75 ลพบุรี

Page 1

ฉบับที่ 75 จังหวัดลพบุรี พ.ศ. 2561 Magazine

EXCLUSIVE

นายสุปกิต โพธิ์ปภาพั นธ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี

SPECIAL INTERVIEW นายผดุงศักดิ์ หาญปรีชาสวัสดิ์ นายวีระชัย นาคมาศ รองผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี ผนึกก�ำลังสู่เมืองท่องเที่ยว

Lopburi Vol.9 Issue 75/2018

ท่องเที่ยววิถี ไทย สุขใจในเมืองพระนารายณ์

www.sbl.co.th

.indd 5

9/8/2561 8:38:41


2

SBL บันทึกประเทศไทย I LOP BURI

AW Betagro A4.indd 2

31/7/2561 11:34:35


รี ส อร์ ท เชิ ง นิ เ วศส� ำ หรั บ ผู ้ รั ก ธรรมชาติ แ ห่ ง จั ง หวั ด ลพบุ รี

S O M A P A P A S A K

โสมาภา ป่าสัก รีสอร์ท

“ โสมาภา ป่าสัก รีสอร์ท...ให้บริการด้วยใจ ใส่ ใจธรรมชาติ ” “ศูนย์ประชุมครบวงจร บริหารงานอย่างมืออาชีพ”

จั ด ห้ อ งพั ก แบบโรงแรม และรี ส อร์ ท เปี ่ ย มด้ ว ย คุณภาพ ทันสมัย ใหม่เอี่ยม ให้ค�ำปรึกษาด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ จั ด ท� ำ หลั ก สู ต รในการฝึ ก อบรม และรั บ บริ ห าร โครงการฝึกอบรม และค่ายพักแรมแบบ Adventure รับจัดหาวิทยากรคุณภาพ ทุกสาขาวิชาชีพ

บริการห้องประชุมมาตรฐานขนาดใหญ่ รับได้ 500 คน จัดอาหารไทยทุกรูปแบบและอาหารนานาชาติ รับจัดกิจกรรมเสริม (EVENT) ต่างๆ เช่น Walk Rally ฯลฯ รับจัดดนตรีแบบ Concert และคาราโอเกะ จัดบริการรถรับ – ส่ง ทั้งรถทัวร์ปรับอากาศ และรถตู้ บริการ WIFI ความเร็วสูง ฟรีส�ำหรับลูกค้าทุกพื้นที่

โสมาภา ป่าสัก รีสอร์ท SOMAPA PASAK RESORT

ที่อยู่ 110/4 ม.1 ต.พัฒนานิคม อ.พัฒนานิคม จ.ลพบุรี 081-6110608 LOP BURI I SBL บันทึกประเทศไทย somapa_pasak@hotmail.com www.somapapasakresort.com Ad-

1

.indd 3

3

6/8/2561 18:25:55


แก่งเสือเต้นวิลเลจ เริ่มชีวิตใหม่ ชุมชนใหม่ ใกล้บ้านเดิม บ้านสวยคุณภาพเกินคุ้ม เพื่อชีวิตที่ สดใส และ อบอุ่น เหมาะส�ำหรับผู้เริ่มต้นสร้างความมั่นคงให้กับชีวิต แวดล้อมด้วยชุมชนคุณภาพ ตั้งอยู่ใกล้เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ และเเหล่งท่องเที่ยว ที่มีชื่อเสียง บนพื้นที่ 56 ตรว. ด้วยขนาด 3 ห้องนอน 2 ห้องน�้ำ 1 ห้องรับเเขก 1 ห้องครัว ราคาเริ่มต้นที่ 962,000 บาท พร้อมฟิตเนส สระว่ายน�้ำ และสนามฟุตซอลหญ้าเทียมภายในหมู่บ้าน

บ้านชั้นเดียว ราคาไม่ถึงล้าน...

4

Ad-

บ้านแก่งเสือเต้นวิลเลจ อ.พัฒนานิคม จ.ลพบุรี

SBL บันทึกประเทศไทย I LOP BURI

ติดต่อสอบถาม ส�ำนักงานขาย คุณเเนน โทร. 085-997-5585 คุณฟอง โทร. 094-263-8932 1

ver.1.indd 4

6/8/2561 19:09:39


.indd 5

8/8/2561 10:02:31


6

.

SBL บันทึกประเทศไทย I LOP BURI

.indd 6

31/7/2561 11:44:59


LOP BURI I SBL บันทึกประเทศไทย

.

(

)

1

.indd 7

7

31/7/2561 11:46:25


HI S TO R Y O F U ND E R H IS G R A C IO U S NE SS บันทึกเส้นทางใต้ร่มพระบารมี

โรงไฟฟ้า โซลาร์ เ ซลล์ เป็ นมิต ร ต่อสิ่ ง แวดล้อมและชุมชน

พัฒนาพลังงานธรรมชาติ

การด�ำเนินงานด้านรับผิดชอบต่อสังคม แหล่งเรียนรู้พลังงานสีเขียว ภายใต้ชื่อ Greeneducation Museum ส่วน พิพิธภัณฑ์ที่มีนิทรรศการ และเกมส์อินเตอร์แอคทีฟ เปิดให้แขกที่สนใจได้มาเยี่ยม ชมฟรี เป็นแหล่งท่องเที่ยวด้านพลังงานทดแทนอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดลพบุรี แปลงปลูกผักสลัด (Green Energy Farm) ประยุกต์พลังงาน โซลาร์เซลล์ ใช้กับการปลูกผักสลัด (แปลงดิน) ด้วยระบบให้น�้ำแบบอัตโนมัติ ต้อนรับแขกที่มา เยี่ยมชมได้ทานผักสลัดกรีนโอ๊ค เรดโอ๊ค และคอส มีโครงการร่วมกับโรงเรียนและชุมชนรอบโรงไฟฟ้า ด้วยการสร้างฐานเรียน รู้ด้านโซลาร์เซลล์ที่ใช้กับการเกษตร ใช้ปั้มน�้ำเพาะเห็ด แสงสว่างอาคารเรียนและ ใช้ในบ้านเรือน ในพื้นที่โรงเรียนบ้านเขาเตียนมิตรภาพที่ 134 โรงเรียนบ้านมะม่วง เจ็ดต้น โรงเรียนบ้านพุม่วงและชุมชนบ้านชอนม่วง

บริษัท พัฒนาพลังงานธรรมชาติ จ�ำกัด (Natural Energy Development Co., Ltd.(NED)) ตั้งที่ 188 หมู่ 3 ต�ำบลวังเพลิง อ�ำเภอโคกส�ำโรง จังหวัดลพบุรี ร่วมทุนระหว่าง บริษทั ซีแอลพี ไทยแลนด์ รีนวิ เอเบิลส์ ลิมเิ ต็ด (CLP) และบริษัท ผลิตไฟฟ้า จ�ำกัด (มหาชน)(EGCO) เพื่อผลิตไฟฟ้า พลังงานแสงอาทิตย์ ชื่อ“โรงไฟฟ้าลพบุรีโซลาร์” และ “โรงไฟฟ้า วังเพลิงโซลาร์” ขนาดก�ำลังผลิตติดตั้ง 84 MW DC ใช้พื้นที่กว่า 1,400 ไร่ จ�ำนวนมากกว่า 640,000 แผ่น เป็นโรงไฟฟ้าพลังงาน แสงอาทิตย์ที่มีขนาดใหญ่ติดอันดับโลก สามารถลดการปล่อยก๊าซ เรือนกระจกได้ประมาณ 1.5 ล้านตัน ตลอดอายุโครงการ 25 ปี

รางวัลความภาคภูมิใจ รางวัล ASEAN ENERGY AWARD 2015 รางวัล THAILAND ENERGY AWARD 2014 และ 2015 รางวัลองค์กรโปร่งใส NACC INTEGRITY AWARD 2014 รางวัล CSR-DIW AWARD 2017 8

.

บริษัท พัฒนาพลังงาน ธรรมชาติ จ�ำกัด Tel. 036-418-400 Fex. 036-418-401 www.ned.co.th

SBL บันทึกประเทศไทย I LOP BURI

1

.indd 8

31/7/2561 11:48:16


LOP BURI I SBL บันทึกประเทศไทย

2

.indd 9

9

31/7/2561 11:49:14


Editor’s Talk ผู้บริหาร คณะที่ปรึกษา

ศ.ดร.กฤช เพิ่มทันจิตต์, พลเอกสรชัช วรปัญญา, ดร.นิเวศน์ กันไทยราษฎร์, ดร.ประยุทธ คงเฉลิมวัฒน์, ดร.ชาญ ธาระวาส, ดร.สุมิท แช่มประสิท, ดร.วัลลภ อารีรบ, ดร.พิชัย ทรัพย์เกิด, ดร.ไอศูรย์ ดีรัตน์, ดร.สุเทษณ์ จันทรุกขา, ดร.อรรถสิทธิ์ ตันติวิรัชกุล

บรรณาธิการอ�ำนวยการ ศุภกิจ ศิลปรังสรรค์

บรรณาธิการบริหาร อัคราพงษ์ ศิลปรังสรรค์

บรรณาธิการงานบุคคล

พงษ์ศักดิ์ พรณัฐวุฒิกุล, วนัสกฤษณ์ ศิลปรังสรรค์

ฝ่ายกฎหมาย

สมคิด หวังเชิดชูวงศ์, ทวิช อมรนิมิตร

กองบรรณาธิการ ฝ่ายประสานงานโครงการภาครัฐและเอกชน

ฝ่ายศิลปกรรม

คณะทีมงาน ไพรัตน์ กลัดสุขใส มงคล แพร่ศิริพุฒิพงศ์ จิร โกมลทองทิพย์

กราฟิกดี ไซน์ พิมพ์พิสุทธิ์ พังจูนันท์ วรเชษฐ สมประสงค์ จักรพันธ์ สิงห์ดี

ฝ่ายประสานงานข้อมูล

ช่างภาพ ชัยวิชญ์ แสงใส ปณต ปิติจารุวิศาล กิติวัฒน์ ทิศมั่ง วิทยา ประเสริฐสังข์

ผู้จัดการ ธนวรรษ เชวงพจน์

ผู้จัดการ นันท์ธนาดา พลพวก

ประสานงาน ศุภญา บุญช่วยชีพ นงลักษณ์ เทียมเกตุทวีโชค นักเขียน ฐิติรัตน์ สุวรรณโรจน์

ฝ่ายประสานงานจังหวัด กชกร รัฐวร

ฝ่ายการตลาด จันทิพย์ กันภัย

Editor’s Talk

.indd 10

ผู้จัดการ พัชรา ค�ำมี

ดูเหมือนว่ากระแสละครดังที่ จบไปไม่นาน ได้ปลุกกระแสให้ คนไทยหันมาสนใจประวัตศิ าสตร์ ชาติไทยในสมัยแผ่นดินสมเด็จ พระนารายณ์มหาราชกันมากขึน้ อี ก ทั้ ง ยั ง เกิ ด ความภาคภู มิ ใ จ และส� ำ นึ ก รั ก ในความเป็ น ไทย กันมากขึ้นด้วย สามารถสังเกต ได้ จ ากการนุ ่ ง โจงห่ ม สไบไปท่ อ งเที่ ย วยั ง โบราณสถานส� ำ คั ญ ๆ ทั้งในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาและจังหวัดลพบุรี ในความเป็นจริงนั้น จังหวัดลพบุรีมีการรณรงค์ส่งเสริมให้ชาว ลพบุรีและนักท่องเที่ยวที่มาเยือนลพบุรี แต่งกายด้วยชุดไทยมานาน กว่า 39 ปีแล้ว โดยเฉพาะในช่วงที่มีการจัดงาน “แผ่นดินสมเด็จ พระนารายณ์มหาราช” เทศกาลท่องเที่ยวที่สร้างชื่อเสียงให้กับ จังหวัดลพบุรี ซึ่งเริ่มขึ้นครั้งแรกตั้งแต่ปี พ.ศ.2522 และจัดต่อเนื่อง ประจ�ำทุกปีจนถึงปัจจุบัน เพราะท่านผู้บริหารราชการจังหวัดลพบุรี ทุกยุคสมัย ต่างก็เห็นความส�ำคัญงานดังกล่าว ว่าไม่เพียงแต่จะส่ง ผลดีกับจังหวัดลพบุรีเท่านั้น แต่ยังส่งผลถึงภาพลักษณ์ทางด้าน วัฒนธรรมที่ดีงาม และด้านการท่องเที่ยวของประเทศไทยด้วย และ ปัจจุบนั การรณรงค์แต่งชุดไทยในลพบุรไี ด้ขยายผลไปสูโ่ ครงการต่างๆ อีกมากมาย สร้างความภาคภูมิใจให้แก่ชาวลพบุรีเป็นอย่างยิ่ง ในโอกาสนี้ ผมขอกราบขอบพระคุณอย่างสูงต่อท่านผู้ว่าฯ นายสุปกิต โพธิ์ปภาพันธ์ พร้อมทั้งท่านรองผู้ว่าฯ สองท่านคือ นายผดุงศักดิ์ หาญปรีชาสวัสดิ์ และ นายวีระชัย นาคมาศ ตลอดจน ถึงผู้บริหารหน่วยงานราชการ ผู้บริหารองค์กรปกครองท้องถิ่น ศาสนสถาน และบริษัทห้างร้านต่างๆ ที่สนับสนุน และอ�ำนวย ความสะดวกให้ทีมงาน SBL บันทึกประเทศไทย ได้บันทึกข้อมูล ที่ เ ป็ น ปั จ จุ บั น เพื่ อ น� ำ เสนอให้ ส าธารณชนให้ ไ ด้ รั บ ทราบถึ ง ความเจริญก้าวหน้าของจังหวัดลพบุรี

ตัดต่อวีดีโอ วัชรกรณ์ พรหมจรรย์

ฝ่ายบัญชี/การเงิน บัญชี ปัฐมาภรณ์ แสงบุราณ การเงิน สุจิตรา แดนแก้วนิต ณภัทร ชื่นสกุล ชวัลชา นกขุนทอง

ติดต่อ คุณศุภกิจ ศิลปรังสรรค์

โทรศัพท์ 081-442-4445, 084-874-3861 E-mail : supakit.s@live.com Facebook : Supakit Sillaparungsan

(นายศุภกิจ ศิลปรังสรรค์) บรรณาธิการอ�ำนวยการ

07/08/61 17:51:40


LOP BURI I SBL บันทึกประเทศไทย

.indd 11

11

31/7/2561 11:43:50


Contents LOPBURI

ฉบั บ ที่ 75 จั ง หวั ด ลพบุ รี พ.ศ.2561

บันทึกเส้นทางการศึกษา ก้าวสู่ปีที่ 100 “เทพสตรีกับการพัฒนาท้องถิ่น”

18

ใต้ร่มพระบารมี ชุบชีวิตป่าจ�ำปีสิรินธร

24

บันทึกเส้นทาง ความเป็นมาจังหวัดลพบุรี

35

บันทึกเส้นทางพบ ผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี นายสุปกิต โพธิ์ปภาพันธ์

62

บันทึกเส้นทางรองผู้ว่าฯ นายวีระชัย นาคมาศ

58

66

นายผดุงศักดิ์ หาญปรีชาสวัสดิ์

นายบุญเชิด กิตติธรางกูร

บันทึกเส้นทางรองผู้ว่าฯ

บันทึกเส้นทาง ผอ.พศจ.

35

บันทึกเส้นทางพบ

ผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี นายสุปกิต โพธิ์ปภาพันธ์

70

78

นายอาคม สุวรรณโน

นายนิ ย ม วรปั ญ ญา

74

84

นายวรกร บ� ำ รุ ง ชี พ โชต

พลเอกสรชั ช วรปั ญ ญา

บันทึกเส้นทาง ท้องถิ่นจังหวัด

บันทึกเส้นทาง อุตสาหกรรมจังหวัด

12

.indd 12

สัมภาษณ์พิเศษ อดีต สส.ลพบุรี

สัมภาษณ์พิเศษ ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก

SBL บันทึกประเทศไทย I LOP BURI

8/8/2561 16:02:58


ฉบั บ ที่ 75 จั ง หวั ด ลพบุ รี พ.ศ.2561

Lopburi

เขตรักษาพัน ธุ ์ สัตว์ป่าซับลัง กา บันทึกเส้นทางท่ อ งเที่ ยว วัดล�ำนารายณ์

118 120 134

(อ.ชัยบาดาล)

วัดถ�้ำเขาปรางค์ วัดจันทาราม ทต.ล�ำนารายณ์ อบต.หนองเมื อ ง

136 138 139 140

(อ.บ้านหมี่)

อบต.ชอนม่ว ง วัดมหาสอน วัดวงเทพ วัดคลองสุท ธาวาส วัดทุ่งท่าช้าง

142 144 146 148 149

(อ.สระโบสถ์)

วัดห้วยเขว้า เจริ ญ ธรรม วัดพัฒนาธรรมาราม

150 152

(อ.พัฒนานิคม)

บันทึกประเทศไทย 4.0

154

LOP BURI I SBL บันทึกประเทศไทย

.indd 13

13

7/8/2561 17:11:22


ก้าวสู่ปีที่

“มหาวิทยาลัยทันสมัย ใส่ใจคุณภาพทุกด้าน มีมาตรฐานระดับสากล ประชาชนพึ่งพาได้”

100

“เทพสตรี กับ การพัฒนาท้องถิ่น”

ประวัติการก่อตั้ง

มหาวิ ท ยาลั ย ราชภั ฏ เทพสตรี เป็ น สถาบั น อุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น เริ่มก่อตั้งเมื่อพ.ศ. 2463 เป็นอาคารเรียนชั่วคราว ณ พระที่นั่งจันทร พิศาล ในพระนารายณ์ราชนิเวศน์ เมื่อโรงเรียนสร้าง เสร็จจึงย้ายมาเรียน ณ ถนนวิชาเยนทร์ เมื่อวันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2464 มหาเสวกโท พระยาโบราณ ราชธานินทร์ อุปราชมณฑลอยุธยา มาเป็นประธานเปิด โรงเรียน และให้ชื่อโรงเรียนว่า โรงเรียนลวะศรี ต่อมา พัฒนาเป็นโรงเรียนฝึกหัดครูสตรี โรงเรียนเทพสตรี วิทยาลัย วิทยาลัยครูเทพสตรี สถาบันราชภัฏเทพสตรี และมหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรีตามล�ำดับ

อัตลักษณ์บัณฑิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี

ม (มืออาชีพ) หมายความว่า มีความรู้และน�ำความรู้ไป ปฏิบัติงานได้อย่างมืออาชีพ ร (รับผิดชอบ) หมายความว่า มีความรับผิดชอบ ท (ทันสมัย) หมายความว่า มีความรู้ท่ีทันสมัย ใช้ความรู้ และเทคโนโลยีที่ทันสมัยปฏิบัติงาน เอกลักษณ์

“มหาวิทยาลัยรับใช้สงั คม และพัฒนาเข้าสูม่ าตรฐานสากล”

หน่วยงานผลิตบัณฑิต

ประกอบด้วย คณะครุศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะวิทยาการจัดการ คณะเทคโนโลยี สารสนเทศ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม

หน่วยงานสนับสนุนพันธกิจ

ประกอบด้วย ส�ำนักงานอธิการบดี ส�ำนักศิลปะและวัฒนธรรม ส�ำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ สถาบันวิจัยและพัฒนา ส�ำนักงานสภามหาวิทยาลัย ส�ำนักงานมาตรฐานและประกันคุณภาพการศึกษา ส�ำนักงานประสานงานบัณฑิตศึกษา ส�ำนักบริหารทรัพยากรมนุษย์ ส�ำนักงานจัดการทรัพย์สินและรายได้ ศูนย์ภาษาและคอมพิวเตอร์ ศูนย์วิทยาศาสตร์ ศูนย์ฝึกปฏิบัติการวิชาชีพเทพธานี ศูนย์นวัตกรรมและ เทคโนโลยีการศึกษา

14

SBL บันทึกประเทศไทย I LOP BURI

2

.indd 14

31/7/2561 14:48:48


การจัดการเรียนการสอน

มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี จัดการ เรียนการสอนทั้งในระดับปริญญาตรีระบบ เทียบโอนผลการเรียน ระดับปริญญาตรี 4 ปี ระดับปริญญาตรี 5 ปี ระดับประกาศนียบัตร บัณฑิต ระดับปริญญาโท ระดับปริญญาเอก และมี โรงเรี ย นสาธิ ต มหาวิ ท ยาลั ย ราชภั ฏ เทพสตรี ระดับปริญญาตรี เปิดท�ำการเรียนการ สอนในหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต หลักสูตร วิ ท ยาศาสตรบัณฑิต หลัก สูต รศิลปศาสตร บัณฑิต หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต หลั ก สู ต รนิ ติ ศ าสตรบั ณ ฑิ ต หลั ก สู ต ร อุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต หลักสูตรวิศวกรรม ศาสตรบัณฑิต หลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต หลักสูตรบัญชี บัณฑิต ระดั บ ประกาศนี ย บั ต รบั ณ ฑิ ต เปิ ด ท�ำการเรียนการสอนในหลักสูตรประกาศนียบัตร บัณฑิตวิชาชีพครู ระดับปริญญาโท เปิดท�ำการเรียนการ สอนในหลั ก สู ต รครุ ศ าสตรมหาบั ณ ฑิ ต หลั ก สู ต รรั ฐ ประศาสนศาสตรมหาบั ณ ฑิ ต หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต หลักสูตร วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต ระดับปริญญาเอก เปิดท�ำการเรียนการ สอนในหลั ก สู ต รรั ฐ ประศาสนศาสตรดุ ษ ฎี บัณฑิต

นโยบายและแนวทางในการด�ำเนินงาน

เพื่อให้มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี ได้ ท�ำหน้าที่ “มหาวิทยาลัยของท้องถิ่น” อย่าง แท้จริง ดังนัน้ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรีจงึ มีนโยบายและแนวทางในการด�ำเนินงาน 5 ประเด็น คือ 1. ส่งเสริม สนับสนุน ให้คณาจารย์ใช้ พื้นที่ของจังหวัดลพบุรี สิงห์บุรี และสระบุรี เป็นสถานที่เพื่อด�ำเนินการตามพันธกิจ ทั้ง ด้านการเรียน การสอน การวิจัย การบริการ วิ ช าการ และการทะนุ บ� ำ รุ ง ศิ ล ปะและ วัฒนธรรม โดยมีความคาดหวังว่าการด�ำเนิน การดังกล่าว จะก่อให้เกิดการเรียนรู้ การท�ำงาน ร่วมกันระหว่างชุมชน คณาจารย์ และนักศึกษา จะเกิดการพัฒนาของชุมชนในระดับชุมชน หมู่บ้าน เพิ่มขึ้นทุกๆ ปี 2. เร่งรัดให้การผลิต การพัฒนาครู และ บุคลากรทางการศึกษา ให้สอดคล้องกับสภาพ ทางสังคม เป็นครูที่มีจิตวิญญาณความเป็นครู เป็นครูที่มีทักษะส�ำคัญในการดูแลเด็กและ เยาวชน เป็นครูที่เห็นความส�ำคัญของการ ป้องกันปัญหาเด็กเป็นรายบุคคล

3. ส่งเสริมให้คณาจารย์จัดการเรียนการ สอนให้ผู้เรียนสามารถน�ำความรู้ไปประยุกต์ ใช้ได้จริง จะหนุนเสริมให้นักศึกษาได้ลงสนาม การแข่งขันทักษะที่จ�ำเป็นตามศาสตร์หรือ สาขาที่เรียน จะสนับสนุนให้คณาจารย์และ นักศึกษาท�ำการวิจัยเชิงปฏิบัติการที่สามารถ น� ำ ผลการวิ จั ย ไปใช้ ใ นการพั ฒ นางานหรื อ อาชี พ ของผู ้ ป กครอง รวมทั้ ง ประชาชนใน ชุมชนของตนเอง 4. บริหารจัดการมหาวิทยาลัยให้เป็น มหาวิทยาลัยแห่งการเรียนรู้ จะบริหารจัดการ ตามหลักการมีสว่ นร่วมบนฐานข้อมูลทีถ่ กู ต้อง ยึดหลักธรรมาภิบาล เร่งรัดการท�ำงานให้มี ประสิทธิภาพ เพือ่ ประโยชน์และความสุขของ นักเรียน นักศึกษา บุคลากรและคณาจารย์ของ มหาวิทยาลัย 5. เชือ่ มโยงสายสัมพันธ์ของบุคลากรทีม่ ี อยู่ในปัจจุบันกับศิษย์เก่า และเครือข่ายทาง วิชาชีพในจังหวัดลพบุรี สิงห์บุรี และสระบุรี เพื่อผนึกก�ำลังกันท�ำหน้าที่องค์การภาครัฐที่ดี สร้างความสุข ความเจริญ ให้กับประชาชนใน พื้นที่ LOP BURI I SBL บันทึกประเทศไทย

2

.indd 15

15

31/7/2561 14:49:00


บริ ก ารห้ อ งพั ก หรู ห ราสไตล์ อิ ต าลี ท่ า มกลางสวนดอกไม้ ง ามริ ม แม่ น�้ ำ ป่ า สั ก r i v e r & f l o w e r s

ริเวอร์ & ฟลาวเวอร์ ริ เ วอร์ & ฟลาวเวอร์ รี ส อร์ ท ถือก�ำเนิดขึน้ จากแรงบันดาลใจ ทีต่ อ้ งการ ให้สถานทีแ่ ห่งนีเ้ ป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจ ชมไม้ดอกไม้ประดับที่สวยงาม ชมโค้งน�้ำ ที่สวยที่สุดของแม่น�้ำป่าสัก อีกทั้งยังใกล้ สถานที่ ท ่ อ งเ ที่ ย วอี ก มากมายของ อ�ำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี อาทิ เขือ่ นป่าสักชลสิทธิ์ ซึง่ เป็นเขือ่ นทีย่ าวทีส่ ดุ ในประเทศไทย

16

Ad-

&

SBL บันทึกประเทศไทย I LOP BURI

2

.indd 16

เราให้ คุ ณ มากกว่ า ที่ พั ก หรู 1/8/2561 15:56:07


เพี ย บพร้ อ มด้ ว ยสิ่ ง อ� ำ นวยความสะดวก อาทิ Free Wifi พร้อมระบบรักษาความปลอดภัย และกล้ อ งวงจรปิ ด บริ การรั บ จั ด เลี้ ย งและสั ม มนา ด้ วยอาหารเลิศรส ทั้งไทย จีน ยุ โรป ท่ า มกลางบรรยากาศที่ ส วยงามริ ม สายน�้ำ ดื่มด�่ำกับการ แสดงดนตรี ส ดที่ แ สนไพเราะ พร้ อ มร่ ว มร้ อ งเพลงคาราโอเกะใน แบบฉบั บ ของท่ า น สนุ กกั บ กิ จ กรรมหลากหลาย อาทิ อาหารปลา ปั่นจัก รยาน ชมสวนดอกไม้ เที่ยวชมสวนเกษตร ชมต้นไม้แ ห่งชีวิตที่ใหญ่ที่สุด ซึ่ ง อยู ่ ใ นบริ เ วณรี ส อร์ ท พร้ อ มผ่ อ นคลายกั บ การจิ บ กาแฟสด หอมกรุ ่ น ทุ กวั น ริ เ วอร์ & ฟลาวเวอร์ รีสอร์ท...พร้อมต้อนรับทุก ท่ า นด้ ว ยมิ ต รภาพ ที่ จ ะ ท� ำ ให้ คุ ณ ประทั บ ใจไปตราบ นานเท่ า นาน

ร้านคอร์เนอร์ 112 99/9 หมู่ 3 ต.ท่ามะขาม อ.เมือง จ.กาญจนบุรี 71000 ติดต่อส�ำรองห้องพัก Tel. 034-653369-70, 034-653345, 034-551111-2 Mobile. 081-7360044, 081-7802088 จองโปรแกรมทัวร์ Tel. 034-551109, Mobile. 084-8681978 Fax. 034-653346, Email. info@duenshine.com

ริเวอร์ & ฟลาวเวอร์ รีสอร์ท River & Flowers Resort

96/3 ม.11 ต.หนองบัว อ.พัฒนานิคม จ.ลพบุรี ติดต่อส�ำรองห้องพัก 061-6433122, 088-7258127, 062-5247828 river-flowers@hotmail.com www. river-flowersresort.com

LOP BURI I SBL บันทึกประเทศไทย

Ad-

&

2

.indd 17

17

1/8/2561 15:56:17


UNDER HIS GRACIOUSNESS บันทึกเส้นทางใต้ร่มพระบารมี

ชุบชีวิตป่าจ�ำปีสิรินธร ด้วย โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ (จังหวัดลพบุรี) 18

SBL บันทึกประเทศไทย I LORBURI

6

.indd 18

8/8/2561 16:04:30


หลายท่ า นอาจยั ง ไม่ ท ราบว่ า จั ง หวั ด ลพบุรีที่อยู่ ไม่ ไกลจากกรุงเทพมหานครนี้จะมี ป่าพรุน�้ำจืด หรือป่าชุ่มน�้ำ อันเป็นแหล่งก�ำเนิด จ�ำปีพันธุ์ ใหม่ของโลก แต่เป็นไม้ดอกที่เก่าแก่ ดึกก�ำบรรพ์ที่สุด นั่นก็คือ “จ�ำปีสิรินธร” แต่ด้วยเหตุท่ีจ�ำปีดังกล่าว เป็นไม้ที่มีความ เสีย่ งต่อการสูญพันธุ์ “โครงการอนุรกั ษ์พนั ธุกรรม พืชอันเนื่องมาจากพระราชด�ำริ จังหวัดลพบุรี” จึงถือก�ำเนิดขึ้นตั้งแต่ปี 2549 และปัจจุบันเป็น โครงการฯที่หลายๆ หน่วยงานในจังหวัดลพบุรี ให้ ค วามส� ำ คั ญ และสานต่ อ ผ่ า นการด� ำ เนิ น กิ จ กรรมและโครงการเพื่ อ การอนุ รั ก ษ์ และ ปลู ก จิ ต ส� ำ นึ ก เรื่ อ งการดู แ ลเอาใจใส่ ส ภาพ แวดล้ อ ม เพื่ อ ช่ ว ยกั น ปกป้ อ ง “จ� ำ ปี สิ ริ น ธร” รวมทัง้ พรรณไม้หายากอืน่ ๆ ให้อยูค่ จู่ งั หวัดลพบุรี สืบไป ความเป็นมาของโครงการอนุรกั ษ์พนั ธุกรรมพืชฯ เนื่ อ งด้ ว ยพระบาทสมเด็ จ พระปรมิ น ทรมหา ภูมพิ ลอดุลยเดช ทรงมีพระราชด�ำริให้ดำ� เนินการ ส�ำรวจและอนุรกั ษ์พรรณพืชต่างๆ ทีห่ ายาก และ ก�ำลังจะสูญพันธุ์ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2503 ต่อมาในปี พ.ศ. 2535 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยาม บรมราชกุมารี ได้ทรงสานต่อพระราชปณิธาน โดยมี พ ระราชด� ำ ริ กั บ นายแก้ ว ขวั ญ วั ช โรทั ย เลขาธิการพระราชวัง ให้ด�ำเนินการอนุรักษ์พืช พรรณของประเทศ โดยพระราชทานให้โครงการ ส่วนพระองค์ฯ สวนจิตรดา เป็น ผู้ด�ำเนินการ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536 เป็นต้นมา

การด�ำเนินงานโครงการอนุรกั ษ์พนั ธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชด�ำริฯ ในระยะที่ผ่านมา ถึ ง ปั จ จุ บั น มี ห น่ ว ยงานต่ า งๆ ร่ ว มสนองพระ ราชด� ำ ริ เ พิ่ ม มากขึ้ น ท� ำ ให้ พื้ น ที่ แ ละกิ จ กรรม ด�ำเนินงานของโครงการกระจายออกไปในภูมภิ าค ต่างๆ และมีการด�ำเนินงานที่หลากหลาย โดย โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจาก พระราชด�ำริฯ ได้มอบทุนสนับสนุนการวิจัยเป็น ระยะเวลา 4 ปี (พ.ศ. 2540-2544) ให้ดร.ปิยะ เฉลิ ม กลิ่ น นั ก วิ ช าการ 10 สถาบั น วิ จั ย วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ท�ำ โครงการอนุรกั ษ์พนั ธุกรรมพืชในวงศ์ไม้จำ� ปา โดย ได้มีการส�ำรวจแหล่งก�ำเนิดของไม้จ�ำปาทุกชนิด ทุกแหล่งทัว่ ประเทศไทย ส�ำรวจเรือ่ งการกระจาย พันธุ์ การนับจ�ำนวนต้นที่มีอยู่ในสภาพธรรมชาติ การศึกษาสภาพของความใกล้จะสูญพันธุ์ ปัญหา

ของการสืบพันธุ์ ปัญหาของโรคแมลง ปัจจัย ควบคุมการกระจายพันธุต์ ามธรรมชาติ ตลอดจน แนวทางในการแก้ปัญหา ในปีพ.ศ. 2541 ดร.ปิยะได้ค้นพบจ�ำปีชนิด ใหม่ของโลก (New Species) ทีม่ ลี กั ษณะเด่นคือ ล�ำต้นสูงประมาณ 20 – 30 ม. ใบใหญ่กว่าจ�ำปี ทัว่ ไป มีกลิน่ ฉุนเฉพาะตัว ดอกสีขาวนวล(เหมือน จ�ำปี) มีกลีบดอก 12-15 กลีบ ทว่าเมื่อดอกโรย แล้วจะมีสีเหลือง(เหมือนจ�ำปา) และมีเมล็ดเป็น ช่ออยู่รวมเป็นกลุ่ม ออกดอกบานระหว่างเดือน มิถนุ ายน-กรกฎาคม ผลแก่ระหว่างเดือนตุลาคมเดือนพฤศจิกายน โดยส�ำรวจพบว่าจ�ำปีดังกล่าว มีแหล่งก�ำเนิดเพียงสองแห่งในประเทศไทย คือ บริเวณพืน้ ทีช่ มุ่ น�ำ้ หรือป่าพรุนำ�้ จืด บ้านซับจ�ำปา อ�ำเภอท่าหลวง จังหวัดลพบุรี และที่ป่าพรุน�้ำจืด ต�ำบลน�้ำสวย อ�ำเภอเมือง จังหวัดเลย

LOP BURI I SBL บันทึกประเทศไทย

6

.indd 19

19

8/8/2561 16:04:41


ผู้ด�ำเนินโครงการฯ จึงได้ขอพระราชทานชื่อ จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราช กุมารี ซึ่งได้พระราชทานพระนามาภิไธยของ พระองค์ ให้ เ ป็ น ชื่ อ พรรณไม้ ช นิ ด ใหม่ นี้ ว ่ า “จ�ำปีสิรินธร” เมื่อเดือนสิงหาคม 2543 และได้ รายงานในวารสารจ�ำแนกพรรณไม้นานาชาติ BLUMEA ในปี พ.ศ.2543 ในชื่อของ Magnolia Sirindhorniae Noot.&Chalermglin เพื่อเป็นการสนองพระราชด�ำริของสมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี กรม ป่าไม้จึงได้จัดตั้ง โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนือ่ งมาจากพระราชด�ำริ จังหวัดลพบุรี ขึน้ ใน ปีงบประมาณ 2549 (ธันวาคม 2548) โดยมี วัตถุประสงค์ ดังนี้ 1. เพือ่ สนองพระราชด�ำริ ในโครงการอนุรกั ษ์ พั น ธุ ก รรมพื ช อั น เนื่ อ งมาจากพระราชด� ำ ริ ฯ อนุ รั ก ษ์ พื ช พรรณและความยั่ ง ยื น ทางชี ว ภาพ (Biodiversity) ของจังหวัดลพบุรโี ดยเริม่ จากจ�ำปี สิรินธร 2. เพื่อศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ เพือ่ สร้างฐานองค์ความรูท้ างวิทยาการทีจ่ ะน�ำไป สู่การอนุรักษ์และพัฒนา 3. ปลูกฝังให้เด็กและเยาวชน ประชาชนทัว่ ไป เห็นความส�ำคัญของพันธุกรรมพืชและทรัพยากร ร่วมคิดร่วมปฏิบัติ จนเกิดประโยชน์แก่มหาชน และมีระบบข้อมูลที่สื่อถึงกัน 20

SBL บันทึกประเทศไทย I LOP BURI

6

.indd 20

8/8/2561 16:04:50


“เป้าหมายที่ส�ำคัญคือ เพื่อสงเคราะห์ช่วย เหลือประชาชนให้มีความร่มเย็นเป็นสุข และอยู่ดีกินดี อันจะน�ำไปสู่ความมั่นคง ของประเทศ คือ ชัยชนะแห่งการพัฒนา” ลักษณะการด�ำเนินกิจกรรม

การด�ำเนินงานตามศักยภาพและความพร้อม เพื่อให้สอดคล้องกับแผนแม่บท อพ.สธ. ระยะ 5 ปีที่สี่ โดยมีกรอบการด�ำเนินงานดังนี้ 1. กรอบการเรียนรู้ทรัพยากร 1.1 กิจกรรมปกปักพันธุกรรมพืช 1.2 กิจกรรมส�ำรวจเก็บรวบรวมพันธุกรรมพืช 1.3 กิจกรรมปลูกรักษาพันธุกรรมพืช 2. กรอบการใช้ประโยชน์กิจกรรมศูนย์ข้อมูล พันธุกรรมพืช 3. กรอบการสร้ า งจิ ต ส� ำ นึ ก กิ จ กรรมพิ เ ศษ สนับสนุนการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช รู้จัก “จ�ำปีสิรินธร” ไม้ดอกดึกด�ำบรรพ์

เมื่อปี 2541 ดร.ปิยะ เฉลิมกลิ่น ได้ส�ำรวจ ต้นไม้ในป่าพรุน�้ำจืด ที่บ้านซับจ�ำปา อ�ำเภอท่า หลวง จังหวัดลพบุรี ซึ่งมีพื้นที่ประมาณ 141 ไร่ โดยพบต้นไม้ซึ่งไม่สามารถบอกได้ว่าเป็นจ�ำปี หรือจ�ำปา เพราะยังไม่พบดอก แต่ชาวบ้านใน ท้องถิ่นนั้น เรียกว่า จ�ำปา มีต้นที่มีขนาดใหญ่ สูง 15-25 เมตร ล�ำต้นมีเส้น ผ่านศูนย์กลาง 1 เมตร ประมาณ 4-5 ต้น ส่วนล�ำดับที่มีขนาด เล็กกว่ามีเส้นผ่าศูนย์กลาง 40-100 เซนติเมตร พบอยู่ประมาณ 20 ต้น จากการส�ำรวจทางนิเวศวิทยาสามารถระบุ ได้ว่า ต้นไม้ชนิดนี้มีความแตกต่างจากจ�ำปี หรือ จ�ำปาชนิดอืน่ ๆ ซึง่ โดยปกติจะขึน้ อยูบ่ นพืน้ ทีด่ อน บนภู เ ขา หรื อ ตามพื้ น ดิ น มี ก ารระบายน�้ ำ ดี แต่ ต ้ น ไม้ ที่ พ บกลั บ สามารถเจริ ญ เติ บ โตได้ ใ น สภาพพื้นที่ชุ่มน�้ำหรือป่าพรุน�้ำจืด และน�้ำใน บริเวณนี้จะมีความเป็นด่างสูงกว่าในพื้นที่อื่น ต่อมาส�ำรวจพบต้นไม้ชนิดเดียวกันนี้ในป่าพรุ น�้ำจืดของบ้านน�้ำสวย ต�ำบลน�้ำสวย อ�ำเภอเมือง จังหวัดเลย

LOP BURI I SBL บันทึกประเทศไทย

6

.indd 21

21

8/8/2561 16:04:58


ลักษณะเด่นของจ�ำปีสิรินธรจัดอยู่ในวงศ์ จ�ำปา (Family Magnoliaceae) ซึ่ง เป็นพรรณไม้ที่เก่าแก่ดึกด�ำบรรพ์มาก ที่สุดในหมู่ของไม้ดอกที่มีอยู่ในยุคปัจจุบัน นี้ และมีวิวัฒนาการในการปรับตัวต�่ำที่สุด จึงเป็นพรรณไม้ที่มีโอกาสสูญพันธุ์ใน สภาพธรรมชาติได้มากที่สุด ต่อมาผู้วิจัยได้น�ำข้อมูลมาเปรียบเทียบกับ พรรณไม้ ว งศ์ จ�ำ ปาที่ มี อ ยู ่ ใ นประเทศไทยและ ประเทศข้างเคียง สามารถระบุได้ว่าเป็นพรรณ ไม้ชนิดใหม่ของโลก (New Species) เมื่อมีการ ส่ ง ตั ว อย่ า งไปตรวจสอบรายละเอี ย ดซ�้ ำ ที่ ห อ พรรณไม้ ไ ลเดน ประเทศเนเธอแลนด์ ทาง ศาสตราจารย์ฮัน พี นูติบูม ผู้เชี่ยวชาญพรรณไม้ วงศ์จ�ำปา ก็ยืนยันว่าเป็นไม้ชนิดใหม่ของโลก ที่มีลักษณะเด่นแตกต่างจากชนิดอื่น คือขึ้นแช่ น�้ำอยู่ในป่าพรุน�้ำจืดของภาคกลาง การใช้ประโยชน์

ส�ำหรับจ�ำปีสริ นิ ธรทีข่ นึ้ อยูใ่ นแหล่งก�ำเนิดเดิม ซึ่งเป็นพื้นที่อนุรักษ์ ไม่อนุญาตให้มีการตัดฟัน หรือน�ำเนื้อไม้มาใช้ประโยชน์ ถึงแม้จะมีล�ำต้น ขนาดค่อนข้างใหญ่ และมีเนื้อไม้แข็ง แต่จะมีการ ใช้ประโยชน์ในด้านที่เป็นแหล่งผลิตเมล็ดพันธุ์ ในด้านการส่งเสริมการศึกษา การส่งเสริมการ ท่องเที่ยว ซึ่งคนไทยทั้งประเทศสามารถเข้ามา เที่ยวชม มาใช้ประโยชน์ในตรงนี้ได้ ในส่วนของ จ�ำปีสิรินธรที่มีการขยายพันธุ์จากแหล่งก�ำเนิด เดิ ม แล้ ว น� ำ ไปปลู ก ในแหล่ ง ก� ำ เนิ ด ใหม่ ทั่ ว ประเทศ ก็จะมีการใช้ประโยชน์ในด้านของไม้ ประดับ ในเรื่องของทรงพุ่มที่ปลูกเป็นไม้บังร่ม บังลม และไม้โชว์ทรงพุม่ ในด้านไม้ดอก จะมีการ ใช้ประโยชน์จากดอกที่หอม และสวยงามอาจน�ำ มาร้อยมาลัย เป็นยาสมุนไพร สกัดเป็นน�้ำมัน หอมระเหย ในด้านการปรับปรุงพันธุ์ สามารถใช้ เป็นพ่อพันธุ์หรือแม่พันธุ์ น�ำไปผสมกับจ�ำปีหรือ จ�ำปาชนิดอืน่ ๆ ซึง่ จะได้ลกู ผสมต่างๆ ออกมาและ สามารถคัดเลือกน�ำไปปลูกเป็นพืชเศรษฐกิจได้ใน อนาคต 22

SBL บันทึกประเทศไทย I LOP BURI

6

.indd 22

8/8/2561 16:05:27


การด�ำเนินการของจังหวัดลพบุรี

1. กิจกรรมเพาะช�ำกล้าไม้ 2. กิจกรรมส�ำรวจรวบรวมพันธุ์พืช และจัดท�ำแปลง รวบรวมพันธุ์ไม้ 3. กิจกรรมศึกษาระบบนิเวศ การขยายพันธุ์ และการน�ำ ไปใช้ประโยชน์ 4. กิจกรรมปกปักพันธุกรรมพืช (จ�ำปีสิรินธร) ขอขอบคุณที่มา

