ลูกรูสึกอยางไร เมื่อพอแมทะเลาะกัน? คุณพอโยเซฟ เหง�ยน นัต เกา You are a priest forever. รุงอรุณแหงการแพรธรรม ดามขวานทอง ผูเปนทุกข โศกเศรา ยอมเปนสุข เพราะเขาจะไดรับการปลอบโยน July-August 2019
01
EDITOR’s NOTE
นิตยสารดอนบอสโก นิ ต ยสารซาเลเซี ย น (Salesian Bulletin) คื อ สิ่ ง พิ ม พ์ ที่ เ ป็ น ทางการของคณะซาเลเซี ย นซึ่ ง คุณพ่อบอสโกได้เป็นผู้ริเริ่มไว้เมื่อเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1877 นิตยสารนีไ้ ด้รบั การตีพมิ พ์อย่างดีเรือ่ ยมา เพื่อเผยแพร่งานด้านการจัดการศึกษาอบรมของ คุณพ่อบอสโกไปทัว่ โลก ปัจจุบนั นิตยสารซาเลเซียน มีทั้งหมด 66 อีดิชั่น 29 ภาษาใน 135 ประเทศ ทั่วโลก นิตยสารดอนบอสโกของประเทศไทยคือ หนึง่ ในจ�ำนวนนีด้ ว้ ย ซึง่ ได้ตพี มิ พ์เผยแพร่ในปี ค.ศ. 1958 จนถึงปัจจุบันเป็นปีที่ 61 และได้เปลี่ยนจาก การตีพิมพ์รายเดือนเป็นราย 2 เดือนตั้งแต่เดือน มีนาคม 2018 เป็นต้นมา เจ้าของผู้พิมพ์ คุณพ่อเทพรัตน์ ปิติสันต์ ที่ปรึกษา บิชอปโยเซฟ ประธาน ศรีดารุณศีล บรรณาธิการบริหาร sdbsocomthai@gmail.com กองบรรณาธิการ ซ.วิรินทิพย์ อินทร์แย้ม, ซ.ระวิวรรณ บวกหาร ซ.ธิดาเพ็ญ จรัสศรี, ซ.ลัดดา รัชนีลัดดาจิต คุณพ่ออนุสิทธิ์ จันทร์เพ็ญ, คุณธัญญา ศิโรรัตน์ธัญโชค แผนกการเงิน บ.วรวุฒิ จิรสุจริตธรรม ส�ำนักงานนิตยสารดอนบอสโก 32 ถ.กรุงเทพกรีฑา แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ 10240 โทร 0-2731-7100 E-mail : thaisdbbulletin@gmail.com พิมพ์ที่ วิทยาลัยเทคโนโลยีดอนบอสโกกรุงเทพ โทร. 0-2652-9625 ถึง 30 จัดพิมพ์โดย แผนกสื่อมวลชนซาเลเซียน E-mail : sdbsocomthai@gmail.com
วันที่ 16 สิงหาคม ของทุกปี เป็นวันคล้ายวันเกิดของคุณพ่อบอสโก ซึ่งในปีนี้ครบรอบ 204 ปี (1815-2019) ชีวิตของคุณพ่อบอสโกเป็นพระพร ส�ำหรับบรรดาเยาวชนทั่วโลก เมล็ดพันธุ์แห่งความรักและการอุทิศตนเพื่อ เยาวชนทีย่ ากจนและถูกทอดทิง้ ซึง่ คุณพ่อได้หว่านเอาไว้ได้เจริญเติบโตกลาย เป็นต้นไม้ใหญ่ที่แผ่กิ่งก้านและให้ร่มเงาปกคลุม ดังจะเห็นได้จากสถิติของ คณะซาเลเซียนปี 2019 ระบุว่า ปัจจุบัน ซาเลเซียนท�ำงานใน 133 ประเทศ มีแขวงซาเลเซียนทัว่ โลกจ�ำนวน 90 แขวง มีหมูค่ ณะ 1,915 หมูค่ ณะ มีสมาชิก ซาเลเซียนทั่วโลกจ�ำนวน 14,614 คน ซึ่งประกอบไปด้วย บิชอปซาเลเซียน 128 คน, บาดหลวง 9,866 คน, ภราดา 1,589 คน, สมาชิกในขั้นการอบรม จ�ำนวน 2,601 คนและนวกชน 430 คน กิจการซาเลเซียนทั่วโลกจ�ำแนกได้ดังนี้คือ 1.ศูนย์เยาวชน 1,929 แห่ง 2.โรงเรียน 3,643 แห่งทั่วโลก มีนักเรียน 938,351 คน 3.โรงเรียนอาชีวะและศูนย์ฝึกอาชีพ 826 แห่ง มีนักเรียน 200,232 คน 4.วัด 2,277 แห่ง ดูแลสัตบุรุษประมาณ 7,126,065 คน 5.ศูนย์ด้านสังคมพัฒนา 688 แห่ง โดยดูแลคนยากจน 282,261 คน 6.วิทยาลัยและมหาวิทยาลัย 85 แห่ง มีนักศึกษา 122,657 คน 7.หอพักนักเรียนและนักศึกษา 441 แห่ง ซึง่ มีนกั เรียนในหอพัก 44,217 คน จิตตารมณ์ของคุณพ่อบอสโกนี้ยังเป็นต้นก�ำเนิดที่ก่อให้เกิดคณะและ กลุ่มต่างๆ ที่มีจิตตารมณ์เดียวกันซึ่งเราเรียกว่า “ครอบครัวซาเลเซียน” ซึ่ง มีจ�ำนวน 31 คณะ โอกาสวั น เกิ ด ของคุ ณ พ่ อบอสโก ให้ เราขอบคุ ณ พระเจ้ า ที่ ป ระทาน คุณพ่อบอสโกให้เป็นบิดาและอาจารย์ของเยาวชน และโปรดให้งานและ จิตตารมณ์ของท่านได้รับการสานต่อโดยบรรดาซาเลเซียนและสมาชิกใน ครอบครัวซาเลเซียน บรรณาธิการ
วัตถุประสงค์ 1. เผยแพร่จิตตารมณ์และกิจการซาเลเซียนโดยเฉพาะอย่างยิ่งงานธรรมทูต การศึกษาอบรม งานอภิบาลเยาวชน การส่งเสริมและปลูกฝังกระแสเรียก 2. กระชับสายสัมพันธ์และความเป็นหนึ่งเดียวกันในระหว่างกลุ่มต่างๆ ของครอบครัวซาเลเซียน 3. เผยแพร่ความรักและความศรัทธาต่อพระเยซูเจ้าและแม่พระ
2
db Bulletin
CONTENTs
d b B U L L E T I N J U LY - A U G U S T 2 0 1 9
8
ภาพจากปก
ลูกรูสึกอยางไร เมื่อพอแมทะเลาะกัน? คุณพอโยเซฟ เหง�ยน นัต เกา You are a priest forever. รุงอรุณแหงการแพรธรรม ดามขวานทอง
กอเอ๋ย - กมลชนก ฉิมโหมด นักเรียน ศิลป์-ดนตรี ชั้น ม.5 ของโรงเรียนหัวหินวิทยาลัย จ.ประจวบฯ ปัจจุบันเป็นสมาชิก วงโยธวาทิตของโรงเรียน ในภาพกอเอ๋ยก�ำลังนั่งบรรเลงดนตรี พร้อมกับเพื่อนสมาชิกในวง ส�ำหรับกอเอ๋ยแล้ว ดนตรีคือชีวิตและ ดนตรีน�ำความสุขมาให้ทุกคนเสมอ ดังค�ำของคุณพ่อบอสโกที่ว่า “บ้านซาเลเซียนทีไ่ ม่มเี สียงดนตรี เป็นเหมือนร่างกายทีไ่ ร้วญ ิ ญาณ”
Photo by เจษฎา แก่นจันทร์
ผูเปนทุกข โศกเศรา ยอมเปนสุข เพราะเขาจะไดรับการปลอบโยน
02 EDITOR’s NOTE 04 เรื่องเล่าจากสิ่งรอบตัวของพ่อบอสโก
10
หน้าต่างของห้องเล็กๆ
05 เสียงเยาวชน “ลูกรู้สึกอย่างไร เมื่อพ่อแม่ทะเลาะกัน?” 08 ดนตรีกับการอบรมซาเลเซียน 10 สัมภาษณ์ คุณพ่อโยเซฟ เหงียน นัต เกา 14 แก่นซาเลเซียน ถึงแก่น ๖ 16 LOCAL NEWs 20 บทความ
24 29 July-August 2019
40
“พ่อ” ข้ารับใช้พระเจ้า คุณพ่อการ์โล เดลลา โตร์เร จิตหนึ่ง กายเดียวกัน 22 เพื่อนนักอบรม อย่างนี้ต้องเคลียร์ 24 ครอบครัวซาเลเซียนตามล�ำน�้ำ 350 ปี มิสซังสยาม รุ่งอรุณแห่งการแพร่ธรรมด้ามขวานทอง 28 One Moment in Time Dandelion 29 ส่องโลกซาเลเซียน 32 LECTIO DIVINA ต้องมีคนท�ำงานของพระเจ้า 38 บทความ ผู้เป็นทุกข์โศกเศร้า ย่อมเป็นสุข เพราะเขาจะได้รับการปลอบโยน 40 ครอบครัวซาเลเซียน ความสุขของสมาชิกซาเลเซียนผู้ร่วมงาน คุณพ่อพงษ์นิรันดร์ นัมคณิสรณ์ 42 ผู้ศักดิ์สิทธิ์ซาเลเซียน “ผู้น่าเคารพ” ซิสเตอร์เทเรซา วัลเซ่ ปันเตลลินี ซิสเตอร์คณะธิดาแม่พระองค์อุปถัมภ์ 43 เรื่องมีอยู่ว่า น้องพี่ที่รัก 3
เรื่องเล่าจากสิ่งรอบตัวของพ่อบอสโก เรื่อง : Jose J.GoMEZ PALACIOS แปล : Anna
หน้าต่างของห้องเล็กๆ ฉั น เป็ น หน้ า ต่ า งห้ อ งพั ก ของ คุณพ่อบอสโกทีว่ ลั ดอกโก ซึง่ ในแต่ละปี จะมี ผู ้ ค นมากมายจากทั่ ว ทุ ก สารทิ ศ มาจาริกและเยี่ยมชมห้องพักของท่าน ด้วยความซาบซึ้งใจ จากทีน่ เี่ อง ฉันเห็นเยาวชนกลุม่ แรก ซึ่ ง เต็ ม ด้ ว ยพลั ง และความฝั น ได้ ม า รวมตัวกันโดยเรียกตนเองว่า “ซาเลเซียน” จากทีน่ เี่ อง ฉันได้ยนิ ดอมินกิ ซาวีโอ พูดกับคุณพ่อบอสโกว่าต้องการจะเป็น นักบุญ จากที่นี่เอง ฉันเห็นไมเกิล รัว นอน ราบกับพื้นต่อหน้าคุณพ่อบอสโกโดย สัญญาว่าจะอุทิศชีวิตทั้งหมดของท่าน เพื่อเป็นซาเลเซียนคนแรก ในบางครั้งคุณพ่อบอสโกมายืนอยู่ ที่ระเบียงข้างหน้าฉันในตอนค�่ำ เพื่อ มองดูดวงดาวบนท้องฟ้าและยืนคุยกับ สามเณรที่เดินมาเป็นเพื่อนถึงความ ยิง่ ใหญ่และพระปรีชาญาณของพระเจ้า ส่วนด้านล่างตรงโน่น สามารถมอง เห็ น พระแท่ น ใหญ่ ข องวิ ห ารแม่ พ ระ องค์อุปถัมภ์ ซึ่งใกล้ๆ กันนั้น มีต้น หม่ อ นต้ น หนึ่ ง ที่ ใ หญ่ พ อสมควรซึ่ ง หลายครัง้ กิง่ ก้านของมันได้ชว่ ยรองรับ 4
เด็กหลายคนทีพ่ ลาดตกลงมาไม่ให้ได้รบั อันตราย ซึง่ ในจ�ำนวนนีม้ ี เรวิญโี อ ซึง่ ค้างอยู่บนนั้นแบบครึ่งเป็นครึ่งตาย ต่อมาภายหลังเขาได้เป็นศิษย์เก่าคนแรก ที่ได้รับการบวชเป็นบาดหลวง ส�ำหรับฉันแล้วในตอนพลบค�ำ่ เป็นเวลาทีง่ ดงามทีส่ ดุ ฉันเห็นเด็กๆ ทีก่ ลับ จากโรงเรียนของคุณพ่อปิคโคและของคุณพ่อบอนซานิโน รวมทัง้ เด็กๆ ทีฝ่ กึ งาน มายืนที่ห้องครัวพร้อมกับถือชามในมือเพื่อรอคุณพ่อบอสโกมาตักซุปให้กับ พวกเขา ส่วนในช่วงที่อากาศดีๆ ฉันจะเห็นเด็กๆ นั่งล้อมรอบคุณพ่อบอสโก อยู่ด้านล่างอย่างใจจดใจจ่อเพื่อจะฟังท่านเล่าเรื่องต่างๆ นอกนัน้ ตรงด้านล่างของฉัน ยังมีสวนผักของคุณแม่มาร์เกริตา และรอบๆ บริเวณนั้นยังเป็นที่ท่ีเด็กๆ ใช้เพื่อเดินแห่รูปนักบุญหลุยส์และรูปแม่พระ ผู้บรรเทาไปรอบๆ ซึ่งหลายครั้ง ฉันเห็นท่านคุสตาโวและท่านเคานต์คามิลโล แห่งคาวัวร์ มาร่วมในการแห่ด้วย และเมื่อมีซุ้มประตูด้านล่าง คุณพ่อบอสโกจะยืนให้ “โอวาทราตรีสวัสดิ์” อยู่บนธรรมาสน์ซึ่งไม่สู้จะแข็งแรงนัก ในขณะที่ลูกๆ ของท่านจะฟังอย่างใจจด ใจจ่อเสมอ นอกนั้น มีหลายครั้งทีเดียวที่คุณพ่อบอสโกเปิดตัวฉันออกเพื่อหย่อน กระดาษข้อความทีม่ คี ำ� แนะน�ำและค�ำตักเตือนลงมาบนหัวเด็กคนนี้ เด็กคนนัน้ ซึ่งข้อความเหล่านี้ก็ตรงกับเด็กๆ เสมอ ไม่ใช่แค่เพียงน�้ำฝนเท่านั้นที่สามารถเกาะและชะล้างอยู่บนบานกระจก หน้าต่างได้ แต่น�้ำตาของฉันก็ปรากฏออกมาได้เช่นกัน เมื่อด้านหลังของฉัน มีเตียงทีค่ ณ ุ พ่อบอสโกนอนอยูใ่ นขณะทีท่ า่ นก�ำลังจะจากพวกเราเพือ่ ไปสวรรค์ ฉันได้ยินเสียงระฆังบรรเลงเพลงวันทามารีย์ พร้อมกับเสียงพูดแผ่วเบาของ ท่านว่า ‘พ่อรอทุกคนในสวรรค์’ ขอคุณพ่อจะได้รอหน้าต่างที่ต�่ำต้อยบานนี้ ของท่านด้วย db Bulletin
เสียงเยาวชน
โดย Andy
เสียงเยาวชน ครอบครั ว คื อ สถาบั น ที่ อ บอุ ่ น และเป็ น ที่ พึ่ ง พิ ง แต่ ใ นขณะเดี ย วกั น ภาพความอบอุ ่ น นี้ ก็ แ ยก คนจ�ำนวนหนึ่งออกไปเพราะครอบครัวของเขาไม่ได้เป็นแบบนั้น เมื่อบ้านแปรสภาพเป็นสมรภูมิรบ พ่ อ ทะเลาะกั บ แม่ พ่ อ แม่ ไ ม่ เข้ า ใจกั น เอง และใช้ ค วามรุ น แรง บุ ค คลที่ ไ ด้ รั บ ผลกระทบ คื อ ลู ก ผลของการอยู ่ ท ่ า มกลางความขั ด แย้ ง ของพ่ อ แม่ ต นเองนั้ น ลู ก ๆ ซึ่ ง ยั ง เป็ น เด็ ก หรื อ วั ย รุ ่ น จะไม่ ส ามารถรั บ มื อ และจั ด การกั บ ความรู ้ สึ ก ไม่ ดี ใ นจิ ต ใจที่ เ กิ ด ขึ้ น ได้ อ ย่ า งเหมาะสม และความ รู ้ สึ ก นั้ น ๆ มั น สามารถฝั ง ลึ ก อยู ่ ใ นจิ ต ใจ และท� ำ ให้ เ ด็ ก มี ส ภาพจิ ต ใจหรื อ บุ ค ลิ ก ที่ ไ ม่ ดี ไ ด้ นิ ต ยสารดอนบอสโกขอเป็ น สื่ อ กลางบอกเล่ า ให้ คุ ณ พ่ อ คุ ณ แม่ ไ ด้ ท ราบถึ ง ความรู ้ สึ ก ของลู ก ที่พ่อแม่ทะเลาะกัน
ลูกรู้สึกอย่างไร เมือ่ พ่อแม่ทะเลาะกัน?
