หยดน้ำพระทัยสู่ใจไทยทุกดวง

Page 1




“หยดน้ําพระทัย สูใจไทยทุกดวง: มหาวิทยาลัยขอนแกนกับโครงการพระราชดําริ” บรรณาธิการที่ปรึกษา ศาสตราจารยเกียรติคุณ ดร. สุมนต สกลไชย อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น ผูชวยศาสตราจารย ดร. อารมย ตัตตะวะศาสตร รองอธิการบดีฝายทรัพย์สิน บรรณาธิการอํานวยการ รองศาสตราจารย ดร. กิตติชัย ไตรรัตนศิริชัย รองอธิการบดีฝายวิจัยและการถ่ายทอดเทคโนโลยี กองบรรณาธิการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. พิสิฏฐ์ เจริญสุดใจ รองศาสตราจารย์ ดร. สุจินต์ สิมารักษ์ ศาสตราจารย์ ดร. ประนอม จันทรโณทัย ผู้ช่วยศาสตราจารย์พรทิพย์ บุญพวง อาจารย์วีระ ภาคอุทัย นายสุพัฒน์ หมู่บ้านม่วง รองศาสตราจารย์ ดร. นาถธิดา วีระปรียากูร รองศาสตราจารย์ ดร. พรเทพ ถนนแก้ว ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อนันต์ หิรัญสาลี รองศาสตราจารย์ปรีณัน จิตะสมบัติ ดร. มุจลินทร์ พูนประสิทธิ์ ดร. นิรมล เมืองโสม อาจารย์ดวงจันทร์ นาชัยสินธุ์ รองศาสตราจารย์จักรกฤษณ์ ดวงพัตรา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วารุณี หวัง นายวันชาติ ภูมี นายธัญญา ภักดี นายนักสิทธิ์ ศรีกุลชา นางวิภาดา มีแวว นางสาวจรรยา บุญพึ่ง ศิลปกรรมรูปเลม อาจารย์ดวงจันทร์ นาชัยสินธุ์ ภาพถาย กลุ่มภารกิจพิพิธภัณฑ์และหอจดหมายเหตุ สำานักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ชมรมภาพถ่ายจังหวัดขอนแก่น เลขมาตรฐานสากลประจําหนังสือ ISBN 978-616-7183-53-4 พิมพครั้งที่ 1 ธันวาคม 2552 จำานวน 1,000 เล่ม พิมพที่ หจก. โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา โทร. 0-4332-8589-91 สงวนลิขสิทธิ์ โดย มหาวิทยาลัยขอนแกน

มหาวิทยาลัยขอนแกน เลขที่ 123 หมู่ 16 ถนนมิตรภาพ ตำาบลในเมือง อำาเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น 40002


หยดน้ำ�พระทัย สู่ใจไทยทุกดวง เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม คือ จากวันนั้นชาวไทยได้ชื่นชม

ราชโองการยึดถือเป็นปฐม น้อมบังคมพระจริยาวัตรกษัตรา

สองพระบาท ธ ย่างไป แม้ไกลนัก พลิกผืนดินแผ่นน้ำ�ไพรพนา

จึงประจักษ์ชัดแจ้งแห่งปัญหา ให้ประชาใช้ทรัพย์สินแผ่นดินทอง

เพิ่มพื้นที่ทำ�กินทุกถิ่นที่ มุ่งยืนหยัดพึ่งตนเองอย่างไตร่ตรอง

ให้ร่วมมือสามัคคีเป็นเจ้าของ ตามครรลองธรรมะประจำ�ใจ

คือปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนั่น ทั่วโลกขานเลื่องลือระบือไกล

ค่าอนันต์ล้ำ�เลิศนักประจักษ์ได้ เป็นโชคดีของชาวไทยทั้งแผ่นดิน

น้ำ�พระทัยรินหลั่งดั่งหยาดฝน กราบละอองธุลีบาทองค์ภูมินทร์

สู่ดวงใจผองชนมิรู้สิ้น เทอดภักดีตราบสิ้นลมหายใจ

ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า นางพรทิพย์ บุญพวง



W ÃкҷÊÁà´ç¨¾ÃÐ਌ÒÍÂÙ‹ËÑÇ áÅÐÊÁà´ç¨¾Ãйҧ਌ÒÏ ¾ÃкÃÁÃÒªÔ¹Õ¹Ò¶ àÊ´ç¨Ï Áҷç໠´ ÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑ¢͹ᡋ¹ àÁ×èÍÇѹ·Õè 20 ¸Ñ¹ÇÒ¤Á ¾.È. 2510 (ภาพถ่ายจากหนังสือเสรีภาพ ฉบับที่ 148 ป พ.ศ. 2511)

ตามรอยเสด็จพระราชดําเนิน มหาวิทยาลัยขอนแกน


16 ธันวาคม พ.ศ.2511 เสด็จฯ มาพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิต มข.รุ่นแรก

20 ธันวาคม พ.ศ. 2516 เสด็จฯ มา พระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิต มข.

18 ธันวาคม พ.ศ.2513 พระราชทาน พระบรมราโชวาทแก่บัณฑิต มข.รุ่น3

20 ธันวาคม พ.ศ.2517 เสด็จฯ มาทรงเยี่ยมชม กิจการ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น

ตามรอยเสด็จพระราชดําเนิน มหาวิทยาลัยขอนแกน


19 กุมภาพันธ พ.ศ. 2519 เสด็จฯ มาทรงวางศิลาฤกษรพ.ศรีนครินทร

19 กุมภาพันธ พ.ศ. 2519 สมเด็จพระนางเจาฯ พระบรมราชินีนาถ พระราชทานพระราโชวาทแก่นักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น

ตามรอยเสด็จพระราชดําเนิน มหาวิทยาลัยขอนแกน


15 ธันวาคม พ.ศ. 2526 เสด็จฯ มาทรงเปด รพ.ศรีนครินทร

13 ธันวาคม พ.ศ. 2533 เสด็จฯ มาทรงเปดอาคารมหิตลานุสรณ คณะทันตแพทยศาสตร

ตามรอยเสด็จพระราชดําเนิน มหาวิทยาลัยขอนแกน


15 ธันวาคม พ.ศ. 2537 เสด็จฯ มาทรงวางศิลาฤกษศูนยประชุมอเนกประสงคกาญจนาภิเษก

ตามรอยเสด็จพระราชดําเนิน มหาวิทยาลัยขอนแกน


มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำาริ


มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำาริ


มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำาริ


มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำาริ



รายชื่อผูเขียน

บทนำา

พิสิฏฐ์ เจริญสุดใจ

บทที่ 1 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำาริ ดานการสาธารณสุข

พรทิพย์ บุญพวง สุพัฒน์ หมู่บ้านม่วง นาถธิดา วีระปรียากูร นิรมล เมืองโสม ทองคำา วงษ์พระจันทร์

บทที่ 2 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำาริ ดานการเกษตร เศรษฐกิจ และอาชีพ

พิสิฏฐ์ เจริญสุดใจ วีระ ภาคอุทัย อนันต์ หิรัญสาลี ปรีณัน จิตะสมบัติ

บทที่ 3 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำาริ ดานการอนุรักษทรัพยากรธรรมชาติ การจัดการสิ่งแวดลอมและพลังงานทดแทน

พิสิฏฐ์ เจริญสุดใจ ประนอม จันทรโณทัย พรเทพ ถนนแก้ว มุจลินทร์ พูนประสิทธิ์

บทที่ 4 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำาริ ดานการศึกษาและการพัฒนาคุณภาพชีวิต

พิสิฏฐ์ เจริญสุดใจ ดวงจันทร์ นาชัยสินธุ์

บทที่ 5 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำาริ ดานการบูรณาการพื้นที่ ชุมชนตนแบบเศรษฐกิจพอเพียง

สุจินต์ สิมารักษ์ พิสิฏฐ์ เจริญสุดใจ วันชาติ ภูมี พงษ์ศักดิ์ ยั่งยืน

บทที่ 6 มองยอนหลัง มุ่งหวังไปขางหนา บทสัมภาษณอธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น

สุมนต์ สกลไชย



สารจากอธิการบดี

มหาวิทยาลัยขอนแกน

หาวิทยาลัยขอนแก่นในฐานะของสถาบันการศึกษา ชั้นสูงของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีความปลื้มปิติ เป็นล้นพ้นที่ได้มีโอกาสถวายงานสนองพระราชดำาริ ในโครงการพระราชดำาริหลายพื้นที่ โดยได้มอบหมายให้สำานักงาน โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำาริ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง ทั้งนี้เพื่อให้ผลการดำาเนินงาน เป็ น ไปตามวั ต ถุ ป ระสงค์ ข องโครงการและสมพระเกี ย รติ มหาวิทยาลัยขอนแก่นสำานึกในพระมหากรุณาธิคุณว่าโครงการ พระราชดำารินั้นก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนและประเทศชาติ และพระราชกรณียกิจของพระองค์ท่าน และแนวพระราชดำาริที่ ชาวมหาวิทยาลัยได้นำามาเป็นหลักในการปฏิบัตินี้ควรค่าแก่การ เผยแพร่ และจารึกไว้ให้เป็นเกียรติภูมิแก่คณะทำางาน เพื่อให้เป็น ขวัญและกำาลังใจสืบไป วิ สั ย ทั ศ น์ ส่ ว นหนึ่ ง ของมหาวิ ท ยาลั ย ขอนแก่ น คื อ การเป็ น มหาวิทยาลัยแห่งชุมชนเนื่องจากมหาวิทยาลัยขอนแก่นตั้งอยู่ กึ่งกลางของภาคตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งมีพื้นที่และประชากร จำ า นวนมากแต่ มี ส ภาพของภู มิ ป ระเทศและภู มิ อ ากาศไม่ เ อื้ อ อำานวยต่อการดำารงชีพ โดยเฉพาะขาดแคลนน้ำา ดินเป็น ดินทรายขาดความอุดมสมบูรณ์ และดินเค็ม ทำาให้ประชาชนใน ภูมิภาคจำาเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือจำานวนมาก บุคลากรของ มหาวิทยาลัยจึงได้ดำาเนินงานตามรอยพระยุคลบาทในโครงการ พระราชดำาริรวมทั้งสิ้นมากกว่า 24 โครงการ และมีส่วนในการ ทำาให้เกิดการพัฒนาในหลายด้านดังที่ปรากฏผลงานในหนังสือ เล่มนี้ ทั้งนี้ก็เพื่อยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนในภูมิภาค สมดังที่ได้น้อมรับพระราชดำารัสใส่เกล้าไว้เมื่อคราวที่พระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำาเนิน มาทรงเปิดมหาวิทยาลัย ในนามของมหาวิทยาลัยขอนแก่นขอขอบคุณคณะ หน่วย งานและบุคลากรทุกท่านที่มีส่วนในการสนองพระราชดำาริ กอง บรรณาธิการ และอนุกรรมการระดับคณะที่สละเวลารวบรวมผล งาน ตลอดจนเรียบเรียงเนื้อหาของหนังสือเล่มนี้จนสำาเร็จลุล่วง

ศาสตราจารยเกียรติคุณ ดร.สุมนต สกลไชย อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแกน


คํานํา

นั

บตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำาเนินมาทรงเปิด มหาวิทยาลัยขอนแก่นในปีพ.ศ. 2510 และทรงพระราชทานพระบรม ราโชวาท สรุปความว่า การจัดตั้งมหาวิทยาลัยขอนแก่น นอกจากเป็นการขยาย การศึกษาชั้นสูงสู่ภูมิภาคแล้ว ควรให้มีส่วนช่วยในการพัฒนา และยกฐานะความ เป็นอยู่ของประชาชนในภูมิภาคด้วย ซึ่งบุคลากร และนักศึกษาของมหาวิทยาลัย ได้รับด้วยเกล้าฯ นำามาปฏิบัติ และเป็นส่วนหนึ่งของวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัย ในการเป็นมหาวิทยาลัยแห่งภูมิภาคในปัจจุบัน หนังสือ “หยดน้ำาพระทัย สู่ใจไทยทุกดวง : มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการ พระราชดำาริ” เล่มนี้เป็นความคิดริเริ่มของท่านอธิการบดี (ศาสตราจารย์ เกียรติคุณ ดร.สุมนต์ สกลไชย) มอบหมายให้สำานักงานโครงการอันเนื่องมาจาก พระราชดำาริ รวบรวมผลงานโครงการพระราชดำาริ ทั้งที่เป็นโครงการอันเนื่องมา จากพระราชดำาริ โครงการตามแนวพระราชดำาริ และโครงการเฉลิมพระเกียรติ ซึ่งบุคลากรและนักศึกษาของมหาวิทยาลัยได้มีส่วนร่วมดำาเนินการมาตั้งแต่ก่อ ตั้งมหาวิทยาลัย ทั้งนี้เพื่อเทิดพระเกียรติในองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยรวบรวมผลงานของโครงการพระราชดำาริทั้งหมดทั้งที่มีการตีพิมพ์แล้ว และ ผลงานที่ปรากฏร่วมอยู่กับหน่วยงานที่รับสนองพระราชดำาริโดยตรงให้มาอยู่ใน เล่มเดียวกัน เพื่อความสะดวกในการค้นคว้า และอ้างอิงในภายภาคหน้า เนื้อหาในเล่มนี้ได้เรียบเรียงจากข้อมูลของคณะอนุกรรมการระดับคณะ ซึ่ง ได้ติดตามสืบค้นข้อมูลจากเอกสาร สัมภาษณ์บุคลากรอาวุโส และผู้ที่ถวายงาน สนองพระราชดำาริโดยตรง จากนั้นได้นำามาจัดหมวดหมู่เป็นบท โดยยึดตามด้าน ต่างๆ ของการพัฒนา ซึ่งคณะกรรมการพิเศษเพื่อการประสานงานโครงการอัน เนื่องมาจากพระราชดำาริ (กปร.) ได้จัดแบ่งไว้เพื่อความสะดวกในการรวบรวม ข้อมูลร่วมกับหน่วยงานอื่น และบทสุดท้ายของหนังสือเล่มนี้เป็นบทบูรณาการ ซึ่งเป็นโครงการที่ต้องการพัฒนาชุมชนทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ไปพร้อมกันตามแนวปรัชญาพระราชดำาริเศรษฐกิจพอเพียง เนื่องจากเมื่อ มหาวิทยาลัยเข้าไปมีส่วนร่วมในการพัฒนาด้านใดด้านหนึ่งในพื้นที่หนึ่งแล้ว จะ เห็นว่าเป็นเพียงการแก้ปัญหาเฉพาะเรื่องเร่งด่วนเท่านั้น แต่การพัฒนาชุมชน ให้มีความเข้มแข็งสามารถจะดำารงชีพได้อย่างพอเพียงและยั่งยืนนั้น จำาเป็นต้อง พัฒนาในทุกด้าน คือ การพัฒนาสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม จึงทำาให้เกิด โครงการในลักษณะบูรณาการขึ้น กองบรรณาธิการขอขอบคุณ ผู้ที่ได้ร่วมถวายงานสนองพระราชดำาริทุกท่าน คณะอนุกรรมการรวบรวมข้อมูลระดับคณะที่เกี่ยวข้อง กองบรรณาธิการที่เรียบ เรียง เขียนเชื่อมโยงโครงการต่างๆ เพื่อให้มีเนื้อหาที่น่าอ่าน ขอขอบคุณรอง ศาสตราจารย์สุนีย์ เลี่ยวเพ็ญวงษ์ ที่กรุณาขัดเกลาสำานวนในแต่ละบทให้เป็น รูปแบบเดียวกัน ขอขอบคุณอาจารย์ดวงจันทร์ นาชัยสินธุ์ ที่ออกแบบปก และ จัดรูปเล่มภายในทำาให้ดูสบายตา และน่าอ่านยิ่งขึ้น ขอขอบคุณนางสาวชุติมา กวนชา นักศึกษาคณะเทคโนโลยี ซึ่งเป็นผู้ชนะเลิศการประกวดชื่อหนังสือเล่มนี้ ทำาให้ได้ชื่อหนังสือที่สื่อความหมายของภาพปกที่แสดงถึงแรงกระเพื่อมจากการ ที่ชาวมหาวิทยาลัยขอนแก่นสนองพระราชดำาริในโครงการพระราชดำาริ ซึ่งก่อให้


เกิดการพัฒนาของชุมชนอย่างต่อเนื่อง ขอขอบคุณ ฝายวิจัยและการถ่ายทอดเทคโนโลยีมหาวิทยาลัย ขอนแก่น ที่เป็นฝายสนับสนุนงบประมาณในการ จัดพิมพ์ครั้งนี้ และสุดท้ายขอขอบคุณเจ้าหน้าที่ ของสำานักงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำาริ มหาวิทยาลัยขอนแก่นโดยเฉพาะคุณจรรยา บุญ พึ่งที่ช่วยประสานงานและดำาเนินการจนกระทั่งจัด

พิมพ์หนังสือเล่มนี้สำาเร็จลุล่วงทันเวลา และสุดท้าย นี้หากมีโครงการ หรือข้อมูลใดที่ขาดตกบกพร่อง ไม่ได้รวบรวมไว้ในหนังสือเล่มนี้ กระผมในนาม ของกองบรรณาธิการต้องขออภัยไว้ ณ โอกาสนี้

...ประโยชนอันพึงประสงคของการพัฒนานั้นก็คือ ความผาสุกสงบ ความเจริญมั่นคงของ “ประเทศชาติ และประชาชน แตการที่จะพัฒนาใหบรรลุผลเปนประโยชนดังกลาวได จําเปนที่จะ

ตองพัฒนาฐานะความเปนอยูของประชาชนใหอยูดีกินดีเปนเบื้องตนกอน เพราะฐานะความ เปนอยูของประชาชนนั้น คือรากฐานอยางสําคัญของความสงบและความเจริญมั่นคง ถา ประชาชนทุกคนมีฐานะความเปนอยูที่ดีแลว ความสงบและความเจริญ ยอมจะเปนผลกอเกิด ตอตามมาอยางแนนอน จึงอาจพูดไดวาการพัฒนาก็คือการทําสงครามกับความยากจน เพื่อ ความอยูดีกินดีของประชาชนโดยตรง เมื่อใดก็ตามที่ประชาชนมีความอยูดีกินดี และประเทศ ชาติมีความสงบ มีความเจริญ เมื่อนั้นการพัฒนาจึงจะถือไดวาประสบความสําเร็จ เปนชัยชนะ ของการพัฒนาอยางแทจริง...

พระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ณ อาคารจักรพันธ์เพ็ญศิริ วันศุกร์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2539

พิสิฏฐ์ เจริญสุดใจ บรรณาธิการ


สารบัญ รายชื่อผูเขียน สารจากอธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น คำานำา สารบัญ บทนำา บทที่ 1 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำาริ ด้านการสาธารณสุข

5

บทที่ 2 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำาริ ด้านการเกษตร เศรษฐกิจ และอาชีพ

47

บทที่ 3 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำาริ ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ การจัดการสิ่งแวดล้อม และพลังงานทดแทน

73

บทที่ 4 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำาริ ด้านการศึกษา และการสร้างความเข้มแข็ง ให้กับชุมชน

105


บทที่ 5 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำ�ริ ด้านการบูรณาการพื้นที่ชุมชนต้นแบบ เศรษฐกิจพอเพียง

131

บทที่ 6 มองย้อนหลัง มุ่งหวังไปข้างหน้า บทสัมภาษณ์อธิการบดี มหาวิทยาลัยขอนแก่น

181

ภาคผนวก

- ภาคผนวก ก. ภาพกิจกรรม 204 โครงการเฉลิมพระเกียรติต่างๆ ที่ด�ำ เนินการโดย มหาวิทยาลัยขอนแก่น - ภาคผนวก ข. คำ�สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการ 208 จัดทำ�หนังสือ - ภาคผนวก ค. เกียรติบัตรแด่ผู้ชนะเลิศ 224 การประกวดตั้งชื่อหนังสือ - ภาคผนวก ง. ขอขอบคุณผู้เอื้อเฟื้อข้อมูล 226 และภาพประกอบโครงการพระราชดำ�ริ

ดัชนี

235


บทนํา ้งมหาวิทยาลัยขอนแกน เพิ่มขึ้นอีกแหงหนึ่งนี้เปน “คุณ…การตั คาอยางยิ่ง เพราะทําใหการศึกษาขั้นสูงขยายออกไปถึง

ภูมิภาคที่สําคัญที่สุดสวนหนึ่งของประเทศ ซึ่งตอไปจะเปนผล ดีแกการพัฒนา ยกฐานะความเปนอยูของประชาชนในภูมิภาค นี้อยางยิ่ง…

พระราชดํารัสในพระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัว ในคราวเสด็จพระราชดำาเนินมาทรงเปิดมหาวิทยาลัยขอนแก่น เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2510

นับตั้งแต่ก่อตั้งมหาวิทยาลัยขอนแก่นเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรก ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นต้นมา มหาวิทยาลัยขอนแก่นมีการ พัฒนาเติบโตและเข้มแข็งทางวิชาการเพิ่มขึ้นตามลำาดับ จนยืนหยัดอยู่ ในระดับมหาวิทยาลัยชั้นนำาของประเทศไทย ซึ่งเป็นผลมาจากความ สามารถ ความมุ่งมั่น ทุ่มเท และร่วมแรงร่วมใจของบุคลากร ศิษย์เก่า และศิษย์ปัจจุบัน ตั้งแต่ในครั้งอดีตตลอดมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งควรค่าแก่ การบันทึกไว้เพื่อความระลึกถึงของอนุชนรุ่นหลัง ก่อนที่ความทรงจำา จะเลือนหายไป วัตถุประสงค์ที่สำาคัญในการจัดพิมพ์หนังสือนี้ เพื่อเทิด พระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรม ราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์ และรวบรวมผลของการดำาเนินงาน โครงการพระราชดำาริของบุคลากรในมหาวิทยาลัยตามรอยพระยุคลบาท ซึ่งทำาให้เกิดการพัฒนาในด้านต่างๆ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีขนาดพื้นที่ และจำานวนประชากรถึง ประมาณหนึ่งในสามของประเทศ แต่เป็นพื้นที่ ที่มีปัญหาต่างๆ ที่ส่งผล กระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชากร โดยเฉพาะทรัพยากรธรรมชาติที่ ไม่เอื้ออำานวย ดินที่ไม่สามารถอุ้มน้ำาได้ดี ปาไม้ที่มีปริมาณน้อย กอปร กับภัยธรรมชาติที่รุนแรง ทำาให้ประชากรชาวอีสานมีรายได้ต่ำา สภาพ ความเป็นอยู่ยากลำาบาก มีการอพยพย้ายถิ่นในบางฤดูกาล พระบาท


สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์ จึงมี พระราชดำ � ริ พ ระราชทานโครงการประเภทต่ า งๆ มากมายในภูมิภาคนี้ ทั้งการสาธารณสุข ทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การเกษตรและอาชีพ จน ท้ายที่สุดคือ บูรณาการงานทุกด้านโดยพระราชทาน ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อยกระดับความเป็น อยู่ของประชาชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี และเป็นที่น่า ปิติยินดียิ่งที่มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้มีโอกาสสนอง พระราชดำ�ริในโครงการประเภทต่างๆ มาโดยตลอด และเป็ น ที่ พึ่ ง ของชุ ม ชนในภู มิ ภ าคที่ มี ค วาม สำ�คัญที่สุดส่วนหนึ่ง สมดังที่รับด้วยเกล้าในพระบรม ราโชวาทของพระองค์ในคราวเสด็จฯ มาทรงเปิด มหาวิทยาลัยในครั้งนั้น มหาวิทยาลัยขอนแก่นมีวิสัยทัศน์ ในการเป็น สถาบันอุดมศึกษาชั้นนำ�ของภูมิภาคอาเซียน โดย เป็นมหาวิทยาลัยแห่งการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยแห่ง การวิจัย มหาวิทยาลัยแห่งคุณภาพ มหาวิทยาลัย แห่งการพัฒนาชุมชนและประเทศชาติ และเป็น มหาวิทยาลัยที่มีการบริหารจัดการที่ดี ซึ่งเป็นการ แสดงออกของทุกภาคส่วนในองค์กรว่า นอกจาก ค ว า ม เข้ ม แข็ ง ท า ง วิ ช า ก า ร ใ น ก า ร พั ฒ น า สู่ มหาวิทยาลัยวิจัย และการพัฒนาภายในองค์กรให้มี ความเข้มแข็งแล้ว มหาวิทยาลัยจะนำ�องค์ความรู้นั้น ไปใช้พัฒนาชุมชนและประเทศ ให้เกิดประโยชน์ตรง กับความต้องการที่แท้จริงของชุมชน ซึ่งส่วนหนึ่ง ของการบริการวิชาการให้กับสังคมนั้นได้ดำ�เนินงาน ตามพระราชดำ�ริ หรือน้อมนำ�แนวพระราชดำ�ริไป ขยายผล เป็ น พระมหากรุ ณ าธิ คุ ณ อั น หาที่ สุ ด มิ ไ ด้ ที่พ ระองค์ ท่ า นได้พระราชทานแนวทางเศรษฐกิ จ พอเพียงให้ปวงชนชาวไทย ได้ใช้เป็นหลักในการ ดำ�รงชีวิต เป็นดั่งดวงประทีปให้แสงสว่างนำ�ทาง โครงการพระราชดำ�ริบางโครงการยากที่จะทำ�ให้สำ�เร็จ ด้ ว ยลำ � พั ง ความสามารถของหน่ ว ยงานเดี ย ว

แต่ด้วยพระบารมีของพระองค์ โครงการอันแสน ยากก็สำ�เร็จได้โดยง่ายและเกิดประโยชน์แก่มหาชน ลักษณะของโครงการพระราชดำ�ริ มีทั้งโครงการ อันเนื่องมาจากพระราชดำ�ริโดยตรง หรือโครงการ ส่วนพระองค์ ซึ่งได้พระราชทานกรอบ และแนวทาง การดำ�เนินงานไว้แล้ว แต่บางโครงการเกิดจากการที่ พระองค์ท่านพระราชทานหลักปรัชญาไว้ บุคลากร ของมหาวิทยาลัยได้ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม แล้วนำ� ไปดำ � เนิ น การเพื่ อ ขยายผลให้ เ กิ ด ประโยชน์ แ ก่ ประชาชนส่วนใหญ่ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต และ ความเป็ น อยู่ ข องประชาชนให้ ส มดั่ ง พระปณิ ธ าน นอกจากนี้ยังมีโครงการเฉลิมพระเกียรติในวโรกาส สำ�คัญต่างๆ ซึ่งได้รวบรวมไว้ในภาคผนวกของ หนังสือนี้อีกด้วย โครงการพระราชดำ�ริที่บุคลากร และนักศึกษา ของมหาวิทยาลัยขอนแก่นดำ�เนินการนั้น สามารถ จำ�แนกเป็นสามประเภทหลัก ได้แก่ โครงการอันเนื่อง มาจากพระราชดำ�ริ โครงการตามแนวพระราชดำ�ริ และโครงการเฉลิมพระเกียรติ ตัวอย่างของโครงการ อันเนื่องมาจากพระราชดำ�ริที่มหาวิทยาลัยได้ถวาย งานได้แก่ โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่อง มาจากพระราชดำ�ริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) โครงการพัฒนาพื้นที่ ในโครงการของมูลนิธิชัยพัฒนา โครงการหญ้าแฝก เป็นต้น ตัวอย่างโครงการตามแนวพระราชดำ�ริ ที่ดำ�เนินการ ได้แก่ โครงการพัฒนาชนบทเชิง บูรณาการ โครงการชุมชนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง โครงการจัดการแหล่งน้ำ�ขนาดเล็ก โครงการพัฒนา สาธารณสุขในที่ห่างไกล โครงการพัฒนาพลังงาน ทดแทน โครงการบำ�บัดน้�ำ เสียด้วยพืช เป็นต้น และ โครงการเฉลิมพระเกียรติเป็นโครงการที่คณะและ หน่วยงานในมหาวิทยาลัยขอนแก่นได้ด�ำ เนินการใน วโรกาสที่สำ�คัญๆ เช่น วโรกาสทรงครองราชสมบัติ ครบ 60 ปี เป็นต้น

3 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำ�ริ


หนังสือเล่มนี้ได้เรียบเรียงเป็นบทตามด้านของ การพัฒนา ซึ่งคณะกรรมการพิเศษเพื่อการประสาน งานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำ�ริ (กปร.) จัดจำ�แนกไว้ เนื่องจากความสะดวกในการเก็บ รวบรวมข้อมูล และการอ้างอิงในภายหน้า แต่ใน ความเป็นจริงแล้ว การพัฒนาในแต่ละด้านได้บูรณา การภูมิปัญญาท้องถิ่นซึ่งบรรพบุรุษได้สั่งสมไว้ผสม ผสานเข้ากับองค์ความรู้สมัยใหม่ และแนวทางพระ ราชดำ�ริในด้านต่างๆ บางครั้งในโครงการเดียวอาจ ทำ�ให้มีการพัฒนาทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่ง แวดล้อมขึ้นพร้อมกัน เนื้อหาของหนังสือเล่มนี้แบ่ง ออกเป็น 6 บท มีเนื้อหาโดยสังเขปดังนี้ บทที่ 1 เป็น โครงการพระราชดำ� ริ ด้ า นการพั ฒ นาสาธารณสุ ข เช่น การบริการรักษาพยาบาลในที่ห่างไกล และโรค ที่ซับซ้อน การสาธารณสุขในกลุ่มผู้ด้อยโอกาส ผู้ พิการ การดูแลสุขภาพเด็กและทารก รวมถึงการให้ ความรู้ด้านสุขภาพอนามัยแก่ชุมชนชนบท บทที่ 2 เป็นโครงการพระราชดำ�ริด้านการเกษตร อาชีพ และ เศรษฐกิจ ได้น้อมนำ�พระราชดำ�รัส และพระบรม ราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง และเกษตรทฤษฎีใหม่มาเป็น แนวทางในการปฏิบัติ โดยเนื้อหาจะเน้นในเรื่องการ จัดการเกษตรผสมผสาน และเกษตรทฤษฎีใหม่ การ จัดการแหล่งน้ำ�ในไร่นา การรวบรวมและปรับปรุง พันธุ์พืช และการดูแลสุขภาพสัตว์ บทที่ 3 เป็นการ

รวบรวมโครงการพระราชดำ � ริ ที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ การ จัดการสิ่งแวดล้อม การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และพลังงานทดแทน บทที่ 4 เป็นการดำ�เนินการ ตามแนวพระราชดำ � ริ ด้ า นการศึ ก ษาและพั ฒ นา คุณภาพชีวิต บทบาทของมหาวิทยาลัย กับการ ส่ ง เสริ ม การเรี ย นรู้ ข องนั ก เรี ย นในชนบทที่ ด้ อ ย โอกาส และการส่งเสริมผู้มีความรู้ความสามารถ พิเศษ เช่นโครงการโอลิมปิกวิชาการ เป็นต้น บท ที่ 5 เรื่องการบูรณาการของพื้นที่ เป็นบทที่รวม งานในทุกแขนงวิชามาบูรณาการร่วมกันเพื่อพัฒนา ชุมชนในทุกด้าน ซึ่งเป็นโครงการที่แสดงถึงบทบาท ของมหาวิ ท ยาลั ย ขอนแก่ น ในการทำ � งานร่ ว มกั น โดยได้จัดทำ� ในลักษณะเป็นพันธมิตรกับชุมชน โครงการพัฒนาชนบทเชิงบูรณาการ และโครงการ พัฒนาชุมชนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งบุคลากร ของมหาวิ ท ยาลั ย จากหลายคณะได้ เข้ า ร่ ว มส่ ง เสริม และให้ความรู้แก่ชุมชน เพื่อให้เกิดการพัฒนา เศรษฐกิจบนฐานทรัพยากรชุมชน โดยเน้นหลักการ เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนาที่ยั่งยืน และบทสุดท้าย บทที่ 6 เป็นบทสัมภาษณ์ผู้บริหารมหาวิทยาลัย ขอนแก่น เพื่อแสดงถึงมาตรการ กลยุทธ์ ตลอดจน แผนงานต่างๆ ในการน้อมนำ�พระราชดำ�ริมาดำ�เนิน การ เพื่อผลักดันให้มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็น มหาวิทยาลัยชุมชนอย่างแท้จริง

4 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำ�ริ


บทที่ 1

มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำ�ริ ด้านการสาธารณสุข


“ ขาพเจาวาเรื่องสุขภาพอนามัยเปนเรื่องสําคัญ

เพราะเปนพื้นฐานของสิ่งมีชีวิตทั้งมวล ดังคํากลาวที่วา จิตใจที่แจมใสยอมอยูในรางกายที่แข็งแรง หากประชาชน มีสุขภาพอนามัยสมบูรณ ไมเจ็บไขไดปวยก็จะมีสติ ปญญาเลาเรียน ประกอบสัมมาอาชีพสรางสรรคความ เจริญตางๆ ใหบานเมือง ดังนั้น ถาจะกลาววาพลเมืองที่ แข็งแรงยอมสามารถสรางชาติที่มั่นคง ก็คงจะไมผิด

พระราชดำารัสในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พระราชทานแก่ผู้เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในวโรกาส เฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2531 ณ ศาลาดุสิดาลัย

6 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำาริ


บทที่ 1 มหาวิทยาลัยขอนแก่น กับโครงการพระราชดำ�ริ ด้านการสาธารณสุข

นั

บตั้งแต่มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้สถาปนาขึ้น เมื่อเดือนมกราคม พุทธศักราช 2509 ได้มีจุด มุ่งหมายในการพัฒนาภูมิภาคอีสาน และต่อมาได้เห็น ความจำ�เป็นในการผลิตบุคลากรทางด้านการพยาบาล การแพทย์และสาธารณสุขเพื่อตอบสนองความต้องการ ของภูมิภาคในขณะนั้น จึงเริ่มก่อตั้งคณะพยาบาลศาสตร์ ขึ้นในปี พ.ศ. 2514 คณะแพทยศาสตร์ ในปีพ.ศ. 2515 คณะเทคนิคการแพทย์ และคณะสาธารณสุขศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2521 คณะทันตแพทยศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2522 คณะเภสัชศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2523 และคณะ สัตวแพทยศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2527 ซึ่งต่อมาเรียกว่า “คณะวิชาศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ” และได้จัดตั้งโรง พยาบาลศรีนครินทร์สำ�หรับให้บริการรักษาพยาบาลแก่ผู้ เจ็บป่วยและเป็นสถานที่ฝึกปฏิบัติงานสำ�หรับผู้ศึกษาใน คณะวิชาศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ ซึ่งเริ่มให้บริการผู้ป่วย นอกเมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2518 และเริ่มรับผู้ป่วยใน เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2520 ซึ่งจากจำ�นวน 40 เตียง จนถึงปัจจุบัน โรงพยาบาลศรีนครินทร์สามารถเปิดบริการ ผู้ป่วยในได้อย่างเต็มที่รวม 1,200 เตียง ได้จัดตั้งศูนย์หัวใจ สิริกิติ์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือขึ้นในปี พ.ศ. 2535 เพื่อ เป็นศูนย์บริการผู้ป่วยโรคหัวใจโดยเฉพาะ

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระบรมราโชวาทใน พิ ธี พ ระราชทานปริ ญ ญาบั ต รแก่ ผู้ สำ � เร็ จ การศึ ก ษาของ มหาวิทยาลัยขอนแก่น รุ่นที่ 2 เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2512 ความตอนหนึ่งว่า

...ใคร่จะฝากข้อคิดไว้ข้อหนึ่งว่า การตั้ง มหาวิทยาลัยขอนแก่นขึ้นนั้น ต้องใช้เงินทอง เป็นจำ�นวนมากมาย มีเงินของแผ่นดินอันได้มา จากประชาชนเป็นส่วนสำ�คัญ ซึ่งท่านทั้งหลาย ก็ได้ทราบด้วยตนเองตามรายงานของนายกสภา มหาวิทยาลัยแล้ว ขอให้คิดดูว่าการลงทุนทุ่มเท งบประมาณมากมายลงไปนี้เพื่ออะไร ก็เพื่อ สร้างบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถสูงขึ้นมา ให้มาเป็นผู้นำ� เป็นหัวหน้า ในการที่จะทำ�ให้ ทรัพยากรของชาติที่มีอยู่ ทำ�ให้ก�ำ ลังแรง กำ�ลัง ความคิดของคนไทยที่มีอยู่ บังเกิดผลประโยชน์ อำ�นวยความเจริญ ความก้าวหน้า ความผาสุก และความมั่นคงแก่ส่วนรวม...

การจั ด ตั้ ง คณะวิ ช าศู น ย์ วิ ท ยาศาสตร์ สุ ข ภาพ มหาวิทยาลัยขอนแก่น พร้อมทั้งโรงพยาบาล เป็นการ ทุ่มเทงบประมาณจำ�นวนมากมายมหาศาล พระบาท

7 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำ�ริ


คณะวิชาศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ ได้น้อมนำ�กระ แสพระราชดำ�รัสเกี่ยวกับสุขภาพมาเป็นแนวทางในการ ดำ�เนินโครงการต่างๆ ในการดูแลสุขภาพของประชาชน ตามสภาพปัญหาโดยเน้นการพัฒนาที่ยั่งยืน ภายใต้บริบท วัฒนธรรมไทย เพื่อให้ประชาชนมีความผาสุก ความมั่นคง สนองพระราชดำ � ริ ข องพระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู่ หั ว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และพระบรมวง ศานุวงศ์ การดำ�เนินโครงการต่างๆ นี้เป็นโอกาสให้ บุ ค ลากรในคณะวิ ช าของศู น ย์ วิ ท ยาศาสตร์ สุ ข ภาพได้ ร่วมแก้ไขปัญหาสุขภาพ สุขอนามัยสิ่งแวดล้อม รวมทั้ง ให้การส่งเสริมสุขภาพ ฟื้นฟูสุขภาพทั้งทางร่างกายและ จิตใจ ตลอดจนการป้องกันโรคอันมีส่วนช่วยขับเคลื่อนการ พัฒนาชุมชน และสังคมในด้านต่างๆ เพื่อให้ประชาชนมี ความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ซึ่งสามารถแบ่งลักษณะโครงการพระ ราชดำ�ริทางด้านสุขภาพและสาธารณสุขดังนี้

- โครงการตะวันฉาย (การดูแลผู้ป่วยปากแหว่ง เพดานโหว่ และความพิการแต่ก�ำ เนิดของศีรษะและ ใบหน้า) • การให้ ค วามรู้ สุ ข ภาพอนามั ย แก่ ชุ ม ชนในด้ า น การดูแลสุขภาพเด็กและทารก เพื่อการพึ่งตนเอง ได้แก่ - โครงการสายใยรักด้วยนมแม่ - โครงการส่งเสริมฟื้นฟูสมรรถภาพ ของเล่นเพื่อเด็กพิการในโรงเรียนศรีสังวาลย์ จ.ขอนแก่น

และผลิต อ.เมือง

• ก า ร จั ด ห า ทุ น เ พื่ อ ก า ร รั ก ษ า พ ย า บ า ล แ ก่ ประชาชนผู้ด้อยโอกาส ได้แก่

- กองทุ น วั น ศรี น คริ น ทร์ใ นพระราชู ป ถั ม ภ์ ส มเด็ จ • การบริการรักษาพยาบาลในที่ห่างไกล และให้ พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ความรู้ ด้ า นสุ ข ภาพอนามั ย แก่ ชุ ม ชนเพื่ อ การพึ่ ง ตนเอง • การดูแลญาติผู้ป่วยตามวัฒนธรรมไทย ได้แก่ ได้แก่ - โครงการเรือนพักญาติ - โครงการออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ พอ.สว. ด้ ว ยความสำ� นึ ก ในพระมหากรุ ณ าธิ คุ ณที่ ท รงมี โรงพยาบาลศรีนครินทร์ แก่มหาวิทยาลัยขอนแก่นและพสกนิกรของพระองค์ - โครงการสานสายใยเด็กไทยรักสุขภาพในโรงเรียน คณะวิ ช าศู น ย์ วิ ท ยาศาสตร์ สุ ข ภาพจะยั ง คงมุ่ ง มั่ น ตำ�รวจตระเวนชายแดน ตั้งใจ วิริยะอุตสาหะในการให้บริการแก่ประชาชนใน โครงการต่างๆ ตามแนวพระราชดำ�ริควบคู่ไปกับการ - โครงการทันตกรรมพระราชทาน ดำ�เนินภารกิจหลักในการผลิตบัณฑิตต่อไป • การบริการรักษาพยาบาลที่ซับซ้อนในกลุ่มผู้ด้อย โอกาส ได้แก่ - โครงการผ่าตัดหัวใจ 8,000 ดวง ถวายเป็นพระ ราชกุศล 80 พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ ถวายเป็นพระราชกุศล 84 พรรษา สมเด็จพระเจ้าพี่ นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราช นครินทร์

8 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำ�ริ


โครงการออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ พอ.สว.

เมษายน พุทธศักราช 2517 โดยมีวัตถุประสงค์อันสำ�คัญ ยิ่ง คือ ให้การดูแลรักษา และหาทางป้องกันโรคภัยไข้เจ็บ ให้แก่ประชาชนชาวไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งประชาชนใน ถิ่นทุรกันดาร ห่างไกลการคมนาคม ไม่เลือกว่าจะเป็น ประชาชนภาคใด เชื้อชาติหรือศาสนาใด หากทรงทราบ ว่ า ผู้ ป่ ว ยรายใดมี อ าการเจ็ บ ป่ ว ยหนั ก เกิ น แก่ กำ � ลั ง ของ แพทย์อาสาจะบำ�บัดรักษาได้ ก็จะส่งผู้ป่วยนั้นไปรับการ รักษาในโรงพยาบาลประจำ�จังหวัด หรือโรงพยาบาลที่มี ศักยภาพในการรักษาที่สูงกว่า โดยทรงรับคนไข้ไว้ในพระ ราชานุเคราะห์

โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ได้ทรงดำ�เนิน ตามรอยพระยุคลบาทสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดช วิกรมพระบรมราชชนก ผู้ได้รับพระสมัญญาว่า “ พระบิดา แห่งการแพทย์แผนปัจจุบันของไทย ” ด้วยการสืบทอด พระราชกรณียกิจต่างๆ โดยเฉพาะพระราชกรณียกิจที่ เกี่ยวกับกิจการแพทย์ นับแต่ปีพุทธศักราช 2507 เป็นต้นมา สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี โปรดที่จะเสด็จ พระราชดำ�เนินทรงเยี่ยมราษฎร เจ้าหน้าที่ตำ�รวจและ ทหารที่อยู่ในจังหวัดห่างไกลเป็นประจำ� พระองค์ได้ทอด พระเนตรเห็นความทุกข์ยากอนาถาของราษฎรในยามเจ็บ ไข้อยู่เสมอ ซึ่งในระยะเวลานั้นยังไม่มีหน่วยงานทางการ แพทย์ใดช่วยแก้ปัญหานี้

พระราชกรณี ย กิ จ ที่ เ ปี่ ย มล้ น ด้ ว ยพระเมตตาของ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีในการก่อตั้งกิจการ แพทย์อาสา พระราชทานความสุขแก่ราษฎรผู้ทุกข์ยากนี้ นับเป็นสิ่งที่ทรงคุณค่ามหาศาล จึงทรงได้รับการยกย่อง สรรเสริญว่า ทรงเป็นพระมารดาแห่งการแพทย์ชนบท ไม่ว่าจะเสด็จที่ใดทรงนำ�ความหวัง ความอบอุ่น และความ ในปีพุทธศักราช 2512 ทรงพระกรุณาจัดตั้ง หน่วย ชุ่มชื่นใจไปพระราชทานแก่ผู้ที่ได้เฝ้าทูลละอองพระบาท แพทย์ อ าสาสมเด็ จ พระศรี น คริ น ทราบรมราชชนนี โดยทั่วหน้ากัน พระมหากรุณาธิคุณอันสูงยิ่งของพระองค์ หรือ พอ.สว. ขึ้น เพื่อบรรเทาความทุกข์ยากของราษฎร ทรงคุณอนันต์หาที่เปรียบมิได้ โดยทรงรวบรวมความเสียสละของแพทย์ พยาบาล และ เพื่อสนองพระราชปณิธานในสมเด็จพระศรีนคริน อาสาสมัครสมทบของแต่ละจังหวัด จัดขึ้นเป็นคณะเดิน ทางออกไปทำ � การรั ก ษาพยาบาลและเยี่ ย มประชาชน ทราบรมราชชนนีให้พี่น้องประชาชนในท้องถิ่นทุรกันดาร ได้รับการดูแลตรวจสุขภาพและ ในถิ่นทุรกันดารห่างไกลของจังหวัดต่างๆ ในวันหยุด ของจังหวัดขอนแก่น รักษาพยาบาลเบื้องต้น โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะ ราชการเสาร์ – อาทิตย์เป็นประจำ� แพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นจึงร่วมกับสำ�นักงาน ในปีพุทธศักราช 2516 สมเด็จพระศรีนครินทรา สาธารณสุขจังหวัดขอนแก่นดำ�เนินการออกหน่วยแพทย์ บรมราชชนนี ได้ทรงเริ่มดำ�เนินการโครงการรักษาพยาบาล เคลื่อนที่พอ.สว. เป็นประจำ�เดือนละสองครั้ง โดยโรง ทางวิทยุอีกโครงการหนึ่ง เรียกว่า โครงการแพทย์อาสา พยาบาลศรีนครินทร์ ได้เป็นผู้ด�ำ เนินการออกหน่วยแพทย์ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีทางอากาศ โดย เคลื่ อ นที่ พ อ.สว.ครั้ ง แรกในโอกาสวั น คล้ า ยวั น พระราช การติดตั้งวิทยุรับ – ส่ง ที่สถานีอนามัย ซึ่งอยู่ในชนบท สมภพสมเด็จศรีนครินทราบรมราชชนนีวันที่ 21 ตุลาคม ห่างไกล พร้อมจัดยาพระราชทานไว้สำ�หรับจ่ายให้คนไข้ได้ พ.ศ. 2537 เป็นต้นมา ต่อมาได้ด�ำ เนินการออกให้บริการ ทันที ถ้าผู้ป่วยมีอาการไม่หนักหนาเจ้าหน้าที่ประจำ�สถานี เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันสวรรคตของสมเด็จย่า วันคล้าย อนามัยก็ให้การรักษาและจ่ายยาเองได้ แต่ถ้ามีข้อสงสัย วันประสูติสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา ติดขัดก็จะวิทยุปรึกษาแพทย์ที่ประจำ�ศูนย์วิทยุที่กำ�หนดไว้ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ จวบจนในปี พ.ศ. 2552 แพทย์ก็จะแนะนำ�สั่งการรักษาพยาบาลให้ทันที ซึ่งการ ได้ออกให้บริการในวันคล้ายวันสิ้นพระชนม์สมเด็จพระเจ้า ดำ�เนินการนี้ใช้ชื่อว่า สถานีรักษาแพทย์อาสาทางอากาศ พี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราช ต่อมาโครงการนี้จึงได้จดทะเบียนเป็น มูลนิธิแพทย์อาสา นครินทร์ รวมเป็นปีละ 4 ครั้ง ดังนี้ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เมื่อวันที่ 27

9 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำ�ริ


• วันที่ 21 ตุลาคม วันคล้ายวันพระราชสมภพ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และเป็น วันพยาบาลแห่งชาติ วันทันตสาธารณสุขแห่ง ชาติ วันสังคมสงเคราะห์แห่งชาติ และวันอาสา สมัครไทย • วันที่ 6 พฤษภาคม วันคล้ายวันประสูติสมเด็จ พระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวง นราธิวาสราชนครินทร์ • วันที่ 18 กรกฎาคม วันคล้ายวันสวรรคตสมเด็จ พระศรีนครินทราบรมราชชนนี และเป็นวัน ศรีนครินทร์ • วันที่ 2 มกราคม วันคล้ายวันสวรรคตสมเด็จ พระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรม หลวงนราธิวาสราชนครินทร์ การออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ พอ.สว.ที่โรงพยาบาล ศรีนครินทร์ดำ�เนินการนั้น ถือเป็นโอกาสพิเศษที่มีความ ร่วมมือจากหลายหน่วยงาน ได้แก่ สำ�นักงานสาธารณสุข จังหวัดขอนแก่น คณะทันตแพทยศาสตร์ คณะพยาบาล ศาสตร์ นอกจากนั้นในวันที่ 21 ตุลาคม ซึ่งเป็นวัน

สังคมสงเคราะห์แห่งชาติด้วย หน่วยงานและองค์กร ด้านสังคมสงเคราะห์ทั้งภาครัฐและเอกชน อาทิเช่น สังคมสงเคราะห์จังหวัดขอนแก่น สโมสรโรตารี่ เป็นต้น มา ร่วมให้บริการแจกสิ่งของเครื่องใช้แก่ราษฎรร่วมด้วย กิ จ กรรมในการออกหน่ ว ยแพทย์ เ คลื่ อ นที่ ภ ายใต้ การดำ � เนิ น การของโรงพยาบาลศรี น คริ น ทร์ นั้ น มี ห ลาย อย่าง ด้วยความร่วมมือจากบุคลากรทุกฝ่าย ทั้งนี้ก่อน การออกหน่วยทุกครั้งจะมีการสำ�รวจพื้นที่และเตรียมการ จัดสถานที่ให้บริการส่วนต่างๆ ซึ่งบุคลากรช่างซ่อมบำ�รุง ของโรงพยาบาลศรีนครินทร์จะออกไปดำ�เนินการซ่อมแซม สาธารณู ป โภคให้ กั บ โรงเรี ย นหรื อ ศู น ย์ เ ด็ ก เล็ ก ประจำ � หมู่บ้านด้วย เช่น ซ่อมแซมอาคารเรียนหลังเก่าพร้อมทาสี ใหม่ สร้างห้องน้�ำ โรงเรียนใหม่ ซ่อม/ ติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้า ทำ�อุปกรณ์สนามเด็กเล่น ซ่อมอุปกรณ์ประปา/ ถังรอง น้�ำ ฝน เป็นต้น นอกจากนั้นจะมีการสำ�รวจข้อมูลความ ต้องการของผู้พิการที่ยากไร้จากเจ้าหน้าที่ของท้องถิ่น และ แจกอุปกรณ์สำ�หรับคนพิการที่อุปกรณ์ซึ่งได้รับแจกจาก หน่วยราชการที่ใช้เก่าชำ�รุด ตลอดจนการให้บริการตรวจ รักษา และการส่งเสริมสุขภาพด้วยวิธีต่างๆ

10 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำ�ริ


สถิติการออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ พอ.สว. ของโรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัย ขอนแก่น ในรอบ 3 ปีที่ผ่านมา (ปีงบประมาณ 2550 - 2552) ได้ให้บริการตรวจรักษาและให้ความรู้ด้านสุขภาพอนามัย แก่ผู้มารับบริการ ดังนี้

กิจกรรมออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ 1. แพทย์ตรวจรักษา 2. ตรวจทันตกรรม 3. ตรวจมะเร็งเต้านม 4. ส่งไปรับการรักษาต่อ 5. เยี่ยมบ้านผู้ป่วยเรื้อรังและผู้พิการ 6. กิจกรรมด้านการให้ความรู้สุขศึกษา 7. ตรวจภายใน 8. ตรวจผู้สูงอายุ 9. ตรวจปัสสาวะและน้ำ�ตาล 10. นวดแผนไทย 11. กิจกรรมรำ�ไม้พลอง 12. กิจกรรมพัฒนาเด็ก 13. คัดกรองมะเร็งปากมดลูก 14. ตรวจครรภ์ (ANC) 15. กิจกรรมศิลปะประดิษฐ์และ เทคโนโลยีทางการเกษตรเป็นอาชีพเสริม รวมผู้รับบริการ

ปี 2550 1,045 370 192 24 19 444 2,094

จำ�นวนผู้เข้ารับบริการ (คน) ปี 2551 ปี 2552 1,063 2,354 359 561 121 212 41 128 32 20 410 530 45 122 65 26 23 57 100 176 93 1 100 2,281

11 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำ�ริ

4,358

รวม 4,462 1,290 525 193 71 1,384 45 122 91 80 100 176 93 1 100 8,733


ผู้บริหารรพ.ศรีนครินทร์ และเจ้าหน้าที่ในพื้นที่

ร่วมพิธีเปิดก่อนการ ปฏิบัติงาน

ทันตแพทย์ให้บริการด้าน ทันตกรรม

12 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำ�ริ


นอกจากนี้ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะ แพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้จัดส่งแพทย์ไป ร่วมออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ พอ.สว. ร่วมกับสำ�นักงาน สาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น ปีละ 3 ครั้งๆ ละ 6 - 10 คน ไม่เพียงแต่ประชาชนทั่วไปในถิ่นทุรกันดารจะได้รับบริการ ตรวจรักษาเท่านั้น บุคลากรของโรงพยาบาลศรีนครินทร์ ทั้งแพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาล เภสัชกร และเจ้าหน้าที่ ทางการแพทย์อื่นๆ ของโรงพยาบาลศรีนครินทร์ ยังร่วม กั น ดำ � เนิ น กิ จ กรรมบริ ก ารให้ แ ก่ พ ระภิ ก ษุ ที่ อ ยู่ ห่ า งไกล

เป็นประจำ� ได้แก่ การออกตรวจสุขภาพแก่พระสงฆ์ที่ วัดในทุกจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งหากพบ ว่าเจ็บป่วยมากจะนำ�มารักษาต่อที่หอสงฆ์อาพาธ โรง พยาบาลศรีนครินทร์ต่อไป บุคลากรของโรงพยาบาลศรีนครินทร์ทุกคน ล้วนภาค ภูมิใจที่ได้มีโอกาสให้บริการแก่ผู้ที่อยู่ห่างไกลให้ได้รับการ ดูแลสุขภาพและมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และเป็นความภาค ภูมิใจที่ได้มีส่วนในการสร้างชาติ

แพทย์พิจารณาให้การรักษา

พยาบาลซักประวัติอาการเจ็บป่วย

พยาบาลและเภสัชกรให้ความรู้เกี่ยวกับยา การดูแลตนเอง และแจกยา

13 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำ�ริ


โครงการสานสายใยเด็กไทยรักสุขภาพ ในโรงเรียนตำ�รวจตระเวนชายแดน จากความตอนหนึ่งในบทความพระราชนิพนธ์ ของ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เรื่อง โรงเรียนตำ�รวจตระเวนชายแดนว่า

...ข้ า พเจ้ า โตขึ้ น มาในช่ ว งที่ ป ระเทศไทย ประสบปัญหาหลายอย่าง โดยเฉพาะอย่าง ยิ่ ง ในแง่ ที่ ว่ า ประชาชนพี่ น้ อ งร่ ว มชาติ ใ นเขต ทุรกันดารห่างไกลการคมนาคมมีความเป็นอยู่ที่ ยากลำ�บาก ได้รับบริการของรัฐบาลน้อย ต้อง ประสบภั ย อั น ตรายจากโจรผู้ร้ายและการสู้ ร บ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระ นางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงใช้เวลาส่วน ใหญ่เสด็จพระราชดำ�เนินไปเยี่ยมท้องที่เหล่านี้ เพื่อพระราชทานพระราชานุเคราะห์แก่ราษฎร ในด้านต่างๆ เช่น การประกอบอาชีพเพื่อให้เกิด รายได้ การรักษาพยาบาล การศึกษา การแก้ไข ปัญหาข้อขัดข้องต่างๆ ฯลฯ ข้าพเจ้ามีหน้าที่ใน การสัมภาษณ์ประชาชนเพื่อพระราชทานความ ช่วยเหลือ มีผู้ตั้งคำ�ถามว่าทราบได้อย่างไรว่า คนนั้นคนนี้เป็นคนยากจนจริง อาจจะมากราบ บังคมทูลความเท็จ สวมเสื้อผ้าปอนๆ ให้ดู ยากจน เราใช้เกณฑ์ว่าสิ่งใดที่เราพอจะช่วยเขา ได้โดยไม่สร้างความเดือดร้อนกับคนอื่นเราก็จะ ช่วย รายที่ต้องช่วยก่อน คือ รายที่มีปัญหาเรื่อง สุขภาพเพราะมองเห็นได้พอสมควร ถ้าพอมี ประสบการณ์ก็จะทราบว่าคนไหนเจ็บป่วย เรื่อง นี้เสแสร้งได้ยาก การที่ได้รู้ได้เห็นอย่างกว้าง ขวางเช่นนี้ท�ำ ให้ข้าพเจ้าตั้งความหวังว่า เมื่อโต เป็นผู้ใหญ่จะต้องมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา ต่างๆ ให้ได้...

โครงการสานสายใยเด็กไทยรักสุขภาพ เป็นโครงการ ที่คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นจัดขึ้น สำ�หรับเด็กนักเรียนโรงเรียนตำ�รวจตระเวนชายแดน โดย ได้ด�ำ เนินโครงการนี้มาตั้งแต่ปี 2547 ในโรงเรียนตำ�รวจ ตระเวนชายแดน เขตอำ�เภอบึงกาฬ จังหวัดหนองคาย 3 โรงเรียน ซึ่งในช่วงแรกมุ่งส่งเสริมสุขภาพแก่เด็กนักเรียน โดยการประเมิ น ปั ญ หาเกี่ ย วกั บ สุ ข ภาพอนามั ย ของ นักเรียน จากนั้นได้จัดกิจกรรมให้ความรู้และพัฒนาทักษะ การดูแลสุขภาพอนามัย อบรมแกนนำ�ให้ช่วยดูแลเพื่อนๆ และน้องๆ ในการดูแลสุขภาพอนามัยของตนเอง เช่น การแปรงฟันหลังรับประทานอาหาร การสวมรองเท้า เป็นต้น และสอดแทรกการกระตุ้นความสนใจในการศึกษา แก่เด็กนักเรียนด้วย ต่อมาในปี พ.ศ. 2550 ในโอกาสมหา มงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 ได้ขยายพื้นที่ดำ�เนินการสู่พื้นที่ในเขตรับผิดชอบของกอง ร้อยตำ�รวจตระเวนชายแดนที่ 242 กองกำ�กับการตำ�รวจ ตระเวนชายแดนที่ 24 จำ�นวน 15 โรงเรียน ใน 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดหนองคาย 3 โรงเรียน จังหวัดอุดรธานี 5 โรงเรียน และจังหวัดเลย 7 โรงเรียน รวมถึงพื้นที่ชุมชน ที่โรงเรียนทั้ง 15 โรงเรียนนี้ตั้งอยู่ รวม 15 ชุมชน และ ขยายลักษณะการดำ�เนินกิจกรรมโดยให้ครูโรงเรียนตำ�รวจ ตระเวนชายแดน มีส่วนร่วมดำ�เนินโครงการย่อยเพื่อแก้ ปัญหาสุขภาพอนามัยให้นักเรียนในโรงเรียนของตน และ ให้มีผู้นำ�ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมดำ�เนินโครงการย่อยเพื่อ แก้ปัญหาในชุมชนของตน ในปี พ.ศ. 2551 ได้ดำ�เนินงานต่อเนื่องจากปี พ.ศ. 2550 ใน 5 กิจกรรมหลัก ได้แก่ 1) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และมอบโล่รางวัลเชิดชู โครงการเด่น คณะพยาบาลศาสตร์ ได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ร่วมกับครูโรงเรียนตำ�รวจตระเวนชายแดน ผู้ปกครอง ผู้น�ำ ชุมชน เพื่อร่วมระดมสมอง สะท้อนถึงปัญหาสุขภาพ และ ความต้องการ ตามสภาพการณ์จริงของแต่ละพื้นที่ และ กิจกรรมมอบทุนการศึกษาให้นักเรียนในเขตพื้นที่รับผิด ชอบ ในวันที่ 4-5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 ประกอบด้วย กิจกรรม

14 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำ�ริ


- การบรรยายทางวิชาการ เรื่อง “การพัฒนา สุขภาพของประชาชนในพื้นที่ ตชด. ในอนาคต” โดยเน้น การประเมินสุขภาพ การแก้ไขปัญหาสุขภาพ การรักษา พยาบาล การป้องกันโรคและการส่งเสริมสุขภาพ ทำ�ให้ ครู อาจารย์ ผู้ปกครอง ผู้นำ�ชุมชน ได้เข้าใจแนวทางการ พัฒนาสุขภาพในปัจจุบัน - การนำ�เสนอ จัดให้มีการนำ�เสนอโครงการส่ง เสริมสุขภาพ 15 โครงการ ที่ดำ�เนินการ ใน 15 โรงเรียน และ15 ชุมชน แก่ครูโรงเรียนตำ�รวจชายแดน และผู้นำ� ชุมชนทั้งหมดที่เข้าร่วมโครงการ ทำ�ให้ได้แลกเปลี่ยนเรียน รู้วิธีการดำ�เนินการแก้ปัญหาของกันและกัน - การมอบทุน มีการมอบทุนในการดำ�เนินโครงการ ส่งเสริมสุขภาพนักเรียนและประชาชนในปี พ.ศ. 2552 ให้ แก่ชุมชน โรงเรียน ตชด. 15 ทุน และมอบโล่โครงการ สานสายใยเด็กไทยรักสุขภาพที่ได้รับรางวัล ประจำ�ปี พ.ศ. 2550 จำ�นวน 6 รางวัล การสรุปภาพรวมของการดำ�เนินงานโครงการ ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2547-2551 ทำ�ให้มองเห็นภาพการพัฒนา ที่ผ่านมา ที่เน้นเฉพาะการแก้ไขปัญหาสุขภาพที่เกิดจาก สุขวิทยาส่วนบุคคลและโครงการพัฒนาสิ่งแวดล้อมแต่สิ่ง ที่ยังไม่ได้แก้ไขอย่างจริงจังคือปัญหาวัยรุ่นที่เริ่มใช้สารเสพ ติดเนื่องจากครอบครัวไม่อบอุ่น พ่อแม่ไปทำ�งานในต่าง ถิ่น ที่ประชุมจึงให้ความสนใจและร่วมให้ข้อเสนอแนะใน การทำ� “ ค่ายอุ่นไอรัก” เพื่อกระชับความสัมพันธ์ของ

ครอบครัวให้ดีขึ้น หลังจากนั้น คณะพยาบาลศาสตร์ได้ติดตามการ ปฏิบัติงาน และประเมินผลโครงการต่างๆ ในทุกพื้นที่ใน วันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2552 พร้อมกับร่วมจัดกิจกรรม วันเด็กแห่งชาติ ผลการติดตามประเมินผล สรุปได้ดังนี้ โรงเรียนตำ�รวจตระเวนชายแดนและชุมชน จังหวัด หนองคายมี 3 โครงการ ได้แก่ 1) โครงการสุขลักษณะการ บริโภคอาหารปลอดภัย โรงเรียน ตชด.บ้านหนองตะไก้ เพื่อให้ครู นักเรียน ผู้ปกครอง ชุมชน ได้เรียนรู้หลักการ อุปโภค บริโภคอาหารที่ปลอดภัย ถูกสุขลักษณะ นำ� ความรู้ที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำ�วัน เพื่อสร้างสุขนิสัยในการ ประกอบอาหาร สานสายใยให้ให้ครอบครัวชุมชนมีความ สัมพันธ์ที่ดี 2) โครงการรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคไข้ เลือดออก โรงเรียน ตชด. บ้านห้วยดอกไม้ เพื่อปลูกจิต สำ�นึกให้ประชาชน ครู นักเรียนให้เห็นความสำ�คัญและ อันตรายของไข้เลือดออก พัฒนาศักยภาพครอบครัว ชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุข ผู้น�ำ ชุมชน ครู องค์กรชุมชน ให้มีส่วนร่วมแก้ไขปัญหาไข้เลือดออก 3) โครงการสุขาน่าใช้ ห่างไกลจากโรคหนอนพยาธิ โรงเรียน ตชด. บ้านนาแวง และชุมชน เพื่อให้โรงเรียนมีห้องสุขาที่ถูกสุขลักษณะ ชุมชนและนักเรียนมีสุขนิสัยที่ดี ไม่เป็นโรคหนอนพยาธิ สามารถป้องกันโรคหนอนพยาธิและมีสุขภาพอนามัยที่ดี ร่างกายแข็งแรง

15 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำ�ริ


โรงเรียนตำ�รวจตระเวนชายแดนและชุมชน จังหวัด อุดรธานี มี 5 โครงการ ได้แก่ 1) โครงการส่งเสริมการ ออกกำ�ลังกายเพื่อสุขภาพในชุมชนโรงเรียนตชด.บ้านห้วย เวียงงาม เพื่อให้ประชาชนและ นักเรียนมีสุขภาพร่างกาย ที่แข็งแรง หลีกเลี่ยงจากสิ่งเสพติด สร้างความสัมพันธ์ ระหว่างโรงเรียนและชุมชน 2) โครงการฟันสวย มือสะอาด ปราศจากโรคภัย โรงเรียนบ้านสมประสงค์ เพื่อสร้าง เสริมความรู้ทันตสุขภาพแก่นักเรียน ร่วมกันทำ�กิจกรรม ป้องกันปัญหาฟันผุในโรงเรียนและสมาชิกครอบครัว 3) โครงการสร้างเสริมความสัมพันธ์ร่วมมือกันกำ�จัดลูกน้ำ�ยุง ลายโรงเรียน ตชด. บ้านเมืองทอง เพื่อขยายพันธุ์ปลาหาง นกยูงให้แก่ประชาชนให้ร่วมกำ�จัดลูกน้ำ�ยุงลาย ควบคุม การระบาดของไข้เลือดออก 4) โครงการอบรมสิ่งแวดล้อม ประกวดบ้านน่าอยู่ โรงเรียน ตชด. บ้านนาชมพู เพื่อส่ง เสริมให้นักเรียนและชุมชนเรียนรู้และเห็นความสำ�คัญของ การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ 5) โครงการปลูกผัก ปลอดสารพิษผลผลิตเพื่อนักเรียนโรงเรียนตำ�รวจตระเวน ชายแดนบ้านเทพภูเงิน เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมีความรู้ ด้านการเกษตร มีพืชผักบริโภคอย่างปลอดภัย ผู้ปกครอง นักเรียน ชุมชน ครูมีสัมพันธภาพที่ดี

ทันตสุขภาพในโรงเรียน โรงเรียน ตชด. บ้านห้วยเป้า และ ชุมชน เพื่อสร้างเสริมความรู้แก่นักเรียนนักเรียน และ ครอบครัวให้สามารถป้องกันโรคที่เกี่ยวกับปากและฟัน ได้ 6) โครงการอาสาสมัครในการคุ้มครองผู้บริโภคด้าน สุขภาพ โรงเรียนตชด. บ้านนานกปีด และชุมชน เพื่อ ให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง สามารถให้ ความรู้ความช่วยเหลือ แนะนำ�การบริโภคที่เหมาะสมและ ปลอดภัยแก่เพื่อนนักเรียนและชุมชน 7) โครงการกินอยู่ ปลอดภัย โรงเรียน ตชด. บ้านนาปอ และชุมชน เพื่อสร้าง เสริมความรู้ความเข้าใจเรื่องการดูแลสุขภาพให้ปลอดภัย แก่นักเรียน และประชาชนในชุมชน 2) ค่ายอุ่นไอรัก เพื่อกระชับความสัมพันธ์ระหว่างผู้ ปกครอง นักเรียน และโรงเรียน ชุมชนมีส่วนร่วมกิจกรรม ได้แลกเปลี่ยนแนวทางและวิธีการสร้างสัมพันธภาพที่ดีใน ครอบครัว และชุมชน ผู้นำ�ชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนา ชุมชน

3) การอบรมครูโรงเรียน ตชด. เพื่อให้ครูมีความ เข้าใจหลักพื้นฐานในการปรับพฤติกรรมเด็กนักเรียน และ การผลิตสื่อสร้างเสริมสุขภาพในโรงเรียนและชุมชน ครู มีส่วนให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับเรื่องราวที่จะผลิตสื่อ ใน โรงเรียนตำ�รวจตระเวนชายแดนและชุมชน จังหวัด หนังสือการ์ตูน เพลง และคู่มือสร้างเสริมสุขวิทยาแก่เด็ก เลย มี 7 โครงการได้แก่ 1) โครงการเปลี่ยนพฤติกรรม 4) การอบรมอาสาสมัครสาธารณสุขนักเรียน เพื่อ รับประทานอาหารสุกๆดิบๆ โรงเรียน ตชด. บ้านวังชมภู เพื่อนักเรียน ครู ประชากรในชุมชนเปลี่ยนพฤติกรรมรับ เสริ ม สร้ า งทั ก ษะการเฝ้ า ระวั ง และแก้ ไขปั ญ หาสุ ข ภาพ ประทานอาหารสุกๆดิบๆ มาเป็นรับประทานอาหารสุก สุขวิทยาส่วนบุคคล สุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม และสาน สะอาด ลดภาวะโรคติดเชื้อทางเดินอาหารและโรคหนอน สัมพันธ์บ้านและโรงเรียน พยาธิ 2) โครงการส่งเสริมกีฬาของโรงเรียน ตชด. บ้าน 5) การผลิตสื่อสร้างเสริมสุขภาพในโรงเรียนและ หนองแคน เพื่อให้ประชาชนและนักเรียนมีการออกกำ�ลัง ชุมชน ผลิตสื่อสร้างเสริมสุขภาพ 4 ชิ้น ได้แก่ คู่มือ วิซีดี กายที่เหมาะสม สม่�ำ เสมอ ฝึกทักษะกีฬา สร้างความ ภาพพลิก และ โปสเตอร์ เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพนักเรียน สัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนและชุมชน 3) โครงการเต้น การดำ�เนินโครงการสานสายใยเด็กไทยรักสุขภาพใน แอโรบิกเพื่อสุขภาพ โรงเรียน ตชด. ฮิลมาร์พาเบิล (บ้าน ได้รับงบประมาณ เหมืองทอง) และชุมชน เพื่อให้ประชาชนและนักเรียนมี โรงเรียนตำ�รวจตระเวนชายแดนนี้ ร่วมกับคณะ ความสมบูรณ์แข็งแรง เห็นความสำ�คัญของการออกกำ�ลัง สนับสนุนจากมูลนิธิโตโยต้าประเทศไทย มหาวิทยาลัยขอนแก่น อย่างต่อ กาย ปราศจากโรค ลดความเครียด 4) โครงการปรับปรุง พยาบาลศาสตร์ ซ่อมแซม ต่อเติม เรือนพยาบาลเพื่อชุมชน โรงเรียน เนื่องทุกปี ทั้งนี้ด้วยเล็งเห็นความสำ�คัญในเรื่องของการ ตชด. เฉลิมราษฎร์บ�ำ รุง และชุมชน เพื่อให้ความรู้ด้าน พัฒนาสุขภาพของเด็กนักเรียนที่อยู่ในถิ่นทุรกันดารซึ่งจะ การปฐมพยาบาลแก่นักเรียน และประชาชน และสามารถ เป็ น พื้ น ฐานนำ �ไปสู่ ก ารพั ฒ นาด้ า นทั ก ษะการเรี ย นรู้ ที่ มี นำ�ไปปฏิบัติใช้ในชีวิตประจำ�วัน 5) โครงการส่งเสริม ประสิทธิภาพและการสร้างโอกาสทางการศึกษาของเด็ก

16 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำ�ริ


นักเรียน ผลการดำ�เนินกิจกรรมที่ผ่านมายังเป็นบทเรียนการ ทำ�งานและเรียนรู้ร่วมกันแบบบูรณาการระหว่างนักศึกษา พยาบาลทั้งระดับปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก ศิษย์ เก่า และอาจารย์คณะพยาบาลศาสตร์ที่ได้นำ�ความรู้มาใช้ ร่วมกันพัฒนาอนาคตของชาติให้มีคุณภาพ ดังนั้นคณะ พยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จึงวางแผนที่จะ ดำ�เนินโครงการนี้ต่อเนื่องต่อไป

...ที่จริงสถานการณ์ต่างๆ ก็เปลี่ยนไปแต่ว่า เท่าที่พยายามทำ�ก็ยังย้ำ�เน้นในการทำ�งานในเขต ทุรกันดาร เพื่อให้บุคคลที่อยู่ในเขตทุรกันดาร คือ เข้าถึงยากนั้นได้รับบริการที่เหมาะสม ทั้งความ รู้ สุขภาพอนามัย ความมีโอกาสในการประกอบ อาชีพเลี้ยงตัวเอง อย่างมีเกียรติ แล้วก็สามารถที่ จะทำ�ให้ชีวิตดีขึ้น...

พระราชดำ�รัสในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยาม บรมราชกุมารี แสดงให้เห็นถึงน้�ำ พระทัยที่เปี่ยมล้นด้วยพระเมตตา กรุณาต่อประชาชน ทรงงานเพื่อประชาชนของพระองค์ เสมออย่างมิเห็นแก่ความเหน็ดเหนื่อย คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกับการสนับสนุนจากมูลนิธิโต โยต้าประเทศไทย ได้มีโอกาสอันดีที่ได้มีส่วนช่วยเหลือผู้ที่ อยู่ห่างไกล อยู่ในเขตทุรกันดาร สนองพระราชดำ�ริของทุก พระองค์ นับเป็นสิริมงคลและความภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่ง

นักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์สอนการดูแล สุขอนามัยแก่นักเรียนโรงเรียนตชด.

