บทที่ 1
ความรู้และความเข้าใจ เกี่ยวกับการพัฒนา
การพัฒนาชนบท : 1
บทที่ 1 ความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนา
บทนำ�
คำ� ว่ า “การพั ฒนา” (Development) เป็น ที่ร ู้จ ักกั น อย่ า ง แพร่หลายมาเป็นเวลานาน นับแต่สงครามโลกครั้งที่สองได้สิ้นสุด ลง แล้วกระแสแห่งความเจริญจากประเทศตะวันตกก็หลั่งไหลไป สู่ประเทศอื่นที่เจริญน้อยกว่า คำ�ว่า “การพัฒนา” จึงได้ถูกนำ�มา ใช้ เพื่ออธิบายความเจริญก้าวหน้าให้ทัดเทียมประเทศในตะวันตก อย่างไรก็ตาม ความหมายของการพัฒนาก็ยังไม่เป็นที่เข้าใจอย่าง เดียวกันในแต่ละประเทศและในแต่ละช่วงเวลา เราจะพบว่า ในช่วงแรกๆ ของการนำ�เอาแนวความคิดในการพัฒนามาใช้จะ เน้นความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ การปรับปรุงเปลี่ยนแปลง ไปสู่สภาพที่ทันสมัย หรือการปรับให้เป็นอุตสาหกรรม เป็นต้น ต่อมามีการพบว่าความหมายต่างๆ เหล่านี้ไม่สามารถสร้างความ เข้าใจเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันโดยทั่วไปได้ แม้ว่าคำ�ว่าการพัฒนา จะถูกใช้กันอย่างมากมาย แต่มันก็ยังได้รับความเข้าใจอยู่ไม่มาก นัก แนวความคิดของการพัฒนาในเวลาต่อมาจึงครอบคลุมถึงด้าน เศรษฐกิจ สังคม การเมือง และวัฒนธรรมด้วย อย่างไรก็ตาม ได้มีการนำ�มโนทัศน์การพัฒนาไปเชื่อมโยงสัมพันธ์กับคำ�หรือ สภาวการณ์อื่นๆ ที่ต้องการทำ�ให้ดีขึ้นหรือเกิดการพัฒนามากขึ้น อาทิเช่น การพัฒนาชุมชน การพัฒนาเศรษฐกิจ การพัฒนาสิ่ง แวดล้อม การพัฒนาเมือง และการพัฒนาชนบท เป็นต้น ดังนั้น ในการกล่าวถึงความหมายของ “การพัฒนาชนบท” ควร พิจารณาถึง 2 คำ�หลักที่ประกอบเป็นค่า “การพัฒนาชนบท” นั่น คือ “การพัฒนา” และ “ชนบท” ในขณะที่การพัฒนาโดยทั่วไป แล้ว มีความหมายอย่างง่ายว่า ทำ�ให้ดีขึ้น หรือเกี่ยวเนื่องกับการ เปลี่ยนแปลงจากสภาพเดิมที่เป็นอยู่ให้ดีขึ้น ตามที่ได้กล่าวมา แล้วข้างต้น ส่วน ชนบท หมายถึง ถิ่นที่อยู่อาศัยของประชาคม หรือชุนชน ที่แตกต่างจากความเป็นเมือง จึงอาจกล่าวได้ว่า การ พัฒนาชนบท หมายถึง การทำ�ให้พื้นที่และชุมชนที่อยู่นอกเมืองดี ขึ้นนั่นเอง (อภิชัย พันธเสน 2539: 5-6) ซึ่งในบทนี้จะได้อธิบาย ถึงคำ�ว่า “การพัฒนา” ในมิติต่างๆ ให้ผู้อ่านได้เข้าใจมากยิ่งขึ้น
ความเป็นมาของการพัฒนา
แนวความคิดเกี่ยวกับการพัฒนา ชีวิตความเป็นอยู่ของสังคม มนุษย์นั้นได้เกิดขึ้นมานานแล้ว โดยนักปราชญ์ชาวกรีกโบราณคือ เพลโต (Plato) ได้ให้แนวคิดในหนังสืออุตมรัฐ (The Republics) และอารีสโตเติล (Aristiotle) ในหนังสือการเมือง (Politics) รวม ทั้งพื้นฐานของการพัฒนาด้านจริยธรรมในหนังสือ Nicomachean Ethics และด้านการเมืองการปกครองในหนังสือ Natural law and Human Reason (บุญธรรม เทศนา 2537: 19-21) แนวคิดเกีย่ วกับ “การพัฒนา” ในเชิงวิชาการนัน้ เกิดขึน้ ครัง้ แรก ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ซึ่งเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น จากการปฏิวัติอุตสาหกรรมในยุโรป (industrial revolution) โดย นักเศรษฐศาสตร์เป็นผู้ให้กำ�เนิดขึ้น เพื่อศึกษาด้านเศรษฐกิจและ เทคโนโลยีและมีจุดมุ่งหมายเพื่อจะยกระดับมาตรฐานความเป็น
อยูข่ องประเทศให้สูงขึ้น (มหาวิทยาลัยรามคำ�แหง 2523: 296) ต่อมาได้รับการยอมรับจากนักสังคมศาสตร์โดยทั่วไป โดยเฉพาะ นักมานุษยวิทยาพัฒนาการ (ประสิทธิ์ สวาสดิ์ญาติ 2518: 2627) และนักสังคมวิทยาพัฒนาการ จนกระทั่งหลังสงครามโลก ครั้งที่ 2 เป็นต้นมา คำ�ว่าการพัฒนากลายเป็นคำ�ทีน่ ยิ มใช้กนั อย่าง แพร่หลายทั่วโลก (มหาวิทยาลัยรามคำ�แหง 2523: 296) เพราะ ประเทศต่างๆ ล้วนประสบปัญหาจากผลของสงคราม ต้องหา วิ ธี ก ารปรั บ ปรุ ง ฟื้ น ฟู แ ก้ ไ ขสภาพทางเศรษฐกิ จ สั ง คมและ การเมืองในประเทศของตนซึ่งเรียกว่า “การพัฒนา” นั่นเอง
ความหมายของการพัฒนา
คำ�ว่า “การพัฒนา” ถูกนำ�ไปใช้กันโดยทั่วไปและแพร่หลาย และมีความแตกต่างกันออกไปเกี่ยวกับความหมายที่คล้ายคลึงกัน และแตกต่างกัน ความหมายตามพจนานุกรมในภาษาไทย ให้ความหมายไว้ว่า “การพัฒนา” แปลว่า “ทำ�ให้เจริญ” (ราชบัณฑิตยสถาน 2525: 580) ส่วนพจนานุกรมภาษาอังกฤษ ตรงกับคำ�ว่า “Development” แปลว่า “การเปลี่ยนแปลงทีละเล็ก ละน้อยโดยผ่านลำ�ดับขัน้ ตอนต่างๆ ไปสูร่ ะดับทีส่ ามารถขยายตัวขึน้ เติบโตขึ้น มีการปรับปรุงให้ดีขึ้นและเหมาะสมไปกว่าเดิมหรืออาจ ก้าวหน้าไปถึงขั้นที่อุดมสมบูรณ์เป็นที่น่าพอใจ” (ปกรณ์ ปรียากร 2528: 5)
การพัฒนาชนบท : 2
นอกจากนี้การให้ความหมายของ “การพัฒนา” ในบางครั้งก็ 1. การพัฒนาเป็นกระบวนการ (Process) เพราะการพัฒนา ขึ้นอยู่กับพื้นฐานของผู้ศึกษาว่ามีความสนใจและใช้ฐานคิดใดใน เป็นกิจกรรมทีต่ อ่ เนือ่ งกันมานับตัง้ แต่ววิ ฒ ั นาการของกระบวนการ การให้ความหมาย โดยสามารถสรุปความหมายของการพัฒนา แห่งความเจริญเติบโตและการเปลีย่ นแปลงของสังคม และองค์การ ในด้านที่แตกต่างกันออกไปได้ดังนี้ ทางวัฒนธรรมของมนุษย์ 2. การพัฒนาเป็นกระบวนการ (Interaction) เพราะการพัฒนา ความหมายโดยทั่วไป เป็นกระบวนการหนึ่งของความเจริญเติบโต และการเปลี่ยนแปลง “การพัฒนา” หมายถึง การกระทำ�ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจาก ของสังคมภายใต้เงื่อนไขของการปฏิสัมพันธ์กับสังคมอื่น ๆ สภาพหนึ่งไปสู่อีกสภาพหนึ่งที่ดีกว่าเดิมอย่างเป็นระบบ หรือการ 3. การพัฒนามีลักษณะเป็นปฏิบัติการ (Action) เพราะการ ทำ�ให้ดีขึ้นกว่าสภาพเดิมที่เป็นอยู่อย่างเป็นระบบ (ยุวัฒน์ วุฒิเมธี พัฒนาจะต้องมีการวางแผนอย่างรอบคอบ และตรวจกระบวนการ 2526: 1) โดยเปรียบเทียบทางด้านคุณภาพระหว่างสภาพการณ์ แห่งความเจริญเติบโตและการเปลี่ยนแปลง ของสิง่ ใดสิง่ หนึง่ ในช่วงเวลาทีต่ า่ งกัน ซึง่ ถ้าในปัจจุบนั สภาพการณ์ ของสิ่งนั้นดีกว่า สมบูรณ์กว่าก็แสดงว่าเป็นการพัฒนา (ปกรณ์ Seers (มปพ. อ้างใน เสถียร เชยประทับ 2528: 112) ได้ให้ ปรียากร 2538: 5) นอกจากนี้ยังมีผู้ให้ความหมายอีกว่า “การ ความหมายไว้วา่ “การพัฒนา หมายถึง การมีอาหารกินทีพ่ อเพียง พัฒนา” หมายถึงความเจริญก้าวหน้าโดยทัว่ ๆ ไป เช่น การพัฒนา มีระดับรายได้ที่พอเพียงที่จะสนองความต้องการขั้นพื้นฐานคือ หน่วยงาน ชุมชนหรือ ประเทศ คือการทำ�ให้สิ่งเหล่านั้นดีขึ้น เครือ่ งนุง่ ห่ม และทีอ่ ยูอ่ าศัย มีงานทำ� มีความเสมอภาคทางสังคม เจริญขึ้นสนองความต้องการของประชาชนส่วนใหญ่ได้ดียิ่งขึ้น ถ้าหากว่าประชาชนส่วนใหญ่ยากจนลงมีคนว่างงานเพิ่มขึ้น มี (ทองคูณ หงส์พันธ์ มปพ.: 2) หรืออาจจะกล่าวได้ว่า “การพัฒนา” ความอยุติธรรมในสังคมมากขึ้น แม้ว่ารายได้ต่อหัวของประชากร เป็ น กระบวนการของการเคลื่ อ นไหวจากสภาพที่ ไ ม่ น่ า พอใจ จะเพิ่มขึ้นจากเดิมสองเท่า ก็ไม่เรียกว่าการพัฒนา แผนการใดๆ ไปสูส่ ภาพทีน่ า่ พอใจ การพัฒนาเป็นกระบวนการทีเ่ ปลีย่ นแปลง ที่ไม่มเี ป้าหมายทีจ่ ะลดความยากจน ลดการว่างงาน และลดความ อยู่เสมอไม่หยุดนิ่ง (เสถียร เชยประทับ 2528: 8) ไม่เสมอภาคของคนในสังคมแล้ว ก็ไม่ใช่แผนพัฒนา” ความหมายทางเศรษฐศาสตร์ โดยทั ่ ว ไปนั ก เศรษฐศาสตร์ ถ ื อว่ า การพั ฒ นาที ่ แ ท้ จ ริ ง นั ้ น มีความหมายที่เน้นหนักไปทางเศรษฐศาสตร์ คือ หมายถึง กระบวนการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ เช่น สถาบันทางเศรษฐ กิจใหม่ๆ เกิดขึ้นในโรงงานอุตสาหกรรม เกิดระบบธนาคารใหม่ๆ การเพิ่ ม รายได้ ถั ว เฉลี่ ย ต่ อ คนและการเพิ่ ม ภาวะความมั่ น คง ทางการเงินเป็นต้น (สุนทรี โคมิน 2522: 375) นอกจากนี้ นักเศรษฐศาสตร์ยังได้ให้ความหมายของคำ�ว่า “การพัฒนา” ว่า หมายถึง ความเจริญเติบโต โดยเน้นความเจริญเติบโตทางด้าน เศรษฐกิจเป็นสำ�คัญ เช่น ผลผลิตรวมของประเทศเพิ่มขึ้น รายได้ ประชาชาติเพิ่มขึ้น รายได้เฉลี่ยต่อหัวต่อคนของประชากรเพิ่มขึ้น (ณัฐพล ขันธไชย 2527: 2) มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจมากขึ้น ประชากรมีรายได้เพียงพอที่สามารถตอบสนองความต้องการ พื้นฐานของตนได้ (เสถียร เชยประทับ 2528: 9) Mellor (1966: 1) ได้ให้ความหมายว่า “การพัฒนาเป็นกระบวน การที่ส่งผลให้ประชากรได้เพิ่มประสิทธิภาพทางด้านบริการและ สินค้าตลอดจนระดับการครองชีพต่อคนดีขึ้น” Ankie M.M.Hoogvelt (มปพ. อ้างใน มหาวิทยาลัยรามคำ�แหง 2523: 295) ได้ขยายความเพิม่ เติมว่า การพัฒนาเป็นกระบวนการ หนึง่ ทีก่ อ่ ให้เกิดความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และการเปลีย่ นแปลง ในระดับของประเทศซึ่งมีลักษณะ 3 ประการคือ
Beltram (มปพ. อ้างใน เสถียร เชยประทับ 2528: 9) ได้สรุป การพัฒนาในทางเศรษฐศาสตร์ ไว้ดังนี้ 1. การพัฒนาประเทศโดยพื้นฐานแล้ว ก็คือกระบวนการของ การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ 2. การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจก่อให้เกิดความเจริญก้าวหน้า ทางด้านวัตถุของประเทศ 3. ในทำ�นองเดียวกัน ความเจริญก้าวหน้าทางด้านวัตถุจะส่ง ผลให้เกิดการกินดีอยู่ดีของประชาชน 4. ความก้าวหน้าในทางวัตถุซง่ึ ก่อให้เกิดการกินดีอยูด่ นี น้ั จะนำ� ไปสูค่ วามยุตธิ รรมทางสังคมเสรีภาพ และความเป็นประชาธิปไตย ของประชาชน Meier (1976: 5) ได้ให้ความหมายไว้ว่า “การพัฒนาเป็น กระบวนการที่ทำ�ให้รายได้ที่แท้จริงต่อคนของประเทศหนึ่งๆ ได้ เพิ่มขึ้นเป็นระยะเวลานานโดยจำ�นวนคนที่ยากจนได้ลดน้อยลง หรือไม่เพิม่ ขึน้ และมีการกระจายรายได้ทว่ั ถึงกัน นักเศรษฐศาสตร์ รุ่นใหม่ได้ให้ความหมายของ “การพัฒนา” กว้างขวางจากเดิม ออกไปมากขึ้นเช่น Heilbroner (มปพ. อ้ า งใน เสถี ยร เชยประทั บ 2528: 11) กล่าวว่า “การพัฒนาเศรษฐกิจไม่ใช่เรื่องของกระบวนการทาง เศรษฐกิจอย่างเดียว แต่เป็นเรื่องของกระบวนการทางสังคมและ การเมืองด้วย ดังนั้น ถ้าเรามองการพัฒนาในแง่ของเศรษฐกิจ แต่เพียงอย่างเดียวแล้วเท่ากับว่าเราหลอกตัวของเราเอง”
การพัฒนาชนบท : 3
บทที่ 1 ความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนา
Batten (มปพ. อ้ า งใน มงคล ชาวเรื อ 2527: 39) ให้ ความหมายว่า “การพัฒนาคือการเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้น การ เปลี่ยนแปลงที่มีลักษณะก้าวหน้าและในความก้าวหน้านั้นมีการ เคลื่อนไหวของหลายสิ่งหลายอย่าง จากจุดหนึ่งไปสู่จุดหนึ่ง นอกจากนี้ยังมีนักสังคมวิทยาของไทยที่ ได้ให้ ความหมาย ของ “การพัฒนา” ไว้อย่างน่าสนใจหลายท่าน คือ ฑิ ต ยา สุ ว รรณะชฎ (2522: 354) ได้ ใ ห้ ความหมายไว้ ว ่ า “การพัฒนาเป็นกระบวนการในอันที่จะทำ�ให้เกิดการเปลี่ยนแปลง โดยการจัดสรรทรัพยากรของสังคม เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่จะให้ บรรลุเป้าหมายที่สังคมนั้นได้เลือกสรรแล้ว ด้วยการควบคุมอัตรา การเปลี่ยนแปลงให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ” ดิ เ รก ฤกษ์ ห ร่ า ย (2528 : 11) ได้ ส รุ ป ไว้ ว ่ า การพั ฒ นา Rogers and Shoemaker (มปพ. อ้างใน เสถียร เชยประทับ 2528: 8) ได้ให้ความหมายว่า “การพัฒนาเป็นการเปลี่ยนแปลง เป็นกระบวนการที่มีลักษณะ 3 ประการคือ 1. เป็นกระบวนการในการปรับปรุงคุณภาพชีวิตของบุคคลทั้ง สังคมอย่างหนึ่งที่ความคิดใหม่ๆ ถูกนำ�เข้าสู่ระบบสังคม เพื่อเพิ่ม รายได้ต่อหัวให้สูงขึ้น และปรับปรุงระดับการดำ�รงชีวิตให้ดีขึ้น ทางเศรษฐกิจและสังคม 2. มุ่งให้เกิดความเสมอภาพทางสังคมทั้งด้านเศรษฐกิจและ โดยผ่านกรรมวิธีการผลิตที่ทันสมัยกว่า และการจัดองค์การทาง สังคมที่มีสมรรถภาพดีกว่า การพัฒนาเป็นการปรับปรุงให้ทันสมัย สังคม 3. สร้างให้เกิดการกระจายอย่างทัว่ ถึงในเรือ่ งรายได้ของบุคคล ในระดับระบบสังคม” ในชุมชน และการกระจายบริการที่รัฐจะให้แก่ประชาชนไปสู่ชนบท ให้มากและใกล้เคียงกับในเมืองมากยิ่งขึ้น ความหมายทางสังคมวิทยา นักสังคมวิทยาได้ให้ความหมายของคำ�ว่า “การพัฒนา” ไว้ สัญญา สัญญาวิวัฒน์ (2525: 5) กล่าวว่า “การพัฒนาคือ มากมายและน่าศึกษา เช่น การเปลี่ยนแปลงที่มีการกำ�หนดทิศทางหรือการเปลี่ยนแปลงที่ได้ Norman Jacobs (1971: 9) ได้ให้ความหมายว่า “การพัฒนา วางแผนไว้แน่นอนล่วงหน้า ซึ่งทิศทางที่กำ�หนดขึ้นจะต้องเป็น คือ การเพิ่มขีดความ สามารถของสังคมอย่างสูงสุด โดยไม่คำ�นึง ของดีสำ�หรับกลุ่มหรือชุมชนที่สร้างขึ้น” ถึงขีดจำ�กัดของเป้าหมายหรือโครงสร้างพื้นฐานของสังคมที่มีอยู่ พั ฒ น์ สุ จ ำ �นงค์ (2525: 17) ได้ ใ ห้ ความหมายไว้ ว ่ า “การ ในปัจจุบัน พัฒนาแปลว่าการทำ�ให้เจริญก้าวหน้าที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลง Pierre laplant (มปพ. อ้างใน ธวัช ทันโตภาส 2529: 15) ได้ ให้ดีขึ้น” แยกแยะความหมายของการพัฒนาออกเป็น 2 ประการ คือ พัทยา สายหู (มปพ. อ้างใน อมร รักษาสัตย์ และขัตติยา 1. การพัฒนาในฐานะทีเ่ ป็นกระบวนการ (Process) หมายความ ว่าสังคมได้มีการพัฒนาอยู่เรื่อย ๆ ทั้งในด้านปริมาณ คุณภาพ กรรณสูต 2515 : 580) ได้ให้ความหมายว่า “การพัฒนาหมายถึง การกระทำ�ให้เกิดขึ้น คือเปลี่ยนแปลงไปในทางที่พึงปรารถนา” และสิ่งแวดล้อม 2. การพั ฒนาในลักษณะที่เป็น ระบบ (System) หมายถึ ง ยุ ว ั ฒ น์ วุ ฒ ิ เมธี (2525: 1) ให้ ความหมายว่ า “การพั ฒนา ความพยายามที่จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมไปใน หมายถึงการกระทำ�ให้เกิดขึ้น คือเปลี่ยนสภาพหนึ่งไปสู่อีกสภาพ ทิศทางที่ดี หนึ่งที่ดีกว่าอย่างมีระบบ” Everett M. Rogers (มพป. อ้างใน เสถียร เชยประทับ 2528: พิชย์ สมพอง (2522) ให้ความหมายว่า “การพัฒนาเป็นสภาวะ 9) ให้ความหมายว่า “การพัฒนาคือการเปลี่ยนแปลงทางสังคม แบบหนึ่ง ที่นำ�ความคิดใหม่ๆ เข้ามาในระบบสังคมเพื่อทำ�ให้ การเปลี่ยนแปลงตามแผนที่สังคมได้กำ�หนดทิศทาง เป้าหมาย รายได้ต่อหัวและระดับการดำ�รงชีวิตสูงขึ้น โดยใช้การผลิตที่ทัน วิธีการของการเปลี่ยนแปลงไว้” สมัย และเพื่อปรับปรุงระเบียบขององค์การทางสังคม” การพัฒนาชนบท : 4
เฉลียว บุรีภักดี (2520 : 1) ได้ให้ความหมายว่า “การพัฒนา หมายถึงการแก้ไขปัญหาที่ไม่พึงประสงค์และการไปสู่เป้าหมาย ที่ดีกว่า หรือการพัฒนาคือการแก้ปัญหา และการทำ�ให้บรรลุ เป้าหมายนั่นเอง” ความหมายทางรัฐศาสตร์ นักรัฐศาสตร์ ได้ให้ความหมายของ “การพัฒนา” โดยมุ่งเน้น การกระทำ�ให้เกิดการเปลีย่ นแปลงทีท่ นั สมัยขึน้ (Modernization) และมุ่งความสนใจไปที่ปัญหาการสร้างชาติและรัฐบาลในขณะที่ มีกระบวนการที่ทำ�ให้ทันสมัยเกิดขึ้น (Weiner 1966: 9) Been Lee (มปพ. อ้างใน โกวิท พวงงาม และปรีดี โชติช่วง 2527) ให้ความหมายไว้ว่า “การพัฒนาหมายถึง กระบวนการ ของการให้ได้มาซึ่งความเจริญเติบโตที่มั่นคงของความสามารถ ของระบบในการทำ�ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ ให้บรรลุความ สำ�เร็จทีก่ า้ วหน้าทางการเมืองและเศรษฐกิจ และตามวัตถุประสงค์ ทางสังคม” Saul M. Katz (มปพ. อ้างใน โกวิท พวงงาม และปรีดี โชติชว่ ง 2527: 10) ได้ให้ความหมายไว้วา่ “การพัฒนาเป็นการเปลีย่ นแปลง ฐานะของสังคมจากระดับหนึ่งไปสู่อีกระดับหนึ่งที่มีคุณค่าเพิ่มขึ้น และต้องมีการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ และ สังคม” อมร รักษาสัตย์ และขัตติยา กรรณสูต (2515: 4) ได้แบ่ง ความหมายของการพัฒนาออกเป็นสองระดับคือ ความหมาย อย่างแคบและความหมายอย่างกว้าง ความหมายอย่างแคบ หมายถึง “การเปลีย่ นแปลงในตัวระบบ กระทำ�การอันเป็นการเปลี่ยนแปลงทางด้านคุณภาพเท่านั้น” ความหมายอย่างกว้างหมายถึง “กระบวนของการเปลีย่ นแปลง “การพัฒนา” ในความหมายของนักพัฒนบริหารศาสตร์จะ อันเป็นการรวมเอาการเปลี่ยนแปลงในด้านคุณภาพ ปริมาณ มีขอบข่ายกว้างขวางกว่าความหมายจากรูปศัพท์ ความหมาย และสิ่งแวดล้อมเข้าด้วยกัน” โดยทัว่ ไปและความหมายทางเศรษฐศาสตร์ที่กล่าวมาแล้ว เพราะ หมายถึงการเปลี่ยนแปลงของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ทั้งในด้านคุณภาพ (ดี ความหมายทางพัฒนบริหารศาสตร์ ขึ้น) ปริมาณ (มากขึ้น) และสิ่งแวดล้อม (มีความเหมาะสม) ไม่ใช่ นักพัฒนาบริหารศาสตร์ ได้ให้ความหมายของ “การพัฒนา” การเปลี่ยน แปลงด้านใดด้านหนึ่งเพียงด้านเดียว (สนธยา พลศรี เป็น 2 ระดับ คือ ความหมายอย่างแคบและความหมายอย่าง 2547: 3) กว้าง ความหมายอย่างแคบ การพัฒนา หมายถึง การเปลีย่ นแปลง ในตัวระบบกระทำ�การให้ดีขึ้นอันเป็นการเปลี่ยนแปลงในด้าน ความหมายด้านการวางแผน คุณภาพเพียงด้านเดียว ส่วนในความหมายอย่างกว้างนั้น การ มงคล ชาวเรื อ (2527: 40-41) ได้ ใ ห้ ความหมายของการ พัฒนาเป็นกระบวนการของการเปลี่ยนแปลงในตัวระบบกระทำ� พัฒนาไว้ว่า “การเคลื่อนย้ายจากความด้อยพัฒนาให้หลุดพ้นจาก การในด้านคุณภาพ ปริมาณและสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้นไปพร้อมๆ ความยากจน ซึ่งจะแสวงหาและบรรลุถึงได้อย่างแท้จริง โดยวิธี กัน ไม่ใช่ด้านใดด้านหนึ่งเพียงด้านเดียว การวางแผนเพื่อการพัฒนา กล่าวคือการพัฒนาเป็นการปรับปรุง เงื่อนไขที่ไม่พึงปรารถนาต่างๆ ในสังคม” การพัฒนาชนบท : 5
บทที่ 1 ความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนา
นิรันดร์ จงวุฒิเวศย์ (2534: 91-92) กล่าวไว้ว่า ในทางการ วางแผน “การพัฒนา” เป็นเรื่องเกี่ยวกับการชักชวน การกระตุ้น เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ด้วยการปฏิบัติตามแผนและโครงการ อย่างจริงจัง เป็นไปตามลำ�ดับขั้นตอนต่อเนื่องกันเป็นวงจร โดย ไม่มีการสิ้นสุด
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าแต่ละสังคมจะเน้นแนวทางการพัฒนาที่ไม่ เหมือนกัน แต่อาจกล่าวได้ว่า ทุกสังคมมีปรัชญาและเป้าหมาย ของการพัฒนาที่สอดคล้องกันคือ ความอยู่ดีมีสุขของคนในสังคม และความมั่นคงทางสังคม
ความหมายด้านระบบนิเวศ กฐิน ศรีมงคล (2542: 4) ได้ให้ความหมายของ “การพัฒนา” ไว้ว่าการพัฒนาหมายถึงการเปลี่ยนแปลงของผลผลิต (Products) ทีเ่ พิม่ ขึน้ อย่างมัน่ คงหรือสมดุลพอดีกบั ความต้องการของประชากร โดยสภาพแวดล้อมไม่เปลีย่ นแปลงหรือเสือ่ มโทรม และมีประสิทธิภาพ ในการผลิตอย่างพอเพียงเพื่อสนองความต้องการของประชากร ในอนาคต นั่นคือการพัฒนาจะต้องพิจารณาถึงความสามารถของ ระบบนิเวศในสิ่งต่อไปนี้ 1. ผลิตภาพ (Productivity) 2. เสถียรภาพ (Stability) 3. ความเสมอภาค (Equitability) 4. ความยั่งยืน (Sustainability) ซึง่ เราเรียกว่า “คุณสมบัตขิ องระบบ” หรือ “System Properties” เป็นคุณสมบัติของระบบนิเวศที่สามารถประเมินได้
จากประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติที่มีการติดต่อค้าขายกัน มี การล่าอาณานิคม มีการหลั่งไหลของวัฒนธรรม อารยธรรมต่างๆ จากประเทศหนึ่งไปสู่ประเทศหนึ่ง การไปมาหาสู่กันระหว่างยุโรป แอฟริกัน เอเชีย และอเมริกา ทำ�ให้เกิดการแบ่งประเทศออกเป็น 2 ขั้ว เช่น ประเทศศิวิไลซ์ และประเทศไม่ศิวิไลซ์ ประเทศที่ ก้ า วหน้ า ทางเทคโนโลยี กั บ ประเทศที่ ล้ า หลั ง ทางเทคโนโลยี ประเทศที่อ่านออกเขียนได้กับประเทศที่อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ ตลอดจนในช่วงปัจจุบันที่หันมาใช้คำ�ว่า “การพัฒนา” ก็จะแบ่ง สังคมออกเป็นสังคมที่ด้อยพัฒนา กำ�ลังพัฒนา และพัฒนาแล้ว หรือแบ่งเป็นประเทศด้อยพัฒนา และประเทศที่พัฒนาแล้ว อย่างไรก็ตามการแบ่งดังกล่าวได้มีข้อคัดค้านของสำ�นักวิชาการ บางส่วน เพื่อความเข้าใจที่กว้างขวางจึงขอเสนอแนวทางการ จำ�แนกระดับของการพัฒนาออกเป็นแนวทางต่างๆ ดังนี้
