นิตยสารโรตารีประเทศไทย ฉบับ ม.ค.-ก.พ.2562

Page 1

English issue

นิตยสารรายสองเดือน ปีที่ 35 ฉบับที่ 180 มกราคม-กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒ January-February 2019


โรตารี คืออะไร ? วัตถุประสงค์ของโรตารี โรตารีมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมอุดมการณ์แห่งการบ�ำเพ็ญ ประโยชน์ ในการด�ำเนินกิจกรรมที่มีคุณค่าเป็นหลัก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพื่อสนับสนุนและส่งเสริม หนึ่ง การเสริมสร้างความคุ้นเคยระหว่างสมาชิกเพื่อการบ�ำเพ็ญประโยชน์ สอง การยกระดับจรรยาบรรณในธุรกิจและวิชาชีพ การยอมรับคุณค่าใน การประกอบอาชีพที่ยังคุณประโยชน์ และการให้โรแทเรียนทุกคนภูมิใจใน อาชีพของตน เพื่อการบ�ำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม สาม การให้โรแทเรียนทุกคน น�ำเอาอุดมการณ์แห่งการบ�ำเพ็ญประโยชน์ ไปใช้ในชีวิตส่วนตัว ธุรกิจและชุมชน สี่ การเพิ่มพูนความเข้าใจ ไมตรีจิตและสันติสุขระหว่างชาติ ด้วยมิตร สัมพันธ์ของบุคคลในธุรกิจและวิชาชีพทัว่ โลก ทีม่ อี ดุ มการณ์ในการบ�ำเพ็ญ ประโยชน์อย่างเดียวกัน

The Object of Rotary

The Object of Rotary is to encourage and foster the ideal of service as a basis of worthy enterprise and, in particular, to encourage and foster: FIRST The development of acquaintance as an opportunity for service; SECOND High ethical standards in business and professions, the recognition of the worthiness of all useful occupations, and the dignifying of each Rotarian’s occupation as an opportunity to serve society; THIRD The application of the ideal of service in each Rotarian’s personal, business, and community life; FOURTH The advancement of international understanding, goodwill, and peace through a world fellowship of business, and professional persons united in the ideal of service. แฮมเบิร ก์ , เยอรมัน 1-5 มิถุนายน 2019


สารประธานโรตารีสากล แบรี แรซซิน มกราคม ๒๕๖๒

มิตรโรแทเรียนที่รัก ค�ำจ�ำกัดความของบริการด้านอาชีพนั้นอาจดูเหมือน ว่ายาก แต่ก็เป็นเรื่องง่ายที่จะอธิบายความหมาย นั่นคือ จุด ตัดกันของอาชีพการงานของเรา และจุดที่เราพ�ำนักอยู่นั้นมา สัมพันธ์ต่อกัน เมื่อเราน�ำอุดมการณ์โรตารีมาใช้ในอาชีพการ งานของเรา นั่นก็คือบริการด้านอาชีพ หลั ง จากที่ ไ ปท� ำ งานด้ า นบริ ห ารงานสาธารณสุ ข ในสหรัฐอเมริกานานหลายปี ผมก็เดินทางกลับหมู่เกาะ บาฮามัส และมีความรู้สึกว่าประเทศบาฮามัสของผมในขณะ นั้น ยังขาดแคลนสิ่งอ�ำนวยความสะดวกด้านสาธารณสุขยุค ใหม่เป็นอย่างมาก ทรัพยากรที่เรามีในขณะนั้นหมดอายุเสื่อม สภาพและไม่เพียงพอใช้งาน ส่วนผู้ป่วยซึ่งไม่สามารถเดินทาง ไปรับการรักษาในต่างประเทศก็มักจะมิได้รับการดูแลรักษา เท่าที่ควร ผมคงไม่สามารถท�ำสิ่งใดเพื่อเปลี่ยนแปลงสภาวะ ที่เลวร้ายนั้นได้ ถ้าหากว่าผมไม่มีประสบการณ์การท�ำงานใน สหรัฐมาก่อน ประสบการณ์ของผมนั้นท�ำให้ผมอยู่ในสถานะที่ ดีพอที่จะสร้างผลกระทบได้ ผมจึงทราบว่า ผมสามารถใช้งาน อาชีพของผมกระท�ำสิ่งดีๆ และใช้งานด้านนี้ไปพัฒนาปรับปรุง งานด้านสาธารณสุขของบาฮามัสได้ ขณะที่ โรตารี ก ลายเป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ของการเดิ น ทาง ของผม ผมก็ได้พบว่า ถ้อยค�ำของท่านพอล แฮริส ซึ่งมาเป็น รากฐานของโรตารี คือ “ความร่วมมือกันจะไร้ขีดจ�ำกัด” นั้น ได้กลายเป็นจริงในสายอาชีพของผมด้วย ล�ำพังตัวผมเองไม่ สามารถน�ำเอาการดูแลสุขภาพสมัยใหม่เข้าไปในบาฮามัสเองได้ แต่อาศัยการเป็นหุ้นส่วนทั้งกับแพทย์ ผู้ที่ต่อมากลับกลายเป็น

หุ้นส่วนของผมในโรงพยาบาลแพทย์ และร่วมกับคณะท�ำงาน ทุกคนในโรงพยาบาลทีท่ มุ่ เทท�ำงานกันหลายๆ ปี เราก็สามารถ เปลี่ยนแปลงทุกสิ่งได้ เป้าหมายของผมจึงเป็นจุดหมายร่วมกัน และในเวลาต่อมาก็กลายเป็นความจริง โรตารีให้ความส�ำคัญต่ออาชีพการงานและคุณค่า ของงานทุกชนิด ให้เราระลึกว่าสมาชิกผู้ร่วมก่อตั้งโรตารีสี่ ท่านแรกนั้น ไม่มีแพทย์ ไม่มีผู้สร้างสันติ มีเพียงทนายความ วิศวกรเหมือง พ่อค้าถ่านหินและเจ้าของโรงพิมพ์ ตัง้ แต่แรกเริม่ มา สมาชิกโรตารีมอี าชีพทีห่ ลากหลายทีส่ ร้างความเข้มแข็งเป็น พิเศษ ระบบจัดประเภทอาชีพของเรานั้นสะท้อนถึงความแตก ต่างเหล่านี้ มุ่งหมายให้แต่ละสโมสรมั่นใจได้ว่า จะมีตัวแทน ของนักธุรกิจผู้ประกอบอาชีพครบทุกประเภทที่อยู่ในแต่ละ ชุมชน พอล แฮริส กล่าวไว้ว่า “โรแทเรียนแต่ละคนนั้น เป็น ผู้น�ำอุดมการณ์ของโรตารี มาเชื่อมต่อกับอาชีพการงานหรือ ธุรกิจของเขา” ค�ำพูดของท่านเป็นความจริงมาจนถึงทุกวัน นี้ พวกเรามาประชุมโรตารีกันสัปดาห์ละ 1-2 ชั่วโมงเท่านั้น แต่เราใช้เวลาส่วนใหญ่ในอาชีพการงานของพวกเรา ชั่วโมง เหล่านั้นคือโอกาสของเราในการให้บริการบ�ำเพ็ญประโยชน์ โอกาสส�ำหรับการร่วมสร้างแรงบันดาลใจ ให้แก่ผทู้ รี่ ว่ มงานกับ เรา ผู้ที่ท�ำงานให้เราและให้แก่ชุมชนที่เราท�ำงานอยู่ด้วย

แบรี แรซซิน ประธานโรตารีสากล ปี 2561-62

On the Web Speeches and news from RI President Barry Rassin at www.rotary.org/office-president


สารประธานโรตารีสากล

แบรี แรซซิน กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒

มิตรโรแทเรียนที่รัก ในช่วงเวลาระหว่างปีที่ผ่านมานี้ ผมได้ไปเข้าร่วม ประชุมและเยีย่ มสโมสร/ภาคจ�ำนวนมาก ทีม่ คี วามเข้มแข็งมี ชีวติ ชีวาและก�ำลังสร้างความเปลีย่ นแปลง ในชุมชนของเขา ผมสามารถสัมผัสถึงพลังของพวกเขา ผูซ้ งึ่ เป็นนักปฏิบตั กิ าร เมือ่ ไปเยีย่ มชุมชนของเขา ผมมองเห็นผลกระทบจากผลงาน ของพวกเขา ผมยังได้ไปเยีย่ มชุมชนของสโมสรโรตารีทดี่ เู หมือน สโมสรสังคมทัว่ ๆ ไป ซึง่ ไม่สมควรเป็นเช่นนัน้ แต่โชคดีทเี่ รา ยังมีวิธีการช่วยเหลือแบบง่ายๆ ที่ผมเชื่อว่าสามารถท�ำให้ สโมสรใดก็ได้มีชีวิตชีวาขึ้น ผมอยากท้าทายให้สโมสรโรตารีทุกแห่ง จัดท�ำ โครงการที่สร้างผลกระทบได้สูงอย่างน้อยหนึ่งโครงการ แต่ละสโมสรล้วนมีพลังมีทรัพยากรที่จะท�ำให้โครงการนี้ เกิดขึน้ ได้ เพราะโครงการนีจ้ ะมีพลังสร้างความเปลีย่ นแปลง ชีวิตผู้อื่นได้ – อย่างสมบูรณ์ โครงการนี้ไม่ต้องใช้เงินเป็นล้านๆ เหรียญ ด้วย โครงการหนึ่งที่สามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงมากที่สุด ที่ ผมไปมี ส ่ วนร่ วมด้วย ในการจัดหารถจี๊ป ส�ำหรับ พวก พยาบาลผดุงครรภ์ในประเทศเฮติ เราไปสอบถามพวกเธอว่า อยากให้พวกเราช่วยอะไรได้บา้ ง ก็ได้รบั ค�ำตอบว่า อยากได้ พาหนะ ส�ำหรับออกไปเยีย่ มบรรดาสตรีใกล้คลอดในชนบท ห่างไกล เราจึงจัดหารถจี๊ปให้คันหนึ่ง ติดตราโรตารีและพ่น สีชมพูให้ด้วย สามปีต่อมาพวกเราย้อนกลับไปดูว่าพวกเธอ เป็นอย่างไรบ้าง ปรากฏว่า พวกเธอตื่นเต้นมากกับความ ส�ำเร็จ บอกกับเราว่า อัตราการเสียชีวติ ของมารดาและบุตร ในชนบทเหล่านั้นลดลงถึงร้อยละ 50 เลยทีเดียว นี่ คื อ สิ่ ง ที่ ผ มเรี ย กว่ า บริ ก ารสร้ า งความ เปลี่ยนแปลง

02 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2562

แต่รถจี๊ปคันนั้นไม่ได้อยู่ย่ังยืนตลอดไป หลังจาก ใช้ปฏิบัติงานได้แปดปีแล้วมันก็ถูกปลดระวาง ดังนั้นเราจึง ไปหาซื้อรถแลนด์โรเวอร์ (พ่นสีชมพู) ให้ใช้แทน ซึ่งทุกวันนี้ ก็ยังใช้วิ่งท�ำงานอยู่ ท�ำให้พวกพยาบาลผดุงครรภ์เหล่านั้น สามารถออกไปดูแลสตรีใกล้คลอดในชนบทห่างไกลต่อไป ได้ โครงการสร้างความเปลี่ยนแปลงนั้น จะท�ำได้ อย่างไร? ไม่ตอ้ งใช้เงินจ�ำนวนมากแต่จะต้องเข้าถึงประชาชน และสร้างผลกระทบใหญ่ให้แก่ชุมชน นี่คือกุญแจส�ำคัญ ที่ต้องมีการวางแผนอย่างรอบคอบ และใช้การวิจัยอย่าง ละเอียด เช่นเดียวกับการเตรียมการของท่าน การจัดสรร ทรัพยากร การจัดหาหุ้นส่วนที่สามารถเพิ่มผลกระทบให้ ท่านเป็นทวีคูณ แล้วจึงลงมือปฏิบัติการ แน่นอนครับ การบ�ำเพ็ญประโยชน์คืองานส่วน หนึ่งของสโมสรที่เข้มแข็ง ซึ่งจะต้องใช้นักพูดที่ดี มีการ จัดการพัฒนาผู้น�ำ เชิญชวนโรทาแรคท์และอินเทอร์แรคท์ มาร่วมงาน ด้วยการจัดหาคุณค่าให้แก่สมาชิกของเขาและ แจ้งเหตุผลที่มาร่วมงานกันกับโรตารี หากว่ า สโมสรท่ า นเป็ น สโมสรที่ ส ร้ า งความ เปลี่ยนแปลงได้ มีรูปแบบองค์กรที่ดี ทุกอย่างก็จะตามมา เอง สมาชิกก็จะมีส่วนร่วม สมาชิกใหม่ๆ ก็อยากจะเข้ามา ร่วมสโมสร การระดมหาทุนก็จะง่ายขึ้น เพราะเมื่อผู้คนได้ เห็นว่าเงินของเขาก�ำลังสร้างความแตกต่าง และรูว้ า่ องค์กร ของเราท�ำงานอย่างโปร่งใส ตรงไปตรงมา เขาก็อยากจะ บริจาคให้ทา่ น สโมสรท่านก็จะมีชวี ติ ชีวา ร่าเริงแจ่มใส และ ยังจะเป็นแรงบันดาลใจให้แก่ผู้ที่อยู่รอบข้าง และเช่นเดียว กับชุมชนที่เกี่ยวข้องด้วย แบรี แรซซิน ประธานโรตารีสากล ปี 2561-62


สารประธานทรัสตี รอน ดี. เบอร์ตัน มกราคม ๒๕๖๒

ผมอยากกล้าท้ากับท่านว่า โรแทเรียนเราส่วนใหญ่ ยังจดจ�ำบุคคลผู้ที่แนะน�ำท่านเข้ามาในสโมสรโรตารีได้ดี เพราะเราจะไม่มีวันลืมท่านผู้นั้น และระลึกถึงบุญคุณของ ท่านเสมอ ที่ให้โอกาสเราได้ปรับเปลี่ยนชีวิต เมื่อได้กล่าว ถึงเรือ่ งนี้ ผมไม่แน่ใจนักว่า พวกเราส่วนใหญ่จะจดจ�ำได้หรือ ไม่ว่า มูลนิธิโรตารีมีความส�ำคัญกับเราตั้งแต่เมื่อใด เพราะ มันไม่ง่ายเหมือนจ�ำบุคคลผู้ที่เชิญเราไปเข้าประชุม แต่ผม คิดว่า คงจะต้องมีงานสัมมนาสักหนึ่งงาน โครงการบ�ำเพ็ญ ประโยชน์หนึง่ โครงการ หรือเหตุการณ์หนึง่ ใด ในสโมสรของ ท่าน ในภาคของท่าน หรือในการประชุมระหว่างประเทศที่ ได้จุดประกายให้ท่าน ตัง้ แต่ปี ค.ศ.๑๙๐๕ เป็นต้นมา สโมสรโรตารีตา่ งๆ ได้จัดหาช่องทางเพื่อให้โรแทเรียนได้ใช้ปฏิบัติการในชุมชน ในสโมสรท้องถิน่ ทีเ่ ราพ�ำนักอาศัย ทีเ่ ราท�ำงาน และมีเพือ่ น สนิทมิตรสหายมาตลอดชีวิต ที่ซึ่งเรามองเห็นผลกระทบ โดยตรง ดุจบ้านของเราเอง ผมจึงเชื่อมั่นว่า ยามใดที่มิตร โรแทเรียนส่วนใหญ่ได้ยินค�ำว่า โรตารีสากล ก็มักจะคิดถึง สโมสรของตนเสมอ แต่ในอีกด้านหนึง่ เมือ่ โรแทเรียนได้ยนิ ชือ่ “มูลนิธิ

โรตารี” ก็มักจะคิดถึงโครงการต่างๆ เพื่อเพื่อนมนุษย์และ โปรแกรมการศึกษาจ�ำนวนมากมายที่ท�ำให้มูลนิธิโรตารี เป็นมูลนิธชิ นั้ สุดยอดในโลกของเราทุกวันนี้ นีค่ อื มนต์เสน่ห์ แท้จริงทีม่ อบชีวติ โรตารีให้เพือ่ นมนุษย์ ในชุมชนโลก และยัง ให้โอกาสเขากลับเป็นผู้ร่วมปฏิบัติการในระดับโลกอีกด้วย เราก� ำ ลั ง เริ่ ม ต้ น ปฏิ ทิ น ปี ใ หม่ ขอให้ เราคิ ด ถึ ง หลายๆ สิ่งที่เราอยากกระท�ำ หลายๆ คนอาจจะมีข้อตั้งใจ ในปีใหม่นี้ ผมหวังว่าข้อตั้งใจข้อหนึ่งของท่าน คือ การมี ส่วนร่วมงานกับมูลนิธิโรตารีให้เพิ่มทวียิ่งขึ้น ให้เราสร้าง มูลนิธิของเราให้เป็นต้นแบบองค์กรการกุศลที่เราเลือก หากสามารถท�ำได้ เราก็จะท�ำให้ปีโรตารีปีนี้เป็นปีที่ดีที่สุด ในประวัติศาสตร์อันเหลือเชื่อของเรา ขอท่านโปรดร่วมมือ กับผม สร้างมรดกให้โรตารี ตามค�ำมั่นสัญญาของท่านด้วย เถิด!

รอน ดี. เบอร์ตัน ประธานทรัสตีมูลนิธิโรตารี ปี 2561-62


สารประธานทรัสตี

รอน ดี. เบอร์ตัน กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒

ทุกวินาทีของแต่ละวัน โรแทเรียนก�ำลังท�ำสิ่งดีๆ ในโลกโดยผ่านทางมูลนิธโิ รตารี พวกเขาก�ำลังวางแผนให้ทนุ สนับสนุน ด�ำเนินงานและสิ้นสุดโครงการ ในระดับท้องถิ่น และในระดับโลก นี่คือแหล่งของความภาคภูมิใจที่ยิ่งใหญ่ ของพวกเราทั้งหลาย ส�ำหรับตัวผมเอง นี่คือ หนึ่งในเอกสิทธิ์ส�ำคัญของ การเป็นสมาชิกโรตารี ท่านอาจเลือกเข้าไปมีส่วนร่วม สามารถร่วมงานโครงการตั้งแต่แรกเริ่มจนจบ หรือเข้าไป ร่วมในขั้นตอนช่วงใดช่วงหนึ่ง แต่ทั้งหมดนั้นจะเริ่มต้นจาก เงินทีท่ า่ นกับผมได้บริจาคให้แก่มลู นิธขิ องเราเพือ่ ใช้เป็นทุน สนับสนุนในโครงการต่างๆ ส�ำหรับพวกเราส่วนใหญ่แล้ว ทุนสนับสนุนของ ภาคเป็นวิธที สี่ ะดวกรวดเร็วทีส่ ดุ ส�ำหรับการร่วมกิจกรรมทุน สนับสนุนโครงการ ซึ่งปรกติจะเป็นโครงการระดับท้องถิ่น เสมอ ทุนสนับสนุนของภาคจึงเป็นวิถีทางที่ดีส�ำหรับการ ประชาสั ม พั น ธ์ กิ จ กรรมของโรตารี และเหมาะส� ำ หรั บ เชื้อเชิญผู้ที่สมควรเป็นสมาชิกมาร่วมกิจกรรม ตลอดจน บรรดาผูร้ บั ผลประโยชน์ทงั้ หลาย เป็นการเสริมสร้างคุณค่า ให้แก่ชุมชนของท่านเอง ส�ำหรับทุนสนับสนุนระดับโลกนั้น เป็นการมีส่วน ร่วมกันในโครงการระหว่างประเทศโดยจะต้องเป็นโครงการ

ผู้แปลสาร : อน.พิเชษฐ์ รุจิรัตน์ สร.ราชบุรี pr.pichet3330@gmail.com

04 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2562

ที่เกี่ยวกับหัวข้อเรื่องหลักข้อใดข้อหนึ่งหรือมากกว่าในหก เรือ่ งหลักทีโ่ รตารีมงุ่ เน้น และเมือ่ เริม่ พัฒนาโครงการ เราจะ ต้องประเมินความต้องการเพือ่ ทราบความต้องการทีแ่ ท้จริง ในชุมชน จัดหาทรัพยากรที่จ�ำเป็นและวิธีการที่จะได้มา ตลอดจนพิจารณาหาวิธีด�ำเนินการโดยให้โรแทเรียนมีส่วน ร่วมงานกับหุ้นส่วนและผู้ที่เกี่ยวข้องในภาคสนาม เราต้อง มัน่ ใจว่าโครงการต้องมีโรแทเรียนร่วมมือด้วย และเป็นผลดี ต่อผู้คนจ�ำนวนมากที่สุด เมื่องานสิ้นสุดแล้วก็ต้องมั่นใจว่า ผู้ที่อยู่ในชุมชนนั้นสามารถดูแลรักษาอุปกรณ์โครงการได้ เอง เพื่อผลดีของชุมชนต่อไปในระยะยาว เราทุกคนจะได้ สบายใจและรับรูด้ ว้ ยกันว่า เราได้ปฏิบตั ติ ามขัน้ ตอนด�ำเนิน การเหล่านั้นโดยสมบูรณ์ และด้วยเหตุทเี่ รามีระบบท�ำงานแบบโปร่งใสและ ก�ำหนดหน้าที่ผู้รับผิดชอบที่เหมาะสมเช่นนี้ จึงท�ำให้พวก เราทุกคนยอมสละเวลา ความสามารถและเงินทองของเรา สืบต่อไป ท่านคงเห็นแล้วว่านีค่ อื มูลนิธขิ องเรา ทีเ่ รามีความ ภาคภูมใิ จ และก�ำลังสร้างความแตกต่างในโลกของเราอย่าง แท้จริง รอน ดี. เบอร์ตัน ประธานทรัสตีมูลนิธิโรตารี ปี 2561-62


บทบรรณาธิการ อน.วาณิช โยธาวุธ สร.แม่สาย D.3360

โรทาแรคท์ภาค 3340 ผรภ.ศรันธ์ พุ่มจันทร์ (หมู) สโมสรโรทาแรคท์มหาวิทยาลัย ราชภัฏอุบลราชธานี

โรทาแรคท์ภาค 3330 ผรภ.กอบโชค เดชคง (หมาก) สโมสรโรทาแรคท์มหาวิทยาลัย แสตมฟอร์ด (หัวหิน)

มวลมิตรโรแทเรียนทุกท่านครับ นักวิชาการจากซีกโลกตะวันตก ได้แบ่งประชากรออกเป็นยุค ต่างๆ เพื่อท�ำความเข้าใจถึงสภาพสังคมในแต่ละยุคสมัย 1. Lost Generation (พ.ศ.2426-2443) ประชากรยุคแรก ที่เกิดในช่วงทศวรรษที่ 80 ปัจจุบันคนกลุ่มนี้เสียชีวิตไปหมดแล้ว 2. Greatest Generation G.I. Generation (พ.ศ.24442467) คือ ยุคก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ต้องต่อสู้ดิ้นรนกับความยาก ล�ำบาก เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ มีความอดทน รู้จักการใช้เงิน รู้จักประหยัด เพื่อสร้างเนื้อสร้างตัวหนีจากความล�ำบาก 3. Silent Generation (พ.ศ.2468-2488) มีจ�ำนวนน้อย เพราะเป็นช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 พอดี ผู้คนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ยาก ล�ำบาก 4. Baby Boomer หรือ Gen-B (พ.ศ.2489 – 2507) สิ้น สุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ประชากรล้มตายเป็นจ�ำนวนมาก จึงมีค่านิยม ที่จะต้องมีลูกหลายๆ คน เพื่อสร้างแรงงานขึ้นมาพัฒนาประเทศชาติ เป็นที่มาของ “เบบี้บูมเมอร์” ค่อนข้าง “อนุรักษ์นิยม” เคร่งครัดใน ขนบธรรมเนียมประเพณี และน่าจะมีจ�ำนวนมากที่สุดในสังคมปัจจุบัน 5. Generation X (พ.ศ.2508-2522) หรือ “ยับปี”้ (Yuppie) ย่อมาจาก Young Urban Professionals เป็นรุ่นที่มีการควบคุมอัตรา *QR Code ส�ำหรับรายละเอียดเพิ่มเติม เกี่ยวกับ Generation ต่างๆ*

โรทาแรคท์ภาค 3360 ผรภ.ปนัดดา ไชยศักดิ์ (โย) สโมสรโรทาแรคท์มหาวิทยาลัย เชียงใหม่

โรทาแรคท์ภาค 3350 ผรภ.ดาริน ขาวพรม (หนัน) สโมสรโรทาแรคท์สีลม เมโทร โปลิส

การเกิดของประชากรของ Gen B เกิดมาพร้อมในยุคทีโ่ ลกมัง่ คัง่ แล้ว จึง ใช้ชีวิตอย่างสุขสบาย เติบโตมากับการก้าวพัฒนาทางเทคโนโลยี 6. Generation Y หรือ ยุค Millennials (พ.ศ.2523–2540) เติบโตขึน้ มาท่ามกลางความเปลีย่ นแปลงและค่านิยมทีแ่ ตกต่างระหว่าง รุ่นปู่ย่าตายายกับรุ่นพ่อแม่ ท่ามกลางความผันผวนทั้งการเมือง การ ศึกษา เศรษฐกิจต่างๆ กลุ่ม Gen-Y จะเป็นคนมองโลกในแง่ดี มีใจช่วย เหลือสังคม รักษาสิง่ แวดล้อม มีความสัมพันธ์ทดี่ แี ละแน่นแฟ้นกับพ่อแม่ 7. Generation Z คนที่เกิดหลัง พ.ศ.2540 ขึ้นไป เด็ก ๆ กลุ่ม Gen-Z นี้ จะเติบโตมาพร้อมกับสิ่งอ�ำนวยความสะดวกมากมาย ได้เห็นภาพที่พ่อและแม่ต้องออกไปท�ำงานทั้งคู่ หลาย ๆ คนจึงได้รับ การเลี้ยงดูจากคนอื่นมากกว่าพ่อแม่ของตัวเอง *สแกน QR Code เพื่ออ่านรายละเอียดเพิ่มเติม* สมาชิ ก ในองค์ ก รโรตารี ข องเราก็ ป ระกอบไปด้ ว ยหลาย Generations ถ้าเราสามารถเข้าใจก็จะสามารถเชื่อมโยงสัมพันธ์ (Connect) ระหว่าง Generation เพื่อร่วมกันสร้างแรงบันดาลใจ (Inspire) ในการร่วมเป็นจิตอาสา ในการบ�ำเพ็ญประโยชน์ได้

ด้วยไมตรีจิตแห่งโรตารี อน.วาณิช โยธาวุธ


นิตยสารโรตารีประเทศไทย

(หน้ า ปก) สั ญ ญลั ก ษณ์ ข องการเฉลิ ม ฉลอง สโมสรโรทาแรคท์ ครบ 50 ปี (1986-2018) (หน้าสารบัญ) ค่ายเติมสีโรงเรียนสวย ครั้งที่ 11 ชมรมโรทาแรคท์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