ไบท์ อายุ 15 ปี จ.สงขลา
Bright
ผมเคยเห็นพ่อแม่ทะเลาะกันบ้าง แต่ไม่บอ่ ยมาก เวลาทีพ่ อ่ แม่ทะเลาะกัน ผมรูส้ กึ ว่า ไม่อยากรับรูป้ ญ ั หา อยากเดินหนีไปไกลๆ ผมอยากจะช่วยให้สถานการณ์ดขี นึ้ แต่กไ็ ม่รวู้ า่ จะต้ อ งท� ำ อย่ า งไร ในบางครั้ ง ก็ รู ้ สึ ก ว่ า ตั ว เองก็ มี ส ่ ว นและเป็ น ต้ น เหตุ ที่ ท� ำ ให้ พ่อแม่ทะเลาะกันด้วย
เบลล์ อายุ 18 ปี จ.นครปฐม
Belle
พ่อแม่ของหนูตบตีและทะเลาะกันบ่อย โดยเฉพาะตอนเด็กๆ ช่วงหนูเรียนประถม คือ เฉลี่ยอาทิตย์ละครั้ง แม้หนูจะยังเล็กอยู่แต่หนูก็รู้ทุกเรื่อง หนูได้แต่ร้องไห้ ตกใจ และรูส้ กึ กลัวค่ะ คือมันท�ำอะไรไม่ถกู ภาพทีพ่ อ่ ท�ำร้ายแม่ มันฝังใจหนู ถึงหนูจะดูรา่ เริง แต่ลกึ ๆ แล้วหนูเป็นคนเก็บกดและคิดมาก หลายครัง้ ภาพทีพ่ อ่ แม่ทะเลาะกันก็วนเวียน อยู่ในสมองค่ะ หนูเคยคิดว่าท�ำไมการใช้ชีวิตคู่มันเหนื่อยขนาดนี้ หนูว่าอยู่ตัวคนเดียว สบายใจดีค่ะ ไม่ต้องแต่งงานก็ได้ July-August 2019
5
เสียงเยาวชน
โต๋ อายุ 17 ปี จ.ราชบุรี
Tow
พ่อแม่ของผมไม่ค่อยจะทะเลาะกัน ผมเคยเห็นนานๆ ครั้ง แต่เวลาที่เห็นแบบนั้น ผมรู้สึกเซ็ง เบื่อ ไม่มีความสุขเลย เวลาที่พวกท่านทะเลาะกันสิ่งที่ผมอยากบอกก็คือ “พ่อครับ แม่ครับ ผมไม่อยากเห็นพ่อกับแม่ทะเลาะกันเลย ผมอยากให้ครอบครัวของเรา มีแต่รอยยิ้ม เต็มไปด้วยความสุขและความรักครับ”
ฝน อายุ 19 ปี จ.แพร่
Fon
ตั้งแต่จ�ำความได้หนูก็เห็นภาพพ่อของหนูเมาเป็นประจ�ำ หนูอยากให้พ่อเลิก ดื่มเหล้าเพราะทุกครั้งที่พ่อเมาก็จะทะเลาะกับแม่ หนูไม่รู้ว่าจะท�ำอย่างไรดี กลุ้มใจ หนูเคยคิดว่าจะลองแทรกตอนพ่อแม่ทะเลาะกันแต่พอเอาเข้าจริงๆ หนูกไ็ ม่กล้า บางที ก็รู้สึกหน้าชาแล้วก็ได้แต่นั่งเล่นโทรศัพท์ หนูเบื่อและไม่อยากอยู่บ้านเลย หนูอยาก จะมีครอบครัวที่อบอบอุ่นเหมือนคนอื่นๆ บ้าง หนูรู้สึกเหนื่อยและท้อใจ เพราะเวลา พ่อท�ำงานได้เงินมาก็ไปดื่มเเต่เหล้า เหมือนเเม่ส่งหนูเรียนคนเดียว
สกาย อายุ 20 ปี จ.กรุงเทพฯ
SKY
ผมเห็นพ่อกับแม่ทะเลาะกันแล้วเซ็งครับ แม่จับได้ว่าพ่อนอกใจ ผมไม่อยากให้พ่อ กับแม่เลิกกัน แต่ทุกวันนี้พ่อกับแม่ก็แยกกันอยู่ แต่ไม่ได้เลิกกัน ผมตั้งใจว่าในอนาคต ผมจะสร้างครอบครัวให้ดีกว่าตอนนี้ อะไรที่ผมขาด ผมจะเติมให้ลูกครับ
ณิชา อายุ 15 ปี จ.อุดรธานี
Nicha
ตอนนีห้ นูอยูก่ บั แม่คะ่ เมือ่ ก่อนเคยเห็นพ่อแม่ทะเลาะกันบ้าง แต่แม่กบ็ อกเสมอว่า มันเป็นเรือ่ งของผูใ้ หญ่ หนูอยากบอกพ่อกับแม่วา่ อย่าทะเลาะกันเลยค่ะ หนูรสู้ กึ หดหูใ่ จ และเครียด เรือ่ งนีท้ ำ� ให้หนูคดิ มากและก็มผี ลต่อสมาธิในการเรียน อย่างไรก็ตาม หนู จะพยายามท�ำหน้าทีข่ องหนูอย่างดีทสี่ ดุ แม้วา่ พ่อกับแม่จะทะเลาะกัน หรือจะเลิกกัน หรือจะไม่อยู่ด้วยกันก็ตาม อย่างไงท่านก็คือพ่อแม่ของหนูเสมอค่ะ
6
db Bulletin
dbBulletin เกมส์ อายุ 22 ปี จ.จันทบุรี
Game
ตอนอายุ 16 ปี ผมแทบไม่อยากอยูบ่ า้ นเลยครับ เพราะเบือ่ ทีพ่ อ่ แม่ทะเลาะกัน เวลา กินข้าวก็ไปทีบ่ า้ นปูย่ า่ บางทีกไ็ ปนอนกับญาติ พอเข้ามหาวิทยาลัยก็มาเรียนทีก่ รุงเทพฯ ก็แทบจะไม่กลับบ้านเลย ช่วงวันหยุดยาว ก็ไปนอนกับเพื่อน ไม่เข้าบ้าน นานๆ จะคุย โทรศัพท์กับที่บ้านทีหนึ่ง ไม่อยากรับรู้เรื่องที่บ้าน ตอนนี้พ่อแม่หย่ากันเรียบร้อยแล้ว เวลาเห็นครอบครัวอื่นๆ กินข้าวกันพร้อมหน้า ผมรู้สึกอยากท�ำแบบนั้นบ้างแต่ก็ท�ำ ไม่ได้แล้ว ท่านทั้ง 2 แยกย้ายกันไปมีครอบครัวใหม่ ยิ่งท�ำให้เราห่างมากๆ จะเข้าไป หาใครก็ท�ำตัวไม่ถูก เขามีครอบครัว มีลูกใหม่กัน
ครอบครัวศักดิ์สิทธิ์แบบอย่างครอบครัวคริสตชน สถาบันครอบครัวมีความส�ำคัญอย่างมาก พระศาสนจักรปรารถนา จะให้ทุกครอบครัวยึดเอาครอบครัวของพระเยซูเจ้า (ครอบครัวศักดิ์สิทธิ์) เป็นรูปแบบในการด�ำเนินชีวิต บ้านหรือครอบครัวคริสตชนเป็นสถานที่ ที่ใช้ชีวิตร่วมกันของบุคคลต่างๆ เป็นเครื่องหมายและรูปแบบการมี ชีวิตร่วมกันของพระตรีเอกภาพ คือ พระบิดา พระบุตรและพระจิต พระศาสนจักรเชื้อเชิญคริสตชนทุกคนให้เปลี่ยนแปลงการประพฤติ ปฏิบัติโดยเอาความรักเป็นศูนย์กลางของชีวิต ให้ความรักครองบ้านและ ให้ความห่วงใยเป็นสายสัมพันธ์ในครอบครัว และทีส่ ำ� คัญ การสวดภาวนา ประจ� ำ วั น ด้ ว ยกั น และการอ่ า นพระวาจาของพระเจ้ า ท� ำ ให้ ค วามรั ก ในครอบครัวเข้มข้นขึ้น
REPORT
สถิตกิ ารส�ำรวจเด็กนักเรียนชัน้ ประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 ในมุมมอง ของลูกกับปัญหาความรุนแรงในครอบครัว จาก 26 โรงเรียน ในพืน้ ที่ กทม. และต่างจังหวัด พบว่า กลุม่ ตัวอย่างส่วนใหญ่อยูก่ บั พ่อและแม่ โดย 85.1% ยอมรับว่า คนในครอบครัวเคยมีปากเสียงทะเลาะ เบาะแว้งกัน กิจวัตรประจ�ำวันของคนในครอบครัวที่น่าห่วง คือ 70.6% ติดมือถือ เล่นไลน์ เฟซบุ๊ก, 63.4% โต้เถียง ด่าทอ พูดจา หยาบคาย, 62.8% พ่อแม่ท�ำงานหนักไม่มีเวลาให้ลูก, 57% คนใน ครอบครัวดื่มเหล้า/เบียร์/เล่นการพนัน อบายมุข July-August 2019
พระบัญญัติประการที่ 4 ได้ระบุถึงหน้าที่ของบิดา มารดาไว้ว่า 1. ให้ก�ำเนิดบุตร 2. ให้การอบรมเลี้ยงดูบุตร โดยส�ำนึกว่าบุตรนั้น คือลูกของพระเจ้า เป็นมรดกที่พระเจ้าประทานให้ 3. ปลูกฝังคุณธรรม ความเชื่อศรัทธาในศาสนาให้ เป็นมรดกทางจิตใจแก่ลูก 4. จัดหาสิง่ จ�ำเป็นต่อการด�ำรงชีวติ ของบุตรทัง้ ทาง ร่างกายและจิตใจ 5. เลือกโรงเรียนที่ตอบสนองต่อความเชื่อทาง ศาสนาให้บุตร 6.ให้เสรีภาพแก่บตุ รในการเลือกอาชีพและวิถชี วี ติ ของเขา (เทียบค�ำสอนฯ ภาค 3 ข้อ 2221-2231)
เมือ่ ถามถึงความรูส้ กึ ทีพ่ อ่ แม่ทะเลาะกัน พบว่า เด็กๆ ส่วนใหญ่ รู้สึกเสียใจ ร้องไห้ กลัวกังวล เครียด เบื่อเซ็ง หมดก�ำลังใจ หรือมี แม้กระทัง่ พบเห็นบ่อยจนชินไปแล้ว ทัง้ นี้ สิง่ ทีเ่ ด็กๆ เลือกท�ำเมือ่ เห็นคน ในครอบครัวทะเลาะกันคือ 23.4% เลือกทีจ่ ะเข้าไปห้าม, 14.4% เลือก ทีจ่ ะอยูเ่ ฉยๆ, 10% ขอเก็บปัญหาไว้คนเดียวไม่บอกใคร แต่ทนี่ า่ ห่วง คือ 6.7% อยากจะประชดพ่อแม่ ที่มา: สถิติจากส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ปี 2558 7
ดนตรีกับการอบรมซาเลเซียน โดย บ.สันติสุข
ดนตรีกับการอบรมซาเลเซียน
“ ”
“บ้านซาเลเซียน ที่ไม่มีเสียงดนตรี เป็นเหมือนร่างกายที่ ไร้วิญญาณ”
8
ตั้ ง แต่ แรกเริ่ ม กิ จ การศู น ย์ เ ยาวชนที่ วัลดอกโก คุณพ่อบอสโกให้ความส�ำคัญแก่ ดนตรี ไม่ว่าจะเป็นการขับร้องหรือบรรเลง เครื่ อ งดนตรี บ้ า นซาเลเซี ย น โรงเรี ย น ซาเลเซียน จึงมีวงนักขับ มีวงดุริยางค์ จน ทุกวันนี้ ในความเป็ น จริ ง แล้ ว ดนตรี เ ป็ น องค์ประกอบของชีวิตมนุษย์ตั้งแต่แรกเกิด ก็ว่าได้ เสียงเพลงกล่อมลูกที่แม่ร้องไปมือก็ ไกวเปลไปหรือร้องไปอุ้มลูกเดินไปนั่นไปนี่ แล้วนั้นเมื่อเติบโตขึ้นมา ลูกค่อยๆ เข้าสู่ ความสุนทรีย์แห่งเสียงดนตรี สนใจเพลง ชอบประเภทเพลง จดจ�ำมาร้อง ฮัมเพลงไป ขณะท�ำนัน่ ท�ำนี่ และไม่ใช่แค่ชอบแค่รอ้ งแค่ ฮัมเพลง แต่ท�ำนองเพลงที่ชอบเข้าถึงความ รู้สึกและอารมณ์ กลายเป็ น รู ป แบบการ แสดงออกของความรูส้ กึ และอารมณ์ไปโดย ปริยาย หรือจะพูดอีกนัยหนึง่ เสียงดนตรีคอื เสียงเพลงแห่งหัวใจมนุษย์นั่นเอง คุณพ่อบอสโกตระหนักดีถึงความจริงนี้ จึ ง ถื อ ว่ า เสี ย งเพลงเสี ย งดนตรี เ ป็ น องค์ ป ระกอบส� ำ คั ญ ของการอบรมแบบ ป้องกันของท่าน ท�ำให้ อย่างไรจึงท�ำให้ หั ว ใจเด็ ก แต่ ล ะคนมี ค วามสุ น ทรี ย ์ แ ห่ ง ดนตรีและบทเพลงช่วยกล่อมเกลา กระทั่ง กลายเป็นแรงบันดาลใจในสู่สิ่งดีสิ่งงดงาม
สิ่งสูงส่ง ความสุนทรีย์นี้เองที่เป็นดังเกราะ ป้องกันจิตใจไม่ให้สงิ่ เลวร้ายเข้ามาย�ำ่ กราย ดังที่มีกล่าวในบทประพันธ์เรื่อง “เวนิส วาณิช” พระราชนิพนธ์แปลในพระบาท สมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 จาก “The Merchant of Venice” ของ William Shakespeare ที่ว่า “ชนใดไม่มี ดนตรีกาล ในสันดานเป็นคนชอบกลนัก” คุณพ่อบอสโกเน้นให้ดนตรีและเสียง เพลงเข้าไปในกระบวนการอบรมเด็กใน ด้านความเชื่อและความศรัทธา ด้วยรู้ดี ว่าการร้องเพลงนั้นเป็นการสวดภาวนาที่ดี และงดงามกว่าการพูดบทสวด เพราะไม่ใช่ แค่สนทนากับพระเจ้า กับพระเยซูเจ้า กับ แม่พระ กับนักบุญด้วยค�ำพูดเท่านัน้ แต่เป็น ค�ำพูดที่มีเสียงของหัวใจบรรเลงเป็นดนตรี ประกอบด้วย ท�ำให้สวดแต่ละครั้งเป็นการ สวดทั้งกายและทั้งใจ ในท�ำนองเดียวกัน คุณพ่อบอสโกหยั่ง เห็นถึงคุณค่าของดนตรีและเสียงเพลง ไม่ เพียงแค่ท�ำนองที่บรรเลงหรือร้องออกมา เท่านั้น แต่ในความเป็นดนตรีและความ เป็นเพลงมีองค์ประกอบทีเ่ อือ้ การอบรมเด็ก ของท่านได้อย่างดีเลิศ สิ่งแรก คือเอกภาพแห่งท�ำนองดนตรี และท� ำ นองเพลงแต่ ล ะบท โน้ ต เพลง db Bulletin
dbBulletin แต่ละโน้ตมีเอกลักษณ์ของมัน ไม่ว่า จะเป็นเสียงสูง เสียงกลาง เสียงต�่ำ... เมื่อน�ำมาเรียบเรียงเข้าด้วยกันตาม กฎเกณฑ์แห่งดนตรี ก็กลายเป็นเสียง เพลงที่ร้อยเรียงกันไพเราะ หากแยก เสียงของโน้ตแต่ละตัว ก็เป็นแค่เสียง หนึ่งเสียงเดียว แต่ไม่ใช่เสียงเพลง ฉันใดก็ฉนั นัน้ หากในตัวเด็กแต่ละคน มีการเน้นแค่แง่ใดแง่หนึง่ ส่วนใดส่วน หนึ่ง ความสามารถใดสามารถหนึ่ง ก็ จะเป็นแค่เท่านั้น แต่หากมีการน�ำมา รวมกันเป็นภาพรวมของตัวเด็กแต่ละ คน แต่ละคนก็จะด�ำเนินชีวิตได้โดย ไม่รู้สึกขาดอะไร แต่ละอย่างเสริมกัน และกันกลายเป็นศักยภาพ สิ่งที่สอง คือการเอาแต่สนใจและ จดจ่ อ อยู ่ แ ค่ โ น้ ต เพลงเดี ย วย่ อ มไม่ เกิดบทดนตรีและบทเพลงได้ หากแต่ ต้องสนใจโน้ตตัวอื่นในภาพรวม จึง จะเห็นบทดนตรีหรือบทเพลงไพเราะ ได้ ฉันใดก็ฉันนั้น หากเด็กสนใจและ หมกมุ่นเฉพาะแง่ใดแง่หนึ่ง และท�ำ อะไรไม่มองภาพรวมของสิ่งๆ นั้น ก็ ยากจะเป็นเป้าหมายของการกระท�ำ และเมื่อไม่เห็นเป้าหมายเด็กก็มักจะ ท�ำแต่ละอย่างแบบจ�ำเจ เบื่อหน่าย ขาดแรงบันดาลใจ สิ่ ง ที่ ส าม คื อ เพื่ อ เป็ น บทดนตรี หรือบทเพลง โน้ตเพลงแต่ละโน้ตยัง ไม่สามารถเป็นบทดนตรีหรือบทเพลง ได้ เป็นได้แค่เสียงโน้ตเพียงเสียงเดียว แต่พอมารวมกับโน้ตตัวอื่นๆ สลับกัน ออกเสียง ก็ท�ำให้เกิดบทดนตรีและ บทเพลงที่ไพเราะได้ ฉันใดก็ฉันนั้น เด็กแต่ละคนมีความสามารถเฉพาะ ตน ก็เท่านัน้ แต่พอผนึกความสามารถ กับคนอื่นๆ ก็สามารถบันดาลผลงาน ขึน้ มาได้อย่างเป็นชิน้ เป็นอัน ตราบใด ที่คิดว่าตนมีแค่นี้พอแล้ว และไม่รู้จัก พึง่ พาอาศัยความช่วยเหลือจากผูอ้ นื่ ก็ ย่อมประสบความส�ำเร็จได้ยาก สิ่งที่สี่ คือเพื่อเป็นบทดนตรีหรือ บทเพลง โน้ ต เพลงแต่ ล ะโน้ ต ต้ อ ง เคารพและเห็นคุณค่าโน้ตเพลงอื่นๆ ไม่คดิ ว่าโน้ตนีส้ ำ� คัญกว่าโน้ตนัน้ หรือ July-August 2019
ดูถูกดูแคลนโน้ตอื่น เพราะเมื่อเข้ามา รวมตัวกันเป็นบทดนตรีหรือบทเพลง แล้วโน้ตทุกตัวมีความส�ำคัญเท่าเทียม กัน จะขาดโน้ตใดโน้ตหนึ่งไปไม่ได้ ฉั น ใดก็ ฉั น นั้ น เด็ ก ที่ รั บ การอบรม จะเห็นคุณค่าและความส�ำคัญไม่ใช่ เฉพาะตนเอง แต่รับรู้ในคุณค่าและ ความส�ำคัญของทุกคนในสังคมเท่า เทียมกัน เพื่อให้สังคมด�ำเนินไปได้ ด้วยดี ความเคารพต่อคุณค่าและความ ส�ำคัญของแต่คน ในสิง่ ทีเ่ ขาเป็นในสิง่ ที่เขาท�ำ คือสิ่งเรียกร้องแรกแห่งการ ด�ำเนินชีวิตอยู่ด้วยกันในทุกระดับ สิ่งที่ห้า คือเพื่อเป็นบทดนตรีหรือ บทเพลงไพเราะจ�ำต้องเคารพจังหวะ แห่งครรลองเพลง หากผูบ้ รรเลงดนตรี หรือผู้ร้องเพลงร้องช้าร้องเร็วตามใจ ชอบ แทนที่จะเป็นเสียงดนตรีหรือ เสียงเพลงไพเราะน่าฟัง กลายเป็น ความยุ่งเหยิงและเสียงอึกทึก ฉันใด ก็ฉันนั้น เด็กในการอบรมต้องเคารพ กฎเกณฑ์ มีระเบียบวินัย กับตนเอง ก่อนอืน่ แล้วนัน้ กับส่วนรวม เด็กทีเ่ ล่น
ดนตรีหรือร้องเพลงก็จะซึมซับความ จ�ำเป็นและความส�ำคัญของระเบียบ วิ นั ย ไปโดยปริ ย าย คนที่ มี วิ นั ย กั บ ตนเองเป็นจะด�ำเนินชีวิตงดงาม อยู่ ร่วมสังคมกับผูอ้ นื่ ๆ ได้อย่างกลมกลืน และประสบความส�ำเร็จในชีวิต การ มีวินัยคือการรู้จักควบคุมดูแลตนเอง อย่างต่อเนื่อง การอบรมแบบป้องกัน แง่หนึ่งที่ส�ำคัญคืออบรมเด็กให้มีวินัย การมีวินัยเป็นการป้องกันพฤติกรรม และการกระท�ำ คุณพ่อบอสโกคือผู้หยั่งรู้ชีวิตและ ธรรมชาติมนุษย์ได้ลึกซึ้ง ในฐานะที่ เป็นนักอบรม ท่านเห็นสิง่ ต่างๆ ในชีวติ คน ไม่เห็นแค่สงิ่ ทีต่ าเห็น แต่ทา่ นเห็น เข้าไปถึงความดีความเป็นประโยชน์ ของแต่ ล ะอย่ า งที่ ส ามารถน� ำ มาใช้ ประกอบการอบรมเด็ ก ๆ ของท่าน ได้ อ ย่ า งดี ยิ่ ง ส� ำ หรั บ คุ ณ พ่ อ บอสโก ทุกอย่างรอบตัวเด็กสามารถเป็นครู เป็นอาจารย์ เป็นผู้อบรมเด็กได้เสมอ ไม่แง่ใดก็แง่หนึ่ง อย่างเช่นดนตรีหรือ เสียงเพลงเป็นต้น
9
สัมภาษณ์ คุณพ่อโยเซฟ เหงียน นัต เกา
โดย Andy
คุณพ่อโยเซฟ เหงียน นัต เกา You are a Priest Forever.