-ส�ำนักโครงการพระราชด�ำริและกิจการพิเศษ กรมป่าไม้ -กลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัด ส�ำนักงานจังหวัดลพบุรี

LOP BURI I SBL บันทึกประเทศไทย

6

.indd 23

23

8/8/2561 16:05:36


TR AV EL G U ID E

บันทึกเส้นทางความเป็นมาจังหวัดลพบุรี

24

SBL บันทึกประเทศไทย I LOP BURI

_10

.indd 24

8/8/2561 17:08:10


เมืองละโว้

ยุคทองของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช

เมืองละโว้ หรือ ลพบุรี นั้นรุ่งเรืองที่สุด

ในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช นอกจากจะเป็นที่ประทับเพื่อหลีกหนีจาก การเมือง ในพระราชส�ำนักแล้ว ยังเป็นสถานที่ที่พระองค์ เสด็จสวรรคต และเป็นการสิ้นสุดแผ่นดิน ที่ปกครองโดยราชวงศ์ปราสาททองอีกด้วย

LOP BURI I SBL บันทึกประเทศไทย

_10

.indd 25

25

8/8/2561 17:08:17


26

SBL บันทึกประเทศไทย I LOP BURI

_10

.indd 26

8/8/2561 17:08:23


สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ผู้ทรงพระปรีชาญาณ

หลังจบละครดังไปไม่นาน เชื่อว่าหลายๆ ท่านคงจะสนใจ ประวัติศาสตร์ ไทยในสมัย แผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์ มหาราชกันมากขึ้น SBL บันทึกประเทศไทย จึงขอน�ำเสนอ พระราชประวัติ พระเกี ย รติ ป ระวั ติ และ พระปรีชาญาณของพระองค์ มาเล่าสู่กันฟังอีกครั้ง

จากเหตุอัศจรรย์สู่พระนาม

“พระนารายณ์” สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงเป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ส่วนพระราชชนนีเป็นราชธิดาในสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม ทรงมีพระราชอนุชาร่วมพระชนกหลายองค์แต่ตา่ งพระชนนี กัน แต่พระราชกนิษฐภคินอี งค์เดียวทีร่ ว่ มพระราชชนนี คือ เจ้าฟ้าศรีสุวรรณ หรือพระราชกัลยาณี ภายหลังได้โปรด สถาปนาเป็นกรมหลวงโยธาทิพ สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงพระราชสมภพ เมื่อ ปีวอก พ.ศ.2175 ในพระราชพงศาวดารได้กล่าวถึงที่มา ของพระนามว่า เมือ่ คราวประสูตอิ อกมานัน้ พระญาติวงศ์ เหลือบเห็นเป็นสีก่ ร พระราชบิดาจึงพระราชทานพระนามว่า “พระนารายณ์ราชกุมาร” ทว่าในหนังสือ “ค�ำให้การชาว กรุงเก่า” และ “ค�ำให้การขุนหลวงหาวัด” ระบุวา่ เมือ่ คราวที่

เพลิงไหม้พระที่นั่งมังคลาภิเษก พระราชกุมารได้เสด็จขึ้น ไปทรงดับเพลิง ขณะนัน้ บรรดาคนทีม่ าท�ำการดับเพลิงต่าง เห็นว่าพระองค์มสี กี่ ร ครัน้ ขึน้ เสวยราชสมบัติ ข้าราชการทัง้ ปวงจึงถวายพระนามว่า “พระนารายณ์” เมือ่ ทรงพระเยาว์ได้รบั การศึกษาจากพระอาจารย์หลาย ท่าน อาทิ พระโหราธิบดี พระอาจารย์พรหม พระพิมลธรรม สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (วัดเดิม) ท�ำให้ทรงพระปรีชา แตกฉาน สามารถพระราชนิพนธ์กาพย์กลอนโคลงฉันท์ และ ทรงโปรดการทรงม้าทรงช้างและแข่งเรือตัง้ แต่ทรงพระเยาว์ ทรงมีพระสหายในเยาว์วัย 2 คน คือ เจ้าพระยาโกษาธิบดี (ขุนเหล็ก) บุตรเจ้าแม่วัดดุสิต ซึ่งเป็นแม่นมของสมเด็จ พระนารายณ์ฯ และพระเพทราชา บุตรแม่นมอีกคนหนึ่ง แม่นมทั้งสองนี้มีลูกต่อมาอีกคนละคน คือ เจ้าแม่วัดดุสิต มารดาเจ้าพระยาโกษาธิบดี (ขุนเหล็ก) มีลกู ชายอีกคนหนึง่ คือ พระยาโกษาธิบดี (ปาน) และมารดาพระเพทราชามี ลู ก สาว คื อ ท้ า วศรี จุ ฬ าลั ก ษณ์ ซึ่งเป็นพระสนมเอกใน สมเด็จพระนารายณ์ LOP BURI I SBL บันทึกประเทศไทย

_10

.indd 27

27

8/8/2561 17:08:30


28

SBL บันทึกประเทศไทย I LOP BURI

_10

.indd 28

8/8/2561 17:08:39


เสวยราชย์เป็นกษัตริย์ ล�ำดับที่ 27 แห่งกรุงศรีฯ

ก่อนที่สมเด็จพระเจ้าปราสาททองสวรรคต ได้ตรัสมอบราชสมบัติแก่เจ้าฟ้าไชย พระบรมเชษฐโอรส สมเด็จพระนารายณ์กบั พระศรีสธุ รรมผูเ้ ป็นพระเจ้าอา จึงคิดก�ำจัดเจ้าฟ้าไชย แล้ว ถวายราชสมบัตแิ ด่พระเจ้าอาเป็นสมเด็จพระศรีสธุ รรมราชา ส่วนสมเด็จพระนารายณ์ ทรงด�ำรงต�ำแหน่งพระมหาอุปราช กรมพระราชวังบวรฯ ประทับอยู่ ณ วังจันทรเกษม กาลต่อมาทรงก�ำจัดสมเด็จพระศรีสุธรรมราชา เนื่องจากทรงมีพระประสงค์จะได้ พระราชกัลยาณี(พระราชกนิษฐภคินี) มาเป็นพระชายา สมเด็จพระนารายณ์เสด็จ เถลิงถวัลยราชสมบัติ เมื่อวันพฤหัสบดี แรม 2 ค�่ำ เดือน 12 ปีวอก พ.ศ. 2199 ขณะมีพระชนม์ได้ 25 พระพรรษา พระนามว่า “สมเด็จพระรามาธิบดี ที่ 3” เป็น พระมหากษัตริย์ล�ำดับที่ 27 แห่งกรุงศรีอยุธยา และได้ประทับอยู่พระราชวังจันทร เกษมตามเดิม จนถึงปีฉลู พ.ศ. 2204 หรือปีขาล พ.ศ.2205 จึงเสด็จลงมาประทับ ณ พระราชวังหลวง และประทับเสวยราชย์อยู่ ณ กรุงศรีอยุธยาราว 10 ปี

ทรงสร้างเมืองลพบุรี

เป็นราชธานีแห่งที่ 2 ด้วยพระปรีชาญาณทรงเล็งเห็นว่าหากมีราชธานีอยู่เพียงแห่งเดียว อาจเป็นการเสี่ยงต่อชาวฮอลันดาที่เข้ามาค้าขายและเสี่ยงต่อการถูกปิดล้อม โจมตีได้ จึงโปรดให้ทำ� นุบำ� รุงเมืองลพบุรขี นึ้ ใหม่ เมือ่ ราว พ.ศ.2209 ด้วยมียทุ ธศาสตร์ เหมาะสมที่จะเป็นราชธานีแห่งที่สองส�ำหรับให้การต้อนรับชาวต่างชาติที่เข้ามาเจริญ สัมพันธไมตรี โดยช่างชาวฝรั่งเศสและอิตาเลียนได้สร้างพระราชวังที่มีป้อมปราการ เป็นแนวป้องกันอย่างมั่นคง คนทั่วไปพากันเรียกว่า “เมืองใหม่” ภายหลังสมเด็จ พระนารายณ์ได้เสด็จแปรพระราชฐานไปประทับ ณ เมืองลพบุรี ราวปีละ 8-9 เดือน และจะเสด็จลงมาประทับ ณ กรุงศรีอยุธยาราวปีละ 3-4 เดือน หรือเฉพาะในเวลามี งานพระราชพิธี แม้ขณะสวรรคตเมือ่ วันอาทิตย์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2231 ก็สวรรคต ณ พระทีน่ งั่ สุธาสวรรย์ ภายในพระนารายณ์ราชนิเวศน์ รวมด�ำรงราชสมบัตนิ าน 32 ปี สิรริ วมพระชนมายุ 56 พรรษา ทรงมีพระราชธิดาพระองค์เดียวคือ กรมหลวงโยธาเทพ

LOP BURI I SBL บันทึกประเทศไทย

_10

.indd 29

29

8/8/2561 17:08:44


พระเกียรติประวัติลือเลื่อง สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรง พระปรีชาสามารถในหลาย ๆ ด้าน จนได้รับการเทิดพระเกียรติ เป็น “มหาราช” ดังนี้ ด้านการเมืองการปกครอง

ทรงมีพระปรีชาสามารถในรัฐประศาสโนบายทั้งภายในกรุงศรีอยุธยา และการเมื อ งต่ างประเทศเป็น อย่า งดี ทรงน�ำความเจริญรุ่งเรืองมาสู่ กรุงศรีอยุธยาเป็นอย่างมาก ทรงมีพระบรมเดชานุภาพทีย่ งิ่ ใหญ่ ทรงได้รบั ชัยชนะในการท�ำสงครามกับอาณาจักรต่างๆ ใกล้เคียงหลายครัง้ ทรงเจริญ สัมพันธไมตรีกับหลากหลายประเทศ เช่น จีน ญี่ปุ่น ฮอลันดา อังกฤษ อิหร่าน ที่ส�ำคัญที่สุดคือได้ส่งคณะทูตไปเจริญสัมพันธไมตรีกับราชส�ำนัก พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศสถึง 4 ครั้ง จนได้รับการเทิดทูนว่าทรง เป็ น นั ก การทู ต ที่ ยิ่ ง ใหญ่ และเป็ น ยุ ค สมั ย ที่ น านาชาติ ไ ด้ ป ระจั ก ษ์ ใ น แสนยานุภาพของกรุงศรีอยุธยาด้วย ด้านการค้าขาย

ในสมั ย สมเด็ จ พระนารายณ์ ม หาราช ได้ มี ก ารติ ด ต่ อ ค้ า ขายกั บ ต่างประเทศมากยิ่งกว่าในรัชสมัยอื่นๆ ทรงปรับปรุงกรมพระคลังสินค้า โปรดเกล้าฯ ให้ต่อเรือก�ำปั่นหลวง เพื่อท�ำการค้ากับต่างประเทศ จึงท�ำให้ 30

กรุงศรีอยุธยาเป็นศูนย์กลางการค้ากับชาวต่างประเทศ และต่อมาเมื่อ เจ้าพระยาวิชาเยนทร์ (คอนสแตนติน ฟอลคอน) ผู้เป็นชาวกรีกได้ช่วย ปรับปรุงงานของกรมพระคลังสินค้าอีก ท�ำให้การค้าขายกับต่างประเทศ เจริญรุง่ เรืองสูงสุด มีพอ่ ค้าชาวฝรัง่ เศสบันทึกไว้วา่ “ในชมพูทวีปไม่มเี มืองใด ทีจ่ ะแลกเปลีย่ นสินค้ามากเท่ากับในสยาม สินค้าขายได้ดมี ากในสยามและ การซื้อขายใช้เงินสด” ส�ำหรับเมืองท่าของไทยในเวลานั้น มีอยู่หลายเมือง ด้วยกัน ได้แก่ มะริด ตะนาวศรี ภูเก็ต ปัตตานี สงขลา นครศรีธรรมราช เพชรบุรี และบางกอก

SBL บันทึกประเทศไทย I LOP BURI

_10

.indd 30

8/8/2561 17:08:54


_10

.indd 31

8/8/2561 17:08:58


32

SBL บันทึกประเทศไทย I LOP BURI

_10

.indd 32

8/8/2561 17:09:06


TRAVEL G UIDE

บันทึกเส้นทางความเป็นมาจังหวัดลพบุรี

ด้านศาสนา

ในรัชสมัยของพระองค์มพี ระมหาเถรานุเถระผูแ้ ตกฉานในคัมภีร์ พระไตรปิฎกและทรงวิทยาคุณมากมาย อีกทั้งพระองค์ทรงฝักใฝ่ ในทางพระธรรมและข้อวัตรปฏิบัติในพระพุทธศาสนา ทรงวิสาสะ กับพระเถรานุเถระทั้งหลายเหล่านั้นอยู่เนืองๆ และจากการที่ ส มเด็ จ พระนารายณ์ ฯ ส่ ง คณะทู ต ไปเจริ ญ สัมพันธไมตรีกับฝรั่งเศส ท�ำให้พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ทรงเข้าใจว่า พระองค์ทรงเลือ่ มใสในคริสตศาสนาและมีพระราชประสงค์จะเข้ารีต จึง ได้จดั คณะราชทูตซึง่ น�ำโดยเชอวาเลียร์ เดอ โชมองต์ เข้าเฝ้าสมเด็จ พระนารายณ์ฯเมือ่ ปี พ.ศ.2228 เพือ่ ทูลขอให้ทรงเข้ารีต แต่พระองค์ ทรงปฏิเสธด้วยพระปรีชาสามารถว่า “การทีผ่ ใู้ ดจะนับถือศาสนาใดนัน้ ย่อมแล้วแต่พระผูเ้ ป็นเจ้าบน สวรรค์จะบันดาลให้เป็นไป ถ้าคริสตศาสนาเป็นศาสนาดีจริงแล้ว และเห็นว่าพระองค์สมควรที่จะเข้าเป็นคริสตศาสนิกแล้ว สักวัน หนึ่งพระองค์จะถูกดลใจให้เข้ารีตจนได้” นอกจากนีพ้ ระองค์ยงั ทรงให้เสรีภาพแก่ราษฎรทัว่ ไป ทีจ่ ะเลือก นับถือคริสตศาสนาก็ได้ตามความเลื่อมใส ท�ำให้เชอวาเลียร์ เดอ โชมองต์ พอใจ ด้านศิลปวรรณคดี

นอกจากพระปรีชาญาณด้านต่างๆ ที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว พระองค์ยังทรงวรรณกรรมไว้หลายเรื่อง อาทิ สมุทรโฆษค�ำฉันท์ (หน้า 213-228), พระราชนิพนธ์โคลงสุภาษิต 3 เรื่อง คือ พาลี สอนน้อง 32 บท ทศรถสอนพระราม 12 บท ราชสวัสดิ์ 63 บท, ค�ำฉันท์กล่อมช้าง (ของเก่า), เพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยา และเพลงยาวสังวาสบางบท, บทพระราชนิพนธ์โคลงโต้ตอบกับศรี ปราชญ์และกวีมีชื่ออื่นๆ อีกทั้งยังทรงอุปถัมภ์บ�ำรุงนักวรรณคดี นักปราชญ์ราชบัณฑิต และทรงโปรดสนับสนุนงานกวีนิพนธ์ให้เฟื่องฟู เช่น สมุทรโฆษค�ำ ฉันท์ของพระมหาราชครู โคลงเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนารายณ์ มหาราชของหลวงศรีมโหสถ จินดามณีของพระโหราธิบดี ซึง่ นับเป็น ต�ำราเรียนหนังสือไทยเล่มแรก และอนิรทุ ธค�ำฉันท์ของศรีปราชญ์กวี เอกแห่งราชส�ำนัก เป็นต้น จนยุคนีไ้ ด้ชอื่ ว่ายุคทองของวรรณคดีไทย ด้านการชลประทาน

การที่พระองค์โปรดให้สร้างเมืองลพบุรีเป็นราชธานีที่สอง และ โปรดประทับที่เมืองลพบุรีปีละ 8 - 9 เดือนนั้น เป็นการน�ำความ เจริญรุ่งเรืองมาสู่เมืองลพบุรี เพราะมีสิ่งปลูกสร้างที่ได้รับอิทธิพล จากชาวตะวันตก อาทิ หอดูดาว ก�ำแพงเมือง ประตูเมือง ป้อมปืน เมืองลพบุรี โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบประปา ซึ่งโปรดให้สร้างที่ ขังน�้ำที่ซับเหล็ก เชิงเขาสามยอด แล้วท�ำเขื่อนศิลาหรือท�ำนบกั้น จากระหว่างเขาหนีบกับเขาแก้ว เพือ่ กักน�ำ้ ไว้ให้นงิ่ แล้วไขน�ำ้ มาทาง พระทีน่ งั่ เย็น (ทะเลชุบศร) แล้วกระแสน�ำ้ ไหลมาออกประตูปากจัน่

มากักไว้ที่สระแก้ว (เก่า) ซึ่งอยู่หลังโรงภาพยนตร์ทหารบกทางหนึ่ง และ มีทฝี่ งั ท่อใต้ดนิ อย่างท่อประปาสมัยนี้ เพือ่ ชักน�ำ้ เข้ามาลงสระแก้วอีกทาง หนึ่ง แล้วชักน�้ำเข้ามาใช้ในพระราชวัง ด้ ว ยส� ำ นึ ก ในพระมหากรุ ณ าธิ คุ ณ แห่ ง องค์ ส มเด็ จ พระนารายณ์ มหาราช รัฐบาลสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้ดำ� เนิน การสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนารายณ์มหาราช เป็นพระ รูปปั้นประทับยืนบนแท่นฐานสี่เหลี่ยม หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ ทรงเครื่อง ฉลองพระองค์เต็มยศ สวมพระพิชัยมงกุฎ พระหัตถ์ขวาทรงพระแสง ดาบ โดยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จ พระราชด�ำเนินมาทรงประกอบพิธีเปิด เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2509 ซึง่ เป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของพระองค์ และทุกๆ ปี จังหวัด ลพบุรีได้จัดให้มี “งานแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช” ขึ้น ในช่วง ประมาณเดือนกุมภาพันธ์ เพื่อเป็นการร�ำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของ พระองค์ที่มีต่อลพบุรีและประเทศชาติ LOP BURI I SBL บันทึกประเทศไทย

_10

.indd 33

33

8/8/2561 17:09:14


เขื่อนป่าสัก ชลสิ ท ธิ์ เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ เป็นเขื่อนอันเนื่องมาจากพระราชด�ำริของ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 เพื่อใช้ประโยชน์ ในการบรรเทาอุทกภัย ให้ กั บ กรุ ง เทพมหานคร และปริ ม ณฑล นอกจากนี้ ยั ง มี ป ระโยชน์ ใ นด้ า นการ ชลประทาน ด้านรักษาระบบนิเวศ การป้องกันน�้ำเค็ม และการท่องเที่ยว ก่อสร้าง แล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2542 เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ มีลักษณะแตกต่างจาก เขื่อนกักเก็บน�้ำทั่วไป คือเป็นเขื่อนที่กักเก็บน�้ำ บนพื้นที่ราบ จึงมีลักษณะเป็นผืนน�้ำกว้างขวาง เหมือนทะเล โดยมีลมพัดแรงในช่วงฤดูหนาว ดั ง นั้ น เขื่ อ นป่ า สั ก ชลสิ ท ธิ์ จึ ง เปรี ย บเสมื อ น “ทะเลน�้ำจืดของประเทศไทย” ท�ำให้เกิด การ ท่ อ งเที่ ย วภายในเขื่ อ นที่ ห ลากหลาย คื อ กีฬาพารามอเตอร์ รวมทั้งยังมีบริการบ้านพัก กางเต้นท์ รถลากจูงชมเขื่อน และฟาร์มแพะ แกะ ให้กับนักท่องเที่ยวอีกด้วย

34

สถานที่ท่องเที่ยว พระพุทธรัตนมณีมหาบพิตรชลสิทธิม์ งคลชัย (หลวงปู่ใหญ่ป่าสัก) อยู่บริเวณท้ายเขื่อนป่าสัก ชลสิทธิ์ ที่หยุดรถไฟเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ เป็นที่หยุด รถไฟของการรถไฟแห่งประเทศไทย ตัง้ อยูบ่ ริเวณ ทางเข้าเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จังหวัดลพบุรี อยู่ใน เขตทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งสร้าง ขึ้นเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว โดยที่หยุดรถนี้จะมี ร ถ ไ ฟ ส า ย พิ เ ศ ษ เ พื่ อ ก า ร ท ่ อ ง เ ที่ ย ว คื อ สายกรุงเทพ-เขือ่ นป่าสักชลสิทธิ์ เปิดให้บริการใน ช่ ว งเทศกาลการท่ อ งเที่ ย ว ระหว่ า งเดื อ น พฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี

มีบริการบ้านพักนักท่องเที่ยว ติดต่อบ้านพักนักท่องเที่ยว เบอร์โครงการ : 036-494-291 เบอร์สวัสดิการ : 036-494-243 Facebook : โครงการส่งน�้ำและบ�ำรุง รักษาป่าสักชลสิทธิ์ E-mail : pasakdam@gmail.com

SBL บันทึกประเทศไทย I LOP BURI

1

.indd 34

31/7/2561 11:52:39


สารจากผู้ ว่า ราชการจัง หวัด ลพบุรี

EXCLUSIVE INTERVIEW

สารจากผู้ ว่ า ราชการ จังหวัดลพบุรี นายสุปกิต โพธิ์ปภาพั นธ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี

เป็นที่ทราบกันดีว่า จังหวัดลพบุรี นั้นเป็นเมืองที่มีความเจริญรุ่งเรือง มาตั้งแต่สมัยโบราณโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช

พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้บูรณะเมือง ลพบุรีขึ้นใหม่ให้เป็นราชธานีแห่งที่ 2 เพื่อ ความมั่งคงแห่งอาณาจักรกรุงศรีอยุธยา และเพือ่ รองรับราชทูตจากนานาชาติทเี่ ข้ามา เจริญสัมพันธไมตรี นับเป็นความภาคภูมใิ จ อย่างยิ่งของชาวจังหวัดลพบุรี ปัจจุบนั จังหวัดลพบุรไี ม่ได้มคี วามส�ำคัญ ยิง่ หย่อนไปกว่าในสมัยอดีต เพราะเราเป็น ศูนย์กลางทางทหารที่ใหญ่เป็นอันดับสอง ของประเทศ จนลพบุรีได้ชื่อว่าเป็นเมือง ทหาร เป็นฐานการผลิตสินค้าเกษตรและ อาหารปลอดภัยที่ใหญ่ที่สุดของภาคกลาง ตอนบน เป็นฐานการผลิตพลังงานทดแทน จากแสงอาทิต ย์ที่ใ หญ่ที่สุดของประเทศ และเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ โบราณคดี วิถชี วี ติ ชุมชนและธรรมชาติทอี่ ยู่

_

.indd 35

ใกล้ ก รุ ง เทพมหานคร แต่ ไ ม่ ว ่ า เราจะมี ความส�ำคัญต่อการพัฒนาประเทศเพียงใด สิ่งที่เป็นหัวใจของการพัฒนาจังหวัดลพบุรี ก็คอื “เมืองแห่งความสุข” ซึง่ หมายถึงเมือง แห่งการเติบโตอย่างมีความสุข มีเป้าหมาย มุ่งสู่การสร้างเศรษฐกิจ สังคมที่เข้มแข็ง มีสขุ ภาวะทีด่ อี ย่างยัง่ ยืน มีความงดงามด้าน อารยธรรม ทัศนียภาพและความสมบูรณ์ ทางธรรมชาติ ซึง่ ประชาชนทุกคน สามารถ ใช้ประโยชน์และสัมผัสได้ ในโอกาสที่ นิ ต ยสาร SBL บั น ทึ ก ประเทศไทย ได้ ล งพื้ น ที่ เ พื่ อ น� ำ เสนอ เรือ่ งราวของจังหวัดลพบุรใี นด้านต่างๆ ต่อ สาธารณชน โดยที่ ห น่ ว ยงานทั้ ง ภาครั ฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ต่างร่วมแรง ร่ ว มใจกั น ถ่ า ยทอดสิ่ ง ที่ ดี ง าม สิ่ ง ที่ เ ป็ น

ความเจริญก้าวหน้าในจังหวัด ตลอดจน ให้ ก ารสนั บ สนุ น การจั ด พิ ม พ์ จ นส� ำ เร็ จ ลุ ล ่ ว งนี้ ท� ำ ให้ ผ มรู ้ สึ ก ซาบซึ้ ง ใจอย่ า งยิ่ ง จึงถือโอกาสนีก้ ล่าวขอบพระคุณทุกภาคส่วน ที่ ร ่ ว มขั บ เคลื่ อ นการพั ฒ นาตามแนว นโยบายประชารัฐ และขออ�ำนวยพรให้ทกุ ๆ ท่าน ประสบแต่ความสุขความเจริญในทุกๆ ด้าน และมีพลานามัยที่แข็งแรง ปราศจาก โรคภัยใดๆ มาแผ้วพานครับ

(นายสุปกิต โพธิป์ ภาพันธ์) ผูว้ า่ ราชการจังหวัดลพบุรี

8/8/2561 17:02:50


E XC L US I V E I N T E R V I E W บันทึกเส้นทางพบผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี

36

_

SBL บันทึกประเทศไทย I LOP BURI

.indd 36

8/8/2561 17:03:00


แหล่งผลิตอาหารปลอดภัย ท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ สู่เมืองแห่งความสุข วิสัยทัศน์ : ของจังหวัดลพบุรี

นายสุปกิต โพธิ์ปภาพั นธ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี หากเราๆ ท่านๆ ได้ทราบถึงประวัติการศึกษาและ การรับราชการของ นายสุปกิต โพธิ์ปภาพันธ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี คนใหม่แกะกล่องท่านนี้ เชื่อว่าหลาย ๆ ท่านจะไม่สงสัยเลยว่า เหตุใดท่าน จึงมาเป็น “พ่ อ เมื อ งลพบุ รี ” เมืองซึ่งในอดีต มีความส�ำคัญดุจดั่งราชธานีแห่งที่สอง และ ปัจจุบันก็เป็นจังหวัดที่มีความส�ำคัญด้าน ความมั่นคงทางทหารและความมั่นคงทางพลังงาน เพราะเป็นที่ตั้งของศูนย์บัญชาการทางทหารหลาย หน่วยงาน และเป็นแหล่งผลิตพลังงานทดแทน จากแสงอาทิตย์ ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและมีจ�ำนวน มากที่สุดในประเทศไทย “ลพบุรีเมืองแห่งความสุข อันมั่งคง มั่งคั่ง ยั่งยืน”

LOP BURI I SBL บันทึกประเทศไทย

_

.indd 37

37

8/8/2561 17:03:05


EXCLUSIVE INTERVIEW

ด้านการศึกษา

ส�ำเร็จการศึกษาด้านวิศวกรรมศาสตร์ (วิศวกรรมโยธา) จากประเทศฟิลิปปินส์, เป็นมหาบัณฑิตด้านการจัดการภาครัฐและ เอกชน จากสถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหาร ศาสตร์(นิดา้ ) และส�ำเร็จการอบรมหลักสูตร ต่างๆ อีกมากมาย ด้านการรับราชการ ท่านมีความเชี่ยวชาญด้านการป้องกันและ บรรเทาสาธารณภัยเป็นพิเศษ โดยเริ่มต้น ปฏิ บั ติ ห น้ า ที่ ใ นต� ำ แหน่ ง ผู ้ อ� ำ นวยการ ศู น ย์ เ ทคโนโลยีสารสนเทศ กรมป้อ งกัน และบรรเทาสาธารณภั ย ต่ อ มาได้ เ ป็ น ผูเ้ ชีย่ วชาญเฉพาะด้านการบริหารความเสีย่ ง ด้านสาธารณภัย ศูนย์อ�ำนวยการบรรเทา สาธารณภั ย กรมป้ อ งกั น และบรรเทา

38

_

สาธารณภั ย จากนั้ น ได้ ไ ปปฏิ บั ติ ห น้ า ที่ ในส่วนภูมิภาค ด้วยต�ำแหน่ง ผู้อ�ำนวยการ ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 17 จันทบุรี เขต 2 สุพรรณบุรี เขต 3 ปราจี น บุ รี กรมป้ อ งกั น และบรรเทา สาธารณภัย (ตามล�ำดับ) จึงมารับราชการ ในส่ ว นกลางด้ ว ยการเป็ น ผู ้ อ� ำ นวยการ ส�ำนักช่วยเหลือผูป้ ระสบภัย และผูอ้ ำ� นวยการ ส� ำ นั ก นโยบายป้ อ งกั น และบรรเทา สาธารณภั ย กรมป้ อ งกั น และบรรเทา สาธารณภัย ก่อนจะขึ้นเป็นรองอธิบดีกรม ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทัง่ ได้รบั พระราชทานโปรดเกล้าฯแต่งตั้งให้ด�ำรง ต�ำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี เมื่อ เดือนตุลาคม 2560

นิตยสาร SBL บันทึกประเทศไทย มีความยินดีอย่างยิ่งที่จะพา ท่านผู้อ่านไปรู้จักจังหวัดลพบุรี ให้มากยิ่งขึ้น ผ่านมุมมองของ ท่านสุปกิต โพธิ์ปภาพันธ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี แล้วท่านจะรู้สึกว่า ลพบุรี ไม่ใช่แค่ เมืองทางผ่านอีกต่อไป แต่เป็นเมือง ที่ต้องไปใช้ชีวิตให้มีความสุข

SBL บันทึกประเทศไทย I LOP BURI

.indd 38

8/8/2561 17:03:17


ภาพรวมอันโดดเด่นของ จ.ลพบุรี

จังหวัดลพบุรีตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออก ของแม่น�้ำเจ้าพระยา มีแม่น�้ำป่าสักไหล พาดผ่านทาง ซีกตะวันตก และอยู่บนฝั่ง ซ้ า ยของแม่ น�้ ำ ลพบุ รี ลพบุ รี เ ป็ น เมื อ ง ประวัติศาสตร์ตั้งแต่สมัยทวารวดีและสมัย ลพบุรี(ขอมโบราณ) จนถึงสมัยอยุธยาที่ เมื อ งลพบุ รี มี ค วามโดดเด่ น ในหน้ า ประวัติศาสตร์ เพราะสมเด็จพระนารายณ์ มหาราชทรงบู ร ณะเมื อ งลพบุ รี ใ ห้ เ ป็ น ราชธานีแห่งที่สองขึ้น เนื่องจากพระองค์ ทรงเล็ ง เห็ น ว่ า ลพบุ รี มี ลั ก ษณะทาง ยุทธศาสตร์ที่เหมาะสม และปลอดภัยจาก การปิ ด ล้ อ มระดมยิ ง ของข้ า ศึ ก หากเกิ ด สงคราม เราจึงมีโบราณสถานมากมายที่ ท�ำรายได้จากการท่องเที่ยวให้กับจังหวัด ลพบุรี ส่วนเศรษฐกิจของจังหวัดลพบุรสี ว่ นใหญ่ จะเป็นเรือ่ งของภาคอุตสาหกรรม ทีท่ ำ� รายได้ ให้จังหวัดลพบุรีค่อนข้างสูง รองลงมาจะ เป็ น เรื่ อ งเกษตรกรรม เพราะประชาชน ส่วนใหญ่ของจังหวัดประกอบอาชีพด้าน กสิ ก รรมเป็ น หลั ก จากข้ อ มู ล ผลิ ต ภั ณ ฑ์ มวลรวมจังหวัดลพบุรี (GPP) ปี 2557 ภาคการเกษตรจะมีมลู ค่า 15,102 ล้านบาท มีพนื้ ทีก่ ารเกษตรทีใ่ ช้เพือ่ การเพาะปลูกพืช

เศรษฐกิจ โดยในปีพ.ศ. 2558 พืชที่มีพื้นที่ เพาะปลู ก มากที่ สุ ด ได้ แ ก่ อ้ อ ยโรงงาน รองลงมาได้ แ ก่ ข้ า วนาปี ข้ า วนาปรั ง มั น ส� ำ ปะหลั ง ข้ า วโพดเลี้ ย งสั ต ว์ และ ทานตะวัน ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด ปี 2558 จังหวัดลพบุรีมีมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวม จังหวัด 100,839 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก 94,816 ล้านบาท ในปี 2557 จ�ำนวน

6,023 ล้ า นบาท หรื อ ขยายตั ว ร้ อ ยละ 5.96 ประชากรมีรายได้ต่อหัว 129,962 บาท/คน/ปี สูงเป็นอันดับที่ 22 ของประเทศ โครงสร้างรายได้สว่ นใหญ่ของจังหวัดขึน้ กับ สาขาอุตสาหกรรม ร้อยละ 34.31 รองลงมา ได้แก่ สาขาบริหารราชการแผ่นดิน สาขา เกษตรกรรม และสาขาการขายส่งขายปลีก ร้อยละ 17.81, 15.64 และ 8.10 ตามล�ำดับ

LOP BURI I SBL บันทึกประเทศไทย

_

.indd 39

39

8/8/2561 17:03:26


EXCLUSIVE INTERVIEW

2. พัฒนาคุณภาพการท่องเที่ยวเพื่อ เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ 3. พัฒนาการศึกษา และเสริมสร้าง ศักยภาพคน ครอบครัว ชุมชนและสังคมให้ มีความสุข 4. เสริมสร้างความมัน่ คงและสร้างมูลค่า เพิม่ ด้านพลังงานทดแทนของจังหวัดลพบุรี 5. บริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมแบบมีส่วนร่วม 6. เสริมสร้างความมั่นคงให้สังคมและ ชุมชนเข้มแข็ง รู้และเข้าใจการปกครองใน ระบอบประชาธิปไตย ตามหลักธรรมาภิบาล และสร้ า งความปลอดภั ย ในชี วิ ต และ ทรัพย์สินให้กับประชาชนแบบมีส่วนร่วม เป้าประสงค์รวม (Goals)

แผนพั ฒนาจังหวัด 4 ปี (พ.ศ. 2561–2564) ต�ำแหน่งทางยุทธศาสตร์

จังหวัดลพบุรมี ตี ำ� แหน่งทางยุทธศาสตร์ คือ เป็นแหล่งผลิตสินค้าเกษตรและอาหาร ปลอดภัยทีใ่ หญ่ทสี่ ดุ ของภาคกลางตอนบน แหล่งท่องเทีย่ วทางประวัตศิ าสตร์ โบราณคดี วิถีชีวิตชุมชนและธรรมชาติ เป็นศูนย์กลาง การศึกษาของภาคกลางตอนบน วิสัยทัศน์

วิสัยทัศน์ของจังหวัดลพบุรีคือ “แหล่ง ผลิตอาหารปลอดภัย ท่องเทีย่ วเชิงสร้างสรรค์ สู่เมืองแห่งความสุข” ซึ่งค�ำนิยามของเมือง แห่งความสุขหมายถึง เมืองแห่งการเติบโต อย่างมีความสุข มีเป้าหมายมุ่งสู่การสร้าง เศรษฐกิจ สังคมที่เข้มแข็ง มีสุขภาวะที่ดี อย่างยั่งยืน และการสร้างความสัมพันธ์ให้ 40

_

เกิดกับหมู่ประชาชน สร้างสุขภาพ สร้าง ความเข้มแข็งทางกายและทางใจ มีความ งดงามด้ า นอารยธรรม ทั ศ นี ย ภาพและ ความสมบูรณ์ทางธรรมชาติ ซึ่งประชาชน ทุกคน สามารถใช้ประโยชน์และสัมผัสได้ ส่วนองค์ประกอบของเมืองแห่งความสุข มีอยู่ 5 ส่วนด้วยกัน คือ 1. การมีสขุ ภาวะทีด่ ี 2. เศรษฐกิ จ เข้ ม แข็ ง 3. สั ง คมคุ ณ ภาพ 4. สภาพแวดล้ อ มที่ ดี และ 5. สั ง คม ประชาธิปไตยที่มีธรรมาภิบาล พั นธกิจ

1. พัฒนาศักยภาพการผลิต การแปรรูป อาหารปลอดภัยให้ได้มาตรฐาน

1. เพิ่ ม อั ต ราการเจริ ญ เติ บ โตทาง เศรษฐกิจและผลิตภัณฑ์อาหารปลอดภัยให้ได้ รับการพัฒนาสูม่ าตรฐานสากลเพิม่ มากขึน้ 2. เพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยว 3. ลพบุรีเป็นเมืองสะอาด ปลอดภัย และมีระบบบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมที่มี ประสิทธิภาพ 4. สั ง คมและชุ ม ชนมั่ น คง เข้ ม แข็ ง ประชาชนมีสุขภาวะที่ดี 5. เกิดการใช้พลังงานทดแทนในทุก ภาคส่วนอย่างแพร่หลาย ประเด็นยุทธศาสตร์

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 สร้างมูลค่า เพิ่มด้านอาหารปลอดภัย ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 บริหารจัดการ ด้านการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนาลพบุรี เมืองสะอาดและสังคมคุณภาพ ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4 เสริมสร้าง ความมัน่ คง และความสงบสุขของบ้านเมือง

SBL บันทึกประเทศไทย I LOP BURI

.indd 40

8/8/2561 17:03:32


“เมื อ งแห่ ง ความสุ ข หมายถึ ง เมื อ งแห่ ง การเติ บ โตอย่ า งมี ค วามสุ ข มี เ ป้ า หมายมุ ่ ง สู ่ ก ารสร้ า งเศรษฐกิ จ สั ง คมที่ เ ข้ ม แข็ ง มี สุ ข ภาวะที่ ดี อ ย่ า งยั่ ง ยื น ”

LOP BURI I SBL บันทึกประเทศไทย

_

.indd 41

41

8/8/2561 17:03:40


ลพบุรีเป็นเมืองสะอาด ปลอดภัย และมีระบบบริหาร จัดการสิ่งแวดล้อมที่มี ประสิทธิภาพ

ความเชื่อมโยงของแผนพั ฒนา จั ง หวั ด ลพบุ รี ไ ด้ จั ด ท� ำ แผนพั ฒ นาจั ง หวั ด ลพบุ รี 4 ปี (พ.ศ.2561-2564) เพื่ อ ให้ มี ความเชื่ อ มโยงและสอดคล้ อ งกั บ แผนพั ฒ นาเศรษฐกิ จ และสั ง คมแห่ ง ชาติ ฉบั บ ที่ 12 ดั ง รายละเอี ย ดต่ อ ไปนี้ แผนพั ฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 วิสัยทัศน์

“ให้ความส�ำคัญกับการก�ำหนดทิศทาง การพัฒนาทีม่ งุ่ สูก่ ารเปลีย่ นผ่านประเทศไทย จากประเทศที่ มี ร ายได้ ป านกลางไปสู ่ ประเทศที่มีรายได้สูง มีความมั่นคง และ ยั่งยืน สังคมอยู่ร่วมกันอย่างมี ความสุข”

2. การพัฒนาศักยภาพคนให้สนับสนุน การเจริญเติบโตของประเทศและการสร้าง สังคมสูงวัยอย่างมีคุณภาพ 3. การลดความเหลื่อมล�้ำในสังคม 4. การสร้างการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และสังคมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 5. การบริ ห ารราชการแผ่ น ดิ น ที่ มี ประสิทธิภาพ เป้าประสงค์

พั นธกิจ

1. การหลุดพ้นจากกับดักประเทศรายได้ ปานกลางสู่รายได้สูง 42

_

1. เพื่อวางรากฐานให้คนไทยเป็นคนที่ สมบูรณ์มคี ณ ุ ธรรมจริยธรรม มีระเบียบวินยั ค่านิยมที่ดี มีจิตสาธารณะ และมีความสุข

โดยมีสุขภาวะและสุขภาพที่ดี ครอบครัว อบอุน่ ตลอดจนเป็น คนเก่งทีม่ ที กั ษะความรู้ ความสามารถและพัฒนาตนเองได้ตอ่ เนือ่ ง ตลอดชีวิต 2. เพื่ อ ให้ ค นไทยมี ค วามมั่ น คงทาง เศรษฐกิจและสังคม ได้รับความเป็นธรรม ในการเข้าถึง ทรัพยากรและบริการทาง สังคมที่มีคุณภาพ ผู้ด้อยโอกาสได้รับการ พัฒนาศักยภาพ รวมทัง้ ชุมชนมีความ เข้มแข็ง พึง่ พาตนเองได้บริการเดิม และขยายฐานใหม่ โดยการใช้นวัตกรรมที่เข้มข้นมากขึ้น สร้าง ความเข้มแข็งของ เศรษฐกิจฐานราก 3. เพื่อให้เศรษฐกิจเข้มแข็ง แข่งขันได้ มีเสถียรภาพ และมีความยั่งยืน สร้างความเข้มแข็ง ของ ฐานการผลิตและสร้างความมัน่ คงทาง พลังงาน อาหาร และน�้ำ 4. เพื่ อ รั ก ษาและฟื ้ น ฟู ท รั พ ยากร ธรรมชาติ แ ละคุ ณ ภาพสิ่ ง แวดล้ อ มให้ สามารถสนับสนุนการ เติบโตทีเ่ ป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อมและการมีคุณภาพชีวิตที่ดีของ ประชาชน 5. เพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดิน มีประสิทธิภาพ โปร่งใส ทันสมัย และมีการ ท�ำงานเชิง บูรณาการของภาคีการพัฒนา 6. เพื่อให้มีการกระจายความเจริญไป สูภ่ มู ภิ าค โดยการพัฒนาภาคและเมืองเพือ่ รองรับการ พัฒนายกระดับฐานการผลิต และบริการเดิมและขยายฐานการผลิตและ บริการใหม่

SBL บันทึกประเทศไทย I LOP BURI

.indd 42

8/8/2561 17:03:45


EXCLUSIVE INTERVIEW

7. เพื่อผลักดันให้ประเทศไทยมีความ เชื่ อ มโยง กับประเทศต่า งๆ ทั้งในระดับ อนุภูมิภาค ภูมิภาค และนานาชาติได้อย่าง สมบู ร ณ์ แ ละมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ รวมทั้ ง ให้ ประเทศไทยมีบทบาทน�ำและ สร้างสรรค์ ในด้านการค้า การบริการ และการลงทุน ภายใต้ ก รอบความร่ ว มมื อ ต่ า งๆ ทั้ ง ใน ระดับอนุภูมิภาค ภูมิภาค และโลก ประเด็นยุทธศาสตร์

1. การเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพ ทุนมนุษย์ 2 .การสร้ า งความเป็ น ธรรมและลด ความเหลื่อมล�้ำในสังคม 3. การสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ และแข่งขันได้อย่างยั่งยืน 4. การเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน 5. การเสริมสร้างความมั่นคงแห่งชาติ เพื่อการพัฒนาประเทศสู่ความมั่งคั่งและ ยั่งยืน 6.การบริ ห ารจั ด การในภาครั ฐ การ ป้ อ งกั น การทุ จ ริ ต ประพฤติ มิ ช อบและ ธรรมาภิบาลในสังคมไทย 7. การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและ ระบบโลจิสติกส์ 8. การพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัยและนวัตกรรม 9. การพัฒนาภาค เมือง และพื้นที่ เศรษฐกิจ 10. ความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อ การพัฒนา

