Wood carving patterns for temple of lanna e book 20130730

Page 1

ลวดลายไม้แกะสลักวิหารล้านนา ในเขตอำ�เภอเมืองลำ�ปาง จังหวัดลำ�ปาง

ชไมพร พุทธมาตย์




เน


ลวดลายไม้แกะสลักวิหารล้านนา ในเขตอำ�เภอเมืองลำ�ปาง จังหวัดลำ�ปาง ลวดลายไม้แกะสลักวิหารล้านนาในเขต อำ�เภอเมืองลำ�ปาง จังหวัด ลำ�ปาง ระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๒๔ - ๒๕ นั้นมีความเป็นเอกลักษณ์ที่ล้วน แล้วแต่แสดงให้เห็นถึงภูมิปัญญาของช่างผู้สร้าง ที่นำ�คติความเชื่อทางพุทธศาสนามาผสานกับรูปแบบงานสถาปัตยกรรมได้อย่างลงตัว โดยงานไม้แกะ สลักนี้ มักจะมีการนำ�มาตกแต่งในส่วนต่างๆ ของอาคารไม่ว่าจะเป็น นาคทันต์ หน้าบัน บานประตูและส่วนอื่นๆ ของอาคารทางศาสนา โดยมีแนวทางที่ทำ�ให้ เกิดลวดลายและงานแกะสลักไม้ ๕ แนวทาง คือ ๑. เพื่อสร้างมิติ ๒. เพื่อสนองความเชื่อ ๓. เพื่อประโยชน์ใช้สอย ๔. เพื่อลอกเลียนเรื่องจำ�ลองธรรมชาติ ๕. เพื่อความงามทางศิลปกรรม จากเหตุปัจจัยดังกล่าวนี้ ทำ�ให้งานประดับตกแต่งดำ�รงอยู่ได้และสืบ ต่อมาเป็นเวลานานมีวิวัฒนาการและพัฒนาการมาตามลำ�ดับ และจากรูปแบบของวิหารล้านนาที่มีการสร้างในล้านนาจะพบว่า วัสดุ ที่นำ�มาใช้นั้นเป็นวัสดุที่มีอยู่โดยทั่วไปในดินแดนแห่งนี้ นั่นคือ ไม้สัก อันเป็น พืชในสกุล Tectona grandis, Linn’f ที่คุณสมบัติของเนื้อไม้มีความละเอียด เกลี้ยงเกลา ไม่มีเสี้ยน เนื้อไม้ไม่มีสารที่มีผลต่อต้านการทำ�ลายจากสัตว์ จำ�พวกปลวก มอด ได้ดี มีความทนทานสูงและเนื้อไม้ไม่แข็งมาก สามารถนำ� มาทำ�การแกะสลักลวดลายประดับได้โดยสะดวก


องค์ประกอบเครื่องไม้ที่พบการแกะสลัก ๑. ช่อฟ้า หรือ จ้อฟ้า เป็นองค์ประกอบส่วนที่สูงที่สุดของวิหารอยู่เหนือ จั่วของวิหาร “ช่อฟ้า” มีความหมายถึง ช่อที่ยื่นขึ้นไปบนท้องฟ้าเป็น “นัย” แห่งการบูชาพระรัตนตรัยและปวงเทพเจ้าบนสวรรค์ชั้นฟ้าประการหนึ่ง ซึ่ง เป็นเครื่องไม้สูงประดับอยู่บนอกไก่ตรงบริเวณที่ไม้สำ�รวยหรือนาคสำ�รวย มาบรรจบกัน ช่อฟ้านี้จะใช้ประดับเฉพาะ พระราชวัง โบสถ์ วิหาร ศาลา การเปรียญและสิ่งก่อสร้างอื่นๆบางประเภทในวัดเท่านั้น

ช่อฟ้า วิหารวัดคะตึกเชียงมั่น ๔


๒. ป้านลม หรือ ตัวลำ�ยอง มีลักษณะเป็นไม้แผ่นเรียบ วางตามแนวลาด เอียงของหลังคา เป็นเครื่องไม้ที่ใช้ปิดหัวแป ส่วนขององค์ประกอบที่สำ�คัญ ของเครื่องลำ�ยอง เป็นส่วนที่ใช้ยึด ช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ โดยพาดอยู่บน หลัง “แป” ทำ�หน้าที่ปิดเครื่องมุงหลังคาด้านสกัด ด้วยลักษณะดังกล่าว ทำ�ให้ตัวลำ�ยองนี้คล้ายลำ�ตัวของนาคที่เลื้อยรอบกรอบของหน้าบันซึ่งมีหัวอยู่ ที่ส่วนที่เรียกว่า หางหงส์