10
db Bulletin
dbBulletin
เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2019 เป็นวันที่ น� ำ ความยิ น ดี ม าสู ่ ค รอบครั ว ซาเลเซี ย น โดยเฉพาะที่ประเทศกัมพูชา เพราะเป็น วั น ที่ ส มาชิ ก ท่ า นหนึ่ ง ของคณะได้ รั บ ศี ล บวชเป็ น บาดหลวง คื อ สั ง ฆานุ ก ร โยเซฟ เหงียน นัต เกา ธรรมทูตซาเลเซียน ชาวเวียดนามที่ท�ำงานในประเทศกัมพูชา นิตยสารดอนบอสโกขอแนะน�ำท่านผู้อ่าน ให้รู้จักกับบาดหลวงใหม่ซาเลเซียนท่านนี้ Q: กระแสเรียกการเป็นธรรมทูตของ คุณพ่อเกิดขึ้นได้อย่างไร A: เมื่อผมเป็นเด็ก ผมเคยมีความฝันที่จะ เป็นนักฟุตบอลที่เก่งอาจเรียกได้ว่าฝีเท้า ของผมต้องแพรวพราวระดับแนวหน้าของ ประเทศเลยทีเดียว ท�ำไมผมถึงอยากเป็น นักฟุตบอล คงไม่ใช่เพราะผมอยากจะมี ชื่อเสียง แต่ผมอยากที่จะ “แนะน�ำพระเจ้า ให้คนอื่นรู้จัก” ผมเพียงแค่คิดว่าถ้าผมเป็น นักฟุตบอลชั้นน�ำของประเทศแล้ว ผมจะ โด่งดังและได้ออกรายการโทรทัศน์ แล้ว นั้ น แหละ ผมจะได้ พู ด ถึ ง เรื่ อ งพระเจ้ า และแบ่ ง ปั น ความเชื่ อ ให้ กั บ คนอื่ น ผ่ า น ทางโทรทั ศ น์ ผมเชื่อ ว่า การที่ผมจะเป็น นักฟุตบอลที่โด่งดังจะท�ำให้แฟนบอลของ ผมไม่เพียงแต่รักผมเท่านั้น แต่พวกเขาจะ เกิดความรักที่จะเลียนแบบผมด้วย ดังที่มี ส�ำนวนหนึง่ มักจะถูกอ้างอิงบ่อย “ถ้ารักฉัน ก็ต้องรักที่จะเดินในหนทางของฉันด้วย” หรือในพระวรสารนักบุญยอห์น พระเยซูเจ้า ตรัสว่า “ถ้าท่านทั้งหลายรักเรา ท่านจะ ปฏิบัติตามบทบัญญัติของเรา” (ยน 14:15) แม้ ว ่ า วั น นั้ น วั น ที่ ผ มเคยมี ค วามฝั น อยากจะเป็นนักฟุตบอลที่โด่งดัง แต่วันนี้ พระเจ้ า ทรงน� ำ ผมให้ ม าพบกั บ สิ่ ง ที่ เหมาะสมกั บ ผมมากกว่ า นั้ น คื อ การเป็ น ซาเลเซียน พระเจ้าทรงมีพระประสงค์ให้ July-August 2019
ผมเป็นผู้น�ำสารแห่งความรักของพระองค์ ไปสู่ผู้อื่นไม่ใช่ด้วยการเป็นนักฟุตบอลแต่ ด้วยการเป็นธรรมทูตซาเลเซียน แน่นอน ว่า เมือ่ ผมไตร่ตรองถึงกระแสเรียกธรรมทูต ผมคงไม่อาจปฏิเสธได้ว่าความปรารถนาที่ อยากจะเป็นนักฟุตบอลนั้นแหละ ได้เป็น ถ้าพระองค์ จุดเริ่มต้นของการวินิจฉัยกระแสเรียกธรรม ทรงต้องการ ทูตของผม จากความฝันเดียวกันนั้นเอง ท� ำ ให้ ก ระแสเรี ย กการเป็ น ธรรมทู ต ใน ให้ผมเป็นซาเลเซียน ตั ว ผมได้ รั บ การปลู ก ฝั ง และเติ บ โตขึ้ น ผมก็มีความปรารถนา อย่างต่อเนื่อง ครั้งหนึ่ง เมื่อผมอยู่ในปี ที่จะเป็นธรรมทูตด้วย นวกภาพก็มีธรรมทูตซาเลเซียนบางท่าน แวะมาเยีย่ มเยียนพร้อมกับแบ่งปันเรือ่ งราว และประสบการณ์อันน่าประทับใจมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการด�ำเนินชีวิตและ การท�ำงานในดินแดนธรรมทูต ธรรมทูต เหล่ า นั้ น ได้ มี อิ ท ธิ พ ลเหนื อ จิ ต ใจของผม และสามารถที่ จ ะโน้ ม น้ า วให้ ผ มติ ด ตาม กระแสเรียกของการเป็นธรรมทูต จากนั้น ผมได้ภาวนาต่อพระเจ้าว่า “ถ้าพระองค์ ทรงต้องการให้ผมเป็นซาเลเซียน ผมก็มี ความปรารถนาที่ จ ะเป็ น ธรรมทู ต ด้ ว ย”
“ ”
11
สัมภาษณ์ คุณพ่อโยเซฟ เหงียน นัต เกา
โดย Andy
ก่อนที่ผมจะรับปริญญาตรีสาขาปรัชญา ผมได้รับการเชื้อเชิญให้สมัครเป็นธรรมทูต (Ad gentes) ซึ่งในความเป็นจริงผมก็มี ความคิดนีอ้ ยูแ่ ล้ว เมือ่ ผมไปภาวนาต่อหน้า หลุ ม ฝั ง ศพของบรรดาธรรมทู ต ผมได้ ไตร่ตรองถึงกระแสเรียกการเป็นธรรมทูต โดยอาศัยแบบอย่างแห่งชีวิตของพวกเขา ผมเชื่อมั่นว่า ผมได้รับการดลใจจากแบบ อย่างที่ดีของพวกเขา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในการเสี ย สละตนเองเพื่ อ ก่ อ ร่ า งสร้ า ง พระศาสนจักรในประเทศเวียดนาม ธรรมทูต เหล่านี้ต้องลาครอบครัว ออกจากประเทศ ของตน และน�ำเมล็ดพันธุ์แห่งความเชื่อ มาหว่านในดินแดนแห่งการแพร่ธรรมใน ประเทศของผมเอง พวกเขาด�ำเนินชีวิตและ ตายบนผืนแผ่นดินนี้ หลุมฝังศพของธรรมทูต เหล่านี้ยังอยู่ที่นี่ การเป็นประจักษ์พยานถึง พระคริ ส ตเจ้ า ของพวกเขาก็ ยั ง อยู ่ ที่ นี่ มี สุ ภ าษิ ต เวี ย ดนามที่ น ่ า ประทั บ ใจที่ ว ่ า “เมื่อเสือตัวหนึ่งตาย มันคงเหลือแต่หนัง ของมั น ไว้ เ พื่ อ ให้ คุ ณ ค่ า เมื่ อ บุ ค คลหนึ่ ง สิ้นชีวิตลง สิ่งที่เหลืออยู่ก็คงเป็นชื่อเสียง ทีไ่ ด้สร้างไว้” ธรรมทูตเหล่านีไ้ ด้มอบมรดก อันงดงามแห่งความเสียสละของพวกเขาใน ประเทศเวียดนาม เพราะฉะนั้นผมคิดว่า ผมถูกเชือ้ เชิญให้สบื สานในพันธกิจเพือ่ การ เผยแผ่พระอาณาจักรของพระเยซูคริสตเจ้า ผมต้องพร้อมเสมอที่จะตอบรับการเชื้อเชิญ นี้
12
Q: ใครคื อ บุ ค คลที่ มี อิ ท ธิ พ ลต่ อ คุ ณ พ่ อ ในการตั ด สิ น ใจเลื อ กทางเดิ น ในกระแสเรียกของการเป็นพระสงฆ์ A: พระเยซูคริสตเจ้า Q: อะไรคือความสุขของคุณพ่อในฐานะ ที่เป็นซาเลเซียน A: แน่นอนสิ่งที่สร้างความสุขให้กับผมคือ การทีผ่ มเป็นลูกของคุณพ่อบอสโก และเป็น สมาชิกในคณะซาเลเซียน ผมมีความสุขมาก ที่ ไ ด้ ด� ำ เนิ น ชี วิ ต และร่ ว มท� ำ พั น ธกิ จ เพื่ อ เยาวชนพร้ อ มกั บ เพื่ อ นพี่ น ้ อ งสมาชิ ก ในคณะ Q: คุ ณ พ่ อ คิ ด ว่ า มี แ นวทางอะไรที่ สามารถช่วยส่งเสริมกระแสเรียกการ เป็นบาดหลวงและนักบวชได้บ้าง A: ประการแรก เราต้ อ งตระหนั ก ถึ ง ความจ�ำเป็นของการภาวนา และวอนขอ พระเจ้าได้ประทานพระพรแห่งกระแสเรียก แห่งการเป็นบาดหลวงและนักบวชให้เพิ่ม มากขึ้น ประการที่สอง เราต้องด�ำเนินชีวิตอย่าง เต็ ม เปี ่ ย มในพระพรแห่ ง กระแสเรี ย กที่ เราได้รบั และมีความตระหนักถึงความยิง่ ใหญ่ ของพระพรนี้ เ สมอ เพื่ อ เราจะได้ เ ป็ น สานุศิษย์ที่เที่ยงแท้ของพระคริสตเจ้า ประการที่สาม เราต้องใช้เวลาอยู่กับ เยาวชนและใช้โอกาสในการอยู่กับเยาวชน แบ่งปันเรื่องราวแห่งกระแสเรียก พร้อมทั้ง เชิญเชือ้ พวกเขาให้มาร่วมในการท�ำพันธกิจ ของพระคริสตเจ้าด้วยการเป็นนักบวช db Bulletin
dbBulletin Q: คุ ณ พ่ อ มี ค� ำ แนะน� ำ อะไรส� ำ หรั บ เยาวชนชายที่มีความปรารถนาจะตอบ รับกระแสเรียกของการเป็นบาดหลวง A: ผมอยากจะแนะน� ำ เขาให้ รู ้ จั ก ฝึ ก ฝน ตนเองให้มีชีวิตแห่งการภาวนาที่ดี มีชีวิต จิตที่มั่นคง และโดยเฉพาะอย่างยิ่งเขาต้อง สร้างสัมพันธภาพที่ลึกซึ้งและแน่นแฟ้นกับ พระเยซู เ จ้ า ในศี ล มหาสนิ ท เขาต้ อ ง เป็ น บุ ค คลที่ เ ปิ ด ต่ อ การรั บ ฟั ง พระวาจา ของพระเจ้ า ที่ ต รั ส ในหั ว ใจของเขาและ ตอบรับพระสุรเสียงนัน้ ด้วยความพร้อมเสมอ Q: ขอให้คณ ุ พ่อได้อธิบายสัน้ ๆ เกีย่ วกับ พันธกิจซาเลเซียนในประเทศกัมพูชา และมีชอ่ งทางในการช่วยเหลือสนับสนุน อย่างไรบ้าง A: มูลนิธิดอนบอสโกแห่งประเทศกัมพูชา (Don Bosco Foundation of Cambodia) หรือเขตการปกครองแขวงซาเลเซียนส�ำรอง แห่งประเทศกัมพูชา (Cambodian Salesian Delegation) อยู่ภายใต้การดูแลของแขวง ซาเลเซี ย นแห่ ง ประเทศไทย พั น ธกิ จ ซาเลเซียนในประเทศกัมพูชาเริ่มต้นจาก การอภิบาลช่วยเหลือผู้อพยพในค่ายผู้ลี้ภัย ในประเทศไทยเมื่อปี ค.ศ. 1988 หลังจาก นั้ น ได้ มี ก ารก่ อ ตั้ ง โรงเรี ย นอาชี ว ะศึ ก ษา และการจั ด ตั้ ง มู ล นิ ธิ เ พื่ อ การหาทุ น ส�ำหรับเด็กยากจนซึ่งได้รับการเชื้อเชิญจาก สหประชาชาติ (United Nations) จากจุ ด เริ่ ม ต้ น เล็ ก ๆ เหล่ า นี้ ท� ำ ให้ คณะซาเลเซี ย นได้ รั บ การร้ อ งขอจาก รั ฐ บาลกั ม พู ช าในปี ค.ศ. 1990 เพื่ อ เริ่ ม ท� ำ พั น ธกิ จ บางประการส� ำ หรั บ ช่ ว ย เหลือเยาวชนที่ยากจนในประเทศกัมพูชา พันธกิจและวิสัยทัศน์ เราซาเลเซียนในประเทศกัมพูชาเล็งเห็น ถึ ง ความส� ำ คั ญ ของการสร้ า งความเป็ น หนึ่งเดียวกันในหมู่คณะซาเลเซียน และ ส่งเสริมจิตตารมณ์ของความเป็นหนึ่งเดียว กั น กั บ บรรดาฆราวาสผู ้ ร ่ ว มพั น ธกิ จ กั บ บรรดาเยาวชนที่ เราท� ำ งานด้ ว ย เราจะ เติบโตไปพร้อมกัน ท�ำงานร่วมกันเพือ่ ความ ก้าวหน้าของเยาวชนทั้งครบ ให้พวกเขาได้ รับความมั่งคั่งจากวัฒนธรรมซึ่งเป็นความ ศิวิไลแห่งความรัก เพราะฉะนั้น เราจะอุทิศ ชีวิตของเรา ในฐานะซาเลเซียน ที่จะเป็นเหมือนนัก บุญยอห์น บอสโก ในการเป็นบิดา อาจารย์ และเพื่อนของเยาวชน July-August 2019
ในฐานะของฆราวาสผู ้ ร ่ ว มพั น ธกิ จ ซาเลเซี ย น ที่ จ ะเป็ น ผู ้ น� ำ เป็ น ผู้สนับสนุน และเป็นผู้ให้การศึกษาอบรม ในฐานะของเยาวชน ที่จะเป็นลูกที่ดีของนักบุญยอห์น บอสโก ปั จ จุ บั น นี้ เรามี โ รงเรี ย นทั้ ง สายสามั ญ และอาชี ว ะศึ ก ษาอยู ่ ที่ กรุงพนมเปญ ทีส่ หี นุวลิ ล์ ทีพ่ ระตะบอง ทีแ่ กบ และทีป่ อยเปต แม้วา่ เราจะเป็น องค์กรคาทอลิกที่ท�ำงานช่วยเหลือสังคม แต่เราก็ไม่ได้มีการเรียกร้องใดๆ เกี่ ย วกั บ ศาสนาเพื่ อ เราจะได้ ส ามารถช่ ว ยเหลื อ บุ ค คลที่ ด ้ อ ยโอกาส ได้ อ ย่ า งเต็ ม ที่ แ ละไร้ พ รมแดน ด้ ว ยเหตุ นี้ ทุ ก คนที่ ท� ำ พั น ธกิ จ สื บ ทอด เจตนารมณ์ ข องคุ ณ พ่ อ บอสโกไม่ ว ่ า จะเป็ น สมาชิ ก ซาเลเซี ย น สมาชิ ก ธิดาแม่พระองค์อุปถัมภ์ บรรดาฆราวาสที่ร่วมพันธกิจ และอาสาสมัคร จากที่ ต ่ า งๆ ทุ ก คนร่ ว มกั น ท� ำ งานอย่ า งเต็ ม ที่ เ พื่ อ กิ จ การซาเลเซี ย น ในการช่ ว ยเหลื อเยาวชนในประเทศกั ม พู ช าไม่ ว ่ า จะเป็ น โครงการเล็ ก หรือใหญ่ และไม่ว่าจะเป็นระยะสั้นหรือระยะยาว มูลนิธิดอนบอสโกแห่งประเทศกัมพูชาเป็นองค์กรการกุศลที่จัดหา กองทุนและเปิดรับความช่วยเหลือจากผูม้ พี ระคุณทีม่ าจากหลายทีโ่ ดยเฉพาะ จากต่างประเทศ ผูม้ พี ระคุณเหล่านัน้ ช่วยสนับสนุนโครงการต่างๆ ซึง่ มีความ แตกต่างและหลากหลาย พวกเขาได้แสดงน�ำ้ ใจทีป่ ระเสริฐ โดยเฉพาะอย่างยิง่ ในโครงการทีเ่ กีย่ วกับการให้ความช่วยเหลือเด็กและเยาวชนทีย่ ากจน มูลนิธิ ดอนบอสโกแห่งประเทศกัมพูชาจึงอุทิศตนเองเพื่อหาเงินทุนที่เอื้อต่อการ ตอบสนองต่อความต้องการของบุคคลที่ด้อยโอกาสโดยเฉพาะบุคคลที่มี ความเปราะบางในสังคมอาทิ เยาวชนทีย่ ากจน เยาวชนทีเ่ ร่รอ่ นตามท้องถนน ยุวกรรมกร เยาวชนที่เป็นผู้ป่วย HIV เยาวชนที่พิการ ยุวสตรี และเยาวชน ที่มาจากชนกลุ่มน้อยในประเทศกัมพูชา
13
แก่นซาเลเซียน โดย บ.สันติสุข
๖
ถึงแก่น
ในกระบวนการพิ จ ารณาแต่ ง ตั้ ง เท่าที่ควร ซึ่งโดยปกติแล้ว นักบุญคือ กันมา เป็นการยืนยันชัดเจนว่าศาสนกิจ คุณพ่อบอสโกเป็นนักบุญ ทางคณะ นักสวดภาวนา (man of prayer) จน ไม่ใช่พธิ กี รรมอย่างเดียว แต่กอ่ นอืน่ หมด กรรมการที่ เ ห็ น ชอบกั บ การแต่ ง ตั้ ง กระทั่งกรรมการท่านหนึ่งฝ่ายคณะ เป็น “ความสัมพันธ์” กับพระเจ้า กรรมการที่เห็นด้วยกับการ เป็นความสัมพันธ์ที่ต่อเนื่อง ในขณะที่ ท่านเป็นนักบุญน�ำเสนอเอกสารและ ประจั ก ษ์ พ ยานเห็ น ด้ ว ยกั บ แต่งตัง้ คุณพ่อบอสโก การสวดภาวนาท�ำได้เป็นขั้นเป็นตอน เป็นนักบุญชี้แจง และเมื่อสัมพันธ์หนึ่งเดียวกับพระเจ้า ความศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ ข องท่ า น ในขณะที่คณะกรรมการ ว่า “คุณพ่อบอสโก ชีวิตทั้งวันก็กลับกลายเป็นการภาวนา ที่ ไ ม่ เ ห็ น ด้ ว ยก็ ยื น ยั น ไม่สวดตอนไหน (life of prayer) ว่าท่านไม่ศักดิ์สิทธิ์พอ บ้ า ง” หรื อ จะ พระเยซูเจ้าทรงท�ำให้เห็นด้วยชีวิต ด้ ว ยข้ อ แย้ ง ที่ ถื อ ว่ า มี พู ด อี ก นั ย หนึ่ ง ของพระองค์ สาวกและศิษย์มักจะเห็น น�้ำหนักมากส�ำหรับการ คุ ณ พ่ อ บอสโก พระองค์ทรงปลีกตัวไปตามล�ำพังเพื่อ ตัดสิน ข้อแย้งนัน้ ก็คอื ใน สวดตลอดเวลา สวดภาวนา บางครัง้ ก็ทงั้ คืน การทีบ่ อก ชีวิตของคุณพ่อบอสโก ไม่ นั่นคือที่มา ว่าพระองค์ทรงแยกพระองค์ไปสวด เห็ น ว่ า ท่ า นสวด และองค์ประกอบของ ภาวนานั้นก็เป็นความเข้าใจของสาวก ภาวนา ชีวติ จิตซาเลเซียน และศิษย์ สวดได้นาน สวดได้ทั้งคืน... ทีส่ ง่ ทอด ทว่าในความเป็นจริงแล้ว พระเยซูเจ้า เสด็จไปพบและอยูก่ บั พระบิดา หรือจะ พูดให้ดเู ป็นการทางการ...พระองค์ทรง เข้าสูโ่ ลกของพระเจ้านัน่ เอง เข้าสูค่ วาม สัมพันธ์กับพระเจ้า การภาวนาในแง่นี้ จึงเป็นมากกว่าการสวดบทภาวนา การเข้าสู่โลกของพระเจ้าหมายถึง การเข้าถึง “ภาพลักษณ์แท้จริง ของพระเจ้า” ตามที่พระเยซูเจ้า ทรงเผยให้มนุษย์ได้รับรู้...” ไม่ มี ใ ครรู ้ จั ก พระบิ ด า นอกจากพระบุ ต ร
14
db Bulletin
dbBulletin
และผูท้ พี่ ระบุตรทรงเผยให้ร”ู้ (มธ 11,27) พระเจ้าผู้ทรงเป็นพระบิดา ผู้ทรงรัก มนุษย์อย่างไม่มีเงื่อนไข เงื่อนไขเดียว แห่งความรักของพระบิดาคือรักโดย ไม่มีเงื่อนไข เมื่อเข้าถึงภาพลักษณ์แท้จริงของ พระเจ้ า พระบิ ด าแล้ว พระเยซูเจ้า ทรงเผยให้ เ ห็ น “ภาพลั ก ษณ์ แท้ จ ริ ง ของมนุ ษ ย์ ” ว่ า มนุ ษ ย์ เป็ น ใครส� ำ หรั บ พระบิ ด า เป็ น การตอกย�้ ำ ถึ ง ศั ก ดิ์ ศ รี ยิ่ ง ใหญ่ ที่ มนุษย์ม.ี ..ถึงขนาดเป็นลูกพระ กระทบ ไปถึงการด�ำเนินชีวิต การพูดการจา การกระท�ำ...ทีต่ อ้ งสอดคล้องกับศักดิศ์ รี แห่ ง การเป็ น ลู ก พระ ในพระคั ม ภี ร ์ เมื่อมีการบอกว่าใครเป็นลูกสุดที่รัก ของพ่อ ไม่หมายว่าเป็นคนโปรดของพ่อ หรือคนที่พ่อรักมากกว่าหมด แต่บ่ง บอกว่ า ลู ก คนนี้ มี ค วามเหมื อ นพ่ อ ในทุ ก อย่ า ง...ท่ า ที ความคิ ด อ่ า น การพูดการจา พฤติกรรม ความเลื่อมใส ศรัทธา...กระทั่งเห็ลูกก็เหมือนเห็นพ่อ การเข้าสู่โลกพระเจ้าคือการเข้าสู่ความ July-August 2019
