Change Mag

Page 1

1. Cover story I will survive 30 years later in climate change and disaster SOCIAL INNOVATION, REAL WORLD OPPORTUNITIES

Stop by step บทสัมภาษณ์กับกูรูเรื่อง การปรับตัวจากการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศ Better together กับ Geochat : “นวัตกรรม” เพื่อการเฝ้าระวังโรคระบาด


CHANGE MAGAZINE SOCIAL INNOVATION, REAL WORLD OPPORTUNITIES

editor’s note. 2.

ที่ ม าของนิ ต ยสารเริ่ ม มาจากการที่ เ รารู้ สึ ก ว่ า ประเทศไทยนั้ น มี นิตยสารในประเด็นเฉพาะทางต่างๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็น lifestyle healthcare การตลาด หรือการเงิน แต่ว่าเรายังไม่เคยเห็น trade magazine ที่เจาะลึกลงไปในเรื่องของ “นวัตกรรมเพื่อสังคม” ทั้งๆ ที่เป็นประเด็นสำ�คัญต่อโลกปัจจุบัน อาทิเช่นเรื่องนวัตกรรมเพื่อสังคม และการพัฒนาเพ่ือความยั่งยืน ซึ่งแนวคิดเเหล่านี้เป็นกระแสที่ได้รับ ความสนใจอย่างมากในระดับโลก และในประเทศไทยเองก็ถือได้ว่าตาม กระแสไปติดๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ดังนั้นทางทีมจึงได้ตัดสินใจที่ จะริเริ่มสื่อที่จะเป็นเสมือนพื้นที่ในการสนับสนุนและเผยแพร่แนวคิดนี้ ผ่านนิตยสาร CHANGE ซึ่งมีเนื้อหาเจาะประเด็นเชิงลึกและข่าวคราว ความเคลื่อนไหวในวงการการพัฒนานวัตกรรมเพื่อสังคมและความ ยั่งยืนในเมืองไทยและในต่างประเทศ เพื่อสนับสนุนและเผยแพร่แนว ความคิดนี้ให้ทุกคนที่สนใจและเริ่มสนใจ

CHANGE MAGAZINE SOCIAL INNOVATION, REAL WORLD OPPORTUNITIES

สำ�หรับในฉบับแรกนี้ทางเราได้คัดเลือกประเด็นเรื่อง “การปรับตัว จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการรับมือกับภัยพิบัติ” เนื่องจากในรอบ 10 กว่าปีที่ผ่านมานี้ ปัญหาจากการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศ ได้ทวีความรุนแรงขึ้นอย่างน่าใจหาย ดังนั้นจึงถึง เวลาแล้วที่เราต้องสรรหานวัตกรรมใหม่ๆ มาเพื่อรับมื​ือกับปัญหาเหล่า นี้ สุดท้ายนี้เราก็หวังว่าเนื้อหาที่ได้คัดสรรมาจะช่วยให้มุมมองใหม่ๆ รวมถึงแนวคิดดีๆ ในการจัดการกับปัญหาที่กล่าวมาและเป็นประโยชน์ ต่อผู้อ่าน โดยเฉพาะในเรื่องของการสร้างความร่วมมือระหว่างภาค ส่วนต่างๆ และบทบาทสำ�คัญที่ภาคธุรกิจจะสามารถเข้ามามีส่วนร่วม ได้ “มาเริ่มเปลี่ยนกันเถอะ”

ธนภณ เศรษฐบุตร

content.

3.

CHANGE

NEWS

CSR Club สมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย ร่วมเป็นสมาชิกผู้ก่อตั้ง ASEAN CSR NETWORK 12 ต.ค. 2553 นายวัฒนา โอภานนท์อมตะ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.บาง จากฯ ในฐานะประธาน CSR Club สมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย เป็น ผู้แทนประเทศไทยร่วมเป็นภาคี ASEAN CSR Network กับผู้แทน จากสิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย โดยได้รับเกียรติจาก Dr. Yaacob Ibrahim รัฐมนตรีกระทรวงสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรน้ำ� Ms. ​Olivia Lum ประธาน CSR Singapore Compact และ Dr. Filemon Uriarte, Jr. Executive Director ASEAN Foundation ร่วมเป็นประธาน ในงาน International Singapore Compact CSR Summit 2010 ที่ประเทศสิงคโปร์ ครั้งล่าสุด ข้อมูลเพิ่มเติม : www.ryt9.com/s/prg/1003653

UnLtd Thailand “ประเทศไทย” ไม่ใช่ข้อจำ�กัด หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันอาทิตย์ที่ 24 ต.ค. 2553

06. COVER STORY I WILL SURVIVE 30 YEARS LATER 10. CHANGE INSIGHT STOP BY STEP CASE 14. CHANGE BETTER TOGETHER 16. CHANGE INSPIRE 18. CHANGE PEOPLE CHANGE INSPIRE

16.

“ข่าวดี” วันนี้ มอบให้เหล่าบรรดาผู้ประกอบการเพื่อสังคมกลุ่ม Start Up ทั้งหลาย ปัจจุบัน โครงการ UnLtd Thailand กำ�ลังเปิดรับ สมัครผู้ประกอบการเพื่อสังคมที่มีโครงการสร้างสรรค์ทางออกด้านปัญหา สังคมและสิ่งแวดล้อม 12 โครงการที่สามารถปฏิบัติจริงได้และสร้างราย ได้ได้อย่างยั่งยืน โดยผู้ผ่านการคัดเลือกจะมีโอกาสได้รับเงินลงทุนสูงสุด 500,000บาท และยังได้รับโอกาสในการรับคำ�แนะนำ�จากเหล่าผู้เชี่ยวชาญ จากหลายสาขา รวมถึงโอกาสในการสร้างเครือข่ายกับเหล่าผู้ประกอบการ เพื่อสังคมด้วยกันเองอีกด้วย ถึงแม้ในปีนี้ตัวโครงการได้ปิดรับสมัครไปเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน ที่ผ่าน มา แต่ทางผู้จัดทำ�ก็มีแผนจะจัดโครงการ Unltd Thailand ขึ้นทุกปี ปีละ หนึ่งครั้ง ผู้สนใจติดตามดูรายละเอียดและดาวน์โหลดใบสมัครได้ที่ www.unltd.in.th facebook page: UnLtd Thailand อีเมล์. unltd.in.th@gmail.com หรือโทรศัพท์ 02.938.2636


CHANGE MAGAZINE

5.

SOCIAL INNOVATION, REAL WORLD OPPORTUNITIES

CHANGE

EVENT

4. นายกฯอภิสิทธิ์ จัดตั้งคณะกรรมการกิจการเพื่อสังคมแห่งชาติ เพื่อ ผลักดันการเติบโตของภาคการทำ�งานใหม่ในสังคม 5 ก.พ. 2553 นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้จัดตั้งคณะกรรมการกิจการเพื่อ สังคมแห่งชาติ โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานคณะกรรมการนอกจากนี้ ทางนายกฯ ยังได้มีคำ�สั่งให้มีการร่างแผนแม่บทสำ�หรับการส่งเสริมกิจการ เพื่อสังคม โดยนายกฯเชื่อว่าการเจริญเติบโตในภาคธุรกิจเพื่อสังคมจะนำ� ไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนของเศรษฐกิจไทยได้ นอกจากนี้ยังมีการจัดตั้ง สำ�นักงานสร้างเสริมกิจการเพื่อสังคมแห่งชาติ (สกส.) ซึ่งเป็นองค์กรที่จัด ตั้งขึ้นตามระเบียบกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพว่าด้วยการจัดตั้ง สำ�นักงานสร้างเสริมกิจการเพื่อสังคมแห่งชาติ พ.ศ. 2553 เพื่อเป็นกล ไกสนับสนุนการดำ�เนินงานตามแผนแม่บทว่าด้วยการสร้างเสริมกิจการเพื่อ สังคม พ.ศ.2553-2557 ตามนโยบายของรัฐบาล ข้อมูลเพื่มเติม http://tseo.or.th

19-20 พ.ย. 2553 International Symposium of Social Enterprise Summit 2010

The Home Affairs Bureau of the HKSAR government จัดงานInternational Symposium of Social Enterprise Summit 2010 ต่อเนื่องกันเป็นปีที่สาม สำ�หรับผู้ที่สนใจ เกี่ยวกับsocial enterprise หรือต้องการสร้างเครือข่ายทั้งเครือ ข่าย social enterpreneurs หรือ เครือข่ายภาคธุรกิจ จัดโดย : the Home Affairs Bureau of the HKSAR government ข้อมูลเพิ่มเติม : www.hksef.org