ความหมายด้านการพัฒนาชุมชน นักพัฒนาชุมชนได้ให้ความหมายไว้ว่า “การพัฒนา” คือการ ที่คนในชุมชนและสังคมโดยส่วนรวมได้ร่วมกันดำ�เนินกิจกรรม เพือ่ ปรับปรุงความรูค้ วามสามารถของตนเอง และร่วมกันเปลีย่ นแปลง คุณภาพชีวิตของตนเอง ชุมชนและสังคมให้ดีขึ้น (สมศักดิ์ ศรี สันติสขุ 2525: 179) การพัฒนาเป็นเสมือนวิธหี รือมรรควิธี (Means) ที่ทำ�ให้เกิดผล (Ends) ที่ต้องการ คือ คุณภาพชีวิต ชุมชน และ สังคมดีขึ้น (ยุวัฒน์ วุฒิเมธี 2534: 2) นั ก พั ฒ นาชุ ม ชนได้ ใ ห้ ความหมายของ “การพั ฒ นา” ไว้ ใกล้เคียงกับนักสังคมวิทยา คือ เป็นวิธีการเปลี่ยนแปลงมนุษย์ และสังคมมนุษย์ ให้ดีขึ้น แต่นักพัฒนาชุมชนมุ่งเน้นที่มนุษย์ ใน ชุมชนต้องร่วมกันดำ�เนินงานและได้รับผลจากการพัฒนาร่วมกัน (สนธยา พลศรี 2547: 5) โดยสรุปแล้ว จะเห็นได้ว่าการพัฒนานั้นมีนัยใกล้เคียงกับการ เปลี่ยนแปลงทางสังคม อาทิเช่น การเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้น การ ทำ�ให้เจริญขึ้น หรืออาจมีการกล่าวถึงวิวัฒนาการทางสังคมว่าคือ การพัฒนา อย่างไรก็ตาม ยังเป็นการยากที่จะหาข้อสรุปว่า ความ หมายของการพัฒนาแท้จริงแล้วคืออะไร เนื่องจาก การพัฒนา มี ความหมายเป็นไปตามค่านิยม และกระบวนการบรรลุถึงค่านิยม ทางการพัฒนานั้น จำ�ต้องคำ�นึงถึงปรัชญาของการพัฒนา อันมี รากฐานมาจากค่านิยมทางสังคม ซึ่งแต่ละสังคมอาจมีปรัชญา การพั ฒ นาที่ แ ตกต่ า งกั น ขึ้ น อยู่ กั บ บริ บ ทสั ง คมและกาลเวลา
การแยกระดับของการพัฒนา
1. การแบ่งระดับของการพัฒนา 3 ระดับ เป็นการแบ่งตาม ลักษณะของความซับซ้อนทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองโดย มีเครื่องบ่งชี้หลายๆ ด้าน คือ 1.1 สังคมด้อยพัฒนา สังคมด้อยพัฒนามีระบบเศรษฐกิจ ทีป่ ระชาชนอยูแ่ บบหาเช้ากินค่�ำ และดำ�เนินการเองในเรือ่ งอาหาร เครื่องนุ่งห่ม และที่อยู่อาศัย ระดับของเทคโนโลยีต่ำ� เป็นเหตุ ให้การผลิตและรายได้ต่ำ�ด้วย อาชีพสำ�คัญๆ ของประชาชนอาจ ประมง และการเลี้ยงสัตว์ มีวัฒนธรรมแบบเดียว ประชาชนใน สังคมเหล่านี้เคยถูกเรียกจากคนในยุโรปว่า เป็นพวกพื้นเมือง พวกล้าหลัง หรือ พวกคนป่า ประชาชนทั้งหลายเหล่านี้เป็น เป้าหมายของพ่อค้าผู้ต้องการสินค้าแปลกๆ เพื่อเอาประโยชน์ จากธรรมชาติในประเทศนั้น และเอาผลประโยชน์จากทรัพยากร มนุษย์ และเป็นเป้าหมายของพวกมิชชันนารีที่มุ่งสู่การเผยแพร่ ศาสนา การเปลี่ยนแปลงทางสังคมในระดับนี้เกิดขึ้นช้ามากมี มาตรฐานด้านสุขภาพและการศึกษาต่ำ� และระดับการอ่านออก เขียนได้ต่ำ� และจะมีอัตราการเกิดและการตายสูง 1.2 สังคมกำ�ลังพัฒนา สังคมที่กำ�ลังพัฒนาเป็นสังคม ที่อยู่ในกระบวนการการผันแปรของกระแสแห่งการเปลี่ยนแปลง สังคมเหล่านี้มีความเป็นอิสระในทางการเมือง แต่ยังมีปัญหาที่ เป็นผลจากการตกเป็นอาณานิคมนับศตวรรษ และจากผลของการ ถูกควบคุมจากต่างประเทศ ดังนั้น จึงมีการแสวงหาเอกลักษณ์ และความภาคภูมิในด้านมรดกทางวัฒนธรรม สังคมเหล่านี้พบได้ ในทวีปแอฟริกา เอเชีย และลาตินอเมริกา ซึ่งส่วนใหญ่มักเป็น
การพัฒนาชนบท : 6
ประเทศเกษตรกรรม มีระบบการผลิตแบบทุนนิยม มีการพึ่งพา ประเทศที่พัฒนามากกว่า และชนบทก็จะพึ่งพาอาศัยเมืองในด้าน ต่างๆ เช่น สินค้า ค่านิยม ความเจริญทางเทคโนโลยี เป็นต้น ปัญหาโดยทั่วๆ ไป ที่พบในประเทศกำ�ลังพัฒนา เช่น ความยาก จนที่แผ่กระจายและเรื้อรัง การเพิ่มขึ้นของการว่างงาน และการ จ้างงานต่ำ�กว่าระดับ การเพิ่มช่องว่างของการกระจายรายได้และ การเพิ่มขึ้นของความไม่เท่าเทียมกันในด้านเศรษฐกิจ สังคม และ ด้านสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมระหว่างชาติ 1.3 สังคมที่พัฒนาแล้ว การอุตสาหกรรม ความทันสมัย (Automation) พหุนยิ มทางวัฒนธรรม การเปลีย่ นแปลงทางสังคม ที่รวดเร็ว และมาตรฐานการครองชีพสูง เป็นสิ่งที่บ่งบอกลักษณะ ของสังคมที่ที่พัฒนาแล้ว สังคมเหล่านี้มีความก้าวหน้าทาง เทคโนโลยีมีการกำ�หนดรูปแบบด้านการลงทุน การออม มีการ แบ่งกันอย่างชัดเจนในเรื่องของอิทธิพลของครอบครัว กิจกรรม ทางเศรษฐกิจ พิธีการทางศาสนาและการควบคุมชุมชนสถาบัน ทางสังคมทีแ่ ตกต่างกัน ทำ�ให้มคี วามชัดเจนในการจัดสรรสวัสดิการ ของประเทศ สหรัฐอเมริกา แคนาดา ประเทศในยุโรปตะวันตก ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ญี่ปุ่นและรัสเซีย จัดเป็นประเทศที่พัฒนา แล้ว ประเทศพัฒนาแล้วส่วนมาก หน้าที่นิติบัญญัติในทางทฤษฎี อยู่ในอำ�นาจของเสียงส่วนใหญ่ สภาผู้แทนรัฐสภาหรือสภาสูง โซเวียต ในทางปฏิบัติจะดำ�เนินการโดยกลุ่มคนเล็ก ๆ ที่เรียกว่า คณะรัฐมนตรี หรือสภาเปรสิเดียม ซึ่งใช้อำ�นาจของตนในกิจการ ทุกอย่างทางรัฐบาล รัฐบาลจะเป็นเครื่องมือในการควบคุมสังคม และรับผิดชอบเพื่อความผาสุกของประชาชน 2. การแบ่งประเทศของโลกออกเป็น 3 กลุม่ และแนวคิดเหนือ ใต้ จากภาพของระดับการพัฒนาที่พูดมาแล้ว ก็ยังได้มีการแบ่ง ทุกประเทศในโลกออกเป็นสามชั้นโดยถือเอาความแตกต่างทาง ด้านการเมือง และเศรษฐกิจแบ่งออกเป็นโลกที่หนึ่ง โลกที่สอง และโลกที่สาม ส่วนแนวคิดเหนือใต้เป็นการแบ่งโดยยึดถือเอา ลักษณะทางภูมิศาสตร์ของประเทศต่างๆ เป็นเกณฑ์
กฎหมาย มีพรรคการเมืองใหญ่ ๆ น้อย และพรรคการเมืองเหล่า นี้มีความแตกต่างกันทางด้านยุทธศาสตร์มากกว่าความแตกต่าง กันทางด้านอุดมการณ์ มีการจัดองค์การทางราชการที่ดีและทหาร จะอยู่ภายใต้อำ�นาจรัฐบาล 2.1.2 โลกที่สอง (The Second World) สหภาพ โซเวียตและพันธมิตรและประเทศภายใต้อิทธิพลในยุโรปตะวันออก และบางส่ ว นของเอเชี ย เป็ น ประเทศโลกที่ ส องประเทศเหล่ า นี้ มีลักษณะคล้ายประเทศโลกที่หนึ่ง คือ ส่วนมากมีความเจริญ ก้าวหน้าทางด้านอุตสาหกรรม และมีความเป็นเมืองสูง เศรษฐกิจ ของพวกนี้เป็นสังคมนิยมที่มีพื้นฐานแบบรัฐที่เป็นเจ้าของปัจจัย การผลิต รัฐกำ�หนดนโยบายการออม เศรษฐกิจถูกวางแผนจาก ส่วนกลาง การจัดระเบียบกิจการของรัฐเป็นประชาธิปไตยแบบ รวมศูนย์ การกำ�หนดกฎหมายโดยอำ�นาจหน้าที่มีเหตุผลและมี พื้นฐานบนอุดมการณ์ของสังคมนิยมมิวนิสต์ชนชั้นปกครองมี อิทธิพลเหนือระบบพรรคเดียว และการรวมศูนย์อำ�นาจจะถูก กำ�หนดจากเบื้องสูง ทหารอยู่ภายใต้การควบคุมของพลเรือนโดย สิ้นเชิง ศาสนาและโบสถ์ถูกลดความสำ�คัญหรือถูกจำ�กัดขอบเขต 2.1.3 โลกที่สาม (The Third World) ประเทศกำ�ลัง พัฒนาซึ่งไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดในแอฟริกา เอเชีย ลาตินอเมริกา และ แถบคาริบเบี้ยน เป็นประเทศในโลกที่สาม ชาติเหล่านี้ไม่ได้มีส่วน สัมพันธ์กับองค์การสนธิสัญญาเพื่อแอตแลนติกเหนือ (NATO) หรือกติกาสัญญาวอซอร์ (Warsaw Pact) ประเทศเหล่านี้ พิจารณาตนเองว่า ได้พัฒนาสังคมและวัฒนธรรมแล้ว และพัฒนา ยังไม่เพียงพอในด้านเศรษฐกิจและเทคโนโลยี เศรษฐกิจอาจจะ เป็นแบบทุนนิยมหรือสังคมนิยม ประเทศเหล่านี้ไม่เป็นอาณานิคม ของใครและมีลักษณะทางเศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรม และการ เมืองที่แตกต่างกัน จึงมีความแตกต่างในด้านความคิดเห็นอยู่ เสมอๆ พวกเขารับความช่วยเหลือจากประเทศในโลกที่หนึ่งหรือ โลกที่สองและประเทศเหล่านี้เป็นผู้ส่งออกสำ�คัญในเรื่องวัตถุดิบ ต่าง ๆ สู่ตลาดโลก
2.1 การแบ่งตามลักษณะการเมือง และเศรษฐกิจ แบ่ง คำ�อื่นที่ใช้ในกลุ่มนี้ คือกลุ่ม 77 เพราะในปี 1964 ได้เป็น 3 กลุ่ม คือ มีชาติกำ�ลังพัฒนา 77 ประเทศชุมนุมกัน ครั้งแรกในกรุงโรม หลายปีต่อมาจำ�นวนชาติที่เข้าร่วมในกลุ่มเพิ่มขึ้นในปี 1976 มี 2.1.1 โลกที่หนึ่ง (The First World) สหรัฐอเมริกา การประชุมที่กรุงมะนิลา (20 มกราคม 1976) มีจำ�นวนชาติ รวมทัง้ พันธมิตรในยุโรปตะวันตก แคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ เข้าประชุม 106 ชาติ แต่พวกนี้ก็ยังยึดถือข้อเดิม คือ กลุ่ม 77 และญี่ปุ่น เหล่านี้คือ ประเทศในโลกที่หนึ่ง ประเทศเหล่านี้ ประเทศที่พัฒนาน้อย (Less developed countries-LDCs) เป็น ร่ำ�รวย และมีระดับการพัฒนาสูงแล้ว มีระบบเศรษฐกิจแบบ ชื่ออีกชื่อที่หมายถึงประเทศในโลกที่ 3 ทุนนิยม เป็นทั้งนักแสวงหาอาณานิคม และทุนนิยม และมีการ สร้างฐานเศรษฐกิจโพ้นทะเล ซึ่งจะนำ�เอาวัตถุดิบหรือพัฒนา 2.2 การแบ่งตามลักษณะที่ตั้งทางภูมิศาสตร์เหนือและ ศักยภาพตลาดเพื่อขายสินค้าต่างๆ ประเทศเหล่านี้มีอำ�นาจ ใต้ (North and south) ในตอนสุดท้าย ชาติต่างๆ ในโลกถูกแบ่ง ในการควบคุมนโยบายทางการเมืองระหว่างชาติ รูปแบบการ เป็นเหนือและใต้ โดยการแบ่งตามซีกโลกทางเหนือและทางใต้ ปกครองเป็นประชาธิปไตยแบบรัฐสภาซึ่งกำ�หนดโดยอำ�นาจทาง ทางเหนือประกอบด้วย ประเทศที่กำ�ลังพัฒนาแล้วทั้งหมด มี การพัฒนาชนบท : 7
บทที่ 1 ความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนา
ความก้าวหน้า และเป็นประเทศอุตสาหกรรมประเทศเหล่านี้รวม ถึงสหภาพโซเวียต และประเทศบางประเทศในยุโรปตะวันออกด้วย ประเทศทางใต้ หมายถึง ประเทศกำ�ลังพัฒนา ซึ่งมีความแตก ต่างกันบ้างจากประเทศที่กำ�ลังพัฒนาในระดับกลาง ถึงประเทศ ที่พัฒนาน้อย ประเทศเหล่านี้รวมถึงประเทศต่างๆ ที่อยู่ตอนใต้ ของสหรัฐอเมริกา ทวีปแอฟริกา เอเชีย ยกเว้นประเทศญี่ปุ่น สาธารณรัฐประชาชนจีน และยูโกสลาเวีย ความไม่เท่าเทียมกัน ด้านรายได้ระหว่างประเทศทางเหนือ และประเทศทางใต้เห็นได้ ชัดเจน และนับวันจะมีช่องว่างมากขึ้น เพราะอำ�นาจทางเศรษฐกิจ และการควบคุมการค้าระหว่างประเทศ อยู่ในกำ�มือของประเทศที่ พัฒนาแล้วในประเทศทางเหนือ
แนวคิดในการพัฒนา
ปรับปรุงแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคม ในรูปของการวางแผน ปฏิบัติการ เช่น การปฎิรูปที่ดิน การสหกรณ์ การพัฒนาชนบท เป็นต้น และเรียกวิธีการนี้ว่า การพัฒนา ซึ่งการพัฒนาถือว่าเป็น ผลของการปฏิบัติการทางสังคม 5. แนวความคิดแบบความขัดแย้งทางสังคม (Social conflict) เป็นแนวความคิดของพื้นฐานการพัฒนาประเทศด้วยระบอบสังคม นิยม ที่นำ�ทฤษฎีความขัดแย้งมาใช้เป็นแนวทางในเปลี่ยนแปลง โครงสร้างและระบบสังคม ตามแนวคิดนี้ การพัฒนาอาจก่อให้เกิด ความตึงเครียดและความขัดแย้งขึ้นในสังคม เช่น ในแบบแผน วัฒนธรรม สัดส่วนระหว่างอาชีพกับจำ�นวนประชากร การทำ�งาน ในองค์กร ชนชั้นทางสังคม ฯลฯ นอกจากนี้ความขัดแย้งทุก รูปแบบมักมีความสัมพันธ์กันและมีผลกระทบมากน้อยต่างกัน
การพัฒนามีหลายแนวคิดด้วยกัน ขึ้นอยู่กับฐานความคิดและ 6. แนวความคิดแบบการพัฒนาชุมชน (Community develความสนใจของผู้ศึกษา โดยทั่วไป แนวคิดการพัฒนาจะสัมพันธ์กับ แนวคิดทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงทางสังคม สนธยา พลศรี (2547: opment) เป็นแนวความคิดที่องค์การสหประชาชาตินำ�ไปใช้ เป็นแนวทางในการพัฒนาที่กล่าวมาแล้ว ในเรื่องความเป็นมา 7-8) ได้สรุปแนวคิดในการพัฒนาไว้ 6 แนวคิดด้วยกัน ดังนี้ ของการพัฒนา กล่าวคือ การให้คนและกลุ่มคนในชุมชนเป็น 1. แนวความคิดแบบวิวัฒนาการ (Evolution) แนวคิดนี้ ได้ ศูนย์กลางของการพัฒนาและเป็นผู้นำ�ได้รับผลของการพัฒนา อธิบายถึงประวัติศาสตร์ของมนุษย์ที่มีการเคลื่อนย้ายจากภาวะ ตามหลักการและวิธีการพัฒนาชุมชน หนึง่ ไปสูอ่ กี ภาวะหนึง่ ทีส่ งู กว่า (Higher stage) ทำ�ให้มนุษย์มคี วาม ก้าวหน้าในด้านต่างๆ มากขึ้น เช่น มีชีวิตที่อุดมสมบูรณ์มากขึ้น ร่�ำ รวยมากขึน้ มีเหตุผลมากขึน้ มีความแตกต่างกันมากขึน้ เป็นต้น แนวความคิดของการพัฒนา การพัฒนาในแนวความคิดนี้จึงมีความหมายใกล้เคียงกับคำ�ว่า ความก้าวหน้า (Progress) มาก วิวัฒนาการ 2. แนวความคิดแบบการเปลีย่ นแปลงทางสังคม (Social change) เป็นแนวความคิดทีเ่ กิดขึน้ ในคริสต์ศตวรรษที่ 20 เนือ่ งจากมีการ เปลี่ยนแปลงมีความเป็นกลางมากกว่าการพัฒนา ไม่เกี่ยวข้องกับ อดีตหรืออนาคตอันรุ่งโรจน์ แต่ให้ความสนใจในการศึกษาการ เปลีย่ นแปลงอาจมีรปู แบบเป็นการปฏิรปู (Reformation) คือ เฉพาะ ในโครงสร้างใดโครงสร้างหนึ่งเท่านั้น และเป็นการปฏิวัติ (Revolution) คือ การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทั้งหมดของสังคม
การเปลี่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐศาสตร์ ปฏิบัติการทางสังคม ความขัดแย้งทางสังคม การพัฒนาชุมชน
3. แนวความคิดแบบเศรษฐศาสตร์ (Economic) นักเศรษฐศาสตร์ แผนภาพที่ 1.1 แสดงแนวความคิดของการพัฒนา นำ�การพัฒนาไปใช้ในการจัดประเภทของประเทศต่างๆ ตามเกณฑ์ ที่มา: สนธยา พลศรี (2547:9) ที่กำ�หนด เช่น รายได้ประชาชาติ การรู้หนังสือ การมีงานทำ� เป็นต้น ออกเป็นประเทศพัฒนาแล้ว ประเทศกำ�ลังพัฒนา และ ประเทศด้วยพัฒนา หรือประเทศโลกที่ 1 ประเทศโลกที่ 2 และ ประเทศโลกที่ 3 การพัฒนาในแนวความคิดนี้ จึงมีความหมาย ลักษณะการพัฒนา การพัฒนา ถูกตีความหมายในหลายด้าน และหลากหลาย ใกล้เคียงกับคำ�ว่า ความเป็นอุตสาหกรรม(Industrialization) ความ แนวคิดเช่นเดียวกัน จึงมีผลทำ�ให้ลักษณะของการพัฒนามีหลาย ทันสมัย (Modernization) และการเจริญเติบโต (Growth) มาก ประการ สนธยา พลศรี (2547: 5-7) ได้สรุปลักษณะของการพัฒนา 4. แนวคามคิดแบบการปฏิบัติการทางสังคม (Social action) เป็นแนวความคิดที่เกิดจากรัฐบาลของประเทศต่างๆ พยายาม ที่สำ�คัญ ไว้ดังต่อไปนี้ การพัฒนาชนบท : 8
1. เป็นการเปลีย่ นแปลงด้านต่างๆ เช่น ด้านคุณภาพ ปริมาณ และสิ่งแวดล้อมของสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้ดีข้นึ หรือให้มีความเหมาะสม อันเป็นการเปลี่ยนแปลงอย่างรอบด้าน ไม่ใช่เปลี่ยนแปลงใน ด้านใดด้านหนึ่งเพียงด้านเดียวเท่านั้น หรืออาจจะเรียกได้ว่า ต้องเป็นการเปลี่ยนแปลง ทั้งระบบ ซึ่งเป็นลักษณะตามความ หมายทางด้านพัฒนบริหารศาสตร์ 2. มีลกั ษณะเป็นกระบวนการ (Process) คือ เป็นการเปลีย่ นแปลงที่เกิดขึ้นตามลำ�ดับขั้นตอนอย่างต่อเนื่องกัน โดยแต่ละ ขั้นตอนมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันเป็นลำ�ดับ ไม่สามารถข้าม ขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งได้ 3. มีลกั ษณะเป็นพลวัต (Dynamic) คือ เป็นการเปลีย่ นแปลง ที่เกิดขึ้นตลอดเวลาไม่หยุดนิ่ง แต่การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจะ เป็นแบบรวดเร็วหรือช้าๆ ปริมาณมากหรือน้อยก็ได้ 4. เป็นแผนและโครงการ คือ เกิดขึ้นจากการเตรียมการ ไว้ล่วงหน้าว่าจะเปลี่ยนแปลงใคร ด้านใด ด้วยวิธีการใด เมื่อไร ใช้งบประมาณเท่าใด ใครรับผิดชอบ เป็นต้น ไม่ใช่เป็นการ เปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นโดยไม่มีการเตรียมการไว้ล่วงหน้า 5. เป็นวิธีการ การพัฒนาเป็นมรรควิธี หรือกลวิธีที่นำ�มาใช้ ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงตามเป้าหมายที่กำ�หนดไว้ เช่น การ พัฒนาสังคม การพัฒนาชนบท การพัฒนาเมือง การพัฒนา เศรษฐกิจการพัฒนาชุมชน ต่างก็เป็นวิธีการพัฒนาแบบหนึ่งที่มี ลักษณะเฉพาะเป็นของตนเอง 6. เป็นปฏิบัติการ คือ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริง ไม่เป็นเพียง แนวความคิด หรือเป็นเพียงรายละเอียดของแผนและโครงการ เท่านั้น เพราะการพัฒนาเป็นวิธีการที่ต้องนำ�มาใช้ปฏิบัติจริงจึง จะเกิดผลตามที่ต้องการ 7. เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากการกระทำ�ของมนุษย์ เพื่อประโยชน์ ของมนุษย์ เพราะมนุษย์เป็นสัตว์โลกประเภทเดียวที่สามารถจัด ทำ�แผนโครงการและคิดค้นวิธีการพัฒนาตนเองและสิ่งต่างๆได้ การเปลี่ยนแปลงใดก็ตามถ้าไม่ได้เกิดจากการกระทำ�ของมนุษย์ แล้ว จะไม่ใช่การพัฒนา แม้ว่าจะมีลักษณะอื่น เหมือนกับการ พัฒนาก็ตาม 8. ผลที่เกิดขึ้นมีความเหมาะหรือพึงพอใจ ทำ�ให้มนุษย์และ สังคมมีความสุขเพราะการพัฒนาเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ และการอยู่ร่วมกันเป็นสังคมของมนุษย์นั่นเอง 9. มีเกณฑ์หรือเครื่องชี้วัด คือ สามารถบอกได้ว่าลักษณะที่ เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงนั้น เป็นการพัฒนาหรือไม่ ซึ่งอาจ ดำ�เนินการได้หลายวิธี เช่น เปรียบเทียบกับสภาพเดิมก่อนที่จะ เกิดการเปลี่ยนแปลง กำ�หนดเกณฑ์มาตรฐานในการชี้วัดในด้าน ต่างๆ โดยเฉพาะด้านคุณภาพ ปริมาณ สิ่งแวดล้อม ความคงทน ถาวร การประเมินผลจากผู้ที่เกี่ยวข้องว่ามีความเหมาะสม หรือพึงพอใจหรือไม่ และระดับใด เป็นต้น
10. สามารถเปลี่ยนแปลงได้ การพัฒนานอกจากจะทำ�ให้ เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อมนุษย์สังคม และสิ่งต่างๆ ที่เกี่ยวข้อ กับมนุษย์แล้ว รูปแบบ กระบวนการ และวิธีการ พัฒนาเอง ก็สามารถเปลี่ยนแปลงได้ เนื่องจากมนุษย์และสังคมเกิดการ เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ทั้งการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเอง ตามธรรมชาติ และการเปลี่ยนแปลงที่เป็นผลของการพัฒนา จึงมีความจำ�เป็นต้องปรับปรุงเปลี่ยนแปลงกระบวนการพัฒนา ให้เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ด้วยการพัฒนาใหม่ๆ จึงเกิดขึ้นอยู่เสมอ ลักษณะทั้ง 10 ประการนี้ เป็นลักษณะรวมของ การพัฒนา การเปลีย่ นแปลงทีข่ าดลักษณะใดลักษณะหนึง่ จะไม่ใช้การพัฒนา เป็นเพียงการเปลี่ยนแปลงในรูปแบบหนึ่งที่มีความหมายใกล้ เคียงกับการพัฒนาเท่านั้น การเปลี่ยนแปลงลักษณะนี้มีอยู่ทั่วไป และมีผู้นำ�มาใช้แทนการพัฒนาซึ่งไม่ถูกต้อง เพราะการพัฒนา ต้องมีลักษณะรวมกันทั้ง 10 ประการ ดังกล่าวแล้ว ลักษณะ ของการพัฒนาอาจสรุปได้ ดังแผนภาพที่ 1.2
การพัฒนาชนบท : 9
ลักษณะของการพัฒนา การเปลี่ยนแปลงคุณภาพ ปริมาณ สิ่งแวดล้อม กระบวนการ พลวัต แผนและโครงการ วิธีการ ปฏิบัติการ การกระทำ�ของมนุษย์ มีความเหมาะสม มีเกณฑ์ชี้วัด เปลี่ยนแปลงได้
แผนภาพที่ 1.2 แสดงลักษณะของการพัฒนา ที่มา: สนธยา พลศรี (2547:7)
บทที่ 1 ความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนา
PIC DEVELOPMENT FACTOR
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนา
2. สิง่ แวดล้อมทางสังคมวัฒนธรรม (Socio-cultural environment) อิทธิพลทางสิ่งแวดล้อม คือการพัฒนามีผลจากการก ระทำ�ระหว่างกัน ระหว่างพลังทางสังคมและวัฒนธรรม สังคม ที่ตั้งอยู่ที่ที่มีการติดต่อสื่อสารกับต่างชาติมากๆ เช่น ประเทศใน แผ่นดินทวีปยุโรป เอเชีย และแอฟริกา มักจะเป็นศูนย์กลางการ เปลี่ยนแปลงทางสังคม สังคมที่มีสภาพทางภูมิศาสตร์แยกตัว ออกไปก็จะมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนแปลงน้อยกว่าการกระทำ�ระหว่าง 1. สิง่ แวดล้อมทางกายภาพ ส่วนประกอบต่างๆ ของสิง่ แวดล้อม กั น ของปั จ จั ยทางสั ง คมและวั ฒ นธรรมกั บ สภาพแวดล้ อ มทาง ทางกายภาพ เช่น ที่ตั้งและสภาพทางภูมิศาสตร์ ชนิดของดิน กายภาพ เป็นบ่อเกิดแห่งการพัฒนา อากาศ แบบของพื้นที่และแหล่งน้ำ�สิ่งเหล่านี้มีอิทธิพลมากต่อ สิ่งแวดล้อมทางสังคม หมายถึง กลุ่มต่างๆ และการกระทำ� การพัฒนาประเทศ ไม่มีชาติสองชาติที่มีสิ่งแวดล้อมเหมือนกัน อย่างแท้จริง ประเทศที่มีภูเขาอาจจะได้รับความสำ�เร็จจากการ ระหว่างกันทางสังคมที่กำ�ลังเกิดขึ้นในกลุ่มเฉพาะของประชาชน พัฒนาแตกต่างจากประเทศในทะเลทรายแห้งแล้ง หรือประเทศ สิ่งแวดล้อมทางวัฒนธรรม หมายถึง แนวทางการเรียนรู้การมี บนเกาะในเขตร้อน ปัจจัยบางอย่างทางกายภาพอาจส่งเสริมการ ชีวิตอยู่และบรรทัดฐาน (Norms) ของพฤติกรรมซึ่งถ่ายทอดไป พัฒนา ขณะที่บางปัจจัยก่อให้เกิดข้อจำ�กัดในการพัฒนา เช่น สู่ชนรุ่นหลัง ผ่านกลุ่มทางสังคมในประชากรกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ประเทศไทยสามารถทำ�การเกษตรได้ดีกว่าประเทศในแถบทะเล ปัจจัยทางสังคมวัฒนธรรมที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนา มีดังนี้ ทราย ลักษณะของพื้นที่ก็มีผลต่อคนด้วย พื้นที่ที่เป็นที่ราบส่วน 2.1 ประชากร (Population) หมายถึง จำ�นวนประชากร มากใช้ผลิตทางด้านเกษตรกรรมและเป็นพื้นที่ที่เป็นที่อยู่ของ ประชากรส่วนใหญ่ของโลก ประมาณร้อยละ 71 ของพื้นผิวโลก ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง ความรู้เกี่ยวกับขนาดของประชากร เป็นน้ำ� คนไม่สามารถอยู่ได้โดย ปราศจากน้ำ�ซึ่งเป็นสิ่งจำ�เป็น การกระจายของประชากร การจัดองค์ประกอบของประชากร และ สำ�หรับการครองเรือน การเกษตร การอุตสาหกรรม การเชื่อม การเปลี่ยนแปลงของประชากร ช่วยทำ�ให้เข้าใจถึงการด้อยพัฒนา ต่อระหว่างเกาะและทวีปต่างๆ และพื้นผิวมหาสมุทรยังถูกพัฒนา ประชากรที่ กระจั ด กระจายอาจไม่ มี แ รงงานเพี ย งพอในการ พัฒนาทรัพยากรของประเทศ ในทางกลับกันประเทศก็อาจมี เป็นแหล่งอาหารและวัตถุดิบในการอุตสาหกรรม มีปัจจัยหลายอย่างที่มีผลต่อปัจจัยอื่นๆ ซึ่งอาจจะเป็นบ่อเกิด ของการพัฒนาดังเช่นสิง่ แวดล้อม หรือสภาพแวดล้อมอันประกอบ ด้วยสิ่งต่างๆ รอบๆ ตัวเรา อย่างไรก็ตามธรรมชาติและทิศทาง ที่แท้จริงของการเปลี่ยนแปลงนั้น ขึ้นอยู่กับขนาด ปริมาณ สภาพ เฉพาะ และเวลาที่มันเกิดขึ้น ได้แบ่งปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการ พัฒนาออกเป็น 2 ประการสำ�คัญคือ
