบริษัทย่อยมีความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับเครื่องมือทางการเงินดังกล่าว และมีนโยบายการบริหารความเสี่ยงดังนี้ ความเสี่ยงด้านสินเชื่อ บริษัทฯและบริษัทย่อยมีความเสี่ยงด้านการให้สินเชื่อที่เกี่ยวเนื่องกับลูกหนี้อื่นกิจการที่เกี่ยวข้องกัน และเงินให้กู้ยืม ฝ่ายบริหาร ควบคุมความเสี่ยงนี้โดยการกำ�หนดให้มีนโยบายและวิธีการในการควบคุมสินเชื่อที่เหมาะสม ดังนั้นบริษัทฯและบริษัทย่อยจึงไม่คาดว่าจะ ได้รับความเสียหายที่เป็นสาระสำ�คัญจากการให้สินเชื่อ นอกจากนี้การให้สินเชื่อที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของบริษัทฯและ บริษัทย่อยไม่มีการกระจุกตัวเนื่องจากบริษัทฯและบริษัทย่อยมีฐานของลูกค้าที่หลากหลายและมีอยู่จำ�นวนมากราย จำ�นวนเงินสูงสุด ที่บริษัทฯและบริษัทย่อยอาจต้องสูญเสียจากการให้สินเชื่อคือมูลค่าตามบัญชีของลูกหนี้อื่นกิจการที่เกี่ยวข้องกันและเงินให้กู้ยืมที่ แสดงอยู่ในงบแสดงฐานะการเงิน ความเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ย บริษัทฯและบริษัทย่อยมีความเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ยที่สำ�คัญอันเกี่ยวเนื่องกับเงินฝากสถาบันการเงิน ลูกหนี้อื่นกิจการที่เกี่ยวข้อง กัน เงินให้กู้ยืม เจ้าหนี้การค้าและเจ้าหนี้อื่น เจ้าหนี้จากการซื้อเงินลงทุนในบริษัทย่อย เงินกู้ยืมระยะสั้น และเงินกู้ยืมระยะยาว อย่างไร ก็ตาม เนื่องจากสินทรัพย์และหนี้สินทางการเงินส่วนใหญ่มีอัตราดอกเบี้ยที่ปรับขึ้นลงตามอัตราตลาด หรือมีอัตราดอกเบี้ยคงที่ซึ่ง ใกล้เคียงกับอัตราตลาดในปัจจุบัน ความเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ยของบริษัทฯจึงอยู่ในระดับต่ำ� ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554 สินทรัพย์และหนี้สินทางการเงินที่สำ�คัญสามารถจัดตามประเภทอัตราดอกเบี้ย และสำ�หรับสินทรัพย์ และหนี้สินทางการเงินที่มีอัตราดอกเบี้ยคงที่สามารถแยกตามวันที่ครบกำ�หนด หรือ วันที่มีการกำ�หนดอัตราดอกเบี้ยใหม่ (หากวันที่ มีการกำ�หนดอัตราดอกเบี้ยใหม่ถึงก่อน) ได้ดังนี้

110 รายงานประจำ�ปี 2554


(หน่วย: ล้านบาท)

งบการเงินรวม

อัตราดอกเบี้ยคงที่ อัตรา มากกว่า ไม่มี ภายใน 1 ถึง มากกว่า ดอกเบี้ย 5 ปี ปรับขึ้นลง อัตราดอกเบี้ย รวม 1 ปี 5 ปี ตามราค ตลาด สินทรัพย์ทางการเงิน เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด เงินฝากธนาคารที่มีภาระผูกพัน หนี้สินทางการเงิน เงินกู้ยืมระยะสั้นจากสถาบันการเงิน เจ้าหนี้การค้าและเจ้าหนี้อื่น เจ้าหนี้จากการซื้อเงินลงทุนในบริษัทย่อย เงินกู้ยืมระยะยาวจากสถาบันการเงิน

-

-

-

659 25 684

-

-

-

30 6,607 6,637

3 3

0.50 - 1.25 0.75

30 981 981 58 58 - 6,607 1,039 7,676

อ้างอิง MLR อ้างอิง MLR

อัตราดอกเบี้ยคงที่ อัตรา มากกว่า ไม่มี ภายใน 1 ถึง มากกว่า ดอกเบี้ย 1 ปี 5 ปี 5 ปี ปรับขึ้นลง อัตรา ตามราค ดอกเบี้ย ตลาด

หนี้สินทางการเงิน เงินกู้ยืมระยะสั้นจากสถาบันการเงิน เจ้าหนี้การค้าและเจ้าหนี้อื่น เจ้าหนี้จากการซื้อเงินลงทุนในบริษัทย่อย เงินกู้ยืมระยะสั้นจากกิจการที่เกี่ยวข้องกัน เงินกู้ยืมระยะยาวจากสถาบันการเงิน

(ร้อยละต่อปี)

662 25 687

(หน่วย: ล้านบาท)