ประชุมกลุ่มผู้ประกอบการสิ่งทอ วาดอนาคตของวงการสิ่งทอ เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน งานประชุม Textile Conference 2010 ได้รวมตัวทั้งผู้ผลิต สิ่งทอและแบรนด์แฟชั่นระดับโลกรวมไปถึงองค์กรที่เกี่ยวข้อง เพื่อ เข้าร่วมกันหารือและชี้ปัญหาที่เกิดจากอุตสาหกรรมสิ่งทอเป็นเวลา สองวันที่มหานครนิวยอร์ค ผู้เข้าร่วมประชุมก็มีตั้งแต่ Wal-Mart, H+M, Eileen Fisher, The Gap, Brooks Brothers, Anvil และ Organic Exchange โดยเนื้อหาในการประชุมมุ่งเน้นไป ที่การหาหนทางและวิธีใหม่ๆ ในการผลิตและจำ�หน่ายสินค้าสิ่งทอ โดย เฉพาะการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการย้อม โดยเฉพาะ Wet process ที่ทำ�ให้เกิดมลพิษทางน้ำ�อย่างมาก รวมไปถึงการ พัฒนาการขายให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นโดยผลิตสินค้าที่ตรงกับความ ต้องการของลูกค้ามากที่สุด เพื่อให้ผลิตสินค้าที่ไม่ได้รับความนิยม ออกมาเป็นขยะให้น้อยที่สุด หลังจากงานประชุมนี้ก็หวังว่าเราคงได้เห็น ทั้งการผลิตที่สะอาดขึ้นและสินค้าที่พัฒนาให้ตรงกับความต้องการเรา มากขึ้น http://www.treehugger.com

23 พ.ย. 2553 Sociopreneurship India 2010 โครงการโดย YourStory.in และ CNBC-TV18 Young Turks งาน showcase ครั้งใหญ่สำ�หรับ นวัตกรรมเพื่อสังคม และผู้ประกอบการเพื่อสังคม ที่มีการรวมตัวของนักลงทุนเพื่อสังคม ผู้เชี่ยวชาญ และสื่อต่างๆ ไว้ในงานเดียว จัดโดย : YourStory.in และ CNBC-TV18 Young Turks ข้อมูลเพิ่มเติม : www.yourstory.in


CHANGE MAGAZINE

7.

SOCIAL INNOVATION, REAL WORLD OPPORTUNITIES

6.

I WILL SURVIVE YEARS LATER

30

by climate change adaptation

The Intergovernmental Panel on Climate Change (IPCC) defines adaptation as the “adjustment in natural or human systems in response to actual or expected climatic stimuli or their effects, which moderates harm or exploits beneficial opportunities” (IPCC, 2007)

กระแสการปรับตัวนี้ได้รับความสนใจจากทั่วโลกและมีหลายองค์กรที่ก่อ ตั้งขึ้นเพื่อสนับสนุนการเดินหมากเพื่อมนุษยชาติในครั้งนี้ อาทิเช่น คณะ กรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (The Intergovernmental Panel on Climate Change: IPCC) ซึ่งเป็นที่แรกที่บัญญัตินิยามของคำ�ว่า Climate Change Adaptation นอกจากนี้ก็ยังมี สถาบันสิ่งแวดล้อมสต๊อกโฮม (Stockholm Environment Institute: SEI) ซึ่งทำ�หน้าที่เชื่อมโยงระหว่าง วิ ท ยาศาสตร์ แ ละนโยบายเพื่ อ เป็ น หลั ก ไมล์ ใ นการปรั บ ตั ว ให้ กั บ นานา ประเทศ ส่วนในประเทศไทยเองก็ได้มีความเคลื่อนไหวในเรื่องนี้เช่นกัน ใน ฐานะที่เป็นประเทศเกษตรกรรมก็ได้มีการศึกษาวิเคราะห์ถึงผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลกที่มีต่อการเกษตรและระบบ ชลประทาน เพื่อหามาตรการในการลดความเสียหายที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ยิ่งไปกว่านั้นยังได้มีการตั้งหน่วยงานอย่าง ศูนย์จัดการความรู้ด้านการ เปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ (Climate Change Knowledge Management: CCKM) ซึ่งทำ�หน้าที่ศึกษาและรวบรวมข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวกับ ปรากฏการณ์นี้ เพื่อพัฒนาความสามารถในการปรับตัวให้กับชุมชนและ ภาคเอกชน รวมถึงทำ�หน้าที่สนับสนุนการวางแผนกลยุทธ์ให้กับหน่วย งานของรัฐบาล เพราะเรื่องนี้ไม่ได้จบความรับผิดชอบอยู่แค่การทำ�งาน ของหน่วยงานด้านสิ่งแวดล้อมเท่านั้น แต่ทุกส่วนของรัฐบาลต่างก็มีส่วน เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ การคลัง หรือด้านใดก็ตาม

สำ�หรับคนในยุคนี้คำ�ว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศน่าจะเป็นคำ�ที่คุ้น เคยกันดี หรือบางทีอาจจะคุ้นหูกว่าในคำ�ว่า Climate Change หลายคน คงพอรู้ว่ามันมีส่วนเกี่ยวข้องกับภัยธรรมชาติต่างๆ ที่เกิดขึ้นทั่วโลก เลย ทำ � ให้ เ กิ ด ความพยายามที่ จ ะลดการปล่ อ ยก๊ า ซเรื อ นกระจกซึ่ ง เป็ น สาเหตุ สำ�คัญ แต่สิ่งที่เราไม่ค่อยรู้กันก็คือก๊าซเรือนกระจกนั้นมีระยะเวลาการตกค้าง ในชั้นบรรยากาศประมาณ 30 ปี (ข้อมูลจาก The Intergovernmental Panel on Climate Change) นั่นหมายความว่าต่อให้วันนี้คนทั้ง โลกร่วมใจกันลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจนเป็นศูนย์ แต่กว่าอานิสงค์จะ ส่งผลก็ต้องอีก 30 ปีข้างหน้า ฉะนั้นเท่ากับว่าในช่วงเวลา 30 ปีต่อจากนี้ เราจะต้องอยู่ร่วมกับสภาพการณ์อันเลวร้ายที่เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลง สภาพอากาศ ฉะนั้นการหาวิธีหยุดยั้งการผลิตก๊าซเรือนกระจกอย่างเดียวคง ไม่พอ เรายังต้องการวิธีการดำ�เนินชีวิตแบบใหม่ที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม ที่จะต้องเปลี่ยนไปจากเดิมอย่างแน่นอน และนี่คือจุดเริ่มต้นของคำ�ว่าการ ปรับตัวจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือที่เรียกกันว่า Climate Change Adaptation

Thai stats on natural disaster 1980 - 2008 No of event 98 No of people killed : 11,694 No of people affected : 53,142,429 Ecomomic Damage (us$ x 1,000) : 5,997,797 Average killed per year : 403 Ecomomic Damage per year (us$ x 1,000) : 206,821 Source : www.preventionweb.net

หากจะมองให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น ตัวอย่างของการ Adaptation ก็เริ่ม ทยอยมีมาให้เห็นผ่านตามากขึ้นจากทั่วโลก อย่างกรณีของชาวบ้านใน หมู่บ้าน Stakmo ประเทศอินเดีย ซึ่งมีที่ตั้งอยู่บนเทือกเขาหิมาลัย และอาศัยแหล่งน้ำ�ที่ละลายจากธารน้ำ�แข็งมาใช้เพื่อการเกษตร แต่จาก ปรากฏการณ์ Climate Change ทำ�ให้ธารน้ำ�แข็งหดหายไปจนยาก ต่อการนำ�น้ำ�มาทำ�การเกษตร ซึ่งถ้าปล่อยไว้อย่างนี้หมู่บ้านแห่งนี้คงจะ ต้องเผชิญกับความอดอยากครั้งใหญ่อย่างแน่นอน แต่สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ ชาวบ้าน Stakmo ยังคงสามารถทำ�การเกษตรต่อไปได้แม้ธารน้ำ�แข็ง จะละลายหายไป ที่เป็นเช่นนี้ก็เป็นเพราะว่าวิศวกรที่มีชื่อว่า Chewang Norphel ได้เสนอให้มีการสร้างธารน้ำ�แข็งจำ�ลองขึ้น

