โครงการส่วนบุคคล Final Project Kanchanaburi Sweet Corn (Steamed Custard Corn)
เสนอ ผู้ช่วยศาสตร์ตราจารย์ ประชิด ทิณบุตร
จัดทาโดย นางสาว รัชนก ผลอินทร์ รหัส5011306585 กลุ่มเรียน 103
วิชา การออกแบบกราฟิกบนบรรจุภัณฑ์ รหัส ARTI3314 ภาคเรียนที1่ ปีการศึกษา 2554
คานา โครงการนีเ้ ป็นส่วนหนึง่ ของวิชา การออกแบบกราฟิกบนบรรจุภณ ั ฑ์ รหัสวิชา ARTI3314 ซึ่งในโครงการ นี้เป็นโครงการส่วนบุคคล ชิ้นสุดท้ายในรายวิชานี้ จัดทาขึ้นเพื่อนสรุปผลของโครงการ และใช้ประกอบการ เรียน และการนาเสนอโครงการในชั้นเรียน โดยผูศ้ กึ ษาโครงการ ต้องการให้เกิดประโยชน์สงู สุดแก่โครงการนี้ โดยเรียบเรียงเนื้อหาให้เกิดความ เข้าใจ ตามหลักการ 3ส คือ ส. 1 สืบค้น ( Research) ส.2 สมมติฐาน ( Resume) และ ส.3 การสรุปผลการ ออกแบบ (Result) จัดทาขึ้นบน Google Document และ Google Presentation เพื่อให้รุ่นต่อๆไปได้ศึกษาได ง่ายสะดวกในการเปิดอ่านและตรวจงาน ในส่วนของรายงานชิ้นนี้ ผู้ศกึ ษาได้ตง้ั ใจและเรียบเรียงเนื้อหาให้เกิดความเช้าใจและประโยชน์มากทีส่ ดุ หากมีข้อผิดพลาดประการใด ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยค่ะ
ด้วยความเคารพ นางสาว รัชนก ผลอินทร์
Name นางสาว รัชนก ผลอินทร์ ID5011306585 Group103 Email ratchanok.ponin@gmail.com Blog http://ratchanok-arti3314.blogspot.com การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ ข้าวโพดหวานแปรรูป จังหวัดกาญจนบุรี โครงการออกแบบส่วนบุคคล สังขยาข้าวโพด Final Project : Steamed Custard Corn ส.1 สืบค้น (Research) ข้าวโพดหวานอยู่ในตระกูล Gramineae ซึ่ง เป็นตระกูลเดียวกับหญ้าหรือข้าว มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Zeamays Line var. rugasa หรือ saccharata ข้าวโพดหวาน มีคุณประโยชน์มากมาย นอก จากจะใช้รับประทานเป็นผัก สดแล้ว ยังสามารถนาไปแปรรูปได้หลาย รูปแบบ เช่น ข้าวโพดหวาน บรรจุกระป๋องทั้งฝัก หรือบรรจุกระป๋องเฉพาะเมล็ด ทา ครีมข้าวโพดหวาน ข้าวโพดแช่แข็ง ซึ่ง ผลิตภัณฑ์ ต่างๆ เหล่านี้ สามารถส่งไปจาหน่ายยังตลาดต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่น เกาหลี จีน และ กลุ่มแถบยุโรป ข้าวโพดเป็นธัญพืชที่สาคัญมากพืชหนึ่ง ผลผลิตประมาณครึ่งหนึ่งใช้เป็นอาหาร มนุษย์ นอกจากนั้นใช้ เป็นอาหารเลี้ยงสัตว์และอื่นๆ ข้าวโพดมีถิ่นกาเนิดในแถบบริเวณประเทศ ตะวันตก และเป็นที่ นิยมบริโภคกันแถบประเทศทวีป อเมริกากลาง และใต้ สาหรับประเทศไทย ข้าวโพดเป็นที่รู้จัก และ นิยมบริโภคในรูปอาหารว่างระหว่างมื้ออาหารมาช้านานแล้ว และยังมี การปลูกข้าวโพดเพื่อการเลี้ยง สัตว์กันมาก จนถึงปัจจุบันข้าวโพดนับเป็นพืชเศรษฐกิจที่สาคัญ ของประเทศอีกด้วย การจาแนกชนิดข้าวโพด (ที่มาhttp://th.wikipedia.org/wiki ) ข้าวโพดไร่หรือข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เป็นชนิดที่ปลูกเพื่อการส่งออกเป็นอาหารเลี้ยงสัตว์ 1.ข้าวโพดรับประทานฝักสด 2.ข้าวโพดเทียน มีขนาดต้นเล็ก ฝักเล็กเรียว เมล็ดมนกลม สีเหลืองอ่อน มีรสชาติหวานอร่อย 3.