การพัฒนาชนบท : 10
ประชาชนในจำ � นวนมากกว่ า ทรั พ ยากรที่ จ ะเอื้ อ ประโยชน์ ใ ห้ อย่างไรก็ตาม สังคมส่วนใหญ่กำ�ลังเผชิญปัญหาประชากรมีมาก เกินไป สิ่งนี้คือ ปัญหาที่รุนแรงที่สุดของประเทศในโลกที่สาม ในทุกวันนี้ ถ้าประชากรโลกยังเพิม่ อยู่ในอัตราปัจจุบนั ความต้องการ อาหารและองค์ประกอบทางด้านทรัพยากรธรรมชาติ จะไม่สามารถ ตอบสนองได้ 2.2 ความนึกคิด (Ideas) ความนึกคิดทำ�ให้เกิดความ สามารถในการประกอบมโนภาพ (Conception) ของคนต่อโลก ทางกายภาพ สังคม และวัฒนธรรม คตินิยม (Ideology) ได้มาจาก สภาพทางสังคม ความเห็นทางคตินิยม สามารถเป็นพลังที่เด่น ชัดในการนำ�ทางการพัฒนาชาติความเห็นสัมผัสทัศนคติ แรงจูงใจ และรูปแบบพฤติกรรมของประชาชน ประชาชนโดยทั่ว ๆ ไปมีแนว โน้มที่จะยอมรับระบบความเชื่อที่เขาทั้งหลายเชื่อ ไม่ว่าสิ่งเหล่านี้ จะผิดหรือถูก และจากสิ่งนี้จะสัมพันธ์กับผลประโยชน์ของพวกเขา ความนึกคิด (Ideas) มักจะแสดงออกในรูปของคำ�ขวัญ (Slogan) ซึ่งความนึกคิดนี้เป็นส่วนสำ�คัญในการเปลี่ยนแปลงทาง สังคม ตัวอย่างเช่น การเรียกร้องเสรีภาพ (Liberty) ความเสมอภาค (Equality) ภราดรภาพ (Fraternity) หรือการปฏิวัติฝรั่งเศสที่มี อิทธิพลต่อเหตุการณ์ทางการเมืองไม่เพียงแต่ในฝรั่งเศส แต่เกิด กับอีกหลายประเทศในทำ�นองเดียวกันกับการเรียกร้องรัฐธรรมนูญ ของคนไทยจนกระทั่งเกิดเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 อันเป็นผล ต่อการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ตามมา ความนึกคิดเป็นส่วนสำ�คัญโดยเฉพาะของการพัฒนา ในประเทศที่มุ่งจะเปลี่ยนแปลงเพราะเป็นการกำ�หนดแนวทาง ของชีวิตในรูปของอุดมการณ์ และแนวทางคิดของเราว่าอะไรใน อนาคตที่เราต้องการจะให้มันเป็น ความคิดของเรากำ�หนดว่าอะไร ที่เราสนอกสนใจ อะไรคือสิ่งที่จำ�เป็นของเรา สิ่งนี้เกิดขึ้นอย่าง ชัดเจนในประเทศทีพ่ ฒ ั นาน้อย ซึง่ พยายามทีจ่ ะทำ�ให้ตนเองทันสมัย ตามประเทศที่ก้าวหน้าทางอุตสาหกรรม 2.3 เทคโนโลยี (Technology) เทคโนโลยีประกอบด้วย สิ่งต่างๆ ทางวัตถุและแหล่งของความรู้ ทักษะและทัศนคติที่ จำ�เป็นที่เปลี่ยนแปลงทรัพยากรที่มีอยู่ให้เป็นสิ่งที่คนมีความจำ�เป็น และต้องการเทคโนโลยี รวมถึงวิธีการที่มีระบบที่ควบคุมการผลิต โดยเทคนิคการประหยัดแรงงานและการสื่อสาร การดำ�เนินการ ขนส่งที่ทันสมัย นวัตกรรม หรือการเปลี่ยนแปลงใหม่ (Innovation) ทาง เทคโนโลยีจะถูกยอมรับได้ ถ้ามันมีประโยชนอย่างชัดเจน แต่ บรรทัดฐานทางสังคมและการจัดแจงทางวัฒนธรรมที่ค่อนข้าง อนุรักษ์นิยม จะปรับตัวอย่างช้าๆ ต่อการเปลี่ยนแปลงทางวัตถุ ระดับของเทคโนโลยีของประเทศใดประเทศหนึ่ง เป็นปัจจัยหลัก ในการพั ฒ นาสั ง คมที่ มี ความก้ า วหน้ า ทางเทคโนโลยี ม ากกว่ า จะเป็ น สั ง คมที่ มี แ นวโน้ ม ในการเปลี่ ย นแปลงที่ ร วดเร็ ว กว่ า
2.4 เหตุการณ์ต่างๆ (Events) คำ�ว่าเหตุการณ์ หมายถึง สิง่ ทีเ่ กิดขึน้ โดยไม่ได้คาดการณ์ และไม่ได้ก�ำ หนดเฉพาะเหตุการณ์ ในประเทศไทย เช่น การปฏิวตั ิในปี2475 นำ�มาซึง่ การเปลีย่ นแปลง ทางด้านการเมือง การปกครองและระบบสังคม โดยส่วนรวม ตลอดจนแนวทางการพัฒนาประเทศที่เป็นผลต่อแนวทางการ เปลี่ยนแปลงสังคม 2.5 การดำ�เนินการเป็นกลุ่ม บทบาทของการดำ�เนินการ เป็นกลุ่มในการเปลี่ยนแปลง สังคมเป็นส่วนสำ�คัญอีกอย่างที่มี อิทธิพลต่อการพัฒนาพฤติกรรมกลุ่มไม่เพียงแต่เป็นตัวเริ่มต้น ของการเปลี่ยนแปลง แต่เป็นสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงด้วย เช่น แฟชั่นที่นิยมกันในระยะสั้นๆ การเดินขบวนการประท้วง การปฏิรูป และการปฏิวัติสิ่งเหล่านี้มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ปัจจัยต่าง ๆ ดังกล่าวข้างต้น มีความคล้ายคลึงกันกับปัจจัย ที่สนับสนุนการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่เสนอโดย สุพัตรา สุภาพ (2531) มี 7 ประการดังนี้ 1. สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ 2. การเปลี่ยนแปลงทางด้านประชากร 3. การอยู่โดดเดี่ยวและการติดต่อเกี่ยวข้อง 4. โครงสร้างของสังคมและวัฒนธรรม เช่น สังคมที่มีการ เคารพผู้อาวุโสที่ปฏิบัติกันมานานจะมีการเปลี่ยนแปลงน้อย 5. ทัศนคติและค่านิยม เช่น ชาวอเมริกนั เห็นการเปลีย่ นแปลง เป็นเรื่องธรรมดา 6. ความต้องการทีร่ บั รู้ เช่น สังคมทีย่ อมรับสิง่ ประดิษฐ์ใหม่ ๆ จะกระตุ้นให้คนในสังคมต้องการสิ่งใหม่ๆ 7. พื้นฐานทางวัฒนธรรม ถ้าพื้นฐานทางวัฒนธรรมเจริญขึ้น สิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ ก็จะเกิดขึ้นจำ�นวนมาก
ปรัชญาและเป้าหมายของการพัฒนา
ปรัชญาการพัฒนา กล่าวได้ว่าเป็นความร่วมมือร่วมใจของ คนในสังคมเพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง โดยได้รับจากแรง กระตุ้นภายใต้สภาวะที่เหมาะสม อันจะนำ�ไปสู่การอยู่ร่วมกัน อย่างผาสุกในสังคม นัน่ คือปรัชญาการพัฒนาซึง่ จะต้องประกอบ ด้วยประเด็นต่างๆ ดังต่อไปนี้ 1. การพัฒนาตนเอง การพึ่งตนเองหรือการช่วยเหลือตนเอง (Self help) 2. อาสาสมัครร่วมมือร่วมใจ (Voluntary participation) 3. ความเสมอภาค ความสมดุล และการกระจายทีเ่ ท่าเทียมกัน (Equity and distribution) 4. ความผาสุกและคุณภาพชีวิต (Quality of life)
การพัฒนาชนบท : 11
บทที่ 1 ความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนา
ปรัชญาของการพัฒนานั้นอาจจะมีความหมายแตกต่างกัน ออกไปตามลักษณะเนื้อหาของสาขาวิชาที่เน้นหนักไปส่วนใด ส่วนหนึง่ โดยเฉพาะ กรณีของการพัฒนาชุมชนนัน้ จะเป็นปรัชญา ที่เน้นเรื่องคุณค่าของมนุษย์ โดยถือว่ามนุษย์เป็นทรัพยากร บุคคล (Human resource) ที่มีคุณค่า มนุษย์มีความ สามารถและมีพลังอันซ่อนเร้น (Potential ability) แฝงอยู่ ได้แก่ พลังความคิด แรงงาน ฝีมือ ทักษะ ตลอดจนมีความ ยุติธรรม (Social justice) และตั้งอยู่บนพื้นฐานของการ รักษาหรือการแสวงหาการพัฒนาคุณภาพและคุณธรรมของ ประชาชนให้เกิดความสมดุลมากขึ้น (กฐิน ศรีมงคล 2542: 8) เพื่อให้บรรลุถึงปรัชญาการพัฒนา และเพื่อให้เกิดการเปลี่ยน ไปสู่เป้าหมายที่คนส่วนใหญ่ของสังคมปรารถนา แนวทางและ กระบวนการพัฒนาจึงเกีย่ วข้องกับการปรับปรุงและการเปลีย่ นแปลง ในหลายๆ ส่วนด้วยกันโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเปลี่ยนแปลงใน ระดับโครงสร้างสังคม ดังนัน้ จึงอาจกล่าวได้วา่ แนวทางการพัฒนา มี 4 แนวทางสำ�คัญตามโครงสร้างหลักของสังคม คือแนวทาง การพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม การปกครอง และการเมือง 1. การพัฒนาเศรษฐกิจ (Economic development) มีจุดมุ่ง หมายในการสร้างความเจริญทางเศรษฐกิจ (Economic growth) เช่นการสะสมทุน การเงินการธนาคาร การลงทุนเพื่อการผลิต การลงทุนด้านอุตสาหกรรม และโครงสร้างพื้นฐาน อย่างเช่น การคมนาคมขนส่ง และการกระจายรายได้ แต่โดยทั่วไป การพัฒนาเศรษฐกิจมักจะเกี่ยวข้องโดยตรงกับภาคเกษตรกรรม (Agricultural sector) และภาคอุตสาหกรรม (Industrial sector) 1.1 การพัฒนาภาคเกษตรกรรม มีจุดมุ่งหมายในการ เพิม่ ผลผลิตทางการเกษตรเพือ่ เลีย้ งประชากรโลก และเป็นปัจจัย การผลิตสำ�หรับการส่งเสริมด้านอุตสาหกรรมของประเทศ 1.2 การพัฒนาภาคอุตสาหกรรม เป็นความพยายาม ที่จะส่งเสริมการอุตสาหกรรมโดยการใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ จากเทคโนโลยีเพื่อการผลิตทางเศรษฐกิจ การจัดองค์การ การ ขนส่งและ การติดต่อสื่อสาร เป็นต้น 2. การพัฒนาสังคม (Social development) การพัฒนาสังคม มักมีความสัมพันธ์กบั การพัฒนาเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก เป้าหมาย ของการพัฒนาสังคมที่สำ�คัญ คือการรู้หนังสือ (Literacy) และ การให้สวัสดิการสังคม (Social welfare) แก่ประชาชน 2.1 การรูห้ นังสือ มุง่ ให้ประชาชนอ่านออกเขียนได้ เพือ่ นำ�ความรู้ดังกล่าวมาปรับใช้กับชีวิตความเป็นอยู่ในสังคม เช่น การทำ�งานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น มีหน้าที่การงานที่ดีขึ้น มี
ความปลอดภัยในการทำ�งาน เป็นต้น 2.2 สวัสดิการสังคม เป็นการให้บริการสังคมเพื่อมุ่ง แก้ปัญหาสังคม และถือเป็นการเตรียมการสำ�หรับรองรับสังคม อุตสาหกรรมใหม่ เช่น การจัดทำ�โครงการเกี่ยวกับสุขภาพ การ ศึกษา การประกันสังคม เป็นต้น 3. การพัฒนาการปกครอง (Administrative development) โครงสร้างและระบบการปกครองหรือการบริหารประเทศ กลวิธี ในการดำ�เนินการพัฒนาต้องได้รับการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้ เหมาะสมสอดคล้อง และเอื้ออำ�นวยต่อการพัฒนาเป็นระบบ การปกครองที่ดี (Good governance) คือปกครองโดยกฎหมาย เคารพกติกา รับผิดชอบต่อสาธารณชน ประชาชนมีส่วนร่วม การทำ�งานมีจริยธรรม โปร่งใส และตรวจสอบได้ 4. การพัฒนาการเมือง (Political development) ประชาชน จะต้องมีบทบาทและมีสว่ นร่วมในการสร้างชาติ สร้างอุดมการณ์ ชาติ ตลอดจนการปกครองและพัฒนาประเทศ ดังนัน้ การกระจาย อำ�นาจสู่ท้องถิ่นให้ประชาชนมีบทบาทมีส่วนร่วม และมีโอกาส ในการตัดสินใจกำ�หนดชะตาชีวติ ของตนเอง ระบอบประชาธิปไตย จึงมีความสำ�คัญเป็นอย่างยิ่งในการพัฒนาการเมืองของประเทศ กล่าวได้ว่า การพัฒนา หมายถึง กระบวนการที่ทำ�ให้เกิด การเปลี่ยนแปลงตามเป้าหมายที่วางไว้ เพื่อสนองตอบความ ต้องการของประชาชนส่วนใหญ่ โดยเป็นการเปลี่ยนแปลงไปใน ทางทีด่ ขี น้ึ เจริญขึน้ ซึง่ เป็นกระบวนการทีเ่ ปลีย่ นแปลงอยูต่ ลอด เวลาไม่หยุดนิง่ และการพัฒนายังแยกออกเป็นการพัฒนาในด้าน ต่างๆ เช่น การพัฒนาเศรษฐกิจ การพัฒนาสังคม การเมือง และการพัฒนาการปกครอง เป็นต้น อย่างไรก็ตาม การพัฒนา ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และการ ปกครองมีความสัมพันธ์กัน โดยที่เป้าหมายของการพัฒนาใน แต่ละด้านนั้น คือการเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ของมนุษย์ให้ ดีขึ้น ดังนั้น เป้าหมายที่แท้จริงของการพัฒนาคือ การพัฒนา มนุษย์ และการให้ความสำ�คัญกับมนุษย์มากกว่าผลลัพธ์ทาง เศรษฐกิจ สังคม การปกครอง และการเมือง อย่างไรก็ตามเพือ่ ให้ได้มาซึง่ ผลลัพธ์ดงั กล่าว ในบางครัง้ จำ�ต้องมีการเปลีย่ นแปลง ระบบคิดและวิธกี ารพัฒนา โดยเฉพาะอย่างยิง่ การดำ�เนินการที่ ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระบบการจัดสรร หรือการกระจาย ทรัพยากรทั้งทางเศรษฐกิจและสังคม สำ�หรับผู้ที่มีความสำ�คัญ ยิ่งที่จะส่งเสริมหรือขัดขวางกระบวนการพัฒนา คือ ผู้นำ�ทาง การเมืองซึ่งมีความสำ�คัญต่อการกำ�หนดนโยบายการพัฒนาและ การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนา เนื่องจากการพัฒนา หมายถึงกระบวนการที่ทำ�ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงตามเป้าหมาย ที่วางไว้ เพื่อสนองตอบความต้องการของประชาชนส่วนใหญ่
การพัฒนาชนบท : 12
ทฤษฎีการพัฒนา
เดิมเชื่อกันว่าการพัฒนาเป็นกระบวนการวิวัฒนาการตาม ธรรมชาติ ผู้สนใจจึงศึกษาประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ ต่อมา ความสนใจได้หนั มาทางการศึกษาปรากฏการณ์ของการเปลีย่ นแปลง ทางสังคม ทำ�ให้แนวความคิดทางเศรษฐศาสตร์เกี่ยวกับดัชนีบ่งชี้ การพัฒนาในแง่ของรายได้ และผลผลิตของชาติก็เริ่มมีบทบาท และในที่สุด การศึกษาอย่างจริงจังในเชิงปฏิบัติของการพัฒนาจึง เกิดขึน้ เป็นการศึกษาถึงแนวความคิดเกีย่ วกับการปฏิบตั ทิ างสังคม ความขัดแย้งทางสังคมและการพัฒนาชุมชุน อย่างไรก็ตามแนวคิด เกี่ยวกับการพัฒนามีหลายแนวคิดด้วย การที่จะนำ�แนวความคิด ใดมาใช้นั้นย่อมขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการพัฒนาเป็นสำ�คัญ อีกทั้งยังมีทฤษฏีเกี่ยวกับการพัฒนาอีกหลายทฤษฎีี ซึ่งสามารถ นำ�มาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาได้ ในที่นี้ได้สรุปทฤษฎีเกี่ยวกับ การพัฒนาจากนักทฤษฎีหลายๆ สำ�นัก คือ ทฤษฎีภาวะทันสมัย ทฤษฎีพึ่งพา ทฤษฎระบบโลก และทฤษฎีกระแสทางเลือก ดังมี รายละเอียดต่อไปนี้ ทฤษฎีภาวะทันสมัย (Modernization Theory) ทฤษฎีภาวะทันสมัยเป็นทฤษฎีทถ่ี อื กำ�เนิดขึน้ ในยุคหลังสงคราม โลกครั้งที่สองสิ้นสุดลงซึ่งพร้อมๆ กับการแผ่อิทธิพลของประเทศ สหรัฐอเมริกาและการขยายตัวของระบบทุนนิยม เพื่อต้านทาน กระแสลัทธิคอมมิวนิสต์ที่แพร่กระจายอย่างรวดเร็วในสังคมโลก แนวความคิดนี้เสนอให้ประเทศต่างๆ ดำ�เนินแนวทางการพัฒนา ตามแบบอย่างประเทศตะวันตก โดยการมุ่งพัฒนาที่เน้นการขยาย ตัวทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม
ที่สามจำ�นวนไม่น้อยยังคงอยู่สภาวะของความด้อยพัฒนา ทำ�ให้ เกิดความพยายามเพื่อหาแนวทางในการกำ�หนดทิศทางในการ ฟื้นฟูและพัฒนาประเทศต่างๆ เหล่านี้ ภายใต้การสนับสนุนของ รัฐบาลสหรัฐ โดยเฉพาะในช่วงปี ค.ศ. 1950-1960 มีแนวคิดทฤษฎี ที่มีอิทธิพลมากก็คือ แนวคิดของฮาร์รอด - โดมาร์ ซึ่งเรียกว่า ทฤฎีความเจริญทางเศรษฐกิจมหภาค (Macro economic growth) แนวคิดพื้นฐานของทฤษฎีนี้มีว่า ทุกระบบเศรษฐกิจจะต้องมีการ ออมเป็นสัดส่วนจำ�นวนหนึ่งของรายได้ประชาชาติ เพื่อนำ�มาใช้ ทดแทนและบำ�รุงรักษาสินค้าประเภททุน แต่ถ้าต้องการให้ระบบ เศรษฐกิจมีความเจริญเติบโตขึ้น การลงทุนใหม่เป็นสิ่งจำ�เป็น เนือ่ งจากจะมีสว่ นช่วยในการสะสมทุน หรืออีกนัยหนึง่ อัตราความ เจริญเติบโตในรายได้ของชาติจะมีความสัมพันธ์โดยตรงกับอัตรา ส่วนการออม และมีความสัมพันธ์แบบผกผันกับอัตราส่วนของทุน ต่อผลผลิต ด้วยเหตุนี้ อัตราส่วนการเจริญเติบโตจะเพิ่มขึ้นโดย การเพิ่มอัตราส่วนการออมและการลงทุน และการลดอัตราส่วน ระหว่างทุนต่อผลผลิตนี้ จะเท่ากับการเพิ่มประสิทธิภาพของการ ลงทุน กล่าวได้ว่า เงื่อนไขสำ�คัญของความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และการพัฒนาของทฤษฎีนี้ก็คือ การเพิ่มขึ้นของการออมและการ ลงทุนของชาตินั่นเอง อย่างไรก็ตาม สำ�หรับประเทศด้อยพัฒนา อาจจำ�เป็นต้องได้รบั การช่วยเหลือทางด้านการลงทุนการช่วยเหลือ ทางการเงิน และการถ่ายทอดเทคโนโลยีต่างๆ จากประเทศที่ พัฒนาแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายใต้แผนมาร์แชล (Marshall Plan) ของประเทศสหรัฐอเมริกา (Todaro 1997)
นักคิดทฤษฎีภาวะทันสมัย สำ�หรับแนวคิดที่สำ�คัญของนักคิดทฤษฎีีภาวะทันสมัย ได้แก่ แนวคิดทฤษฎีความเจริญทางเศรษฐกิจมหภาคของฮาร์รอด - โดมาร์ (Harrod - Domar) และแนวคิดความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของ วอลท์ รอสเทาว์ (Walt W. Rostow)
Walt W.Rostow แนวคิดของวอลท์ รอสเทาว์ (Walt W.Rostow) นอกจากแนวคิดของ Harrod - Domar แล้ว แนวคิดความ เจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของ วอลท์ รอสเทาว์ ถือได้ว่าเป็น แนวคิดความทันสมัย (Moderniztion Theory) ที่มีความสำ�คัญ และมีอิทธิพลในการพัฒนาประเทศของกลุ่มทฤษฎีกระแสหลัก Evsey Domar Roy Harrod ในช่วงทศวรรษ 1960 แนวคิดของรอสเทาว์ ได้ถูกนำ�เสนอไว้ ในหนังสือชื่อ “The Stages of Economic Growth” (หรือที่นัก แนวคิดของฮาร์ดรอด – โดมาร์ (Harrod – Domar) วิชาการบางท่านถือว่าเป็น A Non-Communist Manifesto) ซึ่ง ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง ประเทศต่างๆ ใน รอสเทาว์ เขียนจากประสบการณ์ในการฟื้นฟูเศรษฐกิจยุโรปช่วง โลกได้รบั ความบอบช้�ำ จากสงคราม ในขณะเดียวกันประเทศในโลก หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 การพัฒนาชนบท : 13
บทที่ 1 ความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนา
หนังสือ “The Stages of Economic Growth” ของ Walt W.Rostow หน้าปก ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 3
คือ เกิดการขยายตัวในเชิงพาณิชย์และการพัฒนาทางเศรษฐกิจ โดยมีการค้าขายสินค้าและการจัดบริการต่างๆ ตลอดจนมีการ จัดการทางด้านการเมือง การปกครอง การเศรษฐกิจ และสังคม ขยายขอบเขตไปถึงระดับชาติและระหว่างประเทศ ลักษณะที่ สำ�คัญอีกประการ คือ สังคมขั้นนี้เป็นสังคมที่ให้ความสำ�คัญกับ คุณวุฒิ ความรู้ ความสามารถและความชำ�นาญในการทำ�งาน เฉพาะด้าน และที่สำ�คัญที่สุด ก็คือ เป็นสังคมที่เปลี่ยนไปสู่ความ มีเหตุผลมากขึ้น ซึ่งส่งผลต่อความสามารถในการผลิตและก่อให้ เกิดความเจริญก้าวหน้าของสังคม แต่กระนั้นก็ตาม แม้ว่ามีการ พัฒนาและการเติบโตของโรงงานอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจมี ความก้าวหน้าในบางพื้นที่ แต่ในหลายๆ พื้นที่ โครงสร้างสังคม ประเพณีและการผลิตแบบดั้งเดิมยังคงดำ�รงอยู่ ทำ�ให้เกิดสภาพ การณ์ที่เรียกว่า “สังคมสองด้าน” (Dual society) นอกจากนั้น อัตราการเกิดของประชาชนที่มากเกินไป ยังถือว่าเป็นปัญหาของ ความเจริญก้าวหน้าอีกด้วย
