59 หนองบัวลำภู

Page 1


ห้างหุ้นส่วนจ�ำกัด แทมม์ ออโต้ แทมม์ ออโต้ ศูนย์รวมซือ้ -ขาย รถยนต์มอื สองคุณภาพสูงสุด ระดับพรีเมี่ยม ที่เดียวจบครบทุกบริการ หากคุณ ก� ำ ลั ง มองหารถใหม่ ใ ช้ แ ล้ ว ที่ โ ดดเด่ น ด้ ว ยความ หรูหรา มีระดับ รับประกันด้วยคุณภาพเกรด A ต้องไปที่ แทมม์ ออโต้ ศูนย์รวมซื้อ-ขาย รถใหม่ ใช้แล้วคุณภาพสูงสุด ระดับพรีเมี่ยม ซื้อง่าย-ขาย คล่อง บริการซื้อ-ขาย ส่งทั่วไทย

เกียรติบัตรสมาคม ผู้ประกอบการ รถยนต์ ใช้แล้ว

2 SBL Magazine บันทึกประเทศไทย TAMM AUTO

OK.indd 2

25/10/60 10:58:50 AM


ซือ้ รถใหม่ใช้แล้ว แบบทีใ่ ช่ ในราคา ที่คุณพอใจ รับประกันคุณภาพรถเกรด A ระดับพรีเมี่ยม ขายหรือแลกเปลี่ยน ได้ราคาสูง บริการจัดไฟแนนซ์ ได้ยอดสูง!! ดอกเบี้ยต�่ำ

สนใจติดต่อ หจก.แทมม์ ออโต้ เลขที่ 312 ม.5 ต.หนองภัยศูนย์ อ.เมือง จ.หนองบัวล�ำภู 39000 042-378500, 081-8726011, 089-8411553, 063-7288555 a.tammauto@gmail.com แทมม์ ออโต้ ศูนย์รวมซื้อ-ขาย รถใหม่ใช้แล้ว เกรด A ระดับพรี่เมียม NONGBUALAMPHU 3 TAMM AUTO

OK.indd 3

25/10/60 10:58:53 AM


The Gym Nongbua lumphu ปรับลดราคาตั้งแต่ เดือนสิงหาคมเป็นต้นไป

รายวัน 50 บาท รายเดือน 8้นห0ล0ากหบลาายท พร้อมคลาสเต

4 SBL Magazine บันทึกประเทศไทย The Gym 2

.indd 1

25/10/2560 11:30:05


และยัง ่ ม ห ใ น ซ โ ร า ก ิ ร บ ้ ห ใ เปิด กว้างขวางขึ้น ม ิ เด า ่ ว ก ย า ม ก า ม เครื่องเล่น

ฟิตเนสพร้อมคลาสเต้นต่างๆ 3 เดือน 2000 บาาทท 6 เดือน 3600 บ บาท 12 เดือน 6800 คลาสเต้นต่างๆ 30 บาท/ครั้ง มวยไทย 250 บาท/ครั้ง 1000 บาท/5ครั้ง

ร้านตั้งอยู่เยื้องศูนย์บริการฮอนด้า

โทร. 093-4143131

NONGBUALAMPHU 5

The Gym 2

.indd 2

25/10/2560 11:30:15


SBL บันทึกประเทศไทย

Website : www.sbl.co.th

Ad-SBL Magazine Online Khon Kaen.indd 6

24/10/60 10:56:26 AM


หนองบัว

เครื่องหมาย 098 365 5159

หนองบัวเครื่องหมาย เครื่องหมายข้าราชการ ชุ ดกากี ชุ ดปกติขาว 79/2 ม.3 ต.หนองบัว อ.เมือง จ.หนองบัวล�ำภู 39000 042-007-271, 098-365 5159 098 365 5159 หนองบัวเครื่องหมายข้าราชการ

.indd 7

25/10/60 01:36:48 PM


ศูนย์ซอ่ ม บ�ำรุงรถยนต์ และติดตัง้ แก๊ส LPG ตรวจเช็ ค ระบบด้ ว ย เครื่ อ งออโต้ ส แกน CARMAN SCAN น�้ำมันเครื่อง เบรค คลัตช์ ช่ ว งล่ าง พร้ อ มอะไหล่ครบวงจร อัด สาย ไฮดรอลิค สายเพาเวอร์พร้อมซีลโอริง จ�ำหน่าย เครื่องปรับอากาศ ชั้นน�ำทุกยี่ห้อ พร้อมบริการหลังการขาย

หจก. สยามโปรเซิ ร์ฟ แอนด์ แอร์ซัพพลาย

176/1 ม.3 ถ.วรราชภักดี ต.หนองบัว อ.เมือง จ.หนองบัวล�ำภู 39000 042 311 378 , 081 872 8368 042 311 880

042-311378 081-8728368 088-5130066

MAP

Siam pro serv

Ver2.indd 8

27/10/60 10:00:29 AM


บริษัท สยามไฮดรอลิคเซ็นเตอร์ ออโต้เซอร์วิส จ�ำกัด (ส�ำนักงานใหญ่) 99/1 ม.2 ต.ล�ำภู อ.เมืองหนองบัวล�ำภู จ.หนองบัวล�ำภู 39000

ศูนย์บริการรถยนต์มาตรฐาน พร้อมอะไหล่ครบวงจร จ�ำหน่าย : สายไฮดรอลิค เครื่องตัด เครื่อง อัดประกอบสายไฮดรอลิค ข้อต่อ ฟิตติ้ง อะไหล่แอร์รถยนต์ เครื่องมือช่าง ยางแม็กซ์ ปลีก-ส่ง รับซ่อม : เครื่องยนต์ ระบบแอร์รถยนต์ เบรค คลัตช์ ช่วงล่าง ตั้งศูนย์ ถ่วงล้อ

ศูนย์รวมเครื่องมือทันสมัย โดยช่าง ผู ้ ช� ำ นาญงาน รวดเร็ ว แม่ น ย� ำ วิเคราะห์อาการด้วย CARMANSCAN แก้ ป ั ญ หาเบรคสั่ น ด้ ว ยเครื่ อ ง เจียร์ PROCUT USA ตั้งศูนย์ ล้อ JOHN BEAN USA อะไหล่ แท้ อะไหล่ OEM อีกมากมาย

ศูนย์บริการมาตรฐานครบวงจร

เบรค คลัตช์ เครื่องยนต์ แอร์ แบตเตอรี่ ด้วยเครื่องมือที่ทันสมัย อะไหล่ครบวงจร พร้อมช่างผู้ช�ำนาญงาน

Siam pro serv

Ver2.indd 9

27/10/60 10:00:36 AM


บันทึกเส้นทางพบองค์การบริหารส่วนต�ำบล

วิทยาลัยเทคนิคหนองบัวล�ำภู “เรียนดี วินัยเด่น เน้นคุณธรรม น�ำสังคมพัฒนา”

วิทยาลัยเทคนิคหนองบัวล�ำภู สังกัดกองวิทยาลัยเทคนิค กรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึ ก ษาธิ ก าร ตั้ ง อยู ่ ห มู ่ ที่ 3 บ้ า นต� ำ แย ต� ำ บลโพธิ์ ชั ย อ� ำ เภอเมื อ ง จังหวัดหนองบัวล�ำภู ปัจจุบันมี นายสงัด ยศเฮือง ผู้อ�ำนวยการวิทยาลัยเทคนิค หนองบัวล�ำภู บริหารงานให้บรรลุวิสัยทัศน์ที่ว่า “วิทยาลัยเทคนิคหนองบัวล�ำภู เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ มุ่งมั่นในการให้ บริการจัดการศึกษา เพื่อพัฒนาวิชาชีพให้กับนักเรียน นักศึกษาและประชาชน ให้ ทันต่อเทคโนโลยี น้อมน�ำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่ประชาคมอาเซียนและ พลโลก”

ประวัติการก่อตั้ง

กระทรวงศึกษาธิการ ได้มีประกาศจัดตั้งวิทยาลัยเทคนิคหนองบัวล�ำภู สังกัด กองวิทยาลัยเทคนิค กรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ในวันที่ 11 เมษายน 2538 ณ บริเวณที่ดินสาธารณประโยชน์ “โคกปู่ลี” มีพื้นที่ 298 ไร่ 3 งาน 32 ตารางวา และแต่งตั้งให้ นายอ�ำพล ดีรัศมี ผู้ช่วยผู้อ�ำนวยการวิทยาลัยเทคนิคอุดรธานี เป็นผู้ อ�ำนวยการวิทยาลัยเทคนิคหนองบัวล�ำภูคนแรก

วัตถุประสงค์การจัดการศึกษา

วิทยาลัยเทคนิคหนองบัวล�ำภู มีวัตถุประสงค์ในการจัดการศึกษาทางวิชาชีพ อาชีวศึกษาประเภทต่างๆ แก่เยาวชนในจังหวัดหนองบัวล�ำภูและจังหวัดใกล้เคียง เป็นการขยายโอกาสทางการศึกษาสูช่ มุ ชน ให้เยาวชนได้มโี อกาสฝึกทักษะวิชาชีพตาม ความถนัดของตนเอง และศึกษาต่อในวิชาชีพ น�ำความรูไ้ ปใช้ให้เกิดประโยชน์ตอ่ ตนเอง ต่อท้องถิ่น สังคม และประเทศชาติต่อไป

10 SBL Magazine บันทึกประเทศไทย 2

.indd 1

25/10/2560 11:08:47


การจัดการเรียนการสอน

วิทยาลัยเทคนิคหนองบัวล�ำภู จัดการเรียนการสอน 3 ระดับ ประกอบด้วย 1.ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ( ปวช.) - แผนกวิชายานยนต์ - แผนกวิชาเครื่องมือกล - แผนกวิชาเชื่อมโลหะการ - แผนกวิชาไฟฟ้าก�ำลัง - แผนกวิชาอิเล็กทรอนิกส์ - แผนกวิชาก่อสร้าง - แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ - แผนกวิชาบัญชี - แผนกวิชาการโรงแรม 2.ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ( ปวส. ) - แผนกวิชายานยนต์ - แผนกวิชาเครื่องมือกล - แผนกวิชาเชื่อมโลหะการ - แผนกวิชาไฟฟ้าก�ำลัง - แผนกวิชาอิเล็กทรอนิกส์ - แผนกวิชาก่อสร้าง - แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ - แผนกวิชาบัญชี - แผนกวิชาการโรงแรม 3 . ร ะ ดั บ ป ริ ญ ญ า ต รี เ ท ค โ น โ ล ยี บั ณ ฑิ ต ( ทล.บ.) - ปริญญาตรีเทคโนโลยีบัณฑิต ไฟฟ้าก�ำลัง สายปฏิบัติการ ( ทล.บ.) - ปริ ญ ญาตรี เ ทคโนโลยี บั ณ ฑิ ต บั ญ ชี สายปฏิบัติการ ( ทล.บ.)

เกียรติภูมิของวิทยาลัยเทคนิคหนองบัวล�ำภู

วิทยาลัยเทคนิคหนองบัวล�ำภู ได้รบั รางวัล “สถานศึกษารางวัลพระราชทาน ประจ�ำปี 2559” วิทยาลัยเทคนิคหนองบัวล�ำภู ได้เข้ารับการประเมินสถานศึกษารางวัลพระราชทาน ประจ�ำปี 2559 เมือ่ วันที่ 19 มกราคม 2560 และได้รบั การคัดเลือกให้เป็นสถานศึกษารางวัล พระราชทาน ขนาดใหญ่ ประจ�ำปี 2559 ซึง่ เป็นรางวัลอันทรงเกียรติและเป็นความภาคภูมใิ จ ของชาวจังหวัดหนองบัวล�ำภู รางวัลเหรียญทองการแข่งขันกีฬาอาชีวะเกมส์ ระดับชาติ ครัง้ ที่ 12 “พิษณุโลเกมส์” นักเรียนนักศึกษา วิทยาลัยเทคนิคหนองบัวล�ำภู คว้าเหรียญทองการแข่งขันกีฬาอาชีวะ เกมส์ ระดับชาติ ครัง้ ที่ 12 “พิษณุโลกเกมส์” สร้างชือ่ เสียงให้กบั วิทยาลัยเทคนิคหนองบัวล�ำภู และพีน่ อ้ งชาวจังหวัดหนองบัวล�ำภู โดยได้รบั รางวัลเหรียญทอง จ�ำนวน 5 รายการ ได้แก่ 1. เหรียญทองเปตองคู่ผสม 2. เหรียญทองเปตองคู่หญิง 3. เหรียญทองเปตองทีมหญิง 4. เหรียญทองกรีฑา 5. ถ้วยรางวัลนักกีฬาหญิงยอดเยี่ยมประจ�ำปี NONGBUALAMPHU 11 2

.indd 2

25/10/2560 11:08:50


Editor’s Talk

คณะที่ปรึกษา

ศ.ดร.กฤช เพิ่มทันจิตต์, ดร.นิเวศน์ กันไทยราษฎร์, ดร.วัลลภ อารีรบ, ดร.สุมทิ แช่มประสิทธิ,์ ดร.พิชยั ทรัพย์เกิด, ดร.ไอศูรย์ ดีรตั น์, ดร.ประยุทธ คงเฉลิมวัฒน์, ดร.สุเทษณ์ จันทรุกขา

ฝ่ายกฎหมาย

สมคิด หวังเชิดชูวงศ์, ทวิช อมรนิมิตร

บรรณาธิการอ�ำนวยการ

ศุภกิจ ศิลปรังสรรค์

บรรณาธิการบริหารสายงานบุคคล

พงษ์ศักดิ์ พรณัฐวุฒิกุล

บรรณาธิการบริหารสายงานการตลาด

อัคราพงษ์ ศิลปรังสรรค์, วนัสกฤษณ์ ศิลปรังสรรค์

ผู้อ�ำนวยการฝ่ายกิจกรรมพิเศษ กชกร รัฐวร

กองบรรณาธิการ

นันท์ธนาดา พลพวก ศุภญา บุญช่วยชีพ ศรีอ�ำไพ อักษรเชิดชู

นักเขียน

ฐิติรัตน์ สุวรรณโรจน์

ศิลปกรรม

ฝ่ายประสานงาน โครงการภาครัฐและภาคเอกชน ผู้จัดการฝ่ายประสานงาน โครงการภาครัฐ

อัครพล ไชยยาว อัครกฤษ หวานวงศ์

ฝ่ายประสานงานโครงการภาครัฐ

ธนวรรษ เชวงพจน์, ถาวร เวปุละ กิตติทัศน์ จินประเสริฐ กิตติเมศร์ ชมชื่น

ผู้จัดการฝ่ายศิลป์

ผู้จัดการฝ่ายประสานงาน โครงการภาคเอกชน

กราฟิกดี ไซน์

ฝ่ายประสานงานโครงการภาคเอกชน

พัชรา ค�ำมี

พิมพ์พิสุทธิ์ พังจูนันท์ วรเชษฐ สมประสงค์ สุนทรี ไพริน ช่างภาพ

ชัยวิชญ์ แสงใส ปณต ปิติจารุวิศาล กิติวัฒน์ ทิศมั่ง

บริษัท สมาร์ท บิซิเนส ไลน์ จ�ำกัด

ทวัชร์ ศรีธามาศ

กิตติชัย ศรีสมุทร, ไพรัตน์ กลัดสุขใส, มินทร์มันตรา จิรฐาคุณานนท์, กษิดิส ไทยธรรม

ฝ่ายบัญชี/การเงิน

ปัฐมาภรณ์ แสงบุราณ, อุสา แก้วเพชร, กรรณิการ์ มั่นวงศ์, กัญญารัตน์ ภักดิ์สอน

9/4-6 ถนนรามอินทรา แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพฯ 10220 โทร. 0-2522-7171 แฟกซ์. 0-2971-7747 Facebook : SBL บันทึกประเทศไทย E-mail : sbl2553@gmail.com www.sbl.co.th

Editor’s Talk.indd 12

จังหวัดหนองบัวล�ำภู

มี ห ลายสิ่ ง ที่ น ่ า สนใจมากมาย โดยเฉพาะด้านแหล่งท่องเที่ยว ทีม่ ที งั้ สถานทีเ่ ทีย่ วทางธรรมชาติ ประวัตศิ าสตร์ และวัดวาอาราม ทีม่ ชี อื่ เสียงหลายแห่ง อีกทัง้ ยังมี ภูมิปัญญา ศิลปวัฒนธรรม และ ประเพณี ที่ สื บ ทอดมาอย่ า ง ยาวนาน โดยมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เข้มแข็ง ซึ่งมุ่งมั่น ส่งเสริมและอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมเหล่านี้ไว้ให้สาธารณชน ได้ประจักษ์ ในนามของ SBL บันทึกประเทศไทย ผมขอถือโอกาสนี้ กล่ า วขอบพระคุ ณ ท่ า นผู ้ ว ่ า ราชการจั ง หวั ด หนองบั ว ล� ำ ภู นายธนากร อึง้ จิตรไพศาล ท่านรองผูว้ า่ ราชการจังหวัดหนองบัวล�ำภู ทั้งสองท่านคือ นายโชติ เชื้อโชติ และนายสมศักดิ์ แสนหิรัณย์ ท่านนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดหนองบัวล�ำภูนายแพทย์ ศราวุ ธ สั น ติ นั น ตรั ก ษ์ ท่ า นท้ อ งถิ่ น จั ง หวั ด หนองบั ว ล� ำ ภู นางโพยมรัตน์ หาญศักดิ์วิธีกุล ท่านผู้อ�ำนวยการส�ำนักงาน พระพุทธศาสนาจังหวัดหนองบัวล�ำภู นายทรงพุฒิ ชรินทร์ ท่านท่องเทีย่ วและกีฬาจังหวัดหนองบัวล�ำภู นายไชยยงค์ วงษาพรหม และท่านประกันสังคมจังหวัดหนองบัวล�ำภูดร.ประธาน ถาวร ตลอดจนผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่างๆ ศาสนสถาน บริษัท ห้างร้าน ฯลฯ ซึ่งกรุณาสนับสนุนให้ทีมงานด�ำเนินการ จัดท�ำนิตยสาร SBL บันทึกประเทศไทย จนส�ำเร็จลุล่วงด้วยดี ท้ายนี้ ผมขออาราธนาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายในสากลโลก โปรดประทานพรให้ทกุ ท่าน รวมถึงท่านผูอ้ า่ น ประสบแต่ความสุข ความเจริญทัง้ ในต�ำแหน่งหน้าทีก่ ารงาน และการด�ำเนินชีวติ และ หากมีสิ่งใดขาดตกบกพร่อง ทีมงานพร้อมรับฟังค�ำติชมเพื่อ น�ำไปปรับปรุงการท�ำงานให้สมบูรณ์ยิ่งๆ ขึ้นไปครับ

ติดต่อ คุณศุภกิจ ศิลปรังสรรค์

โทรศัพท์ 081-442-4445, 084-874-3861 E-mail : supakit.s@live.com Facebook : Supakit Sillaparungsan

(นายศุภกิจ ศิลปรังสรรค์) บรรณาธิการอ�ำนวยการ

24/10/60 02:56:43 PM

นายอ ผู้อ�ำน


ร่วมสร้างเส้นทางบุญ

พุทธศาสนิกชนท่านใดที่มีจิตศรัทธา ร่วมสร้าง เส้ น ทางบุ ญ ผ่ า นโครงการต่ า งๆ ที่ วั ด ทรงธรรม บรรพตริเริ่มขึ้น สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ พระครูประทีปธรรมธร เจ้าอาวาสวัดทรงธรรมบรรพต และเจ้าคณะต�ำบลวังทอง โทร. 088-5121498

วัดทรงธรรมบรรพต พระครูประทีปธรรมธร(ปัญญา ดวงกันยา) เป็นเจ้าอาวาสวัด และเจ้าคณะต�ำบลวังทอง

วั ด ทรงธรรมบรรพต ดิ น แดนพญานาคใหญ่ สดใส ด้วยพุทธธรรม เลิศล�้ำศาลาไม้พันปี ประเพณีบุญคูณลาน พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน สร้างต�ำนานสวนยางนาป่าต้นแบบ

กระทรวงวัฒนธรรม คัดเลือกเป็นศูนย์ วัฒนธรรมไทยสายใย ชุมชนดีเด่นระดับจังหวัด

.indd 13

ประวัติวัดทรงธรรมบรรพต

วัดทรงธรรมบรรพต ปรากฏตามหลักฐานและค�ำบอกเลา่ จากผูเ้ ฒ่า ผู้แกว่ ่า วัดนี้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2477 พร้อมกับการสรา้ งหมูบ่ า้ นเป็ น ชุมชนเล็กๆ ชื่อวา่ “บา้ นโสกกุลา” เมื่อปี พ.ศ.2544 พระครูประทีปธรรมธร (ปั ญญา ดวงกันยา) เป็ นเจ้าอาวาสรูปปั จจุบัน โดยมีพอ่ ครูสถาพร ดีบุรี (ขา้ ราชการครูบ�ำนาญ) เป็ นการเงิน และไวยาวัจกร และได้ด�ำเนินการ ขอเป็ นวัดให้ถูกต้องตามกฎหมายและคณะสงฆ์ เมื่อปี พ.ศ.2552 โดย ได้รับอนุญาตให้สร้างวัดที่บ้านวังส�ำราญหมู่ 2 มีเนื้อที่จ�ำนวน 13 ไร่ 6 ตารางวา ในปี พ.ศ.2553 ไดร้ บั อนุญาตตัง้ วัดชื่อ “วัดทรงธรรมบรรพต” เมื่ อ ปี พ.ศ.2557 มี พ ระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ พระราชทาน วิสุงคามสีมา ขนาดกวา้ ง 40 เมตร ยาว 80 เมตร

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ประกาศให้วัดธรรมบรรพต เป็นวัดส่งเสริมสุขภาพ

24/10/60 04:04:39 PM


CONTENTS ผู้ว่าราชการจังหวัดหนองบัวล�ำภู

70 72 74 86 98 109 112 118

วัดทรงธรรมบรรพต เครือข่ายสภาองค์กรชุมชนต�ำบล อ.นาวัง ใต้ร่มพระบารมี บันทึกเส้นทางพบผู้ว่าราชการจังหวัด “นายธนากร อึ้งจิตรไพศาล” บันทึกเส้นทางพบรองผู้ว่าราชการจังหวัด “นายโชติ เชื้อโชติ” บันทึกเส้นทางพบรองผู้ว่าราชการจังหวัด “นายสมศักดิ์ แสนหิรัณย์” บันทึกเส้นทางพบท้องถิ่นจังหวัด “นางโพยมรัตน์ หาญศักดิ์วิธีกุล” บันทึกเส้นทางพบส�ำนักงานพระพุทธศาสนา “นายทรงพุฒิ ชรินทร์” บันทึกเส้นทางพบ กอ.รมน.จังหวัด “พันเอกปริชญ์ สุคันธศรี (รอง ผอ.)” บันทึกเส้นทางพบ กกต.จังหวัด “นายสมพล พงษ์พิพัฒน์” บันทึกเส้นทางพบส�ำนักงานประกันสังคมจังหวัด “ดร.ประธาน ถาวร” บันทึกเส้นทางพบส�ำนักงานขนส่งจังหวัด “นางพัทธวรรณ บุญเหาะ”

Content Nongbualamphu.indd 14

13

27

120 130 136 142 146 149

บันทึกเส้นทางพบ สกสค.จังหวัด “ดร.สุเทพ บุญเติม” บันทึกเส้นทางพบการยางแห่งประเทศไทย “นายทนงศักดิ์ นพคุณขจร (ผอ.)” บันทึกเส้นทางพบส�ำนักงานพลังงานจังหวัด “นายชัยรัตน์ พงศ์พีระ” บันทึกเส้นทางท่องเที่ยว อบจ.หนองบัวล�ำภู ทม.หนองบัวล�ำภู ทต.หัวนา ทต.นามะเฟือง อบต.โนนทัน อบต.นาค�ำไฮ อบต.กุดจิก อบต.หนองบัว อบต.หนองสวรรค์ อบต.บ้านขาม

เส้นทางท่องเที่ยว

20 22 27 44 48 52

ศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

56 60 64 66 68

ถ�้ำเอราวัณ

หมู่บ้านหัตถกรรมเครื่องปั้นดินเผา

25/10/60 02:33:41 PM


เข้าถึงง่ายเพียงแค่คลิก ด้วยทุกช่องทางการน�ำเสนอ ผ่านโลกโซเชียลมีเดีย ตอกย�้ำภาพลักษณ์องค์กร ของท่านให้ทันสมัย

www.sbl.co.th

อบต.หนองหว้า วัดศรีสว่าง วัดศรีคูณเมือง วัดป่าเจริญธรรม วัดป่าสามัคคีสิริพัฒนาราม ทต.โนนสูงเปลือย (อ.ศรีบุญเรือง) วัดเจริญทรงธรรม ทต.โนนสะอาด ทต.จอมทอง ทต.หนองแก อบต.นากอก อบต.ศรีบุญเรือง อบต.หนองกุงแก้ว อบต.หันนางาม อบต.โนนม่วง

NONGBUALAMPHU 152 154 158 160 162 164 171 174 180 182 184 190

พิพิธภัณฑ์หลวงปู่ขาว

194 198

252

202

256 258 260 266 270 274 278 282 284 288 290 294 298

พิพิธภัณฑ์หอยหิน 150 ล้านปี

อบต.ทรายทอง อบต.กุดสะเทียน อบต.บ้านถิ่น (อ.โนนสัง) ทต.กุดดู่ อบต.นิคมพัฒนา อบต.กุดดู่ อบต.ปางกู่ ทต.นาเหล่า (อ.นาวัง) อบต.วังทอง อบต.นาแก

Content Nongbualamphu.indd 15

300

อบต.นาเหล่า อบต.เทพคีรี อบต.วังปลาป้อม ทต.สุวรรณคูหา (อ.สุวรรณคูหา) ทต.นาด่าน ทต.บุญทัน อบต.บ้านโคก อบต.ดงมะไฟ อบต.กุดผึ้ง ทต.กุดดินจี่ (อ.นากลาง) ทต.นากลาง ทต.เก่ากลอย อบต.โนนเมือง อบต.ด่านช้าง วัดป่าพรไพรวัลย์

206 210 213 216 222 228 234 240 242 248

วนอุทยานน�้ำตกเฒ่าโต้

25/10/60 02:33:47 PM


บ้านหลังที่สอง @หนองบัวการ์เด้นวิลล์ ห้องพักจ�ำนวน 6 ห้อง ตลอดทั้ง 2 ชั้น ให้ความอบอุ่นและผ่อนคลาย เสมือนอยู่บ้านหลังที่สอง บางห้อง มีสิ่งอ�ำนวยความสะดวก อาทิเช่น โทรทัศน์จอแบน, อินเทอร์เน็ตไร้สาย, ห้องปลอดบุหรี่, เครื่องปรับอากาศ ทีพ่ กั มีสงิ่ อ�ำนวยความสะดวกทาง นั น ทนาการไว้ ใ ห้ บ ริ ก ารอย่ า ง ครบครัน รวมถึงสระว่ายน�ำ้ กลางแจ้ง, สวนหย่อม ด้วยท�ำเลทีต่ งั้ ดีเยีย่ มและ สิ่ ง อ� ำ นวยความสะดวกที่ ล งตั ว หนองบั ว การ์ เ ด้ น วิ ล ล์ ตอบโจทย์ ความต้องการของผูเ้ ข้าพักในทุกๆ ด้าน

ความสะดวกครบครัน บรรยากาศธรรมชาติ บริการเป็นกันเอง @หนองบัวการ์เด้นวิลล์

บรรยากาศด้านหน้าสระว่ายน�้ำ

16 SBL Magazine บันทึกประเทศไทย .indd 16

25/10/60 02:20:35 PM


หนองบัวการ์เด้นวิลล์

Nongbua Garden Ville

1 หากท่านก�ำลังมองหาที่พักดีๆ ใน หนองบั ว ล� ำ ภู ซึ่ ง เดิ น ทางไปได้ ง ่ า ย ในท�ำเลดีเลิศ หนองบัวการ์เด้นวิลล์ คือค�ำตอบ ทีพ่ กั อยูห่ า่ งจากใจกลางเมือง เพียง 1 km และโดยปกติแล้ว สามารถ เดินทางไปสนามบินได้ภายในระยะ เวลาประมาณ 60 นาที เนื่องจากที่พัก ตัง้ อยูใ่ นท�ำเลทีเ่ ดินทางสะดวก ผูเ้ ข้าพัก จึ ง ไปยั ง สถานที่ ท ่ อ งเที่ ย วยอดนิ ย ม ต่างๆ ของเมืองได้โดยง่าย

ผู ้ เข้ า พั ก สามารถเพลิ ด เพลิ น กั บ บริ ก ารและสิ่ ง อ� ำ นวยความสะดวก เหนือระดับได้ ณ ทีพ่ กั ในหนองบัวล�ำภู แห่งนี้ สิง่ อ�ำนวยความสะดวกทีโ่ ดดเด่น ของที่พัก ได้แก่ ฟรี Wi-Fi ทุกห้อง, สิง่ อ�ำนวยความสะดวกส�ำหรับผูพ้ กิ าร, Wi-Fi ในพื้นที่สาธารณะ, ที่จอดรถ, บริการรถรับ-ส่งถึงสนามบิน

2 1. สิ่งอ�ำนวยความสะดวก ภายในห้องพัก 2. ภายในห้องพักเตียงคู่ 3. บรรยากาศด้านหน้าห้องพัก

3

ติดต่อ หนองบัวการ์เด้นวิลล์ ( Nongbua Garden Ville ) หนองบัวการ์เด้นวิลล์ เปิดให้จองผ่าน 42/5 หมู่ 9 ต.หนองบัว อ.เมืองหนองบัวล�ำภู จ.หนองบัวล�ำภู 39000 089-4995657 Nongbua Garden Ville NONGBUALAMPHU 17

.indd 17

25/10/60 02:20:42 PM


บ้านสวน กลางเมือง หนองบัวล�ำภู

@อิงนา รีสอร์ท

บรรยากาศบริเวณสวนของรีสอร์ท

18 SBL Magazine บันทึกประเทศไทย Hotel & Resort.indd 18

21/10/60 09:09:31 AM


อิงนา รีสอร์ท

Aingna Hotel & Resort

1

2

3

ห้องพักราคาเพียงคืนละ 400 – 500 บาท/คืน “ มีน้องหมาก็พามาพักได้ ”

1. บรรยากาศห้องพัก 2. ภายในห้องพักเตียงเดี่ยว 3. ภายในห้องพักเตียงคู่

ติดต่อ อิงนา Hotel & Resort เลขที่ 66 หมู่ 3 ถนนพระวอ – พระตา ต�ำบลล�ำภู อ�ำเภอเมืองหนองบัวล�ำภู จังหวัดหนองบัวล�ำภู 39000 087-2242232 อิงนา Hotel & Resort NONGBUALAMPHU 19

Hotel & Resort.indd 19

21/10/60 09:09:34 AM


บันทึกเส้นทางสภาองค์กรชุมชน (ชุมชนจัดการตนเอง)

เครือข่ายสภาองค์กรชุมชนต�ำบล อ�ำเภอนาวัง

กรรมการเครือข่ายสภาองค์กรชุมชนต�ำบล อ�ำเภอนาวัง

ส�ำนักงาน 9/1 หมู่ 1 ต.เทพคีรี อ.นาวัง จ.หนองบัวล�ำภู โทร. 085-6440551, 064-5811813

เป็นสภาของชุมชนมุ่งพัฒนาอ�ำเภอนาวังและจังหวัดหนองบัวล�ำภูสู่เมือง เมืองข้าวเต็มเล้า ปลาแดกเต็มไห หน่อไม้เต็มสวน สู่ความเป็นเมืองอยู่ดีมีสุข พึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน

ประธานเครือข่าย: นายสยาม ศิลา

ภารกิจที่ด�ำเนินการในพื้นที่อ�ำเภอนาวังปี 2560 ตาม พรบ.สภาองค์กรชุมชน พ.ศ.2551

1. ด้านสวัสดิการชุมชน ออมวันละบาท (ให้อย่างมีคุณค่า รับอย่างมี ศักดิ์ศรี) 2. บ้านพอเพียงชนบท (ซ่อมแซมบ้านทีท่ รุดโทรมผูม้ รี ายได้นอ้ ยในชุมชน) 3. การจั ด การท่ อ งเที่ ย วโดยชุ ม ชน (มาครั้ ง เดี ย วเที่ ย ว 3 ถ�้ ำ ถ�ำ้ เอราวัณ,ถ�ำ้ ผาเวียง และถ�ำ้ ผาเจาะ) Green Belt Tourims “รัดเข็มขัดสีเขียว” 4. ด้านสิ่งแวดล้อม เกิดธนาคารต้นไม้ 21 เครือข่าย “(ปลูกไม้ 3 อย่างประโยชน์ 4 อย่างและเข้าโครงการคาร์บอนเครดิต) 5. ด้านเกษตรอินทรีย์ เกิดศูนย์เรียนรูต้ ามศาสตร์พระราชา สวนยางนา ป่าต้นแบบ การเพาะพันธุ์ยางนา และเครือข่ายเกษตรอินทรีย์ทุกต�ำบล 6. ด้านเศรษฐกิจและทุนชุมชน เกิดวิสาหกิจการแปรรูปผลิตภัณฑ์ ชุ ม ชน (กลุ ่ ม ปลู ก และแปรรู ป สมุ น ไพรนาวั ง ,กลุ ่ ม ข้ า วฮางนาแกนาเจริญ,กลุม่ ทอผ้า ทอเสือ่ กก, ชมรมส่งเสริมการท่องเทีย่ วโดยชุมชน ฯลฯ) 7. ด้านการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น “ประเพณีบุญคูนลาน พิพิธภัณฑ์ชุมชนต�ำบลวังทอง และ การฟื้นฟูอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น สาขาต่างๆ”

นายสงัด ทองทุม รองประธานเครือข่าย

นางสุนทรีย นิรงค์บุตร รองประธานเครือข่าย

นายคง จันปลิว เลขานุการเครือข่าย

นายจิรภัทร อินทะสิงห์ ผช.เลขานุการเครือข่าย

นายค�ำปัน วงค์สะอาด ประธานสภาองค์กรชุมชน ต�ำบลวังทอง

นางพวงมาลัย พรมโคตร ประธานสภาองค์กรชุมชน ต�ำบลเทพคีรี

นายค�ำบุ สิมาลัย ประธานสภาองค์กรชุมชน ต�ำบลนาแก

นายทองแดง ทองโคตร ประธานสภาองค์กรชุมชน นาเหล่า

ลน์ที่ส่งให้)

20 SBL Magazine บันทึกประเทศไทย 2

.indd 1

27/10/2560 13:33:56


บันทึกเส้นทางสีเขียวท่องเที่ยวนาวัง “Green Belt Tourism : GBT นาวัง (รัดเข็มขัดสีเขียว)

ชมรมส่งเสริมการท่องเที่ยวโดย ชุมชนอ�ำเภอนาวัง ที่ตั้งส�ำนักงาน 301 หมู่ 5 ถ.อุดรฯ-เลย ต.วังทอง อ.นาวัง จ.หนองบัวล�ำภู โทร. 064-5811813, 093-1070211, 081-3691313

นายคง จันปลิว

ประธานชมรมส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชนอ�ำเภอนาวัง

กล้วยหอมทอง แพล่องอ่างผาวัง มาครั้งเดียวเที่ยว 3 ถ�้ำ แหล่งท�ำเกษตรอินทรีย์ สุนทรีย์ธนาคารต้นไม้

อ�ำเภอนาวัง จังหวัดหนองบัวล�ำภู โดยชุมชนเป็นตัวตัง้ ร่วมกันพัฒนา ด้านการท่องเที่ยวในพื้นที่ น�ำโดย..นายคง จันปลิว ประธานชมรมฯ ได้รบั เกียรติจาก ดร.อรุณศรี อือ้ ศรีวงศ์ และคณาจารย์ ม.ราชภัฎอุดรธานี เป็นพีเ่ ลีย้ ง ลงพืน้ ทีว่ จิ ยั ใช้การจัดการท่องเทีย่ วโดยชุมชนเป็นเครือ่ งมือใน การรักษาสิ่งแวดล้อม ภายใต้หลักคิด”การวางแผนแบบมีส่วนร่วมและ คิดอย่างสร้างสรรค์”เที่ยวเชื่อมโยง 3 พื้นที่ต�ำบลน�ำร่องมี ต.วังทอง, ต.นาแก และ ต.เทพคี รี ชู ป ระเด็ น การท่ อ งเที่ ย วเพื่ อ สุ ข ภาพและ สิ่งแวดล้อม “Green Belt Tourism : GBT นาวัง (รัดเข็มขัดสีเขียว) ด้วยหลัก 7 Greens 1. ชาวนาวังเป็นคนหัวใจสีเขียว 2. เดินทางสีเขียว 3. แหล่งท่องเที่ยวสีเขียว 4. ชุมชนสีเขียว 5. กิจกรรมต้อนรับนักท่องเที่ยวสีเขียว 6. บริการสีเขียว 7. เติมเต็มด้วยสีเขียว ให้นาวังเป็นเมือง “ห้ามผ่าน” ทุกคนต้องแวะสัมผัสมนต์เสน่ห์แห่ง “อุทยานภู-ถ�้ำ-หินผา-นา-วัง, มาครั้งเดียวเที่ยว 3 ถ�้ำ” จึงผ่านได้

เชิญสัมผัสวิถีชุมชนคนนาวังด้วย.....

น�้ำกล้วยหอมเพื่อสุขภาพ

ข้าวผัดนาวัง

1. “ข้ า วผั ด นาวั ง ” เป็ น ข้ า วผั ด เพื่ อ สุ ข ภาพ ที่ มี ร สกลมกล่ อ ม หอม นุ่ม อร่อย ผสมด้วยสมุนไพรท้องถิ่น 2. เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพนาวัง น�้ำกล้วยหอมนาวัง,น�้ำเลม่อนมิ้น, และ น�ำ้ มะพร้าวอัญชัน 3. ทานอาหารออแกร์นคิ จากแปลงผัก ไร่/สวนของสมาชิกทีผ่ า่ นการ ตรวจรั บ รองแปลงของเครื อ ข่ า ยเกษตรอิ น ทรี ย ์ วิ ถี ค นหนองบั ว ล� ำ ภู ด้วยระบบ SCE PGS 4. นักสื่อความหมายชุมชน เป็นคนดูแล น�ำเที่ยวอย่างใส่ใจห่วงใย ดังญาติมิตร

ชวนเที่ยวงานประจ�ำปี

1. วันที่ 11-13 เมษายน ของทุกปีประเพณีขึ้นเขาไหว้พระถ�ำ้ เอราวัณ 2. วันที่ 5-8 เมษายน 2561 จังหวัดหนองบัวล�ำภู เป็นเจ้าภาพจัดมหกรรม มหัศจรรย์นาวัง แข่งขันกีฬายูโดยุวชน เยาวชน และประชาชนทั่วไป ชิงแชมป์ประเทศไทย ประจ�ำปี 2561 NONGBUALAMPHU 21 2

.indd 2

27/10/2560 13:33:57


โครงการอ่างเก็บน�้ำห้วยน�้ำบอง.... น�้ำพระราชหฤทัยดุจสายฝนโปรย

เป็นที่ทราบกันดีว่า พื้นที่ทุรกันดารทั่วทุกแห่งบนผืนแผ่นดินไทย ซึ่ง พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 10 และพระบรมวงศานุ วงศ์ทุกพระองค์ ได้เสด็จฯเพื่อทรงเยี่ยมและทรงขจัดปัดเป่าปัญหาให้กับ พสกนิกรของพระองค์ ผ่านโครงการอันเนื่องมาจากพระราชด�ำริกว่า สี่พันโครงการนั้น ได้พลิกฟื้นชีวิตของราษฎรที่เคยจมจ่อมกับความทุกข์ ยากมานานนับปี ให้กลับมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น 22 SBL Magazine บันทึกประเทศไทย 4

.indd 1

25/10/2560 13:25:20


ใต้ร่มพระบารมี

เฉกเช่นเดียวกันชาวจังหวัดหนองบัวล�ำภูซึ่งมักประสบปัญหาเรื่องน�้ำกินน�้ำใช้ และเพื่อ การเกษตรกรรมนั้น พระองค์ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานความช่วยเหลือ ผ่านโครงการอันเนื่องมาจากพระราชด�ำริ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องน�้ำหลากหลายโครงการ ทั้งโครงการที่ได้พระราชทานให้แก่พระภิกษุสงฆ์ ในวัด ตลอดจนราษฎรทั่วไป

“ เป็นโครงการที่ดีมาก สมควรสนับสนุน ”

โครงการอ่างเก็บน�้ำห้วยน�้ำบอง อันเนื่องมาจากพระราชด�ำริ บ้านตาดไฮ ต�ำบลโคกม่วง อ�ำเภอโนนสัง จังหวัดหนองบัวล�ำภู ถือก�ำเนิดขึ้นเมื่อปี 2534 (ขณะที่จังหวัดหนองบัวล�ำภูยังมิได้ แยกออกจากจังหวัดอุดรธานี) ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี (ในขณะนั้น) ได้ขอรับพระราชทาน พระมหากรุณาธิคุณให้มีการก่อสร้างอ่างเก็บกักน�้ำห้วยน�้ำบอง ต่อมาเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2535 ส�ำนักราชเลขาธิการ ได้แจ้งว่าพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงรับ โครงการก่อสร้างอ่างเก็บน�้ำห้วยน�้ำบองฯไว้เป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชด�ำริ และทรงมี พระราชด�ำรัส ความว่า “ เป็นโครงการที่ดีมาก สมควรสนับสนุน แต่ต้องไม่มีปัญหาเรื่องที่ดิน ”

ประโยชน์ทั้งคนและสัตว์ป่า

โครงการอ่างเก็บน�้ำห้วยน�้ำบอง อันเนื่องมาจากพระราชด�ำริ จังหวัด หนองบัวล�ำภู มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็น แหล่งกักเก็บน�ำ ้ เพื่อใช้ในการอุปโภคบริโภค และเพื่อเกษตรกรรม เป็น แหล่งเพาะพันธุส์ ตั ว์นำ�้ ชนิดต่าง ๆ เพือ่ ให้ราษฎรได้จบั บริโภคเป็นอาหารและ จ�ำหน่ายเป็นอาชีพเสริม เป็นสถาน ที่ท่องเที่ยวและพักผ่อน ช่วยให้เกิด ความชุ่มชื้นและเป็นแหล่งอาหารสัตว์ ป่ า ในพื้ น ที่ อุ ท ยานฯ ตลอดจนช่ ว ย บรรเทาอุทกภัยให้กับพื้นที่ด้านท้าย โครงการ

กรมชลฯเร่งสนองพระราชด�ำริ

กรมชลประทานได้รบั มอบหมายให้ดำ� เนินการก่อสร้างโครงการอ่างเก็บน�ำ้ ห้วยน�ำ้ บอง พร้อมระบบส่งน�ำ ้ ขนาดสันท�ำนบดินกว้าง 8.0 เมตร ยาว 215 เมตร สูง 18.00 น. ขนาดความจุอ่างเก็บน�ำ ้ 20.80 ล้านลูกบาศก์เมตร มีระบบส่งน�้ำยาว 33.50 กิโลเมตร ระยะเวลาในการด�ำเนินงานก่อสร้างประมาณ 4 ปี จากนั้นกรมชลประทานได้เร่งด�ำเนินการสนองพระราชด�ำริ โดยการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น (IEE) แล้วเสร็จ ในปี 2538 ซึ่งโครงการนี้ใช้พื้นที่ป่าไม่มากนัก คือใช้พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติและป่าในอุทยานแห่งชาติเพียง 3,677 ไร่ เท่านั้น ท�ำการส�ำรวจภูมิประเทศเพื่อการออกแบบ แล้วเสร็จในปี 2537 การออกแบบท�ำนบดินหัวงานและอาคารประกอบ แล้วเสร็จในปี 2550 ตลอดจนการออกแบบระบบส่งน�ำ ้ แล้วเสร็จในปี 2554 โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาน ปี 2553 จากส�ำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจาก พระราชด�ำริ (ส�ำนักงาน กปร.) ด�ำเนินการก่อสร้างที่ท�ำการ บ้านพัก ถนนภายในโครงการและอาคารระบายน�้ำล้น และงบปกติของ กรมชลประทานรวมทั้งสิ้น 217 ล้านบาท มีระยะเวลาการด�ำเนินการ 5 ปี โดยเริ่มมาตั้งแต่ปี 2554 คาดจะแล้วเสร็จทั้งโครงการ ในปี 2558 NONGBUALAMPHU 23 4

.indd 2

25/10/2560 13:25:22


กว่า 20 ปีที่อยู่ในสายพระเนตร

แม้ว่าพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช จะทรงรับโครงการก่อสร้างอ่างเก็บน�ำ้ ห้วยน�ำ้ บอง ไว้ในโครงการ อันเนื่องมาจากพระราชด�ำริ แต่ตลอดระยะเวลากว่า 20 ปี ซึ่งเป็นขั้นตอนการศึกษาผลกระทบ การส�ำรวจและออกแบบ ก่อนการก่อสร้างนัน้ พระองค์ทา่ นทรงติดตามความคืบหน้าของ โครงการเสมอมา จวบจนการก่อสร้างแล้วเสร็จและมีพิธีเปิด โครงการอย่างเป็นทางการ เมื่อช่วงต้นเดือนพฤษภาคม 2556 โดยมีนายอ�ำพล เสนาณรงค์ องคมนตรี เป็นประธานในพิธี นายประพิศ จันทร์มา ผู้อ�ำนวยการกองพัฒนาแหล่งน�้ำ ขนาดกลาง กรมชลประทาน กล่าวว่า ปัจจุบันงานก่อสร้างใน ส่วนของเขื่อนและอ่างเก็บน�้ำในโครงการอ่างเก็บน�้ำห้วยน�้ำ บอง อันเนื่องมาจากพระราชด�ำริ ส�ำเร็จเรียบร้อย และเริ่มกัก เก็บน�ำ้ ตัง้ แต่ปี 2559 ส่วนระบบชลประทานเป็นระบบท่อความ ยาวประมาณ 32 กิโลเมตร คาดว่าจะเริ่มด�ำเนินการก่อสร้างได้ ในปี 2561 แล้วเสร็จในปี 2562 เมื่อโครงการดังกล่าวแล้วเสร็จสมบูรณ์ นอกเหนือจาก ราษฎรในพืน้ ทีบ่ า้ นตาดไฮ ต�ำบลโคกม่วง อ�ำเภอโนนสัง จ�ำนวน 200 กว่าครัวเรือน จะมีน�้ำไว้ใช้เพื่อการอุปโภค-บริโภค และ เพื่อท�ำการเกษตรแล้ว จะสามารถส่งน�้ำให้กับพื้นที่เกษตรใน อ.โนนสั ง ประมาณ 16,000 ไร่ หรื อ เพิ่ ม ขึ้ น ประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ชลประทานที่มีอยู่ รวมทั้งมีแหล่งน�้ำต้นทุน ส�ำหรับการอุปโภคบริโภคกว่า 6,200 ครัวเรือน รวมประชากร จ�ำนวน 36,600 คน อีกทัง้ ยังช่วยบรรเทาปัญหาอุทกภัยในพืน้ ทีบ่ า้ นตาดไฮและ พื้นที่ใกล้เคียง ซึ่งจะเป็นการส่งเสริมให้ราษฎรสามารถท�ำการ เกษตรได้อย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งเพาะเลี้ยงและ ขยายพันธุส์ ตั ว์นำ �้ ท�ำให้ราษฎรมีอาชีพเสริม และมีรายได้เพิม่ ขึน้ ส่งผลให้มีคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ดีขึ้น นอกจากนี้ยังมีนำ�้ เพื่อสร้างความชุ่มชื้นและมีระดับน�้ำใต้ดินเพิ่มขึ้น ซึ่งจะท�ำให้ ระบบนิเวศน์มีความอุดมสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น

24 SBL Magazine บันทึกประเทศไทย 4

.indd 3

25/10/2560 13:25:24


ผู้ว่าฯปล่อยพันธุ์ปลาถวายเป็นพระราชกุศล

ด้ ว ยส� ำ นึ ก ในพระมหากรุ ณ าธิ คุ ณ ที่ พ ระบาทสมเด็ จ พระปรมิ น ทรมหาภู มิ พ ลอดุ ล ยเดช ทรงมี ต ่ อ พสกนิ ก ร ชาวหนองบัวล�ำภู และเนื่องในพระราชพิธีบ�ำเพ็ญกุศลปัญญา สมวาร (50 วัน) นายธนากร อึ้งจิตรไพศาล ผู้ว่าราชการ จั ง หวั ด หนองบั ว ล� ำ ภู จั ด ให้ มี ก ารปล่ อ ยพั น ธุ ์ ป ลาใน อ่างเก็บน�ำ้ ห้วยน�ำ้ บอง อันเนือ่ งจากจากพระราชด�ำริ เมือ่ วันที่ 2 ธันวาคม 2559 เพือ่ ถวายเป็นพระราชกุศลและเพือ่ น้อมร�ำลึกใน พระมหากรุณาธิคณ ุ ทีพ่ ระองค์ทรงมีพระราชหฤทัยมุง่ มัน่ พัฒนา ด้านการประมงในแหล่งน�้ำจืดมาโดยตลอด โดยมีการปล่อยพันธุ์ ปลาทัง้ หมด จ�ำนวน 500,089 ตัว ประกอบด้วยปลาบึก จ�ำนวน 89 ตัว และปลาอื่น ๆ ได้แก่ ปลากาด�ำ ปลาซ่า ปลาจีน และ ปลายี่สกเทศ เพื่อให้เป็นแหล่งอาหารและแหล่งประกอบอาชีพ ประมงน�้ำจืดแก่ราษฎรในพื้นที่ ซึ่งจะช่วยให้ราษฎรในพื้นที่มี คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืน นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2498 เป็นต้นมา ที่พระบาทสมเด็จ พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชด�ำเนินเพื่อทรงเยี่ยมเยียน ราษฎร และทรงรั บ ทราบถึ ง ความทุ ก ข์ ย ากจากภั ย แล้ ง ใน ภาคอีสาน “โครงการอ่างเก็บน�้ำห้วยน�้ำบอง อันเนื่องมาจาก พระราชด� ำ ริ ” จึ ง เป็ น อี ก หนึ่ ง ในหลายพั น โครงการ ที่ ไ ด้ พระราชทานน�้ำพระราชหฤทัยดุจสายฝนชุ่มฉ�่ำ ที่โปรยปราย ให้แก่พสกนิกรในพื้นที่ภาคอีสานโดยไม่เกี่ยงฤดูกาล จวบจน ทุกวันนี้ ขอขอบคุณข้อมูลจาก ส�ำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการ อันเนื่องมาจากพระราชด�ำริ (ส�ำนักงาน กปร.)

อ่างเก็บน�้ำห้วยบอง

หมู่ที่ 5 บ้านตาดไฮ ต�ำบลโคกม่วง อ�ำเภอโนนสัง จังหวัดหนองบัวล�ำภู

NONGBUALAMPHU 25 4

.indd 4

25/10/2560 13:25:25


188 ม.7 ถ.หนองบัวล�ำภู - เลย ต.โพธิชั์ ย อ.เมือง จ.หนองบัวล�ำภู

โทร. 042 378 222, 085 564 1669 SUZUKI

.indd 26

27/10/60 02:55:42 PM


นายธนากร อึ้งจิตรไพศาล สารจากผู้ว่าราชการ จังหวัดหนองบัวล�ำภู ผู้ว่าราชการจังหวัดหนองบัวล�ำภู นับตัง้ แต่วนั แรกทีไ่ ด้มาปฏิบตั ริ าชการในจังหวัดหนองบัวล�ำภู จนถึงทุกวันนี้ ผมรูส้ กึ ประทับใจ และรูส้ กึ ผูกพันมากยิง่ ขึน้ เรือ่ ยๆ เพราะชาวหนองบัวล�ำภูมีพื้นฐานจิตใจที่ดี ถ้อยทีถ้อยอาศัย และมีความสมัครสมานกลมเกลียวกัน จังหวัดหนองบัวล�ำภูมีจุดเด่นหลายๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็น ด้านกายภาพที่เคยเป็นถิ่นที่อยู่ของสัตว์โลกดึกด�ำบรรพ์ และ เคยเป็นเมืองโบราณในยุคทีอ่ าณาจักรล้านช้างเจริญรุง่ เรือง อีกทัง้ เมืองหนองบัวล�ำภูยังได้ชื่อว่าเป็น “เมืองราชินีข้าวเหนียว” และมีภมู ปิ ญั ญาด้านการทอผ้าพืน้ เมืองทีป่ ระณีตงดงามมีชอื่ เสียง โด่งดังระดับประเทศด้วย จากศักยภาพดังที่กล่าวข้างต้น ผมจะน�ำไปต่อยอดในการพัฒนาโดยน้อมน�ำศาสตร์พระราชาของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมพิ ลอดุลยเดช มาใช้ เพือ่ ให้ ชาวหนองบัวล�ำภูมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความสุข มีความอบอุ่น ในครอบครัว มีสขุ ภาพร่างกายแข็งแรง และมีรายได้เพิม่ มากขึน้ โอกาสนี้ ผมขอกล่าวขอบคุณทุกภาคส่วน ไม่วา่ จะเป็นหน่วยงาน ภาครัฐ องค์กรภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ซึ่งต่างมี ความมุง่ มัน่ ทีจ่ ะพัฒนาหนองบัวล�ำภูให้เป็นเมืองน่าอยูน่ า่ เทีย่ ว ส�ำหรับทุกคน และได้ให้ความร่วมมือในการให้ขอ้ มูล ความคิดเห็น ตลอดจนสนับสนุนการด�ำเนินงานในโครงการต่างๆ ที่ผมได้ ริ เริ่ ม ขึ้ น จนส� ำ เร็ จ ลุ ล ่ ว งด้ ว ยดี และขอขอบคุ ณ นิ ต ยสาร SBL บันทึกประเทศไทย ทีไ่ ด้นำ� ข้อมูลไปเผยแพร่ประชาสัมพันธ์

ให้สาธารณชนได้รู้จักจังหวัดหนองบัวล�ำภูมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นโครงการ อันเนื่องมาจากพระราชด�ำริ ความเจริญก้าวหน้าของจังหวัด โครงการหรือ กิจกรรมทัง้ ของภาครัฐและเอกชน สถานทีท่ อ่ งเทีย่ ว ตลอดจนศาสนสถานต่างๆ ท้ายนี้ ขออัญเชิญสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในสากลโลก ได้โปรดปกปักคุ้มครองให้ ทุกๆ ท่านอยู่เย็นเป็นสุข มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง และคิดหวังสิ่งใดขอให้ ประสบผลส�ำเร็จด้วยดี

อุ ทยานแห่ งชาติ ภู เก้ า -ภู พานค�ำ อ� ำ เภอโนนสั ง จั งหวั ด หนองบั วล�ำ ภู

(นายธนากร อึ้งจิตรไพศาล) ผู้ว่าราชการจังหวัดหนองบัวล�ำภู

NONGBUALAMPHU 27 .indd 27

27/10/60 12:00:14 PM


นายธนากร อึ้งจิตรไพศาล ผู้ว่าราชการจังหวัดหนองบัวล�ำภู

หน้ า ที่ ข องข้ า ราชการ คื อ ท� ำ ให้ พี่ น ้ อ งประชาชน มี คุ ณ ภาพชี วิ ต ที่ ดี มี ค วามสุ ข ให้ ม ากที่ สุ ด

คือปณิธานของ นายธนากร อึง้ จิตรไพศาล ผูว้ า่ ราชการจังหวัดหนองบัวล�ำภู ซึง่ เป็นผู้ที่มีความรอบรู้ในสายงานด้านยุทธศาสตร์ นโยบายและแผนพัฒนาจังหวัดมา อย่างยาวนาน อีกทั้งยังเคยด�ำรงต�ำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัดมาแล้วสองแห่ง คือ จั ง หวั ด แพร่ แ ละจั ง หวั ด พิ ษ ณุ โ ลก เมื่ อ ได้ รั บ การแต่ ง ตั้ ง เป็ น ผู ้ ว ่ า ราชการจั ง หวั ด หนองบัวล�ำภู ท่านจึงสามารถสานงานแก้ไขปัญหา ริเริ่มพัฒนา และปฏิบัติหน้าที่ตาม นโยบายของคณะ คสช.และคณะรัฐบาลได้อย่างรวดเร็ว สร้างสรรค์ โดยยึดศาสตร์ของ พระราชาเป็นที่ตั้ง

28 SBL Magazine บันทึกประเทศไทย .indd 28

27/10/60 12:00:16 PM


NONGBUALAMPHU 29 .indd 29

27/10/60 12:00:17 PM


บันทึกเส้นทางพบผู้ว่าราชการจังหวัด

เส้นทางสู่ผู้ว่าราชการ จังหวัดหนองบัวล�ำภู

30 กว่าปีที่รับราชการ ผมอยู่ในภาคเหนือ มาโดยตลอด เป็นจังหวัดภาคเหนือตอนบน 6 จังหวัด และภาคเหนือตอนล่าง 2 จังหวัด ผมด�ำรงต�ำแหน่งหัวหน้าส�ำนักงานจังหวัดเมือ่ ปีพ.ศ.2550 ทีจ่ งั หวัดแพร่ แล้วก็รบั ราชการที่ จังหวัดแพร่ จังหวัดเดียว 8 ปีเศษ ตัง้ แต่ตำ� แหน่ง หัวหน้าส�ำนักงานจังหวัด และรองผูว้ า่ ฯ จังหวัดแพร่ อีก 2 ปี หลังจากนัน้ เข้าเรียน วปอ. ระหว่างเรียน วปอ. ได้รบั ค�ำสัง่ ย้ายไปด�ำรงต�ำแหน่งรองผูว้ า่ ฯ จังหวัดพิษณุโลก 7 เดือน ก่อนที่จะมาด�ำรง ต� ำ แหน่ ง ผู ้ ว ่ า ราชการจั ง หวั ด หนองบั ว ล� ำ ภู นับเป็นจังหวัดที่ 9 ในการรับราชการ ผมจ�ำได้วา่ เมือ่ วันที่ 12 กันยายน 2559 เป็น วันที่จบการศึกษา วปอ. พอดี เรียกว่าเก็บข้าว เก็บของใส่รถและเดินทางกลับไปปฏิบตั ริ าชการ ทีจ่ งั หวัดพิษณุโลก ในวันที่ 13 กันยายน 2559 และระหว่างขับรถกลับก็มีมติคณะรัฐมนตรี ออกมาเห็ น ชอบตามที่ ก ระทรวงมหาดไทย เสนอให้ผมด�ำรงต�ำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด ที่หนองบัวล�ำภู ความรูส้ กึ แรกทีท่ ราบก็รสู้ กึ หนักใจเล็กน้อย เนื่องจากเราไม่เคยออกจากพื้นที่ภาคเหนือ แล้วก็คิดว่าภาคอีสานคงเป็นที่ราบ ไม่ค่อยมี ภูเขา เพราะบ้านผมภูเขาเยอะ คิดว่าจะต้องมา เห็ น ภาพที่ ไ ม่ ชิ น ตาแต่ เ มื่ อ ผ่ า นจั ง หวั ด เลย เข้ามาทางอ�ำเภอวังสะพุง อ�ำเภอเอราวัณมา เข้าเขตหนองบัวล�ำภูทอี่ ำ� เภอนาวังพอเห็นภาพ แล้วก็รู้สึกทึ่ง เพราะไม่ได้ต่างจากจังหวัดที่ผม อยู ่ น านที่ สุ ด คื อ จั ง หวั ด แพร่ ที่ มี ลั ก ษณะ ภู มิ ป ระเทศเหมื อ นกั น เป็ น ภู เขาสองข้ า ง ตรงกลางเป็นทีร่ าบ เป็นทีอ่ ยูอ่ าศัย เป็นทีท่ ำ� กิน ลักษณะเป็นแอ่งกะทะ หลังจากที่มีมติคณะรัฐมนตรีออกมาแล้ว กระทรวงมหาดไทยได้เรียกไปอบรมเตรียมเป็น ผู้ว่าฯ อบรมทั้งหมด 5 วันที่กรุงเทพฯ เหลือ อีกสัปดาห์เศษๆ มีเวลาเตรียมของ แต่การ เตรียมการที่จะมาท�ำงานเป็นพิเศษยังไม่ได้ คิดมากขนาดนั้น จนกระทั่งได้เข้ามาในเขต พื้นที่จังหวัดแล้ว 30 SBL Magazine บันทึกประเทศไทย .indd 30

27/10/60 12:00:19 PM


หนองบัวล�ำภู...อากาศดี น�้ำท่าสมบูรณ์ เมื่อมาเป็นผู้ว่าฯ ที่นี่แล้ว ผมก็รู้สึกผูกพัน เนือ่ งจากสภาพทีไ่ ม่แตกต่างกันมากนัก มาใหม่ ๆ จะรู้สึกทึ่ง หลังจากนั้นเมื่อได้เดินทางไปตาม สถานทีต่ า่ งๆ บ่อยเข้าก็รสู้ กึ ว่าเป็นความคุน้ เคย ทีผ่ มแปลกใจมากทีส่ ดุ ก็คอื ผมเดินทางไปประชุม ทีข่ อนแก่นไปทาง อ.โนนสัง ผมไม่ทราบมาก่อน ว่ามีพื้นที่บางส่วนของจังหวัดหนองบัวล�ำภู ที่เป็นเขื่อนอุบลรัตน์ด้วย เป็นส่วนท้ายเขื่อน ผมทึ่งเพราะมีน�้ำเยอะมาก ที่บอกตั้งแต่ต้นว่า คงจะเป็นพืน้ ทีร่ าบไม่คอ่ ยมีนำ �้ ตามทีเ่ ข้าใจมา เป็นอย่างนัน้ แต่พอไปเห็นน�ำ้ ที่ อ.โนนสัง ผมก็รส้ ู กึ คิดได้หลายๆ อย่าง ว่าจะต้องท�ำอย่างนี้ อย่างนัน้ อันนี้คือสภาพของภูมิประเทศ ส่วนภูมิอากาศ ของทีน่ กี่ ด็ ี จะมีลมพัดผ่านตลอด ช่วงเช้าทุกวัน ไม่ว่าจะเป็นฤดูไหนอากาศก็จะดีและสดชื่น น�ำประสบการณ์สานต่องานผู้ว่าฯ นับตัง้ แต่เริม่ รับราชการมาผมอยูส่ ายส�ำนักงาน ปลัดกระทรวงมหาดไทยมาโดยตลอด การท�ำงาน ในสายนี้พูดง่ายๆ ก็คือ การวางแผนงานของ จังหวัดทีเ่ ราไปอยู่ นับตัง้ แต่จงั หวัดที่ 1,2,3,4,5 ผมก็อยู่ในแวดวงแบบนี้ ดังนั้นกระบวนการ เรียงร้อยความคิดต่างๆ ทัง้ หลายทีม่ มี าจากการ เริม่ ต้นวิเคราะห์ขอ้ มูลก่อนมันเป็นเรือ่ งทีค่ นุ้ เคย ท�ำให้เป็นข้อได้เปรียบเพราะฉะนัน้ สิง่ ทีผ่ มคิดว่า ท�ำให้ผมท�ำงานได้งา่ ยมากทีส่ ดุ ก็คอื ผมสามารถ ทีจ่ ะมองทัง้ ซีกของปัญหา และมองทัง้ ซีกของ ศักยภาพ เพื่อที่จะเอามาผนวกรวมกับสิ่ง ที่เรียกว่าเป็นโอกาส แล้วก็ท�ำในเรื่องนั้นๆ เรี ย กง่ า ยๆ คื อ คิ ด อย่ า งเป็ น กระบวนการ คิดวางแผนและปฏิบัติตาม มีผลตอบรับงาน บริหารราชการจังหวัดเป็นสิ่งที่คิดคนเดียว ฝันคนเดียวไม่ได้ตอ้ งคิดถึงองค์ประกอบอืน่ ทัง้ หมด หมายถึงว่าคน งบ งาน และวิธคี ดิ ต้องไปด้วยกัน

NONGBUALAMPHU 31 .indd 31

27/10/60 12:00:21 PM


จูนความคิดสู่เป้าหมายเดียวกัน สิ่งที่ผมได้บอกกล่าวเป็นอันดับแรกเมื่อมาเป็น ผู้ว่าฯ ที่นี่ก็คือ ทุกคนที่มาท�ำงานที่นี่ ไม่ว่าจะเป็น คนจากจั ง หวั ด อื่ น หรื อ เป็ น คนที่ นี่ เ องและได้ อ ยู ่ ได้ท�ำงานที่นี่ “งาน” ในความหมายนี้ผมหมายถึงว่า ไม่วา่ จะเป็นภาคราชการ หรือภาคเอกชน ทุกภาคส่วน จะต้องมีความคิดร่วมกันก่อนว่า อย่างน้อยครั้งหนึ่ง ในชีวิตคือคนที่นี่ ได้มาหายใจที่นี่ มากิน มานอน มาพบเจอสิ่งที่ทุกคนเห็นเหมือนกันที่นี่และในความ เป็นข้าราชการนัน้ สิง่ ส�ำคัญทีส่ ดุ ท่านต้องเห็นเป้าหมาย ตรงกัน นั่นก็คือ หน้าที่ของข้าราชการ ท�ำให้พี่น้อง ประชาชนมีคณ ุ ภาพชีวติ ทีด่ ี มีความสุขให้มากทีส่ ดุ มีรายได้ให้ดีมากที่สุด ตรงนี้ถ้าเราไม่ชี้แจงย่อมเป็นไปไม่ได้ บางคน ทีอ่ ยูน่ านแล้วก็อาจจะลืมมันไปแล้ว หรืออาจจะมอง ไม่เห็นเหมือนกับเส้นผมบังภูเขา เพราะฉะนัน้ จึงเป็น เรือ่ งทีส่ ำ� คัญอย่างยิง่ ทีจ่ ะต้องจูนความถีร่ ว่ มกันให้เจอ ต้องขายความคิดและซือ้ ความคิดกัน แล้วทุกภาคส่วน ถึงร่วมกันท�ำงานได้ การจูนความคิดให้ตรงกันคือ เรือ่ งส�ำคัญทีส่ ดุ เพราะถ้าความคิดจูนตรงกันก็วงิ่ ได้เลย ไม่ต้องเดิน นโยบาย 4 ค�ำ ท�ำทันทีไม่ต้องรอ หลักการบริหารราชการจังหวัดโดยส่วนตัวผมเอง นอกจากจะชี้ชัดด้วยข้อมูลว่าสิ่งใดเป็นปัญหา และ ต้องเรียงล�ำดับความส�ำคัญเพือ่ จัดการกับปัญหา จาก What When Where Who Why How คือผมชอบ ที่จะกระตุ้นให้คนในสังคมนี้ ในบ้านนี้ ในเมืองนี้ ให้เขาคิดร่วมกัน และท�ำทันทีในสิง่ ทีเ่ ราท�ำได้ มีอยู่ 4 ค�ำ เท่านั้นเองที่ท�ำได้เลย ไม่ต้องรออะไร ค�ำแรกก็คือ Green ช่วยกันท�ำให้บ้านเมือง ร่มรืน่ สวยงาม นัยยะของมันก็คอื เมือ่ มีภเู ขา ท่านก็ทำ� ให้ ภูเขาของท่านสวยและเขียว ค�ำที่ 2 ที่ท�ำได้เลยก็คือ Clean เรื่องของการ รั ก ษาความสะอาด ไม่ ว ่ า จะเรื่ อ งความสะอาด ทางกายภาพที่เห็นได้ทางสายตา หรือความสะอาด ทางจิ ต ใจ ซึ่ ง โดยพื้ น ฐานของคนที่ นี่ ก็ เ หมื อ นกั บ คนทางภาคเหนือ คือมีจิตใจงามอยู่แล้ว ค�ำที่ 3 ก็คอื Beautiful เมือ่ เราช่วยกันดูแลป่าเขา ให้รม่ รืน่ สวยงาม และมีความสะอาดแล้วความสวยงาม ก็จะตามมา และค�ำสุดท้ายคือ Safety เรื่องการ รักษาความปลอดภัยของทรัพย์สนิ ในชุมชนให้ดที สี่ ดุ เราต้องช่วยกันเป็นหูเป็นตาให้ภาครัฐ ร่วมด้วยช่วยกัน นีค่ อื นโยบาย 4 ค�ำ ทีค่ รอบคลุมทุกอย่าง และท�ำได้ ด้วยสองมือ 32 SBL Magazine บันทึกประเทศไทย .indd 32

27/10/60 12:00:22 PM


จุดประกายให้จุดเด่นของหนองบัวล�ำภู จุดเด่นของจังหวัดหนองบัวล�ำภูดา้ นแรก คือ ด้านกายภาพซึง่ เมือ่ ก่อนเป็นทะเลสาบน�ำ้ จืด ขนาดใหญ่ มีร่อยรอยดึกด�ำบรรพ์อยู่หลาย อย่างทีม่ กี ารค้นพบอยูท่ นี่ ี่ มีฟอสซิลไดโนเสาร์ มีหอยหิน (หอยกาบคู่) ที่เป็นหอยน�ำ้ จืด อายุ ประมาณ 150 ล้านปีขึ้นไป อีกอย่างที่สำ� คัญ ที่เราพบเป็นฟันของปลาฉลามน�้ำจืด เรียกชื่อ ทางการคือ ไฮโบดอนท์ (ปลาฉลามน�ำ้ จืดทีม่ ชี วี ติ อยู่ในยุคจูแรสสิกตอนปลายถึงยุคครีเตเซียส ตอนปลาย) เก็ บ อยู ่ ใ นพิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ ห อยหิ น 150 ล้านปีด้วย นี่คือจุดเด่นด้านกายภาพ ด้านที่หนึ่งของ จังหวัดหนองบัวล�ำภู ด้านที่ 2 มีร่องรอยของอารยธรรมที่ชี้ ให้เห็นว่าที่นี่ก่อร่างสร้างตัวมามากกว่าพันปี นับแต่สมัยทวารวดี เรามีร่องรอยอารยธรรม ปรากฏอยูท่ วั่ ไปในหลายอ�ำเภอทัง้ สมัยทวารวดี อารยธรรมแบบล้านช้าง ซึ่งสันนิษฐาน หรือ เชือ่ ได้วา่ เป็นเส้นทางเดินทัพ เส้นทางท�ำมาค้าขาย ระหว่างราชอาณาจักรสยามกับล้านช้าง โดย ผ่านพืน้ ทีข่ อง จ.หนองบัวล�ำภูดว้ ย นีค่ อื ร่องรอย อารยธรรมโบราณทีป่ รากฏตัง้ แต่ อ.สุวรรณคูหา อ.เมือง อ.นากลาง กระจายไปหลายจุดมาก และทีส่ ำ� คัญทีส่ ดุ คือ มีคนบอกว่ายังไม่ได้ไปส�ำรวจ เส้นทางทีใ่ กล้ทสี่ ดุ ทีจ่ ะไปกรุงศรีสตั นาคนหุต , ล้านช้าง หรือ เวียงจันทน์ซงึ่ ห่างจากหนองบัวล�ำภู ที่ อ.สุวรรณคูหาแค่ 79 กิโลเมตร เคยมีขอ้ มูลว่า มีสมเด็จพระสังฆราชของอาณาจักรล้านช้าง มาจ�ำวัดอยูท่ วี่ ดั ถ�ำ้ สุวรรณคูหา ซึง่ สร้างในสมัย พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชยุคเดียวกับวัดศรีคณ ู เมือง ที่อยู่ในเมือง นี่คือจุดเด่นส่วนที่ 2 ด้านที่ 3 เรามีผลิตภัณฑ์ชมุ ชนทีด่ เี ยอะมาก โดยเฉพาะเรือ่ งของผ้า มากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ ของผ้าที่ไปวางขายที่ศูนย์จ�ำหน่ายผ้าที่นาข่า จ.อุดรธานี คือผ้าของ จ.หนองบัวล�ำภู อันนี้ ก็เป็นจุดเด่นทางด้านของผลิตภัณฑ์พื้นบ้าน ของชุมชน นอกจากนั้ น เรายั ง มี จุ ด เด่ น อี ก ในด้ า น ประวัตศิ าสตร์โบราณคดี เพราะเรามีหลุมขุดค้น อายุเก่าแก่ เท่าบ้านเชียง อยู่ที่ อ.โนนสัง พบ ซากโครงกระดูกมนุษย์ขนาดความสูง 2.4 เมตร และเครื่องใช้ เช่น หม้อ ไห เครื่องปั้นดินเผา เป็นลวดลายที่เรียกว่าทาบเชือก ซึ่งในอดีตที่ ยังไม่ได้แยกตัวเป็นจังหวัดหนองบังล�ำภูโบราณ

วัตถุเหล่านัน้ ถูกน�ำไปแสดงทีพ่ พิ ธิ ภัณฑ์บา้ นเชียง ด้วย สิง่ เหล่านีค้ อื ร่องรอยเก่าๆ ทีน่ า่ จะสืบค้นได้ ในอาณาบริเวณใกล้เคียง เพียงแต่ว่าสมัยนี้ กลายเป็นชุมชนไปแล้ว ถ้าจะท�ำจริงๆ ต้องท�ำ เหมือนกับที่เวียงกุมกาม จ.เชียงใหม่ ทีแ่ ม่นำ�้ เปลี่ ย นสายท� ำ ให้ อ าณาจั ก รเวี ย งกุ ม กาม ล่มสลายไป จึงได้มาขุดค้นภายหลัง ในขณะ เดียวกันก็ได้มบี า้ นเรือน มีสวน มีรอ่ งรอยของอิฐ ของฐานสิง่ ปลูกสร้างสมัยทีเ่ ป็นเวียงกุมกามอยู่ เต็มไปหมด นักท่องเที่ยวปั่นจักรยานชมเมือง กลายเป็นเมืองโบราณที่มีชีวิตอยู่ ซึ่งก็เป็น เสน่ห์อีกอย่างหนึ่ง ด้านประวัตศิ าสตร์ประมาณปี พ.ศ. 2113 ในระหว่างทีไ่ ทยเสียกรุงศรีอยุธยา ครัง้ ที่ 1 ให้แก่ พม่า สมัยพระเจ้ากรุงหงสาวดี สมเด็จพระ มหาธรรมราชาและสมเด็จพระนเรศวร น�ำกองทัพ เสด็จประทับแรม ณ บริเวณหนองบัว แต่พระองค์ ได้ทรงประชวรด้วยไข้ทรพิษ พระเจ้ากรุงหงสาวดี ได้ทราบข่าว จึงอนุญาตให้พระนเรศวรเดินทาง กลับเพื่อรักษาพระองค์ ปัจจุบันศาลสมเด็จ พระนเรศวรมหาราชตั้งอยู่บริเวณหนองบัว

อ�ำเภอเมืองหนองบัวล�ำภู เป็นทีส่ กั การะเคารพ บูชาและสถานที่ท่องเที่ยว พักผ่อนหย่อนใจ ของชาวหนองบัวล�ำภู ประมาณปี พ.ศ. 2302 สมัยพระเจ้าเอกทัศน์กษัตริย์องค์สุดท้ายของ กรุงศรีอยุธยา พระเจ้าสุวรรณปางค�ำปาหลัง (เจ้าปางค�ำ) พร้อมเสนาบดีจากเมืองเชียงรุ้ง และพระวอ ซึง่ มีบรรดาศักดิเ์ ป็นพระวรราชภักดี และพระตา มีภูมิล�ำเนาเดิมที่บ้านหินโงม เป็น เสนาบดีของพระเจ้ากรุงเวียงจันทร์ สมัยนั้น พระเจ้าอนุวงศ์ ไทธิราช เป็นผูด้ แู ลผลประโยชน์ ของกษั ติ ย ์ ก รุ ง เวี ย งจั น ทร์ มี เรื่ อ งขั ด ใจกั บ พระเจ้าศิรบิ ญุ สาร ผูเ้ ป็นโอรส พระวอและพระตา ได้อพยพไพร่พลข้ามล�ำน�้ำโขงมาตั้งภูมิล�ำเนา สร้ า งบ้ า นแปลงเมื อ งที่ “เวี ย งจ� ำ ปานคร กาบแก้วบัวบาน” ให้เป็นเวียงใหม่ เรียกชือ่ ว่า “นครเขือ่ นขันธ์กาบแก้วบัวบาน” ซึง่ เป็นชือ่ เดิม ของจังหวัดหนองบัวล�ำภู และมีการพัฒนามา โดยตลอด จนในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อปี พ.ศ.2536 จึงประกาศจัดตั้งเป็น “จังหวัด หนองบัวล�ำภู” เมือ่ วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ.2536

NONGBUALAMPHU 33 .indd 33

27/10/60 12:00:26 PM


เหนื อ สิ่ ง อื่ น ใด เมื่ อ ท� ำ อาชี พ การเกษตรอยู ่ แ ล้ ว วิ ธี ก ารที่ เ หมาะสมที่ สุ ด ดี ที่ สุ ด คื อ “ ศาสตร์ ข องพระราชา ”

Innovation ผสานศาสตร์ของพระราชา เนือ่ งจาก 80% ของประชากรเราเป็นเกษตรกร รายได้เฉลีย่ /หัว/คน/ปี ของชาวหนองบัวล�ำภูจงึ อยูใ่ นล�ำดับที่ 76 ของประเทศ ผมพยายามจะดู ว่าสาเหตุเกิดจากอะไรสันนิษฐานว่าปัจจุบนั เกษตรกรมักเลือกปลูกพืช เศรษฐกิจทีเ่ ป็นพืชเชิงเดีย่ วเป็นหลัก เมือ่ เลือกทีท่ ำ� เช่นนีไ้ ม่วา่ จะเป็นข้าว ที่ปลูกได้แค่ปีละครั้ง คือ ข้าวนาปี ส่วนใหญ่เก็บไว้บริโภคและเก็บไว้ เป็นเมล็ดพันธุ์ ไม่ได้เน้นเป็นสินค้า ในขณะที่เรามีข้าวที่ดีที่เรียกว่า “ ราชินีข้าวเหนียวด�ำ ” อีกอย่างก็คอื อ้อย อัตราการขยายตัวของคนทีเ่ ปลีย่ นอาชีพมาท�ำ ไร่อ้อยเร็วมาก มีข้อมูลว่าจากพื้นที่ปลูกอ้อยแสนกว่าไร่ ภายใน 3 ปี เพิ่มขึ้นไปเกือบหกแสนไร่ ตรงนี้เองมีอะไรที่ตามมาเยอะ ข้อมูลทาง สาธารณสุขยืนยันว่า อัตราการเพิ่มขึ้นของผู้ที่มีสารเคมีปลอมปน ในโลหิตของชาวหนองบัวล�ำภูมากที่สุดในประเทศไทย เมื่อเทียบกับ เกษตรกรที่จังหวัดอื่น ในขณะเดียวกันการท�ำไร่อ้อยก่อนที่จะตัด

ไปส่งโรงงานจะต้องเผา เมือ่ เผาแล้วเมืองทีม่ ลี กั ษณะเป็นแอ่งกะทะ ควัน ก็ลอยวนอยูแ่ ค่ตรงนี้ การเพิม่ ของโรคทางเดินหายใจก็สงู ขึน้ ด้วยสมัชชา สุขภาพเป็นคนเอาข้อมูลต่างๆ เหล่านี้มาคุยให้ฟัง ตรงนี้จึงเป็นเหตุผลหนึ่งที่ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะต้องเร่งท� ำ ความเข้าใจกับคนของเรา และเหนือสิง่ อืน่ ใดเมือ่ ท�ำอาชีพการเกษตรอยูแ่ ล้ว วิธีการที่เหมาะสมที่สุด ดีที่สุดคือศาสตร์ของพระราชา เราพยายาม ท�ำกันอยู่ และ สิ่งที่เราท�ำนั้นไม่ได้ไปกระตุ้นให้คนคิดและคล้อยตาม แล้วท�ำตามอย่างเดียว เราต้องลงมือท�ำและใช้จุดเด่นในตัวของเรา ยกตัวอย่างเช่นเราเป็นแอ่งทีม่ นี ำ�้ บาดาลค่อนข้างจะสมบูรณ์ แต่มี การเจาะอยู่ทั่วไปโดยองค์การบริหารส่วนจังหวัด แต่ชาวบ้านทั่วไปจะ มีปญ ั หาเรือ่ งของพลังงานทีใ่ ช้สบู น�ำ้ ขึน้ มา ถ้าไฟฟ้าเข้าไม่ถงึ ก็ตอ้ งใช้นำ�้ ในการสูบท�ำให้เปลืองค่าใช้จ่าย ก็พยายามคิดที่จะใช้ Innovation ซึ่ง จริงๆ ไม่ได้เกิดใหม่ แต่มีมานานแล้ว คือ โซล่าร์เซลล์ มีการไปคัดเลือก เกษตรกรที่ไม่มีที่ท�ำกินจริงๆ แล้วก็ลงแปลงที่เป็นที่สาธารณะแล้ว

34 SBL Magazine บันทึกประเทศไทย .indd 34

27/10/60 12:00:27 PM


เจาะบาดาลสูบขึ้นแท้งก์โดยโซล่าร์เซลล์ แท้งก์ก็ไม่ต้องสูงมากนัก แล้ววางท่อไปตามแปลงทีจ่ ะปลูกพืชผักผลไม้ทงั้ หลาย ปีนใี้ นส่วนราชการ เราจะลงทั้งหมดประมาณ 25 จุด แต่ละจุดมีการรวมตัวเป็นกลุ่มของ เกษตรกร ทีจ่ ะเปลีย่ นใจมาปลุกพืชแบบผสมผสาน ในขณะเดียวกันก็มี เครือข่ายพันธมิตรเพิม่ อีกเราพยายามจะยกเป็นทฤษฎี คือ ถ้าปีหนึง่ เราท�ำ พืชเชิงเดี่ยวเก็บเกี่ยวครั้งเดียวแล้วรอต่อไป เสียดายผืนดินที่ว่างเปล่า ไม่ได้งอกเงยรายได้ให้ในอีก 7-8 เดือนทีเ่ หลือ คนก็ตอ้ งหนีออกนอกท้องไร่ ท้องนา ไปรับจ้างท�ำงานอย่างอืน่ ครอบครัวก็ไม่มคี วามสุข ปัญหาสังคม ก็ตามมา เพราะฉะนั้น วิธีที่ดีที่สุดที่ถือว่าเป็นจุดเด่นก็คือ พยายาม เปลี่ยนวิธีคิดและรวมกลุ่มกัน ในประเด็นต่อไป เราเน้นให้บา้ นนี้ เมืองนีก้ า้ วไปในทิศทางทีเ่ รียกว่า เป็นมิตรกับสิง่ แวดล้อมให้มากกว่านี้ ซึง่ หมายถึงว่าจะท�ำให้คณ ุ ภาพชีวติ ดีขึ้นในระยะยั่งยืน มองว่าอนาคตจะเป็นประโยชน์จริงๆ โดยเฉพาะ ในภาคการเกษตรที่เราจะต้องรีบเร่งลงมือท�ำทันที ในขณะเดียวกัน

เราต้องพยายามลดการใช้สารเคมีในการท�ำไร่อ้อยทั้งหลาย เพื่อให้ สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของจังหวัดที่ตั้งไว้คือ เป็นเมืองที่เป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อม เป็นเมือง Green City ซึ่งในกรอบของการบริหารงานของจังหวัด ก็ให้แบ่งเป็น cluster คือ เศรษฐกิจ สังคม ความมั่นคง และการบริหารจัดการ ทุกซีกจะต้อง ช่วยกันคิด เพราะเคยมีขา่ วขึน้ หัวน่ากลัวมาก บอกว่าหนองบัวล�ำภูกำ� ลัง จะอาบไปด้วยยาพิษ มีการต่อต้านเรือ่ งการใช้สารเคมีมาก เพราะฉะนัน้ เราจะส่งประเด็นปัญหานี้เข้ากลุ่มต่างๆ สังคมด้วย เศรษฐกิจด้วย ให้ชว่ ยกันคิดในซีกของเศรษฐกิจว่าจะท�ำอย่างไรซีกของกระทรวงเกษตร ท่านจะท�ำอย่างไร ซีกสังคมเรื่องสุขภาพเป็นอย่างนี้จะท�ำอย่างไรก็ ให้ไปคิดมา ต้องไปด้วยกันทัง้ เชิงรุกและเชิงรับด้วยต้องใช้เวลาเริม่ นับหนีง่ ใหม่

NONGBUALAMPHU 35 .indd 35

27/10/60 12:00:28 PM


หน้ า ที่ ข องข้ า ราชการ คื อ ท� ำ ให้ พี่ น ้ อ งประชาชน มี คุ ณ ภาพชี วิ ต ที่ ดี มี ค วามสุ ข ให้ ม ากที่ สุ ด

เดินหน้าแก้ ไขปัญหา-พัฒนาหนองบัวล�ำภู ในเบื้องต้นที่เคยพูดถึง Green, Clean, Beautiful และ Safety ไม่ได้เป็นเรือ่ งใหม่ สามารถท�ำได้เลยและท�ำส�ำเร็จมามากมายแล้ว สิง่ ทีจ่ ะท�ำให้เกิดความเขียวทีน่ ี่ ซึง่ อาจจะเคยท�ำและอาจจะละเลยไป ง่ายที่สุดคือ ท�ำให้ปา่ ฟื้นคืนสภาพเดิม อันดับแรกต้องไม่เผาป่าเพื่อ หาของป่า ถ้าหากเราปักป้ายประกาศไปทัว่ ๆ เราไม่ทำ� แต่เราจะสร้าง มวลชนคนรักป่าและคนหากินอยู่กับป่า ท�ำอาชีพอยู่กับป่า เช่น สมุนไพร หน่อไผ่ หน่อไร่ เก็บกินได้ ก็ไม่มีความจ�ำเป็นที่จะต้อง ตัดไม้ เผาป่า อันนี้คือประการที่หนึ่งเลย ประการที่ 2 ในห้วงเวลานี้ เราก�ำลังระดมให้ทำ� Check Dam ทัว่ ถึงทุกพืน้ ที่ ผมไม่ได้ให้เป้าไว้วา่ ทัง้ จังหวัดจะท�ำกีต่ วั อยูท่ มี่ นั สมอง และสองมือของพวกท่าน แต่ทไี่ หนดีเดย์ลงมือท�ำแล้วเราจะไปเยีย่ ม ไปให้ก�ำลังใจ ไปช่วย อันนี้ก็เป็นศาสตร์ของพระราชาอยู่แล้ว ใน 1 ล�ำห้วย ถ้าเราท�ำฝายชะลอน�้ำเป็นช่วงๆ ข้างบนก็จะดักตะกอน ข้างล่างก็จะเป็นน�ำ ้ ล่างลงมาก็จะอยูใ่ กล้ทที่ ำ� กินของท่าน อันนีค้ อื ง่ายๆ ท� ำ ได้ ใ นธรรมชาติ ข องมั น อยู ่ แ ล้ ว ก็ เ ป็ น เรื่ อ งที่ ใ ห้ ค วามส� ำ คั ญ อยู่ในขณะนี้ และที่ส�ำคัญเหนือสิ่งอื่นใด พื้นที่ 1,700,000ไร่

36 SBL Magazine บันทึกประเทศไทย .indd 36

27/10/60 12:00:30 PM


ที่เป็นพื้นที่เกษตร แต่อยู่ในระบบชลประทาน ไม่ถงึ 200,000 ไร่ ประมาณ ร้อยละ 10 ดังนัน้ เรื่องของการบริหารจัดการน�ำ้ อย่างเป็นระบบ จึงเป็นเรื่องแรกๆ ที่จะต้องท�ำเมื่อผมเดินทาง มารับต�ำแหน่งที่นี่ ได้ไปประชุมร่วมกับทุกๆ อ�ำเภอ ซึง่ มีทงั้ ก�ำนัน ผูใ้ หญ่บา้ น นายกท้องถิน่ ทัง้ หลายอยูค่ รบ ผมฝากเป็นการบ้าน แต่ตอนนี้ ยังไม่สำ� เร็จ ผมอยากให้ทกุ ต�ำบลท�ำคัมภีรน์ ำ�้ ของต�ำบลตัวเอง ต้องรูว้ า่ ใช้นำ้� เท่าไหร่ มีอยูแ่ ล้ว เท่าไหร่ ขาดอยู่เท่าไหร่ และต้องการได้มา ด้ ว ยวิ ธี ไ หน และผมจะเอาจิ ก ซอว์ ข อง ทุกต�ำบลมาต่อกันเป็นภาพใหญ่ แล้วก็เอา โครงสร้างทางเดินน�ำ้ หลักการของชลประทาน เข้ามาดูว่าจะด�ำเนินการต่ออย่างไร ตั้งแต่ ใหญ่ กลาง เล็ก และแบ่งความรับผิดชอบกันไป สิง่ ไหนทีอ่ ยูใ่ นขีดความสามารถของพืน้ ที่ ทีท่ ำ� ได้ ก็เอาไปบรรจุไว้ในแผนให้ใช้งบประมาณ สิง่ ไหนทีเ่ กินก�ำลังก็ใช้งบประมาณจังหวัด สิง่ ไหน ทีม่ คี วามจ�ำเป็นอย่างยิง่ ถ้าไม่ทำ� ต้องเกิดความ เสียหายสามารถที่จะของบประมาณได้ อย่าง งบประมาณ ปี 2560 ที่ผ่านมาก็ใส่เข้าไปทันที นี่ คื อ เรื่ อ งหลั ก ๆ ที่ ส ามารถน� ำ เรื่ อ งที่ ท� ำ ได้ มาร่วมด้วยช่วยกันท�ำ ปลูกป่าด้วยป่าเศรษฐกิจก็นา่ ท�ำ ผมปรึกษา กับทีมงานในสายป่าไม้ สายอุทยานฯ อะไรหมดแล้ว แต่ว่าในขณะนี้อยู่ระหว่างการเตรียมการ เพื่อ ดึงการมีส่วนร่วมของหมู่บ้านคือ แนวกันไฟ แทนที่จะถางให้โล่งๆ เพื่อเป็นการพรากไฟ ต่อจากนี้ไปให้ทำ� เป็น Wet-line firebreak มีกล้วยเอากล้วยไปลง มีหมากเม่าเอาไปลง ผั ก หวาน หรื อ ไผ่ เอาไปลงตามแนวนี้ ก�ำลังจะลงมือท�ำในเร็วๆ นี้ อีกจุดหนึ่งไม่ท�ำไม่ได้เลย คือ เร็วๆ นี้เรา เป็นเจ้าภาพจัดแข่งขันเจ็ทสกี ปรากฏว่าในจุด ที่เป็นอัฒจันทร์ชมเจ็ทสกี จุดนั้นเป็นจุดที่สวย มากมองลงไปแล้วเห็นหนองบัวล�ำภูด้วย และ เห็ น เขาภู พ านน้ อ ยสวยมาก วั น ที่ ฟ ้ า เปิ ด สวยงามมาก อยากให้สวยทั้งปีเพราะฉะนั้น ต้องเติมสีสันเข้าไป ง่ายที่สุดเอาเฟื่องฟ้าไปลง ให้เลือ้ ยเกาะ ต่อมาให้เอาไม้พนื้ ถิน่ เช่น ดอกคูณ ตะแบก อินทนิล ราชพฤกษ์ ลงให้เต็มพื้นที่ จะได้เป็นโลเคชัน่ ทีส่ วยมาก คนขับผ่านต้องแวะ ถ่ายรูป อันนีค้ อื เป็นสิง่ ทีจ่ ะต้องท�ำ เพือ่ ให้เป็น จุดท่องเที่ยว ตอนนี้เราได้งบเกือบร้อยล้าน

ท�ำหลายกิจกรรมมากในเทือกเขาภูพานน้อย เช่น เชือ่ มฝัง่ น�ำ้ ตกเฒ่าโต้ วัดภูหนิ กองกับศาล ปูหลุบ มีสะพานเชือ่ มข้ามไปฝัง่ พระพุทธชยันตี ท�ำให้ตรงนีเ้ ป็น Landmark ของหนองบัวล�ำภู ปัจจุบนั บนภูพานน้อยเป็นหอดูดาว เรา จะเติมเต็มให้เป็นศูนย์เรียนรูท้ างดาราศาสตร์ มาตรฐานสากล ทุกวันนี้คนอุดรฯ ขอนแก่น นักเรียน นักศึกษา มาเข้าแค้มป์ทนี่ ี่ ถ้าเราท�ำ ทัง้ หมดนีไ้ ด้กท็ ำ� ให้ภพู านน้อยสวยตลอดทัง้ ปี ผมเชื่ อ ว่ า เป็ น วิ ธี ห นึ่ ง ที่ จ ะดึ ง คนให้ เข้ า มา ทีห่ นองบัวล�ำภู มาแวะ มาถ่ายรูป มาชม มาชิม มาช็อป มาแชะ มาแชร์ เพราะสิง่ ทีห่ นองบัวล�ำภูมี

จะท�ำให้เศรษฐกิจดีขึ้น ของดีหนองบังล�ำภู มี ห ลายอย่ า ง ของขายของซื้ อ เราก็ มี ม าก ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรถ้าท�ำได้ตามวิธคี ดิ นัน้ ได้จะเป็นพืชผักปลอดภัย จะพัฒนาไปสูอ่ นิ ทรีย์ ในอนาคตได้ ดังนั้น ท่านรองนายกสมคิด ไปประชุมที่อุดรฯ ท่านบอกว่าปัญหาพื้นฐาน เรามั น เรื้ อ รั ง มาก หมายถึ ง 80% ของคน ที่ยากจน ซึ่งเราจะยกระดับเขาทีเดียวในซีก ทีเ่ ป็นด้านการเกษตรอย่างเดียวคงยาก เพราะ ฉะนั้ น เราต้ อ งมาให้ เรื่ อ งการส่ ง เสริ ม การ ท่องเทีย่ วด้วย เพือ่ ทีจ่ ะเป็นแม่เหล็กดึงคนเข้ามา มากิน มาซื้อ มาเที่ยวในพื้นที่เรา NONGBUALAMPHU 37

.indd 37

27/10/60 12:00:31 PM


สานต่อนโยบายคสช.-รัฐบาล นโยบายทัง้ ของ คสช.ซึง่ ยังใช้อยูแ่ ละของรัฐบาลทุกเรือ่ งเราด�ำเนินการอย่างเต็มความสามารถ ไม่วา่ จะเป็นการพัฒนาด้านอาชีพ ไม่วา่ จะเรือ่ งของการแก้ ปัญหาความเหลื่อมล�้ำทางรายได้ทั้งหลาย โดยเฉพาะเรื่องของการจัดสรรที่ดินท�ำกินให้กับราษฎรที่ยากจนและไม่มีที่ท�ำกินตามนโยบายของคณะ กรรมการนโยบายทีด่ นิ แห่งชาติ เรามีอยูแ่ ปลงหนึง่ ที่ อ.ศรีบญ ุ เรือง ตอนนีก้ ค็ บื หน้าไปเยอะ เรือ่ งยาเสพติด ปัญหาสังคมทัง้ หลาย เราก็เดินหน้าเต็มที่ ในช่วงหลังๆ ในด้านยาเสพติดเราพบว่ามีการระบาด การเสพค่อนข้างจะมาก พอได้ตัวและเข้าข่ายด�ำเนินคดีก็จะด�ำเนินคดีทันที ถ้าไม่เข้าข่าย ก็จับเข้าค่ายอบรม เรื่องนี้เราก็เดินหน้าเต็มที่ทุกรูปแบบ และเร็วๆ นี้ ทางรัฐบาลจะเปิดรับฟังความคิดเห็นเพื่อไปประกอบการเดินหน้าประเทศไทยในการปฏิรูปที่นี่ก็เรียบร้อยดี ไม่มีอะไร สถิติทั้งหลาย ในเรื่องของอาชญากรรมก็น้อย ดังนั้นปัญหาความมั่นคงไม่ค่อยหนัก จะมีก็แต่ภัยธรรมชาติ เราเจอครบทุกอย่าง ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน คือ ฝน ฝนตกหนัก ที่นี่ท่วมทั้ง 6 อ�ำเภอ แสนกว่าไร่ ราษฎรก็เดือดร้อนหลายหมื่นครัวเรือน หลังจากนั้นช่วงที่ผ่านมาคือ วาตภัย ประมาณอีกพันหลังคาเรือน เป็นเรื่องเฉพาะหน้าที่ต้องท�ำทันทีเข้าคลี่คลายปัญหาทันทีตามนโยบายของรัฐบาล 38 SBL Magazine บันทึกประเทศไทย .indd 38

27/10/60 12:00:32 PM


สร้างสรรค์สิ่งใหม่จากศักยภาพที่มี งาน“มหัศจรรย์นครเขือ่ นขันธ์กาบแก้ว บัวบานเมืองหนองบัวล�ำภู” ที่ผ่านมา ผมมี แรงบันดาลใจเกิดจากการที่วันหนึ่งผมก�ำลัง นั่งอยู่หลังร้านกาชาดในงานสักการะสมเด็จ พระนเรศวรมหาราช ช่วงเดือนมกราคม แล้ว มี โ ทรศั พ ท์ เข้ า มาหาผมสายหนึ่ ง บอกว่ า ได้รับค�ำแนะน�ำจากผู้ใหญ่ว่า ที่หนองบัวล�ำภู สามารถจัดแข่งเจ็ทสกีได้ ท่านที่โทรมาคือ ท่านเลขาธิการของสมาคมเจ็ทสกีแห่งประเทศไทย ผมก็งงแทบจะไม่เชื่อว่าหนองบัวล�ำภูจะจัด แข่งขันได้ ผมนึกถึงบริเวณท้ายเขื่อนอุบลรัตน์ ว่าเหมาะทีส่ ดุ เพราะทีห่ นองบัวล�ำภูผมมองว่า การใช้ความเร็วมากๆ ไม่ได้ ปรากฏว่า ท่านบอกว่า เดี๋ยวนี้ท่านจะมาดูพื้นที่ ถ้าจังหวัดสนใจท่าน จะมา ท่านให้ข้อมูลเบื้องต้นว่า สมาคมเจ็ทสกี แห่งประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับสมาคมอีก 150 ประเทศ ในการแข่ ง ขั น แต่ ล ะสนาม ก็จะมีชาวต่างชาติมาร่วมด้วยเสมอ มีแม่ข่าย หลักๆ อยู่ 2 ช่อง คือ ช่องทรูวชิ นั่ กับช่อง 3SD ซึง่ ในการแข่งขันแต่ละสนาม ก็จะถ่ายทอดสัญญาณ ไปยั ง เครื อ ข่ า ยของสมาชิ ก ทั้ ง หลายด้ ว ย ผมเห็นตรงนีแ้ ล้วก็ถอื ว่าโชคดีแล้ว ก็มาซาวเสียง ผู้ใหญ่ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ว่าเห็นด้วยไหม แต่ก็มีกระแสต่อต้านบ้างเล็กน้อยในเชิงของ ความเชื่อที่ฝังอยู่ว่าหนองบัวล�ำภูเป็นสถานที่ ศักดิ์สิทธิ์ แต่ตอนหลังมาก็สามารถจัดได้ ซึง่ ก่อนทีจ่ ะมาทีน่ ี่ ชือ่ หนองบัวล�ำภูไม่เคย ติดหัวผมเลย และผมไม่ค่อยเห็น action ของ จังหวัดนี้ออกไปสู่สายตาสาธารณะ ขนาดผม มาเป็นผูว้ า่ ฯ กิจกรรมทัง้ หลายทีจ่ ดั จะเป็นแบบ local แต่ผมคิดว่าทีน่ เี่ ป็นเมืองทีย่ งั นอนหลับอยู่ เพราะฉะนั้นลองปลุกให้ตื่นกันดีกว่า ก็ระดม ความคิดกันว่า ถ้าใช้ช่วงที่เราจะเป็นเจ้าภาพ จัดการแข่งขันเจ็ทสกีแล้วมีการ Insert อะไรดีๆ ของเราทีม่ อี ยูแ่ ล้ว เราก็ควรจัดของเราควบรวม ไปด้วย ก็ไปจ�ำลองของดีทั้งหลายที่มีอยู่ใน 6 อ�ำเภอมา เอาวิถีชีวิต ภูมิปัญญา ประเพณี ทั้งหลายที่อยู่ในพื้นที่จังหวัดเรามาปรากฏว่า คนส่วนใหญ่ทเี่ ข้ามาชมก็ Happy มาก แล้วเขา บอกกันว่าไม่เคยจัดกันแบบนี้และภาคภูมิใจ ที่จะให้มีการจัดแบบนี้อีก นี่ก็คือการปลุกให้ตื่น พอปลุกให้ตื่นแล้ว ทุกคนต้องช่วยกันท�ำงานหมายถึงคนหนองบัวล�ำภู

ทัง้ หมด เพราะฉะนัน้ เรือ่ งทีค่ วรจะท�ำเราก็ตอ้ งท�ำ เช่นเร็วๆ นี้เราจะจัดงานตามรอยนายฮ้อย เรื่ อ งควายและเรื่ อ งของโคด้ ว ย แต่ ก็ ยั ง ไม่ลงตัวว่าจะจัดตรงจุดไหน เหตุที่เราเห็นว่า สมควรจัดอย่างยิง่ ก็คอื เรามีกระบือทีช่ นะเลิศ ระดั บ ประเทศอยู ่ ที่ จั ง หวั ด หนองบั ว ล� ำ ภู มากมาย เมื่อมีความเชี่ยวชาญตรงนี้เราก็มี ความฮึ ก เหิ ม ว่ า ท� ำ ไมเราไม่ จั ด การเป็ น เจ้าภาพจัดประกวดทั่วประเทศเลย และตัง้ ใจว่าเดือนพฤศจิกายนจะพยายาม จัดให้ได้คือเรื่องของดีอีกตัวของเราก็คือเรื่อง ของแพรพรรณจะท� ำ ให้ ค รบวงจร แล้ ว ประชาสั ม พั น ธ์ ล ่ ว งหน้ า ไปสั ก เดื อ นหรื อ สองเดื อ นในห้ ว งเวลาจั ด งาน หากจั ด ได้ ดี ผลิตภัณฑ์อาจจะไม่เพียงพอต่อความต้องการ เพราะว่าผ้าดีดขี องเรา เช่น ผ้าไหมขิด ผ้าฝ้าย handmade ทุกชิ้นไม่มีใช้เครื่องและยังฟอก ย้อมจากวัสดุสีธรรมชาติอีกด้วย ดังนั้นการ ผลิตแต่ละผืนจะใช้เวลา แต่ก็พอสมควร เพียง แต่ว่าไม่ใช่ brand ของเรา นี่คือบางเรื่อง ในหลายๆ เรือ่ ง และยังมีเรือ่ งให้ทำ� อีกเยอะมาก NONGBUALAMPHU 39