ข้าวโพดข้าวเหนียว (Glutinous Corn) มีฝักและเมล็ดใหญ่กว่าข้าวโพดเทียน เมล็ดสีขาว ฝักสดเมื่อต้มรับประทานจะมี ลักษณะเหนียวมัน คล้ายข้าวเหนียวเพราะมีอะไมโลเปคตินมาก (อยู่ในรูปของแป้ง) เมื่อเมล็ดข้าวโพดแก่และแห้งแล้วนิยม นาไปบริโภคในรูปข้าวโพดคั่ว 4.ข้าวโพดหวาน (Sweet Corn) ข้าวโพดชนิดนี้ เมื่อสดจะมีรสหวานอร่อยเนื่องจากมีน้าตาล กลูโคสมาก (อยู่ในรูปของแป้ง) เมื่อแก่ฝักจะแห้งและเมล็ดเหี่ยวย่น 5.ข้าวโพดฝักอ่อน (Baby Corn) เป็นพืชที่มีอายุการเก็บเกี่ยวสั้น นับตั้งแต่ปลูกจนถึงเก็บ เกี่ยวฝักอ่อน ใช้เวลาเพียง 60-75 วัน เท่านั้น สามารถปลูกได้ตลอดปี นิยมนามาบรรจุกระป๋อง หรือขายเป็นฝักสด 6.ปอปคอร์น ( Pop Corn) ข้าวโพดชนิดนี้มีคุณสมบัติแตกฟูได้ดี เมื่อถูกความร้อนอาจเป็น เพราะเอนโดสเปอร์มหรือส่วน เนื้อในของเมล็ดไม่มีเยื่อหุ้มเมล็ด ( seedcoat) นิยมบริโภคในรูป ข้าวโพดคั่ว โดยนาเมล็ดที่แก่แห้งแล้วมาคั่วข้าวโพดชนิดนี้ ส่วนใหญ่ต้องนาเข้าจากต่างประเทศ
ประโยชน์ในด้านอื่นๆ ข้าวโพดสามารถส่งเสริมการย่อยสลายพีเอเอชที่ปนเปื้อนในดิน เช่น ฟีแนนทรีน ไพรีน ได้โดย ย่อยสลายได้ 90% ความเข้มข้น เริ่มต้น 100 mg/kg และทนทานต่อดินที่ปนเปื้อน น้ามันเครื่อง จึงมีประโยชน์ต่อการนาไปใช้ฟื้นฟูดินที่ปนเปื้อนพีเอเอชและ ปิโตรเลียม ศึกษาและสารวจผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์
ที่มาของภาพ โดย น.ส.รัชนกผลอินทร์ 1. บรรจุภัณฑ์กระป๋อง บรรจุภัณฑ์ข้าวโพดหวานทั้งชนิดเม็ด และชนิดครีมหรือซุปจะอยู่ในรูปแบบกระป๋อง เนื่องจาก ความสะดวกสบายและ รวดเร็วในการบริโภคปรุงอาหาร ตัวอย่างจากภาพที่ได้ สารวจมา ดังนี้ ชนิดของบรรจุภัณฑ์ - กระป๋องอลูมิเนียม ระบบการพิมพ์ - Offset Printed สีที่ใช้ - เหลือง เขียว ขาว แดง การออกแบบ - ใช้ภาพข้าวโพดสื่อว่าสินค้านั้นชนิดคืออะไร โดยใช้สีของข้าวโพดและภาพ ประกอบ เพื่อให้น่ารับประทาน ตราสัญลักษณ์ชัดเจนด้วยสีแดง เพื่อให้เด่นชัดขึ้นมา ข้อดี - มีราคาถูก ประหยัดต้นทุนในการผลิต มีความแข็งแรงทนทาน อุณหภูมิและเวลาในการต้มฆ่าเชื้อสาหรับอาหารที่บรรจุในกระป๋องพลาสติกต้องควบคุมอย่างระมัดระวังมากกว่าการบรรจุ ในกระป๋องโลหะ ข้อเสีย - กระป๋องมีลักษณะทึบ จึงไม่สามารถมองเห็นสินค้าที่บรรจุไว้ด้านใน และจากภาพ กระป๋องชารุดระหว่างการ ขนส่ง โดยมีรอยบุบบี้ ทาให้สินค้านั้นๆเสียเปล่า นาไปขายต่อไม่ได้ ทาให้ขาดทุนและผู้บริโภคไม่ไว้วางใจในสินค้าอีก เมื่อ เปิดแล้วต้องรับประทานให้หมด เนื่อง จากไม่มีฝาปิด หลังจากได้เปิดฝากระป๋องออกไปแล้ว บรรจุภัณฑ์กระป๋อง อลูมิเนียม (ที่มา http://www.mew6.com/composer/package) ในปัจจุบันนี้อาหารและเครื่องดื่มบรรจุกระป๋องได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจาวันอย่างกว้างขวาง เนื่องจากความ สะดวกสบายรวดเร็วในการบริโภคปรุงอาหาร อย่างไรก็ดียังมีผู้เข้า ใจ ว่ากระป๋องเครื่องดื่มผลิตจากสังกะสี และการ บริโภค เครื่องดื่มจากกระป๋องดังกล่าว นอก จากจะเสี่ยงอันตรายจากกระป๋องบาดแล้ว ยังมีโอกาสจะได้รับสารตะกั่วเข้า สู่ร่างกาย
