สัมมนาเรื่องศิลปะไทย 2554 Seminar in Thai Art 2011 สาขาศิลปะไทย ภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ขอสงวนสิทธิ์หนังสือเล่มนี้ ไว้เพื่อใช้ทำ�การศึกษาเท่านั้น นอกเหนือจากนี้ต้องได้รับการอนุญาตจากเจ้าของบทความเสียก่อน
รวมบทความสัมมนาศิลปะไทย พุทธศักราช 2554 ที่ปรึกษา :
รองศาสตราจารย์เกียรติคุณ สุรพล ดำ�ริห์กุล อาจารย์สราวุธ รูปิน
บรรณาธิการ :
ทินกฤต วงศ์ใหญ่
ผู้เขียนบทความ :
กมลชนก สิทธิยศ กัมปนาท ตะมะจันทร์ กาญจน์สิรี ศรีสุพรรณ กิตติยา ยาวิลาศ จิรายุส ปินตา ทินกฤต วงศ์ใหญ่ เทวกฤษ พิลึก ธารินี ธิเสนา ปิยะนันท์ ลานยศ รดามณี ฉิมเลี้ยง ศรสวรรค์ ปินะกาสัง สุขธรรม โนบาง อชิรญาณ์ อินต๊ะแสน อานนท์ นงค์ยา
สนับสนุนโดย :
ภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
พิมพ์ที่ บริษัท โชตนาพริ้นท์ จำ�กัด 69 ซอย 7 ช้างเผือก ตำ�บลศรีภูมิ อำ�เภอเมืองเชียงใหม่ เชียงใหม่ 50200 โทรศัพท์ 053-225237, 053-410150 โทรสาร 053-217452 พิมพ์ครั้งที่ 1 30 เล่ม กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555
สารบัญ หน้า ลวดลายประดับเพดานมณฑป วัดพระแก้วดอนเต้าสุชาดาราม ต.เวียงเหนือ อ.เมือง จ.ลำ�ปาง
1
พิธีกรรมปอยส่างลอง
9
มัสยิดและความเป็นมาของ”มุสลิมยูนนาน” ในจังหวัดเชียงใหม่
19
เรือนไม้โบราณในชุมชนท่ามะโอ อำ�เภอเมือง จังหวัดลำ�ปาง
35
อิทธิพลภายนอกสู่ศิลปกรรม วิหารเมืองพาน
45
ลวดลายประดับตึกจีน ในย่านสถานีรถไฟลำ�ปาง (Architectural decoration in Chinese shophouse, railway station Lampang)
57
ประเพณีสืบชะตาล้านนา คุณค่าความเชื่อที่ควรอนุรักษ์
75
วิหารวัดบุญยืนกับศิลปกรรมแบบล้านนาและล้านช้าง
85
บาบ๋าอาภรณ์ (The story of Baba’s women costumes in Phuket Old Town)
95
หน้า ลวดลายผ้าและสิ่งทอลับแล (Pattern of Lablae ‘s textile and fabric)
107
รูปแบบศิลปกรรมปราสาทศพ อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่
117
ภาพสถาปัตยกรรม ในตุงค่าวเมืองลำ�ปาง
131
เส้นสายลายศิลป์ไทใหญ่ ณ วัดก้ำ�ก่อ อำ�เภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน
143
รูปแบบศิลปกรรมธรรมาสน์ อำ�เภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่
153
ลวดลายประดับเพดานมณฑป วัดพระแก้วดอนเต้าสุชาดาราม
ต.เวียงเหนือ อ.เมือง จ.ลำ�ปาง
กมลชนก สิทธิยศ
งานศิลปกรรมอันเนื่องมาจากพุธศาสนาเป็นการสร้างสรรค์ ที่เกิดขึ้นจากแรงศรัทธา และภายใต้คติความเชื่อบางประการ ซึ่งในแต่ละพื้นที่ของประเทศไทยก็มีรูปแบบทางศิลปกรรม ค่า นิยม รวมไปถึงวัฒนธรรมของแต่ละพื้นที่ ของแต่ละกลุ่มชน จึง ทำ�ให้รูปแบบของงานศิลปกรรมสัมพันธ์กับพื้นฐานทางวัฒนธรรม ของแต่ละกลุ่มชน ด้วยเหตุผลดังกล่าวงานศิลปกรรมอันเนื่องใน พุทธศาสนาที่ปรากฏอยู่ในเขตดินแดนล้านนาจึงมีรูปแบบที่หลาก หลาย และมีลักษณะเฉพาะถิ่น หรืออาจจะเรียกได้ว่าเป็นงาน สกุลช่างต่าง ๆ เช่น งานสกุลช่างเชียงแสน งานสกุลช่าง เชียงใหม่ งานสกุลช่างลำ�พูน งานสกุลช่างน่าน งานสกุล ช่างพะเยา งานสกุลช่างแพร่ งานสกุลช่างลำ�ปาง1 เป็นต้น
1
ป่าไม้ในเมืองลำ�ปางด้วย3 ซึ่งต่อมาเมื่อ เศรษฐกิจของเมืองลำ�ปางดีขึ้น พ่อค้าชาวพม่า รวมถึงลูกจ้างเก่าของชาวอังกฤษ ก็ได้ริเริ่ม กิจการของตนเอง และลงหลักปักฐานในเมือง ลำ�ปาง จนทำ�ให้ร่ำ�รวย กลายเป็นเศรษฐีใหม่ ซึ่งชาวพม่าเหล่านี้ ส่วนมากมาจากเมืองมัณฑ เลย์ เมืองหลวงของประเทศพม่าในขณะนั้น สาเหตุที่ชาวพม่าจึงเข้ามาทำ�การป่าไม้ค้าขาย ไม้จนร่ำ�รวย เป็นเพราะไม่ต้องเสียภาษีให้กับ รัฐบาลไทย เพราะถือว่าเป็นคนในบังคับของ อังกฤษ ได้รับเงินคิดเงินตามมาตราอัตราเงิน อังกฤษ จะเห็นได้ว่าในภาคเหนือของประเทศไทย เช่น จังหวัดลำ�ปาง จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัด เชียงรายเป็นต้น จะเห็นได้ว่ามีโบราณสถาน เจดียสถาน วัดวาอารามเป็นแบบศิลปะพม่า มากมาย ทั้งนี้ เนื่องมาจากการเข้ามาค้าขาย จนร่ำ�รวย การเข้ามาตั้งถิ่นฐานของชาว พม่า และชาวพม่ า ส่ ว นใหญ่ ก็ นั บ ถื อ ศาสนาพุ ท ธ ต้องการบูรณะวัด หรือสร้างวัด เพื่อเป็นการ ทำ�บุญ ก็จึงใช้แบบแผนศิลปกรรมของตนเอง ได้ นำ � ช่ า งจากเมื อ งมั ณ ฑะเลย์ เ ข้ า มาสร้ า งวั ด ทำ�ให้ลักษณะทางสถาปัตยกรรมเป็นสกุลช่าง มัณฑะเลย์ แตกต่างไปจากศิลปกรรมแบบไท ใหญ่ สามารถเห็นได้อย่างชัดเจน เช่น ลวดลาย ประดั บ เพดานมณฑปวั ด พระแก้ ว ดอนเต้ า สุชาดาราม อ.เมือง จ.ลำ�ปาง ที่มีการประดับ ตกแต่ง อย่างละเอียดงดงาม ตามเทคนิคของ ช่างชาวพม่าแท้ๆ นั่นคือ เทคนิคเดินเส้นรัก หรือปั้นรักประดับกระจก อีกทั้งช่างชาวพม่า ยังมีความชำ�นาญในการตัดกระจก ต่างจาก ช่างของล้านนา ที่ยังไม่มีความสามารถพอ
จังหวัดลำ�ปางเป็นจังหวัดหนึ่งในเขตพื้นที่ ภาคเหนือของไทย ที่มีประวัติความเป็นมาอัน ยาวนาน ดินแดนทางภาคเหนือของไทย รวม ถึ ง เมื อ งลำ � ปางในอดี ต มี ค วามสั ม พั น ธ์ กั บ ดิ น แดนพม่า ซึ่งแบ่งได้เป็น ๒ สมัยด้วยกัน คือ ในสมัยอยุธยา ล้านนามีความสำ�พันธ์กับพม่า ในเรื่องของการทำ�สงคราม และอีกสมัยหนึ่ง คือ สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ที่ชาวพม่าได้เข้า มาทำ�การค้าขายกับล้านนา ในช่วงปลายคริสต์ ศตวรรษที่ ๑๙ และต้นศตวรรษที่ ๒o ลำ � ปางเป็ น ศู น ย์ ก ารค้ า ที่ สำ � คั ญ ที่ สุ ด รองจาก เชียงใหม่ ก่อนหน้าปลายศตวรรษที่ ๑๙ นั้ น ลำ�ปางมี ค วามสำ � คัญในฐานะเป็นเมือ งท่า พาณิชย์ที่ติดต่อค้าขายทางไกลข้ามประเทสระ หว่างพม่าและยุนนาน ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของ จีนและยังเป็นเมืองท่าสำ�คัญในการค้าขายทาง เรือ ระหว่างภาคเหนือ กรุงเทพฯ และ ประเทศตะวันตก พอถึงปลายศตวรรษที่ ๑๙ ลำ�ปางกลายเป็นเมืองที่มีชาวอังกฤษเข้า มาทำ�กิจการป่าไม้สัก และมีชาวพม่าเข้ามา ทำ�การค้าขาย การค้าดังกล่าวเปิดทางให้คน จีนเข้าครอบงำ�เศรษฐกิจ ซึ่งเริ่มขึ้นพร้อมกับ การเริ่มมีการรถไฟขนส่งสินค้า2 ในสมัยนั้น การป่าไม้ของไทยยังคงขาด ความรู้ทางด้านการทำ�สัมปทานป่าไม้ พระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงได้มีการ อนุมัติให้ชาวยุโรปเข้ามาทำ�สัมปทาน ป่าไม้ทาง ภาคเหนือของไทย และเข้ารับราชการในกรม ป่าไม้ ซึ่งขณะนั้น ประเทศพม่าได้ตกเป็น เมืองขึ้นของประเทศอังกฤษ ชาวอังกฤษก็ได้ เข้ามาทำ�การค้าไม้ในพม่า และนำ�ชาวพม่ามา เป็นหัวหน้าคนงาน ชาว อังกฤษเหล่านี้ก็ได้นำ� ลูกจ้างชาวพม่าของตนเข้ามาทำ�งานรับราชการ
2
การที่รูปแบบทางสถาปัตยกรรม และรูปแบบ การตกแต่งศิลปกรรมในวัดวาอาราม มากมาย ในจั ง หวั ด ลำ � ปางเป็ น ศิ ล ปกรรมแบบพม่ า นั้ น เนื่องมาจาก การเข้ามาของชาวพม่า ที่ไม่ใช่ เชื้อสายไทใหญ่ หรือชนกลุ่มน้อยในพม่า แต่ เป็นชาวพม่าจากมัณฑเลย์เมืองหลวงของพม่า ในขณะนั้น เข้ามาเป็นคนงาน หรือหัวหน้า คนงานให้กับพ่อค้าไม้ชาวอังกฤษ ซึ่งขณะนั้น อังกฤษปกครองประเทศพม่า ในฐานะที่เป็น ประเทศอาณานิคมของตน ซึ่งชาวอังกฤษ เหล่านี้ ได้มาลงหลักปักฐาน รวมถึงเข้ามา รับราชการ ให้กับไทย โดยส่วนมากเลือกเมือง ลำ�ปางเป็นที่มั่น เพราะเป็นเส้นทางการค้าขาย จากหลายที่ ไม่ว่าจะเป็น พม่า จีน ยูนนาน อินเดีย เชียงใหม่ และกรุงเทพ ชาวอังกฤษจึงมี ฐานะร่ำ�รวยมั่งคั่ง รวมถึงชาวพม่าในสังกัดด้วย เพราะ เมื่อได้รับเงินค่าจ้างมาก็ไม่จำ�เป็นต้อง เสียภาษีแต่อย่างใด เพราะถือว่าตนเป็นคนใน สังกัดอังกฤษ ชาวพม่าเหล่านี้บางคนก็ออกมา ทำ�ธุรกิจส่วนตัว ค้าขายจนร่ำ�รวย เมื่อมีฐานะ และมีหน้ามีตาในสังคม ชาวพม่าที่ร่ำ�รวยแล้ว ส่วนมาก เป็นพุธทศาสนิกชน ตามความเชื่อที่ว่าการที่ เราสร้าง หรือบูรณะวัดวาอาราม จะได้บุญ อันยิ่งใหญ่ ได้ขึ้นสวรรค์เมื่อตายไป เป็นความ เชื่อซึ่งไม่ต่างไปจากล้านนาเลย ชาวพม่าเหล่า นี้จึงได้บูรณะ และสร้างวัดวาอารามขึ้นมา มากมาย ภายในเมืองลำ�ปาง โดยส่วนมากได้ ว่าจ้างช่างมาจากเมืองมัณฑเลย์ และสร้างวัด ในรูปแบบของศิลปกรรมพม่าตามค่านิยมของ ตน โดยขณะนั้น ช่างส่วนใหญ่ในมัณฑเลย์ก็ได้ รับอิทธิพลศิลปกรรมมาจาก ประเทศอังกฤษ ด้วยเช่นเดียวกัน ดังจะเห็นได้จากลวดลายตัว
แนวคิดทางศาสนาที่ว่าด้วยเรื่องโลก สวรรค์ อันประกอบด้วยปราสาทแก้วที่มีความ วิจิตร ซึ่งถูก เนรมิตขึ้นด้วนกุศลกรรม ของ ผู้ มี บุ ญ ตามที่ ป รากฏอยู่ ใ นคั ม ภี ร์ ท างศาสนา หลายๆเล่ม เช่น จักรวาลทีปนีก็ดี หรื ใน สุตันตปิฎก หมวดวิมานวัตถุก็ดี ต่าง ก็กล่าวถึงบรรดาสิ่งก่อสร้าง ที่มีความงดงาม แวววาว รุ่งเรืองของปราสาทต่างๆ ที่ได้ตกแต่ง ด้วยอัญมณีมีค่านาๆชนิด เช่น “แก้วไพทูรย์ ทองคำ� แก้วผลึก มรกต มุกดา ทับทึม และ แก้วมณี” (วิมานวัตถุ,2525:78) ซึ่งสิ่งทั้ง หลายที่ปรากฏ ในคัมภีร์เหล่านี้ ต่างก็ได้กลาย เป็นแรงบันดาลใจให้เกิดการสร้างสรรค์ขึ้นได้ บนโลกมนุษย์ ด้วยการจำ�ลองแบบมาสร้างไว้ ภายใต้ความแวววาวอันน่าอัศจรรย์ใจของงาน ประดับกระจกรวมถึงการประดับตกแต่งเพดาน แทนความหมายของดวงดาวบนท้องฟ้า4 การเข้ามาของอังกฤษน่าจะทำ�ให้เกิด การหลั่งไหลของวัสดุอุปกรณ์ใหม่ๆ เข้ามาด้วย ตัวอย่างเช่น กระจกเงาที่มีสีสันมากมายยิ่งขึ้น และเครื่องมือกรีดตัดที่มีคุณภาพจากตะวันตก และ ลูบอลกระจกหลากสีสันที่นำ�เข้ามา ซึ่ง แต่เดิม ชาวอังกฤษ นำ�มาประดับต้นคริสมาส เมื่อช่างชาวพม่าเห็นจึงนำ�มาตัดเป็นชิ้นส่วนใน การประดับงานสถาปัตยกรรมตามแบบของตน ส่งผลต่องานช่างประดับกระจกของพม่า ในรูป แบบที่เปลี่ยนไปมากขึ้นตามลำ�ดับ มีกระจกที่มี สีสันหลาหลายมากขึ้น มีมิติมากขึ้น ดังนั้น เราจึงพบว่างานประดับกระจกของพม่าในช่วง ระยะเวลานี้มีสีสันมากมาย มีมิติของลวดลาย ที่เด่นชัดเพราะมีการนำ�กระจกมาทำ�ให้โค้งมาก ขึ้น นอกจากนั้นลวดลายยังมีกลิ่นอายของ ตะวันตกอยู่ทั่วไปอีกด้วย
3
งานลงรักปิดทองหรืองานลายคำ�ที่ประดับตาม ส่วนต่างๆของตัวอาคารได้แสดงให้เห็นถึงความ สามารถในการสร้างสรรค์ลวดลายของช่างที่ ประดิษฐ์คิดค้นลายใหม่ๆ ในเชิงการออกแบบ เป็นอย่างมากโดยสามารถแบ่งออกเป็น ๒ กลุ่มใหญ่ๆ คือ
เทวดาแบบฝรั่ง หรือตัวคิวปิดบนลวดลาย ประดั บ เพดานมณฑปวั ด พระแก้ ว ดอนเต้ า สุชาดาราม นอกจากนั้นช่างชาวพม่าก็ได้นำ� วัสดุที่ถือได้ว่ามีค่าและราคาแพง ที่นำ�เข้ามา จากอังกฤษ นั่นก็คือลูกบอลแก้ว ที่มีความโค้ง ซึ่งจะทำ�ให้งานออกมาดูมิติมากยิ่งขึ้น ลวดลายศิลปะพม่าที่ปรากฎอยู่ทั่วไปใน อ.เมือง จ.ลำ�ปางนั้น มีความสวยงาม และ เป็ น เอกลั ก ษณ์ เ ฉพาะตั ว ที่ มี ค วามโดดเด่ น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ลวดลายประดับ เพดาน มณฑปวั ด พระแก้ ว ดอนเต้ า สุ ช าดารามที่ ถู ก สร้างขึ้นมาในภายหลัง มีความงดงามด้วยตัว สถาปัตยกรรมหลังคาซ้อนชั้นแบบพม่า และ ลวดลายอันละเอียดวิจิตร ที่ประดับด้วย เทคนิคการปั้นรัก เดินเส้นรักประดับกระจก ทั้งภายนอกและภายในตัวอาคาร โดยเฉพาะ ภายในตั ว อาคารบริ เ วณเพดานของมณฑป ลวดลายบนเพดานเป็นสัญลักษณ์ของดวงดาว บนท้องฟ้าตามคติการสร้างวัดของชาวพุทธ มี การตกแต่งอย่างสวยงาม และแฝงไปด้วย สัญลักษณ์ของท้องฟ้าหลายประการ เช่น นกยูง สัญลักษณ์ของพระอาทิตย์ตามความ เชื่องของชาวพม่า กระต่าย สัญลักษณ์แทน พระจันทร์ คิวปิด เทวดาแบบฝรั่ง ที่อยู่บน สวรรค์ชั้นฟ้า
๑.กลุ่มลวดลายที่สร้างขึ้นตามแนวความคิด คติความเชื่อตามแบบประเพณีนิยม มีการผสมผสานคติความเชื่อของคนใน ล้านนาและความเชื่อของพม่าเข้าด้วยกันโดย เพาะเรื่ อ งคติ จั ก รวาลไตรภู มิ ซึ่ ง เป็ น แนวคิ ด แบบนามธรรม โดยใช้ลวดลายเป็นสิ่งแสดง สัญลักษณ์เพื่อให้เป็นรูปธรรม เช่น ลวดลาย ตามแนวเพดาน ลวดลายพันธ์พฤกษา เป็นต้น ซึ่ ง ลวดลายนั้ น ต้ อ งสั ม พั น ธ์ กั บ ตำ � แหน่ ง ของ ลวดลายประเภทอาคาร เพื่อให้สอดคล้องกับ คติความเชื่อมากยิ่งขึ้น
ลายขอบคานเพดานวัดพระแก้วดอนเต้าฯ ที่ปั้น รักเป็นมังกร 2 ตัว
ประติมากรรมนูนสูง รูปนกยูง สัญลักษณ์ ของพระอาทิตย์ ตามคติความเชื่องของชาว พม่า ประดับอยู่บนเพดานมณฑปวัดพระ แก้วดอนเต้าฯ
4
๒.กลุ่มลวดลายที่ประดิษฐ์ขึ้นตามกลุ่มของ - กลุ่มลวดลายคน เทวดา พระพุทธเจ้า ยักษ์ สัตว์ ช่าง ลวดลายที่ประดิษฐ์ขึ้นใหม่เป็นการผสม ลวดลายกับตะวันตก โดยมิได้คำ�นึงถึงความ เชิงสัญลักษณ์ เช่น ลวดลายริบบิ้น ลวดลายใบ องุ่นที่มีลักษณะคลายใบเมลเปิลของตะวันตก ลายละเอียดของลวดลาย ประกอบ ด้วย ๕ ประเภท คือ - กลุ่มลวดลายพันธ์พฤกษา เช่น ลาย ก้านขด ลายดอกไม้ – ใบไม้ เป็นต้น
5
- กลุ่มลวดลายแบบไข่ปลา และกลุ่ม ลวดลายที่ปรากฏในลายปั้นรัก ได้ ลวดลายประเภทอื่นๆ เช่น ลายถักเชือก เป็นต้น แสดงให้เห็นว่าเทคนิค ตำ�แหน่งของลวดลาย และรูปแบบของการสร้างงาน มีแนวคิดที่เกี่ยง กับคติเรื่องจักรวาลนิยม โดยช่างพม่า ได้ แสดงความหมายของเขาพระสุเมรุไว้ โดยสื่อ ออกมาในลักษณะที่มีหลังคาซ้อนชั้น ดังนั้น งานปั้นรักประดับกระจกที่ปรากฏออกมาเป็น ลวดลายพรรณพฤกษา ลายคน ลายสัตว์ ลายเทวดา ฯลฯ จึงเป็นสัญลักษณ์ เสริมคติ จักรวาลในเรื่องป่าหิมพานต์เป็นอย่างดี ลักษณะของลวดลายปั้นรัก สามารถ แบ่งได้ ๓ ประเภทคือ ๑.ลวดลายพรรณพฤกษาและลายเครือเถา เป็นลายที่นิยมประดับตกแต่ง แบ่งเป็น ๒ รูปแบบคือ แบบที่หนึ่ง เป็นลายที่เกิดจาก การเลียนแบบธรรมชาติ โดยนำ�รูปแบบของ ธรรมชาติมาเป็นต้นแบบในการผูกลาย มี ลักษณะโดยรวมเป็นลายเครือเถา เช่น ลาย เครือเถาดอกพุดตาน เป็นต้น การออกแบบ ลายจะมีทั้งดอกเดี่ยวและดอกกลุ่ม นอกจาก นั้ น ยั ง มี ก ารผสมผสานระหว่ า งลายพรรณ พฤกษาหลายๆลาย ในกรอบเดียวกัน แบบ ที่สองเป็นลายกึ่งธรรมชาติกึ่งประดิษฐ์เป็นลาย ที่มีต้นแบบมาจากลายพรรณพฤกษา แต่ได้ ลดทอนรูปทรงที่เหมือนจริงลงไป มีการสร้าง ลายขึ้ น ใหม่ ต ามแนวทางการออกแบบแต่ ล ะ สกุลช่างผู้สร้าง ๒.ลวดลายคน เทวดา พระพุทธเจ้า ยักษ์ สัตว์ เป็ น ลวดลายที่ เ กี่ ย วกั บ คติ ค วามเชื่ อ เชิงสัญลักษณ์ เพื่อให้เกิดความเป็นสิริมงคล
6
นิยมทำ�เป็นลายที่อยู่บริเวณศูนย์กลางของตัว กรอบ จากผลงานการศึกษาถึงงานศิลปกรรม พม่า และงานศิลปกรรมของลวดลายประดับ เพดานแบบพม่า จึงทำ�ให้เห็นถึงภาพรวม ของผลงานการศึกษาในช่วงเวลาที่ผ่านมา ซึ่ง จะใช้เป็นแนวทางในการศึกษาครั้งนี้ และ สะท้อนให้เห็นถึงการให้ความสำ�คัญกับศิลปะ พม่า และลวดลายประดับเพดานโดยใช้เทคนิค ประดับกระจกแก้ว ตลอดจนบทบาททาง เศรษฐกิจ การเมืองของกลุ่มชนพม่าที่มีต่อ ระบบสังคมในล้านนา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อิทธิพลของงานศิลปะที่มีต่องานศิลปะแบบพื้น เมือง อ้างอิง
ชาญคณิต อาวรณ์. แบบแผนทางสถาปัตยกรรม และงานศิลปกรรม เจดีย์ทรงพม่า เมืองลำ�ปาง. การ ศึกษาเฉพาะเรื่อง 2 สาขาวิชาศิลปะไทย คณะวิจิตร ศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, พ.ศ.2546 หน้าที่ 10 2 ไพโรจน์ ไชยเมืองชื่น(บรรณาธิการ). ประวิติและ พัฒนาการของการค้าขายในลำ�ปาง ตั้งแต่ปลาย คริสต์ศตวรรษที่ 19 ถึง ค.ศ.1939 : ลำ�ปาง เมื่อห้วง หนึ่งศตวรรษ. ( ลำ�ปาง : โรงพิมพ์ จิตวัฒการพิมพ์ , 2544 ) หน้า 19. 3 สงบ ฉิมพลี.อิทธิพลศิลปะพม่าที่มีต่อโบราณสถาน จังหวัดลำ�ปาง ในต้นพุทธศตวรรษที่ 25. กรุงเทพฯ . บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยศิลปกร,พ.ศ.2529 หน้า 19 4 สิทธิพร เนตรนิยม.งานประดับกระจกในมัณฑเลย์ ; ภาพสะท้อนความสัมพันธ์และความเปลี่ยนแปลงทาง สังคมและวัฒนธรรมพม่า ระหว่างสมัยราชวงศ์ดอง บองตอนปลาย ถึงสิ้นอาณานิคม (พ.ศ.2360 – 2491). วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัย เชียงใหม่ 2546, หน้า 3 1
7
8
พิธีกรรมปอยส่างลอง กัมปนาท ตะมะจันทร์
คำ�ว่า “ปอยส่างลอง”1 เป็นภาษาไทใหญ่ “ปอย” แปล ว่า งาน หรือ การจัดงาน คำ�ว่า “ส่าง” สันนิษฐานว่าเพี้ยนมาจาก คำ�ว่า “สาง” หรือ “ขุนสาง” ซึ่งแปลว่า พระพรหม หนังสือธรรมะ ชาวไทยใหญ่ กล่าวถึงพระคณิตพรหมได้ถวายจีวรแก่เจ้าชายสิทัต ถะกุมาร ณ ริมฝั่งแม่น้ำ�อโนมาเมื่อคราวหนีออกไปบวช อีกความ หมายหนึ่งนั้นสันนิษฐานว่า คำ�ว่า “ส่าง” มาจากคำ�ว่า “เจ้าส่าง” ซึ่งแปลว่า สามเณร ส่วนคำ�ว่า “ลอง” มาจากคำ�ว่า “อลอง” แปล ว่า พระโพธิสัตว์ หรือ หน่อพุทธางกูรรวมความแล้ว “ปอยส่าง ลอง” ก็คือ งานบวชสามเณร หรืองานบวชลูกแก้ว
9
ชาวไทใหญ่ถือว่าการบวชส่างลองได้บุญ กุศลเป็นอย่างมาก แต่การบวชส่างลองเป็นการ บวชที่ยิ่งใหญ่ มักบวชรวมกันหลาย ๆ คน พ่อ แม่ของส่างลองจึงจำ�เป็นต้องใช้เงินอย่างมาก ในการจัดงานปอยส่างลอง แต่ถ้าครอบครัวใด ไม่มีกำ�ลังทรัพย์เพียงพอ ที่จะงานปอยส่างลอง ได้ ก็ต้องขอเจ้าภาพผู้ที่มีฐานะดีเรียกว่า ตะก่า โลง และเมื่อจัดพิธีปอยส่างลองแล้ว จะได้รับ การยกย่อง และใช้คำ�นำ�หน้าว่า พ่อส่าง แม่ ส่าง มีหน้าที่ดูแล รับผิดชอบค่าใช้จ่ายต่าง ๆ และเตรียมสิ่งของเครื่องใช้ในพิธีกรรม โดยจะ มีคนในชุมชนมาช่วยกันมากมาย จะมีการจัด เตรียมเครื่องอัฐบริขาร ต้นตะเปส่า เครื่องครัว หลู่ ข้าวปลาอาหารและที่สำ�คัญคือ เครื่องแต่ง กายของส่างลอง จะมีการประดับตกแต่ง อย่าง วิจิตรตระการตา ฉะนั้นการแต่งกายของส่าง ลองจึงจะต้องสวยงาม พิถีพิถัน ลักษณะคล้าย กับเจ้าชายไทใหญ่ เพราะชาวไทใหญ่ถือว่า ส่า งลอง เปรียบเสมือนเทวดา ส่างลองไม่สามารถ เหยียบพื้นดินได้ หากจะไปไหนจะต้องมีตะแป มักเป็นผู้อาวุโส มักเป็นญาติ ผู้ใหญ่ของส่างลองอาจจะมี 3-5 คน คอยสลับ สับเปลี่ยนกัน ชาว ไทใหญ่เชื่อว่า ใครที่ได้เป็นตะแป จะได้บุญกุศลมาก การแต่งกายของส่างลอง เริ่มจาก การที่พ่อแม่นำ�เด็ก ชายที่จะเข้าพิธีบวชไปที่วัด เพื่อ ทำ�พิธีโกนผม โดยพ่อแม่และ บรรดาญาติ จ ะเข้ า ร่ ว มพิ ธี ด้ ว ย และพระสงฆ์จะเป็นผู้โกนผมให้ แก่เด็ก เมื่อเสร็จแล้วจะต้องไป อาบน้ำ�
เงินน้ำ�ทอง น้ำ�ขมิ้นส้มป่อย เพื่อเป็นศิริมงคล และเพื่ อ เป็ น การแสดงถึ ง การเปลี่ ย นสถานะ จากบุ ค คลธรรมดาเป็ น เจ้ า ชายหรื อ เทวดา นั่นเอง หลังจากนั้นก็นำ�ส่างลองมาแต่งหน้า ลักษณะการแต่งหน้าของส่างลอง จะมีลักษณะ ที่เป็นแบบแผน มีการผัดแป้ง เขียนคิ้ว และทา ปาก ในส่วนของบริเวณแก้ม มักมีการตกแต่ง ด้วยจุดที่ทำ�จากแป้ง ที่เป็นลักษณะวงกลมซ้อน กัน 2 ชั้น หรือบางครั้งอาจใช้หวีแตะแป้งน้ำ� แล้วไปแตะที่หน้าของส่างลองไขว่ไปมาเหมือน ดอกจัน เมื่อแต่งหน้าเสร็จแล้วต้องไปสวมชุด ส่างลองจะนุ่งโจงกะเบนสีสด จับจีบ ปล่อยชาย ด้านหลังยาว ผ้าที่ใช้ทำ�โจงกะเบนมักใช้เป็นผ้า ยกทอง หรือผ้าลายโสล่ง แล้วมัดด้วยผ้ามัดเอว คาดด้วยเข็มขัดเงินหรือนาค ในปัจจุบันพ่อแม่ ของส่างลองบางคนอาจต้องการความสะดวก สบายจึงเปลี่ยนมาเป็นกางเกงขายาวแทนซึ่ง สะดวกสบายในการสวนใส่ และการเคลื่อนไหว โดยผ้าที่ใช้ อาจเป็นผ้าพื้นสีต่างๆ หรือผ้าสีและ เนื้อเดียวกันกับเสื้อ ส่างลองจะสวมเสื้อคอกลม
10
ปอยส่างลองที่วัดป่าเป้า จังหวัดเชียงใหม่
แขนกระบอกผ่าหน้า มีลิ้นซ่อนสำ�หรับติด กระดุมไว้ด้านใน ลักษณะเหมือนเสื้อผู้ชายไท ใหญ่ ชายเสื้อด้านข้างโค้งงอน ผ้าที่ใช้ในการทำ� เสื้อ มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ในอดีตอาจ เป็นผ้าไหม หรือผ้าแพรจีน แต่ในปัจจุบันเป็นผ้า สีพื้นที่หาได้ตามท้องตลาด รูปแบบของเสื้อก็มี ความเปลี่ยนแปลง ในอดีตจะเป็นเสื้อแขนตรง บางครั้งอาจมีการเย็บด้วยมือ ในปัจจุบันเป็น เสื้อที่มีลักษณะแขนเฉียงลง มีตะเข็บต่อแขน ที่บริเวณบ่าตามแบบตะวันตก มีการประดับ ตกแต่งด้วยการปักฉลุเป็นลวดลายต่าง ๆ เช่น ลายพันธ์พฤกษา ลายนกยูง ซึ่งจะเป็นที่นิยม มาก โดยชาวไทใหญ่ถือว่า นกยูงเป็นสัตว์ที่ สวยงามที่สุด ชาวไทใหญ่จะไม่ใช้รูปหงส์ เพราะ เป็นสัญญาลักษณ์ ของกษัตริย์พม่า นอกจากนี้ ยังมีการประดับตกแต่งด้วยดิ้นเลื่อม เส้นริบบิ้น และดิ้นสีเงินสีทอง เครื่องประดับของส่างลอง มีหลายชิ้น โดยมากมักทำ�จากกระดาษฉลุเป็น ลวดลายและสีสันต่างๆ มักนิยมใช้สีทอง วัสดุ อีกอย่างที่เป็นที่นิยมคือ แผ่นโลหะ ทองเหลือง ดีบุก หรือทองคำ� มักมีการดุนให้มีลักษณะสูง ขึ้นมา เป็นลวดลายต่างๆ เช่น ลายพันธ์พฤกษา ลายเครือ ลาย 12 นักษัตร หรือลายสัตว์ต่างๆ รูปที่นิยมกันมากคือนกยูง รูปช้าง เพราะเป็น สัตว์ที่ใหญ่ที่สุด และรูปเสือ เป็นสัตว์ที่น่าเกรง
ลักษณะการแต่งกายและการแต่งหน้าของส่างลอง
ขามที่สุด เครื่องประดับของส่าลอง มีหลายชิ้น เช่นแค็บคอ คือประดับบริเวณคอและหน้าอก มีลักษณะคล้ายกรองคอของภาคกลาง โดย มากมักทำ�จากกระดาษมีลักษณะ คล้ายกับ เครื่องทรง ของกษัตริย์พม่าคือ เป็นกรองคอ ที่เชื่อมติดด้วยสังวาลขนาดใหญ่ซ้ายขวา และ บริเวณจุดตัดมีการประดับ เรียกว่าตาบหน้า หรือทับทรวง ถ้าเป็นเครื่องประดับโลหะ จะมี ลักษณะเป็นแผ่น วงกลมหรือเหรียญจำ�นวน 5 เหรียญ นอกจากแค็บคอ ก็ยังมีกำ�ไรข้อมือ รัด แขน ชาวไทใหญ่เชื่อว่า ในตัวของส่างลอง จะ ต้องมีเครื่องประดับที่เป็นของมีค่าอยู่อย่างน้อย 1 ชิ้น อาจเป็นแหวน กำ�ไรสร้อยคอ หรืออย่าง อื่นก็ได้ โดยเครื่องประดับที่มีค่าจะมาจากผู้
เครื่องประดับของส่างลอง
11
เฒ่า ผู้แก่ หรือพ่อแม่ของส่างลอง โดยจะนำ� ของมีค่าที่เก็บรักษาไว้เป็นอย่างดี มาประดับ ตกแต่งให้แก่บุตรหลานในตระกูล ด้วยเหตุนี้ ในระหว่างงานพิธี จึงจำ�เป็นจะต้องมีตะแป ที่ ทำ�หน้าที่เป็นพาหนะของส่างลองแล้ว ยังทำ� หน้าที่ดูแลรักษาเครื่องประดับเหล่านี้ให้แก่ส่า งลอง อย่างไรก็ดีหากพ่อแม่ของส่างลองคน ใดยากจน หรือไม่มีเครื่องประดับที่มีค่า อาจ ขอยืมจากผู้อื่นก็ได้ เครื่องประดับศีรษะของ ส่างลอง เรียกว่า ขะจุ๋มหัว ซึ่งมี 2 แบบคือ ขะ จุ๋มหัวแบบยอด และขะจุ๋มหัวแบบเคียนผ้า ขะ จุ๋ ม หั ว แบบยอดมั ก ทำ � จากผ้ า หรื อ กระดาษมี การทำ�โครงด้านใน ลักษณะเป็นยอดแหลม ขึ้นไป ด้านข้างบริเวณหูมีลักษณะยื่นออก มาเหมือนกรรเจียกจรของภาคกลาง มีการ
ประดับด้วยดิ้นเลื่อมสีเงินสีทอง สีสันต่าง ๆ และการประดับด้วยดอกไม้สีสันสดใส ส่วนขะ จุ๋มหัวแบบเคียนผ้า มีลักษณะเหมือนการโพก ศีรษะของผู้ชายไทใหญ่ ใช้ผ้าสีสันต่าง ๆ หาก หลายชนิดโดยลักษณะด้านข้างมีการจีบเป็นรูป พัดหรือหางนกยูง มีการประดับตกแต่งด้วยดิ้น เลื่อมสีเงินสีทอง และดอกไม้สีสันสดใสหลาย ชนิด ส่างลองจะสวมถุงเท้ายาวสีขาว หลังจาก แต่งตัวเสร็จแล้ว ตะแปจะเริ่มทำ�หน้าที่แบก ส่างลอง การกั่นตอ จะเริ่มต้นที่ศาลเจ้าเมือง เพื่อ ทำ�การขอขมา สักการะเทพและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ จากนั้นจึงไปทำ�การกั่นตอตามบ้านญาติผู้ใหญ่ และผู้อาวุโสที่เคารพนับถือซึ่งบ้านที่จะไปทำ�พิธี กั่นตอนี้ เจ้าภาพใหญ่และพ่อแม่ของส่างลองจะ
ขบวนกันต่อของส่างลอง
อุ๊พ
12
หมด พิธีการจะเริ่มตั้งแต่เช้าซึ่งจะเป็นการ เห่ครัวหลู่ หรือการแห่เครื่องไทยทานขบวน แห่ครัวหลู่จะประกอบด้วยขบวนย่อยๆ ดังนี้ หน้าขบวนจะมี “จีเจ่” (กังสดาล) ใช้คนหาบ 2 คน คนหนึ่งตีเป็นจังหวะไป การนำ�จีเจ่ใน ขบวนแห่นั้นเชื่อกันว่า เป็นการประกาศทำ� ทำ�บุญให้เทวดา และผู้คนทั่วไปได้รู้กัน จาก “จีเจ่” ก็จะเป็น “อุ๊ฟ” คือ เครื่องสักการะ พระ พุทธ ซึ่งบรรจุอยู่ในพานขนาดใหญ่ มีด อกไม้ ธูปเทียน หรือ บางทีอาจจะจัดให้มีทั้ง กล้วย ยาเส้น กรวยดอกไม้ ธูปเทียน ใช้คน แบกหาม 2 คน ต่อจากอุ๊พก็จะมีม้าเจ้าเมือง ซึ่งจะ คัดม้าที่สวยที่สุด สง่า และเชื่อง นำ� มาตกแต่งด้วย ดอกไม้ บนหลังม้าจะปูด้วย ผ้าหรือใส่อาน แล้วนำ�ไปอัญเชิญเจ้าพ่อ หลักเมือง หรือศาลเจ้าประจำ�หมู่บ้าน มาท รงประทับ เชื่อว่าจะนำ�ความร่มเย็นมาสู่การ ต้นตะเป่ส่าถวายวัด จัดงาน ถัดมาคือต้นตะเป่ส่าพระพุทธ คล้าย จองพารา ( หรือปราสาท ) โครงสร้างทำ� เป็นผู้กำ�หนดว่า จะไปบ้านใดบ้าง ถ้าจำ�นวน ด้วยไม้ไผ่ กรุกระดาษสา ตกแต่งลวดลาย มาก ๆ การกั่นตออาจใช้เวลาถึง 2- 3 วัน สวยงามมาก กว่าจะเสร็จ ทุกแห่งที่ขบวนส่างลองแห่ผ่าน ต้นตะเป่ส่าถวายวัด คล้ายกับต้น ไปเพื่อทำ�พิธีกั่นตอ จะมีชาวบ้านนอกมา ตะเป่ ส่ า พระพุ ท ธต่ า งกั น ที่ เ ครื่ อ งห้ อ ยซึ่ ง คอยต้อนรับพร้อมทั้งโปรยข้าวตอกดอกไม้ อวยพร บ้านใดที่มีส่างลองเข้ามาเพื่อกั่น ตอ ถือว่าเป็นโชคดีและเป็นสิริมงคลแก่ ครอบครัว การทำ�พิธีกั่นตอของส่าง ลอง นี้ จะเริ่มด้วยการที่ส่างลองไปขอขมาทำ� พิธีผูกข้อมือให้ส่างลอง พร้อมกับมอบ เงินร่วมทำ�บุญ จากนั้นส่างลองจะสวดให้ พร เมื่อทำ�พิธีกั่นตอเสร็จ จะถึงวันสำ�คัญ ที่สุดของงาน คือ การเห่ครัวหลู่ และเรียก ขวัญส่างลอง ในวันนี้ทุกคนจะมาร่วมกัน ปุ๊กข้าวแตก
13
มงคล ได้แก่ ใบสะแป่ (ใบหว้า) ก่า (ใบฝรั่ง) ก้ำ� ก่อ (ดอกบุนาก) กุ่ม (ต้นกุ่มใบใช้ดองกินได้) แข (พืชชนิดหนึ่งคล้ายใบตอง) แห้ (ถั่วแระ) และ กาง (หางนกยูง) ขบวนกลองมองเชิง เพื่อประโดมในขบวน แห่จะผูกฆ้องและกลองกิตติกับคนหาม ใช้คน ประมาณ 9-10 คน ต่อจาก “มองเชิง” จะเป็น เครื่องไทยทาน หรือ ปัจจัยถวายพระสงฆ์ (ต้น เงิน) ที่นิมนต์มาในงาน ตกแต่งด้วยดอกไม้จัด ไว้ อย่างสวยงาม โดยมากหญิงสาวจะเป็นผู้ ถือครัวหลู่ หรือเครื่องครัวทานที่จะถวายวัด ปะหลิกขะหล่า หรือเครื่องครัวทานที่จะถวาย วัด ประหลิกขะหล่า หรือเครื่องอัฏฐะบริหาร คือ เครื่องใช้ส่างลอง ประกอบด้วย “ต้นส่า งกาน” (คือ ผ้าไตรจีวรที่ม้วนพันไว้บนพาน พร้อมลูกประคำ� และมีดอกไม้ ประดับบนยอด ทำ�ให้มองดูเหมือนต้นดอกไม้) เครื่องนอนของ สามเณร และเครื่องใช้อื่นๆ ขบวนส่างลองจะ อยู่เกือบท้ายขบวน วันนี้ทั้งส่างลองและตะแป ส่างลอง จะแต่งตัวกันสวยงามเป็นพิเศษ การ แห่ครัวหลู่จะไปสิ้นสุดที่วัด ซึ่งจะเป็นสถานที่ทำ� พิธีบรรพชา เมื่อไปถึงวัดผู้ร่วมขบวนแห่จะนำ� เครื่องทายทานและข้าวของทั้งหมดขึ้นไปไว้บน วัด เพื่อรอไว้สำ�หรับจะใช้ในการประกอบพิธีใน วันรุ่งขึ้น ในตอนค่ำ� จะมีพิธีเรียกขวัญทำ�การวน สายสิญจน์ไปยังส่างลอง เมื่อถึงเวลาฤกษ์ หมอ ขวัญจะเริ่มอ่านคาถา และคำ�สอนจาก คัมภีร์ โบราณเป็นภาษาไทใหญ่ ซึ่งกล่าวพรรณนาถึง บุญคุณของบิดามารดา เสร็จแล้ว ผู้มาร่วมงาน พร้อมทั้งบิดามารดาและญาติๆ จะช่วยกันผูก ข้อมือส่างลองด้วยสายสิญจน์ เพื่อเป็นการรับ ขวัญ ต่อจากนั้นก็จะเป็นการเลี้ยงอาหารส่าง
เครื่ อ งห้ อ ยทั้ ง หมดจะเป็ น เครื่ อ งใช้ ที่ ใ ช้ สำ�หรับวัด เช่น ถาด จาน กระโถน หม้อ ข้าวหม้อแกง ช้อนแก้วน้ำ�ตามศรัทธา ซึ่งจะ นำ � ถวายแก่ วั ด ที่ จ ะมี ก ารบรรพชาสามเณร ปุ๊กข้าวแตก คือ การนำ�ข้าวเปลือกข้าว เหนี ย วมาคั่ ว ในหม้ อ ดิ น ให้ แ ตกเป็ น ช่ อ คล้ า ย ๆ ข้าวโพดคั่ว แล้วนำ�ไปคลุกกับน้ำ�อ้อยเชื่อม ปั้นเป็นก้อน เรียกว่า “ ข้าวแตกปั้น ” ห่อด้วย กระดาษสา ผูกติดกับธงสามเหลี่ยม ที่เรียก ว่า “จ๊ากจ่า” กาเผือกเป็นแม่ของพระพุทธเจ้า 2 องค์ เมื่อครั้งเสวยชาติเป็นแม่กา ใช้แทน ดอกไม้สำ�หรับแจกันให้กับผู้ที่ไปร่วมงานบวช ได้ไหว้พระ ปุ๊กข้าวแตกจะขาด เทียนเงินเทียน ทอง คือ ธูปเทียนแพ เป็นเครื่องบูชาของ ส่างลอง สำ�หรับถวายแด่พระอุปัชฌาย์ พุ่ม เงินพุ่มทอง สำ�หรับให้ส่างลอง นำ�ไปถวาย พระพุทธ และเป็นเครื่องสูงในขบวน อูต่าง ปานต่าง คือ กรวยหมากพลู และกรวยดอกไม หม้อน้ำ�ตา คือ หม้อดิน ห่อผ้าขาวใส่ ใบไม้ 9 ชนิด จัดไว้เพื่อร่มเย็น และเป็นสิริ
หม้อน้ำ�ต้า
14
ขบวนกลองมองเซิง
ลอง 12 อย่างเปรียบเสมือนระยะเวลาใน จักรราศี 12 ปีซึ่งพ่อและแม่ได้ช่วยกันดูแลและ เลี้ยงดูตั้งแต่ยังเล็กจนเติบใหญ่ด้วยความยาก ลำ�บาก เช้าวันรุ่งขึ้น ซึ่งเรียกกันว่า “วันข่ามส่าง” จะเป็นการนำ�ส่างลองไปบรรพชาเป็นสามเณร พอได้เวลาอันสมควรก็จะมีการ “ถ่อมลึก” คืออ่านหนังสือธรรมะให้ทุกคนฟัง ผู้อ่าน คือ “จเร” ซึ่งหมายถึง ผู้ที่มีความรู้ หรือเชียวชาญ ส่วนใหญ่จะเป็นผุ้สูงอายุจเรจะนุ่งขาวห่มขาว หรือชุดไต จะนั่งอ่าน ข้างจเรจะมี “เผิน” หรือ “อุ๊พ” คือเครื่องยกครูบาอาจารย์ ซึ่งจะมีกล้วย น้ำ�หว้าดิบ 1 หวี ข้าวสาร หมาก พลู ดอกไม้ ธูป เทียน วางใส่กะละมัง และมีเงินใส่ซองตามแต่ ศรัทธา เมื่อจเรอ่านหนังสือจบ จะยกเผินบูชา ไปไว้ที่บ้านหรือบางทีก็ยกให้วัด พิธีบรรพชา ตามหลักพระพุทธศาสนา เริ่มจากเปลี่ยนชุดส่า งลองเป็นสามเณร สามเณรกล่าวคำ�ขอศีล รับ ศีล และพระผู้ใหญ่กล่าวให้โอวาทพอส่างลอง
บวชเป็นสามเณรเสร็จเรียบร้อยแล้วพวกตะแป ส่างลองจะได้รับการตอบแทนเป็นคำ�ขอบคุณ หรือของขวัญ (อะซู) เช่น ผ้าขาวม้า ผ้าเช็ดตัว พิธีกรรมปอยส่างลอง เป็นพิธีการบวช เณรของชาวไทใหญ่ เป็นประเพณีที่สำ�คัญ ชาวไทใหญ่เชื่อว่า การจัดปอยส่างลองจะเป็น กุศลอย่างยิ่ง รูปแบบของปอยส่างลองจาก อดีต ก็ยังคงสืบทอดมาจาถึงปัจจุบัน โดย
15
อาหาร 12 อย่าง
ส่างลองบรรพชาเป็นสามเณร
ปะหลิกขะหล่า
โดยเฉพาะในเรื่องความศรัทธา ความเชื่อ ยัง คงดำ�รงอยู่ในจิตสำ�นักของชาวไทใหญ่ทุกคน แต่ บ างอย่ า งก็ มี ก ารเปลี่ ย นแปลงให้ เ หมื อ น สมกันกาลสมัยโดยปัจจัยต่างๆ ทั้งทางด้าน อิทธิพลจากวัฒนธรรมอื่น การจำ�กัดในเรื่อง วัสดุ ทรัพยากรมนุษย์ และทุนทรัพย์ เช่น การ แต่งกายของส่างลอง ก็มีรูปแบบที่เปลี่ยนไป ใช้ วัสดุที่หาง่ายตามท้องตลาด รูปแบบของเสื้อผ้า ก็มีการเปลี่ยนแปลง เน้นความสะดวกสบาย ใน ส่วนของพิธีกรรม และเครื่องใช้ในพิธีกรรม บาง อย่างก็ได้ลดทอนรูปแบบลงไป เช่น รูปแบบ และวัสดุที่ใช้ในพิธีกรรมปอยส่างลอง ก็ทำ�ให้ มีลักษณะที่เรียบง่ายขึ้น ลดทอนลายละเอียด อย่างไรก็ตามประเพณีปอยส่างลองก็ยังคงเป็น ประเพณีที่ได้รับความนิยม และเป็นเอกลักษณ์ อ้างอิง ที่โดดเด่นของชาวไทใหญ่ 1
สมัย สุทธิธรรม, ปอยส่างลอง, (กรุงเทพฯ : องค์การ ค้าของคุรุสภา, 2531) หน้า 1
16
17
18
มัสยิดและความเป็นมาของ”มุสลิมยูนนาน”
ในจังหวัดเชียงใหม่
กาญจน์สิรี
ศรีสุพรรณ
การศึกษาเรื่องมัสยิดและความเป็นมาของมุสลิมยูนนานใน จังหวัดเชียงใหม่นั้น พยายามที่จะชี้ให้เห็นความเป็นมาและความ เป็นอัตลักษณ์ของมุสลิมยูนนานที่ก่อรูปขึ้นในจังหวัดเชียงใหม่ ความมีอิทธิพลเกี่ยวกับบริบททางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และ วัฒนธรรม ซึ่งในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมาการเติบโตของความ สัมพันธ์ข้ามชาติเป็นไปอย่างกว้างขวาง ทำ�ให้มีการอพยพและการ ย้ายถิ่นฐานของชนชาติต่างๆรวมไปถึงการอพยพและการเข้ามา ทำ�การค้าขายของชาวมุสลิมยูนนานในภาคเหนือของประเทศไทย ด้วยเช่นเดียวกัน ด้วยการเจริญขึ้นของระบบการคมนาคมขนส่ง และการสื่อสารยิ่งเป็นช่องทางเปิดให้วัฒนธรรมจากต่างถิ่นหลั่ง ไหลเข้ามา ส่วนการเข้ามาตั้งรกรากของชาวมุสลิมยูนนานใน จังหวัดเชียงใหม่นั้นในระยะแรกชนกลุ่มนี้ได้เข้ามาทำ�การค้าขาย ปรับตัวให้เข้ากับสังคมพื้นถิ่นและยังมีการรักษาอัตลักษณ์ ความ เชื่อ และวิถีชีวิตความเป็นมุสลิมยูนนานไว้ได้อย่างมั่นคง
19
การเข้ามาของศาสนาอิสลามสู่จีน
ตามบั น ทึ ก ทางประวั ติ ศ าสตร์ ที่ เ ป็ น ทางการของประเทศจีน ศาสนาอิสลามได้เข้า สู่ประเทศจีนครั้งแรกในปี พ.ศ. 1194 (หลัง จากศาสดามุ ฮั ม หมั ด ได้ เ สี ย ชี วิ ต ไปได้ ไ ม่ ถึ ง 20 ปี) ตรงกับสมัยราชวงศ์ถังของประเทศ จีน(1116-1450) หรือตรงกับสมัยท่านอุสมาน ที่เป็นผู้ปกครองดินแดนอาหรับในขณะนั้น โดย มีท่านสะอั๊ดอิบนิ อะบีวักกอส เป็นผู้นำ�ขบวน พ่ อ ค้ า ชาวอาหรั บ เพื่ อ เข้ า มาพบกั บ จั ก พรรดิ เกาจงฮ่องเต้ของจีนอย่างเป็นทางการ ศาสนา อิ ส ลามได้ รั บ การต้ อ นรั บ เป็ น อย่ า งดี อั น เนื่ อ ง มาจากช่วงสมัยนั้นเป็นยุคทองของจีนที่เปิดรับ วัฒนธรรมสากล (cosmopolitan culture) จึงมี พ่อค้าทั้งชาวอาหรับและชาวเปอร์เชียเดินทาง เข้ามาในประเทศจีน “หุย” (Hui) เป็นชนชาติ มุสลิมที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ในบรรดาชนชาติ มุ ส ลิ ม ในประเทศจี น ประกอบด้ ว ยจำ � นวน ประชากรประมาณ 10 ล้านคน อาศัยอยู่ กระจายไปในแทบทุกมณฑลและมีเขตปกครอง อิสระของตนเองในประเทศจีน ในช่วงคริสต์ ศตวรรษที่ 19 กองคาราวานพ่อค้าชาวหุยจาก มณฑลยู นนานได้ เ ดิ น ทางข้ามพรมแดนมายัง ประเทศพม่าและถูกเรียกขานว่าเป็น “ชาว มุสลิมปัน เตย์” (Panthay Muslim) จนในที่สุด กองคาราวานชาวหุ ย จำ � นวนหลายหมื่ น คน ได้ ข้ ามพรมแดนเข้ า มาในประเทศไทยและตั้ง ชุมชนกระจายในภาคเหนือของไทยและถูกเรียก ว่าเป็น “ชาวมุสลิมฮ่อ” หรือ “ชาวมุสลิมยูน นาน” ดังนั้น ความเป็นชาติพันธุ์ของชาวหุยมุ สลิม ได้ถูกสร้างให้แปรเปลี่ยนไปโดยตลอดเมื่อ ข้ามพรมแดนรัฐชาติหนึ่งสู่อีกรัฐชาติหนึ่ง ดังนั้น การทำ�ความเข้าใจชาติพันธุ์สัมพันธ์ (ethnicity)
ของชนกลุ่ มใดกลุ่ มหนึ่ง จึ ง ไม่ อ าจที่จ ะมองใน ลักษณะที่กลมกลืนเป็นเนื้อเดียวกัน (homogeneity) อีกต่อไป หากมีความหลากหลายและ ลื่นไหลปรับเปลี่ยนอยู่เสมอควบคู่กับการยังคง รักษาอัตลักษณ์บางอย่าง ที่กลุ่มตนให้คุณค่า และความหมาย1
เส้นทางการค้าระหว่างยูนนานกับภาค เหนือของไทย
สำ � หรั บ เส้ น ทางการค้ า ระหว่ า งยู น นานกับภาคเหนือของไทยมีประวัติศาสตร์มา ยาวนานเท่าๆ กับหุยมุสลิมเข้ามายังดินแดน ยูนนานสมัยราชวงศ์หยวน2James McCarthy นักสำ�รวจชาวอังกฤษที่ได้รับการว่าจ้าง จากรัฐบาลไทยขณะนั้น ได้บันทึกในระหว่าง การเดินทางสู่สยามเมื่อถึงเมืองลำ�ปางว่า “มัน ไม่ใช่เรื่องแปลกประหลาดแต่ประการใดที่จะ เห็ น พ่ อ ค้ า ฮ่ อ จากยู น นานอยู่ ต ามตลาดท้ อ ง ถิ่นต่าง ๆ ในภาคเหนือ” และอีกไม่กี่วันต่อมา เมื่อ McCarthy เดินทางถึงเมืองแพร่เขาได้พบ กับพ่อค้าฮ่ออีก กองคาราวานบางขบวนมีม้า ต่างมากถึง 180 ตัว ซึ่งมีพ่อค้าที่ติดตามทั้งฮ่อ ที่เป็นมุสลิมและไม่ใช่มุสลิมประมาณ 50 คน ซึ่งเขาพบว่าหัวหน้าคาราวานบางคน เช่น หม่า หยิวฉิ่ง เคยเป็นพ่อค้าที่เดินทางไปในประเทศ ลาวเป็นเวลาถึง 15 ปีแล้ว และเคยเดินทางไป นครมักกะฮ์บอมเบย์กัลกัตตา ตลอดจนเมือง ต่าง ๆ ในประเทศพม่า3 ในช่วงคริสตศวรรษที่ 19 กองคารราวานม้าต่างและฬ่อของพ่อค้าชาว มุ ส ลิ ม ยู น นานได้ เ ดิ น ทางค้ า ขายไปมาในแถบ ภูเขาอันเป็นเขตรอยต่อทางตอนใต้ของประเทศ จีน พม่า ลาว และทางภาคเหนือของไทย พ่อค้าเหล่านี้ได้นำ�สินค้าจากประเทศจีนได้แก
20
ฝ้าย ขนสัตว์ ผลไม้ ถั่ว พรม เกลือ และอุปกรณ์ เครื่องครัว เป็นต้น มาค้าขายแลกเปลี่ยนในแถบ นี้ และขากลับกองคาราวานได้นำ�สินค้าจำ�พวก ฝ้ายดิบ ใบชา ฝิ่น เครื่องประดับ และพืชผลตาม ฤดูกาล เป็นต้น กลับไปขายยังประเทศจีน จน กระทั่งราว กลางคริสตศวรรษที่ 19 ได้มีการ พัฒนาเส้นทางการค้าที่สำ�คัญได้แก่ เส้นทางระ หว่างซือเหม่าทางตอนใต้ของจีนเข้าสู่ตอนเหนือ ของไทย โดยผ่านจากการเข้าสู่ประเทศพม่า และอีกเส้นหนึ่งแยกผ่านเข้าไปยังประเทศลาว4
ก า ร เ ข้ า ม า ข อ ง มุ ส ลิ ม ยู น น า น สู่ เชียงใหม่
ก่อนปี พ.ศ. 2459 เริ่มมีชาวมุสลิม ยูนนานกลุ่ม แรก ๆ ได้เดินทางผ่านมาจาก ประเทศพม่า และเข้ามาทางตอนเหนือของ ประเทศไทยและเข้ า มาค้ า ขายแถบจั ง หวั ด เชียงราย ตาก เชียงใหม่ และแม่ฮ่องสอน จน ในที่สุด เมื่อปี พ.ศ. 2459 ชุมชนมุสลิมยูนนาน แห่งแรกได้ก่อตั้งขึ้นภายใต้การนำ�ของขุนชวง เลียง ฦาเกียรติ (ท่านเจิ้งชงหลิ่ง) ซึ่งต่อมาได้ แต่งงานกับนางนพ ทองมาศ หญิงสาวคนพื้น เมืองจังหวัดตาก เมื่อครั้งที่ท่านยังเป็นพ่อค้าเร่ และเดินทางไปค้าขายบริเวณจังหวัดตากและ ย้ายกลับมาตั้งหลักปักฐานที่เชียงใหม่ในที่สุด และต่อมาท่านได้รวบรวมพ่อค้าชาวมุสลิมยูน นานและเงินที่ได้จากการค้าขายซื้อที่ดินบริเวณ ใจกลางเมืองเชียงใหม่ และตั้งเป็นมัสยิดของ ชาวยู น นานมุ ส ลิ ม แห่ ง แรกในภาคเหนื อ ของ ประเทศไทยโดยใช้ชื่อว่า “มัสยิดอิสลามบ้าน ฮ่อ” ในช่วงนี้ นอกจากชาวมุสลิมยูนนานบาง ส่ ว นยั ง คงเกี่ ย วข้ อ งกั บ กองคาราวานค้ า ขาย แต่ ส่ ว นใหญ่ เ ริ่ ม วางรากฐานทางเศรษฐกิ จ
21
ในเขตเมืองเชียงใหม่และเชียงราย โดยเป็นผู้ ประกอบการค้าชนิดต่างต่าง ๆ อย่างหลาก หลาย ได้แก่ สินค้าอุปโภค-บริโภค เป็นต้น ในลักษณะที่เป็นพ่อค้าคนกลางที่ติดต่อค้าขาย สัมพันธ์กับทั้งคนในเมืองและกลุ่มชาติพันธุ์อื่น ๆ ตามภูเขาแถบชายแดนไทย-พม่า ถึงแม้ว่า จะมีการตั้งชุมชนมุสลิมยูน นานอย่างเป็นหลักแหล่งถาวร และมีการสร้าง มั ส ยิ ด ขึ้ น สำ � เร็ จ อั น เป็ น ศู น ย์ ก ลางของชุ ม ชน อย่างไรก็ตาม แหล่งสำ�คัญในการหล่อหลอม อัตลักษณ์ของชาวมุสลิมยูนนานในช่วงนี้คือแง่ มุมทางเศรษฐกิจ เพราะชาวมุสลิมยูนนานผู้ เป็นรุ่นอพยพบุกเบิกชีวิตใหม่ในสังคมไทยต้อง ต่อสู้ดิ้นรนเพื่อทุ่มเทวางรากฐานในด้านอาชีพ การทำ�มาหากินให้มั่นคง โดยชาวมุสลิมยูนนาน จำ�นวนมากได้แต่งงานกับผู้หญิงในท้องถิ่นภาค เหนือของไทยที่เป็นชาวพุทธ (และเข้ารับนับถือ ศาสนาอิสลามภายหลังการแต่งงาน) เพื่อให้ ลูกหลานมีสถานภาพความเป็นพลเมืองไทยที่ มั่นคง ในสายตาของคนท้องถิ่นภาคเหนือและ ชนกลุ่มน้อยอื่น ๆ รับรู้ว่าชาวมุสลิมยูนนานคือ พวกพ่อค้าฮ่อ ที่มีอัตลักษณ์แตกต่างไปจาก ชาวจีนกลุ่มอื่นที่อพยพมาทางเรือ ดังเช่น ชาว จีนแต้จิ๋ว เป็นต้น นอกจากความสำ�คัญทางการ ค้าและเศรษฐกิจแล้ว ศาสนาอิสลามที่ชาวมุ สลิมยูนนานนำ�เข้ามาด้วยนั้นยังเป็นสิ่งที่ชัดเจน ที่แสดงให้เห็นถึงความเป็นอัตลักษณ์ของชาวมุ สลิมยูนนาน ศาสนาอิสลามนับเป็นศาสนาที่มี จำ�นวนประชากรใหญ่เป็นอันดับสองในสังคม ไทย ข้อมูลที่เป็น ทางการในปี 2543 ระบุว่า ในประเทศไทยมี จำ � นวนมั ส ยิ ด ทั่ ว ประเทศทั้ ง สิ้น ประมาณ 2,000 แห่ง ซึ่งอยู่ในกรุงเทพฯ ประมาณ 200 แห่งและในภาคเหนืออีกประ-
มาณ 20 แห่งอย่างไรก็ตาม เป็นการยากที่จะ ประมาณการจำ�นวนที่แท้จริงของชาวมุสลิมยูน นานในภาคเหนือของประเทศไทยเนื่องจากที่ ผ่านมาไม่ยังมีการทำ�สำ�มะโนอย่างเป็นทางการ จากหน่ ว ยงานทั้ ง ภาครั ฐ หรื อ องค์ ก รมุ ส ลิ ม ที่ เกี่ยวข้อง ดังนั้น จึงมีงานศึกษาที่คาดการณ์ จำ�นวนตัวเลขของชาวมุสลิมยูนนานที่แตกต่าง กันไป เช่น ได้ให้ตัวเลขชาวมุสลิมยูนนานอยู่ ที่ประมาณ 20,000 คน ในขณะที่ คุณยง ฟู อนันต์ อดีตประธานคณะกรรมการอิสลาม ประจำ�จังหวัดเชียงใหม่และผู้นำ�ชาวมุสลิมยูน นานในจังหวัดเชียงใหม่ ได้คาดการณ์ตัวเลข ชาวมุ ส ลิ ม ยู น นานที่ อ ยู่ ใ นภาคเหนื อ ของไทย และตามตะเข็ บ ชายแดนไทย-พม่ า -ลาวและ จีน ว่ามีสูงถึง 100,000 คน5 อย่างไรก็ตาม ข้อมูลล่าสุดจากประธานคณะกรรมการอิสลาม ประจำ�จังหวัดคนปัจจุบัน ได้ให้ตัวเลขจำ�นวน มุสลิมในภาคเหนือว่ามีจำ�นวนทั้งสิ้นประมาณ 60,000 คน ซึ่งเป็นการรวมมุสลิมจากทุก ชาติพันธุ์ในเชียงใหม่ ดังนั้น อาจคาดการณ์ จำ�นวนมุสลิมยูนนานอยู่ที่จำ�นวน 20,000 คน ครอบคลุม 80 หมู่บ้านทั่วภาคเหนือ (เชียงใหม่ เชียงราย ลำ�ปาง แม่ฮ่องสอน และลำ�พูน)โดย มีชุมชนมุสลิมที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ได้แก่ มัสยิด อิสลามบ้านฮ่อ ตั้งอยู่ในใจกลางเมืองเชียงใหม่ ย่านไนท์บาซาร์ ซึ่งก่อตั้งชุมชนมาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2459 หรือเป็นระยะเวลาถึง 90 ปีมาแล้ว