ป้านลม วิหารวัดคะตึกเชียงมั่น ๕


๓. หางหงส์ เป็นเครื่องไม้ที่อยู่ปลายของป้านลม มักสร้างเป็นรูปนาคหรือ ตัวกนก ซึ่งทางล้านนานิยมสร้างส่วนประดับเป็นรูปทรงคล้ายหงส์ติดอยู่ ปลายด้านล่างของเครื่องลำ�ยอง โดยมากมักทำ�เป็นรูปโครงของนาคสามเศียร ซ้อนกัน แต่ยังพบว่าหางหงส์ของเครื่องลำ�ยองบางชุด ปรากฏการนำ�นาคมา ประกอบโดยทำ�เป็นเศียรนาคหนึ่งเศียรก็มี เรียกว่า “หางวัน”

หางหงส์ วิหารวัดคะตึกเชียงมั่น


๔. เชิงชาย หรือ แป้นน้ำ�ย้อย เป็นแป้นไม้ติดอยู่กับด้านล่างของโครงหลังคา มักมีการประดับตกแต่ง ด้วยการแกะสลักมีลวดลายงดงาม

ป้านลม วิหารวัดพระแก้วดอนเต้าสุชาดาราม

๕. แผงแล เป็นขื่อระหว่างแป รับกลอนหลังคากับคอสอง รับปีกนกด้านข้าง ทำ�ด้วยแผ่นไม้ฉลุเพื่อรับแสงและแบ่งระดับเอียงของระนาบหลังคาให้แยกกัน

แผงแล วิหารวัดคะตึกเชียงมั่น ๗


๖. ปากแล เป็นองค์ประกอบที่พบเฉพาะอาคารพื้นเมืองล้านนาเท่านั้น จะ อยู่ในตำ�แหน่งส่วนหน้าของช่องแผงแล ที่ยื่นพ้นตัวอาคารออกมารับผืนไขรา หลังคา มักแกะสลักเป็นรูปทรงของปากนกแก้ว ตรงช่วงปลายสุดด้านนอก ของปากแลมักทำ�เป็นรูปเทวดาหรือรูปสัตว์ประดับเพื่อความสวยงาม ส่วน ความหมายในพจนานุกรมล้านนาหมายถึง ช่วงของแผงแลคอสองที่ยื่นพ้นตัว อาคารออกมารับผืนไขราหลังคาเป็นส่วนโค้งที่ยื่นออกมาคล้ายปากนกแก้ว

ปากแล วิหารวัดพระแก้วดอนเต้าสุชาดาราม ๘


๗. หน้าบัน หรือหน้าแหนบ หน้าก้อง เป็นส่วนที่ปิดโครงสร้างของหลังคา ทางด้านหน้าของวิหาร หน้าบันนั้นจะมีการทำ�โครงสร้างเลียนแบบโครงสร้าง วิหาร ในส่วนของขื่อต่างๆ ซึ่งใช้ชื่อเรียกแบบเดียวกัน แต่หน้าบันจะใช้การกรุ แผ่นไม้ระหว่างช่องว่างของขื่อและเสาตุ๊กตา (เสาป๊อก) ไว้ เรียกว่า “ดอกคอ หน้าแหนบ” ในส่วนที่เป็นปีกนกด้านข้างของวิหารก็มีการทำ�หน้าบันเช่นกัน เรียกว่า “หน้าบันปีกนก” หรือ “แหนบปีกนก” ซึ่งมีชื่อขององค์ประกอบเช่น เดียวกับหน้าบันหลัก

หน้าบัน วิหารวัดพระแก้วดอนเต้าสุชาดาราม ๙


๘. โก่งคิ้ว เป็นแผงไม้ประดับติดขื่อมุขด้านสกัดของวิหาร ทำ�หน้าที่ประดับ เช่นเดียวกับสาหร่ายรวงผึ้งของทางภาคกลาง โก่งคิ้วมักจะอยู่ใต้หน้าบันโดยมี แผงไม้ประดับลวดลายคั่นอยู่เรียกว่า “คอกีด”