อีกด้วย เพื่อขจัดความรู้สึก วิตกกังวลมากเกินไป จนไม่กล้าบริโภคอาหารกระป๋องต่อไป ผู้บริโภคจึง ควรทราบ ถึงวัสดุและ กระบวนการผลิต กระป๋องอย่างย่อๆ ดังต่อไปนี้วัสดุหลักที่สาคัญคือ แผ่นโลหะ ชนิดต่างๆ ได้แก่ 1. แผ่นเหล็ก เคลือบดีบุก (tinplate) เป็นแผ่นเหล็กดา (black– plate) ที่มีความหนา ระหว่าง 0.15–0.5 มิลลิเมตร นา มาเคลือบผิวหน้า เดียวหรือทั้งสองหน้าด้วยดีบุก เพื่อให้ทน ทานต่อการผุกร่อน และ ไม่เป็นพิษ 2. แผ่นเหล็กไม่เคลือบดีบุก (tin free steel, TFS) เป็นแผ่นเหล็กดาที่นามาเคลือบด้วย สารอื่นแทนดีบุกเพื่อลดต้นทุน การผลิต ในปัจจุบันมีการเคลือบอยู่ 3 แบบคือ -เคลือบด้วยสารผสมฟอสเฟตและโครเมต เป็นฟิล์มบางๆ ใช้ทากระป๋องบรรจุเบียร์ น้าผลไม้ที่ มีรสเปรี้ยว และทาถังโลหะ -เคลือบด้วยอะลูมิเนียม มีความทนทานต่อการกัดกร่อน แต่ไม่สามารถ ใช้กับอาหารที่มีความเป็นกรดหรือด่างสูง -เคลือบด้วยโครเมียมและโครเมียมออกไซด์ เพื่อให้สามารถป้องกันการกัดกร่อนได้ดี นิยม ใช้ทากระป๋องบรรจุอาหารทะเล นมข้นหวาน เป็นต้น 3. อะลูมิเนียมและโลหะผสมของอะลูมิเนียม มีคุณสมบัติเด่นคือ น้าหนักเบา ทนทาน ต่อการกัดกร่อนสูง นิยมใช้ทา กระป๋อง 2 ชิ้น ( 2piece can) สาหรับบรรจุน้าอัดลมและเบียร์ กระป๋องฉีดพ่น ( aerosol) สาหรับบรรจุสเปรย์ฉีดผม หรือ เครื่องสาอางต่างๆ และฝาชนิดที่มี ห่วง เพื่อให้เปิดง่าย เช่น ฝากระป๋องน้าอัดลมหรือขวดน้าดื่มนอกจากวัตถุดิบหลัก ดังกล่าว แล้ว ในกรณีที่ต้องการบรรจุอาหารหรือเครื่องดื่มที่กัดกร่อนสูง เพื่อป้องกันการเกิดปฏิกิริยา ทางเคมีระหว่างโลหะ และ อาหาร อันส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสีและรสชาติของ อาหาร หรือกระป๋องเกิดกัดกร่อนได้ กระป๋องจะต้องถูก เคลือบแล็กเกอร์ก่อนการใช้งาน อย่างไรก็ ตาม เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค วัตถุดิบทั้งสองชนิดจะต้องเลือกใช้ชั้น คุณภาพที่สัมผัส อาหารได้ โดยปลอดภัยและมีคุณภาพได้มาตรฐานตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสา หรับแผ่น เหล็กเคลือบสังกะสีหรือแผ่นเหล็กกัลวาไนซ์ (galvanized plate) ที่เรานิยมเรียก กันทั่วไปว่า “แผ่นสังกะสี” นั้นจะไม่ใช้ทา กระป๋อง บรรจุอาหารอย่างเด็ดขาด เพราะมีโลหะ หนัก พวกสังกะสีและตะกั่ว ซึ่งเป็นพิษต่อร่างกายแต่ใช้กระป๋องและถัง บรรจุผลิตภัณฑ์ ที่ ไม่ใช่ อาหารได้ดี เนื่องจากมีราคาถูกกว่าแผ่นเหล็กเคลือบดีบุก กระบวนการผลิตกระป๋องแบ่งตามชนิดกระป๋องออก ดังนี้คือ 1. กระป๋อง 3 ชิ้น (3piece can) เป็นกระป๋องที่ประกอบด้วยชิ้นส่วน 3 ชิ้นคือตัวกระป๋อง ฝาบนและฝาล่าง ได้แก่ กระป๋องที่ส่วนใหญ่ใช้บรรจุอาหาร มักจะผลิตจากแผ่นเหล็กเคลือบ ดีบุก และแผ่นเหล็กไม่เคลือบดีบุก 2. กระป๋อง 2 ชิ้น (2piece can) เป็นกระป๋องไร้ตะเข็บข้าง มีตัวกระป๋องและฝาล่าง เป็น ชิ้นเดียวกันและมีฝาบนอีก ชิ้นหนึ่ง วิธีการขึ้นรูปกระป๋อง 2 ชิ้น มี 3 วิธีการ คือ 1) กระป๋องขึ้นรูปโดยการปั๊มครั้งเดียว (drawn can) 2) กระป๋องขึ้นรูปโดยการปั๊ม 2 ครั้ง (drawn and redrawn can ; DRD can) โดยปั๊มครั้งแรกจะขึ้นรูปเป็นถ้วยเตี้ยก่อน