นึกคิด การมอง การเห็น การกระท�ำ พฤติกรรม...ของพระบิดาเจ้า พระเยซูเจ้า จึ ง ทรงย�้ ำ เตื อ น “จงเป็ น คนดี อ ย่ า ง สมบูรณ์ดงั ทีพ่ ระบิดาเจ้าสวรรค์ของท่าน ทางความดีอย่างสมบูรณ์” (มธ 5,48) ลูกเหมือนพ่อทุกอย่างจนกระทัง่ “เมือ่ คนทั้งหลายเห็นกิจการดีของท่านและ สรรเสริญพระบิดาของท่านผู้สถิตใน สวรรค์” (มธ 5,16) เห็นลูกเหมือน เห็นพ่อ มองจากแง่นี้ คุณพ่อบอสโกด�ำเนิน ชี วิ ต แต่ ล ะวั น ในความสั ม พั น ธ์ กั บ พระเจ้า ความสัมพันธ์นนี้ ำ� คุณพ่อเข้าสู่ โลกของพระเจ้า กระทั่งชีวิตและการ กระท�ำของคุณพ่อสะท้อนภาพลักษณ์ ของพระเจ้าและภาพลักษณ์ของมนุษย์ ได้อย่างชัดเจนและอย่างเป็นรูปธรรม คุณพ่อจึงเป็นคนของพระ (man of God) ตามความหมายแห่ ง ค� ำ ในขณะที่ ผู ้ เข้ า สู ่ โ ลกพระเจ้ า ท� ำ การฝึ ก ฝนและ ปฏิบตั ใิ นอาศรม ในอาราม ในศูนย์ฝกึ จิต ในที่เปลี่ยว...คุณพ่อบอสโกสามารถ ดึ ง ชี วิ ต จิ ต ออกจากอารามมาสู ่ ชี วิ ต
ประจ�ำวัน ชีวิตจิตของคุณพ่อและชีวิต จิตซาเลเซียนจึงเป็น “การเพ่งพินิจ ในกิ จ การแห่ ง ชี วิ ต ประจ� ำ วั น ” (contemplation in action) ทั้งชีวิต และการกระท�ำกลับเป็นการภาวนา อย่ า งต่ อ เนื่ อ ง...ตอนไหนบ้ า ง ที่คุณพ่อบอสโกไม่สวด
15
LOCAL NEWs
โดย SDB Reporter
ข่าวซาเลเซียน จบหลักสูตรปริญญาโทด้านอภิบาลเยาวชน
สัมมนาคุณครูใหม่ ของโรงเรียนในเครือซาเลเซียน เมื่อวันที่ 21-23 มิถุนายน 2019 คณะกรรมการ การศึกษาซาเลเซียนแห่งประเทศไทยน�ำโดย คุณพ่อ สมิต แดงอ�ำพันธ์ ประธานคณะกรรมการ พร้อมด้วย ผู้อ�ำนวยการของโรงเรียนต่างๆ ในเครือซาเลเซียน จัดสัมมนาคุณครูและบุคคลากรใหม่ของโรงเรียนใน เครือซาเลเซียนที่บ้านซาเลเซียนเพื่อการฟื้นฟูจิตใจ อ.หัวหิน จ.ประจวบฯ มีคุณครูเข้าร่วมสัมมนาจ�ำนวน 52 คน ในหัวข้อ “ระบบป้องกันของคุณพ่อบอสโก” โดยมีคุณพ่อยะรัตน์ ไชยราเป็นวิทยากร
บาดหลวงใหม่ซาเลเซียน
คณะซาเลเซียนแห่งประเทศไทยและครอบครัวซาเลเซียน ร่วมแสดงความยินดีกับคุณพ่อโยเซฟ เหงียน นัต เกา (ธรรมทูตซาเลเซียนชาวเวียดนาม ซึง่ ท�ำงานในประเทศ กัมพูชา) และคุณพ่อเปาโล พร้อมพงษ์ ศรีหารัตน์ (คณะธรรมทูตไทย) ที่ได้รับศีลบวชเป็นบาดหลวง โดยบิ ช อป Olivier Schmitthaeusler เมื่ อ วั น ที่ 6 กรกฎาคม 2019 ณ วัดนักบุญโยเซฟ กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา 16
สมาชิกซาเลเซียนและครอบครัวซาเลเซียนขอร่วม ยินดีกับคุณพ่อนพดล ยอแซฟ ที่เรียนจบหลักสูตร ปริญญาโท สาขาเทววิทยาด้านอภิบาลเยาวชน จาก มหาวิทยาลัยซาเลเซียน กรุงโรม ประเทศอิตาลี เมื่อ วันที่ 18 มิถุนายน 2019
สมโภชนักบุญยอห์นผู้ท�ำพิธีล้าง และถวายวัดน้อย
วันที่ 24 มิถนุ ายน 2019 คุณพ่อนพพร ยอแซฟ อธิการ โรงเรี ย นสารสิ ท ธิ์ พิ ท ยาลั ย เป็ น ประธานในพิ ธี บู ช า ขอบพระคุณโอกาสสมโภชนักบุญยอห์น ผู้ท�ำพิธีล้าง และระลึกถึงพระนางมารีย์องค์อุปถัมภ์ โดยมีคณะ ผู้ใหญ่ คณะครูและนักเรียนคาทอลิกเข้าร่วม ในโอกาส นีไ้ ด้มพี ธิ ถี วายวัดน้อยของโรงเรียนสารสิทธิพ์ ทิ ยาลัยแด่ พระเยซูเจ้ากษัตริย์แห่งสากลจักรวาลอีกครั้งหนึ่ง หลัง จากที่ได้มีการบูรณะเมื่อปลายปีที่แล้วและเสร็จสิ้นการ บูรณะเมือ่ เดือนกุมภาพันธ์ 2562 ทีผ่ า่ นมา อนึง่ เมือ่ จบ พิธีแล้ว คุณพ่อวัฒนา สีสาวรรณ ได้มอบเกียรติบัตรให้ กับนักเรียนคาทอลิกทีไ่ ด้รบั ผลคะแนนดีจากการแข่งขัน การตอบค�ำถามด้านพระคัมภีร์ด้วย
db Bulletin
Bike with the Blind
ประเมิ น ผลครึ่ ง โครงการความร่ ว มมื อ : ศูนย์กลางซาวหนุ่มฯ-คณะซาเลเซียน เมือ่ วันที่ 26 มิถนุ ายน 2019 คุณพ่อเทพรัตน์ ปิตสิ นั ต์ เจ้ า คณะแขวงซาเลเซี ย นแห่ ง ประเทศไทย คุ ณ พ่ อ แพทริ ก มั ช โชนี อธิ ก ารศู น ย์ ฝ ึ ก วิ ช าชี พ ดอนบอส โกเวี ย งจั น ทน์ และภราดาคาร์ โ ล มาโญ บะคาลี ยาเป็นผู้แทนคณะซาเลเซียน ร่วมประชุมประเมิน ผลครึ่ ง โครงการความร่ ว มมื อ ระหว่ า งศู น ย์ ก ลาง ซาวหนุ่มประชาชนปฏิวัติลาวและมูลนิธิคณะซาเล เซียนแห่งประเทศไทย โดยมี นายบุนตา เทพะวง รองเลขาธิการคณะบริหารงานศูนย์กลางซาวหนุ่ม ประชาชนปฏิ วั ติ ล าว, นายบี ย า ยาทอตู หั ว หน้ า กรมพัฒนาวิชาชีพชาวหนุม่ , ตัวแทนคณะบริหารงาน ซาวหนุ่มแขวง (18 แขวง), ตัวแทนจากกระทรวง ศึกษาธิการ, ตัวแทนแผนกต่างประเทศนครหลวง, ตั ว แทนสถาบั น อาชี ว ะศึ ก ษาและตั ว แทนคณะ กรรมการของศูนย์กลางซาวหนุ่มรวมจ�ำนวน 55 คน ประชุ ม ร่ ว มกั น ณ ศู น ย์ ฝ ึ ก วิ ช าชี พ ดอนบอสโก เวี ยงจั นทน์ การประชุม ดังกล่า วมีจุดประสงค์ เ พื่ อ ประเมินโครงการซึ่งได้ลงนามความร่วมมือ (MOU) ในการจัดการศึกษาระหว่างปี 2016-2021 (ระยะที่ 3) บรรยากาศการประชุมเต็มไปด้วยมิตรภาพและความ ร่วมมืออันดีของทั้งสองฝ่าย
dbBulletin
มู ล นิ ธิ ช ่ ว ยคนตาบอดแห่ ง ประเทศไทยใน พระบรมราชินปู ถัมป์ ครบรอบ 80 ปี ได้จดั การปัน่ จักรยาน ร่วมกับคนพิการทางการเห็น “Bike with the Blind” ภายใต้ แ นวคิ ด Ride For Sharing โดยมี นายขรรค์ ประจวบเหมาะ ประธานกรรมการมูลนิธิ ช่วยคนตาบอดแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินปู ถัมภ์ เป็นประธานในการจัดกิจกรรมดังกล่าว พร้อมด้วย คุณพ่อชาร์ลส เวลาร์โด กรรมการมูลนิธิและประธาน ฝ่ายกิจกรรมเป็นผู้ร่วมด�ำเนินการ กิ จ กรรมดั ง กล่ า วเป็ น การจั ด ให้ ค นตาดี ร ่ ว ม ปั่นจักรยานไปกับผู้บกพร่องทางการเห็นใน 4 ภาค 6 จังหวัด คือ เชียงใหม่, นครราชสีมา, ขอนแก่น, ชลบุรี, สุราษฎร์ธานีและกรุงเทพมหานครในวันที่ 7 กรกฎาคม 2019 อนึง่ ศูนย์พฒ ั นาสมรรถภาคคนตาบอด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี ซึ่งด�ำเนินการโดยคณะซาเลเซียนและศูนย์ ฝึกอาชีพหญิงตาบอดสามพราน จ.นครปฐม ซึง่ ด�ำเนิน การโดยซิสเตอร์ซาเลเซียน ศูนย์ทั้งสองเป็นส่วนหนึ่ง ของมูลนิธิดังกล่าวด้วย
ลูกเสือซาเลเซียนร่วมชุมนุมลูกเสือภาคใต้
ระหว่างวันที่ 16-20 มิถนุ ายน 2019 ตัวแทนลูกเสือและคุณครูจากโรงเรียนแสงทองวิทยา และโรงเรียนธิดานุเคราะห์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา จ�ำนวน 38 คน ร่วมงานชุมนุมลูกเสือ ภาคใต้ ภายใต้ชื่องาน “ลูกเสือจิตอาสาท�ำความดี รวมใจภักดี เทิดไท้องค์ราชัน” ซึ่งจัด โดยกระทรวงศึกษาธิการ ณ แหลมสมิหลา อ.เมือง จ.สงขลา มีลูกเสือ-เนตรนารี ใน พื้นที่ 14 จังหวัดของภาคใต้ และลูกเสือเนตรนารีจากประเทศเพื่อนบ้านในประชาคม อาเซียน ร่วมกิจกรรมครั้งนี้ จ�ำนวน 13,000 กว่าคน ในการชุมนุมครั้งนี้ ซาเลเซียนได้รับ ผิดชอบฐานให้ความรูเ้ กีย่ วกับคริสตศาสนา โดยมีคณ ุ พ่อชินวัฒน์ สุวดินทร์กรู จิตตาธิการ ลูกเสือคาทอลิกภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (ICCS-APR), คุณครูพรสวัสดิ์ เลิศวิทยาวิวัฒน์ (ซาเลเซียนผู้ร่วมงาน) และทีมงานของโรงเรียนแสงทองวิทยา จ.สงขลา เป็นผู้ด�ำเนินการ ในกิจกรรมฐาน โดยลูกเสือจะเข้ามาร่วมกิจกรรมในฐานรอบละ 980 คน การชุมนุมครัง้ นี้ เป็นโอกาสในการประกาศข่าวดีและเผยแพร่จติ ตารมณ์ซาเลเซียนให้กบั ผูเ้ ข้าร่วมการชุมนุม
July-August 2019
17
LOCAL NEWs
โดย SDB Reporter
ข่าวครอบครัวซาเลเซียน พิธีสถาปนานายกสมาคมศิษย์เก่าแสงทอง และคณะกรรมการบริหาร สมัยที่21
ร่วมประชุมคณะที่ปรึกษา ครอบครัวซาเลเซียนระดับโลก
วันที่ 21-23 พฤษภาคม 2019 ซิสเตอร์มะลิวัลย์ ปรมั ต ถ์ วิ โรจน์ อธิ ก าริ ณี เจ้ า คณะ และซิ ส เตอร์ นิตวดา อ่อนเทศ เข้าร่วมประชุมคณะทีป่ รึกษาครอบครัว ซาเลเซียนระดับโลกที่วัลดอกโก กรุงตุริน ประเทศ อิตาลี มีสมาชิกที่เป็นผู้แทนของกลุ่มต่างๆ ทั้งหมด 26 กลุ่ม จากทั้งหมด 31 กลุ่มในครอบครัวซาเลเซียน มาร่วมประชุมจ�ำนวน 60 คน
วันที่ 29 มิถุนายน 2562 สมาคมศิษย์เก่าโรงเรียน แสงทองวิ ท ยา จ.สงขลา ได้ จัด พิ ธี ส ถาปนานายก สมาคมศิษย์เก่าแสงทองและคณะกรรมการบริหาร สมัยที่ 21 ที่ โรงแรมบุรีศรีภู อ.หาดใหญ่ ภายในงาน ได้มกี ารแนะน�ำนายก ภูดศิ พงศ์อาชาซึง่ ได้รบั คัดเลือก เป็ น นายกสมาคมฯ ติ ด ต่ อ กั น เป็ น สมั ย ที่ 3 และ คณะกรรมการบริหารงานสมาคมฯ
สมาคมศิษย์เก่าดอนบอสโกกรุงเทพ มอบทุนการศึกษา
ค่ายเยาวชนแกนน�ำครั้งที่ 8 คณะอนุกรรมการเพื่อเด็กและเยาวชน ร่วมกับ ฝ่ายการศึกษาของคณะภคินีผู้รับใช้ดวงหทัยนิรมล ของพระแม่มารีได้จัดค่ายเยาวชนแกนน�ำครั้งที่ 8 (กลุ่มสภานักเรียน) ประจ�ำปีการศึกษา 2562 ระหว่าง วันที่ 27-29 มิถุนายน 2019 ณ ค่ายดวงหทัย อ�ำเภอ สวนผึง้ จังหวัดราชบุรี ในหัวข้อ “พลเมืองดิจทิ ลั ” โดย มีอาจารย์วรี ะพงษ์ ทวีศกั ดิ์ เป็นวิทยากร ร่วมกับมูลนิธิ พัฒนาเด็กและเยาวชน สมาชิกผู้ร่วมค่ายประกอบไป ด้วยนักเรียน 188 คน, ซิสเตอร์ 7 คน, ครู 39 คน และ ศิษย์เก่าอีก 14 คน ทุกคนได้รบั การสร้างแรงบันดาลใจ เพื่อจะน�ำสิ่งที่ได้รับไปถ่ายทอดให้กับน้องๆ ภายใน โรงเรียนต่อไป 18
โอกาสวันไหว้ครูของวิทยาลัยเทคโนโลยีดอนบอสโก กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2019 สมาคม ศิษย์เก่าดอนบอสโก กรุงเทพฯ น�ำโดยคุณเรืองพจน์ วรเจนวณิชย์ นายกสมาคมศิษย์เก่าฯ พร้อมด้วย คณะกรรมการสมาคมฯ ได้ร่วมมอบทุนการศึกษาแก่ นักเรียนที่ก�ำพร้าและยากจนจ�ำนวน 100 ทุนๆ ละ 2,000 บาท และได้ ม อบทุ น ให้ กั บ วิ ท ยาลั ย เพื่ อ ประโยชน์ในด้านการพัฒนาการศึกษาและช่วยเหลือ นั ก เรี ย นที่ ด ้ อ ยโอกาสทางการศึ ก ษา จ� ำ นวนเงิ น 1,000,000 บาท โดยมีบาดหลวงมานะชัย ธาราชัย อธิ ก าร เป็ น ผู ้ รั บ มอบ พร้ อ มกั บ คณะผู ้ ใ หญ่ แ ละ คณะผู้บริหารของวิทยาลัยฯ
db Bulletin
dbBulletin
ภาวนา-เข้าเงียบฟื้นฟูจิตใจ...
ระหว่างวันที่ 3-23 มิถุนายน 2019 ซิสเตอร์ลับ สมจันทร์ และซิสเตอร์วิรินทิพย์ อินทรแย้ม ธมอ. ได้ท�ำ ประสบการณ์ดา้ นการภาวนาทีบ่ า้ นมัสซาแรลลี มอร์เนเซ อาเลสซานเดรีย ประเทศอิตาลี บ้านเกิดของนักบุญ มาเรีย โดเมนิกา มัสซาแรลโล ผู้ร่วมก่อตั้งคณะ และ เข้าเงียบฟืน้ ฟูจติ ใจทีบ่ า้ นนักบุญเบียอาโจ ซุบเบียอาโก โรม ประเทศอิตาลี ร่วมกับกลุม่ นักบวชคณะต่างๆ และ ฆราวาส รวม 13 คน โดยมีซสิ เตอร์มาเรีย เปียจูดเิ จ ธมอ. เป็ น ผู ้ เ ทศน์ หั ว ข้ อ “พระเยซู เจ้ า ...นั ก ตั้ ง ค� ำ ถาม ผู ้ ยิ่ ง ใหญ่ ” ในบรรยากาศของการไตร่ ต รองร� ำ พึ ง การภาวนาและการแบ่งปัน
ขอบคุณชีวิตท่าน...ที่เป็นพยาน เมือ่ วันที่ 25 มิถนุ ายน 2019 บิชอปโยแซฟ ประธาน ศรีดารุณศีล เป็นประธานในพิธีปลงศพของซิสเตอร์ มาเรีย สปาดาฟอรา สมาชิกคณะธิดาแม่พระองค์อปุ ถัมภ์ ธรรมทูตจากประเทศอิตาลี โดยมีบชิ อปยอห์น บอสโก ปัญญา กฤษเจริญ บรรดาบาดหลวง นักบวช พี่น้อง สัตบุรษุ คณะครูและนักเรียนโรงเรียนนารีวฒ ุ -ิ สารสิทธิ์ มาร่วมภาวนาที่วัดนักบุญยอแซฟ บ้านโป่ง ราชบุรี ในตอนท้ายของพิธี ซิสเตอร์อักแนส นิภา ระงับพิษ อธิ ก าริ ณี เจ้ า คณะแขวงแห่ ง ประเทศไทย ได้ ก ล่ า ว ไว้อาลัยแด่ซิสเตอร์มาเรีย ส�ำหรับชีวิตที่ท่านได้อุทิศ เพื่อความดีงามของบรรดาสมาชิกและเยาวชนไทย ตลอด 59 ปี ของการเป็นธรรมทูต ทั้งแบบอย่าง ชี วิ ต ของการเป็ น นั ก บวชแท้ ที่ ท ่ า นได้ ม อบให้ กั บ ทุกคน ขอพระเจ้าทรงตอบแทนท่านด้วยชีวิตแห่ง ความสุขตลอดนิรันดร
โบว์ลิ่งการกุศล ครั้งที่ 7 เมื่อวันอาทิตย์ที่ 9 มิถุนายน 2019 คณะกรรมการจตุภาคี ซึ่งประกอบ ด้วย โรงเรียนสารสิทธิ์พิทยาลัย สมาคมศิษย์เก่าสารสิทธิ์พิทยาลัย สมาคม ผู้ปกครองและครูโรงเรียนสารสิทธิ์พิทยาลัย และชมรมครูผู้สูงอายุโรงเรียน สารสิทธิพ์ ทิ ยาลัย ได้จดั การแข่งขันโบว์ลงิ่ การกุศล ครัง้ ที่ 7 ณ บ้านโป่งโบว์ล ต.ท่าผา อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี โดย มี ดร.วัลลภ เจียรวนนท์ นายกสมาคม ศิษย์เก่าฯ และนายกสมาคมผู้ปกครองและครูฯ เป็นประธานการแข่งขัน ทั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้มีการพบปะสังสรรค์และร่วมกันเล่นกีฬา ระหว่างโรงเรียน ผู้ปกครอง นักเรียน ศิษย์เก่า และเพื่อน�ำเงินรายได้ สนับสนุนกิจกรรมต่างๆ ของโรงเรียน มีผเู้ ข้าร่วมการแข่งขันทัง้ หมด 136 ทีม จัดการแข่งขันแบ่งเป็น 2 ประเภท คือประเภททีมนักเรียน และ ประเภท บุคคลทั่วไป July-August 2019
19
“พ่อ” ข้ารับใช้พระเจ้า คุณพ่อการ์โล เดลลา โตร์เร
โดย อันนา
“พ่ อ ” ข้ารับใช้พระเจ้า
คุณพ่อการ์โล เดลลา โตร์เร
จิตหนึ่ง กายเดียวกัน
อารมณ์หงุดหงิดง่ายๆ อันนีก้ ไ็ ม่ถกู ใจ อันนัน้ ก็ไม่ใช่ มีขอ้ เรียกร้องอยูร่ ำ�่ ไป... หรือจะเป็นภาวะของคนในยุคนี้ต้องเผชิญกับสิ่งเหล่านี้ ข่าวปรากฏให้เห็นบ่อย ครั้งถึงสาเหตุของการฆ่ากันตาย บางครั้งเป็นเรื่องเล็กๆน้อยๆ อย่างเช่น ขับรถ ปาดหน้ากัน หรือแม้กระทั่งเขม่นมองหน้าไม่ชอบกัน ก็พร้อมจะหาทางจัดการ คนที่ไม่ชอบให้สิ้นซากสาแก่ใจ! เทคโนโลยีแห่งอนาคต ล้วนท�ำให้ชีวิตสบายขึ้น สะดวกขึ้น สมดังใจ แต่หาก วันใดอุปกรณ์ท�ำงานไม่เป็นปกติอย่างทุกวัน ชีวิตก็สะดุดชวนให้หงุดหงิดใจ เทคโนโลยีไม่มหี วั ใจถูกควบคุมด้วยระบบ แต่มนุษย์มรี า่ งกายและจิตใจทีพ่ ระเจ้า ประทานให้ มิใช่เครือ่ งจักรกล ดังนัน้ การหล่อหลอมคนจึงต้องออกแรงฝ่ายกาย ควบคู่กับฝ่ายจิต เป็นไปไม่ได้เลยที่จะมีชีวิตจิตที่เข้มแข็งแต่ไม่ได้รับการฝึกฝน ความเพียรอดทนของร่างกาย คุณพ่อการ์โล เดลลา โตร์เร ด้วยวัย 17 ปี ขณะรับใช้ชาติเป็นทหารใน สงครามโลกครั้งที่ 1 ทุกวันจะมีตารางการฝึกทหารวันละ 6 ชั่วโมง มีการฝึกแถว เดิน วิ่ง ยืนนิ่ง ไม่เคลื่อนไหวทั้งหัว มือและเท้า ทุกอย่างก�ำหนดไว้ตายตัว การเดินย�่ำเท้าขวาแรงๆ เป็นจังหวะซึ่งน่าเบื่อไม่น้อยแต่ก็ต้องท�ำ เพราะเมื่อ ย�่ำเท้าแรงๆ บนพื้นดินท�ำให้เท้าเจ็บ 20