.indd 39

27/10/60 12:00:39 PM


พร้อมรับฟังปัญหาเพื่อเยียวยาแก้ไข ส่วนเรือ่ งทีช่ าวบ้านต้องการความช่วยเหลือ ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องของที่ดินท�ำกิน เรื่อง เอกสารสิทธิ์ ของเราทีป่ า่ ก็ยงั มีคอ่ นข้างเยอะอยู่ และเรื่องชีวิตความเป็นอยู่ทั่วไป เรื่องของ ปั ญ หาสิ่ ง แวดล้ อ ม แต่ ทุ ก อย่ า งมี ขั้ น ตอน มีกฎหมาย เพราะฉะนั้นทุกเรื่องจะแก้ทันที ก็คงแก้กนั ไม่ได้ ก็ตอ้ งด�ำเนินการไปตามกฎหมาย แต่ส่วนใหญ่ก็เป็นเรื่องของปากท้อง ส่วนของเกษตรกรบ้านเราจะสะท้อนปัญหา และความต้องการผ่านทางสภาเกษตรกรจังหวัด ทุกการประชุมประจ�ำเดือนของสภาเกษตรกร จะเชิญผู้ว่าฯ หรือผู้แทนไปร่วมด้วย ผู้ว่าฯ ก็จะเชิญเจ้าหน้าที่สังกัดกระทรวงเกษตรและ ผูท้ เี่ กีย่ วข้องเข้าไปร่วมด้วยทุกครัง้ เราก็จะรูเ้ ขา รูเ้ รา รับกันได้ทนั ทีเรือ่ งของสภาพปัญหาเหล่านี้ ก็จะได้ทั้งเชิงรับและเชิงรุกไปด้วย และทุกวันนีช้ าวบ้านทีม่ ปี ญ ั หาก็สามารถ ติดต่อถึงจังหวัดได้หลายช่องทาง ไม่ว่าจะเป็น ศูนย์ด�ำรงธรรม เป็นปณ.ก็ดี หรือผ่านท้องที่ ขึ้นมาก็ดี นอกจากนี้เรายังมีรายการผู้ว่าฯ พบประชาชน ที่จะสามารถถามตอบกันได้ ทุกวันศุกร์ หากผมไม่ติดราชการส�ำคัญผมจะ ไปด้วยตนเองทุกครัง้ จะไปขายความคิดผ่านสือ่ วิทยุ และรับความเห็นตอบกลับ เช่น งานที่ พยายามจะจัดก็จะรับความเห็นกลับมาด้วย แล้ ว การตอบสนองก็ เริ่ ม ดี ขึ้ น เรื่ อ ยๆ จะมี ไปรษณียบัตรส่งเพิ่มเติมเข้ามาเรื่อยๆ อะไรที่ เห็นว่าทางจังหวัดตัง้ แต่ผวู้ า่ ฯ ลงไปเอาจริงนะ เขาก็จะส่งข่าวมาให้เรา ตรงนี้ก็เป็นเรื่องที่ดี “ ประชารัฐ ” แนวคิดดีที่ต้องรีบสานต่อ ผมมองว่ากรอบการท�ำงานภายใต้นโยบาย ประชารัฐเป็นกรอบทีด่ ี จริงๆ ถ้าเข้าใจ จะไม่มใี คร รีรอที่จะให้ความร่วมมือแน่นอน เพียงแต่ว่า การน�ำเข้าไปสู่ประเด็นที่เป็นทิศทางเดียวกัน เป้าหมายเดียวกันและมองมุมมองที่ตรงกัน หรือยัง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการเกษตร การ แปรรูป หรือผลิตภัณฑ์ชมุ ชน จนถึงเรือ่ งส่งเสริม ให้เกิดการท่องเทีย่ วระดับชุมชน มิตติ า่ งๆ เหล่านี้ จริงๆ แล้วในพื้นที่เดียวมีครบทั้ง 3 เรื่องได้ เพียงแต่วา่ เรามีความเข้าใจตรงกันหรือยัง เช่น

เรื่องแปลงโซล่าร์เซลล์ที่ดึงน�้ำบาดาลขึ้นมา และท� ำ ผั ก อิ น ทรี ย ์ ก็ จ ะได้ ใ นส่ ว นของการ ท่องเทีย่ วด้วย ประชารัฐก็ตอ้ งเข้าไปมองในจุดนี้ ประชารัฐในความหมายนีค้ อื เรามีผปู้ ระสานงาน ในส่ ว นกลางที่ ส ่ ง มาคนเดี ย วนอกนั้ น เป็ น อาสาสมัคร เป็นจิตอาสาที่อยู่ในพื้นที่ไม่ว่าจะ เป็นคหบดี เป็นพ่อค้า เป็นนักธุรกิจ ก็อาสาเข้ามา รวมตัวกันเป็นคณะกรรมการบริหาร และจุดเด่นของที่นี่คือ เราสามารถระดม 5 ล้ า นที่ เ ป็ น เป้ า หมายหลั ก ของรั ฐ บาลได้ ภายในเวลาประมาณ 2 เดือนเท่านัน้ เอง เรียกว่า ตอนนีค้ อื บริษทั เรา perfect เพียงแต่การท�ำให้ เราพุง่ ไปถึงเป้ายังจะต้องประชุม เพราะมีคณะ กรรมการพีเ่ ลีย้ ง และคณะกรรมการด�ำเนินงาน เพราะฉะนั้น 2 คณะจะต้องเอามาเขย่าให้ เข้ากันให้ดี ถ้าได้ในระดับพื้นที่ไม่ต้องห่วง ผมเชือ่ มัน่ ในขีดความสามารถในอ�ำเภอ ในท้องถิน่ ท้องทีเ่ รา และพีน่ อ้ งเกษตรกรเรา พืน้ ฐานแต่กอ่ น คงจะดีแต่ตอนนีล้ ดบทบาทลงไปหน่อย เพราะ ฉะนัน้ ก็ตอ้ งรีบมาสานร่างแหกันให้ดี ให้ไปร่วมกัน

40 SBL Magazine บันทึกประเทศไทย .indd 40

27/10/60 12:00:43 PM


เราต้ อ งมาโหมเรื่ อ งการส่ ง เสริ ม การท่ อ งเที่ ย ว เพื่ อ ที่ จ ะเป็ น แม่ เ หล็ ก ดึ ง คนเข้ า มา มากิ น มาซื้ อ มาเที่ ย วในพื้ น ที่ เ รา NONGBUALAMPHU 41 .indd 41

27/10/60 12:00:44 PM


จากใจผู้ว่าฯ ถึงชาวหนองบัวล�ำภู ผมอยากจะให้พนี่ อ้ งประชาชนชาวหนองบัวล�ำภูทกุ คน รวมทัง้ ท่านทีม่ าอยู่ มาท�ำงานทีห่ นองบัวล�ำภูดว้ ย ขอให้คดิ ให้ตรงกันว่า สิ่งที่เราเคยเห็นเมื่อวาน สิ่งที่เราเจอวันนี้ มันควรเป็นประสบการณ์ทจี่ ะส่งต่อให้เรามองไปในอนาคต ให้ชัดเจน ที่ผมยกกรณีของการใช้สารเคมีในการท�ำพืชผัก ทั้งหลายกับผลกระทบที่เกิดกับสุขภาพ ผมเชื่อว่าถ้าเรา ไม่มองอนาคตให้ชัดเจนแล้วเราไม่ปรับตั้งแต่บัดนี้ สังคม รุ่นลูกรุ่นหลานเราจะเป็นรุ่นที่อาจจะเสียชีวิตตั้งแต่อายุ ยังน้อยๆ จะเหลือแต่พวกเราทีเ่ ป็นรุน่ สูงอายุ เพราะผมเชือ่ ในข้อมูลที่ทางสมัชชาสุขภาพให้มา ถ้ า เราต้ อ งการให้ บ ้ า นเมื อ งเราไปได้ อ ย่ า งยั่ ง ยื น เราต้องตั้งเป้าให้ ได้ เราอยากให้บ้านเราเมืองเราเป็น เมืองน่าอยู่ สุขสงบ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เป็น Green City เราก็ตั้งหลักตรงนั้น ให้ อ ยู ่ เราคงไม่ ดิ้ น รนที่ จ ะเป็ น เมื อ ง อุ ต สาหกรรม ถ้ า คิ ด แบบนี้ แ ล้ ว เรารักษารากฐานการเกษตรไว้ ให้ดี รวมทัง้ รากฐานการผลิตผลิตภัณฑ์ ชุมชนทั้งหลายให้ดี รักษาสภาพ อากาศ สภาพภู มิ ป ระเทศให้ ดี ให้ ส ะอาด มี ค วามเป็ น มิ ต ร กั บ คนที่ จ ะมาเที่ ย วมาเยื อ น เพียงแค่นี้เอง ผมก็เชื่ออย่างยิ่ง ว่าจังหวัดหนองบัวล�ำภูของเรา จะพัฒนาได้อย่างยั่งยืนและ มั่นคงด้วย

42 SBL Magazine บันทึกประเทศไทย .indd 42

27/10/60 12:00:47 PM


ประวัติ นายธนากร อึ้งจิตรไพศาล ผู้ว่าราชการจังหวัดหนองบัวล�ำภู โดยย่อ เกิด

วันที่ 17 กันยายน 2503 ประวัติการศึกษา ระดับปริญญาตรี รัฐศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (2524) ระดับปริญญาโท พัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (2527) เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ม. (5 ธันวาคม 2551) ป.ช. (5 ธันวาคม 2554) การฝึ กอบรม หลักสูตรการบริหารส�ำนักงานจังหวัด (กบส.1) รุ่นที่ 2/2539 หลักสูตรผู้บริหารกระทรวงมหาดไทย (บ.มท.7) รุ่นที่ 1/2544 หลักสูตรนักปกครองระดับสูง (นปส.) รุ่นที่ 49 (2545) หลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.) รุ่นที่ 58 (2558 – 2559) ประวัติการรับราชการ ธันวาคม 2534 หัวหน้าฝ่าย (เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน 6) จังหวัดตาก เมษายน 2535 หัวหน้าฝ่าย (เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน 6) จังหวัดเชียงใหม่ มีนาคม 2539 หัวหน้าฝ่าย (เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป 7) จังหวัดแม่ฮ่องสอน กรกฎาคม 2539 หัวหน้าฝ่าย (เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน 7) จังหวัดแม่ฮ่องสอน มกราคม 2540 หัวหน้าฝ่าย (เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน 7) จังหวัดแม่ฮ่องสอน ตุลาคม 2541 หัวหน้าฝ่าย (เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป 7) จังหวัดล�ำพูน พฤศจิกายน 2542 หัวหน้าฝ่าย (เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป 7) จังหวัดเชียงใหม่ พฤษภาคม 2546 รักษาการในต�ำแหน่งหัวหน้ากลุ่ม (เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน 7ว) จังหวัดเชียงใหม่ มิถุนายน 2546 หัวหน้ากลุ่มงาน (เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน 8ว) จังหวัดเชียงใหม่ กุมภาพันธ์ 2547 หัวหน้ากลุ่มงาน(เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน 8ว) จังหวัดเชียงใหม่ ตุลาคม 2547 รักษาราชการแทนหัวหน้าส�ำนักงานจังหวัดพะเยา (เจ้าหน้าทีว่ เิ คราะห์นโยบายและแผน 8ว) จังหวัดเชียงใหม่ ธันวาคม 2547 รักษาราชการแทนหัวหน้าส�ำนักงานจังหวัดพะเยา (เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน 8ว) จังหวัดชุมพร กุมภาพันธ์ 2549 รักษาราชการแทนหัวหน้าส�ำนักงานจังหวัดพะเยา (เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน 8ว) จังหวัดพะเยา สิงหาคม 2549 รักษาราชการแทนหัวหน้าส�ำนักงานจังหวัดพะเยา (เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน 8ว) จังหวัดล�ำปาง กุมภาพันธ์ 2550 หัวหน้ากลุ่ม (เจ้าหน้าที่วิเคราะห์งานบุคคล 8ว) จังหวัดล�ำปาง มิถุนายน 2550 หัวหน้ากลุ่ม (เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน 8ว) จังหวัดล�ำพูน ตุลาคม 2550 หัวหน้าส�ำนักงานจังหวัด (เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน 9) จังหวัดแพร่ ธันวาคม 2551 หัวหน้าส�ำนักงานจังหวัด (ผู้อ�ำนวยการสูง) จังหวัดแพร่ ตุลาคม 2556 รองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครองต้น) จังหวัดแพร่ มีนาคม 2559 รองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครองต้น) จังหวัดพิษณุโลก ตุลาคม 2559 ผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครองสูง) จังหวัดหนองบัวล�ำภู NONGBUALAMPHU 43 .indd 43

27/10/60 12:00:49 PM


จังหวัดหนองบัวล�ำภู ได้ก�ำหนดนโยบายสาธารณะ เพื่อมุ ่งไปสู่การมีสุขภาวะที่ดี ของสังคม นายโชติ เชื้อโชติ

รองผู้ว่าราชการจังหวัดหนองบัวล�ำภู

44 SBL Magazine บันทึกประเทศไทย .indd 44

24/10/60 01:12:37 PM


นายโชติ เชื้อโชติ

รองผู้ว่าราชการจังหวัดหนองบัวล�ำภู นายโชติ เชื้ อโชติ เคยปฏิบตั ริ าชการในต�ำแหน่ง “ผู ้ อ� ำ นวยการส� ำ นั ก กฎหมาย ส� ำ นั ก งานปลั ด กระทรวงมหาดไทย” ก่อนที่จะได้รับการแต่งตั้ง ให้ ด� ำ รงต� ำ แหน่ ง “รองผู ้ ว ่ า ราชการจั ง หวั ด หนองบัวล�ำภู” เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2559 จนถึง ปัจจุบัน โดยนายธนากร อึ้งจิตรไพศาล ผู้ว่าราชการ จังหวัดหนองบัวล�ำภู มีคำ� สัง่ มอบหมายให้ทา่ นก�ำกับ ดูแลงานด้านยุทธศาสตร์จงั หวัด, กระทรวงพัฒนาสังคม และความมั่ น คงของมนุ ษ ย์ (ด้ า นแรงงาน และ โครงการประชารัฐ), กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ทัง้ หมด), กระทรวงการคลัง (ดูแลงบประมาณจังหวัด), กระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่ ง ที่ ผ ่ า นมา ท่ า นรองผู ้ ว ่ า ราชการจั ง หวั ด หนองบัวล�ำภู นายโชติ เชื้อโชติ ได้เป็นประธาน ในการด�ำเนินโครงการส�ำคัญ 2 โครงการ ตามอ�ำนาจ หน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ดังนี้

การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดหนองบัวล�ำภู ในปีงบประมาณ พ.ศ.2560 ภายใต้โครงการสร้างความเข้มแข็ง และยั่งยืนให้กับเศรษฐกิจภายในประเทศ จังหวัดหนองบัวล�ำภู ได้ดำ� เนินการพัฒนาการท่องเที่ยว Land Mark เชื่อมโยงแหล่ง ท่ อ งเที่ ย วส� ำ คั ญ ของจั ง หวั ด หนองบั ว ล� ำ ภู โดยเน้ น เส้ น ทาง ท่องเที่ยวหลักที่ส�ำคัญบนทางหลวงหมายเลข 210 อุดรธานี หนองบัวล�ำภู - เลย ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีความโดดเด่น ทางด้านประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมและประเพณี มีธรรมชาติ ที่อุดมสมบูรณ์รวมทั้งแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ โดยพัฒนา และปรับปรุงแหล่งท่องเทีย่ วทีม่ อี ยูเ่ ขตพืน้ ทีใ่ ห้เชือ่ มโยงในจังหวัด หนองบัวล�ำภู เช่น พัฒนาจุดท่องเทีย่ วเชือ่ มโยงพิพธิ ภัณฑ์หอยหิน 150 ล้านปี ก่อสร้างศูนย์เรียนรู้ดาราศาสตร์และท้องฟ้าจ�ำลอง แหล่งท่องเที่ยวพระพุทธชยันตี

เป็นประธานในพิธีเปิ ดงานสืบสานประเพณีพื้นบ้านงานขึ้นเขาไหว้พระ

การพัฒนาแหล่งน�้ำเพื่อสนับสนุนการเกษตรอินทรีย์ จังหวัดหนองบัวล�ำภู ได้มุ่งพัฒนาในเรื่องเกษตรอินทรีย์ โดยให้ ค วามส� ำ คั ญ ในเรื่ อ งโครงสร้ า งปั จ จั ย พื้ น ฐานการผลิ ต ซึ่งก็คือ แหล่งน�ำ้ โดยเน้นการพัฒนาการบริหารจัดการแหล่งน�ำ้ เพือ่ ชลประทาน การเกษตร การแก้ไขปัญหาภัยพิบตั ิ การอุปโภค และบริโภค ตลอดจนเพื่อการท่องเที่ยว ในปี พ.ศ.2560 ได้ดำ� เนินโครงการสูบน�ำ้ พลังงานแสงอาทิตย์ เพือ่ กลุม่ เกษตร ซึง่ ต่อยอดโครงการเกษตรอินทรียว์ ถิ หี นองบัวล�ำภู ผลิตผักปลอดสารเคมี สร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้กับเกษตรกร จ�ำนวน 6 กลุ่ม เพื่อเป็นต้นแบบ และขยายผลโครงการขุดเจาะ บ่อบาดาลเพิม่ เติม ในอีก 32 พืน้ ทีเ่ ป้าหมายทัว่ จังหวัดหนองบัวล�ำภู

NONGBUALAMPHU 45 .indd 45

24/10/60 01:12:38 PM


โครงการพัฒนาและขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วม บนพื้นทางปัญญา (4P-W) จังหวัดหนองบัวล�ำภู สืบเนือ่ งจากมีการพบข้อมูลว่า ในน�ำ้ มียา ในนามีออ้ ย แผ่นดินหนองบัวล�ำภู อาบยาพิษ ท�ำอย่างไรจึงจะลดการปนเปื้อนจากสารเคมี เกษตรในอาหารและสิ่งแวดล้อมได้ คณะกรรมการพัฒนาและขับเคลือ่ นนโยบาย สาธารณะแบบมีส่วนร่วมบนพื้นทางปัญญา (4P-W) จังหวัดหนองบัวล�ำภู ซึ่งประกอบด้วย ภาคประชาสังคม ภาครัฐ และภาคเอกชน โดยมี นายโชติ เชื้อโชติ รองผู้ว่าราชการจังหวัด หนองบัวล�ำภู เป็นประธาน ได้รว่ มประชุมเพือ่ ก�ำหนดทิศทางการขับเคลือ่ นประเด็นนโยบาย สาธารณะของจังหวัดหนองบัวล�ำภู เพือ่ ให้ทกุ ฝ่าย ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อน ตามทิ ศ ทางที่ ไ ด้ มี ก ารก� ำ หนดเป็ น นโยบาย สาธารณะแบบมีส่วนร่วมบนพื้นทางปัญญา (4P-W) เพื่อน�ำไปสู่สุขภาวะทางด้านสังคม ของจังหวัดหนองบัวล�ำภูอย่างยั่งยืน โดยระยะแรก ปี 2560 จังหวัดหนองบัวล�ำภู ได้กำ� หนดไว้ 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ การปรับเปลีย่ น พฤติกรรมผูป้ ว่ ยโรคเรือ้ รัง การพัฒนาเด็กปฐมวัย แบบบูรณาการ และลดการปนเปือ้ นสารเคมี ภาคเกษตรในอาหารและสิ่งแวดล้อม ด้วย เกษตรอินทรีย์วิถีหนองบัวล�ำภู ซึ่งจะมีวิธีการ ด�ำเนินการขับเคลื่อนน�ำไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้ นายโชติ เชือ้ โชติ รองผูว้ า่ ราชการจังหวัด หนองบัวล�ำภู กล่าวว่า

ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยม ให้กำ� ลังใจเจ้าหน้าที่อ�ำนวยความสะดวกประชาชน ในช่ วงเทศกาลสงกรานต์

รวมทั้งเมื่อเร็วๆ นี้ จังหวัดหนองบัวล�ำภูยังก�ำหนดนโยบายสาธารณะ เพื่อมุ่งไปสู่การมี สุขภาวะที่ดีของสังคมชาวจังหวัดหนองบัวล�ำภู และเรื่องอื่นๆ ต่อไป ซึ่งจะเป็นเรื่องที่มีความ สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดในทุกมิติ ทั้งด้านเกษตรกรรม ด้านการ ท่องเทีย่ ว และด้านอุตสาหกรรม ซึ่งในการด�ำเนินการตามนโยบายสาธารณะนัน้ จะต้องตั้งอยู่ใน หลักการมีสว่ นร่วม มีการด�ำเนินการเป็นกระบวนการ และต้องอยูบ่ นฐานของความรูท้ างวิชาการ ทางปัญญา หรือ (4P-W) ต่อไป

จะเห็นได้วา่ นับวันอาหารปนเปือ้ นสารพิษ จะเป็นปัญหาทีบ่ นั่ ทอนสุขภาพคนหนองบัวล�ำภู ที่นับวันจะทวีความรุนแรง ในที่สุดสุขภาพ คนก็แย่ โดยเฉพาะการเกิดโรคมะเร็งร้าย และ โรคอื่นๆ ฯลฯ ถามว่าเมื่อรู้แล้วว่าอันตราย มากมาย ท�ำไมไม่เลิกใช้ แล้วจะท�ำอย่างไร ดั ง นั้ น คณะท� ำ งานแต่ ล ะฝ่ า ยจ� ำ เป็ น ต้ อ ง ขับเคลื่อนให้เป็นรูปธรรมให้ ได้ โดยประชาชน คนหนองบัวล�ำภูจะต้องหันมาพึ่งตนเองและ ช่วยเหลือกันเอง เป็นประธานในพิธีเปิ ดงานทุกวัยใสใส่ใจ สังคมคุณภาพ

46 SBL Magazine บันทึกประเทศไทย .indd 46

24/10/60 01:12:39 PM


บันทึกเส้นทางพบรองผู้ว่าราชการจังหวัด

โครงการ 9101 ตามรอยเท้าพ่อ ภายใต้ร่มพระบารมี เพื่อการพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืน สืบเนื่องจากคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติเมื่อ วันที่ 4 กรกฎาคม 2560 ให้กระทรวงเกษตร และสหกรณ์ ด�ำเนินโครงการพัฒนาการเกษตร “โครงการ 9101 ตามรอยเท้าพ่อ ภายใต้ ร่ ม พระบารมี เพื่ อ การพั ฒ นาการเกษตร อย่างยัง่ ยืน” โดยได้ดำ� เนินการในพืน้ ที่ 9,101 ชุ ม ชนทั่ ว ประเทศ เพื่ อ สร้ า งความเข้ ม แข็ ง ให้แก่เกษตรกร และชุมชน ด้วยการน้อมน�ำ หลั ก ทฤษฎี แ ละแนวทางการแก้ ไขปั ญ หา ด้ า นการเกษตรต่ า งๆ ที่ พระบาทสมเด็ จ พระปรมินทรมหาภูมพิ ลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ได้พระราชทานไว้ให้ในการส่งเสริมและสนับสนุน ให้เกษตรกร ท�ำการเกษตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ เน้นการลดต้นทุน เพิม่ ผลผลิต พัฒนาคุณภาพ สินค้าเกษตรให้ได้มาตรฐาน และเพิ่มรายได้ ให้แก่เกษตรกรในชุมชน โดยใช้ศนู ย์การเรียนรู้ การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) และเครือข่ายเป็นศูนย์กลางในการพัฒนา

การเกษตรของชุมชน อย่างมีส่วนร่วมแบบ ประชารัฐอย่างยั่งยืน โดยจังหวัดหนองบัวล�ำภู มีชมุ ชนเป้าหมาย 74 ชุมชนเข้าร่วมโครงการ ดังนี้ อ�ำเภอเมือง หนองบัวล�ำภู 19 ชุมชน อ�ำเภอโนนสัง 13 ชุมชน อ�ำเภอศรีบุญเรือง 15 ชุมชน อ�ำเภอนากลาง 11 ชุมชน อ�ำเภอสุวรรณคูหา 10 ชุมชน และ อ�ำเภอนาวัง 6 ชุมชน โดยได้รบั อนุมตั โิ ครงการ จากส�ำนักงบประมาณ จ�ำนวน 119 โครงการ ตามกรอบกิจกรรมด้านการผลิตพืชและพันธุพ์ ชื ด้านการผลิตปุย๋ อินทรีย์ ด้านฟาร์มชุมชน ด้าน การผลิตอาหาร การแปรรูปผลผลิตและผลิตภัณฑ์ ทางการเกษตร ด้านปศุสัตว์ และด้านประมง รวมงบประมาณจ�ำนวนทัง้ สิน้ 185,000,000 บาท นายโชติ เชื้อโชติ รองผู้ว่าราชการจังหวัด หนองบัวล�ำภู เป็นประธานในพิธีจัดท�ำบันทึก ข้อตกลง “ โครงการ 9101 ตามรอยเท้าพ่อ ภายใต้รม่ พระบารมี เพือ่ การพัฒนาการเกษตร

อย่างยัง่ ยืน ” ระหว่างส�ำนักงานเกษตรจังหวัด หนองบัวล�ำภู กับคณะกรรมการฯ ระดับชุมชน ทีห่ อประชุมอ�ำเภอเมืองหนองบัวล�ำภู ซึง่ ท่านได้ กล่าวให้แนวทางแก่เกษตรกรผูเ้ ข้าร่วมโครงการฯ ว่า ขอให้ เ กษตรกรที่ เ ข้ า ร่ ว มโครงการฯ ทุกชุมชน ใช้โอกาสนี้ในการพัฒนาตนเอง พัฒนาชุมชน สร้างความสามัคคีในชุมชน และ ขอให้ดำ� เนินการใช้จา่ ยงบประมาณด้วยความ สุจริต โปร่งใส เกิดประโยชน์ตอ่ พีน่ อ้ งเกษตรกร ในชุมชนอย่างทัว่ ถึง และเกิดความยัง่ ยืนต่อไป

เป็นประธานในพิธีเปิ ดโครงการ หนึ่งใจ...ให้ธรรมมะ

เป็นประธานในพิธีจัดท�ำบันทึกข้อตกลง (MOU)

สืบสานประเพณี งานขึ้นเขาไหว้พระ

NONGBUALAMPHU 47 .indd 47

24/10/60 01:12:40 PM


จากนายอ�ำเภอในภาคอีสาน สู่ปลัดจังหวัดระยอง และรองผู ้ว่าฯ หนองบัวล�ำภู

นายสมศักดิ์ แสนหิรัณย์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดหนองบัวล�ำภู

48 SBL Magazine บันทึกประเทศไทย .indd 48

25/10/60 02:17:40 PM


นายสมศักดิ์ แสนหิรัณย์

รองผู้ว่าราชการจังหวัดหนองบัวล�ำภู นายสมศักดิ์ แสนหิรณ ั ย์ เป็นชาวกรุงเทพมหานคร โดยก�ำเนิด ท่านเป็นศิษย์เก่าโรงเรียนวัดราชาธิวาส กรุงเทพมหานคร และส�ำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี จากคณะสั ง คมศาสตร์ สาขาวิ ช าเอกรั ฐ ศาสตร์ (ในขณะนั้น) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ท่านมีประสบการณ์การท�ำงานคลุกคลีกับพื้นที่ ในภาคอีสานมาหลายจังหวัด ในคราวทีด่ �ำรงต�ำแหน่ง นายอ� ำ เภอสั ง ขะ จั ง หวั ด สุ ริ น ทร์ (พ.ศ.2553) นายอ�ำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ (พ.ศ.2555) นายอ�ำเภอเมืองอ�ำนาจเจริญ จังหวัดอ�ำนาจเจริญ ( พ.ศ.2554 และ 2558) และไปรั บ ต� ำ แหน่ ง ปลัดจังหวัดระยองเป็นจังหวัดสุดท้าย ก่อนจะได้รับ การแต่ ง ตั้ ง เป็ น “รองผู ้ ว ่ า ราชการจั ง หวั ด หนองบัวล�ำภู” เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ.2559 นายธนากร อึ้งจิตรไพศาล ผู้ว่าราชการจังหวัด หนองบัวล�ำภู ได้มีค�ำสั่งที่ 2700/2559 ลงวันที่ 6 ธั น วาคม 2559 เรื่ อ ง แก้ เ พิ่ ม เติ ม ค� ำ สั่ ง จั ง หวั ด หนองบัวล�ำภู ที่ 2250/2559 ลงวันที่ 14 ตุลาคม 2559 การมอบอ�ำนาจของผูว้ า่ ราชการจังหวัดหนองบัวล�ำภู ให้รองผู้ว่าราชการจังหวัดหนองบัวล�ำภู หัวหน้า ส่วนราชการส่วนภูมภิ าค หัวหน้าส่วนราชการส่วนกลาง และนายอ�ำเภอ ปฏิบัติราชการแทนและมอบหมาย ให้กำ� กับดูแล โดยได้มอบหมายให้นายสมศักดิ์ แสนหิรณ ั ย์ รองผูว้ า่ ราชการจังหวัดหนองบัวล�ำภู ได้รบั มอบอ�ำนาจ ให้ก�ำกับดูแลส�ำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น จังหวัดหนองบัวล�ำภู และงานด้านพระพุทธศาสนา วัฒนธรรม เป็นต้น การประชุ ม ตามโครงการตรวจติ ด ตาม ผลการด�ำเนินงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ การปฏิ บั ติ ง านให้ แ ก่ อ งค์ ก รปกครอง ส่วนท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัดหนองบัวล�ำภู ในพืน้ ที่อำ� เภอโนนสัง วันที่ 5 มิถนุ ายน 2560

NONGBUALAMPHU 49 .indd 49

25/10/60 02:17:41 PM


บันทึกเส้นทางพบรองผู้ว่าราชการจังหวัด

การประชุ ม ตามโครงการตรวจติ ด ตาม ผลการด�ำเนินงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ การปฏิ บั ติ ง านให้ แ ก่ อ งค์ ก รปกครอง ส่วนท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัดหนองบัวล�ำภู ในพื้นที่อ�ำเภอศรีบุญเรือง

โดยส�ำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิน่ จังหวัด มีโครงสร้างการบริหารงานภายใน ได้แก่ งานบริหารทั่วไป งานมาตรฐานการ บริหารงานบุคคลส่วนท้องถิน่ งานส่งเสริมและ พั ฒ นาท้ อ งถิ่ น งานกฎหมายระเบี ย บและ เรือ่ งร้องทุกข์ งานการเงิน บัญชี และการตรวจสอบ งานขอท�ำความตกลงเพื่อยกเว้นการปฏิบัติ งานหารือข้อกฎหมาย งานเสนอเรือ่ งเพือ่ วินจิ ฉัย กรณีที่ อปท.ไม่เห็นด้วยกับ สตง. เฉพาะระเบียบ เกี่ยวกับการเงิน นอกจากการก� ำ กั บ ดู แ ลส� ำ นั ก ส่ ง เสริ ม การปกครองท้องถิน่ จังหวัดหนองบัวล�ำภูแล้ว นายสมศั ก ดิ์ แสนหิรัณย์ รองผู้ว ่าราชการ จังหวัดหนองบัวล�ำภู ยังได้กรุณาเป็นประธาน ในการด� ำ เนิ น งานเพื่ อ เพิ่ ม ประสิ ท ธิ ภ าพ

การปฏิบตั งิ านให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ ในพื้นที่จังหวัดหนองบัวล�ำภู ซึ่งได้ดำ� เนินการ ไปแล้ว จ�ำนวน 4 ครั้ง ได้แก่ อปท.ในเขตพื้นที่ อ�ำเภอเมืองหนองบัวล�ำภู, อปท.ในเขตพื้นที่ อ�ำเภอศรีบุญเรือง, อปท.ในเขตพื้นที่อ�ำเภอ นากลาง และ อปท.ในเขตพื้นที่อำ� เภอโนนสัง

ท�ำงานการขุดลอกอ่างเก็บน�ำ้ วัดหนองน�ำ้ เพชร และอืน่ ๆ ซึง่ จากการปฏิบตั หิ น้าทีร่ องผูว้ า่ ราชการ จั ง หวั ด หนองบั ว ล� ำ ภู ม าครบวาระหนึ่ ง ปี นี้ นายสมศักดิ์ แสนหิรณ ั ย์ รองผูว้ า่ ราชการจังหวัด หนองบัวล�ำภู ได้ช่วยขับเคลื่อนการพัฒนา จังหวัดหนองบัวล�ำภูให้บรรลุวสิ ยั ทัศน์จงั หวัดทีว่ า่

นายสมศักดิ์ แสนหิรณ ั ย์ รองผูว้ า่ ราชการ จังหวัดหนองบัวล�ำภู ยังได้รบั มอบหมายให้ไป ปฏิบตั หิ น้าทีแ่ ทนผูว้ า่ ราชการจังหวัดหนองบัวล�ำภู เป็นครัง้ คราว อาทิ เป็นประธานการประชุมซักซ้อม เตรียมความพร้อมการป้องกันและแก้ไขปัญหา หมอกควันและไฟป่า เป็นประธานประเมิน โครงการคัดเลือกหมูบ่ า้ นดีเด่น (บ้านสวย เมืองสุข ปี 2560) มอบสิง่ ของบรรเทาทุกข์แก่ผปู้ ระสบเหตุ เพลิงไหม้ ในอ�ำเภอศรีบญ ุ เรือง การติดตามการ

หนองบัวล�ำภูเป็นเมืองน่าอยู ่ เคียงคู่รู้คา่ ธรรมชาติ ประชาชนชาญฉลาดท�ำกิน ในดินแดนสันติสุข

50 SBL Magazine บันทึกประเทศไทย .indd 50

25/10/60 02:17:42 PM


การประชุ มตามโครงการตรวจติดตามผลการด�ำเนินงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานให้แก่ องค์การบริหารส่วนจังหวัดหนองบัวล�ำภู วันที่ 14 มิถุนายน 2560

การประชุ มตามโครงการตรวจติดตามผลการด�ำเนินงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานให้แก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัดหนองบัวล�ำภู ในพื้นที่อ�ำเภอเมืองหนองบัวล�ำภู วันที่ 16 มิถุนายน 2560

การประชุ มตามโครงการตรวจติดตามผลการด�ำเนินงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานให้แก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัดหนองบัวล�ำภู ในพื้นที่อ�ำเภอนากลาง วันที่ 20 มิถุนายน 2560

NONGBUALAMPHU 51 .indd 51

25/10/60 02:17:45 PM


การท�ำงานขอให้ยึดเป้าหมาย ยึด ระเบียบ กฎหมาย และประโยชน์ ของส่วนรวมเป็นหลัก ซึ่ งจะเป็น เกราะในการป้องกันตนอย่างดีท่สี ุด

นางโพยมรัตน์ หาญศักดิ์วิธีกุล ท้องถิ่นจังหวัดหนองบัวล�ำภู

นางโพยมรัตน์ หาญศักดิ์วิธีกุล ท้องถิ่นจังหวัดหนองบัวล�ำภู

“นางโพยมรัตน์ หาญศักดิ์วิธีกุล” ท้องถิ่นจังหวัดหนองบัวล�ำภู ได้ฝากไว้ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งเป็นหน่วยงานราชการที่มีความ ใกล้ชิดกับประชาชนในท้องถิ่นมากที่สุดหน่วยงานหนึ่งให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีความโปร่งใส ไร้ข้อครหาจากหลัก การท�ำงานดังกล่าวนี้เอง มีส่วนส่งเสริมให้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัดหนองบัวล�ำภู ได้รับรางวัลระดับประเทศหลายรางวัล รวมทั้ง ส�ำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัด ก็ได้รับรางวัลชมเชย “หน่วยงานที่จัดท�ำบัญชีดีเด่น” ประจ�ำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 ถึงแม้วา่ จะเป็น เพียงรางวัลชมเชย แต่ก็เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการสร้างขวัญและก�ำลังใจให้แก่บุคลากรของส�ำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดหนองบัวล�ำภู เพื่อให้มีการพัฒนางานให้ดียิ่งๆ ขึ้นไป (มี 4 หน่วยงานที่ได้รับรางวัล) 52 SBL Magazine บันทึกประเทศไทย Ver2.indd 52

25/10/60 02:21:00 PM


ที่เที่ยวเด่น เน้นเศรษฐกิจพอเพียง

ภาพรวมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ ในพืน้ ทีจ่ งั หวัดหนองบัวล�ำภู มีจุดเด่น คือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ซึ่งมี ทรัพยากรธรรมชาติทอี่ ดุ มสมบูรณ์ เหมาะแก่การท�ำเกษตรกรรม อีกทัง้ ยังมีพื้นที่ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นบางแห่ง มีร่องรอยของยุค ก่อนประวัตศิ าสตร์ เช่น พิพธิ ภัณฑ์กดุ กวางสร้อย ในพืน้ ที่ อบต.บ้านถิน่ ต.บ้านถิน่ อ.โนนสัง พิพธิ ภัณฑ์หอยหิน 150 ล้านปี และมีหนุ่ ไดโนเสาร์ จ� ำ ลองตั ว แรกที่ เ คลื่ อ นไหวได้ แ ห่ ง แรกของประเทศไทย ในพื้ น ที่ อบต.โนนทัน อ.เมืองฯ รวมทัง้ มีแหล่งท่องเทีย่ วทางธรรมชาติหลายแห่ง การทีม่ พี นื้ ทีส่ ว่ นใหญ่เป็นพืน้ ทีท่ เี่ หมาะแก่การประกอบเกษตรกรรม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จึงได้มีการส่งเสริมให้ประชาชนในพื้นที่ได้ น้ อ มน� ำ หลั ก ปรั ช ญาเศรษฐกิ จ พอเพี ย งของพระบาทสมเด็ จ พระ ปรมินทรมหาภูมพิ ลอดุลยเดชมาประยุกต์ใช้ในชีวติ ประจ�ำวัน ซึง่ จะเห็น ได้วา่ ได้เกิดกลุม่ เกษตรอินทรียห์ ลายกลุม่ มีการส่งเสริมการทอผ้าพืน้ เมือง ที่มีชื่อเสียงเช่น ผ้าทอกุดกวางสร้อย หรือ ผ้าไหมกุดแห่ เป็นต้น

หลักการเสริมสร้างผลสัมฤทธิใ์ ห้แก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิน่

ส�ำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิน่ จังหวัด มีภารกิจในการส่งเสริม และสนับสนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้ความเข้มแข็ง โดยมีหลัก ในการท�ำงานคือต้องท�ำตัวให้เป็นตัวอย่างแก่ขา้ ราชการในสังกัดส�ำนักงาน ส่งเสริมการปกครองท้องถิน่ จังหวัด/อ�ำเภอ และส่งเสริมให้ขา้ ราชการ/พนักงาน ของทัง้ จังหวัดและอ�ำเภอ ท�ำตัวเป็นแบบอย่างอีกด้วย โดยต้องมีมาตรฐาน ในการท�ำงาน พัฒนาความรู้ ความสามารถของตนเองอยูเ่ สมอ ขยันลงพืน้ ที่ เพือ่ พบปะผูบ้ ริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ เพือ่ รับทราบปัญหา อุปสรรคของการด�ำเนินงาน นอกจากนีก้ ต็ อ้ งเป็นทีป่ รึกษาในการปฏิบตั งิ าน ให้กบั องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นได้ หากเกิดปัญหาในทางปฏิบัติก็หาทางออกที่ดีที่ถูกต้อง ท�ำให้การท�ำงานไม่มีอุปสรรคทั้งยังน�ำผลงานที่ประสบผลส�ำเร็จของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ มาเผยแพร่ให้สว่ นราชการทัง้ ส่วนกลางและ ส่วนภูมภิ าคได้รบั ทราบ เช่น น�ำเสนอให้ทปี่ ระชุมโครงการเพิม่ ประสิทธิภาพ ผูบ้ ริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ ทีม่ กี ารประชุมทุกเดือน และน�ำเสนอ ต่อทีป่ ระชุมผูบ้ ริหารของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิน่ ท�ำให้ได้รบั ความ สนใจจากส่วนราชการ หน่วยงานต่างๆ รวมทัง้ องค์กรเอกชน เป็นจ�ำนวนมาก

NONGBUALAMPHU 53 Ver2.indd 53

25/10/60 02:21:03 PM


จุดเน้นของแผนพัฒนา องค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ ในภาพรวมทัง้ จังหวัดหนองบัวล�ำภู แผนพัฒนา ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในพื้นที่ จะเน้น ไปในด้านโครงสร้างพื้นฐาน เป็นส่วนใหญ่ซึ่งเป็น ความต้องการของประชาชน เป็นอันดับหนึง่ แต่สำ� นักงาน ส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดหนองบัวล�ำภู ก็ได้ประชุมชี้แจงและแนะน�ำว่าในแผนพัฒนาของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ต้องด�ำเนินการทุกด้าน ตามที่ ร ะเบี ย บก� ำ หนด และที่ ส� ำ คั ญ การจั ด ท� ำ โครงการและกิ จ กรรมตามแนวทางปรั ช ญาของ เศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางปฏิบัติ และบรรจุ ไว้ในแผนพัฒนาองค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ โดยเฉพาะ โครงการ “น�ำ้ คือชีวิต” ศาสตร์พระราชา สู่แปลง เกษตรผสมผสานตามแนวทางประชารัฐ

ข้อเสนอแนะ เพื่องานที่มีประสิทธิภาพ องค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ ควรมีความรู้ ความเข้าใจ ในการปฏิบัติหน้าที่ให้ถูกต้องตามระเบียบกฎหมาย รู้บทบาทและอ�ำนาจหน้าที่ ที่ถูกต้องตามกฎหมาย มีการศึกษาปัญหาความต้องการและแนวทางแก้ไข ปัญหาอย่างแท้จริง โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ควรมีงบประมาณและก�ำลังคนที่เพียงพอต่อการ ปฏิบัติหน้าที่ เพื่อเป็นการเสริมสร้างศักยภาพของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ ให้มากยิง่ ขึน้ ในด้านการ บริหารงบประมาณและด้านการวางแผนบุคลากร ส� ำ นั ก งานส่ ง เสริ ม การปกครองท้ อ งถิ่ น จั ง หวั ด หนองบั ว ล� ำ ภู ได้ จั ด ท� ำ โครงการเพื่ อ ให้ อ งค์ ก ร ปกครองส่ ว นท้ อ งถิ่น สามารถปฏิบัติงานให้เกิด ประสิทธิภาพและประสิทธิผล เช่น ได้จดั ท�ำ “โครงการ ฝึกอบรมการจัดท�ำงบประมาณรายจ่าย ประจ�ำปี งบประมาณ พ.ศ. 2561” เพื่อให้ องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิน่ มีความเข้าใจในวิธกี ารจัดท�ำงบประมาณ รายจ่ายประจ�ำปีที่ถูกต้อง การจัดโครงการฝึกอบรม เชิงปฏิบตั กิ าร การจัดท�ำแผนอัตราก�ำลัง 3 ปี (25612563) เพื่อให้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีการ วิเคราะห์งาน และวิเคราะห์กำ� ลังคน เพือ่ ให้เพียงพอ ต่อการปฏิบัติงาน ท�ำให้การท�ำงานมีประสิทธิภาพ มีความคุ้มค่าต่อภารกิจ

รางวัลที่ภาคภูมิใจ สิง่ ทีภ่ าคภูมใิ จ คือได้กำ� กับดูแลการปฏิบตั งิ านของข้าราชการในส�ำนักงานส่งเสริมการปกครอง ท้องถิน่ จังหวัด และส�ำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิน่ ในอ�ำเภอ รวมทัง้ ได้เป็นผูช้ ว่ ยเหลือ ผู้ว่าราชการจังหวัด ในการก�ำกับดูแลการปฏิบัติงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและ ส่งเสริมสนับสนุนการปฏิบตั งิ านขององค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ ให้เป็นไปตามกฎหมายและ ระเบียบทีเ่ กีย่ วข้องเพือ่ ให้การปฏิบตั งิ านบรรลุวตั ถุประสงค์และเป้าหมายของการด�ำเนินงาน และในปีงบประมาณ พ.ศ.2560 ส�ำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิน่ จังหวัดหนองบัวล�ำภู ได้รบั รางวัลชมเชยหน่วยงานทีจ่ ดั ท�ำบัญชีดเี ด่น ประจ�ำปีงบประมาณ พ.ศ.2560 ถือเป็น แบบอย่างทีด่ ใี ห้แก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ รวมทัง้ มีสว่ นส่งเสริมสนับสนุนให้องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นหลายแห่ง ได้รับรางวัลระดับประเทศ กล่าวคือ 1. เทศบาลต�ำบลโนนสัง อ.โนนสัง ได้รับเกียรติบัตร “โครงการเมืองสวยใสไร้มลพิษ (Clean and Green City)” ประจ�ำปีงบประมาณ 2560 จากกรมควบคุมมลพิษ กระทรวง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 2. เทศบาลต�ำบลหัวนา อ.เมืองหนองบัวล�ำภู ได้รบั การคัดเลือกเป็น สุดยอดคนพลังงาน ระดับประเทศ สาขาองค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ (อปท.) จัดการพลังงานครบวงจรยอดเยีย่ ม ในโครงการประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมการจัดการพลังงานที่ดีในระดับชุมชน ประจ�ำปี พ.ศ. 2560 จากกระทรวงพลังงาน 3. บ้านโพธิ์ศรีส�ำราญ หมู่ 13 เทศบาลต�ำบลหัวนา อ�ำเภอเมืองหนองบัวล�ำภู ได้รับ รางวัลชนะเลิศ การประกวดการพัฒนาและรณรงค์การใช้หญ้าแฝก อันเนือ่ งมากจากพระ ราชด�ำริ ครั้งที่ 10 ประจ�ำปี พ.ศ. 2559-2560 ประเภทส่งเสริมการปลูกและขยายผล พื้นที่ เชิงลาดแหล่งน�ำ้ /ไหล่ทาง : ระดับชุมชน จากมูลนิธชิ ยั พัฒนา ส�ำนักงาน กปร. กรมพัฒนาทีด่ นิ บริษัท ปตท. จ�ำกัด (มหาชน) 4. โครงการโดดเด่น (Best Practice) ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอีกหลายแห่งที่ น�ำไปเป็นแบบอย่างได้ ไม่ว่าด้านบริหารจัดการขยะ ศูนย์เรียนรู้ ตามแนวทางปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง ฯลฯ

54 SBL Magazine บันทึกประเทศไทย Ver2.indd 54

25/10/60 02:21:09 PM


บันทึกเส้นทางพบรองผู้ว่าราชการจังหวัด

จากใจท้องถิ่นจังหวัดหนองบัวล�ำภู สิ่งที่ต้องการฝากไปยัง องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นมีด้วยกันหลายเรื่อง ประการแรก อยากจะให้การท�ำงานร่วมกัน ระหว่างท้องถิ่นกับท้องที่ ก�ำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ปกครองท้องที่กับผู้บริหารองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นต้องประสานการท�ำงานร่วมกัน เพราะทัง้ 2 ฝ่ายอยูใ่ นพืน้ ทีเ่ ดียวกัน คือ ในเขต หมู่บ้าน ต�ำบลเดียวกัน โดยท้องที่มีอ�ำนาจ ตามประมวลกฎหมายวิธพี จิ ารณาความอาญา และกฎหมายลักษณะปกครองท้องที่ ส่วน ผูบ้ ริหารท้องถิน่ มีงบประมาณในการสนับสนุน การท�ำงาน ฉะนั้น จึงอยากให้ผู้น�ำท้องถิ่น กับท้องที่ มีการประสานงานที่ดีต่อกัน เพื่อ ตอบสนองความต้องการของประชาชนในพืน้ ที่ เดียวกันได้อย่างแท้จริง ประการที่สอง อยากให้ องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิน่ ศึกษาปัญหา ในภาพรวมว่ามีปญ ั หา อะไรบ้างและร่วมกันแก้ไขปัญหา เพื่อจะแก้ ได้อย่างถูกจุด และใช้งบประมาณที่เหมาะสม

ประการทีส่ าม เป็นทีท่ ราบกันดีวา่ ในขณะนี้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ มีปญ ั หาด้านรายได้ เพราะมีรายได้นอ้ ยไม่เพียงพอต่อการบริหารงาน เนือ่ งจากยังต้องอาศัยเงินอุดหนุนของรัฐบาลอยู่ จึงอยากให้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ ได้หาวิธี การสร้างรายได้ โดยส�ำนักงานส่งเสริมการปกครอง ท้องถิ่นจังหวัดหนองบัวล�ำภูเอง ก็จะพยายาม ผลักดัน โดยประสานกับทรัพยากรบุคคลทีเ่ รา มี อ ยู ่ ม าช่ ว ยในการเสนอค� ำ ของบประมาณ ไปยังส่วนกลาง และหาวิธกี ารอืน่ ๆ เพือ่ สนับสนุน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ต่อไป ประการที่สี่ ปัญหาการร้องเรียนทุจริต ในท้ อ งถิ่ น อยากให้ ผู ้ บ ริ ห ารท้ อ งถิ่ น และ เจ้าหน้าทีไ่ ด้มคี วามรูค้ วามเข้าใจ โดยการศึกษา ระเบียบกฎหมาย และท�ำความเข้าใจกับประชาชน ในพื้ น ที่ ใ นการด� ำ เนิ น การด้ า นต่ า งๆ และ ให้ท้องถิ่นปฏิบัติตามระเบียบกฎหมายอย่าง เคร่งครัด โปร่งใส เพื่อลดปัญหาการร้องเรียน ดังกล่าว ประการทีห่ า้ การท�ำงานขอให้ยดึ เป้าหมาย

ยึ ด ระเบี ย บ กฎหมาย และประโยชน์ ข อง ส่วนรวมเป็นหลัก ซึง่ จะเป็นเกราะในการป้องกัน ตนอย่างดีที่สุด ประการสุดท้าย การปฏิบตั งิ านในปัจจุบนั ขอให้เปลีย่ นแนวคิด ทัศนคติ ในการท�ำงานใหม่ โดยให้นึกถึงเป้าหมายเป็นหลัก ยึดกฎหมาย และระเบียบ เป็นเครือ่ งมือในการท�ำงาน หาก ไม่สามารถด�ำเนินการได้เพราะระเบียบอาจ ไม่ก�ำหนดแนวทางไว้ เราก็มีทางออกในการ ขอยกเว้นการปฏิบตั ติ ามระเบียบ ต่อผูม้ อี ำ� นาจ เพื่ อ ให้ ง านสามารถด� ำ เนิ น การต่ อ ได้ แ ละ เกิ ด ประโยชน์ ต ่ อ ประชาชนโดยรวม และ ทางราชการไม่เสียหายแต่ไม่ได้หมายความว่า ให้ ท� ำ ผิ ด ระเบี ย บเพี ย งหาทางออกว่ า เมื่ อ การปฏิ บั ติ ง านบางอย่ า งเกิ ด ปั ญ หาติ ด ขั ด ก็ต้องให้หาทางออกที่ถูกต้องต่อไป

NONGBUALAMPHU 55 Ver2.indd 55

25/10/60 02:21:11 PM


พระพุ ทธศาสนามีความเจริญมั่นคง พุ ทธศาสนิกชนเข้มแข็ง มีความสุขด้วยหลักพุ ทธธรรม ส่งเสริมศีลธรรม ค�้ำจุ นสังคม

วิสัยทัศน์ ของส�ำนักงานพระพุทธศาสนา จังหวัดหนองบัวล�ำภู

นายทรงพุ ฒิ ชรินทร์

ผู ้อ�ำนวยการส�ำนักงานพระพุ ทธศาสนาจังหวัดหนองบัวล�ำภู ส�ำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดหนองบัวล�ำภู เป็นหน่วยงานที่ได้รับมอบโล่ประกาศเกียรติคุณ จาก สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ผูป้ ฏิบตั หิ น้าที่ สมเด็จพระสังฆราช) ในฐานะที่เป็นจังหวัดดีเด่น ที่มีผู้สมัครเข้าร่วมโครงการ “ หมูบ่ า้ นรักษาศีล 5 ” เกิน 80% ทัง้ นีด้ ว้ ยการน�ำของ นายทรงพุฒิ ชรินทร์ ผู ้ อ� ำ นวยการส� ำ นั ก งานพระพุ ท ธศาสนาจั ง หวั ด หนองบัวล�ำภู ซึง่ ในวันนี้ ท่านผูอ้ ำ� นวยการฯ ทรงพุฒิ ชรินทร์ ได้ให้สมั ภาษณ์แก่ นิตยสาร SBL บันทึกประเทศไทย เกี่ยวกับสภาพสังคมและบทบาทของพระภิกษุสงฆ์

ในจังหวัดหนองบัวล�ำภู ภารกิจส�ำคัญ 9 ประการ ของส�ำนักงานฯ แนะน�ำวัดดีน่าเที่ยว ซึ่งในตอนท้าย ท่านยังได้อัญเชิญพระราชด�ำรัสของพระบาทสมเด็จ พระปรมิ น ทรมหาภู มิ พ ลอดุ ล ยเดช มาเผยแพร่ เพื่อเป็นประโยชน์และสิริมงคลแก่ชีวิต รางวัลที่ภาคภูมิใจ ส�ำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดหนองบัวล�ำภู ได้ รั บ รางวั ล ที่ 1 หน่ ว ยงานที่ มี ผ ลการเบิ ก จ่ า ย งบลงทุ น ดี เ ด่ น ที่ มี ว งเงิ น ต�่ ำ กว่ า 10 ล้ า นบาท ประจ�ำปีงบประมาณ พ.ศ.2560

56 SBL Magazine บันทึกประเทศไทย .

.indd 56

25/10/60 02:17:54 PM


ประชุมแก้ไขปัญหาที่พักสงฆ์ในพื้นที่ป่าไม้ ในเขตอ�ำเภอสุวรรณคูหา นโยบาย-ภารกิจ พศจ.หนองบัวล�ำภู ส�ำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดหนองบัวล�ำภู มีนโยบายในการสนองงานกิจการคณะสงฆ์ ทัง้ 6 ด้าน ได้แก่ ด้านการปกครอง, ด้านการศึกษา, ด้านสาธารณูปการ, ด้านการศึกษาสงเคราะห์, ด้านการสาธารณะสงเคราะห์ และด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ผลงานโดดเด่นของ พศจ.หนองบัวล�ำภู วันที่ 12 สิงหาคม 2549 ได้รับโล่เชิดชูเกียรติ/ เกียรติบัตร ผลงานออกเอกสารสิทธิ์ จ�ำนวน 160 วัด วันที่ 22 พฤศจิกายน 2549 ได้รบั โล่เชิดชูเกียรติ/ เกียรติบตั ร ผลงานด้านการสร้างวัด ตัง้ วัดเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดหนองบัวล�ำภู จ�ำนวน 80 วัด วั น ที่ 1 พฤศจิ ก ายน 2558 สมเด็จพระมหา รัชมังคลาจารย์ ผูป้ ฏิบตั หิ น้าทีส่ มเด็จพระสังฆราช มอบ โล่เกียรติคุณเพื่อประกาศว่า คณะสงฆ์และประชาชน จังหวัดหนองบัวล�ำภู เป็นจังหวัดดีเด่น ที่มีผู้สมัคร เข้าร่วมโครงการ “ หมูบ่ า้ นรักษาศีล 5 ” เกิน 80%

แนะน�ำวัดดีน่าเที่ยวเก็บเกี่ยวพระธรรม จังหวัดหนองบัวล�ำภู มีวดั ทีน่ า่ สนใจหลายแห่ง ซึง่ จัดเป็นแหล่งท่องเทีย่ ว ทางวัฒนธรรมประเพณี ดังนี้

1 วั ด ถ�้ ำ กองเพล เดิมเป็นวัดวิปัสสนากรรมฐานของพระอาจารย์

หลวงปู่ขาว อนาลโย บริเวณวัดร่มรื่น สงบปัจจุบัน เป็นที่ตั้งพิพิธภัณฑ์ อัฐบริขารของหลวงปูข่ าว มีกฏุ หิ ลวงปูข่ าว หุน่ ขีผ้ งึ้ หลวงปูข่ าว เป็นสิง่ ศักดิส์ ทิ ธิ์ ที่ประชาชนเคารพบูชา ตั้งอยู่เขตพื้นที่อ�ำเภอเมืองหนองบัวล�ำภู 2 วัดถ�้ำสุวรรณคูหา มีพระพุทธรูปและหลักศิลาจารึก โบราณมากมาย ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ อ�ำเภอสุวรรณคูหา 3 วัดมหาชั ย เดิมชือ่ “ วัดมหาธาตุไตรยภูมิ ” เป็นวัดโบราณสร้างเมือ่ ปี พ.ศ.2026 ตั้งอยู่ริมหนองบัว ในตัวเมืองหนองบัวล�ำภู เป็นวัดส�ำคัญคู่บ้าน คู่เมืองมาตั้งแต่สมัยการตั้งเมือง ภายในวัดมหาชัยมีหอพระบาง สร้างขึ้น เพือ่ เป็นทีป่ ระดิษฐานพระบาง พระพุทธรูปส�ำคัญคูบ่ า้ นคูเ่ มืองหนองบัวล�ำภู 4 วัดศรีคูณเมือง เดิมชื่อ “ วัดคนชุมน�้ำออกบ่อ ” ปัจจุบันตั้งอยู่ที่ วัดบ้านเหนือ ถนนวรราชภักดี หมู่ที่ 5 ต�ำบลล�ำภู อ�ำเภอเมือง จังหวัด หนองบัวล�ำภู สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย สร้างเมื่อปี พ.ศ.2310 เดิม เป็นวัดโบราณทีส่ ร้างในสมัยทีด่ นิ แดนแถบบนนีเ้ ป็นทีอ่ ยูข่ องชาติขอม ละว้า และลาว มี ซ ากอุ โ บสถ์ เ ก่า แก่ มี ใ บเสมาหิ น เป็ น หิ น ภูเขา ปูชนียวัตถุ มีพระพุทธรูปอยู่ในสถูปเรียกว่า “ หลวงพ่อพระไชยเชษฐา ”

NONGBUALAMPHU 57 .

.indd 57

25/10/60 02:17:56 PM


ฝากให้ช่วยกันจรรโลงพระพุ ทธศาสนา พระพุทธศาสนาจะเจริญรุ่งเรืองยั่งยืน สืบไป เป็นเรื่องที่ทุกคนต้องช่วยกัน ไม่ใช่ เฉพาะบุ ค คลใดบุ ค คลหนึ่ ง ไม่ ว ่ า จะเป็ น พุ ท ธศาสนิ ก ชน พระภิ ก ษุ ส งฆ์ หรื อ ผู ้ เ กี่ ย วข้ อ งทุ ก ส่ ว น ต่ า งมี ค วามส� ำ คั ญ ต่อพระพุทธศาสนา เพือ่ ให้พระพุทธศาสนา เจริญรุ่งเรืองยั่งยืนสืบไป ควรปลูกฝั่งเริ่มต้น ที่ตัวบุคคล เสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ ในหลักธรรมค�ำสอนของพระพุทธศาสนา และสร้ า งเข้ า ใจวิ ธี ก ารปฏิ บั ติ ที่ จ ะเป็ น หนทางทีจ่ ะไปสูแ่ ก่นแท้ของพระพุทธศาสนา การเป็นพุทธศาสนิกชนที่ดี ควรยึดมั่นใน หลักค�ำสอนของพระพุทธเจ้า ประพฤติตน เป็ น คนดี กล่ า วคื อ เชื่ อ ฟั ง ค� ำ สั่ ง สอนใน องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างตัง้ ใจ เรียนรู้ ที่จะปฏิบัติตาม เพื่อให้เกิดความเข้าใจใน ค�ำสอนนั้นอย่างถ่องแท้ ขอน้อมน�ำพระราชด�ำรัส พระบาทสมเด็จ พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ซึ่งได้ พระราชทานในการเสด็จฯ พุทธสมาคมแห่ง ประเทศไทย วันที่ 26 พฤศจิกายน 2513 มาเผยแพร่เพื่อเป็นประโยชน์และสิริมงคล แก่ชีวิต

พระพุ ทธศาสนาแสดงความจริงของชี วติ แสดงทางปฏิบตั ทิ ่จี ะให้บรรลุความสุขสูงสุด ของชี วิ ต มี วิ ธี ก ารสั่ ง สอนที่ ยึ ด หลั ก เหตุ แ ละผล...ว่ า ทุ ก สิ่ งเกิ ด จากเหตุ ผู ใ้ ดประกอบเหตุอย่างไรเพียงใด...ก็ได้ผลนัน้ เพียงนัน้ ...

โครงการ “เฉลิมฉลองมหกรรมวันอาสาฬหบูชา” พ.ศ. 2560 จังหวัดหนองบัวล�ำภู

58 SBL Magazine บันทึกประเทศไทย .

.indd 58

25/10/60 02:17:58 PM


ประชุมแก้ปัญหา ที่พักสงฆ์ในพื้นที่ป่าไม้ ในเขตอ�ำเภอเมืองหนองบัวล�ำภูและอ�ำเภอศรีบุญเรือง ข้อมูลของวัดในจังหวัดหนองบัวล�ำภู จังหวัดหนองบัวล�ำภู มีจ�ำนวนวัดทั้งหมด 472 วัด (อ้างอิงตามทะเบียนวัดของส�ำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ณ วันที่ 29 มีนาคม 2560) โดยมีวัดที่เป็นพระอารามหลวง จ�ำนวน 2 แห่ง ประกอบด้วย วัดพิศาลรัญญาวาส (พระอารามหลวงชัน้ ตรี ชนิดสามัญ) สังกัดธรรมยุต ตัง้ อยูท่ ตี่ ำ� บลหนองบัว อ�ำเภอเมืองหนองบัวล�ำภู จังหวัดหนองบัวล�ำภู วัดศรีสระแก้ว (พระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ) สังกัดมหานิกาย ตั้งอยู่ที่ต�ำบลนามะเฟือง อ�ำเภอเมืองหนองบัวล�ำภู จังหวัดหนองบัวล�ำภู

มอบสิ่งของและให้ก�ำลังใจ ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย NONGBUALAMPHU 59 .

.indd 59

25/10/60 02:17:59 PM


บันทึกเส้นทาง กอ.รมน.จังหวัด น.ภ.

กอ.รมน. เพื่อความมั่นคง-สงบสุขของหนองบัวล�ำภู

พันเอกปริชญ์ สุคันธศรี

รองผู้อำ� นวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัดหนองบัวล�ำภู (ฝ่ายทหาร)

กอ.รมน. จังหวัด น.ภ. มุ่งมั่นบูรณาการ ประสานงานเป็นเลิศ เชิดชูคุณธรรม ผู้น�ำความมั่นคง ด�ำรงความสามัคคี

กองอ�ำนวยการรักษาความมัน่ คงภายใน ราชอาณาจักร มีฐานะเป็นส่วนราชการรูปแบบเฉพาะ

อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาซึ่งขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี วิธีการ ปฏิบัติราชการและการบริหารงาน การจัดโครงสร้างการแบ่งส่วน งานและอ�ำนาจหน้าที่ของส่วนงาน และอัตราก�ำลังให้เป็นไปตาม ที่คณะรัฐมนตรีก�ำหนด ส่วน กองอ�ำนวยการรักษาความมั่นคง ภายในจังหวัดหนองบัวล�ำภู ขึ้นตรงต่อผู้อ�ำนวยการรักษาความ มั่นคงภายในภาค 2

บทบาทและหน้าที่

สถานการณ์ความมั่นคงของชาติ

กองอ� ำ นวยการรั ก ษาความมั่ น คงภายในจั ง หวั ด หนองบัวล�ำภู มีหน้าที่รับผิดชอบและสนับสนุนการรักษาความ มั่นคงภายในเขตพื้นที่รับผิดชอบของจังหวัด ตามที่ผู้อ�ำนวยการ รักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรมอบหมาย และมีอ�ำนาจ หน้าที่ตามที่ผู้อ�ำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ก�ำหนด โดยวางแผน อ�ำนวยการ ประสานงาน และก�ำกับดูแล การด� ำ เนิ น การตามนโยบายและยุ ท ธศาสตร์ ด ้ า นความมั่ น คง แห่งชาติ และความสงบสุขของประชาชนภายใต้การปกครอง ในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

เนือ่ งจากในพืน้ ทีต่ อ้ งเผชิญกับปัญหาความมัน่ คง ซึง่ มีความแตกต่างกันทัง้ ด้านเศรษฐกิจ การเมืองและสังคมจิตวิทยา ในขณะทีป่ ระเทศไทย ถือเป็นศูนย์กลางความเจริญ มีความอุดมสมบูรณ์ทั้งด้านทรัพยากรและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ จึงส่งผลให้เกิดปัญหาที่ส่งผลกระทบโดยตรง ในหลายด้าน ซึ่งอาจขยายวงกว้างออกไปเป็นปัญหาความมั่นคงที่รุนแรงต่อชาติได้ ปัญหาที่สำ� คัญได้แก่ ปัญหาการก่อการร้าย ปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติ ปัญหายาเสพติด ปัญหาอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ที่กระทบต่อเศรษฐกิจ สังคม และสถาบันหลัก ปัญหาความขัดแย้งในเรื่องการจัดการทรัพยากร พลังงาน และสิ่งแวดล้อม เป็นปัญหาระหว่างรัฐ กับ ประชาชน ปัญหา ความขัดแย้งทางสังคม ปัญหาเกี่ยวกับอาวุธสงคราม ปัญหาผู้มีอิทธิพล ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ปัญหาชนกลุ่มน้อย แรงงานต่างด้าวและ ผู้หลบหนีเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย ปัญหาการแพร่ขยายอุดมการณ์การสร้างความรุนแรงจากภายในและภายนอกประเทศ จากปัญหาความมั่นคงที่เกิดขึ้น แนวโน้มของสถานการณ์สามารถเปลี่ยนแปลงโดยมีความความผันผวนจากทั้งด้านการเมือง การทหาร เศรษฐกิจ สังคมจิตวิทยา วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี พลังงานและสิง่ แวดล้อม ผลกระทบจากปัจจัยภายในและภายนอกประเทศ ท�ำให้ประเทศไทย ต้องเผชิญกับความเสี่ยงทางด้านความมั่นคงภายในประเทศที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะการขาดความสามัคคีของคนในชาติ ความขัดแย้งทางสังคม และการกระท�ำทีก่ ระทบต่อความมัน่ คงของสถาบันหลักของชาติ รวมทัง้ การก่อความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในขณะทีป่ ญ ั หาการก่อการร้าย สากลและอาชญากรรมข้ามชาติ ตลอดจนปัญหาที่เป็นเรื่องสืบเนื่องจากอดีต อาทิ ปัญหายาเสพติด และปัญหาผู้หลบหนีเข้าเมือง ยังเป็นภัย คุกคามที่มีแนวโน้มส่งผลกระทบในวงกว้าง รวมถึงยังจะต้องเผชิญกับผลกระทบจากภาวะโลกร้อน ภัยพิบัติทางธรรมชาติที่รุนแรงมากขึ้น 60 SBL Magazine บันทึกประเทศไทย .

4

(2).indd 1

27/10/2560 14:27:05


จึงควรสร้างคุณค่าความต้องการอยากอยู่ร่วมกันของพลเมือง ภายในชาติ โดยยึดมัน่ ในชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ รูร้ กั สามัคคี, สร้างความแข็งแกร่งของโครงสร้างของสังคมไทยให้มีภูมิคุ้มกัน ที่ มั่ น คง พั ฒ นาประสิ ท ธิ ภ าพและขี ด ความสามารถด้ ว ยการมี ส่ ว นร่ ว มของภาคประชาชน ให้ มี ค วามรู ้ เ ท่ า ทั น กระแสการ เปลี่ยนแปลงและผลกระทบจากโลกไร้พรมแดน ร่วมกันคุ้มครอง ปกป้องฐานทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งเป็นทุนส�ำคัญของประเทศไว้ ได้อย่างยั่งยืน, มีจิตส�ำนึกความรับผิดชอบส่วนตัวเป็นหนึ่งเดียวกัน รวมทั้ ง มี ก ารบั ง คั บ ใช้ ก ฎหมายของบ้ า นเมื อ งอย่ า งจริ ง จั ง และ เป็นรูปธรรม ในการด�ำเนินการรักษาผลประโยชน์และด�ำรงไว้ซึ่ง ความมั่นคงของชาติสืบไป

ผลการปฏิบัติงานกอ.รมน. จังหวัดหนองบัวล�ำภู

โครงการขยายผลการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียง พ.อ.ปริ ช ญ์ สุ คั น ธศรี รอง ผอ.รมน.จั ง หวั ด น.ภ.(ท) เป็ น ประธานในพิ ธี เ ปิ ด การอบรมโครงการขยายผลการเรี ย นรู ้ ตามหลั ก ปรั ช ญาของเศรษฐกิ จ พอเพี ย งและเกษตรทฤษฎี ใ หม่ ประจ�ำต�ำบล จังหวัดหนองบัวล�ำภู รุ่นที่ 2 ประจ�ำปีงบประมาณ 2560 ให้ กั บ กลุ ่ ม เป้ า หมายหมู ่ ที่ 2, 3, 11, 12 และ หมู ่ ที่ 13 ต�ำบลกุดจิก อ.เมืองหนองบัวล�ำภู จ.หนองบัวล�ำภู จ�ำนวน 30 คน ได้อบรมและสาธิตการท�ำปุย๋ หมักชีวภาพ พด.2, พด.7 จ�ำนวน 20 ถัง เพื่อมอบให้ผู้เข้ารับการอบรมน�ำไปขยายผล ณ ศูนย์เรียนรู้หลัก ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงประจ�ำต�ำบลกุดจิก

โครงการคนไทยหัวใจเดียวกัน

เพือ่ ให้การด�ำเนินงานตามยุทธศาสตร์การปรองดองสมานฉันท์ เพื่อการปฏิรูป ของกองอ�ำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัด หนองบัวล�ำภู ประจ�ำปี 2560 โดยจัดเจ้าหน้าที่และชุดวิทยากร เข้าด�ำเนินการฝึกอบรมสร้างการรับรูใ้ ห้กบั ประชาชนในพืน้ ทีจ่ งั หวัด หนองบัวล�ำภู จ�ำนวน 6 อ�ำเภอ จ�ำนวน 8 พื้นที่เป้าหมาย โดยเริ่ม ด�ำเนินการตั้งแต่วันที่ 15 พ.ค. 2560 จนถึงวันที่ 4 ส.ค.2560

NONGBUALAMPHU 61 .

4

(2).indd 2

27/10/2560 14:27:06


โครงการเยาวชนร่วมปกป้องผืนป่าและทรัพยากรธรรมชาติ ประจ�ำปี 2560

ครั้งที่ 1 ด้านทรัพยากรป่าไม้ ณ โรงเรียนทุ่งโปร่งประชาสรรค์ ต�ำบลกุดจิก อ�ำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวล�ำภู ครัง้ ที่ 2 ด้านสิง่ แวดล้อมพลังงานและอาหาร กิจกรรม “หนองบัวล�ำภู รวมใจ สร้างฝายประชารัฐปฏิบัติบูชา พ่อแห่งแผ่นดิน” ตามโครงการ เยาวชนร่วมปกป้องผืนป่าและทรัพยากรธรรมชาติ ประจ�ำปี 2560 ณ บ้านดอนหัน หมู่ 10 ต.หัวนา อ.เมืองหนองบัวล�ำภู จ.หนองบัวล�ำภู ในการนี้ ไ ด้ร่ว มกับ ราษฎรในพื้น ที่จัด กิจกรรมร่ ว มกั น สร้ า งฝาย ชะลอน�้ ำ “หนองบั ว ล� ำ ภู รวมใจสร้ า งฝายประชารั ฐ ปฏิ บั ติ บู ช า พ่อแห่งแผ่นดิน” โดยมีหน่วยงานทีเ่ ข้าร่วมกิจกรรมประกอบด้วย อุทยาน ภูเก้า-ภูพานค�ำ ,หน่วยป้องกันและรักษาป่าหนองสวรรค์ จัดเจ้าหน้าที่ บรรยายให้ความรู้แก่เยาวชนที่เข้าร่วมโครงการฯ หัวหน้าส่วนราชการ จังหวัดหนองบัวล�ำภู, นายอ�ำเภอเมืองหนองบัวล�ำภู, ก�ำนัน ต.หัวนา, นายก อบต.หัวนา ,ผญบ.,สมาชิก อพป.บ้านดอนหัน และราษฎรในพืน้ ที่ เข้าร่วมกิจกรรม รวมจ�ำนวนทั้งสิ้น 300 คน โดยผู้ว่าราชการจังหวัด หนองบัวล�ำภูได้กระท�ำพิธีส่งมอบฝายชะลอน�้ำ “หนองบัวล�ำภู รวมใจ สร้างฝายประชารัฐ ปฏิบตั บิ ชู า พ่อแห่งแผ่นดิน” ให้กบั ราษฎรในพืน้ ที่ เพื่อใช้ประโยชน์สาธารณะ ครั้งที่ 3 ด้านสิ่งแวดล้อมพลังงานและอาหาร กิจกรรม พัฒนา ขุดลอกคลองห้วยเชียง “บิ๊กคลีนนิ่งเดย์” เพื่อจัดเก็บให้เป็นแหล่งรับน�้ำจากธรรมชาติ เข้าสู่หนองบัว เป็น แหล่งรับน�้ำดิบส�ำหรับการอุปโภค บริโภคในพื้นที่จังหวัดหนองบัวล�ำภู เพื่อเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มหาวชิราลงกรณบดินทร เทพยวรางกู ร เนื่ อ งในโอกาส เฉลิ ม พระชนมพรรษา 65 พรรษา 28 กรกฎาคม 2560

พ.อ.ปริชญ์ สุคันธศรี รอง ผอ.รมน.จังหวัด น.ภ.(ท) พร้อมด้วย ชุดประสานงานมวลชน กอ.รมน.จังหวัดน.ภ. พบปะ พัฒนาสัมพันธ์ มวลชน ตรวจเยีย่ ม การปฏิบตั งิ านของหน่วยป้องกันและรักษาป่า น.ภ.1 (หนองสวรรค์ ) ต.ยางหล่ อ อ.ศรี บุ ญ เรื อ ง จ.หนองบั ว ล� ำ ภู โดยมี นายสุพรี ะ ถิน่ กมุท หัวหน้าเจ้าพนักงานรักษาป่า ส.2 พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ จ�ำนวน 12 นาย ให้การต้อนรับและบรรยายสรุปสถานการณ์การบุกรุกและ ตั ด ไม้ ท� ำ ลายป่ า ในพื้ น ที่ รั บ ผิ ด ชอบ พร้ อ มทั้ ง ปั ญ หาข้ อ เสนอแนะ ข้อขัดข้องในการปฏิบตั งิ าน โดยจะรวบรวมรายงานให้หน่วยเหนือทราบต่อไป พ.อ.ปริชญ์ สุคันธศรี รอง ผอ.รมน.จังหวัด น.ภ.(ท) หัวหน้าชุด ประเมินผลการปฏิบตั งิ านตามโครงการฯ ตรวจเยีย่ มและประเมินผลการ ปฏิบตั งิ าน ส่วนสนับสนุนการป้องกันและปราบปรามที่ 2 ภาคตะวันออก เฉียงเหนือ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ปา่ และพันธุพ์ ชื เพือ่ พบปะสอบถาม ปัญหาข้อขัดข้องและการบุกรุกท�ำลายทรัพยากรป่าไม้ในพื้นที่ 62 SBL Magazine บันทึกประเทศไทย .

4

(2).indd 3

โครงการฝึกอบรมผู้นำ� ชุมชน

จังหวัดหนองบัวล�ำภู ร่วมกับ กอ.รมน.จังหวัด น.ภ.ฝึกอบรมหลักสูตร ผู้น�ำชุมชน จ�ำนวน 10 รุ่น เพื่อปลูกฝังอุดมการณ์ความรักชาติ เทิดทูน สถาบัน ร่วมกับผู้น�ำชุมชน ก�ำนัน ผู้ใหญ่บ้าน องค์กรปกครองส่วน ท้องถิน่ เทศบาล อบต. ทัง้ 6 อ�ำเภอ ของจังหวัดหนองบัวล�ำภู ณ มทบ.28

27/10/2560 14:27:06


โครงการอาสาพัฒนาและป้องกันตนเอง (อพป.)

กอ.รมน.จังหวัด น.ภ.ได้ด�ำเนินการฝึกจัดตั้ง/ฝึกทบทวนหมู่บ้าน อพป. ประจ�ำปีงบประมาณ 2560 ให้ความส�ำคัญของการพัฒนาเพื่อเสริมสร้างให้เกิดความมั่นคง ภายในหมู่บ้านในพื้นที่จังหวัดหนองบัวล�ำภู โดยใช้โครงการอาสาพัฒนา และป้องกันตนเอง เพือ่ สร้างความเข้มแข็ง และสร้างภูมคิ มุ้ กันปัญหาต่างๆ ส่งเสริมอาชีพและพัฒนาคุณภาพชีวติ รวมทัง้ สร้างสภาวะแวดล้อมทีส่ งบ สันติ ให้กับประชาชนในพื้นที่หมู่บ้านอาสาพัฒนาและป้องกันตนเอง มีความรักสามัคคีให้เกิดขึ้นในชุมชน สร้างความเข้าใจระหว่างภาครัฐ และประชาชนในพื้นที่ ตลอดจนปลุกจิตส�ำนึกให้ประชาชนเกิดความรัก และเทิดทูนสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองใน ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดยด�ำเนิน การฝึก จ�ำนวน 3 หมู่บ้าน ได้แก่ - บ้ า นน�้ ำ กง หมู ่ ที่ 11 ต� ำ บลนาสี อ� ำ เภอสุ ว รรณคู ห า จังหวัดหนองบัวล�ำภู ในระหว่างวันที่ 22 - 30 ธ.ค. 59 จ�ำนวน 40 คน - บ้ า นโสกแคน หมู ่ ที่ 2 ต� ำ บลปางกู ่ อ� ำ เภอโนนสั ง จังหวัดหนองบัวล�ำภู ในระหว่างวันที่ 7 - 15 ม.ค. 60 จ�ำนวน 43 คน - บ้านหนองบัวใต้ หมู่ที่ 1 ต�ำบลหนองบัวใต้ อ�ำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวล�ำภู ในระหว่างวันที่ 16 - 24 ม.ค. 60 จ�ำนวน 40 คน

.

4

(2).indd 4

โครงการจิตอาสา ประชารัฐ พิทักษ์ป่าภูเก้า – ภูพานค�ำ

จัดขึน้ โดยมีวตั ถุประสงค์เพือ่ ฝึกอบรมอาสาสมัคร ซึง่ เป็นผูน้ ำ� ท้องที่ และราษฎรในพื้นที่ที่มีจิตอาสา เพื่อให้มีอุดมการณ์ความรักชาติ,ยึดมั่น ในความจงรักภักดี, มีความรักความสามัคคี, ร่วมกันพิทักษ์และอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติให้คงอยู่คู่ชุมชน รวมทั้งมีจิตส�ำนึกด้านความมั่นคง ให้ความร่วมมือในการสร้างชุมชนให้เข้มแข็ง โดยเมื่อวันที่ 16 ก.ย. 60 นายธนากร อึ้งจิตรไพศาล ผวจ.น.ภ. และ ผอ.รมน.จังหวัด น.ภ.ให้เกียรติมาเป็นประธานในพิธีเปิดการฝึกอบรม “จิตอาสา ประชารัฐ พิทักษ์ป่าภูเก้า-ภูพานค�ำ” ซึ่งอ�ำนวยการฝึกโดย พ.อ.ปริชญ์ สุคันธศรี รอง ผอ.รมน.จังหวัด น.ภ.(ท.) ผู้ร่วมพิธีประกอบ ด้วย ข้าราชการ และประชาชนในพื้นที่บ้านดอนหัน เข้าร่วมพิธีเปิดการ ฝึกอบรมอาสาสมัคร ซึ่งเป็นผู้น�ำท้องที่และราษฎรในพื้นที่ที่มีจิตอาสา โดยมี อ าสาสมั ค รเข้ า รั บ การฝึ ก อบรม จ� ำ นวน 20 คน สถานที่ ฝ ึ ก ณ โรงเรียนบ้านดอนหัน หมู่ที่ 10 ต�ำบลหัวนา อ�ำเภอเมืองหนองบัวล�ำภู จังหวัดหนองบัวล�ำภู ในระหว่างวันที่ 16 - 17 ก.ย. 60 ด�ำเนินการฝึกอบรม ในเรือ่ งกฎหมายด้านป่าไม้และทีด่ นิ ของรัฐทีเ่ กีย่ วข้อง, งานการข่าวเบือ้ งต้น, การจัดตั้งจุดตรวจ, การลาดตระเวน และการใช้อาวุธประจ�ำกาย ซึ่งภายหลังเสร็จสิ้นการฝึกอบรม ได้จัดผู้เข้ารับการฝึกฯ บูรณาการ ใช้ก�ำลังร่วมกับปกครองจังหวัด น.ภ., อช.ภูเก้า-ภูพานค�ำ และหน่วย รักษาป่า นภ.1(หนองสวรรค์) ในการปฏิบตั ภิ ารกิจออกลาดตระเวนตรวจ สอบป้องกัน ปราบปรามการบุกรุกและท�ำลายทรัพยากรป่าไม้ในพืน้ ทีร่ บั ผิดชอบตามแผนแม่บทพิทักษ์ทรัพยากรป่าไม้ของชาติ ทัง้ นี้ “จิตอาสา ประชารัฐ พิทกั ษ์ปา่ ภูเก้า – ภูพานค�ำ” ได้เฝ้าระวัง ดูแลรักษาป่าในพืน้ ทีร่ บั ผิดชอบ และรายงานข่าวสารความเคลือ่ นไหวของ กลุม่ ผูล้ กั ลอบตัดไม้ทำ� ลายป่าโดยต่อเนือ่ ง ท�ำให้จำ� กัดเสรีในการปฏิบตั ิ และ ป้องปรามการลักลอบตัดไม้ได้เป็นอย่างดียงิ่ และจะได้ขยายผลการฝึกอบรม จิตอาสา ประชารัฐ พิทกั ษ์ปา่ ภูเก้า ภูพานค�ำ ให้มจี ำ� นวนสมาชิกเพิม่ มาก ขึน้ และให้ครอบคลุมในการดูแลพืน้ ทีป่ า่ ไม้ได้อย่างทัว่ ถึง ต่อไป NONGBUALAMPHU 63 27/10/2560 14:27:06


บันทึกเส้นทางพบส�ำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง

ส�ำนักงานคณะ กรรมการการเลือกตั้ง

ประจ�ำจังหวัดหนองบัวล�ำภู สุจริต โปร่งใส เที่ยงธรรม

นายสมพล พงษ์พพิ ฒ ั น์ ผูอ้ ำ� นวยการ ส�ำนักงานคณะกรรมการ การเลือกตัง้ ประจ�ำจังหวัดหนองบัวล�ำภู (กกต.จังหวัดหนองบัวล�ำภู) ผูม้ งุ่ มัน่ ปฏิบตั หิ น้าทีด่ ว้ ยความสุจริต โปร่งใส และเทีย่ งธรรม ภายใต้ วิสัยทัศน์ของ กกต.จังหวัดหนองบัวล�ำภู ที่ว่า “เป็ น องค์ ก รหลั ก ในการบริ ห ารจั ด การเลื อ กตั้ ง ทุ ก ระดั บ การออกเสียงประชามติที่สังคมยอมรับและเชื่อมั่น และสร้าง สถาบันพรรคการเมืองให้เจริญก้าวหน้ามั่นคง” นิตยสาร SBL ได้รบั เกียรติอย่างสูงจากนายสมพล พงษ์พพิ ฒ ั น์ ผูอ้ ำ� นวยการ กกต.จังหวัดหนองบัวล�ำภู ให้สมั ภาษณ์เพือ่ ความเข้าใจ ในบาทบาทและอ�ำนาจหน้าทีข่ อง กกต. การเลือกตัง้ ตามรัฐธรรมนูญใหม่ และการแบ่งเขตการเลือกตั้งของจังหวัดหนองบัวล�ำภู ตลอดจน การเตรียมความพร้อมส�ำหรับการเลือกตั้ง ดังรายละเอียดต่อไปนี้

รู้จัก กกต.จังหวัดหนองบัวล�ำภู

ส� ำ นั ก งานคณะกรรมการการเลื อ กตั้ ง ประจ� ำ จั ง หวั ด หนองบัวล�ำภู เป็นหน่วยงานในส่วนภูมิภาคของส�ำนักงานคณะ กรรมการการเลือกตั้ง จัดตั้งขึ้นเมื่อปี 2541 ในระยะแรกเริ่มแรก เราใช้หอ้ งสารบรรณของส�ำนักงานจังหวัดหนองบัวภู ซึง่ อยูใ่ นอาคาร ศาลากลางจังหวัด ชั้น 1 เป็นส�ำนักงานชั่วคราวปฏิบัติงานอยู่ระยะ หนึ่ง ต่อมากลางปี 2542 จังหวัดหนองบัวล�ำภูจึงอนุญาตให้ย้าย ส�ำนักงานฯ ไปอยูท่ หี่ อ้ งศูนย์ขอ้ มูลการท่องเทีย่ ว ทีบ่ ริเวณชัน้ 2 ด้าน ทิศใต้ของอาคารศาลากลางจังหวัดหนองบัวล�ำภู ซึง่ มีพนื้ ทีป่ ฏิบตั งิ าน เพียง 1 ห้อง ห้องประชุม 1 ห้อง ต่อมาเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2557 ได้ท�ำการก่อสร้างอาคาร ส�ำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจ�ำจังหวัดหนองบัวล�ำภู แล้วเสร็จเมือ่ วันที่ 30 พฤศจิกายน 2558 และย้ายมาอยูท่ ที่ ำ� การแห่งใหม่ ในพื้ น ที่ ท างเข้ า ด้ า นหลั ง ของศู น ย์ ร าชการจั ง หวั ด หนองบั ว ล� ำ ภู เลขที่ 999 หมู่ 2 ต�ำบลล�ำภู อ�ำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวล�ำภู เมื่อวันที่ 6 เดือนมกราคม 2559 จนถึงปัจจุบัน

นายสมพล พงษ์พิพัฒน์

ผูอ้ ำ� นวยการ ส�ำนักงานคณะกรรมการการเลือกตัง้ ประจ�ำจังหวัดหนองบัวล�ำภู บทบาทและอ�ำนาจหน้าที่

ส�ำนักงานคณะกรรมการการเลือกตัง้ ประจ�ำจังหวัดหนองบัวล�ำภู เป็นส่วนงานในภูมิภาค ซึ่งแบ่งเป็น 3 กลุ่มงาน คือ กลุ ่ ม งานอ� ำ นวยการ มี ห น้ า ที่ ด� ำ เนิ น การเกี่ ย วกั บ การจั ด ท� ำ แผนงาน ประสานงานกั บ กลุ ่ ม งาน ส่ ว นงาน หรื อ หน่ ว ยงานอื่ น ใน การรวบรวมข้ อ มู ล สถิ ติ ตั ว เลข และจั ด ท� ำ ระบบข้ อ มู ล สารสนเทศ ที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้ในการปฏิบัติงานและการเผยแพร่ ตรวจสอบเอกสาร การเบิกจ่ายเงิน การจัดท�ำระบบบัญชี การบริหารงานบุคคล กลุม่ งานจัดการเลือกตัง้ และการมีสว่ นร่วม มีหน้าทีป่ ระสานงานเพือ่ ด�ำเนินการจัดหรือจัดให้มีการเลือกตั้ง ส่งเสริมหรือสนับสนุนการมีส่วน ร่วมในกระบวนการเลือกตั้ง ของทุกภาคส่วน และ รณรงค์ให้ประชาชน มีสว่ นร่วมทางการเมือง ส่งเสริม และสนับสนุนการศึกษาเพือ่ ปลูกฝังและ สร้างความเป็นพลเมืองดีวิถีประชาธิปไตย และเผยแพร่ความรู้ เกี่ยวกับ การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข กลุม่ งานสืบสวนสอบสวนและพรรคการเมือง มีหน้าทีส่ บื สวนสอบสวน หรือไต่สวนการกระท�ำผิดกฎหมายเกี่ยวกับการเลือกตั้งให้ค�ำปรึกษา กฎหมายเกีย่ วกับการเลือกตัง้ ในพืน้ ที่ และด�ำเนินการปฏิบตั ดิ า้ นการข่าว เพือ่ สนับสนุนการปฏิบตั งิ านการสืบสวนหรือไต่สวน รวมทัง้ จัดท�ำสารบบ งานส�ำนวนการสืบสวนหรือไต่สวนหรือการคัดค้านการเลือกตั้ง

64 SBL Magazine บันทึกประเทศไทย .

.2

.indd 1

25/10/2560 14:11:17


พันธกิจ-ค่านิยมองค์กร

พั น ธกิ จ ของเรา คื อ “บริ ห ารจั ด การเลื อ กตั้ ง การออกเสี ย ง ประชามติ ด�ำเนินการสืบสวนสอบสวนวินจิ ฉัยและการด�ำเนินคดีในศาล ให้มีความสุจริต โปร่งใส และเที่ยงธรรม เสริมสร้างวิถีประชาธิปไตย และพัฒนากระบวนการเรียนรูข้ องประชาชน เกีย่ วกับการปกครองใน ระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ส่งเสริม พรรคการเมืองให้เป็นสถาบันทางการเมืองที่เข้มแข็ง พัฒนาศักยภาพ องค์กร และระบบงานให้มปี ระสิทธิภาพ” ส่วนค่านิยมร่วมขององค์กร คือ “องค์กรยึดหลักธรรมาภิบาล ผูป้ ฏิบตั งิ านยึดหลักสุจริต โปร่งใส และเทีย่ งธรรม รูร้ กั สามัคคีและภักดี ต่อองค์กร ”

การเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญใหม่

การเลือกตัง้ สมาชิกสภาผูแ้ ทนราษฎร ตามบทบัญญัตขิ องรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 83 บัญญัติไว้ว่า สภาผู้แทนราษฎร ประกอบด้วยสมาชิกจ�ำนวนห้าร้อยคน ดังนี้ (1) สมาชิ ก ซึ่ ง มาจากการเลื อ กตั้ ง แบบแบ่ ง เขตเลื อ กตั้ ง จ� ำ นวน สามร้อยห้าสิบคน (2) สมาชิ ก ซึ่ ง มาจากบั ญ ชี ร ายชื่ อ ของพรรคการเมื อ งจ� ำ นวน หนึ่งร้อยห้าสิบคน ดั ง นั้ น จึ ง ท� ำ ให้ รู ป แบการเลื อ กตั้ ง สมาชิ ก สภาผู ้ แ ทนราษฎร เปลีย่ นแปลงไป โดยจะใช้วธิ กี ารเลือกตัง้ สมาชิกสภาผูแ้ ทนราษฎรระบบ จัดสรรปันส่วนผสม ( Mixed Member Apportionment : MMA ) ซึง่ ต้องคิดคะแนนของสมาชิกสภาผูแ้ ทนราษฎรทุกคน ทัง้ คนทีไ่ ด้รบั เลือก ตั้งและไม่ได้รับเลือกตั้งเพื่อจัดสรรจ�ำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรให้

ทุกพรรคตามสัดส่วนคะแนนที่แต่ละพรรคได้ และใช้บัตรแบบแบ่งเขต เลือกตั้งใบเดียว ส�ำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ประจ�ำจังหวัดหนองบัวล�ำภู มี 6 อ�ำเภอ มีจ�ำนวนราษฎรประมาณ 510,734 คน เมื่อค�ำนวณจ�ำนวน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งแล้ว จะมีจ�ำนวนสมาชิก สภาผู้แทนราษฎร จ�ำนวน 3 คน จึงแบ่งเขตเลือกตั้งออกเป็น 3 เขต เลือกตั้ง โดยได้เสนอรูปแบบการแบ่งเขตให้ส�ำนักงานคณะกรรมการ การเลือกตั้งพิจารณาแล้ว

โครงการ/กิจกรรมในปีงบประมาณ 2560

ในปีงบประมาณ 2560 กกต.จังหวัดหนองบัวล�ำภู ได้ด�ำเนินการ โครงการและกิจกรรมต่างๆ เพื่อเตรียมความพร้อมส�ำหรับการเลือกตั้ง ได้แก่ - โครงการอบรมคณะกรรมศูนย์ส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตยต�ำบล (ศส.ปชต.) หลักสูตรพลเมืองดีวิถีประชาธิปไตย ประจ�ำปี 2560 - โครงการรณรงค์หมู่บ้านไม่ขายเสียงต้นแบบ - โครงการผู้ปฏิบัติงานการเลือกตั้งและการออกเสียงประชามติมือ อาชีพ - ด� ำ เนิ น กิ จ กรรมประชาสั ม พั น ธ์ เ ครื่ อ งลงคะแนนเลื อ กตั้ ง อิเล็กทรอนิกส์ (ต้นแบบ) - ร่วมกิจกรรรมหลักสูตรพลเมืองดีวิถีประชาธิปไตย กับส�ำนักงาน ส่งเสริมการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย

NONGBUALAMPHU 65 .

.2

.indd 2

25/10/2560 14:11:19


บันทึกเส้นทางพบประกันสังคมจังหวัด

ส�ำนักงานประกันสังคม หนองบัวล�ำภู ดร.ประธาน ถาวร สปส.หนองบั ว ล� ำ ภู มุ ่ ง มั่ น พั ฒ นานวั ต กรรมบริ ก าร สู่ไทยแลนด์ 4.0

ก้าวแรกของการประกันสังคมไทย ที่ให้หลักประกันแก่ลูกจ้างกรณี ประสบอันตราย หรือเจ็บป่วยด้วยโรคอันเนื่องจากการท�ำงานเกิดขึ้นใน ประเทศไทยครัง้ แรก เมือ่ ปี พ.ศ. 2515 ในรูปของ “กองทุนเงินทดแทน” ภายใต้การบริหารของส�ำนักงานเงินทดแทนกรมแรงงาน กระทัง่ ได้มกี าร ประกันสังคมอย่างเต็มรูปแบบ โดยลูกจ้างจะได้รับความคุ้มครอง ทั้งใน เรือ่ งการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ทุพพลภาพ และตาย ทัง้ นีเ้ นือ่ งและ ไม่เนือ่ งจากการท�ำงาน รวมไปถึงการคลอดบุตร สงเคราะห์บตุ ร ชราภาพ และการว่างงาน เฉกเช่นเดียวกับประเทศอื่นๆ ดร.ประธาน ถาวร ประกันสังคมจังหวัดหนองบัวล�ำภู ได้ให้เกียรติ SBL บันทึกประเทศไทย สัมภาษณ์ท่านเกี่ยวกับโครงการน�ำร่องระบบ สนั บ สนุ น การบริ ก ารส� ำ นั ก งานประกั น สั ง คมจั ง หวั ด หนองบั ว ล� ำ ภู ให้สอดคล้องกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยี เพื่อรองรับการพัฒนา นวัตกรรมบริการสู่ไทยแลนด์ 4.0

ภาพรวมการประกันสังคมในจังหวัด

จังหวัดหนองบัวล�ำภู มีนายจ้างหรือสถานประกอบการ จ�ำนวน 782 แห่ง และมี ลู ก จ้ า ง/ผู ้ ป ระกั น ตน จ� ำ นวน 32,021 ราย ซึ่ ง เป็ น ผู ้ ป ระกั น ตนมาตรา 33 ผู ้ ป ระกั น ตนมาตรา 39 และผู ้ ป ระกั น ตนมาตรา 40 ที่จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม

ประกันสังคมจังหวัดหนองบัวล�ำภู

ยกระดับสู่นวัตกรรมการบริการไทยแลนด์ 4.0

จากการที่ ส�ำนักงานประกันสังคมได้มกี ารทบทวนยุทธศาสตร์ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2558 – 2562) ในช่วงครึง่ ปีแรกของแผน (พ.ศ. 2558 – 2560) มุ่งเน้นให้เกิดแนวทางการปรับปรุงการปฏิบัติราชการของส�ำนักงาน ประกันสังคมในระยะ 2 ปีต่อไป (พ.ศ. 2561–2562) พบว่ายุทธศาสตร์ ที่ 3 : การรื้อ ปรับและยกระดับระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ : IT และ การบริหารสารสนเทศ : MIT ของส�ำนักงานประกันสังคมสูอ่ งค์การทีม่ กี าร และการบริการที่ล�้ำสมัย ซึ่งกลยุทธ์ที่ต้องด�ำเนินการเร่งด่วน คือ กลยุทธ์ ที่ 1 พัฒนาระบบ Infrastructure ขององค์กรให้ทันสมัย สอดคล้องกับ ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี เพื่อรองรับการพัฒนานวัตกรรมบริการ สู่ไทยแลนด์ 4.0 และจังหวัดหนองบัวล�ำภูได้ก�ำหนดประเด็นยุทธศาสตร์ เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการภาครัฐ ส�ำนักงานประกันสังคมจังหวัดหนองบัวภู จึงได้จดั ท�ำโครงการน�ำร่อง ระบบสนับสนุนการบริการส�ำนักงานประกันสังคมจังหวัดหนองบัวล�ำภู โดยน�ำหลักการ Digital Economy มาใช้ เพื่อให้นายจ้าง ลูกจ้าง/ ผู้ประกันตน ผู้มีสิทธิไม่ต้องกรอกแบบฟอร์มต่างๆของส�ำนักงานประกัน สังคม ท�ำให้ลดเวลาการติดต่อราชการ ลดความผิดพลาดในการกรอก เอกสาร และสามารถแสดงความคิดเห็นการให้บริการของเจ้าหน้าที่ ส�ำนักงานประกันสังคมแต่ละรายได้อย่างเป็นอิสระ

66 SBL Magazine บันทึกประเทศไทย 2

.indd 1

27/10/2560 14:35:39


และในส่วนของส�ำนักงานเอง ก็สามารถประเมินผลงานบริการ 35 กระบวนงานตามที่ก�ำหนดตามพระราชบัญญัติการอ�ำนวยความ สะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. 2558 กับการ ปฏิบัติงานจริงได้อย่างถูกต้อง และชัดเจนขึ้น เนื่องจากประมวลผลด้วย คอมพิวเตอร์ สอดคล้องกับข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรี ที่ให้ทุกส่วน ราชการคิดริเริม่ งาน โดยส�ำนักงานประกันสังคมจังหวัดหนองบัวล�ำภู เป็น หน่วยงานราชการแรกที่ได้ดำ� เนินการคิดระบบนี้

ประกันสังคมยุคใหม่ รวดเร็วทันใจ ง่ายกว่า ที่คิด

ส�ำนักงานประกันสังคมจังหวัดหนองบัวล�ำภู พร้อมให้บริการผูป้ ระกอบการ ลูกจ้าง/ผูป้ ระกันตน และผู้มีสิทธิ ที่มาติดต่อด้วยขั้นตอนง่ายๆ เพียง กดบั ต รคิ ว เลื อ กบริ ก ารจากตู ้ บั ต รคิ ว อั ต โนมั ติ ที่ จ ะมี เ มนู ก ารให้ บ ริ ก ารต่ า งๆ ให้ เ ลื อ กแล้ ว ท่ า นก็ ส ามารถไปนั่ ง รอคิ ว ได้ อ ย่ า งสบายใจ เมื่อถึงคิวของท่าน เจ้าหน้าที่จะขอบัตรประชาชน เพื่อน�ำไปเสียบเข้าเครื่องอ่านบัตรอเนกประสงค์ (Smart Card Reader)ระบบจะดึงข้อมูลในชิป บัตรประชาชนบันทึกลงในแบบฟอร์มและส�ำเนา บั ต รประชาชน หลั ง จากนั้ น เจ้ า หน้ า ที่ จ ะพิ ม พ์ แบบฟอร์ ม และส� ำ เนาบั ต รประชาชน เพื่ อ ให้ ผู้มาใช้บริการลงนาม ขั้นตอนสุดท้ายท่านสามารถ แสดงความคิดเห็นต่อการให้บริการของเจ้าหน้าที่ ประกันสังคมได้อย่างอิสระ โดยเลือกกดระดับ ความพึงพอใจในแท็ปเล็ต แล้วข้อมูลนี้จะส่งผ่าน ทางระบบ WiFi โดยเจ้าหน้าที่ท่านนั้นไม่ทราบว่า ท่านเลือกอะไร ขอเรี ย นเชิ ญ นายจ้ า ง ลู ก จ้ า ง/ผู ้ ป ระกั น ตน และผู ้ มี สิ ท ธิ ถ้ า มี ข ้ อ สงสั ย เกี่ ย วกั บ ประกั น สังคม สามารถติดต่อได้ที่ ส�ำนักงานประกันสังคม จังหวัดหนองบัวล�ำภู โทรศัพท์ 042–316751-4

ส�ำนักงานประกันสังคม จังหวัดหนองบัวล�ำภู เริ่มวันที่ 01/10/2560 ถึงวันที่ 10/10/2560 รายงานผลการให้บริการรวม กระบวนการ ผู้ใช้บริการ ได้มาตรฐาน ไม่ได้มาตรฐาน ยกเลิก เวลามาตรฐาน เฉลีย(นาที) สิทธิประโยชน์กองทุนประกันสังคม กรณีเจ็บป่วย

44

40

2

2

40

0:59:19

กรณีทุพพลภาพ กรณีตาย (ค่าท�ำศพ) กรณีคลอดบุตร กรณีสงเคราะห์บุตร กรณีชราภาพ กรณีว่างงาน กรณีตาย (เงินสงเคราะห์กรณีตาย) กรณีทันตกรรม

0 9 39 26 63 144 2 5

0 12 38 24 61 134 2 5

0 1 0 0 2 1 0 0

0 1 1 2 1 9 0 0

40 40 30 30 40 90 60 25

0:00:00 0:22:23 0:19:13 0:46:05 0:23:45 1:15:52 0:02:29 0:01:32

NONGBUALAMPHU 67 2

.indd 2

27/10/2560 14:35:41


บันทึกเส้นทางพบขนส่งจังหวัด

ส�ำนักงานขนส่งจังหวัด หนองบัวล�ำภู ส�ำนักงานขนส่งจังหวัดหนองบัวล�ำภู เป็นหน่วยราชการบริหาร ส่วนภูมิภาค สังกัดกรมการขนส่งทางบก กระทรวงคมนาคม ตั้งอยู่ เลขที่ 82 หมู ่ ที่ 1 ต� ำ บลโพธิ์ ชั ย อ� ำ เภอเมื อ งหนองบั ว ล� ำ ภู จั ง หวั ด หนองบัวล�ำภู มีเนื้อที่ 19 ไร่ มีอัตราก�ำลังข้าราชการและเจ้าหน้าที่รวม 29 อัตรา แบ่งเป็น ข้าราชการ 14 อัตรา ลูกจ้างประจ�ำ 1 อัตรา พนักงานราชการ 6 อัตรา จ้างเหมาบริการเงินงบประมาณ 1 อัตรา พนักงานกองทุนเพื่อความ ปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน (กปถ.) 1 อัตรา จ้างเหมาบริการ (กปถ.) 8 อัตรา โดยมีคณะผู้บริหารหน่วยงาน ประกอบด้วย 1. นางพัทธวรรณ บุญเหาะ ขนส่งจังหวัดหนองบัวล�ำภู 2. นางสาวสมจิตร์ เอกฐิน หัวหน้ากลุ่มวิชาการขนส่ง 3. นายสมพร จันทรวิภาค หัวหน้าฝ่ายตรวจสภาพรถ 4. นายสราวุธ เวชกูล หัวหน้าฝ่ายทะเบียนรถ 5. นางสาวรุ่งรัชนี กองบุญมา หัวหน้าฝ่ายใบอนุญาตขับรถ 6. นายพชร บุญโท หัวหน้างานบริหารงานทั่วไป โดยปฏิบัติหน้าที่ให้บรรลุวิสัยทัศน์ของกรมการขนส่งทางบก ที่ว่า “เป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมในการควบคุม ก�ำกับ ดูแล ระบบการ ขนส่งทางถนนให้มีคุณภาพและปลอดภัย พ.ศ. 2559–2564”

นางพัทธวรรณ บุญเหาะ ขนส่งจังหวัดหนองบัวล�ำภู

หน้าที่ความรับผิดชอบ

ส� ำ นั ก งานขนส่ ง จั ง หวั ด หนองบั ว ล� ำ ภู มี ห น้ า ที่ ค วามรั บ ผิ ด ชอบ ในการด� ำ เนิ น การตามกฎหมายว่ า ด้ ว ยการขนส่ ง ทางบก กฎหมาย ว่ า ด้ ว ยรถยนต์ และกฎหมายอื่ น ที่ เ กี่ ย วข้ อ ง วางแผนและส่ ง เสริ ม สวัสดิภาพการขนส่งภายในจังหวัด และก�ำกับดูแลสถานประกอบการ ภายในจังหวัดที่ได้รับอนุญาตจากกรมการขนส่งทางบก ให้เป็นไปตาม กฎหมายที่เกี่ยวข้อง และสถานีขนส่ง ตลอดจนปฏิบัติงานร่วมกับหรือ สนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยมีการแบ่ง งานภายใน ดังนี้ 1. งานบริหารทั่วไป มีหน้าที่รับผิดชอบงานสารบรรณ งานการ เจ้ า หน้ า ที่ งานการเงิ น และบั ญ ชี การจั ด ท� ำ งบประมาณ การพั ส ดุ งานรับช�ำระภาษีทางไปรษณีย์ งานทะเบียนรถราชการ งานธุรการทั่วไป และช่วยงานด้านตรวจการขนส่ง งานส่งเสริมสวัสดิภาพการขนส่งของ ส�ำนักงานขนส่งจังหวัด ในรอบปีงบประมาณ 2559 ได้รับรางวัลที่ 1 หน่วยงานที่มีผล การเบิกจ่ายงบลงทุนดีเด่น ที่มีวงเงินต�่ำกว่า 10 ล้านบาท 68 SBL Magazine บันทึกประเทศไทย .