หลังจากนั้นจะปั๊มอีกครั้ง เพื่อให้เส้นผ่าศูนย์กลาง ของ กระป๋องเล็กลงและความ สูงมากขึ้นตาม ต้องการ กระป๋อง 2 ชิ้นที่ผลิตโดยวิธีนี้จะมีความ หนาเท่ากันตลอดทั้งตัว และก้นกระป๋อง สามารถทนความ ดัน และสุญญากาศ ในกระป๋องได้ 3. กระป๋องขึ้นรูปโดยการปั๊มและรีดผนัง (drawn and wall ironed can หรือ DI can) โดยปั๊มครั้งแรก จะได้ถ้วยที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเท่ากับกระป๋องที่ต้องการ หลังจากนั้น ผนังกระป๋องจะถูกรีดให้ เบาลง และกระป๋องมีความสูงเพิ่มขึ้น (ขั้นตอนการผลิตแสดงดังรูป) กระป๋องประเภทนี้ตัวกระป๋องมีผนังบางกว่าก้น กระป๋อง สามารถทนความดันได้ แต่ทนสุญญากาศภายในกระป๋องไม่ได้ จึงนิยมใช้บรรจุเบียร์และน้าอัดล
ศึกษาและสารวจผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์
ที่มาของภาพ http://www.thaitechno.net/uploadedimages 2. บรรจุภัณฑ์ขวดแก้ว ชนิดของบรรจุภัณฑ์ - แก้ว ใส ระบบการพิมพ์ - Offset Printed สีที่ใช้ - ขาว แดง การออกแบบ - ออกแบบให้มีความเรียบง่าย จัดวางภาพประกอบไว้ตรงกลาง ด้านบนมีตรา สัญลักษณ์ ตัดขอบเส้นด้วยสี แดง เด่นชัด ด้วยบรรจุภัณฑ์ที่โปร่งใส ทาให้มองเห็นสีสัน ของสินค้าที่บรรจุอยู่ภายใน ดูน่ารับประทาน ข้อดี - แบบแก้วใส มีหูจับ ฝาปิดพลาสติก หุ้มด้วยพลาสติกใส เพื่อปิดผนึก วัสดุแก้วมีหู ที่นา มาใช้ เพื่อรับประทานสังขยา หมด สามารถนาแก้วกลับมาใช้ประโยชน์อื่นๆได้ เช่น แก้วน้าดื่ม แบบขวดแก้ว ฝาโลหะชนิดเกรียว ฝาชนิดนี้จะสามารถปิดได้ แน่นสนิท ยืดอายุของอาหารได้ นานขึ้น ไม่หกเลอะเทอะ ขวดแก้วสามารถนากลับมาใช้ใหม่ได้ ข้อเสีย - แก้วสามารถแตกได้ มีน้าหนักค่อนข้างเยอะ บรรจุภัณฑ์แก้ว ที่มา (http://thaipackaging.blogspot.com/2009/06/blog-post) เป็นการนาทรายหรือที่เราเรียกว่า ซิลิกา(SiO 2)มีความบริสุทธิ์ 99.5% โซดาแอซ(Na2Co3)หินปูน (CaO) หินฟันม้าที่มีส่วน ประกอบ ของ SiO 2 และ A1 2 O3 หินโดโลไมต์ ที่มีส่วน ประกอบของ CaO และ MaO นาทุกอย่างมาหลอมที่อุณหภูม2ิ ,800 องศาเซลเซียส แล้วนา ไปขึ้นรูปเป็นภาชนะที่ต้องการเช่น ขวดแก้ว คนโท จานข้าว ถ้วยชาม แก้วน้า เป็นต้น บรรจุภัณฑ์แก้ว จาแนกออกได้เป็น 4 ประเภท 1. แก้วโซดาไลม์ ทามาจากโซดาไลม์ ทรายโซดาแอซ ที่ผ่านกรรมวิธีอัลคาไลส์อย่างเหมาะสม มีความทนต่อกรดและ ด่างสูงนิยมนามาใช้ผลิตภาชนะบรรจุยาสาหรับฉีดที่มีความเป็นกรด หรือด่าง หรือเครื่องแก้วในห้องปฏิบัติการ 2. แก้วบอโรซิลิเกต ทามาจากโบรอนไตรออกไซด์ ซึ่งมีคุณสมบัติในการทนท้านสูง นิยมนามา ใช้ผลิตเป็นภาชนะบรรจุ ยาสาหรับฉีด 3.แก้วโซดาไลม์ ที่นามาใช้ผลิตภาชนะบรรจุยาที่ใช้สาหรับรับประทานหรือยาที่ใช้เฉพาะที่ แต่ ไม่นิยมใช้เป็นภาชนะบรรจุ ยาสาหรับฉีด4. แก้วโซดาไลม์ ที่ไม่ใช้ทาภาชนะบรรจุยา สาหรับ ฉีด ยกเว้นยาฉีดที่ทดสอบความคงตัวแล้ว ไม่มีการ เปลี่ยนแปลง เมื่อบรรจุในภาชนะที่ทาจาก แก้ว นิยมนามา ใช้เป็นภาชนะบรรจุในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น อุตสาหกรรมเบียร์ น้าอัดลม อาหาร เครื่องสาอาง จาน