LOP BURI I SBL บันทึกประเทศไทย

_

.indd 43

43

8/8/2561 17:03:54


EXCLUSIVE INTERVIEW

“หลากหลายที่เที่ยวเด่นโดนใจ” จังหวัดลพบุรี สถานที่ ท ่ อ งเที่ ย วของจั ง หวั ด ลพบุ รี ส่วนใหญ่จะเป็นที่เที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ และโบราณสถาน ซึ่ ง สถานที่ แ รกที่ ประชาชนส่วนใหญ่จะเข้ามาเทีย่ วในจังหวัด ลพบุรีก็คือ พระนารายณ์ราชนิเวศน์ ซึ่งจะ มี พิ พิ ธ ภั ณ ฑสถานแห่ ง ชาติ ที่ จั ด แสดง เรื่องราวสมัยสมเด็จพระนารายณ์ และมี โบราณสถานต่างๆ ทีจ่ ะให้ประชาชนทีเ่ ข้ามา เยีย่ มชม ได้เรียนรูใ้ นเชิงประวัตศิ าสตร์ และ อีกส่วนหนึ่งก็คือ ศาลพระกาฬ เป็นอีก สถานที่หนึ่งที่มีความส�ำคัญ ซึ่งประชาชน ทีม่ าลพบุรจี ะเข้ามากราบไหว้เพือ่ ความเป็น สิริมงคล เช่นเดียวกับที่อนุสาวรีย์สมเด็จ พระนารายณ์มหาราช ส่วนโบราณสถานที่ ส�ำคัญ คือ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จะเป็น วั ด ที่ ป ร ะ ช า ช น จ ะ เ ข ้ า ม า ศึ ก ษ า เ ชิ ง ประวั ติ ศ าสตร์ และลพบุ รี ไ ด้ ชื่ อว่ า เป็ น จั ง หวั ด ที่ มี ลิ ง อาศั ย อยู ่ ม าก ท� ำ ให้ ไ ด้ รั บ ความสนใจจากนักท่อ งเที่ยวทั้งชาวไทย และชาวต่างชาติจ�ำนวนมาก เดินทางมา ท่องเที่ยวที่จังหวัดลพบุรี นอกจากนี้นักท่องเที่ยวยังนิยมมาท่อง เที่ยวในเชิงของวิถีชุมชน ซึ่งจะมีอยู่ตาม พื้นที่ต่างๆ อ�ำเภอต่างๆ ทุกอ�ำเภอ ที่มี แหล่ ง ท่ อ งเที่ ย วมากมายให้ กั บ พี่ น ้ อ ง ประชาชนเข้ามาสัม ผัสวิถีชุมชนของเมือง ลพบุรี ซึง่ เมืองลพบุรเี ป็นเมืองทีม่ ชี าติพนั ธุ์ หลายกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นชาวมอญ (ไทย รามัญ) ชาวลาวพวน ชาวลาวแง้ว ชาวไทย เบิ้ง ซึ่งกลุ่มชาติพันธุ์ส่วนใหญ่จะมีความ แตกต่างหลากหลายในวิถกี ารด�ำเนินชีวติ มี 44

_

การรวมกลุ่มกันอย่างเข้มแข็ง และยังคง รักษาอัตลักษณ์ ได้แก่ ภาษา การแต่งกาย อาหาร ขนบธรรมเนียม และประเพณีไว้ อย่างเข้มแข็ง ดังนัน้ จังหวัดลพบุรจี งึ มีความ พร้อมของทุนทางสังคมที่จะน�ำไปพัฒนา ต่อยอดสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ โดย เราได้มีการจัดตลาดประชารัฐขึ้น ซึ่งกลุ่ม ชาติพนั ธุต์ า่ ง ๆได้มาออกร้าน หรือน�ำศิลป วัฒนธรรมของตนมาให้ประชาชนได้เยีย่ มชม เยี่ยมชิม อีกแห่งที่ส�ำคัญคือเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ซึง่ เป็นเขือ่ นทีพ่ ระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั รั ช กาลที่ 9 ได้ ท รงสร้ า งขึ้ น ในสมั ย ของ พระองค์ เพื่อประโยชน์ในการกักเก็บน�้ำ การป้ อ งกั น น�้ ำ ท่ ว ม ช่ ว ยเหลื อ ในเรื่ อ ง อุ ป โภคบริ โ ภค เรื่ อ งอุ ต สาหกรรม และ ป้องกันระบบนิเวศ เพราะน�้ำเค็มส่วนใหญ่ จะรุ ก ล�้ ำ เข้ า มาทางปากอ่ า วตรงแม่ น�้ ำ เจ้าพระยา เราก็จะเอาน�้ำจากเขื่อนป่าสัก ชลสิทธิ์เข้าไปผลักดันน�้ำเค็ม เพื่อรักษา ระบบนิเวศให้เกิดความสมดุล และทีส่ ำ� คัญ คือ เขือ่ นป่าสักชลสิทธิย์ งั เป็นแหล่งท่องเทีย่ ว ที่ที่ได้รับความนิยม ซึ่งในทุกๆ ปีเราจะมี การจั ด โปรโมทแหล่ ง ท่ อ งเที่ ยวตรงนี้ ใ ห้ คนมาท่องเทีย่ วกัน เช่น ขบวนรถไฟลอยน�ำ้ ในช่วงก่อนเทศกาลปีใหม่ ซึ่งช่วงนั้นจะมี อากาศดีและมีปริมาณน�ำ้ ทีเ่ ยอะ ทัศนียภาพ ในเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์จะมีความสวยงาม คนที่นั่งรถไฟมาก็ดูเหมือนขบวนรถวิ่งอยู่ บนน�้ำ จะเห็นน�้ำทั้ง 2 ฝั่ง และในนั้นก็จะมี พิพิธภัณฑ์สัตว์นำ �้ กับพิพิธภัณฑ์เกี่ยวข้อง

ถ้ า พู ด ถึ ง ทุ ่ ง ทานตะวั น คนส่ ว นใหญ่ จ ะคิ ด ถึ ง ทุ ่ ง ทานตะวั น ลพบุ รี

SBL บันทึกประเทศไทย I LOP BURI

.indd 44

8/8/2561 17:04:01


กับการก่อสร้างเขือ่ นว่าเป็นมาอย่างไร เพือ่ ให้ ป ระชาชนได้ ศึ ก ษาหาความรู ้ และ กิจกรรมอื่นๆ ในสภาพพื้นที่ของเขื่อนป่า สักชลสิทธิ์ และอีกประเด็นที่ส�ำคัญ เขื่อน ป่าสักชลสิทธิ์เป็นเขื่อนดินที่มีขนาดใหญ่ ที่สุดของประเทศไทย มีความยาวของสัน เขื่อนประมาณ 4.8 กิโลเมตร ท�ำให้เป็นที่ นิยมของประชาชนทีจ่ ะเข้ามาออกก�ำลังกาย

มาวิง่ กันในช่วงเช้า บางครัง้ ก็มกี ารจัดกิจกรรม วิ่งมาราธอนบนสันเขื่อน ส่ ว นแหล่ ง ท่ อ งเที่ ย วอื่ น ๆ ยั ง มี อี ก มากมาย ไม่ว่าจะเป็นทุ่งทานตะวัน ถ้าพูด ถึ ง ทุ ่ ง ทานตะวั น คนส่ ว นใหญ่ จ ะคิ ด ถึ ง ทุ่งทานตะวันลพบุรี เพราะเราเป็นแหล่ง ก�ำเนิดทานตะวันจังหวัดแรกๆ และอยูค่ กู่ บั เมืองลพบุรีมาตลอด จังหวัดลพบุรีมีการ ปลูกทานตะวันมากที่สุดในประเทศ คือ

ประมาณ 200,000-300,000 ไร่ ซึ่งดอก ทานตะวั น จะบานสะพรั่ ง ในช่ ว งเดื อ น พฤศจิกายน – มกราคม โดยแหล่งปลูก ทานตะวันจะกระจายอยูใ่ นเขตอ�ำเภอเมือง อ�ำเภอพัฒนานิคม อ�ำเภอชัยบาดาล และ เกือบจะมีทุกอ�ำเภอ เพราะส่วนใหญ่จะ ปลูกทานตะวันเป็นพืชเศรษฐกิจ และเพิ่ม เรื่องของการท่องเที่ยวเข้าไป เพื่อที่จะเพิ่ม รายได้ให้กับประชาชนในพื้นที่มากขึ้น LOP BURI I SBL บันทึกประเทศไทย

_

.indd 45

45

8/8/2561 17:04:07


EXCLUSIVE INTERVIEW

ศักยภาพผลิตภัณฑ์ชม ุ ชน (OTOP)

เมื อ งลพบุ รี มี ผ ลิ ต ภั ณ ฑ์ ชุ ม ชนและ ท้ อ งถิ่ น (OTOP) ที่ มี ชื่ อ เสี ย งมากมาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของผ้าทอ เรามีผ้าทอที่ มีชอื่ เสียง คือ ผ้าทอทีอ่ ำ� เภอโคกเจริญ และ ผ้าทอที่อ�ำเภอบ้านหมี่ ถือว่าเป็นสินค้าที่ เชิดหน้าชูตา ในส่วนที่สองก็จะเรื่องของ อาหารการกิน ไม่วา่ จะเป็นไข่เค็มดินสอพอง ทีส่ ร้างชือ่ เสียงให้กบั เมืองลพบุรเี ป็นอย่างมาก ใครมาก็ต้องมาซื้อเป็นของฝาก หรือน�ำไป บริโภคเอง ซึ่งจะมีความอร่อยเป็นพิเศษ อีกส่วนก็จะเป็นปลาส้มหรือหมี่กรอบ และ อะไรต่าง ๆ มากมายหลายอย่างที่มีความ อร่ อ ยและท� ำ ชื่ อ เสี ย งให้ กั บ ทางจั ง หวั ด ลพบุรี

“เรามีผ้าทอที่มีชื่อเสียง คือ ผ้าทอที่อ�ำเภอโคกเจริญ และผ้าทอที่อ�ำเภอบ้านหมี่”

46

_

โดยจังหวัดลพบุรมี กี ลุม่ ผูผ้ ลิต ผูป้ ระกอบการ OTOP มาลงทะเบียนผูป้ ระกอบการ OTOP ปี 2558-2560 จ� ำ นวนทั้ ง สิ้ น 483 ราย 1,227 ผลิตภัณ ฑ์ แยกเป็น 1. กลุม่ ผูผ้ ลิตชุมชน จ�ำนวน 229 ราย 2. ผูป้ ระกอบการรายเดียว จ�ำนวน 280 ราย 3. SMEs จ�ำนวน 6 ราย

SBL บันทึกประเทศไทย I LOP BURI

.indd 46

8/8/2561 17:04:11


“ลพบุ รี จึ ง เป็ น จั ง หวั ด หนึ่ ง ที่ มี โซล่าเซลล์เยอะที่สุด และมีโรงงาน ขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย” ่ ด ลพบุรเี มืองโซล่าเซลล์เยอะทีส ุ และ ใหญ่ทส ี่ ด ุ

จังหวัดลพบุรีเป็นอีกจังหวัดที่มีความ ส� ำ คั ญ ในเรื่ อ งการผลิ ต พลั ง งานทดแทน เ นื่ อ ง จ า ก ส ถ า น ที่ ตั้ ง จั ง ห วั ด ล พ บุ รี อยู ่ ป ระมาณกึ่ ง กลางของประเทศไทย ท� ำ ให้ จั ง หวั ด ลพบุ รี ไ ด้ รั บ แสงแดดที่ มี ความเข้มข้น เราจึงมีโรงงานที่ท�ำในส่วน ของพลังงานทดแทนโดยเฉพาะโซล่าเซลล์ เยอะมาก ซึง่ พลังงานทดแทนจากโซล่าเซลล์ ในปีหนึ่งๆ นั้น เราสามารถผลิตไฟฟ้าได้ ประมาณ 200 กว่าวัตต์ ซึง่ ถือว่าเยอะมาก ลพบุ รี จึ ง เป็ น จั ง หวั ด หนึ่ ง ที่ มี โ ซล่ า เซลล์ เยอะที่สุด และมีโรงงานขนาดใหญ่ที่สุด ในประเทศไทย

LOP BURI I SBL บันทึกประเทศไทย

_

.indd 47

47

8/8/2561 17:04:18


“งานแผ่ น ดิ น พระนารายณ์ ” เอกลักษณ์ของเมืองลพบุรี ที่ ใครมาเที่ยวก็ต้องใส่ชุดไทย ในช่วงวันที่ 10-18 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2561

48 48

_

SBL บันทึกประเทศไทย I LOP BURI SBL บันทึกประเทศไทย I LOP BURI

.indd 48

8/8/2561 17:04:24


EXCLUSIVE INTERVIEW

เมืองลพบุรีมีความโดดเด่นในหน้าประวัติศาสตร์ เพราะสมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงบูรณะ เมืองลพบุรี ให้เป็นราชธานีแห่งที่สองขึ้น

“เทศกาลส�ำคัญ

อัตลักษณ์โดดเด่นของลพบุรี” จังหวัดลพบุรีมีเอกลักษณ์และอัตลักษณ์ที่ส�ำคัญอยู่อย่างหนึ่ง คือ เรื่อง การแต่งกาย ผมคิดว่าชาวลพบุรีมีความร่วมไม้ร่วมมือร่วมใจกันแต่งกายชุดไทย ย้อนยุคในจังหวัด ซึ่งในทุกๆ ปีจังหวัดลพบุรีจะมีระยะเวลาในการแต่งกายชุดไทย ย้อนยุคในงานแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์ ช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ ส� ำ หรั บ ในปี นี้ ก็ มี ก ารจั ด งานแผ่ น ดิ น พระนารายณ์ ในช่ ว งวั น ที่ 10-18 กุมภาพันธ์ ระยะเวลาในการจัดงาน 9 วัน ช่วงนี้คนที่จะมาเที่ยวเมืองลพบุรีจะต้องใส่ ชุดไทยย้อนยุค นุง่ โจง ห่มสไบ ร่วมแต่งไทย เทีย่ วงานวัง นีก่ ค็ อื เป็นเอกลักษณ์ของเมือง ลพบุรี ทีใ่ ครมาเทีย่ วก็ตอ้ งใส่ชดุ ไทย ทุกคน ก็อยากมาใส่ชดุ ไทยแล้วก็เดินเทีย่ วกัน โดย ไม่มีความเคอะเขิน ใครที่ไม่ใส่ชุดไทยเสีย อีกจะดูแปลกๆ เพราะฉะนัน้ ส่วนใหญ่ทมี่ า ก็จะใส่ชุดไทยกันทุกคน

ซึ่งงานแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์ถือเป็น งานทีส่ ำ� คัญของจังหวัดงานหนึง่ เป็นงานที่ ใหญ่และเป็นงานระดับประเทศ มีกิจกรรม หลากหลายเพือ่ ทีจ่ ะให้ประชาชนทีม่ าเทีย่ ว ได้รับรู้ข้อมูลและมีความเข้าใจว่าในสมัย สมเด็จพระนารายณ์นั้นมีวิถีชีวิตอย่างไร มีความเจริญรุ่งเรืองในเรื่องของเศรษฐกิจ เพียงใด เรียกว่าเป็นการฟืน้ ฟูประวัตศิ าสตร์ ในสมัยพระนารายณ์ให้ชาวไทยได้ร�ำลึกถึง พระปรีชาสามารถ และพระมหากรุณาธิคณ ุ ของพระองค์ที่ทรงมีต่อแผ่นดินไทย สถานที่ส�ำคัญในการจัดงานที่แรกคือ พระนารายณ์ราชนิเวศน์ จัดกิจกรรมใน เรือ่ งของการแสดง แสง สี เสียง และในเรือ่ ง ของตลาดย้ อ นยุ ค การใช้ เ งิ น พดด้ ว ง กิจกรรมต่างๆ ทีใ่ นสมัยสมเด็จพระนารายณ์ ได้ด�ำเนินการ มีการแสดงละครย้อนยุคให้ ประชาชนได้ชม และมีการขายสินค้าที่เป็น OTOP ของดีเมืองลพบุรี ให้กบั ผูท้ มี่ าเยีย่ ม

ชมงานได้เลือกซื้อเลือกชิม ในงานเราจะมี การจ�ำลองบ้านวิชาเยนทร์หรือบ้านหลวง รับราชทูต ซึง่ เป็นสถานทีส่ ำ� คัญอีกแห่งหนึง่ เพือ่ ให้ผทู้ เี่ ข้ามาเยีย่ มชมได้เห็นว่าบรรยากาศ สมัยก่อน โดยเฉพาะในเรื่องของการทูต สมัยสมเด็จพระนารายณ์ที่มีความเจริญใน ช่วงนัน้ ว่าเขาได้ดำ� เนินการอย่างไร ในบ้าน ก็จะมีมมุ รับแขกบ้านต่างเมือง มีโรงบ่มไวน์ มีเตาอบขนมปัง ซึง่ เป็นวิถชี วี ติ ของต่างชาติ และมีโบสถ์คริสต์อยู่ในบ้านด้วย โบราณสถานทีเ่ ราจัดงานอีกทีห่ นึง่ ก็คอื วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ โบราณสถานที่มี ความส�ำคัญเชิงประวัตศิ าสตร์ เราจะท�ำแสง สี เสียง ให้ประชาชนทีเ่ ข้ามาได้เห็นถึงกิจกรรม ของศาสนา เข้ามากราบไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ มีการเวียนเทียน ฟังเทศน์ฟังธรรม และ กิจกรรมอื่นๆ อีกมากมายที่เกี่ยวข้องกับ ศาสนาทีจ่ ำ� ลองไว้ทวี่ ดั พระศรีรตั นมหาธาตุ สิ่งต่างๆ เหล่านี้ก็คือประเด็นใหญ่ๆ ที่เรา ด�ำเนินการจัดท�ำขึ้น และอีกงานทีส่ ำ� คัญคือ งานพิธรี ำ� บวงสรวง สมเด็จพระนารายณ์ ในปีนี้ก็จะจัดแบบ ยิง่ ใหญ่ทลี่ านอนุสาวรียส์ มเด็จพระนารายณ์ จะมีการร�ำบวงสรวงสมเด็จพระนารายณ์ ซึ่ ง คาดว่ า จะมี ป ระชาชนเข้ า ร่ ว มในพิ ธี ไม่น้อยกว่า 10,000 คน เพื่อเป็นสิริมงคล กับผู้ร�ำในแต่ละปี

LOP BURI I SBL บันทึกประเทศไทย

_

.indd 49

49

8/8/2561 17:04:32


50

_

SBL บันทึกประเทศไทย I LOP BURI

.indd 50

8/8/2561 17:04:45


LOP BURI I SBL บันทึกประเทศไทย

_

.indd 51

51

8/8/2561 17:04:55


52

_

SBL บันทึกประเทศไทย I LOP BURI

.indd 52

8/8/2561 17:05:00


LOP BURI I SBL บันทึกประเทศไทย

_

.indd 53

53

8/8/2561 17:05:05


54

_

SBL บันทึกประเทศไทย I LOP BURI

.indd 54

8/8/2561 17:05:14


LOP BURI I SBL บันทึกประเทศไทย

_

.indd 55

55

8/8/2561 17:05:21


จากใจผู้ว่าราชการจั งหวั ด ลพบุ รี

จากใจผู้ว่าราชการ จังหวัดลพบุรี นายสุปกิต โพธิ์ปภาพั นธ์

นายสุปกิต โพธิ์ปภาพั นธ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี วัน เดือน ปีเกิด

11 กรกฎาคม พ.ศ. 2503 การศึกษา

การจัดการภาครัฐและเอกชนมหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ (วิศวกรรมโยธา) ประเทศฟิลิปปินส์ การอบรม

ผมอยากจะเชิ ญ ชวนพี่ น ้ อ ง ประชาชนให้เข้ามาเที่ยวที่จังหวัด ลพบุ รี เนื่ อ งจากจั ง หวั ด ลพบุ รี มีสิ่งที่จะให้ประชาชนได้มาศึกษา ในเชิงประวัตศิ าสตร์ เพราะลพบุรี เป็นจังหวัดทีม่ ปี ระวัตมิ ายาวนาน ก่อนกรุงศรีอยุธยา เราจึงมีสถานทีใ่ ห้ ศึกษาเชิงประวัตศิ าสตร์คอ่ นข้างเยอะ มีเทศกาลที่ส�ำคัญระดับประเทศ ให้เที่ยว คืองานแผ่นดินสมเด็จ พระนารายณ์มหาราช มีทุ่งดอก ทานตะวันทีถ่ อื เป็นต้นก�ำเนิดของ ประเทศ มีทเี่ ทีย่ วที่ หาชมได้ยาก หรือ unseen คือ ขบวนรถไฟ ลอยน�้ำเหนือเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ นอกจากนี้ เ รายั ง มี แ หล่ ง เรี ย นรู ้ และท่องเที่ยววิถีชุมชนมากมาย ก็อยากจะเชิญชวนพีน่ อ้ งประชาชน ให้เข้ามาเทีย่ วมาเยีย่ มชม จังหวัด ลพบุ รี ข องเรายิ น ดี ต ้ อ นรั บ นั ก ท่องเที่ยวทุกๆ ท่าน เพื่อสร้าง ความพึงพอใจและความประทับใจ ให้กับทุกๆ ท่านครับ

หลักสูตรนักปกครองระดับสูง รุ่นที่ 47 สถาบันด�ำรงราชานุภาพ กระทรวงมหาดไทย หลั ก สู ต รผู ้ บ ริ ห ารระดั บ สู ง ด้ า นการบริ ห ารงานพั ฒนาเมื อ ง (มหานคร รุ ่ น ที่ 3) กรุงเทพมหานคร หลักสูตรผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูง (CIO) รุ่นที่ 25 กระทรวงเทคโนโลยี สารสนเทศ หลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.) รุ่นที่ 58 ปีการศึกษา 2558 – 2559 วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ หลักสูตรนักบริหารการงบประมาณระดับสูง (นงส.) รุ่นที่ 4 ส�ำนักงบประมาณ หลักสูตรการบริหารจัดการด้านความมั่นคงชั้นสูง (สวปอ.มส.) รุ่นที่ 9 (Advanced Security Management Program: ASMP9) การรับราชการ

ผู้อ�ำนวยการศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านการบริหารความเสี่ยงด้านสาธารณภัย ศูนย์อ�ำนวยการบรรเทา สาธารณภัย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ผู้อ�ำนวยการศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 17 จันทบุรี กรมป้องกันและ บรรเทาสาธารณภัย ผู้อ�ำนวยการศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 2 สุพรรณบุรี กรมป้องกันและ บรรเทาสาธารณภัย ผู้อ�ำนวยการศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 3 ปราจีนบุรี กรมป้องกันและ บรรเทาสาธารณภัย ผู้อ�ำนวยการส�ำนักช่วยเหลือผู้ประสบภัย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ผู้อ�ำนวยการส�ำนักนโยบายป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรมป้องกันและบรรเทา สาธารณภัย รองอธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี เครื่องราชอิสริยาภรณ์

ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.) ปี พ.ศ. 2554 มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.) ปี พ.ศ. 2560

56

_

SBL บันทึกประเทศไทย I LOP BURI

.indd 56

8/8/2561 17:05:43


LOP BURI I SBL บันทึกประเทศไทย

_

.indd 57

57

8/8/2561 17:05:57


S P ECI A L INT E R V IE W

บันทึกเส้นทางพบรองผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี

“ความมุ่งมั่นตั้งใจของข้าราชการคนหนึ่ง ซึ่งมีความใฝ่ฝันที่จะเดินไปบนเส้นทางการปกครอง” รองผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี นายผดุงศักดิ์ หาญปรีชาสวัสดิ์ 58

SBL บันทึกประเทศไทย I LOP BURI

.indd 58

8/8/2561 16:27:00


จึ ง

เลื อ กที่ จ ะศึ ก ษาด้ า น รัฐศาสตร์อย่างจริงจัง ทั้งในระดับ ปริ ญ ญาตรี แ ละปริ ญ ญาโท ด้ ว ย ปณิ ธ านที่ จ ะพั ฒ นาคน พั ฒ นา สังคม และพัฒนาประเทศให้เจริญ ก้าวหน้า ข้าราชการที่มีความมุ่งมั่นตั้งใจจะเดินไป ตามเส้นทางของนักปกครอง ภายใต้ภารกิจ บ�ำบัดทุกข์ บ�ำรุงสุข สร้างประโยชน์สขุ ให้เกิดแก่ ประชาชน นัน้ คือ นายผดุงศักดิ์ หาญปรีชาสวัสดิ์ ซึง่ ประวัตกิ ารท�ำงานทีส่ ำ� คัญของท่านส่วนใหญ่ จะอยูใ่ นสังกัดกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิน่ โดยต�ำแหน่งสุดท้ายคือ ผู้อ�ำนวยการส�ำนัก บริหารการคลังท้องถิ่น (อ�ำนวยการระดับสูง) ก่อนทีก่ ระทรวงมหาดไทยจะมีคำ� สัง่ แต่งตัง้ ให้ มาด�ำรงต�ำแหน่ง “รองผู้ว่าราชการจังหวัด ลพบุรี” เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2559 จนถึง ปัจจุบัน ท่านผดุงศักดิ์ หาญปรีชาสวัสดิ์ กรุณาสละ เวลาให้ นิต ยสาร SBL บันทึกประเทศไทย สัมภาษณ์ถงึ ภารกิจทีท่ า่ นก�ำกับดูแล หลักการ ท�ำงาน และผลงานที่ท่านภาคภูมิใจในฐานะ รองผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี ดังรายละเอียด ต่อไปนี้

ภาระงานที่ก�ำกับดูแล ได้ รั บ มอบหมายจากท่ า นผู ้ ว ่ า ราชการ จังหวัดลพบุรี ให้ก�ำกับดูแลการปฏิบัติงาน ด้านเศรษฐกิจและการท่องเทีย่ ว ในแผนพัฒนา จังหวัดลพบุรี 4 ปี (2561-2564) ได้ก�ำหนด พันธกิจส�ำคัญประการแรกคือ การเพิ่มอัตรา การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และผลิตภัณฑ์ อาหารปลอดภัยให้ได้รบั การพัฒนาสูม่ าตรฐาน สากลเพิ่มมากขึ้น โดยได้เร่งด�ำเนินงานตาม กลยุทธ์ต่างๆ อาทิ การส่งเสริมการผลิตภาค เกษตรทีเ่ หมาะสม การพัฒนาระบบโครงสร้าง พื้ น ฐานด้ า นเกษตรและบริ ห ารจั ด การน�้ ำ อย่างเป็นระบบ การส่งเสริมการแปรรูปสินค้า

อาหารปลอดภัย การยกระดับ/พัฒนาความ สามารถในการผลิ ต และการแข่ ง ขั น ของ ผู้ประกอบการ SMEs การส่งเสริมการตลาด และการบริ โ ภคอาหารปลอดภั ย และการ พัฒนาระบบการบริหารจัดการสินค้าเกษตร ปลอดภัย (Logistic) ส่วนพัน ธกิจของจังหวัดลพบุรีที่ส�ำคัญ รองลงมาคือ การเพิม่ รายได้จากภาค การท่องเทีย่ ว ซึ่งจังหวัดลพบุรีมีจ�ำนวนนักท่องเที่ยวและ นักทัศนาจรเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี เพราะ จังหวัดได้จัดกิจกรรรมส่งเสริมการท่องเที่ยว เป็ น ประจ� ำ ทุ ก เดื อ น มี ก ารพั ฒ นาส่ ง เสริ ม กิจกรรมท่องเที่ยวพระนารายณ์ราชนิเวศน์ เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยว หลั ก ของจั ง หวั ด ลพบุ รี มี ก ารจั ด เทศกาล ส� ำ คั ญ ประจ� ำ ปี คื อ งานแผ่ น ดิ น สมเด็ จ พระนารายณ์มหาราช และมีการจัดกิจกรรม ส่งเสริม แหล่งท่องเที่ยวตามธรรมชาติ อาทิ

ทุง่ ทานตะวัน ซึง่ การท่องเทีย่ วแห่งประเทศไทย ได้ ก� ำ หนดให้ จั ง หวั ด ลพบุ รี เ ป็ น จุ ด หมาย ปลายทางของการท่องเที่ยวทานตะวันบาน (Dream Destination 2) ท�ำให้สามารถสร้าง แรงดึงดูดให้จ�ำนวนนักท่องเที่ยวเดินทางมา ลพบุรีมากยิ่งขึ้น ส�ำหรับกลยุทธ์ดา้ นการท่องเทีย่ วตามแผน พั ฒ นาจั ง หวั ด ลพบุ รี 4 ปี (2561-2564) ประกอบด้วย การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวและ กิ จ กรรมการท่ อ งเที่ ย วให้ มี ม าตรฐาน การพัฒนาระบบบริหารจัดการ และปัจจัย พื้ น ฐานด้ า นการท่ อ งเที่ ย ว การพั ฒ นา ผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวและของที่ระลึกสู่การ แข่งขัน การเสริมสร้างเครือข่ายและพัฒนา ขี ด ความสามารถของผู ้ ป ระกอบการด้ า น การท่องเทีย่ ว ทัง้ ในและ ต่างประเทศ และการ ส่งเสริมการตลาด ประชาสัมพันธ์และบริการ ด้านการท่องเที่ยว LOP BURI I SBL บันทึกประเทศไทย

.indd 59

59

8/8/2561 16:27:08


หลักการท�ำงาน ผมมีหลักการปฏิบัติงานให้ราบรื่นและ ประสบผลส�ำเร็จ ซึง่ ผมยึดเป็นยึดเป็นแนวทาง ในการบริหารราชการเสมอมา คือ ครองตน ครองคน ครองงาน โดยเฉพาะเรื่องการครอง งาน จะใช้การบูรณาการความร่วมมือจากทุก ภาคส่วนในการขับเคลือ่ นภารกิจไปสูเ่ ป้าหมาย

ผลการด�ำเนินงานที่ภาคภูมิ ใจ จากการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ด้านการ ท่องเที่ยวของจังหวัดลพบุรีในช่วงที่ผ่านมา มีงานส�ำคัญสองงาน งานแรกคือ งานแผ่นดิน สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ครัง้ ที่ 31 ประจ�ำ ปี 2561 ซึง่ จังหวัดลพบุรรี ว่ มกับการท่องเทีย่ ว แห่งประเทศไทย ก�ำหนดจัดขึ้นในระหว่างวัน ที่ 10 – 18 กุมภาพันธ์ 2561 ณ พระนารายณ์ ราชนิเวศน์ และโบราณสถานต่าง ๆ ในบริเวณ ใกล้เคียง อ�ำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี ซึ่งลพบุรี เป็นต้นต�ำรับการรณรงค์ให้คนไทยหันมาใส่ ชุ ดไทย ภายใต้คอนเส็พท์งานที่ว ่า นุ่งโจง ห่มสไบ ใช้เงินพดด้วง ภายในงานมี กิ จ กรรมที่ น ่ า สนใจ อาทิ ขบวนแห่ประวัติศาสตร์ พิธีบวงสรวงสมเด็จ พระนารายณ์มหาราช การร�ำถวายมือ ตลาด ย้อนยุค การประกวดธิดาละโว้ การแสดงแสง เสียง งานราตรีวังนารายณ์ งานเลี้ยงรับรอง

60

จ�ำลองบรรยากาศแบบฝรัง่ เศส ณ บ้านวิชาเยนทร์ ทหารวังเปลีย่ นเวร การแสดงละครลิง กิจกรรม แต่งชุดไทยจดทะเบียนสมรส หมากรุกคน การแสดงศิลปวัฒนธรรม การจ�ำหน่ายสินค้า OTOP และของดีจังหวัดลพบุรี เป็นต้น อีกหนึ่งงานคือ งานมหกรรมเจ้าพระยาป่าสัก EXPO 2018 กลุ่มจังหวัดภาคกลาง ตอนบน 2 ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 18 - 27 พฤษภาคม 2561 ณ พระนารายณ์ราชนิเวศน์ อ�ำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี เพื่อกระตุ้น และส่งเสริมให้นักท่องเที่ยวทุกกลุ่มเดินทาง ท่องเที่ยวภายในประเทศเพิ่มมากขึ้น ภายใต้ อั ต ลั ก ษณ์ ด ้ า นการท่ อ งเที่ ย วและศิ ล ป วัฒนธรรมของกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน 2 อีกด้วย กิจกรรมภายในงานประกอบด้วยการจัด นิทรรศการโครงการพระราชด�ำริ “ศาสตร์ พระราชา” ตามรอยพ่อ ร.9 ในพื้นที่กลุ่ม จังหวัดภาคกลางตอนบน 2 นิทรรศการเทิด พระเกียรติ สมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั มหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร นิทรรศการนวัตกรรม และเทคโนโลยีการเกษตร โดยความร่วมมือ ของกระทรวงวิ ท ยาศาสตร์ แ ละเทคโนโลยี นิทรรศการอาหารปลอดภัย โดยความร่วมมือ ของส� ำ นั ก งานมาตรฐานสิ น ค้ า เกษตรและ อาหารแห่งชาติ (มกอช.) นิทรรศการท่องเทีย่ ว

วิถีชุมชน ในรูปแบบนิทรรศการมีชีวิต แสดง ให้เห็นถึงบรรยากาศหมูบ่ า้ นท่องเทีย่ วทีส่ ำ� คัญ ในกลุม่ จังหวัดภาคกลางตอนบน 2 นิทรรศการ ผ้าไทย โดยแสดงถึงกระบวนการผลิตและการ แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์จากผ้าพื้นถิ่นที่ส�ำคัญ ของกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน 2 ชมตลาด ผ้าไทยที่ใหญ่ที่สุด ซึ่งน�ำผ้าพื้นถิ่นที่มีชื่อเสียง มาจัดแสดงและจ�ำหน่ายให้แก่ผู้เข้าชมงาน การแสดงทางศิ ล ปวั ฒ นธรรม ศิ ล ปิ น ที่ มี ชื่อเสียงของกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน 2 การละเล่นพื้นบ้านจากกลุ่มชาติพันธุ์ในกลุ่ม จังหวัดฯ การเดินแบบผ้าไทย การจ�ำหน่าย สิ น ค้ า ผลิ ต ภั ณ ฑ์ ชุ ม ชน(OTOP) สิ น ค้ า อุตสาหกรรม ร้านค้าประชารัฐ ตลาดย้อนยุค ซึง่ จุดเด่นของงานคือ การผสมผสานความเป็น ไทยกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีสมัยใหม่ โดย เชิญชวนผู้ร่วมงานทุกท่าน “นุ่งโจง ห่มสไบ เที่ยวงาน EXPO วิถีไทยเมืองลพบุรี” เพื่อ แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของการเป็นตลาด ผ้าไทย และเครือ่ งแต่งกายชุดไทยทีส่ ำ� คัญของ ภูมิภาค ซึ่งทั้งสองงานดังกล่าวได้รับความสนใจ และการตอบรั บ จากประชาชนอย่ า งคั บ คั่ ง ทั้งในจังหวัดกรุงเทพมหานคร ลพบุรี และ จังหวัดใกล้เคียง และเป็นงานที่คนมาเที่ยวจะ ใส่ชุดไทยย้อนยุคเดินเที่ยวกันอย่างภาคภูมิใจ

SBL บันทึกประเทศไทย I LOP BURI

.indd 60

8/8/2561 16:27:18


ประวัติย่อ นายผดุงศักดิ์ หาญปรีชาสวัสดิ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี ประวัติการศึกษา พ.ศ. 2527 รัฐศาสตรบัณฑิต (รบ.) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ. 2530 รัฐศาสตรมหาบัณฑิต (รม.) สาขาการปกครอง จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ประวัตกิ ารท�ำงานในต�ำแหน่งทีส่ ำ� คัญ 2545 – 23 ก.ย. 2555 ท้องถิ่นจังหวัดเลย (จพง.ปค.8ว) อ�ำนวยการระดับต้น สังกัด กรมส่งเสริม การปกครองท้องถิ่น 24 ก.ย. 2555 – 10 ก.พ. 2556 ท้องถิ่นจังหวัดเลย (อ�ำนวยการ ระดั บ สู ง ) สั ง กั ด กรมส่ ง เสริ ม การ ปกครองท้องถิ่น 11 ก.พ. 2556 – 27 ธ.ค. 2558 ท้องถิ่นจังหวัดเชียงใหม่ (อ�ำนวย การระดับสูง) สังกัด กรมส่งเสริมการ ปกครองท้องถิ่น 28 ธ.ค. 2558 – 2 พ.ย. 2559 ผู ้ อ� ำ นวยการส� ำ นั ก พั ฒ นาและ ส่งเสริมการบริหารงานท้องถิน่ (อ�ำนวย การระดั บ สู ง ) สั ง กั ด กรมส่ ง เสริ ม การปกครองท้องถิ่น 3 พ.ย. 2559 – 9 ต.ค. 2559 ผูอ้ ำ� นวยการส�ำนักบริหารการคลัง ท้องถิ่น (อ�ำนวยการระดับสูง) สังกัด กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น 10 ต.ค. 2559 – ปัจจุบัน รองผู ้ ว ่ า ราชการจั ง หวั ด ลพบุ รี (ต� ำ แหน่ ง บริ ห ารระดั บ ต้ น ) สั ง กั ด ส�ำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย

LOP BURI I SBL บันทึกประเทศไทย

.indd 61

61

8/8/2561 16:27:24


S P ECI A L INT E R V IE W

บันทึกเส้นทางพบรองผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี

“ มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และ เกิดความภาคภูมิ ใจที่ ได้เกิดเป็นชาวลพบุรี” รองผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี นายวีระชัย นาคมาศ 62

SBL บันทึกประเทศไทย I LOP BURI

.indd 62

8/8/2561 16:39:42


นายวี ร ะชั ย นาคมาศ เป็ น ผู ้ มี ประสบการณ์รับราชการในต�ำแหน่ง นายอ�ำเภอในหลายพืน้ ทีห่ ลายจังหวัด ก่อนที่กระทรวงมหาดไทยจะมีค�ำสั่ง แต่งตั้งให้ มาด�ำรงต�ำแหน่ง รองผู้ว่า ราชการจั ง หวั ด ลพบุ รี เมื่ อ เดื อ น ตุลาคม 2560

ท่ า นจึ ง ได้ รั บ มอบหมายให้ ก� ำ กั บ ดู แ ล ส่วนราชการด้านความมั่นคงและด้านสังคม ซึ่ ง ต้ อ งใช้ ค วามรู ้ ค วามสามารถทั้ ง ด้ า น นิติศาสตร์และรัฐประศาสนศาตร์ตามที่ท่าน ร�่ำเรียนมา เพื่อให้การบริหารส่วนราชการที่ อยู่ในก�ำกับดูแล เป็นไปตามนโยบายรัฐบาล กระทรวง กรมนั้ น ๆ เพื่ อ ให้ ผ ลประโยชน์ ตกกับพี่น้องประชาชนชาวจังหวัดลพบุรีอย่าง แท้จริง นิ ต ยสาร SBL บั น ทึ ก ประเทศไทย ได้ รั บ เกี ย รติ จ ากท่ า นวี ร ะชั ย นาคมาศ ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับภารกิจของท่าน ผลการ ด�ำเนินงานที่ภาคภูมิใจ และสิ่งที่ท่านต้องการ ฝากไปถึงชาวลพบุรี ดังนี้

ภาระงานที่ ได้รับมอบหมาย ท่านผูว้ า่ ราชการจังหวัดลพบุรี (นายสุปกิต โพธิ์ปภาพันธ์) ได้มีค�ำสั่งมอบอ�ำนาจให้ผม ปฏิบัติราชการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี และก�ำกับดูแลการปฏิบัติราชการของส่วน ราชการส่วนภูมภิ าค ราชการบริหารส่วนกลาง หน่วยงานรัฐวิสาหกิจและพื้นที่อ�ำเภอ โดย มอบหมายให้ก�ำกับดูแลในส่วนราชการด้าน ความมั่ น คงและด้ า นสั ง คม เช่ น ที่ ท� ำ การ ปกครองจั ง หวั ด ส� ำ นั ก งานที่ ดิ น จั ง หวั ด ส� ำ นั ก งานสั ส ดี จั ง หวั ด หน่ ว ยงานสั ง กั ด กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หน่วยงานสังกัด กระทรวงแรงงาน ส�ำนักงานทรัพยากรธรรมชาติ และสิง่ แวดล้อมจังหวัด เป็นต้น และรับผิดชอบ ในเขตพืน้ ทีอ่ ำ� เภอชัยบาดาล, อ�ำเภอพัฒนานิคม, อ�ำเภอท่าหลวง และอ�ำเภอล�ำสนธิ

ผลการด�ำเนินงานที่ภาคภูมิ ใจ แม้ว่าผมจะมาด�ำรงต�ำแหน่งรองผู้ว่าฯลพบุรีได้ไม่นานนัก แต่การได้ปฏิบัติหน้าที่ราชการ ตามที่ได้รับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชาได้เสร็จสิ้น และเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของราชการ สามารถบ�ำบัดทุกข์ บ�ำรุงสุข ให้กับประชาชนชาวจังหวัดลพบุรี และเป็นที่ปรึกษาให้กับหัวหน้า ส่วนราชการในก�ำกับดูแล เพื่อให้การบริหารราชการในแต่ละกระทรวง กรม เป็นไปตามนโยบาย รัฐบาล กระทรวง กรม เพื่อให้ผลประโยชน์ตกกับประชาชนชาวจังหวัดลพบุรี นับเป็นความ ภาคภูมิใจที่ได้มีโอกาสแบ่งเบาภารกิจจากท่านผู้ว่าราชการจังหวัด

LOP BURI I SBL บันทึกประเทศไทย

.indd 63

63

8/8/2561 16:39:50


โดยเฉพาะอย่างยิ่งการได้เป็นส่วนหนึ่ง ในการขั บ เคลื่ อ นการพั ฒ นาการท่ อ งเที่ ย ว เชิงประวัตศิ าสตร์ วัฒนธรรม ของพระนารายณ์ ราชนิเวศน์ (วังพระนารายณ์) ซึ่งเป็นสถานที่ ส�ำคัญทางประวัติศาสตร์ของจังหวัดลพบุรี จนเป็นทีน่ ยิ มและสามารถดึงดูดให้นกั ท่องเทีย่ ว ทั้ ง ในและนอกจั ง หวั ด ให้ ค วามสนใจและ แต่งไทยเข้าเยี่ยมชม จนมีสถิตินักท่องเที่ยว เข้ามาท่องเที่ยวจังหวัดลพบุรีสูงขึ้นอย่างเห็น ได้ชัด ตลอดจนเป็นส่วนหนึ่งในการบริหาร จัดการและแก้ไขปัญหาลิง ซึ่งเป็นปัญหาหนึ่ง ที่เกิดขึ้นมาอย่างยาวนานของจังหวัดลพบุรี จนสามารถเป็นแนวทางให้จังหวัดที่ประสบ ปัญหาสามารถใช้เป็นแนวทางในการแก้ไข ปัญหาต่อไปได้

จากใจรองผู้ว่าฯ นับตัง้ แต่วนั แรกทีผ่ มได้รบั แต่งตัง้ ให้ดำ� รง ต�ำแหน่งรองผูว้ า่ ราชการจังหวัดลพบุรี ผมรูส้ กึ ยินดีเป็นอย่างยิ่ง เพราะลพบุรีเป็นจังหวัดที่ มีความส�ำคัญมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และ มีศักยภาพที่โดดเด่นในหลายๆ ด้าน ในฐานะทีผ่ มได้รบั มอบหมายจากท่านผูว้ า่ ราชการจังหวัดให้ดูแลหน่วยงานด้านความ มั่นคงและสังคม ซึ่งเป็นรากฐานส�ำคัญที่จะ ท�ำให้จงั หวัดของเรามีความเจริญก้าวหน้า และ ท�ำให้ประชาชนอยู่ดีมีสุข ผมจึงพร้อมที่จะ รับฟังและแก้ไขปัญหาของพี่น้องชาวลพบุรี อย่างเต็มก�ำลังความสามารถ เพื่อน�ำพาให้ ทุกๆ ท่านมีความสุข มีคณ ุ ภาพชีวติ ทีด่ ขี นึ้ และ เกิดความภาคภูมิใจที่ได้เกิดเป็นชาวลพบุรี ท้ายนี้ผมขอฝากไปยังพ่อแม่พี่น้องชาว ลพบุรีให้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อน การพัฒนาจังหวัด ด้วยการอนุรักษ์ประเพณี และวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์อันดีงามของ ลพบุร ี และช่วยสอดส่องดูแลโบราณสถานของ เราไว้ เพื่อให้เป็นมรดกอันล�้ำค่าแก่ลูกหลาน สืบไป

64

SBL บันทึกประเทศไทย I LOP BURI

.indd 64

8/8/2561 16:39:55


ประวัติย่อ นายวีระชัย นาคมาศ รองผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี วันเดือนปีเกิด เกิดวันที่ 1 มีนาคม 2505 ประวัติการศึกษา - นิ ติ ศ าสตรบั ณ ฑิ ต มหาวิ ท ยาลั ย รามค�ำแหง - รั ฐ ประศาสนศาตรมหาบั ณ ฑิ ต มหาวิทยาลัยบูรพา - โรงเรียนนายอ�ำเภอ รุ่น 51 - หลักสูตรนักปกครองระดับสูง(นปส.) รุ่น 58 ประวัติการรับราชการ 24 พฤศจิกายน 2551 – 23 สิงหาคม 2552 นายอ� ำ เภอบึ ง สามั ค คี จั ง หวั ด ก�ำแพงเพชร 24 สิงหาคม 2552 – 21 กุมภาพันธ์ 2553 นายอ�ำเภอวังทรายพูน จังหวัด พิจิตร 22 กุมภาพันธ์ 2553 – 12 ธันวาคม 2554 นายอ� ำ เภอบางไทร จั ง หวั ด พระนครศรีอยุธยา 13 ธันวาคม 2554 – 10 มีนาคม 2556 นายอ� ำ เภอบางบาล จั ง หวั ด พระนครศรีอยุธยา 11 มีนาคม 2556 - 17 มกราคม 2559 นายอ� ำ เภอบางปะอิ น จั ง หวั ด พระนครศรีอยุธยา 18 มกราคม 2559 – 30 กันยายน 2560 ผู้ตรวจราชการกรมการปกครอง 1 ตุลาคม 2560 – ปัจจุบัน รองผู้ว่า ราชการจังหวัดลพบุรี

LOP BURI I SBL บันทึกประเทศไทย

.indd 65

65

8/8/2561 16:40:03


นายบุญเชิด กิตติธรางกูร

ผู้อ�ำนวยการส�ำนักงานพระพุทธศาสนา จังหวัดลพบุรี

66

.