2

.indd 1

24/10/2560 8:55:10


2. กลุ ่ ม วิ ช าการขนส่ ง มี ห น้ า ที่ ค วามรั บ ผิ ด ชอบในการศึ ก ษา วิเคราะห์ข้อมูลการขนส่ง เพื่อวางแผนจัดระเบียบการขนส่งภายใน จังหวัด การก�ำหนด ปรับปรุง ยกเลิกเส้นทางการเดินรถ และเงื่อนไข เกี่ยวกับการประกอบการขนส่งประจ�ำทาง ไม่ประจ�ำทาง รถขนาดเล็ก และส่วนบุคคล งานประกอบการขนส่งทุกประเภท การตรวจการขนส่ง ตรวจตราปราบปรามผู้กระท�ำผิดตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก และกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง การส่งเสริม สวัสดิภาพการขนส่ง การประชาสัมพันธ์ ควบคุม ตรวจตรา ปราบปราม และจัดระเบียบการใช้สถานีขนส่งผู้โดยสารของรถโดยสารประจ�ำทาง ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก การอนุญาตและก�ำกับ ดูแลโรงเรียนสอนขับรถให้เป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ในรอบปีงบประมาณ 2560 ได้รบั รางวัลพัฒนาการบริการระดับ ดีเด่น จากผลงาน “มั่นใจ ทั่วไทย รถใช้ GPS” ในนามของกรมการ ขนส่งทางบก และควบคุมก�ำกับดูแลโรงเรียนสอนขับรถ จ�ำนวน 1 แห่ง 3. ฝ่ า ยทะเบี ย นรถ มี ห น้ า ที่ รั บ ผิ ด ชอบในการด� ำ เนิ น การด้ า น ทะเบี ย น และจั ด เก็ บ ภาษี ร ถตามกฎหมายว่ า ด้ ว ยการขนส่ ง ทางบก กฎหมายว่าด้วยรถยนต์ รวมทั้งงานด้านการบันทึกข้อมูลและประมวล ผลเบื้องต้นด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2559 – 21 กันยายน 2560 มีรถที่มา ด�ำเนินการตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก จ�ำนวน 9,342 คัน จัดเก็บภาษีรถได้ทั้งสิ้น 22,132,381.75 บาท และมีรถที่มาด�ำเนิน การตามพระราชบัญญัติรถยนต์ จ�ำนวน 134,102 คัน จัดเก็บภาษีรถ ได้ทั้งสิ้น 85,251,333.71 บาท และในรอบปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 จั ด การประมู ล หมายเลขทะเบี ย นรถเลขสวย รถยนต์ นั่ ง ส่ ว นบุ ค คล ไม่เกินเจ็ดคน หมวดอักษร กง จ�ำนวน 301 หมายเลข ได้เงินทั้งสิ้น 9,838,000.- บาท (เก้าล้านแปดแสนสามหมื่นแปดพันบาทถ้วน) และ รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล หมวดอักษร บท จ�ำนวน 301 หมายเลข ได้เงินทัง้ สิน้ 852,500.- บาท (แปดแสนห้าหมืน่ สองพันห้าร้อยบาทถ้วน) 4. ฝ่ายตรวจสภาพรถ มีหน้าที่รับผิดชอบในการด�ำเนินการตรวจ สอบรถ การตรวจสภาพรถ ตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกและ กฎหมายว่าด้วยรถยนต์ ด�ำเนินการด้านสถานตรวจสภาพรถเอกชน ตลอดจนการควบคุ ม ก� ำ กั บ ดู แ ล การต่ อ อายุ ใ บอนุ ญ าตจั ด ตั้ ง สถาน ตรวจสภาพรถเอกชน และการให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ติดตั้งเครื่อง อุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ก๊าซเป็นเชื้อเพลิง ตลอดจนการควบคุม ก�ำกับดูแลผู้ติดตั้งอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ก๊าซเป็นเชื้อเพลิงใน เขตพื้นที่ความรับผิดชอบ รวมทั้งงานด้านการบันทึกข้อมูลและประมวล ผลเบื้องต้นด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ ในรอบปีงบประมาณ พ.ศ. 2560

ด�ำเนินการตรวจสภาพรถตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก จ�ำนวน 8,812 คั น ตามพระราชบั ญ ญั ติ ร ถยนต์ จ� ำ นวน 18,819 คั น และ ควบคุมก�ำกับดูแลสถานตรวจสภาพรถเอกชน จ�ำนวน 14 แห่ง และได้รับรางวัลผลงานการพัฒนาคุณภาพบริการอย่างต่อเนื่อง ผลงานระบบรายงานผลการตรวจสภาพรถผ่านระบบสารสนเทศและ ก�ำกับดูแลสถานตรวจสภาพ ในนามของกรมการขนส่งทางบก 5. ฝ่ า ยใบอนุ ญ าตขั บ รถ มี ห น้ า ที่ รั บ ผิ ด ชอบในการด� ำ เนิ น การ ด้ า นใบอนุ ญ าตผู ้ ป ระจ� ำ รถและใบอนุ ญ าตขั บ รถ ตามกฎหมายว่ า ด้ ว ยการขนส่ ง ทางบกและกฎหมายว่ า ด้ ว ยรถยนต์ รวมทั้งงานด้า น การบั น ทึ ก ข้ อ มู ล และประมวลผลเบื้ อ งต้ น ด้ ว ยเครื่ อ งคอมพิ ว เตอร์ ในรอบปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 ด�ำเนินการด้านใบอนุญาตขับรถ ตาม พระราชบั ญ ญั ติ ก ารขนส่ ง ทางบก จ� ำ นวน 4,604 ฉบั บ จั ด เก็ บ ค่ า ธรรมเนี ย ม จ� ำ นวน 827,620.- บาท ตามพระราชบั ญ ญั ติ ร ถยนต์ จ�ำนวน 22,598 ฉบับ จัดเก็บค่าธรรมเนียม จ�ำนวน 6,495,090.- บาท และควบคุมก�ำกับดูแลโรงเรียนสอนขับรถ จ�ำนวน 1 แห่ง ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ ที่หมายเลขโทรศัพท์ 0-4237-8244 โทรสาร 0-4237-8244 หรือ E-mail nongbualamphu@dlt.mail.go.th NONGBUALAMPHU 69

.

2

.indd 2

24/10/2560 8:55:16


บันทึกเส้นทางพบสนง.ส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิการข้าราชการครู

สกสค.หนองบัวล�ำภู เสริมสร้างขวัญก�ำลังใจให้ครู เป็นที่ทราบกันดีว่า ครูและบุคลากรทางการศึกษานั้น เป็นผู้ที่มี บทบาทส�ำคัญและเป็นจุดเริ่มต้นในการพัฒนาประชากรของประเทศ ให้มีความรู้ความสามารถ และคุณธรรมจริยธรรม เพื่อให้บุคคลเหล่านั้น ได้ช่วยกันพัฒนาประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้าต่อไป ทว่าการที่ครูและ บุคลากรทางการศึกษาที่มีอยู่ทั่วประเทศ จะปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างเต็ม ศักยภาพได้นั้น ล้วนต้องได้รับการดูแลในด้านสวัสดิการและสวัสดิภาพ เป็นอย่างดี ซึ่งผู้ที่อยู่เบื้องหลังความส�ำเร็จดังกล่าว ก็คือ ส�ำนักงาน ส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาจังหวัด (ส�ำนักงาน สกสค.จังหวัด) ปัจจุบันส�ำนักงาน สกสค.จ.หนองบัวล�ำภู มี ดร.สุเทพ บุญเติม ด�ำรงต�ำแหน่งผู้อ�ำนวยการส�ำนักงานฯ ซึ่งท่านได้ให้เกียรตินิตยสาร SBL บันทึกประเทศไทย สัมภาษณ์พูดคุยถึงวิสัยทัศน์ บทบาทหน้าที่ ตลอด จนกิจกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการ ศึกษาภายในจังหวัดหนองบัวล�ำภู ดังรายละเอียดต่อไปนี้

รู้จัก สกสค. จังหวัดหนองบัวล�ำภู

ส�ำนักงานส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการ ศึกษาจังหวัดหนองบัวล�ำภู เรียกย่อๆ ว่า ส�ำนักงาน สกสค. จังหวัด หนองบัวล�ำภู จัดตัง้ ขึน้ เมือ่ พ.ศ.2547 เราเป็นหน่วยงานในสังกัดส�ำนักงาน คณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการ ศึกษา ( ส�ำนักงานคณะกรรมการ สกสค.) ซึง่ มีฐานะเป็นนิตบิ คุ คลในก�ำกับ ของกระทรวงศึกษาธิการ ปัจจุบันส�ำนักงานของเราตั้งอยู่ในพื้นที่ศูนย์ ราชการจังหวัดหนองบัวล�ำภู บริเวณทางเข้าประตูด้านหลังศูนย์ราชการ จังหวัดหนองบัวล�ำภู ปัจจุบนั เรามีสมาชิกทีเ่ ป็นบุคลากรในประจ�ำการและนอกประจ�ำการ ในพื้นที่จังหวัดหนองบัวล�ำภู โดยแยกเป็น 2 ประเภทคือ สมาชิก ช.พ.ค. (การฌาปนกิจสงเคราะห์ชว่ ยเพือ่ นครูและบุคลากรทางการศึกษา) จ�ำนวน ประมาณ 7,200 คน และ สมาชิก ช.พ.ส.(การฌาปนกิจสงเคราะห์ช่วย เพื่อนครูและบุคลากรทางการศึกษาในกรณีคู่สมรสถึงแก่กรรม) จ�ำนวน ประมาณ 3,700 คน

ดร.สุเทพ บุญเติม

ผูอ้ ำ� นวยการส�ำนักงาน สกสค.จังหวัดหนองบัวล�ำภู ภารกิจส�ำคัญของสกสค. จังหวัดหนองบัวล�ำภู

บทบาทหน้าทีห่ รือภารกิจหลักๆ ของเรา ก็คอื การส่งเสริมสวัสดิการ สวัสดิภาพ สิทธิประโยชน์เกื้อกูลอื่นๆ เพื่อสร้างความมั่นคงและผดุง เกียรติยศชื่อเสียงให้กับครูและบุคลากรทางการศึกษา ตลอดจนมีหน้าที่ ในการวิจัยเพื่อพัฒนางานตามภารกิจ ให้แก่ผู้ประกอบวิชาชีพทางการ ศึกษาและผู้ปฏิบัติงานด้านการศึกษา

วิสัยทัศน์-พันธกิจ-เป้าประสงค์

ส�ำนักงาน สกสค. จังหวัดหนองบัวล�ำภู ได้ก�ำหนดวิสัยทัศน์ในปี 2560–2563 ไว้ว่า “การบริ ห ารโปร่ ง ใส เสริ ม สร้ า งขวั ญ ก� ำ ลั ง ใจในการท� ำ งาน เพิม่ ประสิทธิภาพการบริการ สานต่องานพัฒนาชีวติ ครู เชิดชูและผดุงเกียรติ ครูและบุคลากรทางการศึกษาต่อเนือ่ ง สนับสนุนเรือ่ งวิจยั สวัสดิการ” พันธกิจ 1. การพัฒนาการบริการและการบริหารโปร่งใส 2. การเสริมสร้างขวัญก�ำลังใจในการท�ำงาน 3. สานต่องานพัฒนาชีวิตครู 4. เชิดชูและผดุงเกียรติครูและบุคลากรทางการศึกษา 5. สนับสนุนงานวิจัยเกี่ยวกับสวัสดิการครู

70 SBL Magazine บันทึกประเทศไทย .2

.indd 1

25/10/2560 13:28:23


เป้าประสงค์ 1. เพื่อให้ ส�ำนักงาน สกสค.จังหวัดหนองบัวล�ำภู เป็นองค์กรที่ พัฒนาการบริการให้สมบูรณ์แบบอย่างไม่หยุดยั้ง 2. เพือ่ ให้บคุ ลากรมีขวัญก�ำลังใจและมีพลังความทุม่ เทในการท�ำงาน อย่างสม�ำ่ เสมอและมีความสุขกับการท�ำงาน 3. เพื่อสานต่องานพัฒนาชีวิตที่มีอยู่และพัฒนากลุ่มทุกกลุ่มให้มี ความมั่นคงอย่างยั่งยืน 4. เพื่อเชิดชูและผดุงเกียรติครูและบุคลากรทางการศึกษาให้เป็น ประจักษ์ต่อสาธารณะ 5. เพื่อสนับสนุนงานวิจัยเกี่ยวกับสวัสดิการครู ให้สามารถน�ำมาใช้ ในการปฏิบัติงานและกิจกรรมที่เกี่ยวข้องได้จริง

3. ปลูกฝังค่านิยมตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพือ่ การด�ำเนิน ชีวิตที่มีคุณภาพยิ่งขึ้น 4. พัฒนาระบบการแก้ไขปัญหาหนีส้ นิ และสนับสนุนกิจกรรมในการ ลดภาระหนี้สินของครูและบุคลากรทางการศึกษา 5. ด�ำเนินการยกย่องเชิดชูเกียรติครูและบุคลากรทางการศึกษา และ สร้างเสริมให้ครูและบุคลากรทางการศึกษามีคุณธรรม จริยธรรม และ จรรยาบรรณของวิชาชีพ 6. รณรงค์ให้ครูและบุคลากรทางการศึกษามีกจิ กรรมเพือ่ สังคม และ สร้างภาพลักษณ์ที่ดี 7. ส่งเสริมการศึกษาวิจัยที่สอดคล้องกับภารกิจขององค์กร เพื่อน�ำ ไปพัฒนางานขององค์กร

กิจกรรมส�ำคัญของ สกสค.หนองบัวล�ำภู

ติดต่อส�ำนักงาน สกสค.หนองบัวล�ำภู

ทีผ่ า่ นมา ส�ำนักงาน สกสค. จังหวัดหนองบัวล�ำภู ได้ดำ� เนินกิจกรรม ต่างๆ เพื่อให้บรรลุตามวิสัยทัศน์ที่ได้ก�ำหนด อาทิ 1. จั ด รู ป แบบการบริ ก ารทั้ ง ในและนอกสถานที่ และส่ ง เสริ ม สวัสดิการ สวัสดิภาพ ตามลักษณะและความต้องการอย่างทั่วถึง จัด และสนับสนุนการบริการด้านสุขภาพให้ทวั่ ถึงและครอบคลุมพืน้ ทีจ่ งั หวัด และยกระดับการบริการด้านสวัสดิภาพ ช.พ.ค. และ ช.พ.ส. รวมทัง้ สิทธิ ประโยชน์เกือ้ กูลอืน่ แก่ครูและบุคลากรทางการศึกษา

2. จัดบรรยากาศและสภาพแวดล้อมในการท�ำงานให้นา่ อยู่ น่าท�ำงาน และมีความทันสมัย

ส�ำหรับผู้ที่จะติดต่อขอรับบริการจากเรา ขอเชิญได้ที่ ส�ำนักงาน สกสค.จั ง หวั ด หนองบั ว ล� ำ ภู ซึ่ ง ตั้ ง อยู ่ ใ นพื้ น ที่ ศู น ย์ ร าชการจั ง หวั ด หนองบั ว ล� ำ ภู บริ เวณทางเข้ า ประตู ด ้ า นหลั ง ศู น ย์ ร าชการจั ง หวั ด หนองบัวล�ำภู ต�ำบลล�ำภู อ�ำเภอเมืองหนองบัวล�ำภู จังหวัดหนองบัวล�ำภู รหัสไปรษณีย์ 39000 หรื อ เข้ า ไปชมข่ า วคราวความเคลื่ อ นไหวของเราผ่ า นสื่ อ สั ง คม ออนไลน์ อาทิ Facebook : สกสค.หนองบัวล�ำภู,ID Line:0883315722, Email : Otep_nongbualamphu@hotmail.com หรือจะเข้าไปดู รายละเอียดได้ที่ Website:Otep-nbp.go.th หรือติดต่อหมายเลข โทรศัพท์ 0-4231-1523,0-4231-1208 โทรสาร 0-4231-1523

บุคลากรในส�ำนักงานฯปัจจุบัน

1. ดร.สุเทพ บุญเติม 2. นางธัญญ์พัฒน์ ศรีเสมอ 3. นางเขมณัฏฐ์ ราษฎร์เจริญ 4. นางสาวจิราภา ทิพย์จนั ทร์ 5. นางจินตนา ค�ำหล้า 6. นายพิชัย ชุติเกียรติภักดี 7. นางสุรภา ปักนอก 8. นายอาวุธ บุตรแก้ว

ต�ำแหน่ง ผู้อำ� นวยการส�ำนักงาน ต�ำแหน่ง นักจัดการงานทั่วไปช�ำนาญการ ต�ำแหน่ง นักวิชาการคอมพิวเตอร์ชำ� นาญการ ต�ำแหน่ง นักวิชาการเงินและบัญชีชำ� นาญการ ต�ำแหน่ง นักจัดการงานทั่วไปช�ำนาญการ ต�ำแหน่ง เจ้าหน้าที่ธุรการ ต�ำแหน่ง พนักงานรักษาความสะอาด ต�ำแหน่ง พนักงานรักษาความปลอดภัย

NONGBUALAMPHU 71 .2

.indd 2

25/10/2560 13:28:26


บันทึกเส้นทางพบการยางแห่งประเทศไทย

นายทนงศักดิ์ นพคุณขจร ผู้อ�ำนวยการ การยางแห่งประเทศไทย จังหวัดหนองบัวล�ำภู

จังหวัดหนองบัวล�ำภู เป็นอีกหนึ่งจังหวัดทางภาคอีสานที่มี ยางพาราเป็นพืชเศรษฐกิจส�ำคัญ โดยมีพื้นที่ปลูกยางพารา จ�ำนวน 95,009.82 ไร่ มีเกษตรกรผู้ปลูกยางพารา จ�ำนวน 7,845 ราย และ มีมูลค่าผลผลิตยางพาราทั้งจังหวัดจะประมาณ 579 ล้านบาท นิ ต ยสาร SBL บั น ทึ ก ประเทศไทย ได้ รั บ เกี ย รติ จ าก นายทนงศักดิ์ นพคุณขจร ผู้อ�ำนวยการ การยางแห่งประเทศไทย จังหวัดหนองบัวล�ำภู ให้สมั ภาษณ์เกีย่ วกับบทบาทหน้าทีข่ องการยาง แ ห ่ ง ป ร ะ เ ท ศ ไ ท ย ส ถ า น ก า ร ณ ์ ก า ร ป ลู ก ย า ง พ า ร า ใ น จังหวัดหนองบัวล�ำภู ตลอดจนแผนการให้ความช่วยเหลือเกษตรกร ผู้ปลูกยางพารา ดังรายละเอียดต่อไปนี้

รู้จักการยางแห่งประเทศไทย

การยางแห่งประเทศไทย เป็นหน่วยงานประเภทรัฐวิสาหกิจ อยูใ่ นสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เกิดจากการควบรวมหน่วย งานที่ มี ภ ารกิ จ ด้ า นยางพารา 3 หน่ ว ยงาน คื อ ส� ำ นั ก กองทุ น สงเคราะห์ การท�ำสวนยาง (สกย.) องค์การสวนยาง (อสย.) และ สถาบันวิจัยยาง (สวย.) เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2558 ท�ำให้เป็น หน่วยงานที่รับผิดชอบด้านยางพาราอย่างครบวงจร ตั้งแต่ต้นน�้ำ กลางน�้ำ และปลายน�้ำ โดยด�ำเนินงานภายใต้ พรบ.การยางแห่ง ประเทศไทย พ.ศ.2558

บทบาทของการยางแห่งประเทศไทย

การยางแห่งประเทศไทย จังหวัดหนองบัวล�ำภู ประกอบด้วยพนักงานและลูกจ้างจ�ำนวน 17 คน ดูแลการบริหารจัดการยางพาราทั้งระบบอย่าง ครบวงจร บริหารจัดการเกี่ยวกับเงินของกองทุน พัฒนายางพารา เผยแพร่ข้อมูลสารสนเทศเกี่ยว กับยางพารา และด�ำเนินการให้ระดับราคายางมี เสถียรภาพ รวมทัง้ ส่งเสริม สนับสนุนให้มกี ารปลูก แทนและปลูกใหม่ ตลอดจนให้ความช่วยเหลือ เกษตรกรชาวสวนยาง สถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง ผู ้ ประกอบกิ จ การยาง ด้ า นวิ ช าการ การเงิ น การผลิต การแปรรูป การอุตสาหกรรม การตลาด การประกอบธุ ร กิ จ และการด� ำ เนิ น การอื่ น ที่ เกี่ยวข้อง เพื่อยกระดับรายได้และคุณภาพชีวิต ของชาวหนองบัวล�ำภูให้ดีขึ้น 72 SBL Magazine บันทึกประเทศไทย 2

.indd 1

27/10/2560 13:54:06


ยางพารา 1 ในพืชเศรษฐกิจหนองบัวล�ำภู

จังหวัดหนองบัวล�ำภู มีพนื้ ทีป่ ลูกยางพารา 95,009.82 ไร่ ( 7,845 ราย ) ซึง่ แยกเป็นสวนเปิดกรีด จ�ำนวน 72,748.72 ไร่ ( เกษตรกร 5,372 ราย ) และสวนไม่เปิดกรีด จ�ำนวน 22,261.10 ไร่ ( เกษตรกร 2,173 ราย ) และ มีกลุ่ม / สถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง 56 กลุ่ม แยกเป็นนิติบุคคล 19 กลุม่ จ�ำนวนสมาชิก 2,473 ราย มีโรงงานรับซือ้ น�ำ้ ยางพาราสดขนาด เล็กของเอกชน 1 แห่ง ก�ำลังผลิตประมาณ 50 ตัน/วัน ผลผลิตทีเ่ กษตรกรชาวสวนยางจ�ำหน่ายมากกว่า 99% อยูใ่ นรูปยาง ก้อนถ้วย ซึ่งจะน�ำยางเข้าจุดรวบรวมยางที่กระจายทั้งจังหวัด 25 จุด คาดการณ์ว่าจะมียางก้อนถ้วยเข้าจุดรวบรวมยาง 25 จุด ตลาดท้องถิ่น ของการยางแห่งประเทศไทย จ.หนองบัวล�ำภู มากกว่า 10,000 ตัน คิดเป็นมูลค่ากว่า 330 ล้านบาท หรือประมาณ 56% ของปริมาณยาง ก้อนถ้วยที่ผลิตได้ทั้งจังหวัดส่วนอีก 44% คือ ปริมาณยางที่เกษตรกร น�ำไปขายให้พ่อค้าเอกชน ซึ่งมีมูลค่ากว่า 223 ล้านบาท และมูลค่าจาก น�้ำยางข้น ยางแผ่นดิบ ยางเครป รวมกันประมาณ 26 ล้านบาท เมื่อรวม รายได้ทั้งจังหวัดจะมีมูลค่าประมาณ 579 ล้าน ข้อมูลฤดูกรีด 2559-2560 จังหวัดหนองบัวล�ำภู มีผลผลิตยางก้อน ถ้วยเฉลี่ย 302 กก./ไร่ หรือคิดเป็นน�้ำหนักยางแห้ง 203 กก./ไร่ ต้นทุน ยางก้อนถ้วยเฉลี่ย 20.69 บาท/กก. ราคายางก่อนเฉลี่ยผ่านตลาดยาง ท้องถิ่นของการยางแห่งประเทศไทย จ�ำหน่ายได้ราคา 32.19 บาท/กก. ราคายางก้อนถ้วยท้องถิ่น 27.99 บาท/กก. บาท และปริมาณยางทั้ง จังหวัดซึ่งได้ประมาณการณ์ไว้ที่ 18,000 ตัน หรือคิดเป็นเนื้อยางแห้ง 10,800 ตัน

ผลงานที่ภาคภูมิใจของการยางฯหนองบัวล�ำภู

การยางแห่งประเทศไทย จังหวัดหนองบัวล�ำภู มีบทบาทส�ำคัญใน การให้ความช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรผู้ปลูกยางพารา โดยเราได้ให้การ ส่งเสริมและสนับสนุนการปลูกแทน ให้เกษตรกรที่มียางแก่ อายุ 25 ปี ขึน้ ไป และสวนยางทีใ่ ห้ผลผลิตน้อย ในพืน้ ทีท่ มี่ เี อกสารสิทธิ์ จะได้รบั ทุน ส่งเสริมการปลูกแทน จ�ำนวน 16,000 บาท/ไร่ ซึ่งจังหวัดหนองบัวล�ำภู มีเกษตรกรทีไ่ ด้รบั ทุนส่งเสริมการปลูกแทน จ�ำนวน 44 ราย เนือ้ ที่ 316.45 ไร่ และในปีงบประมาณ 2560-2561 การยางแห่งประเทศไทย จังหวัด หนองบัวล�ำภู ได้รบั งบประมาณจากกลุม่ จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตอนบน เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ถ่ายทอดความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ใหม่ๆ เกี่ยวกับยางพารา ให้แก่เกษตรกรในพื้นที่จังหวัดหนองบัวล�ำภู เพื่ อ น� ำ ความรู ้ ที่ ไ ด้ รั บ มาประยุ ก ต์ ใช้ แ ละแปรรู ป น�้ ำ ยางสด ให้ เ ป็ น ผลิตภัณฑ์ทมี่ มี ลู ค่าเพิม่ ขึน้ และสามารถยกระดับรายได้และคุณภาพชีวติ ของชาวหนองบัวล�ำภูให้ดียิ่งขึ้น ส�ำหรับเกษตรกรผู้ปลูกยางพาราที่ต้องการขอรับความช่วยเหลือใน ด้านต่างๆ หรือต้องการเรียนรู้เทคโนโลยี และนวัตกรรมใหม่ๆ เกี่ยวกับ ยางพารา ก็สามารถไปใช้บริการศูนย์เรียนรูก้ ารแปรรูปผลิตภัณฑ์ยาง หรือ ติดต่อได้ที่ การยางแห่งประเทศไทย จังหวัดหนองบัวล�ำภู เลขที่ 1114 หมู่ 2 ต�ำบลล�ำภู อ�ำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวล�ำภู 39000 โทรศัพท์ 0 4231 3027 โทรสาร 0 4231 3026 Email : orfnbu๑@ruber.mail.go.th NONGBUALAMPHU 73

2

.indd 2

27/10/2560 13:54:08


บันทึกเส้นทางพบพลังงานจังหวัด

ส�ำนักงานพลังงาน จังหวัดหนองบัวล�ำภู หนองบัวล�ำภู เมืองน่าอยู่ รู้ค่า พึ่งพาพลังงานทดแทน คื อ วิ สั ย ทั ศ น์ ข องส� ำ นั ก งานพลั ง งานจั ง หวั ด หนองบั ว ล� ำ ภู (สพจ.หนองบั ว ล� ำ ภู ) ซึ่ ง มี ส� ำ นั ก งานตั้ ง อยู ่ ที่ ศู น ย์ ร าชการจั ง หวั ด หนองบัวล�ำภู ต�ำบลล�ำภู อ�ำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวล�ำภู ปัจจุบัน มี นายชัยรัตน์ พงค์พีระ ด�ำรงต�ำแหน่ง พลังงานจังหวัดหนองบัวล�ำภู

ภารกิจหลัก สพจ.หนองบัวล�ำภู

1. ก�ำกับดูแลและส่งเสริมการด�ำเนินงานด้านความปลอดภัยและ สิ่งแวดล้อม ของกิจการน�้ำมันเชื้อเพลิงและก๊าซในระดับพื้นที่จังหวัด 2. ก�ำกับดูแลคุณภาพ การค้า และการส�ำรองน�้ำมันเชื้อเพลิงใน ระดับพื้นที่จังหวัด 3. ส่งเสริมและพัฒนาพลังงานทดแทน และการอนุรักษ์พลังงาน ในระดับพื้นที่จังหวัด 4. ประสานและอ� ำ นวยความสะดวกในการส� ำ รวจ และผลิ ต เชื้อเพลิงธรรมชาติในระดับพื้นที่จังหวัด 5. จั ด ท� ำ เสนอแนะ และประสานแผนพัฒนาพลั ง งานในระดั บ จังหวัด รวมทั้งประสานการพัฒนา และประเมินผลการด�ำเนินงานตาม แผนดังกล่าว 6. ส่งเสริมการมีสว่ นร่วมทุกภาคส่วนในงานด้านพลังงานระดับพืน้ ที่ 7. ปฏิบัติงานร่วมกันหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงาน อื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย

นายชัยรัตน์ พงค์พีระ พลังงานจังหวัดหนองบัวล�ำภู

รางวัลที่ภาคภูมิใจ

ผลงานการจั ด การพลั ง งานชุ ม ชนจั ง หวั ด หนองบั ว ล� ำ ภู ได้ รั บ คั ด เลื อ กเป็ น “สุ ด ยอดคนพลั ง งาน ระดั บ ประเทศ” สาขาจั ง หวั ด ส่งเสริมพลังงานชุมชนยอดเยี่ยม ในโครงการประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริม การจัดการพลังงานที่ดีในระดับชุมชน ประจ�ำปี พ.ศ. 2560

74 SBL Magazine บันทึกประเทศไทย .

3

(1).indd 1

27/10/2560 14:00:59


โครงการเด่นของ สพจ.หนองบัวล�ำภู

โครงการระบบสูบน�้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อปลูกผักอินทรีย์ ส� ำนั ก งานพลังงานจังหวัด หนองบัว ล�ำภู ร่วมกั บเทศบาลต� ำ บล หัวนา อ�ำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวล�ำภู ด�ำเนินโครงการเพิ่มสมรรถนะ ด้ า นการบริ ห ารและจั ด การพลั ง งานครบวงจรในชุ ม ชนระดั บ ต� ำ บล ในปีงบประมาณ 2558 โครงการดังกล่าวท�ำให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในการบริหาร พลังงานตามศักยภาพของพื้นที่ จึงมีความสนใจที่จะน�ำพลังงานทดแทน มาใช้ประโยชน์อย่างเหมาะสม ซึ่งก่อนหน้านี้ชาวบ้านโพธิ์ศรีส�ำราญ หมู ่ 13 ต� ำ บลหั ว นา ได้ มี ก ารจั ด ตั้ ง กลุ ่ ม ปลู ก ผั ก อิ น ทรี ย ์ ในพื้ น ที่ ริมฝั่งหนองน�้ำกุดตาแมว โดยใช้ไฟฟ้าและเครื่องสูบน�้ำในการรดน�้ำผัก จึ ง มี ผู ้ ส นใจอยากขยายโครงการเพิ่ ม ขึ้ น ส� ำ นั ก งานพลั ง งานจั ง หวั ด หนองบัวล�ำภู เทศบาลต�ำบลหัวนา และผู้น�ำชุมชน จึงได้จัดท�ำโครงการ ระบบสูบน�้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อปลูกผักอินทรีย์ โดยได้รับการ สนับสนุนงบประมาณจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ลักษณะการด�ำเนินงาน ส� ำนั ก งานพลังงานจังหวัด หนองบัว ล�ำภู ร่ว มกั บเทศบาลต� ำ บล หัวนา ด�ำเนินการออกแบบและก่อสร้างระบบพลังงานจากแผงโซล่า เซลล์ ก� ำ ลั ง ผลิ ต ไฟฟ้ า 2,000 วั ต ต์ สู บ น�้ ำ จากบ่ อ บาดาลเก็ บ ไว้ ใ น ถังเก็บน�้ำขนาดความจุรวม 60 ลูกบาศก์เมตร เพื่อจ่ายน�้ำเข้าสู่แปลง ปลูกผัก บนพื้นที่ 7 ไร่เศษ ในพื้นที่สาธารณะว่างเปล่าโคกสาธารณะ ดอนงู เพื่อใช้ในการรดน�้ำผัก ด�ำเนินการก่อสร้างระบบแล้วเสร็จเดือน ปลายธันวาคม 2559

การขับเคลื่อนโครงการระบบสูบน�้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อ ปลูกผักอินทรีย์ กลุ่มสมาชิกวิสากิจชุมชนปลูกผักอินทรีย์ ซึ่งน�ำโดยนางประดับ สมณะ ผู ้ ใ หญ่ บ ้ า นโพธิ์ ศรี ส� ำ ราญ หมู ่ ที่ 13 ต�ำบลหั วนา ได้ รั บ มอบ หมายจากเทศบาลต�ำบลหัวนาให้เข้ามาบริหารจัดการและร่วมกันใช้ ประโยชน์ในพื้นที่โครงการ โดยแบ่งพื้นที่ปลูกผักให้กับสมาชิก 38 คน คนละประมาณ 75 ตารางวา เพื่ อ ปลู ก ผั ก ตามความต้ อ งการของ ผู้บริโภคในชุมชนและตลาดชุมชน มีหน่วยงานที่บูรณาการงานร่วมกัน อาทิ หน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดูแลให้ค�ำปรึกษา การปรับปรุงคุณภาพดินและการปลูกพืช องค์การบริหารส่วนจังหวัด หนองบัวล�ำภูดูแลเกี่ยวกับวิธีการขับเคลื่อนเกษตรอินทรีย์ และสถาบัน การศึกษามาให้ค�ำปรึกษาด้านการขับเคลื่อนให้เกิดความยั่งยืน เป็นต้น ประโยชน์ที่ได้จากการจัดท�ำโครงการ 1. ลดค่าใช้จ่ายด้านไฟฟ้า/น�้ำมันในการสูบน�้ำ 2. การน� ำ เทคโนโลยี แ ละพลั ง งานสะอาดมาช่ ว ยกระจายน�้ ำ เพื่อการเกษตรในพื้นที่ห่างไกลแหล่งน�้ำต้นทุน 3. การใช้ประโยชน์พื้นที่นอกฤดูการเกษตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ 4. เป็นแหล่งเรียนรู้ศึกษาดูงานการประยุกต์ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อการเกษตรในชุมชน และชุมชนข้างเคียง 5. สร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้กับชุมชนได้ทั้งปี ไม่ย้ายถิ่น เพื่อหางานท�ำ 6. ท�ำให้ประชาชนได้บริโภคผักปลอดสารพิษ และมีคุณภาพชีวิต ที่ดีขึ้น NONGBUALAMPHU 75

.

3

(1).indd 2

27/10/2560 14:01:00


จากข้าวเปลือกนาปี

โครงการปรับปรุงขบวนการผลิตข้าวฮาง ของกลุ่มวิสาหกิจ ผลิตข้าวฮางบ้านสุขส�ำราญ

โครงการปรับปรุงขบวนการผลิตข้าวฮาง ด้วยเทคโนโลยีทเี่ หมาะสม โดยการใช้ เ ตาเศรษฐกิ จ (แบบร้ อ ยเอ็ ด ) และโรงอบแห้ ง พลั ง งาน แสงอาทิตย์ ของกลุ่มวิสาหกิจผลิตข้าวฮางบ้านสุขส�ำราญ หมู่ที่ 16 ต�ำบลฝัง่ แดง อ�ำเภอนากลาง จังหวัดหนองบัวล�ำภู โดยส�ำนักงานพลังงาน จังหวัดหนองบัวล�ำภู ที่มาของโครงการ จากการผลิตข้าวนาปีที่มักมีปัญหาราคาผลผลิตตกต�่ำ ท�ำให้ที่ผ่าน รัฐบาลต้องหาแนวทางในการแก้ปัญหาทุกๆ ปี และส่งผลกระทบต่อ คุณภาพชีวิตเกษตรกร ปัญหาดังกล่าวจ�ำเป็นต้องได้รับการแก้ไขอย่าง ยั่งยืน ซึ่งการแปรรูปข้าวเพื่อเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการ และเพิ่มมูลค่า ผลผลิตให้เป็นผลิตภัณฑ์ OTOP มีมาตรฐานต่างๆ รับรอง ก็เป็นอีก แนวทางหนึง่ ในการแก้ปญ ั หาอย่างยัง่ ยืน และท�ำให้ประชาชนมีความเข้ม แข็ง รู้จักพึ่งพาตนเอง ลดการว่างงาน สร้างรายได้ตลอดทั้งปี มีคุณภาพ ชีวิตที่ดีขึ้น ตอบสนองต่อนโยบายของรัฐบาล ขั้นตอนการผลิตข้าวฮาง เริ่ ม ต้ น จากคั ด เลื อ กข้ า วเปลื อ กนาปี น� ำ ไปแช่ น�้ ำ 1 คื น แล้ ว ซาวข้ า วเปลื อ กมาบ่ ม ไว้ 1 คื น เพื่ อ ให้ ร ากงอก แล้ ว น� ำ มาล้ า งน�้ ำ ให้ สะอาด น�ำไปนึ่งจนสุก ก่อนจะน�ำไปตากแดดให้แห้ง จึงน�ำมาสีกะเทาะ เปลือกข้าวออก จากนั้นจึงน�ำมาคัดเลือกให้เหลือแต่เมล็ดข้าวที่สวยงาม แล้วน�ำมาบรรจุภัณฑ์ด้วยระบบสูญญากาศ เพื่อส่งจ�ำหน่ายแก่ลูกค้า ต่อไป ในขั้นตอนการผลิตนี้ สพจ.หนองบัวล�ำภูได้สนับสนุนให้ปรับปรุง ขบวนการผลิต โดยเปลี่ยนมาใช้เตาเศรษฐกิจ (แบบร้อยเอ็ด) แทน เตาฟืนแบบเดิมในการนึ่งข้าว ท�ำให้การใช้ฟืนเหลือเพียง 14 กิโลกรัม ต่อครั้งเท่านั้น เทียบกับการเตาฟืนแบบเดิมต้องใช้ฟืนประมาณ 58 กิโลกรัมต่อครั้งต่อการนึ่งข้าวเปลือกครั้งละ 35 กิโลกรัมเท่ากัน ท�ำให้ กลุ่มฯลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานได้ประมาณ 4 บาทต่อหนึ่งกิโลกรัม และ ที่ส�ำคัญสมาชิกกลุ่มฯยังได้รับความปลอดภัยมากขึ้น (จากเดิมที่ต้อง สูดดมควันไฟ) และมีส่วนช่วยเหลือในการรักษาสิ่งแวดล้อมด้วย นอกจากนี้ ทางกลุ ่ ม ฯยั ง น� ำ โรงอบแห้ ง พลั ง งานแสงอาทิ ต ย์ ม า ใช้ เพื่อช่วยแก้ปัญหาการตากข้าวในฤดูฝน เพื่อเพิ่มก�ำลังการผลิตให้ ทันต่อความต้องการของลูกค้า และท�ำให้ขบวนการผลิตสะอาดยิ่งขึ้น ช่วยให้ภาพลักษณ์สนิ ค้าให้ดขี นึ้ สร้างความเชือ่ มัน่ แก่ผบู้ ริโภคมากขึน้ ด้วย จุดเด่นของข้าวฮาง ผลิตภัณฑ์ข้าวฮางที่ได้จากการแปรรูปข้าวนาปี อุดมด้วยคุณค่า ทางวิตามิน บี1 บี2 ธาตุเหล็ก แคลเซียม สารกาบ้า ธาตุแมงกานีส เส้นใยอาหารปริมาณสูง มีคุณค่าทางโภชนาการสูงและเป็นประโยชน์ ต่อร่างกายเป็นอย่างมาก ซึง่ ได้รบั การรับรองว่าเป็น “ข้าวโภชนาการสูง” ข้ า วฮางงอกที่ ผ ่ า นกระบวนการต่ า งๆ แล้ ว จะมี ลั ก ษณะพิ เ ศษ คื อ นุ่ม อร่อย นอกจากนี้ยังสร้างรายได้ สร้างงานให้แก่ประชาชนอย่าง ต่ อ เนื่ อ ง สร้า งการพึ่งพาตนเองอย่างเป็น รูป ธรรมและยั่ ง ยื น อี ก ทั้ ง ยั ง สามารถต่ อ ยอดเป็ น ผลิ ต ภั ณ ฑ์ อื่ น ๆ ได้ ม ากมาย ซึ่ ง จะช่ ว ยเพิ่ ม ช่องทางการตลาด และเพิ่มลูกค้ากลุ่มเป้าหมายได้มากขึ้นด้วย 76 SBL Magazine บันทึกประเทศไทย .

3

(1).indd 3

สู่การปรับปรุงขบวนการผลิตด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสม

เตาฟืนแบบเดิม

ตากด้วยนั่งร้านไม้ ไผ่แบบดั้งเดิม

เตาเศรษฐกิจ (แบบร้อยเอ็ด)

ใช้โรงอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์

เกิดผลิตภัณฑ์ชุมชน

สร้างมูลค่าเพิ่ม เพื่อเพิ่มกลุ่มเป้าหมาย

กระเช้าของขวัญ

จัดนิทรรศการเพื่อเพิ่ม ช่องทางการตลาด

ข้าวฮางมันไก่

ข้าวฮางธัญพืช บ�ำรุงธาตุ

ขนมขบเคี้ยว

27/10/2560 14:01:01


สามหมื่นเก้าพัน รีสอร์ท

39000 Resort Nongbualamphu

ห้ อ งพั ก สะอาด บรรยากาศแบบชิ ล ล์ ๆ วิ น เทจๆ ใครที่ ช อบบรรยากาศแบบนี้ สามารถเข้าพักได้เลยค่ะ ไม่ผดิ หวังแน่นอน

OPEN 24 HRs. ROOM RATE 350 Bath

CONTACT 109/1 หมู่ 1 บ้านเหล่าใต้ อ�ำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวล�ำภู 39000 042-313109, 082-1111480 NONGBUALAMPHU 77 .indd 77

27/10/60 02:55:13 PM


บรรยากาศบริเวณทางเข้า

ห้องพักสะอาด บริการเป็นกันเอง ความสะดวกครบครัน @รุ่งโรจน์แกรนด์

บรรยากาศภายในห้องพัก

78 SBL Magazine บันทึกประเทศไทย Rungrod Grand Hotel.indd 78

20/10/60 03:59:23 PM


โรงแรมรุ่งโรจน์แกรนด์ Rungrod Grand Hotel

1 บริการห้องพัก รายวัน/รายเดือน ให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง ภายใน ห้ อ งพั ก สะอาด บริ ก ารเป็ น กั น เอง เครื่องอ�ำนวยความสะดวกภายในห้อง ครบครัน FREE WIFI เครื่องท�ำน�้ำอุ่น

1.ภายในห้องพัก VIP 2.บรรยากาศภายนอกของโรงแรม 3.ภายในห้องพักเตียงคู่ 4.ภายในห้องพักเตียงเดี่ยว

2

4

3 ติดต่อ โรงแรมรุ ่งโรจน์แกรนด์ Rungrod Grand Hotel 107 ม.13 ต.โพธิ์ชัย อ.เมือง จ.หนองบัวล�ำภู 39000 042-313228-9, 093-3211199 โรงแรมรุ่งโรจน์แกรนด์ NONGBUALAMPHU 79

Rungrod Grand Hotel.indd 79

20/10/60 03:59:31 PM


เส้นทางที่แชร์ @ภูวรรณวาแกรนด์วิว จาก นภ.3038 ไป นภ.3038 ผ่าน ถนนหมายเลข 210 และ นภ.3038 3 นาที ส�ำหรับเส้นทางที่ดีที่สุดในการ จราจรปัจจุบัน

บรรยากาศดี ห้องสะอาด และปลอดภัย

@ภูธรรณวาแกรนด์วิว

บรรยากาศด้านหน้าทางเข้าโรงแรม

80 SBL Magazine บันทึกประเทศไทย .indd 80

27/10/60 02:33:58 PM


โรงแรมภูธรรณวาแกรนด์วิว Phutunwa Grandview Hotel

1 การจราจรปั จจุ บัน - มุง่ หน้าทางตะวันออกเฉียงใต้ ไปตาม นภ.3038 เข้าสู่ถนนโยธาธิการ หนองบัวล�ำภู 2024 - เลีย้ วขวา ทีถ่ นนโยธาธิการ หนองบัวล�ำภู 2024 - เลี้ยวขวา เข้าสู่ ถนนหมายเลข 210 - เลี้ยวขวา เข้าสู่ นภ.3038 - ถึงสถานที่ นภ.3038

2

3 1. บริเวณระเบียงทางเดิน 2. ภายในห้องพักเตียงคู่ 3. ภายในห้องพักเตียงเดี่ยว 4. สิ่งอ�ำนวยความสะดวกภายในห้อง

4

ติดต่อ โรงแรมภูธรรณวาแกรนด์วิว (Phutunwa Grandview Hotel) 272/3 ถนนอุดร-เลย ต�ำบลล�ำภู อ�ำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวล�ำภู 39000 272/3 Udorn-Loei Road. Lampoo Muang Nongbualamphu 39000 081-5453594 ภูธรรณวาแกรนด์วิว NONGBUALAMPHU 81

.indd 81

27/10/60 02:34:03 PM


บรรยากาศธรรมชาติบริเวณทางเดิน

ห้องพักสวย ราคาประหยัด บรรยากาศดี ติดภูพาน @ภูฟ้ารีสอร์ท

บรรยากาศสระว่ายน�้ำขนาดใหญ่

82 SBL Magazine บันทึกประเทศไทย .indd 82

21/10/60 08:46:01 AM


ภูฟ้ารีสอร์ท

Phufah Resort

1

มีห้องพักเพื่อคอยบริการทั้งหมด 44 ห้อง พร้อมเครือ่ งอ�ำนวยความสะดวกครบครัน เช่น แอร์ ทีวีเคเบิ้ล น�้ำอุ่น Free WiFi

บริการห้องพัก 3 แบบ มาตรฐาน 32 ห้อง - เตียงเดี่ยว 29 ห้อง ราคา 350 บาท - เตียงคู่ 3 ห้อง ราคา 400 บาท บังกาโล เตียงเดี่ยว 6 ห้อง ราคา 400 บาท บังกาโล แบบ 2 ชั้น เตียงเดี่ยว 6 ห้อง ราคา 500 บาท

2

3

สถานที่เพิ่มเติม @ภูฟ้ารีสอร์ท นอกจากนี้เรายังมีห้องประชุมสัมนา ห้องจัดเลีย้ ง สนามบาสเก็ตบอล สระว่ายน�ำ้ ไว้คอยบริการลูกค้าทุกเทศกาล 1.ด้านหน้าห้องพัก 2.สนามบาสเก็ตบอล 3.ภายในห้องพัก 4.ห้องประชุมสัมนา/ห้องจัดเลี้ยง

4 ติดต่อ โรงแรมภูฟ้ารีสอร์ท phufah resort 130 หมู่ 12 ต.ล�ำภู อ.เมือง จ.หนองบัวล�ำภู 39000 042-311866, 089-6224437, 086-6422686 ภูฟา้ รีสอร์ท NONGBUALAMPHU 83

.indd 83

21/10/60 08:46:12 AM


m a n a u S n Park

The Lio

“For you who love being with your family” http://www.bansuanamresort-orinter.com เปิดให้บริการแล้วสระน�้ำโซนใหม่....ท่านจะได้พบกับสวนน�ำ้ ขนาดใหญ่ สวนพักผ่อน หลากหลายบรรยากาศ สถานที่ท่องเที่ยว ธรรมชาติอันร่มรื่น บ้านสวนน�ำ้ รีสอร์ท ( อ.อินเตอร์) 113 หมู่ 11 บ้านทุ่งพัฒนา อ�ำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวล�ำภู สวนน�ำ้ เดอะไลอ้อนปาร์ค อ.ศรีบุญเรือง จ.หนองบัวล�ำภู 083-292-4845 , 081-571-5934 , 088-312-2754

Suanam The Lion Park.indd 1

24/10/2560 16:53:22


BanSuanam RESORT

บริการห้องพัก รีสอร์ท บริการให้เช่าจักรยานชมสวนยามเย็น เพลิดเพลินกับการให้อาหารปลา หลายสายพันธุ์ เพลิดเพลินกับการให้อาหารสัตว์เลี้ยงน่ารัก - พบกับห้องสัมนา สามารถบรรจุได้ถึง 300 ที่นั่ง - พร้อมด้วยให้เช่าสถานที่ถ่ายรูป - รับจัดงานวิวาห์ท่ามกลางสวนดอกไม้นานาพันธุ์ - สามารถจัดเลี้ยงหลากหลายสไตร์ - ห้องจัดเลี้ยง ห้องสัมนาขนาดใหญ่ - ให้เช่าสถานที่จัดงานวิวาห์

: 042-315-966

Suanam The Lion Park.indd 2

: 083-292-4845 , 081-571-5934 , 088-312-2754

: บ้านสวนน�้ำรีสอร์ท อ.อินเติอร์

24/10/2560 16:53:24


บั น ทึ กเส้ น ทางท่องเที่ย วของจังหวัดหนองบั ว ล� ำ ภู

นครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน

NONGBUA LAMPHU จังหวัดน้องใหม่อย่างหนองบัวล�ำภูนี้ ต้องเรียกว่าไม่ธรรมดา เลยนะคะ เพราะอุดมด้วยทรัพยากรด้านการท่องเที่ยวมากมาย ที่ เ หมาะกั บ ทุ ก คนในครอบครั ว มี ทั้ ง แหล่ ง เรี ย นรู ้ ยุ ค ไดโนเสาร์ ครองโลก ยุ ค หิ น จนถึ ง ยุ ค กรุ ง ศรี อ ยุ ธ ยา แหล่ ง ท่ อ งเที่ ย วทาง ธรรมชาติ ที่มีทั้งป่าเขาล�ำเนาไพรและสายน�้ำตกชุ่มฉ�่ำ รวมไปถึง แหล่งท่องเที่ยวเรียนรู้วิถีชีวิตชาวหนองบัวล�ำภูที่มีเสน่ห์น่าค้นหา อย่ารอช้ากันเลยค่ะ ไปเที่ยวพร้อมๆ กันผ่านตัวอักษรและภาพสวยๆ ของช่างภาพฝีมือดีของเรากันค่ะ

86 SBL Magazine บันทึกประเทศไทย .indd 86

28/10/2560 11:07:14


จังหวัดหนองบัวล�ำภู แม้จะก่อตั้งเป็นจังหวัดเมื่อ พ.ศ. 2536 ทว่าบริเวณที่ตั้งของ หนองบัวล�ำภู หรือ “หนองบัวลุ่มภู” ในอดีตนั้น กลับมีประวัติความเป็นมาย้อนไปได้ถึง สมัยก่อนประวัตศิ าสตร์ ซึง่ เป็นยุคสมัยเดียวกับแหล่งโบราณคดีบา้ นเชียง จังหวัดอุดรธานี กันเลยทีเดียว และดินแดนแห่งนี้ แยกตัวออกจากจังหวัดอุดรธานี และก่อตั้งเป็นจังหวัด หนองบัวล�ำภู จังหวัดที่ 76 ของประเทศไทย NONGBUALAMPHU 87 .indd 87

28/10/2560 11:07:15


สักการะสมเด็จพระนเรศวรฯ

จังหวัดหนองบัวล�ำภู เป็นดินแดนที่จารึกเรื่องราว ประวัติศาสตร์ชาติไทยมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา โดยใน พ.ศ. 2112 ไทยเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 1 ให้แก่พม่า ตรงกับสมัยพระเจ้าบุเรงนอง กษัตริย์กรุงหงสาวดี ได้มี หมายเกณฑ์ให้สมเด็จพระมหาธรรมราชา ไปช่วยตีเมือง เวียงจันทน์ การที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ได้เคยเสด็จมา ประทับแรมที่เมืองหนองบัวล�ำภู เมื่อ พ.ศ.2117 นั้น ท�ำให้ชอื่ เมืองหนองบัวล�ำภูได้จารึกไว้ในประวัตศิ าสตร์ไทย ดังนัน้ เพือ่ เป็นการเทิดพระเกียรติ วีรกษัตริยไ์ ทย พระยา อุดรธานีศรีโขมสาครเขต (จิต จิตตยโสธร) อดีตเจ้าเมือง อุดรธานี ได้รว่ มใจกับชาวหนองบัวล�ำภู สร้างศาลสมเด็จ พระนเรศวรมหาราชไว้ ณ ด้านตะวันออกริมฝัง่ หนองบัว (ใจกลาง อ.เมืองหนองบัวล�ำภู) และสร้ างรูปเหมือน สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ประทับยืน พระหัตถ์ซ้าย ทรงพระแสงดาบ ที่ออกแบบโดยช่างกรมศิลปากร พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมพิ ลอดุลยเดช เสด็จพระราชด�ำเนินทรงเปิดพระบรมราชานุสาวรียแ์ ห่งนี้ เมือ่ วันที่ 25 มกราคม 2511 หลังจากนัน้ ทุกๆ ปี ชาวจังหวัด หนองบัวล�ำภู จะจัดงานพระราชพิธีบวงสรวงดวงพระ วิญญาณสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เรียกว่า “งานบวงสรวง สมเด็จพระนเรศวรมหาราชกาชาดหนองบัวล�ำภู ”

นมัสการหุ่นขี้ผึ้งหลวงปู่ขาว อนาลโย

“ พระอริยเจ้าผู้เป็นดั่งเพชรน�้ำหนึ่ง ผู้พิจารณาเมล็ดข้าวจนพ้นทุกข์ ” หลวงปูข่ าว อนาลโย เป็นพระมหาเถระศิษย์ชนั้ ผูใ้ หญ่ของท่านพระอาจารย์ใหญ่มนั่ ภูรทิ ตั โต บูรพาจารย์พระป่าแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ท่านเกิดในสกุลชาวนา ท�ำอาชีพเป็น ชาวนาปลูกข้าวเลี้ยงตัว ยามบวชปฏิบัติธรรมเร่งความเพียร ข้อธรรมที่ท่านใช้ในการ พิจารณากระทัง่ บรรลุเป็นพระอริยบุคคลชัน้ สูงสุด ก็ดว้ ยอาศัยเมล็ดข้าวทีช่ าวไร่ชาวนา ปลูกไว้ ยกขึน้ มาพิจารณาเป็นข้อธรรมจนเห็นการดับของอวิชชาในจิต จากเมล็ดข้าวสุก ที่หมดเชื้อที่จะน�ำไปเกิดอีก เมื่อท่านธุดงค์ไปถึงวัดถ�้ำกลองเพล อ�ำเภอเมือง จังหวัด หนองบัวล�ำภู จึงได้ครบถ้วนทั้งการกราบสักการะบูรพาจารย์ และได้พิจารณาธรรม จากการศึกษา

88 SBL Magazine บันทึกประเทศไทย .indd 88

28/10/2560 11:07:20


พระพุทธชยันตี หนองบัวล�ำภู

ในปีพุทธศักราช 2555 รัฐบาลได้ประกาศให้เป็นปีแห่งการเฉลิม ฉลองพุทธชยันตี 2600 ปีแห่งการตรัสรู้ขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ถวายเป็นพุทธบูชา โดยเน้นหนักในด้านการปฏิบัติบูชา และการมีส่วน ร่วมของประชาชนให้ประชาชนได้ปฏิบตั ติ นตามวิถชี าวพุทธอย่างแท้จริง อันจะท�ำให้เกิดความมัน่ คงแห่งสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริยอ์ ย่าง ยั่งยืน จั ง หวั ด หนองบั ว ล� ำ ภู จึ ง มี โ ครงการก่ อ สร้ า ง พระพุ ท ธชยั น ตี หนองบัวล�ำภู เป็นพระพุทธรูปปูนปัน้ ปางประทานพร ทีม่ ลี กั ษณะงดงาม เด่นเป็นพิเศษยิ่งกว่าพระพุทธรูปที่เคยมีมาในอดีต โดยมีขนาดความสูง 2600 เซนติเมตร ซึ่งมีความหมายถึง พุทธชยันตี 2600 ปีแห่งการตรัสรู้ ขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระพุทธรูปประดิษฐานอยู่บนฐาน 8 เหลี่ยม หมายถึง อริยมรรคมี องค์ 8 คือ หนทางสูค่ วามพ้นทุกข์ เป็นส่วนหนึง่ ของอริยสัจสี่ เฉพาะฐาน พระมีความสูง 12 เมตรรวมความสูงจากฐาน ถึงส่วนยอดของเศียรพระ 38 เมตรเป็นความหมายแสดงถึงมงคลชีวิต 38 ประการ ที่เป็นเหตุแห่ง ความสุข ความก้าวหน้าในการด�ำเนินชีวติ เพือ่ เป็นศูนย์รวมแห่งการเรียน รู้ทางพุทธศาสนา เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติแบบวิถีพุทธ ให้ พุทธศาสนิกชนได้รว่ มแสดงออกถึงการปฏิบตั ติ นทางกาย วาจา ใจ อย่าง มีเมตตาปราณีที่ดีต่อกัน

.indd 89

พระพุ ท ธชยั น ตี หนองบั ว ล� ำ ภู ประดิ ษ ฐานอยู่บ ริเวณเทือกเขา ภูพานน้อย ณ วัดดอยเทพสมบูรณ์ ต.หนองบัว อ.เมืองหนองบัวล�ำภู จ.หนองบัวล�ำภู องค์พระหันพระพักตร์สเู่ มืองหนองบัวล�ำภู ซึง่ ผูส้ ญ ั จรไป มาบนถนนสาย 210 หนองบัวล�ำภู-เลย-อุดรธานีจะสามารถมองเห็น องค์พระประทับยืนประทานพรอย่างสง่างาม และพุทธศาสนิกชนสามารถ เดินทางขึ้นมากราบสักการะขอพร ณ ที่ประดิษฐานองค์พระ รวมทั้ง นักท่องเทีย่ วจะสามารถชมทัศนียภาพ ความงดงามของเมืองหนองบัวล�ำภู จากบริเวณที่ตั้งองค์พระพุทธชยันตี ได้อย่างชัดเจน

28/10/2560 11:07:22


ถ�้ำเอราวัณ มหัศจรรย์แห่งต�ำนานเหนือขุนเขา

ถ�ำ้ เอราวัณ ตัง้ อยูบ่ า้ นผาอินแปลง ต�ำบลวังทอง บริเวณภูเขาหินแข็ง ทีช่ าวบ้าน เรียกว่า ภูเขาผาถ�ำ้ ช้าง เป็นรอยต่อของอ�ำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย กับอ�ำเภอนาวัง จังหวัดหนองบัวล�ำภู อยู่บนเขาที่มีลักษณะเป็นหินแข็งที่ มีกระจายอยู่ทั่วไป ถ้ามองจากที่ไกลๆ จะเห็นมีลักษณะเหมือนช้างก�ำลัง หมอบ แต่ถา้ มองจากด้านหน้าผาก็จะเหมือนกับหน้าผากของช้าง ส่วนบนของผาถ�ำ้ มีลกั ษณะเป็นหินแข็งแหลมคมขรุขระเป็นก้อนเล็ก ก้อนน้อย ถ�ำ้ เอราวัณเป็นถ�ำ้ ขนาดใหญ่มบี นั ไดเรียงคดโค้งไปมากว่า 600 ขัน้ จากเชิงเขาเบือ้ งล่างขึน้ สูป่ ากถ�ำ้ พร้อมศาลาพักชมวิวทัง้ หมด 3 แห่งตลอด เส้นทาง มีพระพุทธรูปขนาดใหญ่อยู่บริเวณปากถ�้ำ มองเห็นได้เด่นชัด จากระยะไกล ภายในถ�้ำเป็นห้องโถงขนาดใหญ่ เป็นสถานที่แห่งต�ำนาน นิยายพื้นบ้านเรื่อง “นางผมหอม” มีหินงอกหินย้อยสวยงาม

ภายในบริเวณถ�ำ้ เอราวัณ ประดิษฐานหลวงพ่อพระพุทธชัยศรีมนุ ศี รี รูปร่างคล้ายเจดีย์ โดยมีเรือ่ งเล่าต่อๆ กันมาเป็นความเชือ่ ว่า ถ้าหากใช้หนิ มาก่อเป็นรูปเจดีย์ 9 ชัน้ แล้วจะน�ำความโชคดีมาให้ เมือ่ ได้ขนึ้ มาทีบ่ ริเวณ บนหลังคาถ�ำ้ ก็จะได้พบกับปล่องดาว 3 ปล่องทีแ่ สงสว่างสามารถส่องลอด เข้ามาถึงได้ และถ้าเดินต่อมาเรื่อยๆ ก็จะพบกับหินรูปพญาช้างนั่งคุกเข่า ซึ่งมีเรื่องเล่าสืบต่อถึงที่มาว่าพญาช้างได้ตรอมใจตายและสาปตัวเอง ให้เป็นหิน นอกจากนีย้ งั มีหนิ รูปทรงต่างๆ ทีเ่ ป็นเรือ่ งเล่าอีกมากมาย อาทิ หินนางผมหอม เห็ดหิน อ่างหิน ถ�ำ้ แห่งนีไ้ ม่ปรากฏว่าใครเป็นคนแรกทีค่ น้ พบ แรกทีเดียวนัน้ ถ�ำ้ แห่ง นี้เรียกว่า ถ�้ำช้าง ตามชื่อของภูเขาถือผาถ�้ำช้าง ต่อมา พระครูปลัดผั่น ปาเรสโก ได้ ธุ ด งค์ มาพั ก ปฏิ บัติ ธ รรมอยู ่ ที่ เชิ งเขา จึงได้เชิญ ชวนผู้มี จิตศรัทธาสร้างเป็นวัดขึ้น เรียกว่า วัดถ�้ำช้าง หรือวัดผาถ�้ำช้าง ต่อมา มีผู้ศรัทธาบริจาคทรัพย์สร้างช้างปั้นเอราวัณเอาไว้ตรงเชิงบันไดขึ้นถ�้ำ จึงเรียกวัดเสียใหม่เป็นวัดถ�้ำเอราวัณ และเรียกชื่อของถ�้ำว่า ถ�้ำเอราวัณ

90 SBL Magazine บันทึกประเทศไทย .indd 90

28/10/2560 11:07:26


ไดโนเสาร์ โผล่ที่สุสานหอยล้านปี

ถึงแม้จังหวัดหนองบัวล�ำภูจะเป็นจังหวัดที่ไม่มี อาณาเขตที่ติดทะเลแต่อย่างใด อย่างไรก็ตามได้มีการ ค้นพบทางประวัตศิ าสตร์อนั น่าเหลือเชือ่ ทีเ่ ป็นการพิสจู น์ ว่าบริเวณดินแดนแห่งนี้เมื่อครั้งก่อนยุคประวัติศาสตร์ กว่าร้อยล้านปีนนั้ พืน้ ทีแ่ ห่งนีค้ รัง้ หนึง่ เคยเป็นทะเล จาก การค้นพบซากหอยดึกด�ำบรรพ์ รวมทัง้ ซากอืน่ ๆ นับเป็น สมบัติทางประวัติศาสตร์อันล�้ำค่าของประเทศ โชคดีทปี่ จั จุบนั ได้มกี ารรวบรวมสิง่ เหล่านีไ้ ว้ดว้ ยกัน ที่พิพิธภัณฑ์หอยหิน 150 ล้านปี ตั้งอยู่ที่บ้านห้วยเดื่อ ต�ำบลโนนทัน โดยรวบรวมหอยหินและซากฟอสซิลหอย อายุราว 140-150 ปี มีสภาพที่สมบูรณ์ และนอกจากนี้ ยังค้นพบซากกระดูกจระเข้โบราณ เศษหินจาไมก้า และ แร่ ธ าตุ บ างชนิ ด อี ก ด้ ว ย ภายในยั ง มี อ าคารแสดง นิทรรศการกระดูกไดโนเสาร์ทขี่ ดุ พบอยูใ่ นชัน้ หินเหนือชัน้ ทีพ่ บซากหอยหิน 2 เมตร เป็นกระดูกขาหน้าส่วนบนทัง้ ซ้ายและขวา ขาหลังส่วนล่าง กระดูกสะบัก กระดูกนิ้ว กระดูกซีโ่ ครง ฯลฯ มีการจ�ำลองทีเร็กซ์ ไดโนเสาร์พนั ธุด์ ุ

ขนาดใหญ่ตัวแรกของเมืองไทยที่เคลื่อนไหวได้เหมือนมีชีวิตจริง ขนาดเท่าตัวจริง ยาวกว่า 7 เมตร สูง 4 เมตร น�ำ้ หนักถึง 1.7 ตัน จัดแสดงเป็นรอบ เช้า 4 บ่าย 4 รอบๆ ละ ครึ่งชั่วโมง เริ่มตั้งแต่ 8.30 น. ถึง 16.30 น. ส�ำหรับผู้สนใจต้องการเข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์หอยหิน 150 ล้านปี สอบถามราย ละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ องค์การบริหารส่วนต�ำบลโนนทัน อ.เมือง จ.หนองบัวล�ำภู โทร. 0-4200-0048 ต่อ 11 พิพิธภัณฑ์เปิดท�ำการตั้งแต่ 08.30-16.30 น. NONGBUALAMPHU 91

.indd 91

28/10/2560 11:07:29


.indd 92

28/10/2560 11:07:30


อุทยานแห่งชาติภเู ก้า-ภูพานค�ำ

อุทยานแห่งชาติภูเก้า-ภูพานค�ำ มีพื้นที่ ครอบคลุมอาณาบริเวณรอยต่อสามจังหวัด คือ จังหวัดหนองบัวล�ำภู จังหวัดขอนแก่น และ จั ง หวั ด อุ ด รธานี อั น มี แ นวเทื อ กเขาที่ มี ทั ศ นี ย ภาพงดงามทอดยาวอยู ่ ใ นเขตพื้ น ที่ อ�ำเภอโนนสัง จังหวัดหนองบัวล�ำภู และที่ตั้ง ของที่ท�ำการอุทยานแห่งชาติภูเก้า-ภูพานค�ำ อยูใ่ นพืน้ ทีจ่ งั หวัดหนองบัวล�ำภู ซึง่ อยูห่ า่ งจาก ตั ว จั ง หวั ด ไปตามเส้ น ทาง หนองบั ว ล� ำ ภู ขอนแก่น ระยะทางประมาณ 53 กม. ในอดีตบริเวณสันภูเก้า-ภูพานค�ำ มีปา่ ไม้ นานาพรรณอุดมสมบูรณ์ แต่ปจั จุบนั สภาพป่าไม้ และสัตว์ปา่ ที่มีอยู่เดิมเบาบางลง เพราะมีการ บุกรุกท�ำลายทรัพยากรธรรมชาติ รัฐบาลจึง ประกาศให้ บริเวณภูเก้า-ภูพานค�ำ ซึ่งเป็น ป่าสงวนแห่งชาติเดิม ให้เป็นเขตอุทยานแห่งชาติ เพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ทั้งป่าไม้และ สัตว์ปา่ ทีย่ งั เหลืออยูไ่ ม่มากนักให้เหลืออยูเ่ ป็น มรดกของชาติตลอดไป

อุทยานแห่งชาติภเู ก้า-ภูพานค�ำ มีทศั นียภาพ เหนือเขือ่ นอุบลรัตน์เป็นจุดกลางของกลุม่ ภูเขา สองเทือก คือ ภูเก้า และภูพานค�ำ กลุ่มภูเขา ที่อยู่ทางทิศตะวันตกของตัวเขื่อนมีภูเขาน้อย ใหญ่สลับซับซ้อนอยู่ จ�ำนวนมาก 9 ลูก คือ ภูฝาง ภูขุมปูน ภูหัน ภูเมย ภูค้อหม้อ ภูซัน ภูเปราะ ภูลวก และภูวดั จึงเรียกว่า “ภูเก้า” ส่วนภูพาน ค�ำอยู่ทางทิศตะวันออกของตัวเขื่อน เป็นแนว ภูเขาทีเ่ ริม่ จากตัวเขือ่ นทอดยาวไปทางทิศเหนือ จนจดล�ำน�้ำโขงที่หนองคาย ทัง้ ภูเก้าและภูพานค�ำ มีตำ� นานทีช่ าวบ้าน เล่าติดต่อกันมาเป็นเรื่องราวมากมาย อีกทั้ง ยังมีถ�้ำที่สวยงาม เช่น ถ�้ำพรานหมา ซึ่งเป็นถ�้ำ ที่มีความส�ำคัญเพราะเป็นถ�้ำที่ หลวงปู่ขาว อนาลโย พระเถระทีม่ ชี อื่ เสียงแห่งวัดถ�ำ้ กลองเพล ได้เคยธุดงค์มาบ�ำเพ็ญภาวนาที่ถ�้ำนี้ด้วย ชาว จั ง หวั ด หนองบั ว ล� ำ ภู จึ ง มี ค วามภาคภู มิ ใจ เพราะอุทยานแห่งชาติภเู ก้า-ภูพานค�ำ เปรียบ เสมือนสมบัติที่เหลืออยู่ ที่มีไม่มากนักที่ชาว จังหวัดหนองบัวล�ำภูหวงแหนไว้ให้เป็นมรดก ตกทอดแก่ลูกหลานสืบไปชั่วกาลนาน

นอกจากนี้บริเวณภูเก้ายังมีวัดพระพุทธบาท ภูเก้า ซึง่ ปรากฏรอยเท้าคน และสุนขั ขนาดใหญ่ สลักบนหิน อันเกีย่ วโยงกับนิทานพืน้ บ้านเรือ่ ง พระสุพรหมวิโมขา กับหมาเก้าหาง และตาม ผนังถ�้ำบริเวณวัดยังมีภาพเขียนสี ภาพสลัก สมัยก่อนประวัติศาสตร์ อุทยานแห่งชาติภูเก้า-ภูพานค�ำ เปิดท�ำการทุกวัน เวลา 08.30-16.30 น. ติดต่อ เบอร์โทร 0-2562-0760

NONGBUALAMPHU 93 .indd 93

28/10/2560 11:07:35


อาบหมอก ดูดาวบนดิน ที่ภูพานน้อย หากคุณชอบการท่องเที่ยงเชิงอนุรักษ์ ภู พานน้ อย เป็ นอีก ที่หนึ่งซึ่งเหมาะส�ำหรับ ผู้ชอบกางเต็นท์เดินป่าเป็นที่สุด ภูพานน้อย ส่วนหนึ่งของเทือกเขาภูพาน ที่ ท อดตั ว จากทิ ศ ตะวั น ออก อ� ำ เภอเมื อ ง หนองบั ว ล� ำ ภู ไ ปทางทิ ศ ใต้ ที่ ภู เ ก้ า อ� ำ เภอ โนนสัง มีพนื้ ที่ 35,000 ไร่ อยูบ่ นเทือกเขาสูงชัน สามารถมองเห็นตัวเมืองหนองบัวล�ำภูเบือ้ งล่าง เนื่องจากอยู่ห่างตัวเมืองเพียงแค่ 6 กิโลเมตร เรียกได้ว่าเป็นสถานที่พักผ่อนแห่งใหม่ของ เมืองหนองบัวล�ำภู บนภูเป็นป่าธรรมชาติรม่ รืน่ ด้วยป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ มีสมุนไพรขึน้ เอง ตามธรรมชาติ มีความหลากหลายทางชีวภาพ อากาศเย็นสบายแวดล้อมด้วยธรรมชาติ รถขึน้ ถึง นักท่องเที่ยวจึงนิยมกันมาก

ภูพานน้อยแบ่งพื้นที่ เป็น 2 โซน คือ โซนที่ 1 เป็นพื้นที่ที่นักท่องเที่ยวมาใช้ บริหารทัง้ กลางวันและกลางคืน มีพนื้ ทีป่ ระมาร 2,500 ตารางเมตร นักท่องเที่ยวนิยมใช้เป็น ที่ พั ก ผ่ อ นหย่ อ นใจ เล่ น แคมป์ ไ ฟ ประชุ ม สัมมนา และจัดเลี้ยงสังสรรค์ โซนที่ 2 เป็นพืน้ ทีป่ า่ ในการท่องเทีย่ วเชิง นิเวศและเล่นกีฬา จัดวอล์คแรลลี่ มีจักรยาน เสื อ ภู เขาให้ เช่ า ศึ ก ษาธรรมชาติ พั น ธุ ์ ไ ม้ สมุนไพร ชมสัตว์ (ลิง นก แมลง) ใช้เฉพาะ กลางวัน การเดินทาง ไปตามถนนหนองบัวล�ำภูอุดรธานี ถึงบ้านภูพานทอง แล้วเลี้ยวขวาไป ตามป้ายประมาณ 4 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวขวา ตามป้ายไปอีกประมาณ 2 กิโลเมตร ก็จะถึงภู พานน้อย

94 SBL Magazine บันทึกประเทศไทย .indd 94

28/10/2560 11:07:40


.indd 95

28/10/2560 11:07:41


ผูม้ าเยือนทัง้ หลายทีจ่ ะต้องบันทึกภาพแห่งความทรงจ�ำของสถานทีแ่ ห่งนี้ นั้นเก็บกลับไปเป็นที่ระลึกในการเดินทางในครั้งนี้ด้วย ส� ำ หรั บ ผู ้ ที่ ส นใจต้ อ งการเดิ น ทางไปเพื่ อ เยี่ ย มชมและพั ก ผ่ อ นนั้ น วนอุทยานน�ำ้ ตกเฒ่าโต้ ตั้งอยู่ที่ ถนนหนองบัวล�ำภู-อุดรธานี ต�ำบลหนองบัว อ�ำเภอเมือง โดยเปิดท�ำการ เวลา 08.30-16.30 น.

วนอุทยานน�้ำตกเฒ่าโต้

เป็นอีกหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ที่มีทั้งความงดงามและ อุดมไปด้วยบรรยากาศที่คงไว้ซึ่งความหลากหลายทางชีววิทยา ที่บรรดา นั ก เดิ น ทางต่ า งถวิ ล หา และไม่ พ ลาดส� ำ หรั บ ครั้ ง หนึ่ ง ในชี วิ ต ด้ ว ย บรรยากาศทีร่ ม่ รืน่ ไปด้วยหมูแ่ มกไม้นานาพันธุก์ อปรกับโขดหินทีม่ รี ปู ร่าง ลักษณะทีห่ ลากหลายแปลกตา ซึง่ เป็นอีกหนึง่ จุดหมายปลายทางส�ำหรับ การวางแผนในช่วงวันหยุดยาว เพื่อพักผ่อนหรือท�ำกิจกรรมร่วมกันใน ครอบครัวหรือระหว่างเพื่อนฝูง ด้วยบรรยากาศที่สบาย อากาศบริสุทธิ์ สงบร่มรื่น ด้วยความงามของน�้ำตกเฒ่าโต้ สวยงามและแฝงไปด้วยมนต์เสน่ห์ ในสายน�้ำที่ไหลลงโดยเฉพาะในฤดูฝนที่มีปริมาณและความแรงของ สายน�้ำไหลเป็นพิเศษ เป็นภาพแห่งความงามที่สร้างความประทับใจแก่ 96 SBL Magazine บันทึกประเทศไทย .indd 96

28/10/2560 11:07:46


หมูบ่ า้ นหัตถกรรมเครือ่ งปัน้ ดินเผาบ้านโค้งสวรรค์

มาจังหวัดหนองบัวล�ำภูทงั้ ที ได้เทีย่ วทัง้ แหล่งท่องเทีย่ วทางธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นป่าไม้ ภูเขา วนอุทยาน น�้ำตก ถ�้ำ หรือวัดและโบราณสถาน ต่างๆ แล้วนัน้ ถ้ายังคิดไม่ออกว่าจะไปไหนต่อดีหรือจะซือ้ อะไรติดไม้ตดิ มือ กลับไปเป็นที่ระลึกหรือเอาไปฝากคนที่บ้าน เพื่อนพ้องหรือเจ้านายดี เพือ่ เป็นหลักฐานว่าได้มาจังหวัดหนองบัวล�ำภูแล้วจริงๆ ก็ขอแนะน�ำให้มา ยังทีแ่ ห่งนีเ้ ลย ศูนย์หตั ถกรรมปัน้ หม้อบ้านโค้งสวรรค์ ซึง่ เป็นแหล่งท่องเทีย่ ว เชิงวัฒนธรรมและอนุรักษ์อันเป็นการแสดงถึงภูมิปัญญาท้องถิ่นและ วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้มีอาชีพหัตถกรรมในการปั้นหม้อ ด้วยศูนย์หัตถกรรมปั้นหม้อบ้านโค้งสวรรค์ เป็นหมู่บ้านที่ผลิต เครื่องปั้นดินเผาด้วยกรรมวิธีการผลิตแบบดั้งเดิมอันมีเอกลักษณ์เฉพาะ ไม่เหมือนกับเครื่องปั้นดินเผาที่อื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นวัตถุดิบ กระบวนการ กรรมวิธีต่างๆ หรือรูปแบบผลิตภัณฑ์ ซึ่งหมู่บา้ นแห่งนี้ได้ให้ความส�ำคัญ กับงานฝีมือชิ้นเอกนี้ และพิถีพิถันเพื่อให้เครื่องปั้นดินเผาแห่งนี้คงความ เป็นเอกลักษณ์และคุณภาพ เป็นการสร้างความประทับใจให้แก่ผทู้ มี่ าเข้าชม และเลือกซื้อ โดยผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาต่างๆ นั้นมีวางจ�ำหน่ายทั้ง ริมทางและในบริเวณหมู่บ้าน ผู้มาเยือนสามารถเลือกชมและเลือกซื้อ เครื่องปั้นดินเผาที่มีให้เลือกมากมายหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นกระถาง ต้นไม้หลากหลายขนาดด้วยกัน หรือว่าจะเป็นรูปปั้นรูปแบบต่างๆ

.indd 97

ส�ำหรับผู้ที่สนใจต้องการเข้าเยี่ยมชมและเลือกซื้อเครื่องปั้นดินเผา ทีศ่ นู ย์หตั ถกรรมปัน้ หม้อบ้านโค้งสวรรค์ ตัง้ อยูท่ บี่ า้ นโค้งสวรรค์ อ�ำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวล�ำภู เปิดให้ชมได้ในระหว่างเวลา 08.00-18.00 น. การเดินทางไปยังศูนย์หตั ถกรรมปัน้ หม้อบ้านโค้งสวรรค์ อยูห่ า่ งจาก ตัวเมืองหนองบัวล�ำภู ไปทางจังหวัดอุดรธานีประมาณ 17 กิโลเมตร หากเลือก เดิ น ทางโดยรถยนต์ ส ่ ว นตั ว ให้ ขั บ โดยใช้ เ ส้ น ทางไปตามทางหลวง หมายเลข 210

28/10/2560 11:07:50


เมืองแห่งการเรียนรู ้ คู่คุณภาพชี วิตที่ดี ในวิถีเศรษฐกิจพอเพียง

นายแพทย์ศราวุธ สันตินันตรักษ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดหนองบัวล�ำภู

องค์การบริหารส่วนจังหวัดหนองบัวล�ำภู ได้มียทุ ธศาสตร์ในการพัฒนาจังหวัดหนองบัวล�ำภู ที่จะท�ำให้ประชาชนมีความมั่นคงทางอาชีพโดยการให้ ความส�ำคัญกับการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ ทีเ่ ป็นฐานรากการผลิตภาคเกษตร ให้มคี วามเข้มแข็งและยัง่ ยืนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง รวมถึง การสร้างสุขภาวะทีด่ ขี องประชาชนด้วยการส่งเสริมให้มกี ารผลิตสินค้าเกษตรอินทรียม์ ากขึน้ รวมถึงการสร้างโอกาสในการเข้าถึงบริการทางการแพทย์ ที่ง่ายและรวดเร็ว อันจะน�ำไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดี ในวิถีเศรษฐกิจพอเพียงของประชาชนชาวจังหวัดหนองบัวล�ำภู 98 SBL Magazine บันทึกประเทศไทย _

_4.indd 98

28/10/60 09:18:12 PM


อบจ. หนองบัวล�ำภู รับใช้ประชาชน”

บ่อบาดาล บันดาลสุข

เนื่องจากจังหวัดหนองบัวล�ำภูมีประชาชนส่วนใหญ่ประกอบ อาชี พเกษตรกรรม น�้ำจึงเป็นสิ่งส�ำคัญในการประกอบอาชี พและ การบริโภคโดยเฉพาะในช่ วงฤดูแล้ง หากสามารถท�ำให้ประชาชน มีน้�ำใช้บริโภคและประกอบอาชี พได้ตลอดทั้งปี จะเป็นการน�ำพา เศรษฐกิจที่ดเี ข้าสูจ่ งั หวัดหนองบัวล�ำภู เป็นการสร้างงาน สร้างอาชี พ ลดการอพยพย้ายถิ่นฐานไปท�ำงานในต่างจังหวัด ท�ำให้คุณภาพ ชี วิตชาวหนองบัวล�ำภูดีขึ้น

องค์การบริหารส่วนจังหวัดหนองบัวล�ำภู

พล.ต.อ.ชิดชัย วรรณสถิตย์ ประธาน สปท.

เล็งเห็นถึงความส�ำคัญต่อปัญหาดังกล่าว ในปี 2553 จึงได้จัดโครงการขุดเจาะ บ่อบาดาลมาตรฐาน ให้บริการเครือ่ งกลพร้อมบุคลากรเพือ่ ออกช่วยเหลือราษฎร ทีไ่ ด้รบั ความเดือดร้อน จากปัญหาภัยแล้ง ในเขตพืน้ ทีจ่ งั หวัดหนองบัวล�ำภูทงั้ 6 อ�ำเภอ โดยบูรณาการร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตพื้นที่จังหวัดหนองบัวล�ำภู จ�ำนวน 67 แห่ง ซึ่งสามารถแก้ไขปัญหาภัยแล้งซ�้ำซากให้กับเกษตรกรได้อย่างมี ประสิทธิภาพ ทันต่อสถานการณ์ ประหยัดงบประมาณ และเป็นไปตามความต้องการ ของประชาชน นอกจากนั้นยังได้ขุดเจาะบ่อน�้ำบาดาลให้กับ วัด โรงเรียน ประปา หมู่บ้าน และหน่วยงานต่างๆ ที่ต้องประสบปัญหาขาดแคลนน�ำ้ ในช่วงฤดูแล้ง รวมถึง การขุดสระเพื่อท�ำแหล่งน�ำ้ ผิวดินในพื้นที่ที่ไม่สามารถเจาะบ่อบาดาลได้ ปัจจุบันองค์การบริหารส่วนจังหวัดหนองบัวล�ำภู มีรถขุดเจาะไว้ให้บริการ ประชาชน จ�ำนวน 16 คัน ได้ดำ� เนินการขุดเจาะไปแล้วมากกว่า 6,000 บ่อ องค์การ บริหารส่วนจังหวัดหนองบัวล�ำภูยังมุ่งมั่นอย่างเต็มที่ เต็มก�ำลัง เต็มความสามารถ เพือ่ ขุดเจาะค้นหาแหล่งน�้ำ ส่งมอบความเป็นอยูด่ มี สี ขุ แก่พนี่ อ้ งประชาชนอย่างแท้จริง และยั่งยืน จนสามารถเป็นต้นแบบในการแก้ปัญหาภัยแล้งให้แก่องค์กรอื่นๆ โดย คณะกรรมาธิการขับเคลือ่ นการปฏิรปู ประเทศ ด้านสังคม สภาขับเคลือ่ นการปฏิรปู ประเทศ(สปท.) ได้น�ำรูปแบบการแก้ปัญหาภัยแล้งของ องค์การบริหารส่วนจังหวัด หนองบัวล�ำภูมาเป็นตัวอย่างในเรื่อง “การปฏิรูปการบริหารจัดการแหล่งน�้ำชุมชน ทั่วประเทศ” อีกด้วย

NONGBUALAMPHU 99 _

_4.indd 99

28/10/60 09:18:19 PM


เมืองแห่งสุขภาวะดี ถ้วนหน้า!

ภายใต้ระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า ในปี 2553 องค์การบริหารส่วนจังหวัดหนองบัวล�ำภู เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งแรก ที่ได้ สมทบเงิ น กองทุ น ฟื ้ น ฟู ส มรรถภาพด้ า น การแพทย์ ระหว่าง สปสช. กับ อบจ. ใน สั ด ส่ ว น 100 : 100 จากโครงการน�ำร่อง การด�ำเนินงานและการบริหารจัดการกองทุนฟืน้ ฟู สมรรถภาพที่จ�ำเป็นต่อสุขภาพในระดับจังหวัด เพื่อให้คนพิการ ผู้สูงอายุ และผู้ที่อยู่ในระยะ ที่จ�ำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพ ได้รับ การฟืน้ ฟูสมรรถภาพ เครือ่ งช่วยกายอุปกรณ์ และ อุปกรณ์ที่เกี่ยวกับบริการทางการแพทย์ อย่าง รวดเร็ว ทั่วถึง และมั่นคง

สถาบัน TDRI ยกให้เป็ น นวัตกรรมเพื่อคนพิการ สามล้อติดมอเตอร์ เป็นนวัตกรรมทีผ่ ลิตขึน้ เพือ่ ผูส้ งู อายุ และคนพิการโดยเป็นมิตรกับสิง่ แวดล้อม เนือ่ งจากสามารถ ชาร์ตแบตด้วยพลังงานไฟฟ้า ไร้เสียง ไร้ควัน และยังมี รถสามล้ อ โยก สามล้ อ ถี บ ที่ ส ามารถน� ำ ไปใช้ ไ ด้ จ ริ ง มีรูปแบบเฉพาะบุคคล โดยการผลิต รถแต่ละคัน ผู้ใช้ จะถูกวัดตัวโดยช่างผู้ผลิต เพื่อให้ได้ขนาดที่เหมาะสม กั บ ผู ้ ที่ ใช้ ง านอี ก ด้ ว ย ซึ่ ง สถาบั น TDRI ได้ ย กให้ เ ป็ น นวัตกรรมเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของคนพิการ ภายหลังการจัดตั้ง กองทุนฟื้นฟูฯ สามารถช่วยเหลือคนพิการ ผู้สูงอายุ และผู้ที่อยู่ในระยะที่จ�ำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพ ในเชิงรุกและต่อเนื่อง มากขึน้ จนผูท้ ไี่ ด้รบั การฟืน้ ฟูสมรรถภาพสามารถฟืน้ ตัวได้เร็วและช่วยเหลือตัวเอง ได้มากขึน้ นอกจากนัน้ ยังได้มกี ารปรับสภาพบ้านให้มคี วามเหมาะสมต่อความเป็นอยู่ ของคนพิการทีเ่ หมาะสม อีกทัง้ การช่วยเหลือด้านกายอุปกรณ์ การซ่อมแซม ปรับแต่ง อุปกรณ์สำ� หรับคนพิการที่ตรงต่อความต้องการของคนพิการมากขึ้น

ต้นแบบแห่งแรก ของ อปท. ทั่วประเทศ ในการด�ำเนินงาน กองทุนฟื้ นฟู สมรรถภาพที่จ�ำเป็ นต่อสุขภาพ 100 SBL Magazine บันทึกประเทศไทย _

_4.indd 100

28/10/60 09:18:22 PM


โครงการงานแพทย์ฉุกเฉิน จากนัน้ องค์การบริหารส่วนจังหวัดหนองบัวล�ำภูจงึ ได้ริเริ่ม โครงการงานแพทย์ฉุกเฉิน ภายใต้การสนับสนุนจากสถาบัน การแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ โดยความร่วมมือ (MOU) ว่าด้วย การพัฒนาศักยภาพเครือข่ายหน่วยบริการทางการแพทย์ ฉุกเฉินระดับต้น (BLS) บนหลักการ “แชร์งาน แชร์คน แชร์งบประมาณ” และได้จงั ตัง้ กองทุนเครือข่ายหน่วยบริการ ทางการแพทย์ฉกุ เฉิน ระดับ BLS ในปี 2554 เพือ่ พัฒนางาน การแพทย์ฉุกเฉินให้ประชาชนในจังหวัดหนองบัวล�ำภูได้รับ บริการทีม่ มี าตรฐาน รวดเร็ว ทัว่ ถึง และเท่าเทียม ให้ครอบคลุม จังหวัดหนองบัวล�ำภู โดยเฉพาะการช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉิน จะต้องช่วยเหลือผู้ป่วยได้รวดเร็วยิ่งขึ้นสามารถเข้าถึงผู้ป่วย ได้ภายใน 5 นาที เพือ่ ลดความสูญเสียทีอ่ าจจะเกิดขึน้ กับพีน่ อ้ ง ประชาชน

นอกจากผู้ป่วยฉุกเฉินแล้ว ผู้ป่วยทั่วไปที่มีรายได้น้อย ผูส้ งู อายุ คนพิการ ทีเ่ คลือ่ นย้ายล�ำบาก จ�ำเป็นต้องเข้าตรวจรักษา ในโรงพยาบาลต่างๆ จะได้รับบริการฟรีโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ใดๆ ทั้งสิ้น เพื่อให้กรณีที่จำ� เป็นแต่ไม่เร่งด่วนได้รับโอกาส การบริการทางการแพทย์อย่างทั่วถึง

สถิติการให้บริการ ปี 2559 จากสถิติล่า สุดในปี 2559 ได้ มีก ารให้ บริ ก าร ส่งต่อความจ�ำเป็น เช่ น ส่งผู ้พิการ ผู ้ป่วยติดเตียง ท�ำกายภาพบ�ำบัด พบแพทย์ตามนัด และอื่นๆ ตามประชาชนร้องขอ จ�ำนวน 715 ราย อุ บัติเหตุ และเจ็บป่ วยฉุกเฉิน จ�ำนวน 7,619 ราย องค์การ บริ ห ารส่ ว นจั ง หวั ด หนองบั ว ล� ำ ภู มี เ ป้ าหมาย ให้ บ ริ ก ารทางการแพทย์ ฉุ ก เฉิ น ให้ ค รอบคลุ ม ทั่วถึงทุกพื้นที่ เพื่ อ คุ ณ ภาพชี วิ ต ที่ ดี ข องประชาชนชาว จังหวัดหนองบัวล�ำภูทุกคน

NONGBUALAMPHU 101 _

_4.indd 101

28/10/60 09:18:22 PM


เมืองเกษตรอินทรีย์วิถีพอเพียง ในปีงบประมาณ 2559 องค์การบริหารส่วนจังหวัดหนองบัวล�ำภู ได้จัดท�ำโครงการหน่วยบริการประชาชน (อบจ.หนองบัวล�ำภูรับใช้ ประชาชน) โดยการจั ด หน่ ว ยบริ ก ารลงพื้ น ที่ อ อกให้ บ ริ ก ารแก่ ประชาชนครอบคลุ ม พื้ น ที่ ทุ ก ต� ำ บล เพื่ อ อ� ำ นวยความสะดวกแก่ ประชาชนในการเข้าถึงการบริการของภาครัฐ พร้อมทั้งส�ำรวจปัญหา ความต้องการ ของประชาชน พบว่าการจะพัฒนาศักยภาพเกษตรกร จังหวัดหนองบัวล�ำภูให้มคี วามเข้มแข็ง และพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืนนั้น เกษตรกรจะต้องได้รบั การพัฒนาความรูอ้ ย่างต่อเนือ่ ง องค์การบริหาร ส่วนจังหวัดหนองบัวล�ำภู จึงได้จัดตั้ง “ศูนย์ปฏิบัติการเกษตรอินทรีย์ ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดหนองบัวล�ำภู” จ�ำนวน 12 ศูนย์ ใน 6 อ�ำเภอ โดยน้อมน�ำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และการมีสว่ นร่วม ของประชาชนมาเป็นแนวทางในการด�ำเนินงาน การจัดตัง้ ศูนย์ดงั กล่าว มีวตั ถุประสงค์ในการส่งเสริมสนับสนุนให้เกษตรกรรวมกลุ่มเพื่อขับ เคลื่ อ นการพั ฒ นาเครื อ ข่ า ยเกษตรอิ น ทรี ย ์ ใ ห้ มี ค วามเข้ ม แข็ ง เกิดการแลกเปลีย่ น เรียนรูร้ ะหว่างกัน โดยเน้นการพัฒนาทักษะความรู้ ของเกษตรให้สามารถด�ำเนินงานแหล่งเรียนรู้เกษตรอินทรีย์ให้เป็น แหล่งเรียนรูต้ น้ แบบ ทีส่ ามารถถ่ายทอดองค์ความรูไ้ ปสูเ่ กษตรกรทัว่ ไป

ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ภายใต้การพึงพาตนเองและฐานทรัพยากรชุมชน อันจะน�ำไปสู่ความมั่นคงทางด้านอาหาร, อาชีพ และคุณภาพชีวิตที่ดี มีความสุขอย่างยั่งยืน จนสามารถสร้างแรงบันดาลใจให้เกษตรกรอื่น ทั้ ง ในพื้ น ที่ แ ละต่ า งพื้ น ที่ หั น มาท� ำ เกษตรอิ น ทรี ย ์ ใ ห้ ม ากที่ สุ ด และ ยังเป็นการวางรากฐานการรวมกลุ่มของเกษตรกรให้สามารถพัฒนาไปสู่ “Smart Farmer” เพือ่ การแข่งกันในประชาคมอาเซียนอีกด้วย

102 SBL Magazine บันทึกประเทศไทย _

_4.indd 102

28/10/60 09:18:25 PM


Organic Thailand

เกษตรอินทรีย์วิถีหนองบัว ทั้งนี้การที่จะท�ำให้สินค้าทางการเกษตรสามารถ เป็นสินค้าเกษตรอินทรีย์ ตามมาตรฐาน “Organic Thailand” ได้นั้นเกษตรกรจ�ำเป็นจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจ ถึงกระบวนการรับรองมาตรฐานว่าจะต้อง ด�ำเนินการอย่างไร ทั้งในเรื่องมาตรฐานสินค้า การขอ ใบรับรอง การตรวจสอบกระบวนการผลิต ข้อก�ำหนด วิธกี ารผลิต รวมถึงปัจจัยการผลิตทีใ่ ช้ในกระบวนการผลิต พืชอินทรียแ์ ละสัตว์อนิ ทรีย์ โดยในปี 2559 องค์การบริหาร ส่วนจังหวัดหนองบัวล�ำภู ได้มกี ารเตรียมความพร้อมให้แก่ สมาชิกในเครือข่ายศูนย์ปฏิบตั กิ ารเกษตรอินทรียจ์ งั หวัด หนองบัวล�ำภู ทัง้ 12 แห่ง ได้รบั การอบรมเชิงปฏิบตั กิ าร เพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ จังหวัดหนองบัวล�ำภู

และเพือ่ เป็นการสร้างความมัน่ ใจให้แก่ผบู้ ริโภค ว่า สินค้าทางการเกษตรทีไ่ ด้รบั มาตรฐานเกษตรอินทรียน์ นั้ มีความปลอดภัยตามมาตรฐาน “Organic Thailand” อย่างแท้จริง องค์การบริหารส่วนจังหวัดหนองบัวล�ำภูจึงได้ จัดท�ำโครงการฝึกอบรมนักส่งเสริมและผู้ตรวจสอบ มาตรฐานแปลงเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม Participatory guarantee system (PGS) “เกษตรอินทรีย์วิถีหนองบัว” เพื่อให้ผู้ผ่านการอบรม สามารถเป็นคณะกรรมการตรวจมาตรฐานแปลงเกษตร อินทรีย์ ให้กับศูนย์ปฏิบัติการเกษตรอินทรีย์ (PGS) ของ องค์การบริหารส่วนจังหวัดหนองบัวล�ำภูเพือ่ เป็นผูต้ รวจสอบ และส่งเสริมให้สมาชิกในเครือข่าย สามารถผลิตสินค้า ให้ผา่ นการรับรองมาตรฐานแปลงเกษตรอินทรีย์ จนสินค้า มีความปลอดภัยต่อผูบ้ ริโภค มีความน่าเชือ่ ถือ มีชอื่ เสียง เป็นที่รู้จักของคนทั่วไป และยังสามารถเป็นแหล่งศึกษา ดูงานของหน่วยงานภายนอก เป็นการสร้างรายได้ให้กับ ชุมชนอีกทางหนึ่ง

จะเห็นได้ว่าโครงการต่างๆ ที่ดำ� เนินไปแล้วนั้น ล้วนเป็นการน้อมน�ำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาภบพิ ต ร มาเป็ น แนวทางในการส่ ง เสริ ม เศรษฐกิจชุมชนท้องถิ่น ที่มุ่งเน้นการพัฒนาความ เป็นอยูข่ องประชาชนในการพึง่ ตนเอง และสอดคล้อง กับทรัพยากรธรรมชาติทมี่ อี ยูใ่ นชุมชนให้มศี กั ยภาพ เพิ่มขึ้นได้อย่างยั่งยืน ตามที่ปรากฏในแผนพัฒนา สามปี (พ.ศ.2559 - พ.ศ.2561) ขององค์การบริหาร ส่วนจังหวัดหนองบัวล�ำภู ที่มุ่งเน้นให้ประชาชนใช้ ชีวติ แบบ “เกษตรอินทรียว์ ถิ พี อเพียง” เพิม่ มากขึน้

NONGBUALAMPHU 103 _

_4.indd 103

28/10/60 09:18:27 PM


16 ที่เที่ยวจังหวัดหนองบัวล�ำภูหา้ มพลาด! รวมสถานที่น่าสนใจในจังหวัดหนองบัวล�ำภู

1 2

3

1. ภูพานน้อย

3. ถ�้ำผาเจาะ

2. วัดถ�้ำสุวรรณคูหา

4. แหล่งโบราณคดีโนนดอนกลาง (บ้านกุดกวางสร้อย)

ชมดาวบนดิน ภูพานน้อย อ.เมืองหนองบัวล�ำภู แหล่งท่องเทีย่ วเชิงนิเวศ บนเทือกเขาภูพานน้อย เป็นสถานทีป่ กิ นิก กางเต็นท์ เข้าค่าย พร้อมทัง้ มีหอดูดาวเพื่อศึกษาทางด้านดาราศาสตร์ การเดินทางไปมาสะดวก สบายเพราะอยู่ห่างตัวเมืองหนองบัวล�ำภู ไม่ถึง 10 กม. อ.สุวรรณคูหา เป็นที่ประดิษฐาน “ หลวงพ่อพระไชยเชษฐาธิราช ” พระพุ ท ธรู ป ปู น ปั ้ น ปางมุ จ ลิ น ทร์ ศิ ล ปะล้ า นช้ า งที่ ง ดงาม เป็ น วั ด ที่ มี ห ลั ก ฐานทางโบราณคดี ที่ ส� ำ คั ญ บุ ญ ข้ า วจี ใ หญ่ จั ด ขึ้ น ที่ วั ด ถ�้ ำ สุวรรณคูหา นับเป็นประเพณีสำ� คัญของชาวบ้าน โดยจะจัดในช่วงเดือน กุมภาพันธ์ของทุกปี 104 SBL Magazine บันทึกประเทศไทย _

_4.indd 104

4

ตัง้ อยูใ่ นเขตบ้านผาเจาะ ต.เทพคีรี อ.นาวัง เป็นถ�ำ้ อยูบ่ นภูเขาหินแกรนิต ที่มีเอกลักษณ์โดดเด่น บนยอดเขามีพระพุทธรูปขนาดใหญ่ประดิษฐาน อยู่ตรงบันไดทางขึ้นภายในวัดพุทธบรรพต ตัง้ อยูบ่ า้ นกุดกวางสร้อย ต.บ้านถิน่ อ.โนนสัง เชิงเขาภูเก้าด้านทิศตะวันออก เป็นแหล่งขุดค้นพบโครงกระดูกมนุษย์โบราณ พร้อมข้าวของเครื่องใช้ สมัยก่อนประวัติศาสตร์ คล้ายกับวัฒนธรรมบ้านเชียง

28/10/60 09:18:32 PM


5. ศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

อนุสรณ์สถาน ที่ครั้งหนึ่งสมเด็จพระนเรศวรฯ ได้หยุดพักประทับแรมที่บึงหนองบัว ระหว่าง ยกทัพไปตีเมืองเวียงจันทน์ ตั้งอยู่ในบริเวณ สวนสาธารณะสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ริมหนองบัว ใจกลางเมืองหนองบัวล�ำภู อ.เมือง หนองบัวล�ำภู

6. วัดมหาชัย

ตั้ ง อยู ่ ที่ ริ ม หนองบั ว อ.เมื อ งหนองบั ว ล� ำ ภู สร้างเมื่อ พ.ศ.2440 ภายในวัดมีโบราณสถาน ที่ส�ำคัญ คือ สถูป หรือ เจดีย์ สันนิษฐานว่า เป็นพระมหาธาตุทบี่ รรจุอฐั ธิ าตุของเจ้าปางค�ำ เจ้ า ปงค� ำ และเจ้ า แท่ น ค� ำ อดี ต เจ้ า เมื อ ง นครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน (ชื่อเดิมของ เมืองหนองบัวล�ำภู) ยังมี “พระบางคู่” เป็น พระพุทธรูปปางห้ามสมุทร มีลักษณะเหมือน กันทั้ง 2 องค์ เป็นพระคู่บ้านคู่เมืองของชาว จั ง หวั ด หนองบัว ล�ำ ภู สร้างเมื่อประมาณปี 1366 ซึ่งประดิษฐานอยู่ใน “หอพระบาง”