ศิลปะอิสลาม
ศิ ล ปะอิ ส ลามหมายถึ ง ศิ ล ปะที่ ทำ � ขึ้ น ภายใต้อิทธิพลของศาสนาอิสลาม ซึ่งปรากฏ อยู่ ม ากทางตะวั น ตกของทวี ป เอเชี ย ศาสนา อิสลามเป็นแรงผลักดันให้เกิดวัฒนธรรมต่าง ๆ
ของชาวมุสลิมอีกทั้งเป็นกรอบปฏิบัติของการ ดำ�เนินชีวิตประจำ�วัน ดังนั้นการกล่าวถึงศิลปะ อิ ส ลามในที่ นี้ จึ ง ไม่ เ น้ น ศิ ล ปะภายใต้ ข อบเขต ของประเทศใดประเทศหนึ่ง หรือแบ่งตามชื่อ ประเทศ ดังเช่น อินเดียหรือจีน แต่กล่าวโดย ภาพรวม เพราะแต่ละประเทศซึ่งนับถือศาสนา อิ ส ลามจะยึ ด หลั ก ปฏิ บั ติ แ นวทางเดี ย วกั น ต้ น กำ � เนิ ด ของศาสนาอิ ส ลามอยู่ ที่ ป ระเทศ ซาอุดีอาระเบีย เมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 12 ชาวอาหรับเป็นชนชาติที่มีบทบาทอย่างสูงของ การกำ�เนิดวัฒนธรรมอิสลาม อย่างไรก็ตาม ชาวอาหรั บ ไม่ ไ ด้ เ ป็ น เจ้ า ของศิ ล ปะอิ ส ลาม เท่านั้น ยังมีชาติอื่นๆ ซึ่งนับถือศาสนาอิสลาม และมีบทบาทต่อการสร้างสรรค์ศิลปะอิสลาม ดังเช่น ตุรกี อิหร่าน ซีเรีย อิสราเอล อินเดีย อินโดนีเซีย เป็นต้น ก่ อ นที่ ศ าสนาอิ ส ลามถื อ กำ � เนิ ด ขึ้ น ใน บริเวณตะวันตกของเอเชียนี้ เคยเป็นที่ตั้งของ ชนเผ่าต่าง ๆ รวมถึงอาณาจักรโบราณซึ่งเคย ครองความเป็ น ใหญ่ ไ ม่ ว่ า จะเป็ น ซู เ มอร์ ฮิ บ รู บาบิโลเนียแอสซิเรีย เปอร์เซีย ปัจจุบันยังคง ปรากฏหลักฐานศิลปะของชาติเหล่านี้จำ�นวน มาก แต่ไม่อาจเรียกศิลปะอิสลาม เพราะทำ�ขึ้น จากลัทธิความเชื่อและศาสนาอื่นๆ เช่น การ นั บ ถื อ ธรรมชาติ วิ ญ ญาณเคารพรู ป บู ช าหรื อ เทพเจ้ า ซึ่ ง มี อ ยู่ ม ากมายตามความเชื่ อ ของ แต่ ละชนเผ่ า ดั ง เช่ น ซิ ก กุ รั ต หรื อ ศาสนาสถาน ของซูเมอร์ในประเทศอิรัก พระราชวังเปอร์ซี โปลิสของเปอร์เซียในประเทศอิหร่าน นอกจาก นี้ยังมีศาสนายิว ศาสนาคริสต์ อย่างไรก็ตาม ศิลปะภายใต้ความเชื่อเหล่านี้ก็ให้อิทธิพลต่อ ศิลปะอิสลามในภายหลังไม่น้อย สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ เคยนับถือของชนเผ่าดั้งเดิม บางแห่งได้รับการ
22
สืบทอดมาตลอดการเปลี่ยนแปลงเป็นศาสนา อิ ส ลามนอกจากนี้ อิ ท ธิ พ ลต่ อ ศิ ล ปะอิ ส ลาม ภายหลังไม่น้อยสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เคยนับถือของชน เผ่าดั้งเดิม บางแห่งได้รับการสืบทอดมาตลอด การเปลี่ยนแปลงเป็นศาสนาอิสลามนอกจาก นี้ อิ ท ธิ พ ลศิ ล ปะในยุ โ รปก็ ใ ห้ อิ ท ธิ พ ลไม่ น้ อ ย เนื่องจากโรมันเคยขยายดินแดนสู่แถบนี้ทำ�ให้ บริเวณตะวันตกของเอเชียปรากฏวัฒนธรรม แบบตะวันตกอีกด้วยการสถาปนาอาณาจักร ไบแซนไทน์(Byzantine)ของโรมันทางตะวันออก (ปัจจุบันคือแถบประเทศตุรกี) ถือเป็นจุดหักเห ที่ความเจริญตามแบบวัฒนธรรมคลาสสิกหรือ กรีก-โรมันก้าวสู่ดินแดนแถบนี้โดยปรับเข้ากับ หลักศาสนาคริสต์6อาหรับเป็นชนชาติหนึ่งที่ได้ รับผลพวงจากวัฒนธรรมนี้แต่นำ�มาปรับเข้ากับ หลักของศาสนาอิสลาม แล้วค่อยๆ ปรับเปลี่ยน เป็นวัฒนธรรมเฉพาะตนก่อนแพร่กระจายออก สู่อื่นๆ โดยเฉพาะเมืองดามัสกัส (Damascus) ซึ่ง เชื่อว่าเป็นแหล่งก่อตัวของศิลปะอิสลาม ส่วน อาณาจั ก รไบแซนไทน์ ภ ายหลั ง ก็ ไ ด้ ส ถาปนา เป็นจักรวรรดิอิสลาม จนครอบคลุมทั่วเอเชีย ตะวั น ตกในที่ นี้ ส ถาปนิ ก มุ ส ลิ ม ต่ า งปรั บ ปรุ ง สถาปัตยกรรมโรมันและไบแซนไทน์ เพื่อความ เหมาะสมกั บ หน้ า ที่ ใ ช้ ส อยรู้ จั ก ดั ด แปลงเกิ ด สุ น ทรี ย ภาพแบบใหม่ ต ามครรลองของหลั ก ศาสนาที่พึงปฏิบัต วัฒนธรรมอาหรับส่วน ใหญ่เกิดขึ้นจากกองคาราวานเร่ร่อนท่ามกลาง สภาพแวดล้อมซึ่งเป็นทะเลทรายและแห้งแล้ง ศิ ล ปะต่ า งๆจึ ง ทำ � เฉพาะที่ ข นย้ า ยได้ ง่ า ยไม่ มี โอกาสสร้างบ้านเรือนถาวร ที่พักอาจเป็นเพียง กระโจมชั่วคราว เครื่องปั้นดินเผาไม่ประณีต พิถีพิถัน แต่ผลิตให้เพียงพอกับการขนย้าย หรือ ผ้าแพรที่ติดตัวไปได้ง่าย ด้วยข้อจำ�กัดนี้จึงหัน
ไปแสดงออกทางศิ ล ปะแขนงอื่ น ๆเช่ น วรรณ กรรมทางภาษาในคัมภีร์อัลกุรอาน ซึ่งกล่าวกัน ว่ามีความไพเราะและลุ่มลึกมา7ด้วยเหตุนี้จึงไม่ ค่อยปรากฏผลงายยิ่งใหญ่หรือเป็นตัวของตัว เองอันเป็นฝีมือของชาวอาหรับเร่ร่อนในยุคแรก ศิลปะอิสลามกับศิลปะของศาสนาอื่นๆแตกต่าง อย่างเด่นชัดตรงที่ศิลปะอิสลามไม่มีรูปเคารพ ไม่ ว่ า ด้ า นจิ ต กรรมหรื อ ประติ ม ากรรมก็ ต าม ทั้ ง นี้ เ ป็ น ไปตามบทบั ญ ญั ติ ท างศาสนาที่ ห้ า ม จำ�ลองบุคคลเพื่อการเคารพจึงไม่ปรากฏภาพ พระอัลลอฮ์หรือมุฮัมมัด ด้วยเหตุนี้ตามศาสนา สถานอิสลามจึงไม่ตั้งรูปเคารพให้สักการบูชา ลวดลายแทบไม่ปรากฏรูปคน รูปสัตว์ แต่ใช้ ลวดลายอื่นๆแทน ดังเช่น ลายพันธุ์พฤกษา ลาย เรขาคณิต ลายอักษรอาหรับ ลวดลายเหล่านี้ ส่วนใหญ่ปรากฏตามมัสยิด เครื่องปั้นดินเผา พรม และศิลปหัตถกรรมอื่นๆ
สถาปัตยกรรม ส ถ า ปั ต ย ก ร ร ม อิ ส ล า ม มี พื้ น ฐ า น
จากหลั ก คณิ ต ศาสตร์ ซึ่ ง ส่ ง ผลต่ อ การจั ด ห้ ว งจั ง หวะ(Rhythm)ช่ อ งว่ า ง(Space)อย่ า ง สม่ำ�เสมอ และมีความงามอย่างเอกภาพ(Unity) ผนังแบบเรียบเปิดโล่ง มีทิวเสาล้อมรอบลาน ด้านในการตกแต่งไม่วิจิตหยดย้อยแสดงถึงการ ผสมผสานระหว่างรูปทรงเรขาคณิตกับความ เรียบง่าย ซึ่งนำ�มาประยุกต์กับ การใช้สอยแตก ต่ า งกั น โดยทั่ ว ไปสถาปั ต ยกรรมอิ ส ลามแบ่ ง ออกได้หลายประเภทตามหน้าที่ใช้สอย ดังเช่น ศาสนาสถานหรือมัสยิด(Mosque) หอคอยหรือ มินาเรต(Minaret) สถานที่สอนศาสนาและกฏ หมายอิสลาม(Mausoleum) พระราชวังและบ้าน พื้นเมืองซึ่งในที่นี้ผู้เขียนจะกล่าวถึงในรายละ -
23
เอี ย ดเพี ย งศาสนสถานหรื อ มั ส ยิ ด เท่ า นั้ น แห่งพระเจ้าตามแบบวิหารในศาสนาคริสต์หรือ เทวาลัยในศาสนาฮินดู มัสยิดสำ�คัญที่สุดของศาสนา ศาสนสถานหรือมัสยิด ศ า ส น ส ถ า น โ ด ย ทั่ ว ไ ป เ รี ย ก อิสลามคือมัสยิด-ฮารอม(Al-Haram)ในเมือง ว่ า ”มั ส ยิ ด (Mosque)”เป็ น คำ � ทั บ ศั พ ท์ จ าก เมกกะภายในมี ล านกว้ า งขวางและเป็ น ที่ ตั้ ง ภาษาอาหรั บ คำ � ว่ า คำ � ว่ า ”Musjid”ซึ่ ง มี ค วาม ของวิ ห ารกะบะ(Kaba)มุ ฮั ม มั ด เคยนำ � ชาว หมายถึ ง สถานที่ โ น้ ม กายลงพื้ น พื่ อ สั ก การระ มุสลิมมาประกอบพิธีฮัจญ์(Hajj)ต่อหน้าวิหาร พระอัลลอฮ์(Allah)ดังนั้นความหมายเดิมของ กะบะแห่ ง นี้ เ ป็ น ครั้ ง แรกวิ ห ารกะบะมี รู ป ทรง มัสยิดจึงไม่เกี่ยวข้องกับรูปแบบสถาปัตยกรรม สี่เหลี่ยมลูกบาศก์ เรียบง่าย ประตูทางเข้า 1 อย่างหนึ่งอย่างใดแต่เป็นรูปแบบใดก็ได้ที่ใช้ใน ช่อง ภายในมีเสาไม้ 6 ต้น พื้นหินอ่อน ที่มุม กิจกรรมนี้ดังคำ�กล่าวของพระศาสดามุฮัมมัด ด้านหนึ่งตั้งหินดำ�ศักดิ์สิทธิ์ด้านนอกคลุมด้วย ตอนหนึ่งว่า “เมื่อใดที่ท่านสวดมนต์ให้พระจ้า ม่านสีดำ�ซึ่งตกแต่งด้วยอักษรอาหรับจากคัมภีร์ สถานที่ นั้ น คื อ มั ส ยิ ด ส่ ว นรู ป แบบที่ เ ห็ น ทั่ ว ไป อั ล กุ ร อานม่ า นนี้ เ ปลี่ ย นทุ ก ปี มั ส ยิ ด นี้ ไ ม่ มี มิ ห ปรากฏขึ้ น ภายหลั ง จากอิ ท ธิ พ ลสถนปั ต ยกร รับเมื่อประกอบพิธีจะนั่งห้อมล้อมวิหารกะบะ รมโรมันในภาษาอาหรับยังมีชื่อเรียกอีกอย่าง และสวดมนต์ความศรัทธาต่อวิหารนี้เบื้องต้น ว่า “จามี (Jami)”ซึ่งหมายถึงสถานที่รวมคน ก็ คื อ หิ น ดำ � ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ เ พราะเชื่ อ ว่ า ได้ รั บ การ หรือมัสยิดประจำ�วันศุกร์ ที่เรียกเช่นนี้เพราะ ประทานจากอั บ ราฮั ม ซึ่ ง เป็ น บรรพบุ รุ ษ ของ ปกติ ช าวมุ ส ลิ ม จะประกอบพิ ธี ร่ ว มกั น ทุ ก วั น อาหรับตามที่ปรากฏในคัมภีร์พันธสัญญาเดิม ศุกร์การสร้างมัสยิดถาวรกลายเป็นสิ่งจำ�เป็น แต่ ค วามศรั ท ธานี้ มี มาก่ อ นศาสนาอิ สลามซึ่ ง สำ � หรั บ ชุ ม ชนเพื่ อ อำ � นวยประโยชน์ ใ นการ นั บ ถื อ พระเจ้ า องค์ เ ดี ย วก็ เ กรงว่ า จะทำ � ลาย ประกอบพิธีกรรมและการรวมคนดังนั้นมัสยิด ความศรั ท ธาซึ่ ง มี ต่ อ หิ น ดำ � ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ เ มื่ อ ยึ ด ระยะแรกจึ ง คาดหวั ง เพี ย งสถานที่ ชุ ม ชนหรื อ เมืองเมกกะได้แล้วจึงนำ�ชาวอาหรับผู้เลื่อมใส รวมคนจำ�นวนมาก มีพื้นที่โล่งกพอสำ�หรับนั่ง ศาสนาอิ ส ลามเข้ า ไปสั ก การะบู ช าเช่ น เดิ ม อย่างไรก็ตามสิ่งที่ได้รับจากวิหารกะบะ เรียงแถวกับพื้นเพื่อสวดมาต์การสร้างมัสยิดจึง ส่งผลทั้งด้านความสามัคคีในหมู่มุสลิมด้วยกัน นี้ ยั ง ส่ ง ผลต่ อ ความเป็ น อั น หนึ่ ง อั น เดี ย วกั น ส่งผลด้านจิตใจเพราะถือเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ของมุ ส ลิ ม ทั่ ว โลกมุ ฮั ม มั ด มิ ไ ด้ ป รารถนาให้ เป็นที่มนุษย์มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับพระเจ้า วิหารศักดิ์สิทธิ์นี้ครอบงำ�ความคิดจนหลงเชื่อ การละหมาดในมัสยิดและการระลึกถึงพระองค์ อย่ า งมงายอั น นำ � ไปสู่ ก ารเช่ น ไหว้ พ ระเจ้ า แต่ จะช่วยให้จิตใจสงบเข้มแข็งและบริสุทธิ์ กล้า เป็ น สั ญ ลั ก ษณ์ ข องศาสนาอิ ส ลามที่ จ ะทำ � ให้ ที่จะเผชิญปัญหาต่อไปในทุกๆด้าน ดั้งนั้นการ มุ ส ลิ ม ศรั ท ธาในพระอั ล ลอฮ์ ม ากขึ้ น อั น นำ � ไป ออกแบบมัสยิดแต่ละส่วนจึงต้องคำ�นึงถึงความ สู่ ห ลั ก ปฏิ บั ติ อ ย่ า งแท้ จ ริ ง ในการดำ � เนิ น ชี วิ ต เหมาะสมกับพิธีกรรมการใช้ประโยชน์จากพื้นที่ ประจำ�วัน ดังนั้นวิหารกะบะจึงเปรยบเสมือน มากกว่าความพยายามที่จะเนรมิตให้เป็นวิมาน เครื่ อ งมื อ อย่ า งหนึ่ ง ที่ ช่ ว ยให้ คำ � สั่ ง สอนของ
24
มุฮัมมัดเป็นผลสำ�เร็จ บรรลุจุดมุ่งหมาย ดังเช่น หลักความเสมอภาคของมนุษย์ ซึ่งปรากฏโดย ให้ชาวมุสลิมไม่ว่ามาจากที่ใดมีฐานะอย่างไร เมื่อเข้ามาสู่วิหารกะบะจะต้องใส่เสื้อผ้าสีขาว เหมื อ นกั น หมดการอยู่ ร่ ว มกั น ของมุ ส ลิ ม ทั่ ว โลกในที่นี้ก็เพื่อพิสูจน์ความจงรักภักดีต่อพระ อั ล ลอฮ์ ซึ่ ง อยู่ เ หนื อ สิ่ ง ใดแม้ ยั ง มี สิ่ ง ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ หรือพระเจ้าของศาสนาอื่นๆอีกมากมายแนว ปฏิ บั ติ นี้ ส่ ง ผลต่ อ มุ ส ลิ ม ทุ ก ชาติ ทุ ก สมั ย ทำ � ให้ มุสลิมในช่วงชีวิตหนึ่งต้องหาโอกาสไปร่วมพิธี ที่ มั ส ยิ ด แห่ ง นี้ ห ากไม่ มี โ อกาสการทำ � พิ ธี ส วด มนต์ ไ ม่ ว่ า อยู่ ที่ แ ห่ ง ใดเพี ย งหั น หน้ า ทางเมื อ ง เมกกะในประเทศซาอุดีอาระเบียก็ถือเป็นการ แสดงถึ ง ความเคารพนอบน้ อ มต่ อ พระองค์ แล้ ว และการหั น หน้ า ไปยั ง จุ ด เดี ย วจะช่ ว ยให้ มุสลิมทั่วโลกมีความเป็นเอกภาพยิ่งขึ้นดังนั้น การสร้างมัสยิดแต่ละแห่งจำ�เป็นต้องคำ�นึงถึง พื้นที่ห้องที่สามารถให้ผู้ร่วมพิธีหันหน้าไปทาง เมกกะได้โดยเฉพาะตำ�แหน่งมิหรับซึ่งเป็นจุด ศู น ย์ ร วมของมั ส ยิ ด ดั ง เช่ น ประเทศไทยมิ ห รั บ ต้ อ งอยู่ ท าทิ ศ ตะวั น ตกของมั ส ยิ ด อั น เป็ น ที่ ตั้ ง ขอเมื อ งเมกกะภายใต้ พื้ น ฐานศาสนาอิ ส ลาม การสืบทอดรูปแบบและประเพณีอันยาวนาน ทำ � ให้ มั ส ยิ ด แต่ ล ะแห่ ง ทั่ ว โลกมี อ งค์ ป ระกอบ คล้ายคลึงกัน ซึ่งนอกจากมิหรับแล้วยังมีอ่าง น้ำ�ทำ�ความสะอาดแท่นสำ�หรับสอนศาสนาและ หอคอยกระจายเสียงหากเป็นมัสยิดขนาดเล็ก อาจมิไม่ครบทุกอย่างแต่อ่างน้ำ�จำ�เป็นต้องมีอยู่ เสมอ8ในที่นี้จะกล่าวถึงองค์ประกอบต่างๆของ มัสยิดโดยสังเขปดังนี้
องค์ประกอบสำ�คัญของมัสยิด
แผนผังการใช้มัสยิด ใ นคั ม ภี ร์ อั ล กุ ร อานและในบั น ทึ ก อั ล -ฮะดี ษ
นั้ น ไม่ มี ก ฎเกณฑ์ ต ายตั ว ที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ การ ออกแบบมั ส ยิ ด ระบุ ไ ว้ ก ารวางผั ง และการจั ด องค์ประกอบต่างๆจึงมีที่มาจากความจำ�เป็น ทางด้านประโยชน์ใช้สอยโดยมีมัสยิดของท่าน ศาสดาเป็นแบบอย่างเมื่อศาสนาอิสลามแพร่ เข้ า สู่ ส่ ว นต่ า งๆของโลกได้ เ กิ ด การพั ฒ นารู ป แบบของมั ส ยิ ด ให้ ส อดคล้ อ งกั บ ยุ ค สมั ย และ สถานที่เกิดเป็นสถาปัตยกรรมที่มีลักษณะแตก ต่ า งกั น แต่ โ ดยภาพรวมแล้ ว มี อ งค์ ป ระกอบที่ สำ�คัญดังนี้ 1. โถงละหมาด โดยทั่ ว ไปมุ ส ลิ ม สามารถแสดงความ เคารพภักดีต่อพระเจ้า ณ สถานที่ใดก็ได้ที่ มี ค วามเหมาะสมแต่ ค วามประเสริ ฐ ของการ ปฏิบัติร่วมกันในมัสยิดนั้นมีมากกว่า ดังที่ท่าน ศาสดาได้กล่าวไว้ว่า“การละหมาดของชายคน หนึ่งโดยรวมกันนั้นจะได้ผลบุญเพิ่มพูนมากกว่า การละหมาดของเขาคนเดี ย วในบ้ า นและใน ตลาดถึง 25 เท่า กล่าวคือเมื่อเขาอาบน้ำ�
25
ละหมาด ขาก็ได้ทำ�อย่างดีแล้วออกไปมัสยิด ซึ่ง ไม่ได้ออกไปเพื่ออื่นใดนอกจากละหมาดเท่านั้น ก้าวหนึ่งที่เขาออกไปเขาจะได้รับผลตอบแทน หนึ่งขั้นและความผิดก็จะถูกยกออกไปจากเข หนึ่งความผิด”โถงละหมาดจึงเป็นส่วนประกอบ สำ � คั ญ ของมั ส ยิ ด ที่ ร องรั บ การใช้ ง านของคน จำ�นวนมากถ้าหากพิจารณาจากมัสยิดของท่าน ศาสดาจะพบว่าความต้องการสำ�คัญในพื้นที่ ส่ ว นนี้ ไ ด้ แ ก่ พื้ น ที่ ส ะอาดที่ กำ � หนดทิ ศ ทางกิ บ ละฮ์สำ�หรับแสดงความเคารพร่วมกันอย่างสงบ และเป็นสัดส่วนปลอดภัยจากสิ่งรบกวนและภูมิ อากาศนั้นเอง
การใช้พื้นที่ในโถงละหมาด
2. มิหรับ มิหรับ(Mihrab)คือจุดรวมสายตาของผู้ประกอบ พิ ธี เ ปรี ย บเสมื อ นกั บ พระพุ ท ธรู ป ประธานใน โบสถ์ ข องวั ด พุ ท ธศาสนาหรื อ แท่ น บู ช าพระ คริ ส ต์ ใ นโบสถ์ ค ริ ส ต์ ศ าสนาโดยปกติ บ ริ เ วณ มิ ห รั บ จะมี อิ ห ม่ า นยื น อยู่ ด้ ว ยเพื่ อ นำ � ในการ ประกอบพิธี มักอยู่ที่ผนังตอนในสุด มิหรับโดย ทั่วไปหมายถึงช่องเว้า (Niche) ที่ลึกเข้าไปยังผนัง แต่เดิมใช้วัสดุง่ายๆ เช่น ไม้ ต่อมาพัฒนาเป็น หินได้รับการออกแบบแตกต่างกัน แต่รอบนอก มั ก ทำ � กรอบรู ป สี่ เ หลี่ ย มจั ด เป็ น ส่ ว นประกอบ ที่ ส ามารถสร้ า งสรรค์ ค วามงามได้ อ ย่ า งเต็ ม ที่ อ ย่ า งไรก็ ต ามก่ อ นถึ ง มิ ห รั บ ยั ง มี ป ระตู ซึ่ ง ทำ�คล้ายมิหรับเป็นทางผ่านหรือเชื่อมยังลาน ภายใน ส่วนนี้เชื่อมติดกับผนังเช่นกัน คล้ายซุ้ม ที่ทะเลออกไปด้านหนึ่งได้ ซึ่งอาจเป็นรูปเพดาน โค้งหรือแบน มักสร้างเป็นประตูบริเวณลานพิธี สวดมนต์ ที่เรียกว่า “อิวาน(lwan)”ด้านหน้าของ ซุ้มเหล่านี้มักอยู่ในกรอบสี่เหลี่ยมผืนผ้ าเสมอ และได้รับการประดับตกแต่งอย่างสวยงาม การ ทำ�เส้นกรอบเหมือนเครื่องกำ�หนดลวดลายไป ในตัวการทำ�ซุ้มประตูช่องเว้าหลายจุดส่วนใหญ่ ปรากฏอยู่ตามมัสยิดขนาดใหญ่ซึ่งสร้างขึ้นใน ช่วงแรกๆของอาหรับสำ�หรับ มั ส ยิ ด หลั ง หรื อ ปั จ จุ บั น มั ก จัดมิหรับอยู่ที่ผนังตอนในสุด
การใช้พื้นที่ในการละหมาด
26
3. มินบาร์ (Minbar) มินบาร์ หมายถึงธรรมาสน์ที่ใช้เทศนา หรือสอนศาสนาอิสลาม มีรูปแบบแตกต่าง จากธรรมมาสน์ ใ นศาสนาพุ ท ธและศาสนา คริสต์อย่างเห็นได้ชัดกล่าวคือมีบันไดขึ้นแคบๆ สู่ปะรำ�เบื้องบนซึ่งมี ลักษณะเล็กและแคบเช่น กัน หลังคาปะรำ�มีหลายรูปแบบบางครั้งจำ�ลอง เป็นโดมแบบมัสยิด บันไดสูงชัน มีราวกั้น เชิง บั น ไดอาจมี ป ระตู กั้ น ก่ อ นขึ้ น บั น ไดสร้ า งด้ ว ย ไม้ อิฐ หรือหินพื้นผิวด้านนอกตกแต่งลวดลาย อย่างสวยงาม ส่วนใหญ่แกะสลักเป็ยลายเรขา ตณิ ต โดยอาจแทรกลายดอกไม้ ห รื อ อั ก ษร อาหรับที่เป็นถ้อยคำ�สำ�นวนราวบันไดบางครั้ง ตกแต่งด้วยกระเบื้องเคลือบหรือเหล็กดัด เมื่อ จะเทศนาสั่งสอน คอติบ(Khatib) หรือผู้บรรยาย ธรรมจะขึ้ น ไปยื น เพี ย งชั้ น บั น ไดไม่ นิ ย มขึ้ น สู่ ชั้ น บนสุ ด หรื อ นั่ ง ตรงปะรำ � การทำ � ปะรำ � หรื อ หลั ง คาชั้ น บนสุ ด จึ ง ดู เ หมื อ นเป็ น การสื ย ทอด ประเพณี ม ากกว่ า การใช้ ส อยอย่ า งแท้ จ ริ ง มิ นบาร์มีประวัติความเป็นมาจากบัลลังก์ที่มุฮัม มัดเคยใช้เมื่อปรากฏต่อหน้าชุมชน เพื่อสั่งสอน หรื อ พบปะผู้ ค นโดยใช้ ต้ น ปาล์ ม ทำ � เป็ น ม้ า นั่ ง เตี้ยๆ ต่อมากาหลิบหรือผู้ปกครองนำ�มาใช้เป็น ที่ออกราชการแผ่นดินจนกลายเป็นสิ่งสำ�คัญ ของผู้ปกครองเมือง อย่างไรก็ตาม มินบาร์ที่มี ขั้นบันไดขึ้นสูงนี้เป็นแบบอย่างที่ได้รับอิทธิพล จากอียิปต์แล้วนำ�มาใช้ในอาหรับ จนเป็นที่นิยม อย่างกว้างขวาง มินบาร์โดยทั่วไปจะตั้งอยู่ทาง ซ้ายของมิหรับ ซึ่งต่างจากสมัยเริ่มต้นหรือสมัย อุเมย์ยัดที่วางอยู่ภายในมิหรับปัจจุบันยังถือเป็น ส่วนประกอบหนึ่งของมัสยิด มัสยิดขนาดใหญ่ และสำ�คัญนิยมจัดมินบาร์อยู่ในมัสยิดเสมอ
มินบาร์ที่มัสยิดเฮดายาตูลอิสลาม(บ้านฮ่อ)
4. มักซุรอ (Maqsura) ในยุคต้นๆของศาสนาอิสลามในมัสยิด มั ก จะมี มั ก ซุ ร อซึ่ ง เป็ น ฉากไม้ ห รื อ โลหะทำ � เป็นลวดลายให้กั้นพื้นที่หน้ามิหรับโดยเฉพาะ เพื่อป้องกันอิหม่ามซึ่งมักจะเป็นผู้ปกครองให้ ปลอดภัยจากการลอบสังหาร นั้นเอง 5. Dikka เป็นสถานที่สำ�หรับใช้ มุบัลลิก ส่งเสียง ให้สัญญาณต่อจากอิหม่ามเพื่อให้คนที่อยู่ไกล สามารถได้ยินสัญญาณและละหมาดพร้อมกัน ทั้งหมดได้ในกรณีที่มีคนจำ�นวนมากมักเป็นร้าน เล็กๆสูงประมาณ 1 ชั้นอาจอยู่บริเวณหน้าแท่ นมิมบัร หรือ กลางโถงละหมาดหรือกลางลาน โล่งภายนอกก็ได้ ปัจจุบัน Dikkaถูกลดความสำ� คัญลงเมื่อมีเครื่องขยายเสียงทำ�ให้ได้ยินไปไกล ทั่วทั้งมัสยิด
27
6. ห้องพิธีหรือโถงอเนกประสงค์ ห้องพิธีส่วนใหญ่มีผังรูปสี่เหลี่ยมเปิด โล่ ง พื้ น และผนั ง เรี ย บเป็ น ระนาบการตกแต่ ง เรียบง่ายกลมกลืนกับผิวระนาบ พื้นนิยมปู พรมเพื่อรองรับการละหมาดซึ่งต้องก้มหน้าพื้น ภายในห้องอาจแยกออกเป็น 2 ส่วน คือ หญิง และชายแต่ส่วนใหญ่ผู้หญิงจะให้นั่งทำ�พิธีอยู่ ตอนหลั ง หรื อ บางครั้ ง กั้ น ฉากแบ่ ง ห้ อ งเป็ น 2 ส่ ว นโดยจั ด มิ ห รั บ แยกจากกั น แต่ อ ยู่ บ นผนั ง เดียวกัน 7. อ่างน้ำ� (Basin) อ่างน้ำ�หรือภาชนะใดๆ ที่ใส่น้ำ� มักได้รับ การจัดวางไว้ในบริเวณมัสยิด มัสยิดในอดีตอ่าง น้ำ�มักวางอยู่บริเวณลานภายใน หรือด้านหน้า มิหรับ แต่ปัจจุบันมัสยิดมีขนาดแคบลง หรือ เป็นอาคารหลังเดี่ยว ไม่วับซ้อนเหมือนอดีต อ่า วงน้ำ�มักจัดวางให้มองเห็นชัดเจน ดังเช่น เชิง บันไดหรือด้านหน้ามัสยิดความจำ�เป็นของอ่าง น้ำ�ก็เพื่อชำ�ระล้างร่างกาย เช่น มือ เท้า ศีรษะ และใบหน้าให้สะอาดก่อนทำ�พิธีละหมาด ความ จริงการชำ�ระร่างกายจะปฏิบัติเสมอ แม้ทำ�พิธี อยู่ ที่ บ้ า นหรื อ ที่ ใ ดก็ ต ามแต่ ที่ มั ส ยิ ด ต้ อ งร่ ว ม พิ ธี กั บ คนจำ � นวนมากและทำ � อย่ า งสม่ำ � เสมอ ทุกวันศุกร์ดังนั้นอ่างน้ำ�ต้องมีขนาดใหญ่ติดตั้ง อย่างถาวรและมีลักษณะพิเศษโดยพิจารณาถึง ตำ�แหน่งที่ตั้งความประสานกลมกลืนกับอาคาร ทั้งหลัง 8. มินาเรต(Minaret) มิ น าเรตหรื อ หอคอยจั ด เป็ น ส่ ว น ประกอบซึ่งโดดเด่นมากหากมองจากภายนอก จนดูเหมือนว่าเป็นสัญลักษณ์สำ�คัญที่แสดงถึง ศาสนาอิสลามความโดดเด่นนี้ขึ้นอยู่กับความ สูงและรูปแบบที่มีลักษณะเฉพาะซึ่งเห็นได้แต่
ไกลเหตุผลที่ต้องสร้างเพราะใช้เป็นที่กระจาย เสียงและเชิญชวนให้มุสลิมเข้าร่วมพิธีละหมาด สวดมนต์ ห รื อ ฟั ง ธรรมที่ มั ส ยิ ด การส่ ง เสี ย ง บนที่สูงจะทำ�ให้ได้ยินอย่างทั่วถึงซึ่งเรียกการ ประกาศส่งเสียงเช่นนี้ “อาซาน (Adhan)” การ อาซานนอกจากช่ ว ยให้ ค นมาร่ ว มพิ ธี จำ � นวน มากแล้ ว ยั ง เป็ น สั ญ ญาณบอกเวลาสวดมนต์ ครั้ ง ใหม่ เ มี่ อ อยู่ ที่ ใ ดก็ ต ามอี ก ทั้ ง แสดงถึ ง ตำ�แหน่งของมัสยิด และประกาศข่าวการกุศล ทั่วไปรูปแบบของมินาเรตแต่ละแห่งมีความแตก ต่างกันแต่ส่วนใหญ่จะออกแบบให้กลมกลืนกับ อาคารหลักของมัสยิดมีรูปทรงกระบอก ภายใน มี บั น ไดเวี ย นขึ้ น ไปถึ ง ห้ อ งกระจายเสี ย งส่ ว น ยอดได้ การวางตำ � แหน่ ง มิ น าเรตระ ยะแรกไม่ มี แ บบแผนแน่ น อนและอาจมี มิ น า เรตเพียงแห่งเดียวในสมัยมัสยิดหนึ่งๆทั้งนี้อยู่ กั บ ลั ก ษณะพื้ น ที่ แ ละความจำ � เป็ น ด้ า นการ ใช้สอย แต่ภายหลังเมื่อต้องการตกแต่งบริเวณ สถานที่ ใ ห้ โ อ่ อ่ า สวยงามยิ่ ง ขึ้ น จึ ง กลายเป็ น ส่ ว นประกอบหนึ่ ง ที่ ต้ อ งพิ จ ารณาทั้ ง การวาง ตำ � แหน่ ง การใช้ รู ป แบบจำ � นวนนิ ร าเมตและ การตกแต่งพื้นผิวภายนอกเพื่อความกลมกลืน และดุลยภาพ ดังเช่น มัสยิดบางแห่งสร้างมินา เรตขนาบข้างซุ้มประตูทำ�ให้ทางเข้าออกดูโดด เด่นเป็นสง่ารูปแบบมินาเรตอาจเป็นทรงแปด เหลี่ยม ทรงกระบอก ทรงเกลียว หรือผสมกัน ในแต่ละช่วง บางแห่งวางตำ�แหน่งเป็นคู่ ๆ ยอด สุดเป็นรูปโดม กรวย หรือแบนราบ แต่ส่วนใหญ่ เป็นรูปโดมที่มีลักษณะกลมกลืนกับหลังคาของ มัสยิดหลังใหญ่บางครั้งมีระเบียงเป็นช่วงๆ มินา เรตจึงเป็นส่วนประกอบที่ให้คุณค่าทั้งความงาม และประโยชน์ใช้สอย
28
มินาเรตที่มัสยิดเฮดายาตูลอิสลาม(บ้านฮ่อ)
9. ซุ้มประตู โดยทั่วไปแล้วมักจะมีการกำ�หนด ขอบเขตของมัสยิดเพื่อแยกภายในที่สงบ ออกจากสิ่งรบกวนภายนอกโดยอาจทำ� เป็ น กำ � แพงล้ อ มรอบหรื อ คู น้ำ � เพื่ อ แยก เป็ น สั ด ส่ ว นและมี ซุ้ ม ประตู เ ป็ น ตั ว เชื่ อ ม ต่ อ เพื่ อ บ่ ง บอกถึ ง การเข้ า ถึ ง มั ส ยิ ด และ เป็ น ตั ว เน้ น มุ ม มองให้ สั ม พั น ธ์ กั บ แกน มั ส ยิ ด ซุ้ ม ประตู มั ก จะเป็ น ส่ ว นที่ มี ก าร ประดั บ ประดาอย่ า งงดงามเช่ น เดี ย วกั บ โดมและหออาซาน
การตกแต่งสถาปัตยกรรม
สถาปั ต ยกรรมของศาสนาอื่ น ๆการ ตกแต่งมักประกอบด้วยรูปเคารพใน
ศาสนาแต่ จ ากกฏของศาสนาอิ ส ลามที่ ห้ า ม จำ � ลองรู ป เคารพการตกแต่ ง จึ ง หลี ก เลี่ ย งไป ใช้ ล วดลายลั ก ษณะอื่ น ๆซึ่ ง ช่ า งต้ อ งอาศั ย ประสบการณ์ ค วามรู้ สึ ก ทั้ ง ในด้ า นการผสาน สี ก ารเลื อ กวั ส ดุ พื้ น ผิ ว และแรงดลใจในการ ออกแบบสิ่ ง เหล่ า นี้ ป รากฏขึ้ น ตั้ ง แต่ ส มั ย เริ่ ม ต้นของศาสนาอิสลามแล้วดังเช่นการตกแต่ง มัสยิดอุเมย์ยัดที่ดามัสกัส ซึ่งสันนิษฐานว่าได้ รั บ ทั ก ษะช่ า งฝี มื อ และวั ส ดุ จ ากอาณาจั ก รไบ แซนไทม์(Bosworth, 1991:16) หลังจากนั้นได้ รับความนิยมเรื่อยมาแต่สิ่งที่เห็นชัดขึ้นในภาย หลังคือการเน้นพื้นที่ตกแต่งเฉพาะบริเวณช่อง เว้าภายในกรอบสี่เหลี่ยมผืนผ้าตามแนวตั้งด้วย ลวดลายกระเบื้องโมเสก(Mosaic) ซึ่งได้รับแบบ อย่างจากเปอร์เซียและเมโสโปเตเมียจนต่อมาก ลายเป็ น ค่ า นิ ย มสู ง สุ ด ของการตกแต่ ง มั ส ยิ ด ทั่วไป (Nuttgens, 1993:144) ปัจจุบันหากสังเกต ลวดลายซึ่งปรากฏในงานสถาปัตยกรรมหรือ งานประยุกต์ศิลป์อื่นๆ ของศิลปะอิสลาม จะมี 3 ลักษณะใหญ่ๆ คือ พันธุ์พฤกษา เรขาคณิต และอักษรอาหรับ 1. ลวดลายพันธุ์พฤกษา (Floral Ornament) เป็นการนำ�ส่วนต่าง ๆ ของพันธุ์ไม้ ดังเช่น ใบ กิ่ง ก้าน ดอก เถา มาจัดองค์ประกอบให้มีจังหวะ ต่อเนื่องและมีขนาดแตกต่างกัน โดยทั่วไปมี 2 ลักษณะคือการจัดจังหวะให้ซ้ำ�กันกระจายเป็น รัศมี 2. ลวดลายเรขาคณิต (Geometrical Ornament) เป็นการนำ�เส้นตรง เส้นซิกแซ็ก เส้น โค้งมาจัดให้เป็นรูปเหลี่ยม วงรี วงกลม หรือ นามธรรม โดยจัดจังหวะให้ซ้ำ�กันอย่างต่อเนื่อง และคำ�นึงถึงความงดงามของช่องไฟโดยทั่วไป สถาปัตยกรรมที่เก่าแก่และสำ�คัญในเอเซีย
29
ตะวั น ตกนิ ย มใช้ ล วดลายเรขาคณิ ต กั บ การ ตกแต่ ง พื้ น ผิ ว ภายนอกของอาคารจึ ง ถื อ เป็ น ลวดลายยอดนิ ย มและโดดเด่ น มากของการ ตกแต่งสถาปัตยกรรมอิสลาม 3.ลวดลายอั ก ษร(CalligraphicOrnament) เป็นการประดิษฐ์อักษรอาหรับให้เป็นลวดลาย อักษรส่วนใหญ่นำ�มาจากถ้อยคำ�ในคัมภีร์อัล กุ ร อานผู้ อ อกแบบต้ อ งคำ � นึ ง อย่ า งมากเกี่ ย ว กับความเหมาะสมของพื้นที่ในการตกแต่งและ การประดิษฐ์ให้สวยงามอ่านง่าย เพราะหาก ประดิษฐ์จนเสียรูปก็อาจมีความหมายเปลี่ยน ไปลวดลายอักษรจึงพบเห็นน้อยกว่าลวดลาย อื่น ๆ แต่สามารถนำ�มาตกแต่งให้เกิดความงาม ได้และดีกว่าลวดลายอื่น ๆ ที่ให้คุณค่าทั้งความ งามและความหมายเชิ ง ศาสนาการตกแต่ ง โดยใช้อักษรอาหรับจึงมักปรากฏในงานศิลปะ อิสลามเท่านั้น9 จากข้างต้นที่กล่าวมาทั้งหมดนั้นผู้เขียน ได้กล่าวถึงการเข้ามาของมุสลิมยูนนานที่เข้า มาตั้งในรกรากที่จังหวัดเชียงใหม่และกล่าวถึง ศิลปะอิสลามและความสำ�คัญของมัสยิดรวมไป ถึงองค์ประกอบทางพิธีกรรมที่สำ�คัญต่างๆ ซึ่ง ในมุมมองของผู่เขียนเองนั้นมองว่าศาสนาและ ศิลปะนั้นเป็นสิ่งที่มาควบคู่กันเสมอในส่วนท้าย นี้ผู้เขียนจึงต้องการที่จะกล่าวถึงการตั้งรกราก ของชาวมุสลิมยูนนานในจังหวัดเชียงใหม่และ การมองบริ บ ทและความหมายทางสั ง คมที่ แฝงอยู่ ใ นศาสนสถานของชาวมุ ส ลิ ม ยู น นาน ในจังหวัดเชียงใหม่อันได้แก่มัสยิดเฮดายาตุล หรื อ มั ส ยิ ด บ้ า นฮ่ อ นั้ น เองมั ส ยิ ด เฮดายาตู ล อิสลาม(บ้านฮ่อ)
มัสยิดเฮดายาตูลอิสลาม(บ้านฮ่อ)
มั ส ยิ ด เฮดายาตู ล อิ ส ลามบ้ า นฮ่ อ หรื อ เรียกสั้นๆ ว่ามัสยิดบ้านฮ่อตั้งอยู่ในตำ�บล ช้างคลานในตัวเมืองจังหวัดเชียงใหม่ใกล้ กั บ ไนท์ บ าซาร์ มั ส ยิ ด แห่ ง นี้ ส ร้ า งขึ้ น โดย ชาวจี น มุ ส ลิ ม ที่ อ พยพมาจากมณฑลยู น นาน ประเทศจีน หรือที่เรียกว่า จีนฮ่อใน ปี พ.ศ.2458 ชาวจีนมุสลิมที่อพยพมา ตั้ ง ถิ่ น ฐานในจั ง หวั ด เชี ย งใหม่ ต กลงกั น ร่ ว มบริ จ าคเงิ น ซื้ อ ที่ ดิ น และสำ � หรั บ การ ก่อสร้างตัวอาคารของมัสยิดเป็นอาคารที่ ก่อด้วยอิฐถือปูน เป็นจำ�นวนเงินประมาณ 3,000 รูปี (ประมาณ 2,400 บาท) ซึ่ง ถือว่าเป็นอาคารมัสยิดหลังแรกของชาว ยูนนานมุสลิมได้อพยพเข้ามาอาศัยอยู่ใน ประเทศไทย ในจังหวัดเชียงใหม่ ย่านเวียง พิงค์ซึ่งเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า “มัสยิด อิสลามบ้านฮ่อ” โดยมีบุคคลที่มีบทบาท สำ�คัญในการก่อสร้างอาคารมัสยิดครั้งนี้ 8 ท่าน ได้แก่ 1.ท่านขุนชวงเลียง ลือเกียรติ ต้นตระกูล “วงศ์ลือเกียรติ” 2.ท่านเย่เอ๋อโกเถ่อว 3.ท่านเย่ฮั่วเถี่ยน ต้นตระกูล “พงษ์พฤษฑล” 4.ท่านนะสือชิง ต้นตระกูล “ธีระสวัสดิ์” 5.ท่านหมู่ หย่งชิน ต้นตระกูล“อนุวงค์ เจริญ” 6.ท่านม้า สุซาน 7.ท่านลี หวิ่นโซะ ต้นตระกูล “ลีตระกูล” 8.ท่านม้าฝูเม้ย ต้นตระกูล “อินทนันท์” ต่อมา ชาวจีนยูนนานรุ่นสุดท้ายที่อพยพ ออกจากประเทศจีนช่วงหลังเปลี่ยนการ
30
มัสยิดเฮดายาตูลอิสลาม(บ้านฮ่อ)
ปกครองปี ค.ศ. 1948 (พ.ศ. 2492) เข้า สู่ พ ม่ า และภาคเหนื อ ของไทยเข้ า มาตั้ ง ถิ่นฐานในจังหวัดเชียงใหม่ทำ�ให้ประชากร จีนมุสลิมยูนนานมุสลิมมีจำ�นวนเพิ่มมาก ขึ้นอย่างรวดเร็วในปี พ.ศ. 2509 สัปปุรุษ ของมั ส ยิ ด อิ ส ลามบ้ า นฮ่ อ จึ ง ได้ รื้ อ ถอน อาคารมัสยิดหลังเดิมที่ไม่สามารถรองรับ การเพิ่มขึ้นของชาวมุสลิมที่มาประกอบ ศาสนกิ จ อาคารมั ส ยิ ด หลั ง ใหม่ เ ป็ น อาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก2ชั้นโดยใช้งบ ประมาณทั้งสิ้น 750,000 บาท ปัจจุบัน อาคารมั ส ยิ ด อิ ส ลามบ้ า นฮ่ อ ตั้ ง อยู่ บ น ถนนเจริญประเทศซอย 1 ตำ�บลช้างคลาน จังหวัด เชียงใหม่10 จากการลงพื้นที่สำ�รวจในปัจจุบันพบว่า ในมั ส ยิ ด บ้ า นฮ่ อ นั้ น มี ก ารซ่ อ มแซมและ ปรั บ ปรุ ง เปลี่ ย นแปลงอยู่ เ สมอทางด้ า น ศิลปกรรมนั้นข้าพเจ้าเห็นว่าถึงการสร้าง มั ส ยิ ด จะเน้ น ไปที่ ป ระโยชน์ ใ ช้ ส วยและ ความงามทาง สถาปัตยกรรมแล้วยังมีสิ่ง
ที่ ส ะท้ อ งให้ เ ห็ น ถึ ง อั ต ลั ก ษณ์ ข องความเป็ น มุ สลิมยูนนานอยู่ คือแผ่นป้ายหน้ามัสยิดทั้งของ เดิมและของใหม่ที่เขียนด้วยภาษาจีน แสดง ให้เป็นถึงอัตลักษณ์และบริบททางสังคม ดัง ที่จะกล่าวต่อไปตัวอักษรที่ปรากฏอยู่บนแผ่น ป้ า ยดั ง กล่ า วอั น เป็ น ภู มิ ปั ญ ญาของบรรพชน มุ ส ลิ ม ยู น นานรุ่ น แรกๆที่ แ ม้ ว่ า ไม่ ไ ด้ รั บ การ ศึ ก ษาทางสามั ญ ขั้ น สู ง หากแต่ ลุ่ ม ลึ ก ด้ ว ย ภู มิ ปั ญ ญาอั น แหลมคมที่ ร อการตี ค วามจาก ชนรุ่ ง หลั ง ภาษาอาหรั บ ที่ ถู ก วางอยู่ เ หนื อ สุ ด ของป้ายคือ โองการจากคัมภีร์อัล-กุรอ่าน แปลว่า“และว่าแท้จริงบรรดามัสยิดนั้นเป็นขอ งอัลลอฮ ดังนั้นพวกเจ้าอย่าวิงวอนขอผู้ใดเคียง คู่กับอัลลอฮ”ตำ�แหน่งเหนือสุดอาจส่งสัญญะ ถึงความสำ�คัญอย่างสูงสุดของอัตลักษณ์ทาง ศาสนาอิ ส ลามที่ มุ ส ลิ ม ยู น นานทุ ก คนจะต้ อ ง ยึ ด ถื อ ตลอดไปแต่ ข ณะเดี ย วกั น ตำ � แหน่ ง ตรง กลางป้ายซึ่งเป็นศูนย์กลางที่มีความสำ�คัญคือ คำ�ภาษาไทยว่า “สุเหร่าอิสลามเชียงใหม่” นับ เป็นสัญญะบ่งบอกถึงอัตลักษณ์ของความเป็น ไทยที่ชาวมุสลิมยูนนานทุกคนจะต้องยึดมั่นเช่น กันในฐานะที่บรรพบุรุษได้เลือกที่จะอาศัยอยู่ บนแผ่นดินผืนนี้11
ป้ายเดิมของมัสยิดเฮดายาตูลอิสลาม(บ้านฮ่อ)
31
อั ก ษรต่ อ มาเป็ น ภาษาจี น ที่ มี ข นาดใหญ่ ก ว่ า อักษรอื่น ๆ ซึ่งเขียนไว้ว่า “หุย-แจ้ว-หลี่-ป้ายถัง-ซึ่งมีความหมายว่า สถานที่ละหมาดสำ�หรับ ชาวมุสลิม” ประโยคดังกล่าว ถึงแม้ว่าจะอยู่ใน ตำ�แหน่งล่างสุดแต่มีขนาดใหญ่กว่าอักษรภาษา อื่นส่งสัญญะให้มุสลิมยูนนานทุกให้ตระหนักว่า จะต้องไม่ลืมแผ่นดินเกิดและอัตลักษณ์ความ เป็นจีนที่มีความสำ�คัญไม่แพ้กัน ในปัจจุบันแผ่น ป้ า ยหน้ า มั ส ยิ ด อิ ส ลามบ้ า นฮ่ อ เชี ย งใหม่ เ ป็ น อักษรจีน3 ตัวอักษรที่เขียนติดกับแท่นไม้เก่าแก่ สีแดงบนตัวอาคารละหมาดว่า “ชิง-เจิน-สื้อ” ซึ่งหมายถึงสถานที่บริสุทธิ์และเป็นศาสนาที่แท้ จริงแนวคิดเรื่อง ชิง-เจิน (บริสุทธิ์และแท้จริง) นับเป็นแกนกลางของอัตลักษณ์ที่โดดเด่นของ ความเป็นชาวจีนมุสลิมที่มีรากฐานมาจากการ ยืนยันในการกล่าวคำ�ปฏิญาณตน(ชะฮาดะฮ์) ว่า “ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮ์ (ซ.บ.) และศาสดามุฮัมหมัด (ซ.ล.) เป็นศาสนฑูตของ พระองค์” ดังนั้น แนวคิดดังกล่าวจึงมีอิทธิพล ต่ อ ชาวจี น มุ ส ลิ ม ว่ า จะอยู่ ใ นประเทศจี น หรื อ ได้ อ พยพไปอยู่ ใ นประเทศอื่ น ๆเพื่ อ ธำ � รงค์ อั ต ลักษณ์ความเป็นมุสลิมของพวกเขา12
การเข้ า มาของวั ฒนธรรมข้ า มชาติ นั้ น นั บ เป็ น เรื่องปกติธรรมดาของแต่ละเชื้อชาติบ้านเมือง โดยการเข้ามาของแต่ละชาตินั้นเมื่อเข้าไปตั้ง ถิ่นฐานยังผืนแผ่นดินใหม่แล้วนอกจากการปรับ ตัวให้เข้ากับสภาพสังคมพื้นถิ่นเดิมแล้วโดยมาก มักจะรักษาความเป็นอัตลักษณ์หรือความเป็น ตัวตนของชนชาติดั้งเดิมของตนเองเอาไว้ชาว มุสลิมยูนนานที่เข้ามาอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ก็ เช่นเดียวกันการรักษาเอกลักษณ์ของความเป็น ชาติดั้งเดิมของตนเองนั้นชาวมุสลิมยูนนานได้ แสดงออกผ่ า นทางศิ ล ปะที่ ใ ช้ ต กแต่ ง ตกแต่ ง ศาสนสถานนับว่าเป็นแนวคิดที่ชาญฉลาดที่ใช้ ศิลปะควบคู่กับศาสนาในการแสดงออกถึงอัต ลักษณ์และความเป็นชาติของชาวมุสลิมยูนนาน นั้นเอง
ป้ายด้านหน้าของมัสยิดเฮดายาตูลอิสลาม(บ้าน ฮ่อ)ในปัจจุบัน อ่านว่า “ชิง-เจิน-สื้อ”
32
อ้างอิง
กาญจนะ ประกาศวุฒิสาร, พ.อ.(2546)ทหารจีนคณะ ศาสนาในเชียงใหม่. เชียงใหม่:นพบุรีการพิมพ์. 107ชาติก๊กมินตั๋งตกค้างทางภาคเหนือของประเทศไทย. 169. เชียงใหม่:สยามรัตนพริ้นติ้ง 2 Atwill, David (2006) The Chinese Sultanate: Islam, Ethnicity and the Panthay Rebellion in Southwest China 1856-1873, C.A.: StanfordUniversity Press. 3 Forbes, Andrew (2000) “The Role of Hui Muslims in the Traditional Caravan Trade between Yunnan and Thailand,” in Lombard, Debys and Jean Rubin (eds). Asian Merchants and Businessmen in the Indian Ocean and the China Sea,New Delhi: OxfordUniversity Press,Pp. 227-293. 4 Berlie, Jean (2000) “Cross-Border Links between Muslims in Yunnan and Northern Thailand.” In Evans, Grant; Hutton, Christopher; and KuahKhunEng (eds.) Where China Meets Southeast Asia: Social & Cultural Change in the Border Regions,Singapore: Institute of Southeast Asian Studies,Pp. 222-235. 5 Forbes, Andrew and Henley, David (1997)The Haw: Traders of Golden Triangle,New Zealand: Asia Film House Pty Ltd. 6 อารยธรรมสมัยโบราณ-สมัยกลาง,2535: 283299. 7 ฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์, 2536:83-84. 8 ปัญญา เทพสิงห์,ศิลปะเอเชีย,สำ�นักพิมพ์แห่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 9 เจนจิรา เบญจพงศ์,ลวดลายประดับแบบอิสลามใน ศิลปะไทย (พุทธศตวรรษที่ 21-23). 10 จีริจันทร์ ประทีปะเสน (2548)ขุนชวงเลียง ฦา เกียรติ:ทายาทเจิ้งเหอ คาราวานม้าต่างสู่เชียงใหม่. เชียงใหม่: ธนบรรณการพิมพ์ 11 สุชาติ เศรษฐมาลินี(2550) ความรุนแรง สันติภาพ และความหลากหลายในโลกอิสลาม. กรุงเทพฯ: ศยาม 12 สุชาติ เศรษฐมาลินี(2539)“ประวัติและพัฒนากการ ของศาสนาอิสลาม.” ใน คณะทำ�งานฝ่ายรวบรวม ประวัติและพัฒนาการจองศาสนาในเชียงใหม่. มรดก 1
33
34
เรือนไม้โบราณในชุมชนท่ามะโอ อำ�เภอเมือง จังหวัดลำ�ปาง กิตติยา ยาวิลาศ
เนื่องด้วยชุมชนท่ามะโอในสมัยก่อนเป็นแหล่งชุมชนการ ค้าไม้ที่สำ�คัญของจังหวัดลำ�ปาง ทำ�ให้ชุมชนนี้มีการสร้างเรือน ไม้ที่สวยงาม ได้รับอิทธิพลการสร้างจากหลายที่ทั้งชาวเงี้ยว ชาว พม่า ชาวตะวันตก ที่เข้ามาอาศัยเพื่อทำ�การค้าไม้ที่นี้ และที่สำ�คัญ ชุมชนท่ามะโอแห่งนี้เป็นแหล่งประวัติศาสตร์เล่าเรื่องราวความ สำ�คัญในอดีตเมื่อร้อยกว่าปี1 ในการค้าไม้ของภาคเหนือได้เป็น อย่างดี เพราะเรื่องราวเหล่านี้นำ�เสนอมาจากตัวเรือนไม้หลังเก่าที่ ยังคงอยู่ ให้เราได้ศึกษาทั้งประวัติ ทั้งศิลปกรรม กันต่อไป
35
จากคำ � บอกเล่ า ของคุ ณ ตาบุ ญ ศรี วรรณศรี อายุ 79 ปี ผู้เฒ่าผู้แก่ และเป็นพ่อ หมอสู่ ข วั ญ ประจำ � ชุ ม ชนซึ่ ง ผู้ รู้ เ รื่ อ งราวเกี่ ย ว กับชุมชนท่ามะโอเป็นอย่างดี เพราะอาศัยอยู่ ที่ชุมชนแห่งนี้ตั้งแต่เกิดจนถึงปัจจุบัน คุณตา บุญศรีได้ เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับชุมชนท่ามะโอ ให้ฟังว่า ชุมชนท่ามะโอแห่งนี้เมื่อก่อนมีการ ทำ�กิจการการค้าไม้กันอย่างคึกคัก โดยชาว บ้านที่นี่ยึดอาชีพกิจการค้าไม้เป็นอาชีพหลัก มี นายทุนฝรั่งเข้ามาทำ�กิจการป่าไม้ที่นี่ สังเกต ได้ ว่ าเรื อนหลายหลั ง ในชุม ชนท่ามะโอจะเป็น เรือนไม้เพราะว่านายทุนฝรั่งมีการคัดเอาไม้ที่มี ตำ�หนิออก ไม้ที่คัดออกเขาก็จะเอาให้ชาวบ้าน ไปใช้ตามอัธยาศัย เมื่อสมัยก่อนจังหวัดลำ�ปาง มีไม้สักเป็นจำ�นวนมาก จนทำ�ให้ลำ�ปางเป็น ศูนย์กลางการค้าไม้ที่ใหญ่ที่สุดของภาคเหนือ ในตอนนั้น โดยเฉพาะที่ชุมชนท่ามะโอ กิจการ การทำ�ป่าไม้ในช่วงนั้นรุ่งเรืองมา
มี ค นงานชาวพม่ า เข้ า มาทำ � กิ จ การ การค้าไม้และเป็นแรงงานที่นี่ ได้แก่ ชาวม่าน หรือชาวพม่า ชาวเงี้ยวหรือชาวไทใหญ่ และ ชาวมอญ บางส่วนก็อพยพไปอยู่บริเวณ พระประแดง จ.สมุทรปราการ เป็นการเข้าใจ ผิดทางข้อมูลว่าที่นี่มีชนเผ่าตองสู้ หรือ เผ่าปะ โอ ว่าเป็นชนชาติดั้งเดิมที่เข้ามาอยู่ที่ชุมชนท่า มะโอแห่งนี้ จึงตั้งชื่อชุมชนตามชนเผ่าตองสู้ หรือเผ่าปะโอ ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว ชุมชนท่า มะโอนี้ ชื่อเกิดจากชุมชนนี้มีต้นส้มโออยู่ริมน้ำ� ปากทางเข้าหมู่บ้าน จึงเรียกว่า ท่าเก๊ามะโอ ซึ่ง ชื่อของชุมชนไม่เกี่ยวข้องกับชนเผ่าใดเลย ถัดไป อีกนิดก็จะเป็น ท่าเก๊าไฮ (ชุมชนท่าต้นไทร) และ ท่าเก๊าม่วง (ชุมชนท่ามะม่วง) คนเฒ่าคนแก่ที่ นั่นเค้าเรียกชุมชนตามชื่อต้นไม้ที่เขาพบเห็นเป็น จุดสำ�คัญ
สภาพแวดล้อมทั่วไปในชุมชนท่ามะโอ คุณตาบุญศรี วรรณศรี ผู้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับชุมชนท่ามะโอ
36
ชุมชนท่ามะโอนี้ไม่มีใครทราบแน่ชัดว่า ตั้งเป็นชุมชนตั้งแต่เมื่อไหร่ เพราะมีวัดร้าง ณ ปัจจุบัน พ่อเลี้ยงหม่องจันโอ่งเข้ามาทำ�กิจการ ค้าไม้และมาแต่งงานกับคนในชุมชนมาบูรณะ วัดใหม่ ชื่อว่าวัดท่ามะโอในปัจจุบัน ทำ�ให้บาง ส่วนเชื่อว่าชุมชนนี้เกิดขึ้นมานานมาก แต่มาตั้ง ชื่อว่าท่ามะโอตอนสมัยการค้าไม้รุ่งเรือง แต่ ไม่ มี ใ ครทราบได้ ว่ า ชุ ม ชนก่ อ นหน้ า นั้ น ชื่ อ ว่ า อะไร ปัจจุบัน ชุมชนนี้มีประชากรส่วนใหญ่เป็น คนเมือง และสืบเชื่อสายมาจากชนชาติไทใหญ่ , ชาวม่าน, ชาวมอญ, ชาวเงี้ยว ประเพณีที่นี่ จะมีการฟ้อนผีเม็ง ซึ่งเป็นผีสายเจ้าจะจัดขึ้นที่ บ้านคุณตาบุญศรีทุก ๆ ปีในช่วงก่อนเข้าพรรษา อีกฝั่งไม่ไกลจากท่ามะโอก็จะเป็นชุมชนชาวจีน ที่มาทำ�การค้าขายในสมัยอดีต จะอยู่บริเวณ ชุมชนกาดกองต้า ส่วนชุมชนท่ามะโอ ฝรั่งจะ เข้ามาทำ�กิจการป่าไม้ ตอนนี้ยังมีสำ�นักงานร้าง สมัยร้อยกว่าปียังอยู่และ มีบ้านร้อยปีตอนนี้ กลายเป็นสำ�นักงานใหญ่ของกรมป่าไม้ไปแล้ว รูปแบบสถาปัตยกรรมที่นี่ ส่วนใหญ่ร้อยละ 80 จะสร้างด้วยไม้ทั้งสิ้น อายุก็ 50 ปีขึ้นไปเป็น ส่วนใหญ่ เรือนที่นี่สถาปัตยกรรมจะโดดเด่น เป็นพิเศษ ไม่ค่อยมีเรือนกาแลเลย จะเป็นเรือน ผสมเป็นส่วนมาก เรือนที่เป็นเอกลักษณ์ของท่า มะโอ คือบ้านเสานัก ซึ่งมี 116 เสา เป็นเรือน ล้านนาที่มีการผสมศิลปะของพม่าเข้าไปด้วย มี การตกแต่งประดับเรือนด้วยลวดลายไม้ฉลุ ที่ เน้นความสวยงามของบ้าน จึงไม่แปลกใจเลย ว่าเรือนส่วนใหญ่มีการสร้างลักษณะเรือนขนาด ใหญ่ รูปแบบเรือนไปในแนวทางล้านนาผสมกับ ศิ ล ปะตะวั น ตกที่ ดู ไ ด้ จ ากลวดลายไม้ ฉ ลุ ลวดลายพรรณพฤกษา ที่สำ�คัญเรือนทั้งหลาย
ทำ � ด้ ว ยไม้ สั ก ก็ เ ป็ น เพราะการรุ่ ง เรื อ งของ กิจการค้า ทำ�ให้เรือนหลายหลังได้รับอิทธิพล ทางศิลปกรรม รูปแบบสถาปัตยกรรมจาก ชาติอื่น ๆ เข้ามาด้วย กิจการป่าไม้ในจังหวัด ลำ�ปางริเริ่มอย่างเป็นระบบโดยชาวอังกฤษที่ มีประสบการณ์ในประเทศอาณานิคม คือพม่า มีการระบุถึงบริษัทการทำ�ไม้ ที่เข้ามาในเมือง นครลำ�ปาง2 ได้ แ ก่ 1 .บริ ษั ท บริ ติ ช เบอร์ เ นี ย วจำ � กั ด , 2.บริษัทบอมเบย์เบอร์มาจำ�กัด, 3.บริษัท สยามฟอร์เรสต์จำ�กัด, 4.บริษัท แอล.ที.เลียว โนเวนส์จำ�กัด, 5.บริษัท อีสต์ เอเชียติก จำ�กัด ชาวอังกฤษทำ�งานร่วมกับ ชาวไทใหญ่ ชาว ม่าน ชาวเงี้ยวตลอดจนถึงชาวกำ�มุ (ขมุ) ที่เป็น แรงงานชั้นดีจากลาวจึงชักชวนมาทำ�งานร่วม กันและในที่สุดชาวไทใหญ่พม่าก็สามารถตั้งตัว รับสัมปทานได้ดีและสามารถสั่งสมทุนเป็นกลุ่ม แรก ๆ ในนครลำ�ปางสถาปัตยกรรมที่สะท้อน ให้เห็นความมั่งคั่งของการทำ�ป่าไม้
นายหม่องจันโอ่ง และนางมุกต์ จันทรวิโรจน์ ซึ่งเป็นผู้ ค้าไม้รายใหญ่ของจังหวัดลำ�ปาง
37
