Saturday School Season 4: Mission I'MPOSSIBLE! Booklet

Page 1

Season 4 mission I’M POSSIBLE! |1


ทีมงานหลัก นายกวินวิชญ์ เล้าบัณฑิต นายธีธัช วัชรานุวิทย์ นางสาวปชญา สายลมุล นางสาวประภาศรี คุณะกฤดาธิการ นายยินดี ลิมปิเวศน์ นายวิศรุต นุชพงษ์ นายวโรตม์ คำ�บุตร นายสรวิศ ไพบูลย์รัตนากร รูปเล่ม และงานศิลป์ นางสาวประภาศรี คุณะกฤดาธิการ


Saturday School 4 Partner Schools and Communities 6 Some of Our Classes 12 Season 4 Conclusion 14 Lesson Learned 16 Words from our Students 26 Words from our Volunteers 28


4 | Saturday School


SATURDAY SCHOOL โรงเรียนวันเสาร์

Saturday School ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ.2557 จากการ ตระหนักถึงความส�ำคัญของการสร้างแรงบันดาลใจในการ เรียนรู้ให้แก่เด็กและการพัฒนาเด็กที่มากไปกว่าการเรียนใน ชั้นเรียนของ นายสรวิศ ไพบูลย์รัตนากร หรือ ครูยีราฟ ครู วิชาคณิตศาสตร์ โรงเรียนเพี้ยนพินอนุสรณ์ภายใต้โครงการครู ผู้น�ำการเปลี่ยนแปลงรุ่นที่ 1 ของมูลนิธิ Teach For Thailand โดยมุ่งหวังที่จะสร้างพื้นที่การเรียนรู้ในวันเสาร์ส�ำหรับ พัฒนาทักษะชีวิตและเปิดมุมมองใหม่ๆ ให้แก่เด็กมากขึ้น Saturday School มุ่งถ่ายทอดประสบการณ์และการเรียนรู้ นอกเหนือจากการเรียนตามหลักสูตรในโรงเรียนให้แก่เด็ก เช่น แนวคิดการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ศิลปะการ ออกแบบ ดนตรี การพูดในที่สาธารณะ การแสดง การท�ำ อาหาร ฯลฯ โดยวิชาที่เปิดสอนในแต่ละเทอมจะจัดตามความ สนใจของเด็กในโรงเรียนหรือชุมชนต่างๆ รวมไปถึงความ สามารถของอาสาสมัครที่เข้าร่วมกิจกรรม ซึ่งมีการขยาย จ�ำนวนโรงเรียนและชุมชนที่จัดกิจกรรม Saturday School อย่างต่อเนื่อง ล่าสุดใน Season ที่ 4 นี้มีโรงเรียนเข้าร่วม กิจกรรม 5 โรงเรียน และมีชุมชนเข้าร่วมอีก 2 ชุมชน มีเด็ก ๆ กว่า 200 คนที่เข้าร่วมกิจกรรม

สามารถและช่วงวัยที่แตกต่างกัน Saturday School จึงถือ เป็นพื้นที่ศูนย์รวมส�ำหรับการแลกเปลี่ยนมุมมองและ ประสบการณ์ส�ำหรับอาสาสมัครที่เข้าร่วมโครงการเป็นอย่างดี โครงการ Saturday School ได้รับความร่วมมืออย่างต่อ เนื่องจากอาสาสมัคร โรงเรียนและชุมชนต่างๆ มากว่า 2 ปี โดยในปี พ.ศ.2559 นี้ โครงการได้ขยายการจัดกระบวนการ เรียนรู้ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของกระแสโลกมาก ขึ้น โดยออกแบบหลักสูตรพิเศษที่เน้นพัฒนาการคิดอย่างมี วิจารณญาณ (Critical Thinking) อันเป็นทักษะส�ำคัญต่อการ เรียนรู้ของเด็กๆ ภายใต้การด�ำเนินงานของ Saturday School ทีมงานยังมี พันธกิจที่มุ่งหวังให้โครงการเป็นองค์กรด้านการศึกษาที่เน้น การพัฒนาทักษะที่เด็กควรจะมีในศตวรรษที่ 21 ผ่านการ สร้างพื้นที่การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างครูอาสากับเด็กๆใน ทุกๆพื้นที่ของประเทศไทย

นอกจากจ�ำนวนของเด็กที่เข้าร่วมกิจกรรมในแต่ละเทอมแล้ว Saturday School ยังมีอาสาสมัครสนใจเข้าร่วมกิจกรรมเพิ่ม ขึ้นเป็นเท่าตัวในทุกๆ Season ซึ่งบุคคลเหล่านี้ล้วนมาจาก สาขาอาชีพที่แตกต่างกัน ตั้งแต่ อาสาสมัครที่เป็นอาจารย์ มหาวิทยาลัย นักเรียนนักศึกษา นักธุรกิจ นักพัฒนาโปรแกรม คอมพิวเตอร์ ไปจนถึงข้าราชการทหาร ด้วยความรู้ความ

Saturday School | 5


PARTNER SCHOOLS 5 โรงเรียน and COMMUNITIES 2 ชุมชน

1

โรงเรียนเพี้ยนพินอนุสรณ์ วิชาที่สอน: การแสดง โปรแกรมมิ่ง ภาษาอังกฤษ และ Public Speaking จ�ำนวนนักเรียนในโครงการ: 44 คน จ�ำนวนอาสาสมัคร: 24 คน นายเพี้ยน และ นางพิน รุ่งเรือง คหบดีในแขวงบางนา เล็งเห็นความส�ำคัญของการศึกษา และเกิดความสงสารนักเรียนในชุมชนนี้ ที่ได้รับความล�ำบากและไม่ปลอดภัยในการเดิน ทางไปเรียนในโรงเรียน ที่อยู่ห่างไกลชุมชน ประกอบกับความต้องการพัฒนาท้องถิ่นให้มี ความเจริญจึงมอบที่ดินให้กรุงเทพมหานคร เพื่อก่อสร้างโรงเรียนประถมศึกษาขึ้นใน ปีงบประมาณ ๒๕๒๑ โรงเรียนเพี้ยนพินอนุสรณ์ เปิดท�ำการสอน เมื่อวันที่ ๑๐ กันยายน ๒๕๒๒ มีนักเรียน ๑๘๐ คน ครู ๑๑ คน โรงเรียนเพี้ยนพินอนุสรณ์เป็นโรงเรียนแห่งแรกในโครงการ Saturday School ที่เกิดจาก ความคิดของนายสรวิศ ไพบูลย์รัตนากร ที่ต้องการเปิดโลกกว้างให้กับนักเรียน เรียนรู้สิ่ง ใหม่ๆที่โรงเรียนในระบบไม่ได้สอน และได้รับแรงบันดาลใจจากอาสาสมัครจากหลาก หลายอาชีพ

6 | Partner Schools and Communities


2

โรงเรียนวัดเกาะสุวรรณาราม วิชาที่สอน: ภาษาอังกฤษ STEM ธุรกิจ และ Public Speaking จ�ำนวนนักเรียนในโครงการ: 50 คน จ�ำนวนอาสาสมัคร: 20 คน เป็นโรงเรียนที่ประชาบาลอ�ำเภอจัดตั้งขึ้น โดยสังกัดกรมสามัญศึกษา กระทรวง ศึกษาธิการ เปิดสอนเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2475 อาศัยศาลาการเปรียญวัดเกาะ สุวรรณารามเป็นสถานที่เรียน ใช้ชื่อโรงเรียนว่า “โรงเรียนประชาบาลต�ำบลคลองถนน2” มีพระภิกษุชื้น เดชพ่วง รักษาการในต�ำแหน่งครู ในพ.ศ. 2487 เปลี่ยนชื่อโรงเรียนเป็น “โรงเรียนประชาบาลอนุสาวรีย์บางเขน (วัดออเกาะสุวรรณาราม) ซึ่งเจ้าอาวาสวัดเกาะ สุวรรณาราม ได้มอบที่ดินเพื่อก่อสร้างอาคารเรียน จนเมื่อปี พ.ศ. 2496 ได้เปลี่ยนชื่อ โรงเรียนเป็น “โรงเรียนวัดเกาะสุวรรณาราม” โรงเรียนวัดเกาะสุวรรณารามเป็นโรงเรียนขยายโอกาส เพิ่มระดับมัธยมต้นขึ้นมาจากเดิม อยู่ติดกับวัดเกาะสุวรรณาราม บริเวณชุมชนวัดเกาะมีคนค่อนข้างหลากหลาย มีชุมชนที่ ท�ำเกี่ยวกับผ้า ชุมชนริมคลอง และกลุ่มช่าง และมีกรมทหารอากาศอยู่ในบริเวณใกล้เคียง นักเรียนส่วนใหญ่อาศัยในบ้านเช่า ห้องเช่า บ้านริมคลอง หรือบ้านส่วนตัวเป็นส่วนน้อย

Partner Schools and Communities | 7


โรงเรียนชุมชนหมู่บ้านพัฒนา

วิชาที่สอน: ออกแบบผลิตภัณฑ์ ศิลปะกับงานประดิษฐ์ และ STEM จ�ำนวนนักเรียนในโครงการ: 70 คน จ�ำนวนอาสาสมัคร: 18 คน

4

โรงเรียนชุมชนหมู่บ้านพัฒนาเป็นโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร ที่พัฒนามาจากโรงเรียนวันละบาท ของครูประทีป อึ้งทรงธรรม ตั้งแต่ พ.ศ. 2511 จัดการเรียนการสอนโดยไม่มีการแบ่งชั้นเรียน เป้าหมาย คือให้นักเรียนสามารถ อ่านออก เขียนได้ และยังไม่มีวุฒิบัตรรับรองผลการเรียน พ.ศ. 2516 อาคารหลัง แรกได้ถูกสร้างขึ้น ด้วยการรวมก�ำลังทรัพย์ของผู้มีจิตศรัทธา และชาวบ้านในชุมชน เป็นอาคารไม้ มี นักเรียนจ�ำนวน 250 คน ปีต่อมาสร้างอาคารเรียนหลังที่ 2 มีชาวบ้านที่พออ่านออกเขียนได้มาช่วยสอน และให้ชื่อว่า “โรงเรียนชุมชนหมู่บ้านพัฒนา” การเรียนการสอนยังคงรูปแบบเดิมของโรงเรียนวันละบาท ปีการศึกษา 2518 ได้รับความช่วยเหลือจากอาสาสมัครที่มีวุฒิทางการศึกษาเข้ามาช่วยจัดชั้นเรียนให้เป็น ไปตาม หลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ เปิดการเรียนการสอนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 3 โดยมี ครูประทีป อึ้งทรงธรรม และอาสาสมัครอีก 9 คน เป็นครูผู้สอน ต่อมาครูประทีปตัดสินใจโอนโรงเรียน ชุมชนหมู่บ้านพัฒนาให้กับกรุงเทพมหานคร เพื่อให้นักเรียนที่จบการศึกษา ได้รับใบประกาศนียบัตรอย่าง ถูกต้องตามหลักสูตร และในปัจจุบันเปิดสอนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 6 และมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 3

8 | Partner Schools and Communities


โรงเรียนเคหะทุ่งสองห้องวิทยา 2 โรงเรียนบางยี่ขันวิทยาคม

วิชาที่สอน: การแสดง โปรแกรมมิ่ง และภาษาอังกฤษ จ�ำนวนนักเรียนในโครงการ: 40 คน จ�ำนวนอาสาสมัคร: 15 คน

3

โรงเรียนเคหะทุ่งสองห้องวิทยา 2 เปิดท�ำการสอนเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2527 โดยการเคหะ แห่งชาติเป็นผู้สร้างอาคารให้แล้วมองเห็นกรุงเทพมหานคร ด�ำเนินการจัดการเรียนการสอน การจัด อัตราก�ำลังครูซึ่งได้ท�ำการรับมอบเมื่อ วันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2528 โดยรองผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานคร (นายชงค์ วงศ์ชัน) เป็นผู้รับมอบจากการเคหะแห่งชาติ (นายยุทธศักดิ์ คล่องตรวจ โรค) โรงเรียนมีเป้าหมายให้นักเรียนมีทักษะการสื่อสารโดยการใช้ภาษาอังกฤษในชีวิตประจ�ำวัน มีความรู้ ความเข้าใจขั้นพื้นฐานในการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ และทักษะกระบวนการคิดแบบวิทยาศาสตร์ ทั้งหมดเพื่อไปต่อยอดในการศึกษาระดับที่สูงขึ้นหรือในการประกอบอาชีพต่อไป