5

6

7 7. วัดศรีคูณเมือง

ตัง้ อยูท่ บี่ า้ นเหนือ ถ.วรราชภักดี หมูท่ ี่ 5 ต.ล�ำภู อ.เมืองหนองบัวล�ำภู สร้างเมือ่ พ.ศ.2310 เดิม เป็นวัดโบราณ สร้างในสมัยที่ดินแดนแถบนี้ เป็นที่อยู่ของชาติขอม ละว้า และลาว มีซาก อุโบสถเก่าแก่ มีใบเสมา มีปชู นียวัตถุทสี่ ำ� คัญ น่าศึกษาทางประวติศาสตร์

8. พิพิธภัณฑ์หอยหิน 150 ล้านปี ตั้งอยู่

พร้อมโชว์หุ่นไดโนเสาร์เคลื่อนไหวได้ แห่งแรกแห่งเดียวในประเทศไทย

_

_4.indd 105

8

หมูบ่ า้ นห้วยเดือ่ ต.โนนทัน อ.เมืองหนองบัวล�ำภู จั ด แสดงซากหอยโบราณและฟอสซิ ล ไดโนเสาร์หลายสายพันธุ์ ที่อยู่ในช่วงจูราสสิค ตอนปลายราว 130-150 ล้านปี

NONGBUALAMPHU 105 28/10/60 09:18:37 PM


9

9. ตลาดห้วยเดื่อโนนทัน

อ.เมืองหนองบัวล�ำภู เป็นตลาดสดทีเ่ กิดขึน้ จากชุมชนทีน่ ำ� ผลิตผลทางการเกษตร ของ ป่ามาวางขายริมทาง ก่อนจะรวมตัวกันจน เป็นตลาดที่เป็นเอกลักษณ์ที่มีเสน่ห์ของ ท้องถิน่ จนได้ชอื่ ว่า “ ตลาดต้องชม ” ของ จังหวัดหนองบัวล�ำภู

10. วนอุทยานบัวบาน

ตั้ ง อยู ่ ติ ด เทื อ กเขาภู พ านใกล้ กั บ แหล่ ง ท่องเทีย่ วเชิงนิเวศภูพานน้อย เนือ้ ทีป่ ระมาณ 2,000 ไร่ เป็นแหล่งคุม้ ครองสงวนทรัพยากร ป่าไม้และสัตว์ป่า อีกทั้งยังเป็นจุดชมวิว ดาวบนดินที่สวยงามอีกจุดหนึ่ง

12 12. วัดถ�้ำกลองเพล

ตั้งอยู่ที่บ้านถ�้ำกลองเพล ต.โนนทัน อ.เมือง หนองบัวล�ำภ บริเวณถ�ำ้ มีหลืบและชะโงกหิน เชือ่ มถึงกันเป็นห้องโถงขนาดใหญ่ วัดแห่งนี้ เคยเป็ น สถานที่ วิ ป ั ส สนากรรมฐานของ พระอาจารย์หลวงปูข่ าว อนาลโย ซึง่ ในหลวง รัชกาลที่ 9 ทรงเสด็จทีว่ ดั นี้ เพือ่ สนทนาธรรม กับหลวงปูข่ าว อนาลโย ถึง 10 ครัง้

10

11. น�้ำตกเฒ่าโต้

ตั้งอยู่ริมถนนทางหลวงแผ่นดินสาย 210 หนองบัวล�ำภู-อุดรธานี อ.เมืองหนองบัวล�ำภู เป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่มีทั้ง ความงดงาม มีความหลากหลายทางชีววิทยา บรรยากาศทีร่ ม่ รืน่ ไปด้วยหมูแ่ มกไม้นานาพันธุ์

14

13 13. วัดถ�้ำผาเวียง

ตัง้ อยูท่ ี่ หมูท่ ี่ 9 บ้านผาเวียง ต.นาแก อ.นาวัง จ.หนองบัวล�ำภู มีลักษณะเป็นทิวเขาที่มี ทัศนียภาพงดงามมาก ชาวบ้านเรียกกันว่า “ ภูผาเวียง ” ภายในถ�ำ้ ประกอบไปด้วย หินงอกหินย้อยงดงาม

11

14. พิพิธภัณฑ์หลวงปู่หลอด “ ปโมทิตะเจดีย์ ”

ตั้งอยู่ที่วัดป่าศรีสว่าง บ้านขาม อ.เมือง หนองบัวล�ำภู ต.บ้านขาม เพื่อประดิษฐาน พระบรมสารี ริ ก ธาตุ ข องพระสั ม มา สัมพระพุทธเจ้า และมีรปู ปัน้ ครูบาอาจารย์ ที่ส�ำคัญหลายองค์

16. วัดถ�้ำเอราวัณ

15

ตั้งอยู่บ้านผาอินทร์แปลง ต.วังทอง อ.นาวัง มีถำ�้ สวยงามขนาดใหญ่ เป็น ที่มาของต�ำนาน “ นางผมหอมและ ช้างเอราวัณ ”

15. อุทยานแห่งชาติภูเก้า - ภูพานค�ำ

อ.โนนสัง มีเนื้อที่ ทั้งสิ้น 201,250 ไร่ มี ร่องรอยก่อนประวัตศิ าสตร์ของชุมชนในสมัย บ้านเชียง เช่น ภาพเขียนสีและภาพสลัก ตามผนังถ�ำ้ ต่างๆ ให้ศกึ ษาเรียนรู้ และยังมี ร่องรอยดึกด�ำบรรพ์ 106 SBL Magazine บันทึกประเทศไทย _

_4.indd 106

16 28/10/60 09:18:47 PM


6ประจ�ของดี ำอ�ำเภอ

จังหวัดหนองบัวล�ำภู ประกอบด้วย 6 อ�ำเภอ ซึ่งแต่ละอ�ำเภอนั้น ได้สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพและเป็นที่ต้องการของตลาด บางผลิตภัณฑ์ก็ได้รับคัดเลือกเป็นสินค้าโอทอปดีเด่นของจังหวัดด้วย อาทิ

ข้าวฮางและข้าวฮางงอก

ผ้าขิดไหมต�ำบลกุดแห่

น�้ำผึ้งแท้สุวรรณฟาร์ม

ของดีประจ�ำอ�ำเภอเมืองหนองบัวล�ำภู ผลิตโดย กลุ่มข้าวกล้องบ้านหนองภัยศูนย์ ต.หนองภัยศูนย์ เป็นข้าวฮางคุณภาพดีที่มี ขั้นตอนการผลิตตามภูมิปัญญาโบราณ โดย น�ำข้าวเปลือกมาผ่านกระบวนการผลิตจนได้ ข้าวที่มีคุณค่าทางสารอาหารสูง จัดเป็นสินค้า OTOP ดีเด่นของจังหวัด

ของดีประจ�ำอ�ำเภอนากลาง ผ้าไหมทีผ่ ลิตโดยกลุม่ สตรีทอผ้าไหมบ้านโพธิค์ ำ�้ ต.กุดแห่ อ.นากลาง เป็นผ้าไหมทีม่ ชี อื่ เสียงโด่งดัง ระดับประเทศ โดยได้รบั รางวัลจากการประกวด ผ้าไหมระดับประเทศหลายปีซอ้ นจนถึงปัจจุบนั และเป็นผลิตภัณฑ์ดเี ด่นระดับ 5 ดาวของภาค อีสาน มีหลากหลายลวดลาย เช่น ลายดอก พิกุล ลายหัวนาค ลายอินถวา เป็นต้น

ของดีประจ�ำอ�ำเภอศรีบุญเรือง เป็นสินค้าOTOPระดับ 5 ดาวของจังหวัด หนองบัวล�ำภู เพราะเป็นน�้ำผึ้งแท้ สะอาด ถูกหลักอนามัย โดยได้รบั การรับรองมาตรฐาน จาก อย. และมีบรรจุภณ ั ฑ์ทไี่ ด้มาตรฐานสากล

สนใจติดต่อได้ที่

089-5728176

อาหารแปรรูปจากปลาน�้ำจืด บ้านโคกกลางและบ้านท่าลาด ของดีประจ�ำอ�ำเภอโนนสัง ผลิตโดยกลุ่มแปรรูปปลาน�้ ำจืด ที่จัดตั้งขึ้น เพื่ อ การผลิ ต และจ� ำ หน่ า ยอาหารประเภท ปลาน�ำ้ จืดแปรรูป เช่น ปลาแดดเดียว ปลาจ่อม ปลาส้ม ปลาร้า ปลาแห้งรมควัน ส้มไข่ปลา ส้มขี้ปลา ฯลฯ

สนใจติดต่อได้ที่

087-2350864, 086-2375769

สนใจติดต่อได้ที่

087-2198231, 0-42359370

สนใจติดต่อได้ที่

086-2277511

ผลิตภัณฑ์จากใยบวบ

กล้วยหอมทองนาวัง

ของดีประจ�ำอ�ำเภอสุวรรณคูหา เป็นผลิตภัณฑ์ทแี่ ปรรูปมาจากใยบวบ เช่น ทีข่ ดั ตัว รองเท้า และอืน่ ๆ เป็นการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ได้ อ ย่ า งคุ ้ ม ค่ า และสร้ า งสรรค์ จนได้ เ ป็ น ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพดี มีประโยชน์ใช้สอย ที่หลากหลาย ที่ส�ำคัญคือราคาไม่แพง

ของดีประจ�ำอ�ำเภอนาวัง ผลิตผลทางการเกษตรที่ขึ้นชื่อของ อ.นาวัง คือ กล้วยหอมทองนาวัง เพราะเป็นกล้วยหอม ที่มีรสชาติหวาน มีกลิ่นหอม เนื้อแน่น อันเป็น เอกลักษณ์เฉพาะทีห่ าทานได้ยาก โดยเกษตรกร ผู ้ ปลู ก จะน�ำผลผลิตมาวางจ�ำหน่า ยบริเวณ ริมถนนหนองบัวล�ำภู – เลย บ้านสวนสวรรค์ ซึง่ เป็นแหล่งจ�ำหน่ายพันธุก์ ล้วยหอมทองนาวัง และผลไม้ทั่วไปตามฤดูกาล

สนใจติดต่อได้ที่

081-9127215

สนใจติดต่อได้ที่

098-0027438

องค์การบริหารส่วนจังหวัดหนองบัวล�ำภู

186 หมู่13 ถนนวศวงษ์ ต�ำบลหนองบัว อ�ำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวล�ำภู 39000 โทรศัพท์ / โทรสาร 0-4231-2871 www.nppao.go.th

NONGBUALAMPHU 107 _

_4.indd 107

28/10/60 09:18:49 PM


108 SBL Magazine บันทึกประเทศไทย Globel House

108.indd 108

24/10/60 11:52:16 AM


บันทึกเส้นทางพบเทศบาลเมือง เทศบาลเมืองหนองบัวล�ำภู มีส�ำนักงานตั้งอยู่เลขที่ 99 หมู่ที่ 2 ต�ำบลโพธิ์ชัย อ�ำเภอเมืองหนองบัวล�ำภู จังหวัดหนองบัวล�ำภู

นายสัมฤทธิ์ ภูพุต

ปลัดเทศบาล ปฏิบัติหน้าที่ในต�ำแหน่ง นายกเทศมนตรีเมืองหนองบัวล�ำภู “โครงสร้างพื้นฐานดี มีการศึกษาทั่วถึง บริการพึงพอใจ อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดี ประชาชนมีอาชีพเสริม”

เทศบาลเมือง

หนองบัวล�ำภู NONGBUALAMPHU 109 .indd 109

25/10/60 11:25:10 AM


ข้อมูลทั่วไป

เทศบาลเมืองหนองบัวล�ำภู ได้รบั การยกฐานะ จากสุขาภิบาลหนองบัวล�ำภู เป็นเทศบาลเมือง หนองบัวล�ำภู ตามพระราชกฤษฎีกา เมื่อวันที่ 9 ธั น วาคม 2537 โดยประกาศในราชกิ จ นุเบกษา เล่มที่ 111 ตอนที่ 50ก มีเนือ้ ทีท่ งั้ หมด 39.5 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพืน้ ที่ 3 ต�ำบล ได้แก่ ต�ำบลล�ำภู ต�ำบลหนองบัว ต�ำบลโพธิช์ ยั ประกอบด้วย 33 ชุมชน แบ่งออกเป็น 3 เขต เลือกตัง้ และมีสถานศึกษาในสังกัดจ�ำนวน 1 แห่ง คือ โรงเรียนเทศบาล 1 หนองบัวล�ำภู มีศนู ย์พฒั นา เด็กเล็กจ�ำนวน 3 แห่ง ได้แก่ ศูนย์พัฒนาเด็ก เล็กวัดศรีคณ ู เมือง ศูนย์พฒ ั นาเด็กเล็กวัดโพธิศ์ รี และศูนย์พฒ ั นาเด็กเล็กวัดสระแก้ว รับถ่ายโอน ภารกิจสถานีขนส่งผูโ้ ดยสารจังหวัดหนองบัวล�ำภู จ�ำนวน 1 แห่ง และสถานธนานุบาล จ�ำนวน 1 แห่ง

สถานที่สำ� คัญภายในเขตเทศบาล

ศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

ตัง้ อยูท่ สี่ นามนเรศวร หน้าทีว่ า่ การอ�ำเภอเมืองหนองบัวล�ำภู และอยู่ริมหนองน�้ำ “ หนองบัว ” ที่อยู่ใจกลางเมือง

วัดศรีคูณเมือง

วัดศรีคูณเมือง เดิมชื่อ “ วัดคนชุมน�้ำออกบ่อ ” ปัจจุบัน ตัง้ อยูท่ บี่ า้ นเหนือ ถนนวรราชภักดี หมูท่ ี่ 5 ต�ำบลล�ำภู อ�ำเภอเมือง หนองบัวล�ำภู จังหวัดหนองบัวล�ำภู สังกัดคณะสงฆ์ฝา่ ยมหานิกาย

ศาลหลักเมืองหนองบัวล�ำภู (ศาลพระวอ-พระตา)

ตั้งอยู่ ณ บ้านกลาง ต�ำบลล�ำภู อ�ำเภอเมืองหนองบัวล�ำภู ศาลหลักเมืองเป็นศาลพระวอและพระตา ผูส้ ร้างเมืองหนองบัวล�ำภู

บ่อน�้ำวัดศรีคูณเมือง เป็นบ่อน�้ำก่อด้วยอิฐขนาดเดียวกับ ก�ำแพงเมืองนครเขือ่ นขันธ์กาบแก้วบัวบาน มีนำ�้ ใสสะอาดตลอดปี

110 SBL Magazine บันทึกประเทศไทย .indd 110

25/10/60 11:25:15 AM


วัดโพธิ์ศรี (วัดหายโศก)

เดิมชือ่ “ วัดพระราชศรีสมุ งั ค์หายโศก ” ซึง่ เป็นชือ่ มาจาก พระราชศรีสุมังค์หายโศก ที่ประดิษฐานที่อุโบสถวัดโพธิ์ศรี บ้านล�ำภู อ�ำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวล�ำภู สันนิษฐานว่า เป็นพระพุทธรูปที่สร้างรุ่นเดียวกันกับพระไชยเชษฐา วัดถ�้ำ สุวรรณคูหา และวัดศรีคูณเมือง สร้างประมาณปี พ.ศ. 2106 เป็นพระพุทธรูปศักดิส์ ทิ ธิท์ เี่ จ้าเมืองและชาวเมืองเคารพนับถือมาก ใช้เป็นพระประธานในพิธถี อื น�ำ้ พิพฒ ั น์สตั ยาและ ดืม่ น�ำ้ สาบาน ในอดีต

หอสองนาง

“ สองนาง ” หรือหอสองนาง ตั้งอยู่ริมหนองบัวด้าน ทิศตะวันตกใกล้ตลาดแม่ส� ำเนียง เป็นที่สถิตดวงวิญญาณ ของ “ ค�ำสี-ค�ำใส ” หลานฝาแฝดพระวอพระตาเฝ้ารักษา “ ฆ้องมิ่งเมือง ” ซึ่งเชื่อว่าจมอยู่ในหนองบัวแห่งนี้

วัดมหาชัย

เดิมชือ่ “ วัดมหาธาตุไตรยภูมิ ” สันนิษฐานว่า มหาธาตุซงึ่ ปัจจุบนั เหลือแต่เพียงกองดินขนาดใหญ่ อยูเ่ ยือ้ งกับอุโบสถของวัด เป็นทีบ่ รรจุอฐั ธิ าตุของเจ้าปางค�ำ เจ้าปงค�ำ และเจ้าแท่นค�ำ อดีตเจ้าเมือง นครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน เป็นวัดส�ำคัญ 1 ใน 4 วัดของเมืองนครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน (วัดศรีคูณเมือง วัดโพธิ์ชัยสมสะอาด วัดโพธิ์ศรี วัดมหาชัย) ปัจจุบันนี้ตั้งอยู่บ้านหัวยเชียง หมู่ที่ 3 ต�ำบลล�ำภู อ.หนองบัวล�ำภู จ.หนองบัวล�ำภู สังกัดคณะสงฆ์ธรรมยุตินิกาย สร้างเมื่อ ปี พ.ศ. 2440 เป็นวัดที่พระอาจารย์แสง ธมฺมธีโร พระภิกษุฝ่ายวิปัสสนากัมมัฏฐานรูปแรกของคณะธรรมยุติ ได้ชกั ชวนชาวบ้านสร้างขึน้ และได้รบั พระราชทานวิสงุ คามสีมา เมือ่ วันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2509 วัดมหาชัยเป็นวัดทีส่ ำ� คัญฝ่ายธรรมยุตนิ กิ ายมาตัง้ แต่อดีตซึง่ หลวงปูม่ นั่ ภูรทิ ตั โต ได้เคยมาจ�ำพรรษา ที่วัดแห่งนี้ สิ่งส�ำคัญภายในวัดประกอบด้วย 1. หอไตรวัดมหาชัย ตัง้ อยูด่ า้ นทิศเหนือภายในวัดมหาชัย เป็นสิง่ ก่อสร้างส�ำหรับเก็บรักษาพระไตรปิฎกคัมภีรใ์ บลาน หนังสือหรือเอกสารธรรมะต่างๆ สร้างประมาณปี พ.ศ.2445 – 2450 ผู้สร้างคือ พระอาจารย์แสง ธัมมธีโร เจ้าอาวาส 2. หอพระบางวัดมหาชัย พระบางวัดมหาชัย เป็นพระพุทธรูปปางห้ามญาติจำ� นวนหนึง่ คู่ เป็นพระพุทธรูปทีส่ ำ� คัญของจังหวัด หล่อด้วยทองสีดอกบวบ มีอกั ษรจารึกอยูท่ ฐี่ านเป็นภาษาขอม บอกชือ่ ผูส้ ร้างและวันเดือนปีทสี่ ร้าง อ่านได้ความว่า “ สังกาดได้ร้อยแปดสิบห้าตัว ปีกาเมด เดือนยี่ แรม 15 ค�ำ่ วันหก แม่อวนพ่อ อวนผัวเมียมีศรัทธาสร้างไว้ในพระศาสนา ” เมื่อค�ำนวณดูตามปีแล้วคงสร้างเมื่อปี พ.ศ.2366 NONGBUALAMPHU 111 .indd 111

25/10/60 11:25:16 AM


บันทึกเส้นทางพบเทศบาลต�ำบล เทศบาลต�ำบลหัวนา ตั้งอยู่ เลขที่ 11 หมู่ที่ 1 ต�ำบลหัวนา อ�ำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวล�ำภู

นายสานิตย์ สมณะ

นายกเทศมนตรีต�ำบลหัวนา

“เศรษฐกิจชุมชนดี โครงสร้างพื้นฐานมั่นคง ด�ำรงสิ่งแวดล้อม งามพร้อมจารีตประเพณี มีชีวีอย่างพอเพียง”

เทศบาลต�ำบล

หัวนา

ข้อมูลทั่วไป

เทศบาลต�ำบลหัวนา มีพนื้ ที่ 9.20 ตารางกิโลเมตร หรือ 5,844 ไร่ มีฐานะเป็นเทศบาล เมื่อวันที่ 15 เดือนพฤษภาคม พ.ศ.2542 การปกครอง ในเขตเทศบาลต�ำบลหัวนา มี 5 หมูบ่ า้ น ได้แก่ หมู่ที่ 1 บ้านหัวนา 332 ครัวเรือน หมู่ที่ 4 บ้านโนนสวรรค์ 256 ครัวเรือน หมู่ที่ 5 บ้านหนองแก 137 ครัวเรือน

หมู่ที่ 9 บ้านโนนม่วง 144 ครัวเรือน หมูท่ ี่ 13 บ้านโพธิ์ศรีส�ำราญ 134 ครัวเรือน ประชากร มีประชากรรวมทั้งสิ้น 3,688 คน แบ่งเป็นชาย 1,855 คน หญิง 1,833 คน (ข้อมูล ณ เดือนมกราคม พ.ศ.2560)

สภาพเศรษฐกิจ ประชากรในเขตเทศบาลส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม มีพืช เศรษฐกิจส�ำคัญ คือ ข้าว อ้อย มันส�ำปะหลัง และยางพารา รายได้เฉลี่ยต่อคน/ปี ประมาณ 30,000 - 34,000 บาท

112 SBL Magazine บันทึกประเทศไทย .indd 112

25/10/60 10:34:43 AM


วัดโพธิ์ศรีสง่า

Wat Pho Si Sa Nga ต�ำบลหัวนา อ�ำเภอเมืองหนองบัวล�ำภู จังหวัดหนองบัวล�ำภู 39000

NONGBUALAMPHU 113 .indd 113

25/10/60 10:34:49 AM


โครงการ

โดดเด่น

1. ประชุมเชิงปฏิบตั กิ ารปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียง ณ บ้านโพธิศ์ รีสำ� ราญ โดยว่าทีร่ อ้ ยตรี กิตติ ขันธมิตร กรมวังผู้ใหญ่ พร้อมคณะที่ ลงพืน้ ทีต่ รวจเยีย่ มแปลงเกษตรเศรษฐกิจพอเพียง และเปิดประชุมเชิงปฏิบตั กิ ารปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียง ณ บ้านโพธิ์ศรีสำ� ราญ 2. โครงการวางท่ อ น�้ ำ เพื่ อ การเกษตร บ้านโนนม่วง 3. โครงการคัดแยกขยะต้นทาง 4. โครงการส่งเสริมการปลูกหญ้าแฝก 5. โครงการพัฒนาเด็กและเยาวชน 6. โครงการระบบสูบน�ำ้ พลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อปลูกผักอินทรีย์บ้านโพธิ์ศรีสำ� ราญ 7. ตลาดนัดสีเขียว

โครงการส่งเสริมการปลูกหญ้าแฝก

ว่าที่ร้อยตรีกิตติ ขันธมิตร กรมวังผู ้ใหญ่ พร้อมคณะลงพื้นที่ตรวจเยี่ยม

ผู ้ตรวจราชการส�ำนักนายกรัฐมนตรีตรวจเยี่ยม โครงการวางท่อน�้ำเพื่อการเกษตรบ้านโนนม่วง

โครงการคัดแยงขยะต้นทาง

114 SBL Magazine บันทึกประเทศไทย .indd 114

25/10/60 10:34:56 AM


โครงการพัฒนาคนดีวิถีพุทธและต้นกล้าศรัทธาธรรม

โครงการพัฒนาเด็ก สอนน้องว่ายน�้ำ

NONGBUALAMPHU 115 .indd 115

25/10/60 10:35:13 AM


โครงการระบบสูบน�้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อปลูกผักอินทรีย์

โครงการตลาดนัดสีเขียว ตลาดเกษตรอินทรีย์โพธิ์ศรีส�ำราญ เพื่อสุขภาพที่ดีของคนหนองบัวล�ำภู

116 SBL Magazine บันทึกประเทศไทย .indd 116

25/10/60 10:35:16 AM


รางวัลแห่งความภาคภูมิใจ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทาน “รางวัลชนะเลิศ” การประกวด การพั ฒ นาและรณรงค์ ก ารใช้ ห ญ้ า แฝก อันเนือ่ งมาจากพระราชด�ำริ ครัง้ ที่ 10 ประจ�ำปี พ.ศ. 2559-2560 ประเภทส่งเสริมการปลูก และขยายผลพื้นที่เชิงลาดแหล่งน�ำ่้ /ไหล่ทาง : ชุมชน แก่ บ้านโพธิศ์ รีสำ� ราญ วันที่ 22 ม.ย. 2560

ส�ำนักงานเทศบาลต�ำบลหัวนา จังหวัดหนองบัวล�ำภู รางวัล “สุดยอดคนพลังงาน” ระดับภาค สาขาองค์ ก รปกครองส่ ว นท้ อ งถิ่ น (อปท.) จัดการพลังงานครบวงจรยอดเยี่ยม

บ้านโพธิ์ศรีส�ำราญ หมู่ที่ 13 ต�ำบลหัวนา อ�ำเภอเมืองหนองบัวล�ำภู จังหวัดหนองบัวล�ำภู ได้รับ “รางวัลชนะเลิศ” อันดับที่ 1 ในการ ประกวดหมู ่ บ ้ า นเศรษฐกิ จ พอเพี ย งจั ง หวั ด หนองบัวล�ำภู โครงการเกษตรตามแนวปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง โครงการตามแผนปฏิบัติ ราชการประจ�ำปี 2559

ราง ส�ำนักงานเทศบาลต�ำบลหัวนา จังหวัดหนองบัวล�ำภู รางวัล “สุดยอดคนพลังงาน” ระดับประเทศ สาขาองค์ ก รปกครองส่ ว นท้ อ งถิ่ น (อปท.) จัดการพลังงานครบวงจรยอดเยี่ยม

ส�ำนักงานเทศบาลต�ำบลหัวนา จังหวัดหนองบัวล�ำภู รางวัล “สุดยอดคนพลังงาน” ระดับจังหวัด สาขาองค์ ก รปกครองส่ ว นท้ อ งถิ่ น (อปท.) จัดการพลังงานครบวงจรยอดเยี่ยม

โครงการระบบสูบน�้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ เพื่ อ การปลู ก ผั ก อิ น ทรี ย ์ ใ นพื้ น ที่ เ ทศบาล ต�ำบลหัวนา อ�ำเภอเมืองหนองบัวล�ำภู จังหวัด หนองบัวล�ำภู รางวัล “สุดยอดคนพลังงาน” ระดับจังหวัด สาขาโครงการพลังงานชุมชน แบบมีส่วนร่วมยอดเยี่ยม

ส�ำนักงานเทศบาลต�ำบลหัวนา อ�ำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวล�ำภู ได้รบั การรับรองคุณภาพ ระบบบริ ก ารอนามั ย สิ่ ง แวดล้ อ ม ด้ า น การจัดการมูลฝอย (ระดับพื้นฐาน)

เทศบาลต�ำบลหัวนา เป็นพืน้ ทีเ่ ข้าร่วมโครงการ ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการ คัดแยกขยะที่ต้นทาง พ.ศ.2558-2560 พื้นที่ลุ่มน�ำ้ ชีตอนบน NONGBUALAMPHU 117

.indd 117

25/10/60 10:35:24 AM

1. รา 2. โค 3. รา ได้รับ โครง 4. รา จังหว


บันทึกเส้นทางพบเทศบาลต�ำบล เทศบาลต� ำ บลนามะเฟื อ ง ซึ่ ง มี ส� ำ นั ก งานตั้ ง อยู ่ เ ลขที่ 345 หมู่ที่ 2 ต�ำบลนามะเฟือง อ�ำเภอเมืองหนองบัวล�ำภู จังหวัดหนองบัวล�ำภู โดยอยู่ห่างจากที่ว่าการอ�ำเภอเมือง หนองบัวล�ำภู 18 กิโลเมตร

นามะเฟือง

เทศบาลต�ำบล นายค�ำกอง อามาตย์มนตรี

1

นายกเทศมนตรีต�ำบลนามะเฟือง

วิสยั ทัศน์ “ภายในปี พ.ศ. 2560 เทศบาลต�ำบลนามะเฟือง ต้องได้รบั การ พัฒนาให้เป็นเทศบาลที่น่าอยู่ที่สุดในจังหวัดหนองบัวล�ำภู” ข้อมูลทั่วไป

2

เทศบาลต�ำบลนามะเฟือง เป็นเทศบาลประเภทสามัญ มีพนื้ ทีจ่ ำ� นวน 5.27 ตร.กม. โดยตัง้ อยูบ่ นทีด่ อนระหว่างเทือกเขาภูพานและเขาภูเก้า มีพนื้ ทีจ่ ำ� นวน 5.27 ตร.กม. อยูห่ า่ งจากทีว่ า่ การอ�ำเภอเมืองหนองบัวล�ำภู 18 กิโลเมตร มีศนู ย์รวมใจซึง่ เป็นทีเ่ คารพ สักการะของประชาชน คือ หลวงปูม่ งิ่ เมือง และหลวงปูม่ งิ่ ขวัญเมือง เป็นพระพุทธรูป ศิลปะล้านช้าง ประดิษฐาน ณ วัดพิชยั บวร และวัดศรีสระแก้ว พระอารามหลวง 118 SBL Magazine บันทึกประเทศไทย .

2

ver.2.indd 1

25/10/2560 10:32:28


3

รางวัลที่ภาคภูมิใจ

เทศบาลต� ำ บลนามะเฟื อ ง ได้ รั บ การประกาศ เกียรติคุณ และรางวัลต่างๆ ดังนี้ - ได้รับประกาศเกียรติคุณ เป็นองค์กรปกครองส่วน ท้องถิน่ ทีม่ ผี ลคะแนนผ่านเกณฑ์ประเมินรางวัลการบริหาร จัดการที่ดี ประจ�ำปี พ.ศ.2559 - ได้รับประกาศเกียรติคุณ เป็นองค์กรปกครองส่วน ท้องถิน่ ทีม่ คี วามเป็นเลิศด้านการสร้างความร่วมมือในการ จัดการท้องถิ่นในภาคอีสาน ประจ�ำปี พ.ศ.2559 - ได้รบั รางวัลชมเชย เทศบาลทีม่ กี ารบริหารจัดการที่ ดี ประจ�ำปีงบประมาณ พ.ศ.2554 (ภาคตะวันออกเฉียง เหนือ) โดยคณะกรรมการการกระจายอ�ำนาจให้แก่องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น - ได้รับเกียรติบัตร เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดี เด่น ด้านการด�ำเนินงานวัฒนธรรม ในกิจกรรมด้านการส่ง เสริมอาชีพศิลปะและวัฒนธรรม - ได้รับรางวัลเกียรติยศ เพื่อประกาศเกียรติคุณเป็น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดีเด่น สามารถ สร้างสรรค์ สามัคคี

ผลการด�ำเนินงานโดดเด่น ปี 2560

1 การส่งเสริมวัฒนธรรมประเพณีทอ้ งถิน่ เช่น จัดงาน ประเพณีบุญบั้งไฟ ซึ่งถือเป็นการส่งเสริมและสนับสนุน ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น และปราชญ์ชาวบ้าน 2 การพั ฒ นาด้ า นการบริ ห ารจั ด การและอนุ รั ก ษ์ ทรัพยากรธรรมชาติ โดยการส่งเสริมอนุรักษ์และฟื้นฟู ทรัพยากรธรรมชาติ ให้ประชาชนมีสว่ นร่วมในการบริหาร จัดการ โดยกลุม่ อาสาสมัครพิทกั ษ์ปา่ เพือ่ รักษาชีวติ ป่าโคก คึมม่วง 3 การส่ ง เสริ ม และพั ฒ นาคุ ณ ภาพชี วิ ต ผู ้ สู ง อายุ โครงการสนับสนุนจัดกิจกรรมของกลุม่ ผูส้ งู อายุในท้องถิน่ 4 การส่ ง เสริ ม การจั ด การสิ่ ง แวดล้ อ มชุ ม ชนและ มลพิษต่างๆ โดยจัดโครงการสร้างการมีสว่ นร่วมในการคัด แยกขยะระดั บ ครั ว เรื อ นตามนโยบายประเทศไทย ไร้ขยะ 5 การพัฒนาเครือข่ายสุขภาพ โดยการจัดโครงการ สวนสุขภาพหนองฝายใหญ่ เพื่อสร้างความร่วมมือร่วมใจ สร้างสุขภาวะให้กบั ชุมชน เป็นพืน้ ทีป่ ระชาชนออกก�ำลังกาย 6 การพัฒนาและส่งเสริมอาชีพ โดยการส่งเสริมกลุม่ อาชีพและผลิตภัณฑ์ชุมชน เช่น ผ้าฝ้ายทอมือ ฯลฯ 7 การบริ ห ารจั ด การตลาดสด โดยส่ ง เสริ ม ให้ ประชาชนมีส่วนในการบริหารจัดการตลาดสด ในรูปของ คณะกรรมการ และผ่านการประเมินเป็นตลาดสดห้าดาว โดย กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

4

5

6

7

NONGBUALAMPHU 119 .

2

ver.2.indd 2

25/10/2560 10:32:33


บันทึกเส้นทางพบองค์การบริหารส่วนต�ำบล องค์ ก ารบริ ห ารส่ ว นต� ำ บลโนนทั น เลขที่ 10 บ้านห้วยเดื่อพัฒนา หมู่ 10 ต�ำบลโนนทัน อ�ำเภอเมืองหนองบัวล�ำภู จังหวัดหนองบัวล�ำภู โดยอยู ่ ท างทิ ศ ตะวั น ออกห่ า งจากตั ว จั ง หวั ด หนองบัวล�ำภู 11 กิโลเมตร

นายขนบ หวานเสร็จ

นายกองค์การบริหารส่วนต�ำบลโนนทัน “ท่องเที่ยวดี เศรษฐกิจดี การศึกษาดี โครงสร้างพื้นฐานดี ประชาชนปลอดภัย ใส่ใจทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม”

องค์การบริหารส่วนต�ำบล

โนนทัน

120 SBL Magazine บันทึกประเทศไทย .

10

ver.2.indd 1

25/10/2560 10:26:08


ข้อมูลทั่วไป

ต�ำบลโนนทัน มีพื้นที่ทั้งสิ้น 79 ตารางกิโลเมตร หรือ 49,812.5 ไร่ สภาพพื้นที่ทั่วไปเป็นที่ราบสูง มีบางส่วนเป็นพื้นที่ลูกคลื่นลาดตื้นถึง ลาดลึก มีพนื้ ทีย่ าวเป็นแนวติดกับเทือกเขาภูพาน ลาดลงไปทางทิศตะวันออก เป็นที่ลาดเชิงเขา ทิศตะวันตกเป็นภูเขาเป็นส่วนมาก มีถนนสายส�ำคัญ ผ่ า นต� ำ บลคื อ ทางหลวงหมายเลข 210 จากจั ง หวั ด อุ ด รธานี - เลย สภาพพื้นดินส่วนใหญ่เป็นดินปนทรายและลูกรัง ไม่สามารถเก็บน�้ำหรือ อุ้มน�้ำในฤดูแล้ง การปกครอง องค์การบริหารส่วนต�ำบลโนนทัน ประกอบด้วย 10 หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ 1 บ้านโนนทัน หมู่ที่ 2 บ้านโนนทอง หมู่ที่ 3 บ้านโค้งสวรรค์ หมู่ที่ 4 บ้านถ�้ำกลองเพล หมู่ที่ 5 บ้านอ่างบูรพา หมู่ท ี่ 6 บ้านห้วยเดื่อ หมู่ที่ 7 บ้านภูพานค�ำ หมู่ท ี่ 8 บ้านหนองบัวเหนือ หมู่ที่ 9 บ้านห้วยเดื่อเหนือ หมู่ท ี่ 10 บ้านห้วยเดื่อพัฒนา มีประชากรทัง้ สิน้ 7,453 คน แยกเป็นชาย 3,717 คน หญิง 3,736 คน มีความหนาแน่นเฉลี่ย 92 คน/ตารางกิโลเมตร ประชากรส่วนใหญ่ ประกอบอาชีพทางการเกษตร คือ ท�ำนา ท�ำไร่ ท�ำสวน เลี้ยงสัตว์ ค้าขาย ท�ำเครื่องปั้นดินเผา และรับจ้างทั่วไป ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการเคลื่อนย้าย แรงงานออกนอกพืน้ ทีห่ ลังฤดูเก็บเกีย่ วเพือ่ ท�ำงานในโรงงานอุตสาหกรรม

พืชเศรษฐกิจส�ำคัญ ได้แก่ มันส�ำปะหลัง อ้อย ข้าว มะเขือเทศ ล�ำไย มะขาม มะม่วง และพืชผักทางการเกษตร กลุม่ อาชีพ ต�ำบลโนนทันมีกลุม่ ต่างๆ หลายกลุม่ แยกได้ตามหมูบ่ า้ นต่างๆ ดังนี้ 1. บ้านโนนทัน หมู่ที่ 1 กลุ่มปุ๋ยชีวภาพ, กลุ่มดอกไม้จันทน์ 2. บ้านโค้งสวรรค์ หมู่ที่ 3 กลุ่มเครื่องปั้นดินเผา 3. บ้านถ�้ำกลองเพล หมู่ที่ 4 กลุ่มปลูกผักปลอดสารพิษ 4. บ้านห้วยเดื่อเหนือ หมู่ที่ 9 กลุ่มโฮมสเตย์,กลุ่มปุ๋ยชีวภาพ, กลุ่มเกษตรอินทรีย์,กลุ่มกล้วยฉาบแม่นวน,กลุ่มทอผ้าแม่แสง 5. บ้านห้วยเดือ่ พัฒนา หมูท่ ี่ 10 กลุม่ แม่คา้ ตลาดลานค้าชุมชนห้วยเดือ่ NONGBUALAMPHU 121

.

10

ver.2.indd 2

25/10/2560 10:26:08


บันทึกเส้นทางพบองค์การบริหารส่วนต�ำบล

นายกอบต.โนนทัน ชวนเที่ยว วัดถ�้ำกลองเพล หลวงปู่ขาว อนาลโย

วั ด ถ�้ ำ กลองเพล เป็ น วั ด ที่ มี ชื่ อ เสี ย งของจั ง หวั ด หนองบั ว ล� ำ ภู ในบริเวณวัดมีบรรยากาศทีร่ ม่ รืน่ และเงียบสงบ มีถำ�้ ซึง่ มีกลองโบราณสอง หน้า มีพระพุทธรูปปางลีลาจ�ำหลักในก้อนหิน วัดแห่งนี้เคยเป็นสถานที่ วิปัสสนากรรมฐานของพระอาจารย์หลวงปู่ขาว อนาลโย พระวิปัสสนา สายพระอาจารย์หลวงปู่มั่น ภูริทัตตะเถระ ซึ่งปัจจุบันได้สร้างพิพิธภัณฑ์ รวบรวมเครือ่ งอัฐบริขาร และรูปปัน้ หุน่ ขีผ้ งึ้ ของหลวงปูข่ าวไว้เป็นทีร่ ะลึก และเพื่อให้พุทธศาสนิกชนทั่วไปได้สักการบูชา การเดินทาง การเดินทางวัดถ�ำ้ กลองเพลอยูใ่ นเขตองค์การบริหารส่วนต�ำบลโนนทัน อ� ำ เภอเมื อ งหนองบั ว ล� ำ ภู บนทางหลวงหมายเลข 210 เส้ น ทาง อุดรธานี-หนองบัวล�ำภู ออกจากตัวเมืองไปทางอุดรธานี 13 กิโลเมตร เลี้ยวขวาเข้าไปอีก 2 กิโลเมตร สามารถเดินทางด้วยรถโดยสารประจ�ำ ทางสาย อุดรธานี-เลย ใช้เวลาในการเดินทางประมาณ 14 นาทีตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 4 บ้านถ�้ำกลองเพล ต�ำบลโนนทัน อ�ำเภอเมืองหนองบัวล�ำภู จังหวัดหนองบัวล�ำภู

ประวัติ หลวงปู่ขาว อนาลโย

หลวงปู่ขาว อนาลโย นามเดิมชื่อ ขาว โคระถา เกิดวันอาทิตย์ที่ 28 ธั น วาคม พ.ศ. 2431 ปี ช วด ที่ บ ้ า นบ่ อ ชะเนง ต� ำ บลหนองแก้ ว อ�ำเภออ�ำนาจเจริญ จังหวัดอุบลราชธานีบิดาชื่อ พั่ว โคระถา มารดาชื่อ รอด โคระถา มีพี่น้องร่วมท้องเดียวกัน 7 คน ท่านเป็นคนที่ 4 ท�ำอาชีพ หลักของครอบครัว คือ ท�ำนาและค้าขายต่อมาท่านได้สมรสกับ นางมี โคระถา เมื่อ พ.ศ. 2452 ขณะอายุได้ 20 ปี มีบุตรด้วยกัน 3 คน ใช้ชีวิตคู่ได้ 11 ปี จึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2462 ที่ วั ด โพธิ์ ศ รี (ปั จ จุ บั น คื อ วั ด บ่ อ ชะเนง) บ้านบ่อชะเนง ต�ำบลหนองแก้ว อ�ำเภอหัวตะพาน จังหวัดอ�ำนาจเจริญ สังกัดคณะมหานิกาย มีทา่ นพระครูพฒ ุ ศิ กั ดิฯ์ เจ้าคณะอ�ำเภออ�ำนาจเจริญ เป็นพระอุปัชฌาย์ มีพระอาจารย์บุญจันทร์ฯ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และจ�ำพรรษาที่วัดโพธิ์ศรี 6 พรรษา ต่อมาหลวงปู่ขาวเกิดความศรัทธา 122 SBL Magazine บันทึกประเทศไทย .

10

ver.2.indd 3

ในปฏิปทาของพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต จึงได้ญัตติกรรมเป็นพระธรรม ยุตกิ นิกายเมือ่ พ.ศ. 2468 ขณะมีอายุได้ 37 ปี ณ พัทธสีมาวัดโพธิสมภรณ์ จังหวัดอุดรธานี หลังกระท�ำญัตติกรรมเข้าคณะธรรมยุติกนิกายแล้ว ท่านได้จ�ำพรรษาอยู่ที่จังหวัดอุดรธานี เป็นเวลา 8 ปี จากนั้นได้เดินธุดงค์ ตาม ท่านพระอาจารย์ หลวงปูม่ นั่ ภูรทิ ตฺโต ไปปฏิบตั ธิ รรมในสถานทีต่ า่ งๆ ท่านออกเดินทางทุกปี และได้สมบุกสมบันไปแทบทุกภาคของประเทศ นอกจากนี้ ท่ า นยั ง ได้ เ คยเดิ น ธุ ด งค์ ร ่ ว มกั บ หลวงปู ่ ฝ ั ้ น อาจาโร หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม หลวงปู่ชอบ ฐานสโม เป็นเวลารวมกันหลายปีอีกด้วย ท่านได้ธุดงค์จาริกไปตามถิ่นต่างๆ จนในที่ สุ ด ก็ ม าพ� ำ นั ก จ� ำ พรรษาอยู ่ ที่ วั ด ถ�้ ำ กลองเพล อ� ำ เภอเมื อ ง จังหวัดหนองบัวล�ำภู เมื่อ พ.ศ. 2501 จวบจนมรณภาพ เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคมพ.ศ. 2526 อายุ 95 ปี 64 พรรษา โดยพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวทรงรับ ไว้เป็นศพในพระบรมราชานุเคราะห์โดยตลอด ตั้งบ�ำเพ็ญพระราชกุศล 7 วัน พระราชทานโกศโถฉัตรเบญจาตั้งประดับ และพระราชทานเพลิงศพวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2527 ในวันพระราชทาน เพลิงศพหลวงปู่ขาว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชด�ำเนิน มาเป็นองค์ประธาน พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินนี าถ และ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี นั้น ปรากฏว่า วัดถ�้ำกลองเพล ซึ่งมีอาณาบริเวณหลายพันไร่กลับคับแคบไปถนัดใจ ประชาชนจากทั่วทุกสารทิศหลั่งไหลกันมาถวายสักการะสรีระร่างของ ท่านนับเป็น จ�ำนวนแสนคน นับเป็นประวัติการณ์สูงสุดของประเทศ ทีเดียว

25/10/2560 10:26:09


ประวัติหลวงปู่บุญมา ฐิตเปโม

วัดสิริสาลวัน

วั ด สิ ริ ส าลวั น ตั้ ง อยู ่ ที่ บ ้ า นโนนทอง ต.โนนทั น อ.เมื อ ง จ.หนองบัวล�ำภู เป็นวัดซึ่งหลวงปู่บุญมา ฐิตเปโม เคยจ�ำพรรษาอยู่ และเป็นวัดซึ่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินนี าถ พร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตน ราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬา ภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี เสด็จพระราชด�ำเนินโดยเฮลิคอปเตอร์ พระที่นั่ง

หลวงปู่บุญมา ฐิตเปโม นามเดิม บุญมา เป็นมงคล เกิด วันพุธที่ 23 เมษายน พ.ศ.2445 ปีขาล แรม 1 ค�่ำ เดือน 5 บ้านเกิด ได้ก�ำเนิดเกิดมา ท่ามกลางป่าเขาและท้องทุง่ อันเขียวขจี ณ บ้านก่อ หมูท่ ี่ 3 ต.หนองไข่นก อ.ม่วงสามสิบ จ.อุบลราชธานี มีพี่น้อง รวมทั้งหมด 8 คน ท่านเป็นบุตร คนที่ 2 บิดามารดา นายจันดา และนางเข็มมา เป็นมงคล บรรพชา อายุ 19 ปี เมือ่ วันพุธที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2464 ณ วัดหนองอีมาตรบ้านก่อ ต.หนองไข่นก อ.ม่วงสามสิบ จ.อุบลราชธานี อุปสมบท อายุ 20 ปี เมื่อวันศุกร์ที่ 12 มกราคม พ.ศ.2465 ณ พัทธสีมาวัดสร่างโศก (วัดศรี ธรรมาราม) อ.ยโสธร จ.อุบลราชธานี (ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ยโสธร ในปัจจุบนั ) การมรณภาพ หลวงปูบ่ ญ ุ มา ฐิตเปโม ได้รบั อาราธนาจากทาง ส�ำนักพระราชวัง เพือ่ ไปในงานพระราชพิธบี ำ� เพ็ญพระราชกุศลในวโรกาส ครบรอบ 30 ปีวันบรมราชาภิเษกสมรส วันจันทร์ที่ 28 เมษายน 2523 พร้อมด้วยพระคณาจารย์พระป่ากัมมัฏฐานสายท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต อื่นๆ อีกจ�ำนวน 4 รูป คือ พระอาจารย์วัน อุตฺตโม (พระอุดม สังวรวิสทุ ธิเถร), พระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ,พระอาจารย์สงิ ห์ทอง ธมฺมวโร และพระอาจารย์สพุ ฒ ั น์ สุขกาโมพระคณาจารย์พระป่ากัมมัฏฐานทัง้ หมด ท่านจึงได้ไปรวมกันที่ จ.อุดรธานี เพือ่ ขึน้ เครือ่ งบินโดยสารแอฟโร 4 ของ บริษัทเดินอากาศไทย (ซึ่งในเวลานั้นยังไม่ได้มารวมกิจการกับบริษัท การบินไทย) เทีย่ วบิน TG 231 สายนครพนม-กรุงเทพฯ ซึง่ เป็นเครือ่ งบิน 2 ใบพัด รุ่น HS-748 รหัส HS-THB บินออกจากท่าอากาศยานนครพนม จะไปลงที่ท่าอากาศยานดอนเมือง เพราะลูกศิษย์ลูกหาต้องการถวาย ความสะดวกและความรวดเร็วในการเดินทาง เมื่อวันอาทิตย์ที่ 27 เมษายน 2523 ครั้นเมื่อเครื่องบินมาถึงท้องนาทุ่งรังสิต เขตหมู่ที่ 4 ต.คลองสี่ อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี เหลือระยะทางประมาณ 20 กิโลเมตรเศษ เครื่องบินได้ตั้งล�ำและลดเพดานบินเพื่อเตรียมลงสู่สนาม แต่เนือ่ งจากเครือ่ งบินได้ประสบพายุหมุน ประกอบกับมีพายุฝนตกลงมา อย่างหนักมีลมกระโชกแรง เกินที่นักบินจะควบคุมเครื่องให้ลงจอดได้ อย่างปลอดภัย สุดท้ายจึงเสียการควบคุมตกลงมากระแทกกับพื้นดินบน ท้องนาทุง่ รังสิต อุบตั เิ หตุเครือ่ งบินตกในคราครัง้ นีเ้ ป็นเหตุทำ� ให้ผโู้ ดยสาร บนเครือ่ งบินจ�ำนวน 53 คน เสียชีวติ ลงพร้อมกันทัง้ สิน้ 40 คน ในจ�ำนวน นี้มีพระสงฆ์มรณภาพ 7 เมื่อพระคณาจารย์ทั้ง 5 รูปได้ถึงแก่มรณภาพ คือ 1. หลวงปู่บุญมา ฐิตเปโม วัดสิริสาลวัน บ้านโนนทัน ต.โนนทัน อ.เมือง จ.หนองบัวล�ำภู 2. พระอาจารย์วนั อุตตฺ โม (พระอุดมสังวรวิสทุ ธิเถร) วัดถ�ำ้ อภัยด�ำรงธรรม (วัดถ�้ำพวง) ต.ปทุมวาปี อ.ส่องดาว จ.สกลนคร 3. พระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ วัดเจติยาคิรีวิหาร (วัดภูทอก) ต.นาสะแบง อ.ศรีวิไล จ.บึงกาฬ 4. พระอาจารย์สงิ ห์ทอง ธมฺมวโร วัดป่าแก้วชุมพล บ้านชุมพล ต.ค้อใต้ อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร 5. พระอาจารย์สุพัฒน์ สุขกาโม วัดป่าประสิทธิ์สามัคคี บ้านต้าย ต.บ้านต้าย อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร NONGBUALAMPHU 123

.

10

ver.2.indd 4

25/10/2560 10:26:09


บันทึกเส้นทางพบองค์การบริหารส่วนต�ำบล

งานเทศกาลเที่ยวหอยหิน กินล�ำไย ไหว้หลวงปู่ขาว

จังหวัดหนองบัวล�ำภูมีสถานที่ท่องเที่ยวที่ส�ำคัญมากมาย อาทิ วัดถ�้ำกลองเพลของหลวงปู่ขาว อนาลโย พิพิธภัณฑ์หอยหิน 150 ล้านปี ไดโนเสาร์ ที่เคลื่อนไหวได้ ภูพานน้อย ฯลฯ และในช่วงเดือนสิงหาคม ทางจังหวัดหนองบัวล�ำภูได้จัดให้มีเทศกาลหนึ่งคือ “เทศกาลเที่ยวหอยหิน กินล�ำไย ไหว้หลวงปู่ขาว” เป็นประจ�ำทุกปี ในช่วงอาทิตย์แรกของเดือนสิงหาคม ประกอบด้วยกิจกรรมต่างๆ มากมาย อาทิ ชมขบวนแห่ทสี่ วยงาม การประกวดธิดาล�ำไย การประกวดมิสฟอสซิล (สาวประเภทสอง) การประกวด หนูน้อยล�ำไย การแสดงบนเวที การแข่งขันร้องเพลงไทยลูกทุ่ง การจ�ำหน่ายสินค้าการเกษตรและสินค้าโอท็อป กิจกรรม 20 บาทอิ่มปาก อิ่มใจในงาน ล�ำไยโนนทัน และร่วมท�ำบุญตักบาตรและพิธีไหว้หลวงปู่ขาว การเดินทาง ใช้ทางหลวงหมายเลข 210 (หนองบัวล�ำภู-อุดรธานี) จากตัวเมืองจังหวัดหนองบัวล�ำภู ประมาณ 11 กิโลเมตร ใช้เวลาในการเดินทางประมาณ 10 นาที จะถึงหมู่บ้านห้วยเดื่อ ต�ำบลโนนทัน อ�ำเภอเมืองหนองบัวล�ำภู จังหวัดหนองบัวล�ำภู หรือสามารถใช้บริการรถโดยสารประจ�ำทางสาย หนองบัวล�ำภู-อุดรธานี

124 SBL Magazine บันทึกประเทศไทย .

10

ver.2.indd 5

25/10/2560 10:26:09


การค้นพบฟอสซิลหอยหินโบราณ

ในปี พ.ศ. 2537 ชาวบ้านเข้าป่าหาเก็บของป่าบริเวณบ้านห้วยเดือ่ ซึ่งเดิมเป็นแหล่งระเบิดหินของโรงโม่เก่า สภาพเป็นหน้าผาสูง ประมาณ 15 เมตร ระดับความสูงเหนือระดับน�้ำทะเล 280 เมตร ห่างจากหมู่บ้าน 1.5 กิโลเมตร และได้ค้นพบหินที่มีลักษณะคล้าย หอยมีลักษณะสวยงามและแปลกตาจ�ำนวนมาก จึงเก็บไปวางขาย ตามริมทางโดยขายกิโลกรัมละ 2 บาท และมีผสู้ นใจซือ้ เป็นจ�ำนวนมาก ท�ำให้ราคาสูงขึ้นเป็นกิโลกรัมละ 12 บาท จนเป็นสิ่งล่อใจให้ ชาวบ้านพากันเข้าป่ามาขุดหอยขายเป็นจ�ำนวนมากจังหวัดหนองบัวล�ำภู จึงได้จดั ส่งนักธรณีวทิ ยามาตรวจสอบและสัง่ ห้ามมิให้ผใู้ ดเข้าไปขุด หอยหินมาขายอีก หอยหิ น โบราณที่ค้น พบเป็น ซากฟอสซิลหอยดึ ก ด� ำ บรรพ์ ชนิดหอยกาบคูย่ คุ ครีเตเซียสตอนต้น อายุประมาณ 124–97 ล้านปี และได้เรียกขานเป็นหอยหินโบราณ 150 ล้านปี ซึง่ สันนิษฐานว่าที่ แห่งนี้ในสมัยอดีต เคยเป็นทะเลสาบน�้ำจืดขนาดใหญ่ ปัจจุบันได้ เก็บรวบรวมหอยหินโบราณไว้ทพี่ พิ ธิ ภัณฑ์หอยหินโบราณ 150 ล้านปี และเมื่อเดือนมกราคม 2546 ที่ผ่านมา อบต.โนนทันร่วมกับ จั ง หวั ด หนองบั ว ล� ำ ภู ไ ด้ จั ด งาน “วั น หอยหิ น คื น สู ่ เ หย้ า ” เพือ่ ประชาสัมพันธ์ให้ผทู้ มี่ หี อยหินไว้ในครอบครองน�ำหอยหินคืนถิน่ ให้เป็นสมบัตขิ องชาติสบื ต่อไป หากผูใ้ ดมีหอยหินไว้ ในครอบครอง และต้องการน�ำหอยหินคืนถิ่นก็สามารถติดต่อได้ที่องค์การบริหาร ส่วนต�ำบลโนนทัน เลขที่ 10 หมู่ที่ 10 ต�ำบลโนนทัน อ�ำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวล�ำภู หรือที่หมายเลขโทรศัพท์ 042–000048 การค้นพบซากฟอสซิลไดโนเสาร์ ในช่วงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2543 คณะส�ำรวจของ อบต.โนนทัน ได้ท�ำการส�ำรวจเส้นทาง/พื้นที่เพื่อจัด ท�ำโครงการปรับปรุงและ พัฒนา อบต. คณะส�ำรวจเส้นทางได้ค้นพบเศษกระดูกขนาดเล็ก ในลักษณะที่เป็นหิน และทางคณะส�ำรวจไม่แน่ใจว่าเป็นกระดูก ของสั ต ว์ ช นิ ด ใด อบต.โนนทั น ได้ แ จ้ ง ให้ ท รั พ ยากรธณี จังหวัดหนองบัวล�ำภูทราบ และได้จัดส่งเจ้าหน้าที่มาส�ำรวจและ ตรวจสอบบริเวณที่ค้นพบ คณะเจ้าหน้าที่แน่ใจว่าเป็นซากฟอสซิล กระดู ก ไดโนเสาร์ ได้ มี ค ณะขุ ด ค้ น ซากฟอสซิ ล ไดโนเสาร์ จ าก อ�ำเภอภูเวียง มาท�ำการส�ำรวจและขุดค้นซากฟอสซิล ซึ่งจากการ ขุดค้นและส�ำรวจได้พบกระดูกไดโนเสาร์ซึ่งเป็นพันธุ์เดียวกันกับที่ ภูเวียง คือ พันธุภ์ เู วียงโกซอรัสสิรนิ ธรเน ทีม่ ลี กั ษณะชัดเจน สมบูรณ์ หลายชิ้น แต่เนื่องจากกระดูกบางส่วนได้ผุกร่อน แตกร้าวจาก การขุ ด ค้ น จึ ง ต้ อ งได้ น� ำ ชิ้ น ส่ ว นของกระดู ก ไดโนเสาร์ ไ ปท� ำ ความสะอาดที่อ�ำเภอภูเวียงจังหวัดขอนแก่นส่วนหนึ่ง นักธรณีวิทยาที่มาส�ำรวจสันนิษฐานว่าบริเวณนี้น่าจะเป็น ขอบอ่างเก็บน�้ำขนาดใหญ่ที่มีความอุดมสมบูรณ์มาก และเป็น แหล่ ง หาอาหารของไดโนเสาร์ ห ลายชนิ ด ในยุ ค ครี เ ตเซี ย ส จังหวัดหนองบัวล�ำภูพิจารณาแล้วเห็นว่าพื้นที่บริเวณนี้เป็นมรดก ล�้ำค่าทางธรรมชาติที่สามารถพัฒนาและปรับปรุงเป็นสถานที่ ท่องเที่ยวที่มีความส�ำคัญและหลากหลายในอนาคต NONGBUALAMPHU 125 .

10

ver.2.indd 6

25/10/2560 10:26:10


พิพิธภัณฑ์หอยหิน 150 ล้านปีและไดโนเสาร์โนนทัน พิพิธภัณฑ์หอยหิน 150 ล้านปี และไดโนเสาร์โนนทัน ตั้ ง อยู ่ บ ้ า นห้ ว ยเดื่ อ องค์ ก ารบริ ห ารส่ ว นต� ำ บลโนนทั น อ� ำ เภอเมื อ ง จั ง หวั ด หนองบั ว ล� ำ ภู อยู ่ ห ่ า งจากตั ว เมื อ ง หนองบัวล�ำภูประมาณ 10 กิโลเมตร บนเส้นทางสายหลัก หนองบัวล�ำภู–อุดรธานี โดยมีการค้นพบฟอสซิลหอยกาบคูอ่ ายุประมาณ 150 ล้านปี และฟอสซิลไดโนเสาร์ บรรพบุรุษที-เร็กซ์ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ และมรดกของจังหวัดหนองบัวล�ำภู และได้รับการจัดให้เป็น “UNSEEN หนองบัวล�ำภู” แหล่งค้นพบฟอสซิลไดโนเสาร์และ หอยหิน ในพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนต�ำบลโนนทัน อยู่ใน ลักษณะของ Site Museum โดยจัดพืน้ ทีแ่ สดงออกเป็น 6 โซน ประกอบด้วย โซนที่ 1 โซนต้อนรับ โซนที่ 2 โซนท่องจักรวาล โซนที่ 3 โลกแหล่งก�ำเนิดชีวิต โซนที่ 4 อาณาจักรนักล่า โซนที่ 5 มหัศจรรย์แห่งการเดินค้นพบ และโซนที่ 6 ตามรอยนักส�ำรวจ และยั ง มี อ าคารหอยหิ น 150 ล้ า นปี ซึ่ ง มี ก ารจั ด แสดง ภาพยนตร์ 4D ซึ่งผู้เข้าชมจะได้สัมผัสประสบการณ์เหมือนนั่ง เครือ่ ง Time Machine ย้อนเวลากลับไปยังอดีตเมือ่ 150 ล้าน ปี ก ่ อ น ซึ่ ง จะเป็ น เรื่ อ งราวของประวั ติ ก ารค้ น พบ และ วิวัฒนาการของหอยหินโบราณ โดยเทียบช่วงเวลากับยุค ไดโนเสาร์ นอกจากนี้ยังมีการจัดแสดงตู้นิทรรศการ 3 มิติ (Halogram)แสดงภาพเป็นวีดีโอโดยอธิบายถึงส่วนประกอบ ของฟอสซิลหอยและลักษณะทางกายภาพ โดยอาศัยหลักการ หักเหของแสง จากด้านล่างขึ้นมากระทบกระจกด้านบนทั้ง 4 ด้ า น ท� ำ ให้ ไ ด้ ภ าพ 3 มิ ติ เกิ ด ขึ้ น ประดุ จ จริ ง ลอยอยู ่ กลางอากาศ การเดินทาง การเดินทาง ใช้ทางหลวงหมายเลข 210 (หนองบัวล�ำภูอุ ด รธานี ) จากตั ว เมื อ งจั ง หวั ด หนองบั ว ล� ำ ภู ประมาณ 11 กิโลเมตร ใช้เวลาในการเดินทาง ประมาณ 10 นาที จะถึง หมู่บ้านห้วยเดื่อ ต�ำบลโนนทัน อยู่ทางด้านซ้ายมือ หรือ สามารถใช้บริการรถโดยสารประจ�ำทางสายหนองบัวล�ำภูอุดรธานีตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 10 บ้านห้วยเดื่อ ต�ำบลโนนทัน อ�ำเภอ เมืองหนองบัวล�ำภู จังหวัดหนองบังล�ำภู วั น -เวลาให้ บ ริ ก าร เปิ ด วั น อั ง คาร–วั น อาทิ ต ย์ หยุดวันจันทร์ (เว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์ ที่หยุดติดต่อกัน) อัตราค่าบริการ (อาจมีการเปลีย่ นแปลงตามความเหมาะสม) เด็ ก (สู ง 80 ซม.ขึ้ น ไป) 10 บาท ผู ้ ใ หญ่ 20 บาท ชาวต่างชาติ 50 บาท เข้าชมเป็นหมู่คณะ (50 คนขึ้นไป) เด็ก 8 บาท ผู้ใหญ่ 16 บาท พระสงฆ์ / แม่ชี / ผู้พิการ-ฟรี 126 SBL Magazine บันทึกประเทศไทย .

10

ver.2.indd 7

25/10/2560 10:26:10


ตลาดห้วยเดื่อ ตลาดลานค้าชุมชนบ้านห้วยเดื่อ เป็ น ตลาดสดที่ จั ด สร้ า งขึ้ น ริ ม ทาง บริ เวณบ้ า นห้ ว ยเดื่ อ ต� ำ บลโนนทั น อ� ำ เ ภ อ เ มื อ ง ห น อ ง บั ว ล� ำ ภู จั ง หวั ด หนองบั ว ล� ำ ภู ริ ม ทางหลวง สาย หนองบั ว ล� ำ ภู - อุ ด ร จ� ำ หน่ า ย อาหารสด อาหารพื้นบ้าน อาหารป่า ตามฤดูกาล และผลไม้ต่างๆ รวมถึง ผลผลิตทางการเกษตรของเกษตรกร ในต�ำบลโนนทันมากมาย

การเดินทาง การเดิ น ทาง ใช้ ท างหลวงหมายเลข 210 (หนองบัวล�ำภู-อุดรธานี) จากตัวเมือง จังหวัดหนองบัวล�ำภู ประมาณ 11 กิโลเมตร ใช้เวลาในการเดินทางประมาณ 10 นาที จะถึงหมูบ่ า้ นห้วยเดือ่ ต�ำบลโนนทัน อยู่ทาง ด้ า นซ้ า ยมื อ หรื อ สามารถใช้ บ ริ ก ารรถ โดยสารประจ� ำ ทางสายหนองบั ว ล� ำ ภู อุดรธานีตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 10 บ้านห้วยเดื่อ ต�ำบลโนนทัน อ�ำเภอเมืองหนองบัวล�ำภู จังหวัดหนองบัวล�ำภู

NONGBUALAMPHU 127 .

10

ver.2.indd 8

25/10/2560 10:26:12


บันทึกเส้นทางพบองค์การบริหารส่วนต�ำบล

ภูหินลาดช่อฟ้า ภูหินลาดช่อฟ้า เป็นเขาหินสูงสลับซับซ้อนมีช่องทางเดินในเขาและ มีถำ�้ ขนาดใหญ่นอ้ ยมากมายหลายแห่ง ในอดีตเคยเป็นปราการส�ำคัญของ พรรคคอมมิ ว นิ ส ต์ เป็ น ทั้ ง โรงเรี ย นการเมื อ ง เขตฝึ ก ก� ำ ลั ง รบและ กองบัญชาการใหญ่ ทีจ่ ดั ส่งก�ำลังคนกระจายไปประจ�ำในหลายจุด มีสถูป เก็บอัฐิของคนที่ตายในการรบกว่า 200 ชีวิต โดยจะมีพิธีท�ำบุญอุทิศให้ ผู้เสียชีวิตทุกปีในช่วงฤดูร้อน มีจุดที่น่าสนใจคือลานฝึกใหญ่ในอดีต ซึ่งขณะนี้เป็นลานดูดาว สามารถมองเห็นทิวทัศน์ของอ�ำเภอหนองวัวซอ และอ�ำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี การเดินทาง ไปตามทางหลวงหมายเลข 210 อยู่หา่ งจากตัวจังหวัดหนองบัวล�ำภู ไปทางจังหวัดอุดรธานี ประมาณ 16 กิโลเมตร ใช้เวลาในการเดินทาง ประมาณ 30 นาทีถึงตลาดลานค้าชุมชน

ศูนย์หัตถกรรมปั้นหม้อบ้านโค้งสวรรค์ บ้านโค้งสวรรค์ เป็นหมู่บ้านที่ผลิตเครื่องปั้นดินเผาด้วยกรรมวิธีการ ผลิตแบบดัง้ เดิมอันมีเอกลักษณ์เฉพาะไม่เหมือนกับเครือ่ งปัน้ ดินเผาทีอ่ นื่ ๆ ไม่ว่าจะเป็นวัตถุดิบ กระบวนการกรรมวิธีต่างๆ หรือรูปแบบผลิตภัณฑ์ ซึ่งหมู่บ้านแห่งนี้ได้ให้ความส�ำคัญและพิถีพิถันกับงานฝีมือชิ้นเอกนี้ เพื่อให้เครื่องปั้นดินเผาที่คงความเป็นเอกลักษณ์และคุณภาพ เป็นการ สร้างความประทับใจให้แก่ผู้ที่มาเข้าชมและเลือกซื้อ ผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาต่างๆ นั้นมีวางจ�ำหน่ายทั้งริมทางและใน บริเวณหมู่บ้านโค้งสวรรค์ ซึ่งผู้มาเยือนสามารถเลือกชมและเลือกซื้อ เครือ่ งปัน้ ดินเผา ทีม่ ใี ห้เลือกมากมายหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นกระถาง ต้นไม้หลากหลายขนาดด้วยกัน หรือว่าจะเป็นรูปปั้น ตุ๊กตาดินเผาเอาไว้ ประดับตกแต่งสวน แจกัน อ่าง ครก เป็นต้น ศูนย์หตั ถกรรมปัน้ หม้อบ้านโค้งสวรรค์แห่งนี้ ตัง้ อยูท่ บี่ า้ นโค้งสวรรค์ ต�ำบลโนนทัน อ�ำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวล�ำภู 39000 โดยจะเปิดให้ เข้าชมได้ในระหว่างเวลา 08.00-18.00 น. การเดินทาง หมู่บ้านหัตกรรมปั้นหม้อบ้านโค้งสวรรค์ ไปตามทางหลวงหมายเลข 210 ห่างจากตัวเมืองหนองบัวล�ำภูไปทางจังหวัดอุดรธานีประมาณ 17 กิโลเมตร ใช้เวลาในการเดินทางประมาณ 20 นาที หรือสามารถใช้บริการ รถโดยสารประจ�ำทางสายหนองบัวล�ำภู-อุดรธานี 128 SBL Magazine บันทึกประเทศไทย .

10

ver.2.indd 9

25/10/2560 10:26:12


ไร่สุขสวัสดิ์ เราเป็นสวนเกษตรผสมผสานแบบปราณีต คือ ใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ผลผลิตหลากหลาย ทัง้ ผลผลิต ผลิตภัณฑ์ แปรรูป ต้นพันธุแ์ ละเมล็ดพันธุ์ พืชพันธุ์ในไร่ คือไผ่ ผักหวานป่า มัลเบอร์รี่ กล้วย มะม่วง ขนุน แค ข้าว พืชสวนครัว ไม้ผลและ ไม้ยืนต้น และเลี้ยงกุ้งหอยปูปลา กิจกรรม ในไร่ 1.ท่องเที่ยวเชิงเกษตร ให้กับประชาชนที่สนใจ ทั่วไปทั้งไทยและต่างประเทศ 2.อบรมดูงานทัศนศึกษาให้กับกลุ่ม โรงเรียน องค์กร ศูนย์ราชการต่างๆ ที่สนใจ 3.จ�ำหน่ายผลผลิต ผลิตภัณฑ์แปรรูปต่างๆ 4.จ�ำหน่ายต้นพันธุ์และเมล็ดพันธุ์

NONGBUALAMPHU 129 .

10

ver.2.indd 10

25/10/2560 10:26:14


ข้อมูลทั่วไป

ต�ำบลโนนทัน มีพื้นที่ทั้งสิ้น 79 ตารางกิโลเมตร หรือ 49,812.5 ไร่ สภาพพื้นที่ทั่วไปเป็นที่ราบสูง มีบางส่วนเป็นพื้นที่ลูกคลื่นลาดตื้นถึง ลาดลึก มีพนื้ ทีย่ าวเป็นแนวติดกับเทือกเขาภูพาน ลาดลงไปทางทิศตะวันออก เป็นที่ลาดเชิงเขา ทิศตะวันตกเป็นภูเขาเป็นส่วนมาก มีถนนสายส�ำคัญ ผ่ า นต� ำ บลคื อ ทางหลวงหมายเลข 210 จากจั ง หวั ด อุ ด รธานี - เลย สภาพพื้นดินส่วนใหญ่เป็นดินปนทรายและลูกรัง ไม่สามารถเก็บน�้ำหรือ อุ้มน�้ำในฤดูแล้ง การปกครอง องค์การบริหารส่วนต�ำบลโนนทัน ประกอบด้วย 10 หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ 1 บ้านโนนทัน หมู่ที่ 2 บ้านโนนทอง หมู่ที่ 3 บ้านโค้งสวรรค์ หมู่ที่ 4 บ้านถ�้ำกลองเพล หมู่ที่ 5 บ้านอ่างบูรพา หมู่ท ี่ 6 บ้านห้วยเดื่อ หมู่ที่ 7 บ้านภูพานค�ำ หมู่ท ี่ 8 บ้านหนองบัวเหนือ หมู่ที่ 9 บ้านห้วยเดื่อเหนือ หมู่ท ี่ 10 บ้านห้วยเดื่อพัฒนา มีประชากรทัง้ สิน้ 7,453 คน แยกเป็นชาย 3,717 คน หญิง 3,736 คน มีความหนาแน่นเฉลี่ย 92 คน/ตารางกิโลเมตร ประชากรส่วนใหญ่ ประกอบอาชีพทางการเกษตร คือ ท�ำนา ท�ำไร่ ท�ำสวน เลี้ยงสัตว์ ค้าขาย ท�ำเครื่องปั้นดินเผา และรับจ้างทั่วไป ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการเคลื่อนย้าย แรงงานออกนอกพืน้ ทีห่ ลังฤดูเก็บเกีย่ วเพือ่ ท�ำงานในโรงงานอุตสาหกรรม

พืชเศรษฐกิจส�ำคัญ ได้แก่ มันส�ำปะหลัง อ้อย ข้าว มะเขือเทศ ล�ำไย มะขาม มะม่วง และพืชผักทางการเกษตร กลุม่ อาชีพ ต�ำบลโนนทันมีกลุม่ ต่างๆ หลายกลุม่ แยกได้ตามหมูบ่ า้ นต่างๆ ดังนี้ 1. บ้านโนนทัน หมู่ที่ 1 กลุ่มปุ๋ยชีวภาพ, กลุ่มดอกไม้จันทน์ 2. บ้านโค้งสวรรค์ หมู่ที่ 3 กลุ่มเครื่องปั้นดินเผา 3. บ้านถ�้ำกลองเพล หมู่ที่ 4 กลุ่มปลูกผักปลอดสารพิษ 4. บ้านห้วยเดื่อเหนือ หมู่ที่ 9 กลุ่มโฮมสเตย์,กลุ่มปุ๋ยชีวภาพ, กลุ่มเกษตรอินทรีย์,กลุ่มกล้วยฉาบแม่นวน,กลุ่มทอผ้าแม่แสง 5. บ้านห้วยเดือ่ พัฒนา หมูท่ ี่ 10 กลุม่ แม่คา้ ตลาดลานค้าชุมชนห้วยเดือ่ NONGBUALAMPHU 121

.

10

ver.2.indd 2

27/10/2560 14:31:19


บันทึกเส้นทางพบองค์การบริหารส่วนต�ำบล

งานเทศกาลเที่ยวหอยหิน กินล�ำไย ไหว้หลวงปู่ขาว

จังหวัดหนองบัวล�ำภูมีสถานที่ท่องเที่ยวที่ส�ำคัญมากมาย อาทิ วัดถ�้ำกลองเพลของหลวงปู่ขาว อนาลโย พิพิธภัณฑ์หอยหิน 150 ล้านปี ไดโนเสาร์ ที่เคลื่อนไหวได้ ภูพานน้อย ฯลฯ และในช่วงเดือนสิงหาคม ทางจังหวัดหนองบัวล�ำภูได้จัดให้มีเทศกาลหนึ่งคือ “เทศกาลเที่ยวหอยหิน กินล�ำไย ไหว้หลวงปู่ขาว” เป็นประจ�ำทุกปี ในช่วงอาทิตย์แรกของเดือนสิงหาคม ประกอบด้วยกิจกรรมต่างๆ มากมาย อาทิ ชมขบวนแห่ทสี่ วยงาม การประกวดธิดาล�ำไย การประกวดมิสฟอสซิล (สาวประเภทสอง) การประกวด หนูน้อยล�ำไย การแสดงบนเวที การแข่งขันร้องเพลงไทยลูกทุ่ง การจ�ำหน่ายสินค้าการเกษตรและสินค้าโอท็อป กิจกรรม 20 บาทอิ่มปาก อิ่มใจในงาน ล�ำไยโนนทัน และร่วมท�ำบุญตักบาตรและพิธีไหว้หลวงปู่ขาว การเดินทาง ใช้ทางหลวงหมายเลข 210 (หนองบัวล�ำภู-อุดรธานี) จากตัวเมืองจังหวัดหนองบัวล�ำภู ประมาณ 11 กิโลเมตร ใช้เวลาในการเดินทางประมาณ 10 นาที จะถึงหมู่บ้านห้วยเดื่อ ต�ำบลโนนทัน อ�ำเภอเมืองหนองบัวล�ำภู จังหวัดหนองบัวล�ำภู หรือสามารถใช้บริการรถโดยสารประจ�ำทางสาย หนองบัวล�ำภู-อุดรธานี

124 SBL Magazine บันทึกประเทศไทย .

10

ver.2.indd 5

27/10/2560 14:31:35


บันทึกเส้นทางพบองค์การบริหารส่วนต�ำบล องค์การบริหารส่วนต�ำบลนาค�ำไฮ ตั้งอยู่ในพื้นที่อ�ำเภอเมืองหนองบัวล�ำภู โดยตั้งอยู่ห่างจากที่ว่าการอ�ำเภอเมืองหนองบัวล�ำภู ประมาณ 15 กิโลเมตร

นายประเพ็ญ หัสโก

นายกองค์การบริหารส่วนต�ำบลนาค�ำไฮ “ท้องถิ่นต้องเจริญก้าวหน้า หมู่ประชา ต้องก้าวไกล ความสุขประชาชนต้องยิ่งใหญ่ นี่คือ หัวใจของ อบต.นาค�ำไฮ”

องค์การบริหารส่วนต�ำบล

นาค�ำไฮ

ข้อมูลทั่วไป

องค์การบริหารส่วนต�ำบลนาค�ำไฮ มีพื้นที่ทั้งหมด 54,375 ไร่ หรือประมาณ 87 ตารางกิโลเมตร สภาพภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่ม พื้นที่ส่วนใหญ่เหมาะแก่การเพาะปลูกโดยเฉพาะข้าว

การปกครอง มีหมูบ่ า้ นจ�ำนวน 8 หมูบ่ า้ น ได้แก่ บ้านกุดฉิม หมูท่ ี่ 1 บ้านโนนสมบูรณ์ หมู่ที่ 3 บ้านหนองกุง หมู่ที่ 4 บ้านนาค�ำไฮ หมู่ที่ 5 บ้านสว่างอ�ำนวย หมูท่ ี่ 7 บ้านฮ่องข่า หมูท่ ี่ 8 บ้านโนนสมบูรณ์ หมูท่ ี่ 9 และบ้านกุดฉิม หมูท่ ี่ 11

130 SBL Magazine บันทึกประเทศไทย .indd 130

27/10/60 11:56:20 AM


ประชากร มีจ�ำนวนประชากรทั้งหมด 5,978 คน แบ่งเป็น ชาย 2,999 คน หญิง 2,975 คน จ�ำนวนครัวเรือนทั้งสิ้น 1,750 ครัวเรือน

(ข้อมูล ณ ตุลาคม 2559 จากส�ำนักทะเบียนอ�ำเภอ เมืองหนองบัวล�ำภู)

สภาพเศรษฐกิจ ประชากรส่วนใหญ่มอี าชีพด้านการเกษตร เช่น ท�ำนา ท�ำไร่ ปลูกยางพารา อาชีพรองลงมา คือ รับจ้างทั่วไป สภาพสังคม - การศึกษา ในพื้นที่ขององค์การบริหาร ส่วนต�ำบลนาค�ำไฮ มีโรงเรียนประถมศึกษา จ�ำนวน 3 แห่ง มีโรงเรียนมัธยม (โรงเรียนขยาย โอกาส) จ�ำนวน 1 แห่ง ดังนี้ โรงเรียนบ้าน หนองกุ ง ตั้ ง อยู ่ ที่ บ้ า นหนองกุ ง หมู ่ ที่ 4 โรงเรียนบ้านกุดฉิม ตั้งอยู่ที่บ้านกุดฉิม หมู่ที่ 11 โรงเรียนบ้านห้วยข่าโนนสมบูรณ์ ตั้งอยู่ที่ บ้านโนนสมบูรณ์ หมู่ที่ 9 มีมหาวิทยาลัย 1 แห่ง คือ มหาวิทยาลัยรามค�ำแหง เปิดสอน 3 ระดับ คือ ระดับปริญญาตรี-ปริญญาเอก - สถาบันและองค์กรทางศาสนา มีวัด/ ส�ำนักสงฆ์ 6 แห่ง และโบสถ์ 1 แห่ง - สาธารณสุข มีโรงพยาบาลส่งเสริมสุข ภาพประจ�ำต�ำบล 1 แห่ง และมีสถานพยาบาล เอกชน 1 แห่ง - ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน องค์การบริหารส่วนต�ำบลนาค�ำไฮ ได้มมี วลชน จัดตั้ง ประกอบไปด้วย ลูกเสือชาวบ้าน 2 รุ่น จ�ำนวน 564 คน อาสาสมั ค รป้ อ งกั น ภั ย ฝ่ า ยพลเรื อ น (อปพร.) 3 รุ่น จ�ำนวน 181 คน ต�ำรวจอาสา จ�ำนวน 21 คน ราษฎรอาสาป้ อ งกั น ภั ย ยาเสพติ ด ระดับต�ำบล จ�ำนวน 150 คน ชมรมเยาวชนต้ า นภั ย ยาเสพติ ด จ�ำนวน 50 คน

โครงการส่ ง เสริ ม การประกอบอาชี พ ทางการเกษตร ตามแนวพระราชด� ำ ริ เศรษฐกิจพอเพียง ประจ�ำปี 2558 NONGBUALAMPHU 131 .indd 131

27/10/60 11:56:20 AM


พันธกิจ

1. ท้องถิ่นต้องเจริญก้าวหน้า แนวทาง - การจัดท�ำแผนแม่บทชุมชนการส่งเสริมสนับสนุนการด�ำเนินงาน ขององค์กรชุมชนทุกระดับ - พัฒนาและส่งเสริมคุณภาพของผลิตภัณฑ์ การบรรจุภัณฑ์ และ การตลาดแก่สินค้าที่ผลิตในชุมชน - ส่งเสริมและสนับสนุนอุตสาหกรรมในครัวเรือนและหัตถกรรมไทย - ส่งเสริมและสนับสนุนวิสาหกิจชุมชน - ส่งเสริมการอนุรกั ษ์และการฟืน้ ฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิง่ แวดล้อม - ส่งเสริมการจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชนและมลพิษต่างๆ - การพัฒนาแหล่งน�้ำเพื่อการเกษตร - การพัฒนาแหล่งน�้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค - พัฒนาปรับปรุงภูมิทัศน์ชุมชนให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว

- การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน - พัฒนาศูนย์ต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติด - ส่งเสริมสนับสนุนการน�ำหลักการมีสว่ นร่วมมาใช้ในการบริหารจัดการ - การพัฒนา เพิม่ ประสิทธิภาพในการบริหารงานขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น - การพัฒนาบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น - การประยุกต์ใช้อนุญาโตตุลาการเพือ่ พิจารณาข้อพิพาททางการปกครอง - พัฒนาและดูแลรักษาที่สาธารณะเพื่อเป็นศูนย์สุขภาพชุมชน 2. หมู่ประชาต้องก้าวไกล แนวทาง - พัฒนาและส่งเสริมอาชีพให้แก่กลุ่มอาชีพ ผลิตภัณฑ์ชุมชน - พัฒนาและส่งเสริมอาชีพให้แก่ประชาชนทั่วไป - สนับสนุนการจัดตัง้ กลุม่ ออมทรัพย์ หรือการรวมกลุม่ ในรูปแบบอืน่ - การส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียง

โครงการ หน่วยแพทย์เคลื่อนที่ พอ.สว.และหน่วยบ�ำบัดทุกข์บ�ำรุ งสุข สร้างรอยยิ้มให้กับประชาชน เพื่อความสามัคคี ปรองดองสมานฉันท์อย่างยั่งยืน - ส่งเสริมสนับสนุนศูนย์การเรียนรู้ชุมชน - เสริมสร้างและสนับสนุนการจัดการศึกษา - สนับสนุนศูนย์อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนท้องถิ่น - การส่งเสริมและสนับสนุนการกีฬาและนันทนาการ - ส่งเสริมพุทธศาสนา และศาสนาอื่นๆ - ส่ ง เสริ ม และสนั บ สนุ น ศิ ล ปวั ฒ นธรรม ภู มิ ป ั ญ ญาท้ อ งถิ่ น ปราชญ์ชาวบ้าน - ส่งเสริมและพัฒนาด้านภาษาต่างประเทศให้กบั ข้าราชการ พนักงาน และลูกจ้างของหน่วยงาน - ส่งเสริมและพัฒนาด้านภาษาต่างประเทศให้กบั ผูบ้ ริหาร, ส.อบต., ผู้น�ำชุมชน และประชาชนทั่วไป - ส่ ง เสริ ม และพัฒนาด้านภาษาต่างประเทศให้ กั บเด็ ก นั ก เรี ย น ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และโรงเรียนในเขตพื้นที่

3. ความสุขของประชาชนต้องยิ่งใหญ่ แนวทาง - สงเคราะห์และพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก เยาวชน สตรี คนชรา คนพิการ และ ผู้ด้อยโอกาส - ส่งเสริมความเข้มแข็งของสถาบันครอบครัว - สร้างเสริมสุขภาพอนามัย เด็ก เยาวชน ประชาชนและพัฒนา พฤติกรรมสุขภาพ - จัดระบบบริการทางการแพทย์และสาธารณสุข - ส่งเสริมการแพทย์แผนไทยและสาธารณสุข - ส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ - ส่งเสริมการดูแลรักษาสุขภาพที่เกิดจากโรคไม่ติดต่อ - การบริการประชาชน - ส่งเสริมการจัดเทศกาล และงานประเพณีที่ส�ำคัญของท้องถิ่น เพื่อการท่องเที่ยว

132 SBL Magazine บันทึกประเทศไทย .indd 132

27/10/60 11:56:21 AM


นโยบายส�ำคัญของ อบต.นาค�ำไฮ

นโยบายด้านการศึกษา องค์การบริหารส่วนต�ำบลนาค�ำไฮ ได้ให้ความส�ำคัญ ในด้านการศึกษามาโดยตลอด ถึงแม้ว่างบประมาณ ในด้านการศึกษาจะมีจำ� นวนน้อย แต่ในส่วนของการ ให้ความส�ำคัญ ความร่วมมือ ตลอดจนแนวความคิด เกี่ยวกับด้านการศึกษา จะเห็นได้จากแผนพัฒนา ด้านการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมท้องถิ่นของ องค์การบริหารส่วนต�ำบลนาค�ำไฮ ซึ่งได้จัดท�ำโดย ความร่วมมือของผู้บริหารโรงเรียน ผู้น�ำชุมชนและ สมาชิก อบต. โดยได้วางแผนการศึกษาให้สอดคล้อง กับพระราชบัญญัตกิ ารศึกษาแห่งชาติ โดยให้นกั เรียน เป็นศูนย์กลางในการเรียนรู้ นอกจากนีใ้ นด้านการศึกษาในระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษา องค์การบริหารส่วนต�ำบลนาค�ำไฮ ก็ได้ให้การสนับสนุนมาโดยตลอด ยกตัวอย่างเช่น การมอบทุนการศึกษา, อาหารกลางวัน, อาหารเสริม(นม) ตลอดจนงบประมาณในด้ า นการพั ฒ นาโรงเรี ย น ก็ได้ให้การสนับสนุนตลอดมา นโยบายด้านการกีฬา ในด้านการกีฬาและส่งเสริมสุขภาพนัน้ องค์การ บริหารส่วนต�ำบลนาค�ำไฮ ก็ได้ให้ความส�ำคัญมาตลอด จะเห็นได้จากการจัดการแข่งขันกีฬาประจ�ำต�ำบล ซึง่ มีการจัดทุกปี ตลอดทัง้ การมอบอุปกรณ์ดา้ นการกีฬา ให้กบั โรงเรียนและหมูบ่ า้ น และมีการส่งเสริมการแข่งขัน กีฬารายการต่างๆ ไม่วา่ จะเป็นในระดับต�ำบล อ�ำเภอ จังหวัด เป็นต้น นโยบายด้านศาสนา ในด้านศาสนาองค์การบริหารส่วนต�ำบลนาค�ำไฮ ได้ให้ความส�ำคัญมาตลอดไม่ว่าจะเป็นประเพณีวัน ส�ำคัญต่างๆ เช่น วันเข้าพรรษา ได้มีการจัดกิจกรรม ร่วมท�ำบุญกับชาวบ้าน ตลอดจนช่วงเข้าพรรษาได้จดั ท�ำ กิจกรรมการท�ำบุญทุกวันพระ ร่วมกับประชาชน ในพื้นที่ทุกหมู่บ้าน นโยบายด้านวัฒนธรรม-ประเพณี องค์การบริหารส่วนต�ำบลนาค�ำไฮ ได้ดำ� เนินการ จัดประเพณีและงบประมาณสนับสนุน ให้กบั ประชาชน ในพื้ น ที่ ทุ ก ปี ไม่ ว ่ า จะเป็ น การจั ด งานประเพณี ลอยกระทง และการให้ ง บประมาณสนั บ สนุ น งานประเพณีบุญบั้งไฟทุกหมู่บ้าน

งานอบรมแลกเปลี่ยนเรียนรู ้การจัดการต�ำบลโครงการแสนพลังชุ มชน ร่วมสร้างเครือข่ายต�ำบลสุขภาวะ วันที่ 25 - 29 พฤษภาคม 2558 NONGBUALAMPHU 133

.indd 133

27/10/60 11:56:21 AM


โครงการเด่นประจ�ำปี พ.ศ.2560

โครงการคืนน�้ำใจ คืนต้นไม้ สู่ป่าชุ มชมชนเฉลิมพระเกียรติ ประจ�ำปี งบประมาณ พ.ศ.2560 ในวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ.2560 ณ หอประชุ มองค์การบริหารส่วนต�ำบลนาค�ำไฮ อ�ำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวล�ำภู โดยการส่งเสริมและสนับสนุนการปลูกป่าของชุมชน ทีจ่ ะร่วมมือกัน กับหน่วยงานภาครัฐ ในการด�ำเนินการปลูกฟืน้ ฟูปา่ บริเวณพืน้ ทีป่ า่ สาธารณะ ร่วมใจกันในการปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติเนื่องในวันแม่แห่งชาติ และ ของชุมชน ที่เคยถูกบุกรุกท�ำลายมาก่อน เพื่อช่วยกันดูแลรักษาป่าไม้ เป็นการสนับสนุนให้หน่วยงานภาคเอกชนและประชาชน ได้ตระหนักถึง ให้คงความอุดมสมบูรณ์และยั่งยืนต่อไปในอนาคต ความส�ำคัญของการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ และได้เข้ามามีส่วนร่วม

โครงการฝึ กอบรมส่งเสริมอาชี พ การท�ำไม้กวาด ประจ�ำปี งบประมาณ พ.ศ.2560 จัดขึ้นตามนโยบายขององค์การบริหารส่วนต� ำบล ที่มุ่งพัฒนา ที่ยอมรับของผู้บริโภค รวมถึงเพื่อสร้างรายได้และสร้างประสบการณ์ ด้านคุณภาพชีวิต มุ่งเน้นส่งเสริมสนับสนุนการจัดการศึกษาอบรม และ ด้านทักษะการฝึกอาชีพ ซึง่ ในครัง้ นีเ้ ป็นการจัดฝึกอบรมหลักสูตรระยะสัน้ การฝึกอาชีพตามความเหมาะสม และความต้องการของประชาชน โดยอบรมทัง้ ภาคทฤษฎีและภาคปฏิบตั ิ จากวิทยากรทีม่ คี วามรูค้ วามสามารถ ในท้องถิน่ เพือ่ พัฒนารายได้ของประชาชน โดยมีวตั ถุประสงค์เพือ่ เพิม่ พูน เต็มใจที่จะถ่ายทอดประสบการณ์และเทคนิคต่างๆ ให้แก่ผู้เข้ารับการ ความรู้ ทักษะ สร้างความช�ำนาญและประสบการณ์ดา้ นการประกอบอาชีพ ฝึกอบรม เพือ่ เป็นการสร้างอาชีพให้แก่คนในชุมชน ลดรายจ่ายแก่ตนเอง ยกระดับสินค้าอุตสาหกรรมพื้นบ้านให้มีคุณภาพ และสามารถเป็น ครอบครัว ชุมชน ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงต่อไป 134 SBL Magazine บันทึกประเทศไทย .indd 134

27/10/60 11:56:22 AM


สินค้าหนึง่ ต�ำบลหนึง่ ผลิตภัณฑ์ OTOP 1. ผ้าพืน้ เมือง เป็นผลิตภัณฑ์ของกลุม่ แม่บา้ น บ้านกุดฉิม หมู่ที่ 11 2. ขนมนางแตนน�ำ้ แตงโม เป็นผลิตภัณฑ์ของ กลุ่มแม่บ้าน บ้านกุดฉิม หมู่ที่ 1 3. กลุม่ เย็บผ้าห่ม เป็นผลิตภัณฑ์ของกลุม่ แม่บา้ น บ้านนาค�ำไฮน้อย หมู่ที่ 5 4. ไม้กวาดดอกแขมและไม้กวาดทางมะพร้าว เป็ น ผลิ ต ภั ณ ฑ์ ข องกลุ ่ ม ไม้ ก วาดดอกหญ้ า บ้านฮ่องข่า หมูท่ ี่ 8 ซึง่ ได้รบั การรับรองมาตรฐาน พมช. จากส� ำ นั ก งานอุ ต สาหกรรมจั ง หวั ด หนองบัวล�ำภู และเป็นสินค้าโอท็อปประจ�ำต�ำบล สามารถติดต่อได้ที่ส�ำนักงานองค์การบริหาร ส่วนต�ำบลนาค�ำไฮ โทร. 0-4231-6831 5. ผ้าทอมือ ผ้าไหม ผ้ามัดหมี่ เป็นผลิตภัณฑ์ ของกลุ่มทอผ้าบ้านโนนสมบูรณ์ หมู่ที่ 9 ซึ่ง ได้รับการรับรองจากส�ำนักงานพัฒนาชุมชน อ�ำเภอเมืองหนองบัวล�ำภู และเป็นสินค้าที่มี ความสวยและละเอียดในการมัดหมี่ของกลุ่ม แม่บา้ น สามารถติดต่อได้ที่ ส�ำนักงานองค์การ บริหารส่วนต�ำบลนาค�ำไฮ โทร. 0 -4231-6831

NONGBUALAMPHU 135 .indd 135

27/10/60 11:56:29 AM


บันทึกเส้นทางพบองค์การบริหารส่วนต�ำบล องค์การบริหารส่วนต�ำบลกุดจิก เลขที่ 123 หมูท่ ี่ 7 ต�ำบลกุดจิก อ�ำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวล�ำภู โดยอยู่ห่างจากที่ว่าการอ�ำเภอเมืองหนองบัวล�ำภู ประมาณ 22 กิโลเมตร

นายสมพร ไชยแหม่ง

รองนายกองค์การบริหารส่วนต�ำบลกุดจิก

(รักษาราชการแทนนายกองค์การบริหารส่วนต�ำบลกุดจิก) “ต�ำบลแห่งการเรียนรู้ คู่คุณธรรมน�ำคุณภาพชีวิตที่ดี ในวิถีเศรษฐกิจพอเพียง ลือเรื่องโครงสร้างพื้นฐาน”

องค์การบริหารส่วนต�ำบล

กุดจิก

136 SBL Magazine บันทึกประเทศไทย .

6

ver.1.indd 1

25/10/2560 9:58:48


ประวัติการจัดตั้ง องค์การบริหารส่วนต�ำบลกุดจิก ยกฐานะจากสภาต�ำบลกุดจิกเป็น “องค์การบริหารส่วนต�ำบลกุดจิก” ในปี พ.ศ 2544 ปัจจุบนั มีสมาชิกสภา องค์การบริหารส่วนต�ำบล จ�ำนวน 28 คน คณะผูบ้ ริหาร 4 คน มีพนักงาน ส่วนต�ำบล 19 คน ลูกจ้างประจ�ำ 1 คน พนักงานจ้างตามภารกิจ 19 คน พนั ก งานจ้ า งทั่ ว ไป 16 คน โดยบริ ห ารงานภายในการน� ำ ของ นายสมพร ไชยแหม่ ง รองนายกองค์ ก ารบริ ห ารส่ ว นต� ำ บลกุ ด จิ ก (รั ก ษาราชการแทนนายกองค์ ก ารบริ ห ารส่ ว นต� ำ บลกุ ด จิ ก ) และ นายนพรัตน์ ลังกาพินธ์ ปลัดองค์การบริหารส่วนต�ำบลกุดจิก

NONGBUALAMPHU 137 .

6

ver.1.indd 2

25/10/2560 9:58:54


บันทึกเส้นทางพบองค์การบริหารส่วนต�ำบล

ข้อมูลทั่วไป องค์การบริหารส่วนต�ำบลกุดจิก มีพนื้ ทีท่ งั้ หมดประมาณ 106,751 ไร่ หรื อ ประมาณ 96 ตร.กม. สภาพพื้ น ที่ โ ดยทั่ ว ไปเป็ น ที่ ร าบสู ง แบบ ลูกระนาด โดยแยกเป็น - พื้นที่การเกษตร 78,789 ไร่ - พื้นที่อยู่อาศัย 18,000 ไร่ - พื้นที่ป่า และที่สาธารณะ 9,962 ไร่ ปัจจุบันมีหมู่บ้านในเขตการปกครอง 14 หมู่บ้าน มีจ�ำนวนครัวเรือน 3,090 ครัวเรือน มี ประชากรรวมทัง้ สิน้ 12,345 คน เป็นชาย 6,346 คน หญิง 5,999 คน ผลงานเด่นในปี 2560 ของ อบต.กุดจิก องค์การบริหารส่วนต�ำบลกุดจิก ตระหนักถึงการอนุรกั ษ์และสืบสาน ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี และภูมิปัญญาที่มีมาแต่ดั้งเดิมของบรรพบุรุษ อีกทัง้ ยังให้ความส�ำคัญกับผูส้ งู อายุ ซึง่ เป็นผูท้ มี่ อี งค์ความรูอ้ ย่างหลากหลาย และเป็ น บุ ค คลส� ำ คั ญ ที่ จ ะถ่ า ยทอดอั ต ลั ก ษณ์ ที่ ดี ง ามของชาว ต�ำบลกุดจิกให้ด�ำรงอยู่สืบต่อไปชั่วลูกหลาน องค์การบริหารส่วนต�ำบล กุดจิก จึงได้ให้การสนับสนุนกิจกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นภายในต�ำบลกุดจิก ดังนี้

138 SBL Magazine บันทึกประเทศไทย .

6

ver.1.indd 3

25/10/2560 9:58:56


อีสานร�ำวงไทย (ร�ำวงคองก้า อบต.กุดจิก) ร�ำวงคองก้าของต�ำบลกุดจิก หรือ “อีสานร�ำวงไทย” เริ่มจัดตั้งเมื่อ ปี พ.ศ.2557 โดยกลุ่มโพธิ์ศรีอีสานร�ำวงไทย ซึ่งมีพ่อสมพร สวนไผ่ ( ฉายา “พรไผ่งาม” ) เป็นคนก่อตัง้ ขึน้ โดยได้รบั ความร่วมมือจากองค์การ บริหารส่วนต�ำบลกุดจิก และสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติฯบ้านทุง่ โปร่ง ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากทางองค์การบริหารส่วนต�ำบลกุดจิก อย่างต่อเนื่อง กลุ่มอีสานร�ำวงไทยมีสมาชิกทั้งหมด 35 คน และมีคณะกรรมการ จ�ำนวน 33 คน ซึ่งมาจากผู้นำ� ชุมชน/สมาชิกอบต. และคณะกรรมการ หมู่บ้าน จ�ำนวน 3 ชุมชน ได้แก่ บ้านโพธิ์ศรีสะอาด หมู่ที่ 6 บ้านโพธิ์ศรี เหนือ หมู่ที่ 9 และบ้านโพธิ์ศรีพัฒนา หมู่ที่ 14 ปัจจุบันคณะร�ำวงคองก้าอีสานร�ำวงไทย ได้ถูกรับเชิญให้ไปแสดงใน งานต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ทั้งในจังหวัดหนองบัวล�ำภูและพื้นที่ใกล้เคียง NONGBUALAMPHU 139 .

6

ver.1.indd 4

25/10/2560 9:58:57


บันทึกเส้นทางพบองค์การบริหารส่วนต�ำบล

ชมรมมวยไทย อบต.กุดจิก ชมรมมวยไทย อบต.กุดจิก ก่อตั้งโดยนายค�ำพลอง ซินเป บ้านเลขที่ 300 หมู่ที่ 3 ต�ำบลกุดจิก อ�ำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวล�ำภู ซึ่งเป็นหัวหน้าค่ายมวยที่ตั้งอยู่บริเวณ สวนสาธารณะ ศาลาประชาคมหมู่ที่ 2 ต�ำบลกุดจิก อ�ำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวล�ำภู ต่อมานายค�ำพลองได้ไปยืน่ ขอจดทะเบียนเป็นหัวหน้าค่ายมวย เมือ่ วันที่ 22 มีนาคม 2559 และส�ำนักงานการกีฬาแห่งประเทศไทย จังหวัดหนองบัวล�ำภู ได้ออกบัตร “หัวหน้าค่ายมวย ท.นิรงค์บตุ ร” โดยค่ายมวยดังกล่าวอยูภ่ ายใต้การก�ำกับดูแลของคณะ กรรมการหมู่บ้าน บ้านทุ่งโปร่งเหนือ หมู่ที่ 2 และได้รับสนับสนุนงบประมาณจากทาง องค์การบริหารส่วนต�ำบลกุดจิก ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2560 เป็นต้นไป ปัจจุบันมีนักมวยในค่าย จ�ำนวน 9 คน ดังนี้ 1.นายอัคคเดช สุทธิโสม ทีอ่ ยู่ 119 ม.11 ต.กุดจิก อ.เมือง จ.หนองบัวล�ำภู 2. เด็กชายศรายุทธ์ เสถียรขันธ์ ทีอ่ ยู่ 19 ม.11 ต.กุดจิก อ.เมือง จ.หนองบัวล�ำภู 3. เด็กชายปวริศ แก้วบุญเรือง ทีอ่ ยู่ ม.11 ต.กุดจิก อ.เมือง จ.หนองบัวล�ำภู 4. เด็กชายณัฐวุฒิ ครุฑสร้อย ทีอ่ ยู่ 214 ม.11 ต.กุดจิก อ.เมือง จ.หนองบัวล�ำภู 5. เด็กชายภานุวทิ ย์ สิรวิ งค์ ทีอ่ ยู่ 300 ม.11 ต.กุดจิก อ.เมือง จ.หนองบัวล�ำภู 6. เด็กชายกฤษตา ไตรชู ทีอ่ ยู่ 113 ม.11 ต.กุดจิก อ.เมือง จ.หนองบัวล�ำภู 7. เด็กชายกฤษณะ ไตรชู ทีอ่ ยู่ 113 ม.11 ต.กุดจิก อ.เมือง จ.หนองบัวล�ำภู 8. เด็กหญิงปณิดา แก้วแก่นคูณ ทีอ่ ยู่ 328 ม.2 ต.กุดจิก อ.เมือง จ.หนองบัวล�ำภู 9. เด็กชายธนกร อินทสอน ทีอ่ ยู่ 180 ม.2 ต.กุดจิก อ.เมือง จ.หนองบัวล�ำภู

140 SBL Magazine บันทึกประเทศไทย .

6

ver.1.indd 5

25/10/2560 9:58:58


วิทยาลัยสูงวัยต�ำบลกุดจิก วิทยาลัยสูงวัยต�ำบลกุดจิก อ�ำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวล�ำภู ก่อตั้ง ขึน้ โดยองค์การบริหารส่วนต�ำบลกุดจิก โดยมีพนื้ ทีใ่ ห้บริการในการด�ำเนิน การของวิทยาลัยสูงวัยต�ำบลกุดจิกทั้งหมด 14 หมู่บ้าน จุดเริ่มต้นของการจัดตั้ง “วิทยาลัยสูงวัยต�ำบลกุดจิก” เนื่องจาก องค์การบริหารส่วนต�ำบลกุดจิกได้ไปศึกษาดูงานที่องค์การบริหารส่วน ต�ำบลนากลาง จังหวัดนครราชสีมา และองค์การบริหารส่วนต�ำบลนาพู่ จังหวัดอุดรธานี เพื่อเป็นแนวทางในการจัดตั้งวิทยาลัยสูงวัยต�ำบลกุดจิก หลังจากได้ศกึ ษารูปแบบและแนวทางด�ำเนินงานแล้ว สภาองค์การบริหาร ส่วนต�ำบลกุดจิก มีมติให้จัดตั้งวิทยาลัยสูงวัยต�ำบลกุดจิกขึ้น จึงจัดให้มี การประชุมโดยเชิญองค์กรทุกภาคส่วนในต�ำบลกุดจิก ได้แก่ ผู้บริหาร องค์ ก ารบริ ห ารส่ ว นต� ำ บลกุ ด จิ ก ผู ้ อ� ำ นวยการโรงเรี ย นทุ ่ ง โปร่ ง ประชาสรรค์ ผู ้ น� ำ ชุ ม ชน ประธานชมรมผู ้ สู ง อายุ สถานี อ นามั ย เฉลิมพระเกียรติทงุ่ โปร่ง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพยางหลวงเหนือ และ ครูการศึกษานอกโรงเรียนต�ำลบกุดจิก เพื่อท�ำการร่างหลักสูตรของ วิทยาลัยสูงวัยต�ำบลกุดจิกขึน้ ทัง้ นีเ้ พือ่ ให้มคี วามเหมาะสมกับผูส้ งู อายุใน บริบทของต�ำบลกุดจิก ในวันที่ 20 เดือนธันวาคม พ.ศ.2559 และก�ำหนด เอาวันนีเ้ ป็นวันก่อตัง้ วิทยาลัยสูงวัยต�ำบลกุดจิก ซีง่ ในการนีไ้ ด้กำ� หนดวิสยั ทัศน์ในการพัฒนาไว้ว่า “วิทยาลัยสูงวัยต�ำบลกุดจิก มุ่งส่งเสริมพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ให้อยู่ดีมีสุขอย่างยั่งยืน”

NONGBUALAMPHU 141 .