db Bulletin
”
dbBulletin
เพื่อนๆ ต่างก็เบื่อหน่ายกับการฝึก แม้แต่การเข้านอนก็ ถูกก�ำหนดไว้จะง่วงหรือไม่ง่วงก็ตามที จ�ำต้องเข้านอนเวลา 18.30 น. เมื่อเสียงแตรดังขึ้นทุกคนต้องเงียบและเข้านอน มีนายทหารเดินตรวจไปมาให้ทุกคนอยู่ในความสงบเงียบ พักผ่อนเพื่อเตรียมส�ำหรับการฝึกในวันรุ่งขึ้น หลายครั้งก็ จะมีการแกล้งท�ำเสียงกรนดังสลับกันไปมา จากทางโน้นที ทางนี้ที จนทหารที่คุมต้องส่ายหัว เพราะไม่สามารถเอาผิด ได้เนือ่ งจากไม่ได้เป็นเสียงพูดคุย หากใครคุยกันในระหว่าง การนอนจะถูกลงโทษไม่ให้ออกจากค่ายทหารในช่วงเวลา พัก ทุกคนจึงกลัวที่จะไม่ได้ออกไปข้างนอก ทหารเยาว์วัย จึงแสดงท่าทีตอ่ ต้านการถูกเกณฑ์ทหารทีไ่ ม่ได้สมัครใจด้วย การกรนเสียงดังแทน แต่ละเช้าวันใหม่ของทหารเกณฑ์ ตารางเวลาทุกอย่าง เหมือนเดิม เริ่มการฝึกวินัย การฝึกร่างกายให้แข็งแกร่ง เพราะทัง้ หมดทีฝ่ กึ ฝนนีก้ เ็ พือ่ ชีวติ ของทหารแต่ละคนนัน่ เอง หลายคนเบือ่ หน่ายอึดอัด และดูถกู ชีวติ ทหารว่าเป็นชีวติ ทีโ่ ง่ เหมือนลา เหมือนกระต่าย เหมือนห่าน ต่างก็เปรียบเทียบ เพื่อระบายความคับแค้นใจออกมาท�ำให้เห็นว่าชีวิตทหารที่ ไม่ได้สมัครใจนี้ช่างเลวร้ายเหลือเกิน คุณพ่อการ์โล ก็ไม่ต่างจากเพื่อนๆ ที่สถานการณ์บังคับ ให้เป็นทหาร แต่คุณพ่อไม่ปล่อยให้ชีวิตสูญเสียคุณค่าไป คุณพ่อคิดบวกและคิดต่างจากเพือ่ นๆ คุณพ่อมองว่าเป็นช่วง เวลาทีจ่ ะได้ฝกึ ฝนความเป็นชายทีส่ มบูรณ์แบบ เป็นช่วงเวลา ที่ได้ฝึกฝนวินัยในการด�ำเนินชีวิต ฝึกร่างกายให้แข็งแกร่ง July-August 2019
ท�ำให้เป็นคนกล้าหาญ ฝึกนบนอบค�ำสั่งของผู้บังคับบัญชา แม้จะไม่ชอบก็ตาม คุณพ่อมองทุกอย่างด้วยสายตาเชิงบวก ในเมือ่ ต้องเผชิญกับสถานการณ์ทไี่ ม่สามารถเปลีย่ นแปลงได้ สิ่งที่จะต้องเปลี่ยนคือตนเอง คุณพ่อมองว่าทุกสิง่ ทีเ่ กิดขึน้ เป็นพระประสงค์ของพระเจ้า เพราะทุกอย่างที่เกิดขึ้นล้วนดีเสมอ คุณพ่อจึงอยู่ท่ามกลาง เพื่อนๆ ด้วยความสงบ เข้าใจ และฝึกฝนฤทธิ์กุศลต่างๆ ใน แต่ละวัน จนเพื่อนๆ แทบไม่ได้สังเกต แต่ทุกครั้งที่มีทุกข์ หนักใจ เพื่อนๆ จะมาพบและแบ่งปันเรื่องราวกับคุณพ่อ เสมอๆ และทุกคนก็พร้อมรับสิ่งที่คุณพ่อได้พูด เพราะใน ค�ำพูดนัน้ มีพลังด้วยกิจการทีค่ ณ ุ พ่อด�ำเนินชีวติ เป็นแบบอย่าง ชีวติ ควรถอยห่างจากเครือ่ งมือสือ่ สารและเทคโนโลยีบา้ ง มิฉะนั้นมันจะเข้ามาคลอบคลุมจิตใจจนท�ำให้เราลืมพระ กลายเป็นตัวตนของเราใหญ่ขึ้น คุณพ่อจึงสอนเราให้รู้จัก ปราบตนเองในเรื่ อ งเล็ ก น้ อ ยประจ� ำวั น ให้ ม องทุ ก สิ่ ง ใน สายตาเชิงบวก แล้วพระหรรษทานของพระจะหลัง่ ไหลมายัง ชีวิตและฤทธิ์กุศลก็จะบังเกิดขึ้นได้ในชีวิตจนกลายเป็นเรื่อง ธรรมดาที่ไม่ธรรมดาในชีวิตอีกต่อไป
(คุณพ่อการ์โล เดลลา โตร์เร พระสงฆ์ซาเลเซียน สิ้นใจ อย่างศักดิส์ ทิ ธิ์ ในวันที่ 4 เมษายน ค.ศ.1982 และค.ศ.2003 คุณพ่อได้รบั เกียรติเป็น “ข้ารับใช้พระเจ้า” (Servant of God) อันเป็นขั้นตอนแรกของกระบวนการด�ำเนินเรือ่ งแต่งตั้งเป็น นักบุญ) 21
เพื่อนนักอบรม
โดย ยวง บอสโก ธัญญา
อย่างนี้ต้องเคลียร์
กรี๊ดดดด ไม่เอาๆๆ ไม่ฟังๆๆ...ตึ้งๆๆๆ เสียง แผดร้องและแรงกระแทกส้นเท้าที่ดังแปดหลอด ของหนูน้อยวัย 5 ขวบเศษ ดึงดูดความสนใจ ของผู้เขียนได้มากถึงกับต้องรีบก้าวยาวๆ ไปดูว่า เกิดอะไรขึ้นกับเขา ภาพที่เห็นคือ ครูผู้ดูแลเด็กท่านหนึ่งก�ำลัง พยายามจะอธิบายให้หนูน้อยที่ก�ำลังแผงฤทธิ์อยู่ ฟังว่า เพราะเหตุใดครูจงึ ต้องขอให้เขาเข้าไปเปลีย่ น ชุดว่ายน�้ำก่อน แล้วจึงจะขึ้นรถไปเรียนว่ายน�้ำกับ เพื่อนๆ ที่สระว่ายน�้ำได้ เวลาผ่านไปพอสมควร ครูท่านนั้นก็พยายาม อย่ า งเต็ ม ที่ แ ล้ ว แต่ ท� ำ อย่ า งไรๆ ก็ ไ ม่ ไ ด้ ผ ล หนูนอ้ ยคนนัน้ ไม่ยอม...ทีส่ ดุ ครูทา่ นนัน้ ก็เลยหยุด ...เงียบเสียเอง...ตาต่อตาประสานกันท่ามกลาง ความเหนื่อยอ่อน หลานสาวของเพื่ อ นผู ้ เขี ย น เพิ่ ง จะจบ ปริญญาตรีมาหมาดๆ เธอจ้องผู้เป็นลุงตาเขม็ง และเถียงขึ้นเสียงด้วยท่าทีก้าวร้าวไม่น่าฟังเลย เหตุเกิดจากการทีล่ งุ ของเธอไม่ขบั รถไปรับเธอตรง ตามเวลาที่นัดกันไว้เท่านั้น ซึ่งผู้เขียนมองดูแล้ว วิวาทะครัง้ นีค้ งจะไม่จบลงง่ายๆ และดูทา่ ทีวา่ คราว นี้ ความสัมพันธ์ระหว่างลุงกับหลานต้องขาด สะบั้นลงแน่ๆ ครัง้ หนึง่ ทีโ่ รงอาหารโรงเรียนมัธยมชือ่ ดังแห่งหนึง่ 22
ผู ้ เขี ย นเห็ น นั ก เรี ย นชายก๊ ว นหนึ่ ง ดู ท ่ า ทาง ขาใหญ่ไม่เบาเดินฉวัดเฉวียนอยู่พร้อมจะหาเรื่อง ตบหัวแย่งขนมนักเรียนคนไหนก็ได้ที่เดินผ่าน ไปมา และดูเหมือนว่าครูเวรที่ขี่รถจักรยานวนเวียน ดูแลความเรียบร้อย จะท�ำได้แค่ตวาดขู่ให้เด็ก กลุม่ นีห้ ยุดพฤติกรรมและแยกย้ายกันหลบหน้าครู ไปชั่วครู่เท่านั้น แต่เมื่อสิ้นเสียงและเงาของครูเวร พ้นไปแล้ว เขาก็กลับมารวมตัวกันท�ำพฤติกรรม แบบเดิมอีก มองดูแล้วน่าวิตกว่าพฤติกรรมของเด็กๆ กลุ่มนี้จะเลยเถิดไปถึงไหน? ผู ้ เขี ย นเองก็ ค าดไม่ ถึ ง ครั บ ว่ า ที่ สุ ด แล้ ว ครู ผู้ดูแลเด็กน้อยแปดหลอดคนนั้น ใช้เพียงสายตาที่ ดู อ ่ อ นโยนกั บ รอยยิ้ ม เล็ ก ๆ ที่ มุ ม ปากในเวลา เพียงไม่กี่วินาที ก็สามารถเรียกร้องความสนใจ ของเด็กน้อยที่เต้นเร่าๆ อยู่ ให้หยุด...เงียบ... และฟั ง เธออธิ บ ายด้ ว ยท่ า ที ที่ ร าบคาบที เ ดี ย ว คุณลุงก็ใช้วิธีนิ่งและเงียบหยุดหลานสาวเจ้า อารมณ์ได้เช่นกัน แต่แตกต่างกันที่คู่นี้ต้องใช้เวลา และความอดทนนานทีเดียว เป็นเวลาหลายเดือน หลานคนโปรดจึงรูส้ กึ ส�ำนึกในความผิดของตนเอง หลั ง จากที่ คุ ณ ลุ ง เป็ น ฝ่ า ยยอมเงี ย บเพื่ อ ให้ ห ลานหยุ ด ก้ า วร้ า วเสี ย งดั ง ในวั น ที่ เ กิ ด เหตุ db Bulletin
dbBulletin คุ ณ ลุ ง ก็ ไ ด้ แ ต่ ยิ้ ม ...เงี ย บ...ยิ้ ม ...เงี ย บ... และท�ำหน้าที่ของตนเองอย่างดี คือรับส่ง หลานสาวไปกลั บ บ้ า นและที่ ท� ำ งาน สม�่ำเสมอ แต่หลานไม่ยอมทักทายหรือ พูดคุยกันเลยแม้แต่ค�ำเดียว จนที่ สุ ด เมื่ อ เวลาผ่ า นไปหลายเดื อ น หลานสาวก็ ย อมพ่ า ยแพ้ ต ่ อ ความน่ า รั ก และความดีของคุณลุง เธอกราบและกล่าว ขอโทษคุณลุงของเธอด้วยความส�ำนึกจาก หัวใจพร้อมด้วยน�้ำตาที่พรั่งพรูนองหน้า พายุแห่งความโกรธบ้าคลั่งพัดผ่าน ไปแล้ว ความรักความเข้าใจและความ ชื่นชมยินดี เริ่มฉายแสงสว่างเข้ามา ทดแทนความมืดบอดในจิตใจ ก่อนทีจ่ ะเล่าต่อไปว่าบรรดาวัยรุน่ มัธยม จอมเฮี้ยวมีจุดจบอย่างไร ผู้เขียนนึกถึงเรื่อง จริงที่เล่าต่อกันมาเกี่ยวกับสามเณรรุ่นหนึ่ง ที่ชอบท้าทายความเฉียบขาดของคุณพ่อ อธิการบ้านเณร โดยรวมหัวกันกระท�ำผิด กฎเกณฑ์อยู่เสมอๆ ครั้ ง หนึ่ ง สามเณรคนหนึ่ ง หนี ไ ปเล่ น หมากรุกกับวินมอเตอร์ไซค์ ก�ำลังโขกหมากรุก กันเพลินๆ ก็มีเสียงพูดมาลอยๆ ว่า “จบ กระดานนี้แล้วกลับนะ” เสียงตอบสวนมา ทันควันว่า “อย่ามายุ่ง” เพราะคิดว่าเพื่อน มาตาม แต่พอหันหน้ากลับมาเจอคุณพ่อ อธิการยืนอยู่ด้านหลังก็ถึงกับหน้าซีดเผือด ทีเดียว แต่ไม่น่าเชื่อครับว่า คุณพ่ออธิการท่าน ไม่ได้ลงโทษสามเณรคนนั้นเลย เพียงแค่ เชิญมาคุยกันเท่านั้น แต่กลับกลายเป็น ว่ า สามเณรทั้ ง หมดเมื่ อ ทราบเรื่ อ งนี้ เ กิ ด กลั บ ใจ ตกลงกั น เองว่ า ไม่ ท� ำ อะไรที่ ผิดระเบียบกฎเกณฑ์ให้คุณพ่ออธิการต้อง หนักใจอีก และได้บวชเป็นพระสงฆ์ทอี่ ทุ ศิ ตน เพื่ อ พระคริ ส ตเจ้ า และพระศาสนจั ก รมา จวบจนปัจจุบันนี้ เด็กๆ วัยรุ่นจอมเฮี้ยวเหล่านั้นก็ เช่นกัน เมื่อเขาถูกครูฝ่ายปกครองเรียกไป พบเพือ่ ไต่สวนความผิดและลงโทษ พวกเขา ไม่ได้หยุดพฤติกรรมเกเรนั้นหรอกครับ แต่ เขากลับแพ้เสียงกระซิบเบาๆ ทีข่ า้ งหูในช่วง July-August 2019
พักเทีย่ งของวันหนึง่ และตัง้ แต่วนั นัน้ เป็นต้นมาไม่เคยมีใครเห็นแก๊งนีข้ ม่ ขู่ เพื่อนนักเรียนอีกเลย ผูเ้ ขียนไม่ทราบว่า คุณครูทา่ นนัน้ กระซิบอะไรกับเด็กๆ จอมเฮีย้ วเหล่านัน้ แต่เข้าใจว่าเทคนิคการใช้ความรักใจดีทแี่ สดงออกด้วยท่าทีทสี่ ภุ าพอ่อนโยน คิดบวก ให้โอกาสและให้อภัย แทนการใช้ความรุนแรง สามารถลด แรงสะท้อนกลับของลูกฟุตบอลอารมณ์ที่เราเตะอัดก�ำแพงใจของเด็กๆ ได้ อย่างมหัศจรรย์ และเป็ น เทคนิ ค ที่ ท รงอานุ ภ าพในการช่ ว ยเด็ ก และเยาวชน ให้ เ กิ ด จิ ต ส� ำ นึ ก กลั บ ใจมาด� ำ เนิ น ชี วิ ต ในความดี ไ ด้ จ ริ ง ถ้ า ผู ้ มี หน้าที่ให้การอบรมดูแลจะได้เปิดใจเรียนรู้ ฝึกฝนและช�ำระจิตใจ ของตนเองให้พร้อมที่จะอุทิศตนเพื่อความดีและประโยชน์สูงสุด ของเยาวชนตามจิ ต ตารมณ์ ข องพระวรสารและคุ ณ พ่ อ บอสโก อย่างแท้จริง
23
ครอบครัวซาเลเซียนตามลำ�น้ำ� 350 ปี มิสซังสยาม โดย กุหลาบป่า
รุ่งอรุณแห่งการแพร่ธรรม ด้ามขวานทอง
1 ทั น ที ที่ ร ถ ส ป ริ น เ ต อ ร ์ จ อ ด ส ถ า นี ห้ ว ยยาง กระจิ บ รี บ บิ น ออกจากถุ ง ผ้ า พี่ เ ล็ ก ไปเกาะยอดไม้ ด ้ า นใต้ ส ถานี ร ถ ไ ฟ ม อ ง ไ ป ร อ บ ๆ เ ห็ น พ ล า ย นิ ล ยื น หลบอยู ่ ห ลั ง พุ ่ ม ไม้ ใ หญ่ จึ ง โฉบเข้ า ไป ทั ก ทาย ได้ ฟ ั ง เรื่ อ งราวสมั ย ปู ่ ข องพลายนิ ล ซึ่ ง เคยเห็ น เคยร่ ว มขบวนคาราวานขน สั ม ภาระของผู ้ ค นซึ่ ง อพยพจากราชบุ รี มาเดินป่าแถวนี้ไปจนถึงทุ่งประดู่โน่น ในราวปี ค.ศ. 1948 คุ ณ พ่ อ เปโตร เยลลิชี อุปมุขนายกมิสซังราชบุรี และเจ้าวัด แม่ พ ระบั ง เกิ ด บางนกแขวก ห่ ว งใย
2 24
การครองชีพของครอบครัวคริสตังในเขตวัด ใหญ่ๆ ของสังฆมณฑล อาทิเช่น วัดบาง นกแขวก วัดเพลง วัดโคกมดตะนอย ฯลฯ ครอบครั ว ในวั ด เหล่ า นี้ ก� ำ ลั ง ทวี จ� ำ นวนขึ้ น ทุกวัน แต่ทดี่ นิ ส�ำหรับท�ำมาหากินไม่เพียงพอ ส� ำ หรั บ อนาคต จึ ง เริ่ ม ใฝ่ ฝ ั น ที่ จ ะหาที่ ดิ น แห่งใหม่บริเวณกว้างขนาดหลายพันไร่ และ อยู ่ ใ นเส้ น ทางคมนาคม เพื่ อ จะได้ อ พยพ ครอบครัวคริสตังให้ไปอยูร่ วมกัน นอกจากมีที่ ท�ำมาหากินแล้ว ยังช่วยเหลือซึง่ กันและกันได้ ก่อนหน้านั้น คุณพ่อยอบ การ์นินี ซึ่งเคย อยู่ที่บ้านเณรบางนกแขวกหลายปี และคุณพ่อ นาตัล มาเน ซึง่ เคยเป็นคุณพ่อเจ้าวัดทีว่ ดั เพลง หลายปี ได้ยา้ ยไปอยูป่ ระจ�ำทีห่ าดใหญ่ ตัง้ แต่ เดื อ นพฤษภาคม ค.ศ.1947 รั บ ผิ ด ชอบ ติดตามสัตบุรษุ ทีก่ ระจัดกระจายใน 14 จังหวัด ภาคใต้ ตัง้ แต่ชมุ พร ถึง นราธิวาส ท่านทัง้ สอง db Bulletin
dbBulletin 1. คุณพ่อเปโตร เยลลีชี ส�ำรวจพื้นที่ 2. พระสมณทูต อันเจโล เปโดรนี พร้อมด้วย บิชอปเปโตร คาเร็ตโต (5 ส.ค.1966) 3. ฯพณฯ คาเร็ตโต เยี่ยมบ้านคริสตชน 4. กองคาราวานของ คุณพ่อเปโตร เยลลีชี เยี่ยมเยียนชาวบ้าน
3 ได้สังเกตเห็นว่า ในภาคใต้ยังมีที่ดินว่างเปล่ามากมาย คุณพ่อนาตัล มาเน จึงได้รายงานให้คุณพ่อเยลลิชีทราบ ในวันที่ 20 ตุลาคม ค.ศ. 1949 คุณพ่อการ์โล กาเซตตา (Carlo Casetta) คุ ณ พ่ อ เจ้ า วั ด ที่ หั ว หิ น ซึ่ ง ดู แ ลสั ต บุ รุ ษ ที่ ก ระจั ด กระจายในจั ง หวั ด เพชรบุ รี แ ละจั ง หวั ด ประจวบคี รี ขั น ธ์ บั น ทึ ก ไว้ ว ่ า มี ค ริ ส ตั ง บางคนจากวั ด เพลงและบางนกแขวก มา แวะค้ า งคื น 1 คื น ที่ ส ถานี ร ถไฟหั ว หิ น รุ ่ ง ขึ้ น พวกเขา เดิ น ทางต่ อ ไปที่ อ� ำ เภอทั บ สะแก เพื่ อ ไปจั บ จองที่ ดิ น ที่ ทุ ่ ง ประดู ่ (หนองพิ กุ ล ) อ� ำ เภอทั บ สะแก พวกเขา คื อ นายสุ ภ าพ (กี ยู ้ ) ยนปลั ด ยศ นายคลี่ สุ จ ริ ต รั ต น์ นายฟุ้ง คชเสนีย์ และคนพุทธอีก 2-3 คนพวกเขากลับมา แวะที่หัวหินอีกในวันที่ 24 ตุลาคม ค.ศ. 1949 พวกเขา มี ค วามยิ น ดี ที่ ส ามารถจั บ จองที่ ดิ น ได้ ค นละ 50 ไร่ ในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1950 (ตรงกับวันตรุษจีน) คุ ณ พ่ อ เปโตร เยลลิ ชีแ ละคุ ณ พ่ อ นาตั ล มาเน (ระหว่ า ง การเดินทางลงไปภาคใต้) ได้แวะเยี่ยมสัตบุรุษคริสตังที่
ทุ่งประดู่ และท�ำมิสซาในบ้านของนายกี่ยู้ คุณพ่อทั้งสอง ได้มีโอกาสชมสถานที่ตามถนนยุทธศาสตร์ 19 และเห็นว่า เหมาะสมที่ จ ะจั ด เป็ น นิ ค มเพื่ อ อพยพครอบครั ว คริ ส ตั ง กลุ่มใหญ่มาอยู่ได้เป็นอย่างดี เนื่องจาก ปี ค.ศ.1950 แม่พระฟาติมาเสด็จเยี่ยมเยียน เมื อ งไทย คริ ส ตชนจั ด การต้ อ นรั บ อย่ า งสง่ า สมเกี ย รติ มีการแห่พระรูปแม่พระไปตามวัดต่างๆ สัตบุรุษพากัน มาแสดงความศรั ท ธา ความจงรั ก ภั ก ดี ต ่ อ พระมารดา อย่างคับคั่งทุกแห่งที่พระรูปผ่านไป การประทับอยู่ของ พระแม่ท่ามกลางลูกๆ ของพระแม่เป็นแรงบันดาลใจให้กับ คุณพ่อเปโตร เยลลิชี ที่จะสร้างชุมชนใหม่ขึ้น เพื่อป้องกัน อันตรายที่คริสตชนจะถูกดึงออกจากหมู่บ้านเข้าไปท�ำงาน ในกรุงเทพฯ เมื่อ ฯพณฯ เปโตร คาเร็ตโต ได้รับการอภิเษกเป็น ประมุ ข มิ ส ซั ง ราชบุ รี ในปี ค.ศ.1951 ท่ า นมี โ ครงการ จะหาที่ ดิ น เพื่ อ เปิ ด วั ด และกิ จ การคาทอลิ ก อย่ า งน้ อ ย จั ง หวั ด ละหนึ่ ง แห่ ง ในภาคใต้ โครงการแรก คื อ 4