วิชาที่สอน: วิเคราะห์ภาพยนตร์ ท�ำอาหาร และ web design จ�ำนวนนักเรียนในโครงการ: 41 คน จ�ำนวนอาสาสมัคร: 8 คน

5

โรงเรียนบางยี่ขันวิทยาคม เดิมชื่อโรงเรียนบางยี่ขันสงเคราะห์ ก่อตั้งเมื่อ ปี พ.ศ.2492 ณ.โรงงานสุรา บางยี่ขัน ผู้ที่ด�ำเนินการก่อตั้ง คือ นายสุริยะ ขีตตสังคะ ผู้จัดการโรงงาน กับนายจเร ธนโกเศศ หัวหน้า แผนกตรวจสอบ มีวัตถุประสงค์ดพื่อเป็นสวัสดิการด้านการศึกษาส�ำหรับบุตรหลานของเจ้าหน้าที่ พนักงานและคนงานโรงงานสุรา ปี พ.ศ.2542 รัฐบาลเปิดการค้าสุราเสรี ตามมติคณะรัฐมนตรี กรม โรงงานอุตสาหกรรมจึงมอบโรงเรียนให้กับกรุงเทพมหานคร และกรุงเทพมหานครประกาศรับเมื่อ วันที่ 1 พฤษภาคม 2543 นับเป็น โรงเรียนล�ำดับที่ 431 ของกรุงเทพมหานคร ทางโรงเรียนมีความต้องการที่จะเพิ่มความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และความรู้เพื่อน�ำไปประกอบ อาชีพในอนาคตจึงได้เข้าร่วมโครงการ Saturday School Partner Schools and Communities | 9


6

ชุมชนเขตพระนคร วิชาที่สอน: ภาษาอังกฤษ และ การถ่ายภาพ จ�ำนวนนักเรียนในโครงการ: 45 คน จ�ำนวนอาสาสมัคร: 39 คน ชุมชนเขตพระนคร ถือเป็นชุมชนที่อยู่ในเขตอนุรักษ์ โดยรอบๆ ชุมชนมีแหล่งท่องเที่ยว เชิงประวัติศาสตร์ ศิลปะวัฒนธรรม และ การเมืองการปกครองรายล้อมอยู่เป็นจ�ำนวน มาก อีกทั้งแต่ละชุมชนเองยังมีประวัติศาสตร์ ซึ่งเป็นเสน่ห์ที่ช่วยดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้ง ไทยและต่างชาติให้มาเยือนเป็นจ�ำนวนมาก ชุมชนเขตพระนครร่วมมือกับ Once Again Hostel เข้าร่วมโครงการ Saturday School เพราะต้องการให้นักเรียนในชุมชนได้เห็นคุณค่า และเสน่ห์ของชุมชนของตัวเอง โดยผ่าน การเรียนรู้วิชาต่างๆ จากครูอาสา ซึ่งเมื่อเด็กได้เห็นคุณค่าและเสน่ห์ของชุมชนของตนแล้ว จะได้ท�ำการรักษาเสน่ห์ของชุมชนที่มีประวัติเก่าแก่ไว้สืบต่อให้รุ่นต่อไป

10 | Partner Schools and Communities


7

ชุมชนวัดดวงแข วิชาที่สอน: วิชาการตัดต่อภาพยนตร์ จ�ำนวนนักเรียนในโครงการ: 15 คน จ�ำนวนอาสาสมัคร: 4 คน มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก (มพด.) ก่อตั้งขึ้นเมื่อ 31 มีนาคม 2525 มีจุดประสงค์เพื่อพัฒนา เด็กกลุ่มเป้าหมาย 4 กลุ่มหลักคือ เด็กในสภาวะวิกฤต 3 จังหวัดภาคใต้ แรงงานเด็ก เด็ก ถูกทอดทิ้งในชนบท และ เด็กชุมชนแออัดในเมืองโดยพันธกิจของ มพด.ศูนย์ชุมชนวัด ดวงแขนั้นคือการส่งเสริมพัฒนาการของเด็กๆในชุมชนแออัดเมืองทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์และสังคมผ่านการสร้างพื้นที่สร้างสรรค์ เช่นการปรับภูมิทัศน์โดยรอบชุมชน และการมาพื้นที่ส�ำหรับให้เด็กๆได้เล่นและเรียนรู้ ที่ผ่านมา ในพื้นที่มพด.ศูนย์ดวงแขมีกลุ่มอาสาหลายกลุ่มเข้ามาจัดกิจกรรมอยู่เรื่อยๆ แต่ ยังขาดความต่อเนื่อง การที่ Saturday School มีคอร์สระยะยาวสองเดือนจึงท�ำให้น้องๆ ได้ความรู้นั้นๆเข้มข้นกว่ากิจกรรมทั่วไป ทั้งนี้น้องๆเยาวชนที่ชุมชนวัดดวงแขมีความสนใจ ด้านการท�ำสื่ออยู่แล้ว ประกอบกับมีอาสาส่วนหนึ่งท�ำงานด้านนี้ ทาง Saturday School จึงได้จัดให้ทั้งสองฝั่งคือกลุ่มนักอยากเรียนและกลุ่มครูอยากสอนมาเจอกัน โดยหวังว่า นอกจากเทคนิคต่างๆที่ได้จากการเรียนแล้ว น้องๆจะสามารถเอามันไปปรับใช้ในการ ท�ำความฝันของตัวเองให้ส�ำเร็จได้ Partner Schools and Communities | 11


SOME OF OUR CLASSES ตัวอย่างวิชาที่เปิดสอน Acting เพื่อให้ผู้เรียนได้รับรู้ และเข้าใจตัวเอง เพราะการแสดงคือศาสตร์และศิลป์แห่งการค้นหาตัวเองโดยแท้จริง เมื่อผู้เรียนตระหนัก ได้ถึงการรับรู้ตัวเอง ก็จะเป็นจุดเริ่มต้นของการเข้าใจผู้อื่น และอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างปกติสุข อีกทั้งหัวใจสำ�คัญของวิชาการ แสดงไม่ใช่การเรียนรู้เพื่อจะไปเป็นคนอื่น แต่คือศาสตร์แห่งการค้นหาคนอื่นที่ซ่อนอยู่ในตัวเรา เมื่อผู้เรียนได้มองเห็นตนเองใน มุมมองที่หลากหลาย ก็สามารถสร้างการเติบโตและพัฒนาตนเองอย่างรอบด้านได้ในโอกาสเดียวกัน มากไปกว่านั้นเมื่อผู้เรียนได้ รับรู้และเข้าใจตัวเองอย่างถ่องแท้ ก็จะนำ�มาสู่ การยอมรับตัวเองในที่สุด

STEM วิชา STEM หรือที่ย่อมาจาก Science Technology Engineering Mathematics เกิดจากการรวมเอาศาสตร์ด้าน วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม และคณิตศาสตร์ มาประยุกต์รวมกันเพื่อแยกออกมาเป็นวิชาใหม่นอกเหนือจากศาสตร์ หลักทั้งสี่ การสอนวิชา STEM มุ่งให้เด็กรู้จักสังเกตสิ่งแวดล้อมรอบตัวและมองเห็นถึงปัญหาหรือประเด็นในชีวิตประจำ�วัน จาก นั้นจึงค้นคว้าหาวิธีการแก้ปัญหาที่หลากหลายผ่านกระบวนการตั้งคำ�ถาม การทดลอง การสังเกต การออกแบบ และเชื่อมโยง ความสำ�คัญของศาสตร์วิชาทั้งสี่รวมถึงวิชาอื่นๆ เข้าด้วยกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ การสอนวิชา STEM จึงไม่ใช่แค่เพียงการ สอนคำ�นวณ การทำ�การทดลองในห้องเรียน หรือการนั่งฟังคุณครูบรรยาย แต่เป็นการกระตุ้นความคิดของเด็กให้รู้จักตั้งคำ�ถาม ฝึกให้คิดวิธีหาคำ�ตอบ ผลักดันให้กล้าที่จะทดลองลงมือทำ� และปลูกฝังให้เรียนรู้จากความผิดพลาด เพื่อนำ�ไปสู่การสร้างสรรค์ นวัตกรรมหรือองค์ความรู้ใหม่ต่อไป

Product Design วิชาการออกแบบผลิตภัณฑ์และการตลาด เป็นวิชาที่เกิดจากการรวมตัวกันของอาสาสมัครจากสองสายอาชีพ นักออกแบบ และ นักการตลาดโดยมีจุดมุ่งหมายที่จะให้นักเรียนออกแบบผลิตภัณฑ์ที่สามารถจับต้องได้ และสามารถนำ�ไปขายได้จริง อีกทั้งยังมุ่ง ที่จะฝึกทักษะต่างๆไม่เฉพาะเพียงทักษะสำ�คัญในการออกแบบ แต่ยังรวมถึงที่สำ�คัญต่อการเรียนรู้ในวิชาอื่นๆ และการใช้ชีวิต ประจำ�วัน ไม่ว่าจะเป็น การคิดอย่างมีวิจารณญาน การพูดต่อหน้าสาธารณะ การแสดงความคิดเห็นในเชิงสร้างสรรค์ และการ ทำ�งานเป็นทีม เป็นต้น

12 | Our Classes


English วิชาภาษาอังกฤษ เป็นวิชาที่เกิดจากการรวมตัวกันของกลุ่มอาสาสมัครที่มีความรู้ความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ และ ต้องการถ่ายทอดทักษะของการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อใช้ในชีวิตประจำ�วัน เพื่อให้ผู้เรียนสามารถใช้ภาษาอังกฤษเพื่อสื่อสารอย่าง ง่ายๆ ได้ และมีความกล้าที่จะพูดภาษาอังกฤษกับชาวต่างชาติในประเทศไทย เพื่อให้ผู้เรียนกล้าพูดและรู้สึกว่าการพูดภาษา อังกฤษ ไม่ใช่เรื่องที่น่าอาย และสามารถเรียนรู้ภาษาอังกฤษจากสิ่งรอบๆ ตัวได้ รวมถึง สามารถช่วยเหลือนักท่องเที่ยวชาวต่าง ชาติที่พูดภาษาอังกฤษในเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ได้

Public Speaking วิชาการพูดในที่สาธารณะ หรือ Public Speaking นอกจากพัฒนาทักษะการพูดของน้องๆ ให้สามารถเป็นผู้พูดที่มีความมั่นใจ ในตนเอง กล้าแสดงออก สามารถออกไปพูดต่อหน้าคนที่น้องๆไม่รู้จักได้อย่างมั่นใจแล้ว ยังฝึกให้น้องเป็น Active Listeners ฝึกทักษะการเป็นผู้เสพสื่อที่ดี กล้าที่จะคิด วิพากษ์วิจารณ์ และกล้าเห็นต่างในเนื้อหานั้นๆ และยังสร้างทักษะการทำ�งานแบบ เป็นทีม เพราะเราถือว่าห้องเรียนของเราเป็น Safe Space ที่น้องๆทุกคนสามารถแสดงความคิดเห็น ให้คำ�แนะนำ�เพื่อน และ เป็นผู้รับคำ�แนะนำ�นั้นๆได้อย่างเต็มที่เพื่อการพัฒนาตนเองและการพัฒนาเพื่อนไปด้วย การสอนแต่ละสัปดาห์ถูกออกแบบ มาเพื่อทำ�ให้น้องกล้าคิดในประเด็นที่ตั้งไว้ให้ ไม่ว่าจะเป็นการแนะนำ�ตัวเอง การนำ�เสนอสินค้า การแลกเปลี่ยนและรับฟัง ประสบการณ์จากเพื่อนและครู การถกเถียงและตั้งคำ�ถาม จากนั้นจึงส่งเสริมให้น้องสามารถวิเคราะห์ข้อมูลและออกแบบวิธี การนำ�เสนอของตนเองด้วยการพูดต่อหน้าเพื่อนและครูอย่างมั่นใจและสร้างสรรค์