โก่งคิ้ว วิหารวัดคะตึกเชียงมั่น

๑๐


๙. บ่าง ขื่อขององค์ประกอบมีลักษณะเป็นสามเหลี่ยมชายธงอยู่ทางด้านซ้าย และขวาของหน้าขื่อ หรือช่วงคอสองของวิหาร ทำ�หน้าที่คล้ายนาคทันต์ขนาด เล็กรับน้ำ�หนักจากหลังคา

บ่าง วิหารโคมคำ� วัดพระธาตุเสด็จ

๑๑


นาคทันต์ วิหารวัดพระแก้วดอนเต้าสุชาดาราม ๑๒


๑๐. นาคทันต์ หูช้าง หรือคันทวย เป็นตัวไม้สำ�หรับค้ำ�ยันรองรับปลายเต้า เพื่อกันปลายไม้เครื่องบนมิให้ทรุดตก และรับน้ำ�หนักโครงสร้างส่วนชายคาลง มาที่เสาด้านข้างของวิหาร มีการแบ่งองค์ประกอบของนาคทันต์เป็น ๓ ส่วน ๑. ส่วนบน มักทำ�เป็นลายแถวหน้ากระดานแนวนอน ๒. ส่วนกลาง เป็นบริเวณที่มีการตกแต่งด้วยลวดลายมากที่สุด ๓. ส่วนล่าง เป็นส่วนที่เล็กและอยู่ในรูปทรงสามเหลี่ยม ความเชื่อเกี่ยวกับการแกะสลักลวดลายนาคทันต์มีอยู่หลายความเชื่อ ด้วยกัน ดังตัวอย่างเช่น กลุ่มลาย ๑๒ นักษัตร ชาวล้านนาเชื่อว่า ถ้าได้สร้าง นาคทันต์ที่ประดับด้วยปีเกิดของตนมาประดับศาสนาสถานไว้ จะทำ�ให้ได้ ไปสู่สรวงสวรรค์ ลวดลายนาค หรือพญาลวงพันกัน หรืออยู่ตัวเดียวโดดๆ อาจแสดงถึงสัตว์แห่งฟ้า หรือน้ำ� เพราะว่าเป็นส่วนที่อยู่ในระดับกึ่งกลางของ หลังคา ลวดลายนาครวมกับเมฆแสดงถึง สัตว์แห่งฝน เป็นสัตว์แห่งความ อุดมสมบูรณ์ ลวดลายนาคผสมคลื่นน้ำ� แสดงให้เห็นชัดว่าเป็นสัตว์ที่อยู่กับน้ำ� อาจจะเป็นทะเลแห่งสีทันดรหรือสายน้ำ� ที่อยู่รอบๆ เขาพระสุเมรุ

๑๓


ลายกระหนกหัวม้วน ที่ประดับตรงส่วนล่างของนาคทันต์ วิหารโคมคำ� วัดธาตุเสด็จ

๑๔


อิทธิพลต่างๆ ที่มีผลต่อลวดลายไม้แกะสลักวิหารล้านนา

ลวดลายประดับล้านนาในช่วงสมัยพุทธศตวรรษที่ ๒๔ - ๒๕ เนื่องจากในยุคนี้เป็นยุคที่มีการฟื้นฟูบ้านเมืองขึ้นใหม่อีกครั้ง ตัวอย่างงาน ศิลปะเลยมีอยู่น้อย โดยลวดลายในยุคนี้สามารถแบ่งได้ดังนี้ ลวดลายกระหนก ลายกระหนกที่ใช้ในองค์ประกอบศิลปกรรมของวิหารล้านนาในเขต อำ�เภอเมืองลำ�ปาง จังหวัดลำ�ปาง ระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๒๔ - ๒๕ นั้น สามารถแบ่งออกได้ ๒ ประเภทด้วยกัน กล่าวคือ ลายกระหนกแบบล้านนา ที่ ได้รับการตกทอดมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ ๒๐ - ๒๓ ดังจะปรากฏให้เห็น อย่างเด่นชัดในบริเวณส่วนล่างของนาคทันต์ ยกตัวอย่างเช่น ลายกระหนกหัวม้วน ที่ประดับตรงส่วนล่างของนาคทันต์ วิหารโคมคำ� วัดธาตุเสด็จ วิหารคะตึกเชียงมั่น และลายกระหนกที่ได้รับอิทธิพลมาจาก ศิลปะรัตนโกสินทร์ซึ่งมักจะมีลักษณะเป็นลายกระหนกเปลว ซึ่งเป็นลวดลายที่ นิยมในศิลปะอยุธยาตอนปลาย และวัดคะตึกเชียงมั่น