ที่มาของภาพ โดย น.ส.รัชนกผลอินทร์ บรรจุภัณฑ์ข้าวโพดหวานที่บรรจุลงในขวดแก้ว แก้วมีคุณภาพในการรักษาคุณภาพสินค้า ภาย ในได้ดี มีความใสเงางาม บรรจุ ภัณฑ์แก้วสามารถทนแรงกดได้สูง แต่ถ้าหล่นหรือ กะเทาะก็จะ แตกได้ง่าย สามารถนากลับมาใช้ได้ตลอดอายุการใช้งาน ยาวนานใช้ได้หลายครั้ง และ สามารถ นามา หลอมใช้ใหม่ได้ง่าย ( Recycle) สิ่งที่พึงระวังในเรื่องการบรรจุคือ จะต้องเลือก ใช้ ฝาขวด ที่ได้ขนาด และต้องสามารถปิดได้สนิทแน่น ไม่มีฟองอากาศเข้าได้หรือไหลหกออกมาได้ เพื่อ ช่วย รักษาคุณภาพ และ อายุของสินค้าให้อยู่ได้ยาวนานมากที่สุด ตัวอย่าง บรรจุภัณฑ์จาก แก้ว ได้แก่ ถ้วยแก้ว ขวดแก้ว โหลแก้ว
ที่มาของภาพ โดย น.ส.รัชนกผลอินทร์
ความรู้เกี่ยวกับตราสัญลักษณ์บนบรรจุภัณฑ์อาหาร คณะกรรมการอิสลามแห่งประเทศไทย ที่มา (http://www.halalscience.org/th/main201) ฮาลาล เป็นคามาจากภาษาอารบิก หมายความว่า การผลิต การให้บริการ หรือการจาหน่ายใด ๆ ที่ไม่ขัดต่อบัญญัติของ ศาสนา ดังนั้น เราจึงอาจกล่าวได้ว่า “อาหารฮาลาล” คือ อาหารที่ได้ผ่าน กรรมวิธีในการทาผสม ปรุงประกอบ หรือแปรสภาพ ตามศาสนบัญญัตินั่นเอง เครื่องหมายฮาลาล ที่ถูกต้องตามระบบการรับรองของคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบหลักดังรูป
ที่มาของภาพ http://www.halalscience.org/th/main2011 1. คาว่า “ฮาลาล” ภาษาอาหรับ ในสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนซึ่งมีพื้นหลังเป็นแถบเส้นตรงแนวดิ่ง 2. ชื่อองค์กรรับรอง - "สนง. คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย หรือ The Central Islamic Committee of Thailand" หรือ เป็นภาษาอาหรับ (เป็นได้ทั้ง 3 ภาษา) ถ้าเป็น “สานัก จุฬาราชมนตรี” แสดงว่าเป็นเครื่องหมายฮาลาลที่ไม่ผ่าน การตรวจรับรอง เนื่องจาก ทาง สานัก จุฬาราชมนตรีได้มอบหน้าที่การตรวจรับรองฮาลาลแก่คณะ กรรมการกลางอิสลาม ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 แล้ว 3. หมายเลขผลิตภัณฑ์ 12 หลัก ที่ได้จากการรับรองฮาลาล ถ้าเป็นตัวเลขในระบบเก่า จะใช้ ลาดับที่ของบริษัท ตามด้วยปีที่ เริ่มขอรับรอง "ที่ ฮ.ล. 025/2547" ในส่วนของเลข 12 หลักนั้น มี ความหมายดังนี้ (ดูรูปประกอบ) -เลข 2 ตัวแรก คือ หมวดผลิตภัณฑ์ ตามที่ปรากฏในฐานข้อมูลการรับรองฮาลาลของคณะกรรมการกลางฯ จากรูปตัวอย่าง เลข 74 หมายถึง ผลิตภัณฑ์เกลือ พริกไทย แป้งทาอาหาร น้าตาล -เลขตัวที่ 3-5 คือ ลาดับที่ของบริษัทในทะเบียนการขอรับรอง จากรูป เป็นบริษัทลาดับที่ 69 -เลขตัวที่ 6-8 คือ ลาดับที่ของผลิตภัณฑ์ในรายการที่ทางบริษัทยื่นขอรับรองฮาลาล จากรูป เป็นผลิตภัณฑ์แรกของบริษัทนี้ -เลข 4 ตัวสุดท้าย คือ เดือนและปีที่เริ่มขอรับรอง จากรูป 09 41 หมายถึงบริษัทนี้เริ่มขอรับ รอง ผลิตภัณฑ์นี้ตั้งแต่เดือน กันยายน พ.ศ. 2541 ซึ่งการที่เราจะทราบว่าเครื่องหมายฮาลาล นี้หมดอายุหรือไม่มีนั้น มีเพียงวิธีการเดียวคือ สอบถาม โดยตรงจากฝ่ายกิจการฮาลาล คณะกรรมการกลางฯส่วนเรื่องสีของเครื่องหมายฮาลาล ไม่ว่าจะเป็นสีอะไร ไม่มีผลใดๆ (สี เครื่องหมายผลิตภัณฑ์ ขึ้นกับการออกแบบบรรจุภัณฑ์อาหารนั้นๆ) เช่น อาจเป็นสีขาว , เขียว หรือแดง แต่ถ้าเงื่อนไขครบสาม ข้อข้างต้น ถือว่าถูกต้อง