เรื อ นไม้ ที่ ส วยงามในชุ ม ชนมะโอเกิ ด จากความมั่งคั่งจากการค้าขายไม้ อย่างเช่น บ้านเสานักของตระกูลจันทรวิโรจน์ และเรือน อีกหลาย ๆ หลังในชุมชนนี้ นอกจากนี้ยังมีการ สร้างวัดจากศรัทธาของชาวไทใหญ่ และพม่า คือวัดท่ามะโอ เป็นรูปแบบศิลปกรรมแบบพม่า ผสมกับศิลปกรรมแบบไทใหญ่ ด้านสถาปัตยกรรม รู ป แบบของเรื อ นไม้ ใ นชุ ม ชนท่ า มะโอ อำ�เภอเมือง จังหวัดลำ�ปาง แบ่งออกได้ใหญ่ ๆ เป็น 2 ลักษณะ คือเรือนสองชั้นและเรือนชั้น เดียว ซึ่งจะว่าไปแล้วทั้งสองนี้มีการจัดลักษณะ ทางกายภาพไม่ต่างกันเลยเพียงเรือนที่มีสอง ชั้นจะมีพื้นที่เพิ่มบริเวณชั้นสองของเรือนเท่านั้น แต่ บ ริ เ วณชั้ น ล่ า งก็ มี ก ารจั ด แบบแปลนที่ ใ ช้ บริเวณด้านหน้าเรือนสำ�หรับต้อนรับแขก ห้อง นั่งเล่นและมีห้องครัว ห้องน้ำ� อยู่ทางด้านหลัง ของเรือน บางบ้านประตูด้านหน้าไม่ค่อยเปิดใช้ จะใช้ประตูทางด้านข้างและด้านหลังแทน บาง หลังสมาชิกเหลือ น้อย บางห้องหรือบริเวณชั้น สองซึ่งมีคนแก่อาศัยอยู่ไม่สามารถเดินขึ้นลง ได้สะดวก ก็ใช้พื้นที่เพียงชั้นล่าง ห้องว่างหรือ ชั้นที่สองก็จะเป็นที่เก็บของไป3 นั้นก็เป็นสิ่งที่ เปลี่ยนแปลงไปจากอดีตสู่ปัจจุบันตามยุคต่อไป 1.เรือนล้านนาโบราณ เป็นรูปแบบ เรือนล้านนา โดยแท้จริงซึ่งพบว่าที่ชุมชนท่า มะโอมีบ้านเสานักเพียงเรือนเดียวที่เป็นเรือน ล้านนาโดยแท้จริง เมื่อมีการเข้ามาของชนชาติ ชาวพม่า พร้อมกับการทำ�อุตสาหกรรมป่า ไม้ จึงมีรูปแบบการผสมผสานเรือนล้านนากับ เรือนแบบตะวันตก โดยการประดับตกแต่งด้วย ลวดลายไม้ฉลุ ตัวอย่างเช่น บ้านเสานัก
บ้านเสานัก สร้างขึ้นเมื่อประมาณช่วง ปี พ.ศ.2438 โดยนายหม่องจันโอ่ง (ต้นตระกูล จันทร-วิโรจน์) เป็นเรือนล้านนาประยุกต์ มีพา ไลยที่อยู่รอบของตัวเรือนแตกต่างไปจากเรือน กาแลของล้านนา มีเสาเรือนไม้จำ�นวน 116 ต้น เป็ น โครงสร้ า งรั บ น้ำ � หนั ก ของตั ว เรื อ นไม้ ที่ มี ขนาดใหญ่ มีชานเรือนไว้สำ�หรับรับแขก หลังคา บ้านมุงด้วยกระเบื้องดินเผา
บ้านเสานัก
2.เรือนไม้ทรงปั้นหยา เป็นรูปแบบ เรือนไม้เป็นเรือนไม้แบบยุโรป มุงหลังคาด้วย กระเบื้อง หลังคาทุกด้านชนกันแบบพีระมิด ไม่มีหน้าจั่ว เป็นช่วงที่การทำ�อุตสาหกรรม การค้าไม้เจริญรุ่งเรืองซึ่งได้รับวิทยาการการ ก่อสร้างจากชาติตะวันตก ด้านหน้าของตัว เรือนมักมีการยื่นมุขออกมาหนึ่งมุข หลังคามี ความลาดชัน
38
บ้านหลัง ก บ้านหลังนี้สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2480 โดย พ่อเลี้ยงบุญเป็ง นันทวงศ์เป็นผู้สร้างและเป็น เจ้าของ ทำ�งานเกี่ยวกับป่าไม้ บ้านหลังนี้นางศรี ฟอง บุตรสาวคนโตดูแลรักษาและปรับปรุงมา อย่างต่อเนื่อง
บ้านหลัง ก บ้านของพ่อเลี้ยงบุญเป็ง นันทวงศ์ บ้านหลัง ข บ้านของคุณนิตยา เรืองถนอม บ้าน หลังนี้สร้าง เมื่อปี พ.ศ. 2477
บ้านหลัง ข บ้านของคุณนิตยา เรืองถนอม
39
3.เรื อ นไม้ ที่ เ ป็ น ทรงหน้ า จั่ ว หั ว ตัด,หน้าทรงป้าน,หน้าจั่วทรงสูง ซึ่งเรือน ชนิ ด นี้ เ ข้ า มาพร้ อ มกั บ การก่ อ สร้ า งเรื อ น แบบปั้นหยา ที่ได้รับแนวคิดจากชาติตะวัน ตก โดยส่วนใหญ่ช่างชาวไทใหญ่ พม่า เป็น คนก่อสร้างชุมชนท่ามะโอเป็นชุมชนที่มีบ้าน เรื อ นเกิ ด ขึ้ น มากมายบ้ า นเหล่ า นี้ กำ � ลั ง จะ เปลี่ยนไปตามยุคละสมัยนิยม ทำ�ลาย สร้าง ขึ้นแทน หรือทำ�การต่อเติมบ้าง ในช่วง 100 ปี ที่ผ่านมามีความนิยมเกิดขึ้นมากมาย เกี่ยว กับ การสร้างบ้านเรือนตามความชอบ ตาม กระแสของประชาชนในชุมชน ที่มีการเข้า มาของชนต่างถิ่น ทั้ง อังกฤษ พม่า และขมุ ทำ�ให้เกิดบ้านเรือนไม้เพราะการทำ�กิจการ ทางการค้าไม่ที่รุ่งเรืองในชุมชนนี้ เกิดขึ้น หลายหลัง ประเภทของเรือนนั้น เรือนไม้ในชุมชนท่ามะโอ พบว่ารูป แบบของเรือนที่นิยมมาสร้าง จะเป็นแบบ เรือนปั้นหยา คือเรือนที่มีแปลนบ้านเป็นรูป สี่เหลี่ยมผืนผ้า หรือตามรูปทรงต่างๆ เช่น มีมุกหน้า มุกข้าง มุกหลังบ้าง แต่จะอยู่ใน แระเภทเรื อ นปั้ น หยาชั้ น เดี ย วและเรื อ นปั้ น หยาสองชั้น ซึ่งจะมีรูปทรงของหลังคาสอบ เข้าหากันเป็นรูปปีรามิด ซึ่งมีสันหลังคาเป็น แม่ตะเข้ คือเป็นหลังคาคลุมทั้งตัวบ้านช่วยใน การป้องกันลมได้ดี ทำ�ให้ปลังคาเปิดไม่ออก ลักษณt การตกแต่งมีความโดดเด่นบางหลัง และ บางหลังไม่มีการตกแต่งมากนัก เน้น ความเรียบง่าย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆ อย่าง เช่น ฐานะของเจ้าของเรือน หรือฝีมือ ของช่างที่ทำ�ด้วย
บ้านหลัง ก บ้านพักของเจ้าหน้าที่กรมป่า ไม้สร้างประมาณปี พ.ศ.2450 ซึ่งเป็นเรือน ไม้ที่สร้างในยุคการค้าไม้ที่รุ่งเรือง ซึ่งมีการ ซ่อมแซมปรับปรุงตัวเรือนเรื่อยมา
บ้านหลัง ข บ้านร้อยปีหรือที่ทำ�การบริษัท บริติชบอร์เนียว จำ�กัด สร้างเมื่อ พ.ศ.2439 ที่ อ ยู่ ใ นสำ � นั ก งานกรมป่ า ไม้ ปั จ จุ บั น เรื อ น ไม้ ห ลั ง นี้ ใ ช้ เ ป็ น สำ � นั ก งานที่ ทำ � การของเจ้ า หน้าที่กรมป่าไม้ จ.ลำ�ปาง
ลายไม้ฉลุลายพรรณพฤกษาที่ประดับตกแต่ง เหนือประตู ของบ้านพักพนักงานกรมป่าไม้
ลายไม้ฉลุลายคลื่น ของบ้านเสานัก ที่ประดับ ตกแต่งบริเวณช่องลม
40
ศิลปกรรมการตกแต่งตัวเรือนไม้ เรือนไม้ในชุมชนท่ามะโอ มักจะใช้ ลวดลายไม้ฉลุประดับเรือน พบว่า มีลวดลาย ทั้งหมด 3 แบบ คือ ลาดลายพรรณพฤกษา, ลวดลายกรงเจาะเป็นช่อง , ลวดลายคลื่น การ ตกแต่งประดับลวดลาย พบว่ามักจะประดับ 8 บริเวณ และในด้านลวดลายมักจะเป็นลวดลาย พันธุ์พฤกษาส่วนใหญ่ บริเวณที่พบการตกแต่ง มากที่สุด คือบริเวณจั่ว และ บริเวณเหนือประตู เป็นเพราะบริเวณจั่วและ บริเวณเหนือประตู เป็นบริเวณที่มองเห็นได้ชัด เมื่อมีการประดับ ลวดลายตรงนี้ ก็ทำ�ให้ตัวเรือนดูสวยงามยิ่ง ขึ้น ส่วนบริเวณที่มีการตกแต่งรองลงมา คือ บริเวณช่องลม โก่งคิ้ว และระเบียง สำ�หรับ บริเวณที่มีการตกแต่งน้อยที่สุด คือบริเวณค้ำ� ยัน ผนังภายนอกอาคาร เสา และข้างประตู อาจเนื่องจากเป็นเรื่องของความนิยม ที่จะ ตกแต่งบริเวณเหนือประตู หน้าต่าง ระเบียง หรือช่องลม ที่มีความเด่นชัดกว่า ส่วนบริเวณ ค้ำ�ยัน หัวเสา หรือข้างประตูนั้น อยู่ในที่ค่อนข้าง ลับตา จึงไม่ค่อยมีใครให้ความสำ�คัญ
ส่ ว นในเรื่ อ งของลวดลายนั้ น จะพบที่ เรือนไม้นี้พบว่า ลวดลายที่พบส่วนใหญ่จะเป็น ลายประดิษฐ์อิสระและ ลายพันธุ์พฤกษาที่นิยม ประดับไว้บริเวณที่เห็นได้ชัดเจน เช่น เหนือ ประตู หน้าต่าง ช่องลม เป็นต้น เนื่องจากลาย พวกนี้มีความสวยงาม อ่อนช้อย และอาจรวมไป ถึงลายประดิษฐ์จากธรรมชาติด้วย อาจมีการใช้ ลายสัตว์ด้วยแต่ก็เป็นส่วนน้อย ซึ่งมักเป็นบ้าน ของชาวจีน ทำ�ลายรูปสัตว์เพื่อเป็นสัญลักษณ์ ต่าง ๆ และเรือนไม้ที่พบมักนิยมตกแต่งด้วย ลายไม้กลึง ไม้ซี่ตีตาราง มากกว่าเรือนประเภท อื่น ๆ ซึ่งเป็นในสมัยหลัง เนื่องจากมีการลดและ ตัดทอนในเรื่องของลวดลายลง มีการใช้ลายที่ ง่าย ๆ
ลายคลื่น
การตกแต่งและลวดลายประดับเรือน โดยในด้านการตกแต่ง แยกตาม ประเภทตามตำ�แหน่งที่พบตาม บริเวณ คือ 1.จั่วและด้านหน้า 2.เชิงชาย 3.ช่องลม 4.เหนือหน้าต่าง 5. เหนือประตู 6.ราวระเบียง 7.ราวบันได ในส่วนประดับลวดลายนั้นยัง แบ่งประเภทของลวดลายได้อีก3 ประเภท คือ 1.ลายพันธ์พฤกษา 2.ลายประดิษฐ์ 3.ลายไม้ กลึง ไม้ขีดตาราง
ลายใบไม้
ลายก้านใบไม้ผสมดอกไม้
41
การประดั บตกแต่ง เรือ นไม้ท่ามะโอมี ทั้งแบบหรูหรางดงาม และ แบบเรียบง่าย ดูสวย แบบลงตัว นั้นก็แสดงว่าเรือนไม้ในชุมชนท่า มะโอมีความหลากหลายในด้านการออกแบบ ทางศิลปกรรม ทำ�ให้เป็นจุดที่น่าสนใจจุดหนึ่ง ของบ้านในชุมชนนี้ลวดลายมีความแตกต่างกัน ออกไปตามแบบของช่าง เรือนไม้บางหลังเอา ลายไม้ฉลุ เช่น ลายก้านขด ลายคลื่น ลายพันธุ์ พฤกษา เป็นต้น มาเป็นสัญลักษณ์ความเชื่อ ในเรื่องความอุดมสมบูรณ์ ความสงบสุขร่มเย็น มั ก จะประดั บ ลายไม้ ฉ ลุ ต รงเหนื อ ประตู ห้ อ ง นอนของเจ้าของเรือนเรือนไม้หลายหลังสร้าง โดยชาวพม่า และชาวไทใหญ่ ที่ได้รับศิลปะแบบ ตะวันตก ชุ ม ชนท่ า มะโอเป็ น ชุ ม ชนทางด้ า น ประวัติศาสตร์ที่สำ�คัญของจังหวัดลำ�ปางเพราะ ก่อนที่จะมาเป็นชุมชนท่ามะโอได้ เคยมีการ ตั้ ง ชุ ม ชนมาก่ อ นเก่ า ซึ่ ง ตามคำ � ผู้ เ ฒ่ า ผู้ แ ก่ ใ น หมู่บ้านเล่าไว้ว่าแต่เดิมเป็นชุมชนของชาวลัวะ ได้มาสร้างชุมชนที่นี่ จนชุมชนล่มสลายเพราะ ปัญหาสงครามทางชนเผ่า จึงทำ�ให้เกิดเมือง ร้าง ต่อมาต่างถิ่นก็เข้ามาอยู่ในชุมชนแห่งนี้มี ทั้งพวกกลุ่มคนมอญ คนเงี้ยว คนไต คนไทใหญ่ ชุ ม ชนแห่ ง นี้ มี ป่ า ไม้ ที่ อุ ด มสมบู ร ณ์ โ ดยเฉพาะ ต้นสัก ทำ�ให้เกิดการค้าขายทำ�กิจการป่าไม้ เกิดขึ้น โดยขนส่งจากลำ�ปางผ่านแม่น้ำ�วังไปถึง ปากน้ำ�โพธิ์จังหวัดนครสวรรค์ ชาวต่างชาติโดย เกิดความสนใจที่จะเข้ามาทำ�กิจการที่นี่เพราะ ไม้สักลำ�ปางทั้งสวยและมีขนาดใหญ่ จึงทำ�ให้ ชาวต่างชาติได้ตั้งองค์กรเกี่ยวกับการค้าไม้ไว้ใน ชุมชนแห่งนี้เพื่อง่ายต่อการทำ�กิจการ จึงทำ�ให้ เกิดแรงงาน และพ่อค้าต่างถิ่นเข้ามามากมาย
สิ่ ง เ ห ล่ า นี้ ส่ ง ผ ล ไ ป ถึ ง รู ป แ บ บ สถาปัตยกรรมที่อยู่อาศัยและวัฒนธรรมของ คนในชุมชนด้วย รูปแบบสถาปัตยกรรมและ ศิลปกรรมเรือนไม้ในชุมชนท่ามะโอ อำ�เภอเมือง จังหวัดลำ�ปาง พบว่าตลอด ระยะ เวลาร้อย กว่าปี ตั้งแต่ พ.ศ.2410 จนถึง พ.ศ.2554 การ ตั้งถิ่นฐานของคนลำ�ปางมีการพัฒนาอย่างมัน คง และมีการสร้างเรือนที่ได้รับอิทธิพลจากชา ติอื่นๆเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในชุมชนท่ามะ โอ ที่มีการเข้ามาของชาวต่างชาติ ไม่ว่าจะเป็น ชาติตะวันตก ชาวพม่า ชาวม่าน ชาวไต ชาว มอญ ชาวไทใหญ่ พบว่าการสร้างบ้านเรือนนี้ จะเป็นไปในรูปแบบแนวตะวันตกมากกว่าเรือน กาแลความเปลี่ยนเปลี่ยนแปลงของชีวิตผู้คน ในชุมชนนี้ส่วนหนึ่งการทำ�อุตสาหกรรมการค้า ไม้ เ ป็ น ส่ ว นสำ � คั ญ ที่ เ ป็ น ตั ว เชื่ อ มให้ เ กิ ด ความ เปลี่ ย นแปลงในการสร้ า งงานสถาปั ต ยกรรม เพราะการเข้ามาของชาติอื่น ๆ ในชุมชน พม่า จะเป็นชาติตะวันตก ชาติพม่า ไทใหญ่ ทำ�ให้ คนในชุมชนนี้มีเชื้อสายมาจากชาวพม่า ชาว ไทใหญ่เป็นจำ�นวนมาก ส่วนศิลปกรรมการ ตกแต่งตัวเรือนจะเน้นไปในทางลวดลานไม้ฉลุ ส่วนมากลายที่พบจะ เป็นลายที่มีลักษณะเป็น ลายพันธุ์พฤกษา โดยไม่เน้นด้านความเชื่อแบบ จีนเข้ามา อย่างลวดลายไม้ฉลุแบบจีนที่จะฉลุ สิ่งของมงคล หรือ รูปสัตว์เข้าไปในตัวงาน แต่ ลวดลายไม้ฉลุที่เรือนไม้ท่ามะโอนั้นจะใช้ลาย พันธุ พฤกษาเป็นสัญลักษณ์ ความมงคล แทน รูปสัตว์หรือรูปสัญลักษณ์แบบจีน มาเป็นแบบ ฉลุ และ พบว่าบ้านหลายหลังเน้นความเรียบ ง่าย การตกแต่งก็ไม่มากนัก ส่วนใหญ่ตกแต่ง เพียงราวบันได ระเบียงบ้าน ประตู หน้าต่าง โดยทำ�เป็นไม่ซี่ตีต่อๆกันเท่านั้น
42
รู ป แ บ บ ง า น ส ถ า ปั ต ย ก ร ร ม แ ล ะ ศิลปกรรมเรือนไม้ในชุมชนท่ามะโอนั้น ส่วน ใหญ่ แ ต่ จ ะเน้ น ไปทางด้ า นรู ป แบบของงาน สถาปัตยกรรมมากกว่างานศิลปกรรม เพราะ แสดงถึงศักยภาพทางฐานะ ได้เด่นชัด งานสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมของ ชุมชนท่ามะโอนี้มีความสำ�คัญ และเป็นแหล่ง มรดกทางประวัติศาสตร์ที่ดีของจังหวัดลำ�ปาง อีกแห่งหนึ่ง เนื่องจากบ้านหลายหลังมีการ สร้างในสมัยการทำ�อุตสาหกรรมการค้าไม้ที่นี่ มีความเจริญรุ่งเรือง อายุของบ้านก็มีความเก่า แก่ ยังคงไว้ที่เดิม โดยไม่มีการทำ�ลาย หรือรื้อ ถอน จึงเหมาะอย่างยิ่งที่จะเข้ามาทำ�การศึกษา นอกจากสถาปั ต ยกรรมและศิ ล ปกรรมเรื อ น ไม้โบราณ แล้ว ยังมีสิ่งที่น่าสนใจที่ควรเข้ามา ศึกษาวิจัยหลายๆเรื่องเช่น ประวัติศาสตร์เรื่อง ราวความเป็นมาของชุมชน , เรื่องของประเพณี วัฒนธรรมในชุมชน ,เรื่องสังคมการดำ�รงชีวิต ของผู้คนในชุมชน เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ล้วนแล้ว แต่มีคามสำ�คัญทั้งสิ้น เพราะชุมชนแห่งนี้เต็ม ไปด้วยข้อมูลที่ผ่านจากคำ�บอกเล่า ผ่านจาก สิ่งแวดล้อมในชุมชน ที่จะช่วยบอกเล่าเรื่องราว ของชุมชนท่ามะโอแห่งนี้ได้เป็นอย่างดี สุดท้าย นี้ ควรมีการอนุรักษ์ให้ชุมชนท่ามะโอเป็นชุมชน ทางประวั ติ ศ าสตร์ ข องจั ง หวั ด ลำ � ปางเพื่ อ จะ ได้ เ ป็ น ชุ ม ชนแห่ ง ความรู้ ท างประวั ติ ศ าสตร์ ทางการค้า , ชีวิตของผู้คน และสิ่งแวดล้อมใน ชุมชน เพื่อที่จะเป็นประโยชน์ต่อการขยายความ รู้ใน การเรียนรู้แหล่งชุมชนอื่นๆของจังหวัด ลำ�ปาง และของภาคเหนือต่อไป
อ้างอิง
ชมัยโลม สุนทรสวัสดิ์. การศึกษาเชิงประวัติศาสตร์ เกี่ยวกับกิจกรรมป่าไม้ทางภาคเหนือของไทย ตั้งแต่ พ.ศ.2439-2475 . กรุงเทพมหานคร : วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชาประวัติศาสตร์ บัณฑิต วิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2521. 2 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. โครงการสำ�รวจรูปแบบสถาปัตยกรรมที่อยู่อาศัยใน เขตเมืองเก่าเทศบาลนครลำ�ปาง .เชียงใหม่ : คณะ สถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่,2551. 3 สำ�นักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม.แผนที่มรดกทางวัฒนธรรมนครลำ�ปาง .กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ อี ที พับลิชชิ่ง,2549. 1
43
44
อิทธิพลภายนอกสู่ศิลปกรรม
วิหารเมืองพาน จิรายุทธ
ปินตา
วิหาร” สมบัติอันล้ำ�ค่าที่อยู่คู่กับพุทธศาสนามาตั้งแต่ อดีตกาล ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ที่แสดงถึงขอบเขตพัทธสีมา ดินแดน แห่งพระพุทธศาสนาได้เผยแผ่มาถึง ในนิยามของคำ�ว่าวิหารนั้น คือ ที่อยู่ของสงฆ์ที่ประดิษฐานพระพุทธรูปคู่กับโบสถ์ การเป็น อยู่หรือการดำ�รงชีวิต หรือหมายถึงการพักผ่อน การเที่ยว การ เล่น หรือแปลว่าวัด หรือที่อยู่อาศัย กล่าวว่าในสมัยพุทธกาลคำ� ว่า วิหาร หมายถึง อาคารที่อยู่อาศัยของพระภิกษุเพื่อการเปลี่ยน อิริยาบถของพระภิกษุสงฆ์ อาจเทียบเคียงได้กับคำ�ว่า กุฏิ แต่ภาย หลังความหมายเปลี่ยนไป มักใช้หมายถึง อาคารสถานที่สำ�หรับ ประดิษฐานพระพุทธปฏิมากรแทน
45
โดยทั่ ว ไปมั ก สร้ า งให้ มี ข นาดใหญ่ ก ว่ า พระ อุ โ บสถมี วั ต ถุ ป ระสงค์ ใ ห้ เ ป็ น ที่ ป ระชุ ม ของ คนจำ � นวนมากเพื่ อ ทำ � พิ ธี ก รรมบางอย่ า งได้ โดยสะดวก 1ซึ่ ง ในระยะแรกเริ่ ม ของพระพุ ท ธ ศาสนา ยังไม่มีการสร้างวิหารหรือแม้รูปเคารพ ในการแสดงธรรมของพระพุ ท ธองค์ ใ นสถาน ที่ ต่ า งๆมิ ไ ด้ เ น้ น การสร้ า งสถาปั ต ยกรรมเพื่ อ ประกอบพิธีกรรมแม้แต่ที่พักของพระสงฆ์ ต่าง ก็อาศัยพึ่งพิงโคนไม้ซอกเขา หลืบถ้ำ� ซึ่งค่อน ขางลำ � บากบางครั้ ง ก็ ต้ อ งเจอสั ต ว์ ร้ า ยหรื อ ภั ย ธรรมชาติ ต่ า งๆ2พระภิ ก ษุ ทั้ ง หลายต่ า ง เดือดร้อนทรมานกายจากความหนาวเย็นเป็น อุปสรรคต่อการบำ�เพ็ญเพียรทางจิตในเวลาต่อ มาทรงห้ามมิให้จำ�พรรษาภายใต้ร่มไม้ในช่วง เวลาเข้าพรรษาพร้อมทั้งทรงกำ�หนดประเภท ของเสนาสนะที่ ท รงอนุ ญ าตให้ อ าศั ย ได้ 5 ประเภท ดังนี้คือ 1) วิหารโรหมายถึง ที่อยู่อาศัยหรือที่พัก 2) อฑฺฒโยโคหมายถึง เรือนอาศัยที่มุงหลังคา ที่เทลงมาด้านเดียวอย่างเพิงหมาแหงน 3) ปาสาโทหมายถึง เรือนหลายชั้น 4) หมฺมิยํหมายถึง เรือนโล้น(เรือนที่ไม่มีการมุง หลังคา) แต่ทำ�พื้นหลังคาเรียบแบนขนานกับพื้น เรือน 5) คูหาหมายถึง ถ้ำ�ธรรมชาติที่เป็นช่องกลวงไป ในภูเขา วิ ห ารเป็ น พุ ท ธศาสนสถานที่ สำ � คั ญ ที่ ส ร้ า งคู่ มากับวัดตั้งแต่พุทธกาลในประเทศอินเดีย ดัง ที่เรารู้จักกัน เช่น ถ้ำ�คูหาอชันตา ถ้ำ�ภาชา เป็ น ต้ น เป็ น อาคารที่ พำ � นั ก ของภิ ก ษุ ส งฆ์ เ มื่ อ พุทธศาสนามีความเจริญรุ่งเรืองมีพระภิกษุเพิ่ม มากขึ้น วิหารจึงใช้เป็นที่ประชุมสังฆกรรมด้วย ต่อมาวิหารได้ใช้เป็นทีประดิษฐาน พระพุทธรูป
ซึ่ ง เป็ น ประทานในการประชุ ม กิ จ สงฆ์ 3 รวม ถึงให้ช าวพุทธได้เข้ าไปกระทำ�พิธีท างศาสนา คือบริเวณที่เจาะเป็นช่องคูหาลึกเข้าไป ตอน ปลายสุดมีพระสถูปเจดีย์ขนาดย่อมประดิษฐาน อยู่ สถานที่ดังกล่าว เรียกว่า เจติยสถาน หรือ วิ ห ารเจดี ย์ ก ารเกิ ด วิ ห ารในประเทศไทยค้ น พบหลักฐานในช่วงพุทธสตวรรษที่12–13 สมัย ทวาราวดี ดั ง ปรากฏซากโบราณสถานที่ วั ด โคกไม้เอนจังหวัดนครสวรรค์วิห ารเป็นศาสน สถานที่ สำ � คั ญ ควบคู่ กั บ การสร้ า งพระสถู ป เจดีย์หรือพระปรางเสมอและถือว่าวิหารเป็น สิ่ ง จำ � เป็ น สำ � หรั บ การประกอบศาสนพิ ธี แ ละ เริ่ ม ใช้ สำ � หรั บ ประดิ ษ ฐานพระพุ ท ธรู ป สำ � คั ญ ของวั ด โดยเฉพาะในช่ ว งพุ ท ธศตวรรษที่ 1 819เมื่อพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์แพร่หลายเข้า มาในประเทศไทย อันเป็นที่ตั้งของอาณาจักร สุ โ ขทั ย และล้ า นนามี ค วามนิ ย มในการสร้ า ง พระสถูปเจดีย์ทรงระฆังคว่ำ� และวิหารที่ตั้งอยู่ ด้านหน้าองค์พระสถูปเพื่อใช้เป็นที่ประดิษฐาน พระพุทธรูปอันเป็นพระปรานของวัดในทางด้าน ความเชื่ อ ของล้ า นนานิ ย มในการสร้ า งวิ ห าร สำ � หรั บ ประกอบศาสนกิ จ ต่ า งๆโดยให้ ค วาม สำ�คัญมากกว่าโบสถ์มักพบเสมอว่าโบสถ์ทาง ภาคเหนือมีขนาดเล็กและไม่ปรากฏมากนักแต่ สำ�หรับทางภาคกลางกลับให้ความสำ�คัญแก่ โบสถ์มากกว่าล้านนาดังนั้นจึงพบว่าทางภาค กลางมักสร้างโบสถ์ควบคู่กับวิหารอันมีความ แตกต่ า งจากทางภาคเหนื อ ที่ นิ ย มให้ ค วาม สำ�คัญแก่วิหารมากกว่าโดยดูได้จากการที่วัด หลายวั ด ก็ มี ห มวดอุ โ บสถที่ ม าทำ � อุ โ บสถสั ฆ กรรมจะมีหัววัดมากมายที่มาร่วมสังฆกรรมกัน จากจุดนี้เองแสดงให้เห็นว่าล้านนาไม่นิยมที่จะ สร้างอุโบสถเฉพาะของวัดตัวเองเท่าใดนัก4
46
การสร้ า งวิ ห ารหรื อ การให้ ท านวิ ห ารใน วั ฒ นธรรมล้ า นนาจั ด อยู่ ใ นประเภททานมั ย หรืออาวาสทานเป็นการสร้างวิหารโบสถ์ ศาลา การเปรียญ กุฏิ บุคคลใดถวายอาวาสทานแก่ พระสงฆ์สมเด็จพระศาสตราจารย์เจ้าตรัสว่า บุคคลนั้นได้ชื่อว่าให้ซึ่งอายุ ให้วรรณะ ให้ สุข ให้พละ ให้ปฏิภาณอัน นอกจากความ เชื่อเรื่องอานิสงส์ผลบุญในการสร้างวิหารแล้ว ยั ง มี อี ก ความเชื่ อ หนึ่ ง ที่ ว่ า ควบคู่ กั บ พระพุ ท ธ ศาสนา นั่นก็คือคติความเชื่อเรื่องจักรวาล การ สร้างวัดจึงสืบทอดแบบอย่างการสร้างวัดที่เป็น อิ ท ธิ พ ลของลั ง กาเนื่ อ งจากเนื้ อ หาคำ � สอนใน “ไตรภูมิ” ซึ่งเน้น เนื้อหาส่วนใหญ่ในเรื่อง ปุพ เพ กตปุญญตาอันเป็นเรื่องราวที่พรรณนาเกี่ยว กับนรกและสวรรค์เป็นอย่างมาก ซึ่งความเชื่อ ดังนี้มีความสำ�คัญต่อการออกแบบผังบริเวณ และกลุ่มอาคารให้เป็นไปตามแผนภูมิจักรวาล หากจะพิ จ ารณาจากตั ว สถาปั ต ยกรรมที่ ยั ง เหลืออยู่ สภาพแวดล้อมและองค์ประกอบของ สถาปัตยกรรมทั้งหมดทำ�ให้เกิดสมมติฐานว่า วิหารล้านนาถูกกำ�หนดผังบริเวณและการจัด กลุ่ ม อาคารทั้ ง หมดมุ่ ง หมายให้ ทำ � หน้ า ที่ ร่ ว ม กันด้วยการแทนค่าของผังจักรวาลในอดีตนั้น ให้ความสำ�คัญต่อองค์พระสถูปเจดีย์เป็นหลัก ประธานของวัดเห็นได้จากการวางตำ�แหน่งพระ เจดีย์ที่อยู่กึ่งกลางบริเวณวัดและวิหาร คือส่วน ที่สำ�คัญรองลงมา มีตำ�แหน่งการวางวิหารให้ อยู่ด้านหน้าขององค์พระเจดีย์ให้ในบางวัดของ ล้านนาก็มีการเชื่อต่อระหว่ างวิหารและเจดีย์ เข้าด้วยกันเช่น วิหารลายคำ� วัดพระสิงห์ วิหาร วัดปราสาท วิหารวัดป่าแดงหลวง จังหวัด เชียงใหม่ เป็นต้น ในระยะหลังแผนผังของวัด อาจมีความหมายเปลี่ยนไป กล่าวคือ การ
กำ � หนดให้ ตำ � แหน่ ง ของเจดี ย์ ป ระธานเป็ น ศู น ย์ ก ลางของวั ด และมี เ จดี ย์ บ ริ ว ารรายล้ อ ม ทั้ง8ทิศแต่ก็ยังมีการวางตำ�แหน่งของวิหารไว้ ด้านหน้าของเจดีย์เช่นเดิมดังจะเห็นได้ชัดจาก แผนการสร้ า งวั ด ล้ า นนามี ก ารเน้ น แนวแกน หลักที่สำ�คัญคือแนวแกนตะวันออกและตะวัน ตก ในระนาบเดียวกันจากซุ้มโขง ประตูทาง เข้ามายังวิหารและเจดีย์ตามลำ�ดับ5 เมื่อศึกษา จากรูปแบบแผนผังวิหารล้านนา แผนผังอาคาร มักมีการวางผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสตรงกลาง และมีการยกเก็จทั้งด้านหน้าและด้านหลัง โดย ส่วนใหญ่จะยกทางด้านหน้า2ชั้น และด้านหลัง1 ชั้น การจัดพื้นที่ภายในของวิหาร ประกอบด้วย ส่วนโถงภายในซึ่งมีแนวเสา 2 แนว กลางพื้นที่ ตอนท้ายสุดของอาคารเป็นที่ประดิษฐานของ พระพุทธรูป มักทำ�เป็นฐานชุกชีมีทางเข้าหลัก ทางด้านหน้าวิหารในช่วงหลังมีการเพิ่มเติมมุข ทางเข้าด้านหน้าและทางเข้า ด้านข้างในส่วน โถงตรงกลางจะใช้เป็นที่ประกอบพิธีกรรม ในด้ า นรู ป ทรงของวิ ห ารล้ า นนาที่ ปรากฏในจังหวัดเชียงใหม่เป็นวิหารที่ได้รับการ บูรณปฏิสังขรณ์ตั้งแต่ช่วงพระยากาวิละพ.ศ. 2435เป็นต้น เป็นวิหารขนาดกลาง นิยมยก ฐานสูงมีการใช้ระเบียงมุขทางด้านหน้าหลังคา อ่อนช้อย เตี้ย เรียกว่าเป็นแบบฮ้างแม่6 คือ มีความอ่อนช้อยแบบลักษณะของผู้หญิงส่วน โครงสร้างของฝาอาคารนั้นใช้ไม้ในการสร้าง มี ลั ก ษณะเป็ น รอบไม้ ยึ ด ยั น รู ป สี่ เ หลี่ ย มอั ด ช่ อ ง ภายในด้วยแผ่นไม้ลูกฟักดูคล้ายฝาปะกนของ ฝาเรือนอยุธยาแต่มีสัดส่วนที่ใหญ่ หนา และ มั่นคงกว่าการทำ�ฝาใช้วิธีประกอบตัวไม้โครง เป็ น ช่ อ งตารางยึ ด ติ ด กั บ ช่ ว งโครงสร้ า งก่ อ น แล้วจึงบรรจุแผ่นลูกฟักภายหลัง วิธีการ ทำ�ฝา
47
เช่ น นี้ ต่ า งกั บ แบบฝาของสถาปั ต ยกรรม อยุธยาตรงที่ฝาของสมัยอยุธยาตรงที่ฝาของ สมั ย อยุ ธ ยาทำ � ด้ ว ยไม้ ข นาดเล็ ก และเบาบาง กว่ า ระบบโครงสร้ า งวิ ห ารล้ า นนาในจั ง หวั ด เชี ย งใหม่ มี รู ป แบบที่ เ ป็ น เฉพาะของตนเองซึ่ ง จะเป็นแบบสี่เหลี่ยมชั้นซ้อนกันจากใหญ่ขึ้นไป หาเล็กภายใต้โครงสร้างหลังคาและมีชื่อเรียก เฉพาะว่า “ชื่อม้าต่างไหม” ดังปรากฏในตำ�นาน พื้นเมืองเชียงใหม่ที่กล่าวว่า “ช่างกานโถมเมื่ออยู่เชียงแสนแล้วจึง ติดเครื่องวิหารเป็นต้นว่าแปอ้าย แปยี่ ขื่อม้า ตั่งไหม แต่เชียงแสน หื้อเอามาใส่วิหารการโถม อันปกเสา ใส่ขื่อไว้หันแล้ว ก้อมพอกุ้มชูอันบ่คับ บ่หลวมนั้นแล ลวดปรากฏชื่อว่าวัดกานโถมต่อ บัดนี้แล . . .” จากที่ ก ล่ า วมาแล้ ว วิ เ คราะห์ ไ ด้ ว่ า ระบบโครงสร้างของวิหารล้านนามีโครงสร้าง พิเศษแบบ”ขื่อม้าต่างไหม” เป็นระบบโครงสร้าง ที่มีพื้นฐานมาจากลักษณะโครงสร้างแบบเสา และคาน (Post and Lintel) ที่ให้หลักในการกระ จายน้ำ�หนักทั้งหมดลงสู่เสา (สำ � หรั บ คำ � ว่ า ขี่ ม้ า ต่ า งไหมเป็ น ศั พ ท์ เฉพาะใช้ เ รี ย กโครงสร้ า งของวิ ห ารล้ า นนา โดยนำ � ชื่ อ มาจากลั ก ษณะการบรรทุ ก ผ้ า ไหม ไปค้ า ขายโดยใช้ ม้ า หรื อ วั ว ต่ า งบรรทุ ก สิ น ค้ า ของกองคาราวานล้านนาสมัยโบราณ)โดยหลัก โครงสร้างสถาปัตยกรรมไทยที่มีมาตั้งแต่สมัย โบราณกำ � หนดให้ ไ ม้ ทุ ก ท่ อ นที่ จ ะนำ � ไปสร้ า ง วิหารจะต้องเป็นไม้ท่อนเดียวกันโดยตลอดไม่ นิ ย มการนำ � เอาไม้ 2 ท่ อ นมาต่ อ กั น ทั้ ง นี้ เ พราะ การต่ อ ไม้ อ าจทำ � ให้ โ ครงสร้ า งไม่ แ ข็ ง แรง 7 โครงสร้ า งแบบม้ า ต่ า งไหมมี อ งค์ ป ระกอบที่ สำ�คัญที่สุด อองค์ประกอบที่สำ�คัญที่สุดคือขื่อ
หลวงซึ่ ง ทำ � หน้ า ที่ ร องรั บ องค์ ป ระกอบส่ ว น บนทั้งหมด ซึ่งได้แก่ ขื่อม้า ขื่อยี่ ม้าสามแป หลังคา และอื่นๆแล้วกระจายน้ำ�หนักลงบนเสา จากข้อความที่กล่าวมาแล้วทั้งหมดชี้ให้เห็นว่า ความสำ�คัญของสัดส่วนหลังคาวิหารนั้น จะอยู่ ที่ขื่อหลวงเป็นสำ�คัญดังนั้นจึงเป็นเรื่องปกติที่ ระเบียงของวิหารล้านนาในจังหวัดเชียงใหม่จะ มี ภ าพรวมในเรื่ อ งขนาดและสั ด ส่ ว นเป็ น แบบ มาตรฐานคล้ายกันหมดโดยโครงสร้างส่วนหน้า จั่วปีกนกได้แก่โครงสร้ างด้านข้างของหลังคา ตับล่างซึ่งมีส่วนสำ�คัญอยู่ที่ขื่อตุ้ม ซึ่งทำ�หน้าที่ รับน้ำ�หนักองค์ประกอบส่วนบนได้แก่ เสาสะก๋น แป ขื่อป๊อก ทั้งหมด โดยกระจายน้ำ�หนักลงเสา กลางและเสาด้ า นข้ า งเป็ น หลั ก 8ลั ก ษณะเด่ น ของโครงสร้างม้าตั่งไหม และถือว่าเป็นลักษณะ เด่นที่สำ�คัญของวิห ารล้านนาคือลักษณะการ ลดชั้นหลังคาวิหารแบบล้านนามรเสาขึ้นมารอง รับแปของหลังคาตับล่าง เรียกว่า “เสาสะก๋น” เสาสะก๋นนั้นจะวางแนบติดกับแนวเสากลางทำ� หน้าที่รองรับแปตัวล่างของหลังคาบนและแป ตัวบนของหลังคาตับล่างความสำ�คัญของเสา สะก๋น คือทำ�ให้จังหวะในการลดชั้นหลังคาเป็น อิสระได้ช่องว่างที่เกิดขึ้นมีการอุดด้วยแผงไม้ เรียกว่าแผงแลในการลดชั้นหลังคาทางล้านนา เรียกว่า “ซด” หรือช่วงจังหวะการลดชั้นหลังคา และการช้อนชั้นของผืนหลังคาด้านข้างเรียกว่า “ตับ” ยกตัวอย่างเช่นวิหารวัดปราสาท หลังคา ด้านหน้ามีการลดชั้น3จังหวะ เรียกว่า “หลังคา 3 ซด 2 ตับ” ส่วนก้านหลังมีการลดชั้น 2 ชั้น และผืนหลังคาซ้อน 2 ชั้น เรียกว่า “หลังคา 2 ซด 2 ตับ” เช่นกัน ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ประมาณ พ.ศ. 2380 9เจ้าหลวงดารา-ฤทธิเดช แห่งเมืองลำ�พูน ให้อพยพเชลยศึกที่ถูกกวาด
48
ต้อนจากเมืองล้านนาตอนบน เช่น เมืองเชียง ตุ ง สิ บ สองปั น นาและเมื อ งยองมาอยู่ ที่ เ วี ย ง ห้าวซึ่งเป็นเมืองร้างที่อยู่ในเขตอำ�เภอพานเมื่อ อพยพเชลยศึกจากลำ�พูนมาอยู่ที่เมืองร้างนั้น โดยมีหัวหน้าชื่อนายจินดาโจรเมื่อไปถึงต่างช่วย กันบูรณะเมืองร้างจนกลายเป็นเมืองใหม่ขึ้นมา แล้วตั้งชื่อว่า “เมืองพาน” แม้จะสร้างเมืองใหม่ แล้ ว แต่ ก ารทำ � มาหากิ น ฝื ด เคื อ งประกอบกั บ มีผู้คนตกน้ำ�แม่ส้านซึ่งเป็นแม่น้ำ�ลึกใหญ่ไหล ผ่ า นเมื อ งในขณะนั้ น ดั ง นั้ น จึ ง ย้ า ยเมื อ งมาตั้ ง ใหม่ให้ชื่อว่า “บ้านสันเค็ดเก๊า” ในบริเวณบ้าน เก่าในปัจจุบันชาวบ้านได้ร่วมกันสร้างวัดขึ้นชื่อ วัดว่า “วัดสันเค็ดเก๊า” คือวัดบ้านเก่า หรือวัด เกตุแก้วในปัจจุบันต่อมานายจินดาโจร ได้เลื่อน บรรดาศั ก ดิ์ เ ป็ น พญาหาญตั้ ง บ้ า นอยู่ ท างทิ ศ เหนือของวัดเกตุแก้วและได้รับการสถาปนาเป็น เจ้าเมืองคนที่ 1 และมีพญาไชยเฒ่า พญาไชย ชนะสงคราม เป็นเจ้าเมืองคนที่ 2 และ คนที่ 3 ตามลำ�ดับ”
พญาไชยชนะสงคราม เมืองพาน
ต้นตระกูลเชื้อ
จะเห็นได้ว่าการตั้งเมืองพานนั้นได้มีการเกณฑ์ เอาชาวไทลื้ อ จากจากลำ � พู น เข้ า มาจนภาย หลั ง จึ ง มี ป ระชาชนจากเมื อ งอื่ น ๆที่ มี ปั ญ หา ขาดแคลนข้าว หรือประสบความแห้งแล้งจนทำ� นาไม่ได้อพยพจากลำ�ปางและเชียงใหม่ไปอยู่ เมือง พาน เช่น หมู่บ้านป่ากว๋าว ในเขตตำ�บล เมื อ งพานและบ้ า นกล้ ว ยในตำ � บลสั น มะเค็ ค เป็นต้นโดยไปจับจองที่นาที่ถูกทิ้งร้างไว้ ในเมือง พานนั้นพบว่าประชากร ไทยลื้อ มีจำ�นวนมาก ที่สุดเนื่องจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์พบ ว่าแรกเริ่มการตั้งเมืองพานนั้นมีการกวดต้อน ผู้คน จากลำ�พูนเข้ามาเป็นจำ�นวนมาก ซึ่งผู้คน เหล่านั้นก็ถูกกวดต้อนเข้ามาอีกที่หนึ่งในสมัย พระเจ้ากาวิละดังได้กล่าวไปในข้างต้นเนื่องจาก พ่อเมืองเป็นชนไทเผ่าลื้อดังนั้นพลเมืองจึงมีคน ลื้อเป็นจำ�นวนมากปัจจุบันสืบลูกหลานอยู่ใน หมู่บ้านต่างๆดังนี้ตำ�บลป่าหุ่งบ้านสันกอง บ้าน สันต้นแหน บ้านเก่า บ้านท่าหล่ม บ้านป่าส้าน บ้านหนองบัว บ้านป่างิ้ว บ้านป่าไผ่ บ้านสันไม้ ฮาม บ้านป่าแดง บ้านสันหนองควาย บ้าน กล้วย – สันมะเค็ด (อพยพมาจากบ้านกล้วย ลำ � ปาง)วั ด วาอารามในช่ ว งที่ มี ก ารอพยพมา อยู่ใหม่ๆนั้น ก็มีการสร้างบวรพระพุทธศาสนา ไว้เพียงไม่กี่วัด ซึ่งวัดแรกที่มีการสร้างนั้น คือ วัด เกตุแก้ว ซึ่งแต่เดิม ได้สร้างไว้ ณ บริเวณ ลุ่ ม น้ำ � แม่ ส้ า นต่ อ มาภายหลั ง มี ก ารย้ า ยวั ด มา อยู่บริเวณทิศใต้ของแม่น้ำ�ส้านคือบริเวณบ้าน เก่า (สันเค็ดเก๊า) ในปัจจุบัน เนื่องจากผู้คนตก น้ำ�แม่ส้านตายกันเพราะข้ามมาทำ�บุญที่วัดแล้ว น้ำ�เชี่ยว ลึกมาก โดยได้ชื่อว่า “วัดสันหลวงบ้าน เก่า เก๊าเมืองพาน ศรีใจบานเกตุแก้ว” อาคาร วิหารหลังเก่าเป็นวิหารที่สร้างด้วยเครื่องไม้ มุง ด้วยตองตึงตามแรงศรัทธาที่จะหามาได้จากคำ�
49
บอกเล่ า ของเจ้ า อาวาสได้กล่าวว่าในสมัยนั้น ป่าไม้ทางทิศตะวันตกของวัดซึ่งหมายถึงดอย หลวงในปัจจุบันเป็นป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์มาก ซึ่ง ชาวบ้านจึงไปเข้าป่าไป ตัดไม้ เพื่อนำ�มาส ร้างวิหาร ช่อฟ้า ป้านลม ทุกอย่างทำ�จากไม้ หมดซึ่งจากคำ�บอกเล่นของเข้าอาวาสนั้นคงจะ ผ่านมาประมาณ50 ปี ให้หลัง ต่อมามีการ เจริ ญ ก้ า วหน้ า เข้ า สู่ เ มื อ งพานจึ ง สร้ า งวิ ห าร หลังใหม่ขึ้นโดยการก่ออิฐถือปูน(สูตรปูนขาว โบราณ) เมื่อปี พ.ศ.2498 และได้รับการบูรณ ปฏิสังขรณ์ตลอดเวลา แต่ไม่พบการลื้อหลังเก่า เป็นเพียงการซ่อมแซมเท่านั้น เมื่อปี พ.ศ.2515 ได้ลื้อโครงสร้างชุดหลังคาเครื่องไม้ที่ชำ�รุดลง โดยสล่าจากบ้านหวาย อ.ป่าซาง จ.ลำ�พูน ต่อ จากนั้นมาก็เป็นการบูรณะซ่อมแซมในส่วนที่ ชำ�รุด เช่น เปลี่ยนกระเบื้อง ทาสีใหม่ เป็นต้น
ย้อนถึงเรื่องราวประวัติศาสตร์ เมื่อปี พ.ศ. 2419 คณะศรัทธาวัดเกตุแก้วบางส่วนได้แยก แบ่ ง ฝั ก แบ่ ง ฝ่ า ยกั น ในคณะศรั ท ธากั น เองจึ ง แยกออกมาสร้ า งวั ด ใหม่ ขึ้ น เมื อ งพานจึ ง วั ด สร้างขึ้นใหม่อีก1วัด ชื่อว่า “วัดหนองบัวเงิน” ซึ่ ง ห่ า งจากวั ด กตุ แ ก้ ว ไปทางทิ ศ ตะวั น ตกไป ประมาณ1 กิโลเมตร ส่วนฐานในการสร้าง อาคารเสนาสนะนั้นไม่มีการปรากฏหลักฐาน ที่แน่ชัด ซึ่งจากคำ�บอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ใน ละแวกนั้นได้กล่าว ไว้ว่า“เมื่อเกิดมาก็เห็นวิหาร หลังนี้แล้ว”จึงไม่สามารถบอกได้ว่าวิหารหลัง มีลักษณะแบบใด ส่วนวิหารหลังปัจจุบันนี้ ได้ สร้างขึ้นใน พ.ศ. 2497โดยคณะศรัทธากันเอง และไม่ค่อยได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์มากนักมี เพียงแต่การ เปลี่ยนชุดหลังคาเท่านั้น
50
วิหารวัดเกตุแก้ว
วัดหนองบัวเงิน
ส่ ว นอาคารวิ ห ารที่ มี อ ายุ เ ก่ า แก่ อี ก หลั ง หนึ่ ง ในอำ � เภอพานที่ ทำ � การศึ ก ษานั้ น คื อ วิ ห ารวั ด พระธาตุจอมแว่ซึ่งตั้งอยู่บนดอยลูกเล็กๆเป็นที่ ประดิษฐานพระธาตุเจดีย์บรรจุพระเกศาธาตุ ของพระพุทธเจ้าและแก้วแหวนเงินทองใส่ไห เงินไหทองไว้จำ�นวนมากตามตำ�นานได้กล่าว ไว้ว่า พญางำ�เมือง เจ้าเมืองภูกามยาวเป็นผู้ สร้างขึ้น ในราว พ.ศ.1837 ต่อมา ภายหลัง ใน สมัยพญาไชยชนะสงคราม เจ้าเมืองพานคนที่ 3 ได้ร่วมมือกับประชาชนบูรณะพระธาตุเจดีย์ อีกครั้งหนึ่งเพื่อให้ใหญ่กว่าเดิมแล้วบรรจุพระ มหาชินธาตุเอาไว้ในพระธาตุเจดีย์ ในวันขึ้น 15 ค่ำ� เดือน8หนือ ของทุกปี จึงมีการสร้างอาคาร เสนาสนะขึ้ น เพื่ อ ถวายเป็ น ถาวรวั ต ถุ แ ก่ พ ระ ศาสนาและไว้สำ�หรับใช้ประโยชน์ซึ่งในยุคแรกๆ
คงเป็นเพียงแค่อาคารไม่เครื่องผูก มุงด้วยตอง ตึงธรรมดาต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2490 ได้ก่อสร้าง วิหารหลังปัจจุบันนี้ขึ้นโดยศรัทธา ขุนรัตน์ ราช ธน นางแสงหล้า รัตนศักดิ์พร้อมศรัทธาสาธุชน ร่วมกันสร้างขึ้นเนื่องจากเป็นวัดที่ชาวอำ�เภอ พานให้ความเคารพนับถือเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ในอำ�เภอรูปแบบทางสถาปัตยกรรมวิหารเมือง พานยังคงความเป็นอัตลักษณ์วิหารล้านนาใน ช่วงเปลี่ยนแปลงการปกครองแบบส่วนกลาง อยู่ทั้ง 3 หลัง อันได้แก่ วิหารวัดเกตุแก้ว วิหาร วัดหนองบัวเงิน วิหารวัดพระธาตุจอมแว่ จัดอยู่ ในกลุ่มผังวิหารแบบใช้วิหารเป็นองค์ประธาน ของวัด ซึ่งในแต่ละยุค สมัยของล้านนานั้นใช่คติ ความเชื่อที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับศรัทธา ผู้สร้าง สล่า หรือแม้กระทั้งอิทธิพลจากวัฒนธรรมใกล้
51
วัดพระธาตุจอมแว่
ใกล้เคี ย งส่ วนลั ก ษณะการก่อ สร้างผัง อาคาร วิหารนั้น มีการวางผังเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัสไม่พบ การยกเห็ จ แต่ อ ย่ า งไดซึ่ ง มั ก จะพบผั ง อาคาร แบบนี้ในพื้นที่จังหวัดพะเยา น่าน ลำ�พูน ซึ่ง หมายถึ ง เขตรอบนอกห่ า งจากเชี ย งใหม่ เ ป็ น พื้ น ที่ อ าศั ย ของกลุ่ ม ชาติ พั น ธ์ ไ ทลื้ อ เป็ น ส่ ว น ใหญ่ แ ละผั ง ดั ง กล่ า วมี ค วามนิ ย มในช่ ว งที่ ล้ า นนามี ก ารเปลี่ ย นแปลงการปกครองแบบ ส่ ว นกลางประมารพ.ศ.2427–2481ส่ ว นการ เพิ่ ม มุ ข โถงหน้ า และหลั ง นั้ น ได้ พ บที่ วิ ห ารวั ด พระธาตุ จ อมแว่ ซึ่ ง จั ด อยู่ ใ นช่ ว งเวลายุ ค ที่ ครู บ าศรี วิ ชั ย ท่ า นได้ จ าริ ก บู ร ณะปฏิ สั ง ขรณ์ ทั่ ว ไปในเจตภาคเหนื อ ตอนบนซึ่ ง เป็ น รู ป แบบ สุ ด ท้ า ยในวั ฒ นธรรมล้ า นนาสว่ น วั ด เกตุ แ ก้ ว และวั ด หนองบั ว นั้ น มี เ พี ย งมุ ข โถงเฉพาะด้ า น หน้าปรากฏทั่วไปใน เชียงใหม่ ลำ�พูน ลำ�ปาง เชียงราย โครงสร้ า งหลั ง คาวิ ห ารเมื อ งพานมี ระบบโครงสร้างจั่วม้าต่างไหมปรกติโดยพาด ขื่อเอกบน หัวเสาวิหาร จากนั้นจะตั้งเสาตุ๊กตา
ขึ้นรับขื่อโทชั้นที่ 2 และ 3 ตามลำ�ดับโดยใช้ ลิ่ ม สลั ก เดื อ ยพาดหั ว แปเสาบนปลายของขื่ อ เอกและแปลานส่วนปลายของขื่อโทชั้น 2 และ 3 ซึ่งบนขื่อโทชั้นที่ 3 จะตั้งเสาดั่งขึ้นรับอกไก่ โครงสร้ า งปี ก นกจะวางแปลานไว้ บ นผนั ง ทั้ ง สองข้ า งพาดแนบขื่ อ โทให้ ติ ด กั บ เสาหลวงไป สอดเดือยเข้ากับแปลานตั้งเสาตุ๊กตาขึ้นรับขื่อ ชั้น 2 และ 3 ตามลำ�ดับเสียบกับเดือยพาดแป หัวเสาที่บากให้อมกับขื่อโทแต่วัดหนองบัวจะ เพิ่มหลังคาเป็น 2 ซดลงมาส่วนระบบโครงสร้าง หลังไม่เปลี่ยนจากวิหารอื่น ๆ ส่ ว นผนั ง อาคารวิ ห ารเมื อ งพานเป็ น ผนั ง แบบปิ ด ใช้ ปู น ผสมผนั ง ไม้ จ ะอยู่ ต อนบน ของวิหารผนังด้านสกัดทั้งหน้าและหลังจะก่อ ปูนจนถึงระดับขื่อหลวงของโครงสร้างจั่วด้าน บน และขื่อโทโครงสร้างปีกนกส่วนบนทำ�หน้าที่ รั บ น้ำ � หนั ก หลั ง คาเป็ น ผนั ง สำ � หรั บ พาดขื่ อ โท ลานและแปลานตัวสุดท้ายซึ่งจะพาดเป็นแนว ยาวทั้งผนัง รูปทรงหลังคาวิหารเมืองพานมีอยู่ 2 แบบคือ หลังคาวิหารวัดเกตุแก้วมีรูปแบบที่ มีการลดชั้นหลังคา 1 ชั้นด้านหน้า ซึ่งปรากฏ อยู่ในช่วงยุคการฟื้นฟูอาณาจักรล้านนาพบใน แถบเมืองแพร่ น่าน พะเยา เป็นอันมากส่วนวัด หนองบัวเงินและวัดพระธาตุจอมแว่มีรูปแบบ การลดชั้นหลังคาหน้า 1 หลัง 1 ปรากฎอยู่ช่วง ปลายของการรวบรวมอาณาจักรล้านนาเข้าสู่ การปกครองแบบส่วนกลางซึ่งเป็นช่วงที่นิยม ในยุคของครูบาศรีวิชัยพบทั่วไปในเขตรอบนอก พะเยา เชียงราย น่าน ฐานวิหารเมืองพานเป็น ฐานปัฐม์มีทั้งบัวคว่ำ�บัวหงายส่วนบันไดวิหาร นั้นพบการสร้างบันไดวิหารแบบบันไดสิงห์ 1 วัด คือวิหารวัดหนองบัวเงิน ส่วนวัดเกตุแก้วและวัด พระธาตุจอมแว่นั้นเป็นบันไดเสาเม็ด
52
ผังอาคารวิหารแบบไม่มีมุขโถงด้านหน้า
ผังอาคารวิหารแบบมีมุขโถงทั้งด้านหน้าและหลัง
หน้าบันวิหารเมืองพาน นิยมสร้าง หน้าบันแบบ ปิดโครงสร้างม้าต่างไหมซึ่งนิยมเป็นช่วงภาย หลังการเข้าสู่การปกครองแบบส่วนกลางของ ล้ า นนาในพื้ น ที่ ทั่ ว ไปในล้ า นนาเว้ น แต่ อ าคาร วิหารลื้อ ในพื้นที่จังหวัดลำ�พูน น่าน พะเยา ซึ่ ง กลุ่ ม นี้ นิ ย มปิ ด หน้ า บั น โครงสร้ า งจั่ ว มาแต่ เดิมแล้ว ในบางกรณีมีการบูรณะอาคารขึ้นใหม่ บางแห่งก็พบร่องรอยของการตกแต่งหน้าบันใน
โครงสร้างจั่วม้าต่างไหมอยู่ด้วย อีกทั้งวิหารใน ช่วงนี้นิยมสร้างแบบแบบเรียบง่ายเป็นลักษณะ ทรงโรมที่ไม่นิยมลดชั้นหลังคาม่านโครงสร้าง ไม่ซับซ้อนมากนักส่งผลให้กรอบและหน้าจั่วมี การตกแต่งแบบปิดโครงสร้างหน้าจั่วลักษณะ นิ ย มต่ อ เนื่ อ งไปถึ ง รู ป แบบการตกแต่ ง หน้ า จั่ ว วิ ห ารในยุ ค ของครู บ าศรี วิ ชั ย เช่ น กั น ซึ่ ง กา ประดับตกแต่งนั้นจะใช้ลวดลายเครือเถาผสม คื อ ลวดลายเครื อ เถาก้ า นขดแต่ มี ลั ก ษณะที่ พิเศษออกไปคือการม้วนมีการแตกเป็นหัวนาค เป็นลายกนกซึ่งจะผลิตุ่มตาต่างๆออกเป็น ก้าน ใบดอกและลายเหล่านี้ผลิออกจากดอกปัทมะ มูลตามความเชื่อเรื่องปูรณะฆฏะตุ่มตาเหล่า นี้ เ ป็ น จุ ด เริ่ ม ต้ น ของสรรพชี วิ ต ต่ า งๆลวดลาย นี้ แ สดงคติ ค วามเชื่ อ ถึ ง ความเจริ ญ งอกงาม และความ อุดมสมบูรณ์อย่างต่อเนื่องลวดลาย ทั้งหมดนี้เป็นรูปแบบของอิทธิพลภาคกลางทั้ง สิ้ น จากการศึ ก ษารูป ทางแบบสถาปัต ยกรรม วิ ห ารในเมื อ งพานประกอบกั บ การหาข้ อ มู ล จากตำ�ราต่างๆและการเปรียบเทียบกับรูปแบบ สถาปั ต ยกรรมวิ ห ารในพื้ น ที่ อื่ น ๆพบว่ า วิ ห าร ในเมืองพานที่ปรากฏอยู่ ณ ปัจจุบันนี้มีอายุต่ำ� กว่า 60 ปีลงมาทั้งสิ้น สิ่งสำ�คัญยิ่งที่มีอิทธิพล ต่ อ รู ป แบบสถาปั ต ยกรรมวิ ห ารในเมื อ งพาน คือ ช่าง (สล่า) ที่เป็นผู้ก่อสร้าง เจ้าศรัทธา เจ้า อาวาส และการเลียนแบบหารในพื้นที่อื่นๆ เช่น พะเยา เชียงใหม่ หรือแม้กระทั่งรูปแบบศิลปะ แบบภาคกลางทำ � ให้ เ กิ ด รู ป แบบวิ ห ารที่ ผ สม ผสานกันอย่างหลากหลายไม่มีแบบแผนตายตัว นั ก แต่ ส ามารถแยกส่ ว นต่ า งๆให้ ง่ า ยต่ อ การ เข้าใจดังนี้จากแนวคิดที่นำ�เอาแบบอย่างทาง ศิลปกรรมภายนอกเข้ามาใช้กันอย่ากว้างขวาง ที่มีอิทธิพลต่อการสร้างวิหารในเมืองพาน
53
ปรากฏการรับอิทธิพลจากแหล่งอื่น เช่นฐาน วิ ห ารวั ด หนองบั ว เงิ น ไม่ ย กสู ง คล้ า ยกั บ วิ ห าร ศิ ล ปกรรมแบบพะเยาหรื อ วิ ห ารที่ มี ลั ก ษณะ กว้ า งต่ำ � เหมื อ นวิ ห ารไทลื้ อ ผสมอยู่ อิ ท ธิ พ ล ลวดลายประดับหน้าบันศิลปกรรมภาคกลาง เมื่อเปรียบเทียบกับแบบแผนศิลปกรรมล้านนา แล้ววิหารในอำ�เภอพานมีความผสมผสานจาก ศิลปะต่างๆทั้งวิหารแบบพะเยา ศิลปกรรมแบบ ไทยภาคกลางวิหารไทลื้อและอิทธิพลในยุคของ ช่างครูบาศรีวิชัยตามที่ได้ศึกษาวิหารที่มีอายุ เก่าแก่ในอำ�เภอพานจังหวัดเชียงรายบทความ นี้คงจะพอให้ผู้อื่นได้รู้เรื่องราวความเป็นมาของ รูปแบบทางสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมวิหาร ในเมืองพานได้พอสมควร
อ้างอิง 1
ชาญนรงค์ ศรสุวรรณ, การศึกษาวิหารที่สร้าง ในกระบวนการครูบาศรีวิชัย พ.ศ. 2447-2481, วิทยานิพนธ์ศิลปะบัณฑิต มหาวิยาลับเชียงใหม่, 2532 หน้า 52 . 2 ธงทอง จันทรางศุ, มหาธาตุ (กรุงเทพฯ : อมริ นทร์ปิ้นติ้งกรุ๊ป, 2534 ), หน้า 84 . 3 วรลัญจก์ บุณยสุรัตน์, การศึกษาหน้าบันวิหาร ในจังหวัดเชียงใหม่, วิทยานิพนธ์ปริญญาศาสตร์ มหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2535 หน้า 54 . 4 วรลักจก์ บุณยสุรัตน์, วิหารล้านนา (กรุงเทพฯ : สำ�นักพิมพ์เมืองโบราณ, 2544 ), หน้า 15 . 5 สันติ เล็กสุขุม, เรื่องเดียวกัน, หน้า 42 . 6 สมคิด จิรทัศนกุล, วัดพุทธศาสนสถาปัตยกรรมไทย ( กรุงเทพ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2544 ) หน้า 87 -89 . 7 สมเด็จ กรมพระยาดำ�รงราชานุภาพ, ชุมชนพระ นิพนธ์สมเด็จฯ กรมพระยาดำ�รงราชานุภาพ ( กรุงเทพฯ : สำ�นักพิมพ์บรรณกิจ, 2534 ), หน้า 60 - 61 . 8 สามารถ ศิริเวชพันธ์, ศิลปะสถาปัตยกรรมล้านนา ไทย วิหารโถง ซุ้มโขง สกุลช่างลำ�ปาง, ( เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2525 ), หน้า 6-7 . 9 อินทร์ สุขใจ เป็นนักปราชญ์ท้องถิ่น นัประวัติศาสตร์ ในอำ�เภอพาน อดีต ประธานสภาวัฒนธรรมอำ�เภอ พาน พ.ศ.2538 .