6

ver.1.indd 6

25/10/2560 9:59:03


บันทึกเส้นทางพบองค์การบริหารส่วนต�ำบล องค์การบริหารส่วนต�ำบลหนองบัว ตั้งอยู่ เลขที ่ 99 หมู่ที่ 3 บ้านโคกแก่นช้าง ต�ำบลหนองบัว อ�ำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวล�ำภู โดยตั้งอยู่ห่าง จากที่ว่าการอ�ำเภอเมืองหนองบัวล�ำภู ประมาณ 5 กิโลเมตร

นายไมตรี ฤทธิ์มหา

นายกองค์การบริหารส่วนต�ำบลหนองบัว

องค์การบริหารส่วนต�ำบล

หนองบัว

ประวัติความเป็นมา

องค์การบริหารส่วนต�ำบลหนองบัว เดิมเป็นสภาต�ำบลหนองบัว ต่ อ มาได้ รั บ ยกฐานะเป็ น องค์ ก ารบริ ห ารส่ ว นต� ำ บล เมื่ อ วั น ที่ 23 กุมภาพันธ์ 2540 โดยจัดเป็นองค์การบริหารส่วนต�ำบลขนาดกลาง

ข้อมูลทั่วไป

องค์การบริหารส่วนต�ำบลหนองบัว มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 80.80 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 50,500 ไร่ สภาพพืน้ ทีท่ งั้ หมดในเขตต�ำบล หนองบัว เป็นพืน้ ทีภ่ เู ขาสูงและทีร่ าบ มีแม่นำ�้ ไหลผ่าน โดยแบ่งประโยชน์ การใช้พื้นที่ออกเป็น พื้นที่ส�ำหรับที่อยู่อาศัยประมาณ 40% เป็นพื้นที่ ส�ำหรับการเกษตร 55 % และมีพื้นที่ส่วนอื่น 5% การปกครอง มีหมู่บ้านในเขตพื้นที่ อบต.หนองบัว จ�ำนวน 8 หมู่บ้าน ประกอบด้วย หมู่ที่ 1 บ้านห้วยทราย หมู่ที่ 2 บ้านภูพานทอง หมู่ที่ 3 บ้านโคกแก่นช้าง หมู่ที่ 4 บ้านสุขเกษม หมู่ที่ 5 บ้านวังน�้ำขาว หมู่ที่ 6 บ้านเสาเล้า หมู่ที่ 7 บ้านวังหมื่นใต้ หมู่ที่ 8 บ้านวังน�้ำขาวใหม่พัฒนา ประชากร มีประชากรรวมทั้งสิ้น 6,641 คน แยกเป็นชาย 3,337 คน หญิง 3,304 คน จ�ำนวนครัวเรือน 2,114 หลังคาเรือน (ข้อมูลจากส�ำนัก ทะเบียนกลาง ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2559) สภาพเศรษฐกิจ - อาชีพ ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางการเกษตร โดยมี ผลผลิตที่ส�ำคัญ ได้แก่ ข้าว มันส�ำปะหลัง อ้อย และมีการเลี้ยงสัตว์ใน ครัวเรือนเป็นอาชีพหลักและอาชีพเสริม เช่น การเลี้ยงไก่ เป็ด โค สุกร กระบือ 142 SBL Magazine บันทึกประเทศไทย .

(4

).indd 1

25/10/2560 9:48:04


- กลุ่มอาชีพ ได้แก่ กลุ่มอาชีพเลี้ยงวัว 8 กลุ่ม กลุ่มอาชีพปลูกเห็ด 8 กลุ่ม กลุ่มอาชีพปลูกผัก 8 กลุ่ม กลุ่มอาชีพจักสาน 4 กลุ่ม กลุ่มอาชีพ แปรรูปขนม 2 กลุ่ม และกลุ่มอาชีพเลี้ยงหมู 2 กลุ่ม - การบริการ เนื่องจากในพื้นที่ อบต.หนองบัว มีสถานที่ท่องเที่ยว หลายแห่ง จึงมีโรงแรมหรือรีสอร์ต 7 แห่ง ร้านอาหาร 11 แห่ง และ ร้านค้า 48 แห่ง ฯลฯ ให้บริการ สภาพสังคม - การศึกษา ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 3 แห่ง โรงเรียนระดับก่อนประถม ศึกษา/ระดับประถมศึกษา สังกัด สพฐ. 5 แห่ง - ศาสนา ชาวต�ำบลหนองบัวนับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 100 มีวดั จ�ำนวน 11 แห่ง - ประเพณีและงานประจ�ำปี ได้แก่ วันขึ้นปีใหม่ วันสงกรานต์ งานบุญบั้งไฟ วันเข้าพรรษา-ออกพรรษา และวันลอยกระทง - ภูมิปัญญาท้องถิ่น ประชาชนในเขตอบต.หนองบัว ได้อนุรักษ์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ได้แก่ วิธีการท�ำเครื่องจักสานไว้ใช้ในครัวเรือน วิธีการ ทอเสื่อจากต้นกก และวิธีการจับปลาธรรมชาติ

อบต.หนองบัวกับการดูแลทุกข์สุขของราษฎร

ด้านสาธารณสุข จากการส�ำรวจพบว่าประชากรส่วนมากมีสุขภาพ ที่ดี มีการคัดกรองสุขภาพให้กับประชาชนกลุ่มเสี่ยง โรคที่มักเกิดแก่ ประชากรในชุมชน ได้แก่ โรคความดัน เบาหวาน โรคเอดส์ โรคไข้ เลือดออก มือ-ปาก-เท้าในเด็ก และโรคอื่นๆ อีกมาก การแก้ไขปัญหา คือ

.

(4

).indd 2

อบต.หนองบัว และหน่วยงานสาธารณสุข โรงพยาบาล ได้จัดกิจกรรม ร่วมมือกันรณรงค์ให้ชมุ ชนเห็นความส�ำคัญในเรือ่ งนี้ ซึง่ ได้ผลในระดับหนึง่ และประชาชนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี ด้านอาชญากรรม ในเขต อบต.หนองบัว ไม่มีเหตุอาชญากรรม เกิดขึน้ แต่มเี หตุการณ์ลกั ขโมยทรัพย์สนิ ประชาชน และท�ำลายทรัพย์สนิ ของราชการ ซึง่ ได้ดำ� เนินการป้องกันการเกิดเหตุดงั กล่าว แต่ปญ ั หาทีพ่ บ เป็นประจ�ำคือการทะเลาะวิวาทของกลุ่มวัยรุ่น โดยเฉพาะในสถานที่จัด งานดนตรี งานมหรสพ เป็นปัญหาที่ชุมชนได้รับผลกระทบเป็นอย่างมาก การแก้ไขปัญหา คือการแจ้งเตือนให้ผู้ปกครองดูแลบุตรหลานของตน การประชาสัมพันธ์ให้ทราบถึงผลกระทบ ผลเสียหาย และโทษทีไ่ ด้รบั จาก การเกิดเหตุทะเลาะวิวาท การขอความร่วมมือไปยังผูน้ ำ � การขอก�ำลังจาก ต�ำรวจ ผู้น�ำ อปพร. เพื่อระงับเหตุไม่ให้เกิดความรุนแรง NONGBUALAMPHU 143 25/10/2560 9:48:05


บันทึกเส้นทางพบองค์การบริหารส่วนต�ำบล

ด้านปัญหายาเสพติด พบว่าในเขต อบต.หนองบัว มีผทู้ ตี่ ดิ ยาเสพติด แต่เมื่อเทียบกับพื้นที่อื่นถือว่าน้อย และยังไม่พบผู้ค้า เหตุผลก็เนื่องมา จากว่าได้รับความร่วมมือกับทางผู้น�ำ ประชาชน และหน่วยงานของ อบต.ที่ช่วยสอดส่องดูแลอยู่เป็นประจ�ำ นอกจากนี้ทางอบต.หนองบัวได้ มีการณรงค์ การประชาสัมพันธ์ การแจ้งเบาะแส การฝึกอบรมให้แก่ ประชาชน ซึ่งได้ให้ความร่วมมือมาโดยตลอด ด้านการสังคมสังเคราะห์ อบต.หนองบัว ได้ดำ� เนินการจ่ายเบีย้ ยังชีพ ให้กับผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ป่วยเอดส์ รับลงทะเบียนและประสาน โครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด ประสานการท�ำบัตร ผูพ้ กิ าร และตัง้ โครงการช่วยเหลือผูย้ ากจน ยากไร้ รายได้นอ้ ย และผูด้ อ้ ย โอกาสไร้ที่พึ่ง

โครงการเด่นประจ�ำปี 2560

โครงการสืบสานประเพณีวัฒนธรรมทางพระพุทธศาสนา และ กิจกรรมบ�ำเพ็ญประโยชน์ ท�ำนุบำ� รุงศิลปวัฒนธรรม เนือ่ งในวันเข้าพรรษา ประจ�ำปี 2560 องค์การบริหารส่วนต�ำบลหนองบัว ตระหนักในความส�ำคัญของ กิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรมมาโดยตลอด ด้วยเชื่อมั่นว่าวัฒนธรรมอันดี งาม จะช่วยปลูกฝังรากฐานอันดีงามของจิตใจ ช่วยเสริมคุณค่าให้ เจ้าหน้าที่และประชาชน เป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพต่อไป จึงได้ จัดโครงการสืบสานประเพณีวฒ ั นธรรมทางพระพุทธศาสนา และกิจกรรม บ�ำเพ็ญประโยชน์ ท�ำนุบำ� รุงศิลปวัฒนธรรม เนือ่ งในวันเข้าพรรษา ประจ�ำ ปี 2560 ระหว่างวันที่ 31 กรกฎาคม–30 กันยายน 2560 ณ วัดป่าบ้าน ห้วยทราย, วัดป่าเจริญธรรม บ้านภูพานทอง, วัดศรีสว่าง บ้านโคกแก่นช้าง, วัดป่าสามัคคีสิริชุมพล บ้านสุขเกษม, วัดวิสุทธาวาส บ้านเสาเล้า, วัดบ้านไชยชุมพลบ้านวังน�้ำขาว โดยมีวตั ถุประสงค์เพือ่ ให้พนักงานของอบต.หนองบัวและประชาชน ได้ ท ราบถึ ง ประวั ติ ค วามเป็ น มา และตระหนั ก ถึ ง ความส� ำ คั ญ ของ วันอาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษา เพือ่ เสริมสร้างและปลูกฝังรากฐานใน ด้านคุณธรรม และจริยธรรม อันดีงามรวมถึงจิตใจของพนักงานของ อบต.หนองบัว และประชาชน โดยการตั้งจิตและร่วมใจกันน�ำหลักธรรม ค�ำสอนของพระพุทธองค์ ไปปฏิบัติในชีวิตประจ�ำวัน เพื่อส่งเสริมให้ พนักงานของอบต.หนองบัวและประชาชนร่วมท�ำบุญถวายเทียนพรรษา และผ้าอาบน�้ำฝนเนื่องในวันอาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษา และเพื่อ เป็นการอนุรักษ์ประเพณีอันดีงามของไทย และสืบทอดพุทธศาสนาให้ ยืนยาวต่อไป

144 SBL Magazine บันทึกประเทศไทย .

(4

).indd 3

25/10/2560 9:48:08


พุทธยันตรี นายก อบต.หนองบัว ชวนเทีย่ ว

วนอุ ท ยานน�้ ำ ตกเฒ่ า โต้ เป็นน�ำ้ ตกทีไ่ หลลดหลัน่ ลงมาตาม โขดหินทีม่ รี ปู ร่างลักษณะแปลกตา มี บ รรยากาศที่ ร ่ ม รื่ น ไปด้ ว ย หมูแ่ มกไม้นานาพันธุเ์ หมาะกับการ พักผ่อน ชมสัตว์ (ลิง นก แมลง)

ติดต่อ อบต.หนองบัว

องค์การบริหารส่วนต�ำบลหนองบัว โทรศัพท์ / โทรสาร 042 312 725

ศาลปู่หลุบ

NONGBUALAMPHU 145 .

(4

).indd 4

25/10/2560 9:48:18


บันทึกเส้นทางพบองค์การบริหารส่วนต�ำบล องค์การบริหารส่วนต�ำบลหนองสวรรค์ อ�ำเภอเมือง หนองบัวล�ำภู จังหวัดหนองบัวล�ำภู โดยอยู่ห่างจาก อ�ำเภอเมืองหนองบัวล�ำภู 12 กิโลเมตร

นายบุญเกี้ยว แสนประกอบ

นายกองค์การบริหารส่วนต�ำบลหนองสวรรค์

“หนองสวรรค์ถิ่นเกษตรธรรมชาติ ล�ำพะเนียงใสสะอาดไหลริน อนุรักษ์ท้องถิ่น ดินแดนสันติสุข”

องค์การบริหารส่วนต�ำบล

หนองสวรรค์ ข้อมูลทั่วไป

องค์การบริหารส่วนต�ำบลหนองสวรรค์ มีพนื้ ทีจ่ ำ� นวน 64.75 ตาราง กิโลเมตร หรือ 26,545 ไร่ สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ดินลุ่ม–ดอน การปกครอง แบ่งการปกครองออก 10 หมู่บ้าน ประกอบด้วย หมูท่ ี่ 1 บ้านหนองสวรรค์ หมูท่ ี่ 2 บ้านโนนงาม หมูท่ ี่ 3 บ้านหนองบัวโขม หมูท่ ี่ 4 บ้านหินลับ หมูท่ ี่ 5 บ้านกองแป่ม หมูท่ ี่ 6 บ้านหนองปลาขาว หมูท่ ี่ 7 บ้านศิลามงคล หมูท่ ี่ 8 บ้านโคกกลาง หมูท่ ี่ 9 บ้านใหม่หนองปลาขาว และหมู่ที่ 10 ใหม่ศิลามงคล ประชากร มีประชากรทั้งหมด 6,968 คน แบ่งเป็นชาย 3,447 คน หญิง 3,521 คน มีจ�ำนวนหลังคาเรือนทั้งสิ้น 1,933 หลังคา สภาพเศรษฐกิจ ประชาชนในพื้นที่ต�ำบลหนองสวรรค์ มีอาชีพหลักคือ ท�ำนา คิดเป็น 92% ของประชากรทั้งหมด และมีอาชีพรอง ได้แก่ การปลูกไม้ผลไม้ยืนต้น ปลูกพืชผัก ปลูกถั่วเหลืองฤดูแล้ง ปลูกข้าวโพด ปลูกแตงโม ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ปลูกพืชสมุนไพร เลี้ยงปลา เลี้ยงโค– กระบือ สุกร เป็ด ไก่ การทอผ้าหมี่ขิด ทอเสื่อกก ตัดเย็บเสื้อผ้า กระเป๋า แปรรูปมะม่วง แจ่วบอง และไปรับจ้างที่ต่างจังหวัด คิดเป็น 8% ของ ประชากรทั้งหมด วิถีชีวิต ความเป็นอยู่ของชาวบ้านในเขตต�ำบลหนองสวรรค์ จะมี ความเกื้อกูลซึ่งกันและกัน สิ่งที่ท�ำให้ชุมชนยังคงความเป็นหมู่บ้านได้นั้น ก็มาจากระบบความเชื่อ ประเพณี และศาสนา ที่ยังคงมีอิทธิพลต่อคนใน ชุมชนต�ำบลหนองสวรรค์ไม่เสื่อมคลาย ดังเห็นได้จากการร่วมท�ำบุญ ประเพณี ที่ได้รวมกันเป็นน�้ำหนึ่งใจเดียวกันตลอดมาจากอดีตจนถึง ปัจจุบัน 146 SBL Magazine บันทึกประเทศไทย .

3

.indd 1

27/10/2560 14:22:53


จุดเด่นของอบต.หนองสวรรค์

ในเขตพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนต�ำบลหนองสวรรค์ มีศักยภาพ ในการพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเทีย่ วและแหล่งศึกษาเรียนรูข้ องชุมชน ดังนี้ 1. ลานค้าชุมชน อยูท่ บี่ า้ นหินลับ-ศิลามงคล ซึง่ เกษตรกรจะรวมกลุม่ น�ำผลผลิตทางการเกษตรทีผลิตได้หลายชนิด เช่น มะม่วง กล้วย มะละกอ พื ช ผั ก พื้ น บ้ า นปลอดสารพิ ษ อาหารที่ เ กิ ด ขึ้ น เองตามธรรมชาติ ปลาชนิดต่างๆ เป็ดไก่ ตลอดจนผ้าพืน้ เมือง เสือ่ ทีท่ อจากต้นกก กระเป๋าผ้า มาจ�ำหน่ายโดยตรงไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง ท�ำให้สินค้ามีราคาต�่ำกว่า ท้องตลาดทัว่ ไป ประมาณ 20% และผลผลิตจะมีความสดใหม่ คุณภาพดี และปลอดภัยจากสารเคมีตกค้าง 2. การผลิตมะม่วงคุณภาพดี ซึ่งเกิดจากการรวมกลุ่มผู้ปลูกมะม่วง เพื่อผลิตมะม่วงให้ได้คุณภาพดี ปลอดภัยจากสารพิษ และใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ปรับปรุงบ�ำรุงดิน ใช้สารสมุนไพรไล่แมลง เช่น สารสะเดา พืน้ ทีป่ ลูก 543 ไร่ พืน้ ทีท่ ใี่ ห้ผลผลิตแล้ว 293 ไร่ ผลผลิตรวมตลอดฤดูกาลประมาณ 353 ตัน คิดเป็นรายได้ทงั้ หมดประมาณ 2 ล้านบาทเศษต่อปี รายได้เฉลีย่ ครัวเรือน ละ 65,000 บาทต่อปี ส�ำหรับตลาดจ�ำหน่ายผลผลิตมะม่วงจะมีทงั้ พ่อค้า ในท้องถิ่น ต่างอ�ำเภอและต่างจังหวัดมารับซื้อถึงแหล่งผลิต เกษตรกร หลายรายได้น�ำผลผลิตไปจ�ำหน่ายยังหมู่บ้านข้างเคียง ตลาดอ�ำเภอ จังหวัดมารับซื้อถึงแหล่งผลิต

.

3

.indd 2

3. จุดสาธิตการท�ำไร่นาสวนผสมตามทฤษฎีใหม่ เจ้าของแปลงได้แก่ นายทรงเดช บุญอุม้ เลขที่ 153 บ้านศิลามงคล หมูท่ ี่ 7 ต�ำบลหนองสวรรค์ เป็นวิทยากรเกษตรของศูนย์ถา่ ยทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจ�ำต�ำบลหนอง สวรรค์ เป็นผูท้ มี่ ปี ระสบการณ์และมีความเชีย่ วชาญด้านการเกษตรหลายๆ ด้าน เช่น การปลูกไม้ผล กล้วยหอมทอง การขยายพันธุพ์ ชื การเลีย้ งปลาใน นาข้าว การเลีย้ งเป็ดไก่ไม่ให้เกิดโรคระบาดการอนุรกั ษ์ ทรัพยากรธรรมชาติ และสิง่ แวดล้อมสามารถถ่ายทอดความรูไ้ ปสูเ่ กษตรกรผูส้ นใจและเกษตรกร รายอืน่ ๆ ได้เป็นจ�ำนวนมาก โดยมีจดุ เด่นคือ เป็นการผลิตแบบผสมผสาน โดย ใช้ภมู ปิ ญ ั ญาของชาวบ้าน ใช้เทคนิคทีเ่ หมาะสมกับพืน้ ทีมกี ารจ�ำหน่ายด้วย ตนเอง กิจกรรมเน้นการผลิตเพือ่ เศรษฐกิจชุมชนพึง่ ตนเอง การผลิตค�ำนึงถึง ความปลอดภัยต่อผูบ้ ริโภค โดยใช้ปยุ๋ อินทรียแ์ ละสารสมุนไพรไล่แมลง และ เน้นการอนุรกั ษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิง่ แวดล้อม NONGBUALAMPHU 147 27/10/2560 14:22:58


บันทึกเส้นทางพบองค์การบริหารส่วนต�ำบล

4. วัดสระพังทองหนองปลาขาว อยู่ที่บ้านหนองปลาขาว ม.6, 9 ต� ำ บลหนองสวรรค์ อยู ่ ห ่ า งจากศาลากลางจั ง หวั ด หนองบั ว ล� ำ ภู ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ เป็นระยะทาง 12 กิโลเมตร ภายในวัดมี สิ่งส�ำคัญที่น่าเที่ยวชม คือ มีสัตว์หลายชนิดที่ทางวัดอนุรักษ์ไว้ให้คนรุ่น หลังได้เห็นตัวจริง มีแปลงรวบรวมพันธุ์พืชสมุนไพรกว่า 80 ชนิด เพื่อให้ ชุมชนให้เป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ มีการบริการอบสมุนไพรและจ�ำหน่าย ยาลูกกลอนที่ท�ำจากพืชสมุนไพร เพื่อบ�ำบัดรักษาโรคต่างๆ ตลอดจาน เป็นแหล่งที่ชุกชุมไปด้วยปลานานาชนิด สามารถชมได้ตลอดสถานที่วัด ร่มรื่นไปด้วยต้นไม้ใหญ่ มีอากาศเย็นสบายเหมาะส�ำหรับเป็นสถานที่พัก ผ่อนหย่อนใจส�ำหรับนักท่องเที่ยวที่มีรายได้น้อย และทางกลุ่มไร่นาสวนผสมมีของที่ระลึกจ�ำหน่ายในราคาย่อมเยา โดยเฉพาะผลผลิตทางการเกษตร เช่น มะม่วง กล้วย ฝรั่ง มะละกอ น้อยหน่า ข้าวโพดฝักสด พืชผักปลอดสารพิษชนิดต่างๆ เป็ด-ไก่ พื้นบ้าน ปลาธรรมชาติ และยังมีร้านอาหารตามสั่งบริการในราคาที่ถูกสะอาด ปลอดภัยอยู่ใกล้ ๆ กับวัดนี้ด้วย

OTOP ขึ้นชื่อต�ำบลหนองสวรรค์

ต�ำบลหนองสวรรค์ มีผลิตภัณฑ์ทมี่ ชี อื่ เสียง ได้แก่ ผ้าขาวม้าไหมลาย ไส้ปลาไหล เป็นโอท็อประดับ 4 ดาว ปี 2553 ผ้าไหมมัดหมี่ลายสายฝน ผลิตภัณฑ์ผ้าไหม ได้แก่ กระเป๋า ดอกกุหลาบ ผ้าพันคอ ผ้าคลุมผ้าทอมือ ลายขัดพืน้ ฐาน เสือ้ ส�ำเร็จรูป การทอเสือ่ กก แล้วน�ำมาแปรรูปเป็นสิง่ ของ เครื่องใช้ต่างๆ เช่น หมวก ซองใส่จดหมาย กล่องทิชชู ที่รองแก้ว ฯลฯ และแจ่วบองแม่ภาสิท โอท็อประดับ 4 ดาว ปี 2553, 2555 ฯลฯ

148 SBL Magazine บันทึกประเทศไทย .

3

.indd 3

27/10/2560 14:23:06


บันทึกเส้นทางพบองค์การบริหารส่วนต�ำบล องค์การบริหารส่วนต�ำบลบ้านขาม ตัง้ อยูท่ ี่ ต�ำบลบ้านขาม อ�ำเภอเมืองหนองบัวล�ำภู หนองบัวล�ำภู 39000

นายชัยโย ตรีวิเศษ

นายกองค์การบริหารส่วนต�ำบลบ้านขาม “พระธาตุหาญเทาว์คู่บ้าน สายธารล�ำพะเนียง เสียงธรรมหลวงปู่หลอด สืบทอดร�ำวงคองก้า หลายหลากผ้าพื้นเมือง”

องค์การบริหารส่วนต�ำบล

บ้านขาม

ยินดีตอ้ นรับสูต่ ำ� บลบ้านขาม เมืองแห่งความงามของศิลปวัฒนธรรม และประเพณีอันดีงามในท้องถิ่น ภายใต้วิถีการด�ำเนินชีวิตแบบวิถีชุมชน คนบ้านขาม ที่น้อมน�ำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ในชุมชน ผูค้ นทีม่ จี ติ ใจโอบอ้อมอารี เอือ้ อาทรต่อกัน สายสัมพันธ์ฉนั ท์นอ้ งพีอ่ นั ดีงาม และร่วมกันอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ให้คงอยู่ ต�ำบลบ้านขาม ตัง้ อยูใ่ นเขตพืน้ ทีอ่ ำ� เภอเมืองหนองบัวล�ำภู ห่างจาก ตัวอ�ำเภอประมาณ 12 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 58 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วย 14 หมู่บา้ น มีประชากรทั้งสิ้น 9,891 คน จ�ำนวน 2,708 ครัวเรือน (ข้อมูล ณ 12 ตุลาคม 2559) ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ ทางด้านการเกษตรกรรม องค์การบริหารส่วนต�ำบลบ้านขาม ถือเป็นส่วนราชการที่อยู่ใกล้ชิด กับประชาชนมากที่สุด มีภารกิจในการดูแลคุณภาพชีวิตของประชาชน ต�ำบลบ้านขามให้อยู่ดีมีสุข ภายใต้การบริหารงานที่ยึดหลักธรรมาภิบาล โดยให้ประชาชนเป็นศูนย์กลางในการพัฒนา เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด กับพีน่ อ้ งประชาชนชาวต�ำบลบ้านขาม ภายใต้การน�ำของนายชัยโย ตรีวเิ ศษ นายกองค์การบริหารส่วนต�ำบลบ้านขาม และคณะผู้บริหาร พร้อมด้วย สภาองค์การบริหารส่วนต�ำบลบ้านขามได้ร่วมกันขับเคลื่อนและพัฒนา งานในต�ำบลร่วมกับส่วนราชการ ภาคเอกชน กลุ่ม องค์กร และภาค ประชาชนในการพัฒนาต�ำบลบ้านขาม ภายใต้วิสัยทัศน์ขององค์การ บริหารส่วนต�ำบลบ้านขาม คือ “สุขภาพดีถ้วนหน้า พัฒนาการเรียนรู ้ เชิดชูวัฒนธรรม น�ำพาเศรษฐกิจ ชีวิตปลอดภัย ใส่ใจสิ่งแวดล้อม ”

NONGBUALAMPHU 149 .

3

.indd 1

25/10/2560 9:27:31


วัดธาตุหาญเทาว์

ตั้งอยู่ที่บ้านธาตุหาญเทาว์ หมู่ที่ 2 ต�ำบลบ้านขาม วัดธาตุหาญเทาว์สร้างเมือ่ ประมาณ พ.ศ.2328 เดิมชือ่ วัดธาตุ หันเทาว์ ต่อมาได้เปลีย่ นเป็น “วัดธาตุหาญเทาว์” เนือ่ งจาก มีดวงแก้วลอยออกจากพระธาตุทกุ 15 วัน ปาฏิหาริยน์ เี้ อง ชาวบ้านจึงพร้อมใจเปลีย่ นจาก “หัน” มาเป็น “หาญ” ถือเป็นปูชนียสถานทีเ่ ป็นทีเ่ คารพสักการะ กราบไหว้บชู า ของชาวพุทธเสมอมาจนถึงปัจจุบนั นี้

พิพิธภัณฑ์หลวงปู่หลอด “ปโมทิตะเจดีย์”

ตัง้ อยูท่ วี่ ดั ป่าศรีสว่าง บ้านขามใหม่ หมูท่ ี่ 14 ต�ำบลบ้านขามสร้างเมือ่ ปี พ.ศ.2546 อาคารพิพธิ ภัณฑ์หลวงปูห่ ลอด “ปโมทิตะเจดีย”์ เป็นอาคารเจดียส์ งู สามชัน้ ชัน้ แรกและ ชัน้ ทีส่ องเป็นฐานสีเ่ หลีย่ ม และชัน้ ทีส่ ามบนสุดเป็นลักษณะเจดียร์ ปู ดอกบัวตูม การจัดแสดง ภายใน ประกอบด้วย รูปพระอาจารย์สายพระอาจารย์มนั่ และเก็บพระไตรปิฎก จัดแสดง เรือ่ งราวต่างๆ อาทิ ประวัตขิ องหลวงปูห่ ลอด ปโมทิโต พระอาจารย์มนั่ ภูรทิ ตั โต แสดงรูป เหมือนหลวงปูห่ ลอด จัดแสดงอัฐบริขารของหลวงปูห่ ลอดทีเ่ คยใช้ซงึ่ ชัน้ ทีส่ าม เป็นมณฑป ประดิษฐาน พระบรมสารีรกิ ธาตุ อัฐธิ าตุพระอาจารย์ สายพระอาจารย์มนั่ ภูรทิ ตั โต เพือ่ เป็น ทีเ่ คารพสักการะของพุทธศาสนิกชน

อาศรมปู่ฤาษีเกศแก้ว

ตัง้ อยู่ ณ อาศรมสถานบ้านโคกกุง ต�ำบลบ้านขาม ถือเป็นศาสนสถานทีส่ ำ� คัญในพืน้ ทีต่ ำ� บลบ้านขาม ด้วย เมตตาของท่ า นปู ่ ฤ าษี เ กศแก้ ว ถื อ เป็ น สถานที่ รวมจิตรวมใจของพีน่ อ้ งชาวพุทธ ได้รว่ มกันบ�ำเพ็ญ เพียร ร่วมสร้างบุญสร้างกุศลคุณงามความดี โดยมีการ จัดกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาอยูต่ ลอด 150 SBL Magazine บันทึกประเทศไทย .

3

.indd 2

25/10/2560 9:27:37


บันทึกเส้นทางพบองค์การบริหารส่วนต�ำบล

โรงเรียนผู้สูงอายุต�ำบลบ้านขาม

โรงเรียนผูส้ งู อายุ เป็นรูปแบบหนึง่ ในการส่งเสริมการเรียนรูต้ ลอดชีวติ โดยขณะ เดียวกันก็เป็นพืน้ ทีท่ ผี่ สู้ งู อายุจะได้รวมกลุม่ ท�ำกิจกรรม และได้แสดงศักยภาพ ท�ำการ ถ่ายทอดภูมคิ วามรูป้ ระสบการณ์ทสี่ งั่ สมแก่บคุ คลอืน่ เพือ่ สืบสานภูมปิ ญ ั ญาให้คงคุณค่า คูก่ บั ชุมชน มีกจิ กรรมทีห่ ลากหลายตามความต้องการของผูส้ งู อายุและบริบทของพืน้ ที่ เช่น การท�ำดอกไม้จันทน์ การท�ำลูกประคบ กิจกรรมการสอนออกก�ำลังกายโดยใช้ ยางยืด การร�ำไม้พอง การเต้นบาสโลบ การแสดงหมอล�ำ การร�ำวงคองก้า เป็นต้น

ร�ำวงคองก้า

การร�ำวงคองก้า ของกลุม่ ร�ำวงคองก้าและร�ำวงแมงตับเต่าศรีขามธาตุ เป็นภูมปิ ญั ญา ชาวบ้านทีก่ อ่ ตัง้ โดยชาวบ้าน ต�ำบลบ้านขามมาช้านาน การแสดงร�ำวงคองก้าจะประกอบ ด้วย 3 ส่วน คือนักดนตรี นักร้อง และนางร�ำ โดยต้องใช้คนร�ำทัง้ หมดไม่ตำ�่ กว่า 20 คน และจะร�ำวงลักษณะเป็นวงกลม และร�ำเป็นคูๆ่ ชายหญิง ประกอบเพลงลูกทุง่ และเพลง อืน่ ทีม่ จี งั หวะเร้าใจซึง่ แต่งขึน้ เอง ร�ำวงคองก้านัน้ เป็นมรดกตกทอดมา จากสมัยจอมพล ป. พิบลู ย์สงคราม เมือ่ ปี พ.ศ. 2484 ในช่วงระหว่างสงครามมหาเอเชียบูรพา ปัจจุบัน ร�ำวงคองก้า ถือเป็นศิลปะพื้นบ้านที่สร้างชื่อเสียงและส่งเสริมการท่อง เทีย่ วของจังหวัดหนองบัวล�ำภู ได้รบั รางวัลนันทนาการดีเด่นระดับประเทศในปี พ.ศ. 2558 และขึน้ ทะเบียนเป็นมรดกด้านภูมปิ ญ ั ญาประจ�ำจังหวัดหนองบัวล�ำภู ในปี พ.ศ. 2560 โดยองค์การบริหารส่วนต�ำบลบ้านขาม ก็ได้ให้การสนับสนุนและส่งเสริม การด�ำเนินงานของกลุ่มร�ำวงคองก้ าและร�ำวงแมงตับเต่ าศรีขามธาตุ เพื่อให้มี การด�ำเนินกิจกรรมของกลุ่มอย่ างต่อเนื่อง รวมทั้งเป็นการอนุรักษ์สืบสานศิลป วัฒนธรรมท้องถิน่ ให้คงอยูส่ บื ต่อกันไป

กลุ่มอนุรักษ์ควายไทย

กลุม่ อนุรกั ษ์ควายไทยในพืน้ ทีต่ ำ� บลบ้านขาม ก่อตัง้ ขึน้ ภายใต้แนวคิด “ควายไทย มรดกไทย มรดกโลก” มีรปู แบบการเลีย้ งควายทีเ่ ป็นการเลีย้ งแบบสมัยใหม่ คือเลีย้ ง แบบประณีต โดยมีวตั ถุประสงค์เพือ่ อนุรกั ษ์และพัฒนาพันธุกรรมควายไทย ทีม่ คี ณ ุ ประโยชน์ไว้เป็นแหล่งศึกษาเรียนรูข้ องประชาชน ไม่ให้สญ ู พันธุ์ และเพือ่ เป็นการส่งเสริม การท่องเที่ยวในต�ำบลบ้านขามและในจังหวัดหนองบัวล�ำภู และยังเป็นศูนย์เรียนรู้ เศรษฐกิจพอเพียงชุมชนต�ำบลบ้านขามด้วย กลุม่ อนุรกั ษ์ควายไทยทีม่ ชี อื่ เสียงของต�ำบล บ้านขาม ได้แก่ 1. โนนคูณฟาร์ม ตัง้ อยูห่ มูท่ ี่ 7 บ้านดอนนาดี ต�ำบลบ้านขาม 2. ใจแสวงฟาร์ม ตัง้ อยูห่ มูท่ ี่ 5 บ้านโนนคูณ ต�ำบลบ้านขาม

ศูนย์เรียนรู้ด้านเกษตรผสมผสาน หรือไร่นาสวนผสม

ชาวต�ำบลบ้านขามได้นอ้ มน�ำแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจแบบพอเพียง มาปรับใช้ ในการด�ำเนินชีวติ โดยเกษตรกรทีเ่ ป็นแบบอย่างด้านนีค้ อื คุณพ่อสมจิตร อรุณโณ ซึง่ ได้ท�ำการเกษตรแบบผสมผสาน เช่น ปลูกพืชผักสวนครัวและไม้ผล เพื่อใช้บริโภคใน ครัวเรือนและจ�ำหน่าย โดยใช้เกษตรอินทรีย์ปลอดสารพิษ ได้แก่ มะนาว ข่า ตะไคร้ มะเขือ กล้วย อบต.บ้านขามจึงคัดเลือกและส่งเสริมให้เป็นศูนย์เรียนรู้ด้านเกษตรของต�ำบล บ้านขาม และคุณพ่อสมจิตรยังเป็นวิทยากร เผยแพร่และถ่ายทอดองค์ความรู้ด้าน เกษตรให้กบั ชุมชนและผูส้ นใจ โดยมีผสู้ นใจมาเยีย่ มชมและศึกษาดูงานอย่างต่อเนือ่ ง นอกจากนีใ้ นพืน้ ทีต่ ำ� บลบ้านขามยังมีการประกอบอาชีพเกษตรกรรมอีกหลายรูปแบบ เช่น สวนเลม่อนลาว กลุม่ เพาะเห็ด เลี้ยงจิ้งหรีด เลี้ยงปลา เป็นต้น NONGBUALAMPHU 151 .

3

.indd 3

25/10/2560 9:27:41


บันทึกเส้นทางพบองค์การบริหารส่วนต�ำบล องค์การบริหารส่วนต�ำบลหนองหว้า ตัง้ อยูเ่ ลขที่ 181 หมู่ 4 ต�ำบลหนองหว้า อ�ำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวล�ำภู โดยตัง้ อยูท่ างทิศตะวันตกห่างจากทีว่ า่ การ อ�ำเภอเมืองหนองบัวล�ำภู 13 กิโลเมตร

นายวิรัตน์ สุวอ

นายกองค์การบริหารส่วนต�ำบลหนองหว้า “ คุณธรรมน�ำการศึกษา พัฒนาคุณภาพชีวิต สู่เศรษฐกิจแบบพอเพียง ”

องค์การบริหารส่วนต�ำบล

หนองหว้า

วัดพัชรกิติยาภาราม

ได้รับการประทานชื่อจาก พระเจ้ า หลานเธอ พระองค์เจ้า พัช รกิติยาภา เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ.2553 เดิมชื่อ “ศูนย์ปฏิบัติธรรมหนองใหม่” ตั้งอยู่หมู่ที่ 3 บ้านห้วยเตย ต�ำบลหนองหว้า อ�ำเภอเมืองหนองบัวล�ำภู จังหวัดหนองบัวล�ำภู บนพื้นที่ 169 ไร่ 2 งาน 79 ตารางวา ปัจจุบันมี พระราชวชิรธาดา เจ้าคณะจังหวัด หนองบัวล�ำภู วั ด พั ช รกิ ติ ย าภาราม ดั ง กล่ า วจั ด ตั้ ง ขึ้ น เพื่ อ ให้ เ ป็ น สถานที่ ป ฏิ บั ติ ธ รรม ของพุทธศาสนิกชนและผูม้ จี ติ เลือ่ มใสในพระพุทธศาสนา เริม่ ลงมือก่อสร้าง เมือ่ วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2553 และพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิตยิ าภา เสด็จเมือ่ วันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2553 มีพระพุทธรัตนเอกโกเมนทร์ ซึ่งได้รับการประทานชื่อ จากพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา

152 SBL Magazine บันทึกประเทศไทย .indd 152

24/10/60 03:12:26 PM


วัดพัชรกิติยาภาราม

ต�ำบลหนองหว้า อ�ำเภอเมืองหนองบัวล�ำภู จั ง หวั ด หนองบั ว ล� ำ ภู ไม่ เ พี ย งแต่ จ ะช่ ว ย จรรโลงจิตใจของชาวหนองบัวล�ำภู ให้พบกับ ความสงบสุขร่มเย็นในพระพุทธศาสนาเท่านัน้ ทว่ า ยั ง มี บ ทบาทส� ำ คั ญ ยิ่ ง ในการช่ ว ยให้ ประชาชนที่ยากไร้ ได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มี อ าชี พ ที่ ส ร้ า งรายได้ อ ย่ า งยั่ ง ยื น และ เสริ ม สร้ า งความเป็ น น�้ ำ หนึ่ ง ใจเดี ย วกั น ของคนในชุมชนได้อย่างแท้จริง

จุดเด่น!

ขององค์การบริหารส่วนต�ำบลหนองหว้า

1. มีการเกษตรที่เป็นฐานหลักที่สามารถรองรับวิกฤตเศรษฐกิจได้ เป็นแหล่ง ผลิตอาหารที่ส�ำคัญ 2. มีกลุ่มเกษตรกรที่มีความเข้มแข็ง สามารถผลิตเกษตรกรเพื่อด�ำรงชีพและ มีรายได้เพิ่มขึ้น 3. มีภูมิประเทศและอากาศ รวมทั้งสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมแก่การเกษตร 4. มีผู้นำ� ที่เข้มแข็ง มีความรู้ความสามารถในการพัฒนาท้องถิ่นให้เจริญก้าวหน้า

ข้อมูลทั่วไป

ต�ำบลหนองหว้า มีเนื้อที่ประมาณ 57.60 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 36,000 ไร่ สภาพโดยทัว่ ไปมีลกั ษณะเป็นทีร่ าบลูกฟูกและ ทีร่ าบ ล�ำน�ำ้ ทีส่ ำ� คัญ เช่น ล�ำพะเนียง, ล�ำห้วยยาง และมีป่าสงวนแห่งชาติ 2 แห่ง ที่บ้านโนนสง่า และบ้านเพ็กเฟื้อย

NONGBUALAMPHU 153 .indd 153

24/10/60 03:12:38 PM


บันทึกเส้นทางธรรมหนุนน�ำชีวิต

วัดป่าศรี ส ว่ าง

พระอธิการอ�ำนวย นมสฺสโก เป็นเจ้าอาวาส วัดป่าศรีสว่าง สร้างเมื่อ พ.ศ.2475 เดิมเรียกกันว่า “วัดป่าดอน หีบอ้อย” สร้างโดยหลวงตาสุวัณโณ นามเดิมว่า บุญมี นิจโก จากเมือง อุบลราชธานี ท่านเป็นศิษย์พระอาจารย์มนั่ ภูรทิ ตั โต เมือ่ ท่านมรณภาพ ปี พ.ศ.2486 พระหลวงตาบุตรดี ปัญญาวโร จึงย้ายวัดข้ามทางเกวียน เข้ามาอยู่เขตป่าช้าในปัจจุบัน สว่ นนามของวัดป่าศรีสวา่ งนัน้ สืบเนื่องจากคุณแมศ่ รี อุตรกิจ ซึ่งเป็ นภริยาของขุนวิไสย อุตรกิจ นายอ�ำเภอหนองบัวล�ำภู ไดม้ า บวชเป็ นชี และปฏิบัติธรรมอยูท่ ีน่ หี่ ลายพรรษา ก�ำนัน ผูใ้ หญบ่ า้ น ทายก ทายิกา จึงพร้อมใจกันให้นามวา่ “วัดป่าศรีสวา่ ง” วัดป่าศรีสวา่ ง ไดร้ บั พระราชทานวิสงุ คามสีมา เมื่อ พ.ศ.2516 มีช่อื วัดทีอ่ ยูใ่ นวิสุงคามสีมา คือ “วัดศรีสวา่ ง” ทีด่ ินตัง้ วัดมีเนื้อที่ 35 ไร่ 1 งาน 38 ตารางวา ทิศเหนือประมาณ 9 เสน้ 6 วา 3 ศอก ทิศใต้ประมาณ 5 เส้น 2 วา 5 ศอก ทิศตะวันออก ประมาณ 10 เส้น จรดถนนสาธารณะเขา้ หมูบ่ า้ น ทิศตะวันตกประมาณ 5 เสน้ จรดทุง่ นา 154 SBL Magazine บันทึกประเทศไทย 4

.indd 1

อาคารเสนาสนะ

ประกอบไปดว้ ยอุโบสถ กุฏิ โรงครัว โรงทาน หอ้ งน้�ำ หอระฆัง

25/10/2560 14:48:44


ปูชนียสถานส�ำคัญ

ปโมทิตะเจดีย์ หรือ “พิพธิ ภัณฑ์ หลวงปู่หลอด” ขนาดกวา้ ง 30 เมตร ยาว 42 เมตร ความสู ง จาก ยอดเจดีย์ 35 เมตร ชั้นที่ 1 เป็ นที่ประดิษฐานรูป เหมือนครูบาอาจารย์ เช่น หลวงปู่มนั่ หลวงปู่สงิ ห์ หลวงปู่ดลุ ย์ หลวงปู่เทสก์ หลวงปู่ขาว หลวงปู่ชอบ เป็ นต้น อี ก ทั้ ง ยั ง ใช้ เป็ นที่ ป ฏิ บั ติ ธ รรม อบรมธรรมอีกดว้ ย ชัน้ ที่ 2 เป็ นพิพธิ ภัณฑพ์ ระพุทธ รู ป ปางต่ า งๆ รวมทั้ ง ของที่ มี ค่ า หายาก และเป็ นทีเ่ ก็บบริขารเครื่อง ใช้ของหลวงปู่หลอด ปโมทิโต ชั้ น ที่ 3 เป็ นที่ ป ระดิ ษ ฐาน พระบรมสารีรกิ ธาตุ และพระอัฐธิ าตุ พระอรหันต์

การบริหารการปกครอง

วัดป่าศรีสวา่ ง มีเจา้ อาวาสเทา่ ทีท่ ราบนาม คือ พระบุตรดี ปญฺญาวโร พ.ศ. 2482 - 2487 พระธิน จิตตฺ สาโร พ.ศ. 2488 - 2495 พระประกอบ ประภาโส พ.ศ. 2496 – 2497 พระหนูฤทธิ์ ฐิตโิ ก พ.ศ. 2506 - 2511 พระครูปราโมทยธ์ รรมธาดา (หลวงปู่หลอด ปโมทิโต) พ.ศ.2512 – 2515 เจา้ อธิการหนูเพียง วิรโิ ย พ.ศ. 2516 – 2523 พระอรุณ อรุโน พ.ศ. 2524 – 2526 เจา้ อธิการประมวล ปญฺญาคโม พ.ศ. 2523 – 2531 พระมหาสงกรานต์ เมธิโก พ.ศ. 2531 – 2538 พระอธิการนิวตั ิ ธมฺมจิตโต พ.ศ. 2539 – 2546 พระวิวฒ ั น์ อคฺคธมฺโม พ.ศ. 2547 – 2558 พระอธิการอ�ำนวย นมสฺสโก พ.ศ. 2559 – ปั จจุบนั

พระอธิการอ�ำนวย นมสฺสโก

พระบุตรดี ปญฺญาวโร NONGBUALAMPHU 155

4

.indd 2

25/10/2560 14:48:53


ประวัติการจัดสร้างปโมทิตะเจดีย์

พระครูปราโมทยธ์ รรมธาดา (หลวงปู่หลอด ปโมทิโต) ไดป้ รารภ การสรา้ งปโมทิตะเจดีย์ โดยมีสามีภรรยาทีม่ คี วามศรัทธาเป็นเจา้ ภาพ ในการสรา้ งเจดีย์ และไดท้ ำ� พิธวี างศิลาฤกษเ์ จดียพ์ พิ ธิ ภัณฑ์ เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2539 โดยหลวงปู่หลอด ปโมทิโต และหลวงปู่เสรี สีลวุฒโต เจา้ อาวาสวัดบูรพาราม เป็ นประธานในพิธวี างศิลาฤกษ์ ซึง่ ในขณะทีท่ ำ� พิธวี งศิลาฤกษ์ ไดเ้ กิดปรากฏการณม์ หัศจรรยข์ น้ึ คือ เกิด พระอาทิตยท์ รงกลดขึน้ ทีบ่ ริเวณท�ำพิธวี างศิลาฤกษ์ หลังจากนัน้ จึง เริม่ ตอกเสาเข็มเพื่อท�ำการกอ่ สรา้ ง เป็ นจ�ำนวนเงิน 700,000 บาท จากนัน้ ในปี พ.ศ. 2540 นางวัลภา จุตกิ ลุ จึงไดด้ ำ� เนินการจัดกฐิน สามัคคีเพื่อรวบรวมและรับบริจาคปั จจัยจากผูม้ จี ติ ศรัทธาไปช่วย เจา้ ภาพด�ำเนินการกอ่ สรา้ งเจดีย์ รวมไดจ้ ำ� นวนเงิน 950,000 บาท เศษ แตเ่ นื่องจากในช่วงเวลานัน้ เจา้ ภาพทีด่ แู ลการกอ่ สรา้ งมีปัญหา เรื่องการเงิน เพราะเป็ นช่วงของเศรษฐกิจตกต่�ำ ท�ำให้ไมส่ ามารถ ด�ำเนินการกอ่ สรา้ งตอ่ ไปได้ หลวงปู่หลอดท่านจึงสั่งเจ้าอาวาสวัดป่าศรีสว่างว่า หากไม่ สามารถสรา้ งไดก้ ใ็ หน้ ำ� ตน้ ไมม้ าปลูกแทนเสีย เมื่อนางวัลภาทีม่ คี วาม เลื่อมใสศรัทธาในหลวงปู่หลอดไดย้ นิ เช่นนัน้ จึงไดป้ วารณาตัววา่ จะรับผิดชอบหาปั จจัยมากอ่ สรา้ งเจดียใ์ หส้ ำ� เร็จ จากนัน้ จึงไดด้ ำ� เนิน การจัดหาปั จจัยจากผูม้ จี ติ ศรัทธาและรับบริจาคในการจัดสรา้ ง และ 156 SBL Magazine บันทึกประเทศไทย 4

.indd 3

สร้างส�ำเร็จในปี พ.ศ. 2546 มีการอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ ประดิษฐาน ณ มณฑป เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2546 หลังจากนัน้ มีการ สมโภชองคเ์ จดียเ์ ป็ นเวลา 3 วันคือตัง้ แต่ วันที่ 28 – 30 มีนาคม 2546 ปั จจุบนั ปโมทิตะเจดีย์ หรือ พิพธิ ภัณฑห์ ลวงปู่หลอด เป็ นองค์ ความรูท้ มี่ คี ณ ุ คา่ ตอ่ ชุมชน และเป็ นสถานทีศ่ กั ดิส์ ทิ ธิท์ ปี่ ระดิษฐาน พระบรมสารีรกิ ธาตุ และพระอัฐธิ าตุพระอรหันตข์ องภาคอีสาน จึงเป็ น ทีย่ ดึ เหนียวจิตใจของชุมชนและสังคมมาจนถึงทุกวันนี้

25/10/2560 14:48:57


เจริญภาวนาสมาธิในวันพระขึน้ แรม.8 ค�ำ่ .15 ค�ำ่ ของเดือน

ร่วมสร้างเส้นทางบุญทิตะเจดีย์

ขณะนีท้ างวัดป่าศรีสวา่ งก�ำลังด�ำเนินการกอ่ สรา้ งพระสถูป เพื่อ บรรจุอฐั ธิ าตุพระครูปราโมทยธ์ รรมธาดา (หลวงปู่หลอด ปโมทิโต) ขนาดกวา้ ง 3 เมตร ยาว 3 เมตร สูงประมาณ 9 เมตร พุทธศาสนิกชน ทีม่ จี ติ ศรัทธาและประสงคจ์ ะรว่ มสรา้ งพระสถูปดังกลา่ ว สามารถติดตอ่ ไดท้ ี่ พระอธิการอ�ำนวย นมสฺสโก เจา้ อาวาสวัดป่าศรีสวา่ ง

วัดป่าศรีสว่าง ตั้งอยู่เลขที่ 1 หมู่ 14 บ้านขาม ต.บ้านขาม อ.เมือง จ.หนองบัวล�ำภู

NONGBUALAMPHU 157 4

.indd 4

25/10/2560 14:49:02


บันทึกเส้นทางธรรมหนุนน�ำชีวิต

วัดศรี คูณเมื อง

พระอธิการบุญร่วม ยโสธโร เป็นเจ้าอาวาสวัด วัดศรีคูณเมือง สร้างเมื่อ พ.ศ.2310 เดิมเป็นวัดโบราณที่สร้างขึ้น ในสมัยที่ดินแดนแถบนี้เป็นที่อยู่ของชนชาติขอม ละว้าและลาว ครั้นถึง พ.ศ.2115 พระไชยเชษฐาธิราชได้หนีทพ ั จากเวียงจันทร์มาพักทัพอยูใ่ น เขตนี้ จึงได้มีการบูรณะและสร้างวัดขึ้นมาใหม่ เดิมเรียกชื่อว่า “วัดใน” เพราะอยู่ในก�ำแพงเมืองเก่า และวัดในยังมีบ่อน�้ำที่สร้างด้วยอิฐเผามีน�้ำ ไหลตลอดปี จึงเรียกอีกชือ่ หนึง่ ว่า “วัดน�ำ้ ออกบ่อศรีคณ ู เมือง” ประชาชน นิ ย มเรี ย กสั้ น ๆ ว่ า “วั ด ศรี คู ณ เมื อ ง” จนถึ ง ปั จ จุ บั น วั ด นี้ ไ ด้ รั บ พระราชทานวิ สุ ง คามสี ม าเมื่ อ วั น ที่ 15 มกราคม พ.ศ.2524 เขตวิสุงคามสีมา กว้าง 40 เมตร ยาว 80 เมตร

อาคารเสนาสนะ

ประกอบดว้ ยอุโบสถ เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก กวา้ ง 8 เมตร ยาว 20 เมตร สรา้ งเมื่อ พ.ศ.2518 ศาลาการเปรียญ เป็ นอาคารไม้ ชัน้ เดียว สรา้ ง พ.ศ.2513 กุฏสิ งฆ์ จ�ำนวน 3 หลัง เป็ นอาคารไม้ 2 หลัง ตึกและซากอุโบสถเกา่ ซึง่ มีใบเสมาเป็ นหินภูเขา

ที่ดินตั้งวัด

วัดศรีคูณเมือง มีเนื้อทีต่ งั้ วัดจ�ำนวน 6 ไร่ 2 งาน 3 ตารางวา มีอาณาเขตดังนี ้ ทิศเหนือประมาณ 2 เสน้ 7 วา จดหมูบ่ า้ นเหนือ ทิศใตป้ ระมาณ 2 เสน้ 4 วา จดล�ำห้วยเชียง ทิศตะวันออกประมาณ 1 เส้น 10 วา จดทุ่งนา ทิศตะวันตกประมาณ 1 เส้น 10 วา จดหมูบ่ า้ นเหนือ 158 SBL Magazine บันทึกประเทศไทย 2.

2

.indd 1

25/10/2560 14:50:32


ปูชนียสถานส�ำคัญ

พระพุทธรูปอยูท่ สี่ ถูป เรียกกันวา ่ “หลวงพอ่ พระไชยเชษฐาธิราช”

บ่อน�้ำศักดิ์สิทธิ์วัดศรีคูณเมือง

การบริหารและการปกครอง

วัดศรีคูณเมือง มีเจ้าอาวาสเท่าที่ ทราบนาม คือ รูปที่ 1 พระครูสังฆภารพิลาศ พ.ศ 2486 – 2531 รูปที่ 2 พระอธิการบุญรว่ ม ยโสธโร ตั้ง แต่ พ.ศ.2531 เป็ น ต้ น มาจนถึ ง ปั จจุบัน

การศึกษา

มีโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนก ธรรม เปิ ดสอน พ.ศ. 2462 และโรงเรียน ผูใ้ หญว่ ดั เปิ ดสอนเมื่อ พ.ศ.2519

บอ่ น้�ำศักดิส์ ิทธิว์ ัดศรีคูณเมือง เป็ นบ่อน้�ำศักดิ์สิทธิ์ประจ�ำวัดและ ชุมชนมาแต่โบราณ ไมป่ รากฏใน ประวัตศิ าสตรเ์ ป็ นทีแ่ นช่ ดั วา่ สรา้ งใน สมัยใด เมื่อประมาณปี พ.ศ.2107 สมเด็ จ พระเจ้ า ไชยเชษฐาธิ ร าช เจ้าเมืองเวียงจันทร์ได้มาพบและ บูรณปฏิสงั ขรณว์ ดั และสรา้ งเมืองขึน้ ทีบ่ ริเวณชุมชนนีใ้ นคราวท�ำสงคราม กับพมา ่ ขนาดของบอ่ ปากบอ่ กวา้ ง 5 ศอก ลึก 15 ศอก ความศักดิส์ ิทธิ์ ตามค�ำเลา่ ลือ แ ล ะ บ อ ก เ ล่ า สื บ ต่ อ กั น ม า ว่ า เป็ นบอ่ น้�ำสมุนไพร คนในชุมชนใช้ ดื่ ม เพื่ อ รั ก ษาโรคสารพั ด นึ ก ได ้ เป็ นบอ่ น้�ำทีน้่ ำ� ใสเป็ นปกติ แตห่ าก เมือ่ ใดน้�ำในบอ่ ขุน่ ถือเป็นลางรา้ ยแก่ วัดและชุมชน ใหจ้ งระวัง ปั จจุบนั ทาง ราชการถือว่าเป็ นบ่อน้�ำศักดิ์สิทธิ์ หากถึ ง วาระงานพิ ธี ที่ เ กี่ ย วกั บ พระมหากษัตริย์ ทางราชการก็จะมา ประกอบพิธนี ำ� น้�ำในบอ่ นีไ้ ปประกอบ ในงานพิธดี ว้ ย วัดศรีคูณเมือง ตั้งอยู่ที่บ้านเหนือ ถนนวรราชภักดี หมู่ที่ 5 ต�ำบลล�ำภู อ�ำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวล�ำภู

NONGBUALAMPHU 159 2.

2

.indd 2

25/10/2560 14:50:38


บันทึกเส้นทางธรรมหนุนน�ำชีวิต

วัดป่าเจริ ญธรรม

พระอธิการเลิง สารธมฺโม เป็นเจ้าอาวาสวัด

วัดป่าเจริญธรรม ตั้งอยู่หมู่ที่ 2 บ้านภูพานทอง ต�ำบลหนองบัว อ�ำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวล�ำภู

ประวัติเจ้าอาวาส

หลวงพอ่ เลิง สารธมฺโม สถานะเดิม นายเลิง ศรีเจริญ วิทยฐานะ ป.4 เกิดวันที่ 2 เมษายน พ.ศ.2491 ปี ชวด ต�ำบลหนองบัว อ�ำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวล�ำภู อุปสมบท วันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ.2538 เมื่ออายุ 47 ปี ณ วั ด พิ ศ าลรั ญ ญาวาส ต.หนองบั ว อ.เมือง จ.หนองบัวล�ำภู โดยมีพระอุปัชฌาย์คือ พระสุทธิสารโสภณ พระกรรมวาจาจารยค์ อื พระครู ธรรมธีรคุณ และพระอนุสาวนาจารยค์ ือ พระหยัน จิตฺตปุญโญ

ประวัติวัดป่าเจริญธรรม

เดิมทีวดั ป่าเจริญธรรมเป็ นส�ำนักสงฆ์ ตัง้ อยูต่ รงขา้ มทางเขา้ แหลง่ ทอ่ งเทีย่ ว เชิงนิเวศภูพานนอ้ ย มีพระมาจ�ำพรรษาแลว้ ก็ไป หลังจากนัน้ หลวงปู่อนันต์ ไดม้ า เป็ นเจา้ อาวาสและเป็ นผูท้ จี่ ำ� พรรษาเป็ นองคแ์ รก เมื่อปี 2533 และสรา้ งวัดในปี นนั้ ตอ่ มาปี 2538 พระอธิการเลิง สารธมฺโม หรือ หลวงปู่เลิงไดม้ าอยูต่ อ่ และได้ บูรณะวัด และเป็ นเจา้ อาวาสจนถึงปั จจุบนั นี้ จากเมื่อกอ่ นไมม่ อี ะไร มีแคศ่ าลาเล็กๆ ในพื้นที่วัดมีเนื้อที่ 17 ไร่ หลวงพอ่ ได้รวมจิตศรัทธาญาติโยมสร้างขึ้นเรื่อยๆ ญาติโยมก็ไดร้ ว่ มอนุโมทนาบริจาคตอ่ มาเพื่อใหว้ ดั มีเสนาสนะทีม่ นั่ คง ในการเกื้อกูล พุทธบริษัทผู้มีจิตศรัทธาให้ได้มีพ้ืนที่ในการปฏิบัติธรรม ไปจนกว่าจะสุดทาง พน้ ทุกข์ คือ พระนิพพาน

160 SBL Magazine บันทึกประเทศไทย .indd 160

27/10/60 11:32:56 AM


พระพุทธรูปอยูท่ สี่ ถูป เรียกกันวา่ “หลวงพอ่ พระไชยเชษฐาธิราช”

ปูชนียวัตถุส�ำคัญ

หลวงปู่เลิงไดส้ ร้างพระพุทธรูปองคใ์ หญช่ ่อื พระวิปัสสี เป็ นพระพุทธรูปปางมารวิชัย หนา้ ตักกว้าง 10 เมตร สูง 18 เมตร โดยเริ่มสร้างตัง้ แต่วันเขา้ พรรษาปี 2557 โดย น�ำพระนามของพระวิปัสสีพุทธเจ้า มาตัง้ เป็ นพระนามของพระพุทธรูปองคน์ ี้

ประวัติ “ พระวิปัสสีพุทธเจ้า ”

พระวิปัสสีพุทธเจ้า มีพระนามเดิมวา่ เจา้ ชายวิปัสสี เป็ นพระราชโอรสในพระเจา้ พันธุมะและพระนางพันธุมดี แหง่ กรุงพันธุมดี ประสูตทิ เี่ ขมมิคทายวัน มีปราสาท 3 หลังเป็น ทีป่ ระทับคือ นันทปราสาท สุนนั ทปราสาท และสิริมาปราสาท และทรงมีสนมก�ำนัล 43,000 นาง เมือ่ เจริญวัยไดท้ รงอภิเษกสมรส กับพระนางสุทัสสนา มีพระโอรสดว้ ยกัน พระองค์หนึ่งคือ เจ้าชายสมวัฏฏขันธะ ขณะนั้น เจ้ า ชายวิ ปั สสี มี พ ระชนมายุ ไ ด้ 8,000 พรรษา หลังประสูติกาลพระโอรส ไดท้ รงเห็นเทวทูต 4 จึงเกิดความเบื่อหนา่ ย

ในโลก ตัดสินพระทัยทรงรถเทียมมา้ เสด็จ ออกผนวช โดยมีขา้ ราชบริพาร 84,000 คน ตามเสด็จ พระองคท์ รงบ�ำเพ็ญเพียรอยู่ 8 เดือน ถึงวันเพ็ญเดือนหก ได้เสวยขา้ ว มธุปายาสทีธ่ ดิ าสุทสั สนเศรษฐีนำ� มาถวาย แลว้ ไปประทับพักกลางวัน ณ สาลวัน ทรง ไดร้ บั หญา้ 8 ก�ำทีค่ นเฝ้าไรข่ า้ วเหนียวชื่อ สุชาตะถวาย ทรงน�ำมาปูรองประทับนัง่ ทีโ่ คนต้นแคฝอย บ�ำเพ็ญเพียรต่อจนได้ ตรัสรู้เป็ นพระพุทธเจ้าในตอนรุ่งเช้า หลั ง จากตรั ส รู้ ได้ ท รงประกาศ พระศาสนา ตราบจนเสด็จดับขันธปรินพิ พาน ที่ วั ด สุ มิ ต ตาราม ขณะที่ มี พ ระชนมายุ

80,000 พรรษา ในสมัยพระวิปัสสีพทุ ธเจา้ นัน้ พระโคตม พุทธเจ้าเสวยพระชาติเป็ นพญานาคชื่อ อตุละ ไดพ้ านาคบริวารจ�ำนวนหลาย 10 ล้านตน เขา้ เฝ้าพระพุทธเจ้าพระองคน์ ัน้ และได้ ป ระโคมดนตรี ถ วาย ต่ อ มาได้ อาราธนาพระองคไ์ ปประทับที่มณฑปใน เมืองนาค แลว้ ถวายตัง่ ทองประดับอัญมณี และไขม่ ุกให้ทรงประทับนัง่ พระพุทธเจ้า ได้พยากรณว์ ่าพญาอตุลนาคราช จะได้ ตรัสรูเ้ ป็นพระพุทธเจา้ ในอีก 91 กัปขา้ งหนา้

ร่วมสร้างเส้นทางบุญ ปั จจุบันทางวัดป่าเจริญธรรมก�ำลัง ก่อ สร้ า งเมรุ ศาลาพั ก ศพ ศาลา การเปรียญ และศาลาใหญ่ ผู้ที่ม ี จิตศรัทธาประสงค์จะร่วมบริจาค เพื่อกอ่ สร้างสิง่ ตา่ งๆ ไดท้ ี่ ธนาคาร เพือ่ การเกษตรและสหกรณก์ ารเกษตร เลขบัญชี 071-2-77142-5 ชื่อบัญชี วัดป่าเจริญธรรม ติดตอ่ ไดท้ ี่ 09-0246-9600 NONGBUALAMPHU 161 .indd 161

27/10/60 11:33:01 AM


บันทึกเส้นทางธรรมหนุนน�ำชีวิต

วัสังกัดดมหานิป่ากายสามั ค คี ศ ิ ร ิ พ ั ฒ นาราม ปัจจุบันมีพระอธิการสรานนท์ ปนาโท (มาลาศรีตะ) เป็นเจ้าอาวาส วัดป่าสามัคคีศิริพัฒนาราม เดิมชื่อ “กุดโพนทัน” แต่คนส่วนมาก จะเรี ย ก “วั ด หลวงพ่ อ ญาท่ า น” เนื่ อ งจากพระครู ป ภั ศ รคุ ณ หรื อ หลวงพ่อญาท่านเป็นผู้ก่อตั้งวัด โดยท่านได้ธุดงค์มาเมื่อประมาณ พ.ศ.2509 แล้วมาปักกลด ณ บริเวณที่ชื่อว่า “กุดโพนทัน” (กุดหมาย ถึงล�ำห้วย โพนหมายถึงจอมปลวก แต่โพนของที่นี่คือฐานเจดีย์โบราณ ส่วนทันนั้นคือต้นพุดทรา) เดิมบริเวณวัดมี 9 ไร่ ปัจจุบันมี 181 ไร่ วัดป่าสามัคคีศิริพัฒนาราม ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่ อ พ.ศ.2524 โดยมี พ ระครู ป ภั ศ รคุ ณ เป็ น เจ้ า อาวาสรู ป แรก นอกจากนี้ทางวัดยังเป็ นศูนยพ์ ัฒนาจิตเฉลิมพระเกียรติ ประจ�ำ จังหวัดหนองบัวล�ำภู และเป็ นสถานที่อบรมปฏิบัติธรรม ซึ่งจะมี นักเรียนนักศึกษามาเขา้ คา่ ยปฏิบัติธรรมทุกปี

ศาสนสถานส�ำคัญ

ศาลานอ้ ย เป็ นศาลาทีส่ รา้ งครอบเจดียโ์ บราณ ซึง่ มี “พระพุทธ รูปหินทรายโบราณ” ซึ่งสันนิษฐานว่าอาจจะสร้างในสมัยสุโขทัย หรือสมัยอยุธยา นอกจากนีย้ ังมี “หลวงปู่เต่า” เป็ นหินเสีย่ งทาย และมี “พระหวา่ นจ�ำปาสัก” ประดิษฐานอยูท่ ศี่ าลานอ้ ยนี้ ศาลาหลวงปู่พมิ ประดิษฐานพระพุทธรูปชือ่ “สมเด็จพระเจา้ พิมพิสาร” เจดีย์ 2 องค์ บรรจุอัฐิพระและแมช่ ี สระอโนดาต เป็ นทีป่ ลอ่ ยปลาและเตา่ อุโบสถ 2 ชัน้ ในวันที่ 5-11 มีนาคม ของทุกปี บุญปฎิบัติธรรมประจ�ำปี ณ วัด ป่าสามัคคีศิริพัฒนาราม (กุดโพนทัน หลวงปู่ญาทา่ น) บา้ นโนนบก ต.โพธิช์ ัย อ.เมือง จ.หนองบัวล�ำภู

162 SBL Magazine บันทึกประเทศไทย 4.

2

.indd 1

24/10/2560 10:06:12


ประวัติพระครูปภัศรคุณ

พระครูปภัศรคุณ ฉายา ปภสฺสโร อายุ 80 ปี 60 พรรษา นักธรรมเอก ครูมลู 4 ชุด ครู ป.ป. 2 ชุด วัดป่าสามัคคีศริ พิ ฒ ั นาราม ต�ำบลโพธิชยั อ�ำเภอเมือง จังหวัด หนองบัวล�ำภู สถานภาพเดิม ชือ่ นายบุญเลิศ ดรพล เกิดวันอาทิตย์ แรม 12 ค่�ำ เดือน 5 ปี ชวด ตรงกับ วันที่ 30 เมษายน 2467 บิดาชือ่ นายธีร์ มารดาชือ่ นางใส ต�ำแหนง่ ปั จจุบนั - เจา้ อาวาสวัดป่าสามัคคีศริ พิ ฒ ั นาราม (กุดโพนทัน) - ประธานศูนยพ์ ฒ ั นาจิตเฉลิมพระเกียรติประจ�ำจังหวัดหนองบัวล�ำภู - ประธานศูนยส์ งเคราะห์ ออกพรรษาเลิกดืม่ เหลา้ ดืม่ สุรา สาขา 7876 พระครูปภัศรคุณ มรณภาพเมือ่ วันที่ 24 กันยายน 2548 อายุ 82

ร่วมสร้างเส้นทางบุญ

ขณะนี้วัดป่าสามัคคีศิริพัฒนาราม ก�ำลังด�ำเนินการก่อสร้างต�ำหนักสมเด็จ(หอพระ) เพื่อประดิษฐานพระพุทธรูป รูปเหมือนหลวงปู่มหาเถระคันฉ่อง รูปเหมือนหลวงปู่ทวด รูปเหมือน หลวงปู่ญาท่าน และรูปเหมือนสมเด็จพระนเรศวรมหาราช จึงขอเรียนเชิญท่านสาธุชนที่มี จิตเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา รว่ มสมทบทุนสรา้ งต�ำหนักสมเด็จ(หอพระ) ไดท้ พี่ ระอธิการสรา นนท์ ปนาโท (มาลาศรีตะ) เป็ นเจา้ อาวาสวัดป่าสามัคคีศริ พิ ฒ ั นาราม “วัดป่าสามัคคีมพี อ่ ทา่ น ทีล่ กู หลานประชาชนคนนับถือ สถานทีป่ ฏิบตั ธิ รรมอันร่�ำลือ ทัง้ ขึน้ ชื่อสมุนไพรใหเ้ ป็ นยา เป็ นแหลง่ เพาะพันธุเ์ มล็ดพืช เพื่อจะยืดอายุพระศาสนา ใครสนใจหนอ่ พันธุพ์ ระศาสดา เชิญทา่ นมาปลอ่ ยวางสรา้ งปั ญญา เทอญ” พระครูปภัศรคุณ (หลวงพอ่ ญาทา่ น) NONGBUALAMPHU 163

4.

2

.indd 2

24/10/2560 10:06:21


บันทึกเส้นทางพบเทศบาลต�ำบล เทศบาลต�ำบลโนนสูงเปลือย ตั้งอยู่เลขที่ 555 หมู่ 13 ถนนสอนร่วมมิตร ต�ำบลเมืองใหม่ อ�ำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวล�ำภู

นายจรูญ เกลียวทอง

นายกเทศมนตรีต�ำบลโนนสูงเปลือย

“เมืองข้าวเต็มเล้า ปลาแดกเต็มไห หน่อไม้เต็มสวน สู่ความเป็นเมืองอยู่ดีมีสุข พึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน”

เทศบาลต�ำบล

โนนสูงเปลือย

ติดต่อ ทต.โนนสูงเปลือย

เทศบาลต� ำ บลโนนสู ง เปลื อ ย ตั้ ง อยู ่ เ ลขที่ 555 หมู ่ 13 ถนนสอนร่ ว มมิ ต ร ต�ำบลเมืองใหม่ อ�ำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวล�ำภู 39180 โทร. 0-4235-3109 โทรสาร. 0-4235-3954 www.nsp.go.th

164 SBL Magazine บันทึกประเทศไทย .indd 164

25/10/60 11:17:55 AM


NONGBUALAMPHU 165 .indd 165

25/10/60 11:17:58 AM


โครงการจัดงานบวงสรวงศาลหลักเมือง

ศาลหลักเมืองอ�ำเภอศรีบญ ุ เรือง เป็นทีส่ ถิตของ ปู่ตาแสง โดยเป็นสถานที่ยึดเหนี่ยวจิตใจและเป็นที่ เคารพนับถือของชาวอ�ำเภอศรีบุญเรืองมาช้านาน เทศบาลต� ำ บลโนนสู ง เปลื อ ย ร่ ว มกั บ หน่ ว ยงาน องค์กร ภาครัฐและเอกชน พร้อมด้วยประชาชนใน เขตเทศบาล เล็งเห็นความส�ำคัญของประเพณีการ ประกอบพิธีบวงสรวงศาลหลักเมือง โดยจัดขึ้นเป็น ประจ�ำในวันที่ 1 มีนาคม ของทุกปี ประกอบกับในปี 2560 นี้ อ�ำเภอศรีบุญเรืองจะมีอายุครบ 52 ปี จึง ร่วมกันจัดงานพิธีบวงสรวงศาลหลักเมืองประจ�ำปี 2560 เพื่อเป็นการสักการบูชาและขอพรจากปู่ตา แสง ให้ประชาชนอยู่ดีกินดี มีสุข และเพื่ออนุรักษ์ สืบสานศิลปวัฒนธรรม และประเพณีอันดีงามของ ท้องถิ่นให้คงอยู่สืบไป

166 SBL Magazine บันทึกประเทศไทย .indd 166

25/10/60 11:18:00 AM


โครงการจัดงานประเพณีบุญบั้งไฟประจ�ำปี

ประเพณีบญ ุ เดือนหกหรือบุญบัง้ ไฟ เป็นประเพณีทสี่ ำ� คัญก่อนลงมือ ท�ำนา เนือ่ งจากประชากรส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพท�ำนา เพราะฉะนัน้ การทีฝ่ นตกต้องตามฤดูกาลนัน้ ถือเป็นเรือ่ งส�ำคัญยิง่ ในสมัยก่อนหากฝน ไม่ตกต้องตามฤดูกาลจะท�ำให้เกษตรกรเดือดร้อนต้องพึ่งพาพิธีกรรม หรือหากเป็นเดือนหกนัน้ ชาวบ้านจะประกอบพิธแี ห่บญ ุ บัง้ ไฟ ซึง่ ถือเป็น หนึ่งในประเพณีสิบสองเดือน หรือที่เรียกว่า “ ฮีตสิบสอง ” การท�ำบุญเดือนหกหรือบุญบั้งไฟ เพื่อบูชาอารักษ์หลักเมืองและเป็น ประเพณีขอฝนจากพญาแถน เพื่อให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล ให้คนหรือ วัวควายแคล้วคลาดจากโรคต่าง ๆ บ้าง เป็นต้น และเมื่อท�ำบุญดังกล่าว แล้วก็เชื่อว่าฟ้าฝนจะอุดมสมบูรณ์ ประชาชนในหมู่บ้านนั้นจะอยู่เย็น เป็นสุข

ดังนั้นเทศบาลต�ำบลโนนสูงเปลือย และอ�ำเภอศรีบุญเรือง จึงได้จัด งานประเพณีบุญบั้งไฟ ประจ�ำปี 2560 ขึ้นระหว่างวันที่ 10 – 11 มิถนุ ายน 2560 เพือ่ อนุรกั ษ์ประเพณี วัฒนธรรม ภูมปิ ญ ั ญาอันดีงามของ ท้ อ งถิ่ น เพื่ อ เสริ ม สร้ า งความสามั ค คี ใ นชุ ม ชน และเปิ ด โอกาสให้ ประชาชนทั่วไปได้ร่วมงานอย่างทั่วถึง วัตถุประสงค์ 1. เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์ประเพณี วัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่นให้คง อยู่กับชุมชน ตลอดไป 2. เพือ่ ส่งเสริมความสมัครสมานสามัคคีระหว่างประชาชน องค์กรเอกชน และหน่วยงานภาครัฐ 3. เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว และประชาสัมพันธ์ให้อ�ำเภอศรีบุญเรือง และเทศบาลต�ำบลโนนสูงเปลือยเป็นที่รู้จักของคนทั่วประเทศ เป็นการ กระตุ้นเศรษฐกิจให้ดีขึ้น

NONGBUALAMPHU 167 .indd 167

25/10/60 11:18:05 AM


โครงการบ้ า นมั่ น คงโนนสู ง เปลื อ ย เพื่อผู้ด้อยโอกาสและคนไร้ที่พึ่งพิง

ปั จ จุ บั น เทศบาลต� ำ บลโนนสู ง เปลื อ ย มีพนื้ ทีท่ จี่ ะต้องได้รบั การพัฒนาด้านทีอ่ ยูอ่ าศัย ซึง่ เป็นแหล่งชุมชนแออัด และมีความเดือดร้อน เรื่องที่อยู่อาศัย เทศบาลต�ำบลโนนสูงเปลือย จึงได้ประสานความร่วมมือกับสถาบันพัฒนา องค์กรชุมชน (พอช.) เพือ่ ร่วมมือกันแก้ไขปัญหา โดยจะด�ำเนินการพัฒนาระบบสาธารณูปโภค และสิ่งแวดล้อมถึงชุมชนโดยตรง และด�ำเนิน กระบวนการทุกขั้นตอน สามารถคิด วางแผน และจัดการได้อย่างเต็มที่ โดยมีหน่วยงาน ท้องถิ่นเป็นผู้ช่วยสนับสนุน ตามแนวทางนีป้ ระชาชนจะเปลีย่ นบทบาท จาก “ ผู้รับประโยชน์ ” หรือ “ ผู้ขอรับ ความช่วยเหลือ ” เป็น “ เจ้าของโครงการ ” ร่วมกันทัง้ ชุมชน และใช้กระบวนการบ้านมัน่ คง เป็นกระบวนการพัฒนาทีจ่ ะเปลีย่ นสภาพ วิธคี ดิ สถานภาพ และความสั ม พั น ธ์ ข องชุ ม ชน กับสังคมให้ดขี นึ้ ตลอดจนเป็นการสร้างความมัน่ คง

ในการครอบครองที่ดิน เนื่องจากความมั่นคง ในการถื อ ครองที่ ดิ น จะเป็ น พื้ น ฐานให้ เ กิ ด การสร้างชุมชนทีม่ นั่ คง ยัง่ ยืน โดยเน้นทีด่ นิ ของรัฐ ทีด่ นิ ของเอกชนทีไ่ ม่ได้ใช้ประโยชน์ รวมทัง้ การหา ทีด่ นิ ใหม่ในกรณีทจี่ ะต้องมีการรือ้ ย้าย อันจะน�ำ ไปสูก่ ารกระจาย การถือครองทีด่ นิ ทีเ่ ป็นธรรม โดยเน้นสิทธิ์ร่วมกันในการอยู่อาศัย ตลอดจน การปรับแก้กฎระเบียบต่างๆ ที่เป็นอุปสรรค ต่อการพัฒนา ให้มีความยืดหยุ่นมากยิ่งขึ้น บ้านมั่นคงมิใช่เป็นเพียงการสร้างที่อยู่อาศัยที่ มัน่ คงเท่านัน้ แต่จะเน้นการสร้างชุมชนทีม่ นั่ คง เข้มแข็ง เป็นกระบวนการที่น�ำไปสู่การสร้าง ความมั่นคงของชีวิต ด้านสังคมและเศรษฐกิจ เป็นสังคมทีม่ คี วามเอือ้ อาทรต่อกัน มีความสัมพันธ์ ต่อกัน และมีการจัดการร่วมกัน เทศบาลต�ำบลโนนสูงเปลือย เล็งเห็น ความส�ำคัญในการปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัด และการจั ด การเกี่ ย วกั บ ที่ อ ยู ่ อ าศั ย ระบบ สาธารณูปโภคและสิง่ แวดล้อม ให้กบั ประชาชน ผูเ้ ดือดร้อน ดังนัน้ เทศบาลต�ำบลโนนสูงเปลือย

จึงได้จดั ท�ำ “โครงการบ้านมัน่ คงโนนสูงเปลือย” เพือ่ ผูด้ อ้ ยโอกาสและคนไร้ทพี่ งึ่ ประจ�ำปี 2558 ขึน้ เพือ่ ต้องการสร้างความมัน่ คงในการครอบครอง ทีด่ นิ ส�ำหรับการอยูอ่ าศัย และสร้างการพัฒนา ระบบสาธารณูปโภค ที่อยู่อาศัย การพัฒนา องค์กร และชุมชนด้านอืน่ ๆ ทัง้ เศรษฐกิจ สังคม สวัสดิการ ให้เชื่อมโยงกันในชุมชนแออัดเดิม โดยมี รู ป แบบการพั ฒ นาที่ ห ลากหลาย ตามลักษณะปัญหา ความต้องการ เงื่อนไข ที่ เ กี่ ย วข้ อ ง รวมทั้ ง ความยิ น ยอมพร้ อ มใจ ของประชาชน กล่าวโดยสรุปคือ โครงการบ้านมั่นคง เป็นการพัฒนาทีอ่ ยูอ่ าศัยทีช่ าวชุมชนเป็นหลัก เป็ น คนคิ ด คนท� ำ วางระบบการบริ ห าร จัดการเอง โดยหน่วยงานในท้อ งถิ่นเป็น ผู้สนับสนุน รวมทั้งมีสถาปนิกชุมชน วิศวกร เข้ า ไปช่ ว ยในการออกแบบ วางผั ง และ เป็นที่ปรึกษาในการก่อสร้างให้กับชุมชน

168 SBL Magazine บันทึกประเทศไทย .indd 168

25/10/60 11:18:05 AM


โครงการก่อสร้างศูนย์การจัดการขยะมูลฝอย

สถานการณ์มลพิษของประเทศไทยในปัจจุบัน ปัญหาด้านการจัดการขยะมูลฝอยถือว่า เป็นปัญหาที่มีความส�ำคัญอย่างยิ่งขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเกือบทุกแห่ง จากข้อมูล การส�ำรวจขยะมูลฝอย ( First Draft ) 77 จังหวัด ปี 2557 พบว่า ประเทศมีปริมาณขยะ มูลฝอยสะสมประมาณ 14.8 ล้านตัน และยังมีปริมาณขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นมากถึง 26.17 ล้านตันต่อปี ( กรมควบคุมมลพิษข้อมูล ณ วันที่ 12 มกราคม 2558 ) ปริมาณขยะมูลฝอย ที่ เ พิ่ ม มากขึ้ น นี้ เนื่ อ งมาจากการพั ฒ นาทางด้ า นเศรษฐกิ จ รู ป แบบของการบริ โ ภค ทีเ่ ปลีย่ นแปลงไป จ�ำนวนประชากรและการขยายตัวของชุมชนในพืน้ ทีเ่ พิม่ ขึน้ เป็นผลท�ำให้เกิด ปริมาณขยะมูลฝอยเพิม่ มากขึน้ เทศบาลต�ำบลโนนสูงเปลือย เป็นอีกองค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ ที่จ�ำต้องมีการจัดการขยะมูลฝอย ปัจจุบันเริ่มประสบปัญหาด้านการจัดการขยะมูลฝอย เนื่องจากมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น

วัตถุประสงค์ 1. แก้ไขปัญหาบ่อฝังกลบขยะมูลฝอยเต็มพื้นที่ และสามารถรองรับขยะมูลฝอยที่จะเกิดขึ้นในอนาคต 2. เพื่อก่อสร้างระบบจัดการขยะมูลฝอย และองค์ประกอบที่จ�ำเป็นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการก�ำจัดขยะมูลฝอยให้การจัดการขยะมูลฝอย ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ตามที่มีการออกแบบไว้

NONGBUALAMPHU 169 .indd 169

25/10/60 11:18:11 AM


ทต.โนนสูงเปลือยคว้า “ปศุสัตว์ OK” สร้างรายได้

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นยุคนี้ต้องขวนขวายหารายได้มาใช้พัฒนาพื้นที่ ให้เจริญรุดหน้า...! ขณะนี้ นายจรูญ เกลียวทอง นายกเทศมนตรีตำ� บลโนนสูงเปลือย อ.ศรีบุญเรือง จ.หนองบัวล�ำภู จึงไม่รอช้าที่จะคว้าโอกาสสร้างรายได้งามๆ จากนโยบาย “ปศุสัตว์ OK” ของกรมปศุสัตว์ ที่มุ่งเน้นสร้างอาหารปลอดภัย สูผ่ บู้ ริโภค โดยพุง่ เป้าไปที่ “การท�ำโรงฆ่าสัตว์มาตรฐานเต็มรูปแบบ” หรือทีเ่ รียกว่า โรงช�ำแหละ ตั้งแต่กระบวนการผลิตที่ได้มาตรฐาน ไปจนถึงการน�ำไปจ�ำหน่าย ณ จุดขายที่สะอาดปลอดภัย

โรงฆ่าสัตว์เทศบาลต�ำบลโนนสูงเปลือย

จากนโยบายภาครัฐในปัจจุบันที่เน้นการส่งเสริมสุขภาพของประชาชน ทั้งด้านออกก�ำลังกาย และที่ส�ำคัญไม่ด้อยกว่ากันคือ การได้บริโภคอาหาร ทีม่ คี ณ ุ ภาพ สะอาด ถูกหลักอนามัย ไร้สารพิษหรือสารตกค้าง อาหารทีใ่ ห้โปรตีนหลักคือ เนือ้ สัตว์ ไม่วา่ จะเป็นหมูหรือโค ซึง่ ทางเทศบาลต�ำบลโนนสูงเปลือย มีอนุมัติให้บริษัทเอกชนเช่าทรัพย์สิน(โรงฆ่าสัตว์) เพื่อด�ำเนินการช�ำแหละเนื้อสัตว์สู่ผู้บริโภค เนื่องจากเทศบาลต�ำบลโนนสูงเปลือย ได้เล็งเห็นถึงความส�ำคัญในเรื่องโรงฆ่าสัตว์ที่ถูกสุขลักษณะ จึงได้จัดท�ำโรงฆ่าสัตว์ที่ได้รับมาตรฐานตามที่ ปศุสตั ว์และสาธารณสุขก�ำหนด เพือ่ ให้เนือ้ สัตว์ทไี่ ด้จากโรงฆ่าสัตว์ของเทศบาลต�ำบลโนนสูงเปลือย ถึงประชาชนผูบ้ ริโภคเป็นเนือ้ สัตว์ทสี่ ะอาด ถูกหลัก อนามัย ปลอดภัยต่อผู้บริโภค เพื่อประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนในการบริโภคเนื้อสัตว์ที่สะอาด และถูกหลักอนามัย วัตถุประสงค์ 1. เพื่อเป็นศูนย์กลางในการประกอบการช�ำแหละเนื้อสัตว์สู่ผู้บริโภค 2. ประชาชนได้เนื้อสัตว์ที่มีคุณภาพ สะอาด ถูกหลักอนามัย ไร้สารปนเปื้อนตกค้าง 3. เพื่อให้มีสถานที่ เครื่องมือและอุปกรณ์การช�ำแหละที่มีประสิทธิภาพและทันสมัย 4. ผู้ประกอบการได้รับความสะดวก สบาย ไม่ต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายด้านแรงงานก�ำลังคน 170 SBL Magazine บันทึกประเทศไทย .indd 170

25/10/60 11:18:11 AM


บันทึกเส้นทางธรรมหนุนน�ำชีวิต

วัดเจริ ญ ทรงธรรม

พระมหาสมยงค์ ธมฺมรกฺขิโต เจ้าอาวาสวัดเจริญทรงธรรม และเจ้าคณะต�ำบลหนองใต้

วัดเจริญทรงธรรม สร้างเมื่อ พ.ศ.2469 เดิมชื่อ “วัดบ้านดอนปอ” ต่อมาพระครูนวกรณ์โกศล ร่วมกับชาวบ้านบูรณะวัดขึน้ ใหม่ ได้เปลีย่ น ชื่อวัดนามว่า “วัดเจริญทรงธรรม” และท่านได้น�ำศรัทธาชาวบ้าน ก่ อ สร้ า งอุ โ บสถ (สิ ม ไม้ ) ขึ้ น เสร็ จ สมบู ร ณ์ แ ล้ ว จึ ง ได้ ผูก พั ท ธสี ม า ฝังลูกนิมิต ในปี พ.ศ. 2502 ต่อมาได้รับพัทธสีมาและพระราชทาน วิสุงคามสีมาพร้อมกัน ในอดี ต วั ด เจริ ญ ทรงธรรม เคยเปิ ดสอนพระปริ ยั ติ ธ รรม พระปริยัติธรรม แผนกธรรม ทางแม่กองธรรมสนามหลวงได้ ก�ำหนดใหว้ ดั เจริญทรงธรรมเป็ นสนามสอบนักธรรม ชัน้ ตรี โท เอก ศิษยานุศษิ ย์ ไดเ้ รียนจบการศึกษาเป็ นจ�ำนวนมาก เช่น พระครูวชิ ยั ธรรมานุ วัต ร เจ้าคณะอ�ำเภอศรีบุญเรือ ง พระครู สีลสั ง วรคุ ณ อดีตเจ้าคณะต�ำบลทรายทอง

ประวัติสิมไม้ วัดเจริญทรงธรรม

การกอ่ สรา้ งสิมไมเ้ กิดขึน้ ในปี พ.ศ.2489 ในการกอ่ สรา้ งสิมไม้ ครัง้ แรกนัน้ ชาวบา้ นไดท้ ำ� เป็นสิมไมต้ งั้ อยูก่ ลางน้�ำกอ่ นชัว่ คราว สาเหตุ ทีต่ อ้ งท�ำเป็ นสิมไมก้ ลางน้�ำนัน้ เพราะตัวสิมท�ำดว้ ยไมท้ งั้ หลัง จึงตอ้ ง ป้องกันการกัดกินของปลวกและแมลงตา่ งๆ ทีจ่ ะกอ่ ใหเ้ กิดความเสียหาย ต่ อ มาปี พ.ศ.2498 ชาวบ้า นได้ มี ศ รั ท ธาร่ ว มกั น บู ร ณะสิ ม ไม้ ขึ้นใหม่ โดยยา้ ยตัวสิมไมข้ ้นึ จากน้�ำมาตัง้ ไวบ้ นบก โดยตัง้ ไวท้ าง ทิศตะวันตกเฉียงเหนือของพื้นทีว่ ดั เจริญทรงธรรม ชาวบา้ นไดน้ ำ� ดิ น เหนี ย วกั บ แกลบหรื อ ฟางข้า ว มาท� ำ เป็ น ฐานของตั ว สิ ม ไม ้ สว่ นโครงสรา้ งของตัวสิมท�ำดว้ ยไมท้ งั้ หลัง ตัวสิมมีรปู ทรงสีเ่ หลีย่ มผืน ผา้ ทรงโถงสูง มีมขุ หนา้ หันหนา้ ไปทางทิศตะวันออก มีประตูและบันได ทางขึน้ ดา้ นหนา้ ดา้ นเดียว บันไดกอ่ ดว้ ยอิฐถือปูน หัวบันไดประกอบ ด้วยรูปปั้ นพญานาค ผนังเป็ นฝาไมก้ ระดาน มีเสาแกน่ 12 ต้น สูงประมาณ 12 เมตร สว่ นหนา้ บันประดับดว้ ยแผน่ แกะสลักเป็ นรูป ครุฑและรังผึง้ สว่ นหลังคาสูงโปรง่ ทรงจัว่ ซอ้ นกัน 2 ชัน้ ประดับดว้ ย ช่อฟ้าทีเ่ ป็ นไมแ้ กะสลักรูปธาตุอสี านตัง้ อยูก่ ง่ึ กลางสันหลังคา ภายใน ประดิษฐานพระประธานปางสมาธิ ชาวบา้ นเรียกกันวา่ “พระดีนอร”์ ตอ่ มาไดป้ ระกาศขึน้ ทะเบียนและก�ำหนดเขตทีด่ นิ โบราณสถาน ในราชกิจจานุเบกษา เลม่ 114 ตอน 127 ลงวันที่ 21 ธันวาคม 2544 NONGBUALAMPHU 171

3

.indd 1

25/10/2560 14:38:53


พื้ น ที่ โ บ ร า ณ ส ถ า น ประมาณ 1 ไร่ 1 งาน 48.38 ตารางวา ภาย หลังจากการขึน้ ทะเบียน เป็ นโบราณสถานแล้ว ทางกรมศิลปากร เขต 6 ขอนแก่ น ได้ จั ด งบ ประมาณเพื่ อ ท� ำ การ บูรณะขึน้ ครัง้ ใหญ่ โดย เ ริ่ ม บู ร ณ ะ ใ น เ ดื อ น กุมภาพันธ์ 2554 แลว้ เสร็จในเดือนสิงหาคม 2 5 5 4 โ ด ย ใ ช้ ง บ ประมาณ 2,960,000 บาท รูปเหรียญหลวงปู่วิโรจน์

รุ่นที่ 1

รุ่นที่ 2

รุ่นที่ 3

รุ่นที่ 4

ประวัติพระครูนวกรณ์โกศล พระครูนวกรณโ์ กศล (หลวงปู่วโิ รจน ์ ขนฺตโิ ก) นามเดิม นายบุญ หวันลา เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2452 ทีบ่ า้ นเหลา่ นกชุม ต.ดอนหัน อ.เมือง จ.ขอนแกน่ ไดบ้ รรพชาเป็ นสามเณรเมื่ออายุวยั เยาว์ และได้ เข้าอุปสมบทในปี พ.ศ.2475 ได้รับฉายาว่า “ขนฺตโิ ก” ตอ่ มาในปี พ.ศ.2485 ไดม้ าจ�ำพรรษาที่ วัดบา้ นดอนปอ หลังจากนัน้ หลวงปู่และชาวบา้ น ได้ บู ร ณะวั ด ขึ้ น ใหม่ ได้เ ปลี่ย นชื่ อ วั ด นามว่า “วัดเจริญทรงธรรม” จนถึงปั จจุบนั ด้านการปกครอง เป็ นเจ้าอาวาสวัดเจริญ ทรงธรรม และเจ้าคณะต�ำบลหนองบัวใต้ เป็ น พระอุ ปั ชฌาย์ ประเภทวิ ส ามั ญ รู ป แรกของ อ.โนนสัง จ.อุดรธานี 172 SBL Magazine บันทึกประเทศไทย 3

.indd 2

ด้านการศึกษา สอบไล่ได้นักธรรม ชัน้ เอก ศึกษาเวทยม์ นตท์ ปี่ ระเทศกัมพูชา ไดร้ บั พระราชทานสัญญาบัตรพัดยศพระครู ในราชทินนามวา่ “พระครูนวกรณโ์ กศล” ในรัชกาลที่ 9 ความเชีย่ วชาญพิเศษ หลวงปู่มเี มตตา ในการเป็นหมอรักษาโรคฝี ดาษ ไขม้ าลาเรีย ไล่ผีปอบ และสามารถสอนวิชาอาคมให้ คณะศิษยานุศษิ ย์ เป็ นจ�ำนวนมาก ดา้ นวัตถุมงคล ประกอบดว้ ย ชานหมาก ตะกรุด เหรียญ ได้แก่ เหรียญรุ่นที่ 1 วัดเทพโพธารามสรา้ ง เหรียญรุน่ ที่ 2 งาน พระราชเพลิงศพหลวงปู่ เหรียญรุ่นที่ 3

งานสมโภชสิมไม้ ปี 2560 เหรียญรุน่ ที่ 4 งานฉลองอุโบสถวัดสามัคคีชยั ด้านศิลปวิทยา สอนวิธีการจักสาน สลักลายไมต้ า่ งๆ มรณภาพ ในปี พ.ศ.2540 หลวงปู่ได้ ละสังขารลงด้วยอาการสงบจากโรคชรา คณะศิษยานุศิษยจ์ ึงได้น�ำร่างหลวงปู่ไป บรรจุทวี่ ดั เจริญทรงธรรม ตอ่ มาในปี พ.ศ. 2544 ไดข้ อพระราชทานเพลิงสรีระสังขาร จากพระบาทสมเด็ จ พระปรมิ น ทร มหาภู มิ พ ลอดุ ล ยเดช รั ช กาลที่ 9 รวมสิรอิ ายุได้ 87 ปี 65 พรรษา

25/10/2560 14:38:57


ประวัติเจ้าอาวาสวัดรูปปัจจุบัน พระมหาสมยงค์ ธมฺ ม รกฺ ขิ โ ต นามเดิม สมยงค์ แก้วก่า เกิดเมื่อ วันที่ 20 เดือนมิถุนายน พ.ศ.2524 ตรงกับวันเสาร์ แรม 3 ค่�ำ เดือน 7 ปี ระกา บิดา นายสมบัติ มารดา นาง บุญทัน อุปสมบท เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2551 ณ วัดเจริญทรงธรรม บา้ นดอนปอ ต�ำบลหนองบัวใต้ อ�ำเภอศรีบญ ุ เรือง จังหวัดหนองบัวล�ำภู โดยมี พระครูวชิ ยั ธรรมานุวตั ร เจา้ คณะอ�ำเภอศรีบญ ุ เรือง เป็ นพระอุปัชฌาย์ ดา้ นการศึกษา สอบไลไ่ ดน้ กั ธรรมชัน้ เอก ส�ำนัก เรียนวัดสามัคคีชัย พ.ศ.2557 สอบไล่ ไ ด้ เ ปรี ย ญ ธรรมสามประโยค ส� ำ นั ก เรี ย น วัดสวา่ งอารมณ์ ดา้ นการปกครอง พ.ศ.2556 ด� ำ รงต� ำ แหน่ ง เจ้าอาวาสวัดเจริญทรงธรรม พ.ศ.2559 ด�ำรงต�ำแหน่งเจ้าคณะ ต�ำบลหนองใต้

พระมหาสมยงค์ ธมฺมรกฺขิโต

วัดเจริญทรงธรรม ตั้งอยู่เลขที่ 150 หมู่ที่ 2 ต.หนองบัวใต้ อ.ศรีบุญเรือง จ.หนองบัวล�ำภู

NONGBUALAMPHU 173 3

.indd 3

25/10/2560 14:39:07


บันทึกเส้นทางพบเทศบาลต�ำบล เทศบาลต�ำบลโนนสะอาด ตั้งอยู่เลขที่ 155 หมู่ที่ 16 ต�ำบลโนนสะอาด อ�ำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวล�ำภู

นายอุดมศักดิ์ นาอุดม นายกเทศมนตรีต�ำบลโนนสะอาด

เทศบาลต�ำบล

โนนสะอาด

“ ปลอดภัยต่อชีวติ และทรัพย์สนิ เศรษฐกิจพอเพียง การเมืองโปร่งใส น�ำ้ ไหลไฟสว่าง หนทางสะดวก ” ประวัติความเป็นมา

เทศบาลต� ำ บลโนนสะอาด ได้ รั บ การยกฐานะจากสภา ต�ำบลโนนสะอาด ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2539 เป็น อบต. ชั้น 5 ต่อมาได้รับการยกฐานะเป็น เทศบาลต� ำ บลโนนสะอาด ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2551

ข้อมูลทั่วไป

เทศบาลต�ำบลโนนสะอาด มีพนื้ ทีท่ งั้ หมดประมาณ 100,665 ไร่ หรือ 161.065 ตารางกิโลเมตร ลักษณะพื้นที่โดยทั่วไปเป็นที่ราบ และเป็นพื้นที่อยู่อาศัยของราษฎรหรือเขตชุมชน 1 ใน 4 ของพื้นที่ ทั้งหมด

การปกครอง มีทงั้ หมด 17 ชุมชน ได้แก่ ชุมชนโนนสะอาด ชุมชนหินตลาด ชุมชนวังโปร่ง ชุมชนโนนคูณ ชุมชนทุ่งโพธิ์ ชุมชนวังแคน ชุมชนโต่งโต้น ชุมชนวังโพน ชุมชนนาอุดม ชุมชนห้วยบง ชุมชนคึมน�้ำเกลี้ยง ชุมชนศรีสง่า ชุมชนโนนนาใหม่ ชุมชนโนนหัวนา ชุมชนศรีภทู อง ชุมชนโนนทอง ชุมชนวังคูณ จ�ำนวน 3,293 ครัวเรือน (ที่มา:ฝ่ายทะเบียนอ�ำเภอศรีบุญเรือง ข้อมูล ณ วันที่ 6 มิถุนายน 2560) ประชากร มีประชากรรวมทั้งสิ้น 12,481 คน แยกเป็นชาย 6,327 คน และเป็นหญิง 6,154 คน (ที่มา:ฝ่ายทะเบียนอ�ำเภอศรีบุญเรือง ข้อมูล ณ วันที่ 31 มกราคม 2560) สภาพเศรษฐกิจ ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก รองลงมาคืออาชีพรับจ้าง ค้าขาย รับราชการ และอื่นๆ พืชเศรษฐกิจส�ำคัญ

174 SBL Magazine บันทึกประเทศไทย .

6

.indd 1

27/10/2560 14:19:50


คือ ข้าว ไร่อ้อย ข้าวโพด และมันส�ำปะหลัง สภาพสังคม - ด้านการศึกษา มีโรงเรียนประถมศึกษา 10 แห่ง โรงเรียนมัธยมศึกษา (ขยายโอกาส) 4 แห่ง ศูนย์การเรียนรู้ชุมชน 4 แห่ง ศูนย์เด็กก่อนเกณฑ์ สังกัดกรมการศาสนา 7 แห่ง ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดกรมพัฒนาชุมชน 2 แห่ง ที่อ่านหนังสือพิมพ์ชุมชน 10 แห่ง - ด้านสถาบันและองค์กรทางศาสนา มีวัด/ส�ำนักสงฆ์ 16 แห่ง - ด้านการสาธารณสุข มีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพต�ำบล 2 แห่ง สถานพยาบาล 1 แห่ง ศูนย์สาธารณสุขมูลฐานประจ�ำหมู่บ้าน 17 แห่ง - ด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน มีสถานีดับเพลิง 1 แห่ง อปพร.ประจ�ำต�ำบล 200 คน สมาชิก OTOS ประจ�ำต�ำบลที่ผ่านการ อบรมตามโครงการหนึ่งต�ำบลหนึ่งกู้ชีพ 36 คน ที่ปฏิบัติงานในหน่วย ปฏิบัติการ (FR) 11 คน

คณะผู้บริหาร ทต.โนนสะอาด

นายอุดมศักดิ์ นาอุดม นายค�ำพอง สุวรรณบล นายประสาท พาน้อย นายถาวร ศรีสมบัติ นายธงชัย วันนิจ

นายกเทศมนตรี รองนายกเทศมนตรี รองนายกเทศมนตรี ที่ปรึกษานายกเทศมนตรี เลขานุการนายกเทศมนตรี

NONGBUALAMPHU 175 .