Video Editing วิชาตัดต่อภาพยนตร์เกิดขึ้นจากความต้องการของน้องๆกลุ่มเยาวชนชุมชนวัดดวงแขเองที่สนใจด้านการทำ�สื่อเป็นทุนเดิมและ มีพื้นฐานบางส่วนแล้ว โดยวิชานี้เน้นการเพิ่มความน่าสนใจของภาพยนตร์ให้มีความเป็นมืออาชีพมากขึ้นและหวังว่าน้องๆจะ สามารถนำ�ไปประกอบอาชีพได้ในอนาคต นอกจากนี้เรายังหวังว่าการได้สร้างสรรค์ผลงานที่เป็นของตัวเองจะทำ�ให้น้องๆมีความ ภูมิใจในตัวเองและเชื่อว่าตัวเองมีความสามารถที่จะทำ�ตามความฝันให้สำ�เร็จได้

Our Classes | 13


SEASON 4 CONCLUSION บทสรุปของภารกิจเพื่อการเรียนรู้ครั้งที่ 4 Saturday School Season 4: Mission I’M POSSIBLE! มีโรงเรียนเข้าร่วมกิจกรรม 5 โรงเรียน ประกอบไปด้วย 1. โรงเรียนเพี้ยนพินอนุสรณ์ เขตบางนา 2. โรงเรียนวัดเกาะ สุวรรณาราม เขตสายไหม 3. โรงเรียนบางยี่ขันวิทยาคม เขต บางพลัด 4. โรงเรียนเคหะทุ่งสองห้องวิทยา 2 เขตหลักสี่ และ 5. โรงเรียนชุมชนหมู่บ้านพัฒนา เขตคลองเตย และมี เครือข่ายชุมชนเข้าร่วม 2 ชุมชน ประกอบไปด้วย ชุมชนวัด ดวงแข และชุมชนเขตพระนคร โดยใน Season 4 ได้เปิด สอนรายวิชาต่อไปนี้ ภาษาอังกฤษ STEM การพูดในที่สาธารณะ การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ศิลปะการแสดง Web Design ธุรกิจ การท�ำอาหาร วิเคราะห์ภาพยนตร์ ประดิษฐ์ละคร ออกแบบผลิตภัณฑ์ การถ่ายท�ำภาพยนตร์เบื้องต้น ถ่ายภาพ

4 ห้อง 3 ห้อง 2 ห้อง 2 ห้อง 1 ห้อง 1 ห้อง 1 ห้อง 1 ห้อง 1 ห้อง 1 ห้อง 1 ห้อง 1 ห้อง 1 ห้อง

รายวิชาเหล่านี้ถูกสอนโดยครูอาสาสมัครจากหลากหลาย วิชาชีพ ไม่ว่าจะเป็น สถาปนิก วิศวกร นักลงทุน ผู้ให้ค�ำ ปรึกษาด้านการเงิน นักการบัญชี และอื่นๆ (ดูรายละเอียด เพิ่มเติมได้ในแผนภาพที่ 1) โดยมีจ�ำนวนนักเรียนและอาสา สมัครในแต่ละวิขาตามที่แสดงในตารางที่ 2

14 | Season 4 Conclusion

13 12

1

11 10 9 8 7

2 6 5

4

1. นักเรียน นักศึกษา 2. วิศวกร 3. นักการเงิน 4. รับจ้าง 5. นักการตลาด 6. อาจารย์ / ครู 7. นักออกแบบ 8. IT 9. Private Employee 10. เจ้าของกิจการ 11. ที่ปรึกษา 12. นักตัดต่อภาพยนตร์ 13. อื่นๆ

3

17 คน 27% 9 คน 14% 4 คน 6% 4 คน 6% 4 คน 6% 4 คน 6% 3 คน 5% 3 คน 5% 3 คน 5% 2 คน 3% 2 คน 3% 2 คน 3% 7 คน 11%

แผนภาพที่ 1 แสดงสัดส่วนของอาสาสมัครตามอาชีพ


โรงเรียน โรงเรียนเพี้ยนพินอนุสรณ์

วิชา

การพูดในที่สาธารณะ การแสดง การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ภาษาอังกฤษ โรงเรียนวัดเกาะ STEM สุวรรณาราม ภาษาอังกฤษ Business การพูดในที่สาธารณะ โรงเรียนบางยี่ขันวิทยาคม Web Design การท�ำอาหาร วิเคราะห์ภาพยนตร์ โรงเรียนเคหะทุ่งสองห้อง การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ วิทยา 2 ภาษาอังกฤษ STEM โรงเรียนชุมชนหมู่บ้าน STEM พัฒนา ออกแบบผลิตภัณฑ์ ประดิษฐ์ละคร ชุมชนวัดดวงแข การถ่ายท�ำภาพยนตร์ ชุมชนเขตพระนคร ถ่ายภาพ ภาษาอังกฤษ รวม

จ�ำนวนนักเรียน (คน) 12 19 9 11 17 14 15 6 10 10 19 13 14 10 5 24 24 11 12 15 270

จ�ำนวนครูอาสา (คน) 3 5 2 4 5 3 4 4 2 1 2 5 4 5 5 4 5 3 5 7 78

ตารางที่ 2 ตารางแสดงจ�ำนวนนักเรียน และครูอาสาสมัครตามรายวิชาที่เข้าร่วมโครงการ

Season 4 Conclusion | 15


LESSON LEARNED ถอดบทเรียนการเรียนรู้

ข้อมูลที่ใช้ในการประกอบการถอดบทเรียนมี 2 ส่วน 1. บันทึก After Action Review ของอาสาสมัครจ�ำนวน 140 ข้อมูล ส�ำหรับกิจกรรมการเรียนรู้ในสัปดาห์ที่ 1-7 และ อีก 20 ข้อมูลการเรียนรู้ในกิจกรรมสัปดาห์ที่ 8 (วัน Big Day) คิดเป็นระยะเวลาการเรียนรู้รวมทั้งสิ้น 480 ชั่วโมง 2. การติดตามและประเมินโดยทีมนิเทศการเรียนรู้ การถอดบทเรียนกิจกรรมของ Saturday School ใน Season 4 เน้นถอดบทเรียนใน 4 ด้านได้แก่ ผลที่เกิดขึ้นกับ นักเรียน ผลที่เกิดขึ้นกับครูอาสา ประสิทธิภาพของเนื้อหาการ เรียนรู้ และผลกระทบเชิงบวก ผลที่เกิดขึ้นกับนักเรียน กิจกรรมการเรียนรู้ที่จัดขึ้นในตลอด 8 สัปดาห์ของโครงการ Saturday School ใน Season ที่ 4 นั้นมีนักเรียนที่เข้า โครงการมากกว่า 200 คนในกว่า 7 พื้นที่การเรียนรู้ โดย นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการทั้งหมดสมัครเข้าร่วมด้วยความ สมัครใจ ทั้งนี้ในด้านผลที่เกิดขึ้นกับนักเรียนจะถูกอธิบายออก เป็น 3 ด้าน ได้แก่ ด้านวิชาการและสาระการเรียนรู้ ด้าน พฤติกรรม และด้านการพัฒนาเป็นผู้ใฝ่รู้ ด้านวิชาการและสาระการเรียนรู้ เนื้อหาวิชาการเรียนรู้ของกิจกรรมที่เกิดขึ้นแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม 1. กลุ่มวิชาที่เน้นทักษะทางด้านวิชาการ และทักษะการ คิดวิเคราะห์ 2. กลุ่มวิชาที่เน้นพัฒนาทักษะการออกแบบและ การคิดเชิงวิชาชีพ และ 3. กลุ่มวิชาที่เน้นการพัฒนาตนเอง ของผู้เรียนและการแสดงความสามารถในพื้นที่สาธารณะ ซึ่งในแต่ละกลุ่มเน้นการพัฒนานักเรียนทางด้านวิชาการและ การพัฒนาทักษะอื่น ๆ ที่แตกต่างกันไป โดยผลที่เกิดขึ้นกับ นักเรียนตลอดโครงการสามารถสรุปได้ดังนี้

16 | Lesson Learned

1. กลุ่มวิชาที่เน้นทักษะทางด้านวิชาการ และทักษะการคิด วิเคราะห์ (วิชาภาษาอังกฤษ วิชาการเขียนโปรแกรม คอมพิวเตอร์ และวิชา STEM) การเรียนรู้ในกลุ่มวิชาเหล่านี้นักเรียนจะได้รับการพัฒนา ทักษะทางวิชาการไปพร้อม ๆ กับกิจกรรมการเรียนรู้ที่เกิดขึ้น ในกิจกรรม โดยครูอาสาสมัครเน้นการออกแบบกิจกรรมการ เรียนรู้โดยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการออกแบบ โดยผลการ ส�ำรวจในนักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรม มองว่าตนเองมีส่วนร่วม ในการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้มากถึงระดับค่าเฉลี่ย 3.71 จากคะแนนเต็ม 4 ซึ่งจากการทบทวนหลังกิจกรรม (After Action Review) จากอาสาสมัครเองให้ความส�ำคัญอย่างยิ่ง กับการให้เด็กมีส่วนร่วมในการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ เนื่องจากเนื้อหากิจกรรมทางค่อนข้างไปทางวิชาการอาจ ท�ำให้เด็กรู้สึกเบื่อหน่ายได้ง่าย ครูอาสาสมัครจึงใช้ กระบวนการดังกล่าวเพื่อแก้ปัญหา ประกอบกับนักเรียนเลือก เข้าเรียนในรายวิชาด้วยความสมัครใจท�ำให้ผลที่เกิดขึ้นใน กลุ่มวิชาเหล่านี้ คือนักเรียนพัฒนาทักษะตัวเองอย่างเต็มที่ โดยรูปแบบกิจกรรมที่ส่งเสริมการพัฒนาทักษะของนักเรียน ได้แก่ 1. Game based learning 2. Appreciative Inquiry และ 3. Scientific Method - Game Based Learning ในรายวิชาภาษาอังกฤษ กิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นการใช้เครื่องมือเกมเป็นตัวสร้าง ความเชื่อมโยงกันระหว่าง เนื้อหา ครูอาสา และนักเรียน - Appreciative Inquiry หรือกระบวนการสืบสอบแบบ ชื่นชม ในรายวิชา STEM ที่เน้นการเรียนรู้ที่สร้างประเด็น ปัญหา และให้นักเรียนออกแบบกระบวนการผ่านเครื่องมือ หลักในแนวทางการเรียนรู้ของ STEM ที่เน้นการออกแบบการ แก้ปัญหาเชิงวิศวกรรม ที่ต้องใช้ความรู้ร่วมกันทางด้าน วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์