งบการเงินเฉพาะกิจการ

สินทรัพย์ทางการเงิน เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด เงินฝากธนาคารที่มีภาระผูกพัน ลูกหนี้อื่นกิจการที่เกี่ยวข้องกัน เงินให้กู้ยืมระยะสั้นแก่กิจการที่เกี่ยวข้องกัน และดอกเบี้ยค้างรับ

อัตราดอกเบี้ย ที่แท้จริง

รวม

อัตราดอกเบี้ย ที่แท้จริง (ร้อยละต่อปี)

-

-

-

437 25 -

1 336

438 25 336

0.50 - 0.75 0.75 -

317 317

-

-

462

122 439 458 1,238

3.50, 10.00

183

-

-

30 315

429 58 70

183

-

-

1,624 1,969

30 429 58 568

- 1,624 557 2,709

อ้างอิง MLR MLR-0.75 และ 5.00 อ้างอิง MLR รายงานประจำ�ปี 2554 111


ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน บริษัทฯมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนที่สำ�คัญอันเกี่ยวเนื่องจากเจ้าหนี้จากการซื้อเงินลงทุนในบริษัทย่อยเป็นเงินตราต่างประเทศ บริษัทฯได้พิจารณาใช้นโยบายที่จะทำ�สัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าเป็นครั้งคราว เพื่อลดความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ที่อาจเกิดขึ้น บริษัทฯและบริษัทย่อยไม่มีสัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าคงเหลือ ณ วันที่ในงบแสดงฐานะการเงิน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554 บริษัทฯมียอดคงเหลือของหนี้สินทางการเงินที่เป็นสกุลเงินตราต่างประเทศเป็นจำ�นวน 1.8 ล้าน เหรียญสหรัฐอเมริกา 27.2 มูลค่ายุติธรรมของเครื่องมือทางการเงิน เนื่องจากเครื่องมือทางการเงินส่วนใหญ่ของบริษัทฯจัดอยู่ในประเภทระยะสั้น เงินให้กู้ยืมและเงินกู้ยืมมีอัตราดอกเบี้ยใกล้เคียงกับ อัตราดอกเบี้ยในตลาด บริษัทฯจึงประมาณมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์และหนี้สินทางการเงินใกล้เคียงกับมูลค่าตามบัญชีที่แสดงใน งบแสดงฐานะการเงิน มูลค่ายุติธรรม หมายถึง จำ�นวนเงินที่ผู้ซื้อและผู้ขายตกลงแลกเปลี่ยนสินทรัพย์กันหรือจ่ายชำ�ระหนี้สินในขณะที่ทั้งสองฝ่ายมีความ รอบรู้ และเต็มใจในการแลกเปลี่ยนและสามารถต่อรองราคากันได้อย่างเป็นอิสระในลักษณะที่ไม่มีความเกี่ยวข้องกัน วิธีการกำ�หนด มูลค่ายุติธรรมขึ้นอยู่กับลักษณะของเครื่องมือทางการเงิน มูลค่ายุติธรรมจะกำ�หนดจากราคาตลาดล่าสุด หรือกำ�หนดขึ้นโดยใช้ เกณฑ์การวัดมูลค่าที่เหมาะสม 28. การบริหารจัดการทุน วัตถุประสงค์ในการบริหารจัดการทุนที่สำ�คัญของบริษัทฯคือการจัดให้มีซึ่งโครงสร้างทุนที่เหมาะสมเพื่อสนับสนุนการดำ�เนินธุรกิจขอ งบริษัทฯ และเสริมสร้างมูลค่าการถือหุ้นให้กับผู้ถือหุ้น 29. การจัดประเภทรายการในงบการเงิน เพื่อให้สอดคล้องกับข้อกำ�หนดในประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้าเกี่ยวกับการจัดประเภทรายการในงบการเงินตามที่กล่าวไว้ใน หมายเหตุ 2 และผลจากการนำ�มาตรฐานการบัญชีฉบับใหม่และฉบับปรับปรุงมาถือปฏิบัติตามที่กล่าวในหมายเหตุ 3 บริษัทฯได้จัด ประเภทรายการบัญชีบางรายการในงบการเงินสำ�หรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2553 ใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับการจัดประเภท รายการบัญชีในปีปัจจุบัน โดยไม่มีผลกระทบต่อกำ�ไรหรือส่วนของผู้ถือหุ้นตามที่ได้รายงานไว้ 30. การอนุมัติงบการเงิน งบการเงินนี้ได้รับอนุมัติให้ออกโดยคณะกรรมการบริษัทฯเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2555

112 รายงานประจำ�ปี 2554


รายงานประจำ�ปี 2554 113


บริษัท ไรมอน แลนด์ จำ�กัด (มหาชน) ชั้น 22, 2201-3 อาคารเดอะมิลเลเนีย ทาวเวอร์ 62 ถนนหลังสวน, ลุมพินี, ปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330 ประเทศไทย โทร: 02 651-9601 โทรสาร: 02 651-9614 อีเมล์: info@raimonland.com www.raimonland.com

114 รายงานประจำ�ปี 2554


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.