โดยการทำ�กำ�แพงกันดินจากหินเพื่อชะลอการไหลของน้ำ�บนผิวดินและ กักเก็บไว้ในบ่อเก็บน้ำ�ขนาดใหญ่ ซึ่งพออากาศเย็นตัวลงในฤดูหนาว น้ำ� ส่วนนี้ก็จะกลายเป็นเสมือนธารน้ำ�แข็ง และเมื่ออากาศอุ่นขึ้นอีกครั้ง ธาร น้ำ�แข็งจำ�ลองเหล่านี้ก็จะละลายกลายเป็นน้ำ�เพื่อหล่อเลี้ยงหมู่บ้านในหน้า แล้ง ด้วยวิธีการง่ายๆ เช่นนี้ ชาว Stakmo จึงยังคงรักษาระบบการ ทำ�เกษตรเอาไว้ได้ ฉะนั้นการปรับจึงเป็นไปเพื่อไม่ให้เปลี่ยน ไม่ว่าจะเป็นวิถี ชีวิตหรือถิ่นฐานบ้านเกิด เพราะชุมชนที่ไม่สามารถปรับตัวได้ทันอาจต้อง เผชิญชะตากรรมในการหาแหล่งที่อยู่ใหม่ Climate Change Adaptation บางครั้งก็เกิดจากการเผชิญกับภัย พิบัติและต้องการวิธีการปรับตัวอย่างฉับพลันเพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้าจน กลายเป็นการเปลี่ยนแปลงในระยะยาว ซึ่งในภาวะภัยพิบัตินั้นความสูญ เสียที่เกิดขึ้นนั้นครอบคลุมทั้งในด้านทรัพย์สิน ชีวิต และสิ่งแวดล้อม ซึ่ง นับรวมเป็นมูลค่ามหาศาล ด้วยเหตุนี้ภาวะภัยพิบัติจึงเป็นสถานการณ์ที่ ทุกฝ่ายไม่ว่าจะเป็น ภาครัฐ เอกชน หรือประชาชนทั่วๆ ไปยินดีที่จะร่วม กันระดมทุนเพื่อหยุดยั้งหรือบรรเทาผลกระทบของภัยพิบัตินั้นๆ อย่าง เร็วที่สุด ขอยกตัวอย่างกรณีแผ่นดินไหวที่เฮติ ซึ่งถึงแม้ความสูญเสีย จะมีมูลค่าสูงถึง 13.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่ก็มีเงินบริจาคเป็น จำ�นวนกว่า 3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ข้อมูลจาก Inter-American Development Bank และ Office for the Coordination of Humanitarian Affairs) ซึ่งแสดงให้เห็นว่าคนจำ�นวนมากพร้อมที่จะ เข้ามาลงทุน ซึ่งหมายความว่าถ้าใครมีคำ�ตอบมานำ�เสนอหลายฝ่ายก็ พร้อมที่จะมอบเงินทุนให้นำ�ไปใช้ในโครงการนั้นๆ ได้ แม้เป็นเพียงสัดส่วน น้อยนิดจากพันล้านดอลลาร์ เพราะฉะนั้นจึงอาจพูดได้ว่านวัตกรรม สำ�หรับการรับมือกับภัยพิบัติจะเป็นสิ่งที่ได้รับความสนใจในอนาคตอันใกล้ นี้ และเป็นพื้นที่ที่องค์กรต่างๆ จะลงทุนในส่วนค้นคว้าและพัฒนา เพื่อ หานวัตกรรมที่ลดผลกระทบของภัยพิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด


CHANGE MAGAZINE

การไหลเวียนของข้อมูลข่าวสารที่เกิดขึ้นนั้นเป็นตัวกลไก สำ�คัญที่ทำ�ให้ภาครัฐ เอกชนหรืออาสาสมัครสามารถ ดำ�เนินการช่วยเหลือได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงผู้ ประสบภัยในพื้นที่เองก็สามารถที่จะตัดสินใจและวางแผน การช่วยเหลือได้ด้วยตนเองแบบทันท่วงที ซึ่งภาครัฐก็ เล็งเห็นถึงพลังที่จะเกิดขึ้นจากการที่ภาคส่วนต่างๆ เข้า มาร่วมกันจัดการปัญหา จึงได้จัดตั้ง “ศูนย์ประสานการ ช่วยเหลือเยียวยาผู้ประสบอุทกภัย” เพื่อเป็นตัวกลางใน การช่วยบริหารจัดการ เชื่อมหน่วยงานต่างๆ เข้าด้วย กัน ทำ�ให้พลังจากส่วนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเอกชนหรือภาค ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการช่วยเหลือฟื้นฟูกับ ภาครัฐอย่างเป็นระบบ ซึ่งจะเห็นความแตกต่างชัดเจน หากเทียบกับเมื่อครั้งเหตุการณ์สึนามิในปี 2547 ที่ การทำ�งานยังเป็นในลักษณะที่แยกส่วน ไม่มีการแลก เปลี่ ย นข้ อ มู ล หรื อ จั ด ระบบการช่ ว ยเหลื อ ระหว่ า งภาค ส่วนต่างๆ ฉะนั้นบทบาทของภาครัฐในครั้งนี้จึงเหมือน เป็นการเปลี่ยนเกียร์จากขั้นที่พร้อมจะร่วมมือแต่อยู่กัน อย่างกระจัดกระจาย ขับเคลื่อนไปสู่การทำ�งานในระดับ ที่ทุกฝ่ายได้เป็นทีมเดียวกัน สิ่งเหล่านี้นับตัวอย่างความ สำ�เร็จของความร่วมมือที่เกิดขึ้นระหว่างภาครัฐและภาค ส่วนอื่นๆ ซึ่งการร่วมมือและประยุกต์นวัตกรรมที่เกิดขึ้น ในครั้งนี้น่าจะเป็นจุดเริ่มต้นของมาตรฐานการรับมือกับ ภัยพิบัติในอนาคต

SOCIAL INNOVATION, REAL WORLD OPPORTUNITIES

8. เหลียวมองใกล้ตัวไปที่ปัญหาอุทกภัยที่ประเทศไทยเผชิญอยู่ในขณะนี้ ก็พบว่ามีสิ่งที่เรียกได้ว่าเป็น Social Innovation หรือนวัตกรรม ทางสังคมเกิดขึ้นอยู่หลายระดับ ที่เห็นได้ชัดคือการใช้สื่อใหม่ในการ รายงานสถานการณ์ ซึ่งจากเดิมที่อาสาสมัครหรือเอกชนจะต้อง คอยเช็คข้อมูลในพื้นที่ด้วยตนเอง โดยโทรสอบถามข้อมูลจากหน่วย งานรัฐ หรือรอคอยการรายงานจากรัฐวันต่อวัน ด้วยระบบใน ปัจจุบันการรายงานต่างๆ สามารถเกิดขึ้นได้จากประชาชนทั่วไป และยังรายงานได้แบบ real time อย่าง www.thaiflood.com ซึ่งเป็นพื้นที่ในการสื่อสารจากภาคประชาชน โดยมีการรวบรวม ข้อมูลทั้งจุดรับบริจาคสิ่งของ ช่องทางในการบริจาคเงินช่วยเหลือ ลักษณะงานที่ต้องการอาสาสมัครจากแต่ละองค์กร และข้อมูลต่างๆ ที่จำ�เป็นทั้งสำ�หรับผู้ประสบภัยและผู้ที่ต้องการจะให้ความช่วยเหลือ ซึ่งภาครัฐเองก็เห็นจุดแข็งในส่วนนี้และได้มีการปรับตัวจากระบบการ รายงานแบบเดิมๆ ไปสู่การนำ�สื่อใหม่มาใช้ในการรายงานอย่างเต็ม รูปแบบ สื่ อใหม่ที่มีบทบาทสำ � คัญอย่างเห็นได้ชัดก็คือเครือข่ายทางสั ง คม ออนไลน์อย่าง Twitter และ Facebook ที่เป็นช่องทางที่ทำ�ให้ คนในพื้ น ที่ ป ระสบภั ย สามารถรายงานสถานการณ์ ที่ เ กิ ด ขึ้ น ได้ โดยตรง นอกจากนี้ยังได้ทำ�หน้าที่ในการนำ�สารจากคนในพื้นที่ ว่าจริงๆ แล้วอะไรคือสิ่งที่จำ�เป็นและเป็นที่ต้องการของคนในพื้นที่ อย่างล่าสุดกรณีน้ำ�ท่วมในพื้นที่ภาคใต้ก็ได้เสียงจากช่องทางเหล่า นี้ที่ทำ�ให้คนที่จะนำ�ของไปบริจาคนั้นเห็นประเด็นว่าอาหารที่จะนำ�ไป บริจาคไปนั้นควรจะต้องมีเครื่องหมายรับรองฮาลาล เพื่อที่จะได้ส่ง ต่อให้กับผู้ประสบภัยที่เป็นมุสลิมได้ ทั้งน้ีทางรัฐบาลได้นำ�ข้อมูลจาก social media มารวมกับข้อมูลทั้งหมดที่ภาครัฐมีอยู่ ซึ่ง สุ ด ท้ า ยแล้ ว ข้ อ มู ล ทั้ ง หมดนั้ น จะถู ก นำ � มาผนวกใช้ กั บ ระบบ รวบรวมข้อมูลที่มีชื่อว่า Ushahidi ซึ่งเป็นระบบที่เคยใช้ช่วย เหลื อ ผู้ ป ระสบภั ย เมื่ อ คราวเกิ ด แผ่ น ดิ น ไหวใหญ่ ที่ ป ระเทศเฮติ (ข้อมูลเพิ่มเติม www.ushahidi.com) โดยข้อมูลข่าวสารทั้งหมด จะขึ้นแสดงผ่านเวบไซต์ www.pm.go.th/flood ของทางรัฐบาล และ เวบไซต์ www.thaiflood.com ของภาคประชาชน (ซึ่งในการ ทำ�งานจริงข้อมูลของทั้งสองเวบไซต์นี้จะถูกนำ�มาแบ่งปันกัน) 450