๑๕


ลวดลายพันธุ์พฤกษา ลายดอกไม้ที่ปรากฏในวิหารหลังนี้เป็นลายดอกไม้ที่เคยปรากฏมาแล้ว ในครั้งอดีต โดยเป็นลวดลายที่ได้รับการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง ดังนี้ ๑. ลายดอกบัว ในทางพุทธศาสนาดอกบัวแห่งหัวใจ – ความคิด จะสถิตอยู่ข้างในสุด ณ จุดศูนย์กลางแห่งชีวิตสัตว์โลกเช่นเดียวกัน และเมื่อ หล่อเลี้ยงด้วยการปฏิบัติกรรมฐาน และปฏิบัติธรรมอื่นๆ ก็จะคลี่บานออก เพื่อแสดงธาตุพุทธะ (พุทธะตา) ที่ซ่อนอยู่ข้างใน การคลี่บานของดอกบัวเป็น สัญลักษณ์ ซึ่งปรากฏมานานแล้ว ตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ ๒๑ ดังจะเห็น ได้จากลายเครือเถาที่ประดับอยู่ที่เจดีย์ป่าสัก ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจาก เครื่อง ถ้วยราชวงศ์เหม็ง ซึ่งลวดลายดอกบัวนี้ ได้มีการพัฒนามาเรื่อยๆ จวบจนถึง ในพุทธศตวรรษที่ ๒๔ นี้เนื่องจากมีการรับอิทธิพลมาจากภาคกลาง จึงทำ�ให้ เกิดการผสมผสานระหว่างศิลปะ

ลวดลายกลีบบัวในส่วนบนนาคทันต์ วิหารสุชาดาราม ๑๖


๒. ลายดอกโบตั๋น ในความเชื่อของจีนนั้นถือเป็นดอกไม้ที่เป็นมงคล เป็นดอกไม้ประจำ�ฤดูใบไม้ผลิและเป็นสัญลักษณ์ของความสง่างาม ความ เด่น ความเป็นเลิศ ทั้งทางความงามและความสามารถ รวมทั้งความร่ำ�รวย มั่งคั่งด้วย โดยลวดลายดอกโบตั๋นนี้เป็นลวดลายที่มีการใช้มากในล้านนามา ตั้งแต่ครั้งอดีต โดยศตวรรษที่ ๒๔ นี้ก็มีลวดลายดอกโบตั๋นปรากฏอยู่ในงาน ศิลปกรรมเช่นกัน ดังจะเห็นได้จากนาคทันต์ ที่วิหารโคมคำ� วัดพระธาตุเสด็จ ที่มีการตกแต่งด้วยลวดลายดอกโบตั๋นเช่นกัน จึงสันนิษฐานว่าลวดลายดอก โบตั๋นในยุคนี้ เป็นลวดลายที่ได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะรัตนโกสินทร์ โดย เข้ามาพร้อมกับลวดลายมงคลต่างๆของจีนที่กำ�ลังเป็นที่นิยมของกรุงเทพฯ นั่นเอง