.

SBL บันทึกประเทศไทย I LOP BURI

(4

).indd 66

9/8/2561 9:57:59


E XCL U SIVE INTERVIEW

บันทึกเส้นทางพบผู้อ�ำนวยการส�ำนักพุทธศาสนาจังหวัดลพบุรี

นายบุญเชิด กิตติธรางกูร

ผู้อ�ำนวยการส�ำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดลพบุรี พระพุทธศาสนาเป็นสถาบันที่ส�ำคัญในสังคมไทย และคนไทยก็มีความผูกพันกับสถาบันพระพุทธศาสนา เพราะพระพุทธศาสนาเป็น ศูนย์กลางแห่งการเรียนรู้ ในหลายสาขา อีกทั้งหลักธรรมค�ำสั่งสอนของพระพุทธศาสนา ก็ล้วนแต่สอนให้คนเป็นคนดี และเป็นสิ่งที่สร้าง สันติสุขให้เกิดขึ้นในโลกนี้ด้วย ทั้งยังมีอิทธิพลต่อการด�ำเนินชีวิตของมนุษย์ และมีความส�ำคัญต่อการด�ำเนินชีวิตของบุคคลในสังคม จังหวัดลพบุรี มีประชากรทัง้ สิน้ จ�ำนวน 758,655 คน นับถือศาสนาพุทธ จ�ำนวน 756,460 คน คิดเป็น 99.71% โดยมีวัด ทีพ่ กั สงฆ์ หน่วยอบรมประชาชนประจ�ำต�ำบล ส�ำนักปฏิบตั ธิ รรมประจ�ำจังหวัด โรงเรียนพระ ปริยัติธรรม และศูนย์การเผยแผ่พระพุทธ ศาสนาประจ�ำจังหวัด ดังนี้ 1. วัด จ�ำนวน 711 วัด (วัดมหานิกาย 639 วัด วัดธรรมยุต 72 วัด) 2. ที่พักสงฆ์ จ�ำนวน 116 แห่ง (สังกัด มหานิกาย 102 แห่ง สังกัดธรรมยุต 14 แห่ง) 3. หน่วยอบรมประชาชนประจ�ำต�ำบล จ�ำนวน 169 แห่ง (สังกัดมหานิกาย 148 แห่ง สังกัดธรรมยุต 21 แห่ง) 4. ส� ำ นั ก ปฏิ บั ติ ธ รรมประจ� ำ จั ง หวั ด จ�ำนวน 13 แห่ง (สังกัดมหานิกาย 8 แห่ง สังกัดธรรมยุต 5 แห่ง) 5. โรงเรียนพระปริยตั ธิ รรม แผนกธรรม บาลีที่เปิดสอนแผนกธรรม จ�ำนวน 19 แห่ง เปิดสอนแผนกบาลีอีก 10 แห่ง 6. โรงเรียนพระปริยตั ธิ รรมแผนกสามัญ จ�ำนวน 1 แห่ง 7. ส�ำนักงานเจ้าคณะอ�ำเภอ จ�ำนวน 17 แห่ง (สังกัดมหานิกาย 11 แห่ง สังกัด ธรรมยุต 6 แห่ง) นโยบายหลักของ พศจ.ลพบุรี 1. เสริ ม สร้ า งความเข้ ม แข็ ง ให้ แ ก่ บุคลากรส�ำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัด ให้เป็นข้าราชการมืออาชีพ 2. ส่งเสริมให้วดั เป็นศูนย์กลางการเรียน รู้และแหล่งภูมิปัญญาชุมชน

3 ส่งเสริมพัฒนาการศึกษาสงฆ์และ การเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้มคี วามมัน่ คง และยั่งยืน 4. ส่งเสริมกิจการคณะสงฆ์ให้เข้มแข็ง 5. บริหารจัดการศาสนสมบัติให้เกิด ประโยชน์สูงสุดต่อพระพุทธศาสนา วิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์ของ พศจ.ลพบุรี วิสัยทัศน์ ส�ำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัด เป็น องค์ ก รหลั ก ในการขั บ เคลื่ อ นกิ จ การ พระพุทธศาสนาภายในจังหวัดสูค่ วามมัน่ คง สังคมด�ำรงศีลธรรมน�ำสันติสุขอย่างยั่งยืน พันธกิจ 1. เสริ ม สร้ า งความเข้ ม แข็ ง ให้ แ ก่ บุคลากรส�ำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัด ให้เป็นมืออาชีพ 2. ส่ ง เสริ ม และสนั บ สนุ น ให้ วั ด เป็ น

ศูนย์กลางการเรียนรู้และแหล่งภูมิปัญญา ของชุมชน รวมทั้งส่งเสริมให้มีศูนย์กลางใน การจัดกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาของ จังหวัด 3. ส่ ง เสริ ม สนั บ สนุ น งานเผยแผ่ พระพุทธศาสนา และงานพุทธศาสนศึกษา 4. ส่งเสริม ดูแล รักษา และทํานุบํารุง ศาสนสถานและศาสนวั ต ถุ ท างพระพุ ท ธ ศาสนา รวมทัง้ ดูแล รักษา และจัดการวัดร้าง ในจังหวัด ยุทธศาสตร์ 1. พัฒนาขีดความสามารถของบุคลากร 2. บูรณาการความร่วมมือกับทุกภาค ส่วนในการพัฒนาวัดให้เป็นศูนย์กลางของ ชุมชน 3. เพิ่ ม ศั ก ยภาพบุ ค ลากรด้ า นการ เผยแผ่และการศึกษาของคณะสงฆ์ 4. เพิ่มความคุ้มค่าให้แก่ศาสนสถาน และวัดร้าง

LOP BURI I SBL บันทึกประเทศไทย

.

.

(4

).indd 67

PB

67

SBL บันทึกประเทศไทย9/8/2561 I SURIN9:58:07


ผลการด�ำเนินงานที่โดดเด่น 1. พิธีถวายดอกไม้จันทน์ เนื่องในพิธี ถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จ พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช 2. โครงการอุปสมบทถวายเป็นพระราช กุ ศ ล แด่ พ ระบาทสมเด็ จ พระปรมิ น ทร มหาภูมิพลอดุลยเดช 3. โครงการสวดมนต์ เ พื่ อ ความเป็ น สิริมงคล เนื่องในวันขึ้นปีใหม่ 2561 4. โครงการหนึง่ ใจให้ธรรมะ ประจ�ำปี 2561

5. โครงการวั น ส� ำ คั ญ ทางพระพุ ท ธ ศาสนา 6. กิจกรรมแต่งไทยไหว้พระ เสริมสิรมิ งคล ในงานแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ครั้งที่ 31 ประจ�ำปี 2561 7. โครงการตรวจการคณะสงฆ์ ประจ�ำปี 2561 8. โครงการสร้ า งความปรองดอง สมานฉันท์ โดยใช้หลักธรรมทางพระพุทธ ศาสนา “หมูบ่ า้ นรักษาศีล 5” จังหวัดลพบุรี

รางวัลที่ภาคภูมิใจ 1. ส�ำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดลพบุรี เป็นหน่วยงานต้นแบบในการขับเคลือ่ นนโยบาย สร้างความปรองดองสมานฉันท์ โดยใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา “หมู่บ้านรักษาศีล 5” ระยะที่ 2 ประจ�ำปี 2558 2. ส�ำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดลพบุรี ได้รับผลการประเมิน ระดับคุณภาพดีเด่น โครงการประเมินเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพส�ำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัด ประจ�ำปี 2559 3. ส�ำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดลพบุรี ได้รับรางวัลชมเชย การจัดนิทรรศการหน่วย อบรมประชาชนประจ�ำต�ำบล ประจ�ำปี 2559 4. ส�ำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดลพบุรี เป็นหน่วยงานที่มีความเข้มแข็งในการบริหาร จัดการด้านการเงินการคลัง ระดับดีเด่น (กลุ่มที่ 3) ประจ�ำปี 2560

พศจ.ลพบุรี ชวนเที่ยววัดดี-วัดดัง อ�ำเภอเมืองลพบุรี ได้แก่ วัดกวิศราราม ต�ำบลท่าหิน ,วัดเสาธงทอง ต�ำบลท่าหิน ,วัดสิริจันทรนิมิตร(ธ) ต�ำบลเขาพระงาม ,วัดเชิงท่า ต�ำบลท่าหิน ,วัดตองปุ ต�ำบล ทะเลชุ บ ศร ,วั ด อั ม พวั น (ธ) ต� ำ บลบาง ขันหมาก ,วัดโคกหม้อ ต�ำบลโพธิ์เก้าต้น , วัดถ�ำ้ พระธาตุ(ธ) ต�ำบลโคกตูม ,วัดเวฬุวนั (ธ) ต� ำ บลนิ ค มสร้ า งตนเอง ,วั ด เจริ ญ ธรรม (ถ�้ำภูตอง) ต�ำบลนิคมสร้างตนเอง ,วัดยาง ณ รังสี ต�ำบลตะลุง ,วัดชีป่าสิตาราม ต�ำบล ทะเลชุบศร อ�ำเภอท่าวุ้ง ได้แก่ วัดไลย์ ต�ำบลเขา สมอคอน ,วัดถ�้ำตะโก ต�ำบลเขาสมอคอน ,วั ด บั น ไดสามแสน ต� ำ บลเขาสมอคอน, วั ด เขาสมอคอน ต� ำ บลเขาสมอคอน, วัดถ�้ำช้างเผือก ต�ำบลเขาสมอคอน อ�ำเภอบ้านหมี่ ได้แก่ วัดสายห้วยแก้ว ต�ำบลสายห้วยแก้ว ,วัดเกริน่ กฐิน ต�ำบลบ้านชี วัดเขาวงกฎ ต�ำบลสนามแจง ,วัดพุน้อย ต�ำบลชอนม่วง ,วัดธรรมิการาม ต�ำบลบางขาม ,วัดวงเทพ ต�ำบลมหาสอน ,วัดหนองกระเบียน ต�ำบลหนองกระเบียน ,วัดพานิชธรรมิการาม ต�ำบลหนองเต่า อ� ำ เภอโคกส� ำ โรง ได้ แ ก่ วั ด เขาวง พระจันทร์ ต�ำบลห้วยโป่ง ,วัดเขาจรเข้ ต�ำบล วังเพลิง ,วัดพรหมทินใต้ ต�ำบลหลุมข้าว ,วัดสิงห์คูยาง ต�ำบลโคกส�ำโรง

68

.

.

SBL บันทึกประเทศไทย I LOP BURI

(4

).indd 68

9/8/2561 9:58:13


อ�ำเภอพัฒนานิคม ได้แก่ วัดพรหมรังษี ต�ำบลดีลงั ,วัดถ�ำ้ พรหมสวัสดิ(์ ธ) ต�ำบลช่อง สาริกา ,วัดถ�ำ้ ตะเพียนทอง ต�ำบลห้วยขุนราม ,วัดพัฒนาธรรมาราม ต�ำบลพัฒนานิคม อ�ำเภอชัยบาดาล ได้แก่ วัดเขาสมโภชน์ ต�ำบลบัวชุม ,วัดถ�ำ้ เขาปรางค์(ธ) ต�ำบลนิคม ล�ำนารายณ์ ,วัดถ�้ำพรหมโลก(ธ) ต�ำบล หนองยายโต๊ ะ ,วั ด วาริ น บุ ญ ญาวาส(ธ) ต� ำ บลท่ า ดิ น ด� ำ ,วั ด ล� ำ นารายณ์ ต� ำ บล ล�ำนารายณ์ อ�ำเภอโคกเจริญ ได้แก่ วัดสระเพลง ต�ำบลยางราก ,วัดป่าโพธิ์ทอง (ธ) ต�ำบล โคกเจริญ ,วัดสามัคคีประชาราม ต�ำบลยางราก อ�ำเภอท่าหลวง ได้แก่ วัดโบสถ์ญาวาส ต�ำบลหัวล�ำ

จากใจ ผอ.พศจ.ลพบุรี เพือ่ การจรรโลง พุทธศาสนา สิง่ ทีต่ อ้ งการฝากให้ชาวพุทธเราช่วยกัน จรรโลงพระพุ ท ธศาสนาให้ เ จริ ญ รุ ่ ง เรื อ ง สืบไปคือ เราต้องตระหนักในบทบาทและ หน้าที่ 4 ประการ ประกอบด้วย 1. การศึกษาหาความรู้ ความรูม้ ี 2 อย่าง คือ ความรูท้ างธรรมกับทางโลก ความรูท้ าง โลกช่ ว ยให้ ส ามารถประกอบการงาน ไม่เบียดเบียนผูอ้ นื่ ส่วนความรูท้ างธรรมเป็น สิ่งช่วยแนะให้เราประพฤติตนไปในทางที่ดี 2. การปฏิ บั ติ ต ามหลั ก ธรร มและ ประเพณี พิ ธี ก รรมทางศาสนา ชาวพุ ท ธ มีหน้าที่ปฏิบัติตามหลักธรรมเพื่อด�ำรงชีวิต อย่างมีความสุข โดยยึดหลักปฏิบัติในเรื่อง ศี ล สมาธิ ปั ญ ญา และการปฏิ บั ติ ต าม ประเพณีพิธีกรรมทางศาสนา ซึ่งมีหลาย อย่ า ง เช่ น การท� ำ บุ ญ การฟั ง ธรรม การถวายสังฆทาน เป็นต้น เพื่อยึดเหนี่ยว น� ำ ตนให้ เ กิ ด ศรั ท ธาในพระศาสนาและ พร้อมที่จะน�ำหลักธรรมไปปฏิบัติ

3. การเผยแผ่ พ ระพุ ท ธศาสนา เป็ น หน้าที่ของชาวพุทธทุกคนซึ่งกระท�ำได้โดย ผ่านสื่อต่างๆ เช่น พระสงฆ์ พระคัมภีร์ สื่อสารมวลชน เป็นต้น 4. การปกป้องพระพุทธศาสนา เป็น หน้ า ที่ อี ก ประการหนึ่ ง ของชาวพุ ท ธ เราสามารถปกป้อง คุ้มครอง และด�ำรง รักษาพระพุทธศาสนาให้คงอยู่ตลอดไปได้ โดยการปกป้ อ งพระสงฆ์ ไ ม่ ใ ห้ ถู ก ดู ห มิ่ น ปกป้องพระธรรมไม่ให้ถูกบิดเบือน ปกป้อง พระพุทธศาสนาจากการดูหมิน่ ทางสือ่ ต่างๆ และปกป้องไม่ให้ผู้ใดท�ำลายศาสนวัตถุและ ศาสนสถาน นอกจากนี้ ก ารรั ก ษาและท� ำ นุ บ� ำ รุ ง พระพุทธศาสนาให้มคี วามมัน่ คง ก็จดั ว่าเป็น วิธีการปกป้องทางอ้อม อาจกระท�ำได้โดย ต้องมีศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างจริงใจ ชาวพุทธทีด่ ตี อ้ งปฏิบตั ติ นตามค�ำสอนอย่าง ถูกต้อง เข้าใจ เชื่อ ท�ำตนให้เป็นคนดีตาม ค�ำสอน และท�ำนุบ�ำรุงศาสนวัตถุและศาสน สถาน

LOP BURI I SBL บันทึกประเทศไทย

.

.

(4

).indd 69

69

9/8/2561 9:58:21


S P ECI A L INT E R V IE W บันทึกเส้นทางพบท้องถิ่นจังหวัดลพบุรี

ครอง องถิ่ น การณ์ แปลง ลา”

นายอาคม สุวรรณโน ท้องถิ่นจังหวัดลพบุรี

70

SBL บันทึกประเทศไทย I LOP BURI

4

.indd 70

9/8/2561 10:07:20


ท้องถิ่นจังหวัดลพบุรี นายอาคม สุวรรณโน

“การพัฒนาท้องถิ่นต้องมาจากความต้องการของประชาชน” จังหวัดลพบุรี มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ 3 รูปแบบ คือ องค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 แห่ง เทศบาล 22 แห่ง (เทศบาลเมือง 3 แห่ง เทศบาลต�ำบล 19 แห่ง) องค์การบริหาร ส่ ว นต� ำ บล 102 แห่ ง มี ร ายได้ ร วมเงิ น อุดหนุนรวมประมาณ 5,700 ล้านบาท ด้วย จังหวัดลพบุรเี ป็นเมืองทีม่ คี วามหลากหลาย ทางวัฒนธรรม เพราะมีหลายชาติพันธุ์ เช่น กลุ ่ ม ไทยภาคกลาง กลุ ่ ม ไทยพวน หรื อ ลาวพวน กลุม่ ไทยเบิง้ หรือไทยเติง้ กลุม่ อีสาน กลุ่มไทยมอญ กลุ่มไทยเชื้อสายจีน หรือ ชาวจีนเชื้อสายอินเดีย ท�ำให้มีความหลาก หลายและความต่ อ เนื่ อ งทางวั ฒ นธรรม ยาวนานกว่า 3,000 ปี โดยมีหลักฐานทาง ประวัติศาสตร์โบราณสถาน และยังมีแหล่ง ท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม ซึ่งส่งผลให้องค์กร ปกครองส่วนท้องถิน่ ในจังหวัดมีความโดดเด่น หรือศักยภาพที่สามารถน�ำมาต่อยอดสร้าง เศรษฐกิจได้จากการท่องเทีย่ วเชิงวัฒนธรรม เชิงประวัติศาสตร์ หรือเชิงธรรมชาติ ซึ่ง ปัจจุบนั การท่องเทีย่ วเหล่านีก้ ำ� ลังเป็นทีน่ ยิ ม หรือได้รบั การสนใจจากนักท่องเทีย่ ว องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นจึงควรให้ความส�ำคัญ ในเรื่องการส่งเสริมการท่องเที่ยวในพื้นที่ โดยปั จ จุ บั น การเผยแพร่ ป ระชาสั ม พั น ธ์ ท�ำได้ง่าย เช่น ในโซเชียลมีเดียต่างๆ ซึ่งจะ ส่งผลให้เป็นการสร้างรายได้ให้กบั ประชาชน ในพื้นที่ ท�ำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น แต่ต้อง ท�ำควบคู่กับการอนุรักษ์วัฒนธรรมที่ดีงาม การรั ก ษาสิ่ ง แวดล้ อ มและการอนุ รั ก ษ์

ธรรมชาติดว้ ย จะท�ำให้เกิดการพัฒนาทีย่ งั่ ยืน ในการท�ำงานร่วมกับองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ หลักการท�ำงานหรือ แนวทางการปฏิ บั ติ ง านได้ ยึ ด หลั ก การ ทรงงานของพระบาทสมเด็จพระปรมินทร

มหาภูมิพลอดุลยเดช ในเรื่องของหลักการ ทรงงานเพือ่ ความยัง่ ยืน ในเรือ่ งเข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา ส�ำนักงานส่งเสริมการปกครอง ท้องถิ่นจังหวัดเป็น ผู้แทนกรมส่งเสริมการ ปกครองท้องถิน่ มีหน้าทีห่ ลักเป็นผูส้ นับสนุน LOP BURI I SBL บันทึกประเทศไทย

4

.indd 71

71

9/8/2561 10:07:36


การท�ำงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ ต้องรูห้ รือเข้าใจบริบทหรือศักยภาพ รวมทัง้ ทรัพยากรในการบริหารต่างๆ ขององค์กร ปกครองส่วนท้องถิน่ เช่น บุคลากร งบประมาณ เครือ่ งมือ วัสดุอปุ กรณ์ ตลอดจนวัฒนธรรม และทรัพยากรทีม่ ี ตลอดจนปัญหาข้อจ�ำกัด ในพื้นที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพราะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละ แห่งมีทรัพยากรทางการบริหารหรือบริบท ของท้องถิ่นแตกต่างกัน ซึ่งหากเรามีข้อมูล และมีความเข้าใจ เราก็จะสามารถสนับสนุน องค์ ก รปกครองส่ ว นท้ อ งถิ่ น ได้ ต าม ศักยภาพความต้องการขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น การพัฒนาจังหวัดลพบุรี จ�ำเป็นต้อง ได้ รั บ ความร่ ว มมื อ จากองค์ ก รปกครอง ส่ ว นท้ อ งถิ่ น ในจั ง หวั ด จึ ง จะสามารถ ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดได้ อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนัน้ การก�ำหนดแผน พั ฒนาขององค์ ก รปกครองส่ ว นท้ อ งถิ่ น จ�ำเป็นต้องสอดคล้องกับแนวทางของแผน พั ฒนาจังหวัด อาทิเช่น ด้านการส่งเสริม การท่องเที่ยว ซึ่งปัจจุบันองค์กรปกครอง

72

ส่ ว นท้ อ งถิ่ น ได้ ใ ห้ ค วามส� ำ คั ญ กั บ การ ส่งเสริมการท่องเที่ยวในพื้นที่ เช่น การ พั ฒ นาแหล่ ง ท่ อ งเที่ ยวให้ ส ามารถดึ ง ดู ด นักท่องเทีย่ ว นอกจากนีอ้ งค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่นต้องวางแผนการพัฒนาตลอดจนมี โครงการหรื อ กิ จ กรรมที่ ส อดคล้ อ งกั บ ยุทธศาสตร์ตามแผนพัฒนาจังหวัดลพบุรี

เช่น ด้านการยกระดับคุณภาพและสร้าง มูลค่าเพิม่ ด้านอาหารปลอดภัย ด้านพัฒนา และส่งเสริมพลังงานทดแทน ด้านบริหาร จัดการด้านการท่องเที่ยว ด้านการพัฒนา เมืองสะอาดและสังคมน่าอยู่ และด้านเสริม สร้ า งความมั่ น คงและความเป็ น ระเบี ย บ เรียบร้อยของบ้านเมืองอีกด้วย

SBL บันทึกประเทศไทย I LOP BURI

4

.indd 72

9/8/2561 10:07:47


ในปี ที่ ผ ่ า นมาองค์ ก รปกครองส่ ว น ท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัดลพบุรีมีภารกิจที่รับ ผิดชอบมากมาย ทั้งภารกิจตามนโยบาย รัฐบาล และภารกิจการให้บริการสาธารณะ ตามอ�ำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่นเอง ซึ่งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ก็ได้ร่วมมือในการด�ำเนินการเป็นอย่างดี มีผลงานเป็นที่น่าพอใจ ยกตัวอย่างเช่น นโยบายการแก้ ไ ขปั ญ หาการจั ด การขยะ มูลฝอยและขยะอันตรายของประเทศ ตาม แผนปฏิ รู ป ประเทศไทยไร้ ข ยะ ตามแนว ประชารั ฐ หรื อ จั ง หวั ด สะอาด ซึ่ ง ท� ำ ให้ จังหวัดลพบุรไี ด้รบั รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ที่ 2 ของการคัดเลือกระดับประเทศ จังหวัด ที่ มี ก ารบริ ห ารจั ด การขยะมู ล ฝอยชุ ม ชน “จังหวัดสะอาด” ประจ�ำปี 2560 และ ปัจจุบันองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกแห่ง ยั ง มี ก ารด� ำ เนิ น การในการบริ ห ารจั ด การ แก้ไขปัญหาขยะอย่างต่อเนื่อง

ในความคิดของผมเห็นว่า บทบาทของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ปัจจุบันควร มุ ่ ง เน้ น ในเรื่ อ งการดู แ ลคุ ณ ภาพชี วิ ต ของ ประชาชนให้มากขึ้น เริ่มตั้งแต่อยู่ในครรภ์ มารดาจนถึงวัยชรา ซึ่งคนที่มีคุณภาพเป็น ปัจจัยส�ำคัญที่สุดของการพัฒนาด้านต่างๆ ประกอบกั บ ปั จ จุ บั น สั ง คมไทยก� ำ ลั ง ก้ า ว เข้าสูส่ งั คมผูส้ งู อายุหรือ Aging Society ซึง่ ต่ อ ไปในอนาคตจะเป็ น ภารกิ จ ที่ อ งค์ ก ร ปกครองส่วนท้องถิ่นจะต้องให้ความส�ำคัญ เป็นล�ำดับต้นๆ ซึง่ เห็นได้วา่ องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นหลายแห่งก็เริ่มท�ำงานด้านนี้ แล้ว เช่น การดูแลมารดาที่ตั้งครรภ์ การให้ ความส�ำคัญกับการพัฒนาเด็กๆ การมีศูนย์ พัฒนาเด็กเล็กที่มีคุณภาพ การมีโรงเรียน ผู้สูงอายุ การจัดกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง กับคุณภาพชีวิตและสุขภาพของผู้สูงอายุ เป็นต้น

สุ ด ท้ า ยขอฝากพี่ น ้ อ งชาวท้ อ งถิ่ นว่ า การพัฒนาองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นให้ เกิดความเข้มแข็งและยัง่ ยืนต้องอาศัยความ ร่วมมือจากทุกภาคส่วน และที่ส�ำคัญคือ คุณภาพของบุคลากรขององค์กรปกครอง ส่ ว นท้ อ งถิ่ น ตั้ ง แต่ ผู ้ บ ริ ห าร ข้ า ราชการ ลูกจ้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ ต้อง มีประสิทธิภาพ มีความรู้ และการพัฒนา ท้ อ งถิ่ น ต้ อ งมาจากความต้ อ งการของ ประชาชนอย่างแท้จริง และมีการบริหาร ทรัพยากรทีม่ อี ยูอ่ ย่างจ�ำกัดให้มปี ระสิทธิภาพ และเกิ ด ประสิ ท ธิ ผ ล และจะต้ อ งเป็ น ที่ พึ่ ง ของพี่ น ้ อ งประชาชนในพื้ น ที่ ตาม เจตนารมณ์ของการกระจายอ�ำนาจ ตลอด จนการน� ำ หลั ก ปรั ช ญาของเศรษฐกิ จ พอเพียงมาพัฒนาท้องถิ่นและส่งเสริมให้ ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนา ท้องถิ่นของตนเอง

LOP BURI I SBL บันทึกประเทศไทย

4

.indd 73

73

9/8/2561 10:07:54


W O R K L IF E

บันทึกเส้นทางพบอุตสาหกรรมจังหวัด

อุตสาหกรรมจังหวัดลพบุรี “เศรษฐกิจพอเพียง เพื่ออุตสาหกรรมเข้มแข็ง ยั่งยืน” ส� ำ นั ก งานอุ ต สาหกรรมจั ง หวั ด ลพบุ รี เป็ น ตั ว แทนกระทรวง อุตสาหกรรมในส่วนภูมิภาค มีอ�ำนาจหน้าที่ในการก�ำกับดูแลการประกอบ กิ จ การอุ ต สาหกรรม รวมถึ ง การส่ ง เสริ ม และพั ฒ นาผู ้ ป ระกอบการ อุตสาหกรรม กลุ่มอาชีพ และการน�ำนโยบายของกระทรวงอุตสาหกรรม ลงสู่พื้นที่ โดยมีนายวรกร บ�ำรุงชีพโชต อุตสาหกรรมจังหวัดลพบุรี ขับเคลื่อนการท�ำงานให้บรรลุวิสัยทัศน์ (Vision) ที่ว่า “เป็ น องค์ ก รขั บ เคลื่ อ นอุ ต สาหกรรมของจั ง หวั ด ลพบุ รี ด้ ว ย นวัตกรรมรักษ์สิ่งแวดล้อม อย่างสมดุลและยั่งยืน”

ภาพรวมด้านอุตสาหกรรมที่โดดเด่น เศรษฐกิจอุตสาหกรรมที่ส�ำคัญและมีศักยภาพของจังหวัดลพบุรี คือ 1. อุตสาหกรรมอาหาร ได้แก่ โรงงานผลิตอาหารสัตว์ ผลิตอาหาร ส�ำเร็จรูปจากเนื้อสัตว์ โรงน�้ำแข็ง โรงงานผลิตอาหารแปรรูปและอาหาร แช่แข็งจากเนื้อสัตว์ ผลิตน�้ำนม เป็นต้น มีจ�ำนวน 93 โรงงาน เงินลงทุน 17,350.52 ล้านบาท คนงาน 21,235 คน โดยมีโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ หลายโรงงาน ได้แก่ บริษัทในเครือเบทาโกร บริษัท ในเครือสหฟาร์ม เป็นต้น 2. อุตสาหกรรมการเกษตร ได้แก่ โรงสีข้าว โรงงานผลิตมันเส้น/ ลานมัน โรงงานอบเมล็ดพันธุ์พืชและไซโล เป็นต้น เนื่องจากจังหวัดลพบุรี มีลักษณะภูมิศาสตร์เป็นที่ราบลุ่ม มีการชลประทานจากโครงการเขื่อน เจ้ า พระยา และเขื่ อ นป่ า สั ก ชลสิ ท ธิ์ ท� ำ ให้ มี แ หล่ ง น�้ ำ และมี ร ะบบ ชลประทานที่ดี เอื้ออ�ำนวยต่อพื้นที่ท�ำการเกษตร จึงเหมาะแก่การเกษตร กรรมโดยพืชที่ปลูกมากที่สุด ได้แก่ ข้าว อ้อยโรงงาน มันส�ำปะหลัง และ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ส่งผลให้มีวัตถุดิบป้อนสู่โรงงานแปรรูปการเกษตร 3. อุตสาหกรรมเครื่องจักรกล / อิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ โรงงานผลิต ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ โรงงานผลิตและซ่อมแซมเครื่องจักรกลการเกษตร โรงงานผลิตและประกอบชิ้นส่วนอะไหล่เครื่องยนต์ เป็นต้น มีจ�ำนวน โรงงานทั้งสิ้นจ�ำนวน 78 โรงงาน เงินลงทุน 8,427.25 ล้านบาท คนงาน 5,883 คน โดยมีโรงงานอุตสาหกรรมที่ประกอบชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ใน เครือมินีแบร์ จ�ำนวน 7 โรงงาน เงินลงทุนรวม 11,935.70 ล้านบาท แรงงาน 10,633 คน ถือเป็นโรงงาน ขนาดใหญ่ที่สร้างรายได้ และการ จ้างงานในพื้นที่ 4. อุตสาหกรรมพลังงานทดแทน ประกอบด้วย โรงงานผลิตพลังงาน ไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ (Solar Cell) จ�ำนวน 24 โรงงาน เงินลงทุน รวม 21,406.77 ล้านบาท ก�ำลังการผลิต 174.01 เมกะวัตต์ คนงาน 258 คน โรงงานผลิตพลังงานไฟฟ้าเชื้อเพลิงชีวมวล /จากวัสดุอื่น (แกลบ เปลือก 74

SBL บันทึกประเทศไทย I LOP BURI

(4

).indd 74

1/8/2561 16:12:30


การพัฒนา SMEs ตามแนวประชารัฐ

ไม้ เศษไม้ น�้ำดิบ สารเคมี และวัสดุสิ้นเปลือง) จ�ำนวน 3 โรงงาน เงินลงทุนรวม 1,718.96 ล้าน บาท ก�ำลังการผลิต 28.2 เมกกะวัตต์ คนงาน 127 คน โรงงานผลิตพลังงานไฟฟ้าจากก๊าซ ชีวภาพ จ�ำนวน 2 โรงงาน เงินลงทุนรวม 472 ล้ า นบาท ก� ำ ลั ง การผลิ ต 4.3 เมกกะวั ต ต์ คนงาน 32 คน และ โรงงานผลิตเอทานอลเพื่อ ใช้เป็นเชื้อเพลิง จ�ำนวน 1 โรงงาน เงินลงทุน 1,375 ล้านบาท ก�ำลังการผลิต 200,000 ลิตร/ วัน คนงาน 45 คน

ประเภท-มูลค่าของอุตสาหกรรมส�ำคัญ 1. อุ ต สาหกรรมอาหาร ประกอบด้ ว ย โรงงานผลิตอาหารสัตว์ ผลิตอาหารส�ำเร็จรูป จากเนื้อสัตว์ เป็นต้น ปัจจุบันมีจ�ำนวนโรงงาน ทั้งสิ้นจ�ำนวน 94 โรงงาน เงินลงทุน 17,353.02 ล้านบาท คนงาน 21,239 คน 2. อุตสาหกรรมอโลหะ ประกอบด้วยการผลิต ซีเมนต์ กระเบื้อง คอนกรีตผสมเสร็จ เป็นต้น ปั จ จุ บั น มี จ� ำ นวนโรงงานทั้ ง สิ้ น จ� ำ นวน 63 โรงงาน เงินลงทุน 11,635.86 ล้านบาท คนงาน 3,176 คน

3. อุตสาหกรรมเคมี ประกอบด้วยการผลิต แคลเซียมคาร์บอร์เนต ปุ๋ยเคมี ปูนขาว เป็นต้น ปั จ จุ บั น มี จ� ำ นวนโรงงานทั้ ง สิ้ น จ� ำ นวน 39 โรงงาน เงินลงทุน 9,424.35 ล้านบาท คนงาน 1,097 คน

ยุทธศาสตร์ของ สอจ.ลพบุรี ประเด็นยุทธศาสตร์ 1. พัฒนาองค์กรและบุคลากรให้มีความ พร้อมในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ของหน่วย งานให้เกิดผลสัมฤทธิ์ 2. เสริมสร้างเครือข่ายภาคอุตสาหกรรม อย่างมีส่วนร่วม เป้าประสงค์ 1. องค์กรมีภาพลักษณ์ที่ดีและมีความเป็น มืออาชีพ 2. บุคลากรทุกระดับมีความผาสุกในการ ปฏิบัติงาน 3. เครื อ ข่ า ยภาคอุ ต สาหกรรมได้ รั บ การ พัฒนาศักยภาพให้มีความเข้มแข็งและยั่งยืน

ส� ำ นั ก งานอุ ต สาหกรรมจั ง หวั ด ลพบุ รี ให้ความส�ำคัญกับการให้ความช่วยเหลือและ พัฒนาเอสเอ็มอีผ่านกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอี ตามแนวประชารั ฐ ในจั ง หวั ด ลพบุ รี ซึ่ ง มี หลักการให้ความช่วยเหลือ คือ 1. เป็นการสนับสนุนให้ความช่วยเหลือด้าน เงินทุนโดยน�ำกลไกประชารัฐมาใช้ประโยชน์ ในการด�ำเนินงาน โดยมีส�ำนักงานอุตสาหกรรม จังหวัดร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนใน ท้องถิ่นต่างๆ เช่น สภาอุตสาหกรรมฯ สภาหอ การค้าฯ สมาพันธ์เอสเอ็มอี และหน่วยงานอื่น ที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ 2. เป็นการให้เงินทุนที่ควบคู่กับการส่งเสริม ก ร ะ บ ว น ก า ร พั ฒ น า ใ น ด ้ า น ก า ร พั ฒ น า เทคโนโลยี / มาตรฐานเพื่ อ เพิ่ ม ผลิ ต ภาพ ด้านการบริหารจัดการ โดยการวางแผนธุรกิจ ให้ เ ป็ น ระบบ เช่ น การจั ด ท� ำ บั ญ ชี เ ดี ย ว ด้านการเข้าสู่ช่องทางการตลาด โดยใช้ IT หรือ E-commerce มาเข้าช่วย เป็นต้น วัตถุประสงค์ 1. เพื่อเป็นทุนช่วยเหลือ สนับสนุน SMEs ให้มีการพัฒนาไปสู่อุตสาหกรรมที่มีมูลค่าสูง ตามยุทธศาสตร์ชาติ และยุทธศาสตร์การปฏิรูป ประเทศไทยที่ ส อดคล้ อ งตามนโยบาย Thailand 4.0 2. เพื่ อ เป็ น กองทุ น ที่ จ ะช่ ว ยเติ ม เต็ ม ให้ SMEs ที่มีอุปสรรคไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงิน ทุนปกติได้ มีเงินทุนที่จะสามารถพัฒนาธุรกิจ ให้มีศักยภาพเพียงพอที่จะเข้าสู่ระบบการเงิน ปกติของสถาบันการเงินเอกชนได้ ซึ่งจะท�ำให้ SMEs เป็นฐานการสร้างรายได้และฐานทาง เศรษฐกิจของประเทศ 3. เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ และ ยกระดับให้เป็นประเทศที่มีรายได้สูง โดยเน้น การสร้างความเข้มแข็งจากเศรษฐกิจภายใน (Local economy) ตามหลักการ Thailand 4.0

LOP BURI I SBL บันทึกประเทศไทย

(4

).indd 75

75

1/8/2561 16:12:36


ส่วนประเภทของธุรกิจที่จะขอรับการสนับสนุน จากกองทุนดังกล่าวได้ มีดังนี้ 1. เป็นเอสเอ็มอีที่มีศักยภาพ และมีขนาด ของกิจการ ดังนี้ 1.1) กิจการประเภท การผลิตสินค้า หรือ การให้บริการ ที่เป็นนิติบุคคลสัญชาติไทย โดย มีจ�ำนวนการจ้างงานไม่เกินสองร้อยคน หรือมี มูลค่าสินทรัพย์ถาวรไม่รวมที่ดิน ไม่เกินสอง ร้อยล้านบาท 1.2) กิจการประเภท การค้าปลีก หรือ การค้าส่ง ที่เป็นนิติบุคคลสัญชาติไทย โดยมี จ� ำ นวนการจ้ า งงานไม่ เ กิ น ห้ า สิ บ คน หรื อ มี มูลค่าสินทรัพย์ถาวรไม่รวมที่ดิน ไม่เกินหนึ่ง ร้อยล้านบาท 2. เป็นเอสเอ็มอีท่ีเป็นนิติบุคคลไทย ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เฉพาะที่ เป็นบริษัทจ�ำกัด ห้างหุ้นส่วนจ�ำกัด และห้างหุ้น ส่วนสามัญนิติบุคคล หรือ ตามที่คณะกรรมการ บริหารก�ำหนด 3. เป็นเอสเอ็มอีที่ประกอบธุรกิจในกลุ่ม 3.1) กลุ่มธุรกิจ (Sector หรือ Cluster) ที่เป็นกลุ่ม 10 S-Curve หรือ ที่เชื่อมโยงและ จะพัฒนาไปสู่กลุ่ม 10 S-Curve หรือ 3.2) ธุรกิจที่มีความส�ำคัญเชิงยุทธศาสตร์

76

ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของจังหวัด ตามที่คณะอนุกรรมการบริหารกองทุนพัฒนา เอสเอ็ ม อี ต ามแนวประชารั ฐ ประจ� ำ จั ง หวั ด ก�ำหนด ทั้งนี้ ธุรกิจที่ไม่เข้าข่ายในการให้การ สนับสนุน ได้แก่ ธุรกิจที่เกี่ยวกับการพัฒนา อสั ง หาริ ม ทรั พ ย์ ธุ ร กิ จ ผิ ด กฎหมาย ขั ด ต่ อ ศีลธรรมอันดีของสังคม 4. เป็นเอสเอ็มอีที่จะใช้เงินทุนเพื่อปรับปรุง เปลี่ยนแปลงกิจการ/สินค้า/บริการ ให้มีขีดความสามารถในการแข่งขันสูงขึ้น เช่น การรั บ รองมาตรฐาน การน� ำ นวั ต กรรมหรื อ เทคโนโลยีหรือ ที่เกี่ยวกับ Digital เข้ามาใช้ใน กิจการ เป็นต้น 5. เป็นเอสเอ็มอีที่เคย หรือ อยู่ระหว่างเข้า ร่วมโครงการภาครัฐ หรือ องค์กรเอกชนที่มี ลั ก ษณะเป็ น การบ่ ม เพาะธุ ร กิ จ ใหม่ หรื อ เพิ่มพูนองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยี การตลาด การจัดการ และการเงิน ทั้งในรูปกิจกรรมกลุ่ม หรือ การจัดทีป่ รึกษาให้ความช่วยเหลือเฉพาะราย หรือเป็นผู้ได้รับรางวัลในการประกวดแนวคิด/ แผนธุรกิจ หรือ SMEs ดีเด่นด้านต่างๆ จาก หน่วยงานภาครัฐ หรือองค์กรเอกชน พร้อม แสดงหลักฐานประกอบ 6. มี ร ะบบบั ญ ชี เ ดี ย ว หรื อ แจ้ ง ความ

ประสงค์ที่จะเข้าสู่ระบบบัญชีเดียว 7. ไม่เป็น NPL หรือ ถูกด�ำเนินคดี ณ วัน ยื่นขอเข้าโครงการ 8. ไม่เคยปรับเงื่อนไขการช�ำระหนี้ หรือ ไม่เคยปรับโครงสร้างหนี้ในรอบ 12 เดือนที่ผ่าน มาและมีประวัติการช�ำระหนี้ปกติ อย่างน้อย 12 งวด ก่อนวันยื่นขอเข้าโครงการ 9. ต้องไม่อยู่ระหว่างการได้รับความช่วย เหลือด้านการเงินจากทุนหมุนเวียนที่ได้ด�ำเนิน การอยู่แล้ว ได้แก่ กองทุนส่งเสริมวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อมในโครงการเงินทุน พลิ ก ฟื ้ น วิ ส าหกิ จ ขนาดย่ อ มวงเงิ น 1,000 ล้านบาท กองทุนส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมในการด�ำเนินการตามมาตรการ ฟื้นฟูกิจการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม วงเงิน 2,000 ล้านบาท และเงินทุนหมุนเวียน เพื่อการส่งเสริมอาชีพอุตสาหกรรมในครัวเรือน และหัตถกรรมไทย 10. ยิ น ยอมน� ำ ส่ ง ข้ อ มู ล ทางบั ญ ชี ข อง กิ จ การและข้ อ มู ล เครดิ ต ให้ กั บ กองทุ น หรื อ ผู้ที่ได้รับมอบหมายจากกองทุนตามรอบบัญชี ทุกปี ตลอดอายุการช�ำระคืนหนี้ 11. หรือเป็นไปตามที่คณะกรรมการบริหาร ก�ำหนด