NUMBER OF DISASTERS REPORTED

400 350 300 250 200 150 100 50 0

1900

1910

1920

1930

1940

YEAR

1950

1960

1970

1980

Source : http://emdat.be

เขยิบออกจากปัจจุบันไปยังอนาคตอันใกล้แล้วย้อนมอง ภัยพิบัติในอดีต เราคงไม่อยากให้ภัยพิบัติได้ใจฮึกเหิมจนไม่ อาจห้ามปรามได้ แทนที่จะมีแต่แผนรับมือเฉพาะหน้า เรา คงต้องมีแนวทางในระยะยาวที่เหมาะสมเพื่ออนาคตด้วย แต่ เ ริ่ ม จากตรงไหนและไปในทิ ศ ทางใดคื อ คำ � ถามที่ เ รา ไม่สามารถหยิบเอาคำ�ตอบของประเทศอื่นมาตอบแทน ได้ หากมองรอบๆตัวแล้วก็จะพบว่าในระดับนโยบายนั้น นานาประเทศไม่ได้เน้นการกำ�จัดการผลิต CO2 อย่าง เดียว แต่เลือกปรับตัวอย่างหลากหลายโดยมีรัฐบาลและ กองทุนระหว่างประเทศคอยสนับสนุน อย่างไรก็ตามท่ัว โลกก็ให้ความสําคัญเฉพาะในระดับนโยบาย แต่ถามว่ามี ใครลงมือจริงจังทั้งในแง่เงินทุนและบุคลากรหรือยัง คำ� ตอบก็คงเป็นว่ายังเป็นเพียงจังหวะเริ่มต้นเท่านั้น และเมื่อ มองในประเทศเราเองซึ่งเป็นประเทศที่อุดมไปด้วยความ หลากหลายทางทรัพยากร โอกาสในการแปรเปลี่ยนปรับ ตัวให้เข้ากับสภาพภูมิอากาศในอนาคตจึงเป็นไปได้มาก การที่จะตามประชาคมโลกไปได้ช้าเร็วเพียงใดก็คงจะขึ้น อยู่กับความคิดความสามารถของแต่ละองค์กรที่จะหยิบ วิธีการใดมาประยุกต์ต่อไป

9.

BEFORE. FOLLOW UP

REPORTING

GOVT

GOVT

GOVT

GOVT

RESPONSE

FILTERING & ANALYSIS

Only one man player

AFTER. FOLLOW UP

REPORTING

CITIZEN

CITIZEN

GOVT

GOVT PRIVATE

CITIZEN

GOVT

GOVT

CITIZEN

PRIVATE

RESPONSE FILTERING & ANALYSIS Collaborative platform (SYNERGY)

(ร่าง) แผนแม่บท รองรับการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศ พ.ศ. 2553-2562


CHANGE MAGAZINE SOCIAL INNOVATION, REAL WORLD OPPORTUNITIES

10.

11. CHANGE : สำ�หรับเมืองไทยแล้ว วิกฤตการณ์สภาวะภูมิ อากาศเปลี่ยนแปลง ได้ส่งผลในวงกว้าง คุณคิดว่าด้านใด น่าจะส่งผลกระทบกับเรามากที่สุด และอะไรคือสิ่งแรกที่เรา ควรจะรับมือกับมัน ดร.​​​​​​อานนท​​​​​​์​​​​​​: วิกฤตการณ์สภาวะภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง ที่ เรามักพูดกันนั้นมักหมายถึงกรณีที่เกิดขึ้นจากปรากฏการณ์ เรือนกระจก ซึ่งก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าคุณ ผม และเราทุกๆ คน ก็มีส่วนร่วมทำ�ให้มันเกิด ทั้งโดยตั้งใจและไม่ตั้งใจ แต่ใน ขณะเดียวกันโลกเราก็มีการเปลี่ยนแปลงสภาวะอากาศตาม ธรรมชาติเองด้วยเหมือนกัน อย่างปัญหาเรื่องระดับของน้ำ� ทะเลที่เพิ่มสูงขึ้นจนท่วมพื้นที่ชายฝั่ง ซึ่งเป็นตัวอย่างที่เห็น ได้ชัดว่าเกิดจากภาวะโลกร้อน จริงๆ แล้วปัญหานี้ก็ไม่ได้ เกิดจากภาวะโลกร้อนเสียทั้งหมด ส่วนหนึ่งนั้นเกิดจากการ เปลี่ยนแปลงภูมิอากาศที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ดังนั้นมันยาก ที่จะบอกว่าเราควรจะให้ความสำ�คัญกับอะไรเป็นอันดับแรก

CHANGE INSIGHT

STOP BY STEP INTERVIEW WITH CLIMATE CHANGE ADAPTATION EXPERT “DR. ANON SANITWONG NA AYUTTHAYA” สึนามิ ถล่มชายฝั่งอันดามัน ปี 2547 โคลนถล่ม เมืองลับแล อุตรดิตถ์ ปี 2549 น้ำ�ท่วมใหญ่ที่กินพื้นที่ ครึ่งประเทศในปีนี้ หลายๆ คนเริ่มตั้งคำ�ถามว่า เกิดอะไรขึ้นกับประเทศไทย? แต่คำ�ถามที่สำ�คัญไปกว่านั้น คือ เราจะรับมือกับมันอย่างไร? CHANGE ฉบับปฐมฤกษ์ นั่งคุยกับ ดร.อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ผู้อำ�นวยการศูนย์เครือข่ายงาน วิเคราะห์วิจัยและฝึกอบรมการเปลี่ยนแปลงของโลกแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ในวันที่ยังคงครึ้มฟ้าครึ้มฝนในช่วงปลายปีแบบนี้ บทสนทนาวันนี้บางทีอาจจะไม่ใช่การหาข้อสรุปของคำ�ถามทั้งหมด แต่อาจจะเป็นก้าวแรกที่จะเปิดโอกาสให้ เราตั้งคำ�ถามว่าเราจะเริ่มเปลี่ยนแปลงมันด้วยตัวเองได้อย่างไร

ผมอยากให้มอง Climate Change ว่ามันเป็นเรื่อง ที่ยังค่อนข้างใหม่อยู่ ถึงแม้จะมีการศึกษาวิจัยมาพอ สมควรแล้วก็ตาม และด้วยความที่มันใหม่เลยเป็นเรื่อง ที่ยังคงต้องมีข้อถกเถียงกันอีกมาก ผมอยากให้ดูว่า ตอนนี้เรารับมือกับ Climate Change ในปัจจุบัน และมีการมองไปถึงอนาคตขนาดไหน อย่างน้ำ�ท่วมใน ปีนี้เป็นตัวอย่างที่ทำ�ให้เห็นว่าจริงๆ แค่ภัยธรรมชาติใน ภาวะปรกติเรายังยากที่จะรับมือ ยังไม่ต้องไปพูดถึงการ เปลี่ยนแปลงมากมายที่จะตามมา ซึ่งหากจะพูดเจาะจงใน เรื่องวิกฤตการณ์สภาวะภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง เรายัง ต้องการองค์ความรู้อีกเยอะ ซึ่งบางทีต้องใช้เวลาศึกษา ค้นคว้าอีกพอสมควร

CHANGE : ระยะหลังเริ่มมีการพูดถึงแนวคิดเรื่อง การที่มนุษย์เราปรับตัวให้เข้ากับสภาวะภูมิอากาศที่ เปลี่ยนแปลงมากขึ้น อยากถามว่าในเวทีโลกนั้นได้ให้ ความสำ�คัญกับเรื่องนี้ขนาดไหน ดร. อานนท์ : จากที่ได้ผมได้ศึกษาในเวทีโลก ในเรื่อง ของ Climate Mitigation นั้นส่วนใหญ่เกี่ยวกับกลไก ทางการเงินการค้า ซึ่งพอมาถึงประเด็นทางการค้านั้น มันย่อมมีผลกับเศรษฐกิจอย่างรุนแรง ฉะนั้นถ้ามีการ บริ ห ารจั ด การไม่ ดี บ างประเทศต้ อ งเพิ่ ม ต้ น ทุ น ในการ ผลิตมหาศาล เพราะมันมีต้นทุนที่เราทำ�ลายธรรมชาติ และไม่ ไ ด้ ถู ก คิ ด เป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ของต้ น ทุ น การผลิ ต ซ่ อ น อยู่ ส่วนเรื่องการปรับวิถีชีวิตให้สอดคล้องกับการ เปลี่ยนแปลงนั้นอาจไปมีปัญหาในเรื่องกองทุนแทน เพราะ สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ ประเทศที่กำ�ลังพัฒนาต่างก็พยายามที่ จะแย่งเงินส่วนนี้เข้าสู่ประเทศตัวเอง ซึ่งผมเองกลัวว่าเงิน ตรงนี้อาจจะถูกนำ�ไปใช้ไม่ถูกทางได้ ทั้งที่มันควรที่จะถูก นำ�มาสร้างและสนับสนุนโครงการในประเทศให้เกิดเป็นรูป ธรรมมากขึ้น


CHANGE MAGAZINE

13. 13.

SOCIAL INNOVATION, REAL WORLD OPPORTUNITIES

12.