6

.indd 2

27/10/2560 14:19:54


นโยบายการพัฒนาต�ำบลโนนสะอาด

นายอุ ด มศั ก ดิ์ นาอุ ด ม นายกเทศมนตรี ต� ำ บลโนนสะอาด แถลงนโยบายการพัฒนาต่อสภาเทศบาลต�ำบลโนนสะอาด เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2555 มีดังนี้ 1. นโยบายสิ่งแวดล้อมและพัฒนาด้านการเกษตร 2. นโยบายส่งเสริมและเพิม่ ประสิทธิภาพทางการศึกษาทุกระดับชัน้ 3. นโยบายส่งเสริมพระพุทธศาสนาและวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น 4. นโยบายส่งเสริมการกีฬาทุกภาคส่วนทัง้ ในและนอกพืน้ ที่ เพือ่ ยก ระดับสู่สากล 5. นโยบายการก่อสร้างถนนหนทางและซ่อมแซมถนนสายหลักและ ถนนเพื่อการเกษตร 6. นโยบายขยายเขตไฟฟ้าเพื่อการเกษตร 7. นโยบายด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน 8. นโยบายส่งเสริมกิจกรรมการรักษาความสะอาด ก�ำจัดขยะมูลฝอย ในชุมชน 9. นโยบายส่งเสริมพัฒนาเด็ก กลุ่มสตรี และผู้ดอยโอกาส 10. นโยบายส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการพัฒนาทั้งฝ่ายปกครอง ท้องที่ ตลอดจนภาคประชาชน 11. นโยบายส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรทั้งด้านการศึกษา วิชาการ เพือ่ เพิม่ ประสิทธิภาพการปฏิบตั ริ าชการสนองนโยบายของรัฐบาลภายใต้ กฎหมายตามบทบาทหน้าที่ของท้องถิ่น ปัญหาและแนวทางการพัฒนาตามยุทธศาสตร์ 1. ยุทธศาสตร์ดา้ นการส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน และแก้ไขปัญหาความ ยากจน 1.1 ปัญหาการประกอบอาชีพและยกระดับรายได้ยงั ไม่ได้ตามเกณฑ์ 1.2 ปัญหาราคาสินค้าการเกษตรตกต�ำ ่ ไม่ได้รับการประกันราคา 1.3 ปัญหาการเพิ่มแหล่งงานจ้างและการมีงานท�ำในพื้นที่ เพื่อลด การเดินทางไปท�ำงานต่างถิ่น แนวทางการแก้ปญ ั หา สร้างจิตส�ำนึกในการด�ำเนินชีวติ ตามแนวทาง เศรษฐกิจพอเพียง,สนับสนุนงบประมาณ วิชาการในการฝึกอบรมเชิง ปฏิบัติการการประกอบอาหารจานเดียว,สนับสนุนงบประมาณ วิชาการ ในการฝึกอบรมเชิงปฏิบตั กิ ารการประดิษฐ์ดอกไม้และการจัดดอกไม้สด, สนับสนุนงบประมาณในการด�ำเนินโครงการจ้างแรงงานท้องถิน่ ,ส่งเสริม การผลิตอาหารปลอดสารพิษเพื่อการบริโภคภายในครัวเรือน และเพื่อ การจ�ำหน่าย และโครงการจัดตั้งตลาดทางสินค้าประจ�ำต�ำบล 2. ยุทธศาสตร์ด้านโครงสร้างพื้นฐาน 2.1 ปั ญ หาการสั ญ จรไปมา ภายในหมู ่ บ ้ า น ระหว่ า งหมู ่ บ ้ า น และระหว่างต�ำบล 2.2 ปัญหาไฟฟ้าสาธารณะยังไม่ทั่วถึง 2.3 ปัญหาการเกิดน�ำ้ ท่วมขังในหมู่บ้าน เนื่องจากไม่มีท่อระบายน�้ำ 2.4 ปัญหาเรื่องเอกสารสิทธิ์ในที่ทำ� กินของประชาชน 2.5 ปัญหาการควบคุมพัฒนาระบบผังเมือง หมู่บ้าน ชุมชน แนวทางการแก้ปญ ั หา สนับสนุนงบประมาณก่อสร้างถนนคอนกรีตภายใน หมู่บ้านทุกหมู่บ้าน, สนับสนุนงบประมาณขยายเขตไฟฟ้าทุกหมู่บ้าน, สนับสนุนงบประมาณก่อสร้างท่อระบายน�้ำภายในหมู่บ้าน,สนับสนุนที่ 176 SBL Magazine บันทึกประเทศไทย .

6

.indd 3

27/10/2560 14:19:55


ท�ำกินส�ำหรับผู้ไม่มีที่ท�ำกิน,สนับสนุนการจัดสรรที่ท�ำกิน และการเสนอ ขอสนับสนุนงบประมาณก่อสร้างถนนลาดยางสายหลักในต�ำบล 3. ยุ ท ธศาสตร์ ด ้ า นการพั ฒ นา การบริ ห ารจั ด การและอนุ รั ก ษ์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน 3.1 ปัญหาความแห้งแล้ง เนื่องจากแหล่งน�้ำตื้นเขิน ไม่สามารถ กักเก็บน�้ำได้ตลอดฤดูแล้ง 3.2 ปัญหาการบุกรุกที่สาธารณะ 3.3 ปัญหาการสร้างจิตส�ำนึกในการฟืน้ ฟูทรัพยากรธรรมชาติ อนุรกั ษ์ แหล่งน�้ำ ป่าไม้ 3.4 ปัญหาการก�ำจัดขยะสิ่งปฏิกูลมูลฝอย และการบ�ำบัดน�้ำเสีย 3.5 ปัญหาการจัดหาแหล่งน�้ำส�ำหรับอุปโภคบริโภค 3.6 ปัญหาในเรื่องงบประมาณการขุดลอก ก่อสร้างแหล่งน�้ำเพื่อ การเกษตร แนวทางการแก้ปญ ั หา สนับสนุนภาชนะกักเก็บน�้ำ สนับสนุนการขุด ลอกล�ำห้วยยาง,สนับสนุนการขุดลอกล�ำน�ำ้ พวย, สนับสนุนรถบรรทุกขยะ และจัดให้มีระบบการก�ำจัดขยะที่ไม่ท�ำลายธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, จัดโครงการคลองสวยน�้ำใส 4. ยุ ท ธศาสตร์ ด ้ า นการพั ฒ นาศิ ล ปวั ฒ นธรรม จารี ต ประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น 4.1 ปัญหาการเสือ่ มถอยของประเพณีอนั ดีงามของประเพณีทอ้ งถิน่ 4.2 ปัญหาการเสื่อมถอยของศาสนา 4.3 ปัญหาภูมิปัญญาท้องถิ่นก�ำลังจะสูญหายไป แนวทางการแก้ปัญหา สนับสนุนการฝึกอบรมเยาวชนด้านการสืบสาน ประเพณีและวัฒนธรรมท้องถิน่ และสนับสนุนการอนุรกั ษ์ภมู ปิ ญ ั ญาท้อง ถิ่นให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ภายในต�ำบล 5. ยุทธศาสตร์ดา้ นการพัฒนาการบริหารจัดการบ้านเมืองและสังคมทีด่ ี 5.1 ปัญหาความเข้าใจเกี่ยวกับกิจการของเทศบาล และการบริหาร ตามระบอบประชาธิปไตย 5.2 ปัญหาการพัฒนาความรู้ คุณธรรม และจริยธรรมในการปฏิบัติ งานของบุคลากรทั้งพนักงานเทศบาล และสมาชิกสภาเทศบาลต�ำบล 5.3 ปัญหาการพัฒนารายได้ และระบบการจัดเก็บภาษี 5.4 ปัญหาแนวทางการสร้างจิตส�ำนึกของเจ้าหน้าทีใ่ นการให้บริการ ประชาชน แนวทางการแก้ปัญหา สนับสนุนการสร้างจิตส�ำนึกในการปฏิบัติ หน้าที่ของพนักงานเทศบาลและสมาชิกสภาเทศบาล และส่งเสริมและ กระตุ้นหน้าที่การช�ำระภาษี โดยสนับสนุนโครงการเก็บภาษีเคลื่อนที่ เสริมฟรีบริการตัดผม และโครงการช�ำระภาษีดี มีรางวัล 6. ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาคนและสังคม 6.1 ปัญหางบประมาณการจัดให้มีสวัสดิการและสังคม 6.2 ปั ญ หาการสร้ า งเข้ ม แข็ ง แก่ ชุ ม ชนโดยการมี ส ่ ว นร่ ว มของ ประชาชนเอง 6.3 ปัญหาการมีสว่ นร่วมในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของชุมชน 6.4 ปัญหาการเฝ้าระวังป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติด 6.5 ปัญหาในกฎระเบียบการส่งเสริมสนับสนุนการศึกษาของเด็ก เยาวชน และประชาชนทั่วไป NONGBUALAMPHU 177 .

6

.indd 4

27/10/2560 14:19:55


6.6 ปัญหาการขาดบุคลากรในการส่งเสริมด้านการสาธารณสุข การควบคุมป้องกันโรค และการเฝ้าระวังโรคติดต่อ ตลอดทั้งการส่งเสริม ให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น แนวทางการแก้ปัญหา สนับสนุนงบประมาณสงเคราะห์เบี้ยยังชีพ คนชรา คนพิการ และผู้ด้อยโอกาสครบทุกคน,สนับสนุนการอบรมสร้าง จิตส�ำนึกการมีสว่ นร่วมของประชาชน,สนับสนุนการอบรมเยาวชนป้องกัน ยาเสพติด จัดให้มีระบบการสร้างสุขภาพแบบการมีส่วนร่วมจากชุมชน เพือ่ ให้เกิดความทัว่ ถึงและยัง่ ยืน, สนับสนุนงบประมาณฝึกการอบรมและ ฝึกทบทวน อปพร.ต�ำบลโนนสะอาด, สนับสนุนการพัฒนาศักยภาพ บุคลากรให้เกิดความช�ำนาญในงาน และส่งเสริมและพัฒนาทรัพยากร มนุษย์ทั้งในและนอกหน่วยงาน เพิ่มเติมในส่วนที่ขาด 7. ยุทธศาสตร์ด้านการท่องเที่ยวและการกีฬา 7.1 ปัญหางบประมาณการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว 7.2 ปั ญ หาประชาชนขาดการส่งเสริมสุขภาพจิ ต นั น ทนาการ และการกีฬา แนวทางการแก้ปญ ั หา สร้างจิตส�ำนึกให้กบั ประชาชนในการอนุรกั ษ์ ป่าชุมชน,สนับสนุนงบประมาณในการพัฒนาภูดู่เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิง อนุรักษ์,ประชาสัมพันธ์เชิญชวนประชาชนในท้องถิ่นเข้าร่วมโครงการ ลุงนายกชวนลูกหลานส่องนก ณ ภูดู่, จัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพจิต นันทนาการ และจัดท�ำโครงการแข่งขันกีฬาทัว่ ไทยต้านยาเสพติดประจ�ำ ต�ำบลทุกปี

สวนพุทรา

ผลิตภัณฑ์จากดาวอินคา

ผลิตภัณฑ์จากดาวอินคา 178 SBL Magazine บันทึกประเทศไทย .

6

.indd 5

27/10/2560 14:20:02


โครงการโดดเด่น

1. โครงปลูกป่าชุมชน งานส่งเสริมการเกษตร เป็นโครงการทีส่ ง่ เสริม และสนับสนุนให้ชาวต�ำบลโนนสะอาด ด�ำเนินชีวิตตามหลักปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งช่วยให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีแหล่งอาหาร ในชุมชน ลดรายจ่ายเพิม่ รายได้อย่างมัน่ คงและยัง่ ยืน และมีพนื้ ทีป่ า่ ชุมชน เพิม่ ขึน้ โดยได้รบั ความร่วมมือจากหน่วยงานและประชาชนทัง้ 17 ชุมชน ของต�ำบลโนนสะอาด เข้ามามีส่วนร่วมด�ำเนินการปลูก และฟื้นฟูป่า บริ เวณพื้ น ที่ ป ่ า สาธารณะ เพื่ อ ช่ ว ยกั น ดู แ ลรั ก ษาป่ า ไม้ ใ ห้ ค งความ อุดมสมบูรณ์ และยั่งยืนต่อไปในอนาคต นับเป็นกุศโลบายในการอนุรักษ์ ป่าชุมชนได้อย่างยั่งยืน 2. โครงการสงเสริมกิจกรรมบ้านเราสะอาด เพื่อขับเคลื่อนนโยบาย ของรัฐบาลในการก�ำจัดขยะมูลฝอย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนเกี่ยวกับ การสร้างวินัยของคนในชาติ ในการคัดแยกขยะเพื่อน�ำกลับมาใช้ใหม่ เป็นการใช้ทรัพยากรอย่างประหยัดคุ้มค่า และเกิดประโยชน์สูงสุด มุ่งสู่ สังคมคาร์บอนต�่ำ เทศบาลต�ำบลโนนสะอาดจึงได้จัดท�ำโครงการส่งเสริม กิจกรรมบ้านเราสะอาดขึ้น 3. โครงการไหว้ศาลหลักเมืองประจ�ำปีของเทศบาลต�ำบลโนนสะอาด จะจัดขึ้นในเดือนเมษายนของทุกๆ ปี กิจกรรมประกอบด้วย พิธีไหว้ ศาลหลักเมืองประจ�ำต�ำบล ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของประชาชนใน ต�ำบลโนนสะอาด การสรงน�้ำพระพุทธรูป การรดน�้ำขอพรผู้สูงอายุ และการประกวดธิ ด าสงกรานต์ ประกวดการแต่ ง กายแบบไทย เพื่อเป็นการส่งเสริมวัฒนธรรมไทย และสร้างความตระหนักในประเพณี วัฒนธรรมไทย และการละเล่นต่างๆ ซึง่ กิจกรรมดังกล่าวเป็นทีส่ นใจและ ดึงดูดให้ประชาชนทั่วไปในต�ำบลและจังหวัดใกล้เคียง มาเที่ยวงาน ประเพณีสงกรานต์ไหว้ศาลหลักเมืองเป็นจ�ำนวนมากทุกปี 4. โครงการวันลอยกระทงของเทศบาลต�ำบลโนนสะอาด เทศบาล ต�ำบลโนนสะอาด เล็งเห็นถึงความส�ำคัญของการอนุรกั ษ์ขนบธรรมเนียม และประเพณีที่ยึดถือปฏิบัติกันมา เพื่อสืบทอดแก่เยาวชนรุ่นหลังต่อไป จึงได้จัดประเพณีลอยกระทงมาอย่างต่อเนื่องทุกปี 5. โครงการส่งเสริมการเกษตร เทศบาลต�ำบลโนนสะอาด มี 17 ชุมชน พืน้ ทีส่ ว่ นใหญ่เหมาะกับการท�ำเกษตรกรรมเป็นอย่างมาก จึงมีการ ส่งเสริมพื้นที่เกษตรกรรมให้เป็นพื้นที่เกษตรเชิงท่องเที่ยวขึ้น เพื่อเป็น แหล่งเรียนรู้และศึกษาพืชพันธุ์ต่างๆ ให้ผู้ที่สนใจท�ำการเกษตรมาศึกษา หาความรู้ เพื่อน�ำไปต่อยอดประกอบอาชีพของตนได้ OTOP ขึ้นชื่อของ ทต.โนนสะอาด 1. ผ้าฝ้ายทอมือ โดยกลุม่ ผ้าฝ้ายทอมือ ตัง้ อยูท่ บี่ า้ นวังโปร่ง หมูท่ ี่ 3 2. ขนมทองม้วน โดยกลุ่มท�ำขนมทองม้วน บ้านศรีสง่า หมู่ที่ 12 ต.โนนสะอาด 3. ผ้าไหมทอมือ โดยกลุม่ ทอผ้าพืน้ เมือง ตัง้ อยูท่ บี่ า้ นโนนนาใหม่ หมูท่ ี่ 13 4. ผ้าทอลายน�ำ้ ไหล, ลายน�ำ้ ฝน โดยกลุม่ ทอผ้าบ้านโนนนาใหม่ หมูท่ ี่ 13 5. ชุ ด ฟ้ อ นร� ำ โดยกลุ ่ ม เสริ ม สวยองค์ ก รสตรี หมู ่ ที่ 16 ต�ำบลโนนสะอาด 6. ข้าวฮางงอก โดยกลุ่มข้าวฮางงอกบ้านห้วยบง หมู่ที่ 10 7. ดอกไม้จันทน์ โดยกลุ่มดอกไม้จันทน์หินบ้านหินตลาด หมู่ที่ 12 8. ปุ๋ยหมักชีวภาพ โดยกลุ่มปุ๋ยหมักชีวภาพบ้านโต้งโต้น หมู่ที่ 7 NONGBUALAMPHU 179 .

6

.indd 6

27/10/2560 14:20:06


บันทึกเส้นทางพบเทศบาลต�ำบล เทศบาลต�ำบลจอมทอง ตัง้ อยูเ่ ลขที่ 999 หมู่ 9 ต�ำบลศรีบุญเรือง อ�ำเภอ ศรี บุ ญ เรื อ ง จั ง หวั ด หนองบั ว ล� ำ ภู โดยตั้ ง อยู ่ บ ริ เ วณทางหลวงแผ่ น ดิ น หมายเลข 228 (ศรีบุญเรือง-ชุมแพ) และทางหลวงจังหวัดหมายเลข 2133 (ศรีบุญเรือง-ภูเวียง) ห่างจากจังหวัดหนองบัวล�ำภูประมาณ 37 กิโลเมตร

นายวิทยา แสงป้อง

นายกเทศมนตรีต�ำบลจอมทอง

“โครงสร้างพื้นฐานสะดวกปลอดภัย สุขอนามัยดีถ้วนหน้า พัฒนาสังคมสมานฉันท์ บริหารด้วยหลักธรรมมาภิบาล”

เทศบาลต�ำบล

จอมทอง ข้อมูลทั่วไป

เทศบาลต�ำบลจอมทอง มีพื้นที่ทั้งสิ้น 13.50 ตารางกิโลเมตร สภาพภูมปิ ระเทศเป็นทีร่ าบลุม่ และ เป็นพื้นที่เกษตรกรรม คือท�ำนาข้าวเป็นหลัก ในเขต เทศบาลมีล�ำน�้ำมออยู่ทางทิศตะวันออก และล�ำน�้ำ พองด้านทิศใต้ เป็นแนวแบ่งเขตระหว่างจังหวัด หนองบัวล�ำภูกับจังหวัดขอนแก่น ซึ่งเป็นแหล่งน�้ำ ส�ำคัญที่ใช้ในการท�ำเกษตรกรรม การประมง และใช้ อุปโภคบริโภคในครัวเรือน เขตการปกครอง / ประชากร เทศบาลต�ำบล จอมทอง มี จ� ำ นวนชุ ม ชนทั้ ง หมด 7 ชุ ม ชน มี ประชากรรวมทั้งสิ้น 5,095 คน โดยแยกเป็นผู้ชาย จ�ำนวน 2,575 คน ผู้หญิงจ�ำนวน 2,520 คน จ�ำนวน ครัวเรือน 1,445 ครัวเรือน (ที่มา : งานทะเบียน ราษฎร ส� ำ นั ก ทะเบี ย นท้ อ งถิ่ น เทศบาลต� ำ บล จอมทอง อ�ำเภอศรีบญ ุ เรือง จังหวัดหนองบัวล�ำภู ณ วันที่ 24 สิงหาคม 2560) สภาพเศรษฐกิจ ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบ อาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก เช่น ท�ำนา ท�ำสวน ท�ำ ไร่ เลี้ยงสัตว์ รองลงมาคือ อาชีพด้านพาณิชยกรรม และรับจ้างฯลฯ นอกจากนี้ ยังมีการประกอบอาชีพ อุตสาหกรรมในครัวเรือน คือ การเจียระไนพลอย การจักสาน (การท�ำกระติบข้าว) และการแปรรูปจาก สินค้าการเกษตร เป็นต้น

สภาพทางสังคม - การศึกษา ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จ�ำนวน 2 แห่ง โรงเรียนที่อยู่ในเขตเทศบาล โดยอยู่ในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษาหนองบัวล�ำภู เขต 1 (สพฐ.นภ.1) จ�ำนวน 2 แห่ง สถานศึกษาเอกชน จ�ำนวน 2 แห่ง - ศาสนา ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ และมีศาสนสถาน (วัด) จ�ำนวน 3 แห่ง - การสาธารณสุข มีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพต�ำบล จ�ำนวน 1 แห่ง ประเพณี วัฒนธรรม ได้แก่ ประเพณีสงกรานต์ ประเพณีบญ ุ บัง้ ไฟ ประเพณีลอยกระทง ประเพณีวันเข้าพรรษา-ออกพรรษา ประเพณีบุญกฐิน ประเพณีวันขึ้นปีใหม่ ฯลฯ

180 SBL Magazine บันทึกประเทศไทย .indd 180

27/10/60 11:21:24 AM


นโยบายผู้บริหาร

1.ด้านโครงสร้างพืน้ ฐาน “น�ำ้ ไหล ไฟสว่าง ทางดี มีนำ�้ ใช้ตลอดปีเพือ่ การเกษตร” 2.ด้านเศรษฐกิจและสังคม “ลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ขยายโอกาส” 3.ด้านสาธารณสุขและสิง่ แวดล้อม “สุขภาพดีไม่มขี าย อยากได้ตอ้ งออก�ำลังกาย” 4.ด้านการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมประจ�ำปี “พัฒนาการเรียนรู้ตลอดชีวิต” 5.ด้านบริหารการเมืองการปกครอง “โปร่งใสตรวจสอบได้”

ยุทธศาสตร์

ยุทธศาสตร์ที่ 1 ด้านการส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนและการแก้ขปัญหาขาดแคลน ยุทธศาสตร์ที่ 2 โครงสร้างพื้นฐาน ยุทธศาสตร์ที่ 3 การบริ ห ารจั ด การและอนุ รั ก ษ์ ท รั พ ยากรธรรมชาติ แ ละ สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ยุทธศาสตร์ที่ 4 ด้านศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น ยุทธศาสตร์ที่ 5 ด้านการบริหารจัดการบ้านเมืองและสังคมที่มั่นคง ยุทธศาสตร์ที่ 6 ด้านทรัพยากรมนุษย์และสังคมคุณภาพ ยุทธศาสตร์ที่ 7 ด้านการท่องเที่ยวและการกีฬา

กิจกรรมจักสานกระติบข้าว

แผนงาน/โครงการ

1. พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ 1.1 โครงการขุดลอกแหล่งน�้ำจืดเพื่อปริโภคและอุปโภค 1.2 ก่อสร้างศูนย์จำ� หน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชน 2. ทิวทัศน์สะอาดปราศจากขยะและน�้ำเสีย 2.1 ก่อสร้างศูนย์กำ� จัดขยะแบบครบวงจร 2.2 ก่อสร้างระบบน�ำ้ เสียครบวงจร 2.3 ปรับปรุงภูมิทัศน์ให้สวยงาม 3. ประชาชนเรียนรู้ตลอดชีวิตตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง 3.1 ก่อสร้างศูนย์เรียนรูเ้ กษตรแบบผสมผสานตามแนวพระราชด�ำริ “เกษตร ทฤษฎีใหม่” 3.2 ก่อสร้างเรือนเพาะช�ำกล้าไม้ พืชผักสวนครัวไม้ดอกไม้ประดับ 3.3 ส่งเสริมและสนับสนุนกลุ่มอาชีพต่างๆ ให้เข้มแข็ง และใช้เป็นแหล่ง เรียนรู้ชุมชน น�ำภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัตถุดิบในชุมชนมาใช้ให้เกิดประโยชน์

กิจกรรมคัดแยกขยะต้นทาง

กิจกรรมชมรมผู ้สูงอายุ

กิจกรรม/โครงการที่ยั่งยืน

ประเพณีบุญบั้งไฟ โครงการอบรมแกนน�ำคัดแยกขยะที่ต้นทาง ในเขตเทศบาลต�ำบลจอมทอง โครงการส่งเสริมอาชีพกระติบข้าวจากคล้า (OTOP) โครงการรณรงค์ป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า โครงการกีฬาเยาวชนประชาชนต้านยาเสพติด ส่งเสริมสุขภาพและอาชีพแก่ผู้สูงอายุ อนุรักษ์และฟื้นฟูวัฒนธรรมท้องถิ่น

ดูงาน บ.หัวถนน ต.พระลับ

NONGBUALAMPHU 181 .indd 181

27/10/60 11:21:29 AM


บันทึกเส้นทางพบเทศบาลต�ำบล เทศบาลต� ำ บลหนองแก ตั้ ง อยู ่ เ ลขที่ 154 ม.2 ต� ำ บลหนองแก อ�ำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวล�ำภู 39180

นายรักไทย ศรีคูเมือง

นายกเทศมนตรีต�ำบลหนองแก

“บริการดี สร้างความสามัคคี มีงานท�ำ ประเพณีวัฒนธรรมเป็นเลิศ”

เทศบาลต�ำบล

หนองแก เทศบาลต�ำบลหนองแก

มีลกั ษณะเป็นลูกคลืน่ ลอนลาดสลับกับพืน้ ทีร่ าบ เรี ย บถึ ง ค่ อ นข้ า งราบ ความสู ง ของภู มิ ป ระเทศ อยู่ระหว่าง 210 - 261 เมตร จากระดับน�้ำทะเล มีความลาดเทจากทิศเหนือไปทางทิศใต้ ทิศเหนือ ของทางเทศบาลต�ำบลหนองแกเป็นทีด่ อน ส่วนกลาง ของพืน้ ทีเ่ ทศบาลต�ำบลหนองแกอยูท่ ศิ ใต้จะเป็นทีล่ มุ่ ใช้ทำ� นาปลูกข้าว ทิศตะวันตกเป็นทีร่ าบใช้ทำ� นาปลูกข้าว ปัจจุบันจะใช้ที่ดินผันมาท�ำไร่อ้อยส่วนใหญ่ อาชีพ

รองลงมา คือ รับจ้างค้าขาย ในปัจจุบนั ประชาชนทีอ่ ยูใ่ นพืน้ ทีข่ อง เทศบาลต�ำบลหนองแกมีฐานะทางเศรษฐกิจ ดีขนึ้ เนือ่ งจากมีแหล่งน�ำ้ ทางการเกษตรที่ อุ ด มสมบู ร ณ์ เทศบาลต� ำ บลหนองแก ได้สนับสนุนงบประมาณส่งเสริมอาชีพต่างๆ เช่น กลุ่มเลี้ยงหมู กลุ่มตัดเย็บเสื้อผ้า กลุ่มจักสาน กลุ่มปุ๋ยชีวภาพ กลุ่มสตรี แม่บ้าน กลุ่มนวดแผนไทย กลุ่มท�ำขนม กล้วยฉาบ - ดอกจอก กลุ่มแจ่วบอง จึง ท�ำให้คณ ุ ภาพชีวติ และความเป็นอยูข่ องชีวติ ประชาชนดีขนึ้ และประชาชนมีความสนใจ ในการพัฒนาด้านอื่นๆ เช่น การบริการ สาธารณะ การศาสนา วัฒนธรรมประเพณี การอนุรกั ษ์ทรัพยากรธรรมชาติและรักษา ความสงบเรียบร้อยในชุมชนของตนเอง จากสภาพดังกล่าว สมาชิกสภาเทศบาล ต�ำบลหนองแก จึงได้ร่วมกันก�ำหนดตรา เครื่องหมายของเทศบาลต�ำบลหนองแก โดยใช้ลักษณ์พื้นที่ราบเรียบมีฝายเก็บน�้ำ

ขนาดใหญ่ หมายถึง ฝายวังไฮ มีการเกษตร กรรมทีส่ มบูรณ์ ซึง่ เป็นปัจจัยส�ำคัญในการ ด�ำเนินชีวติ ของประชาชนในต�ำบลหนองแก ท�ำให้ชวี ติ ความเป็นอยูท่ ดี่ ี สัญลักษณ์ตน้ ไม้ หมายถึง ต้นสะแก ที่พบมากในบริเวณ ป่าสงวนแห่งชาติหนองเสือ ป่าสาธารณะ ประโยชน์หินฮาว ซึ่งเป็นแหล่งอาหาร ทีค่ อยรักษาระบบให้แก่ประชาชนในต�ำบล หนองแก มีศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนา วั น อาทิ ต ย์ สั ญ ลั ก ษณ์ ท ้ อ งฟ้ า และ พระอาทิตย์ หมายถึง สถาพภูมิอากาศที่ดี สภาพภูมิประเทศมีธรรมชาติที่สวยงาม กล่าวโดยรวม สัญลักษณ์ของตรา เทศบาลต�ำบลหนองแก เป็นเครือ่ งหมาย ทีแ่ สดงให้เห็นว่าเทศบาลต�ำบลหนองแก มี พื้ น ที่ อุ ด มสมบู ร ณ์ แ ละเป็ น ท้ อ งถิ่ น ที่ มี ค วามเจริ ญ ในทุ ก ๆ ด้ า น ทั้ ง ด้ า น การเมือง ศาสนา และวัฒนธรรม

182 SBL Magazine บันทึกประเทศไทย .indd 182

25/10/60 10:18:43 AM


โครงการเด่น ทต.หนองแก

โครงการสนับสนุนชมรม TO BE NUMBER ONE ชุมชนหนองแก ประจ�ำ ปีงบประมาณ 2560 ชมรม TO BE NUMBER ONE ชุมชนหนองแก โดยความรับผิดชอบ ของกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลต�ำบลหนองแก โรงพยาบาลส่งเสริม สุขภาพต�ำบลหนองแก ส�ำนักงานเทศบาลต�ำบลหนองแก โดยนายรักไทย ศรีคเู มือง นายกเทศมนตรีตำ� บลหนองแก นางกนกวรรณ สีมะชัย ปลัดเทศบาลต�ำบลหนองแก และสามารถรักษามาตรฐานระดับเพชร ปีที่ 2 ในการประกวดระดับประเทศ ประจ�ำปี 2560 และในช่วงนี้เป็นการเตรียมความพร้อมในการประเมินระดับ พืน้ ที่ ปี 2561 ในเดือนกุมภาพันธ์ 2561 และเตรียมความพร้อมในการประกวด ระดั บ ภาคตะวั น ออกเฉี ย งเหนื อ เดื อ น มิ ถุ น ายน 2561 และประกวด ระดับประเทศในช่วงเดือนกรกฎาคม 2561

โครงการฝึกอาชีพการจักสานกระติ๊บข้าวจากคล้าเพื่อพัฒนาศักยภาพของกลุ่ม โดย ฝ่ายสวัสดิการสังคม ส�ำนักปลัดเทศบาลต�ำบลหนองแก จากสภาพเศรษฐกิจปัจจุบันที่ค่าครองชีพได้เพิ่มสูงขึ้น ประชาชนมีรายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพ จึงต้องมีการฝึกอบรมส่งเสริมเพิ่มอาชีพให้แก่ กลุ่มอาชีพที่ต้องการมีรายได้เสริมในยามว่าง เป็นการลดภาระค่าใช้จ่ายในครัวเรือนได้ เทศบาลต�ำบลหนองแก จึงได้จัดท�ำโครงการในการฝึกอาชีพการจักสานกระติ๊บข้าวจากคล้าเพื่อพัฒนาศักยภาพของกลุ่ม หรือให้คนในชุมชน ในด้านการจักสานลายกระติ๊บข้าว ประกอบกับกลุ่มได้เคยฝึกอาชีพการจักสานกระติ๊บข้าวจากคล้ามาบ้างแล้ว ท�ำให้กลุ่มได้มีการใช้เวลาว่างให้เกิด ประโยชน์ และเพื่อส่งเสริมสนับสนุนภูมิปัญญาท้องถิ่น รวมถึงเป็นการเพิ่มรายได้ให้ประชาชนในต�ำบลมีงานท�ำที่บ้าน ไม่ต้องอพยพไปขายแรงงาน ในต่างถิ่น สามารถพึ่งพาตนเองได้ และคนในชุมชนสามารถขยายเครือข่ายในการฝึกสอนสมาชิกแต่ละครัวเรือนได้อย่างยั่งยืนต่อไป

กิจกรรมเด่นด้านสิ่งแวดล้อม ปี 2560

1. โครงการปลูกต้นไม้พื้นที่สาธารณประโยชน์ ณ ฝ่ายโสกน�้ำขาว วันที่ 25 ก.ค. 2560 2. โครงการรณรงค์ส่งเสริมการลด คัดแยกขยะ ในเขตพื้นที่ตำ� บลหนองแก ประจ�ำปี 2560 3. โครงการส่งมอบถังขยะให้ประชาชนในเขตเทศบาลต�ำบลหนองแก ทั้ง 11 หมู่บ้าน 4 โรงเรียน 4. โครงการล้างท่อระบายน�้ำ 5. โครงการปรับปรุงภูมิทัศน์รอบเขตเทศบาล NONGBUALAMPHU 183 .indd 183

25/10/60 10:18:44 AM


บันทึกเส้นทางพบองค์การบริหารส่วนต�ำบล องค์การบริหารส่วนต�ำบลนากอก ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 ต�ำบลนากอก อ�ำเภอ ศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวล�ำภู ซึ่งอยู่ห่างจากจังหวัดหนองบัวล�ำภู ลงมา ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ เป็นระยะทาง 46 กิโลเมตร และอยู่ห่างจากอ�ำเภอ ศรีบุญเรืองลงมาทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ เป็นระยะทาง 12 กิโลเมตร

นายวุฒิพงษ์ นิลนามะ

นายกองค์การบริหารส่วนต�ำบลนากอก “ปลอดภัยในชีวิต เศรษฐกิจพอเพียง การเมืองโปร่งใส น�้ำไหลไฟสว่าง หนทางสะดวก”

องค์การบริหารส่วนต�ำบล

นากอก

ข้อมูลทั่วไป

ต� ำ บลนากอก มี พื้ น ที่ ทั้ ง หมด 98.26 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 61,412.5 ไร่ เป็นพื้นที่ท�ำการเกษตร จ�ำนวน 42,665 ไร่ ลักษณะภูมิประเทศ เป็ น พื้ น ที่ ร าบสู ง สลั บ ที่ ร าบลุ ่ ม แม่ น�้ ำ มีภเู ขาในบางส่วนของพืน้ ที่ มีพนื้ ทีป่ า่ ไม้ทเี่ ป็น ป่าไม้เนื้อแข็งและป่าชุมชน ซึ่งประชาชนได้ใช้ ประโยชน์รวมกัน และมีล�ำห้วยที่ส�ำคัญ คือ ล�ำน�้ำพอง ล�ำน�้ำพวย ล�ำน�้ำห้วยกอก ส่วน แหล่งน�ำ้ ทีป่ ระชาชนใช้เพือ่ การเกษตรส่วนใหญ่ จะเป็ น แหล่ ง น�้ ำ ผิ ว ดิ น ตามธรรมชาติ แ ละ ที่สร้างขึ้น เช่น อ่างเก็บน�ำ้ ล�ำห้วย หนองน�ำ้ สระน�ำ้ ฝาย คลองส่งน�ำ้ ชลประทาน และสถานี สูบน�้ำด้วยไฟฟ้า การปกครอง/ประชากร จ� ำ นวนหมู ่ บ ้ า นในเขตองค์ ก ารบริ ห าร ส่วนต�ำบลนากอก เต็มพืน้ ที่ 23 หมูบ่ า้ น 4,088 ครัวเรือน มีประชากรรวมทั้งสิ้น 15,576 คน

สภาพเศรษฐกิจ ประชากรส่วนใหญ่ ประมาณ 80% ประกอบอาชีพเกษตรกรรรม นอกนั้นเป็นอาชีพ รับจ้างทั่วไป และอื่นๆ กลุ่มอาชีพที่ส�ำคัญ อบต.นากอก ให้การสนับสนุนการท�ำข้าวฮาง เพื่อให้คนในชุมชนมีรายได้เสริม โดยกลุ่มผลิตข้าวฮางตั้งอยู่ที่บ้านโคกม่วง นอกจากนี้ยังมีกลุ่มอาชีพทอผ้าไหม เพื่อเสริม รายได้ให้ประชาชนในต�ำบลนากอก โดยตั้งอยู่ที่หมู่บ้านกุดดุก

184 SBL Magazine บันทึกประเทศไทย .indd 184

25/10/60 11:53:45 AM


ยุทธศาสตร์การพัฒนา

1. ยุทธศาสตร์ดา้ นการส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน ท้องถิ่นตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 2. ยุ ท ธศาสตร์ ด ้ า นการบริ ห ารจั ด การและ อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 3. ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิต ของประชาชนในท้องถิ่น 4. ยุทธศาสตร์ดา้ นศิลปวัฒนธรรม จารีต ประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น

เป้าประสงค์

1. มีการจัดท�ำแผนประชุม ประชาชนมีรายได้ เพิ่มขึ้น ผลิตภัณฑ์ชุมชนเป็นที่รู้จัก 2. มีแหล่งน�้ำเพียงพอส�ำหรับอุปโภค บริโภค 3. ภูมิทัศน์ในพื้นที่ต�ำบลสวยงาม ควบคู่กับ การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ 4. โครงสร้างพื้นฐานมีมาตรฐานและเพียงพอ ส�ำหรับความต้องการของประชาชน

NONGBUALAMPHU 185 .indd 185 โครงการงานนิ ทรรศการและการเสวนาโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ “สร้างอนาคตไทย 2020”

25/10/60 11:53:48 AM


กิจกรรม/โครงการเด่น ปี 2560

โครงการจัดงานวันเด็กแห่งชาติ ประจ�ำปี 2560 ซึ่งจัดขึ้นในวันที่ 14 มกราคม 2560 ณ องค์การบริหารส่วนต�ำบลนากอก การจัดงาน วันเด็กในครัง้ นี้ มีเด็กๆ เข้าร่วมกิจกรรมตามซุม้ ต่างๆ ทีท่ าง อบต.นากอกจัดขึน้ โดยเด็กๆ ได้รบั ความสุข ความสนุกสนาน และได้รับของขวัญ ของรางวัลจากการเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ การแข่งขัน “กีฬากลุ่มศูนย์เครือข่าย ศรีบุญเรือง 6” จัดขึ้นในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2560 ณ โรงเรียนบ้านหนองผือท่าปากเป่ง ต� ำ บลนากอก อ� ำ เภอศรี บุ ญ เรื อ ง จั ง หวั ด หนองบัวล�ำภู โครงการเตรียมความพร้อมเพื่อก้าวสู่ วัยเรียน ประจ�ำปี 2560 จัดขึ้นในวันที่ 28 มีนาคม 2560 ณ องค์การบริหารส่วนต�ำบลนากอก เพื่อแสดงความยินดี สร้างขวัญ-ก�ำลังใจ และ เพือ่ เตรียมความพร้อมให้เด็กๆ ก้าวสูก่ ารศึกษา ในระดับที่สูงขึ้น โดยการจัดงานในครั้งนี้มีเด็ก จบการศึกษาจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 3 ศูนย์ จ�ำนวน 284 คน โครงการฝึก อบรมเสริม สร้างสุขภาพ กาย ใจ และกิจกรรมรดน�้ำด�ำหัวผู้สูงอายุ เพื่อสืบสานประเพณีไทย ประจ�ำปี 2560 ใน วันที่ 13 เมษายน 2560 ณ องค์การบริหาร ส่วนต�ำบลนากอก

โครงการจัดงานวันเด็กแห่งชาติ ประจ�ำปี 2560

โครงการปลูกป่ าประชาอาสา 800 ล้านกล้า 80 พรรษามหาราชิ นี

186 SBL Magazine บันทึกประเทศไทย .indd 186

25/10/60 11:53:49 AM


โครงการ TO BE NUMBER ONE

โครงการบุ ญบัง้ ไฟ

โครงการวิสาหกิจชุ มชนท้องถิ่นไทยหัวใจพอเพียง

NONGBUALAMPHU 187 .indd 187

25/10/60 11:53:52 AM


นายวุฒิพงษ์ นิลนามะ

นายกองค์การบริหารส่วนต�ำบลนากอก

ชวนเที่ยว!

วัดป่าพุทธศิลาอาสน์ (วัดบ้านสมสนุก)

ตัง้ อยูท่ หี่ มู่ 14 บ้านสมสนุก ต�ำบลนากอก เป็นวัดเก่าแก่แต่ไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจน ภายในวั ด มี ซ ากโบราณสถานก่ อ ด้ ว ยอิ ฐ มีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ซึ่งเหลืออยู่ เพียงส่วนฐานราก โดยทางวัดได้สร้างพระธาตุ คร่อมทับโบราณสถานอยู่ มีหลักฐานว่าบริเวณนี้ เคยมีพระพุทธรูปนาคปรก ศิลปะขอม จึงอาจ กล่าวได้ว่าวัดแห่งนี้น่าจะเคยเป็นศาสนสถาน ที่มีอายุในช่วงพุทธศตวรรษที่ 16-18 และ ต่อมาได้มีการสร้างเสนาสนะเพิ่ม เช่น โบสถ์ สร้างในสมัยล้านช้าง คือ ช่วงพุทธศตวรรษที่ 23-24 ปัจจุบันวัดป่าพุทธศิลาอาสน์ เป็น ศูนย์รวมจิตใจของชาวต�ำบลนากอก

188 SBL Magazine บันทึกประเทศไทย .indd 188

25/10/60 11:53:54 AM


แก่งตาดฟ้า (แก่งส�ำราญ)

เป็นสถานทีท่ อ่ งเทีย่ วส�ำคัญของต�ำบลนากอก ตั้งอยู่ที่หมู่ 4 บ้านโนนส�ำราญ-สมสนุก มีลักษณะ เป็ น โขดหิ น กลางล� ำ น�้ ำ พอง เป็ น ทั ศ นี ย ภาพ ทางธรรมชาติที่สวยงาม เหมาะแก่การพักผ่อน และเล่นน�้ำ โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ประชาชนนิยมมาเล่นน�้ำกันจ�ำนวนมาก

NONGBUALAMPHU 189 .indd 189

25/10/60 11:53:56 AM


บันทึกเส้นทางพบองค์การบริหารส่วนต�ำบล ซึ่งตั้งอยู่เลขที่ 156 หมู่ที่ 10 ต�ำบลศรีบุญเรือง อ� ำ เภอศรี บุ ญ เรื อ ง จั ง หวั ด หนองบั ว ล� ำ ภู 39180 โดยอยู ่ ห ่ า งจากอ� ำ เภอศรี บุ ญ เรื อ ง เป็ น ระยะทาง 5 กิโลเมตร และห่างจากจังหวัดหนองบัวล�ำภูระยะทาง 38 กิโลเมตร

นายทรรศนัย พรหมเมตตา

นายกองค์การบริหารส่วนต�ำบลศรีบุญเรือง “ หมู่บ้านน่าอยู่ เศรษฐกิจชุมชนเข้มแข็ง ประชาชนอยู่ดีมีสุข ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมที่อุดมสมบูรณ์อย่างยั่งยืน ”

องค์การบริหารส่วนต�ำบล

ศรีบุญเรือง

คณะผู้บริหาร อบต.ศรีบุญเรือง

นายทรรศนัย พรหมเมตตา นายกองค์การบริหารส่วนต�ำบลศรีบุญเรือง นายทองสุข หนันมาก รองนายกองค์การบริหารส่วนต�ำบลศรีบุญเรือง นายสมพร พลงาม รองนายกองค์การบริหารส่วนต�ำบลศรีบุญเรือง นายเวหา เสิกกัญญา เลขานายกองค์การบริหารส่วนต�ำบลศรีบุญเรือง

ข้อมูลทั่วไป

องค์การบริหารส่วนต�ำบลศรีบญ ุ เรือง มีเนือ้ ทีป่ ระมาณ 44.5 ตาราง กิโลเมตร จ�ำนวนประชากรทั้งหมด 5,599 คน แยกเป็นชาย จ�ำนวน 2,882 คน หญิง จ�ำนวน 2,717 คน จ�ำนวนครัวเรือนทัง้ หมด 1,362 ครัวเรือน ความหนาแน่นเฉลี่ย 125.82 คน/ตารางกิโลเมตร ประชาชนในเขตต�ำบลศรีบญ ุ เรือง ประกอบอาชีพเกษตรกรรม มีชวี ติ ความเป็นอยู่อย่างเรียบง่าย พึ่งพาอาศัยกันโดยมีศาสนา ประเพณี

ศิลปวัฒนธรรมทีส่ บื ทอดกันมาตัง้ แต่บรรพบุรษุ ประชาชนส่วนใหญ่นบั ถือ ศาสนาพุทธ มีวัดเป็นศูนย์กลางของประชาชนในต�ำบล

การพัฒนาสู่หมู่บา้ นน่าอยู่

องค์การบริหารส่วนต�ำบลศรีบุญเรือง ได้จัดตั้งหน่วยงาน เครือข่าย และกองทุนต่างๆ เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นให้ น่าอยู่ และมีความเข้มแข็ง ดังนี้ - สมาชิก อปพร. องค์การบริหารส่วนต�ำบลศรีบุญเรือง ให้การฝึก อบรมสมาชิก อปพร. จ�ำนวน 3 รุ่น ปัจจุบันมีสมาชิกจ�ำนวน 166 ราย สามารถออกปฏิบัติหน้าที่ในเขตองค์การบริหารส่วนต�ำบลศรีบุญเรืองได้ - ศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนระดับต�ำบล (ศพค.) ท�ำงาน 1 ศูนย์ - เครือข่ายครอบครัวผาสุก 90 ครัวเรือน - เครือข่ายวิสากิจชุมชน 19 กลุ่มอาชีพ 190 SBL Magazine บันทึกประเทศไทย .

4

.indd 1

27/10/2560 11:18:49


- กองทุนหมูบ่ า้ นและกลุม่ ออมทรัพย์เพือ่ การผลิต 9 หมูบ่ า้ น/กองทุน - กองทุนสวัสดิการชุมชนต�ำบล 1 กองทุน - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น 1 กองทุน - ร้านค้าชุมชน/ศูนย์สาธิตการตลาด 7 ศูนย์ - เครือข่ายอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 272 คน - ศูนย์บริการประชาชนแบบครบวงจร 1 แห่ง - สถานีสูบน�ำ้ ถ่ายโอนจากกรมชลประทาน 2 แห่ง หมู่ที่ 6 (โคกสูง), หมู่ที่ 5 (หนองแตง)

NONGBUALAMPHU 191 .

4

.indd 2

27/10/2560 11:18:50


บันทึกเส้นทางพบองค์การบริหารส่วนต�ำบล

นายก อบต.ศรีบุญเรืองชวนเที่ยว

วัดป่าศรีวไิ ลเสมาราม ตัง้ อยูท่ บี่ า้ นโคกสูงโคกสวรรค์ ต�ำบลศรีบญ ุ เรือง เป็นวัดโบราณทีป่ รากฏฐานอาคารเก่า(อุโบสถ) รูปสีเ่ หลีย่ มผืนผ้า (ปัจจุบนั ทางวัดได้สร้างอาคารโถงทับฐานอาคารเดิม) มีการปักใบเสมาหินเป็น ขอบเขตตามมุม 6 ทิศ (มุมด้านหลัง และมุมตรงกลางหน้าหายไป) ใบเสมาเหล่านีป้ กั ไว้จดุ ละ 2 ใบ มีขนาดแตกต่างกัน ส่วนใหญ่เป็นใบเสมา รูปปลายโค้งรูปกลีบบัว แต่บางใบก็สลักกลายรูปหม้อน�ำ้ และลายแกนสถูป ตรงกลางแผ่น นอกจากนี้ยังพบใบเสมากระจาย ๆ อยู่อีกหลายจุด น่าจะ เป็นการเคลื่อนย้ายใบเสมาจากที่อื่น โดยเฉพาะมีข้อมูลว่าเคยมีการ เคลือ่ นย้ายใบเสมาจากวัดมิง่ เมืองพัฒนาราม อ�ำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น และวัดสว่างอารมณ์ อ�ำเภอศรีบญ ุ เรือง จังหวัดหนองบัวล�ำภูมาไว้ทนี่ ดี้ ว้ ย โบราณวัตถุและโบราณสถานทีว่ ดั ป่าศรีวไิ ลนัน้ สันนิษฐานว่าแต่เดิม น่าจะเป็นพุทธสถานที่มีการปักใบเสมาก�ำหนดขอบเขต เมื่อพิจารณา รูปแบบใบเสมาแล้วพบว่า บางใบโดยเฉพาะใบที่สลักลวดลายหม้อน�้ำ ที่สูงเพรียว สามารถเทียบเคียงกับกลุ่มใบเสมาที่พบใน อ�ำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย แสดงอิทธิพลวัฒนธรรมทวารวดี ที่มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 14-16 เป็นต้นมา

กิจกรรม/โครงการเด่น

องค์การบริหารส่วนต�ำบลศรีบุญเรือง จัดกิจกรรมโครงการส่งเสริม บุญประเพณีประจ�ำท้องถิ่น ประจ�ำปี 2560 เนือ่ งในวันที่ 13 เมษายน ของทุกปี เป็นวันมหาสงกรานต์ และรัฐบาล ยังก�ำหนดให้วันที่ 13 เมษายน เป็นวันผู้สูงอายุ องค์การบริหารส่วน ต�ำบลศรีบุญเรือง จึงจัดกิจกรรมดังกล่าวขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการ สืบสานประเพณีทอ้ งถิน่ ให้คงอยู่ และเป็นการอนุรกั ษ์จารีตอันดีงาม และ ความงดงามในการแสดงออกที่ผู้น้อยปฏิบัติต่อผู้ใหญ่ เพื่อแสดงถึงความ กตัญญูและส�ำนึกในบุญคุณที่ผู้สูงอายุได้เลี้ยงดูมาจนเติบโต โดยนายกองค์การบริหารส่วนต�ำบลศรีบุญเรือง ได้เห็นความส�ำคัญ ของผู้สูงอายุเป็นอย่างมาก จึงได้จัดให้มีพิธี “สมมา” หรือการขอขมา ซึ่งเป็นการแสดงถึงความนอบน้อมและความมีคารวะของผู้น้อยที่มีต่อ ผู้สูงอายุ และเป็นการถือโอกาสขอขมาที่ได้ล่วงเกินท่านไม่ว่าจะเป็น ทางกาย ทางวาจา หรือ ทางใจ หลังจากนัน้ ก็ได้รดน�ำ้ ขอพร จากผูส้ งู อายุ รวมทั้ ง ผู ้ จั ด กิ จ กรรมและผู ้ เข้ า ร่ ว มก็ ไ ด้ มี ก ารอวยพรซึ่ ง กั น และกั น บรรยากาศการจัดงานในวันนัน้ สร้างความปลาบปลืม้ ใจและประทับใจให้ กับผูเ้ ข้าร่วมกิจกรรม และถือได้วา่ เป็นแบบอย่างทีด่ ใี ห้กบั คนรุน่ หลังเป็นอย่างยิง่

192 SBL Magazine บันทึกประเทศไทย .

4

.indd 3

27/10/2560 11:18:53


องค์การบริหารส่วนต�ำบลศรีบญ ุ เรือง จัดท�ำโครงการปลูกป่า ชุมชนเฉลิมพระเกียรติในท้องถิ่น เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 83 พรรษา 12 สิงหาคม 2558 องค์การบริหารส่วนต�ำบลศรีบุญเรืองได้จัด ท�ำโครงการปลูกป่าชุมชนเฉลิมพระเกียรติในท้องถิ่นขึ้นในวันที่ 29 กรกฎาคม 2558 ณ สวนสาธารณะโคกหนองโอ บ้านหนองแตง หมูท่ ี่ 5 ต�ำบลศรีบญุ เรือง โดยได้รบั เกียรติจากนายรพิสทิ ธิ์ พิมพ์พฒ ั น์ นายอ�ำเภอศรีบุญเรืองมาเป็นประธานในพิธี นายทรรศนัย พรหมเมตตา นายกองค์การบริหารส่วนต�ำบล ศรีบุญเรือง ได้กล่าวว่า รู้สึกภูมิใจที่ทุกท่านทุกหน่วยงานได้ให้ ความส�ำคัญในการเพิม่ พืน้ ทีป่ า่ ไม้ให้กบั ต�ำบลของเรา การปลูกป่า ในวันนีอ้ าจจะยังไม่เห็นผลทันทีทนั ใด แต่ปา่ นีจ้ ะเป็นป่ามรดกให้ กั บ ลู ก หลานของเราในภายภาคหน้ า กิ จ กรรมในวั น นี้ ถื อ ว่ า เป็นการสร้างความสามัคคีให้กับทุกๆ คนได้ท�ำกิจกรรมร่วมกัน ทัง้ คณะเจ้าหน้าทีข่ อง อบต.ศรีบญ ุ เรืองเอง ซึง่ น�ำโดยปลัดองค์การ บริหารส่วนต�ำบลศรีบุญเรือง นายมงคล พรหมพื้น คณะสภาน�ำ โดยประธานสภา นายศรัณย์ โคตรสุวรรณและสมาชิก อบต. ทุ ก ท่ า นที่ ม าร่ ว มกิ จ กรรมพร้ อ มกั บ พี่ น ้ อ งประชาชนในพื้ น ที่ จ�ำนวนมาก โครงการปลูกป่าชุมชนเฉลิมพระเกียรติในท้องถิ่น ประจ�ำ ปี ง บประมาณ2560 ณ โคกหัว นายายลุน บ้า นศรี โ พธิ์ ท อง ต.ศรีบญ ุ เรือง อ.ศรีบญ ุ เรือง จ.หนองบัวล�ำภู วันที่ 3 สิงหาคม 2560

NONGBUALAMPHU 193 .

4

.indd 4

27/10/2560 11:18:54


บันทึกเส้นทางพบองค์การบริหารส่วนต�ำบล องค์การบริหารส่วนต�ำบลหนองกุงแก้ว ตั้งอยู่หมู่ที่ 4 ต�ำบลหนองกุงแก้ว อ�ำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวล�ำภู โดยอยู่ห่างจากอ�ำเภอศรีบุญเรือง ไปทางทิศตะวันตกประมาณ 34 กิโลเมตร

นายพระยุง พิสถาน

นายกองค์การบริหารส่วนต�ำบลหนองกุงแก้ว “โครงสร้างพื้นฐานดี มีการศึกษาถ้วนหน้า พัฒนาเศรษฐกิจหมู่บ้าน ส่งเสริม การท่องเที่ยวผาสามยอด”

องค์การบริหารส่วนต�ำบล

หนองกุงแก้ว 194 SBL Magazine บันทึกประเทศไทย .indd 194

25/10/60 11:31:44 AM


ข้อมูลทั่วไป

องค์การบริหารส่วนต�ำบลหนองกุงแก้ว มีพื้นที่ประมาณ 141 ตารางกิโลเมตร หรือ ประมาณ 88,136 ไร่ ลักษณะภูมิประเทศโดย ทั่วไปเป็นที่ราบสูงมีภูเขาเป็นต้นน�้ำล�ำธาร เหมาะแก่การอนุรกั ษ์ สภาพดินเป็นดินร่วนปน ทราย มี แ หล่ ง น�้ ำ ธรรมชาติ ที่ ส� ำ คั ญ และ มีลำ� ห้วย 9 แห่ง จึงเหมาะส�ำหรับการเกษตร ท�ำนา ท�ำไร่ เลี้ยงสัตว์ และเป็นที่อยู่อาศัย การปกครอง องค์การบริหารส่วนต�ำบลหนองกุงแก้ว ประกอบด้วยหมูบ่ า้ น 13 หมูบ่ า้ น ดังนี้ หมูท่ ี่ 1 บ้านหนองคังคา หมู่ที่ 2 บ้านโนนสะอาด หมู่ที่ 3 บ้านคอกวัว หมู่ที่ 4 บ้านหนองกุงแก้ว หมู่ที่ 5 บ้านผาสุก หมู่ที่ 6 บ้านนาส�ำราญ หมู่ที่ 7 บ้านผาเสด็จ หมู่ที่ 8 บ้านผาสวรรค์ หมู่ที่ 9 บ้านวังชัย หมู่ที่ 10 บ้านทองดีพัฒนา หมู่ที่ 11 บ้านนารุ่งเรือง หมู่ที่ 12 บ้านศรี หนองกุง และหมู่ที่ 13 บ้านใหม่ทานตะวัน ประชากร มีจ�ำนวนประชากรรวมทั้งสิ้น 7,282 คน แยกเป็ น ชาย 3,662 คน หญิง 3,620คน มี จ� ำ นวนครั ว เรื อ น 2,184 หลั ง คาเรื อ น ( ณ กรกฎาคม 2558 ) สภาพทางเศรษฐกิจ ประชากรส่ ว นใหญ่ ป ระกอบอาชี พ เกษตรกรรม คือ ท�ำนา ท�ำไร่ (ถัว่ เขียว ข้าวโพด อ้อย) และอาชีพรับจ้าง

โครงการบ้านเทิดไท้ สร้างบ้านให้ผู้พิการและผู ้สูงอายุ จ�ำนวน 3 หลัง หมู ่ 2, หมู ่ 5, และหมู ่ 12

สภาพสังคม สถานศึกษา ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จ�ำนวน 5 แห่ง โรงเรียนประถมศึกษา จ�ำนวน 7 แห่ง โรงเรียนในพระราชด�ำริ จ�ำนวน 1 แห่ง โรงเรียนมัธยมศึกษา จ�ำนวน 1 แห่ง ทีอ่ า่ นหนังสือพิมพ์ประจ�ำหมูบ่ า้ น จ�ำนวน 13 แห่ง สถาบันทางศาสนา มีวัด/ส�ำนักสงฆ์ จ�ำนวน 16 แห่ง สาธารณสุข มีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจ�ำต�ำบล 2 แห่ง ตั้งอยู่ที่บ้านหนองกุงแก้ว และบ้านผาสุก NONGBUALAMPHU 195

.indd 195

25/10/60 11:31:45 AM


ศักยภาพที่เอื้อต่อการพัฒนา

องค์การบริหารส่วนต�ำบลหนองกุงแก้ว ลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบสูงสลับภูเขา จึ ง เหมาะส� ำ หรั บ การเกษตรกรรมมากกว่ า อย่างอื่น เพราะมีแหล่งน�้ำเพียงพอต่อการ ท�ำการเกษตร และยังมีทรัพยากรธรรมชาติ อีกอย่างหนึ่ง คือแร่หิน ด้วยข้อดีของพื้นที่ที่ส่วนใหญ่เป็นหุบเขา และดินมีแต่ธาตุสงู จึงเหมาะแก่การปลูกไม้ผล ที่เป็นพืชเศรษฐกิจ ส่วนพื้นที่ราบลุ่มบางแห่ง เหมาะแก่ ก ารท� ำ นา แต่ จุ ด ส� ำ คั ญ คื อ การมี แหล่งท่องเที่ยว ทางธรรมชาติ และมีถ�้ำต่างๆ อยู่ประมาณ 100 กว่าถ�้ำ

นายกอบต.หนองกุงแก้วชวนเที่ยว

ในเขตพื้ น ที่ อ งค์ ก ารบริ ห ารส่ ว นต� ำ บล หนองกุงแก้ว มีสถานทีท่ อ่ งเทีย่ วทีน่ า่ สนใจ ดังนี้ เขาสามยอด ซึ่งเป็นทั้งแหล่งท่องเที่ยว ทางธรรมชาติทมี่ ที วิ ทัศน์สวยงาม และมีสตั ว์ปา่ นานาชนิดเพราะมีสภาพเป็นป่าไม้ทอี่ ดุ มสมบูรณ์ และเป็นต้นก�ำเนิดแหล่งน�้ำธรรมชาติที่ส�ำคัญ อีกแห่งหนึง่ เขาสามยอดตัง้ อยูบ่ ริเวณบ้านผาสุก บ้านผาสวรรค์ และบ้านผาเสด็จ ซึ่งอยู่ทาง ทิศเหนือของ อบต.หนองกุงแก้ว ถ�้ ำ ทองผาจั น ได ตั้งอยู่ที่บ ้านผาเสด็จ หมู่ 7 ลักษณะเป็นถ�้ำที่มีหินย้อยมีน�้ำหยด สวยงาม มี ท างขึ้ น ลงสะดวก ตั้ ง อยู ่ ท าง ทิศตะวันตกของ อบต.หนองกุงแก้ว

โครงการกิจกรรมรดน�้ำด�ำหัวผู ้สูงอายุ ในวันสงกรานต์

196 SBL Magazine บันทึกประเทศไทย .indd 196

25/10/60 11:31:53 AM


นโยบายของผูบ้ ริหารอบต.หนองกุงแก้ว

คณะผู้บริหารองค์การบริหารส่วนต�ำบล หนองกุงแก้ว ได้ก�ำหนดนโยบายและแนวทาง ในการพั ฒ นาองค์ ก ารบริ ห ารส่ ว นต� ำ บล หนองกุงแก้ว ดังนี้ 1. พัฒนาโครงสร้างพืน้ ฐาน สาธารณูปโภค สาธารณูปการ ให้ได้มาตรฐานและเพียงพอกับ ความต้องการของประชาชนตามศักยภาพของ อบต. ควบคู่กับการวางผังเมืองที่ดี 2. สร้างระบบการบริหารจัดการน�้ำที่มี ประสิทธิภาพ เพื่อแก้ไขภัยแล้งอย่างถาวร 3. ส่ ง เสริ ม ให้ มี ก ารรวมกลุ ่ ม กั น เพื่ อ ประกอบอาชีพเสริม เพือ่ เพิม่ รายได้ให้กบั ครัว เรือนแก้ไขปัญหาความยากจน พร้อมกับจัดหา ตลาดรองรับผลผลิตควบคู่กัน 4. พัฒนาตลาดเกษตร ให้มตี ลาดเกษตร ระดับต�ำบล ให้ประชาชนใช้เป็นแหล่งจ�ำหน่าย ผลผลิตทางการเกษตร 5. สร้างระบบบริหารจัดการทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรป่าไม้ พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวและส่งเสริมเชื่อมโยง การท่องเที่ยว 6. พัฒนาระบบการจัดเก็บข้อมูลด้านต่างๆ ของหมู่บ้าน โดยสนับสนุนการน�ำเทคโนโลยี ที่ทันสมัยมาใช้ในการจัดเก็บข้อมูล เพื่อให้มี ระบบฐานข้ อ มู ล ที่ ถู ก ต้ อ ง รวดเร็ ว และมี ประสิทธิภาพ 7. พัฒนาและส่งเสริมความรูค้ วามเข้าใจ ในด้านการเมือง การบริหาร และการปกครอง ให้ กั บ ประชาชน สนั บ สนุ น การมี ส ่ ว นร่ ว ม ในการด�ำเนินการระหว่าง ภาครัฐกับประชาชน ในรูปแบบต่างๆ 8. พัฒนาประสิทธิภาพ เพิม่ บทบาทของ องค์การบริหารส่วนต�ำบล ในงานด้านสังคม สงเคราะห์ 9. ฟื้นฟู อนุรักษ์ ส่งเสริม มรดกทาง วัฒนธรรม ประเพณีทอ้ งถิน่ ให้คงอยูค่ ทู่ อ้ งถิน่ และเป็นที่สนใจและดึงดูดนักท่องเที่ยว 10. เพิม่ ประสิทธิภาพการบริหารงานของ องค์การบริหารส่วนต�ำบล เน้นการบริการ ที่รวดเร็ว ลดขั้นตอนการท�ำงาน สร้างความ ประทับใจแก่ผู้มาติดต่อ และสามารถตอบ สนองต่ อ นโยบายของรั ฐ บาลหรื อ งานของ หน่วยเหนือได้อย่างมีประสิทธิภาพ

โครงการโรงกรองน�้ำดื่มเพื่อประชาชน ตัง้ อยู ่ท่ี หมู ่ 13 และ หมู ่ 2

NONGBUALAMPHU 197 .indd 197

25/10/60 11:31:54 AM


บันทึกเส้นทางพบองค์การบริหารส่วนต�ำบล องค์การบริหารส่วนต�ำบลหันนางาม ซึง่ ตัง้ เลขที่ 120 หมู่ 3 บ้านห้วยกวางทอง ต�ำบลหันนางาม อ�ำเภอศรีบญ ุ เรือง จังหวัดหนองบัวล�ำภู โดยตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกห่างจาก ที่ว่าการอ�ำเภอศรีบุญเรืองประมาณ 3 กิโลเมตร

นายประธาน หาญเชิงชัย

นายกองค์การบริหารส่วนต�ำบลหันนางาม “ น�้ำไหล ไฟสว่าง ทางดี มีเงินใช้ ”

องค์การบริหารส่วนต�ำบล

หันนางาม

ข้อมูลทั่วไป

องค์การบริหารส่วนต�ำบลหันนางาม จัดตั้งเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2540 โดยมีพนื้ ทีท่ งั้ หมด 18,187.50 ไร่ หรือจ�ำนวน 29.10 ตารางกิโลเมตร มีพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูงและที่ราบลุ่มบางส่วน มีป่าไม้ผลัดใบ ที่หมู่บ้านอนุรักษ์ไว้เป็นป่าสาธารณะประโยชน์ เพื่อเป็นพื้นที่เลี้ยงสัตว์ และเป็นแหล่งอาหารของชุมชน ทางทิศตะวันออกมีน�้ำมอไหลผ่านและ ทางทิศตะวันตกมีล�ำน�ำ้ ห้วยกวางโตนไหลผ่าน การปกครอง ต�ำบลหันนางาม โดยแบ่งเขตการปกครอง จ�ำนวน 8 หมู่บ้าน ดังนี้ หมู่ที่ 1 บ้านศรีประเสริฐ หมู่ที่ 2 บ้านโปร่งแจ้ง หมู่ที่ 3 บ้านห้วยกวางทอง หมู่ที่ 4 บ้านสวนสวรรค์ หมู่ที่ 5 บ้านนาดี หมู่ที่ 6 บ้านโนนข่า หมู่ที่ 7 บ้านหันนางาม และหมู่ที่ 8 บ้านเหล่าใหญ่ ประชากร มีประชากรรวมทั้งสิ้น 4,464 คน แบ่งเป็นชาย 2,420 คน หญิง 2,344 คน มีครัวเรือนทั้งสิ้น 1,680 ครัวเรือน สภาพทางสังคม - การศึกษา มีโรงเรียนระดับประถมศึกษา 5 แห่ง คือ โรงเรียนบ้าน โปร่งแจ้ง โรงเรียนบ้านห้วยกวางทอง โรงเรียนบ้านนาดีคุรุราษฎร์บ�ำรุง โรงเรียนบ้านโนนข่าประชาสรรค์ และโรงเรียนกุดจิกวิทยา มีศูนย์พัฒนา เด็กเล็ก 3 แห่ง คือ 1. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดโพธิ์ชัย 2. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดกุศลกิจพิทักษ์ 3. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนต�ำบลหันนางาม - สาธารณสุข มีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพต�ำบลหันนางาม สภาพเศรษฐกิจ -อาชีพ ประชากรส่วนใหญ่ ร้อยละ 90 ประกอบอาชีพด้านการเกษตร คือ ท�ำนา ท�ำสวน ท�ำไร่ เลีย้ งสัตว์ รับจ้างทัว่ ไป และรับราชการ ร้อยละ 10 198 SBL Magazine บันทึกประเทศไทย .

4

.indd 198

30/10/2560 10:00:51


บันทึกเส้นทางพบองค์การบริหารส่วนต�ำบล องค์การบริหารส่วนต�ำบลหันนางาม ซึ่งตั้ง เลขที่ 120 หมู่ที่ 3 บ้านห้วยกวางทอง ต�ำบลหัน นางาม อ�ำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวล�ำภู โดยตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกห่างจากที่ว่าการอ�ำเภอ ศรีบุญเรืองประมาณ 3 กิโลเมตร

นายประธาน หาญเชิงชัย

นายกองค์การบริหารส่วนต�ำบลหันนางาม “ น�้ำไหล ไฟสว่าง ทางดี มีเงินใช้ ”

องค์การบริหารส่วนต�ำบล

หันนางาม

ข้อมูลทั่วไป

องค์การบริหารส่วนต�ำบลหันนางาม จัดตั้งเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2540 โดยมีพื้นที่ทั้งหมด 18,187.50 ไร่ หรือจ�ำนวน 29.10 ตาราง กิโลเมตร มีพนื้ ทีส่ ว่ นใหญ่เป็นทีร่ าบสูงและทีร่ าบลุม่ บางส่วน มีปา่ ไม้ผลัด ใบทีห่ มูบ่ า้ นอนุรกั ษ์ไว้เป็นป่าสาธารณะประโยชน์ เพือ่ เป็นพืน้ ทีเ่ ลีย้ งสัตว์ และเป็นแหล่งอาหารของชุมชน ทางทิศตะวันออกมีน�้ำมอไหลผ่านและ ทางทิศตะวันตกมีล�ำน�ำ้ ห้วยกวางโตนไหลผ่าน การปกครอง ต�ำบลหันนางาม โดยแบ่งเขตการปกครอง จ�ำนวน 8 หมู่บ้าน ดังนี้ หมู่ที่ 1 บ้านศรีประเสริฐ หมู่ที่ 2 บ้านโปร่งแจ้ง หมู่ที่ 3 บ้านห้วยกวางทอง หมู่ที่ 4 บ้านสวนสวรรค์ หมู่ที่ 5 บ้านนาดี หมู่ที่ 6 บ้านโนนข่า หมู่ที่ 7 บ้านหันนางาม และหมู่ที่ 8 บ้านเหล่าใหญ่ ประชากร มีประชากรรวมทั้งสิ้น 4,464 คน แบ่งเป็นชาย 2,420 คน หญิง 2,344 คน มีครัวเรือนทั้งสิ้น 1,680 ครัวเรือน สภาพทางสังคม - การศึกษา มีโรงเรียนระดับประถมศึกษา 5 แห่ง คือ โรงเรียนบ้าน โปร่งแจ้ง โรงเรียนบ้านห้วยกวางทอง โรงเรียนบ้านนาดีคุรุราษฎร์บ�ำรุง โรงเรียนบ้านโนนข่าประชาสรรค์ และโรงเรียนกุดจิกวิทยา มีศูนย์พัฒนา เด็กเล็ก 3 แห่ง คือ 1. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดโพธิ์ชัย 2. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดกุศลกิจพิทักษ์ 3. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนต�ำบลหันนางาม - สาธารณสุข มีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพต�ำบลหันนางาม สภาพเศรษฐกิจ -อาชีพ ประชากรส่วนใหญ่ ร้อยละ 90 ประกอบอาชีพด้านการเกษตร คือ ท�ำนา ท�ำสวน ท�ำไร่ เลีย้ งสัตว์ รับจ้างทัว่ ไป และรับราชการ ร้อยละ 10 198 SBL Magazine บันทึกประเทศไทย .

4

.indd 1

24/10/2560 17:24:48


- กลุ่มอาชีพ ได้แก่ 1. กลุ่มทอผ้าฝ้าย ผ้าไหมมัดหมี่ ผ้าห่ม ผ้าทอมือทุกชนิด ตั้งอยู่ เลขที่ 73/1 หมู่ 1 บ้านศรีประเสริฐ มีนางเสถียร มูลตรี เป็นประธานกลุม่ 2. กลุ่มผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวบ้านหันนางาม-ศรีประเสริฐ (ข้าวฮาง) ตัง้ อยูเ่ ลขที่ 104 หมู่ 1 บ้านศรีประเสริฐ มีนายสนิท หินชัด เป็นประธานกลุม่ 3. กลุ่มงานฝีมือ (ถักไหมพรมเป็นผ้าพันคอ ผ้าคลุมไหล่ ฯลฯ) ตั้งอยู่ เลขที่ 10/2 บ้านนาดี มีนางนารีรัตน์ สร้อยสูงเนิน เป็นประธานกลุ่ม - แรงงาน ประชาชนส่วนใหญ่เป็นแรงงานในภาคการเกษตร หลังจากเสร็จ สิน้ ฤดูกาลท�ำนาแล้ว ประมาณ 60 % จะอพยพไปท�ำงานตัดอ้อย ท�ำงาน ก่อสร้าง และท�ำงานโรงงานทีก่ รุงเทพฯ และต่างจังหวัด ประมาณ 30 % จะท�ำงานหัตกรรมภายในหมู่บ้าน เช่น ทอผ้า และอีกส่วนหนึ่งประมาณ 10 % จะปลูกพืชฤดูแล้ง และท�ำการเกษตรรูปแบบฟาร์ม และไร่นาสวน ผสม ดังนั้น ลักษณะเศรษฐกิจของชุมชนในต�ำบลจะมีการเปลี่ยนแปลง จากอดีต ซึ่งเป็นเศรษฐกิจแบบพอเพียงกลับกลายเป็นเศรษฐกิจที่ต้อง แข่งขันกันมากขึ้น แต่สิ่งที่ท�ำให้ชุมชนยังมีความเป็นอยู่แบบเรียบง่าย และมีความเอือ้ เฟือ้ เผือ่ แผ่ ช่วยเหลือกันและกัน เพราะในชุมชนยังมีความ เชื่ อ ประเพณี และศาสนาที่ ยั ง คงมี อิ ท ธิ พ ลต่ อ คนในชุ ม ชนโดยไม่ เสื่อมคลาย ดังจะเห็นได้จากการร่วมท�ำบุญประเพณีต่างๆ ที่ประชาชน ได้ร่วมกันเป็นน�้ำหนึ่งใจเดียวกันตลอดมาจากอดีตถึงปัจจุบัน ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม ด้านศาสนา ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ มีวัด/ส�ำนักสงฆ์ เป็นสถานที่บ�ำเพ็ญประโยชน์ทางการศาสนา ดังนี้ 1. วัดกุศลกิจพิทักษ์ บ้านศรีประเสริฐ–หันนางาม 2. วัดแจ้งอรุณวนาราม 3. วัดป่ามฤคทายวัณ บ้านห้วยกวางทอง 4. วัดมีชัยทุ่ง บ้านสวนสวรรค์ 5. วัดโพธิ์ชัย บ้านนาดี 6. วัดสว่างวิทยาราม บ้านโนนข่า 7. วัดเกาะแก้วรัตนาราม บ้านเหล่าใหญ่ NONGBUALAMPHU 199 .

4

.indd 2

24/10/2560 17:24:50


บันทึกเส้นทางพบองค์การบริหารส่วนต�ำบล

ประเพณีและงานประจ�ำปี มีการจัดประเพณีฮีตสิบสองคลองสิบสี่ เช่น บุญบั้งไฟ บุญเบิกบ้าน เป็นต้น ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภาษาถิ่น 1) ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สืบทอดกันมาแต่บรรพบุรุษ และปัจจุบันยัง ไม่ลบเลือนหายไปยังมีลูกหลานสานต่อและสืบทอดต่อๆ กันมา คือ - ด้านเกษตรกรรม มีการท�ำการเกษตรแบบผสมผสาน ตามแนว พระราชด�ำริ โดยการน�ำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้โดยการปลูกพืชผักสวน ครัว ไม้ยืนต้น และการเลี้ยงสัตว์ผสมผสานกันไปการท�ำหุ่นไล่กา - ด้านหัตถกรรม มีการท�ำเครื่องจักสาน เครื่องมือในการท�ำประมง การทอเสื่อ การทอผ้ามัดหมี่ย้อมคราม การท�ำโคมลมลอยฟ้า การสาน กระติบข้าว การทอเสื่อ - การถนอมอาหาร มีการถนอมอาหารเพือ่ การเก็บและรักษาอาหาร เพื่อชะลอการเน่าเสียของอาหาร หรือป้องกันโรคอาหารเป็นพิษในขณะ ที่ยังรักษาคุณค่าทางโภชนาการ สีสัน และกลิ่นให้คงอยู่ เช่น การดอง การตาก การกวน และการแช่อิ่ม 2) ภาษาถิ่นอีสานเป็นภาษาถิ่นใช้สื่อสารเป็นส่วนใหญ่ และภาษา กลางในการติดต่องานราชการ

ยุทธศาสตร์การพัฒนา

1. นโยบายแนวทางการพัฒนาขององค์การบริหารส่วนต�ำบล หันนางามถิ่นน่าอยู่ พัฒนาสาธารณูปโภคพื้นฐาน สร้างงานชุมชน 2. วิสัยทัศน์ น�้ำไหล ไฟสว่าง ทางดี มีเงินใช้ 3. พันธกิจ 3.1 ปรับปรุงและพัฒนาระบบสาธารณูปโภคให้ได้มาตรฐาน และเพียงพอต่อความต้องการ 3.2 ส่งเสริมสนับสนุนและสร้างความเข้มแข็งของกลุ่มอาชีพ เพื่อพัฒนารายได้ของประชาชนยั่งยืน 3.3 พัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวติ ของประชาชน ให้มคี วาม เป็นอยู่ที่ดีขึ้น 3.4 จัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิง่ แวดล้อมอย่างยัง่ ยืน โดย ชุมชน/ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่ง แวดล้อม 3.5 ปรับปรุงและพัฒนาระบบบริหารจัดการให้มคี วามโปร่งใส และสามารถตรวจสอบได้ ลดความซ�ำ้ ซ้อน ลดขัน้ ตอนและระยะเวลาการ ปฏิบัติราชการ เพื่อบริการประชาชนให้ได้รับความสะดวก รวดเร็วและ เป็นธรรม 4. จุดมุ่งหมายเพื่อการพัฒนา 4.1 ประชาชนมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 4.2 ประชาชนมีอาชีพที่ยั่งยืน 4.3 ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น 4.4 ประชาชนมีสว่ นร่วม ในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม 4.5 ประชาชนสามารถตรวจสอบการปฏิบัติงานได้ 200 SBL Magazine บันทึกประเทศไทย .

4

.indd 3

24/10/2560 17:24:51


5. กรอบยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนา ยุทธศาสตร์ที่ 1 ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการส่งเสริม เศรษฐกิจชุมชนท้องถิ่นตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ยุทธศาสตร์ที่ 2 ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการบริหาร จัดการและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ยุทธศาสตร์ที่ 3 ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการพัฒนา คุณภาพชีวิตของประชาชนในท้องถิ่น ยุทธศาสตร์ที่ 4 ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น

กิจกรรม/โครงการเด่น ปี 2560

1. โครงการปลูกป่าเพื่อชุมชนเฉลิมพระเกียรติ 2560 2. โครงการปลูกดาวเรือง เพือ่ เทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จ พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช 3. โครงการประชาคมเพื่อจัดท�ำแผนพัฒนาท้องถิ่น 4. โครงการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า 5. โครงการป้องกันไข้เลือดออก 6. โครงการแพทย์อาสาเคลื่อนที่ (พอสว.)

สินค้าขึ้นชื่อต�ำบลหันนางาม

1. ผ้าไหมมัดหมี่ ผ้าห่ม ผ้าทอมือทุกชนิด บ้านศรีประเสริฐ 2. ผลิตเมล็ดพันธุข์ า้ วบ้านหันนางาม-ศรีประเสริฐ (ข้าวฮาง) 3. ผลิตภัณฑ์งานฝีมือ (ถักไหมพรม) บ้านนาดี

ติดต่อได้ที่

เลขที่ 120 หมู่3 ต.หันนางาม อ.ศรีบญุ เรือง จ.หนองบัวล�ำภู 39180 โทร/แฟกซ์ 042 315 668 www.hanna-ngam.go.th facebook : องค์การบริหารส่วนต�ำบลหันนางาม ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย โทร 042 315 669 NONGBUALAMPHU 201 .

4

.indd 4

24/10/2560 17:24:51


5. กรอบยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนา ยุทธศาสตร์ที่ 1 ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการส่งเสริม เศรษฐกิจชุมชนท้องถิ่นตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ยุทธศาสตร์ที่ 2 ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการบริหาร จัดการและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ยุทธศาสตร์ที่ 3 ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการพัฒนา คุณภาพชีวิตของประชาชนในท้องถิ่น ยุทธศาสตร์ที่ 4 ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น

กิจกรรม/โครงการเด่น ปี 2560

1. โครงการปลูกป่าเพื่อชุมชนเฉลิมพระเกียรติ 2560 2. โครงการปลูกดาวเรือง เพือ่ เทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จ พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช 3. โครงการประชาคมเพื่อจัดท�ำแผนพัฒนาท้องถิ่น 4. โครงการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า 5. โครงการป้องกันไข้เลือดออก 6. โครงการแพทย์อาสาเคลื่อนที่ (พอสว.)

สินค้าขึ้นชื่อต�ำบลหันนางาม

1. ผ้าไหมมัดหมี่ ผ้าห่ม ผ้าทอมือทุกชนิด บ้านศรีประเสริฐ 2. ผลิตเมล็ดพันธุข์ า้ วบ้านหันนางาม-ศรีประเสริฐ (ข้าวฮาง) 3. ผลิตภัณฑ์งานฝีมือ (ถักไหมพรม) บ้านนาดี

ติดต่อได้ที่

เลขที่ 120 หมู่3 ต.หันนางาม อ.ศรีบญุ เรือง จ.หนองบัวล�ำภู 39180 โทร/แฟกซ์ 042 315 668 www.hanna-ngam.go.th facebook : องค์การบริหารส่วนต�ำบลหันนางาม ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย โทร 042 315 669 NONGBUALAMPHU 201

.

4

.indd 201

28/10/2560 15:03:40


บันทึกเส้นทางพบองค์การบริหารส่วนต�ำบล องค์ ก ารบริ ห ารส่ ว นต� ำ บลโนนม่ ว ง ตั้ ง อยู ่ เ ลขที่ 123 หมู่ 10 ต�ำบลโนนม่วง อ�ำเภอศรีบญ ุ เรือง จังหวัดหนองบัวล�ำภู โดยตั้ ง อยู ่ ท างทิ ศ ใต้ ข องจั ง หวั ด หนองบั ว ล� ำ ภู ตามถนน ทางหลวงหมายเลข 228 ห่างจากอ�ำเภอศรีบญ ุ เรือง เป็นระยะ ทาง 23 กิโลเมตร

นายค�ำบู่ สุขใจ

นายกองค์การบริหารส่วนต�ำบลโนนม่วง

องค์การบริหารส่วนต�ำบล

โนนม่วง

ครอง หมู่ที่ บ้าน ละมี ด้แก่ 3 7 คน 60 )

“ โครงสร้างพื้นฐานและสิ่งแวดล้อมดี มีการบริการพึงพอใจ ห่วงใยสุขภาพอนามัย ก้าวไกลการอาชีพ ” คื อ วิ สั ย ทั ศ น์ ข ององค์ ก ารบริ ห ารส่ ว นต� ำ บลโนนม่ ว ง ปั จ จุ บั น มี นายค�ำบู่ สุขใจ ด�ำรงต�ำแหน่ง นายกองค์การบริหารส่วนต�ำบลโนนม่วง และนายสุทธิพงษ์ สุย่ หนู ด�ำรงต�ำแหน่ง ปลัดองค์การบริหารส่วนต�ำบล โนนม่วง

พันธกิจขององค์การบริหารส่วนต�ำบลโนนม่วง

ข้อมูลทั่วไป

ต�ำบลโนนม่วง แยกจากต�ำบลยางหล่อ เมื่อปี พ.ศ. 2508 และได้ จัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนต�ำบล เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2540 เนื้ อ ที่ ต� ำ บลโนนม่ ว ง มี พื้ น ที่ ทั้ ง สิ้ น 124.46 ตารางกิ โ ลเมตร สภาพพื้นที่เป็นที่ราบสูงสลับกับที่ราบต�่ำและลุ่มน�้ำ เป็นลักษณะลอน ลูกคลื่น ดินร่วนปนทราย ประกอบด้วยพื้นที่ป่าไม้ ไร่นา มีล�ำน�ำ้ มอไหล ผ่านด้านทิศตะวันออกของต�ำบล 202 SBL Magazine บันทึกประเทศไทย .

4

.indd 202

1. ส่งเสริมอาชีพ เพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ชุมชน สนับสนุนแผนชุมชน 2. มีแหล่งน�ำ้ ส�ำหรับอุปโภคบริโภค และเพื่อการเกษตร 3. ปรับปรุงภูมิทัศน์ อนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ 4. โครงสร้างพื้นฐานได้มาตรฐานและทั่วถึงและเพียงพอ 5. ส่งเสริมงานการศึกษา สาธารณสุข กีฬาและนันทนาการ 6. แก้ปัญหายาเสพติดอย่างยั่งยืน 7. อนุรกั ษ์ ส่งเสริม สนับสนุนศิลปวัฒนธรรม ภูมปิ ญ ั ญาท้องถิน่ และ ปราชญ์ชาวบ้าน การปกครอง ต�ำบลโนนม่วงแบ่งการปกครองเป็น 12 หมู่บ้าน ประกอบด้วย 1. บ้านโนนหว้าทอง หมู่ 1 มีนายฝน สิงห์ส�ำราญ เป็นผู้ใหญ่บ้าน 2. บ้านตะเคียนทอง หมู่ 2 มีนายชูศักดิ์ พาจันทร์ เป็นผู้ใหญ่บ้าน 3. บ้านสิบเก้าโปร่ง หมู่ 3 มีนายประมวล ฤกษ์ยาม เป็นผู้ใหญ่บ้าน

30/10/2560 9:54:03


บันทึกเส้นทางพบองค์การบริหารส่วนต�ำบล องค์การบริหารส่วนต�ำบลโนนม่วง ตั้งอยู่เลขที่ 123 หมู่ ที่ 10 ต�ำบลโนนม่วง อ�ำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวล�ำภู โดยตั้ ง อยู ่ ท างทิ ศ ใต้ ข องจั ง หวั ด หนองบั ว ล� ำ ภู ตามถนน ทางหลวงหมายเลข 228 ห่างจากอ�ำเภอศรีบญ ุ เรือง เป็นระยะ ทาง 23 กิโลเมตร

นายค�ำบู่ สุขใจ

นายกองค์การบริหารส่วนต�ำบลโนนม่วง

องค์การบริหารส่วนต�ำบล

โนนม่วง

ครอง หมูท่ ี่ บ้าน ละมี ด้แก่ 13 7 คน 60 )

“ โครงสร้างพื้นฐานและสิ่งแวดล้อมดี มีการบริการพึงพอใจ ห่วงใยสุขภาพอนามัย ก้าวไกลการอาชีพ ” คื อ วิ สั ย ทั ศ น์ ข ององค์ ก ารบริ ห ารส่ ว นต� ำ บลโนนม่ ว ง ปั จ จุ บั น มี นายค�ำบู่ สุขใจ ด�ำรงต�ำแหน่ง นายกองค์การบริหารส่วนต�ำบลโนนม่วง และนายสุทธิพงษ์ สุย่ หนู ด�ำรงต�ำแหน่ง ปลัดองค์การบริหารส่วนต�ำบล โนนม่วง

พันธกิจขององค์การบริหารส่วนต�ำบลโนนม่วง

ข้อมูลทั่วไป

ต�ำบลโนนม่วง แยกจากต�ำบลยางหล่อ เมื่อปี พ.ศ. 2508 และได้ จัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนต�ำบล เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2540 เนื้ อ ที่ ต� ำ บลโนนม่ ว ง มี พื้ น ที่ ทั้ ง สิ้ น 124.46 ตารางกิ โ ลเมตร สภาพพื้นที่เป็นที่ราบสูงสลับกับที่ราบต�่ำและลุ่มน�้ำ เป็นลักษณะลอน ลูกคลื่น ดินร่วนปนทราย ประกอบด้วยพื้นที่ป่าไม้ ไร่นา มีล�ำน�ำ้ มอไหล ผ่านด้านทิศตะวันออกของต�ำบล 202 SBL Magazine บันทึกประเทศไทย .

4

.indd 1

1. ส่งเสริมอาชีพ เพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ชุมชน สนับสนุนแผนชุมชน 2. มีแหล่งน�ำ้ ส�ำหรับอุปโภคบริโภค และเพื่อการเกษตร 3. ปรับปรุงภูมิทัศน์ อนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ 4. โครงสร้างพื้นฐานได้มาตรฐานและทั่วถึงและเพียงพอ 5. ส่งเสริมงานการศึกษา สาธารณสุข กีฬาและนันทนาการ 6. แก้ปัญหายาเสพติดอย่างยั่งยืน 7. อนุรกั ษ์ ส่งเสริม สนับสนุนศิลปวัฒนธรรม ภูมปิ ญ ั ญาท้องถิน่ และ ปราชญ์ชาวบ้าน การปกครอง ต�ำบลโนนม่วงแบ่งการปกครองเป็น 12 หมู่บ้าน ประกอบด้วย 1. บ้านโนนหว้าทอง หมู่ 1 มีนายฝน สิงห์ส�ำราญ เป็นผู้ใหญ่บ้าน 2. บ้านตะเคียนทอง หมู่ 2 มีนายชูศักดิ์ พาจันทร์ เป็นผู้ใหญ่บ้าน 3. บ้านสิบเก้าโปร่ง หมู่ 3 มีนายประมวล ฤกษ์ยาม เป็นผู้ใหญ่บ้าน

25/10/2560 14:40:53


4. บ้านโนนสงวน หมู่ 4 มีนายวิชยั คลังกลาง เป็นก�ำนันต�ำบลโนนม่วง 5. บ้านมอเหนือ หมู่ 5 มีนายสุเมตร์ เดชแพง เป็นผู้ใหญ่บ้าน 6. บ้านฝายหิน หมู่ 6 มีนายพินิจ ล�ำไธสงค์ เป็นผู้ใหญ่บ้าน 7. บ้านหนองแวงพัฒนา หมู่ 7 มีนายค�ำตัน ศรีสุระ เป็นผู้ใหญ่บ้าน 8. บ้านโนนทรายทอง หมู่ 8 มีนายสมพงษ์ สีหะ เป็นผู้ใหญ่บ้าน 9. บ้านโนนสงวนพัฒนา หมู่ 9 มีนายมนตรี สาวิกัน เป็นผู้ใหญ่บ้าน 10. บ้านห้วยไร่ หมู่ 10 มีนายประพาส สีหาหยัก เป็นผู้ใหญ่บ้าน 11. บ้านวังหินทอง หมู่ 11 มีนายสุภาพ จันทรประทักษ์ เป็นผูใ้ หญ่บา้ น 12. บ้านโนนม่วง หมู่ 12 มีนายบัวสวรรค์ คอหล้า เป็นผู้ใหญ่บ้าน

ประชากร ต�ำบลโนนม่วงมีจ�ำนวนประชากรทั้งสิ้น 8,587 คน แบ่งเป็นชาย 4,344 คน หญิง 4,243 คน จ�ำนวนครัวเรือนทั้งสิ้น 2,137 ครัวเรือน (ข้อมูล ณ วันที่ 24 มิถุนายน 2559) สภาพเศรษฐกิจ ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพหลักคือ ท�ำนา และมีอาชีพเสริม ทอผ้าพื้นเมือง และเลี้ยงสัตว์ สภาพสังคม สถานศึกษา มีโรงเรียน จ�ำนวน 5 แห่ง ได้แก่ โรงเรียนฝายหินประชารักษ์ โรงเรียน โนนสงวนสิ บ เก้ า โปร่ ง วิ ท ยา โรงเรี ย นบ้ า นโนนหว้ า ทอง โรงเรี ย น บ้านตะเคียนทอง และโรงเรียนบ้านมอเหนือ มีศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จ�ำนวน 5 แห่ง ได้แก่ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก NONGBUALAMPHU 203 .

4

.indd 2

25/10/2560 14:40:55


บ้ า นมอเหนื อ ศู น ย์ พั ฒ นาเด็ ก เล็ ก วั ด สุ ข วนาราม(บ้ า นโนนสงวน) ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดพรหมวิหาร (บ้านฝายหิน) ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก วั ด ศรี สุ น ทรวนาราม (บ้ า นโนนหว้ า ทอง) และศู น ย์ พั ฒ นาเด็ ก เล็ ก วัดศรีรัตนวนาราม (บ้านตะเคียนทอง) - การสาธารณสุข มีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพต�ำบลในเขตพื้นที่ ต�ำบลโนนม่วง 2 แห่ง คือ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพต�ำบลบ้านโนนสงวน และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพต�ำบลบ้านฝายหิน -ศาสนา ในเขตพื้นที่ต�ำบลโนนม่วง มีวัด/ส�ำนักสงฆ์ 10 แห่ง ดังนี้ 1. วัดสุขวนาราม (บ้านโนนสงวน) 2. วันป่าท่าสิม (บ้านโนนสงวน) 3. วัดพรหมวิหาร (บ้านฝายหิน) 4. วัดป่าพรหมรังสี (บ้านฝาหิน) 5. วัดศรีสุนทรวนาราม (บ้านโนนหว้าทอง) 6. วัดป่าชาสมบัติ (บ้านโนนหว้าทอง) 7. วัดศรีรัตนวนาราม (บ้านตะเคียนทอง) 8. ส�ำนักสงฆ์หนองกุง (บ้านตะเคียนทอง) 9. วัดป่าไร่ม่วงเหนือ (บ้านมอเหนือ) 10. วัดบุพวนารามนิเวศน์ (บ้านมอเหนือ)

กิจกรรม/โครงการเด่น

- ประชาคมเพื่อจัดท�ำแผนพัฒนาสามปี ( 2560-2562) - กิจกรรมประเพณีบุญบั้งไฟ ประจ�ำปี 2559 - กิจกรรมซ้อมแผนอัคคีภัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก - กิจกรรม โครงการอบต.เคลื่อนที่ 2 - กิจกรรมรณรงค์และฝึกอบรมอาสาสมัครป้องกันไฟป่า - การฝึกอบรมทบทวน อปพร. ประจ�ำปี 2559 ณ ศูนย์ป้องกันและ บรรเทาสาธารณภัย เขต 24 อุดรธานี - กิจกรรมฝึกอบรมอาชีพเสริมเพาะเห็ดฟาง ตามแนวทางเศรษฐกิจ พอเพียง - กิจกรรมรณรงค์หมู่บ้านปลอดขยะ

OTOP ขึ้นชื่อต�ำบลโนนม่วง

1. ผ้ า มั ด หมี่ ไ หม-ฝ้ า ย สิ น ค้ า โอท็ อ ประดั บ 5 ดาว ผลิ ต โดย กลุ ่ ม ทอผ้ า บ้ า นโนนสงวนพั ฒ นา เลขที่ 9 หมู ่ 9 ต� ำ บลโนนม่ ว ง ติดต่อโทร 08 1221 1964, 08 1918 3143 2. ผ้าฝ้ายลายสายฝน เป็นผ้าทีผ่ ลิตจากเส้นด้ายดิบไม่ตกสี ผลิตโดย กลุ ่ ม ทอผ้ า บ้ า นโนนสงวนพั ฒ นา เลขที่ 9 หมู ่ 9 ต� ำ บลโนนม่ ว ง ติดต่อโทร. 08 1221 1964,08 1918 3143 3. ผ้ า พั น คอ-หมวกไหมพรม ระดั บ 3 ดาว ผลิ ต โดยกลุ ่ ม ทอ หมวกไหมพรม เลขที่ 29 โนนสงวน หมู ่ 4 ต� ำ บลโนนม่ ว ง ติดต่อโทร 08-6146-5781

204 SBL Magazine บันทึกประเทศไทย .

4

.indd 3

25/10/2560 14:40:56


สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนต�ำบลโนนม่วง

1. นายส�ำอางค์ อาจค�ำไพร 2. นายสุระ ไกยราช 3. นายวีรธนันต์ กระนูน 4. นายทรัพย์เกื้อกูล บุญสาร 5. นายไพรัตน์ มูลตรีศรี 6. นายสุระชัย ธาตุสร้อย 7. นายผัน ปุราณปู่ 8. นายแสน นิลศรี 9. นายรัญดร อ่อนพรม 10. นางบุปผา โพธิ์ศรี 11. นายศักดิ์ศิริ เดชจ�ำปา 12. นายทองม้วน จันทร์สด 13. นางวงจันทร์ สุวรรณโสภา 14. นายเคน แคนสา 15. นายแก้ว ทึงดา 16. นางอรสา ซาตัน 17. นายสนทยา แก้วมณี 18. นายม้วน โมด�ำ 19. นายนิยม เศษสุวรรณ์ 20. นายไพทูล อาจหาญ 21. นายบุญเกิด บรรเทา 22. นายสมศักดิ์ ภูพวก 23. นายผ่าน พิมพ์ดี

ประธานสภาฯ รองประธานสภาฯ ส.อบต.ม.1 ส.อบต.ม.1 ส.อบต.ม.2 ส.อบต.ม.2 ส.อบต.ม.3 ส.อบต.ม.4 ส.อบต.ม.5 ส.อบต.ม.5 ส.อบต.ม.6 ส.อบต.ม.6 ส.อบต.ม.7 ส.อบต.ม.7 ส.อบต.ม.8 ส.อบต.ม.8 ส.อบต.ม.9 ส.อบต.ม.9 ส.อบต.ม.10 ส.อบต.ม.11 ส.อบต.ม.11 ส.อบต.ม.12 ส.อบต.ม.12

NONGBUALAMPHU 205 .

4

.indd 4

25/10/2560 14:40:57


4. บ้านโนนสงวน หมู่ 4 มีนายวิชยั คลังกลาง เป็นก�ำนันต�ำบลโนนม่วง 5. บ้านมอเหนือ หมู่ 5 มีนายสุเมตร์ เดชแพง เป็นผู้ใหญ่บ้าน 6. บ้านฝายหิน หมู่ 6 มีนายพินิจ ล�ำไธสงค์ เป็นผู้ใหญ่บ้าน 7. บ้านหนองแวงพัฒนา หมู่ 7 มีนายค�ำตัน ศรีสุระ เป็นผู้ใหญ่บ้าน 8. บ้านโนนทรายทอง หมู่ 8 มีนายสมพงษ์ สีหะ เป็นผู้ใหญ่บ้าน 9. บ้านโนนสงวนพัฒนา หมู่ 9 มีนายมนตรี สาวิกัน เป็นผู้ใหญ่บ้าน 10. บ้านห้วยไร่ หมู่ 10 มีนายประพาส สีหาหยัก เป็นผู้ใหญ่บ้าน 11. บ้านวังหินทอง หมู่ 11 มีนายสุภาพ จันทรประทักษ์ เป็นผูใ้ หญ่บา้ น 12. บ้านโนนม่วง หมู่ 12 มีนายบัวสวรรค์ คอหล้า เป็นผู้ใหญ่บ้าน

ประชากร ต�ำบลโนนม่วงมีจ�ำนวนประชากรทั้งสิ้น 8,587 คน แบ่งเป็นชาย 4,344 คน หญิง 4,243 คน จ�ำนวนครัวเรือนทั้งสิ้น 2,137 ครัวเรือน (ข้อมูล ณ วันที่ 24 มิถุนายน 2559) สภาพเศรษฐกิจ ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพหลักคือ ท�ำนา และมีอาชีพเสริม ทอผ้าพื้นเมือง และเลี้ยงสัตว์ สภาพสังคม สถานศึกษา มีโรงเรียน จ�ำนวน 5 แห่ง ได้แก่ โรงเรียนฝายหินประชารักษ์ โรงเรียน โนนสงวนสิ บ เก้ า โปร่ ง วิ ท ยา โรงเรี ย นบ้ า นโนนหว้ า ทอง โรงเรี ย น บ้านตะเคียนทอง และโรงเรียนบ้านมอเหนือ มีศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จ�ำนวน 5 แห่ง ได้แก่ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก NONGBUALAMPHU 203 .