July-August 2019
25
ครอบครัวซาเลเซียนตามลำ�น้ำ� 350 ปี มิสซังสยาม โดย กุหลาบป่า
5
7 5. พลมารีย์วัด แม่พระฟาติมา ช่วยงานอภิบาล 6. ท่านคาเร็ตโต ขับรถเกี่ยวข้าว ที่บ้านแสงอรุณ 7. เสกศิลาฤกษ์ วัดแม่พระฟาติมา่ บ้านแสงอรุณ จ.ประจวบคีรีขันธ์ 8. ครูโรงเรียนอรุณวิทยา จ.ประจวบคีรีขันธ์
26
นิ ค มเกษตรห้ ว ยยางอ� ำ เภอทั บ สะแก จังหวัดประจวบคีรขี นั ธ์ ในวันที่ 24 สิงหาคม ค.ศ. 1951 ท่ า นได้ เ ดิ น ทางมาพร้ อ มกั บ คุณพ่อเปโตร เยลลิชี และอนุมัติการสร้าง บ้านพักคุณพ่อและวัดชั่วคราว วั น ที่ 8 ม ก ร า ค ม ค . ศ . 1 9 5 2 พระคุ ณ เจ้ า เปโตร คาเร็ ต โต ได้ ท� ำ พิ ธี เสกวั ด ชั่ ว คราวและบ้ า นพั ก ในโอกาสนี้ ได้ อ นุ มั ติ ใ ห้ ล งมื อ ก่ อ สร้ า งโรงเรี ย น ท่ า น ได้ อ ยู ่ ที่ นั่ น 5 วั น ใช้ เ วลาที่ เ หลื อ ใน การเยี่ ย มเยี ย น ครอบครั ว มี ค รอบครั ว หนึ่งท�ำไร่อยู่ใกล้ภูเขา เล่าให้ฟังว่า เห็น รอยเท้าเสือที่ออกมาจากป่าไปกินน�้ำที่ห้วย เป็นประจ�ำ แต่เขาไม่กลัว เพราะเสือจะไม่ กิ น คนที่ ไว้ ใจและอยู ่ ใ นศี ล ในพระพรของ พระเจ้า ดังนั้นท่านจึงได้ตกลงที่จะตัดถนน จากถนนเพชรเกษมตรงไปถึงภูเขา เพื่อความ ปลอดภัยและความสะดวกของคนทีท่ ำ� ไร่ทนี่ นั่ อีกทั้งตัดอีกสายหนึ่งลงไปถึงทะเล เพื่อให้ ทุกคนสามารถลงไปจับปลาอย่างสะดวก เล่ามาถึงตรงนี้ พลายนิลบอกว่า “ดีนะ
6
8 ทีป่ ไู่ ม่ถกู จับไปล่ามไว้ ใช้ลากไม้สร้างโรงเรียน ไม่งั้นคงหมดโอกาสที่จะส�ำรวจเส้นทางถนน ไร่ใน จากภูเขาไปจนถึงทะเล หมดสนุกแน่ๆ เลย” ต่อมาในเดือนพฤษภาคม คุณพ่อยอร์จ ไบนอตตี ได้มาอยู่ประจ�ำวัดนี้ และได้รับ มอบหมายให้ ไ ปเยี่ ย มเยี ย นคริ ส ตชน จ น ถึ ง จั ง ห วั ด ชุ ม พ ร ใ น ป ี ค . ศ . 1 9 5 3 คุ ณ พ่ อ เดลฟี โ น เกรสปี เป็ น เจ้ า อาวาส ดู แ ล ก ลุ ่ ม ค ริ ส ต ช น ที่ อ พ ย พ ม า บุ ก เ บิ ก ปลู ก พื ช ไร่ จึ ง เปิ ด โรงเรี ย นอรุ ณ วิ ท ยา โดยคุ ณ พ่ อ ร็ อ ค ไกรศรี ทั พ ศาสตร์ เ ป ็ น ผู ้ บ ริ ห า ร โร ง เรี ย น แ ล ะ ชั ก ช ว น ครอบครั ว ที่ เ ป็ น ครู ม าร่ ว มงาน เพื่ อ ร อ ง รั บ ก า ร เ จ ริ ญ เ ติ บ โ ต ข อ ง ชุ ม ช น คุณพ่อเกรสปีมบี ทบาทส�ำคัญในการอบรม ความเชือ่ และชีวติ จิต ท่านเป็นแบบอย่างทีด่ ตี อ่ บรรดาสัตบุรษุ โดยเฉพาะอย่างยิง่ ในความรัก ความศรั ท ธาต่ อ แม่ พ ระ มั ก จะเตื อ น สั ต บุ รุ ษ ของท่ า นให้ รั ก และวางใจใน แม่พระเสมอ วันฉลองของแม่พระในรอบปี db Bulletin
dbBulletin
9 ท่ า นมั ก จะเอาใจใส่ อ ย่ า งดี เ ป็ น พิ เ ศษ วันที่ 15 พฤษภาคม 1963 พระคุณเจ้า คาเร็ตโต ได้ท�ำพิธีวางศิลาฤกษ์ เพื่อก่อสร้าง วัดถาวรหลังปัจจุบนั ทีส่ วยงาม พิธเี สกวัดใหม่ วันที่ 19 พฤษภาคม 1966 ให้ความหวังและ ความมั่นคงเพื่องานประกาศข่าวดีในภาคใต้ อย่างชัดเจน ในปี 1968 พระคุณเจ้าคาเร็ตโต ขอให้ คุณพ่อเกรสปีไปอยู่ที่สุราษฎร์เพื่อเตรียมเปิด นิคมเกษตรใหม่ในละแวกนั้น คุณพ่ออันเดร อาเนลลี ได้มาอยูท่ บี่ า้ นแสงอรุณ ท่านได้ดแู ล เอาใจใส่คนที่ห่างวัดเป็นพิเศษ คุณพ่อได้ตั้ง คณะพลมารีย์ เพื่อช่วยคุณพ่อในการเข้าถึง ชาวบ้านที่ห่างไกลจากวัด ในปี 1969 วัดฟาติมาบ้านแสงอรุณ เริ่ม เป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ของมิ ส ซั ง ใหม่ สุ ร าษฎร์ ธ านี อันที่จริงเป็นวัดที่มีความส�ำคัญอันดับหนึ่ง และยั ง เป็ น ศู น ย์ ก ลางเขตอภิ บ าลตอนบน จนถึงปัจจุบัน กระจิบฟังแล้วทึ่ง ในความมานะบากบั่น ของธรรมทูตและบรรพบุรุษผู้อพยพมาสร้าง July-August 2019
10 ชุมชนคริสตชน กระจิบเคยติดตามผู้อภิบาล รุ่นหลังไปเยี่ยมเยียน ได้เห็นความเจริญใน 9. คุณพ่อเกรสปี เยีย่ มสัตบุรษุ บ้านไร่ใน หลายๆ ด้าน และชืน่ ชมในความพยายามของ ผูน้ ำ� ทีจ่ ะท�ำให้แสงอรุณเจิดจ้า ไม่วา่ ฟ้าจะเป็น 10. วัดแม่พระฟาติมา จ.ประจวบคีรีขันธ์ เช่นไร ดังที่เห็น คุณพ่ออาเนลลี กระตือรือร้น เดินทางไปติดตามครอบครัวทีก่ ระจัดกระจาย ในจั ง หวั ด ประจวบและจั ง หวั ด ชุ ม พร อาทิ เช่น อ�ำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ สองกะลอน ทั บ สะแก เกาะยายฉิ ม บางสะพานใหญ่ วั ง น�้ ำ เขี ย ว ท่ า แซะ และถ�้ ำ สิ ง ห์ จั ง หวั ด ชุมพร คุณพ่อยังได้สร้างวัดน้อยอีกหลาย แห่ ง เพื่ อ ความสะดวกของกลุ ่ ม คริ ส ตชน ที่ อ ยู ่ ใ นบริ เ วณเหล่ า นั้ น จนกระทั่ ง จบ ภารกิ จ บนถนนเพชรเกษมสายนี้ ในวั น ที่ 7 มกราคม ค.ศ.1977 รถจักรยานยนต์ประสบ อุ บั ติ เ หตุ ขณะเยี่ ย มสั ต บุ รุ ษ ในเขตอ� ำ เภอ ท่าแซะ จังหวัดชุมพร กระจิบบินผ่านเส้นทางนั้นทีไร ก็ระลึก ด้วยความรู้คุณ และอยากกระซิบคนรุ่นหลัง ให้ชื่นชมและช่วยกันส่งต่อไฟธรรมทูตมิให้ มอดดับแต่สอ่ งแสงเจิดจรัสยิง่ ขึน้ ทัว่ แหลมทอง 27
One Moment in Time
Text & Photo By Gassanee T.
Dandelion
@Kensington Garden, London 2019 เขาบอกว่า... ฉันเป็นเพียง “ดอกหญ้า” วัชพืช ธรรมดา ไร้สีสัน วิเศษตรงไหน...อะไรกัน ก็แค่พองไปวันๆ...ตลกสิ้นดี เขาบอกว่า... ฉันก็แค่ “วัชพืช” ดูแล้วช่างจืดชืด...ไม่มีสี กลมๆ กลวง โง่ ช่างยวนยี แต่ก็ไม่มี๊...ไม่มี...ความส�ำคัญ วันหนึ่ง...มีเด็กน้อยมาวิ่งเล่น เธอช่างแสนตื่นเต้น...เมื่อเห็นฉัน ส่งเสียงเรียก พ่อแม่พัลวัน “แดนดิไลอ้อน” ถ้าเป่ามัน จะโชคดี! “ใช่!! อธิษฐานสิจ๊ะ” แม่กล่าว อธิษฐานแล้วเป่า ...(ฟู่)...แบบนี้ ..... ..... เราอาจจะเป็น “วัชพืช” ของใครในบางที
28
แต่...เราก็อาจจะเป็น “ความหวัง” และ “ความโชคดี” ของหลายคน !! .................
db Bulletin
ส่องโลกซาเลเซียน By SDB Reporter
World News อาลัยรัก มาเดอร์อันโตเนีย โคลอมโบ บิชอปซาเลเซียนองค์ใหม่ เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2019 สมเด็ จ พระสั น ตะปาปาฟรั ง ซิ ส ทรงเป็ น ประธานในพิ ธี อ ภิ เ ษก บิชอป Alberto Lorenzelli, ซดบ ร่ ว มกั บ บรรดาบิ ช อป สมาชิ ก ซาเลเซียน และสัตบุรุษที่มาร่วม แสดงความยิ น ดี กั บ บิ ช อปใหม่ ณ ม ห า วิ ห า ร นั ก บุ ญ เ ป โ ต ร พระคุณเจ้าได้รบั การแต่งตัง้ ให้เป็น บิ ช อปประจ� ำ เขตศาสนปกครอง ที่ ป ระเทศชิ ลี โดยก่ อ นหน้ า นี้ ท่ า นท� ำ หน้ า ที่ เ ป็ น อธิ ก ารของ หมู ่ ค ณะซาเลเซี ย นในวาติ กั น
บวช 20 สังฆานุกรซาเลเซียน เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2019 บิชอปดอมินิก จาลา, ซดบ เป็น ประธานในพิ ธี บ วชสั ง ฆานุ ก ร ซาเลเซียนจ�ำนวน 20 องค์ ของ แขวงชีลอง ประเทศอินเดีย โดย มีคุณพ่อเจ้าคณะแขวงฯ สมาชิก ซาเลเซี ย น และสั ต บุ รุ ษ มาร่ ว ม แสดงความยินดีจ�ำนวนมาก July-August 2019
เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2019 คณะธิดาแม่พระองค์อุปถัมภ์ ได้จัด พิ ธี ป ลงศพของมาเดอร์ อั น โตเนี ย โคลอมโบ อั ค ราธิ ก าริ ณี กิ ต ติ คุ ณ ของคณะธิดาแม่พระองค์อุปถัมภ์ ที่ โบสถ์นักบุญออกัสติน เมืองมิลาน ประเทศอิตาลี และเคลื่อนศพไปฝัง ไว้ในสุสานที่ Nizza Monferrato ซึ่ ง เป็ น บ้ า นหลั ง ที่ ส องของคณะ ธิดาแม่พระองค์อปุ ถัมภ์ โดยมีคณ ุ พ่อ ปัสกัล ชาเวซ อัคราธิการกิตติคุณ คณะซาเลเซียน เป็นประธานในพิธี
แก๊งบิ๊กไบค์ “ประกายไฟแห่งพระเมตตา” จาริกตามรอยเท้านักบุญเปาโล กลุ่มธรรมทูตอาสาสมัครซาเลเซียน “Młodzi wiatu” ประเทศโปแลนด์ ได้จดั การจาริก “ประกายไฟแห่งพระเมตตา” ตามรอยเท้านักบุญเปาโลโดย รถบิก๊ ไบค์ ครัง้ ที่ 4 โดยเริม่ เดินทางจากเมืองคราโคเวีย ประเทศโปแลนด์ไป ที่โรมาเนีย บัลแกเรีย และโครินธ์ ระยะทาง 2,600 กิโลเมตร โดยมีคุณพ่อ Adam Parszywka เจ้าคณะแขวงคราโคเวีย และคุณพ่อ Gabriel Stawowy เหรัญญิกแขวงฯ เป็นจิตตาธิการของกลุม่ และได้รว่ มเดินทางไปกับกลุม่ ด้วย 29
ส่องโลกซาเลเซียน By SDB Reporter
ฉลองคุณพ่ออัคราธิการ
ตามธรรมเนียมซาเลเซียนทุกวันที่ 24 มิถุนายน ของทุกปีซึ่งเป็นวัน สมโภชนั ก บุ ญ ยอห์ น บั ป ติ ส ต์ บั ง เกิ ด ก็ จ ะเป็ น วั น ฉลองคุ ณ พ่ อ อัคราธิการซาเลเซียนด้วย เนื่องจากเป็นวันฉลองศาสนนามของคุณพ่อบอสโก ในปีนี้คุณพ่ออังเกล แฟร์นันเดซ อาร์ติเม อัคราธิการ ได้เป็นประธานในพิธีบูชาขอบพระคุณในโอกาสฉลองดังกล่าว ที่วิหารพระหฤทัยพระเยซู เจ้า กรุงโรม ร่วมกับสมาชิกซาเลเซียนและครอบครัวซาเลเซียน ในโอกาสนี้ทางคณะซาเลเซียนได้จัดฉลองครบ 65 ปี การปฏิญาณตนของคุณพ่อ ฟรังซิส มารากานี, ฉลอง 50 ปีแห่งชีวิตบาดหลวงของคุณพ่อหลุยส์ เฟดริซี และฉลอง 25 ปีแห่งชีวิตบาดหลวงของคุณพ่อสเตเฟน มาร์โตญิโอ, คุณพ่อฟรังซิส ซานโตส, คุณพ่อโอราโช โลเปซและคุณพ่อซายมี เอซฮานิกาตตู
ฉลอง 85 ปีแห่งการปฏิญาณตน ของซาเลเซี ย นที่ อ ายุ ม าก ที่สุดในโลก
ประธานาธิบดีของซีเรีย พบเยาวชนคาทอลิก เมื่อวันที่ 3-4 กรกฎาคม 2019 เยาวชนของศูนย์เยาวชนซาเลเซียน ของเมืองดามัสกัสและเมืองอเลปโปเข้าร่วมการชุมนุมเยาวชนคาทอลิก ซีเรีย โดยมี พระอัยกา Ignatius Joseph III Younan บิชอปและบาดหลวง ที่ท�ำงานในประเทศซีเรียร่วมในการชุมนุมด้วย ในวันที่ 4 กรกฎาคม ประธานาธิบดีบชั ชาร อัลอะซัดของซีเรียได้มาพบกับเยาวชนคาทอลิก โดย ได้ให้กำ� ลังใจพวกเขาเพือ่ ให้รว่ มมือกันสร้างประเทศไปสูอ่ นาคตอันสดใส
ประชุมคณะที่ปรึกษาของ คณะซาเลเซียนและ ซิสเตอร์ซาเลเซียน
คุณพ่อ Ladislau Klinicki ชาว บราซิล อายุ 105 ปี เป็นสมาชิก ซาเลเซียนที่มีอายุมากที่สุดในโลก ได้ฉลอง 85 ปี แห่งการปฏิญาณตน เมือ่ วันที่ 26 มิถนุ ายน 2019 ทีห่ มูค่ ณะ “Santa Teresinha” โดยมีบิชอป Sergio de Deus Borges เป็น ประธานในพิ ธี ร่ ว มกั บ บิ ช อป Fernando Legal, คุณพ่อเจ้าคณะ แขวงและสมาชิกซาเลเซียน ที่มา ร่ ว มแสดงความยิ น ดี ใ นโอกาส พิเศษนี้
คณะที่ปรึกษาของคณะซาเลเซียน และคณะธิ ด าแม่ พ ระองค์ อุ ป ถั ม ภ์ ประชุมร่วมกันเมือ่ วันที่ 27 มิถนุ ายน 2019 ณ ศูนย์กลางคณะธิดาแม่พระองค์อปุ ถัมภ์ กรุงโรม ประเทศอิตาลี โดย มีวาระการประชุมในหัวข้อ “เยาวชน ความเชือ่ และการวินจิ ฉัยกระแสเรียก” ทั้งนี้เพื่อเตรียมการประชุมสมัชชาคณะซาเลเซียน (กุมภาพันธ์ 2019) และ สมัชชาของคณะธิดาแม่พระองค์อุปถัมภ์ (กันยายน 2020) 30
db Bulletin
REGIONAL NEWs
โดย SDB Reporter
EAO News ประชุมสัตบุรุษในเขตวัด ภายใต้การดูแลของซาเลเซียน เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2019 ได้มีการประชุมผู้แทน สัตบุรุษของวัดซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของซาเลเซียนใน เขตศาสนปกครองโตเกียว ประเทศญีป่ นุ่ ซึง่ มีจำ� นวน 6 วัด การประชุมดังกล่าวจัดขึ้นเป็นครั้งที่ 49 โดยในปีนี้ จัดที่วัดมิกาวาชิมา มีผู้เข้าร่วมประชุมทั้งสิ้น 150 คน โดยได้มกี ารแบ่งกลุม่ ย่อยจ�ำนวน 13 กลุม่ เพือ่ ไตร่ตรอง และอภิปรายกันในหัวข้อ “สิ่งที่วัดจะต้องท�ำเพื่อดึงดูด เยาวชน”
ต้อนรับนวกชนใหม่ เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2019 โอกาสวันสมโภช พระวรกายและพระโลหิตพระคริสตเจ้า บ้านอบรม นวกชนซาเลเซียน “พระหฤทัยของพระเยซูเจ้า” เมือง เซบู ประเทศฟิลิปปินส์ ได้จัดพิธีต้อนรับนวกชนใหม่ จ�ำนวน 11 คน โดยมีคุณพ่อ Godofredo Atienza เจ้าคณะแขวงฟิลปิ ปินส์ใต้เป็นประธานในพิธี โดยนวกชน ได้มอบตนเองไว้ในความดูแลของคุณพ่อฟิลปิ ลาซาติน นวกจารย์
คลีนิคคุณพ่อยาโกมิน
อาสาสมัครในโครงการกัลเยโร
เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา บ้านเจ้าคณะแขวง ซาเลเซี ย นของประเทศเมี ย นมาได้ เ ปิ ด “คลี นิ ค คุณพ่อยาโกมิน” ซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณเดียวกับส�ำนักงาน เจ้าคณะแขวงที่เมืองอนิสกาน คลีนิดดังกล่าวได้รับ การสนับสนุนและความช่วยจากโครงการ PDO และ ผูม้ พี ระคุณหลายท่าน ทัง้ นีเ้ พือ่ ช่วยดูแลรักษาคนยากจน และผู้เจ็บป่วย ปัจจุบันมีแพทย์อาสาสมัคร 4 ท่าน และ มีเยาวชนอาสาสมัครซาเลเซียนทีช่ ว่ ยจัดท�ำประวัตคิ นไข้ โดยจะเปิดท�ำการวันจันทร์ วันพุธและวันศุกร์
เมือ่ เดือนมิถนุ ายนทีผ่ า่ นมา โครงการกัลเยโรซึง่ เป็น โครงการอาสาสมัครของเยาวชนซาเลเซียนของประเทศ ออสเตรเลียได้สง่ เยาวชน 2 คน คือ นาย Xavier Quinn และ นางสาว Natanya de Silva ไปเป็นอาสาสมัคร เพื่อช่วยเหลือคนยากจน โดยนาย Xavier ถูกส่งไปที่ ประเทศติมอร์ตะวันออก ส่วนนางสาว Natanya ถูกส่ง ไปที่โรงเรียนดอนบอสโกสีหนุวิลล์ ประเทศกัมพูชา ทั้ง คู่จะท�ำหน้าที่เป็นอาสาสมัครเป็นเวลา 1 ปี
July-August 2019
31
LECTIO DIVINA โดย บิชอป โยเซฟ ประธาน ศรีดารุณศีล
ต้องมีคนท�ำงานของพระเจ้า