CHANGE : ในฐานะที่เราทุกคนมีส่วนที่ทำ�ให้โลกของ เราเดินมาถึงจุดๆ นี้เราควรจะมีส่วนรับผิดชอบกับมัน อย่างไรบ้าง หรือว่าจะต้องหวังพึ่งพิงกลไกของภาค รัฐในการออกนโยบายเพื่อให้เรื่องนี้มันขับเคลื่อนได้มี อย่างประสิทธิภาพ

CHANGE : ประเทศไทยเองจะต้องให้ความสำ�คัญกับ การปรับตัวมากน้อยแค่ไหน และในอนาคตควรจะปรับ ตัวไปในทิศทางใด ดร. อานนท์ : ก่อนอื่นเราต้องรู้ก่อนว่าภูมิอากาศของ ประเทศไทยจะเป็นอย่างไร เหมือนรู้เขารู้เรารบร้อยครั้งเรา ก็ชนะร้อยครั้ง ถึงจะรู้ว่าควรปรับตัวอย่างไร แต่ในทาง หนึ่ง วิธีการแบบนี้มันก็เหมือนเป็นดาบสองคม เพราะมันมี โอกาสผิดพลาดเยอะ การพยากรณ์อนาคตนั้นจำ�เป็นอย่าง มากที่จะต้องทำ�ในระยะยาว ซึ่งการพยากรณ์ล่วงหน้าแค่ 30 ปีข้างหน้านั้น ผมว่าไร้สาระ เราควรจะมองว่าประเทศ นั้นมีการพัฒนาอยู่เรื่อยๆ และเราต้องกำ�หนดทิศทางและ โมเดลสำ�หรับการพัฒนานั้น อย่างเช่นเราอยากจะเป็นครัว โลกหรือเป็นชุมชนการท่องเที่ยว ซึ่งถ้ามองในอนาคตโมเดล แต่ละโมเดลอาจจะไม่สอดคล้องกัน แต่ถ้าโมเดลสี่ห้าโมเดล สามารถที่จะเดินไปได้ก็ไม่จำ�เป็นต้องไปปรับตัวอะไร แต่ถ้า มันไปไม่ได้เราต้องกลับมามองว่าเราจะดันทุรังไปอยู่มั้ยหรือจะ เปลี่ยนทางเดิน จริงๆ มันคือการสร้างทางเลือกให้เราเห็นว่า เรามีทางเลือกที่จะไปสู่ทิศทางใดบ้าง เหมือนการสร้าง Scenario ว่า ถ้าคุณไม่ปฏิบัติแบบนั้น คุณอาจจะพบกับปัญหา แบบนี้ เป็นต้น

CHANGE : ในฐานะที่ประเทศเราเป็นประเทศ เกษตรกรรมควรวางแผนทิศทางอย่างไรต่อการปรับ ตัวที่จะเกิดขึ้น ดร. อานนท์ : อย่างแรกในอีก 50 ปี ข้างหน้า ประเทศเรายังเป็นประเทศเกษตรกรรมอยู่หรือไม่ ต้อง ตอบคำ�ถามนี้ให้ได้ก่อน คนที่อยู่ในแวดวงการเกษตรเขา มองอนาคตของประเทศเป็นอย่างไร หลังจากนั้นเรา ก็ต้องหันกลับมาคิด ว่าเราจะ Maximize ด้วยอะไร บ้าง อาจจะใช้ Biotec GMO หรือเทคโนโลยีอื่นมา ช่วย ฉะนั้นในแต่ละทางเลือกที่เราจะเดิน เราต้องตอบได้ ว่าอนาคตจะเป็นอย่างไร มีความมั่นคงไหม เราจะเน้นที่ ปริมาณหรือคุณภาพ จากนี้แหละที่จะต้องใช้กลไกในการ ปรับตัวมาช่วย ซึ่งมันก็เป็นสิ่งที่ตอบคำ�ถามไปเรื่อยๆ เมื่อเราแก้ปัญหาหนึ่ง มันก็จะมีปัญหาใหม่มาให้เราแก้ต่อ ไปเรื่อยๆ

CHANGE : กลไกการปรับตัวให้สอดคล้องกับสภาวะ ภูมิอากาศที่เกิดขึ้นนั้น คือการหวังพึ่งเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาช่วยหรือเปล่า เรากำ�ลังให้เทคโนโลยีมาช่วยต่อ ลมหายใจของเราใช่ไหม ดร. อานนท์ : ผมว่ามันคนละเรื่องกัน เรากำ�ลังพูด ถึงเรื่องกระบวนการบริหารจัดการ ว่าจะทำ�อย่างไรให้ เรามีความเสี่ยงเราน้อยที่สุด คือเราจะตั้งเป้าทุกอย่างให้ สมบูรณ์ไม่ได้อย่างน้อยต้องมีคนได้คนเสีย เราจะบริหาร อย่างไรให้เกิดความเสี่ยงน้อยที่สุด อย่างไรก็ดีถึงแม้เรา จะบริหารความเสี่ยงได้ดียังไงความเสียหายก็สามารถ เกิดขึ้นได้ ฉะนั้นเราจะมีวิธีการจัดการอย่างไร เราจะสกัด ภัยหรือกู้ภัยหลังจากที่เกิดปัญหา เราก็ต้องมาพิจารณา ข้อดีข้อเสียกัน เทคโนโลยีอาจเป็นแค่เศษเสี้ยวหนึ่งที่ถูก นำ�มาใช้ในการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

ดร. อานนท์ : การมองในระดับเล็กปัญหาคือการมี time scale ที่มันสั้น อย่างตัวเราเองอาจจะไม่นึกถึง ว่าตนเองจะสามารถอยู่ได้เป็นร้อยปี ซึ่งก็อาจทำ�ให้เรา มองการปรับตัวแค่ในระยะสั้น ทั้งๆ ที่เราควรจะมองถึง บทบาทภาระอันกว้างใหญ่นอกเหนือไปจากนั้น อย่างเช่นเราเป็นเจ้าของไร่นาแปลงหนึ่ง แล้วเราไม่ได้คิด ว่าฝนจะตกหรือไม่เพราะอะไร แต่กลับนึกถึงแต่ว่าฝนจะ เพียงพอต่อการปลูกข้าวไหม เมื่อฝนมันไม่ตกเราก็ไม่มี วิธีแก้ไข เราจะกักเก็บน้ำ�อย่างไร เราจะจัดการระหว่าง น้ำ�เพื่อการเพาะปลูกและการบริโภคอย่างไร เพราะฉะนั้น กลไกการปรับตัวในระดับปัจเจกบุคคล บางครั้งอาจเป็น ระดับที่เล็กเกินไป สิ่งหนึ่งที่ทำ�ได้คือปัจเจกบุคคลจะต้อง รวมตัวกันให้เป็นกลุ่มและเดินหน้าปรับตัวไปในทิศทาง เดียวกันเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัด ผมเชื่อ ว่าการรวมพลังของกลุ่มคนเล็กๆ จะเป็นกลไกที่สำ�คัญใน การเปลี่ยนโลกและทำ�ให้เราอยู่ร่วมกับมันได้ CHANGE : ภัยภิบัติที่เกิดขึ้นในช่วง4-5ปีนี้ ดูแล้วจะ มีแนวโน้มทวีความรุนแรงมากขึ้น อย่างปัญหาน้ำ�ท่วม ในขณะนี้ที่กินพื้นที่กว้างขวางที่สุดครั้งหนึ่งที่ประเทศไทย เคยประสบมานั้น เราควรจะมีการในการรับมือกับ สถานการณ์แบบนี้อย่างไรบ้าง

ดร. อานนท์ : ตอนนี้สิ่งที่เกิดขึ้นแล้วคือการรวม ตัวกันเฉพาะกิจ แต่ก็ยังขาดการจัดการที่เป็นระบบ ยกตัวอย่างเรื่องของภัยพิบัติ อาจกำ�หนดยกเลิกเขต พื้นที่อยู่อาศัยในพื้นที่ที่คาดว่าเป็นพื้นที่เสี่ยง หรือว่า อาจมีการสร้างเขื่อนเพื่อลดความเสี่ยงและควบคุมความ เสียหาย ปรับปรุงการพยากรณ์อากาศให้มีประสิทธิภาพ มากขึ้น โดยมีการเตือนลงไปในบางพื้นที่ตามเวลาที่ เหมาะสมก็สามารถลดอัตราความเสี่ยงและการสูญเสีย ของประชาชนและผลผลิตทางการเกษตรได้ บางครั้ง อาจต้องดูไปถึงเรื่องทรัพยากรในพื้นที่

เช่นพืชพันธุ์ต่างๆ ที่สามารถทนน้ำ�ท่วมได้ ก็สามารถ เป็นทางออกในการปรับตัวในระดับนึง การปรับตัวนั้น มันก็มีอยู่หลายอย่าง อยู่ที่ว่าจะเลือกใช้วิธีอะไร ใช่ว่า ตำ�บลนี้จะใช้สูตรนี้สูตรเดียว เราอาจใช้วิธีการหลายๆ อย่างได้ แต่ว่ามันจะต้องไม่ขัดแย้งกันเอง เพราะผมเชื่อ ว่าทุกปัญหาไม่มีสูตรสำ�เร็จในการแก้ไข แต่มันก็มี กรอบหลวมๆ อยู่ที่ว่าการจัดการที่ดีนั้นจะทำ�ให้ลดความ สูญเสียได้มากที่สุด ผมเชื่อในกลไกการเตรียมพร้อม มากกว่าการแก้ไขปัญหา

จากบทสนทนาข้างต้นสิ่งหนึ่งอาจจะทำ�ให้เราฉุกคิดว่าบางที การเตรียมพร้อมจะรับมือกับปัญหาและการปรับตัวและเรียน รู้ที่จะอยู่ร่วมกับปัญหานั้นเป็นเรื่องสำ�คัญ การปรับเปลี่ยน ในครั้งนี้คงยากที่จะบอกแน่ชัดว่าทางใดเราจะปลอดภัยร้อย เปอร์เซ็นต์ จะมีก็แต่การหยุดและสำ�รวจรอบๆ ตัวเป็นระยะๆ เท่านั้นที่พอจะทำ�ให้เราไม่หลงไปในทางที่ผิด คอยระวังภัยให้ กันและกันแล้วเดินไปทีละก้าว “ด้วยกัน”

ดร. อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ตำ�แหน่ง : รักษาการแทนผู้อำ�นวยการสำ�นักงาน พัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ประวัติการทำ�งาน อาจารย์ประจำ�ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะ วิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้อำ�นวยการศูนย์เครือข่ายงานวิเคราะห์ วิจัย และ ฝึกอบรมการเปลี่ยนแปลงของโลกแห่งภูมิภาคเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ ผู้อำ�นวยการศูนย์จัดการความรู้ด้านการเปลี่ยนแปลง ภูมิอากาศ การศึกษา ปริญญาเอก (สมุทรศาสตร์) มหาวิทยาลัยฮาวาย


CHANGE MAGAZINE

15.