17 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำ�ริ


นักเรียนแกนนำ�สอน เพื่อนๆ และน้องๆ

สอนการล้างมืออย่างถูกวิธีด้วยการสาธิต

สอนการดูแลความสะอาดของห้องน้�ำ

สอนวิธีแปรงฟันที่ถูกวิธี

18 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำ�ริ


โครงการทันตกรรมพระราชทาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงรอบรู้เกี่ยวกับงาน ด้านทันตแพทยศาสตร์ และทรงสนพระทัยงานทางทันต กรรมและสุขภาพในช่องปากเป็นอย่างยิ่งด้วยทรงเห็นว่า ช่องปากเป็นประตูแห่งสุขภาพ ที่จะช่วยส่งผลให้สุขภาพ ในร่างกายโดยทั่วๆ ไปเป็นปกติดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งทรง มีความห่วงใยสุขภาพในช่องปากของประชาชนในท้องถิ่น ที่ห่างไกลและทุรกันดาร จึงทรงมีพระราชดำ�ริให้มีการ บริการทางด้านทันตกรรมในหลายรูปแบบ ได้แก่ จัดตั้ง “หน่วยทันตกรรมพระราชทาน” จัดให้มีทันตแพทย์ตาม เสด็จพระราชดำ�เนินขณะทรงเยี่ยมราษฎรในที่ต่างๆ และ จัดให้มีการบริการทันตกรรมหน้าที่ประทับขณะทรงแปร พระราชฐานทุกครั้ง โครงการทันตกรรมเคลื่อนที่ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ. 2534 ด้ ว ยเล็ ง เห็ น ถึ ง ความสำ � คั ญ ของการให้ บ ริ ก ารทาง ทั น ตสาธารณสุ ข แก่ ชุ ม ชนและความทุ ก ข์ ย ากของ

ประชาชนเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพช่องปากและเพื่อเป็นการ ปฏิ บั ติ ต ามแนวพระราชดำ � ริ ข ององค์ พ ระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู่ หั ว ที่ ท รงห่ ว งใยสุ ข ภาพและความเป็ น อยู่ ของพสกนิกรของพระองค์ท่านเสมอมาในการเริ่มก่อตั้ง โครงการทันตกรรมเคลื่อนที่นี้ ได้รับงบประมาณสนับสนุน จากโครงการอีสานเขียวในการจัดซื้อรถยนต์ 1 คัน ใช้ บรรทุกเครื่องมืออุปกรณ์ทางทันตกรรมและเก้าอี้สนาม สำ�หรับให้บริการด้านวิชาการและการรักษาทางทันตกรรม แก่ประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การออกหน่วย ทันตกรรมเคลื่อนที่นี้ ได้ท�ำ มาอย่างต่อเนื่องจวบจนใน ปีพ.ศ.2538 มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้จัด “โครงการฉลอง ครองราช 50 ปี ร่วมสร้างชีวีให้สดใส” ซึ่งในโครงการ ประกอบด้วยกิจกรรมต่างๆ ได้แก่ การรณรงค์สวมหมวก นิรภัยในการขับขี่รถจักรยานยนต์ การรณรงค์สุขภาพ ช่องปาก และให้บริการรักษาสุขภาพช่องปากโดยไม่คิด ค่ า รั ก ษาพยาบาลแก่ ป ระชาชนในภาคตะวั น ออกเฉี ย ง เหนือในโครงการดังกล่าวมีประชาชนเป็นจำ�นวนมากที่ให้ ความสนใจและเข้ารับบริการตรวจรักษา และร่วมบริจาค

19 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำ�ริ


เงินรวมถึง ณ วันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2539 เป็นจำ�นวน 841,821.68 บาท คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัย ขอนแก่ น จึ ง ได้ ก ราบบั ง คมทู ล ขอพระราชทานพระบรม ราชานุญาตจัดตั้งโครงการทันตกรรมพระราชทาน เพื่อ เป็ น สิ ริ ม งคลแก่ ม หาวิ ท ยาลั ย ขอนแก่ นและพสกนิ ก รใน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย เงินบริจาค จำ�นวน 841,821.68 บาท เพื่อเป็นกองทุนใน การจัดตั้งโครงการทันตกรรมพระราชทาน ที่มหาวิทยาลัย ขอนแก่น ต่อมาในปี พ.ศ. 2540 ได้รับงบประมาณ สนั บ สนุ น จากรั ฐ บาลให้ จั ด ซื้ อ รถทั น ตกรรมเคลื่ อ นที่ ที่ สมบูรณ์ ติดตั้งอุปกรณ์ท�ำ ฟันและเครื่องมือทางทันตกรรม ที่สมบูรณ์ในการให้บริการ ซึ่งทำ�ให้งานด้านทันตกรรม เคลื่อนที่ดำ�เนินไปอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

นับตั้งแต่ปีพ.ศ.2534 เป็นต้นมา ถึงปีพ.ศ. 2552 เป็นเวลา 18 ปี การออกหน่วยทันตกรรมพระราชทาน ด้วยความร่วมมือในการประสานงานและออกปฏิบัติงาน จากอาจารย์ ทันตแพทย์ พยาบาล ผู้ช่วยทันตแพทย์ เจ้า หน้าที่ของคณะทันตแพทยศาสตร์ และนักศึกษา มาอย่าง ต่อเนื่อง ได้ออกให้บริการในพื้นที่ต่างๆ เช่น โรงเรียน การศึกษาคนตาบอด สถานแรกรับเด็กชายภาคตะวัน ออกเฉียงเหนือ สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน โรงเรียนมัธยมต่างๆ ในเขตอำ�เภอเมือง รวมทั้งประชาชน ที่อยู่ในอำ�เภอต่างๆ ของจังหวัดขอนแก่นและจังหวัดใกล้ เคียง รวมแล้วได้ให้บริการแก่ประชาชนมากกว่า 3,000 รายต่อปี

การออกหน่วยทันตกรรมพระราชทาน ที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตจังหวัดหนองคาย ปี พ.ศ. 2550

20 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำ�ริ


โ ค ร ง ก า ร ทั น ต ก ร ร ม พ ร ะ ร า ช ท า น จ ะ ยั ง ค ง ดำ � เ นิ น การต่ อ ไปโดยพยายามขยายขี ด ความสามารถในการให้ บ ริ ก ารแก่ ประชาชนให้ ก ว้ า งขวางและเพิ่ ม ความถี่ ข องการให้ บ ริ ก ารให้ ม าก ยิ่งขึ้น เพราะพระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัว ทรงเป็นกำ�ลังที่ผลักดัน และสนับสนุนงานทางด้านทันตกรรม และสุขภาพในช่องปาก มหาวิทยาลัย ขอนแก่ น และทั น ตแพทย์ ทั้ ง มวล รู้ สึ ก สำ � นึ ก ในพระมหากรุ ณ าธิ คุ ณ ที่ ทรงมีพระเมตตาต่อทันตแพทย์และ วิชาชีพทันตแพทย์เป็นอย่างยิ่ง

การออกหน่วย ทันตกรรมพระราชทาน ที่ศูนย์ฝึกและอบรมเด็ก และเยาวชนเขต 4 จ.ขอนแก่น (สถานพินิจคุ้มครองเด็ก)

21 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำ�ริ


โครงการผ่าตัดหัวใจ 8,000 ดวง ถวายเป็น พระราชกุศล 80 พรรษา พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว และถวายเป็นพระราชกุศล 84 พรรษา สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

• มีอัตราการเสียชีวิตน้อยกว่า 5% • มีแนวทางการดูแลรักษา • มีคู่มือแนะนำ�การดูแลตนเองสำ�หรับประชาชน ผลการดำ�เนินงานปรากฏว่ามีผู้มารับบริการผ่าตัด หัวใจแบบเปิด จำ�นวน 414 ราย จากเป้าหมายที่ตั้งไว้ 680 ราย และผ่าตัดหัวใจแบบปิด จำ�นวน 42 ราย จาก เป้าหมายที่ตั้งไว้ 120 ราย สามารถลดระยะเวลารอคิว ผ่าตัดเหลือ 1 เดือน ทำ�ให้ผู้รับบริการได้รับความพึงพอใจ ถึง 95% และอัตราผู้เสียชีวิต จำ�นวน 26 ราย (5.70%) ซึ่ง สูงกว่าเป้าหมายเล็กน้อย มีแนวทางการดูแลรักษาโดยทีม สหสาขาติดตามผลการรับบริการตามดัชนีชี้วัด พร้อมทั้งมี คู่มือการดูแลตนเองของผู้ป่วยหลังผ่าตัด

โรคหัวใจเป็นปัญหาสุขภาพของประชาชนไทยโรค หนึ่งที่มีผู้ป่วยเป็นจำ�นวนมาก มีค่าใช้จ่ายในการรักษา สูง การผ่าตัดทำ�ได้เฉพาะในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิที่ มีความพร้อมทั้งด้านบุคลากรและอุปกรณ์ ทำ�ให้ผู้ป่วย ต้องรอคิวผ่าตัดเป็นระยะเวลานาน สำ�นักงานหลักประกัน สุขภาพแห่งชาติร่วมกับมูลนิธิแพทย์อาสาสมเด็จพระเจ้า พี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราช นครินทร์ และศูนย์โรคหัวใจตติยภูมิ 23 ศูนย์ทั่วประเทศ การจัดบริการวิชาการแก่สังคม รวม 3 ครั้ง คือ ได้มีโครงการผ่าตัดหัวใจ 8,000 ดวง ถวายเป็นพระราช กุศล 80 พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและถวาย • จั ด นิ ท รรศการให้ ค วามรู้ แ ก่ ป ระชาชนในงาน เป็นพระราชกุศล 84 พรรษา สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้า แสดงเทคโนโลยีและนวัตกรรม ประจำ�ปี พ.ศ. ฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เพื่อ 2550 ระหว่างวันที่ 18-19 มกราคม พ.ศ. 2550 ให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ได้รับการดูแลที่รวดเร็ว และ • จัดโครงการวันหัวใจโลก ร่วมกับศูนย์หัวใจสิริกิติ์ ครบวงจร โรงพยาบาลศรีนครินทร์ซึ่งเป็นหนึ่งในศูนย์โรค ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เมื่อวันที่ 8 กันยายน หัวใจตติยภูมิ จึงได้เข้าร่วมโครงการดังกล่าว เพื่อน้อม พ.ศ. 2550 เกล้าน้อมกระหม่อมถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาท • จัดโครงการเฝ้าระวังโรคหัวใจสำ�หรับประชาชน สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้า เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2550 ฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ โดย เริ่มดำ�เนินการตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2549 ถึงวันที่ การพัฒนาบุคลากรในการดูแลผู้ป่วยผ่าตัดหัวใจรวม 31 ธันวาคม พ.ศ. 2550 ณ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ และ 2 ครั้ง คือ เรื่องการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดลิ้นหัวใจ ศูนย์หัวใจสิริกิติ์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยกลุ่มดูแลผู้ และเรื่องการดูแลผู้ป่วยที่ใส่เครื่อง ECMO ป่วยศัลยกรรมหัวใจหลอดเลือดและทรวงอก โรงพยาบาล จัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพการดูแลผู้ป่วยผ่าตัดหัวใจ ศรีนครินทร์ ได้ด�ำ เนินกิจกรรมหลายประการ ดังนี้ ได้แก่ การพัฒนาการดูแลผู้ป่วยเป็นทีมสหสาขา การ การผ่ า ตั ด หั ว ใจแก่ ป ระชาชนผู้ ม ารั บ บริ ก ารใน พัฒนาสื่อและกระบวนการให้ข้อมูลในการผ่าตัด โครงการ เขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลด พัฒนาระบบดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดแบบครบ ระยะเวลาในการรอคิวผ่าตัดหัวใจและหลอดเลือดทั้งชนิด วงจรในจังหวัดขอนแก่น โดยความร่วมมือกับโรงพยาบาล แบบเปิดและแบบปิด เพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย ทั้งนี้มี ขอนแก่น สำ�นักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเขตพื้นที่ การตั้งเป้าหมายไว้ ดังนี้ จังหวัดขอนแก่น และศูนย์หัวใจสิริกิติ์ภาคตะวันออกเฉียง • คิวผ่าตัดหัวใจและหลอดเลือดลดลงน้อยกว่า 3 เหนือ เดือน นอกจากนี้ได้จัดทำ� “โครงการวิจัยการศึกษาผลลัพธ์ • ความพึงพอใจของผู้รับบริการมากกว่า 80 %

ทางคลินิก

22 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำ�ริ

และคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยผ่าตัดหัวใจแบบ


สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จทอดพระเนตรผลงานของศูนย์หัวใจสิริกิติ์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โรงพยาบาลศรีนครินทร์

เปิด” โดยความร่วมมือของเครือข่ายวิจัยคลินิกสหสถาบัน สำ�นักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โรงพยาบาลสรรพ สิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี โรงพยาบาลมหาราช จังหวัดนครราชสีมา ศูนย์หัวใจสิริกิติ์ภาคตะวันออกเฉียง เหนือ และโรงพยาบาลศรีนครินทร์ จากการดำ�เนินโครงการแม้จะมีปัญหาอุปสรรคใน ด้านข้อจำ�กัดของบุคลากรที่มีศัลยแพทย์ปฏิบัติงานเต็ม เวลา 1 คน และอีก 1 คน เพิ่งกลับจากการปฏิบัติงาน บริหารของศูนย์หัวใจสิริกิติ์ฯ ก่อนสิ้นโครงการเล็กน้อย แต่

ก็ยังสามารถส่งผลให้ผู้ป่วยโรคหัวใจ ได้เข้าถึงการบริการ อย่างรวดเร็วขึ้น ได้รับการรักษา มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น อย่างไรก็ตาม ยังมีผู้ป่วยอีกหลายรายที่ยังไม่มีโอกาสเข้า ถึงการบริการ จึงควรจัดให้มีโครงการลักษณะนี้อีก และ เพิ่มกิจกรรมการออกหน่วยค้นหาผู้ป่วยตามถิ่นห่างไกล ควรมีการจัดกิจกรรมคู่ขนาน เช่น การรักษาโรคควบคู่ไป กับการพัฒนาบุคลากร พัฒนาองค์กร เพื่อพัฒนาคุณภาพ การดูแลควบคู่กันไป รวมถึงการจัดให้มีกิจกรรมบริการ ประชาชนในเชิงป้องกันโรคด้วย

23 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำ�ริ


ศูนย์การดูแลผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่และ ความพิการแต่ก�ำ เนิดของศีรษะและใบหน้า มหาวิทยาลัยขอนแก่น ภายใต้โครงการตะวัน ฉาย : โครงการเทิดพระเกียรติ ยิ้มสวย เสียงใส (Center of Cleft Lip-Cleft Palate and Craniofacial Deformities, Khon Kaen University in Association with Tawanchai Project)

ในวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2547 ศูนย์การดูแล ผู้ ป่ ว ยปากแหว่ ง เพดานโหว่ แ ละความพิ ก ารแต่ กำ � เนิ ด ของศีรษะและใบหน้า มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้รับพระ มหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ จากสมเด็จพระเทพรัตนราช สุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำ�เนินทรงเปิด “ศูนย์การดูแลผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่และความ พิการแต่กำ�เนิดของศีรษะและใบหน้า มหาวิทยาลัย ขอนแก่น”

ศูนย์การดูแลผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่และความ พิการแต่ก�ำ เนิดของศีรษะและใบหน้า ดำ�เนินการโดยทีม สหสาขาผู้มีความชำ�นาญเฉพาะทางในการดูแลผู้ป่วยปาก แหว่งเพดานโหว่โรงพยาบาลศรีนครินทร์ร่วมกับคณะทันต แพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ให้การดูแลรักษาผู้ ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่แบบสหวิทยาการอย่างเป็นองค์ รวม ได้รับการสนับสนุนจากองค์กรอิสระ The Smile Train Charity Organization เพื่อช่วยพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วย และการผ่าตัดรักษาผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่อย่างครบ วงจร ภายใต้ชื่อโครงการ “The Smile Train Cleft Care Project: Khon Kaen University Cleft Center” ในปี พ.ศ. 2543

เนื่ อ งจากอุ บั ติ ก ารณ์ ภ าวะปากแหว่ ง เพดานโหว่ที่ เกิดสูงมากในประเทศไทย ซึ่งสามารถประมาณการณ์ได้ 2,000 รายต่อปี โดยมีอุบัติการณ์ในภาคอีสานประมาณ 800 รายต่อปี และยังมีเด็กบางส่วนที่ไม่ได้รับการผ่าตัด ตามช่วงอายุ ขาดโอกาสเข้าหาแหล่งช่วยเหลือต่างๆ การ รักษายังไม่ครบวงจรทำ�ให้คุณภาพชีวิตของเด็กกลุ่มนี้ไม่ดี ดังนั้นจากความสำ�คัญดังกล่าวจึงได้เกิดความร่วมมือกัน ขึ้นของ 3 หน่วยงาน คือ กระทรวงสาธารณสุข สำ�นักงาน หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และสภากาชาดไทย ได้จัดโครงการ “ยิ้มสวยเสียงใส” ขึ้น เพื่อเทิดพระเกียรติ 50 พรรษาสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราช กุมารี เริ่มโครงการเมื่อ ปี พ.ศ. 2548 โดยให้โรงพยาบาล ที่ มี ศั ก ยภาพในการผ่ า ตั ด และให้ ก ารรั ก ษาในด้ า นอื่ น ๆ สมัครเข้าเป็นหน่วยบริการของโครงการ ซึ่งโรงพยาบาล ศรีนครินทร์ได้สมัครเข้าร่วมโครงการนี้ด้วย เนื่องจาก เป็นโครงการที่ดี และมีประโยชน์กับกลุ่มผู้ป่วยที่มีภาวะ ผิดปกติหลายระบบร่วมกัน โดยต้องใช้ระยะเวลาในการ รักษาที่ยาวนานตั้งแต่แรกเกิดจนกระทั่งอายุมากกว่า 15 ปี และต้องใช้ทีมสหวิทยาการที่มีความชำ�นาญเฉพาะทาง หลายๆ ด้านมาร่วมกันรักษาเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแล อย่างครบวงจรแบบองค์รวม จึงได้มีการขยายโครงการ ออกไปโดยครอบคลุมในผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ทุก ช่วงอายุ

ในปี พ.ศ. 2546 ศูนย์การดูแลผู้ป่วยปากแหว่ง เพดานโหว่ แ ละความพิ ก ารแต่ กำ � เนิ ด ของศี ร ษะและ ใบหน้ามหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้รับพระราชทานพระ ราชานุญาต ในการจัดตั้ง “ โครงการตะวันฉาย ” เพื่อ เป็นการเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และเป็นศูนย์กลางในการให้บริการ และพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่และ ความพิการแต่กำ�เนิดของศีรษะและใบหน้าในประเทศไทย เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 กิจกรรมใน “ โครงการตะวันฉาย ” ที่ด�ำ เนินการ โดยทีมสหวิทยาการดังกล่าว เป็นกิจกรรมที่มุ่งเน้นด้าน การพั ฒ นาระบบการดู แ ลผู้ ป่ ว ยที่ มี ป ระสิ ท ธิ ภ าพเพื่ อ พัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่และ ความพิการแต่กำ�เนิดของศีรษะและใบหน้าโดยมีกลยุทธ์ที่ มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของผู้ป่วย ครอบครัว และผู้เกี่ยวข้อง การพั ฒ นาคุ ณ ภาพของกระบวนการดู แ ลผู้ ป่ ว ยทั้ ง การ ป้องกันและรักษาที่มีประสิทธิภาพ และมีความคุ้มค่า

โครงการ “ ยิ้มสวยเสียงใส ” ในโรงพยาบาล ศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ และคณะทันต แพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ดำ�เนินการตั้ง แต่ปีพ.ศ. 2548 จนถึงปัจจุบัน โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อ ดำ�เนินการจัดการการดูแลผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่แบบ ครบวงจร ในโครงการ “ยิ้มสวย เสียงใส” เทิดพระเกียรติ 50 พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

24 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำ�ริ


เพื่อยกระดับขีดความสามารถการจัดบริการสำ�หรับผู้ป่วย ปากแหว่งเพดานโหว่แบบครบวงจรทั้งการวินิจฉัย การ ดูแลรักษา การฟื้นฟูสภาพ การดูแลต่อเนื่อง การรณรงค์ ส่งเสริมสุขภาพและการค้นหาผู้ป่วยในชุมชนในภาคตะวัน ออกเฉียงเหนือ ทั้ง 19 จังหวัด เพื่อให้มีการจัดรูปแบบ (Service Model Development) และยกระดับคุณภาพการ จัดบริการปากแหว่งเพดานโหว่ ให้ก้าวสู่มาตรฐานระดับ ประเทศ และมาตรฐานสากล และเพื่อให้ประชาชนผู้มี สิทธิในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า สามารถเข้าถึง บริการได้อย่างทั่วถึงและได้รับการดูแล ทั้งด้านการป้องกัน และการฟื้นฟูสภาพเพื่อแก้ไขภาวะความพิการที่ครบถ้วน

ได้ด�ำ เนินการ ได้แก่ การผ่าตัดปากแหว่งเพดานโหว่ การ แก้ไขการพูดและการได้ยิน การแก้ไขปัญหาการสบฟัน ทันตกรรมจัดฟัน ซึ่งสรุปได้ ดังนี้ - การให้บริการโดยการผ่าตัดปากแหว่งเพดานโหว่ใน ปี พ.ศ. 2549 ทำ�การผ่าตัด 174 ครั้ง พ.ศ. 2550 ผ่าตัด 244 ครั้ง พ.ศ. 2551 ผ่าตัด 263 ครั้ง มีผู้ป่วยเข้ารับการ ผ่าตัดในโครงการในปี พ.ศ. 2549 พ.ศ. 2550 และ พ.ศ. 2551 จำ�นวน 144 ราย 188 ราย และ 203 ราย ตามลำ�ดับ

- การให้บริการโดยการแก้ไขการพูดและการได้ยินมี ผู้ป่วย เข้ารับการรักษาในโครงการในปี พ.ศ. 2549 พ.ศ. 2550 และ พ.ศ. 2551 จำ�นวน 72 ราย 218 ราย และ 220 ในวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2550 ได้รับการอนุมัติ ราย ตามลำ�ดับ จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น ให้เป็นศูนย์วิจัยเฉพาะทาง - การให้บริการด้านปัญหาการสบฟัน ทันตกรรมจัด ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ชื่อ “ศูนย์วิจัยผู้ป่วยปาก แหว่งเพดานโหว่และความพิการแต่กำ�เนิดของศีรษะและ ฟัน มีผู้ป่วยเข้ารับการรักษาในโครงการในปี พ.ศ. 2549 ใบหน้า มหาวิทยาลัยขอนแก่น ภายใต้โครงการตะวัน พ.ศ. 2550 และ พ.ศ. 2551 จำ�นวน 35 ราย 130 ราย ฉาย” โดย วิสัยทัศน์ ของศูนย์ผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ และ 148 ราย ตามลำ�ดับ และความพิการแต่กำ�เนิดของใบหน้าและกะโหลกศีรษะ ที ม สหวิ ท ยาการในการดู แ ลผู้ ที่ มี ภ าวะปากแหว่ ง มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นหนึ่งในศูนย์การดูแลผู้ป่วยชั้น เพดานโหว่ของศูนย์ตะวันฉาย ภายใต้ความร่วมมือของ นำ�ของเอเชีย ดำ�เนินการด้านการศึกษา วิจัย และบริการ คณะแพทยศาสตร์ และคณะทันตแพทยศาสตร์ ประกอบ ที่เป็นมาตรฐานและมีคุณภาพ การทำ�งานเป็นทีม และ ด้วยแพทย์ พยาบาล อาจารย์ และเจ้าหน้าที่สายสนับสนุน บรรยากาศแห่งการเรียนรู้ บนพื้นฐานปรัชญาเศรษฐกิจ ซึ่งมีบทบาทหน้าที่และภาระงานประจำ�ในการให้บริการผู้ พอเพียง พันธกิจ สร้างระบบการบริการที่เหมาะสมที่สุด ที่มีภาวะเจ็บป่วยด้วยโรคที่มีความรุนแรงและซับซ้อนอื่นๆ สำ � หรั บ ผู้ ป่ ว ยที่ มี ภ าวะปากแหว่ ง เพดานโหว่ แ ละความ อยู่ด้วย ดังนั้นจึงยังมีปัญหาอุปสรรคด้านการประสาน พิการแต่ก�ำ เนิดใบหน้าและกะโหลกศีรษะ โดยจัดการ งานการดูแลทั้งในทีมสหวิทยาการและครอบครัวผู้ป่วย ศึกษา ฝึกอบรม การวิจัย การดูแลแบบทีมสหวิทยาการ อยู่บ้าง ทำ�ให้เกิดความล่าช้าในการให้บริการ และยังขาด และความร่วมมือสหสถาบัน มุ่งเน้นการดูแลแบบองค์รวม อุปกรณ์เสริมการรักษาที่จำ�เป็นแต่มีราคาแพงซึ่งรัฐบาล เหมาะสมกับวัฒนธรรมของท้องถิ่น สภาวะทางสังคม และ ไม่สามารถจ่ายค่ารักษาได้ครอบคลุมในส่วนนี้ จึงทำ�ให้ นโยบายด้านสุขภาพ การรั ก ษาพยาบาลในผู้ ป่ว ยบางรายมี ความยากลำ�บาก และปัญหาที่ส�ำ คัญ ในการดำ�เนินโครงการได้มีการจัดการประสานงาน และคุณภาพยังไม่เป็นที่พึงพอใจ ด้ า นค่ า ใช้ จ่ า ยในการรั ก ษาพยาบาลที่ ส ถานที่ ใ ห้ บ ริ ก าร อีกประการหนึ่งคือ ค่าใช้จ่ายจำ�นวนมากในการเดินทาง ควรได้รับกับสำ�นักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และ ของครอบครั ว เพื่ อ ติ ด ตามการรั ก ษาอย่ า งต่ อ เนื่ อ งและ ประสานความช่ ว ยเหลื อ เพื่ อ ให้ ผู้ ป่ ว ยสามารถเข้ า ถึ ง ยาวนานนั้น แม้จะได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานต่างๆ บริการได้ โดยผู้ป่วยสามารถรับเงินช่วยเหลือค่าเดินทาง ในบางส่วนแล้ว แต่ก็ยังไม่สามารถที่จะทำ�ให้ผู้ป่วยทุกราย เข้าถึงการรักษาอย่างครบวงจรได้ จึงทำ�ให้บุคคลเหล่านั้น มารับการผ่าตัด การฝึกพูดกับกาชาดจังหวัด เสียโอกาสที่จะดำ�รงชีวิตอย่างมีคุณภาพ ปัญหาเหล่านี้คือ ผลการดำ � เนิน งานจากการเป็ น หน่ ว ยให้ บ ริ ก าร สิ่งท้าทายที่ศูนย์ฯ จะแก้ไขและพัฒนาต่อไป โครงการ ยิ้มสวย เสียงใส การให้บริการหลัก 3 อย่าง ที่

25 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำ�ริ


สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ มาทรงเปิดศูนย์ตะวันฉาย โรงพยาบาลศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

26 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำ�ริ


โครงการโรงพยาบาลสายใยรักแห่งครอบครัว โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศมาโดยตลอด จวบจนวันนี้ มุ่ ง เน้ น การพั ฒ นาคุ ณ ภาพระบบบริ ก ารอนามั ย แม่ แ ละ เด็กในโรงพยาบาลรัฐ สนับสนุนการมีส่วนร่วมของชุมชน จัดตั้งชมรม และจัดให้มีโรงพยาบาลสายใยรักแห่งครอบครัว และส่ ง เสริ ม อาชี พ ให้ ส มาชิ ก และครอบครั ว ของสมาชิ ก ชมรม ตลอดจนการพัฒนาชุมชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อ ไป เริ่มต้นจากครอบครัวอบอุ่นให้ลูกได้ดื่มนมแม่ มีอาชีพ มีรายได้เพิ่ม และลดการแยกย้ายของสมาชิกในครอบครัว จากชนบทสู่เมือง ดั่งกระแสพระราชดำ�รัสที่ว่า

สืบเนื่องจากพระดำ�ริของ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาในสมเด็จพระบรม โอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ให้จัดตั้งโครงการ สายใยรักแห่งครอบครัว ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จ พระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ด้วยมี พระปณิ ธ านในการสร้ า งสรรค์ สั ง คมให้ เ ป็ น สุ ข ด้ ว ยการ มีสถาบันครอบครัวที่ดีและเยาวชนได้รับการดูแลเอาใจ ...เด็กคือจุดเริ่มต้นที่ดีของสังคม ถ้าเด็กได้ ใส่อย่างถูกต้องและเหมาะสม โดยเห็นความสำ�คัญของ การส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และการพัฒนาชุมชน รับการพัฒนาที่ดี ประเทศชาติก็จะเจริญ เพราะ และสังคม จึงมีพระดำ�ริจัดตั้งโครงการสายใยรักแห่ง ประเทศชาติคือครอบครัวใหญ่... ครอบครัวในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมารขึ้น และดำ�เนินงานช่วยเหลือชาวบ้าน

27 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำ�ริ


โรงพยาบาลศรีนครินทร์ เป็นโรงพยาบาลที่ให้บริการ ทารกตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา ในระยะตั้งครรภ์ ระยะ คลอด หลังคลอด และติดตามการเลี้ยงดูบุตรตั้งแต่แรก เกิดถึง 5 ปี ผ่านการประเมินโรงพยาบาลลูกเกิดแม่รอด ปลอดภัย มีการดำ�เนินการตามนโยบายการเลี้ยงลูกด้วย นมแม่ 10 ขั้น และเปิดการให้บริการคลินิกส่งเสริมการ เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ แต่ความสำ�เร็จของมารดาในการเลี้ยง ลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวใน 6 เดือนแรก มีเพียงร้อยละ 34 เท่านั้น อัตราการขาดออกซิเจนในทารกแรกเกิด และ ทารกแรกเกิดมีน�้ำ หนักน้อยกว่า 2,500 กรัม ยังมีสูง โรงพยาบาลศรีนครินทร์ จึงได้เข้าร่วมโครงการโรงพยาบาล สายใยรักแห่งครอบครัว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อบูรณาการ และเสริมสร้างความเข้มแข็งของระบบบริการอนามัยแม่ และเด็ก และพัฒนาองค์ความรู้และระบบบริการอนามัย แม่และเด็กที่มีมาตรฐานและความต่อเนื่อง นอกจากนี้ ยังมีโครงการพัฒนารูปแบบที่เหมาะสมและยั่งยืนในการ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และโครงการพัฒนาเครือ ข่ายสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ สำ�หรับบุคลากรใน มหาวิทยาลัยขอนแก่น ด้วยคาดหวังผลลัพธ์สุขภาพแม่ และเด็ก 0 – 5 ปี พัฒนาการสมวัย ร้อยละ 90 ทารกแรก เกิดน้ำ�หนักน้อยกว่า 2,500 กรัมไม่เกินร้อยละ 7 ( ลดลง จากฐานเดิมร้อยละ 0.5) เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวใน 6 เดือนแรก ร้อยละ 25 (เพิ่มขึ้นจากฐานเดิมร้อยละ 2.5) ทารกแรกเกิดขาดออกซิเจน 30 : 1,000 ของการเกิดมีชีพ และชุมชน มีชมรมเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ / ชมรมแม่อาสา/ ชมรมสายใยรักแห่งครอบครัว โครงการโรงพยาบาลสายใยรักแห่งครอบครัว ของ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ มีการดำ�เนินการพัฒนางานดังนี้ ระยะตั้งครรภ์ รณรงค์ “พ่อจูงมือแม่ฝากครรภ์ทันที” จัดตั้งโรงเรียนพ่อแม่ จัดทำ�มาตรฐานการฝากครรภ์โดย เน้นให้หญิงมีครรภ์มาฝากครรภ์ครั้งแรกภายในระยะ 12 สัปดาห์ และมีสมุดฝากครรภ์ และมาฝากครรภ์อย่างน้อย 4 ครั้ง คัดกรองธาลัสซีเมียในหญิงมีครรภ์และสามี หญิง มีครรภ์ได้รับเกลือไอโอดีน สนับสนุนการป้องกันแพร่เชื้อ HIV จากแม่สู่ลูกให้ได้มาตรฐาน รับการสนับสนุนยาน้ำ� เสริมธาตุเหล็กแก่เด็ก 6 เดือน - 3 ปี รับการสนับสนุนการ จัดซื้อและกระจายยาต้านไวรัส และนมผสมในมารดาที่ติด เชื้อ HIV รับการสนับสนุนการตรวจวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติ

การ “ธาลัสซีเมีย” “ภาวะพร่องธัยรอยด์ฮอร์โมน” และมี ระบบการบริการที่ป้องกันการขาดไอโอดีนร่วมมือในการ สอนสุขศึกษากับนักโภชนาการ ทันตกรรม ห้องคลอด และตึกหลังคลอด มีโครงการการเตรียมมารดาในการดูแล สุขภาพแม่และบุตรตั้งแต่ระยะตั้งครรภ์ การเตรียมความ พร้อมในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เตรียมมารดาและผู้ช่วย เหลือหญิงตั้งครรภ์ให้คลอดแบบธรรมชาติ และจัดให้มี ระบบการให้คำ�ปรึกษา และการรับส่งต่อมารดาตั้งครรภ์ที่ มีภาวะแทรกซ้อน ให้บริการดูแลสุขภาพช่องปากมารดา ขณะตั้งครรภ์ที่มีอายุครรภ์ 3-6 เดือน ให้การบำ�บัดรักษา ทางทันตกรรมในรายที่พบอาการผิดปกติ ระยะการคลอด ใช้หลักการ รพ.ลูกเกิดแม่รอด ปลอดภัย โรงพยาบาลสายสัมพันธ์แม่-ลูก มีการดำ�เนิน การตามนโยบายการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ 10 ขั้น คัดกรอง ทารกแรกเกิด Down’s syndrome / Thyroid / PKU ให้การ ช่วยเหลือ สนับสนุน และแนะนำ�ให้มารดาสามารถดูแล ตนเอง และทารกเป็นการเตรียมความพร้อมเมื่อจำ�หน่าย เป็นโรงเรียนพ่อแม่ ระยะหลังคลอด มีการจัดตั้งคลินิกนมแม่ / มุมนม แม่ และดำ�เนินการติดตามในการช่วยเหลือและสนับสนุน การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างต่อเนื่องถึงหลังคลอดได้ 6 เดือน จัดให้มี “สายด่วนนมแม่” รับปรึกษาปัญหาการ เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และการเลี้ยงดูบุตรตลอด 24 ชั่วโมง โดยมีพยาบาลที่หอผู้ป่วยหลังคลอดเป็นผู้ให้ค�ำ ปรึกษา มี การจัดกิจกรรม “แลกเปลี่ยนเรียนรู้การเลี้ยงดูลูก” ในพ่อ แม่ที่เลี้ยงลูกตั้งแต่อายุครบ 2 เดือนขึ้นไประหว่างสมาชิก 2 เดือนต่อครั้ง จนสามารถทำ�ให้มารดาเห็นความสำ�คัญ ของการมีกลุ่ม และมี แม่อาสานมแม่ศรีนครินทร์ ในการ ช่วยเหลือกันและกันขึ้น เป็นต้นแบบกับหน่วยงานอื่นๆให้ มีการดำ�เนินการช่วยเหลือและสนับสนุนมารดาที่ทำ�งาน นอกบ้านให้สามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ และตั้งชมรม โรงพยาบาลสายใยรักแห่งครอบครัว ระยะแรกเกิดถึง 5 ปี มีการติดตามสุขภาพเด็กด้วย WCC คุณภาพ มีโรงเรียนพ่อแม่ ตรวจพัฒนาการเด็ก ส่ง เสริมการเล่านิทาน ของเล่น ส่งเสริมและป้องกันภาวะ โภชนาการ ทันตสุขภาพ ธัยรอยด์ฮอร์โมน ยาน้ำ�เสริมธาตุ เหล็กและตั้งชมรมโรงพยาบาลสายใยรักแห่งครอบครัว จัด

28 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำ�ริ


ตั้ง “Call Center” การตอบปัญหา และติดตามเด็กภาวะ พร่องธัยรอยด์ ให้ความรู้และสาธิตการดูแลสุขภาพช่อง ปากของเด็กอายุ 9 - 12 เดือน ให้แก่พ่อแม่ผู้เลี้ยงดูเด็ก นอกจากนี้ได้มีกิจกรรมรณรงค์ต่างๆดังนี้ • ประกวดสุดยอดแม่แห่งปี • จัดนิทรรศการการป้องกันการคลอดก่อนกำ�หนด • จัดนิทรรศการเรื่องการตั้งครรภ์ การคลอด และ การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เนื่องในสัปดาห์วันแม่แห่ง ชาติ • จัดประกวดมารดาตั้งครรภ์คุณภาพ และประกวด หนูน้อยนมแม่เนื่องในสัปดาห์วันแม่แห่งชาติ • ร่วมเป็นงานกิจกรรมเครือข่ายแม่และเด็กเขต 10 และ 12 มีระบบการให้คำ�ปรึกษา และการรับส่ง ต่อมารดาและทารก ที่มีภาวะแทรกซ้อน • สร้างกระแสสังคม และการประชาสัมพันธ์ เพื่อ สร้างความตระหนักต่อสุขภาพแม่และเด็ก แถลง ข่าวเปิดตัวโครงการโรงพยาบาลสายใยรักแห่ง

ครอบครัว ในวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2550 จัด รายการวิทยุ “เปิดโลกลูกน้อยสุขภาพดี” เป็น เวลา 1 ปี เดือนละ 1 ครั้ง รณรงค์ “พ่อจูงมือ แม่ฝากครรภ์ทันที” จัดกิจกรรมรณรงค์นมแม่ ในช่วงสัปดาห์วันแม่แห่งชาติของทุกปี เผยแพร่ ความรู้วิชาการ การตั้งกระทู้ถาม – ตอบ ใน เว็บไซต์ “โครงการโรงพยาบาลสายใยรักแห่ง ครอบครัว” ผลิตสื่อเผยแพร่ แผ่นพับ โปสเตอร์ ภาพพลิก คู่มือ วีซีดี เสื้อ สนับสนุนมาตรการ ทางกฎหมาย เพื่อส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนม แม่ โดยดำ�เนินการตามหลักเกณฑ์ว่าด้วยการ ตลาดและผลิตภัณฑ์อาหารทารกและเด็ก ขับ เคลื่อนนโยบายสาธารณะการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ในสถานประกอบการอย่างยั่งยืน • ให้ ค วามรู้ แ ละสร้ า งเครื อ ข่ า ยแลกเปลี่ ย น กันภายในชุมชนให้กับ อสม. ในชุมชน สามเหลี่ยมตำ�บลในเมือง อำ�เภอเมือง จังหวัด ขอนแก่น ร่วมกิจกรรมการแลกเปลี่ยน เรียนรู้ รูปแบบในการดำ�เนินงานระหว่างจังหวัด

29 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำ�ริ


ภาพการอบรม เตรียมความพร้อม ก่อนคลอดสำ�หรับ มารดาตั้งครรภ์และ ครอบครัว (โรงเรียน พ่อแม่)

30 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำ�ริ


กิจกรรมวันแม่แห่งชาติ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2551

31 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำ�ริ


การประชุมเชิงปฏิบัติการ “ การส่งเสริมการเลี้ยงลูก ด้วยนมแม่ โครงการสายใยรักแห่งครอบครัว โรงพยาบาลศรีนครินทร์ ” 18 - 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

32 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำ�ริ


นิทรรศการป้องกัน การคลอดก่อน กำ�หนด วันที่ 22 - 24 เมษายน พ.ศ. 2552

33 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำ�ริ


34 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำ�ริ


โครงการส่งเสริมฟื้นฟูสมรรถภาพและผลิตของเล่น เพื่อเด็กพิการในโรงเรียนศรีสังวาลย์ อำ�เภอเมือง จังหวัดขอนแก่น

2552)โรงเรียนศรีสังวาลย์ขอนแก่น มีนักเรียนจำ�นวน 174 คน

“โรงเรียนศรีสังวาลย์ จังหวัดขอนแก่น”ได้รับพระ มหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระนามาภิไธย ของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีเป็นชื่อโรงเรียน ตั้งแต่วันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 เดิมชื่อโรงเรียน ศึกษาพิเศษขอนแก่น จัดตั้งเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2539 สังกัดสำ�นักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สำ�นักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ เป็นโรงเรียนสหศึกษาประเภทโรงเรียนประจำ� จัดการ ศึกษาพิเศษเฉพาะประเภทเด็กที่มีความบกพร่องทางด้าน ร่างกายหรือสุขภาพ ตั้งแต่ชั้นอนุบาลจนถึงชั้นมัธยมศึกษา ตอนต้น เพื่อให้เด็กพิการได้รับโอกาสทางการศึกษามาก ขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่ง เด็กพิการที่อยู่ในครอบครัวยากจน ในภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปัจจุบัน (ปีการศึกษา

คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดย ภาควิชากายภาพบำ�บัด ได้ตระหนักถึงความพิการทาง ร่างกายของเด็กๆ จนทำ�ให้สูญเสียโอกาสการใช้ชีวิต ประจำ�วันตามปกติอย่างเด็กๆ ทั่วไป แม้แต่การใช้ของ เล่นเพื่อความสนุกสนานรื่นเริง การออกกำ�ลังกาย การ เล่นกีฬาหรือการละเล่นตามวัยของเด็กที่เราพบเห็น อัน เนื่องมาจากเด็กเหล่านี้มีข้อจำ�กัดทางการเคลื่อนไหวของ อวัยวะบางส่วน เช่น มือ เท้า แขน ขา และดวงตา จน ทำ�ให้เสียความสมดุลของร่างกายเช่นคนปกติ จึงบังเกิด ความคิ ด ที่ จ ะผลิ ต ของเล่ น เพื่ อ เด็ ก พิ ก ารในโรงเรี ย นศรี สังวาลย์ขอนแก่นขึ้น โดยการนำ�ภูมิปัญญาชาวบ้าน และ ทรัพยากรในท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้กับเทคโนโลยีพื้นบ้าน เพื่อพัฒนาของเล่นที่เหมาะสมในการพัฒนาศักยภาพของ เด็กพิการตามวัย

35 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำ�ริ


สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำ�เนินไปทรงปฏิบัติ พระราชกรณียกิจตรวจเยี่ยมโรงเรียนศรีสังวาลย์ จังหวัดขอนแก่น อำ�เภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ในวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ผู้ช่วยศาสตราจารย์พิศมัย มะลิลา อาจารย์ประจำ� ภาควิชากายภาพบำ�บัด ผู้เป็นเจ้าของโครงการได้ต้นแบบ การผลิตของเล่นเพื่อเด็กพิการนี้จากคุณปู่ไพ สมสีลา ชาวบ้าน อำ�เภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำ�ภู ซึ่ง ประดิษฐ์ของเล่นมากกว่า 20 ชิ้นให้หลานพิการใช้ฟื้นฟู สมรรถภาพ โดยคัดเลือกของเล่นบางอย่างที่เหมาะสมกับ เด็กในโรงเรียนศรีสังวาลย์ขอนแก่น เบื้องต้นคัดเลือกมาทำ� เป็นของเล่นให้กับเด็กๆ จำ�นวน 3 ชนิด คือ หมากปิ่น ครก กระเดื่อง และที่ออกกำ�ลังแขนหนึ่ง สอง โดยแต่ละชนิดมี ประโยชน์ ดังนี้

ครกกระเดื่อง

หมากปิ่น

ที่ออกกำ�ลังแขน หนึ่ง สอง

ราวแบดมินตัน

โครงบาสเกตบอล

36 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำ�ริ


สาธิตวิธีการเล่นแก่เด็กโรงเรียนศรีสังวาลย์ จังหวัดขอนแก่น

37 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำ�ริ


หมากปิ่น เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแขน ฝึก ที่ สำ � คั ญ คื อ การได้ มี ส่ ว นร่ ว มในการดู แ ลเด็ ก พิ ก ารผู้ ซึ่ ง การประสานสัมพันธ์กล้ามเนื้อมือและตา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระบรมวงศานุวงศ์ทุก ครกกระเดื่อง เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา พระองค์ไม่เคยทอดทิ้ง ทรงใช้พระปรีชาในทุกด้านเพื่อ หล่อเลี้ยงพวกเขาเหล่านั้นดังที่ได้ทรงพระราชนิพนธ์เพลง ฝึกการทรงตัว การรักษาสมดุลร่างกายในท่ายืน “ยิ้มสู้” เป็นขวัญกำ�ลังใจสำ�หรับผู้พิการทางสายตา เพิ่ ม ความแข็ ง ที่ออกกำ�ลังแขน หนึ่ง สอง แรงของกล้ามเนื้อแขน ฝึกการประสานสัมพันธ์กล้ามเนื้อ มือและตา นอกจากนี้ ผู้ รั บ ผิ ด ชอบโครงการได้ อ อกแบบและ ประดิษฐ์ของเล่นเพิ่มอีก 2 ชนิด คือ โครงบาสเกตบอล และราวแบดมินตัน ประโยชน์ของโครงบาสเกตบอล คือ เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแขน ฝึกการประสาน สัมพันธ์กล้ามเนื้อมือและตา ฝึกการทรงตัว การรักษา สมดุลร่างกายในท่ายืน โครงบาสเกตบอลจะช่วยป้องกัน ลูกบอลตกออกไปไกลจากบริเวณที่เด็กนั่งหรือยืน ซึ่งจะ ช่วยให้เด็กเล่นบาสเกตบอลได้สะดวกขึ้น เช่นเดียวกับราว แบดมินตัน มีประโยชน์ คือ เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของ กล้ามเนื้อแขน ฝึกการประสานสัมพันธ์กล้ามเนื้อมือและ ตา ฝึกการทรงตัว การรักษาสมดุลร่างกายในท่ายืนหรือนั่ง

ปู่ไพ สมสีลา เจ้าของต้นแบบของเล่น (กลางแถวหน้า) และผู้ทำ�โครงการ (ซ้ายแถวหลัง)

ผลการดำ�เนินโครงการ ได้ผลิตของเล่นจากต้นแบบ ของเล่นของคุณปู่ไพ 3 ชนิด คือ หมากปิ่น ครกกระเดื่อง และที่ออกกำ�ลังกายแขน หนึ่ง สอง ผลิตอย่างละ 2 ชิ้น รวม 6 ชิ้น และผลิตของเล่นที่ออกแบบขึ้นเอง 2 ชนิด คือ โครงบาสเกตบอล และราวแบดมินตัน โดยโครง บาสเกตบอลประดิษฐ์ให้มีระดับความสูงที่แตกต่างกัน 3 ระดับๆ ละ 2 ชิ้น รวม 6 ชิ้น ส่วนราวแบดมินตันประดิษฐ์ 2 ชิ้น รวมของเล่นที่ประดิษฐ์ขึ้นเอง 2 ชนิด รวม 8 ชิ้น ในระหว่ า งดำ � เนิ น โครงการนี้ ตั้ ง แต่ เ ดื อ นมิ ถุ น ายน พ.ศ. 2551 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 เมื่อผลิต ของเล่นเสร็จแล้วได้นำ�ไปให้นักเรียนโรงเรียนศรีสังวาลย์ ขอนแก่น จำ�นวน 50 คน ทดลองเล่น และให้คะแนนความ พึงพอใจ พบว่าเด็กๆ ให้คะแนนของเล่นทุกชิ้นที่ระดับ ความพึงพอใจมากถึงมากที่สุด โครงการนี้จึงเป็นอีกหนึ่งความภาคภูมิใจของคณะ วิ ช าในศู น ย์ วิ ท ยาศาสตร์ สุ ข ภาพที่ ไ ด้ นำ � ภู มิ ปั ญ ญาท้ อ ง ถิ่ น มาพั ฒ นาเป็ น นวั ต กรรมทำ� ให้ มู ล ค่ า การลงทุ น ไม่ สู ง

38 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำ�ริ


กองทุนวันศรีนครินทร์ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จ ปี อาทิเช่น รายการพิเศษวันศรีนครินทร์ ทางสถานีวิทยุ โทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง 11 จังหวัดขอนแก่น พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ถ่ายทอดสดทั่วประเทศ การแข่งขันกีฬาการกุศลชิงถ้วย นั บ ตั้ ง แ ต่ ไ ด้ มี ก า ร ก่ อ ตั้ ง ค ณ ะ แ พ ท ย ศ า ส ต ร์ รางวัลพระราชทานหลายชนิด เช่น กอล์ฟ เปตอง โบว์ลิ่ง มหาวิทยาลัยขอนแก่น เมื่อปี พ.ศ. 2515 คณะ วิ่งมินมิ าราธอน การแข่งขันม้า กิจกรรมบริการด้าน แพทยศาสตร์ ได้รับพระราชทานพระมหากรุณาอย่าง ต่อเนื่องนานัปการ รวมทั้งการได้รับพระราชทาน พระบรมราชานุญาตให้อัญเชิญพระนามของสมเด็จพระ ศรีน คริ น ทราบรมราชชนนีมาเป็นนามของโรงพยาบาล ว่า “โรงพยาบาลศรีนครินทร์” นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณ อย่างหาที่สุดมิได้ เพื่อน้อมสำ�นึกในพระมหากรุณาธิคุณ บุคลากรและนักศึกษาจึงได้นำ�พระราชปณิธานและแนว พระราชดำ � ริ ม าใช้ เ ป็ น แนวทางในการพั ฒ นาคุ ณ ภาพ องค์ ก รการศึ ก ษาและการบริ ห ารสุ ข ภาพเพื่ อ มุ่ ง ให้ เ กิ ด ประโยชน์สุขต่อประชาชนและความเจริญของชาติบ้าน เมือง โดยน้อมเกล้าฯ รำ�ลึกยึดถือพระราชดำ�รัสในสมเด็จ พระบรมราชชนก ที่ว่า

...ขอให้ถือประโยชน์ส่วนตัว เป็นที่สอง ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์ เป็นกิจที่หนึ่ง ลาภทรัพย์และเกียรติยศ จะตกแก่ท่านเอง ถ้าท่านทรงธรรมะแห่งอาชีพ ไว้ให้บริสุทธิ์...

เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม พุทธศักราช 2540 โรงพยาบาล ศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้ รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรม ราชานุญาตให้วันที่ 18 กรกฎาคมของทุกปี ซึ่งเป็นวัน คล้ า ยวั น สวรรคตของสมเด็ จ พระศรี น คริ น ทราบรมราช ชนนีเป็น “วันศรีนครินทร์” เพื่อน้อมเกล้าฯ รำ�ลึกถึงพระ มหากรุณาธิคุณและเทิดทูนพระเกียรติ สมเด็จพระศรี นครินทราบรมราชชนนี และพระราชทานพระบรมราชา นุญาตให้จัดตั้ง “กองทุนวันศรีนครินทร์” เพื่อผู้ป่วยซึ่ง มีรายได้น้อย โรงพยาบาลศรีนครินทร์ จังหวัดขอนแก่น ขึ้น โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเงิน ที่มีผู้มีจิตศรัทธาทูลเกล้าฯ ถวาย จำ�นวน 2,110,000 บาท เป็นทุนสำ�หรับจัดตั้งเริ่มแรก หลังจากนั้นได้มีการ จั ด กิ จ กรรมหารายได้ ส มทบกองทุ น เพิ่ ม เป็ น ประจำ � ทุ ก

39 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำ�ริ


สุขภาพอนามัยแก่ประชาชน ได้แก่ การออกหน่วยแพทย์ เคลื่อนที่ให้บริการตรวจรักษาสุขภาพแก่ประชาชนในท้อง ที่ชนบท การบริการตรวจสุขภาพประจำ�ปี และพิธีบำ�เพ็ญ กุศลทักษิณานุประทาน โดยมีการทำ�บุญตักบาตร และ ทอดผ้าบังสุกุลถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จพระศรี นครินทราบรมราชชนนี ในวันที่ 18 กรกฎาคม ของทุกปี ด้วยภารกิจหลักของคณะแพทยศาสตร์ในด้านการ รักษาพยาบาล การเรียนการสอน และการศึกษาวิจัย โรง พยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัย ขอนแก่ น มี เ จตจำ � นงที่ จ ะปฏิ บั ติ ภ ารกิ จ ดั ง กล่ า วให้ ยั ง ประโยชน์แก่ประชาชนอย่างทั่วถึงตามพระปณิธานของ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เป็นการธำ�รงไว้ซึ่ง คุณค่าและความสำ�คัญของ “วันศรีนครินทร์” ในปีพ.ศ. 2551 จึงได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตกำ�หนด วัตถุประสงค์การใช้จ่ายเงินกองทุนวันศรีนครินทร์เพิ่มเติม เป็นดังนี้

นักศึกษาแพทย์ การฝึกอบรมแพทย์ประจำ�บ้าน และการสร้าง องค์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพที่เสริมสร้างความเข้ม แข็งด้านการรักษาพยาบาล รวมทั้งการบริหารจัดการกองทุน ให้มีประสิทธิภาพ ผลดีเหล่านี้จะยังประโยชน์และความผาสุก ให้เกิดแก่ประชาชนและชุมชน ทั้งด้านสุขภาพและการอยู่ร่วม กันอย่างดีในสังคม โดยมีคณะกรรมการกองทุนวันศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ อันประกอบด้วย คณบดีคณะแพทยศาสตร์ เป็นประธานกรรมการ รองคณบดีฝ่ายโรงพยาบาล รองคณบดี ฝ่ายบริหาร เป็นกรรมการ เลขานุการคณะแพทยศาสตร์ เป็น กรรมการและเลขานุการ มีอำ�นาจหน้าที่กำ�หนดหลักเกณฑ์ ในการจัดสรรกองทุนฯ และพิจารณาจัดสรรเงินกองทุนให้แก่ ผู้ป่วยที่มีรายได้น้อย หรือองค์กรที่ให้ความช่วยเหลือผู้ป่วย ที่มีรายได้น้อยตามหลักเกณฑ์ที่กำ�หนด โดยจัดตั้งสำ�นักงาน กองทุ น วั น ศรี น คริ น ทร์ ขึ้ น เป็ น หน่ ว ยงานหนึ่ ง ในสั ง กั ด คณะ แพทยศาสตร์ มีบุคลากรปฏิบัติงานประจำ� เพื่อบริหาร จัดการและดำ�เนินงานตามภารกิจของกองทุนให้บรรลุผลตาม เจตนารมณ์ เพื่อเป็นเกียรติศักดิ์และศรีสง่าแห่ง

“กองทุนวัน

1. เพื่อการช่วยเหลือด้านค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วย ศรีนครินทร์” ให้เจริญวัฒนาสถาพรสืบไป มหาวิทยาลัย ที่ มี ข้ อ จำ� กั ด ในการรั ก ษาเกิ น สิ ท ธิ์ เ บิ ก ค่ า รั ก ษา ขอนแก่นโดยคณะแพทยศาสตร์ จึงขอพระราชทานพระมหา พยาบาล กรุณาจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี 2. เพื่ อ เพิ่ ม ประสิ ท ธิ ภ าพการเรี ย นการสอนของ ทรงเป็นองค์อุปถัมภ์กองทุนวันศรีนครินทร์ และได้รับพระ มหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ทรงรับ “กองทุนวันศรีนครินทร์” นักศึกษาแพทย์และการฝึกอบรมของแพทย์ อยู่ในพระราชูปถัมภ์ ตั้งแต่วันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 3. เพื่อสนับสนุนการวิจัยด้านการสร้างเสริมสุขภาพ เป็นต้นมา นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณต่อผู้ป่วยรายได้น้อย โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ และมหาวิทยาลัย และวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ ขอนแก่น อย่างหาที่สุดมิได้

4. เพื่ อ สนั บ สนุ น การให้ บ ริ ก ารวิ ช าการแก่ ชุ ม ชน และสังคม

5. เ พื่ อ ใช้ ใ น ก า ร บ ริ ห า ร จั ด ก า ร ก อ ง ทุ น วั น ศรีนครินทร์ การเพิ่มเติมวัตถุประสงค์ดังกล่าวจะทำ�ให้ กองทุนวัน ศรีนครินทร์ มีส่วนในการช่วยเหลือสนับสนุนส่งเสริมภารกิจ หลักของคณะแพทยศาสตร์ในการช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาล ให้ประชาชนเข้าถึงบริการการรักษาพยาบาลที่มีประสิทธิภาพ ด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทันสมัยซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูง เสริม เติมเมื่อการเข้าถึงบริการรักษาพยาบาลโดยช่องทางต่างๆ ที่ รัฐจัดให้ เช่น บัตรประกันสุขภาพ บัตรประกันสังคม พระ ราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ เหล่านี้ไม่ครอบคลุม ค่ารักษาพยาบาล การเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอน

40 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำ�ริ


โครงการเรือนพักญาติ

...เรื่องของโรงพยาบาล วิธีที่จัดโรงพยาบาลนั้นเป็นตัวอย่างที่ดี เพราะว่าวิธีปฏิบัติของ โรงพยาบาลนั้นเป็นตัวอย่างของโรงพยาบาลทั่วประเทศ กล่าวคือ ได้มีการออกไปตรวจตรา คนไข้ข้างนอก และเมื่อเห็นว่ามีผู้ใดที่ควรจะได้รับการรักษาในโรงพยาบาลก็นำ�เข้ามาที่โรงพยาบาล รวมทั้งมีที่ส�ำ หรับญาติพี่น้องของผู้ป่วยมาพักอาศัยอยู่ อันนี้เป็นข้อหนึ่งที่ส�ำ คัญ ถ้าอ่านในตำ�รา การแพทย์ หรือการสาธารณสุข ผูท้ เี่ ป็นนักศึกษาในด้านการแพทย์กจ็ ะไม่เห็นเลย ไม่มตี ำ�ราทีไ่ หนใดๆ เลยที่จะเอาญาติของผู้ป่วยมาไว้ที่โรงพยาบาล อันนี้ไม่มี แต่ในเมืองไทยนี่มี การนี้ทำ�ไป รู้สึก ว่าเหมือนเป็นการสิ้นเปลือง ตรงข้ามเป็นวิธีการแบบไทยๆ ที่ไม่มีตำ�รา ทำ�ให้ทุ่นค่าใช้จ่ายไม่ใช่ น้อย จัดที่ไว้ให้ญาติพี่น้องของผู้ป่วยมาอยู่ แต่ว่ามาอยู่อย่างนี้ท�ำ ให้ทุ่นค่าใช้จ่ายในเรื่องที่จะต้องมี พยาบาลพิเศษสำ�หรับผู้ป่วย เมืองนอกนี้ก็ขอให้รู้ไว้ ที่เรามองดูว่าเป็นอารยประเทศ เป็นประเทศ ที่เจริญ ประเทศที่รวย ประเทศที่เรามองว่าเขาดีกว่าเรา คนไข้ที่ไปอยู่โรงพยาบาลส่วนมากไม่มีความ สุขเลย เพราะว่ามีแต่คนรวยเท่านั้นเองที่จะจ้างพยาบาลพิเศษได้ แต่ในเมืองไทย ที่มหาวิทยาลัย ขอนแก่น ที่โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย ได้ทำ�วิธีการที่แหวกแนวและที่เรียกว่าเหนือตำ�รา ไม่เรียก ว่านอกตำ�รา เพราะไม่ใช่นอกตำ�รา มันเหนือตำ�รา มันดีกว่า เพราะว่านำ�ผู้ที่เป็นญาติพี่น้องที่เป็น ห่วงใยคนไข้มาอยู่ และก็ไม่สิ้นเปลืองอะไร เพราะว่าเขามีที่อยู่พักนิดหน่อย และเขาก็ทำ�กับข้าวเอง เสร็จแล้วเขาก็มาอยู่กับญาติผู้ที่เป็นคนป่วย และเขาก็ดูแลเป็นพยาบาลพิเศษอย่างไม่ต้องเสียเงิน แล้วก็เป็นพยาบาลพิเศษที่ดีกว่าพยาบาลพิเศษทั้งหลาย...

พระราชดำ � รั ส ในพระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู่ หั ว พระราชทานแก่นักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น ณ บริเวณ สระน้ำ�อาคารพระราชทานปริญญาบัตร มหาวิทยาลัย ขอนแก่น เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2527 ด้ ว ย ค ว า ม ไ ด้ ท ร า บ ถึ ง พ ร ะ อ ง ค์ ท่ า น ว่ า ค ณ ะ แพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้เริ่มเปิดใช้อาคาร เรือนพักญาติในปี พ.ศ. 2526 ถือเป็นการพระราชทาน กำ�ลังใจแก่ผู้ที่มีส่วนร่วมดำ�เนินการจัดสร้างเรือนพักญาติ ให้มุ่งมั่นดำ�เนินการให้บังเกิดผลดียิ่งขึ้น สามารถรองรับ จำ�นวนญาติผู้ป่วยให้ได้มากขึ้น ผู้ ป่ ว ยที่ ม าเข้ าพักรักษาในโรงพยาบาลศรี น คริ น ทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มาจากจังหวัด ต่างๆ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ระยะทางห่างไกล จากโรงพยาบาล ด้วยวัฒนธรรมประเพณีของชาวอีสาน ที่ญาติพี่น้องในครอบครัวต้องปรนนิบัติดูแลกันอย่างใกล้ ชิดเมื่อเจ็บป่วย และเพื่อนบ้านต่างให้ความสำ�คัญกับการ

เยี่ยมเยียนให้กำ�ลังใจแก่ผู้เจ็บป่วย แต่ด้วยความที่ส่วน ใหญ่มีฐานะยากจนทำ�ให้ญาติ และเพื่อนบ้านต้องมาอยู่ อย่างตามมีตามเกิด ใช้พื้นที่บริเวณต่างๆ เช่น สนามหญ้า ทางเดิน และที่สาธารณะต่างๆ เท่าที่หาได้ทั้งในบริเวณ โรงพยาบาลและรอบโรงพยาบาล เป็นที่พักอาศัยในเวลา วิกาล ซึ่งเป็นสภาพที่ไม่เหมาะสม ทั้งในแง่ความปลอดภัย ความเป็นระเบียบและความสะอาดของสถานที่ คณะ แพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จึงได้ดำ�เนินการจัด ทำ�โครงการสร้างเรือนพักญาติ โดยอาศัยงบประมาณจาก การบริจาคของผู้มีจิตศรัทธาสร้างเรือนพักญาติผู้ป่วยขึ้น ครั้งแรก 1 หลัง เป็นอาคารชั้นเดียว และเริ่มเปิดใช้เมื่อปี พ.ศ. 2526 ก่อให้เกิดประโยชน์เป็นอย่างมาก ทำ�ให้ผู้ป่วย ที่ป่วยไม่หนักและต้องรอการตรวจหรือรอฟังผลการตรวจ แต่ยังไม่จ�ำ เป็นต้องอยู่รักษาในโรงพยาบาล รวมถึงญาติ ที่ติดตามผู้ป่วยเพื่อมาเป็นกำ�ลังใจและช่วยปรนนิบัติได้มี ที่พักที่ปลอดภัย โดยเก็บค่าใช้จ่ายเพียงคืนละ 1 บาทต่อ คน

41 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำ�ริ


ต่อมาในปี พ.ศ. 2531 โรงพยาบาลศรีนครินทร์ ได้ เพื่อ จัดกิจกรรมวิ่งเฉลิมพระเกียรติรวมน้ำ�ใจสู่อีสาน เฉลิ ม พระเกี ย รติ แ ละเฉลิ ม ฉลองในวโรกาสพระราชพิ ธี มังคลาภิเษก และเพื่อหารายได้สมทบทุนสร้างเรือนพัก ญาติผู้ป่วยของโรงพยาบาลศรีนครินทร์ โดยจัดการวิ่งออก เป็น 3 สาย เริ่มต้นจากกรุงเทพฯ เชียงใหม่ และหนองคาย มาสิ้นสุดที่สนามหน้าศาลากลางจังหวัดขอนแก่นพร้อม กันทั้ง 3 สาย การวิ่งครั้งนั้นได้รับการสนับสนุนจาก พี่ น้ อ งประชาชนอย่ า งมากเพราะเป็ น กิ จ กรรมร่ ว ม เฉลิมพระเกียรติและเป็นโครงการที่สนองพระราชดำ�รัส ปัจจุบัน โรงพยาบาลศรีนครินทร์ ได้ดำ�เนินการ สร้างอาคารเรือนพักญาติเพิ่มเป็น 2 หลัง ขนาด 2 ชั้น สามารถให้ญาติผู้ป่วย และผู้ป่วยเข้าพักอาศัยเฉลี่ยวันละ 300 -400 คน แยกอาคารที่พักชาย –หญิง จัดบริการที่พัก ให้สะอาด และความสะดวกอื่นๆ แก่ผู้ใช้บริการ รวมถึงจัด สิ่งแวดล้อมให้อยู่ในสภาพที่ดี มีร้านค้าจำ�หน่ายอาหารพื้น เมืองอีสาน โดยเก็บค่าใช้จ่ายคืนละ 5 บาท เงินที่ได้นี้น�ำ ไปใช้จ่ายด้านการดูแลรักษาความสะอาด ค่าจ้างแม่บ้าน ในการทำ�ความสะอาดเรือนพักญาติและบริเวณโดยรอบ ให้เรียบร้อย ในอนาคตอั น ใกล้ ท างคณะแพทยศาสตร์ จ ะมี ก าร ก่อสร้าง “อาคารโรคไตเรื้อรัง” สูง 9 ชั้น ขึ้นบริเวณใกล้ๆ เรือนพักญาติ ทำ�ให้ท�ำ เลที่ตั้งของเรือนพักญาติที่อยู่ ท่ามกลางอาคารสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี อนุสรณ์ (อาคาร 19 ชั้น) โรงพยาบาลศรีนครินทร์ กับ อาคารศูนย์หัวใจสิริกิติ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อยู่ เดิม จะถูกห้อมล้อมด้วยอาคารสูงหลังใหม่นี้ ประกอบกับ มีผู้ป่วยและญาติมาใช้บริการจำ�นวนมาก ทำ�ให้เกิดความ แออัด จอแจ ทั้งอาคารที่พักและร้านค้ามีไม่เพียงพอ จึง จำ�เป็นจะต้องย้ายเรือนพักญาติไกลออกไปจากตัวอาคาร โรงพยาบาลมากกว่าเดิม ทั้งนี้โรงพยาบาลศรีนครินทร์จะ ยังคงมุ่งมั่นสนองพระราชดำ�รัส ดำ�เนินการให้มีเรือนพัก ญาติอยู่คู่โรงพยาบาลศรีนครินทร์ตลอดไป

เรือนพักญาติในปัจจุบัน

42 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำ�ริ


เรือนพักญาติในปัจจุบัน

43 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำ�ริ


เรือนพักญาติหญิง

ที่นั่งพักผ่อนด้านหน้าเรือนพัก

โรงครัว

44 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำ�ริ


โครงการพัฒนาศักยภาพของแกนนำ�ชุมชน ประชาชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใน การสร้างเสริมพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเอง ครอบครัว และชุมชน ในหมู่บ้านทุรกันดารตาม แนวพระราชดำ�ริ ปี พ.ศ. 2550-2551 จากพระกระแสรับสั่งในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กับเจ้าหน้าที่ภาครัฐที่ดูแลพื้นที่บ้านโนนสะอาด ตำ�บล ดอนดู่ อำ�เภอหนองสองห้อง ความว่า

…โนนสะอาด เป็นพื้นที่ทุรกันดาร แห้งแล้ง และประชาชนยากจน ขอให้เจ้าหน้าที่บ้านเมือง ฝ่ายต่างๆ ให้ความสนใจพัฒนาความเป็นอยู่ของ ประชาชน...

ซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงห่วงใยพสกนิกรในพื้นที่นี้เป็นอย่างยิ่ง (คำ�กล่าวจาก ท่านอุดม เดชมณี ที่ปรึกษาโครงการอันเนื่องมาจาก พระราชดำ�ริ อำ�เภอหนองสองห้อง ในพิธีเปิดอาคารโรง อาหาร ของโรงเรียนบ้านโนนสะอาด เมื่อปีพ.ศ. 2550) ทรงโปรดเกล้าฯ ให้เป็นพื้นที่ทรงงาน ดังนั้นการดำ�เนิน งานเพื่อสนองพระราชดำ�ริในพื้นที่นี้จึงเป็นการร่วมดำ�เนิน การของหลายหน่วยงานทั้งภาครัฐ องค์การปกครองส่วน ท้องถิ่น และหน่วยงานประชาชน ซึ่งคณะสาธารณสุขศาสตร์ โดยอาจารย์นิรมล เมืองโสม ภาควิชาสุขศึกษา หัวหน้า โครงการ ร่วมกับสำ�นักงานโครงการอันเนื่องมาจาก พระราชดำ�ริ มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้เข้าร่วมสนอง พระราชดำ�ริในส่วนของการสร้างเสริมพฤติกรรมการดูแล สุขภาพของชุมชน โครงการพัฒนาศักยภาพของแกนนำ�ชุมชน ประชาชน และองค์ ก รปกครองส่ ว นท้ อ งถิ่ น ในการสร้ า งเสริ ม พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเอง ครอบครัว และชุมชน ในหมู่บ้านทุรกันดารตามแนวพระราชดำ�ริ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาศักยภาพของแกนนำ�ชุมชน ประชาชน และ องค์ ก ารปกครองส่ ว นท้ อ งถิ่ น ในการดำ � เนิ น งานสร้ า ง

เสริมสุขภาพ 2) เพื่อให้บริการทางด้านวิชาการแก่ผู้น�ำ ชุมชน ประชาชน และ อบต. ในการส่งเสริมสุขภาพและ ป้องกันโรค ในชุมชนบ้านโนนสะอาด 3) เพื่อส่งเสริมให้ครู นักเรียน และประชาชน มีส่วนร่วมในการส่งเสริมสุขภาพ และแก้ไขปัญหาสุขภาพของนักเรียน เช่น การลด ภาวะทุพโภชนาการในเด็กเล็ก และนักเรียนชั้นประถม ศึกษา ดำ�เนินการโดย การจัดทำ�แผนปฏิบัติการแบบมี ส่วนร่วมของชุมชนโดยใช้กระบวนการ AIC การเผยแพร่ ความรู้ด้านสุขภาพ (ด้านโภชนาการของนักเรียน) สถานี อนามัยดอนดู่ได้จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการแก่ครูประจำ� ชั้น ครูอนามัย และครูที่รับผิดชอบงานโครงการอันเนื่อง มาจากพระราช ดำ�ริ โดยนักวิชาการจากมหาวิทยาลัย ขอนแก่นได้ให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรคติดต่อที่เป็น ปัญหาในชุมชน เช่นโรคไข้เลือดออก ตลอดจนเผยแพร่และ สนับสนุนแนวทางการออกกำ�ลังกาย เพื่อส่งเสริมสุขภาพ) และการติดตามกระตุ้นเตือน พร้อมประเมินผลโครงการ โดยการสัมภาษณ์ผู้น�ำ ชุมชน และอสม. ในเชิงลึก รวมถึง สังเกตสิ่งแวดล้อมในหมู่บ้าน ผลการดำ�เนินงาน พบว่ามีการจัดทำ�แผนงาน/ โครงการของชุมชนพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ และการออกกำ�ลังกายเพื่อสุขภาพของชุมชนแบบมีส่วนร่วม ของแกนนำ�ชุมชน ประชาชน สมาชิกองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น เจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่ต�ำ บลดอนดู่ เจ้าหน้าที่ สาธารณสุขร่วมกับครู อาจารย์จากภาควิชา โภชนวิทยา คณะสาธารณสุขศาสตร์ และนักเรียนชั้น ประถมศึกษาที่มีปัญหาได้ร่วมกันแก้ไขปัญหาการขาดสาร อาหารจนกระทั่ ง ภาวะโภชนาการอยู่ ใ นเกณฑ์ ป กติ องค์ ก รปกครองส่ ว นท้ อ งถิ่ น มี ส่ ว นร่ ว มในการจั ด สรรงบ ประมาณในการดำ�เนินงานพัฒนาท้องถิ่น ด้านการจัดการ สิ่งแวดล้อมทางกายภาพให้ดีเพื่อป้องกันโรค เช่น การ จัดหาไม้กวาด เพื่อให้ประชาชนในหมู่บ้านได้ทำ�ความ สะอาด จัดทำ�รั้วหน้าบ้านของประชาชนบริเวณริมถนน ที่เป็นเส้นทางสัญจรไปมา ตามโครงการหน้าบ้านน่ามอง ของอบต. ดอนดู่ พร้อมมีการนิเทศติดตามผลการ ดำ�เนินงานร่วมกันของหัวหน้าสถานีอนามัยตำ�บลดอนดู่ มหาวิ ท ยาลั ย ขอนแก่ น ได้ ส นั บ สนุ น ด้ า นวิ ช าการโดย สนับสนุนคู่มือการออกกำ�ลังกายเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ

45 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำ�ริ


แก่ประชาชนและครูในโรงเรียน เพื่อใช้ในการศึกษาหา ความรู้ และใช้ ในการออกกำ�ลังกายเพื่อส่งเสริมสุขภาพ ตนเอง และแกนนำ�ประชาชน มีการตื่นตัว และมีการกระตุ้น ประชาชนในหมู่บ้านให้มีส่วนร่วมในการดูแลสิ่งแวดล้อม รอบๆ บ้าน หลังจากมีการกระตุ้นเตือนจากคณะทำ�งาน และบุ ค ลากรของสำ � นั ก งานโครงการอั น เนื่ อ งมาจาก พระราชดำ�ริ

การมีส่วนร่วมของชุมชนและมหาวิทยาลัยขอนแก่น

46 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำ�ริ


บทที่ 2

มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำ�ริ ด้านการเกษตร เศรษฐกิจ และอาชีพ


“...การอาชีพเพาะปลูกนี้

มีความสําคัญมาก เพราะการเพาะปลู ก นี้ เ ป น จุ ด เริ่ ม ต น ของชี วิ ต ของมนุษย ถาเราไมมีการเพาะปลูกก็จะไมมีวัตถุดิบ ที่จะมาเปนอาหาร หรือเปนเครื่องนุงหม หรือเปน สิ่งกอสราง ฉะนั้นตองทําการกสิกรรม...” พระราชดำารัส พระราชทานแก่คณะผู้นำาสหกรณ์การเกษตรและสหกรณ์นิคม ณ ศาลาดุสิดาลัย วันพฤหัสบดีที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2521

48 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำาริ


บทที่ 2 มหาวิทยาลัยขอนแก่น กับโครงการพระราชดำ�ริ ด้านการเกษตร เศรษฐกิจ และอาชีพ เกษตรศาสตร์เพื่อเกษตรกรชาวอีสาน

หาวิ ท ยาลั ย ขอนแก่ น เริ่ ม รั บ นั ก ศึ ก ษาตั้ ง แต่ ปี พ.ศ. 2507 เริ่มก่อตั้งมหาวิทยาลัยขอนแก่น พระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู่ หั ว ทรงพระกรุ ณ าเสด็ จ พระราชดำ � เนิ น มาทรงเปิ ด มหาวิ ท ยาลั ย ขอนแก่ น อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2510 พร้อมทั้ง ทรงปลูกต้นกัลปพฤกษ์ไว้บริเวณหน้าอาคาร 1 คณะ เกษตรศาสตร์ ซึ่งก่อสร้างด้วยความช่วยเหลือจากรัฐบาล นิวซีแลนด์

49 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำ�ริ


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงปลูกต้นกัลปพฤกษ์ เนื่องในวโรกาสเสด็จฯ มาทรงเปดมหาวิทยาลัยขอนแก่น

50 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำาริ


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงปลูกต้นกัลปพฤกษ์ หน้าอาคาร 1 คณะเกษตรศาสตร์ เนื่องในวโรกาสเสด็จฯ มาทรงเปดมหาวิทยาลัยขอนแก่น

51 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำาริ


ในการเสด็จฯ ครั้งนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมี พระราชดำ�รัสสรุปความว่า การตั้งมหาวิทยาลัยขอนแก่นมี วั ต ถุ ป ระสงค์ อ ย่ า งหนึ่ ง เพื่ อ แก้ ไขปั ญ หาความยากจน และยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนภาคอีสาน ซึ่ง คณะผู้บริหารในสมัยนั้นและผู้บริหารในสมัยต่อๆ มา ได้ น้อมรับพระราชดำ�รัสและนำ�มาใช้เป็นหลักในการบริหาร มหาวิทยาลัยฯ มาโดยตลอด ดังจะเห็นได้ว่าคณะที่ก่อ ตั้งในครั้งแรก 3 คณะวิชา คือ คณะเกษตรศาสตร์ คณะ วิศวกรรมศาสตร์และคณะวิทยาศาสตร์-อักษรศาสตร์นั้น เป็นคณะที่มีความสำ�คัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาท้องถิ่นใน เบื้องต้น เนื่องจากประชาชนในภาคอีสานมีอาชีพทำ�การ เกษตร การที่มหาวิทยาลัยในสมัยนั้นได้จัดแบ่งพื้นที่ให้ คณะเกษตรศาสตร์มากที่สุด ถึงประมาณ 2000 ไร่ (เกือบ ครึ่งหนึ่งของพื้นที่ทั้งหมด ไม่รวมพื้นที่ส�ำ รอง) ก็เพราะเห็น ความสำ�คัญในการแก้ไขปัญหาการเกษตรของเกษตรกรใน ภาคอีสาน และเพื่อจะได้ผลิตบัณฑิตเกษตรศาสตร์ที่มี ความสามารถด้านการปฏิบัติออกไปรับใช้สังคม ทำ�งาน วิจัย และนำ�ความรู้ ผลงานที่ได้จากการทำ�งานวิจัยไป ให้บริการวิชาการแก่ชุมชน ทั้งนี้ก็เพื่อแก้ไขปัญหาความ ยากจนและยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนตามพระ ราชดำ�รัสในครั้งนั้น โครงการพระราชดำ�ริทางด้านการเกษตร และการ อาชีพส่วนใหญ่ดำ�เนินการโดยคณะเกษตรศาสตร์ ตั้งแต่ ก่อตั้งมหาวิทยาลัยขอนแก่น ทั้งที่เป็นโครงการอันเนื่อง มาจากพระราชดำ � ริ โ ดยตรงและทำ � งานบริ ก ารวิ ช าการ ตามแนวทางพระราชดำ�ริ เช่น โครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ โครงการเศรษฐกิจพอเพียง โครงการเกษตรผสมผสาน ตลอดจนโครงการส่งเสริมอาชีพเกษตรกรรมต่างๆ โดยมี การดำ�เนินการในหลายพื้นที่หลายลักษณะ เช่น การมีส่วน ร่วมในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำ�ริที่มีอยู่ก่อน แล้ว เช่น โครงการเกษตรหลวงเต่างอย จังหวัดสกลนคร มูลนิธิโครงการเกษตรหลวงในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หรือการนำ�แนวทางพระราชดำ�ริมาศึกษาค้นคว้าต่อยอด ให้เหมาะกับสภาพสิ่งแวดล้อมของภาคตะวันออกเฉียง เหนือแล้วนำ�ไปถ่ายทอดให้เกษตรกร เช่น โครงการหญ้า แฝก โครงการเลี้ยงสัตว์ และโครงการอาหารสัตว์ โครงการ เกษตรทฤษฎีใหม่ โครงการตามแนวพระราชดำ�ริเศรษฐกิจ พอเพียง และนอกจากอาชีพหลักด้านการเกษตรแล้ว

มหาวิทยาลัยขอนแก่นโดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ได้มีส่วน สำ�คัญในการใช้ความรู้สมัยใหม่เสริมภูมิปัญญาชาวบ้าน ในงานด้านศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์ พระบรม ราชินีนาถ เช่น การจัดทำ�ฐานข้อมูลลายผ้าไหม เทคนิค และสีย้อมผ้าที่ดีขึ้น เป็นต้น ทำ�ให้ผลิตภัณฑ์ของโครงการ ศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถเป็น มาตรฐานและมีคุณภาพดีขึ้น ผลงานด้านการเกษตร การยกระดับเศรษฐกิจ และ อาชีพเสริมอื่น ที่มหาวิทยาลัยขอนแก่นมีส่วนในการสนอง พระราชดำ�ริ พอสรุปได้ดังนี้

การเกษตรยั่งยืน 1.โครงการอบรมเกษตรกรรมแบบประณีต : ต้นตำ�รับ การอบรมอาชีพในโรงเรียนตำ�รวจตระเวนชายแดน ผศ.ถาวร โกวิทยากร สนองพระราชดำ�ริโดยเป็น คณะทำ�งานและเป็นวิทยากรบรรยายแก่ตำ�รวจตระเวน ชายแดน (ตชด.) ตั้งแต่การทำ�โครงการหมู่บ้าน 10 หลัง (บริ เวณที่ เ ป็ น อุ ท ยานเทคโนโลยี ก ารเกษตรในปั จ จุ บั น ) ตั้งแต่เมื่อประมาณ พ.ศ. 2525 โดยได้น�ำ เอาผู้นำ�ของ กลุ่มเกษตรกรตามหมู่บ้านในเขตชายแดนหรือหมู่บ้านที่ มีปัญหาด้านความมั่นคงทางการเมืองซึ่งอยู่ในความดูแล รับผิดชอบของตชด. มาทำ�การฝึกอบรมเป็นระยะเวลา ประมาณ 1 ปี โดยอยู่อาศัยในบ้านพักที่โครงการฯ จัด สร้างให้ และจัดสรรพื้นที่ส�ำ หรับทำ�การเกษตรประมาณ 1 งาน ปลูกพืชผักและข้าวโพดฝักสด มีการสร้างระบบการ จัดการน้ำ�ให้เกษตรกรสามารถตักน้ำ�ในถังซีเมนต์เพื่อนำ� ไปรดพืชผักและข้าวโพดได้สะดวก โครงการนี้เป็นที่รู้จัก กันในชื่อโครงการอบรมเกษตรกรรมแบบประณีต และต่อ มาแนวคิดนี้ได้ขยายไปยังโรงเรียนตำ�รวจตระเวนชายแดน ต่างๆ ซึ่งสนองพระราชดำ�ริของสมเด็จพระศรีนครินทรา บรมราชชนนี และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยาม บรมราชกุมารี ในการนำ�เกษตรกรที่ยากจนเข้ามาฝึก อบรมในโรงเรียนตำ�รวจตระเวนชายแดน และนอกจากนั้น ผศ.ถาวร โกวิทยากร ยังได้สนองพระราชดำ�ริในโครงการ เกษตรหลวงเต่างอย จ.สกลนคร ในการส่งเสริมเกษตรกร ปลูกมะเขือเทศส่งเข้าโรงงานของโครงการฯ อีกด้วย

52 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำ�ริ


รศ.ดร.อำ�นวย คำ�ตื้อ ได้น�ำ ความรู้เกษตรกรรมแบบ ประณีตไปส่งเสริมการทำ�แปลงเกษตรทฤษฎีใหม่สาธิตที่ บ้านของเกษตรกร ที่บ้านโสกส้มกบ อำ�เภอสีชมพู จังหวัด ขอนแก่น ซึ่งเป็นพื้นที่ในโครงการส่งเสริมศิลปาชีพ ของ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เช่น การเลี้ยงไก่ บนบ่อปลา การปลูกข้าว การทำ�สวนไม้ผล ได้ช่วยแก้ไข ปัญหาของกลุ่มเกษตรกรที่ปลูกไม้ผลโดยเฉพาะส้มเขียว หวาน ส้มโอ และฝรั่ง ทำ�ให้ผลผลิตดีขึ้น และยังได้ช่วย ส่งเสริมด้านการตลาด โดยการนำ�ผลผลิตของเกษตรกร มาขายในงานวั น เกษตรภาคอี ส านที่ อุ ท ยานเทคโนโลยี การเกษตร มหาวิทยาลัยขอนแก่นหลายปี ทำ�ให้เกษตรกร ในพื้นที่มีรายได้ และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

ผลผลิตของชาวบ้านที่น�ำ มาจำ�หน่ายในงานวันผัก อีสาน ที่จัดภายในมหาวิทยาลัยขอนแก่น

53 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำ�ริ


2.การปรับปรุงพันธุ์พืช ศูนย์ปรับปรุงพันธุ์พืชเพื่อการเกษตรที่ยั่งยืน คณะ เกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นมีส่วนสำาคัญใน การคั ด เลื อ กและปรั บปรุงพันธุ์พืช ที่เหมาะสมกั บ สภาพ แวดล้อมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งจะทำาให้เกษตรกร สามารถพึ่งตนเองได้ไม่ต้องพึ่งเมล็ดพันธุ์จากต่างประเทศ และได้รับพระราชกรุณาจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำาเนินชมผลงานใน แปลงเกษตรภายในมหาวิทยาลัยขอนแก่น เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2551 เป็นการส่วนพระองค์ เช่น การผลิต แก่นตะวันและถั่วลิสงเมล็ดโต โดย รศ.ดร.สนั่น จอกลอย และการนำาแก่นตะวันไปแปรรูปเป็นขนมเค้กเพื่อสุขภาพ โดย ผศ.ดร.จันทนี อุริยะพงศ์สรรค์ การผลิตข้าวฟ่างหวาน โดย รศ.ดร.ประสิทธิ์ ใจศิล การอนุรักษ์พันธุกรรมข้าว โดย ดร.จิรวัฒน์ สนิทชน การปรับปรุงพันธุ์พริก โดย รศ.ดร. สุชีลา เตชะวงค์เสถียร การปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดหวาน และข้าวโพดฝักสด โดย รศ.ดร.กมล เลิศรัตน์ และเสด็จชม แปลงปลูกข้าวโพด และเรือนทดลองปลูกพริกและมะเขือ เทศด้วยความสนพระทัย ทรงสอบถามข้อมูลต่างๆ เช่น ทรงตรัสถาม รศ.ดร.ประสิทธิ์เกี่ยวกับข้าวฟ่างหวานว่า บริโภคได้หรือไม่ ทรงสอบถามและแลกเปลี่ยนข้อมูลและ ให้กำาลังใจในการทำางานวิจัยของคณาจารย์ต่างๆ และ คำาถามหลายคำาถามจะเกี่ยวข้องกับการนำาผลงานวิจัยไป ถ่ายทอดหรือไปช่วยเหลือเกษตรกรในพื้นที่ต่างๆ ที่เคย เสด็จไปในถิ่นทุรกันดารต่างๆ ของประเทศไทย การเสด็จครั้งนั้นได้เสด็จชมงานจนมืด คณะผู้ติดตาม ต้ อ งใช้ ไ ฟฉายให้ แ สงสว่ า งในการเสด็ จ ชมแปลงทดลอง จนถึงเวลาประมาณ 19.00 นาิกา จึงทรงเสด็จกลับ ก่อน จะเสด็จขึ้นรถยนต์พระที่นั่งทรงตรัสว่า

วันนี้เสียดายค่ำาเร็วไปหน่อย วันหลังจะมา ใหม่ ” ปรับปรุงพันธุ์พืชของมหาวิทยาลัยขอนแก่น

นอกจากนี้ รศ.ดร.สุชีลา เตชะวงค์เสถียร ได้สนอง ทำาให้คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัย คณาจารย์คณะ พระราชดำาริปรับปรุงพันธุ์มะเขือเทศเพื่อทดแทนการนำา เกษตรศาสตร์ และประชาชนที่มารอรับเสด็จภาคภูมิใจ เข้าและเป็นที่ปรึกษางานวิจัยด้านพืชผักในมูลนิธิโครงการ เป็ น อย่ า งยิ่ ง ที่ พ ระองค์ ท่ า นสนพระทั ย ในงานด้ า นการ เกษตรหลวงในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

54 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำาริ


สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ ทรงเยี่ยม ชมผลงานของศูนย์ปรับปรุงพันธุ์พืช เพื่อการเกษตรที่ยั่งยืน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2551

55 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำาริ


3.โรงสีพระราชทาน ผศ.พนมกร ขวาของ คณะวิศวกรรมศาสตร์ได้ ร่ ว มถวายงานสนองพระราชดำ � ริ ใ นโครงการโรงสี พระราชทาน ที่ตำ�บลสงเปลือย อำ�เภอเขาวง จังหวัด กาฬสินธุ์ เนื่องจากชาวบ้านขาดความรู้เชิงเทคนิค โดย ดำ�เนินการแก้ไขเครื่องจักร ปรับปรุงระบบการสีข้าว อบรมกระบวนการผลิตและจัดการคุณภาพของวัตถุดิบ เพื่อสนับสนุนให้ชาวนาสามารถพึ่งตนเองได้ ซึ่งเป็นขั้น เริ่มต้นของแนวพระราชดำ�ริเศรษฐกิจพอเพียง ทำ�ให้ คุณภาพของข้าวที่ผลิตได้ดีขึ้น สามารถจำ�หน่ายได้ราคา เพิ่มขึ้นจากเดิมอีกกิโลกรัมละ 5 บาท

โรงสีข้าวชุมชนตำ�บลสงเปลือย จังหวัดกาฬสินธุ์

56 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำ�ริ


4.โครงการตามแนวพระราชดำ�ริเกษตรทฤษฎีใหม่ รศ.นงลักษณ์ สุพรรณไชยมาตย์ ได้ท�ำ งานวิจัย ตามแนวพระราชดำ�ริเกษตรทฤษฎีใหม่ ที่บ้านหนองแซง ตำ�บลหนองแซง อำ�เภอบ้านแฮด จังหวัดขอนแก่น พบ ว่าสระน้ำ�มีส่วนสำ�คัญในการทำ�ให้การเกษตรทฤษฎีใหม่ ในพื้นที่โครงการประสบความสำ�เร็จ ช่วยลดความเสี่ยง ภั ย ทางการเกษตรที่ เ กิ ด จากฝนตกไม่ ต้ อ งตามฤดู ก าล เกษตรกรสามารถนำ�น้ำ�จากสระมาช่วยตกกล้า เพื่อให้ ทันตามฤดูกาลเพาะปลูก ทำ�ให้ได้ผลผลิตข้าวสูงขึ้น และ ครอบครัวมีอาหารกินตลอดปี เพราะบริเวณริมสระน้ำ� สามารถปลูกพืชผักและไม้ผลได้ ทำ�ให้เกษตรกรมีงานทำ� ตลอดปีและสามารถพึ่งพาตนเองได้

การทำ�เกษตรแบบผสมผสานโดยการปลูกพืช หมุนเวียนตลอดทั้งปี

57 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำ�ริ


5.การสร้างมูลค่าเพิ่มให้ผลิตภัณฑ์การเกษตร คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้ สนองพระราชดำ�ริของพระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชา ทินัดดามาตุ ในการผลิตข้าวฮางของสหกรณ์ OTOP อำ�เภอสีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำ�ภู ซึ่งเป็นข้าวที่ผลิต ตามวัฒนธรรมของชาวลาว และใช้บริโภคในราชวงศ์ลาว มาก่อน โดยมีความเชื่อว่าบริโภคแล้วจะทำ�ให้รักษาความ เป็นหนุ่มเป็นสาวตลอดไป จึงเรียกข้าวฮางว่า “ข้าวหนุ่ม สาวน้อย” ในขณะที่ค�ำ ว่า “ฮาง” ในภาษาลาว แปลว่า “ทองคำ�” การผลิตข้าวฮางคล้ายการผลิตข้าวกล้องงอกที่ กำ�ลังเป็นที่นิยมอยู่ในปัจจุบัน แต่การผลิตแบบเดิมที่ ถ่ายทอดมาในชุมชนไม่ได้ควบคุมการงอกของเมล็ดข้าว ดังนั้น สำ�นักงานพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรม คณะ วิศวกรรมศาสตร์ จึงถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยี เพื่อให้การผลิตข้าวฮางเป็นไปตามวิธีการมาตรฐานและ ได้ข้าวที่มีคุณภาพตามที่ตลาดต้องการ (วัดจากปริมาณ สารอาหาร) สำ�นักงานฯ ยังช่วยส่งเสริมด้านการตลาด เช่น นำ�ชุมชนออกแสดงและจำ�หน่ายสินค้าในงานต่างๆ เพื่อเปิดตัวผลิตภัณฑ์ นอกจากนี้ยังขายข้าวฮางให้กับ สำ�นักพระราชวังอีกด้วย ผลจากการดำ�เนินงานนี้ช่วย สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับข้าว ทำ�ให้ชุมชนสามารถเพิ่มยอด ขายข้าวเป็น 1,000 ตัน/ปี จากเดิมขายได้เพียงประมาณ 600 ตัน/ปี และราคาขายข้าวก็เพิ่มขึ้นเป็นกิโลกรัมละ 80 บาท จากราคาเดิมแค่กิโลกรัมละ 35 ถึง 60 บาท (ตาม ระยะเวลาที่เก็บ)

กว่าจะมาเป็นข้าว

58 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำ�ริ


กระบวนการผลิตข้าวกล้องงอก

ข้าวกล้องงอกในบรรจุภัณฑ์พร้อมจำ�หน่าย

59 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำ�ริ


6.ศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้หญ้าแฝกในดินเค็ม ภาคอีสาน สืบเนื่องจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จ พระราชดำ�เนินทอดพระเนตรการดำ�เนินงานโครงการศูนย์ ศึกษาการพัฒนาห้วยทราย อันเนื่องมาจากพระราชดำ�ริ อำ�เภอชะอำ� จังหวัดเพชรบุรี เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 พร้อมทั้งได้พระราชทานพระราชดำ�ริเกี่ยวกับหญ้า แฝก ความตอนหนึ่งว่า

...ข้อสำ�คัญที่มาเพราะว่า ที่ดินในเมืองไทย มันมีน้อยลงที่จะใช้งานได้จึงต้องหาที่เลวๆ ให้ พัฒนาขึ้นเป็นที่ที่ใช้ได้ และให้ความสำ�คัญของ โครงการนี้เป็นยังไง ต้องลงมือหลายฝ่าย กรม พัฒนาที่ดิน และกรมป่าไม้ศึกษา และถ้าทำ�ได้ แล้ว เมืองไทยนี้ไม่อับจน...