LECTIO : พระเจ้าตรัส พระเยซูเจ้าทรงส่งศิษย์เจ็ดสิบสองคน (ลก 10: 1-20) ต ่ อ จ า ก นั้ น อ ง ค ์ พ ร ะ ผู ้ เ ป ็ น เจ ้ า ท ร ง แ ต ่ ง ตั้ ง ศิ ษ ย์ อี ก เจ็ ด สิ บ สองคนและทรงส่ ง เขาล่ ว งหน้ า พระองค์ เป็นคู่ๆ ไปทุกต�ำบลทุกเมืองที่พระองค์จะเสด็จ 2พระองค์ ตรัสกับเขาว่า “ข้าวที่จะเกี่ยวมีมาก แต่คนงานมีน้อย จงวอนขอเจ้าของนาให้สง่ คนงานมาเก็บเกีย่ วข้าวของ พระองค์เถิด 3จงไปเถิด เราส่งท่านทัง้ หลายไปดุจลูกแกะใน ฝูงสุนัขป่า 4อย่าน�ำถุงเงิน ย่ามหรือรองเท้าไปด้วย อย่าเสีย เวลาทักทายผูใ้ ดตามทาง 5เมือ่ ท่านเข้าบ้านใด จงกล่าวก่อน ว่า “สันติสุขจงมีแก่บ้านนี้เถิด” 6ถ้ามีผู้สมควรจะรับสันติสุข อยู่ที่นั่น สันติสุขของท่านจะอยู่กับเขา มิฉะนั้น สันติสุขของ ท่านจะกลับมาอยู่กับท่านอีก 7จงพักอาศัยในบ้านนั้น กิน และดื่มของที่เขาจะน�ำมาให้ เพราะว่าคนงานสมควรที่จะ ได้รับค่าจ้างของตน อย่าเข้าบ้านนี้ออกบ้านโน้น 8เมื่อท่าน เข้าไปในเมืองใดและเขาต้อนรับท่าน จงกินของทีเ่ ขาจะน�ำมา
32
1
ตั้ ง ให้ 9 จงรั ก ษาผู ้ เ จ็ บ ป่ ว ยในเมื อ งนั้ น และบอกเขา ว่ า “พระอาณาจั ก รของพระเจ้ า อยู ่ ใ กล้ ท ่ า นทั้ ง หลาย แล้ ว ” 10แต่ ถ ้ า ท่ า นเข้ า ไปในเมื องใดและเขาไม่ ต ้ อ นรั บ ก็จงออกไปกลางลานสาธารณะ และกล่าวว่า 11“แม้แต่ ฝุ ่ น จากเมื อ งของท่ า นที่ ติ ด เท้ า ของเรา เราจะสลั ด ทิ้ ง ไว้ ปรักปร�ำท่าน จงรู้เถิดว่า พระอาณาจักรของพระเจ้าใกล้ เข้ามาแล้ว” 12เราบอกท่านทั้งหลายว่า ในวันพิพากษา ชาวเมืองโสดมจะรับโทษเบากว่าชาวเมืองนั้น 13“วิ บั ติ จ งเกิ ด แก่ เจ้ า เมื อ งโคราซิ น วิ บั ติ จ งเกิ ด แก่ เจ้ า เมื อ งเบธไซดา ถ้ า อั ศ จรรย์ ที่ ไ ด้ เ กิ ด ขึ้ น ในเจ้ า ได้ เกิ ด ขึ้ น ที่ เ มื อ งไทระและเมื อ งไซดอนแล้ ว เขาเหล่ า นั้ น คงได้ นุ ่ ง กระสอบนั่ ง บนกองขี้ เ ถ้ า กลั บ ใจเสี ย นานแล้ ว 14 ฉะนั้ น เมื อ งไทระและเมื อ งไซดอนจะรั บ โทษเบา กว่ า เจ้ า ในวั น พิ พ ากษา 15ส่ ว นเจ้ า เมื อ งคาเปอรนาอุ ม เจ้ า จะยกตนขึ้ น ถึ ง ฟ้ า เที ย วหรื อ เจ้ า จะตกลงไปถึ ง แดน ผู้ตาย 16ผู้ใดฟังท่าน ผู้นั้นฟังเรา ผู้ใดสบประมาทท่าน ผู้นั้นสบประมาทเรา ผู้ที่สบประมาทเรา ก็สบประมาท ผู้ที่ทรงส่งเรามา db Bulletin
dbBulletin
สาเหตุ แ ท้ จ ริ ง ที่ ท� ำ ให้ บ รรดา อัครสาวกชื่นชมยินดี 17ศิ ษ ย์ ทั้ ง เจ็ ด สิ บ สองคนกลั บ มาด้ ว ย ความชื่นชมยินดี ทูลว่า “พระเจ้าข้า แม้แต่ ปีศาจก็ยงั อ่อนน้อมต่อเราเดชะพระนามของ พระองค์” 18พระองค์ตรัสตอบว่า “เราเห็น ซาตานตกจากฟ้าเหมือนฟ้าแลบ 19จงฟัง เถิด เราให้อ�ำนาจแก่ท่านที่จะเหยียบงูและ แมงป่อง มีอ�ำนาจเหนือก�ำลังทุกอย่างของ ศัตรู ไม่มอี ะไรจะท�ำร้ายท่านได้ 20อย่าชืน่ ชม ยินดีที่ปีศาจอ่อนน้อมต่อท่าน แต่จงชื่นชม ยินดีมากกว่าทีช่ อื่ ของท่านจารึกไว้ในสวรรค์ แล้ว”
พันธกิจ
พระเยซูเจ้ามิได้มอบ “พันธกิจ” แก่บรรดา อั ค ร ส า ว ก เ พี ย ง ก ลุ ่ ม เ ดี ย ว เ ท ่ า นั้ น พระองค์ ท รงมอบแก่ บ รรดาศิ ษ ย์ ด ้ ว ย (ลก 10,1-10) พระองค์ ท รงเคยมอบ “พั น ธกิ จ ” นี้ ใ ห้ บ รรดาอั ค รสาวกทั้ ง สิ บ สองแล้ ว (ลก 9,1-6) ทรงเลื อ กเขา ด้ ว ยพระองค์ เ อง ทรงประทานนามว่ า “อัครสาวก” คือเป็น “ธรรมทูตผู้ถูกส่งไป” ท�ำงานของพระองค์ บัดนี้ พระองค์ทรงส่งอีก เจ็ดสิบสองคน พระองค์ ท รงส่ ง เขาล่ ว งหน้ า พระองค์ ไปตามสถานที่ ต ่ า งๆ เพื่ อ เตรี ย มทางที่ พระองค์ จ ะเสด็ จ ภารกิ จ นี้ เ ป็ น ภารกิ จ เดี ย วกั น กั บ ภารกิ จ ที่ ย อห์ น ผู ้ ท� ำ พิ ธี ล ้ า ง กระท� ำ ก่ อ นที่ พ ระเยซู เจ้ า จะปรากฏตั ว แก่ช าวอิ สราเอล โดยมีวัต ถุประสงค์เพื่อ เตรียมจิตใจของประชาชนให้พร้อมต้อนรับ ข่าวดีเกี่ยวกับพระอาณาจักรของพระเจ้า พระองค์ ท รงมอบภารกิ จ นี้ แ ก่ ศิ ษ ย์ ของพระองค์ทุกคน ใครก็ตามที่ได้พบกับ July-August 2019
พระเยซู เจ้ า แล้ ว ต้ อ งเล่ า เรื่ อ งของพระองค์ ใ ห้ ค นอื่ น ฟั ง การเป็ น ศิ ษ ย์ ของพระองค์มิใช่เป็น “อภิสิทธิ์” แต่เป็น “การรับใช้” พระองค์ทรงส่งเขาไป “เป็นคู”่ ซึง่ หมายความว่า ศิษย์จะต้องออกไปเป็น พยานถึงความสนิทสัมพันธ์เป็นหนึ่งเดียวกัน ดังนั้น เขาต้องเดินไปด้วยกัน และท�ำงานด้วยกัน ตัวเลข 70 หรือ 72 เป็นเพียงสัญญลักษณ์ ซึ่งหมายถึงมนุษยชาติ ที่ อ ยู ่ ทั่ ว แผ่ น ดิ น พระคั ม ภี ร ์ ฉ บั บ LXX (ปฐก 10) พู ด ถึ ง ชนชาติ ต่ า งๆ ที่ อ ยู ่ ทั่ ว โลกมี จ� ำ นวน 72 ชาติ ดั ง นั้ น ตั ว เลขนี้ จึ ง เป็ น ตั ว เลข ที่บ่งบอกจ�ำนวนลูกหลานของโนอาห์ ภายหลังน�้ำวินาศท่วมโลก ดังนั้น ความหมายของมันก็คือ “ทั่วทั้งโลก”
เป็นศิษย์เพื่อพันธกิจ
“พระอาณาจักรของพระเจ้าใกล้เข้ามาแล้ว” นี่คือข่าวดีที่ทุกคนต้องรับรู้ เมือ่ ลูกาเขียนเรือ่ งนีล้ งในพระวรสาร ท่านคิดถึงบรรดาคริสตชนกลุม่ แรกๆ ทีถ่ กู เบียดเบียน และต้องหนีกระจัดกระจายไปอยูร่ อบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
33
LECTIO DIVINA โดย บิชอป โยเซฟ ประธาน ศรีดารุณศีล
เขาเหล่านี้ประกาศข่าวดีเรื่องพระเยซูเจ้าและการมาถึงของ พระอาณาจั ก รของพระองค์ อ ย่ า งร้ อ นรนต่ อ ไป อย่ า ง สัมฤทธิ์ผล พระเจ้ า ทรงกระท� ำ กิ จ การของพระองค์ ด ้ ว ยพลั ง อ� ำ นาจ ด้ ว ยเหตุ นี้ พ ระองค์ จึ ง ได้ รั บ การขนานนามว่ า “เจ้ า ของ” นา Kyrios เราพบข้ อ ความเดี ย วกั น นี้ ใ น มธ 10,37 บรรดาประกาศกใช้ภาพทุ่งนาอันกว้างใหญ่ ไพศาลที่ มี ข ้ า วสุ ก เหลื อ งอร่ า มเป็ น อุ ป มา เพื่ อ อธิ บ าย เรื่ อ งราวของการพิ พ ากษาครั้ ง สุ ด ท้ า ย ต่ อ นานาชาติ (โยเอล 4,13) นอกเหนือจากชาวอิสราเอล (อสย 27,12) ซึ่ง ส�ำหรับพวกเขาเป็นวันแห่งความรอดพ้น ในชุมชนวิวรณ์กม็ ี การน�ำอุปมานีม้ าใช้เช่นกัน พระเยซูเจ้าตรัสถึงวันพิพากษา ว่าเป็นวันเก็บเกี่ยว โดยใช้เรื่องข้าวละมานเป็นอุปมา (มธ 13,36-43) ในตั ว บทของลู ก า ทุ ่ ง นาเหลื อ งอร่ า มหมายถึ ง ทุ ่ ง นาของพั น ธกิ จ สากล ที่ ทุ ก ชาติ ทุ ก ภาษาจะได้ รั บ การประกาศข่าวดี ผู้ประกาศข่าวดีได้แก่บรรดาอัครสาวก และ บัดนี้ได้แก่บรรดาศิษย์กลุ่มแรก พันธกิจของพวกเขา ยังคงเป็น “กิจการ” ของพระเจ้าอยู่เสมอ ส่วนบรรดาศิษย์ เป็นผู้ถูกเรียกและถูกส่งไปกระท�ำ “กิจการ” นี้ เพื่อให้ “กิจการ”ของพระองค์ด�ำเนินไป จ�ำเป็นต้องมี คนท�ำงาน งานนัน้ มีมาก จ�ำนวนคนไม่เพียงพอกับเนือ้ งาน
34
ทุ่งนาของโลกนี้กว้างใหญ่ไพศาล ส่วนผู้ที่ถูกส่งไปท�ำงานมี จ�ำนวนน้อยมาก ในสมัยพระเยซูเจ้า สถานการณ์เป็นเช่นไร ตลอดประวั ติ ศ าสตร์ ข องพระศาสนจั ก รมาจนถึ ง บั ด นี้ ก็เป็นเช่นนั้น
จงวอนขอเจ้าของนาให้ส่งคนงาน มาเก็บเกี่ยวข้าวของพระองค์เถิด
ก่ อ นจะตรั ส ว่ า “จงไปเถิ ด ” พระเยซู เ จ้ า ทรง สั่ ง บรรดาศิ ษ ย์ ใ ห้ “ภาวนา” การภาวนา คื อ การมี ความสนิทสัมพันธ์กับพระบิดาเจ้าสวรรค์ เป็นต้นธาร ของพันธกิจการประกาศพระวรสาร อีกทั้งยังเป็นจุดหมาย
db Bulletin
dbBulletin ปลายทางของการประกาศฯ ด้วย นั่นคือ การบรรลุ ถึ ง ความสนิ ท สั ม พั น ธ์ เ ป็ น หนึ่ ง เดียวกับพระบิดาเจ้าสวรรค์ และนี่แหละคือ เป้าประสงค์ของพันธกิจการแพร่ธรรม ดัง นั้น “จงวอนขอเจ้าของนา”เถิด สิ่งส�ำคัญ คือ “สวด” ก่อน “ท�ำ” จ�ำเป็นต้องภาวนา เพราะความรับผิดชอบเกีย่ วกับความรอด ซึง่ เป็นของพระบุตร ถูกส่งต่อไปยังบรรดาศิษย์ ทุกคนที่ต้องร่วมงานกับพระองค์ จ�ำเป็น ต้องภาวนาเพื่อให้ทุกคนกลับเป็นผู้ร่วมงาน แท้จริงขององค์พระบุตรเจ้า ผูถ้ กู ส่งมาหว่าน พระวาจาของพระเจ้า ค�ำภาวนาเท่านั้นที่ ท�ำให้สามารถเข้าใจความจ�ำเป็นและเร่งด่วน ของพันธกิจ ต้องวอนขอพระเป็นเจ้า เพราะเป็น พระองค์ที่เรียกและส่งคนไปท�ำงาน ทุ่งนา หรือสวนองุ่นเป็นของพระองค์ มิใช่ทุกคน ที่ ท� ำ งานในทุ ่ ง นาหรื อ สวนองุ ่ น ตระหนั ก ในเรื่องนี้ ต้องสวดเพื่อให้พระเจ้าทรงเรียก ผ่ า นทางพระจิ ต ของพระองค์ ไม่ มี ใ คร สามารถค้นคิดพันธกิจที่มิได้อยู่ในความคิด ของพระเจ้า การเรียกธรรมทูตคนหนึ่ง เกิด จากการภาวนาของพระศาสนจั ก ร พั น ธ กิ จ ธรรมทู ต ต้ อ งออกมาจากการภาวนา (ลก 6,12-13) งานเก็บเกี่ยวต้องกระท�ำใน บรรยากาศของการภาวนา
MEDITATIO: มองชีวิตของเราโดยมี พระวาจาน�ำทาง
พระเยซูเจ้าทรงอธิบายให้ศษ ิ ย์ทพี่ ระองค์
ทรงส่งไปท�ำงานทราบถึง “วิธีปฏิบัติ” ที่ถูก ต้องว่า พระองค์ทรงเป็น “เจ้าของ”งาน ดัง นั้นศิษย์ต้องขึ้นกับพระองค์ในทุกอย่าง เขา ต้องเป็นเหมือนเลวี ที่ภาวนาต่อพระเจ้าใน ยามจนว่า “พระยาห์เวห์ทรงเป็นส่วนมรดก ของข้าพเจ้า และทรงเป็นผู้ก�ำหนดชีวิตของ ข้าพเจ้า” (สดด 6,5) เพราะเขาไว้วางใจ July-August 2019
ในพระองค์แต่ผู้เดียว ถึงแม้เขาจะยากจน ไม่มีเงินติดตัว ไม่มีหลักประกัน ส�ำหรับการเดินทาง เขาต้องติดต่อ ต้องพบปะผู้ที่แสวงหาชีวิตสมบูรณ์ ตามทางแต่เขาเหล่านี้ ผูเ้ ป็น “บุตรแห่งสันติภาพ” ผูท้ พี่ ระเจ้าส่งไป ทักทาย เขาว่า shalom ขอสันติสุขจงอยู่กับท่าน และเขาจะสร้างความสัมพันธ์ ในฐานะเป็นเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน เขานั่งโต๊ะเดียวกัน กินและดื่มด้วยกัน ผู้ที่พระเจ้าส่งไปท�ำงานทุกคนต้องมีจิตใจของความเป็น “จิตอาสา” ที่รู้จัก ให้เปล่า ที่ปรากฏออกมาในการดูแล เอาใจใส่ผู้อื่น รักษาคนเจ็บป่วย ทางกาย เจ็บป่วยทางจิต และประกาศให้ทุกคนทราบว่า อาณาจักรของ พระเจ้าอยู่ใกล้แล้ว ค�ำสั่งของพระเยซูเจ้าก�ำหนดว่า ศิษย์ที่พระองค์ทรงส่งไปนั้นต้องท�ำ อะไรบ้าง ต้องมีทา่ ทีอย่างไร แต่คำ� สัง่ นัน้ ก็ทำ� ให้เราเข้าใจด้วยว่า “คนงานมี น้อย”.....ดังนัน้ จ�ำเป็นต้องท�ำตนให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงนีด้ ว้ ย พระเยซูเจ้าทรงส่งศิษย์ออกไปเป็นคู่ เพื่อให้พวกเขามีความเป็นจิตหนึ่งใจ เดียวกัน ช่วยเหลือกัน ค�้ำจุนกัน คอยตักเตือนกัน การที่พระเยซูเจ้าทรงส่ง เขาไปเป็นคู่ เพื่อมิให้พันธกิจเป็นกิจการของคนคนเดียว หรือ กระท�ำตาม ล�ำพัง พระองค์ทรงส่งเขาไปเหมือนลูกแกะท่ามกลางฝูงสุนัขป่า ปราศจาก อาวุธ อ่อนแอ เปราะบาง รู้ตัวว่าตนอยู่ท่ามกลางผู้ที่ต่อต้านพระวรสารของ พระเยซูคริสตเจ้า เป็นลูกแกะท่ามกลางฝูงสุนัขป่า สิง่ ทีท่ ำ� ให้เรารูส้ กึ แปลกใจกับการส่งบรรดาศิษย์กค็ อื พระเยซูเจ้ามิได้ขอ ให้เขาท�ำสิง่ ใหญ่โต น่าอัศจรรย์ พระองค์ทรงขอให้เขาเจริญชีวติ มีสมั พันธภาพ เยี่ยงมนุษย์ธรรมดาสามัญ โดยสอดแทรกความไว้วางใจและความหวัง ที่เป็นไปได้ในการท�ำให้พระเจ้าเข้าครองใจในชีวิตของเราทุกคน ข่าวสาร ทีศ่ ษิ ย์ตอ้ งน�ำไปประกาศนัน้ สัน้ มาก “พระอาณาจักรของพระเจ้าใกล้เข้ามา แล้ว” พฤติกรรมที่เขาต้องน�ำมาแสดงให้เห็นเด่นชัดก็คือองค์ พระเยซูเจ้า ผู้ทรงเจริญชีวิตยากจน อ่อนโยน เป็นเพื่อนของคนเก็บภาษีและคนบาป พระองค์เสด็จมาเพือ่ รับใช้และมอบชีวติ ให้กบั ทุกคน ดังนัน้ จึงเป็นเรือ่ งของ การเจริญชีวติ เหมือนพระเยซูเจ้า ผูซ้ งึ่ “แม้ทรงร�ำ่ รวย พระองค์กย็ งั ทรงยอม กลายเป็นคนยากจนเพราะเห็นแก่เรา” (อ้าง 2 คร 8,9) เหมือนพระเยซูเจ้า 35
LECTIO DIVINA โดย บิชอป โยเซฟ ประธาน ศรีดารุณศีล
ผู ้ ซึ่ ง เป็ น ผู ้ ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ ทรงเสด็ จ ไป “พั ก ที่ บ ้ า นคนบาป” มิเพียงแต่ขอให้บรรดาคริสตชนพูดถึงพระคริสตเจ้าเท่านั้น (อ้าง ลก 19,7) เหมือนพระเยซูเจ้าผู้ซึ่งประกาศว่า shalom แต่.....ช่วยพวกเขาแลเห็นพระองค์ด้วย ด้วยเหตุนี้ เราจึง สันติภาพเป็นข่าวดี (อ้าง กจ 10,36) ต้องเป็น “พวกแรกที่เพ่งมองพระพักตร์ของพระองค์” 17 ศิ ษ ย์ ทั้ ง เจ็ ด สิ บ สองคนกลั บ มาด้ ว ยความชื่ น ชม ยิ น ดี ทู ล ว่ า “พระเจ้ า ข้ า แม้ แ ต่ ป ี ศ าจก็ ยั ง อ่ อ นน้ อ ม ORATIO ต่ อ เราเดชะพระนามของพระองค์ ” 18พระองค์ ต รั ส ตอบ (พระวาจาท�ำให้ฉันภาวนา) ขอโทษ ลก 10,3-4 “3จงไปเถิด เราส่งท่านทั้งหลายไป ว่า........20อย่าชื่นชมยินดีที่ปีศาจอ่อนน้อมต่อท่าน แต่จง ดุจลูกแกะในฝูงสุนัขป่า 4อย่าน�ำถุงเงิน ย่ามหรือรองเท้าไป ชื่นชมยินดีมากกว่าที่ชื่อของท่านจารึกไว้ในสวรรค์แล้ว” (ลก 10,17,20) ด้วย อย่าเสียเวลาทักทายผู้ใดตามทาง” ขอบคุณ ลก 10,17-21 17ศิษย์ทั้งเจ็ดสิบสองคนกลับมา ข้าแต่พระเจ้า โดยทางกระแสเรียกแห่งศีลล้างบาป ด้วยความชื่นชมยินดี ทูลว่า “พระเจ้าข้า แม้แต่ปีศาจก็ยัง พระองค์ทรงเรียกข้าพเจ้าทั้งหลายให้มีความพร้อมในการ อ่อนน้อมต่อเราเดชะพระนามของพระองค์” ........อย่าชืน่ ชม ประกาศพระอาณาจักรของพระองค์ โปรดประทานความ ยินดีทปี่ ศี าจอ่อนน้อมต่อท่าน แต่จงชืน่ ชมยินดีมากกว่าทีช่ อื่ กล้าหาญเยีย่ งบรรดาอัครสาวก และอิสรภาพแห่งพระวรสาร แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย เพื่อท�ำให้พระวาจาแห่งความรักและ ของท่านจารึกไว้ในสวรรค์แล้ว” 8 ขอพรพระจิตเจ้า ลก 10,8-9 เมื่อท่านเข้าไปใน สันติภาพของพระองค์ปรากฏอยู่ในทุกสภาพแห่งชีวิต เมื อ งใดและเขาต้ อ นรั บ ท่ า น จงกิ น ของที่ เขาจะน� ำ มา ตั้ ง ให้ 9จงรั ก ษาผู ้ เจ็ บ ป่ ว ยในเมื อ งนั้ น และบอกเขาว่ า COMMUNICATIO (พระวาจาท�ำให้ทุกคนเป็นธรรมทูต) “พระอาณาจักรของพระเจ้าอยู่ใกล้ท่านทั้งหลายแล้ว” นั ก บุ ญ เกรโกรี ผู ้ ยิ่ ง ใหญ่ ก ล่ า วว่ า “พระองค์ ท รงส่ ง เขาล่วงหน้าไปเป็นคู่ ในทุกเมืองและสถานที่ซึ่งพระองค์ CONTEMPLATIO จะเสด็ จ ไป พระเยซู เ จ้ า เสด็ จ ตาม (มาภายหลั ง ) (พระวาจาของพระเจ้ากลับเป็นความจริง) พระสันตะปาปานักบุญยอห์นปอลที่ 2 ทรงลิขิตไว้ใน นักเทศน์ของพระองค์ เพราะการเทศน์มาก่อนพร้อมกับ สมณสาส์น Novo Millennio Ineunte ว่า “มนุษย์ในปัจจุบนั การประกาศของพวกเขา และประทั บ อยู ่ ใ นวิ ญ ญาณ