โดยครูอาสาสมัครจะเป็นผู้จัดกระบวนการเรียนรู้โดยให้ นักเรียนมีส่วนร่วมในการก�ำหนดประเด็นที่ตนเองสนใจ ผลที่ เกิดขึ้นกับนักเรียนในการเรียนรู้รูปแบบนี้คือ นักเรียนได้รับ การพัฒนาด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณผ่านการวางแผน การแก้ไขปัญหาที่ครูอาสาจัดกระบวนการขึ้น โดยข้อสังเกตที่ น่าสนใจของรายวิชา STEM คือ ครูอาสามีความสามารถใน การน�ำพานักเรียนไปถึงหัวใจส�ำคัญของการเรียนรู้ คือ การ สร้างให้นักเรียนรู้จักมองปัญหาอย่างเข้าใจ ผ่านกระบวนการ ตั้งค�ำถามที่ครูอาสาตั้งขึ้น และค�ำตอบของค�ำถามเหล่านั้นจะ ถูกน�ำมาพัฒนาเป็นแนวทางการจัดการปัญหาที่ก�ำหนดขึ้น โดยที่สังเกตได้ชัดเจนจากการเข้าสังเกตการณ์การเรียนรู้อย่าง มีส่วนร่วมของทีมงานหลักจากโครงการ พบว่า ครูอาสาสมัคร มีชุดค�ำถามที่หลากหลายที่สามารถกระตุ้นกระบวนการคิด ของนักเรียนได้เป็นอย่างดี ประกอบกับการไม่ตัดสินคุณค่า ของค�ำตอบที่นักเรียนพูดออกมา จึงท�ำให้นักเรียนไม่รู้สึก กดดันการเรียนรู้ และรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้ได้เป็น อย่างดี - Scientific Method หรือการเรียนรู้ผ่านเทคนิควิทยา ศาสตร์โดยใช้คอมพิวเตอร์ ภายใต้กลุ่มผู้เรียนที่มีความหลาก หลาย ในรายวิชาการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เทคนิคการ เรียนรู้แบบวิทยาศาสตร์ทางคอมพิวเตอร์ เป็นกระบวนการที่ เน้นให้ผู้เรียนได้รับการพัฒนากระบวนการออกแบบความคิด เชิงระบบ โดยจุดเด่นที่ชัดเจนของการใช้เทคนิคการเขียน โปรแกรมคอมพิวเตอร์มาใช้ในเด็ก คือ เป็นการลดช่องว่าง ความแตกต่างของผู้เรียนได้เป็นอย่างดี ในพื้นที่กิจกรรมที่ นักเรียนมีความหลากหลายด้านการเรียนรู้ มีระดับความ สามารถการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน เครื่องมือนี้สามารถช่วยได้ เป็นอย่างดี เพราะเป้าหมายของกระบวนการเรียนรู้รูปแบบนี้ เน้นการพัฒนากระบวนการคิดมากกว่าผลลัพธ์ของการเรียนรู้ ผลที่ได้คือ นักเรียนจะช่วยกันเสนอไอเดีย และพัฒนาความ คิดสร้างสรรค์ในแนวทางของตนเองได้เป็นอย่างดี โดย กิจกรรมของ Saturday School มีนักเรียน 2 ช่วงอายุที่แตก ต่างกันในต่างพื้นที่ที่ใช้เทคนิคการเรียนรู้เดียวกัน คือ นักเรียน ระดับประถมศึกษาตอนปลาย และมัธยมศึกษาตอนต้น ซึ่ง นักเรียนมีความแตกต่างกันมากในแง่ความสามารถทางการ เรียนรู้และระดับความรู้ที่ต่างกันมากที่สุดถึง 6 ชั้นปี อาจ ประสบปัญหาด้านการจัดการชั้นเรียนบ้าง แต่ผลที่เกิดขึ้นกับ นักเรียนในแง่ผลลัพธ์ทางการเรียนรู้ไม่มีความแตกต่างกันมาก นัก

2. กลุ่มวิชาที่เน้นพัฒนาทักษะการออกแบบและการคิดเชิง วิชาชีพ (วิชา Web Design วิชาธุรกิจ วิชาการท�ำอาหาร วิชาประดิษฐ์ละคร และวิชาการออกแบบผลิตภัณฑ์) การเรียนรู้ที่เกิดขึ้นในกลุ่มวิชาเหล่านี้มีทิศทางการเรียนรู้คือ เน้นให้นักเรียนออกแบบ หรือคิดเพื่อน�ำไปสู่การประกอบ วิชาชีพ มากไปกว่าการสร้างผลิตภัณฑ์เพื่อจ�ำหน่ายยังมีเบื้อง หลังของการเรียนรู้ที่เน้นให้นักเรียนวางแผนการออกแบบ โดยผลที่เกิดขึ้นกับนักเรียนที่เรียนในกลุ่มวิชานี้คือจะเป็นผู้ที่ คิดอย่างรอบด้าน เน้นการวางแผน วิเคราะห์ก่อนการสร้าง หรือออกแบบผลิตภัณฑ์จริง นอกจากนี้ในครูอาสาสมัครหลาย วิชาในกลุ่มนี้ยังเน้นสะท้อนให้นักเรียนมีมุมมองด้านธุรกิจ และมุมมองด้านอาชีพที่มีมิติที่ขยายขึ้น เช่น การสื่อสาร การ จัดการทรัพยากร และการให้นักเรียนมีมุมมองด้านผลิตภัณฑ์ และการออกแบบที่เน้นกระบวนการทางสถาปัตยกรรมที่ ชัดเจน โดยกรอบการเรียนรู้โดยรวมของกลุ่มวิชานี้ อยู่บน ฐานคิดร่วมกันคือ Resource Based Management และ จากการถอดบทเรียนสามารถสรุปรูปแบบการเรียนรู้ได้ดังนี้

1

กำหนดแนวคิด การออกแบบ

2

กำหนดเปาหมาย การออกแบบ

3

บริหารจัดการ ทรัพยากร

4

กำหนดการประเมิน ความสำเร็จชิ้นงาน

5

สราง ประเมิน และแกไขชิ้นงาน

Lesson Learned | 17


3. กลุ่มวิชาที่เน้นการพัฒนาตนเองของผู้เรียนและการ แสดงความสามารถในพื้นที่สาธารณะ (วิชาการพูดในที่ สาธารณะ วิชาศิลปะการแสดง วิชาวิเคราะห์ภาพยนตร์ วิชาการถ่ายท�ำภาพยนตร์เบื้องต้น และวิชาถ่ายภาพ) วิชาการ เรียนรู้ในกลุ่มนี้เน้นการจัดการเรียนรู้แบบ Activity Based Learning โดยผู้เรียนที่เข้าร่วมเรียนรู้ในกลุ่มวิชานี้จะ ได้รับ การพัฒนาทักษะแบบองค์รวมและหลากหลาย จากการ สังเกตการณ์อย่างมีส่วนร่วมและการทบทวนหลังปฏิบัติการ (After Action Review) ได้ค้นพบหลักการร่วมของการเรียน รู้ในกลุ่มวิชานี้ ดังนี้

กลุ่มวิชาที่เน้นการพัฒนามุมมองเชิงบริบท และความคิด สร้างสรรค์ เน้นผู้เรียนเข้าใจบริบททั้งในแง่สังคมวัฒนาธรรม ของตนเอง และสามารถสื่อสารเรื่องราวเหล่านั้นออกมาได้ อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากการสื่อสารได้แล้วนักเรียนยัง ต้องมุ่งคิดวิเคราะห์ และเปรียบเทียบคุณค่าต่างๆ ในหลายๆ แง่มุม โดยการพัฒนามุมมองเชิงบริบทเหล่านี้จะสร้างให้ นักเรียนรู้เท่าทันสถานการณ์ ทั้งสถานการณ์ปัจจุบันของตน บริบทของตน และบริบทของผู้อื่นอีกด้วย กลุ่มวิชาที่เน้นการ พัฒนาด้านนี้คือ วิชาวิเคราะห์ภาพยนตร์ วิชาถ่ายภาพ และ วิชาการถ่ายทาภาพยนตร์เบื้องต้น

ด้านพัฒนาการเป็นผู้ใฝ่รู้ กิจกรรมการเรียนรู้ของ Saturday School ให้ความส�ำคัญ ครูผูสอน อย่างยิ่งกับความต้องการของผู้เรียน นักเรียนสามารถเลือก กำหนด สนับสนุน วั ต ถุ ป ระสงค และสรางโอกาส เข้าร่วมกิจกรรมได้อย่างอิสระ และมีสิทธิ์เลือกเรียนใน การเรียนรู การเรียนรู ACTIVITIES รายวิชาที่ตนเองสนใจ เพียงเพราะการต้องมาเรียนในวันเสาร์ BASED ก็สะท้อนได้เป็นอย่างดีว่านักเรียนมีความใฝ่รู้ใฝ่เรียนมากใน LEARNING ครูปรับกิจกรรม ระดับหนึ่ง และการเข้าร่วมกิจกรรมอย่างสม�่ำเสมอก็ยิ่ง ครูพัฒนา และสื่อการสอน สื่อการสอน ตามการเรียนรู ของนักเรียน สะท้อนเรื่องดังกล่าวได้เป็นอย่างดี จากกิจกรรมทั้งหมดใน 8 ที่หลากหลาย ในแตละครั้ง สัปดาห์ นักเรียนกว่าร้อยละ 70 เข้าร่วมกิจกรรม 6-8 สัปดาห์ ครูใชสื่อการสอน รวมกับกิจกรรม อย่างสม�่ำเสมอ นอกจากตัวเลขของการเข้าร่วมที่ สม�่ำเสมอ การเรียนรู แล้ว กิจกรรมการเรียนรู้ยังมุ่งพัฒนานักเรียนให้เป็นผู้ใฝ่รู้ เริ่ม จากการให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการออกแบบกระบวนการ ผลที่เกิดขึ้นเด่นชัดกับนักเรียนที่เข้าร่วมเรียนรู้ในกลุ่มวิชานี้ เรียนรู้ ก�ำหนดและเลือกประเด็นที่สนใจด้วยตัวเอง จาก เกิดขึ้นอย่างหลากหลายดังนี้ แบบสอบถามไปยังนักเรียนพบว่านักเรียนรู้สึกว่าตนเองมีส่วน ความสามารถในการรู้จักตนเอง ความสามารถด้านนี้รวมไป ร่วมในการออกแบบกระบวนการเรียนรู้มากในระดับ 3.31 ถึงการรับรู้ความสามารถที่ตนท�ำได้ การรู้เท่าทันอารมณ์ความ จากคะแนนเต็ม 4 โดยประเด็นที่ครูอาสาได้มุ่งเน้นพัฒนา รู้สึกของตนเอง เมื่อครูผู้สอนนาพานักเรียนมาถึงจุดนี้ก็จะ ความเป็นผู้ไฝ่รู้มีหลายกระบวนการ ดังนี้ สามารถพัฒนานักเรียนให้ไปถึงศักยภาพสูงสุดของนักเรียนได้ การเรียนรู้ด้านนี้เน้นการพัฒนาคุณค่าจากภายในของตัวเอง - สร้างเงื่อนไขการเรียนรู้ที่เน้นให้นักเรียนแสวงหาค�ำตอบด้วย เป็นส�ำคัญ โดยวิชาที่เน้นการพัฒนาด้านนี้คือ ศิลปะการแสดง ตนเอง ความสามารถในการสื่อสารสาธารณะ ความสามารถด้านนี้ - สร้างกิจกรรมที่เน้นให้นักเรียนออกแบบกระบวนการสาหรับ คือการที่ผู้เรียนสามารถก้าวข้ามการสื่อสารในบริบททั่วไป มุ่ง กิจกรรมต่างๆ โดยการผ่านสถานการณ์เหล่านั้นไปได้ เน้นการสื่อสารความเข้าใจในมิติที่กว้างขึ้น เน้นการพัฒนา นักเรียนต้องฝึกการตั้งค�ำถาม หาข้อมูลด้วยตัวเอง ปรึกษา เนื้อหาความเข้าใจ ก�ำหนดจุดประสงค์ที่ชัดเจนเพื่อใช้ในการ หารือกับเพื่อน และก�ำหนดวิธีการท�ำงาน สื่อสาร ก�ำหนดคุณค่าของการสื่อสาร สามารถคิดและ - การให้โจทย์หรือภารกิจระหว่างสัปดาห์เพื่อให้นักเรียนฝึก วิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการสื่อสารของตนได้ กระบวนการคิด และท�ำงาน ยังเป็นเครื่องมือทดสอบการใฝ่รู้ โดยวิชาที่มุ่งเน้นการพัฒนาด้านนี้คือ วิชาการพูดในที่ ของนักเรียนได้เป็นอย่างดี สาธารณะ วิชาศิลปะการแสดง และวิชาการถ่ายภาพยนตร์ - ค�ำถามต่างๆที่นักเรียนถามมายังครูอาสา เป็นหนึ่งในตัวชี้วัด เบื้องต้น การใฝ่รู้ได้ดี โดยเฉพาะค�ำถามที่เน้นกระบวนการต่อยอด ความคิด โดยเมื่อนักเรียนเริ่มกระบวนการโต้แย้งกันเองกับ คนหา ความสามารถ ของผูเรียน