...ดินแข็งเป็นดินดานอย่างนี้ท�ำ อะไรไม่ได้ แต่ เราปลูกหญ้าแฝกด้วยวิธีการที่เหมาะสม เมื่อ ฝนตกลงมาความชื้นจะอยู่ในดินบริเวณรากของ หญ้าแฝกที่ลงรากลึก โดยเฉพาะการปลูกหญ้า แฝกตามแนวระดับขวางทางลาดชัน แนวหญ้า แฝกก็จะเปรียบเหมือนกำ�แพงธรรมชาติ ที่จะ ช่วยหยุดยั้งการพังทลายของดิน ชะลอความเร็ว ของน้ำ�ที่ไหลบ่า สามารถกักเก็บตะกอนดิน ทำ�ให้เกิดหน้าดินและความชื้นใต้ดิน เมื่อเกิด หน้าดินและดินมีความชื้นจะปลูกผักปลูกหญ้า ก็ได้ และอีกประการหนึ่งรากของหญ้าแฝกแข็ง เป็นพิเศษ อาจสามารถเจาะลึกลงไปในดินที่แข็ง เป็นดานได้...

รศ.ดร.สันติภาพ ปัญจพรรค์ คณะเกษตรศาสตร์ ได้ น้อมนำ�พระราชดำ�ริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มา ทำ�งานวิจัยขยายผลโดยศึกษาถึงประโยชน์จากการปลูก หญ้าแฝก ตลอดจนการนำ�มาใช้ในภาคตะวันออกเฉียง เหนือซึ่งที่ดินเกือบหนึ่งในสามมีความเค็ม โดยเริ่มตั้งแต่ปี

แปลงรวบรวมพันธุ์หญ้าแฝก และต้นกล้าที่พร้อมย้าย ปลูก พ.ศ. 2540 ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากสำ�นักงานคณะ กรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจาก พระราชดำ�ริ (กปร.) ให้ดำ�เนินการวิจัยเรื่องการใช้หญ้าแฝก เพื่อการปรับปรุงดินเค็มและดินทรายภาคตะวันออกเฉียง เหนือ โดยสามารถสรุปผลงานวิจัยได้ดังนี้ 1) การทนเค็มของหญ้าแฝก หญ้าแฝกสายพันธุ์ประจวบคีรีขันธ์ เป็นสายพันธุ์ที่ ทนเค็มได้สูงสุด ตามด้วยสายพันธุ์ศรีลังกา พันธุ์สงขลา 2 และพันธุ์กำ�แพงเพชร 1 ตามลำ�ดับ โดยสายพันธุ์ ประจวบคีรีขันธ์ สามารถทนเค็มได้สูงกว่า 12 mS/cm ในช่วง 6 สัปดาห์แรก และทนได้เพิ่มขึ้นตามอายุปลูกจน สามารถทนได้ 9 mS/cm เมื่ออายุ 6 เดือน ซึ่งมากเพียงพอที่ จะนำ�มาใช้ในพื้นที่ดินเค็มในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

60 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำ�ริ


และไม้ผลทนเค็มที่สามารถปลูกร่วมกับหญ้าแฝกได้ดี เช่น ละมุด มะขามเปรี้ยว พุทรา และฝรั่ง ตามลำ�ดับ ซึ่งช่วยให้ การอนุรักษ์ดินและน้�ำ ในบริเวณที่ปลูกไม้ผลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

พื้นที่ดินเค็มที่นักวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่นเข้าไป ทำ�งานวิจัย

ความสามารถในการเจริญเติบโตได้แม้ในดินเค็มของ หญ้าแฝกสายพันธุ์ประจวบคีรีขันธ์

61 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำ�ริ


2) การตอบสนองของหญ้าแฝกในดินที่มีความอุดม สมบูรณ์ต�่ำ จากการศึ ก ษาการตอบสนองของหญ้ า แฝกในดิ น ทรายความอุดมสมบูรณ์ต่ำ�ชุดยโสธร พบว่าหญ้าแฝกสาย พันธุ์ประจวบคีรีขันธ์ และศรีลังกา มีการตอบสนองต่อ การใส่วัสดุเหลือใช้ในไร่-นา เช่น แกลบ และปุ๋ยคอก สูงสุด ตามด้วยสายพันธุ์สงขลา 3 และกำ�แพงเพชร 1 การใช้ปุ๋ย อินทรีย์ ทำ�ให้รากหญ้ามีจ�ำ นวนมากและแข็งแรงขึ้น ส่วน ปุ๋ยเคมีแม้จะใส่ในอัตราต่ำ� ก็ช่วยให้หญ้าแฝกสามารถตั้ง ตัวได้เร็วขึ้น ส่วนการเจริญเติบโตของรากหญ้าแฝกนั้น ทุกสายพันธุ์เจริญเติบโตได้รวดเร็วมาก โดยเฉลี่ยจะยาว ประมาณ 1 เมตร ภายใน 4-6 สัปดาห์ ซึ่งผ่านเกณฑ์การ อนุรักษ์ดินที่ดีได้ และการทดสอบการเจริญเติบโตของ หญ้าแฝก 6 สายพันธุ์ในดินทรายจัดไม่มีการปรับปรุงใด ๆ

ทั้งสิ้น ชุดยโสธรซึ่งเป็นกรดจัด (pH 4.5) มีธาตุอาหารพืช โดยเฉพาะไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และจุลธาตุต�่ำ ปรากฏ ว่าสายพันธุ์ประจวบคีรีขันธ์ เจริญเติบโตและให้ผลผลิต สูงสุด ตามด้วยสายพันธุ์ศรีลังกา สงขลา 3 กำ�แพงเพชร 1 นครสวรรค์ และร้อยเอ็ด ตามลำ�ดับ การศึ ก ษาอิ ท ธิ พ ลของแถวหญ้ า แฝกต่ อ การเจริ ญ เติบโตของพืชไร่ ในดินทรายจัดความอุดมสมบูรณ์ต�่ำ ชุด ยโสธร ผลปรากฏว่าทั้งผลผลิตของข้าวโพดหวาน และน้�ำ หนักแห้งของหญ้าแฝกจะลดลงทั้งคู่ถ้าหากมีการปลูกชิด กันกว่า 90 ซม. แต่หากแถวของข้าวโพดและหญ้าแฝกห่าง กัน 120 ซม.ขึ้นไป ผลผลิตข้าวโพดหวานจะเพิ่มขึ้น การ เพิ่มขึ้นของผลผลิตนี้เนื่องมาจากความชื้นในดินที่หญ้า แฝกสามารถดูดซับเอาไว้ในช่วงหลังฤดูฝน และสามารถใช้ เป็นประโยชน์ต่อข้าวโพดในช่วงฝนแล้ง

การปลูกหญ้าแฝกร่วมกับข้าวโพดหวานในพื้นที่ดินทรายเพื่อใช้รากหญ้าแฝกกักเก็บความชุ่มชื้นในดิน

3) การนำ�หญ้าแฝกไปใช้ประโยชน์ในการยึดดิน จากการทดลองนำ�หญ้าแฝกไปใช้ยึดดินขอบสระ โดย ปลูกพันธุ์สงขลา 3 บนขอบสระที่มีความลาดชันสูงด้านใน ของสระในบริเวณพื้นที่ดินเค็มจัด ชุดร้อยเอ็ด ในอำ�เภอ พระยืน จังหวัดขอนแก่น สรุปได้ว่าการปลูกจำ�นวนแถว

ยิ่งมากตะกอนดินก็จะถูกพัดพาลงสระน้อยลง ทำ�ให้คุณภาพ ของน้�ำ ดีขึ้น สามารถใช้สระน้ำ�ได้นานขึ้นและเป็นการยึด อนุภาคดินและตะกอนอินทรียสารต่างๆ ไว้ที่ขอบสระได้ มากขึ้นด้วย และในทางปฏิบัติแล้วการปลูกหญ้าแฝกเพียง แถวเดียว แต่ปลูกค่อนข้างชิดกัน (ประมาณ 10-15 ซม.)

62 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำ�ริ


ในเวลาช่วงต้นหรือกลางฤดูฝน ก็เพียงพอสำ�หรับยึดดิน 4) การใช้หญ้าแฝกเพื่อควบคุมวัชพืช ขอบสระ และถ้าใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยเคมีเล็กน้อย จะช่วยให้ จากการทดลองปลู ก หญ้ า แฝกเพื่ อ ควบคุ ม หญ้ า ตั้งตัวได้เร็วขึ้น ชันกาด ซึ่งเป็นหญ้าพื้นเมืองในบริเวณดินเค็มจัดของภาค ตะวันออกเฉียงเหนือสรุปได้ว่าในฤดูฝนถ้าปลูกชิดกันแล้ว หญ้าชันกาดจะเจริญดีกว่าหญ้าแฝกเล็กน้อยแต่ในฤดูแล้ง หญ้าชันกาดจะชะงักการเจริญเติบโตแต่หญ้าแฝกจะเจริญ เติบโตได้ดีกว่า

การปลูกหญ้าแฝกร่วมกับพืชเพื่อควบคุมการเจริญของ หญ้าชันกาด

การปลูกหญ้าแฝกในบริเวณพื้นที่ลาดเอียง หรือขอบสระเพื่อยึดดิน

63 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำ�ริ


การเลี้ยงและรักษาสัตว์ 1.การเลี้ยง และผลิตอาหารสัตว์ รศ.ดร.เยาวมาลย์ ค้าเจริญ ได้สนองพระราชดำ�ริ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ โดยได้อบรมให้ ความรู้ทางวิชาการด้านการเลี้ยงสุกรแก่ประชาชนในภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ ทั้งนี้เพราะในอดีตประชาชนใน ภาคอีสานส่วนใหญ่ยากจน ขาดแคลนอาหารการกินโดย เฉพาะการเลี้ยงสุกรซึ่งมีปัญหาเรื่องอัตราการเจริญเติบโต ทั้งนี้เพราะพันธุ์สุกรที่ชาวบ้านเลี้ยงและอาหารที่สุกรได้ รับไม่เหมาะสม อีกทั้งได้ช่วยเหลือในการฝึกอบรมวิธีการ เลี้ยงสุกร และการผลิตอาหารสุกรที่มีคุณภาพจากวัสดุ ที่มีอยู่ในท้องถิ่น เช่นเดียวกับการเลี้ยงไก่ และปรับปรุง พันธุ์ไก่ ซึ่งคณะเกษตรศาสตร์ได้คัดเลือกสายไก่พันธุ์ที่ เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยได้ทำ�การฝึกอบรมวิธีการเลี้ยงไก่ให้แก่ทหาร และ ตำ�รวจที่ทำ�งานในพื้นที่ชายแดน และเขตที่มีปัญหาความ มั่นคงต่างๆ สนองพระราชดำ�ริสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ

หนองหญ้าปล้อง อำ�เภอวังสะพุง จังหวัดเลย เพื่อนำ�มา วิเคราะห์ หาแนวทางแก้ไข พร้อมให้ค�ำ ปรึกษา และเผย แพร่ความรู้ด้านการเลี้ยง และดูแลสัตว์แก่เกษตรกร หรือ ผู้มารับบริการ โดยเน้นหลักการเลี้ยงสัตว์ตามแนวปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง นอกจากนี้โครงการฯ ยังส่งเสริมการทำ� เกษตรกรรมแบบปลอดสารพิษทั้งการเลี้ยงสัตว์ และปลูก พืชอีกด้วย

นอกจากนี้ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัย ขอนแก่น ได้จัดทำ�โครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ในพระ ราชานุเคราะห์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎ ราชกุมาร ภายใต้ความร่วมมือกันระหว่างหน่วยงานของ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และหน่วยงานราชการอื่นในพื้นที่ โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์เสรี แข็งแอ ได้นำ�ทีมงานโครง การฯ ออกไปรับฟังปัญหาการเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกรใน พื้นที่จังหวัดเลย ซึ่งเป็นที่ตั้งของสถานีฟาร์มฝึกนักศึกษา คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ตำ�บล

64 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำ�ริ


การอบรมให้ความรู้ด้านการเกษตรแบบพึ่งพาตนเอง แก่เกษตรกร นักเรียน และผู้สนใจ ในพื้นที่จังหวัดเลย พร้อม ออกงานจำ�หน่ายผลผลิตจากฟาร์มฝึกนักศึกษา คณะสัตวแพทยศาสตร์

65 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำ�ริ


2. โครงการสัตวแพทย์พระราชทาน เนื่องด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ มี พ ระราชดำ � ริ ใ ห้ ช่ ว ยเหลื อ เกษตรกรผู้ เ ลี้ ย งสั ต ว์ ในระหว่างที่แปรพระราชฐานที่จังหวัดสกลนคร ดังนั้นเพื่อ ให้ประชาชนอยู่ดีกินดีตามพระราชประสงค์ กรมปศุสัตว์ จึ ง ขอพระบรมราชานุ ญ าตจั ด ตั้ ง หน่ ว ยสั ต วแพทย์ พระราชทาน ใช้ชื่อว่า “โครงการสัตวแพทย์พระราชทาน” เริ่มดำ�เนินการครั้งแรกที่ จ.สกลนคร ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2550 และได้ดำ�เนินการต่อเนื่องในหลายจังหวัด โดย คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นร่วมสนอง พระราชดำ�ริโดยมี รศ.สพ.ญ.ดร.สุณีรัตน์ เอี่ยมละมัย คณบดีคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นเป็น คณะกรรมการของโครงการนี้ด้วย โครงการสั ต วแพทย์ พ ระราชทานนี้ มี วั ต ถุ ป ระสงค์ เพื่อให้สัตวแพทย์บริการตรวจรักษาพยาบาลสัตว์ให้กับ เกษตรกรที่มีฐานะยากจน และอยู่ห่างไกลจากสถาน บริการของรัฐ และป้องกันโรคระบาดทั้งจากสัตว์สู่สัตว์ และจากสัตว์สู่คน การป้องกันมิให้ระบาดไปยังพื้นที่ใกล้ เคียง อีกทั้งช่วยพัฒนาสุขภาพสัตว์ของเกษตรกรให้แข็ง แรงสมบูรณ์ยิ่งขึ้น กิจกรรมของโครงการ เป็นการให้ความรู้ แก่เกษตรกร ดูแลสุขภาพปศุสัตว์ เช่นโคเนื้อ กระบือ แพะ โคนม สุกร ไก่ เป็ด และสัตว์เลี้ยง ฉีดวัคซีนป้องกันโรคปาก เท้าเปื่อย คอบวม ป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ผ่าตัดทำ�หมันใน สัตว์ตัวเมียและตัวผู้ รักษาสัตว์เลี้ยงที่เจ็บป่วย โดยเฉพาะ สุนัขและแมว ตรวจพยาธิ ตรวจท้อง และผสมเทียม

66 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำ�ริ


ซึ่งมหาวิทยาลัยขอนแก่นได้ให้การสนับสนุนด้านบุคลากร และงบประมาณจำ�นวนหนึ่งให้รศ.ดร.อำ�นวย คำ�ตื้อเข้าไป ช่วยเหลือส่งเสริมอาชีพการเกษตรในหมู่บ้านโสกส้มกบ โดยไปส่ ง เสริ ม การขยายพั น ธุ์ ไ ม้ ผ ลทั้ ง แบบใช้ เ พศและ ไม่ใช้เพศ นอกจากนั้นยังได้ส่งเสริมช่วยเหลือโรงเรียนและ วัดบ้านโสกส้มกบในกิจกรรมต่างๆ และในคราวที่สมเด็จ พระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จบ้านโสกส้มกบเพื่อ ติดตามผลการดำ�เนินงานโครงการศิลปาชีพ ทางกองทัพ ภาคที่ 2 ได้ให้กลุ่มเกษตรกรเข้าเฝ้าเป็นการส่วนพระองค์ และรศ.ดร.อำ�นวย คำ�ตื้อได้ทูลถวายรายงาน พระองค์ทรง มีรับสั่งว่า

...ฝากดูแลเกษตรกรกลุ่มนี้ด้วย...

ทำ�ให้เห็นถึงน้�ำ พระทัย และความห่วงใยของ พระองค์ท่านที่มีต่อเกษตรกรเป็นอย่างมาก ความสัมพันธ์ ของกลุ่ ม เกษตรกรกั บ คณะเกษตรศาสตร์ ก็ ยั ง มี อ ยู่ ถึ ง ทุกวันนี้ โดยคณะทำ�งานมีหลายท่าน นอกเหนือจาก รศ.ดร.อำ�นวย คำ�ตื้อ เช่น ผศ.ชาญชัย ถาวรอนุกูลกิจ นายสราวุฒิ บุศรากุล และนายประวัติ สุภา เป็นต้น

การออกหน่วยบริการชุมชนในพื้นที่ภาคตะวันออก เฉียงเหนือ

3. การสร้างอาชีพเสริม 3.1 โครงการส่งเสริมศิลปาชีพ บ้านโสกส้มกบ ใน พระราชดำ�ริสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ รศ.ดร.อำ�นวย คำ�ตื้อ คณะเกษตรศาสตร์ได้สนอง พระราชดำ�ริในโครงการส่งเสริมศิลปาชีพ บ้านโสกส้มกบ อ.สีชมพู จังหวัดขอนแก่นในพระราชดำ�ริสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เริ่มจากการที่แม่ทัพภาค 2 ได้มา ปรึกษาขอความร่วมมือกับท่านอธิการบดีมหาวิทยาลัย ขอนแก่นในสมัยนั้น (ศ.นพ.วันชัย วัฒนศัพท์) ว่าสมเด็จ พระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ มีพระราชเสาวนีย์ที่ จะจัดตั้งหมู่บ้านโสกส้มกบ เป็นหมู่บ้านศิลปาชีพ เพื่อ ช่วยเหลือประชาชนในหมู่บ้านให้มีอาชีพและมีรายได้ที่ดี

ศูนย์ศิลปาชีพ บ้านโสกส้มกบ

67 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำ�ริ


3.2 ฐานข้อมูลผ้าไหมไทย ดร.นวภัค เอื้ออนันต์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้จัดทำ�โครงการพัฒนาฐานข้อมูล ผ้าไหมของประเทศไทย เป็นโครงการเพื่อเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษาสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ โดยความร่วมมือของมหาวิทยาลัยขอนแก่น จังหวัด ขอนแก่น สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำ� ประเทศไทย วิทยาลัยกาญจนาภิเษกช่างทองหลวง และ วิทยาลัยการอาชีพขอนแก่น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนาฐานข้อมูลสำ�หรับเก็บรวบรวมข้อมูลต่างๆ เกี่ยว กับผ้าของประเทศไทย ตั้งแต่กรรมวิธีการผลิตผ้า ลวดลาย รูปภาพ ตลอดไปจนถึงความรู้เชิงประวัติศาสตร์ของผ้า แต่ละผืน ซึ่งฐานข้อมูลนี้มีส่วนในการทำ�ให้การผลิตผ้า ไหมมีมาตรฐานยิ่งขึ้น 3.3 โครงการปรับปรุงคุณภาพผลิตภัณฑ์ผ้าไหม ใน ศูนย์ศิลปาชีพ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ได้ใช้องค์ความรู้ทางวิศวกรรม เคมีปรับปรุงผลิตภัณฑ์ผ้าไหมให้ได้มาตรฐานโดยใช้สีย้อม จากธรรมชาติ เพื่อสนองพระราชดำ�ริสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในงานศูนย์ศิลปาชีพได้แก่ การหาแหล่ง สีธรรมชาติที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น ดอกดาวเรือง อัญชัน ร่วมกับกรรมวิธีชาวบ้าน (การหมักโคลน) เพื่อใช้ ผลิตผ้าฝ้าย และผ้าไหมย้อมสีธรรมชาติ การสกัดน้ำ�มัน หอมระเหยจากตะไคร้ เพื่อใช้ร่วมในกระบวนการย้อมสี เป็นการลดกลิ่นฉุนจากสีธรรมชาติ การควบคุมระดับสีให้ สม่ำ�เสมอโดยการฝึกให้ชาวบ้านตรวจสอบ และควบคุม พารามิเตอร์หลักของกระบวนการฟอกย้อม ได้แก่ ความ เป็นกรดเป็นด่าง (pH) ความกระด้าง และอุณหภูมิ และ ได้ถ่ายทอดผลงานวิจัยนี้ให้กับศูนย์ศิลปาชีพ ตำ�บลนา โปร่ง อำ�เภอวังสามหมอ จังหวัดอุดรธานี และชุมชน หนองหญ้าปล้อง อำ�เภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น

เก็บใบหม่อนเพื่อนำ�ไปเลี้ยงหนอนไหม

การต้มฝักไหม

68 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำ�ริ


การสาวเส้นไหม

69 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำ�ริ


70 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำ�ริ


ผ้าไหม

71 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำ�ริ


มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำ�ริ


บทที่ 3

มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำ�ริ ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ การจัดการสิ่งแวดล้อม และพลังงานทดแทน


...ทุกวันนีป้ ระเทศไทยยังมีทรัพยากรพรอมมูล ทัง้ ทรัพยากรธรรมชาติ “และทรั พยากรบุคคล ซึ่งเราสามารถนํามาใชเสริมสรางความอุดม

สมบูรณ และเสถียรภาพอันถาวรของบานเมืองไดเปนอยางดี ขอ สําคัญ เราจะตองรูจักใชทรัพยากรทั้งนั้นอยางฉลาด คือ ไมนํามา ทุมเทใชใหสิ้นเปลืองไปโดยไรประโยชน หรือไดประโยชนไมคุมคา หาก แตระมัดระวังใชดวยความประหยัดรอบคอบ ประกอบดวยความคิด พิจารณาตามหลักวิชา เหตุผล และความถูกตองเหมาะสม โดยมุงถึง ประโยชนแทจริงที่จะเกิดแกประเทศชาติ ทั้งในปจจุบัน และอนาคตอัน ยืนยาว...

พระราชดำารัส ในการออกมหาสมาคม ในงานพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา พุทธศักราช 2529 วันศุกร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2529

74 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำาริ


บทที่ 3 มหาวิทยาลัยขอนแก่น กับโครงการพระราชดำ�ริ ด้านการอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติ การจัดการสิ่งแวดล้อม และพลังงานทดแทน

ารอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และการจัดการ ปั ญ หาสิ่ ง แวดล้ อ มเป็ น พระราชกรณี ย กิ จ ที่ ไ ด้ รั บ ความสนพระทั ย จากพระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู่ หั ว สมเด็จพระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระเทพรัตนราช สุดาฯ สยามบรมราชกุมารี นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณ เป็นล้นพ้นที่พระองค์ท่านทรงพระราชทานโครงการพระ ราชดำ�ริให้กับปวงชนชาวไทย และมีสายพระเนตรอันยาว ไกลในการจัดการให้ประชาชนและสิ่งแวดล้อมอยู่ได้อย่าง พอเพียง และมหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ร่วมถวายงานเพื่อ น้อมสนองทั้งที่เป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำ�ริ และโครงการตามแนวพระราชดำ�ริ อาทิเช่น โครงการ อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติทั้ง ดิน น้�ำ และป่าไม้ โครงการ อนุรักษ์พันธุกรรมพืช และโครงการจัดการพลังงานทดแทน พระราชกรณียกิจด้านการอนุรักษ์ และจัดการ ทรัพยากรดินเป็นอีกพระราชกรณียกิจที่มีความโดดเด่น มากของพระองค์ท่าน เนื่องจากหลายภูมิภาคที่พระองค์ เสด็จพระราชดำ�เนินมีผลผลิตทางการเกษตรต่ำ� ประชาชน มีรายได้น้อยไม่เพียงพอต่อการเลี้ยงชีพ เนื่องจากอาศัย ในบริเวณที่ดินที่ขาดความอุดมสมบูรณ์ พระองค์จึงได้ ศึกษาค้นคว้าเมื่อได้องค์ความรู้ที่เป็นแก่นที่แท้จริงแล้ว ก็ได้พระราชทานเป็นแนวทางให้หน่วยงานต่างๆ รับไป

ดำ�เนินการ ทั้งนี้เพื่อความสมดุลและความยั่งยืนของ ธรรมชาติ และให้ประชาชนใช้ประโยชน์จากธรรมชาตินั้น ได้อย่างพอเพียง ซึ่งตัวอย่างที่ทราบกันทั่วไปเช่น โครงการ แกล้งดิน และโครงการอนุรักษ์ดินโดยใช้หญ้าแฝก ซึ่งนัก วิจัยจากคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้ น้อมนำ�พระราชดำ�ริในเรื่องการใช้ประโยชน์จากหญ้าแฝก มาศึกษาต่อในเรื่องการดูดยึดธาตุอาหาร การเพิ่มความ อุดมสมบูรณ์ของดิน และการปลูกหญ้าแฝกในดินเค็ม ซึ่ง ประสบความสำ�เร็จเป็นอย่างดี พบว่าหญ้าแฝกนอกจาก ช่วยในการอนุรักษ์ดินแล้วยังมีส่วนในการเพิ่มความอุดม สมบูรณ์ และสามารถทนดินเค็มซึ่งเป็นปัญหาใหญ่อย่าง หนึ่งของภาคตะวันออกเฉียงเหนืออีกด้วย การจัดการแหล่งน้ำ�เพื่อการเกษตรและการบริโภค เป็นโครงการบริการวิชาการแรกๆ ของมหาวิทยาลัย ขอนแก่น นับตั้งแต่มีการจัดตั้งสถาบันแหล่งน้�ำ และสิ่ง แวดล้อม ในปีพ.ศ. 2522 ซึ่งเป็นการนำ�องค์ความรู้เรื่อง พัฒนาแหล่งน้�ำ ขนาดเล็ก ในสถาบันการศึกษาออกไป ช่วยเหลือชาวบ้าน และที่เป็นลักษณะเด่นที่แตกต่างจาก โครงการอื่นคือ เป็นโครงการที่มีนักศึกษา และชุมชน ทำ�งานร่วมกัน และเป็นผลงานที่เป็นที่ต้องการของชุมชน อย่างแท้จริง ทั้งนี้เนื่องจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็น

75 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำ�ริ


ดินแดนที่แห้งแล้ง ประชาชนในภูมิภาคขาดแคลนน้�ำ ถึง แม้ว่าจะมีฝนตกไม่น้อยกว่าภูมิภาคอื่น แต่ดินสามารถกัก เก็บน้�ำ ได้น้อย มีปัญหาการกระจายของฝน และบางส่วน ก็เป็นดินเค็ม ทำ�ให้พระราชกรณียกิจที่สำ�คัญในภาคตะวัน ออกเฉี ย งเหนื อ เกี่ ย วกั บ การจั ด การน้ำ � เป็ น จำ � นวนมาก และได้ดำ�เนินงานตามแนวพระราชดำ�ริมาอย่างต่อเนื่อง กว่า 30 ปี

โครงการอนุ รั ก ษ์ พั น ธุ ก รรมพื ช อั น เนื่ อ งมาจาก พระราชดำ�ริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรม ราชกุมารี เป็นโครงการที่หลายคณะในมหาวิทยาลัย ขอนแก่นได้ร่วมใจกันทำ�การศึกษาวิจัยพันธุกรรมพืชซึ่ง ต่อมาได้รวมถึงทรัพยากรธรรมชาติ อื่นทั้งด้านกายภาพ และชีวภาพ ทั้งนี้เนื่องจากเล็งเห็นว่าประเทศไทยมีความ หลากหลายทางพันธุกรรมสูงมากแห่งหนึ่งของโลก หาก สามารถอนุรักษ์ และนำ�มาใช้ปรับปรุงพันธุ์เป็นพืช เศรษฐกิจได้ ก็จะมีส่วนสำ�คัญในการผลักดันเศรษฐกิจของ ประเทศได้ อีกทั้งพระองค์ท่านยังได้ขยายฐานการศึกษา ออกไปสู่โรงเรียน ซึ่งเป็นฐานขนาดใหญ่ท�ำ ให้สามารถ ศึกษา และเข้าถึงแหล่งของทรัพยากรธรรมชาติในเวลาอัน รวดเร็ว และเมื่อศึกษาในระดับพื้นฐานแล้วหากมีการเชื่อม โยงเข้ากับนักวิจัยในสถาบันอุดมศึกษา ซึ่งมีความพร้อม ในด้านบุคคล เครื่องมือ และวิธีการก็จะสามารถอนุรักษ์ ทรัพยากรได้อย่างรวดเร็ว ทั้งในด้านกว้าง และด้านลึก เมื่อมีความมั่นคงของทรัพยากรแล้ว ก็จะทำ�ให้ชาติมีความ มั่นคงด้วย

นอกจากการจัดการน้ำ�ดีแล้ว การจัดการน้ำ�เสียโดย ใช้วิธีธรรมชาติก็เป็นอีกแนวพระราชดำ�ริที่มหาวิทยาลัย ขอนแก่น ได้นำ�มาดำ�เนินการทั้งที่ลำ�น้ำ�พอง เขื่อน อุบลรัตน์ และบึงโจด อำ�เภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น โดยมีคณะนักวิจัยจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ และคณะ วิทยาศาสตร์ในการดำ�เนินการ ซึ่งทำ�ให้ประชาชนที่ อาศัยอยู่ในบริเวณดังกล่าวบรรเทาความเดือดร้อน ทำ�ให้ ชุมชน และโรงงานอุตสาหกรรมสามารถอยู่ร่วมกันได้ และ นอกจากการใช้ผักตบชวาเพื่อบำ�บัดน้�ำ เสียแล้ว นักวิจัยยัง ได้ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมในการใช้หญ้าแฝกเพื่อบำ�บัดน้ำ� เสียจากชุมชนโดยใช้หญ้าแฝกลุ่ม (Vetiveria qiqanioides นอกจากนี้ด้วยสายพระเนตรที่ยาวไกลของพระบาท Nash) พันธุ์สงขลา 3 เพื่อบำ�บัดน้�ำ เสียจากชุมชน ปรากฏ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงทำ�การศึกษาวิจัยผลิตน้�ำ มันดีเซล ว่าได้ผลดีมากเช่นกัน การจั ด การป่ า ไม้ เ ป็ น โครงการพระราชดำ � ริ ซึ่ ง ได้ จากน้�ำ มันปาล์มบริสุทธิ์ เมื่อกว่ายี่สิบปีที่ผ่านมา จน พระราชทานแนวทางการดำ �เนินงานไว้เป็นจำ �นวนมาก กระทั่งได้มีการนำ�มาใช้ทางการค้าแล้วอย่างจริงจัง และได้ เช่น การปลูกป่าสามอย่าง เกิดประโยชน์สี่อย่าง การปลูก รับสิทธิบัตรอีกด้วย ซึ่งนักวิจัยในมหาวิทยาลัยขอนแก่นได้ น้ อ มนำ � แนวพระราชดำ � ริ ใ นเรื่ อ งปั ญ หาการขาดแคลน ป่าที่เริ่มจากการปลูกไม้ยืนต้นที่สันเขาก่อน การสร้าง ฝายขนาดเล็กเพื่อชะลอน้ำ� การจัดการเกษตรที่อาศัยการ น้ำ � มั น จากฟอสซิ ส ในอนาคตมาทำ � การศึ ก ษาวิ จั ย อย่ า ง บริการจากป่าไม้ (วนเกษตร) ซึ่งทำ�ให้ต้นทุนทางการเกษตร จริงจัง โดยความร่วมมือกันของคณะเกษตรศาสตร์ คณะ ลดลง การฟื้นฟูป่าไม้แบบธรรมชาติเพื่อกลับคืนสภาพ เทคโนโลยี คณะวิทยาศาสตร์ และคณะวิศวกรรมศาสตร์ ธรรมชาติที่ควรจะเป็น ซึ่งนักวิชาการในมหาวิทยาลัย เริ่มจากการหาวัตถุดิบใหม่ๆ รวมทั้งการทดลองปลูกปาล์ม ขอนแก่นได้น้อมนำ�พระราชดำ�ริดังกล่าวใส่เกล้า และนำ� น้ำ�มัน และมะกอกน้�ำ มันในมหาวิทยาลัย การหาพืช มาใช้เป็นแนวทางการศึกษาวิจัย และถ่ายทอดความรู้ให้ พลังงานชนิดอื่น มีการทดลองเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของ กับสังคมตามแนวทางอนุรักษ์วิทยา ได้แก่การปกปักรักษา กระบวนการหมักที่จะให้ได้ปริมาณของเอทานอลเพิ่มขึ้น และการสงวนพื้นที่ที่เหมาะสม การหาวิธีใช้ประโยชน์ และลดระยะเวลา ตลอดจนนำ�ไปทดลองผสมในอัตราส่วน ต่างๆ และนำ�ไปทดสอบกับเครื่องยนต์แต่ละประเภท ตลอดจนการฟื้นฟูเพื่อให้กลับคืนสู่สภาพเดิม สำ�หรับรายละเอียดของบทนี้จะแบ่งเป็น 4 ตอน คือ 1) การจัดการแหล่งน้�ำ และน้ำ�เสีย 2) การจัดการดิน 3) การจัดการป่าไม้ และ 4) การจัดการพลังงานทดแทน ดังนี้

76 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำ�ริ


1.การพัฒนาแหล่งน้�ำ ตามแนวพระราชดำ�ริ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นที่ยอมรับนับถือ กันโดยทั่วไปว่าพระองค์คือ ปราชญ์ในเรื่องน้ำ�ของแผ่น ดินอย่างแท้จริง ตลอดระยะเวลาอันยาวนานของการ ทรงงานหนั ก ตรากตรำ � อย่ า งไม่ ท รงเคยหยุ ด หย่ อ นนั้ น งานพัฒนาที่สำ�คัญยิ่งของพระองค์ คือ งานที่เกี่ยวข้องกับ “น้ำ�” ศาสตร์ทั้งปวงที่เกี่ยวกับน้�ำ ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนา และจัดหาแหล่งน้ำ� การเก็บกัก การระบาย การควบคุม การบำ�บัดน้�ำ เสียให้เป็นน้ำ�ดี ตลอดจนการแก้ไขปัญหา น้ำ�ท่วมนั้น ย่อมประจักษ์ชัด และได้พิสูจน์ให้เห็นถึงพระ อัจฉริยภาพ และพระปรีชาสามารถของพระองค์นั้นหาผู้ เสมอเหมือนได้ยากยิ่ง พระองค์ทรงให้ความสำ�คัญกับการพัฒนาทรัพยากร น้ำ�ของประเทศ ดังพระราชดำ�รัสที่พระราชทานแก่ ผู้ อำ�นวยการสำ�นักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสาน งานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำ�ริ ณ สวนจิตรลดา เมื่อวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2529 ว่า

...น้ำ�เป็นสิ่งสำ�คัญที่สุดในการงานเกษตร แม้ ดินจะไม่ดีบ้างหรือมีอุปสรรคทางด้านอื่นๆ ถ้า แก้ปัญหาในเรื่องน้ำ�ได้ เรื่องอื่นๆ จะพลอยดีขึ้น ติดตามมา...หลักสำ�คัญว่าต้องมีน้ำ�บริโภค น้ำ�ใช้ น้�ำ เพื่อการเพาะปลูก เพราะถ้ามีน้ำ� คนอยู่ได้ ถ้า ไม่มีน้ำ� คนอยู่ไม่ได้...

มหาวิ ท ยาลั ย ขอนแก่ น มี ค วามภาคภู มิ ใ จที่ เ ป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ในการสนองพระราชดำ � ริ ใ นด้ า นนี้ ค ณะ วิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นคณะ วิศวกรรมศาสตร์ แห่งแรกที่จัดตั้งขึ้นในส่วนภูมิ ภ าคโดย มี วั ต ถุ ป ระสงค์ เ พื่ อ ผลิ ต วิ ศ วกรที่ มี ทั ก ษะและมี ค วาม รู้ ที่ จำ � เป็ น ต่ อ การพั ฒ นาประเทศโดยเฉพาะอย่ า งยิ่ ง การยกระดั บ ความเป็ น อยู่ ข องประชาชนในภู มิ ภ าค ตะวั น ออกเฉี ย งเหนื อ นั บ จากอดี ต จนถึ ง ปั จ จุ บั น คณะ

วิ ศ วกรรมศาสตร์ ไ ด้ ดำ � เนิ น การเพื่ อ ตอบสนองความ ต้องการของภูมิภาคและประเทศชาติ ด้วยการผลิตบัณฑิต และผลงานทางวิชาการที่มีคุณภาพเพื่อรับใช้สังคมเรื่อย มาหนึ่งในผลงานแห่งความภาคภูมิใจนั้นคือ“สถาบันแหล่ง น้ำ � และสิ่ ง แวดล้ อ ม”ซึ่ ง ริ เริ่ ม และดำ � เนิ น งานภายใต้ ก าร บริ ห ารและดำ � เนิ น การโดยคณาจารย์ แ ละบุ ค ลากรของ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น สถาบั น แหล่ ง น้ำ � และสิ่ ง แวดล้ อ มก่ อ ตั้ ง อย่ า ง เป็นทางการเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2522 โดย มี วั ต ถุ ป ระสงค์ เ พื่ อ เป็ น สถาบั น ชั้ น นำ � ทางวิ ช าการของ ภูมิภาคในการศึกษา ค้นคว้า และวิจัย เกี่ยวกับแหล่งน้�ำ และสิ่ ง แวดล้ อ มทั้ ง ด้ า นสภาวการณ์ แ ละความต้ อ งการ แหล่ ง น้ำ � การพั ฒ นาเทคโนโลยี ที่ เ หมาะสมสำ � หรั บ การ พัฒนาและแก้ไขปัญหาแหล่งน้�ำ รวมทั้งการอนุรักษ์และ รั ก ษาสิ่ ง แวดล้ อ มให้ ส มดุ ล และยั่ ง ยื น ควบคู่ ไ ปกั บ การ พัฒนาภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สอดคล้องกับพระ ราชดำ� ริข องพระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู่ หั ว เกี่ ย วกั บ การ จัดการทรัพยากรน้ำ�เพื่อพัฒนาพื้นฐานชีวิตความเป็นอยู่ ของราษฎร ด้วยมีแนวทางพระราชดำ�ริเป็นที่ตั้ง สถาบันแหล่งน้�ำ และสิ่งแวดล้อมได้พัฒนาองค์กรให้เข้มแข็งจนเป็นที่รู้จัก และยอมรับทั้งในภูมิภาค ประเทศ และต่างประเทศ ใน ฐานะศูนย์กลางทางวิชาการที่ประกอบด้วยข้อมูลความ รู้ และเทคโนโลยี ที่จำ�เป็นต่อการพัฒนาทรัพยากรน้�ำ ใน พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยการระดมนักวิชาการ องค์ความรู้และเทคโนโลยี ตลอดจนงบประมาณ จากทั้ง ในประเทศและต่างประเทศ เพื่อดำ�เนินโครงการต่างๆ ที่ สำ�คัญได้แก่ โครงการจัดหาแหล่งน้�ำ อุปโภคบริโภคในพื้นที่ ชนบท โครงการฝายประชาอาสา โครงการบ่อเจาะประชา อาสา โครงการระบบชลประทานขนาดเล็กและการมีส่วน ร่วมของราษฎร โครงการพัฒนาลุ่มน้�ำ ขนาดเล็ก โครงการ ฟื้นฟูแหล่งน้�ำ หลักของภูมิภาค โครงการพัฒนาคุณภาพน้�ำ บริโภคในชนบท

77 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำ�ริ


การประชุมระดับต่างๆ ภายใต้การประสานงานของสถาบันแหล่งน้�ำ และสิ่งแวดล้อม เพื่อพัฒนาแหล่งน้�ำ ขนาดเล็กในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

78 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำ�ริ


การก่อสร้างระบบชลประทานขนาดเล็กและการมีส่วนร่วมของราษฎร

การพัฒนาปริมาณและคุณภาพน้ำ�เพื่อการอุปโภค บริโภคและเกษตรกรรม โดยเฉพาะในฤดูแล้ง ซึ่งเป็นผลจากโครงการของสถาบันแหล่งน้�ำ และสิ่งแวดล้อม

79 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำ�ริ


สถาบั น แหล่ ง น้ำ � และสิ่ ง แวดล้ อ มมหาวิ ท ยาลั ย ขอนแก่น มีบทบาทสำ�คัญในการผลิตผลงานวิชาการด้าน การพัฒนาแหล่งน้ำ� ผลงานที่โดดเด่นได้แก่ แบบฝาย มาตรฐาน มข. 27 ที่คงทนและง่ายต่อการก่อสร้าง แบบ ถังเก็บน้�ำ ฝน มข. 29 และเครื่องเจาะบ่อบาดาล ไทยริก 60 ที่ช่วยแก้ปัญหาขาดแคลนน้ำ�อุปโภคบริโภคของราษฎร นอกจากนี้ สถาบันแหล่งน้�ำ และสิ่งแวดล้อมยังเป็นแหล่ง

ผลิตทรัพยากรบุคคลให้แก่ภูมิภาคตลอดจนประเทศเพื่อน บ้านเพื่อส่งเสริมการพัฒนาแหล่งน้�ำ โดยการผลิตบัณฑิต ที่มีองค์ความรู้ด้านการพัฒนาแหล่งน้�ำ ผ่านการศึกษา วิจัยและโครงการค่ายอาสา นอกจากนี้ยังมีหลักสูตรการ ฝึ ก อบรมที่ จั ด ให้ แ ก่ บุ ค ลากรจากภาครั ฐ และเอกชนที่ มี บทบาทหน้าที่เกี่ยวกับการจัดการแหล่งน้ำ�ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ

คู่มือการสร้างบ่อเจาะขนาดเล็ก ฝาย มข.27 ถังเก็บน้ำ�ฝน มข.29 และเครื่องเจาะบ่อบาดาลไทยริก 60 ที่สถาบันแหล่งน้ำ�และสิ่งแวดล้อมเผยแพร่ต่อหน่วยงานราชการและชุมชน

80 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำ�ริ


คณะวิศวกรรมศาสตร์ ปัจจุบันมีนโยบายพัฒนา ทรัพยากรบุคลากรด้านการจัดการแหล่งน้ำ�และการจัดการ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนส่งเสริมด้าน ทรัพยากรทางกายภาพและงบประมาณ ตลอดจนเสริม สร้างเครือข่ายด้านการวิจัยและวิชาการทั้งในประเทศและ ต่างประเทศ เพื่อส่งเสริมกิจการของสถาบันแหล่งน้ำ�และ สิ่งแวดล้อมให้เข้มแข็งและยั่งยืนคู่กับการพัฒนาภูมิภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อสนองตอบแนวพระราชดำ�ริของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สืบไป

2. การบำ�บัดน้ำ�เสียตามแนวพระราชดำ�ริ พระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู่ หั ว ทรงมี พ ระปรี ช า สามารถในเชิงวิชาการด้านนิเวศวิทยาและการแก้ไขปัญหา ภาวะมลพิษทางน้�ำ พระองค์ทรงมีพระราชดำ�ริด้านการ บำ�บัดน้ำ�เสียเพื่อฟื้นฟูสภาพแวดล้อมในชุมชน โดยใช้ กระบวนการทางธรรมชาติ ที่เรียบง่าย ไม่สิ้นเปลือง และ ไม่รบกวนชุมชน ทำ�ให้คุณภาพน้�ำ ดีขึ้น อยู่ในระดับที่ สามารถนำ�มาใช้ประโยชน์ได้ จากปัญหาน้�ำ เน่าเสียในคลองสามเสน จังหวัด กรุงเทพมหานคร ในปี พ.ศ. 2528 พระองค์ทรงมีพระ ราชดำ�ริให้พัฒนา “บึงมักกะสัน” เพื่อรับน้ำ�เสียจากคลอง สามเสนมาบำ�บัดโดยใช้ผักตบชวาเป็น “เครื่องกรองน้�ำ ธรรมชาติ” ส่งผลให้สามารถบรรเทาปัญหาน้ำ�เน่าเสียดัง กล่าวได้ นอกจากนี้บึงมักกะสันที่ได้รับการพัฒนาปรับปรุง แล้วได้กลายสภาพจากเดิมที่มีค่าเพียงแหล่งรองรับน้�ำ เสีย มาเป็นพื้นที่สีเขียวใจกลางกรุงเทพมหานคร ที่ทำ�หน้าที่ ปรับปรุงคุณภาพน้�ำ เก็บกัก และระบายน้ำ�ในฤดูฝน ดัง พระราชดำ�รัสที่ว่าบึงมักกะสันเป็นเสมือน “ไตธรรมชาติ” ของกรุงเทพมหานคร นับจากนั้น มีการนำ�หลักการบำ�บัดน้�ำ เสียโดยวิธี ทางธรรมชาติตามแนวพระราชดำ�ริไปประยุกต์ใช้ในชุมชน ต่างๆ ทั้งในและนอก กทม. ซึ่งได้บรรเทาปัญหามลพิษ ทางน้ำ�แก่ราษฎรได้มากมาย นอกจากจะพระราชทานแนวทางในการแก้ไขปัญหา มลพิษทางน้�ำ แล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังทรงมี

พระมหากรุณาธิคุณพระราชทานทุนทรัพย์ส่วนพระองค์ ในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมอีกด้วย ชาวขอนแก่นได้ ประจักษ์ในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ในเรื่องนี้ใน คราวเสด็จเปิดอาคารวิทยาศาสตร์ 06 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เนื่องในวโรกาสเสด็จพระราชทาน ปริญญาบัตรแก่บัณฑิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ในครั้งนั้นคณะนักวิจัยของคณะวิทยาศาสตร์นำ�โดย รองศาสตราจารย์ชุติมา คูคู่สมุทร มีโอกาสนำ�เสนอผล งานวิจัยถวายให้ทอดพระเนตร โดยนำ�เสนอผลการศึกษา ผลกระทบของโรงงานอุตสาหกรรมและแหล่งเกษตรกรรม ที่มีต่อคุณภาพน้�ำ ในลำ�น้ำ�พองระหว่างปี พ.ศ. 2529 – 2530 ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าน้�ำ ในบึงโจดมีคุณภาพลดลง ต่ำ�กว่ามาตรฐานคุณภาพแหล่งน้�ำ ผิวดินทั่วไป โดยเฉพาะ น้�ำ ที่อยู่ระดับลึกลงไปแทบไม่มีออกซิเจนเลย แต่ในช่วง นั้นก็ยังไม่เคยปรากฏว่ามีการเน่าเสียของลำ�น้ำ�พองแต่ อย่างไร ในขณะที่บึงโจดเป็นแหล่งรองรับน้�ำ ทิ้งจากโรงงาน ผลิตเยื่อกระดาษและเชื่อมต่อกับลำ�น้ำ�พอง พระองค์ท่าน ทรงสนพระทัยซักถามและพระราชทานแนวพระราชดำ �ริ หลายประการ เป็นต้นว่า ให้นักวิจัยศึกษาหาแนวทางการ แก้ไขปัญหาบึงโจดเพื่อเป็นข้อเสนอแนะต่อโรงงานซึ่งเป็น สาเหตุของมลพิษทางน้�ำ ดังกล่าว หลังจากพระราชทานปริญญาบัตรและพระราชทาน พระบรมราโชวาทแก่ บั ณ ฑิ ต ใหม่ แ ละนั ก ศึ ก ษาที่ เ ฝ้ า รั บ เสด็จ พระองค์ท่านทรงมีรับสั่งหาคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ (ผู้ช่วยศาสตราจารย์วันชัย สุ่มเล็ก) เพื่อพระราชทาน พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จ�ำ นวน 20,000 บาทผ่าน คณบดีไปยังคณะนักวิจัยเพื่อดำ �เนินการศึกษาวิจัยเบื้อง ต้น โดยมีพระกระแสรับสั่งให้คณะนักวิจัยดำ�เนินการ ศึกษาแนวทางแก้ไขความเน่าเสียของน้�ำ ในบึงโจด ซึ่ง พระองค์ ท่ า นได้ พ ระราชทานแนวพระราชดำ � ริ ใ ห้ แ ก้ ปัญหาด้วยวิธีธรรมชาติคือใช้ผักตบชวาเช่นเดียวกับที่บึง มักกะสัน และหลังจากนั้นทรงโปรดให้ราชเลขาธิการและ เจ้าหน้าที่ในโครงการส่วนพระองค์ ประสานงานมายัง คณะวิทยาศาสตร์เพื่อให้คณะผู้วิจัยพร้อมด้วยคณบดีเข้า ศึกษาดูงานในโครงการพระราชดำ�ริ ณ สวนจิตรลดา บึง มักกะสัน และบึงพระรามเก้า เพื่อเป็นแนวทางในการ จัดการปัญหาน้�ำ เสียตามแนวพระราชดำ�ริ

81 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำ�ริ


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ มาทรงเยี่ยมคณะวิทยาศาสตร์

82 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำาริ


คณะผู้วิจัยซึ่งประกอบด้วย รองศาสตราจารย์ชุติมา คูคู่สมุทรและคณะ ได้ทำ�การศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการ บำ � บั ด น้ำ � เสี ย โดยใช้ ผั ก ตบชวาที่ ป ลู ก ในกรอบไม้ ไ ผ่ต าม แนวพระราชดำ�ริที่บึงมักกะสัน เมื่อได้ข้อมูลผลการบำ�บัด น้ำ � เสี ย โดยพื ช ธรรมชาติ แ ล้ ว ได้ ทำ � หนั ง สื อ แจ้ ง ให้ ท าง โรงงานทราบ นอกจากนั้นยังได้เสนอแนะให้โรงงานผลิต เยื่อกระดาษดำ�เนินการขุดลอกห้วยโจด และบึงโจด ซึ่งตื้น เขินเนื่องจากมีการทับถมของตะกอนกากปูนจากโรงงาน และกากตะกอนที่เกิดจากการทับถมของผักตบชวาที่ขึ้น หนาแน่นโดยไม่เคยมีการเก็บเกี่ยวออก เมื่อขุดลอกห้วย โจดและบึ ง โจดแล้ ว ได้ ส ร้ า งกรอบไม้ ไ ผ่ เ พื่ อ ปลู ก ผั ก ตบ ชวาประมาณร้อยละ 30 – 40 ของผิวน้�ำ ให้ผิวน้ำ�ส่วนที่ เหลือได้รับออกซิเจนจากอากาศ การเก็บเกี่ยวผักตบชวา ดำ�เนินการตามกำ�หนดเวลาโดยว่าจ้างแรงงานจากชาว บ้านในชุมชนรอบโรงงานเป็นการเพิ่มรายได้แก่ชาวบ้าน

มหาวิ ท ยาลั ย ขอนแก่ น มี ส่ ว นในการดำ � เนิ น ตาม รอยตามพระยุ ค ลบาทในการบำ � บั ด น้ำ � เสี ย ชุ ม ชนด้ ว ย เทคโนโลยีที่เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ ในปี พ.ศ. 2550 อาจารย์จากภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะ วิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประกอบด้วย รองศาสตราจารย์วันเพ็ญ วิโรจนกูฏ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ เนตรนภิส ตันเต็มทรัพย์ มีส่วนร่วมกับนักวิชาการจาก สำ�นักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 10 และมหาวิทยาลัยเชียน นาน ประเทศไต้หวัน ในการออกแบบและควบคุมการ ก่อสร้างระบบบำ�บัดน้ำ�เสียแบบบึงประดิษฐ์ ตามแนวพระ ราชดำ�ริ ให้แก่ เทศบาลตำ�บลเขื่อนอุบลรัตน์ อ.อุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น เพื่อถวายเป็นราชสดุดีเนื่องในวโรกาสฉลอง สิริราชสมบัติครบ 60 ปี ภายใต้งบประมาณสนับสนุน จากสำ�นักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม กระทรวง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

นอกจากการดำ�เนินการดังกล่าว คณะผู้วิจัยยังได้ เสนอแนะให้โรงงานสร้างบ่อพักน้ำ �ทิ้งหลังบำ�บัดเพื่อกัก ตะกอนจนน้ำ�ทิ้งใสจึงปล่อยลงห้วยโจดและบึงโจด เพื่อ ให้ห้วยโจดและบึงโจดไม่ตื้นเขิน ซึ่งโรงงานได้รับข้อเสนอ แนะแล้วแต่ยังมิได้ปฏิบัติทันทีในตอนนั้น เนื่องจากการ ปรับปรุงจำ�เป็นต้องใช้เงินจำ�นวนมาก แต่โรงงานได้ทยอย ทำ�เป็นระยะๆ ซึ่งใช้เวลาหลายปี จนกระทั่งช่วงหลายปี มานี้ไม่เกิดปัญหาการเน่าเสียของน้ำ�พองที่รุนแรงเหมือน ที่ผ่านมา สิ่งแวดล้อมบริเวณบึงโจดมีคุณภาพดีขึ้น จนพบ ว่ามีปลาอาศัยอยู่มากขึ้น และผักตบชวาไม่ขึ้นแน่นเต็ม บึงดังที่เคยเป็นมาก่อน และที่สำ�คัญคือทำ�ให้ประชาชน ที่อาศัยอยู่ท้ายน้ำ�ของลำ�น้ำ�พองไม่ได้รับผลกระทบจาก มลพิษทางน้ำ�และสามารถใช้ชีวิตได้อย่างเป็นปกติสุข พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีความสนพระทัย ในการศึ ก ษาวิ จั ย เพื่ อ ให้ มี ก ารพั ฒ นาการบำ � บั ด น้ำ � เสี ย จากชุมชนด้วยเทคโนโลยีที่ง่ายอยู่เสมอ โดยในปี พ.ศ. 2533 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งโครงการวิจัย และพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ยตามแนวพระราชดำ�ริ จ.เพชรบุรี และหนึ่งในโครงการศึกษาวิจัยคือระบบบำ�บัด น้ำ � เสี ย ชุ ม ชนที่ ใช้ ร ะบบธรรมชาติ เ ป็ น ตั ว กำ � จั ด ความ สกปรก และยังเป็นการสร้างพื้นที่สีเขียวที่เป็นส่วนหนึ่ง ของธรรมชาติได้อย่างสวยงาม

83 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำ�ริ


พิธีเปิดระบบบำ�บัดน้�ำ เสียแบบธรรมชาติบำ�บัด โดยมีนายศักดิ์สิทธิ์ ตรีเดช ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นประธาน แต่เดิมเทศบาลตำ�บลเขื่อนอุบลรัตน์มีปัญหาเรื่องน้ำ� เน่าเสียเช่นเดียวกับชุมชนขนาดใหญ่อื่นๆ เนื่องจากไม่มี การบริหารจัดการระบบน้ำ�เสียที่ดี ก่อให้เกิดการท่วมขัง และเน่าเสียเรื้อรังในระบบรวบรวมน้ำ�เสียเดิม ในฐานะขุม พลังปัญญาของภูมิภาค มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้ให้ค�ำ ปรึกษาแก่เทศบาลตำ�บลเขื่อนอุบลรัตน์ ร่วมกับสำ�นักงาน สิ่งแวดล้อมภาคที่ 10 และมหาวิทยาลัยเชียนนาน ประเทศ ไต้หวัน และจากการระดมสมองได้ข้อสรุปว่า เทศบาล ตำ�บลเขื่อนอุบลรัตน์ควรปรับปรุงระบบรวบรวมน้ำ�เสียเดิม ให้เป็น “ระบบบำ�บัดน้ำ�เสียแบบธรรมชาติบำ�บัด” ทั้งนี้ ได้แรงบันดาลใจจากโครงการวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อม ตามแนวพระราชดำ�ริแหลมผักเบี้ย ที่ใช้ระบบธรรมชาติใน การบำ�บัดน้ำ�เสียได้อย่างประหยัด มีประสิทธิภาพ และ

สามารถใช้เป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจได้ เมื่ อ ได้ ข้ อ สรุ ป ว่ า จะยึ ด แนวทางตามแนวพระ ราชดำ�ริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เทศบาลตำ�บล เขื่อนอุบลรัตน์จึงได้ขออนุมัติงบประมาณจากกระทรวง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จำ�นวน 2.7 ล้าน บาท เพื่อมาดำ�เนินการก่อสร้างระบบบำ�บัดน้ำ�เสียบน เนื้อที่ 7 ไร่ เริ่มจากการขุดลอกร่องระบายน้ำ�เดิมให้เป็น บ่อรูปทรงต่างๆ กว่า 10 บ่อ โดยมีความลึกประมาณ 1 เมตร แล้วสร้างทางเชื่อมต่อกันระหว่างบ่อ ปูทับพื้นบ่อ ด้วยแผ่นยางเพื่อป้องกันน้�ำ เสียซึมลงดิน จากนั้นนำ�เอา หินแกรนิตขนาดต่างๆ ใส่ลงไปในบ่อเพื่อเป็นตัวกรอง น้ำ�เสียที่ไหลลงซอกหินอีกชั้นหนึ่ง แล้วนำ�วัชพืชที่เติบโต

84 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำ�ริ


ในน้�ำ ตื้นได้ดีและหาได้ง่ายตามธรรมชาติ เช่น กกชนิด ต่างๆ พุทธรักษา บอน ผักตบชวา ธูปฤๅษี ฯลฯ มาปลูก ในบ่อเพื่อดูดซึมน้�ำ เสีย ขั้นตอนสุดท้ายคือนำ�หญ้าแฝกมา ปลูกไว้รอบบ่อเพื่อป้องกันตลิ่งพัง ขณะที่พื้นที่โดยรอบ ได้ออกแบบให้เป็นสวนสาธารณะเพื่อให้ประชาชนได้พัก ผ่อนหย่อนใจ ซึ่งเป็นการใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

สอบคุณภาพน้ำ�ตามหลักวิชาการก็พบว่า ระบบบำ�บัดมี ประสิทธิภาพในการกำ�จัดสารอินทรีย์ในรูปบีโอดี ร้อยละ 75 ไนโตรเจน ร้อยละ 95 และฟอสฟอรัส ร้อยละ 99 น้�ำ เสียที่ไหลผ่านการบำ�บัดจะใสสะอาดและสามารถปล่อย ลงสู่แหล่งน้�ำ ธรรมชาติได้เลย

บ่อบำ�บัดน้�ำ เสียของเทศบาลตำ�บลเขื่อนอุบลรัตน์ อำ�เภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น

หลั ก การสำ � คั ญ ของการบำ � บั ด น้ำ � เสี ย ด้ ว ยวิ ธี นี้ คื อ การเชื่อมต่อระหว่างบ่อที่สร้างขึ้นเป็นการสร้างระบบไหล เวียนน้ำ�เสีย โดยน้�ำ เสียจะซึมลงผ่านก้อนหินและวัชพืชที่ ปลูกไว้ตามบ่อไหลเวียนไปเรื่อยๆ จนไปถึงบ่อผึ่งพักน้�ำ ซึ่งเป็นบ่อสุดท้ายหลังการบำ�บัดโดยธรรมชาติ เมื่อตรวจ

สภาพพื้นที่รอบระบบบำ�บัดน้ำ�เสีย ซึ่งออกแบบ เป็นสวนสาธารณะ เพื่อเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ

85 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำ�ริ


นอกจากบ่ อ บำ � บั ด ที่ มี ก ารออกแบบไว้ อ ย่ า ง สวยงามแล้ว พื้นที่โดยรอบได้จัดให้เป็นสวนสาธารณะ เพื่อประชาชนได้ใช้เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ และยัง เป็นการใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด หลังจากใช้วิธีบำ�บัด น้�ำ เสียแบบธรรมชาติบำ�บัดมาตั้งแต่กลางปี พ.ศ. 2550 เป็นต้นมา ปัญหามลพิษทางน้�ำ ของเทศบาลตำ�บลเขื่อน อุบลรัตน์ได้หมดไป ส่งผลให้คนในชุมชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี ขึ้น โดยมีส่วนราชการจำ�นวนมากให้ความสนใจเข้าศึกษา ดูงานอย่างต่อเนื่อง และหลายหน่วยงานได้น�ำ แนวคิดที่ได้ รับจากการศึกษาดูงานไปประยุกต์ใช้กับการบำ�บัดน้ำ�เสีย ในชุมชนของตนเอง ซึ่งแต่ละแห่งได้ยืนยันว่าระบบบำ�บัด น้ำ�เสียโดยใช้ระบบธรรมชาติที่สร้างขึ้นนั้นทำ�งานได้ผล เป็นอย่างดี

3. การอนุรักษ์ทรัพยากรดิน

...หญ้าแฝกที่ปลูกโดยหลักวิธีดังนี้ จะช่วย ป้องกันการพังทลายของหน้าดิน รักษาความชุ่ม ชื้นในดิน เก็บกักตะกอนดินและสารพิษต่างๆ ไม่ ให้ไหลลงแหล่งน้ำ� ซึ่งจะอำ�นวยผลเป็นประโยชน์ อย่างยิ่งแก่การอนุรักษ์ดินและน้�ำ ตลอดจนการ ฟื้นฟูดินและป่าไม้ให้สมบูรณ์ขึ้น...

พระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ณ อาคารจักรพันธ์เพ็ญศิริ วันศุกร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2540 แนวทางพระราชดำ � ริ ที่ ท รงพระราชทานเกี่ ย วกั บ หญ้าแฝกนี้เองเป็นแรงบันดาลใจแก่โครงการศึกษาวิจัย ของนักวิชาการในมหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อแก้ไขปัญหา สิ่งแวดล้อมที่ส่งผลกระทบต่อการทำ�กินของราษฎร อัน ได้แก่ดินขาดสารอาหาร ดินเค็ม ตลอดจนแหล่งน้�ำ เน่าเสีย และตื้นเขิน

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงสนพระทัยใน การศึ ก ษาค้ น คว้ า และทดลองเพื่ อ หาวิ ธี ฟื้ น ฟู คุ ณ ภาพ ทรัพยากรดินและใช้ทรัพยากรดินให้เกิดประโยชน์สูงสุด และยั่งยืน โดยได้ทรงพระราชทานแนวทางการอนุรักษ์ ฟื้นฟูและจัดการทรัพยากรดินเรื่อยมา ด้วยทรงมุ่งหวังที่ จะช่วยบรรเทาปัญหาเกี่ยวกับที่ดินทำ�กินของราษฎร ทั้ง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 คณะผู้วิจัยจากคณะเกษตรศาสตร์ ในประเด็นการขาดที่ดินทำ�กินและที่ดินทำ�กินที่เสื่อมโทรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประกอบด้วยรองศาสตราจารย์ อั น เป็ น อุ ป สรรคต่ อ การพั ฒ นาชี วิ ต ความเป็ น อยู่ ข อง สันติภาพ ปัญจพรรค์ ดร.มงคล ต๊ะอุ่น และนางสาวพัชรี ราษฎร และส่งผลกระทบถึงการพัฒนาประเทศโดยรวม ธีรจินดาขจร ได้ร่วมศึกษาวิจัยความสามารถของหญ้าแฝก พระองค์ท่านทรงพระราชทานหลักการสำ�คัญของ พันธุ์ต่างๆ ในการดูดยึดธาตุอาหาร การเพิ่มความอุดม การฟื้นฟูและพัฒนาที่ดินทำ�กิน ซึ่งได้แก่การสร้างระบบ สมบูรณ์ของดิน และการฟื้นฟูดินเค็ม รวมทั้งการฟื้นฟู ธรรมชาติ เ พื่ อ อนุ รั ก ษ์ แ ละป้ อ งกั น การพั ง ทลายของดิ น แหล่งน้�ำ ที่มีปัญหามลพิษด้วย บำ�รุงความอุดมสมบูรณ์ของดิน และรักษาน้ำ�ไว้ในดิน ทั้งนี้ ทรงพระราชทานพระราชดำ�ริให้มีการศึกษาทดลองเกี่ยว กับการสร้างระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ�ด้วยหญ้าแฝก ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2534 จนกระทั่งในปัจจุบันพื้นที่ดินมากมายที่เคย ใช้ประโยชน์ไม่ได้ กลับถูกพลิกฟื้นให้กลายเป็นแหล่งข้าว ปลาอาหารที่อุดมสมบูรณ์ อันเป็นผลจากโครงการตาม แนวทางพระราชดำ�ริที่ใช้หญ้าแฝก แสดงให้เห็นถึงพระ ปรีชาญาณที่ทรงหยั่งรู้ในประโยชน์อันมหาศาลของหญ้า แฝก ดังพระกระแสรับสั่งเกี่ยวกับหญ้าชนิดนี้ว่า

86 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำ�ริ


การศึกษาเกี่ยวกับการบำ�บัดน้ำ�เสีย

หญ้าแฝกเป็นพืชที่ทนทาน แข็งแรง เจริญเติบโตด้วย วิธีการแตกกอ ส่วนการกระจายพันธุ์ด้วยเมล็ดมีน้อย หรือ แทบไม่มีเลย จึงไม่อยู่ในลักษณะของวัชพืชร้ายแรง ใน ขณะที่สามารถแตกกอเป็นจำ�นวนมากและขึ้นเบียดเสียด กันอย่างหนาแน่น โดยลำ�ต้นตั้งตรง มีลักษณะเป็นพุ่ม ใบ ยาว ตั้งขึ้นสูง มักขึ้นเป็นกลุ่มใหญ่หรือขึ้นในบริเวณใกล้

เคียงกัน โคนกอเบียดกันแน่นและมีขนาดใหญ่ สามารถ ตั ด ต้ น และใบให้ แ ตกหน่ อ ใหม่ เขี ย วสดอยู่ เ สมอต้ น และ ใบใช้ เ ป็ น วั ส ดุ ค ลุ ม ดิ น รั ก ษาความชุ่ ม ชื้ น และเพิ่ ม แร่ ธ าตุ ให้แก่ดินเมื่อย่อยสลายแล้ว หญ้าแฝกมีระบบรากที่เป็น แบบรากฝอย ปลายรากมีลักษณะคล้ายฟองน้�ำ ห่อหุ้ม ทำ�ให้เก็บความชื้นไว้ในดินได้ดี ในขณะที่รากฝอยสาน

87 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำ�ริ


กันแน่นจึงสามารถยึดเหนี่ยวดินได้ดี รากของหญ้าแฝก สามารถดูดซึมสารพิษต่างๆ เช่น โลหะหนัก สารเคมี ที่ ตกค้างในดินได้ดีอีกด้วย เนื่องจากจากคุณสมบัติเหล่านี้ คณะผู้ วิ จั ย ได้ ดำ �เนินการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการใช้ ห ญ้ า แฝกพันธุ์ต่างๆ อันได้แก่ หญ้าแฝกลุ่ม (พันธุ์ศรีลังกาและ พันธุ์สงขลา 3) และหญ้าแฝกดอน (พันธุ์ร้อยเอ็ดและพันธุ์ ประจวบคีรีขันธ์) ในการแก้ไขปัญหาความเสื่อมโทรมของ ที่ดินและแหล่งน้�ำ ในท้องถิ่น จากการศึกษาวิจัยสรุปได้ว่า หญ้าแฝกสามารถ เจริญเติบโตได้เมื่อได้รับอัตราธาตุอาหาร (โพแทสเซียม ไนโตรเจน แคลเซียม ซัลเฟอร์ แมกนีซียม และฟอสฟอรัส) สูงถึง 8 เท่าของสูตรอาหารปกติที่ใช้กันทั่วไปในการเพาะ ปลูก แสดงให้เห็นว่าหญ้าแฝกสามารถดูดยึดธาตุอาหาร จากดินได้ดี ซึ่งหมายถึงความสามารถในการเก็บรักษา ความอุดมสมบูรณ์ของดินไว้ได้นั่นเอง นอกจากนี้ยังพบ ว่ารากของหญ้าแฝกมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงค่าความเป็น กรดเป็นด่าง (pH) ในดิน ส่งผลดีในด้านการช่วยเพิ่มความ เป็นประโยชน์ของสารอาหารให้แก่พืชในพื้นที่ดินเค็มได้ ในขณะที่หญ้าแฝกเองมีความทนเค็ม จึงช่วยปรับสภาพ ดินเค็มและดินทรายในภาคตะวันออกเฉียงเหนืออย่างได้ ผล เมื่ อ หญ้ า แฝกตายลงพบว่ า สามารถคื น ความอุ ด ม สมบูรณ์ให้แก่ดินได้ในปริมาณสูง โดยใน 1 ปี รากของ หญ้ า แฝกทุ ก พั น ธุ์ ที่ ศึ ก ษามี ค่ า การย่ อ ยสลายเฉลี่ ย ร้อยละ 66.8 โดยธาตุอาหารที่ถูกปลดปล่อยสู่ดินใน ปริมาณที่สูงได้แก่ ไนโตรเจน โพแทสเซียม ฟอสฟอรัส ซึ่ง อยู่ในกลุ่มธาตุอาหารหลัก รวมทั้งเหล็ก แมงกานีส โบรอน และทองแดง ซึ่งอยู่ในกลุ่มธาตุอาหารเสริมหรือจุลธาตุ นอกจากผลการศึกษาวิจัยที่แสดงให้เห็นว่าการปลูก หญ้าแฝกสามารถลดปัญหาการชะล้างพังทลายลงสู่แหล่ง น้�ำ จากตลิ่งที่เป็นดินเค็มแล้ว คณะผู้วิจัยได้สร้างนวัตกรรม ใหม่เพื่อใช้หญ้าแฝกให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยประยุกต์ ใช้คุณสมบัติที่ดีของหญ้าแฝกในการปรับปรุงคุณภาพน้ำ� ในแหล่งน้ำ� นวัตกรรมดังกล่าวได้แก่ โครงสร้างพยุงหญ้า แฝก การเตรียมต้นกล้าและเพาะเลี้ยงหญ้าแฝก และการ ประยุกต์ใช้และดูแลรักษาหญ้าแฝกระหว่างการใช้บำ �บัด น้ำ�เสีย

การฟื้นฟูคุณภาพแหล่งน้�ำ ด้วยหญ้าแฝก

88 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำ�ริ


ผลจากการทดลองใช้การฟื้นฟูแหล่งน้ำ�ด้วยหญ้าแฝก สรุปได้ว่า หญ้าแฝกสามารถเจริญเติบโตได้เป็นเวลานาน ถึง 1 ปีในแหล่งน้ำ�ที่รองรับน้ำ�เสียและมีปัญหามลพิษทาง น้�ำ โดยมีการเจริญเติบได้ดี รวมทั้งทำ�หน้าที่กรองความ สกปรกในน้ำ� วัดค่าประสิทธิภาพการลดความสกปรกใน รูปบีโอดีได้ประมาณร้อยละ 80

4. การจัดการทรัพยากรธรรมชาติป่าไม้ แนวพระราชดำ�ริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถเกี่ยวกับการ อนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้และน้�ำ มีมากมาย และทรงคุณค่า ยิ่ ง ที่ ส ร้ า งสำ � นึ ก ให้ เ ห็ น คุ ณ ค่ า และหวงแหนการอนุ รั ก ษ์ ทรัพยากรธรรมชาติ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้มีพระราช เสาวนีย์กับผู้ใกล้ชิดเมื่อครั้งเสด็จบ้านถ้ำ� อำ�เภอส่องดาว จังหวัดสกลนคร ว่า

...พระเจ้าอยู่หัวเป็นน้ำ� ฉันจะเป็นป่า ป่าที่ จงรักภักดีต่อน้�ำ พระเจ้าอยู่หัวสร้างอ่างเก็บน้ำ� ฉันจะสร้างป่า...