SOCIAL INNOVATION, REAL WORLD OPPORTUNITIES

14.

CASE

BETTER TOGETHER เรื่ อ งภั ย พิ บั ติ กั บ การแก้ ปั ญ หาสั ง คมในปั จ จุ บั น ดู จ ะไม่ ค่ อ ยเข้ า ตา นักลงทุนและนักธุรกิจผู้แสวงหาตลาดใหม่ที่มีโอกาสทำ�เงินมากๆ และ ยั่งยืนในระยะยาว และบางครั้งถูกปล่อยให้เป็นหน้าที่ของภาครัฐเสีย เป็นส่วนใหญ่​​ จนบางทีภาคเอกชนก็รู้สึกถูกตัดขาดไปจากแวดวง นี้ อาจจะจริงในบางสถานการณ์ แต่หากสังเกตดูดีๆ จะพบว่ามี ตลาดเล็กๆ ที่สามารถโตและขยายไปสู่ธุรกิจใหม่ที่คู่แข่งน้อย หรือไร้ คู่แข่งเลยก็เป็นได้ แต่ใช่ว่าการประยุกต์ฃลักษณะนี้จะทำ�ได้ง่ายๆ ใน ประเทศไทยเอง CSR ก็อาจจะเป็นจุดเริ่มต้นของธุรกิจใหม่ในอนาคต ก็เป็นได้ ด้วยศักยภาพที่ภาคเอกชนมีและภาครัฐไม่มี การจับมือร่วม กันสร้างสรรค์สิ่งใหม่เพื่อแก้ปัญหาสังคมคงเป็นสิ่งดีที่น่าลองอย่าง เช่นเรื่องราวที่เรากำ�ลังจะเล่าให้คุณฟังต่อไปนี้… เมื่อลองหันกลับไปมองเทรนด์ความเป็นไปของโรคระบาดในปัจจุบัน สิ่งที่น่าสังเกตุอย่างหนึ่งคือ ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาเหตุการณ์การ แพร่กระจายของโรคระบาดต่างๆ ได้เพิ่มขึ้นอย่างน่าตกใจ ไม่ว่าจะ เป็นการแพร่ระบาดของโรคซาร์ส ไข้หวัดนก จนมาถึงไข้หวัดใหญ่ สายพันธ์ุใหม่ 2009 (H1N1) ยิ่งไปกว่านั้น ในยุคปัจจุบันที่การเดิน ทางข้ามประเทศหรือการเดินทางไปในพื้นที่ห่างไกลไม่เป็นเรื่องยากอีก ต่อไป ทำ�ให้ภัยพิบัตืในเรื่องของการแพร่กระจายของโรคระบาดต่างๆ นั้นมีมากขึ้นและยากที่จะควบคุม เมื่อจำ�นวนโรคระบาดใหม่ๆ มีจำ�นวนเพิ่มขึ้นเหมือนดอกเห็ดและการ เฝ้าระวังและจับตามองก็ดูเหมือนไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ การ คิดค้นนวัตกรรมใหม่ที่จะนำ�มาใช้เพื่อบรรเทาปัญหาเหล่านี้จึงเป็นสิ่ง ที่จำ�เป็น ในกรณีการระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ที่เป็นที่ตื่นตระหนกของคนทั่วโลก หลายหน่วยงานในประเทศไทย และต่างประเทศ ก็ได้มาร่วมมือกันคิดเพื่อที่จะหาทางจำ�กัดควบคุม การแพร่กระจายของเชื้อไข้หวัด 2009 นี้ และนี่เองก็เป็นที่มาของ การนำ�ระบบ Geochat ซึ่งเป็นโปรแกรมการแจ้งเตือนภัยโรคระบาด ผ่านระบบโทรศัพท์มือถือมาใช้เป็นครั้งแรกในประเทศไทย

การนำ�ระบบ Geochat มาใช้ในคราวนี้ เกิดขึ้นจากความร่วมมือ ของหลายภาคส่วนด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นสำ�นักระบาดวิทยา กรม ควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข คณะอนุกรรมการสนับสนุน ป้องกัน ควบคุม และการแก้ปัญหาการแพร่ระบาด ของไข้หวัดสาย พันธุ์ใหม่ 2009 สำ�นักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โครงการทำ�ดีทุกวันจากดีแทค องค์กร InSTEDD มูลนิธิ กูเกิล (สหรัฐอเมริกา) และบริษัท โอเพ่นดรีม จำ�กัด (ประเทศไทย) ด้วยความร่วมมือขององค์กรต่างๆ ที่กล่าวมา เทคโนโลยีโทรศัพท์ เคลื่อนที่จึงได้ถูกนำ�มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในการทำ�งานทางบริษัทโอเพ่นดรีม และ InSTEDD ได้ร่วมกัน พัฒนาระบบ Geochat ขึ้นมาเพื่อให้เหมาะสมกับการนำ�มาใช้ใน ประเทศไทย แต่โดยพื้นฐานแล้วในระบบ Geochat นั้น จะประกอบ ด้วยกลุ่มสื่อสาร ซึ่งอาจจะมีกว่าสิบคนในกลุ่มนั้นๆ และเมื่อมีการ ส่งแมสเสจ แมจเสจก็จะวิ่งเข้ามาในระบบ Geochat และถูกส่งไป ให้ทุกคนที่อยู่ในกลุ่มที่ถูกตั้งขึ้นมานั้น โดยผู้รับไม่จำ�เป็นต้องมีแอพ พลิเคชั่นใดๆ ในมือถือทั้งสิ้น เพียงแต่ว่าส่งเอสเอ็มเอสเข้ามาลง ทะเบียนยังเบอร์ที่เราตั้งให้เป็นเกตเวย์ ซึ่งในกรณีนี้ก็คือระบบเครือ ข่ายเอสเอ็มเอสที่ได้รับการสนับสนุนมาจากดีแทค โดยข้อมูลต่างๆ นั้นนอกจากจะถูกส่งไปให้แก่สมาชิกในกลุ่มแล้ว ยังถูกลำ�เลียงเข้ามา สู่ส่วนกลาง ซึ่งคือสำ�นักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค เพื่อดำ�เนิน การป้องกันการแพร่กระจายของโรคต่อไป ซึ่งระบบ Geochat นี้ ก็ เป็นระบบที่ใช้ในหน่วยบรรเทาภัยพิบัติแผ่นดินไหวในประเทศเฮติด้วย ซึ่งข้อดีของการนำ�ระบบ Geochat มาใช้คือจะทำ�ให้การวิเคราะห์ ข้อมูลของส่วนกลางลดเวลาลงได้ โดยจากแต่เดิมซึ่งต้องรอข้อมูล จากจุดต่างๆ 1 วัน เพื่อบันทึกสถิติ ก็จะลดลงมาเหลือเพียงแค่ 1 ชั่วโมง นอกจากนี้ยังช่วยลดเวลาที่ใช้ในการสื่อสารทางโทรศัพท์ ซึ่งแต่เดิมอาจต้องใช้ติดต่อกันถึง 120 ครั้ง ต่อวัน ก็เหลือเพียง 7 ครั้ง ดังนั้นจึงพูดได้ว่าการนำ�ระบบ Geochat มาใช้นั้นทำ�ให้การ ส่งข้อมูลต่างๆ เป็นไปอย่างรวดเร็ว ทำ�ให้การประสานงานกับทีมงาน สาธารณสุขหรือการเฝ้าระวังในพื้นที่เป็นไปได้อย่างทันถ่วงที