ลวดลายดอกโบตั๋น ที่ประดับตรงส่วนกลางของนาคทันต์ วิหารโคมคำ� วัดธาตุเสด็จ ๑๗


๓. ลายใบไม้ ของพุทธศตวรรษที่ ๒๔ นั้นเป็นลวดลายเลียนแบบ ธรรมชาติที่มีการพัฒนามาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ ๑๙ มาจนสมัยพุทธ ศตวรรษที่ ๒๔ ดังนั้นลวดลายในใบไม้ในยุคนี้ จึงไม่มีความแตกต่างจากยุค ก่อนหน้านี้เท่าใดนัก ๔. ลายดอกพุดตาน พุดตานเป็นดอกไม้อีกชนิดหนึ่งที่ได้รับอิทธิพล จากจีน ในภาษาจีนเรียกว่า ฝู หยง ดอกนี้เป็นสัญลักษณ์ของความมั่งคั่ง ร่ำ�รวย มียศศักดิ์ ทั้งนี้เพราะคำ�ว่า ฝู เป็นเสียงพ้องกับคำ�ว่า ฝู้ ซึ่งแปลว่า ความร่ำ�รวย มั่งคั่งและคำ�ว่า หยง เป็นเสียงพ้องกับคำ�ว่า หยงหวา ซึ่งแปลว่า พร้อมไปด้วยยศศักดิ์ลวดลายดอกพุดตานที่พบนั้นมีเพียงจุดเดียวคือ บริเวณ นาคทันต์ ตัวที่ ๔ ด้านทิศเหนือของวัดพระแก้วดอนเต้าสุชาดาราม ที่คาดว่า น่าจะเป็นคันทวยชิ้นที่ทำ�ขึ้นใหม่ เนื่องจากความใหม่ของลักษณะลวดลายมี การทาสีแปลกกว่าชิ้นอื่น

ลวดลายดอกพุดตานบริเวณนาคทันต์ตัวที่ ๔ ด้านทิศเหนือของ วิหารวัดพระแก้วดอนเต้าสุชาดาราม ๑๘


๕. ลายดอกไม้กลม ลวดลายดอกไม้กลมนั้นพบเห็นกันอยู่ทั่วไปใน วิหารล้านนา เป็นดอกไม้ประดิษฐ์ขึ้นไม่บ่งชี้ที่มาของดอก บางครั้งจึงมีการ เรียกว่า “ดอกไม้ประดิษฐ์” ด้วยลักษณะที่กลมแป้นมีกลีบเรียงรอบดอกตั้งแต่ ๔-๑๖ กลีบ ดอกมีขนาดแตกต่างกันไป โดยพบเห็นในหลากหลายจุด ซึ่งส่วน ใหญ่อยู่บริเวณหน้าบันในช่องลูกฟักสี่เหลี่ยม ทำ�หน้าที่เป็นตัวออกลายอยู่ตรง กลาง ซึ่งมีดอกกลมเป็นตัวออกลายนอกจากบริเวณช่องลูกฟักสี่เหลี่ยมแล้ว ยังพบลายดอกกลมบริเวณเสา โก่งคิ้วและบริเวณแปอีกด้วย ๖. ลายเครือเถา คือ ลวดลายที่มีแนวคิดมาจากลายเครือเถาวัลย์ ที่เลื้อยคดเคี้ยวไปมาเกิดเป็นรูปร่างต่างๆ ขึ้น ลวดลายเครือเถาวัลย์จึงมี ลักษณะเกี่ยวกันไปมา ส่วนมากใช้ตกแต่งพื้นที่ว่างให้เต็ม ช่างฝีมือได้นำ�ความ คิดสร้างสรรค์ลวดลายเหล่านี้จากธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ปรากฏให้เห็น รอบตัว ดัดแปลงให้เหมาะสมสอดคล้องกับคติความเชื่อทางศาสนาและผสม ผสานงานศิลปะระหว่างจีน ตัวหลักฐานจากเครื่องถ้วยราชวงศ์หยวน (ค.ศ. ๑๒๘๐ - ๑๓๖๘ หรือ พ.ศ. ๑๘๒๓ - ๑๙๑๑) ซึ่งได้รับความนิยมมากในสมัย พญามัง-ราย ได้สถาปนาเมืองเชียงใหม่ จะเห็นได้ว่ามีการผสมผสานของงาน ศิลปะระหว่างจีน กับศิลปะล้านนารูปแบบของลวดลายประดับเป็นพวกลาย พันธุ์-พฤกษา และลายเครือเถา