พื้นที่สีเขียว ที่มีป่าอุดมสมบูรณ์ เป็นปอดที่ฟอกมลพิษ และให้อากาศบริสุทธิ์แก่ชาวขอนแก่น เป็นเสมือนโอเอซิส ของคนอีสาน และเป็นสถานที่ๆ ประชาชนสามารถเข้ามา ใช้ประโยชน์ได้ โดยมีการดำ�เนินกิจกรรมหลัก ดังนี้ • กิ จ ก ร ร ม ป ก ปั ก รั ก ษ า ท รั พ ย า ก ร ป่ า ไ ม้ ที่ เหลื อ อยู่ แ ละสร้ า งจิ ต สำ � นึ ก ในการหวงแหน ทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้จัด นิทรรศการ “ไม้ของพ่อ บนมอดินแดง” โดยนำ� ภาพของต้นไม้ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงปลูกไว้เมื่อคราวเสด็จฯ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จำ�นวน 3 ต้น คือ ต้นกัลปพฤกษ์ ณ คณะ เกษตรศาสตร์ เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2510 ต้นประดู่แดง ณ คณะศึกษาศาสตร์ เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2517 และ ต้นกัลปพฤกษ์ ณ คณะ ทันตแพทยศาสตร์ เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2533 โดยนำ�มาจัดนิทรรศการให้ประชาชนได้ ชื่นชมพระบารมี และชื่นชมความเจริญงอกงาม ของต้นไม้ทรงปลูก พร้อมด้วยนิทรรศการเพื่อให้ ข้อมูลการบริหารจัดการพื้นที่ของมหาวิทยาลัย ด้านสิ่งแวดล้อมและการอนุรักษ์ ซึ่งมีผู้สนใจเข้า ชมจำ�นวนมาก

สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรง ตระหนักถึงปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรป่าไม้ซึ่ง นำ�ไปสู่การขาดแคลนน้�ำ ทรงมีรับสั่งให้คนไทยทุกคนช่วย กันรักษาดูแลผืนดินให้สมกับที่ได้อยู่อาศัยมาด้วยความ สุข ให้รู้จักคุณค่าในทรัพยากรที่สำ�คัญ ช่วยกันรักษาสิ่ง แวดล้อม อย่าตัดไม้ท�ำ ลายป่า ช่วยกันปลูกป่า ทรงย้ำ�ว่า อยากมีน้ำ�ต้องไม่ตัดป่า เพื่อสนองแนวพระราชดำ�ริ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มีการตั้งคณะกรรมการด้านการใช้ประโยชน์และการดูแล พื้นที่ป่าไม้ภายในมหาวิทยาลัย เพื่อกำ�กับนโยบายให้เกิด ประสิทธิภาพสูงสุด จนทำ�ให้ปัจจุบันพื้นที่มหาวิทยาลัย ขอนแก่นที่ในอดีตเป็นผืนดินที่แห้งแล้ง กลับกลายเป็น

89 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำ�ริ


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงปลูกต้นกัลปพฤกษ์ ที่คณะเกษตรศาสตร์ พ.ศ. 2510

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงปลูกต้นประดู่แดง ที่คณะศึกษาศาสตร์ พ.ศ. 2517

90 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำาริ


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงปลูกต้นกัลปพฤกษ์ ที่คณะทันตแพทยศาสตร์ พ.ศ. 2533

กิจกรรมเพิ่มพื้นที่ป่าไม้ โดยให้บุคลากรและนักศึกษา ได้มีส่วนร่วมในการปลูกป่า โครงการ “พลิกฟื้นผืนป่า ด้วยพระบารมี มหกรรมการปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เข้าสู่ปีที่ 60 แห่งการบรม ราชาภิเษก” ซึ่งในส่วนของมหาวิทยาลัยขอนแก่นได้มีแผน งานในการปลูกป่า ทั้งป่าเบญจพรรณ และป่าสัญลักษณ์ มหาวิทยาลัยคือการปลูกป่าต้นกัลปพฤกษ์ โดยปลูก บริเวณแปลงปลูกแฟลตป่าดู่ และบริเวณโดยรอบสนาม กีฬาสีฐาน รวมถึงสองฝั่งถนนด้านหลังแปลงเกษตร โดย ปลูกพรรณไม้ 9 ชนิด ได้แก่ กัลปพฤกษ์ ตะเคียนทอง ประดู่ป่า พะยอม พยุง มะค่าโมง ยางนา อินทนิลน้ำา และ มะหาด คณะเกษตรศาสตร์ ร่วมใจปลูกป่า เพิ่มพื้นที่สีเขียว

ให้มหาวิทยาลัยขอนแก่น ถวายเป็นพระราชกุศล แด่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถในโครงการ “เกษตรเพิ่มพื้นที่สีเขียว ในมหาวิทยาลัยขอนแก่น ปลูกต้นไม้รอบบึงหนองไผ่ ลด ภาวะโลกร้อน” เมื่อวันเสาร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2552 ซึ่ง มีบุคลากร และนักศึกษา คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัย ขอนแก่น ร่วมกันปลูกต้นไม้รอบบึงหนองไผ่ ลดภาวะโลก ร้อน โดยปลูกต้นไม้จำานวน 2,552 ต้น เพื่อทดแทนต้นไม้ เดิมที่ตายไป เพิ่มต้นไม้ใหญ่ที่ให้ร่มเงามากขึ้น และเพิ่ม ต้นไม้สัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น โครงการ “ปลูกต้นไม้ ถวายสมเด็จย่า เนื่องในวัน ศรีนครินทร์” ระหว่างวันที่ 14 - 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

91 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำาริ


• กิจกรรมการวิจัย เสื่อมโทรม

การอนุรักษ์

และฟื้นฟูป่า

มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ทำ�การวิจัย การอนุรักษ์ และฟื้ น ฟู ป่ า เสื่ อ มโทรมโดยเข้ า ร่ ว มในโครงการอนุ รั ก ษ์ พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำ�ริ สมเด็จพระเทพ รัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) ซึ่งดำ�เนิน การหลักใน 2 กรอบกิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมการปกปัก พันธุกรรมพืช การปลูกรักษาพันธุกรรมพืช และการอนุรักษ์ และใช้ประโยชน์พันธุกรรมพืช โดยพื้นที่ซึ่งมหาวิทยาลัย ขอนแก่นเข้าร่วมสนองพระราชดำ�ริ ได้แก่ พื้นที่ปกปัก พันธุกรรมพืช พื้นที่โคกภูตากา อำ�เภอเวียงเก่า จังหวัด ขอนแก่น และพื้นที่ปกปักพันธุกรรมพืช ซึ่งการไฟฟ้าฝ่าย ผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้น้อมเกล้าฯ ถวายแด่ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อ ร่วมสนองพระราชดำ�ริในโครงการฯ ได้แก่ เขื่อนจุฬาภรณ์ และเขื่อนห้วยกุ่ม จังหวัดชัยภูมิ เขื่อนอุบลรัตน์ จังหวัด ขอนแก่น และเขื่อนสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี โดยแต่ละ พื้นที่มีการศึกษาทั้งทรัพยากรกายภาพ และชีวภาพ ตลอด จนความสัมพันธ์ระหว่างกัน เพื่อประโยชน์ในการอนุรักษ์ ทรัพยากร และการใช้ประโยชน์ของทรัพยากรอย่างยั่งยืน ซึ่ ง ผลการศึ ก ษาพบว่ า ในพื้ น ที่ โ คกภู ต ากามี พั น ธุ์ พื ช ที่ มี ท่อลำ�เลียง จำ�นวน 81 วงศ์ 199 สกุล 253 ชนิด และเป็น ชนิดที่สามารถนำ�มาบริโภค 37 วงศ์ 66 ชนิด และยังพบ กลุ่มจุลินทรีย์ เห็ด-รา อีกจำ�นวนมาก ขณะนี้อยู่ระหว่าง สรุปการค้นพบในบริเวณเขื่อนจุฬาภรณ์ และจะทำ�การ ศึกษาในพื้นที่เขื่อนอื่นๆ ต่อไป

กิจกรรมปลูกป่าเพิ่มพื้นที่สีเขียวโดยคณาจารย์ บุคลากร และนักศึกษาคณะเกษตรศาสตร์ที่บึง หนองไผ่

92 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำ�ริ


ความหลากหลายชนิดของพืช และสัตว์ ในพื้นที่ ปกปักพันธุกรรมพืชของเขื่อนในภาคตะวันออก เฉียงเหนือ

กิจกรรมสำ�รวจความหลากหลายทรัพยากรกายภาพ และชีวภาพในโครงการอพ.สธ.มข.

93 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำ�ริ


5. มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับแนวพระราชดำ�ริ เกี่ยวกับพลังงานทดแทน

สภาวการณ์ราคาน้ำ�มันที่สูงขึ้นมากในระยะที่ผ่านมา สะท้อนให้เห็นถึงพระอัจฉริยภาพในพระวิสัยทัศน์ที่กว้าง ไกลมาก พระวิริยะอุตสาหะในการวิจัยค้นหาพลังงาน ภาวะราคาน้ำ�มันดิบในตลาดโลกที่พุ่งทะยานสูง ทดแทนเพื่ อ เป็ น ทางเลื อ กในยามคั บ ขั น โดยใช้ ผ ลผลิ ต ขึ้นอย่างไม่ลดละติดต่อกันยาวนาน จากราคาบาร์เรล ทางการเกษตรภายในประเทศ ละ 35 เหรียญสหรัฐ เป็นบาร์เรลละประมาณ 70 เหรียญ นับเป็นความโชคดีอย่างยิ่งของประชาชนชาวไทย สหรัฐในปัจจุบัน อันมีสาเหตุพื้นฐานจากแหล่งน้�ำ มันดิบ ในโลกมีแนวโน้มลดลง มีผู้คาดกันว่าจะมีน้ำ�มันเหลือใช้ไม่ ที่ ไ ด้ เ กิ ด และอาศั ย อยู่ ภ ายใต้ พ ระบรมโพธิ ส มภารใน ถึง 50 ปี ในขณะที่อุปสงค์มีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วใน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวผู้ทรงเปี่ยมด้วยพระเมตตา และพระปรีชาสามารถ พระวิสัยทัศน์ด้านพลังงานทดแทน ระยะเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมา ที่ทรงเริ่มต้นศึกษาวิจัยขึ้นเมื่อ 20 ปีที่แล้ว ในขณะที่ ราคาน้�ำ มันดิบในตลาดโลกมีราคาสูงขึ้น ทำ�ให้ปัจจุบัน ...น้ำ�มันสมัยใหม่แพง ไม่รู้ทำ�ไมมันแพง แต่ ประชาชนชาวไทยได้มีทางเลือกในการใช้พลังงานทดแทน ก็ยังไงเป็นสมัยนี้อะไรๆ ก็แพงขึ้นทุกที จะให้ ที่คนไทยสามารถผลิตได้เอง สามารถลดปริมาณการนำ� น้ำ�มันถูกลงมาก็ลำ�บาก นอกจากหาวิธีที่จะทำ� เข้าได้เป็นจำ�นวนมาก พลังงานทดแทนที่พระบาทสมเด็จ น้ำ�มันราคาถูกซึ่งก็ท�ำ ได้เหมือนกัน ถูกกว่านิด พระเจ้าอยู่หัว ทรงเริ่มต้นศึกษาวิจัยและพัฒนาจนสามารถ นำ�ผลการศึกษาวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ และมี หน่อยคือ แทนที่จะใช้น�้ำ มันที่มีออกเทน 95 ก็ ส่วนสำ�คัญในการลดปัญหาวิกฤติการณ์ด้านพลังงานของ ใช้ออกเทน 91 แล้วก็เติมแอลกอฮอล์เข้าไปนิด ประเทศลง ประกอบด้วย พลังงานทดแทน แก๊สโซฮอล์ หนึ่ง ก็เป็นออกเทน 95 อาจเป็นได้ว่ารถจะวิ่งไม่ ดีโซฮอล์ และน้ำ�มันปาล์มบริสุทธิ์

เร็วก็ดีเหมือนกัน รถไม่วิ่งเร็วเกินไป รถจะได้ไม่ งานทดลองผลิ ต ภั ณ ฑ์ เชื้ อ เพลิ ง แก๊ ส โซฮอล์ เริ่ ม ต้ น ชนมากเกินไป ก็จะช่วยประหยัดทั้งหมดนี้เป็น ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2528 เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ความคิดที่ให้พอเพียง... เสด็จพระราชดำ�เนินทรงตรวจเยี่ยมโครงการส่วนพระองค์ ...พูดแบบคนไม่รู้เรื่อง ไม่รู้เรื่องการคลังการ สวนจิตรลดา และมีพระราชดำ�รัสให้ศึกษาต้นทุนการผลิต แอลกอฮอล์ (เอทิลแอลกอฮอล์หรือเอทานอล) จากอ้อย เศรษฐกิจ แต่ว่าลองนึกดูถ้าสมมติว่า ใช้ของที่ เพราะในอนาคตอาจเกิดภาวะน้ำ�มันขาดแคลนหรือราคา ทำ�ในเมืองไทย ทำ�ในประเทศได้เองแล้วก็ทำ�ได้ อ้อยตกต่�ำ การนำ�อ้อยมาแปรรูปเป็นเอทานอลเพื่อใช้เป็น ดีมาก อ้อยที่ปลูกที่ต่างๆ เขาบ่นว่ามีมากเกิน พลังงานทดแทน จึงเป็นแนวทางหนึ่งที่จะแก้ปัญหานี้ได้ ไปขายไม่ได้ ราคาตก เราก็ไปซื้อในราคาที่ดีพอ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานเงินทุนวิจัย สมควร มาทำ�แอลกอฮอล์แล้วผู้ที่ปลูกอ้อยก็ได้ ใช้ในการดำ�เนินงาน 925,500 บาท เพื่อใช้ในการจัดสร้าง อาคารและอุปกรณ์ต่าง ๆ ในขั้นต้น เงิน ผู้ที่ทำ�แอลกอฮอล์ก็ได้เงิน...

พระราชดำ�รัสในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ พระราชทานแก่ผู้เข้าเฝ้าฯ ถวายพระพรชัยมงคล เนื่องใน วโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวาคม พ.ศ. 2543

94 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำ�ริ


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ ทรงตรวจเยี่ยมโรงงานผลิตภัณฑ์เชื้อเพลิงแก๊สโซฮอล์ ในโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา

ต่อมาในวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2529 พระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตน ราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำาเนินทรง เปิดอาคารโครงการค้นคว้าน้ำามันเชื้อเพลิงและเริ่มผลิต เอทานอลจากอ้อย

เอทานอลที่ ผ ลิ ต ได้ จ ากโครงการส่ ว นพระองค์ สวนจิตรลดา ได้นำาไปทดสอบผสมกับน้ำามันเบนซิน ใน อัตราส่วนเอทานอลต่อเบนซินเท่ากับ 1 : 4 เชื้อเพลิงผสม ที่ได้เรียกว่า น้ำามันแก๊สโซฮอล์ น้ำามันแก๊สโซฮอล์ที่ผลิต ได้นั้น ไปใช้เป็นน้ำามันเชื้อเพลิงสำาหรับรถยนต์ทุกคันของ นอกเหนือจากอ้อยแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โครงการฯ ที่ใช้น้ำามันเบนซิน โครงการนี้เป็นหนึ่งใน ยังทรงศึกษาถึงวัตถุดิบชนิดอื่นด้วย เช่น กากน้ำาตาล โครงการเฉลิมพระเกียรติเนื่องในมหามงคลวโรกาสเสด็จ นอกจากนี้ ทรงศึกษาค้นคว้าเพื่อปรับปรุงและพัฒนา เถลิงถวัลยราชสมบัติ 50 ปี ของสำานักพระราชวัง กระบวนการผลิต เพื่อทำาให้ต้นทุนในการผลิตเอทานอล วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2539 การปิโตรเลียมแห่ง ลดลง และให้ได้เอทานอลที่บริสุทธิ์ขึ้น เช่น การปรับปรุง ประเทศไทยได้น้อมเกล้าฯ ถวายสถานีบริการแก๊สโซฮอล์ หอกลั่ น เอทานอลให้ ส ามารถกลั่ น เอทานอลที่ มี ค วาม เพื่อให้ความสะดวกกับรถยนต์ที่ใช้แก๊สโซฮอล์ในโครงการ บริสุทธิ์ร้อยละ 95 ส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา ต่อมาวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2540 โครงการส่วนพระองค์ฯ ร่วมกับการปิโตรเลียมแห่ง

95 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำาริ


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ ทอดพระเนตรการผลิตเอทานอลจากอ้อย

ประเทศไทย และสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แห่งประเทศไทย ดำาเนินการปรับปรุงคุณภาพของเอทานอล ที่ใช้เติมรถยนต์ โดยโครงการส่วนพระองค์ฯ ส่งเอทานอล ที่มีความบริสุทธิ์ร้อยละ 95 ไปกลั่นซ้ำาเป็นเอทานอลที่ มีความบริสุทธิ์ร้อยละ 99.5 ที่สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี แ ห่ ง ประเทศไทยแล้ ว นำ า กลั บ มาผสมกั บ น้ำามันเบนซินธรรมดาในอัตราส่วน 1 : 9 ได้แก๊สโซฮอล์ที่ มีค่าออกเทน เทียบเท่าน้ำามันเบนซิน 95 เปิดจำาหน่ายแก่ ประชาชนที่สถานีบริการน้ำามันปตท. สาขาสำานักงานใหญ่

ถนนวิภาวดีรังสิต กรุงเทพฯ นอกเหนือจากน้ำามันแก๊สโซฮอล์แล้ว พระบาท สมเด็ จ พระเจ้ า อยู่ หั ว ยั ง ได้ ท รงศึ ก ษาค้ น คว้ า พลั ง งาน ทดแทนในรูปแบบน้ำามันดีโซฮอล์ ซึ่งเป็นน้ำามันเชื้อเพลิง ที่ได้จากการผสมน้ำามันดีเซล เอทานอล และสารที่จำาเป็น เพื่อนำาไปใช้เป็นเชื้อเพลิงให้กับรถยนต์เครื่องยนต์ดีเซล โ ค ร ง ก า ร ดี โซ ฮ อ ล์ ที่ โ ค ร ง ก า ร ส่ ว น พ ร ะ อ ง ค์ สวนจิตรลดา ได้เริ่มขึ้นในปีพ.ศ. 2541 โดยการปิโตรเลียม แห่งประเทศไทยร่วมกับโครงการส่วนพระองค์ฯ ทดลองผสม

96 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำาริ


สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ มาทรงเปิดสถานีบริการน้ำามัน ที่การปิโตรเลียม แห่งประเทศไทยน้อมเกล้าฯ ถวาย

เอทานอลที่มีความบริสุทธิ์ร้อยละ 95 กับน้ำามันดีเซล และ สารอีมัลซิไฟเออร์ ในอัตราส่วน 14 : 85 : 1 สามารถนำา ดี โ ซฮอล์ นี้ ไ ปใช้ เ ป็ น น้ำ า มั น เชื้ อ เพลิ ง สำ า หรั บ รถยนต์ เครื่องยนต์ดีเซล เช่น รถกระบะ รถแทรกเตอร์ของโครงการ ส่วนพระองค์ฯ ผลการทดลองพบว่าสามารถใช้เป็นเชื้อ เพลิงได้ดีพอสมควรและสามารถลดควันดำาได้ปริมาณร้อย ละ 50

ให้มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สร้างโรงงานสกัดน้ำามัน ปาล์มขนาดเล็กที่สหกรณ์นิคมอ่าวลึก จังหวัดกระบี่ และ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างโรงงานสกัดน้ำามัน ปาล์มบริสุทธิ์ขนาดเล็ก กำาลังผลิตวันละ 110 ลิตร ที่ ศูนย์การศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง อันเนื่องมาจากพระ ราชดำาริ จังหวัดนราธิวาส

การทดลองใช้ น้ำ า มั น ปาล์ ม กลั่ น บริ สุ ท ธิ์ เ ป็ น น้ำ า มั น พระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู่ หั ว ยั ง ทรงริ เริ่ ม คิ ด ค้ น เชื้อเพลิงสำาหรับเครื่องยนต์ดีเซลเริ่มตั้งแต่เดือนกันยายน พลังงานทดแทนจากปาล์มน้ำามัน โดยเริ่มต้นขึ้นในปี พ.ศ. พ.ศ. 2543 โดยทดลองใช้รถยนต์เครื่องยนต์ดีเซลของกอง 2528 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำาริ งานส่วนพระองค์ ที่วังไกลกังวล อำาเภอหัวหิน จังหวัด

97 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำาริ


ประจวบคีรีขันธ์ น้ำ�มันปาล์มกลั่นบริสุทธิ์ (R.B.D. palm olein) เป็นน้�ำ มันที่สกัดจากผลปาล์มตามกรรมวิธีสะอาด ใช้ปรุงอาหารรับประทานได้ ด้วยคุณสมบัติพิเศษนี้จึงนำ� มาใช้กับเครื่องยนต์ดีเซลที่มีระบบส่งน้ำ�มันเชื้อเพลิงและ ระบบฉีดน้ำ�มันเชื้อเพลิงที่มีปั้มและหัวฉีดน้ำ�มันที่ผลิตมา ด้วยงานละเอียด จากผลการทดลองพบว่า ไม่มีผลกระ ทบใด ๆ ในทางลบกับเครื่องยนต์ดีเซล น้�ำ มันปาล์มกลั่น บริสุทธิ์ร้อยละ 100 โดยปริมาตรสามารถใช้เป็นน้ำ�มันเชื้อ เพลิงสำ�หรับเครื่องยนต์ดีเซลโดยไม่ต้องผสมกับน้ำ�มันเชื้อ เพลิงชนิดอื่นๆ หรืออาจใช้ผสมกับน้�ำ มันดีเซลในสัดส่วน น้�ำ มันปาล์มต่อน้�ำ มันดีเซลน้อยตั้งแต่ร้อยละ 0.01 ไป จนถึง 99.99 ก็ได้เช่นกัน

แก่ประชาชนชาวไทยทั้งมวล

จากแนวพระราชดำ � ริ ด้ า นพลั ง งานทดแทนข้ า งต้ น ประกอบกั บ วิ ก ฤติ ก ารณ์ ด้ า นพลั ง งานที่ เ กิ ด ขึ้ น ในช่ ว งที่ ผ่านมา มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในฐานะมหาวิทยาลัย หลักในภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่ที่ มีศักยภาพในการผลิตวัตถุดิบเพื่อใช้ในการผลิตพลังงาน ทดแทนชนิดต่าง ๆ ได้เล็งเห็นถึงความสำ�คัญ และได้ผลัก ดันโครงการหรือกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนา พลังงานทดแทน เริ่มตั้งแต่การศึกษาค้นคว้าเพื่อหาวัตถุดิบ หรือพืชพลังงานชนิดใหม่ ที่สามารถใช้ทดแทนหรือเสริม วัตถุดิบหลักที่ใช้ในปัจจุบัน คือ อ้อยและมันสำ�ปะหลัง รวม ทั้งการศึกษาวิจัยและพัฒนาเพื่อปรับปรุงเทคโนโลยีการ การใช้น้ำ�มันปาล์มกลั่นบริสุทธิ์ทำ�ให้เพิ่มกำ�ลังแรง ผลิตให้มีความเหมาะสมกับพื้นที่ และการศึกษาคุณสมบัติ บิดให้กับเครื่องยนต์ ลดมลพิษในไอเสียของเครื่องยนต์ และการทดสอบคุณภาพของพลังงานทดแทนชนิดต่างๆ เพิ่มการหล่อลื่น ทำ�ให้เครื่องยนต์มีอายุการใช้งานได้นาน เช่น เอทานอล ไบโอดีเซล กับเครื่องยนต์ชนิดต่างๆ ประหยัดเงินตราในการนำ�เข้าน้ำ�มันเชื้อเพลิงดีเซลได้บาง ในเรื่องของวัตถุดิบนั้น มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้ ส่วน ช่วยเหลือเกษตรกร นอกจากนี้ ยังเป็นทางเลือกใหม่ ตั้งเป้าหมายการศึกษาวิจัยเพื่อหาพืชพลังงานชนิดใหม่ ในการใช้น้ำ�มันเชื้อเพลิงที่สามารถปลูกทดแทนได้ จาก ที่ ส ามารถใช้ ท ดแทนหรื อ ใช้ เ สริ ม กั บ วั ต ถุ ดิ บ หลั ก ที่ ใช้ ผลสำ�เร็จดังกล่าว วันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2544 พระบาท ในโรงงานผลิตเอทานอลในปัจจุบัน คือ อ้อย และมัน สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นาย สำ �ปะหลัง ทั้งนี้มหาวิทยาลัยขอนแก่นตระหนักดีว่าหาก อำ�พล เสนาณรงค์ องคมนตรี เป็นผู้แทนพระองค์ ยื่นจด โรงงานอุตสาหกรรมผลิตเอทานอลที่ได้รับอนุญาตจาก สิทธิบัตร ณ กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ รัฐบาลซึ่งมีประมาณ 45 โรงงาน เปิดทำ �การผลิต วัตถุดิบ ในพระปรมาภิไธยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ชื่อที่ หลั ก เหล่ า นี้ อ าจมี ป ริ ม าณไม่ เ พี ย งพอกั บ ความต้ อ งการ แสดงถึงการประดิษฐ์คือ “การใช้น้ำ�มันปาล์มกลั่นบริสุทธิ์ และอาจก่อให้เกิดปัญหาการแก่งแย่งพืชอาหารได้ เป็นน้�ำ มันเชื้อเพลิงเครื่องยนต์ดีเซล” สิทธิบัตรเลขที่ จากผลการศึกษาวิจัยของมหาวิทยาลัยพบว่า พืชที่ 10764 มีศักยภาพและมีความเหมาะสมสำ�หรับการเพาะปลูกใน ในปี พ.ศ. 2544 สำ�นักงานคณะกรรมการวิจัยแห่ง พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คือ ข้าวฟ่างหวาน และ ชาติได้จัดส่งผลงานในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไป แก่นตะวัน ร่วมแสดงในงานนิทรรศการสิ่งประดิษฐ์นานาชาติชื่องาน ข้าวฟ่างหวาน หรือ sweet sorghum (Sorghum bi“BRUSSEL’S EUREKA 2001” ณ กรุงบรัสเซลส์ ประเทศ เบลเยี่ยม ด้วยพระอัจฉริยภาพและพระปรีชาสามารถ color L. Moench) เป็นพืชที่มีลักษณะลำ�ต้นคล้ายอ้อย ในลำ�ต้นมีการสะสม ในการประดิษฐ์คิดค้นของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพียงแต่ขนาดของลำ�ต้นเล็กกว่า ส่งผลให้ผลงานการคิดค้น 3 ผลงานของพระองค์ คือ น้ำ�หวาน ซึ่งพบว่ามีคุณภาพ เช่น ความหวาน และองค์ “ทฤษฎีใหม่” “โครงการฝนหลวง” และ “โครงการน้ำ� ประกอบต่างๆ ทางเคมี ใกล้เคียงกับน้�ำ อ้อย นอกจาก มันไบโอดีเซลสูตรสกัดจากน้�ำ มันปาล์ม” ได้รับเหรียญ นี้ข้าวฟ่างหวานยังเป็นพืชที่มีอายุเก็บเกี่ยวสั้น ประมาณ ทอง ประกาศนียบัตรสดุดีเทิดพระเกียรติคุณ พร้อมถ้วย 100 - 120 วัน หากเปรียบเทียบกับอ้อยที่มีอายุการ รางวัล ในงานดังกล่าว ล้วนเป็นผลงานการคิดค้นแนวใหม่ เก็บเกี่ยวประมาณ 12 - 18 เดือน หรือมันสำ�ปะหลัง ในการพัฒนาประเทศ นำ�มาซึ่งความปลาบปลื้มปีติยินดี ประมาณ 8-12 เดือน ทำ�ให้สามารถปลูกข้าวฟ่างหวาน

98 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำ�ริ


ได้ปีละประมาณ 3 ครั้ง และเนื่องจากข้าวฟ่างหวานเป็น พืชที่ให้ผลผลิตต่อพื้นที่ค่อนข้างสูง ประมาณ 5 - 6 ตัน ต่อไร่ ปริมาณผลผลิตจึงสูงกว่าอ้อยประมาณ 2 เท่าตัว ทำ�ให้ข้าวฟ่างหวานเป็นพืชที่มีศักยภาพและมีความเหมาะ สมสำ�หรับใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเชื้อเพลิงเอทานอล ณ สถานการณ์ปัจจุบัน พบว่ามีหลายๆ ประเทศใช้ข้าว ฟ่างหวานในการผลิตเอทานอล เช่น สหรัฐอเมริกา สเปน อินเดีย และจีน เป็นต้น ในระยะเริ่มต้นมหาวิทยาลัยขอนแก่นได้รวบรวมสาย พันธุ์ข้าวฟ่างหวานจากแหล่งต่างๆ ต่อมาได้มีการพัฒนา และปรับปรุงสายพันธุ์ขึ้นมาใหม่ เพื่อให้มีความเหมาะ สมกับสภาพพื้นที่เพาะปลูกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จนกระทั่งประสบผลสำ�เร็จได้สายพันธุ์ใหม่ คือ ข้าวฟ่าง หวาน พันธุ์ มข. 40 สายพันธุ์ใหม่นี้สามารถปรับตัวและ เจริญได้ดีในสภาพพื้นที่แห้งแล้ง ให้ผลผลิตสูงประมาณ 5 - 7 ตันต่อไร่ ให้น้ำ�หวานเฉลี่ย 2,500 - 3,500 ลิตรต่อไร่ สามารถนำ�ไปผลิตเอทานอลได้ประมาณ 300 - 420 ลิตร ต่อไร่ เกษตรกรสามารถเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ส�ำ หรับเพาะปลูก ในฤดูกาลใหม่ได้ตลอดปี โดยที่ไม่ท�ำ ให้เกิดการกลายพันธุ์

ข้าวฟ่างหวานเพื่อการผลิตแก๊สโซฮอล์ นอกเหนือจากการปรับปรุงสายพันธุ์ข้าวฟ่างหวาน แล้ว มหาวิทยาลัยขอนแก่นยังได้วิจัยและพัฒนาเพื่อหา เทคโนโลยี ที่ มี ป ระสิ ท ธิ ภ าพและเหมาะสมกั บ การผลิ ต เอทานอลจากข้าวฟ่างหวานด้วยเช่นกัน เริ่มตั้งแต่การ คัดเลือกสายพันธุ์ยีสต์ที่สามารถผลิตเอทานอลจากข้าว ฟ่างหวานได้ในปริมาณสูง จากผลการศึกษาพบว่ามียีสต์ หลายสายพั น ธุ์ ที่ ส ามารถผลิ ต เอทานอลจากข้ า วฟ่ า ง หวานได้ดี ซึ่งยีสต์ที่สามารถผลิตเอทานอลได้สูงได้แก่ Saccharomyces cerevisiae TISTR5048 และ S. cerevisiae NP01 นอกจากนี้ยังได้ศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพ ของกระบวนการหมักแบบต่าง ๆ เช่น กระบวนการหมัก แบบกะ กึ่งกะ หรือกึ่งต่อเนื่อง รวมทั้งได้ศึกษาถึงรูปแบบ การผลิ ต ที่ ส ามารถช่ ว ยเพิ่ ม ประสิ ท ธิ ภ าพการผลิ ต เอทานอลให้สูงขึ้น จากการศึกษาวิจัยพบว่า กระบวนการ

ข้าวฟ่างหวานพันธุ์ มข.40 ซึ่งปรับปรุงพันธุ์โดย มหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อนำ�มาใช้เป็นพืชพลังงาน ทดแทน

99 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำ�ริ


ผลิตที่เหมาะสมในระดับอุตสาหกรรม คือ กระบวนการ ผลิตแบบต่อเนื่อง และรูปแบบการผลิตที่ใช้น้ำ�ตาลเริ่มต้น ในความเข้มข้นสูงๆ หรือที่เรียกว่า very high gravity technology ก็เป็นอีกเทคนิคหนึ่งที่สามารถช่วยเพิ่ม ประสิทธิภาพในการผลิตเอทานอล และช่วยลดต้นทุนใน การผลิตได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้แล้ว มหาวิทยาลัยขอนแก่นยังได้ศึกษา วิจัยเพื่อนำ�ส่วนต่าง ๆ ของต้นข้าวฟ่างหวานไปใช้ให้เกิด ประโยชน์สูงสุด เช่น การศึกษาวิจัยเพื่อนำ�ลำ�ต้นข้าวฟ่าง หวานไปใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเอทานอล โดยอาศัย การย่ อ ยสลายสารประกอบคาร์โบไฮเดรตในลำ � ต้น ข้ า ว ฟ่างหวานให้กลายเป็นน้ำ�ตาลโมเลกุลเดียว จากนั้นนำ� สารละลายน้ำ�ตาลที่ได้ไปหมักด้วยยีสต์เพื่อเปลี่ยนเป็น เอทานอล

ว่า Jerusalem artichoke (Helianthus tuberosus L.) เป็นพืชล้มลุกที่อยู่ในวงศ์ Asteraceae มีถิ่นกำ�เนิดใน ทวีปอเมริกาเหนือ ถึงแม้จะมีถิ่นกำ�เนิดในแถบหนาว แต่สามารถปรับตัวและเจริญในเขตร้อนได้ดี ลักษณะ ของลำ�ต้นและใบจะมีขนคล้ายหนามกระจายทั่วไป จึง ต้านทานต่อแมลงได้ดี ความสูงต้น 1.5-2.0 เมตร ลักษณะ รากคล้ายหัวของขิงหรือข่า มีดอกคล้ายดอกบัวตอง เนื่องจากแก่นตะวันมีความสามารถปรับตัวได้ดีในเขตร้อน มีความแข็งแกร่งทนทานต่อสภาพภูมิอากาศที่แตกต่างกัน มาก จึงให้ชื่อนำ�หน้าพืชนี้ว่า “แก่น” และเป็นพืชที่ใกล้ชิด กับทานตะวัน จึงให้ชื่อพืชชนิดใหม่นี้ว่า “แก่นตะวัน”

เนื่องจากเอทานอลที่ผลิตได้มีความเข้มข้นต่�ำ ไม่ เหมาะสมสำ�หรับนำ�ไปใช้ผสมกับน้ำ�มันเบนซินเพื่อผลิต แก๊สโซฮอล์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นจึงได้ศึกษาวิจัยเพื่อ หากระบวนการกลั่นที่เหมาะสม รวมทั้งการศึกษาวิจัย เพื่อหาวัสดุธรรมชาติที่มีคุณสมบัติในการดึงน้ำ�ออกจาก โมเลกุลของเอทานอล ทำ�ให้สามารถผลิตเอทานอลที่มี ความบริสุทธิ์สูงขึ้น เหมาะสำ�หรับใช้เป็นเชื้อเพลิงต่อไป สำ � หรั บ เอทานอลที่ ผ ลิ ต ได้ จ ากโครงการวิ จั ย และ พัฒนา มหาวิทยาลัยได้น�ำ ไปทดสอบคุณสมบัติด้าน ต่างๆ รวมทั้งทดสอบผลกระทบ ที่อาจเกิดขึ้นกับเครื่องยนต์ โดย ทำ�การทดสอบกับเครื่องยนต์ประเภทต่างๆ ซึ่งผลการ ทดสอบไม่พบปัญหาที่จะเกิดขึ้น หากใช้ส่วนผสมระหว่าง เอทานอลกับน้ำ�มัน ในอัตราส่วนปกติที่มีใช้กันอยู่ใน ปัจจุบัน จากความสำ�เร็จของการศึกษาวิจัยข้างต้น บริษัท ต่างๆ เช่น บริษัทเทิดดำ�ริ จำ�กัด กลุ่มบริษัทน้ำ�ตาลมิตร ผล และโรงงานน้�ำ ตาลขอนแก่น ได้นำ�ข้าวฟ่างหวานไป ปลูกเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบสำ�หรับป้อนโรงงานผลิตเอทานอล เป้าหมายหลักนอกเหนือจากเพื่อลดปัญหาการขาดแคลน วัตถุดิบหลักแล้ว ยังเป็นแนวทางหนึ่งในการสร้างอาชีพ เสริม และสร้างรายได้ในกับเกษตรกรในพื้นที่

ดอกแก่นตะวัน

สำ�หรับพืชอีกชนิดหนึ่งคือ แก่นตะวัน หรือที่เรียก

100 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำ�ริ


แปลงรวบรวมพันธุ์แก่นตะวัน

(ก)

(ข)

(ค)

ส่วนต่างๆ ของแก่นตะวันสายพันธุ์ KKU Ac008 (ก) ต้น (ข) ดอก และ (ค) ราก

แก่ น ตะวั น เป็ น พื ช ที่ มี อ ายุ เ ก็ บ เกี่ ย วสั้ น เช่ น เดี ย ว กับข้าวฟ่างหวาน คือมีอายุเก็บเกี่ยวประมาณ 120 วัน และเป็นพืชที่ให้ผลผลิตต่อพื้นที่สูงประมาณ 2-3 ตันต่อ ไร่ มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้รวบรวมสายพันธุ์แก่นตะวัน มาจากแหล่งต่างๆ และทดสอบปลูกในแปลงทดลองของ มหาวิทยาลัย จากการคัดเลือกสายพันธุ์จาก 24 สายพันธุ์ พบว่าสายพันธุ์ KKU Ac008 เป็นสายพันธุ์ที่ให้ผลผลิตต่อ พื้นที่สูง หัวมีขนาดใหญ่ มีแขนงน้อย มีคุณภาพดีเหมาะ สำ�หรับใช้เพื่อการบริโภค และใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ ในส่วนของการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิต เอทานอลจากแก่นตะวันนั้น มหาวิทยาลัยได้ท�ำ การศึกษา ถึงวิธีการในการเปลี่ยนสารประกอบคาร์โบไฮเดรตในหัว แก่นตะวัน ที่เรียกว่าสารประกอบอินูลิน (Inulin) ให้กลาย เป็นน้ำ�ตาลโมเลกุลเดียว คือน้�ำ ตาลกลูโคส และฟรุกโตส

โดยอาศัยกระบวนการย่อยด้วยความร้อน สารเคมี และ เอนไซม์ ผลการวิจัยในเบื้องต้นพบว่าวิธีการใช้สารเคมี คือกรดซัลฟิวริกร่วมกับความร้อน มีประสิทธิภาพในการ ย่อยสลายสารประกอบอินูลินให้หัวแก่นตะวันได้ดี แต่ เนื่ อ งจากการใช้ ส ารเคมี อ าจก่ อ ให้ เ กิ ด อั น ตรายกั บ ผู้ ใช้ และส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม ดังนั้นการย่อยสลายโดยใช้ เอนไซม์จึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ และขณะนี้อยู่ในขั้น ตอนการวิจัยและพัฒนาเพื่อหาสภาวะที่เหมาะสมสำ�หรับ การนำ�ไปประยุกต์ใช้ในระดับอุตสาหกรรมต่อไป สำ�หรับกระบวนการหมักเอทานอลจากแก่นตะวัน นั้น มีขั้นตอนหรือวิธีการที่คล้ายคลึงกับการผลิตเอทานอล จากมันสำ�ปะหลัง โดยหัวสดของแก่นตะวัน 1 ตัน สามารถ ผลิตเอทานอลบริสุทธิ์ 99.5% ได้ 100 ลิตร ซึ่งสูงกว่า อ้อย 1 ตัน ที่สามารถหมักเป็นเอทานอลได้ประมาณ 70 ลิตร และแม้ว่าหัวมันสำ�ปะหลัง 1 ตัน ให้เอทานอลสูงถึง 160 ลิตร แต่มันสำ�ปะหลังมีอายุเก็บเกี่ยวค่อนข้างยาว คือ ประมาณ 8-12 เดือน ดังนั้นแก่นตะวันจึงให้ผลผลิตสูงกว่า มันสำ�ปะหลัง อย่างไรก็ตามปัญหาที่พบคือต้นทุนการผลิต เอทานอลจากแก่นตะวันค่อนข้างสูงโดยเฉพาะต้นทุนใน การผลิตวัตถุดิบ ดังนั้นจึงมีความจำ�เป็นที่จะต้องทำ�การ วิ จั ย และพั ฒ นาเพื่ อ ปรั บ ปรุ ง สายพั น ธุ์ เ พื่ อ เพิ่ ม ผลผลิ ต และให้ทนต่อสภาพแวดล้อมต่างๆ ได้ดียิ่งขึ้น

101 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำ�ริ


นอกเหนื อ จากการวิ จั ย และพั ฒ นาการผลิ ต เอทานอลเพื่อใช้เป็นน้�ำ มันเชื้อเพลิงแล้ว มหาวิทยาลัย ขอนแก่ น ยั ง ได้ ศึ ก ษาวิ จั ย พลั ง งานทดแทนที่ เ รี ย กว่ า ไบโอดีเซลด้วยเช่นกัน มหาวิทยาลัยได้ศึกษาวิจัยเพื่อหา พื ช น้ำ � มั น ที่ มี ค วามเหมาะสมสำ � หรั บ ปลู ก ในภาคตะวั น ออกเฉียงเหนือ โดยได้ศึกษาวิจัยถึงศักยภาพของปาล์ม น้�ำ มัน มีการทดลองปลูกปาล์มน้ำ�มันในแปลงทดสอบของ มหาวิทยาลัย แต่ผลการศึกษาพบว่าปาล์มน้ำ�มันที่ปลูกไม่ ให้ผลผลิต ซึ่งปัญหาหนึ่งที่พบคือความชื้นในบรรยากาศ ไม่เพียงพอ ทำ�ให้การผสมเกสรและการสร้างผลหรือเมล็ด ไม่สมบูรณ์

การศึกษาวิจัยที่ผ่านมาจะเน้นไปที่การเก็บรวบรวม สายพันธุ์สาหร่ายชนิดต่างๆ ตามแหล่งน้�ำ จืดในภาคตะวัน ออกเฉียงเหนือ และการคัดเลือกหาสายพันธุ์ที่มีการสะสม น้ำ�มันภายในเซลล์ในระดับสูง ซึ่งที่ผ่านมาคณะนักวิจัย ของมหาวิทยาลัยขอนแก่นได้ค้นพบสายพันธุ์สาหร่ายที่ มีการเจริญและสะสมน้�ำ มันในเซลล์สูง โดยใช้ชื่อว่า KKU S-2 จากการนำ�เซลล์ที่เพาะเลี้ยงแบบให้แสงและไม่ให้แสง มาแยกสกัดน้ำ�มันและนำ�ไปวิเคราะห์ชนิดของกรดไขมัน พบว่ามีองค์ประกอบของกรดไขมันชนิดกรดปาล์มมิติก กรดสเตียริก และกรดโอเลอิก เป็นส่วนประกอบหลัก ซึ่ง เป็นกรดไขมันประเภทเดียวกับที่พบในน้ำ�มันพืช แสดงว่า พื ช อี ก ชนิ ด หนึ่ ง ที่ ม หาวิ ท ยาลั ย ให้ ค วามสนใจและ น้ำ�มันที่ผลิตได้จากสาหร่ายสีเขียวขนาดเล็กมีศักยภาพใน คาดว่าจะเป็นแหล่งวัตถุดิบที่มีศักยภาพสูงสำ�หรับใช้ผลิต การนำ�มาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตไบโอดีเซล ไบโอดีเซล คือสาหร่ายน้�ำ จืด ที่พบได้ทั่วไปในแหล่งน้�ำ ของ นอกเหนือจากพืช และสาหร่ายที่กล่าวมาแล้ว ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สาหร่ายเป็นโปรติสท์ที่มีอัตรา มหาวิทยาลัยขอนแก่นยังได้นำ�เอาน้�ำ มันพืชที่ใช้แล้ว ซึ่ง การเจริญเติบโตเร็ว สามารถเพิ่มจำ�นวนเป็นสองเท่าได้ ได้จากการรับซื้อจากแหล่งชุมชนในเขตเทศบาลจังหวัด ภายในระยะเวลา 24 ชั่วโมง และสามารถแยกสกัดน้ำ�มัน ขอนแก่น มาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตไบโอดีเซล โดย ได้ภายใน 1-2 สัปดาห์ หลังการเพาะเลี้ยง หากเทียบกับ ทั่วไปแล้วครัวเรือนส่วนใหญ่จะไม่ให้ความสนใจที่จะนำ � พืชน้ำ�มันชนิดต่าง ๆ เช่น ปาล์ม หรือสบู่ด�ำ อาจต้องใช้ น้ำ�มันพืชที่ใช้แล้วไปใช้ให้เกิดประโยชน์ แต่จะทิ้งลงใน ระยะเวลานานถึง 6-7 ปี จึงจะสามารถเก็บเกี่ยวและสกัด แหล่งตามธรรมชาติ หรือแม่น�้ำ ลำ�คลอง ก่อให้เกิดปัญหา น้�ำ มันได้ นอกจากนี้แล้วสาหร่ายยังใช้พื้นที่ในการเพาะ ด้านสิ่งแวดล้อมตามมา ด้วยเหตุนี้มหาวิทยาลัยขอนแก่น เลี้ยงน้อยกว่าพื้นที่สำ�หรับการปลูกพืชพลังงานชนิดต่างๆ ร่วมกับเทศบาลนครขอนแก่น จึงได้ริเริ่มโครงการรับซื้อ น้ำ�มันพืชที่ใช้แล้วจากครัวเรือน หรือสถานประกอบการ หลายเท่าตัว ต่าง ๆ เพื่อนำ�ไปใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตไบโอดีเซล โดย ทางมหาวิ ท ยาลั ย ได้ ก่ อ สร้ า งโรงงานต้ น แบบผลิ ต ไบโอ ดีเซลจากน้�ำ มันพืชที่ใช้แล้ว โดยมีกำ�ลังการผลิต 600 ลิตร ต่อวัน ไบโอดีเซลที่ผลิตได้ เทศบาลนครขอนแก่นจะรับซื้อ เพื่อนำ�ไปใช้เป็นน้�ำ มันเชื้อเพลิงต่อไป โรงงานต้นแบบผลิตไบโอดีเซลจากน้�ำ มันพืชที่ใช้แล้ว มหาวิทยาลัยขอนแก่น นอกจากจะเป็นโรงงานผลิตไบโอ ดีเซลแล้ว ยังเป็นเสมือนศูนย์เรียนรู้ส�ำ หรับชุมชนในท้อง ถิ่นด้วย โดยผ่านกิจกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการฝึกอบรม สัมมนา การศึกษาดูงาน การฝึกปฏิบัติจริง เป็นต้น สาหร่ายสายพันธุ์ KKU s-2 ซึ่งมีความสามารถ สะสมน้ำ�มันภายในเซลล์สูง เพื่อใช้เป็นแหล่ง พลังงานทดแทน

102 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำ�ริ


การถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตไบโอดีเซลจากน้ำ�มันพืชที่ใช้แล้ว ให้กับชาวบ้านตำ�บลยางคำ� ตำ�บลบ้านกง ตำ�บลบ้านผือ อำ�เภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น ถ่ายหน้าโรงงานต้นแบบฯ ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น

103 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำ�ริ


มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำ�ริ


บทที่ 4

มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำ�ริ ด้านการศึกษา และการพัฒนาคุณภาพชีวิต


...งานดานการศึกษา เปนงานสําคัญที่สุดอยางหนึ่งของชาติ “ เพราะความเจริญและความเสื่อมของชาตินั้น ขึ้นอยูกับการศึกษาของ

พลเมืองเปนขอใหญ ตามขอเท็จจริงที่ทราบกันดีแลว ระยะนี้บานเมือง ของเรามีพลเมืองเพิ่มขึ้นอยางรวดเร็ว ทั้งมีสัญญาณบางอยางเกิดขึ้น ดวยวา พลเมืองของเราบางสวนเสื่อมทรามลงไปในความประพฤติและ จิตใจ ซึ่งเปนอาการที่นาวิตกวา ถาหากยังคงเปนอยูตอไป เราอาจเอา ตัวไมรอด ปรากฏการณเชนนี้ นอกจากเหตุอื่นแลว ตองมีเหตุมาจาก การจัดการศึกษาดวยอยางแนนอน จึงพูดไดเต็มปากแลววา เราจะตอง จัดงานดานการศึกษาใหเขมแข็งยิ่งขึ้น...

พระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร และประกาศนียบัตรของวิทยาลัยวิชาการศึกษา ณ วิทยาลัยวิชาการศึกษา ถนนประสานมิตร วันศุกร์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2512

106 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำาริ ด้านการศึกษา และการพัฒนาคุณภาพชีวิต


บทที่ 4 มหาวิทยาลัยขอนแก่น กับโครงการพระราชดำ�ริ ด้านการศึกษา และ การพัฒนาคุณภาพชีวิต

หาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นสถาบันการศึกษาขั้น สูงของภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นอกจาก จะให้การศึกษาในศาสตร์ต่างๆ เพื่อพัฒนาทรัพยากร มนุษย์ตามพันธกิจการผลิตบัณฑิตแล้ว ยังได้ขยายฐาน ความรู้ออกไปสู่ชุมชนโดยรอบในรูปแบบต่างกัน เพื่อ พัฒนาภูมิภาค ส่วนหนึ่งได้ใช้การศึกษาเป็นเครื่องมือเพื่อ พัฒนาชุมชน เนื่องจากตระหนักดีว่า การศึกษานั้นเป็น เรื่องที่มีความสำ�คัญอย่างยิ่งของชาติ การศึกษาต้องมีทุก ระดับ ทั้งในระบบ และนอกระบบโรงเรียน การศึกษาจะมี ส่วนผลักดันสำ�คัญที่จะทำ�ให้ชุมชนมีความเข้มแข็งขึ้น ผู้น�ำ และผู้ตามในชุมชนรู้ถึงบทบาท หน้าที่ของตนเอง โครงการ เหล่ า นี้ มี ทั้ ง ที่ เ ป็ น โครงการอั น เนื่ อ งมาจากพระราชดำ � ริ โดยตรง โครงการตามแนวพระราชดำ�ริ และโครงการประ เภทอื่นๆ การสนองพระราชดำ�ริของมหาวิทยาลัยขอนแก่นใน ด้านการพัฒนาการศึกษา และสร้างความเข้มแข็งของ ชุมชน หากจัดกลุ่มตามวัตถุประสงค์ของโครงการสามารถ จำ�แนกได้เป็น 4 ประเภท ได้แก่ 1) เพื่อสร้างโอกาสให้มี ความเท่าเทียมกันทางการศึกษา โดยการเสริมการเรียนรู้

ให้โรงเรียนในท้องถิ่นที่ห่างไกล หรือทุรกันดาร นักเรียน ขาดโอกาสในการเรี ย นรู้ เ ท่ า เที ย มกั บ นั ก เรี ย นในเมื อ ง เช่น โครงการปฏิรูปการเรียนรู้ทั้งโรงเรียนสำ�หรับโรงเรียน ถิ่นทุรกันดาร ตามแนวพระราชดำ�ริสมเด็จพระเทพรัตน ราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องจากทรงมีพระราชดำ�ริ ให้มีความเท่าเทียมกันในด้านการศึกษาของนักเรียนในถิ่น ทุรกันดาร 2) เพื่อสร้างรากฐานการพัฒนาทางเศรษฐกิจ ที่ยั่งยืน โดยการให้การศึกษาที่ถูกต้องกับโรงเรียน ได้แก่ โครงการพั ฒ นากระบวนการเรี ย นรู้ ต ามหลั ก ปรั ช ญา เศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา ตามปรัชญาซึ่งพระบาท สมเด็ จ พระเจ้ า อยู่ หั ว ทรงพระราชทานแก่ ป วงชนชาว ไทย และบุคลากรของคณะศึกษาศาสตร์ได้น้อมนำ�มา เป็นหลักในการถ่ายทอดให้กับโรงเรียนเพื่อเป็นรากฐาน ในการพัฒนา 3) เพื่อพัฒนารากฐานในการอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะป่าไม้ และ สัตว์ป่า ซึ่งได้แก่ โครงการพัฒนาการศึกษาของประชาชน ในพื้นที่ภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ ซึ่งเป็นโครงการตามพระ ราชดำ�ริของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ซึ่ง เสด็จพระราชดำ�เนินโดยเฮลิคอปเตอร์ผ่านเขตรักษาพันธุ์ สัตว์ป่าภูเขียว ซึ่งเป็นป่าผืนใหญ่ที่ยังคงเหลือไม่กี่แห่งใน

107 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำ�ริ ด้านการศึกษา และการพัฒนาคุณภาพชีวิต


ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และทรงมีพระราชดำ�รัสว่า

...พื้นที่บนป่าภูเขียวเป็นที่ราบกว้าง พื้นที่ อุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเป็นที่อยู่อาศัยของ สัตว์ป่า ดังนั้นจึงควรจัดเป็นสวนสัตว์เปิด แต่ การที่จะดำ�เนินการงานนี้ให้เป็นผลสำ�เร็จนั้น จะ ต้องพัฒนาหมู่บ้านและส่งเสริมอาชีพราษฎรใน บริเวณใกล้เคียงกับพื้นที่ภูเขียวทั้งหมด เพื่อ เป็นการยับยั้งไม่ให้ราษฎรบุกรุกทำ�ลายป่าและ สัตว์ป่า...

4) เพื่อพัฒนามาตรฐานทางวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ ในภูมิภาคให้อยู่ในระดับสากล ได้แก่ โครงการโอลิมปิก วิชาการ โดยสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทรงเล็งเห็นความ สำ�คัญ และปัญหาการพัฒนาการศึกษาวิทยาศาสตร์และ คณิตศาสตร์ของนักเรียนในประเทศ จึงได้พระราชทาน ทุนทรัพย์ส่วนพระองค์ จัดตั้ง “มูลนิธิส่งเสริมโอลิมปิก วิชาการ และพัฒนามาตรฐานวิทยาศาสตร์ศึกษา ในพระ

โครงการปฏิ รู ป การเรี ย นรู้ ทั้ ง โรงเรี ย นสำ � หรั บ โรงเรียนถิ่นทุรกันดาร ตามแนวพระราชดำ�ริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราช กุมารี ปี พ.ศ. 2548 - 2549 ศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ ประสานกับคณะศึกษาศาสตร์ เพื่อจัดโครงการสนับสนุน โครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระ ราชดำ�ริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โดยมี โรงเรี ย นที่ โ ปรดเกล้ า เข้ า ร่ ว มโครงการในเขตพื้ น ที่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คือ โรงเรียนบ้านโนนสะอาด ตำ�บลดอนดู่ อำ�เภอหนองสองห้อง จังหวัดขอนแก่น ซึ่ง มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้รับหนังสือจากสำ�นักงานคณะ กรรมการอุดมศึกษา เรื่องพื้นที่โครงการพัฒนาเด็ก และ เยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำ�ริสมเด็จพระ

อุปถัมภ์” ซึ่งปัจจุบันมีหลายสาขาวิชา ได้แก่ คณิตศาสตร์ คอมพิวเตอร์ เคมี ชีววิทยา และฟิสิกส์ดาราศาสตร์ นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยขอนแก่นโดยคณะ สถาปัตยกรรมศาสตร์ และคณะศิลปกรรมศาสตร์ได้มีส่วน ร่วมสนองพระราชดำ�ริของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร และพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์ เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาฯ ที่ทรงมีพระกระแสรับสั่งให้ เสริมความรักภายในครอบครัว โดยเฉพาะความสัมพันธ์ ระหว่างผู้สูงอายุ พ่อ แม่ และลูกภายในครอบครัว เพื่อที่ เด็กจะได้เรียนรู้ประสบการณ์และประเพณีวัฒนธรรมที่ดี จากผู้สูงวัย อันทำ�ให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างวัย ซึ่ง จะทำ�ให้เด็กเติบโตขึ้นเป็นคนดีของสังคม ตามแนวคิด ว่า “สังคมดีเริ่มที่บ้าน” โดยการร่วมสนองพระราชดำ�ริใน โครงการออกแบบอาคารและการตกแต่งภายในของสอง คณะดังกล่าว ซึ่งแนวทางการดำ�เนินงานที่ส�ำ คัญคือ การ แปลงแนวคิดทางนามธรรมให้เป็นรูปธรรม เพื่อทำ�ให้ ชุมชนในบริเวณใกล้เคียงได้เรียนรู้วิธีการอยู่ร่วมกันผ่าน นิทรรศการถาวร “การดำ�เนินชีวิตแห่งวิถีชาวบ้าน”

เทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ระยะที่ 3 ซึ่ง สำ�นักพระราชวังได้แจ้งให้คณะกรรมการการอุดมศึกษา และสำ � นั ก งานคณะกรรมการการอุ ด มศึ ก ษาแจ้ ง มายั ง มหาวิ ท ยาลั ย เพื่ อ ทราบและให้ พิ จ ารณาการ สนั บ สนุ น เพื่ อ เป็ น การสนองต่ อ วั ต ถุ ป ระสงค์ ดั ง กล่ า ว คณะศึกษาศาสตร์ จึงได้ส�ำ รวจข้อมูลสภาพของชุมชนที่ โรงเรียนบ้านโนนสะอาด พบว่า โรงเรียนตั้งอยู่ที่บ้านดอน ดู่ อำ�เภอหนองสองห้อง ประชากรส่วนใหญ่มีอาชีพด้าน การเกษตร ได้แก่การทำ�นา และทำ�ไร่ ฐานะครอบครัว ยากจน มีการอพยพย้ายถิ่นเพื่อทำ�กินในถิ่นอื่น สภาพ โรงเรียนบ้านโนนสะอาดเป็นโรงเรียนขยายโอกาสขนาด เล็ก มีนักเรียน 173 คน ครูผู้สอน 11 คน และเป็นครู อัตราจ้าง 2 คน จากการสรุปผลการประชุมอาจารย์ โรงเรียนบ้านโนนสะอาด เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 สรุปว่าทางโรงเรียนมีจุดอ่อนด้านผลสัมฤทธิ์ทางการ

108 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำ�ริ ด้านการศึกษา และการพัฒนาคุณภาพชีวิต


เรียนเนื่องจากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนไม่สนอง ตอบต่อผู้เรียน และครูขาดความรู้ในการผลิตสื่อการใช้ เทคโนโลยี พร้อมกันนั้นทางโรงเรียนได้ทำ�หนังสือที่ ศธ. 04027.082/27 ลงวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 มาที่ คณะศึกษาศาสตร์ ขอรับการสนับสนุนการฝึกอบรมเพื่อ พัฒนาการเรียนการสอน โดยขอเสนอโครงการเพื่อรับการ สนับสนุนในเรื่องของการจัดทำ�แผนการจัดการเรียนรู้ทุก กลุ่มสาระ รวมทั้งการอบรมบุคลากรในการผลิตสื่อ และ การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนนอกจากนั้นยังพบโรงเรียน อีก 2 โรงเรียนซึ่งเป็นโรงเรียนอยู่ในโครงการพระราชดำ�ริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี แต่เดิม อีก 2 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนบ้านศุภชัย และโรงเรียนบ้าน กุดหนองหว้า อำ�เภอหนองสองห้อง ซึ่งได้เสนอโครงการ มายังคณะศึกษาศาสตร์เพื่อขอความอนุเคราะห์ ในการ พัฒนาการศึกษาในโรงเรียนเช่นเดียวกัน คณะศึกษาศาสตร์ เห็นว่าถ้าจะทำ�ให้เกิดการพัฒนาไปสู่ตัวเด็กและเยาวชน ในโรงเรี ย นอย่ า งแท้ จ ริ ง ได้ นั้ น จำ� เป็ น ต้ อ งให้ ก ารปฏิ รู ป การเรี ย นรู้ ที่ มุ่ ง พั ฒ นาผู้ เรี ย นควรใช้ แ นวการเรี ย นรู้ ต าม แนวทางในการปฏิรูปการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 เพื่อ เกิดการเรียนรู้ตามมาตรฐานการศึกษาแห่งชาติ โดยที่ เกิดจากบุคลากรทั้งโรงเรียนรวมพลังกันปฏิรูปการเรียนรู้ และต้องใช้นวัตกรรมอันประกอบไปด้วยแนวคิด แนวทาง ระบบ รูปแบบวิธีการ กระบวนการ สื่อ เทคนิคต่าง ๆ เพื่อ ใช้ในการปฏิรูปการเรียนรู้ทั้งโรงเรียนการปฏิรูปการเรียน รู้ทั้งโรงเรียน ควรเน้นกระบวนการที่มีระบบดำ�เนินงาน จากระดับล่างสู่ระดับบน ควรเน้นการบูรณาการภารกิจ ทุกชนิดที่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูปการเรียนรู้ การบริหาร โรงเรียนและการประกันคุณภาพ ควรมีผู้รู้ นักวิชาการทำ� หน้าที่เป็นพี่เลี้ยงเพื่อคอยช่วยเหลือเป็นความมั่นใจในการ ปฏิรูป ด้วยเหตุผลดังกล่าว คณะศึกษาศาสตร์ จึงได้จัดทำ� โครงการปฏิรูปการเรียนรู้ทั้งโรงเรียนสำ�หรับโรงเรียนบ้าน โนนสะอาด เพื่อจะร่วมกันพัฒนาจุดอ่อนของโรงเรียนให้ เป็นจุดแข็งโดยที่คณะศึกษาศาสตร์จะเน้นโอกาสที่จะช่วย สร้างความเข้มแข็งทางวิชาการเพื่อพัฒนาคุณภาพของเด็ก ในโรงเรียนให้ถึงพร้อมแนวคิดในการปฏิรูปที่มุ่งผู้เรียนใน เรื่อง เก่ง ดี มีสุข โครงการปฏิรูปการเรียนรู้ทั้งโรงเรียน โรงเรียนถิ่นทุรกันดาร ตามแนวพระราชดำ�ริ

พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จัดทำ�ขึ้นโดย มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาเด็กในพื้นที่โครงการในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำ�ริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรม ราชกุมารี ให้มีคุณภาพตาม พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ 2) สร้างกระบวนการส่งเสริมพัฒนาเด็กในโรงเรียนที่ อยู่ในโครงการถิ่นทุรกันดารตามพระราชดำ�ริ ให้เป็นระบบ และเกิดประสิทธิภาพ 3) เพื่อพัฒนาครู และผู้บริหารสถานศึกษาในการ สร้างความเข้มแข็งทางวิชาการทั้งระบบ 4) สร้างความตระหนักให้แก่ผู้เกี่ยวข้องในการพัฒนา เยาวชนในท้องถิ่นโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการนี้ ประกอบ ด้วยโรงเรียนบ้านโนนสะอาด โรงเรียนบ้านศุภชัย และ โรงเรียนบ้านกุดหว้า อำ�เภอหนองสองห้อง จังหวัด ขอนแก่น โครงการนี้ ได้ด�ำ เนินการตามระยะเวลาของการ ทำ�งานเป็น 4 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 จัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็น สำ�คัญ 5 กลุ่มสาระ โดยเริ่มดำ�เนินกิจกรรมตั้งแต่การสร้าง ความรู้ความเข้าใจกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียน เป็นสำ�คัญ ฝึกปฏิบัติการสร้างแผนการเรียนรู้ นำ�แผนการ เรียนรู้ไปใช้ในโรงเรียน และนิเทศสะท้อนผล ระยะที่ 2 อบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาสื่อ IT โดยดำ�เนินการตั้งแต่สร้างความรู้ความเข้าใจในการใช้ IT ปฏิบัติการสร้างสื่อตามกลุ่มสาระ นำ�สื่อไปใช้และสรุปผล งาน ระยะที่ 3 การจัดทำ�วิจัยในชั้นเรียน เริ่มกิจกรรมโดย การสร้างความรู้ความเข้าใจในเรื่องวิจัยในชั้นเรียน ปฏิบัติ การเขียนโครงการวิจัย ทดลองวิจัยในชั้นเรียน นิเทศ ติดตามผล สะท้อนผลการวิจัย เรียบเรียงผลงานวิจัย และ

ระยะที่ 4 สรุปและประเมินโครงการ โดยคณะศึกษา ศาสตร์ร่วมกับเขตพื้นที่การศึกษาเขต 3 ขอนแก่น ได้สรุป ผลการดำ�เนินโครงการร่วมกับครูผู้ร่วมโครงการพร้อมจัด แสดงนิทรรศการแสดงผลงานทางวิชาการที่ได้ดำ�เนินมา สำ�หรับ ทั้ง 3 ระยะ ผลการดำ�เนินงานสรุปได้ว่า 1) คณะครู ผู้ สมเด็จ บริหาร และนักเรียน พร้อมทั้งบุคลากรทางการศึกษาใน

109 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำ�ริ ด้านการศึกษา และการพัฒนาคุณภาพชีวิต


โรงเรียนเป้าหมาย ได้รับการบริการวิชาการ จำานวน 460 คน 2) ครูที่เข้าร่วมโครงการสามารถจัดทำาแผนการจัดการ เรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำาคัญ โดยมุ่งการพัฒนาผู้เรียน อย่างต่อเนื่องร้อยละ 100 3) ครูที่เข้าร่วมโครงการสามารถ นำาเทคโนโลยีด้าน IT มาประยุกต์ใช้กับการเรียนการ สอนได้ร้อยละ 70 4) ครูที่เข้าร่วมโครงการสามารถเขียน เค้าโครงการวิจัยในชั้นเรียนได้ร้อยละ 100 และสามารถนำา เสนอรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ได้ร้อยละ 50 5) ผู้เข้าร่วม โครงการมีความพึงพอใจต่อการดำาเนินงานโครงการอยู่ใน ระดับ “มาก” ในเรื่องความต้องการที่จะเข้าร่วมโครงการ และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการ 6) ผู้เข้าร่วม

โครงการมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการอบรมของ วิทยากรอยู่ในระดับ “มาก” 7) ผู้เข้าอบรมมีความเห็นต่อ โครงการนี้ว่าได้รับความรู้ และประสบการณ์ตรง สามารถ นำาความรู้ที่ได้ไปใช้ในชีวิตความเป็นครู ทั้งในเรื่องการ เขียนแผนการจัดการเรียนรู้ที่ถูกต้อง การทำาวิจัยในชั้น เรียน สื่อและเทคนิคการสอน แต่การอบรมในแต่ละระยะ และการนิเทศติดตามผล น่าจะมีเวลามากกว่านี้ เนื่องจาก ครูผู้สอนต้องการให้มีอาจารย์จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น มาคอยแนะนำา และให้ข้อเสนอแนะทั้งในเรื่องการเรียน การสอน และการวิจัยอย่างใกล้ชิดเพื่อสร้างความมั่นใจให้ เพิ่มขึ้น

อาจารย์คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น น้อมเกล้าฯ ถวายผลงานในโครงการปฏิรูปการเรียนรู้ ทั้งโรงเรียนสำาหรับโรงเรียนถิ่นทุรกันดารตามแนวพระราชดำาริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

110 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำาริ ด้านการศึกษา และการพัฒนาคุณภาพชีวิต


การดำ�เนินงานของโครงการ แบ่งออกเป็น 2 ระยะ ระยะที่ 1 ปีงบประมาณ 2528-2530 โครงการฯ ได้ ดำ�เนินงานในหมู่บ้านเป้าหมาย 4 หมู่บ้าน ในอำ�เภอ หนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ ดังนี้ ปีงบประมาณ 2528 ที่ หมู่บ้านโหล่น ปีงบประมาณ 2529 ที่หมู่บ้านโนนศรีสง่า ปีงบประมาณ 2530 ที่หมู่บ้านโนนเหม่า ปีงบประมาณ 2528-2530 บางกิจการที่หมู่บ้านคลองเจริญ กิจกรรม ที่ดำ�เนินการจัดเป็นโครงการย่อยต่างๆ โดยทำ�ร่วมกับ บุคลากรในหมู่บ้าน โรงเรียน และวัด ได้แก่ โครงการพัฒนา ผู้นำ� โครงการสร้างเสริมประสบการณ์ (จัดกิจกรรมในวัน กิจกรรมกระตุ้น และเตรียมความพร้อมในเด็กก่อนวัย สำ�คัญต่างๆ ประชาสัมพันธ์ทางวิทยุหมู่บ้าน และส่งเสริม เรียน เพื่อส่งเสริมพัฒนาการของเด็ก การเรียนรู้หนังสือ) โครงการส่งเสริมศิลปะ โครงการยุวชน อาสา โครงการห้องสมุดและศาลาหนังสือ โครงการเกษตร เพื่อชาวบ้าน (พัฒนาการเลี้ยงสัตว์ การเลี้ยงปลา การทำ� สวนมะม่วง) โครงการพัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน โครงการ นันทนาการ โครงการสิ่งแวดล้อม โครงการพัฒนาอนามัย โครงการพัฒนาการศึกษาของประชาชน ในพื้นที่ (สุขภาพอนามัยขั้นพื้นฐานสุขภาพช่องปาก)

ภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ ปี พ.ศ. 2528-2535

ในการพัฒนาประเทศ มนุษย์เป็นทรัพยากรที่มีค่ายิ่ง กว่าทรัพยากรใดทั้งสิ้น การที่จะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ให้มีความงอกงามด้านสติปัญญาและด้านอื่นๆ จนมี ความสามารถที่จะเป็นทรัพยากรในการพัฒนาประเทศ ได้ต้องอยู่บนรากฐานของการให้การศึกษาพื้นที่ป่าภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ เป็นป่าผืนใหญ่ที่มีความสมบูรณ์แห่งหนึ่ง ของประเทศ อุดมด้วยพันธุ์ไม้ และสัตว์ป่าตามธรรมชาติ เพื่อที่จะรักษาธรรมชาติของป่าภูเขียว จำ�เป็นอย่างยิ่งที่จะ ต้องพัฒนาคนที่อาศัยในหมู่บ้านที่เป็นเส้นทางสู่ป่าภูเขียว ให้เป็น “คนที่มีมนุษยธรรมและมีคุณภาพ” จึงควรเริ่มต้น พัฒนาที่ “คน” ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของเหตุทั้งปวง โครงการ จึงใช้วิธีทางการศึกษาเพื่อ “เตรียมคน” ให้พร้อมที่จะรับ การพัฒนาต่อไป โครงการพัฒนาการศึกษาของประชาชน ในพื้นที่ ภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาประชาชน ในหมู่บ้านเป้าหมายให้เป็นคนคุณภาพ มีความรู้ ความคิด ค่านิยม และทัศนคติที่ถูกต้องเหมาะสมในการเป็นสมาชิก ที่ดีของสังคม และปลูกฝังให้ประชาชนเห็นประโยชน์ของ ธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม โดยใช้วิธีการทางการศึกษา

ระยะที่ 2 ปีงบประมาณ 2531-2535 โครงการฯ ได้ ปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำ�เนินการใหม่ โดยรับผิดชอบ การพัฒนาการศึกษาในโรงเรียนเป็นหลัก ดำ�เนินการ ให้สอดคล้อง สัมพันธ์กับโครงการสวนสัตว์ธรรมชาติ ภูเขียว อันเนื่องมาจากพระราชดำ�ริซึ่งขยายขอบเขต พื้นที่เป้าหมายหลักเป็น 60 หมู่บ้าน ในเขตจังหวัดชัยภูมิ ปีงบประมาณ 2531 โรงเรียนบ้านหนองปล้อง และโรงเรียน ชุมชนหนองบัวแดง อำ�เภอหนองบัวแดง เป็นศูนย์กลาง ดำ�เนินงาน มีโรงเรียนเป้าหมาย 12 โรงเรียน จาก 12 หมู่บ้าน ปีงบประมาณ 2532 โรงเรียนบ้านบัว (รัฐราษฎร์ วิทยา) อำ�เภอเกษตรสมบูรณ์ เป็นศูนย์กลางการดำ�เนิน งาน มีโรงเรียนเป้าหมาย 13 โรงเรียน จาก 19 หมู่บ้าน และโรงเรียนเข้าร่วมโครงการอีก 1 โรงเรียน ปีงบประมาณ 2533 โรงเรียนกุดเลาะ อำ�เภอเกษตรสมบูรณ์ เป็น ศูนย์กลางดำ�เนินงานมีโรงเรียนเป้าหมาย 7 โรงเรียน จาก 9 หมู่บ้าน และโรงเรียนเข้าร่วมโครงการอีก 1 โรงเรียน ปีงบประมาณ 2534 โรงเรียนบ้านหนองโพนงาม อำ�เภอ เกษตรสมบูรณ์ เป็นศูนย์กลางดำ�เนินงาน มีโรงเรียนเป้า หมาย 8 โรงเรียน จาก 9 หมู่บ้าน และมีโรงเรียนเข้าร่วม โครงการอีก 5 โรงเรียน และปีงบประมาณ 2535 โรงเรียน บ้านทุ่งลุยลาย อำ�เภอคอนสาร เป็นศูนย์กลางดำ�เนินงาน

111 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำ�ริ ด้านการศึกษา และการพัฒนาคุณภาพชีวิต


มีโรงเรียนเป้าหมาย 5 โรงเรียน จาก 7 หมู่บ้าน และมี งานวิชาการแก่ครูโรงเรียนนอกกลุ่มเป้าหมาย โรงเรียนเข้าร่วมโครงการอีก 8 โรงเรียน มอบครุภัณฑ์แก่โรงเรียน กิจกรรมที่ดำาเนินการในระยะที่สองมีดังนี้

และการ

5) โครงการจัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติเนื่องใน วโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ สมเด็จ 1) โครงการพัฒนาครู ผู้นำา และคณะทำางาน โดยการ พระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ศึกษาดูงานฝึกอบรม และประชุมสัมมนาทางวิชาการ ผลการดำาเนินงาน ได้ทำาการพัฒนาคุณภาพชีวิต 2) โครงการสำาหรับครู โดยการจัดอบรมเชิงปฏิบัติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโรงเรียนทั้งหมด 49 โรงเรียนใน การในเชิงวิชาการต่างๆ หมู่บ้านเป้าหมาย 60 หมู่บ้าน และโรงเรียนนอกเป้า 3) โครงการสำาหรับครู นักเรียน และผู้สนใจ หมายเพิ่มเติมอีก 15 โรงเรียนประสบความสำาเร็จตาม 4) โครงการร่วมกิจกรรม ได้แก่ ร่วมมือกับชุมชน วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ระดับหนึ่ง ดำาเนินงานต่างๆ งานนิทรรศการ สัมมนาทางวิชาการ

สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จฯ มาทรงเยี่ยมชาวบ้านในพื้นที่ป่าภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ

112 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำาริ ด้านการศึกษา และการพัฒนาคุณภาพชีวิต


สภาพพื้นที่ของอำ�เภอภูเขียวช่วงปี พ.ศ. 2528 – 2530 และเยาวชนในชุมชนในพื้นที่โครงการ

113 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำ�ริ ด้านการศึกษา และการพัฒนาคุณภาพชีวิต


โครงการพัฒนากิจกรรมสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อ การอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้สำ�หรับเยาวชน ปี พ.ศ. 2550 – 2551

ด้วย ครู จำ�นวน 16 คน นักเรียนจำ�นวน 259 คน จาก 7 โรงเรียน และนักวิจัยพร้อมผู้ช่วยวิจัย จำ�นวน 7 คน จาก คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

1) การเตรียมความพร้อม ผู้วิจัยทำ�การสำ�รวจ โรงเรียนเพื่อคัดเลือกโรงเรียนเป้าหมายในพื้นที่ อำ�เภอ คอนสาร และอำ�เภอเกษตรสมบูรณ์ เขตพื้นที่การศึกษา 2 จังหวัดชัยภูมิ ซึ่งเป็นพื้นที่ภายใต้การดำ�เนินงานของ โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำ�ริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) เมื่อได้โรงเรียนเป้าหมาย จึงมีการจัดการประชุม ตัวแทนโรงเรียนที่สนใจเข้าร่วมโครงการ เพื่อเสนอแนวคิด และรูปแบบของวิธีด�ำ เนินการ ผู้วิจัยเสนอร่างแผนผังการ จัดการศึกษาเพื่อสิ่งแวดล้อมที่เน้นผู้เรียนเป็นสำ�คัญแบบ บูรณาการ สาระการเรียนรู้ต่างๆ ภายใต้โครงการ ทำ�ความ ดีเพื่อพ่อ โครงการปลูกต้นไม้ที่บ้าน “การฝากทรัพย์ไว้กับ ดิน” โดยใช้การปลูกต้นไม้สักที่บ้านนักเรียนเป็นแกนกลาง ของการบูรณาการ หลังจากผู้วิจัยได้ส�ำ รวจโรงเรียนและ คัดเลือกโดยใช้ความสมัครใจของทางโรงเรียนแล้ว มีการ จัดการประชุมร่วมกับตัวแทนครูจากโรงเรียนต่างๆ และ

...ตั้งแต่อายุ 17 กว่าๆ ก่อน 18 ไม่กี่เดือน จนถึง 75 ยังขอร้องอะไรไม่สำ�เร็จสักอย่าง ไม่มี ผลอะไรเลย เรื่องต้นไม้ เต้นอยู่ตลอดก็ไม่มีผล สำ�เร็จ แอบตัด ทางการก็ไม่มีกฎหมายอะไร และมาตรการที่จะดูแลรักษาป่าเพื่อเก็บน้ำ�จืด ไว้...