4

.indd 203

28/10/2560 14:26:02


บ้ า นมอเหนื อ ศู น ย์ พั ฒ นาเด็ ก เล็ ก วั ด สุ ข วนาราม(บ้ า นโนนสงวน) ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดพรหมวิหาร (บ้านฝายหิน) ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก วั ด ศรี สุ น ทรวนาราม (บ้ า นโนนหว้ า ทอง) และศู น ย์ พั ฒ นาเด็ ก เล็ ก วัดศรีรัตนวนาราม (บ้านตะเคียนทอง) - การสาธารณสุข มีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพต�ำบลในเขตพื้นที่ ต�ำบลโนนม่วง 2 แห่ง คือ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพต�ำบลบ้านโนนสงวน และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพต�ำบลบ้านฝายหิน - ศาสนา ในเขตพื้นที่ต�ำบลโนนม่วง มีวัด/ส�ำนักสงฆ์ 10 แห่ง ดังนี้ 1. วัดสุขวนาราม (บ้านโนนสงวน) 2. วันป่าท่าสิม (บ้านโนนสงวน) 3. วัดพรหมวิหาร (บ้านฝายหิน) 4. วัดป่าพรหมรังสี (บ้านฝาหิน) 5. วัดศรีสุนทรวนาราม (บ้านโนนหว้าทอง) 6. วัดป่าชาสมบัติ (บ้านโนนหว้าทอง) 7. วัดศรีรัตนวนาราม (บ้านตะเคียนทอง) 8. ส�ำนักสงฆ์หนองกุง (บ้านตะเคียนทอง) 9. วัดป่าไร่ม่วงเหนือ (บ้านมอเหนือ) 10. วัดบุพวนารามนิเวศน์ (บ้านมอเหนือ)

กิจกรรม/โครงการเด่น

- ประชาคมเพื่อจัดท�ำแผนพัฒนาสามปี ( 2560-2562) - กิจกรรมประเพณีบุญบั้งไฟ ประจ�ำปี 2559 - กิจกรรมซ้อมแผนอัคคีภัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก - กิจกรรม โครงการอบต.เคลื่อนที่ 2 - กิจกรรมรณรงค์และฝึกอบรมอาสาสมัครป้องกันไฟป่า - การฝึกอบรมทบทวน อปพร. ประจ�ำปี 2559 ณ ศูนย์ป้องกันและ บรรเทาสาธารณภัย เขต 24 อุดรธานี - กิจกรรมฝึกอบรมอาชีพเสริมเพาะเห็ดฟาง ตามแนวทางเศรษฐกิจ พอเพียง - กิจกรรมรณรงค์หมู่บ้านปลอดขยะ

OTOP ขึ้นชื่อต�ำบลโนนม่วง

1. ผ้ า มั ด หมี่ ไ หม-ฝ้ า ย สิ น ค้ า โอท็ อ ประดั บ 5 ดาว ผลิ ต โดย กลุ ่ ม ทอผ้ า บ้ า นโนนสงวนพั ฒ นา เลขที่ 9 หมู ่ 9 ต� ำ บลโนนม่ ว ง ติดต่อโทร 08 1221 1964, 08 1918 3143 2. ผ้าฝ้ายลายสายฝน เป็นผ้าทีผ่ ลิตจากเส้นด้ายดิบไม่ตกสี ผลิตโดย กลุ ่ ม ทอผ้ า บ้ า นโนนสงวนพั ฒ นา เลขที่ 9 หมู ่ 9 ต� ำ บลโนนม่ ว ง ติดต่อโทร. 08 1221 1964,08 1918 3143 3. ผ้ า พั น คอ-หมวกไหมพรม ระดั บ 3 ดาว ผลิ ต โดยกลุ ่ ม ทอ หมวกไหมพรม เลขที่ 29 โนนสงวน หมู ่ 4 ต� ำ บลโนนม่ ว ง ติดต่อโทร 08-6146-5781

204 SBL Magazine บันทึกประเทศไทย .

4

.indd 204

30/10/2560 10:15:28


บันทึกเส้นทางพบองค์การบริหารส่วนต�ำบล องค์การบริหารส่วนต�ำบลทรายทอง เลขที่ 268 หมู ่ ที่ 6 ต� ำ บลทรายทอง อ� ำ เภอศรี บุ ญ เรื อ ง จังหวัดหนองบัวล�ำภู อยูใ่ นพืน้ ทีอ่ ำ� เภอศรีบญ ุ เรือง โดยตั้ ง อยู ่ ห่ างจากที่ ว ่ า การอ� ำ เภอศรี บุ ญ เรื อ ง ประมาณ 12 กิโลเมตร

นายสุเมธ ศรีสงคราม

นายกองค์การบริหารส่วนต�ำบลทรายทอง “ต�ำบลทรายทองน่าอยู่ เคียงคู่คุณธรรม สร้างเสริมคุณภาพชีวิต ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง”

องค์การบริหารส่วนต�ำบล ประวัติความเป็นมา

ทรายทอง

ต� ำ บลทรายทอง จั ด ตั้ ง เมื่ อ ปี พ.ศ. 2529 โดยแยกจาก ต�ำบลหนองบัวใต้ และยกฐานะเป็นองค์การบริหารส่วนต�ำบลทรายทอง เมื่อ พ.ศ. 2540 โดยตั้งอยู่ในเขตอ�ำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวล�ำภู

พันธกิจ ( Mision)

สร้างเสริมความมั่นคงของเศรษฐกิจชุมชน ภาคเกษตรกรรม และ อุตสาหกรรม บริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม พัฒนาคุณภาพชีวิต และโครงสร้างพื้นฐานให้มีประสิทธิภาพ ส่งเสริมการอนุรกั ษ์ศลิ ปะ วัฒนธรรม จารีตประเพณี และภูมปิ ญ ั ญาท้องถิน่

ข้อมูลทั่วไป

องค์การบริหารส่วนต�ำบลทรายทอง มีพื้นที่ทั้งหมด 34,018 ไร่ หรือประมาณ 52.70 ตารางกิโลเมตร สภาพพืน้ ทีโ่ ดยทัว่ ไปเป็นทีร่ าบลุม่ มีแหล่งน�้ำธรรมชาติที่ส�ำคัญ ได้แก่ ล�ำน�้ำมอ ล�ำห้วยไผ่ ล�ำน�้ำพะเนียง ล�ำน�้ำพอง พื้นที่ส่วนใหญ่เหมาะแก่การท�ำเกษตรกรรม

การปกครองและประชากร องค์การบริหารส่วนต�ำบลทรายทอง แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 10 หมู่บ้าน มีประชากรทั้งสิ้น 8,494 คน แยกเป็นชาย 4,306 คน เป็นหญิง 4,188 คน และมีจ�ำนวนครัวเรือน 2,024 ครัวเรือน ความหนาแน่นของประชากร 102.8 คนต่อตาราง กิโลเมตร นับถือศาสนาพุทธ 100 % ดังนี้ สภาพเศรษฐกิจ ประชากรส่วนใหญ่ทำ� การเกษตรกรรม อาชีพหลัก คือ ท�ำนา ท�ำไร่ และท�ำอุตสาหกรรมในครัวเรือน อาชีพเสริม ได้แก่ หัตถกรรมจักสานในครัวเรือน ทอผ้า เลี้ยงสัตว์ ปลูกผักสวนครัวต่างๆ และแปรรูปอาหาร สภาพสังคม - การศึกษา มีโรงเรียนประถมศึกษา 4 แห่ง โรงเรียนประถมที่ขยาย โอกาสทางการศึ ก ษา 2 แห่ ง ศู น ย์ พั ฒ นาเด็ ก เล็ ก 6 แห่ ง และที่ อ่านหนังสือพิมพ์ประจ�ำหมู่บ้านทุกหมู่บ้าน

206 SBL Magazine บันทึกประเทศไทย .

4

.indd 206

30/10/2560 9:56:35


บันทึกเส้นทางพบองค์การบริหารส่วนต�ำบล องค์การบริหารส่วนต�ำบลทรายทอง เลขที่ 268 หมู่ที่ 6 ต�ำบลทรายทอง อ�ำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวล�ำภู อยูใ่ นพืน้ ทีอ่ ำ� เภอศรีบญ ุ เรือง โดยตั้ ง อยู ่ ห ่ า งจากที่ ว ่ า การอ� ำ เภอศรี บุ ญ เรื อ ง ประมาณ 12 กิโลเมตร

นายสุเมธ ศรีสงคราม

นายกองค์การบริหารส่วนต�ำบลทรายทอง “ต�ำบลทรายทองน่าอยู่ เคียงคู่คุณธรรม สร้างเสริมคุณภาพชีวิต ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง”

องค์การบริหารส่วนต�ำบล ประวัติความเป็นมา

ทรายทอง

ต� ำ บลทรายทอง จั ด ตั้ ง เมื่ อ ปี พ.ศ. 2529 โดยแยกจาก ต�ำบลหนองบัวใต้ และยกฐานะเป็นองค์การบริหารส่วนต�ำบลทรายทอง เมื่อ พ.ศ. 2540 โดยตั้งอยู่ในเขตอ�ำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวล�ำภู

พันธกิจ ( Mision)

สร้างเสริมความมั่นคงของเศรษฐกิจชุมชน ภาคเกษตรกรรม และ อุตสาหกรรม บริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม พัฒนาคุณภาพชีวิต และโครงสร้างพื้นฐานให้มีประสิทธิภาพ ส่งเสริมการอนุรกั ษ์ศลิ ปะ วัฒนธรรม จารีตประเพณี และภูมปิ ญ ั ญาท้องถิน่

ข้อมูลทั่วไป

องค์การบริหารส่วนต�ำบลทรายทอง มีพื้นที่ทั้งหมด 34,018 ไร่ หรือประมาณ 52.70 ตารางกิโลเมตร สภาพพืน้ ทีโ่ ดยทัว่ ไปเป็นทีร่ าบลุม่ มีแหล่งน�้ำธรรมชาติที่ส�ำคัญ ได้แก่ ล�ำน�้ำมอ ล�ำห้วยไผ่ ล�ำน�้ำพะเนียง ล�ำน�้ำพอง พื้นที่ส่วนใหญ่เหมาะแก่การท�ำเกษตรกรรม

การปกครองและประชากร องค์การบริหารส่วนต�ำบลทรายทอง แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 10 หมู่บ้าน มีประชากรทั้งสิ้น 8,494 คน แยกเป็นชาย 4,306 คน เป็นหญิง 4,188 คน และมีจ�ำนวนครัวเรือน 2,024 ครัวเรือน ความหนาแน่นของประชากร 102.8 คนต่อตาราง กิโลเมตร นับถือศาสนาพุทธ 100 % ดังนี้ สภาพเศรษฐกิจ ประชากรส่วนใหญ่ทำ� การเกษตรกรรม อาชีพหลัก คือ ท�ำนา ท�ำไร่ และท�ำอุตสาหกรรมในครัวเรือน อาชีพเสริม ได้แก่ หัตถกรรมจักสานในครัวเรือน ทอผ้า เลี้ยงสัตว์ ปลูกผักสวนครัวต่างๆ และแปรรูปอาหาร สภาพสังคม - การศึกษา มีโรงเรียนประถมศึกษา 4 แห่ง โรงเรียนประถมที่ขยาย โอกาสทางการศึ ก ษา 2 แห่ ง ศู น ย์ พั ฒ นาเด็ ก เล็ ก 6 แห่ ง และที่ อ่านหนังสือพิมพ์ประจ�ำหมู่บ้านทุกหมู่บ้าน

206 SBL Magazine บันทึกประเทศไทย .

4

.indd 1

24/10/2560 16:20:09


- สถาบันและองค์กรศาสนา มีวัด / ส�ำนักสงฆ์ 13 แห่ง - สาธารณสุข มีสถานบริการสาธารณสุขในโครงการหลักประกัน สุขภาพถ้วนหน้า 1 แห่ง คือโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพต�ำบลทรายทอง (รพ.สต.) ตั้งอยู่หมู่ที่ 7 บ้านทรายมูล - ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน มีอาสาสมัครป้องกันและ บรรเทาสาธารณภัยฝ่ายพลเรือน (อปพร.) จ�ำนวน 87 คน กลุ่มอาชีพ 1. กลุ่มสานกระติ๊บข้าว จากต้นคล้า 2. กลุ่มทอผ้า 3.กลุ่มประมงน�้ำจืด

NONGBUALAMPHU 207 .

4

.indd 2

24/10/2560 16:20:14


บันทึกเส้นทางพบองค์การบริหารส่วนต�ำบล

สินค้า OTOP ขึ้นชื่อต�ำบลทรายทอง

กระติ๊บข้าว ผลิตโดยกลุ่มจักสาน ผ้ า พั น คอ ผ้ า สไบ ผ้ า คลุ ม ไหล่ ผ้ า ไหมมั ด หมี่ ผ้ า ทอมื อ ลาย ขัดพื้นฐาน ผลิตโดยกลุ่มทอผ้า กระเป๋า และเครื่องประดับ

สถานที่ส�ำคัญในต�ำบลทรายทอง

โรงเรียนผู้สูงอายุต�ำบลทรายทอง เนื่องด้วยองค์การบริหารส่วนต�ำบลทรายทอง เล็งเห็นความส�ำคัญ ของผู้สูงวัย จึงได้จัดโครงการ โรงเรียนผู้สูงอายุ ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิต และการจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิตของผู้สูงอายุ ให้มีการพัฒนาตนเอง ทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และจิตใจ ตลอดทั้งภูมิปัญญา และวัฒนธรรมท้องถิ่น ให้ดำ� รงสืบทอดต่อไป โรงเรียนผู้สูงอายุต�ำบลทรายทอง จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 15 เดือน มีนาคม พ.ศ. 2560 โดยมี นายธนากร อึ้งจิตรไพศาล ผู้ว่าราชการ จังหวัดหนองบัวล�ำภู พร้อมด้วยพัฒนาสังคมและความมัน่ คงของมนุษย์ จังหวัดหนองบัวล�ำภู และนายอ�ำเภอศรีบุญเรือง ร่วมเป็นเกียรติเปิด โรงเรียนผูส้ งู อายุตำ� บลทรายทอง โดยมีนกั เรียนผูส้ งู อายุเข้าร่วมโครงการ จ�ำนวน 230 คน จากผู้สูงอายุในพื้นที่ต�ำบลทรายทองทั้งหมด จ�ำนวน 1,066 คน ศาลเจ้าปู่ กุดแข้ ศาลเจ้าปู่กุดแข้ ตั้งอยู่ที่ หมู่ 1, 7, 10 ต�ำบลทรายทอง เป็นศาลที่ เก่าแก่ โดยมีมาตั้งแต่ก่อนการตั้งหมู่บ้าน เป็นที่เคารพสักการะของ ประชาชนในต�ำบลทรายทอง อ�ำเภอศรีบญ ุ เรือง จังหวัดหนองบัวล�ำภู และ จังหวัดใกล้เคียง โดยทุกวันพุธของสัปดาห์ จะมีการบวงสรวงองค์เทพ ที่สถิตอยู่ ณ ศาลเจ้าปู่ กุดแข้ เพื่อขอพรเกี่ยวกับการท�ำมาค้าขาย การสอบแข่งขัน การศึกษาต่อ ความรัก และโชคลาภ ศาลเจ้าแม่พิมพ์จันทร์พันปี ศรีตะเคียนทอง มูลเหตุจากมูลนิธิ มิราเคลออฟไลฟ์ ในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตน ราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ได้มอบหมายให้ นายมนัส โนนุช กรรมการและผู้อ�ำนวยการส�ำนักงานนโยบายและแผน มาเป็นประธาน ในพิธีมอบเกียรติบัตรให้กับผู้เข้าปฏิบัติธรรม ในโครงการ “หนึ่งใจให้ ธรรมะสัญจร” หลวงพ่อใหญ่พันปี ศรีตะเคียนทอง วัดป่าเขาล้อม อ�ำเภอท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งสัญจรมาที่ต�ำบลทรายทอง อ�ำเภอศรีบญ ุ เรือง จังหวัดหนองบัวล�ำภู ระหว่างวันที่ 1-9 มีนาคม 2557

208 SBL Magazine บันทึกประเทศไทย .

4

.indd 3

24/10/2560 16:20:21


เมือ่ เสร็จสิน้ โครงการผ่านไปได้ 3 เดือน ปรากฏมีตอตะเคียน ใหญ่ผุดขึ้นริมฝั่งแม่น�้ำพอง ชาวบ้านจึงคิดหาทางน�ำขึ้นมาไว้ บนฝั่ง เพื่อป้องกันกระแสน�้ำพัดพาไป จึงได้ท�ำพิธีบวงสรวง ผีตะเคียน ขึ้นมาประดิษฐานไว้บนฝั่งแม่น�้ำพอง คนเฒ่าคนแก่ อายุ 80–90 ปี เล่าว่า.. มีพ่อค้ารับซื้อข้าวเปลือก มาตัดต้น ตะเคียนไปท�ำเรือขนาดใหญ่ ได้ 2 ล�ำ เพื่อบรรทุกข้าวเปลือกไป ขายที่อ�ำเภอน�้ำพอง จังหวัดขอนแก่น พอบรรทุกข้าวไปขายทีไร เรือก็ล่มจม ท�ำให้ข้าวเสียหายทุกปี ณ บริเวณท่าสีดาล�ำน�้ำพอง จึงได้ทำ� พิธบี วงสรวงผีตะเคียน จากนัน้ มาก็สามารถน�ำข้าวเปลือก ไปขายได้ส�ำเร็จทุกครั้ง ค้าขายร�่ำรวย มีโชคมีลาภ มีเสน่ห์เป็น ที่รักของทุกคน ปัจจุบัน องค์การบริหารส่วนต�ำบลทรายทอง ได้ก่อสร้าง อาคารหลังคา 8 เหลี่ยม ครอบคลุมตอตะเคียน ที่มีขนาดกว้าง 15 เมตร ยาว 19 เมตร สูง 6 เมตร ไว้บนริมฝั่งแม่น�้ำพอง ุ เรือง จังหวัด ทีบ่ า้ นหนองอุ หมูท่ ี่ 6 ต�ำบลทรายทอง อ�ำเภอศรีบญ หนองบั ว ล� ำ ภู และก� ำ หนดจั ด งานบวงสรวงขึ้ น ในช่ ว งเดื อ น เมษายนของทุกปี ชาวต�ำบลทรายทองมีความเชื่อความศรัทธาว่า หากใครได้ กราบไหว้ขอพรจากศาลเจ้าแม่พมิ พ์จนั ทร์พนั ปี ศรีตะเคียนทอง ก็จะพบกับความสุข ความเจริญในชีวิต ขอโชค ขอลาภ ก็จะได้ โชคได้ลาภ เป็นผู้มีเสน่ห์สวยสดงดงามในชีวิตตลอดไป

NONGBUALAMPHU 209 .

4

.indd 4

24/10/2560 16:20:25


บันทึกเส้นทางพบองค์การบริหารส่วนต�ำบล องค์การบริหารส่วนต�ำบลกุดสะเทียน เลขที่ 139 หมูท่ ี่ 6 (บ้านใหม่ศรีทอง) อ�ำเภอศรีบญ ุ เรือง จังหวัดหนองบัวล�ำภู โดยตัง้ อยูห่ า่ งจากอ�ำเภอศรีบญ ุ เรือง ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ประมาณ 10 กิโลเมตร

นางวรินทร์ธร สุวรรณพรหม นายกองค์การบริหารส่วนต�ำบลกุดสะเทียน “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง น�ำทางเป็นศูนย์กลางการบริการ สาธารณะสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน”

องค์การบริหารส่วนต�ำบล

กุดสะเทียน

ประวัติความเป็นมา

เดิ ม ต� ำ บลกุ ด สะเที ย นเป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ของ ต�ำบลยางหล่อ อ�ำเภอเมืองหนองบัวล�ำภู จังหวัด อุดรธานี และได้แยกจากต�ำบลยางหล่อ มาตั้งเป็น ต�ำบลกุดสะเทียน เมื่อปี พ.ศ.2510 มีหมู่บ้านในเขต ความรับผิดชอบรวมทั้งสิ้น 12 หมู่บ้าน ต่อมาในปี

พ.ศ.2522 ได้มกี ารแยกหมูบ่ า้ นไปตัง้ เป็นต�ำบลหนองแก ท�ำให้ในปัจจุบนั ต�ำบลกุดสะเทียน มีจำ� นวนหมูบ่ า้ นทัง้ สิน้ 8 หมูบ่ า้ น ดังนีค้ อื บ้านกุดสะเทียน, บ้านโนนเสถียร, บ้านนาชุมแสง, บ้านนาทม, บ้านวังคูณ, บ้านใหม่ศรีทอง, บ้านกุดแท่น และบ้านคลองเจริญ องค์การบริหารส่วนต�ำบลกุดสะเทียน เดิมเป็นสภาต�ำบลกุดสะเทียน ได้จัดตั้ง เป็นองค์การบริหารส่วนต�ำบลกุดสะเทียน เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2540

210 SBL Magazine บันทึกประเทศไทย .indd 210

25/10/60 11:48:12 AM


ข้อมูลทั่วไป

องค์ ก ารบริ ห ารส่ ว นต� ำ บลกุ ด สะเที ย น มีพนื้ ทีท่ งั้ หมดประมาณ 56.36 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 35,225 ไร่ สภาพพืน้ ทีส่ ว่ นใหญ่ เป็นที่ราบสูง มีลักษณะเป็นลูกคลื่นลอนลาด สลับพื้นที่ราบเรียบถึงค่อนข้างเรียบ ความสูง ของภูมิประเทศอยู่ระหว่าง 210 - 261 เมตร จากระดับน�ำ้ ทะเล พืน้ ทีส่ ว่ นใหญ่มคี วามลาดเอียง จากทิศเหนือลงไปทางทิศใต้ ทิศเหนือของ ต� ำ บลกุ ด สะเที ย นเป็ น พื้ น ที่ ด อนสลั บ ป่ าไม้ เบญจพรรณที่เสื่อมโทรม ทิศตะวันตกและ ส่ ว นกลางของพื้น ที่ต�ำบลถึงตอนใต้จะเป็น ที่ ลุ ่ ม ล� ำ ห้ ว ย ใช้ เ ป็ น พื้ น ที่ ท� ำ นาปลู ก ข้ า ว ทิศตะวันออกเป็นทีร่ าบสลับกับทีด่ อนใช้ทำ� นา ปลูกข้าว ปลูกพืชไร่ ปลูกไม้ผลไม้ยืนต้น โดยแบ่งการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ออกเป็น 1. พื้นที่ชุมชน/ถนน/แหล่งน�้ำ/ที่สาธารณะ 2,653 ไร่ 2. พื้นที่ท�ำการเกษตร 31,577 ไร่ - พื้นที่ท�ำนา 12,289 ไร่ - พื้นที่ท�ำไร่ 14,963 ไร่ - พื้นที่ปลูกไม้เศรษฐกิจ 4,033 ไร่ - พื้นที่ปลูกพืชผัก 292 ไร่ - พื้นที่ป่าไม้ 1,331 ไร่

NONGBUALAMPHU 211 .indd 211

25/10/60 11:48:15 AM


ผลงานโดดเด่นของ อบต.กุดสะเทียน

องค์การบริหารส่วนต�ำบลกุดสะเทียน ท� ำ บั น ทึ ก ข้ อ ตกลงความร่ ว มมื อ เครื อ ข่ า ย ร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่กับส�ำนักงาน กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) เป็นศูนย์ประสานงานประเด็นเด็กและเยาวชน มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพและ เพิ่มขีดความสามารถ ในการจัดการเรียนรู้ ระหว่างภาคีเครือข่ายองค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ 20 แห่ง โดยบูรณาการการท�ำงานร่วมกับหน่วยงาน ในพืน้ ทีไ่ ด้แก่ วัดใหม่ศรีมงคล โรงเรียนกุดสะเทียน วิทยาคาร โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพต�ำบล กุดสะเทียน โรงเรียนบ้านโนนเสถียรและกลุม่ องค์กรชุมชน ในการด�ำเนินกิจกรรม ต่างๆ เช่น การริเริม่ นวัตกรรมสมุนไพรสร้างสุข เป็น การท�ำสมุนไพรไล่ยงุ การจัดท�ำพานบายศรีสขู่ วัญ ของเด็กนักเรียน การจัดให้มีพื้นที่สร้างสรรค์ ส�ำหรับเด็กและเยาชน ในการเล่นกีฬาหรือ ส่งเสริมการสันทนาการ

212 SBL Magazine บันทึกประเทศไทย .indd 212

25/10/60 11:48:16 AM


บันทึกเส้นทางพบองค์การบริหารส่วนต�ำบล องค์ ก ารบริ ห ารส่ ว นต� ำ บลบ้ า นถิ่ น ตั้ ง อยู ่ ห มู ่ ที่ 5 บ้านโสกก้านเหลือง ต�ำบลบ้านถิ่น อ�ำเภอโนนสัง จังหวัด หนองบัวล�ำภู โดยตัง้ อยูท่ างทิศเหนือห่างจากอ�ำเภอโนนสัง ประมาณ 15 กิโลเมตร และห่างจากจังหวัดหนองบัวล�ำภู ประมาณ 31 กิโลเมตร

นายณรงค์ นาสา

นายกองค์การบริหารส่วนต�ำบลบ้านถิ่น

องค์การบริหารส่วนต�ำบล

บ้านถิ่น

“น�้ำโซมไหลผ่าน อุทยานของเก่า ยุ้งข้าวหลังใหญ่ ผ้าไหมมัดหมี่ ประเพณีงามเลิศ ประเสริฐแท้คุณธรรม” คือค�ำขวัญของต�ำบลบ้านถิน่ ซึง่ อยูใ่ นความดูแลขององค์การบริหาร ส่วนต�ำบลบ้านถิ่น ปัจจุบันมี นายณรงค์ นาสา ด�ำรงต�ำแหน่งนายก องค์การบริหารส่วนต�ำบลบ้านถิ่น ซึ่งบริหารงานให้บรรลุวิสัยทัศน์ การพัฒนาที่ว่า “เมืองอู่ข้าวอู่นำ�้ ประชาชนชาญฉลาดท�ำกิน ในดินแดนสันติสุข”

ข้อมูลทั่วไป

องค์การบริหารส่วนต�ำบลบ้านถิ่น มีพื้นที่ประมาณ 36.624 ตาราง กิโลเมตร ประมาณ 22,890 ไร่ การปกครอง มีหมู่บ้านในเขตองค์การบริหารส่วนต�ำบลบ้านถิ่น จ�ำนวน 10 หมู่บ้าน ประชากร ต�ำบลบ้านถิ่นมีประชากรทั้งสิ้น 6,381 คน แบ่งเป็น ชาย 3,241 คน หญิง 3,140 คน มีจำ� นวนครัวเรือนทัง้ สิน้ 1,533 ครัวเรือน (ข้อมูล ณ เดือนกรกฎาคม 2560) ด้านเศรษฐกิจ ประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนต�ำบลบ้านถิ่น ประมาณร้อยละ 70 ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ผลผลิตที่ส�ำคัญ ได้แก่ ข้าว มันส�ำปะหลัง อ้อย เป็นต้น ประเพณีส�ำคัญ ประเพณี ก ่ อ เจดี ย ์ ท ราย ณ วั ด ตาดคี รี วั น บ้านหนองเล้าข้าว ต�ำบลบ้านถิ่น อ�ำเภอโนนสัง จังหวัดหนองบัวล�ำภู ซึ่งจะจัดเป็นประจ�ำทุกปี ในวันขึ้น 15 ค�่ำ เดือนหก และยังเป็นประเพณี ก่อเจดีย์ทรายหนึ่งเดียวของจังหวัดหนองบัวล�ำภูอีกด้วย

.

3

.indd 1

รางวัลส�ำคัญที่ได้รับ

1. ได้คะแนนสูงสุด การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสใน การด�ำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ (Integrity & Transparency Assessment : ITA) ประจ� ำ ปี ง บประมาณ พ.ศ. 2558 จังหวัดหนองบัวล�ำภู NONGBUALAMPHU 213 25/10/2560 14:45:43


2. รางวัลการบริหารการจัดเก็บข้อมูลความจ�ำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) ระดับดีเยี่ยม ปี 2558

สถานที่ท่องเที่ยวส�ำคัญ

แหล่งโบราณคดีบ้านกุดกวางสร้อย ตั้งอยู่ที่บ้านกุดกวางสร้อย หมู่ที่ 2 ต�ำบลบ้านถิ่น อ�ำเภอโนนสัง จังหวัดหนองบัวล�ำภู มีประวัติการ ขุดค้นโดย นายวิลเลี่ยม โซฟเฟอร์ ซึ่งได้ขออนุญาตกรมศิลปากรขุดค้น เมื่ อ พ.ศ. 2517 และหน่ ว ยศิ ล ปากรที่ 7 ขอนแก่ น ขุ ด ค้ น เมื่ อ พ.ศ. 2536 ต่อมาส�ำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ 7 ขอนแก่น ร่วมกับส�ำนักศึกษาธิการจังหวัดหนองบัวล�ำภู ส�ำรวจอีก ครั้ง เมื่อ พ.ศ. 2540 ลักษณะของโบราณสถานบ้านกุดกวางสร้อย เป็นเนินดินขนาด 155x200 เมตร สูงประมาณ 2-3 เมตร จากที่ราบ จากการขุดค้นพบ หลักฐานสมัยก่อนประวัติศาสตร์ทวารวดีและล้านช้าง มีอายุ 2,500 ปี มาแล้ว โบราณวัตถุเด่นๆ ที่ขุดพบ ได้แก่ โครงกระดูกมนุษย์ ภาชนะดินเผา ก�ำไรส�ำริด ก�ำไรหิน แม่พิมพ์ท�ำจากหินทราย ส�ำหรับหล่อหัวขวานส�ำริด เครื่องมือเหล็ก ลูกปัดแก้ว เป็นต้น ซึ่งลักษณะเครื่องปั้นดินเผาคล้าย กับวัฒนธรรมบ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี

214 SBL Magazine บันทึกประเทศไทย .

3

.indd 2

25/10/2560 14:45:52


สินค้า OTOP ที่ส�ำคัญ/กลุ่มอาชีพ

องค์การบริหารส่วนต�ำบลบ้านถิ่น มีกลุ่มอาชีพที่ส�ำคัญทั้งหมด 15 กลุ่ม ซึ่งกลุ่มอาชีพส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มทอผ้า โดยมีสินค้าที่ส�ำคัญ คือ ผลิตภัณฑ์ผา้ ฝ้ายทอมือ โดยกลุ่มวิสาหกิจชุมชน “กลุ่มทอผ้ามัดหมี่ ลายประยุกต์” ซึ่งได้รับรางวัลต่างๆ ดังนี้ OTOP ระดั บ 5 ดาว พ.ศ. 2559 ลายผ้ า มั ด หมี่ 4 ตะกอ (ลายไหกุดกวางสร้อย) มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชมุ ชน ผ้าลายขัด 2 ตะกอ ประเภทผ้าซิน่ (มผช. 2557) มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน ผ้าลายมัดหมี่ 4 ตะกอ ประเภทผ้าซิ่น (มผช. 2559)

ติดต่อ อบต.บ้านถิ่น

องค์การบริหารส่วนต�ำบลบ้านถิ่น หมายเลขโทรศัพท์/โทรสาร 042 109 826 www.bantin.go.th

NONGBUALAMPHU 215 .

3

.indd 3

25/10/2560 14:46:02


บันทึกเส้นทางพบเทศบาลต�ำบล เทศบาลต�ำบลกุดดู่ ตัง้ อยูเ่ ลขที่ 142 หมูท่ ี่ 12 บ้านก้าวหน้า ถนนหมายเลข 2146(หนองบัวล�ำภู - โนนสัง) ต�ำบลกุดดู่ อ�ำเภอโนนสัง จังหวัดหนองบัวล�ำภู โดยอยู ่ ห ่ า งจากอ� ำ เภอโนนสั ง ประมาณ 10 กิ โ ลเมตร และห่ า งจาก จังหวัดหนองบัวล�ำภู ประมาณ 35 กิโลเมตร

เทศบาลต�ำบลกุดดู่

ข้อมูลทั่วไป

เทศบาลต�ำบลกุดดู่ ได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะจากสุขาภิบาลกุดดู่เป็นเทศบาล ต�ำบลกุดดู่ เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ.2542 ตามพระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะ ของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. 2542 มีเขตพื้นที่ประมาณ 3.26 ตารางกิโลเมตร หรือ ประมาณ 2,037.5 ไร่

นายวรพันธ์ ชาวชุมนุม นายกเทศมนตรีต�ำบลกุดดู่

ประชากร

จ�ำนวนประชากรรวมทั้งสิ้น 2,871 คน แบ่งเป็นชาย 1,226 คน หญิง 1,645 คน มีจ�ำนวน 689 หลังคาเรือน (ข้อมูล ณ เดือนเมษายน 2558)

216 SBL Magazine บันทึกประเทศไทย .indd 216

25/10/60 10:51:56 AM


ปัจจัยการผลิต (ด้านแหล่งทุนในชุมชน) ในเขตเทศบาลต�ำบลกุดดู่ มีการก่อตัง้ กองทุน/กลุม่ องค์กรต่างๆ ดังนี้ หมู่ที่ 1 บ้านกุดดู่เหนือ ได้แก่ กลุ่มทอผ้า กลุ่มปลูกเห็ด ฟางกุดดู่ กลุ่มทอผ้าพัฒนากุดดู่เหนือ กลุ่มเกษตรกร ผู้เลี้ยงสุกร และกลุ่มเพาะเห็ดฟางโรงเรือน หมู่ที่ 2 บ้านกุดดู่ใต้ ได้แก่ กลุ่มเกษตรกรเพาะเห็ดฟาง กลุ่มทอผ้าหมี่ขิด กลุ่มผู้สูงวัยหัวใจสร้างสุข กลุ่มถักทอกระเป๋า ด้วยมือ กลุ่มเพาะเห็ดฟางกองเตี้ย กลุ่มจักสานผู้สูงวัย กลุ่มสตรี กุดดู่ใต้ และกลุ่มทอผ้าพื้นบ้าน หมู่ที่ 12 บ้านก้าวหน้า ได้แก่ กลุม่ อาชีพสตรีบา้ นก้าวหน้า กลุม่ ขนมไทย กลุม่ เพาะเห็ดฟางกองเตีย้ กลุม่ ทอเสือ่ และจักสาน กลุ่มก้าวหน้าเบเกอรี่ไทย และกลุ่มทอเสื่อแปรรูปลายขิด หมู่ที่ 13 บ้ า นโพธิ์ ท อง ได้ แ ก่ กลุ ่ ม ผู ้ พิ ก ารต� ำ บลกุ ด ดู ่ กลุม่ ทอผ้ามัดหมีแ่ ละผ้าไหม และกลุม่ เพาะเห็ดฟางแบบโรงเรือน บ้านโพธิ์ทอง

ผลผลิตที่ส�ำคัญของชุมชน

ผลผลิตทางการเกษตร ได้แก่ ข้าวนาปี เนื้อโค กระบือ หมู ปลา ข้าวโพด ผลไม้ ยูคาลิปตัส และปุ๋ยชีวภาพ ผลิตภัณฑ์ชุมชน ได้แก่ การแปรรูปอาหาร (แจ๋วบอง) ทอผ้า พื้นเมือง ผ้าไหมมัดหมี่ และดอกไม้จันทน์

NONGBUALAMPHU 217 .indd 217

25/10/60 10:52:02 AM


โครงการเด่น ของเทศบาลต�ำบลกุดดู่ โครงการสืบสานต�ำนานบั้งไฟแสน

ประเพณีบุญบั้งไฟของชาวชุมชนบ้านกุดดู่ ได้ เริ่ ม จั ด ขึ้ น ครั้ ง แรกในปี พ.ศ.2497 โดย การน� ำ ของท่ า นพระครู วิ ม ลศี ล คุ ณ หรื อ “หลวงปูบ่ งั้ ไฟแสน” ท่านเป็นอดีตเจ้าอาวาส วัดศรีสว่างกุดดู่ และอดีตเจ้าคณะอ�ำเภอโนนสัง (ฝ่ายมหานิกาย) ท่านพระครูวิมลศีลคุณ และ ชาวบ้านกุดดูจ่ ดั ให้มบี งั้ ไฟแสนขึน้ เป็นครัง้ แรก ของอ�ำเภอโนนสัง ในปี พ.ศ.2505 โดยใช้ตน้ ตาล ท�ำเป็นเลาบัง้ ไฟ และใช้ไม้พลวงท�ำเป็นหางบัง้ ไฟ จนได้รับฉายาว่าเป็น “บั้งไฟฉบับเทพลีลา” และเป็นที่เลื่องลือของประชาชนทั้งใกล้และ ไกลจนต้ อ งแห่ แ หนกั น มาชมงานประเพณี บุญบั้งไฟบ้านกุดดู่ ในครั้งนั้นยังเกิดปรากฎการณ์ส�ำคัญเป็น ทีเ่ ลือ่ งลือกันอย่างมาก กล่าวคือ ได้พบรอยไหม้ ของต้นหญ้าในแปลงนาของพ่อใหญ่ทหารสี ไหม้จากข้างถนนจนถึงดอนปู่ตา และเกิด รอยแยกของพื้นดินจากดอนปู่ตาจนถึงวัด ศรีสว่างกุดดู่ ซึ่งชาวบ้านเชื่อว่าท่านพญานาค ได้รับรู้การท�ำบุญบั้งไฟของท่านพระครูวิมล ศีลคุณ ตั้งแต่บัดนั้นมา ชาวชุมชนบ้านกุดดู่จึง ได้สบื สานประเพณีบงั้ ไฟแสนมาจนถึงปัจจุบนั โดยจะจัดขึน้ ประมาณวันเสาร์ทสี่ องของเดือน พฤษภาคม ภายในงานมีกิจกรรมต่างๆ เช่น การแข่งขันประกวดขบวนแห่ การแข่งขัน จุดบั้งไฟขึ้นสูง เป็นต้น

218 SBL Magazine บันทึกประเทศไทย .indd 218

25/10/60 10:52:02 AM


ประวัติโดยย่อท่านพระครูวิมลศีลคุณ

ท่านเริม่ บรรพชาเป็นสามเณร เมือ่ อายุ 18 ปี เมือ่ อายุครบ 20 ปีบริบรู ณ์ ก็ได้อปุ สมบทเป็น พระภิกษุ และอยู่ในร่มกาสาวพัตรตั้งแต่บัดนั้นมา จนถึงวาระสุดท้ายแห่งชีวิต โดยท่าน มรณภาพเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2527 แม้กาลเวลาจะผ่านไปหลายสิบปี ทว่าเกียรติประวัติ และคุณปู การของท่านทีม่ ตี อ่ ชาวต�ำบลกุดดู่ ยังเป็นทีก่ ล่าวขานร�ำ่ ลือจนถึงทุกวันนี้ ทัง้ ในฐานะ นักปราชญ์ นักการศึกษา นักพัฒนา นักสังคมสงเคราะห์ ทีม่ แี นวความคิดกว้างไกล และปฏิบตั ิ ตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์ และเป็นศูนย์รวมจิตใจ ความรักความสามัคคี ตลอดทั้งเป็น ที่เคารพนับถือของพระภิกษุสามเณร จนถึงพี่น้องพุทธศาสนิกชนทั่วไปไม่เสื่อมคลาย

NONGBUALAMPHU 219 .indd 219

25/10/60 10:52:10 AM


โครงการส่งเสริมกลุ่มทอผ้าพื้นเมืองบ้านกุดดู่ ชุมชนบ้านกุดดู่ อ�ำเภอโนนสัง จังหวัด หนองบัวล�ำภู ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางด้าน เกษตรกรรม เมื่อเสร็จจากการท�ำไร่ทำ� นาแล้ว ผูห้ ญิงจะทอผ้า ผ้าทีท่ อจะน�ำมาใช้ในครอบครัว และใช้ในชีวิตประจ�ำวันในโอกาสต่างๆ เช่น ผ้าอ้อม ผ้าขาวม้า ผ้าผูกอู่ ผ้าสไบ ผ้าแพร ผ้าถุง ผ้าโสร่ง เป็นต้น การทอผ้า (ต�ำหูก) เป็นงานของผู้หญิง ที่มีการสืบทอดภูมิปัญญา พื้นบ้านนี้จากรุ่นหนึ่งไปยังอีกรุ่นหนึ่ง กระทั่งในปี พ.ศ.2510 แม่บ้านและสตรี ในหมู่บ้านได้รวมตัวเป็นกลุ่มทอผ้าพื้นเมือง บ้านกุดดู่ ซึ่งมีนางอุบล พลบูรณ์ เป็นผู้ริเริ่ม ก่อตั้ง โดยมองเห็นว่าผ้าทอพื้นเมืองซึ่งทอไว้ ใช้กนั ในครัวเรือนอยูแ่ ล้ว น่าจะสามารถประกอบ เป็นอาชีพเสริม เพือ่ เพิม่ รายได้ให้แก่ครอบครัว และเพื่ออนุรักษ์สืบสานมรดกแห่งภูมิปัญญา ของบรรพบุรุษไว้ ต่อมาในปี พ.ศ.2555 จึงได้ขอจดทะเบียน จัดตัง้ กลุม่ ขึน้ ทีเ่ ทศบาลต�ำบลกุดดู่ ในวันที่ 14 มกราคม พ.ศ.2555 โดยกลุ่มมีการบริหารงาน ในรูปแบบของคณะกรรมการและสมาชิกทุกคน ต้องเป็นกรรมการร่วมกัน มีการระดมทุนโดยการ รวมหุน้ จากสมาชิก มีสมาชิกทัง้ สิน้ จ�ำนวน 22 คน การด�ำเนินงานของกลุ่มไม่มีระเบียบข้อบังคับ ในการบริหารงานของกลุ่ม แต่จะใช้มติของ การประชุมคณะกรรมการหรือการประชุมสมาชิก กลุม่ เป็นหลัก เงินทุนทีใ่ ช้ในการด�ำเนินงานของ กลุม่ ทอผ้าได้จากการรวมหุน้ ของสมาชิก ราคา หุ้นละ 500 บาท ปัจจุบันกลุ่มมีเงินหมุนเวียน ประมาณ 50,000 บาท วัตถุดบิ ทีใ่ ช้ในการผลิต เป็นเส้นใยส�ำเร็จรูป หรือเส้นใยประดิษฐ์ สีทใี่ ช้ ย้อมเป็นสีสังเคราะห์ อุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิต ผ้าทอ เช่น กี่หรือหูก ส่วนใหญ่สมาชิกกลุ่ม จะ มีแทบทุกคน เพราะสมาชิกกลุม่ มีการทอผ้าใช้ เองภายในครัวเรือนอยู่แล้ว

ต่อมาได้รับการส่งเสริมสนับสนุนจากหน่วยงานหลายฝ่าย ได้แก่ เทศบาลต�ำบลกุดดู่ ได้สนับสนุนงบประมาณในการลงทุนเพื่อจัดหาวัตถุดิบ เช่น ด้าย ฝ้าย กี่ เป็นต้น และ มีเจ้าหน้าทีพ่ ฒ ั นากรและพัฒนาการอ�ำเภอโนนสัง มาเป็นวิทยากรให้ความรูด้ า้ นการทอผ้า ให้มีคุณภาพ ซึ่งกลุ่มยังคงอนุรักษ์การทอผ้าแบบโบราณ ตามที่ได้สืบทอดกันมาเอาไว้ ในกลุ่มมีการทอผ้าที่เป็นลักษณะเด่น โดยยังคงมีการทอผ้าด้วยกี่หรือหูกพื้นบ้านตาม ภูมิปัญญาที่สืบทอดกันมา ทั้งการทอด้วยฝ้ายหรือไหม อีกทั้งในการทอผ้าพื้นบ้านหรือ ผ้าทอมือยังมีกรรมวิธีการทอต่างๆ เช่น ทอเรียบๆ ไม่มีลายเรียกผ้าพื้น ทอเป็นลวดลาย เรียกผ้ายก ทอเป็นลวดลายด้วยการจกเรียกผ้าจก ผ้าทอเป็นลวดลายโดยการขิดเรียก ผ้าขิด ทอเป็นลวดลายด้วยการมัดย้อมเรียกผ้ามัดหมี่ ซึ่งยังคงมีให้เห็นในกลุ่มทอผ้า พื้นเมืองบ้านกุดดู่ จากการด�ำเนินงานมาระยะหนึง่ ทางกลุ่มฯ พบปัญหาหลักคือ การออกแบบลายผ้าไม่ตรง ตามความต้องการของลูกค้า การตลาดไม่ ก ว้ า งขวาง เนื่ อ งจากได้ ข าดการ ประชาสัมพันธ์สนิ ค้า การ สนับสนุนจากหน่วยงาน ราชการ ขาดการประสาน งานและไม่ต่อเนื่อง ขาด การวางแผนและการ จัดระบบที่ดี รวมทั้ง การออกแบบ การตลาด การจ� ำ หน่ า ยผลิ ต ภั ณ ฑ์ ของชุมชน การใช้สารเคมี ในการย้อมผ้ายังท�ำให้ผบู้ ริโภค เกิ ด อาการแพ้ ระคายเคื อ ง ผิวหนัง และเกิดผดผื่นคัน และ ต้องการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ ทางกลุ่มฯ จึงประสานความ ร่ ว มมื อ กั บ ภาคี ที่ เ กี่ ย วข้ อ ง ได้ แ ก่ ส� ำ นั ก ง า น เ ท ศ บ า ล ต� ำ บ ล กุ ด ดู ่ ส�ำนักงานพัฒนาชุมชนอ�ำเภอโนนสัง เพื่ อ ร่ ว มพั ฒ นาผลิ ต ภั ณ ฑ์ ผ ้ า ทอ พื้ น เมื อ งให้ ไ ด้ ม าตรฐานผลิ ต ภั ณ ฑ์ ชุมชน โดยการพัฒนากระบวนการ

220 SBL Magazine บันทึกประเทศไทย .indd 220

25/10/60 10:52:11 AM


ผลิตการย้อมสีธรรมชาติและการออกแบบ ลายผ้าที่เป็นอัตลักษณ์ของชุมชน อันจะน�ำ ไปสูก่ ารเพิม่ รายได้ให้ประชาชนในท้องถิน่ และ สามารถพั ฒ นากลุ ่ ม ธุ ร กิ จ ชุ ม ชนให้ มี ค วาม เข้ ม แข็ ง ที่ จ ะน� ำ ไปสู ่ ก ารพั ฒ นาเศรษฐกิ จ ของประเทศต่อไปในอนาคต

ปัจจุบนั ผลิตภัณฑ์ผา้ ทอจากกลุม่ ทอผ้า พืน้ เมืองบ้านกุดดู่ ได้รบั การยอมรับจากลูกค้า เป็นอย่างดี เพราะมีราคาถูก คุณภาพดี มีการ พัฒนาลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์ประจ�ำท้อง ถิ่น ก็คือ ลายกู่ก้องบั้งไฟแสน ท�ำให้กลุ่ม สามารถขายผ้าได้มากขึน้ มีรายได้เพิม่ ขึน้ โดย ช่องทางการตลาดและการจัดจ�ำหน่ายสินค้า ของกลุ่ม มีทั้งแบบขายปลีกและขายส่ง ส่วน ใหญ่เป็นการรับค�ำสั่งซื้อจากลูกค้าผ่านทาง โทรศัพท์ LINE และ Facebook การออกร้าน แสดงสินค้าร่วมกับหน่วยงานของรัฐ

NONGBUALAMPHU 221 .indd 221

25/10/60 10:52:11 AM


บันทึกเส้นทางพบองค์การบริหารส่วนต�ำบล องค์การบริหารส่วนต�ำบลกุดดู่ หมู่ที่ 12 ต�ำบลกุดดู่ อ�ำเภอโนนสัง จังหวัดหนองบัวล�ำภู โดยอยู่ห่างจากอ�ำเภอโนนสัง 10 กิโลเมตร และอยู่ห่าง จากตัวจังหวัด 35 กิโลเมตร

นายอรุณ ศรีเพียแก้ว

นายกองค์การบริหารส่วนต�ำบลกุดดู ่

องค์การบริหารส่วนต�ำบล

กุดดู่

ข้อมูลทั่วไป

ต�ำบลกุดดู่ มีสภาพภูมปิ ระเทศเป็นพืน้ ทีร่ าบสูง มีความสูง ของภูมปิ ระเทศอยูร่ ะหว่าง 180-350 เมตร จากระดับน�ำ้ ทะเล อยูร่ ะหว่างเทือกเขาภูเก้าและภูพานค�ำในเขตอุทยานแห่งชาติ ภูเก้าภูพานค�ำ ลักษณะของป่าไม้ส่วนใหญ่เป็นพืชสวน 70% ป่าสงวน/ป่าอนุรักษ์ 30% มีแหล่งน�้ำส�ำคัญคือล�ำห้วยโซม ล�ำห้วยพันโดด ล�ำห้วยกกเดื่อ และล�ำห้วยบักตู้

การปกครอง

มี จ� ำ นวน 11 หมู ่ บ ้ า น ได้ แ ก่ บ้ า นกุ ด ดู ่ ใ ต้ หมู ่ ที่ 2 บ้านหนองแวง หมูท่ ี่ 3 บ้านกุดคอเมย หมูท่ ี่ 4 บ้านหนองโดน หมูท่ ี่ 5 บ้านหนองเม็ก หมูท่ ี่ 6 บ้านหัวขัว หมูท่ ี่ 7 บ้านโสกช้าง หมู่ที่ 8 บ้านหนองแวง หมู่ที่ 9 บ้านหัวขัวสันติสุข หมู่ที่ 10 บ้านศรีสมบูรณ์ หมู่ที่ 11 และบ้านหนองเจริญ หมู่ที่ 14

ประชากร

มี ป ระชากรทั้ ง สิ้ น 7,112 แยกเป็ น ชาย 3,494 คน หญิง 3,618 ข้อมูล ณ วันที่ 30 เดือนกันยายน พ.ศ. 2559 (ที่มา: ส�ำนักทะเบียนอ�ำเภอโนนสัง)

สภาพเศรษฐกิจ

ประชากรส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพทางการเกษตร เช่น ท�ำนา ท�ำไร่ ท�ำสวนผลไม้ เลี้ยงสัตว์ เลี้ยงปลา ผลิตเครื่อง จักสาน นอกจากนี้ยังมีการรวมกลุ่มเพาะปลูกเห็ดต่างๆ และ กลุม่ เลีย้ งไหม กลุม่ โคเนือ้ ด้วย มีเพียงบางส่วนทีอ่ อกไปท�ำงาน ตามสถานที่ต่างๆ นอกเขตองค์การบริหารส่วนต�ำบล เช่น ท�ำงานเป็นลูกจ้างตามโรงงานอุตสาหกรรม รับราชการ รับจ้างทัว่ ไป

สภาพทางสังคม

องค์การบริหารส่วนต�ำบลกุดดู่ ได้ด�ำเนินการตามโครงการถ่ายโอนภารกิจ การจัดการศึกษาอนุบาล 3 ขวบ ซึ่งปฏิบัติตามนโยบายการกระจายอ�ำนาจ ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540 มาตรา 78 และพระราชบัญญัติก�ำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอ�ำนาจ ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พุทธศักราช 2542 มาตรา 30 นโยบายถ่ายโอน การจัดการศึกษาอนุบาล 3 ขวบ ให้แก่องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นด�ำเนินการ ในปีการศึกษา 2544 โดยให้โรงเรียนในสังกัดส�ำนักงานคณะกรรมการประถมศึกษา อนุบาล 3 ขวบ โดยสนับสนุนด้านอาคาร สถานที่ ด้านวิชาการและครูผสู้ อนให้ชว่ ย ด�ำเนินการต่อไป

ติดต่อ อบต.กุดดู่

องค์การบริหารส่วนต�ำบลกุดดู่ โทรศัพท์ 0-4235-6130

228 SBL Magazine บันทึกประเทศไทย .indd 228

25/10/60 11:42:20 AM


สินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึก

ประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนต�ำบล กุดดู่ ได้ผลิตของใช้พื้นเมืองขึ้นใช้ในครัวเรือน และเหลือเอาไว้จ�ำหน่ายบ้าง ได้แก่ ผ้าไหม ผ้าหมีข่ ดิ เครือ่ งจักสาน แหอวน เป็นต้น โดย มีกลุม่ อาชีพทีโ่ ดดเด่น ได้แก่ กลุม่ อาชีพการท�ำ พานบายศรีสู่ขวัญ กลุ่มอาชีพเพาะเห็ดฟาง บ้านหนองโดน หมู่ที่ 5 และกลุ่มทอผ้า บ้าน หนองเจริญ หมู่ที่ 14

NONGBUALAMPHU 229 .indd 229

25/10/60 11:42:28 AM


การสาธารณสุข

มีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพต�ำบล 1 แห่ง ตัง้ อยูท่ ตี่ ำ� บลหนองแวง หมูท่ ี่ 9 บ้านหนองแวง มี นางวิลดั ดา ศรีบญ ุ พิมพ์สวย เป็นผูอ้ ำ� นวยการ รับผิดชอบหมู่บ้านในเขตบริการ จ�ำนวน 5 หมูบ่ า้ น มี อสม.ประจ�ำหมูบ่ า้ น จ�ำนวน 11 คน

ศาสนา

ประชาชนในต�ำบลกุดดู่ นับถือศาสนาพุทธ โดยมีศาสนสถาน 12 แห่ง

ประเพณีและงานประจ�ำปี

ประเพณีวันขึ้นปีใหม่ เดือนมกราคม ประเพณีทำ� บุญบั้งไฟ เดือนพฤษภาคม ประเพณีวันสงกรานต์ เดือนเมษายน ประเพณีลอยกระทง เดือนตุลาคม-พฤศจิกายน ประเพณีวันเข้าพรรษา ออกพรรษา เดือน กรกฎาคม ตุลาคม พฤศจิกายน

กลุ่มปลูกเห็ด

ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภาษาถิ่น

ภูมปิ ญ ั ญาท้องถิน่ ประชาชนในเขต อบต.กุดดู่ ได้อนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น ได้แก่ วิธีการท�ำ เครื่องจักรสารใช้ส�ำหรับในครัวเรือน วิธีการ เลี้ยงไหมและการทอผ้าไหม วิธีการทอเสื่อ จากต้นกก และวิธีการจับปลาธรรมชาติ ภาษาถิน่ ส่วนมากร้อยละ 90 % พูดภาษาอีสาน 230 SBL Magazine บันทึกประเทศไทย .indd 230

25/10/60 11:42:33 AM


แหล่งท่องเที่ยวส�ำคัญ

โบราณสถานโนนพร้าว ตั้งอยู่ที่บ้านกุดคอเมย ขุดพบเมื่อปี พ.ศ.2537 จากการศึกษาของกรมศิลปากรพบว่า โบราณสถานแห่งนี้มีอายุใกล้เคียง กับทีบ่ า้ นเชียง จังหวัดอุดรธานี ปัจจุบนั วัตถุโบราณทัง้ หมดทีข่ ดุ ได้ เช่น โครงกระดูก ทองสัมฤทธิ์ ก�ำไล ลูกปัด เครือ่ งปัน้ ดินเผา ขวาน หอก และอืน่ ๆ เจ้าหน้าที่กรมศิลปากรน�ำไปเก็บไว้ทพี่ พิ ธิ ภัณฑสถานแห่งชาติจงั หวัดขอนแก่น

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดศรีจูมพร

NONGBUALAMPHU 231 .indd 231

25/10/60 11:42:43 AM


นโยบายการพัฒนา อบต.กุดดู่

นโยบายการพัฒนาของผู้บริหารท้องถิ่น ริเริ่มจากการส�ำรวจปัญหาและความต้องการ ของประชาชน ทั้ ง จากการท� ำ ประชาคม หมู่บ้านทั้ง 11 หมู่บ้าน ตลอดจนส่วนราชการ ต่างๆ ในพื้นที่ และที่เกี่ยวข้อง มาก�ำหนด นโยบายขององค์การบริหารส่วนต�ำบลกุดดู่ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการบริหารราชการของ องค์การบริหารส่วนต�ำบลกุดดู่ ดังนี้ 1. นโยบายการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ จะพัฒนาครอบคลุม กิจกรรมโครงสร้าง ด้านการประกอบอาชีพของประชาชนทั้งทาง ด้านการเกษตร อุตสาหกรรม ได้แก่ สนับสนุนให้มีตลาดกลางการเกษตร ส่งเสริมสนับสนุนกลุ่มเกษตรกร ส่งเสริมการแก้ไขปัญหาสาธารณภัยต่างๆ การส่ ง เสริ ม การประกอบอาชี พ และ ยกระดับรายได้ สนับสนุนกิจร้านค้าชุมชน กองทุน สนับสนุนกิจกรรมของกลุ่มอาชีพต่างๆ 2. นโยบายการพัฒนาด้านโครงสร้างพืน้ ฐาน มีนโยบายทีจ่ ะพัฒนาด้านศักยภาพเกีย่ วกับ สาธารณูปโภค สาธารณูปการต่างๆ เพือ่ ยกระดับ ความเป็นอยูแ่ ละอ�ำนวยความสะดวกในชุมชน โดยด� ำ เนิ น กิ จ กรรมโครงการเกี่ ย วกั บ การ คมนาคม ทางบก ไฟฟ้าสาธารณะ การระบายน�ำ้ การผังเมือง ได้แก่ ปรับปรุงซ่อมแซมถนนหนทางและภูมทิ ศั น์ พัฒนาปรับปรุงแหล่งน�้ำเพื่อการเกษตร สนับสนุนไฟฟ้าเพื่อการเกษตร พัฒนาปรับปรุงไฟฟ้าแสงสว่างตามถนน 3. นโยบายด้านคุณภาพชีวิต การพัฒนาจะเน้น “คน” เป็นศูนย์กลาง ของการพัฒนา เพื่อพัฒนาคนและสังคมให้มี คุณภาพการมีสภาพแวดล้อมทีจ่ ะน�ำไปสูก่ ารมี คุณภาพชีวิตที่ดี มีความมั่นคงและมีความสุข ได้แก่ ส่งเสริมพัฒนากลุ่มสตรี/เด็ก/เยาวชน/ คนพิการ/ผู้สูงอายุ/ผู้ด้อยโอกาส/ทางสังคม ส่งเสริมอาชีพสตรีและการมีงานท�ำ พัฒนากลุ่มผู้สูงอายุให้มีสวัสดิการและ ความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น สนับสนุนแหล่งท่องเทีย่ วโบราณคดีและ การกีฬา 232 SBL Magazine บันทึกประเทศไทย .indd 232

25/10/60 11:42:49 AM


ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านศรีสมบูรณ์

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดสุตตประดิษฐ์

4. นโยบายด้านการจัดระเบียบชุมชนและ สังคม สนับสนุนกลุม่ อปพร.ด้านสวัสดิการและ การสื่อสารอย่างทั่วถึง ประสานงานบูรณาการร่วมกับภาคีเครือข่าย ฝ่ายปกครอง โดยมีกำ� นัน/ผูใ้ หญ่บา้ นทุกหมูบ่ า้ น/ ผู ้ อ� ำ นวยการโรงเรี ย น/ศู น ย์ พั ฒ นาเด็ ก เล็ ก /โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ/ศพส.69 จัดให้มเี วทีประชาคมหมูบ่ า้ น, ต�ำบล เพือ่ ค้นหาปัญหา/แนวทางแก้ไขโดยยึดหลักการมี ส่วนร่วมของประชาชน ร่วมท�ำ ร่วมคิด ร่วม กิจกรรมพัฒนา ประสานกั บหน่วยงานอื่น เพื่อจัดหา งบประมาณที่เกินศักยภาพของ อบต./เพื่อ พัฒนาต�ำบลกุดดู่ 5. นโยบายด้านศาสนา ศิลปวัฒนธรรม จารีต ประเพณี สืบสานวัฒนธรรม ประเพณีอันดีงาม ภูมิปัญญาท้องถิ่นของไทยให้คงอยู่สืบไป เพื่อ ให้ ค นไทยเข้ า ถึ ง คุ ณ ค่ า ความเป็ น ไทยและ เป็นการสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคม ส่งเสริมจารีตประเพณีตา่ งๆ และวัฒนธรรม อันดีงามร่วมกับภาคีเครือข่าย เช่น ประเพณี วันขึ้นปีใหม่ ประเพณีวันสงกรานต์ ประเพณี วันลอยกระทง และประเพณีบุญต่างๆ ใน ฮีตสิบสองครองสิบสี่ ส่งเสริมพัฒนาศูนย์เด็กเล็กให้มคี วามพร้อม ด้านร่างกายและจิตใจที่ดีขึ้น 6. นโยบายด้านการเมืองการปกครอง เทิ ด ทู น และรั ก ษาไว้ ซึ่ ง สถาบั น ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครอง ระบบประชาธิ ป ไตยอั น มี พ ระมหากษั ต ริ ย ์ ทรงเป็นประมุข ส่งเสริมสนับสนุนการปกครองส่วนท้องถิน่ ตามนโยบายของรัฐบาล

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดศรีแก้ว

NONGBUALAMPHU 233 .indd 233

25/10/60 11:42:54 AM


บันทึกเส้นทางพบเทศบาลต�ำบล เทศบาลต� ำ บลนาเหล่ า ตั้ ง อยู ่ เ ลขที่ 293 หมู ่ 13 ถนนอุดร – เลย ตำ� บลนาเหล่า อ�ำเภอนาวัง จงั หวัดหนองบัวล�ำภู โดยตั้ ง อยู ่ ท างทิ ศ ตะวั น ตกห่ า งจากจั ง หวั ด หนองบั ว ล� ำ ภู 42 กิโลเมตร

นางบานเย็น ศิลา

นายกเทศมนตรีต�ำบลนาเหล่า

เทศบาลต�ำบล

นาเหล่า

“ พัฒนาสู่สากล คนสุขภาพดี วิถีพอเพียง ”

ข้อมูลทั่วไป

เทศบาลต�ำบลนาเหล่า มีพื้นที่ทั้งสิ้น 12.70 ตารางกิโลเมตร สภาพภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ราบ มีแม่น�้ำหลายสายไหลผ่าน ได้แก่ ล�ำพะเนียง ล�ำห้วยดาน ล�ำห้วยไฮ ท�ำให้เกิดทีร่ าบลุม่ ข้างล�ำน�ำ้ ที่เหมาะสมกับการท�ำการเกษตร มีอาณาเขตตามกฎหมายลักษณะ การปกครอง รวม 2 ต�ำบล 10 หมู่บ้าน

สภาพเศรษฐกิจ ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม เช่น การท�ำนา ท�ำไร่ ท�ำสวน เลี้ยงสัตว์ ฯลฯ ปัจจุบันประชาชนเริ่มตื่นตัว ท�ำการเกษตรแบบผสมผสานกันมากขึ้น โดยเฉพาะกิจการเลี้ยงโคนม เลี้ยงกุ้งก้ามกราม เลี้ยงปลา เพื่อเป็นอาชีพหลักและอาชีพเสริมเพิ่ม รายได้ทสี่ ำ� คัญ คือเกษตรกรหันมาปลูกพืชเศรษฐกิจมากขึน้ เช่น ยางพารา และปลูกอ้อย รายได้เฉลี่ยของประชากร ประมาณ 35,000 บาท/คน/ปี

คณะผู้บริหาร ทต.นาเหล่า

นางบานเย็น ศิลา นายสุริยัน สารีแก้ว นายจ�ำลอง หม่อมเป้ นายไพบูลย์ สีทารัง นายบรรจง สารีแก้ว

นายกเทศมนตรีตำ� บลนาเหล่า รองนายกเทศมนตรีตำ� บลนาเหล่า รองนายกเทศมนตรีตำ� บลนาเหล่า ที่ปรึกษานายกเทศมนตรี เลขานุการนายกเทศมนตรี

240 SBL Magazine บันทึกประเทศไทย .

2

.indd 1

24/10/2560 15:33:30


พันธกิจ

1. เสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้ทั้งในและนอกระบบ ในการพัฒนา สุขภาพองค์รวม พัฒนาระบบสวัสดิการที่น�ำไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดี 2. พัฒนาเมืองให้น่าอยู่ โดยการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน ระบบ สาธารณูปโภคที่ได้มาตรฐาน 3. พัฒนาระบบการผลิตภาคเกษตรที่มีคุณภาพ ส่งเสริมเกษตร อินทรีย์ และยกระดับคุณภาพสินค้า/ผลิตภัณฑ์ OTOP 4. ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพให้ สอดคล้องกับการผลิต 5. เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการในเทศบาล พัฒนาศักยภาพ บุคลากร ระบบข้อมูล และคุณภาพการให้บริการโดยประชาชนมีสว่ นร่วม 6. ประสานความร่ ว มมื อ กั บ หน่ ว ยงาน/ภาคี ที่ เ กี่ ย วข้ อ ง เพื่อการบูรณาการและสร้างความร่วมมือที่ดี

.

2

.indd 2

จุดมุ่งหมายเพื่อการพัฒนา

1. พัฒนาคุณภาพการศึกษาเด็กก่อนเกณฑ์ให้มคี วามพร้อมทุกด้าน 2. สร้างความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอกทีเ่ กีย่ วข้องด้านการศึกษา 3. สร้างพฤติกรรมสุขภาพทีถ่ กู ต้องแก่ประชาชนทุกเพศทุกวัย 4. พัฒนาระบบการเฝ้าระวังป้องกันโรคติดต่อส�ำคัญและระบบส่งต่อผู้ ป่วยร่วมกับหน่วยงานด้านสาธารณสุขทีม่ ปี ระสิทธิภาพ 5. พัฒนาระบบสวัสดิการและสืบสานภูมปิ ญ ั ญา ประเพณี วัฒนธรรม ท้องถิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ 6. ลดภาวะเสี่ยงในเด็กและเยาวชนส่งเสริมให้มีทักษะชีวิตที่ดีและ ยึดหลักประชาธิปไตย 7. จัดระเบียบเมือง/ ชุมชนภูมทิ ศั น์เพือ่ เทศบาลเมืองน่าอยู่ 8. ปรับปรุงพัฒนาสาธารณูปโภค ประปา ไฟฟ้า ให้ทวั่ ถึงและเพียงพอ 9. พัฒนาโครงสร้างพืน้ ฐาน ถนน ทางระบายน�ำ้ ทีส่ ะดวกในเขตเทศบาล 10. สร้างความมั่นคงปลอดภัยในชีวิต พัฒนาระบบจราจร และส่ง เสริมให้ประชาชนมีวินัย 11. พัฒนาระบบการผลิตทีม่ คี ณ ุ ภาพ ควบคูก่ บั การจัดการทรัพยากร ที่สมดุล 12. พัฒนาคุณภาพสินค้า OTOP สร้างจุดเด่นด้านการท่องเทีย่ ว และ ชุมชนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ 13. สร้างกระบวนการเรียนรูต้ อ่ เนือ่ งและรูเ้ ท่าทันให้แก่ชมุ ชน 14. พัฒนากลุม่ อาชีพ / วิสาหกิจชุมชนในเขตเทศบาลให้เข้มแข็ง 15. อนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรดิน น�้ำ ป่า และความหลากหลาย ทางชีวภาพในเขตเทศบาล ให้สอดคล้องกับวิถีชีวิต 16. พั ฒ นารู ป แบบการใช้ พ ลั ง งานทางเลื อ กที่ เ หมาะสม และ ลดภาวะโลกร้อน 17. สร้างการมีส่วนร่วมในการป้องกัน และก�ำจัดภาวะมลพิษจาก ขยะ สารเคมี และน�ำ้ เสีย 18. สนับสนุนและเตรียมความพร้อมประชาชน เพื่อรับมือกับ การเปลีย่ นแปลงสภาพภูมอิ ากาศและภัยธรรมชาติ 19. ส่งเสริมให้ประชาชนมีสว่ นร่วมในการบริหารงาน 20. เพิม่ ความรูแ้ ละทักษะทีจ่ ำ� เป็นต่อการท�ำงาน พัฒนางานประจ�ำ และ คุณภาพการให้บริการ 21. ปรับปรุงและพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศทีท่ นั สมัย 22. สร้างความร่วมมือภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน ทัง้ ในและนอกเทศบาล NONGBUALAMPHU 241 24/10/2560 15:33:31


บันทึกเส้นทางพบองค์การบริหารส่วนต�ำบล องค์การบริหารส่วนต�ำบลวังทอง ตั้งอยู่เลขที่ 201 หมู่ที่ 1 ต�ำบลวังทอง อ�ำเภอนาวัง จังหวัดหนองบัวล�ำภู โดยตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกห่างจากที่ว่าการอ�ำเภอนาวัง ประมาณ 5 กิโลเมตร และห่างจากตัวจังหวัดหนองบัวล�ำภู ประมาณ 45 กิโลเมตร

นายเทียนชัย ยศทะแสน

นายกองค์การบริหารส่วนต�ำบลวังทอง

“ โครงสร้างพื้นฐานดี เกษตรอินทรีย์ปลอดสารพิษ ชีวิตได้มาตรฐาน มีบริการด้านการศึกษา สืบสานเศรษฐกิจพอเพียง ”

องค์การบริหารส่วนต�ำบล

วังทอง

ยุทธศาสตร์การพัฒนา

1. การพัฒนาด้านเศรษฐกิจชุมชนท้องถิ่นตามหลักเศรษฐกิจชุมชน 2. การพัฒนาบริหารจัดการด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิง่ แวดล้อม 3. การพัฒนาด้านคุณภาพชีวิตของประชาชนในท้องถิ่น 4. การพัฒนาด้านศิลปวัฒนธรรม จารีต ประเพณีท้องถิ่น และ ภูมิปัญญาท้องถิ่น

เป้าประสงค์ 1. ประชาชนและภาคส่วนต่าง ๆ มีส่วนร่วมในการพัฒนา 2. ประชาชนมีอาชีพเสริมมีรายได้เพิ่มในครอบครัว 3. ลดมลภาวะและสิ่งแวดล้อมไม่เป็นพิษให้ชุมชนน่าอยู่ 4. ประชาชนมีแหล่งน�้ำอุปโภค บริโภค และท�ำการเกษตร 5. ประชาชนรักษาประเพณีอันดีงามและสืบทอดพระพุทธศาสนา 6. การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน คุณภาพชีวิต เด็ก สตรี คนชรา ผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาสด้านการศึกษาและการสาธารณสุข

นายสุรจิตร เพ็งสา

ปลัดองค์การบริหารส่วนต�ำบลวังทอง 242 SBL Magazine บันทึกประเทศไทย .

6

.indd 1

27/10/2560 14:09:08


ผู้บริหาร สมาชิกสภา และพนักงาน ข้อมูลทั่วไป

องค์การบริหารส่วนต�ำบลวังทอง มีพนื้ ทีท่ งั้ หมดประมาณ 100.086 ตารางกิโลเมตร หรือพืน้ ทีป่ ระมาณ 62,549 ไร่ เป็นพืน้ ทีท่ ำ� นา 9,299 ไร่ พื้นที่ท�ำไร่ 13,155 ไร่ เป้นไม้ผล 1,394 ไร่ มีพืชผัก 365 ไร่ และอื่นๆ ป่าไม้,แหล่งน�ำ้ ,หมูบ่ า้ น ฯลฯ ประมาณ 38,366 ไร่ มีลกั ษณะภูมปิ ระเทศ ส่วนใหญ่เป็นเนินเขาสลับที่ราบสูงในแถบนี้ที่มีชื่อเสียง คือ ถ�้ำเอราวัณ เป็นภูเขาหินปูนและป่าโปร่งเป็นแห่งๆ ลักษณะของดินส่วนใหญ่เป็น ดินปนหินและเหนียวปนทราย มีอา่ งเก็บน�ำ้ ขนาดใหญ่ในพืน้ ทีค่ อื อ่างเก็บ น�ำ้ ห้วยผาวัง ซึง่ มีเขตติดต่อกับต�ำบลนาเหล่า ประกอบกับต�ำบลวังทองมี ถนนสายหลักหมายเลข 210 สายอุดรธานี-เลย ตัดผ่านต�ำบลมีรถโดยสาร หลักผ่านตลอดเวลาและเป็นเส้นทางยุทธศาสตร์ทเี่ ชือ่ มระหว่างภาคตะวัน ออกเฉียงเหนือตอนบนและภาคเหนือโดยภาพรวมของต�ำบลวังทองมี ความอุดมสมบูรณ์มากสามารถท�ำนาได้ในฤดูฝนและปลูกพืชสวนในฤดู แล้งได้

NONGBUALAMPHU 243 .

6

.indd 2

27/10/2560 14:09:17


บันทึกเส้นทางพบองค์การบริหารส่วนต�ำบล

การปกครอง ต�ำบลวังทองประกอบด้วย 12 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ 1 บ้านโนนภูทอง หมู่ 2 บ้านวังส�ำราญเหนือ หมู่ 3 บ้านผาอินทร์แปลง หมู่ 4 บ้านสวนสวรรค์ หมู่ 5 บ้านไทยนิยม หมู่ 6 บ้านโคกสง่า หมู่ 7 บ้านนาสุรินทร์ หมู่ 8 บ้านนาเจริญ หมู่ 9 บ้านไทยสามัคคี หมู่ 10 บ้านแสงทองพัฒนา หมู่ 11 บ้านวังไผ่ และหมู่ 12 บ้านวังส�ำราญใต้ สภาพทางเศรษฐกิจ ประชากรในต�ำบลวังทองส่วนใหญ่ประกอบ อาชีพด้านการเกษตร ร้อยละ 80 คือ - ปลูกข้าว 476 ครัวเรือน จ�ำนวน 2,711.66 ไร่ - พืชผัก 143 ครัวเรือน จ�ำนวน 569.85 ไร่ - ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 61 ครัวเรือน จ�ำนวน 706.25 ไร่ - มันส�ำปะหลัง 76 ครัวเรือน จ�ำนวน 649 ไร่ - อ้อย 587 ครัวเรือน จ�ำนวน 9,103.39 ไร่ การประมง ในพืน้ ทีต่ ำ� บลวังทองไม่มแี หล่งน�ำ้ ขนาดใหญ่ทจี่ ะท�ำการ ประมง มีแต่ประชาชนหาปลาเพื่อการครองชีพ ในเชิงพาณิชย์ไม่มี การปศุสัตว์ ในพื้นที่ตำ� บลวังทองมีฟาร์มวัวนม 1 แห่ง ฟาร์มหมู 10 ฟาร์ม นอกจากนั้นเป็นการเลี้ยงเป็ดเลี้ยงไก่ ตามครัวเรือน การบริการ หน่วยธุรกิจในเขตต�ำบลวังทอง มีปั้มน�้ำมัน 2 แห่ง ปั้มหลอด 1 แห่ง ปั้มหยอดเหรียญ 3 แห่ง โรงสี 20 แห่ง ที่พัก 24 ชั่วโมง 3 แห่ง และร้านตัดผม 6 ร้าน สภาพสังคม - การศึกษา มีโรงเรียนประถมศึกษา 7 แห่ง มีโรงเรียนขยายโอกาส 1 แห่ง และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนวัยเรียน 4 แห่ง - สถาบันและองค์การทางศาสนา ประชาชนในพื้นที่ต�ำบลวังทอง นับถือศาสนาพุทธ 100 เปอร์เซ็นต์ มีวัด (ตั้งอยู่ในหมู่ที่ 1-12) - ประเพณี ต�ำบลวังทองมีงานประเพณีทถี่ อื ปฏิบตั กิ นั เป็นประจ�ำทุกปี คือ “งานประเพณีขึ้นเขาไหว้พระ ถ�้ำเอราวัณ” - การสาธารณสุข มีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจ�ำต�ำบล 2 แห่ง (ตั้งอยู่ในหมู่ที่ 1 และหมู่ที่ 8) อัตราการมีและใช้ส้วมราดน�้ำร้อยละ 100 - ความปลอดภัยในชีวติ และทรัพย์สนิ มีจดุ ตรวจประจ�ำต�ำบล 1 แห่ง ตั้งอยู่บริเวณสี่แยกทางเข้าถ�ำ้ เอราวัณ หมู่ที่ 3 ต�ำบลวังทอง

วัดถ�ำ้ เอราวัณ 244 SBL Magazine บันทึกประเทศไทย .

6

.indd 3

27/10/2560 14:09:24


OTOP ขึ้นชื่อต�ำบลวังทอง

ต�ำบลวังทอง เป็นแหล่งผลิตข้าวฮางทีข่ นึ้ ชือ่ มานาน และยังเป็นแหล่ง ผลิตผลไม้คุณภาพดี เช่น กล้วยหอมทอง มะม่วง มะละกอ ส้มโอ มะขามหวาน อีกทัง้ ยังมีผลิตภัณฑ์ผา้ พืน้ เมืองทอเป็นผืนด้วยความประณีต เนื้อผ้าดี มีลวดลายและสีสันสวยงาม โดยมีให้เลือกหลายรูปแบบเช่น ผ้าไหม ผ้าฝ้าย ผ้าหมี่ขิด ผ้าห่มส�ำลี มีอยู่ 2 กลุ่ม คือ - กลุม่ ทอผ้านาเจริญ ตัง้ อยูท่ ี่ 268/1 หมู่ 8 บ้านเจริญ ต.วังทอง อ.นาวัง จ.หนองบัวล�ำภู ติดต่อโทร 080-197-3477 , www.webstshop.com - กลุ่มทอผ้าวังส�ำราญ ตั้งอยู่ที่ หมู่ 2,12 บ้านวังส�ำราญ ต.วังทอง อ.นาวัง จ.หนองบัวล�ำภู

กลุ่มอาชีพ

กลุ่มทอผ้าวังส�ำราญ

กลุ่มทอผ้านาเจริญ แหล่งท่องเที่ยวส�ำคัญ

วัดป่าภูฝางสันติธรรม วั ด ป่ า ภู ฝ างสั น ติ ธ รรม ตั้ ง อยู ่ ที่ ห มู ่ 11 บ้ า นไทยสามั ค คี ต�ำบลวังทอง ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2519 โดยพระอาจารย์เกรียงไกร โฆสะธัมโม ได้ทำ� การท�ำก่อสร้างศาลาการเปรียญ ซึง่ เป็นสถาปัตยกรรม สมัยใหม่ เมือ่ ปี พ.ศ.2536 และสร้างเสร็จเมือ่ ปี พ.ศ.2541 โดยใช้เป็น สถานทีส่ ำ� หรับปฏิบตั ธิ รรมของหน่วยงานราชการ สถานศึกษา รวมทัง้ เป็ น สถานที่ บ� ำ บั ด ฟื ้ น ฟู ผู ้ ติ ด ยาเสพติ ด ของจั ง หวั ด หนองบั ว ล� ำ ภู และยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม สืบเนื่องมาจากมีสถานที่ เหมาะสม สงบ ร่มรืน่ เหมาะแก่การปฏิบตั ธิ รรม มีเสนาสนะทีส่ วยงาม และใหญ่โต บันไดขึ้นศาลาการเปรียญมีการก่อสร้างนาค 7 เศียร ตามแนวทางขึ้นบันไดทั้งสองข้างอย่างสวยงามวิจิตรตระการตาเป็น อย่างมาก ทางด้านขวาของศาลามีรูปเหมือนของช้างที่ปั้นไว้ขนาด เท่าตัวจริง ลักษณะโดยทัว่ ไปของวัดมีความร่มรืน่ และสวยงาม จึงเป็น แหล่งท่องเทีย่ วทีส่ ำ� คัญอีกแห่งหนึง่ ของจังหวัดหนองบัวล�ำภู

กลุ่มทอผ้านาเจริญ

วัดป่าภูฝาง NONGBUALAMPHU 245

.

6

.indd 4

27/10/2560 14:09:32


บันทึกเส้นทางพบองค์การบริหารส่วนต�ำบล

ถ�้ำเอราวัณ

ตัง้ อยูท่ หี่ มู่ 3 บ้านผาอินทร์แปลง ต�ำบลวังทอง ทีน่ เี่ ป็นศูนย์รวมสินค้า หนึ่งต�ำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ และเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ส�ำคัญของจังหวัด และเป็นต้นก�ำเนิดมาต�ำนานนางผมหอม ถ�้ำเอราวัณตั้งอยู่บริเวณภูเขา หินแข็งมีลกั ษณะแหลมคมขรุขระ ซึง่ ถ้ามองจากทีไ่ กลๆ จะเห็นมีลกั ษณะ เหมือนช้างก� ำลังหมอบ แต่ถ้ามองจากด้านหน้าผา ก็จะเหมือนกับ หน้าผากของช้าง ชาวบ้านจึงพากันเรียกว่า “ภูเขาผาถ�ำ้ ช้าง” ตามประวัติความเป็นมาของถ�้ำเอราวัณกล่าวว่า ประมาณปี พ.ศ. 2106 พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช กษัตริย์แห่งกรุงเวียงจันทน์ ยกกองทัพ ออกต่อต้านทัพของพระเจ้าหงสาวดีของพม่า และทรงเสียทีขา้ ศึกกองทัพ แตกพ่ายย่อยยับ จึงรวบรวมเอาแม่ทัพนายกองมาหลบซ่อนข้าศึก และ แบ่งไพร่พลไปประจ�ำอยูท่ ถี่ ำ�้ เอราวัณ เพือ่ ซ่องสุมก�ำลังฝึกทหารและสะสม เสบียงอาหารเก็บไว้ในการท�ำศึกสงครามกอบกู้แผ่นดิน ต่อมา พระครูปลัดฝัน้ ปาเรสโก ได้ธดุ งค์มาปฏิบตั ธิ รรมและได้เชิญชวน ผูม้ จี ติ ศรัทธาร่วมกันสร้างวัดขึน้ เมือ่ วันที่ 10 ธันวาคม 2512 โดยใช้ชอื่ ว่า “วัดผาถ�้ำช้าง” ต่อมาจึงได้สร้างรูปปั้นช้างเอราวัณซึ่งเป็นพาหนะของ พระอินทร์ พร้อมรูปปัน้ ของพระอินทร์ขนึ้ เพือ่ เป็นทีส่ กั การะบูชาของผูค้ น จุดเด่นของวัดแห่งนี้คือ หลวงพ่อพระพุทธชัยศรีมุนีศรีโลกนาถ พระพุ ท ธรู ป ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ คู ่ บ ้ า นคู ่ เ มื อ งประดิ ษ ฐานอยู ่ บ ริ เวณปากถ�้ ำ ซึ่งสามารถมองเห็นได้เด่นชัดจากระยะไกล สร้างในปี พ.ศ.2519 โดย สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ วัดศรีมหาธาตุ เป็นผู้ถวายพระนาม บันไดสวรรค์ ซึ่งเรียงตัวคดโค้งไปมาลัดเลาะจากเชิงเขาเบื้องล่างขึ้นสู่ปากถ�้ำ จ�ำนวน กว่า 611 ขั้น ตามไหล่เขามีศาลาพักชมวิวทั้งหมด 3 แห่งตลอดเส้นทาง นั้น มีหินสีขาวอยู่บนหน้าผาคล้ายกับรูปผู้หญิงยืน จึงเรียกว่า “ผานาง” หินที่มีโพรงทะลุเรียกว่า “ผาเจาะ” ส่วนบนภูเขามีต้นยาเกิดอยู่ตามผา เรียกว่า “ผายา” อีกทั้งยังมีกองหินวงเป็นรูปร่างคล้ายเจดีย์ โดยมีเรื่อง เล่าต่อๆ กันมา และเป็นความเชื่อว่าถ้าหากใช้หินมาก่อเป็นรูปเจดีย์ 9 ชั้นแล้ว จะน�ำความโชคดีมาให้ เมือ่ ได้ขนึ้ มาทีบ่ ริเวณบนหลังคาถ�ำ ้ ก็จะได้พบกับปล่องดาว 3 ปล่อง ทีแ่ สงสว่างสามารถส่องลอดเข้ามาถึงได้ เมือ่ เดินต่อมาเรือ่ ยๆ ก็จะพบกับ หินรูปพญาช้างนัง่ คุกเข่า ซึง่ มีเรือ่ งเล่าสืบต่อถึงทีม่ าว่า พญาช้างได้ตรอมใจ ตายและสาปตัวเองให้เป็นหิน นอกจากนีย้ งั มีหนิ รูปทรงต่างๆ อีกมากมาย อาทิ หินนางผมหอม เห็ดหิน อ่างหิน เป็นต้น ตามแต่จินตนาการของ ผูพ้ บเห็น

อ่างผาวัง

เป็นอ่างเก็บน�ำ้ ชลประทานขนาดกลาง ตัง้ อยูใ่ นเขตพืน้ ทีต่ ำ� บลนาเหล่า และหมูท่ ี่ 5 บ้านไทยนิยม ต�ำบลวังทอง เป็นอ่างเก็บน�ำ้ เพือ่ ใช้ประโยชน์ ในการท�ำเกษตรกรรมทุกฤดูกาล นอกจากนี้ยังได้มีการพัฒนาเป็นแหล่ง ท่องเทีย่ ว และสถานทีพ่ กั ผ่อนหย่อนใจทีม่ ชี อื่ เสียงของต�ำบลวังทอง โดยใน บริเวณอ่างเก็บน�ำ้ จะมีเรือนแพแบบขึงเชือกไว้คอยบริการพานักท่องเทีย่ วออก ไปชมบรรยากาศ และรับประทานอาหารกลางอ่างเก็บน�ำ ้ พร้อมทัง้ มีบริการ อาหาร-เครือ่ งดืม่ ทีแ่ สนอร่อย ทัศนียภาพในบริเวณอ่างเก็บน�ำ้ แห่งนี้ จะมีภเู ขา ดินทีช่ าวบ้านได้ทำ� การเพาะปลูกพืชผลทางการเกษตร ทีม่ คี วามโดดเด่นและ สวยงาม สามารถล่องแพชมธรรมชาติได้ตลอดจนทัว่ บริเวณ 246 SBL Magazine บันทึกประเทศไทย .

6

.indd 5

27/10/2560 14:09:39


แหล่งท่องเที่ยว ถ�้ำเอราวัณ

ติดต่อ อบต.วังทอง

องค์ ก ารบริ ห ารส่ ว นต� ำ บลวั ง ทอง ต� ำ บลวั ง ทอง อ� ำ เภอนาวั ง จังหวัดหนองบัวล�ำภู 39170 โทร/โทรสาร 0-4231-5865 www.wangthongnb.go.th

NONGBUALAMPHU 247 .

6

.indd 6

27/10/2560 14:09:45


บันทึกเส้นทางพบองค์การบริหารส่วนต�ำบล องค์ ก ารบริ ห ารส่ ว นต� ำ บลนาแก อ� ำ เภอนาวั ง จั ง หวั ด หนองบั ว ล� ำ ภู ปัจจุบันมี นายบุญจันทร์ แสงสิมมา ด�ำรงต�ำแหน่ง นายกองค์การบริหาร ส่วนต�ำบลนาแก และนายเฉวต โพธิเสน ด�ำรงต�ำแหน่ง ปลัดองค์การบริหาร ส่วนต�ำบลนาแก

นายบุญจันทร์ แสงสิมมา

นายกองค์การบริหารส่วนต�ำบลนาแก

“การคมนาคมสะดวก กลุ่มอาชีพสร้างรายได้ สุขภาพกายและจิตดี ไม่มีมลพิษในชุมชน”

องค์การบริหารส่วนต�ำบล

นาแก

ข้อมูลทั่วไป

ต� ำ บลนาแก มี พื้ น ที่ 80.1 ตารางกิ โ ลเมตร เนื่ อ งจากสภาพภู มิ ป ระเทศของต� ำ บลนาแก ประกอบไปด้วยทีร่ าบลุม่ พืน้ ดินมีความอุดมสมบูรณ์ จึงเหมาะแก่การประกอบอาชีพทางการเกษตร เช่น ท�ำนา ท�ำไร่ ท�ำสวนผลไม้ และมีอาชีพเสริมคือ การผลิตเครื่องจักสาน และมีการรวมกลุ่มเพาะปลูก เห็ดต่างๆ และกลุ่มเลี้ยงไหม กลุ่มโคนม เลี้ยงหมู องค์ ก ารบริ ห ารส่ ว นต� ำ บลนาแก มี จ� ำ นวน 10 หมู่บ้าน ประกอบด้วย หมู่ที่ 1 บ้านหนองสิม หมู่ที่ 2 บ้านนาแก หมู่ที่ 3 บ้านหนองค้อ หมู่ที่ 4 บ้านค้อใหม่ หมู่ที่ 5 บ้านนาส้มโฮง หมู่ที่ 6 บ้านดอนมะค่า หมู่ที่ 7 บ้านนาแกเหนือ หมู่ที่ 8 บ้านนาซ�ำจวง หมู่ที่ 9 บ้านผาเวียง หมู่ที่ 10 บ้านนาดินด�ำ

248 SBL Magazine บันทึกประเทศไทย .indd 248

25/10/60 11:33:38 AM


ยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนา

1. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน 1.1 ก่อสร้าง ปรับปรุงแหล่งน�้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค และแหล่งน�้ำ เพื่อการเกษตร บ�ำรุงรักษาถนน ร่องระบายน�้ำ การประปา ไฟฟ้า 2. พัฒนาเศรษฐกิจ 2.1 ส่งเสริมเพิ่มรายได้จากอาชีพหลักและกลุ่มอาชีพเสริม 3. พัฒนาทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยว 3.1 ส�ำรวจ ปรับปรุง ซ่อมแซม บริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยว 3.2 เฝ้าระวัง ป้องกัน บ�ำบัดและฟืน้ ฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิง่ แวดล้อม 4. พัฒนาสังคม 4.1 ป้องกัน รักษาและส่งเสริมสุขภาพอนามัยของประชาชน 4.2 ส่งเสริมการศึกษาและวัฒนธรรม 4.3 สุขาภิบาลชุมชนและสถานที่ 4.4 ส่งเสริมสวัสดิการและนันทนาการ 5. พัฒนาการเมืองการบริหาร 5.1 ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน 5.2 พัฒนาประสิทธิภาพบุคลากร 5.3 รักษาความสงบเรียบร้อยและความปลอดภัยของชุมชน

กิจกรรมเด่น ปี 2560

งานประเพณีสรงน�้ำพระถ�้ำผาเวียง ในเดือนพฤษภาคมของทุกปี ซึ่งเป็นเดือนที่ ย่างเข้าฤดูเกษตรกรรม ในเขตพื้นที่องค์การบริหาร ส่วนต�ำบลนาแกยังมีสภาพอากาศแห้งแล้ง ฝนยังตก ไม่ เ ต็ ม ที่ ท� ำ ให้ ร าษฎรในเขตพื้ น ที่ จั ด ประเพณี “การขอฝน” ซึ่งประเพณีขอฝนในแต่ละพื้นที่นั้น มีความแตกต่างกัน พืน้ ทีใ่ นองค์การบริหารส่วนต�ำบล นาแกมักจะนิยมจัดประเพณีงานขึ้นเขาไหว้พระ ถ�้ ำ ผาเวี ย ง เพราะเชื่ อ ว่ า เมื่ อ ได้ ด� ำ เนิ น การแล้ ว จะท�ำให้ฝนตกตามฤดูกาล ผลผลิตทางการเกษตร เพิม่ มากขึน้ และมีความร่มเย็นเป็นสุข องค์ ก ารบริ ห ารส่ ว นต� ำ บลนาแก โดย กองการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ได้ตระหนักถึง ความส�ำคัญดังกล่าว จึงได้จัดงาน “งานประเพณี สรงน�้ำพระถ�้ำผาเวียง” ระหว่างวันที่ 11 – 12 พฤษภาคม 2560 โดยมี วั ต ถุ ป ระสงค์ เ พื่ อ ปลู ก จิตส�ำนึกให้ประชาชนทุกคนได้เห็นความส�ำคัญและ รั ก ษาไว้ ซึ่ ง ขนบธรรมเนี ย มประเพณีท ้องถิ่นไทย เพือ่ สร้างความสามัคคีของประชาชนในเขตพืน้ ทีแ่ ละ กระตุ ้ น ให้ เ กิ ด การหวงแหนศิ ล ปวั ฒ นธรรมไทย เพื่อเสริมสร้างขวัญและก�ำลังใจให้เกษตรกรผู้ท�ำนา ท�ำไร่ ท�ำสวน ได้พัฒนาคุณภาพชีวิต แก้ไขปัญหา ความยากจนของประชาชน และเพือ่ ประชาสัมพันธ์ การท่องเทีย่ วประเพณีงานขึน้ เขาไหว้พระถ�ำ้ ผาเวียง งานประเพณีดังกล่าว นอกจากจะช่วยสร้าง ขวัญและก�ำลังใจในการท�ำอาชีพเกษตรกรรมของ ชาวนาแกแล้ว ยังก่อให้เกิดความภาคภูมิใจ และ เสริมสร้างจิตส�ำนึกในการอนุรักษ์สืบสานประเพณี และวัฒนธรรมท้องถิ่น ตลอดจนเกิดความสามัคคี จากการร่วมมือร่วมใจกันในการจัดกิจกรรมดังกล่าวด้วย

NONGBUALAMPHU 249 .indd 249

25/10/60 11:33:43 AM


งานประเพณีสรงน�ำ้ พระถ�้ำผาเวียง องค์การบริหารส่วนต�ำบลนาแก ตระหนักและเล็งเห็นความส�ำคัญของการสืบสาน การอนุรักษ์ประเพณีและวัฒนธรรมอันดีงาม ที่สืบทอดกันมายาวนานของท้องถิ่น ให้คงอยูส่ บื ไปชัว่ ลูกหลาน กองการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม องค์การบริหารส่วนต�ำบล นาแก จึงได้ร่วมมือกับประชาชนและข้าราชการในพื้นที่ จัดงาน “ประเพณีสรงน�้ำ พระถ�ำ้ ผาเวียง” ในวันวิสาขบูชา ขึน้ 15 ค�ำ่ เดือน 7 ซึง่ เป็นประเพณีทชี่ าวต�ำบลนาแก ถือปฏิบัติกันมาอย่างยาวนาน งานดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการบ�ำรุงอนุรักษ์วัฒนธรรม ประเพณีและ ภูมปิ ญ ั ญาท้องถิน่ เพือ่ ให้ความรูเ้ รือ่ งวันส�ำคัญทางพระพุทธศาสนาวันวิสาขบูชา และ เสริมสร้างความสามัคคีของประชาชนในชุมชนต�ำบลนาแก เพื่อสร้างขวัญและก�ำลัง ใจให้ เ กษตรกรในการท� ำ การเกษตร อั น จะเป็ น พื้ น ฐานไปสู ่ ก ารแก้ ป ั ญ หา ความยากจน และเพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวและวัฒนธรรมท้องถิ่น กิจกรรมในงานดังกล่าว นอกจากจะมีการสรงน�้ำพระ การรณรงค์ให้ความรู้ เรื่องความส�ำคัญของวันวิสาขบูชา เพื่อเป็นการสืบสานวัฒนธรรมประเพณีอันดีงาม ของท้องถิ่น การจุดบั้งไฟเสี่ยงทายเพื่อท�ำนายปริมาณน�้ำฝนประจ�ำปี เพื่อเป็นขวัญ และก�ำลังใจในการท�ำการเกษตรกรรมของประชาชนในพื้นที่แล้ว ยังมีการประกวด ขับร้องสรภัญญะของผู้สูงอายุ เพื่อเป็นการส่งเสริมอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นสืบไป ไม่ให้สูญหาย

250 SBL Magazine บันทึกประเทศไทย .indd 250

25/10/60 11:33:47 AM


NONGBUALAMPHU 251 .indd 251

25/10/60 11:33:48 AM


บันทึกเส้นทางพบองค์การบริหารส่วนต�ำบล องค์การบริหารส่วนต�ำบลนาเหล่า เลขที่ 199 หมู่ที่ 8 บ้านนาสมหวัง ต�ำบลนาเหล่า อ�ำเภอนาวัง จังหวัดหนองบัวล�ำภู โดยอยู่ห่างจากที่ว่าการอ�ำเภอนาวัง 3 กิโลเมตร ห่างจาก จังหวัดหนองบัวล�ำภู 48 กิโลเมตร

นายดอน บัวระพา

นายกองค์การบริหารส่วนต�ำบลนาเหล่า

องค์การบริหารส่วนต�ำบล

นาเหล่า

“ คุณภาพชีวิต เศรษฐกิจดี มีน�้ำใช้พอเพียง ฟูเฟื่องโครงสร้างพื้นฐาน ” คือวิสยั ทัศน์การพัฒนาขององค์การบริหารส่วนต�ำบลนาเหล่า เลขที่ 199 หมู่ที่ 8 บ้านนาสมหวัง ต�ำบลนาเหล่า อ�ำเภอนาวัง จังหวัดหนองบัวล�ำภู โดยอยู ่ ห ่ า งจากที่ ว ่ า การอ� ำ เภอนาวั ง 3 กิ โ ลเมตร ห่ า งจาก จังหวัดหนองบัวล�ำภู 48 กิโลเมตร และห่างจากกรุงเทพมหานคร 625 กิโลเมตร

ฐานะจากสภาต�ำบลนาเหล่า เป็นองค์การบริหารส่วนต�ำบลนาเหล่า ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนต�ำบล ประกาศ ณ วันที่ 16 ธันวาคม 2539 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบั บ ทั่ ว ไป เล่ ม 113 ตอนพิ เ ศษ 52 ง ล� ำ ดั บ ที่ (3241) ลงวั น ที่ 25 ธันวาคม 2539

ประวัติความเป็นมา

“ ห้ ว ยมะนาวน�้ ำ ใส มากก� ำ ไรถั่ ว เหลื อ ง ลื อ เลื่ อ งอ่ า งผาวั ง แดนโด่งดังน�ำ้ นมวัว ” คือค�ำขวัญของต�ำบลนาเหล่า ซึ่งแต่เดิมขึ้นอยู่กับอ�ำเภอนากลาง ในปี พ.ศ. 2537 ได้จัดตั้งเป็นกิ่งอ�ำเภอนาวัง และต่อมาเมื่อปี พ.ศ.2540 ได้จัดตั้งเป็นอ�ำเภอนาวัง ปัจจุบันองค์การบริการส่วนต�ำบลนาเหล่า เป็นต�ำบลทีอ่ ยูใ่ นเขตพืน้ ทีก่ ารปกครองของอ�ำเภอนาวัง และได้รบั การยก 252 SBL Magazine บันทึกประเทศไทย .

4

.indd 1

ข้อมูลทั่วไป

องค์การบริหารส่วนต�ำบลนาเหล่า มีเขตพื้นที่รับผิดชอบประมาณ 52.41 ตารางกิโลเมตรหรือ 32,756.25 ไร่ สภาพภูมปิ ระเทศเป็นทีร่ าบสูง สลับเชิงเขาด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ และด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ เหมาะ ส�ำหรับปลูกพืชไร่ เช่น อ้อย มันปะหลัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ไม้ผลยืนต้น และไม้เศรษฐกิจ เช่น ยางพารา ปาล์มน�้ำมัน ยูคาลิปตัส เป็นต้น ส่วนทีร่ าบลุม่ เหมาะส�ำหรับปลูกข้าวนาปี เลีย้ งปลา ท�ำสวน และปลูกพืช หลังเก็บเกีย่ วข้าว เช่น ข้าวโพดเลีย้ งสัตว์ ท�ำสวน และปลูกหญ้าเลีย้ งสัตว์

25/10/2560 14:24:54


เขตการปกครอง มีหมู่บ้านทั้งหมด 8 หมู่บ้าน โดยหมู่บ้านที่อยู่ใน เขตองค์การบริหารส่วนต�ำบลนาเหล่า เต็มทั้งหมู่บ้าน จ�ำนวน 6 หมู่บ้าน ได้แก่ หมูท่ ี่ 3 บ้านโคกกะทอ หมูท่ ี่ 4 บ้านใหม่สามพลัง หมูท่ ี่ 6 บ้านนาสมนึก หมู่ที่ 8 บ้านนาสมหวัง หมู่ที่ 10 บ้านหนองหินตั้ง และหมู่ที่ 11 บ้านบางพระจันทร์ และหมูบ่ า้ นในเขตองค์การบริหารส่วนต�ำบลนาเหล่า บางส่วน จ�ำนวน 2 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ 5 บ้านโคกนาเหล่า และหมู่ที่ 12 บ้านใหม่บูรพา มีจ�ำนวนครัวเรือนทั้งหมด 1,000 ครัวเรือน ประชากร มีจำ� นวนประชากรทัง้ สิน้ 3,987 คน แยกเป็นชายจ�ำนวน 2,013 คน เป็นหญิงจ�ำนวน 1,974 คน สภาพเศรษฐกิจ ประชากรประกอบอาชีพ โดยเรียงตามล�ำดับ ดังนี้ ท�ำนา ท�ำไร่ เลี้ยงสัตว์ รับจ้างทั่วไป และค้าขาย

NONGBUALAMPHU 253 .

4

.indd 2

25/10/2560 14:24:57


สภาพทางสังคม 1. การศึกษา 1.1 โรงเรียนประถมศึกษา จ�ำนวน 4 แห่ง 1.2 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จ�ำนวน 4 แห่ง 1.3 ศูนย์การเรียนรู้ชุมชน จ�ำนวน 1 แห่ง 1.4 ทีอ่ า่ นหนังสือประจ�ำหมูบ่ า้ น/ห้องสมุดประชาชน จ�ำนวน 5 แห่ง 2. สถาบันและองค์กรทางศาสนา 2.1 วัด / ส�ำนักสงฆ์ จ�ำนวน 9 แห่ง 3. การสาธารณสุข 3.1 อัตราการมีและใช้ส้วมซึม ร้อยละ 100

มวลชนจัดตั้ง

1. ลูกเสือชาวบ้าน 2 รุ่น 2. ไทยอาสาป้องกันชาติ 1 รุ่น 3. กองหนุนเพื่อความมั่นคง 1 รุ่น 4. อปพร. 3 รุ่น

ศักยภาพของชุมชนและพื้นที่

จ�ำนวน 500 คน จ�ำนวน 100 คน จ�ำนวน 100 คน จ�ำนวน 136 คน

1. การรวมกลุ่มของประชาชน ประกอบด้วย 17 กลุ่ม แยกเป็น 1.1 กลุ่มอาชีพ จ�ำนวน 15 กลุ่ม 1.2 กลุ่มออมทรัพย์ จ�ำนวน 2 กลุ่ม 2. จุดเด่นของพื้นที่ 2.1 ตั้งอยู่ในเขตที่มีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สวยงาม 2.2 สภาพพื้นที่เหมาะสมกับการท�ำการเกษตร 2.3 ประชากรในพื้นที่มีการรวมกลุ่มอย่างเข้มแข็ง

254 SBL Magazine บันทึกประเทศไทย .

4

.indd 3

25/10/2560 14:24:59


OTOP ขึ้นชื่อ ต.นาเหล่า

ผ้าหมี่ขิด OTOP ระดับ 4 ดาว ปี 2553 ผลิตโดยกลุ่มทอผ้า นาสมหวัง เลขที่ 176 หมูท่ ี่ 8 ต�ำบลนาเหล่า โทร : 08 2103 3935 ข้ า งฮางงอก OTOP ระดั บ 4 ดาว ปี 2555 ผลิ ต โดย กลุ่มแปรรูปข้าวหนองหินตั้ง เลขที่ 4/1 หมู่ที่ 10 ต.นาเหล่า โทร : 08 3304 6360 ผลิตภัณฑ์แก้วน�้ำ เหยือกน�้ำ กล่องอเนกประสงค์ ผลิตจาก ไม้ไผ่คุณภาพดี สวยงาม แข็งแรงทนทาน มีให้เลือกมากมายหลาย ขนาด ผลิตโดยกลุ่มผลิตภัณฑ์ไม้ไผ่ ติดต่อ : นายค�ำตัน หมื่นวิเศษ โทร : 0 4236 3040

แหล่งท่องเที่ยวส�ำคัญ

อ่ า งเก็ บ น�้ ำ ห้ ว ยผาวั ง ครอบคลุ ม พื้ น ที่ บ างส่ ว นของ ต�ำบลนาเหล่า เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่มีทิวทัศน์ สวยงาม บรรยากาศเงียบสงบ อากาศเย็นสบาย มีบริการเช่าแพ โดยการขึงเชือกแล้วชักรอกออกไปรับประทานอาหาร หรือนอนเล่น รับลมชิลๆ กลางทะเลสาบได้ ในช่วงหน้าหนาวบรรยากาศโดยรอบ จะปกคลุ ม ด้ ว ยไอหมอกเหนื อ ผิ ว น�้ ำ เป็ น ภาพที่ ส วยงาม น่าประทับใจยิ่งนัก NONGBUALAMPHU 255 .

4

.indd 4

25/10/2560 14:25:01


บันทึกเส้นทางพบองค์การบริหารส่วนต�ำบล คื อ ค� ำ ขวั ญ ขององค์ ก ารบริ ห ารส่ ว นต� ำ บลเทพคี รี เลขที่ 6 หมู ่ 3 บ้ า นวั ง ม่ ว ง ต� ำ บลเทพคี รี อ� ำ เภอนาวั ง จังหวัดหนองบัวล�ำภู

นายยุทธชัย คูณเมือง

นายกองค์การบริหารส่วนต�ำบลเทพคีรี

“ เศรษฐกิจพอเพียง ล�ำพะเนียงน�้ำใส บั้งไฟเทพคีรี กลุ่มมัดหมี่ทอผ้า ไร่นาสวนผสม ขึ้นชมถ�้ำผาเจาะ ไหลลัดเลาะล�ำห้วยมะนาว เด่นสกาว อบต.เทพคีรี ”

องค์การบริหารส่วนต�ำบล

เทพคีรี

ปัจจุบนั มี นายยุทธชัย คูณเมือง ด�ำรงต�ำแหน่ง นายกองค์การบริหาร ส่วนต�ำบลเทพคีรี ซึ่งได้กล่าวในวันแถลงนโยบายว่า กระผม นายยุ ท ธชั ย คู ณ เมื อ ง ในฐานะ นายก อบต.เทพคี รี ขอขอบคุณพีน่ อ้ งทุกท่าน ทีไ่ ว้วางใจให้ผมมารับต�ำแหน่ง นายก อบต.เทพคีรี เพื่อบริหารงบประมาณอย่างประหยัด และบริหารงบประมาณอย่างเกิด ความคุม้ ค่า เพือ่ ให้พนี่ อ้ งชาวต�ำบลเทพคีรมี คี วามเป็นอยูท่ ดี่ ขี นึ้ ผมขอให้ ค�ำมั่นสัญญากับพี่น้องทุกท่านว่า อบต.เทพคีรี เป็นหน่วยงานของภาครัฐ ที่อยู่ใกล้ชิดกับประชาชน หากประชาชนในพื้นที่ได้รับความเดือดร้อน ในด้านโครงสร้างพื้นฐานและด้านอื่นๆ ตามอ�ำนาจหน้าที่ ที่ผมกระท�ำได้ ผมก็จะรีบด�ำเนินการแก้ไขปัญหาให้โดยไม่ชักช้า ในโอกาสนี้ กระผมขอให้ความเชื่อมั่นว่า จะด�ำเนินการพัฒนาต�ำบล เทพคีรใี นทุกๆ ด้าน โดยยึดหลักทีว่ า่ “ประชาชนคือเจ้าของเงินงบประมาณ” และเป็นไปตามวิสัยทัศน์ที่ว่า “การเกษตรก้ า วไกล การศึ ก ษาก้ า วหน้ า บ� ำ รุ ง ศาสนา พัฒนาคุณภาพประชาชน”

ประวัติความเป็นมา

ต�ำบลเทพคีรี แยกจากต�ำบลนาแก และรวมกับ บางส่วนของต�ำบลนาเหล่า เมือ่ พ.ศ. 2535 โดยขึน้ กับ อ�ำเภอนากลางก่อน เมื่ออ�ำเภอนาวังแยกออกจาก อ� ำ เภอนากลาง ต� ำ บลเทพคี รี จึ ง โอนมาขึ้ น กั บ อ�ำเภอนาวัง เมือ่ ปี พ.ศ. 2537 ปั จ จุ บั น องค์ ก ารบริ ห ารส่ ว นต� ำ บลเทพคี รี ประกอบด้วย 6 หมูบ่ า้ น ได้แก่ หมู่ 2 บ้านผาเจาะ หมู่ 3 บ้านวังม่วง หมู่ 4 บ้านวังโปร่ง หมู่ 5 บ้านภูเขาวง หมู่ 7 บ้านเทพคีร(ี บางส่วน) หมู่ 8 บ้านวังสามหาบ ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพหลัก คือ ท�ำนา ท�ำสวน ท�ำไร่ และมีอาชีพเสริมคือ รับจ้างทัว่ ไป 256 SBL Magazine บันทึกประเทศไทย .