18 | Lesson Learned


เพื่อนด้วยเหตุผลต่างๆก็ยิ่งเป็นข้อสนับสนุนการใฝ่รู้ของ นักเรียนได้เป็นอย่างดี - การวางแผน และใช้เวลานอกเหนือจากกิจกรรมของ Saturday School ร่วมกันคิดและวางแผนร่วมกับเพื่อนๆ เกี่ยวกับกิจกรรมต่างๆที่จะเกิดขึ้นของ Saturday School เป็นข้อสะท้อนพฤติกรรมได้ดี ด้านพฤติกรรม พื้นที่กิจกรรมของ Saturday School มีความหลากหลาย และหลายพื้นที่ปฏิบัติงานตั้งอยู่ในจุดที่มีความท้าทายต่อการ จัดการเรียนรู้ ด้วยลักษณะพฤติกรรมและการแสดงออกของ นักเรียนที่มีความแตกต่างกัน ประกอบกับครูอาสาสมัครส่วน พฤติกรรมที่แสดงออก นักเรียนมาเข้าร่วม กิจกรรมช้ากว่าเวลาที่ ก�ำหนด

ใหญ่มาจากวิชาชีพที่ไม่ได้จบหลักสูตรครูมาโดยตรง ท�ำให้การ จัดการชั้นเรียนมีความท้าทายมาก โดยเฉพาะแล้วกับการ พยายามจัดการกับพฤติกรรมของนักเรียนที่เป็นอุปสรรคต่อ การจัดการเรียนรู้ แต่ทั้งนี้กระบวนการที่ครูอาสาใช้เป็นไปใน แนวทางที่สอดรับกับหลักการพื้นฐานของการจัดการชั้นเรียน คือให้คุณค่า เคารพคุณค่า และยอมรับในคุณค่าที่แตกต่างกัน ในตัวของผู้เรียน การจัดการพฤติกรรมที่ใช้จึงเป็นกระบวน การเชิงสร้างสรรค์ที่เน้นให้นักเรียนมีการปรับเปลี่ยนลักษณะ พฤติกรรมระยะยาว มากไปกว่านั้นหลายกระบวนการยังเน้น สร้างและพัฒนาพฤติกรรมที่ดีอยู่แล้วมีนักเรียนตระหนักเห็น คุณค่าในตัวของตนเองมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้กระบวนการที่ครูอาสา ใช้เพื่อปรับพฤติกรรมนักเรียนมีดังนี้

แนวทางปฏิบัติของครูอาสา ครูอาสามาเร็วกว่าก�ำหนดเสมอๆ และมา ตรงเวลาทุกครั้ง

นักเรียนพูดจาหยาบคาย ครูอาสาเลือกใช้วิธีการพูดคุยเป็นรายบุคคล ตะโกนเสียงดัง รับฟังสาเหตุ ร่วมหาสาเหตุ และไม่มีการ ท�ำโทษนักเรียนในทันที นักเรียนขาดแรงบันดาล ครูอาสาเลือกสะท้อนข้อคิดเชิงบวก เล่า ใจในการเรียน สถานการณ์ประกอบ รวมถึงให้นักเรียน เขียนบอกเล่าถึงความโชคดีในชีวิตของ นักเรียนออกมาก นักเรียนมีปัญหาส่วนตัว ครูอาสาใช้กระบวนการรับฟังอย่างมีความ ที่เป็นอุปสรรคต่อการ รู้สึกร่วม แสดงความเข้าใจ และให้ก�ำลังใจ เรียนรู้ เด็กนักเรียนระดับชั้น ครูอาสาแบ่งทีมการท�ำงานออกเป็นกลุ่มๆ ประถมศึกษาที่เข้าร่วม ประกบเด็กและแบ่งทีมการเรียนรู้ ลดขนาด กิจกรรมขาดสมาธิใน ของห้องเรียนให้กลายเป็นกิจกรรมกลุ่มมาก การเรียน ขึ้น เด็กนักเรียนระดับชั้น ครูอาสาใช้สื่อและอุปกรณ์การเรียนรู้ ช่วย ประถมศึกษาที่เข้าร่วม สร้างความสนใจในการเรียนรู้ กิจกรรมขาดสมาธิใน การเรียน นักเรียนขาดการมีส่วน ครูอาสาสร้างบทบาทให้นักเรียนเป็นส่วน ร่วมในการเรียนรู้ และ หนึ่งของการเรียนรู้ แสดงความก่อกวน

ผลที่ได้ นักเรียนตระหนักได้ว่าไม่ควรปล่อยให้ครูอาสามานั่งรอตนเอง ในบางพื้นที่นักเรียนปรับพฤติกรรมด้วยการมาก่อนเวลา และ เตรียมความพร้อมก่อนเข้าเรียน เพื่อถึงเวลาจะสามารถเริ่ม เรียนรู้ได้โดยไม่เสียเวลา นักเรียนรับรู้ได้ถึงความตั้งใจดี และความเอาใจใส่ของครู อาสา ท�ำให้พฤติกรรมที่มีความก้าวร้าวลดลง มากกว่าครึ่ง หนึ่งของนักเรียนที่มีพฤติกรรมดังกล่าว มีการเปลี่ยนแปลง พฤติกรรมอย่างเห็นได้ชัดเจน นักเรียนตระหนักได้ว่าชีวิตนี้ของตนมีความโชคดีมากมาย มี เรื่องราวและสถานการณ์ตัวอย่างจ�ำนวนมากที่จะเป็นแรง ผลักให้เข้าประสบความส�ำเร็จได้ ท�ำให้นักเรียนเปลี่ยน พฤติกรรมที่ตอบสนองต่อการเรียนรู้เป็นไปในเชิงบวกมากขึ้น นักเรียนเปิดใจที่จะเรียนรู้มากขึ้น มีท่าที อารมณ์ความรู้สึกที่ อยากเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ และรู้สึกไว้วางใจต่อครู อาสา นักเรียนต้องโฟกัสการเรียนรู้มากขึ้น เนื่องจากกลุ่มเรียนรู้มี ขนาดเล็กลง นักเรียนมุ่งสนใจการเรียนรู้มากขึ้น

นักเรียนสนใจกิจกรรมมากขึ้น ร่วมกันวางแผน แสดงความ คิดเห็น และมีส่วนร่วมกับสื่อและนวัตกรรมที่ครูอาสาน�ำมา ใช้ นักเรียนรู้สึกว่าตนเองเป็นเจ้าของกิจกรรมการเรียนรู้ที่เกิด ขึ้น และแสดงออกถึงการเรียนรู้อย่างเต็มที่ ตามบทบาทที่ ตนเองได้รับ

Lesson Learned | 19


ผลที่เกิดขึ้นกับครูอาสาสมัคร อาสาสมัครที่สมัครเข้าร่วมโครงการ มาจากหลากหลาย วิชาชีพ ซึ่งประโยชน์ที่อาสาสมัครจะได้รับจากการเข้าร่วม โครงการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการพัฒนาทักษะและความ สามารถต่างๆเป็นสิ่งที่โครงการให้ความส�ำคัญเป็นอย่างยิ่ง กิจกรรมในครั้งนี้ทางโครงการประเมินผลที่เกิดขึ้นกับครูอาสา สมัครใน 3 ด้านดังนี้ 1. การพัฒนาตนเองด้านทักษะการจัดการเรียนรู้ 2. ทักษะการวางแผนและแก้ไขปัญหา และ 3. ทักษะการท�ำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ และการมี ภาวะผู้น�ำ การพัฒนาตนเองด้านทักษะการจัดการ เรียนรู้ ครูอาสาที่สมัครเข้าร่วมโครงการ Saturday School Season 4 ตอน Mission I’M POSSIBLE! ประกอบไปด้วยกลุ่มคนที่ หลากหลายวิชาชีพ นับตั้งแต่ทหาร แพทย์ วิศวกร สถาปนิก อาจารย์มหาวิทยาลัย นักธุรกิจ นิสิต นักศึกษา นักเรียน อาชีพอิสระ และอาชีพอื่น ๆ อีกจ�ำนวนมาก ซึ่งมากกว่า 90% ไม่มีประสบการณ์ในการสอนหรือจัดกระบวนการเรียนรู้มา ก่อน แต่ทั้งนี้ด้วยกระบวนการอาสาสมัครของ Saturday School ที่มีความยืดหยุ่น และมีกรอบปฏิบัติงานในพื้นที่ที่ สนับสนุนการใช้ความสามารถที่มีของอาสาสมัคร ให้อิสระกับ กระบวนการออกแบบการเรียนรู้ ท�ำให้ปัญหาที่เกิดจากทักษะ การจัดการเรียนรู้อยู่ในระดับที่สามารถให้ค�ำแนะน�ำโดยทีม งานหลักและแก้ไขปัญหาได้ในพื้นที่ปฏิบัติงานด้วยการ แสดงออกถึงความตั้งใจในการจัดกระบวนการเรียนรู้ยิ่งท�ำให้ ประสิทธิภาพของกระบวนการจัดการเรียนรู้มีสูงขึ้น จากผล การส�ำรวจความคิดเห็นของนักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรม

20 | Lesson Learned

ประเมินความตั้งใจของครูอาสาอยู่ในระดับ 3.7 จากคะแนน เต็ม 4 ประกอบกับการประเมินระดับนวัตกรรมและความ สร้างสรรค์ในการสอนของครูผู้สอน นักเรียนที่เข้าร่วม กิจกรรมประเมินอยู่ในระดับ 3.71 จากคะแนนเต็ม 4 ทั้งนี้ กระบวนการจัดการเรียนรู้นักเรียนรู้สึกมีส่วนร่วมและตื่นเต้น ไปกับการเรียนรู้ โดยนักเรียนประเมินอยู่ในระดับ 3.54 จาก คะแนนเต็ม 4 คณะท�ำงานด้านหลักสูตรและจัดกระบวนการจัดการเรียนรู้ ประเมินระดับทักษะการจัดการเรียนรู้ของครูอาสาใน 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการใช้สื่อการสอน ด้านการจัดกระบวนการเรียน และด้านการจัดการชั้นเรียน ทักษะด้านการจัดกระบวนการเรียนรู้ของอาสาสมัคร มีระดับ ความสามารถในแต่ละด้านแตกต่างกันไป โดยจากการ สังเกตการณ์การเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วม และการทบทวนหลัง กิจกรรม (After Action Review) พบประเด็นที่น่าสนใจดังนี้ 1. ในทุกระดับการประเมินทั้ง 3 ตัวชี้วัดข้างต้น อาสาสมัคร สามารถสะท้อนปัญหาของตัวเองออกมาได้ และรับรู้ข้อจ�ำกัด และประสิทธิภาพของตนเองดี 2. ทุกครั้งที่มีความผิดพลาดจากเป้าหมายการเรียนรู้ที่ตั้งไว้ ครูอาสาจะมีการปรับแผนและรูปแบบการเรียนรู้เสมอๆ 3. ครูอาสามีความเปิดใจที่จะเรียนรู้ เทคนิคและวิธีการที่ทีม งานจากส่วนกลางเสนอ 4. ข้อจ�ำกัดที่ท�ำให้หลายตัวชี้วัดอยู่ในระดับปกติทั่วไป มี สาเหตุมาจาก จ�ำนวนอาสาสมัครในรายวิชานั้นๆมีน้อย เมื่อ เทียบกับจ�ำนวนนักเรียน ช่วงวัยของนักเรียน สถานที่จัด กิจกรรม และข้อจ�ำกัดด้านการสนับสนุนจากส่วนกลาง


โรงเรียน

วิชา

โรงเรียนเพี้ยนพินอนุสรณ์

โรงเรียนวัดเกาะ สุวรรณาราม

โรงเรียนบางยี่ขันวิทยาคม

โรงเรียนเคหะทุ่งสองห้อง วิทยา 2 โรงเรียนชุมชนหมู่บ้าน พัฒนา ชุมชนวัดดวงแข ชุมชนเขตพระนคร