SBL บันทึกประเทศไทย I LOP BURI

(4

).indd 76

1/8/2561 16:12:42


เศรษฐกิจพอเพียง เพือ่ อุตสาหกรรมเข้มแข็ง

หลักเกณฑ์และขัน้ ตอนการขอรับการสนับสนุน

ในสภาวการณ์ปัจจุบัน ที่ประเทศไทยต้องอยู่ท่ามกลาง ประเทศคู ่ แข่ ง ขั น ที่ มี เ ทคโนโลยี ก ารผลิ ต ที่ เ หนื อ กว่ า และ ประเทศที่มีต้นทุนการผลิตต�่ำกว่า การเพิ่มขีดความสามารถใน การแข่งขันของประเทศ จึงถูกก�ำหนดให้เป็นวาระแห่งชาติ เพื่อ ให้ ส ามารถรองรั บ ผลกระทบจากภาวะผั น ผวนของระบบ เศรษฐกิ จ โลก ระบบการผลิ ต ภายในประเทศที่ ต ้ อ งเพิ่ ม สมรรถนะและขีดความสามารถในการแข่งขันให้สูงขึ้น ซึ่งใน ยามที่ประเทศมีอัตราการเปิดประเทศสูง จ�ำเป็นต้องพึ่งพา การน�ำเข้าในปริมาณที่มาก ท�ำให้เกิดความเสียเปรียบในด้าน การค้าระหว่างประเทศตลอดมา เช่น น�ำเข้าเทคโนโลยี เงินทุน เครื่องจักร อุปกรณ์การผลิต วัตถุดิบและสินค้ากึ่งวัตถุดิบ เพื่อ ผลิตเป็นสินค้าส�ำเร็จรูปส่งออก ส่งผลให้ดุลการค้าขาดดุล และ ถูกกีดกันด้วยมาตรการการค้าระหว่างประเทศ

จากใจอุตสาหกรรมจังหวัดลพบุรี ขอฝากถึงผู้ประกอบการอุตสาหกรรมให้ร่วมมือกันป้องกัน และเฝ้ า ระวั ง การเกิ ด ปั ญ หามลพิ ษ ที่ เ กิ ด จากการประกอบ กิจการอุตสาหกรรมของตนเอง รวมถึงช่วยกันดูแลและรักษา สิ่งแวดล้อม ทั้งบริเวณชุมชนโดยรอบและในสังคมส่วนรวม ก็ต้องอาศัยความร่วมมือจากภาคชุมชน สถานประกอบการและ ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เพื่อร่วมกันเฝ้าระวัง การเกิดปัญหา ด้านมลพิษและน�ำไปสู่การสร้างมวลชนสัมพันธ์ เพื่อการป้องกัน ผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นอย่างยั่งยืน

LOP BURI I SBL บันทึกประเทศไทย

(4

).indd 77

77

1/8/2561 16:12:49


S P ECI A L INT E R V IE W บันทึกเส้นทางพบนายนิยม วรปัญญา

78

SBL บันทึกประเทศไทย I LOP BURI

(5

).indd 78

8/8/2561 17:54:19


หากเอ่ ย นามของสุ ภ าพบุ รุ ษ ท่านหนึ่ง เชื่อแน่ว่าคงไม่มีใครไม่รู้จัก “นายนิยม วรปัญญา” ผู้ที่เรากล่าวได้ อย่างเต็มปากเต็มค�ำว่าเป็น “ต�ำนาน แห่งเมืองลพบุรี” ปัจจุบันแม้ท่านจะ มีอายุล่วงมาถึง 88 ปีแล้ว แต่ทา่ นยังมี สุขภาพแข็งแรง กระฉับกระเฉง พร้อมที่ จะให้ ค� ำ ปรึ ก ษาและค� ำ แนะน� ำ แก่ ทุ ก ผู้คน โดยเฉพาะในเรื่องที่เกี่ยวกับการ พั ฒ น า จั ง ห วั ด ล พ บุ รี ใ ห ้ เ จ ริ ญ ก้าวหน้า

ส�ำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขา สั ง คมศึ ก ษาศาสตร์ จากมหาวิ ท ยาลั ย ราชภั ฏ เทพสตรี และระดั บ ปริ ญ ญาโท สาขาครุ ศ าสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย ราชภั ฏ พระนคร และเคยรับราชการครูในจังหวัด ลพบุรี ก่อนจะผันตัวเองมาเป็นนักการเมือง ด้วยการลงสมัครรับเลือกตัง้ เป็นสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎร ครั้งแรกในปี 2518 และได้ รับการเลือกตัง้ มาอย่างต่อเนือ่ งถึง 12 สมัย และล่าสุดเป็นอดีตสมาชิกสภาผูแ้ ทนราษฎร สังกัดพรรคเพื่อไทย บทบาทด้ า นการเมื อ งที่ โ ดดเด่ น คื อ ท่านเคยน�ำเสนอข้อคิดเห็นส�ำคัญในสภา ผูแ้ ทนราษฎรหลายครัง้ อาทิ เสนอเรือ่ งการ ตั้ ง เมื อ งหลวงส� ำ รองขึ้ น ที่ จั ง หวั ด ลพบุ รี สระบุรี ชัยนาท หรือนครนายก, นอกจากนี้ ท่านยังเป็นบุคคลที่มีบทบาทส�ำคัญในด้าน การศึกษา ด้วยการเป็น ผู้ก่อตั้งโรงเรียน นารายณ์วิทยา อ�ำเภอชัยบาดาล จังหวัด ลพบุรี

ต�ำนานที่มีชีวิตแห่งเมืองลพบุรี“ “นายนิยม วรปัญ ญา” แชมป์สภา บิดาจอมกระทู้

นิตยสาร SBL ขอบันทึกเรื่องราวของ นายนิ ย ม วรปั ญ ญา ไว้ เ ป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ที่ จ ะขาดไม่ ไ ด้ ใ น บั น ทึ ก ประเทศไทย ฉบับจังหวัดลพบุรี

LOP BURI I SBL บันทึกประเทศไทย

(5

).indd 79

79

8/8/2561 17:54:25


ประวัติการท�ำงานเริ่มแรกจนถึงการก้าวสู่เวทีการเมือง

“ความรู้ คือ แสงสว่างเป็นหนทางสู่ความส�ำเร็จ” ชีวิตของคนๆหนึ่งที่มีโอกาสก้าวขึ้นไปบนแท่นแห่งความส�ำเร็จของชีวิตนั้นย่อมมิใช่เรื่อง ทีย่ ากเย็นเลย หากแต่เขาคนนัน้ เกิดในชาติตระกูลทีส่ งู ส่งพร้อมด้วยทรัพย์ศกุลการ และบริวาร ว่านเครือ เพียบด้วยอ�ำนาจราชศักดิ์ แต่สำ� หรับคนๆหนึง่ ทีเ่ กิดมาจากท้องไร่ทอ้ งนา ไต่บนั ได แห่งความยากล�ำบาก ฝ่าฟันความยากเข็ญอุปสรรคนานัปการและด้วยความมุมานะ อดทน บากบัน่ มาจนถึงทุกวันนี้ ชีวติ ทีผ่ า่ นมาคือความดีทไี่ ด้กระท�ำเพือ่ ทดแทนแด่แผ่นดินเกิด ย่อม เป็นความภาคภูมใิ จทีล่ กู ผูช้ ายคนหนึง่ มิอาจลืมเลือน นายนิยม วรปัญญา ถือก�ำเนิดเมือ่ วันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2473 ณ บ้านนาตะกรุด ต�ำบลศรีเทพ อ�ำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นบุตรคุณพ่อเปลี่ยน และคุณแม่ทองมา วรปัญญา สมรสกับนางส�ำราญ วรปัญญา มีบุตร และธิดารวม 6 คน วิถีปฏิบัติที่ “นายนิยม” ให้ความส�ำคัญ คือการสร้างความสามัคคีในหมู่เครือญาติให้เกิด ความเข้าใจกัน แต่ร่วมงานกันได้ ในแนวทางของ “วิสาสา ปรมา ญาติ” เชื้อสายของปู่ ย่า ตา ยาย นายนิยมถือว่าเป็นพีน่ อ้ งกันหมด ถ้าทะเลาะกัน เราต้องประสานให้เข้ากันได้ทงั้ หมด ไม่แบ่งพรรคแบ่งพวกมีแต่ขอให้สามัคคีปรองดองกัน แรงบันดาลใจที่อยากเป็น ส.ส. “ปูมหลังจอมกระทู้” นั บ ตั้ ง แต่ ก ารเปลี่ ย นผ่ า นจากวั ย เด็ ก สู่การเริ่มต้นท�ำงานเพื่อเป็นเรี่ยวแรงหลัก ของครอบครัว “วรปัญญา” ได้หล่อหลอมให้ “นายนิ ย ม” ยึ ด แนวทางการท� ำ งานด้ ว ย ความขยันหมั่นเพียร มีชื่อเสียงในเรื่องของ “ความซื่อสัตย์” จนเป็นตราสัญลักษณ์ของ ความเชือ่ ถือ และเป็นใบเบิกทางให้นายนิยม เป็นแบบอย่างในการด�ำรงตนเสมอมาจนได้ รับประกาศเกียรติคุณเป็นคุณพ่อตัวอย่าง แห่งชาติ “ชีวิตอุทิศเพื่อประชาชน” ด้วยความมุ่งมั่นที่จะเห็นประชาชนอยู่ดีกินดี ท้องถิ่นมีการพัฒนา มีความเจริญก้าวหน้า และสังคมมีความผาสุก ซึ่งอุทิศตนเข้ารับใช้ท้องถิ่นโดยเป็นกรรมการสุขาภิบาลต�ำบล ล�ำนารายณ์ ต่อมาได้รบั เลือกตัง้ เป็นสมาชิกสภาจังหวัดลพบุรี ขณะด�ำรงต�ำแหน่งสมาชิกสภา จังหวัดลพบุรไี ด้ลงพืน้ ทีอ่ อกพบปะเยีย่ มประชาชนอย่างทัว่ ถึงและต่อเนือ่ ง ท�ำให้ได้รบั รูป้ ญ ั หา ปากท้องของพี่น้องประชาชน จึงเป็นแรงบันดาลใจให้ลงสมัครเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทน ราษฎร จังหวัดลพบุรี ในปี พ.ศ.2518 เพือ่ เป็นปากเสียงให้พนี่ อ้ งประชาชนในระดับชาติ และ ได้รับความไว้วางใจจากพี่น้องประชาชนชาวลพบุรีมาโดยตลอดท�ำให้ได้เป็น ส.ส.ลพบุรี รวม 12 สมัย นายนิยม ได้อทุ ศิ ตนท�ำคุณประโยชน์ให้แก่สงั คมส่วนรวมและประเทศชาติอย่าง มุ่งมั่นและจริงใจตลอดมา 80

SBL บันทึกประเทศไทย I LOP BURI

(5

).indd 80

8/8/2561 17:54:31


“คิดเป็น ท�ำเป็น แก้ปัญหาเป็น” พื้นฐาน สู่ฉายา จอมกระทู้ อุดมการณ์ที่ยึดมั่นของ นายนิยม วรปัญญา คือ เมื่อจะท�ำสิ่งใดก็ ต้องท�ำให้ดที สี่ ดุ ต้องมีความซือ่ สัตย์ มีคณ ุ ธรรม เมือ่ ปฏิบตั หิ น้าทีข่ อง ผู้แทนราษฎรก็มุ่งหวังที่จะเป็นปากเป็นเสียงแทนพี่น้องประชาชนใน การแก้ไขปัญหา และพัฒนาสร้างความเจริญให้กับท้องถิ่น ผลงานที่ภาคภูมิใจ ท�ำให้ได้รับฉายา ส.ส. “จอมกระทู้” 1. การเสนอร่างพระราชบัญญัติ (พ.ศ.2518-2554) รวม 169 ร่าง พ.ร.บ 2. การเสนอญัตติ (พ.ศ.2518-2554) รวม 463 ญัตติ 3. การเสนอกระทู้ (พ.ศ.2518-2554) รวม 3,091 กระทู้ 4. ข้อปรึกษาหารือ (พ.ศ.2545-2555) รวม 1,023 ข้อหารือ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ได้รับพระราชทาน พ.ศ.2538 มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.) พ.ศ.2535 มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.) พ.ศ.2530 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.) พ.ศ.2529 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.) พ.ศ.2527 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.) พ.ศ.2526 ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.) พ.ศ.2523 ตริตาภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.) พ.ศ.2518 ตริตาภรณ์มงกุฎไทย (ต.ม.) อยากเห็นจังหวัดลพบุรีเติบโต เมืองลพบุรีเป็นเมืองหน้าด่านที่ส�ำคัญในการป้องกันด้านความ มั่ น คง สามารถเคลื่ อ นย้ า ยก� ำ ลั ง ไปในจุ ด ส� ำ คั ญ ของประเทศทั้ ง ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในขณะเดียวกันเมืองลพบุรี

มีผลิตผลทางการเกษตรเป็นแหล่งเพาะปลูกข้าวและธัญพืชอืน่ ทีเ่ ป็น เสบียงส�ำคัญของกองทัพจึงอยากจะฝากสิง่ ทีไ่ ม่ควรท�ำไว้เพือ่ ความ มั่นคงของประเทศชาติสืบไป สิ่งที่อยากฝากไปยังชาวจังหวัดลพบุรี ไม่วา่ การเมืองจะมีการเปลีย่ นแปลงอย่างไร ความมุง่ มัน่ ในจิตใจ ของนายนิยม วรปัญญา ยังมั่นคงที่จะแก้ไขปัญหาปากท้องของ ประชาชนเพื่อชีวิตที่ดีขึ้นของพี่น้องประชาชนผู้ยากไร้และด้อย โอกาส จะยังคงด�ำเนินต่อไป ตราบเท่าศรัทธาของประชาชนที่มอง ให้ ปณิธานนี้เพื่อทดแทนบุญคุณของประชาชน ด้วยความมุ่งมั่น พัฒนาท้องถิ่น สร้างความเจริญให้กับสังคมตลอดไป

เมายศ ลืมตาย เมากาย ลืมแก่ เมาเมีย ลืมแม่ ลักทรัพย์ ติดคุกแน่ รู้แล้ว อย่าเมา โดย นิยม วรปัญญา

LOP BURI I SBL บันทึกประเทศไทย

(5

).indd 81

81

8/8/2561 17:54:37


ก้าวสู่เส้นทางสายการเมือง

ผมมีความสนใจด้านการเมืองจึง ลงสมัคร ส.ส.ครั้งแรกและได้รับเลือกตั้งในปี 2518 พรรคแรกทีอ่ ยูม่ ผี แู้ ทน 6 คน พอผมออกมา พรรคก็ล่มเลย อีกพรรคก็ให้ผมไปอยู่ด้วย เป็นพรรคที่ได้จัดตั้งรัฐบาลเพราะอาจารย์ ผมเป็ น นายกฯ แต่ ห ลั ง จากมี เ รื่ อ งและ

ยุบสภาไป ผมเลยต้องกลับไปหางบประมาณ อยู่ระยะเวลาหนึ่ง ต่อมาคุณทักษิณก็อยากให้ผมมาช่วยตัง้ พรรคไทยรักไทยให้เป็นพรรคขนาดใหญ่ เพราะพ่อเขากับผมเป็นเพือ่ นกัน วันหนึง่ พ่อ เขาก็ให้คนมารับผมไปวัดป่ากล้วย ไปถึงก็

บอกว่าให้ชว่ ยคุณทักษิณตัง้ พรรคใหญ่ๆ หน่อย ผมก็ตกลงว่าจะช่วย จนทุกวันนี้ก็ได้เป็น ส.ส. 12 สมัยแล้ว ถ้ารัฐบาลเปิดให้มีการ เลื อ กตั้ ง ผมก็ พ ร้ อ มที่ จ ะรั บ ใช้ พี่ น ้ อ ง ประชาชนครับ

ณ วันนี้ชื่อของ “นายนิยม วรปัญญา” จะไม่ได้เป็นเพียงต�ำนานที่มีชีวิตของจังหวัดลพบุรีเท่านั้น แต่ท่านยังเป็นต�ำนานที่มีชีวิตในแวดวงการเมืองของไทยด้วย แม้อายุของท่านจะย่างก้าวสู่ปีที่ 89 แล้ว แต่ทว่าด้วยประสบการณ์ในเวทีการเมือง ความมุ่งมั่นทุ่มเท และความเสียสละที่ท่านมีต่อทุกผู้คน ก็เป็นแต้มต่อส�ำคัญที่จะน�ำพาให้ท่านอยู่บนเส้นทางสายนี้ได้อย่างเต็มภาคภูมิ

82

SBL บันทึกประเทศไทย I LOP BURI

(5

).indd 82

8/8/2561 17:54:43


เทศบาลต�ำบลล�ำนารายณ์ W O R K L IF E

บันทึกเส้นทางพบเกษตรจังหวัดลพบุรี

เกษตรจังหวัดลพบุรี

“พัฒนาองค์กรให้มีองค์ความรู้เพื่อการพัฒนาเกษตรกรผลิตพืชปลอดภัย มีคุณภาพชีวิตที่มั่นคงและยั่งยืนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ” คือวิสัยทัศน์ของส�ำนักงานเกษตรจังหวัดลพบุรี

นายธีระศักดิ์ ขุมเงิน เกษตรจังหวัดลพบุรี

ส�ำนักงานเกษตรจังหวัดลพบุรี เป็นหน่วยงาน ราชการส่วนภูมภิ าค สังกัดกรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยมีอ�ำนาจหน้าที่ ในการส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกร องค์กรเกษตรกร และวิสาหกิจชุมชน ส่งเสริมและถ่ายทอดความรู้ เทคโนโลยีการเกษตรและนวัตกรรมใหม่ๆ ด้าน การผลิต การจัดการผลผลิตพืช ประมง และปศุสตั ว์ ก� ำ กั บ ดู แ ลและสนั บ สนุ น การปฏิ บั ติ ง านของ ส�ำนักงานเกษตรอ�ำเภอ และปฏิบตั งิ านบูรณาการ ร่วมกับหน่วยงานอืน่ ทีเ่ กีย่ วข้องหรือได้รบั มอบหมาย (ตามกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการ) กิจกรรมเด่นของเกษตรจังหวัดลพบุรี 1. โครงการสร้างทักษะและส่งเสริมอาชีพ ด้านการเกษตร (โครงการเสริมสร้างรายได้ให้แก่ เกษตรกรรายย่อย) จังหวัดลพบุรีได้รับจัดสรร งบประมาณ จ�ำนวน 89,473,000 บาท เพือ่ ด�ำเนิน การโครงการสร้างทักษะฯ ซึ่งเป็นโครงการภายใต้ โครงการไทยนิยม ยั่งยืน ดังนี้ 1.1. กิจกรรมการฝึกอบรมเกษตรกร บุคคล เป้าหมายคือ เกษตรกรในพื้นที่ 11 อ�ำเภอ 155 ชุมชนๆ ละ 200 ราย รวมเกษตรกรเป้าหมาย 31,000 ราย ด�ำเนินการรับสมัครเกษตรกรเข้ารับ การฝึ ก อบรม จ� ำ นวน 26,529 ราย ก� ำ หนด หลักสูตรการฝึกอบรม 3 วัน/หลักสูตร/รุ่น (รุ่นละ 50 ราย) 1.2. กิจกรรมพัฒนากลุม่ เกษตรกร งบประมาณ เงินอุดหนุนทั่วไป ชุมชนละ 300,000 บาท เพื่อใช้ ส� ำ หรั บ การจั ด ซื้ อ วั ส ดุ อุ ป กรณ์ ส นั บ สนุ น กลุ ่ ม เกษตรกรให้มีรายได้และเกิดความยั่งยืนในชุมชน ต่อไป

2. ระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ ระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่เป็นระบบ ส่งเสริมการเกษตรทีย่ ดึ พืน้ ทีเ่ ป็นหลัก (area-based approach) ด� ำ เนิ น งานในลั ก ษณะบู ร ณาการ ระหว่างหน่วยงานภาครัฐและเอกชนตามแนวทาง ประชารัฐ โดยรวมกลุม่ เกษตรกรไม่ตำ�่ กว่า 30 ราย ในพืน้ ทีไ่ ม่ตำ�่ กว่า 300 ไร่ ให้มกี ารบริหารจัดการ ร่วมกัน เพือ่ ให้เกิดการรวมกันผลิต จ�ำหน่ายโดยมี ตลาดรองรับ จังหวัดลพบุรีมีแปลงใหญ่ จ�ำนวน 66 แปลง เป็ น แปลงใหญ่ ข ้ า ว 34 แปลง มันส�ำปะหลัง 10 แปลง ข้าวโพดเลีย้ งสัตว์ 9 แปลง อ้อยโรงงาน 4 แปลง พืชผัก 3 แปลง และโคนม 6 แปลง มีเกษตรกรร่วมโครงการจ�ำนวน 4,256 ราย ในพืน้ ที่ 87,644 ไร่

3. ศูนย์เรียนรูก้ ารเพิม่ ประสิทธิภาพการผลิต สินค้าเกษตร (ศพก.) ภายใต้หลักคิด “เกษตรกรพัฒนาเกษตรกร ด้วยกันเองจึงจะเกิดความเข้มแข็งและยั่งยืน” ดังนั้นศพก. จึงเป็นศูนย์ของเกษตรกรและชุมชน ในระดั บ อ� ำ เภอโดยบริ ก ารแก้ ไขปั ญ หาด้ า น การเกษตร และพั ฒ นาชี วิ ต ความเป็ น อยู ่ ข อง เกษตรกร จังหวัดลพบุรี มีศพก. อ�ำเภอละ 1 ศูนย์ รวม 11 ศูนย์แบ่งเป็นศพก. ด้านข้าว 5 ศูนย์ และ ด้านมันส�ำปะหลัง 6 ศูนย์ และมีศูนย์เครือข่ายอีก 123 ศู น ย์ ที่ เ ป็ น จุ ด เรี ย นรู ้ เ ฉพาะทางเช่ น ศู น ย์ จัดการศัตรูพืชชุมชน (ศจช.) ศูนย์จัดการดินปุ๋ย ชุมชน (ศดปช.) ฯลฯ LOP BURI I SBL บันทึกประเทศไทย

1

.indd 83

83

9/8/2561 10:21:20


S P ECI A L INT E R V IE W

บันทึกเส้นทางพบพลเอกสรชัช วรปัญญา

84

SBL บันทึกประเทศไทย I LOP BURI

5

.indd 84

8/8/2561 17:48:44


เป็นที่ทราบกันดีว่า จังหวัดลพบุรี ซึ่งตั้งอยู่ใจกลางของประเทศไทยนี้ เป็ น ที่ ต้ั ง ของศู น ย์ บั ญ ชาการทาง ทหารที่ใหญ่เป็นอันดับสองรองจาก กรุงเทพมหานคร จนได้รบั การขนาน นามว่าเป็นเมืองทหาร นิตยสาร SBL บันทึกประเทศไทยขอพาท่านผู้อ่าน ไปรู้จักกับจังหวัดลพบุรีผ่านมุมมอง ของนายทหารท่านหนึง่ ซึง่ ถือก�ำเนิด และเติบโตอยู่ในจังหวัดลพบุรี ท่านผู้ นั้ น คื อ พลเอกสรชั ช วรปั ญ ญา ผู ้ ท รงคุ ณ วุ ฒิ พิ เ ศษกองทั พ บก ปฏิ บั ติ ร าชการที่ ค ณะท� ำ งานที่ ปรึกษากองทัพบก ในกองบัญชาการ กองทัพบก

ลพบุรีในมุมมองของ “พลเอกสรชั ช วรปั ญ ญา”

“ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก”

พลเอกสรชัช วรปัญญา เป็นหนึง่ ในจ�ำนวนบุตรธิดาทั้ง 6 คน ของคุณพ่อ นิยม วรปัญญา อดีต ส.ส. 12 สมัย ซึ่ง ชี วิ ต ที่ ไ ด้ ค ลุ ก คลี ใ กล้ ชิ ด และเห็ น การ เสี ย สละเพื่ อ ช่ ว ยเหลื อ ชาวลพบุ รี ข อง คุณพ่อ ท�ำให้ท่านมีปณิธานที่จะเดินตาม รอยของคุณพ่อ แต่เป็นไปในแนวทางของ ท่ า นเอง คื อ การเลื อ กที่ จ ะเป็ น ทหาร รับใช้ชาติ และช่วยเหลือประชาชนในยาม ทุกข์ยาก

LOP BURI I SBL บันทึกประเทศไทย

5

.indd 85

85

8/8/2561 17:45:17


พลเอกสรชั ช กล่ า วถึ ง แนวทางการ ด�ำเนินชีวิตว่า

“การด� ำ เนิ น ชี วิ ต ตลอดเวลาที่ รับราชการจนถึงปัจจุบัน ผมยึดถือ แนวทางตามค�ำสอนของบิดามารดา และครูบาอาจารย์ ที่สอนให้เป็นคนดี มีเมตตา ท�ำงานตามสายงานวิชาชีพที่ ได้ร่�ำเรียนศึกษามาอย่างมีคุณธรรม ไม่เบียดเบียนใคร ไม่เห็นแก่ตัว ไม่โลภ ไม่โกรธ ไม่หลง อภัยให้กบั กิจกรรมการ งานทีถ่ กู รังแก หรือถูกเอารัดเอาเปรียบ ท�ำให้ผมประสบความส�ำเร็จในหน้าที่ การงาน ได้รบั การโปรดเกล้าฯ ให้ดำ� รง ยศเป็นพลเอกในกองทัพบก”

86

SBL บันทึกประเทศไทย I LOP BURI

5

.indd 86

8/8/2561 17:45:22


ความประทับใจในการปฏิบัติหน้าที่ คือการที่ ได้รับราชการในสายงาน วิชาชีพทหาร ได้มีโอกาสปฏิบัติงานราชการหลายสถานที่ ได้แก่ กองก�ำลัง บูรพา กองก�ำลังสุรนารี ภารกิจพิเศษการปราบปรามยาเสพติด เป็นอาจารย์ อ�ำนวยการสอนวิชายุทธศาสตร์ทหาร และการวางแผนทางทหารวิทยาลัย กองทัพบก เป็นผู้อ�ำนวยการศูนย์พัฒนาหลักนิยมและยุทธศาสตร์ กรมยุทธ ศึกษาทหารบก และที่ประทับใจมากคือ การได้ปฏิบัติหน้าที่ กองอ�ำนวยการ รักษาความมั่นคง ภายในภาค 4 ส่วนหน้าในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

การที่ ท ่ า นได้ มี โ อกาสปฏิ บั ติ ห น้ า ที่ ใ น หลากหลายต�ำแหน่งและหลากหลายกรมกอง นั บ ตั้ ง แต่ อดี ต จนถึ ง ปั จ จุ บั น ได้ ส ร้ า งความ ภาคภู มิ ใ จและความประทั บ ใจ สมดั ง ที่ ไ ด้ ชื่อว่า...ทหารเป็นรั้วของชาติ

ในฐานะทีท่ า่ นเป็นชาวลพบุรี ท่านมีมมุ มอง และแนวคิดต่อจังหวัดลพบุรี ดังนี้ “เมืองลพบุรีหรือที่เป็นที่รู้จักกันว่าเมือง ละโว้ สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช มีสถานที่ โบราณหลายแห่ง อาทิ พระปรางค์สามยอด ปรางค์แขก วังนารายณ์ และที่ส�ำคัญที่เป็น ศูนย์รวมของชาวลพบุรีคือ ศาลพระกาฬ ซึ่งมี เรื่องเล่าสู่กันมาว่า สมัยสงครามโลกครั้งที่สอง ญี่ปุ่นได้มาทั้งระเบิดเหนือเมืองลพบุรี ด้วย อิทธิฤทธิบ์ ารมีของเจ้าพ่อพระกาฬ ใช้มอื กวาด ระเบิ ด ทิ้ ง ให้ ไ ปตกยั ง ที่ อื่ น แต่ ท่ี นี่ ป ลอดภั ย ท�ำให้เจ้าพ่อพระกาฬมีพระกรข้างเดียว ข้างที่ หายไปคือ พระกรที่กวาดระเบิดไปทิ้ง จริงเท็จ อย่างไรอยู่ที่ความเชื่อถือ นอกจากนี้เรายังมี เขื่ อ นป่ า สั ก ชลสิ ท ธิ์ ซึ่ ง เกิ ด ขึ้ น ได้ ด ้ ว ยสาย พระเนตรอันยาวไกลของล้นเกล้าฯรัชกาลที่ 9 ท่านทรงมีพระราชด�ำริให้สร้างขึ้น เพื่อการ กั ก เก็ บ น�้ ำ ในลุ ่ ม น�้ ำ ป่ า สั ก ส� ำ หรั บ ใช้ ใ น การเกษตรในพื้นที่ราบลุ่มภาคกลาง และที่ ส� ำ คั ญ คื อ การชะลอปริ ม าณน�้ ำ ที่ จ ะไหลลง กรุงเทพฯ และปริมณฑล ท�ำให้สามารถป้องกัน น�้ำท่วมกรุงเทพฯ และปริมณฑลได้

LOP BURI I SBL บันทึกประเทศไทย

5

.indd 87

87

8/8/2561 17:45:29


และเมืองลพบุรีเ ป็นชุมทาง ที่ ส� ำ คัญ อย่างยิ่งในการที่จะ เดิ น ทางไปภาคเหนือ ภาคตะวันออก เฉี ยงเหนือ จัดได้ว ่าเป็น ศู น ย์ก ลางของประเทศ

ท�ำให้เมืองลพบุรีเป็นที่ตั้งของหน่วยทหาร จ�ำนวนมาก กล่าวได้ว่าเป็นจังหวัดที่มีหน่วย ทหารขนาดใหญ่ระดับชั้นยศนายพลมากที่สุด ไม่นบั รวมหน่วยทหารในกรุงเทพฯ ความส�ำคัญ ตรงนีท้ ำ� ให้จำ� เป็นอย่างยิง่ ทีจ่ ะต้องมีการพัฒนา สิ่งอ�ำนวยความสะดวก ให้เพียงพอถึงความ จ�ำเป็นด้านความมั่นคงในอนาคต อันได้แก่ การขนส่ง การติดต่อสือ่ สาร ความต้องการด้าน

88

พลังงานที่เพียงพอ ด้านการสาธารณสุขที่มี ความพร้อม รวมทั้งการบริหารการปกครอง ท้องถิ่นอย่างเหมาะสม ด้วยความช่วยเหลือ ซึ่งกันและกันระหว่างหน่วยทหารกับข้าราชการ พลเรือนในพื้นที่และภาคประชาชน” ทั้ ง หมดนี้ คื อ ข้ อ คิ ด เห็ น และสิ่ ง ที่ ท ่ า น “พลเอกสรชัช วรปัญญา” ได้ฝากไว้ให้ชาวไทย ทั้งประเทศ เพื่อให้เกิดความเข้าอกเข้าใจและ

ความสัมพันธ์อนั ดีระหว่างประชาชนและกองทัพ เพราะปัจจุบันบทบาทของกองทัพอาจจะมิได้ เน้นหนักไปทีก่ ารจับอาวุธต่อสูก้ บั ข้าศึกภายนอก แต่กลับเป็นการต่อสูก้ บั ภัยพิบตั ติ า่ ง ๆ ทีเ่ กิดขึน้ กับประชาชนคนไทยในประเทศ ซึง่ ทุกครัง้ ทีเ่ กิด สาธารณภัย เราก็จะเห็นก�ำลังพลของหน่วย ทหารออกมาช่วยดูแลให้ความช่วยเหลือและ อ�ำนวยความสะดวกให้กบั พีน่ อ้ งประชาชนเสมอ

SBL บันทึกประเทศไทย I LOP BURI

5

.indd 88

8/8/2561 17:45:39


HI S TO R Y O F U ND E R H IS G R A C IO U S NE SS บันทึกเส้นทางใต้ร่มพระบารมี

การไฟฟ้า ส่ วนภูมิส่วนภูมิภาค เขต 3 (ภาคเหนื อ ) จ.ลพบุรี มุ่งมั่นให้บริการพลังงานไฟฟ้า การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เขต 3 (ภาคเหนือ) จ.ลพบุรี รับผิดชอบ ให้บริการด้านกระแสไฟฟ้าในพื้นที่ลพบุรี สิงห์บุรี ชัยนาท อุทัยธานี นครสวรรค์ และเพชรบู ร ณ์ มุ ่ ง มั่ น ร่ ว มขั บ เคลื่ อ น และเร่ ง รั ด การด�ำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและกระทรวงมหาดไทย รวมทั้ง ตอบสนองต่อแนวทางการด�ำเนินงานตามยุทธศาสตร์ระยะ 20 ปี และนโยบาย Thailand 4.0 ตามวิสัยทัศน์ (VISION) ของการไฟฟ้า ส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ที่เป็นองค์กรชั้นน�ำที่ทันสมัยในระดับภูมิภาค มุ ่ ง มั่ น ให้ บ ริ ก ารพลั ง งานไฟฟ้ า และธุ ร กิ จ เกี่ ย วเนื่ อ ง อย่ า งมี ประสิทธิภาพ เชื่อถือได้ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจ และ สังคมอย่างยั่งยืน ด้วยผลงานด้านต่างๆ อันเป็นที่ประจักษ์ อาทิ

โครงการปรับปรุงภูมิทัศน์ เพื่อทัศนียภาพ ที่ดีของสถานที่ท่องเที่ยวทางโบราณสถาน จังหวัดลพบุรีเป็นเมืองท่องเที่ยวที่โดดเด่น มีโบราณสถานที่ส�ำคัญหลายแห่ง ประกอบกับ มีลิงที่อาศัยบริเวณศาลพระกาฬและพระปรางค์ สามยอด เป็ น เสน่ ห ์ ดึ ง ดู ด นั ก ท่ อ งเที่ ย วทั้ ง ชาวไทยและต่างประเทศ แต่จากการที่มีระบบ จ�ำหน่ายของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค รวมทั้งสาย สื่อสารพาดผ่านบริเวณดังกล่าว ท�ำให้ทัศนียภาพ ไม่สวยงาม อีกทั้งเสาและสายไฟฟ้ายังเป็นที่ปีน ป่ายของลิง ส่งผลให้เกิดกระแสไฟฟ้าดับอยู่ บ่อยครั้ง จึงได้ด�ำเนินการรื้อถอนเสาไฟฟ้าและ น� ำ ระบบจ� ำ หน่ า ยไฟฟ้ า ลงใต้ ดิ น บริ เวณข้ า ง ศาลพระกาฬ ผ่านหน้าโรงเรียนพิบูลวิทยาลัย เป็นระยะทางกว่า 700 เมตร

การพัฒนางานให้บริการตามมาตรฐาน การให้บริการเป็นศูนย์ราชการสะดวก (Government Easy Contact Center :GECC) ตามนโยบายนายกรั ฐ มนตรี ก� ำ หนดให้ ทุกกระทรวง กรมและจังหวัดรวมทั้งรัฐวิสาหกิจ ที่ เ กี่ ย วข้ อ งจั ด ให้ มี ศู น ย์ ร าชการสะดวกเพื่ อ เป็นการยกระดับการให้บริการและอ�ำนวยความ สะดวกให้กับประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ เกิดความพึงพอใจในการให้บริการ รวมทั้งช่วย สร้ า งภาพลั ก ษณ์ ที่ ดี และความเชื่ อ มั่ น ต่ อ หน่ ว ยงาน โดยในปี 2560 ได้ รั บ การรั บ รอง มาตรฐานเป็นศูนย์ราชการสะดวก จ�ำนวน 12 แห่ง ในพื้นที่รับผิดชอบ 6 จังหวัด และยังพร้อมเข้า รับการตรวจเพื่อการรับรองในระดับการไฟฟ้า ส่วนภูมิภาคสาขาอีก 16 แห่ง ในปี 2561

โครงการจั ด ระเบี ย บสายสื่ อ สารและ อุปกรณ์ โทรคมนาคมบนเสาไฟฟ้า การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เขต 3 (ภาคเหนือ) จ.ลพบุรี ร่วมกับผู้ประกอบการสายสื่อสารและ เคเบิ้ลทีวี เข้าร่วมด�ำเนินการรื้อถอนสายสื่อสาร และอุปกรณ์สื่อสารโทรคมนาคมที่ไม่ได้ใช้งาน และไม่ ไ ด้ รั บ อนุ ญ าต ออกจากเสาไฟฟ้ า ใน เส้นทางส�ำคัญคือ เส้นทางถนนพหลโยธินฝัง่ ขาออก ตั้งแต่วงเวียนเทพสตรี (วงเวียนพระนารายณ์) – สามแยกนิ ค มสร้ า งตนเอง ระยะทาง 4 กิโลเมตร เพื่อให้เกิดทัศนียภาพที่สวยงาม สร้าง ความปลอดภั ย ในชี วิ ต และทรั พ ย์ สิ น ของ ประชาชน รวมทั้งยังก่อ ให้เกิดความมั่นคงใน ระบบจ�ำหน่ายไฟฟ้าของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค อีกทั้งขยายผลไปยังเส้นทางต่างๆ ของจังหวัด ลพบุรีต่อไป LOP BURI I SBL บันทึกประเทศไทย

3 (1

).indd 89

89

31/7/2561 11:41:56


TR AV EL G U ID E

บันทึกเส้นทางท่องเที่ยวจังหวัดลพบุรี

่ ที ย ววิ ถ ี ไ ทย เ สุขใจในเมือง พระนารายณ์ ไม่น่าเชื่อเลยว่าละครเรื่องบุพเพสันนิวาส ที่ดังระเบิดทั้งในและนอกประเทศ จะท�ำให้ ออเจ้าทั้งหลายต่างลุกขึ้นมาแต่งไทย หันมาสนใจประวัติศาสตร์ และชื่นชม กับโบราณสถานที่เป็นอดีตอันรุ่งเรือง กันมากขึ้น SBL ขอเกาะกระแสพาทุกๆ ท่านไปพบกับที่เที่ยวหลากหลายในลพบุรี เมืองที่มีกลุ่มชนหลายหลากชาติพันธุ์ นับแต่อดีตจวบจนปัจจุบัน

90

SBL บันทึกประเทศไทย I LOP BURI

.indd 90

8/8/2561 15:54:51


พระนารายณ์ราชนิเวศน์ หรือที่ชาวเมืองลพบุรีเรียกกันติดปากว่า วังนารายณ์ เป็นพระราชวังโบราณสมัยกรุงศรีอยุธยา ที่แสดงถึง ความรุ่งเรืองสูงสุดสมัยหนึ่งของเมืองละโว้ ปัจจุบันกลายเป็น พิพิธภัณฑ์ที่ใช้จัดแสดงโบราณวัตถุ และภาพประวัติศาสตร์ต่างๆ

LOP BURI I SBL บันทึกประเทศไทย

.indd 91

91

8/8/2561 15:54:52


TR AV EL G U ID E

ตามรอยละครดังชม

วังพระนารายณ์ ลพบุรี ได้ชื่อว่าเป็นราชธานีแห่งที่สองในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช

ด้วยพระปรีชาญาณที่ทรงเล็งเห็นว่า หาก มีกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีอยูเ่ พียงแห่งเดียว อาจเป็นการเสี่ยงต่อชาวฮอลันดาที่เข้ามา ค้าขายและเสี่ยงต่อการถูกปิดล้อมโจมตีได้ จึ ง โปรดฯ ให้ท�ำนุบ�ำรุง เมือ งลพบุรีขึ้น ใหม่ เมื่ อ ราว พ.ศ. 2209 เพื่ อ ใช้ เ ป็ น ที่ ต ้ อ นรั บ ชาวต่างชาติทเี่ ข้ามาเจริญสัมพันธไมตรี โปรดฯ ให้ ช ่ า งชาวฝรั่ ง เศสและอิ ต าเลี ย น สร้ า ง พระราชวังขึ้น ณ ริมฝั่งแม่น�้ำลพบุรี สถาปั ต ยกรรมของพระราชวั ง เป็ น ศิลปกรรมสมัยอยุธยาตอนปลาย ทว่ามีกำ� แพง พระราชวังสูง 5 เมตร แต่ละมุมก�ำแพงมีปอ้ ม ปืนไว้ปอ้ งกันศัตรูอย่างแน่นหนาแข็งแรง มีซมุ้ ประตูทั้งหมด 11 ซุ้ม เป็นซุ้มประตูก�ำแพง ชั้นนอก 7 ซุ้ม และชั้นใน 4 ซุ้ม ที่ซุ้มประตู และก�ำแพงพระราชฐานชั้นกลางและชั้นใน เจาะช่องเล็กๆ รูปโค้งแหลมด้านบน เรียงราย เป็นระเบียบสวยงามเพือ่ วางประทีปส่องสว่าง ปัจจุบันกลายเป็นฉากที่ใครไปเที่ยวก็มักจะ ไปเซลฟีกัน เขตพระราชวังแบ่งเป็น 3 ชัน้ คือพระราชฐาน ชัน้ นอก เป็นส่วนของอ่างเก็บน�ำ้ หมูต่ กึ สิบสอง ท้องพระคลัง ตึกเลี้ยงต้อนรับแขกเมือง ตึก พระเจ้าเหา โรงช้าง โรงม้า พระราชฐานชัน้ กลาง มีพระที่นั่งจันทรพิศาล หมู่พระที่นั่งพิมาน มงกุ ฎ พระที่ นั่ ง วิ สุ ท ธิ วิ นิ จ ฉั ย พระที่ นั่ ง ไชยศาสตรากร พระที่นั่งอักษรศาสตรากร พระที่ นั่ ง อั ก ษรศาสตราคม พระที่ นั่ ง ดุ สิ ต สวรรค์ธัญญมหาปราสาท ตึกพระประเทียบ ทิมดาบ และพระราชฐานชั้นในมีพระที่นั่ง

92

จั น ทรพิ ศ าล พระที่ นั่ ง สุ ท ธาสวรรย์ และ พระที่ นั่ ง ดุ สิ ต สวรรค์ ธั ญ ญมหาปราสาท พระราชวังแห่งนี้ค่อยๆ หมดความส�ำคัญลง และถูกปล่อยให้ช�ำรุดทรุดโทรมไปตามกาล เวลา หลังสิ้นแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์ มหาราช ต่ อ มาในปี 2399 พระบาทสมเด็ จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดฯให้ปฏิสังขรณ์ พระราชวั ง ขึ้ น ใหม่ และโปรดฯให้ ส ร้ า ง พระที่ นั่ ง ส� ำ หรั บ ประทั บ และเป็ น ราชธานี ส�ำรอง โดยสร้างเป็นอาคารเดียว แต่แยก เป็ น 4 พระที่ นั่ ง ได้ แ ก่ พระที่ นั่ ง พิ ม าน มงกุฎ พระที่นั่งสุทธิวินิจฉัย พระที่นั่งไชย ศาสตรากร และพระที่นั่งอักษรศาสตราคม โปรดฯ พระราชทานนามว่า “พระนารายณ์ ราชนิเวศน์”