3. ขั้นทะยานขึ้น (Take - off) เป็นช่วงของการเอาชนะการ ในหนังสือ ขั้นของความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ รอสเทาว์ เสนอว่า กระบวนการพัฒนา เป็นขั้นตอนต่อเนื่องที่นำ�ไปสู่ความ ต่อต้านขัดขวางและอุปสรรคที่เกิดจากลักษณะของสังคมประเพณี สำ�เร็จและเป็นแบบแผนทางอุดมคติ โดยได้แบ่งสังคมเป็นขั้นตอน หรือสังคมโบราณ ที่ถือว่าเป็นปัญหาหนึ่งของความเจริญเติบโต ต่างๆ 5 ขั้นตอน (Todaro 1997; Harrison 1993; Isbister 1995) คือ เนือ่ งจากมีการยอมรับเอาเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้อย่างกว้างขวาง การลงทุ น และอุ ต สาหกรรมใหม่ ไ ด้ ข ยายตั ว อย่ า งรวดเร็ ว และ 1. ขั้นสังคมประเพณีหรือสังคมโบราณ (Traditional Society) แผ่ขยายไปอย่างทั่วถึงในสังคม ในขณะเดียวกัน ยังเกิดพลัง สังคมนีย้ งั คงเป็นสังคมเกษตรกรรมแบบดัง้ เดิม ทีม่ กี ารใช้ทรัพยากร ทางการเมืองต่างๆ ที่เอื้อต่อความก้าวหน้า และสามารถทำ�ให้ เพื่อการเกษตรในอัตราส่วนสูงกว่าการผลิตในด้านอื่นๆ นอกจาก เศรษฐกิจมีความเจริญเติบโตและมีความทันสมัยมากขึ้น ในขั้นนี้ นัน้ ประสิทธิภาพการผลิตมีขอ้ จำ�กัดและผลผลิตยังต่�ำ มาก เนือ่ งจาก อัตราการลงทุนและการออมทรัพย์เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 5 - 10 ของ ความล้าหลังของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โครงสร้างสังคม รายได้แห่งชาติหรือมากกว่า ส่งผลให้การผลิตในภาคอุตสาหกรรม ประเพณีถือว่าเป็นโครงสร้างสังคมที่เป็นปัญหาและเป็นอุปสรรค ขยายตัว และผลประโยชน์ที่ได้จากการผลิตส่วนใหญ่จะนำ�มาใช้ ต่อการพัฒนาและการเปลีย่ นแปลง เนือ่ งจากสังคมแบบนีม้ ลี กั ษณะ ในการขยายการลงทุนต่อไปอีก นอกจากนั้นอุตสาหกรรมใหม่ๆ เป็นสังคมดั้งเดิมที่เชื่อในเรื่องของโชคชะตา และยึดมั่นอยู่กับ ที่เกิดเพิ่มขึ้นยังช่วยให้คนมีงานทำ�และมีรายได้สูงขึ้น ในขณะ ค่านิยมและความเชื่อเก่าๆ ที่ถ่ายทอดกันมาเป็นเวลายาวนาน เดียวกัน ความต้องการสินค้าและบริการต่างๆ ก็เพิ่มขึ้นด้วย ส่ง ครอบครัวและชาติตระกูลของคนมีบทบาทสำ�คัญมากกว่าคุณวุฒิ ผลให้ผู้ประกอบการต้องมีการปรับปรุงวิธีการผลิตให้ทันสมัย และ และความสามารถทำ�ให้คนในสังคมขาดความกระตือรือร้นที่จะ มีการใช้ทรัพยากรให้เป็นประโยชน์สูงสุดเพื่อการผลิต สำ�หรับ ในด้านการเกษตรก็เปลี่ยนไปเป็นเกษตรเชิงพาณิชย์มากขึ้น แสวงหาความก้าวหน้า 2. ขั้นเตรียมการ (Pre – condition for Take-off) ถือว่าเป็น สังคมหัวเลีย้ วหัวต่อหรือเรียกอีกอย่างหนึง่ ว่า สังคมกำ�ลังเปลีย่ นแปลง (Transitional society) เนื่องจากเป็นช่วงที่สังคมประเพณีกำ�ลัง อยู่ ในช่วงของการเปลี่ยนผ่านไปสู่สังคมอุตสาหกรรมที่มีความ ก้าวหน้าทางเศรษฐกิจโดยการเปลี่ยนแปลงเริ่มจากคนในสังคม เริม่ แสวงประโยชน์จากความเจริญทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และ ความคิดใหม่ๆ ที่สนับสนุนความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ นอกจาก นั้นสิ่งต่างๆ ที่เกิดร่วมด้วยก็คือ การศึกษา การประกอบการ และ การเกิดสถาบันใหม่ๆ ที่มีความสามารถในการถ่ายเททุน ที่สำ�คัญ คือ มีการลงทุนเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการคมนาคม ขนส่ง การติดต่อสื่อสารและการพัฒนาวัตถุดิบ ผลที่ติดตามมาก็
4. ขั้นการขยายตัวหรือการขับเคลื่อนไปสู่ความเติบโตเต็มที่ (Drive to Maturity) เป็นขั้นที่เน้นการลงทุนขนานใหญ่ โดยมีการ ใช้ทนุ ประมาณร้อยละ 10 - 20 ของรายได้ประชาชาติเพือ่ การลงทุน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การลงทุนทางอุตสาหกรรมใหม่ที่มีการใช้ เทคโนโลยีขั้นสูงและมีความซับซ้อนในการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง เทคนิคการผลิตให้ก้าวหน้า ส่งผลให้อัตราการเพิ่มของผลผลิตสูง กว่าอัตราการเพิม่ ของประชากร ทำ�ให้ประเทศสามารถทำ�การผลิต เพื่อการส่งออกประกอบกับมีการผลิตสินค้าเพื่อทดแทนการนำ�เข้า จากต่างประเทศ ทำ�ให้ประเทศมีความสามารถในการแข่งขันทาง เศรษฐกิจระหว่างประเทศ นอกจากนัน้ กระบวนการทางอุตสาหกรรม และเทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงจากการทำ�อุตสาหกรรมหนัก
การพัฒนาชนบท : 14
(Heavy industry) อาทิเช่น ถ่านหินเหล็ก ฯลฯ ไปสู่การผลิตที่ไม่ ได้ตอบสนองความต้องการทีเ่ ป็นความจำ�เป็นทางเศรษฐกิจ แต่เป็น การผลิตเพือ่ เพิม่ ทางเลือกให้แก่ผบู้ ริโภคในสังคมมากกว่า ประเด็น ที่สำ�คัญคือ สังคมยังมีการปรับปรุงค่านิยมหรือสถาบันต่างๆ ให้ เหมาะสมกับสภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป โดยส่งเสริมให้มี ลักษณะที่สนับสนุนความเจริญเติบโตหรืออย่างน้อยก็ไม่ให้เป็น ปัญหาและอุปสรรคต่อความเจริญ 5. ขั้นอุดมโภคหรือขั้นของการบริโภคขนาดใหญ่ (The Age of High Mass-consumption) ขั้นนี้เน้นการผลิตเพื่อการบริโภค ของมวลชน โดยมีการเปลีย่ นแปลงทางเศรษฐกิจทีเ่ น้นความเจริญ เติบโตไปสู่การผลิตสินค้าเพื่อการบริโภคและการบริการต่างๆ ใน สังคมขั้นนี้ ประชาชนได้รับการตอบสนองความต้องการหรือความ จำ�เป็นพื้นฐานอย่างเต็มที่แล้ว ดังนั้นจุดเน้นจึงอยู่ที่การจัดการ ทางด้านสวัสดิการทางสังคม (Social welfare) และการสร้างความ มั่นคงปลอดภัย (Security) ทางสังคม โดยหาแนวทางว่าทำ� อย่างไรจึงจะทำ�ให้มีเครื่องอุปโภคบริโภคและการบริการที่ช่วย อำ�นวยความสะดวกสบายเพิ่มมากขึ้น เพื่อสร้างความพึงพอใจ และความสุขให้กับประชาชนโดยถ้วนทั่ว ในขณะเดียวกันความ เจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและการเพิ่มผลผลิตทางอุตสาหกรรม ยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง พร้อมกับมีการสร้างความมั่นคงของชาติ และขยายอิทธิพลออกไปนอกอาณาเขต ส่งผลให้มกี ารใช้ทรัพยากร ไปในทางทหารและนโยบายต่างประเทศมากขึ้น อันเป็นการสร้าง ชื่อเสียงของประเทศให้เป็นที่เชื่อถือในระดับนานาชาติ
อย่ า งไรก็ ตาม การดำ �เนิ น การตามเงื ่ อ นไขทั ้ ง 3 ข้ อ นี ้ มั ก เกิดขั้นได้ยากในประเทศที่กำ�ลังพัฒนาทั้งหลาย เนื่องจากในขั้น ตอนของการทะยานขึน้ จำ�เป็นต้องอาศัยทุนและการสะสมทุนเป็น ปัจจัยที่สำ�คัญสำ�หรับการพัฒนาเศรษฐกิจ การที่จะบรรลุเงื่อนไข ทั้งสามประการดังกล่าวประเทศกำ�ลังพัฒนาจะต้องมียุทธศาสตร์ ในการพัฒนาสำ�คัญ อาทิเช่น ยุทธศาสตร์การนำ�เข้าปัจจัยจาก ภายนอก และยุทธศาสตร์การเจริญเติบโตแบบไม่สมดุล 1. ยุทธศาสตร์การนำ�เข้าปัจจัยจากภายนอก ปัญหาเรื่อง “ทุน” เป็นประเด็นที่สำ�คัญยิ่งในประเทศ กำ�ลังพัฒนา เพราะทุนถือเป็นปัจจัยที่หายาก (Scare resource) สำ�หรับประเทศด้อยพัฒนา เนื่องจากลักษณะพื้นฐานทั่วๆไปของ ประเทศกำ�ลังพัฒนามักจะเป็นอุปสรรคต่อการระดมทุนและการ สะสมทุน อาทิเช่น เป็นประเทศเกษตรกรรมที่เน้นการผลิตสินค้า ขัน้ ปฐมเป็นหลัก มีประชากรมากและมีอตั ราการเพิม่ ของประชากร สูง ทรัพยากรธรรมชิตยังไม่ได้น�ำ มาใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่ มีการออมทรัพย์ต่ำ�ขาดแคลนทุนทั้งทุนทางกายภาพ ทุนที่เป็นตัว เงิน และทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพ ส่งผลให้ประสิทธิภาพในการผลิต ต่ำ� ลักษณะเช่นนี้ทำ�ให้ประเทศกำ�ลังพัฒนาตกอยู่ในวัฏจักรของ ความยากจน (แผนภาพที่ 1.3)
ยุทธศาสตร์การพัฒนาของทฤษฎีภาวะทันสมัย ขั้นทะยานขึ้น (Take - off) ถือเป็นขั้นตอนที่สำ�คัญและจำ�เป็น ทีส่ ดุ สำ�หรับประเทศกำ�ลังพัฒนา เพราะถือว่าจะเป็นพืน้ ฐานสำ�คัญ ทีจ่ ะนำ�ไปสูก่ ารพัฒนาทีเ่ จริญก้าวหน้าต่อไป เนือ่ งจากในขัน้ ทะยาน ขึ้นนี้ อัตราการลงทุนที่เพิ่มขึ้นจะนำ�ไปสู่การขยายการผลิตและ ความต้องการแรงงานเพิ่มขึ้น ทำ�ให้รายได้ส่วนบุคคลเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของอุปสงค์ต่อสินค้า ซึ่งจะก่อให้เกิดการ ขยายตัวของเศรษฐกิจ อันจะนำ�ไปสู่การออมและการลงทุนเพิ่ม มากขึน้ และเนือ่ งจากมีการลงทุนเพิม่ ขึน้ การปรับปรุงประสิทธิภาพ การผลิตก็จะสูงขึ้น ส่งผลให้เศรษฐกิจเจริญก้าวหน้าและขยายตัว จนสามารถผ่านเข้าสู่ขั้นการขับเคลื่อนไปสู่ความเติบโตเต็มที่ และ แผนภาพที่ 1.3 ก้าวสู่ขั้นการบริโภคของมวลชนได้ในที่สุด สำ�หรับเงื่อนไขสำ�คัญ วัฎจักรของความยากจน (Vicious circle of poverty) ทีท่ �ำ ให้แต่ละประเทศสามารถก้าวทะยานขึน้ ไปสูค่ วามเจริญก้าวหน้า ที่มา: นเรศน์ วงศ์สุวรรณ และ ดิษฐรัตน์ อมรวิทวัส (2542: 5) ได้ คือ 1. อัตราการลงทุนจะต้องเพิ่มสูงขึ้นประมาณร้อยละ 5 - 10 ของรายได้ประชาชาติ 2. มีอุตสาหกรรมใหม่ๆ เป็นสาขานำ� (Leading sector) ใน การพัฒนาประเทศ 3. มีการพัฒนาสถาบันทางสังคม และการเมือง
การแก้ปัญหาความยากจนในประเทศด้อยพัฒนาหรือ ประเทศกำ�ลังพัฒนากระทำ�ได้โดย การระดมทุนเข้าไปในระบบ เศรษฐกิจเพื่อเพิ่มอัตราการออม โดยมุ่งหวังว่าจะส่งผลให้เกิดการ ลงทุนที่เพิ่มขึ้น และหนทางที่เป็นไปได้ก็คือ การนำ�เข้าปัจจัยภาย นอก (External input) เช่นการระดมทุนจากต่างประเทศ ไม่ว่าจะ
การพัฒนาชนบท : 15
บทที่ 1 ความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนา
เป็นการกู้จากธนาคารโลก (World Bank) กู้เงินจากต่างประเทศ หรือการลงทุนแบบให้เปล่าของโครงการพัฒนาต่างๆ ตลอดจน การลงทุนในภาคเอกชนของบรรษัทข้ามชาติต่างๆ เป็นต้น ดังนั้น Rosenstein – Rodam (นเรศน์ วงศ์สุวรรณ และ ดิษฐรัตน์ อมร วิทวัส 254: 5) จึงเสนอแนวคิดการลงทุนขนาดใหญ่ (Big push) โดยจำ�เป็นต้องอาศัยทุนจากภายนอกเข้าไปสู่ระบบเศรษฐกิจ เพื่อให้ขั้นตอนการทะยายขึ้นของรอสเทาว์ ประสบผลสำ�เร็จได้ (แผนภาพที่ 1.4)
แผนภาพที่ 1.4 ขั้นตอนการพัฒนา 5 ขั้นตอนของรอสเทาว์ ที่มา: นเรศน์ วงศ์สุวรรณ และ ดิษฐรัตน์ อมรวิทวัส (2542: 5) กล่าวได้ว่าทฤษฎีความทันสมัย หรือ “Modernization Theory” เห็นว่า ความเจริญหรือการพัฒนาสามารที่จะแผ่ขยาย จากสังคมหรือประเทศที่เจริญกว่า ไปยังสังคมหรือประเทศที่ล้า หลัง ซึ่งตามหลักคิดของทฤษฎีนี้เชื่อว่า หากประเทศในโลกที่สาม ต้องการให้สังคมของตนมีความเจริญก้าวหน้า จำ�เป็นต้องนำ�เข้า ปัจจัยภายนอกที่เป็นความเจริญหรือเป็นสิ่งที่ทันสมัยจากประเทศ ที่พัฒนาแล้วสู่ประเทศกำ�ลังพัฒนา โดยประเทศที่เจริญกว่าจะเป็น ผู้ให้ความช่วยเหลือด้านต่างๆ เช่น ความความช่วยเหลือทางด้าน เทคโนโลยี วิชาการ และทางเศรษฐกิจ เป็นต้น เพื่อให้ประเทศที่ ล้าหลังสามารถเปลี่ยนแปลงสภาวะทางเศรษฐกิจสังคม การเมือง หรือการบริหารให้มีลักษณะเหมือนกับประเทศที่พัฒนาแล้ว และ ประเทศกำ�ลังพัฒนาเองจะมีกลไกในการปรับตัวหรือมีขบวนการ
ปรับเปลี่ยนและผสมผสานกลมกลืน เพื่อปรับสภาวะสังคมให้มี รูปแบบตามสิ่งที่นำ�เข้า ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากสังคม ล้าสมัยให้เป็นสังคมทันสมัย โดยการเปลี่ยนแปลงนั้นจะเน้น ที่การสร้างสถาบันต่างๆ (Institution - buildings) ให้เป็นแหล่ง สนับสนุนการสร้างความทันสมัยตามแนวคิดและกลไกการพัฒนา อย่างไรก็ตามมีนักวิชาการส่วนหนึ่ง ไม่เห็นด้วยกันกับ การเลียนแบบประเทศทีเ่ จริญแล้ว และไม่เห็นด้วยกับการรับความ ช่วยเหลือจากต่างประเทศ เนื่องจากเล็งเห็นถึงผลเสียและข้อ จำ�กัดหลายประการ อาทิเช่น So (1990) เห็นว่า การเปลี่ยนไป สู่ความทันสมัยเป็นกระบวนการเปลี่ยนรูป (Transformative process) ของสังคม โดยที่เส้นทางเดินไปสู่สังคมทันสมัยนั้น จะ ต้องมีการรับเอาแบบแผนของสถาบันและวิถีการดำ�รงชีวิตของ ประเทศทันสมัย มาเปลี่ยนแปลงสถาบันและการดำ�รงชีวิตของ ประเทศที่ล้างหลัง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ต้องมีการเปลี่ยนแปลง โครงสร้าง คุณค่าและค่านิยมแบบเดิมมาใช้โครงสร้างและค่านิยม ของสังคมทันสมัย นอกจานัน้ ความช่วยเหลือจากประเทศทีพ่ ฒ ั นา แล้วโดยส่วนใหญ่มักตั้งอยู่บนเงื่อนไขที่เอารัดเอาเปรียบ เช่น ต้องใช้เงินกู้ยืมซื้อสินค้าและเทคโนโลยีจากประเทศผู้ให้กู้ในราคา สูง ต้องจ้างผู้เชี่ยวชาญจากประเทศผู้ให้กู้ และต้องปฏิบัติตาม เงื่อนไขของการค้าระหว่างประเทศ เป็นต้น มากไปกว่านั้น การ พัฒนาตามอย่างประเทศที่พัฒนาแล้ว มักจะเป็นการเปลี่ยนแปลง แต่รูปแบบภายนอกอย่างผิวเผินและไม่ยั่งยืน เนื่องจากประเทศ กำ�ลังพัฒนาที่ได้รับการช่วยเหลือจากประเทศอุตสาหกรรมตะวัน ตกไม่สามารถสร้างความเจริญและพัฒนาประเทศด้วยตนเองได้ 2. ยุทธศาสตร์การเจริญเติบโตแบบไม่สมดุล ยุทธศาสตร์ที่สำ�คัญของประเทศกำ�ลังพัฒนาอันจะนำ�พา ประเทศไปสู่ความเจริญก้าวหน้าและความทันสมัยอีกประเด็นหนึ่ง นั้นถูกนำ�เสนอโดย เฮิรซแมน (Hirschman) ภายใต้กรอบความ คิดที่เรียกว่า การเจริญเติบโตแบบไม่สมดุล (Unbalance growth) ที่เสนอว่าภายใต้ข้อจำ�กัดเรื่องเงินทุน ประเทศกำ�ลังพัฒนาควร มีการทุ่มทรัพยากรไปในภาคอุตสาหกรรมหรือภาคเศรษฐกิจนำ� (Leader economic sector) ที่จะส่งผลให้เกิดการพัฒนามากที่สุด เนื่องจากภาคอุตสาหกรรมที่มีการผลิตตามแบบแผนของระบบ ทุนนิยมจะเป็นตัวแพร่กระจายผลประโยชน์ (Trickle - down) ให้ แก่ภาคเศรษฐกิจอื่นๆ รวมถึงภาคเกษตรกรรมเป็นการผลิตที่ล้า หลัง ซึ่งกระบวนการดังกล่าวจะก่อให้เกิดการพัฒนาประเทศได้ใน ที่สุด นอกจากความไม่สมดุลระหว่างกิจกรรมการผลิตแล้ว เฮิรซแมน ยังชี้ให้เห็นถึงความไม่สมดุลระหว่างพื้นที่ด้วย กล่าว คือ เมื่ออุตสาหกรรมไปตั้งดำ�เนินการอยู่ในพื้นที่ใดแล้ว จะก่อ ให้เกิดความประหยัดภายนอกขึ้น เนื่องจากมีกิจกรรมต่างๆ ที่ เกี่ยวข้องมาตั้งดำ�เนินการอยู่ในบริเวณใกล้เคียง ซึ่งจะมีผลทำ�ให้
การพัฒนาชนบท : 16
บริ เ วณดั ง กล่ า วกลายเป็ น จุ ด ศู น ย์ ก ลางของความเจริ ญ เติ บ โต (Growing-point) และเมื่อพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งเกิดความเจริญเติบโต ทฤษฎีพึ่งพา ขึ้นก็จะส่งผลในทางการแพร่กระจาย (Tricking - down effects) (Dependency Theory) ไปสู่บริเวณโดยรอบ ทำ�ให้พื้นที่โดยรอบหรือภาคต่างๆ มีความ แนวความคิดของทฤษฎีพึ่งพา ได้รับการพัฒนาจากการมอง เจริญเติบโตตามไปด้วย (นเรศน์ วงศ์สุวรรณ และดิษฐรัตน์ อมร ปรากฏการณ์และประสบการณ์การพัฒนาในประเทศแถบลาติน วิทวัส 2542) อเมริกา ในปลายทศวรรษ 1960 โดยเป็นการศึกษาเกี่ยวกับ สภาพการพึง่ พาทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง รวมถึงวัฒนธรรม จะเห็นได้ว่าการพัฒนาแบบไม่สมดุลนี้ ให้ความสำ�คัญ ของประเทศเหล่านั้นต่อประเทศตะวันตก แนวคิดหลักของ กับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในภาคอุตสาหกรรมและเน้นการ นักวิชาการสำ�นักนี้ก็คือ การกล่าวหาประเทศที่พัฒนาแล้วว่า เติบโตของเมือง โดยคาดหวังว่าความเจริญจะขยายตัวไปสู่พื้นที่ แสวงหาประโยชน์ และทำ�ให้เกิดภาวะของการพึ่งพาและการ ใกล้เคียงก่อน แล้วจึงค่อยๆ ขยายตัวกว้างมากขึ้นจนครอบคลุม ด้อยพัฒนาในประเทศโลกที่สาม ทั้งประเทศ ดังนั้น แนวทางการพัฒนาจึงให้ความสำ�คัญกับความ เจริญเติบโต “to get the growth job done” (Todaro 1997: Todaro (1997: 685) ได้ให้ความหมายของ การพึ่งพา (De725) มากกว่าการมุ่งแก้ไขปัญหาความยากจน การว่างงาน การ pendence) ว่าเป็น “สถานการณ์ที่ประเทศกำ�ลังพัฒนา หรือ กระจายรายได้ และการพัฒนาพื้นที่ชนบทและเกษตรกรรม ทำ�ให้ Less Developed Countries (LCDs) ตกอยู่ภายใต้เงื่อนไขของ ชนบทเป็นเขตที่ถูกละเลยแบะล้าหลัง ขาดการสนใจและพัฒนา นโยบายทางเศรษฐกิจทั้งในและระหว่างประเทศของประเทศ เนื่องจากยังถือว่าเป็นเรื่องที่มีความสำ�คัญรองลงมา เพราะเชื่อกัน ที่พัฒนาแล้ว ในการนำ�ไปสู่การขยายตัวและการเจริญเติบโต ว่า หากเขตเมืองและภาคผลิตอุตสาหกรรมเจริญแล้ว การพัฒนา ทางเศรษฐกิจของประเทศกำ�ลังพัฒนา นอกจากนั้นยังหมาย ชนบทและการเกษตรก็จะขยายตัวตาม แต่จากสภาพความเป็น รวมถึงการที่ประเทศกำ�ลังพัฒนายอมรับเอาระบบการศึกษา จริงที่ปรากฏพบว่า แม้ว่าเขตอุตสาหกรรมและเขตเมืองจะเติบโต เทคโนโลยี เศรษฐกิจ และระบบการเมือง ทัศนคติ รูปแบบ มากขึ้นเป็นลำ�ดับ ความเจริญก็ยังคงจำ�กัดอยู่แต่ในพื้นที่ดังกล่าว การบริโภค ฯลฯ ของประเทศที่พัฒนาล้วนมาเป็นของตน” ซึ่ง ไม่กระจายไปสู่พื้นที่อื่นๆ ทำ�ให้ประเทศกำ�ลังพัฒนาโดยส่วนใหญ่ นักทฤษฎีพึ่งพาทั้งหลายได้พยายามอธิบายถึงสาเหตุของการ เผชิญกับลักษณะของเมืองหัวโตตัวลีบ กล่าวคือ ในขณะที่เมือง พึ่งพา ความล้าหลัง (Backward) และความด้อยพัฒนา (Unยังคงเติบโตอย่างไม่หยุดยั้ง เขตพื้นที่อื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง derdevelopment) ของประเทศกำ�ลังพัฒนาว่าเกิดจากสาเหตุ สังคมชนบทยังคงล้าหลังดังเช่นเดิม ใด ซึ่งส่วนใหญ่จะมีความเห็นตรงกันว่า ภาวะความด้อยพัฒนา และความล้าหลังของประเทศในโลกที่สามนั้น อันที่จริงแล้ว กล่าวโดยสรุปคือ แนวคิดหรือทฤษฎีการเจริญเติบโต เกิดจากความสัมพันธ์ที่ไม่เท่าเทียมกันระหว่างประเทศกำ�ลัง ทางเศรษฐกิจ หรือทฤษฎีภาวะทันสมัย ถือเป็นแนวคิดที่เรียก พัฒนากับประเทศที่พัฒนาแล้วหรือประเทศทุนนิยมที่ความ ว่าเป็นกระแสหลัก อันมีอิทธิพลมาจากโลกตะวันตกที่ต้องการจะ เข้มแข็งทางเศรษฐกิจและการเมือง ซึ่งลักษณะความสัมพันธ์ พัฒนาประเทศด้อยพัฒนาและประเทศที่กำ�ลังพัฒนาต่างๆ ให้มี ดังกล่าว เป็นความสัมพันธ์เชิงครอบงำ�-พึ่งพา (Dominantความทันสมัย โดยยึดประเทศตะวันตกเป็นแม่แบบ ซึ่งจะส่งผล dependent) ที่ทำ�ให้เศรษฐกิจของประเทศพัฒนาที่อยู่ในฐานะ ให้ประเทศต่างๆ เหล่านี้มีการพัฒนาประเทศให้ก้าวหน้าขึ้นตาม ประเทศครอบงำ�ขยายตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่เศรษฐกิจ แบบประเทศที่พัฒนาแล้ว และแม้ว่าการพัฒนาตามแนวคิดนี้จะ ของประเทศพึ่งพาไม่สามารถขยายตัวได้ หรือหากขยายตัวขึ้น ประสบความสำ�เร็จอยู่พอสมควรแต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะสำ�เร็จ ได้ก็เป็นเพียงการสะท้อนภาพของการขยายตัวของเศรษฐกิจ ได้ตามเป้าหมายทุกประการ สิ่งที่ตามมาก็คือ ผลกระทบของ ของประเทศครอบงำ�เท่านั้น ลักษณะดังกล่าว ทำ�ให้ประเทศ การดำ�เนินการพัฒนาตามอย่างประเทศตะวันตก และการปรับ ในโลกที่สามไม่อาจยืนอยู่บนขาของตนเองได้ และต้องตกอยู่ กระบวนการในการพัฒนาไปในแนวทางที่จะเกื้อกูลต่อการสร้าง ใต้อิทธิพลและต้องพึ่งพาประเทศครอบงำ�ต่อไป สภาวะหลุดพ้นจากความด้อยพัฒนาได้ในที่สุด
การพัฒนาชนบท : 17
บทที่ 1 ความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนา
สาระสำ�คัญของทฤษฎีพึ่งพา เนื่องจากทฤษฎีพึ่งพามีจุดกำ�เนิดมาจากนักคิดในโลกที่สาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากนักคิดชาวละตินอเมริกัน ที่มองเห็นถึง ความล้มเหลวของโครงการพัฒนาของสหประชาชาติที่เรียกว่า The U.N. Econocic Commission for Latin America (ECLA) และความล้มเหลวของแนวทางการพัฒนาตามแบบทฤษฎีความ ทันสมัยในประเทศแถบละติอเมริกา โดยเห็นว่าการพัฒนาใน ลักษณะดังกล่าวเป็นต้นเหตุของภาวการณ์ด้อยพัฒนาในโลก
ที่สาม ทฤษฎีนี้จึงถือได้ว่าเป็นแนวคิดที่ท้ายทายกระบวนการ พัฒนาของทฤษฎีภาวะทันสมัยและเป็นการมองภาพของการ พัฒนาจากมุมมองของประเทศโลกที่สาม ประเด็นสำ�คัญของ ทฤษฎีนี้ เน้นการศึกษาวิเคราะห์ปัญหาของการพัฒนาและ ความด้อยพัฒนาที่เกิดขึ้นในโลกที่สาม โดยสามารถสรุปสาระ สำ�คัญของทฤษฎีพึ่งพาได้ (Harrison 1993; So 1990; Todaro 1997; Lewellen 1995) ดังนี้
การพัฒนาชนบท : 18
ความเข้าใจถึงภาวการณ์เสียเปรียบและการพึ่งพา ดังนี้ 1.1 ความสัมพันธ์ระหว่างการพัฒนาและความด้อยพัฒนา เป็นเงื่อนไขสำ�คัญประการหนึ่งของพัฒนาการระบบทุนนิยมโลก โดยการพัฒนาที่เกิดขึ้นในโลกที่หนึ่งและความด้อยพัฒนาใน โลกที่สามถือเป็นกระบวนการทางประวัติศาสตร์อันเดียวกัน เนื่องจากความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นในระบบทุนนิยมโลก ทำ�ให้เกิด โครงสร้างเศรษฐกิจโลกในลักษณะเอื้ออำ�นวยประโยชน์ ให้กับ ประเทศอุตสาหกรรมทุนนิยมทีพ่ ฒ ั นาแล้ว แต่กลับเป็นการจำ�กัด โอกาสของความเป็นไปได้ของการพัฒนาในประเทศโลกที่สาม 1.2 ทฤษฎีนี้เชื่อว่าความด้อยพัฒนา ไม่ได้เกิดขึ้นจาก สาเหตุภายในของประเทศที่กำ�ลังพัฒนา หรือไม่ใช่เป็นเพราะ ประเทศกำ�ลังพัฒนายังก้าวไม่ถึงขั้นทะยานขึ้น (Take-off) ตาม แนวคิดของรอสเทาว์ แต่ทฤษฎีนี้เห็นว่าสภาวะของความด้อย พัฒนาของประเทศโลกที่สามเป็นเงื่อนไขที่ถูกสร้างขึ้น และเป็น สภาวการณ์ที่ถูกกำ�หนดโดยระบบทุนนิยมของโลก จากการที่ กลุ่ ม ประเทศที่ พั ฒ นาแล้ ว ดู ด ซั บ ทรั พ ยากรที่ ควรใช้ ใ นการ พัฒนาไปจากประเทศโลกที่สาม ส่งผลให้การพัฒนาหรือความ ร่ำ � รวยของโลกที่ ห นึ่ ง ขึ้ น อยู่ กั บ ความด้ อ ยพั ฒ นาหรื อ ความ ยากจนของโลกที่สามในขณะเดียวกัน ก็ทำ�ให้ประเทศในโลก ที่สามเกิดสภาวการณ์ ไม่สามารถพึ่งตนเองได้
1. เงื่อนไขของการพึ่งพา พัฒนาการของทฤษฎีพึ่งพามีจุดเริ่มต้นมาจากการที่ประเทศ ลาตินอเมริกาเสียเปรียบทางเศรษฐกิจและการค้ากับประเทศ พัฒนาแล้วอย่างมาก ซึ่งลักษณะของการแลกเปลี่ยนที่ไม่เท่า เทียมกัน (Unequal exchange) ดังกล่าว ไม่ได้เกิดเฉพาะใน ประเทศแถบอเมริกาได้เท่านัน้ แต่เกิดขึน้ ในประเทศกำ�ลัง พัฒนา อื่นๆ ด้วยเช่นเดียวกัน ทฤษฎีพึ่งพาจึงมุ่งวิเคราะห์เพื่อให้เกิด