การใชสื่อ การสอน

เกณฑ์การประเมิน ด้านการใช้สื่อ ด้านการจัด ด้านการจัดการ การสอน กระบวนการ ชั้นเรียน เรียน ดี ดีมาก ดีมาก ดีมาก ดีมาก ดีมาก ดี ดี ดี ทั่วไป ทั่วไป ทั่วไป ดีมาก ดีมาก ดีมาก ทั่วไป ทั่วไป ทั่วไป ดี ดีมาก ดีมาก ดีมาก ดี ดี ทั่วไป ทั่วไป ทั่วไป ทั่วไป ทั่วไป ทั่วไป ทั่วไป ทั่วไป ทั่วไป ดี ดี ทั่วไป ทั่วไป ทั่วไป ทั่วไป ดี ดีมาก ดี ดี ดี ทั่วไป ดี ดีมาก ดีมาก ทั่วไป ทั่วไป ทั่วไป ดีมาก ดีมาก ดี ดี ดี ดีมาก ทั่วไป ดี ดี

การพูดในที่สาธารณะ การแสดง Programming ภาษาอังกฤษ STEM ภาษาอังกฤษ Business การพูดในที่สาธารณะ Web Design การท�ำอาหาร วิเคราะห์ภาพยนตร์ Programming ภาษาอังกฤษ STEM STEM ออกแบบผลิตภัณฑ์ ประดิษฐ์ละคร การถ่ายท�ำภาพยนตร์ ถ่ายภาพ ภาษาอังกฤษ

ทั่วไป

ดี

ดีมาก

การจัดกระบวน การเรียน การจัดการ ชั้นเรียน 0

5

10

15

จำนวน 20 หองเรียน

Lesson Learned | 21


ทักษะการวางแผนและแก้ไขปัญหา ทักษะการวางแผนและแก้ไขปัญหาของครูอาสาที่เข้าร่วม โครงการเป็นอีกหนึ่งผลที่เกิดขึ้นกับตัวอาสาที่ชัดเจนมากที่สุด ตัวหนึ่ง เนื่องจากข้อจ�ำกัดและความท้าทายในการจัด กระบวนการจ�ำนวนมาก หนึ่งในกระบวนการที่โครงการ Saturday School น�ำมาใช้เพื่อพัฒนาทักษะการวางแผน และแก้ไขปัญหาในครูอาสาสมัคร คือกระบวนการทบทวน หลังกิจกรรม หรือ After Action Review ซึ่งมีกระบวนการ ดังนี้

รูปแบบที่ 1 ให้นักเรียนมีส่วนร่วมในขั้นการวางแผนการ เรียนรู้ กลุ่มวิชาที่เน้นหนักทางด้านวิชาการและกระบวนการ คิดจะใช้วิธีการนี้เป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากเนื้อหาการเรียนรู้อาจ สร้างความเบื่อหน่ายให้กับผู้เรียนได้ง่าย การให้นักเรียนเป็น ส่วนหนึ่งในการวางแผนกิจกรรมการเรียนรู้ในแต่ละสัปดาห์จึง เป็นหนึ่งในกลยุทธ์ที่แยบคาย เพราะนักเรียนจะรู้สึกการเป็น เจ้าของกิจกรรมการเรียนรู้ และจะตั้งใจเรียนรู้ในกิจกรรม ตลอดระยะเวลากิจกรรม

รูปแบบที่ 2 ให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการออกแบบ กระบวนการที่ Saturday School ออกแบบขึ้นเน้นการ กระบวนการแก้ปัญหาการเรียนรู้ที่เกิดขึ้น พัฒนาทักษะการวางแผนร่วมกับการวางแนวทางแก้ปัญหา ในรูปแบบที่สองนี้เกิดขึ้นในเกือบทุกวิชาในโครงการ การเรียนรู้ ผ่านวงการเรียนรู้หลายระดับเพื่อตกตะกอนเครื่อง Saturday School คือการที่ครูอาสาให้นักเรียนเป็นส่วนหนึ่ง มือทั้ง องค์ความรู้ ความเข้าใจ ทักษะ ทัศนคติ รวมไปถึงหลัก ของการร่วมกันแสวงหาทางเลือก และวางแผนแก้ปัญหาต่างๆ การพื้นฐานของความเป็นครู โดยอาสาสมัครที่เข้าร่วม ที่เกิดขึ้นในชั้นเรียน หรือปัญหาอื่น ๆที่กระทบนักเรียน โดย โครงการจะอยู่ในกระบวนการเรียนรู้เช่นนี้ตลอดเวลา ท�ำให้ เทคนิคที่ใช้เป็นกระบวนการในทางสร้างสรรค์ คือทุกความ ปัญหาที่เกิดขึ้นในชั้นเรียนมีเครือข่ายที่คอยร่วมกันแก้ไข เห็นของนักเรียนจะได้รับการเคารพจากครูอาสาและเพื่อน ปัญหาที่เกิดขึ้น และเป็นผลดีกับตัวอาสาในแง่การจัดการ นักเรียนด้วยกันเอง การพัฒนารู้แบบการวางแผนและแก้ไข และเกิดประโยชน์สูงสุดกับนักเรียนที่สมัครเข้าร่วมโครงการ มี ปัญหาที่เกิดขึ้นในโครงการเป็นกระบวนการต่อเนื่อง ได้รับ กระบวนการเฉพาะบางอย่างที่อาสาสมัครออกแบบขึ้นมาด้วย การติดตามและช่วยเหลือจากครูอาสาด้วยกันเอง หรือค�ำ ตัวเองเพื่อใช้ในกระบวนการวางแผนและแก้ไขปัญหา ดังนี้ แนะน�ำจากเจ้าหน้าที่ส่วนกลาง ภายใต้กระบวนการที่ได้

2 1

22 | Lesson Learned

AAR (After Action Review) โดยเนนประเด็นสำคัญดังนี้

ครูอาสาประจำ หองเรียนบันทึก การเรียนรู

ทีมงานสวนกลาง บันทึกสิ่งแวดลอมใน หองเรียนกอนเกิด กระบวนการเรียนรู

จัดกระบวน การเรียนรู

3

1. Best Practice 2. Classroom management evaluation and advices 3. Positive Aspects and Effects 4. Negative Aspects and Effects 5. Learning Log

ทีมงานสวนกลาง สังเกตการณการ เรียนรูในหองเรียน

การเรียนรู ที่ยั่งยืน

เสนทางการเรียนรู

สรุปการเรียนรู ความเขาใจ ทักษะ ทัศนคติ คุณธรรมและจริยธรรมที่ไดจาก การเรียนรูในหองเรียน

ถอดรหัสการเรียนรู โดยทีมหลักสูตร และวิจัยการเรียนรู และผูสังเกตการณการเรียนรู

5

4


ออกแบบไว้ ท�ำให้ทักษะการวางแผนและแก้ไขปัญหาส่วน ใหญ่อยู่ในระดับที่ไม่ก่ออุปสรรคการเรียนรู้ ทักษะการทำ�งานร่วมกันอย่างมี ประสิทธิภาพ และการมีภาวะผู้นำ� กระบวนการอาสาสมัครในโครงการ Saturday School ใน การสร้างครูอาสาที่ท�ำงานร่วมกันเป็นทีม ใช้หลัก Team Teaching ในการจัดกระบวนการเรียนรู้ เพื่อเกิดประโยชน์ สูงสุดต่อการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ร่วมกันออกแบบและ แก้ไขปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้น โดยจากการปฏิบัติหน้าที่ใน 8 สัปดาห์ ทางโครงการได้ประเมินประสิทธิภาพด้านการท�ำงาน ร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ และการมีภาวะผู้น�ำในครูอาสา โดยสามารถแบ่งการประเมินเป็น 2 ระดับ ดังนี้ ระดับประสิทธิผลสูง หมายความว่า ทีมครูอาสาสมัครมี กระบวนการที่มีกรอบการท�ำงานร่วมกันอย่างชัดเจน มีการ แบ่งหน้าที่และบทบาทอย่างชัดเจน มีการแสดงภาวะผู้น�ำให้ เห็นชัด ตัวแทนที่แสดงความเด็ดขาดเมื่อต้องตัดสินใจแก้ ปัญหา สู่ผลลัพธ์ที่ได้คือ กระบวนการจัดการเรียนรู้มี ประสิทธิผลสูง ระดับประสิทธิภาพ หมายความว่า ทีมครูอาสาสมัครมี กระบวนการที่มีกรอบการท�ำงานร่วมกันอย่างชัดเจน มีการ แบ่งหน้าที่และบทบาทอย่างชัดเจน มีการแสดงภาวะผู้น�ำให้ เห็นชัด แต่อาจขาดความต่อเนื่อง เนื่องจากการมาไม่ สม�่ำเสมอของครูอาสาบางท่าน ท�ำให้แผนที่ต้องวางไว้ร่วมกัน ต้องปรับใหม่อยู่เป็นระยะ แต่ไม่ได้กระทบกับภาพรวมในการ จัดการเรียนรู้ ดังนี้ ระดับประสิทธิผลสูง - วิชา STEM โรงเรียนวัดเกาะสุวรรณาราม - วิชาศิลปะการแสดง โรงเรียนเพี้ยนพินอนุสรณ์ - วิชาการออกแบบผลิตภัณฑ์ โรงเรียนชุมชนหมู่บ้านพัฒนา - วิชาธุรกิจ โรงเรียนวัดเกาะสุวรรณาราม - วิชาถ่ายภาพ ชุมชนเขตพระนคร - วิชาการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โรงเรียนเพี้ยนพินอนุสรณ์ - วิชาการพูดในที่สาธารณะ โรงเรียนวัดเกาะสุวรรณาราม - วิชาภาษาอังกฤษ ชุมชนเขตพระนคร - วิชาการถ่ายท�ำภาพยนตร์เบื้องต้น ชุมชนวัดดวงแข - วิชา STEM โรงเรียนเคหะทุ่งสองห้องวิทยา 2

- วิชา STEM โรงเรียนชุมชนหมู่บ้านพัฒนา ระดับประสิทธิภาพ - วิชาวิเคราะห์ภาพยนตร์ โรงเรียนบางยี่ขันวิทยาคม - วิชา Web Design โรงเรียนบางยี่ขันวิทยาคม - วิชาการท�ำอาหาร โรงเรียนบางยี่ขันวิทยาคม - วิชาประดิษฐ์ละคร โรงเรียนชุมชนหมู่บ้านพัฒนา - วิชาภาษาอังกฤษ โรงเรียนเพี้ยนพินอนุสรณ์ - วิชาภาษาอังกฤษ โรงเรียนวัดเกาะสุวรรณาราม - วิชาภาษาอังกฤษ โรงเรียนเคหะทุ่งสองห้องวิทยา 2 - วิชาการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โรงเรียนเคหะทุ่งสองห้องวิทยา 2 - วิชาการพูดในที่สาธารณะ โรงเรียนเพี้ยนพินอนุสรณ์ ประสิทธิภาพของวิชาการเรียนรู้ การเกิดขึ้นของรายวิชาในโครงการ Saturday School Season 4 เกิดจากความต้องการจาก 2 ส่วนที่ตรงกัน คือ ทักษะความสามารถของอาสาสมัครร่วมกับความต้องการของ นักเรียน โรงเรียน และชุมชน ท�ำให้เกิดวิชามากว่า 13 วิชา ในกว่า 20 ห้องเรียน โดยในหลายวิชาได้ออกแบบ กระบวนการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ บางวิชาให้ความ ส�ำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ในนักเรียน โดยระดับประสิทธิภาพของวิชาการเรียนรู้ กิจกรรม Saturday School Season 4 สามารถสรุปได้ดังนี้ กลุ่มที่ 1 กลุ่มวิชาที่มีประสิทธิภาพสูง ที่จะน�ำมาพัฒนาเป็น หลักสูตรต้นแบบของ Saturday School กลุ่มวิชานี้มีการออกแบบหลักสูตรที่มีความชัดเจน บริหาร จัดการเนื้อหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผลลัพธ์จากการเรียนรู้ สร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นกับตัวนักเรียน ซึ่งในแง่ ประสิทธิผล กลุ่มวิชานี้สามารถสร้างผู้เรียนให้เป็นนักเรียนรู้ ด้วยตนเอง มากไปกว่าการพัฒนาทักษะการเรียนรู้แล้ว วิชาการเรียนรู้กลุ่มที่ 1 ยังมุ่งพัฒนาคุณค่าภายในของนักเรียน สร้างอุปนิสัยที่ดีให้กับนักเรียนอีกด้วย ซึ่งวิชาการเรียนรู้ใน กลุ่มที่ 1 ได้แก่ วิชาศิลปะการแสดง ซึ่งหลักสูตรของวิชา ศิลปะการแสดงจะถูกน�ำมาพัฒนาและออกแบบกระบวนการ เพื่อใช้เป็นหลักสูตรพื้นฐานของโครงการ Saturday School โดยกิจกรรมใน Season ถัดไปของโครงการ ทุกพื้นที่กิจกรรม ที่เข้าร่วม และในทุกวิชาการเรียนรู้จะต้องน�ำวิชาศิลปะการ แสดงเป็นวิชาพื้นฐานอย่างน้อย 2 สัปดาห์ ก่อนเข้าสู่ กระบวนการเรียนรู้ในวิชาหลักของแต่ละพื้นที่ Lesson Learned | 23