พระราชเสาวนีย์ในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ว่าด้วยเรื่องการรักษาป่าไม้ และน้ำ� เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2550

การดำ�เนินงานประกอบด้วย 2 ขั้นตอน ได้แก่

โครงการพัฒนากิจกรรมสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการ 2) การจัดการศึกษาเพื่อสิ่งแวดล้อมที่เน้นผู้เรียนเป็น อนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ส�ำ หรับเยาวชน เป็นโครงการวิจัย เชิงปฏิบัติการแบบ Participatory Action Research มี สำ�คัญแบบบูรณาการ แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้ วัตถุประสงค์ของโครงการวิจัย เพื่อ 1) พัฒนาแผนผังการ • ระยะที่ 1 ครูคัดเลือกนักเรียนเข้าร่วมโครงการ จัดการศึกษาเพื่อสิ่งแวดล้อมที่เน้นผู้เรียนเป็นสำ�คัญแบบ นักเรียนเตรียมพื้นที่เพื่อปลูกต้นไม้สัก เมื่อ บูรณาการเรื่อง การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ (ป่าไม้) ร่วม นักเรียนเตรียมพื้นที่พร้อม ผู้วิจัยจะนำ�กล้าต้นไม้ กับครูจากโรงเรียนที่ตั้งอยู่รอบๆ เขื่อนจุฬาภรณ์ จังหวัด สักไปมอบให้นักเรียนปลูกคนละ 9 ต้น นักเรียน ชัยภูมิ 2) ศึกษาผลของการจัดการศึกษาเพื่อสิ่งแวดล้อม ต้องปลูกต้นไม้สักที่บ้านด้วยตัวเอง พร้อมดูแล ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำ�คัญแบบบูรณาการ เรื่อง การอนุรักษ์ รักษา และทำ�รายงานตามที่ครูมอบหมาย ผู้วิจัย ทรัพยากรธรรมชาติ (ป่าไม้) ต่อความรับผิดชอบ และ ติดตามผลงานของนักเรียน ครั้งที่ 1 จิตสำ�นึกอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ (ป่าไม้) ของนักเรียน • ระยะที่ 2 นักเรียนดูแลรักษา และศึกษาการ (เยาวชน) ที่ร่วมโครงการวิจัย การดำ�เนินการวิจัยมุ่งส่ง เจริญเติบโตของต้นไม้สัก โดยครูก�ำ หนดกิจกรรม เสริมครูในการจัดการศึกษาเพื่อสิ่งแวดล้อมด้วยกิจกรรมที่ ต่างๆ ให้นักเรียนทำ�เป็นระยะๆ ผู้วิจัยติดตาม เน้นผู้เรียนเป็นสำ�คัญแบบบูรณาการ โดยให้นักเรียนร่วม ผลงานของนักเรียนครั้งที่ 2 เมื่อนักเรียนปลูก ทำ�กิจกรรมด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ด้วยการ ต้นไม้สักไปแล้วประมาณ 2-3 เดือน ปลูกต้นสักทองที่บ้านด้วยตนเอง ผู้วิจัยมีบทบาทเป็นพี่ เลี้ยงคอยแนะนำ� ติดตาม ดูแล และส่งเสริมการดำ�เนิน • ระยะที่ 3 นักเรียนดูแลรักษาและศึกษาการเจริญ งานตลอดระยะเวลาที่ดำ�เนินงานวิจัย ผู้ร่วมวิจัยประกอบ เติบโตของต้นไม้สัก โดยครูก�ำ หนดกิจกรรม

114 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำ�ริ ด้านการศึกษา และการพัฒนาคุณภาพชีวิต


ต่างๆ ให้นักเรียนทำ�เป็นระยะๆ ผู้วิจัยติดตาม ผลงานของนักเรียนครั้งที่ 3 เมื่อเวลาผ่านไป 4-5 เดือน ทำ�การติดตามผล ใช้การสนทนากับ ครูผู้ร่วมโครงการ ศึกษาเอกสารข้อมูลผลงาน ต่างๆ ของนักเรียน สัมภาษณ์ครู การตรวจแฟ้ม สะสมงาน และสัมภาษณ์ตัวแทนนักเรียนที่ร่วม โครงการครั้งละ 5 - 10 คน โรงเรียนละอย่าง น้อย 3 ครั้ง หลังการสัมภาษณ์ทุกครั้งจะเยี่ยม ชมต้นไม้สักที่บ้านนักเรียนประมาณโรงเรียนละ 3-5 คน โดยให้นักเรียนพาไปดูตามความสมัคร ใจโครงการนี้ใช้เวลาประมาณ 1 ภาคการศึกษา ผลการดำ�เนินงานวิจัย/ผลกระทบ พบว่า ในขั้นการ เตรียมความพร้อม ทำ�ให้ได้แนวทางในการจัดการศึกษา เพื่ อ สิ่ ง แวดล้ อ มที่ เ น้ น ผู้ เรี ย นเป็ น สำ � คั ญ แบบบู ร ณาการ และได้โครงร่างแผนผังฯ และพัฒนาเป็นแผนผังแนวคิด การจัดการศึกษาเพื่อสิ่งแวดล้อมที่เน้นผู้เรียนเป็นสำ�คัญ แบบบูรณาการ สาระการเรียนรู้ต่างๆ โดยมีการปลูกต้นไม้ สักเป็นแกนกลาง และจากการสังเกตแบบมีส่วนร่วม สรุป ได้ว่าการประชุมระหว่างผู้ร่วมโครงการวิจัยทำ�ให้ครูผู้ร่วม กิจกรรมมีความรู้-ความเข้าใจหลักการ วัตถุประสงค์ และ วิธีด�ำ เนินงานของโครงการ พร้อมที่จะดำ�เนินกิจกรรมร่วม กับโครงการวิจัย และผลการดำ�เนินการในขั้นการพัฒนา ผู้เรียน พบว่า 1.) จำ�นวนต้นไม้สักที่อยู่รอดมากที่สุด คือ โรงเรียนบ้านบัว (รัฐราษฏร์วิทยา) (ร้อยละ 83.05) จำ�นวน ต้นไม้สักอยู่รอดน้อยที่สุด คือโรงเรียนบ้านหนองเชียงรอด (ร้อยละ 27.43) ความสูงเฉลี่ยของต้นไม้สักที่ปลูกสูงที่สุด คือโรงเรียนบ้านบัว (รัฐราษฏร์วิทยา) (54.95 เชนติเมตร) ความสูงเฉลี่ยของต้นไม้ที่ปลูกต่ำ�ที่สุดคือโรงเรียนบ้านน้ำ� ทิพย์ (40 เชนติเมตร) ต้นสักที่ตายบางโรงเรียนได้หากล้า ต้นไม้สักมาให้นักเรียนนำ�ไปปลูกทดแทนจนครบ โรงเรียน ที่ด�ำ เนินการอย่างเป็นระบบ ต้นไม้สักที่นักเรียนปลูกมี ความสูงเฉลี่ยมากกว่า 50 เซนติเมตร นักเรียนบางคนปลูก ต้นไม้สักได้สูงกว่า 2 เมตร ในเวลาเพียง 5 เดือนเท่านั้น 2) การแสดงผลงานโครงการของนักเรียน ก่อนปิดภาคเรียน ครูผู้รับผิดชอบบางโรงเรียนจะมอบหมายให้นักเรียนการ จัดนิทรรศการแสดงผลงานโครงการฯ และจัดการแสดง บนเวทีในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับต้นไม้ ให้เพื่อนนักเรียน และ ครูในโรงเรียนได้ชม นักเรียนและครูในโรงเรียนให้ความ

สนใจและร่วมชมผลงานจำ�นวนมาก ครูหลายคนชมว่า โครงการนี้เป็นโครงการที่ดีมาก 3) นักเรียนส่วนมากมี ความเข้าใจวัตถุประสงค์ของโครงการ รู้ว่าการปลูกต้นสัก ครั้งนี้ เป็นการทำ�ความดีถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เพื่อ ช่วยทำ�ให้ระบบนิเวศน์และสิ่งแวดล้อมดีขึ้น ช่วยลดมลพิษ ช่วยลดปัญหาโลกร้อน และเป็นทรัพย์สินของตนเองใน อนาคต 4) ผลจากการสัมภาษณ์ และการตรวจผลงานของ นักเรียน สะท้อนให้เห็นว่านักเรียนที่ร่วมโครงการจำ�นวน มากเกิดความรัก เกิดความผูกพันหวงแหน มีความภาค ภูมิใจมีความหวังกับต้นไม้สักที่เขาปลูกและดูแลรักษามาก และบางคนต้องการปลูกเพิ่มอีก แสดงให้เห็นว่าโครงการ วิจัยครั้งนี้ทำ�ให้นักเรียนเกิดความรับผิดชอบและจิตสำ�นึก ในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ เพราะกระบวนการที่ใช้ได้ สร้างความรัก ความผูกพัน และเอาใจใส่ดูแลรักษา ตลอด จนความเข้าใจในคุณค่าของต้นไม้ต่อสังคม สิ่งแวดล้อม และตนเอง ตามแนวทางการจัดการศึกษาเพื่อสิ่งแวดล้อม นั่นเอง

115 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำ�ริ ด้านการศึกษา และการพัฒนาคุณภาพชีวิต


กิจกรรมในโครงการทำ�ความดีเพื่อพ่อปลูกต้นไม้ที่ บ้าน “การฝากทรัพย์ไว้กับดิน” ที่จังหวัดชัยภูมิ

116 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำ�ริ ด้านการศึกษา และการพัฒนาคุณภาพชีวิต


โครงการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ ตามหลัก ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา ปี พ.ศ. 2550 - 2551

ตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ระยะที่ 3 การนำ� สาระการเรียนรู้ท้องถิ่นตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอ เพียง สู่การปฏิบัติจริงในสถานศึกษา ระยะที่ 4 การนิเทศ ติ ด ตามผลการนำ � สาระการเรี ย นรู้ ท้ อ งถิ่ น ตามแนวคิ ด ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในกิจกรรมการเรียนการ สอนจริงในชั้นเรียน และระยะที่ 5 การติดตามและประเมิน ผลความก้าวหน้า การดำ�เนินโครงการครั้งนี้ มุ่งเน้นให้ เกิดความเข้มแข็งทางการศึกษาเพื่อพัฒนาเยาวชนได้ตรง ตามศักยภาพ และให้มีคุณภาพสูงสุด เพื่อผลสุดท้ายให้ เยาวชนเป็นกำ�ลังเข้มแข็งพัฒนาท้องถิ่นบ้านเกิดของตน อย่างยั่งยืน

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานแนว ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเป็นแนวทางในการดำ�รง ชีวิตของพสกนิกร แต่เนื่องจากเป็นแนวปรัชญาทำ�ให้ ต้องมีการศึกษาค้นคว้าให้ถึงแก่นแท้และนำ �ไปประยุกต์ ให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของแต่ละแห่ง และจัดทำ� เป็นโครงการพัฒนาที่เหมาะสม ดังนั้นคณะศึกษาศาสตร์ ร่วมกับศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ พิจารณาเห็นว่าผู้ที่เหมาะสมจะเป็นคลังความรู้ของชุมชน ผลของการดำ�เนินโครงการพบว่าเกิดประโยชน์ทั้งต่อ ควรจะเป็นสถานศึกษา จึงดำ�เนินโครงการต้นแบบกับกลุ่ม สถานศึกษา ครูผู้เข้ารับการอบรม และนักเรียนที่เข้าร่วม เป้าหมาย กิจกรรม โดยพบว่าเกิดหลักสูตรท้องถิ่นด้านเศรษฐกิจพอ โครงการการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ ตามหลัก เพียง 8 - 16 หลักสูตรตามศักยภาพของแต่ละโรงเรียน ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา จัดทำ�ขึ้นโดยมี นั ก เรี ย นที่ บ รรลุ ผ ลสั ม ฤทธิ์ ต ามแผนการเรี ย นรู้ ม ากกว่ า วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาความรู้ความเข้าใจในหลักปรัชญา 1,000 คน และครูผู้สอนเกิดความรู้ความเข้าใจในปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียง ให้กับบุคลากรในระดับคณะและ เศรษฐกิจพอเพียงจนถึงขั้นนำ�ไปปฏิบัติ และถ่ายทอดได้ โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ เพื่อพัฒนาการออกแบบ จำ�นวนกว่า 100 คน การจัดการเรียนรู้ให้คณะครูในโครงการฯ สามารถนำ�ไป ใช้ในการจัดการเรียนรู้ในเรื่องปรัชญาของเศรษฐกิจพอ เพียง เพื่อพัฒนากรอบแนวคิด จัดทำ�สาระการเรียนรู้ท้อง ถิ่ น ด้ า นปรั ช ญาเศรษฐกิ จ พอเพี ย งในระดั บ สถานศึ ก ษา และสามารถนำ � สาระการเรี ย นรู้ ท้ อ งถิ่ น ด้ า นเศรษฐกิ จ พอเพี ย งในระดั บ สถานศึ ก ษาไปประยุ ก ต์ ใช้ ไ ด้ อ ย่ า ง แท้จริง โดยคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ รั บ การสนั บ สนุ น และความร่ ว มมื อ จากศู น ย์ บ ริ ก าร วิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่นในการดำ�เนินงาน โดยมี รองศาสตราจารย์ลัดดา ศิลาน้อย เป็นหัวหน้าโครงการ กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับบริการทางวิชาการจากโครงการนี้ ประกอบด้วยครู ผู้บริหาร และนักเรียนจากโรงเรียนโนน ท่อนวิทยา โรงเรียนบ้านหนองกุงวิทยาคาร โรงเรียน มัธยมหนองเขียด โรงเรียนพูวัดพิทยาคม โรงเรียนคูขาด (สถิตอุปถัมภ์) โรงเรียนแท่นศิลาทิพย์ศึกษา และโรงเรียน บ้านนาศรีดงเค็ง การดำ�เนินการโครงการมี 5 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือเพื่อพัฒนาความรู้ความ เข้าใจร่วมกัน ระยะที่ 2 การพัฒนาสาระการเรียนรู้ท้องถิ่น

117 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำ�ริ ด้านการศึกษา และการพัฒนาคุณภาพชีวิต


โครงการโอลิมปิกวิชาการ และพัฒนามาตรฐาน วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ศึกษา และโครงการฟิสิกส์ดาราศาสตร์โอลิมปิก ปี พ.ศ. 2543 - ปัจจุบัน การที่ประเทศไทยส่งนักเรียนเข้าแข่งขันคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ โดยมีเป้าหมาย ที่ จ ะวั ด มาตรฐานการศึ ก ษาระดั บ มั ธ ยมศึ ก ษาของ ประเทศไทยเทียบกับมาตรฐานสากล และนำ�ความรู้ที่ได้ จากการแข่งขันมาช่วยยกระดับการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ของประเทศ โดยดำ�เนินการส่งเยาวชน ไทยเข้าแข่งขันโอลิมปิกวิชาการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2532 จนถึง ปัจจุบันเป็นเวลามากกว่าสิบปีแล้ว สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรม หลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ได้ทรงเล็งเห็นความสำ�คัญ และปั ญ หาของการพั ฒ นาการศึ ก ษาวิ ท ยาศาสตร์ แ ละ คณิตศาสตร์ ให้ได้ระดับมาตรฐานสากล จึงได้ทรงประทาน เงินส่วนพระองค์ให้สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ไปดำ�เนินการจัดตั้ง “มูลนิธิส่งเสริม โอลิ ม ปิ ก วิ ช าการและพั ฒ นามาตรฐานวิ ท ยาศาสตร์ ศึกษา ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ (สอวน.)” ทั้งทรงรับเป็นองค์ประธานมูลนิธิด้วย ดังนั้น เพื่อเป็นการสนองพระดำ�ริขององค์ประธานมูลนิธิ และ เพื่อประโยชน์ของประเทศในระยะยาว คณะวิทยาศาสตร์ ในมหาวิทยาลัยของรัฐจำ�นวน 19 แห่ง และสถาบันส่ง เสริมการสอนวิทยาศาสตร์ จึงได้จัดทำ�โครงการส่งเสริม โอลิมปิกวิชาการ และพัฒนามาตรฐานวิทยาศาสตร์ศึกษา ขึ้น โดยมุ่งเน้นไปที่กลุ่มนักเรียนที่มีความพร้อมที่จะเรียนรู้ ก่อน รวมทั้งพัฒนาวิธีสอน และทัศนคติของครูในโรงเรียน ด้วย แล้วต่อจากนั้นจึงจะขยายผลต่อไป คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ ร่วมสนองพระดำ�ริของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้า กัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ โดยรับ เป็นศูนย์ของมูลนิธิส่งเสริมโอลิมปิกวิชาการ และพัฒนา มาตรฐานวิทยาศาสตร์ศึกษา ในภูมิภาคตะวันออกเฉียง เหนือ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 เป็นต้นมา โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเตรียมความพร้อมทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ

ให้ กั บ เยาวชนไทยที่ จ ะไปแข่ ง ขั น โอลิ ม ปิ ก วิ ช าการให้ สามารถเข้าร่วมแข่งขันกับเยาวชนจากนานาประเทศได้ อย่างมั่นใจ และประสบความสำ�เร็จในการแข่งขันได้มาก ขึ้น 2) ขยายจำ�นวนนักเรียนให้ได้มีโอกาสเข้ามารับการฝึก อบรมในโครงการโอลิมปิกวิชาการมากขึ้น เพื่อยกระดับ มาตรฐานการศึกษาของนักเรียน 3) เพิ่มจำ�นวนอาจารย์ วิทยาศาสตร์ และอาจารย์คณิตศาสตร์ที่มีคุณภาพ และ มีความพร้อมที่จะช่วยในการพัฒนาการเรียนการสอนใน ระดับโรงเรียนให้ได้มาตรฐานเทียบสากล 4) นำ�ประโยชน์ที่ ได้จากการดำ�เนินการโครงการโอลิมปิกวิชาการมาพัฒนา และปรับปรุงหลักสูตรวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ให้ได้ ระดับมาตรฐานสากล และได้หลักสูตรพิเศษที่สามารถนำ� ไปใช้คัดเลือกนักเรียนที่ดีเด่นจริงๆ เข้าศึกษาต่อในระดับ มหาวิทยาลัยในประเทศในอนาคต คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้รับสมัคร และสอบคัดเลือกนักเรียนเข้าร่วมเป็นสมาชิกค่ายใน 5 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาชีววิทยา สาขาเคมี สาขาฟิสิกส์ สาขาคณิตศาสตร์ และสาขาคอมพิวเตอร์ จำ�นวนสาขา วิชาละ 35 คน รวมเป็น 175 คน เพื่อเข้าค่ายโอลิมปิก วิชาการค่ายที่ 1 ในเดือนตุลาคมของทุกปี และคัดเลือก นักเรียนสาขาละ 20 คนจากค่ายโอลิมปิกวิชาการค่ายที่ 1 เพื่อเข้าค่ายโอลิมปิกวิชาการค่ายที่ 2 ในเดือนมีนาคมของ ทุกปี ระยะเวลาเข้าค่ายฯ ครั้งละ 15 - 18 วัน หลังจากนั้น จะดำ�เนินการคัดเลือกนักเรียนจากค่ายโอลิมปิกวิชาการ ค่ายที่ 2 จำ�นวนสาขาวิชาละ 6 คน เพื่อไปแข่งขันระดับ ประเทศ และผู้ที่ชนะการแข่งขันระดับประเทศ จะเป็น ตัวแทนของประเทศไทยในการเข้าแข่งขันกับเยาวชนจาก ประเทศต่างๆ ต่อไป เพื่ อ ให้ เ ป็ น ไปตามวั ต ถุ ป ระสงค์ ใ นการยกระดั บ มาตรฐานการศึ ก ษาของโรงเรี ย นให้ ไ ด้ ร ะดั บ สากลใน จังหวัดต่างๆ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้ คัดเลือกโรงเรียนที่มีศักยภาพในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นศูนย์เครือข่าย จำ�นวน 10 โรงเรียน ใน 8 จังหวัด ได้แก่โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น (ศึกษาศาสตร์) จังหวัดขอนแก่น โรงเรียนขอนแก่นวิทยายน จังหวัด ขอนแก่น โรงเรียนกาฬสินธุ์พิทยาสรรพ์ จังหวัด กาฬสินธุ์ โรงเรียนสารคามพิทยาคม จังหวัดมหาสารคาม โรงเรียนสกลราชวิทยานุกูล จังหวัดสกลนคร โรงเรียน

118 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำ�ริ ด้านการศึกษา และการพัฒนาคุณภาพชีวิต


ปทุมเทพพิทยาคาร จังหวัดหนองคาย โรงเรียนหนองบัว พิทยาคาร จังหวัดหนองบัวลำ�ภู โรงเรียนเลยพิทยาคม จังหวัดเลย โรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย จังหวัดนครราชสีมา โรงเรียนชัยภูมิภักดีชุมพล จังหวัดชัยภูมิ โรงเรียนสุร วิทยาคาร จังหวัดสุรินทร์ โรงเรียนบุรีรัมย์พิทยาคม จังหวัด ผลการดำ�เนินงานจนถึงปีการศึกษา 2551 มีนักเรียน บุรีรัมย์ ที่เข้าค่ายโอลิมปิกวิชาการแล้วทั้งสิ้นจำ�นวน 18 ค่าย มี นอกจากนี้ คณะวิทยาศาสตร์ ได้รับมอบหมายให้ จำ�นวนนักเรียนที่ร่วมโครงการมากกว่า 400 คน และมี เป็ น เจ้ า ภาพจั ด การแข่ ง ขั น โอลิ ม ปิ ก วิ ช าการระดั บ ชาติ การคัดเลือกนักเรียนไปแข่งขันโอลิมปิกวิชาการระดับชาติ จำ�นวน 5 ครั้ง ดังนี้ 1) สาขาคณิตศาสตร์ ปีพ.ศ. 2548 2) ประมาณ 108 คน สาขาวิชาเคมี ปีพ.ศ. 2549 3) สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ ปี โครงการฟิสิกส์ดาราศาสตร์โอลิมปิก เป็นโครงการ พ.ศ. 2550 4) สาขาฟิสิกส์ดาราศาสตร์ระดับมัธยมศึกษา ซึ่งเกิดขึ้นในภายหลัง เนื่องจากเล็งเห็นว่าความรู้ในด้าน ตอนต้น ปี พ.ศ. 2550 และ 5) สาขาชีววิทยา ปี พ.ศ. 2552 เตรียมอุดมศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัด สกลนคร โรงเรียนอุดรพิทยานุกูล จังหวัดอุดรธานี โรงเรียน ปทุมเทพพิทยาคาร จังหวัดหนองคาย โรงเรียนหนองบัว พิทยาคาร จังหวัดหนองบัวลำ�ภู โรงเรียนเลยพิทยาคม จังหวัดเลย

ดาราศาสตร์ จ ะทำ � ให้ ผู้ เรี ย นเกิ ด จิ น ตนาการที่ ก ว้ า งไกล มีประโยชน์มากต่อการพัฒนาประเทศ แบ่งออกเป็น โครงการฟิ สิ ก ส์ ด าราศาสตร์ โ อลิ ม ปิ ก ระดั บ มั ธ ยมศึ ก ษา ตอนต้น เริ่มดำ�เนินงานโครงการตั้งแต่ปีการศึกษา 2546 จนถึงปัจจุบัน มีการรับสมัครคัดเลือกนักเรียนเพื่อเข้าเป็น สมาชิกค่ายที่ 1 ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จำ�นวน 35 คน และค่ายที่ 2 ซึ่งคัดจากค่ายที่ 1 จำ�นวน 20 คน โดยเข้า ค่ายละ 10 - 15 วัน หลังจากเข้าค่ายที่ 2 แล้วคัดเลือก ไปแข่งขันระดับประเทศ จำ�นวน 6 คน และโครงการฟิสิกส์ ดาราศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เริ่มดำ�เนินการ มาตั้งแต่ปีการศึกษา 2548 จนถึงปัจจุบัน มีการรับสมัคร สอบคัดเลือก เพื่อเข้าค่ายที่ 1 จำ�นวน 35 คน โดยเข้า ค่ายในเดือนมีนาคม - เมษายน ของทุกปี ซึ่งต่อเนื่องจาก นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น แล้วคัดเลือกเพื่อไป แข่งขันระดับประเทศ จำ�นวน 6 คน รวมจำ�นวนนักเรียน โครงการฟิสิกส์ดาราศาสตร์ที่ได้รับคัดเลือกไปแข่งขันระดับ ประเทศทั้งระดับ ม. ต้น และม.ปลาย รวมเป็น 12 คน และ เช่นเดียวกันโครงการฟิสิกส์ดาราศาสตร์ มีโรงเรียนศูนย์ เครือข่ายในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำ�นวน 14 โรงเรียน ใน 10 จังหวัด ได้แก่ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น (ศึกษาศาสตร์) จังหวัดขอนแก่น โรงเรียนขอนแก่นวิทยายน จังหวัดขอนแก่นโรงเรียนกาฬสินธุ์พิทยาสรรพ์ จังหวัด กาฬสินธุ์ โรงเรียนสารคามพิทยาคม จังหวัดมหาสารคาม โรงเรียนสกลราชวิทยานุกูล จังหวัดสกลนคร โรงเรียน เตรียมอุดมศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัด สกลนครโรงเรียนอุดรพิทยานุกูล จังหวัดอุดรธานี โรงเรียน

119 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำ�ริ ด้านการศึกษา และการพัฒนาคุณภาพชีวิต


โครงการออกแบบ ศูนย์สามวัย สานสายใยรัก แห่งครอบครัว โคกสี จังหวัดขอนแก่น

เชื่อมโยงเป็นวงจรทุกวัย (วัยเด็ก วัยพ่อ-แม่ วัยปู่-ย่าตา-ยาย) พร้อมทั้งบูรณาการการดำ�เนินงานของทุกภาค ส่วนในการให้บริการประชาชนแบบองค์รวม สร้างรูปแบบ การจัดตั้งศูนย์สามวัย สานสายใยรักแห่งครอบครัว ตัวอย่างที่ดีในการพัฒนา ดำ�เนินงานตามโครงการสายใย โคกสี จังหวัดขอนแก่น ในพระอุปถัมภ์ พระเจ้าวรวงศ์ รักแห่งครอบครัว เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาฯ นี้ เพื่อสนองพระ การดำ�เนินงานการออกแบบ ศูนย์สามวัย สานสายใย กระแสรับสั่งของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎ รักแห่งครอบครัว โคกสี จังหวัดขอนแก่น แบ่งออกเป็น 2 ราชกุมาร ความว่า ส่วน โดยส่วนแรกออกแบบปรับปรุงอาคาร และบริเวณ โดยรอบอาคาร ส่วนที่สองออกแบบตกแต่งภายใน ทั้ง ...เพื่อให้การดำ�เนินโครงการสายใยรักแห่ง สองส่วนใช้รูปแบบแนวคิด ”การดำ�เนินชีวิตแห่งวิถีชาว ครอบครัว สามารถสร้างความอบอุ่น ชุมชนเข้ม บ้าน” ซึ่งแนวคิดแสดงถึงภูมิปัญญาท้องถิ่นวัฒนธรรม ที่ แข้งได้ ควรมีศูนย์กลางในการพัฒนาคุณภาพ มีการถ่ายทอดสืบต่อกันมาทั้งในสังคมชนบท และในสังคม ชีวิต เน้นความต่อเนื่องเชื่อมโยงเป็นวงจรทุกช่วง เมือง ไม่ว่าจะเป็น ตำ�นาน นิทาน นิยายประจำ�ถิ่น เพลง ปริศนาคำ�ทาย สำ�นวนภาษิต คำ�พังเพย การละเล่นและ วัย ภายใต้การดำ�เนินงานของหลักการเหตุผล การแสดงพื้นเมือง เครื่องมือเครื่องใช้ อาหารการกิน ยา ตั้งแต่การสร้างความคิดรวบยอด การกำ�หนดคำ� พื้นบ้าน ความเชื่อ ประเพณีและพิธีกรรม ศาสตร์พื้นบ้าน จำ�กัดความที่ชัดเจน และการถ่ายทอดลงสู่ระดับ และกวีนิพนธ์พื้นบ้าน ตลอดจนประเพณีสมัยโบราณอีก ต่างๆ เพื่อนำ�ไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม ด้วย จุดเด่นของโครงการ คือเป็นโครงการที่สร้างความรัก โดยคำ�นึงถึงปัจจัยที่จะนำ�ไปสู่ความสำ�เร็จตลอด ความผูกพันของคนในครอบครัว ให้บุคคลสามวัยที่มารับ บริการ ก่อให้เกิดความเอื้ออาทร ห่วงใยดูแลซึ่งกันและกัน จนข้อดี ข้อเสียต่างๆ... เป็นพลังแห่งความรักความผูกพันในการดำ�เนินชีวิตที่ถูก ต้องและดีงาม

ด้ ว ยศู น ย์ พั ฒ นาการจั ด สวั ส ดิ ก ารสั ง คมผู้ สู ง อายุ ขอนแก่น สังกัดสำ�นักบริการสวัสดิการสังคม กรมพัฒนา สังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความ มั่นคงของมนุษย์ ได้ด�ำ เนินการตามโครงการสายใยรักแห่ง ครอบครัว ร่วมกับหน่วยงานในสังกัดกระทรวงการพัฒนา สังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงเกษตรและ กระทรวงสาธารณสุข โดยศูนย์ฯได้ด�ำ เนินการขับเคลื่อน และบู ร ณาการโครงการร่ ว มกั บ มหาวิ ท ยาลั ย ขอนแก่ น เครือข่ายในระดับจังหวัด เพื่อเตรียมความพร้อมใน การเปิดศูนย์สามวัย สานสายใยรักแห่งครอบครัว โคกสี จังหวัดขอนแก่น ในด้านการออกแบบตกแต่งภายในและ ออกแบบอาคารพร้อมทั้งบริเวณโดยรอบอาคาร

ดังนั้น การสื่อความให้คนทั้งสามวัยมาอยู่ร่วมกัน ได้ สามารถมีกิจกรรมร่วมกัน เข้าใจร่วมกันและกัน และ เกิดสายใยแห่งความเอื้ออาทรตามแบบฉบับของวิถีความ เป็นไทย ซึ่งเป็นวัฒนธรรมอันดีงามของชาวไทยนั้น ต้อง ได้รับการออกแบบ และนำ�เสนออย่างเหมาะสมจึงเป็น เหตุ ใ ห้ ห ลายหน่ ว ยงานเข้ า มาร่ ว มสนองพระราชดำ � ริ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ และคณะศิลปกรรมศาสตร์ได้มีส่วนร่วมในการคิด การ ออกแบบของศูนย์ฯดังกล่าว ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552 เป็นต้น มา โดยมีรายละเอียดของการดำ�เนินงาน ดังนี้ ส่วนแรก การออกแบบปรับปรุงอาคารและบริเวณ โดยรอบ

การออกแบบ ศูนย์สามวัย สานสายใยรักแห่ง โครงการปรั บ ปรุ ง อาคารเดิ ม ซึ่ ง ร้ า งมานานโดย ครอบครัว โคกสี จังหวัดขอนแก่น มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็น ปรับปรุงส่วนของฐานราก คานคอดิน เสา คานและโครง ศูนย์กลางในการพัฒนาคุณภาพชีวิต เน้นความต่อเนื่อง หลังคาบางส่วน การออกแบบปรับปรุงนี้เป็นความร่วม

120 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำ�ริ ด้านการศึกษา และการพัฒนาคุณภาพชีวิต


มือระหว่างคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัย ขอนแก่น และ อบต.โคกสี ปรับปรุงอาคารให้เป็นเฮือน อี ส านเพื่ อ สะท้ อ นวั ฒ นธรรมอี ส านซึ่ ง ถ่ า ยทอดสู่ ง าน สถาปัตยกรรม ซึ่งเป็นภูมิปัญญาในการอยู่อาศัยในพื้น ที่ๆ มีอากาศร้อนและแห้งแล้งแบบภาคตะวันออกเฉียง เหนือของประเทศไทย โดยใช้โครงสร้างเดิมเป็นหลักเพื่อ ประหยัดค่าใช้จ่าย แต่ได้ปรับรูปลักษณ์อาคารและรูปทรง หลังคาด้านหน้าให้เป็นลักษณะหลังคาปั้นหยาแบบเรียบ ง่าย ทิ้งชายคาเพื่อการกันแดดและฝน โดยมีค้ำ�ยันช่วยใน บางส่วนตามลักษณะอาคารไทย พร้อมยกหลังคาซ้อนอีก ชั้นหนึ่งเพื่อเป็นช่องระบายอากาศร้อนออกจากใต้หลังคา

ด้านหน้าอาคารออกแบบให้มีระเบียงเป็นพื้นที่เชื่อมต่อ ระหว่างภายในกับภายนอกอาคาร เป็นส่วนกันแดดให้กับ ด้านหน้าอาคารและเป็นส่วนที่รองรับกิจกรรมเหมือนส่วน เกยของเฮือนอีสานยื่นมุขหลังคาเพื่อเน้นทางเข้าอาคาร และเป็นการยื่นหลังคาออกมาต้อนรับผู้เข้ามาใช้อาคาร ผังพื้นอาคารประกอบด้วยส่วนใช้สอยสำ�คัญคือ ส่วน ด้านหน้าประกอบด้วยห้องที่ประทับ ห้องสำ�นักงาน ห้อง โถงนิทรรศการ ส่วนด้านหลังอาคารประกอบด้วยห้องน้ำ� ห้องเก็บของ และห้องครัว สีอาคารเน้นสีโทนส้ม ซึ่งเป็นสี ประจำ�พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าศรีรัศมิ์พระวรชายาฯ

แสดงอาคารของเดิมก่อนปรับปรุง และการปรับปรุงซ่อมแซมและก่อสร้างอาคารตามแนวคิด “เฮือนอีสาน”

121 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำ�ริ ด้านการศึกษา และการพัฒนาคุณภาพชีวิต


การปรับปรุงผังบริเวณบึงสาธารณะหนองโจด ตามแนวคิด “การดำ�เนินชีวิตแห่งวิถีชาวบ้าน”

การปรับปรุงสถานที่โดยรอบเพื่อให้

ส่วนที่สอง การออกแบบตกแต่งภายใน

1) เป็นสัญลักษณ์ ได้แก่ การเลือกใช้ต้นไม้ในท้อง ที่ส�ำ หรับโครงการสื่อถึงความเป็นพื้นถิ่นอีสาน เช่น ต้น หมาก ต้นคูณ เป็นต้น นอกจากนี้ แนวต้นหมากรอบบึง บริเวณท่าน้ำ� และศาลาริมน้ำ�เป็นฉากหลังที่สื่อถึงผู้สูงวัย อันเป็นหลัก และรากฐานสำ�คัญของชุมชน

การออกแบบตกแต่งภายในศูนย์สามวัย สานสายใย รักแห่งครอบครัว โคกสี จังหวัดขอนแก่น เพื่อให้ผู้ชมได้รับ ความรู้ และความเข้าใจวัฒนธรรมชาวไทยอีสาน ที่มีการ ถ่ายทอดสืบต่อกันมา ทั้งสังคมชนบทและสังคมเมือง สื่อ ให้เห็นถึงสายใยรักแห่งครอบครัว มีการเรียนรู้ร่วมกัน มี 2) เพื่อการใช้ประโยชน์ของคนทั้งสามวัยในเวลา พื้นที่สำ�หรับจัดกิจกรรมตามกรอบแนวคิด 5 แนวคิด เดียวกัน เช่น ลู่วิ่งสำ�หรับเด็ก และวัยพ่อ-แม่ ศาลาริมน้ำ� 1. เตรียมพร้อมก่อนครองคู่ และสวนสาธารณะสำ�หรับผู้สูงวัย ตลอดจนได้จำ�ลองวิถี 2. เรียนรู้ร่วมกันแต่ในครรภ์ (ทารก พ่อ แม่) ชีวิตของชาวบ้านในชุมชน สะท้อนให้เห็นอีกมุมมองหนึ่ง 3. คิดสร้างสรรค์แต่เยาว์วัย ของชาวอีสานที่เกี่ยวข้องกับการใช้ประโยชน์ และความ ผูกพันกับน้ำ� และนำ�ไปสู่การพยายามรณรงค์ให้ชาวบ้าน 4. ครอบครัวเสริมกายใจ เห็นความสำ�คัญของแหล่งน้ำ�หลักของชุมชน 5. ผู้สูงวัยสานสายใยรัก

122 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำ�ริ ด้านการศึกษา และการพัฒนาคุณภาพชีวิต


วัฒนธรรมไทยอีสาน การยึดหลักธรรมในการดำ�รงชีวิต ประเพณีการบายศรีสู่ขวัญที่สื่อความหมายถึงการเคารพ และแสดงมุทิตาจิตต่อกันอันเป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงความรัก เคารพ นับถือ ศรัทธาผู้อาวุโส

123 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำ�ริ ด้านการศึกษา และการพัฒนาคุณภาพชีวิต


แนวคิดความเป็นวิถีชีวิตของคน และธรรมชาติ สายน้�ำ กับชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านซึ่งพึ่งพาน้ำ� ทางเข้ า หลั ก ด้ า นหน้ า เป็ น ภาพสมเด็ จ พระบรม โอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาฯ และพระองค์เจ้า ทีปังกรรัศมีโชติ แสดงภาพวาดด้วยสีน�้ำ มัน แสดงความ หมายอันทรงคุณค่าจินตนาการสร้างสรรค์ ความจงรัก ภักดีของเหล่าพสกนิกร น้อมรำ�ลึกถึงพระกรุณาธิคุณใน สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาฯ

การออกแบบและการปรับปรุงแบบตามแนวคิด 5 ฐาน “การดำ�เนินชีวิตแห่งวิถีชาวบ้าน”

124 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำ�ริ ด้านการศึกษา และการพัฒนาคุณภาพชีวิต


การออกแบบและการปรับปรุงแบบตาม แนวคิด 5 ฐาน “การดำ�เนินชีวิตแห่งวิถีชาวบ้าน”

125 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำ�ริ ด้านการศึกษา และการพัฒนาคุณภาพชีวิต


ภาพวาดสีน้ำ�มันโดย อาจารย์ทรงวุฒิ แก้ววิศิษฐ์ สื่อถึงความผูกพันของครอบครัว แสดงให้เห็นถึงความรักของพ่อ แม่ ลูกและชีวิตที่อบอุ่น

126 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำ�ริ ด้านการศึกษา และการพัฒนาคุณภาพชีวิต


กราฟิกแนวคิด 5 ฐาน ภาพที่ 1 เตรียมพร้อมก่อน ครองคู่ ต้ อ งการสื่ อ ให้ รู้ ว่ า ก่ อ นครองคู่ ต้องศึกษาและเข้าใจทั้งด้านร่างกาย แ ล ะ จิ ต ใจ ข อ ง คู่ ค ร อ ง ต ล อ ด จ น การเตรียมตัว

ภาพที่ 2 เรียนรู้ร่วมกันแต่ใน ครรภ์ (ทารก พ่อ แม่) มุ่ ง เน้ น ความรู้ เ กี่ ย วกั บ สุ ข ภาพ อนามัย ความสัมพันธ์ และการช่วย เหลื อ กั น ในครอบครั ว แสดงให้ เ ห็ น ว่าทารกสามารถเรียนรู้รับรู้ความรัก ตลอดจนมีพัฒนาการตั้งแต่ยังอยู่ใน ครรภ์ และอารมณ์ของแม่จะมีผลต่อ ทารก ภาพที่ 3 คิดสร้างสรรค์แต่เยาว์วัย การพัฒนาเด็กและเยาวชนตาม ขั้นตอนพัฒนาการตามวัย

127 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำ�ริ ด้านการศึกษา และการพัฒนาคุณภาพชีวิต


ภาพที่ 4 ครอบครัวเสริมกายใจ มุ่งเน้น ศีลธรรม จริยธรรม ค่า นิยม เศรษฐกิจ จิตวิทยาครอบครัว ความสั ม พั น ธ์ แ ละความรั บ ผิ ด ชอบ การรู้จักปัญหาที่เกิดขึ้น/มาตรการการ แก้ปัญหาครอบครัวสังคมในทางที่ถูก

ภาพที่ 5 ผู้สูงวัยสานสายใยรัก การดู แ ลและรั ก ษาสภาพกาย และจิตใจ การกระตุ้นและดึง ประสบการณ์ของผู้สูงวัยมาใช้

ผลงานการตกแต่งภายในศูนย์สามวัย สานสายใยรักแห่งครอบครัว โคกสี จังหวัดขอนแก่น

128 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำ�ริ ด้านการศึกษา และการพัฒนาคุณภาพชีวิต


129 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำ�ริ ด้านการศึกษา และการพัฒนาคุณภาพชีวิต


ผู้รับผิดชอบการออกแบบ โครงการศูนย์สามวัย สานสายใยรักแห่งครอบครัว โคกสี จังหวัดขอนแก่น การออกแบบปรับปรุงอาคาร ทั้งบริเวณโดยรอบอาคาร ผศ.ดร.ชำ�นาญ บุญญาพุทธิพงศ์ สาขาวิชาเทคโนโลยีอาคาร คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น การออกแบบตกแต่งภายใน อาจารย์ดวงจันทร์ นาชัยสินธุ์ สาขาวิชาออกแบบนิเทศศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ผลงานการตกแต่งภายในศูนย์สามวัย สานสายใยรักแห่งครอบครัว โคกสี จังหวัดขอนแก่น

130 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำ�ริ ด้านการศึกษา และการพัฒนาคุณภาพชีวิต


บทที่ 5

มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำ�ริ ด้านการบูรณาการของพื้นที่ ในชุมชนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง


“...การทํางานแบบบูรณาการอยางเชน

ศูนยศึกษา การพัฒนาฯ เปนการทดลองโดยนําเอาบุคลากร ที่มีความรูจากหนวยงานตางๆ ที่รูปญหาในพื้นที่ ใหเอาปญหาของพื้นที่เปนฐาน มาชวยกันรวมมือ รวมใจกันคิด...” พระราชดำารัส สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานแก่ผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่สำานักงานมูลนิธิชัยพัฒนา เมื่อวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2552

132 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำาริ ด้านการบูรณาการของพื้นที่ในชุมชนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง


บทที่ 5 มหาวิทยาลัยขอนแก่น กับโครงการพระราชดำ�ริ ด้านการบูรณาการ ของพื้นที่ในชุมชนต้นแบบ เศรษฐกิจพอเพียง จากแนวคิดที่ว่ามหาวิทยาลัยขอนแก่นเป็นสถาบัน อุดมศึกษาหลักของทั้งภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำ�ให้ งานพัฒนากระจายไปในจังหวัดต่างๆ ของภาคตะวัน ออกเฉียงเหนือทั้ง 19 จังหวัด ส่งผลให้การพัฒนาส่วน ใหญ่เป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า และไม่สามารถ พัฒนาอย่างต่อเนื่องได้ เนื่องจากข้อจำ�กัดในเรื่องของ การกระจายโครงการเพื่อตอบสนองต่อความต้องการ ของประชาชนหลังจากการเรียนรู้ และประสบการณ์ใน การพัฒนาที่สั่งสมมาจนในที่สุดทำ�ให้เกิดการพัฒนาใน ลักษณะใหม่ขึ้นแทนที่การพัฒนาเฉพาะด้านในรูปแบบ เดิม โดยทำ�งานในลักษณะการบูรณาการของหลายสาขา วิชา เพื่อให้เกิดการพัฒนาของเศรษฐกิจ สังคม และ สิ่ ง แวดล้ อ มในองค์ ร วมตามแนวพระราชดำ � ริ ป รั ช ญา เศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่ง ต้องอาศัยภูมิสังคม (ทั้งภูมิประเทศ ภูมิอากาศ และ ขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรมของคนในสังคมนั้น) มีการพัฒนาตามปัญหาของชุมชนเป็นที่ตั้ง แต่ใช้ความ รู้จากนักวิชาการในหลายสาขาเข้าไปแก้ไขโดยความเห็น ชอบร่วมกัน ทำ�ให้เปลี่ยนระบบการทำ�งานจากที่ทำ�ตาม แนวทางของนักวิชาการที่เสนอโครงการเข้ามา เป็นการ ร่วมกันคิดร่วมกันทำ� เรียนรู้ร่วมกัน และพัฒนาพร้อมกัน ทั้งคนและงาน

133 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำ�ริ ด้านการบูรณาการของพื้นที่ในชุมชนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง


งานการพั ฒ นาชุมชนโดยการบูรณาการของสาขา วิชาต่างๆ ในพื้นที่เดียวกัน ซึ่งมหาวิทยาลัยขอนแก่น สนองพระราชดำ�รินั้น สามารถแบ่งออกเป็น 3 ระยะ โดย เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2533 ในโครงการน้ำ�พระทัยจากในหลวง ทำ�ให้เกิดโครงการหมู่บ้านอีสานเขียว มหาวิทยาลัย ขอนแก่นที่บ้านม่วงหวาน ตำ�บลม่วงหวาน อำ�เภอน้�ำ พอง จังหวัดขอนแก่น โครงการนี้เสร็จสิ้นลงในปี พ.ศ. 2535 จาก นั้นระหว่างปี พ.ศ. 2544 – 2549 มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้จัดทำ�โครงการพัฒนาชนบทเชิงบูรณาการ ตามแนว พระราชดำ�ริเศรษฐกิจพอเพียง โดยมีแนวคิดในการพัฒนา ชุมชนโดยการบูรณาการของสหสาขาวิชาเช่นกัน เพื่อให้ มีการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยดำ�เนินการใน 2 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดขอนแก่น โดยเริ่มต้นจำ�นวน 4 องค์การบริหารส่วน ตำ�บล (อบต.) คือ อบต. โนนทอง อบต. บ้านกง อบต. บ้านผือ อบต. บ้านฝาง และอบต. หนองเรือ อำ�เภอ หนองเรือ อบต. น้�ำ อ้อม และอบต. ดูนสาน อำ�เภอ กระนวน อบต. บึงเนียม อำ�เภอเมืองขอนแก่น อบต. นาหว้า อบต. กุดขอนแก่น อบต. หว้าทอง อบต. หนอง กุงเซิง อำ�เภอภูเวียง อบต. บ้านใหม่ อำ�เภอสีชมพู และ จังหวัดกาฬสินธุ์ จำ�นวน 1 อบต. คือ อบต. นาบอน อำ�เภอ คำ�ม่วง และต่อมาได้ขยายออกไปอีกมาก จนรวมกันถึง 33 อบต. โดยมีการพัฒนาเป็นขั้นตอน แบ่งออกเป็น 2 ระยะ โดยยึดชุมชนเป็นศูนย์กลาง พัฒนาตามบริบทของชุมชน จากประสบการณ์ แ ละผลงานของโครงการในช่ ว ง ที่สอง ทำ�ให้มหาวิทยาลัยขอนแก่นเห็นความสำ�คัญของ การพั ฒ นาชุ ม ชนแบบบู ร ณาการตามแนวพระราชดำ � ริ เศรษฐกิจพอเพียงนี้ จึงยกระดับของโครงการขึ้นเป็นส่วน หนึ่งของ “สำ�นักงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำ�ริ มหาวิทยาลัยขอนแก่น” ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 เป็นต้น มา และตั้งเป้าหมายให้เกิดเป็นชุมชนต้นแบบเศรษฐกิจ พอเพียง จำ�นวน 4 แห่งได้แก่ อบต. ยางคำ� อบต. บ้าน กง อบต. บ้านผือ ซึ่งอยู่ในพื้นที่อ�ำ เภอหนองเรือ จังหวัด ขอนแก่น และอบต. น้ำ�อ้อม ในพื้นที่อ�ำ เภอกระนวน จังหวัดขอนแก่น นอกจากนั้นมีความร่วมมือกับมูลนิธิ ชัยพัฒนา พัฒนาพื้นที่ในบ้านเหมือดแอ่ ตำ�บลหนอง ตูม อำ�เภอเมือง จังหวัดขอนแก่น เพื่อให้เป็นแหล่ง เรียนรู้ และผลิต ที่ได้มาตรฐาน เป็นศูนย์กลางถ่ายทอด เทคโนโลยีให้กับชุมชนโดยรอบ และพัฒนาผลิตภัณฑ์ภาย

ใต้เครื่องหมายการค้า “ภัทรพัฒน์” กระบวนการทำ�งาน และผลงานของการพัฒนาทั้ง สามระยะ สรุปสาระสำ�คัญได้ดังนี้

1. โครงการหมู่บ้านอีสานเขียว มหาวิทยาลัย ขอนแก่น “ ความเอื้อเฟื้อหาได้บ่ว่าไก่หรือปูปลา หากินตามประสาอยู่ทุ่งนาคราวกี้ บ่มีสิน บ่มีหนี้ ยิ่งทวีความเป็นอยู่ ที่เขาว่ากะแม่นอยู่ อีสานเฮาแห้งแล้ง แต่บ่แห้งทางน้�ำ ใจ เด้น้อ ” ผญาอีสาน ที่มา http://www.baanmaha.com ปัญหาความแห้งแล้งอย่างรุนแรงในภาคตะวันออก เฉียงเหนือ เป็นเหตุให้ประชากรในชนบทบางส่วนของ ภูมิภาคนี้ที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นส่วนใหญ่ มีวิถี ชีวิตที่ลำ�บาก ยากจน สังคมไทยเคยรับรู้ภาพของอีสาน จากสื่อต่างๆที่น�ำ เสนอถึงความแห้งแล้ง และความกันดาร อย่างถึงแก่น เช่น โฆษณาชุด “เด็กกินดิน” ของโครงการ แด่น้องผู้หิวโหย เมื่อปี 2528 ที่มีเนื้อหาสะเทือนใจคนทั้ง ประเทศ หรือบทเพลง “บิ๊กเสี่ยว” ของศิลปิน วงคาราบาว ที่มีเนื้อร้องว่า “อีสานแห้งแล้งมานานนับหลายๆ ปี นะพี่ นะน้อง นี่ไม่ใช่เรื่องโกหก”

134 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำ�ริ ด้านการบูรณาการของพื้นที่ในชุมชนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง


ใน ปี พ.ศ. 2533 มหาวิทยาลัยขอนแก่น มีบทบาทใน การพัฒนาชุมชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือแบบบูรณาการ โดยได้ระดมสรรพกำ�ลังจากคณาจารย์ และบุคลากรของ มหาวิทยาลัยในคณะวิชา และหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง มาร่วมกันดำ�เนินงานใน “โครงการหมู่บ้านอีสานเขียว มหาวิทยาลัยขอนแก่น” เพื่อสนองพระราชดำ�ริในโครงการ น้�ำ พระทัยจากในหลวง หรือที่รู้จักกันในนาม โครงการ อีสานเขียว ของรัฐบาลในขณะนั้น ซึ่งเป็นโครงการที่มี วัตถุประสงค์ในการยกระดับความเป็นอยู่ของประชากร ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือให้ดีขึ้น โดยมีกิจกรรมหลัก 3 กิจกรรม ได้แก่ การหาและสร้างแหล่งน้ำ� ปรับปรุงวิธี การประกอบอาชีพ และปรับปรุงด้านสุขภาพอนามัย ของประชาชน โดยเริ่มจากศูนย์อำ�นวยการช่วยเหลือ ประชาชนตามแนวพระราชดำ�ริ เพื่อพัฒนาภาคตะวันออก เฉียงเหนือ (ศชร.) ขอความร่วมมือจากสถาบันอุดมศึกษา ต่างๆ ในภูมิภาค สร้างนวัตกรรมรูปแบบของการพัฒนา

โดยอาศัยบุคลากรและทรัพยากรของแต่ละสถาบันในการ พัฒนาชุมชนต้นแบบให้เกิดผลเป็นรูปธรรมชัดเจน ในเวลา อันสั้น โดยคาดหวังผลการพัฒนาให้เป็นแบบผสมผสาน เบ็ดเสร็จในทุกแผนงาน อันได้แก่ 1) แผนงานฟื้นฟูสภาพ แวดล้อม (ทรัพยากรธรรมชาติ) 2) แผนงานพัฒนารายได้ (เศรษฐกิจ) และ 3) แผนงานพัฒนาคุณภาพชีวิตเกษตรกร (สังคม) โดยมีรูปแบบการพัฒนาที่เป็นอิสระของแต่ละ สถาบั น ให้ ส อดคล้ อ งกั บ ลั ก ษณะเฉพาะของหมู่ บ้ า นใน แต่ละพื้นที่ จนบังเกิดเป็นหมู่บ้านต้นแบบของการพัฒนา ชนบทตามเกณฑ์หมู่บ้านอีสานเขียว ที่เกิดจากความร่วม มือร่วมใจของหน่วยงานต่างๆ ทั้งจากส่วนกลางและส่วน จังหวัด รวมทั้งประชาชนในหมู่บ้านเป้าหมาย ซึ่งในส่วน ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกับ ศชร. ได้พิจารณา คัดเลือกบ้านม่วงหวาน ตำ�บลม่วงหวาน อำ�เภอน้ำ�พอง จังหวัดขอนแก่น เป็นพื้นที่เป้าหมายในการดำ�เนินการ

สภาพความแห้งแล้งของผืนดินในฤดูแล้งของภาคตะวันออกเฉียงเหนือบางจังหวัด

135 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำ�ริ ด้านการบูรณาการของพื้นที่ในชุมชนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง


ตัวอย่างวิถีชีวิตของชาวอีสาน การพัฒนาชุมชนแบบบูรณาการตามแนวพระราชดำ�ริ ภายใต้โครงการหมู่บ้านอีสานเขียว ที่หมู่บ้านม่วงหวาน ได้ ดำ�เนินการตั้งแต่เดือนตุลาคม ปี พ.ศ. 2533 – กันยายน ปี พ.ศ. 2535 โดยจัดทำ�โครงการย่อยจำ�นวนทั้งสิ้น 10 โครงการ ได้แก่

อีสานเขียว 5. โครงการส่ ง เสริ ม การปลู ก ไม้ ผ ลและพั ฒ นาสิ่ ง แวดล้อม 6. โครงการเลี้ยงไก่เพื่ออาหารกลางวันเด็กนักเรียน 7. โครงการศึกษาดูงานหมู่บ้านพัฒนา

1. โครงการปรั บ ปรุ ง ทุ่ ง หญ้ า เลี้ ย งสั ต ว์ แ ละ พัฒนาการเลี้ยงโคเนื้อ

8. โครงการปรั บ ปรุ ง และพั ฒ นาอาชี พ การตี มี ด หมู่บ้านอีสานเขียว

2. โครงการส่งเสริมเพื่อพัฒนาการเลี้ยงไก่พื้นบ้าน

9. โครงการสาธารณสุข

3. โครงการส่งเสริมเพื่อพัฒนาการประมงหมู่บ้าน และไร่นาสวนผสม

10. โครงการพั ฒ นาสื่ อ การสอนและเสริ ม สร้ า ง อุปกรณ์

4. โครงการฝึกอบรมวิชาชีพให้กับเยาวชนหมู่บ้าน

136 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำ�ริ ด้านการบูรณาการของพื้นที่ในชุมชนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง


สรุปผลการดำ�เนินงานโครงการต่างๆ ของโครง เกษตรกรในการจัดตั้งกลุ่มผู้เลี้ยงโคเนื้อ มีสมาชิก 25 คน การหมู่บ้านอีสานเขียว มหาวิทยาลัยขอนแก่น พบว่า ให้บริการถ่ายพยาธิในโค และกระบือแก่ชาวบ้านในพื้นที่ โครงการต่างๆ บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ผลการดำ�เนิน จำ�นวน 72 ครั้ง และสร้างซองบังคับสัตว์ 1 แห่ง งานโดยสรุป ดังนี้ 1)โครงการปรับปรุงทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์และพัฒนา การเลี้ยงโคเนื้อ โครงการนี้ มี ช าวบ้ า นม่ ว งหวานที่ ส นใจเข้ า ร่ ว ม โครงการ 149 ราย ได้รับเมล็ดพันธุ์หญ้าอาหารสัตว์ไปปลูก รวมเป็นเนื้อที่ 319 ไร่ และเกษตรกรสามารถใช้ประโยชน์ จากแปลงหญ้าที่ปลูกตั้งแต่เดือนพฤษภาคม จนถึงเดือน ตุลาคม ส่วนการพัฒนาการเลี้ยงโคเนื้อ ได้ให้ความรู้แก่ เกษตรกรในโครงการโดยจัดกิจกรรมดูงาน และส่งเสริม

137 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำ�ริ ด้านการบูรณาการของพื้นที่ในชุมชนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง


2)โครงการส่งเสริมเพื่อพัฒนาการเลี้ยงไก่พื้นบ้าน

4)โครงการฝึกอบรมวิชาชีพให้กับเยาวชนหมู่บ้าน ได้ฝึกอบรมชาวบ้านเกี่ยวกับการเลี้ยงไก่ การทำ� อีสานเขียว วัคซีนไก่ และวิธีฉีดยาไก่ที่ถูกต้อง ให้แก่กลุ่มที่สนใจ ได้นำ�เยาวชนบ้านม่วงหวาน จำ�นวน 30 คน เข้า จำ�นวน 30 คน รับการอบรมหลักสูตรช่างเชื่อมจากสถาบันพัฒนาฝีมือ แรงงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จนสามารถออกปฏิบัติ งานรับจ้างในระดับช่างฝีมือได้ 5)โครงการส่งเสริมการปลูกไม้ผลและพัฒนาสิ่ง แวดล้อม ได้ ทำ � การฝึ ก อบรมการขยายพั น ธุ์ ไ ม้ ผ ลให้ กั บ กลุ่ ม ชาวบ้านที่สนใจ จำ�นวน 25 คน นอกจากนี้ยังได้มีการ สนับสนุนพันธุ์ไม้ผลประกอบด้วย มะม่วงพันธุ์ดี 800 กิ่ง 3)โครงการส่งเสริมเพื่อพัฒนาการประมงหมู่บ้าน ไผ่ตง 1,000 ต้น ขนุน 100 ต้น และพันธุ์ไม้เพื่อปรับปรุง สภาพแวดล้อมประกอบด้วย สะเดา 500 ต้น สัก 100 ต้น และไร่นาสวนผสม คูน 100 ต้น และยูคาลิปตัส 500 ต้น โดยจัดปลูกในบริเวณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ประสาน และติดต่อ พื้นที่หมู่บ้านม่วงหวานทั้งหมด ขอความร่ ว มมื อ กั บ สถานี วิ จั ย และพั ฒ นาประมงน้ำ � จื ด นอกจากนี้ยังได้สนับสนุนการปลูกมะละกอพันธุ์ดี จังหวัดขอนแก่น ในการขุดสระในนาข้าวให้กับชาวบ้าน จำ�นวน 100 บ่อ ควบคู่ไปกับการฝึกอบรมชาวบ้านให้มี และการเพาะเมล็ดพันธุ์มะม่วง และขนุนอีกทุกครัวเรือน ความรู้ความเข้าใจในการทำ�เกษตรแบบผสมผสาน โดยจัด อีกด้วย อบรมที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น นอกจากนั้นยังสนับสนุน 6)โครงการเลี้ ย งไก่ เ พื่ อ อาหารกลางวั น เด็ ก พันธุ์ปลาชนิดต่างๆ สำ�หรับเกษตรกรในโครงการ และ นักเรียน ปล่อยพันธุ์ปลาในบ่อน้�ำ สาธารณะรวมทั้งสิ้น 569,300 ตัว ได้สนับสนุนอุปกรณ์การเลี้ยงไก่ และสร้างเล้า ไก่ ตลอดจนพันธุ์ไก่ จำ�นวน 26 ตัว ให้กับทางโรงเรียน บ้านม่วงหวาน ซึ่งต่อมาได้มีการขยายการเลี้ยงไก่เพิ่มขึ้น สามารถจัดเป็นอาหารกลางวันสำ�หรับเด็กนักเรียนได้เป็น อย่างดี

138 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำ�ริ ด้านการบูรณาการของพื้นที่ในชุมชนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง


7)โครงการศึกษาดูงานหมู่บ้านพัฒนา

9) โครงการสาธารณสุข

ได้นำ�ชาวบ้านม่วงหวานเดินทางไปศึกษาดูงานในที่ ต่างๆ ประกอบด้วย การศึกษาดูงานการแปรรูปผลิตภัณฑ์ สิ่งทอ ณ บ้านหนองเขื่อนช้าง ตำ�บลท่าสองคอน อำ�เภอ เมือง จังหวัดมหาสารคาม การศึกษาดูงานกลุ่มผู้เลี้ยงโค ภูกระแต ณ บ้านท่านางแนว ตำ�บลท่านางแนว อำ�เภอ แวงน้อย จังหวัดขอนแก่น การศึกษาดูงานกลุ่มผู้เลี้ยงสัตว์ เขาเขียว ณ หมู่บ้านป่าโจด ตำ�บลคำ�บ่อ อำ�เภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร

โครงการย่อยที่ 1 การสุขาภิบาลและอนามัยสิ่ง แวดล้อม ได้มีการจัดฝึกอบรมเกี่ยวกับการสุขาภิบาลและ สิ่งแวดล้อมให้แก่ผู้น�ำ คุ้ม 7 คุ้ม รวมผู้เข้ารับการฝึกอบรม 28 คน รวมทั้งได้นำ�ชาวบ้านม่วงหวานไปดูงานที่หมู่บ้าน คำ�นางปุ่ม อำ�เภอเขาสวนกวาง จังหวัดขอนแก่น ซึ่งเป็น หมู่บ้านชนะเลิศการประกวด มีการแนะนำ�และสนับสนุน ชาวม่วงหวาน ในการสร้างส้วมเพื่อเป็นการสาธิต 2 ครัว เรือน และที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนวัยเรียน 1 แห่ง

นอกจากนี้ ยั ง มาศึ ก ษาดู ง านที่ ค ณะเกษตรศาสตร์ โครงการย่อยที่ 2 อนามัยสิ่งแวดล้อม ได้ทำ�การ และคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เกี่ยวกับ เผยแพร่ความรู้ด้านอนามัย และจัดบริการตรวจสุขภาพ การเลี้ยงปลา และเลี้ยงกบ ให้กับเด็ก และชาวบ้านโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ซึ่งมีผู้เข้ารับ บริการรวมทั้งสิ้น 148 ราย และได้ตรวจพบอาการของโรค จำ�นวน 13 ชนิด

8)โครงการปรั บ ปรุ ง และพั ฒ นาอาชี พ การตี มี ด หมู่บ้านอีสานเขียว นำ�ชาวบ้านกลุ่มตีมีด จำ�นวน 25 คน ไปดูงานอาชีพ ตีมีดที่หมู่บ้านอรัญญิก บ้านต้นโพธิ์ บ้านหนองไผ่อ�ำ เภอ นครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และได้สนับสนุน โครงการย่อยที่ 3 โครงการจัดตั้งศูนย์พัฒนาเด็กก่อน เครื่องมืออุปกรณ์ เพื่อพัฒนาการตีมีดให้กับกลุ่มตีมีด วัยเรียน ได้ทำ�การจัดตั้งศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน โดย จำ�นวน 2 ชุด สนับสนุนอุปกรณ์ในการต่อเติม และปรับปรุงอาคารเก่า ของโรงเรียนให้เป็นสถานที่ตั้งศูนย์พัฒนาเด็ก ได้จัดอบรม ผู้ดูแลเด็ก และมีเด็กเข้ารับบริการทั้งสิ้น 48 คน นอกจาก นี้ทางโครงการยังได้สนับสนุนเงินในการจัดตั้งกองทุนอีก จำ�นวนหนึ่ง เพื่อให้โครงการได้ด�ำ เนินต่อไป

139 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำ�ริ ด้านการบูรณาการของพื้นที่ในชุมชนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง


10)โครงการพัฒนาสื่อการสอนและเสริมสร้างอุปกรณ์ การพัฒนาร่างกาย และพลานามัยสำ�หรับเด็กนักเรียนโรงเรียนบ้านม่วง หวาน ได้สนับสนุนอุปกรณ์การเรียนการสอนจำ�นวนหนึ่งให้กับทางโรงเรียน และอุปกรณ์สนามเด็กเล่น 8 ชนิด ให้กับทางโรงเรียนด้วย และนอกจากงานพัฒนาในลักษณะโครงการดังกล่าวข้างต้นแล้ว ยังมี กิจกรรมเสริมอื่นๆ ทั้งโครงการ และกิจกรรมที่เกิดขึ้น สรุปดังในแผนภาพ

140 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำ�ริ ด้านการบูรณาการของพื้นที่ในชุมชนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง


โครงการย่อยต่างๆ ในโครงการ หมู่บ้านอีสานเขียว มหาวิทยาลัยขอนแก่น ดัดแปลงจากรายงานผล การดำ�เนินงานโครงการหมู่บ้านอีสานเขียว มหาวิทยาลัยขอนแก่น (2534) พัฒนาแหล่งน้ำ� สภาวะแวดล้อม และ ทรัพยากรธรรมชาติ (สิ่งแวดล้อม)

พัฒนารายได้ และสร้างงาน (เศรษฐกิจ)

1.การพัฒนาแหล่งน้�ำ และระบบการใช้น�้ำ เพื่อเกษตรกรรม

1.โครงการปลูกพืชเศรษฐกิจที่ให้ ผลผลิตระยะสั้น เช่น ข้าวโพดฝักอ่อน แตง ถั่ว

2.การฟื้นฟูสภาพป่าชุมชนโดยปลูกพืช โตเร็ว เช่น กระถินเทพา สะเดา ไผ่

2.โครงการเพาะเห็ดฟางในโรงเรียน ขนาดใหญ่

3.การปลูกพืช (ไม้ผล) ริมถนนเพื่อให้ ร่มเงา และผลผลิตในหมู่บ้าน

3.โครงการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมพันธุ์ดี 4.โครงการหัตถกรรมจักสานด้วยไม้ไผ่ และเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร

ฯลฯ

5.โครงการส่งเสริมอาชีพทอผ้า 6.โครงการเลี้ยงสัตว์ 7.โครงการเลี้ยงปลา ฯลฯ

โครงการหมู่บ้านอีสานเขียว มหาวิทยาลัยขอนแก่น พัฒนาคุณภาพชีวิต (สังคม การศึกษา สาธารณสุข และศิลปวัฒนธรรม) พัฒนาสุขภาพอนามัยโดยการจัดระบบบริการ และการเฝ้าระวังทางสุขภาพ การแก้ปัญหาโภชนาการ การพัฒนาองค์กรชุมชนต่างๆ การส่งเสริมศิลปะพื้นบ้าน โครงการจัดระบบสวัสดิการ และการรักษาความปลอดภัย โครงการหมู่บ้านปลอดอบายมุข ฟื้นฟูประเพณีกีฬาแข่งเรือยาว ฟื้นฟูอนุรักษ์วัฒนธรรมพื้นบ้านและประเพณี 12 เดือน ชาวอีสาน ฯลฯ

141 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำ�ริ ด้านการบูรณาการของพื้นที่ในชุมชนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง


สิ่งสำ�คัญที่สุด และมีค่ามากที่สุด เหนืออื่นใด ที่ได้จากการดำ�เนินโครงการหมู่บ้านอีสานเขียว คือ การที่ ทำ � ให้ บุ ค ลากรมหาวิ ท ยาลั ย ขอนแก่ น ได้ มี โ อกาส บูรณาการองค์ความรู้ และทรัพยากรต่างๆ เพื่อร่วมสนอง แนวพระราชดำ�ริ ซึ่งเป็นการพัฒนาชนบทเชิงบูรณาการ ตามแนวคิด ทฤษฎีใหม่และเกษตรผสมผสาน ของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และยังทำ�ให้เราได้ส�ำ นึกถึง พระราชดำ�รัสของพระองค์ท่าน ที่ทรงพระราชทานเนื่องใน วโรกาสเสด็จพระราชดำ�เนินมาพระราชทานปริญญาบัตร แก่มหาวิทยาลัยขอนแก่น เมื่อปี พ.ศ. 2528 ที่ทรงตรัสถึง การเข้าไปอาสาพัฒนาชนบท ความว่า

สามารถนำ�ไปใช้ได้กับหมู่บ้านอื่น แต่ควรมีการปรับ รูปแบบให้เหมาะสมกับสภาพของหมู่บ้านนั้นๆ ทั้ง ภูมิประเทศ ภูมิอากาศ แหล่งน้�ำ ตลอดจนอุปนิสัยของ ชาวบ้านและความเอาใจใส่ของผู้น�ำ ในระดับหมู่บ้าน ทั้ง ตัวกำ�นัน ผู้ใหญ่บ้าน และกรรมการหมู่บ้าน

...ออกไปพัฒนาในหมู่บ้านต่างๆ ในที่ต่างๆ ก็ต้องถือว่าประชาชนที่อยู่ในท้องที่ต่างๆ นั้น เขามีความรู้ดี ก็จะเป็นครู ก็ต้องน้อมรับความรู้ ของเขาที่ให้เรา...