เครื่องหมาย อย. ที่มา (http://th.wikipedia.org/สานักงานคณะกรรมการกราอาหารและยา) สานักงานคณะกรรมการอาหารและยา เป็นส่วนราชการระดับกรม ของประเทศไทย สังกัด กระทรวงสาธารณสุข มีหน้าที่ ปกป้องและคุ้มครองสุขภาพประชาชนจากการบริโภค ผลิตภัณฑ์ สุขภาพ โดยผลิตภัณฑ์สุขภาพเหล่านั้น ต้องมีคุณภาพ มาตรฐานและปลอดภัย มีการส่งเสริม พฤติกรรมการบริโภคที่ถูกต้อง ด้วยข้อมูลวิชาการที่มีหลักฐาน เชื่อถือได้และมีความ เหมาะสม เพื่อ ให้ประชาชนได้บริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ปลอดภัยและสมประโยชน์
ที่มาของภาพ http://th.wikipedia.org/wiki ผลิตภัณฑ์อาหารใดบ้างต้องมีฉลาก (ที่มา http://www.bayercropscience.co.th) กลุ่มที่ 1 อาหารควบคุมเฉพาะมี 17 ชนิด ได้แก่ 1.นมดัดแปลงสาหรับทารก และนมดัดแปลงสูตรต่อเนื่อง สาหรับทารกและเด็กเล็ก 2.อาหารทารกและอาหารสูตรต่อเนื่อง สาหรับทารก และเด็กเล็ก 3.อาหารเสริม สาหรับทารกและเด็กเล็ก 4.นมโค 5.นมปรุงแต่ง 6.นมเปรี้ยว 7.ไอศกรีม 8.อาหารในภาชนะบรรจุ ที่ปิดสนิท 9.ผลิตภัณฑ์ของนม
10.น้าบริโภคในภาชนะบรรจุ ที่ปิดสนิท 11. เครื่องดื่มในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท 12. น้าแข็ง 13. อาหารสาหรับผู้ที่ต้องการ ควบคุมน้าหนัก 14. สีผสมอาหาร 15. วัตถุที่ใช้ปรุงแต่งรสอาหาร 16. วัตถุเจือปนอาหาร 17. โซเดียมซัยคลาเมตและ อาหารที่มีโซเดียมซัยคลาเมต กลุ่มที่ 2 อาหารที่กาหนดคุณภาพหรือมาตรฐานมี 31 ชนิด ได้แก่ 1. น้ามันและไขมัน 2. น้ามันถั่วลิสง 3. เนย 4. เนยเทียม 5. กี 6. อาหารกึ่งสาเร็จรูป 7. น้ามันเนย 8. น้าปลา 9. น้าส้มสายชู 10. ครีม 11. น้ามันปาล์ม 12.น้ามันมะพร้าว 13. ชา 14. น้านมถั่วเหลือง ในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท 15. กาแฟ 16. แยม เยลลี มาร์มาเลด ในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท 17. เครื่องดื่มเกลือแร่ 18. รอยัลเยลลีและ ผลิตภัณฑ์รอยัลเยลลี 19. น้าผึ้ง 20. น้าแร่จากธรรมชาติ 21. เนยแข็ง 22. ซอสบางชนิด 23. น้าที่เหลือ จากผลิตภัณฑ์ โมโนโซเดียมกลูตาเมต
24. ไข่เยี่ยวม้า 25. ผลิตภัณฑ์ปรุงรส ที่ได้จากการย่อยโปรตีน ของถั่วเหลือง 26. ข้าวเติมวิตามิน 27. ช็อกโกแลต 28. เกลือบริโภค 29. อาหารที่มีสารพิษตกค้าง 30. อาหารที่มีสารปนเปื้อน 31. อาหารที่มีกัมมัตรังสี กลุ่มที่ 3 อาหารที่รัฐมนตรีประกาศให้ต้องมีฉลากมี 14 ชนิด ได้แก่ 1.ผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ 2.แป้งข้าวกล้อง 3.น้าเกลือปรุงอาหาร 4.ซอสในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท 5.ขนมปัง 6.หมากฝรั่งและลูกอม 7.วุ้นสาเร็จรูปและขนมเยลลี 8. กาหนดกรรมวิธี การผลิตอาหารซึ่งมี การใช้กรรมวิธีการ ฉายรังส 9. ผลิตภัณฑ์กระเทียม 10. วัตถุแต่งกลิ่นรส 11. อาหารที่มีวัตถุที่ใช้เพื่อรักษาคุณภาพ หรือ มาตรฐานของอาหาร รวมอยู่ในภาชนะบรรจุ 12 .อาหารที่มีส่วนผสมของว่านหางจระเข้ 13. อาหารมีวัตถุประสงค์พิเศษ 14. การแสดงฉลากของอาหาร พร้อมปรุงและอาหารสาเร็จรูป ที่พร้อมบริโภคทันที