1.3 ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศทีพ่ ฒ ั นาแล้วกับประเทศ ที่กำ�ลังพัฒนาเป็นความสัมพันธ์เชิงพึ่งพา ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึง ความสัมพันธ์ที่ไม่เท่าเทียมกันทางการพัฒนา โดยที่ประเทศ กำ � ลั ง พั ฒ นาจำ � เป็ น ต้ อ งพึ่ ง พาประเทศทุ น นิ ย มที่ พั ฒ นาแล้ ว เกือบทุกด้าน ซึ่งสภาวะการพึ่งพานี้ก่อให้เกิดการเสียเปรียบ ของประเทศกำ�ลังพัฒนา ทำ�ให้ประเทศกำ�ลังพัฒนาไม่มีความ เป็นอิสระทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมืองและการทหาร ฯลฯ และนำ�ไปสู่สภาวะหนี้สินล้นพ้นตัวจากการตกอยู่ในบ่วงหนี้ ของบรรษัทข้ามชาติ รวมถึงองค์กรความช่วยเหลือระหว่าง ประเทศ ส่งผลทำ�ให้ประเทศที่พัฒนาแล้วสามารถควบคุม นโยบายเศรษฐกิ จ และทิ ศ ทางการพั ฒ นาของประเทศกำ � ลั ง พัฒนาได้ นอกจากนั้นยังเกิดการพึ่งพาทางด้านการศึกษา และวัฒนธรรม เช่นในเรื่องของกระบวนการถ่ายทอดความรู้ สมัยใหม่ และอุดมการณ์ทางการพัฒนาแบบตะวันตก ซึ่งมี อิ ท ธิ พ ลสำ � คั ญ ยิ่ ง ต่ อ การกำ � หนดวิ ถี ชี วิ ต และแนวทางในการ ดำ�เนินการพัฒนาของประเทศในโลกที่สาม 1.4 การวิเคราะห์ของทฤษฎีพง่ึ พาจะแบ่งกลุม่ ความสัมพันธ์ ทางเศรษฐกิจออกเป็นประเทศศูนย์กลาง (Core) หรือ เมืองแม่ (Metropolis) อันได้แก่ ประเทศที่พัฒนาแล้วในโลกที่หนึ่ง กับ ประเทศรอบนอก (Periphery) หรือบริวาร (Satellite) อันได้แก่ ประเทศกำ�ลังพัฒนาในโลกที่สาม โดยที่ประเทศศูนย์กลางแกน จะดู ด ซั บ ทรั พ ยากรจากประเทศชายขอบหรื อ เมื อ งบริ ว าร
การพัฒนาชนบท : 19
บทที่ 1 ความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนา
เพื่อนำ�ไปพัฒนาประเทศศูนย์กลาง ในขณะที่ประเทศในโลก อื่นๆ เกิดขึ้นจากความสัมพันธ์ที่ไม่เท่าเทียมกันระหว่างประเทศ ที่ ส ามเกิ ด สภาวการณ์ ด้ อ ยพั ฒ นาและไม่ ส ามารถพึ่ ง ตนเอง ศูนย์กลางกับประเทศบริวาร (Metropolis - satellite) ซึ่งเกิด ขึ้นตั้งแต่ยุคล่าอาณานิคมของยุโรปเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน นั่น ได้ไปทุกขณะ (แผนภาพที่ 1.5) คือแม้ว่าประเทศแม่จะช่วยพัฒนาประเทศใต้อาณัติ แต่ในขณะ เดียวกันกระบวนการของความด้อยพัฒนาได้พัฒนาขึ้น เนื่องจาก ประเทศแม่ ไ ด้ พั ฒ นาประเทศบริ วารในโลกที่ ส ามให้ ก ลายเป็ น แหล่งตลาดและวัตถุดิบ และมีการกอบโกยทรัพยากรจากประเทศ เหล่านั้น เพื่อนำ�กลับไปใช้ประโยชน์ ในประเทศแม่ ส่งผลให้ ประเทศอาณานิคมในโลกที่สามยังต้องพึ่งพาประเทศแม่ต่อไป 2.2 ภาวการณ์พึ่งพาที่เกิดขึ้น ส่งผลให้การพัฒนาด้วย ตัวเองของประเทศโลกที่สามเป็นไปได้ยาก เพราะในขณะที่ ทรั พ ยากรที่ จำ � เป็ น ในการผลิ ต ถู ก นำ � ออกไปจากประเทศด้ อ ย พัฒนาในทางกลับกันประเทศด้อยพัฒนาต้องพึ่งพาทุน เทคโนโลยี ผู้เชี่ยวชาญ ฯลฯ จากประเทศแม่หรือประเทศโลกที่หนึ่งมากขึ้น นอกจากนั้น ประเทศบริวารซึ่งยังมีข้อจำ�กัดทางด้านความรู้และ ความสามารถทางเทคโนโลยี ทำ�ให้ประสิทธิภาพการผลิตต่ำ� และ เน้ น การส่ ง วั ต ถุ ดิ บ และผลิ ต สิ น ค้ า อุ ต สาหกรรมขนาดเบาเป็ น สินค้าออกเท่านั้น จึงเป็นสาเหตุให้ไม่สามารถแข่งจันทางการค้า และต่อสู้กับการผูกขาดของต่างชาติในตลาดโลกทุนนิยมได้ แผนภาพที่ 1.5 ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจของทฤษฎีพึ่งพา 1.5 ความสัมพันธ์ที่ไม่เท่าเทียมกันนี้ นอกจากนี้จะ เกิดขึ้นในระดับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (ระหว่างประเทศ ที่พัฒนาแล้วกับประเทศที่กำ�ลังพัฒนา) ยังส่งผลให้เกิดความ สัมพันธ์ในลักษณะคล้ายคลึงกันในระดับประเทศ คือ ระหว่าง เมืองกับชนบทภายในประเทศกำ�ลังพัฒนาด้วย ก่อให้เกิด สภาวการณ์ที่เรียกได้ว่าเป็น สภาวะอาณานิคมภายใน (Internal colonialism) ทั้งนี้เพราะผลผลิตส่วนเกินในชนบทส่วนใหญ่จะ ถูกนำ�มาใช้พัฒนาเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมในเขตเมือง ดังนั้น ผลของการพัฒนาจึงถูกดูดซับจากชนบทสู่เมือง และจาก เมืองในประเทศกำ�ลังพัฒนาสู่ต่างประเทศ อันเกิดจากความ สัมพันธ์ที่ไม่เท่าเทียมระหว่างเมืองกับชนบทดังกล่าว 2. การพัฒนาความด้อยพัฒนา ทฤษฎีพึ่งพาได้เสนอประเด็นสำ�คัญที่เป็นสาเหตุของความ ด้อยพัฒนา และสรุปลักษณะของ “การพัฒนาความด้อยพัฒนา” (Development of underdevelopment) ดังต่อไปนี้ 2.1 ทฤษฎีพึ่งพาเชื่อว่า กระบวนการพัฒนาความด้อย พัฒนาในประเทศแถบละตินอเมริกาและในประเทศโลกที่สาม
2.3 ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศพัฒนาแล้วกับประเทศ ที่ด้อยพัฒนา แม้ว่าจะอยู่ในลักษณะของความเป็นอันหนึ่งอันเดียว กัน แต่อย่างไรก็ตาม ความสัมพันธ์ดังกล่าวอยู่ในลักษณะของ การพึ่งพาและเป็นความสัมพันธ์ ไม่เท่าเทียมกัน ซึ่งรูปแบบและ กลไกการพึ่งพาสามารถสรุปได้ดังนี้คือ 2.3.1 การพึ่งพาทางเศรษฐกิจโดยตรง เนื่องจาก ประเทศด้อยพัฒนาขาดเงินลงทุน จึงจำ�เป็นต้องเปิดประเทศให้ ประเทศที่พัฒนาแล้วเข้ามาลงทุนในด้านต่างๆ รวมถึงการผลิต ที่สำ�คัญๆ ของประเทศ เช่น อุตสาหกรรมเหมืองแร่และน้ำ�มัน ซึ่งมักตกอยู่ในมือของบรรษัทข้ามชาติ นอกจากนั้น ประเทศ ด้อยพัฒนายังต้องมีการพึ่งพาเงินทุนจากต่างประเทศ เพื่อนำ�มา ลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) เพื่อรองรับกับ การขยายตัวในภาคอุตสาหกรรม ซึ่งการพึ่งพาทางด้านการเงิน ดังกล่าวอาจอยู่ ในรูปของการให้เปล่าหรือการให้กู้ยืมเงินภาย ใต้เงื่อนไขนานับประการ เช่น ยอมให้มีการตั้งบรรษัทเงินทุน ต่างๆ ให้ประเทศด้อยพัฒนา เป็นต้น นอกจากนั้นยังทำ�ให้ ประเทศด้อยพัฒนาตกอยู่ในบ่วงหนี้ (Dept trap) หรือมีภาวะ หนี้สินที่รุนแรงจนยากที่จะหลุดพ้นได้ 2.3.2 การพึ่งพาทางการค้า เนื่องจากโครงสร้าง ทางการค้ามีการกระจายตัวน้อย เพราะการติดต่อกับประเทศแม่ ทำ�ให้ประเทศด้อยพัฒนามีคู่ค้าที่สามารถค้าขายด้วยได้น้อยลง หรือต้องซื้อสินค้าบางชนิดจากประเทศแม่เท่านั้น
การพัฒนาชนบท : 20
2.3.3 การพึ่งพาทางเทคโนโลยี เนื่องจากเทคโนโลยี ถือเป็นปัจจัยสำ�คัญที่จะนำ�พาประเทศไปสู่ความทันสมัย แต่สิ่ง ที่ติดตามมาก็คือ การเสียค่าใช้จ่ายเพื่อซื้อเทคโนโลยีที่มีราคาสูง นอกจากนั้นยังมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ อาทิเช่น การเสียค่าสิทธิบัตร ลิขสิทธิ์ และค่าธรรมเนียมต่างๆ จากลักษณะของความสัมพันธ์แบบพึ่งพาที่เกิดขึ้น ทำ�ให้ ประเทศในโลกที่สามไม่อาจจะพัฒนาด้วยตนเองได้ นอกจากนั้น ยิ่งประเทศในโลกที่สามดำ�เนินการพัฒนาตามอย่างประเทศโลกที่ หนึ่งมากเท่าใด ก็ดูเหมือนว่าจะเป็นการพัฒนาความด้อยพัฒนา ในประเทศโลกที่สามมากเท่านั้น
1. การพัฒนาเศรษฐกิจของแต่ละประเทศ ไม่จำ�เป็นต้องเกิด ขึ้นอย่างเป็นขั้นตอนต่อเนื่องเช่นที่ทฤษฎีทันสมัยเสมอ นอกจาก นั้น เส้นทางการพัฒนาประเทศอาจมีความแตกต่างกันโดยเฉพาะ อย่างยิ่งระหว่างประเทศโลกที่หนึ่งและประเทศโลกที่สาม โดย แฟรงค์ เห็นว่าประเทศในโลกที่สามผ่านประสบการณ์ ซึ่งประเทศ ตะวันตกหรือประเทศโลกที่หนึ่งไม่เคยผ่านมาก่อนโดยเฉพาะ อย่างยิ่งประสบการณ์ของการล่าอาณานิคมที่เป็นอุปสรรคต่อการ พัฒนาประเทศ ในทางกลับกันประเทศพัฒนาแล้วในโลกที่หนึ่ง ก็ไม่เคยผ่านสภาวการณ์ความด้อยพัฒนามาก่อน แม้ว่าจะไม่ เคยเป็นประเทศที่ไม่พัฒนามาก่อนก็ตาม สิ่งเหล่านี้ เป็นสาเหตุ สำ � คั ญ ที่ ทำ � ให้ ป ระเทศโลกที่ ส ามไม่ อาจก้ า วตามทั น ประเทศที่ พัฒนาแล้วได้
นักคิดทฤษฎีพึ่งพา ทฤษฎีการพึ่งพาส่วนใหญ่เป็นการศึกษาตามแนวมาร์กซิสม์ 2. ความด้อยพัฒนาเป็นผลทางประวัติศาสตร์อันยาวนาน (Marxism) และทฤษฎีความขัดแย้ง นักทฤษฎีคนสำ�คัญของทฤษฎี ของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศภายใต้โครงสร้างการขยายตัว การพึ่งพา ได้แก่ อังเดร กุนเดอร์ แฟรงค ของระบบทุนนิยมโลก มากกว่าเป็นการสะท้อนถึงโครงสร้างอัน ล้าหลังของประเทศด้อยพัฒนา ความสัมพันธ์ดังกล่าวจะอยู่ ในลักษณะของประเทศศูนย์กลางและประเทศบริวาร ตามตัว แบบ “Metropolis-satellite model” ซึ่งได้เปิดโอกาสให้ประเทศ ศูนย์กลางมีการแสวงประโยชน์จากทรัพยากรและแรงงานของ ประเทศบริวารผ่านระบบทางการค้าแบบผูกขาด และการทำ�ให้ ประเทศบริวารกลายเป็นแหล่งป้อนวัตถุดิบด้วยวิธีการต่างๆ อาทิ เช่น การส่งเสริมให้ปลูกพืชเชิงเดี่ยว (Mono-crop) เพื่อป้อน ประเทศแกน ส่งผลให้เกิดการทำ�ลายระบบเศรษฐกิจและสังคมที่ เลี้ยงตัวเองได้ (Self-subsistence) ของประเทศด้อยพัฒนา และ เปลี่ยนประเทศด้อยพัฒนาให้เป็นแหล่งการสะสมทุน และการ Andre Gunder Frank พัฒนาของประเทศศูนย์กลาง 3. สมมติฐานเบื้องต้นของทฤษฎีการพึ่งพาตามแนวคิดของ อังเดร กุนเดอร แฟรงค (Andre G. Frank) แฟรงค์ เสนอว่าลักษณะของสังคมด้อยพัฒนาในประเทศโลก แฟรงค์ เสนอแนวความคิดของเขาเมื่อปี ค.ศ.1969 ว่า ความ ที่สาม เกิดขึ้นจากการที่ประเทศโลกที่สามเคยมีความสัมพันธ์ สัมพันธ์ระหว่างศูนย์กลางที่มีความเจริญทางเศรษฐกิจกับประเทศ อย่างใกล้ชิดกับเมืองหลักหรือประเทศศูนย์กลางมาก่อน ดังนั้น ล้าหลังรอบนอก เป็นผลสะท้อนมาจากการแผ่นขยายของลัทธิการ เงื่ อ นไขสำ � คั ญ ที่ จ ะทำ � ให้ ป ระเทศบริ วารประสบความสำ � เร็ จ ใน ค้า (Commercialism) และทุนนิยม (Capitalism) มาตั้งแต่ศตวรรษ การพัฒนาเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม คือ ประเทศบริวารต้องมี ที่ 16 (An external explanation for the Third World) จากการ ความผูกพันหรือติดต่อเชื่อมโยงกับประเทศศูนย์กลางให้น้อยที่สุด ผ่านประสบการณ์การเป็นเมืองขึ้นและการถูกครอบงำ�ของลัทธิ เนื่องจากการติดต่อกับประเทศโลกที่หนึ่งทำ�ให้เกิดภาวะของ “การ อาณานิคม (Colonialism) ของประเทศโลกที่สาม โดยที่ช่องว่าง พัฒนาความด้อยพัฒนา” ในประเทศโลกที่สาม ของการพัฒนาระหว่างประเทศพัฒนาแล้วกับประเทศกำ�ลังพัฒนา นั้ น เกิ ด จากการเอารั ด เอาเปรี ย บและการแสวงประโยชน์ ข อง กล่าวได้ว่าแนวความคิดของทฤษฎีพึ่งพาจะมุ่งเสนอถึงปัญหา ประเทศที่พัฒนาแล้ว ก่อให้เกิดปัญหาการแลกเปลี่ยนที่ไม่เสมอ อุปสรรค และภาวการณ์ด้อยพัฒนาของประเทศโลกที่สามที่จะ ภาคเท่าเทียมกัน มีการดูดซับทรัพยากรที่มีคุณค่าจากประเทศ พัฒนาไปสู่การเป็นประเทศพัฒนาแบบทุนนิยม โดยส่วนใหญ่แล้ว ขอบนอกไปยังประเทศศูนย์กลาง ทำ�ให้การพัฒนาในประเทศ นักคิดทฤษฎีการพึ่งพาทั้งหลายมีความเห็นว่า ความด้อยพัฒนา โลกที่สามไม่อาจเกิดขึ้นได้ โดยแฟรงค์ได้อธิบายถึงลักษณะของ นั้ น เกิ ด ขึ้ น จากการที่ ป ระเทศโลกที่ ส ามถู ก ดึ ง เข้ า ร่ ว มในระบบ การพึ่งพาและเงื่อนไขของความด้อยพัฒนา (So 1990) ดังนี้ ทุนนิยมระหว่างประเทศในฐานะเป็นประเทศบริวารของประเทศ ที่พัฒนาแล้ว มีผลทำ�ให้โครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคมของ ประเทศโลกที่ ส ามเอื้ อ ต่ อ การถู ก แสวงประโยชน์ จ ากประเทศ การพัฒนาชนบท : 21
บทที่ 1 ความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนา
พัฒนาแล้วดังกล่าว ยิ่งกว่านั้นโครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคม ของประเทศโลกที่ ส ามยั ง ไม่ ส่ ง เสริ ม การพั ฒ นาแบบทุ น นิ ย ม อีกด้วย เนื่องจากไม่มีสินค้าประเภททุน (Capital goods) ที่ ผลิตเองได้เอง จึงต้องอาศัยประเทศพัฒนาแล้วโดยการนำ�เข้า ทำ � ให้ ป ระเทศโลกที่ ส ามกลายเป็ น ตลาดสำ � คั ญ ของสิ น ค้ า จาก ประเทศพัฒนาแล้ว ในขณะเดียวกันประเทศโลกที่สามยังเป็น ฐานที่สำ�คัญในการส่งวัตถุดิบป้อนให้กับประเทศพัฒนาแล้วด้วย ยุทธศาสตร์การพัฒนาของทฤษฎีพึ่งพา ดั ง ที ่ ไ ด้ ก ล่ า วมาแล้วว่า ภาวะของการพึ่งพาเกิด ขึ ้ น จาก กระบวนการขยายตัวของระบบทุนนิยมโลก ที่สภาพเศรษฐกิจของ ประเทศศูนย์กลางและประเทศบริวารมีความสัมพันธ์กันภายใต้สิ่ง แวดล้อมระหว่างประเทศหรือเป็นส่วนหนึ่งของทุนนิยมโลก ความ สัมพันธ์ดังกล่าวมักจะเป็นความสัมพันธ์ที่ประเทศด้อยพัฒนามี ความเสียเปรียบ เนื่องจากถูกกอบโกยผลประโยชน์จากประเทศ ศูนย์กลาง นอกจากนั้นชนชั้นนำ�ของทั้งประเทศบริวารกับประเทศ ศูนย์กลางยังมีผลประโยชน์ร่วมกัน และมีการเลียนแบบการดำ�รง ชีวิตจากกัน ลักษณะเช่นนี้ทำ�ให้ความไม่เท่าเทียมกันของสองกลุ่ม จะมีมากขึ้น ทั้งในระดับระหว่างประเทศ ระหว่างเมืองกับชนบทใน ประเทศ การแบ่งชนชั้นภายในสังคม และช่องว่าระหว่างคนรวย และคนจนจะกว้างขึ้น ก่อให้เกิดความแตกแยกและขัดแย้งกัน ภายในสังคม นักคิดจากฐานแนวคิดทฤษฎีพึ่งพา จึงเสนอแนวทางให้กับ ประเทศกำ�ลังพัฒนาเพื่อใช้เป็นยุทธศาสตร์ ในการพัฒนาประเทศ อาทิเช่น อังเดร กุลเดอร์ แฟรงค์ โจฮ่าน กัลป์ตุง และเฟอร์นานโด คาร์โดโซ ยุทธศาสตร์การพึ่งตนเองของ อังเดร กุลเดอร์ แฟรงค์ แฟรงค์ ได้เสนอแนวทางอย่างสุดขั้วให้ประเทศกำ�ลังพัฒนา หรื อ ประเทศโลกที่ ส มาแยกตั ว อย่ า งเด็ ด ขาดออกจากความ สัมพันธ์แบบศูนย์กลางกับบริวาร และยึดแนวทางการพัฒนาแบบ พึ่งตนเอง (self - reliance model) โดยมีการวางแผนการพัฒนา ประเทศของตนเองและเน้นการใช้ทรัพยากรภายในประเทศ เพื่อ ให้เกิดความเป็นอิสระในการบริหารและพัฒนาประเทศ สำ�หรับ ประเทศด้ อ ยพั ฒ นาบางประเทศนั้ น อาจต้ อ งมี ก ารปฏิ วั ติ ท าง สังคมนิยมเพื่อนำ�ไปสู่การเปลี่ยนแปลงอย่างไรก็ตาม มีผู้เสนอ ว่า การเลือกแนวทางการพึ่งตนเอง มิได้หมายความว่า ต้องปิด ประเทศและไม่มีการติดต่อกับต่างประเทศเลย แต่หมายถึงความ พยายามจะลดสภาวะพึ่งพาและการเสียเปรียบจากการครอบงำ� ของประเทศที่พัฒนาแล้ว ดังนั้น แม้จะเน้นการพึ่งตนเอง แต่ก็ ยังคงมีการเชื่อมโยงและมีความสัมพันธ์กับประเทศอื่นๆ โดยที่ การเชื่ อ มโยงนั้ น ควรเป็ น ในลั ก ษณะเอื้ อ อำ � นวยประโยชน์ ใ ห้ กันและกัน ไม่ครอบงำ� หรือเอาเปรียบซึ่งกันและกัน และต้อง เป็นไปในลักษณะของการพัฒนาอย่างควบคู่กัน (So 1990)
ยุทธศาสตร์การพัฒนาแบบพึ่งตนเองของกัลป์ตุง สำ�หรับ กัลป์ตุง (Johan Galtung) ได้เสนอ ยุทธศาสตร์การ พัฒนาแบบพึ่งตนเองโดยเน้นที่คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา เป้าหมายของการพัฒนาตามแนวนี้คือ ความเสมอภาค การพัฒนา คุณภาพชีวิต และศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ (นิรนาม 2544) กัลป์ตุง เสนอสมมุติฐาน 13 ประการที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในโลก ที่สาม หรือประเทศกำ�ลังพัฒนาหากใช้ยุทธศาสตร์ของการพัฒนา แบบพึ่งตนเองดังต่อไปนี้ (นเรศน์ วงศ์สุวรรณ และดิษฐรัตน์ อมร วิทวัส 2542) คือ 1. การจัดลำ�ดับการผลิต โดยให้ความสำ�คัญกับการผลิตสิ่ง จำ�เป็นพื้นฐานที่สังคมต้องการ 2. การมีส่วนร่วมของมวลชน 3. ปัจจัยในท้องถิ่นจะถูกใช้มากขึ้น 4. ความคิดสร้างสรรค์จะได้รับการกระตุ้นส่งเสริม 5. กระบวนการผลิตจะมีความสอดคล้องสัมพันธ์กับเงื่อนไข ของท้องถิ่นมากขึ้น 6. จะมีการพัฒนาอย่างหลากหลายในประเทศ 7. ความแปลกแยกจะลดลง 8. มีความสมดุลทางนิเวศน์. 9. ผลบวกของการพัฒนาจะตกอยูภ่ ายในประเทศ เพือ่ ตอบสนอง ต่อสังคมส่วนใหญ่ 10. มีการเพิ่มความสมานฉันท์ ในหมู่ประเทศรอบนอก (periphery) ด้วยกัน 11. มีความสามารถที่จะต้านทาน หรือตอบโต้กลับการพึ่งพา ทางการค้า 12. ความสามารถในการป้องกันประเทศ หรือการทหารจะมี มากขึ้น 13. ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่พัฒนาแล้ว กับประเทศ กำ�ลังพัฒนาจะอยู่ในลักษณะที่เท่าเทียมกันมากขึ้น ยุทธศาสตร์การพึ่งพาแนวใหม่ ของคาร์โคโซ สำ�หรับนักคิดทฤษฎีพึ่งพาแนวใหม่ (The New Dependency Studies) อาทิเช่น เฟอร์นานโด คาร์โดโซ (Fernando Cardoso) เสนอแนวทางการวิเคราะห์เพื่อแก้ปัญหาการพึ่งพาของ ประเทศโลกที่สามภายใต้ระบบทุนนิยมโลก โดยใช้วิธีการศึกษา ถึงประวัติศาสตร์และโครงสร้างสังคม (Historical structure) ของ ประเทศด้อยพัฒนา และทำ�การวิเคราะห์อย่างละเอียดถึงปัจจัย หรือเงื่อนไขภายในประเทศโลกที่สาม ว่ามีอะไรบ้างที่เอื้อต่อการ ถูกครอบงำ�จากประเทศศูนย์กลาง และก่อให้เกิดความสัมพันธ์ แบบพึ่งพา คาร์ โดโซ เน้นการวิเคราะห์การพึ่งพาทางสังคม การเมือง (Sociopolitical aspect of dependency) มากกว่า การพึ่งพาบนฐานทางเศรษฐกิจ ซึ่งเขาเชื่อว่าการศึกษาวิเคราะห์ โครงสร้างเช่นนี้จะนำ�ไปสู่การเปลี่ยนแปลงหรือปฏิรูปโครงสร้าง ภายในของประเทศโลกที่สามใหม่ ที่ท้าทายโครงสร้างของความ สัมพันธ์แบบพึ่งพาระหว่างประเทศที่มีอยู่เดิม นอกจากนั้น เขายัง
การพัฒนาชนบท : 22
เสนอว่า ควรมีการศึกษาความสัมพันธ์แบบพึ่งพาระหว่างประเทศ ที่มีอยู่เดิม นอกจานั้น เขายังเสนอว่า ควรมีการศึกษาความ สัมพันธ์ระหว่างปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกด้วยเนื่องจาก ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศด้อยพัฒนากับระบบทุนนิยมโลกใน ปัจจุบันนี้ สามารถก่อให้เกิดการพัฒนาและการพึ่งพาควบคู่กัน (Dependent-associated development) และมีการแบ่งงานกัน ทำ�ระหว่างประเทศแบบใหม่ (New international division labor) กล่าวคือ ในขณะที่ประเทศด้อยพัฒนามีศักยภาพและมีปัจจัย ภายในที่จะพัฒนาตัวเองได้ระดับหนึ่ง ปัจจัยภายนอกที่มาจาก ประเทศพัฒนาแล้วก็มีความสำ�คัญที่จะสามารถช่วยเหลือประเทศ กำ�ลังพัฒนาในด้านเทคโนโลยี การเงินการจัดการ และการตลาด ได้โดยผ่านบริษัทข้ามชาติ (Multinational corporations) เช่น ใน ขณะที่ประเทศพัฒนาแล้วเปลี่ยนไปผลิตสินค้าที่ใช้เทคโนโลยีขั้น สูง บรรษัทข้ามชาติอาจย้ายฐานการผลิตหรือโอนการผลิตสินค้า ที่ประเทศพัฒนาเลิกผลิตแล้วไปยังประเทศด้อยพัฒนาเพื่อให้ ผลิต สินค้านั้นๆ แทน ดังนั้นจึงควรศึกษาปัจจัยภายนอกเหล่า นี้ควบคู่ไปกับการศึกษาถึงปัจจัยภายใน อันได้แก่ โครงสร้าง สังคม บทบาทของรัฐ การเคลื่อนไหวทางสังคม และอุดมการณ์ ทางสังคม ตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มพลังต่างๆ ที่มีผล ต่อการรักษาหรือเปลี่ยนแปลงผลประโยชน์ของสังคมและหาก ปรากฏการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นอย่างสอดคล้องกัน ก็จะทำ�ให้เกิด การพัฒนาอย่างพึ่งพาซึ่งกันและกัน (So 1990; นิรนาม 2544) แม้ว่าแนวทางการพัฒนาของทฤษฎีพึ่งพานั้นจะมีรายละเอียด ที่แตกต่างกันบ้างแต่สาระสำ�คัญซึ่งเป็นจุดร่วมของทฤษฎี คือ เน้นความสำ�คัญของปัจจัยภายในประเทศและการพึ่งตนเองในการ พัฒนาประเทศ เนื่องจากเห็นว่า การติดต่อสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ กับประเทศที่พัฒนาแล้วซึ่งมีฐานะและพลังทางเศรษฐกิจเหนือ กว่ามาก จะนำ�ไปสู่ความพันธ์แบบไม่เท่าเทียมกัน ซึ่งมักก่อให้ เกิดผลเสียมากกว่าเกิดผลดีต่อประเทศกำ�ลังพัฒนา โดยนักทฤษฎี พึ่งพามองเห็นถึงผลเสียของการพึ่งพาต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็น การพึ่งพาทางด้านการเงิน เทคโนโลยี ผู้เชี่ยวชาญ ระบบการ ศึกษา วัฒนธรรม และที่สำ�คัญที่สุดก็คือ การพึ่งพาแนวคิดและ กระบวนการในการพัฒนาประเทศจากประเทศที่พัฒนาแล้ว โดย ใช้ ตั ว แบบของประเทศที่ พั ฒ นาแล้ ว มาเป็ น แบบในการพั ฒ นา นอกจากนั้น การเติบโตทางเศรษฐกิจที่มากเกินไปในภาคอุตสาห กรมตามแนวคิดของทฤษฎีทันสมัย จะก่อให้เกิดความไม่สมดุล และไม่เป็นธรรมต่อภาคเศรษฐกิจอื่นๆ รวมถึงพื้นที่อื่นๆ โดย เฉพาะอย่างยิ่งในเขตชนบทของประเทศกำ�ลังพัฒนา ก่อให้เกิด ปัญหาความไม่เป็นธรรมทางด้านการกระจายรายได้ สำ�หรับการ ขยายตัวทางอุตสาหกรรมและการผลิตสินค้าทดแทนการนำ�เข้า ก็ ไม่ช่วยลดปัญหาที่เกิดขึ้นจากการขาดดุลการค้าและดุลชำ�ระ เงินที่เสียเปรียบแต่อย่างใด กลับยิ่งทดให้ประเทศตกอยู่ในภาวะ ของการพึ่งพามากขึ้น ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว การพัฒนา ประเทศที่เหมาะสม ควรยืนอยู่บนขาตัวเองให้มากที่สุด เพื่อที่จะ