ผลจากการดำ � เนิ น โครงการหมู่ บ้ า นอี ส านเขี ย ว มหาวิทยาลัยขอนแก่น นอกจากได้พัฒนาชนบทเชิง บูรณาการตามแนวพระราชดำ�ริแล้ว ยังพบข้อสรุปว่า ปัจจัยของความสำ�เร็จในการพัฒนาคือ 1) โครงการต้องมา จากความต้องการของชุมชน 2) โครงการต้องเหมาะสมกับ ฐานทรัพยากรของชุมชน และ 3) ความเข้มแข็งของผู้น�ำ ชุมชนเป็นปัจจัยที่สำ�คัญในการผลักดันให้โครงการประสบ ความสำ�เร็จ การนำ�โครงการพัฒนาที่เกิดจากความคิด ความรู้สึก ของนักวิจัยไปพัฒนาในหมู่บ้าน พบว่าแม้ว่าถึงชาวบ้าน พยายามจะรั บ โครงการดั ง กล่ า วไปปฏิ บั ติ แ ต่ ก็ ไ ม่ ทำ � ให้ เกิดการสานต่อหรือขยายผลไปยังกลุ่มอื่นและโครงการ ดังกล่าวส่วนใหญ่จะหยุดชะงัก และเลิกล้มไป แต่หาก เป็ น โครงการพั ฒ นาที่ ช าวบ้ า นเป็ น ผู้ เ สนอมาให้ ท าง มหาวิทยาลัยขอนแก่นเข้าไปช่วยเหลือ พบว่าโครงการนั้น จะได้รับการตอบสนองเป็นอย่างดีจากชาวบ้าน โดยการให้ ความสนใจ กระตือรือร้นที่จะเข้าร่วมโครงการและมีทีท่า ว่าจะขยายออกไปอีกมาก รูปแบบของการพัฒนาหมู่บ้านอีสานเขียวในภาพรวม

2. โครงการพัฒนาชนบทเชิงบูรณาการ ตามแนวพระราชดำ�ริเศรษฐกิจพอเพียง มหาวิทยาลัยขอนแก่น โครงการพั ฒ นาชนบทเชิ ง บู ร ณาการตามแนวพระ ราชดำ�ริเศรษฐกิจพอเพียง เป็นหนึ่งในความพยายาม ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่จะทำ�งานกับชุมชนในท้อง ถิ่ น ชนบทภาคอี ส านเพื่ อ ให้ ป ระชาชนมี คุ ณ ภาพชี วิ ต ที่ ดีขึ้น โครงการนี้ริเริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2544 จากกรรมการ สภามหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยเฉพาะอดีตผู้อำ�นวยการ สำ�นักงบประมาณ ที่ต้องการให้มหาวิทยาลัยฯ มีส่วนร่วม และสร้ า งความสั ม พั น ธ์ กั บ ชุ ม ชนในการพั ฒ นาท้ อ งถิ่ น ของภูมิภาคนี้ ขณะเดียวกันมหาวิทยาลัยฯ สามารถสร้าง องค์ ความรู้แ ละประสบการณ์จากการเข้า ไปดำ �เนิ นการ และเป็นแหล่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้สำ�หรับหน่วยงานที่ เกี่ยวข้องในมหาวิทยาลัยฯ และผู้สนใจทั่วไป โครงการนี้ ได้รับการสนับสนุนงบประมาณอย่างต่อเนื่องและในที่สุด ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 ได้พัฒนาเป็นโครงการถาวร ภาย ใต้ ค วามรั บ ผิ ด ชอบของสำ � นั ก งานโครงการอั น เนื่ อ งมา จากพระราชดำ�ริ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งรับผิดชอบ เกี่ยวข้องกับโครงการพระราชดำ�ริต่างๆ โดยตรง

142 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำ�ริ ด้านการบูรณาการของพื้นที่ในชุมชนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง


กรอบแนวคิดของโครงการนี้ มีรากฐานมาจาก นโยบายการกระจายอำ�นาจของรัฐโดยมีองค์การบริหาร ส่วนตำ�บล (อบต.) เป็นหน่วยงานที่ใกล้ชิดกับชุมชน และ ดูแลทุกข์สุขของประชาชนในท้องถิ่น โดยใช้แนวคิดการ พัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งมีองค์ประกอบมากมายเช่น ชุมชน เข้มแข็ง ชุมชนเป็นศูนย์กลาง การพึ่งตนเอง เครือข่ายการ เรียนรู้ และแนวคิดจากปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง วิธีการ หรือกระบวนการที่สำ�คัญคือกระบวนการมีส่วนร่วมของ ชุมชน กรอบแนวคิดของโครงการนี้ต่างจากการพัฒนาที่ ผ่านมาของประเทศซึ่งมีหน่วยงานเป็นศูนย์กลาง เน้นการ ถ่ายทอดวิธีการหรือเทคนิคการผลิต ไม่มองภาพรวมหรือ บริบทของชุมชน ไม่มีการนำ�เอาปัญหาของชุมชนเป็น ตัวตั้ง นักวิชาการพยายามยัดเยียดโครงการให้ชุมชนรับ ไปดำ�เนินการ แต่ตรงกันข้าม โครงการ พชบ. เน้นการมี ส่วนร่วม มองอย่างเป็นองค์รวม และนำ�เอาปัญหาที่มา จากชุมชนเป็นตัวตั้งมีรายละเอียดการดำ�เนินงาน ดังนี้ 2.1กรอบแนวคิ ด ของโครงการพั ฒ นาชนบท เชิงบูรณาการฯ กรอบแนวคิดของโครงการฯ เกิดจากการระดมสมอง ของนักวิชาการในมหาวิทยาลัย และอดีตผู้อำ�นวยการ สำ�นักงบประมาณและคณะกรรมการกำ�กับโครงการฯ โดย มีคณะทำ�งานชุดต่างๆ เข้ามาร่วมดำ�เนินงาน ด้วยความ สมัครใจของนักวิชาการในมหาวิทยาลัยฯ จากคณะต่างๆ หลายคณะ และมีผู้สนใจภายนอกมหาวิทยาลัย ร่วมด้วย โครงการนี้ได้ยึดการทำ�งานที่เน้นกระบวนการทางสังคม คือกระบวนการแบบมีส่วนร่วมจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และการระดมสมองเพื่อทำ�ให้กลุ่มอาชีพ ชุมชน อบต. หรือ โรงเรียนในท้องถิ่นเป็นศูนย์กลาง เอื้อให้เกิดการวิเคราะห์ ตัวเอง และสถานการณ์รอบตัวทำ�ให้เกิดการคิดเองทำ�เอง นำ�ไปสู่การพึ่งตนเอง การสร้างกลุ่ม การพึ่งกันเอง ตาม หลักการของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเป็นแนวทางตามแนว พระราชดำ�ริ โดยนักวิชาการเข้าไปมีส่วนในการกระตุ้นให้ เกิดกระบวนการให้ข้อมูล กระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน และ เทคนิคในการทำ�งาน พื้นที่การดำ�เนินการของโครงการฯ ประเด็นหรือปัญหาของพื้นที่หรือกลุ่มนั้น

ที่นักวิชาการสามารถเดินทางได้ไม่นานเกินไป ส่วนใหญ่ อยู่ในรัศมีประมาณ 100 กิโลเมตรจากมหาวิทยาลัยฯ ถึง แม้ว่าโครงการนี้จะเป็นเชิงพัฒนาแต่ในการดำ�เนินการได้ ประยุกต์ใช้หลักการของการวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วน ร่วมเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ กิจกรรมต่างๆ ที่เกิดจากความ ต้องการของท้องถิ่นเป็นเสมือนเครื่องมือในกระบวนการ ที่ทำ�ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางความคิดเข้าสู่การพึ่งพา ตนเอง และเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งถือว่าเป็นผลการทำ�งาน ที่สำ�คัญ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางความคิดหากเกิด ขึ้นจะตามมาด้วยพฤติกรรม หรือการปฏิบัติที่ยั่งยืนต่อไป 2.2 แนวทางการดำ�เนินงาน ภายใต้กรอบแนวคิดของโครงการฯ ซึ่งเป็นแนวคิด ใหม่ทั้งนักวิชาการ และชุมชนเรียนรู้ร่วมกัน และต่างเป็น ส่วนหนึ่งของการพัฒนา คำ�ถามที่โครงการฯ พยายามหา คำ�ตอบคือทำ�อย่างไรจึงจะทำ�ให้ชุมชนสามารถพัฒนาได้ อย่างยั่งยืน หากเราจะบรรลุจุดประสงค์ เราจะทำ�อะไร กับใครบ้าง และอย่างไร? เมื่อไหร่? หรือเราจะเชื่อมการ ประสานงาน อบต. กับกลุ่มในชุมชนและกับโครงการ กิจกรรมต่างๆ ที่โครงการฯ เข้าไปเสริมความเข้มแข็งอย่าง ยั่งยืนอย่างไร? หรือทำ�อย่างไรจึงจะทำ�ให้ผู้มีภูมิปัญญาใน ท้องถิ่น วัด โรงเรียน ครูและนักเรียนร่วมกับ อบต. และ กรรมการจัดการศึกษาให้เกิดหลักสูตรท้องถิ่นเพื่อสอนใน โรงเรียนได้? หรือกลุ่มจะเชื่อมโยงกับองค์กรภายนอกเพื่อ พัฒนาตัวเองอย่างไรและอื่นๆ

กิจกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นในโครงการฯ ไม่ได้ก�ำ หนด โดยโครงการฯ แต่เป็นผลพวงจากกระบวนการมีส่วนร่วม และการเรียนรู้ร่วมกัน โครงการฯ ไม่ได้หวังว่ากิจกรรม หรือปฏิสัมพันธ์ต่างๆ ของคนในกลุ่ม และทีมผู้ด�ำ เนินงาน ที่เกิดขึ้นจะยั่งยืนในอนาคต เพราะเมื่อบริบทเปลี่ยนไป สิ่ง เหล่านี้จะต้องมีการปรับตัว เช่นวิธีการผลิตอาจต้องปรับ ตามความจำ�เป็นของแรงงานที่ลดลงในครัวเรือนหรือกลุ่ม อาชีพ แต่สิ่งที่เป็นเป้าหมายหลักของโครงการฯ คือสิ่งที่ เกิดขึ้นกับคนในชุมชนนั้น เช่น แรงบันดาลใจ กระบวนการ คิด การแสวงหาความรู้หรือสร้างความรู้ และยังคงอยู่ใน กระจายตาม สังคมนั้น เช่น ภาวะผู้น�ำ ความคิด และการใช้ชีวิตตาม แต่อยู่ในรัศมี แนวเศรษฐกิจพอเพียง การพึ่งตนเองและพึ่งกันเองของ

143 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำ�ริ ด้านการบูรณาการของพื้นที่ในชุมชนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง


คนในชุมชน การเชื่อมโยงกับ โรงเรียน วัด และอบต. อนึ่ง การใช้งบประมาณมีหลักการคือ ไม่ใช่การให้ หรือการแจก แต่ ใช้ในการกระตุ้นให้เกิดการคิดผ่านการระดมสมอง การเดินทางไปดูงาน สร้างแผนหรือกิจกรรม และการทดลองปฏิบัติอย่างมีส่วนร่วมนำ�ไปสู่การ เรียนรู้ การมีส่วนร่วมแบบกัลยาณมิตร คือไม่ใช้อ�ำ นาจหรือทำ�ให้เห็นว่า โครงการฯ ผู้ร่วมดำ�เนินการและพนักงาน มีอำ�นาจบังคับ หรือมีความรู้ เหนือกว่าสมาชิกกลุ่มในการร่วมทำ�กิจกรรมใดๆ ก็ตาม ทำ�ให้ชุมชนและ กลุ่มเต็มใจที่จะให้ความร่วมมือ มีส่วนร่วมและกล้าที่จะแสดงออก กล้า ให้ข้อมูลและวิเคราะห์ตามความเป็นจริง (ดังรูปแสดงไว้ข้างล่างนี้) การ เชิญเจ้าหน้าที่จากอบต. หรือศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนมาร่วมทำ�ให้ หน่วยงานเหล่านี้สามารถตัดสินใจ เลือกสนับสนุน และส่งเสริมกลุ่มที่มี ศักยภาพทั้งการให้ทุนดำ�เนินการและให้ทักษะ

กระบวนการมีส่วนร่วมของกลุ่มชาวบ้านในพื้นที่ด�ำ เนินโครงการฯ เพื่อหาประเด็นปัญหาและแนวทางในการพัฒนา

2.3 ผลการดำ�เนินการ ผลการดำ�เนินการของโครงการพัฒนาชนบทเชิงบูรณาการ (ปี พ.ศ. 2544 – 2549) มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการพัฒนา 2 จังหวัดคือ จังหวัดขอนแก่น ที่อำ�เภอเมือง อำ�เภอกระนวน อำ�เภอภูเวียง และอำ�เภอหนองเรือ และจังหวัดกาฬสินธุ์ ที่อำ�เภอคำ�ม่วง รายละเอียด ของพื้นที่ กลุ่มอาชีพ กิจกรรมการผลิต การเรียนรู้ ผลการดำ�เนินงาน คุณค่าจากการดำ�เนินงาน และอื่นๆ ดังสรุปในตารางที่ 1

144 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำ�ริ ด้านการบูรณาการของพื้นที่ในชุมชนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง


ตารางที่ 1 พื้นที่ กลุ่ม กิจกรรม และผลการดำ�เนินงานของโครงการพัฒนาชนบทเชิงบูรณาการฯ (พ.ศ. 2544 – 2549) ปี พ.ศ. 2544 พื้นที่ พื้นที่ 1

กลุ่ม 1. กลุ่มชาใบหม่อน

ต.โนนทอง อ.หนองเรือ จ.ขอนแก่น 2. กลุ่มจักสาน

3. กลุ่มทอผ้า

4. กลุ่มโค – กระบือ 5. กลุ่มนวดแผนไทย

6. กลุ่มการท่องเที่ยว เชิงอนุรักษ์

กิจกรรม

การเรียนรู้

ผลการดำ�เนินงาน

ฝึกทักษะการผลิตชาใบ กระบวนการทำ�งาน กลุ่มมีการผลิตอย่างต่อเนื่องและ สามารถยกระดับผลิตสินค้ากลาย หม่อน และการพัฒนา กลุ่ม เป็นสินค้า OTOP คุณภาพผลิตภัณฑ์ การประสานงาน การตลาด - ศึกษาดูงาน การสร้างอาชีพโดย ใช้ศักยภาพและ - วิเคราะห์ความเป็นไป ทรัพยากรในท้อง ได้ในการทำ�กิจกรรม ถิ่น - กิจกรรมระดมสมอง พัฒนากลุ่มกิจกรรม เพื่อนำ�ไปสู่ชุมชน - ฝึกอบรมการเขียน เข้มแข็งและพึ่ง โครงการเพื่อขอรับการ ตนเอง สนับสนุน -แลกเปลี่ยนความคิด มีแนวทางในการ เห็น,ศึกษาดูงาน บริหารจัดการกลุ่ม โค-กระบือ - ฝึกอบรมทักษะการ การวมกลุ่ม นวดแผนไทยและการ การฝึกอบรมยก แปรรูปสมุนไพรเป็น ระดับมาตรฐานของ ผลิตภัณฑ์ทางยา อาชีพ สร้างเครือข่าย แนวคิดการท่อง โครงการท่องเที่ยวเชิง เที่ยวเชิงอนุรักษ์ อนุรักษ์

มีอาชีพเสริม ช่วยสร้างรายได้ประ สานอบต.ในการสนับสนุนกิจกรรม กลุ่มในเรื่องงบประมาณ สามารถเขียนโครงการเพื่อขอรับ การสนับสนุนงบประมาณจากหน่วย งานต่างๆ ได้ มีโครงสร้างกลุ่ม ระเบียบการแบ่ง ปันผลประโยชน์จากกลุ่ม ทำ�ให้เกิดการรักษาเบื้องต้นโดย ตนเองและคนในครอบครัวโดยกลุ่ม นวดแผนไทยเป็นฐานของการขยาย แนวคิดการพึ่งตนเองในพื้นที่ แผนการจัดการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ในพื้นที่ 8 ตำ�บลในอ.หนองเรือ และอ.ภูเวียง

7. กลุ่มพริก

- วางแผนการดำ�เนิน แนวคิดวิถีเกษตร กลุ่ม ฝึกอบรมการผลิต แบบพอเพียง ปุ๋ยชีวภาพ

การผลิตปุ๋ยชีวภาพเพื่อใช้ในพื้นที่ การเกษตรตามแนวทางเศรษฐกิจ พอเพียง

8. กลุ่มเกษตรปลอด สาร

- ศึกษาดูงานและแลก เปลี่ยน

การผลิตปุ๋ยชีวภาพ ,การปลูกผักโดย ไม่ใช้สารเคมี

แนวคิดการทำ� เกษตรปลอดภัย

145 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำ�ริ ด้านการบูรณาการของพื้นที่ในชุมชนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง


พื้นที่ พื้นที่ 2

กลุ่ม 1. กลุ่มโค- กระบือ

ต. น้ำ�อ้อม อ. กระนวน จ. ขอนแก่น

2. กลุ่มข้าวโพด

3. กลุ่มแปรรูป ผลิตภัณฑ์ 4. กลุ่มเห็ด

กิจกรรม

การเรียนรู้

ผลการดำ�เนินงาน

รวมกลุ่มการออมทรัพย์ ทำ�ปุ๋ยชีวภาพ เขียงเนื้อสัตว์ชุมชน ทำ�อาหารเลี้ยงสัตว์ เสริมสมุนไพรพื้นบ้าน ซื้อพ่อพันธุ์วัวมาเป็น ของกลุ่มเพื่อการ ผสมเทียม

การดำ�เนินกิจกรรม กลุ่ม การรวมกลุ่ม และการจัดการกลุ่ม พร้อมทั้งเกิดการ เชื่อมโยงระหว่าง กิจกรรมในแต่ละ กลุ่ม

มีการเชื่อมโยงกันของกลุ่มแต่ละ กลุ่มกิจกรรมภายในชุมชน ได้มี การผลิตโดยใช้แนวคิดจากความ ต้องการภายในกลุ่มเป็นหลักที่ได้ ผ่านการคิดวิเคราะห์จนตกผลึก มีผลิตภัณฑ์ที่สามารถออก จำ�หน่ายได้ มีการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ ผลิตขึ้นภายในกลุ่ม มีการขยาย แนวคิดของกลุ่ม

การพึ่งพาตนเอง

การรวมกลุ่มการผลิต ลดต้นทุนการผลิต การออมทรัพย์ การระดมหุ้น ตลาดชุมชน มีการเชื่อมกลุ่มกับกลุ่ม โคในเรื่องปุ๋ยชีวภาพ เชื่อมกับกลุ่มแปรรูป เชื่อมกับกลุ่มข้าวโพด การรวมกลุ่มการผลิต การออมทรัพย์ การระดมหุ้น เพาะเห็ดฟาง

146 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำ�ริ ด้านการบูรณาการของพื้นที่ในชุมชนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง


พื้นที่

กลุ่ม

พื้นที่ 3

1. กลุ่มพริก

ต.ดูนสาด อ.กระนวน จ.ขอนแก่น

2. กลุ่มเย็บผ้า

พื้นที่ 4 ต.บึงเนียม อ.เมือง

การเรียนรู้

4. กลุ่มเกษตรปลอด สารพิษ 5. กลุ่มผู้เลี้ยงกบ

การเชื่อมประสาน ให้อบต.มาร่วมมือ รวมกลุ่มตัดเย็บเสื้อผ้า กับกลุ่ม องกรณ์ ต่างๆในพื้นที่ใน มีการระดมทุน เรียนเรื่องการทำ�ขนม การแก้ไขปัญหาใน พื้นที่และให้การ และเน้นขายภายใน สนับสนุนเรื่องงบ ชุมชน ประมาณ โดยเน้น การทำ�ปุ๋ยชีวภาพ ให้อบต.เป็นฐาน การออมทรัพย์ องค์กรในท้องถิ่น อย่างชัดเจน กิจกรรมระดมสมอง

6. กลุ่มผู้เลี้ยงจิ้งหรีด

กิจกรรมระดมสมอง

7. กลุ่มพัฒนาการ ศึกษาท้องถิ่น กลุ่มเกษตรปลอดภัย จากสารพิษ

กิจกรรมระดมสมอง

3. กลุ่มทำ�อาหาร

ผลิตน้�ำ หมักชีวภาพ

- ประชุมวางแผนการ บริหารจัดการกลุ่ม - อบรม/ศึกษาดูงาน

ผลการดำ�เนินงาน ชุมชนมีอาชีพเสริม สร้างรายได้

-เกิดแนวคิดการทำ� การผลิตผักปลอดสารพิษสู่ตลาด เกษตรปลอดภัย จากสารพิษ

- แลกเปลี่ยน ประสบการณ์

จ.ขอนแก่น

พื้นที่ 5

กิจกรรม

กลุ่มอนุรักษ์ป่าชุมชน

- ทดลองปฏิบัติ การรวมกลุ่ม

ต.นาบอน อ.คำ�ม่วง

การจัดทำ�แผนพัฒนา ป่าชุมชน

จ.กาฬสินธุ์

การจัดการป่าไม้ การใช้ทรัพยากรป่าไม้ และการบวชป่า

การสร้างเครือข่าย ความร่วมมือการ อนุรักษ์ทรัพยากร ป่าของชุมชนและ องค์กรในท้องถิ่น

-เกิดแผนการพัฒนาป่าชุมชน อย่างยั่งยืน - ชุมชนมีส่วนร่วมในการกำ�หนด เกณฑ์ ระเบียบการใช้ประโยชน์ จากป่าชุมชน -เกิดแหล่งศึกษาหาความรู้ทาง ธรรมชาติ

147 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำ�ริ ด้านการบูรณาการของพื้นที่ในชุมชนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง


พื้นที่

กลุ่ม

พื้นที่ 1

1.กลุ่มนวดแผนไทย

ต.โนนทอง อ.หนองเรือ จ.ขอนแก่น

2.กลุ่มชาใบหม่อน

3.กลุ่มท่องเที่ยวเชิง

ปี พ.ศ. 2545 กิจกรรม การเรียนรู้ พัฒนาเทคนิค/ความรู้ ในกลุ่ม มีการยกระดับ ผลิตภัณฑ์ และบรรจุ ภัณฑ์

-ส่งเสริมการสร้าง ธุรกิจและบริการ ขนาดย่อมสำ�หรับ กลุ่มอาชีพ

ผลการดำ�เนินงาน สร้างรายได้ให้กับสมาชิก มีการออกร้านในงานระดับ ภูมิภาค และชาติ มีการส่งออกวัตถุดิบแก่บริษัท จัดรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ในตำ�บลโนนทอง อ.หนองเรือ จ.ขอนแก่น

5. กลุ่มผลิตเห็ด

การจัดรูปแบบการ ท่องเที่ยวเชิงนิเวศและ จำ�หน่ายของฝากของ ที่ระลึก เกิดการรวมกลุ่มจาก การคิดวิเคราะห์ของแม่ บ้าน กิจกรรมระดมสมอง

6.กลุ่มโค-กระบือ

กิจกรรมระดมสมอง

พื้นที่ 2

1.กลุ่มโค-กระบือ

ต.น้ำ�อ้อม อ.กระนวน จ.ขอนแก่น

2.กลุ่มข้าวโพด

กิจกรรมต่อเนื่องจากปี ที่ผ่านมา มีการจัดการ เรื่องบัญชีขึ้นมาเพิ่ม เติม

- พัฒนากลุ่ม กิจกรรมให้น�ำ ไปสู่ ชุมชนเข้มแข็งและ พึ่งตนเอง

มีการขยายสมาชิก และปรับ โครงสร้างของกลุ่มให้เป็นระบบ

เน้นการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ ชีวภาพ น้ำ�หมักชีวภาพ และการผลิตเหล้าเพื่อ สุขภาพ ดำ�เนินการต่อเนื่องจาก ปีที่ผ่านมา จัดทำ�หลักสูตรสถาน ศึกษาต้นแบบ

แนวทางรูปแบบ การตลาดที่ชัดเจน มีกลุ่มเป้าหมายผู้ บริโภคชัดเจน

มีการขยายสมาชิก

อนุรักษ์ 4.กลุ่มธูปและ ดอกไม้จันทน์

3.กลุ่มแปรรูป

เกิดการรวมกลุ่ม, แต่ไม่ได้ส่ง จำ�หน่าย เกิดการรวมกลุ่มผู้ผลิตเพื่อการ บริโภค เกิดกลุ่มดูแลสุขภาพสัตว์เลี้ยง

การเกษตร 4.กลุ่มเห็ด พื้นที่ 3 ต.ดูนสาด อ.กระนวน จ.ขอนแก่น

1.กลุ่มเกษตร ปลอดสารพิษ 2.กลุ่มแม่บ้าน 3.กลุ่มพัฒนา การศึกษาท้องถิ่น

กระจายผลผลิตมาใช้ และ จำ�หน่ายภายในชุมชน

การมีส่วนร่วม บ้าน โรงเรียนต้นแบบในการจัดทำ� หลักสูตรแบบบูรณาการ วัด โรงเรียน

148 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำ�ริ ด้านการบูรณาการของพื้นที่ในชุมชนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง


พื้นที่ พื้นที่ 4

กลุ่ม

การเรียนรู้

กลุ่มผักปลอดสารพิษ

การปลูกผักปลอดสาร พิษ และตลาดชุมชน

กลุ่มอนุรักษ์ป่าชุมชน

ร่วมกันวิเคราะห์ การรวมกลุ่ม สถานการณ์ปัญหา วางแผน เสนอแผนเข้า การอนุรักษ์ป่า ชุมชน เป็นแผนชุมชน

ต.บึงเนียม อ.เมือง จ.ขอนแก่น พื้นที่ 5

กิจกรรม

ต.นาบอน อ.คำ�ม่วง

ส่งเสริมการตลาดใน เกิดการทดลองตลาดผักปลอด ชุมชนและเน้นการ สาร (ร้านผีเสื้อ) ประชาสัมพันธ์

จ.กาฬสินธุ์

พื้นที่

กลุ่ม

จ.ขอนแก่น

พื้นที่ 2

1.กลุ่มแปรรูป

ต.น้ำ�อ้อม อ.กระนวน

การเกษตร

ต.โนนทอง อ.หนองเรือ

จ.ขอนแก่น

พื้นที่ 3. ต.ดูนสาด อ.กระนวน จ.ขอนแก่น

- เกิดกลุ่มเยาวชน “มนุษย์โหล” รักษาป่า - มีการอนุรักษ์ป่าอย่างต่อเนื่อง “ปลูกป่า” - มีระเบียบข้อบังในการใช้ ประโยชน์จากป่าชุมชน

1.กลุ่มธูปและ ดอกไม้จันทน์ 2.กลุ่มนวดแผนไทย 3.กลุ่มโค-กระบือ 4.กลุ่มชาใบหม่อน

พื้นที่ 1

ผลการดำ�เนินงาน

ปี พ.ศ. 2546 กิจกรรม การเรียนรู้ - พัฒนาเสริมสร้าง เพิ่มทักษะ การผลิต ผลิตภัณฑ์จากชุมชนสู่ ตลาด ทั้งภายในชุมชน และภายนอกชุมชน

-ส่งเสริมการทำ�งาน เป็นกลุ่มและสร้าง เครือข่ายระหว่าง กลุ่ม - องค์การบริหาร ส่วนตำ�บลหน่วย งานท้องถิ่นต่างๆ ในพื้นที่กระจายงบ กระตุ้นเศรษฐกิจให้ กับทุกกลุ่ม

ผลการดำ�เนินงาน ได้ผลิตภัณฑ์ชุมชนและชาวบ้าน มีรายได้จากการจำ�หน่ายสินค้า ของกลุ่ม ได้แก่ ธูป, ดอกไม้ จันทน์ ลูกประคบสมุนไพร โค-กระบือ เหล้าพื้นบ้าน ชาใบหม่อนแปรรูป

พัฒนาเป็นสินค้า OTOP ระดับ อำ�เภอ และได้รับการรับรอง มาตรฐาน

2.กลุ่มข้าวโพด 3.กลุ่มเห็ด 4.กลุ่มปุ๋ยชีวภาพ อัดเม็ด 1.กลุ่มแม่บ้าน

ได้ผลิตภัณฑ์ชุมชนและชาวบ้าน มีรายได้จากการจำ�หน่ายสินค้า ของกลุ่ม เช่น แชมพู น้ำ�ยา ล้างจาน ขนม

ทรัพย์สมบูรณ์ 2.กลุ่มแม่บ้านคลองชัย 3.กลุ่มสัจจะสะสม ทรัพย์ภูน้ำ�ป๊อก

149 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำ�ริ ด้านการบูรณาการของพื้นที่ในชุมชนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง


พื้นที่ พื้นที่ 4 ต.สาวะถี อ.เมือง จ.ขอนแก่น พื้นที่ 5 ต.บึงเนียม อ.เมือง จ.ขอนแก่น พื้นที่ 6 ต.บ้านค้อ อ.เมือง จ.ขอนแก่น พื้นที่ 7 ต.นาบอน อ.คำ�ม่วง จ.กาฬสินธุ์

กลุ่ม กลุ่มเกษตรปลอดสาร พิษ

พื้นที่ 1 ต.โนนทอง อ.หนองเรือ จ.ขอนแก่น

การเรียนรู้

- พัฒนาเสริมสร้าง เพิ่มทักษะ การผลิต ผลิตภัณฑ์จากชุมชนสู่ ตลาด ทั้งภายในชุมชน และภายนอกชุมชน

1. กลุ่มเกษตรปลอด สารพิษ 2. กลุ่มเห็ด

ผลการดำ�เนินงาน

-ส่งเสริมการทำ�งาน เกิดกลุ่มเกษตรกรปลอดสาร เป็นกลุ่มและสร้าง พิษ และเกษตรกรผลิตปุ๋ยหมัก เครือข่ายระหว่าง ชีวภาพใช้เองในครัวเรือนได้ กลุ่ม - องค์การบริหาร ส่วนตำ�บลหน่วย งานท้องถิ่นต่างๆ ในพื้นที่กระจายงบ กระตุ้นเศรษฐกิจให้ กับทุกกลุ่ม

กลุ่มเห็ด

เกษตรกรปุ๋ย/น้�ำ หมักชีวภาพใช้ เองในครัวเรือน และมีทักษะใน การผลิตเห็ดเพื่อบริโภคและจำ� หน่ายในชุมชนได้ เกษตรกรมีทักษะในการผลิต เห็ดเพื่อบริโภคและจำ�หน่ายใน ชุมชนได้

คณะกรรมการอนุรักษ์ ป่าชุมชน กลุ่มนักอนุรักษ์น้อย ภูผานาบอน กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร นาบอน

พื้นที่

กิจกรรม

กลุ่ม

การมีส่วนร่วมโดย หน่วยงานต่างๆเข้า มาร่วมสนับสนุน กิจกรรมอนุรักษ์ - ริเริ่มกิจกรรม บวชป่า ได้แก่ ตำ�รวจ วัด - ปรับเปลี่ยนโครงสร้าง โรงเรียน อบต. คณะกรรมการป่าชุมชน อำ�เภอ -หนุนเสริมกิจกรรม อนุรักษ์ฟื้นฟูอย่างต่อ เนื่อง

ปี พ.ศ. 2547 กิจกรรม การเรียนรู้

- สร้างความชัดเจน ของรูปแบบการพัฒนา 2.กลุ่มเห็ด เชิงบูรณาการและพึ่ง 3.กลุ่มนวดแผนไทย ตนเองในแต่ละพื้นที่ มากขึ้น 4.กลุ่มโค-กระบือ - ถอดบทเรียนการ ดำ�เนินงาน 5.กลุ่มธูปและ ดอกไม้จันทน์ 1.กลุ่มชาใบหม่อน

- ส่งเสริมการ ทำ�งานเป็นกลุ่ม และสร้างเครือข่าย ระหว่างกลุ่ม - ได้ทักษะ และ อาชีพ

ได้รับความร่วมมือจากนักศึกษา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัย ขอนแก่น ในการสำ�รวจต้นไม้ จัดทำ�บัญชีรายชื่อต้นไม้ และทำ� ป้ายชื่อต้นไม้ เป็นแหล่งเรียนรู้

ผลการดำ�เนินงาน ได้ผลิตภัณฑ์ชุมชนและชาวบ้าน ได้มีรายได้จากการจำ�หน่ายสิน ค้าของกลุ่ม ได้แก่ ธูป, ดอกไม้ จันทน์, ลูกประคบสมุนไพร, โคกระบือ, เหล้าพื้นบ้านและชาใบ หม่อนแปรรูป เป็นต้น

150 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำ�ริ ด้านการบูรณาการของพื้นที่ในชุมชนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง


พื้นที่

กลุ่ม

พื้นที่ 2 1.กลุ่มแปรรูป การเกษตร 2.กลุ่มเห็ด

ต.น้ำ�อ้อม อ.กระนวน จ.ขอนแก่น

3.กลุ่มข้าวโพด 4.กลุ่มโค-กระบือ พื้นที่ 3

กิจกรรม

การเรียนรู้

ผลการดำ�เนินงาน

-สร้างความชัดเจน ของรูปแบบการพัฒนา เชิงบูรณาการและพึ่ง ตนเองในแต่ละพื้นที่ มากขึ้น

ส่ ง เสริ ม การทำ� งาน เป็ น กลุ่ ม และสร้ า ง เครื อ ข่ า ยระหว่ า ง กลุ่มได้ทักษะ และ อาชีพ

-ถอดบทเรียนการ ดำ�เนินงาน

ส่ ง เสริ ม การทำ� งาน เป็ น กลุ่ ม และสร้ า ง เครื อ ข่ า ยระหว่ า ง กลุ่มได้ทักษะ และ อาชีพ

ชาวบ้านได้มีรายได้จากการ จำ�หน่ายสินค้าของกลุ่ม ได้แก่ แชมพู น้ำ�ยาล้างจาน น้�ำ ยา ซักผ้า น้ำ�ยาล้างห้องน้�ำ ครีม ทาส้นเท้าแตกและยาสีฟัน สมุนไพร รวมภึงนำ�หลักวิชาการ ไปประยุกต์จัดการผลิต เห็ด ข้าวโพด และน้�ำ หมักชีวภาพ เกิดเครือข่ายโค-กระบือ ชาวบ้านมีรายได้จากการ จำ�หน่ายสินค้าของกลุ่ม ได้แก่ แชมพู, น้ำ�ยาล้างจานและผลิต ปุ๋ย/น้ำ�หมักชีวภาพใช้ใน ครัวเรือน

1.กลุ่มเกษตร ปลอดสารพิษ หมู่1

ต.ดูนสาด อ.กระนวน จ.ขอนแก่น

2.กลุ่มเกษตร ปลอดสารพิษ หมู่ 8 3. กลุ่มแม่บ้าน หมู่ 5 4. กลุ่มสัจจะสะสม ทรัพย์ภูน�้ำ ป๊อก กลุ่มพัฒนาการ - การวิจัยในชั้นเรียน ศึกษาท้องถิ่น - พัฒนาทักษะ - ทดลองใช้หลักสูตร - จัดทำ�สื่อการเรียนการ สอน - สร้างเครือข่ายการ เรียนรู้

พื้นที่ 4 โรงเรียน อ.กระนวน จ.ขอนแก่น

พื้นที่ 5 1) ต.บ้านกง 2) ต.โนนทอง 3) ต.บ้านผือ 4) ต.หนองเรือ อ.หนองเรือ จ.ขอนแก่น 5) ต.หว้าทอง 6) ต.นาหว้า 7) ต.กุดขอนแก่น 8) ต.หนองกุง เซิน อ.ภูเวียง จ.ขอนแก่น

การมีส่วนร่วม ของชุมชนในการ วางแผนการดำ�เนิน งานตามประเด็น ที่แต่ละโรงเรียนมี ความสนใจ

เครือข่ายท่องเที่ยว -ประสานความร่วมมือ การมีส่วนร่วม เพื่อจัดการป่า เชิงอนุรักษ์ 8 ตำ�บล กับหน่วยงานต่างๆ ชุมชนและเกิด อ.หนองเรือ-ภูเวียง -จัดทดลองรูปแบบ จิตสำ�นึกอนุรักษ์ จ.ขอนแก่น การท่องเที่ยวโดยจัด ทรัพยากรธรรมชาติ โปรแกรมการท่องเที่ยว รอบเขื่อนอุบลรัตน์ 8 ตำ�บล

- เกิดหลักสูตรการเรียนรู้ด้าน อาชีพ, ความรู้ภูมิปัญญา, การ จัดการทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม

- มีรูปแบบโปรแกรมการท่อง เที่ยวเชิงอนุรักษ์ในพื้นที่ 8 ตำ�บล - กระจายรายได้สู่กลุ่มอาชีพใน พื้นที่ 8 ตำ�บล

- เพิ่มศักยภาพพื้นที่ และสถานที่ท่องเที่ยว

151 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำ�ริ ด้านการบูรณาการของพื้นที่ในชุมชนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง


พื้นที่ พื้นที่ 6 ต.บึงเนียม อ.เมือง จ.ขอนแก่น

พื้นที่ 7 ต.นาบอน อ.คำ�ม่วง จ.กาฬสินธุ์

พื้นที่ พื้นที่ 1 ต.น้ำ�อ้อม อ.กระนวน จ.ขอนแก่น พื้นที่ 2 ต.ดูนสาด อ.กระนวน จ.ขอนแก่น พื้นที่ 3 ต.กุดขอนแก่น อ.ภูเวียง จ.ขอนแก่น พื้นที่ 4 ต.หนองกุง เซิน อ.ภูเวียง จ.ขอนแก่น

กลุ่ม กลุ่มเกษตรปลอด สารพิษ

กิจกรรม

การเรียนรู้

- พัฒนาเสริมสร้าง เพิ่มทักษะการผลิตผลิต ภัณฑ์จากชุมชนสู่ตลาด ทั้งภายในชุมชนและ ภายนอกชุทชน

ส่งเสริมการทำ�งาน เป็นกลุ่มและสร้าง เครือข่ายระหว่าง กลุ่ม

องค์การบริหารส่วน ตำ�บล หน่วยงาน ท้องถิ่นต่างๆ ใน พื้นที่ กระจายงบ กระตุ้นเศรษฐกิจให้ กับทุกกลุ่ม ขยายแนวคิดการ สร้างให้เกิด คณะกรรมการ อนุรักษ์ป่าสู่ชุมชนรอบ จิตสำ�นึกในการ อนุรักษ์ป่าชุมชน ป่าโดยการจัดเวทีสัญจร อนุรักษ์ป่าเพื่อเป็น กลุ่มนักอนุรักษ์น้อย แหล่งอาหารและ ภูผานาบอน แหล่งเรียนรู้ของ ชุมชน กลุ่มแม่บ้าน เกษตรกรนาบอน

กลุ่ม

ปี พ.ศ. 2548 กิจกรรม การเรียนรู้

1. กลุ่มแปรรูป การเกษตร

-ถอดบทเรียนการ ดำ�เนินงาน

2. กลุ่มยุวเกษตร

-สร้างความชัดเจน ของรูปแบบการพัฒนา เชิงบูรณาการและพึ่ง ตนเองในแต่ละพื้นที่ มากขึ้น

กลุ่มปุ๋ยชีวภาพ หมู่ 5

การพัฒนาชนบท เชิงบูรณาการและ พึ่งตนเองอย่าง ยั่งยืน

ผลการดำ�เนินงาน - ชาวบ้านมีรายได้จากการ จำ�หน่ายสินค้าของกลุ่ม ได้แก่ แชมพู, น้ำ�ยาล้างจานและผลิต ปุ๋ย/น้ำ�หมักชีวภาพใช้ใน ครัวเรือน

-กลุ่มอนุรักษ์น้อยภูผานาบอนได้ รับ “รางวัลลูกโลกสีเขียว” - นักศึกษามหาวิทยาลัย ขอนแก่นใช้เป็นพื้นที่ฝึกงานและ ทำ�รายงานวิจัย

ผลการดำ�เนินงาน ชาวบ้านมีรายได้จากการ จำ�หน่ายสินค้าของกลุ่ม ได้แก่ แชมพู, น้ำ�ยาล้างจาน, น้�ำ ยาซัก ผ้า, น้ำ�ยาล้างห้องน้�ำ , ครีมทา ส้นเท้าแตกและยาสีฟัน เกษตรกรสามารถปุ๋ยชีวภาพอัด เม็ดสำ�หรับใช้ในครัวเรือนและ พัฒนาเพื่อการจำ�หน่าย เกษตรกรมีความรู้และทักษะเพิ่ม เติมถึงวิธี และหลักการเพาะพันธุ์ ปลา พร้อมเรียนรู้วิธีการผลิตอา หารปลาเองเพื่อลดต้นทุนการ ผลิต มีผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อบริโภค และจำ�หน่าย สร้างรายได้เพิ่มแก่ สมาชิกในกลุ่ม ได้แก่ แจ่วบอง ปลาส้ม ปลาแห้ง น้�ำ ปลา

กลุ่มเพาะพันธุ์ปลา

1. กลุ่มปลาร้า อนามัย 2.กลุ่มน้ำ�ปลา

152 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำ�ริ ด้านการบูรณาการของพื้นที่ในชุมชนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง


พื้นที่

กลุ่ม

พื้นที่ 5

กิจกรรม

การเรียนรู้

กลุ่มเกษตรสามัคคี

เกษตรกรมีความรู้และทักษะเพิ่ม เติมถึงวิธี และหลักการเพาะพันธุ์ ปลา พร้อมเรียนรู้วิธีการผลิต อาหารปลาเองเพื่อลดต้นทุนการ ผลิต เกิ ด กลุ่ ม เกษตรกรผู้ เ ลี้ ย งหมู อนามั ย ปลอดสารและสามารถ ต่อรองราคาที่เป็นธรรมกับพ่อค้า คนกลาง

ต.บ้านผือ อ.หนองเรือ จ.ขอนแก่น พื้นที่ 6

กลุ่มเลี้ยงหมู

ต.หว้าทอง อ.ภูเวียง จ.ขอนแก่น พื้นที่ 7

กลุ่มปุ๋ยชีวภาพอัด เม็ด

ต.บ้านกง อ.หนองเรือ จ.ขอนแก่น พื้นที่ 8

1.กลุ่มไม้ผล 2.กลุ่มทอผ้า

ต.บ้านใหม่ อ.สีชมพู จ.ขอนแก่น พื้นที่ 9

กลุ่มพัฒนาการ ศึกษาท้องถิ่น

ร.ร.บ้านฝาง ต.บ้านฝาง

ผลการดำ�เนินงาน

-ถอดบทเรียนการ ดำ�เนินงาน -สร้างความชัดเจน ของรูปแบบการพัฒนา เชิงบูรณาการและพึ่ง ตนเองในแต่ละพื้นที่ มากขึ้น สร้างการมีส่วนร่วม โดยการขยายผลการบู รณาการจัดทำ�หลักสูตร สถานศึกษา

การพัฒนาชนบท เชิงบูรณาการและ พึ่งตนเองอย่าง ยั่งยืน

มีความรู้และมีทักษะในกระบวน การผลิตปุ๋ยชีวภาพอัดเม็ด

เกิดกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิต ผลไม้ และทอผ้าไหม เพื่อเพิ่มมูลค่า และคุณภาพผลผลิต การจัดทำ�หลักสูตร แหล่งเรียนรู้ในป่าหลังโรงเรียน สถานศึกษาอย่าง แปลงผักปลอดสารพิษ มีส่วนร่วมระหว่าง เตาเผาถ่านน้ำ�ส้มควันไม้ บ้าน วัด โรงเรียน

รร.บ้านหนองซา รร.ชุมชนบ้าน น้ำ�อ้อม ต.น้ำ� อ้อม อ.กระนวน จ.ขอนแก่น รร.บ้านผือ ต.บ้านผือ รร.บ้านหนองแสง ต.ผือ ต.โนนทอง อ.หนองเรือ จ.ขอนแก่น รร.บ้านหนอง เขื่อนช้าง จ.ขอนแก่น

153 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำ�ริ ด้านการบูรณาการของพื้นที่ในชุมชนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง


พื้นที่ พื้นที่ 10 ต.สาวะถี อ.เมือง จ.ขอนแก่น พื้นที่ 11 ต.บึงเนียม อ.เมือง จ.ขอนแก่น พื้นที่ 12 ต.บ้านกง ต.โนนทอง ต.บ้านผือ ต.หนองเรือ อ.หนองเรือ ต.หว้าทอง ต.นาหว้า ต.กุดขอนแก่น ต.หนองกุง เซิน อ.ภูเวียง จ.ขอนแก่น พื้นที่ 13 ต.นาบอน อ.คำ�ม่วง จ.กาฬสินธุ์

กลุ่ม

กิจกรรม

การเรียนรู้

กลุ่มเกษตรปลอด สารพิษ

-ถอดบทเรียนการ ดำ�เนินงาน

กลุ่มเกษตรปลอด สารพิษ

-สร้างความชัดเจน ของรูปแบบการพัฒนา เชิงบูรณาการและพึ่ง ตนเองในแต่ละพื้นที่ มากขึ้น

เครือข่ายท่องเที่ยว พัฒนาการดำ�เนินงาน เชิงอนุรักษ์ 8 ตำ�บล ของกลุ่มอาชีพทั้ง 8 ตำ�บล ควบคู่กับการ อ.หนองเรือ-ภูเวียง ท่องเที่ยว จ.ขอนแก่น

คณะกรรมการ อนุรักษ์ป่าชุมชน กลุ่มแม่บ้าน เกษตรกรนาบอน

การพัฒนาชนบท เชิงบูรณาการและ พึ่งตนเองอย่าง ยั่งยืน

ผลการดำ�เนินงาน กลุ่มเกษตรกรสามารถผลิตปุ๋ยชีว ภาพปั้นเม็ดใช้ในครัวเรือนได้ กลุ่มเกษตรกรผลิตปุ๋ย/น้ำ�หมักชีว ภาพใช้ในครัวเรือนได้

ลดบทบาทการ มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและ ทำ�งานเครือข่าย เป็นที่รู้จักแก่นักท่องเที่ยวในวง ท่องเที่ยวเชิง กว้างมากขึ้น อนุรักษ์ปรับเปลี่ยน ประเด็นการทำ�งาน มาเป็นการพัฒนา กลุ่มอาชีพ

ศึกษาดูงานการบริหาร อบต.มีบทบาทและ -ได้รับงบสนับสนุนจาก UNDP จัดการป่าชุมชน ป่าดง มีส่วนร่วมเข้ามา จำ�นวน 1 ล้านบาท เพื่อจัดตั้ง นาทาม จ.อุบลราชธานี ดูแลอนุรกั ษ์ป่า เป็นกองทุนการจัดการป่าและ ขยายเครือข่ายอนุรักษ์สู่ตำ�บล อื่นรอบป่า

154 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำ�ริ ด้านการบูรณาการของพื้นที่ในชุมชนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง


ปี พ.ศ. 2549 พื้นที่ พื้นที่ 1 ต.น้ำ�อ้อม อ.กระนวน จ.ขอนแก่น

กลุ่ม กลุ่มแปรรูป การเกษตร กลุ่มยุวเกษตร

พื้นที่ 2

1.กลุ่มปุ๋ยชีวภาพ

ต.ดูนสาด อ.กระนวน จ.ขอนแก่น

2.กลุ่มพริก

พื้นที่ 3

กิจกรรม

การเรียนรู้

ผลการดำ�เนินงาน

จัดประชุมและสรุปบท เรียน ต่อยอดหนุนเสริม กิจกรรมกลุ่มอย่างต่อ เนื่อง

กลุ่มสามารถพึ่ง ตนเองได้และเป็น แหล่งเรียนรู้เพื่อ ขยายผล

ชุดประสบการณ์เพื่อขยายผล การดำ�เนินงาน “ หนังสือองค์ ความรู้เพื่อการพึ่งตนเอง”

จัดประชุมและสรุปบท เรียน ต่อยอดหนุนเสริม กิจกรรมกลุ่มอย่างต่อ เนื่อง

กลุ่มสามารถพึ่ง ตนเองได้และเป็น แหล่งเรียนรู้เพื่อ ขยายผล

เกษตรกรรวมกลุ่มผลิตปุ๋ยชีว ภาพอัดเม็ด เพื่อผลิตพริก ปลอดภัย

- ศึกษาประเด็นวิจัย เพิ่มเติมเพื่อเป็นองค์ ความรู้ในการพัฒนา 1.กลุ่มเพาะพันธุ์ปลา ต่อไป

ได้ความรู้และวิธีการเพาะขยาย พันธุ์ปลา ผลิตอาหารปลา และ เกิดเครือข่ายเยาวชนต้านยา เสพติด

ต.กุดขอนแก่น อ.ภูเวียง จ.ขอนแก่น

2.กลุ่มเยาวชน

พื้นที่ 4

1.กลุ่มปลาร้าอนามัย

ต.หนองกุงเซิน อ.ภูเวียง จ.ขอนแก่น

2.กลุ่มน้ำ�ปลา

มีผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อบริโภค และจำ�หน่าย สร้างรายได้เพิ่มแก่ สมาชิกในกลุ่ม ได้แก่ แจ่วบอง ปลาส้ม ปลาแห้ง น้ำ�ปลา

พื้นที่ 5

กลุ่มเกษตรสามัคคี บ้านผือ

เกษตรกรมีความรู้และทักษะใน การเพาะพันธุ์ปลา

กลุ่มเลี้ยงหมู

เกิดกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงหมู อนามัยปลอดสารและสามารถ ต่อรองราคาที่เป็นธรรมกับพ่อ ค้าคนกลาง

ต.บ้านผือ อ.หนองเรือ จ.ขอนแก่น

พื้นที่ 6 ต.หว้าทอง อ.ภูเวียง จ.ขอนแก่น

155 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำ�ริ ด้านการบูรณาการของพื้นที่ในชุมชนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง


พื้นที่ พื้นที่ 7 ต.บ้านกง อ.หนองเรือ จ.ขอนแก่น พื้นที่ 8 ต.บ้านใหม่ อ.สีชมพู จ.ขอนแก่น พื้นที่ 9 ต.นาหว้า อ.ภูเวียง จ.ขอนแก่น พื้นที่ 10 ร.ร.บ้านฝาง ต.บ้านฝาง

กลุ่ม

กิจกรรม

การเรียนรู้

ผลการดำ�เนินงาน

กลุ่มปุ๋ยชีวภาพอัด เม็ด

ได้ปุ๋ยชีวภาพอัดเม็ด เพื่อพัฒนา เป็นผลิตภัณฑ์ในชุมชนเพื่อการ จำ�หน่าย

1.กลุ่มไม้ผล 2.กลุ่มทอผ้า

เกิดกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตผลไม้ และทอผ้าไหม เพิ่มมูลค่าและ คุณภาพผลผลิต

กลุ่มพัฒนาเกษตร ยั่งยืน

ผลิตปุ๋ยชีวภาพปั้นเม็ด สำ�หรับ ทำ�เกษตรปลอดสาร

กลุ่มพัฒนาการ ศึกษาท้องถิ่น

รร.บ้านหนอง ซารร.ชุมชนบ้าน น้ำ�อ้อม ต.น้ำ� อ้อม อ.กระนวน จ.ขอนแก่น

กิจกรรมพัฒนาแนวคิด เศรษฐกิจพอเพียง แก่ครู-อาจารย์ (ฝึก อบรม ศึกษาดูงาน แลก เปลี่ยนเรียนรู้)

เครือข่ายการ แหล่งเรียนรู้ในป่าหลังโรงเรียน บริการวิชาการตาม แปลงผักปลอดสารพิษ ความต้องการของ เตาเผาถ่านน้ำ�ส้มควันไม้ โรงเรียนโดยใช้หลัก เศรษฐกิจพอเพียง

จัดประชุมและสรุปบท เรียน ต่อยอดหนุนเสริม กิจกรรมกลุ่มอย่างต่อ เนื่อง

กลุ่มสามารถพึ่ง ตนเองได้และเป็น แหล่งเรียนรู้เพื่อ ขยายผล

รร.บ้านหนอง ผือราษฎ์ประสิทธิ์ รร.บ้านหนองแสง ต.บ้านผือ รร.บ้านหนอง เขื่อนช้าง ต.โนน ทอง อ.หนองเรือ จ.ขอนแก่น รร.สีหราชเดโชชัย ต.ศิลา อ.เมือง จ.ขอนแก่น พื้นที่ 11 กลุ่มเกษตรปลอด สารพิษ ต.บึงเนียม อ.เมือง จ.ขอนแก่น

ผลิตปุ๋ยชีวภาพปั้นเม็ด, น้�ำ หมัก ชีวภาพสำ�หรับทำ�เกษตรปลอด สาร

- ศึกษาประเด็นวิจัย เพิ่มเติมเพื่อเป็นองค์ ความรู้ในการพัฒนา ต่อไป

156 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำ�ริ ด้านการบูรณาการของพื้นที่ในชุมชนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง


กลุ่ม

พื้นที่ พื้นที่ 12 ต.สาวะถี อ.เมือง จ.ขอนแก่น

พื้นที่ 13 ต.นาบอน อ.คำ�ม่วง จ.กาฬสินธุ์

กลุ่มเกษตรปลอด สารพิษ

คณะกรรมการ อนุรักษ์ป่าชุมชน

กิจกรรม

การเรียนรู้

ผลการดำ�เนินงาน

- จัดประชุมและสรุป กลุ่มสามารถพึ่งตน การทำ�เกษตรชีวภาพโดยการใช้ บทเรียน ต่อยอดหนุน เองได้และเป็นแหล่ง ปุ๋ยชีวภาพปั้นเม็ด เสริมกิจกรรมกลุ่มอย่าง เรียนรู้เพือ่ ขยายผล ต่อเนื่อง - ศึกษาประเด็นวิจัย เพิ่มเติมเพื่อเป็นองค์ ความรู้ในการพัฒนา ต่อไป การผลิตสื่อและเขียน บทความเผยแพร่

กลุ่มแม่บ้าน เกษตรกรนาบอน

การขยายผลแนวคิด มีสื่อประชาสัมพันธ์ และ การอนุรักษ์ป่า บทความเรื่องการอนุรักษ์ป่า ชุมชนสู่พื้นที่อื่นๆ ชุมชนตำ�บลนาบอน สำ�หรับเผย แพร่และขยายผล

กลุ่มนักอนุรักษ์น้อย ภูผานาบอน

ผลจากการดำ � เนิ น งานโครงการพั ฒ นาชนบทเชิ ง โครงการขยายออกไปมากในปี พ.ศ. 2548 จากจุดนี้บาง บูรณาการฯ เกิดผลทั้งต่อนักวิชาการที่เข้าไปดำ�เนินงาน กลุ่มได้ทดลองปฏิบัติ บางกลุม่ วางแผนก่อน ทำ�ให้งาน และผลต่อพื้นที่เป้าหมาย สามารถสรุปได้ดังนี้ กลุ่มขับเคลื่อนได้และทำ�ซ้ำ� ทำ�ให้เกิดการเรียนรู้เพิ่มเติม มีบางกลุ่มที่มีความสนใจคล้ายกันได้ประสานกันเป็นเครือ 2.4 ผลต่อพื้นที่เป้าหมาย ข่าย อย่างไรก็ตามมีหนึ่งกลุ่ม ที่ไม่สามารถขับเคลื่อนได้ 2.4.1 การปรับเปลี่ยนความคิดในภาพรวม เนื่องจากการกระตุ้นไม่สามารถเปลี่ยนความคิดได้ การ ในภาพรวมเกื อ บทุ ก กลุ่ ม เมื่ อ เริ่ ม ทำ � งานเข้ า ใจว่ า เปลี่ยนความคิด หรือกระบวนทัศน์ และการสร้างแรง โครงการนี้จะมีของมาให้ มาแจก หรือมีงบประมาณมาให้ บันดาลใจจึงเป็นสิ่งสำ�คัญ บทบาทของนักวิชาการในการ ดำ�เนินการ โครงการฯ ต้องใช้เวทีระดมสมองหลายครั้งจึง ทำ�งานร่วมกับชุมชนในการเป็นคนกระตุ้น และเอื้อให้เกิด เข้าใจว่าโครงการไม่มีงบประมาณประเภทนี้ ทำ�ให้สมาชิก กระบวนการ ประกอบกับการสร้างภาวะผู้น�ำ ในกลุ่มจึง บางคนไม่สนใจที่จะทำ�งานร่วมกันต่อ แต่การระดมสมอง เป็นเรื่องสำ�คัญ และเป็นบทเรียนที่ดีทั้งในบทบาทนี้ และ ทำ � ให้ เ กิ ด การวิ เ คราะห์ ส ถานการณ์ ร อบตั ว ตั้ ง แต่ ร ะดั บ นำ�ไปสู่การเข้าใจชุมชนในมิติต่างๆ การปรับเปลี่ยนความ โลกาภิวัตน์ลงมาจนถึงตนเอง ทำ�ให้สมาชิกเข้าใจว่าตัว คิดไม่ได้เกิดเฉพาะในกลุ่มของชุมชน แต่เกิดกับอาจารย์ เองอยู่ในสถานการณ์อย่างไร เช่นภาวะหนี้สิน ทรัพยากร เจ้าหน้าที่โครงการฯ อบต. และหน่วยงานอื่นๆ ที่เข้ามา เสื่อมโทรม พึ่งพาภายนอกมากเกินไป และทำ�ให้มีการ ร่วมงาน เช่น ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธกส.) เปลี่ ย นแปลงความคิ ด ในการที่ จ ะตั้ ง สติ เ พื่ อ หาทางแก้ ที่เข้ามามีส่วนร่วม ปัญหาหรือพัฒนาศักยภาพของตนเองและกลุ่ม ทำ�ให้เกิด 2.4.2 การพัฒนาของกลุ่มอาชีพ การอนุรักษ์ ความคิดเชิงสาธารณะ การพึ่งตนเอง การเปลี่ยนแปลง สิ่งแวดล้อม และการสร้างหลักสูตรสถานศึกษา ความคิดนี้เป็นจุดเริ่มต้นที่สำ�คัญของการทำ�งานร่วมกัน 1) เครือข่ายป่าชุมชน ตำ�บลนาบอน การศึกษาดูงานหลายครั้งร่วมกับการจัดเวทีสรุปบทเรียน หลังการปฏิบัติ ทำ�ให้หลายกลุ่มเกิดแรงบันดาลใจ เกิด เครือข่ายป่าชุมชน ตำ�บลนาบอน เป็นเครือข่ายที่ได้ เป้าหมายของตัวเองและกลุ่ม และอยากจะลงมือปฏิบัติ สร้างให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกันในการป้องกันและอนุรักษ์ป่า เพื่อให้บรรลุความต้องการ ดังจะเห็นได้จากพื้นที่ของ ชุมชน จนเกิดวัฒนธรรมใหม่ในการอนุรักษ์ป่า คือการบวช

157 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำ�ริ ด้านการบูรณาการของพื้นที่ในชุมชนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง


ป่า ซึ่งทำ�ให้เกิดการประสานงานทั้งคนในตำ�บล อำ�เภอ และโรงเรียน มาร่วมกันอนุรักษ์ป่า ผลจากการดำ�เนินงาน โครงการฯ ทำ�ให้กำ�นันได้รางวัลแหนบทองคำ� และกลุ่ม เครือข่ายป่าชุมชน ตำ�บลนาบอนได้รับรางวัลลูกโลกสีเขียว ของเอเชีย ซึ่งกุญแจสำ�คัญของความสำ�เร็จนี้เกิดจากภาวะ ผู้นำ�ของกลุ่ม การมีส่วนร่วมในการวางแผนและอนุรักษ์ป่า การเห็นประโยชน์และคุณค่าของป่าที่เป็นตลาดอาหารสด ของชุมชน เกิดการทำ�งานร่วมกันระหว่างชุมชนและ

โรงเรียน มีการสร้างเยาวชนในการอนุรักษ์ป่า ฐานของการ พัฒนาเครือข่ายนี้เกิดจากกลุ่มที่ผลิตสมุนไพรที่มีสมาชิก แม่บ้านเป็นพลังสำ�คัญ จากการจัดเวทีและการปฏิบัติจริง ทำ�ให้เกิดผลที่เป็นรูปธรรม และกลายเป็นกลไกสำ�คัญใน การขับเคลื่อนมีการขยายเป็นเครือข่ายที่มีเป้าหมายร่วม และผลที่ได้เป็นประโยชน์ต่อประชาชนในภาพรวม เช่น อาหารที่ได้จากป่า และสมุนไพร เป็นต้น

กิจกรรมของเครือข่ายป่าชุมชน ตำ�บลนาบอน จังหวัดขอนแก่น 2) เครือข่ายการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์

รางวัลลูกโลกสีเขียว

ผลจากการพัฒนาเครือข่ายท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ใน พื้นที่ 8 ตำ�บล ใน 2 อำ�เภอ ของจังหวัดขอนแก่น (อำ�เภอ ภูเวียงและอำ�เภอหนองเรือ) ทำ�ให้เกิดพื้นที่ท่องเที่ยวเชิง อนุรักษ์ขึ้นหลายแห่ง ได้แก่ พัทยา 2 ล่องแพบ้านเลื่อม ล่องแพบ้านกุดหิน หาดสวรรค์ และบ้านอนุรักษ์ควายไทย

158 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำ�ริ ด้านการบูรณาการของพื้นที่ในชุมชนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง


บ้านโนนทอง ตำ�บลนาหว้า ซึ่งเป็นกิจกรรมหนึ่งที่กระตุ้น ให้คนในพื้นที่เห็นความสำ�คัญของการอนุรักษ์สถานที่ท่อง เที่ยวของตนให้อยู่อย่างยั่งยืน และใช้เป็นฐานในการสร้าง รายได้จากการท่องเที่ยว เป็นการสร้างเครือข่ายการเรียน รู้ในการบริหารจัดการสถานที่ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ และ เรียนรู้การสร้างผลิตภัณฑ์เพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยว และ สร้างรายได้ให้กับชุมชน เกิดบทเรียนที่ท�ำ ให้เห็นว่าการจะ ขับเคลื่อนเครือข่ายนี้ได้จะต้องใช้กระบวนการที่ชัดเจน มี ทรัพยากรในการบริหารจัดการที่เพียงพอซึ่งเป็นบทเรียน สำ�คัญ และต้องมีการปรับเปลี่ยนทัศนคติของคนในแต่ละ พื้นที่ให้เห็นความสำ�คัญ และทำ�ซ้ำ�จนเกิดการเรียนรู้ร่วม กัน

บ้านอนุรักษ์ควายไทย บ้านโนนทอง ต.นาหว้า จ.ขอนแก่น

พัทยา 2 ภาพเขียนสีโบราณ

แพลอยน้ำ�

159 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำ�ริ ด้านการบูรณาการของพื้นที่ในชุมชนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง


การอบรมเชิงปฏิบัติการ วางแผนจัดการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ 3) กลุ่มแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร

ทำ�รายการเพื่อนำ�เสนอทางสื่อโทรทัศน์ถ่ายทอดไปทั่ว กลุ่มแปรรูปผลิตผลทางการเกษตร ได้สร้างคุณค่า ประเทศ ทั้งที่กลุ่มนี้เป็นกลุ่มแม่บ้านเท่านั้น ในการพึ่งตนเองโดยใช้ทรัพยากรในท้องถิ่นมาผลิตเป็น  ผลิตภัณฑ์ อาทิเช่น แชมพูมะกรูด น้�ำ มันไพร แชมพูขมิ้น ชัน เป็นต้น เกิดการออม และช่วยเหลือซึ่งกันและกันทาง ด้านการเงิน มีการคืนทุนให้กับสังคมโดยการช่วยงานใน ชุมชน การบริจาคให้วัด และกลุ่มยังมีความสามารถซื้อ ที่ดินเพื่อสร้างร้านจำ�หน่ายสินค้าที่เป็นผลิตภัณฑ์ของกลุ่ม เอง นอกจากนี้ด้วยความตั้งใจ ใส่ใจ และทำ�งานแบบมี แผนงานของสมาชิกทำ�ให้กลุ่มได้รับรางวัล และมีการถ่าย

ตัวอย่างสินค้าผลิตภัณฑ์จากชุมชน

การทำ�ชาใบหม่อน

160 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำ�ริ ด้านการบูรณาการของพื้นที่ในชุมชนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง


แชมพูสมุนไพร ผลิตภัณฑ์ชุมชน

การรวมกลุ่มแม่บ้านเพื่อผลิตสินค้า 6) กลุ่มเห็ด

4) กลุ่มนวดแผนไทย เป็นการรวมกลุ่มกันเพื่อพึ่งตนเองทางด้านสุขภาพ โดยมีผู้รู้และมีทักษะในการนวดแผนไทยมาให้คำ�แนะนำ� และมีการผลิตลูกประคบเพื่อใช้ในการนวด และเพื่อ จำ�หน่าย เมื่อสมาชิกหรือคนภายนอกกลุ่มตลอดจน ประชาชนจากต่างถิ่นปวดเมื่อย สามารถเข้ารับบริการ ได้ เป็นการประหยัดค่ายา และสร้างรายได้เสริมให้กับ ครอบครัว มีการเสริมสร้างทักษะซึ่งกันและกันจากการจัด เวทีเรียนรู้ กลุ่มนี้มีฐานจากสมาชิกแม่บ้านเช่นกัน แต่มี บทเรียนคือ การทำ�กิจกรรมนวดแผนไทยนี้รวมกลุ่มได้ยาก เพราะเป็นทักษะของปัจเจกบุคคล แต่ก็สามารถสามารถ เรียนรู้ และทำ�กิจกรรมร่วมกันได้ 5) กลุ่มธูป ทางกลุ่มต้องการมีกิจกรรมเสริมรายได้ จึงได้เรียน รู้ทักษะจนกระทั่งสามารถผลิตธูปขายได้ น่าเสียดายที่ใน ช่วงระยะหลังต้องเลิกกิจกรรมผลิตธูปไปเพราะรายได้น้อย และสมาชิกต้องหันไปทำ�กิจกรรมอื่น เนื่องจากตลาดธูป มีขนาดเล็ก กลุ่มได้วางแผนปรับเปลี่ยนกิจกรรมให้เหมาะ บทเรียนที่สำ�คัญคือการขาดข้อมูล และทักษะด้านการ ตลาด

สมาชิกมีฐานความรู้และทักษะการผลิตเห็ด สามารถ สร้างอาชีพได้ด้วยดี แต่สถานการณ์เปลี่ยนไปคือ วัสดุหลัก ในการผลิตเห็ดขาดแคลน และหายากต้องขนส่งไกล จึง มีต้นทุนสูง ประกอบกับมีปัญหาด้านการควบคุมสภาพ แวดล้อม และการผลิตเชื้อเห็ดเอง จึงต้องเลิกกิจกรรมไป เพราะรายได้น้อย ไม่คุ้มค่าการลงทุน บทเรียนความล้ม เหลวนี้ทำ�ให้กลุ่มเรียนรู้ว่านอกจากปัจจัยด้านการตลาด ที่เป็นตัวจำ�กัดแล้ว วัตถุดิบในการผลิตเชื้อและดอกเห็ดก็ เป็นปัญหา ซึ่งกลุ่มได้พยายามแสวงหาแหล่งวัตถุดิบชนิด อื่นมาทดแทน แต่ก็ไม่สามารถปรับตัวตามสถานการณ์ได้ 7) กลุ่มเกษตรปลอดสารพิษ เป็นกลุ่มการเรียนรู้ที่แสวงหาเทคนิคในการลด ละ เลิก การใช้สารเคมีในการผลิตทางการเกษตรโดยเปลี่ยน มาใช้น้ำ�หมักชีวภาพที่ผลิตเองมา ถึงแม้ว่าจะรวมตัวกัน กลุ่มค่อนข้างยาก เนื่องจากกิจกรรมเป็นในรูปแบบที่ ต่างคนต่างทำ�ได้ แต่ผลที่เกิดขึ้นหลังจากทำ�โครงการฯ เกษตรกรมีการใช้น้ำ�หมักชีวภาพกันมากขึ้น และลดการใช้ สารเคมี และปุ๋ยเคมี มีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทำ�ให้ความรู้ และเทคนิคการทำ�น้ำ�หมักพัฒนาอย่างต่อเนื่องและขยาย ตัว นอกจากนี้แล้วกลุ่มพ่อสมัยที่ต�ำ บลบึงเนียมยังดำ�เนิน กิจกรรมกลุ่มผลิตผักปลอดสารพิษจนถึงปัจจุบัน และมี หน่วยงานราชการมาให้การสนับสนุนมากมาย

161 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำ�ริ ด้านการบูรณาการของพื้นที่ในชุมชนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง


การปลูกผักปลอดสารพิษ

การเพาะขยายพันธุ์พืช

การเลี้ยงปลาในบ่อซีเมนต์

การแปรรูปผลิตภัณฑ์

8) กิจกรรมพัฒนาการศึกษา เป็นกิจกรรมที่สร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างภูมิปัญญาท้องถิ่น ชุมชน และโรงเรียน (ครู นักเรียน และกรรมการสถานศึกษาของโรงเรียน) ใน การทำ�หลักสูตรสถานศึกษา ตลอดจนการสร้างวิทยากรกระบวนการในการจัด ทำ�หลักสูตรสถานศึกษาจนกระทั่งเกิดการขยายผลวิธีการ ทั้งในอำ�เภอกระนวน ซึ่งทำ�ให้เห็นกระบวนการพัฒนาหลักสูตรทางการศึกษาโดยการมีส่วนร่วมของ ชุมชน และกระบวนการในการสร้างวิทยากรกระบวนการทางการศึกษา ตัวอย่าง การทำ�บายศรี ทำ�ให้นักเรียนได้รับรางวัลระดับภาค และสามารถนำ�ความรู้ และ ทักษะมาใช้สร้างรายได้เสริมให้ครอบครัว

162 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำ�ริ ด้านการบูรณาการของพื้นที่ในชุมชนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง


กิจกรรมเสริมสร้างความรู้รักษ์ทรัพยากรธรรมชาติในชุมชนและโรงเรียน

2.5 ผลต่อนักวิชาการรุ่นใหม่ ทำ�งานของนักวิชาการรุ่นใหม่)

(เครือข่ายการ

นอกจากโครงการพัฒนาชนบทเชิงบูรณาการฯ จะ เกิดผลต่อชาวบ้านแล้ว ยังทำ�ให้เกิดนักพัฒนาชนบทรุ่น ใหม่ ซึ่งถือได้ว่าเป็นศิษย์ของโครงการนี้มารวมคนรุ่นใหม่ ในการทำ�งาน พัฒนาจากฐานความคิดที่ได้เรียนรู้จาก โครงการพัฒนาชนบทเชิงบูรณาการฯ และสร้างเครือข่าย อย่างไม่เป็นทางการในการเรียนรู้การทำ �งานเพื่อสังคม ตัวอย่างเช่น เครือข่ายต้นกล้านักพัฒนา ซึ่งทำ�ให้เกิดการ พัฒนาในรูปแบบใหม่ตามมาเป็นจำ�นวนมาก

2.6 คุณค่าของโครงการพัฒนาชนบทเชิง บูรณาการฯ จากท้องทุ่งท้องนาสู่การรวมกลุ่มเพื่อสร้างพลังใน การพึ่งตนเองตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง โครงการ พัฒนาชนบทเชิงบูรณาการ ได้สร้างคุณค่าหลายอย่างที่ เป็นประโยชน์กับการทำ�งานในชุมชนท้องถิ่นอีสาน คุณค่า ที่เห็นเชิงประจักษ์ในด้านการสร้างกลุ่ม เครือข่ายชุมชน มีทั้งที่ประสบความสำ�เร็จ และล้มเหลว ทำ�ให้เกิดบท เรียน เกิดคุณค่าด้านการเรียนรู้ เกิดคุณค่าในการพัฒนา ทรัพยากรมนุษย์ และการสร้างตัวชี้วัดในการประเมิน ความสำ�เร็จ ซึ่งอาจสรุปได้ดังนี้

163 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำ�ริ ด้านการบูรณาการของพื้นที่ในชุมชนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง


2.6.1 คุณค่าด้านการเรียนรู้

7) เป็นแหล่งเรียนรู้ของบุคลากร และอาจารย์ การเรียนรู้ มีความหมายถึงการปรับเปลี่ยนความคิด มหาวิทยาลัยขอนแก่น และการปฏิบัติที่น�ำ ไปสู่ทางออกที่เหมาะสมต่อตนเองและ 8) สร้างความชัดเจนในองค์ความรู้ตามแนวคิดการ สังคม การเรียนรู้นี้เกิดทั้งในกลุ่ม ในชุมชน และผู้เกี่ยวข้อง พึ่งตนเองตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง จากโครงการ ได้แก่ 1) กระบวนการทำ � งานเชิ ง พั ฒ นาที่ ยึ ด ปั ญ หาของ ชุมชนเป็นสำ�คัญ และกระบวนการทำ�งานโดยใช้ฐาน ปัญหานี้เป็นเครื่องมือทำ�ให้เกิดการเรียนรู้ 2) การสร้ า งรูปแบบและแนวคิดการทำ � งานพั ฒ นา แบบมีส่วนร่วมที่จะต้องมีการปรับเปลี่ยนทัศนคติ มีการ วางแผนร่วมกัน นำ�ไปปฏิบัติร่วมกัน และมีการทำ�ซ้ำ� บ่อยๆ ซึ่งทุกกระบวนการจะทำ�ให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน อย่างต่อเนื่อง และเกิดความงอกงามของความรู้

2.6.2 คุณค่าในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ 1)สร้างนักวิชาการ และนักวิจัยรุ่นใหม่ที่จบการศึกษา ระดับปริญญาโทและเอก แต่ยังไม่เคยสัมผัสปัญหาของ ชุมชนอย่างแท้จริง โครงการดังกล่าวนี้ได้พัฒนานักวิจัย ชุมชนรุ่นใหม่ให้เกิดขึ้นหลายคน รวมถึงเป็นฐานแนวคิด ต่อยอดให้บุคลากร (ทีมทำ�งาน) ศึกษาต่อ และยกระดับ ความคิดการทำ�งานในการพัฒนาชุมชนอย่างบูรณาการ ต่อไป

3) เกิดทักษะของวิทยากรกระบวนการที่เป็นผู้สร้าง 2)สร้างวิทยากรกระบวนการที่เป็นนักคิด และ บรรยากาศการเรียนรู้ และขับเคลื่อนงานพัฒนาทั้งในส่วน ชำ �นาญเรื่องวิทยากรกระบวนการ ซึ่งมีทั้งงานเขียน ของผู้น�ำ กลุ่มคือ ภาวะผู้นำ� และในส่วนของผู้ที่ทำ�งานใน บทความวิชาการ และการทำ�งานต่อยอดในการสร้าง โครงการฯ วิทยากรกระบวนการ และขับเคลื่อนงานทางด้านการ 4) วิ ธี ก ารสร้ า งความสั ม พั น ธ์ กั บ กลุ่ ม เป้ า หมาย พัฒนาที่ยึดหลักการมีส่วนร่วม และพึ่งตนเอง นักพัฒนาจะต้องเข้าถึงใจ และความรู้สึกของชาวบ้าน จน 3) ทำ�ให้กลุ่มในชุมชนเกิดวิธีคิด ซึ่งการเปลี่ยนแปลง ปัจจุบันนี้ชาวบ้านบางส่วนยังติดต่อกับเจ้าหน้าที่ของโค ความคิดของคนในชุมชนนี้มีความยั่งยืนมากกว่ากิจกรรม รงการฯ เสมือนพ่อ แม่ พี่น้อง และเกิดความตระหนักว่า ที่ต้องเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ และสังคม จริงๆ แล้วกลุ่มต้องการกำ�ลังใจมากกว่าสิ่งอื่น 5) เกิดแนวคิดการพึ่งตนเองตามแนวเศรษฐกิจพอ เพียง คือความรู้จักพอเพียงกับความจำ�เป็นของตนเอง เข้าใจว่าสิ่งใดคือความต้องการ สิ่งใดคือความจำ�เป็น 6) ประสบการณ์ความล้มเหลวที่เป็นบทเรียนสำ�คัญ ทำ�ให้เกิดการตระหนักว่าการพัฒนา จะต้องเป็นองค์รวม เข้าใจบริบทชุมชน มองหลายมิติ การถ่ายทอดความรู้เชิง เทคนิคอย่างเดียวไม่สามารถทำ�ให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ได้ยั่งยืน เป็นการสร้างแนวทางใหม่ในการทำ�งานร่วมกับ ชุมชน สร้างภาวะผู้น�ำ ความจริงใจในการทำ�งานเป็นสิ่ง สำ�คัญในการสร้างความสำ�เร็จในการทำ�งานพัฒนาร่วม กับชุมชน นอกจากนี้แล้วจะต้องทำ�ในขณะที่ชาวบ้านมี ความสนใจ และกระตือรือร้น หรือตีเหล็กตอนที่ร้อน และ ทำ�งานอย่างต่อเนื่อง



กิจกรรมระดมสมองของชาวบ้านเพื่อวางแผน การทำ�งานร่วมกัน

164 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำ�ริ ด้านการบูรณาการของพื้นที่ในชุมชนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง


3 โครงการชุมชนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง (พ.ศ. 2550 – ปัจจุบัน) มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้ดำ�เนินโครงการอันเนื่อง มาจากพระราชดำ�ริ และโครงการตามแนวพระราชดำ�ริ ของพระบรมวงศานุ ว งศ์ ทุ ก พระองค์ อ ย่ า งต่ อ เนื่ อ งเป็ น เวลายาวนานหลายรูปแบบ ได้แก่ โครงการวิจัย โครงการ บริการวิชาการ เช่น โครงการส่งเสริมศิลปาชีพในสมเด็จ พระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ บ้านโสกส้มกบ ตำ�บลบ้านใหม่ อำ�เภอสีชมพู จังหวัดขอนแก่น โครงการ อนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำ�ริ สมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มหาวิทยาลัย ขอนแก่น (อพ.สธ.มข.) พื้นที่โคกภูตากา อำ�เภอเวียง เก่า จังหวัดขอนแก่น เป็นต้น แต่ดำ�เนินการในลักษณะ โครงการไม่สามารถตั้งงบประมาณ และหน่วยงานรับ ผิดชอบได้โดยตรง ทำ�ให้ไม่สามารถวางแผนการดำ�เนิน งานระยะยาว และการดำ�เนินงานบางส่วนต้องอาศัยงบ ประมาณแฝงในโครงการอื่นๆ ของหน่วยงานในระดับ ต่างๆ ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ส่งผลให้เกิดปัญหาการ ประสานงานและเชื่อมโยงแผนการดำ�เนินงานซึ่งนำ�ไปสู่ การไม่เห็นผลในเชิงรูปธรรมที่ชัดเจน วิธีการรับรองผลงาน ที่ไม่ตรงตามการวัด และประเมินผลของหน่วยงานที่แฝง อยู่ และเมื่อโครงการสิ้นสุดลงก็ไม่มีการเก็บบันทึกผลงาน ไว้ใช้ประโยชน์ภายหลัง (ผลงานอยู่กับหัวหน้าโครงการ) เป็นเหตุให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชน และสังคมไม่เต็มที่ จาก การระดมความคิดเห็นของผู้บริหารมหาวิทยาลัยฯ คณบดี และหัวหน้าโครงการที่เกี่ยวข้อง มีความเห็นตรงกันว่าการ ถวายงานเพื่อสนองพระราชดำ�รินั้นเป็นเรื่องสำ�คัญ และ ต้องดำ�เนินการอย่างต่อเนื่อง และจริงจังให้สมพระเกียรติ แต่เนื่องจากในขณะนั้นมหาวิทยาลัยฯ ยังไม่มีองค์กรที่ท�ำ หน้าที่รับผิดชอบงานที่เกี่ยวข้องกับโครงการพระราชดำ�ริ โดยตรง จึงเห็นควรจัดตั้งสำ�นักงานโครงการอันเนื่องมา จากพระราชดำ�ริ มหาวิทยาลัยขอนแก่นขึ้น จ า ก ก า ร ที่ มี คำ � สั่ ง ม ห า วิ ท ย า ลั ย ข อ น แ ก่ น ที่ 1365/2549 ประกาศ ณ วันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 เรื่องการจัดตั้งสำ�นักงานโครงการอันเนื่องมาจาก พระราชดำ�ริ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยมีสถานภาพเป็น หน่วยงานภายในสังกัดสำ�นักงานอธิการบดี มีแผนงาน

และงบประมาณซึ่ ง ตั้ ง ขึ้ น เป็ น การเฉพาะเพื่ อ ดำ � เนิ น กิ จ กรรมเพื่ อ สนองพระราชดำ � ริ อ ย่ า งต่ อ เนื่ อ งจนบรรลุ วัตถุประสงค์ โดยสำ�นักงานนี้จะทำ�หน้าที่หลักในการ ประสานงาน และสนับสนุน ตลอดจนบูรณาการพันธกิจ หลักของมหาวิทยาลัยในด้านการผลิตบัณฑิต การวิจัย การ บริการวิชาการแก่สังคม และการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม เข้ากับโครงการต่างๆ อันเนื่องมาจากพระราชดำ�ริของ พระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ ทั้งสามรูปแบบ อันได้แก่ โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำ�ริ โครงการตามแนว พระราชดำ�ริ และโครงการเฉลิมพระเกียรติ ให้สามารถ ดำ�เนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ และนอกจากนี้ควรให้ สำ�นักงานนี้ทำ�หน้าที่เป็นศูนย์รวมข้อมูลของโครงการพระ ราชดำ�ริในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทั้งที่ด�ำ เนินการโดย มหาวิทยาลัยขอนแก่น และหน่วยงานอื่นๆ เพื่อใช้ในการ ถ่ายทอดความรู้ และนำ�ไปใช้ประโยชน์ ดังนั้น สำ�นักงาน โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำ�ริ มหาวิทยาลัย ขอนแก่น ได้ด�ำ เนินการตามแผนยุทธศาสตร์ของสำ�นัก งานฯ พ.ศ. 2550 – 2554 ซึ่งกำ�หนดประเด็นยุทธศาสตร์ เอาไว้ 3 มาตรการ คือ มาตรการที่ 1 สนับสนุนงานบริการ วิชาการตามแนวพระราชดำ�ริ มาตรการที่ 2 สนับสนุนงาน วิจัยและพัฒนาตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำ�ริ มาตรการที่ 3 การพัฒนาระบบการจัดการสารสนเทศ โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำ�ริ และโครงการตาม แนวพระราชดำ�ริเศรษฐกิจพอเพียง ในภาพรวมผลสัมฤทธิ์ของการดำ�เนินงานตามแผน ปฏิบัติการ พบว่าการดำ�เนินการในทางปฏิบัติครอบคลุม แผนยุทธศาสตร์ทั้ง 3 มาตรการ ตามประเด็นกลยุทธ์ทั้ง สิ้น 15 กลยุทธ์ ได้แก่ มาตรการที่ 1 สนั บ สนุ น งานบริ ก ารวิ ช าการ ตามแนวพระราชดำ�ริ สามารถเห็นผลในทางปฏิบัติทั้งสิ้น 104 โครงการ ใน พื้นที่เป้าหมายการดำ�เนินการ 4 พื้นที่ ได้แก่ ตำ�บลยางคำ� ตำ�บลบ้านกง ตำ�บลบ้านผือ อำ�เภอหนองเรือ และตำ�บล น้�ำ อ้อม อำ�เภอกระนวน จังหวัดขอนแก่น สามารถดึงการ มีส่วนร่วมจากคณาจารย์ บุคลากร นักศึกษา และหน่วย งานต่างๆ ภายในมหาวิทยาลัยขอนแก่นลงไปสนับสนุน การบริการวิชาการแก่สังคม

165 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำ�ริ ด้านการบูรณาการของพื้นที่ในชุมชนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง


มาตรการที่ 2 สนับสนุนงานวิจัยและพัฒนาตาม ด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม จากนั้นนำ�ประเด็น โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำ�ริ ปัญหา และเหตุมาศึกษาวิเคราะห์ร่วมกับนักวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ร่วมสนองพระราชดำ�ริใน ภายในมหาวิทยาลัยฯ จากนั้นทำ�เวทีร่วมกันเพื่อวิเคราะห์ โครงการนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำ�ริ ข้อเสนอของวิชาการ จนกว่าจะได้แนวทางการดำ�เนินงาน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่เหมาะสม และเห็นพ้องต้องกันทั้งสามฝ่าย ได้แก่ ฝ่าย สำ�นักงานฯ ฝ่ายนักวิชาการ และฝ่ายชาวบ้าน จึงลงมือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (อพ.สธ.มข.) ทำ�งานร่วมกัน เมื่อดำ�เนินการ และประเมินผลแล้วยังไม่ มาตรการที่ 3 การพัฒนาระบบการจัดการสาร สามารถแก้ปัญหาได้ ก็มีการปรับโครงการ เพื่อให้ดำ�เนิน สนเทศโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำ�ริ และ การต่อไป ดังนั้นจะเห็นว่าขั้นตอนที่ส�ำ คัญคือ ขั้นตอนการ โครงการตามแนวพระราชดำ�ริเศรษฐกิจพอเพียง หาประเด็นปัญหาโดยวิธีการวิเคราะห์ SWOT (Strength ในส่วนของการพัฒนาฐานข้อมูลสารสนเทศมีการ Weakness Opportunity and Threaten) และการวิเคราะห์ ดำ�เนินการรวบรวมข้อมูล ซึ่งมีการจัดเก็บข้อมูล ซึ่งมีการ ปัญหา ซึ่งสำ�นักงานฯ จะใช้แนวปรัชญาเศรษฐกิจพอ จัดเก็บเป็นฐานข้อมูลจำ�นวนทั้งสิ้น 5 ฐานข้อมูลได้แก่ เพียง โดยยึดหลักความพอประมาณ ความมีเหตุผล และ 1) ฐานข้อมูลโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำ�ริ ภาค การมีภูมิคุ้มกันเข้ามาเป็นหลักในการดำ�เนินการ และแบ่ง ตะวันออกเฉียงเหนือ 2) ฐานข้อมูลโครงการตามแนวพระ ขั้นการพัฒนาออกเป็น 3 ขั้น ได้แก่ ขั้นการพึ่งตนเอง ราชดำ�ริ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3) ฐานข้อมูลโครงการ ขั้นการพึ่งกันเอง และขั้นการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งแนวทาง เฉลิมพระเกียรติ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 4) ฐานข้อมูล การดำ�เนินงานของชุมชนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียงมี 3 พื้นฐานตำ�บลเป้าหมาย ฐานข้อมูลผู้เชี่ยวชาญโดยจำ�แนก กลยุทธ์ ได้แก่ เป็นข้อมูลนักวิชาการ และปราชญ์ชาวบ้าน 1.กลยุทธ์เสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้ เป็นการเสริมกระบวนการเรียนรู้เพื่อปลูกจิตสำ�นึก การสร้างวิสัยทัศน์ การทำ�ความเข้าใจในแนวคิดหลักให้ ตรงกันจึงเป็นเรื่องจำ�เป็นกลวิธีที่ใช้เป็นการจัดเวทีเสวนา กลยุ ท ธ์ ก ารดำ � เนิ น งานโครงการชุ ม ชนต้ น แบบ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ใช้วิธีการจัดเวทีเสนอแนวคิดและ เศรษฐกิจพอเพียง แลกเปลี่ยนความคิดเห็น แนวคิดหลักของการดำ�เนินงานในโครงการชุมชน 2.กลยุทธ์การเสริมสร้างกลุ่ม และความเข้มแข็ง ต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง เป็นลักษณะการทำ�งานแบบ ของกลุ่มเพื่อพึ่งตนเอง บูรณาการในพื้นที่เป้าหมาย ซึ่งปรับลดพื้นที่ลง เหลือ 1) การเสริมศักยภาพกลุ่มที่มีอยู่เดิมในชุมชน ให้ เพียง 4 พื้นที่องค์การบริหารส่วนตำ�บล คือ อบต. ยางคำ� อบต. บ้านกง อบต. บ้านผือ อำ�เภอหนองเรือ และอบต. ความสำ�คัญกับการต่อยอดกิจกรรมเดิม ทั้งการจัดเวที น้ำ�อ้อม อำ�เภอกระนวน จังหวัดขอนแก่น โดยคาดหวัง วิเคราะห์ศักยภาพ กำ�หนดกิจกรรมและแผนงานเพื่อเป็น ว่าเมื่อจำ�กัดพื้นที่ลง ความเข้มข้นของโครงการที่มากขึ้น แนวทางการดำ�เนินงานของกลุ่ม เวลาที่สามารถให้ได้มากขึ้นจะช่วยให้พื้นที่เป้าหมายเหล่า 2) การฟื้นฟูและพัฒนากลุ่มในชุมชนที่มีกิจกรรมไม่ นี้สามารถเป็นต้นแบบให้กับอบต. อื่น และมหาวิทยาลัย ต่อเนื่อง โดยการจัดเวทีวิเคราะห์ปัญหาและข้อจำ�กัดของ สามารถใช้เป็นพื้นที่การเรียน การสอน การวิจัย และ กลุ่ม รวมทั้งค้นหาความสนใจและศักยภาพของสมาชิก บริการวิชาการได้โดยสะดวก ดังนั้น กลยุทธ์ที่ด�ำ เนินการ ให้การสนับสนุนการจัดกระบวนการเรียนรู้ ซึ่งมีทั้งการ จึงมีผู้ประสานงานลงไปคลุกคลีภายใน อบต. เพื่อศึกษา ฝึกอบรมทักษะและความรู้ต่างๆ การจัดศึกษาดูงาน การ ปัญหา และเหตุของปัญหาที่แท้จริง โดยแบ่งออกเป็น จัดกระบวนการทำ�งานเพื่อเอื้อให้กลุ่มเชื่อมประสานกับ