54
55
56
ลวดลายประดับตึกจีน
ในย่านสถานีรถไฟลำ�ปาง
(Architectural decoration in Chinese shophouse, railway station Lampang)
ทินกฤต วงศ์ใหญ่
อาคารพาณิชย์ถือว่าเป็นสิ่งใหม่สำ�หรับคนไทยเมื่อ หลายสิบปีที่แล้ว เป็นสิ่งก่อสร้างที่ไม่มีฐานันดรใดๆ ทาง สถาปัตยกรรม ความวิจิตรบรรจงไม่อาจเทียบได้กับฝีมือช่าง หลวง แต่หากได้ศึกษาให้ถ่องแท้แล้ว จะเห็นว่าสถาปัตยกรรมที่ เรียกว่า อาคารพาณิชย์นี้ เป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นภาพสังคมไทย ในยุคที่เริ่มมีการค้าขายระหว่างกันได้เป็นอย่างดี ตัวอย่างหนึ่ง ที่แสดงให้เห็นถึงประวัติศาสตร์การค้าขายที่มีมาอย่างยาวนาน โดยเฉพาะในแถบดินแดนล้านนาก็ได้แก่ อาคารพาณิชย์ในย่าน สถานีรถไฟ บริเวณถนนประสานไมตรี จังหวัดลำ�ปาง
57
อาคารพาณิชย์ในย่านสถานีรถไฟเมือง ลำ�ปาง หรือที่เรียกกันในท้องถิ่นว่า“ตึกจีน”เป็น สถาปัตยกรรมที่ได้รับการสร้างสรรค์โดยชาว จีนที่ได้เข้ามาทำ�การค้าขายบริเวณย่านสถานี รถไฟเมืองลำ�ปาง เดิมทีชาวจีนที่ได้เข้ามา ทำ�การค้าขายในลำ�ปางนี้ได้อพยพเข้ามาจาก จีนแผ่นดินใหญ่ และรวมตัวกันอยู่ ณ บริเวณ ตลาดจีน หรือ ตลาดเก่า ในปัจจุบัน ซึ่งในอดีต นั้ น เมื อ งลำ � ปางเคยเป็ น เมื อ งแห่ ง ศู น ย์ ก ลาง การค้าทางน้ำ�ที่เจริญรุ่งเรือง และ เป็นเมืองท่า สำ�คัญที่เชื่อมต่อศูนย์กลางทางการค้าระหว่าง เมืองปากน้ำ�โพ (นครสวรรค์) กับภาคเหนือ ตอนบน และเป็นแหล่งกระจายสินค้าเข้าออก ตั้งแต่มีสถานีรถไฟเข้ามาในจังหวัดลำ�ปางเมื่อปี พ.ศ.24601 ทำ�ให้เกิดแหล่งชุมชนทางเศรษฐกิจ ที่รุ่งเรือง เรียกว่า “ตลาดจีน” หรือ “ตลาด เก่า” โดยมีแม่น้ำ�วังเป็นแม่น้ำ�สายสำ�คัญของ ประวั ติ ศ าสตร์ เ ป็ น จุ ด เชื่ อ ต่ อ การขนส่ ง สิ น ค้ า อีกทั้ง แม่น้ำ�วังนี้ในอดีตเป็นท่าล่องซุงไม้สัก ของชาวต่างชาติที่ได้รับสัมปทานทำ�กิจการป่า ไม้ ทำ�รายได้มากมาย อันเป็นแหล่งสะสมทุน หลักของพ่อค้าในลำ�ปาง ประชากรส่วนใหญ่ นอกจากคนเมืองแล้วยังมีชาวไทลื้ออพยพมา จากเมืองเชียงแสน ชาวพม่าเข้ามาทำ�ป่าไม้ และค้าขาย ชาวอังกฤษได้สัมปทานป่าไม้ ชาว ขมุมารับจ้างแรงงาน ส่วนใหญ่จะมารวมตัวกัน อยู่บริเวณตลาดจีนเพราะเป็นแหล่งจอดท่าเรือ เนื่องจากสภาพภูมิประเทศบริเวณแม่น้ำ�วังมี เกาะกลางแม่น้ำ�(ที่ตั้งบริเวณวัดเกาะปัจจุบัน) กั้นแบ่งแม่น้ำ�วังออกเป็นสองสาย ด้านที่ติดต่อ กับฝั่งชุมชนตลาดจีนเป็นช่วงแคบและตื้นเหมาะ เป็นที่จอดเรือ จึงกลายเป็น แหล่งชุมชนมีคนมา ขนถ่ายสินค้าขึ้นลง ทำ�ให้มีการแลกเปลี่ยนและ
ค้าขายสินค้า นอกจากนั้นฝั่งตรงข้ามวัดเกาะ บริเวณโรงเรียนวิชชานารี ยังเป็นที่จอดกอง คาราวาน (กองเกวียน) จากต่างแดน มาจอด เพื่อรอรับสินค้านำ�ไปขายอีกต่อหนึ่ง ประการ สำ�คัญเป็นท่าน้ำ�รวบรวมซุงจากป่าไม้ต่าง เพื่อ นำ�ล่องปากน้ำ�โพต่อไป จากปัจจัยดังกล่าว ตลาดจีนเดิมเป็นท่า จอดเรือขนถ่ายสินค้า และเป็นท่าล่องซุง พ่อค้า ส่วนใหญ่จะขึ้นล่องกับเรือ อาศัยเพิงปลูก ค้าขายและนอนพักชั่วคราว บริเวณนี้เป็นที่ตั้ง สำ�นักงาน ป่าไม้บริษัทตะวันตกต่างๆ ชาวพม่า ที่เป็นเฮดแมน (Headman) ต้องทำ�การควบคุม การล่องซุง ดูแลกิจการจึงมีการปลูกสร้าง อาคารขึ้นมาเพื่อเป็นสำ�นักงานเป็นที่อยู่อาศัย ของตนเองและใช้เป็นที่พักอาศัยรับรองตัวแทน บริษัททำ�ไม้ของชาวต่างชาติมาตรวจงานป่าไม้ พร้อมกับต้องอำ�นวยความสะดวกมีสินค้าฝรั่ง ต่าง ๆ มาขายให้ จึงเป็นแหล่งการค้าขายในตัว มันเอง2 ช่วงแรก ๆ พ่อค้ามักจะเป็นชาวไทใหญ่ พม่า เงี้ยว และพ่อค้าวัวต่าง ซึ่งมีฐานะจากการ ทำ�งานให้บริษัทป่าไม้ฝรั่งพร้อมกับการค้าขาย ต่ อ มาเมื่ อ การคมนาคมทางน้ำ � เริ่ ม มี ค วาม สำ�คัญพ่อค้าคนจีนเริ่มเดินทางเข้ามาพร้อมกับ เรือสินค้า เป็นกุลีรับจ้าง มาพบทำ�เลที่เหมาะ ประกอบกับความขยันขันแข็ง มีหัวการค้าที่ดี กว่าจึงเริ่มเข้าครอบงำ� มีบทบาททางการค้า แย่งเบียดชาวไทใหญ่ พม่า ออกไปจากตลาด การค้า พ่อค้าจีนส่วนใหญ่เป็นคนเชื้อสายจีน ไหหลำ� (Hainanese) และจีนแคะ (Hakka) นิยม ถักผมไว้เปียยาว เป็นคนจีนอพยพมาจากจีน แผ่นดินใหญ่ เมื่อมีช่องทางทำ�มาหากินจึงได้
58
ชักชวนกันมาอยู่มากขึ้นและครอบงำ� คนพื้น เมืองดั้งเดิมเกือบหมด และชาวจีนที่มาอยู่นี้ก็ได้ ทำ�การค้าขายกันมาก จึงเกิด “ตลาดจีน” ขึ้น และได้เปลี่ยนเป็นตลาดเก่า สมัยนิยมไทยรัฐ บาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม และเป็นยุคทอง ของชาวจีนอีกครั้ง เมื่อบทบาทการเดินทาง รถไฟมาถึงลำ�ปางครั้งแรก เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2459 ซึ่งถือเป็นการเปิดเส้นทางคมนาคม รูปแบบใหม่ โดยเฉพาะในการขนส่ง ซึ่งทำ�ได้ คราวละมากๆ ในเวลาไม่นาน ย่านสถานีรถไฟ เมืองลำ�ปางจึงกลายเป็นศูนย์กลางในการแลก เปลี่ยนสินค้า นอกจากนั้นรถไฟยังมีการนำ� เอา รถม้าจากกรุงเทพฯ มาวิ่งเพื่อให้ผู้คนใช้ เป็นพาหนะ เสมือนกับรถรับจ้างทั่วไป การมา ถึงของรถไฟยังส่งผลให้เกิดความเจริญในด้าน อื่นๆ อีก เช่น การสร้างถนนพหลโยธิน ไปยัง จังหวัด พะเยา เชียงราย ซึ่งถือเป็นการเชื่อม โยงเส้นทางการค้าของเมืองต่างๆทางภาคเหนือ ผนวกกับส่วนกลางกรุงเทพฯ3 อันส่งผลกระทบ ต่อสังคม เศรษฐกิจ วิถีชีวิตของคนลำ�ปางที่ เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก และต่อเนื่องจวบ จนถึงปัจจุบัน เมื่อทางรถไฟสายเหนือมาถึงลำ�ปางและ ขยายต่อไปถึงเชียงใหม่เมื่อ พ.ศ. 2464 การ คมนาคมทางบกสะดวกขึ้น การคมนาคมทาง น้ำ�ค่อย ๆ ลดบทบาท หมดความสำ�คัญลง ตามลำ�ดับ เป็นเหตุให้แหล่งชุมชนการค้า ค่อย ๆ ย้ายไปบริเวณสถานีรถไฟลำ�ปาง สบตุ๋ย ใน เวลาต่อมาประจวบกับเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 กองทัพญี่ปุ่นเข้ายึดลำ�ปาง เพื่อเป็นทางผ่าน ไปพม่า เข้ายึด บริเวณต่าง ๆ โดยเฉพาะย่าน การค้าตลาดจีน ด้วยเหตุต้องการยึดครองยุทธ ปัจจัย ทำ�ให้ห้างสรรพสินค้า ร้านค้าในชุมชน
ตลาดจีนทั้งของคนเชื้อสายจีน พม่า และฝรั่ง ต้องอพยพหนีภัยสงคราม การทำ�ไม้ต้องยุติลง โดยปริยาย ชุมชนตลาดจีนจากเดิมเป็นแหล่ง ศูนย์การค้าจากเรือที่เจริญ ค่อย ๆ ลดบทบาท ทางการค้าและกลายมาเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยใน ปัจจุบัน4 ด้วยอิทธิพลของชาวจีนในที่ได้เข้ามาอยู่ อาศัยและมีความผูกพันกับดินแดนแถบในนี้ จึง ส่งผลให้ก ารสร้างงานศิลปกรรมไม่ว่ าจะเป็น รู ป แบบของตั ว อาคารหรื อ ลวดลายที่ ป ระดั บ ตกแต่งอาคาร แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลในการ สร้างโดยชาวต่างชาติอย่างชัดเจน กล่าวคือ ในการสร้างอาคารทั้งรูปแบบและวิธีการสร้าง อาคารได้รับอิทธิพลมาจากตะวันตก ผ่านช่าง ฝีมือชาวโปรตุเกสที่ได้เข้ามาทำ�การค้าไม้ และ ในส่วนของการประดับตกแต่งลวดลายต่าง ๆ บนอาคารที่ได้รับอิทธิพลจากความเชื่อจากชาว จีน ลักษณะของลวดลายประดับที่พบในอาคาร พาณิชย์ ย่านสถานีรถไฟลำ�ปาง มักพบในส่วน ของอาคารที่เก่าแก่ และมีอายุมากกว่า 50 ปี ขึ้นไป ซึ่งพบในส่วนต่าง ๆ ของอาคารดังต่อไปนี้
59
รูปแบบสถาปัตยกรรมตึกจีน เสา
ลักษณะของเสาที่พบตกแต่งและค้ำ�ยันมี ลักษณะเป็นเสาปูนแบบยุโรป หรือที่เรียกกันว่า เสา Doric เสาในรูปแบบลักษณะนี้พบเฉพาะใน บางอาคาร เช่น อาคารยู่ฮวด ซึ่งพบว่าในแต่ละ ชั้ น ของอาคารมี ลั ก ษณะของเสาที่ ป ระดั บ ทั้ ง 3 ชั้นแตกต่างกัน อันแสดงถึงความมั่งคั่งและ ร่ำ�รวยของผู้ที่เป็นเจ้าของอาคาร ส่วนในอาคาร อื่นไม่พบการสร้างเสาค้ำ�ยันภายนอกตัวอาคาร จะมี แ ต่ ก ารสร้ า งเป็ น เสาไม้ สี่ เ หลี่ ย มธรรมดาภายในตั ว อาคารเท่านั้น ซึ่งสื่อให้เห็น ถึงการใช้ประโยชน์ในการค้ำ� ยันเพียงอย่างเดียวมิต้องการ ใช้ตกแต่งเพื่อความสวยงาม เหมื อ นในอาคารที่ ก ล่ า วมา ในขั้นต้น ลักษณะของเสามีการ เซาะร่ อ งเพื่ อ ความสวยงาม และมี ก ารประดั บ ตกแต่ ง บริ เวณของหัวเสา ที่แตกต่างกัน ออกไป เป็นลวดลายที่ได้ รั บ อิ ท ธิ พ ล จ า ก ต ะ วั น ต ก คาดว่ า เสาที่ นำ � มาใช้ ใ นการ ตกแต่ ง นั้ น นำ � เข้ า มาจากตะ วันตกอีกที
จำ�นวนช่วงเสาหรือห้องอาคารขึ้นอยู่กับ ขนาดของพื้นที่และประโยชน์ใช้สอย อาคารไม้ ในบริเวณนี้มักไม่พบการสร้างเสา จะพบแต่ใน อาคารแบบครึ่งปูนครึ่งไม้ที่มีการใช้เสาตั้งแต่ 3 ช่วงเสาขึ้นไป
ลักษณะของเสาอาคารที่พบในอาคารพาณิชย์บริเวณ ถนนประสานไมตรี สถานีรถไฟลำ�ปาง ในบางอาคาร จะมีลักษณะของเสาคล้ายเสา Doric ของยุโรป
60
เฉลียง และระเบียง วัตถุประสงค์ในการสร้างเฉลียงและระเบียง ส่ ว นหนึ่ ง เพื่ อ ใช้ สำ � หรั บ พั ก ผ่ อ นและเป็ น พื้ น ที่ เอนกประสงค์ แต่ในบางอาคารมิได้ออกแบบมา เพื่อเป็นพื้นที่ใช้สอยภายนอกอาคารแต่เป็นการ สร้างเพื่อตกแต่งอาคารมีความสวยงามมากยิ่ง ขึ้น ราวลูกกรงที่ใช้ในการสร้างทำ�จากปูน หรือ ไม้ เป็นลวดลายที่แตกต่างกันไป ลูกกรงบาง อาคารพบว่ า มี ก ารใช้ ล วดลายมงคลมาใช้ ใ น การนำ�มาออกแบบ ซึ่งสอดคล้องกับคติความ เชื่อของชาวจีน นอกจากนี้ยังพบว่ามีการใช้ราว ลูกกรงที่เหมือนกันในหลายอาคารซึ่งน่าจะมา จากการสร้างโดยช่างฝีมือคนเดียวกัน
ลักษณะและลวดลายของระเบียงที่พบในบางอาคาร ของอาคารพาณิชย์ ย่านสถานีรถไฟลำ�ปาง
หน้าต่าง
วัสดุที่ใช้ทำ�บานหน้าต่างจะเป็นไม้ มัก นิยมทำ�หน้าต่างรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ซึ่งอาจ แบ่งเป็น 2 ตอน หรือ 3 ตอน เป็นบานเปิดออก ซึ่งเป็นลักษณะของหน้าต่างที่ได้รับอิทธิพลมา จากตะวันตกและจีน ในบางอาคาร พบว่ามี การทำ�บานหน้าต่างให้มีลักษณะเป็นหน้าต่าง บานเกล็ดไม้ บางอาคารมีลูกกรงไม้หรือ เหล็ก ไว้สำ�หรับกันขโมยและให้อากาศถ่ายเท นอกจากนี้ยังพบว่ามีการประดับลวดลายปูน ลักษณะของหน้าต่างที่พบในบางอาคาร ของอาคาร ปั้น หรือลักษณะของช่องลมเหนือหน้าต่าง ซึ่งมี พาณิชย์ ย่านสถานีรถไฟลำ�ปาง ซึ่งมีความแตกต่างกัน รูปแบบที่ต่างกันไปในแต่ละอาคาร ออกไป
61
ประตู โดยทั่วไปแล้วอาคารพาณิชย์ที่มีจำ�นวนชั้น ตั้งแต่ 2 ชั้นขึ้นไป จะใช้ประตูทางเข้าชั้นล่างไว้ เป็นพื้นที่สำ�หรับค้าขาย ตรงส่วนเหนือประตูจะ ทำ�เป็นช่องลม ปูนปั้นประดับตกแต่ง หรือสร้าง เป็นวงกบประตู ซึ่งในบางอาคาร ซึ่งจะมีความ ยาวเท่ากับประตูนั้น ๆ แต่ในบางอาคารเช่นอา คารยู่ฮวด จะพบว่ามีการทำ�ผนังเป็นลวดลาย ปู น ปั้ น ประดั บ เป็ น ลวดลายพั น ธุ์ พ ฤกษาด้ ว ย นอกจากนี้ ยั ง พบว่ า รู ป แบบของประตู มี ทั้ ง แบบประตูเปิด-ปิด แบบทั่วไป และมีประตูที่ มีลักษณะเป็นบานเฟี้ยม ซึ่งลักษณะของประตู
ลั ก ษณะของบานประตู ที่ พ บในบาง อาคาร ของอาคารพาณิชย์ ย่านสถานี รถไฟลำ�ปาง ซึ่งมีความแตกต่างกัน ออกไป
เช่ น นี้ ทำ � ให้ เ หมาะแก่ การค้าขาย และขน ถ่ายสินค้าเข้าออก ใน เวลากลางวั น จะประตู ส่ ว นด้ า นหน้ า จะมี ก าร เปิ ด โล่ ง ตลอดโดยพั บ บานเฟี้ ย มเก็ บ ไว้ ที่ มุ ม เสาเพื่อความสะดวกใน การเข้า-ออกของคนใน อาคารรวมทั้ง สะดวก ต่ อ การขนถ่ า ยสิ น ค้ า ด้วย ในอาคารยู่ฮวดนี้ ยังพบว่ามีการทำ�ประตู เป็น 2 ชั้น ชั้นแรกเป็น ประตูบานเฟี้ยม ชั้น ถัดไปทำ�เป็นลูกกรงเพื่อความปลอดภัยในการ ป้องกันปัญหาโจรผู้ร้าย ในบางอาคารพบว่ามี การรื้อถอนประตูเดิมทิ้ง แล้วเปลี่ยนเป็นประตู บานเฟี้ยมเหล็กแทน
62
ช่องลม ตำ�แหน่งที่ตั้งของช่องลมจะอยู่เหนือหน้า ต่างหรือประตูบ้าน ลักษณะความยาวของ ช่องลมอาจจะยาวตลอดทั้งฝาห้อง หรือมี เฉพาะส่วนบริเวณประตู และหน้าต่างเท่านั้น อาจแกะสลักเป็นลวดลาย หรือตีไม้ระแนงเป็น ลวดลายเรขาคณิตอย่างง่าย ๆ บางอาคารที่มี ลักษณะเป็นตึกปูนพบว่ามีการสร้างลายปูนปั้น ประดับรอบวงกบอีกชั้นหนึ่ง ประโยชน์ใช้สอย ของช่องลมนี้เพื่อระบายลม ทำ�ให้อากาศภายใน บ้านเกิดการถ่ายเท และ ยังช่วยให้แสงลอด ผ่านเข้ามาในบ้าน ทำ�ให้เกิดแสงสว่างภายใน อาคาร อันเนื่องมาจากลักษณะของบ้านที่เป็น ตึกทึบ ช่องลมจึงมีประโยชน์ที่มากกว่าการ ระบายลมเพียงอย่างเดียว จากการศึกษาพบ ว่ารูปแบบและความงามในการสร้างช่องลมนั้น มีความสวยงามแตกต่างกันออกไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่ กับฐานะทางเศรษฐกิจของผู้เป็นเจ้าของอาคาร ในบางอาคารที่ เ จ้ า ของอาคารมี ฐ านะร่ำ � รวย จะพบว่ามีการทำ�ช่องลมด้วยไม้แกะสลักอย่าง วิจิตรงดงาม และมีรูปแบบของช่องลมที่ต่าง จากอาคารอื่น ๆ ในบริเวณย่านสถานีรถไฟ และสำ�หรับผู้ที่มีฐานะรองลงมามักจะทำ�เป็นรูป เรขาคณิตมีรูปแบบที่ซ้ำ� ๆ กัน ในบางอาคาร พบว่ามีการใช้ลักษณะของช่องลมที่คล้ายคลึง กัน ซึ่งน่าจะมาจากการสร้างจากช่างฝีมือคน เดียวกัน
ลั ก ษณะบางส่ ว นของช่ อ งลมที่ พ บในบาง อาคาร ของอาคารพาณิชย์ ย่านสถานีรถไฟ ลำ�ปาง ซึ่งมีความแตกต่างกันออกไป
63
ปูนปั้นประดับตกแต่งอาคาร ปูนปั้นประดับตกแต่งอาคารพบมากใน ส่วนที่ประดับบริเวณด้านบนสุดหรือชั้นดาดฟ้า ของตัวอาคารมีลักษณะที่เป็นป้ายสัญลักษณ์ ลักษณะเป็นป้ายครึ่งวงกลม ทำ�เป็นปูนปั้นรูป ดาว และ พระจันทร์ครึ่งเสี้ยว ซึ่งคาดว่าน่า จะเป็นตราสัญลักษณ์ประจำ�ตระกูล นอกจาก นั้นยังพบปูนปั้นประดับเป็นชื่อของอาคารเช่น อาคารอดีตโรงน้ำ�อัดลมยูฮั่วเซี่ยง เป็นต้น การ สร้ า งปู น ปั้ น ในลั ก ษณะนี้ ถื อ เป็ น เอกลั ก ษณ์ สำ�คัญในการสร้างศิลปกรรมแบบจีน ซึ่งจะ พบเห็นได้แต่ในเพียงอาคารจีนเท่านั้น และยัง พบลวดลายปู น ปั้ น บริ เ วณเหนื อ ประตู ใ นบาง อาคารเช่นอาคารยู่ฮวด ที่มีลักษณะการสร้าง เป็นรูปลวดลายพันธุ์พฤกษา นอกจากปูนปั้นในลักษณะดังกล่าวแล้ว ยังพบปูนปั้นที่อยู่ในลักษณะของค้ำ�ยันบริเวณ ใต้ระเบียง หรือบริเวณกันสาด ซึ่งถือเป็น เอกลั ก ษณ์ ที่ สำ � คั ญ อย่ า งหนึ่ ง ของศิ ล ปกรรม ที่ได้รับอิทธิพลจากจีนในอาคารพาณิชย์ย่าน สถานีรถไฟเมืองลำ�ปางนี้
ลั ก ษณะของปู น ปั้ น ประดั บ ส่ ว นบนของ บางอาคารที่พบในบางอาคาร ของอาคาร พาณิชย์ ย่านสถานีรถไฟลำ�ปางที่มีการ ทำ�เป็นตราสัญลักษณ์ประจำ�อาคาร
ลวดลายประดับอื่นๆ ลักษณะลวดลายนี้ไม่พบเป็นปูนปั้น แต่จะ พบเป็นลวดลายที่ติดกับผนังเลยมีลักษณะของ ลวดลายเป็นลายมงคลแบบจีน ที่พบประดับ ตกแต่งคือลาย ฟังเสิ้ง หรือลายสี่เหลี่ยมแห่ง ชัยชนะ อันเป็นลวดลายสิริมงคล มักใช้เป็น เครื่องประดับสำ�หรับเด็ก พบในเพียงบาง อาคารเท่านั้น ลั ก ษณะของลวดลายประดั บ อื่ น ๆ ในบริเวณเหนือประตู ของอาคาร พาณิชย์บางอาคาร สร้างเป็นลวดลาย ฟังเสิ้ง หรือลายสี่เหลี่ยมแห่งชัยชนะ
64
ลั ก ษณะและประเภทของลวดลายที่ พ บในการศึ ก ษางานศิ ล ปกรรมประดั บ อาคารพาณิชย์ในย่านสถานีรถไฟลำ�ปางช่วงหลังพุทธศตวรรษที่ 25 ลวดลายที่พบเห็นในอาคารพาณิชย์ที่ได้รับอิทธิพลจากจีนในย่านสถานีรถไฟเมืองลำ�ปาง มีลักษณะของลวดลายที่ล้วนแล้วแต่นำ�มาจากความเชื่อของชาวจีน ลวดลายเหล่านี้แทนความ หมายซึ่งเป็นสิริมงคลแก่ผู้ประกอบการค้าและอยู่อาศัย มิได้ทำ�ขึ้นมาเพื่อความสวยงามเป็นหลัก แต่เป็นสัญลักษณ์แทนปรัชญา ความเชื่อ และคำ�สอนต่าง ๆ ที่ชาวจีนในย่านสถานีรถไฟเมือง ลำ�ปางได้รับการถ่ายทอดมาแต่โบราณ แฝงไว้ด้วยคำ�สอนที่ให้กำ�ลังใจในการดำ�เนินชีวิต อันได้แก่ ลวดลายในตารางดังต่อไปนี้ ชื่อลาย
ลักษณะของลาย
ความหมายของลวดลาย
ซื่อตื่อวุ๋น (ลายลูกพลับ)
ความสิริมงคล
ถวนอั้นจื้อ(ตัว สัญลักษณ์แห่ง ศาสนาพุทธ อ่านว่า อวั้น ในวงกลม)
หมื่นประการ, หมื่นปี
65
ชื่อลาย
ลักษณะของลาย
ความหมายของลวดลาย
จินกังฉู่
เป็นลายของวิเศษทาง ศาสนาพุทธที่พระโพธิสัตว์ ใช้ถืออยู่ สามารถขจัด ปีศาจได้
จิ่วเหลียนหวน
ความไม่จบสิ้น
ลายห่วงสี่เหลี่ยม
ลายห่วงซ้อน
66
ชื่อลาย
ลักษณะของลาย
ความหมายของลวดลาย
ฟังฝูจื้อ (อักษร ฮก รูป สี่เหลี่ยม)
ความมีโชคลาภ
อิงสงโตวจื้อ (ลายไก่ชน)
ผู้กล้าหาญ พร้อมในการ ต่อสู้
ฝู้กุ้ยฮวา หรือ กั๋ว เส้อเทียนเซียง (ลายดอกโบตั๋น)
ความร่ำ�รวยมั่งคั่ง และให้ ความเด่นเป็นเลิศกว่าคน ทั้งปวง
67
ชื่อลาย
ลักษณะของลาย
ความหมายของลวดลาย
ฟังเสิ้ง (ลายสี่เหลี่ยมแห่ง ชัยชนะ)
เป็นลายของวิเศษทาง ศาสนาพุทธที่พระโพธิสัตว์ ใช้ถืออยู่ สามารถขจัด ปีศาจได้
ลายเสือคาบดาบ
ความไม่จบสิ้น
ลายยันต์แปด เหลี่ยม
ป้องกัน คุ้มภัย ลดความ รุนแรง แผ่กระจายให้พ้น
ลายรัศมี พระอาทิตย์
ความรุ่งโรจน์, ความเจริญ รุ่งเรือง
68
จากลักษณะลวดลายของส่วนประดับ อิ ท ธิ พ ลที่ ส่ ง ผลต่ อ รู ป แบบการสร้ า ง อาคารพาณิชย์ดังกล่าวสามารถสรุปประเภท งานศิลปกรรมประดับอาคารพาณิชย์ ได้ดังนี้ ในย่านสถานีรถไฟลำ�ปาง 1. ลายอักษรประดิษฐ์ (Calligraphic Design) โดยจะใช้ตัวอักษรที่ถือว่าเป็นสิริมงคล แก่ผู้พักอาศัย สอดแทรกอยู่ในส่วนประดับ อาคารด้วย 2. ลายเรขาคณิต (Geometry Design) เป็น ลายที่ประดิษฐ์อย่างง่าย ๆ ส่วนมากจะใช้ใน การสร้างราวลูกกรงระเบียง และช่องลม 3. ลายพรรณไม้ (Floral Design) ซึ่งได้แก่ การนำ�เอาลักษณะของลายดอกไม้ ลายใบไม้ มาใช้ในการทำ�ลวดลายตกแต่ง พบมากในส่วน ของลายปูนปั้นประดับอาคาร 4. ลายเลียนแบบธรรมชาติ (Natural Design) เกิดจากการนำ�เอาสิ่งที่พบเห็นใน ธรรมชาติ มาใช้เป็นลวดลายของส่วนประดับ ตกแต่ง เช่น ลายไก่ที่พบในช่องลม เป็นต้น
จากลักษณะของลวดลายที่ได้รับการ ประดั บ ตกแต่ ง บนอาคารพาณิ ชย์ ห ากสั ง เกต ให้ ดี แ ล้ ว จะพบว่ า ลวดลายเหล่ า นี้ ล้ ว นได้ รั บ อิทธิพลจากต่างชาติ อันมีผลต่อการสร้างงาน ศิลปกรรมประดับอาคารพาณิชย์ในย่านสถานี รถไฟลำ�ปาง อิทธิพลเหล่านี้ได้แก่ อิทธิพลจากจีน ลักษณะของศิลปกรรมที่ได้รับจากจีนส่วน ใหญ่มักสร้างลวดลายประดับที่แสดงถึงความ เป็นสิริมงคลแก่ผู้พักอาศัยแทบทั้งสิ้น โดยมาก จะเป็ น ลวดลายเรขาคณิ ต และมั ก สร้ า งด้ ว ย ด้วยปูน เช่นปูนปั้นในส่วนประดับชั้นบนสุดของ อาคารในรูปแบบของตราสัญลักษณ์ ซึ่งถือเป็น เอกลักษณ์เฉพาะอย่างหนึ่งของศิลปกรรมแบบ จีน สำ�หรับอาคารที่มีจำ�นวน 2 ชั้นขึ้นไป มัก ตกแต่งด้วยช่องลมและระเบียงด้วยราวลูกกรง เป็นลวดลายมงคลจากจีนแบบต่าง ๆ การใช้ ลวดลายส่วนประดับที่โค้งมน หรือส่วนของ วงกลม พบมากตรงประตูทางเข้าบริเวณวงกบ ของประตู ซึ่งคติความเชื่อในการสร้างส่วนประ ที่โค้งนี้ยังมีความหมายถึงหยาง หรือสวรรค์ ซึ่ง นำ�มาใช้เพื่อความเป็นสิริมงคล นอกจากนี้ยัง มีการใช้วัสดุและการตกแต่งแบบจีนอีกหลาย อย่างในรายละเอียด เช่น การตกแต่งประตู หน้าต่าง รวมถึงการใช้ตัวอักษรเป็นส่วนหนึ่ง ของการตกแต่ง อาคารเหล่านี้หากจะพิจารณาในแง่ความ งามและรูปแบบศิลปะแล้ว จะเห็นได้ว่ามีความ
69
งามและรูปแบบเฉพาะตัวที่เป็นเอกลักษณ์ มี มรสุม มีฝนตกมีแดดออกจัดมาก การสร้าง คุ ณ ค่ า ทางสุ น ทรี ย ภาพมากกว่ า รู ป แบบของ พื้ น ที่ ส่ ว นนี้ ขึ้ น มาจึ ง มี ป ระโยชน์ ใ นเรื่ อ งการ ตึกแถวที่สร้างขึ้นในปัจจุบันหลาย ๆ แห่ง หลบแดดหลบฝน อันเป็นประโยชน์ที่สำ�คัญซึ่ง ในปัจจุบันอาคารส่วนใหญ่มักไม่คำ�นึงถึงการ อิทธิพลจากตะวันตก สร้างในลักษณะนี้ อิทธิพลจากตะวันตกโดยมากมักในงาน สถาปัตยกรรม ซึ่งอาคารพาณิชย์ในย่านสถานี อิทธิพลจากช่างผู้ก่อสร้าง รถไฟเมืองลำ�ปางที่พบส่วนใหญ่เป็นตึกปูน ซึ่ง ในอดีตการสร้างอาคารพาณิชย์ ช่าง ลักษณะในการสร้างนี้ได้รับอิทธิพลในการสร้าง จะเป็ น ผู้ กำ � หนดโครงสร้ า งและส่ ว นประดั บ อาคารทรงตึกมาจากลักษณะสถาปัตยกรรม ตกแต่งอาคารเอง โดยอาศัยความชำ�นาญและ แบบยุโรป ซึ่งนำ�เข้ามาโดยยู่ฮวด ผู้สร้างอาคาร ประสบการณ์ จ ากอาคารที่ ช่ า งเหล่ า นั้ น เคย แรกในลำ�ปาง โดยได้นำ�ช่างฝีมือชาวโปรตุเกส ก่อสร้างไว้ เจ้าของอาคารจะเป็นเพียงผู้กำ�หนด มาเป็นผู้สร้างอาคาร อันเป็นต้นแบบในการ ความต้องการว่าจะเป็นอาคารตึกหรืออาคาร สร้างอาคารในสมัยต่อ ๆ มา ลักษณะเฉพาะ ไม้ พื้นที่ใช้สอยหรืองบประมาณ ไม่ได้มีส่วน คือ มักเป็นตึกสองชั้นถึงสามชั้น ส่วนลักษณะที่ เกี่ยวข้องกับการออกแบบมากนัก จึงทำ�ให้ เป็นชั้นเดียวหรือครึ่งน่าจะได้รับอิทธิพลมาจาก อาคารที่สร้างขึ้นในแถบนี้มีความคล้ายคลึงกัน แบบอย่างของจีนมากกว่า กำ�แพงก่ออิฐถือปูน ในหลาย ๆ ด้านเช่น การทำ�ลวดลายประดับ หรือชั้นล่างก่ออิฐถือปูน ชั้นบนเป็นไม้ แปลน ตกแต่ง เนื่องจากเป็นช่างชุดเดียวกัน ดังนั้น มักมีรูปร่างเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า หนังตรงกันทั้ง อาคารที่ มี ลั ก ษณะสถาปั ต ยกรรมที่ ไ ด้ รั บ ชั้นบนและชั้นล่าง มักมีมุขหรือระเบียงด้าน อิทธิพลจากจีนหรือตะวันตก อาจจะไม่ได้ หน้า มีการประดับตกแต่งส่วนหน้า เช่น ผนัง หมายความว่ า เจ้ า ของจะเป็ น ชาวจี น เสมอไป ของอาคาร หน้าต่างโค้งหรือรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า หากแต่ช่างที่ทำ�อาจเป็นช่างชาวจีน และมัก ธรรมดา การใช้ลวดลายปูนปั้นที่หัวเสา หรือรูป จะพบว่าช่างก่อสร้างในแต่ละเชื้อชาติมีความ แบบของเสาที่รับอิทธิพลมาจากยุโรปเป็นต้น ชำ�นาญเฉพาะทางไม่เหมือนกัน ช่างจีนที่ได้ บางอาคารอาจมีอาเขต ซึ่งเป็นทางเดิน ทำ�การสร้างอาคารในย่านสถานีรถไฟนี้ ได้นำ� เท้าของผู้สัญจรไปมา การเชื่อมต่ออาเขตของ เอารูปแบบในการสร้างอาคารมาจากช่างชาว อาคารหนึ่งไปอาเขตอาคารหนึ่ง ใช้การก่ออิฐ โปรตุเกสที่ได้ทำ�การสร้างอาคารไว้ก่อนหน้า เป็นประตูโค้งซึ่งมีรูปแบบเดียวกัน และขนาด นี้ ซึ่งมีลักษณะและรูปแบบของอาคารที่ไม่ซับ ใกล้เคียงกันคือ ช่องประตูจะกว้างประมาณ 1 ซ้อนและแข็งแรงเท่าการสร้างอาคารจากช่าง เมตร ลักษณะโค้งครึ่งวงกลมดังกล่าวมีหลังคา ชาวโปรตุเกส แล้วค่อยเพิ่มลวดลายการประดับ ปกคลุม นับว่าเป็นแบบแผนของอาคารที่ดูจะ ในส่วนต่าง ๆ เช่นระเบียงเป็นลวดลายแบบจีน เหมาะสมกับลักษณะภูมิอากาศของเมืองไทย มากที่สุด ด้วยเมืองไทยเป็นประเทศในเขต
70
อิทธิพลจากความเชื่อ อันได้แก่ความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับศาสนา ความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับสภาพทางภูมิศาสตร์ ความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับตัวเลข ความเชื่อที่ เกี่ ย วข้ อ งกั บ ไสยศาสตร์ แ ละภู ติ ผี วิ ญ ญาณ รวมถึงความเชื่ออื่น ๆ อีก ตัวอย่างของความ เชื่อเหล่านี้ ได้แก่ลักษณะภายนอกของอาคาร พาณิชย์หรือห้องแถวที่เรียกว่า “หน้าปิศาจ” หรือช่องตรงกลางซึ่งเป็นประตูเปรียบเสมือน ปาก ส่วนช่องหน้าต่างที่ขนาบข้างประตูเปรียบ ได้กับลูกตาและจมูก เชื่อกันว่าสามารถป้องกัน อัปมงคลหรือภูติผีชั่วร้ายไม่ให้เข้ามาสู่บ้านได้ โดยไม่ต้องติดยันต์หรือของขลังใด ๆ เพราะ เท่ากับทำ�หน้าตาของบ้านให้ขลังไปในตัว
การสร้างอาคารในยุคปัจจุบัน ซึ่งอิทธิพลของ ตะวั น ตกที่ ส่ ง ผลต่ อ การสร้ า งอาคารพาณิ ช ย์ ในปัจจุบันนี้ได้ส่งผลทั้งในด้านการก่อสร้าง รูป ร่าง และการตกแต่งของอาคาร ซึ่งโดยภาพ รวมแล้วเป็นไปในทางที่มิได้สร้างสรรค์คุณภาพ ชีวิตให้แก่คนในสังคมเลย นอกจากนี้ข้อ กฎหมายของรัฐในปัจจุบันยังมีการกำ�หนดรูป ร่างและสัดส่วนของอาคารไว้เป็นแบบแผนโดย เฉพาะ ทำ�ให้ปัจจุบันนี้เราจึงพบเห็นลักษณะ ของอาคารพาณิชย์ที่มีความคล้ายคลึงกันและ ขาดคุณค่าทางด้านความงามกลายเป็นอาคาร ที่สามารถพบเห็นกันได้ทั่วไป จากปรากฏการณ์ดังกล่าวอาจทำ�ให้คน ส่วนหนึ่งในสังคม เริ่มเห็นความสำ�คัญของ การอนุรักษ์อาคารเหล่านี้ไว้ เหตุที่ต้องมีการ อนุรักษ์อาคารเหล่านี้ไว้ เนื่องด้วยเป็นหลัก ฐานทางประวัติศาสตร์สมัยใหม่ ที่ช่วยอธิบาย ความเป็นไปในสังคมได้ดีกว่าตำ�รา แต่ไม่ว่า แหล่ ง ความรู้ น อกตำ � ราเหล่ า นี้ จ ะเป็ น โบราณ วัตถุหรือโบราณสถาน ชุมชนเก่าแก่ ตลาดบก หรือตลาดน้ำ� เรือนไทย เรือนแบบจีน เรือนแบบ ฝรั่ง คนไทยน่าจะได้ตระหนักว่าคุณค่าของสิ่ง เหล่านี้ มิได้อยู่ที่อายุหรือราคา แต่อยู่ที่คุณค่า ทางจิตใจ รวมถึงสุนทรียภาพทางด้านความ งามที่เกิดขึ้นจากการสร้างสรรค์ของบรรพบุรุษ เป็นสิ่งที่แสดงถึงภูมิปัญญาของคนในสมัยนั้น ๆ ซึ่งไม่สามารถขายได้ด้วยเงินตรา เหมือนกับ อาคารพาณิชย์ที่พบเห็นกันอยู่ทั่วไปในปัจจุบัน
ในปัจจุบันอาคารพาณิชย์สมัยเก่าเหล่านี้ ทั้ ง ที่ เ ป็ น มรดกตกทอดจากบรรพบุ รุ ษ หรื อ เช่าต่อจากผู้อื่น มักจะใช้เป็นที่พักอาศัย และ ในบางแห่งก็ดำ�เนินกิจการการค้าเล็ก ๆ ไป ด้วย สภาพอาคารส่วนใหญ่พบว่าไม่ได้รับการ รักษา ซ่อมแซม หรือต่อเติมแต่อย่างใด ในบาง อาคารอาจพบว่าถูกปล่อยทิ้งร้างเพื่อรอการ รื้อถอน ส่วนหนึ่งอาจจะเนื่องจากผู้ใช้อาคาร ยังไม่ได้ตระหนักถึงคุณค่าของอาคารและขาด ความรู้สึกเป็นเจ้าของ มีเพียงบางอาคารเท่านั้น เท่านั้นที่มีการรักษาและซ่อมแซมให้คงสภาพ เดิม ทำ�ให้สามารถรองรับกิจกรรมการใช้งานที่ สอดคล้องกับวิถีชีวิตในปัจจุบันได้อย่างเหมาะ สม อย่างไรก็ตามในปัจจุบันเนื่องมาจากสภาพ สังคมที่เปลี่ยนไป จะเห็นว่าอาคารพาณิชย์ใน ปัจจุบันจะเป็นอาคารที่ได้รับอิทธิพลจากทาง ตะวันตกเป็นส่วนใหญ่ และได้นำ�มาเป็นรูปแบบ
71
อ้างอิง
ไพโรจน์ ไชยเมืองชื่น, ลำ�ปาง เมื่อห้วงหนึ่งศตวรรษ. (ลำ�ปาง : สำ�นักศิลปวัฒนธรรม สถาบันราชภัฏลำ�ปาง, 2544) หน้า 49. 2 ไพโรจน์ ไชยเมืองชื่น, เรื่องเดียวกัน, หน้า 49-50. 3 ไพโรจน์ ไชยเมืองชื่น, เรื่องเดียวกัน, หน้า 50. 4 ไพโรจน์ ไชยเมืองชื่น, เรื่องเดียวกัน, หน้า 50. 1
72
73
74
ประเพณีสืบชะตาล้านนา
คุณค่าความเชื่อที่ควรอนุรักษ์ เทวกฤษ พิลึก
ประเพณีสืบชะตาเป็นประเพณีที่สืบทอดกันมาแต่โบราณกาล ของชาวล้านนา เพราะมีความเชื่อว่าพิธีสืบชะตานี้ เป็นการต่อ อายุทั้งของตัวเองและญาติพี่น้อง หรืออาจเป็นการสืบชะตาของ บ้านเมืองให้มีอายุยืนยาวสืบไป ก่อให้เกิดความสุขความเจริญ ให้คลาดแคล้วจากบาปเคราะห์และสิ่งที่ชั่วร้ายทั้งมวลก่อให้เกิด ขวัญ และกำ�ลังใจในการดำ�รงชีวิตร่วมกันของคนในสังคม ซึ่งจะ มีผลส่งให้บ้านเมืองมีความสงบสุขและมีความอุดมสมบูรณ์สืบไป ตลอดกาลนาน โดยในบทความนี้จะเสนอพิธีการสืบชะตาที่พบใน จังหวัดเชียงใหม่ 2 แห่ง คือ ที่วัดเกตุการราม และที่วัดจอมคีรี
75
จุดมุ่งหมายในการประกอบพิธีสืบชะตา เนื่องมาจากความเชื่อดังกล่าวข้างต้นว่าชะตา ชีวิตของคนเรานั้นมีความเป็นไปไม่เหมือนกัน บุคคลใดชะตาดีก็จะมีความสุข ปราศจากความ ทุกข์กังวล หรือโรคภัยเบียดเบียน ตรงข้าม ถ้าผู้ใดโชคร้ายพบแต่ความทุกข์ความกังวลไม่ สบายกาย ไม่สบายใจก็มักจะเรียกว่าชะตาตก ยิ่งถ้าผู้ใดเจ็บป่วยแทบจะเอาชีวิตไม่รอด หรือ บางที ก็ ถึ ง แก่ ค วามตายในเวลาอั น ไม่ ส มควร ตายก็มักจะเรียกว่าชะตาขาด โดยมากเมื่อมี เหตุคือเจ็บไข้ได้ป่วยเป็นเวลายาวนาน รักษาไม่ หาย มีความทุกข์ใจ กังวลใจมาก ทำ�กิจการ ใดก็ไม่เจริญก้าวหน้าประสบแต่เคราะห์กรรม เจ้าตัว หรือ พ่อแม่ ญาติพี่น้อง ก็มักจะไปให้ พ่ออาจารย์ หรือหมอดูในท้องถิ่นที่ตนเคารพ นับถือผูกดวงชะตาตามหลักหราศาสตร์ให้ ถ้า ผลปรากฏออกมาว่า ชะตาขาด 1 ชั้น หรือ 2 ชั้น ก็ยังพอทำ�เนา แต่ถ้าชะตาขาดถึง 3 ชั้น ถือว่า ร้ายแรงถึงต้องเสียชีวิตรีบหาทางแก้ไข โดย มากจะนิยมให้ธรรมพิธีสืบชะตา ซึ่งหากแก้ไข ทันการณ์ถูกวิธี เชื่อว่าจะสามารถรอดพ้น อันตรายไปได้ คนถึงที่ตายก็จะ รอดตายที่เจ็บ ป่วยก็จะหาย ที่โชคร้ายก็จะกลายเป็นโชคดี1 ประเพณีสืบชะตาแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ 1.ประเพณีสืบชะตาคน 2.ประเพณีสืบชะตาบ้าน 3.ประเพณีสืบชะตาเมือง
1. ประเพณีสืบชะตาคน หมายถึงพิธีกรรมที่กระทำ�กับบุคคลๆ หนึ่ง หรือกลุ่มคนๆหนึ่งโดยเฉพาะเพื่อให้ เกิดความเป็นศิริมงคลแก่ผู้เข้าพิธี ซึ่งนับเป็น ประเพณีมงคลสำ�คัญอย่างหนึ่งที่ชาวล้านนา ไทยนิยมทำ�กันในหลายโอกาส เช่น เนื่องในวัน เกิด, วันได้รับยศศักดิ์ตำ�แหน่ง, วันขึ้นบ้านใหม่, กุฎิใหม่ หรือไปอยู่ที่ไม่ บางครั้งเกิดเจ็บป่วย หมอเมื่อ (หมอดู) ทายทักว่าชะตาไม่ดี ชะตา ขาดควรจะทำ�พิธีสะเดาเคราะห์และสืบชะตา ต่อายุเสีย จำ�ทำ�ให้คลาดแคล้วจากโรคภัยและ อยู่ด้วยความสวัสดีต่อไปการสืบชะตาคนนี้ วิธี การสืบชะตามีเครื่องพิธีคล้ายคลึงกัน อาจจะ แตกต่างกันไปบ้างในเครื่อง พิธีบางอย่างและ ซื้อของเครื่องในพิธีเท่านั้น สถานที่จะจัดทำ�พิธี สืบชะตาจะทำ�ให้ห้องโถง หากเป็นวัดก็จะจัด ในพระวิหารหรือที่ “หน้าวาง” คือห้องรับแขก ของเจ้าอาวาส ถ้าเป็นบ้านก็จัดทำ� “บนเติ๋น” คือ ห้องรับแขก ซึ่งต้องใช้ห้องกว้าง เพราะให้ เพียงพอสำ�หรับแขกที่มาร่วมงาน หากเป็นวัด ก็มีพระภิกษุสามเณรรวมทั้งอุบาสกอุบาสิกทั้ง หลาย ถ้าเป็นบ้านก็ต้อนรับญาติแขกหรื่อที่มา ร่วมงาน แขกที่มาร่วมงานนี้โดยมากจะเป็น ญาติพี่น้องลูกหลาน บางครั้งก็มีผู้สนิทสนมคุ้น เคยมาร่วมด้วย2 2. ประเพณีสืบชะตาบ้าน ความเชื่ อ ของคนส่ ว นมากคิ ด ว่ า บ้ า น ที่ตั้งมาตามฤกษ์ยามวันดีวันเสียนั้น มีเวลาที่ ราหูมฤตยูเข้ามาเบียดเบียนทำ�ให้ชะตาบ้านขาด ลง เป็นเหตุให้ประชาชนที่อยู่อาศัยในบ้านนั้น ประสบความเดือดร้อนเจ็บป่วยกันไปทั่วบ้านใน กรณีที่มีคนตายคิดๆ กันในบ้านเกินกว่า 3 คน
76
ขึ้ น ไปในเวลาไล่ เ ลี่ ย กั น นั้ น ชาวบ้ า นถื อ ว่ า อุ บ าทว์ ต กลงสู่ บ้ า นหรื อ ชาวบ้ า นจะทำ � เรื่ อ ง “ขึดบ้าน ขึดเรือน” ชาวบ้านจะร่วมกันทำ� พิธีขจัดปัดเป่า เรียกว่า สืบชะตาบ้าน อีก ประการหนึ่งเมื่อปีใหม่สงการนต์ล่วงไประยะ วันปากปี ปากเดือน ปากวัน ได้แก่วันที่ 16 , 17, 18 เมษายน ชาวบ้านจะกำ�หนดเอาวันใด วันหนึ่งสืบชะตาบ้านเพื่อให้เกิดความสวัสดีแก่ ประชาชนภายในบ้านของตน 3. ประเพณีสืบชะตาเมือง พิ ธี สื บ ชะตาเมื อ งก็ เ พื่ อ ต้ อ งการให้ บ้านเมืองประสบความเจริญรุ่งเรือง อุดม สมบูรณ์ไปด้วยพืชพันธุ์ธัญญาหาร ด้วยความ เชื่อเทพารักษ์ซึ่งอยู่เบื้องบน จะช่วยอำ�นวย ความสุขให้สมปรารถนา เมื่อทำ�พิธีการให้ ถูกต้องตามลัทธิผีสางเทวดา ในการทำ�พิธี สืบชะตาเมืองนี้ ปรากฏในพับหังสา (สมุด ข่อย) จารึกด้วยตัวหนังสือล้านนาไทยหลาย ฉบับ กล่าวถึงพิธีสืบชะตาเมืองในสมัยพระ เมืองแก้ว กษัตริย์ล้านนาไทย รัชกาลที่ 13 ในราชวงศ์มังราย ซึ่งครองราชย์สมบัติตั้งแต่ พ.ศ. 2038 – 2068 ไว้อย่างละเอียด และ พระมหากษัตริย์จะทรงเป็นประธานในพิธีสืบ ชะตาเมือง เพื่อให้เกิดสวัสดีมงคลโดยทั่วกัน พิธีสืบชะตาที่จะกล่าวถึงมีอยู่ด้วยกัน 2 แห่งคือที่วัดเกตุการาม และวัดจอมคีรี โดยใน วัดเกตุการามนั้น เป็นพิธีสืบชะตาหลวงโดยมี ลักษณะของการเตรียมพิธีกรรมที่เป็นขั้นตอน และอาศัยความร่วมมือจากคนในชุมชนช่วยกัน
วัดเกตุการาม สถานที่ในการประกอบพิธีกรรมสืบชะตา ในครั้งนี้ คือภายในวิหารของวัดโดยมีการผูก สายสิญจน์ ไว้เหนือที่ประกอบพิธี มีลักษณะ เป็นช่องตารางสี่เหลี่ยมมีการโยงสายสิญจน์ลง มา เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประกอบพิธีได้ใช้สวมศีรษะ ด้วย นอกจากนี้ยังมีการโยงสายสิญจน์ขัน น้ำ�มนต์ใหญ่ ที่อาสนะพระสงฆ์ พระประธานใน วิหาร และที่เครื่องประกอบพิธีด้วย เครื่องประกอบในพิธีกรรม เครื่องประกอบพิธีกรรมมีการจัดแบ่งเป็น 4 ชุดโดยแต่ละชุดมีเครื่องประกอบพิธีดังนี้ 1.ข้าวแตน 108 ชิ้น 2.กล้วยสุก 18 ลูก 3.บุรี่ 108 มวล
วัดเกตุการาม
77
4.ส้ม 108 กลีบ 5.แตงกวา 108 ชิ้น 6.เมี่ยง (หั่น) 108 ห่อ 7.มะพร้าว 108 ชิ้น 8.อ้อย (หั่น) 108 ชิ้น 9.ขนมเทียนและข้าวต้มมัด 108 ชิ้น 10.ข้าวเหนียวหมูทอด 110.ตุง (ธงสีขาว) 108 ช่อ 12.ธูป 108 ดอก 13.มะม่วง (หั่น) 108 ชิ้น 14.ใบพลู ป้ า ยด้ ว ยปู น แดงและมั ด กั บ หมากแห้ง 108 ชิ้น 15.ตุ๊กตาเซรามิค 12 ปีนักษัตร 16. สวยดอก (กรวยดอกไม้) 17. น้ำ�เปล่า 1 แก้ว
วัดจอมคีรี
วัดจอมคีรี ในส่วนของวัดจอมคีรีพิธีสืบชะตาในครั้งนี้ คือภายในวิหารของวัดโดยมีการผูกสายสิญจน์ ไว้เหนือที่ประกอบพิธี แต่ลักษณะการผูกโยง สายสิญจน์จะแต่งต่างจากวัดเกตการาม คือ เป็นการผูกในลักษณะไขว้กัน ไปทางไม่มี ทิศทาง (โดยที่วัดเกตการามจะผูก เป็นตาราง สี่เหลี่ยมจัตตุรัสเป็นช่องๆ) โดยมีไม้ค้ำ�สืบชะตา ทำ�เป็นซุ้ม 3 ขา ตั้งอยู่ด้านหน้าพระประธาน และนอกจากนี้ในพิธีสืบชะตาครั้งนี้ ยังมีการ บวงสรวงพระพิฆเนศ ก่อนการเริ่มพิธีสืบชะตา ด้วย โดยเครื่องประกอบในพิธีกรรมแบ่งเป็น 2 ส่วน ดังนี้ ส่วนที่อยู่กับไม้ค้ำ�สืบชะตา 1.หน่อกล้วย 3 หน่อ 2.หน่อมะพร้าว 3 หน่อ 3.ต้นอ้อย 3 ต้น 4.มะพร้าว 1 ทะลาย 5.กล้วยดิบ 1 เครือ 6.ไม้เหลาเป็นง่าม 108 ด้าม 7.บุรี่ 108 มวล 8.เมี่ยง 108 ห่อ 9.ตุง (ธงสีขาว) ไม่จำ�กัด จำ�นวน 10.สวยดอก (กรวยดอกไม้) 108 กรวย 11.บายศรี ๑ พาน 12.หม้อน้ำ� 13.หม้อข้าวเปลือก 14.หม้อข้าวสาร