โบราณสถานพระนารายณ์ราชนิเวศน์

เปิดบริการ วันจันทร์-อาทิตย์ เวลา 09.00-16.30 น. อัตราค่าเข้าชม ชาวไทย 10 บาท ชาวต่างชาติ 30 บาท

SBL บันทึกประเทศไทย I LOP BURI

.indd 92

8/8/2561 16:54:55


LOP BURI I SBL บันทึกประเทศไทย

.indd 93

93

8/8/2561 16:54:58


TR AV EL G U ID E

พิ พิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) สมเด็จพระบรมวงศ์ เธอกรมพระยาด�ำรงราชานุภาพ และสมเด็จ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวตั วิ งศ์ ได้เสด็จมา ตรวจราชการทีเ่ มืองลพบุรี ทรงพบว่ามีโบราณ วัตถุกระจายอยู่ตามโบราณสถานเป็นจ�ำนวน มาก ทรงมอบให้ศาสตราจารย์ ยอร์ช เซเดส์ ด�ำเนินการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์เพื่อแสดงโบราณ วัตถุขนึ้ ทีพ่ ระทีน่ งั่ จันทรพิศาลในพระนารายณ์ ราชนิเวศน์ เรียกว่า “ลพบุรีพิพิธภัณฑสถาน” โดยเปิดให้เข้าชมเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 11 ตุ ล าคม พ.ศ.2467 ต่ อ มาจึ ง ได้ ป ระกาศ เปลี่ ย นชื่ อ เป็ น “พิ พิ ธ ภั ณ ฑสถานแห่ ง ชาติ สมเด็จพระนารายณ์” ในปี พ.ศ.2504 ภายใน ประกอบด้วย พระทีน่ งั่ พิมานมงกุฎ เป็นอาคารสูง 3 ชัน้ จัดแสดงนิทรรศการถาวร 7 เรื่องด้วยกัน ได้แก่ การจัดแสดงนิทรรศการถาวร 2 เรื่อง คือเรือ่ งสมัยก่อนประวัตศิ าสตร์แถบภาคกลาง ลุ่มแม่น�้ำเจ้าพระยา เมื่อประมาณ 3,5004,000 ปีมาแล้ว จัดแสดงโบราณวัตถุที่พบ จากการขุดค้นที่แหล่งโบราณคดี ในจังหวัด ลพบุรี ได้แก่ แหล่งโบราณคดีบา้ นท่าแค แหล่ง โบราณคดีบา้ นโคกหม้อ แหล่งโบราณคดีบา้ น 94

ดงมะรุม แหล่งโบราณคดีบ้านพรหมทินใต้ และ แหล่งโบราณคดีบ้านโป่งมะนาว เช่น โครงกระดูกมนุษย์ ภาชนะดินเผา เครื่องมือ เครื่องใช้ที่ท�ำจากโลหะ และเครื่องประดับที่ ท�ำจากหินและเปลือกหอย เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีหอ้ งจัดแสดงโบราณคดีบา้ นท่าแค จ. ลพบุรี ที่มีอายุประมาณ 3,500-1,000 ปี พระที่นั่งพิมานมงกุฎชั้นที่ 1 จัดแสดง เกี่ยวกับอารยธรรมลุ่มแม่น�้ำเจ้าพระยา พ.ศ. 700-1400 จ�ำแนกเป็นเรื่องเมืองและการ ตั้งถิ่นฐาน และการด�ำรงชีวิต อักษร-ภาษา ศาสนสถาน ศาสนาและความเชือ่ จากหลักฐาน ทีเ่ ป็นโบราณวัตถุแบบทวารวดีทพี่ บในจังหวัด ลพบุรี โบราณวัตถุทสี่ ำ� คัญ ได้แก่ พระพุทธรูป พระพิมพ์ รูปเคารพเนือ่ งในศาสนาพราหมณ์ฮินดู เหรียญ ตราประทับ จารึก ฯลฯ พระที่นั่งพิม านมงกุฎชั้นที่ 2 จัดแสดง นิทรรศการถาวร 4 เรือ่ ง คือ เรือ่ งประวัตศิ าสตร์ และศิ ล ปกรรมภาคกลางของประเทศไทย

SBL บันทึกประเทศไทย I LOP BURI

.indd 94

7/8/2561 13:31:16


ลพบุรีพิพิธภัณฑสถาน

โดยเปิดให้เข้าชมครั้งแรก เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2467 ต่อมาจึงได้ประกาศเปลี่ยนชื่อ

“พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์”

ในปี พ.ศ.2504

อายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 16-18 หรือ สมัยอิทธิพลศิลปะเขมร โบราณวัตถุที่ส�ำคัญ ได้แก่ ทับหลัง พระพุทธรูปนาคปรก และเศียร พระโพธิสตั ว์อวโลกิเตศวร เรือ่ งประวัตศิ าสตร์ ศิลปะในประเทศไทย จัดแสดงศิลปกรรมแบบ ต่างๆ ที่พบในภูมิภาคต่างๆ ในประเทศไทย ที่มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 11 เป็นต้นมา คือ ศิลปะแบบลพบุรี ศิลปะสุโขทัย ศิลปะ บริเวณคาบสมุทรภาคใต้ประเทศไทย (ศิลปะ ศรีวิชัย) ศิลปะทางภาคเหนือศิลปะล้านนา และศิลปะทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของ ประเทศไทย เป็นต้น เรื่องเครื่องถ้วยที่พบใน ประเทศไทย จัดแสดงเครื่องถ้วยแบบต่างๆ ทัง้ ทีผ่ ลิตในประเทศไทย และเรือ่ งศิลปโบราณ วัตถุ พุทธศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา (ศิลปกร มอยุธยา-รัตนโกสินทร์) โบราณวัตถุที่ส�ำคัญ ได้ แ ก่ พระพุทธรูป บานประตูไ ม้แกะสลัก ชิน้ ส่วนปูนปัน้ ประดับสถาปัตยกรรม เหรียญตรา ผ้า เครื่องเงิน-ทอง เครื่องถ้วย ฯลฯ

พระที่ นั่ ง พิ ม านมงกุ ฎ ชั้ น ที่ 3 แต่ เ ดิ ม เป็นห้องบรรทมของรัชกาลที่ 4 คือพระบาท สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ห้องดังกล่าว จัดแสดงโบราณวัตถุที่ส�ำคัญ ได้แก่ ฉลอง พระองค์ ภาพพระสาทิสลักษณ์ แท่นบรรทม เหรียญ เครื่องแก้ว และจานชามมีสัญลักษณ์ รูปมงกุฎ พระที่นั่งจันทรพิศาล เป็นท้องพระโรง ส�ำหรับ ประชุม เสนาบดีในสมัยสมเด็จ พระ นารายณ์มหาราช มีห้องจัดแสดง 2 ห้อง คือ เรื่องประวัติศาสตร์สมัยสมเด็จพระนารายณ์ มหาราช จัดแสดงภาพประวัติศาสตร์ที่ส�ำคัญ ในรัชสมัยของพระองค์ ที่ชาวต่างประเทศ ได้ ว าดไว้ และโบราณวั ต ถุ ที่ มี อ ายุ ใ นสมั ย สมเด็ จ พระนารายณ์ ม หาราช รวมไปถึ ง การติดต่อกับชาติตะวันตก เช่น ฮอลันดา โปรตุเกส ในสมัยนั้น เป็นต้น และเรื่องศาสน วัตถุต่างๆ ในพุทธศตวรรษที่ 19-24 (สมัย อยุธยา-รัตนโกสินทร์) จัดแสดงตู้พระธรรม

ธรรมาสน์ ตาลปัตร สมุดไทย หมูต่ กึ พระประเทียบ เป็นเขตพระราชฐาน ชั้นใน สมัยรัชกาลที่ 4 มี 8 หลัง ได้จัดแสดง นิทรรศการถาวร 2 เรื่อง ได้แก่ เรื่องชีวิตไทย ภาคกลาง (พิพิธภัณฑ์ชาวนา) จัดแสดงเรื่อง ชีวิตไทยภาคกลาง เรื่องหนังใหญ่ จัดแสดง หนั ง ใหญ่ ข องจั ง หวั ด ลพบุ รี ที่ ไ ด้ จ ากวั ด ตะเคียน และวัดส�ำราญ พิ พิ ธ ภั ณ ฑสถานแห่ ง ชาติ สมเด็ จ พระ นารายณ์ เปิดบริการวันพุธ-วันอาทิตย์ เวลา 09.00-16.00 น. ค่าเข้าชม ชาวไทย 30 บาท ชาวต่างประเทศ 150 บาท (นักเรียนนักศึกษา ในเครื่องแบบ, ผู้สูงอายุ, ภิกษุสามเณรและ นักบวชในศาสนาต่างๆ ไม่เสียค่าธรรมเนียม เข้าชม) LOP BURI I SBL บันทึกประเทศไทย

.indd 95

95

7/8/2561 13:31:20


บ้านหลวงรับราชทูต อดีตอันรุ่งเรืองที่เหลือเพี ยงรอยจ�ำ

บ้านหลวงรับราชทูต ใช้เป็นสถานที่รับรองราชทูตที่มาเข้าเฝ้าฯ สมเด็จพระนารายณ์มหาราช โดยมีคณะราชทูตชุดแรกมาจากประเทศฝรั่งเศส เมื่อปี พ.ศ.2228 ต่ อ มาสมเด็ จ พระนารายณ์ ม หาราชได้ พระราชทานที่ พั กอาศั ย ทางทิ ศ ตะวั น ตก ของบ้านหลวงรับราชทูตให้แก่ Constantine Phaulkon ชาวกรี ก ที่ เ ข้ า มารั บ ราชการใน ต�ำแหน่งล่ามและเป็นตัวกลางการค้าระหว่าง อยุธยากับฝรัง่ เศส จนได้รบั ความดีความชอบ และโปรดฯ แต่งตัง้ ให้เป็น “เจ้าพระยาวิชาเยนทร์” ซึ่งต่อมาบ้านหลวงรับราชทูต เป็นที่รู้จักกัน ทั่วไปในชื่อว่า “บ้านวิชาเยนทร์” บริเวณทิศตะวันตกของบ้านหลวงรับราชทูต ซึง่ มีการสันนิษฐานว่าเป็นบ้านของเจ้าพระยา วิชาเยนทร์นั้น มีลักษณะเป็นกลุ่มอาคาร มี ทั้งตึก 2 ชั้น หลังใหญ่ก่อด้วยอิฐ และอาคาร ชั้นเดียว มีซุ้มประตูทางเข้าเป็นรูปโค้ง ซึ่งเป็น ศิลปะตะวันตกยุคเรอเนสซองส์ที่ได้รับความ นิยมในยุคนั้น ส่วนกลางพบฐานสิ่งก่อสร้าง ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นหอระฆังและโบสถ์คริสต์ มี ซุ ้ ม ประตู แ ละหน้ า ต่ า งเป็ น ซุ ้ ม เรื อ นแก้ ว มีเสาปลายเป็นรูปกลีบบัวยาว ซึ่งเป็นศิลปะ 96

แบบไทย จึงถือได้ว่าเป็นโบสถ์คริสต์หลังแรก ในโลกที่มีลักษณะแบบโบสถ์วัดไทย ปัจจุบัน กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณ สถาน ตามประกาศในราชกิ จ จานุ เ บกษา เล่ม 53 ตอนที่ 24 เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ.2479

บ้านหลวงรับราชทูตหรือบ้านวิชาเยนทร์

ตั้งอยู่บนถนนวิชาเยนทร์ในปัจจุบัน เปิดให้เข้าชม เวลา 08.00-18.00 น. / เว้นวันจันทร์-อังคาร อัตราค่าเข้าชม ชาวไทย 10 บาท / ชาวต่างชาติ 30 บาท

SBL บันทึกประเทศไทย I LOP BURI

.indd 96

7/8/2561 13:31:25


LOP BURI I SBL บันทึกประเทศไทย

.indd 97

97

7/8/2561 13:31:29


ไทยพวนบ้านทราย หมู่บ้านวัฒนธรรมสร้างสรรค์

ชาวไทยพวนเป็นชนชาติที่สืบเชื้อสายมาจากชาวพวน ที่อพยพจากเมืองเชียงขวาง ประเทศลาว มาตั้งถิ่นฐานอยู่ในประเทศไทยเมื่อราว 200 ปีมาแล้ว โดยชาวพวนกลุ่มนี้ได้แยกย้ายกันไปอยู่ ตามภูมิภาคต่างๆ รวม 19 จังหวัด โดยที่ ต�ำบลบ้านทราย อ�ำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี เป็นจังหวัดทีม่ ชี าวไทยพวนอาศัยอยูม่ ากทีส่ ดุ แห่งหนึ่งของประเทศ ชาวไทยพวนนั บ ถื อ ศาสนาพุ ท ธ จึ ง มี วิถีชีวิต ศิลปะ วัฒนธรรม และประเพณีที่ เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนา เช่น ประเพณีเส่อ กระจาด ซึ่งจัดขึ้นเพื่อให้ญาติมิตรและผู้คน ในหมูบ่ า้ นได้มาพบปะกัน เพือ่ ช่วยกันจัดเตรียม งานบุ ญ ใหญ่ “เทศน์มหาชาติ” ในวัน รุ่ง ขึ้น ซึ่งชาวไทยพวนมีความเชื่อว่า ใครที่ได้ฟัง เทศน์มหาชาติจบทัง้ 13 กัณฑ์ ในวันเดียวกัน จะได้บุญมาก โดยประเพณีเส่อกระจาดจะ จัดหลังเทศกาลออกพรรษาไปแล้ว ประเพณี ก�ำฟ้า จะมีการท�ำบุญถวายข้าวจีห่ รือข้าวหลาม ในวันขึ้น 3 ค�่ำ เดือน 3 ซึ่งเป็นช่วงก่อน ฤดูกาลท�ำนา โดยมีพิธีกรรมเพื่อขอให้ฝนตก ต้องตามฤดูกาล และผลผลิตเจริญงอกงาม อุดมสมบูรณ์ นอกจากนี้ชาวไทยพวนในอ�ำเภอบ้านหมี่ ยั ง มี ค วามสามารถด้ า นการทอผ้ า มาแต่ อดีตกาล โดยแม่บา้ นจะน�ำดอกฝ้ายทีป่ ลูกเอง มาปั่นเป็นเส้นใย มัดเส้นใยเปลาะๆ แล้วจึง น�ำไปย้อมสี เพื่อให้มีลวดลายและสีสันที่มี เอกลักษณ์แตกต่างกันไป ซึง่ นับเป็นภูมปิ ญ ั ญา ที่ได้รับการสืบทอดจากบรรพบุรุษชาวพวน จนกลายเป็นที่นิยมและเป็นที่รู้จักกันในชื่อ “ผ้ า บ้ า นหมี่ ” ซึ่ ง ในที่ สุ ด ได้ ก ลายเป็ น ชื่ อ “อ�ำเภอบ้านหมี่” ในปัจจุบัน ชาวไทยพวนต�ำบลบ้านทราย มีค วาม ตระหนักในคุณค่าแห่งภูมิปัญญา วัฒนธรรม และประเพณีที่สืบทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่น จึง 98

เกิดการรวมตัวกันเพือ่ สร้างความเข้มแข็งและ ยั่งยืนให้กับชุมชน ด้วยการน�ำเอาอัตลักษณ์ที่ เข้มแข็งนี้มาเป็นจุดขาย จนเกิดเป็นหมู่บ้าน วั ฒ นธรรมสร้ า งสรรค์ ซึ่ ง สภาวั ฒ นธรรม ต�ำบลบ้านทราย ได้จัดท�ำเป็น “ศูนย์บูรณา การวัฒนธรรมไทย สายใยชุมชน” เพื่อเป็น แหล่งเรียนรู้ สืบค้น แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และ เผยแพร่ข้อมูลด้านประวัติความเป็นมาของ ชาวไทยพวน ประเพณี วัฒนธรรมและวิถชี วี ติ โดยได้จัดท�ำ “พิพิธภัณฑ์ไทยพวนบ้านทราย” ขึ้ น ที่ วั ด บ้ า นทราย หมู ่ 2 ต.บ้ า นทราย อ.บ้านหมี่ จ.ลพบุรี ภายในพิพิธภัณฑ์ฯ ได้จัดแสดงสิ่งของ เครื่องใช้ต่างๆ อาทิ เครื่องปั้นดินเผาที่ใช้ใน ครัวเรือน เครื่องไม้เครื่องมือจักสานที่ใช้ใน การท�ำมาหากิน เครือ่ งแต่งกายของชาวไทยพวน รวมไปถึ ง เครื่ อ งมื อ เครื่ อ งใช้ ใ นยุ ค ก่ อ น ประวัติศาสตร์ที่ได้มาจากแหล่งโบราณคดี วั ด จั น เสน และแหล่ ง โบราณคดี บ ้ า นเชี ย ง ซึ่งชาวพวนบ้านทรายถือว่าชาวบ้านเชียงเป็น พีน่ อ้ งชาวพวนเหมือนกัน นอกจากนีย้ งั มีการ จ�ำลองกวงเฮือน(ห้องนอน) และเรือนโบราณ ของชาวไทยพวน การท�ำผ้าทอมัดหมี่ ฯลฯ

พิ พิธภัณฑ์ไทยพวนบ้านทราย

โทร. 081-254-9038

SBL บันทึกประเทศไทย I LOP BURI

.indd 98

7/8/2561 13:31:32


LOP BURI I SBL บันทึกประเทศไทย

.indd 99

99

7/8/2561 13:31:39


ซับลังกา

ป่าผืนสุดท้ายในลพบุรี เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าซับลังกา ต�ำบลกุดตาเพชร อ�ำเภอล�ำสนธิ จังหวัดลพบุรี ถือเป็นป่าผืนสุดท้าย ของจังหวัดลพบุรี สูงจากระดับ น�้ำทะเลปานกลาง 140-846 เมตร ความส�ำคัญคือ เป็นป่าต้นน�้ำของ แม่น�้ำล�ำสนธิ และเป็นแหล่งอาหาร ของสัตว์ป่านานาชนิด 100

ป่าซับลังกาได้รบั พระมหากรุณาธิคณ ุ จาก สมเด็ จ พระนางเจ้ า ฯ พระบรมราชิ นี น าถ ในรัชกาลที่ 9 ได้พระราชทานช้างคืนสู่ป่า ตามโครงการพระราชด� ำ ริ “คื น ช้ า งสู ่ ป ่ า ” เมื่อปี 2547 ท�ำให้ป่าแห่งนี้กลับมามีความ สมบูรณ์ขนึ้ อีกครัง้ มีชา้ งป่าอยูจ่ ำ� นวน 44 ตัว มีสัตว์ป่าอีกกว่า 100 ชนิด เช่น เก้ง กวาง เลียงผา ไก่ฟา้ พญาลอ มีผเี สือ้ กว่า 30 สายพันธุ์ และมีพนั ธุไ์ ม้นานาชนิด เช่น กล้วยไม้ปา่ เห็ด ถ้วย (เห็ดแชมเปญมีสีส้ม) กล้วยไม้รองเท้า นารี เป็นต้น

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าซับลังกา จัดเส้น ทางศึกษาธรรมชาติจดั ไว้ 2 เส้นทาง เส้นแรก คือ ห้วยพริก-น�้ำตกผาผึ้ง-ถ�้ำผาผึ้ง ระยะทาง ไป-กลับประมาณ 3,200 เมตร ใช้เวลาเดิน ประมาณ 2 ชั่วโมง 30 นาที เป็นเส้นทาง ทีไ่ ม่ลำ� บากเกินไปนักส�ำหรับนักท่องธรรมชาติ หน้าใหม่ ระหว่างเส้นทางจะผ่าน น�ำ้ ตกผาผึง้ ซึ่ ง เป็ น น�้ ำ ตกเล็ ก ๆ แต่ มี ค วามสวยงาม บรรยากาศรอบข้ า งที่ ร ่ ม รื่ น ด้ ว ยไม้ ใ หญ่ นานาพรรณ และเหมาะส�ำหรับเป็นจุดพัก ระหว่ า งทาง และเส้ น ทางนี้ อ าจมี โ อกาส

SBL บันทึกประเทศไทย I LOP BURI

.indd 100

8/8/2561 16:31:45


ป่าผืนสุดท้ายแห่งลพบุรี มีความลับของ พบเห็นสัตว์เล็กๆ เช่น เต่า และนกต่างๆ จากนั้นเดินต่อไปยังถ�้ำผาผึ้ง ที่มีดงจันทน์ผา ซึ่งเป็นไม้ดึกด�ำบรรพ์ที่มีรูปทรงงดงาม และ ในช่วงปลายฝนต้นหนาวกล้วยไม้รองเท้านารี ที่ ซ ่ อ นตั ว อยู ่ ใ นดงจั น ทน์ ผ านี้ จ ะเบ่ ง บาน พร้อมกันในฤดูนี้ ส�ำหรับจุดเริ่มต้นเดินเท้าเส้นทางนี้คือ ห้วยแม่พริก ซึ่งอยู่ห่างจากที่ท�ำการเป็นระยะ ทาง 9 กิโลเมตร ต้องใช้รถที่สภาพดี ก�ำลังดี พร้อมที่จะลุยทางลูกรังที่ค่อนข้างเละ แต่ผู้ที่ ไม่มีรถและไปกันเป็นคณะ สามารถว่าจ้างรถ

อีแต๋น ของชาวบ้านซึ่งเป็นการกระจายราย ได้สู่ท้องถิ่นทางอ้อมด้วย โดยติดต่อล่วงหน้า โทร. 0-3645-1936 อีกเส้นหนึ่ง คือ ห้วยประดู่ เริ่มต้นด้วย การล่ อ งแพ ซึ่ ง จุ ค นได้ ป ระมาณ 35 คน ไปยังจุดเริ่มต้นเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติ ซึ่งมีระยะทาง 1,500 เมตร ระหว่างเส้นทาง เดินสามารถชมถ�้ำสมุยกุย และถ�้ำพระนอก ได้ ใช้เวลาส�ำหรับเส้นทางนีป้ ระมาณ 1 ชัว่ โมง 30 นาที

“ซับลังกา”

ส�ำหรับการเข้าศึกษาสภาพธรรมชาติ ควร สวมใส่รองเท้าทีก่ ระชับรัดกุม เพือ่ ความคล่อง ตัวในการเดินย�่ำน�้ำตกและโขดหินลื่น หรือ ปีนป่ายหน้าผาหินแหลมคม พร้อมพกยาทา กันยุงไปด้วย โดยนักท่องเที่ยวต้องติดต่อขอ อนุญาตเข้าพื้นที่ล่วงหน้าได้ที่ เขตรักษาพันธุ์ สัตว์ป่าซับลังกา โทร.0-3641-5936 LOP BURI I SBL บันทึกประเทศไทย

.indd 101

101

8/8/2561 16:31:48


สวนรุกขชาติน�้ำตกวังก้านเหลือง

ขอขอบคุณที่มา

ส�ำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดลพบุรี, ส�ำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี, ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย ศูนย์มานุษยวิทยาสิริธร, เว็บไซต์ท่องเที่ยววิถีไทย โดย ธ.ก.ส. และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

102

SBL บันทึกประเทศไทย I LOP BURI

.indd 102

น�ำ้ ตกวังก้านเหลือง เป็นน�ำ้ ตกทีเ่ กิดขึน้ มา โดยธรรมชาติสร้างสรรค์เป็นพิเศษ ตัง้ อยูห่ มูท่ ี่ 4 ต�ำบลท่าดินด�ำ อ�ำเภอชัยบาดาล ท่ามกลาง สภาพธรรมชาติที่สวยงาม ร่มรื่น เหมาะกับ การพักผ่อนหย่อนใจและเล่นน�้ำตก น�้ ำ ตกแห่ ง นี้ เกิ ด จากน�้ ำ ผุ ด ขึ้ น มาจาก ล�ำห้วยเล็กๆ ชือ่ ว่า “ห้วยมะกอก” จากจุดน�ำ้ ผุด เหล่ า นี้ น�้ ำ จะไหลคดเคี้ ย วเป็ น ระยะทาง ประมาณ 1 กิโลเมตร ก็จะมารวมกันทีอ่ า่ งน�ำ้ ซึ่ ง เป็ นวั ง น�้ ำ กว้ า งมี สั น หิ น ปู น ขวางกั น อยู ่

น�้ ำ ที่ ไ หลเอ่ อ มาจากต้ น น�้ ำ ก็ จ ะทิ้ ง ตั ว ลงไป ปะทะกับหินปูน ท�ำให้เกิดเป็นน�้ำตกกว้าง กว่า 20 เมตร ลดหลั่นกันไป หลายชั้นดู สวยงามมาก การเดินทาง จากตัวเมืองลพบุรใี ช้เส้นทาง ลพบุร-ี โคกส�ำโรง จากนัน้ ใช้เส้นทางโคกส�ำโรง -ชัยบาดาล ต่อด้วยทางหลวงหมายเลข 21 แล้วเข้าทางหลวงหมายเลข 2089 ไปอ�ำเภอ ท่าหลวงประมาณ 12 กิโลเมตร เลีย้ วซ้ายเข้า ตัวน�้ำตกอีกประมาณ 7 กิโลเมตร น�้ำตกวัง ก้านเหลืองจะอยู่ทางขวามือ

7/8/2561 13:31:48


LOP BURI I SBL บันทึกประเทศไทย

.indd 103

103

7/8/2561 13:31:54


สวนรุกขชาติ น�้ำตกวังก้านเหลือง

104

SBL บันทึกประเทศไทย I LOP BURI

.indd 104

7/8/2561 13:31:55


.indd 209

28/6/2561 16:39:28


BEST IN TRAVEL 2017

ที่ สุ ด แห่ ง การบั น ทึ ก

ความทรงจ�ำ

www.sbl.co.th

SBL บั นทึ กประเทศไทย น�ำเสนอเรื่องราวของจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศไทย อย่างเจาะลึกและครอบคลุ ม ทุ ก มิ ติ อาทิ มิ ติ ด ้ า น การพั ฒ นาคุ ณ ภาพชี วิ ต และความเป็ น อยู ่ จากหน่ ว ยงานราชการส� ำ คั ญ ในจั ง หวั ด มิ ติ ด ้ า นการท่ อ งเที่ ย วที่ ส ดใหม่ ทั น สมั ย ทั้ งสถานที่เ ที่ ยว ที่พัก ร้านอาหาร ร้านกาแฟ แหล่งช็อปปิ้งใหม่ๆ ฯลฯ มิติด้านอุตสาหกรรม-การค้ า การลงทุ น ที่ เ ป็ น ตั วขั บ เคลื่ อนเศรษฐกิจ ตลอดจนมิติด้านการศึกษา ศาสนา วัฒ นธรรม และวิถีชีวิต ที่มีจุดเด่นและมีเอกลั ก ษณ์ น ่ า สนใจ

AD_

.indd 2

3/8/2561 9:31:59


B E S T IN T R AV E L

2017

TOP 10 PHOTOGRAPHS

OF THE YE AR

หนึ่งความทรงจ�ำของการเดินทางในปี 2560 ช่วงเวลาดีของการออกไปโอบกอดทะเลหมอก ท่ามกลาง อากาศบริสุทธ์ สูดหายใจได้เต็มปอด ด้วยความสูงจาก ระดับน�้ำทะเลราว 1768 เมตร ท�ำให้เมื่อมองจาก ยอดภูทับเบิกลงไปด้านล่างในยามค�่ำคืน จะเห็นแสงไฟ ของบ้านเรือนส่องประกายระยิบระยับคล้ายแสงดาวบนฟ้า

ภูทับเบิ ก คื อดาวบนดิ น

BEST

AD_

.indd 3

IN

TRAVEL

2017 3/8/2561 9:32:00


“โรงแรมสบายโฮเต็ล” และ “อพาร์ทเม้นท์ยู”

Sabai Hotel Apartment U หากคุณก�ำลังมองหาที่พักทั้งแบบรายวัน และรายเดือน ที่เพียบพร้อม ทั้งความสะดวกสบาย เดินทางง่าย และตั้งอยู่ใจกลางย่านธุรกิจของเมือง ลพบุรี เราขอแนะน�ำที่ “โรงแรมสบายโฮเต็ล” และ “อพาร์ทเม้นท์ยู”

ด้วยความใส่ใจในบริการ เราจึงออกแบบที่พักให้เ หมาะกับ ไลฟ์สไตล์ที่แตกต่างของลูกค้าแต่ละท่าน โดยรังสรรค์บรรยากาศ แบบธรรมชาติ ที่จะท�ำให้คุณรู้สึกผ่อนคลายอย่างแท้จริง

อพาร์ทเม้นท์ยู บริการห้องพักส�ำหรับผู้ที่ต้องการพักอาศัยแบบรายเดือน ที่โดดเด่นด้วยท�ำเลที่ตั้งอยู่ใกล้ตัวเมือง ติดริมถนน ลพบุรี-สิงห์บุรี จึงสะดวกสบายต่อการเดินทางและการใช้ชีวิต เพราะอยู่ติดกับปั๊มน�้ำมันปตท. ที่มีร้านค้าให้บริการมากมาย อาทิ 7-Eleven, cafe amazon, ร้านอาหารครัวไทย, ร้านก๋วยเตี๋ยวเจียงลูกชิ้นปลา พร้อมร้านของฝากจากเจ้าสัว 108

Ad-

SBL บันทึกประเทศไทย I LOP BURI

+

2

.indd 108

8/8/2561 15:54:17


โรงแรมสบายโฮเต็ ล ให้ บ ริ ก ารห้ อ งพั ก แบบรายวั น ด้ ว ยการ ออกแบบตกแต่งที่เรียบง่ายอิงธรรมชาติ เน้นความสะอาด โปร่ง สบาย พร้อมอุปกรณ์อ�ำนวยความสะดวกครบครัน ห้องฟิตเนส, สระว่ายน�้ำ, Free Wi-fi พร้อมอาหารเช้าฟรี 2 ท่าน/ห้อง

โรงแรมสบายโฮเต็ล & อพาร์ทเม้นท์ยู ให้บริการในราคามิตรภาพ เริ่มต้นที่ 395 บาท เปิดให้บริการ 24 ชั่วโมง พร้อมบริการห้องประชุมจัดเลี้ยงสัมมนา ที่รองรับผู้เข้าร่วมประชุมได้ตั้งแต่ 50-200 ท่าน

โรงแรมสบายโฮเต็ล & อพาร์ทเม้นท์ ยู 83 หมู่ 6 ต.โพตลาดแก้ว อ.ท่าวุ้ง จ.ลพบุรี โทร : 036-426809 -11 : s.srithong2506@hotmail.com อพาร์ทเมนท์ยู โทร: 036-776838-39 : หจก.ส.ศรีทองปิโตรเลียม โรงเเรมสบายโฮเต็ล : 0826486704 LOP BURI I SBL บันทึกประเทศไทย 109

Ad-

+

2

.indd 109

8/8/2561 15:54:26


benjatara-

boutique-resort

...เราคือเพื่ อนที่รู้ ใจนักเดินทางผู้มีรสนิยมวิไลในการใช้ชีวิต ด้วยบริการครบวงจร ทั้งห้องพัก ห้องประชุม สัมมนา จัดเลี้ยง ห้องอาหาร และร้านกาแฟ

โดดเด่นด้วยดีไซน์เรียบเท่แต่มสี ไตล์

ทั้ ง ภายนอกและภายใน ห้ อ งพั ก ที่ เ ราพิ ถี พิ ถั น ในการออกแบบ ให้แตกต่างกัน แต่เน้นความโปร่งสบาย สะอาด พร้อมสิ่งอ�ำนวยความสะดวก อาทิ แอร์ เครื่องท�ำน�้ำอุ่น ตู้เย็น ฟรี Wi Fi และฟรีบุฟเฟต์ อาหารเช้า

อิ่มอร่อยกับหลากหลายเมนูที่ BENJA KITCHEN

อีกหนึ่งบริการที่เราให้ความส�ำคัญเป็นพิเศษเพื่ออ�ำนวยความสะดวก แก่ผู้ที่เข้าพัก ด้วยบุฟเฟต์มื้อเช้าที่หลากหลายด้วยอาหารไทย อาหาร ฝรั่ง และเมนูอื่น ๆ เสริมมากมาย อาทิ ข้าวต้ม ก๋วยเตี๋ยว ชา กาแฟ นอกจากนี้ เ รายั ง มี บ ริ ก ารสั่ ง และเสิ ร ์ ฟ อาหารจานโปรดของท่ า นถึ ง ห้องพัก ส�ำหรับผู้ที่ต้องการความเป็นส่วนตัวและความสะดวกสบาย อีกทั้งเรายังบริการรับจัดเลี้ยง ประชุม สัมมนา ด้วยทีมงานมืออาชีพ เพื่อให้งานส�ำคัญของท่านเป็นที่ประทับใจแก่ผู้ร่วมงาน 110

Ad-

SBL บันทึกประเทศไทย I LOP BURI

2

.indd 110

2/8/2561 9:29:39


รื่นรมย์ ผ่อนคลายที่ SOUL COFFEE

ซึ่งเราตั้งใจมอบ บริการอันอบอุ่น แก่ผู้เข้าพัก เพื่อให้เป็นทั้งที่รับประทานอาหาร เครื่องดื่ม รวมถึง จิบเบียร์เย็นๆ เพื่อผ่อนคลายความเหนื่อยล้า เป็นที่นัดพบปะพูดคุยเจรจา และเป็น ที่ท�ำงานของคนรุ่นใหม่ ที่มีเสียงเพลงสบาย ๆ คลอเคล้าสร้างบรรยากาศ

เบญจธารา บูติค เพลส รีสอร์ท 123/33 ซอยราชภัฎเทพสตรี 2 ต.เขาสามยอด อ.เมือง จ.ลพบุรี 15000 089-9042121, 036-422608-9 www.benjataralopburi.com poj2707 BENJATARA LOP BURI I SBL บันทึกประเทศไทย

Ad-

2

.indd 111

111

2/8/2561 9:29:48


ล้อฮงไถ่เพลส

“อาณาจั ก รห้ อ งพั ก ที่ ใ หญ่ ท่ี สุ ด ถู ก ที่ สุ ด ในลพบุ รี ” ล้อฮงไถ่เพลส เราคือที่สุดแห่งผู้ให้บริการที่พัก ที่ตอบทุกโจทย์ ที่ลูกค้าต้องการ ทั้งแบบรายเดือน-รายวัน

กว้ า งขวาง สะดวกสบาย ด้ ว ยตั ว อาคารโอ่ โ ถง บนพื้นที่ขนาด 2 ไร่ และที่จอดรถขนาดใหญ่ 2 ไร่ จอดรถได้ 80 -100 คัน

พรั่ ง พร้ อ มด้ ว ยสิ่ ง อ� ำ นวยความสะดวก ห้องพักใหม่ขนาดใหญ่ถงึ 40 ตารางเมตร พร้อมแอร์ น�ำ้ อุน่ ทีวี ตูเ้ ย็น เตียง ทีน่ อน ตูเ้ สือ้ ผ้า โต๊ะเครือ่ งแป้ง ซิง้ ค์ลา้ งจาน ระเบียงหลัง Wi-Fi ทุกชัน้ ๆ ละ 4 ตัว

ปลอดภั ย อุ่ น ใจ ด้วยระบบคีย์การ์ด รปภ.ตลอด 24 ชั่วโมง และ กล้อง CCTV 37 ตัว ติดตั้งทั่วถึงทั้งภายใน-ภายนอกอาคาร และทางเดินกลางใน อาคาร โดยมีกล้อง CCTV ทุกชั้น ๆ ละ 5 ตัว เน้นไฟส่องสว่างทั่วถึง ทั้งบริเวณ ตัวอาคาร โรงจอดรถ และบริเวณรอบรั้วทั้งหมด พิเศษสุด ! บริการไมโครเวฟและกระติกน�้ำร้อนที่บริเวณส่วนกลาง พร้อม ร้านมินิมาร์ทเพื่ออ�ำนวยความสะดวกแก่ลูกค้าทุกท่าน

ล้อฮงไถ่เพลส

112

Ad-

ที่อยู่ 169 ม.8 ต.กกโก อ.เมืองลพบุรี จ.ลพบุรี 15000 (ตั้งอยู่ใกล้ห้างบิ๊กซีลพบุรี 1 ตรงข้ามตลาดนัดกกโก) โทร. 081-9054159 คุณขวัญใจ / 063-1858773 ส�ำนักงาน SBL บันทึกประเทศไทย I LOP BURI 1

.indd 112

31/7/2561 14:44:10


Windsor park Resort

“วินเซอร์ ปาร์ค รีสอร์ท ที่พักหรูมีระดับ โดดเด่นสะดุดตาด้วยสถาปัตยกรรมแนวดัตช์”

เดินทางสะดวกสบาย เพราะตั้งอยู่ใจกลางเมืองลพบุรี ติดสถานีรถไฟลพบุรี และใกล้สถานที่ท่องเที่ยวส�ำคัญ อาทิ เมืองเก่าลพบุรี ศาลพระกาฬ พระปรางค์สามยอด พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติสมเด็จพระนารายณ์ ซึ่งเป็นปูชนียสถานที่ ส�ำคัญแห่งหนึ่งของประเทศไทย

ห้องพักเก๋ ไก๋

ให้บริการห้องพัก สองบรรยากาศ ทั้ ง แบบรี ส อร์ ท เป็ น หลั ง ที่ ตกแต่งสไตล์น่ารัก สีสันสดใส และห้องพักหรู บนอาคารโรงแรม 4 ชั้น รวม 80 ห้อง พร้อม อุ ป กรณ์ อ� ำ นวยความสะดวกความสบาย ครบครัน อาทิ WI-FI ความเร็วสูง อิ่มอร่อย ด้วยหลากหลายเมนูจากห้องอาหาร พร้อม นั่งชมวิวริมทางรถไฟ

พิเศษสุด ! ห้องคาราโอเกะบริการจัดเต็มด้วยเครื่องเสียงคุณภาพเยี่ยม เพื่อความ

บัน เทิงสังสรรค์หมู่คณะ พร้อมห้องประชุม สัมมนา จัดเลี้ยง ที่รองรับได้สูงถึง 200 ท่าน พร้อม อุปกรณ์ทันสมัย เพื่อให้งานส�ำคัญของท่านสมบูรณ์แบบและประทับใจที่สุด

โรงแรมวินเซอร์ ปาร์ค รีสอร์ท 321/1 หมู่ 8 ต.ป่าตาล อ.เมือง จ.ลพบุรี ส�ำรองที่พักและติดต่อสอบถามได้ที่ 036-422554, 036-411689 LOP BURI I SBL บันทึกประเทศไทย 113

Ad-

1

.indd 113

2/8/2561 9:31:06


B A A N S O U Y

“บ้านพักหลักร้อย ชมวิวหลักล้าน”

บ้านสวย รีสอร์ท

มาเยือนอ�ำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรีครั้งใด อย่าลืมให้ “บ้านสวยรีสอร์ท” ได้บริการคุณนะคะ บ้านสวยรีสอร์ท เราคือผู้ ให้ บริ ก ารที่ พั ก ทั้ ง แบบห้ อ งพั ก และ แบบบ้ า นเป็ น หลั ง ตั้ ง อยู ่ ใ กล้ ชิ ด ท้องทุ่งนา ที่ก�ำลังได้รับความนิยม ในหมู่นักท่องเที่ยวยุคใหม่ เพราะเราตั้ ง อยู ่ ท ่ า มกลาง บรรยากาศอันสงบเงียบ แวดล้อม ด้ ว ยทุ ่ ง นาเขี ย วขจี เพื่ อ ให้ คุ ณ ดื่ ม ด�่ ำ ความสุ ข สงบกั บ วิ ถี ชี วิ ต ที่เรียบง่าย และยากจะพบเห็นได้ใน เมืองใหญ่ คุณจึงรู้สึกผ่อนคลาย อย่ า งแท้ จ ริ ง พร้ อ มสิ่ ง อ� ำ นวย ความสะดวก อาทิ แอร์ ตู ้ เ ย็ น เครื่องท�ำน�้ำอุ่น ทีวี ฟรี WiFi

ติดต่อสอบถาม บ้านสวยรีสอร์ท เลขที่ 122 ม.6 ต.หัวส�ำโรง อ.ท่าวุ้ง จ.ลพบุรี 15150 114

Ad-

086-387-8009 , 081-852-2414

: บ้านสวยรีสอร์ทท่าวุ้ง

SBL บันทึกประเทศไทย I LOP BURI

1

.indd 114

31/7/2561 15:51:11


บ้านสวนรีสอร์ท

“ห้องพักหรู คู่ธรรมชาติ สะอาด ปลอดภัย สไตล์กนั เอง”

หาก คุ ณ มี โ อกาสมาเ ที่ ย ว ที่ ส ระโบส ถ์ เราขอแนะน� ำ บ้ า นสวนรี ส อร์ ท ที่ พั ก สบายๆ สไตล์กันเอง ท่ามกลางบรรยากาศสงบร่มรื่น อ�ำเภอสระโบสถ์ จังหวัดลพบุรี มีสถานที่น่าสนใจหลายแห่งที่เหมาะกับการมาเยี่ยมเยือน ไม่ว่าจะเป็นวัดวาอาราม ที่มีชื่อเสียงอย่างวัดสระโบสถ์ และวัดสว่างอารมณ์ ที่มีองค์หลวงพ่อยอศักดิ์สิทธิ์ ที่เ ที่ยวทางธรรมชาติอย่าง น�้ำตกเตาต้น ที่เหมาะกับการพาบุตรหลานไปสัมผัสกับธรรมชาติของสายธารน�้ำตก ในป่าที่ร่มรื่นเย็นสบาย สิ่งอ�ำนวย ความสะดวกครบครัน อาทิ แอร์ ทีวี ตู้เย็น พัดลม น�้ำอุ่น ฟรี Wifi มีบริการ กาแฟ อาหาร-เครื่องดื่ม เปิดให้บริการ ตลอด 24 ชั่วโมง

บ้านสวนรีสอร์ท ที่อยู่ 99/8 ม.10 ต.สระโบสถ์ อ.สระโบสถ์ จ.ลพบุรี 15240 โทร. 036-680-293, 061-494-4619 บ้านสวนรีสอร์ทสระโบสถ์ LOP BURI I SBL บันทึกประเทศไทย

.

.indd 115

115

31/7/2561 15:52:01


Suit Room

Vip Double Bed Room

โรงแรมเพชรลดาพาวิเลี่ยน & รีสอร์ท... สะอาด สะดวก สบาย สไตล์กันเอง ทีน่ ่ี คุณจะได้พบกับห้องพักทีส่ ะอาด ปลอดโปร่ง สะดวกสบายระดับวีไอพี เทียบเท่าโรงแรมหลายดาว ด้วยสนนราคาสบายกระเป๋า พร้อมมิตรภาพและการบริการทีเ่ ป็ นกันเอง และสิง่ อ�ำนวยความสะดวกครบครัน อาทิ ทีว ี ตูเ้ ย็น แอร์ ตูเ้ สือ้ ผ้า โต๊ะเครือ่ งแป้ง มีเครือ่ งท�ำน�้ำอุน่ พร้อมอาหารเช้า อบอุน่ และมันใจในความปลอดภั ่ ย ด้วยการติดตัง้ กล้องวงจรปิด และระบบรักษาความปลอดภัยตลอด 24 ชัวโมง ่

Vip Twin Room

142/49 หมูท่ ่ี 4 ต.เขาสามยอด อ.เมือง จ.ลพบุร ี 15000 โทร : 036-680653, 091-8865498, 086-5082809 Facebook : เพชรลดา พาวิเลีย่ น&รีสอร์ท

-

.indd 116

2/8/2561 15:06:37


LO P B U R I

ี่ วชมสวนสัตว์ลพบุรี เชิญเทย - - - - - -

ZOO

เชิ ญ สั มผัสบรรยากาศร่มรื่นของป่า กลางเมื อ งลพบุ รี ชมการแสดงลิง อุรัง อุตัง และการสาธิ ต การจั บ งู พิษ เพลิ ดเพลิน จัก รยานน�้ำในสระแก้ว โบราณสมั ยสมเด็ จพระนารายณ์ ชมท่ อ ประปา สมัย สมเด็จ พระนารายณ์ ถ่ า ยรู ปกับเรือนไทยโบราณ เชิ ญ เข้า พัก ผ่อนเรือนรับรอง สมัย จอมพล ป.พิ บู ล สงคราม

อัตราค่าบริการรถสวนสัตว์

อัตราค่าบัตร - ผู ้ ใ หญ่ 30 บาท - เด็ ก 20 บาท

- บริ ก ารเช่ า รถกอล์ ฟ 200 บาท/ชม. - รถรางผู ้ ใหญ่ 25 บาท เด็ ก 15 บาท

รอบโชว์ แสดงลิงและงู - โชว์ งู ส - อา เวลา 11.30 น. - โชว์ ลิง ส - อา เวลา 12.30 น.