นอกจากจะช่วยลดระยะเวลาในการติดต่อประสานงานแล้ว การนำ� ระบบ Geochat มาใช้ในครั้งนี้ เรียกได้ว่าเป็นการทำ�งานเชิงรุก แบบบูรณาการอย่างแท้จริง เนื่องจากเป็นการทำ�งานในลักษณะที่ มีการนำ�ภาคส่วนต่างเข้ามาร่วมมือกันทำ�โครงการ โดยที่ต่างฝ่าย ต่างก็ได้รับผลประโยชน์ หรือเรียกได้ว่าเป็น win-win situation สำ�หรับทุกฝ่าย โดยทางฝั่งเทคนิคอย่าง InsTEDD และ บริษัทโอเพ่นดรีม การเฝ้าระวังโรคระบาดผ่าน Geochat นั้นก็ถือ ได้ว่าเป็นโอกาสดีที่ทางองค์กรได้ลองนำ�นวัตกรรมใหม่ๆ มาลองใช้ ประเทศไทย ซึ่งถือเป็นการทดสอบตลาดว่านวัตกรรรมที่นำ�มาใช้นั้น มีโอกาสที่จะขยายผลต่อได้ต่อไปไทยหรือไม่ ในมุมของภาครัฐ ระบบ Geochat นั้นก็ช่วยให้การทำ�งานมีประสิทธิภาพมากขึ้น สามารถ ตอบรับสถานการณ์ได้อย่างรวดเร็ว และในมุมของบริษัทเอกชน อย่างดีแทคนั้น โครงการนี้ก็ถือว่าเป็นโครงการ CSR (Corporate Social Responsibility) ที่สามารถเป็นแบบอย่างให้กับ องค์กรอื่นๆ ได้อย่างแท้จริง เนื่องจากเป็นโครงการที่สร้างความร่วม มือระหว่างหลายภาคส่วน และที่สำ�คัญเป็นการนำ�จุดแข็งของบริษัท (ระบบเครือข่ายโทรศัพท์) มาช่วยในการแก้ไขสังคมอย่างแท้จริง ซึ่ง เป็นการช่วยตอกยำ�้ภาพลักษณ์ของดีแทคในความเป็นบริษัทที่คำ�นึง ถึงสังคมและสิ่งแวดล้อม

จากตัวอย่างกรณีศึกษานี้ จะเห็นได้ว่าการแก้ไขปัญหาทางสังคมและ สิ่งแวดล้อม ไม่ใช่สิ่งที่องค์กรใดองค์กรหนึ่ง หรือภาคใดภาคหนึ่งจะ ทำ�ให้สำ�เร็จออกมาแต่เพียงลำ�พังได้ หากแต่ความร่วมมือระหว่าง ภาคส่วนนั้นเป็นสิ่งสำ�คัญ เพราะต่างฝ่ายจะสามารถช่วยสนับสนุน เติมเต็มในสิ่งที่อีกฝ่ายขาดไปได้ ซึ่งในที่สุดจะส่งผลให้การทำ�โครงการ เกิดผลประโยชน์สูงสุดต่อสังคมสิ่งแวดล้อม และยิ่งในเรื่องประเด็น ของภัยพิบัติต่างๆ ด้วยแล้ว การเฝ้าระวัง การแก้ไข หรือการ บรรเทานั้นไม่ใช่เรื่องที่ง่าย ดังนั้นการร่วมมือระหว่างภาคส่วนจึงเป็น สิ่งจำ�เป็นเพื่อที่จะลดผลกระทบจากภัยพิบัตินั้นๆ ให้เหลือน้อยที่สุด

System management : InSTEDD and Opendream Network provider : DTAC Project management : ChangeFusion Institute

GATEWAY


CHANGE MAGAZINE

17.

SOCIAL INNOVATION, REAL WORLD OPPORTUNITIES

16.

สิ่งที่ชื่นชอบและประทับใจเกี่ยวกับการทำ�งานอาสาสมัครที่แนนชอบมากที่สุดคือการที่ได้มีโอกาสในการแบ่งปันน้ำ�ใจกับ ชาวบ้าน และทำ�ให้ ชาวบ้านรู้สึกว่ายังมีคนเห็นและสนใจเขาอยู่ ทำ�ให้เขามีกำ�ลังใจ และจากการที่ได้เคยลงพื้นที่ไป survey ค่ายเลยทำ�ให้รู้สึกใกล้ชิดสนิทสนม กับชาวบ้านที่ไปพักและทำ�ให้เรารู้สึกผูกพันไปด้วย

Saruta Mahatthanarak

แนนตั้งใจไว้ว่าหลังจากสำ�เร็จการศึกษา จะนำ�ความรู้ทางเศรษฐศาสตร์ที่ร่ำ�เรียนมาเอาไปไช้พัฒนาสังคม ความใฝ่ฝันของน้องแนนคือทํา งานเพื่อสังคมท่ีได้ลงพื้นที่ไปช่วยชาวบ้านโดยตรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งพัฒนาด้านการเกษตร เพราะแนนเชื่อว่าความเหลื่อมลำ�้ทางสังคม นั้นเกิดจากการความสามารถของชาวนาที่จำ�กัดที่มีต่อการแข่งขันกับภาคอุตสาหกรรม แนนเลยคิดว่าถ้าหากสามารถทำ�บางสิ่งบางอย่าง เพื่อพัฒนาประเทศไทยให้ไปในทางที่ดีขึ้นได้อาจจะเริ่มได้จากตรงนี้ ส่วนภัยพิบัติที่เราเผชิญอยู่ตอนนี้นั้น แนนก็เชื่อว่างานอาสาสมัครก็เป็น หนึ่งทางออกที่จะช่วยได้รวดเร็วที่สุด ถึงเธอเองจะไม่สามารถเข้าไปช่วยถึงในพื้นที่ได้ แต่ช่องทางอื่นที่มีมากมายเราก็สามารถเข้าไปมีส่วน ร่วมได้ งานอาสาคงไม่ได้นับรวมแค่การลงแรงช่วยเหลือที่พื้นที่เกิดภัย แต่คงเป็นอะไรก็ตามที่กระทำ�ไปด้วยจิตอาสาทั้งต่อหน้าและลับหลัง แนนยังให้แง่มุมในการเตรียมรับมือกับภัยน้ำ�ท่วมว่า คนไทยส่วนใหญ่ไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลหรือทราบถึงการเตือนภัยได้ทันท่วงที การ วางแผนหรือเตรียมตัวก็ล่าช้าเกินกว่าจะทำ�ให้มีประสิทธิภาพได้ ควรเพิ่มงบประมาณและวางแผนรับมือน้ำ�ท่วมทั้งทางเทคโนโลยีและการ เพิ่มพูนความรู้ในการป้องกันน้ำ�ท่วมสู่ชุมชน แทนที่จะนำ�เอาเงินไปลงทุนกับสิ่งไม่จำ�เป็นอื่นๆ ภัยพิบัติก็มีข้อดีที่เป็นโอกาสให้ทุกคนได้แก้ไขสิ่งที่ผ่านมา ทั้งทางกายภาพและระบบ และที่สำ�คัญที่สุด ช่วงเวลานี้เป็นเวลาที่ทุกคนจะสามารถ “ร่วมจิตอาสา” เพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกันอย่างที่แนนเคยเปลี่ยนความคิดเมื่อครั้งไปค่ายอาสา

Storm, Tornado and Tsunami Interconnected Module (STATIM) Shelter System

แนน ศรุตา มหัทธนารักษ์ อายุ 22 ปี การศึกษา: ตอนนี้น้องแนนเรียนอยู่ปีสี่ โครงการเศรษฐศาสตร์บัณฑิต ภาคภาษาอังกฤษ (Bachelor of Economics International Program) คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประโยคที่ชื่นชอบที่สุดคือ ‘Just do it’ สิ่งที่แนนหลงไหลและชื่นชอบเกี่ยวกับการทำ�เพื่อสังคมคือการได้มีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลงสังคมไทยในทุกด้านรวมทั้งความไม่ เสมอภาคและสวัสดิการทั่วไป ให้เป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้นโดยถือคติ “เพื่อส่วนรวมไม่ใช่เพื่อส่วนตัว” แนนไดัเริ่มมีส่วนร่วมในกิจกรรมอาสาสมัครตั้งแต่สมัยตอนอยู่ปีสอง ที่เคยไปมาแล้วก็มี เลย เกาะยาว ชุมพร แถมยังเคยเป็นหนึ่ง ในประธานค่าย เหตุผลที่ทำ�ให้น้องแนนสนใจค่ายก็เหมือนเหตุผลของคนหลายคน นั่นก็คือ ไปแล้วติดใจ แนนไม่ได้รู้สึกว่าได้ไปทำ�อะไร ให้เกิดความเปลี่นแปลงมากมาย แต่การที่ได้ไปเห็นชาวบ้านที่มีความสุข และทำ�ให้แนนรู้สึกว่าการที่ไปค่ายนั้นได้ให้อะไรกับแนนและ เพื่อนๆ ทั้งในด้านมุมมอง และความรู้ภูมิปัญญาชาวบ้าน อาทิเช่น การก่อสร้าง การทําปุ๋ยอินทรีย์ี ซึ่งจริงๆ แล้วมากกว่าสิ่งที่ แนนกับเพื่อนๆ ได้นำ�ไปให้พวกเขาเสียอีก