ส.2 สมมติฐาน (Resume) การสร้างกราฟิกบนบรรจุภัณฑ์ สังขยาข้าวโพด (Steamed Custard Corn ) บรรจุลงขวดแก้ว ที่มีฝาเกลียวอลุมิเนี่ยม สามารถ ปิดได้สนิทแน่น ไม่มีฟองอากาศเข้า หรือไหลหกออกมาได้เพื่อ ช่วยรักษาคุณภาพ และอายุของสินค้าให้อยู่ได้ยาวนานและแก้ว ใสเงาสามารถมองเห็นตัวสินค้า ซุปข้าวโพดที่มีความน่ารับประทาน และมีสีเหลืองสวยงาม
ที่มาของภาพ http://j-a-m-j-a-r-s.tumblr.com , http://ghostmyst.blogspot.com แรงบันดาลใจ (Inspiration) มาจากขวดแยมผลไม้ต่างๆ ที่เป็นขวดแก้วใส ปิดฝาเกลียว ที่ สามารถปิด ได้สนิท และดูสวยงาม ด้วยสีสันของแยมสีต่างๆ นามาปรับใช้กับ สังขยาข้าวโพดที่มี สีเหลืองนวล สวย น่ารับประทาน และสามารถตกแต่งได้ หลากหลาย เพิ่มมูลค่าสินค้าด้วยต้นทุน ไม่สูง ยืดอายุ สินค้าได้นาน เก็บเข้าตู้เย็นสะดวก หรือเมื่อรับประทานไม่หมดก็สามารถ ปิดฝา เก็บไว้ รับประทานได้นาน แต่หากเป็นกระป๋องเมื่อเปิดฝาแล้ว ก็ต้องรับประทานให้หมดทีเดียว
ที่มาของภาพhttp://www.thesweetestoccasion.com/2010 หรือหากต้องการเพิ่มความสะดวก ก็สามารถเพิ่มช้อนเล็กๆ แต่ที่ช้อนจะต้องบรรจุถุงใส่เพื่อ ความสะอาดของช้อน สาหรับ รับประทานได้เลยติดไว้ด้าน ข้างของขวดบรรจุ เพิ่มความรวดเร็ว เพื่อเข้ากับสังคมยุคใหม่ ที่ต้องการความสะดวกสบาย และ เวลา ที่จากัด ก็สามารถนาติดตัว ไปรับประทานได้ทุกที่
การพัฒนาซุปข้าวโพด ให้เป็น สังขยาข้าวโพด โดยมีแนวคิดมาจากซุปข้าวโพดกระป๋องทั่วไป ที่มีขายอยู่มากมาย มาพัฒนาให้เป็นสินค้าใหม่ สังขยาข้าวโพดรับประทานกับ ขนมปังกะโหลก หรือขนมปังปิ้ง ก็ได้ โดยจะบรรจุลงฝนขวดแยม แก้วชนิดใส ฝาเกรียว สามารถปิดฝาเก็บไว้ได้นาน เมื่อ รับประทานไม่หมดก็สามารถปิดฝาเก็บ เข้าตู้เย็นได้พอดี สะดวก การทาสังขยาข้าวโพด
ส่วนผสม ซุปข้าวโพด นมโคสด ครีมนม ไข่ไก่ แป้งข้าวโพด น้าตาล เกลือ เนย กลิ่นวนิลา
1 กระป๋อง 1 กล่อง 3 ช้อนโต๊ะ 2 ฟอง 1ช้อนโต๊ะ 3 ช้อนโต๊ะ 1 ช้อนชา 2 ช้อนโต๊ะ ½ ช้อนชา
ขั้นตอนการทา
1. เทนม ครีมนมและไข่ไก่ลงในหม้อ ตีจนเข้ากันเป็นเนื้อเนียนสวย 2. ใส่ซุปข้าวโพด ตีด้วยกระกร้อมืออีกครั้ง ค่อยๆเทแป้งตามลงไป ใส่น้าตาล และเกลือ ตีไปเรื่อยๆจนเป็นเนื้อเดียวกัน ให้ แป้งข้าวโพดละลายหมดไม่เป็นเม็ด
3. นาส่วนผสมทั้งหมด ไปปั่น ไม่ต้องละเอียดมาก พอมีเนื้อข้าวโพดนิดหน่อย 4. นาหม้อขึ้นตั้งไฟ ใช้ตะกร้อมือคนไปเรื่อยๆ โดยใช้ไฟอ่อน ระวังอย่าให้ไหม้ก้นหม้อ ประมาณ 8 - 10 นาที
5. เมื่อส่วนผสมเข้ากันได้ที่แล้ว ใส่เนยจืดตามลงไป คนไปเรื่อยๆจนเนยละลายหมด ปิดไฟ 6. ใส่กลิ่นวนิลาคนจนเข้ากัน ยกลง เสร็จเรียบร้อย รับประทานกับขนมปัง หรือขนมปังปิ้งก็ได้ สรุปผลการ ทาสังขยาข้าวโพด จากการนาซุปข้าวโพดมาทาเป็นสังขยา ได้รสชาติที่ หอม อร่อยอยู่แล้วของซุปข้าวโพดเมื่อ เพิ่ม ไข่ นม และเนย เข้าไป จึงทาให้ เข้มข้นและมี รสชาติดียิ่งขึ้น บวกกับกลิ่นวนิลาอ่อนๆมี ผสมลงไป ทาให้มีความเป็นธรรมชาติ น่ารับประทาน ผสมให้มีรสชาติ ไม่หวานจนเกินไป แล้ว บรรจุลงในขวดแยมแก้ว เก็บเข้าตู้เย็น ไว้รับประทานได้นาน