06 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2562


นิตยสารรายสองเดือน ปีที่ 35 ฉบับที่ 180 มกราคม-กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒ January-February 2019

สารบัญ Contents สารประธานโรตารีสากล สารประธานทรัสตีฯ สารบัญ สนเทศโรตารี

1-2 3-4 6-7 8-9

สกู๊ปพิเศษ “เส้นทาง 50 ปี โรทาแรคท์” “งานเฉลิมฉลอง 50 ปี โรทาแรคท์ประเทศไทย”

10-14 15-16

กองบรรณาธิการ คณะกรรมการที่ปรึกษา ผวภ.พลโท คณิต แจ่มจันทรา (3330) ผวภ.สุรพล ทวีแสงสกุลไทย (3340) ผวภ.นครินทร์ รัตนกิจสุนทร (3350) ผวภ.รุ่งรานี แสงศิริ (3360) อผภ.นพ.พีระ ฟาร์มไพบูลย์ (3330) อผภ.อรอนงค์ ศิริพรมนัส (3340) อผภ.มารศี สกุลหลิว (3350) อผภ.นิธิ สูงสว่าง (3360) PRID.รศ.ดร.เสาวลักษณ์ รัตนวิชช์ (3350) อผภ.วิวัฒน์ ศิริจางคพัฒนา (3360) อผภ.นพ.พรชัย บุญแสง (3330) อผภ.นิเวศน์ คุณาวิศรุต (3340) คุณดนุชา ภูมิถาวร

บรรณาธิการบริหาร อน.วาณิช โยธาวุธ (3360) บรรณาธิการผู้ช่วย ภาค 3330 อผภ.จุฑาทิพย์ ธรรมศิริพงษ์ ภาค 3340 รทร.เดียร์ราห์ พิบูลย์วัฒนวงษ์ ภาค 3350 อน.ตรอง แสงสว่างวัฒนะ ภาค 3360 อน.นพ.ณัฏฐธนิน เศรษฐวนิชย์ บรรณาธิการผู้ช่วยบริหาร อน.จันทนี เทียนวิจิตร (3360) คอลัมนิสต์ อน.ดร.บุษบง จ�ำเริญดารารัศมี (3360) กรรมการที่ปรึกษาฝ่ายประชาสัมพันธ์ อผภ.อนุรักษ์ นภาวรรณ (3360)

สถานที่ติดต่อ ศูนย์โรตารีในประเทศไทย 75/82-83 อาคารโอเชี่ยนทาวเวอร์ 2 ชั้น 32 ซ.วัฒนา ถ.อโศก เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110 c/o Rotary Centre in Thailand 75/82-83, 32/Fl., Ocean Tower II, Soi Wattana, Asok Rd., Wattana, Bangkok 10110 Tel: 02-661-6720 Fax: 02-661-6719 Mobile: 085-822-4442 Email: magazine@rotarythailand.org , v.yotharvut@rotarythailand.org Website: www.rotarythailand.org


สนเทศโรตารี

อผภ.สุรศักดิ์ พฤกษิกานนท์ สร.เชียงใหม่

การสนเทศโรตารี (Rotary Information)

การสนเทศโรตารี หมายถึง การให้ความรู้เกี่ยวกับโรตารีให้สมาชิกทั้งสมาชิกปัจจุบัน และสมาชิกใหม่ เพื่อเป็นการทบทวนความรู้เกี่ยวกับโรตารีส�ำหรับสมาชิกปัจจุบันและถ่ายทอด ความรู้ให้สมาชิกใหม่ด้วยในระยะ เวลาสั้นๆ ประมาณ 5-10 นาที หัวข้อในการสนเทศโรตารีนั้น ยกตัวอย่างเช่น ค�ำขวัญ คติพจน์ของโรตารี ได้แก่ Service above self และ four ways test เป็นต้น เป็นการขยายความสั้นๆ ให้สมาชิกได้เข้าใจ ถึงหลักในการบ�ำเพ็ญประโยชน์ของเราที่ไม่หวังผลตอบแทน เป็นการยกระดับจิตใจของเราให้มี ความสุขจากการให้ และแบบทดสอบ 4 แนวทาง อันเป็นหลักในการบริหาร คือ เมื่อเราจะคิด จะท�ำ จะพูด เราต้องค�ำนึงว่า เป็นความจริงไหม มีความเที่ยงธรรมไหม มีไมตรีจิตไหม และดีต่อ ทุกฝ่ายไหม นอกจากนั้นแล้วเรายังสามารถให้ความรู้ต่างๆ ของโปรแกรมของโรตารี ทั้งทางด้าน เยาวชนและของโรแทเรียน เช่น อินเทอร์แรคท์ โรทาแรคท์ เยาวชนแลกเปลีย่ น (YE) ไรลา (RYLA) โครงการแลกเปลี่ยน มิตรภาพของโรตารี (RFE) กลุ่มบ�ำเพ็ญประโยชน์ชุมชนโรตารี (RCC) ความรู้พื้นฐานของการเป็นโรแทเรียนที่สมาชิกทุกคนควรทราบ เช่น โรตารีคืออะไร คือ เราเป็นการรวม ของผูน้ ำ � (join leader) ทีเ่ รามาแลกเปลีย่ นความคิดเห็น เพือ่ ร่วม กันท�ำโครงการบ�ำเพ็ญประโยชน์ (Exchange idea) เมื่อได้แผนปฏิบัติการแล้ว เราจึงลงมือท�ำ โครงการ (take action) วัตถุประสงค์ของโรตารี และประมวลจรรยาบรรณของโรแทเรียน สิ่งเหล่านี้จะเป็น ประโยชน์อย่างมาก ทีเ่ ราจะอธิบายให้บคุ คลภายนอกได้เข้าใจเราในฐานะโรแทเรียน และเข้าใจ องค์กรของเราคือโรตารี

จึงหวังทุกท่านคงเข้าใจว่า ท�ำไมเราจึงสนเทศโรตารีแก่สมาชิกในสโมสรของเรา

08 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2562


Article : บทความ อน.ดร.บุษบง จ�ำเริญดารารัศมี สร.พะเยา

แรงบันดาลใจ ในการประชุม Multidistrict PETS ที่หาดใหญ่ มีโอกาสได้ พูดคุยกับนายกรับเลือกหลายท่าน ท่านหนึ่งเล่าว่า เข้ามาเป็นสมาชิก สโมสรด้วยเหตุมลี กู เป็นเยาวชนแลกเปลีย่ น ในแต่ละปีพบว่าสมาชิกซึง่ มีน้อยอยู่แล้วค่อยๆ ลาออก จนนายกอยากจะยุบสโมสร และไม่มีใคร อยากเป็นนายกฯ คนต่อไป ท่านอาสาเป็นนายก หาสมาชิกเพิ่ม ในปี ถัดมาก็สามารถท�ำให้สโมสรด�ำเนินงานไปได้และเริ่มเข้มแข็ง เมื่อถาม ต่อว่าเอาแรงบันดาลใจมาจากไหน ท่านตอบว่า มันต้อง ฮึด สู้ อีกท่านเล่าว่าอยากจะพัฒนาชุมชนที่เป็นบ้านเกิด เสนอตัว มาเป็นนายกสโมสรและพร้อมจะบริจาคเงินปีละ 10,000 เหรียญ เพือ่ กิจกรรมบ�ำเพ็ญประโยชน์ในปีนี้เลย ปีหน้าก็จะบริจาคอีก 10,000 เหรียญและท�ำต่อไป จึงแนะน�ำว่า ให้ศึกษาวิธีการเขียนโครงการ เพื่อขอรับทุนสนับสนุนจากมูลนิธิโรตารีที่เรียกว่า กองทุนระดับโลก (global grant) น่าจะมีหนทางที่จะท�ำกิจกรรมในขนาดใหญ่ขึ้น ยาว ขึ้น และชัดเจนขึ้น การเขียนโครงการ Global Grant เป็นที่นิยมและอาจเรียก ว่าเป็นความใฝ่ฝันอย่างหนึ่งของโรแทเรียนในหลายสโมสร การเขียน โครงการแม้ไม่ยากแต่กไ็ ม่งา่ ย เพราะผูเ้ ขียนและสโมสรต้องตอบตัวเอง และเพือ่ นฝูงให้ได้กอ่ นว่า จะท�ำโครงการอะไรให้ชมุ ชน ชุมชนต้องการ สิง่ ทีเ่ ราอยากท�ำหรือไม่ โครงการนัน้ รูปร่างหน้าตาเป็นอย่างไร ท�ำแล้ว ได้ประโยชน์อย่างไร ประโยชน์ที่ว่าเขียนออกมาเป็นตัวเลขได้หรือไม่ เพื่อแสดงว่ามีประโยชน์ที่สามารถวัดได้ชัดเจน เมื่อท�ำเสร็จเรียบร้อย แล้วจะอยู่ยั่งยืนไหม เป็นต้น ฟังจบก็จะเกิดความยากขึ้นมาในทันที เพราะตอบไม่ได้ชัดเจนสักข้อเดียว ทราบแต่ว่า มีเงินและอยากท�ำ ประโยชน์ ทางเลือกที่พึงพิจารณา หากน�ำเงินนั้นมาบริจาคให้มูลนิธิ โรตารี เงินจ�ำนวน 10,000 เหรียญ จะเข้าสู่ระบบ Share เพื่อมูลนิธิฯ น�ำเงินไปสร้างผลประโยชน์ ส่วนหนึ่งของผลประโยชน์น�ำมาบริหาร องค์กร ในปีที่สาม เงินจ�ำนวน 5,000 เหรียญจะส่งกลับมาที่ภาค ซึ่ง โรแทเรียนท่านนั้นสังกัดในรูปของ DDF และอีก 5,000 เหรียญจะน�ำ เข้า World Fund ซึ่งจะใช้สมทบเพื่อท�ำโครงการต่อไป ในระหว่างที่รอ DDF กลับมา โรแทเรียนอาจใช้เวลาที่รอ

“ฮึด สู้”

นั้นศึกษารายละเอียดเรื่องกองทุนต่าง ๆ การขอรับการสนับสนุน การ วางแผนการท�ำโครงการ ความเป็นไปได้ในการท�ำ และส�ำรวจความ ต้องการของชุมชน เช่น อยากซื้อเครื่องมือแพทย์ให้โรงพยาบาล ก็ ต้องไปส�ำรวจว่าโรงพยาบาลต้องการเครื่องมืออะไร หากได้รับไปแล้ว โรงพยาบาลจะใช้ประโยชน์เต็มที่จากเครื่องมือนั้นไหม มีทีมแพทย์ที่ สามารถใช้เครือ่ งมือนัน้ ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่ หรือต้องเรียน รู้เพิ่มเติมอย่างไร และได้ประโยชน์แก่ผู้ป่วยจ�ำนวนกี่ราย เมื่อมีข้อมูลครบถ้วน จึงเริ่มเขียนขอรับทุนสนับสนุนตามที่ ตั้งใจไว้ แต่เนื่องจาก Global Grant ออกแบบไว้เพื่อให้มีการท�ำงาน ร่วมกันในหลายประเทศ จึงจ�ำเป็นต้องให้สโมสรต่างประเทศมีส่วน ร่วมในการบริจาคอย่างน้อยร้อยละสามสิบ และต้องมี DDF อย่างต�่ำ 15,000 เหรียญ มูลนิธจิ งึ จะสมทบให้อกี หนึง่ เท่าตัว เป็นผลให้โครงการ มีเงินทุนรวมอย่างต�่ำ 30,000 เหรียญ ค�ำถามต่อไปคือ DDF 15,000 เหรียญมาจากไหน 5,000 เหรียญมาจากการบริจาคเมื่อสามปีที่แล้ว ต้องขอสมทบจากมิตรต่าง ประเทศอีกอย่างน้อย 9,000 เหรียญ รวมเป็น 14,000 เหรียญ ขาดไป 1,000 เหรียญ จะท�ำอย่างไร มีโรแทเรียนในสโมสรบริจาคเป็นเงินสด รวมกันแล้วได้ 2,000 เหรียญ (มูลนิธจิ ะสมทบการบริจาคทีเ่ ป็นเงินสด เพียงร้อยละ 50 และมีค่าธรรมเนียมร้อยละ 5 ของเงินบริจาค) น�ำมา ค�ำนวณรวมกัน พบว่า มี DDF ของตนเอง 5,000 ของต่างประเทศ 9,000 เหรียญ มีเงินสดอีก 2,000 และเสียค่าธรรมเนียม 100 เหรียญ เมื่อขอรับการสนับสนุนมูลนิธิฯ จะสมทบ 15,000 เหรียญ รวมแล้วได้ เงิน 3,1000 เหรียญพร้อมที่จะท�ำโครงการ ปัจจัยที่จ�ำเป็นคือต้องมีผู้บริจาค ต้องเข้าใจระบบ Share ของมูลนิธิโรตารี ต้องทราบว่าจะท�ำอะไร ให้ใคร ตรงความต้องการ ของผู้รับหรือไม่ ท�ำแล้วเกิดประโยชน์อย่างไร วัดได้หรือไม่ ยั่งยืนหรือ ไม่ ได้เงินแล้วท�ำให้ส�ำเร็จ รายงานให้เรียบร้อย ทั้งผลงานและการใช้ เงินที่โปร่งใส ในแง่ความรูส้ กึ คือต้องอดทนรอและท�ำทุกสิง่ ตามกติกา ท�ำ สิ่งใหม่ๆ จะยาก อะไรๆ ก็ดูยากไปหมด แต่หากต้องการแรงบันดาล ใจคือต้อง ฮึด สู้ โครงการต่อไปก็จะง่ายและท�ำได้เรื่อยๆ


Special Scoop เส้นทาง 50 ปี โรทาแรคท์

อน.จันทนี เทียนวิจิตร สร.ล้านนาเชียงใหม่

สโมสรโรทาแรคท์ : 50 ปีแห่งการเปลี่ยนแปลง

แปลโดย อน.ศรีฟ้า ศิริอุดมเศรษฐ สร.กรุงเทพรัชดาภิเษก 50 ปีที่แล้วสโมสรโรทาแรคท์แห่งแรกได้ก่อตั้งขึ้นเพื่อให้เยาวชนได้มี ช่องทางติดต่อและท�ำสิ่งดีๆ สมาชิกของโรทาแรคท์ในแต่ละทศวรรษได้ ร่วมกันแบ่งปันให้เห็นว่าโปรแกรมนี้เป็นอย่างไร และมีอิทธิพลต่อชีวิต ของพวกเขาอย่างไร โดย Arnold R. Grahl

ปี 1968

เป็นช่วงที่ก�ำแพงเบอร์ลินแบ่งแยกเป็นเบอร์ลินตะวันออกและตะวันตก เพราะสงครามเย็นที่ลุกลามอย่างรุนแรง ทั้งสหรัฐอเมริกาและสหภาพ โซเวียตต่างก็เก็บตัวอยู่กับการช่วงชิงอวกาศ และยานอพอลโล 8 ได้ กลายเป็นยานอวกาศล�ำแรกที่ควบคุมการขับด้วยมนุษย์ไปโคจรรอบ ดวงจันทร์และสามารถส่งภาพถ่ายของโลกจากห้วงอวกาศ ในทศวรรษนี้สมาชิกสโมสรโรตารีในรัฐนอร์ธแคโรไลน่า ประเทศ สหรัฐอเมริกาได้กอ่ ตัง้ สโมสรโรทาแรคท์แห่งแรกขึน้ เพือ่ ให้โอกาสแก่เยาวชน ในการท�ำกิจกรรมการบริการ และเมือ่ เวลาผ่านไปครึง่ ศตวรรษนับตัง้ แต่กอ่ ตั้งสโมสรโรทาแรคท์รุ่นแรกๆ ได้สร้างแรงดลใจให้ผู้น�ำเยาวชนเคลื่อนไหว เพื่ อ พั ฒ นาชุ ม ชนของพวกเขา โลกได้ เ ปลี่ ย นแปลงเนื่ อ งจากสมาชิ ก โรทาแรคท์มีโอกาสได้ติดต่อเชื่อมซึ่งกันและกัน แต่คุณค่าของโปรแกรมนี้ และสิ่งที่น่าประทับใจยังคงอยู่อย่างเห็นได้ชัด เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองครบรอบรอบ 50 ปีของสโมสรโรทาแรคท์ เรา จึงขอให้อดีตโรทาแรคเทอร์และผูท้ เี่ กีย่ วข้องในแต่ละช่วงเวลา ได้มาแบ่งปัน ประสบการณ์ของโปรแกรมและเล่าให้ฟังว่าโรทาแรคท์ได้เปลี่ยนชีวิตของ พวกเขาอย่างไร นี่คือเรื่องราวของพวกเขา

ทศวรรษปี 1960

กีธา จายาแรม (Geetha Jayaram) นักเรียนเตรียมแพทย์ ในกรุง บังกาลอร์ ประเทศอินเดีย เป็นเลขานุการก่อตั้งของสโมสรโรทาแรคท์ ยุคต้นในปี 1968 บิดาของเธอเป็นนักธุรกิจผู้มีอิทธิพลในเมือง เขาและเพื่อนๆ เชื่อ

10 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2562

เมื่อ 50 ปีที่แล้วนักศึกษาในระดับอุดมศึกษาได้รวมตัวกันเพื่อจัด ท�ำกิจกรรมบ�ำเพ็ญประโยชน์ ต่อมาได้รับการสนับสนุนจากสโมสรโรตารีให้ ก่อตั้งเป็นสโมสรโรทาแรคท์ มีรูปแบบและด�ำเนินกิจกรรมต่างๆ เช่นเดียว กับสโมสรโรตารี ในโอกาสครบรอบ 50 ปีของการก่อตั้งสโมสรโรทาแรคท์ใน ประเทศไทย กองบรรณาธิการนิตยสารโรตารีประเทศไทยจึงได้ติดตามเส้น ทางของการก่อตั้งสโมสรโรทาแรคท์ในประเทศไทย พร้อมทั้งพูดคุยกับอดีต โรทาแรคท์ถึงกิจกรรมที่พวกเขาได้ท�ำและความรู้สึกที่ครั้งหนึ่งได้เข้ามาเป็น โรทาแรคท์ ในปี 2511 ได้มีการก่อตั้งสโมสรโรทาแรคท์วิทยาลัยครูนครสวรรค์ เป็ น สโมสรโรทาแรคท์ ส โมสรแรกในประเทศไทย โดยมี ส โมสรโรตารี นครสวรรค์เป็นผู้ก่อตั้ง แต่ก็น่าเสียดายที่ก่อตั้งมาได้เพียงปีเดียวก็หยุดไป ต่อมาในปี 2512 ได้มีการก่อตั้งสโมสรโรทาแรคท์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ขึ้น ซึ่งสโมสรโรทาแรคท์แห่งนี้ได้ด�ำเนินกิจกรรมมาอย่างต่อเนื่องจนถึง ปัจจุบัน


คุณสุพัฒน์ ธนะพิงค์พงษ์ ประธานหอการค้าจังหวัดฉะเชิงเทรา คุณสุพัฒน์ เป็นสมาชิกก่อตั้งสโมสร โรทาแรคท์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า เมื่อต้นปี 2512 คณะนักศึกษามหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ได้ไปจัดท�ำค่ายอาสาพัฒนาที่ อ.ไพศาลี จ.นครสวรรค์ ทราบข่ า วเกี่ ย วกั บ การจัดตั้งสโมสรโรทาแรคท์ที่นครสวรรค์ ซึ่ง เป็นสโมสรอินเตอร์ คือเชื่อมโยงกับโรตารีและ โรทาแรคท์กับประเทศอื่นๆ ด้วย เมื่อกลับมาที่มหาวิทยาลัยจึงได้เชิญ โรแทเรียนที่เป็นผู้ก่อตั้งสโมสรโรทาแรคท์วิทยาลัยครูนครสวรรค์ มาให้ ความรู้เกี่ยวกับสโมสรโรทาแรคท์ และอีกสองเดือนต่อมาคณะนักศึกษาได้ เชิญผู้ว่าการภาค 330 โรตารีสากลขณะนั้นคือ ผู้ว่าการภาคพิชัย รัตตกุล มาบรรยายและให้ค�ำแนะน�ำในการก่อตั้งสโมสรโรทาแรคท์ ซึ่งท่านได้พูด สร้างแรงบันดาลใจให้กับนักศึกษาที่เข้ารับฟังเป็นอย่างมาก จึงอยากจะ ตั้งสโมสรโรทาแรคท์ขึ้น ท่านพิชัยจึงได้แจ้งให้สโมสรที่ท่านสังกัดขณะนั้น คือ สโมสรโรตารีธนบุรี เป็นสโมสรสปอนเซอร์ด�ำเนินก่อตั้งสโมสรโรตารี แรคท์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ขึ้นเมื่อเดือนกรกฎาคม 2512 ต่อมาได้ ฉลองสารตราตั้งของสโมสรฯ เมื่อเดือนมกราคม 2513 ในปีบริหาร 2513-2514 คุณสุพัฒน์ ได้ด�ำรงต�ำแหน่งนายก สโมสรโรทาแรคท์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กิจกรรมแรกที่ท�ำคือ Book Bank รับบริจาคหนังสือใหม่และเก่า เพื่อน�ำไปมอบให้กับโรงเรียนใน ชนบท กิจกรรมต่อมาคือ แนะแนวการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาให้กับ นักเรียนชั้นมัธยมปลายทั่วประเทศเนื่องจากสมัยนั้นยังไม่มีแนะแนวการ ศึกษาเหมือนเช่นปัจจุบัน เมื่อต้นปี 2514 สโมสรโรตารีธนบุรีได้ให้ทุนแก่ สมาชิกโรทาแรคท์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จ�ำนวน 10 ทุน ไปศึกษาดู งานที่ประเทศมาเลเซีย โดยนั่งรถไฟไปลงที่บัตเตอร์เวิร์ด มีสมาชิกสโมสร โรตารีบัตเตอร์เวิร์ดมาต้อนรับอย่างอบอุ่น พาไปร่วมประชุมประจ�ำสัปดาห์ ของสโมสร ครั้ ง นั้ น เป็ น ครั้ ง แรกที่ คุ ณ สุ พั ฒ น์ ไ ด้ รั บ เชิ ญ ให้ ขึ้ น ไปกล่ า ว

สุนทรพจน์เป็นภาษาอังกฤษโดยที่ไม่รู้ตัวมาก่อน เพราะเดิมคิดว่าอาจารย์ จะเป็นผู้ขึ้นไปพูด จากเหตุการณ์ครั้งนั้นเป็นจุดเปลี่ยนที่ท�ำให้คุณสุพัฒน์ ตั้งปณิธานในการศึกษาภาษาอังกฤษให้แตกฉาน จนสามารถขึ้นกล่าว สุนทรพจน์เป็นภาษาอังกฤษได้ การดูงานที่ประเทศมาเลเซียครั้งนั้น ได้เดิน ทางไปดูการท�ำกิจกรรมบ�ำเพ็ญประโยชน์ของสโมสรโรตารีกัวลาลัมเปอร์ และปี นั ง นั บ เป็ น การเรี ย นรู ้ ใ นระดั บ สากลครั้ ง แรกของการเป็ น โรทาแรคเทอร์ การเป็นโรทาแรคเทอร์ ท�ำให้ได้เรียนรู้ระบบการท�ำงานของ โรตารี เพราะสโมสรโรทาแรคท์มีโครงสร้างและการท�ำงานเหมือนกับ โรตารีทุกอย่าง ได้รับประสบการณ์อย่างมากมายจากโรตารี ได้รับเชิญให้ เข้าร่วมประชุมประจ�ำสัปดาห์กับสโมสรโรตารีธนบุรีทุกวันพุธ ได้รู้จักผู้ใหญ่ ในสโมสรโรตารี อาทิเช่น คุณประสิทธิ์ ลุลิตานนท์ คุณปรีชา อมาตยกุล พระยามไหสวรรย์ ได้เรียนรู้แนวคิดการท�ำงานและการบริหารจากหลายๆ ท่าน ท�ำให้น�ำมาพัฒนาตนเองในการประกอบอาชีพเมื่อเรียนจบแล้ว ในปี 2520 คุณสุพัฒน์ได้ไปเป็นอาจารย์สอนที่มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ ได้จัดโครงการฝึกพูดในที่สาธารณะที่หาดใหญ่ ได้เชิญท่าน พิชัย รัตตกุลไปพูดเรื่องของโรตารี ซึ่งท่านพิชัยได้พูดสร้างแรงบันดาลใจจน มีการก่อตั้งสโมสรโรตารีหาดใหญ่ขึ้นในปี 2521 ผวน.เฉลิมฉัตร จันทร์อินทร์ สโมสรโรตารีกาญจนบุรี ภาค 3330 ผวน.เฉลิ ม ฉั ต ร เป็ น สมาชิ ก สโมสร โรทาแรคท์คณะเกษตรศาสตร์บางพระ ปัจจุบัน คือสถาบันเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก เมื่อ ปี พ.ศ.2529-2530 โดยมีสโมสรโรตารีศรีราชา ภาค 335 ในสมัยนั้นเป็นสโมสรโรตารีอุปถัมภ์ ในขณะทีเ่ ป็นสมาชิกของสโมสรโรทาแรคท์คณะ เกษตรศาสตร์บางพระ ได้รับหน้าที่ประธานจัด งานฉลองครบรอบ 15 ปีของสโมสรโรทาแรคท์ คณะเกษตรศาสตร์บาง พระ และมีโอกาสได้เป็นเจ้าภาพจัดงานใหญ่คือ Rotaract Multi District


Special Scoop เส้นทาง 50 ปี โรทาแรคท์

ว่า โปรแกรมนี้เป็นโปรแกรมที่ดีเหมาะกับนักศึกษาในระดับอุดมศึกษา เขาจึงสนับสนุนให้นักศึกษารวมตัวกันเพื่อท�ำกิจกรรมร่วมกัน และหนึ่งปี ต่อมาสโมสรโรทาแรคท์ก็ถูกจัดตั้งขึ้นที่ประเทศอินเดีย ท�ำให้การประชุม ใหญ่ภาคปี 1969 ดึงดูดคนมาร่วมงานได้หลายพันคน โปรแกรมของสโมสร โรทาแรคท์เดินหน้าอย่างรวดเร็ว จายาแรมกล่าวว่า โรทาแรคท์ได้รับ ประโยชน์จากชื่อเสียงของโรตารีในฐานะองค์กรที่ได้รับความนับถือใน อินเดีย ผู้คนรู้สึกภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของโรทาแรคท์ การมีส่วนร่วมใน โรตารีเป็นกิจกรรมของครอบครัว ดังนั้นคนหนุ่มสาวจ�ำนวนมากจึงเติบโต ขึ้นมาพร้อมกับประสบการณ์ของโรตารี