166 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำ�ริ ด้านการบูรณาการของพื้นที่ในชุมชนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง


องค์กรท้องถิ่นและหน่วยงานสนับสนุนจากภายนอกรวม วางไว้เพื่อให้เกิดพัฒนาการ และนำ�ไปสู่ “การขับเคลื่อน ทั้งการจัดเวทีสรุปบทเรียน โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำ�ริ และโครงการตาม 3) การพัฒนากลุ่มใหม่ การก่อตัวของกลุ่มใหม่ ใน แนวพระราชดำ�ริโดยการมีส่วนร่วมของภาครัฐ เอกชน โดยมีมหาวิทยาลัยขอนแก่นเป็น พื้นที่ดำ�เนินงานโครงการฯ จัดเวทีเสริมความรู้เบื้องต้น และภาคประชาชน เกี่ยวกับการทำ�งานร่วมกันเป็นกลุ่ม และการทำ�ธุรกิจ ศูนย์กลาง” ก่อให้เกิดผลงานที่เป็นรูปธรรม และบรรลุตาม ชุมชน ทำ�ให้กลุ่มได้วิเคราะห์กิจกรรม แนวทางการแก้ เป้าหมายที่มหาวิทยาลัยขอนแก่นกำ�หนดไว้ ผลงานการ ปัญหา และในการพัฒนากลุ่มใหม่อีกลักษณะหนึ่งเกิดขึ้น พัฒนาที่เกิดขึ้น เป็นการพัฒนารอบด้าน ได้แก่ 1) ด้าน เนื่องจากการเรียนรู้ประสบการณ์และความสำ�เร็จของกลุ่ม การศึกษา ซึ่งส่งเสริมและพัฒนาทั้งในเด็กก่อนวัยเรียน และในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) ด้านการเกษตร อื่น เน้นแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงและการพึ่งตนเอง มหาวิทยาลัย ได้ทำ�โครงการเพื่อส่งเสริม และสนับสนุน 3.กลยุ ท ธ์ ก ารเสริ ม สร้ า งเครื อ ข่ า ยกลุ่ ม /องค์ ก ร ด้านวิชาการ เทคโนโลยีการผลิต การจัดการฟาร์มด้วย ชาวบ้านเพื่อพึ่งกันเอง หลักชีววิธีแก่เกษตรในพื้นที่ และผู้สนใจ 3) ด้านอาชีพ เข้าไปดำ�เนินส่วนใหญ่จะ การเสริมสร้างเครือข่ายถือเป็นกลยุทธ์ที่สำ�คัญใน โครงการที่มหาวิทยาลัย การทำ�งานพัฒนาชนบทของโครงการฯ เพื่อเชื่อมร้อย เป็นการพัฒนาต่อยอดจากผลผลิตทางการเกษตรนำ�มา กลุ่ม/องค์กรต่างๆ ที่อยู่ในพื้นที่ด�ำ เนินงานของโครงการฯ แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชน (OTOP) หรือพัฒนาผลิตผล ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์และการทำ�งานร่วม การเกษตรให้มีคุณภาพ และมาตรฐานเพื่อให้ตรงกับความ กัน การทำ�งานโดยอาศัยเครือข่ายอาจจำ�แนกได้ 2 รูป ต้องการ และสามารถแข่งขันทางการตลาดได้ 4) ด้าน สาธารณสุข มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้เข้าไปส่งเสริม และ แบบ กระตุ้นให้ชุมชนร่วมใส่ใจดูแลรักษาสุขภาพตนเอง และ 1) การใช้เครือข่ายกลุ่ม/องค์กรที่มีอยู่แล้ว คนในครอบครัว พร้อมทั้งเพิ่มศักยภาพของอาสาสมัคร สาธารณสุขหมู่บ้าน (อสม.) โดยการอบรมให้ความรู้ใน 2) การพัฒนาเครือข่ายใหม่ ด้านการเฝ้าระวังโรค และสามารถคัดกรองผู้ป่วยในเบื้อง ต้นได้ 5) การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัย ผลการดำ�เนินงาน ขอนแก่นได้จัดทำ�โครงการ และกิจกรรมเพื่อส่งเสริม และ การดำ�เนินงานในโครงการชุมชนต้นแบบเศรษฐกิจ ปลุกจิตสำ�นึกแก่เยาวชน ชาวบ้าน และผู้นำ�ชุมชนในพื้นที่ พอเพียง ภายใต้การดูแลของสำ�นักงานโครงการอันเนื่อง ให้รู้รักษ์ รู้ใช้ และรู้สร้างเพื่อการใช้ประโยชน์ทรัพยากรที่ มาจากพระราชดำ�ริ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในพื้นที่ทำ� มีอยู่ในชุมชนอย่างยั่งยืน โดยกิจกรรมที่ดำ�เนินการเช่น โครงการ 2 อำ�เภอ 4 อบต. ได้แก่ อบต. ยางคำ� อบต. โครงการป่าชุมชน โครงการคืนสมุนไพรสู่ป่า เป็นต้น ซึ่งผล บ้านกง อบต. บ้านผือ อำ�เภอหนองเรือ และอบต. น้ำ� การดำ�เนินงานในแต่ละปีงบประมาณสรุปได้ดังตารางที่ 2. อ้อม อำ�เภอกระนวน จังหวัดขอนแก่น ตามกลยุทธ์ที่

167 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำ�ริ ด้านการบูรณาการของพื้นที่ในชุมชนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง


ตารางที่ 2 พื้นที่ กลุ่ม กิจกรรม และผลการดำ�เนินงานของโครงการชุมชนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง (พ.ศ. 2550 – 2552) ปี พ.ศ. 2550 พื้นที่ พื้นที่ 1 ต.ยางคำ� อ.หนองเรือ จ.ขอนแก่น

กลุ่ม

กิจกรรม

กลุ่มเกษตรผสมผสาน 70 คน

-ประชุมคัดเลือก เกษตรกร

กลุ่มผักปลอดสารพิษ 40 คน

- ศึกษาดูงานเกษตร ต้นแบบ

กลุ่มปุ๋ยชีวภาพบ้าน หนองนาวงษ์

-ประชุมสรุปบทเรียน และวางแผน

กลุ่มนักเรียนโรงเรียนใน -จัดอบรมการขยาย พันธุ์พืช ตำ�บลยางคำ� -การจัดการเรือนเพาะ ชำ�

การเรียนรู้

ผลการดำ�เนินงาน

การปรับเปลี่ยน แนวคิดเบื้องต้น ของเกษตรกร โดย การวิเคราะห์การทำ� เกษตรจากอดีตถึง ปัจจุบัน วิเคราะห์ รายรับ-จ่าย เพื่อ มุ่งสู่การลด ละ เลิก การใช้สารเคมี ซึ่งมีผลกระทบต่อ สุขภาพ และสิ่ง แวดล้อม

เกิดกลุ่มเกษตรกรผสมผสานเพื่อทำ� การเกษตรพึ่งพาตนเอง ได้สร้างโรง เรือนเพาะชำ�กล้าไม้ และเพาะเห็ด ขอนขาว เตาเผาถ่าน น้ำ�ส้มควันไม้ ผลิตผักปลอดสารพิษ สารไล่แมลง ปุ๋ยและน้ำ�หมักชีวภาพ รวมถึงสร้าง โลโก้ของกลุ่มทำ�ปุ๋ย

-เตาเผาถ่านน้ำ�ส้มควัน ไม้ -ประชุมเกษตรกรเพื่อ วิเคราะห์ตนเองและ วางแผนการผลิต -ศึกษาดูงานเกษตร ปลอดสารพิษ -จัดอบรมการทำ�ปุ๋ย ชีวภาพและสารไล่แมลง พัฒนาบรรจุภัณฑ์ ค่ายเรียนรู้ภูมิปัญญา รักษ์ป่า รักษ์น�้ำ ค่ายออกแบบผลิตภัณฑ์ ชุมชน

168 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำ�ริ ด้านการบูรณาการของพื้นที่ในชุมชนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง


พื้นที่ พื้นที่ 2 ต.บ้านกง อ.หนองเรือ จ.ขอนแก่น

กลุ่ม

กิจกรรม

การเรียนรู้

ผลการดำ�เนินงาน

การเรียนรู้การ เกิดกลุมอนุรักษ์ป่าชุมชน โคกตลาด ใหญ่ 170 ไร่ ด้วยความร่วมมือจาก ประยุกต์ใช้ ภูมิปัญญาชาวบ้าน ทุกภาคส่วนในชุมชน คณะกรรมการป่าชุมชน เวทีวิเคราะห์ปัญหาป่า ในการนำ�ทรัพยากร ที่มีในท้องถิ่นมา ชุมชน โคกตลาดใหญ่ ใช้ให้เกิดประโยชน์ กลุ่ม/องค์กรชุมชน 4 เวทีสร้างความเข้าใจ และสร้างองค์กร การจัดการป่าชุมชน3. หมู่บ้าน ศึกษาดูงานการบริหาร ชาวบ้านขึ้นมาเพื่อ กลุ่มท่องเที่ยงเชิง รับผิดชอบและมี จัดการป่าชุมชนโคก อนุรักษ์ ส่วนร่วมในกรบริ ใหญ่ หารจัดการป่าของ เวทีสรุปบทเรียนและ ชุมชน ค้นหาแนวทางการ บริหารจัดการป่าชุมชน โคกตลาดใหญ่ กลุ่มจักสาน ม. 13 ม. 3 และกลุ่มทอผ้า ม.1 14 หมู่บ้าน

ค่ายบำ�เพ็ญประโยชน์ นักศึกษาคณะศึกษา ศาสตร์

เวทีจัดทำ�แผนการจัด ป่าชุมชนโคกตลาดใหญ่ ประชุมวิเคราะห์ปัญหา และความต้องการ เวทีวางแผนการจัดการ ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ พื้นที่ 3 ต.บ้านผือ อ.หนองเรือ จ.ขอนแก่น

ผลักดันให้เกิดคณะ การมีส่วนร่วมของนักศึกษา ทำ�งานเยาวชน สนับสนุนการเรียนการสอน ระดั บ ตำ � บล “สายใย ประชุมวางแผนการทำ� กิจกรรมร่วมกับเยาวชน รักเยาวชนตำ�บล บ้านผือ”

กลุ่มเยาวชนตำ�บลบ้าน ประชุมแนวทางแก้ไข ผือ 100 คน ปัญหาเยาวชน

169 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำ�ริ ด้านการบูรณาการของพื้นที่ในชุมชนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง


การพัฒนาด้านการเกษตร และอาชีพ

170 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำ�ริ ด้านการบูรณาการของพื้นที่ในชุมชนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง


ปี พ.ศ. 2551 พื้นที่ พื้นที่ 1 ต.ยางคำ� อ.หนองเรือ จ.ขอนแก่น

กลุ่ม

กิจกรรม

การเรียนรู้

ผลการดำ�เนินงาน

แหล่งการเรียนรู้การ มีการผลิตโดยใช้แนวคิดจากความ ทำ�เกษตรแบบพอ ต้องการภายในกลุ่มเป็นหลักที่ได้ เพียง ผ่านการคิดวิเคราะห์จนตกผลึกมี ศูนย์เรียนรู้การเกษตร ระบบน้ำ�เพื่อการเกษตร ผลิตภัณฑ์ที่สามารถออกจำ�หน่ายได้ ตามแนวพระราชดำ�ริ มีการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตขึ้นภายใน การปลูกผักปลอดสาร กลุ่ม มีการขยายแนวคิดของกลุ่ม (กลุ่มผักปลอดสารพิษ) พิษ ผลผลิตของกลุ่ม เช่น ปุ๋ยหมัก ชีวภาพปั้นเม็ด น้�ำ หมักชีวภาพ เตาเผาถ่านน้ำ�ส้มควัน เกษตรกรต้นแบบ ผั กปลอดสารพิษ น้ำ�ส้มควันไม้ ไม้ นายธงชัย สากุล เห็ดขอนขาว เห็ดนางฟ้า การเพาะเห็ด จักรยานปั่นน้ำ� ไม้ดอกไม้ประดับ กลุ่มปุ๋ยชีวภาพบ้าน หนองนางวงษ์ ม.9

การทำ�ปุ๋ยชีวภาพและ สารไล่แมลง

การเพาะปลูกไม้ผล พืช ผักและสมุนไพร พื้นที่ 2 ต.บ้านกง อ.หนองเรือ จ.ขอนแก่น

การพัฒนาศูนย์เด็ก เล็กเพื่อก้าวสู่เกณฑ์ มาตรฐาน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้าน โครงการส่งเสริม และปลูกฝังแนวคิด พัฒนาการเด็ก ดอนคอม ม.6 ปรัชญาเศรษฐกิจ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้าน โครงการการจัดการน้ำ� พอเพียงโดย ใช้หมู่บ้านชนบทอย่าง ผ่านกระบวนการ หนองแวง ม.7 พัฒนาการศึกษา พอเพียงและยั่งยืน ให้กับบุคลากรและ ผู้น�ำ ชุมชนและชาวบ้าน โครงการผลิตพลังงาน นักเรียน หนองแวง ม.7 ทดแทนไบโอดีเซลจาก ชาวบ้าน ม.13 ม.4 ม. น้ำ�มันที่ใช้แล้ว 6แบะ ม.9 โครงการอบรมให้ความ ชาวบ้าน ม.4 ม.6 และ รู้ด้านการดุแลสุขภาพ ม.9 สัตว์และการเลี้ยงสัตว์ ผู้นำ�ชุมชน ม.2 ม.5 ม. เวทีระดมปัญหาและ 6 และ ม.7 ความต้องการชุมชน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้าน หนองสระ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัด ปทุมคงคา ม.1

โครงการการพัฒนาผู้ ดูแลและศูนย์เลี้ยงเด็ก

ในเรื่องการศึกษาครูและผู้ปกครอง ได้รับความรู้ในการส่งเสริม พัฒนาการเด็กอย่างถูกหลักวิชาการ เกิดการพัฒนาเป็นศูนย์พัฒนา เด็กเล็กดีเด่น ครอบครัวส่งเสริม พัฒนาการเด็กดีเด่น ด้านการเกษตร ส่งเสริมการเลี้ยงและรักษาสุขภาพ สัตว์ บริการฉีดวัคซีนตรวจโรค ตั้งกองทุนยาโค-กระบือ กลุ่มเยาวชนใช้เวลาว่างให้เกิด ประโยชน์

171 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำ�ริ ด้านการบูรณาการของพื้นที่ในชุมชนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง


พื้นที่ พื้นที่ 3 ต.บ้านผือ อ.หนองเรือ จ.ขอนแก่น

กลุ่ม

กิจกรรม

การเรียนรู้

การนำ�ความรู้ทาง วิชาการผนวก กลุ่มเยาวชนบ้านหนอง การเพาะพันธุ์ไม้ป่า กับความรู้ที่ชาว แสง ม.2 และม.3 การปลูกป่า บ้านมีโดยใช้ฐาน กลุ่มแปรูปสมุนไพรพื้น ภูมิปัญญาท้องถิ่น ประชุมวางแผนการ บ้าน ม.6 ม.7 ม.9 ทำ�ให้เกิดนวัตกรรม พัฒนากลุ่มสมุนไพร ในการใช้ประโยชน์ อบรมการขยายพันธุ์พืช ป่าชุมชน สมุนไพร กลุ่มโค – กระบือ ม.7

การสำ�รวจป่าไม้

ผลการดำ�เนินงาน เกษตรมีความรู้ด้านการเลี้ยงและ รักษาสุขภาพสัตว์ สร้างโรงเรือน เพาะชำ�ต้นแบบสำ�หรับขยายพันธุ์ พืชสมุนไพร ชุมชนมีอาชีพเสริม สร้างรายได้ เช่นแชมพู สบู่เหลว น้ำ�ว่านหางจระเข้ ลูกประคบ สมุนไพรเป็นต้น

ทดลองแปรรูปสมุนไพร เป็นอาหาร

พื้นที่ 4 ต.น้ำ�อ้อม อ.กระนวน จ.ขอนแก่น

โครงการผลิตพลังงาน ทดแทนไบโอดีเซลจาก น้ำ�มันที่ใช้แล้ว ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โครงการการพัฒนาผู้ การฝึกทักษะด้าน และผู้นำ�ชุมชน ดูแลและศูนย์เลี้ยงเด็ก อาชีพการเกษตร ชาวบ้าน ผู้ปกครองเด็ก เพื่อส่งเสริมการ โครงการส่งเสริม เรียนรู้ตามแนว พัฒนาการเด็ก ปรัชญาเศรษฐกิจ เวทีระดมปัญหาและ พอเพียง ความต้องการ

ครูและผู้ปกครอง ได้รับความรู้ในการส่งเสริม พัฒนาการเด็กอย่างถูกหลักวิชาการ

โครงการอบรมเพื่อ พัฒนาแนวคิดการ พัฒนาบนพื้นฐานของ เศรษฐกิจพอเพียง โครงการผลิตพลังงาน ทดแทนไบโอดีเซลจาก น้ำ�มันที่ใช้แล้ว

172 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำ�ริ ด้านการบูรณาการของพื้นที่ในชุมชนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง


ปี พ.ศ. 2552 พื้นที่ พื้นที่ 1 ต.ยางคำ� อ.หนองเรือ จ.ขอนแก่น

กลุ่ม

กิจกรรม

การเรียนรู้

โครงการรอบรมให้ความรู้ด้านการ เกิดความรู้และฝึกทักษะ ประยุกต์ใช้สมุนไพรท้องถิ่นร่วมกับ ในการประกอบอาชีพ จุลินทรีย์ประสิทธิภาพสูงเพื่อการ อาทิเช่น น้ำ�หมักชีวภาพ หมู่บ้านละ 10-20 ดูแลสุขภาพสัตว์และการเลี้ยงสัตว์ ยาบำ�รุงจากสมุนไพร คน โครงการขยายพันธุ์สมุนไพรโดย ชาวบ้าน ม.1 ม. การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อและการนำ� ยาถ่ายพยาธิจากสมุนไพร 2 ม.13 ม.14 ม.4 ไปใช้ประโยชน์ในชุมชนโดยการ น้ำ�ว่านหางจระเข้ และ รร.ยางคำ� แปรรูป การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช คณะกรรมการป่า โครงการคืนสมุนไพรสู่ป่าชุมชน สมุนไพร ชุมชนโคกตลาด โครงการถ่ายทอดความรู้และ ใหญ่ ลูกประคบ ยาดมสมุนไพร พัฒนาการใช้สมุนไพรในชุมชน ชาวบ้าน และกลุ่ม ชาชงสมุนไพร โครงการพัฒนาการบริการจัดการ เยาวชน ชุมชนตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจ ปุ๋ยชีวภาพปั้นเม็ด อสม.และกลุ่มแม่ พอเพียง บ้าน ม.1 ม.2 ม. ผักปลอดสารพิษ โครงการพัฒนาการเกษตรชุมชน 13และ ม.14 กระติ๊บข้าวควบคุมเบา ต้นแบบตามแนวพระราชดำ�ริ กลุ่มปุ๋ยชีวภาพ ม. เศรษฐกิจพอเพียง หวาน 9 กลุ่มปุ๋ยชีวภาพ โครงการพัฒนารูปแบบนวัตกรรม คู่มือการดูแลสุขภาพผู้ ม.4 การส่งเสริมสุขภาพของผู้ป่วยโรค ป่วยเบาหวาน กลุ่มจักสาน ม.13 เบาหวานและผู้ป่วยความดันโลหิต ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และกลุ่มผักปลอด แบบมีส่วนร่วมในชุมชน ต้นแบบ สาร โครงการการพัฒนาศูนย์เด็กเล็ก ศูนย์เรียนรู้ ชุมชนต้นแบบเข้าสู่เกณฑ์มาตรฐาน ของเล่นฟื้นฟูสมรรถภาพ ผู้พิการ การเกษตรตามแนว โครงการผลิตของเล่นและส่งเสริม พระราชดำ�ริ แผนที่ แนวเขต ข้อมูล สมรรถภาพเด็กพิการ พันธุ์ไม้ ชาวบ้านยางคำ� โครงการส่งเสริมและฟื้นฟู ม.2 สมรรถภาพเด็กพิการเพื่อเด็กพิการ คณะกรรมการป่าชุมชน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ด้วยสมุนไพร บ้านดอนคอม โครงการแนวทางการบริหารจัดการ ผู้พิการใน ต.ยางคำ� ป่าชุมชนตามแนวพระราชดำ�ริ ผู้พิการใน ต.ยางคำ� โครงการพัฒนารูปแบบการจัดการ คณะกรรมการป่า สิ่งแวดล้อมที่เป็นปัญหาสำ�คัญใน ชุมชน ชุมชนโคกตลาด ใหญ่ ชาวบ้านจาก 14 หมู่บ้าน

173 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำ�ริ ด้านการบูรณาการของพื้นที่ในชุมชนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง

ผลการดำ�เนินงาน ชุมชนนำ�ทรัพยากรที่ มีอยู่ในท้องถิ่นมาใช้ ในการเลี้ยงและดูแล สุขภาพสัตว์ สมุนไพรชุมชนมีเพิ่ม ขึน้ และแปรูปจำ�หน่าย สร้างรายได้ เป็นแหล่งสมุนไพร ของชุมชน ชุมชนหันมาตระหนัก ถึงความสำ�คัญของ สมุนไพร กลุ่ม/องค์กรชุมชนมี การบริหารจัดการที่ดี มีความ เข้มแข็ง พึ่งตนเองได้ ชุมชนสามารถพึ่ง ตนเองด้านการดูแล สุขภาพได้ ศูนย์เด็กเล็กมีการ บริหารจัดการที่ดี เป็น ศูนย์เด็กเล็กน่าอยู่ ประยุกต์ใช้ภูมิปัญญา พื้นบ้านในการผลิต ของเล่น ใช้ภูมิปัญญาด้าน สมุนไพรในการดูแล ผู้พิการ ผู้นำ�และชุมชนมีส่วน ร่วมในการอนุรักษ์ป่า ชุมชน


การพัฒนาด้านสาธารณสุข

การพัฒนาด้านการศึกษา และส่งเสริมพัฒนาการเด็ก พิการ

174 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำ�ริ ด้านการบูรณาการของพื้นที่ในชุมชนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง


การอนุรักษ์ป่าชุมชน และทรัพยากรธรรมชาติ

175 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำ�ริ ด้านการบูรณาการของพื้นที่ในชุมชนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง


บทเรี ย นจากการดำ � เนิ น งานโครงการชุ ม ชน ต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง 1.การทำ�ความเข้าใจแนวคิดพื้นฐานและวัตถุประสงค์ ต้องทำ�ควบคู่กับการดำ�เนินกิจกรรม อย่างต่อเนื่องและ สม่ำ�เสมอ 2.การทำ�งานกับชุมชนนั้น จำ�เป็นต้องวิเคราะห์และ ทำ�ความเข้าใจชุมชน กลุ่ม องค์กร และเกษตรกร ซึ่งเป็น เป้าหมายของการพัฒนาให้ชัดเจนและถ่องแท้เพื่อให้การ ทำ�งานร่วมกันสามารถแก้ปัญหาและตอบสนองต่อความ ต้องการของคนในชุมชน 3.การสร้างกระบวนการเรียนรู้ในด้านต่างๆ ต้องทำ� อย่างต่อเนื่องและสม่�ำ เสมอ 4.จะต้องประสานการทำ �งานและแนวคิดกับหน่วย งานของรัฐและองค์กรพัฒนาเอกชนในพื้นที่อย่างใกล้ชิด เพื่อให้การทำ�งานเป็นไปในแนวเดียวกัน 5.กิจกรรมที่ต้องสัมพันธ์กับตลาดภายนอกชุมชนซึ่ง มีการแข่งขันสูง 6.การทำ�งานที่ต้องอาศัยทุนทางธรรมชาติและทุนทาง วัฒนธรรม เช่น การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ต้องมองความ เชื่อมโยงของแหล่งท่องเที่ยวในภาพรวม เพราะแหล่งท่อง เที่ยวจุดใด จุดหนึ่ง ไม่ดึงดูดใจมากพอที่จะทำ�ให้นักท่อง เที่ยวตัดสินใจมาเที่ยว 7.การทำ�ความเข้าใจปรัชญา แนวคิด และการ ดำ�เนินงาน ตลอดจนกระบวนการต้องให้ผู้เข้าร่วมโครง การฯ เข้าใจชัดเจน เพื่อให้การทำ�งานอยู่บนฐานคิด และ แนวทางเดียวกัน  หน่วยงานความร่วมมือ และการทำ�ข้อตกลงร่วมกับ ชุมชน (MOU) 4 อบต.

8.ภาคีที่ร่วมทำ�งานในพื้นที่ต้องทำ�ความเข้าใจจุดมุ่ง หมาย เป้าหมายและการดำ�เนินงานของภาคีแต่ละภาคีให้ ชัดเจน 9.เกษตรกรจะเรียนรู้ได้ดี ถ้าเป็นเรื่องที่เขาสนใจ หรือ เป็นเรื่องที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของเขา 10.การศึกษาดูงาน เป็นกลวิธีหนึ่งที่ท�ำ ให้เกษตรกร ได้เรียนรู้จากของจริง ได้เห็นของจริง 11.การมีเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานสนามประจำ�พื้นที่ จะ

176 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำ�ริ ด้านการบูรณาการของพื้นที่ในชุมชนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง


มีความต่อเนื่องทำ�ให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม และทำ�ให้ 4.โครงการพัฒนาที่ดินมูลนิธิชัยพัฒนา สัมพันธภาพระหว่างเจ้าหน้าที่ของโครงการฯ กับชุมชนมี บ้านเหมือดแอ่ ตำ�บลหนองตูม อำ�เภอเมือง ความใกล้ชิด จังหวัดขอนแก่น 12.ความสัมพันธ์เชิงสังคม ช่วยสนับสนุนให้การ สืบเนื่องจากมีผู้น้อมเกล้าฯ ถวายที่ดินให้กับสมเด็จ หลอมแนวคิดและการรวมกลุ่มมีความเหนียวแน่นมากขึ้น พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งพระองค์ 13.หลักการร่วมคิดร่วมทำ� เปิดโอกาสให้ชุมชนได้คิด ทรงรับไว้ และมีรับสั่งให้ใช้ในกิจการของมูลนิธิชัยพัฒนา เอง ทำ�เองอย่างอิสระ โดยบุคคลภายนอกมีบทบาทเป็นผู้ ซึ่งมหาวิทยาลัยขอนแก่นโดยสำ�นักงานโครงการอันเนื่อง สนับสนุนหรือเป็นวิทยากรกระบวนการ มาจากพระราชดำ�ริฯ เข้าไปมีส่วนร่วมดำ�เนินการ โดยมี 14.การให้ความสำ�คัญกับกระบวนการบันทึก การ วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาพื้นที่เป้าหมาย ให้เป็นแหล่งเรียน รู้ และถ่ายทอดเทคโนโลยีทางการเกษตรแก่เกษตรกร และ วิเคราะห์ สังเคราะห์ หรือการสรุปบทเรียน ผู้สนใจทั่วไป รวมถึงการผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพสูงภาย 15.การดำ � เนิ น งานของกลุ่ ม อาจมี ก ารปรั บ เปลี่ ย น ใต้เครื่องหมายการค้า “ภัทรพัฒน์” โดยการดำ�เนินงาน เปลี่ยนแปลง หรือหยุดการดำ�เนินงาน ตามสภาพบริบท นั้นเป็นความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยฯ กับหน่วยงาน ของแต่ละกลุ่ม ราชการที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ มูลนิธิชัยพัฒนา กรมพัฒนาที่ดิน 16.การประสานงานกับหน่วยงาน องค์กรในท้องถิ่น กรมชลประทาน กรมทางหลวง จังหวัดขอนแก่น และอื่นๆ ต้องมีความต่อเนื่องและสอดคล้องกับภารกิจของหน่วย เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของโครงการตามพระประสงค์ ได้ แบ่งการดำ�เนินงานออกเป็น ดังนี้ งาน หรือองค์กรนั้น 1.กรมพัฒนาที่ดินจะดำ�เนินการสำ�รวจดิน การใช้ปุ๋ย 17.ต้องมีการวิเคราะห์สถานการณ์เพื่อปรับกลยุทธ์/ วิธีการดำ�เนินงานอยู่เสมอ เพื่อให้สอดคล้องกับบริบทของ อินทรีย์ และสารไล่แมลง ชุมชนที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา 2.มหาวิทยาลัยขอนแก่น รับผิดชอบจัดหาพันธุ์พืชที่ 18.ทักษะที่กลุ่มต้องมีคือ การเขียนโครงการเพื่อ ได้ปรับปรุงพันธุ์แล้วจากมหาวิทยาลัยขอนแก่นมาส่งเสริม ขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากหน่วยงานภายนอก และทดลองปลูกในพื้นที่ ชนิดพืช ได้แก่ พริก และข้าวโพด ถั่วลิสง เป็นต้น และถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตให้กับ ทางโครงการจึงต้องเข้าไปหนุนเสริมส่วนนี้ด้วย ชุมชนโดยรอบ 3.กรมชลประทานดำ�เนินการวางท่อส่งน้�ำ และหัว จ่ายน้�ำ ในแต่ละแปลง โดยให้มหาวิทยาลัยขอนแก่น และ กรมพัฒนาที่ดินมีส่วนร่วมในการกำ�หนดแผนผังการวาง ท่อน้ำ� และหัวจ่ายน้�ำ 4.1 ผลการดำ�เนินงาน ขณะนี้อยู่ระหว่างการดำ�เนินการ โดยแบ่งพื้นที่ใน ส่วนรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยขอนแก่นออกเป็น 4 ส่วน และทำ�กิจกรรมดังนี้ 1.การปลูกป่า ตามแนวคิด ป่า 3 อย่างเพื่อ ประโยชน์ 4 อย่าง เนื่องจากเป็นพื้นที่ขนาดเล็กและไม่ใช่ พื้นที่ต้นน้�ำ จึงน่าจะพิจารณาการใช้ประโยชน์ในประเด็น

177 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำ�ริ ด้านการบูรณาการของพื้นที่ในชุมชนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง


อาหาร ไม้ใช้สอย วัสดุเชื้อเพลิง (ฟืน/ถ่าน) การอนุรักษ์ ดินและความชื้น การใช้ประโยชน์อื่นๆ ตามภูมิปัญญา ท้องถิ่น โดยมีไม้ประจำาถิ่น ไม้โตเร็ว สะเดา กล้วย และ ไผ่ เป็นพรรณไม้หลักภายใต้กิจกรรม สาธิตการจัดการป่า เอนกประสงค์เพื่อความยั่งยืนของทรัพยากรป่าไม้

แฝกร่วมในแปลง ถ่ายทอดเทคโนโลยีการควบคุมศัตรูพืช การปลูกพืชร่วม และการใช้วัสดุเหลือใช้ เช่น เผาถ่าน ทำา น้ำาส้มควันไม้

3.แปลงปลูกพืชทดลอง เป็นแปลงปลูกพืชจาก พันธุ์พืชที่ผ่านการคัดเลือก และปรับปรุงพันธุ์แล้ว โดย 2.แปลงไม้ผลสาธิต เพื่อให้เป็นฐานการเรียนรู้ใน มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประเด็นการจัดการสวนไม้ผลเพื่อการพึ่งพาตนเองในการ 4.พื้นที่เลี้ยงสัตว์ เดิมกำาหนดกิจกรรมการเลี้ยงไก่กิน ถ่ายทอดเทคโนโลยี โดยการสาธิต ฝึกอบรม ในสาระ ปลวก และหมูหลุม แต่เนื่องจากมีพื้นที่กว้างถึง 9 ไร่ น่า สำาคัญคือ รวบรวม และแสดงพันธุ์ไม้ผล (รวมถึงพันธุ์ที่ จะต้องมีกิจกรรมเพิ่ม จึงได้วางแผนจัดทำาแปลงปลูกหญ้า ปรับปรุงโดยมหาวิทยาลัยฯ เช่น มะม่วง มะขาม เป็นต้น) อาหารสัตว์ และกันพื้นที่สำาหรับเลี้ยงกบพันธุ์พื้นเมือง ถ่ายทอดเทคโนโลยีการขยายพันธุ์พืช ถ่ายทอดเทคโนโลยี หรือพันธุ์ดี เช่น พันธุ์บูลฟอกซ์ ในโอกาสต่อไป การจัดการสวนไม้ผล เช่น การตัดแต่ง การจัดการดิน-น้ำาปุ๋ย โดยกรมพัฒนาที่ดินจะเข้าร่วมสนับสนุนการปลูกหญ้า

สภาพพื้นที่หนองตูมก่อนดำาเนินโครงการพัฒนาที่ดินมูลนิธิชัยพัฒนาฯ

178 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำาริ ด้านการบูรณาการของพื้นที่ในชุมชนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง


แผนการดำาเนินงานของมหาวิทยาลัยขอนแก่นในพื้นที่โครงการพัฒนาที่ดินมูลนิธิชัยพัฒนา ตำาบลหนองตูม

แผนการดำาเนินงานในโครงการมูลนิธิชัยพัฒนาหนองตูม ภายใต้ความร่วมมือของมูลนิธิ ชัยพัฒนา มหาวิทยาลัยขอนแก่น กรมพัฒนาที่ดิน กรมชลประทาน กรมทางหลวง จังหวัด ขอนแก่น และหน่วยงานอื่นๆ

179 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำาริ ด้านการบูรณาการของพื้นที่ในชุมชนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง


การดำ�เนินงานปรับสภาพภูมิทัศน์ในพื้นที่โครงการพัฒนาที่ดินมูลนิธิชัยพัฒนาตำ�บลหนองตูม

180 มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำ�ริ ด้านการบูรณาการของพื้นที่ในชุมชนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง


บทที่ 6

มองย้อนหลัง มุ่งหวังไปข้างหน้า บทสัมภาษณ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น


บทที่ 6 มองย้อนหลัง มุ่งหวังไปข้างหน้า

บทสัมภาษณ์ อธิการบดี มหาวิทยาลัยขอนแก่น

มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้สืบทอดพระราชปณิธานของ องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่มีพระราชดำ�รัสไว้เมื่อ ครั้งเสด็จพระราชดำ�เนินมาทรงเปิดมหาวิทยาลัยขอนแก่น ในปี พ.ศ. 2510 ให้เป็นศูนย์กลางขององค์ความรู้และเป็น ศูนย์กลางในการพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เนื่องจาก ภาคอี ส านเป็ น ภู มิ ภ าคที่ มี พื้ น ที่ แ ละประชากรถึ ง หนึ่ ง ใน สามของประเทศ แต่เนื่องจากสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้อต่อ การเกษตรทำ�ให้ประชาชนยากจน จำ�เป็นต้องใช้เทคโนโลยี เข้ามาช่วยแก้ไขปัญหา จึงเป็นโอกาสที่มหาวิทยาลัย ขอนแก่นได้น้อมนำ�พระราชดำ�ริ มาประยุกต์ใช้เพื่อการ พัฒนาท้องถิ่นให้มีระดับความเป็นอยู่และมีคุณภาพชีวิตที่ดี ขึ้น ผลงานการพั ฒ นาภู มิ ภ าคตะวั น ออกเฉี ย งเหนื อ ใน หนังสือเล่มนี้ เป็นผลงานของชาวมหาวิทยาลัยขอนแก่นเป็น เวลาต่อเนื่องกว่า 40 ปี ดังนั้นเพื่อให้เห็นภาพรวมของ ผลงานทั้งหมดที่ผ่านมา รวมทั้งทิศทางและแผนงานใน อนาคตของมหาวิ ท ยาลั ย ขอนแก่ น ในการร่ ว มสนองพระ ราชดำ�ริ กองบรรณาธิการได้ขอเข้าสัมภาษณ์ท่านอธิการบดี มหาวิทยาลัยขอนแก่นคนปัจจุบัน (ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.สุมนต์ สกลไชย) เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2552 เพื่อ ขอรับทราบข้อมูล และบทบาทของมหาวิทยาลัยขอนแก่น กับโครงการพระราชดำ�ริ ตั้งแต่ผลงานในอดีต งานที่ท�ำ ในปัจจุบันและนโยบายในอนาคต ซึ่งท่านได้กรุณาให้ราย ละเอียดตามประเด็นคำ�ถาม ดังนี้

182 มองย้อนหลัง มุ่งหวังไปข้างหน้า


ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.สุมนต์ สกลไชย อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น

บก. : ขออนุญาตท่านอธิการบดีเริ่มจากพัฒนาการ ของมหาวิทยาลัยพอสังเขป

พัฒนาสังคม และประเทศชาติ

ตอบ : นับแต่เริ่มก่อตั้งในปี พ.ศ. 2507 ในชื่อว่าสถาบัน เทคโนโลยีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และสถาปนาเป็น “มหาวิทยาลัยขอนแก่น” อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2509 และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จ พระราชดำ �เนินมาทรงเปิดมหาวิทยาลัยขอนแก่นอย่าง เป็นทางการ เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2510 หากนับ ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งจนถึงปัจจุบัน (พ.ศ. 2552) รวมเวลา 46 ปี แล้ว มหาวิทยาลัยขอนแก่นนับเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรก และเป็นศูนย์กลางการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่ส�ำ คัญที่สุด ในภาคอีสาน ได้เริ่มจากเปิดรับนักศึกษารุ่นแรกในปี พ.ศ. 2507 เพียงแค่ 107 คน ใน 2 คณะคือ คณะเกษตรศาสตร์ 49 คน และคณะวิศวกรรมศาสตร์ 58 คน โดยได้ฝากเรียน ที่คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ (มหาวิทยาลัยมหิดลในปัจจุบัน) จากนั้นเป็นต้นมาได้จัดตั้ง คณะต่างๆ เพิ่มขึ้น จนปัจจุบันมหาวิทยาลัยขอนแก่นมี 17 คณะ 3 วิทยาลัย และมีวิทยาเขตอยู่ที่จังหวัดหนองคาย อีกด้วย เมื่อมองย้อนกลับไปก็เป็นที่น่าภาคภูมิใจว่า มหาวิทยาลัยแห่งนี้มีพัฒนาอย่างรวดเร็ว เป็นศูนย์กลาง ของการศึกษา และมีส่วนสำ�คัญในการผลิตบัณฑิตที่มี ความรู้ความสามารถสู่สังคมในเกือบทุกแขนงวิชา เพื่อ

บก. : มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้เริ่มสนองพระราชดำ�ริ ตั้งแต่เมื่อไหร่ ตอบ : นับจากพระราชดำ�รัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ในคราวเสด็จพระราชดำ�เนิน มาทรงเปิดมหาวิทยาลัยขอนแก่นเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2510 ซึ่งเนื้อหาโดยสรุป พระองค์ท่านทรงมีพระ ราชประสงค์ให้มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นศูนย์กลางใน การพัฒนา และยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนใน ภูมิภาค ซึ่งผู้บริหารมหาวิทยาลัยขอนแก่นในสมัยนั้น ได้น้อมรับพระราชดำ�รัส โดยได้น้อมนำ�พระราชดำ�ริมา เป็นแนวทางในการพัฒนาชุมชน และสังคมในภูมิภาค ตะวันออกเฉียงเหนือในลักษณะของโครงการในรูปแบบ ต่างๆ ถึงแม้ว่าจนถึงปัจจุบันมีบางโครงการที่ท�ำ ต่อเนื่อง อาจจะยังไม่เสร็จสมบูรณ์ แต่นับได้ว่าเป็นสถาบันที่พึ่ง ที่สำ�คัญของชุมชนในภูมิภาคนี้ ดังจะเห็นได้จากจำ�นวน โครงการในด้านการพัฒนาเกิดขึ้นอย่างมากมาย อาทิ การสาธารณสุข การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่ง แวดล้อม การเกษตรและอาชีพ ซึ่งสอดคล้อง และเป็นไป ตามวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัยในปัจจุบันส่วนหนึ่ง คือ “ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยเพื่อชุมชน ”

183 มองย้อนหลัง มุ่งหวังไปข้างหน้า


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จฯ มาทรงเปด มหาวิทยาลัยขอนแก่นอย่างเปนทางการ เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2510

184 มองย้อนหลัง มุ่งหวังไปข้างหน้า


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ มาพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตใหม่มหาวิทยาลัยขอนแก่น เมื่อวันที่17 ธันวาคม พ.ศ. 2541

185 มองย้อนหลัง มุ่งหวังไปข้างหน้า


บก. : โครงการพระราชดำ�ริทั้งหมดมีหลายพัน โครงการ ท่านอธิการบดีพอจะกรุณาสรุปให้เห็นใน ภาพรวมว่ามหาวิทยาลัยขอนแก่นมีส่วนร่วมสนองพระ ราชดำ�ริในด้านใดบ้าง

นี้ยังมีการดำ�เนินงานตามแนวพระราชดำ �ริเศรษฐกิจพอ เพียง ซึ่งเป็นการทำ�งานร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัยและ ชุมชน เพื่อพัฒนาเป็นชุมชนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม และด้านทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมอีกจำ�นวน 4 อบต. รวมทั้งหมดมี 35 โครงการ โดยโครงการพระราชดำ�ริที่มหาวิทยาลัยฯ เริ่ม ดำ�เนินการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2526 ตามรายละเอียดโครงการ ตามระยะเวลา

ตอบ : มหาวิทยาลัยขอนแก่นมีส่วนร่วมสนองพระราชดำ�ริ 5 ด้าน ได้แก่ ด้านการศึกษา ด้านสาธารณสุข ด้าน การเกษตรและส่งเสริมอาชีพ ด้านสังคมและวัฒนธรรม และสุดท้ายด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ นอกจาก

ผลงานการสนองพระราชดำ�ริของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ในโครงการต่างๆ นับจากอดีตถึงปัจจุบัน ระยะ ช่วงปี (พ.ศ.) ที่ 1

โครงการ

2519-2528 1. เรือนพักญาติผู้ป่วย

ร่วมสนองพระราชดำ�ริ (พระนาม) พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว

2. โครงการพัฒนา การศึกษาของประชาชนใน สมเด็จพระนางเจ้าฯ พื้นที่ภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ พระบรมราชินีนาถ

คณะ ณ สถานที่/ พื้นที่ หน่วยงาน สถานภาพ ปั จ จุ บ น ั ที่รับผิดชอบ มหาวิทยาลัย - คณะแพทย - ดำ�เนินการ ขอนแก่น ศาสตร์ ต่อ จังหวัดชัยภูมิ

-คณะศึกษา ศาสตร์

3. โครงการอบรม เกษตรกรรมแบบประณีต : สมเด็จพระบรมราชชนนี/ ต้นตำ�รับการอบรมอาชีพ สมเด็จพระเทพรัตนราช โรงเรียนตำ�รวจ - คณะเกษตร ในโรงเรียนตำ�รวจ สุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ตระเวนชายแดน ศาสตร์ ตระเวนชายแดน ในภาคตะวันออก เฉียงเหนือ 4. สถาบันแหล่งน้�ำ และสิ่ง แวดล้อม พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว มหาวิทยาลัย ขอนแก่น - คณะวิศว กรรมศาสตร์

186 มองย้อนหลัง มุ่งหวังไปข้างหน้า

- แล้วเสร็จ

- แล้วเสร็จ

- แล้วเสร็จ


ระยะ ช่วงปี (พ.ศ.) ที่ 3

โครงการ

2529-2538 1. โครงการทันตกรรม พระราชทาน

ร่วมสนองพระราชดำ�ริ (พระนาม)

สถานที่/ พื้นที่

คณะ ณ หน่วยงาน สถานภาพ ปั จ จุ บ น ั ที่รับผิดชอบ -คณะทันต - ดำ�เนินการ แพทยศาสตร์ ต่อ

พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว

-จังหวัดขอนแก่น และจังหวัดใกล้ เคียง ในภาคตะวัน ออก เฉียงเหนือ

2. โครงการหมู่บ้าน อีสานเขียวมหาวิทยาลัย ขอนแก่น

พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว

บ้านม่วงหวาน อ.น้�ำ พอง จ.ขอนแก่น

- คณะต่างๆ ในมหาวิทยาลัย ขอนแก่น

- แล้วเสร็จ

3. โครงการฟื้นฟู ลำ�น้ำ�พอง

พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว

- อ.น้�ำ พอง จ.ขอนแก่น

-คณะ วิทยาศาสตร์

- แล้วเสร็จ

4.โครงการส่งเสริม การเลี้ยงและผลิตอาหาร สมเด็จพระนางเจ้าฯ สัตว์ พระบรมราชินีนาถ

- จังหวัดในภาค ตะวันออกเฉียง เหนือ

-คณะ เกษตรศาสตร์

- แล้วเสร็จ

5. โครงการส่งเสริมศิลปา สมเด็จพระนางเจ้าฯ ชีพบ้านโสกส้มกบ อำ�เภอ พระบรมราชินีนาถ สีชมพู

บ้านโสกส้มกบ อำ�เภอสีชมพู จังหวัดขอนแก่น

- คณะ เกษตรศาสตร์

- แล้วเสร็จ

187 มองย้อนหลัง มุ่งหวังไปข้างหน้า


ระยะ ช่วงปี (พ.ศ.) ที่ 4

โครงการ

2539-2548 หญ้าแฝก : เพื่อการ ปรับปรุงคุณภาพน้�ำ เสีย โครงการ กองทุนวัน ศรีนครินทร์

ร่วมสนองพระราชดำ�ริ (พระนาม) พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว

คณะ ณ สถานที่/ พื้นที่ หน่วยงาน สถานภาพ ปั จ จุ บ น ั ที่รับผิดชอบ - อ. พระยืน -คณะ - ดำ�เนินการ จังหวัดขอนแก่น เกษตรศาสตร์ ต่อ

สมเด็จพระบรมราชชนนี

- จังหวัดขอนแก่น -คณะ แพทยศาสตร์ โครงการออกหน่วยแพทย์ สมเด็จพระบรมราชชนนี/ - ถิ่นทุรกันดารใน เคลื่อนที่ พอ.สว. โรง สมเด็จพระเจ้าพี่นางฯ ประเทศไทย -คณะ พยาบาลศรีนครินทร์ แพทยศาสตร์ ศูนย์การดูแลผู้ป่วยปาก สมเด็จพระเทพรัตนราช แหว่งเพดานโหว่และความ สุดาฯ สยามบรมราชกุมารี - จังหวัดในภาค พิการแต่ก�ำ เนิดของศีรษะ ตะวันออกเฉียง และใบหน้า มหาวิทยาลัย เหนือ ขอนแก่น ภายใต้โครงการ ตะวันฉาย

188 มองย้อนหลัง มุ่งหวังไปข้างหน้า

-คณะ แพทยศาสตร์

- ดำ�เนินการ ต่อ - ดำ�เนินการ ต่อ

- ดำ�เนินการ ต่อ


ระยะ ช่วงปี (พ.ศ.) ที่ 5

2549 – ปัจจุบัน (2552)

โครงการ

ร่วมสนองพระราชดำ�ริ (พระนาม)

สถานที่/ พื้นที่

คณะ หน่วยงาน ที่รับผิดชอบ

สถานภาพ ณ ปัจจุบัน

1. โครงการโอลิมปิก สมเด็จพระเจ้าพี่นางฯ วิชาการและพัฒนา มาตรฐานวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ ในส่วน ภูมิภาค และโครงการ ฟิสิกส์ดาราศาสตร์ โอลิมปิก

- จังหวัดขอนแก่น -คณะ และจังหวัดในภาค วิทยาศาสตร์ ตะวันออกเฉียง เหนือ

2. การส่งเสริมกิจกรรม พระบาทสมเด็จ เกี่ยวกับ “ทฤษฎีใหม่” ด้วย พระเจ้าอยู่หัว การสนับสนุนให้เกษตรกร มีสระน้�ำ ประจำ�ไร่นา

- บ้านหนองแซง อ.บ้านแฮด จ.ขอนแก่น

- คณะ เกษตรศาสตร์

3. โครงการอนุรักษ์ สมเด็จพระเทพรัตนราช พันธุกรรมพืชอันเนื่องมา สุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จากพระราชดำ�ริสมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

- โคกภูตากา อ.เวียงเก่า เขื่อนอุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น และ เขื่อนจุฬาภรณ์ ชัยภูมิ

4. โครงการพัฒนาชนบท พระบาทสมเด็จ เชิงบูรณาการ ตามแนว พระเจ้าอยู่หัว พระราชดำ�ริเศรษฐกิจพอ เพียง

- ตำ�บลต่างๆ ในอำ�เภอเมือง อำ�เภอกระนวน อำ�เภอภูเวียง อำ�เภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น และอำ�เภอคำ� ม่วง จังหวัด กาฬสินธุ์

- 5 คณะคือ - ดำ�เนินการ เกษตรศาสตร์ ต่อ ศึกษาศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เภสัชศาสตร์ และ แพทยศาสตร์ - สำ�นักงานฯ - แล้วเสร็จ และคณะต่างๆ ในมหาวิทยาลัย

5. โครงการชุมชนต้นแบบ พระบาทสมเด็จ เศรษฐกิจพอเพียง พระเจ้าอยู่หัว

-ตำ�บลยางคำ� - สำ�นักงานฯ - ดำ�เนินการ ตำ�บลบ้านผือ และคณะต่างๆ ต่อ ตำ�บลบ้านกง ในมหาวิทยาลัย อำ�เภอหนองเรือ และตำ�บลน้ำ�อ้อม อำ�เภอกระนวน จังหวัดขอนแก่น

6. โครงการ ส่งเสริมฟื้นฟู สมเด็จพระเจ้า สมรรถภาพและผลิต พี่นางฯ ของเล่นเพื่อเด็กพิการ ในโรงเรียนศรีสังวาลย์ จังหวัดขอนแก่น

อำ�เภอเมือง จังหวัดขอนแก่น

189 มองย้อนหลัง มุ่งหวังไปข้างหน้า

- คณะเทคนิค การแพทย์

- ดำ�เนินการ ต่อ

- แล้วเสร็จ

- ดำ�เนินการ ต่อ


ระยะ ช่วงปี (พ.ศ.) ที่ 5

2549 – ปัจจุบัน (2552)

โครงการ

ร่วมสนองพระราชดำ�ริ (พระนาม)

สถานที่/ พื้นที่

คณะ หน่วยงาน ที่รับผิดชอบ

สถานภาพ ณ ปัจจุบัน

7. การอบรมเชิงปฏิบัติการ พระบาทสมเด็จพระ เรื่อง “การผลิตพลังงานทด เจ้าอยู่หัว แทนไบโอดีเซลจากน้ำ�มัน ที่ใช้แล้วเพื่อใช้ใน ชุมชน อย่างยั่งยืนและพึ่งพา ตนเอง”

- ต.ยางคำ� ต.บ้าน - คณะ ผือ เทคโนโลยี ต.บ้านกง อ.หนองเรือ และ ต.น้�ำ อ้อม อ.กระนวน จังหวัด ขอนแก่น

8. โครงการสานสายใยเด็ก สมเด็จพระเทพรัตนราช ไทยรักสุขภาพ ในโรงเรียน สุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ตำ�รวจตระเวนชายแดน (เริ่ม พ.ศ.2547)

-อ. บึงกาฬ จ. หนองคาย -จ.อุดรธานี -จ.เลย

9. โครงการผ่าตัดหัวใจ 8,000 ดวง

- จังหวัดขอนแก่น -คณะ แพทยศาสตร์

- แล้วเสร็จ

- จังหวัดขอนแก่น -คณะศึกษา ศาสตร์

- แล้วเสร็จ

11. โครงการปฏิรูปการ สมเด็จพระเทพรัตนราช - จังหวัดขอนแก่น -คณะศึกษา เรียนรู้ทั้งโรงเรียนสำ�หรับ สุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ศาสตร์ โรงเรียนถิ่นทุรกันดาร

- แล้วเสร็จ

12. โครงการสัตวแพทย์ พระราชทาน

- ดำ�เนินการ ต่อ

พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว/ สมเด็จ พระเจ้าพี่นางฯ

10. โครงการพัฒนา พระบาทสมเด็จ กระบวนการเรียนรู้ ตาม พระเจ้าอยู่หัว หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอ เพียงสู่สถานศึกษา

สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ

- จังหวัดในภาค อีสาน

190 มองย้อนหลัง มุ่งหวังไปข้างหน้า

- แล้วเสร็จ

-คณะพยาบาล - ดำ�เนินการ ศาสตร์ ต่อ

-คณะสัตว แพทยศาสตร์


ระยะ ช่วงปี (พ.ศ.) ที่ 5

2549 – ปัจจุบัน (2552)

โครงการ

ร่วมสนองพระราชดำ�ริ (พระนาม)

13. โครงการคลินิกเกษตร สมเด็จพระบรมโอรสาธิ เคลื่อนที่ในพระราชานุ ราชฯ มกุฎราชกุมาร เคราะห์สมเด็จพระบรมโอ รสาธิราชฯ สยามมกุฎราช กุมาร

คณะ ณ สถานที่/ พื้นที่ หน่วยงาน สถานภาพ ปั จ จุ บ น ั ที่รับผิดชอบ - จังหวัดเลย -คณะสัตว - ดำ�เนินการ แพทยศาสตร์ ต่อ

14. โครงการพัฒนา สมเด็จพระเทพรัตนราช - อ.หนองสองห้อง -คณะ ศักยภาพของแกนนำ� สุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จ.ขอนแก่น สาธารณสุข ชุมชน ประชาชน และ ศาสตร์ องค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่นในการสร้าง เสริมพฤติกรรมการดูแล สุขภาพตนเอง ครอบครัว และชุมชน ในหมู่บ้าน ทุรกันดารตามแนวพระ ราชดำ�ริ (ก.พ. 2551 มีนาคม พ.ศ. 2552)

- แล้วเสร็จ

15. การถ่ายทอดองค์ สมเด็จพระนางเจ้าฯ ความรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพ พระบรมราชินีนาถ ผลิตภัณฑ์ผ้าไหม ใน ศูนย์ศิลปาชีพนาโปร่ง อ. วังสามหมอ

-อ. วังสามหมอ จ.อุดรธานี

- คณะ - ดำ�เนินการ วิศวกรรมศาสตร์ ต่อ

16. การถ่ายทอดองค์ ความรู้เพื่อพัฒนา สหกรณ์ โอท็อป (ข้าว ฮาง) จ.หนองบัวลำ�ภู

พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ

จ.หนองบัวลำ�ภู

-คณะ - ดำ�เนินการ วิศวกรรมศาสตร์ ต่อ

17. การถ่ายทอดองค์ ความรู้เพื่อพัฒนาผ้า ไหมไทย กลุ่มทอผ้าบ้าน หนองหญ้าปล้อง จ. ขอนแก่น (ชุมชนพึ่งพา ตนเอง)

สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ

จ. ขอนแก่น

-คณะ - ดำ�เนินการ วิศวกรรมศาสตร์ ต่อ

18. การถ่ายทอดองค์ ความรู้เพื่อพัฒนาโรงสี พระราชทาน อ.เขาวง จ.กาฬสินธุ์

พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว

อ.เขาวง จ.กาฬสินธุ์

-คณะ - ดำ�เนินการ วิศวกรรมศาสตร์ ต่อ

191 มองย้อนหลัง มุ่งหวังไปข้างหน้า


ระยะ ช่วงปี (พ.ศ.) ที่ 5

2549– ปัจจุบัน (2552)

โครงการ 19.โครงการโรงพยาบาล สายใยรักแห่งครอบครัว โรงพยาบาลศรีนครินทร์

ร่วมสนองพระราชดำ�ริ (พระนาม) พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาฯ

20. โครงการออกแบบ พระบาทสมเด็จ ระบบบำ�บัดน้ำ�เสียแบบ พระเจ้าอยู่หัว ธรรมชาติ บำ�บัด เทศบาล ตำ�บลเขื่อนอุบลรัตน์

คณะ ณ สถานที่/ พื้นที่ หน่วยงาน สถานภาพ ปัจจุบัน ที่รับผิดชอบ จังหวัดขอนแก่น - คณะ - ดำ�เนินการ แพทยศาสตร์ ต่อ อำ�เภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น

- คณะ - แล้วเสร็จ วิศวกรรมศาสตร์

21. โครงการออกแบบ พระเจ้าวรวงศ์เธอ จังหวัดขอนแก่น ศูนย์สามวัย สานสายใยรัก พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวร แห่งครอบครัวโคกสี ชายาฯ จังหวัดขอนแก่น

- คณะศิลปกรรม - แล้วเสร็จ ศาสตร์/ สถาปัตย กรรมศาสตร์

22. โครงการพัฒนาที่ดิน มูลนิธิชัยพัฒนา บ้าน เหมือดแอ่ ตำ�บลหนอง ตูม อำ�เภอเมือง จังหวัด ขอนแก่น

สำ�นักงาน โครงการอัน เนื่องมาจาก พระราชดำ�ริ มหาวิทยาลัย ขอนแก่น

พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว/สมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

ตำ�บลหนอง ตูม อำ�เภอเมือง จังหวัดขอนแก่น

192 มองย้อนหลัง มุ่งหวังไปข้างหน้า

-ดำ�เนินการต่อ


บก. : ขอให้ท่านอธิการบดียกตัวอย่างโครงการพระ บก. : ขออนุญาตเริ่มจากโครงการพระราชดำ�ริทาง ด้านการศึกษา ซึ่งเป็นบทบาทสำ�คัญของมหาวิทยาลัย ราชดำ�ริทางด้านสาธารณสุข ซึ่งมหาวิทยาลัยเข้าร่วม สนองพระราชดำ�ริ มีโครงการที่สำ�คัญอะไรบ้าง ตอบ : การศึกษาเป็นเครื่องมือที่สำ�คัญในการพัฒนาชาติ สร้างความรู้ให้กับคนซึ่งคนเป็นศูนย์กลางของพัฒนา ดัง นั้นการพัฒนาทุกเรื่องต้องเริ่มที่การพัฒนาทุนมนุษย์ก่อน เป็นลำ�ดับแรก ดังนั้นมหาวิทยาลัยฯจึงให้ความสำ�คัญ กับการให้การศึกษา การฝึกอบรม และเป็นโครงการพระ ราชดำ�ริโครงการแรกๆ ของมหาวิทยาลัยฯ ผลงานในด้ า นการศึ ก ษาที่ เ ป็ น รู ป ธรรมและเห็ น ผลการพัฒนาอย่างชัดเจนมีจ�ำ นวน 4 โครงการ ได้แก่ โครงการพั ฒ นาการศึกษาของประชาชนในพื้น ที่ ภู เขี ย ว จังหวัดชัยภูมิ โครงการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ตามหลัก ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา และโครงการ ปฏิรูปการเรียนรู้ทั้งโรงเรียนสำ�หรับโรงเรียนถิ่นทุรกันดาร ซึ่งโครงการเหล่านี้ดำ�เนินการเสร็จสิ้นแล้ว สำ�หรับ โครงการสุดท้ายคือ โครงการโอลิมปิกวิชาการและพัฒนา มาตรฐานวิ ท ยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ในส่ว นภู มิ ภ าค รวมถึงโครงการฟิสิกส์ดาราศาสตร์โอลิมปิก ในปัจจุบันก็ ยังคงดำ�เนินการอยู่ต่อเนื่อง

ตอบ : ตัวอย่างโครงการที่เกิดขึ้นได้แก่ โครงการหน่วย แพทย์เคลื่อนที่ พอ.สว. ที่มหาวิทยาลัยฯ เข้าร่วมตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2534 เป็นต้นมาถึงปัจจุบัน โครงการทันตกรรม พระราชทาน โครงการตะวันฉาย เพื่อให้บริการผ่าตัดรักษา อาการปากแหว่งเพดานโหว่ และความพิการแต่ก�ำ เนิดของ ศีรษะและใบหน้า ซึ่งในปัจจุบันได้พัฒนามาเป็นโครงการ ยิ้มสวยเสียงใส ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2546 โครงการเรือนพักญาติ ผู้ป่วย ได้เปิดให้บริการในปี พ.ศ. 2526 สำ�หรับเป็นเรือน นอนของญาติที่มาเฝ้าดูแลอาการผู้ป่วย ซึ่งเป็นวัฒนธรรม เด่นอย่างหนึ่งของชาวอีสานเมื่อมีผู้เจ็บป่วย ญาติพี่น้อง จะมาดูแลให้ก�ำ ลังใจกันเป็นจำ�นวนมาก สำ�หรับโครงการ ที่ได้ดำ�เนินการในระยะสั้นเพื่อให้บริการรักษาโรคเฉพาะ ทาง ที่ทำ�แล้วเสร็จได้แก่ โครงการผ่าตัดหัวใจ 8,000 ดวง เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล 80 พรรษา พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวและถวายเป็นพระราชกุศล 84 พรรษา สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวง นราธิวาสราชนครินทร์ ในปีพ.ศ. 2549-2550

บก. : ในด้านสาธารณสุข มหาวิทยาลัยเข้าไปมีส่วน ร่วมอย่างไรบ้าง

บก. : อาชีพเกษตรกรรมเป็นอาชีพหลักของคนอีสาน คิดว่าคงมีโครงการพระราชดำ�ริด้านการเกษตร และส่ง ตอบ : มหาวิทยาลัยได้เล็งเห็นถึงความเดือดร้อน และ เสริมอาชีพเป็นจำ�นวนมาก ข้อจำ�กัดในการเข้ารับการรักษาพยาบาลของประชาชน ตอบ : ครับ เนื่องจากประชากรส่วนใหญ่ในภูมิภาคนี้ มี ในภาคอีสาน จึงได้ก่อตั้งและต่อมาได้จัดตั้งศูนย์หัวใจ อาชีพหลักด้านการเกษตร แต่มีปัญหาหลายเรื่อง โดย สิริกิติ์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ขึ้นในปี พ.ศ.2518 แรก เฉพาะทรัพยากรธรรมชาติที่ไม่เอื้ออำ�นวย เช่น ดินที่ไม่ เริ่มมีเพียง 40 เตียง และปัจจุบันได้ขยายเป็นโรงพยาบาล สามารถอุ้มน้�ำ ได้ดี ป่าไม้ที่มีปริมาณน้อยลง ปัญหาดิน ขนาด 1, 200 เตียง ซึ่งเป็นโรงพยาบาลที่ทันสมัย และ เค็ม น้ำ�เค็ม จากปัญหาต่างๆที่พบเหล่านี้ มหาวิทยาลัย ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในภูมิภาคนี้ มีการจัดตั้งโรงพยาบาล ขอนแก่นได้ทราบถึงความเดือดร้อน และถือเป็นหน้าที่ ทันตกรรม และนอกจากการตั้งรับในโรงพยาบาลแล้วยัง จะต้องพัฒนาและแก้ปัญหา เพื่อให้ประชาชนในภูมิภาค มีโครงการเชิงรุกในการขยายโอกาสออกหน่วยเพื่อบริการ มีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น จึงริเริ่มโครงการและกิจกรรม ทางการแพทย์ให้แก่ประชาชนได้อย่างทั่วถึง และส่งเสริม ต่างๆ ร่วมกับชุมชนเพื่อส่งเสริมและยกระดับคุณภาพ ให้ประชาชนมีสุขภาพแข็งแรงและห่างไกลโรค ชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้น โดยมีบุคลากรและผู้เชี่ยวชาญ ของมหาวิทยาลัยเป็นผู้ให้ความรู้ในด้านการบริหารจัดการ

193 มองย้อนหลัง มุ่งหวังไปข้างหน้า


เกษตร การปลูกพืช และการเลี้ยงสัตว์ โครงการต่างๆ ที่ เกิดขึ้น อาทิเช่น โครงการหญ้าแฝกเพื่อการปรับปรุงดิน และน้�ำ โครงการส่งเสริมและให้ความรู้ตามหลักเกษตร ทฤษฎีใหม่ โครงการเลี้ยงสัตว์และอาหารสัตว์ โครงการ จัดการแหล่งน้�ำ ขนาดเล็ก นอกจากนี้มหาวิทยาลัย ยังได้ เข้าร่วมส่งเสริมอาชีพเสริมอันเนื่องมาจากพระราชดำ �ริ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เช่นที่ ศูนย์ ศิลปาชีพทอผ้าไหม ตำ�บลนาโปร่ง อำ�เภอวังสามหมอ จังหวัดอุดรธานี ทำ�ให้ผลิตภัณฑ์ผ้าไหมมีคุณภาพและได้ มาตรฐาน เป็นต้น

บก. : ทราบมาว่ามหาวิทยาลัย มีบทบาทสำ�คัญในการ อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในหลาย เรื่อง เช่นโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมา จากพระราชดำ�ริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยาม บรมราชกุมารี และโครงการพลังงานทดแทน ตอบ : ครับ โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมา จากพระราชดำ�ริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยาม บรมราชกุมารี มหาวิทยาลัยขอนแก่น (อพ.สธ.มข.) เป็น โครงการวิจัยที่มหาวิทยาลัย เข้าร่วมโครงการมากว่า 12 ปี ซึ่งดำ�เนินการภายใต้กรอบที่มีการประชุมร่วมกันกับทาง โครงการฯ ในส่วนกลาง มีเนื้อหาทั้งปกปักพันธุกรรม การ ศึกษาความหลากหลาย การทำ�ฐานข้อมูลพันธุกรรม และ งานวิ จั ย ต่ อ ยอดเพื่ อ นำ � ไปใช้ ป ระโยชน์ แ ละพั ฒ นาเป็ น ผลิตภัณฑ์ใหม่

ภาพวาดมุมสูง และภาพถ่ายทางอากาศของ มหาวิทยาลัยขอนแก่นในอดีต และปัจจุบัน มีการวิจัยเรื่องการผลิตไบโอดีเซลจากน้ำ�มันที่ใช้แล้วจาก ครัวเรือนและได้จัดทำ�โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการแก่ผู้ สนใจในการผลิตพลังงานทดแทนไบโอดีเซลจากน้ำ�มันที่ใช้ แล้วเพื่อใช้ในชุมชนอย่างยั่งยืน และพึ่งพาตนเอง พร้อม ทั้งได้สร้างโรงงานต้นแบบเพื่อการผลิตผลิตไบโอดีเซลขึ้น

มหาวิทยาลัย ได้ให้ความสำ�คัญในการศึกษาวิจัย และถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านพลังงานทดแทนตามแนวพระ ราชดำ�ริไม่น้อยไปกว่าด้านอื่นๆ มีการศึกษาวิจัยในหลาย คณะ อาทิ การคัดเลือกและปรับปรุงพันธุ์พืชพลังงานที่ มีศักยภาพให้ผลผลิตสูงในภาคอีสานเช่น ข้าวฟ่างหวาน และแก่นตะวัน เพื่อนำ�มาผลิตเอทานอล นอกจากนี้ยัง

194 มองย้อนหลัง มุ่งหวังไปข้างหน้า


นอกจากนี้มหาวิทยาลัย ยังมีส่วนร่วมสนองพระ ราชดำ�ริในการจัดการสิ่งแวดล้อม เช่น โครงการบำ�บัด น้�ำ เสียด้วยวิธีทางธรรมชาติ โดยนำ�หลักการตามแนวพระ ราชดำ�ริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาประยุกต์ใช้ ได้แก่ การออกแบบระบบบำ�บัดน้ำ�เสียแบบบึงประดิษฐ์ โครงการหญ้ า แฝกเพื่ อ การปรั บ ปรุ ง คุ ณ ภาพน้ำ � เสี ย โครงการฟื้นฟูลำ�น้ำ�พองโดยใช้ผักตบชวาซึ่งสามารถแก้ ปัญหาให้กับชุมชนต้นน้�ำ และปลายน้ำ�ได้อย่างดี

อดีต

ประตูทางเข้ามหาวิทยาลัยก่อนการก่อตั้งมหาวิทยาลัย (ก่อนปี พ.ศ. 2507)

ปัจจุบัน ประตูทางเข้ามหาวิทยาลัยขอนแก่นในปัจจุบัน

ถนนทิวสนทางเข้ามหาวิทยาลัยขอนแก่นฝั่งบึงสีฐาน

195 มองย้อนหลัง มุ่งหวังไปข้างหน้า


อดีต

ปัจจุบัน

สำ�นักงานอธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น

โรงพยาบาลศรีนครินทร์

อาคารเรียนตึกแรกของคณะวิศวกรรมศาสตร์

196 มองย้อนหลัง มุ่งหวังไปข้างหน้า


อดีต

ปัจจุบัน

อาคารเรียนรวมของคณะวิทยาศาสตร์

ศาสเจ้าพ่อมอดินแดง

หอสมุดกลาง (สำ�นักวิทยบริการในปัจจุบัน)

197 มองย้อนหลัง มุ่งหวังไปข้างหน้า


อดีต

ปัจจุบัน

บรรยากาศในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรบัณฑิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น

สวนร่มเกล้ากัลปพฤกษ์

บรรยากาศบึงสีฐานยามเย็น

198 มองย้อนหลัง มุ่งหวังไปข้างหน้า


บก. : เพื่อที่จะส่งเสริมและยกระดับความเป็นอยู่ของ ประชาชนให้ดีขึ้น ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มหาวิทยาลัยได้เข้าไปมีส่วนร่วมอย่างไรบ้าง ตอบ : เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน และเกิดดุลยภาพ ในชุมชน มหาวิทยาลัยได้ด�ำ เนินโครงการโดยยึดหลัก บูรณาการ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 โดยรวมภูมิปัญญาท้องถิ่น ซึ่งบรรพบุรุษได้สั่งสมไว้ ผสมผสานเข้ากับองค์ความรู้สมัย ใหม่ และแนวทางพระราชดำ�ริในด้านต่างๆ จนเกิดการ พัฒนาอย่างยั่งยืน ตัวอย่างเช่น โครงการพัฒนาชนบท เชิงบูรณาการตามแนวพระราชดำ�ริเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่ง ปัจจุบันมหาวิทยาลัยให้ความสำ�คัญกับแนวพระราชดำ�ริ ในเรื่องนี้เป็นอย่างยิ่ง จึงมีการจัดตั้งสำ�นักงานโครงการ อันเนื่องมาจากพระราชดำ�ริ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่ง บทบาทที่ส�ำ คัญอย่างหนึ่ง คือ การวิเคราะห์ปัญหาของ ชุมชนร่วมกับชาวบ้าน วิเคราะห์โครงการพัฒนาตาม แนวปรัชญาของพระองค์ท่าน และใช้นักวิชาการใน มหาวิทยาลัยเข้าไปพัฒนาร่วมกับชาวบ้าน เพื่อพัฒนา เป็นชุมชนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง

จำ�นวน 5 โครงการ ได้แก่ โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำ�ริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มหาวิทยาลัยขอนแก่น (อพ.สธ.มข.) โครงการหญ้าแฝกอันเนื่องมาจากพระราชดำ�ริ ศูนย์ศิลปา ชีพทอผ้าไหมนาโปร่ง อำ�เภอวังสามหมอ จังหวัดอุดรธานี ชุ ม ชนพึ่ ง พาตนเองกลุ่ ม ทอผ้ า บ้ า นหนองหญ้ า ปล้ อ ง จังหวัดขอนแก่น และกลุ่มสหกรณ์โอท็อปจำ�หน่ายข้าวฮาง จังหวัดหนองบัวลำ�ภู และโรงสีข้าวพระราชทาน อำ�เภอ เขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ ประเภทที่สอง โครงการตามแนวพระราชดำ�ริเป็น โครงการที่เกิดขึ้นเนื่องจากการน้อมนำ�แนวพระราชดำ�ริ มาเป็นหลักในการดำ�เนินงาน แต่ต้องศึกษาวิเคราะห์และ ประยุกต์ใช้อย่างเหมาะสม โครงการตามแนวพระราชดำ�ริ ในปัจจุบันจะเน้นแนวพระราชดำ�ริเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่ง มีการดำ�เนินงานในหลายคณะ /หน่วยงาน พื้นที่ดำ�เนิน งานมีทั้งภายในมหาวิทยาลัย ได้แก่ การพัฒนานักศึกษา บุคลากร และภายนอกมหาวิทยาลัย ได้แก่ ชุมชนต้นแบบ เศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเป็นแหล่งในการศึกษาวิจัยของ อาจารย์ และนักศึกษาร่วมกันกับชุมชน เพื่อให้ชุมชนมี การพัฒนาอย่างยั่งยืน

โครงการพั ฒ นาที่ ดิ น ของมู ล นิ ธิ ชั ย พั ฒ นา เป็ น โครงการที่ มู ล นิ ธิ ชั ย พั ฒ นาได้ ข อความร่ ว มมื อ มหาวิ ท ยาลั ย เข้ า ไปร่ ว มพั ฒ นาในพื้ น ที่ ที่ มี ผู้ บ ริ จ าคให้ กับมูลนิธิ ที่บ้านเหมือดแอ่ ตำ�บลหนองตูม อำ�เภอ เมือง จังหวัดขอนแก่น เพื่อเป็นศูนย์กลางการผลิต และ ศูนย์กลางเรียนรู้ของชุมชนโดยรอบ เพื่อให้เกิดการพัฒนา ตอบ : งานที่มหาวิทยาลัยขอนแก่นสนองพระราชดำ�ริ ของชุมชนโดยรอบ ซึ่งขณะนี้อยู่ในระยะเริ่มต้นโครงการ อยู่ ณ ปัจจุบัน มี 5 ลักษณะคือ โครงการอันเนื่องมาจาก เป็นโครงการหรือกิจกรรมที่คณะ หรือหน่วยงาน พระราชดำ�ริ โครงการตามแนวพระราชดำ�ริเศรษฐกิจพอ ต่างๆ ร่วมสนองพระราชดำ�ริ ส่วนใหญ่อยู่ในลักษณะ เพียง โครงการพัฒนาพื้นที่ของโครงการชัยพัฒนา งาน ของเครือข่าย ได้แก่ โครงการยิ้มสวยเสียงใส และ สนองพระราชดำ�ริในคณะ/หน่วยงานต่างๆ และโครงการ โครงการออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ พอ.สว. โดยความ เฉลิมพระเกียรติ ซึ่งมีความแตกต่างกันในรายละเอียดของ ดูแลรับผิดชอบของคณะแพทยศาสตร์ โครงการทันตกรรม แต่ละลักษณะดังนี้ พระราชทาน โดยความดูแลรับผิดชอบของคณะทันต แพทยศาสตร์ โครงการสานสายใยเด็กไทยรักสุขภาพ ใน โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำ�ริ เป็นโครงการ โรงเรียนตำ�รวจตระเวนชายแดน โครงการสัตวแพทย์ ที่ มี พ ระกระแสรั บ สั่ ง หรื อ มี เจ้ า หน้ า ที่ ข องโครงการส่ ว น พระราชทาน และโครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ในพระ พระองค์ติดต่อให้มหาวิทยาลัยฯ เข้าร่วมสนองพระ ราชานุเคราะห์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎ ราชดำ�ริ ซึ่งโครงการที่มหาวิทยาลัยขอนแก่นมีส่วนร่วมมี บก. : สรุปว่าในอดีตที่ผ่านมามหาวิทยาลัยได้สนอง พระราชดำ�ริมาเป็นจำ�นวนมากส่งผลให้มีการพัฒนา ของชุมชนในหลายด้าน จะขออนุญาตขอให้ท่าน อธิการบดีให้สัมภาษณ์ว่าขณะนี้ มหาวิทยาลัยกำ�ลัง สนองพระราชดำ�ริในโครงการใดบ้าง

199 มองย้อนหลัง มุ่งหวังไปข้างหน้า


ราชกุมาร โครงการโอลิมปิกวิชาการและพัฒนามาตรฐาน วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ในส่วนภูมิภาค และโครงการ ฟิ สิ ก ส์ ด า ร า ศ า ส ต ร์ โ อ ลิ ม ปิ ก ใ น พ ร ะ อุ ป ถั ม ภ์ ข อ ง สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ โดยความรับผิดชอบของคณะ วิทยาศาสตร์

อีกหนึ่งโครงการมาจัดตั้งเป็นสำ�นักงานโครงการอันเนื่อง มาจากพระราชดำ�ริ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 เป็นหน่วยงานภายในสังกัดสำ�นักงานอธิการบดี ซึ่ง การยกระดับจากโครงการมาเป็นสำ�นักงานจะทำ�ให้มีผู้รับ ผิดชอบ มีเจ้าหน้าที่และงบประมาณประจำ� ทำ�ให้สามารถ และประเภทสุดท้ายเป็นโครงการเฉลิมพระเกียรติ วางแผนการดำ�เนินงานในระยะยาว ซึ่งจะส่งผลให้การ ซึ่ ง มหาวิ ท ยาลั ย และคณะหน่ ว ยงานจั ด ขึ้ น ในวโรกาสที่ สนองพระราชดำ�รินี้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น สำ�คัญต่างๆ เช่น วโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา สำ�หรับแผนและความคาดหวังในการสนองพระ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 เป็นต้น ราชดำ�ริ เป็นดังนี้ 1. การสนองพระราชดำ�ริในการอนุรักษ์พันธุกรรม พืช ในโครงการ อพ.สธ.มข. มหาวิทยาลัยฯ มี แผนที่จะให้การสนับสนุนงานสวนพฤกษศาสตร์ ในโรงเรียน ซึ่งเป็นโครงการวิจัยของนักเรียน ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยจะให้การ สนับสนุนความรู้ และความเชี่ยวชาญขั้นสูง เช่น กายวิภาคศาสตร์ การศึกษาลายพิมพ์ดีเอ็นเอ (DNA fingerprint) ตลอดจนข้อมูลพันธุกรรม (Bioinformatics) ซึ่งองค์ความรู้ที่ต่อยอดจาก