ให้ผลของความสำ�เร็จในการพัฒนาเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป ดังนั้นเมื่อทำ�การศึกษาวิเคราะห์เปรียบเทียบระหว่างทฤษฎี ภาวะความทันสมัยและทฤษฎีการพึ่งพาแล้ว จะพบว่าทั้งสอง ทฤษฎีเกิดจากฐานคิดที่แตกต่างกัน ในขณะที่ทฤษฎีทันสมัย ซึ่งเน้นการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (Economic growth) มี ต้นกำ�เนิดมาจากนักเศรษฐศาสตร์อเมริกันและยุโรป ส่วนทฤษฎี พึ่งพาที่มีจุดกำ�เนิดมาจากนักคิดชาวละตินอเมริกัน ที่เน้นการ ศึ ก ษาวิ เ คราะห์ ปั ญ หาความด้ อ ยพั ฒ นาที่ เ กิ ด ขึ้ น ในโลกที่ ส าม ทำ � ให้ ท ฤษฎี ทั้ ง สองมี แ นวคิ ด ที่ แ ตกต่ า งกั น อย่ า งเห็ น ได้ ชั ด ซึ่งสามารถสรุปสาระและประเด็นที่สำ�คัญได้ (ตารางที่ 1.1) ตารางที่ 1.1 เปรียบเทียบการวิเคราะห์การพัฒนาแบบทันสมัย และแบบพึ่งพา
ประเด็น
แนวพัฒนาแบบ ทันสมัย
แนวพึ่งพา
สาเหตุของการพัฒนา ปัจจัยภายในทำ�ให้เกิด ปัจจัยภายนอก การพัฒนาที่ล่าช้าใน ครอบงำ�เอาเปรียบจึง ประเทศโลกที่สาม ทำ�ให้เกิดความด้อย พัฒนาโลกที่สาม ยุทธศาสตร์ในการ ยุทธศาสตร์แบบมุ่งไป ยุทธศาสตร์แบบพึง่ พา พัฒนา ภายนอก (Outward- ตนเอง (Self-reliance looking oriented strategy) หรือการ strategy) เชื่อมสัมพันธ์อย่าง จำ�แนก (Selective delinking strategy) กระบวนการในการ มีขั้นตอนแบบเส้น ไม่เป็นส้นตรง การ พัฒนา ตรง และมีลักษณะ พัฒนาผ่านความไม่มี วิวัฒนาการแบบค่อย เสถียรภาพ มีการ เป็นค่อยไป ปรับเปลี่ยนโครงสร้าง (เช่น การปฏิรูประบบ ต่างๆ) เป้าหมายหลักของ ความเจริญ (Growth) เน้นการกระจาย การพัฒนา และ ความมี ผลประโยชน์ทาง เสถียรภาพ (Stability) เศรษฐกิจ (Distribuทางเศรษฐกิจ (เน้น tion) ความเสมอภาร การมีประสิทธิภาพ และความยุติธรรม สูงสุด) ทางสังคม หน่วยในการวิเคราะห์ พิจารณาสังคมเป็น พิจารณาระบบ (ระบบสังคม) ส่วน เป็นด้านเป็น เศรษฐกิจโลกและ กลไกหลัก ความสัมพันธ์ระหว่าง โลกที่หนึ่งและโลกที่ สาม(เมืองแม่กับเมือง บริวารหรือศูนย์กลาง กับรอบศูนย์กลาง)
การพัฒนาชนบท : 23
บทที่ 1 ความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนา
ตารางที่ 1.1 เปรียบเทียบการวิเคราะห์การพัฒนาแบบทันสมัย เนื่องจากทฤษฎีนี้เห็นว่า การพัฒนาและความล้าหลังถือได้ว่าเป็น และแบบพึ่งพา(ต่อ) เรื่องที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน และอยู่ในกระบวนการขยายตัวของ ทุนนิยมโลกเดียวกัน ดังนั้นการอธิบายปรากฏการณ์และการเสนอ แนวพั ฒ นาแบบ แนวทางในการแก้ไขปัญหาของการพัฒนา จึงอยู่บนเงื่อนไขของ ประเด็น แนวพึ่งพา ทันสมัย กระบวนการขยายตัวของทุนนิยมโลกด้วย (So 1990) ฐานคติพื้นฐานเรื่อง ธรรมชาติของคน ธรรมชาติของคนมี คน
เฉื่อยชาต้องการแรง จูงใจทางวัตถุเป็นตัว กระตุ้นมีกิจกรรมทาง เศรษฐกิจ (คนเห็นกับ ประโยชน์ส่วนตน)
ความกระฉับกระเฉง และมีศักยภาพอยู่แล้ว ที่จะทำ�กิจกรรมทาง เศรษฐกิจและสังคม (ระบบจูงใจทางศีล ธรรมและทางวัตถุ)
เรื่องคน ธรรมชาติ และเทคโนโลยี
คนจะเอาชนะ ธรรมชาติได้ยาก หากปราศจาก ความก้าวหน้าทาง เทคโนโลยี (ไม่ว่าจะ ต้องใช้ทรัพยากรทาง สังคมและต้นทุนด้าน จิตใจของมนุษย์เท่าใด ก็ตาม) ให้ความสำ�คัญกับการ วิจัยเชิงปริมาณแนว ปฎิฐานนิยม (Positivism) แลประจักษ์ นิยม (Empiricism)
คนสามารถจะ เอาชนะธรรมชาติ หรือปรับตัวเข้ากับ ธรรมชาติได้ คนเป็นผู้ สร้างสรรค์(เทคโนโลยี มีเพื่อรับใช้คนไม่ใช่ บนความเจ็บปวด ทุกข์ยากของคนด้วย กันเอง) ให้ความสำ�คัญกับ การใช้วิธีการทาง ประวัติศาสตร์และ วิภาษวิธี และใช้วิธี การเชิงประมาณ ด้วยแนวบรรทัดฐาน (Normative)
วิธีการศึกษา
สาระสำ�คัญของทฤษฎีระบบโลก นักทฤษฎีระบบโลก โดยการนำ�ของ เอ็มมานูเอล วอลเลอ สไตน์ (Immanuel Wallerstein) เห็นว่า ระบบโลกเป็นระบบที่ ซับซ้อนเกินกว่าจะแบ่งเป็นประเทศเพียงสองฝ่าย คือ ประเทศ ศูนย์กลางและประเทศรอบนอกเท่านั้น วอลเลอสไตน์ ได้เสนอ ระบบที่ประกอบด้วยสามตัวแบบ (Tri-modal) อันได้แก่ ประเทศ ศูนย์กลาง ประเทศกึ่งรอบนอก และประเทศรอบนอก ด้วยเหตุผล สืบเนื่องมาจากการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศแถบ เอเชียตะวันออก (East Asia) อันได้แก่ ประเทศญี่ปุ่น ไต้หวัน เกาหลีใต้ ฮ่องกง และสิงคโปร์ ทำ�ให้ไม่สามารถจัดกลุ่มประเทศ ดั ง กล่ า วให้ อ ยู่ ทั้ ง ในกลุ่ ม ประเทศศู น ย์ ก ลางหรื อ ประเทศรอบ นอกได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ ประเทศเหล่านี้จึงถูกจัดให้เป็นประเทศ กึ่งรอบนอก ที่มีฐานะทางเศรษฐกิจดีมากกว่าประเทศรอบนอก มากแต่อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจของประเทศเหล่านีก้ ย็ งั ไม่สามารถ ทัดเทียมกับประเทศศูนย์กลางได้ (แผนภาพที่ 1.6)
ที่มา: นเรศน์ วงศ์สุวรรณ และดิษฐรัตน์ อมรวิทวัส (2542)
ทฤษฎีระบบโลก (The World System Theory)
ทฤษฎีระบบโลก หรือ The World System Theory ให้ ความสำ�คัญกับการศึกษาการพัฒนาในระดับทุนนิยมโลก ดั้งนั้น หน่วยในการวิเคราะห์ (Unit of analysis) คือ ระบบโลก (World system) แนวคิดนี้มีพื้นฐานเริ่มต้นคล้ายคลึงกับแนวความคิด เกี่ยวกับการพึ่งพา โดยที่นักวิชาการบางคนถือว่า ทั้งสองทฤษฎี มีแนวความคิดที่เหมือนกัน แต่อีกกลุ่มหนึ่งถือว่า ควรแยกการ อธิบายทั้งสองแนวความคิดออกจากกัน เนื่องจากในช่วงทศวรรษ 1970 มีปัจจัยและเหตุการณ์ต่างๆ เกิดขึ้นอย่างมากมายในระบบ ทุนนิยมโลกซึ่งแนวคิดทฤษฎีพึ่งพาไม่ได้กล่าวถึง นอกจากนั้น แม้ว่าทฤษฎีระบบโลกจะมีลักษณะของการต่อต้านจักรวรรดินิยม อยู่บ้าง แต่ก็ยังมองเห็นโอกาสที่จะพัฒนาตามแนวทางของ ทุนนิยมต่อไปได้ โดยการปรับปรุงโครงสร้างความสัมพันธ์ทาง เศรษฐกิจและการเมืองกับประเทศพัฒนาแล้วเสียใหม่ เพื่อมิให้ ถู ก เอาเปรี ย บทางผลประโยชน์ ห รื อ มู ล ค่ า ส่ ว นเกิ นมากเกิ น ไป
แผนภาพที่ 1.6 ตัวแบบของทฤษฎีระบบโลก (World System Model)
การพัฒนาชนบท : 24
ลักษณะของความสัมพันธ์สามแบบ (Tri-modal) ในระบบทุน นิยมโลก เป็นความสัมพันธ์ระหว่าง 1)ประเทศศูนย์กลาง (Core) ซึ่ง หมายถึงประเทศแม่ในโลกที่หนึ่ง 2)ประเทศรอบนอก (Periphery) ซึ่งหมายถึงประเทศกำ�ลังพัฒนาหรือประเทศในโลกที่สาม และ 3) ประเทศกึ่งรอบนอก (Semi-periphery) ซึ่งได้แก่ กลุ่มประเทศ อุตสาหกรรมใหม่ (New Industrial Countries: NICs) ซึ่ง วอลเลอส ไตน์ เสนอเหตุผลของความจำ�เป็นที่ต้องมีการกล่าวถึงประเทศกึ่ง รอบนอกว่า การอธิบายถึงระบบทุนนิยมโลกภายใต้ความผันแปร ของระบบเศรษฐกิจโลกนั้น ในบางช่วงบางขณะประเทศศูนย์กลาง อาจเกิ ด ภาวะถดถอยทางเศรษฐกิ จ ซึ่ ง ทำ � ให้ ภ าคการผลิ ต นำ � ภายในประเทศตกต่ำ�ลง ประเทศกึ่งรอบนอกจะเป็นทางเลือกหนึ่ง ที่นายทุนของประเทศศูนย์กลางสามารถเคลื่อนย้ายทุนในการ ผลิตไปผลิตยังประเทศเหล่านั้นได้ เนื่องจากประเทศกึ่งรอบนอก มี ความมั่ น คงพอและมี ความสามารถในการรองรั บ การผลิ ต ที่ ก้าวหน้า นอกจากนั้น ประเทศกึ่งรอบนอกเองยังมีอิทธิพลในการ ควบคุมเศรษฐกิจของประเทศรอบนอกอื่นๆ ในละแวกเดียวกันด้วย อันจะเป็นประโยชน์ต่อการลงทุนในภาพรวม (So 1990)
4. อย่างไรก็ตามในช่วงที่เศรษฐกิจขยายตัว (Economic boom) ประเทศศูนย์กลางจะพยายามดึงอำ�นาจของตนกลับคือ โดยสร้างความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นและควบคุมประเทศรอบนอก มากขึน้ เพือ่ ทีจ่ ะครอบครอง หรือ เป็นผูน้ �ำ (Dominate) ตลาดโลก 5. ตั วแบบสามช่ วง (The three-tiered model) ของ วอลเลอสไตน์ ทำ�ให้เกิดความเป็นไปได้ในการอธิบายภาวะของ การเคลื่อนที่ขึ้น (Dpward mobility) ของประเทศรอบนอกไปสู่ ประเทศกึง่ รอบนอก และประเทศกึง่ รอบนอกไปสูป่ ระเทศศูนย์กลาง และสามารถอธิบายการเคลื่อนที่ลง (Downward mobility) ของ ประเทศศูนย์กลางไปสูป่ ระเทศกึง่ รอบนอก และประเทศกึง่ รอบนอก ไปสู่ประเทศรอบนอก
ยุทธศาสตร์การพัฒนาของทฤษฎีระบบโลก ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่า ถึงแม้ว่าประเทศต่างๆ จะถูกจัดให้เป็น ประเทศศูนย์กลางประเทศกึ่งรอบนอก หรือประเทศรอบในก็ตาม ประเทศทั้งหลายสามารถเคลื่อนตัวขึ้นหรือลงได้ภายในระบบ เศรษฐกิจทุนนิยมโลก ดังนั้นจึงเป็นการเปิดโอกาสให้ประเทศต่างๆ การพัฒนาการของระบบโลก สามารถเคลื่อนที่ขึ้นหรือมีการพัฒนาจาก : 1) จากประเทศรอบ So (1990) ได้อธิบายถึง พัฒนาการของระบบเศรษฐกิจโลก นอกไปเป็นประเทศกึ่งรอบนอก และ 2) จากประเทศกึ่งรอบนอก และการปรับตัวขึ้นลงของประเทศทั้งสามระดับในความสัมพันธ์ ไปเป็นประเทศศูนย์กลาง สามแบบ ดังนี้ 1. การเคลื่อนที่ขึ้น: จากประเทศรอบนอกไปเป็นประเทศกึ่ง 1. ระบบเศรษฐกิจทุนนิยมโลก (The Capitalist World - รอบนอก Economy) ได้พัฒนาตัวเองขึ้นจาก การขยายตัวของอุตสาหกรรม 1.1 วอลเลอสไตน์ เสนอว่า รัฐบาลของประเทศรอบ การขยายตัวทางการค้าของผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร การเพิ่มขึ้น นอกควรจะมีความเชื่อมั่นและรู้จัดฉกฉวยโอกาส (Seizing the ของการใช้แรงงาน และการเติบโตของบริษัทต่างๆ chance) ในยามที่สภาวะเศรษฐกิจของประเทศศูนย์กลางตกต่ำ� โดยทำ�การโปรโมทประเทศและชักชวนให้บริษัทและบรรษัทข้าม 2. ระบบเศรษฐกิจทุนนิยมโลก ได้พัฒนาวัฏจักรของการ ชาติเข้ามาลงทุนในประเทศ ขยายตัวและการภาวะของการถดถอย ซึ่งเป็นผลมาจากความไม่ 1.2 ประเทศรอบนอกควรใช้ยุทธวิธีการพัฒนาแบบพึ่ง สมดุลระหว่างความต้องการหรืออุปสงค์ (Demand) และ การเสนอ ตนเอง (Self – reliance) ควบคู่กันไปด้วย โดยพยายามไม่พึ่งพา ขายหรืออุปทาน (Supply) ของสิตนค้าต่างๆ ในบางขณะ อุปทาน ทางเศรษฐกิจ (Economic independence) จากประเทศอื่น ของสินค้าในโลกจะมีมากกว่าความต้องการ เมื่อลักษณะเช่นนี้ 1.3 ควรผลิตสินค้าเพื่อทดแทนการนำ�เข้า (Import subเกิดขึ้น โรงงานทั้งหลายอาจต้องปิดตัวลงหรือเคลื่อนย้ายฐานการ stitution) เนื่องจากระดับราคาของสินค้าออกขั้นปฐมจากประเทศ ผลิตไปสู่ที่ที่มีต้นทุนต่ำ�กว่า ทำ�ให้คนงานถูกเลิกจ้างและกำ�ลังซื้อ รอบนอก ตกเร็วกว่าราคาของเทคโนโลยีขั้นสูงจากประเทศศูนย์ ของคนต่ำ�ลง ทำ�ให้เศรษฐกิจโลกในช่วงนี้อยู่ในภาวะถดถอย กลาง และควรทำ�การผลิตสินค้าที่ประเทศศูนย์กลางเลิกผลิตแล้ว 1.4 แทนที่จะผลิตสินค้าเพื่อตลาดภายในประเทศแต่ 3. ในช่วงที่เศรษฐกิจโลกอยู่ในภาวะตกต่ำ� ส่งผลต่อ เพียงอย่างเดียว ประเทศรอบนอกควรทำ�การค้ากับประเทศอื่น ประเทศศูนย์กลาง นั่นคือ เศรษฐกิจของประเทศศูนย์กลางจะ และขยายตลาดไปสู่ตลาดต่างประเทศให้มากขึ้น มีความอ่อนแอลง ทำ�ให้อำ�นาจในการควบคุมประเทศรอบนอก ลดลง ซึ่งจะเปิดโอกาสให้ประเทศชายขอบ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง 2. การเคลื่อนที่ขึ้น: จากประเทศกึ่งรอบนอกไปเป็นประเทศ ประเทศกึ่งรอบนอก สามารถพัฒนาประเทศให้ตามทัน (Catch ศูนย์กลาง up) ประเทศศูนย์กลางได้ ในภาวะเศรษฐกิจโลกมีความตกต่ำ�เช่น 2.1 ประเทศกึ่งรอบนอกพัฒนาสมารถพัฒนาขึ้นได้ จาก นี้ ถือได้ว่าเป็นช่วงของการกระจายมูลค่าส่วนเกินของโลก จาก การมีตลาดขนาดใหญ่ที่สามารถรองรับสินค้าประเภทเทคโนโลยี ประเทศศูนย์กลาง ไปยังประเทศรอบนอก ขั้นสูง โดยขยายตลาดทั้งในประเทศและตลาดต่างประเทศ โดย การพัฒนาชนบท : 25
บทที่ 1 ความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนา
เฉพาะการติดต่อทางการค้ากับประเทศเพื่อนบ้านและสร้างเป็น ภาคีที่มีข้อตกลงว่ากับทั้งทางเศรษฐกิจและการเมือง 2.2 ต้องสมารถผลิตสินค้าโดยการใช้ต้นทุนการผลิตที่ต่ำ� กว่าผู้ผลิตรายอื่นๆ ซึ่งรัฐสามารถช่วยเหลือโดยการให้เงินอุดหนุน (Subsidy) กับสินค้าที่ผลิตภายในประเทศ 2.3 เพิ่มราคาของสินค้านำ�เข้า โดยการตั้งกำ�แพงภาษี และใช้ระบบโควตาเพื่อปกป้องสินค้าที่ผลิตภายในประเทศและลด ส่วนแบ่งของตลาดภายใน 2.4 สามารถเพิม่ อำ�นาจทางการซือ้ ของคนภายในประเทศ ด้วยการปรับเพิ่มอัตราค่าจ้างและเงินเดือน และกระตุ้นการซื้อ สินค้าโดยใช้การโฆษณาประชาสัมพันธ์ (So 1990) กล่าวโดยสรุป คือ ทฤษฎีระบบโลกให้ความสำ�คัญกับความ สัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศภายใต้ระบบทุนนิยมโลก ซึ่งถึงแม้ว่าความสัมพันธ์จะอยู่ในลักษณะของความไม่เท่าเทียม กัน แต่ระบบเศรษฐกิจทุนนิยมโลกก็เปิดโอกาสให้ประเทศต่างๆ มีการปรับตัวหรือการเคลื่อนย้ายสถานภาพของประเทศให้ดีขึ้น หรือลดลงได้ ขึ้นอยู่กับความสามารถของประเทศในการแสวงหา โอกาสในการพัฒนาประเทศ ภายใต้สถานการณ์อันผันผวนทาง เศรษฐกิจในโลกยุคปัจจุบัน
แนวคิดหลังหมัยใหม่หรือทฤษฎีโพสท์โมเดิร์น (Postmodern Social Theory)
โพสท์โมเดิร์น ถือได้ว่า เป็นแนวคิดที่แพร่หลายมากที่สุดใน ประเทศไทยในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา โดยอิทธิพลของแนวคิดแบบ โพสท์โมเดิร์นไม่ได้จำ�กัดอยู่เฉพาะในการศึกษาทางสังคมศาสตร์ แต่ปรากฏอิทธิพลของแนวคิดโพสท์โมเดิร์นในสาขาอื่นๆ อาทิเช่น ศิลปะ สถาปัตยกรรม วรรณกรรม ฯลฯ นอกจานั้นนักวิชาการและ นักพัฒนาบางคน ยังได้พยายามอธิบายโพสท์โมเดิร์นในลักษณะ เพื่อสังคม โดยใช้วิธีคิดแบบโพสท์โมเดิร์นเป็นเครื่องมือในการ สร้างปฏิบัติการทางวิชาการและทางการเมือง แต่อย่างไรก็ดี การ ใช้แนวคิดโพสท์ โมเดิร์นในการอธิบายปรากฏการณ์ทางสังคม ต่างๆ ไม่อาจเสนอภาพที่ชัดเจนได้ เนื่องจาก โพสท์โมเดิร์น ยัง คงเป็นกระแสความคิด มากกว่าจะเป็นสำ�นักคิด ที่มีระเบียบวิธี ปรัชญา และเป้าหมายในการศึกษาที่แน่นอนตายตัว นอกจากนั้น โพสท์ โมเดิร์นเองไม่ได้เสนอแนวคิดที่ชัดเจนที่สามารถอธิบาย ด้วยหลักของเหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ เนื่องจากโพสท์โมเดิร์นเห็น ว่าความจริงเป็นสิ่งที่สังคมสร้างขึ้นมากด้วยรูปแบบวิทยาศาสตร์ ด้วยวิธีคิดแบบเหตุผลนิยม และด้วยการศึกษาแบบปฏิฐานนิยม (Positivistic approach) และโพสท์โมเดิร์นยังเน้นด้วยว่า ศาสตร์ และความรู้ทั้งหลายที่สร้างขึ้นมาอย่างมีระเบียบแบบแผน เพื่อ การอธิบายโลกและการเข้าถึงความจริงนั้น อันที่จริงแล้วเป็นเพียง การสร้างวาทกรรม (Discourse) ที่ได้รับการค้ำ�ยันจากอำ�นาจ ในสังคมเท่านั้น (ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ 2544) และสำ�หรับมโน
ทัศน์ “การพัฒนา” และแนวทางการพัฒนานั้น ก็เป็นเพียงวาท กรรมที่ถูกสร้างขึ้นเช่นเดียวกัน (ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร 2542) ความหมายและสาระสำ�คัญของโพสท์โมเดิร์น โพสท์โมเดิร์น เป็นคำ�ที่มีความคลุมเครือและกำ�กวมมากที่สุด ซึ่งแม้แต่นักคิดที่มีชื่อเสียงในกลุ่มของโพสท์โมเดิร์นเอง ก็ยังไม่ อาจให้ข้อสรุปในเชิงของความหมายของโพสท์โมเดิร์น เพราะ ความคลุมเคลือและความกำ�กวมนี้ถือเป็นคุณสมบัติประการหนึ่ง ของโพสท์โมเดิร์น ด้วยเหตุที่ว่าโพสท์โมเดิร์น เป็นกระแสความ คิดที่เต็มไปด้วยความหลากหลาย แยกย่อย กระจัดกระจาย ไม่ ได้มุ่งเสนอทฤษฎีที่เป็นระบบระเบียบในการอธิบายสังคม ไม่มี ระเบียบวิธีที่แจ่มชัดไม่มีอุดมการณ์เพื่อวันข้างหน้า ไม่ได้กล่าว ถึงการเปลี่ยนแปลงโลก และไม่ได้พูดถึงลักษณะของสังคมที่พึง ปรารถนา (ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ 2544) อย่างไรก็ตาม เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการศึกษาแนวคิด โพสท์โมเดิร์น อาจกล่าวได้ว่า คำ�ว่า โพสท์โมเดิร์น มีความหมาย ในสองลักษณะ คือ : ความหมายแรก โพสท์โมเดิร์น แสดงถึง ลักษณะหรือภาวะของสังคมหลังสมัยใหม่ (Postmodernity) และ ความหมายที่สอง โพสท์ โมเดิร์น แสดงถึงวิธีคิดแบบหลังสมัย ใหม่นิยม (Postmodernism) ภาวะสังคมหลังสมัยใหม่ (Postmodernity) โพสท์โมเดิร์น ในความหมายแรก หมายถึง สภาวการณ์ทาง สังคมแบบหลังสมัยใหม่ (Postmodernity) หรือการเปลี่ยนแปลง สู่ยุคใหม่ต่อจากยุคทันสมัย ที่ทำ�ให้เกิดการเปลี่ยนวิถีชีวิตความ หมายประเด็นนี้ เกิดจากความคิดที่ว่า สังคมมีการเปลี่ยนยุคสมัย จาก ภาวะสังคมก่อนทันสมัย (Pre-modernity) ไปสู่ภาวะสังคม ทันสมัย (Modernity) แล้วจึงเปลี่ยนผ่านไปสู่สังคมยุคหลังสมัย ใหม่ (Post-modernity) ซึ่งมีลักษณะสำ�คัญของแต่ละยุคสมัย (Best and Keller 1991: 3) ดังนี้ 1. ภาวะสังคมก่อนทันสมัย (Pre-modernity) 1.1 มีลักษณะเป็นสังคมประเพณี หรือสังคมดั้งเดิม (Traditional society) 1.2 ระดับของเทคโนโลยีและนวัตกรรมต่ำ� 1.3 เน้นการพึ่งตนเอง 1.4 มีการรวมกลุ่มเป็นสังคม 1.5 เน้นการใช้บรรทัดฐานของครอบครัวและกลุ่ม 1.6 ให้ความสำ�คัญกับวัฒนธรรมและประเพณีดั้งเดิม 1.7 มีลักษณะพิเศษเฉพาะของชุมชน 2. ภาวะสังคมทันสมัย (Modernity) 2.1 มีความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ เทคโนโลยี และการ บริหารจัดการ 2.2 มีการเปลี่ยนไปสู่ความทันสมัย (Modernization)
การพัฒนาชนบท : 26
ตามขั้นของการพัฒนา (The stages of social development) ของ รอสเทาว์ (Rostow) 2.3 การเปลี่ยนสภาวะทางสังคมเศรษฐกิจ (Socio - economic changes) ถูกกระตุ้นโดยการค้นพบและนวัตกรรมทาง วิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี 2.4 เกิดกระบวนการเปลี่ยนไปเป็นอุตสาหกรรม (Industrialization) การกลายเป็นเมือง (Urbanization) การเปลี่ยนไป เป็นแบบประเทศตะวันตก (Westernization) และการเปลี่ยนแปลง ไปใช้ระบบบริหารงานแบบราชการ (Bureaucratization) 2.5 เน้นระบบทุนนิยม (Capitalism) และพาณิชย์นิยม (Commercialization) ที่มีการผลิตเพื่อการค้า (Co-modification) เน้นความเป็นประชาธิปไตย (Democratization) และการเข้าสู่ กระแสโลกาภิวัฒน์ (Globalization) 2.6 เน้นความเป็นปัจเจกบุคคล (Individualization) เน้น การอธิบายด้วยหลักการและการให้เหตุผล (Rationalization) ให้ ความสำ�คัญกับเรื่องในทางโลก (Secularization) และสังคมทั้ง หลายมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนไปสู่สังคมที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน (Homogenization)
ทำ�ให้การติดต่อสื่อสารเป็นไปอย่างสะดวกและรวดเร็ว และทำ�ให้ กระบวนการทางสังคมต่างๆ มีการเปลี่ยนแปลงและการแปรผัน อย่างรวดเร็วตามไปด้วย สิ่งเหล่านี้กำ�ลังผลิตสังคมแบบใหม่และ ทำ�ให้เกิดยุคทางประวัติศาสตร์แบบโพสท์โมเดิร์นขึ้นมา และเกิด การก่อตัวและเกิดพัฒนาการของสังคม เศรษฐกิจและวัฒนธรรม ทำ�ให้เกิดรูปแบบของความรู้ที่แปลกใหม่ ซึ่งต้องการแนวคิดและ ทฤษฎีใหม่ๆ มาแทนแนวคิดแบบเดิม เพื่อใช้อธิบายและรองรับ สังคมแบบหลังสมัยใหม่ ซึ่งแนวคิดที่ใช้ในการอธิบายสังคมหลัง สมัยใหม่นั้นถูกเรียกว่า “แนวคิดแบบหลังสมัยใหม่นิยม” หรือที่ นิยมเรียกทับศัพท์ว่า “โพสท์โมเดิร์นนิซึ่ม” (Best and Keller 1991) หลังสมัยใหม่นิยม (Postmodernism) โพสท์โมเดิร์นในความหมายที่สอง หมายถึง แนวคิดหรือวิธีคิด (Ways that people think) แบบหลังสมัยใหม่ หรือที่เรียกว่าหลัง สมัยใหม่นิยม ซึ่งเป็นวิธีคิดหรือวิธีการที่นักวิชาการ นักเขียน หรือศิลปิน ที่เรียกได้ว่าเป็นพวกหลังสมัยใหม่นิยม (Postmodernists) ตอบสนองต่อสภาวะหลังสมัยใหม่ อันถือได้ว่าเป็นความ คิดหรือปฏิกิริยาที่มีต่อความคิด ความเชื่อ ความรู้ หลักเหตุผล แบบแผนการปฏิบัติ สถาบัน ฯลฯ ที่ปรากฏอยู่ในสังคมสมัยใหม่ ดังนั้น จึงถือได้ว่าโพสท์โมเดิร์นจึงดำ�รงอยู่ควบคู่ไปกับภาวะสมัย ใหม่อยู่ตลอดเวลา เพราะโพสท์โมเดิร์น เป็นกระแสความคิดที่ ตอบสนองและท้าทายต่อภาวะสมัยใหม่ในทุกๆด้าน โดยเฉพาะ อย่างยิ่งแนวทางของยุคแห่งความรู้แจ้ง (Enlightenment) ที่ เน้นความสำ�คัญของความรู้ ความจริง และความเป็นเหตุเป็น ผล (Rational) โดยถือว่าเหตุผลเป็นพื้นฐานของความก้าวหน้า ในด้านความรู้และความเจริญสังคม เนื่องจากเหตุผลจะช่วยสร้าง บรรทัดฐานทางทฤษฎีและแนวทางในการปฏิบัติ ซึ่งระบบคิดเช่น นี้ได้ครอบงำ�โลกสมัยใหม่มานานหลายศตวรรษ (ศิโรตม์ คล้าม ไพบูลย์ 2544; Best and Keller 1991)