ทศวรรษปี 1970

ในทศวรรษนี้ ได้มกี ารส่งยานลูนา่ ร์ขนึ้ ส�ำรวจพืน้ ผิวของดวงจันทร์ สถานี อวกาศสกายแล็บเริม่ โคจรรอบโลก สงครามเวียดนามสิน้ สุดลง ในซูดาน และซาอีร์เกิดโรคระบาดไวรัสอีโบลาครั้งแรก บนหน้าปกหนังสือบันเทิง กล่าวถึงภาพยนตร์รอบปฐมทัศน์ของสตาร์วอร์ส เครื่องบันทึกวิดีโอ เทปตัวแรกเข้าสู่ตลาด และโซนี่แนะน�ำเครื่องวอร์คแมน เพลงดิสโก้ กลายเป็นที่นิยม จอห์น สเกอริทท์ (John Skerritt) ได้ช่วยก่อตั้งสโมสรโรทาแรคท์ คาร์ลิงฟอร์ดในรัฐนิวเซาท์เวลส์ ประเทศออสเตรเลียในปี 1978 หลังจาก อ่านโฆษณาในหนังสือพิมพ์ที่ลงประกาศโดยโรแทเรียนท้องถิ่นที่ต้องการ ก่อตั้งสโมสรโรทาแรคท์ สโมสรใหม่ดึงคนรุ่นใหม่จากหลากหลายภูมิหลัง มาร่วมเป็นสมาชิก สเกอริทท์เล่าว่าในยุคนัน้ ออสเตรเลียมีวยั รุน่ จ�ำนวนมาก ออกจากโรงเรียนมัธยมก่อนเวลาเพือ่ ไปท�ำงานในธุรกิจการค้า และมีนอ้ ยคน ที่น้อยกว่าวันนี้เข้าเรียนต่อในวิทยาลัย และด้วยเหตุผลทางเศรษฐกิจหลาย คนมักจะอยูก่ บั พ่อแม่จนกว่าพวกเขาจะแต่งงานหรือสร้างอาชีพให้ตวั เองได้ เมื่อจัดตั้งสโมสรโรทาแรคท์กันแล้วสมาชิกได้ท�ำกิจกรรมร่วมกัน เพื่อหาทุนและจัดท�ำโครงการบริการ เช่น สโมสรโรทาแรคท์อิปสวิช รัฐ ควีนส์แลนด์ จัดงานล้างรถเพื่อระดมทุนของสโมสร สิ่งที่พวกเขาตื่นเต้น อีกประการหนึ่งคือการได้พบปะผู้คนนอกวงสังคมของเมืองหรือโรงเรียน มัธยม มีหนุ่มสาวหลายคู่ที่พบกันและเข้าสู่ประตูวิวาห์จากการมาได้พบปะ กันในโอกาสนี้ เขากล่าวว่าในบางเรือ่ งหนุม่ สาวก็มอี สิ ระทีจ่ ะท�ำอะไรมากขึน้ มีการเชิญวิทยากรมาพูดให้ฟงั ในเรือ่ งทีน่ า่ สนใจทีท่ ำ� ให้ผฟู้ งั ได้รบั ฟังประสบ การณ์ใหม่ๆ อาทิเช่น เชิญวิทยากรมาจากองค์กรการกุศลที่ดูแลคนเร่ร่อน จัดเล่นเกมส์ที่เด็กๆ ชื่นชอบเพื่อระดมทุน ซึ่งสโมสรของเขาได้ช่วยเหลือ คนในชุมชนที่เป็นโรคลมชัก เป็นต้น

ทศวรรษปี 1980

ในทศวรรษนี้ เท็ด เทอร์เนอร์ ประกาศตั้งส�ำนักข่าวซีเอ็นเอ็น ไอบีเอ็ม เริม่ ปล่อยตัวคอมพิวเตอร์สว่ นบุคคล นายกรัฐมนตรีอนิ เดียอินทิราคานธี ถูกสังหารโดยผูค้ มุ้ กันสองคนของเธอ มิคาเอล กอร์บาชอฟ ขึน้ เป็นผูน้ ำ� ของสหภาพโซเวียต และนโยบายของกลานอสต์ (glasnost) และเปเรสต รอยคา(perestroika) เปลีย่ นแปลงการเมืองโลก เกิดอุบตั เิ หตุนวิ เคลียร์ ที่เชอร์โนบิล ก�ำแพงเบอร์ลินล่มสลายในปี 1989 ตู้เกมส์แน่นไปด้วยคน เล่นแพคแมน ขณะที่ในบางพื้นที่คนจับกลุ่มเล่นลูกรูบิก นาฟีซา อมิรัดดีน (Nafeesa Amiruddeen) นายกสโมสร โรทาแรคท์ ปี 1983 นาฟีซา อมิรดั ดีน และสามีของเธอได้เข้าร่วมกับสโมสร โรทาแรคท์โดยการเชิญของหนุ่มสาวคู่หนึ่งที่พวกเขารู้จัก ในยุคนั้นการดู โทรทัศน์ในศรีลังกายังไม่แพร่หลายเหมือนปัจจุบัน หนุ่มสาวจึงมาสมัคร เป็นสมาชิกโรทาแรคท์เพื่อจะได้มีโอกาสพบปะพูดคุยกัน แม้ว่าช่วงนั้นจะ

12 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2562

Conference ทีค่ ณะเกษตรศาสตร์บางพระ โดยมีโรแทเรียนให้การสนับสนุนและให้ ค�ำแนะน�ำ ในงานนี้ ผวน.เฉลิมฉัตรรับหน้าที่เป็นประธานอ�ำนวยการจัดงาน ท�ำให้ ได้มีโอกาสฝึกการท�ำงานที่เป็นระบบตามโครงสร้างขององค์กรโรตารี ช่วงสองปี ที่เข้าไปเรียนที่คณะเกษตรศาสตร์บางพระ และเป็นโรทาแรคเทอร์ได้ท�ำกิจกรรม หลายอย่าง เช่น จัดท�ำสติ๊กเกอร์สะท้อนแสงเพื่อรณรงค์ความปลอดภัยบนท้อง ถนนในอ�ำเภอศรีราชา การติดป้ายชื่อวิทยาศาสตร์ และชื่อสามัญของต้นไม้ใน คณะเกษตรศาสตร์บางพระ น�ำสิง่ ของไปมอบให้ผสู้ งู อายุทบี่ า้ นพักคนชราบางละมุง จนกระทั่งเมื่อจบการศึกษาก็สามารถผ่านการสอบคัดเลือก ได้ทุนเดินทางไป ฝึกงานด้านเกษตรกรรมที่ประเทศอิสราเอล หลังจากเดินทางกลับมาประเทศไทย ก็ได้เริ่มต้นท�ำงานและเจริญเติบโต ต่อเนื่องทั้งด้านธุรกิจและด้านสังคมที่จังหวัด กาญจนบุรี (เดิมเป็นคนจังหวัดชลบุรี) เมื่อมีโอกาสได้เข้ามาเป็นสมาชิกสโมสร โรตารีกาญจนบุรี ในปีบริหาร 2541-2542 จึงได้มีโอกาสปฏิบัติหน้าที่ทั้งในระดับ สโมสร ระดับภาค และระดับสากล โดยรับต�ำแหน่งนายกสโมสรโรตารีกาญจนบุรี ในปีบริหาร 2544-2545 ประธานมูลนิธิโรตารีภาค 3330 ระยะเวลา 3 ปี ด้วย ความที่เป็นโรทาแรคเทอร์มาก่อน ท�ำให้เปิดใจในการเรียนรู้ต่อยอดได้ถึงในระดับ สากล โดยมีโอกาสท�ำหน้าที่ส�ำคัญกับมูลนิธิโรตารี โรตารีสากล ในต�ำแหน่ง The Rotary Foundation Cadre Technical Advisers ท�ำหน้าที่ตรวจเยี่ยมและให้ค�ำ แนะน�ำโครงการบ�ำเพ็ญประโยชน์ในประเทศต่าง ๆ ที่ใช้เงินของมูลนิธิโรตารี โดย เดินทางไปท�ำหน้าที่นี้มานานกว่าสิบปีแล้ว รวมถึงในปีบริหาร 2546-2547 ได้รับ เชิญให้ไปร่วมสัมมนาแลกเปลีย่ นเรียนรูเ้ กีย่ วกับการรักษาสมาชิกภาพ ของโครงการ น�ำร่องในการรักษาสมาชิกภาพของโรตารีสากล ที่ส�ำนักงานโรตารีสากล ณ เมือง ชิคาโก ประเทศสหรัฐอเมริกา ความภาคภูมิใจที่ได้เป็นโรทาแรคเทอร์คือ ได้รับโอกาสในการฝึกเป็น ผู้น�ำตั้งแต่เมื่อครั้งยังศึกษาอยู่ในระดับอุดมศึกษา ท�ำให้สามารถน�ำประสบการณ์ มาพัฒนาตนทั้งทางการประกอบอาชีพ และการท�ำหน้าที่ทางสังคมได้เป็นอย่างดี การได้เข้าประชุมกับสโมสรโรตารีเมื่อครั้งเป็นโรทาแรคเทอร์ในทุกๆ สัปดาห์ท�ำให้ ได้เรียนรู้และพัฒนาตนเอง น�ำมาต่อยอดในการท�ำงานและท�ำธุรกิจจนถึงทุกวันนี้ นอกจากนี้ปัจจุบัน ผวน.เฉลิมฉัตร ยังได้ด�ำรงต�ำแหน่งประธานสภาอุตสาหกรรม จังหวัดกาญจนบุรี และเตรียมตัวเข้ารับหน้าที่เป็นผู้ว่าการภาค 3330 ในปี 25632564


ผชภ.นภัสร์กมล พรหโมปกรณ์ ประธานโครงการเยาวชนแลกเปลี่ยน ภาค 3350 ผภช.นภัสร์กมล เป็นสมาชิกสโมสร โรทาแรคท์ จุ ฬ าลงกรณ์ ม หาวิ ท ยาลั ย เมื่ อ ปี 2529 ซึ่งเป็นปีที่สองของการก่อตั้งสโมสร โรทาแรคท์ของจุฬาลงกรณ์ ได้เข้าร่วมกิจกรรม ต่างๆ ของสโมสรโรทาแรคท์อย่างหลากหลาย “ตอนเป็นโรทาแรคเทอร์สนุกมาก ได้ท�ำอะไร ที่มากกว่าปกติ ได้รู้จักคนหลากหลาย ได้รู้จักผู้ใหญ่ในโรตารี ความรู้สึก ตอนนั้นรู้สึกว่าคุณลุงคุณอาใจดีจังเลย” ผชภ. นภัสร์กมล กล่าวว่า เสน่ห์ ของการเป็นโรทาแรคเทอร์คือมิตรภาพกับเพื่อนโรทาแรคเทอร์ด้วยกันทั้ง สถาบันเดียวกันและต่างสถาบัน เมื่อเรียนจบมาแล้วยังติดต่อและนัดรวม ตัวกันอย่างสม�่ำเสมอ สิ่งที่ได้จากการเป็นโรทาแรคเทอร์คือได้เพื่อน ได้มิตรภาพ ได้ท�ำ กิจกรรมบ�ำเพ็ญประโยชน์ด้วยการสนับสนุนจากโรแทเรียน ได้ไปดูงานการ ประกอบอาชีพที่การบินไทย ได้เรียนรู้การท�ำงานอย่างเป็นระบบและการ ท�ำงานเป็นทีม เพราะการด�ำเนินกิจกรรมของโรทาแรคท์จะเหมือนโรตารี ทุกอย่าง เมื่อเข้ามาเป็นสมาชิกสโมสรโรตารีแล้วดีใจที่ได้รับผิดชอบงาน ด้านเยาวชน ดูแลน้องๆ และก่อตั้งสโมสรโรทาแรคท์ เมื่อปี 2555 ได้เป็น เจ้าภาพจัดงาน Rotaract Convention 2012 เมื่อครั้งที่ประเทศไทยเป็น เจ้าภาพจัดงาน Rotary International Convention

รทร.อภิชญา เกียรติรุ่งวิไลกุล สโมสรโรตารีนครพิงค์เชียงใหม่ ภาค 3360 รทร. อภิชญา เป็นนายกก่อตั้งสโมสร โรทาแรคท์นครพิงค์เชียงใหม่ ซึ่งเป็นสโมสร โรทาแรคท์ของคนหนุ่มสาวอายุระหว่าง 18-30 ปีที่พ�ำนักอาศัยในจังหวัดเชียงใหม่ เป็นสโมสร โรทาแรคท์ของชุมชน (Community Base) ที่มาของการก่อตั้งสโมสรโรทาแรคท์นครพิงค์ เชียงใหม่ คือขณะที่ รทร.อภิชญาเรียนอยู่ชั้นปี ที่ 3 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้รับการชักชวน จากโรแทเรียนสโมสรเชียงใหม่ใต้ ให้ร่วมกับกลุ่มเพื่อนๆ ในมหาวิทยาลัย เชี ย งใหม่ และต่ า งสถาบั น ที่ พ� ำ นั ก อยู ่ ใ นจั ง หวั ด เชี ย งใหม่ จั ด ตั้ ง สโมสร โรทาแรคท์ จึงได้เชิญเพื่อนๆ มาประชุมและเชิญโรแทเรียนมาให้ความ รู ้ เ กี่ ย วกั บ การจั ด ตั้ ง สโมสรโรทาแรคท์ จนได้ ก ่ อ ตั้ ง สโมสรโรทาแรคท์ นครพิงค์เชียงใหม่ สมาชิกครึ่งหนึ่งเป็นลูกหลานของโรแทเรียนรวมไปถึง YE Rebound และ YE Inbound ที่สนใจมาเป็นโรทาแรคท์ ซึ่งขณะนั้น จัดให้มีการประชุมทุกวันเสาร์เวลาหกโมงเย็น หลังจากประชุมเสร็จสมาชิก โรทาแรคท์ได้จัดสอนภาษาไทยให้แก่ YE Inbound ส�ำหรับกิจกรรมได้ ร่วมท�ำโครงการบ�ำเพ็ญประโยชน์ กับสโมสรโรตารีเชียงใหม่ใต้และสโมสร โรตารีนครพิงค์เชียงใหม่ อาทิ โครงการจัดแว่นสายตาให้แก่ผู้สูงอายุ ส่วน กิจกรรมของสโมสรโรทาแรคท์คือ โครงการอ่านหนังสืออัดเสียงใส่แผ่นซีดี ส่งไปให้คนตาบอด (Reading for Blind) โดยที่สมาชิกในสโมสรหมุนเวียน เปลี่ยนกันมาอ่านหนังสืออัดเสียงซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นนิทานที่มีแง่คิดและ สร้างพลังบวก สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการเป็นโรทาแรคเทอร์คือ การได้เปิดโลกทัศน์ ในขณะที่ยังเรียนหนังสือ ได้ฝึกทักษะการเป็นผู้น�ำ การบริหารงานภายใน สโมสร การพูดในที่สาธารณะ การท�ำกิจกรรบ�ำเพ็ญประโยชน์ และเหนือสิ่ง อืน่ ใดคือได้มติ รภาพจากโรทาแรคเทอร์ทงั้ ในและต่างประเทศ รทร. อภิชญา กล่าวว่า เมื่อครั้งเดินทางไปฝึกงานที่ประเทศญี่ปุ่นได้เข้าไปทักทายและแจ้ง


Special Scoop เส้นทาง 50 ปี โรทาแรคท์

มีปัญหาสงครามกลางเมืองในศรีลังกาแต่สมาชิกโรทาแรคท์จากศรีลังกา และอินเดียตอนใต้สามารถเดินทางไปมาระหว่างประเทศเพื่อเข้าร่วมการ ประชุมระดับภูมิภาคและเข้าอบรม สิ่งนี้ส่งเสริมความเข้าใจข้ามวัฒนธรรม สมาชิกโรทาแรคท์สามารถมาชุมนุมและช่วยเหลือกันแม้วา่ สมาชิกของโรทา แรคท์จำ� นวนมากได้รบั ผลกระทบจากความขัดแย้ง แต่พวกเขาก็สนิทกันมาก แม้วา่ แต่ละคนจะมาจากกลุม่ ชนกลุม่ น้อยทีแ่ ตกต่างกัน พวกเขาได้ชว่ ยเหลือ ซึ่งกันและกัน ช่วยเหลือชุมชน โดยจัดเป็นกลุ่มๆ ออกไปและน�ำอาหารไป ให้ครอบครัวที่ไม่สามารถออกจากบ้านของพวกเขาได้ ในประเทศอังกฤษ ต้นทศวรรษปี 1980 ริชาร์ด แบล็กแมน ได้เห็นการรวมพลังของสมาชิกสโมสรโรทาแรคท์โดเวอร์ ประเทศอังกฤษ เขาเล่าถึงการช่วยเหลือกลุ่มโรทาแรคเตอร์จากประเทศเนเธอร์แลนด์ ข้ามช่องแคบอังกฤษในยานพาหนะสะเทินน�้ำสะเทินบกที่ไม่เหมือนใคร เหตุการณ์ครัง้ นัน้ เป็นการระดมทุนเพือ่ การรณรงค์กำ� จัดโรคโปลิโอแบบใหม่ และเกี่ยวข้องกับยานพาหนะขนาดใหญ่ที่รองรับโรทาแรคเตอร์ได้มากกว่า ยี่สิบสี่คนนั่งใช้ก�ำลังเท้าขับเคลื่อน แบล็กแมนได้ช่วยจัดเตรียมการให้กับ โรทาแรคเตอร์ชาวดัชท์ในลอนดอนและให้พวกเขาติดต่อกับโรแทเรียนที่ สามารถพาพวกเขาไปที่ท่าเรือโฮเวอร์ในโดเวอร์เพื่อที่พวกเขาจะได้น�ำยาน พาหนะลงน�้ำได้ แบล็กแมนกล่าวว่าโรทาแรคท์เกิดจากการที่คนหนุ่มสาวส่วน ใหญ่ต้องการช่วยเหลือคนอื่น มีกรณีในหลายๆ กรณีที่ไม่รู้ว่าจะท�ำอย่างไร โรทาแรคท์จงึ เป็นโอกาสดีทที่ ำ� ให้พวกเขาท�ำสิง่ ทีพ่ วกเขาอยากท�ำทีแ่ ม้ตอน แรกไม่รู้ว่าจะท�ำอย่างไร

ทศวรรษปี 1990

ในทศวรรษนี้ มีการรวมประเทศของเยอรมันนีในปี 1990 ท�ำให้การ สิ้นสุดของการแบ่งแยกเป็นเวลา 45 ปี นายเลค วาเลซา (Lech Walesa) กลายเป็นประธานาธิบดีคนแรกของโปแลนด์ตั้งแต่สิ้นสุด สงครามโลกครั้ ง ที่ ส อง สหภาพโซเวี ย ตล่ ม สลายในวั น คริ ส ต์ ม าสปี 1991 นายเนลสัน แมนเดลา ได้รับการปล่อยตัวจากคุกและกลายเป็น ประธานาธิบดีของแอฟริกาใต้ในอีกสี่ปีต่อมา เปิดตัวกล้องโทรทรรศน์ อวกาศฮับเบิล นักส�ำรวจส่งรูปภาพของดาวอังคารกลับมา อินเทอร์เน็ต เติบโตขึน้ อย่างทวีคณ ู เด็กทุกคนอยากได้ตกุ๊ ตาเฟอร์บี้ เล่นเกมโปเกมอน และกฏยอดมนุษย์แรนเจอร์ หลังจากเหตุการณ์สำ� คัญของโลกสองเหตุการณ์ โรตารีภาคใน ยุโรปตะวันตกได้รบั มอบหมายให้ขยายสโมสรโรตารีไปยังยูเครน โดยนัวติน ซีอโี อของมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึง่ ในประเทศฝรัง่ เศสและผูแ้ ทนโรตารี ในยูเนสโก ถูกขอร้องให้จดั ตัง้ สโมสรโรทาแรคท์ทนี่ นั่ นัวตินได้ประสานงาน ในการก่อตั้งสโมสรโรทาแรคท์ในประเทศยูเครนเป็นประเทศแรกในยุโรป ตะวันออกซึง่ เพิง่ เปิดโลกเสรี มีการเชือ่ มต่อกันด้วยการใช้อนิ เตอร์เน็ตท�ำให้ มีประสิทธิภาพมากขึน้ ในปลายทศวรรษสโมสรส่วนใหญ่มเี ว็บไซต์และอีเมล์ และผู้คนก็เริ่มพูดถึงโซเชียลมีเดีย นัวตินกล่าวว่า ประสบการณ์ของเขาใน โรทาแรคท์เป็นประโยชน์ต่ออาชีพของเขามาก “ผมเชื่อว่าผมจะไม่ได้เป็น อย่างที่เป็นทุกวันนี้หากปราศจากประสบการณ์ของโรทาแรคท์” เขากล่าว “มันช่วยผมในการเป็นผูบ้ ริหารและผูน้ ำ� และเป็นโอกาสทีด่ ที ไี่ ด้พบปะผูค้ น ที่มีวัฒนธรรมแตกต่างกันและท�ำให้ผมมีเพื่อนที่ผมไม่เคยพบเจอมาก่อน”

ทศวรรษปี 2000

ในทศวรรษนี้ เริ่มมีความกังวลกับปัญหาบั๊ก Y2K ของคอมพิวเตอร์ปี 2000 แต่เมื่อถึงเวลา Y2K ก่อให้เกิดความเสียหายน้อยกว่าที่คาดการณ์

14 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2562

ในกลุ่มเฟซบุ๊คของสโมสรโรทาแรคท์ในเมืองที่จะไปฝึกงาน ได้รับไมตรีจิตและค�ำ แนะน�ำจากโรทาแรคเทอร์ที่เมืองนั้น ทุกวันนี้เพื่อนโรทาแรคเทอร์ยังมีการติดต่อ กันอยู่ และทราบว่า YE Inbound เมื่อพวกเขากลับไปประเทศของเขาแล้วก็ได้ สมัครเป็นสมาชิกสโมสรโรทาแรคท์ดว้ ย เมือ่ จบการศึกษาและท�ำงานได้ระยะหนึง่ แล้ว รทร. อภิชญาจึงไม่ลังเลใจที่จะผันตัวเองมาเป็นโรแทเรียนในเวลาต่อมา โรทาแรคเทอร์ศรันธ์ พุ่มจันทร์ สโมสรโรทาแรคท์มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี ภาค 3340 โรทาแรคเทอร์ศรันธ์ เรียนอยู่ชั้นปีที่ 5 คณะ ครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี ในปี บริ ห าร 2561-2562 ได้ รั บ แต่ ง ตั้ ง ให้ เ ป็ น ผู ้ แ ทน โรทาแรคท์ภาค 3340 รับผิดชอบในการประสาน งานกับสโมสรโรทาแรคท์ 5 สโมสรในภาค 3340 สโมสรโรทาแรคท์มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี มีสโมสรโรตารีศรีอุบลเป็นสโมสรอุปถัมภ์ ส่วนตัวได้เข้ามาเป็นสมาชิกสโมสร โรทาแรคท์ตอนทีเ่ รียนอยูช่ นั้ ปีที่ 3 และเมือ่ อยูช่ นั้ ปีที่ 4 ก็รบั ต�ำแหน่งนายกสโมสร โรทาแรคท์ ซึ่งการด�ำเนินกิจกรรมของสโมสรฯ ก็เหมือนกับชมรมอื่นๆ ใน มหาวิทยาลัย ซึ่งสิ่งที่แตกต่างคือได้ท�ำกิจกรรมที่สอดคล้องกับกิจกรรมของ โรตารี ได้จัดประชุม District Conference เข้าประชุมกับสโมสรโรตารีอุปถัมภ์ ท�ำกิจกรรมบ�ำเพ็ญประโยชน์ร่วมกับสโมสรโรตารี โดยเฉพาะโครงการเด่นของ สโมสรฯ คือโครงการหนุนเสริมการอ่านต่อยอดจากโครงการที่สโมสรโรตารี ศรีอุบลจัดท�ำ โดยโรตารี บริจาคหนังสือให้กับโรงเรียนและโรทาแรคท์ก็จะเข้าไป สอนหนังสือและสอนการอ่าน ซึ่งสมาชิกส่วนใหญ่จะเป็นนักศึกษาคณะครุศาสตร์ ได้ฝึกทักษะในการสอนจริงไปด้วย ตั้งแต่เข้ามาเป็นโรทาแรคเทอร์ในปีแรก ได้พัฒนาตนเองมาอย่างต่อ เนื่อง เริ่มจากการเรียนรู้จากรุ่นพี่ เรียนรู้จากโรตารี ท�ำกิจกรรมบ�ำเพ็ญประโยชน์ ช่วยเหลือผู้อื่น เข้าร่วมประชุมเสนอผลงานโรทาแรคท์ในการประชุม District Conference ของภาค 3340 ที่จังหวัดชลบุรี ได้ฝึกทักษะการเป็นผู้น�ำและการ พูดในที่ประชุม และที่ส�ำคัญคือได้มิตรภาพระหว่างโรทาแรคเทอร์ทั้งในและต่าง สถาบัน ตอนนี้ได้เก็บเกี่ยวประสบการณ์เพื่อที่จะน�ำไปต่อยอดเมื่อจบการศึกษา ในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้านี้

เส้นทาง 50 ปีโรทาแรคท์ในประเทศไทย

เส้นทาง 50 ปีโรทาแรคท์ในประเทศไทยที่เราได้รับทราบผ่านที่การ ถ่ายทอดจากโรทาแรคเทอร์ในแต่ละยุคตลอด 50 ปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน ท�ำให้ ได้ทราบกิจกรรมของโรทาแรคท์ในแต่ละยุค และไม่วา่ จะเป็นโรทาแรคเทอร์ในยุค ไหนสิ่งที่ทุกคนได้รับคือ การเรียนรู้และพัฒนาตนเองในด้านการท�ำงานร่วมกับผู้ อื่น ด้านภาวะผู้น�ำ การพูดในที่ประชุมและสาธารณะ กิจกรรมบ�ำเพ็ญประโยชน์ และการเสริมสร้างมิตรภาพ “โครงการโรทาแรคท์เป็นโครงการที่โรตารีจัดท�ำขึ้น ไม่ใช่เพียงเพื่อ เป็นทางออกหนึ่งในการรองรับความต่อเนื่องสมาชิกสโมสรอินเทอร์แรคท์ที่อายุ เกินวัยแล้ว แต่ยังเป็นทางออกหนึ่งในการโน้มน้าวให้วัยรุ่นได้ใช้พลังงานที่มีอยู่ มากมายไปในการท�ำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชน” Tim Tucker ผู้ประสานด้านเยาวชนของโรตารีสากลกล่าวไว้ ซึ่งปัจจุบันในประเทศไทยเรามีสโมสรโรทาแรคท์ทั้งหมดจ�ำนวน 57 สโมสร สังกัดภาค 3330 จ�ำนวน 32 สโมสร ภาค 3340 จ�ำนวน 5 สโมสร ภาค 3350 จ�ำนวน 13 สโมสร และภาค 3360 จ�ำนวน 7 สโมสร ซึ่งบางช่วงบางสโมสร อาจจะเข้มแข็ง ในขณะที่บางสโมสรอาจจะถูกยุบตามสถานการณ์ ในโอกาสงาน ฉลองครบรอบ 50 ปีของการก่อตั้งสโมสรโรทาแรคท์ในประเทศไทยท�ำให้หลายๆ สโมสรรวมทั้งสโมสรโรตารีอุปถัมภ์และโรแทเรียนที่เกี่ยวข้องมีการตื่นตัว เตรียม จัดตั้งสโมสรโรทาแรคท์ใหม่และฟื้นฟูสโมสรเดิมที่ถูกยุบไป นับเป็นข่าวที่น่ายินดี และให้การสนับสนุนสโมสรโรทาแรคท์ซึ่งสมาชิกเป็นเยาวชนที่เป็นหัวเลี้ยวหัวต่อ ในการที่จะเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในสังคมต่อไป