78
ประกอบพิธีกรรมนั้นเป็นส่วนสำ�คัญ ที่มีผล ต่อจิตใจของผู้ที่เข้าร่วมพิธีกรรม ซึ่งเครื่อง ประกอบที่สำ�คัญมีดังต่อไปนี้ 1. ไม้ค้ำ�สะหลี หรือ ไม้ค้ำ�สืบชะตา ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 5 - 8 เซนติเมตร ความยาวประมาณ 1.50 เมตร จำ�นวน 3 อัน ตัดให้มีง่าม 1 อัน เพื่อใช้ค้ำ�ยันให้ เป็นรูปสามเหลี่ยมทรงกระโจมเพื่อใช้วางเครื่อง สืบชะตาต่าง ๆ ตามโคนไม้ ทั้งสามด้าน และให้ ผู้ประกอบพิธีซึ่งเป็นประธาน นั่งอยู่ตรงกลาง ส่วนผู้เข้าร่วมพิธีคนอื่น ๆ นั่งอยู่โดยรอบโดยวิธี โยงด้ายสายสิญจน์ไปสวมที่ศีรษะหรือวนโดย รอบปริมณฑลพิธี ให้ผู้ที่เข้าร่วมพิธีสืบชะตา อยู่ตรงกลาง ซึ่งจากลักษณะของการวางค้ำ�กัน เป็นกระโจมนี้อาจมีที่มาจากไม้ค้ำ�โพธิ์ซึ่งเชื่อว่า เป็นการค้ำ�จุนศาสนา แต่เมื่อนำ�มาเป็นส่วนหนึ่ง ไม้ค้ำ�สืบชะตา ในพิธีสืบชะตาจึงน่าจะเป็นสัญลักษณ์สื่อให้เห็น ถึงการค้ำ�ชูดวงชะตาของผู้เข้าร่วมพิธีให้ดีขึ้น ส่วนที่อยู่ในสะตวง 2. หน่อกล้วย หน่ออ้อย หน่อมะพร้าว ไม่ได้มีการจำ�เพาะเจาะจงปริมาณที่ใส่ หม้อน้ำ� ข้าวเปลือก และข้าวสาร ที่เป็นส่วน ได้แก่ 1.กล้วยสุก (หั่นเป็นชิ้น) 2.มะม่วง (หั่น ประกอบเครื่องพิธีกรรมเหล่านี้โดยมักอยู่ร่วม กับ ไม้ค้ำ�สะหลี หรือ ไม้ค้ำ�สืบชะตา เป็นชิ้น) 3.เมี่ยง 4.ใบพลูป้ายด้วยปูนแดงและมัดกับ หมากแห้ง 5.ขนมแห้งต่างๆ 6.ดอกไม้ 7.เทียนขนาดเล็ก
รายละเอียดของเครื่องพิธีกรรมบางส่วน ขาดหายไปหรืออาจมีกาเปลี่ยนแปลงไปบ้าง แต่ เมื่อมองโดยรวมแล้วในการทำ�พิธียังให้ความ สำ�คัญกับเครื่องประกอบพิธีกรรมหลักอยู่โดย เมื่อหากมองในแง่ของสัญลักษณ์แล้ว เครื่อง
79
สะตวง
ประกอบพิธีกรรมนั้นเป็นส่วนสำ�คัญ ที่มีผล ต่อจิตใจของผู้ที่เข้าร่วมพิธีกรรม ซึ่งเครื่อง ประกอบที่สำ�คัญมีดังต่อไปนี้ 1. ไม้ค้ำ�สะหลี หรือ ไม้ค้ำ�สืบชะตา ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 5 - 8 เซนติเมตร ความยาวประมาณ 1.50 เมตร จำ�นวน 3 อัน ตัดให้มีง่าม 1 อัน เพื่อใช้ค้ำ�ยันให้ เป็นรูปสามเหลี่ยมทรงกระโจมเพื่อใช้วางเครื่อง สืบชะตาต่าง ๆ ตามโคนไม้ ทั้งสามด้าน และให้ ผู้ประกอบพิธีซึ่งเป็นประธาน นั่งอยู่ตรงกลาง ส่วนผู้เข้าร่วมพิธีคนอื่น ๆ นั่งอยู่โดยรอบโดยวิธี โยงด้ายสายสิญจน์ไปสวมที่ศีรษะหรือวนโดย รอบปริมณฑลพิธี ให้ผู้ที่เข้าร่วมพิธีสืบชะตา อยู่ตรงกลาง ซึ่งจากลักษณะของการวางค้ำ�กัน เป็นกระโจมนี้อาจมีที่มาจากไม้ค้ำ�โพธิ์ซึ่งเชื่อว่า เป็นการค้ำ�จุนศาสนา แต่เมื่อนำ�มาเป็นส่วนหนึ่ง ในพิธีสืบชะตาจึงน่าจะเป็นสัญลักษณ์สื่อให้เห็น ถึงการค้ำ�ชูดวงชะตาของผู้เข้าร่วมพิธีให้ดีขึ้น 2. หน่อกล้วย หน่ออ้อย หน่อมะพร้าว หม้อน้ำ� ข้าวเปลือก และข้าวสาร ที่เป็นส่วน ประกอบเครื่องพิธีกรรมเหล่านี้โดยมักอยู่ร่วม กับ ไม้ค้ำ�สะหลี หรือ ไม้ค้ำ�สืบชะตา เนื่องจากดินแดนล้านนาโดยพื้นฐานนั้น เป็นสังคมเกษตรกรรมมาแต่เดิม ในการทำ�พิธี สำ�คัญ ที่ เ ป็ นมงคลต่างๆจึง มักมีข องประกอบ พิธีกรรมเหล่านี้เป็นร่วมอยู่ด้วยไม่เพียงแต่พิธี สืบชะตาเท่านั้น แต่ยังพบในงานพิธีมงคลอื่นๆ เช่น พิธีแต่งงาน พิธีขึ้นบ้านใหม่ เป็นต้น โดย การน้ำ�หน่อของพืชพรรณ หรือเมล็ดพันธุ์เหล่า นี้มาใช้อาจเพื่อความหมายในทางสัญลักษณ์ที่ ว่าเป็นการเจริญงอกงามหรืออุดมสมบูรณ์ และ เมื่อทำ�พิธีเสร็จแล้ว จะนำ�ไปปลูกยังบ้านของ ผู้สืบชะตา เพื่อแสดงถึงการงอกเงยและเพื่อ
สืบทอดต่อไป อีกทั้งยังเพื่อความเป็นสิริมงคล ด้วย 3. ใบไม้มงคลนาม ตัวอย่างเช่น ใบขนุน ใบเงิน ใบทอง ใบโชคใบลาภ ใบมะยม และใบ ไม้อื่นๆที่มีนามมงคล ซึ่งชาวบ้านมีความเชื่อที่ ว่าการนำ�ใบไม้ชื่อมงคลเหล่านี้มาประกอบพิธี ด้วยจะทำ�ให้เป็นสิริมงคลตามชื่อใบไม้นั้นๆ เช่น ใบขนุนทำ�ให้มีผู้หนุนนำ� ใบโชคใบลาภทำ�ให้มี โชคมีลาภ ใบเงินใบทองทำ�ให้มั่งมีเงินทอง ใบ มะยมทำ�ให้มีคนนิยมชมชอบ เป็นต้น
ใบเงินใบทอง
ใบขนุน
80
การจัดสถานที่ประกอบพิธีกรรม โดยปกติ มั ก ใช้ วิ ห ารหลวงของวั ด ใน แต่ละชุมชนเป็นศูนย์กลาง ซึ่งอาจจะมีการโยง ด้ายสายสิญจน์จากบริเวณพิธี ไปยังบ้านแต่ละ หลังภายในเขตชุมชนนั้นก็ได้ ทั้งนี้โดยมาแล้ว ในการจัดเตรียมสถานที่ประกอบพิธีกรรมนั้น คนในชุมชนจะช่วยกันเป็นผู้จัดเตรียม ซึ่งมักอยู่ ในการควบคุมของพ่อหนานผู้ประกอบพิธีกรรม พิ ธี สื บ ชะตาหลวงนี้ ภ ายหลั ง มี ก าร ปรับเปลี่ยน โดยบางแห่งก็ได้นำ�ไปประยุกต์ ใช้ให้เข้ากับยุคสมัย เช่นที่จังหวัดน่านมีพิธีสืบ ชะตาแม่น้ำ�น่านเป็นต้น โดยใช้พิธีสืบชะตา เป็นเครื่องปลูกจิตสำ�นึกของคนในท้องถิ่น ที่ ได้อาศัยแม่น้ำ�น่านในการดำ�รงชีพ ได้ตื่นตัว และสำ�นึกในบุญคุณของสายน้ำ� พร้อมที่จะ ช่วยกันอนุรักษ์สภาพแวดล้อมของแม่น้ำ�น่าน ให้ ส ะอาดรวมตลอดถึ ง ช่ ว ยกั น อนุ รั ก ษ์ ป่ า ต้นน้ำ� ซึ่งเป็นต้นกำ�เนิดแม่น้ำ�น่านด้วย โดยใน การสำ�รวจข้อมูลพบรูปแบบของการ เตรียม สถานที่ประกอบพิธีกรรมสืบชะตา โดยมี ลักษณะการโยงสายสิญจน์ 2 แบบ คือ 1. แบบมณฑล หรือ มันดาละ ซึ่งเป็นแบบที่มีมา แต่โบราณ และ 2. แบบการโยงที่ไม่มีทิศทาง ลักษณะการวางผังการประกอบพิธีกรรม สื บ ชะตาของวั ด เกตการามนั้ น มี ก ารโยงสาย สิญจน์เป็นรูปแบบของมณฑล หรือ มันดาละ ซึ่ ง สอดคล้ อ งกั บ จั ก รวาลคติ ใ นศาสนาพุ ท ธ โดยมี ก ารโยงสายสิ ญ จน์ ไ ปสู่ พ ระประธาน ซึ่งมีความหมาย เป็นศูนย์กลางของจักรวาล นอกจากนี้ลักษณะของการวางเครื่องประกอบ พิ ธี ยั ง เป็ น ไปตามระบบจั ก รวาลวาลคติ เ ช่ น เดียวกัน ซึ่งสังเกตได้จากการมีเทียน 3 เล่ม
เป็นจุดศูนย์กลาง รายล้อมด้วยถาดเครื่อง ประกอบพิธีกรรมทั้ง 4 ทิศ แต่ในการประกอบ พิธีสืบชะตาของวัดเกตการามนี้ไม่มีไม้ค้ำ�สะหลี หรือ ไม้ค้ำ�สืบชะตา ลั ก ษณะของการโยงสายสิ ญ จน์ ที่ วั ด จอมคีรีนั้น มีลักษณะที่แต่งต่างออกไปจากการ โยงสายสิญจน์ในพิธีสืบชะตาทั่วๆไปที่มีมาแต่ เดิมโดยเป็นการโยงไขว้ทับกันไปทางอย่างไร้ ทิศทางซึ่งในอดีตจะโยงทับกันในรูปแบบเของ ตารางสี่เหมี่ยมจัตุรัสเท่านั้น ซึ่งเหตุปัจจัยอาจ มาจากการสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปทำ�ให้ คนรุ่นใหม่ไม่เข้าใจถึงคติความเชื่อเดิม หรืออาจ ขาดความใส่ใจ ประกอบกับผู้ที่มีความรู้ในเรื่อง การจั ด เตรี ย มพิ ธี ก รรมที่ ถู ก ต้ อ งนั้ น ได้ เ หลื อ น้อยลงทุกที จึงมีผลต่อรายละเอียดของการจัด เตรียมเครื่องประกอบพิธีกรรมดังกล่าว
81
ผังการโยงสายสิญจน์วัดเขาคีรี
ผังการโยงสายสิญจน์วัดเกตุการาม
ความเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน ในอดีตพิธีสืบชะตาในล้านนานั้น มี เครื่องประกอบพิธีและรูปพิธีที่ซับซ้อนกว่ าใน ปัจจุบันมาก เนื่องจากชาวล้านนาในสมัยก่อน นั้นให้ความสำ�คัญกับจารีตประเพณีโดยเฉพาะ จารีตประเพณีของชุมชน เหตุอาจเป็นเพราะ ในช่วงเวลานั้นอิทธิพลจากภายนอกยังเข้าไป ถึงชาวล้านนาน้อยมาก ประกอบกับพิธีกรรม เหล่านี้ล้วนเป็นส่วนหนึ่งในวิถีชีวิตของชาวล้าน นา โดยไม่สามารถแยกออกจากกันได้เนื่อง ด้วยชาวล้านนาเป็นสังคม เกษตรกรรม จำ�เป็น ต้ อ งอาศั ย ธรรมชาติ แ ละสภาพลมฟ้ า อากาศ เป็นสำ�คัญจึงมีความเชื่อเรื่องสิ่งเหนือธรรมชาติ ซึ่งเป็น ความเชื่ อเก่ าแก่ดั้ง เดิม ของกลุ่ม คนใน ภูมิภาคนี้ เพื่อเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวและเพื่อเป็นการ สร้างขวัญกำ�ลังใจแก่ชาวบ้าน ประกอบกับเมื่อ
มีศาสนาพุทธเข้ามาทำ�ให้ความเชื่อเรื่องเหนือ ธรรมชาติ หรือเรื่องดวงชะตาผสานรวมเข้ากับ พุ ท ธศาสนาเป็ น พิ ธี ก รรมสื บ ชะตาซึ่ ง ถื อ เป็ น ส่วนหนึ่งในวิถีชีวิตของชาวล้านนาที่ทำ�สืบต่อ กันเรื่อยมา แต่ในสังคมชาวล้านนาปัจจุบันมี ความเปลี่ยนแปลงมากมายทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม รวมถึงวัฒนธรรมซึ่งมีผลต่อ ความเชื่อในจารีตประเพณีดั้งเดิมที่มีมา โดย สังคมปัจจุบันนั้นให้ความสำ�คัญกับกระแสเรื่อง ของวัตถุมากกว่าเรื่องของจิตใจ การอนุรักษ์ วัฒนธรรมก็มักประยุกต์ให้รับกับการท่องเที่ยว ที่ ส ร้ า งเงิ น สร้ า งรายได้ ม ากกว่ า ที่ จ ะรั ก ษาไว้ ซึ่งขนบธรรมเนียมประเพณีดั้งเดิมจริงๆทำ�ให้ วัฒนธรรม ประเพณี และพิธีกรรมที่มีมา ตั้ ง แต่ อ ดี ต มี ก ารปรับเปลี่ยนเพื่อ ให้ เข้ า กับยุค สมัยปัจจุบันมากขึ้น รวมถึงรายละเอียดของ พิ ธี ก รรมไม่ ว่ า จะเป็ น ของประกอบพิ ธี ก รรม
82
หรือบทสวดต่างๆก็ถูกปรับเปลี่ยนเพื่อให้เหมาะ สมกับสภาพสังคมปัจจุบันด้วย โดยสิ่งที่เห็น ได้ ชั ด เจนจากการเปลี่ ย นแปลงในปั จ จุ บั น คื อ มี เยาวชนจำ�นวนน้อยมากที่จะมีความรู้ความ เข้ า ใจเกี่ ย วกั บ เรื่ อ งวั ฒ นธรรมของตนเองซึ่ ง ผู้ ที่ มี ค วามรู้ จ ริ ง ๆมั ก เป็ น ผู้ สู ง อายุ ที่ นั บ วั น จะ เหลือน้อยลงทุกที และอัตราการเข้าวัดทำ�บุญ ของเยาวชนในปัจจุบันก็น้อยมากเมื่อเทียบกับ สมัยก่อนทำ�ให้คาดคะเนได้ได้ว่าในอนาคต พิธี สื บ ชะตาของล้ า นนาคงเหลื อ เพี ย งชื่ อ เท่ า นั้ น ดังนั้นเราจึงควรให้ความสำ�คัญ กับการ ปลูกฝังจิตสำ�นึกกับเยาวชน เพื่อให้เขาเหล่านี้ เห็นถึงคุณค่า และความสำ�คัญของพิธีสืบชะตา และพิธีกรรมอื่นๆ ที่เป็นจารีตประเพณีของ ล้านนา เพราะสิ่งเหล่านี้ เป็นสิ่งที่บรรพบุรุษได้ สร้างสมเอาไว้ให้ เป็นสิ่งที่สะท้อนถึงรากเง้า ภูมิปัญญาของตนเอง เพราะเยาวชนเหล่านี้จะ เป็นพลังสำ�คัญที่ทำ�ให้เอกลักษณ์ของความเป็น ล้านนายังคงอยู่สืบไป
อ้างอิง
สมเจตน์ วิมลเกษม. (2537). ชีวิตไทยชุด ฮีตฮอยเฮา. กรุงเทพฯ: สำ�นักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่ง ชาติ. หน้า 153 2 มณี พยอมยงค์. (2529). ประเพณี 12 เดือนล้านนา ไทย. เชียงใหม่: ทรัพย์การพิมพ์. หน้า 90 1
83
84
วิหารวัดบุญยืน กับศิลปกรรม แบบล้านนาและล้านช้าง
ธารินี ธิเสนา
งานศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมนับว่าเป็นผลผลิตของ การสะสมทางศิลปวัฒนธรรมประจำ�ท้องถิ่น จากอดีตได้ผ่านยุค สมั ย ต่ า งๆของประวั ติ ศ าสตร์ ม าจนถึ ง ยุ ค ปั จ จุ บั น จากที่ ห นึ่ ง ไป สู่อีกที่หนึ่งล้วนต้องใช้เวลาและบางทีอาจจะดูเป็นความบังเอิญ แต่จากการศึกษาร่องรอยในอดีตสามารถบ่งบอกได้ว่าทั้งหมด นั้นไม่ใช่ความบังเอิญ เนื่องจากการสืบทอดต่อเนื่องและจารีต ขนบประเพณีแต่ละท้องถิ่นต่างหากที่เป็นตัวกำ�หนดงานศิลปะ สถาปัตยกรรมและงานช่างฝีมือทุกแขนงจึงทำ�ให้เกิดความลงตัว ในสัดส่วนต่างๆของงานศิลปกรรมและงานสถาปัตยกรรมทำ�ให้ เกิดการพัฒนาการของความคิดในเชิงสร้างสรรค์ของแต่ละท้อง ถิ่นแต่ละพื้นที่ ซึ่งมีธรรมชาติขิงสภาพแวดล้อมเป็นตัวส่งเสริมให้ เกิดและมีสภาพที่แตกต่างกันออกไปตามคติความเชื่อและปัจจัย พื้นฐานที่มีอยู่ ดังเช่นวิหารวัดบุญยืนซึ่งเป็นวัดหลวงและมีการ ผสมผสานรูปแบบในงานศิลปกรรมและงานสถาปัตยกรรมที่ได้ รับอิทธิพลมาในแต่ละยุคละสมัยได้อย่างลงตัว จึงกลายมาเป็นรูป แบบสถาปัตยกรรมในแบบของเมืองน่านเอง
85
รูปแบบงานศิลปกรรมและงานสถาปัตยกรรม ของวิหารวัดบุญยืนที่ปรากฏนั้นยังแสดงให้เห็น ถึ ง การรั บ อิ ท ธิ พ ลรู ป แบบของศิ ล ปะจากแห ล่งอื่นๆนอกเหนือจากที่เป็นรูปแบบเฉพาะพื้น ถิ่นแล้วได้แก่ ศิลปะพม่า ศิลปะสุโขทัย ศิลปะ ล้ า นช้ า งและศิ ล ปะล้ า นนาที่ เ ข้ า มาบทบาท ต่ อ การสร้ า งงานเกิ ด การผสมผสานระหว่ า ง รู ป แบบของงานศิ ล ปะความสามารถในการ สร้างสรรค์งานของช่างซึ่งแสดงให้เห็นถึงระดับ ฝีมือ คุณภาพของงาน ตลอดจนแนวความคิดที่ แสดงออกมาได้เป็นอย่างดี
ประวั ติ ค วามเป็ น มาของวิ ห ารวั ด บุ ญ ยืน
วัดบุญยืน อ. เวียงสา จ. น่าน ตั้งอยู่ที่หมู่ ที่ 4 ตำ�บลกลางเวียง อำ�เภอเวียงสา จังหวัด น่านสร้างเมื่อปีพ.ศ.2329และตั้งขึ้นพร้อมกับ การสร้างเมืองซึ่งเรียกว่า“เวียงป้อ”โดยใช้ชื่อ พระยาป้อเป็นชื่อเมืองและวัดที่สร้างขึ้นก็เป็น เพียงสำ�นักสงฆ์เล็กๆชื่อว่า“วัดบุญนะ” ปัจจุบัน เป็ น ตลาดสดครั้ น ต่ อ มาเมื่ อ ผู้ ค รองนครน่ า น นามว่ า เจ้ า ฟ้ า อั ต ถวรปั ญ โญเสด็ จ ประพาส เวียงป้อทรงเห็นว่าวัดบุญนะมีความคับแคบไม่ สามารถขยายได้ประกอบกับเจ้าอาวาสขณะนั้น คือพระอธิการนาย (ครูบานาย) พร้อมศรัทธา ชาวบ้านได้เห็นพ้องกับฟ้าอัตถวรปัญโญจึงได้ ย้ายวัดมา สร้างใหม่ เมื่อวันที่ ๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๓๒๘บริ เ วณที่ ตั้ ง วั ด นั้ น มี ป่ า ไม้ สั ก ที่ สมบูรณ์ จึงได้ใช้ไม้สักบริเวณนั้นมาสร้างวิหาร กุฏิสงฆ์และศาสนวัตถุอื่นๆเป็นจำ�นวนมาก และ พระราชทานนามวัดใหม่ว่า “วัดป่าสักงาม” ต่อ มา เมื่อพ.ศ. ๒๓๔๓ ได้โปรดเกล้าให้หมื่นสรรพ ช่าง ก่อสร้างพระวิหารกว้าง
๑๕ เมตร ยาว ๓๐ เมตร และสร้างพระพุทธ รูปยืน ปางประทับยืน พระประธานในวิหาร หันพระพักตร์ไปทางด้านทิศเหนือ ขนาดสูง ๕ ศอก ดังนั้น จึงเปลี่ยนจากชื่อวัดป่าสักงามเป็น “ วัดบุญยืน ” ตามลักษณะพระพุทธรูป และ ทรงโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าราชวงศ์เชียงของ เป็นผู้ แกะสลักบานประตูใหญ่พระวิหารพระพุทธรูป ไม้สัก พระพุทธรูปจำ�ลองเจ้าฟ้าอัตถวรปัญโญ และศาสนวัตถุอื่นๆอีกเป็นจำ�นวนมากในเวลา ต่อมา ครูบานาย ซึ่งมีเชื้อสายเจ้าผู้ครองนคร เป็นผู้มีบารมีสูงตามที่ผู้เฒ่าผู้แก่เล่าให้ฟังว่าผู้ ใดจะขี่ช้างขี่ม้าผ่านไม่ได้ต้องลงจากหลังช้างม้า เสียก่อนจนพ้นเขตวัดไปแล้วจึงขึ้นขี่ได้ ไม่เช่น นั้นก็จะถูกยิงด้วยก๋ง (ธนู) กลอนลูกข้าวแห้ง (ข้าวตาก) เมื่อสิ้นสมัยครูบานายมานั้น ก็มีองค์ อื่น ๆ สืบต่อกันมาจนถึงสมัยครูบาโนเป็นเจ้า อาวาส ในขณะที่หลวงสาเป็นเจ้าเมืองปกครอง เวียงสาอยู่นั้น ครูบาโนก็ได้สร้างอุโบสถขึ้นหลัง หนึ่ง เมื่อ พ.ศ. 2443 โดยขอพระราชทานที่ดิน จากผู้ครองเมื่อสมัยนั้น เป็นอุโบสถหลังเล็กที่ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของวิหาร จนกระทั่ง ถึงสมัยพระสมุททะเป็นเจ้าอาวาส ก็ได้บูรณะ ซ่อมแซมวิหารอีกครั้งโดยมี พ่อเลี้ยงวงศ์ บ้าน ป่ากล้วยเป็นนายช่างได้เปลี่ยนเครื่องมุงหลังคา ใหม่จากกระเบื้องดินเผาเป็นกระเบื้องซีเมนต์ ชนิดสี่เหลี่ยมและทำ�ช่อฟ้าใบระกาใหม่บูรณะ เสร็จเมื่อ พ.ศ. 2476 และต่อมาอีก 4 ปี พระ เจดีย์ได้พังลง พระสมุททะจึงได้สร้างพระ เจดีย์ขึ้นใหม่ โดยมีพระเจ้าราชบุตร ณ น่าน บริจาคทรัพย์สร้าง มีจีนแหลมเป็นนายช่าง ก่อสร้าง ตรงกับสมัยท่านพระครูสาราธิคุณ
86
วิหารวัดบุญยืนกับศิลปกรรมแบบล้าน นา
ภาพวิหารวัดบุญยืน
ภาพวิหารวัดบุญยืน
การสร้ า งสถาปั ต ยกรรมในเขตศาสน สถาน เช่น วิหาร โบสถ์ เจดีย์ ที่ยังคงอยู่ด้วยกาล เวลาที่ล่วงเลยมาหลายร้อยปี เป็นโบราณสถาน ที่มีค่าต่อการศึกษาประวัติศาสตร์ความเป็นมา ซึ่งสามารถบ่งบอกถึงความเชื่อความเลื่อมใส ศรั ท ธาต่ อ พระพุ ท ธศาสนาของคนในล้ า นนา ตามแต่ละยุคสมัยได้เป็นอย่างดี วิหารในล้านนา แสดงออกให้เห็นแบบแผนของสถาปัตยกรรม และศิลปกรรมของล้านนาได้อย่างชัดเจนด้วย โครงสร้างแบบเสาและคาน หรือมีชื่อเรียกทาง ล้านนาว่า “ม้าต่างไหม” เป็นเอกลักษณ์เด่นชัด ของสถาปัตยกรรมล้านนาอีกอย่างหนึ่งทั้งงาน ศิลปกรรมที่มีการตกแต่งอย่างประณีตนุ่มนวล ในหลายๆ เทคนิคของช่าง เช่น งานปูนปั้น งาน แกะสลักไม้งานประดับกระจกและงานลงรักปิด ทองงานทุกแขนงเปี่ยมด้วยความสวยงามและ ความประณีต2 องค์ประกอบของวิหารที่ใช้ไม้ในการสร้างงาน สถาปัตยกรรมได้แก่ แผงแล ปากแล คันทวย หน้าบันด้านหน้า หน้าบันปีกนก โก่งคิ้ว โก่ง คิ้วปีกนก ปั้นลม เชิงชาย หน้าต่าง และประตู ทั้ ง หมดและองค์ ป ระกอบของวิ ห ารที่ ใ ช้ ปู น ในการสร้าง คือช่อฟ้า หน้าบันด้านหลัง และ บั น ไดส่ ว นงานประดั บ ตกแต่ ง โครงสร้ า งทาง ศิ ล ปกรรมสามารถบอกได้ ดั ง นี้ ง านที่ ป ระดั บ ตกแต่งด้วยงานปูนปั้น ได้แก่ ช่อฟ้า และหน้า บันด้านหลัง ส่วนงานที่ประดับตกแต่งด้วยงาน ลงรักปิดทองนั้นไม่มีส่วนงานที่ประดับตกแต่ง ด้วยงานประดับกระจกนั้น ได้แก่ ช่อฟ้า โก่ง คิ้วปีกนก และปั้นลม และสุดท้ายงานที่ประดับ ตกแต่งด้วยงานไม้แกะสลักเป็นงานตกแต่งที่
87
พบเยอะที่สุดของวิหารวัดบุญยืน ได้แก่ แผงแล ปากแล คันทวย หน้าบันด้านหน้า หน้าบันปีกนก โก่งคิ้ว โก่งคิ้วปีกนก ปั้นลม เชิงชาย หน้าต่าง และประตูทั้งหมด นาคขะตัน หรือคันทวย ทำ� หน้าที่เป็นตัวรับน้ำ�หนักของคานถ่ายลงมาสู่เสา นาคขะตันของวิหารวัดบุญยืนนั้นส่วนใหญ่นิยม แกะสลักเป็นรูป 12 นักษัตร มีความหมายเกี่ยว กับนักษัตรประจำ�ปีเกิดของชาวล้านนาและยัง เป็ น สั ญ ลั ก ษณ์ ข องการคุ้ ม ครองศาสนสถาน และในส่วนของนาคขะตันนั้นการแกะสลักไม่ ค่อยมีความละเอียด เนื่องจากเป็นช่างฝีมือชาว บ้านงานศิลปกรรมของล้านนาเป็นกลุ่มหนึ่งที่ มีความคิดสร้างสรรค์ที่หลากหลายแต่หากจะ มองการประดับ ตกแต่งตามองค์ประกอบของ พุ ท ธศาสนสถานจะพบว่ า มี ก ารประดั บ ทั้ ง ใน ส่วนที่เป็นไม้แกะสลักตามหน้าบันคันทวย การ เขี ย นลายทองในส่ ว นด้ า นหลั ง พระประธาน งานปูนปั้นประดับสถูปเจดีย์สิ่งเหล่านี้ล้วนแต่มี ความงดงามและมีความหมายทั้งสิ้น
รูปด้านหน้าและรูปด้านหลัง
รูปด้านทิศตะวันตก
แผนผังวิหารวัดบุญยืน ภาพกลุ่มนาคขะตัน ปีชวดและปีฉลู
88
ภาพลายเส้นนาคขะตัน ปีชวด ภาพลายเส้นนาคขะตัน ปีจอและปีกุน
หน้าบันด้านหน้าที่มีโครงสร้างแบบม้า ต่างไหม
ภาพกลุ่มนาคขะตัน ปีจอและปีเถาะ
89
ภาพหลังคาซ้อนชั้น และชายคาลดหลั่น วิหารวัดบุญยืนกับศิลปกรรมแบบ ล้านช้าง พระวิ ห ารวั ด บุ ญ ยื น มี รู ป แบบทาง อัฏฐารสเป็นพระประธานในวิหารเป็นพระพุทธ
ศิลปกรรมแบบล้านช้าง(หลวงพระบาง)ซึ่งทำ� หลังคาซ้อนชั้นและชายคาลดหลั่น ทางขึ้นวิหาร ด้ า นหน้ า มี สิ ง ห์ อ ยู่ ส องข้ า งทางเข้ า ทำ � เป็ น ซุ้ ม ประตูโขงประดับลวดลายปูนปั้นมีการตกแต่ง ด้านหน้าที่เป็นหน้าบันที่เรียกว่า“หน้าแหนบ” โครงสร้างมีลวดลายปูนปั้นประดับเป็นแบบที่ สร้างขึ้นใหม่เลียนแบบของเดิมมีรูปพญาครุฑ ซึ่งแสดงถึงความนิยมในช่วงที่มีการบูรณะวัดใน สมัยรัชกาลที่ 5 ช่อฟ้าและใบระกาเป็นแบบเก่า ที่ไม่มีนาคสะดุ้ง การจัดผังบริเวณถือตามทิศตะวันออกและตาม เส้นทางคมนาคมทางน้ำ�โบราณมีองค์พระเจดีย์ เป็นหลักของวัดมีพระวิหารอยู่ทางด้านหน้าของ พระเจดีย์ตามคติเดิมของล้านช้าง ตัวอาคารหัน หน้าไปทางทิศตะวันออกการเจาะช่องหน้าต่าง เป็ น ช่ อ งใหญ่ แ ละแต่ ง ซุ้ ม หน้ า ต่ า งและประตู แบบยอดบันแถลงภายในมีพระ
รูปปางเปิดโลกประทับยืนเป็นพระพุทธรูปปูน ปั้ น มี พ ระวรกายอวบอิ่ ม ประทั บ อยู่ ใ นซุ้ ม โขง ประดั บ ด้ ว ยลวดลายปู น ปั้ น บริ เ วณด้ า นบนมี ดาวเพดานประดับเหนือเศียรบริเวณด้านซ้าย และขวามีพระพุทธรูปปูนปั้น 2 องค์ ปางมาร วิ ชั ย ส่ ว นด้ า นซ้ า ยของแท่ น พระประธานหรื อ ฐานชุ ก ชี เ ป็ น ธรรมมาสน์ ใ ช้ สำ � หรั บ ประกอบ ศาสนพิธีพร้อมอาสนสงฆ์ด้านขวาของแท่นพระ ประธาน บานประตู ด้ า นหน้ า ตรงกลางที่ มี ข นาดใหญ่ เป็ น ไม้ แ กะสลั ก ซ้ อ นกั น ถึ ง สามชั้ น สร้ า งโดย เจ้าราชวงศ์เชียงของซึ่งมีศรัทธาต่อพระพุทธ ศาสนาตรงกับสมัยเจ้ าฟ้าอัตถวรปัญโญจ.ศ. 1159 (พ.ศ. 2343) พร้อมพระประธานปางเปิด โลกซึ่งได้รับอิทธิพลจากศิลปะแบบล้านช้าง
90
ภาพลายเส้ น รู ป สิ ง ห์ ท างขึ้ น วิหารด้านหน้า ภาพซุ้มประตูโขงทางเข้าด้านหน้าแบบ ยอดบันแถลง
ภาพทางขึ้นวิหารด้านหน้ามีสิงห์อยู่สอง ข้าง
ภาพหน้าต่างแบบยอดบันแถลง
91
ภ า พ พ ร ะ อั ฏ ฐ า ร ส เ ป็ น พ ร ะ ประธานในวิหาร
วิ ห ารวั ด บุ ญ ยื น ได้ มี ก ารบู ร ณปฏิ สั ง ขรณ์ อ ยู่ หลายครั้งเช่น นส่วนของหน้าบันมีการซ่อมแซม และต่อเติมลวดลายรูปครุฑซึ่งได้ซ่อมแซมใน สมัยร.๕รับอิทธิพลมาจากภาคกลางและส่วน ของหน้าต่างก็มีการซ่อมแซมขึ้นภายหลังเช่น กั น คื อ มี ก ารเติ ม ลู ก กรงและทำ � ซุ้ ม หน้ า ต่ า ง และติ ด กระจกสี ซึ่ ง เป็ น ที่ นิ ย มในสมั ย นั้ น และ เนื่องจากวัดบุญยืนเป็นวัดสำ�คัญของอ. เวียง สา จึงได้รับการทำ�นุบำ�รุงอยู่เนืองๆ จึงเป็นการ ยากที่จะบ่งบอกได้ว่าสิ่งไหนเป็นของเก่าที่ไม่ ได้รับการซ่อมแซมเลยเพราะดูจากสภาพโดย รวมแล้ววิหารวัดบุญยืนยังดูใหม่เสมอเนื่องจาก คณะศรั ท ธาไม่ ย อมให้ วิ ห ารที่ ต นเองเคารพ นั บ ถื อ บู ช านั้ น เก่ า ลงหรื อ มี ส ภาพที่ ชำ � รุ ด ทรุ ด โทรมลงได้เลย
สรุป
วิ ห ารวั ด บุ ญ ยื น เป็ น สถาปั ต ยกรรม แบบน่ า นและมีรูปแบบทางศิลปกรรมที่ได้รับ อิ ท ธิ พ ลจากล้ า นนาผสมกั บ ล้ า นช้ า งซึ่ ง มี รู ป แบบที่ใกล้เคียงกับวิหารวัดพระธาตุแช่แห้ง ซึ่ง แสดงความเป็ น ปึ ก แผ่ น ด้ ว ยการซ้ อ นมุ ข ของ หลังคาหลายมุข และชายคาซ้อนกันหลายชั้น มี ลักษณะลดหลั่นกันลงไป หน้าบันวิหารด้านหน้า ตกแต่งตามแบบเมืองน่านคือ แบบหน้าแหนบ แต่หน้าบันด้านหลังนั้นกลับมีลวดลายแบบภาค กลาง ในยุคลวดลายกนกเฟื่องฟู และปั้นลมนั้น ทำ�เป็นตัวนาคทอดยาวลงมามีช่อฟ้าหางหงส์ แบบล้านนาธรรมดาคันทวยเป็นรูปพญานาค ฝี มื อ ช่ า งท้ อ งถิ่ น ที่ เ ชิ ง บั น ไดทางขึ้ น วิ ห ารด้ า น หน้าทำ�เป็นสิงห์แบบพม่า ด้วยเหตุที่วัดบุญยืน ภาพบานประตูด้านหน้าเป็นไม้แกะสลักซ้อนกัน เป็นวัดเก่าแก่ดั้งเดิมของอำ�เภอเวียงสาซึ่งเคย สามชั้น สร้างโดย เจ้าราชวงศ์เชียงของ เป็นเวียงเก่ามาก่อน เรียกว่า เวียงป้อ ในสมัย
92
เจ้ า ฟ้ า อั ต ถวรปั ญ โญเจ้ า ผู้ ค รองนครน่ า นได้ ร่ ว มกั บ เจ้ า ราชบริ พ ารสร้ า งวิ ห ารวั ด บุ ญ ยื น ปัจจุบัน ดังนั้นรูปร่างวิหารซึ่งสร้างโดยนายช่าง หมื่นสรรพช่าง ชาวน่านผู้เป็นข้าราชบริพาร ของเจ้ า หลวงที่ ส ร้ า งตามแบบล้ า นช้ า งโดยดู ได้ จ ากพระพุ ท ธรู ป ยื น ปางเปิ ด โลกในวิ ห าร และงานแกะสลักไม้ทวารบาลด้านหน้าเป็นรูป เทวดาฝีมือเจ้าราชวงศ์เชียงของดังนั้นฝีมือช่าง ล้านช้าง จึงมาปรากฏที่วัดนี้เป็นแห่งแรก เป็น หลั ก ฐานที่ สำ � คั ญ เนื่ อ งจากน่ า นเป็ น หั ว เมื อ ง ตะวันออกของล้านนาที่สำ�คัญมากดังนั้นศิลปะ สถาปั ต ยกรรมและงานตกแต่ ง รวมทั้ ง งาน ประติมากรรมแบบล้านนาและล้านช้างจึงมา ผสมผสานกันที่จังหวัดน่านนี้ เป็นจุดแรกเพราะ เป็ น ประตู ที่ จ ะไปสู่ ล้ า นช้ า งซึ่ ง เป็ น อาณาจั ก ร คู่กัน ของดิ นแดนล้ า นนามาแต่โ บราณในสมั ย พระไชยเชษฐาราชกษัตริย์ล้านช้างซึ่งเคยมาปก ครองเชียงใหม่ตอนปลายๆทำ�ให้ศิลปะแบบล้าน ช้างนั้นได้แพร่เข้ามาในล้านนาสุดท้ายนี้ผู้เขียน มี ค วามรู้ สึ ก ประทั บ ใจในสิ่ ง ที่ ผู้ เ ขี ย นได้ ศึ ก ษา มาทั้งหมดเกี่ยวกับวิหารวัดบุญยืนและได้นำ�มา ความรู้ที่ได้มานั้นมาเผยแพร่ให้กับผู้อ่านที่สนใจ ประวัติความเป็นมาของวิหารวัดบุญยืนหลังนี้ และหวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่ สนใจที่จะศึกษาต่อไปในภายหน้าและเป็นความ รู้ไว้ให้เยาวชนรุ่นหลังได้ศึกษาต่อไป อ้างอิง
สามารถ สิริเวชพันธุ์ และเลี่ยม ธีรัทธานนท์, สถาปัตยกรรมพะเยาและน่าน, โครงการศึกษา วิจัยศิลปสถาปัตยกรรมล้านนา สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2531, หน้า 96 – 97 . 2 วรลัญจก์ บุณยสุรัตน์, วิหารล้านนา, พิมพ์ครั้งที่ 1 (กรุงเทพฯ : สำ�นักพิมพ์เมืองโบราณ, 2544 ), หน้า 45. 1
93
94
บาบ๋าอาภรณ์
(The story of Baba’s women costumes in Phuket Old Town) ปิยะนันท์ ลานยศ
ชาวจีนรู้จักเกาะแก่งและพื้นที่ทางชายฝั่งทะเลอันดามัน ทางภาคใต้ของประเทศไทยตั้งแต่พุทธศตวรรที่ 5เป็นเพราะชาว จีนเป็นนักแสวงโชค แสวงหาทรัพยากรและสิ่งของสวยงามมีค่า ประกอบกับภาคใต้ของประเทศไทยเป็นดินแดนที่อยู่ระหว่างจีน กับอินเดียจึงเป็นดินแดนที่ชาวจีนรู้จักเป็นอย่างดี แต่ด้วยความ เจริญทางเทคโนโลยียังมีน้อย ทำ�ให้มีข้อจำ�กัดในการเดินเรือและ ขนาดของเรือที่ต้องอาศัยแรงลม มีผลทำ�ให้การเดินเรือต้องมีการ พักหลบลมมรสุมตามชายฝั่งเมืองชายฝั่งเช่น เมืองตะโกลา จึง กลายเป็นเมืองท่าที่สำ�คัญจนกระทั่งต่อมาในสมัยราชวงศ์หมิง ได้พัฒนาเรือสำ�เภาขนาดใหญ่ สามารถสำ�รวจเส้นทางการเดิน เรือในแถบนี้ได้อย่างกว้างขวาง การค้าของจีนจึงเข้าสู่ภาคใต้ของ ประเทศไทยมากขึ้น
95
เมื่อชาวจีนเริ่มอพยพเข้าสู่ประเทศไทย นั้น ปรากฏว่ามีชาวจีนจากหลายเชื้อชาติหลาย ภาษา เดินทางเข้ามาบริเวณแถบเมืองการค้า เมื อ งท่ า ชายฝั่ ง ทะเลหรื อ เมื อ งที่ เ รื อ สามารถ จอดเดินทางเข้าออกได้ โดยมีชาวจีนที่เข้า มาหลายกลุ่มได้แก่ ชาวจีนแต้จิ๋วจากมณฑล กวางตุ้ง ชาวจีนฮกเกี้ยนจากมณฑลฝูเจี้ยน ชาวจีนไหหลำ�จากภาคตะวันตกเฉียงเหนือของ เกาะไหหลำ� ชาวจีนกวางตุ้งจากมณฑลกวางตุ้ง ชาวจีนแคะจากจากทางตอนเหนือของมณฑล กวางตุ้ง สาเหตุของการเดินทางเข้ามาเนื่องจาก พื้นที่แถบนี้ติดชายฝั่งทะเลง่ายต่อการเดินทาง ไปมาค้าขาย นอกจากนี้การเข้ามาแสวงหาโชค ลาภในดินแดนใหม่และการทำ�เหมืองแร่ ชาว จีนที่อพยพเข้ามาอยู่ในภาคใต้ของประเทศไทย เป็นชาวจีนที่มาจากภาคใต้และภาคตะวันออก ของจีน เพราะหนีความอดอยากจากบ้านเกิด และเมืองเหล่านี้ติดกับชายทะเล เป็นเมืองท่ามี เรือจอดดรับส่งสินค้ามากมาย จึงสามารถเดิน ทางออกจากประเทศได้ง่าย ได้แก่ พวกชาวจีน ฮกเกี้ยนจากมณฑลฝูเจี้ยน
ซึ่งมีเมืองท่าที่สำ�คัญ เช่น เอ้ หมึง ฟูโจว จังโจว และจาก มณฑลกวางตุ้ง เหอหนาน ได้แก่ พวกไหหลำ� เป็นต้น จาก การเข้ามาตั้งถิ่นฐานของชาว จีนในภาคใต้ของไทย สามารถ จำ�แนกออกได้เป็น 4 เส้นทาง ดังนี้ กลุ่มแรกเดินทางมาด้วย เรือสำ�เภาจีนโดยไม่มีจุดหมาย ปลายทาง คนกลุ่มนี้จะเข้ามา ตั่งหลักแหล่งบริเวณภาคใต้ฝั่ง เรือสำ�เภาจีน ตะวันออกตั้งแต่ไชยารอบอ่าว บ้านดอนลุ่มน้ำ�ปากพนังและสงขลา โดยมุ่งทำ� มาหากิน ไม่ฝักใฝ่การเมือง ประกอบกับชาวไทย ไม่รังเกียจชาวจีน จึงทำ�ให้คนกลุ่มนี้สามารถ ดำ�รงชีวิตได้อย่างเป็นสุข กลุ่มที่สอง เป็นกลุ่ม ชาวจีนที่เข้ามาตั้งหลักแหล่งบริเวณคาบสมุทร มลายูบริเวณช่องแคบมะละกา เป็นคนจีนที่มี ความทะเยอทะยานสูง เป็นกลุ่มคนที่เคยอยู่ ภายใต้ ก ารปกครองของชาวต่ า งชาติ ม าก่ อ น คุ้นเคยกับวัฒนธรรมตะวันตก บางส่วนเข้ามา อยู่โดยสมัครใจเพื่อผลประโยชน์ทางการเมือง และการค้า เมื่อเข้ามาอยู่ในภูเก็ตแล้วมีความ ผู ก พั น กั บ คนจี น ในปี นั ง และสิ ง คโปร์ ม ากกว่ า คนไทย เป็นกลุ่มคนจีนที่ผสมผสานความเป็น จีนและตะวันตกมากกว่ากลุ่มอื่นโดยนำ�วิธีทำ� เหมืองสูบที่เคยทำ�ในแหลมมลายูมาใช้ในภูเก็ต กลุ่มที่สามเป็นกลุ่มคนจีนที่เข้ามาอาศัยอยู่ใน ภาคกลางของไทยอยู่ก่อนแล้วจึงอพยพลงมา ภาคใต้ในภายหลัง กลุ่มที่สี่เป็นกลุ่มคนจีนที่เข้า มาทำ�งานรับจ้างเป็นกรรมกรในเหมืองแร่
96
การทำ�เหมืองแร่ดีบุก
เจากการที่คนจีนฮกเกี้ยนจากมณฑลฝู เจี้ยนอพยพเข้ามาตั้งหลักแหล่งบริเวณดินแดน แถบคาบสมุทรมลายู บริเวณช่องแคบมะละกา และบางส่วนอพยพเข้ามาจนถึงภูเก็ตซึ่งขณะ นั้นเรียกว่า เมืองทองคา เนื่องจากชายหนุ่มจีน เหล่านั้นเดินทางมาในลักษณะคนโสด บ้างก็ เป็นเด็กชายเดินทางมากับญาติพี่น้องมาโตเป็น หนุ่มในดินแดนแถบนี้ จึงได้มาแต่งงานสร้าง ครอบครัวใหม่กับคนท้องถิ่น การแต่งงานของ ชายหนุ่มชาวจีนกับผู้หญิงชาวภูเก็ตก่อให้เกิด วัฒนธรรมบาบ๋าซึ่งเป็นเหมือนวัฒนธรรมใหม่ ที่เกิดขึ้นโดยมีการผสมผสานวัฒนธรรมของคน จีนกับคนไทยท้องถิ่นทำ�ให้เกิดคำ�ว่า ลูกผสม ซึ่งชาวภูเก็ตทั่วไปเรียกว่า พวกบาบ๋าหรือบ๊าบ๋า โดยส่วนใหญ่จะหมายถึงลูกคนจีนที่เดินทางมา จากประเทศจีนโดยตรงหรือคนจีนที่เกิดในเมือง ไทย โดยเรียกรวมทั้งหญิงและชาย ซึ่งแตกต่าง กับคนท้องถิ่นมะละกาที่เรียกผู้หญิงว่า ยอนย่า และเรียกผู้ชายว่า บาบ๋า พวกบาบ๋าหรือพวก เปอรานากันในระดับสากลดยปรับให้มีความ กลมกลืนกับสังคม ในขณะที่มีความโดดเด่น เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว วิถีชีวิตของชาวจีนใน ภูเก็ตมีความคล้ายคลึงกับคนจีนในปีนัง เพราะ ส่วนใหญ่อพยพมาจากปีนังหรือบางครอบครัว
มีญาติอาศัยอยู่ในปีนัง ซึ่งย่านเมืองเก่าภูเก็ต เป็นย่านประวัติศาสตร์ทางวัฒนธรรมของชาว ภู เ ก็ ต ซึ่ ง เป็ น บริ เ วณที่ มี พ วกบาบ๋ า อาศั ย อยู่ วัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์จึงปรากฎอยู่ไม่ว่า จะเป็นด้านสถาปัตยกรรม ประเพณีท้องถิ่นและ วัฒนธรรมทางภาษา อาหาร การกินผัก ความ เชื่อเรื่องม้าทรง วิถีความเป็นอยู่ ประเพณีการ แต่งงาน
97
อาหารและขนมของชาวบาบ๋า
การแต่งงานตามประเพณีบาบ๋า
โ ด ย เ ฉ พ า ะ ก า ร แ ต่ ง ก า ย ที่ เ ป็ น เอกลักษณ์ ซึ่งเป็นการประยุกต์ลักษณะการ แต่ ง กายของชาวมาเลย์ กั บ การแต่ ง กายแบบ ชาวจีนให้เป็นหนึ่งเดียว ซึ่งเป็นการผสาน วัฒนธรรมไทยของฝ่ายแม่และวัฒนธรรมจีน ฝ่ายพ่อ ซึ่งการแต่งงานแบบจีนโบราณเป็น ประเพณีการแต่งงานที่นิยมของชาวภูเก็ตเชื้อ สายจีนฮกเกี้ยนในอดีตย้อนหลังไม่ต่ำ�กว่า 7080 ปี นับเป็นสมัยที่ชาวจีนมีอิทธิพลมากใน เมืองภูเก็ตและได้รับการถ่ายทอดวัฒนธรรมมา จากปีนัง จึงเกิดลูกหลานชาวจีนที่เป็นลูกผสม ระหว่าชายชาวจีนกับภรรยาชาวท้องถิ่น
เครื่องแต่งกายของสตรีชาวบาบ๋าในภูเก็ต เด็กผู้หญิงภูเก็ตสมัยก่อนเมื่ออายุครบ 12 ปีแล้ว จะเก็บตัวอยู่ในบ้านไม่สามารถออก ไปพบใคร ๆ ได้เลย ญาติผู้ใหญ่จะไม่อนุญาต ให้ออกมาเล่นนอกบ้าน เพราะถือว่าเริ่มย่าง เข้าสู่วัยสาวจะต้องได้รับการอบรมสั่งสอนเรื่อง การเรือน การทำ�อาหาร การตัดเย็บเสื้อผ้า เย็บ ปักถักร้อย พร้อมที่จะปฏิบัติหน้าที่ภรรยาได้ เมื่อออกเรือน การแต่งกายของสตรีชาวบาบ๋ามีการ ตัดเย็บและตกแต่งด้วยมืออย่างละเอียดปราณี ต ซึ่งเป็นการผสมผสานระหว่างแนวการแต่ง กายของสตรีขาวมาเลเซียกับสตรีชาวจีนในช่วง สมัยราชวงศ์ชิง คือยังคงนุ่งโสร่งปาเต๊ะแบบ มาเลเซีย สวมเสื้อคลุมยาวคอปิดคล้ายการแต่ง กายของสตรีชาวจีนและมีลักษณะคล้ายกับเสื้อ ตัวยาว แขนยาวของสตรีมาเลย์ ในขณะเดียวกัน สามีชาวจีนก็พึงพอใจที่ภรรยาสวมใส่เสื้อที่มี ลักษณะเดียวกับชาวจีนในประเทศจีน ดังนั้น เครื่ อ งแต่ ง กายที่ ป ระยุ ก ต์ ขึ้ น ใจจึ ง กลมกลื น กั บ สั ง คมวั ฒ นธรรมและสภาพแวดล้ อ มรอบ ตัว นิยมใช้วัสดุตัดเย็บที่นำ�เข้าจากต่างประเทศ ตามฐานะ เนื่องจากชาวบาบ๋าเป็นพ่อค้า ฐานะ ทางสังคมดี เช่น ผ้าที่ใช้ตัดเย็บ กระดุม เครื่อง ประดับ นิยมทำ�ด้วยทองคำ�และเพชร การแต่ง กายของสตรี ช าวบ๋ า บาจึ ง มี วิ วั ฒ นาการตาม สมัยนิยม ได้แก่
98
1. เสื้อครุย (Baju Panjang) ในช่วงยุคแรก ของหญิ ง ชาวบาบ๋ า ในจั ง หวั ด ภู เ ก็ ต ราวช่ ว งปี พ.ศ. 2443-2463 นิยมสวมเสื้อครุยยาว เสื้อ ครุยเป็นชุดยาว ลักษณะคล้ายชุดทูนิค ตัด หลวม ๆ มีความยาวประมาณน่อง แขนเสื้อ ยาวปลายเรียวสอบ คอเป็นรูปตัววี ผ่าหน้า ไม่มีกระดุม นุ่งกับโสร่งปาเต๊ะ ตัวเสื้อนิยมตัด ด้วยผ้าฝ้ายหรือผ้ามัสลินจากเยอรมัน ผ้าฝ้าย พิมพ์ดอกไม้หรือผ้าเขียนลายจากอินโดนิเซีย ในยุคแรกนิยมผ้าหนา เขียนลายดอกไม้ สีที่ได้ รับความนิยมคือ สีน้ำ�ตาล สีอิฐ ต่อมาผ้าป่าน บางได้รับความนิยม ปักลวดลายดอกไม้เล็ก ๆ ประดับด้วยชุดโกรสัง ( Kerongsang) การแต่งกายชุดครุยจะประกอบไปด้วย เสื้อผ้า 3 ชิ้นคือเสื้อครุย เสื้อตัวในและโสร่ง ปาเต๊ะ โดยการสวมเสื้อครุยยาวนิยมสวมใน โอกาสที่เป็นพิธีการ งานพิธีสำ�คัญหรือแต่งเป็น ชุดเจ้าสาวในโอกาสแต่งงาน เมื่อสวมชุดครุยจะ ต้องเกล้ามวยชักอีโบยหรือเกล้ามวยสูง ประดับ ด้วยปิ่นปักผม ล้อมรอบด้วยมาลัยดอกมะลิ หรือดอกพุด ถ้าเป็นเจ้าสาวจะประดับมวยผม ด้วยฮั่วก๋วนหรือดอกไม้ไหวสีทองหรือทำ�จาก ทอง และสวมเครื่องประดับครบชุดได้แก่ ชุดโก รสัง แหวน สร้อยทอง ปิ่นตัง เป็นต้น รูปแบบของเสื้อคลุมเป็นการผสมผสาน รูปแบบเสื้อผู้หญิงที่ได้รับความนิยมในช่วงรา ชวงศ์หมิงผสานกับราชวงศ์ชิงพัฒนารูปแบบจะ กระทั่งเกิดการปฏิวัติ ซึ่งนิยมสวมเสื้อคลุมตัว ยาวคล้ายเสื้อกั๊กไม่มีกระดุม มาประยุกต์กับบา จู กูรงของมาเลเซีย ซึ่งมีลักษณะเป็นเสื้อคลุม ตัวยาวคลุมขาและมีแขนยาว นำ�เอารูปแบบทั้ง สองวัฒนธรรมมาผสมผสานเกิดเป็นเสื้อคลุม ตัวยาวความยาวถึงน่อง แขนยาวและไม่มี