ลายเครือเถาบริเวณหน้าบัน วิหารสุชาดาราม วัดพระแก้วดอนเต้าสุชาดาราม ๑๙


โดยจะมีลักษณะที่สามารถแยกได้ ๓ ประเภทดังนี้ ๑. แบบธรรมชาติ มีความเหมือนจริงตามธรรมชาติเท่าที่ช่างจะมองเห็น ๒. แบบกึ่งธรรมชาติ คือการลดความเป็นจริงตามธรรมชาติ แต่สามารถ บอกได้ถึงลักษณะลาย ๓ . แบบประยุกต์ คือการลดความเป็นจริงมาดัดแปลงเป็นรูปแบบใหม่ ใช้เส้นเรขาคณิตเข้ามาทำ�ให้รูปแบบเปลี่ยนแปลงไป ลวดลายมงคล ในงานศิลปกรรมโดยเฉพาะเครื่องถ้วยจีน สมัยราชวงศ์หยวน และ ราชวงศ์หมิง ได้รับอิทธิพลต่องานศิลปกรรมล้านนามากที่สุด จากการศึกษา พบว่าเครื่องถ้วยจีน สมัยราชวงศ์หยวน และราชวงศ์หมิง ถูกพบที่ล้านนา พร้อมกับอาณาจักรอื่นๆ ของไทย ด้วยเหตุที่เป็นเช่นนั้น เนื่องจากในอดีต การส่งผ่านเครื่องถ้วยจีนนั้นได้เดินทางมากลับการค้าทางเรือ หัวเมืองทาง ใต้ของประเทศจึงได้รับเครื่องถ้วยจีนก่อน จากนั้นค่อยเดินทางมาถึงล้านนา ซึ่งเครื่องถ้วยจีนที่ล้านนาได้รับนั้นเป็นเครื่องถ้วยจีนสมัยราชวงศ์หยวน และ ราชวงศ์หมิง ซึ่งเป็นราชวงศ์รุ่นหลังแล้วก็ค้นพบเครื่องถ้วยจีนสมัยราชวงศ์ หยวน ในภาคเหนือพบที่เชียงใหม่ ลำ�พูน ลำ�ปาง ตาก จากที่กล่าวมาข้างต้นแล้วว่าลวดลายที่พบในงานศิลปกรรมบางอย่าง ของล้านนา เป็นลวดลายที่ได้รับอิทธิพลจากเครื่องถ้วยจีน เช่น ลายกระหนก ลายสะตายจีน เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการนำ�ลวดลายจีนมาใช้โดยตรงอีกด้วย ซึ่งลวดลายที่นำ�มาใช้นั้นเป็นลวดลายที่แฝงความหมายดี และถูกถ่ายทอด ออกมาเป็นลายมงคลที่มีความหมายที่ดี สามารถสรุปออกมาได้ดังนี้

๒๐


๑. ลายหัวยู่อี่ เป็นลายที่มีความหมายถึง การให้ความปรารถนา ลวดลายนี้จะพบอยู่ในหน้าบัน ในกรอบลูกฟักสี่เหลี่ยม และโก่งคิ้ว นอกจากนี้ ยังสันนิษฐานว่า ลายหัวยู่อี่ นั้นเป็นแม่บทของลายเมฆไหล และลายไส้หมูที่ พบอีกด้วย

ลายเมฆไหลล้านนา ได้รับแม่บทจากลายหัวยู่อี่ อยู่บริเวณโก่งคิ้ว วิหารวัดพระแก้วดอนเต้าสุชาดาราม

๒. ลายยันต์แปด เป็นอิทธิพลหนึ่งของจีนที่มีอิทธิพลมากในล้าน นา ความเชื่อของจีนในเรื่องเลขแปดนั้น มาจากการนับถือเทพเจ้าแปดองค์ ในศาสนาเต๋า หรือเราทราบกันดีว่า ชื่อ “โป๊ยเซียน” ซึ่งลายที่เกี่ยวข้องกับ โป๊ยเซียน เรียกว่า ลายมงคลแปด และหนึ่งในนั้นมีลายยันต์แปดอยู่ด้วย