งานเฉลิมฉลอง

50 ปี โรทาแรคท์ประเทศไทย

ย้อนกลับไปเมื่อ 50 ปีที่แล้ว วันที่ 13 มีนาคม พ.ศ 2511 (ปี โรตารี 2510 – 11) สโมสรโรทาแรคท์แห่งแรกของโลกได้ถือก�ำเนิดขึ้น คือ สโมสรโรทาแรคท์มหาวิทยาลัยนอร์ธแคโรไลนา ภายใต้การอุปภัมภ์ของ สโมสรโรตารีนอร์ธชาลอตต์ สหรัฐอเมริกา โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเปิด โอกาสให้คนหนุ่มสาว อายุ 18 – 30 ปี ได้เพิ่มพูนความรู้และทักษะที่จะ เป็นประโยชน์ในการพัฒนาตนเอง พร้อมทั้งได้ตอบสนองความต้องการ ของชุมชน และส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างกันในโลกด้วยมิตรภาพ และการบริการ ดังนั้นค�ำขวัญของโรทาแรคท์ คือ “มิตรภาพสร้างผลงาน (Fellowship Through Service)” หลังจากนั้นไม่นาน โรทาแรคท์ได้เข้ามาสู่ในประเทศไทย โดย สโมสรแห่งแรกในประเทศไทย คือ สโมสรโรทาแรคท์วทิ ยาลัยครูนครสวรรค์ ภายใต้การอุปถัมภ์ของสโมสรโรตารีนครสวรรค์ ได้รบั สารตราตัง้ เมือ่ วันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2511 (ปีโรตารี 2511 – 12) แต่เป็นที่น่าเสียดายที่สโมสร โรทาแรคท์แห่งแรกนี้ได้ยุติบทบาทแล้ว ทั้งนี้ หลังจากที่สโมสรโรทาแรคท์แห่งแรกในประเทศไทยเกิด ขึ้นได้ไม่ถึงปี ก็มีกลุ่มนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่สนใจในเป้า หมายของโรทาแรคท์ และประสงค์จะก่อตั้งสโมสรโรทาแรคท์ขึ้น จึงได้มี การประชุมก่อตั้งสโมสรโรทาแรคท์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ขึ้น เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2512 และได้รับสารตราตั้งจากโรตารีสากล เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2512 (ปีโรตารี 2512 – 13) โดยอยู่ภายใต้การอุปถัมภ์ ของสโมสรโรตารีธนบุรี ซึ่งในขณะนั้น ท่าน อดีตประธานโรตารีสากล พิชัย รัตตกุล เป็นสมาชิกของสโมสรโรตารีธนบุรี และมีส่วนช่วยให้สโมสร โรทาแรคท์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เข้มแข็ง และอยู่ได้จนถึงปัจจุบัน อีก ทั้งท�ำให้อุดมการณ์ของโรทาแรคท์ในประเทศไทยแผ่ขยายไปทั่วประเทศ ในปีโรตารี 2561 – 62 นี้ เป็นปีทโี่ รทาแรคท์ประเทศไทย ผม ผชภ. ภาณุ ยศเมธา (สร.กรุงเทพไซเบอร์) ในฐานะประธานโรทาแรคท์ภาค 3350 ปี 2561 – 62 และอดีตโรทาแรคเทอร์ จากสโมสรโรทาแรคท์มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ จึงได้ปรึกษาหารือกับประธานโรทาแรคท์ภาคอีก 3 ภาคใน

ประเทศไทย พร้อมกับผู้แทนโรทาแรคท์ภาค และได้เห็นพ้องกันที่จะให้ โรทาแรคเทอร์จากทุกสโมสรโรทาแรคท์ในประเทศไทยได้มาประชุมและท�ำ กิจกรรมบ�ำเพ็ญประโยชน์ร่วมกันในวาระอันส�ำคัญนี้ ในขณะเดียวกัน ผชภ.นภัสร์กมล พรหโมกรณ์ (สร.กรุงเทพ พั ฒ นาการ) อดี ต โรทาแรคเทอร์ จ ากสโมสรโรทาแรคท์ จุ ฬ าลงกรณ์ มหาวิทยาลัยพร้อมกับอดีตโรทาแรคเทอร์รุ่นก่อตั้งจากสโมสรโรทาแรคท์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และจากหลากหลายสถาบันได้เข้าพบท่านอดีต ประธานโรตารีสากล พิชัย รัตตกุล เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันเกิดของท่าน การพูดคุยในครั้งนั้นได้มีโอกาสพูดถึงการครบรอบ 50 ปีของโรทาแรคท์ใน ประเทศไทย ซึง่ ท�ำให้เห็นว่าการพูดคุยของคน 2 กลุม่ 2 เวลานัน้ มีเป้าหมาย เดียวกันคือ การฉลองครบรอบ 50 ปี โรทาแรคท์ประเทศไทย ดังนั้น การ จัด “งานเฉลิมฉลอง 50 ปี โรทาแรคท์ประเทศไทย” ในครั้งนี้ จึงเป็นการ ร่วมมือกันของโรทาแรคเทอร์ทุกรุ่น ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน (รุ่น 1 – 50) หลังจากการท�ำงานร่วมกันระยะหนึ่งแล้ว ได้มีการเข้าพบท่าน อดีตประธานโรตารีสากล พิชัย รัตตกุล อีกครั้งหนึ่ง เพื่อแจ้งรายละเอียด ให้ท่านทราบ ซึ่งท่านได้ให้ค�ำแนะน�ำ แนวทาง การสัมภาษณ์ และได้ยืนยัน การเข้าร่วมในวันจัดงานฉลองฯแล้ว งานเฉลิมฉลอง 50 ปี โรทาแรคท์ประเทศไทย ได้มีก�ำหนดขึ้นใน วันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2562 ณ โรงแรม อีโค บาย ธรรมศาสตร์ (Eco Hotel by Thammasat) จ.ชลบุรี หลังจากการประชุมใหญ่โรทาแรคท์ร่วมภาค ปี 2562 (2019 Joint District Rotaract Conference [JDRC]) ในวันที่ 6 – 7 เมษายน พ.ศ. 2562 ส�ำหรับวัตถุประสงค์ในการจัด “งานเฉลิมฉลอง 50 ปี โรทาแรคท์ ประเทศไทย” ในครั้งนี้นั้น มีดังนี้ 1.เพือ่ ร�ำลึกถึงการก่อตัง้ ของโรทาแรคท์ในประเทศไทยเมือ่ 50 ปี ที่แล้ว (ปี 2511) 2.เพือ่ ร�ำลึกถึงผลงานบ�ำเพ็ญประโยชน์ของโรทาแรคท์ ตลอด 50 ปีที่ผ่านมา


Special Scoop เส้นทาง 50 ปี โรทาแรคท์

ชาวรัสเซียและชาวอเมริกันร่วมท�ำงานกันในสถานีอวกาศนานาชาติ มี การเผยแพร่การร่างมาตรฐานการท�ำงานของเทคโนโลยีชีวภาพของ มนุษย์ (genome) ผู้ก่อการร้ายโจมตีเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์และเพนตา กอน สหรัฐฯ รุกรานอัฟกานิสถาน เงินยูโรถูกน�ำมาใช้ใน 12 ประเทศ ก�ำเนิด Facebook ตั้งโดยนักเรียนฮาร์วาร์ด มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก เปิด ตัว YouTube และ Twitter และ Apple ออกเครื่องโทรศัพท์ iPhone แอนเดรีย ไทโรน (Andrea Tirone) อดีตโรทาแรคเทอร์ที่ มหาวิทยาลัยโตรอนโต ประเทศแคนาดา กล่าวเมื่อนึกถึงบรรยากาศเก่าๆ ว่า การประชุมของสโมสรฯ มีบรรยากาศสบายๆ ทีศ่ นู ย์นกั ศึกษาฮาร์ทเฮาส์ ทีป่ ระชุมกันทัง้ เรือ่ งของโรตารี เรือ่ งงาน และเรือ่ งเรียน ท�ำให้สร้างมิตรภาพ ได้กับเพื่อนๆ แม้ไม่เคยพบกันมาก่อน ไทโรน ผู ้ ซึ่ ง ได้ รั บ เลื อ กให้ เ ป็ น ผู ้ รั บ ทุ น ทู ต สั น ถวไมตรี ไ ป แอฟริกาใต้ในปี 2009-2010 เธอได้ชว่ ยก่อตัง้ สโมสรโรทาแรคท์เบอเรียใน ขณะทีอ่ ยูท่ นี่ นั่ แต่กอ่ นทีเ่ ธอจะจากไปเธอได้เข้าร่วมการประชุมใหญ่โรตารี สากลปี 2008 ที่ลอสแองเจลิสซึ่งได้เปลี่ยนมุมมองของเธอต่อองค์กรโรตารี ว่าเธอได้เห็นถึงการเข้าถึงโรตารีทั่วโลกอย่างแท้จริง แม้ว่าเธอจะอยู่ที่ไหน ในโลกเธอก็สามารถเป็นส่วนหนึ่งของโรตารีได้ โซเชียลมีเดียและสมาร์ท โฟนเริ่มท�ำให้โรทาแรคท์มีการเปลี่ยนรูปแบบไปในปีต่อมา หลังจากนั้นได้ มีการเริ่มใช้เฟซบุ๊ค ซึ่งช่วงนั้นยังไม่มีหน้าเพจหรือกลุ่ม ไม่มี Twitter หรือ Instagram แน่นอนสือ่ โซเชียลและความสามารถในการเชือ่ มต่อกับผูอ้ นื่ ได้ อย่างรวดเร็วและง่ายดายนัน้ ได้เปิดโอกาสใหม่ๆ ให้กบั โครงการและแนวคิด ในการท�ำโครงการร่วมกันไม่ว่าพวกเขาจะอยู่ต่างพื้นที่กัน ทศวรรษ ปี 2010 มีสโมสรโรทาแรคท์ จ�ำนวน 10,904 แห่ง มีโรทาแรคเทอร์ จ�ำนวน 250,792 คน มีประเทศที่มีสโมสรโรทาแรคท์ จ�ำนวน 184 ประเทศ เมือ่ เริม่ ครึง่ ศตวรรษทีส่ อง สโมสรโรทาแรคท์ยงั เป็นทีส่ นใจของ เยาวชนเช่นเคย ลอร่า แวร์เดกาล สมาชิกของสโมสรโรทาแรคท์ Gooi-en Vechtstreek ประเทศเนเธอร์แลนด์กล่าวว่า เธอได้เข้ามามีส่วนร่วมใน โรทาแรค์ในเดือนธันวาคมโดยผ่านสือ่ เฟสบุค๊ เธอกล่าวว่าในยุคโลกาภิวฒ ั น์ มีการเคลื่อนไหวที่เกี่ยวพันธ์กันมากขึ้น เช่น รู้ว่าอาหารและสิ้นค้าที่ซื้อมา จากไหน ใครเป็นผู้ผลิต แวร์เดกาลกล่าวว่า ในช่วงนั้นสโมสรโรตารีและโรทาแรคท์มี ความสนุกทีไ่ ด้รว่ มมือกันท�ำงานอย่างเสมอภาคและได้ผลดี โดยสมาชิกของ สโมสรโรทาแรคท์ได้มสี ว่ นร่วมในการตัดสินใจและการวางแผนแทนทีจ่ ะให้ บริการในบทบาทรองลงมา เธอเล่าถึงโครงการขนาดใหญ่ในภาคของเธอที่ โรทาแรคเทอร์ซึ่งมีความเชี่ยวชาญในการใช้เว็บไซต์ได้ให้ค�ำแนะน�ำวิธีการ การออกแบบและเนื้อหาของเว็บไซต์ของโครงการ “ถ้าคุณต้องการให้บริการแก่ชุมชนในระดับท้องถิ่น สโมสร โรทาแรคท์เป็นสิ่งที่เหมาะส�ำหรับคุณ” แวร์เดกาลกล่าว “และเมื่อคุณ ต้องการพัฒนาความเป็นผู้น�ำ การน�ำเสนอ หรือทักษะขององค์กร หรือ หากคุณก�ำลังเดินทางและพบปะผู้คนที่มีวัฒนธรรมและภูมิหลังที่แตกต่าง กัน มันก็คือโอกาสที่ดีมาก ๆ”

16 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2562

3.เป็นโอกาสที่โรทาแรคเทอร์ทั้ง 4 ภาคในประเทศไทยได้มารวมตัวกัน สานสัมพันธ์ระหว่างภาค 4.เป็นโอกาสที่ภาค 3350 จะรวมตัวเป็นหนึ่งเดียว โดยไม่แบ่งแยก ประเทศ ไม่วา่ จะไทย กัมพูชา หรือพม่า ในการประชุมระดับภาค และระดับประเทศ 5.เป็นรากฐานความสัมพันธ์ระหว่างภาค เพื่อความร่วมมือที่จะร่วมกัน เป็นตัวแทนโรทาแรคท์ไทยในเวทีนานาชาติ อย่าง “การประชุมโรทาแรคท์ภาคพืน้ เอเชียแปซิฟิก” ที่มีแต่ภาค 3350 เข้าร่วมในนามประเทศไทย ตลอดระยะเวลา หลายปีที่ผ่านมา 6.เป็นโอกาสที่รุ่นปัจจุบันจะได้พบปะอดีตโรทาแรคท์เตอร์รุ่นแรกๆ เรียนรู้ความเป็นมา รับแรงบันดาลใจ เพื่อเสริมสร้างความภาคภูมิใจในการเป็น โรทาแรคเทอร์ผ่านการประชุมกลุ่มย่อยและการประชุมร่วมของโรทาแรคท์รุ่น ปัจจุบันและรุ่นอดีต 7.เพื่อส่งเสริมความเข้มแข็งของโรทาแรคท์ในประเทศไทย สร้างเครือ ข่ายตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เพื่อเป็นแนวทางสู่การก่อตั้งสโมสรโรทาแรคท์ชุมชน ในอนาคต 8.เป็นแนวทางในการวางรากฐานของโรทาแรคท์ประเทศไทย ว่าจะไป ทิศทางใด ในอีก 50 ปีข้างหน้า หรืออนาคต สิง่ ส�ำคัญทีจ่ ะเกิดขึน้ ในวันเฉลิมฉลอง 50 ปี โรทาแรคท์ประเทศไทย คือ 1.การร�ำลึกถึงการก่อตั้งของโรทาแรคท์ในประเทศไทยเมื่อ 50 ปีที่แล้ว (ปี 2511) – ผลผลิตของการเป็นโรทาแรคเทอร์ 2.การร�ำลึกถึงผลงานบ�ำเพ็ญประโยชน์ของโรทาแรคท์ตลอด 50 ปีทผี่ า่ น มา สิ่งที่โรทาแรคท์ได้ท�ำเพื่อชุมชนและสังคมทั่วประเทศ รวมถึงต่างประเทศ 3.ท่านอดีตประธานโรตารีสากล พิชยั รัตตกุล ได้กรุณารับเป็นองค์ปาฐก และร่วมเสวนาในหัวข้อ “ก้าวต่อไปของโรทาแรคท์ไทยในอนาคต” ร่วมกับอดีต โรทาแรคเทอร์ที่ปัจจุบันเป็นโรแทเรียน และนายกก่อตั้งสโมสรโรทาแรคท์หลายๆ สโมสรในประเทศไทย 4.พิธีรดน�้ำขอพรจากท่าน อดีตประธานโรตารีสากล พิชัย รัตตกุล ตาม ประเพณีไทย เนื่องในช่วงเทศกาลปีใหม่ไทย 5.กิจกรรม “พี่พบน้อง” ซึ่งเป็นการแลกเปลี่ยน ถ่ายทอดประสบการณ์ ระหว่างรุ่นพี่และรุ่นน้อง สร้างแรงบันดาล และเป็นแนวทางของโรทาแรคท์ไทยใน อนาคต ผมขอถือโอกาสนี้ เชิญชวนท่านโรแทเรียนทุกท่านเข้าร่วม “งานเฉลิม ฉลอง 50 ปี โรทาแรคท์ประเทศไทย” ในวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2562 ณ โรงแรม อีโค บาย ธรรมศาสตร์ (Eco Hotel by Thammasat) จ.ชลบุรี ผมเชื่อเป็นอย่าง ยิ่งว่า ท่านจะได้รู้จักโรทาแรคท์มากขึ้นอย่างแน่นอน พร้อมกันนี้ ผมขอเชิญทุกท่านมีส่วนร่วมในการสนับสนุนงานในครั้งนี้ ด้วยครับ


Our District

รายชื่อผู้ว่าการภาคและโรตารีแอนน์ทั้งสี่ภาค (เรียงจากซ้ายไปขวา) โรตารีแอนน์ วันทนีญ์ และ ผวล.กมลศักดิ์ วิสิฐสกุลชัย (ภาค 3360), โรตารีแอนน์ จงกลดี และ ผวล.ทนงศักดิ์ พงษ์ศรี (ภาค 3350), โรตารีแอนน์ สุภัชริณณ์ และ ผวล.มารวย จินตบัณฑิตวงศ์ (ภาค 3340), โรตารีแอนน์ สิรภัทร และ ผวล.สกนธ์ อึ่งสร้อยทอง (ภาค 3330)

สารบัญ Contents Multidistrict PETS 2019-20 @ Hat Yai Our Leader 3330 Our Leader 3340 Our Leader 3350 Our Leader 3360 โครงการแก้มลิงหนองโนนต่าย Our Centre

กองบรรณาธิการ

หน้า 18-25

บรรณาธิการบริหาร

หน้า 26-29 หน้า 30-33 หน้า 34-37 หน้า 38-41 หน้า 42-43 หน้า 44

บรรณาธิการผู้ช่วย

อน.วาณิช โยธาวุธ

(สร.แม่สาย 3360)

อผภ.จุฑาทิพย์ ธรรมศิริพงษ์ รทร.เดียร์ราห์ พิบูลย์วัฒนวงษ์ อน.ตรอง แสงสว่างวัฒนะ อน.นพ. ณัฏฐธนิน เศรษฐวนิชย์

(สร.พระปฐมเจดีย์ 3330) (สร.หมากแข้ง 3340) (สร.สาทร 3350) (สร.แพร่ 3360)


Multidistrict PETS 2019-20 @ Hat Yai

Multidistrict PETS 2019-2020 @ Hat Yai อน.จันทนี เทียนวิจิตร สร.ล้านนาเชียงใหม่

การจัดอบรมสัมมนานายกรับเลือกร่วมภาค ส�ำหรับปีบริหาร 2562-2563 หรือ Multidistricts Presidents Elect Training Seminar ที่เราเรียกสั้นๆ กันว่า Multi PETS ครั้งนี้ เจ้าภาพหมุนเวียนมาที่ภาค 3330 โดยนายกรับเลือกทั้งสี่ภาคในประเทศไทยได้มาเข้าร่วมอบรม สัมมนาที่โรงแรมหรรษาเจบี อ�ำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ระหว่างวัน ที่ 1-3 มีนาคม 2562 การอบรมสัมมนามีนายกรับเลือก ผู้น�ำการอบรม ผู้ช่วยผู้ว่าการภาค และผู้ติดตามมาให้ก�ำลังใจ รวมทั้งคณะกรรมการจัด งานจ�ำนวน 389 คนจาก 344 สโมสร ท�ำให้บรรยากาศคึกคัก อบอุ่นไป ด้วยมิตรภาพและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อเตรียมพร้อมในการเป็นผู้น�ำ สโมสรโรตารีระหว่างมิตรโรแทเรียนทั้งสี่ภาคในประเทศไทย โอกาสอย่าง นี้มีเพียงปีละหนึ่งครั้งเท่านั้น กองบรรณาธิการนิตยสารโรตารีประเทศไทย จึงได้ไปเก็บบรรยากาศ ของการประชุ ม สั ม มนาและสั ม ภาษณ์ โรแทเรี ย นที่ เ ป็ น เจ้ า ภาพในการ จัดงาน ผู้เข้าอบรม และผู้ที่เกี่ยวข้องดังนี้ อผภ.ธีระนันท์ วงศ์หล่อ ภาค 3330 ประธานจัดงาน อผภ.ธีระนันท์ กล่าวว่า ได้รับความไว้ วางใจจาก ผวล.สกนธ์ อึ่งสร้อยทอง ให้เป็น ประธานจัดงาน Multi PETS ในครั้งนี้ โดยที่ คณะกรรมการได้ พิ จ ารณาร่ ว มกั น ก� ำ หนด สถานที่จัดงานที่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา เพราะ สะดวกในการเดิ น ทางและสถานที่ จั ด งานมี ความเหมาะสม เมื่อได้รับมอบหมายให้เป็น ประธานจัดงานแล้วจึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้น โดยส่วนใหญ่จะเป็น โรแทเรียนในจังหวัดสงขลา การเตรียมงานเริ่มจากคณะกรรมการได้ไป ศึกษาดูงานและสังเกตการณ์งาน Multi PETS ของปีที่แล้วที่จังหวัด ขอนแก่น พร้อมทั้งได้จัด Presentation เชิญชวนมาประชุมที่จังหวัด

18 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2562

สงขลาและรับมอบธงการจัดงานครั้งต่อไป คณะกรรมการได้พิจารณาสถานที่จัดงานคือโรงแรมหรรษาเจบี หาดใหญ่ เพราะมีห้องประชุมสัมมนาและห้องย่อยอย่างน้อยจ�ำนวน 12 ห้องตามที่ต้องการ โครงสร้างของคณะกรรมการหลักๆ คือ อผภ. ธีระนันท์ เป็นประธานจัดงาน ผู้ว่าการภาครับเลือกทุกภาคเป็นผู้อ�ำนวย การร่วม ในด้านวิชาการอบรมสัมมนามี อผภ.วิชัย มณีวัชรเกียรติ เป็น ประธาน การจัดงานปีนี้ได้แต่งตั้งผู้ประสานงานแต่ละภาคขึ้นเพื่อติดต่อ ประสานงานได้ชัดเจนในทุกเรื่อง ตั้งแต่รายชื่อผู้เข้าประชุม การจอง ห้องพัก การเดินทางเพื่อจัดรถรับส่ง และเตรียมความพร้อมอื่นๆ ใน ส่วนของทีมคณะกรรมการจัดงาน อผภ.ธีระนันท์ ได้แต่งตั้งทีมงานที่ มีประสบการณ์เพื่อท�ำให้การท�ำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น SAA (Sergeant-at-arms หรือปฏิคม) แต่งตั้งอดีตนายกสโมสรหรือนายก สโมสรในจังหวัดสงขลาและสตูล ที่อยู่ในพื้นที่เดียวกัน สามารถมาประชุม เตรียมงานร่วมกันได้ มีทีมงานกองอ�ำนวยการเฉพาะกิจ อาทิ ฝ่ายการเงิน ฝ่ายเลขานุการ ฝ่ายจัดเลี้ยง ซึ่งในค�่ำคืนที่สองได้จัดเลี้ยงต้อนรับพิเศษให้ กับนายกรับเลือก คู่ครอง และผู้ติดตาม ด้านวิชาการนายกรับเลือกแต่ละท่าน ผ่านการอบรมเตรียมความ พร้อมมาก่อนแล้ว (Pre-PETS) การจัดอบรม Multi PETS จึงเป็นการ แลกเปลี่ยนเรียนรู้จากผู้เข้ารับการอบรม ที่มาแชร์ประสบการณ์ โดย การน�ำของวิทยากรผู้น�ำการอบรม ส�ำหรับการประเมินผลการอบรมปีนี้ได้ จัดให้มีการประเมินผ่าน QR Code ในโทรศัพท์มือถือท�ำให้สะดวกรวดเร็ว ส�ำหรับการจัดโปรแกรมท่องเที่ยวนั้น อผภ.ธีระนันท์ กล่าวว่า หลังจากได้ ไปร่วมการอบรมเมื่อปีท่ีแล้วทราบว่า วิทยากรและผู้เข้าอบรมอยากท่อง เที่ยวด้วยแต่ไม่สามารถท�ำได้ในช่วงการอบรมจึงได้จัดโปรแกรมท่องเที่ยว ขึ้นทั้งในและต่างประเทศล่วงหน้าให้ต่อเนื่องกับวันอบรม ในประเทศคือ จัดทัวร์ในจังหวัดสงขลาเป็นเวลาหนึ่งวัน ส่วนต่างประเทศจัดทัวร์เดินทาง โดยเครื่องบินไปลงที่ปีนังหนึ่งวัน แล้วก็มีบริษัททัวร์มารับไปท่องเที่ยว ที่ปีนังต่อ จากนั้นเดินทางกลับโดยรถบัสเข้าทางอ�ำเภอเบตง ท่องเที่ยว


ที่จังหวัดยะลาอีกหนึ่งวันก่อนเดินทางมาที่หาดใหญ่ ท�ำให้การมาอบรม สัมมนาได้ทั้งความรู้ มิตรภาพ และท่องเที่ยวไปด้วย การเป็นเจ้าภาพจัดงานในครั้งนี้ อผภ.ธีระนันท์ กล่าวว่ารู้สึกภูมิใจใน ฐานะคนพื้นที่ที่ได้มีโอกาสเชิญชวนมิตรโรแทเรียนจากภาคต่างๆ มาร่วม กิจกรรมในจังหวัดสงขลา ได้โปรโมทสถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัด ท�ำให้มี เม็ดเงินหมุนเวียนในภาคเศรษฐกิจที่ปัจจุบันค่อนข้างซบเซา ในด้านการ ท�ำงานท�ำให้โรแทเรียนในจังหวัดสงขลาและสตูลได้มีโอกาสในการท�ำงาน ในระดับประเทศของโรตารี ปลูกฝังให้เขารู้จักคุณค่าในการท�ำงานเพื่อ สังคมส่วนรวม ส่วนตนเองมีความสุขในฐานะเจ้าของบ้านที่มีคนมาเยือน จังหวัดสงขลา อานิสงฆ์ของการท�ำงานในครั้งนี้ อยากให้นายกรับเลือกทุก ท่านทราบว่า การรับหน้าที่เป็นผู้น�ำสโมสรของท่านในอีกหนึ่งปีข้างหน้ามี คนสนับสนุนให้ภารกิจของเขาประสบความส�ำเร็จตามเป้าหมาย อผภ.วิชัย มณีวัชรเกียรติ ภาค 3330 ประธานฝ่ายวิชาการ อผภ.วิชัย กล่าวว่า การจัดอบรมสัมมนา ของโรตารีจะมีข้อก�ำหนด ขั้นตอนและรูปแบบ ที่เราต้องด�ำเนินตามอยู่แล้ว ในแต่ละปีเราจะ ปรั บ เนื้ อ หาในส่ ว นที่ ส อดคล้ อ งกั บ นโยบาย ของประธานโรตารีสากลในปีนั้นๆ ซึ่งในปีนี้ เขาเน้นเรื่องครอบครัวและสมาชิกภาพ เราก็ เพิ่มเติมในสองเรื่องนี้ ในส่วนของเนื้อหาการ อบรมเรายึดถือคู่มือนายกสโมสรเป็นหลัก เพราะเราต้องการให้นายกรับ เลือกได้รับความรู้ทั้งหมด โดยการจัดให้มีผู้น�ำการอบรมสัมมนาพร้อมทั้ง ใช้ Workbook ประกอบเพื่อน�ำเสนอให้นายกรับเลือกได้เข้าใจและจดจ�ำ ได้ “ผมเชื่อในศักยภาพของนายกรับเลือกทุกท่านที่ผ่านการบริหารงานใน องค์กรหรือธุรกิจของตนเองมาแล้ว เมื่อมาเพิ่มเติมความรู้ประยุกต์เข้ากับ โรตารีท�ำให้เขาเป็นผู้น�ำที่ดีได้” ในด้านการด�ำเนินการ ฝ่ายวิชาการท�ำหน้าที่เตรียมหัวข้อและ