3. ภาวะสังคมหลังทันสมัย (Post - modernity) 3.1 มีการกระจายตัวออกของอุตสาหกรรม (Deindustrialization) และการกระจายศูนย์ (Decentralization) 3.2 เป็นสังคมแห่งการสื่อสารมวลชน (Mass-communication) มีเทคโนโลยีทางการสื่อสาร (Media technology) ที่ ทันสมัย มีการคมนาคมขนส่งและการสื่อสารรูปแบบใหม่ (New modes of transportation and communication) และมีระบบ ทางด่วนข้อมูลข่าวสาร (Information superhighway) 3.3 มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการใช้เทคโนโลยี (Technological transformation) การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม (Cultural transformation) และการแบ่งแยกย่อยทางวัฒนธรรม (Cultural fragmentation) นักคิดหลังสมัยใหม่นิยม 3.4 เป็นสังคมที่มีความซับซ้อน (Complexity) ยากที่จะ สำ�หรับนักคิดหลังสมัยใหม่นยิ มทีถ่ อื ได้วา่ เป็นผูเ้ ผยแพร่แนวคิด นำ�ไปสู่การตัดสินใจ (Indeterminacy) ในประเด็นต่างๆ และเป็น และปรัชญาแบบโพสโมเดิร์นคนสำ�คัญๆ ได้แก่ ฌอง ฟรองซัวส์ สังคมที่มีความไม่แน่นอนสูง (Uncertainty) เลียวทาร์ (Jean Francios Lyotard) ฌาคส์ แดริดา (Jacques Derrida) มิเชลฟูโก (Michal Foucault) และฌอง โบดริยาร์ อย่างไรก็ตาม หากถือว่าโพสท์โมเดิร์นหมายความถึง “หลัง (Jean Baudrillard) ซึ่งทั้งหมดนี้มีความคิดเช่นเดียวกันคือ มุ่ง สมัยใหม่” ที่มาทีหลังแต่คำ�ถามที่สำ�คัญก็คือ จะสามารแยกแยะ โจมตีความรู้ ความจริง และระเบียบวิธีวิจัยแบบสมัยใหม่ที่เชื่อใน และลากเส้นแบ่งที่ชัดเจนระหว่างสังคมสมัยใหม่และสังคมหลัง ความเป็นกลาง เป็นวัตถุวิสัย และการสะท้อนภาพความจริงได้ สมัยใหม่ได้หรือไม่? และมีสังคมใดในโลกที่ก้าวพ้นจากสังคมสมัย อย่างถูกต้องแม่นยำ� แต่สำ�หรับโพสท์โมเดิร์นนิสต์แล้ว ความรู้ ใหม่แล้วหรือยังและในที่สุดแล้วสังคมหลังสมัยใหม่นั้นมีอยู่จริง และความจริงถูกสร้างขึ้นบนพื้นฐานของอำ�นาจและการสร้างวาท หรือไม่ หรือเป็นเพียงการกำ�หนดความหมายของสังคมหลังสมัย กรรม ส่วนระเบียบวิธีวิจัยก็เป็นการเสนอหรือสร้างภาพความจริง ใหม่จากแนวคิดแบบหลังสมัยใหม่นิยมเท่านั้น สำ�หรับนักทฤษฎี ที่ตั้งอยู่บนสมมุติฐานชุดใดชุดหนึ่งเท่านั้น (อ่านเพิ่มเติมได้จาก โพสท์โมเดิร์นหลายคนได้กล่าวอ้างว่า ในสังคมร่วมสมัยดังเช่นใน จันทนี เจริญศรี 2544) ยุคปัจจุบัน ซึ่งเป็นสังคมที่มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีขั้นสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์และสื่อต่างๆ การพัฒนาชนบท : 27
บทที่ 1 ความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนา
พัฒนาการของหลังสมัยใหม่นิยม แม้ว่าแนวคิดแบบหลังสมัยใหม่จะได้รับความนิยมจากสังคม ไทยเมื่อประมาณไม่กี่ปีมานี้ แต่สำ�หรับการเกิดและการขยายตัว ของแนวความคิดแบบโพสท์โมเดิร์นนิสต์ กล่าวได้ว่ามีพัฒนาการ มานานด้วยเงื่อนไขต่างๆ (Eyerman 1994: 707-710) ดังนี้ 1. เกิดจากการขยายตัวของรัฐใหม่ในช่วงหลังสงคราม โลกครั้งที่สอง (The expansion of the state) ซึ่งในช่วงเวลาดัง กล่าวมีการใช้อำ�นาจรัฐในการปฏิรูปเศรษฐกิจ และการจัดระเบียบ สังคม ซึ่งก่อให้เกิดความขัดแย้งและการต่อต้านอำ�นาจรัฐโดย กระบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม (New social movements) 2. การขยายตัวของความรู้ (The explosion of the knowledge industry) สังคมเปลี่ยนไปสู่สังคมที่มีฐานความรู้เพื่อการ ผลิตทางอุตสาหกรรม เนื่องจากความต้องการแรงงานที่มีความรู้ สูงขึ้น โดยเฉพาะความรู้ทางด้านเทคโนโลยีเพื่อการผลิต อย่างไร ก็ตาม การศึกษาที่สูงขึ้นทำ�ให้คนมีเหตุผลมากขึ้น ก่อให้เกิด กระบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมที่วิพากษ์วิจารณ์สังคมสมัยใหม่ 3. การพัฒนาสื่อสารมวลชน (The development of new mass media) เทคโนโลยีการสื่อสารสมัยใหม่ช่วยให้กระบวนการ เคลื่อนไหวทางสังคม มีอำ�นาจทางสังคมและการเมืองเพิ่มขึ้น โดยสามารถเสนอความคิดต่อสาธารณชนผ่านการสื่อสาร 4. พั ฒ นาการทางสังคมที่เปลี่ย นไป ทำ�ให้เกิ ด ความ ต้องการแนวคิดและทฤษฎีที่รอบรับสภาพสังคมแบบหลังสมัยใหม่ การคิดแบบหลังสมัยใหม่นิยม ในขณะที่สมัยใหม่นิยมมุ่งเสนอรากฐานทางความรู้ (Foundation of knowledge) ใน 3 ลักษณะ คือ 1. ความรู้ที่เป็นสากลและความรู้แบบรวบยอด (Universalize and totalize) 2. ความรู้ที่เสนอความจริง (Supplying truth) และ 3. ความรู้ที่มีหลักเหตุผล (Rationalism) อย่างไรก็ตาม หลังสมัยใหม่นิยม ซึ่งถือได้ว่าเป็นวัฒนธรรม หนึ่งของสังคมหลังอุตสาหกรรม ได้ปฏิเสธแนวคิดดังกล่าว วาท กรรมของหลังสมัยใหม่นิยม (Postmodern discourse) จะเน้น ในเรื่องแนวความคิดย่อยและความแตกต่างทางความคิด และ ปฏิเสธการมีอยู่ของความจริงแท้แน่นอน (No absolute truth) เนื่องจากหลังสมัยใหม่นิยมเชื่อว่า ความหมายและความจริงขึ้น อยู่กับเกมส์ทางภาษา (Language game of the moment) และ การบริหารอำ�นาจ เมื่อเป็นดังนี้ ความรู้และความเป็นจริงจึงถูก สร้างขึ้นบนฐานของการใช้อำ�นาจและการใช้เหตุผลแบบสมัยใหม่ ห ลั ง ส มั ย ใ ห ม่ นิ ย ม โ ต้ แ ย้ ง แ ล ะ โ จ ม ตี แ นว คิ ด ส มั ย ใ ห ม่ Best and Keller (1991: 3) ได้เสนอแนวคิดที่โพสต์ โมเดิร์นโต้แย้งและโจมตีแนวคิดสมัยใหม่ ดังนี้
1.หลังสมัยใหม่นิยม เกิดความสงสัย (A systematic skepticism) ในแนวคิดของทฤษฎีสมัยใหม่ และได้โจมตีนักคิดแบบสมัย ใหม่ (Modernism) ในเรื่องของความพยายามในการสร้างทฤษฎี แม่บท (Grand theory) เพื่อใช้อธิบายปรากฏการณ์ทางสังคม ซึ่ง หลังสมัยใหม่นิยมเห็นว่าทฤษฎีดังกล่าวละเลยการมีอยู่ของภาวะ ไร้ระเบียบ (Chaos) และความแตกต่างกันของแต่ละสังคม 2. ทฤษฎีหลังสมัยใหม่ วิจารณ์ทฤษฎียุคสมัยใหม่ (Modern theories) ที่อ้างว่าทฤษฎีเสนอภาพความเป็นจริง (Reality) เนื่องจากหลังสมัยใหม่นิยมเห็นว่า ความจริงทั้งหลายนั้นเป็นเรื่อง ที่ถูกสร้างขึ้นจากรากฐานทางวัฒนธรรมและการใช้อำ�นาจในการ สร้างความเป็นจริง 3. ทฤษฎี ห ลั ง สมั ย ใหม่ ปฏิ เ สธแนวคิ ด เชิ ง มหภาคแบบ เบ็ดเสร็จ (The totalizing macro-perspectives) และทฤษฎี มหภาคแบบปฏิฐาน (Positivistic macro – phenomenal theory) แบบสมัยใหม่ ที่พยายามเสนอหรืออธิบายภาพรวมของสังคม หรือประวัติศาสตร์ เนื่องจากเห็นว่าทฤษฎีอธิบายได้เพียงบาง ส่วนของปรากฏการณ์ที่ศึกษาเท่านั้น (Partial perspectives) ดัง นั้น หลังสมัยใหม่นิยม จึงมุ่งสร้างทฤษฎีในระดับจุลภาค (Microtheoretical construct) ในฐานะที่เป็นเครื่องมือในการอธิบายราย ละเอียดของปรากฏการณ์ (Detail phenomena) มากกว่าเสนอ ภาพรวมของปรากฏการณ์ 4. หลังสมัยใหม่นิยม ปฏิเสธสมมติฐานแบบสมัยห่าในการ อธิบายถึงความสอดคล้องหรือความเหมือนกันทางสังคม (Social coherence) และหลักของการใช้เหตุผล (Notions of causality) เนื่องจากสมัยใหม่นิยมให้ความสำ�คัญกับความหลากหลาย (Multiplicity of plurality) รายละเอียดส่วนย่อย (Fragmentation) และ การไม่สามารถคาดเดาหรือกำ�หนดล่วงหน้าได้ (Indeterminacy) กล่าวโดยสรุปได้ว่า ทฤษฎีหลังสมัยใหม่ไม่ ให้ความสำ�คัญ กับหลักการใช้เหตุผลและการอธิบายที่เป็นหนึ่งเดียว แต่ให้ความ สำ�คัญกับการอธิบายปรากฏการณ์ย่อย และเสนอแนวความคิด ย่อย (Perspectivist) หรือแนวคิดเชิงปรัชญาแบบสัมพัทธนิยม (Relativism) ที่กล่าวถึงปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสังคมใน เชิงเปรียบเทียบมากกว่า หลังสมัยใหม่นิยมกับแนวคิดการพัฒนา นักคิดโพสท์โมเดิร์นหรือนักคิดหลังสมัยใหม่นิยม เสนอทัศนะ ในเชิงวิพากษ์ต่อทฤษฎีการพัฒนาในยุคสมัยใหม่ โดยเฉาพะ อย่างยิ่งทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาที่มีรากฐานมากจา แนวคิดแบบมาร์กซิส และแนวคิดทฤษฎีทันสมัย ในประเด็นต่างๆ (Kellner 2004) ต่อไปนี้
การพัฒนาชนบท : 28
1. ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนา ไม่ว่าจะเป็นตาม แนวคิดทฤษฎีของมาร์กและมาร์กซิส ทฤษฎีโครงสร้างเชิงการ หน้าที่ ทฤษฎีภาวะทันสมัย ทฤษฎีการพึ่งพา หรือ ทฤษฎีระบบ โลก ทฤษฎีที่กล่าวมานี้ถือว่าเป็นทฤษฎีเชิงมหภาค ที่มุ่งอธิบาย การเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาสังคมในภาพรวม
ที่กำ�ลังทำ�ให้สังคมโลกมีรูปแบบเดียวกัน (Homogenization)
3. ทั้งแนวคิดแบบทุนนิยม และแนวคิดแบบมาร์กซิส ต่าง ทำ�นายว่าสังคมจะดำ�เนินไปสู่ยุคโลกาภิวัฒน์ (Globalization) โดยที่แนวคิดทุนนิยม เสนอว่า ตลาดโลกจะนำ�สังคมเข้าสู่ วัฒนธรรมโลกาภิวัฒน์ ในทางตรงกันข้าม แนวคิดมาร์กซิสเห็น ว่าลัทธิคอมมิวนิสต์จะทำ�ลายล้างระบบชาตินิยมและเกิดความเป็น คอมมิวนิสต์ในระดับนานาชาติ (International Communism)
5. ดังนั้น ทฤษฎีหลังสมัยใหม่จึงเน้นศึกษาอำ�นาจใน ระดับจุลภาค หรือในระดับท้องถิ่นมากกว่าจะนำ�เสนออำ�นาจ ที่เป็นศูนย์กลางของระบบเศรษฐกิจหรืออำ�นายรัฐตามแบบของ ทฤษฎีสมัยใหม่
3. กลุ่มและกระบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมจำ�นวน มากได้ลุกขึ้นมาต่อต้านองค์กรทุนนิยม เช่น การเดินขบวน ประท้วงองค์การค้าโลก (WTO) และบรรษัทการเงินทุนข้ามชาติ (IMF) นอกจากนั้นยังเกิดความเข้มแข็งของ วัฒนธรรมย่อยของ 2. ทฤษฎีการพัฒนาสมัยใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแนวคิดขอ กลุ่มสตรี กลุ่มรักร่วมเพศ และวัฒนธรรมของชนกลุ่มน้อยอื่นๆ งมาร์กซิส และทฤษฎีทันสมัย ไม่ให้ความสำ�คัญกับวัฒนธรรม และความสัมพันธ์ทางสังคมภายในท้องถิ่น เนื่องจากทฤษฎีดัง 4. ก่อให้เกิดพัฒนาการของแนวคิดโพสท์ โมเดิร์น ที่ กล่าวมีความเชื่อว่า เศรษฐกิจ การเมือง และเทคโนโลยีสมัยใหม่ ให้ความสำ�คัญกับท้องถิ่น (Local) ความเป็นพิเศษ (Specific) จะกระจายไปทั่วทุกสังคมซึ่งลักษณะดังกล่าวจะก่อให้เกิดสภาพ ความเฉพาะ (Particular) ความแตกต่าง (Heterogeneous) และ สังคมและวัฒนธรรมที่มีความเหมือนหรือคล้ายคลึงกันทั้งโลกที่ ประสบการณ์ในระดับจุลภาค (The micro level of everyday เรียกกันว่า “A world global culture” experience)
6. ในขณะที่นักคิดแบบ โลกาภิวัตน์ (Globalists) เห็น ว่า กระแสโลกาภิวัตน์เป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาภาวการณ์ ด้อยพัฒนาความล้าหลัง และกล่าวหาท้องถิ่นนิยมและประเพณี นิยมว่าเป็นปัญหาและอุปสรรคการพัฒนา นักคิดแนวท้องถิ่นนิยม (Localists) กลับเห็นว่าโลกาภิวัฒน์ คือการสำ�คัญที่ขัดขวางการ พัฒนาประเทศ แนวทางในการแก้ไขปัญหาที่แท้จริงคือการเน้น ความเป็นท้องถิ่น หรือ Localization
ยุทธศาสตร์การพัฒนาของแนวคิดหลังทันสมัย จากการวิพากษ์แนวคิดการพัฒนาแบบสมัยใหม่ขา้ งต้น แนวคิด การพัฒนาแบโพสท์โมเดริน์ (Postmodern Development Perspectives) ได้พัฒนาขึ้น โดยมีประเด็นสำ�คัญ คือ การไม่เห็น ด้วยกับแนวทางการพัฒนาของทฤษฎีการพัฒนาแบบทันสมัยและ คำ�อธิบายของแนวคิดเชิงความจัดแย้งของมารก์ซิส แต่อย่างไรก็ ตาม แนวคิดหลังทันสมัยก็ไมได้เสนอภาพแนวทางหรือยุทธศาสตร์ ประเด็นที่สำ�คัญคือ มีผู้เสนอว่าในความเป็นจริงแล้วการ การพัฒนาทีช่ ดั เจนแต่อย่างใด เพียงแต่กล่าวถึงกระแสแนวคิดและ เลือกแนวทางใดในการพัฒนาหรือแก้ไขปัญหาการพัฒนา จะขึ้น ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นภายในสังคมเท่านั้น ดังเช่น Kellner (2004) อยู่กับเงื่อนไขภายใต้บริบททางสังคมและวัฒนธรรมของแต่ละ ได้เสนอไว้ดังต่อไปนี้ พื้นที่ ดังที่ Den Ouden (1997: 74) กล่าวว่า “หากเราไม่พยายาม ทำ�ความเข้าใจ และพยายามทำ�งานภายใต้ความแตกต่างทาง 1. หลังจากปลาย 1980s แนวความคิดแบบชาตินิยม วัฒนธรรม และค่านิยมของคนในท้องที่แล้ว การพัฒนาเศรษฐกิจ ประเพณีนิยม และฐานทางศาสนาได้กลับมามีความสำ�คัญอีกครั้ง และสังคมก็ไม่อาจที่จะยั่งยืนได้” หนึ่งควบคู่ไปกับกระแสโลกาภิวัฒน์ โดยที่วัฒนธรรมกลายเป็น แหล่งที่มาของความขัดแย้งและการต่อสู้กันระหว่างกระแสโลกา แนวคิดทางเลือกใหม่ของการพัฒนา (Alternative Development ภิวัตน์ (Globalization) และกระแสท้องถิ่นนิยม (Localization) Theory) ในขณะที่นักทฤษฎีทั้งหลายพยายามศึกษา วิเคราะห์ และ 2. ในยุคที่ระบบข้อมูลข่าวสารและวัฒนธรรมบริโภค พัฒนาทฤษฎีที่สมเหตุสมผลในการอธิบายหรือชี้แนวทางในการ นิยมได้แพร่กระจายผลผลิต ภาพลักษณะและความคิดความ พัฒนาสังคม อย่างไรก็ดี ทฤษฎีจำ�นวนมากเสนอเพียงภาพของ เชื่อไปทั่วโลก โดยผ่านระบบสื่อสารมวลชนระดับโลก อาทิเช่น การพัฒนาในระดับมหภาค ตลอดจนไมได้เสนอแนวทางในการ ภาพยนตร์ฮอลีวูด (Hollywood) ร้าน แมคโดนัลด์ (McDon- ปฏิบัติให้ชัดเจนเพื่อนำ�ไปสู่เป้าหมายสุดท้าย คือ การพัฒนาที่ alds) หรือรายการ MTV อย่างไรก็ตามมีการปรากฏขึ้นอย่าง เน้นการสร้างความกินดีอยู่ดี และความมั่นคงและความผาสุก มี นั ย สำ � คั ญ ของวั ฒ นธรรมย่ อ ยและรู ป แบบเฉพาะของสั ง คม ของประชาชนสังคม ดังนั้นจึงได้เกิดกระแสทางเลือกต่างๆ ขึ้น และวั ฒ นธรรมซึ่ ง ถื อ ได้ ว่ า เป็ น กระแสการต่ อ ต้ า นโลกาภิ วั ฒ น์ เพื่อเสนอแนวทางในการพัฒนาและการปฏิบัติที่เห็นผลได้อย่าง การพัฒนาชนบท : 29
บทที่ 1 ความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนา
เป็นรูปธรรม สำ�หรับในบทนี้ จะนำ�เสนอตัวอย่างของแนวคิดที่ สามารถใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การพัฒนาสังคมชนบท นั่นคือ แนวคิดความจำ�เป็นพื้นฐาน แนวคิดความจำ�เป็นพื้นฐาน (The Basic Minimum Needs Approach) จากประสบการณ์ความล้มเหลวของการพัฒนาของประเทศ ที่กำ�ลังพัฒนาหลายประเทศที่ใช้แนวทางการพัฒนาตามทฤษฎี ภาวะทันสมัย ก่อให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ยุทธศาสตร์ การ พัฒนาประเทศตามแนวคิดดังกล่าวอย่างมาก เนื่องจากแม้ว่า อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศกำ�ลังพัฒนาหลาย ประเทศจะอยู่ในระดับที่น่าพอใจ แต่ผลที่ตามมาก็คือ ภาวะความ ยากจนและการว่างงานสูงขึ้นทั้งในเขตเมืองและเขตชนบท และ ที่สำ�คัญคือ เกิดปัญหาของการพัฒนาที่ไม่เท่าเทียมกันระหว่าง เมืองและชนบท ดังนั้นในช่วงทศวรรษที่ 1970 จึงเกิดกระแสการ พัฒนาที่ให้ความสำ�คัญต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจควบคู่ไป กับการกระจายความเจริญ (Redistribution with growth) และ การกระจายรายได้เพื่อการแก้ไขปัญหาความยากจนมากขึ้น โดย เชื่อว่า หากมีนโยบายและมาตรการที่เหมาะสม “การกระจาย” ก็สามารถเกิดควบคู่กับ “การเจริญเติบโต” ได้ กล่าวคือ มีการ พัฒนาอุตสาหกรรม เพื่อการส่งออกเป็นภาคเศรษฐกิจนำ� สำ�หรับ ภาคเกษตรกรรมในเขตพื้นที่ชนบท ควรส่งเสริมให้มีการพัฒนา โดยใช้แนวคิดการพัฒนาชนบทที่ให้ความสำ�คัญกับเรื่องความต้อง การหรือกความจำ�เป็นพื้นฐานเป็นหลัก (Rural development as basic needs strategy) โดยเน้น “การขจัดความยากจนและภาระ การว่างงานเพื่อให้มีรายได้ขั้นต่ำ� และบริการทางสังคม โดยการ มีงานทำ�และประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมนั้น” (มนตรี กรรพุมมาลย์ 2539: 25) การพัฒนาการของแนวคิดความจำ�เป็นพื้นฐาน แนวคิดความจำ�เป็นพื้นฐาน (Basic Minimum needs หรือ BMN) หรืออาจเรียกว่าทฤษฎีความพอใจในความต้องการพื้นฐาน (Theory of Satisfaction of Basic Needs) ถือเป็นกระแสทางเลือก ในการพัฒนา (Alternative approach to development) ซึ่งถูกนำ� เสนอครั้งแรกในการประชุม the World Employment Conference of the International Labour Office ในปี 1976 (Streeten 1983) ซึ่งแนวความคิดในเรื่องความจำ�เป็นพื้นฐานนี้ เป็นแนวความ คิดที่เกิดจากการวิพากษ์ตัวเอง (Self - criticism) ขององค์การ สหประชาชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ขององค์การแรงงานระหว่าง ประเทศและธนาคารโลก ที่ได้ศึกษาจากประสบการณ์การใช้ กลยุทธ์ในการพัฒนาแบบดั้งเดิมตามโครงการพัฒนาต่างๆ ทำ�ให้ เกิดความแน่ใจว่ากระบวนการทางเศรษฐกิจที่ใช้อยู่นี้ไม่อาจทำ�ให้ ประเทศโลกที่สามสามารรถพัฒนาให้ทันประเทศอุตสาหกรรม ทั้งหลายได้ และเกิดการนำ�ไปสู่การยอมรับว่า เป็นการยากที่ จะลดช่องว่างระหว่างความร่�ำ รวยกับความยกจนได้ ดังนัน้ จึงเกิด
ข้อเสนอที่ว่า ควรลดวัตถุประสงค์ของการพัฒนาลงมาสู่ระดับที่ ทำ�ให้ประชากรส่วนใหญ่ที่ยากจนพอมีปัจจัยทางวัตถุที่จำ�เป็นเพื่อ การดำ�รงชีวิตก่อน ดังนั้นกลยุทธ์การพัฒนาแนวใหม่นี้ จึงมุ่งสู่ ความพอใจในความต้องการพื้นฐานเป็นหลัก เนื่องจากกลไกการ ตลาดที่มีอยู่นั้น สนองตอบเฉพาะความต้องการที่ได้มาจากการมี อำ�นาจซื้อเท่านั้น ไม่ได้สนองตอบความจำ�เป็นพื้นฐานของมนุษย์ อันประกอบด้วย อาหาร สุขภาพอนามัย ที่อยู่อาศัย การศึกษา สภาพการทำ�งาน และความมั่นคงทางสังคม (นิรนาม 2544) ความหมาย ของความจำ�เป็นพื้นฐาน ความจำ�เป็นพื้นฐาน (จปฐ.) หมายถึง ความเป็นขั้นต่ำ�สุดที่ คนทุกคนในชุมชนควรจะมีหรือควรจะเป็นในช่วงระยะเวลาหนึ่ง เพื่อให้มีชีวิตที่ดีและสามารถดำ�รงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุข ตามสมควร หรือเป็นความต้องการพื้นฐานที่จำ�เป็นสำ�หรับการ ดำ�รงชีวิตของมนุษย์แต่ละคนในสังคม (เทเวศร์ พิริยะพฤนท์ และ คณะ 2542) วัตถุประสงค์หลักของแนวคิดความจำ�เป็นพื้นฐาน ในช่วงแรกนั้น เป้าหมายหลักของ BMN คือการสร้างโปรแกรม การรักษาสุขภาพในชุมชนชนบท แต่ตอ่ มาได้มกี ารพัฒนาและกำ�หนด วัตถุประสงค์หลัก อันประกอบด้วยประเด็นสำ�คัญ (Duchscherer and Duchscherer 1996: 17-20) ดังนี้ 1. พัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในท้องถิ่นโดยให้คนใน ชุมชนสามารถตอบสนอบความต้องการพื้นฐานของตนเอง 2. ส่งเสริมความร่วมมือกันระหว่างหน่วยงานของรัฐ และ สนับสนุนการทำ�งานร่วมกันระหว่างภาครัฐ องค์กรเอกชน และ ประชาชนในชุมชน 3. ส่งเสริมการพึ่งตนเองและการมีส่วนร่วมของชุมชน ในการพัฒนา (Community participation and self - reliance in development) ยุทธศาสตร์การพัฒนาของแนวคิดความจำ�เป็นพื้นฐาน การพัฒนาของแนวคิดความจำ�เป็นพื้นฐาน คำ�นึงถึงสิทธิพื้น ฐานและหลักแห่งความมีศักดิ์ศรีของมนุษย์ ซึ่งจะส่งผลในแง่ความ คิดสร้างสรรค์ของคนในสังคม ดังนั้นกลยุทธ์ ความต้องการหรือ ความจำ�เป็นพื้นฐาน จึงเน้นการพัฒนาเพื่อให้เกิดความเท่าเทียม กันและความเป็นธรรมระหว่างมนุษย์ในสังคมในด้านต่างๆ โดยเฉพาะ อย่างยิ่ง ในแง่ของการแบ่งปันทรัพยากรเทคโนโลยีและผลผลิต ทั้งหมด ซึ่งแนวคิดความจำ�เป็นพื้นฐานเห็นว่า ยุทธศาสตร์การ พั ฒ นาไม่ ค วรจำ � กั ด ตั ว เองอยู่ ที่ ก ารแก้ ไ ขปั ญ หาบางส่ ว น เท่านั้น แต่ควรคำ�นึงถึงปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ยกตัวอย่างเช่น แม้วา่ การพัฒนาจุมง่ ช่วยเหลือประชากรทีย่ ากจนทีส่ ดุ อย่างไรก็ตาม การพั ฒ นาควรสอดคล้ อ งกั บ ความต้ อ งการของประชากรส่ ว น ใหญ่ เมื่อเป็นดังนี้ การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจของผู้มีส่วนได้ ส่วนเสีย (Stakeholders) จึงมีความสำ�คัญ (นิรนาม 2544)