2

v.2.indd 1

25/10/2560 14:27:32


OTOP ขึ้นชื่อต�ำบลเทพคีรี

ผลิตภัณฑ์เป่าแก้ว เป็นของที่ระลึกและของประดับตกแต่งบ้าน ซึ่งมีการสร้างสรรค์เป็นรูปทรงต่างๆ อย่างสวยงามละเอียดอ่อน โดยได้ รั บ การคั ด เลื อ กเป็ น OTOP ระดั บ 4 ดาว ในปี 2559 ผลิ ต โดย กลุ่มเป่าแก้วเทพคีรี บ้านวังสามหาบ หมู่ 8 ต.เทพคีรี

แหล่งท่องเที่ยวส�ำคัญ

ถ�้ำผาเจาะ ตั้งอยู่หมู่ที่ 2 บ้านผาเจาะ ต�ำบลเทพคีรี มีลักษณะเป็น ภูเขาหิน มีหน้าผาที่สูงชันและมีถ�้ำจ�ำนวนมาก แต่ละถ�้ำจะมีลักษณะ เฉพาะตัวที่งดงามวิจิตรตระการตา บนภูผาเจาะมีวัดพุทธบรรพต ซึ่งมี พระพุทธรูปขนาดใหญ่ประดิษฐานอยู่ โดยจะมีนักท่องเที่ยวและผู้มี จิตศรัทธาจะขึ้นไปกราบสักการะเสมอ การเดินทาง ใช้ถนนเส้นหนองบัวล�ำภู - เลย ระยะทาง 40 กิโลเมตร จะถึงเขตอ�ำเภอนาวัง ถ�้ำผาเจาะจะอยู่ซ้ายมือ อ่างบั้งไฟพญานาคเทพคีรี เป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ตั้งอยู่หมู่ที่ 2 ต�ำบลเทพคีรี อ่างบั้งไฟขนาดกว้างนี้เกิดจากการสัมปทาน โรงโม่หนิ ซึง่ เคยมีปรากฏการณ์ลกู ไฟสีสม้ พุง่ ขึน้ จากอ่าง มีลกั ษณะเหมือน บั้งไฟพญานาคที่เกิดบริเวณแม่น�้ำโขงในจังหวัดหนองคาย จึงได้รับการ ขนานนามว่า “อ่างบั้งไฟพญานาค” การเดินทาง ใช้ถนนสายหนองบัวล�ำภู - เลย ระยะทาง 40 กิโลเมตร จะถึงเขตอ�ำเภอนาวัง เมื่อถึงภูผาเจาะ ให้เลี้ยวขวาประมาณ 2 กิโลเมตร จะถึงอ่างบั้งไฟ

ประเพณี/กิจกรรมท่องเที่ยว

องค์ ก ารบริ ห ารส่ ว นต� ำ บลเทพคี รี ได้จัด กิ จ กรรมเพื่ อ ส่ ง เสริ ม การท่องเที่ยวในพื้นที่ต�ำบลเทพคีรี โดยจัดขึ้นเป็นประจ�ำทุกปี ได้แก่ * งานขึ้นเขาสรงน�ำ้ พระใหญ่ถ�้ำผาเจาะ องค์ ก ารบริ ห ารส่ ว นต� ำ บลเทพคี รี ร่ ว มกั บ บ้ า น ผาเจาะ และประชาชนในเขตต�ำบลเทพคีรี ร่วมกันจัดงาน “ขึ้ น เขาสรงน�้ ำ พระใหญ่ ถ�้ ำ ผาเจาะ” บ้ า นผาเจาะ ในวันขึ้น 15 ค�่ำ เดือน 6 เป็นประจ�ำของทุกปี เพื่อเป็น การสักการะพระใหญ่ ซึง่ เป็นพระพุทธรูปศักดิส์ ทิ ธิข์ องวัด พุทธบรรพต (วัดถ�ำ้ ผาเจาะ) ทีค่ นทัว่ ไปให้ความเคารพนับถือ * กิจกรรม “เดิน-วิ่ง มินิมาราธอนชมถ�้ำผาเจาะ” ซึ่งจะจัดงานขึ้น ในเดือนพฤศจิกายนของทุกปี

ติดต่ออบต.เทพคีรี

องค์การบริหารส่วนต�ำบลเทพคีรี โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4200-4444 NONGBUALAMPHU 257 .

2

v.2.indd 2

25/10/2560 14:27:41


บันทึกเส้นทางพบองค์การบริหารส่วนต�ำบล “ ชุมชนเข้มแข็ง แหล่ง สิ่งแวดล้อมยั่งยืน คืนสู่ เศรษฐกิจพอเพียง ”

ส� ำ นั ก งานตั้ ง อยู ่ เ ลขที่ 166 หมู ่ 2 ถนนวังปลาป้อม ต�ำบลวังปลาป้อม อ�ำเภอนาวัง จังหวัดหนองบัวล�ำภู

องค์การบริหารส่วนต�ำบล

วังปลาป้อม

นายอรัญ วรรณชัย

นายกองค์การบริหารส่วนต�ำบลวังปลาป้อม คือวิสัยทัศน์การพัฒนาขององค์การบริหารส่วนต�ำบลวังปลาป้อม ปัจจุบันมี นายอรัญ วรรณชัย ด�ำรงต�ำแหน่ง นายกองค์การบริหารส่วน ต�ำบลวังปลาป้อม

ประวัติความเป็นมา

ต�ำบลวังปลาป้อม ชือ่ เดิมว่า “บ้านเตาไห” แต่ชาวบ้านได้ไปหาปลา และจับปลาขึ้นมาได้ตัวใหญ่มาก และมีล�ำตัวป้อม ตาโต ไม่มีเกล็ด ชาว บ้านเห็นว่าปลาตัวนี้แปลกมากจึงได้อธิษฐานให้อยู่เย็นเป็นสุข และเจริญ รุ ่ ง เรื อ ง แล้ ว จึ ง ปล่ อ ยลงในน�้ ำ และขนานนามหมู ่ บ ้ า นแห่ ง นี้ ว ่ า “วังปลาป้อม” 258 SBL Magazine บันทึกประเทศไทย .

2

.indd 1

ยุ ทธศาสตร์ การพั ฒนา อบต.วั ง ปลาป้ อม

1. ด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในท้องถิ่น 2. ด้านการบริหารจัดการและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม 3. ด้ า นการส่ ง เสริ ม เศรษฐกิ จ ชุ ม ชนท้ อ งถิ่ น ตามหลั ก ปรั ช ญา เศรษฐกิจพอเพียง 4. ด้านศิลปวัฒนธรรมจารีตประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น

27/10/2560 10:24:49


ข้อมูลทัว่ ไป

ต�ำบลวังปลาป้อม มีเนื้อที่ทั้งหมด 55.10 ตารางกิโลเมตร หรือ 34,437 ไร่ สภาพภูมปิ ระเทศ ประกอบด้วยทีล่ มุ่ และทีร่ าบเชิงเขาลาดชัน ล้อม รอบด้วยภูเขา ต�ำบลวังปลาป้อมจึงเป็นแหล่งผลิต พืชผลทางการเกษตรทีส่ ำ� คัญ ได้แก่ ข้าว ข้าวโพด เลีย้ งสัตว์ มันส�ำปะหลัง ถัว่ เหลือง การปกครอง ประกอบด้วย 8 หมูบ่ า้ น ได้แก่ หมู่ 1 บ้านวังปลาป้อม หมู่ 2 บ้านโคกเจริญ หมู่ 3 บ้านวังปลาป้อม หมู่ 4 บ้านโคกสะอาด หมู่ 5 บ้านโคกหนองบัว หมู่ 6 บ้านหนองหัวช้าง หมู่ 7 บ้านกุดดู่ หมู่ 8 บ้านโคกสว่าง ประชากร เชือ้ สายของประชากรในต�ำบลวัง ปลาป้อม แบ่งออกเป็น 2 เชือ้ สายใหญ่ๆ คือ 1. เชื้อสายไทเลย คือ เชื้อสายชาวไทเลยที่ อพยพมาอาศัยเป็นกลุม่ แรก 2. เชือ้ สายไทอีสาน คือ เชือ้ สายชาวพืน้ เมือง อีสานทีอ่ พยพเข้ามาอยูอ่ าศัยในภายหลังเนือ่ งจาก การประสบปัญหาอุทกภัย จากการสร้างเขื่อน อุบลรัตน์ และได้ขา่ วจากเพือ่ นบ้านเกีย่ วกับท�ำเล ทีอ่ ดุ มสมบูรณ์เหมาะสมส�ำหรับการท�ำการเกษตร จึงอพยพเข้ามาจับจองเป็นพืน้ ทีท่ ำ� กิน ซึง่ ชาวพืน้ เมืองอีสานที่อพยพเข้ามาอยู่อาศัยในภายหลัง อพยพมาจากสถานที่ต่างๆ คือ อ.น�้ำพอง และ อ.อุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น, อ.หนองหาน จ.อุดรธานี, อ.โนนสัง และ อ.ศรีบุญเรือง จ.หนองบัวล�ำภู, อ.บัวใหญ่ จ.นครราชสีมา ปัจจุบนั ประชากรเชือ้ สายไทเลย มีจำ� นวนน้อยกว่าประชากรเชือ้ สายไท อี ส าน สื บ เนื่ อ งมาจากในช่ ว ง 20 ปี ใ ห้ ห ลั ง การอพยพเข้ามาจับจอง พืน้ ทีท่ ำ� กินของไทอีสาน เป็นจ�ำนวนมาก สภาพเศรษฐกิจ ประชากรส่วนใหญ่มอี าชีพ หลักคือเกษตรกรรม เช่น ท�ำนาข้าว ท�ำไร่อ้อย ถั่ ว เหลื อ ง ข้ า วโพด ท� ำ สวนยางพารา และมี อาชีพเสริม ได้แก่ การเลีย้ งสัตว์ กลุม่ อาชีพส�ำคัญ ภายในพืน้ ทีข่ อง อบต.วังปลาป้อม มีการร่วม กลุม่ เพือ่ ประกอบอาชีพเสริมหลังฤดูการเก็บเกีย่ ว อาทิ กลุม่ ตัดเย็บผ้าม่อฮ่อม ซึง่ ใช้ผา้ ม่อฮ่อมและ ผ้าพืน้ เมือง ตัดเย็บเป็นเสือ้ บุรษุ และสตรีสำ� เร็จรูป โดยได้ รั บ การสนั บ สนุ น จากอบต.วั ง ปลาป้ อ ม นอกจากนีย้ งั มีการรวมกลุม่ เพือ่ สืบทอดภูมปิ ญ ั ญา การนวดแผนไทย เพือ่ บ�ำบัดอาการปวดเมือ่ ย และ ให้บริการแก่ผทู้ สี่ นใจอีกด้วย

กิจกรรม/โครงการเด่นอบต.วังปลาป้อม

งานประเพณีขนึ้ เขาไหว้พระ ซึง่ จัดขึน้ อย่างยิง่ ใหญ่เป็นประจ�ำทุกปี โดยได้รบั ความร่วมมือ จากหน่วยงานต่างๆ ในต�ำบล เข้าร่วมขบวนแห่อย่างคึกคักและสร้างสีสนั ให้กบั ต�ำบลวังปลาป้อม ได้อย่างมาก จัดกิจกรรมเนื่องในวันส�ำคัญทางศาสนาและวันส�ำคัญของชาติ อาทิ วันขึ้นปีใหม่ วันเด็ก แห่งชาติ วันสงกรานต์ วันผู้สูงอายุ วันแม่แห่งชาติ วันพ่อแห่งชาติ ฯลฯ จัดโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม เพื่อเสริมสร้างความสมัครสมานสามัคคี และปลูกฝัง ความดีในชุมชน

NONGBUALAMPHU 259 .

2

.indd 2

27/10/2560 10:24:50


บันทึกเส้นทางพบเทศบาลต�ำบล เทศบาลต�ำบลสุวรรณคูหา ตัง้ อยูท่ ี่ 199 บ้านสุวรรณคูหา หมู่ 6 ถนนพระไชยเชษฐา ต�ำบลสุวรรณคูหา อ�ำเภอสุวรรณคูหา จังหวัดหนองบัวล�ำภู มีระยะทางห่างจากจังหวัดหนองบัวล�ำภู ไปทางทิศเหนือ ประมาณ 65 กิโลเมตร

นายพีรพงศ์ สุวรรณพงค์

นายกเทศมนตรีต�ำบลสุวรรณคูหา

เทศบาลต�ำบล

สุวรรณคูหา

“ ดินแดนถิน่ ถ�ำ้ ทอง เรืองรองหลวงพ่อพระไชยเชษฐา งามล�ำ้ ค่าพระพุทธรูปทองค�ำ ถิน่ วัฒนธรรมบุญข้าวจี่ ”

ประวัติความเป็นมา

เทศบาลต�ำบลสุวรรณคูหา เดิมเคยเป็นสุขาภิบาลต�ำบลสุวรรณคูหา โดย ได้รับการยกฐานะเป็นสุขาภิบาล เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2524 ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย และต่อมาได้เปลีย่ นแปลงฐานะเป็นเทศบาล ต�ำบลสุวรรณคูหา เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ.2542 ตามพระราชบัญญัติ เปลี่ยนแปลงฐานะสุขาภิบาลสุวรรณคูหา เป็นเทศบาลต�ำบลสุวรรณคูหา พร้อมกับสุขาภิบาลอื่น ๆ จ�ำนวน 980 แห่ง มีเนื้อที่ประมาณ 11 ตาราง กิโลเมตร หรือประมาณ 7,350 ไร่ ดวงตราประจ�ำเทศบาลเป็นรูปถ�้ำทอง ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานองค์พระไชยเชษฐา และเป็นสถานที่เคารพสักการะอัน ศักดิ์สิทธิ์ของชาวอ�ำเภอสุวรรณคูหา และอ�ำเภอใกล้เคียง 260 SBL Magazine บันทึกประเทศไทย .

6

.indd 1

25/10/2560 13:52:30


วิสัยทัศน์ของเทศบาลต�ำบลสุวรรณคูหา

“ ประชาชนอยู่ดีกินดี มีโครงสร้างพื้นฐานพร้อม สภาพแวดล้อมน่าอยู่ สูส่ ังคมเศรษฐกิจพอเพียง ”

คณะผู้บริหารเทศบาลต�ำบลสุวรรณคูหา

นายพีรพงศ์ สุวรรณพงค์ นายบุญเพ็ง ผาด�ำ นายเสรีย์ ไชยกาฬสินธุ์ นายธีระ บุญทองแพง นางสาวอรทัย สุวรรณพงค์

นายกเทศมนตรี รองนายกเทศมนตรี รองนายกเทศมนตรี ที่ปรึกษานายกเทศมนตรี เลขานุการนายกเทศมนตรี

NONGBUALAMPHU 261 .

6

.indd 2

25/10/2560 13:52:32


ข้อมูลทั่วไป

เทศบาลต�ำบลสุวรรณคูหา มีเขตการปกครองครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของ 3 ต�ำบล 12 หมู่บ้าน ดังนี้ ต�ำบลสุวรรณคูหา (บางส่วน) มีจ�ำนวน 5 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านภูทอง หมู่ที่ 3 บ้านศรีสุวรรณ หมู่ที่ 4บ้านสุวรรณคูหา หมู่ที่ 6 บ้านหนองกุงใต้ หมู่ที่ 7 และ บ้านหนองกุงเหนือ หมู่ที่ 8 ต�ำบลกุดผึ้ง (บางส่วน) มีจ�ำนวน 3 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านกุดผึง้ หมูท่ ี่ 1 บ้านหนองเหลือง หมูท่ ี่ 2 และบ้านนาไร่เดียว หมูท่ ี่ 6 ต�ำบลนาสี (บางส่วน) มีจ�ำนวน 4 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านนาตาแหลว หมู่ที่ 3 บ้านโนนสมบูรณ์ หมู่ที่ 5 บ้านดงยาง หมู่ที่ 6 และบ้านคูหาพัฒนา หมู่ที่ 7 ประชากร ในเขตเทศบาลต�ำบลสุวรรณคูหา มีประชากรรวมทั้งสิ้น 7,929 คน แยกเป็น ชาย 3,927 คน หญิง 4,002 คน มีจ�ำนวนบ้านเรือนทั้งสิ้น 2,528 ครัวเรือน (ข้อมูล ณ เดือนมีนาคม 2559 ) ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม และค้าขาย โดยมีพืชเศรษฐกิจ ได้แก่ ข้าว ข้าวโพด มันส�ำปะหลัง ยางพารา และถั่ว เป็นต้น ด้านการศึกษา - สถานศึกษาสังกัดส�ำนักงานพื้นที่การศึกษามัธยมเขต 19 เลย–หนองบัวล�ำภู จ�ำนวน 1 แห่ง คือ โรงเรียนสุวรรณคูหาพิทยาสรรค์ - วิทยาลัยชุมชน จ�ำนวน 1 แห่ง คือ วิทยาลัยชุมชนสุวรรณคูหา - สถานศึ ก ษาสั ง กั ด ส� ำ นั ก งานเขตพื้ น ที่ ก ารศึ ก ษาหนองบั ว ล� ำ ภู เขต 2 จ�ำนวน 5 แห่ง ได้แก่ โรงเรียนบ้านกุดผึ้ง โรงเรียนหนองเหลืองขามนคร โรงเรียนอนุบาลสุวรรณคูหา โรงเรียนบ้านนาตาแหลวงดงยางวิทยา และโรงเรียน บ้านโนนสมบูรณ์ - ศู น ย์ พั ฒ นาเด็ ก เล็ ก จ� ำ นวน 5 ศู น ย์ ได้ แ ก่ ศู น ย์ พั ฒ นาเด็ ก เล็ ก 262 SBL Magazine บันทึกประเทศไทย .

6

.indd 3

25/10/2560 13:52:34


วัดสามัคคีเจริญธรรม (ชุมชนกุดผึง้ –ชุมชนนาไร่เดียว) ศูนย์พฒ ั นาเด็กเล็ก บ้านหนองเหลือง (ชุมชนหนองเหลือง) ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดสว่าง กุงทอง (ชุมชนหนองกุง) ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดไพบูลย์ประชานุเคราะห์ (ชุมชนโนนสมบูรณ์–คูหาพัฒนา) และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านดงยาง (ชุมชนดงยาง–นาตาแหลว) - ศู น ย์ ก ารศึ ก ษานอกระบบ และการศึ ก ษาตามอั ธ ยาศั ย อ�ำเภอสุวรรณคูหา ด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม - สาธารณสุข ในเขตเทศบาลมีสถานพยาบาล จ�ำนวน 13 แห่ง คือ โรงพยาบาลของรัฐ จ�ำนวน 1 แห่ง (ขนาด 30 เตียง) สถานีอนามัย จ�ำนวน 2 แห่ง ส�ำนักงานสาธารณสุขอ�ำเภอ จ�ำนวน 1 แห่ง คลินิกรักษาพยาบาล จ�ำนวน 4 แห่ง ร้านขายยาแผนปัจจุบัน จ�ำนวน 6 แห่ง - อนามัยและสิ่งแวดล้อม เทศบาลต�ำบลสุวรรณคูหา มีโรงฆ่าสัตว์ 1 แห่ง ตั้งอยู่ชุมชนสุวรรณคูหา การจัดเก็บขยะมูลฝอย ในเขตเทศบาลต�ำบลสุวรรณคูหา มีปริมาณขยะ ประมาณ 10 ตัน/วัน มีรถยนต์ที่ใช้จัดเก็บขยะมูลฝอย จ�ำนวน 3 คัน ขยะที่เก็บขนได้จะน�ำไปก�ำจัดโดยวิธีฝังกลบ เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2560 เวลาประมาณ 15:00 น. บริเวณ ทุ่งนา บ้านหนองเหลือง ม.2 ต.กุดผึ้ง ขณะที่ นายทนง ทุมวัน อายุ 45 ปี ก�ำลังใช้รถแบ็คโฮ ขุดดิน เพื่อปรับพื้นที่นา เนื้อที่ 23 ไร่ (เอกสารโฉนด ที่ดิน)ของ นางยุพรัตน์ ทุมวัน อายุ 35 ปี บ้านเลขที่ 144 ม.2 ต.กุดผึ้ง อาชีพ ครู กศน.ซี่งมีศักดิ์เป็นหลานลุง ขณะที่ขุดในความลึกประมาณ 1.60 เมตร จากระดับผิวดิน ได้พบก้อนหินซึ่งมีลักษณะคล้าย แท่งเสมา โบราณ หลังจากนั้นได้ขุดพบก้อนที่ 2 ก้อนที่ 3 และพบก้อนที่ 4 สุดท้าย ซึ่งเป็นก้อนใหญ่ มีลักษณะที่สมบูรณ์ที่สุด ในระยะเวลาขุดประมาณ 1 ชั่วโมง บริเวณที่ขุด ประมาณ 4 ตารางเมตร ลักษณะก้อนหินที่พบ คล้ายหลักเสมาโบราณ ของสถานทีป่ ฏิบตั กิ จิ ทางศาสนาพุทธในสมัยอดีต โดยสันนิษฐานจาก รูปร่างของแท่งหิน และ พืน้ ผิวของหิน มีรอ่ งรอยแกะ ตัวอักษรคล้ายภาษาขอมโบราณ มีรูปคล้ายธรรมจักร ด้วย หลังจากที่ได้ รับรายงานเมื่อเวลาประมาณ 17.20 น. นายอ�ำเภอสุวรรณคูหา ได้ออก ไปตรวจสอบ และได้สั่งการให้มีการล้อมเชือกกั้นบริวณที่ขุดพบ และให้ ยุติการขุดดินบริเวณนั้น และห้ามผู้ใดเข้ามาในบริเวณล้อมเชือกเพื่อ ขุ ด ดิ น โดยเด็ ด ขาด พร้ อ มสั่ ง การให้ ผู ้ ใ หญ่ บ ้ า นร่ ว มกั บ เทศบาล ต�ำบลสุวรรณคูหา จัดชุดรักษาความปลอดภัย สลับกันมานอนเฝ้าตลอด 24 ชั่วโมง จนกว่าจะมีการตรวจพิสูจน์จากหน่วยงานทางโบราณคดี ซึ่งอ�ำเภอขอความร่วมมือจังหวัดหนองบัวล�ำภู ในวันนี้การประสาน หน่วยงานศิลปากรในพื้นที่ ส่งนักโบราณคดีมาตรวจพิสูจน์ - อนึ่ง เนื่องจากประวัติศาสตร์ของอ.สุวรรณคูหา เชื่อมโยงกับ พระไชยเชษฐาธิ ร าช กษั ต ริ ย ์ แ ห่ ง อาณาจั ก รล้ า นช้ า ง มาตั้ ง ทั พ ที่ สุวรรณคูหา เมื่อ 400 กว่าปีก่อน และสร้างวัดถ�้ำสุวรรณคูหา พร้อม พระพุ ท ธรู ป ทองค� ำ คู ่ บ ้ า นคู ่ เ มื อ งไว้ การขุ ด พบหลั ก ศิ ล าโบราณนี้ อาจเชือ่ มโยงกับประวัตศิ าสตร์ดงั กล่าวในฐานะเป็นสถานทีป่ ฏิบตั ศิ าสนกิจ NONGBUALAMPHU 263 .

6

.indd 4

25/10/2560 13:52:34


สถานที่ท่องเที่ยวส�ำคัญ

อ�ำเภอสุวรรณคูหามีสถานทีท่ อ่ งเทีย่ วหลายแห่ง มี ทั้ ง แหล่ ง ท่ อ งเที่ ย วทางธรรมชาติ และ แหล่ ง ท่ อ งเที่ ย วทางศิ ล ปวั ฒ นธรรม ส� ำ หรั บ ใน เขตเทศบาลต�ำบลสุวรรณคูหา มีแหล่งท่องเที่ยวที่ ส�ำคัญคือ วัดถ�้ำสุวรรณคูหา เป็ น สถานที่ ท ่ อ งเที่ ย วทางธรรมชาติ แ ละ วัฒนธรรม โดยเป็นวัดศักดิส์ ทิ ธิท์ มี่ คี วามส�ำคัญมาก มีโบราณสถาน โบราณวัตถุในสมัยล้านช้าง ในอดีต เคยมีพระเถระผูใ้ หญ่ทพี่ ระมหากษัตริยส์ ง่ มาพ�ำนัก และจ� ำ พรรษามาตั้ ง แต่ โ บราณ และเป็ น ที่ ประดิษฐานองค์หลวงพ่อพระไชยเชษฐา มีพระพุทธ รูปปางนาคปรก และหลักศิลาจารึกเก่าแก่ท�ำจาก หินทรายคล้ายใบเสมาอยูภ่ ายในถ�ำ ้ นอกจากนีย้ งั มี ถ�้ ำ ซึ่ ง ยั ง ไม่ ไ ด้ รั บ การส� ำ รวจอี ก จ� ำ นวนมาก ภายบริเวณวัด วัดถ�้ำสุวรรณคูหาตั้งอยู่ในชุมชน คู ห าพั ฒ นา ต� ำ บลนาสี ซึ่ ง ห่ า งจากส� ำ นั ก งาน เทศบาลต�ำบลสุวรรณคูหาประมาณ 5 กิโลเมตร 264 SBL Magazine บันทึกประเทศไทย .

6

.indd 5

25/10/2560 13:52:41


ศาลหลักเมือง เป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม ซึ่งชาวอ�ำเภอสุวรรณคูหา เชือ่ ว่ามีสงิ่ ศักดิส์ ทิ ธิค์ อยปกปักรักษาชาวอ�ำเภอสุวรรณคูหาอยูท่ กุ หน ทุกแห่ง ตัง้ อยูบ่ ริเวณหน้าตลาดสดเทศบาลต�ำบลสุวรรณคูหา ซึง่ ห่าง จากส�ำนักงานเทศบาลต�ำบลสุวรรณคูหาประมาณ 1 กิโลเมตร อนุสาวรีย์ ไทยอาสาป้องกันชาติ(ทสปช.) ตั้ ง อยู ่ ห น้ า ที่ ว ่ า การอ� ำ เภอสุ ว รรณคู ห า สร้ า งในปี 2546 สมัยนายจารึก ปริญญาพล เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดหนองบัวล�ำภู ไทยอาสาป้องกันชาติ (ทสปช.) ได้ก่อก�ำเนิดขึ้นครั้งแรกที่บ้านนาดี และบ้านโคก อ�ำเภอสุวรรณคูหา เมื่อปี 2517 โดยได้รวมกันเรียกตัว เองว่า “ทสป”(ไทยอาสาป้องกันตนเอง) จับอาวุธขึ้นต่อสู้กับ ผกค. จนได้รบั การยกย่องสรรเสริญและถือเอาเป็นแบบอย่างน�ำไปขยายผล ทัว่ ทัง้ ประเทศ โดยเรียกราษฎรอาสาสมัครว่า “ไทยอาสาป้องกันชาติ” (ทสปช.) อนุสาวรีย์แห่งนี้จึงสร้างขึ้นเพื่อเชิดชูวีรกรรมของราษฎร ทสปช. และเพื่อให้คนรุ่นหลังได้ร�ำลึกถึงบรรพบุรุษ

NONGBUALAMPHU 265 .

6

.indd 6

25/10/2560 13:52:46


บันทึกเส้นทางพบเทศบาลต�ำบล เทศบาลต�ำบลนาด่าน ซึ่งมีส�ำนักงานตั้งอยู่ หมู่ที่ 4 บ้านหนองบัวน้อย ต�ำบลนาด่าน อ�ำเภอ สุวรรณคูหา จังหวัดหนองบัวล�ำภู

นายชัยวัฒน์ สังกุลา

นายกเทศมนตรีต�ำบลนาด่าน

“ยกระดับการศึกษา พัฒนาสังคม เพิ่มผลผลิต พิชิตความยากจน เสริมสร้างธรรมชาติ”

เทศบาลต�ำบล

นาด่าน พันธกิจ

1. ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้สูงขึ้น 2. จั ด ให้ มี โ ครงสร้ า งพื้ น ฐานที่ ไ ด้ ม าตรฐานและ ครอบคลุมพื้นที่ 3. พัฒนาและส่งเสริมฟืน้ ฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิง่ แวดล้อม 4. ส่งเสริมด้านจารีตประเพณีและวัฒนธรรม 5. จัดให้มีการบริหารจัดการที่ดี รวดเร็ว โปร่งใส และ ก้าวทันเทคโนโลยี 6. พัฒนาด้านคน สังคม 7. พัฒนาและส่งเสริมการกีฬานันทนาการ และสุขภาพ อนามัยที่ดี

ยุทธศาสตร์การพัฒนา

1. การพัฒนาด้านการส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนและการ แก้ไขปัญหาความยากจน 2. การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน 3. การพั ฒ นาด้ า นการบริ ห ารจั ด การและอนุ รั ก ษ์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน 4. การพัฒนาด้านศิลปวัฒนธรรม จารีต ประเพณี และ ภูมิปัญญาท้องถิ่น 5. การพัฒนาด้านการบริหารจัดการบ้านเมืองและ สังคมที่ดี 6. การพัฒนาด้านคนและสังคม 7. ด้านการสร้างเสริมสุขภาพอนามัยของประชาชน และพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ 266 SBL Magazine บันทึกประเทศไทย .

4

.indd 1

ข้อมูลทั่วไป

ต�ำบลนาด่าน ตั้งอยู่ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ (ป่าเก่ากลอย–นากลาง) ห่างจาก อ�ำเภอสุวรรณคูหา ประมาณ 15 กิโลเมตร โดยแยกออกจากต�ำบลนาดี และมีฐานะ เป็นองค์การบริหารส่วนต�ำบล เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2540 ต่อมาได้รับการยกฐานะ เป็นเทศบาลต�ำบลนาด่าน เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ.2552 ต�ำบลนาด่านมีพื้นที่ทั้งหมด 46,875 ไร่ พื้นที่ป่าไม้และภูเขาประมาณ 17,250 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 30.40 ของพื้นที่ ลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบสูงสลับเนินเขาเล็กๆ มีลำ� น�ำ้ บนไหลผ่านทางทิศตะวันตกของต�ำบล มีลำ� ห้วยส้มป่อยไหลผ่านทางทิศใต้ และ ยังมีล�ำห้วยที่ส�ำคัญหลายสาย เช่น ล�ำห้วยแคน ล�ำห้วยไร่ ล�ำห้วยหินลาด การปกครอง ต�ำบลนาด่านแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 11 หมู่บ้าน ประกอบด้วย

27/10/2560 10:31:06


หมู่ที่ 1 บ้านนาด่าน หมู่ที่ 2 บ้านส้มป่อย หมู่ที่ 3 บ้านกุดฮู หมู่ที่ 4 บ้านหนองบัวน้อย หมู่ที่ 5 บ้านโนนชาติ หมู่ที่ 6 บ้านหนองเห็น หมู่ที่ 7 บ้านสุขส�ำราญ หมู่ที่ 8 บ้านทุ่งสว่าง หมู่ที่ 9 บ้านหนองบัวงาม หมู่ที่ 10 บ้านชมภูทอง หมู่ที่ 11 บ้านค่ายเมืองแสน

ประชากร มีจำ� นวนประชากรรวมทัง้ สิน้ 9,044 คน แบ่งเป็นชาย 4,581 คน หญิง 4,463 คน มีจำ� นวนครัว เรือน 2,173 หลังคาเรือน สภาพสังคม - การศึกษา มีโรงเรียน อนุบาล–ประถมศึกษาปีที่ 6 จ�ำนวน 1 แห่ง โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา อนุบาล–มัธยมศึกษาปีที่ 3 จ�ำนวน 3 แห่ง และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจ�ำนวน 4 แห่ง - สาธารณสุข มีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจ�ำต�ำบล จ�ำนวน 2 แห่ง ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 บ้านนาด่าน และหมู่ที่ 4 บ้านหนองบัวน้อย ระบบเศรษฐกิจ - อาชีพ ประชากรในเขตเทศบาล ร้อยละ 70 ประกอบอาชีพ เกษตรกรรม ผลผลิตทางการเกษตรที่ส�ำคัญ ได้แก่ ข้าว มันส�ำปะหลัง อ้อย รองลงมาคือ อาชีพเลี้ยงสัตว์ ได้แก่ ไก่ เป็ด โค สุกร กระบือ ร้อยละ 13 อาชีพรับจ้าง ร้อยละ 8 และอาชีพค้าขาย ร้อยละ 9 - อุตสาหกรรม มีกิจการอุตสาหกรรมขนาดเล็ก (โรงสีขนาดเล็ก) จ�ำนวน 13 แห่ง - กลุ่มอาชีพ มีกลุ่มอาชีพ 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มเศรษฐกิจพอเพียง หมู่ที่ 6 และกลุ่มแปรรูปทางการเกษตร หมู่ที่ 7 ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม ประชาชนในพืน้ ทีต่ ำ� บลนาด่านนับถือ ศาสนาพุทธร้อยละ 100 มีวัด 7 แห่ง ส�ำนักสงฆ์ 5 แห่ง ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภาษาถิ่น ประชาชนในเขตเทศบาลฯได้อนุรักษ์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ได้แก่ วิธีการท�ำเครื่องจักสาใช้ส�ำหรับในครัวเรือน วิธีการเลี้ยงไหมและการทอผ้าไหม วิธีการทอเสื่อจากต้นกก และวิธีการ จับปลาธรรมชาติ สินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึก ประชาชนในเขตเทศบาลได้ผลิต ของใช้พื้นเมืองขึ้นใช้ในครัวเรือนและเหลือเอาไว้จำ� หน่ายบ้าง ได้แก่ เสื่อ ที่ทอจากต้นกก ผ้าที่ทอจากผ้าฝ้ายและผ้าไหม เครื่องจักสานที่ท�ำจาก ไม้ไผ่ เป็นต้น การท่องเที่ยว ในเขตเทศบาลไม่มีแหล่งท่องเที่ยว แต่ทางเทศบาลฯ ได้สง่ เสริมการท่องเทีย่ วให้เกิดขึน้ ในชุมชน เช่น การจัดงานประเพณีตา่ งๆ การจัดสร้างสวนสาธารณะส�ำหรับใช้พักผ่อนหย่อนใจ NONGBUALAMPHU 267 .

4

.indd 2

27/10/2560 10:31:13


บันทึกเส้นทางพบองค์การบริหารส่วนต�ำบล

กิจกรรม/โครงการเด่น ปี 2560

1. โครงการเฝ้าระวังป้องกันและฟืน้ ฟูทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อเฉลิมพระเกียรติฯ ระหว่างวันที่ 1–30 สิงหาคม 2560 ส�ำนักปลัด เทศบาลต�ำบลนาด่าน ได้จดั ท�ำกิจกรรมดังกล่าว ขึ้ น เนื่ อ งจากป่ า ชุ ม ชนในพื้ น ที่ ต� ำ บลนาด่ า นที่ อ ยู ่ ต ามแนว เทื อ กเขาภู พ านเป็ น เขตวนอุ ท ยานภู ผ าแดง รวม 9 ชุ ม ชน ก�ำลังได้รบั ผลกระทบจากการทีช่ าวบ้านในแต่ละชุมชนเข้าไปเก็บ ของป่า เช่น หน่อไม้ เห็ด และพืชสมุนไพรต่างๆ ท�ำให้ป่า เสือ่ มโทรมลง ผูน้ ำ� ชุมชนทัง้ 11 ชุมชนและคณะผูบ้ ริหารเทศบาล ต�ำบลนาด่าน จึงได้หาแนวทางในการดูแลรักษาป่าชุมชนด้วยการ ปิดป่าชุมชนเป็นเวลา 1 เดือน คือระหว่างวันที่ 1-30 สิงหาคม 2560 โดยการจัดตั้งเวรยามเพื่อเข้าไปดูแลรักษาป่า ทั้งนี้มี วัตถุประสงค์เพื่อป้องกันการบุกรุกป่าชุมชนในช่วงปิดป่า เพื่อให้ เกิดการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และเพื่อเป็นการสร้าง จิตส�ำนึกในการป้องกันและรักษาป่าชุมชน 2. โครงการจัดงานประเพณีรดน�้ำด�ำหัวขอพรผู้สูงอายุ ประจ�ำปี 2560 เนือ่ งในวันที่ 13 เมษายน ของทุกปี เป็นวันผูส้ งู อายุแห่งชาติ และวันสงกรานต์ เทศบาลต�ำบลนาด่าน ตระหนักและเล็งเห็น คุณค่าและความส�ำคัญของผู้สูงอายุ จึงได้จัดท�ำโครงการรดน�้ำ ด�ำหัวผู้สูงอายุ ประจ�ำปี 2560 ขึ้น เพื่อเป็นการกระตุ้นเตือนให้ สั ง คมตระหนั ก ในคุ ณ ค่ า และความส� ำ คั ญ ของผู ้ สู ง อายุ และ ส่งเสริมให้ครอบครัวหันมาดูแลผู้สูงอายุให้มากขึ้น เพื่อเป็นการ ขอขมาโทษและขออโหสิกรรมที่เคยล่วงเกินต่อผู้สูงอายุ เพื่อเผย แพร่ยกย่องเชิดชูเกียรติผู้สูงอายุและสืบสานวัฒนธรรมพื้นบ้าน สู่ชุมชน สนับสนุนให้สังคมร่วมรับประโยชน์จากการถ่ายทอด ภูมิปัญญาของผู้สูงอายุ การรดน�้ำขอพรจากผู้สูงอายุ การจัด กิจกรรมทางศาสนาให้แก่ผู้สูงอายุ ซึ่งมีอยู่ประมาณ 858 คน 3. โครงการพัฒนากลุ่มอาชีพตามแนวทางเศรษฐกิจพอ เพียง การอบรมท�ำปุ๋ยอินทรีย์ โครงการอบรมปฏิบัติการจัดท�ำปุ๋ยอินทรีย์ตามแนวทาง เศรษฐกิ จ พอเพี ย ง จั ด ขึ้ น เมื่ อ วั น ที่ 23 กั น ยายน 2559 ณ หมู่ที่ 6 บ้านหนองเห็น โดยส่งเสริมการน�ำหลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียงมาใช้เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรม ส�ำหรับ ปรับเปลี่ยนระบบคิด เพื่อสร้างวิถีชีวิตที่เหมาะสม และให้เป็น ชุมชนเข้มแข็ง พึ่งตนเองได้ กิจกรรมดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อ ให้ชาวบ้านมีความรูแ้ ละวิธกี ารท�ำน�ำ้ หมักและปุย๋ อินทรียช์ วี ภาพ ไว้ใช้เอง เพื่อให้มีการรวมกลุ่มท�ำปุ๋ยใช้เอง เพื่อลดต้นทุนใน ก า ร ท� ำ ก า ร เ ก ษ ต ร แ ล ะ เ ป ็ น ก า ร ป รั บ ส ภ า พ ดิ น ใ ห ้ มี ความอุดมสมบูรณ์ เพื่อให้ชาวบ้านได้มีวัสดุอุปกรณ์ในการท�ำปุ๋ย อย่างเพียงพอ และเพื่อส่งเสริมเกษตรกรให้มีความเข้มแข็ง สามัคคีกัน และพัฒนาการเกษตรให้ยั่งยืน 268 SBL Magazine บันทึกประเทศไทย .

4

.indd 3

27/10/2560 10:31:16


4. งานประเพณีบุญบั้งไฟ งานบุญบัง้ ไฟเป็นงานประจ�ำปีทสี่ ำ� คัญของชาวอีสาน เป็นงาน ที่ก่อให้เกิดความรักความสามัคคีของคนท้องถิ่นเป็นอย่างดี จากวั ฒ นธรรมที่ มี พื้ น ฐานมาจากภู มิ ป ั ญ ญา และกุ ศ โลบาย อันชาญฉลาดของบรรพบุรษุ ได้ถกู ถ่ายทอดจากรุน่ สูร่ นุ่ สืบต่อกัน มาด้วยแรงเชือ่ และศรัทธา และในปัจจุบนั ได้นำ� มาสูก่ ารประกวด การแข่งขัน การเดิมพันและความสนุกสนาน จนกลายเป็น งานประเพณีระดับชาติที่สร้างชื่อเสียงไปทั่วโลก เทศบาลต�ำบล นาด่านจึงร่วมกับประชาชนและผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน จัดงาน ประเพณีบุญบั้งไฟขึ้น ระหว่างวันที่ 10–11 เดือน พฤษภาคม 2560 เพือ่ ให้อนุชนรุน่ หลังได้สบื สานวัฒนธรรมและประเพณีของ ชาวเทศบาลต�ำบลนาด่านเป็นงานประจ�ำปีสืบต่อไป

5. โครงการอบรมประกอบอาชี พ เสริ ม เพิ่ ม รายได้ “การประดิ ษ ฐ์ ดอกไม้จันทน์” เทศบาลต�ำบลนาด่าน จึงได้จดั ท�ำโครงการดังกล่าวขึน้ เพือ่ อบรมและเสริม สร้างทักษะด้านอาชีพให้แก่กลุม่ ประชาชน/กลุม่ อาชีพ/กลุม่ สตรี/กลุม่ ผูส้ งู อายุ/ ผู้พิการ/และพนักงานเจ้าหน้าที่ ในต�ำบลนาด่าน และเพื่อให้มีดอกไม้จันทน์ไว้ แจกจ่ายให้กับผู้เข้าร่วมในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาท สมเด็จพระปรมินทรมหาภูมพิ ลอดุลยเดช เพือ่ เป็นการแสดงถึงความจงรักภักดี และเพือ่ เป็นแนวทางหนึง่ ทีจ่ ะมีกจิ กรรมเสริมทีเ่ ป็นประโยชน์ สนับสนุนให้มกี าร ฝึกอบรมในการท�ำอาชีพเสริม เพือ่ เป็นการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ มีคณ ุ ค่า สร้างความรักความสามัคคี ลดค่าใช้จ่ายในครอบครัว และสามารถน�ำความรู้ ความสามารถมาประยุกต์ใช้เสริมสร้างรายได้ให้กบั ตนเอง ครอบครัวและชุมชน อย่างยั่งยืนต่อไป

จากใจนายก ทต.นาด่าน

การด�ำเนินงานต่างๆ และการแก้ไขปัญหาของ เทศบาลต�ำบลนาด่าน คือ การขอความร่วมมือ ผูน้ ำ � เจ้าหน้าทีท่ มี่ หี น้าทีร่ บั ผิดชอบ ให้ชว่ ยกันระมัดระวัง สอดส่อง และให้รายงานปัญหาให้เทศบาลฯทราบ ตลอดจนการรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ ให้ข้อมูลที่ ถูกต้องเกีย่ วกับข้อกฎหมาย เพือ่ ให้ประชาชนได้รบั ทราบปั ญ หาต่ า งๆ ที่ เ กิ ด ขึ้ น ซึ่ ง เทศบาลฯได้ พยายามแก้ไข โดยเริ่มจากการประชุมประชาคม ท้องถิ่นทุกชุมชนในเขตเทศบาล ในการจัดท�ำแผน พั ฒ นาเทศบาล จากผลการประชุ ม ทุ ก ครั้ ง ที่ เทศบาลฯจัดขึ้น มีประชาชนสนใจเข้าร่วมประชุม รวมทั้งแสดงความคิดเห็นที่หลากหลาย ส่งผลให้ เทศบาลฯสามารถด�ำเนินงานตามความต้องการ ของประชาชนได้ และประชาชนก็ได้มีส่วนร่วมใน การพัฒนาด้วยเช่นกัน ในนามของคณะผู้บริหาร เทศบาลต�ำบลนาด่าน ขอขอบพระคุณทุกภาคส่วน ที่ เ กี่ ย วข้ อ ง ตลอดจนชาวต� ำ บลนาด่ า นทุ ก ๆ ท่าน มา ณ โอกาสนี้ NONGBUALAMPHU 269 .

4

.indd 4

27/10/2560 10:31:17


บันทึกเส้นทางพบเทศบาลต�ำบล เทศบาลต� ำ บลบุ ญ ทั น ซึ่ ง มี ส� ำ นั ก งาน ตั้ ง อยู ่ ห มู ่ ที่ 9 บ้ า นสระแก้ ว , ต� ำ บลบุ ญ ทั น อ�ำเภอสุวรรณคูหา จังหวัดหนองบัวล�ำภู

นายสมหมาย ศรีบุรินทร์

นายกเทศมนตรีต�ำบลบุญทัน

เทศบาลต�ำบล

บุญทัน เทศบาลต� ำ บลบุ ญ ทั น อ� ำ เภอสุ ว รรณคู ห า จั ง หวั ด หนองบั ว ล� ำ ภู ปั จ จุ บั น มี นายสมหมาย ศรี บุ ริ น ทร์ ด� ำ รงต� ำ แหน่ ง นายกเทศมนตรี ต�ำบลบุญทัน ผู้บริหารยุคใหม่ที่มีวิสัยทัศน์กว้าง ไกล กล้ า คิ ด ริ เ ริ่ ม สร้ า งสรรค์ โ ครงการใหม่ ๆ อี ก ทั้ ง ยั ง ให้ ก ารสนั บ สนุ น การด� ำ เนิ น กิ จ กรรม ของกลุ ่ ม /องค์ ก ร และหน่ ว ยงานบริ ก ารต่ า งๆ ในเขตเทศบาล จนได้รับรางวัลมากมาย ประวัติความเป็นมา

ต�ำบลบุญทัน จัดตั้งเป็นต�ำบลเมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2529 เนือ้ ทีข่ องต�ำบลทัง้ หมดตัง้ อยูใ่ นเขตป่าสงวนแห่งชาติ ปั จ จุ บั น เป็ น ต� ำ บลที่ อ ยู ่ ใ นเขตก ารปกครองของ อ�ำเภอสุวรรณคูหา และได้ยกฐานะเป็นเทศบาล เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2552

ข้อมูลทั่วไป

ต�ำบลบุญทัน มีเนื้อที่ทั้งหมด 80 ตารางกิโลเมตร หรือ ประมาณ 50,000 ไร่ สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูง มีภเู ขาสลับซับซ้อนสวยงามมาก มีปา่ ไม้ ภูมอิ ากาศเย็นสบาย ดินเป็นดินร่วนด�ำ เหมาะแก่การเพาะปลูก

อาณาเขตติดต่อ ทิศเหนือ มีอาณาเขตติดกับ ต�ำบลบ้านหยวก อ�ำเภอน�้ำโสม จังหวัดอุดรธานี ทิศใต้ มีอาณาเขตติดกับ ต�ำบลดงสวรรค์ อ�ำเภอนากลาง จังหวัดหนองบัวล�ำภู ทิศตะวันออก มีอาณาเขตติดกับ ต�ำบลบ้านโคก อ�ำเภอสุวรรณคูหา จังหวัดหนองบัวล�ำภู ทิศตะวันตก มีอาณาเขตติดกับ ต�ำบลบ้านนาดอกค�ำ อ�ำเภอนาด้วง จังหวัดเลย การปกครอง ต�ำบลบุญทันแบ่งเขตการปกครองเป็น 9 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ 1 บ้านบุญทัน หมู่ 2 บ้านบุญทัน หมู่ 3 บ้านน�้ำโมง หมู่ 4 บ้านแสงอรุณ หมู่ 5 บ้านคลองเจริญ หมู่ 6 บ้านคลองเจริญ หมู่ 7 บ้านโคกสาลิกา หมู่ 8 บ้านโคกนกพัฒนา และหมู่ 9 บ้านสระแก้ว

270 SBL Magazine บันทึกประเทศไทย .

4

.indd 1

27/10/2560 10:28:51


ประชากร จ�ำนวนประชากรในเขตเทศบาลต�ำบลบุญทันรวมทั้งสิ้น 6,109 คน และมีครัวเรือน จ�ำนวน 1,809 หลังคาเรือน สภาพเศรษฐกิจ ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ ท�ำนา ท�ำสวน ท�ำไร่ อาชีพเสริม คือ เลี้ยงสัตว์ พืชเศรษฐกิจที่ส�ำคัญและสร้างรายได้ให้แก่ประชาชนใน พื้นที่ ได้แก่ ยางพารา อ้อย เงาะ กาแฟ

กลุ่ม/องค์กรที่ส�ำคัญของ ทต.บุญทัน

กองทุนสวัสดิการชุมชนเทศบาลต�ำบลบุญทัน เริ่มด�ำเนินการอย่างไม่เป็นทางการจากกลุ่มผู้สูงอายุ เมื่อปี พ.ศ. 2553 ต่อมาได้รับการสนับสนุนจากเทศบาลต�ำบลบุญทัน และได้จดทะเบียน เป็นกองทุนอย่างเป็นทางการเมือ่ วันที่ 16 ตุลาคม 2557 มีความโดดเด่น ด้านบริหารจัดการ และได้รับรางวัลในปี 2560 หน่วยบริการการแพทย์ฉุกเฉิน (กู้ชีพ) เป็นหน่วยบริการทีเ่ ทศบาลต�ำบลบุญทันจัดตัง้ ขึน้ เพือ่ ช่วยเหลือและ รับส่งผู้ป่วยฉุกเฉินในพื้นที่ต�ำบลบุญทันไปยังโรงพยาบาล ซึ่งมีเจ้าหน้าที่ ประจ�ำหน่วยคอยรับแจ้งเหตุตลอด 24 ชั่วโมง จนได้รับรางวัลดีเด่นใน ด้านการบริการ กลุ่ม อสพ. (อาสาสมัครปิดทองหลังพระ) ด�ำเนินกิจกรรมอาสาสมัครที่ส�ำคัญ ได้แก่ การอนุรักษ์สัตว์พื้นถิ่น การก่อสร้างฝายชะลอน�ำ้ (ฝายแม้ว) การปลูกป่า และการเฝ้าระวังป้องกัน ไฟป่าของทีมเสือสู้ไฟต�ำบลบุญทัน ซึ่งได้รับโล่รางวัลจากผู้ว่าราชการ จังหวัดหนองบัวล�ำภู

NONGBUALAMPHU 271 .

4

.indd 2

27/10/2560 10:28:53


โครงการที่สำ� คัญ

โครงการจิตอาสาสร้างฝายชะลอน�ำ้ ตามรอยพ่อ เทศบาลต�ำบลบุญทัน ร่วมกับ กลุม่ นักศึกษาวิทยาลัย ชุ ม ชนหนองบั ว ล� ำ ภู รุ ่ น ที่ 13 โรงเรี ย นสุ ว รรณคู ห า หน่วยงานต่างๆ ทัง้ ภาครัฐและเอกชน รวมถึงพระสงฆ์และ ชาวบ้านในพืน้ ที่ จัด “โครงการจิตอาสาสร้างฝายชะลอน�ำ้ ตามรอยพ่อ” เพื่อเป็นการกักเก็บน�้ำไว้ใช้ในพื้นที่ต้นน�้ำ ให้ป่ามีความชุ่มชื้นและเป็นแหล่งอนุรักษ์สัตว์น�้ำพื้นถิ่น เริม่ ด�ำเนินการเมือ่ วันที่ 17 มิถนุ ายน 2560 ณ ล�ำห้วยซัม้ กัง้ บ้านโคกนกสาริกา ม.8 ต�ำบลบุญทัน อ�ำเภอสุวรรณคูหา จังหวัดหนองบัวล�ำภู โครงการต้นกล้าภูซาง( รักสิง่ แวดล้อม ) ประจ�ำปี 2560 เทศบาลต�ำบลบุญทัน น�ำโดย นายสมหมาย ศรีบรุ นิ ทร์ นายกเทศมนตรีต�ำบลบุญทัน คณะผู้บริหาร สมาชิกสภา ข้าราชการ พนักงานในสังกัดเทศบาลต�ำบลบุญทัน และ หน่ ว ยงานราชการในเขตต� ำ บลบุ ญ ทั น ร่ ว มกั น จั ด “โครงการต้นกล้าภูซาง ( รักสิ่งแวดล้อม )” เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2560 ณ ป่าภูซาง บ้านโคกนก ต�ำบลบุญทัน อ�ำเภอสุวรรณคูหา จังหวัดหนองบัวล�ำภู เพือ่ ฝึกอบรมเชิง ป ฏิ บั ติ ก า ร ใ ห ้ แ ก ่ เ ด็ ก นั ก เรี ย น แ ล ะ เ ย า ว ช น ใ น ต� ำ บลบุ ญ ทั น ได้ เรี ย นรู ้ ป ระวั ติ ศ าสตร์ พื้ น ที่ ใ นอดี ต เรียนรู้ระบบนิเวศน์บนผืนป่าภูซางใหญ่ และที่ส�ำคัญคือ การสร้างจิตส�ำนึกให้ทุกคนรักพื้นที่และร่วมใจกันอนุรักษ์ ผื น ป่ า ภู ซ างใหญ่ ให้ ค งความอุ ด มสมบู ร ณ์ แ ละอยู ่ กั บ ต�ำบลบุญทันต่อไป โครงการเทีย่ วบุญทันกินเงาะหวาน อาหารแซ่บ ประจ�ำ ปี 2560 ด้วยพืน้ ทีเ่ ทศบาลต�ำบลบุญทัน เป็นพืน้ ทีแ่ หล่งต้นน�ำ้ ที่มีความอุดมสมบูรณ์ และประชาชนส่วนใหญ่ประกอบ อาชีพเกษตรกรรม ปัจจุบันเกษตรกรส่วนหนึ่งได้เพิ่มทาง เลือกในการปลูกพืช โดยเปลีย่ นจากการปลูกพืชไร่เป็นพืช สวนที่มีผลผลิตออกสู่ตลาดแล้ว ได้แก่ เงาะ และกาแฟ (พั น ธุ ์ R obusta) ซึ่ ง เงาะจะมี ร สชาติ ห วานกรอบเป็ น เอกลักษณ์ของพื้นที่ต�ำบลบุญทัน ดังนั้น เพื่อส่งเสริมการตลาดให้แก่เกษตรกรในพื้นที่ คณะผู้บริหาร สมาชิกสภาเทศบาล ตลอดทั้งผู้น�ำชุมชน จึงได้จัดงาน “เที่ยวบุญทันกินเงาะหวาน อาหารแซ่บ ประจ�ำปี 2560” ขึน้ เป็นปีแรก ระหว่างวันที่ 7–8 สิงหาคม 2560 ณ เทศบาลต�ำบลบุญทัน อ�ำเภอสุวรรณคูหา จังหวัด หนองบั ว ล� ำ ภู โดยได้ รั บ ความสนใจอย่ า งมากทั้ ง จาก ประชาชนทั่วไปในจังหวัดและนักท่องเที่ยว ซึ่งในอนาคต จะได้วางแผนจัดเป็นงานประจ�ำปีของต�ำบลบุญทัน 272 SBL Magazine บันทึกประเทศไทย .

4

.indd 3

27/10/2560 10:28:57


สถานที่ท่องเที่ยว

ภูซางใหญ่ เป็ น ภู เ ขาที่ มี ค วามอุ ด ม สมบู ร ณ์ มี ทิ ว ทั ศ น์ ที่ ส วยงาม มีน�้ำตก มีไผ่ซาง และเป็นแหล่ง ต้ น น�้ ำ ของอ� ำ เภอสุ ว รรณคู ห า มี สั ต ว์ พื้ น ถิ่ น ได้ แ ก่ ปู หิ น อี ปุ ่ ม ปลาค่อกัง้ และบริเวณสันภูซางใหญ่ เคยเป็ น พื้ น ที่ ป ระวั ติ ศ าสตร์ ทางการเมือง โดยเป็นฐานทีต่ งั้ ของ กลุม่ พัฒนาชาติไทย (คอมมิวนิสต์) ปั จ จุ บั น ได้ พั ฒ นาให้ เ ป็ น แหล่ ง ท่ อ งเที่ ย วทางธรรมชาติ โดยมี นั ก ท่ อ งเที่ ย วเริ่ ม สนใจเข้ า มา พักแรมและสัมผัสธรรมชาติช่วง ปลายฝนต้นหนาว

อ่างเก็บน�ำ้ ล�ำห้วยโซ่ ตั้งอยู่ที่ ม.7 บ้านโคกนกพัฒนา ต�ำบลบุญทัน อ�ำเภอสุวรรณคูหา จังหวัดหนองบัวล�ำภู เป็นอ่างเก็บน�้ำตาม แนวพระราชด�ำริของในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่มีความสวยงามทางธรรมชาติ น�้ำใสสะอาด มีสะพานข้ามอ่างเก็บน�้ำ ให้นักท่องเที่ยวเดินทางไปกราบพระที่วัดป่าเกาะแก้วภูซาง และถ่ายภาพบรรยากาศสวยๆ ตลอดทั้งมีแพให้ นักท่องเที่ยวนั่งพักผ่อน

NONGBUALAMPHU 273 .

4

.indd 4

27/10/2560 10:29:00


บันทึกเส้นทางพบองค์การบริหารส่วนต�ำบล องค์การบริหารส่วนต�ำบลบ้านโคก ตั้งอยู่เลขที่ 327 บ้ า นดงบั ง หมู ที่ 8 ต�ำบลบ้ า นโคก อ�ำ เภอสุ ว รรณคู ห า จังหวัดหนองบัวล�ำภู โดยตัง้ อยูท่ างทิศเหนือห่างจากอ�ำเภอ สุวรรณคูหา ประมาณ 6 กม.

นายทองดี แสนค�ำ

นายกองค์การบริหารส่วนต�ำบลบ้านโคก

องค์การบริหารส่วนต�ำบล ข้อมูลทั่วไป

บ้านโคก

การปกครอง องค์การบริหารส่วนต�ำบลบ้านโคก มีเขตการปกครอง แบ่งออกเป็น 11 หมู่บ้าน และมีเขตการปกครองคาบเกี่ยวกับเทศบาล ต�ำบลบ้านโคก อยู่ 3 หมู่บ้าน ประชากร มีครัวเรือนทัง้ สิน้ 1,507 ครัวเรือน มีประชากรรวม 5,857 คน เป็นชาย 2,961 คน หญิง 2,896 คน (ข้อมูล ณ เดือน กรกฎาคม 2560 ) สภาพเศรษฐกิจ ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม คือ ท�ำนา รองลงมาคืออาชีพรับจ้างทั่วไป, ท�ำไร่, ท�ำสวน และรับราชการ อาชีพเสริมคือปลูกถั่ว, ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ในที่นาหลังฤดูเก็บเกี่ยว และมีเครือข่ายกลุม่ สตรี / กลุม่ อาชีพ เช่น กลุม่ เลีย้ งกบ, กลุม่ เลีย้ งไก่พนื้ บ้าน, กลุม่ ปลูกถัว่ เหลือง ประชากรมีรายได้เฉลีย่ ต่อหัว/ต่อปี ประมาณ 36,50075,000 บาท/คน/ปี (ที่มา : แผนพัฒนาเกษตรกรรมระดับต�ำบลต้นแบบ พ.ศ.2560-2563)

274 SBL Magazine บันทึกประเทศไทย .

4

.indd 274

25/10/60 01:06:37 PM


สภาพเศรษฐกิจ ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม คือ ท�ำนา รองลงมาคืออาชีพรับจ้างทั่วไป, ท�ำไร่, ท�ำสวน และรับราชการ อาชีพเสริมคือปลูกถั่ว, ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ในที่นาหลังฤดูเก็บเกี่ยว และมีเครือข่ายกลุม่ สตรี / กลุม่ อาชีพ เช่น กลุม่ เลีย้ งกบ, กลุม่ เลีย้ งไก่พนื้ บ้าน, กลุม่ ปลูกถัว่ เหลือง ประชากรมีรายได้เฉลีย่ ต่อหัว/ต่อปี ประมาณ 36,50075,000 บาท/คน/ปี (ที่มา : แผนพัฒนาเกษตรกรรมระดับต�ำบลต้นแบบ พ.ศ.2560-2563)

กิจกรรมโดดเด่นของ อบต.บ้านโคก

โครงการรวมพลังประชารัฐ จิตอาสาประชาร่วมใจ ก�ำจัดผักตบชวา “หนึง่ คน หนึง่ ก�ำ” องค์การบริหารส่วนต�ำบลบ้านโคก ร่วมกับหน่วยงานระดับอ�ำเภอ จังหวัด และประชาชน ชาวต�ำบลบ้านโคก จัดกิจกรรมก�ำจัดผักตบชวาและวัชพืชในล�ำคลอง เพือ่ รักษาสภาพแวดล้อม ให้น่าอยู่ และเพื่อให้มีทรัพยากรน�้ำไว้ใช้อย่างเพียงพอ รวมทั้งเป็นการบูรณาการ ของหน่วยงาน และประชาชนในพืน้ ที่ มีสว่ นร่วมในการอนุรกั ษ์ บ�ำรุงรักษา ใช้ประโยชน์ และปลูกฝังจิตส�ำนึกให้เกิดความสมัครสมานสามัคคีในการรักษาแหล่งน�้ำอย่างยั่งยืน NONGBUALAMPHU 275 .

4

.indd 275

25/10/60 01:06:37 PM


โครงการเปิดโรงเรียนผู้สูงอายุ

องค์การบริหารส่วนต�ำบลบ้านโคก ได้รับเลือกเป็นศูนย์ส่งเสริม คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุต้นแบบในระดับอ�ำเภอสุวรรณคูหา และได้ท�ำการ เปิดโรงเรียนผู้สูงอายุ เพื่อให้ผู้สูงอายุในต�ำบลได้พบปะพูดคุย และได้จัด กิจกรรมร่วมกัน อาทิ การตรวจสุขภาพให้กบั ผูส้ งู อายุ ซึง่ โรงเรียนผูส้ งู อายุ เป็นรูปแบบหนึ่งในการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต การจัดการศึกษา การพัฒนาทักษะเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ และกิจกรรมของ โรงเรียนผู้สูงอายุจะเป็นเรื่องที่ผู้สูงอายุสนใจ และมีความส�ำคัญต่อการ ด�ำเนินชีวิต ช่วยเพิ่มพูนความรู้ ทักษะชีวิตที่จำ� เป็น

โครงการแก้ ไขปัญหาด้านสาธารณสุข

องค์การบริหารส่วนต�ำบลบ้านโคก ได้จดั กิจกรรมรักษาสิง่ แวดล้อม เพือ่ เป็นการสร้างจิตส�ำนึกให้กบั พนักงานและประชาชนในพืน้ ที่ ให้ชว่ ยกัน รักษาความสะอาด ลดปริมาณการทิง้ ขยะในพืน้ ทีส่ าธารณะ เพือ่ ให้บา้ นเมือง น่าอยู่ ด้วยการน�ำของนายทองดี แสนค�ำ นายกองค์การบริหารส่วนต�ำบล บ้านโคก น�ำพนักงานลูกจ้างในหน่วยงานและประชาชนในพืน้ ทีอ่ อกรณรงค์ ร่วมกันเก็บขยะริมทาง

276 SBL Magazine บันทึกประเทศไทย .

4

.indd 276

25/10/60 01:06:38 PM


กิจกรรมซ้อมแผนป้องกันและบรรเทาสาธารภัย

องค์การบริหารส่วนต�ำบลบ้านโคก ได้จัดกิจกรรมเข้าร่วม ซ้อมแผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (กรณีดินโคลนถล่ม) เพื่อ ให้มคี วามพร้อมในการรับมือกับสถานการณ์ฉกุ เฉินได้อย่างทันท่วงที

โครงการปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติ

องค์การบริหารส่วนต�ำบลบ้านโคก ได้จัดกิจกรรมปลูกป่า เฉลิ ม พระเกี ย รติ โดยร่ ว มกั บ หน่ ว ยงานท้ อ งถิ่ น ใกล้ เ คี ย งและ อ�ำเภอสุวรรณคูหา และหน่วยงานทหาร รวมทัง้ หน่วยงานทางจังหวัด หนองบัวล�ำภู

NONGBUALAMPHU 277 .

4

.indd 277

25/10/60 01:06:47 PM


บันทึกเส้นทางพบองค์การบริหารส่วนต�ำบล องค์การบริหารส่วนต�ำบลดงมะไฟ, ต�ำบลดงมะไฟ อ�ำเภอสุวรรณคูหา จังหวัดหนองบัวล�ำภู, 39270

นายทองค�ำ บุตรโคตร

นายกองค์การบริหารส่วนต�ำบลดงมะไฟ

องค์การบริหารส่วนต�ำบล

ดงมะไฟ

“อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติภูผายา เน้นพัฒนาท้องถิ่น สู่แดนดินแห่งอารยธรรม น้อมน�ำเศรษฐกิจพอเพียง” คื อ วิ สั ย ทั ศ น์ ข ององค์ ก ารบริ ห ารส่ ว นต� ำ บลดงมะไฟ หมู ่ 2 ต�ำบลดงมะไฟ อ�ำเภอสุวรรณคูหา จังหวัด หนองบัวล�ำภู 278 SBL Magazine บันทึกประเทศไทย .

4

.indd 1

ประวัติความเป็นมา

ตัง้ แต่ปี พ.ศ.2503 หมูบ่ า้ นในต�ำบลดงมะไฟขึน้ อยูก่ บั ต�ำบลเก่ากลอย อ� ำ เภอหนองบั ว ล� ำ ภู จั ง หวั ด อุ ด รธานี ต่ อ มาได้ แ ยกออกจาก ต�ำบลเก่ากลอย มาเป็นต�ำบลนาสี โดยมีนายเสี่ยน วิเป เป็นก�ำนัน ต�ำบลนาสี และในปี พ.ศ.2508 ทางอ�ำเภอหนองบัวล�ำภู ได้แยกออกเป็น กิ่งอ�ำเภอนากลาง จังหวัดอุดรธานี เมื่อปี พ.ศ.2516 อ�ำเภอนากลางได้ แยกเป็นกิ่งอ�ำเภอสุวรรณคูหา จังหวัดอุดรธานี และได้ยกฐานะเป็น อ�ำเภอสุวรรณคูหา ในปี พ.ศ.2519 และได้แยกต�ำบลในอ�ำเภอสุวรรณคูหา ออกเป็น 3 ต�ำบล ได้แก่ ต�ำบลบ้านโคก ต�ำบลนาด่าน ต�ำบลดงมะไฟ และได้เปลี่ยนแปลงมาถึงปัจจุบัน

25/10/2560 14:33:34


ข้อมูลทั่วไป

ต�ำบลดงมะไฟ มีเนื้อที่ ประมาณ 82 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 51,250 ไร่ แบ่งเป็นพื้นที่เพื่อท�ำการเกษตร ประมาณ 42,025 ไร่ พื้นที่ป่าไม้และภูเขาประมาณ 9,225 ไร่ สภาพภูมิประเทศ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูง มีภูเขาล้อมรอบ อากาศเย็นสบาย การปกครอง ต�ำบลดงมะไฟแบ่งออกเป็น 13 หมู่บ้าน (เต็มพื้นที่) ประกอบด้วย หมู่ที่ 1 บ้านดงมะไฟ หมู่ที่ 2 บ้านดงมะไฟ หมู่ที่ 3 บ้านดงมะไฟ หมูท่ ี่ 4 บ้านวังหินซา หมูท่ ี่ 5 บ้านนาไร่ หมูท่ ี่ 6 บ้านโนนสง่า หมู่ที่ 7 บ้านผาซ่อน หมู่ที่ 8 บ้านโชคชัย หมู่ที่ 9 บ้านวังหินซา หมู่ที่ 10 บ้านโนนมีชัย หมู่ที่ 11 บ้านนาเจริญ หมู่ที่ 12 บ้านโชคชัย และหมู่ที่ 13 บ้านดงมะไฟ ประชากร ต�ำบลดงมะไฟมีจ�ำนวนประชากรทั้งหมด 10,089 คน แยกเป็น ประชากรชาย จ�ำนวน 5,032 คน ประชากรหญิง จ�ำนวน 5,057 คน จ�ำนวนครัวเรือน 2,740 ครัวเรือน (ข้อมูล ณ เดือนพฤษภาคม 2559) สภาพทางเศรษฐกิจ - อาชีพ ประชากรต�ำบลส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม อาชีพ รับจ้าง และค้าขายเป็น อาชีพรองลงมา - ผลผลิตทางการเกษตรทีส่ ำ� คัญของต�ำบลดงมะไฟ คือ ข้าว, ข้าวโพด, ล�ำไย,มะขามหวาน,กล้วย,ปอเทือง,ถัว่ เหลือง,อ้อย,มันส�ำปะหลัง, ยางพารา สภาพทางสังคม - การศึกษา โรงเรียนประถมศึกษา 5 แห่ง โรงเรียนมัธยมศึกษา 1 แห่ง ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจ�ำหมู่บ้าน 4 แห่ง ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน 1 แห่ง ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 6 แห่ง - สถาบันและองค์กรทางศาสนา วัด/ส�ำนักสงฆ์ 15 แห่ง โบสถ์ 1 แห่ง - สาธารณสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพต�ำบล 2 แห่ง สถานพยาบาลเอกชน(คลินิก) 2 แห่ง - ศิลปวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น ประเพณีวันขึ้นปีใหม่ (ธันวาคม–มกราคม) ประเพณีสงกรานต์ (เมษายน) ประเพณีบุญบั้งไฟ (พฤษภาคม) ประเพณีแห่เทียนเข้าพรรษา (กรกฎาคม) ประเพณีลอยกระทง (พฤศจิกายน) ศักยภาพของชุมชนและพื้นที่ 1. การรวมกลุ่มของประชาชน - กลุ่มอาชีพ จ�ำนวน 21 กลุ่ม - กลุ่มออมทรัพย์ จ�ำนวน 12 กลุ่ม - กลุ่มเลี้ยงปศุสัตว์ จ�ำนวน 8 กลุ่ม - กลุ่มอื่นๆ จ�ำนวน 3 กลุ่ม NONGBUALAMPHU 279 .

4

.indd 2

25/10/2560 14:33:38


2. จุดเด่นของพื้นที่ (ที่เอื้อต่อการพัฒนาต�ำบล) - มีพนื้ ทีเ่ หมาะสมแก่การเพาะปลูก และเลีย้ งสัตว์ ประมาณ 78.36 % ของพื้นที่ทั้งหมด - ด้านการเกษตร มีการท�ำนา การท�ำไร่ การท�ำสวนผลไม้ การปลูกไม้ ดอกไม้ประดับ การปลูกผัก และการเพาะเห็ด - ด้านการเลีย้ งสัตว์ เช่น เลีย้ งโค เลีย้ งกระบือ เลีย้ งสุกร เลีย้ งจิง้ หรีด และเลี้ยงปลา 3. ด้านการท่องเที่ยว ในเขตองค์การบริหารส่วนต�ำบลดงมะไฟ มีการส�ำรวจพบแหล่ง วัฒนธรรมทางประวัติศาสตร์ ที่สวยงาม คือถ�ำ้ ผายา มีการพบลายเขียน ภาพโบราณ ซึ่งก�ำลังปรับปรุงและพัฒนาภูผายาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว ทางประวัตศิ าสตร์ นอกจากนีส้ ภาพทางธรรมชาติของพืน้ ทีต่ ำ� บลดงมะไฟ ยังประกอบไปด้วยป่าไม้และภูเขาสลับซับซ้อนเรียงรายสวยงาม

คณะผู้บริหาร อบต.ดงมะไฟ

นายทองค�ำ บุตรโคตร นายกองค์การบริหารส่วนต�ำบล นายท่วน หอมพรมมา รองนายกองค์การบริหารส่วนต�ำบล นายพิทยาคม ศรีชาทุม รองนายกองค์การบริหารส่วนต�ำบล นายเขียม พาจันดี เลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนต�ำบล นายเพ็ง บุตรโคตร ประธานสภาองค์การบริหารส่วนต�ำบล นายพรเทพ ไทยถาวร ปลัดองค์การบริหารส่วนต�ำบล นโยบายผู้บริหาร 1. ประชาชนมีอาชีพ มีงานท�ำ มีรายได้เพียงพอในการด�ำรงชีวิต 2. ปรั บ ปรุ ง แหล่ ง ท่ อ งเที่ ย วในต� ำ บลให้ ไ ด้ ม าตรฐาน และ ประชาสัมพันธ์ให้นักท่องเที่ยวได้รับทราบ 3. ให้ประชาชนมีการศึกษาเพิ่มมากขึ้น มิใช่เพียงอ่านออกเขียนได้ เท่านั้น ก่อให้เกิดองค์แห่งการเรียนรู้ของภูมิปัญญาท้องถิ่น 4. จัดหาแหล่งน�ำ้ ทีไ่ ด้มาตรฐานไว้สำ� หรับอุปโภคบริโภคอย่างพอเพียง 5. จัดให้มีและบ�ำรุงรักษา ถนน สะพาน ท่อลอดเหลี่ยม ท่อระบาย น�้ำเสีย ไฟฟ้า ประปา แหล่งน�้ำให้ได้มาตรฐาน และคลุมทุกพื้นที่ 6. ประชาชนมีสุขภาพจิตดีและร่างกายที่แข็งแรง และปลอดภัย 7. ประชาชนได้รับบริการที่รวดเร็ว และประทับใจ 8. ฟื้นฟู และขยายพื้นที่ป่าไม้ เพื่อลดการสูญเสียจากภัยธรรมชาติ

280 SBL Magazine บันทึกประเทศไทย .

4

.indd 3

25/10/2560 14:33:45


กิจกรรม/โครงการเด่น

* โครงการอบรมการวางแผนใช้จา่ ยเงินและการออมของครอบครัว ประจ�ำปี 2559 * โครงการมอบบ้านให้กับผู้พิการ ประจ�ำปี 2559 * โครงการ “รักน�ำ ้ รักป่า รักษาแผ่นดิน” กรมส่งเสริมการปกครอง ส่วนท้องถิน่ ได้จดั ท�ำโครงการ ฯ นีข้ นึ้ และให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ ด�ำเนิน จัดกิจกรรม โครงการ “รักน�ำ ้ รักป่า รักษาแผ่นดิน” เพือ่ เป็นการเฉลิมพระเกียรติ เนือ่ งในโอกาสอันเป็นมหามงคล และสนองแนวพระราชด�ำริของพระบาท สมเด็จพระปรมินทรมหาภูมพิ ลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรม ราชินนี าถ ในการอนุรกั ษ์ทรัพยากรน�ำ้ และป่า รวมทัง้ เป็นการสร้างจิตส�ำนึก ของประชาชนในการักษาสิ่งแวดล้อม และอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ซึง่ สามารถแก้ไขปัญหาอุทกภัยและภัยแล้งให้กบั ประชาชนได้ในระยะยาว * ศู น ย์ เรี ย นรู ้ ก ารเพิ่ ม ประสิ ท ธิ ภ าพการผลิ ต สิ น ค้ า การเกษตร ต�ำบลดงมะไฟ อ�ำเภอสุวรรณคูหา จังหวัดหนองบัวล�ำภู สถานทีต่ งั้ 270 หมูท่ ี่ 3 ต�ำบลดงมะไฟ อ�ำเภอสุวรรณคูหา จังหวัดหนองบัวล�ำภู พืน้ ทีเ่ ป้าหมาย 92,292 ไร่ เกษตรกรเป้าหมาย 7,274 ราย พืชหลัก คือปลูกข้าว โดย นายเฉวียน จันทะลูน เกษตรกรต้นแบบ มีแนวทางการพัฒนาคือ การลด ต้นทุนการผลิตข้าว โดยคิดค้นหาแนวทางการท�ำนาจากนาปักด�ำเปลีย่ น เป็นการท�ำนาปาเป้า โดยมีเป้าหมายลดต้นทุนมีผลผลิต 830 กก./ไร่ ต้นทุน การผลิต 2,600 บาท/ไร่ ผลิตปุย๋ ชีวภาพใช้เอง ใช้จดั การเวทีแลกเปลีย่ น เรียนรูแ้ ละระดมความคิดเห็นร่วมกับเกษตรกร ชุมชน และผูม้ สี ว่ นเกีย่ วข้อง แบบมีส่วนร่วม คัดเลือกเกษตรกรเป้าหมายเพื่อพัฒนาแก้ปัญหาและ ขยายผล เกษตรกร จ�ำนวน 20 ราย จ�ำนวน 76 แปลง พืน้ ที่ 542.1 ไร่

นายก อบต.ดงมะไฟชวนเที่ยว

กลองทอง (มโหระทึก) มรดกล�ำ้ ค่าทีว่ ดั ศิรธิ รรมพัฒนา ตั้งอยู่หมู่ 12 บ้านโชคชัย ต.ดงมะไฟ โดยลักษณะของกลองที่พบ มีขนาดกว้าง 82 เซนติเมตร ท้ายกลองมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 82 เซนติเมตร ความยาวของกลองจากหัวจรดท้าย 66 เซนติเมตร ลักษณะส�ำคัญ คือ มีลักษณะคล้ายกลองที่ท�ำด้วยโลหะผสมกันอย่างน้อย 3 ชนิด ได้แก่ ทองแดง ดีบกุ และตะกัว่ ซึง่ รวมเรียกว่า ส�ำริด หน้ากลองจะมีรปู กบเวียน ซ้ายอยู่ 4 ตัว และมีรปู คล้ายดวงอาทิตย์ 14 แฉก อยูต่ รงกลาง ชมภาพเขียนสีสามพันปีทแี่ หล่งโบราณคดีภผู ายา แหล่งโบราณคดีภผู ายาตัง้ อยูท่ างเหนือของบ้านนาเจริญ ต�ำบลดงมะไฟ ลักษณะเป็นภูเขาหินปูนทีแ่ ยกตัวออกมาจากเทือกเขาภูพาน มีภาพเขียนสี สมัยก่อนประวัตศิ าสตร์ปรากฏตามผนังถ�ำ้ เป็นจ�ำนวนหลายส่วน ส่วนแรก บริเวณ “ถ�ำ้ ล่าง” พบกลุม่ ภาพเขียนสีแดงบนผนังถ�ำ ้ มีผวิ เรียบ ความยาว ประมาณ 5 เมตร ประกอบด้วยลวดลายเรขาคณิต ภาพสัตว์ ภาพฝ่ามือ ส่วนทีส่ องคือ “ถ�ำ้ บน” พบภาพเขียนสีแดงกระจายอยูเ่ ป็นกลุม่ ๆ ภาพ ทีเ่ ห็นชัดเจนเป็นภาพสีเ่ หลีย่ มขนมเปียกปูน ภาพคน ภาพสัตว์เลือ้ ยคลาน ภาพโครงร่างสัตว์ขนาดใหญ่ สันนิษฐานว่าภาพเขียนถ�ำ้ ภูผายามีอายุระหว่าง 2,000-3,000 ปี ใกล้เคียงกับอายุของภาพเขียนที่ค้นพบที่อุทยาน ประวัตศิ าสตร์ภพู ระบาท จังหวัดอุดรธานี ลักษณะภาพเขียนคล้ายคลึงกับ ภาพทีพ่ บทีผ่ าลาย มณฑลกวางสี ประเทศจีน นอกจากนัน้ บริเวณถ�ำ้ ผายายัง มีสำ� นักสงฆ์ อันเป็นทีเ่ คารพนับถือของชาวบ้านตัง้ อยูด่ ว้ ย NONGBUALAMPHU 281 .

4

.indd 4

25/10/2560 14:33:49


บันทึกเส้นทางพบองค์การบริหารส่วนต�ำบล องค์การบริหารส่วนต�ำบลกุดผึ้ง มีส�ำนักงานตั้งอยู่หมู่ที่ 1 ต�ำบลกุดผึ้ง อ�ำเภอสุวรรณคูหา จังหวัดหนองบัวล�ำภู

นายพิศาล ค�ำบึงกลาง

นายกองค์การบริการส่วนต�ำบลกุดผึ้ง

“ต�ำบลน่าอยู่ เคียงคู่รู้ค่าธรรมชาติ ประชาราษฎรสดใส ก้าวไกลการพัฒนา”

องค์การบริหารส่วนต�ำบล

กุดผึ้ง

ข้อมูลทั่วไป

องค์การบริหารส่วนต�ำบลกุดผึ้ง มีพื้นที่ 99 ตารางกิโลเมตร แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 2 ต�ำบล 11 หมูบ่ า้ น ดังนี้ ต�ำบลกุดผึง้ 7 หมูบ่ า้ น ต�ำบลสุวรรณคูหา 4 ชุมชน ประชากร มีจำ� นวนประชากรทัง้ สิน้ 5,704 คน แยกเป็น ชาย 2,671 คน หญิง 3,033 คน (ทีม่ า : ส�ำนักทะเบียนท้องถิน่ ทีว่ า่ การอ�ำเภอสุวรรณคูหา ธันวาคม 2559)

ระบบเศรษฐกิจ - เกษตรกรรม ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ เกษตรกรรม อาทิ การท�ำนา ท�ำสวนผลไม้ และปลูกพืชผัก - การประมง มีอยูท่ วั่ ไปในล�ำห้วยน�ำ้ โมง ล�ำห้วยบน ล�ำห้วยยาง อ่างเก็บน�้ำค�ำไฮ อ่างเก็บน�้ำออนซอน ล�ำห้วยน�้ำกง ล�ำห้วยฮวก - การปศุสตั ว์ ส่วนใหญ่เป็นการเลีย้ งควบคูไ่ ปกับ การปลูกพืชในรูปแบบของเกษตรกรแบบผสมผสาน สัตว์เศรษฐกิจ ได้แก่ ไก่พื้นเมือง โค กระบือ สุกร เป็ดเทศ ปลานิล ปลาไน ปลาตะเพียน ปลาดุกบิก๊ อุย

282 SBL Magazine บันทึกประเทศไทย .indd 282

25/10/60 11:45:45 AM


ประเพณี วัฒนธรรม มี ป ระเพณี ที่ ส� ำ คั ญ และจั ด ขึ้ น ประจ� ำ ได้แก่ ประเพณีสงกรานต์ ประเพณีบุญบั้งไฟ ประเพณีแห่เทียนพรรษา ประเพณีลอยกระทง ประเพณีบญ ุ กุม้ ข้าวคุณลาน ประเพณีบญ ุ ข้าวกี่ ประเพณี บุ ญ เผวต ประเพณี บุ ญ เบิ ก บ้ า น ประเพณีบุญข้าวประด�ำดิน ประเพณีบุญห่อ ข้าวสาก และประเพณีวันออกพรรษา

พันธกิจ (Mission)

ภูมปิ ญ ั ญาท้องถิน่ ภาษาถิน่ ในเขตอบต.กุดผึง้ มีราษฎรเผ่าไทอีสานเป็นเผ่าดั้งเดิม ตั้ง หลักฐานกระจายอยู่ทั่วไปในเขตพื้นที่ และมี การสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น ได้แก่ การท�ำ เครื่ อ งจั ก สาน การท� ำ บั้ ง ไฟ หมอพื้ น บ้ า น ยาแผนโบราณ ผ้าทอมือ ที่นอนหมอนขิต

จุดมุ่งหมายเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น

การท่องเที่ยว สถานที่ท่องเที่ยวในเขตองค์การบริหาร ส่วนต�ำบลกุดผึง้ คือ อ่างเก็บน�ำ้ ค�ำไฮ เป็นสถานที่ ท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สวยงาม

1. ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนสูงขึ้น 2. ส่งเสริมอาชีพแก่คนในชุมชน เพิ่มผลผลิต เพิ่มรายได้ 3. ส่งเสริมด้านการศึกษาดีมีคุณธรรม 4. จัดให้มีโครงสร้างพื้นฐานที่ได้มาตรฐาน และครอบคลุมทั่วพื้นที่ 5. ส่งเสริมด้านสาธารณสุข 6. จัดให้มีการบริหารจัดการที่ดี รวดเร็ว โปร่งใส และก้าวทันเทคโนโลยี 7. พัฒนาและส่งเสริมฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

1. ประชาชนมีอาชีพและมีรายได้เพียงพอต่อการด�ำรงชีพ 2. ให้ประชาชนมีการศึกษาเพิ่มมากขึ้น มิใช่เพียงอ่านออกเขียนได้เท่านั้น ก่อให้เกิด องค์ความรู้ของภูมิปัญญาท้องถิ่น 3. จัดหาแหล่งน�้ำที่ได้มาตรฐานไว้สำ� หรับอุปโภคบริโภคอย่างเพียงพอ 4. จัดให้มีและบ�ำรุงรักษาถนน สะพาน ท่อระบายน�้ำ ท่อลอดเหลี่ยม ไฟฟ้า ประปา แหล่งน�ำ ้ ให้ได้มาตรฐาน และครอบคลุมทุกพื้นที่ 5. ประชาชนได้รับบริการที่รวดเร็วและประทับใจ 6. ประชาชนมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงและปลอดภัย 7. ฟื้นฟูขยายพื้นที่ป่าไม้เพื่อลดความสูญเสียทรัพยากรธรรมชาติ

NONGBUALAMPHU 283 .indd 283

25/10/60 11:45:46 AM


บันทึกเส้นทางพบเทศบาลต�ำบล เทศบาลต� ำ บลนากลาง ตั้ ง อยู ่ เ ลขที่ 330 หมู ่ ที่ 1 ต� ำ บลนากลาง อ�ำเภอนากลาง จังหวัดหนองบัวล�ำภู โดยตั้งอยู่ห่างจากจังหวัดหนองบัวล�ำภู ไปทางทิศตะวันตก 28 กิโลเมตร

นายทองหลั่น เกษทองมา

นายกเทศมนตรีต�ำบลนากลาง

“นากลางเมืองน่าอยู่ คู่เศรษฐกิจดี มีบริการที่ประทับใจ”

เทศบาลต�ำบล

นากลาง ข้อมูลทั่วไป

เทศบาลต�ำบลนากลาง มีพื้นที่ปกครอง 40.75 ตารางกิโลเมตร สภาพภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็น พื้นที่ราบสูง มีภูเขา และแม่น�้ำล�ำคลองหลายสาย ไหลผ่าน ได้แก่ ล�ำพะเนียง ล�ำห้วยเดื่อ ล�ำห้วย หนองบัวค�ำแสนและ ล�ำห้วยหนองไฮ จึงท�ำให้เกิด เป็นที่ราบลุ่มเหมาะกับการท�ำเกษตรต่างๆ เช่น ปลูกข้าว ข้าวโพด ถั่ว อ้อย ฯลฯ และ ล�ำห้วย ดังกล่าวสามารถกักเก็บน�ำ้ ไว้ใช้ในการอุปโภคบริโภค ในยามขาดแคลนได้

การปกครอง ครอบคลุ ม พื้ น ที่ 3 ต� ำ บล ดั ง นี้ ต�ำบลนากลาง 15 หมูบ่ า้ น ต�ำบลด่านช้าง 9 หมู ่ บ ้ า น ต� ำ บลกุ ด แห่ 4 หมู ่ บ ้ า น รวม 28 หมู่บ้าน 2 ชุมชน ประชากร มี จ� ำ นวนประชากรรวมทั้ ง หมด 20,519 คน จ�ำนวนครัวเรือน 6,378 ครัวเรือน (ข้อมูล ณ วันที่ 26 กันยายน 2560)

สภาพเศรษฐกิจ ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพท�ำไร่ ท�ำนา ปลูกผัก เนื่องจากสภาพพื้นที่เป็นภูเขา และที่ราบสูง ประกอบด้วยทุ่งนาและ ป่าไม้เป็นส่วนใหญ่ บางส่วนเป็นพื้นที่ ลูกคลืน่ ลอนลึก ในพืน้ ทีด่ อนเกษตรกรจะ ปลูกพืชไร่ ไม้ผล และไม้ ยืนต้น ส่วนพืน้ ที่ ลุ่มจะปลูกข้าวไว้บริโภค

288 SBL Magazine บันทึกประเทศไทย .indd 288

25/10/60 11:11:09 AM


พันธกิจเทศบาลต�ำบลนากลาง

พันธกิจที่ 1 พั ฒ นาคุ ณ ภาพชี วิ ต และทุ น ทางสั ง คมของประชาชนในเขตเทศบาล ทุกๆ ด้านอย่างเหมาะสมและยั่งยืน พันธกิจที่ 2 พัฒนาและปรับปรุงโครงสร้าง พื้นฐานให้ครอบคลุมพื้นที่ในเขตเทศบาล พันธกิจที่ 3 การดู แ ลรั ก ษาและพั ฒ นา สิ่งแวดล้อมในเขตเทศบาลให้ถูกสุขลักษณะ เป็นบ้านเมืองที่น่าอยู่อย่างยั่งยืน พันธกิจที่ 4 พั ฒ นารายได้ ข องเทสบาล ส่งเสริมการท่องเทีย่ วและพัฒนาเศรษฐกิจของ ประชาชนตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง พันธกิจที่ 5 พั ฒ นาปรั บ ปรุ ง การบริ ห าร จั ด การบ้ า นเมื อ งที่ ดี แ บบภาคี มี ส ่ ว นร่ ว ม ตามหลักธรรมาภิบาล

ประวัติความเป็นมา

เทศบาลต�ำบลนากลาง ได้รบั การยกฐานะ จากสุขาภิบาลต�ำบลเป็นเทศบาลต�ำบล ตาม พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะสุขาภิบาล เป็นเทศบาลต�ำบล พ.ศ.2542 และประกาศ ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 116 ตอนที่ 9ก ลงวั น ที่ 24 เดื อ นกุ ม ภาพั น ธ์ พ.ศ.2542 มีผลบังคับใช้ตงั้ แต่วนั ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ.2542

แหล่งท่องเทีย่ วเชิงวัฒนธรรม พระพุทธรูปหยกขาว (วัดสันติธรรมบรรพต วัดภูน้อย) พระมหาเจดีย์สีลพุฒโท (พระครูอดุลย์ สีลพุฒโทหลวงปู่เสรี วัดบูรพาราม) ประเพณีตักบาตรเทโวโรหณะ (วัดสันติธรรมบรรพต วัดภูน้อย)

NONGBUALAMPHU 289 .indd 289

25/10/60 11:11:10 AM


บันทึกเส้นทางพบองค์การบริหารส่วนต�ำบล องค์การบริหารส่วนต�ำบลด่านช้าง ตั้งอยู่เลขที่ 173 บ้านโป่งแค หมู่ 12 ต�ำบลด่านช้าง อ�ำเภอนากลาง จังหวัด หนองบัวล�ำภู โดยอยู่ติดถนนทางหลวงหมายเลข 210 หนองบัวล�ำภู-เลย ห่างจากจังหวัด 37 กิโลเมตร ใช้เวลา ในการเดินทางโดยรถยนต์ ประมาณ 30 นาที

นางจ�ำปา ถาโคตรจันทร์

นายกองค์การบริหารส่วนต�ำบลด่านช้าง

“ท�ำไกลให้ ใกล้ ไร้ฝุ่นในหมู่บ้าน ต้านความแห้งแล้ง เปลี่ยนแปลงคุณภาพชีวิต พิชิตความยากจน ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง”

องค์การบริหารส่วนต�ำบล

ด่านช้าง

ประวัติความเป็นมา

ต�ำบลด่านช้าง เดิมเป็นส่วนหนึง่ ของต�ำบลนากลาง เมือ่ มีประชากร หนาแน่นขึ้นจึงแบ่งการปกครองออกมาเป็นต�ำบลด่านช้าง ปัจจุบันมี 14 หมู่บ้าน เป็นเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนต�ำบลด่านช้าง 10 หมู่บ้าน ผู้เฒ่าผู้แก่ได้เล่าความเป็นมาของต�ำบลด่านช้างว่า ในอดีตมีช้างอยู่โขลง หนึ่งประมาณ 100 เชือก เดินทางมาในเขตพื้นที่ต�ำบลด่านช้าง ซึ่งเดิม เป็นพืน้ ทีป่ า่ ดิบ มีปา่ ไม้หนาทึบ โขลงช้างเดินตามสันเนินบ้านจนเป็นทาง คลองด่านช้าง จึงได้เรียกชื่อ “ต�ำบลด่านช้าง”

ข้อมูลทั่วไป

ต�ำบลด่านช้างมีพื้นที่ทั้งหมด 34,925 ไร่ หรือประมาณ 58.88 ตารางกิโลเมตร พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่สูง มีล�ำห้วยไหลผ่าน และพื้นที่ บางส่วนเป็นที่ราบสูง มีดินร่วนปนทรายบางแห่ง และพื้นที่ส่วนใหญ่ ท�ำการเกษตร ได้แก่ การปลูกพืชไร่ การท�ำสวน และการเลี้ยงสัตว์

การปกครอง อบต.ด่านช้าง แบ่งการปกครองออกเป็น 10 หมู่บ้าน และหมู่บ้านทีม่ แี นวเขตร่วมกับเทศบาลต�ำบล นากลาง มีครัวเรือนทัง้ สิน้ 986 หลังคาเรือน มีประชากร ทัง้ หมด 3,366 คน แยกเป็นชาย 1,694 คน และหญิง 1,672 คน ลักษณะทางเศรษฐกิจ - อาชี พ ประชากรส่ ว นใหญ่ ป ระกอบอาชี พ ทางการเกษตร ร้อยละ 90 และ อาชีพอืน่ ๆ ร้อยละ 10 กลุม่ อาชีพ ได้แก่ - กลุม่ เลีย้ งไก่งวง - กลุม่ ปัน้ เตาประหยัดพลังงาน

298 SBL Magazine บันทึกประเทศไทย .

(2

).indd 1

25/10/2560 13:33:37


แหล่งท่องเที่ยว

• วัดป่าภูตูม (สถานปฏิบัติธรรม) • วัดป่าหนองด่าน (สถานปฏิบัติธรรม) • การศึกษา-ดูงานกลุ่มอาชีพต่างๆ

นโยบายผู้บริหารอบต.ด่านช้าง

1. ด้านโครงสร้างพื้นฐาน จะด�ำเนินการแก้ไขปรับปรุง ถนน ไฟฟ้า น�้ำประปา ระบบระบายน�้ำ ล�ำห้วย แหล่งน�้ำสาธารณะ แก้ปัญหาภัยแล้ง 2. ด้านส่งเสริมคุณภาพชีวติ จะด�ำเนินการขจัดความยากจน จัดตัง้ กลุ่มอาชีพ กลุ่มแม่บ้าน จัดฝึกอบรมและศึกษาดูงาน จัดตั้งกองทุน ธนาคารหมู่บ้าน และร้านค้าชุมชน โรงเรียนผู้สูงอายุ 3. ด้านการศึกษา จัดการบริหารศูนย์พัฒนาเด็กก่อนเกณฑ์ พัฒนา ด้านการศึกษา ส่งเสริมศาสนา ให้สื่อมวลชนมีส่วนร่วม ให้ทุนการศึกษา กับนักเรียนระดับประถมศึกษาและส่งเสริมการศึกษานอกระบบ 4. ด้านสาธารณสุขขัน้ พืน้ ฐาน ให้เบีย้ ยังชีพกับผูส้ งู อายุ ผูพ้ กิ ารและ ผูด้ อ้ ยโอกาส ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด จัดให้มอี าสาสมัครป้องกัน โรคและการก�ำจัดขยะมูลฝอย การก�ำจัดยุงลาย และพาหะน�ำโรค กองทุน หลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่น 5. ด้านการกีฬา การท่องเที่ยวและวัฒนธรรม ส่งเสริมการกีฬา สร้างสนามกีฬา อุปกรณ์กฬี า ส่งเสริมกลุม่ เยาวชน รักษาขนบธรรมเนียม ประเพณี จัดหาแหล่งเรียนรู้ ทางศิลปวัฒนธรรมอีสาน สร้างสิ่งแวดล้อม ทีด่ ี ส่งเสริมการท่องเทีย่ วทางวัฒนธรรม และการท่องเทีย่ วทางธรรมชาติ อีกด้วย 6. ด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จัดให้มี อปพร. และ อาสาสมัครมูลนิธิช่วยเหลือผู้ประสบภัยต่างๆ

คณะผู้บริหาร

นางจ�ำปา ถาโคตรจันทร์ นายโชคทวี สุวรรณละ นายสัว ชมพุฒ นายเกียว จ�ำวิเศษ

นายก อบต. รองนายก อบต. รองนายก อบต. ประธานสภา อบต.

ติดต่อ อบต.ด่านช้าง

องค์การบริหารส่วนต�ำบลด่านช้าง โทรศัพท์/โทรสาร 0-4231-5852 www.danchangnb.go.th NONGBUALAMPHU 299 .

(2

).indd 2

25/10/2560 13:33:46


บันทึกเส้นทางธรรมหนุนน�ำชีวิต

วัดป่าพรไพรวั ล ย์

พระอธิการวิรัตร อภิพโล เป็นเจ้าอาวาสวัด

สืบเนือ่ งจากวัดป่าพรไพรวัลย์ เป็นส�ำนักสงฆ์มาตัง้ แต่ปี พ.ศ.2524 โดยเริม่ ต้นมีหลวงปูเ่ มง แดงนาง เป็นผูม้ าพักอยูก่ อ่ น ต่อมาในปี พ.ศ.2525 มีหลวงตาสงวน มาพักอยู่และได้ลาสิกขาไป ในปี พ.ศ.2528 มีหลวงตา มาพักอยู่อีก แล้วก็ย้ายไป ต่อมาในปี พ.ศ.2530 มีหลวงตาทุย ซึ่งย้ายมาจากบ้านนาค�ำไฮ มาเป็นเจ้าอาวาส และได้สร้างศาลาการเปรียญ และกุฏิขึ้นหลายหลัง จนวัดเจริญรุ่งเรือง เป็นที่เคารพสักการะของประชาชน แล้วท่านก็ ได้ ลาสิกขาไปในปี พ.ศ.2545 กระทั่ ง ในปี พ.ศ.2546 มี พ ระอาจารย์ วิ รั ต ร ด� ำ รงต� ำ แหน่ ง เจ้าอาวาสจนถึงปัจจุบนั และมีหลวงปูค่ ำ� แปลง ปุณณ ฺ ชิ เป็นประธานสงฆ์

มูลเหตุแห่งการจัดตั้งวัด เนื่องจากประชาชนบา้ นพนาวัลย์ หมูท่ ี่ 2 บา้ นสันติสขุ หมูท่ ี่ 3 และบา้ นสระแกว้ หมูท่ ี่ 9 ต�ำบลดงสวรรค์ อ�ำเภอนากลาง จังหวัด หนองบัวล�ำภู จ�ำนวน 3,000 คนเศษ ไดป้ ลูกสรา้ งทีอ่ ยูอ่ าศัยในพื้นที่ วัดป่าพรไพรวัลย์ มาเป็ นระยะเวลาหลายสิบปี ได้อาศัยวัดเป็ น ศูนยร์ วมน้�ำใจ เป็ นที่ประกอบกิจกรรมงานบุญทางศาสนา และ ประกอบการศาสนกิจของสงฆม์ าตัง้ แตต่ งั้ หมูบ่ า้ นมาโดยตลอด ดังนัน้ ในปี 2558 ซึง่ เป็นปี มหามงคล เนื่องในโอกาสทีส่ มเด็จพระ เทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุครบ 60 พรรษา ประชาชนจึงไดห้ ารือกันใหม้ กี ารจัดตัง้ “ วัดป่าพรไพรวัลย์ ” ให้ถูกตอ้ งตามระเบียบของทางราชการ เพื่อให้เป็ นสถานทีศ่ ึกษา ของพระสงฆ์ และเป็ นสถานที่ประกอบกิจกรรมทางศาสนาของ ชาวพุทธ จึงขอจัดตัง้ วัดในเขตป่าสาธารณประโยชน์

300 SBL Magazine บันทึกประเทศไทย .indd 300

25/10/60 10:04:11 AM


พระพุทธรูปอยูท่ สี่ ถูป เรียกกันวา่ “หลวงพอ่ พระไชยเชษฐาธิราช”

วัตถุประสงค์การจัดตั้งวัด เพื่ อ ให้ วั ด ป่ าพรไพรวั ล ย์ เป็ นสถานที่ประกอบพิธีกรรม และประเพณีทางพุทธศาสนา เพือ่ เป็นศูนยร์ วมในการพัฒนา จิตใจของประชาชน ตลอดจน อบรมให้ ค วามรู้ แ ก่ กุ ล บุ ต ร กุลธิดา ในการสืบสานหลักธรรม ทางพุทธศาสนา และเป็นสถานที่ ประกอบประเพณี วั ฒ นธรรม อันดีงามของทอ้ งถิน่

NONGBUALAMPHU 301 .indd 301

25/10/60 10:04:25 AM


302 SBL Magazine บันทึกประเทศไทย Globel House

302.indd 302

24/10/60 11:53:30 AM


มาเปลี่ยนหน้าบ้าน ให้เป็นเงินกับเรานะคะ จ�ำหน่าย อุปกรณ์หยอดเหรียญครบวงจร ตู้เติมเงินออนไลน์ ทุกระบบ ตู้น�้ำมันหยอดเหรียญ เครื่องซักผ้าเครื่องอบผ้าหยอดเหรียญ เครื่องแลกเหรียญอัตโนมัติ เครื่องทำ� น�้ำแข็งหยอดเหรียญ บ้านหยอดเหรียญ ด�ำเนินการโดยหจก.ธีรา เซลล์แอนด์เซอร์วิส ที่อยู่ 142/4 หมู่ที่ 3 ต.ล�ำภู อ.เมือง จ.หนองบัวล�ำภู 39000 โทร 064-235-6956

.

1

.indd 1

24/10/2560 16:50:17


188 ม.7 ถ.หนองบัวล�ำภู - เลย ต.โพธิชั์ ย อ.เมือง จ.หนองบัวล�ำภู

โทร. 042 378 222, 085 564 1669 SUZUKI

.indd 304

27/10/60 03:03:01 PM


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.