เนื้อหาในการจัดอบรม เมื่อคณะท�ำงานสรุปร่วมกันแล้วจึงส่งให้ประธาน Trainer ของทั้งสี่ภาค โดยแต่ละภาคสรรหาผู้น�ำการอบรมที่เหมาะสมใน การเป็น Facilitator ส�ำหรับเนื้อหาที่เป็นหัวข้อส�ำคัญที่ทุกคนควรจะได้ รับทราบจากวิทยากรคนเดียวกันก็จะจัดอบรมในห้องครบองค์ประชุม ประกอบไปด้วย 4 หัวข้อคือ เรื่องมูลนิธิโรตารี โครงการบริการ สโมสร เข้มแข็ง และภาพลักษณ์โรตารี ส่วนการสัมมนาห้องย่อยจะเป็นการแชร์ ประสบการณ์แลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน ต่อค�ำถามว่าหากนายกรับเลือกไม่ ได้เข้ารับการอบรมสัมมนาในครั้งนี้จะต้องท�ำอย่างไร อผภ. วิชัย กล่าวว่า แต่ละภาคจะต้องจัดอบรมชดเชยให้กับนายกรับเลือกที่ขาดการอบรมครั้ง นี้ในภายหลัง ที่เรียกว่าอบรมซ่อมเพื่อให้นายกรับเลือกได้รับการเตรียม พร้อมเป็นผู้น�ำสโมสรโรตารีในปีต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผวล.ทนงศักดิ์ พงษ์ศรี ภาค 3350 ประธานอ�ำนวยการร่วม ผวล.ทนงศักดิ์ กล่าวว่า ได้เตรียมความ พร้อมส�ำหรับการอบรมนายกรับเลือกร่วมกับ อผภ. สุชาดา ประธาน Trainer ภาค 3350 โดยจัดกิจกรรมที่เรียกว่าบันได 3 ก้าวคือ ก้าวที่ 1 จัดกิจกรรมเพื่อละลายพฤติกรรม ที่เรียกว่า Day of Love เมื่อเดือนพฤศจิกายน เป็นเวลาหนึ่งวัน เพื่อให้นายกรับเลือกเตรียม พร้อมส�ำหรับเติมความรู้ของโรตารีในโอกาสที่จะรับหน้าที่เป็นผู้น�ำสโมสร ในปีถัดไป ก้าวที่ 2 จัดอบรมนายกรับเลือกในภาคที่เรียกว่า Pre-PETS ให้ ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับโรตารีและทุกเรื่องที่เกี่ยวกับการเป็นผู้น�ำโรตารี ก้าวที่ 3 คือการที่นายกรับเลือกมาร่วมอบรมสัมมนา Multi PETS ในครั้งนี้เพื่อให้ผู้น�ำสโมสรได้เห็นมุมกว้างของโรตารีให้สอดคล้องกับธีม ของปีบริหาร ได้สร้างมิตรภาพร่วมกับนายกรับเลือกของสโมสรโรตารีใน ภาคต่างๆ ทั่วประเทศ


Multidistrict PETS 2019-20 @ Hat Yai

ในการอบรมผู้น�ำสโมสรยังจะมีอีกครั้งหนึ่งคือในการอบรม District Training Assemble (DTA) ที่นายกสโมสรจะต้องพาคณะกรรมการ บริหารสโมสรไปร่วมอบรม DTA เพื่อ Connect the World ร่วมกันสร้าง ผู้น�ำ สร้างทีม และสร้างผลงาน ผวล.กมลศักดิ์ วิสิฐสกุลชัย ภาค 3360 ประธานอ�ำนวยการร่วม ผวล.กมลศักดิ์ กล่าวว่า ได้เตรียมความ พร้อมในการอบรมนายกรับเลือกไว้ 2 ส่วนคือ 1.เตรียมคณะกรรมการประสานงานการ อบรม โดยมี ผวด.จิระยุทธ หิรัณยวัฒน์ เป็น ประธานในการประสานงาน การลงทะเบียน ของนายกรับเลือก ผู้น�ำการอบรม คู่ครอง และ ผู้ที่สนใจมาร่วมอบรม เพื่อประสานงานด้าน ที่พักและรถรับส่ง 2.การเตรียมตัวของนายกรับเลือกซึ่งให้แต่ละสโมสรส่งรายชื่อนายก รับเลือกมาโดยการประสานงานของผู้ช่วยผู้ว่าการภาค ซึ่งในปีนี้ทางภาค 3360 ได้จัดอบรมนายกรับเลือกเพื่อเตรียมความพร้อมด้านวิชาการ (PrePETS) เป็น 4 โซน เพื่อนายกรับเลือกจะได้ไม่ต้องเดินทางไกลคือ โซนที่ 1 จังหวัดเชียงใหม่ ล�ำพูน แม่ฮ่องสอน โซนที่ 2 จังหวัดเชียงราย พะเยา โซนที่ 3 จังหวัดพิษณุโลก สุโขทัย ก�ำแพงเพชร ตาก และ สปป.ลาว โซนที่ 4 จังหวัดแพร่ น่าน ล�ำปาง อุตรดิตถ์ การจัดอบรม Pre-PETS มีเนื้อหาเหมือน Multi PETS ทุกอย่างรวม ทั้งรายละเอียดการเตรียมตัวมาอบรมคือ 1) ให้ความรู้พื้นฐานโรตารีและการเป็นผู้น�ำสโมสร 2) ความรู้เกี่ยวกับการเดินทางมาอบรม Multi PETS ว่าเขาจะ ต้องเตรียมอะไรไปบ้าง การจองตั๋วเครื่องบินเพราะถ้าจองแต่เนิ่นๆ จะได้ ราคาถูก

20 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2562

3) เป้าหมาย วัตถุประสงค์ของการอบรมสัมมนา Multi PETS คือ อะไรนอกเหนือจากการมาอบรมด้านความรู้เรื่องโรตารีแล้วต้องหาโอกาส รู้จักกับนายกรับเลือกต่างภาค เช่น เตรียมนามบัตรเพื่อน�ำไปแลกเปลี่ยน กัน รวมทั้งการจัดโปรแกรมท่องเที่ยวให้กับคู่ครองหรือผู้ติดตาม 4) วิทยากรภาคหรือผู้น�ำการอบรม ทางภาค 3360 ได้จัดอบรม เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ โดยเชิญ อผภ. วิชัย มณีวัชรเกียรติ ประธานด้าน วิชาการร่วมกับ อผภ.อนุรักษ์ นภาวรรณ ประธาน Trainer ของภาคจัด อบรมเตรียมพร้อมส�ำหรับวิทยากรผู้น�ำการอบรมของภาค เมื่อเสร็จสิ้นการอบรม Multi PETS ในสามวันนี้นายกรับเลือกจะ ได้รับประกาศนียบัตรผ่านการอบรมนายกรับเลือกพร้อมทั้งถ่ายภาพร่วม กัน ส�ำหรับนายกรับเลือกที่ไม่ได้เข้าร่วมการอบรมในครั้งนี้ทางภาคจะ จัดอบรมชดเชยให้ช่วงที่จัดอบรม DTA วันที่ 25-26 พฤษภาคม 2562 ที่ โรงแรมเกตเวย์ จังหวัดพะเยา อผภ.สมภพ ธีระสานต์ ประธาน Trainer ภาค 3330 อผภ.สมภพ ได้กล่าวถึงเนื้อหาวิชาการ ในการอบรมปีนี้ว่ามีการปรับเปลี่ยนบางส่วน เนื่ อ งจากโรตารี ส ากลได้ เ ปลี่ ย นแปลงแผน กลยุทธ์ ซึ่งก่อนหน้านี้โรตารีสากลได้เน้นให้ สโมสรเข้มแข็ง ด้านมูลนิธิโรตารี และการสร้าง ภาพลักษณ์โรตารี ตอนนี้ได้เน้นเพิ่มเติมอีก 4 เรื่องคือ 1.Impact การสร้างให้เกิดผลกระทบ 2.Reach การพัฒนาเข้าถึงสโมสรให้มากขึ้น 3.Engagement การให้มีส่วนร่วมของสมาชิกในสโมสรกับองค์กร ภายนอก 4.Adapt การปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ เนื้อหาสาระเปลี่ยนตามกลยุทธ์และให้สอดคล้องกับคติพจน์ของ


เรียงจากซ้ายไปขวา PRIP.พิชัย รัตตกุล ผู้บรรยายพิเศษ อผภ.วิชัย มณีวัชรเกียรติ ประธานฝ่ายวิชาการ วิทยากรในห้องประชุมกลุ่มย่อย อผภ.เจสัน ลิม อผภ.สุชาดา อิทธิจารุกุล ผวภ.นครินทร์ รัตนกิจสุนทร นายกรับเลือกเข้าฟังการอบรมในห้องประชุมกลุ่มย่อย

ประธานโรตารีสากลในปีบริหาร 2562-2563 เน้นการเชื่อมโยงของบุคคล การวางแผนและปฏิบัติตามแผนให้มากยิ่งขึ้น ในส่วนของภาค 3330 ได้ จัดเตรียมทีมวิทยากรหรือผู้น�ำการอบรมมาก่อน และจัดอบรม Pre-PETS ให้กับนายกรับเลือกโดยเน้นความรู้พ้ืนฐานของโรตารี การเปลี่ยนแปลง ของโรตารีสากลที่มีความยืดหยุ่น ส�ำหรับการอบรม Multi PETS ในปีนี้ เราจัดท�ำเอกสาร Workbook อย่างละเอียดซึ่งนายกรับเลือกสามารถจด บันทึกและน�ำเอาไปใช้ได้ดี ซึ่งใกล้เคียงกับการอบรมผู้ว่าการภาครับเลือก ที่สหรัฐอเมริกา เป็นการท�ำงานร่วมกันของฝ่ายวิชาการทั้ง 4 ภาคที่น�ำมา สานต่อและพัฒนาการอบรม Multi PETS ให้ดียิ่งขึ้น สิ่งที่จะต้องพัฒนา อีกคือเทคนิคการถ่ายทอดของผู้น�ำการอบรม ที่เน้นการมีส่วนร่วมของผู้ เข้าอบรม และท�ำให้น่าสนใจมากขึ้น ข้อสังเกตจากการอบรมสัมมนาในปีนี้ นายกรับเลือกค่อนข้างจะ Active มีส่วนร่วมและตอบสนองกับผู้น�ำการอบรมได้ดี สะท้อนให้เห็นว่า 1) มีการเตรียมตัวมาก่อน 2) เข้าใจวิธีการอบรมว่าเป็น Active Learning ที่มีการแชร์ประสบการณ์ร่วมกัน อผภ.วิวัฒน์ พิพัฒน์ไชยศิริ ประธาน Trainer ภาค 3340 ในส่วนของฝ่ายวิชาการภาค 3340 อผภ.วิวัฒน์ กล่าวว่า ได้เตรียมความพร้อม โดยประธาน Trainer ทั้ง 4 ภาคเข้าร่วม ประชุ ม รั บ นโยบายและเนื้ อ หาวิ ช าการจาก อผภ.วิชัย ประธานฝ่ายวิชาการก่อน แล้วจึง เตรียมทีมวิทยากรเพื่อเป็นผู้น�ำการอบรม ซึ่ง ในปีนี้วิทยากรของภาค 3340 ครึ่งหนึ่งเป็นคน รุ่นใหม่ซึ่งวัตถุประสงค์คือเป็นการสร้างคนรุ่นใหม่ขึ้นมาให้เป็นผู้น�ำการ อบรม และเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันที่มีการใช้เทคโนโลยี ด้านสารสนเทศหรือ IT มากขึ้น อีกทั้งปัจจุบันผู้น�ำสโมสรก็มีคนรุ่นใหม่ มากขึ้นจึงเป็นการเปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่ได้ท�ำงานร่วมกันด้วย การเตรียมความพร้อมด้านวิชาการได้มีการเตรียมความพร้อม

2 ส่วนคือ 1. การจัดอบรมวิทยากร (Train the Trainer) เพื่อแนะน�ำด้าน เนื้อหาและเทคนิคการเป็นผู้น�ำการอบรม การสร้างแรงจูงใจ การมีส่วน ร่วมของผู้เข้าอบรม แม้กระทั่งรายละเอียดปลีกย่อยด้านบุคลิกภาพของ ผู้น�ำการอบรม ฝ่ายวิชาการแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ ส่วนที่มาเป็นผู้น�ำการ อบรมสัมมนา Multi PETS ในครั้งนี้ร่วมกัน 4 ภาค และส่วนที่จัดอบรม DTA ภายในภาคที่จะจัดขึ้นในเดือนพฤษภาคมนี้ 2. การจัดอบรมเตรียมความพร้อมของนายกรับเลือก (Pre-PETS) ที่โรงแรมศรีพัฒนา จังหวัดนครราชสีมา โดยปูความรู้พื้นฐานด้านโรตารี เนื้อหาวิชาการก่อน และการเตรียมตัวไปร่วมอบรมสัมมนา Multi PETS ข้อสังเกตในการอบรมสัมมนา Multi PETS ครั้งนี้เห็นว่านายกรับ เลือกมีการเตรียมตัวมาดี มีส่วนร่วมในการอบรมสัมมนาเป็นอย่างมาก ส�ำหรับนายกรับเลือกที่ไม่ได้เข้ารับการอบรมในครั้งนี้ซึ่งมีจ�ำนวนน้อย มาก ทางภาคจะจัดอบรมชดเชยให้ในช่วงของการอบรม DTA ต่อไป อผภ.สุชาดา อิทธิจารุกุล ประธาน Trainer ภาค 3350 อผภ.สุชาดา กล่าวว่า ฝ่ายวิชาการ ภาค 3350 ได้จัดตั้งคณะกรรมการผู้ฝึกอบรม ของภาคที่เป็นอดีตผู้ว่าการภาคจ�ำนวน 4 ท่าน รับผิดชอบในการจัดอบรมแต่ละรายการ โดย เริ่มจัดครั้งแรกเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2561 ให้ นายกรับเลือกมาพบปะและท�ำกิจกรรมร่วมกัน คือการประกอบจักรยานมอบให้แก่นักเรียน ครั้งที่สองคือการจัดอบรม Pre-PETS ที่ อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ จัดแบบเข้มข้น 1.5 วันเต็ม เนื้อหามีมากกว่าการอบรม Multi PETS เพื่อ ปูพื้นฐานโรตารีและการเป็นผู้น�ำสโมสรให้นายกรับเลือกได้เข้าใจก่อนที่ จะมาอบรม Multi PETS การอบรม Multi PETS ในส่วนของวิทยากรผู้น�ำการอบรมทุกท่าน เป็นผู้ที่มีความรู้ ประสบการณ์ มีทัศนคติที่ดีต่อโรตารี ขอย�้ำว่าเป็นผู้ที่มี


Multidistrict PETS 2019-20 @ Hat Yai

ทัศนคติที่ดีต่อโรตารี ต่อโรแทเรียน และผู้เข้ารับการอบรม ซึ่งทีมวิทยากร จะร่วมกันน�ำการอบรม DTA ในเดือนพฤษภาคมอีกครั้งหนึ่ง โดยเนื้อหา วิชาการอบรมเป็นไปในทิศทางเดียวกันตามวัตถุประสงค์และเป้าหมาย ของโรตารีในปีบริหารใหม่นี้ ส�ำหรับการจัดอบรม Multi PETS ที่หาดใหญ่ในครั้งนี้ อผภ.สุชาดา กล่าวว่าในภาพรวมเป็นที่น่าพอใจ โปรแกรมดี เรียบง่าย เจ้าภาพจัดงาน ได้ดีมากในทรัพยากรที่จ�ำกัด ผู้ว่าการภาครับเลือกทุกท่านเตรียมตัวมาดี วิทยากรทุกท่านท�ำหน้าที่ได้ดีเพราะ นายกรับเลือกแต่ละคนมีความรู้และ ประสบการณ์ด้านโรตารีไม่เท่ากัน วิทยากรผู้น�ำการอบรมจึงต้องกระตุ้น เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ไปพร้อมๆ กัน ตนเองได้รับทราบจากนายกรับเลือก บอกว่า เขาได้รับความรู้และประสบการณ์มากกว่าที่เขาคาดหวังไว้ก่อน เข้ารับการอบรม อผภ.อนุรักษ์ นภาวรรณ ประธาน Trainer ภาค 3360 อผภ.อนุรักษ์ กล่าวว่า การเตรียม เนื้ อ หาวิ ช าการอบรมเป็ น ไปตามวิ สั ย ทั ศ น์ และแผนกลยุทธ์ของโรตารี ในปีบริหารใหม่ นี้ รูปแบบการจัดอบรมเริ่มมีมาตรฐาน มีการ พัฒนาใช้เครื่องมือในการจัดอบรมโดยเฉพาะ Workbook ที่นายกรับเลือกสามารถจดบันทึก และน�ำไปใช้ได้ ในส่วนของภาค 3360 ฝ่าย วิชาการได้เตรียมวิทยากรผู้น�ำการอบรมสัมมนา โดยจัดอบรมวิทยากร ขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ที่จังหวัดเชียงใหม่ และอบรมเตรียมความพร้อม ของนายกรับเลือก Pre-PETS จ�ำนวน 4 ครั้งเนื่องจากแบ่งเป็น 4 โซน เพื่อให้นายกรับเลือกไม่ต้องเดินทางไกล และการอบรมเป็นไปอย่างมี ประสิทธิภาพ แต่วิทยากรก็ต้องเดินทางและใช้เวลามากขึ้นซึ่งวิทยากรทุก ท่านได้เสียสละเพื่อการอบรม Pre-PETS เป็นอย่างมาก การจัดอบรม Multi PETS ที่หาดใหญ่ครั้งนี้เจ้าภาพจัดได้ดีมาก

22 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2562

นายกรับเลือกมีการเตรียมตัวมาดี โดยเฉพาะการอบรมสัมมนาห้องย่อยมี การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ท�ำให้นายกรับเลือกจดจ�ำได้ดีและบางท่านก็ตื่นเต้น ที่ได้รับฟังเกี่ยวกับโครงการบ�ำเพ็ญประโยชน์ของภาคอื่น การอบรมครั้งนี้ มีผู้ที่มาร่วมประชุมให้ก�ำลังใจนายกจ�ำนวนมาก แต่ละปีวงล้อโรตารีหมุน ไปอย่างเข้มแข็งพร้อมๆ กับการสร้างผู้น�ำโรตารีได้อย่างมีประสิทธิภาพ อน.อภิศักดิ์ จอมพงษ์ สโมสรโรตารีแม่จัน ผู้น�ำการอบรม จากภาค 3360 อน.อภิศักดิ์ ท�ำหน้าที่น�ำการอบรมใน ห้องย่อยในวันแรกเรื่องการวางแผนงาน กล่าว ว่ า บรรยากาศในการอบรมสั ม มนาดี ม ากๆ ผู้เข้าอบรมมีส่วนร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น มีการแชร์ประสบการณ์ซึ่งกันและกัน ส่วน วันที่สองน�ำการอบรมเรื่อง My Rotary & Membership Leads ซึ่งเป็นเครื่องมือ Online เน้นให้เห็นความส�ำคัญ ที่จะน�ำสมาชิกมุ่งหวังหรือคนที่สนใจเข้ามาเป็นสมาชิกโรตารีได้ นายกรับ เลือกได้ให้ความสนใจในเรื่องใหม่ๆ อย่างนี้เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะคน รุ่นใหม่ที่ใช้เครื่องมือสารสนเทศด้าน IT นี้อยู่แล้ว นยล.เอกอนันต์ วิชิต สโมสรโรตารีเพชรตาปี ภาค 3330 นยล.เอกอนันต์ กล่าวว่า ครั้งนี้เป็นการ เข้ารับการอบรมนายกรับเลือกครั้งที่ 2 ได้เห็น วิวัฒนาการอบรมที่ดีขึ้น กระชับขึ้น กิจกรรม ดี การแนะน�ำตัวดี และมีการน�ำเทคโนโลยี เข้ามาช่วย ส�ำหรับการมาในครั้งนี้ได้เพื่อนต่าง ภาคมากขึ้น โรตารีจะท�ำให้มีเพื่อนได้เร็ว สนิท สนมกันเร็วเพราะทุกคนมีเป้าหมายเดียวกัน


ภาพบรรยากาศในงานเลี้ยงสังสรรค์นายกรับเลือก ภายใต้ธีมการแต่งกายสี Navy Blue

นยล.สุภาพร อื้อศรีวงศ์ สโมสรโรตารีอีคลับ ภาค 3340 นยล.สุภาพร กล่าวว่า ตนเองเป็น คนจังหวัดนครราชสีมา สังกัดสโมสรโรตารี อีคลับ ภาค 3340 ซึ่งสมาชิกส่วนใหญ่จะอยู่ที่ จังหวัดจันทบุรีและกระจายกันไป การประชุม ก็ประชุมออนไลน์เดือนละสองครั้งมีการแลก เปลี่ยนและนัดหมายท�ำกิจกรรมร่วมกันเหมือน สโมสรทั่วไป มาอบรมสัมมนานายกรับเลือก ครั้งนี้ได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ได้เพื่อนใหม่ต่างภาคที่พร้อมจะเป็นเครือข่ายใน การท�ำงานเป็นผู้น�ำโรตารีในอนาคตอันใกล้นี้ นยล.วิรัตน์ ต่อเทียนชัย สโมสรโรตารีพระปิ่นเกล้า-ธนบุรี ภาค 3350 นยล.วิรัตน์ กล่าวว่า ตนเองเป็นสมาชิก โรตารีมา 25 ปี โดยเป็นสมาชิกก่อตั้งของ สโมสรฯ เป็นครั้งแรกที่มารับต�ำแหน่งนายก รับเลือกหลังจากเกษียณจากงานประจ�ำ การ มาอบรมครั้งนี้ได้รับความรู้เพิ่มขึ้น ได้เข้าใจ การท�ำงานของโรตารี ได้รู้จักเพื่อนสมาชิก โรตารีต่างสโมสรและต่างภาคมากขึ้น ขอชม การจัดอบรมครั้งนี้จัดได้ดีมาก นยล.ดุสิต อภิจิต สโมสรโรตารีพะเยา ภาค 3360 นยล.ดุสิต เป็นสมาชิกโรตารีมาได้ 8 ปี เคยท�ำงานให้กับสโมสรในต�ำแหน่งต่างๆ มา หลากหลาย ครั้งนี้เมื่อได้รับความไว้วางใจให้ มารับต�ำแหน่งนายกสโมสร ได้เรียนรู้การเป็น ผู้น�ำสโมสรจากการเข้าอบรมสัมมนา รู้สึก สนุก อบอุ่น บรรยากาศในห้องประชุมดีมาก

ประทับใจการจัดงานและมิตรภาพระหว่างนายกรับเลือก ส่วนตัวได้ เตรียมนามบัตรมาหนึ่งกล่องน�ำมาแลกเปลี่ยนกับเพื่อนๆ จนหมด และได้ คุยกับนายกรับเลือกบางสโมสร ซึ่งอาจจะเป็นคู่มิตรท�ำโครงการร่วมกัน ในอนาคต นยล.สุพรรณ วิบูลย์มา สโมสรโรตารีพระนคร ภาค 3350 ในปีบริหาร 2559-2560 นยล.สุพรรณ ท�ำหน้าที่เป็นประธานภาพลักษณ์โรตารีของ ภาค 3350 ซึ่งเดิมทีผู้สัมภาษณ์เข้าใจผิดคิด ว่า นยล.สุพรรณ มารับต�ำแหน่งนายกรับเลือก รอบสอง ซึ่ง นยล.สุพรรณ กล่าวว่า ตนเอง ไม่เคยเป็นนายกสโมสรมาก่อน แต่ได้ท�ำงาน ในระดั บ ภาคก่ อ นที่ จ ะมาเป็ น นายกซึ่ ง แตก ต่างจากขั้นตอนทั่วไปที่จะต้องเป็นนายกสโมสรก่อนที่จะมาท�ำงานระดับ ภาค การมาอบรมเนื้อหาวิชาการโรตารีได้รับการอบรมอย่างเข้มข้นเมื่อ เข้าอบรม Pre-PETS ของภาค 3350 ที่หัวหิน ในการอบรม Multi PETS ตลอดระยะเวลาสามวันได้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์กัน แม้ว่าในช่วง สั้นๆ นี้ไม่สามารถที่จะเรียนรู้ทุกอย่างได้ทั้งหมด แต่สิ่งส�ำคัญคือได้เรียนรู้ ว่าจะหาแหล่งความรู้เพิ่มเติมได้จากไหน และได้รับฟังประสบการณ์การ ท�ำโครงการจากภาคอื่นที่ตนเองไม่เคยทราบมาก่อน รู้สึกตื่นเต้นและได้ รับประสบการณ์ที่ดีมากๆ จากการเข้ารับการอบรมนายกรับเลือกครั้งนี้ ผชภ.สุภาภรณ์ ศรีไสย สโมสรโรตารียะลา ผู้ประสานงานภาค 3330 ผชภ.สุภาภรณ์ กล่าวว่า หน้าที่หลัก ของตนเองคื อ ประสานงานกั บ ผู ้ ป ระสาน งานของแต่ละภาคที่ได้รับแต่งตั้งส�ำหรับการ ประชุม Multi PETS โดยจะรับข้อมูลของ นายกรับเลือกทั้งหมด วิทยากร ผู้ติดตาม ซึ่ง