การพัฒนาชนบท : 30
สำ�หรับประเด็นสำ�คัญของยุทธศาสตร์การพัฒนา ตามแนวคิด ความจำ�เป็นพื้นฐานมีดังนี้ 1. แนวคิดความจำ�เป็นพื้นฐาน เป็นแนวทางการพัฒนา ที่ยึดถือชุมชนและสังคมเป็นหลัก (A socially - oriented and community - based development approach) ในการตอบ สนองความต้องการของประชากรและชุมชน (Duchscherer and Duchscherer 1996) 2. แนวคิดความจำ�เป็นพื้นฐาน เน้นการพัฒนาแบบ องค์รวมมากกว่าการพัฒนาแบบแยกส่วน นอกจากนั้นยัง เรียกร้องการพัฒนาความเท่าเทียมกันผ่านการมีส่วนร่วมแบบ ประชาธิปไตย (Democratic participation) (Duchscherer and Duchscherer 1996) 3. แนวคิดความจำ�เป็นพื้นฐานมีเป้าหมายหลัก คือ เพื่อ ขจัดหรือลดความหิวความไม่รหู้ นังสือ และโรคภัยไข้เจ็บของคนจน ซึ่งเป้าหมายดังกล่าวจะมาก่อนการเพิ่มรายได้ (Streeten 1983) 4. ประชากรเป้าหมายของแนวคิดความจำ�เป็นพืน้ ฐาน คือ คนจนที่สุด 40% ของจำ�นวนประชากร (Streeten 1983) 5. เน้นการตอบสนอบความต้องการพืน้ ฐานของประชาชน อันได้แก่ การลดอัตราการว่างงาน การเพิ่มผลผลิตให้ได้ระดับ ตามความต้องการพื้นฐาน การกระจายบริการสาธารณูปโภคด้าน สาธารณสุข การศึกษา แหล่งน้ำ� บ้านเรือน สุขาภิบาล ให้ เพียงพอ (มนตรี กรรพุมมาลย์ 2539)
2. การศึกษาดีขึ้น (Better education) 3. มาตรฐานความปลอดภัย สุขภาพ และโภชนาการสูง ขึ้น (Higher standard of safety, health, and nutrition) 4. ความยากจนลดลง (Less poverty) 5. สภาพแวดล้อมที่สะอาด (Clean environment) 6. ความเสมอภาคของโอกาสมีมากขึ้น (More equality of opportunity) 7. เสรีภาพส่วนบุคคลมีมากขึ้น (Greater individual freedom) 8. วัฒนธรรมแห่งชีวิตมีหลากหลาย (Richer cultural life)
ตัวชี้วัดความจำ�เป็นพื้นฐาน (จปฐ) ในประเทศไทย สำ�หรับในประเทศไทยนั้น ตัวชี้วัดความเป็นพื้นฐาน (จปฐ) เป็นข้อมูลที่แสดงถึงลักษณะของสังคมไทยที่พึงประสงค์ ตาม เกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ำ�ของเครื่องชี้วัดว่า อย่างน้อยคนไทยควร จะมีคุณภาพชีวิตในเรื่องใดบ้าง และควรจะมีระดับความเป็นอยู่ ไม่ต่ำ�กว่าระดับไหนในช่วงระยะเวลาหนึ่ง และทำ�ให้ประชาชน สามารถทราบได้ด้วยตัวเองว่า ในขณะนี้ คุณภาพชีวิตของตนเอง ครอบครัว รวมไปถึงหมู่บ้านอยู่ในระดับใด มีปัญหาที่จะต้องแก้ไข ในเรื่องใดบ้าง เป็นการส่งเสริมให้การพัฒนาชนบทของประเทศ สำ�หรับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนไทยตามความจำ�เป็นพื้น ฐานที่ใช้เป็นเกณฑ์ มาตรฐานขั้นต่ำ�ของคุณภาพชีวิต ประกอบ การกำ�หนดความเป็นพื้นฐาน ด้วยตัวชีว้ ดั 9 หมวด (เทเวศร์ พิรยิ ะพฤนท์ และคณะ 2542) ดังนี้ ยุทธศาสตร์หนึ่งของแนวคิดความจำ�เป็นพื้นฐานก็คือ การ 1. อาหารดี กำ�หนดความจำ�เป็นพื้นฐาน ซึ่งโดยทั่วไปแล้วแนวคิดนี้เห็นว่า 2. มีบ้านอาศัย แต่ละสังคมควรมีความจำ�เป็นพื้นฐานหลัก 5 ประการ คือ 3. ศึกษาอนามัยถ้วนทั่ว 1. อาหารดี 4. ครอบครัวปลอดภัย 2. สุขภาพอนามัยดี 5. รายได้ดี 3. น้ำ�สะอาดและสุขาภิบาล 6. มีลูกไม่มาก 4. คนมีการศึกษาและ 7. อยากร่วมพัฒนา 5. มีที่อยู่อาศัยที่เหมาะสม 8. พาสู่คุณธรรม 9. บำ�รุงสิ่งแวดล้อม การกำ�หนดความจำ�เป็นพื้นฐานดังกล่าวมีเป้าหมายสำ�คัญ คือ เพื่อขจัดหรือลดความหิว ความไม่รู้หนังสือ และโรคภัยไข้เจ็บ แม้ ว ่ า ตั ว ชี ้ ว ั ด แบบกว้ า งๆ จะได้ ถู กพั ฒ นาขึ ้ น แต่ ว ่ า ความ และเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของประชากรเป้าหมาย (Streeten 1983) จำ � เป็ น และความต้ อ งการนั้ น ขึ้ น อยู่ กั บ บริ บ ทของสั ง คมเป็ น หลัก ดังนั้นจึงไม่มีมาตรการสากลใดๆ มากำ�หนดความจำ�เป็น ความจำ�เป็นพื้นฐานกับคุณภาพชีวิต (Quality of Life: OOL) พื้นฐานของชุมชน ความจำ�เป็นพื้นฐานควรสอดคล้องความ ความจำ�เป็นพื้นฐานถือได้ว่ามีส่วนสำ�คัญยิ่งในการส่งเสริม ต้องการ ปัญหาและโอกาสของแต่หมู่บ้านหรือชุมชน อย่างไร คุณภาพชีวิตที่ดีของคนในสังคม ซึ่งคุณภาพชีวิต หมายถึง การ ก็ดี การวัด BMN ในเบื้องต้นนั้น ส่วนใหญ่แล้วจะใช้การวิจัยเชิง ดำ�รงชีวิตของมนุษย์ ในระดับที่เหมาะสมตามความจำ�เป็นพื้นฐาน สำ�รวจเพ่อสอบถามถึงความต้องการของชุมชน และนำ�ข้อมูล ในสังคมหนึ่งๆ ในช่วงเวลาหนึ่ง โดยการมีคุณภาพชีวิตที่ดีมีองค์ ที่ได้มาเป็นพื้นฐานในการวางแผนการพัฒนาต่อไป และต้อง ประกอบหลายประการ (เทเวศร์ พิริยะพฤนท์ และคณะ 2542) มีวิธีการที่เหมาะสมเพื่อให้ได้มาซึ่งความต้องการและทราบถึง ดังต่อไปนี้ ปัญหาที่แท้จริงของชุมชน โดยให้ชุมชนเป็นผู้ตัดสินใจหรือชี้ถึง 1. รายได้สูงขึ้น (Higher income) ปัญหา ชุมชนเป็นผู้วางแผนเพื่อนำ�ไปสู่การปฏิบัติ และชุมชน การพัฒนาชนบท : 31
บทที่ 1 ความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนา
มีส่วนในการประเมินผล ดังนั้น เทคนิคการวิจัยอย่างมีส่วนร่วม น่าจะเป็นแนวทางหนึ่งในการได้มาซึ่งการกำ�หนดความจะเป็น พื้นฐานของชุมชน (Duchscherer and Duchschere 1996) กล่าวโดยสรุป คือ แนวคิดความจำ�เป็นพื้นฐาน เป็นแนวคิดที่ นักวิชาการหันมาใช้วิธีการใหม่ๆ ในการมองปัญหา และเสนอ แนวทางใหม่ในการพัฒนา เนื่องจากเห็นว่า แนวคิดทฤษฎีการ พัฒนาแบบเดิมที่เริ่มมาตั้งแต่ ค.ศ. 1960 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทฤษฎีความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและแนวความคิดเกี่ยว กับการทำ�ให้ทันสมัย ได้ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักทั้งจาก แวดวงวิชาการและนักพัฒนาโดยทั่วไป ดังนั้น แทนที่จะสนใจ ในเรื่องของความเจริญเตอบโตทางเศรษฐกิจตามแนวคิดทฤษฎี กระแสหลัก แนวคิดความจำ�เป็นพื้นฐานให้ความสำ�คัญกับความ พอใจและความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ ตามแนวคิดทางด้าน มนุษยธรรม (Humanitarian approach) ที่ให้ความสำ�คัญกับ มนุษย์เป็นหลัก อย่างไรก็ตาม มีผู้เสนอว่า แนวคิดความจำ�เป็น พื้นฐาน ถือว่าเป็นกลยุทธ์มากกว่าที่จะเป็นทฤษฎีหรือเป็นวิธีการ วิเคราะห์ เนื่องจากแนวความคิดนี้ เน้นการพัฒนาในเชิงปฏิบัติ นอกจากนั้น แนวคิดนี้ยังมีการตีความหมายข้อมูลที่ได้มาใน แนวทางที่แตกต่างไปจากวิธีที่เคยทำ�มาก่อน
บทสรุ ป การที่จะทำ�ความเข้าใจถึงแนวคิดและทฤษฎีการพัฒนานั้น ต้องตระหนักถึงความจริงที่ว่า แนวคิดและทฤษฎีการพัฒนา เป็นเฉกเช่นเดียวกับมโนทัศน์การพัฒนา ที่ถือเป็นแนวคิด เชิงปทัสถาน (Development as normative concept) แฝง ไว้ด้วยทัศนคติและค่านิยม ทำ�ให้การกำ�หนดความหมาย เป้าหมาย แนวทาง ยุทธศาสตร์ และการวัดผลการพัฒนา นั้น จึงเป็นการกำ�หนดโดยมีค่านิยม (Value judgment) และ อุดมการณ์ (Ideology) เป็นพื้นฐาน (จักรกฤษณ์ นรนิติผดุ ลการ 2527) จากความจริงดังกล่าว จึงสามารถกล่าวได้ ว่า แนวคิดการพัฒนาทั้งหลายที่นำ�เสนอให้บทนี้ จึงเป็นการ เสนอถึง ความหมาย เป้าหมาย และแนวทางการพัฒนาที่ แตกต่างกันไปตามค่านิยมอุดมการณ์ และสภาพสังคมในขณะ นั้น และเนื่องจากบรรทัดฐานทางสังคมและอุดมการณ์มีการ เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ดังนั้น แนวคิดทฤษฎีการพัฒนาจึง มีการเปลี่ยนแปลงไปได้ตามกาลเวลาเช่นกัน
บรรณานุกรม
กฐิน ศรีมงคล. 2542. การพัฒนาชุมชนและการพัฒนาการ เกษตร. ศูนย์สารสนเทศ ภาควิชาส่งเสริมและเผยแพร่ การเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. โกวิทย์ พวงงาม และปรีดี โชติช่วง. 2527. คู่มือสอบพัฒนากร. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เรือนแก้ว. จักรกฤษน์ นรนิติผดุงการ. 2527. การบริหารงานพัฒนา ชนบท. หนังสือประกอบการสัมมนาโครงการส่งเสริม เอกสารวิชาการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ร่วมกับ สำ�นักพิมพ์โอเดียนสโตร์. เฉลียว บุรีภักดี. 2520. การฝึกอบรมเพื่อการพัฒนา.กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร. ณัฐพล ขันธไชย. 2527. แนวความคิดและทฤษฎีในการพัฒนา ประเทศและการพัฒนาชนบท. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์. ดิเรก ฤกษ์หร่าย. 2528. การนำ�การเปลี่ยนแปลง: เน้น กระบวนการกระจายนวัตกรรม. กรุงเทพฯ: โครงการตำ�รา พัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. ทองคูณ หงส์พันธุ์. ม.ป.ป. การศึกษากับการพัฒนา: แนว ความคิดทฤษฎีและวิธีปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำ�กัด ภาพพิมพ์. ทิตยา สุวรรณะชฏ. 2522. “พัฒนาสังคม: ขอบเจตและแนว ความคิด.”วารสารพัฒนบริหารศาสตร์. ปีที่ 9. ฉบับที่ 3. หน้า 341 - 363. เทเวศร์ พิริยะพฤนท์ และคณะ. 2542. การเสริมสร้าง คุณภาพชีวิต. โครงการวิจัยเพื่อพัฒนาหนังสือและโอม เพจ. ศูนย์ศึกษาตามแนวพระราชดำ�ริ. มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ. ระบบออนไลน์. 15 มีนาคม 2554. http://www.swu.ac.th/ royal/book6/b6c2tl.html ธวัช ทันโตภาส. 2529. พัฒนาชุมชนกับการพัฒนาชนบท. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มิตรสยาม. นเรศน์ วงศ์สุวรรณ และ ดิษฐรัตน์ อมรวิทวัส. 2542. เอกสารประกอบคำ�บรรยาย วิชาการพัฒนาประเทศ: ทฤษฎี ทางสังคมศาสตร์. สถาบันวิชาการทาหารบกชั้นสูง. นิรนาม. 2544. ทฤษฎีและหลักการพัฒนาชุมชน. ระบบ ออนไลน์. 14 กันยายน 2554. http://comdev.ricr.ac.th/ชุดวิชา/ทฤษฎีและหลักการพัฒนา ชุมชุน/ทฤษฎีและหลักการพัฒนาชุมชน.doc นิรันดร์ จงวุฒิเวศย์. 2534. ทฤษฎีและแนวความคิดเกี่ยวกับ การพัฒนาชนบท. เอกสารการสอนชุดวิชาการพัฒนาชนบท หน่วยที่ 1-7. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. บุญธรรม เทศนา. 2537. ปรัชญาการพัฒนา. เชียงใหม่: ภาค วิชาส่งเสริมการเกษตร คณะธุรกิจ การเกษตร สถาบัน เทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้.
การพัฒนาชนบท : 32
ปกรณ์ ปรียากร. 2528. ทฤษฎีและแนวความคิดเกี่ยวกับการ พัฒนา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สามเจริญพาณิช. ____________. 2538. ทฤษฎีและแนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนา. เอกสารการสอนชุดวิชาการบริหารการพัฒนาชนบท หน่วย ที่ 1-6. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. ประสิทธิ์ สวาสดิ์ญาติ. 2518. มานุษยวิทยาพัฒนาการ. วารสารสังคมศาสตร์. 12(2): 26-35. พัฒน์ สุจำ�นง. 2525. การพัฒนาชนบทแบบผสมผสานสำ�หรับ ประเทศไทย. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพาณิช. พิชญ์ สมพอง. 2522. สังคมชาวบ้านนา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำ�แหง. มงคล ชาวเรือ. 2527. ทฤษฎีและหลักการพัฒนาชุมชน. พระนครศรีอยุธยา: วิทยาลัยครูพระนครศรีอยุธยา. มนตรี กรรพุมมาลย์. 2539. การพัฒนาชุมชน: แนวคิดและ การปฏิบัติ. ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา. คณะ สังคมศาสตร์. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. มหาวิทยาลัยรามคำ�แหง. 2523. สังคมวิทยา-มานุษยวิทยา เบื้องต้น. กรุงเทพฯ: ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะมนุษย์ศาสตร์. ยุวัฒน์ วุฒิเมธี. 2525. การพัฒนาชุมชน. เอกสารประกอบการ บรรยายวิชาการพัฒนาชุมชน. กรุงเทพฯ: คณะ สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. ____________. 2526. หลักการพัฒนาชุมชนและการพัฒนา ชนบท. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ห้างหุ้นส่วน นิติบุคคลไทย อนุเคราะห์ ไทย. ____________. 2534. การพัฒนาชุมชน: จากทฤษฎีสู่การ ปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำ�กัด บางกอกบล็อก. ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์. 2544. “Postmodern คืออะไร จาก ปฏิกิริยาแบบมาร์กซ์สู่การเมืองปฏิบัตินิยม.” วารสารวิถี ทรรศ์ ชุดโลกาภิวัตน์. ปีที่ 5. ฉบับที่ 19. หน้า 1-25. สนธยา พลศรี. 2547. ทฤษฎีและหลักการพัฒนาชุมชน. พิมพ์ ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์. สมศักดิ์ ศรีสันติสุข. 2525. สังคมไทยแนวทางวิจัยและพัฒนา. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น. สัญญา สัญญาวิวัฒน์. 2525. การพัฒนาชุมชน. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพาณิช. สุนทรี โคมิน. 2522. ผลกระทบของการพัฒนาในแง่มุมของ จิตวิทยาสังคม. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สุพัตรา สุภาพ. 2531. สังคมวิทยา. พิมพ์ครั้งที่ 10 กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช. สุโขทัยธรรมาธิราช. 2543. ประมวลสาระชุดวิชาส่งเสริม การเกษตรเพื่อการพัฒนา. สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและ สหกรณ์. โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
เสถียร เชยประทับ. 2528. การสื่อสารและการพัฒนา. กรุงเทพฯ: คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. อมร รักษาสัตย์ และขัตติยา กรรณสูต. 2515. ทฤษฎีและแนว ความคิดในการพัฒนาประเทศ. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิต พัฒนบริหารศาสตร์. อภิชัย พันธเสน. 2539. พัฒนาชนบทไทย: สมุทัยและมรรค แนวคิด ทฤษฎี และภาพรวมของการพัฒนา. กรุงเทพมหานคร: บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พบลิชชิ่ง จำ�กัด (มหาชน). Best, S. and Keller, D. 1991. Postmodern Theory: Critical Interrogations. New York: The Guilford Press. Den Ouden, Bernard. 1997. Sustainable Developmnet, Human Right, and Postmodernism. Phi& Tech. 3:2. Winter. Pp. 71-76. Duchscherer, Carin and Duke Duchscherer. 1996. As sessing Perceptions of Basic Minimum Needs: A Modofied Venn Diagram Techniqui. PLA Notes. Issues 2. IIED London. Pp. 17-20. Eyerman, Ron. 1994. Modernity and Social Movement. Social Straification: Class, Race, And Gender. Westview Press. Pp. 707-710. Harrison, David. 1993. The Sociology of Modernization Development. New York: Routledge. Isbister, John. 1995. Promises Not Kept: The Betrayal of Social Change in the Third World. (Third Edition). Connecticut: Kumarin Press. Jacobs, Norman. Modernization Without Development: Thailand as an Asian Case Study. New York: Praeger. Kellner, Douglas. 2004. Globalization and the Postmodern Turn. Online Course Materials For 253A: Education, Technology, and Society. Online Resource. December 2011. www.gseis.ucla.edu/ courses/ed253a/dk/GLOBMP.htm Lewellen, Ted C. 1995. Dependency and Development: An Introduction to the Third World. Connecticut: Bergin&Garvey. Mellor, J. 1966. The Economic of Agricultural Development. Itheca, U.S.A.: Cornell University Press. Meier, G.M. 1976. Leading Issues of Economic Development. New York: OUP. So, Alvin. 1990. Social Change and Development: Modernization, Dependency, and World System Theories. California: SAGE Publications, Inc.
การพัฒนาชนบท : 33
บทที่ 1 ความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนา
Streeten, Paul. 1983. “Reaching the Poorest: Six Rules for Real Aid.” New Internationalist. Issue 126. August. Todaro, Michael. 1997. Economic Development. (Sixth Edition). New York: Addison-Wesley Publishing Company, Inc. Weiner, M. 1966. Modernization: The Dynamics of Growth. New York: Basic Book Inc.
คำ � ถ า ม ป ร ะ เ มิ น ต น เ อ ง 1. ท่ า นคิดว่าความหมายของคำ�ว่า “การ พัฒนา” ในด้านต่างๆ มีความเหมือนหรือแตกต่างใน การนำ�ไปใช้ ในประเด็นใดบ้าง จงวิเคราะห์ 2. จงแสดงทัศนะในประเด็น แนวคิดและลักษณะ ของการพัฒนา และสรุปรวบยอดให้เป็นแนวคิดที่ท่าน คิดว่าการพัฒนาในด้านต่างๆ ต้องการ 3. ท่านคิดว่าการพัฒนามีความสำ�คัญกับโลก ของเรา และประเทศไทย อย่างไรจงอธิบายมาโดย ละเอียด 4. จากทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนา ท่าน คิดว่า แนวคิดจากทฤษฎีต่างๆ เหล่านั้นสามารถนำ�มา ประยุกต์ ในการพัฒนาประเทศไทยได้อย่างไร จงเลือก มา 3 ทฤษฎีพร้อมทั้งยกตัวอย่างประกอบ 5. จบแสดงความคิดเห็น ว่า การพัฒ นาใน ลักษณะที่เป็น “กระบวนการ” มีส่วนช่วยให้การพัฒนา ชนบทประสบผลสำ�เร็จได้อย่างไรจบอธิบายโดยละเอียด
________________________________________________ ________________________________________________ ________________________________________________ ________________________________________________ ________________________________________________ ________________________________________________ ________________________________________________ ________________________________________________ ________________________________________________ ________________________________________________ ________________________________________________ ________________________________________________ ________________________________________________ ________________________________________________ ________________________________________________ ________________________________________________ ________________________________________________ ________________________________________________ ________________________________________________ ________________________________________________ ________________________________________________ ________________________________________________ ________________________________________________ ________________________________________________ ________________________________________________ ________________________________________________ ________________________________________________ ________________________________________________ ________________________________________________ ________________________________________________ ________________________________________________ ________________________________________________ ________________________________________________ ________________________________________________ ________________________________________________ ________________________________________________ ________________________________________________ ________________________________________________ ________________________________________________ ________________________________________________ ________________________________________________ ________________________________________________ ________________________________________________ ________________________________________________ ________________________________________________
การพัฒนาชนบท : 34
การพัฒนาชนบท : 35