กระดุม และเลือกใช้วัสดุในการตัดเย็บที่ทัน สมัย เนื่องมาจากมีการค้าขายกับต่างประเทศ จึงนิยมนำ�เข้าผ้าต่าง ๆ จากต่างประเทศ เช่น ผ้าป่านรูเปีย ผ้ามัสลินเยอรมัน เป็นต้น
เสื้อครุยยาว
2. ชุดเสื้อครุยท่อน หรือเสื้อครึ่งท่อน หรือที่ เรียกในภาษาจีน ฮกเกี้ยนว่าเสื้อ ปั่วตึ่งเต้ เรียก ในภาษามาเลย์ว่า เคบายา มีลักษณะคล้ายเสื้อ ครุยแต่ขนาดความยาวของเสื้อสั้นขึ้นประมาณ สะโพก ยังคงสวมเสื้อตัวใน เครื่องประดับและ ทรงผมยังคงลักษณะเดิม เปลี่ยนแปลงเฉพาะ ขนาดความยาวของเสื้อให้สามารถสวมใส่ได้ ง่ายขึ้นและสะดวกในการทำ�งานต่าง ๆ ต่อมาได้ พัฒนาเสื้อให้ใช้สอยสะดวกขึ้นโดยเปลี่ยนจาก การสวมเสื้อสองชั้นมาเป็นเสื้อชั้นเดียว ไม่มีเสื้อ คลุม เป็นการประยุกต์เสื้อสองตัวให้รวมกันเป็น เสื้ อ ตั ว เดี ย วโดยผสมผสานระหว่ า งเสื้ อ ตั ว ใน
99
และเสื้อคลุมข้างนอก ตัวเสื้อมีลักษณะค่อนข้าง 4. เสื้อเคบายาหรือเสื้อย่าหยา (Kebaya) หลวมไม่เข้ารูป มีทั้งชนิดที่เป็นผ้าป่านบางและ เป็ น เสื้ อ ที่ ไ ด้ พั ฒ นาต่ อ เนื่ อ งมาจากเสื้ อ ครุ ย ผ้าหนาพิมพ์ลายดอกไม้ ท่อน ให้เป็นเสื้อที่สามารถสวมใส่ได้ในชีวิต ประจำ�วัน เข้ารูปพอดีตัวมากขึ้น ชายเสื้อด้าน หน้ายาวลงเป็นรูปสามเหลี่ยมและผสมผสาน กับการปักลวดลายของผ้าจากวัฒนธรรมจีน และการตกแต่งผ้าของชาวมาเลเซีย ซึ่งนิยม การปักผ้าและประดับด้วยลูกปัดหรืออัญมณี พัฒนาต่อเนื่องมาใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยด้วย การใช้ เ ครื่ อ งจั ก รเกิ ด เป็ น รู ป แบบการปั ก ฉลุ และการตกแต่งริมผ้าลักษณะต่าง ๆ จากการ เสื้อครุยท่อน 3. เสื้อคอตังแขนจีบ การสวมเสื้อคอตั้งแขน ศึกษาสามารถแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบตาม จีบจะสวมเป็นเสื้อตัวในก่อนสวมเสื้อครุยยาว วิวัฒนาการได้ดังนี้ ก) เคบายาลินดา (Kebaya Renda) ถ้าอยู่กับบ้าน นิยมสวมเฉพาะเสื้อตัวในกับ โสร่ง เสื้อสวมชั้นในเป็นเสื้อสั้น คอตั้ง แขนยาว เป็ น รู ป แบบเสื้ อ เสื้ อ ที่ ไ ด้ รั บ ความนิ ย มในช่ ว ง ปลายแขนจีบ และเป็นสีขาวหรือสี่อื่น ๆ ก็ได้ ประมาณ พ.ศ. 2463-2473 นิยมใช้ผ้าป่านสี มีกระดุมด้านหน้าและที่ปลายแขน 2 เม็ด ตัว ต่างๆหรือเป็นผ้าหน้าลายดอกไม้ประดับด้วย เสื้อจะมีเฉพาะรังดุมเท่านั้น เมื่อจะสวมจึงค่อย ลูกไม้จากยุโรปบริเวณสาบเสื้อริมสะโพกและ นำ�กระดุมมาติด ส่วนใหญ่จะเป็นกระดุมทองที่ ปลายแขน โดยเป็นเสื้อผ่าหน้า ไม่มีกระดุม ไม่ เข้ารูปมากนัก ใช้ชุดโกรสังหรือเครื่องประดับที่ เรียกว่ากระดุมกินตู้น จากลักษณะของเสื้อที่มีขอตั้งและแขน มีลักษณะเป็นเข็มกลัด 3 ชิ้น เป็นชุดต่าง ๆ เช่น ยาวจีบปลายน่าจะเป็นการพัฒนารูปแบบของ ชุดดอกไม้ ชุดใบไม้ ชุดแมลง กลัดติดเสื้อแทน กี่เพ้า โดยผสานกับการรับรูปแบบเสื้อและการ กระดุม ตัดเย็บเสื้อแบบตะวันตกที่มาในลักษณะเสื้อผ้า สำ�เร็จรูป ซึ่งพวกบาบ๋าได้นำ�เอารูปแบบทั้งสอง มาประยุกต์และเลือกใช้วัสดุนำ�เข้าและเหมาะ กับสภาพอากาศที่ตนเองชื่นชอบได้แก่ ผ้าป่านรู เปีย ผ้าลูกไม้ เป็นต้น
เสื้อย่าหยาหรือเคบายาลินดา
100
ข) เคบายาบีกู (Kebaya Biku) เป็นที่นิยมใน ช่วง พ.ศ. 2473-2483 เป็นการพัฒนาทาง ด้านรูปแบบ โดยยังคงเป็นเสื้อผ่าหน้า ไม่มี กระดุม ไม่เข้ารูปมากนัก ใช้ชุดโกรสังหรือ เครื่องประดับที่มีลักษณะเป็นเข็มกลัด 3 ชิ้น เป็นชุดต่าง ๆ เช่น ชุดดอกไม้ ชุดใบไม้ ชุด แมลง กลัดติดเสื้อแทนกระดุมการประดับ ตกแต่งตัวเสื้อใช้เทคโนโลยีที่มีความทันสมัย ขึ้น ทำ�ให้รูปแบบการตกแต่งเสื้อเปลี่ยนไป เสื้อแบบนี้จะมีการฉลุลายเล็ก ๆ ริมขอบสาบ เสื้อด้านหน้า รอบสะโพกคล้ายคัตเวิร์ค โดย เป็นการเย็บริมชายผ้าด้วยจักร ซึ่งลายที่ได้
ข้างโป๊
เสื้อย่าหยาหรือเคบายาซูแลม
เสื้อย่าหยาหรือเคบายาบีกู
ค) เคบายาซูแลม (kebaya Sulam) เคบายาซุ แซมเป็ น รู ป แบบเสื้ อ ที่ ไ ด้ รั บ ความนิ ย มอยู่ ใ น ช่วงประมาณ พ.ศ. 2483-2500 มีลักษณะ คล้ายกับเคบายาลันดาและเคบายาบีกู แต่มี ลายฉลุที่สวยงามมากกว่า โดยเน้นการฉลุลาย ด้วยสีสันสวยงามทั้งด้านหน้าและด้านหลัง เสื้อ ลักษณะนี้ปรากฏในภูเก็ตจนถึงประมาณหลัง สงครามโลกครั้งที่ 2 เสื้อย่าหยาชนิดเคบายาบี กูและเคบายาซูแลมค่อนข้างเน้นทรวดทรงมาก และเสื้อตัวในซึ่งเป็นเสื้อซับในเปลี่ยนแปลงจาก เสื้อคอกระเช้า ริมติดลูกไม้เล็ก ๆ มาเป็นบรา เซีย บางคนสวมเสื้อย่าหยาชนิดผ้าป่านบาง ทำ�ให้การสวมเสื้อบราเชีย เป็นชุดชั้นในดูค่อน
คนภูเก็ตส่วนใหญ่นิยมเสื้อบราเชียแบบ เต็มตัว เป็นเสื้อชั้นในที่ต้องอาศัยช่างผู้มีความ ชำ�นาญในการเย็บเสื้อยกทรงโดยเฉพาะ ผ้าที่ใช้ ตัดเป็นผ้าฝ้าย สีของเสื้อชั้นในจะต้องเข้ากันกับ สีเสื้อ หรืออาจเป็นเสื้อชั้นในสีขาวแบบเต็มตัว แต่ปัจจุบันผู้หญิงกล้าที่จะอวดทรวดทรงมาก ขึ้น เสื้อบราเชียชนิดสั้นจึงเป็นที่นิยม เนื่องจาก สะดวกกว่าเพราะมีขายทั่วไปไม่ต้องสั่งตัดเป็น พิเศษ หลักจากนั้นเสื้อผ้าลูกไม้และเสื้อลูกไม้ ต่อดอกเข้ามามีอิทธิพลแทนเสื้อย่าหยา เสื้อทั้ง สองชนิดนี้เป็นเสื้อที่ผู้หญิงชาวภูเก็ตประยุกต์ มาจากเสื้อย่าหยาทั้งสามชนิด สำ�หรับชาว ภู เ ก็ ต แล้ ว เสื้ อ ผ้ า ลู ก ไม้ เ ป็ น ที่ นิ ย มแพร่ ห ลาย มากกว่าเสื้อย่าหยา ทั้งนี้เพราะเป็นเสื้อที่หาได้ ง่าย ราคาไม่แพงมากนัก ทุกคนสามารถเลือก ซื้อผ้าในราคาที่ตนพอจะซื้อได้หาร้านตัดเย็บ สะดวก จนกลายเป็นเอกลักษณ์ที่เด่นชัดใน การแต่ ง กายที่ บ่ ง บอกถึ ง ความเป็ น ชาวภู เ ก็ ต มากกว่าเสื้อย่าหยา และเสื้อผ้าลูกไม้ใช้ได้กับ ผ้านุ่งทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นผ้าปาเต๊ะ ผ้าซิ่นและ กระโปรง
101
เสื้อผ้าลูกไม้และผ้าลูกไม้ต่อดอกเป็น เสื้อเข้ารูป เน้นทรวดทรงคนที่ผอมบางจะดูไม่ งามเท่าที่ควร ลักษณะคอเสื้อที่นิยมคือ คอกลม คอสามเหลี่ยม คอสี่เหลี่ยม ไม่มีปก เป็นเสื้อเข้า รูปติดซิปหลัง หากผู้สูงอายุไม่สะดวกที่ใช้ซิป หลังอาจติดกระดุมหน้า สำ�หรับแขนเสื้อนิยม แขนสั้น เหนือข้อศอกประมาณ 1 นิ้ว หรือเลย ข้อศอกลงไปประมาณครึ่งแขน ไม่นิยมแขน ยาวเพราะไม่สะดวกในการทำ�งาน เสื้อชนิดนี้ใช้ ผ้าลูกไม้สีสันต่าง ๆ ตามอัตภาพของผู้สวมใส่ ราคาผ้าลูกไม้มีตั้งแต่เมตรละร้อยบาทจนถึงพัน บาท เสื้ อ ผ้ า ลู ก ไม้ กั บ เสื้ อ ลู ก ไม้ ต่ อ ดอกนั้ น ลักษณะรูปทรงทั่วไปคล้ายกัน ต่างกันเฉพาะ ชนิดของผ้า เป็นผ้าลูกไม้ล้วน ๆ ลายดอก ลาย ใบไม้ ลายเถา วิธีการเย็บค่อนข้างจะละเอียด กว่าผ้าลูกไม้ทั่วไป ตรงที่ผู้ตัดพยายามนำ�ลาย ดอกไม้มาช้อนกันแล้วเย็บให้เป็นเนื้อเดียวกัน จนไม่มีตะเข็บ ความสวยงามที่เรียกว่า ต่อดอก คือเสื้อแต่ละตัวจะไม่มีรอยเย็บหรือรอยต่อเลย 5. ผ้าโสร่งหรือผ้าปาเต๊ะ (Batik Sarong) ผ้าบาติกหรือผ้าปาเต๊ะ เป็นคำ�ที่ใช้เรียกผ้า ชนิดหนึ่งที่มีวิธีการทำ�โดยใช้เทียนปิดส่วนที่ไม่ ต้องการให้ติดสี และใช้วิธีการแต้ม ระบายหรือ ย้อมในส่วนที่ต้องการให้ติดสี ผ้าบาติกบางชิ้น อาจจะผ่านขั้นตอนการปิดเทียน แต้มสี ระบาย สีและย้อมสีนับเป็นสิบ ๆ ครั้ง ส่วนผ้าบาติก อย่างง่ายอาจทำ�โดยการเขียนเทียนหรือพิมพ์ เทียน แล้วจึงนำ�ไปย้อมสีที่ต้องการ คำ�ว่าบา ติก (Batik) หรือปาเต๊ะ เดิมเป็นคำ�ในภาษาชวา ใช้เรียกผ้าที่มีลวดลายที่เป็นจุด คำ�ว่า “ติก” มี ความหมายว่า เล็กน้อยหรือจุดเล็ก ๆ มีความ หมายเช่นเดียวกับคำ�ว่า ตริติก หรือ ตาริติก
ดังนั้นคำ�ว่าบาติกจึงมีความหมายว่าเป็นผ้าที่มี ลวดลายเป็นจุด ๆ ด่าง ๆ ในสมั ย ก่ อ นผู้ ห ญิ ง ภู เ ก็ ต นิ ย มซื้ อ ผ้ า ปาเต๊ะจากเมืองไทรบุรี รัฐเกดาห์ ในประเทศ มาเลเซีย ด้วยว่าเป็นผ้าชนิดดี สีสันสวยงามไม่ ลอกนุ่งได้ทั้งสองด้าน ราคาค่อนข้างแพง ผ้า ปาเต๊ะชนิดดีต้องนิ่มมือ มีกลิ่นหอม ริมขอบ ผ้าเล็ก เนื้อดี ใช้สอยได้เป็นเวลานานไม่ต่ำ� กว่าผืนละ 50 ปี ปัจจุบันราคาผ้าปาเต๊ะลดลง เนื่องจากสามารถผลิตได้ในเมืองไทย ปัจจุบัน ชาวภูเก็ตโบราณยังนิยมปาเต๊ะเมืองไทรบุรีอยู่ แต่คนรุ่นหลังนั้นมักให้ความสำ�คัญกับราคาที่ ย่อมเยาว์ มากกว่าความคงทน ซึ่งลวดลายที่ ได้รับความนิยมอย่างมากคือ ลายดอกไม้ ใบไม้ รูปนอกและสัตว์มงคล การเย็ บ ผ้ า ปาเต๊ ะ ให้ ส วยต้ อ งไม่ เ ย็ บ ด้วยจักรเย็บผ้า จะใช้วิธีสอยอย่างละเอียดด้วย มือจนมองไม่เห็นรอยต่อ คนรับจ้างสอยผ้าจะ ต้องเป็นคนที่สายตาดี ทำ�งานละเอียดจึงจะมี ลูกค้ามาก เป็นอาชีพที่สร้างรายได้ในยุคที่ผู้ หญิงภูเก็ตนิยมนุ่งผ้าปาเต๊ะ (เรียกว่า การร้อย ผ้าถุง) การนุ่งผ้าปาเต๊ะให้สวยงามถูกต้อง ต้อง รู้ จั ก ส่ ว นประกอบของผ้ า ถุ ง ซึ่ ง ประกอบด้ ว ย ส่วนท้ายและส่วนพื้น ส่วนท้ายของผ้าถุงแต่ละ ผืนจะเป็นกรอบสี่เหลี่ยม มีลวดลายและสีแตก ต่างจากส่วนที่เป็นพื้น การนุ่งผ้าถุงปาเต๊ะ จะ ต้องนุ่งให้ส่วนที่เป็นท้ายอยู่ที่สะโพกด้านซ้าย และเลือกเสื้อที่สวมให้เข้ากับสีของผ้าถุง เช่น หากผ้าถุงมีลวดลายหรือพื้นเป็นสีส้ม เสื้อต้อง อยู่ในโทนสีส้มด้วย เป็นต้น
102
ผ้าปาเต๊ะที่ผลิตในประเทศมาเลเซีย ที่มา: http://indra-putrabangsa.blogspot.com
6. รองเท้า (Shoes) รองเท้าของหญิงสาว ชาวบาบ๋านั้น ผู้สวมใส่ต้องตัดเย็บเองโดยการ สืบทอดวัฒนธรรมจากรุ่นสู่รุ่น ผู้หญิงบาบ๋าเมื่อ ย่างเข้าสู่วัยรุ่นจะได้รับการถ่ายทอดความรู้ใน การเย็บปักเครื่องใช้ เช่น รองเท้า การฉลุผ้า คัต เวิร์ค การปักลูกปัด การเย็บหมอน ปลอกหมอน ม่านหน้าต่าง จากยาย แม่ ป้า อา ซึ่งเป็นสมาชิก ในบ้านเพื่อเตรียมตัวที่จะเป็นเจ้าสาวในอนาคต ความรู้เหล่านี้เป็นสิ่งจำ�เป็นอย่างยิ่งสำ�หรับสาว ๆ เพราะเป็นคุณสมบัติที่จะต้องมีติดตัวก่อนที่ จะออกเรือน รวมทั้งสืบทอดสิ่งเหล่านี้สู่ลูกสาว ของตนต่อไปในอนาคต แต่วัฒนธรรมเหล่านี้ หมดไปจากสังคมบาบ๋าในภูเก็ตตั้งแต่ประมาณ 50 ปี ล่วงมาแล้ว
รองเท้ า ในระยะแรกที่ ก ลุ่ ม ผู้ ห ญิ ง จี น อพยพ เข้ามาในภูเก็ตนั้นเป็นรองเท้าคู่เล็ก ๆ เพราะ ผู้หญิงเหล่านั้นมัดเท้าให้เล็ก ด้วยค่านิยมทาง วัฒนธรรมที่ถือว่าผู้หญิงเท้าเล็กเป็นผู้หญิงสวย รองเท้ าแบบนี้เย็บด้วยผ้ า สีดำ�หรือน้ำ�เงินเข้ม ปักลายดอกไม้ ลายสัตว์ ด้วยสีแดงด้านนอก สีส้นเป็นไม้ การที่มีเท้าเล็กแต่ตัวใหญ่ทำ�ให้ผู้ สวมรองเท้าเหล่านี้เดินไม่สะดวก ในบางครั้ง ต้องใช้คนจูงหรือช่วยพยุง รองเท้าแบบนี้จะ สวมกับการแต่งกายแบบจีน เช่นกางเกงแพร จีนสีดำ� เสื้อแพรจีนที่มีกระดุมป้ายข้าง หรือ อาจจะเป็นเสื้อแพรจีนสีขาวที่มีกระดุมป้ายข้าง เช่นเดียวกัน เครื่องประดับที่นิยมคือกำ�ไลและ แหวนหยก ทรงผมหรือเกล้ามวยไว้ที่ท้ายทอย ประดับด้วยปิ่นเสียบผมทองหรือเงินชิ้นเดียว หลั ง จากประเพณี มั ด เท้ า หมดไป รองเท้าที่เป็นที่นิยมคือรองเท้าแตะ ลักษณะ เป็นรองเท้าส้นเตี้ย ลักษณะหัวรองเท้าคล้าย รองเท้าบัลเลต์ของยุโรป คือส่วนหัวมีลักษณะ เป็นรูปตัวยู พื้นที่บริเวณส่วนหัวใช้ผ้าแพรปัก ลวดลายด้วยเส้นไหมสีต่าง ๆ ลวดลายที่ปัก มีทั้งดอกไม้ สัตว์มงคล เช่น ปลา ค้างคาว ผีเสื้อ เป็ด กวาง รองเท้าแบบนี้นิยมสวมกับชุด ครุยในภาษามลายูเรียกว่า Kasut Kodok และ วิวัฒนาการมาเป็นรองเท้าแตะชนิดมีส้นเตี้ย ๆ ปักด้วยเส้นโลหะสีทอง เงิน ในภาษามลายูเรียก ว่า Kasut Seret
รองเท้าผ้าไหมขนาดเล็กสำ�หรับผู้หญิงที่มัดเท้าปัก ลวดลายด้วยเส้นไหม
103
รองเท้าผ้าลูกปัด ที่มา: wn.com/Arts_of_Making_Nyonya_shoes
รองเท้าปักด้วยไหมจีนและฝังโลหะรูปสัตว์มงคล
รองเท้าที่นิยมของสาวชาวบาบ๋าในปัจจุบันคือ รองเท้าแตะที่ปักลวดลายด้วยลูกปัด นิยมสวม กับเสื้อปั่วตึ่งเต้ (เสื้อเคบายา) รองเท้าชิดนี้ใช้ ลูกปัดหลากสีปักลวดลายที่ต้องการ รูปร่าง ของรองเท้าเหมือนกับรองเท้าที่ปักด้วยเส้นไหม เพียงแต่ใช้ลูกปัดปักแทนการปักด้วยเส้นด้าย เท่านั้น ในภาษามลายูเรียกรองเท้าชนิดนี้ว่า Kasut Manik ซึ่งคำ�ว่า Manik หมายถึง ลูกปัด ในภาษามลายู รองเท้าชนิดนี้มีทั้งชนิดหุ้มด้าน หน้า หรือเรียกว่าปิดด้านหน้า และชนิดเปิดด้าน หน้า ทั้งสองแบบเป็นที่นิยม ปัจจุบันมีผลิตออก จำ�หน่ายเพื่อรองรับแฟชั่นย้อนยุคมากขึ้น การ ผลิตรองเท้าลูกปัดนี้น่าจะได้รับอิทธิพลมาจาก ยุโรป ส่วนการปักรองเท้าด้วยเส้นไหมได้รับ อิทธิพลมาจากจีน ในปั จจุ บันคงไม่ปักรองเท้าเพื่อ ใช้เ อง และเพื่อเตรียมตัวเป็นเจ้าสาวอีกแล้ว เพราะ เป็นผู้หญิงทำ�งาน ไม่ได้อยู่กับบ้านเหมือนแต่ ก่อน
สมัยดั้งเดิมจากหลักฐานภาพเก่า ๆ พบว่าผู้ชาย จีนทั่วไปจะนุ่งกางเกงจีนสีดำ� เสื้อสีดำ� ผ่าหน้า ไม่มีกระดุม ใช้ผ้าผูกแทนคล้ายเสื้อม่อฮ่อมใน ปัจจุบัน บางคนยังไม่ผมเปียยาวแบบจีนสมัย ราชวงศ์แมนจู สมัยต่อมาผู้ชายตัดเปีย นิยม ไว้ผมทรงซี้กั๊กถาว สวมเสื้อแทบจะมีลักษณะ เดิมเพียงแต่ใช้กระดุมสีดำ� ตัดด้วยผ้าไต่เส็ง วัยรุ่นนิยมเสื้อเชิ้ตแขนสั้นพับแขน สวมหมวก สักหลาดคล้ายเจ้าพ่อในหนังจีน ถ้าอยู่กับบ้าน นิยมสวมเสื้อยืด (เสื้อย่อน) ตราห่านคู่ กางเกง ขาสั้น (นิยมตัดด้วยผ้าไต่เส็งเหมือนกัน) ทรง หลวม มีจีบที่สะเอว ขาบาน ยาวประมาณหัว เข่าหรือเลยเข่าเล็กน้อย บางคนอาจจะไม่สวม เสื้อ สวมกางเกงขาสั้นมีผ้าขาวม้าสีแดงพาด บ่าหรือคาดเอว หรือกางเกงขายาวทรงแกสบี้ ก็ ส ามารถไปติ ด ต่ อ ธุ ร กิ จ ที่ ไ ม่ เ ป็ น ทางการได้ ถ้าเป็นผู้ที่มีฐานะดี ต้องติดต่อสมาคมกับทาง ราชการ พ่อค้าชาวต่างชาติ ก็จะนิยมสวมเสื้อ เชิ้ต ผูกเนคไท สวมเสื้อนอก หรือเสื้อแขนยาว คอตั้ง มีกระเป๋าด้านหน้า 4 ใบ คือที่หน้าอก 2 ใบ ด้านล่าง 2 ใบ กระดุม 5 เม็ด เป็นชุดสี เดียวกันทั้งเสื้อและกางเกง สีที่นิยมคือกากี เทา ลักษณะคล้ายเสื้อของดอกเตอร์ชุนยัดเซ็น รูป
104
แบบการแต่ ง กายแบบนี้ นิ ย มสวมหมวกกะโล่ สีขาวหรือสีครีม ในสมัยก่อนพวกเราจะเรียก ว่าหมวกท่านขุน ถือไม้เท้า สวมรองเท้า หนัง (เกือกแบเร็ต) ปัจจุบันการแต่งกายของ ชาวบาบ๋า ได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบไปสวมใส่ เสื้อผ้าตามยุคสมัย จะเลือสวมใส่เครื่องแต่ง กายแบบโบราณก็ ต่ อ เมื่ อ เป็ น งานพิ ธี สำ � คั ญ ในปั จ จุ บั น ทั้ ง ทางเทศบาลเมื อ งภู เ ก็ ต และองค์กรเอกชนได้แก่ สมาคมเปอรานากัน สมาคมภูเก็ตไทหัว เป็นต้น ได้เข้ามาส่งเสริม และจัดกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมให้คนในพื้นที่มี ความรู้ เ กี่ ย วกั บ วั ฒ นธรรมบาบ๋ า และร่ ว มกั น อนุรักษ์วัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของชุมชน นอกจากนี้ความร่วมมือร่วมใจของคนในชุมชน ที่เล็งเห็นถึงความสำ�คัญและให้ความร่วมมือ ในการดำ�รงรักษาวัฒนธรรมที่ดีงามนั้นนับว่า เป็น การอนุ รั ก ษณ์ วัฒ นธรรมของชุม ชนอย่าง ยั่งยืน
อ้างอิง
วัลภา บุรุษพัฒน์, ชาวจีนในประเทศไทย (กรุงเทพฯ: สำ�นักพิมพ์แพร่พิทยา, 2517), หน้า 1-15 2 Pranee Sakulpipatana. Window’s Of the Phuket wedding (Phuket: World offset Printing Co., Ltd., 2010), 14-19 3 พิพิธภัณฑ์ภูเก็ตไทยหัว, คู่มือชมพิพิธภัณฑ์ภูเก็ตไทย หัว, (กรุงเทพมหานคร: ธรรมสารการพิมพ์, 2551) หน้า 71-72. 4 ฤดี ภูมิภูถาวร, วิวาห์บาบ๋าภูเก็ต, (ภูเก็ต: เวิลด์ออฟ เซ็ท พริ้นติ้ง, 2553) หน้า 23-24. 1
105
106
ลวดลายผ้าและสิ่งทอลับแล
(Pattern of Lablae ‘s textile and fabric) รดามณี ฉิมเลี้ยง
การศึ ก ษาเรื่ อ งลวดลายผ้ า และสิ่ ง ทอในอำ � เภอลั บ แล จังหวัดอุตรดิตถ์นั้นพยายามชี้ให้เห็นถึงความความสำ�คัญของ ผ้าทอในวัฒนธรรมไทที่มีบทบาทสำ�คัญตั้งแต่เกิด มีชีวิตอยู่ จน กระทั่งเมื่อสิ้นชีวิต ทั้งผ้าสำ�หรับนุ่ง ผ้าสำ�หรับห่ม และผ้าที่ใช้ใน พิธีกรรม ซึ่งจะทอด้วยฝ้ายและจกด้วยไหม ลวดลายที่พบส่วน ใหญ่อยู่ในรูปแบบของเรขาคณิตมีการพัฒนาและดัดแปลงจากสิ่ง ที่พบเห็นในชีวิตประจำ�วันที่ถูกถ่ายทอดลงบนผืนผ้า
107
ในปัจจุบันลับแลเป็นอำ�เภอหนึ่งในจังหวัด อุตรดิตถ์เป็นจังหวัดในเขตภาคเหนือตอนล่างที่ มีความหลากหลายของวัฒนธรรมที่ผสมผสาน และสืบทอดมาแต่โบราณ สันนิษฐานว่าชาว ลับแลสืบเชื้อสายมาจากชาวไทยวนจากเมือง โยนกเชียงแสน ซึ่งเป็นอาณาจักรของชาวไทย วนตั้งอยู่บริเวณภาคเหนือตอนบน ปัจจุบันคือ อำ�เภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย เป็นชนกลุ่ม แรกที่อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในอำ�เภอลับแล บริเวณบ้านเชียงแสน ตำ�บลฝายหลวง อำ�เภอ ลับแลในปัจจุบันและเมื่อประมาณ พ.ศ.1513 เจ้าฟ้าฮ่ามกุมารพระโอรสของพระเจ้าเรืองธิ ราชกษัตริย์องค์ที่ 21 แห่งแคว้นนาคพันธ์สิงหน วัติโยนกชัยบุรีเชียงแสนได้ทรงขึ้นเป็นปฐมเจ้าผู้ ครองนครที่เมืองลับแลและสืบเชื้อสายมาจาก ชาวลาวจากเวียงจันทร์และชาวลาวพวนจาก เชียงขวาง เมื่อประมาณช่วง ค.ศ. 18281ชาว ลับแลจึงมีการผสมผสานวัฒนธรรมของกลุ่ม ชนทั้งไทยวน ลาวพวนและลาวเวียงจันทน์ จน เกิ ด เป็ น เอกลั ก ษณ์ ข องวั ฒ นธรรมท้ อ งถิ่ น ลับแลเป็นอำ�เภอในจังหวัดอุตรดิตถ์อยู่ในเขต ภาคเหนื อ ตอนล่ า งที่ มี ค วามหลากหลายของ วั ฒ นธรรมที่ ผ สมผสานและสื บ ทอดมาแต่ โบราณจากการรวบรวมเอกสารประวั ติ ก าร สร้างเมืองลับแลและตำ�นานเมืองลับแลกล่าว ว่าในสมัยอาณาจักรโยนกเชียงแสนบรรพบุรุษ ดั้งเดิมรุ่นแรกของชาวลับแล เป็นชาวไทยวน ที่ อ พยพจากอาณาจั ก รโยนกเชี ย งแสนลงมา ตั้งถิ่นฐานทำ�มาหากินในเขตท้องที่เมืองลับแล ก่อนที่คนไทยจะสถาปนาอาณาจักรสุโขทัยขึ้น เนื่ อ งจากลั ก ษณะภู มิ อ ากาศและภู มิ ป ระเทศ ของเมืองลับแลมีความอุดมสมบูรณ์เหมาะสม ต่อการตั้งถิ่นฐานจึงปรากฏว่าได้มีคนไทจากหัว
เมืองในอาณาจักรล้านนาและอาณาจักรล้าน ช้ า งหรื อ นครเวี ย งจั น ทน์ อ พยพและทยอยลง มาตั้งถิ่นฐานในเขตท้องเมืองลับแลตั้งแต่สมัย สุโขทัยและอยุธยาต่อมาจึงได้มีการได้จัดสรร ที่ ดิ น ให้ ร าษฎรที่ มี เ ชื้ อ สายมาจากอาณาจั ก ร โยนกเชี ย งแสนไปตั้ ง บ้ า นเรื อ นตั้ ง แต่ บ้ า นต้ น เกลือ ตำ�บลแม่พูล บ้านท้องลับแล ตำ�บลฝาย หลวง ถึงบ้านคอกช้าง ตำ�บลศรีพนมมาศ ส่วน ราษฎรที่มีเชื้อสายมาจากเวียงจันทร์ให้ไปตั้ง บ้านเรือนอยู่ที่บ้านกระต่าย บ้านนาแต้ว และ บ้านนาทะเล ตำ�บลชัยจุมพล
108
ผ้าซิ่นตีนจกของลับแล
หมอนมะแปบหรือหมอนหน้าเดียว
งานศิ ล ปหั ต ถกรรมที่ ส ะท้ อ นให้ เ ห็ น ถึงวัฒนธรรมดั้งเดิมของชาวลับแลคือการทอ ผ้าด้วยวิธีการทอจก จากตำ�นานเมืองลับแล เล่าว่า “หนานคำ�ลือและหนานคำ�แสนเป็นชาว โยนกเชี ย งแสนที่ พ าราษฎร์ อ พยพมาเพื่ อ หา แหล่งทำ�กินใหม่ตามคำ�บอกเล่าของวิญญาณ เจ้าปู่พญาแก้ววงษ์เมืองกษัตริย์องค์ที่ 13 ของ นครโยนกเชียงแสน มีลูกสาวคือนางสุมาลีและ นางสุมาลาเบญจกัญยานีผู้มีอุปนิสัยชอบเย็บ ปักถักร้อยและประดิษฐ์งานฝีมือ เป็นผู้ริเริ่ม คิดค้นประดิษฐ์ทอหูกขึ้นคือทอผ้าซิ่นตีนจก ซิ่น มุกไหม หน้าหมอนหก หน้าหมอนแปด ถุงทุ ลา ผ้าห่มหัวเก็บ กระดุม ฯลฯ” ด้วยรูปแบบ ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว มีความงดงามแบบ เรียบง่าย เป็นเอกลักษณ์ของผ้าตีนจกลับแล ที่สืบทอดมาช้านาน ความงามเหล่านี้ถูกเติม แต่งลงบนผ้าและสิ่งทอ เครื่องใช้ในชีวิตประจำ� วันซึ่งการทอผ้าจกเป็นพื้นฐานของการทอผ้า ที่เป็นการถ่ายทอดแบบแผนองค์ความรู้ จาก ย่า ยายหรือแม่ สู่ ลูกสาวหรือหลานสาว จาก รุ่นสู่รุ่นวัฒนธรรมการทอผ้าเป็นวัฒนธรรมที่ ถ่ายทอดกันมาช้านานและกระจัดกระจายกัน อยู่ ม าตั้ ง แต่ ดิ น แดนสิ บ สองปั น นาทางตอนใต้ ของจีนเรื่อยลงมาตลอดพื้นที่ในบริเวณเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งเป็นวัฒนธรรมอย่างหนึ่ง ของชนกลุ่ ม ไทยที่ มี ร่ ว มกั น สตรี ไ ท-ลาวได้ สร้ า งสรรค์ ผ้ า ทอพื้ น เมื อ งนานาชนิ ด ภายใน ครอบครัวสมาชิกฝ่ายหญิงจะรับผิดชอบด้าน การผลิตเครื่องนุ่มห่มของครอบครัวนับตั้งแต่ ต้นคือ เริ่มปลูกฝ้ายและหม่อน เพื่อเลี้ยงตัว ไหมจนถึงทอเป็นผืนและตัดเย็บเป็นเสื้อผ้า เด็ก หญิงชาวไทจะเริ่มหัดทอผ้าตั้งแต่อายุ 6-7 ปี โดยเริ่มด้วยการทอลายง่ายๆเช่นทอตีนซิ่น
สำ�หรับผ้าซิ่นของตนเอง นอกจากนี้ผ้าทอยัง มีบทบาทสำ�คัญอีกในชีวิตตั้งแต่เกิด พิธีการ สำ�คัญในระหว่างที่มีชีวิตอยู่แล้ว จนถึงใน พิธีกรรมเมื่อสิ้นชีวิตแล้ว การทอผ้าของชาว อุ ต รดิ ต ถ์ นั้ น เพื่ อ ใช้ ส อยกั น ภายในครอบครั ว มี ร ายละเอี ย ดและรู ป แบของผ้ า ทอเมื อ ง อุตรดิตถ์เป็นไปตามลักษณะของชาติพันธุ์เดิม ซึ่งปัจจุบันได้มีการผสมผสานกลมกลืนได้แก่ กลุ่มวัฒนธรรมไทยพื้นถิ่น มีสำ�เนียงการพูด แบบคนสุโขทัย ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในเขตลุ่ม แม่ น้ำ � น่ า นบางส่ ว นของอำ � เภอพิ ชั ย และบาง ส่วนของอำ�เภอลับแล เขตอำ�เภอเมือง ส่วน กลุ่มวัฒนธรรมล้านนาจะอยู่ในเขตตอนเหนือ ของอำ�เภอลับแล อำ�เภอท่าปลาและอำ�เภอ ทองแสนขันและกลุ่มวัฒนธรรมล้านช้างแบบ หลวงพระบางอยู่ใน อำ�เภอทองแสนขัน อำ�เภอ น้ำ�ปาด อำ�เภอฟากท่าและอำ�เภอบ้านโคก และ ในบางหมู่บ้านของ อำ�เภอตรอน อำ�เภอพิชัย และอำ�เภอลับแล ซึ่งมีความ สัมพันธ์กับการ แต่งกายตามประเพณีพื้นถิ่นที่มีรูปแบบดั้งเดิม เป็นเอกลักษณ์ของโดยการสังเกตจากลวดลาย สีสัน และรูปแบบของผ้าทั้งหมอนหก หมอนมะ แปบ ถุงกุลา ผ้าปกขันหมาก ผ้าห่มต่างๆหญิง สาวชาวลั บ แลแต่ เ ดิ ม นิ ย มมวยผมและเหน็ บ ดอกไม้ สวมเสื่อเก๋งสีขาวหรือสีครามพาดทับ ด้วยสไบ การนุ่งซิ่นหากอยู่เรือนจะนุ่งซิ่นผ้า ฝ้าย เช่นซิ่นแหล้ ซิ่นซิ่ว ซิ่นต๋าแหล้ม ซิ่นไก หาก ไปนอกบ้านอาจจะนุ่งซิ่นเช่นซิ่นลับแลงแดง ซิ่น มุก ซิ่นตีนจก นิยมใช้ในโอกาสพิเศษต่างๆเวลา อากาศหนาวชาวลั บ แลอาจห่ ม ด้ ว ยผ้ า ห่ ม หั ว เก็บ
109
หญิงชาวลับแลห่มผ้าห่มหัวเก็บ ลวดลายสิ่งทอลับแลที่ปรากฏในผ้าทอ ลับแลส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปแบบเราขาคณิตมี การพัฒนาและดัดแปลงจากสิ่งที่พบเห็นในชีวิต ประจำ�วันเช่น ลายสี่ขอ ลายแปดขอ ลายดอก จันทร์ ลายเตย ลายพาน ลายดอกพิกุล ส่วน ลายที่เกิดจากจินตนาการหรือเรื่องเล่าสืบต่อ กันมา เช่นลายนาค ลายม้า ลายนกหรือลาย หงส์ เป็นลายที่มักเกี่ยวกับความเชื่อทางของ บรรพบุรุษและความเชื่อทางศาสนาซึ่งวิธีการ ทอจะยากง่ายต่างกันไปขึ้นอยู่กับความชำ�นาญ ของช่างทอที่ประประดิษฐ์ลวดลายที่พบเห็นใน ชีวิตประจำ�วันมาทอเล่าเรื่องราวลงบนผืนผ้า เป็นลวดลายที่สืบทอดกันมาแต่โบราณที่อบรม สั่งสอนถ่ายทอดองค์ความรู้จากรุ่นสู่รุ่น นิยม ทอจก ลวดลายสัตว์มงคลต่างๆตามความ เชื่อของชาวลับแลและกลุ่มชนในวัฒนธรรมไท เช่น ลายนาค ลายม้า ลายนก ลายหงส์ เป็น สัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์ เป็นสิริมงคล ต่อผู้ทอ ผู้เป็นเจ้าของและยังเป็นสิ่งที่ใช้ใน พิธีกรรมสำ�คัญอีกด้วย เช่น ลายนาค ลวดลาย ที่เป็นเอกลักษณ์และเป็นลวดลายที่พบที่อำ�เภอ ลับแลที่เดียว คือ ลายนาคหรืองูน้ำ�ขนาดใหญ่
ผู้คิดลวดลายอาจจะมีเชื้อสายจากชนชาติลาว เพราะจากนิ ย ามปรั ม ปราเกี่ ย วกั บ ต้ น กำ � เนิ ด บรรพบุรุษชาวลาวกล่าวไว้ว่าบิดาแห่งชนเผ่า อ้ายหลาวเป็นมังกรหรือนาคที่อาศัยอยู่ในลำ�น้ำ� โขงลายนาคจึงเป็นลายที่เกิดจากคติความเชื่อ หรื อ อาจเป็ น ความนิ ย มที่ รั บ มาจากแผ่ น ดิ น ลาวก่อนอพยพสู่ดินแดนแถบล้านนา และท้อง ถิ่นอื่นๆรวมถึงบริเวณอำ�เภอลับแล จังหวัด อุตรดิตถ์ นอกจากลายนาคเป็นลวดลายที่ นิยมจกในหน้าหมอน ผ้าปกขันหมาก ผ้ากราบ ผ้าห่มหัวเก็บ นาคยังถือว่าเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ จะไม่เอาไว้ตีนซิ่นและบางครั้งยังปรากฏลาย นาคบนผ้าพาดบ่าของผู้ชายอีกด้วย มีลายนาค ในรูปแบบต่างๆทั้งลายนาคน้อย ลายนาคขึ้น นาคลง ลายนาคที่มีลักษณะรูปแบบขดในกรอบ สี่เหลี่ยมผืนผ้าเรียงต่อกันเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนม เปียกปูนเป็นลายที่นิยมมากในหน้าหมอนลับแล
110
ลวดลายเส้นลายนาค
ลวดลายเส้นลายนาคน้อย
ลายนาคขึ้ น นาคลงที่ พ บในหน้ า หมอนเป็ น รู ป แบบที่ ต่ า งจากลายนาคและลายนาคน้ อ ย เนื่องจากจะอยู่ซ้อนกันอีกทั้งลายนาคขึ้นนาค ลงแบบที่ 2 จะเป็นลายที่กลับด้านจากแบบที่ 1
ลวดลายเส้นลายนก
ลวดลายเส้นลายนาคขึ้นนาคลงแบบที่ 1 ลวดลายเส้นลายนกไร่ถ้อย ลวดลายเส้นที่ลายนาคขึ้นนาคลงแบบที่ 2 ลายนกหรือลายหงส์ เป็นลายที่นิยม ปรากฏในผ้ าซิ่นตีนจกของลับแลเรียกว่ าลาย นกกินน้ำ�ร่วมต้น ซึ่งเป็นลายเก่าแก่ดั้งเดิมของ กลุ่มผ้าทอภาคเหนือซึ่งเป็นตระกูลไทยวน แต่ ลายที่ลับแลเรียกว่าลายนกม้า และยังปรากฏ ในผ้าซิ่นตีนจกในท้องถิ่นอื่นๆและลายนกหรือ ลายหงส์ยังเป็นเรื่องในจินตนิยายของลาวอีก ด้วย นกยังเป็นสัตว์ที่พบเห็นในชีวิตประจำ� วั น ชาวลั บ แลจึ ง นำ � ลายนกมาประดิ ษ ฐ์ เ ป็ น ลวดลายซิ่นตีนจก ถุงกุลา ผ้าปกขันหมาก นิยม เป็นลายนกสองตัวหันหน้าเข้าหากันในกรอบ สี่ เ หลี่ ย มขนมเปี ย กปู ห รื อ ที่ เ รี ย กว่ า โคมในซิ่ น ไทยวน ส่วนหงส์ยังเป็นสัตว์ในพุทธศาสนาอีก ด้วย ลายนกหรือลายหงส์มีการเรียกลวดลาย ต่างกันไปตามทั้งถิ่น มีทั้งลายหงส์ ลายนกน้อย ลายนกคุ้ม ลายนกไร่ถ้อย ลายนกกินน้ำ�ร่วมต้น
111
ลวดลายเส้นลายนกกินน้ำ�
ลวดลายเส้นลายนกกินน้ำ�
ลวดลายนกคุ้ม
ลายม้าพบในผ้าปกขันหมากแสดงถึง ความเชื่ อ ความศรั ท ธาในพุ ท ธศาสนารวมถึ ง การไหว้ผีสางเทวดา ผีบรรพบุรุษ มักจะปรากฏ ในตำ�นาน เรื่องเล่าที่สืบต่อกันมา
ลวดลายเส้นลายดอกจันทร์ ลายดอกพิกุลเป็นลายที่ชาวบ้านเรียก กันมาแต่โบราณ รูปแบบที่พบมีลักษณะคล้าย ดอกแก้ ว หรื อ ดอกพิ กุ ล บางครั้ ง เรี ย กว่ า ลาย ลวดลายเส้นลายม้า ดอกแก้ว นิยมทอเป็นลายประกอบเล็กๆและ ลวดลายพั น ธุ์ พ ฤกษาเป็ น ลายที่ มี เป็นที่นิยมเช่นเดียวกับลายดอกจันทร์ ความหมายถึ ง ความอุ ด มสมบู ร ณ์ ข องเมื อ ง ลับแลที่มีลักษณะเป็นป่าเขา มีห้วย มีผักกูด ขึ้น ชาวลับแลในอดีตสามารถพบเจอในชีวิต ประจำ�วันจึงนำ�ลวดลายที่พบเห็นมาประดิษฐ์ ลวดลายเส้นลายดอกพิกุล เป็นลวดลายต่างๆเช่น ลายดอกจันทร์ ลายดอก พิกุล ลายหนามเตย ลายดอกเคี๊ยะ ซึ่งบางชนิด ลายเตยเป็ น ลวดลายที่ มี รู ป แบบจาก อาจหาได้ยากในปัจจุบัน ลวดลายเหล่านี้นิยม หนามเตยที่เป็นพืชที่มีอยู่ตามป่า ชาวลับแล ปรากฏในลายหน้าหมอน ลายผ้าสไบ ลายถุง ในอดีตสามารถพบเจอในชีวิตประจำ�วันจึงนำ� กุลา และผ้าทอของอำ�เภอลับแลลวดลายดอก ลวดลายที่พบเห็นมาประดิษฐ์เป็นลวดลายหน้า จันทร์และดอกพิกุลนิยมเป็นเป็นลายประกอบ หมอนหกมีลักษณะทั้งแบบที่เป็นดอกเตยและ ของผ้าทอที่พบเห็นได้บ่อยของอำ�เภอลับแล ดู ที่เป็นกรอบสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนมีแถบเหมือน จากภาพประกอบดังต่อไปนี้ เช่น ลายดอก หนามเตย จันทร์หรือลายกลีบจันทร์เป็นลวดลายที่มีรูป แบบจากดอกจั น ทร์ ที่ เ ป็ น ดอกไม้ ที่ มี อ ยู่ ต าม ป่า ชาวลับแลในอดีตสามารถพบเจอในชีวิต ประจำ�วันได้แต่ในปัจจุบันหาดอกจันทร์ได้ยาก ลวดลายเส้นลายดอกเตย จึงไม่ค่อยพบเห็นดอกไม้ชนิดนี้ ชาวลับแลจึงนำ� ลวดลายที่พบเห็นมาประดิษฐ์เป็นลาย ประกอบ ในงานผ้าทอต่างๆไม่ว่าจะเป็นหน้าหมอน ผ้า สไบ ผ้าห่มหัวเก็บ ถุงกุลาและอื่นๆมีลักษณะ โดยรวมเป็นดอกไม้ที่มีกลีบทั้งหมด 8 กลีบ ลวดลายเส้นลายหนามเตย
112
ลายดอกเคี๊ ย ะเป็ น ลวดลายที่ มี รู ป แบบจากพืชที่มีอยู่ตามป่า ชาวลับแลในอดีต สามารถพบเจอในชีวิตประจำ�วันเช่นเดียวกับ ลายผักกูด หรือ ลายหนามเตย จึงนำ�ลวดลาย ที่พบเห็นมาประดิษฐ์เป็นลวดลายของซิ่นตีนจก และพัฒนากลายมาเป็นซิ่นเคี๊ยะ มีลักษณะ คล้ายเครือเถามีดอกแซงซ้ายและขวา
ลวดลายเส้นลายแปดขอ
ลวดลายเส้นลายสิบสองขอ ล า ย พ า น เ ป็ น สิ่ ง ข อ ง เ ค รื่ อ ง ใ ช้ ที่ ลวดลายเส้นลายดอกเคี๊ยะ เกี่ ย วข้ อ งกั บ ศาสนาหรื อ พิ ธี ก รรมจึ ง พบ ลวดลายพานในผ้าปกขันหมากซึ่งเป็นผ้าที่ใช้ ลวดลายอื่นส่วนใหญ่อยู่ในรูปแบบของ ในพิธีกรรมสำ�คัญ แสดงถึงพิธีกรรม ความ เรขาคณิตมีการพัฒนาและดัดแปลงจากสิ่งที่ ศรัทธาต่อพุทธศาสนา รวมถึงผีสางเทวดา ผี พบเห็นในชีวิตประจำ�วัน ดูจากภาพประกอบดัง บรรพบุรุษ ต่อไปนี้เช่น ลายขอเป็นลายเราขาคณิตซึ่งผ้าทอ ของไทจะนิ ย มที่ มี ล ายขอและมีพัฒ นาการมา การลายพรรณพฤกษามีลักษณะคล้ายผักกูดที่ มีลักษณะโค้งงอเหมือนขอผักกูดซึ่งยังมีความ หมายถึงความอุดมสมบูรณ์ของเมืองลับแลที่มี ลวดลายพาน ลักษณะเป็นป่าเขา มีห้วย มีผักกูดขึ้น มีหลาย ลายสำ � เภาพบในลายจกของซิ่ น ตี น รูปแบบทั้งลายสี่ขอ ลายแปดขอ ลายสิบสองขอ ตำ�แหน่งถัดจากลายเครือวัลย์ที่คั่นระหว่างหัว หรือที่เรียกว่าลายเกล็ดถวา กับตัวซิ่นและตัวกับตีนซิ่นตีนจกลับแลโบราณมี ลักษณะเป็นนกสองตัวหันหน้าเข้าหากันอยู่บน เรือหรือสำ�เภาแสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ ลวดลายเส้นลายสี่ขอ
113
ลวดลายเส้นลายสำ�เภา ลายแจกันดอกไม้ พบลวดลายแจกัน ดอกไม้ในผ้าปกขันหมากเช่นเดียวกับลวดลาย พานซึ่งผ้าปกขันหมากเป็นผ้าที่ใช้ในพิธีกรรม สำ�คัญเช่นงานบวช งานขึ้นบ้านใหม่ งาน แต่งงาน เป็นต้นอันแสดงถึงพิธีกรรม ความ ศรัทธาต่อพุทธศาสนา รวมถึงผีสางเทวดา ผี บรรพบุรุษ
ลวดลายที่ปรากฏในผ้าทอลับแลส่วน ใหญ่จะอยู่ในรูปแบบเราขาคณิตซึ่งวิธีการทอ จะยากง่ า ยต่ า งกั น ไปขึ้ น อยู่ กั บ ความชำ � นาญ ของช่างทอที่ประประดิษฐ์ลวดลายที่พบเห็นใน ชีวิตประจำ�วันมาทอเล่าเรื่องราวลงบนผืนผ้า เป็นลวดลายที่สืบทอดกันมาแต่โบราณที่แม่ขา ได้ อ บรมสั่ ง สอนมาสู่ รุ่ น แม่ จ นมาถึ ง รุ่ น หลาน อีกทอดหนึ่งนับว่าการทอผ้าเป็นการถ่ายทอด องค์ ค วามรู้ จ ากรุ่ น สู่ รุ่ น ที่ ไ ม่ เ พี ย งแต่ แ สดงถึ ง ประวั ติ ศ าสตร์ ข องกลุ่ ม ชนกั บ ความสั ม พั น ธ์ ของวั ฒ นธรรมที่ ใ กล้ เ คี ย งกั น แล้ ว ยั ง บ่ ง บอก ถึงความเพียรของสตรีชาวลับแลที่ทอผ้าด้วย ความอดทนใช้ความวิริยะกว่าจะสามารถทอผ้า ผืนหนึ่งออกมาเป็นลวดลายที่บรรจงงดงามได้ อย่างที่เห็น
ลวดลายเส้นลายแจกันดอกไม้ ลายก่ อ งข้ า วพบลวดลายก่ อ งข้ า ว ในผ้ า ห่ ม หั ว เก็ บ มี ลั ก ษณะคล้ า ยลายขอที่ มี พั ฒ นาการมี จ ากผั ก กู ด แสดงถึ ง ความอุ ด ม สมบูรณ์
ลวดลายก่องข้าว
114
กี่ทอผ้าใต้ถุนบ้านของชาวลับแล
การทอผ้ า ไม่ เ พี ย งแต่ มี ค วามงดงาม ความประณีต หรือการสืบทอดวัฒนธรรมจาก บรรพบุ รุ ษ เท่ า นั้ น ยั ง สามารถแสดงถึ ง ความ เพียร ความอดทนของหญิงสาวซึ่งการทอผ้า ถือเป็นการขัดเกลาของลูกผู้หญิงและเป็นคติ ความเชื่ อ ของชาวลั บ แลที่ มี ต่ อ บรรพบุ รุ ษ ซึ่ ง ในปัจจุบันสิ่งเหล่านี้ได้ถูกกลืนตามวัฒนธรรม สมัยใหม่ ผ้าทอพื้นเมืองถูกลดบทบาทหน้าที่ ลงแทนที่ด้วยเสื้อผ้าสำ�เร็จรูป สิ่งเหล่านี้กลาย มาเป็นของตกแต่งประดับโรงแรม ห้างร้าน หรือถูกเก็บไว้ในตู้มากกว่าที่จะนำ�มาใช้ในชีวิต ประจำ�วัน อีกทั้งการทอผ้าของหญิงสาวจาก ที่ย่า ยาย หรือแม่สอนนั้นแทบจะไม่หลงเหลือ ให้เห็น เป็นการปลูกจิตสำ�นึกให้ชาวลับแลเกิด ความภาคภู มิ ใ จและหวงแหนภู มิ ปั ญ ญาของ บรรพบุ รุ ษ ก่ อ นที่ ยุ ค สมั ย จะทำ � ให้ วั ฒ นธรรม เหล่านี้เปลี่ยนแปลงและถูกกลืนกินไปจนหมด สิ้น เหล่านี้เป็นสิ่งบ่งบอกความเป็นไทยวนและ ลาวเวียงจันทน์ของชาวลับแลได้ดี แสดงออก ในงานผ้าทอซึ่งเป็นมรดกร่วมทางวัฒธรรมที่มี ความสัมพันธ์กันทั้งอิทธิพลที่ส่งต่อหรือแม้แต่ รูปแบบที่ต่างกัน ดังนั้นผ้าทอลับแลจึงเป็นการ ผสมผสานวั ฒ นธรรมทั้ ง สองเข้ า ไว้ ด้ ว ยกั น เพราะความหลากหลายของวัฒนธรรมทำ�ให้ ไม่อาจรักษารูปแบบดั้งเดิมของขนบธรรมเนียม ประเพณีของตนไว้ได้ การผสมผสานกลมกลืน ทางวัฒนธรรมจึงเกิดขึ้นเป็นเอกลักษณ์ของชาว ลับแลในที่สุด
ซุ้มประตูทางเข้าเมืองลับแล
อ้างอิง
1
ทรงพล ศิวานนท์, การออกแบบประยุกต์ลวดลาย ตีนจกอำ�เภอลับแล (เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2538), หน้า 1– 2.