Multidistrict PETS 2019-20 @ Hat Yai

ต้องก�ำหนดเวลาในการจัดส่งเพื่อให้ทันกับการเตรียมงาน บางสโมสรส่ง ชื่อมาแล้วแต่ภายหลังได้เปลี่ยนตัวนายกรับเลือกก็มี ส�ำหรับในภาค 3330 เองได้ประสานงานกับนายก เลขานุการสโมสรโดยตรง เมื่อได้แล้วก็ส่งให้ กับฝ่ายที่เกี่ยวข้องท�ำการจองที่พักและจัดรถรับส่ง จัดโปรแกรมการเดิน ทาง และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ต่อค�ำถามถึงความรู้สึกในการท�ำงานเป็นผู้ประสานงานว่าเป็นงานที่ มีรายละเอียดปลีกย่อย ใช้เวลาในการติดตามประสานงานเป็นอย่างมาก ผชภ. สุภาภรณ์ กล่าวว่า งานเยอะมากจริงๆ แต่อยู่ที่ใจ ท�ำด้วยความ เต็มใจ ต้องเสียสละเวลาเป็นอย่างมาก ตอนนี้ตนเองเกษียณแล้วจึงมีเวลา ท�ำงานให้กับโรตารีแต่ขอออกตัวว่าตนเองเป็นคนไม่เก่ง เมื่อไม่เก่งก็ต้อง เรียนรู้ให้มากๆ ในปีหน้าจะท�ำหน้าที่เลขานุการภาค ซึ่งเสร็จจากงานนี้ก็ เตรียมจัดท�ำท�ำเนียบภาค และงานของภาคในปีบริหารต่อไป ได้เรียนรู้ งานใหม่ๆ ซึ่งถือเป็นโอกาสที่ดีและเปิดโลกทัศน์ใหม่ให้กับตนเองด้วย นย.ไกร ผลประทุมแสน สโมสรโรตารีนครหาดใหญ่ ภาค 3330 ประธาน SAA ทีมงาน SAA เป็นอีกทีมงานหนึ่งที่มี บทบาทส�ำคัญในการจัดประชุม Multi PETS ในครั้งนี้ นายก ไกร ซึ่งเป็นประธาน SAA กล่าว ว่า ได้มีการคัดเลือกผู้ที่จะมาเป็น SAA ครั้งนี้ว่า จะต้องเป็นนายกสโมสรหรืออดีตนายกสโมสร โรตารีในจังหวัดสงขลาและสตูล เนื่องจาก สามารถมาประชุมเพื่อเตรียมงานร่วมกันได้ทุกครั้ง การที่ก�ำหนดให้เป็น นายกหรืออดีตนายกสโมสร เพื่อต้องการผู้ที่มีประสบการณ์ผ่านการเข้า อบรม Multi PETS มาก่อน เพื่อจะได้เข้าใจบทบาทและความต้องการ ของผู้เข้ารับการอบรม เป็นลักษณะของการให้พี่ดูแลน้อง ทีมงานได้มี การเตรียมงานมากกว่า 6 เดือน คณะกรรมการจัดงานได้ให้ความส�ำคัญ กับการปฏิบัติงานของ SAA มีอดีตผู้ว่าการภาคสองท่านมาให้ค�ำแนะน�ำ

24 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2562

หน้าที่และการปฏิบัติงานของ SAA รวมทั้งการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า คือ อผภ.สมภพ ธีระสานต์ และ อผภ.วิชัย มณีวัชรเกียรติ รวมทั้งอบรม ด้านจิตวิทยา ให้ทุกคนมีความภาคภูมิใจที่ได้มีโอกาสมาร่วมปฏิบัติงานใน หน้าที่นี้ ในการปฏิบัติงานจริงต้องใช้หลักการบริการ มนุษยสัมพันธ์ และการ แก้ปัญหาเฉพาะหน้า เช่น จ�ำนวนคนที่แจ้งมา 4 คนแต่มาจริงมากกว่านั้น แม้การปฏิบัติงานในหน้าที่นี้จะเป็นภารกิจที่หนักพอสมควร แต่ก็มีความ ภาคภูมิใจที่ได้ท�ำงานนี้ ตอนที่ตนเองเป็นนายกรับเลือกไปอบรม Multi PETS ที่จังหวัดขอนแก่นก็ได้รับการดูแลเป็นอย่างดีจากผู้จัดงาน เมื่อมา ท�ำหน้าที่นี้จึงภูมิใจที่ได้ท�ำงานให้กับภาคที่รับเป็นเจ้าภาพในปีนี้ ภาพใบหน้ า ที่ ยิ้ ม แย้ ม และการทั ก ทายกั น ของมิ ต รโรแทเรี ย นจาก 344 สโมสร ที่มาพบปะกันเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการที่จะเป็นผู้น�ำ สโมสรโรตารีในครั้งนี้ เป็นภาพที่ประทับใจ และแน่นอนเขาเหล่านี้จะเป็น พลังส�ำคัญในการขับเคลื่อนวงล้อของโรตารีในการ “บริการเหนือตนเอง” ให้ยั่งยืนตลอดไป อน.ธนเดช เตชะทวีกิจ สโมสรโรตารีกาญจนวนิช-หาดใหญ่ ภาค 3330

กรรมการฝ่ายประเมินผล การประเมินผลการอบรมครั้งนี้เป็นการ ประเมิลผลโดยใช้โทรศัพท์มือถือสแกน QR Code หลังจากเสร็จสิ้นการอบรม ซึ่งสะดวก และรวดเร็ว รู้ผลการประเมินได้ทันที มี ประสิทธิภาพเป็นอย่างมาก อน.ธนเดช กล่าว ว่า เดิมการประเมินผลใช้กระดาษ ต่อมาใช้ QR Code ซึ่งการประเมินผลนี้จะประเมินเฉพาะในส่วนของการอบรม ด้านวิชาการ ซึ่งผลของการอบรมจะน�ำส่งให้กับ อผภ.วิชัย มณีวัชรเกียรติ ประธานฝ่ายวิชาการ เพื่อวิเคราะห์ และเมื่อจบงาน คณะกรรมการก็จะ ประชุมสรุปผลการจัดงานต่อไป


ภาพพิธีปิดการประชุมพร้อมส่งมอบธงเจ้าภาพต่อให้ภาค 3360 ซึ่งจะเป็น เจ้าภาพจัดงานในครั้งต่อไป ภาพบรรยายกาศผู้เข้าร่วมประชุมร่วมกันร้องเพลงและจับมือกันในพิธีปิด

ขอบคุณ ผู้สนับสนุนการประชุม


D.3330 บรรณาธิการ ภาค 3330 โรตารีสากล

อผภ.จุฑาทิพย์ ธรรมศิริพงษ์ สร.พระปฐมเจดีย์

ความสมดุลระหว่างชีวิต และการท�ำงานเป็นเรื่อง ส�ำคัญส�ำหรับทุกๆ คน ในแต่ละวันต้องใช้ความคิด ทั้งแรงกาย แรงใจ เวลาให้กับการต่อสู้กับกระแสที่แรงมากระทบกับธุรกิจ หากโรแทเรียนประสบความผันผวนของธุรกิจ ซึ่งคงส่งผลกับ เวลาความเครียดจะเข้ามาสู่จิตใจ ร่างกาย ดังนั้น จิตใจที่เป็น “ผู้ให้” จะท�ำให้จิตใจรู้สึกสับสน แต่ดิฉันอยากบอกว่า ไม่ว่าเราจะเป็นใคร ทุกคน ทุก อาชีพ ล้วนแล้วแต่มีความหวัง มีความรู้สึกที่ห่วงใยซึ่งกันและ กันเสมอมา มวลมิตรโรแทเรียนคะ ดิฉันเชื่อว่าพวกเราผ่าน เรือ่ งราวทัง้ ในชีวติ ประจ�ำวัน ชีวติ ของการทีอ่ ทุ ศิ ตนเป็นผูใ้ ห้มา ตลอด เชือ่ เถอะว่าผลแห่งความคิดดี คือ คิด พูด และกระท�ำ เรา มีสงิ่ ทีย่ ดึ เหนีย่ วจิตใจคือคิดในสิง่ ทีด่ ตี อ่ ตัวเองและผูอ้ นื่ เสมอ ก่อ ให้เกิดความเป็นธรรมกับทุกๆ คนทีเ่ กีย่ วข้อง น�ำมาซึง่ ไมตรีจติ มิตรภาพที่ไม่มีวันสิ้นสุด จนเราทุกคนยอมรับว่าก่อให้เกิดผลดี กับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเสมอมา ดังนั้น พวกเราจะยึดมั่นในบททดสอบ 4 แนวทางไว้ ใช้เตือนสติ เมือ่ เรากระทบต่อสิง่ ต่างๆ ทีจ่ ะเกิดขึน้ ได้เป็นอย่าง ดี ด้วยคุณภาพของความเป็นโรแทเรียน แล้วอย่าลืมเผื่อแผ่ให้ ผู้อื่นด้วยนะคะ

26 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2562

โรทาแรคท์: หนทางหนึ่งของการสร้างโรแ อน.วีระ หริจันทนะวงศ์ สโมสรโรตารีทุ่งคา ประธานคณะกรรมการโรทาแรคท์ภาค ภาค 3330 โรตารีสากล สั ป ดาห์ ร ะหว่ า งวั น ที่ 13 มี น าคมของทุ ก ปี ถื อ เป็ น สั ป ดาห์ โรทาแรคท์โลก (World Rotaract Week) ซึง่ ในปีนตี้ รงกับวันที่ 11-17 มีนาคม 2562 จึงเป็นช่วงเวลาที่เหมาะเป็นอย่างยิ่งที่โรทาแรคเทอร์และโรแทเรียน ทั่วโลก ได้มีโอกาสเฉลิมฉลองการก่อตั้งสโมสรโรทาแรคท์แห่งแรกขึ้น เมื่อปี พ.ศ.2511 และเป็นเวลาอันเหมาะสมส�ำหรับสโมสรโรทาแรคท์และสโมสร โรตารีอปุ ถัมภ์ทจี่ ะด�ำเนินกิจกรรมการร่วมกัน ส่งเสริมการอุทศิ ตนของสโมสร โรทาแรคท์แก่ชมุ ชนได้ตลอดทัง้ สัปดาห์ หลังจากนัน้ ประมาณ 9 เดือนก็ได้กอ่ ก�ำเนิดสโมสรโรทาแรคท์แก่ชุมชนได้ตลอดทั้งสัปดาห์ หลังจากนั้นประมาณ 9 เดือนก็ได้กอ่ ก�ำเนิดสโมสรโรทาแรคท์วทิ ยาลัยฝึกหัดครูนครสวรรค์ ภายใต้ ความอุปถัมภ์ของสโมสรโรตารีนครสวรรค์ ขึน้ เป็นสโมสรแรกของประเทศไทย ซึ่งปัจจุบันถูกยุบไปแล้ว จวบจนถึงปัจจุบันประเทศไทย ณ วันนี้มีสโมสร โรทาแรคท์รวมทั้งสิ้น 61 สโมสร แยกตามภาคดังนี้ ภาค 3330 มี 32 สโมสร ภาค 3340 มี 5 สโมสร ภาค 3350 มี 16 สโมสร และภาค 3360 มี 8 สโมสร จากวิสัยทัศน์ของโรตารีที่มีความประสงค์จะเพิ่มจ�ำนวนของโรแทเรียน ที่ดีได้ในอนาคต จึงด�ำริให้โรทาแรคท์สามารถเข้าร่วมในสโมสรโรตารี และ มีสมาชิกซ้อนได้จนกว่าจะออกโรทาแรคท์ ด้วยเห็นว่าโรทาแรคเทอร์เหล่า นั้นประกอบด้วยเยาวชน ตั้งแต่อายุ 18-30 ปี เป็นวัยที่เหมาะสมที่สามารถ เร่งขึ้นไปเป็นโรแทเรียนได้ไม่ยาก ด้วยการหว่านเมล็ดพันธุ์แห่งความรักตาม


แทเรียนที่ดีในอนาคต อุดมคติของโรตารี เพือ่ ทีจ่ ะแตกกิง่ ก้านสาขาออกผลสืบทอดอุดมการณ์ แห่งการบ�ำเพ็ญประโยชน์ของโรตารีต่อไปได้ในอนาคต จากประสบการณ์ของผู้เขียน ที่ได้ด�ำรงต�ำแหน่งประธาน คณะกรรมการโรทาแรคท์ภาค ภาค 3330 มาถึงปัจจุบัน 4 ปีบริหาร ของโรตารี จึงขอฝากสิ่งเล็กๆ น้อย ที่จะช่วยให้สโมสรโรทาแรคท์ภาย ใต้ความอุปถัมภ์ของสโมสรโรตารีของท่าน และสโมสรโรตารีที่มีความ ประสงค์จะก่อตัง้ สโมสรโรทาแรคท์ขนึ้ ให้มคี วามเข้มแข็งและยัง่ ยืน พอ สรุปได้ดังนี้ 1.สโมสรโรตารี ทีม่ คี วามประสงค์จะก่อตัง้ สโมสรโรทาแรคท์ ขึ้นใหม่ โปรดศึกษาให้ถ่องแท้ว่า สโมสรและชุมชนของท่านต้องการ สโมสรโรทาแรคท์แบบใดระหว่าง สโมสรในสถานทีศ่ กึ ษา (University Based) หรือสโมสรในชุมชน (Community Based) เพื่อให้การก่อตั้ง ส�ำเร็จลุล่วงไปจนกระทั่งถึงความเข้มแข็งและยั่งยืนของสโมสร เพราะ ทั้ง 2 ประเภทแตกต่างกันโดยสิ้นเชิงในแง่ของความต่อเนื่องและการ อุปถัมภ์ 2.สโมสรโรทาแรคท์ ที่ประสบความส�ำเร็จขึ้นอยู่กับสโมสร โรตารีอุปถัมภ์ โรแทเรียนควรท�ำกิจกรรมบ�ำเพ็ญประโยชน์เคียงบ่า เคียงไหล่ไปกับโรทาแรคเทอร์ เพื่อพัฒนาชีวิตผู้คนในท้องถิ่นและทั่ว โลก เป็นพี่เลี้ยงและเพื่อนผู้ร่วมบ�ำเพ็ญประโยชน์ต่อกัน (Rotaract: Rotary Club Partner) 3.หากสโมสรโรตารีอุปถัมภ์ มาถึงจุดของความรู้สึกว่าเป็น

ภาระในการอุปถัมภ์ ก็สามารถหาสโมสรโรตารีในพื้นที่ของท่านมา ร่วมอุปถัมภ์ โดยสามารถร่วมกันได้มากถึง 3 สโมสรเพื่ออุปถัมภ์ โรทาแรคท์หนึ่งสโมสร โดยจะต้องแบ่งปันความรับผิดชอบในการ สนับสนุนและเป็นพี่เลี้ยงให้กับโรทาแรคเทอร์ 4.โรแทเรี ย นในสโมสรโรตารี อุ ป ถั ม ภ์ ควรให้ เ กี ย รติ กั บ บุคลากรทางสถานที่ศึกษา ไม่ว่าจะเป็นผู้อ�ำนวยการวิทยาลัย อธิการ และอาจารย์ที่ปรึกษา หากเป็นสโมสรที่ก่อตั้งในสถานที่ศึกษา โดย เฉพาะอาจารย์ทปี่ รึกษาจะเป็นผูท้ ำ� หน้าทีป่ ระสานงานระหว่างสโมสร โรตารีอุปถัมภ์กับฝ่ายบริหารของวิทยาลัยหรือมหาวิทยาลัย 5.พึงหลีกเลี่ยงจากการโดนยุบสโมสรโรทาแรคท์ ซึ่งเป็นไป ได้มากที่สุดประการหนึ่ง คือ การที่สโมสรละเลยต่อการรายงานชื่อ นายกสโมสรใน My Rotary และยืนยันบัญชีรายชื่อสมาชิกสโมสรบน เพจ (Club Administration ที่ My Rotary) ดังนัน้ น่าจะพูดได้วา่ ถือเป็นหน้าทีข่ องสโมสรโรตารีอปุ ถัมภ์ ที่จะต้อง สนับสนุนและดูแลสโมสรโรทาแรคท์ในความอุปถัมภ์ของ ท่าน เคียงบ่าเคียงไหล่ไปด้วยกัน เขาและเธอเหล่านั้นล้วนเป็นหนึ่งใน ครอบครัวโรตารีของท่าน เพราะหากไม่ดูและและใส่ใจกันแล้วก็คงไม่ แคล้วที่เคยมีอดีตนายกท่านหนึ่งเคยให้ค�ำจัดความสั้นๆ ไว้ว่า “ไข่แล้ว ทิ้ง


D.3330 Activities กิจกรรม สโมสรโรตารีกาญจนบุรีและสโมสรโรตารีอือ จองบู ภาค 3690 คู่มิตรจากประเทศเกาหลี ร่วมกันท�ำพิธสี ง่ มอบโครงการน�ำ้ สะอาด ประปาหมูบ่ า้ น ณ บ้าน พุน�้ำร้อน จ.กาญจนบุรี สโมสรโรตารีทวารวดี จัดโครงการรักการอ่าน ปีที่ 3 โดยการอบรมครูในจังหวัด นครปฐม Free English Online Program Year 3 (DG#1977025) มอบหนังสือเรียนภาษาอังกฤษให้กบั โรงเรียน ที่ผ่านการคัดเลือกจากโรงเรียนที่น�ำภาษาอังกฤษออนไลน์ไป สอนให้กับนักเรียน ณ ศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม สโมสรโรตารีทวารวดี ร่วมกับ สโมสรโรตารีกระทุ่มแบน มอบรถเข็นวีลแชร์ และแว่นสายตายาว ปีที่ 3 ณ โรงพยาบาล ก�ำแพงแสน จ.นครปฐม

สโมสรโรตารีนครศรีวีรไทย เดินรณรงค์หยอดวัคซีนโปลิโอที่ตลาดสดเทศบาลและท่าวัง และแจกถุงผ้าลดโลกร้อน ส�ำหรับท่านที่ร่วมสมทบทุนบริจาค หยอดโปลิโอในครั้งนี้ สโมสรโรตารีสนามจันทร์ ร่ ว มกั บ ดี ไ ลท์ ค อนโด นครปฐม 41/4 จัน ทราคามพิทักษ์ ...โครงการ “โรตารีสนามจันทร์รว่ มสร้างแรงบันดาลใจ ลดใช้ถงุ พลาสติก (ถุงผ้าให้ยืม) “ ส่งเสริมการรักษาสภาพสิ่งแวดล้อม ลดใช้ถุงพลาสติก ด้วยบริการให้ยืมถุงผ้าหรือแบ่งปันถุงผ้าเพื่อ น�ำกลับมาใช้ร่วมกันในคอนโด

สโมสรโรตารีราชบุรี จัดโครงการหนูน้อยฟันดี เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2562 28 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2562


DISTRICT 3330 RI

DISTRICT T RAI N I N G ASSEM B LY

2019

PROMO

TION

+ + 0 0 7 1, a h t การอบรมภาคประจำปีภาค 3330 โรตารีสากล ประจำปี 2562-2563

วันที่ 10-12 พฤษภาคม 2562 ณ โรงแรมธรรมรินทร์ ธนา จังหวัดตรัง วันที่

เรื่อง

10/5/2562 11/5/2562 12/5/2562

การอบรม Grant Management การอบรม YE การอบรมภาค 3330 (DTA) ร่วมงานสถาปนาผู้ว่าการภาค การอบรมพัฒนาสมาชิกภาพ

B ียนก่อน ลงทะเบ.ย 10 เม . 62

ลงทะเบียนก่อน 10 เม.ย.62

ราคา(บาท)

400 200 1,700 400

สำหรับผู้ที่เข้างานสถาปนาผู้ว่าการภาคฯอย่างเดียวในคืนวันเสาร์ที่ 11 พ.ค. 62

@dta3330

dta 3330

Line@

SCAN ME

ราคา(บาท)

500 200 1,900 500 600 บาท


D.3340 บรรณาธิการ ภาค 3340 โรตารีสากล

รทร.เดียร์ราห์ พิบูลย์วัฒนวงษ์ สร.หมากแข้ง

ท�ำงานโรตารีอย่างสนุกสนาน เผลอเดีย๋ วเดียวก็เข้าสู่ ช่วงปลายของปีบริหารเสียแล้ว หลายสโมสรในภาค 3340 ต่าง ก็เร่งท�ำงานในโครงการต่างๆ ที่ได้วางไว้ก่อนจะจบปีบริหารไป พร้อมกับการวางตัวคณะกรรมการชุดใหม่ที่จะเข้ามาสานงาน ต่อ “Rotary Connects the World” “โรตารีเชื่อมสัมพันธ์ โลก” ภาค 3340 โดยท่าน ผวภ.สุรพล ทวีแสงสกุลไทย ท่าน ได้ให้การสนับสนุน และใส่ใจต่อการท�ำกิจกรรม หรือโครงการ บ�ำเพ็ญประโยชน์ต่างๆ กับทุกสโมสรอย่างมาก ที่ส�ำคัญท่าน ได้ร่วมกับอดีตผู้ว่าการภาคหลายท่านเดินสายให้ความรู้ความ เข้าใจต่อการเป็น “โรตารี” เพื่อที่ภาค 3340 จะได้สมาชิกที่ มีความเป็น “โรแทเรียน” จากจิตใจ และได้โครงการบ�ำเพ็ญ ประโยชน์ที่เข้าถึงผู้ด้อยโอกาสอย่างแท้จริง ในฉบับนี้ โรทาแรคท์เป็นรุ่นลูกๆ คนส�ำคัญของเรา ที่จะน�ำเสนอให้ได้เห็นถึงความสามารถ และความตั้งใจจริงใน การเป็นจิตอาสาของเยาวชน สิง่ ทีโ่ รทาแรคท์ ในภาค 3340 ได้ เรียนรูโ้ ดยมีโรแทเรียนเป็นผูค้ อยช่วยเหลือ ได้ออกแสดงเป็นผล งานทีน่ า่ ภาคภูมใิ จ เราได้เห็นแววของความเข้มแข็ง และความ มุ่งมั่นที่ภาค 3340 ยินดีน�ำเสนอในฉบับนี้ ท้ายนี้ ขอเป็นฉบับที่ไม่กล่าวยาวเกินงาม แต่ขอทุก ท่านเดินหน้าสร้างแรงบันดาลใจ เพื่อผู้ด้อยโอกาสกว่าเราใน สังคมต่อไปอย่างมีความสุขค่ะ

30 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2562

ก้าวย่างสู่... บริการเหนือตนเอง

ดร.สิทธิศักดิ์ อาจหาญ

ครูที่ปรึกษาสโมสรโรทาแรคท์ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีศรีสะเกษ ครูช�ำนาญการพิเศษ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีศรีสะเกษ กรรมการสภาสถาบันการอาชีวศึกษาเกษตรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ย้อนไปในปี พ.ศ.2560 ข้าพเจ้าได้รับการติดต่อประสานงาน จากสโมสรโรตารีศรีสะเกษ เรือ่ งการจัดตัง้ สโมสรโรทาแรคท์ ของวิทยาลัย เกษตรและเทคโนโลยีศรีสะเกษ ซึ่งผู้บริหารของวิทยาลัยให้การสนับสนุน เต็มที่ ข้าพเจ้าตอบตกลง เป็นที่ปรึกษาของสโมสร ร่วมกับคุณครูสุกานดา อาจหาญ พิธีการสถาปนาเป็นไปด้วยความเรียบร้อย การระดมสมาชิก รุ่นแรกได้ผลดี มีสมาชิกจ�ำนวน 107 คน จากสาขาวิชาที่หลากหลายเช่น สัตวศาสตร์ พืชศาสตร์ ช่างกลเกษตร ประมง และบริหารธุรกิจ ด้วยความ เป็นสิง่ ใหม่ ทุกอย่างจึงดูคกึ คัก ความกระตือรือร้นแผ่ซา่ นไปทัง้ สโมสร จน กระทั่งวันประชุมใหญ่ข้าพเจ้าจ�ำได้ดีว่า ลูกศิษย์คนหนึ่งยกมือถามด้วย ค�ำถามเรียบง่ายว่า เป็นสมาชิกแล้วต้องท�ำอะไร แล้วจะได้อะไร ค�ำตอบที่ ข้าพเจ้าตอบในวันนั้นคือ ท�ำกิจกรรมร่วมกันก่อน แล้วจะได้ค�ำตอบเอง โจทย์ใหญ่ส�ำหรับคณะกรรมการสโมสรในตอนนั้นคือ ค�ำตอบ ที่ดีที่สุดคืออะไร เราเริ่มจากค�ำขวัญของสโมสรที่ว่า คิดได้ ท�ำเป็น เห็น ประโยชน์สังคม พวกเราเริ่มนับหนึ่งจากการร่วมคิด ว่าเราจะท�ำอะไรที่ ท�ำได้จริง เป็นความถนัดของเรา แล้วยังต้องสร้างรายได้ที่พึ่งพาตัวเองได้ ประการส�ำคัญคือ การพัฒนาเป็นอาชีพที่จะสร้างสรรค์ประโยชน์สู่สังคม ในช่วงนั้นชมรมบริหารธุรกิจ มีกิจกรรมลูกประคบสมุนไพรที่พัฒนาตัว ผลิตภัณฑ์แล้ว ได้รับรางวัลชนะเลิศการประชุมวิชาการระดับชาติ ประจ�ำ ปีการศึกษา 2560 ขององค์การเกษตรกรในอนาคตแห่งประเทศไทยใน


สโมสรโรทาแรคท์วทิ ยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีศรีสะเกษ ก่อตัง้ ขึน้ เมือ่ พ.ศ.2560 โดยการริเริ่มของสโมสรโรตารีศรีสะเกษจากผู้ใหญ่ใจดีหลายท่าน อาทิ คุณสมชาย ชาวสวน คุณเดชวิชัย เดชบุรัมย์ และสานต่อมาถึงคุณณรงค์ ฝอยทอง นายกสโมสรโรตารีศรีสะเกษในปัจจุบัน เพียงสองปีแห่งการก้าวย่างสู่การพัฒนา มวลสมาชิกตามแนวทางของโรตารีเป็นเรื่องน่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง จุดเริ่มต้นมาจากการตั้งค�ำถามในวันสถาปนาสโมสรว่า เราจะท�ำ อะไร มาสู่บทสรุปของแนวทางที่ชัดเจนว่า เริ่มจากการพัฒนาอาชีพของตนเอง ท�ำให้ประสบความส�ำเร็จแล้วจึงเผื่อแผ่สู่บุคคลอื่น นับแต่บัดนั้นเป็นต้นมา สโมสร โรทาแรคท์ วิทยาลัยเกษตร และเทคโนโลยีศรีสะเกษจึงเริม่ ต้นบทบาทของการเป็น ส่วนหนึ่งของโรตารีอย่างแท้จริง วิ ท ยาลั ย เกษตรและเทคโนโลยี ศ รี ส ะเกษ เป็ น สถานศึ ก ษาสั ง กั ด ส�ำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ พวกเรามีองค์กร นักศึกษาที่เข้มแข็งคือ องค์การเกษตรกรในอนาคตแห่งประเทศไทย ในพระ ราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ซึ่งมีคติพจน์ว่า เรา เรียนรู้ด้วยงานการฝึกหัด เราปฏิบัติเพื่อหวังทางศึกษา หาเลี้ยงชีพเพื่อชีวิตพัฒนา ใช้วชิ าเพือ่ บริการงานสังคม ซึง่ สามารถบูรณาการมาสูก่ จิ กรรมของโรทาแรคท์อย่าง สนิทเป็นเนื้อเดียวกัน สโมสรโรทาแรคท์ วิ ท ยาลั ย เกษตรและเทคโนโลยี ศ รี ส ะเกษ โดย คณะกรรมการสโมสรเริ่มจากการคัดเลือกกิจกรรมชมรมวิชาชีพของสมาชิกที่น่า สนใจเป็นจุดเริ่มต้น ลูกประคบสมุนไพรเกษตรศรี 4.0 ซึ่งเป็นผลงานของชมรม บริหารธุรกิจ ถูกหยิบยกมาเป็นสารตั้งต้น พัฒนาให้เป็นกิจกรรมแกนหลักในการ พัฒนาให้ความรูข้ องความเป็นโรแทเรียนทีด่ ี การเข้าถึงจิตใจของความเป็นจิตอาสา ผู้ที่ได้กุศลมากที่สุด คือผู้ที่บ�ำเพ็ญประโยชน์ดีที่สุด (One Profits Most Who Serves Best)

พระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี มวล สมาชิกจึงเลือกเอากิจกรรมนี้มาเป็นแกนกลางในการท�ำงานร่วมกัน แก้ปัญหาร่วมกัน ล้มเหลวบ้าง ส�ำเร็จบ้าง สโมสรพี่เลี้ยงคือสโมสร โรตารีศรีสะเกษ ช่วยเหลือในการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่ทันสมัยขึ้น ชวน ไปจ�ำหน่ายสินค้าในวันส�ำคัญต่างๆ ได้เงินมาเป็นทุน แต่ที่ส�ำคัญคือ การสอดแทรกวิถีแห่งโรตารีเข้าไปในกิจกรรม การเข้าประชุมร่วมกับ สโมสรโรตารีศรีสะเกษ เพื่อรับฟังเรื่องราวที่เป็นประโยชน์น�ำมาสู่ข้อ สรุปว่า คิดเพื่อตัวเองไม่พอ ต้องคิดเพื่อผู้อื่นด้วย (สอนคิด) ท�ำเพื่อตัว เองดีแล้ว แต่จะดีกว่าถ้าท�ำเพื่อผู้อื่นด้วย (สอนท�ำ) สโมสรประสบผล ส�ำเร็จก็เป็นทีน่ า่ ยินดี แต่จะภาคภูมใิ จมากกว่า ถ้าเราท�ำเพือ่ สังคมบ้าง (สอนใจ) ดังนัน้ ในปีแรก เราจึงเปิดอบรมสอนการท�ำลูกประคบสมุนไพร ให้กบั นักเรียน โรงเรียนในโครงการทวิศกึ ษาได้ 3 โรงเรียน สมาชิกสนุก สังคมได้ประโยชน์ โรทาแรคท์เกษตรศรีเริ่มก้าวเดินก้าวแรกแล้วด้วย ความเชือ่ มัน่ ในระดับหนึง่ ได้แล้วส�ำหรับค�ำตอบแรกว่าเป็นสมาชิกแล้ว ต้องท�ำอะไร ในปีนี้ ก้าวที่สองของโรทาแรคท์เกษตรศรีกับสมาชิกจ�ำนวน 97 คน สโมสรตั้งธงไว้ว่า ต้องแสวงหาค�ำตอบให้ได้ว่า เป็นสมาชิก โรทาแรคท์แล้วจะได้อะไร ด้วยการสนับสนุนอย่างแข็งขันของสโมสร โรตารี ศ รี ส ะเกษ เรายั ง คงมุ่งมั่น การพึ่งพาตนเองด้ว ยรายได้ จ าก ผลิตภัณฑ์ลูกประคบสมุนไพรเกษตรศรี 4.0 ต่อยอดด้วยผลิตภัณฑ์ตัว ที่สอง ชาสมุนไพร สาระพันชา ซึ่งท�ำได้ ขายดี มีก�ำไร สโมสรเข้าไปมี ส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ มากขึ้นอาทิ การร่วมเดินรณรงค์ลดการใช้ ถุงพลาสติกในนามของสโมสรเอง จัดเสวนาการพัฒนาอาชีพร่วมกับ สโมสรโรตารีศรีสะเกษ จัดนิทรรศการอาชีพของมวลสมาชิกที่หลาก

หลายมากขึ้น อาทิ การเลี้ยงโคขุน การเลี้ยงปลาหมอพันธุ์ผสม การ ปลูกจิงจูฉา่ ย ทัง้ หมดแม้จะเป็นโครงการเล็กๆ ลงทุนน้อย รายได้ไม่มาก แต่ที่ส�ำคัญคือ หนึ่งปีของการท�ำกิจกรรมร่วมกันพวกเราได้ค�ำตอบที่ ชัดเจนแล้ว โรทาแรคท์ ให้อะไรมากกว่าทีเ่ ราคิด และเป็นไปในแนวทาง เดียวกับคติพจน์ขององค์การเกษตรกรในอนาคตแห่งประเทศไทยใน พระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ซึ่ง เป็นองค์กรของนักศึกษาเกษตรที่ว่า เราเรียนรู้ด้วยงานการฝึกหัด เรา ปฏิบตั เิ พือ่ หวังทางศึกษา หาเลีย้ งชีพเพือ่ ชีวติ พัฒนา ใช้วชิ าเพือ่ บริการ งานสังคมอย่างสวยงาม โรทาแรคท์สอนว่า งานเล็กงานใหญ่ ไม่ส�ำคัญ ให้เริ่มจากการพัฒนาอาชีพของตนเอง ท�ำให้ประสบความส�ำเร็จ แล้ว จึงเผื่อแผ่สู่บุคคลอื่น ดังนั้นอะไรที่ท�ำได้ในวันนี้ เป็นความต้องการ ของสังคม ท�ำแล้วเกิดประโยชน์ นั่นคือบทบาทหน้าที่ที่มวลสมาชิก โรทาแรคท์พึงกระท�ำน�ำไปสู่ค�ำตอบที่ว่า สิ่งที่จะเราได้คือความภาค ภูมิใจในตนเองในฐานะสมาชิกที่ดีของสังคม สมดังเจตนารมณ์ ผู้ที่ได้ กุศลมากทีส่ ดุ คือผูท้ บี่ ำ� เพ็ญประโยชน์ดที สี่ ดุ (One Profits Most Who Serves Best) นั่นเอง สโมสรโรทาแรคท์วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีศรีสะเกษ ยังคงก้าวเดินต่อไป เรื่องที่คิดจะท�ำ ไม่ใหญ่ ไม่ยาก อยู่ในวิสัยที่เรา ท�ำได้ คงไว้ซึ่งแนวทาง สอนคิด สอนท�ำ สอนใจ ตอกย�้ำค�ำขวัญ คิดได้ ท�ำเป็น เห็นประโยชน์สงั คม ในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของสโมสร ไปให้นานที่สุด ซึ่งคงต้องอาศัยการสนับสนุนจากมวลสมาชิกโรตารีใน ทุกระดับ ด้วยจุดหมายเดียวกันคือพิสจู น์ให้เห็นว่า อุดมการณ์แห่งการ บริการเหนือตนเอง มิใช่เป็นเพียงค�ำพูดที่สวยหรู แต่สามารถพิสูจน์ให้ เห็นได้จากการกระท�ำจริง


D.3340 Activities กิจกรรม

สโมสรโรตารีหมากแข้ง จัดกิจกรรมวิ่งการกุศล โรตารี มาราธอน 2019 (ครั้งที่ 3) ซึ่งการจัด กิจกรรมครั้งที่ 3 นี้ เป็นการจัดในระยะ Full มาราธอน 42 กม. โดย มี อผภ.วิวฒ ั น์ พิพฒ ั น์ไชยศิริ เป็นประธานจัดงาน และได้รบั เกียรติจาก ผวภ.สุรพล ทวีแสงสกุลไทย เป็นประธานเปิดกิจกรรม พร้อมปล่อย ตัวนักวิ่งทุกระยะทาง กิจกรรมครั้งนี้ได้รับการตอบรับจากนักวิ่งที่เข้า สโมสรโรตารีมูลริเวอร์ จัดโครงการแจกแว่นสายตาฟรี เพื่อน้องที่มีปัญหาด้านสายตา แก่นักเรียน ได้แก่โรงเรียนเทศบาลวารินวิชาชาติ โรงเรียน เทศบาลบ้านสุขส�ำราญ โรงเรียนเทศบาลบ้านหนองตาโผ่น (มิตรภาพที่ 5) โรงเรียนวิจิตราพิทยา และโรงเรียนลือคําหาญ วารินชําราบ เพื่อน้องที่มีปัญหาด้านสายตา ซึ่งเป็นกิจกรรม ที่จัดขึ้นเพื่อให้การช่วยเหลือเด็กนักเรียนที่มีปัญหาทางด้าน สายตา (สั้น ยาว เอียง) ที่ส่งผลกระทบต่อการเรียนในชั้นเรียน ณ หอประชุมศาลาประชาวาริน จ.อุบลราชธานี

สโมสรโรตารีจันทบูร ท�ำกิจกรรมมอบโต๊ะพร้อมเก้าอี้ 20 ชุด ข้าวสาร 50 ถุง พร้อม ทั้งได้เลี้ยงอาหารกลางวันแก่เด็กนักเรียน ให้กับโรงเรียนวัด หนองคัน ต.ตะกาดเง้า อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี

สโมสรโรตารี อี-คลับ ดอลฟิน พัทยา สโมสรอี-คลับ ภาค 3340 และสโมสรโรตารี อีสเทอร์น ซีบอร์ด ร่วมประชุมกับสโมสรโรตารี Tropicana Damansara ประเทศ มาเลเซีย เนื่องในงานครบรอบ 8 ปี และได้รับการต้อนรับ อย่างดีเยี่ยม 32 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2562

ร่วมกิจกรรมกว่า 3,500 คน และทุกคนต่างพึงพอใจกับภาพรวมของ กิจกรรมอย่างมาก โดยให้คะแนนการจัดงานทีร่ ะดับ 5 ดาว อันเป็นการ บรรลุเป้าหมายการสร้างภาพลักษณ์ โรตารีทดี่ ตี อ่ มวลชนอย่างมาก ราย ได้จากการจัดกิจกรรมสโมสรฯ จะน�ำไปด�ำเนินกิจกรรมตาม 6 แนวทาง เป้าหมายของโรตารี ต่อไปดังเช่นทุกปี



D.3350 บรรณาธิการ ภาค 3350 โรตารีสากล

อน.ตรอง แสงสว่างวัฒนะ สร.กรุงเทพสุวรรณภูมิ

นิตยสารโรตารีฉบับนี้ เน้นเกี่ยวกับเรื่องของสโมสร โรทาแรคท์ แต่เนื่องจากโรทาแรคท์ประเทศไทยถือก�ำเนิดขึ้น ในภาค 3350 (ตั้งแต่สมัยที่ยังเรียกว่าภาค 330) ประวัติของ การก่อตัง้ จึงได้กล่าวถึงในช่วงแรก โดยท่านผูช้ ว่ ยบรรณาธิการ อน.จันทนี เทียนวิจติ ร และท่านประธานโรทาแรคท์ ภาค 3350 คนปัจจุบันคือ ผชภ.ภาณุ ยศเมธา ไปแล้ว ในส่ ว นนี้ จึ ง อยากให้ ผู ้ อ ่ า นได้ รู ้ จั ก ผชภ.ภาณุ ยศเมธา มากขึน้ ท่านเคยเป็นโรทาแรคเทอร์มาก่อน ทีจ่ ะมาเป็น โรแทเรียน อยากทราบว่าเหตุผลคืออะไร หรือมีแรงบันดาลใจ อย่างไร ลองมาติดตามกันดูค่ะ ดิ ฉั น ขอเชิ ญ ชวนมิ ต รโรแทเรี ย น โรทาแรคเทอร์ ทั้งปัจจุบันและอดีต เข้าร่วม “งานฉลอง 50 ปีโรทาแรคท์ ประเทศไทย” ซึ่งจะจัดขึ้นที่ Eco Hotel by Thammasat จ.ชลบุรี ในวันจันทร์ที่ 8 เมษายน 2562 นี้ โดยท่านอดีต ประธานโรตารีสากล พิชยั รัตตกุล จะเป็นผูก้ ล่าวปาฐกถาพิเศษ ในวันนั้นด้วย

34 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2562

ภาณุ ยศเมธา สโมสรโรตารีกรุงเทพไซเบอร์ ประธานโรทาแรคท์ภาค 3350 โรตารีสากล เข้ามาสู่การเป็นโรทาแรคเทอร์ ผชภ.ภาณุ ยศเมธา เกิดมาในครอบครัวโรตารี บิดาคืออดีตนายกบุญสม ยศเมธา สโมสรโรตารีลุมพินี คุณลุงคือ อดีตนายกบุญสืบ ยศเมธา สโมสรโรตารี บางรัก เพราะฉะนั้นจึงได้มีโอกาสสัมผัสกับโรตารีมาตั้งแต่เล็ก ก่อนที่จะมาเป็น สมาชิกในโครงการเยาวชนของโรตารี เมือ่ ตอนอยูช่ นั้ ม.5 หรือ เกรด 11 ทีโ่ รงเรียนนานาชาติรว่ มฤดีจะมีชมรม ต่างๆ เปิดโอกาสให้นกั เรียนได้ไปเข้าร่วมกิจกรรม จึงได้เริม่ รูจ้ กั สโมสรอินเทอร์แรคท์ เข้าเป็น Interactor ในช่วง ม.5 – ม.6 (สาเหตุที่ไม่ได้เข้าเป็นสมาชิกก่อนหน้านั้น เพราะโรงเรียนจะให้เริม่ ท�ำกิจกรรมในระดับชัน้ ม.5) ได้รบั หน้าทีเ่ ลขานุการสโมสร อินเทอร์แรคท์ ตอน ม.6 จึงเท่ากับว่าได้เรียนรูร้ ะบบงานของโรตารีมาตัง้ แต่ตอนนัน้ จบจากโรงเรียนร่วมฤดีได้ไปเรียนต่อทีม่ หาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ภาคภาษาอังกฤษ ซึง่ การเปิดเทอมจะช้ากว่าภาคปรกติประมาณเกือบ 2 เดือน เลยช่วงของการเปิดโลก กิจกรรมส�ำหรับนักศึกษา เพือ่ ให้นกั ศึกษาใหม่ได้เลือกเข้าชมรมทีต่ นชอบไปแล้ว จึง ต้องไปหาเองว่าสโมสรโรทาแรคท์ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์อยูท่ ไี่ หน และได้เข้า ร่วมเป็นสมาชิกตั้งแต่ปี 1 จนจบการศึกษาปี 4 ด้วยความทีเ่ รียนระบบอินเตอร์ชว่ งเวลาเรียนจะไม่ตรงกับภาคภาษาไทย เท่าไร กิจกรรมระหว่างการศึกษาจึงอาจจะน้อยกว่าคนอื่น แต่ข้อดีที่ได้ก็คือความ สามารถด้านภาษาอังกฤษ ณ เวลานั้นสโมสรโรทาแรคท์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีสโมสรคู่มิตรที่ประเทศสิงคโปร์ คือ สโมสรโรทาแรคท์สิงคโปร์ เวสต์ (Rotaract Club of Singapore West) ภาค 3310 ผชภ.ภาณุจึงได้มีโอกาสเป็นตัวแทนสโมสร 1 ใน 7 คนไปประชุมที่นั่น ได้รู้จักกับสโมสรโรตารีสิงคโปร์ เวสต์ (Rotary Club of Singapore West) ซึง่ เป็น Sponsor Club ของโรทาแรคท์แห่งนี้ ผชภ.ภาณุ ได้เป็น ตัวแทน Present โครงการต่างๆ ของสโมสร ได้เผยแพร่วัฒนธรรมไทย ฯลฯ จึงได้ รับการตอบรับจากสโมสรโรทาแรคท์สิงคโปร์ เวสต์ และสโมสรโรตารีซึ่งเป็นสปอน เซอร์เป็นอย่างดี ท�ำให้รสู้ กึ มาตัง้ แต่นนั้ ว่าเพราะโรทาแรคท์จงึ มีโอกาสได้พดู ต่อหน้า สาธารณชนในต่างประเทศ เป็นความแตกต่างจากชมรมหรือค่ายจิตอาสาอื่นๆ ใน มหาวิทยาลัย ที่แม้การบ�ำเพ็ญประโยชน์อื่นๆ อาจไม่ต่างกันมาก แต่โรทาแรคท์จะ มีโรตารีคอยสอน จึงเป็นอีกรูปแบบหนึ่งไม่ว่าจะเป็นระบบการท�ำงาน การจัดการ


ภาณุ ยศเมธา สร.กรุงเทพไซเบอร์ โรทาแรคท์จึงเป็นสโมสรที่สร้างคน สร้างผู้น�ำในระดับมหาวิทยาลัย และ โรทาแรคท์ชมุ ชน และได้ทำ� กิจกรรมโรทาแรคท์ตอ่ ตามทีไ่ ด้มกี ล่าวไว้ขา้ งต้น ด้วยความที่เป็นองค์กรที่มีอยู่ทั่วโลก เช่นเดียวกับโรตารีการประชุมหลาย ปลายปีโรตารี 2555-56 ขณะนั้นโรตารีก�ำลังก่อตั้งสโมสรใหม่คือ สโมสร อย่างจึงเป็น International เช่นกัน โรตารีอ-ี คลับกรุงเทพไซเบอร์ ซึง่ ปัจจุบนั ได้เปลีย่ นชือ่ สโมสรโรตารีกรุงเทพ ไซเบอร์ โดยลูกหลานของสมาชิกสโมสรโรตารีกรุงเทพบางนาและสโมสร ความภาคภูมิใจและกิจกรรมเด่นขณะเป็นโรทาแรคเทอร์ อื่นๆ มารวมตัวกันเป็นสมาชิก ผชภ.ภาณุเอง ก็เป็นสมาชิกรุ่นก่อตั้งมา การประชุมโรทาแรคท์ภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก (APRRC - Asia จนถึงทุกวันนี้ Pacific Regional Rotaract Conference) เป็นการประชุมในแถบเอเชีย แต่เหตุผลในการเข้ามาเป็นโรแทเรียนนัน้ หลักๆ กลับไม่ใช่เพราะ แปซิฟกิ แต่ละปีจะหาประเทศเจ้าภาพจัดงานนี้ ประเทศไทยเองได้รบั โอกาส เกิดมาในครอบครัวโรตารี หรือเพราะการสั่งสมประสบการณ์มาโดยตลอด นี้มาแล้ว 2 ครั้ง คือในปี 2555 และปี 2560 จากการเป็นอินเทอร์แรคเทอร์ โรทาแรคเทอร์ หรือ International RYLA ในการประชุมปี 2555 ผชภ.ภาณุ ยังเป็นโรทาแรคเทอร์อยู่ มี แต่เป็นเพราะตนเองรู้สึกสนุกที่จะเข้าร่วมมากกว่า สมาชิกคนอื่นๆ ที่ก�ำลัง โอกาสได้ร่วมจัดงานกับเพื่อนๆ นับร้อย ทุกคนได้เรียนรู้ขั้นตอนว่าจะต้อง จะร่วมตัง้ สโมสรด้วยกัน ก็เป็นคนวัยเดียวกัน หลายคนสนิทสนมกันโดยส่วน รับมือกับปัญหาทีจ่ ะเกิดขึน้ อย่างไร หากแต่ละประเทศไม่ได้เป็นไปตามทีเ่ รา ตัวมาก่อน และตัดสินใจมาเองด้วยความเต็มใจ นี่จึงอาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ ตัง้ เป้าหมายเอาไว้ จะยืดหยุน่ อย่างไร ได้เรียนรูถ้ งึ การประสานงานกับหน่วย ท�ำให้สโมสรโรตารีกรุงเทพไซเบอร์ ซึ่งเป็นสโมสรที่ประชุมทางออนไลน์ ยัง งานอืน่ ๆ เช่น โรงแรมทีจ่ ะจัดงาน หรือสถานทีอ่ นื่ ๆ ซึง่ เป็นการได้เรียนรูผ้ า่ น อยู่มาจนปัจจุบัน โรแทเรียน และการที่เด็กระดับมหาวิทยาลัยได้เริ่มท�ำงานกับโลกภายนอก ต้องขอขอบคุณโครงการเยาวชนของโรตารีที่ให้โอกาสมากมาย เขาก็จะมี connection ได้เริ่มเรียนรู้การติดต่อประสานงานกับคนอื่น เมื่อ ได้สร้างคนๆ หนึ่งที่ในวัยเด็กเป็นคนที่เงียบๆ เอาแต่เรียน โดนเพื่อนแกล้ง ถึงวัยที่ต้องออกมาท�ำงาน ก็จะท�ำงานเป็น กล่าวได้ว่า โรทาแรคเทอร์ไม่ได้ ไม่กล้าแสดงออก ฯลฯ ให้กลับมาเป็นอีกคนหนึ่ง ได้รับโอกาสให้ท�ำในสิ่ง เรียนรู้เพื่อจะมาเป็นโรแทเรียนได้เท่านั้น แต่อีกด้านหนึ่งคือเขาได้เรียนรู้ ที่ตนเองชอบและมีความถนัด ได้มาเป็นผู้น�ำในด้านต่างๆ ได้ร่วมเป็นรอง เพื่อเป็นผู้น�ำในการประกอบอาชีพ ประสบการณ์ต่างๆ ที่ได้เหล่านี้ เขาจะ ประธาน เป็นประธานจัดงานระดับชาติ ระดับโลก กล้าแสดงออกจนได้รับ สามารถเอามาปรับเปลี่ยนใช้ได้ในชีวิตประจ�ำวันในอนาคต หน้าที่เป็น District Trainer ไปบรรยายตามสโมสร หรือในงานภาค การได้ (หมายเหตุ : โรทาแรคเทอร์ในเอเชียแปซิฟิก จะต่างจากในทวีป ร่วมงานกับโรทาแรคเทอร์ตา่ งชาติ แม้จบงานไปแล้วก็ยงั เป็นเพือ่ นติดต่อกัน อื่นๆ เช่น อเมริกา หรือ ยุโรป ที่เขาจะเป็นโรทาแรคเทอร์กันจนถึงอายุ 30 อยู่ ซึ่งพูดได้เลยว่าหากไม่ได้รับการฝึกมาโดยตลอดนี้จะมาเป็น ผชภ.ภาณุ ปี คืออายุขั้นสูงสุดที่ก�ำหนดไว้ว่า 18 – 30 ปี แต่ในเมืองไทยรวมถึงประเทศ ในขณะนี้ไม่ได้ อื่นๆ ในเอเชียแปซิฟิกมักอยู่ระดับมหาวิทยาลัย ประสบการณ์จึงต่างกัน) และหากยังจ�ำกันได้ เมื่อปี 2555 ประเทศไทยได้รับเกียรติเป็น สรุปความส�ำคัญของสโมสรโรทาแรคท์ ครั้งแรกให้เป็นผู้จัดการประชุมใหญ่โรตารีสากล (Rotary International โรทาแรคท์ ต่างไปจากกลุ่มจิตอาสาอื่นๆ ตรงที่นอกจากจะเป็น Convention 2012) ในวันที่ 6 – 9 มิ.ย. 55 ซึ่งขณะนั้นยังไม่มีใครรู้ว่าก่อน สโมสรที่บ�ำเพ็ญประโยชน์เพื่อคนอื่นแล้ว ยังเป็นสโมสรที่เปิดโอกาสให้ หน้างานนั้นจะต้องจัดงาน Rotaract Pre Convention ด้วย จนกระทั่งวัน สมาชิกสโมสร หรือโรทาแรคเทอร์ ได้ฝึกตัวเอง พัฒนาตัวเอง เรียนรู้ปัญหา หนึง่ ผชภ.ภาณุ ได้รบั จดหมายจากโรตารีสากลเนือ่ งจากก่อนหน้านัน้ ได้เคย ด้วยตัวเอง เก็บเกี่ยวประสบการณ์ด้วยตัวเอง และด้วยความที่เป็นสโมสร ติดต่อประสานงานกับ RI อยู่บ้างในฐานะโรทาแรคเทอร์ เขาจึงมีชื่ออยู่ใน นานาชาติ จึงเป็นโอกาสให้โรทาแรคเทอร์ได้พบเพื่อนชาวต่างประเทศ ได้ List ตอนได้รับจดหมายก็งงมากและไม่เคยมีตัวอย่างการจัดงานแบบนี้ให้ แลกเปลีย่ นประสบการณ์ระหว่างกัน ได้เรียนรูว้ ฒ ั นธรรมของแต่ละประเทศ เห็นมาก่อน จึงต้องฟอร์มคนที่ไม่ได้อยู่ในคณะกรรมการจัดงาน APRRC ขึ้น ท�ำให้กลุ่มจิตอาสาอื่นๆ ที่ท�ำอยู่แต่ในประเทศไทยไม่ได้รับสิ่งเหล่านี้ เพราะ มา ตนเองรับหน้าที่ประธานจัดงาน และแจ้งไปทางโรตารีสากลการจัดงาน มันมากกว่าการไปออกค่าย ท�ำโครงการอะไรต่างๆ “ในวันนี้โรทาแรคเทอร์ APRRC ในปีนั้น ซึ่งประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ ได้ขอจัดเร็วขึ้นกว่ารอบปีปกติ หลายๆ คนอาจยังไม่เห็นว่าเขาได้อะไร แต่เมือ่ เขาโตขึน้ เขาจะกลับมานึกได้ คือในวันที่ 30 พ.ค. – 3 มิ.ย. 55 ซึ่งก่อนงาน Rotaract Pre Convention ว่า นีค่ อื สิง่ ทีเ่ ขาฝึกมาตลอดโดยไม่รตู้ วั ได้มาโดยไม่เคยคิดมาก่อน ขอให้เชือ่ ในวันที่ 4 – 5 มิ.ย.55 แล้วต่อด้วย RI Convention 6 – 9 มิ.ย.เลย เพื่อให้ ผม” ผชภ.ภาณุ กล่าวสรุป ผู้เข้าร่วมงานได้มาครั้งเดียวได้หลายงานพร้อมๆ กัน จึงเป็นสาเหตุให้การ ประชุม APRRC ในปีนนั้ มีสมาชิกจากนอกทวีปเอเชียแปซิฟกิ มาประชุมด้วย งานฉลองครบรอบ 50 ปีสโมสรโรทาแรคท์ เป็นจ�ำนวนมาก ก่อนอื่นขอขอบคุณ ผวภ.นครินทร์ รัตนกิจสุนทร ที่ให้โอกาส ประสบการณ์การจัดงาน Rotaract Pre Convention ครั้งนั้น มาเป็นประธานโรทาแรคท์ภาคในปีนี้ ที่ผ่านมาก็อยู่ในคณะกรรมการด้าน ท�ำให้ ผชภ.ภาณุ ในฐานะ Host Rotaract Chair ได้พัฒนาตัวเองขึ้นมา โรทาแรคท์มาโดยตลอด เมื่อเห็นว่าปีนี้ครบรอบ 50 ปีที่สโมสรโรทาแรคท์ อีกระดับหนึ่งเลยทีเดียวเพราะเป็นงานระดับโลก มีหน้าที่ไปร่วมงาน Pre ในประเทศไทยถือก�ำเนิดมาตั้งแต่ปี 2511 จึงได้ปรึกษากับประธานของอีก Convention 2 วัน และจัดงานมิตรภาพส�ำหรับกลุ่มโรทาแรคเทอร์จาก 3 ภาค ซึ่งต่างก็เห็นดีด้วยที่จะจัดงานนี้ แต่หากจะจัดเฉพาะงานฉลอง 50 4 – 9 มิ.ย. 55 ปีฯ ก็อาจไม่จูงใจพอที่จะให้โรทาแรคเทอร์อีก 3 ภาคหรือศิษย์เก่าฯ เดิน ทางไกลมาเพือ่ งานเดียว จึงเห็นพ้องกันทีจ่ ะจัดงาน Joint District Rotaract จาก Rotaract มาสู่ Rotary Conference ขึน้ พร้อมกันด้วย เพือ่ ให้โรทาแรคเทอร์จาก 4 ภาคมาร่วมงาน ก่อนจบปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในปีโรตารี กัน 2551-52 สมัยของ อผภ.ดร.ไกร ตัง้ สง่า เป็นผูว้ า่ การภาค ก็เคยได้รบั ต�ำแหน่ง งานจะจัดขึ้นในวันที่ 6 – 8 เมษายน 2562 ที่ Eco Hotel By ผู้ช่วยผู้แทนโรทาแรคท์ภาค ซึ่งเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่สร้างความภาคภูมิใจให้กับ Thammasat ทีศ่ นู ย์พทั ยา จ.ชลบุรี จึงขอเชิญชาวโรทาแรคเทอร์ ศิษย์เก่าฯ ตัวเอง และโรแทเรียนทุกท่านเข้าร่วมงาน พอปีโรตารี 2552-53 จนถึง ต้นปี 2555-56 ก็ยา้ ยมาอยูใ่ นสโมสร