กลุ่มที่ 2 กลุ่มวิชาที่มีประสิทธิภาพ คือรายวิชาที่สามารถน�ำ เนื้อหาการเรียนรู้มาสร้างเป็นกิจกรรมในรูปแบบที่น่าสนใจ สามารถสร้างความแตกต่างได้จากรายวิชาการเรียนรู้ทั่วไป ท�ำให้นักเรียนมีความสนใจเข้าร่วมกิจกรรม มีการออกแบบ กระบวนการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับความหลากหลายของผู้ เรียน ทั้งนี้กลุ่มวิชาที่ 2 อาจยังต้องได้รับการปรับปรุงเพิ่ม เติมในกระบวนการวัดและประเมินผลกระทบเชิงบวกที่เกิด ขึ้นกับนักเรียน เพื่อให้เกิดประสิทธิผลสูงสุด ได้แก่ รายวิชา STEM วิชาการพูดในที่สาธารณะ วิชาการออกแบบผลิตภัณฑ์ วิชาธุรกิจ วิชาการถ่ายท�ำภาพยนตร์เบื้องต้น วิชาการถ่าย ภาพ และวิชาการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ กลุ่มที่ 3 กลุ่มวิชาที่ต้องทบทวนกระบวนการหลักสูตร และ วิธีจัดการเรียนรู้ คือกลุ่มรายวิชาที่การออกแบบกระบวนการ เรียนรู้ยังไม่เอื้อต่อการพัฒนาผู้เรียนที่มีความหลากหลาย และ ยังขาดการสร้างแรงบันดาลใจในการเรียน โดยปัญหามาจาก 2 ส่วน คือ เนื้อหาที่มีความเฉพาะเจาะจงมาก และ กระบวนการออกแบบการเรียนรู้ยังไม่มีแนวคิดเบื้องหลังมาร องรับ ท�ำให้รายวิชาในกลุ่มนี้เน้นการสอนแบบครั้งต่อครั้ง มากกว่าการวางแผนการเรียนรู้ในระยะยาว ซึ่งรายวิชาใน กลุ่มนี้จะถูกน�ำมาวิเคราะห์กระบวนการใหม่อีกครั้ง เพื่อ พัฒนาหลักสูตรและวิธีการจัดการเรียนรู้ให้ดีขึ้นส�ำหรับ กิจกรรมครั้งต่อไป ได้แก่รายวิชาภาษาอังกฤษ วิชา Web Design วิชาการท�ำอาหาร วิชาประดิษฐ์ละคร และวิชา วิเคราะห์ภาพยนตร์ การแบ่งระดับประสิทธิภาพของวิชาการเรียนรู้จาก การประเมินการประเมินผลกระทบเชิงการเรียนรู้ เน้นการ ประเมินบนหลักวิธีการจัดการเรียนรู้ และหลักการออกแบบ การเรียนรู้ที่สอดรับกับผู้เรียนที่มีความหลากหลาย โดยรายวิ ชานั้นๆสามารถสร้างความสนใจให้กับผู้เรียนได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้ผลการแยกกลุ่มวิชาตามประสิทธิภาพของรายวิชาไม่ได้ ขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพและความสามารถของครูอาสาสมัคร เนื่องจากมีข้อจ�ำกัดจ�ำนวนมากในการด�ำเนินกิจกรรม เช่น ระยะเวลาของกิจกรรม สถานที่ปฏิบัติงาน รวมถึง กระบวนการสนับสนุนจากส่วนกลางที่ยังท�ำได้ไม่ดีนัก เนื่องจากข้อจ�ำกัดเรื่องจ�ำนวนคนท�ำให้การประเมินเรื่อง ทักษะและความสามารถของครูอาสาอยู่ในส่วนที่ต้อง ออกแบบและพัฒนากระบวนการส�ำหรับกิจกรรมครั้งต่อไป

24 | Lesson Learned

ผลกระทบเชิงบวกจากโครงการ Saturday School การด�ำเนินกิจกรรมของโครงการ Saturday School อยู่บน ฐานของงานอาสาสมัครเป็นส�ำคัญ การเกิดขึ้นของเครือข่าย อาสาสมัครมากกว่า 80 คน กับการปฏิบัติหน้าที่ ใน 7 พื้นที่ การเรียนรู้ ในมากกว่า 20 ห้องเรียน สามารถสร้างการเรียนรู้ ให้กับเด็กและนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการมากกว่า 200 คน โดยมีพื้นที่ปฏิบัติงานตามที่ปรากฏในแผนที่ กิจกรรมของ Saturday School Season 4 ตอน Mission I’M POSSIBLE! ประกอบด้วย 2 ส่วน ส่วนที่ 1 กิจกรรมการเรียนรู้ในสัปดาห์ที่ 1-7 ของโครงการ จัดขึ้นในโรงเรียนและชุมชนที่เข้าร่วมโครงการ

โรงเรียนเ

โรงเรียนบางยี่ขันวิทยาคม ชุมชนเขตพระนคร ชุมชนวัดดวงแข

โรงเรียนชุม


ส่วนที่ 2 กิจกรรม Big Day สัปดาห์ที่ 8 จัดขึ้นเพื่อให้ครู อาสาและนักเรียนจากพื้นที่เรียนรู้มาแสดงผลงาน และการ แสดงของตนร่วมกัน โดยการเปิดพื้นที่เรียนรู้และการแสดงผล งานให้กับนักเรียนเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างพื้นที่เรียนรู้และ พัฒนาศักยภาพเด็กและนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ ซึ่งเป็นไป ตามเจตนารมณ์ของโครงการ Saturday School ที่ปรารถนา จะให้การเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพเกิดขึ้นได้ในทุกที่ นอกจาก การสร้างพื้นที่เรียนรู้แล้วการเปิดพื้นที่ให้เด็กและนักเรียนได้ แสดงความสามารถยังถือเป็นสิ่งส�ำคัญ เพราะเป็นจุดเริ่มต้น ของการรับรู้ความสามารถของตนเองในนักเรียน มากไปกว่า นั้นยังเป็นโอกาสที่นักเรียนจะได้พัฒนาศักยภาพของตนเองต่อ ไป

เคหะทุงสองหองวิทยา 2 โรงเรียนวัดเกาะสุวรรณาราม

มชนหมูบานพัฒนา

โรงเรียนเพี้ยนพินอนุสรณ

ทั้งนี้เมื่อจบโครงการทางโครงการเห็นความส�ำคัญอย่างยิ่งต่อ การรับฟังความคิดเห็นของนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ จึงมี ประเด็นค�ำถามที่สอบถามไปยังนักเรียน และค�ำตอบที่ได้จะใช้ เป็นแนวทางส�ำหรับการพัฒนาโครงการ และก�ำหนดทิศทาง การท�ำงานของโครงการในครั้งต่อไป ความเห็นของนักเรียนต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ส�ำหรับ โครงการ Saturday School ใน 3 ประเด็นดังนี้ 1. การเรียนรู้ในกิจกรรม Saturday School แต่ละ Season ควรเป็นรายวิชาเดียว หรือสลับหมุนเวียนวิชาให้หลากหลาย โดยนักเรียนส่วนใหญ่ร้อยละ 57 มีความเห็นว่ากิจกรรมที่ตน เข้าร่วมในแต่ละ Season ควรเป็นรายวิชาเดียวตลอด Season 2. ความเห็นต่อจ�ำนวนครูที่มาสอนในแต่ละวิชา นักเรียนส่วน ใหญ่กว่าร้อยละ 73 เห็นว่ากระบวนการสอนแบบทีมหรือ Team Teaching เป็นกระบวนการที่ดีอยู่แล้ว ไม่เห็นด้วยที่ จะมีครูสอนแค่คนเดียวในรายวิชาที่ตนเองเข้าร่วม 3. ความเห็นต่อการที่ครูสับเปลี่ยนหมุนเวียนกันมาสอน นักเรียนร้อยละ 53 เห็นว่าครูควรสับเปลี่ยนหมุนเวียนกันมา สอน โดยกระบวนการ Team Teaching แบบสลับเปลี่ยนกัน เป็นผู้น�ำสอน

“ทั้งนี้นักเรียนที่เข้าร่วม โครงการมากกว่า ร้อยละ 94 จะชวนเพื่อน มาร่วมกิจกรรม หากทาง โครงการจัดกิจกรรมนี้อีก และกว่าร้อยละ 95 จะเข้า ร่วมกิจกรรมกับโครงการ Saturday School หากมี กิจกรรมในครั้งต่อไป”

Lesson Learned | 25


WORDS FROM OUR STUDENTS ค�ำบอกเล่าของนักเรียน “แต่มีคนกลุ่มหนึ่ง มาเปลี่ยนความคิด แบบเด็กๆของหนู คนกลุ่มนั้นคือ “ครูอาสา” พวกเขา ไม่เคยได้อะไรเป็นสิ่ง ตอบแทน สิ่งที่พวก เขาต้องการคือการ ได้เห็นพวกเราสนุก ไปกับการเรียนใน คลาสนั้นๆ ได้เห็น เรายิ้ม หัวเราะ แค่ นั้นพวกเขาก็มี ความสุข”