115
116
รูปแบบศิลปกรรมปราสาทศพ
อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่ ศรสวรรค์ ปินะกาสัง
ปราสาทศพ เกิดจากความเชื่อของคนในอดีตที่มีความเชื่อ ว่า หากผู้ใดได้สถิตหรือได้อยู่ปราสาทนั้นจะได้อยู่บนสรวงสวรรค์ เป็นเทวดานางฟ้าที่มีความสุข ไม่ตกนรก การสร้างปราสาทศพ และเผาไปพร้อม ๆ กับผู้ตาย จึงหมายถึงการได้ส่งวิญญาณของผู้ ตายให้ได้สถิต ณ สวรรค์ หรืออีกนัยหนึ่งก็ทำ�เพื่อภพหน้าผู้ตายจะ ได้มีที่อยู่ที่สวยงาม
117
การทำ�ปราสาทศพ ไม่มีหลักฐานที่แน่ชัด ว่ามีการเริ่มทำ�ขึ้นเมื่อใด หากแต่พบว่ามีการ ใช้วิมาน พิมาน หรือบุษบก ซึ่งเป็นต้นแบบ ของปราสาทศพในปัจจุบันนี้ จากพงศาวดาร โยนกว่า มีขึ้นปลายราชวงศ์มังรายครองเมือง เชียงใหม่ โดยวัตถุประสงค์ในการใช้ปราสาท ศพ แต่เดิมที่ใช้สำ�หรับกษัตริย์ ชนชั้นปกครอง นั้นใช้เพื่อเป็นที่พำ�นักอาศัยภายหลังชีวิตหลังค วามตาย ต่อมาจึงได้มีการใช้ในพิธีการปลงศพ ของพระภิกษุและเจ้านาย จนแพร่หลายไปสู่ ชาวบ้านสามัญชน1 บุษบกปราสาท (ปราสาทศพ) ถือเป็นองค์ประกอบหลักของประเพณี เผาศพปราสาท ลักษณะโดยทั่วไปมักทำ�เป็น รูปทรงปราสาท หรือทรงจัตุรมุขที่มีหลังคาลด หลั่นเป็นชั้น ๆ ไม่มีการปิดผนัง อาจมีผ้าม่าน ห้อยประดับอยู่ข้างเสา โดยมีเสาตั้งรับเป็นช่วง ๆ และมีฐานรองรับอีกชั้นหนึ่ง วัสดุที่ใช้ในส่วนโครงสร้าง เป็นไม้เนื้อ อ่อนที่ไหม้ไฟง่าย ส่วนประดับตกแต่งจะใช้ กระดาษสีตัดฉลุ ประดับเป็นลวดลายต่าง ๆ อย่างสวยงาม บุษบกปราสาท ถือเป็นสัญลักษณ์แทน เขาพระสุเมรุ อันเป็นแกนกลางของจักรวาล ตามคติไตรภูมิ แต่ในคติระดับชาวบ้านถือว่า บุษบกปราสาทเป็นการจำ�ลองวิมานบนสวรรค์ มาใช้กับผู้ตาย โดยเชื่อว่าการเผาศพปราสาท จะส่งผลให้วิญญาณของผู้ตายได้ขึ้นไปเสวยสุข บนสรวงสวรรค์2
รูปแบบปราสาทศพที่พบภายในอำ�เภอ สันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ สมัยการทำ�ปราสาทศพ ชาวบ้านใน หมู่บ้านมาช่วยกันทำ� ไม่มีจำ�หน่ายเป็นธุรกิจ เหมือนในปัจจุบัน ซึ่งมีความเชื่อว่า ทำ�ปราสาท ให้ญาติผู้ตายแล้วจะได้บุญกุศล ฉะนั้นปราสาท ในอดีตจะมีความละเอียดปราณีตสวยงามมาก แต่ในปัจจุบัน เรื่องของรายละเอียดลวดลาย รวมทั้งเครื่องเคราต่าง ๆ ของปราสาทถูกตัด ทอนลง เพื่อความสะดวกในการผลิต และที่ สำ � คั ญ คื อ เรื่ อ งเกี่ ย วกั บ ผลประโยชน์ ใ นทาง พาณิชย์ เพื่อธุรกิจเป็นสำ�คัญ ดังนั้น อะไรที่พอ จะประหยัดต้นทุนได้ก็จะทำ� จึงทำ�ให้ปราสาท ในปัจจุบันลดความงามลง เมื่อเปรียบเทียบ กับอดีต แต่ในปัจจุบันก็ยังคงไว้ซึ่งโครงสร้าง ลักษณะในส่วนที่สำ�คัญ ๆ ไว้ ไม่มีการ เปลี่ยนแปลงหรือ ถูกตัดทอนออก
118
ทรงกระโจม ปราสาทศพรูปแบบนี้ ถือว่าเป็นต้น แบบ หรือลักษณะของปราสาทในระยะแรก ๆ ที่มีการสร้างปราสาทขึ้นมา ซึ่งปราสาท ทรงกระโจมพัฒนามาจากแมวควบ (แมว ครอบ) ที่คลี่คลายมาเป็นทรงกระโจมใน ปัจจุบัน ปราสาทในรูปแบบนี้นิยมกันมากใน อดีต เนื่องจากสะดวกในการสร้าง และใช้วัสดุ ไม่สิ้นเปลืองเป็นการประหยัดไปในตัว อีกทั้ง ยังสวยงาม และตกแต่งลวดลายได้ง่าย ในส่วน ฐานจะเป็นฐานธรรมดา ที่เรียกว่า “ฐานคอก หมู” มีลักษณะเป็นฐานซ้อนชั้นกันสองชั้นเรียบ ๆ ไม่มีการย่อมุมใด ๆ ทั้งสิ้น จึงง่ายต่อการทำ� และการตกแต่งลวดลาย โดยส่วนบนสุดเป็น ยอดปราสาท มีลักษณะเป็นทรงจอมแหชะลูด ขึ้นไป ยอดบนสุดเป็นรูปดอกบัวตูม
ทรงจั่วชั้นเดียวสี่ด้าน ปราสาทศพรูปแบบนี้เริ่มมีวิวัฒนาการ และพัฒนารูปแบบจากทรงกระโจม มาเป็นทรง ปราสาทมีจั่วแบบในงานจิตรกรรมที่ชาวบ้าน มักจะพบเห็นจากผนังวิหาร ผนังโบสถ์ตามวัด ต่าง ๆ และด้วยความคิดที่ว่าปราสาทเป็นที่อยู่ ของเทวดานางฟ้าที่อยู่บนสวรรค์ ด้วยความ ต้องการที่จะให้ผู้ตายได้ขึ้นสวรรค์ จึงสร้าง ปราสาทรูปแบบนี้ขึ้นมาตามที่เคยเห็นในภาพ จิตรกรรมฝาผนังของวัดในส่วนของหลังคา ที่ เริ่มมีพัฒนาการมาเป็นทรงจั่วที่มีลักษณะเป็น จัตุรมุข คือมีจั่วสี่ด้าน ตามศัพท์ที่ช่างเรียกกัน นั้น เรียกว่า ปราสาท 1 ชั้น 4 ด้าน เสา 8 ต้น ซึ่งจะพบเห็นว่ามีเสาอยู่จำ�นวนแปดต้น เรียงคู่ กันสี่คู่ ในส่วนฐานนิยมใช้ฐานธรรมดา ถือเป็น ปราสาทที่ทำ�ยากขึ้นจาก ปราสาททรงกระโจม และมีราคาสูงกว่า
หลังคาทรงกระโจม
หลังคาทรงจั่วชั้นเดียวสี่ด้าน
119
ทรงจั่วสองชั้นสี่ด้านฐานธรรมดา ปราสาทศพทรงนี้ในศัพท์ของช่าง เรียก ว่า ปราสาทสองชั้น สี่ด้าน เสาแปดต้น เป็น ปราสาทที่มีลักษณะ หลังคาซ้อนชั้น สองชั้น เป็นจัตุรมุข โดยบริเวณฐานปราสาทจะไม่มีการ ย่อมุม จึงเรียกกันว่า ฐานธรรมดา (ฐานคอก หมู) ปราสาทรูปแบบนี้ มีทรวดทรงคล้ายกับ ปราสาทรูปทรงกระโจม และรูปแบบทรงจั่ว ชั้นเดียวสี่ด้าน คือ ในส่วนของฐานล่าง และ ส่วนของตัวปราสาทที่มีลักษณะเป็น ฐานแบบ ธรรมดา หรือฐานคอกหมู อีกทั้งตัวปราสาท ที่มีเสา 8 ต้น เรียงคู่ขนานกันตามความยาว ของส่วนฐาน ปราสาทรูปแบบทรงจั่วสองชั้นสี่ ด้านฐานธรรมดา จะต่างจากรูปทรงอื่น ๆ คือ ในส่วนของหลังคาจะมีลักษณะเป็นหลังคาจั่ว ซ้อนชั้นกันสองชั้นขึ้นไป โดยมีเสารองรับน้ำ� หนักเพียงแปดต้นเท่านั้น โดยในส่วนปลียอดก็ มีลักษณะที่เหมือนกับปราสาทรูปแบบอื่นทุก ประการ
ทรงจั่วสองชั้นสี่ด้านฐานย่อมุม ตามศัพท์ช่างเรียกปราสาทลักษณะนี้ ว่า ปราสาท สองชั้น สี่ด้าน เสา 12 ต้น โดยมี ลักษณะเป็นปราสาทหลังคาซ้อนชั้น สองชั้น บริเวณฐานใช้ฐานที่มีการย่อมุม บริเวณเสาจะ จัดวางให้มีลักษณะตามส่วนย่อมุมของฐาน โดย มีเสาจำ�นวน 12 ต้น ปราสาทรูปแบบนี้ มีทรวงทรงคล้ายกับ ปราสาททรงจั่วสองชั้นสี่ด้านฐานธรรมดามาก ลักษณะโดยทั่วไป คือ ในส่วนของฐานล่างนิยม สร้างแบบฐานธรรมดาแต่เพิ่มการย่อมุมเข้าไป ด้วย ชั้นบนขึ้นไปจะมีส่วนของตัวปราสาทที่มี เสาอยู่ 12 ต้น เรียงคู่ขนานตามความยาวของ ฐาน 4 คู่ และที่บริเวณเสาคู่กลางจะมีเสาย่อมุม อีกด้านละ 1 คู่ ซึ่งในส่วนของหลังคา และปลี ยอดจะเหมือนกับปราสาทรูปแบบจั่วสองชั้นสี่ ด้านฐานธรรมดาทุกประการ
หลังคาทรงจั่วสองชั้นสี่ด้าน
120
ทรงจั่วสามชั้นสี่ด้าน ทรวดทรงโดยรวมจะคล้ายกับปราสาท ทรงจัตุรมุขทั่วไป ซึ่งมีหลังคาซ้อนชั้นสามชั้น ปลียอดมีลักษณะเป็นทรงจอมแหสูงชะลูดขึ้น ไป ในส่วนบนสุดเป็นรูปคล้ายดอกบัวตูมมักจะ ใช้ประกอบร่วมในพิธีศพกับนกหัสดีลิงค์ ซึ่งมัก ใช้ในงานพิธีศพของพระชั้นผู้ใหญ่ มีลักษณะเป็นปราสาทหลังคาซ้อนชั้นสามชั้น เป็นทรงจัตุรมุข ที่บริเวณฐานมีการย่อมุม มักใช้ เป็นฐานแท่นแก้ว มีลักษณะคล้ายกับฐานแท่น พระในวิหารมาก ปราสาทในลักษณะนี้นิยมใช้ กันในกลุ่มคนที่มีฐานะปานกลางจนถึงมีฐานะดี เพราะมีราคาสูงขึ้นมาจากปราสาทรูปแบบทรง แรก ๆ ที่ได้กล่าว
ส่วนประกอบที่สำ�คัญของปราสาทศพ
การสร้างปราสาทศพ จะต้องมีทั้ง ลวดลาย รวมไปถึงส่วนประกอบอื่น ๆ อีก เพื่อจะได้ปราสาทศพที่มีความสวยงาม และ สมบูรณ์แบบมากที่สุด ส่วนประกอบต่าง ๆ ที่จะใช้ประดับ ตกแต่งปราสาท ล้วนทำ�ขึ้นมาจากกระดาษ ซึ่ง มีคุณสมบัติ และคุณลักษณะที่แตกต่างกันไป เมื่อประดิษฐ์ส่วนประกอบต่าง ๆ เสร็จแล้ว จึง นำ�ไปประกอบเข้ากับปราสาทศพเป็นขั้นตอน สุดท้ายก่อนการตกแต่งอีกครั้งหนึ่ง โก่งคิ้ว เป็ น ส่ ว นประกอบที่ สำ � คั ญ อย่ า งหนึ่ ง ของปราสาทศพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งรูปแบบ ปราสาทศพทรงจั่วสองชั้นสี่ด้านฐานย่อมุม และ ปราสาทศพทรงจั่วสามชั้นสี่ด้าน ซึ่งจะมีราย ละเอียดมากกว่าปราสาทศพรูปแบบอื่นๆ การ ใช้โก่งคิ้วในปราสาทศพ อาจมาจากการพบเห็น โก่งคิ้วที่บริเวณโบสถ์ วิหารตามวัดต่างๆในล้าน นา ที่พบเห็นได้ในชีวิตประจำ�วันของช่าง (สล่า) จึงได้คิดดัดแปลงหรือนำ�ลักษณะของโก่งคิ้วมา ประดับไว้กับปราสาทศพด้วย
โครงสร้างหลังคาทรงจั่วสามชั้นสี่ด้าน โก่งคิ้ว
121
ช่อฟ้า เป็นส่วนประกอบที่ขาดไม่ได้อย่างเด็ด ขาด สำ�หรับปราสาทศพแบบที่มีจั่ว คือจะต้อง ประดับด้วยช่อฟ้าในทุกๆจั่ว การใช้ช่อฟ้าร่วม กับปราสาทศพ สืบเนื่องมาจากความคิดที่ว่า ปราสาทเป็นที่อยู่ของบุคคลชั้นสูง จึงมีการ ประดับประดาช่อฟ้า และเมื่อเกิดการตายขึ้น โดยญาติได้ฌาปนกิจผู้ตายในปราสาท แสดง ถึง ความต้องการให้ผู้ตายได้ขึ้นสวรรค์ หรือ ไปสู่สุขคติภูมิ โดยได้อยู่ภายในปราสาทซึ่งเป็น ที่อยู่ของเหล่าเทพ เทวดา นั่นเอง เมื่อมีการใช้ ช่อฟ้าในปราสาทศพ ก็จะต้องมีใบระกา-หาง หงส์ในบริเวณเดียวกันอย่างแน่นอน เพราะถือ ได้ว่า เป็นสูตรสำ�เร็จของการประดับตกแต่ง ของไทยก็ว่าได้
ผ้าม่าน ที่ใช้ประดับตกแต่งปราสาทศพ นิยมใช้ ผ้าม่านลูกไม้ เนื่องจากมีคุณสมบัติที่โปร่งและ สวยงาม ซึ่งคุณสมบัติที่น่าสนใจ คือ ลวดลาย ของผ้าม่านที่เป็นลูกไม้ มีลักษณะคล้ายลาย ไทย หรือลายดอกไม้ ซึ่งมีลักษณะเข้ากับรูป แบบของปราสาทศพได้เป็นอย่างดี
ใบระกา – หางหงส์ นอกจากจะพบว่า “หางหงส์” ประดับ อยู่บริเวณจั่ว หรือปลายสุดของป้านลมแล้ว ยัง พบการใช้ “หางหงส์” ประดับตกแต่งในบริเวณ ส่วนยอดของปราสาทศพอีกด้วย โดยใช้ตกแต่ง ที่บริเวณมุมของชั้นฐานยอด ซึ่งก่อให้เกิดความ งดงามที่สมบูรณ์แบบ กาบเสา มักจะพบอยู่บริเวณโคนเสาทุกต้น ถือ เป็ น ส่ ว นประดั บ ตกแต่ ง ที่ ข าดไม่ ไ ด้ สำ � หรั บ ปราสาทศพทุกหลัง มีลักษณะคล้ายกับกาบ กล้วย สาเหตุที่นิยมประดับกาบเสา มาจากการ ประยุกต์จากธรรมชาติก็และช่วยลดความแข็ง กระด้างของเสาที่มีลักษณะตั้งตรงให้ดูบอบบาง ลง
122
ช่อฟ้า
ใบระกา
กาบเสา
หางหงส์
กระจัง ถื อ เป็ น ส่ ว นประกอบที่ เ ป็ น ส่ ว นช่ ว ย ประดั บ ตกแต่ ง ให้ ห ลั ง คาของปราสาททุ ก รู ป แบบดูสมบูรณ์และสวยงาม มีลักษณะเป็นลาย ซี่สลับฟันปลา ในส่วนที่เป็นลวดลายคล้ายกับ ลายกาบบัวของบริเวณเสา แต่มีลักษณะซ้อน ทับสับหว่างกัน ใบโล มั ก จะพบคู่ กั บ กระจั ง โดยใบโลจะ มีหน้าที่สับระหว่างกระจังเพื่อให้แลดูมีจังหวะ สวยงาม มีลักษณะคล้ายกับลายดอกบัวตูมที่ มีกลีบดอกซ้อนชั้นลดหลั่นกันไป โดยมีฐานแผ่ กว้างออก ซึ่งถือเป็นจุดที่ใช้สังเกตความแตก ต่างระหว่างลายดอกบัวตูมกับใบโลได้ง่าย คันทวย เนื่ อ งมาจากรู ป ทรงของปราสาทศพ ที่มีลักษณะเป็นเรือนจั่วซ้อนชั้น คล้ายกับ โบสถ์วิหารของวัด เพื่อทำ�หน้าที่ถ่ายเทน้ำ� หนักหรือค้ำ�ยันชายคา โบสถ์ วิหารต่าง ๆ ดัง นั้นจึงปรากฏคันทวยอยู่เสมอถึงแม้ว่า ไม่มี หน้าที่ใช้สอยก็ตาม คันทวยที่ใช้ประดับตกแต่ง ปราสาทศพ มีโครงสร้างทำ�ด้วยกระดาษ และ ลวดลายประดับตกแต่งก็ทำ�ด้วยกระดาษสีต่าง ๆ และด้วยลักษณะที่สวยงามของคันทวย จึง ช่วยทำ�ให้ปราสาทศพแต่ละหลังดูสวยงามและ สมบูรณ์แบบมากยิ่งขึ้น
ตุ้มห้อย
กระจัง
ใบโล
คันทวย ตุ้มห้อย มั ก อยู่ บ ริ เ วณหลั ง คาปราสาทศพทุ ก หลัง เพื่อเพิ่มความงาม และลดความแข็ง กระด้างของโครงสร้างของปราสาท เนื่องจาก เวลาที่มีการชักลากปราสาท ตุ้มห้อยจะไหว ตัวตามแรงชักลาก ทำ�ให้ปราสาทดูอ่อนไหว งดงามยิ่งขึ้น
123
การฉลุลาย
ลวดลายที่ ใ ช้ ใ นการตกแต่ ง ปราสาท ศพ มีวิวัฒนาการโดยน่าจะเริ่มจากลายพรรณ พฤกษา แล้วเกิดความคิดสร้างสรรค์จากสภาพ แวดล้อมรอบตัว นำ�มาดัดแปลงจนเป็นลวดลาย ต่างๆในปัจจุบัน ลายไหนที่นิยมและทำ�ได้ รวดเร็วก็จะเป็นลายที่ถูกนำ�มาตกแต่งมากที่สุด เพราะปัจจุบัน เวลาเป็นเรื่องสำ�คัญในการสร้าง ปราสาทศพเพื่อธุรกิจ ลวดลายส่ ว นใหญ่ จ ะถู ก ประดิ ษ ฐ์ ขึ้นตามความคิดสร้างสรรค์ของช่าง และปะ ติดตามความพอใจของช่าง แต่มักจะมีรูปแบบ ที่คล้ายๆกัน เช่น ลวดลายบริเวณหน้าบัน(หน้า แหนบ) ลวดลายบริเวณโก่งคิ้ว เป็นต้น สำ�หรับ บริเวณหน้าแหนบที่ใช้กันอยู่บ่อย ๆเป็นที่นิยม ได้แก่ ลายเทพพนม ลายช้างเอราวัณ ลายพุ่ม ข้าวบิณฑ์ เป็นต้น สำ�หรับบริเวณโก่งคิ้ว และ เหนือโก่งคิ้ว ก็มักจะเป็นลายหน้ากาฬ หรือลาย พรรณพฤกษา เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งที่นิยมกันอยู่ เพียงไม่กี่ลายเท่านั้น อาทิเช่น
ลายช้างเอราวัณ มีลักษณะเป็นภาพช้างเอราวัณ หรือ ช้างสามเศียร เพียงแต่ตัดทอนรายละเอียดที่ไม่ จำ�เป็นออกไป จากการที่ช้างเอราวัณถูกนำ�มา ประกอบบริเวณ “หน้าแหนบ” นี้ เนื่องจาก ช้าง เอราวัณเป็นช้างทรงของพระอินทร์ นั่นเอง
ลายพรรณพฤกษา มีลักษณะเป็นลวดลายพรรณพฤกษา เช่น ดอกไม้ เถาไม้ ดอกพุดตาล ดอกบัว เป็นต้น ถื อ ได้ ว่ า มี ลั ก ษณะที่ เ ป็ น เอกลั ก ษณ์ ม ากที่ สุ ด หากจะมองในแง่ของช่างพื้นเมือง เนื่องจาก ในแถบล้ า นนานิ ย มประดิ ษ ฐ์ ล วดลายพรรณ พฤกษากันมากนั่นเอง ดอกบัวหรือดอกพุดตาน มักจะพบบริเวณฐานล่าง
ลายดอกจอก
ลายใบไม้ร่วง
ลายดอกลำ�ดวน
124
ลายเทพพนม มีลักษณะเป็นลายเทพพนม รูปแบบ คล้ายของภาคกลาง เพียงแต่ทำ�การตัดทอน ในรายละเอียดที่ไม่จำ�เป็นออกไป รูปแบบของ ลายเทพพนมที่ติดอยู่บริเวณ “หน้าแหนบ” มี ลักษณะเป็น เทวดาพนมมือบนเศียรสวมชฏา เบื้ อ งล่ า งจากบริ เ วณเอวลงไปเป็ น ลายกนก หรือลายพรรณพฤกษา โดยรูปแบบถูกกำ�หนด ลายเทพพนม ตามลักษณะของหน้าแหนบ คือ เป็นสามเหลี่ยม สีที่นิยมใช้คือ สีเขียว ซึ่งอาจสืบเนื่องมาจาก ความคิดความเชื่อเรื่องจักรวาลวิทยาก็เป็นได คือ ในส่วนของพระอินทร์ ผู้สถิตอยู่เหนือเขา พระสุเมรุ นั่นเอง ลายพุ่มข้าวบิณฑ์ มีลักษณะเป็นลายพุ่มข้าวบิณฑ์ คล้าย กับของภาคกลาง เพียงแต่ทอนในรายละเอียด ส่วนที่ซับซ้อนออกไป เพราะลายที่ได้นั้นต้อง ผ่านการฉลุกระดาษ หากรายละเอียดมากไป จะเป็นการยุ่งยากในขั้นตอนการผลิต
ลายพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ
ลายพุ่มข้าวบิณฑ์
ลายพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ มี ลั ก ษณะเป็ น ลายพระอิ น ทร์ ท รง ช้างเอราวัณ โดยรูปแบบมีลักษณะเป็นภาพ พระอินทร์ครึ่งตัว คือ ตั้งแต่เศียรลงมาถึงเอว ต่อมาเบื้องล่างเป็นหัวช้างเอราวัณ สันนิษฐาน ได้ว่าเป็นลวดลายที่ได้รับอิทธิพลจากภาคกลาง การสอบถามพบว่า ที่เป็นลายเทพพนม หรือ ลายพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ คงสืบเนื่อง มาจาก พระอินทร์เป็นเทพที่อยู่เหนือสุดเขา พระสุเมรุ และช้างเอราวัณก็เป็นพาหนะของ พระอินทร์ ดังนั้น จึงจัดวางให้ตำ�แหน่งอยู่สูง ขึ้นไป คือ อยู่ในบริเวณหน้าบัน สรุปแล้วเป็นไป ตามคติความเชื่อเกี่ยวกับ เขาพระสุเมรุนั่นเอง
125
สีที่ใช้กับปราสาทศพ
การใช้สีเป็นตัวบ่งบอกวัยของผู้ตาย ผู้ตายที่อายุน้อย ในระหว่างเด็ก วัย รุ่น มักจะนิยมใช้สีสด เช่น สีแดง, สีทอง, เขียว, เหลือง และสีชมพูสด เป็นต้น ผู้ตายที่มีอายุประมาณ 30-60 ปี มัก จะนิยมสีที่ไม่สดนัก หรือสีที่ไม่ฉูดฉาด เช่น สี ขาว, สีเงิน, สีน้ำ�เงิน, สีเหลือง และสีชมพูอ่อน เป็นต้น ผู้ตายที่เป็นผู้สูงอายุ มักนิยมใช้ ปราสาทสีขาว ซึ่งรวมไปถึงผ้าม่านสีขาว และ สีพื้นของปราสาทก็จะเป็นสีขาว สำ�หรับในส่วน ของลวดลายอาจใช้สีเงิน หรือสีทองประกอบ การใช้สีเพื่อเพิ่มความโดดเด่นให้ปราสาท การใช้สีในลักษณะนี้ มักจะนิยมใช้ สีฉูดฉาด เช่น สีแดง, สีเขียว, สีบานเย็น, สี ทอง และสีเงิน เป็นต้น โดย การนำ�สีเหล่านี้มา ทำ�การประดับตกแต่งทั้งในส่วนของสีพื้น และ ลวดลายประดับตกแต่ง ซึ่งมักจะใช้สีที่ตัดกัน เพื่อให้เกิดความเร้าใจ และดึงดูดสายตาให้โดด เด่น เช่น การใช้สีพื้นแดง และใช้สีทองในส่วน ของลวดลาย เป็นต้น การใช้สีเพื่อลดความแข็งกระด้าง จะพบการใช้สีในลักษณะนี้มาก ในส่วน ของตัวปราสาท คือ บริเวณผ้าม่าน ซึ่งเป็น ส่วนประกอบสำ�คัญของปราสาทศพ ผ้าม่าน ที่ใช้ประดับตกแต่งส่วนใหญ่จะมีสีที่ไม่ฉูดฉาด นัก คือ จะเป็นสีอ่อน ๆ เช่น สีขาว, สีเหลือง, สีชมพู, สีฟ้า เป็นต้น เนื่องจากสีดังกล่าว แลดู อ่อนหวานจึงเป็นการช่วยลดความแข็งกระด้าง ของปราสาทศพได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะความ แข็งกระด้างในส่วนของเสา เป็นต้น
ความเชื่อของการสร้างปราสาทศพ
เพื่อผลภายภาคหน้าต่อตัวผู้ตาย การเผาปราสาทไปพร้อมกับผู้ตาย คือ เพื่อ ให้ผู้ตายจะได้มีที่อยู่ ที่อาศัยต่อไปในภายภาค หน้า โดยที่อยู่อาศัยนั้นก็มีความสวยงามมี การประดับตกแต่งอย่างสวยงาม เหมือนกับ ปราสาทที่ได้เผาไปนั่นเอง เพื่อการได้ไปเกิดใหม่ในภพที่ดีกว่า การเกิดเป็นมนุษย์คือ การเกิดมาเพื่อชดใช้ กรรม ซึ่งเป็นความเชื่อในทางศาสนาพุทธ ดัง นั้น เมื่อเกิดการตายของบุคคลอันเป็นที่รัก จึง ได้มีการสร้างปราสาทขึ้นมาเพื่อให้เป็นที่อาศัย ในภาคภาคหน้า เพราะ ปราสาทไม่ได้เป็นที่ อาศัยของบุคคลธรรมดา แต่เป็นที่อยู่อาศัย ของผู้มีฐานันดรศักดิ์ชั้นสูง หรือ ในหมู่เทวดา บนสวรรค์ ซึ่งเป็นความเชื่อในทางศาสนาอีก เช่นกัน ดังนั้น เมื่อญาติผู้ตายได้ทำ�การเผาศพ ไปพร้อมๆ กับปราสาท หมายถึงเป็นการทำ�ให้ ผู้ตายผู้เป็นที่รักได้ไปเกิดใหม่ในภพที่ดีกว่า เช่น ไปเกิดบนสวรรค์ ซึ่งเป็นที่สถิตของเหล่าเทพ เทวดานั่นเอง
126
สัญลักษณ์ที่เกี่ยวข้องกับปราสาทศพ
ประเพณีเผาศพปราสาท แสดงถึง ความเชื่ อ พื้ น ฐานจากหลั ก ของพุ ท ธศาสนา ในบางส่วนอาจถือตามคติไตรภูมิ ที่มีระบบ จักรวาลเป็นแกนกลางหรืออาจถือตามระบบ ความเชื่อของท้องถิ่น เช่น เรื่องของการนับถือ ผีในกลุ่มคนในชนบท และอาจถือตามโลกทัศน์ ส่วนตัว ทำ�ให้เกิดรูปแบบของสัญลักษณ์แตก ต่ า งกั น ออกไปตามแนวความคิ ด ของแต่ ล ะ คน ซึ่งแสดงได้ออกมาผ่านทางรูปแบบของ สัญลักษณ์ นกหัสดีลิงค์ เป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ในป่าหิมพานต์ มี ลักษณะเป็นสัตว์ผสม ตัวเห็นหงส์ แต่ส่วน หัวเป็นช้าง มีขนาดใหญ่มาก และกินช้างเป็น อาหาร นกหัสดีลิงค์นี้สามารถบินได้สูงถึง สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เชื่อกันว่า เมื่อเผาศพด้วย บุษบกฐานนกหัสดีลิงค์แล้ว นกหัสดีลิงค์จะ เปรียบเสมือนเป็นพาหนะที่สามารถนำ�เอาดวง วิญญาณของผู้ตายขึ้นไปสู่สรวงสวรรค์ได้ สำ�หรับบุษบกฐานนกหัสดีลิงค์นั้น จะ ใช้ได้แต่เฉพาะพระสงฆ์ หรือผู้ครองนครเท่านั้น บุคคลธรรมดาไม่สามารถทำ�ได้ เพราะถือว่า เป็นขึด คือ เป็นเสนียดต่อผู้ตาย และผู้ทำ�ให้
สัตว์หิมพานต์ เ ป็ น สั ญ ลั ก ษ ณ์ ป ร ะ ก อ บ ใ น ส่ ว น ประกอบหลัก โดยเป็นการแสดงให้เห็นตามคติ จักรวาลอันมีเขาพระสุเมรุเป็นศูนย์กลาง และ มีป่าหิมพานต์อยู่เบื้องล่าง เพื่อแสดงให้เห็นถึง การเน้นระบบจักรวาลให้เด่นชัดยิ่งขึ้น ลักษณะ โดยทั่วไป จะทำ�เป็นโครงไม้ไผ่สาน หุ้มด้วย กระดาษสี โดยจะใช้ร่วมกับขบวนแห่ปราสาท ศพ หรือวางประดับรอบบุษบกปราสาทตั้งศพ และจะใช้เผาไฟพร้อมกับปราสาทนั้น สัตว์ประจำ�ปีเกิด นิยมทำ�ขึ้นเพื่อเป็นรูปสัญลักษณ์แทน ตัวผู้ตาย ถ้าผู้ตายเกิดในราศีใด ก็จะทำ�สัตว์ ประจำ�ตามราศีนั้น ๆ โดยส่วนใหญ่มักจะทำ� ในระดับตั้งแต่ พระสงฆ์ เจ้าเมือง จนถึงระดับ คหบดี ชาวบ้าน โดยทั่วไปมักไม่นิยมทำ�กัน แต่ จะมีเพียงบุษบกปราสาทเท่านั้น ในบางครั้งอาจ มีสัตว์ทั้ง 12 ราศี ร่วมขบวนลากปราสาท เพื่อ เป็นการแสดงฐานะหรือแสดงให้เห็นว่า ผู้ตาย เป็นผู้มีเกียรติ มีลูกศิษย์และผู้เคารพนับถือ มากมาย
127
ซึ่งในอดีตการทำ�ปราสาทศพ คนใน หมู่บ้านจะมาช่วยกันทำ� ไม่มีขายเหมือนใน ปัจจุบัน ซึ่งคนสมัยก่อนจะมีความคิดที่ว่าเมื่อ ทำ�แล้วจะได้บุญกุศล ด้วยเหตุนี้ปราสาทศพ ในอดีตจะมีความละเอียดงดงามมาก หากใน ปัจจุบันเรื่องของรายละเอียดของลวดลายรวม ถึงเครื่องเคราต่าง ๆ ของปราสาทถูกตัดทอน ลง เพื่อความสะดวก และที่สำ�คัญคือเรื่องเกี่ยว กับผลประโยชน์ในทางพาณิชย์เพื่อธุรกิจเป็น สำ�คัญ จึงทำ�ให้ปราสาทศพในปัจจุบันลดความ งามลงเมื่อเปรียบเทียบกับอดีต ทว่าการทำ�ใน ปัจจุบันก็ยังคงไว้ซึ่งโครงสร้างลักษณะในส่วนที่ สำ�คัญ ๆ ไว้ไม่ให้มีการเปลี่ยนแปลงหรือถูกตัด ทอนออก และนอกจากนี้ด้วยสภาพเศรษฐกิจ และการรณรงค์เรื่องภาวะโลกร้อน จึงทำ�ให้ ปราสาทศพในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงจากในอดีต คือ มีการเปลี่ยนจากปราสาทศพ เป็นเก้าอี้ที่นำ� มาประกอบเป็นปราสาท เป็นเต็นท์ผ้าใบ เป็น ศาลาไม้ เนื่องจากสิ่งของเหล่านี้เมื่อถูกใช้แล้ว แทนที่จะเผาก็สามารถนำ�กลับมาใช้ประโยชน์ ได้อีก โดยมากจะถวายวัดเพื่อใช้ในงานต่างๆ คนจึงนิยมเลือกปราสาทแบบใหม่นี้เพิ่มมากขึ้น ในปัจจุบัน
อ้างอิง
1
บุญคิด วัชรศาสตร์, อานิสงส์เสียศพ, (เชียงใหม่ : โรง พิมพ์ธารทอง, ม.ป.พ.), หน้า 11-28. 2 สารคดี ปราสาทเขาพระสุเมรุ. ในงานศพเจ้าทิพย วรรณ ณ เชียงตุง. หนังสือ “บ้านและสวน”, ปีที่ 14 ฉบับที่ 163 มีนาคม 2533, หน้า 203-207.
128
129
130
ภาพสถาปัตยกรรม
ในตุงค่าวเมืองลำ�ปาง สุขธรรม โนบาง
ภาพจิตรกรรมอันทรงคุณค่าที่ได้รังสรรค์ผ่านงานพุทธศิลป์ ในตุงค่าว หรือภาพพระบฎ ถือเป็นเป็นหลักฐานที่แสดงให้เห็น ถึงภูมิปัญญาความคิดสร้างสรรค์ด้านศิลปะฝีมือช่างและความ ศรั ท ธาต่ อ พระพุ ท ธศาสนาสื่ อ ออกมาในรู ป แบบภาพเล่ า เรื่ อ ง สะท้อนถึงลักษณะวิถีชีวิตคติความเชื่อและความเปลี่ยนแปลงของ บ้านเมืองแต่ละยุคแต่ละสมัย รวมไปถึงภาพสถาปัตยกรรมอันเป็น องค์ประกอบหลักที่สอดคล้องกับเรื่องราวชาดกที่เขียนในตุงค่าว เป็นลักษณะรูปแบบเฉพาะตัว โดยภาพสถาปัตยกรรมนั้นจะพบถึง ความหลากหลายของรูปแบบ และเทคนิควิธีการนำ�เสนอของช่าง ผู้รังสรรค์ ซึ่งความหลากหลายของภาพเขียนสถาปัตยกรรมนั้นมี การสะท้อนภาพทางสังคมและวัฒนธรรมในอดีตได้เป็นอย่างดี
131
ตุงค่าว หรือภาพพระบฏบอกเล่าเรื่อง มหาชาติชาดก1 อันเป็นมหาชาติที่ยิ่งใหญ่ ของพระโพธิ สั ต ว์ ที่ ไ ด้ เ สวยพระชาติ เ ป็ น พระ เวสสันดรและเป็นพระชาติสุดท้ายก่อนจะตรัสรู้ เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ภาพพระบฏเป็น ภาพจิตรกรรมของภาคเหนือ นิยมเขียนเป็น ภาพเล่าเรื่องพระพุทธเจ้า ซึ่งค่าว หมายถึง เรื่องราวที่เล่าถึงพระเวสสันดรชาดก 13 กัณฑ์ เขียนภาพลงบนผืนผ้า ใช้สีสันที่มีความ สวยงามตามจินตนาการของช่าง เพื่อ ใช้ ป ระกอบการฟั ง เทศน์ ม หาชาติ ใ ห้ เกิดความเข้าใจและซาบซึ้ง เชื่อม โยงกั บ ความเชื่ อ อานิ ส งส์ ส ร้ า งมหา เวสสั น ดรชาดกของล้ า นนาไทยตาม ที่โบราณาจารย์ท่าน ได้แต่งไว้อีก ประการหนึ่งท่านกล่าวว่า “บุคคลใด ตั้งใจฟังธรรมมหาชาติจนจบ 13 กัณฑ์ ภายในวันหนึ่งคืนหนึ่ง ท่านว่าผู้นั้นจะ วุฒิจำ�เริญด้วยสมบัตินานาประการใน ปัจจุบัน และจะได้เกิดร่วมศาสนาพระ ศรีอริยเมตไตรยในอนาคต” การฟัง เทศน์มหาชาติรวมถึงการสร้างตุงค่าว หรือพระบฎจึงเป็นที่นิยมปฏิบัติสืบต่อ กันตั้งแต่สมัยโบราณมา สถานที่พบตุงค่าวที่มีความสำ�คัญ ในอำ�เภอเมืองจังหวัดลำ�ปางจะถูกเก็บ รักษาไว้ ได้แก่ วัดปงสนุกเหนือ ตั้งอยู่ ณ หมู่บ้านปงสนุก ตำ�บลเวียงเหนือ อำ�เภอเมือง จังหวัดลำ�ปาง แต่เดิมเป็น วัดที่มีอาณาบริเวณกว้างต่อมามีการ แบ่งเขตการปกครองออกเป็นสองส่วน คือวัดปงสนุกเหนือ และวัดปงสนุกใต้ นอกจากนี้ยังมีการสร้างภูเขาจำ�ลอง
ระหว่างวัดปงสนุกทั้งสองเรียกว่า ม่อนดอย หรือวัดบนซึ่งเปรียบเทียบได้จากการจำ�ลองเขา พระสุเมรุศูนย์กลางแห่งจักรวาล งานจิตรกรรม พระบฎของวัดปงสนุกเหนือที่พบมีทั้งหมด 59 ผืน สามารถแบ่งออก ออกเป็น 2 ชุด ได้แก่ชุด ที่เขียนโดยวัสดุกระดาษสา จำ�นวน 35 ผืน และ ชุดที่เขียนโดยใช้ผ้าเป็นวัสดุ จำ�นวน 24 ผืน วัดลำ�ปางกลางตะวันออกตั้งอยู่บ้านลำ�ปาง
132
ตุงค่าว วัดปงสนุกเหนือ กัณฑ์นคร
นิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ 1 ไร่ 25 ตารางวา วัดบ้านสักสร้างเมื่อ พ.ศ. 2200 ได้รับพระราชทาน วิสุงคาม สีมาวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2505 ปู ช นี ย วั ต ถุ มี พ ระพุ ท ธรู ป ก่ อ อิ ฐ ถือปูน ปางมารวิชัยและพระพุทธ รูปทองเหลืองศิลปะเชียงแสน และ พบตุ ง ค่ า วโบราณอั น ทรงคุ ณ ค่ า จำ�นวน 25 ภาพ วัดปงสนุก
กลาง ตำ�บลชมพู อำ�เภอเมือง จังหวัดลำ�ปาง วัดลำ�ปางกลางฝั่งตะวันออกสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2263 นามเดิมชื่อว่าวัดลำ�ปางกลางไชยแก้ว กว้างหางเมืองนคร สร้างโดยการนำ�ของพระครู มณีวรรณ และพระยาธัมกิตติ พระยาธรรม เลิศ และท้าวอินต๊ะ และชาวบ้านช่วยกันสร้าง ขึ้นไว้เพื่อจะเป็นสถานที่ในการประกอบกิจทาง ศาสนา โดยสร้างไว้ติดกับริมแม่นำ�วัง ซึ่งแต่ เดิ ม เป็ น แหล่ ง ที่ มี ค วามสำ � คั ญ ทางเศรษฐกิ จ โดยเฉพาะเป็ น ท่ า ในการทำ � การ ค้าขาย ขนส่งสินค้า เป็นศูนย์กลาง วัดบ้านสัก การค้ า ขายในสมั ย โบราณทางเรื อ วัดลำ�ปางกลางตะวันออกยังพบงาน จิตรกรรมพระบฎทั้งหมด 30 ภาพ สามารถแบ่งออกเป็น 2 ชุด ได้แก่ ชุดที่1 จำ�นวน 16 ภาพ และชุดที่ 2 เป็นภาพที่เขียนในยุคภาพพิมพ์ของ สำ�นักพิมพ์ ส.ธรรมภักดี จำ�นวน 14 ภาพ วัดบ้านสัก ตั้งอยู่หมู่ที่ 3 ตำ�บลบ้านเอื้อม อำ�เภอเมืองลำ�ปาง จังหวัดลำ�ปาง สังกัดคณะสงฆ์มหา
133
วัดลำ�ปางกลาง(ตะวันออก)
รูปแบบของภาพสถาปัตยกรรมในตุง ค่าว
รู ป แบบทางสถาปั ต ยกรรมที่ ป รากฏ ในตุงค่าว หรืองานจิตรกรรมพระบฏสามารถ จำ�แนกออกได้ทั้งหมด 3 ประเภท ดังนี้ 1. สถาปัตยกรรมทางพุทธศาสนา 2. อาคารปราสาทราชวัง 3. เรือนพักอาศัย 1. สถาปัตยกรรมทางพุทธศาสนา เจดีย์ รูปแบบของเจดีย์มีลักษณะภาพ เจดีย์ที่ปรากฏอยู่บนจิตรกรรม มีรูปแบบ ลักษณะที่แตกต่างกัน แต่ในเชิงของการนำ� เสนอในเรื่องราวเดียวกัน ได้แก่ การเขียนภาพ เจดีย์ที่ปรากฏอยู่ในผ้าพระบฏตอนมาลัยปลาย โดยมี รู ป แบบลั ก ษณะของการเขี ย นที่ มี ค วาม เป็นทิพย์ เนื่องจากเจดีย์ที่เขียนขึ้นเป็นเจดีย์ที่ อยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงค์ ที่เรียกว่า เจดีย์เกตุ แก้วจุฬามณี โดยที่เจดีย์เกตุแก้วจุฬามณีอัน ประดิษฐานอยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ซึ่งเป็น สวรรค์ที่อยู่บนยอดเขาพระสุเมรุ เป็นเจดีย์ที่ บรรจุเครื่องทรงและพระเมาลี ของเจ้าชายสิทธั ตถะ ซึ่งทรงสละทิ้งเมื่อคราวออกผนวช และยัง เป็นที่เก็บรักษาพระเขี้ยวแก้วของพระพุทธองค์ หลังการถวายพระเพลิงพระบรมศพอีกด้วย รูปแบบของเจดีย์ ได้แก่ ประเภทเจดีย์ ที่เขี ย นโดยคำ � นึ ง ถึ ง ความถูกต้อ งของสัดส่ว น ตามแบบของจริ ง โดยมี อ งค์ ป ระกอบของตั ว สถาปั ต ยกรรมที่ ถู ก ต้ อ งแบบการสร้ า งเจดี ย์ ตามแบบของจริง คือเจดีย์ที่ปรากฏบนภาพ พระบฏวัดปงสนุกเหนือ และประเภทเจดีย์ที่ เขียนแบบการลดทอนรูปทรงแบบง่ายลักษณะ
134
เจดีย์เกศแก้วจุฬามณี พระบฏวัดปกสนุกเหนือ ตอนพระมาลัยปลาย
เจดีย์เกศแก้วจุฬามณี พระบฏวัดลำ�ปาง กลางตะวันออก ตอนพระมาลัยปลาย
เจดีย์เกศแก้วจุฬามณี พระบฏวัดลำ�ปาง กลางตะวันออก ตอนพระมาลัยปลาย
การเขียนแบบไม่ถูกต้องตามสัดส่วนและองค์ ประกอบรูปแบบเจดีย์ตามของจริง ได้แก่ ภาพ เจดีย์ที่ปรากฏในจิตรกรรมผ้าพระบฏตอนพระ มาลัยปลาย พระบฏวัดลำ�ปางกลางตะวันออก ซึ่ ง พระมาลั ย ปลายเป็ น พระธรรมที่ ใ ช้ เ ทศน์ ก่อนจะเทศน์มหาชาติ โดยเป็นภาพพระมาลัย สนนากั บ หมู่ เ หล่ า เทวดาบนสรวงสวรรค์ ชั้ น ดาวดึงส์ และปรากฏภาพเจดีย์เกศแก้วจุฬามณี ซึ่งมีลักษณะที่แตกต่างกันไป ลักษณะของการตกแต่งเป็นการเขียน ลวดลายในส่วนขององค์เจดีย์และการลงสี โดย ใช้สีเหลืองเป็นหลักในการระบาย การประดับ ด้วยตุงสองข้าง ของภาพจิตรกรรมพระบฏวัด ปงสนุกนั้นลักษณะการเขียนด้วยประณีต เห็น ได้จากลวดลายของหงส์ซึ่งเป็นสัตว์ที่คาบตุงที่ ยาวสบัดหางอย่างอ่อนช้อย โดยลักษณะของ การนำ�เสนอการประดับตุงของเจดีย์ในลักษณะ นี้พบว่ามีความนิยมเขียนมาก 2. อาคารปราสาทราชวัง ปราสาท2 ราชวัง หมายถึงที่ประทับ หรือสิ่งก่อสร้างที่เกี่ยวข้องกับพระเจ้าแผ่นดิน โดยเฉพาะ บุคคลอื่นจะถือเอาอย่างมิได้ ทั้งยัง เป็นสถานที่เคารพอีกด้วย ปราสาทของไทย ถ้า หลังคาเครื่องยอดเป็นทรงแหลม สลักลวดลาย ลงรักปิดทอง จะมีส่วนที่เป็นปูนอยู่บ้างก็เป็น ปูนหลบชายคากระเบื้องและอกไก่หลังคา เช่น พระที่ นั่ ง ดุ สิ ต มหาปราสาทเป็ น การตกแต่ ง ประดั บ ประดาหลากล้ ว นแต่ มี ค วามวิ จิ ต ร งดงาม แตกต่างกับบ้าน เรือน โดยสิ้นเชิง รูปแบบปราสาทที่ปรากฏในงานจิตร กรรมผ้ า พระบฏมี ค วามหลากหลายในเชิ ง รูปทรง และลักษณะการออกแบบของแต่ละ
ช่างที่มีความแตกต่างกัน ทั้งความประณีต และอิ ส ระของการสร้ า งสรรค์ ง านที่ มี ค วาม เฉพาะตัว แต่สิ่งที่มีความคลายคลึงกัน จะ เป็นลักษณะของการจัดการวางองค์ประกอบ ระหว่ า งตั ว สถาปั ต ยกรรมและพื้ น ที่ มี ค วาม จำ�กัดเฉพาะ สำ�หรับรูปแบบของปราสาท ที่ทำ�การศึกษามีความหลากหลาย ซึ่งปราสาท แต่ละหลังมีความโดดเด่นเฉพาะ ในที่นี้จะจัด กลุ่ม สถาปัตยกรรมเพื่อจะใช้ในการวิเคราะห์ จากฝีมือของช่างแต่ละสถานที่ เพื่อจะสามารถ มองเห็นภาพได้ชัดเจนและง่ายต่อการทำ�การ ศึกษาวิเคราะห์ โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่ ม สถาปั ต ยกรรมทรงปราสาทของช่ า งวั ด ปงสนุก กลุ่มสถาปัตยกรรมทรงปราสาท ของช่าง วัดบ้านสัก กลุ่มสถาปัตยกรรมทรง ปราสาทของช่างวัดลำ�ปางกลางตะวันออก สถาปัตยกรรมทรงปราสาทของวัดปง สนุกเหนือ ปราสาทที่พบในชุดภาพจิตรกรรม ผ้าพระบฏ มีลักษณะที่ประณีตและอิทธิพล ของศิลปะแบบไทยภาคกลางจะมีอิทธิพลมาก จากรูปแบบของปราสาทที่มีทรงสูงและแหลม หลังคาที่มีการซ้อนชั้น คล้ายกับพระที่นั่ง ประทับสำ�หรับชนชั้นกษัตริย์ การเขียนปราสาท ที่มีลักษณะอาคารเปิดโล่ง โดยทำ�หน้าที่เป็น เหมือนฉาก โดยลักษณะของปราสาทที่ปรากฏ มี รู ป แบบของปราสาทที่ มี ห ลั ง คาซ้ อ นชั้ น ปราสาททรงจั่ว ปราสาททรงมณฑปหลังคา ซ้อนชั้น ส่วนประกอบของตัวปราสาท มีการ ประดับด้วยช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ หลังคา กระเบื้อง สีแดง สีน้ำ�เงิน สีเหลือง ซึ่งเป็นสีห ลั ง ที่ ใ ช้ ใ นการระบายภาพสถาปั ต ยกรรมทรง ปราสาท นอกจากนี้ภาพโดยรวมของการ
135
เขียนปราสาท จะมุ่งเน้นถึงความสำ�คัญ และ ความงดงามที่เกิดจากส่วนของหลังคา และ ยอดปราสาทมากกว่าส่วนฐานของตัวปราสาท เป็นสิ่งที่สะท้อนถึงมุมมองการให้ความสำ�คัญ แนวคิดทัศนคติของช่างที่เขียน อันแสดงออกมา ทางศิลปกรรมในยุคสมัยนั้น สถาปัตยกรรมทรงปราสาทของช่าง วัดบ้านสัก ปราสาทที่พบในชุดภาพจิตรกรรม ผ้าพระบฏ มีลักษณะที่เรียบง่าย อาจสันนิ ฐานได้ว่าเป็นช่างแบบชาวบ้านไม่ใช่ช่างหลวง และอิ ท ธิ พ ลของศิ ล ปะแบบไทยภาคกลาง จะมีอิทธิพลประปนอยู่บ้าง จากรูปแบบของ ปราสาทที่มี หลังคาที่มีการซ้อนชั้น รูปแบบที่ ปรากฏในจิตรกรรมไทยภาคกลาง การเขียน ปราสาทที่มีทั้งลักษณะอาคารเปิดโล่ง และ ปราสาทที่เป็นอาคารปิดทึบ โดยลักษณะรูป แบบของปราสาทได้แก่ ปราสาทหลังคาซ้อน ชั้น ปราสาททรงจั่วหลังคาซ้อนชั้นและปราสาท ทรงมณฑปหลังคาซ้อนชั้น สถาปัตยกรรมทรงปราสาทของช่าง วัดลำ�ปางกลางตะวันออก การเขียนปราสาท รู ป ทรงมี ลั ก ษณะเฉพาะถิ่ น ปราสาทที่ พ บใน ชุดภาพจิตรกรรมผ้าพระบฏ มีลักษณะที่พิเศษ กล่าวคือเป็น ภาพปราสาทงานจิตรกรรมพื้น บ้านชุดหนึ่ง และงานจิตรกรรมที่สร้างขึ้นโดย การนำ�เอารูปแบบของ ชุดภาพพิมพ์ ส.ธรรม ภักดี โดยลักษณะรูปแบบของปราสาทได้แก่ ปราสาทไม้ทรงหลังคาซ้อนชั้น และปราสาท ทรงจั่วแหลมแบบศิลปะกรุงเทพฯ เนื่องด้วยเงื่อนไขทางสังคม ทำ�ให้รูป แบบแต่เดิมเริ่มมีการเปลี่ยนแปลง การผสม ผสานของลักษณะทางวัฒนธรรม รวมถึงการ รับอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์งานศิลปะ เกิด
136
ปราสาทพระบฏวัดปงสนุกเหนือ กัณฑ์นคร
ปราสาทพระบฏวัดปงสนุกเหนือ กัณฑ์มหาราช
การสร้างสรรค์งานที่เป็น รูปแบบเฉพาะ ซึ่งในช่วงต้น พุทธศตวรรษที่ 25 จิตรกรรม ฝาผนัง มีความหลากหลาย ในเชิ ง ของรู ป แบบทางศิ ล ปะ อย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะ การเขี ย นภาพจิ ต รกรรมของ แนว ส.ธรรมภักดี3 ซึ่งเป็นการ ผสมผสานระหว่าง เทคนิค แนวคิดแบบตะวันตก กับแบบ จารีตของ การสร้างสรรค์งาน จิตรกรรม โดยชุดภาพพิมพ์ ชุดภาพพระ เวสสั น ดรนั้ น พระเทวาพิ นิ ม มิ ต ได้ เ ป็ น ผู้ เ ขี ย น ขึ้นมา ซึ่งมีห้าง ส.ธรรมภักดีได้เป็นผู้จัดพิมพ์ ออกขาย จนเป็นที่นิยมอย่างมากมาย ในช่วง ราว พ.ศ. 2500 โดยพบปรากฏการณ์การเขียน ภาพแนวจิตรกรรม ส.ธรรมภักดีในจิตรกรรม พระบฏด้วย ซึ่งถือเป็นความ เปลี่ยนแปลง และสะท้ อ นถึ ง ค่ า นิ ย มในอดี ต ได้ เ ป็ น อย่ า งดี
ลายเส้นภาพปราสาท พระบฏบ้านสัก
ลักษณะของภาพสถาปัตยกรรมที่ปรากฏ ในจิตรกรรมภาพพระบฏ เป็นการเขียนที่มี ลักษณะคล้ายกับต้นแบบในภาพแนวจิตรกรรม ส.ธรรมภักดี โดยเฉพาะสภาพแวดล้อมองค์ ประกอบของภาพที่มีความเหมือนกัน แต่ ลัก ษณะดัง กล่ า วของงานจิ ต รกรรมพระบฏมี การปรับเปลี่ยนทางการจัดภาพ ภาพปราสาทที่ เ ขี ย นให้ เ ป็ น อาคารแบบเปิดโล่งการลดทอน สัดส่วน ซึ่งไม่ได้มุ้งเน้นถึงความ ถูกต้องของการเขียนปราสาท แต่ใช้การเขียนภาพที่ประกอบ กั บ จิ น ตนาการของช่ า งโดย เฉพาะภาพสถาปั ต ยกรรมมี การออกแบบใหม่การตัดทอน รูปทรงแต่ยังคงมีเค้าโครงของ ภาพต้นแบบอยู่ แสดงให้เห็น ถึงความคิดและการแสดงออก ของช่าง
ลายเส้นภาพปราสาท พระบฏวัดลำ�ปางกลางตะวันออก
137
ปราสาท พระบฏวัดลำ�ปางกลางตะวันออก กัณฑ์ทศพร
3. เรือนพักอาศัย 3.1. เรือนเครื่องผูก เรือนเครื่องผูกคือเรือนชั่วคราวหรือ เรือนไม้ใช้วัสดุปรุงเรือนไม่ถาวรสามารถเสื่อม สภาพได้ง่าย ตัวเรือนมีขนาดเล็ก ประเภทเรือนเครื่องผูกที่ในจิตรกรรม ภาพพระบฏ มีการเขียนลักษณะเรียนแบบของ จริง โดยลักษณะกายภาพการเขียนโครงสร้าง ของอาคารที่มีฝาผนังและหน้าบัน เป็นลวดลาย การสาน เสารองรับเรือนขนาดเล็กหลังคาทรง จั่ว โดยลักษณะไม้ของหลังคาวางพาดกันเป็น รูปกาแล หลังคามุ่งด้วยหญ้า ตัวอาคารมีความ โปร่งเบา
ภาพจิตรกรรม ชุด ส.ธรรมภักดี กัณฑ์ทศพร ภาพจิตรกรรม ชุด ส.ธรรมภักดี กัณฑ์ทศพร
138
3.2. เรือนกาแล เรือนกาแล เป็นเรือนที่สร้างด้วยไม้ จริง มีวิวัฒนาการทางศิลปะประเพณีจากเรือน ไม้จริง มีเอกลักษณ์ของเรือนเป็นไม้แกะสลัก ไขว้กันบนยอดหลังคาขื่อ ส่วนประกอบของ การเขียนภาพเรือนกาแลมีลักษณะแตกต่างกัน ในส่วนของการตกแต่ง เช่น รูปทรงที่มีลักษณะ เหมือนลวดลายกระหนกซึ่งปรากฏอยู่อาคาร ของพระบฏวัดปง สนุก การแลที่เป็นแบบ ธรรมดาไม่มีลวดลายตกแต่ง ส่วนประดับกาลา ที่มีลักษณะรูปทรงโค้งงอ จะปรากฏอยู่อาคาร ของพระบฏวัดลำ�ปางกลางตะวันออก นอกจาก นี้เทคนิคของการเขียนฝาเรือนเป็นลวดลายสาน ที่มีความซับซ้อน โดยสานเป็นลายขวาง นอกจากนี้ภาพเรือนกาแลที่เขียนชุด จิ ต รกรรมพระบฏในชุ ด เรี ย นแบบจิ ต รกรรม แนว ส.ธรรมภักดี ยังเขียนเป็นเรือนกาแลที่มี ลักษณะรูปทรงเรียนแบบของจริงโดยภาพดัง
กล่าวมีความ สมบูรณ์ ซึ่งมีส่วนประกอบของ ชานที่กว้างตรงด้านหน้าของเรือน ประกอบกับ การตั้งร้านน้ำ�อยู่ข้างเรือน พร้อมกับการเขียน ภาพของยุ้งข้าวอยู่ด้านหน้า โดยลักษณะการ เขียนเป็นการเขียนแบบการมองจากมุมสูง
พระบฏวัดลำ�ปางกลางตะวันออก กัณฑ์ชูชก
เรือนกาแล พระบฏวัดลำ�ปางกลางตะวันออก กัณฑ์ชูชก
พระบฏวัดลำ�ปางกลางตะวันออก
139
3.3. อาศรม อาศรม คือที่พักอาศัยสำ�หรับนักบวช ลักษณะของการเขียนอาศรมที่ปรากฏบนภาพ พระบฏที่ทำ�การศึกษาเป็นการเขียนที่มีลักษณะ ต่างกันทางด้านความประณีต แต่ส่วนของ ลักษณะที่เหมือนกัน คือ รูปแบบการเขียนให้ตัว อาคารในด้านหลังติดกับเขามอ โดยลักษณะรูปแบบของอาคารมีทั้ง อาคารแบบหลังคาซ้อนชั้น และหลังคาชั้นเดียว ส่วนวัสดุของภาพสถาปัตยกรรม ได้แก่ การที่ มุงด้วยกระเบื้องสี การยกฐานสูง มีทั้งฐานที่ เป็นก่อ อิฐถือปูน โดยเป็นรูปแบบลักษณะพิเศษ ที่ในงานจิตรกรรมของวัดปงสนุกเป็นส่วนมาก ส่วนลักษณะพิเศษของอาศรม วัด ลำ � ปางกลางตะวั น ออกลั ก ษณะการเขี ย นรู ป แบบทรงหลั ง คาซ้ อ นชั้ น และหลั ง คาที่ มุ ง ด้ ว ย หญ้า ส่วนของอาคารที่มีหลังคาซ้อนชั้นจะมี การประดับช่อฟ้าการประดับด้วยผ้าม่านโดย การใช้สีลักษณะเดียวกันกับพระบฏวัดปงสนุก การลงหลังคาสีแดง สีน้ำ�เงิน ยกฐานสูง แต่ ลั ก ษณะของอาคารดั ง กล่ า วมี ก ารต่ อ อาคาร ลั ก ษณะหลั ง คาเครื่ อ งไม้ แ บบราบโดยต่ อ ยื่ น ออกมาทางด้านหน้า ซึ่งจะใช้เป็นที่สำ�หรับเขียน ตัวภาพ นอกจากนี้ลักษณะพิเศษของอาศรม วั ด บ้ า นสั ก พบว่ า เป็ น การเขี ย นในรู ป แบที่ ไ ม่ มี ความซับซ้อน ลักษณะทรงของอาคารมีหลังคา รูปโค้ง โดยด้านหลังติดกับเขาเช่นกัน
ลายเส้น อาศรม พระบฏวัดปงสนุกเหนือ
อาศรม พระบฏวัดปงสนุกเหนือ กัณฑ์กุมารบัน
140
อาศรม พระบฏวัดบ้านสัก กัณฑ์มหาพน
อาศรม พระบฏวัดลำ�ปางกลางตะวันออก กัณฑ์ มหาพน