ไอเดียบรรเจิดจาก นักประดิษฐชาว์เปอร์โตริโกนามว่า Miguel Serrano โดย Miguel ได้เล่าถึงที่มาของไอเดียว่าเกิดขึ้นหลังจาก ได้เห็นเหตุการณ์ทำ�ลายล้างและผลพวงของสึนามิในปี 2004 และ เหตุการณ์พายุเฮอริเคนแคทรีนาที่สร้างความเสียหายมหาศาล เขา จึงมุ่งมั่นกับการออกแบบเครื่องมือเพื่อเตรียมรับมือและลดผลกระ ทบต่อชีวิตผู้คนจากภัยพิบัติเหล่านี้ หากจะอธิบายอย่างง่ายๆ มันเป็นเรือกันน้ำ�ที่สร้างขึ้นจากคอนกรีต สำ�เร็จรูปเป็นท่อนๆ สาเหตุที่ทำ�จากคอนกรีตก็เนื่องจากว่าคอนกรีต เป็นวัสดุต้นทุนต่ำ�ใช้ง่ายทั่วโลกไม่ต้องใช้แรงงานที่มีทักษะและมีความ คงทนถาวรสูง โดยตัวเรือนั้นสามารถลอยน้ำ�ได้และมีความสามารถ ในการปรับสมดุลอัตโนมัติ ภายในเรือมีที่นั่งอย่างปลอดภัยสำ�หรับกว่า 50 คน การระบาย อากาศ และมีอุปกรณ์ในการอยู่รอดและของใช้สิ้นเปลืองต่างๆ ที่ สามารถดำ � รงชี พ ของผู้ โ ดยสารในช่ ว งเวลาระหว่ า งและหลั ง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น จนกว่าจะมีหน่วยงานที่สามารถให้ความช่วย เหลือได้ ระบบที่พักอาศัย STATIM ได้ปฏิวัติระบบที่พักอาศัยที่ทั้งมี ประสิทธิภาพสูงแต่ต้นทุนและค่าใช้จ่ายต่ำ� จึงไม่น่าแปลกใจที่ STATIM นั้นได้รับสิทธิบัตรในสหรัฐอเมริกาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ตั้งแต่มี การเปิดตัว ระบบนั้นได้รับการตอบรับที่ดีจากรัฐบาลและผู้ซื้อที่สนใจ อื่น ๆ เช่นรีสอร์ทติดทะเลและผู้ประกอบการนิคมอุตสาหกรรม


CHANGE MAGAZINE

19.

SOCIAL INNOVATION, REAL WORLD OPPORTUNITIES

18.

change people Chris Cusano ปัจจุบันดำ�รงตำ�แหน่งผู้อำ�นวยการ Ashoka’s Entrepreneur-to-Entrepreneur program in Asia เป็นเวลา 15 ปีที่คริสทำ�งานร่วมกับผู้ประกอบ การเพื่อสังคมในภูมิภาคเอเชีย คริสได้เข้าร่วม Ashoka ในเดือนพฤศจิกายน ปี ค.ศ. 2000 เขาใช้เวลาสี่ปีแรกของเขาขยายหลักการ “การค้นหาและเลือก” ของ Ashoka ซึ่งเป็นระบบการระบุตัวผู้ประกอบการทางสังคมทั่วโลก ทำ�ให้ Ashoka Fellowship มีมากถึง 500 คน ณ เวลานั้น นอกจากนี้คริสยังก่อ ตั้งโครงการ Ashoka’s Global Fellows program ซึ่งเสาะหาผู้ประกอบการ ทางสังคมที่สร้างความเปลี่ยนแปลงในระดับโลก วันนี้คริสมีหน้าที่ในการกำ�หนด วิสัยทรรศน์ของ Ashoka ในส่วนของการทำ�งานร่วมกันระหว่างภาคส่วน คริสพยายามที่จะสร้าง Ashoka ให้สนับสนุนเครือข่ายของสมาชิกผู้นำ�ธุรกิจทั่ว เอเชีย และจับคู่ระหว่างผู้ประกอบการธุรกิจชั้นนำ�และผู้ประกอบการทางสังคมให้ ร่วมมือกันและเป็นประโยชน์ต่อสังคม

นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ปัจจุบันดำ�รงตำ�แหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีของประเทศไทยและเคยได้รับเลือก ตั้งติดต่อกันให้เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดกรุงเทพมหานคร นายอภิรักษ์ โกษะ โยธิน เป็นนักธุรกิจชั้นนำ�กับประสบการณ์กว่า 20 ปี ในแวดวงบริษัทข้ามชาติ รวมทั้ง PepsiCo และ บริษัทจดทะเบียนของรัฐในประเทศไทย เช่นแกรมมี่และ ออเร้นจ์ ในปัจจุบันคุณอภิรักษ์ก็สนใจอย่างมากในด้านการประกอบการทางสังคม และนวัตกรรมทางสังคม รวมไปถึงความรับผิดชอบต่อสังคม ล่าสุดเขาได้เปิดตัว สถาบัน Asian Knowledge Institute สถานศึกษาความรู้ในภูมิภาคเอเชีย

ดร. สรณรัชฎ์ กาญจนะวณิชย์ ดร. สรณรัชฎ์ กาญจนะวณิชย์ หรือที่รู้จักกันดีในนาม ดร. อ้อย เลขามูลนิธิ โลกสีเขียวซึ่งเป็นองค์กรสาธารณประโยชน์ที่ตั้งอยู่ในกรุงเทพ และเน้นงานนด้าน สิ่งแวดล้อมในเมือง งานเขียนที่เป็นที่นิยมของเธอนั้นเป็นเรื่องราวของธรรมชาติ และ การพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งเน้นในเรื่องคอร์สเพิ่อการรู้จักศึกษาค้นคว้าหาความ รู้ในเรื่องราวของธรรมชาติ นอกจากนั้น ดร.อ้อยยังเป็นผู้ริเริ่มโครงการนักสืบ สิ่งแวดล้อม ที่นำ�เทคนิคการสำ�รวจสิ่งแวดล้อมใกล้ต้วเรา มาใช้เพื่อให้เกิดการ ตระหนัก และสังเกตเห็นธรรมชาติในท้องถิ่น โดยโครงการนี้นำ�ไปสู่การรวมพลัง ของคนในชุมชน หรือสังคมเมืองในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติในท้องที่ของ ตัวเอง โดยมี นักสืบสายลมเกิดขึ้น ในปี 2540 พร้อมกับการสำ�รวจที่อยู่บริเวณ ชายฝั่งและธรรมชาติในเมือง ความคืบหน้าล่าสุดคือการให้ความหลากหลายของ ไลเคนเป็นตัวชี้วัดคุณภาพอากาศในตัวเมืองและโรงงาน ซึ่งมีการสำ�รวจโดย นักเรียนและ กลุ่มคนอนุรักษ์นิยมในท้องถิ่น ในส่วนการศึกษาของดร.อ้อยนั้น จบ ปริญญาตรีด้านโบราณคดีจากสถาบันโบราณคดี มหาวิทยาลัยลอนดอน จาก นั้นก็จบปริญญาเอกที่วิทยาลัยบูรพาศึกษาและอาฟริกาศึกษา(โซแอส)

สฤณี อาชวานันทกุล สฤณี อาชวานันทกุล เป็น นักเขียนอิสระ นักวิชาการอิสระ อาจารย์พิเศษ และบรรณาธิการเว็บไซต์โอเพ่นออนไลน์ สฤณีจบการศึกษาปริญญาตรีด้าน เศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด และปริญญาโทด้านบริหารธุรกิจจาก มหาวิทยาลัยนิวยอร์ก ในภาคธุรกิจสฤณีมีประสบการณ์การทำ�งานกับหลาย บริษัทเป็นเวลากว่า 8 ปี โดยมีตำ�แหน่งสุดท้ายเป็นกรรมการบริหารของบริษัท ฮันเตอร์ส แอ็ดไวซอรี่ จำ�กัด ก่อนที่จะตัดสินใจออกมาทุ่มเทเวลาให้กับงานเขียน และงานวิจัยอย่างเต็มตัว ในโลกออนไลน์และงานเขียน สฤณีเป็นที่รู้จักในชื่อ “คน ชายขอบ” หรือ “Fringer” จากบล็อก http://www.fringer.org และ คอลัมภ์นิสต์ประจำ�นิตยสารโอเพ่นออนไลน์ (http://www.onopen.com) ซึ่งปัจจุบันเธอเป็นบรรณาธิการ โดยงานเขียนส่วนใหญ่จะสะท้อนความสนใจใน กิจการเพื่อสังคมและการเงินเพื่อสังคม อาทิ “นายธนาคารเพื่อคนจน” (แปลจาก Banker to the Poor โดย Muhammad Yunus) และ “ทุนนิยมที่มีหัวใจ: ทางเลือกใหม่แห่งการพัฒนา ปัจจุบันสฤณียังเป็นอาจารย์พิเศษ วิชา “ธุรกิจกับ สังคม” ให้กับคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์อีก ด้วย นอกจากนี้เธอยังเป็นหนึ่งในกรรมการผู้ก่อตั้งเครือข่ายพลเมืองเน็ต เครือ ข่ายครีเอทีฟคอมมอนส์ประเทศไทย (http://cc.in.th/) และสำ�นักพิมพ์ชาย ขอบ


CHANGE MAGAZINE SOCIAL INNOVATION, REAL WORLD OPPORTUNITIES

20.

CLICK HERE!!

ช่วยเราปรับปรุง CHANGE MAGAZINE ได้ที่..... Phone +662 938 2636 Fax +662 938 1877 444 Olympia Thai Tower, 22nd. Fl., Ratchadaphisek Rd., Samsemnok, Huaykwang, Bangkok 10310 Thailand. www.changefusion.org


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.