อัตราเข้าพักเรือนรับรอง - ห้ อ ง VIP ราคา 600 บาท/วัน - ห้ อ ง A ห้องแอร์ ราคา 500 บาท/วัน (ข้ า ราชการลด 50%)

เปิดบริการทุกวัน ตั้งแต่ เวลา 8.00 – 17.30 น.

สวนสัตว์ ล พบุ รี ถนนศรี สุริ โยทั ย ต� ำ บลทะเลชุ บ ศร อ� ำ เภอเมื อ งลพบุ รี จัง หวัด ลพบุรี 15000 โทรศัพท์ 036-413551 โทรสาร 036-626206 LOP BURI I SBL บันทึกประเทศไทย 117

2.indd 117

31/7/2561 14:47:14


เขตรักษาพันธุ์สัตว์ปา่ ซับลังกา อ�ำเภอล�ำสนธิ จังหวัดลพบุรี

SUBLUNGKA WILDLIFE SANCTUARY ประวัติความเป็นมา ป่าซับลังกา มีพระราชกฤษฎีกาก�ำหนดให้เป็น “เขตรักษา พันธุ์สัตว์ป่าซับลังกา” เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2529 ในเนื้อที่ 96,875 ไร่ ป่ า ซั บ ลั ง กา เป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ของป่ า ดงพญาเย็ น ที่ กว้างใหญ่ในอดีต ปั จ จุ บั น เป็ น แหล่ ง เรี ย นรู ้ แ ละศึ ก ษาธรรมชาติ เ ชิ ง สั ต ว์ ป ่ า ที่ ส� ำ คั ญ ของภาคกลาง ในด้ า นการคื น ช้ า งสู ่ ธ รรมชาติ แ ละ สัตว์ป่าอื่น ๆ รวมทั้งการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และด้านสัตว์ป่า ที่จะสัมผัสสัตว์ป่าได้อย่างใกล้ชิด

“ซับลังกา” ได้รับการกล่าวขานว่าเป็น “มรดกไพรบนแผ่น ดินรอยต่อ 3 ภูมิภาค 3 จังหวัด (ลพบุรี,ชัยภูมิ,เพชรบูรณ์) ผืนสุดท้าย” เป็นปัจจัยก่อให้เกิดความหลากหลายของพืชและ สัตว์ที่อยู่อาศัยร่วมกันอย่างน่าทึ่ง ป่าซับลังกามีทัศนียภาพ ทางธรรมชาติที่สวยงาม และเป็นป่าต้นน�้ำล�ำสนธิ ซึ่งไหลลง สู่แม่น�้ำป่าสักหล่อเลี้ยงที่ราบลุ่มภาคกลาง ชื่อ “ซับลังกา” เป็นภาษาที่ชาวท้องถิ่นเรียกบริเวณที่มี น�้ำใต้ดินไหลผ่านว่า “ซับ” ส่วน “ลังกา” หมายถึงต้นกก “ซับลังกา” จึงหมายถึงบริเวณพื้นที่น�้ำซับมีต้นกกขึ้นอยู่ 118

SBL บันทึกประเทศไทย I LOP BURI

2

.indd 118

6/8/2561 18:02:51


แหล่งธรรมชาติน่าสนใจ ประเภทถ�้ำ ได้แก่ ถ�้ำพระนอก, ถ�้ำสมุยกุย, ถ�้ำสีดา, ถ�้ำผาไม้แก้ว, ถ�้ำผาผึ้ง และถ�้ำผานก-กก ประเภทหน้าผา ได้แก่ หน้าผาไม้แก้ว, หน้าผาแดง, หน้าผานก-กก, เขาผากลาง, ผาน�ำ้ ย้อย, หน้าผาโนนสวรรค์ และหน้าผาสุดแผ่นดิน ประเภทน�้ำตก ได้แก่ น�้ำตกผาผึ้ง, น�้ำตกสามสายได้ไหลรวมกันเป็นห้วยล�ำสนธิไหลลงสู่แม่น�้ำป่าสัก ที่บ้านบัวชุม อ�ำเภอชัยบาดาล ประเภทป่า ได้แก่ ป่าเต็งรัง, ป่าเบญจพรรณ, ป่าดิบแล้ง, ป่าทุ่งหญ้าและป่าไผ่

มหัศจรรย์ซับลังกา จ.ลพบุรี

มุ่งหน้าสู่ซับลังกา..

สถานที่ติดต่อ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าซับลังกา 45 หมู่ 7 ต.กุดตาเพชร อ.ล�ำสนธิ จ.ลพบุ รี 15190 โทร. 098-916-4823 LOP BURI I SBL บันทึกประเทศไทย 119

2

.indd 119

6/8/2561 18:02:57


พระปรางค์สามยอด ศิลปะขอมสุดยิ่งใหญ่ แห่งเมืองละโว้ อาณาจักรลพบุรี พระปรางค์สามยอด ตั้งอยู่ที่ต�ำบลท่าหิน อ�ำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี ริมทางรถไฟ ใกล้กับศาลพระกาฬ เป็นแหล่งท่องเที่ยว เชิงประวัติศาสตร์ และแลนด์มาร์คส�ำคัญ แห่งหนึ่งของลพบุรี มีลักษณะเป็นปราสาท ขอม ศิลปะแบบบายน สร้างขึ้นในรัชสมัย พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เกือบ 400 ปีมาแล้ว โครงสร้างของปราสาทท�ำจากศิลาแลง ฉาบปูน เรียงต่อกัน 3 องค์ มีฉนวน ทางเดินเชื่อมต่อกัน เรียกว่า มุขกระสัน ส่วนที่เป็นองค์พระปรางค์ มีรูปทรง สัณฐาน คล้ายกับฝักข้าวโพด ตั้งตรงขึ้นไปบนฐานรูป 4 เหลี่ยม ขนาดลดหลั่นซ้อนเทินขึ้นไป

120

SBL บันทึกประเทศไทย I LOP BURI

14

.indd 120

8/8/2561 16:05:45


LOP BURI I SBL บันทึกประเทศไทย

14

.indd 121

121

8/8/2561 16:05:46


ต้นยางยักษ์ อายุกว่า ๓๐๐ ปี ต้นยางคู่บ้านคู่เมือง นอกจากชมต้นยางยักษ์แล้ว ในวัดยังมีพิพิธภัณฑ์เรือพื้นบ้าน ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ที่รวบรวม เรือโบราณไว้มากมายหลายชนิด วัดยาง ณ รังสี ต.ตะลุง อ.เมืองลพบุรี

122

SBL บันทึกประเทศไทย I LOP BURI

14

.indd 122

8/8/2561 16:11:18


พระปรางค์สามยอด ศิลปะขอมสุดยิง่ ใหญ่ ปัจจุบันเหลือเพียงเสาประดับกรอบประตู แกะสลักเป็นรูปฤาษีนั่งชันเข่าในซุ้มเรือนแก้ว และวิหารก่ออิฐถือปูนที่ได้ต่อเติมขึ้นมาใหม่ เชื่อมกับปราสาทประธานเพื่อประดิษฐาน พระพุทธรูป ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช

LOP BURI I SBL บันทึกประเทศไทย

14

.indd 123

123

8/8/2561 16:11:19


สวนรุกขชาติ น�้ำตกวังก้านเหลือง น�้ำตกวังก้านเหลือง เป็นน�้ำตกที่เกิดขึ้นมาโดยธรรมชาติ สร้างสรรค์เป็นพิเศษ ตั้งอยู่หมู่ที่ 4 ต�ำบลท่าดินด�ำ อ�ำเภอชัยบาดาล ท่ามกลางสภาพธรรมชาติที่สวยงาม ร่มรื่น เหมาะกับการพักผ่อนหย่อนใจ และเล่นน�้ำตก

124

SBL บันทึกประเทศไทย I LOP BURI

14

.indd 124

8/8/2561 16:11:38


LOP BURI I SBL บันทึกประเทศไทย

14

.indd 125

125

8/8/2561 16:11:39


ชุบชีวิตป่าจ�ำปีสิรินธร ด้วยโครงการอนุรักษ์ พันธุกรรมพืชฯ จังหวัดลพบุรี 126

SBL บันทึกประเทศไทย I LOP BURI

14

.indd 126

7/8/2561 14:48:01


LOP BURI I SBL บันทึกประเทศไทย

14

.indd 127

127

7/8/2561 14:48:02


128

SBL บันทึกประเทศไทย I LOP BURI

14

.indd 128

7/8/2561 14:48:04


“โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชด�ำริ จังหวัดลพบุรี” ถือก�ำเนิดขึ้น ตั้งแต่ปี 2549 และปัจจุบันเป็น โครงการฯที่หลายๆ หน่วยงาน ในจังหวัดลพบุรีให้ความส�ำคัญ และสานต่อ ผ่านการด�ำเนินกิจกรรม และโครงการเพื่อการอนุรักษ์ และ ปลูกจิตส�ำนึกเรื่องการดูแลเอาใจใส่ สภาพแวดล้อม เพื่อช่วยกันปกป้อง “จ�ำปีสิรินธร” รวมทั้งพรรณไม้หายาก อื่นๆ ให้อยู่คู่จังหวัดลพบุรีสืบไป

LOP BURI I SBL บันทึกประเทศไทย

14

.indd 129

129

7/8/2561 14:48:05


130

SBL บันทึกประเทศไทย I LOP BURI

14

.indd 130

7/8/2561 14:48:06


วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ พระปรางค์องค์ใหญ่ ที่สูงที่สุดในลพบุรี LOP BURI I SBL บันทึกประเทศไทย

14

.indd 131

131

7/8/2561 14:48:07


132

SBL บันทึกประเทศไทย I LOP BURI

14

.indd 132

7/8/2561 14:48:09


SBL บันทึกประเทศไทย

Website : www.sbl.co.th

Ad-SBL Magazine Online Sukhothai.indd 56

6/8/2561 17:06:24


H I S TO R Y O F B U D D H IS M บันทึกเส้นทางธรรมหนุนน�ำชีวิต

วัดล�ำนารายณ์

พระครูบุญบาลประดิษฐ์ ( พระอาจารย์ทองใบ เตชปุญฺโ ) ด�ำรงต�ำแหน่งเจ้าอาวาสวัด เจ้าคณะอ�ำเภอชัยบาดาล

วัดล�ำนารายณ์ ตั้งอยู่เลขที่ 603 บ้านล�ำนารายณ์ หมู่ที่ 5 ถนนสุระนารายณ์ ต�ำบลล�ำนารายณ์ อ�ำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี สังกัดมหานิกาย

วัดล�ำนารายณ์ เดิมเรียกว่า “ส�ำนักสงฆ์นารายณ์ราษฎร์บ�ำรุง” ซึ่งตั้งอยู่วัดอุดมสันติ วรรณในปัจจุบัน โดยเมื่อปี พ.ศ. 2507 เกิดอุทกภัยน�้ำท่วมใหญ่ที่ล�ำนารายณ์ และน�้ำท่วม วัดด้วย คณะกรรมการ อุบาสก อุบาสิกา จึงได้ประชุมกันโดยมีมติให้ย้ายวัดหนีน�้ำ โดยมีการ แบ่งออกเป็น 3 คณะ ดังนี้ คณะที่ 1 มีพระมหาทองสุข ติกฺขญาโณ น�ำคณะญาติโยม อุบาสก อุบาสิกา มาสร้าง วัดล�ำนารายณ์ 134

2

คณะที่ 2 มีพระอาจารย์ดิลก น�ำคณะ ญาติโยม อุบาสก อุบาสิกา ไปสร้างวัดเขาศิรบิ รรพต คณะที่ 3 มี พ ระอาจารย์ ป ลั ด สาโรจน์ จนฺทวํโส น�ำคณะญาติโยม อุบาสก อุบาสิกา ไปสร้างวัดนิคมพัฒนาราม สิ่งศักดิ์สิทธิ์ภายในวัด 1. พระประธานในอุโบสถ(ปางมารวิชัย) ชื่อ พระพุทธวิชิตมาร ประทานสันติสุขสวัสดี ชินสีหไตรโลกนาถธรรมานุศาสก์บรมบพิตร 2. หลวงพ่อสัมฤทธิ์ พระพุทธรูปเก่าเกือบ 100 ปี 3. เจดีย์กตัญญูรวมญาติ 4. พระพุทธชัยนารายณ์วรนาถสถิตอาสน์ นาค 7 เศียร (ปางนาคปรก) ประดิษฐานอยู่ บนเขาแก้วเกาะบาดาล

SBL บันทึกประเทศไทย I LOP BURI

.indd 134

8/8/2561 17:19:44


5. พิพิธภัณฑ์ลูกปัดโบราณ ยุคทวารวดี ลุม่ แม่นำ�้ ป่าสัก และองค์ทา้ วกุเวร เทพเจ้าใหญ่ ความส�ำเร็จร�่ำรวย 6. พระพุทธรูปประจ�ำวันเกิด 7 วัน

ท�ำเนียบเจ้าอาวาส 1. พระอาจารย์มหาทองสุข ติกฺขญาโณ เจ้าอาวาส ปี พ.ศ. 2512-2520 2. พระอาจารย์อัศวิน ชนุตฺตโม รักษาการ เจ้าอาวาส ปี พ.ศ. 2520-2522 3. พระอาจารย์ ท องใบ เตชปุ ญฺ โ  (พระครูบุญบาลประดิษฐ์) เจ้าอาวาส ปี พ.ศ. 2524-ปัจจุบัน

ประวัติเจ้าอาวาส พระครูบุญบาลประดิษฐ์ (พระอาจารย์ ทองใบ เตชปุญฺโ) เกิด วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2493 ปีขาล บิดาชื่อ นายบุญเถิง ปักกะทานัง มารดาชื่อ นางใหม่ ปักกะทานังอยู่บ้านเลขที่ 5 หมูท่ ี่ 9 ต.ขามป้อม อ.วาปีปทุม จ.มหาสารคาม อุปสมบท เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2514 ณ วั ด บ้ า นหนองแวง อ.วาปี ป ทุ ม จ.มหาสารคาม พระอุปัชฌาย์ พระครูวิจักษ์ โคจรคุณ วัดบ้านโนน พระกรรมวาจาจารย์ พระมหาชัยรัตน์ ญาณวฑฺฒโน พระอนุสาวนา จารย์ พระสมศรี เขมจิตฺโต ต�ำแหน่ง วั น ที่ 30 ธั น วาคม พ.ศ. 2524 ได้ รั บ แต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดล�ำนารายณ์

วันที่ 20 มกราคม 2526 ได้รับแต่งตั้งเป็น พระอุปัชฌาย์ วันที่ 1 กันยายน 2526 ได้รับแต่งตั้งเป็น เจ้าคณะต�ำบลล�ำนารายณ์ อ�ำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี วันที่ 5 ธันวาคม 2528 ได้รับแต่งตั้งเป็น พระครูบุญบาลประดิษฐ์ วันที่ 16 ธันวาคม 2530 ได้รับแต่งตั้งเป็น รองเจ้าคณะอ�ำเภอชัยบาดาล วันที่ 4 สิงหาคม 2530 ได้รับแต่งตั้งเป็น ผู้รักษาการแทนเจ้าคณะอ�ำเภอชัยบาดาล วันที่ 26 ธันวาคม 2548 ได้รับแต่งตั้งเป็น เจ้าคณะอ�ำเภอชัยบาดาล LOP BURI I SBL บันทึกประเทศไทย

2

.indd 135

135

31/7/2561 15:45:43


H I S TO R Y O F B U D D H IS M บันทึกเส้นทางธรรมหนุนน�ำชีวิต

วัดถ�้ำเขาปรางค์

พระครูคัมภีรปัญญาคุณ (หลวงพ่อสุวัฒน์ คัมภีรปัญโญ) เป็นเจ้าอาวาสวัด

ประวัติหลวงพ่อสุวัฒน์ คัมภีรปัญโญ หลวงพ่อสุวัฒน์ คัมภีรปัญโญ เกิดเมื่อวันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2485 ที่จังหวัดศรีสะเกษ หลวงพ่อได้เริ่มบรรพชาเป็นสามเณรตั้งอายุ 13 ปี โดยอาศัยอยู่กับท่านเจ้าคุณญาณวิเศษ (หลวงปู ่ สี ) ที่ จั ง หวั ด ศรี ส ะเกษ และได้ ม าเข้ า สอบนั ก ธรรมชั้ น ตรี แ ละชั้ น โท ที่ วั ด หลวง สุมังคลาราม จากนั้นก็ได้ย้ายไปเรียนหนังสือที่จังหวัดขอนแก่น และย้ายไปอยู่วัดบรมนิวาส ตามล�ำดับ จนกระทั่งจบการศึกษา และในต้นปีพุทธศักราช 2504 หลวงตาบู่ สุจิณโณ (พระพรหมมุณี เจ้าอาวาสวัดบรมนิวาส) ได้พาหลวงพ่อไปฝากกับท่านพ่อลี ณ วัดอโศการาม จ.สมุทรปราการ ซึ่งถือเป็นรุ่นบุกเบิกของวัดก็ว่าได้

136

ประวัติการริเริ่มสร้างวัด เมื่อปีพุทธศักราช 2516 มีนักธุรกิจท่าน หนึง่ เป็นญาติโยมทีไ่ ปรักษาศีลทีว่ ดั อโศการาม ชื่อว่าคุณสุริยันต์ แผ่นสัมฤทธิ์ ได้มีจิตศรัทธา นิมนต์หลวงพ่อสุวัฒน์ คัมภีรปัญโญ ให้ไปดู ที่ดินที่ตนตั้งใจซื้อไว้เพื่อท�ำธุรกิจ แต่ภายหลัง ถวายที่ดินให้กับหลวงพ่อแต่ยังไม่ได้โอนถวาย อย่ า งเป็ น ทางการ ต่ อ มาเมื่ อ คุ ณ สุ ริ ยั น ต์ แผ่นสัมฤทธิ์ ได้เสียชีวิตลงเมื่อปี พ.ศ.2528 คุ ณ แม่ เ กษร แผ่ น สั ม ฤทธิ์ เป็ น ภรรยาของ คุณสุริยันต์ แผ่นสัมฤทธิ์ ได้โอนที่ดินถวาย หลวงพ่อเพื่อใช้เป็นพื้นที่ในการสร้างวัดอย่าง เป็นทางการในปี พ.ศ.2529 กระทั่งปีพุทธศักราช 2531 หลวงพ่อได้ มีการเริ่มสร้างวัดอย่างจริงจัง ทั้งเสนาสนะ กุฏิ โบสถ์ วิหาร และถาวรวัตถุต่างๆ ซึ่งได้ ท�ำการสร้างและพัฒนามาเรือ่ ยๆ แบบไม่เร่งรีบ ด้ ว ยจุ ด ประสงค์ เ พื่ อ ที่ จ ะให้ ค นทั่ ว ไปได้ มีศาสนสถานได้พักพิง ได้รู้จักวัดถ�้ำเขาปรางค์ และครูบาอาจารย์จะได้ทราบว่าหลวงพ่อได้ มาท�ำประโยชน์ และเผยแผ่พระพุทธศาสนา และสุ ด ท้ า ยก็ ฝ ากให้ เ ป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ของ วัดอโศการามต่อไป จนได้รับพระราชทาน วิสุงคามสีมาเมื่อปี พ.ศ. 2539

SBL บันทึกประเทศไทย I LOP BURI

2

.indd 136

31/7/2561 17:13:35


เจดีย์มหานวโลกุตตระเจดีย์ ถาวรวัตถุที่ส�ำคัญยิ่งอย่างหนึ่งที่หลวง พ่อได้สร้างไว้ ตั้งตระหง่านสวยเด่นอยู่บนเขา ล้อมฟาง คือ “เจดีย์มหานวโลกุตตระเจดีย์” ซึ่งได้มีการวางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2544 และสร้างเสร็จสมบูรณ์เมื่อพุทธศักราช 2552 รวมระยะเวลาในการสร้างนานเกือบ 10 ปี ก่อนที่จะเริ่มสร้างเจดีย์ หลวงพ่อสุวัฒน์ได้ นิมติ ว่า หลวงพ่อทอง จันทสิริ แห่งวัดอโศการาม ซึ่งมีรูปร่างลักษณะคล้ายท่านพ่อลี ได้สะพาย บาตรแบกกลดจากทางเข้ า วั ด เดิ น มาถึ ง บริ เวณที่ ส ร้ า งเจดี ย ์ แ ละท่ า นก็ ไ ด้ ป ั ก กลด ณ ที่ตรงนั้น แล้วอันตรธานหายไป องค์เจดีย์ “มหานวโลกุตตระเจดีย์” ได้ รูปแบบมาจากพระธุตงั คเจดีย์ แห่งวัดอโศการาม จังหวัดสมุทรปราการ โดยเป็นเจดีย์ 9 ยอด สี ท องอร่ า ม แบ่ ง เป็ น สามชั้ น ชั้ น บนสุ ด ไว้ ส�ำหรับบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ชั้นกลางจะ บรรจุ พ ระธาตุของสาวกและครูบ าอาจารย์

สนับสนุนโดย

นายศรีชัย ตันฑะโสภณ นายอ�ำเภอชัยบาดาล

ทั้งหลาย โดยแบ่งเป็นเกจิอาจารย์ทั้งสี่ภาค คื อ สายอี ส าน หลวงปู ่ มั่ น สายภาคกลาง หลวงปู่โต สายภาคเหนือ ครูบาศรีวิชัย และ สายภาคใต้หลวงพ่อทวด วัดช้างไห้ ด้านนอก ของเจดีย์ชั้นกลาง ก่อสร้างเจดีย์เล็กไว้สี่ทิศ และประดิษฐานรูปปั้นครูบาอาจารย์ทั้ง 4 องค์ไว้ ส่วนชั้นล่างจะเป็นที่ปฏิบัติกรรมฐาน ของคณะญาติโยม ซึง่ การก่อสร้างเจดียใ์ นครัง้ นี้ มีลูกศิษย์ที่เป็นวิศวกรท่านหนึ่งได้มาช่วยใน การค� ำ นวณการก่ อ สร้ า งตามหลั ก การทาง วิศวกรรมศาสตร์ และมีหลวงพ่อสุวัฒน์เป็น ผู้ควบคุมดูแลงานเองทั้งหมด หลวงพ่อสุวัฒน์ได้บอกถึงเจตนารมณ์ การสร้ า งเจดี ย ์ ไว้ ใ ห้ ฟ ั ง ว่ า “มาคราวนี้ เ ลย อยากจะท�ำขึ้นเป็นครั้งสุดท้ายในชีวิต เป็น อนุ ส รณ์ 60 ปี ด ้ ว ย นอกจากท� ำ เพื่ อ บู ช า พระคุณของแม่แล้ว ก็จะท�ำเพื่อเป็นพุทธบูชา ด้วย ดีไม่ดีก็ท�ำเท่าที่เราท�ำได้นี่แหละ ก็บอก

กับตัวเองไว้จะท�ำแข็งแรงแค่ไหน มันก็ต้องรอ วันซ่อมแซมอยู่แล้ว ท�ำได้แค่ไหนก็ท�ำไปก่อน นี่คือปณิธาน ไม่ได้หวังว่าทุกอย่างที่ท�ำจะอยู่ คู ่ โ ลกคู ่ แ ผ่ น ดิ น อะไร ทุ ก อย่ า งล้ ว นเป็ น อนิจจัง” ร่วมสร้างเส้นทางบุญ ปัจจุบันพระครูคัมภีร์ปัญญาคุณ ได้จัด สร้างพระพุทธรูปปางปฐมเทศนาทีม่ ขี นาดใหญ่ ที่สุดในประเทศ ขนาดหน้าตักกว้าง 32 เมตร สูง 56 เมตร อยูใ่ นท่านัง่ ขัดสมาธิ พระหัตถ์ขวา ยกขึ้น จีบนิ้วเป็นรูปวงกลม พระหัตถ์ซ้ายยก ขึ้ น ประคอง มี เ ครื่ อ งประกอบเป็ น วงล้ อ ธรรมจั ก ร และฉั ต รด้ า นบนสุ ด แสดงถึ ง ความร่ ม เย็ น ที่ บ ริ เวณฐานพระจะมี รู ป ปั ้ น หัวพญานาค 7 เศียร และบันไดที่ให้ขึ้นชม มุมสูงได้อีกด้วย สาธุชนที่มีจิตศรัทธาประสงค์ จะร่วมสร้างเส้นทางบุญกับวัดถ�้ำเขาปรางค์ ติดต่อได้ที่ : 08-1302-3060

หจก.ชัยธานีโมบาย

จ�ำหน่ายมือถือ-อุปกรณ์ เปิดเบอร์ใหม่ ย้ายค่าย เปลีย่ นซิม เน็ตบ้าน ทีวี ช�ำระบิล เติมเงิน 469/5 ม.3 ต.ล�ำนารายณ์ อ.ชัยบาดาล จ.ลพบุรี 15130 โทรศัพท์ : 036-685695 / Line: ctnmobile / Facebook : chaitaneemobile

จ�ำหน่าย รับซ่อมคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ 469/3/1 ม.3 ต.ล�ำนารายณ์ อ.ชัยบาดาล จ.ลพบุรี 15130 โทรศัพท์ : 092-0046089 / Line: ctncom06

ชัยธานีคอมพิวเตอร์

LOP BURI I SBL บันทึกประเทศไทย

2

.indd 137

137

8/8/2561 17:30:48


H I S TO R Y O F B U D D H IS M บันทึกเส้นทางธรรมหนุนน�ำชีวิต

วัดจันทาราม วั ด จั น ทาราม ตั้ ง อยู ่ เ ลขที่ 82 บ้ า นชั ย บาดาล หมู ่ ที่ 3 ต� ำ บลชั ย บาดาล อ�ำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย

ประวัติวัดจันทาราม วัดจันทาราม เป็นวัดโบราณ สันนิษฐาน ได้ว่าอาจจะสร้างขึ้นตั้งแต่สมัยสุโขทัย หรือใน ราว พ.ศ.1890 ในอดีตดินแดนแถบนี้เดิมเป็น เมืองไชยบุรี ต่อมาเปลีย่ นเป็นอ�ำเภอชัยบาดาล และที่ เ มื อ งเก่ า นี้ มี วั ด เก่ า แก่ อ ยู ่ วั ด หนึ่ ง คื อ วัดจันทาราม นับเป็นวัดที่ได้รับพระราชทาน วิสุงคามสีมา แล้วประมาณไว้พอเป็นหลักฐาน นับตั้งแต่ พ.ศ.1900 ได้ผูกพัทธสีมาครั้งหลัง วั น ที่ 10 มี น าคม พ.ศ.2506 ปั จ จุ บั น มี พระภิกษุอยู่จ�ำพรรษา 40 รูป สามเณร 2 รูป ทางวัดได้เปิดสอนพระปริยัติธรรมตลอดมา 138

1

ทีด่ นิ ตัง้ วัด เนือ้ ที่ 33 ไร่ 1 งาน 63 ตารางวา น.ส.3 เลขที่ 1196 อาณาเขต ทิศเหนือยาว 299 วา ติดต่อกับทีด่ นิ ของนายเทียว ชนะสิทธิ์ ทิศใต้ยาว 295 วา ติดต่อกับหมูบ่ า้ นประชาชน ทิศตะวันออกยาว 254 วา ติดต่อกับแม่น�้ำ แควป่าสัก ทิศตะวันตกยาว 292 วา ติดต่อ กับทางสาธารณะ พื้นที่ตั้งวัดเป็นที่ราบลุ่มอยู่ ริมแม่น�้ำแควป่าสัก เสนาสนะ-ปูชนียวัตถุส�ำคัญ อุโบสถ กว้าง 8 เมตร ยาว 21 เมตร สร้าง พ.ศ.2506 ศาลาการเปรียญ กว้าง 24 เมตร ยาว 36 เมตร สร้าง พ.ศ.2526 หอสวดมนต์ กว้าง 8 เมตร ยาว 10 เมตร สร้าง พ.ศ.2510

พระปลัดทองสุ่น สุธัมโม เจ้าอาวาสวัดจันทาราม กุฏิสงฆ์ จ�ำนวน 11 หลัง และมีวิหารเก่าอยู่ ด้ ว ย ส� ำ หรั บ ปู ช นี ย วั ต ถุ มี พ ระประธานใน อุโบสถ เป็นพระพุทธรูปหินสลักโบราณสมัย ขอม การบริหารปกครองวัด วัดจันทารามมีเจ้าอาวาสทีท่ ราบนาม คือ รูปที่ 1 พระอุปัชฌาย์ปล้อง พ.ศ.2470-2475 รู ปที่ 2 พระอุ ปั ช ฌาย์ชุ่ม พ.ศ.2476-2480 รูปที่ 3 พระครูวิมลชยากร(เขียว) พ.ศ.24802500 รู ป ที่ 4 พระครู บ วรชยกิ จ (ใส) พ.ศ.2500-2502 รูปที่ 5 พระครูวิมลชยากร (ชื้ น ) ด� ำ รงต� ำ แหน่ ง ตั้ ง แต่ พ.ศ.2502 เป็นต้นมา

SBL บันทึกประเทศไทย I LOP BURI

.indd 138

8/8/2561 17:17:59


WORK LIF E

บันทึกเส้นทางพบเทศบาลต�ำบล

เทศบาลต�ำบลล�ำนารายณ์ “ชาวล�ำนารายณ์ ต้องได้รับการบริการที่ดีเลิศ ในเมืองที่น่าอยู่ สะดวก สะอาดปลอดภัย” คือวิสัยทัศน์ของเทศบาลต�ำบลล�ำนารายณ์

นางธัญญมน ศรีผ่าน นายกเทศมนตรีต�ำบลล�ำนารายณ์

เทศบาลต�ำบลล�ำนารายณ์ มีพื้นที่รวมทั้งสิ้น 12.6 ตารางกิโลเมตร มีชุมชนทั้งหมด 17 ชุมชน มีประชากรทั้งหมด 16,309 คน แบ่งเป็นชาย 7,881 คน และหญิง 8,428 คน ผลงานด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตของ ประชาชนในเขตเทศบาลต�ำบลล�ำนารายณ์ ก็คือ “ศูนย์แพทย์ชมุ ชนเทศบาล ต� ำ บลล� ำ นารายณ์ ” โดยมี ก ารส่ ง เสริ ม สุ ข ภาพและการป้ อ งกั น โรค

การรักษาเบื้องต้นที่มีประสิทธิภาพและได้ประสิทธิผลตลอดจนการเข้าถึง บริการสุขภาพที่สะดวก รวดเร็ว โดยยึดหลักการบูรณาการและการมีส่วนร่วม ของภาคประชาชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีการให้บริการด้าน การรั ก ษาทั่ ว ไป ท� ำ แผล ฉี ด ยา ตรวจและคั ด กรองโรคเบาหวานและ ความดันโลหิตสูง วางแผนครอบครัว ให้ค�ำปรึกษาในเรื่องการคุมก�ำเนิด ติดตามเยี่ยมและออกตรวจสุขภาพประชาชนที่บ้าน ให้ค�ำปรึกษาปัญหา สุขภาพ ทันตกรรม แพทย์แผนไทย กายภาพบ�ำบัด และมีรถรับส่งผู้ป่วย ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนชาวล�ำนารายณ์ เปิดบริการทุกวันท�ำการตั้งแต่เวลา 08.30-19.30 น. และวันหยุด เวลา 08.30-12.00 น. โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น ซึ่งในปีงบประมาณ 2561 นี้ เรายังได้รับรางวัล “ผู้น�ำท้องถิ่นดีเด่น” สาขา การบริการชุมชน อีกด้วย LOP BURI I SBL บันทึกประเทศไทย

.

1

.indd 139

139

9/8/2561 10:14:30


W O R K L IF E

บันทึกเส้นทางพบองค์การบริหารส่วนต�ำบล

องค์การบริหารส่วนต�ำบลหนองเมือง องค์การบริหารส่วนต�ำบลหนองเมือง หมู่ที่ 6 ต�ำบลหนองเมือง อ�ำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี มีระยะห่างจากตัวอ�ำเภอบ้านหมี่ 8 กิโลเมตร และห่างจากจังหวัดลพบุรี 37 กิโลเมตร

นางถาวร เหลืองทอง นายกองค์การบริหารส่วนต�ำบลหนองเมือง ประวัติ อบต.หนองเมือง องค์การบริหารส่วนต�ำบลหนองเมือง ได้เปลี่ยนแปลงฐานะจากสภา ต�ำบลหนองเมือง ตามพระราชบัญญัติสภาต�ำบลและองค์การบริหารส่วน ต�ำบล พ.ศ. 2537 ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องจัดตั้งองค์การ บริหารส่วนต�ำบล ลงวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2539 และประกาศในราชกิจ จานุเบกษาฉบับกฤษฎีกา เล่ม 113 ตอนที่ 9 ง. ลงวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2539 เป็นองค์การบริหารส่วนต�ำบลหนองเมืองในวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2539

ข้อมูลทั่วไป

กิจกรรม/โครงการเด่น

ต�ำบลหนองเมือง มีพื้นที่ 61.29 ตารางกิโลเมตร สภาพภูมิประเทศ มีลักษณะเป็นที่ลุ่ม และสภาพพื้นที่บางส่วนเป็นที่ราบสูง เป็นพื้นที่ ส�ำหรับที่อยู่อาศัยประมาณ 35% เป็นพื้นที่ส�ำหรับการเกษตร 60 % การปกครอง ต�ำบลหนองเมืองแบ่งการปกครองเป็น 7 หมู่บ้าน ดังนี้ หมู่ที่ 1 บ้านห้วยกรวด-นาจาน หมู่ที่ 2 บ้านหนองเมือง หมู่ที่ 3 บ้านหนองเมือง หมู่ที่ 4 บ้านหนองแก หมู่ที่ 5 บ้านน�้ำบ่า-สระมะเกลือ หมู่ที่ 6 บ้านหนองเมือง หมู่ที่ 7 บ้านหนองแก ประชากร มีจ�ำนวนประชากรทั้งสิ้น 4,131 คน แยกเป็นชาย 1,991 คน หญิง 2,140 คน จ�ำนวนครัวเรือน 1,416 ครัวเรือน

โครงการจัดงานประเพณีกวนข้าวทิพย์ ประเพณีกวนข้าวทิพย์ จัดขึ้นในวันเพ็ญขึ้น 15 ค�่ำ เดือน 6 ของทุกปี แต่ปี พ.ศ.2561 ตรงกับวันเพ็ญขึ้น 15 ค�่ำ เดือน 7 เพราะเป็นปีที่มีเดือน 8 สองหน หรือเรียกว่า “ปีอธิกมาส” ซึ่งมีความเชื่อว่าใครก็ตามเมื่อน�ำ ข้าวทิพย์ไปรับประทานหรือบูชา จะมีผลให้การประกอบกิจการใดๆ ก็เจริญ รุ่งเรืองยิ่งขึ้น รวมไปถึงความเชื่อที่ว่า จะท�ำให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง ปราศจากโรคภัย อีกทั้งประเพณีกวนข้าวทิพย์ยังแฝงด้วยจริยธรรมและ คติธรรมอยู่มาก กล่าวคือ มีความพร้อมเพรียงของชาวบ้านที่มาร่วมจัดท�ำ และช่วยเหลือโดยยึดถือความสามัคคีเป็นหลัก ซึ่งเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่ ลูกหลานสืบต่อไป

140

.

2

SBL บันทึกประเทศไทย I LOP BURI

.indd 140

8/8/2561 17:28:04


โครงการจัดงานสงกรานต์ และวันผู้สูงอายุ “ประเพณีสงกรานต์” เป็นประเพณีที่ให้ ความส� ำ คั ญ กั บ ความสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งเพื่ อ น มนุษย์ ในสังคม และสะท้อนให้เห็นถึงลักษณะ ของความเป็นไทยได้อย่างชัดเจน เช่น ความ กตัญญู ความโอบอ้อมอารี ความเอื้ออาทรต่อ มนุษย์และสิ่งแวดล้อม โดยใช้น�้ำเป็นสื่อในการ เชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างกัน เป็นประเพณี หนึ่งที่เก่าแก่ของไทยที่ได้ยึดถือปฏิบัติมาแต่ โบราณ โดยประชาชนคนไทยให้ความส�ำคัญกับ กิ จ กรรมในวั นดังกล่าว เช่น ประเพณีรดน�้ำ ด� ำ หั ว ผู ้ ใ หญ่ ประเพณี ก ่ อ พระเจดี ย ์ ท ราย พิธีสรงน�้ำพระ ฯลฯ โครงการจัดงานวันเด็กแห่งชาติ วันเด็กแห่งชาติ จัดขึ้นในวันเสาร์ที่สองของ เดือนมกราคม เนื่องจากเด็กและเยาวชนเป็น ทรั พ ยากรบุ คคลที่ส�ำคัญยิ่งของประเทศชาติ เป็นพลังส�ำคัญในการพัฒนาชาติบ้านเมืองให้ เจริญก้าวหน้าและมั่นคง เพื่อเตรียมพร้อมให้ เด็กและเยาวชนเป็นก�ำลังของชาติ จึงควรมีการ ส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนมีความขยัน หมั่น ศึกษาหาความรู้ รู้จักใช้เวลาให้เป็นประโยชน์ มีระเบียบวินัย ขยันขันแข็งช่วยเหลือกันและกัน เสียสละ รู้จักสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบ ต่อสังคม รวมทั้งรักษาความสะอาดรักษาสภาพ แวดล้อมทางธรรมชาติ และสาธารณสมบัติ โครงการแข่งขันกีฬา การแข่ ง ขั น กี ฬ าจั ด ขึ้ น เพื่ อ ให้ ป ระชาชน ทั่วไปภายในต�ำบล หันมาใช้เวลาว่างให้เป็น ประโยชน์ สนใจฝึ ก ซ้ อ มกี ฬ าเพื่ อ สุ ข ภาพ พลานามัยและความสามัคคี โดยการแข่งขัน กีฬาเป็นทีม เสริมสร้างให้นักกีฬาให้มีระเบียบ วินัย รู้จักเคารพกฎกติกาการแข่งขัน ส่งเสริม การพัฒนาด้านกีฬาให้กับประชาชน

โครงการ อบต.หนองเมือง พบประชาชน องค์การบริหารส่วนต�ำบลหนองเมือง ได้ออกให้บริการประชาชนนอกสถานที่ เช่น รับช�ำระภาษี นอกสถานที่ หน่วยแพทย์เคลื่อนที่ของโรงพยาบาลบ้านหมี่ การให้ความรู้ประชาชนในด้านอาชีพ ต่างๆ ท�ำให้ประชาชนเข้าถึงการบริการขององค์การบริหารส่วนต�ำบลหนองเมืองง่ายขึ้น ลดระยะ เวลาการด�ำเนินการต่างๆ ได้ โครงการรักษาความสะอาด ถนนสายหลัก สายรอง และการคัดแยกขยะในครัวเรือน องค์การบริหารส่วนต�ำบลหนองเมือง ได้ด�ำเนินกิจกรรม Big Cleaning Day และจัดเก็บขยะ อันตราย รับบริจาคขยะทุกเดือน เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ได้มีส่วนร่วมในการท�ำให้พื้นที่ต�ำบล หนองเมืองให้สะอาดและน่าอยู่อาศัย

โครงการจัดงานวันเข้าพรรษา วันเข้าพรรษาเป็นประเพณีส�ำคัญที่อยู่คู่กับ สังคมชาวพุทธมาช้านาน อบต.หนองเมืองจัด กิจกรรมในวันดังกล่าวสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน ได้แก่ การหล่อเทียนพรรษา การถวายเทียน พรรษา การท�ำบุญตักบาตร ฯลฯ LOP BURI I SBL บันทึกประเทศไทย

.

2

.indd 141

141

6/8/2561 18:18:44


W O R K L IF E

บันทึกเส้นทางพบองค์การบริหารส่วนต�ำบล

องค์การบริหารส่วนต�ำบลชอนม่วง “เป็นผู้น�ำการบริหารงานที่เป็นเลิศ มุ่งเน้นประโยชน์สุขของประชาชน รักษาผลประโยชน์ของท้องถิ่นและประเทศชาติ มีขีดสมรรถนะสูง สามารถเรียนรู้ ปรับตัว และตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงเพื่อก้าวสู่ประชาคมอาเซียน โดยยึดมั่นหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี” คือวิสัยทัศน์ขององค์การบริหารส่วนต�ำบลชอนม่วง

นายสุพจน์ สมสิงห์

นายกองค์การบริหารส่วนต�ำบลชอนม่วง องค์การบริหารส่วนต�ำบลชอนม่วง หมูท่ ี่ 4 ต�ำบลชอนม่วง อ�ำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี ตัง้ อยูท่ างทิศเหนือห่างจากจังหวัดลพบุรี ประมาณ 55 กิโลเมตร ห่างจากที่ว่าการอ�ำเภอบ้านหมี่ ประมาณ 28 กิโลเมตร และอยู่ห่างจาก กรุงเทพมหานคร ประมาณ 190 กิโลเมตร

นายวีระ ทับทิมศรี ประธานสภา อบต.ชอนม่วง

ข้อมูลทั่วไป ต�ำบลชอนม่วง มีเนือ้ ทีโ่ ดยประมาณ 48.16 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 30,101.75 ไร่ โดยมีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่ใกล้เคียง ดังนี้ ทิศเหนือ ติดต่อกับ ต�ำบลลาดทิพรส อ�ำเภอ ตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ ทิ ศ ใต้ ติ ด ต่ อ กั บ ต� ำ บลดอนดึ ง อ� ำ เภอ บ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ต�ำบลหนองม่วง อ�ำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ต�ำบลหนองกระเบียน อ�ำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี 142

.