ลวดลายยันต์แปดอยู่บริเวณด้านบนโก่งคิ้ว วิหารวัดพระแก้วดอนเต้าสุชาดาราม

๒๑


ลวดลายหนุมานบริเวณนาคทันต์ วิหารวัดแสงเมืองมา

๒๒


ลวดลายสัตว์ การใช้ลวดลายสัตว์นั้นเป็นที่นิยมมากในการประดับอาคารอีกแบบ หนึ่ง โดยมักจะมีการนำ�มาใช้ประกอบกับลายพันธุ์พฤกษา หรืออยู่ในกรอบ ช่องกระจก ซึ่งรูปแบบเหล่านี้ได้รับอิทธิพลมาจากเครื่องถ้วยในสมัยราชวงศ์ หงวน (ประมาณ พ.ศ.๑๘๐๓ - ๑๙๑๑) และราชวงศ์เหม็ง (ประมาณ พ.ศ. ๑๙๑๑ - ๒๑๘๗) โดยรูปแบบของลวดลายที่ประดับเช่นนี้ ได้ปรากฏบนงาน ศิลปกรรมของล้านนามาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๒๐ ซึ่งได้สืบทอดมาจนถึง ศตวรรษที่ ๒๕ ด้วย ลวดลายที่นำ�มาใช้ในวิหารนั้นมักเป็นลักษณะของ “สัญลักษณ์” แทนค่าสิ่ง ใดสิ่งหนึ่ง หรือทำ�หน้าที่ พิทักษ์ศาสนสถาน หรือแสดงถึงพละกำ�ลังซึ่งมีการ เลือกสัตว์ ๓ ประเภทคือ ๑. สัตว์ที่มีอยู่จริงตามธรรมชาติ ได้แก้ เสือ ช้าง สมัน เป็นต้น ๒. สัตว์ที่ประดิษฐ์ขึ้นมาตามจินตนาการ สัตว์หิมพานต์ ซึ่งมีภาวะ ระหว่างสัตว์ตามธรรมชาติและสัตว์สวรรค์ ได้แก่ สัตว์ทวิบาก เช่น หงส์ นกหัสดีลิงค์ สัตว์จตุบาท เช่น สิงห์ เหมราช มอม วานร สัตว์พิเศษ เช่น นาคลวง ๓. สัตว์ในวรรณคดีได้แก่ พญาวานร หนุมาน

๒๓


ลวดลายที่พบบริเวณ หน้าบัน และคันทวย

๑. มอม เป็นสัตว์พื้นเมืองของชาวล้านนา เป็นสัตว์ที่ผสมระหว่าง ลิง กับ เสือ เข้าใจว่ามีการพัฒนามาจากสิงโตจีน โดยรูปมอมไม่เคยปรากฏในงาน ประติมากรรมใดๆ มาก่อน ซึ่งกล่าวว่ารูปมอมนี้ปรากฏขึ้นในพุทธศตวรรษ ที่ ๒๔ บริเวณที่พบนั้นอยู่ในส่วนกลางแผงคอสอง โดยอายุของมอมนั้นอยู่ หลังการสร้าวิหารสุชาดารามเกือบร้อยปี ทำ�ให้สามารถวิเคราะห์ได้สองแง่คือ สร้างในปี พ.ศ. ๒๓๒๕ ก็จริงแต่อาจบูรณะในปีพ.ศ. ๒๔๐๐ ลงมาเพราะส่วนที่ เป็นหน้าแหนบ หรือหน้าบันนั้นมักชำ�รุผุพังง่ายตามการเวลา

ลวดลายมอมที่พบบริเวณแผงคอ วิหารวัดพระแก้วดอนเต้าสุชาดาราม

๒๔


๒. มกรพญาลวงหรือพญาลวง (ตัวลวง) ลักษณะทั่วไปของพญาลวง ลักษณะคล้ายพญานาคมีเขา มีปีก และมีขาคล้ายมังกร ทำ�ท่าม้วนตัว ซึ่งลักษณะเหล่านี้แสดงถึงลักษณะพญาลวง และมกรว่าคล้ายคลึงกัน จาก การศึกษาเรื่องเล่าของมังกร ได้กล่าวถึงเรื่องราวต่างๆ ของมังกรในเรื่องสมัย ดึกดำ�บรรพ์ของจีน มีมังกรกำ�เนิดขึ้นครั้งแรกเมื่อก่อนพุทธกาลหลายพันปี รูปร่างของมังกรแตกต่างกันไป เพราะช่างเขียนเขียนตามจินตนาการจึงไม่ เหมือนกัน

ลวดลายมกรคายนาคบริเวณนาคทันต์ วิหารวัดพระแก้วดอนเต้าสุชาดาราม

๒๕


ลายหน้ากระดาน

ลวดลายหน้ากระดานเป็นลวดลายที่ประดับตามแนวนอน ซึ่งใน ศิลปกรรมประดับตกแต่งอาคารล้านนานั้น ได้พบลวดลายอยู่บนบริเวณตัว โครงสร้างบน ขื่อ ดั้ง แป กลอน กรอบของคอสอง และกรอบช่อลูกฟักของ หน้าบันเป็นต้น ลายหน้ากระดานนี้ปรากฏอยู่ราวพุทธสตวรรษที่ ๑๙ สามารถ จำ�แนกได้หลายรูปแบบดังนี้