26 | Students' Words

“ก่อนหน้าที่จะได้เข้าร่วมโครงการ หนูเคยเชื่อว่าคงไม่มีใครมาสอนเรา ฟรีๆหรอก ทุกอย่างต้องได้สิ่งตอบแทนไม่งั้นก็คงไม่มาทำ� ขนาดเวลาเราสอบเรายัง ต้องถามครูเลยว่าคะแนนเต็มเท่าไร เราทุกคนส่งงานเพราะเราอยากได้คะแนน สิ่ง ตอบแทนนักเรียนที่ดีที่สุดคือ “คะแนน” แน่นอนทุกๆคนคำ�เพื่อหวังสิ่งตอบแทน แต่มันก็แล้วแต่บุคคลว่าสิ่งตอบแทนนั้นคืออะไร แต่มีคนกลุ่มหนึ่งมาเปลี่ยนความ คิดแบบเด็กๆของหนู คนกลุ่มนั้นคือ “ครูอาสา” พวกเขาไม่เคยได้อะไรเป็นสิ่ง ตอบแทน สิ่งที่พวกเขาต้องการคือการได้เห็นพวกเราสนุกไปกับการเรียนในคลา สนั้นๆ ได้เห็นเรายิ้ม หัวเราะ แค่นั้นพวกเขาก็มีความสุข ใครจะเชื่อว่าคนกลุ่มนี้ทำ� ไปฟรีจริงๆ ช่วงแรกๆที่เรียนหนูก็ไม่ค่อยชอบเท่าไร แต่พี่ๆพยายามซื้อใจพวกเรา ซื้อ ด้วยความจริงใจ ความเป็นห่วง จนหนูรู้สึกได้ว่าพี่ๆหวังดีมากแค่ไหน หนูพูดได้เต็ม ปากเลยว่าหนูรักคุณครูอาสามากๆ รัก Saturday School มากๆ รักจนไม่รู้ว่าจะ ขาดมันไปได้อย่างไง เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2559 เป็นวันสุดท้ายที่เราจะได้เจอกับครู อาสา พูดตรงๆหนูใจหาย ในสมองนึกถึงแต่ความทรงจำ�ดีๆของพวกเรา ไม่คิดว่ามัน จะเร็วขนาดนี้ ไม่คิดว่าสักวันเราต้องจากกัน พึ่งรู้ว่าตัวเองรักโครงการนี้และครูอาสา มาก พึ่งรู้ว่ารักที่แท้ที่แลกด้วยใจเป็นอย่างไร ตลอดชีวิต 14 ปี ไม่เคยมีใครทำ�เพื่อ หนูขนาดนี้ พี่ๆทุกคนทุ่มเทเพื่อพวกเรามามาก พวกพี่ๆเหนื่อยกับพวกเรามามาก หนูขอใช้โอกาสนี้ขอโทษพี่ๆที่ทำ�ตัวไม่ดี หนูขอโทษสิ่งที่ทำ�ผิดไป ขอบคุณพี่ๆที่ผ่าน เข้ามาเป็นความทรงจำ�ดีๆในชีวิตหนู ภาพตอนที่เรายืนหัวเราะด้วยกันยังคงอยู่ในหัว หนู หนูไม่เคยลืมเลย ทุกๆเช้าวันเสาร์หนูจะสะดุ้งตื่นขึ้นมาตอน 6 โมงเช้า ลืมตลอด ว่าตอนนี้ไม่ได้เรียนแล้ว หนูขอบคุณที่อดทนกับพวกหนู ขอบคุณที่เข้าใจ ขอบคุณ สำ�หรับทุกๆอย่าง แค่เกิดมาครั้งนึงเคยได้รู้จักกับพี่ๆ ผหนูก็มีความสุขแล้ว สุดท้าย นี้หนู ด.ญ.เอมิกา พรภมร (ลูกเกด) นักเรียนวิชาธุรกิจ โรงเรียนวัดเกาะสุวรรณาราม จะไม่ลืมพี่ๆอาสา ไม่ลืมโครงการดีๆ จะขอจำ�ไปตลอดชีวิต หนูหวังว่าวันหนึ่งจะได้ เจอกันอีก เวลาของเราคงหมดแล้ว หนูสัญญาด้วยหัวใจว่าถึงแม้หนูจะเจออุปสรรค ร้ายแรงแค่ไหน หนูจะไม่ท้อ หนูจะไม่ถอย และเดินตามความฝันต่อไป หนูอาจไม่ใช่ คนที่เขียนได้ดีที่สุด แต่หนูเขียนมันมาจากหัวใจ รักนะคะ :)”


“ตั้งแต่เข้าร่วมโครงการ Saturday School ผมมอง เห็นตัวเองว่าผมมีความกล้ามากขึ้น กล้าพูดกล้าท�ำ ผมไม่ใช่ผมคนเดิมแต่ผมเปลี่ยนแปลงชีวิตของผมใหม่ เรียนรู้ได้มากขึ้น ผมเคยคิดนะว่าผมเป็นคนที่เรียนไม่ เก่ง แค่ชอบท�ำตัวฉลาด ผมมักจะโดนเพื่อนดูถูกอยู่ เสมอแต่ผมไม่ท้อเพราะผมสู้” “สวัสดีครับ ผม ด.ช. ธนวัฒน์ อินทโชติ ม.2/2 เลขที่ 28 ผมอยากจะบอกว่าตั้งแต่เข้าร่วม โครงการ Saturday School มาจนถึงการปิดโครงการ Saturday School ผมมองเห็นตัวเองว่าผมมี ความกล้ามากขึ้น กล้าพูดกล้าทำ� ผมไม่ใช่ผมคนเดิมแต่ผมเปลี่ยนแปลงชีวิตของผมใหม่ เรียนรู้ได้มากขึ้น ผมเคยคิดนะว่าผมเป็นคนที่เรียนไม่เก่ง แค่ชอบทำ�ตัวฉลาด ผมมักจะโดนเพื่อนดูถูกอยู่เสมอแต่ผมไม่ท้อ เพราะผมสู้ สู้ทุกสิ่งที่เพื่อนดูถูกผม แต่ไม่เคยที่จะยอม ผมจะพัฒนาตัวเองให้ดีขึ้น ปัญหาทุกสิ่งของผม ผม ก็จะคิดว่ามันเป็นแค่คำ�พูดที่ยังเป็นไปไม่ได้ ในความรู้สึกของตอนที่เรียนอยู่ในโครงการ ผมรู้สึกเหมือนกับ ผมได้มีอนาคตที่ดีแต่ผมคิดว่ามันเป็นแค่ความรู้สึกที่เข้ามาในหัวแค่แป๊บเดียว แต่ความคิดมันทำ�ให้ผมได้ ความรู้ความเข้าใจในสิ่งที่เป็นไปได้ มีอยู่ครั้งนึงที่ผมทำ�พลาด ผมไปเรียนสายแต่ผมคิดว่าตอนนั้นมันเป็น แค่การผิดพลาดแค่นัดเดียว แต่เอาจริงๆ ผมกับเสียที่ไม่ได้เรียนกับเพื่อน ผมได้เรียนแค่ครึ่งชั่วโมง ผมเคย คิดว่าเหมือน Nick ฝันให้ใหญ่ กอดให้แน่น สู้ทุกอย่างที่ขวางหน้า เผชิญกับทุกสิ่ง แต่เราต้องเชื่อมั่นในตัว เอง การเรียน Saturday School ครั้งนี้ผมคิดว่าโครงการ Saturday School เป็นการเรียนที่น้อยที่สุด แต่เป็นการเรียนที่ทำ�ให้มองเห็นอนาคตได้ ผมไม่รู้สึกหรอกว่าโครงการนี้ส่งผลยังไง แล้วโครงการนี้ยังมี อะไรนอกจากมองเห็นอนาคตของตัวเอง ที่ผมเข้าร่วมโครงการนี้เพราะผมอยากได้การเรียนรู้จากคุณครูที่ อาสามาสอนในโครงการนี้และผมอยากเจอครูที่เข้าอาสามาสอน ทำ�ความรู้จักกับคุณครูเค้า แต่มีอยู่อย่าง เดียวคือผมอยากให้โครงการนี้ไม่มีวันจบสิ้น และผมอยากให้โครงการนี้มีเวลาในการเรียนเพิ่มขึ้น จะได้ให้ นักเรียนที่มาเรียนได้ความสนุกสนานและมีความรู้มากขึ้นและยังมีการทำ�งานที่ดีขึ้น แต่มันยังมีข้อเสียอยู่ อย่างนึง เราจะมีปัญหากับการเข้าเรียน เราคิดว่าโครงการนี้ทำ�ให้เค้าหาอนาคตได้ บางคนก็คิดว่าอนาคต ก็เป็นแค่ความฝัน แต่ความฝันนี้มันอาจจะเป็นอนาคตก็ได้ ทำ�ไมผมถึงไม่คิดแบบคนอื่นเพราะผมคิดแต่ อนาคตผมนึกถึงแต่เรียน เพื่อนบางคนของผมเค้ามักจะดูถูกว่ามึงทำ�อะไรก็เป็นไปไม่ได้ ผมก็เลยไม่สนใจ ผมเลยคิดอยู่กับตัวเองเสมอว่า คนที่โง่เค้ามักจะเก่งกันทุกคน แต่บางคนที่ทำ�อะไรไม่ได้เลยก็ไม่คิดจะทำ� แต่สำ�หรับผม ผมอยากจะเปลี่ยนโลกนี้ ผมจะตั้งใจเรียน ผมอยากให้มีโครงการ Saturday School ตลอด กาลและตลอดไปจนไม่มีวันสิ้นสุด และเปิดให้เด็กสมัยใหม่ได้เรียนทุกคน”

ด.ช. ธนวัฒน์ อินทโชติ ม.2/2

Students' Words | 27


WORDS FROM OUR VOLUNTEERS ค�ำบอกเล่าของอาสาสมัคร

“เราอยากให้เด็กไทยเป็น Active Learners ที่ รู้จักสังเกต ตั้งค�ำถาม แล้วก็คิดหาค�ำตอบด้วย ตัวเอง เราอยากให้เขารู้ว่า มันไม่ส�ำคัญเลยว่า เขาจะตอบค�ำถามถูกหรือเปล่าตามหลัก วิชาการ และค�ำถามที่เขาตั้งจะน่าประหลาดใจ แค่ไหนก็ได้ เพราะนักประดิษฐ์ที่ยิ่งใหญ่ทุกคนก็ เริ่มจากการตั้งค�ำถามในสิ่งที่คนอื่นไม่เคยนึก ฝันว่าจะท�ำได้มาก่อนทั้งนั้น” กนกวรรณ โชว์ศรี (ใบเตย) Bachelor of Business Administration, Marketing, Mahidol University International College (MUIC)

“เราอยากให้น้องได้ใช้คลาสของเราเป็นเวทีใน การแสดงความคิด เพราะรูปแบบการศึกษาไทย ยังไม่ได้เปิดโอกาสให้เด็กนักเรียนออกมาพูดและ แสดงความเห็นมากนัก คลาสของเราเปิด กว้างมากๆ ให้น้องได้อิสระอย่างเต็มที่ในการ เลือกหัวข้อที่จะออกมาพูด เราว่ามันเป็นโอกาส ส�ำคัญที่สามารถช่วยให้น้องได้ค้นพบตัวเอง จุดประกายให้น้องคิดเกี่ยวกับสิ่งที่ตัวเองชอบ สิ่งที่อยากพูดถึง และกล้าที่จะแสดงมันออกมา ให้เพื่อนๆและครูเห็น ทักษะจากการได้ออกมา ฝึกพูดและการแบ่งปันแบบนี้เป็นสิ่งที่มีคุณค่า ต่อตัวผู้พูดมากๆค่ะ” อลิสา เฉลยจิตร์ (อลิส) Bachelors of Arts, Economics, Brown University 28 | Students' Words


“สิ่งที่ส�ำคัญที่สุดในการเรียน ออกแบบ ไม่ใช่ผลลัพธ์ของงาน แต่เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่เกิด จากการก้าวผ่านสิ่งที่เราคิดว่าเป็น ไปไม่ได้ เกิดจากการลงมือท�ำซ�้ำๆ และจากข้อผิดพลาดที่มักจะเกิดขึ้น อยู่เรื่อยๆ และ ‘ความอดทน’ กับ ‘ความกล้าที่จะเลือก’ นี้นี่คือสิ่งที่ อยากจะให้เด็กๆเข้าใจว่ามันคือสิ่งที่ ส�ำคัญที่สุดของการประสบความ ส�ำเร็จ” “เป้าหมายของวิชานี้อยากให้ น้อง ๆ ได้รู้ว่าการท�ำคลิปวีดีโอ ออกมานั้นควรมีขั้นตอนอย่างไร เพื่อให้งานออกมาดีได้ตรงตาม ความคิด อยากเพิ่มในส่วนที่น้อง ยังขาดคือเรื่องมุมกล้องและเทคนิ กการเล่าเรื่อง ที่ส�ำคัญคืออยากให้ น้องสนุกกับการท�ำค่ะ”

ประภาศรี คุณะกฤดาธิการ (ปิ๊ก) B.Sc.Architectural Design INDA, Chulalongkorn University

วิภาพร จันมี (จ๋า) คณะวิทยาศาสตร์ ภาควิชาการวิทยาการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

“มาสอนวิชานี้เพราะชอบการเล่า เรื่องในศาสตร์ภาพยนตร์ หลังจบ คอร์สอยากให้น้องๆได้อะไรกลับไป เพื่อท�ำในสิ่งที่ตนเองเชื่อ” วิภาพร จันมี (จ๋า) คณะวิทยาศาสตร์ ภาควิชาการวิทยาการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ Students' Words | 29




Mission Partner

Sponsored by


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.