อาศรม พระบฏวัดปงสนุกเหนือ กัณฑ์สักกบัน
ลักษณะของความสัมพันธ์ของภาพ สถาปัตยกรรมที่ปรากฏในภาพพระบฏ เกี่ยว พันธ์การลำ�ดับเรื่องราว ที่ดำ�เนินไปด้วยบทบาท ของรูปภาพคน นอกจากนี้ความสัมพันธ์ใน การเขียนภาพสถาปัตยกรรมเป็นไป เพื่อเป็น ส่ ว นประกอบร่ ว มกั บ รู ป ภาพบุ ค คลและมั ก จะทำ � หน้ า ที่ เ ป็ น ประธานของงานจิ ต รกรรม ลั ก ษณะการเขี ย นดั ง กล่ า วเป็ น การจั ด ให้ เ ป็ น ภาพที่โดดเด่นและนำ�ความสนใจให้เกิดต่อภา พระบฏ การวิเคราะห์เกี่ยวกับองค์ประกอบ และความสั ม พั น ธ์ ข องภาพสถาปั ต ยกรรมใน ภาพสะท้อนที่เกิดขึ้นของภาพจิตรกรรมพระบฏ โดยลักษณะของภาพสถาปัตยกรรม ที่ทำ�หน้าที่ เป็นส่วนหนึ่งที่สำ�คัญ ต่อภาพจิตรกรรม ที่ ทำ�ให้ภาพจิตรกรรมเกิดความสมบูรณ์ของเรื่อง ราว โดยเกี่ยวข้องกับภาพ สะท้อน ลักษณะ
141
สถาปัตยกรรม ที่สัมพันธ์กันกับความเป็นอยู่ วิถีชีวิต เรื่องราวของวัฒนธรรม การอยู่อาศัย ของคนในอดีตซึ่งเป็นตัวบอกเล่าภาพเหตุการณ์ ของคนในสมัยนั้นซึ่งอยู่ในช่วงราว พ.ศ.2400 หรือประมาณ 100-150 ปีที่ผ่านมา โดยถูก บันทึกผ่านมาทางภาพจิตรกรรมซึ่งส่งต่อมาถึง ปัจจุบัน และลักษณะการใช้ชีวิตอยู่กับเรือน พักอาศัยของคนในสมัยก่อน การนำ�เสนอ บุคลิกภาพของคนในสังคมในสมัยนั้น ที่มีต่อ งานอาคารสถาปัตยกรรม ลักษณะเชิงของ การใช้สอยอาคารสถาปัตยกรรม โดยเป็นภาพ การดำ�เนินชีวิตของผู้คนในสมัยนั้น มีการผูก โยงถึงเรื่องราวของเศรษฐกิจ และสังคม เช่น ความประณีตของแบบสถาปัตยกรรมที่ปรากฏ สะท้อนถึงความเจริญรุ่งเรือง และในเรื่องการ กำ�หนดรูปแบบของสถาปัตยกรรม ซึ่งเกี่ยวข้อง กั บ สภาพสั ง คมในด้ า นฐานะชนชั้ น จะเป็ น ตั ว กำ�หนดรูปแบบลักษณะของงานสถาปัตยกรรม ประเพณีวัฒนธรรม ศิลปกรรม อัน สืบทอดกันมาแต่อดีตถือเป็นความงดงามอัน ทรงคุณค่า ที่สอดคล้องกับวิถีชีวิต ความเป็น อยู่มาแต่อดีตกาล แต่ในปัจจุบันนั้นประเพณี ดังกล่าวได้ลบเลือนหายไป ในด้านทิศทาง ความสำ�คัญของตุงค่าว ถูกละทิ้งจนขาดการ ดูแลเอาใจใส่ ผลกระทบจากแนวคิดของสังคม ล้านนาที่เปลี่ยนแปลงไป ทำ�ให้สภาวะของตุง ค่าวไร้ซึ่ง คุณค่าและความหมายในสังคมยุค ปัจจุบัน และพิธีกรรมเทศน์มหาชาติในปัจจุบัน อย่างน่าเป็นห่วงที่เสี่ยงต่อการสูญหาย และ ถูกเปลี่ยนแปลง สิ่งเหล่านี้หากไม่ได้รับการ จัดการที่ดีแล้ว ในอนาคตตุงค่าวอาจจะเป็น เพียงแค่งานจิตรกรรมบนผืนผ้า ที่หาคุณค่า
ทางจิตใจไม่ได้เลย
อ้างอิง
ประคอง นิมานเหมินท์, มหาชาติลานนาการศึกษา ในฐานะที่เป็นวรรณคดีท้องถิ่น, (กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนา พานิช), 2526. 2 เศรษฐมันตร์ กาญจนกุล, ปราสาท ราชวัง, (กรง เทพฯ: เศรษฐศิลป์, 2548), หน้า 21-25. 3 อเนก นาวิกมูล, นักวาดในดวงใจ, (กรุงเทพฯ: เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป จำ�กัด 2545) หน้า 67-199. 1
142
เส้นสายลายศิลป์ไทใหญ่ ณ วัดก้ำ�ก่อ อำ�เภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน อชิรญาณ์ อินต๊ะแสน
การสร้างสรรค์ลวดลายโดยการฉลุลายลงบนแผ่นโลหะให้ มีความสวยงาม ละเอียดอ่อนเพื่อใช้ในการประดับตกแต่ง ศาสน สถานของช่างชาวไทใหญ่ ตามความเชื่อ และความศรัทธาของ ชาวไทใหญ่ที่ให้ความสำ�คัญกับวัด ถือว่าเป็นงานศิลปกรรมที่มี คุณค่า มีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตนที่น่าสนใจ แสดงออกถึง ความสามารถ รวมทั้งความคิดสร้างสรรค์ของช่างชาวไทใหญ่ใน การคิดประดิษฐ์ลวดลาย วัสดุ และเทคนิคในการสร้างสรรค์งาน ศิลปกรรมเพื่อพุทธศาสนาได้อย่างน่าอัศจรรย์
143
ปัจจุบันแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นเมืองที่มี การปรากฏงานด้านศิลปกรรมต่าง ๆ ที่มีความ คล้ายกับไทใหญ่ในประเทศพม่ามากที่สุด ชาว ไทใหญ่ที่อาศัยอยู่ตอนเหนือของประเทศไทย ได้สร้างงานศิลปกรรมขึ้นมามากมาย โดย เฉพาะในช่วงพุทธศตวรรษที่ 25 ชาวไทใหญ่ได้ เข้ามาพร้อมกับการทำ�สัมปทานป่าไม้ในล้าน นา1 ทำ�ให้ชาวไทใหญ่มีฐานะดีและเป็นที่นับถือ ของคนล้านนา จึงได้เป็นเจ้าศรัทธาในการ สร้างวัดซึ่งเป็นสถานที่จำ�ลองจักรวาลให้ความ สำ�คัญกับวิหารมากกว่าเจดีย์ รายละเอียดของ วิหารตั้งแต่ฐานรากโดยเฉพาะกันตกแต่งล้วน แสดงถึ ง ความเชื่ อ ที่ ห ยั่ ง ลึ ก รวมทั้ ง ความคิ ด สร้างสรรค์ของชาวไทใหญ่ที่แสดงออกผ่านงาน ศิลปกรรมได้อย่างดีจนกลายเป็นความสวยงาม ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ชาวไทใหญ่ หรือชาวไต ได้ให้ความ สำ�คัญกับวัดมาก เนื่องจากเป็นสถานที่สำ�หรับ การประกอบกิจกรรมต่างๆ ร่วมกันของคนใน ชุมชน การประกอบพิธีกรรมทางศาสนา วัดจึง ถือว่าเป็นศูนย์กลางและมีความสำ�คัญต่อคนใน ชุมชนเป็นอย่างมาก รูปแบบทางสถาปัตยกรรม ของไทใหญ่ หรื อสิ่ ง ก่อ สร้างของวัดไทใหญ่จึง เน้นความจำ�เป็นทางการใช้สอยเป็นหลัก โดย เฉพาะวิหารที่มีการแบ่งพื้นที่ใช้สอยอย่างเป็น สัดส่วน ประกอบด้วยระเบียงด้านนอกถัดมา เป็นพื้นที่สำ�หรับให้พุทธศาสนิกชนใช้กราบไว้ พระและประกอบพิธีกรรม พื้นที่สำ�หรับพระ สงฆ์ เ ป็ น พื้ น ที่ ย กสู ง ขึ้ น เพื่ อ เป็ น การแยกพระ สงฆ์กับพุทธศาสนิกชนออกจากกัน ด้านหลัง สุ ด ของวิ ห ารเป็ น ที่ ป ระดิ ษ ฐานพระพุ ท ธรู ป ประธาน นอกจากนี้พื้นที่ด้านข้างทั้งสองด้าน เป็นพื้นที่สงฆ์และกุฏิ จะเห็นได้ว่าในวิหาร
หลังหนึ่งจะมีการจัดพื้นที่ใช้สอยไว้หลายอย่าง วิหารที่พบจะเป็นอาคารทรงโรง นิยมทำ�เป็น 2 ชั้น ใต้ถุนโล่งตัวโครงสร้างทำ�ด้วยไม้ตั้งแต่ตัว อาคารจนถึงหลังคา นิยมสร้างหลังคา 2 แบบ คือหลังคาทรงปราสาท มีลักษณะหลังคาซ้อน กันหลายชั้น คล้ายปราสาทเป็นการสื่อความ หมายถึงเขาพระสุเมรุ อันเป็นศูนย์กลางของ จักรวาล จำ�นวนชั้นที่ซ้อนกันมักจะเป็นเลข คี่ตั้งแต่ 3 ชั้น 5 ชั้น และ 7 ชั้น มีการประดับ ตกแต่งส่วนต่าง ๆ ของโครงสร้างหลังคา ด้วย ไม้ หรือแผ่นโลหะสังกะสีผสมดีบุก ที่ฉลุลาย อย่างละเอียดสวยงาม และหลังคาซ้อนชั้น มี ลักษณะหลังคาทรงจั่วซ้อนกัน 2 ชั้นขึ้นไป คล้ายกับรูปแบบหลังคาวิหารล้านนาที่นิยมทำ� เป็นตับ และซด2 การประดับตกแต่งวิหาร หรือ อาคารทางพุทธศาสนาจึงมีความสำ�คัญมากไป ด้วย การประดับตกแต่งวิหารจึงมีความสำ�คัญ รู ป แบบงานศิ ล ปกรรมของชาวไทใหญ่ จ ะมี ความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวสูง เนื่องจากเกิด การผสมผสานงานจากรู ป แบบงานของพม่ า และความถนัดในงานศิลปกรรมของตนเองเข้า ด้วยกันอย่างลงตัว จากการสำ�รวจอาคารทางศาสนาของ ในพื้นที่ อำ�เภอเมือง ของจังหวัดแม่ฮ่องสอน พบว่า ส่วนใหญ่แล้วได้ปรากฏรูปแบบงาน ศิ ล ปกรรมที่ มี ค วามเป็ น เอกลั ก ษณ์ ข องตน อย่างชัดเจน ตั้งแต่โครงสร้างไปจนถึงการ ประดับตกแต่ง ความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ของลวดลายที่ เ ป็ น งานศิ ล ปะแบบไทใหญ่ ใ น แม่ฮ่องสอนเกิด จากการรับเอา อิทธิพลจาก พม่า และล้านนารวมทั้งการรับวัฒนธรรมต่าง ๆ ที่ได้แพร่กระจายเข้าสู่ท้องถิ่นมาผสมผสาน กัน เพื่อสร้างลวดลายให้มีความสวยงาม และ
144
เป็นลักษณะเฉพาะของตนเอง ลวดลายที่จัด ว่าเป็นเอกลักษณ์แบบไทใหญ่ส่วนมากจะเป็น ลวดลายเกี่ยวกับพันธุ์พฤกษา ลายกระหนก ลายเครือเถา ลายก้านขดแบบต่าง ๆ ซึ่งจะ เห็ น ได้ จ ากงานที่ พ บเป็ น งานประดั บ ตกแต่ ง ซึ่งปรากฏอยู่ภายในวิหารในส่วนต่างๆ ทั้งเสา กลม คาน และเพดาน ซึ่งรูปแบบของลวดลายมี ลักษณะคล้ายคลึงกับลวดลายที่นิยมใช้ในล้าน นาและลวดลายที่รับเอาอิทธิพลจากพม่าเข้ามา และมีการใช้ลวดลายของดอกไม้ และลวดลาย ประดิ ษ ฐ์ ม าประกอบการประดั บ ตกแต่ ง ด้ ว ย นอกจากนี้ แ ล้ ว ยั ง มี ล วดลายที่ เ ป็ น ลวดลายที่ พบในเป็นงานประดับตกแต่งเฉพาะตัวของงาน ศิลปะแบบชาวไทใหญ่ คือลวดลายที่เกิดจา การความคิดสร้างสรรค์ของชาวไทใหญ่ที่คิด ประดิษฐ์ขึ้นเพื่อนประดับหลังคาจนกลายเป็น เอกลักษณ์ของงานประดับตกแต่ง และก่อให้ เกิดความสวยงามกับอาคารศาสนสถาน หรือ วิหาร ซึ่งเป็นสถานที่ที่เป็นศูนย์รวมทางจิตใจ ของทุ ก คนจึ ง มี ก ารประดั บ ตกแต่ ง ให้ มี ค วาม พิเศษ ลวดลายที่พบ เช่น ลายพอง ปานซอย ลายกระรุ่งต่อง ลายดอกสะแจ๊ะ เป็นต้น
วัดก้ำ�ก่อเป็นวัดเก่าแก่ วัดหนึ่งที่ได้มีการ สืบรูปแบบงานศิลปกรรม และโครงสร้างทาง สถาปัตยกรรมที่มีมาแต่โบราณ ประวัติวัดก้ำ� ก่อจากการบันทึกบอกไว้ว่า วัดก้ำ�ก่อ (ก้ำ�ก่อ ภาษาไทยใหญ่แปลว่า “ดอกบุนนาค”) หนึ่ง ในวัดเก่าแก่คู่เมืองสามหมอก สร้างเมื่อ พ.ศ. 2433 ด้านหน้าวัดโดดเด่นด้วยสิงห์คู่ศิลปะไทย ใหญ่ 2 ตัวยืนขนาบซ้ายขวา ถัดไปฟากถนนเป็น เจดีย์สมส่วนขนาดย่อม ส่วนอีกฟากหนึ่งเป็น ทางเดินหลังคาคลุม มีซุ้มประตูหลังคาซ้อนชั้น ตกแต่งลวดลายฉลุสังกะสีอย่างวิจิตรบรรจง ทางเดินสายนี้นำ�เข้าสู่ศาลาอันขรึมขลัง ข้างใน มีพระพุทธรูปศิลปะไทใหญ่ - พม่า อันสวยงาม ให้สักการบูชา วัดก้ำ�ก่อสร้างขึ้นเมื่อวันที่ ๒๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๓๓ ตรงกับวันพฤหัสบดี ขึ้น ๑๓ ค่ำ� เดือน ๒ ปีขาล จ.ศ. ๑๒๕๒ โดย เจ้าอาวาสรูปแรกของวัด นามว่า “ครูบาเฒ่า” ชาวไทใหญ่ผู้อพยพมาจากเมืองเชียงทอง เป็น ผู้ริเริ่มสร้างวัดนี้ขึ้น ชาวบ้านทั่วไปขนานนาม ท่านว่า “ตุ๊เจ้าเจียงตอง” ( ออกเสียงตามภาษา พื้นเมือง ) หมายถึงพระที่มาจากเมืองเชียงของ นั่นเอง ประวัดการก่อตั้งวัดก้ำ�ก่อพอจะสรุปได้ ว่ า เมื่ อ ครั้ ง ที่ ค รู บ าเฒ่ า อพยพมา จากเมืองเชียงทองเข้ามาสู่จังหวัด แม่ฮ่องสอนนั้น ท่านได้เดินทาง มาจนพบที่ ว่ า งขนาดครึ่ ง สนาม ฟุ ต บอลอยู่ ท่ า มกลางป่ า ไม้ ล้ อ ม รอบ สามารถสร้างวัดได้โดยไม่ ต้ อ งตั ด ไม้ ทำ � ลายป่ า หรื อ ทำ � การ ปรั บ พื้ น ที่ ใ ห้ อี ก จึ ง ได้ ชั ก ชวนชาว บ้านมาดูและตัดสินใจสร้างวัดขึ้น ในที่นั้นโดยชาวบ้านเป็นผู้หาวัสดุ ก่อสร้างและลงแรงกันเอง3
145
ลวดลายประดับวิหารวัดก้ำ�ก่อ
งานศิ ล ปกรรมประดั บ ตกแต่ ง ที่ พ บ วิหารวัดก้ำ�ก่อ มีการตกแต่งทั้งภายในตัววิหาร บริเวณโครงสร้างไม่ว่าจะเป็นเสา คาน ขื่อ เพดาน และการประดับตกแต่งภายนอกของ โครงสร้างวิหารโดยเฉพาะหลังคา วัดก้ำ�ก่อมี ความพิเศษคือมีการสร้างซุ้มประตูทางเข้าและ มีหลังคาระหว่างทางเดินไปยังวิหารซึ่งมีการ ประดับตกแต่งด้วยความสวยงามเช่นกัน รูป แบบงานศิลปกรรมที่พบแบ่งได้ 4 ประเภท ได้แก่ งานลายคำ� งานแกะสลักไม้ งานประดับ กระจก และงานฉลุโลหะ ช่างชาวไทใหญ่มี ความสามารถในการประดิษฐ์ลวดลายของงาน ประดับตกแต่งวิหารได้อย่างน่าสนใจ ซึ่งแต่ละ ลายก็จะมีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของ ช่างผู้ประดิษฐ์ เทคนิคที่ช่างชาวไทใหญ่นิยมใช้ มากในการสร้างงานศิลปกรรมคือ เทคนิคฉลุ ซึ่งเป็นการฉลุแผ่นโลหะสังกะสี โดยการตอก ด้วยสิ่ว หรือลิ่มให้เกิดเป็นลายแบบโปร่ง ใช้ใน การตกแต่งโครงสร้างในส่วนของเชิงชาย ยอด ฉัตร และดาวเพดาน ล ว ด ล า ย ที่ พ บ ใ น ก า ร ใ ช้ ใ น ง า น ศิ ล ปกรรมประดั บ ตกแต่ ง วิ ห ารวั ด ก้ำ � ก่ อ จึ ง สามารถแบ่งได้ 2 ประเภทคือลวดลายที่เป็น ลวดลายพื้นฐานทั่วไปที่มีการผสมผสานอิทธิ ผลจากลวดลายของล้านนา และลวดลายที่เป็น เอกลักษณ์เฉพาะในงานศิลปะไทใหญ่ ดังนี้ ลวดลายที่ เ ป็ น ลวดลายพื้ น ฐานที่ พ บในงาน ประดับตกแต่งภายในโครงสร้างวิหารได้แก่
กระหนก เป็นลวดลายที่ได้รับอิทธิพล มาจากภาคกลางของไทย เป็นลวดลายที่นำ�เอา ส่วนที่เป็นดอกไม้ประดิษฐ์อย่างมีปลายสะบัด หรือไม่สะบัด หรือช่อใบ ซึ่งผูกเขียน ประกอบ เข้ากับเถาอันผูกเขียนให้เลื้อยพันกัน หรือขด เป็นขดขนดต่อเนื่องกันในลักษณะต่าง ๆ ใน งานลวดลายไทยแม่ลายกระหนกจะเป็นแบบ ของลวดลายที่ผูกเขียนอยู่ในรูปฉากสามเหลี่ยม มุมฉาก และเมื่อมีการดัดแปลงประกอบเป็น ลายลักษณะต่างๆ กัน จึงทำ�ให้แตกลายเป็น หลายลักษณะและมีชื่อเรียกลายต่าง ๆ กัน ลายกระหนกล้านนา โดยทั่วไปนั้นจะ มีลักษณะเป็นกระหนกรูปวงโค้งหรือหัวขมวด ม้วนโค้งปลายแหลม ลักษณะของปลายเป็น ลายขมวดหั ว ม้ ว นโค้ ง เกื อ บเป็ น วงกลมคล้ า ย เลขหนึ่งไทยและต่อด้วยยอแหลม โดยมีรอย บากที่หัวกระหนกและวงโค้ง
ลวดลายกระหนกล้านนาประดับเสาในวิหาร
146
ลายพันธุ์พฤกษา ที่พบปรากฏอยู่มัก จะเป็นลวดลายประเภทลายเครือเถา ลายช่อ ดอกไม้ ที่ใช้ประกอบร่วมกับลวดลายอื่น ลาย พั น ธุ์ พ ฤกษานี้ จ ะมี ล ายดอกไม้ แ ละใบไม้ เ ป็ น องค์ประกอบสำ�คัญ แต่ลักษณะของลายดอกไม้ และใบไม้อาจจะมีการแตกต่างกันในรูปแบบที่ ช่างสร้างสรรค์ออกมา ลายพันธุ์พฤกษาที่พบ ส่วนมากแล้วเป็นลายดอกบัวบาน ลายเครือ เถาพันกัน และลายดอกไม้ประดิษฐ์ นอกจาก นี้ยังพบลายบัวคว่ำ� ซึ่งมีลักษณะเหมือนลาย กรวยเชิงที่ใช้เป็นลายในการประดับตกแต่งด้วย
ลายสัตว์ ลวดลายภาพสัตว์ที่ใช้ในการ ประดับตกแต่งวิหารนั้นส่วนมากจะเป็นสัตว์ที่ อยู่ในชาดกที่มักจะมีเรื่องเล่า หรือเป็นภาพสัตว์ ที่อยู่ในความเชื่อ ซึ่งจะมีรูปร่างที่แปลกและต่าง ไปจากสัตว์สามัญทั่ว ๆ ไป เพื่อให้เกิดความ พิเศษและความสวยงาม
ลายพันธุ์พฤกษาและลายสัตว์ ลายพันธุ์พฤกษาประดับเสาในวิหาร
147
ลายกลีบบัว เป็นลวดลายกลีบบัว ที่ป้านก่อนเรียวปลายแหลมหรือกลีบบัวที่ เป็นรูปสามเหลี่ยม ในงานประดับตกแต่ง อาคารศาสนสถานกลีบบัวมักจะพบใช้ใน การประดับอยู่ในตำ�แหน่งสำ�คัญต่าง ๆ แต่ ในงานประดับตกแต่งที่ได้ศึกษามาพบเป็น งานประดับตกแต่งที่ปรากฏเป็นส่วนหนึ่ง ของลายเชิงเสา
ลวดลายกลีบบัว
ลายหน้ากระดาน ลวดลาย ประเภทลายหน้ากระดานจะเป็นลวดลาย ที่ประดับตามแนวนอน เป็นลวดลายที่ ใช้ สื บ ทอดต่ อ กั น มาและพบว่ า ใช้ ใ นการ ประดั บ อยู่ ต ามบริ เ วณตั ว ไม้ โ ครงสร้ า ง เครื่องบน เช่น ขื่อ ดั้ง แป กลอน กรอบ ของคอสอง และกรอบช่องลูกฟักแบ่งได้ 4 รูปแบบ -แบบที่หนึ่ง ลายประจำ�ยามลูกโซ่ เป็น ลวดลายดอกสี่กลีบที่มีเส้นโค้งเชื่อมหรือ สลับไว้ คล้ายประจำ�ยามลูกโซ่ -แบบที่สอง ลายก้านขดวงโค้ง มีลักษณะ เป็ น ลายกระหนกขมวดม้ ว นโค้ ง ปลาย แหลมวางสลับอยู่ในช่องว่างของเส้นก้าน ที่โค้งขึ้นลงอยู่ในกรอบ -แบบที่สาม ลายก้านขดพันธุ์พฤกษา ลั ก ษณะของลวดลายจะมี ล วดลายพั น ธุ์ พฤกษาดอกไม้ ใ บไม้ ป ระกอบอยู่ ห ลาย แบบ ดอกไม้ใบไม้ที่ประกอบอยู่ในลาย ก้านขดจะเน้นใช้ลายดอกบัวบานกับลาย ยอดเครือเถา ซึ่งจะได้แก่ลายก้านขดพันธุ์ พฤกษาที่มีดอกไม้ใบไม้ประกอบ และ ลาย ก้านขดพันธุ์พฤกษาที่เป็นใบไม้อย่างเดียว -แบบที่สี่ ลายประจำ�ยามก้ามปู ลักษณะ ของลายดอกไม้ที่สลับด้วยสี่เหลี่ยมขนม เปียกปูน และอาจมีการทำ�ลายประจำ� ยามให้อยู่ในกรอบสี่เหลี่ยม เพื่อเพิ่มความ สวยงามมากขึ้น
148
ลวดลายที่ เ ป็ น เอกลั ก ษณ์ เ ฉพาะตั ว ของ ไทใหญ่ที่ใช้สำ�หรับตกแต่งโครงสร้างของ หลังคา ได้แก่ ลายกระรุ่งต่อง เป็นลวดลายที่ นิยมประดับมุข มีความสอดคล้องกับส่วน ปิดตรงพระกรรณขอกษัตริย์พม่า นำ�มา ใช้กับสถาปัตยกรรม เช่นตัวอาคาร วิหาร โบสถ์ ลายดอกสะเจ๊ ะ เป็ น ลวดลายที่ ใช้ควบคู่กับลายหระรุ่งต่อง ลักษณะเป็น ลวดลายดอกไม้และลายเครือเถาก้านขด แบบศิลปะพม่าผสมไทใหญ่ ล า ย พ อ ง เ ป็ น ล ว ด ล า ย ห น้ า กระดาน ลายพองส่วนมากมีลักษณะที่ แตกต่างกันออกไป ลวดลายที่ใช้เป็นลาย ดอกไม้ ลายก้านขด ประกอบด้วยผืนที่ เหลี่ยมผืนผ้าหรือลวดลายอื่น ๆ เช่น รูป สัตว์ จุดไข่ปลา เป็นต้น ลายหม่านกาง เป็นลวดลาย ประดิษฐ์ที่ดัดแปลงจากลายต่าง ๆ ส่วน มากใช้ประดับตกแต่งยอดเจดีย์ ลายจิ่งพู เป็นลวดลายประดิษฐ์ ต่างๆ เช่น ลายดอกไม้ ลายเพชรนิยม ติดตามเพดาน ลายจ่ากะหราด เป็นลวดลายที่ ผนวกระหว่างลายกระรุ่งต่องกับลวดลาย ดอกสะเจ๊ะ นิยมทำ�รูปดอกไม้ตัวลายเป็น เครือเถาวัลย์ หรือมีลายอื่นๆ ได้ตามความ คิดสร้างสรรค์ของช่าง
ลายมุ ข หน้ า เป็ น ลายที่ มี ค วาม สวยงาม มีความละเอียดมากที่สุดใน ลวดลายไทใหญ่ ลวดลายส่วนมากเป็น ลายเครือเถา ลายก้านขด นิยมประดับที่ หน้าวัดเป็นมุขให้เห็นความสวยงามของวัด นั้นหรืออาจดันแปลงเพิ่มได้ ลายหมอกโกง ลักษณะของลาย เป็ น การทำ � ให้ เ กิ ด ในรู ป แบบของผ้ า ม่ า น ลวดลายที่ ใ ช้ ส่ ว นใหญ่ เ ป็ น ลายก้ า นขด และลายดอกรังผึ้ง ลายมุขอ่า ลายมุขอ่าสามารถ เรียกได้อีกชื่อ คือลายมุขรอง เป็นลวดลาย ที่ต้องกระดาษขึ้นมาโดด ๆ ใช้ประกอบเข้า กับส่วนต่าง ๆ ให้เกิดความสวยงาม ลายดอกประดับมุก และลาย ดอกประดับเสา ลักษณะของลวดลาย มีความแตกต่างกันออกไป นิยมทำ�เป็น ฉลุลายแม่พิมพ์แล้วใช้สีปาดเป็นลวดลาย ผสมแบบพม่ากับไทใหญ่ ลายปานซอย ลักษณะลวดลาย เป็นลักษณะของลายประกอบที่ใช้ได้หลาย แบบทั้งติดเสาวิหาร ทำ�หน้ามุข เป็นต้น
149
จากความคิดสร้างสรรค์และความ สามารถของช่างชาวไทใหญ่ในอดีตที่ได้มี การสร้างสรรค์ผลงานทางด้านศิลปกรรม ที่ใช้ในการตกแต่งอาคาร วิหารทำ�ให้ เราตระหนั ก ถึ ง ความสามารถของคนใน อดี ต ที่ ส ามารถทำ � งานได้ จ ากความคิ ด จิ น ตนาการแล้ ว ถ่ า ยทอดออกมาให้ เ กิ ด เป็นงานโดยการใช้เทคนิคและวัสดุที่มีอยู่ รอบตัวซึ่งไม่ได้ผ่านการเรียน การสอน เหมื อ นดั่ ง เช่ น ในปั จ จุ บั น เราจึ ง ควรช่ ว ย กันอนุรักษ์งานศิลปกรรม รวมทั้งวิธีการ เทคนิค ต่างๆที่ได้รับการถ่ายทอดจาก อดีตให้คงอยู่ก่อนที่งานเหล่านี้จะสูญหาย และสลายไปตามกาลเวลา
ลวดลายฉลุโลหะประดับหลังคา
150
อ้างอิง
สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, ไทใหญ่ ความเป็นใหญ่ในชาติพันธุ์, 2 สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, ไทใหญ่ ความเป็นใหญ่ในชาติพันธุ์, 3 อชิรญาณ์ อินต๊ะแสน, ลวดลายประดับตกแต่งวิหาร วัดก้ำ�ก่อ อำ�เภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน, (เชียงใหม่: รายงานการศึกษาตามหลักสูตรปริญญา (ศิลปะไทย) ภาควิชาศิลปะไทย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2553) 1
151
152
รูปแบบศิลปกรรมธรรมาสน์
อำ�เภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ อานนท์ นงค์ยา
153
งานศิลปกรรมธรรมาสน์เป็นศิลปกรรมที่ เกี่ย วเนื่ องด้ วยประเพณีทางพระพุทธศาสนา ของไทยอย่างหนึ่ง ซึ่งจัดเป็นงานประณีตศิลป์ ที่มีลักษณะน่าสนใจและน่าศึกษา โดยเฉพาะ ธรรมาสน์ทางล้านนา นับว่าเป็นศิลปกรรมที่มี ลักษณะพิเศษ แตกต่างจากธรรมาสน์ในภาค อื่น ๆ ด้วยลักษณะรูปทรง ลวดลาย การประดับ ตกแต่ง ซึ่งแปลกออกไป สืบเนื่องมาจากล้านนา เป็นดินแดนที่มีขนบธรรมเนียมประเพณีดั้งเดิม ของตน เพื่อผสมผสานกับวัฒนธรรมที่หลั่ง ไหลเข้ามา ส่งผลให้เป็นวัฒนธรรมที่มีลักษณะ เฉพาะตัวธรรมาสน์ เป็นงานสถาปัตยกรรมที่ เกี่ยวเนื่องในพุทธศาสนา เป็นที่สูงสำ�หรับพระ ใช้นั่งแสดงธรรม1 บางแห่งเรียกว่า ธรรมาสน์ ธรรมาสน์แก้ว อาสนะแก้ว กระดานดำ� กระดาน ทอง มณเฑียรคำ� แท่นธรรมาสน์ ปราสาท แก้ว ชื่อเหล่านี้มักจะเรียกตามท้องถิ่นล้านนา ธรรมาสน์ในล้านนานิยมทำ�เป็นรูปปราสาท รูป มณเฑียรหรือปรางทองขนาดเล็ก โดยย่อส่วน มาจากของจริ ง หรื อ จิ น ตนาการว่ า พระผู้ เ ทศ เป็นผู้แทนเทพ เรียกว่า วิสุทธิเทพ อันหมายถึง องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าหรืออนุพุทธะ ได้แก่ พระอรหันต์ สาวกของพระองค์ จึงควรจะนั่งที่ งดงามวิจิตรประหนึ่งว่าเป็นวิมานปราสาทราช มณเฑียรของพระราชาทีเดียว อีกประการหนึ่ง การที่คนโบราณในล้าน นาไทยทำ�ธรรมาสน์เป็นรูปปราสาท ก็ด้วย ความประสงค์ที่ต้องการบูชาพระธรรม อันเป็น ของสูงในชั้นโลกุตระ นอกจากนี้ยังเป็นค่านิยม ที่ได้จากการทำ�นายชะตาเกิด หรือพรหมชาติ แบบล้านนาว่าคนที่เกิดปีนี้ให้ถวายอย่างไร บาง คนให้ถวายบ่อน้ำ� ศาลาบาตร หรือธรรมาสน์ เป็นต้น ถือว่าเป็น อานิสงส์ส่วนบุญอันเป็นทิพย์
ในปรโลก จึงเป็นเหตุให้บุคคลที่มีฐานะ หรือ เหล่าคณะศรัทธาวัดจัดธรรมสาสน์ถวายวัดขึ้น อำ�เภอดอยสะเก็ด ตั้งอยู่ในส่วนที่เป็น เทือกเขายาวกั้นระหว่างแอ่งอารยธรรม 2 แอ่ง คือ แอ่งอารยธรรมลุ่มแม่น้ำ�และแอ่งอารยธรรม ลุ่ม น้ำ�แม่กวง – แม่ปิง เมื่อพญาเม็งรายรวม แอ่งอารยธรรมทั้ง 2 เข้าเป็นอาณาจักรล้านนา ในปี พ.ศ. 1839 ดอยสะเก็ดจึงอยู่กึ่งกลาง ระหว่าง 2 แอ่งอารยธรรม และมีพัฒนาการ ร่ ว มกั น กั บ อาณาจั ก รล้ า นนามาตั้ ง แต่ เ ริ่ ม ต้ น จากการศึกษาตำ�นาน ซึ่งเป็นหลักฐานทาง ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเป็นจารีตในการบันทึก ประวัติศาสตร์ พบว่า ทุกเรื่องที่กล่าวถึงจะโยง ถึงพระพุทธเจ้าซึ่งความเป็นมาของ คำ�ว่า “ ดอยสะเก็ด” มีตำ�นานเล่าสืบต่อกันมา ดังนี้ ใน สมัยพุทธกาล สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ เสด็จมายังดอยเกิ้ง ซึ่งอยู่ในท้องที่อำ�เภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ในปัจจุบัน แล้วได้ เสด็จผ่าน มาที่พระพุทธบาททุ่งตุ้มยางวิด พระพุทธองค์ ได้เสด็จไปประทับที่ดอยพระบาทตีนนกในเขต อำ�เภอสันทราย ขณะนั้นได้ทรงทอดพระเนตร ไปทางทิศใต้ ได้พบหนองบัวอันกว้างใหญ่ใน บริเวณหนองบัวมี ดอกบัวมากมายอยู่ใกล้เชิง เขา ลูกเดียวซึ่งในหนองน้ำ�แห่งนี้เป็นที่อยู่อาศัย ของพญานาคสองสามีภรรยาสมเด็จพระสัมมา สัมพุทธเจ้าได้เสด็จมาประทับอยู่บน ภูเขาลูก นั้นและทรงเปล่งฉัพพรรณรังสี ให้พญานาค สองสามีภรรยา ซึ่งกำ�ลังหากินอยู่ในบริเวณ หนองน้ำ�แห่งนั้นพญานาคทั้งสองได้เห็นก็เป็น อัศจรรย์ยิ่งนักก็เกิดความเลื่อมใส จึงจำ�แลง กายเป็นมนุษย์เก็บดอกบัวไปถวายพระพุทธเจ้า พร้อมทูลขอเส้นพระเกศาเพื่อเก็บไว้บูชา โดย ได้สร้างเจดีย์สวมทับเส้นพระเกศาไว้บนภูเขา
154
ลูกนี้และได้เรียกเขาลูกนี้ว่า“ ดอยสันเกศ ”ทั้งนี้ เพราะ ภูเขาตามภาษาพื้นเมือง เรียกว่า ดอย ต่อมามีผู้สันนิษฐานว่า คำ�ว่าดอยสันเกศ ได้ เพี้ยนมาเป็นคำ�ว่า “ ดอยสะเก็ด ” โดยเหตุที่ อำ�เภอดอยสะเก็ดมีภูเขาลูกนี้เป็นเอกลักษณ์ที่ สำ�คัญ จึงได้ใช้คำ�ว่า “ ดอยสะเก็ด” เป็น ชื่อของอำ�เภอ ตลอดมา จนกระทั้งถึงปัจจุบัน อีกตำ�นานหนึ่งเล่าต่อมาว่า คำ�ว่า “ ดอยสะเก็ด ” มาจากคำ�ว่า “ดอยสระเก็ด” โดยได้ให้ ความ หมายไว้ว่า “ สระ ” คือ ไซ้หรือ การทำ�ความ สะอาด ส่วนคำ�ว่า“ เก็ด ”ก็คือ“ เกล็ด ” ซึ่ง หมายถึง เกล็ดของพญานาค โดยมีตำ�นาน เล่ า ประกอบคำ � อธิ บ ายว่ า ในสมั ย โบราณมี พญานาคสองตัวอาศัยอยู่ในหนองบัวใกล้กับ เขาลูกหนึ่งนานๆ ทีก็จะออกมาชำ�ระร่างกาย พอเสร็จแล้วก็จะพากัน ขึ้นไปตากเกล็ดบน ภูเขาที่อยู่ใกล้กับหนองบัวภูเขาลูกนี้ จึงได้ชื่อว่า “ ดอยสะเก็ด ” และใช้เป็นชื่อของอำ�เภอจนกระ ทั้งถึงปัจจุบัน ธรรมาสน์จึงถือได้ว่าเป็นงานศิลปกรรม ที่รับใช้พระพุทธศาสนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน แถบดินแดนล้านนา ในอดีตกาลใช้ประโยชน์
จากธรรมาสน์มีหลายประการ ดังต่อไปนี้ 1.เพื่อให้เสียงดังไปไกลเพราะอยู่ในที่สูงกว่าคน ฟัง ในสมัยอดีตไม่มีเครื่องกระจายเสียงเหมือน ปัจจุบัน 2.เพื่ อ ไม่ ใ ห้ ส ามเณรที่ เ ทศน์ ป ระหม่ า ในการ เทศน์ 3.การเทศน์บนธรรมาสน์ ไม่ต้องห่มคลุมผ้า หากว่าร้อนจะอยู่ในอิริยาบถไหนก็ได้ ในบาง ครั้งอาจเกิดการไม่สำ�รวม เช่น เมื่อสามเณร หนุ่มพบเห็นหญิงสาว อุบาสิกาที่มาทำ�บุญอาจ ทำ�ให้จิตใจฟุ้งซ่านได้ 4.เพื่ อ ให้ พุ ท ธศาสนิ ก ชนได้ ฟั ง แต่ เ สี ย งอั น ไพเราะของสามเณร หากเมื่อได้เห็นตัวจริงของ สามเณรแล้วพุทธศาสนิกชนในวัยแก่เฒ่าอาจ จะไม่ให้ความศรัทธา 5.พระธรรมเป็นของสูง ต้องให้ความเคารพเป็น อย่างยิ่งธรรมาสน์ในประเทศไทยสันนิษฐานว่า มีลักษณะเป็นแท่นหิน ดังปรากฏในคำ�จารึก ของพ่ อ ขุ น รามคำ � แหงโปรดให้ สลั ก ไว้ บ นศิ ลา จารึก เมืองสุโขทัย พ.ศ. 1844 มีใจความตอน หนึ่งดังนี้ “1214 ศก ปีมะโรงพ่อขุนรามคำ�แหง เจ้าเมืองศรีสัชนาลัยสุโขทัยนี้ ปลูกต้นตาลได้ สิบสี่เข้า จึงให้ช่างขดารหินตั้ง ระหว่างกลางไม้ตาลนี้ วันเดือน ดับ เดือนออก แปดวัน วันเดือน เต็มข้าง แปดวัน ฝูงปูรู เณรมหา เณรขึ้นนั่งเหนือ ขดารหินนี้ สวด ธรรมแก่อุบาสกสูงท่วยจำ�ศีล มิใช่ วันสวดธรรม พ่อขุนรามคำ�แหง เจ้าเมืองศรีสัชนาลัยสุโขทัย ขึ้นนั่ง เหนือขดาร หินนี้ ให้ฝูงท่วยลูกเจ้า ลูกขุน ฝูงท่วยถือบ้านถือเมืองกัน2
155
นั้น เปรียบเสมือนดั่งพระพุทธเจ้า มาประทับนั่งเทศนาสั่งสอน เพราะ พระธรรมอั น เป็ น คำ � สั่ ง สอนของ พระพุทธองค์นั้น คือตัวแทนของ พระองค์ดังข้อความที่พระพุทธเจ้า ตรัสแก่พระอานนท์ว่า... “โยวา อานนท มยา ธมโม จ วินโย จ เท สิโน ปญญตโค โสโว มมจจเยน ส ตถา” ซึ่งแปลได้ว่า “ดูก่อนอานนท์ ธรรมก็ดี วินัยก็ดี อันเราแสดงแล้ว บัญญัติแก่เธอทั้งหลายแล้ว ธรรม และวินัยอันนั้นจักเป็นศาสดาของ พวกเธอทั้งหลาย โดยการล่วงไป แห่งเรา”4 ด้วยเหตุนี้ธรรมาสน์จึง มีความสำ�คัญเกี่ยวดองกับศาสนา โดยแท้
ความหมายของธรรมาสน์ ธรรมาสน์ เป็นงานสถาปัตยกรรมที่ เกี่ยวเนื่องในพุทธศาสนา เป็นที่สูงสำ�หรับพระ ใช้นั่งแสดงธรรม3 ปกติมักตั้งอยู่ในวิหารหรือบน ศาลาการเปรียญ อันเป็นสถานที่ชุมนุมสำ�หรับ ฆราวาสในการฟังเทศน์ฟังธรรมในโอกาสต่าง ๆ ตามประเพณีวัฒนธรรมในหมู่คนที่นับถือ พุทธศาสนา ธรรมาสน์จังถือได้ว่าเป็นอุปกรณ์ อย่างหนึ่งในการถ่ายทอดรสพระธรรมของพระ สัมมาสัมพุทธเจ้าไปสู่พุทธบริษัททั้งหลาย โดย มี สื่ อ กลางคื อ พระสงฆ์ ผู้ ขึ้ น นั่ ง บนธรรมาสน์ เป็นผู้อรรถาธิบายร่ายยาวตามเรื่องราวเนื้อหา ของพระธรรม เมื่อพระสงฆ์ขึ้นนั่งบนธรรมาสน์
ธรรมาสน์ ท รงปราสาทหรื อ ธรรมาสน์ยอด ได้แก่ ธรรมาสน์ที่มีหลังคาเป็นชั้นแบบเดียวกับ หลังปราสาท ธรรมาสน์ปราสาท แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ธรรมาสน์เทศน์ และธรรมาสน์ สวด 1. ธรรมาสน์เทศน์ หมายถึง ธรรมาสน์ทรง ปราสาทซึ่งมีขนาดเล็ก พระนั่งได้องค์เดียว ใช้ นั่งแสดงพระธรรมเทศนา 2. ธรรมาสน์สวด หมายถึง ธรรมาสน์ยอด ปราสาท มีขนาดใหญ่พระนั่งได้หลายองค์ ประมาณ 3 – 5 รูป (บางครั้งก็เรียกบุษบก เหมือนกัน) ผังของธรรมาสน์นี้จะเป็นรูป สี่เหลี่ยมผืนผ้าย่อมุมหรือไม่ย่อ การที่พระนั่งได้ หลายองค์นี้จึงเป็นที่นิยมใช้เป็นธรรมาสน์สวด
156
ธรรมาสน์ทรงปราสาททั้งสองแบบนี้ ส่วนใหญ่มีอยู่ในวัดใหญ่และวัดสำ�คัญ เช่น วัด ที่พระมหากษัตริย์หรือพระราชวงศ์ทรงสร้าง บูรณปฏิสังขรณ์ หรือวัดที่ข้าราชการตลอด จนคหบดีสร้างหรือบูรณะ บางวัดมีพร้อมทั้ง ธรรมาสน์เทศน์และธรรมาสน์สวด บางวัดมี ธรรมาสน์เทศน์อย่างเดียว ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับฐานะ ของวัดและผู้อุปถัมภ์ด้วย ธรรมาสน์ทรงปราสาทแบบภาคเหนือ ธรรมาสน์ ท รงปราสาทแบบภาค เหนือ นับเป็นงานศิลปกรรมที่มีลักษณะพิเศษ กว่าธรรมาสน์ทรงปราสาทของที่อื่น เพราะมี ลักษณะรูปทรง ลวดลาย ตลอดจนการประดับ ตกแต่งที่แตกต่างออกไป ทั้งนี้เพราะภาคเหนือ ของไทยเป็ น ดิ น แดนที่ ไ ด้ รั บ การยกย่ อ งมา นาน ว่ามีแบบแผนขนบธรรมเนียมประเพณี ที่มีลักษณะเฉพาะตน และสามารถรักษา ขนบธรรมเนี ย มประเพณี อั น เป็ น เอกลั ก ษณะ ท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี เมื่อทำ�การพิจารณาลักษณะทางสถา ปัตยกรรมทางภาคเหนือของไทย จะเห็นได้ว่า มีลักษณะบางประการที่คล้ายกับพม่า ทั้งนี้ เป็ น ผลสื บ เนื่ อ งมาจากความสั ม พั น ธ์ ท าง ประวัติศาสตร์จึงก่อให้เกิดมีการ ถ่ายทอด ลักษณะทางศิลปกรรมให้แก่กัน และไทยล้าน นาก็ได้ถ่ายทอดอิทธิพลของตนให้กับประเทศ ลาวและดิ น แดนภาคตะวั น ออกเฉี ย งเหนื อ ด้วย อิทธิพลนี้เองทำ�ให้การซ้อนชนชั้นกันของ หลังคามีความสูงของชั้นมาก ชั้นหลังคาทาง ภาคเหนื อ มี ค วามสู ง มากกว่ า แบบของภาค กลาง และในบางครั้งก็มีการทำ�รูปหน้าต่าง จำ�ลองไว้แทบทุกชั้น ส่วนมากเป็นแบบจัตุรมุข
ฉะนั้ น แต่ ล ะชั้ น ของหลั ง คาอาจจะมี ห น้ า จั่ ว ที่ แสดงประดับตรงกลางไว้อย่างชัดเจน ตัวอย่าง ของงานสถาปัตยกรรมที่มีหลังคาแบบปราสาท หรือเรือนชั้นอยู่เป็นจำ�นวนมาก เช่น วิหาร พระแก้วดอนเต้า วัดพระแก้วดอนเต้า จังหวัด ลำ�ปาง วิหารศรีชุม จังหวัดลำ�ปาง และที่วัด จอมกลาง จังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นต้น ธรรมาสน์ต่าง ๆ ในเขตภาคเหนือ เปรียบ เสมือนกับรูปจำ�ลองของสถาปัตยกรรมในท้อง ถิ่นนั้นเอง ปราสาทหรือเรือนยอดของภาคเหนือ มีลักษณะเช่นใด ทรงของหลังคาธรรมาสน์ทาง ภาคเหนือแบ่งออกเป็น 3 แบบคือ 1.ยอดปราสาท 2.ยอดบายศรี 3.ยอดมงกุฎ
การจำ � แนกธรรมาสน์ ท รงปราสาท โครงสร้างและการประดับตกแต่ง โครงสร้างของธรรมาสน์และการประดับ ตกแต่งจำ�แนกพิจารณาออกเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนฐาน ส่วนกลาง และส่วนยอด ดังนี้ ส่วนฐานของธรรมาสน์ทรงปราสาท แบ่งออกเป็น 6 ลักษณะ ลักษณะที่ 1 ส่วนฐานของธรรมาสน์จะมี ลักษณะเอวคอด โครงสร้างฐานเป็นไม้แปด เหลี่ยม ชั้นล่างจะมีฐานเขียง 2 ชั้น ชั้นต่อมา เป็นบัวคว่ำ� มีลูกแก้วอกไก่ 2 ชั้น ส่วนบนเป็นบัว หงายและฐานเขียงรับเสาของธรรมาสน์ มีการ ประดับตกแต่งโดยใช้เทคนิค ลงรักปิดทองและ ประดับกระจก
157
ลักษณะที่ 1
ลักษณะที่ 2
ลักษณะที่ 2 ส่วนฐานมีโครงสร้างฐาน เป็นไม้ ชั้นล่างมีฐานเขียง 7 ชั้น เป็นฐานเขียง ขนาดใหญ่ 4 ชั้น ขนาดเล็ก 3 ชั้น ต่อมาเป็นฐาน บัวคว่ำ� มีลูกแก้วอกไก่ชั้นเดียว ส่วนบนเป็นบัว หงายและฐานเขียงรับเสาของธรรมาสน์ มีการ ประดับตกแต่งโดยใช้เทคนิค ลงรักปิดทองและ ประดับการจกรวมถึงการแกะสลัก ลักษณะที่ 3 ส่วนฐานมีโครงสร้างฐาน เป็นไม้ ชั้นล่างมีฐานเขียง 7 ชั้น เป็นฐานเขียง ขนาดใหญ่ 4 ชั้น ขนาดเล็ก 3 ชั้น ต่อมาเป็นฐาน บัวคว่ำ� มีลูกแก้วอกไก่สองชั้น ส่วนบนเป็นบัว หงายและฐานเขียงรับเสาของธรรมาสน์ มีการ ประดับตกแต่งโดยใช้เทคนิค ลงรักปิดทองและ ประดับการจก
158
ลักษณะที่ 3
ลักษณะที่ 4 ส่วนฐานมีโครงสร้างฐาน เป็นไม้ เป็นธรรมาสน์ที่มีขนาดใหญ่ ชั้นล่างมี ฐานเขียง 3 ชั้น เป็นฐานเขียงขนาดใหญ่ 1 ชั้น ขนาดเล็ก 2 ชั้น ต่อมาเป็นฐานบัวคว่ำ� ลูกแก้ว อกไก่ 2 ชั้น ส่วนบนเป็นบัวหงาย ฐานเขียง และ หน้ากระดานรับเสาของธรรมาสน์มีการประดับ ตกแต่งโดยใช้เทคนิค ลงรักปิดทองและประดับ การจก ลักษณะที่ 5 ส่วนฐานมีโครงสร้างฐาน เป็นไม้ ส่วนฐานชั้นล่างเป็นฐานเขียง 3 ชั้น ชั้น ที่ 2 รองรับเสาของธรรมาสน์ ชั้นต่อมาเป็นฐาน บัวคว่ำ� มีลูกแก้วอกไก่ ส่วนบนเป็นบัวหงายและ ฐานเขียงมีการประดับตกแต่งด้วยการเขียนสี ลักษณะที่ 6 ส่วนฐานมีโครงสร้างฐาน เป็นไม้ ส่วนฐานชั้นล่างเป็นฐานเขียง 3 ชั้น ชั้น ที่ 2 รองรับเสาของธรรมาสน์ เทคนิคในการ ตกแต่งเป็นการประดับกระจก และลงรักปิด ทอง โครงสร้างเป็นไม้ เสามีลักษณะย่อมุมไม้ สิบสอง รับเสาของธรรมาสน์
ลักษณะที่ 6
159
ลักษณะที่ 4
ลักษณะที่ 5
ส่วนกลางของธรรมาสน์ทรงปราสาท แบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ ลักษณะที่ 1 ส่วนกลางของธรรมาสน์ทรง ปราสาท โครงสร้างเป็นไม้ เสามีลักษณะส่วน กลาง ธรรมาสน์ มีลักษณะเป็นลวดลายไม้ฉลุ และแกะสลั ก ล้ อมรอบธรรมาสน์ทั้ง แปดด้าน ลายที่แกะสลักจะเป็นลายดอกพุทธตาล ลงชาด เทคนิคการแกะสลักไม้ปิดทอง ประดับกระจก ลักษณะที่ 2 ส่วนกลางของธรรมาสน์ทรง ปราสาท โครงสร้างเป็นไม้ เสามีลักษณะย่อมุม ไม้สิบสอง ประกอบไปด้วยเสา 12 ต้น มีแผน กั้นธรรมาสน์ 3 ด้านเป็นภาพเทวดา ภาพดาว เพดานเป็นภาพดอกบัว ลักษณะที่ 1
ลักษณะที่ 2
160
ลักษณะที่ 3 ส่วนกลางของธรรมาสน์ ทรงปราสาท โครงสร้างเป็นไม้ ส่วนกลางของ ธรรมาสน์ทรงปราสาท โครงสร้างเป็นไม้ เสา มีลักษณะย่อมุมไม้สิบสอง ประกอบไปด้วยเสา ด้านละ 3 ต้น มีแผงกั้นธรรมาสน์ 3 ด้าน เป็น ลายฉลุไม้ ส่วนมุมของแผงกั้นเป็นลายกนก เทคนิคการเขียนสี
ส่วนยอดของธรรมาสน์ทรงปราสาท แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ ลักษณะที่ 1 ส่วนยอดของธรรมาสน์ทรง ปราสาทลักษณะเป็นแบบยอดทรงมงกุฎ มี โครงสร้างเป็นไม้ ธรรมาสน์ทรง 8 เหลี่ยม ส่วน ยอดของธรรมาสน์ทรงปราสาทจะเป็นยอดทรง มงกุฎซ้อนชั้นขึ้นไป 7 ชั้นมีการประดับตกแต่ง ด้วยซุ้มบันแถลง หรือ ซุ้มหน้านางทั้ง 8 ด้าน ซ้อนชั้นขึ้นไปขั้นกลางด้วยพญานาค มีการ ประดับด้วยกระจก ส่วนบนปลียอดเป็นฉัตรมี ลักษณะเป็นดอกพุทธตาล 4 ชั้น เป็นดอกบาน 3 ชั้น และบนสุด ลักษณะที่ 2 ส่วนยอดของธรรมาสน์ทรง ปราสาทลั ก ษณะเป็ น แบบยอดปราสาทมี โครงสร้างเป็นไม้ ลักษณะของหลังคาประกอบ ด้วยชั้นหลังคาซ้อนชั้นกันหลายชั้น ชั้นแรกเป็น ซุ้ม บันแถลง เป็นลวดลายกนกและใบระกา มี การประดับด้วยกระจก ส่วนยอดของบันแถลง เป็นช่อฟ้าปิดทอง มุมทั้ง 4 ของหลังคาประดับ ด้วยนาค มุมละ 3 ตัว ส่วนยอดบนประกอบด้วย เหม มีกลีบขนุนล้อมรอบ มีบัวกลุ่มซ้อนกันลูก แก้ว ปลียอด
ลักษณะที่ 3
161
ลักษณะที่ 1
การประดั บ ตกแต่ ง ธรรมาสน์ ท รง ปราสาท การประดับกระจก การประดับกระจกของธรรมาสน์ทรง ปราสาทของภาคเหนือแตกต่างกับภาคกลาง เล็กน้อย คือ ช่างของภาคกลางมักจะประดับ กระจกแทรกเข้ า ในบางส่ ว นของลวดลายปิ ด ทอง ส่วนช่างกระจกภาคเหนือยังประดับ กระจกแผ่นใหญ่ ๆ สลับสีกันหรือ เป็นลวดลาย เกือบพื้นที่ทั้งหมดของธรรมาสน์ ฐานส่วนใหญ่ เป็นฐานปูน นอกจากประดับที่ฐานแล้ว ยังนำ� ไปประดับที่เสา ผนังหน้าบัน และช่อฟ้าใบระกา ด้วย ลักษณะที่ 2
162
ลายคำ� ธรรมาสน์ทรงปราสาทบางหลังใช้การ เขียนลายคำ�เป็นเครื่องตกแต่งตั้งแต่ยอดจนถึง ฐาน แทนการแกะสลักลงรักปิดทองหรือวิธีอื่น ๆ วิธีการเขียนลายคำ�ซับซ้อนยุ่งยากมาก และ จั ด เป็ น ลายประณี ต ศิ ล ป์ ท างจิ ต รกรรมอย่ า ง หนึ่ง ลายลดน้ำ�ที่พบส่วนใหญ่อยู่บนตู้พระธรรม หรือบานประตูหน้าต่าง การประดับกระจก
การทาสี เครื่ อ งประดั บ ที่ เ ป็ น ปู น ปั้ น บางอย่ า ง ช่ า งภาคเหนื อ นิ ย มระบายสี ใ ห้ เ ป็ น ธรรมชาติ หรือตามทัศนคติของตน เช่น นาค ดอกไม้ ใบไม้ แม้แต่พระพุทธรูปบางองค์ก็มีการแต้มสีที่พระ ขนง พระเนตร พระโอษฐ์ ตลอดจนจีวร สิ่ง เหล่านี้อาจ ได้รับอิทธิพลมาจากพม่า เพราะ ส่วนใหญ่เป็นลักษณะงานศิลปะของพม่า
ลายคำ�
ลายพันธุ์พฤกษา อาจจะกล่าวออกมาได้ว่าลวดลายใน ประเภทนี้ เป็นลวดลายที่มีลักษณะเด่นในเรื่อง เฉพาะตัวของล้านนา แรงบันดาลใจที่ได้รับมา เป็ น ครั้ ง แรกอาจเกิ ด การรั บ เอาแนวคิ ด และ อิทธิพลที่ดีมีลักษณะทางศิลปกรรมจากแหล่ง อื่น ๆ เข้ามา แต่แล้วต่อมาก็ได้มีการทำ�การ ดั ด แปลงนำ � เอามาใช้ ใ นรู ป ร่ า งและลั ก ษณะ ต่าง ๆ จนกลายเป็นตัวอย่างในลักษณะของ ความเป็นเอกลักษณ์ ท้องถิ่น โดยมีการนำ�เอา ต้นแบบหรือแม่ลายที่จะสามารถใช้ในการผลิต มา ทำ�การตกแต่งหรือทำ�การประดับ ดัดแปลง การทาสี
163
เพื่อให้มีความเหมาะสมกับการที่จะต้องนำ�ออก ไปใช้งาน ลายเทพ-เทวดา เป็นความเชื่อเกี่ยวกับตำ�นานที่มีความ เป็นที่พึ่งทางจิตใจ เป็นสิ่งที่สูงที่สุดในบรรดา ของลวดลายที่ทำ�การฉลุหรือทำ�การแกะสลัก หรือเป็นตัวแทนของสัญลักษณ์ในการปกป้อง คุ้มครอง การให้การปกปักษ์รักษา ลวดลาย ประเภทนี้มักมีการพบบริเวณแผงกั้นหน้าเวลา มีการเทศน์ และสามารถพบได้ทั้งสามด้านของ ธรรมาสน์
ลายเทพ-เทวดา
ตำ�แหน่งการตั้งธรรมมาสน์ แท่นแก้ว ธรรมาสน์ เสาวิหาร อาสนะสงฆ์
164
รูปแบบทางศิลปกรรมของธรรมาสน์ ธรรมาสน์พบทั้งหมดสองรูปแบบ คือ ยอด ปราสาท และ ยอดมุงกุฎ เทคนิคการตกแต่งที่ นิยม คือ ประดับกระจกสี เขียนลายทอง และ ฉลุลาย ธรรมาสน์เป็นเครื่องใช้ประจำ�วัด ที่ ใช้สำ�หรับเป็นที่นั่งของพระสงฆ์ในการเทศนา ธรรม ธรรมาสน์จึงถูกนำ�มาใช้ในพิธีกรรมที่ เกี่ยวข้องกับการเทศน์ต่าง ๆ เช่น เทศน์มหาชาติ หรือที่รู้จักกันในทางล้านนาว่าพิธีตั้งธรรมหลวง ธรรมาสน์จัดเป็นงานศิลปะ เพราะมีความงาม ทั้งในด้านรูปทรง การตกแต่ง และความงามที่ เกิดจากความเชื่อความศรัทธา แต่ในปัจจุบัน พบว่าธรรมาสน์ฝีมือดี ๆ และงาม ๆ ได้ถูก ทำ�ลายและปล่อยให้ทรุดโทรม ผุพังลงตามกาล เวลา จึงเป็นที่น่าเสียดายที่ศิลปกรรมที่มีคุณค่า จะสูญสิ้นไป
อ้างอิง
โชติ กัลยาณมิตร,พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและ ศิ ล ปกรรมที่ เ กี่ ย วเนื่ อ ง,(การไฟฟ้ า ฝ่ า ยผลิ ต แห่ ง ประเทศไทยจัดพิมพ์,2518),หน้า 2-10. 2 อวบ เปาโลหิต,ศิลาจารึกหลักที่1,(โรงพิมพ์ดสพิณพิ พรรตธนากร,2467),หน้า 56. 3 โชติ กัลยาณมิตร, เรื่องเดียวกัน, หน้า 401. 4 กิตติวุหโต ภิกขุ, พุทโธวาท. (โรงพิมพ์อักษรสัมพันธ์, 2509) หน้า 420 1
165