หน้าบันปีกนก วิหารวัดพระแก้วดอนเต้าสุชาดาราม ๒๖


๑. ลายประจำ�ยามลูกโซ่ เป็นลายดอกสี่กลีบ มีเส้นโค้งเชื่อมสลับ หรือไขว้ โดยลายนี้เป็นหน้ากระดานนิยมมากในล้านนา โดยมีให้เห็นในช่วง พุทธศตวรรษที่ ๒๑ เป็นต้นมา จะพบลายนี้บริเวณโก่งคิ้วเชื่อมต่อกับหน้าบัน

ลายประจำ�ยามลูกโซ่ อยู่บริเวณโก่งคิ้วปีกนก วิหารวัดพระแก้วดอนเต้าสุชาดาราม

๒. ลายประจำ�ยามกลีบบัว เป็นดอกสี่กลีบโดยแต่ละกลีบนั้นมี ลักษณะคล้ายกลับบัว โดยมีกลีบลักษณะกลมอยู่ภายในเชื่อมต่อด้วยก้านขด ที่พันธ์กันเป็นตาข่าย พบบริเวณขื่อด้านบนสุด คั่นระหว่างลูกฟักรอบกรอบ สี่เหลี่ยมกับแผงสองคอ

ลายประจำ�ยามกลีบบัว อยู่บริเวณขื่อหน้าบัน วิหารวัดพระแก้วดอนเต้าสุชาดาราม

๒๗


๓. ลายก้านขดพันธุ์พฤกษา ลายก้านขดพันธุ์พฤกษานี้ ปรากฏ ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๙ ขณะเดียวกันก็ยังพบอยู่ในศิลปะสุโขทัย ซึ่งชื่อว่า เป็นรูปแบบของลายก้านขด พันธ์พฤกษาเหล่านี้ น่าจะได้แบบอย่างจากเครื่อง ถ้วยจีน สมัยราชวงศ์หยวน ซึ่งจะพบบริเวณขื่อ และแป โดยรูปแบบจะเป็น ลายคดโค้ง แต่ละวงโค้งจะมีใบไม้เล็กๆ ประกอบอยู่ อีกประเภทหนึ่งปรากฏอยู่ บริเวณขื่อด้านบน มีลักษณะเป็นลายขดโค้ง มีลายดอกจอกก้านแย่ง

ลายก้านขดพันธุ์พฤกษา อยู่บริเวณขื่อและแป วิหารวัดพระแก้วดอนเต้าสุชาดาราม

ลายก้านขดพันธุ์พฤกษา อยู่บริเวณขื่อและแป วิหารวัดหัวข่วง

๒๘


การศึกษาลวดลายไม้แกะสลักวิหารล้านนาในเขต อำ�เภอเมืองลำ�ปาง จังหวัดลำ�ปาง ระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๒๔-๒๕ นั้น เป็นช่วงเวลาที่ล้านนา กำ�ลังฟื้นฟู หรือเก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าวใส่เมืองนั่นเอง โดยยุคนี้เป็นยุคที่มีการก วาดต้อนผู้คนจากพื้นที่อื่นให้เข้ามาอยู่ในล้านนา จึงเป็นเหตุให้เกิดการผสม ผสานของวัฒนธรรม นอกจากนี้ยังมีการรับเอาอิทธิพลจากทางภาคกลางเข้า มา ทำ�ให้งานศิลปกรรมมีอิทธิพลในล้านนาในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๔ และเข้า มามีบทบาทอย่างมากต่องานศิลปกรรมของล้านนาในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๕

วิหารวัดพระธาตุเสด็จ

๒๙


ลวดลายไม้แกะสลักวิหารล้านนา ในเขตอำ�เภอเมืองลำ�ปาง จังหวัดลำ�ปาง ชไมพร พุทธมาตย์ ๕๓๐๓๑๐๑๑๒ © ๒๕๕๖ ภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สงวนลิขสิทธิ์ พิมพ์ครั้งแรก กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ จัดพิมพ์โดย ภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ออกแบบโดย ชไมพร พุทธมาตย์




Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.