บก. : สุดท้ายนี้ ท่านอธิการบดีมีแนวนโยบายหรือ แผนในการสนองพระราชดำ�ริต่อไปอย่างไรบ้าง ตอบ : มหาวิทยาลัยขอนแก่นเห็นว่าการสนองพระ ราชดำ�ริเป็นภารกิจที่สำ�คัญมากอย่างหนึ่ง ต้องดำ�เนิน การให้สมพระเกียรติ ขณะนี้ได้รวบรวมงานสนองพระ ราชดำ�ริที่ดำ�เนินการโดยหลายคณะได้แก่โครงการ อพ.สธ. มข. และโครงการพัฒนาชนบทเชิงบูรณาการ ซึ่งต่อมาได้ รวมโครงการพัฒนาที่ดินมูลนิธิชัยพัฒนาเพิ่มเติมเข้ามา

200 มองย้อนหลัง มุ่งหวังไปข้างหน้า


การศึกษาของนักเรียนนี้จะมีส่วนสำ�คัญในการ ปกป้องทรัพยากรของไทย ทำ�ให้ประเทศไทย สามารถจดทะเบี ย นทรั พ ย์ สิ น ทางปั ญ ญาของ ทรัพยากรชีวภาพของประเทศ โดยใช้ฐานของ โรงเรียนซึ่งมีอยู่เป็นจำ�นวนมากในการกลั่นกรอง ศึกษาข้อมูลเบื้องต้นก่อน แล้วมาต่อยอดการ วิจัยชั้นสูงในมหาวิทยาลัย 2. โครงการพัฒนาที่ดินมูลนิธิชัยพัฒนา มหาวิทยาลัย มีแผนที่จะนำ�องค์ความรู้ ชนิดพันธุ์พืช เทคนิค วิ ธี ก ารและผลงานวิ จั ย ที่ ส อดคล้ อ งกั บ ความ ต้องการของชุมชนโดยรอบเข้าไปดำ�เนินการใน พื้นที่ เริ่มจากทำ�แปลงสาธิต ที่เป็นแหล่งเรียน รู้ แ ละใช้ เ ป็ น แหล่ ง ผลิ ต เมล็ ด พั น ธุ์ เ พื่ อ ขยายให้ กั บ ชุ ม ชนรอบข้ า งเมื่ อ มี ผ ลผลิ ต การเกษตร จำ�นวนมาก จะมีการแปรรูปและพัฒนาเป็น ผลิตภัณฑ์ ภายใต้เครื่องหมายการค้าที่ สมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

พระราชทานให้แด่มูลนิธิชัยพัฒนา และจะมีการ พัฒนาด้านการบริหารจัดการ รวมถึงการตลาด ในระยะต่อไป 3. โครงการชุมชนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่ง เป็ น โครงการที่ ม หาวิ ท ยาลั ย ขอนแก่ น ร่ ว มกั บ องค์ ก ารบริ ห ารส่ ว นตำ� บลในอำ� เภอหนองเรื อ จังหวัดขอนแก่น 3 แห่ง และในอำ�เภอกระนวน จังหวัดขอนแก่น 1 แห่ง น้อมนำ�แนวพระราชดำ�ริ เศรษฐกิจพอเพียงมาค้นคว้า และประยุกต์ใช้ มหาวิทยาลัย คาดหวังว่าจะสามารถพัฒนา ชุมชนต้นแบบจำ�นวน 2-3 แห่ง เพื่อให้เป็น แหล่งเรียนรู้ที่อาจารย์ บุคลากร และนักศึกษา จะสามารถเข้าไปศึกษา เรียนรู้ และแลกเปลี่ยน ประสบการณ์ ซึ่งจะทำ�ให้ได้รับประสบการณ์จริง จากพื้นที่ และในขณะเดียวกันก็หวังที่จะเห็นผล จากการที่ประชาชนในพื้นที่ชุมชนต้นแบบมีการ พัฒนาที่ยั่งยืน และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

ท่านอธิการบดี มหาวิทยาลัยขอนแก่น ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.สุมนต์ สกลไชย ให้สัมภาษณ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พิสิฏฐ์ เจริญสุดใจ บรรณาธิการหนังสือฯ

201 มองย้อนหลัง มุ่งหวังไปข้างหน้า


สรุปภาพรวมผลการพัฒนาในด้านต่างๆของมหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการ พระราชดำาริในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

หนองคาย นครพนม เลย

หนองบัวลำาภู

สกลนคร

อุดรธานี

กาฬสินธุ์ ขอนแก่น

มุกดาหาร ยโสธร

มหาสารคาม

ร้อยเอ็ด

ชัยภูมิ

อำานาจเจริญ อุบลราชธานี

นครราชสีมา บุรีรัมย์

สุรินทร์

ศรีสะเกษ

การพัฒนาด้านการสาธารณสุข การพัฒนาด้านการเกษตร อาชีพ และพัฒนาเศรษฐกิจ การพัฒนาด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และพลังงาน การพัฒนาการศึกษาและพัฒนาคุณภาพชีวิต การพัฒนาด้านการบูรณาการพื้นที่และชุมชนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง

202 มองย้อนหลัง มุ่งหวังไปข้างหน้า


ภาคผนวก


ภาคผนวก ก. ภาพกิจกรรม โครงการเฉลิมพระเกียรติต่างๆ ที่ดำ�เนินการโดยมหาวิทยาลัยขอนแก่น

204 ภาคผนวก


การจัดนิทรรศการ “ไม้ของพ่อ บนมอดินแดง”

205 ภาคผนวก


การจัดงานนิทรรศการพระราชกรณียกิจ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ต่อมหาวิทยาลัยขอนแก่น เนื่องในโอกาส มหามงคลเฉลิมพระเกียรติพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม พ.ศ. 2550 โดยสำ�นักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

206 ภาคผนวก


งานมหกรรมคนรักหนังสือ ครั้งที่ 2 โดยสำ�นักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

207 ภาคผนวก


ภาคผนวก ข. คำ�สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำ�หนังสือ  กองบรรณาธิการ  คณะกรรมการอำ�นวยการ  คณะอนุกรรมการ

208 ภาคผนวก


คำ�สั่งมหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่

913/2552

เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการอำ�นวยการจัดทำ�หนังสือ มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำ�ริ เพื่อให้การดำ�เนินการจัดทำ�หนังสือ มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำ�ริ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ บรรลุวัตถุประสงค์ โดยนำ�ผลงานมารวบรวมเป็นหนังสือ เพื่อทูลเกล้าฯถวายสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี และ นำ�ไปเผยแพร่ให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม ฉะนั้น อาศัยอำ�นาจตามความในมาตรา 20 และ มาตรา 23 (1) แห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยขอนแก่น พ.ศ. 2541 จึงแต่งตั้งผู้ดำ�รงตำ�แหน่งและบุคคลที่มีรายนามต่อไปนี้ เป็นคณะกรรมการอำ�นวยการจัดทำ�หนังสือมหาวิทยาลัยขอนแก่น กับโครงการพระราชดำ�ริ ประกอบด้วยรองอธิการบดีฝสิน 1. อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น

เป็นที่ปรึกษา

2. รองอธิการบดีฝ่ายทรัพย์สิน

เป็นที่ปรึกษา

(ผู้ช่วยศาสตราจารย์อารมย์ ตัตตะวะศาสตร์) 3. รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและการถ่ายทอดเทคโนโลยี

เป็นประธาน

(รองศาสตราจารย์กิตติชัย ไตรรัตนศิริชัย) 4. รองคณบดีฝา่ ยกิจการพิเศษ คณะวิศวกรรมศาสตร์

เป็นกรรมการ

(นางสาวมุจลินทร์ พูนประสิทธิ์) 5. รองคณบดีฝา่ ยวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ คณะเภสัชศาสตร์

เป็นกรรมการ

(รองศาสตราจารย์นาถธิดา วีระปรียากูร) 6. คณบดีคณะเทคโนโลยี

เป็นกรรมการ

(ผู้ช่วยศาสตราจารย์เกษม นันทชัย) 7. คณบดีคณะพยาบาลศาสตร์

เป็นกรรมการ

(รองศาสตราจารย์เอื้อมพร ทองกระจาย) 8. รองคณบดีฝา่ ยวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ คณะศึกษาศาสตร์ (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ธีรชัย เนตรถนอมศักดิ์)

209 ภาคผนวก

เป็นกรรมการ


9. คณบดีคณะเกษตรศาสตร์

เป็นกรรมการ

(รองศาสตราจารย์อนันต์ พลธานี) 10. คณบดีคณะวิทยาการจัดการ

เป็นกรรมการ

(รองศาสตราจารย์มันทนา สามารถ) 11. คณบดีคณะสัตวแพทยศาสตร์

เป็นกรรมการ

(รองศาสตราจารย์สุณีรัตน์ เอี่ยมละมัย) 12. คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

เป็นกรรมการ

(ผู้ช่วยศาสตราจารย์เยาวลักษณ์ อภิชาตวัลลภ) 13. คณบดีคณะแพทยศาสตร์

เป็นกรรมการ

(ศาสตราจารย์วิรุฬห์ เหล่าภัทรเกษม) 14. รองคณบดีฝา่ ยวิชาการและวิจัย คณะศิลปกรรมศาสตร์

เป็นกรรมการ

(นางดวงจันทร์ นาชัยสินธุ์) 15. ผู้อำ�นวยการศูนย์บริการวิชาการ

เป็นกรรมการ

(รองศาสตราจารย์อำ�นวย คำ�ตื้อ) 16. คณบดีคณะวิทยาศาสตร์

เป็นกรรมการ

(ศาสตราจารย์ละออศรี เสนาะเมือง) 17. ผู้จัดการสำ�นักงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำ�ริ (ผู้ช่วยศาสตราจารย์พิสิฏฐ์ เจริญสุดใจ)

เป็นกรรมการและ เลขานุการ

18. นางสาวจรรยา บุญพึ่ง

เป็นกรรมการและ

ผู้ช่วยเลขานุการ

โดยให้คณะกรรมการดังกล่าวมีอำ�นาจและหน้าที่ดังนี้

1. กำ�กับดูแลการจัดทำ�หนังสือเป็นไปด้วยความเรียบร้อย

2. พิจารณาจัดสรรงบประมาณเพื่อดำ�เนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง

ทั้งนี้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

สั่ง ณ วันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2552

(รองศาสตราจารย์สุมนต์ สกลไชย) อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น

210 ภาคผนวก


คำ�สั่งมหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่

914/2552

เรื่อง แต่งตั้งคณะอนุกรรมการจัดทำ�หนังสือ มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำ�ริ เพื่อให้การดำ�เนินการจัดทำ�หนังสือ มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำ�ริ เป็นไปอย่างมี ประสิทธิภาพ บรรลุวัตถุประสงค์ โดยนำ�ผลงานมารวบรวมเป็นหนังสือ เพื่อทูลเกล้าฯ ถวายสมเด็จพระเทพรัตน ราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี และนำ�ไปเผยแพร่ให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม ฉะนั้น อาศัยอำ�นาจตามความในมาตรา 20 และ มาตรา 23 (1) แห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัย ขอนแก่น พ.ศ. 2541 จึงแต่งตั้งผู้ดำ�รงตำ�แหน่งและบุคคลที่มีรายนามต่อไปนี้ เป็น 1. คณะอนุกรรมการคณะเภสัชศาสตร์ ประกอบด้วย 1.1 รองศาสตราจารย์นาถธิดา วีระปรียากูร

เป็นประธาน

1.2 นางทองคำ� วงษ์พระจันทร์

เป็นกรรมการและเลขานุการ

2. คณะอนุกรรมการคณะเทคโนโลยี ประกอบด้วย 2.1 รองคณบดีฝา่ ยวิชาการและการวิจัย

เป็นประธาน

2.2 ผู้ช่วยคณบดีฝา่ ยวิชาการ

เป็นกรรมการ

2.3 ผู้ช่วยศาสตราจารย์วิเชียร วรพุทธพร

เป็นกรรมการ

2.4 รองศาสตราจารย์ฉลอง บัวผัน

เป็นกรรมการ

2.5 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ผกาวดี แก้วกันเนตร

เป็นกรรมการ

2.6 นางเฉลิมภรณ์ ป้านภูม ิ

เป็นกรรมการและเลขานุการ

211 ภาคผนวก


3. คณะอนุกรรมการคณะพยาบาลศาสตร์ ประกอบด้วย

3.1 รองศาสตราจารย์สมจิต แดนสีแก้ว

เป็นประธาน

3.2 ผู้ช่วยศาสตราจารย์จิตภินันท์ ศรีจักรโคตร

เป็นกรรมการ

3.3 ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุพรรณี สุ่มเล็ก

เป็นกรรมการ

3.4 นางอภิชญา สมหาญ

เป็นกรรมการ

3.5 นางวินัดดา ทองปลิว

เป็นกรรมการและเลขานุการ

4. คณะอนุกรรมการคณะศึกษาศาสตร์ ประกอบด้วย

4.1 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ธีรชัย เนตรถนอมศักดิ์

เป็นประธาน

4.2 รองศาสตราจารย์ลัดดา ศิลาน้อย

เป็นกรรมการ

4.3 รองศาสตราจารย์คงศักดิ์ ธาตุทอง

เป็นกรรมการ

4.4 นางสาวอังคณา ตุงคะสมิต

เป็นกรรมการ

4.5 นายศิริพงษ์ เพียศิร ิ

เป็นกรรมการและเลขานุการ

5. คณะอนุกรรมการคณะสัตวแพทยศาสตร์ ประกอบด้วย 5.1 รองศาสตราจารย์สุณีรัตน์ เอี่ยมละมัย

เป็นประธาน

5.2 รองศาสตราจารย์ปรีณัน จิตะสมบัต ิ

เป็นกรรมการและเลขานุการ

6. คณะอนุกรรมการคณะเกษตรศาสตร์ ประกอบด้วย 6.1 รองศาสตราจารย์กวี จุติกุล

เป็นประธานและที่ปรึกษา

6.2 รองศาสตราจารย์ทวีสุข แสนทวีสุข

เป็นที่ปรึกษา

6.3 รองศาสตราจารย์อดุลย์ อภินันทร์

เป็นที่ปรึกษา

6.4 ศาสตราจารย์อารันต์ พัฒโนทัย

เป็นที่ปรึกษา

6.5 รองศาสตราจารย์เอนก โตภาคงาม

เป็นที่ปรึกษา

6.6 รองศาสตราจารย์อัศนี ปาจีนบูรวรรณ์

เป็นที่ปรึกษา

212 ภาคผนวก


6.7 รองศาสตราจารย์วิโรจน์ พงศ์สกุล

เป็นที่ปรึกษา

6.8 นายถาวร โกวิทยากร

เป็นที่ปรึกษา

6.9 รองศาสตราจารย์สัมฤทธิ์ เฟื่องจันทร์

เป็นที่ปรึกษา

6.10 ศาสตราจารย์เพิ่มพูน กีรติกสิกร

เป็นที่ปรึกษา

6.11 รองศาสตราจารย์สุวัฒน์ จิตต์ปราณีชัย

เป็นที่ปรึกษา

6.12 รองศาสตราจารย์นุชรีย์ ศิริ

เป็นกรรมการ

6.13 นางเกษสุดา เดชภิมล

เป็นกรรมการ

6.14 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดรุณี โชติษฐยางกูร

เป็นกรรมการ

6.15 นายชานนท์ ลาภจิตร

เป็นกรรมการ

6.16 รองศาสตราจารย์วีระศักดิ์ ศักดิ์ศิริรัตน์

เป็นกรรมการ

6.17 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ศิริภาวี เจริญวัฒนศักดิ ์

เป็นกรรมการ

6.18 รองศาสตราจารย์นงลักษณ์ สุพรรณไชยมาตย์

เป็นกรรมการ

6.19 รองศาสตราจารย์ชัยชาญ วงศ์สามัญ

เป็นกรรมการ

6.20 ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุภร กตเวทิน

เป็นกรรมการ

6.21 นางสาวมลฑา แพงมา

เป็นกรรมการและเลขานุการ

7. คณะอนุกรรมการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ประกอบด้วย 7.1 นางสรตี ปรีชาปัญญากุล

เป็นกรรมการ

7.2 นางสาวมารศรี สอทิพย์

เป็นกรรมการ

7.3 นางผ่องพรรณ ทวีวิจิตรกุล

เป็นกรรมการ

8. คณะอนุกรรมการคณะแพทยศาสตร์

ประกอบด้วย

8.1 รองศาสตราจารย์วิทูรย์ ประเสริฐเจริญสุข

213 ภาคผนวก

เป็นกรรมการ


9. คณะอนุกรรมการคณะศิลปกรรมศาสตร์

ประกอบด้วย

9.1 คณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์

เป็นประธาน

9.2 รองคณบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา

เป็นกรรมการ

9.3 รองคณบดีฝ่ายวิชาการและวิจัย

เป็นกรรมการ

9.4 รองคณบดีฝ่ายศิลปวัฒนธรรม

เป็นกรรมการ

9.5 ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษา

เป็นกรรมการ

9.6 หัวหน้าสายวิชาทัศนศิลป์

เป็นกรรมการ

9.7 หัวหน้าสายวิชาออกแบบนิเทศศิลป์

เป็นกรรมการ

9.8 หัวหน้าสายวิชาดุริยางคศิลป์

เป็นกรรมการ

9.9 นายภาณุ อุดมเพทายกุล

เป็นกรรมการ

9.10 นายชัยญะ หินอ่อน

เป็นกรรมการ

9.11 นายผจญ พีบุ้ง

เป็นกรรมการ

9.12 หัวหน้าสำ�นักงานคณบดี

เป็นกรรมการและเลขานุการ

9.13 นางสาวปรียชาต การปลื้มจิตต์

เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

10. คณะอนุกรรมการศูนย์บริการวิชาการ

ประกอบด้วย

10.1 นางสาวชลาลัย วานมนตรี

เป็นกรรมการ

10.2 นางสาวภคปภา เวชกิจ

เป็นกรรมการ

11. คณะอนุกรรมการคณะวิทยาศาสตร์

ประกอบด้วย

11.1 ศาสตราจารย์ประนอม จันทรโณทัย

เป็นประธาน

11.2 รองศาสตราจารย์ปิยะดา ธีรกุลพิศุทธิ์

เป็นกรรมการ

11.3 ผู้ช่วยศาสตราจารย์สำ�อาง หอมชื่น

เป็นกรรมการ

11.4 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ปรียา หวังสมนึก

เป็นกรรมการ

11.5 รองศาสตราจารย์ขวัญใจ กนกเมธากุล

เป็นกรรมการ

214 ภาคผนวก


11.6 ผู้ช่วยศาสตราจารย์วรรณดี บัญญัติรัชต

เป็นกรรมการ

11.7 ผู้ช่วยศาสตราจารย์สินีนาฏ ศิริ

เป็นกรรมการ

12. คณะอนุกรรมการคณะทันตแพทย์

ประกอบด้วย

12.1 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ทันตแพทย์อชิรวุธ สุพรรณเภสัช

เป็นกรรมการ

โดยให้คณะกรรมการดังกล่าวมีหน้าที่ดังนี้ 1. รวบรวมข้อมูลและติดตามข้อมูลของโครงการพระราชดำ�ริอันได้แก่ โครงการตามพระราชประสงค์ โครงการในพระบรมราชานุเคราะห์ โครงการตามแนวพระราชดำ�ริ และโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำ�ริ

2. จัดทำ�สรุปข้อมูลของโครงการพระราชดำ�ริประเภทต่างๆ ในแต่ละคณะ

ทั้งนี้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

สั่ง ณ วันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2552

(รองศาสตราจารย์สุมนต์ สกลไชย) อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น

215 ภาคผนวก


คำ�สั่งมหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่

912/2552

เรื่อง แต่งตั้งกองบรรณาธิการจัดทำ�หนังสือ มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำ�ริ เพื่อให้การดำ�เนินการจัดทำ�หนังสือ มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำ�ริ เป็นไปอย่างมี ประสิทธิภาพ บรรลุวัตถุประสงค์ โดยนำ�ผลงานมารวบรวมเป็นหนังสือ เพื่อทูลเกล้าฯถวายสมเด็จพระเทพรัตนราช สุดาฯสยามบรมราชกุมารี และนำ�ไปเผยแพร่ให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม ฉะนั้น อาศัยอำ�นาจตามความในมาตรา 20 และ มาตรา 23 (1) แห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัย ขอนแก่น พ.ศ. 2541 จึงแต่งตั้งผู้ดำ�รงตำ�แหน่งและบุคคลที่มีรายนามต่อไปนี้ เป็นกองบรรณาธิการจัดทำ�หนังสือ มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับโครงการพระราชดำ�ริ ประกอบด้วย 1. ผู้จัดการสำ�นักงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำ�ริ

เป็นประธาน

(ผู้ช่วยศาสตราจารย์พิสิฏฐ์ เจริญสุดใจ) 2. รองศาสตราจารย์สุจินต์ สิมารักษ์

เป็นกรรมการ

3. รองศาสตราจารย์นาถธิดา วีระปรียากูร

เป็นกรรมการ

4. ผู้ช่วยศาสตราจารย์พรทิพย์ บุญพวง

เป็นกรรมการ

5. นางสาวมุจลินทร์ พูนประสิทธิ์

เป็นกรรมการ

6. รองศาสตราจารย์อนันต์ หิรัญสาลี

เป็นกรรมการ

7. นายวีระ ภาคอุทัย

เป็นกรรมการ

8. รองศาสตราจารย์ปรีณัน จิตะสมบัติ

เป็นกรรมการ

9. รองศาสตราจารย์จักรกฤษณ์ ดวงพัตรา

เป็นกรรมการ

10. นายนักสิทธิ์ ศรีกุลชา

เป็นกรรมการ

11. นายธัญญา ภักดี

เป็นกรรมการ

12. นายสุพัฒน์ หมู่บา้ นม่วง

เป็นกรรมการ

216 ภาคผนวก


13. นางดวงจันทร์ นาชัยสินธุ ์

เป็นกรรมการ

14. นางวิภาดา มีแวว

เป็นกรรมการ

15. ศาสตราจารย์ประนอม จันทรโณทัย

เป็นกรรมการ

16. นางสาวจรรยา บุญพึ่ง

เป็นกรรมการและเลขานุการ

โดยให้คณะกรรมการดังกล่าวมีหน้าที่ดังนี้ 1. รวบรวมข้อมูลจากคณะอนุกรรมการระดับคณะ 2. สรุปผลการพัฒนาด้านต่างๆ 3. เรียบเรียงและจัดทำ�รูปเล่ม 4. ดำ�เนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

สั่ง ณ วันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2552

(รองศาสตราจารย์สุมนต์ สกลไชย) อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น

217 ภาคผนวก


218 ภาคผนวก


219 ภาคผนวก


220 ภาคผนวก


221 ภาคผนวก


222 ภาคผนวก


223 ภาคผนวก


ภาคผนวก ค เกียรติบัตรแด่ผู้ชนะเลิศการประกวดตั้งชื่อหนังสือ

224 ภาคผนวก


225 ภาคผนวก


ภาคผนวก ง ขอขอบคุณผู้เอื้อเฟื้อข้อมูลและภาพประกอบ โครงการพระราชดำ�ริ

226 ภาคผนวก


ขอขอบคุณผู้เอื้อเฟื้อให้ข้อมูล และภาพประกอบโครงการพระราชดำ�ริ ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ชื่อโครงการ โครงการเรือนพัก ญาติผู้ป่วย

ผู้ให้ข้อมูล

ผู้รับผิดชอบโครงการ

หน่วยงาน/คณะ พื้นที่โครงการ

ที่อยู่ติดต่อ

นายสุพัฒน์ หมู่บ้านม่วง

โรงพยาบาลศรีนครินทร์

คณะ แพทยศาสตร์

มหาวิทยาลัย ขอนแก่น

(043) 363286 md011@kku. ac.th (043) 343427

โครงการพัฒนาการ นางบำ�เพ็ญ วงศ์ศรีแก้ว ศึกษาของประชาชน ในพื้นที่ภูเขียว

นางบำ�เพ็ญ วงศ์ศรีแก้ว

คณะศึกษา ศาสตร์

เขตรักษาพันธุ์ สัตว์ปา่ ภูเขียว อำ�เภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ จังหวัดขอนแก่น (043) 202405 และจังหวัดใน ภาคตะวันออก เฉียงเหนือ อำ�เภอน้ำ�พอง 043-342099 จังหวัดขอนแก่น kchuti@kku. ac.th อำ�เภอพระยืน จังหวัดขอนแก่น

โครงการทันตกรรม นายอชิรวุธ สุพรรณเภสัช คณะทันตแพทยศาสตร์ พระราชทาน

คณะทันต แพทยศาสตร์

โครงการฟื้นฟูลำ�น้ำ� นางชุติมา คูคู่สมุทร พอง

นางชุติมา คูคู่สมุทร

คณะ วิทยาศาสตร์

โครงการหญ้าแฝก: นายวีระ ภาคอุทัย เพื่อการปรับปรุง นายมงคล ต๊ะอุ่น คุณภาพน้ำ�เสีย และ ดินเค็ม

นายสันติภาพ ปัญจพรรค์ คณะ นายมงคล ต๊ะอุ่น และ เกษตรศาสตร์ นางสาวพัชรี ธีรจินดาขจร

โครงการกองทุนวัน นายสุพัฒน์ หมู่บา้ นม่วง ศรีนครินทร์

โรงพยาบาลศรีนครินทร์

คณะ แพทยศาสตร์

มหาวิทยาลัย ขอนแก่น

โครงการออกหน่วย นายวิทูรย์ ประเสริฐเจริญสุข แพทย์เคลื่อนที่ พอ.สว. โรงพยาบาล ศรีนครินทร์

แพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร พยาบาล ผู้ช่วยพยาบาล ผู้ช่วยทันตแพทย์ นักสังคมสงเคราะห์ นักวิชาการสุขศึกษา นักวิชาการเกษตร พร้อม เจ้าหน้าที่กลุ่มงานรักษา พยาบาลและเจ้าหน้าที่สาย สนับสนุน อื่นๆ

โรงพยาบาล ศรีนครินทร์ คณะ แพทยศาสตร์ คณะทันต แพทยศาสตร์ คณะพยาบาล ศาสตร์ คณะ เภสัชศาสตร์ คณะเทคนิคการ แพทย์ คณะ สาธารณสุข ศาสตร์ และ คณะ/หน่วย งานอื่นๆ ที่ เกี่ยวข้อง

จังหวัดขอนแก่น 081-8720871 และจังหวัดใน ภาคตะวันออก เฉียงเหนือ

227 ภาคผนวก

(043)242342-6 (043)348360-8 (043)348888


ชื่อโครงการ

ผู้ให้ข้อมูล

ผู้รับผิดชอบโครงการ

หน่วยงาน/คณะ พื้นที่โครงการ

ที่อยู่ติดต่อ

โครงการโอลิมปิก วิชาการและ พัฒนามาตรฐาน วิทยาศาสตร์และ คณิตศาสตร์ ใน ส่วนภูมิภาค และ โครงการฟิสิกส์ ดาราศาสตร์ โอลิมปิก

นางปิยะดา ธีระกุลพิศุทธิ์ คณาจารย์ และบุคลากร และบุคลากรจากคณะ จากภาควิชาต่างๆของ วิทยาศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์

คณะ วิทยาศาสตร์

จังหวัดขอนแก่น 0-4320-2222และจังหวัดใน 41 ต่อ 12238ภาคตะวันออก 39, 12249-50 เฉียงเหนือ

การส่งเสริม กิจกรรมเกี่ยวกับ “ทฤษฎีใหม่” ด้วย การสนับสนุนให้ เกษตรกรมีสระน้ำ� ประจำ�ไร่นา

นางนงลักษณ์ สุพรรณ ไชยมาตย์ นายวีระ ภาคอุทัย

นางนงลักษณ์ สุพรรณ ไชยมาตย์

คณะ เกษตรศาสตร์

บ้านหนองแซง อำ�เภอบ้านแฮด จังหวัดขอนแก่น

โครงการอนุรักษ์ พันธุกรรมพืชอัน เนื่องมาจากพระ ราชดำ�ริ สมเด็จ พระเทพรัตนราชสุ ดาฯ สยามบรมราช กุมารี มหาวิทยาลัย ขอนแก่น (อพ. สธ.มข.)

นายประนอม จันทรโณทัย นางสาวกนกอร เรืองสว่าง นางทองคำ� วงษ์พระจันทร์ นายวีระศักดิ์ ศักดิ์ศิริรัตน์ และเจ้าหน้าที่จากคณะที่ เกี่ยวข้อง

นายอำ�นวย คำ�ตื้อ นายประสิทธิ์ ใจศิล นายสงัด ปัญญาพฤกษ์ นายประนอม จันทรโณทัย นางสาววิไลลักษณ์ ชินะจิตร นางฐิติพร พิทยาวุธวินิจ นางสาวทัศนีย์ แจ่มจรรยา นางสุมนา นีระ นายวีระศักดิ์ ศักดิ์ศิริรัตน์ นางสาวเกษสุดา อยู่พิมล นางสาวสุภาณี พิมพ์สมาน นางสาวสุมนทิพย์ บุนนาค นายพินิจ หวังสมนึก นายสมเดช กนกเมธากุล นางบังอร ศรีพานิชกุลชัย นายชาญชัย ถาวรอนุกูลกิจ นางปรียา หวังสมนึก นายนิมิต วรสูต นายเทพฤทธิ์ ตุลาพิทักษ์ นางดวงสมร ตุลาพิทักษ์ นางอรุณศรี ปรีเปรม นางปิยะดา ธีระกุลพิศุทธิ์ นายคงศักดิ์ ธาตุทอง นางสุนีย์ เลี่ยวเพ็ญวงษ์ นางอัญชลี ตัตตะวะศาสตร์ นางสาวนาถธิดา วีระปรียากูร นายนิวัฒน์ มาศวรรณา นางสาวศิวิลัย สิริมังครารัตน์

สำ�นักงาน โครงการอัน เนื่องมาจาก พระราชดำ�ริ ร่วมกับอีก 6 คณะ ได้แก่คณะ เกษตรศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เภสัชศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ และคณะ แพทยศาสตร์

โคกภูตากา (043) 364597 อ.เวียงเก่า เขื่อนอุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น และ เขื่อนจุฬาภรณ์ จังหวัดชัยภูมิ

228 ภาคผนวก


ชื่อโครงการ

ผู้ให้ข้อมูล

ผู้รับผิดชอบโครงการ

หน่วยงาน/คณะ พื้นที่โครงการ

นางจอมใจ พีรพัฒนา นายทวีศักดิ์ ธิติเมธาโรจน์ นางสาวสินีนาฎ ศิริ นางสาวรัตนภรณ์ ลีสิงห์ นางสาวนันทวัน ฤทธิ์เดช นางสาวยุพา หาญบุญทรง นางงามนิจ นนทโส นายกิตติศักดิ์ ศรีพานิชกุลชัย นางวรรณดี บัญญัติรัชต นางวิไลลักษณ์ ศิริพรอดุลย์ ศิลป์ นายประสาท โพธิ์นิ่มแดง นางสาวปุญชรัสมิ์ สิริพุทไธ วรรณ นายพลสัณห์ มหาขันธ์ นายพิชญ์รัตน์ แสนไชย สุริยา นางสาววิรงรอง มงคลธรรม นายรักพงษ์ เพชรคำ� นายโสภณ บุญลือ นางเสาวนิต ทองพิมพ์ นางสาววิยะดา มงคล ธนารักษ์ นายมงคล ต๊ะอุ่น นางสาวนฤมล แก้วจำ�ปา พร้อมคณะผู้ช่วยวิจัย และ นักศึกษาช่วยวิจัยในทุก โครงการย่อย โครงการพัฒนา ชนบทเชิงบูรณาการ ตามแนวพระ ราชดำ�ริ เศรษฐกิจ พอเพียง

นายสุจินต์ สิมารักษ์ นายอำ�นวย คำ�ตื้อ นายพงษ์ศักดิ์ ยั่งยืน นายอัศนัย สระสูงเนิน และนางสาวสาวิตรี ศรี มงคล

โครงการส่งเสริม นางพิศมัย มะลิลา ฟื้นฟูสมรรถภาพ และผลิตของเล่น เพื่อเด็กพิการใน โรงเรียนศรีสังวาลย์ จังหวัดขอนแก่น

(043) 364597

สำ�นักงานโครงการอันเนื่อง มาจากพระราชดำ�ริร่วมกับ คณะ/ หน่วยงานภายใน มหาวิทยาลัย

สำ�นักงาน โครงการอัน เนื่องมาจาก พระราชดำ�ริ มหาวิทยาลัย ขอนแก่น

นางพิศมัย มะลิลา

สายวิชา อำ�เภอเมือง กายภาพบำ�บัด จังหวัดขอนแก่น คณะเทคนิคการ แพทย์

229 ภาคผนวก

ที่อยู่ติดต่อ

จังหวัดขอนแก่น (043) 364597 และจังหวัด กาฬสินธุ์

043-202085 089-4180650 pismal@kku. ac.th


ชื่อโครงการ

ผู้ให้ข้อมูล

การอบรมเชิงปฏิบัติ นางผกาวดี แก้วกันเนตร การเรื่อง “การผลิต พลังงานทดแทนไบ โอดีเซลจากน้ำ�มัน ที่ใช้แล้วเพื่อใช้ใน ชุมชนอย่างยั่งยืน และพึ่งพาตนเอง”

ผู้รับผิดชอบโครงการ

ที่อยู่ติดต่อ

ภาควิชา เทคโนโลยี ชีวภาพ คณะเทคโนโลยี

อำ�เภอหนองเรือ (043)362121 และอำ�เภอ paknar@kku. กระนวน จังหวัด ac.th ขอนแก่น

โครงการสานสายใย นางเอื้อมพร ทองกระจาย คณะพยาบาลศาสตร์ เด็กไทยรักสุขภาพ ในโรงเรียนตำ�รวจ ตระเวนชายแดน

คณะพยาบาล ศาสตร์

พื้นที่ 3 จังหวัด (043) 202407 ได้แก่ จังหวัด ต่อ 134,135/ หนองคาย (043)348301 อุดรธานี และ จังหวัดเลย

โครงการผ่าตัดหัวใจ 8,000 ดวง ถวาย เป็นพระราชกุศล 80 พรรษา พระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และถวายเป็นพระ ราชกุศล 84 พรรษา สมเด็จพระเจ้าพี่ นางเธอ เจ้าฟ้า กัลยาณิวัฒนา กรม หลวงนราธิวาสราช นครินทร์

บุคลากรโรงพยาบาล ศรีนครินทร์

คณะ แพทยศาสตร์

จังหวัดขอนแก่น sompop@kku. ac.th chkup@kku. ac.th pwanid@ kku.ac.th rsaowa@kku. ac.th ภาควิชา ศัลยศาสตร์ คณะ แพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัย ขอนแก่น

โครงการพัฒนา นางลัดดา ศิลาน้อย กระบวนการเรียน รู้ ตามหลักปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียงสู่ สถานศึกษา

นางลัดดา ศิลาน้อย

คณะศึกษา ศาสตร์

โรงเรียนมัธยมใน ศูนย์พัฒนา จังหวัดขอนแก่น วิชาชีพครู และบุคลากร ทางการ ศึกษา คณะ ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย ขอนแก่น (043) 202854

โครงการปฏิรูปการ เรียนรู้ทั้งโรงเรียน สำ�หรับโรงเรียนถิ่น ทุรกันดาร

นางลัดดา ศิลาน้อย นางเสาวนีย์ ตรีพุทธรัตน์ นายธีรชัย เนตรถนอม ศักดิ์

คณะศึกษา ศาสตร์ และ ศูนย์บริการ วิชาการ

โรงเรียนบ้าน โนนสะอาด ตำ�บลดอน ดู่ อำ�เภอ หนองสองห้อง จังหวัดขอนแก่น

นายสมภพ พระธานี นายชูศักดิ์ คุปตานนท์ นางวนิดา พิมทา นางสาวเสาวลักษณ์ ริรัตนพงษ์ กลุ่มดูแลผู้ป่วย ศัลยกรรมหัวใจหลอด เลือดและทรวงอก โรง พยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

นางลัดดา ศิลาน้อย

คณะเทคโนโลยี

หน่วยงาน/คณะ พื้นที่โครงการ

230 ภาคผนวก

ศูนย์พัฒนา วิชาชีพครู และบุคลากร ทางการ ศึกษา คณะ ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย ขอนแก่น (043) 202854


ชื่อโครงการ

ผู้ให้ข้อมูล

ผู้รับผิดชอบโครงการ

หน่วยงาน/คณะ พื้นที่โครงการ

ที่อยู่ติดต่อ

โครงการสัตวแพทย์ นางสุณีรัตน์ เอี่ยมละมัย คณะสัตวแพทยศาสตร์ พระราชทาน

คณะสัตว แพทยศาสตร์

จังหวัดในภาค (043) 202404 ตะวันออกเฉียง เหนือ

โครงการคลินิก เกษตรเคลื่อนที่ใน พระราชานุเคราะห์ สมเด็จพระบรมโอ รสาธิราชฯ สยาม มกุฎราชกุมาร

คณะสัตวแพทยศาสตร์

คณะสัตว แพทยศาสตร์

จังหวัดเลย

นางสาวนิรมล เมืองโสม โครงการพัฒนา ศักยภาพของแกนนำ� ชุมชน ประชาชน และองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นในการ สร้างเสริมพฤติกรรม การดูแลสุขภาพ ตนเอง ครอบครัว และชุมชน ใน หมู่บ้านทุรกันดาร ตามแนวพระ ราชดำ�ริ

นางสาวนิรมล เมืองโสม

คณะสาธารณสุข บ้านโนนสะอาด ศาสตร์ ตำ�บลดอน ดู่ อำ�เภอ หนองสองห้อง จังหวัดขอนแก่น

การถ่ายทอดองค์ นายพนมกร ขวาของ ความรู้เพื่อพัฒนา คุณภาพผ้าไหม ศูนย์ศิลปาชีพนา โปร่ง อ. วังสามหมอ จ.อุดรธานี

นายพนมกร ขวาของ

จังหวัดอุดรธานี คณะวิศวกรรม คณะ วิศวกรรมศาสตร์ ศาสตร์ (043) 3621456

การถ่ายทอดองค์ นายพนมกร ขวาของ ความรู้เพื่อพัฒนา สหกรณ์โอท็อป (ข้าว ฮาง) จ.หนองบัวลำ�ภู

นายพนมกร ขวาของ

คณะ จังหวัด วิศวกรรมศาสตร์ หนองบัวลำ�ภู

นายเสรี แข็งแอ

231 ภาคผนวก

สถานีฟาร์ม ฝึกนักศึกษา คณะสัตว แพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัย ขอนแก่น ต. หนองหญ้า ปล้อง อ.วังสะพุง จ.เลย (042) 801096 คณะ สาธารณสุข ศาสตร์ (043) 347057 ต่อ 308

คณะวิศวกรรม ศาสตร์ (043) 3621456


ชื่อโครงการ

ผู้ให้ข้อมูล

ผู้รับผิดชอบโครงการ

หน่วยงาน/คณะ พื้นที่โครงการ

ที่อยู่ติดต่อ

การถ่ายทอดองค์ นายพนมกร ขวาของ ความรู้เพื่อพัฒนา กลุ่มทอผ้าบ้าน หนองหญ้าปล้อง จ. ขอนแก่น (ชุมชน พึ่งพาตนเอง) การถ่ายทอดองค์ นายพนมกร ขวาของ ความรู้เพื่อพัฒนา โรงสีพระราชทาน อ.เขาวง จ.กาฬสินธุ์

นายพนมกร ขวาของ

คณะ จังหวัดขอนแก่น คณะวิศวกรรม วิศวกรรมศาสตร์ ศาสตร์ (043) 3621456

นายพนมกร ขวาของ

คณะ จังหวัดกาฬสินธุ์ คณะวิศวกรรม วิศวกรรมศาสตร์ ศาสตร์ (043) 3621456

โครงการพัฒนาฐาน นายนวภัค เอื้ออนันต์ ข้อมูลผ้าไหมไทย

นายนวภัค เอื้ออนันต์

คณะ จังหวัดขอนแก่น คณะวิศวกรรม วิศวกรรมศาสตร์ ศาสตร์ (043) 3621456

โครงการหมู่บา้ น อีสานเขียว มหาวิทยาลัย ขอนแก่น

คณะต่างๆ ใน มหาวิทยาลัยขอนแก่น

มหาวิทยาลัย ขอนแก่น

สถาบันแหล่งน้ำ�และ นายวินัย ศรีอำ�พร สิ่งแวดล้อม นายวิเชียร ปลื้มกมล นายจุลจิตต์ แสวงเพชร

นายวิเชียร ปลื้มกมล

คณะ มหาวิทยาลัย วิศวกรรมศาสตร์ ขอนแก่น

(043) 3621456

โครงการออกแบบ นางเนตรนภิส ตันเต็ม ระบบบำ�บัดน้ำ� ทรัพย์ เสียแบบธรรมชาติ บำ�บัด เทศบาล ตำ�บลเขื่อนอุบลรัตน์

นางวันเพ็ญ วิโรจนกูฏ นางเนตรนภิส ตันเต็ม ทรัพย์

คณะ มหาวิทยาลัย วิศวกรรมศาสตร์ ขอนแก่น

(043) 3621456

โครงการชุมชน ต้นแบบเศรษฐกิจ พอเพียง

สำ�นักงานโครงการอัน เนื่องมาจากพระราชดำ�ริ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

สำ�นักงาน โครงการอัน เนื่องมาจาก พระราชดำ�ริ มหาวิทยาลัย ขอนแก่น

นายวันชาติ ภูมี

นายพิสิฏฐ์ เจริญสุดใจ นายพงษ์ศักดิ์ ยั่งยืน นายอัศนัย สระสูงเนิน นางสาวสาวิตรี ศรีมงคล

232 ภาคผนวก

บ้านม่วงหวาน กลุ่มภารกิจ อำ�เภอเมือง พิพธิ ภัณฑ์ จังหวัดขอนแก่น และหอ จดหมายเหตุ มหาวิทยาลัย ขอนแก่น (043) 202541-2

ตำ�บลยางคำ� สำ�นักงาน อำ�เภอหนองเรือ โครงการอัน จังหวัดขอนแก่น เนือ่ งมาจาก พระราชดำ�ริ มหาวิทยาลัย ขอนแก่น ชั้น 3 อาคารแก่น กัลปพฤกษ์ (043) 364597


ชื่อโครงการ

ผู้ให้ข้อมูล

ผู้รับผิดชอบโครงการ

หน่วยงาน/คณะ พื้นที่โครงการ

ที่อยู่ติดต่อ

โครงการพัฒนาที่ดิน นายพิสิฏฐ์ เจริญสุดใจ มูลนิธิชัยพัฒนา นายพงษ์ศักดิ์ ยั่งยืน บ้านเหมือดแอ่

สำ�นักงานโครงการอัน เนื่องมาจากพระราชดำ�ริ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

สำ�นักงาน โครงการอัน เนื่องมาจาก พระราชดำ�ริ มหาวิทยาลัย ขอนแก่น

บ้านเหมือดแอ่ ตำ�บลหนองตูม อำ�เภอเมือง จังหวัดขอนแก่น

สำ�นักงาน โครงการอัน เนื่องมาจาก พระราชดำ�ริ มหาวิทยาลัย ขอนแก่น ชั้น 3 อาคารแก่น กัลปพฤกษ์ (043) 364597

โครงการอบรม เกษตรกรรมแบบ ประณีต : ต้นตำ�รับ การอบรมอาชีพ ในโรงเรียนตำ�รวจ ตระเวนชายแดน โครงการส่งเสริมการ เลี้ยงและผลิตอาหาร สัตว์ โครงการส่งเสริม ศิลปาชีพบ้านโสกส้ม กบ อำ�เภอสีชมพู ศูนย์การดูแลผู้ป่วย ปากแหว่งเพดาน โหว่และความ พิการแต่กำ�เนิดของ ศีรษะและใบหน้า มหาวิทยาลัย ขอนแก่น ภายใต้ โครงการตะวันฉาย โครงการโรง พยาบาลสายใยรัก แห่งครอบครัว โรง พยาบาลศรีนครินทร์ โครงการออกแบบ ศูนย์สามวัย สายใย รักแห่งครอบครัว โคกสี จังหวัด ขอนแก่น โครงการวิจัยการ อบรมตำ�รวจชุมชน สัมพันธ์ ภ.4 ตาม แนวพระราชดำ�ริ “เศรษฐกิจพอเพียง”

นายวีระ ภาคอุทัย

นายถาวร โกวิทยากร

คณะ เกษตรศาสตร์

ภาคตะวันออก เฉียงเหนือ

คณะ เกษตรศาสตร์ (043) 202360

นายวีระ ภาคอุทัย

นางเยาวมาลย์ ค้าเจริญ

คณะ เกษตรศาสตร์

ภาคตะวันออก เฉียงเหนือ

นายวีระ ภาคอุทัย

นายอำ�นวย คำ�ตื้อ

คณะ เกษตรศาสตร์

นายสุพัฒน์ หมู่บ้านม่วง คณะแพทยศาสตร์

คณะ แพทยศาสตร์

นายสุพัฒน์ หมู่บ้านม่วง คณะแพทยศาสตร์

คณะ แพทยศาสตร์

นางดวงจันทร์ นาชัยสินธุ์ นางดวงจันทร์ นาชัยสินธุ์ คณะศิลปกรรม นายชำ�นาญ บุญญาพุทธิ ศาสตร์ และ พงศ์ สถาปัตยกรรม ศาสตร์ นางรุจิรัตน์ พัฒนถาบุตร นางรุจิรัตน์ พัฒนถาบุตร

233 ภาคผนวก

คณะ เกษตรศาสตร์ (043) 202360 จังหวัดขอนแก่น คณะ เกษตรศาสตร์ (043) 202360 ภาคตะวันออก 043)242342-6 เฉียงเหนือ (043)348360-8 (043)348888

ภาคตะวันออก เฉียงเหนือ

043)242342-6 (043)348360-8 (043)348888

ตำ�บลโคกสี (081) 5625892 จังหวัดขอนแก่น

วิทยาลัยบัณฑิต จังหวัดขอนแก่น (043) 362019ศึกษาการ 22 จัดการ (MBA) มหาวิทยาลัย ขอนแก่น


ชื่อโครงการ

ผู้ให้ข้อมูล

ผู้รับผิดชอบโครงการ

หน่วยงาน/คณะ พื้นที่โครงการ

ที่อยู่ติดต่อ

นิทรรศการพระ นายวันชาติ ภูมี ราชกรณียกิจ พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวต่อม หาวิทยาลัยขอนแก่น เนื่องในวโรกาส เฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม นิทรรศการ “ไม้ของ นายวันชาติ ภูมี พ่อบนมอดินแดง”

สำ�นักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

สำ�นักวิทยบริการ มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัย ขอนแก่น ขอนแก่น

043-202541-2

มหาวิทยาลัยขอนแก่น

มหาวิทยาลัย ขอนแก่น

มหาวิทยาลัย ขอนแก่น

043-202541-2

งานมหกรรม “คนรักหนังสือ” เฉลิมพระเกียรติ

นายวันชาติ ภูมี

สำ�นักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

สำ�นักวิทยบริการ มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัย ขอนแก่น ขอนแก่น

043-202541-2

ภาพประกอบ หนังสือ ภาพถ่าย มหาวิทยาลัย ขอนแก่นปัจจุบัน ภาพถ่าย มหาวิทยาลัย ขอนแก่นในอดีต

นายวันชาติ ภูมี

คุณ ภพพล เกษมสันต์ ณ อยุธยา และ สมาชิก PhotoGang

ชมรมภาพถ่าย มหาวิทยาลัย จังหวัดขอนแก่น ขอนแก่น

www.photogangs.com www.archive. kku.ac.th

นายวันชาติ ภูมี

กลุ่มภารกิจพิพิธภัณฑ์และ สำ�นักวิทยบริการ มหาวิทยาลัย หอจดหมายเหตุ สำ�นัก มหาวิทยาลัย ขอนแก่น วิทยบริการ มหาวิทยาลัย ขอนแก่น ขอนแก่น

กลุ่มภารกิจ พิพิธภัณฑ์ และหอ จดหมายเหตุ สำ�นักวิทย บริการ มหาวิทยาลัย ขอนแก่น www.archive. kku.ac.th

234 ภาคผนวก


ดัชนี


A

กลุ่มบริษัทน้ำ�ตาลมิตรผล1����������������������������������������100

ANC.........................................................................11

กลุ่มผู้ด้อยโอกาส.........................................................8

B

กองกำ�กับการตำ�รวจตระเวนชายแดนที่4��������������� 24, 14

BRUSSEL’S EUREKA 2001.....................................98

กองทุนวันศรีนครินทร์.......................................... 8, 39

C

กองร้อยตำ�รวจตระเวนชายแดนที่2��������������������� 242, 14

Cleft Care.................................................................24

การเกษตรและอาชีพ...............................................183

D

การขยายพันธุ์ไม้ผล...................................................67

Down’s syndrome....................................................28

การขาดไอโอดีน........................................................28

P

การคมนาคม...............................................................9

PKU.........................................................................28

การคัดเลือกและปรับปรุงพันธุ์พืช...............................54

Practical action Research.......................................114

การจัดการทรัพยากรธรรมชาติป่าไม้...........................89

T

การจัดการน้�ำ เสียโดยใช้วิธีธรรมชาติ7�������������������������� 76

The Smile Train Charity Organization.......................24

การจัดการแหล่งน้ำ�เพื่อการเกษตรและการบริโภค7������75

Thyroid.....................................................................28

การดูแลสุขภาพ...........................................................8

การตลาด..................................................................53

กก............................................................................85

การทนเค็ม...............................................................60

กรดซัลฟิวริก...........................................................101

การทำ�สวนไม้ผล5������������������������������������������������������53

กรดปาล์มมิติก........................................................102

การบำ�บัดน้�ำ เสีย1�������������������������������������������������������81

กรดสเตียริก............................................................102

การปรับปรุงพันธุ์ไก่...................................................64

กรดโอเลอิก............................................................102

การปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดหวานและข้าวโพดฝักสด.......54

กรมปศุสัตว์. .............................................................66

การปรับปรุงพันธุ์พริก................................................54

กรอบไม้ไผ่................................................................83

การปลูกข้าว..............................................................53

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม..............83

การปลูกป่า...............................................................91

กระทรวงพาณิชย์......................................................98

การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย..................................95

กระทรวงศึกษาธิการ..................................................35

การผ่าตัดลิ้นหัวใจ......................................................22

กระทรวงสาธารณสุข.................................................24

การฝากทรัพย์ไว้กับดิน................................... 114, 116

กรุงเทพฯ..................................................................42

การพยาบาล การแพทย์และสาธารณสุข.......................7

236 ดัชนี


การพังทลายของดิน..................................................86

การพัฒนาชนบทเชิงบูรณาการ.................................142

ขนมเค้กเพื่อสุขภาพ...................................................54

การพัฒนาทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน...............................107

ข้าว...........................................................................56

การพัฒนาแหล่งน้�ำ 7���������������������������������������������������77

ข้าวกล้องงอก............................................................58

การฟื้นฟูดินเค็ม........................................................86

ข้าวโพดหวาน............................................................62

การฟื้นฟูแหล่งน้�ำ 8�����������������������������������������������������86

ข้าวฟ่างหวาน..................................................... 54, 98

การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.).................92

ข้าวฟ่างหวาน พันธุ์ มข. 40.......................................99

การมีส่วนร่วมแบบกัลยาณมิตร................................144

ข้าวหนุ่มสาวน้อย......................................................58

การเลี้ยงไก่...............................................................64

ข้าวฮาง.....................................................................58

การเลี้ยงไก่บนบ่อปลา...............................................53

เขื่อนจุฬาภรณ์..........................................................92

การเลี้ยงสุกร.............................................................64

เขื่อนอุบลรัตน์. .................................................. 76, 83

การสาธารณสุข.......................................................183

ไข้เลือดออก..............................................................15

การหมักโคลน...........................................................68

การอนุรักษ์ดินและน้�ำ 6�����������������������������������������������61

คณะเกษตรศาสตร์...........................54, 64, 67, 86, 89

การอนุรักษ์ทรัพยากรดิน...........................................86

คณะทันตแพทยศาสตร์............................7, 10, 20, 89

การอนุรักษ์พันธุกรรมข้าว..........................................54

คณะเทคนิคการแพทย์.......................................... 7, 35

กิจกรรมวิ่งเฉลิมพระเกียรติรวมน้ำ�ใจสู่อีสาน4��������������42

คณะพยาบาลศาสตร์..........................7, 10, 14, 15, 16

กิจกรรมสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ สำ�หรับเยาวชน1���������������������������������������������������114

คณะแพทยศาสตร์......................................7, 9, 39, 40

เกลือไอโอดีน............................................................28

คณะวิชาของศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ..................... 7, 8

คณะเภสัชศาสตร์........................................................7

เกษตรกรรมแบบประณีต.................................... 52, 53

คณะวิทยาศาสตร์......................................................76

เกษตรกรรมแบบปลอดสารพิษ...................................64

คณะวิศวกรรมศาสตร์................................... 52, 68, 77

เกษตรทฤษฎีใหม่............................................... 53, 57

คณะศึกษาศาสตร์.....................................................89

เกษตรผสมผสาน.....................................................142

คณะสัตวแพทยศาสตร์..............................................64

เกษตรเพื่อชาวบ้าน..................................................111

คณะสาธารณสุขศาสตร์...............................................7

แก่นตะวัน. ................................................ 54, 98, 100

ครกกระเดื่อง.............................................................36

แก๊สโซฮอล์...............................................................94

คลินิกนมแม่. ............................................................28

237 ดัชนี


ความพิการแต่กำ�เนิดของศีรษะและใบหน้า8����� 8, 24, 25

โครงการปลูกผักปลอดสารพิษผลผลิตเพื่อนักเรียน......16

ความหลากหลายทางพันธุกรรม.................................76

โครงการเปลี่ยนพฤติกรรมรับประทานอาหาร. สุกๆดิบๆ..............................................................16

ความอุดมสมบูรณ์ของดิน..........................................86 ค่าบีโอดี...................................................................85 ค่ายอุ่นไอรัก...................................................... 15, 16 คาร์โบไฮเดรต..........................................................101 เครือข่ายแม่และเด็ก..................................................29 เครือข่ายวิจัยคลินิกสหสถาบัน...................................23 เครื่อง ECMO............................................................22 เครื่องกรองน้�ำ ธรรมชาติ8�������������������������������������������� 81 เครื่องเจาะบ่อบาดาล ไทยริก.............................. 60, 80 แคลเซียม..................................................................88

โครงการผ่าตัดหัวใจ 8,000 ดวง..................................22 โครงการฝนหลวง.......................................................98 โครงการพระราชดำ�ริทางด้านสุขภาพและสาธารณสุข8���8 โครงการพัฒนาการศึกษาของประชาชน ในพื้นที่ภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ.......................................................111 โครงการพัฒนาคุณภาพน้�ำ บริโภค7�����������������������������77 โครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร........108 โครงการพัฒนาลุ่มน้�ำ ขนาดเล็ก7���������������������������������77 โครงการพัฒนาสิ่งแวดล้อม........................................15

โคกภูตากาอำ�เภอเวียงเก่า จังหวัดขอนแก่น9���������������92

โครงการแพทย์อาสาสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทางอากาศ..............................................................9

โครงการกินอยู่ปลอดภัย............................................16

โครงการฟันสวย มือสะอาด ปราศจากโรคภัย.............16

โครงการเกษตรทฤษฎีใหม่.........................................52

โครงการฟิสิกส์ดาราศาสตร์โอลิมปิก.........................118

โครงการเกษตรผสมผสาน..........................................52

โครงการรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก....15

โครงการเกษตรหลวงเต่างอยจังหวัดสกลนคร..............52

โครงการรักษาพยาบาลทางวิทยุ...................................9

โครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่...................................64

โครงการเรือนพักญาติ.......................................... 8, 41

โครงการฉลองครองราชย์ 50 ปี ร่วมสร้างชีวีให้สดใส...19

โครงการโรงสีพระราชทาน..........................................56

โครงการตะวันฉาย............................................... 8, 24

โครงการวันหัวใจโลก..................................................22

โครงการเต้นแอโรบิกเพื่อสุขภาพ................................16 โครงการทันตกรรมพระราชทาน..............8, 19, 20, 193

โครงการวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ยตามแนว พระราชดำ�ริ จังหวัดเพชรบุรี8���������������������������������� 83

โครงการน้�ำ มันไบโอดีเซลสูตรสกัดจากน้ำ�มันปาล์ม8�����98

โครงการศิลปาชีพ.....................................................52

โครงการบริการวิชาการ..............................................75

โครงการเศรษฐกิจพอเพียง.........................................52

โครงการบ่อเจาะประชาอาสา.....................................77

โครงการส่งเสริมการออกกำ�ลังกายเพื่อสุขภาพ. ในชุมชน................................................................16

โครงการปรับปรุง ซ่อมแซม ต่อเติม เรือนพยาบาลเพื่อ ชุมชน....................................................................16

โครงการส่งเสริมกีฬา.................................................16 โครงการส่งเสริมทันตสุขภาพในโรงเรียน......................16

238 ดัชนี


โครงการส่งเสริมฟื้นฟูสมรรถภาพและผลิตของเล่น......35 โครงการส่งเสริมศิลปาชีพ..........................................53

จังหวัดกาฬสินธุ์

โครงการสร้างเสริมความสัมพันธ์ร่วมมือกัน. กำ�จัดลูกน้�ำ ยุงลาย6������������������������������������������������16

อำ�เภอเขาวง5���������������������������������������������������������56 จังหวัดขอนแก่น.......................................9, 20, 22, 29

โครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา............................95

อำ�เภอสีชมพู5�������������������������������������������������������� 53

โครงการสัตวแพทย์พระราชทาน.................................66

จังหวัดเลย................................................... 14, 16, 64

โครงการสานสายใยเด็กไทยรักสุขภาพ.......8, 14, 15, 16

จังหวัดสกลนคร.........................................................66

โครงการสายใยรักด้วยนมแม่.......................................8

จังหวัดหนองคาย................................................ 14, 15

โครงการสุขลักษณะการบริโภคอาหารปลอดภัย..........15

อำ�เภอบึงกาฬ1�������������������������������������������������������14

โครงการสุขาน่าใช้ห่างไกลจากโรคหนอนพยาธิ...........15

จังหวัดอุดรธานี.................................................. 14, 16

โครงการหญ้าแฝก.....................................................52

จุลธาตุ......................................................................88

โครงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ

จุลินทรีย์...................................................................92

ดิน. ......................................................................75

เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์............................................13

น้�ำ 7�����������������������������������������������������������������������75

ป่าไม้....................................................................75

เฉลิมพระชนมพรรษา................................................14

พลังงานทดแทน....................................................75

พันธุกรรมพืช........................................................75

ชมรมโรงพยาบาลสายใยรักแห่งครอบครัว..................28

โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำ�ริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี . (อพ.สธ.)................................................................92

ชุมชนสามเหลี่ยมจังหวัดขอนแก่น..............................29 ชุมชนหนองหญ้าปล้องอำ�เภอมัญจาคีรี. จังหวัดขอนแก่น....................................................68

โครงการออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ พอ.สว..................9

เชื้อ HIV....................................................................28

โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำ�ริ5������������������������� 52

โครงการอาสาสมัครในการคุ้มครองผู้บริโภค. ด้านสุขภาพ...........................................................16

ซัลเฟอร์....................................................................88

โครงการอีสานเขียว...................................................19

โครงบาสเกตบอล......................................................38

ฐานข้อมูลผ้าไหมไทย................................................68

งานวันเกษตรภาคอีสาน.............................................53

ดอกดาวเรือง.............................................................68

239 ดัชนี


ดอกบัวตอง.............................................................100

ที่ออกกำ�ลังแขนหนึ่ง สอง3�����������������������������������������36

ดินเค็ม.............................................................. 60, 75

เทศบาลตำ�บลเขื่อนอุบลรัตน์8������������������������������������� 84

ดินชุดยโสธร..............................................................62

เทศบาลนครขอนแก่น.............................................102

ดินทราย...................................................................60

ดีโซฮอล์....................................................................94

ธาตุอาหารพืช...........................................................86

เด็กพิการ..................................................................35

ธาลัสซีเมีย................................................................28

เด็กภาวะพร่องธัยรอยด์.............................................29

ธูปฤๅษี......................................................................85

ต้นกัลปพฤกษ์.................................................... 49, 89

นวดแผนไทย.............................................................11

ต้นประดู่แดง.............................................................89

น้�ำ ตาลกลูโคส1���������������������������������������������������������101

ต้นพยุง.....................................................................91

น้ำ�ตาลฟรุกโตส1������������������������������������������������������101

ตะเคียนทอง.............................................................91

น้ำ�มันแก๊สโซฮอล์9������������������������������������������������������ 95

ตำ�บลสงเปลือย อำ�เภอเขาวง6������������������������������������56

น้ำ�มันจากฟอสซิส7�����������������������������������������������������76

ไตธรรมชาติ..............................................................81

น้ำ�มันดิบ9������������������������������������������������������������������94

น้ำ�มันดีเซล7���������������������������������������������������������������76

ถังเก็บน้ำ�ฝน มข. 298�������������������������������������������������80

น้ำ�มันเบนซิน9�����������������������������������������������������������95

ถั่วลิสงเมล็ดโต...........................................................54

น้ำ�มันปาล์ม7�������������������������������������������������������������76

ถิ่นทุรกันดาร.................................................. 9, 13, 54

น้ำ�มันปาล์มบริสุทธิ์9�������������������������������������������������� 94

น้ำ�มันหอมระเหยจากตะไคร้6������������������������������������� 68

ทรัพยากรธรรมชาติ

นิทรรศการสิ่งประดิษฐ์นานาชาติประเทศเบลเยี่ยม......98

กายภาพ................................................................76

ไนโตรเจน........................................................... 85, 88

ชีวภาพ..................................................................76

ทฤษฎีใหม่....................................................... 98, 142

บริษัทเทิดดำ�ริ1�������������������������������������������������������� 100

ทองคำ�5���������������������������������������������������������������������58

บอน.........................................................................85

ทองแดง....................................................................88

ิ 111 บ้านทุ่งลุยลายอำ�เภอคอนสาร จังหวัดชัยภูม1������������

ทันตแพทย์...............................................................13

บ้านโสกส้มกบ อำ�เภอสีชมพู5������������������������������������� 53

ทีมสหวิทยาการ.........................................................25

บ้านหนองแซง อำ�เภอบ้านแฮด จังหวัดขอนแก่น5��������57

240 ดัชนี


บ้านหนองปล้อง อำ�เภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ1� 111

เปิดโลกลูกน้อยสุขภาพดี...........................................29

บึงโจด.......................................................................81

โปรติสท์.................................................................102

บึงพระรามเก้า..........................................................81

บึงมักกะสัน..............................................................81

ผลิตภัณฑ์การเกษตร..................................................58

บึงหนองไผ่...............................................................91

ผสมเทียม.................................................................66

โบรอน......................................................................88

ผักตบชวา.......................................................... 81, 85

ไบโอดีเซล........................................................ 98, 102

ผ่าตัดทำ�หมันในสัตว์6������������������������������������������������� 66

ผ่าตัดหัวใจแบบปิด....................................................22

ปฏิรูปการเรียนรู้......................................................108

ผ่าตัดหัวใจแบบเปิด............................................ 22, 23

ประดู่ป่า...................................................................91

ผ้าไหมย้อมสีธรรมชาติ..............................................68

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง..........................................64

ผู้ด้อยโอกาส...............................................................8

ปลาหางนกยูง...........................................................16

ผู้นำ�ชุมชน1����������������������������������������������������������������14

ปลูกต้นไม้สักที่บ้าน.................................................114

ผู้ป่วยนอก...................................................................7

ปลูกป่าสามอย่าง.......................................................76

ผู้ป่วยใน......................................................................7

ปศุสัตว์. กระบือ.................................................................66

ผู้ป่วยเรื้อรัง..............................................................11

ไก่.........................................................................66

ผู้พิการ......................................................................11

ผู้ป่วยโรคหัวใจ.............................................................7

โคนม....................................................................66

โคเนื้อ...................................................................66

ฝรั่ง................................................................... 53, 61

เป็ด......................................................................66

ฝายขนาดเล็กเพื่อชะลอน้�ำ 7����������������������������������������76

แพะ......................................................................66

ฝายมาตรฐาน มข. 27...............................................80

สุกร.......................................................................66

ปัญหาสิ่งแวดล้อม.....................................................75

พยาธิ.......................................................................66

ปากแหว่งเพดานโหว่............................................ 8, 24

พยาบาล.............................................................. 9, 13

ป่าเบญจพรรณ..........................................................91

พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ.........................................109

ปาล์มน้ำ�มัน7���������������������������������������������������� 76, 102

พระบรมราโชวาท........................................................7

ป่าสัญลักษณ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น...........................91

พระบรมวงศานุวงศ์.....................................................8

241 ดัชนี


พระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร.................27

พุทธรักษา.................................................................85

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว...................7, 8, 22, 142

พุทรา........................................................................61

พระบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันของไทย.................9

แพทย์อาสา.................................................................9

พระมหากรุณาธิคุณ......................................... 8, 9, 21

โพแทสเซียม..............................................................88

พระมารดาแห่งการแพทย์ชนบท...................................9

พระราชกรณียกิจ........................................................9

ฟอสฟอรัส......................................................... 85, 88

พระราชดำ�รัส5�����������������������������������������������������������52

พระราชดำ�ริ8��������������������������������������������������������������� 8

ภาควิชากายภาพบำ�บัด3���������������������������������������������35

พระราชดำ�ริเกี่ยวกับพลังงานทดแทน9�������������������������94

ภาวะพร่องธัยรอยด์ฮอร์โมน......................................28

พระราชดำ�ริเศรษฐกิจพอเพียง5������������������������� 56, 142

ภาวะโลกร้อน............................................................91

พระราชทาน...............................................................9

เภสัชกร.....................................................................13

พระราชนิพนธ์..........................................................14

พระราชปณิธาน..........................................................9

มลพิษทางน้ำ�8���������������������������������������������������� 83, 89

พระราชานุเคราะห์......................................................9

มหาวิทยาลัยเชียนนาน ประเทศไต้หวัน. ....................83

พระสมัญญา...............................................................9

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.....................................97

พลังงานทดแทน........................................................94

มะกอกน้ำ�มัน7�����������������������������������������������������������76

พลิกฟื้นผืนป่า ด้วยพระบารมี....................................91

มะขามเปรี้ยว............................................................61

พสกนิกร........................................................ 8, 19, 20

มะเขือเทศ.................................................................52

พ่อจูงมือแม่ฝากครรภ์ทันที................................. 28, 29

มะค่าโมง..................................................................91

พะยอม.....................................................................91

มะเร็งปากมดลูก.......................................................11

พัฒนาชนบทเชิงบูรณาการ.......................................142

มะหาด.....................................................................91

พิธีบำ�เพ็ญกุศลทักษิณานุประทาน4�����������������������������40

มันสำ�ปะหลัง9������������������������������������������������������������98

พิธีพระราชทานปริญญาบัตร........................................7

มูลนิธิโครงการเกษตรหลวง................................. 52, 54

พืชที่มีท่อลำ�เลียง9������������������������������������������������������92

มูลนิธิโตโยต้าประเทศไทย................................... 16, 17

พืชพลังงาน...............................................................76

มูลนิธิแพทย์อาสา. สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี................ 9, 22

พืชไร่........................................................................62 พื้นที่ปกปักพันธุกรรมพืช...........................................92

มูลนิธิส่งเสริมโอลิมปิกวิชาการ และพัฒนามาตรฐาน วิทยาศาสตร์ศึกษา ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้า.

242 ดัชนี


พี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาส. ราชนครินทร์ (สอวน)............................................118

โรงพยาบาลขอนแก่น................................................22

แมงกานีส.................................................................88

โรงพยาบาลมหาราช จังหวัดนครราชสีมา...................23

โรงพยาบาลประจำ�จังหวัด9�������������������������������������������9

แม่ทัพภาค 2.............................................................67

โรงพยาบาลศรีนครินทร์.......7, 8, 9, 10, 13, 22, 23, 42

แม่อาสานมแม่ศรีนครินทร์. .......................................28

โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี....23

ไม้ของพ่อ บนมอดินแดง............................................89

โรงพยาบาลสายใยรักแห่งครอบครัว...........................29

โรงพยาบาลสายสัมพันธ์แม่-ลูก..................................28

ยางนา......................................................................91

โรงเรียนการศึกษาคนตาบอด......................................20

ยิ้มสวย เสียงใส.........................................................25

โรงเรียน ตชด.

ยีสต์.........................................................................99

เฉลิมราษฏร์บำ�รุง1��������������������������������������������������16

ยุวชนอาสา.............................................................111

บ้านเทพภูเงิน.......................................................16

บ้านนาปอ.............................................................16

ระบบการสีข้าว..........................................................56

บ้านนาแวง............................................................15

ระบบบำ�บัดน้�ำ เสียแบบธรรมชาติบำ�บัด ���������������������84

บ้านเมืองทอง........................................................16

ระบบบำ�บัดน้�ำ เสียแบบบึงประดิษฐ์3��������������������������� 83

บ้านวังชมภู...........................................................16

ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า.............................25

บ้านหนองแคน......................................................16

ระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ�ด้วยหญ้าแฝก8������������������������86

บ้านหนองตะไก้. ...................................................15

รัฐบาลนิวซีแลนด์......................................................49

บ้านห้วยดอกไม้....................................................15

ราวแบดมินตัน..........................................................38

บ้านห้วยเป้า.........................................................16

โรคติดเชื้อทางเดินอาหาร...........................................16

บ้านห้วยเวียงงาม..................................................16

โรคพิษสุนัขบ้า...........................................................66

ฮิลมาร์พาเบิล (บ้านเหมืองทอง).............................16

โรคระบาด.................................................................66

บ้านนานกปีด 16

โรคหนอนพยาธิ................................................. 15, 16

โรงเรียนถิ่นทุรกันดาร...............................................108

โรคหัวใจและหลอดเลือด............................................22

โรงเรียนบ้านกุดหนองหว้า อำ�เภอหนองสองห้อง. จังหวัดขอนแก่น..................................................109

โรงงานต้นแบบผลิตไบโอดีเซลจากน้�ำ มันพืชที่ใช้แล้ว1�102 โรงงานน้ำ�ตาลขอนแก่น1������������������������������������������100

โรงเรียนบ้านโนนสะอาด อำ�เภอหนองสองห้อง. จังหวัดขอนแก่น..................................................108

โรงงานอุตสาหกรรม..................................................76

โรงเรียนบ้านศุภชัย อำ�เภอหนองสองห้อง.

243 ดัชนี


จังหวัดขอนแก่น..................................................109

ศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น..............108

โรงเรียนบ้านสมประสงค์ จังหวัดอุดรธานี...................16

ศูนย์ปรับปรุงพันธุ์พืชเพื่อการเกษตรที่ยั่งยืน. คณะเกษตรศาสตร์. ...............................................55

โรงเรียนพ่อแม่................................................... 28, 30 โรงเรียนศรีสังวาลย์ อำ�เภอเมือง จังหวัดขอนแก่น8��������8 โรงเรียนศึกษาพิเศษขอนแก่น.....................................35 โรงเรียนสหศึกษา.......................................................35 ล ละมุด.......................................................................61 ลำ�น้ำ�พอง จังหวัดขอนแก่น6�������������������������������� 76, 81 ลูกน้�ำ ยุงลาย1������������������������������������������������������������16 โลหะหนัก.................................................................88 ว วนเกษตร..................................................................76

ศูนย์เรียนรู้ส�ำ หรับชุมชน1�����������������������������������������102 ศูนย์โรคหัวใจตติยภูมิ................................................22 ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ...................................... 7, 38 ศูนย์ศิลปาชีพ ตำ�บลนาโปร่ง อำ�เภอวังสามหมอ. จังหวัดอุดรธานี.....................................................68 ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทราย..................................60 ศูนย์หัวใจสิริกิติ์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ............ 22, 23 ส สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน......................20 สถานแรกรับเด็กชายภาคตะวันออกเฉียงเหนือ...........20

วัคซีนป้องกันโรคปากเท้าเปื่อย...................................66

สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา. ประจำ�ประเทศไทย6�����������������������������������������������68

วัชพืช.......................................................................63

สถานีบริการน้�ำ มันปตท.9�������������������������������������������96

วันเด็กแห่งชาติ.........................................................15

สถานีฟาร์มฝึกนักศึกษา คณะสัตวแพทยศาสตร์..........64

วันทันตสาธารณสุขแห่งชาติ.......................................10

สถานีรักษาแพทย์อาสาทางอากาศ...............................9

วันพยาบาลแห่งชาติ..................................................10

สถานีอนามัย..............................................................9

วันพระราชสมภพ........................................................9 วันแม่แห่งชาติ. .........................................................29

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. แห่งประเทศไทย....................................................96

วันศรีนครินทร์..........................................................39

สถาบันแหล่งน้�ำ และสิ่งแวดล้อม7��������������������������������77

วันสังคมสงเคราะห์แห่งชาติ.......................................10

สนามกีฬาสีฐาน มหาวิทยาลัยขอนแก่น.....................91

วิทยาลัยกาญจนาภิเษกช่างทองหลวง.........................68

สบู่ดำ�1���������������������������������������������������������������������102

วิทยาลัยการอาชีพขอนแก่น......................................68

สภากาชาดไทย..........................................................24

ส้มเขียวหวาน............................................................53

ศาลากลางจังหวัดขอนแก่น........................................42

สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา. กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์................. 9, 10, 22

ศูนย์เด็กเล็กประจำ�หมู่บ้าน1���������������������������������������10

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี.......8,

244 ดัชนี


14, 23, 24, 54, 92, 108

คณะวิศวกรรมศาสตร์............................................58

สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ.......... 8, 66, 67

สำ�นักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น9������������������ 9, 10

สมเด็จพระบรมราชชนก.............................................39

สำ�นักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ2���������������� 23, 24

สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี.................... 9, 35

สำ�นักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเขตพื้นที่. จังหวัดขอนแก่น....................................................22

ส้มโอ........................................................................53

สำ�นักบริหารงานการศึกษาพิเศษ3�������������������������������35

สโมสรโรตารี่.............................................................10

สำ�นักพระราชวัง5�������������������������������������������������������58

สวนจิตรลดา.............................................................81 สวนสัตว์ธรรมชาติภูเขียว..........................................111

สีธรรมชาติ................................................................68

สหกรณ์ OTOP อำ�เภอสีบุญเรือง . จังหวัดหนองบัวลำ�ภู5��������������������������������������������� 58

สุขภาพอนามัย. ................................................... 8, 14 สุขวิทยาส่วนบุคคล....................................................16

สหกรณ์นิคมอ่าวลึก จังหวัดกระบี่..............................97

สุขศึกษา...................................................................11

สหวิทยาการ.............................................................25

สุขอนามัยสิ่งแวดล้อม........................................... 8, 16

สังคมดีเริ่มที่บ้าน.....................................................108

สังคมสงเคราะห์จังหวัดขอนแก่น................................10

หญ้าชันกาด..............................................................63

สาธารณูปโภค...........................................................10

หญ้าแฝก...............................................60, 75, 85, 87

สายด่วนนมแม่..........................................................28

หญ้าแฝกดอน...........................................................88

สายใยรักแห่งครอบครัว.............................................27

หญ้าแฝกพันธุ์ก�ำ แพงเพชร 16�������������������������������������60

สารประกอบอินูลิน.................................................101

หญ้าแฝกพันธุ์ศรีลังกา...............................................60

สารเสพติด................................................................15

หญ้าแฝกพันธุ์สงขลา 2..............................................60

สาหร่าย..................................................................102

หญ้าแฝกพันธุ์สงขลา 3..............................................62

สาหร่ายน้�ำ จืด1��������������������������������������������������������102

หญ้าแฝกเพื่อบำ�บัดน้ำ�เสีย6����������������������������������������76

สาหร่ายสีเขียวขนาดเล็ก..........................................102

หญ้าแฝกลุ่ม...................................................... 76, 88

สำ�นักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน3�������������35

หญ้าแฝกสายพันธุ์ประจวบคีรีขันธ์.............................60

สำ�นักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา1��������������������108

หน่วยทันตกรรมพระราชทาน.....................................19

สำ�นักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการ อันเนื่องมาจากพระราชดำ�ริ (กปร.)6������������������������60

หน่วยแพทย์อาสาสมเด็จพระศรีนครินทรา. บรมราชชนนี (พอ.สว.).............................................9

สำ�นักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม8����������������������83

หมากปิ่น..................................................................36

สำ�นักงานพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรม .

หมู่บ้านคลองเจริญ อำ�เภอหนองบัวแดง.

245 ดัชนี


จังหวัดชัยภูมิ.......................................................111

อินทนิลน้ำ�9���������������������������������������������������������������91

หมู่บ้านโนนศรีสง่า อำ�เภอหนองบัวแดง. จังหวัดชัยภูมิ.......................................................111

อุทยานเทคโนโลยีการเกษตรมหาวิทยาลัยขอนแก่น....52

หมู่บ้านโนนเหม่า อำ�เภอหนองบัวแดง. จังหวัดชัยภูมิ.......................................................111

แอลกอฮอล์..............................................................94

หมู่บ้านศิลปาชีพ.......................................................67 หมู่บ้านโหล่น อำ�เภอหนองบัวแดง. จังหวัดชัยภูมิ.......................................................111

เอทานอล........................................................ 94, 100 ฮ เฮือนอีสาน.............................................................121

หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา.............117 หอสงฆ์อาพาธ..........................................................13 หินแกรนิต................................................................84 เหล็ก........................................................................88 อ อนุรักษ์วิทยา.............................................................76 อสม..........................................................................29 อ้อย.................................................................. 94, 98 อัญชัน......................................................................68 อาคารกัลยาณิวัฒนา.................................................42 อาคารโครงการค้นคว้าน้�ำ มันเชื้อเพลิง9�����������������������95 อาคารวิทยาศาสตร์ 06 คณะวิทยาศาสตร์..................81 อาคารศูนย์หัวใจสิริกิติ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.......42 อาคารสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีอนุสรณ์...42 อาสาสมัครสาธารณสุข..............................................15 อำ�เภอกระนวน จังหวัดขอนแก่น1�����������������������������144 อำ�เภอคำ�ม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์4�������������������������������� 144 อำ�เภอชะอำ� จังหวัดเพชรบุรี0������������������������������������� 60 อำ�เภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น1��������������������������������144 อำ�เภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น1����������������������������144

246 ดัชนี






Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.