ไม่ว่าจะทานเป็นอาหารเช้า หรือ รับประทานยามว่าง ก็อร่อยและให้พลังงาน มีประโยชน์อีกด้วย ปัญหาที่พบ 1. ในซุปข้าวโพด เมล็ดข้าวโพดยังเป็นเม็ดอยู่ เมื่อทาสังขยาออกมา จึงมีเนื้อไม่เนียนสวย จึง แก้ปัญหาด้วยการ นาส่วนผสม ทั้งหมดไปปั่นก่อน แต่ไม่ละเอียดมากนัก เพื่อยังคงเนื้อข้าวโพด ไว้บ้าง เวลารับประทาน 2. เมื่อทาเสร็จเรียบร้อยร้อย สีของสังขยาข้าวโพด มีสีจืด ไม่เป็นสีเหลืองสวย สีค่อนข้างขาว แก้ปัญหาโดยการ ใส่สีผสมอาหาร สีเหลืองลงไปเล็กน้อย จึงได้สีที่พอดีเป็นธรรมชาติ 3. รสชาติของสังขยาข้าวโพด มีรสชาติมัน หวานน้อยเกินไป 4. เมื่อทาเองที่บ้าน ก็สามารถเก็บไว้ได้ เพียง 5-6 วัน เท่านั้น จึงอาจต้องมีการพาสเจอร์ไรส์ (Pasteurization) หรือผสมสารกัน เสีย ชนิดโซเดียมเบนโซเอท (Sodium Benzoate)ที่ใช้ผสม ในแยม หรือผลไม้กวน เนื่องจากหาซื้อไม่ได้ และอาจมีอันตราย จึงไม่ได้ใส่เข้าไป
My Mapping
Mood Board
ส.3 การสรุปผลการออกแบบ (Result) แบบร่าง สเก็ต
แนวความคิด ออกแบบให้มีความเรียบหรู โดยใช้โบว์หรือลิปบิ้นพันรอบข้าวโพด โดยข้าวโพดจะออกแบบให้มี 3 ฝัก เน้นที่ฝักกลางจะใหญ่ ที่สุด แสดงถึงความโดดเด่นของ สังขยาข้าวโพดเฟรชชี่ ที่มีความเป็นเอกลักษณ์ และเป็นที่1 จัดกลางส่วนกลาง เน้นที่ตรา สัญลักษณ์ให้มองเห็นได้ชัดเจน และออกแบบป้ายสินค้า ห้อยที่คอขวด กับที่ฝาของขวด
ตราสัญลักษณ์ สังขยาข้าวโพด เฟรชชี่
แบบร่าง กราฟิกบนบรรจุภัณฑ์ ฉลากด้านหน้า Label front
ฉลากด้านหลัง Label back
ป้ายตราสินค้า Tag
แบบที่เสร็จสมบูรณ์
ข้อมูลขวดสาหรับบรรจุ ชนิดของขวด แก้วใส ฝาเกลียว ขนาดปากขวด 58 มม. ปริมาณบรรจุ 16 ออน หรือ 480 มล. ราคาขวดเปล่าขายปลีก 10 บาท ราคาขวดเปล่าขายส่ง 4 บาท 100ขวดขึ้นไป ราคาสินค้า สังขยาข้าวโพด 89 บาท ต่อหนึ่งหน่วย
SketchUp Size ขนาดของขวด เป็นเซนติเมตร
SketchUp ผลงานจริงที่เสร็จสมบูรณ์
แหล่งที่มา เอกสารอ้างอิง วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี http://th.wikipedia.org/wiki/ข้าวโพด วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี http://th.wikipedia.org/wiki/สานักงานคณะกรรมการอาหารและยา New Design Creative internet & e-business solutions http://www.mew6.com/composer/package/package_23.php Thaitechno เว็บไซต์ตลาดกลางข้อมูลอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย http://www.thaitechno.net Thaipackaging Blogspot รวบรวมข้อมูลการออกแบบบรรจุภัณฑ์ http://thaipackaging.blogspot.com/2009/06/blog-post_3533.html The Halal Science Center Chulalongkorn University ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิยาลัย http://www.halalscience.org/th/main2011/content.php?page=sub&category=85&id=46 Ghostmyst Blogspot http://ghostmyst.blogspot.com Jam Jars Tumblr http://j-a-m-j-a-r-s.tumblr.com Google Translate แปลภาษา http://translate.google.co.th/?hl=th&tab=TT ขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูง น.ส. รัชนก ผลอินทร์