2

ลักษณะภูมิประเทศ สภาพภูมิศาสตร์โดยทั่วไป เป็นที่ดอนสลับ ราบลุ่ม และมีเนินเขาเป็นบางพื้นที่ หรือที่เรียก กันว่าพื้นที่ราบลูกฟูก (rooling plains) ทรัพยากรธรรมชาติ ป่าไม้ในเขตองค์การบริหารส่วนต�ำบลชอนม่วง มีลักษณะเป็นป่าชุมชนที่ค่อนข้างอุดมสมบูรณ์ ได้แก่ ป่าเขาวงษ์ และป่าเขาล�ำแพน ระบบเศรษฐกิจ - การเกษตร ประชากรส่วนใหญ่ประกอบ อาชีพเกษตรกรรม คิดเป็นร้อยละ 80 ของพื้นที่

นางสาวณัฐณิชาช์ มโหฬาร ปลัด อบต.ชอนม่วง

ส่วนใหญ่เป็นพืชเศรษฐกิจที่ส�ำคัญ เช่น อ้อย ข้าวโพด ทานตะวัน และละมุด เป็นต้น - การปศุสัตว์ ในเขตพื้นที่องค์การบริหาร ส่วนต�ำบลชอนม่วงมีกลุ่มผู้ประกอบการฟาร์ม เลี้ยงสุกรและไก่ เพื่อส่งให้กับบริษัทรายใหญ่ อาทิ CP และ Betagro นอกจากนี้ยังมีกลุ่ม ผู้เลี้ยงโคนมอีกจ�ำนวนหลายราย ได้รวมตัวกัน กับผู้เลี้ยงโคนมนอกสถานที่ จัดตั้งเป็นสหกรณ์ โคนมไทย-เดนมาร์ค หนองม่วง จ�ำกัด ซึ่งมี ส�ำนักงานตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ต�ำบลชอนม่วง

SBL บันทึกประเทศไทย I LOP BURI

.indd 142

1/8/2561 11:09:50


สถานที่ท่องเที่ยวที่ส�ำคัญ วัดพุน้อย ตั้งอยู่ที่หมู่ 1 ต�ำบลชอนม่วง อ�ำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี แต่เดิม “พุน้อย” เป็นชื่อของน�้ำที่ผุดขึ้นมาคล้ายน�้ำพุตลอดทั้งปี ไม่มีวันแห้ง จึงเป็นชื่อเรียกขานหมู่บ้านแห่งนี้ วันที่ 25 เมษายน พ.ศ.2515 หลวงปูแ่ บน จนฺทสโร มาอยู่จ�ำพรรษา จนกระทั่งท่านได้มรณภาพลง เมื่อวันที่ 13 มกราคม พ.ศ.2543 ขณะที่หลวงปู่ แบน จนฺ ท สโร ด� ำ รงต� ำ แหน่ ง เจ้ า อาวาสนั้ น ได้ ร ่ ว มกั บ ชาวบ้ า นพุ น ้ อ ยพั ฒ นาวั ด จนเจริ ญ ก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ท�ำให้วัดที่ไม่มีคนรู้จัก กลายเป็นวัดที่มีคนเชื่อถือเลื่อมใสศรัทธาเดิน ทางมากราบไหว้กันอย่างไม่ขาดสาย การเดิน ทางไปยังวัดพุน้อย มีถนนลาดยางถึงวัดสะดวก สบายตลอดการเดินทาง วัดพุนอ้ ยก็มสี งิ่ ก่อสร้าง ทีเ่ ป็นถาวรวัตถุภายในวัดแทบจะครบถ้วน ไม่วา่ จะเป็น โบสถ์ วิหาร ศาลาการเปรียญ และอื่นๆ อีกจ�ำนวนมาก จากวัดเล็กๆ ที่ห่างไกลความ เจริญ กลายเป็นวัดทีม่ ปี ระชาชนรูจ้ กั กันเกือบทัง้ ประเทศ มีการน�ำกฐินและผ้าป่าสามัคคี มาทอด กันอย่างล้นหลาม ในปั จ จุ บั น พระโสภณพั ฒ นคุ ณ (ทิ น ) เจ้าอาวาสวัดพุนอ้ ย และเจ้าคณะอ�ำเภอหนองม่วง ท่ า นยั ง คงสื บ สานวิ ช าที่ รั บ จากหลวงปู ่ แ บน จนฺทสโร ในเรื่องเมตตามหานิยม โดยเฉพาะ อย่างยิง่ ในเรือ่ งการค้าขายทีห่ ลวงปูแ่ บนได้สร้าง เรือพุทธคุณขึน้ มา ซึง่ ใครได้ไปบูชาจะประสบผล ส�ำเร็จกันแทบทุกคน จึงมีพุทธศาสนิกชนเดิน ทางมาทีว่ ดั พุนอ้ ยกันอย่างเนืองแน่นในแต่ละวัน วั ด พุ น ้ อ ยนั้ น มี สิ่ ง ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ แ ละเป็ น ที่ เ คารพ นั บ ถื อ ของชาวบ้ า นและพุ ท ธศาสนิ ก ชน ทั่วประเทศ ก็คือ การยกเรือ การสร้างเรือ เพื่อ ถวายแด่แม่ตะเคียนทองส�ำหรับคนที่ชอบการ เสี่ ย งทายมั ก จะได้ เ ดิ น ทางมาที่ วั ด พุ น ้ อ ยได้ ขอโชคลาภ พร้อมกันนี้ก็จะน�ำผ้าไหมซึ่งตัดเป็น ชุดไทยกับตัวหุ่น น�ำมาถวายแม่ตะเคียนทอง ซึ่งในเขตองค์การบริหารส่วนต�ำบลชอนม่ว ง มีรีสอร์ทไว้บริการให้กับนักท่องเที่ยว ที่มักจะ เดินทางไปไหว้และสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่วัดพุ น้อย (เศรษฐีเรือทอง) ได้แก่ ลิฟเลิฟ รีสอร์ท, น�ำโชค รีสอร์ท, ชอนกาเหว่า รีสอร์ท และ ร่มจ�ำปารีสอร์ท เป็นต้น

ทุ่งทานตะวัน อยู่บริเวณวัดพุสะอาด ติดเขาล�ำแพนหมู่ที่ 1 ต�ำบลชอนม่วง อ�ำเภอบ้านหมี่ จังหวัด ลพบุรี ทานตะวันเป็นพืชที่นิยมปลูกเป็นอย่างมากในต�ำบลชอนม่วง จึงกลายเป็นแหล่งทองเที่ยวอีก สถานที่หนึ่ง โดยจะเริ่มเบ่งบานในช่วง พฤศจิกายน-มกราคม ซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถถ่ายรูปดอก ทานตะวันกับวิวด้านหลังที่เป็นภูเขา (เขาล�ำแพน) โดยทานตะวันได้กลายเป็นพืชเศรษฐกิจของต�ำบล ชอนม่วงก่อนจะเก็บเกีย่ วผลผลิตประมาณต้นฤดูหนาว เนือ่ งจากเป็นทุง่ ทานตะวันของชาวบ้านทีป่ ลูก ขึน้ มาเลยอาจไม่กว้างใหญ่มาก แต่ได้รบั ความสนใจจากนักท่องเทีย่ ว เดินทางมาเทีย่ วชมเป็นจ�ำนวนมาก

สินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึก ประชาชนในเขตพื้นที่ต�ำบลชอนม่วง นอกจากการประกอบอาชีพหลักๆ เช่น การท�ำการเกษตร และปศุสตั ว์แล้ว กลุม่ บทบาทสตรียงั ได้มกี ารใช้เวลาว่างจากการประกอบอาชีพ รวมกลุม่ กันเพือ่ จัดท�ำ ยาดมสมุนไพร ดอกไม้จันทน์ และดอกไม้ประดิษฐ์ เพื่อเป็นสินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึก นอกจากนี้ บางครัวเรือนได้จัดจ�ำหน่ายขนมทองม้วน ขนมบ้าบิ่น น�้ำนมข้าวโพด ปลาร้าทอด ขนมใส่ไส้ ให้แก่ นักท่องเที่ยวที่เดินทางไปสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่วัดพุน้อยอีกด้วย

LOP BURI I SBL บันทึกประเทศไทย

.

2

.indd 143

143

1/8/2561 11:09:58


H I S TO R Y O F B U D D H IS M บันทึกเส้นทางธรรมหนุนน�ำชีวิต

วัดมหาสอน พระครูสุตคุณากร (เฉลิม คุณกโร) ด�ำรงต�ำแหน่งเจ้าอาวาสวัดมหาสอน

วัดมหาสอน ตั้งอยู่เลขที่ 47 บ้านมหาสอน หมู่ที่ 5 ต�ำบลมหาสอน อ�ำเภอบ้านหมี่

จั ง หวั ด ลพบุ รี สั ง กั ด คณะสงฆ์ ม หานิ ก าย มี ที่ ดิ น ตั้ ง วั ด 26 ไร่ 2 งาน 22 ตารางวา มีอาณาเขตทิศเหนือ ยาว 6 เส้น 2 วา ติดต่อกับแม่น�้ำบางขาม ทิศตะวันตก ยาว 6 เส้น ติดต่อกับที่นาของนายรอด พื้นที่ตั้งวัดเป็นที่ลุ่มริมแม่น�้ำบางขาม อาคารเสนาสนะต่างๆ ประกอบด้วย อุโบสถกว้าง 4 เมตร ยาว 8 เมตร สร้าง พ.ศ.2509 วิหารซึ่งเป็นสถานที่ประดิษฐานหลวงพ่อใหญ่

ประวัติวัดมหาสอน วัดมหาสอน สร้างขึ้นเป็นวัดนับตั้งแต่ พ.ศ. 2408 โดยชาวบ้านร่วมกันสร้าง และมี หลวงพ่อเดช มาอยู่ปกครองวัดเป็นรูปแรก ได้ด�ำเนินการก่อสร้างเสนาสนะสืบต่อมา ได้รับ พระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2509 เขตวิสุงคามสีมา กว้าง 26 เมตร ยาว 38 เมตร มีพระภิกษุสามเณร อยู่จ�ำพรรษามี 29 รูป 144

2

ทางวัดได้เปิดการสอน พระปริยัติธรรม พ.ศ. 2486 เป็นต้นมา และในปัจจุบันทางวัด ได้ เ ปิ ด การเรี ย นการสอนพระปริ ยั ติ ธ รรม แผนกบาลี ตั้งแต่ พ.ศ. 2553 จนถึงปัจจุบัน

ล�ำดับเจ้าอาวาส 1. หลวงพ่อเดช ตั้งแต่ พ.ศ. 2408-2438 2. หลวงพ่อชม ตั้งแต่ พ.ศ. 2438-2445 3. หลวงพ่อง้วน ตั้งแต่ พ.ศ. 2445-2456 4. หลวงพ่อเคลือบ จนฺทสโร ตั้งแต่ พ.ศ. 2456-2486 5. พระครูชิน สรโน ตั้งแต่ พ.ศ. 2486-2497 6. พระอธิการเจริญ วณฺณสีโล ตั้งแต่ พ.ศ. 2497-2506

SBL บันทึกประเทศไทย I LOP BURI

.indd 144

8/8/2561 17:42:27


7. พระครูชโิ นวาทธาดา (สุทศั น์ ชินวํโส) ตั้งแต่ พ.ศ. 2506-2551 8. พระครูสุตคุณากร (เฉลิม คุณกโร) ตั้งแต่ พ.ศ. 2551-ปัจจุบัน

ความส�ำคัญของวัดมหาสอน วัดมหาสอนเป็นศูนย์รวมความศรัทธา ของชาวบ้ า นมหาสอนและชาวบ้ า นบางพึ่ ง มาตั้งแต่อดีตจวบจนปัจจุบัน โดยมีหลวงพ่อ เคลือบ จนฺทสโร เจ้าอาวาสวัดมหาสอน รุ่นที่ 4 เป็นพระภิกษุที่มีประชาชนให้ความศรัทธา เลื่อมใสเป็นจ�ำนวนมาก โดยประชาชนจะเข้า มากราบขอศีลขอพรจากท่าน ก่อนที่จะไป สอบเข้าหรือสมัครงานในสถานที่ต่าง ๆ ซึ่งจะ ประสบความส�ำเร็จทุกราย และในปัจจุบันทางวัดมหาสอนได้เปิด โอกาสให้ พ ระภิ ก ษุ สามเณร ได้ ศึ ก ษา พระปริยัติธรรมแผนกบาลี ซึ่งในปีการศึกษา พ.ศ. 2561 มีผู้สอบบาลีได้ ตั้งแต่ประโยค 1-2 ถึงประโยค 7 จ�ำนวน 7 รูป และในปีการ ศึกษาใหม่นี้ มีพระภิกษุ สามเณรมาศึกษาบาลี ประมาณ 29 รูป LOP BURI I SBL บันทึกประเทศไทย

2

.indd 145

145

1/8/2561 11:24:33


H I S TO R Y O F B U D D H IS M บันทึกเส้นทางธรรมหนุนน�ำชีวิต

วัดวงเทพ

ได้รับความอุปถัมภ์จากพระเดชพระคุณพระเทพวิริยาภรณ์ และ ดร.รัตนา สมสกุลรุ่งเรือง ประธานมูลนิธิร่วมกตัญญู เป็นประธานอุปถัมภ์ฝ่ายฆราวาส

วัดวงเทพ เดิมชื่อวัดวงทาส (วงพาด) สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยเมืองละโว้ (ลพบุรี) เป็น

ราชธานี ต่ อ มาเป็ น วั ด ร้ า งประมาณ 300 ปี ตามหลั ก ฐานใบโฉนดที่ ดิ น ปรากฏอยู ่ ที่ ส�ำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดลพบุรี จนมาถึงปี พ.ศ. 2557 องค์การบริหารส่วนต�ำบล มหาสอนได้ท�ำถนนเข้าไปที่เกาะ และได้นิมนต์พระครูอาทรศาสนกิจ ผู้ช่วยเจ้าอาวาส วั ด หั ว ล� ำ โพง พระอารามหลวง, เจ้ า คณะแขวงบางรั ก , เลขานุ ก ารรองเจ้ า คณะ กรุงเทพมหานคร มาดูสถานที่ เห็นว่าสถานที่แห่งนี้เคยเป็นวัดมาก่อน และมีลักษณะ ภูมิประเทศเป็นเกาะ ควรจะพัฒนาสถานที่แห่งนี้ถวายไว้ ในพระศาสนา และเป็นประโยชน์ต่อ สาธารณชนสืบไป 146

2

พระครูอาทรศาสนกิจ จึงประกาศว่า จะท�ำเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม ชาวบ้านต�ำบล มหาสอน-ต� ำ บลบางพึ่ ง เห็ น พ้ อ งต้ อ งกั น จึงจ้างรถแม็คโครมาปรับพื้นที่เกาะที่เป็นป่า ระก� ำ และถมดิ น เพิ่ ม เติ ม เมื่ อ ต้ น เดื อ น พฤศจิกายน 2557 และในวันที่ 4-7 ธันวาคม 2557 ได้ จั ด พิ ธี เจริ ญ พระพุ ท ธมนต์ ถ วาย พระบาทสมเด็ จ พระปรมิ น ทรมหาภู มิ พ ล อดุลยเดช รวม 3 วัน นิมนต์พระสงฆ์มาเจริญ พระพุทธมนต์ วันละ 99 รูป และวันที่ 7 ธั น วาคม เวลา 07.00 น. ท� ำ พิ ธี ตั ก บาตร พระสงฆ์ จ�ำนวน 99 รูป ในวันที่ 21 เมษายน 2557 ท�ำพิธีตอก เสาเข็ม สร้างพระปางนาคปรก และศาลา ท�ำบุญกุฏิที่พักสงฆ์ ส�ำนักงานมูลนิธิ เพื่อท�ำ

SBL บันทึกประเทศไทย I LOP BURI

.indd 146

8/8/2561 17:24:37


เป็น “ศูนย์ปฏิบัติธรรมเกาะสวรรค์” ให้เป็น สถานที่อบรมนักเรียน และเป็นสถานที่ศึกษา พระปริยัติธรรมในโครงการ “ศูนย์บาลีหนึ่ง เปรี ย ญหนึ่ ง ต� ำ บล” โดยเจ้ า คณะจั ง หวั ด ลพบุรี และเจ้าคณะภาค 3 เป็นผู้ด�ำเนินงาน พระครูอาทรศาสนกิจ ได้หาทุนทรัพย์ จากญาติโยมผูม้ จี ติ ศรัทธามาสร้างพระนาคปรก ศิลปะแบบบายน สมัยลพบุรี ขนาดหน้าตัก กว้ า ง 10 เมตร สู ง 25 เมตร โดยได้ รั บ ประทานนามว่า “พระพุทธรัตนสัตตพิเนต” จากพระเดชพระคุณท่านเจ้าประคุณสมเด็จ พระมหารั ช มั ง คลาจารย์ ผู ้ ป ฏิ บั ติ ห น้ า ที่ สมเด็จพระสังฆราช และได้รับความอุปถัมภ์ จากพระเดชพระคุ ณ พระเทพวิ ริ ย าภรณ์ เจ้ า อาวาสวั ด หั ว ล� ำ โพง พระอารามหลวง, รองเจ้าคณะกรุงเทพมหานคร เป็นประธาน อุปถัมภ์ฝ่ายสงฆ์ ดร.รัตนา สมสกุลรุ่งเรือง ประธานมู ล นิ ธิ ร ่ ว มกตั ญ ญู เป็ น ประธาน อุปถัมภ์ฝ่ายฆราวาส ได้ร่วมบริจาคทรัพย์ใน การก่อสร้าง ต่อมาในปี พ.ศ. 2559 ได้ยกขึ้นเป็นวัด วันที่ 4 เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2559 ตาม ประกาศส�ำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ โดยความเห็นชอบของมหาเถรสมาคม

ประวัติโดยย่อพระครูอาทรศาสนกิจ พระครูอาทรศาสนกิจ (สุเทพ อาภากโร) วัดหัวล�ำโพง กรุงเทพมหานคร สังกัดมหานิกาย เกิดวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2496 อายุ 65 ปี วุฒิการศึกษา น.ธ.เอก การศึกษา พ.ศ.2504 สอบได้นักธรรมชั้นเอก พ.ศ.2508 จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 3

ฝ่ายปกครอง พ.ศ. 2535 เป็น ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัด หัวล�ำโพง พ.ศ. 2545 เป็น ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัด หัวล�ำโพง พระอารามหลวง พ.ศ. 2549 เป็น เจ้าคณะแขวงบางรัก พ.ศ. 2550 เป็น พระอุปัชฌาย์ พ.ศ. 2553 เป็น เลขานุการรองเจ้าคณะ กรุงเทพมหานคร

เกียรติคุณ พ.ศ. 2550 ได้ รั บ ถวายปริ ญ ญาพุ ท ธ ศาสตร์ ม หาบั ณ ฑิ ต กิ ต ติ ม ศั ก ดิ์ สาขาการ บริหารการศึกษา จากมหาวิทยาลัยมหาจุฬา ลงกรณราชวิทยาลัย

สมณศักดิ์ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2553 เป็น พระครู สัญญาบัตร ผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวง ชั้นพิเศษ ที่พระครูอาทรศาสนกิจ LOP BURI I SBL บันทึกประเทศไทย

2

.indd 147

147

8/8/2561 17:24:48


H I S TO R Y O F B U D D H IS M บันทึกเส้นทางธรรมหนุนน�ำชีวิต

วัดคลองสุทธาวาส พระครูปิยธรรมธีราภรณ์ เจ้าอาวาสวัดคลองสุทธาวาส และเจ้าคณะต�ำบลสนามแจง

วัดคลองสุทธาวาสหมู่ 1 ต�ำบลสนามแจง อ�ำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี ขอเชิญท่านทีม่ ี จิตศรัทธาที่จะร่วมท�ำบุญสร้างอุโบสถ ได้ที่เลขบัญชี 328-2-17847-7 ธนาคารกสิกรไทย สาขาบ้านหมี่ ชื่อบัญชี วัดคลองสุทธาวาส โดย พระครูปิยธรรมธีราภรณ์ นายประสาร วรรณกลาง และ นายเจ็ง เทศนาคติธรรม หรือติดต่อสอบถามได้ที่ วัดคลองสุทธาวาส พระครูปยิ ธรรมธีราภรณ์ 094-9978949, 098-5293665

148

SBL บันทึกประเทศไทย I LOP BURI

1

.indd 148

8/8/2561 15:42:47


HIST ORY OF BUDDH ISM

บันทึกเส้นทางธรรมหนุนน�ำชีวิต

วัดทุ่งท่าช้าง วัดทุ่งท่าช้าง ตั้งอยู่เลขที่ 1/1 หมู่ที่ 3 ต�ำบลทุ่งท่าช้าง อ�ำเภอสระโบสถ์ จังหวัดลพบุรี สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย

ประวัติวัดทุ่งท่าช้าง วัดทุ่งท่าช้างเป็นวัดเก่าแก่ ซึ่งชาวบ้าน ทุ่งท่าช้างได้ร่วมมือร่วมใจกันสร้างขึ้น เมื่อ ประมาณ พ.ศ.2450 หมู่บ้านทุ่งท่าช้างในอดีต นั้น มักจะมีช้างป่าลงมาบ่อยๆ จนชาวบ้านได้ เรียกชื่อว่า “บ้านทุ่งท่าช้าง” วัดทุ่งท่าช้าง จึ ง ได้ ใช้ ชื่ อ ตามบ้ า นทุ ่ ง ท่ า ช้ า ง เพื่ อ ความ คุ้นเคยและจ�ำง่าย วั ด ทุ ่ ง ท่ า ช้ า ง ได้ รั บ พระราชทาน วิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2496 เขตวิสุงคามสีมา กว้าง 20 เมตร ยาว 30 เมตร

เนือ้ ทีต่ งั้ วัด โฉนดเลขที่ 8276 เนือ้ ที่ 18 ไร่ 2 งาน 45 ตารางวา ที่ธรณีสงฆ์ จ�ำนวน 1 แปลง มีเนื้อที่ จ�ำนวน 11 ไร่ 30 ตารางวา(โฉนดเลขที่ 4961 ปี 2550) ท�ำเนียบเจ้าอาวาส รายนามเจ้าอาวาสวัดทุ่งท่าช้าง เท่าที่ ปรากฏชื่อ ได้แก่ รูปที่ 1 พระอธิการห่วง เกสโร (ไม่ทราบ พ.ศ.) รูปที่ 2 พระครูวรธรรมสาสน์ (บุญเหลือ เตชวโร เมื่อปี 2516-2536) รูปที่ 3 พระครูคณ ุ สัมบัน (จตุพล จรณสมฺปนฺโน เมื่อปี 2536-ปัจจุบัน)

ร่วมสร้างเส้นทางบุญ เนื่ อ งจากวั ด ทุ ่ ง ท่ า ช้ า งเป็ น วั ด ที่ มี อ ายุ ร้อยกว่าปีแล้ว อาคารเสนาสนะต่าง ๆ จึงเริ่ม ทรุ ด โทรมไปตามกาลเวลา สาธุ ช นท่ า นใด ประสงค์จะร่วมสืบสานอายุพระพุทธศาสนา ให้เจริญรุ่งเรือง สามารถติดต่อได้โดยตรงที่ พระครูคุณสัมบัน เจ้าอาวาส โทร.087-9039323 LOP BURI I SBL บันทึกประเทศไทย

1

.indd 149

149

8/8/2561 15:32:45


H I S TO R Y O F B U D D H IS M บันทึกเส้นทางธรรมหนุนน�ำชีวิต

วัดห้วยเขว้าเจริญธรรม

พระอธิการธรรมชาติ จารุธมฺโม ด�ำรงต�ำแหน่งเจ้าอาวาสวัด

วัดห้วยเขว้าเจริญธรรม เลขที่ 10 หมู่ที่ 9 ต�ำบลนิยมชัย อ�ำเภอสระโบสถ์ จังหวัดลพบุรี สร้างมาประมาณ 60-70 ปี โดยชาวบ้านช่วยกัน สร้างวัด แล้วนิมนต์พระมาจ�ำพรรษาเป็นประจ�ำทุกปีโดยไม่ขาด และปัจจุบันมีพระอธิการธรรมชาติ จารุธมฺโม เป็นเจ้าอาวาส

ประวัติเจ้าอาวาส พระอธิการธรรมชาติ จารุธมฺโม อายุ 49 ปี พรรษา 26 ต�ำแหน่งปัจจุบัน - เจ้าอาวาสวัดห้วยเขว้าเจริญธรรม - พระธรรมทูตประจ�ำอ�ำเภอสระโบสถ์ การก่อสร้างพัฒนา - สร้ า งโบสถ์ สี ข าว (ก� ำ ลั ง เตรี ย มงาน ผูกพัทธสีมา) - สร้างกุฏิกัมมัฏฐาน - ซื้อที่ดินปลูกป่าไว้ปฏิบัติธรรม (สวนป่า ปฏิบัติธรรม) - บูรณะกุฏิ วิหาร - สร้างห้องน�้ำ-ห้องสุขา 40 กว่าห้อง - สร้างลานปฏิบัติธรรม 150

SBL บันทึกประเทศไทย I LOP BURI

2

.indd 150

1/8/2561 13:33:54


กิจกรรมของวัดห้วยเขว้าเจริญธรรม - งานปฏิบัติธรรมประจ�ำปี 5-10 ธ.ค. ของทุกปี - งานวันแม่ 11-13 ส.ค. ของทุกปี - บรรพชาสามเณร ภาคฤดูร้อน 5-15 เม.ย. ของทุกปี - โครงการอริยองค์ธุดงค์ปฏิบัติ 1-15 ธ.ค. 2561 ติดต่อวัดห้วยเขว้าเจริญธรรม โทร. 089-0904147 ( เจ้าอาวาส ) 081-1432728 ( ไวยาวัจกร ) LOP BURI I SBL บันทึกประเทศไทย

2

.indd 151

151

1/8/2561 13:34:00


H I S TO R Y O F B U D D H IS M บันทึกเส้นทางธรรมหนุนน�ำชีวิต

วัดพัฒนาธรรมาราม พระครูภัทรธรรมคุณ ดร. ( อ�ำนาจ ) ด�ำรงต�ำแหน่งเจ้าอาวาสวัด และเจ้าคณะอ�ำเภอพัฒนานิคม

วัดพัฒนาธรรมาราม ตั้งอยู่เลขที่ 190 หมู่ที่ 6 ต.พัฒนานิคม อ.พัฒนานิคม จ.ลพบุรี

สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย เป็นส�ำนักปฏิบัติธรรมประจ�ำจังหวัดลพบุรี แห่งที่ 8 ภายในวัด มี หลวงพ่อเพ็ชร์ เป็นพระพุทธปฏิมากรที่ศักดิ์สิทธิ์คู่วัดพัฒนาธรรมาราม และอ�ำเภอ พัฒนานิคม

152

ประวัติหลวงพ่อเพ็ชร์ หลวงพ่ อ เพ็ ช ร์ เป็ น พระพุ ท ธรู ป ปาง สุโขทัย มีพระพุทธลักษณะงดงาม หล่อด้วย ปูน มีหน้าตักกว้าง 49 นิ้ว สูง 59 นิ้ว ตามประวัติการสร้างหลวงพ่อเพ็ชร์ ไม่มี หลักฐานชัดเจนแน่นอน ผู้เขียนได้พยายาม เสาะแสวงหาข้อมูล และสอบถามท่านผู้เฒ่า ผู้แก่ในหมู่บ้านถึงความเป็นมาในการสร้าง หลวงพ่อเพ็ชร์ ทราบเพียงว่านายเสน่ห์ ผดุงแสง เป็นผู้น�ำเศียรซึ่งเป็นศิลาแลงมาจากวัดร้าง แห่งหนึง่ ซึง่ อยูใ่ นเขตติดต่อระหว่างอ�ำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง กับจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ตามข้อสันนิษฐานว่าเป็นเศียรพระพุทธรูปที่ สร้างขึ้นในสมัยสุโขทัยตอนปลาย และสมัย กรุงศรีอยุธยาตอนต้น

SBL บันทึกประเทศไทย I LOP BURI

2

.indd 152

8/8/2561 14:21:23


ต่อมาเมื่อวันพุธ ขึ้น 15 ค�่ำ เดือน 8 ปี ม ะโรง พ.ศ.2507 ทางคณะกรรมการวั ด ได้ ร ่ ว มกั น ท� ำ พิ ธี ป ั ้ น องค์ ห ลวงพ่ อ เพ็ ช ร์ ขึ้ น เพือ่ ให้เกิดความสมบูรณ์ พร้อมทัง้ จะได้เป็นทีพ่ งึ่ ทางใจของชาวอ�ำเภอพัฒนานิคม ซึง่ นายเสน่ห์ ผดุงแสง กับ หลวงพ่อเชย อชิโต ผูเ้ ป็นองค์ปฐม แห่งเจ้าอาวาสวัดพัฒนา ธรรมาราม ได้ท�ำการ อัญเชิญเศียรมาจากวัดร้างนั้น เพื่อท�ำพิธีปั้น พร้อมทัง้ ท�ำพิธบี วงสรวงขอบารมี พระพุทธเจ้า ทุกพระองค์ พระปัจเจกพุทธเจ้าทุกพระองค์ พระอริยสงฆ์สาวกพุทธเจ้าทุกพระองค์ ตลอด ทั้งเทพยดาและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย เพื่อมา สถิตประดิษฐานในองค์หลวงพ่อเพ็ชร์ ตลอดจน ได้ท�ำพิธีสวดพระปริตรบทต่างๆ เพื่อให้เกิด พุทธานุภาพ ธัมมานุภาพ สังฆานุภาพ พร้อมทัง้ มีความศักดิ์สิทธิ์เป็นที่พึ่งทางใจของประชาชน และได้ถวายนามว่า “หลวงพ่อเพ็ชร์” แห่ง วัดพัฒนาธรรมาราม ซึง่ ชือ่ นีไ้ ด้ตรงกับหลวงพ่อ เพ็ชร์หลายๆ ที่ อาทิ หลวงพ่อเพ็ชร์วัดท่าถนน จังหวัดอุตรดิตถ์ หลวงพ่อเพ็ชร์ วัดท่าหลวง จังหวัดพิจิตร เป็นต้น แต่ละแห่งจะเขียนไม่ เหมือนกัน แต่พดู ถึงความศักดิส์ ทิ ธิค์ งเหมือนกัน ทุกประการ

ปูชนียสถานส�ำคัญ เสาอโศกมหาราช วิหารหลวงพ่อเพ็ชร์ ล�ำดับเจ้าอาวาส 1. หลวงพ่อเชย อชิโต ด�ำรงต�ำแหน่งตั้งแต่ พ.ศ. 2508 – 2514 อดีตเจ้าคณะต�ำบลพัฒนานิคม 2. พระครูโฆษิตพัฒนคุณ ( มหาเสนาะ ) ด�ำรงต�ำแหน่งตั้งแต่ พ.ศ. 2514 – 2526 อดีตเจ้าคณะอ�ำเภอพัฒนานิคม 3. พระครูภัทรธรรมคุณ ดร. ( อ�ำนาจ ) ด�ำรงต�ำแหน่งตั้งแต่ พ.ศ. 2529 จนถึงปัจจุบัน และ พ.ศ. 2555 เป็ น เจ้ า คณะอ� ำ เภอ พัฒนานิคม

LOP BURI I SBL บันทึกประเทศไทย

2

.indd 153

153

8/8/2561 14:27:31


Digital Entrepreneur เฟืองตัวส�ำคัญเพื่อก้าวสู่ Thailand 4.0

ไทยแลนด์ 4.0 เป็นวิสัยทัศน์เชิงนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย หรือ

โมเดลพัฒนาเศรษฐกิจของรัฐบาล โดยที่มีภารกิจส�ำคัญในการขับเคลื่อนปฏิรูปประเทศด้านต่าง ๆ เพื่อปรับแก้ จัดระบบ ปรับทิศทาง และสร้างหนทางพัฒนาประเทศให้เจริญ สามารถรับมือกับโอกาส และภัยคุกคามแบบใหม่ ๆ ที่เปลี่ยนแปลงอย่างเร็วและรุนแรงในศตวรรษที่ 21 ได้ 330

SBL บันทึกประเทศไทย I LOP BURI

THAILAND 4.0.indd 330

7/8/2561 17:27:23


ดังนั้นประเทศไทยจะต้องมีการพัฒนาทางด้านวิทยาการ ความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัยและพัฒนา แล้วต่อยอดในกลุม่ เทคโนโลยีและอุตสาหกรรมเป้าหมายได้ ซึง่ เป็นทีม่ าของการเกิด DIGITAL ENTREPRENEUR เพราะเป็นการมุง่ เน้นการสร้าง ธุรกิจด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ให้เกิดเป็นสินค้าและบริการบนพื้นฐานของการสร้างสรรค์นวัตกรรมผสมผสานเข้ากับการท�ำธุรกิจ ทั้งยังเป็นการ ส่งเสริมธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง ให้เป็นกลไกส�ำคัญในการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจของประเทศ ส�ำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เห็นความส�ำคัญในการสร้างความเข้าใจให้กับธุรกิจดิจิทัล ในกลุ่มคนรุ่นใหม่ และบุคคลทั่วไปให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น และพร้อมให้การสนับสนุนและพัฒนาศักยภาพเพื่อเตรียมความพร้อมให้กับบุคลากร เพื่อป้อนสู่อุตสาหกรรม และท�ำให้เกิด DIGITAL ENTREPRENEURSHIP ตามนโยบายของรัฐบาลในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งจะ ช่วยส่งเสริมให้ผู้ประกอบการไทยเติบโตและประสบความส�ำเร็จในธุรกิจได้ โดย DEPA มีมาตรการส่งเสริมผู้ประกอบการดิจิทัล ดังนี้ 1. ส่ ง เสริ ม ให้ ผู ้ ป ระกอบการเอสเอ็ ม อี แ ล ะ โ อ ท็ อ ป ใช ้ แ พ ล ต ฟ อ ร ์ ม C M S (Channel Management System) เป็นแพลตฟอร์มที่ทางส�ำนักงานฯ ได้สร้างขึ้น เพื่อสนับสนุนให้ผู้ประกอบการ SMEs OTOP รวมถึ ง วิ ส าหกิ จ ชุ ม ชนมี ค วามเข้ า ใจในการ พัฒนาศักยภาพในการขายของรวมถึงการเพิม่ ช่ อ งทางการค้ า ขายออนไลน์ โดยสามารถ กระจายสินค้าของตนเองไปยัง E Market Place ต่าง ๆ ได้ภายในคลิกเดียว รวมถึงการ บริหารจัดการข้อมูลของสินค้าก็ท�ำได้ง่ายขึ้น ผ่านระบบ Channel Management System หรือ CMS 2. มาตรการส่งเสริมผู้ประกอบการจดแจ้ง ลิขสิทธิ์ทรัพย์สินทางปัญญา โดยสร้างความ ต ร ะ ห นั ก แ ล ะ ค ว า ม เ ข ้ า ใ จ เ กี่ ย ว กั บ ทรั พ ย์ สิ น ทางปั ญ ญาให้ กั บ กลุ ่ ม ประชาชน กลุ่มผู้ประกอบการ ตลอดจนผู้ที่อยู่ในกลุ่ม อุตสาหกรรม โดยได้ร่วมมือกับกรมทรัพย์สิน ทางปัญญา เพื่ออบรม สัมมนา ให้ความรู้เกี่ยว กับกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวข้อง รวมถึงความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการแปลง ทรัพย์สินทางปัญญาให้เป็นทุน ซึ่งถือว่าเป็น เรือ่ งทีส่ ำ� คัญต่อการพัฒนาประเทศเพือ่ เข้าสูย่ คุ Thailand 4.0

3. มาตรการส่งเสริมผูป้ ระกอบการเข้าถึงแหล่ง เงินทุน โดยสร้างความร่วมมือกับบริษทั ประกัน สินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ที่มีการ อนุมัติโครงการค�้ำประกันผู้ประกอบการใน วงเงิน 10,000 ล้านบาท เพือ่ ช่วยเหลือ Digital Startup และ กลุ่มผู้ประกอบการ นวัตกรรม และเทคโนโลยี รวมถึงการสร้างความร่วมมือ กับสถาบันการเงินทัง้ ภาครัฐและเอกชน ในการ สนั บ สนุ น ให้ ผู ้ ป ระกอบการเทคโนโลยี แ ละ นวัตกรรมสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนอัตรา ดอกเบี้ยต�่ำ 4. การขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ และดิจิทัลคอนเทนต์ เป็นอีกหนึ่งมาตรการที่ ส� ำ คั ญ ในการส่ ง เสริ ม และพั ฒ นากลุ ่ ม ผู ้ ประกอบการ โดยการขึ้นทะเบียนเพื่อรับรอง ความมีตัวตน สร้างความน่าเชื่อถือ อีกทั้งยัง สามารถอัพเดทข้อมูลของผู้ประกอบการเพื่อ น�ำมาขยายผล วิเคราะห์ หาแนวทางการส่งเสริม แก่กลุ่มผู้ประกอบการในอนาคต ได้อีกด้วย

5. การผลักดันส่งเสริมให้เกิดดิจิทัลสตาร์ทอัพ ผ่านการสร้างนักคิดนักพัฒนาสินค้าและบริการ ดิจทิ ลั โดยส่ ง เสริ ม ให้ เ กิ ด การแลกเปลี่ ย น ความรู้ ประสบการณ์ และการด�ำเนินธุรกิจร่วมกัน ระหว่างผู้พัฒนาเทคโนโลยี ผู้ประกอบการใน แต่ละอุตสาหกรรม และนักลงทุนจากทั้งใน และต่างประเทศ รวมถึงการส่งเสริมให้เกิดการ ปฏิ รู ป การด� ำ เนิ น ธุ ร กิ จ แบบดั้ ง เดิ ม สู ่ ก าร ด�ำเนินธุรกิจในรูปแบบดิจิทัล ทั้งนี้ ส�ำนักงาน ส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) จะเป็นหน่วย งานหลักทีจ่ ะท�ำหน้าทีส่ ง่ เสริมให้เศรษฐกิจของ ไทยให้สามารถปฏิรปู สู่ Thailand 4.0 ได้อย่าง ครบวงจร โดยเชื่ อ ว่ า ผู ้ ป ระกอบการดิ จิ ทั ล ทีส่ ำ� นักงานฯได้เข้าให้การสนับสนุนในด้านต่าง ๆ จะเป็ น หนึ่ ง ในกลไกส� ำ คั ญ ที่ จ ะเปลี่ ย นภาพ ลักษณ์ของประเทศรายได้ปานกลาง และก้าวสู่ “การเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจดิจทิ ลั ในภูมภิ าค อาเซียน” ได้ในที่สุด

เฟืองตัวส�ำคัญ เพื่อก้าวสู่ Thailand 4.0 ขอขอบคุณที่มา : www.depa.or.th LOP BURI I SBL บันทึกประเทศไทย

THAILAND 4.0.indd 331

331

7/8/2561 17:27:25


2.indd 999

3/8/2561 9:24:03


2.indd 2

3/8/2561 10:11:30


Buddhism

in Thailand

Everything You Need to Know About Buddhism in Thailand There are some 30,000 Buddhist temples in Thailand.

AD_Buddhism.indd 3

3/8/2561 9:32:08


พระบรมราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระนารายณ์มหาราช พลังศรัทธาของชาวลพบุรี

LOP BURI I SBL บันทึกประเทศไทย

14

.indd 159

159

7/8/2561 16:15:12


REGIONS

OF

LOPBURI

ลิง ที่ศาลพระกาฬ @อ� ำ เภอเมื อ งลพบุ รี

วั ง พระนารายณ์ ราชนิ เ วศน์

@อ�ำเภอเมืองลพบุรี สั ม ผั ส อดี ต อั น รุ ่ ง เรื อ งแห่ ง เมื อ งละโว้

พระปรางค์

สามยอด

@อ� ำ เภอเมื อ งลพบุรี ศิ ล ปะขอมสุ ด ยิ่ ง ใหญ่ ตามรอยพี่ ขุ น ไปเที่ ย วเมื อ งละโว้ 160

ดอกทานตะวัน

@ อ�ำเภอเมือง @ อ�ำเภอหนองม่วง @อ�ำเภอพัฒนานิคม @ อ�ำเภอโคกส�ำโรง เทศกาลทุ ่ ง ทานตะวั น บานลพบุ รี

SBL บันทึกประเทศไทย I LOPBURI UBON RATCHATHANI

Ads LopBuri.indd 160

8/8/2561 17:39:13


อ�ำเภอในจังหวัดลพบุรี ที่ ตั้ ง และอาณาเขต

จังหวัดลพบุรีตั้งอยู่ในภาคกลางของประเทศไทย ระหว่างเส้นรุ้งที่ 14 องศา 48 ลิปดาเหนือ และเส้นแวงที่ 100 องศา 25 ลิปดาตะวันออก อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครไปทางเหนือตามเส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) ประมาณ 155 กิโลเมตร หรือทางรถไฟสายเหนือประมาณ 133 กิโลเมตร มีพื้นที่ 6,586.67 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 4,116,668 ไร่ จังหวัดลพบุรีเป็นจังหวัดที่มีพื้นที่อุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การ เพาะปลูก และมีประวัติศาสตร์ยาวนาน ซึ่งเคยเป็นที่ตั้งศูนย์กลางของอาณาจักรละโว้

ทิศเหนือ ติดกับจังหวัดเพชรบูรณ์ ทิศตะวันออก ติดกับจังหวัดนครราชสีมาและ จังหวัดชัยภูมิ ทิ ศ ใต้ ติ ด กั บ จั ง หวั ด สระบุ รี จั ง หวั ด พระนครศรีอยุธยา และจังหวัดอ่างทอง ทิศตะวันตก ติดกับจังหวัดนครสวรรค์และ จังหวัดสิงห์บุรี

SNAP IT &

WACTH

เว็บไซต์จังหวัดลพบุรี

UBON RATCHATHANI LOPBURI I SBL บันทึกประเทศไทย

Ads LopBuri.indd 161

161

8/8/2561 17:39:18


ชุบชีวิตป่าจ�ำปีสิรินธร

ด้วยโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ จังหวัดลพบุรี หลายท่ า นอาจยั ง ไม่ ท ราบว่ า จั ง หวั ด ลพบุรี ที่อยู่ไม่ไกลจากกรุงเทพมหานครนี้ จะมี ป ่ า พรุ น�้ ำ จื ด หรื อ ป่ า ชุ ่ ม น�้ ำ อั น เป็ น แหล่งก�ำเนิดจ�ำปีพันธุ์ ใหม่ของโลก แต่เป็น ไม้ดอกที่เก่าแก่ดึกก�ำบรรพ์ที่สุด นั่นก็คือ

“จ�ำปีสิรินธร” หนึ่งโครงการ ในพระราชด�ำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

ลักษณะเด่นของจ�ำปีสิรินธรจัดอยู่ในวงศ์จ�ำปา (Family Magnoliaceae) ซึ่งเป็นพรรณไม้ที่เก่าแก่ดึกด�ำบรรพ์ มากที่สุดในหมู่ของไม้ดอกที่มีอยู่ในยุคปัจจุบันนี้ และมีวิวัฒนาการในการปรับตัวต�่ำที่สุด จึงเป็นพรรณไม้ท่ีมีโอกาสสูญพันธุ์ ในสภาพธรรมชาติได้มากที่สุด LOP BURI I SBL บันทึกประเทศไทย

.indd 105

105

8/8/2561 16:14:15


The time of good deeds: auspicious time, bright, lucky dawn and lucky moment right worship. เวลาที่ประพฤติชอบ ชื่อว่า ฤกษ์ดี มงคลดี สว่างดี รุ่งดี และขณะดี ครู่ดี บูชาดีแล้วในพรหมจารีบุคคลทั้งหลาย

Auspicious bodily acts, auspicious speech, auspicious mind, auspicious intentions, for those who perform auspicious deeds always obtain benefits and happiness. กายกรรมอันเป็นกุศล วจีกรรมอันเป็นกุศล มโนกรรมอันเป็นกุศล ความปรารถนาดีอันเป็นกุศล ผู้ ได้ประพฤติกรรมอันเป็นกุศล ย่อมประสบประโยชน์และความสุขในคราทุกเมื่อ

ดร. พระมหาอนุ ช น สาสนกิ ตฺ ติ ป.ธ.๙ (นาคหลวง) Ph.D. Phramaha Anuchon Sasanakitti

AD_

.indd 159

7/8/2561 15:36:53


164

2

SBL บันทึกประเทศไทย I LOP BURI

.indd 164

พระพุทธรัตนสัตตพิเนต วัดวงเทพ

9/8/2561 13:40:08


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.