D.3350

Activities กิจกรรม

สโมสรโรตารีหนองบัว ส่งมอบโครงการส่งเสริมการอ่านส�ำหรับเด็ก (Global Grant ของสโมสรโรตารีปทุมวัน) ให้กับโรงเรียนวัดเทพสุทธาวาส โรงเรียนบ้านคลองก�ำลังและโรงเรียนบ้านน�้ำสาดกลาง จ.นครสวรรค์

สโมสรโรตารีบางกะปิ จัดทริปพาเด็กพิการไปเที่ยวทะเลครั้งที่ 48 เมื่อวันที่ 10 ก.พ.62 ที่โรงแรมบีชการ์เดน ชะอ�ำ/หัวหิน สโมสรบางกะปิพาเด็กนักเรียนพิการพร้อมเจ้าหน้าทีก่ ว่า 100 คน จากโรงเรียนศรีสงั วาลย์ ปากเกร็ด ไปเทีย่ วชะอ�ำ ให้เด็กๆ ได้เล่นสนุกสนานกัน ทีช่ ายหาด มีสมาชิกจากสโมสรโรตารีบางกะปิ สโมสรโรตารีรอยัลหัวหิน และสโมสรจากต่างประเทศ โรทาแรคเทอร์จากมหาวิทยาลัยเวบสเตอร์ วิทยาเขตกรุงเทพ และแขกซึ่งพักอยู่ที่โรงแรมมากกว่า 80 คนร่วมงาน โดยโรงแรมบีชการ์เดนบีช ชะอ�ำ/หัวหิน สนับสนุนอาหารกลางวัน 36 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2562



D.3360 บรรณาธิการ ภาค 3360 โรตารีสากล

อน.นพ.ณัฏฐธนิน เศรษฐวนิชย์ สร.แพร่

สวัสดีครับมิตรโรแทเรียนทุกท่าน ส�ำหรับนิตยสาร โรตารีประเทศไทยฉบับนี้ ทางภาค 3360 เรียกได้ว่าเข้มข้น เป็นอย่างมาก ทั้งกิจกรรมที่เข้มข้นของทุกสโมสร ตลอดจนถึง โครงการที่ได้เผยแพร่ ผ่านแคมเปญ people of action (คน ลงมือท�ำ) ซึ่งในปีนี้ด้านภาพลักษณ์โรตารี เราเน้นในเรื่อง แคมเปญนี้เป็นอย่างมาก เพื่อให้คนทั่วไปที่ไม่ใช่โรแทเรียน ได้ รู้ว่าโรตารีคืออะไร และโรตารีท�ำอะไรกัน นอกจากโครงการบ�ำเพ็ญประโยชน์ดีๆ ที่ทางสโมสร โรตารีทุกสโมสรได้จัดท�ำแล้วนั้น ในบางสโมสรได้อุปถัมภ์ เยาวชนในท้องถิ่นของตนเอง เพื่อปลูกฝั่งความเป็นจิตอาสา และการบ�ำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคมโดยไม่หวังผลตอบแทน ท�ำให้เยาวชนเหล่านั้นได้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ ที่มีแนวคิดแบบชาว โรแทเรียน และยังก่อเกิดกิจกรรมโครงการดีๆ ต่างๆ ของสโมสร เยาวชนเหล่านี้ ไม่วา่ จะเป็น สโมสรโรทาแรคท์ สโมสรอินเทอร์ แรคท์ และสโมสรเออลี่แอค ส�ำหรับฉบับนี้ภาค 3360 ขอน�ำ เสนอกิจกรรมดีๆ ของสโมสรโรทาแรคท์ในภาค 3360 ปีบริหาร ทีผ่ า่ นมาให้ทา่ นผูอ้ า่ นได้เห็นว่า พลังของเยาวชนในการอุปถัมภ์ ของโรตารีนั้น สร้างสรรค์สิ่งดีๆ ให้กับสังคมแค่ไหน มาติดตาม กันนะครับ

อน.ชญากานต์ พิทตระพันธ์ ประธานอนุกรรมการโรทาแรคท์ ภาค 3360 สร.พุทธชินราช

38 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2562

โรตารี ภ าค 3360 ของเราให้ ค วามส� ำ คั ญ แก่ เ ยาวชน เป็นอย่างยิ่ง เราได้กระตุ้นในสโมสรต่างๆ ในภาค ได้ก่อตั้งสโมสร โรทาแรคท์ สโมสรอินเทอร์แรคท์ สโมสรเออลี่แอคท์ ทั้งนี้เพื่อปลูกฝัง จิตส�ำนึกดีๆ ในการท�ำประโยชน์ให้กับสังคมและชุมชนต่อไป วันนี้ดิฉัน จะขอน�ำข้อมูลของน้องๆ สโมสรโรทาแรคท์ภาค 3360 ในด้านของ กิจกรรมทีไ่ ด้ทำ� ในปีบริหารนีม้ าให้ทกุ ท่านค่ะ โรตารีภาค 3360 มีสโมสร โรทาแรคท์ 6 สโมสร ได้แก่ สโมสรโรทาแรคท์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่อปุ ถัมภ์ โดยสโมสรโรตารีเชียงใหม่ สโมสรโรทาแรคท์ล�ำปางอุปถัมภ์โดยสโมสร โรตารีดอยพระบาท สโมสรโรตารีแม่วงั สโมสรโรตารีเมืองเกาะคา สโมสร โรทาแรคท์วทิ ยาลัยเทคนิคพิษณุโลกอุปถัมภ์โดยสโมสรโรตารีพทุ ธชินราช สโมสรโรทาแรคท์แพร่อุปถัมภ์โดยสโมสรโรตารีแพร่ สโมสรโรทาแรคท์ ราชภัฏพิบูลสงครามอุปถัมภ์โดยสโมสรโรตารีพุทธชินราช และสโมสร โรทาแรคท์วิทยาลัยเทคนิคอุตรดิตถ์อุปถัมภ์โดยสโมสรโรตารีอุตรดิตถ์ และในปีบริหารนี้มีสโมสรโรทาแรคท์ที่ได้รับสารตราตั้ง 2 สโมสร ได้แก่ สโมสรโรทาแรคท์ มหาวิทยาลัยพายัพอุปถัมภ์โดยสโมสรโรตารีเชียงใหม่ อินเตอร์เนชัน่ แนล และ สโมสรโรทาแรคท์เม็ดทราย มหาวิทยาลัยนเรศวร อุปถัมภ์โดยสโมสรโรตารีวังจันทน์ และขณะนี้ก�ำลังก่อตั้งอีก 2 สโมสร คือ สโมสรโรทาแรคท์นครพิงค์คอมมูนิตี้ อุปถัมภ์โดยสโมสรโรตารี


นครพิงค์เชียงใหม่ สโมสรโรทาแรคท์มหาวิทยาลัยแม่โจ้ วิทยาเขตแพร่ อุปถัมภ์ โดยสโมสรโรตารีเวียงโกศัย ในส่วนของกิจกรรมต่างๆ มีดังนี้ 1. สโมสรโรทาแรคท์มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลย์สงคราม Voluntary เข้าร่วมการให้ความรู้และส่งเสริมอาชีพในการท�ำถุงผ้า ลดโลกร้อนโดยมีผนู้ ำ� ชุมชนและคนในชุมชนเข้าร่วมอบรมจ�ำนวนมาก และมีกจิ กรรมส่งเสริมอาชีพพัฒนาการท�ำถุงผ้าลดโลกร้อนให้กบั คนใน ชุมชนโดยสโมสรจัดฝึกอบรมพัฒนาอาชีพการท�ำถุงผ้าลดโลกร้อน ณ ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนบ้านท่าโพธิ์ ต.จอมทอง อ.เมือง จ.พิษณุโลก (รูปบนซ้าย)

2. สโมสรโรทาแรคท์มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ ร่วมกิจกรรมตามโครงการหมู่บ้าน กฟผ.วิถีพอเพียง ปีที่ 3 ตลาดนัด ความสุข ณ บ้านดู่เหนือ หมู่ 1 ต.ดู่ใต้ อ.เมืองน่าน จ.น่าน (รูปบนกลาง) 3. พิธลี งนามก่อตัง้ สโมสรโรทาแรคท์เม็ดทราย มหาวิทยาลัย นเรศวร สโมสรน้องใหม่ โดย มีผวู้ า่ การภาครุง่ รานี แสงศิริ ผูว้ า่ การภาค 3360 และ นย.พญา ธาราวุฒิ นายกสโมสรโรตารีวังจันทน์ และนายก ก่อตั้งสโมสรโรทาแรคท์เม็ดทราย (รูปขวาสุด) 4. สโมสรโรทาแรคท์วิทยาลัยเทคนิคพิษณุโลก ร่วมกันจัด

กิจกรรมวันเด็กที่ผ่านมา โดยจัดบูธ แจกอาหาร ขนมขบเคี้ยว และ แจกตุ๊กตาให้เด็กๆ ที่มาร่วมในงานวันเด็ก โดยจัดที่วิทยาลัยเทคนิค พิษณุโลก (รูปล่างซ้าย) 5. สโมสรโรทาแรคท์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เดินทางลงพื้นที่ ที่หมู่บ้านโผงผางเพื่อศึกษาวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ และวัฒนธรรมของ ชาวบ้านบ้านโป่งผาง ต. ทากาศ อ. แม่ทา จ. ล�ำพูน (รูปล่างกลาง) 6. สโมสรโรทาแรคท์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกันสร้างห้อง สมุดให้กับน้องๆ โรงเรียนบ้านป่าเลา สาขาโปงผาง ต.ทากาศ อ.แม่ทา จ.ล�ำพูน เมื่อวันที่ 25-29 ธันวาคม 2561 (รูปล่างขวา) และนีค่ อื ส่วนหนึง่ ของกิจกรรมทีท่ างน้องๆ สโมสรโรทาแรคท์ ภาค 3360 ได้จดั ขึน้ โดยการสนับสนุนของสโมสรโรตารีทอี่ ปุ ถัมภ์ ดิฉนั หวังเป็นอย่างยิง่ ว่าเมล็ดพันธุเ์ หล่านีจ้ ะเติบโตต่อไป เมือ่ พวกเขาได้เข้า สู่วัยผู้ใหญ่พวกเขาจะเข้าใจโรตารี และก้าวเข้ามาเป็นโรแทเรียนอย่าง สมบูรณ์ สุดท้ายนีด้ ฉิ นั หวังเป็นอย่างยิง่ ว่า บทความและผลงานนีจ้ ะเป็น แรงบันดาลใจให้กบั มวลมิตรโรแทเรียนทุกท่าน และสโมสรโรตารีตา่ งๆ ที่ยังไม่ได้อุปถัมภ์สโมสรโรทาแรคท์ในชุมชนของท่าน ได้จุดประกาย ความคิดริเริ่มก่อตั้งสโมสรโรทาแรคท์หรือสโมสรเยาวชนต่างๆ ของ โรตารี เพื่อสร้างเยาวชนที่มีจิตอาสาเป็นผู้บ�ำเพ็ญประโยชน์โดยแท้


D.3360 Activities กิจกรรม

สโมสรโรตารีเวียงโกศัย จัดกิจกรรมโครงการอิงลิชแค้มป์ ครั้งที่ 16 โดย วิทยากรและสต้าฟ ในวันอาทิตย์ที่ 24 กุมภาพันธ์ 62 ณ ห้องเรียนสโลป อาคาร สนับสนุนงบประมาณร่วมกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่ ท�ำพิธปี ดิ โครงการ เทพ พงษ์พานิช มหาวิทยาลัยแม่โจ้แพร่เฉลิมพระเกียรติ พร้อมมอบเกียรติบัตรและรางวัลต่างๆ ให้กับนักเรียนที่เข้าค่าย 250 คน

สโมสรโรตารีเชียงแสน จัดกิจกรรมมอบโลงศพ ครั้งที่ 2 จ�ำนวน 29 โลง สโมสรโรตารี พิ ชั ย ร่ ว มพิ ธี ส ่ ง มอบอุ ป กรณ์ ก ารแพทย์ พ ระราชทาน ใน ครั้งแรกมอบ 60 โลง รวมเป็นจ�ำนวน 89 โลง ให้แก่หน่วยกู้ชีพเทศบาลต�ำบล พระนามาภิไธย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ส�ำหรับ เวียง ศูนย์กู้ชีพเวียงผาเงา ผู้พิการทางการเคลื่อนไหว ณ วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตรดิตถ์ โดย 3 สโมสรโรตารี ในจังหวัดอุตรดิตถ์ร่วมพิธีส่งมอบ

สโมสรโรตารีล�ำปางและโครงการทุนสมทบมูลนิธิโรตารีของโรตารีสากล มอบ อุปกรณ์ทางการแพทย์ ให้โรงพยาบาลแม่ทะ จ.ล�ำปาง สโมสรโรตารีเชียงใหม่สันทราย และ สโมสรโรตารีเชียงใหม่ดอยสุเทพ จัดโครงการมอบเครื่องกรองน�้ำดื่มสะอาดให้กับโรงเรียนดอยสะเก็ดผดุงศาสน์ โรงเรียนพระปริยัติธรรม ที่จัดการศึกษาให้เด็กยากจนที่พลาดโอกาสเรียนใน โรงเรียน สพฐ. เข้ามาบวชเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 โดยได้รับการ สนับสนุนจากสโมสรโรตารีทวีวัฒนา ภาค 3350 สโมสรโรตารีเชียงใหม่ถิ่นไทยงาม และ สโมสรโรตารีเชียงใหม่สันทราย ท�ำพิธีมอบโครงการน�้ำสะอาดให้โรงเรียนบ้านหลักปัน (แผนกประถม) โดยการ สนับสนุนของมูลนิธิน�้ำสะอาดเพื่อชีวิต

40 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2562



Lake of Love โครงการแก้มลิงหนองโนนต่าย

หลังจากทีไ่ ด้ทมุ่ เทความพยายามกันมานานนับปี โครงการขุดลอกแก้มลิงหนองโนนต่ายและการก่อสร้างใน โครงการปรับภูมทิ ศั น์กไ็ ด้สำ� เร็จลุลว่ งไปแล้วมากกว่า 95% ขณะนี้ ใกล้จะมีการตรวจรับการขุดลอกแก้มลิง ในเฟส 1 ซึง่ โรตารีได้รว่ มสนับสนุนส่วนหนึง่ และยังมีขา่ วดี อีกข่าวหนึ่งก็คือ กรมชลประทานจะเริ่มการขุดลอกแก้ม ลิงในเฟสที่ 2 ประมาณปลายปี 2562 นั่นหมายความว่า เมื่อการขุดลอกแก้มลิงแล้วเสร็จตามแผนงาน นอกจาก จะเก็บกักน�้ำเพื่อช่วยบรรเทาภัยแล้งและบรรเทาความ เดือดร้อนจากน�ำ้ ท่วมในหน้าฝนแล้ว ยังท�ำให้โครงการปรับ ภูมิทัศน์ของเรามีความสมบูรณ์สวยงามมากขึ้น สามารถ เป็นแหล่งท่องเที่ยวในอ�ำเภออากาศอ�ำนวยและจังหวัด สกลนครได้อย่างเต็มภาคภูมิ ในปัจจุบัน คณะกรรมการโครงการก�ำลังวางแผน การส่งมอบโครงการให้แก่จงั หวัดสกลนคร เพราะท้ายทีส่ ดุ แล้ว หน่วยงานของรัฐซึ่งเป็นเจ้าของพื้นที่ต้องเข้ามาดูแล รับผิดชอบโครงการทั้งหมด โดยต้องจัดสรรงบประมาณ ในการดูแล ทั้งการว่าจ้างผู้ดูแลและค่าใช้จ่ายต่างๆ ทั้งนี้ คณะกรรมการคาดว่าจะส่งมอบโครงการภายในเดือน มิถุนายน 2562 ท่านอดีตประธานโรตารีสากล พิชัย รัตตกุล ได้มีหนังสือกราบบังคมทูลเชิญเสด็จฯ สมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดาฯ เสด็จฯ เปิดโครงการ และก�ำลังรอ ค�ำตอบจากทางราชเลขาธิการ ซึ่งคณะกรรมการจะได้แจ้ง ให้สมาชิกทุกท่านทราบต่อไป ในช่ ว งหนึ่ ง ปีเศษที่เราด�ำเนิน โครงการ คณะ กรรมการได้จัดให้มีกิจกรรมร่วมกับชาวบ้านในชุมชนรอบ หนองโนนต่ายถึง 3 ครั้ง คือ การปลูกหญ้าแฝกครั้งแรกใน วันที่ 17 สิงหาคม 2561 ครัง้ ที่ 2 ในวันที่ 15 ธันวาคม 2561 และในครั้งที่ 3 จะเป็นการลอกหญ้าแพรกจากหนองน�้ำใน ส่วนที่ตื้นเขินซึ่งยังไม่มีการขุดลอกเพื่อน�ำมาปลูกในพื้นที่ โครงการ การท�ำเช่นนี้ จะช่วยให้ประหยัดเงินในการซื้อ หญ้าได้จำ� นวนมาก และทุกครัง้ เราจะได้รบั ความช่วยเหลือ และสนับสนุนจากชาวบ้านจากหมูบ่ า้ นเสาวัด นาหวายและ ดงเสียว รวมทั้งหน่วยงานในท้องถิ่นด้วยดีเสมอมา 42 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2562

โครงการแก้มลิงห งานส�ำเร็จลุล่วงไป 95% แล้ว


หนองโนนต่าย


Rotary Centre Thailand ศูนย์โรตารีประเทศไทย

สารจากประธาน ศูนย์โรตารีในประเทศไทย มวลมิตรโรแทเรียนที่รัก

3. โครงการแก้มลิงหนองโนนต่าย จังหวัดสกลนคร ซึ่งเป็นโครงการร่วม ของโรตารีในประเทศไทยโดยการน�ำของอดีตประธานโรตารีสากล พิชัย รัตตกุล ใกล้เสร็จสมบูรณ์เกือบ 100% โดยคาดว่าจะทูลเชิญสมเด็จพระเทพรัตนราช สุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดประมาณปลาย เดือนมิถุนายน 2562 โครงการดังกล่าวเป็นโครงการที่โรแทเรียนทั้ง 4 ภาค ร่วมมือกันด�ำเนินการเพื่อน้อมร�ำลึกในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้ของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

4. ที่ประชุมอนุมัติให้ศูนย์โรตารีฯ ด�ำเนินการจัดตั้งกองทุนช่วยเหลือผู้ สวัสดีปีใหม่ 2562 เข้าสู่ปีใหม่ของสากล แต่เป็นช่วงท้ายปี ประสบภัยพิบัติฉับพลัน (Sudden Aid Fund for Disaster Victims) ในนาม โรตารี 2561-62 ช่วงนี้ มวลมิตรโรแทเรียนคงก�ำลังยุ่งกับการติดตาม โรตารีในประเทศไทย เพื่อช่วยผู้ประสบภัยต่างๆ ที่ส�ำคัญในภาคต่างๆ ของ งานต่างๆ ที่รับผิดชอบกันอยู่ให้สัมฤทธิ์ผลตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ของ ประเทศไทย โดยฉับพลันในขั้นต้น ส่วนการด�ำเนินการช่วยเหลือในขั้นฟื้นฟูต่อ แต่ละสโมสรและของภาค ไปนั้น ให้ขึ้นอยู่ในดุลยพินิจและการด�ำเนินการของภาคที่เกิดภัยพิบัตินั้นๆ ศูนย์โรตารีฯ ก็ต้องรีบเร่งเช่นกันให้งานประจ�ำ งานเก่า งานใหม่ บรรลุเป้าหมายที่วางไว้

การด�ำเนินงานของศูนย์โรตารีฯ ได้รับความสนใจและความร่วมมืออย่างดี ยิ่งของมวลมิตรโรแทเรียนทุกภาคอย่างสม�่ำเสมอ มีองค์กรเอกชน สโมสรและ นอกเหนื อ จากงานประจ� ำ ในการประสานงาน สื่ อ สารข้ อ มู ล ภาคในต่างประเทศ แจ้งกิจกรรมต่างๆ มายังมวลมิตรโรแทเรียน โดยผ่านศูนย์ และให้บริการเกี่ยวกับข้อมูลต่างๆ ทั้งในและกับโรตารีสากลหรือ โรตารีฯ เป็นสื่อกลางหลายแห่ง เช่น กลุ่มสโมสรโรตารีในประเทศออสเตรเลีย มูลนิธิ รวมทั้งการแปลเอกสารต่างๆ ของโรตารี ให้บริการแก่ภาค Miss World Organization ที่สนใจจะเข้าร่วมท�ำกิจกรรมกับสโมสรโรตารีทั้ง และสโมสรในเรื่องส�ำคัญๆ ต่างๆ เมื่อการประชุมคณะกรรมการศูนย์ 4 ภาค เมื่อมีการจัดการประกวดนางงามโลกในประเทศไทย ซึ่งประเทศไทย โรตารีฯ เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2562 ได้มีมติส�ำคัญสรุปได้หลายเรื่อง เป็นเจ้าภาพในปี 2562 นี้ ด้วยกันที่เกี่ยวข้องกับสโมสรและภาคดังนี้ งานบริการต่างๆ ของศูนย์โรตารีฯ ในด้านการแปลเอกสาร ข้อมูลต่างๆ 1. ที่ประชุมมีมติให้แต่ละภาคภายใต้การรับผิดชอบของผู้ว่าการ ของโรตารีสากลได้ด�ำเนินไปโดยเรียบร้อย โดยเฉพาะในการสนับสนุนการจัด ภาค แจ้งให้สโมสรต่างๆ ในภาคแจ้งการบริจาคและรับเหรียญผ่าน ประชุมอบรมของภาคต่างๆ อันได้แก่ Pre-PETS, Multi-PETS และ District ภาคมายังศูนย์โรตารีฯ เพื่อให้ศูนย์โรตารีขอรับเหรียญ/ใบประกาศ/ Conference รางวัลการบริจาคจากมูลนิธิโรตารีของโรตารีสากลมาที่ศูนย์โรตารีฯ โดยตรง และศูนย์โรตารีฯ จะน�ำส่งเหรียญ/ใบประกาศ/รางวัลการ บริจาค ส่งไปยังภาคหรือให้สมาชิกในภาคมารับได้โดยตรงจากศูนย์ โรตารีฯ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้ว่าการภาคแต่ละท่านจะให้ สมาชิกรับด้วยวิธีใดต่อไป ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความเที่ยงตรงและความ ถูกต้อง ป้องกันการตกหล่นของรายชื่อผู้บริจาคต่างๆ และมั่นใจได้ว่า ผู้บริจาคทุกคนได้รับเหรียญ/รางวัล/ใบประกาศจากมูลนิธิโรตารี 2. ขอให้ทุกสโมสรตรวจสอบการส่งเงินค่าสมาชิกให้กับโรตารี สากลให้ตรงเวลาและครบถ้วน พร้อมทั้งจัดข้อมูลใน My Rotary ให้ ถูกต้อง เพื่อให้ผู้ว่าการภาคได้รวบรวมจ�ำนวนที่ถูกต้องให้แก่ศูนย์ โรตารีฯ และทางศูนย์โรตารีฯ จะด�ำเนินการตรวจสอบจ�ำนวนอย่าง ถี่ถ้วนปีละ 2 ครั้ง

ศูนย์โรตารีฯ พยายามที่จะจัดท�ำข้อมูลข่าวสารเผยแพร่ทาง Website และ Facebook อย่างต่อเนื่องเพื่อให้ทุกท่านได้ข้อมูลข่าวสารที่เป็นปัจจุบันของ โรตารีในประเทศไทย

ขอขอบคุณคณะกรรมการศูนย์โรตารีฯ ทุกท่าน เจ้าหน้าที่ทุกคนรวมทั้ง มวลมิตรโรแทเรียนทั้งหลาย ก�ำลังใจของท่านคือพลังการท�ำงานที่ยิ่งใหญ่ ของเรา

ด้วยไมตรีจิตแห่งโรตารี

(PRID รศ.ดร.เสาวลักษณ์ รัตนวิชช์) ประธานศูนย์โรตารีในประเทศไทย

ตัวเลขโรตารี ข้อมูล www.rotary.org ณ วันที่ 1 มกราคม 2562 (ในวงเล็บข้อมูล ณ วันที่ 1 กรกฎาคม 2561) 3330 3340 3350 3360 ภาค รวม สมาชิก สโมสร

2,428 (2,323) 1,517 (1,472) 2,872 (2,796) 1,390 (1,348) 8,207 (7,939) 101 (99) 66 (67) 109 (110) 68 (68) 344 (344)

44 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2562


มาร่วมมือกัน

เปลี่ยนแปลง สโมสรโรตารีดอยพระบาท

โครงการมอบเก้าอี้ล้อเข็นให้กับผู้พิการในจังหวัดล�ำปาง ของสโมสรโรตารีดอยพระบาท ณ ชุมชนบ้านดง อ.เมือง จ.ล�ำปาง



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.