36
db Bulletin
dbBulletin
เมื่อค�ำกระตุ้นเตือนมาถึง ผู้ฟังก็ยอมรับ ความจริงนัน้ ไว้ในจิตวิญญาณ” (S. Gregorio Magno, Omelie sui Vangeli, Om. IX). มิสซัง Orvieto ก�ำลังประสบกับปัญหา จ� ำ นวนพระสงฆ์ แ ละนั ก บวชลดลงอย่ า ง มาก กระแสเรียกเพื่อชีวิตแบบอื่นก็มีสภาพ เดียวกัน รวมทั้งครอบครัวด้วย คริสตชน หลายคนไม่อยากท�ำการวินิฉัยกระแสเรียก ของตน หลายคนไม่สนใจถามว่า พระประสงค์ ของพระเจ้ า ส� ำ หรั บ ชี วิ ต ของตนคื อ อะไร เราเชื่ อ ว่ า จ� ำ เป็ น ต้ อ งเพิ่ ม ความเข้ ม ข้ น แก่ ก ารภาวนามากขึ้ น พระอาจารย์ เจ้ า ตรัสว่า “เราบอกความจริงแก่ทา่ นว่า ถ้าท่าน ที่ Piacenza นักพรตชื่อ บาดหลวง Francesco Dutto ได้ริเริ่มกิจการ สองคนบนแผ่นดิน พร้อมใจกันอ้อนวอน นีเ้ มือ่ เดือนธันวาคมทีผ่ า่ นมา ที่ Fossano อารามเบเนดิกตินได้เริม่ กิจการ ขอสิ่งหนึ่งสิ่งใด พระบิดาของเราผู้สถิตใน นี้ต้งั แต่ปัสกา สวรรค์จะประทานให้” (มธ 18,19) การนมัสการศีลมหาสนิทเป็นการริเริม่ ที่ เหมาะสมทีส่ ดุ และก�ำลังดึงดูดหมูค่ ณะอืน่ ๆ ให้ท�ำเช่นเดียวกัน July-August 2019
37
บทความ
โดย ยุพดี
ผู้เป็นทุกข์โศกเศร้าย่อมเป็นสุข เพราะเขาจะได้รับการปลอบโยน
แม้วา่ การร้องไห้เป็นเรือ่ งปกติของชีวติ ส�ำหรับทุกคน แต่บางครัง้ ผูค้ นก็รอ้ งไห้ ในสิ่งที่ดูเหมือนจะไม่มีเหตุผลเลย เราจะร้องไห้ไปท�ำไม ตอบไม่ได้ ความเชื่อ ของสังคมว่าคนร้องไห้เป็นคนอ่อนแอ ความจริง การร้องไห้เป็นการขจัดสารเคมี แห่งความเครียดออกจากสมองอย่างชาญฉลาด แต่นักวิจัยพบว่าการร้องไห้อาจ ท�ำให้คนรู้สึกเจ็บปวดมากขึ้นก็ได้ หากขาดคนเข้าใจคอยให้ก�ำลังใจ และหาก การร้องไห้นั้นท�ำให้เกิดความอับอาย หรือร้องเพราะเห็นผู้อื่นทนทุกข์ทรมาน ในความเป็นจริงคุณอาจรูส้ กึ มีความสุขหรือประหลาดใจและร้องไห้ บางคนร้องไห้ เมือ่ พวกเขาโกรธ เครียด เหนือ่ ยล้า วิตกกังวลหรือโศกเศร้าปวดร้าวถึงก้นบึง้ แห่ง หัวใจจนไม่อาจกลั้นน�้ำตาไว้ได้ “การร้องไห้ ไม่ได้แปลว่า อ่อนแอ แต่มันคือ พลัง ที่หลังหมดหยดน�้ำตา เราจะมีความคิดใหม่ๆ ขึ้นมาแทน” “เป็นบุญของผู้ที่เศร้าโศกเสียใจอย่างสุด ซึ้งที่เห็นว่าบาปของตนได้ท�ำร้ายองค์พระเยซูเจ้าบนไม้กางเขนมากสักเพียงใด... เป็นบุญของผู้ที่เป็นทุกข์โศกเศร้าเพราะเห็นความทุกข์ยาก ความโศกเศร้า และ ความต้องการของผู้อื่น” โดยทั่วไป เวลาปกติสุขเรามักมองชีวิตเพียงผิวเผินและไม่ค่อยสนใจใยดีกับ ผู้อื่นมากนัก แต่เมื่อความสูญเสียใหญ่หลวงถาโถมเข้ามาในชีวิต เราจะเริ่มมอง เห็นความรักและการปลอบโยนจากพระเจ้า รวมถึงความช่วยเหลือและน�้ำใจดี ของเพื่อนมนุษย์ การที่เรามีความทุกข์ เราจะนึกถึงพระ และได้รับพระเมตตา จากพระองค์ในที่สุด จงยอมรับว่า เราเป็นทุกข์ และมันไม่ได้เป็นนายเหนือเรา 38
db Bulletin
dbBulletin
การเป็นทุกข์เกิดจากความไม่เป็นอิสระของใจเรา การตก เป็นทาสของอารมณ์ การไม่ปล่อยวาง และเมือ่ เรายอมรับได้ เมื่อนั้น เราจะพบว่า เราได้รับการปลอบโยนจากพระองค์ ผู้ไม่เคยทอดทิ้งเรา ผู้ที่รู้จักร้องไห้เสียใจไปกับผู้อื่น นั่นคือความศักดิ์สิทธิ์ พระสั นตปาปาฟรั ง ซิสทรงตรัสในสมณสาส์น จงชื่ น ชม ยิ น ดี เ ถิ ด จดหมายนั ก บุ ญ เปาโลถึ ง ชาวโรม ก็ ยื น ยั น ว่ า นักบุญเปาโลร้องไห้กับผู้ที่ร้องไห้ .... ผู้เขียนคิดถึงประสบการณ์ ตอนที่ตนเองร้องไห้ เพราะ ต้องออกเดินทางจากบ้าน จากพ่อแม่พี่น้องไปเรียนต่อ ร้องไห้ เพราะรู้สึกซาบซึ้ง ดีใจ เห็นคนอื่นได้รับสิ่งดีๆ แล้ว สะเทือนใจร้องไห้ ก็ร้องไปกับเขาด้วย เช่น เห็นเด็กนักเรียน ที่ท�ำพิธีอ�ำลาคณะซิสเตอร์ คณะครู เพื่อนๆ ร้องไห้ที่มาจาก การสัมผัสความทุกข์ในผู้ที่อยู่ต่อหน้า ร้องไห้กับเพื่อนที่ถูก ครูดดุ า่ เป็นน�ำ้ ตาทีห่ ลัง่ เพือ่ เรียกร้องความเป็นธรรม ร้องไห้ ที่มาจากการสงสาร เห็นนกร้องจิ๊บๆ บินหารังไม่เจอ หรือ แมวตัวเล็กๆ ร้องด้วยความหิว หลังจากการร้องไห้ ผู้เขียน ได้รบั การปลอบโยนเสมอ จากพระหรรษทาน จากพระวาจา จากมิตรภาพและความเมตตาจากคนรอบข้าง คุณพ่อบอสโก บิดาของเราร้องไห้ ตั้งแต่เล็กหนูยอห์น ร้องไห้เพราะนกขุนทองตัวโปรดตาย ท่านร่วมทรมานกับ เด็กๆ ที่ป่วย และร่วมร้องไห้กับคนที่สูญเสียญาติพี่น้องไป ดวงตาของท่ า นจะนองด้ ว ยน�้ ำ ตาเมื่ อ ฟั ง บทเทศน์ เรื่ อ ง ความรักของพระเจ้า พระคุณแห่งน�ำ้ ตากลายเป็นเครือ่ งหมาย แห่งความศักดิส์ ทิ ธิ์ วันที่ 15 พฤษภาคม เมือ่ ท่านถวายมิสซา ที่พระแท่นแม่พระองค์อุปถ้มภ์ ณ วิหารพระหฤทัยที่เพิ่ง ท�ำพิธีอภิเษก ท่านร้องไห้ออกมาดังๆ อย่างหักห้ามไม่ได้ จนเกื อ บตลอดมิ ส ซา เพราะท่ า นเห็ น ภาพชั ด เจนของ July-August 2019
ความฝันครั้งแรกเมื่ออายุ 9 ขวบ ที่ท่านร้องไห้เพราะไม่ เข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้น ท่านขอร้องให้สุภาพสตรีในฝันอธิบาย ความหมาย สุภาพสตรีจึงวางมือลงบนศีรษะของท่านและ กล่าวว่า “เมือ่ ถึงเวลาอันสมควรแล้ว เธอจะเข้าใจทุกอย่างเอง” เมื่อหวลกลับไปมองอดีต มองการเสียสละมากมายเพื่อ ช่วยเหลือเด็กและเยาวชนให้รอด ชีวติ ของท่านก็ตรงกับเพลง สดุดที ี่ 126 ผูท้ หี่ ว่านด้วยน�ำ้ ตา ย่อมโห่รอ้ งยินดีเมือ่ เก็บเกีย่ ว เขาเดินพลางร้องไห้พลาง หอบเมล็ดพืชไปหว่าน ยามกลับมา เขาโห่ร้องด้วยความยินดี น�ำฟ่อนข้าวกลับมาด้วย ดังนั้น น�้ำตาส�ำหรับหลายคน ท�ำให้เกิดจุดเปลี่ยนของ ชีวติ หลังม่านน�ำ้ ตา เขาจึงเริม่ เรียนรูส้ งิ่ ใหม่ เมือ่ ผ่านช่วงนัน้ มาได้แล้ว การมีชวี ติ ต่อจึงมาจากแรงบันดาลใจ เกิดจากการ เลือกครัง้ ใหม่ดว้ ยพลังใจของตัวเอง ทีเ่ อาชนะความหวาดกลัว และจุดบอด กลับมายิม้ ได้อกี ครัง้ และยังท�ำหน้าทีข่ องตัวเอง ได้ดีกว่าเดิม ท�ำสิ่งที่ชอบและอยากท�ำ ท�ำให้รู้เลยว่ายังมี โลกกว้าง ที่มากกว่าโลกแคบของตัวเอง ได้ร้จู กั คนอืน่ ที่ทกุ ข์ กว่าเรา และได้คดิ ว่า เมือ่ เราเคยได้เคยมีวนั นี้ เรามองไม่มบี า้ ง ก็ได้รสชาติชีวิตอีกแบบหนึ่ง ซึ่งก็ต้องเรียนรู้กันไป เรายัง มีชีวิตอยู่ ยังหายใจ เรายังไม่ตาย ชีวิตของเราก็ต้องสู้กัน ต่อไป และแล้ว......วันนี้ชีวิตของเรา ได้กลายเป็นพลังให้ คนอื่นๆ เราเองสามารถเป็นก�ำลังใจเวลาที่พวกเขามีปัญหา ชีวิต โดยที่มองว่าเรื่องราวทั้งหมดที่เกิดขึ้น มันก็คือ “ฝัน” เมือ่ ผ่านมาแล้ว เราก็จะไม่รสู้ กึ อะไรกับมันมากนัก และมันก็ จะผ่านไปได้ ส่วนวันนีก้ ค็ อื วันนี้ ทีเ่ ราต้องอยูแ่ ละสูก้ นั ต่อไป”
39
ครอบครัวซาเลเซียน โดย MR.OK
ความสุขของสมาชิก ซาเลเซียนผู้ร่วมงาน คุ ณ พ่ อ พงษ์ นิ รั น ดร์ นั ม คณิ ส รณ์ บาดหลวงพื้นเมืองกับการอุทิศตนเพื่อเยาวชน ในรูปแบบของซาเลเซียนผู้ร่วมงาน
คณะซาเลเซี ย นผู ้ ร ่ ว มงานเป็ น หนึ่ ง ใน สมาชิ ก ของครอบครั ว ซาเลเซี ย นที่ ป ระกอบ ไปด้วย คริสตชนฆราวาส พระสงฆ์ นักบวช และบิชอปผู้มีความรัก ความศรัทธา และมี ความสัมพันธ์ที่ดีกับนักบวชซาเลเซียนในการ ช่วยเหลือเยาวชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งบรรดา เยาวชนที่ ย ากจนและถู ก ทอดทิ้ ง นิ ต ยสาร ดอนบอสโกขอแนะน�ำท่านผู้อ่านให้รู้จักกับ คุณพ่อพงษ์นิรันดร์ นัมคณิสรณ์ ซาเลเซียนผู้ ร่วมงานอายุ 61 ปี ซึ่งเป็นบาดหลวงพื้นเมือง ปัจจุบันท่านท�ำหน้าที่เป็นเหรัญญิกของหมู่ คณะดอนบอสโก ปอยเปต ประเทศกัมพูชา
ศึกษาอบรมของนักบุญยอห์น บอสโก พ่อมี ความสุขในการด�ำเนินชีวิตเพื่อรับใช้ในหมู่ คณะนี้ พ่อรู้สึกว่าระยะเวลาที่พ่ออยู่มากกว่า สองปี พ่อเริ่มเรียนรู้และซึมซับประสบการณ์ ที่ ดี ห ลายประการ พ่ อ ได้ พ ยายามปรั บ ตั ว ทีละเล็กทีละน้อยจนพ่อรู้สึกว่าทุกช่วงเวลา ที่พ่ออยู่ท่ามกลางเยาวชนเป็นช่วงเวลาที่พ่อ ได้รับการเติมเต็มจากชีวิตฝ่ายจิตของคุณพ่อ บอสโก การก้าวเดินในเส้นทางแห่งกระแส เรี ย กซาเลเซี ย นผู ้ ร ่ ว มงานของพ่ อ ได้ เริ่ ม ขึ้ น เมื่อคุณพ่อเลโอ โอโชวา ซึ่งเป็นอธิการและ จิตตาภิบาลของโรงเรียนอาชีวะดอนบอสโก ในสมัยนั้น ท่านได้เชื้อเชิญพ่อ และพ่อก็ได้ สมัครเข้าเป็นซาเลเซียนผู้ร่วมงานและให้ค�ำ สัญญาเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม ค.ศ. 2010
Q: คุ ณ พ่ อ เริ่ ม ต้ น การเดิ น ทางใน กระแสเรียกของการเป็นซาเลเซียน ผู้ร่วมงานอย่างไร A: ย้อนกลับไปเมื่อปี ค.ศ. 2007 พ่อได้เริ่ม Q: คุณพ่อคิดว่ามีอะไรบ้างที่สร้าง พันธกิจเผยแผ่พระธรรมในประเทศกัมพูชา ความสุ ข ให้ กั บ คุ ณ พ่ อ ในฐานะ ในฐานะบาดหลวงอาสาสมัครเพื่องานธรรม ซาเลเซี ย นผู ้ ร ่ ว มงานซึ่ ง สื บ สาน ทูต (Fidei domun) พ่อได้เริ่มท�ำงานกับคณะ พันธกิจของคุณพ่อบอสโกที่ปอยเปต ซาเลเซียนที่กรุงพนมเปญ (โรงเรียนอาชีวะ A: ประการแรก พันธกิจซาเลเซียนที่ปอยเปต ดอนบอสโก) จึงท�ำให้พ่อมีโอกาสได้ใกล้ชิด หมู่คณะซาเลเซียนและซึมซับระบบการจัดการ
40
ได้บันดาลความสุขให้กับพ่อมาก โดยเฉพาะ อย่างยิ่งการที่พ่ออุทิศตนเพื่องานของคุณพ่อ
db Bulletin
dbBulletin
บอสโกในฐานะซาเลเซียนผู้ร่วมงาน พ่อรู้สึก ซาบซึ้งต่อการเข้ามาเป็นสมาชิกของครอบครัว ซาเลเซียนโดยสมบูรณ์ ประการที่สอง พ่อคิด ว่ า งานที่ ป อยเปตเป็ น โอกาสที่ ดี ม ากซึ่ ง ช่ ว ย พ่อให้ท�ำงานเพื่อเยาวชนอย่างใกล้ชิดพร้อม กั บ บรรดาสมาชิ ก ซาเลเซี ย น อาสาสมั ค ร ที่มาจากวัฒนธรรมที่แตกต่างแต่มีความเป็น หนึ่งเดียวกันในจิตตารมณ์ของคุณพ่อบอสโก ประการที่สาม เราทราบดีว่า ปอยเปตอยู่ติด กับชายแดนระหว่างประเทศไทยและประเทศ กัมพูชาซึ่งมีลูก ๆ ของคุณพ่อบอสโกมากมาย ที่ปฏิบัติภารกิจด้วยความกระตือรือร้น พ่อจึง มีโอกาสได้ใกล้ชิดกับพวกเขาด้วย
Q: คุณพ่อคิดว่ามีความท้าทายอะไร ส�ำหรับซาเลเซียนผู้ร่วมงานที่อยู่ใน วัฒนธรรมของกัมพูชา A: มีเยาวชนมากมายในประเทศกัมพูชาโดย
เฉพาะอย่างยิ่งเยาวชนที่ยากจน พ่อเชื่อมั่นว่า เราถูกเรียกให้เป็นเพือ่ นกับพวกเขา คอยประคับ ประคองและเดิ น เคี ย งข้ า งพวกเขาไปสู ่ ความเต็ ม เปี ่ ย มแห่ ง ชี วิ ต และการเติ บ โตใน ความเชื่ อ ปั จ จุ บั น มี ซ าเลเซี ย นผู ้ ร ่ ว มงาน ในประเทศกั ม พู ช าจ� ำ นวน 28 ท่ า น เรา ต้ อ งขอบคุ ณ พระเจ้ า ที่ ท� ำ ให้ เราได้ มี จ� ำ นวน สมาชิกซึ่งมากขนาดนี้เพราะเราอยู่ในประเทศ ที่ ก� ำ ลั ง พั ฒ นาและไม่ ใช่ ป ระเทศคริ ส ตชน July-August 2019
แต่สิ่งที่ท้าทายมากที่สุดส�ำหรับเราคือการที่ ซาเลเซียนผูร้ ว่ มงานแต่ละคนจะต้องตระหนักถึง ความจ�ำเป็นในการอุทิศชีวิตท่ามกลางเยาวชน นอกนัน้ เรายังได้รบั การท้าทายในการเตรียมตัว ส�ำหรับการเป็นผู้อบรมที่มาจากกลุ่มของเรา ด้วย
Q: อะไรคือความฝันของคุณพ่อ เมื่อ เราพู ด ถึ ง ซาเลเซี ย นผู ้ ร ่ ว มงานใน ประเทศกัมพูชา A: พ่อคิดว่าในอนาคตอันใกล้ เราต้องการผู้
อบรมที่มาจากกลุ่มซาเลเซียนผู้ร่วมงานของ เรา เราต้องยอมรับความจริงทีว่ า่ จ�ำนวนสมาชิก ซาเลเซียนและสมาชิกธิดาแม่พระองค์อุปถัมภ์ มีนอ้ ย เรามีความฝันว่าจะมีซาเลเซียนผูร้ ว่ มงาน ซึ่งอยู่ในวัยเยาว์ เพราะพวกเขาจะเป็นผู้ช่วย สนับสนุนให้กลุ่มซาเลเซียนผู้ร่วมงานของเรา ได้เติบโตและเข้มแข็งมากยิ่งขึ้นในการด�ำเนิน ชีวิตตามกระแสเรียกของซาเลเซียนผู้ร่วมงาน
41
ผู้ศักดิ์สิทธิ์ซาเลเซียน โดย ว.วรินทร์
“ผู้น่าเคารพ” ซิสเตอร์เทเรซา วัลเซ่ ปันเตลลินี ซิสเตอร์คณะธิดาแม่พระองค์อุปถัมภ์ (1878-1907)
การเปลีย่ นแปลงตัวเองไม่ใช่เรือ่ งง่าย แต่ก็ไม่ยากเกินไปส�ำหรับผู้ที่ตั้งใจจริง มุ ่ ง มั่ น อยากจะพั ฒ นาตั ว เองให้ ดี ยิ่ ง ขึ้ น และเมื่ อ เขาคนนั้ น ได้ พ บกั บ ความจริง ความดีและความงามทีแ่ ท้จริง แล้วล่ะก็..เขาจะละทิ้งทุกสิ่งที่ไม่จีรัง ยั่งยืน... ซิสเตอร์เทเรซา วัลเซ่ ปันแตลลินี ผู ้ ไ ด้ ทุ ่ ม เทชี วิ ต และมอบอุ ทิ ศ ให้ ก าร ศึ ก ษาอบรมอย่ า งไม่ รู ้ เ หน็ ด เหนื่ อ ย แก่เด็กยากจน เด็กก�ำพร้า เด็กที่ถูก ทอดทิ้ ง ...แถบทรั ส เทเวเร “เขาคื อ คนจน ผู้ที่ฉันเลือก” จากชีวิตที่สุขสบาย มีพร้อมทุกสิ่ง ไม่วา่ จะเป็นทรัพย์สนิ เงินทอง เกียรติยศ ชือ่ เสียง การเป็นทีย่ อมรับนับหน้าถือตา ในสังคมชั้นสูง ความรู้ ความสามารถ และคุณธรรมอันจ�ำเป็นต่างๆ... ซิสเตอร์ เทเรซา วัลเซ่ ได้สละละทิง้ ด้วยความเต็มใจ เพื่ อ ความสมบู ร ณ์ ข องชี วิ ต ที่ แ ท้ จ ริ ง “...ความรักอันเกินขอบเขตของเธอ เป็นสีที่ตัดกัน ที่ท�ำให้ภาพๆ หนึ่งเด่น เป็ น ความต่ า งของสถานภาพทาง สังคม แนวคิดของยุคสมัย กับการเลือก ถึงรากถึงโคนของเธอ ความกล้าหาญ ซึง่ มีความสุภาพและความรักเป็นพืน้ ฐาน...” ซิสเตอร์เทเรซา วัลเซ่ – ปันเตลีนี เกิดที่ มิลานในวันที่ 10 ตุลาคม ค.ศ. 1878 42
“ ”
เขาคือคนจน ผู้ที่ฉันเลือก
บิ ด าชื่ อ โจเซฟ วั ล เซ่ และมารดา ชื่อ โยเซฟิน วิยินี บิดาของเธอมาจาก ครอบครัวที่มีอันจะกิน ท่านได้เข้ารับ การศึกษาจากบ้านเณร เหมือนเด็กหนุม่ ในสมัยนัน้ ทีเ่ ข้าบ้านเณรเพือ่ ทีจ่ ะเรียน ได้อย่างสะดวก และจริงจังกว่าที่อื่น เมื่อส�ำเร็จการศึกษาแล้ว ท่านจึงเป็น ผูเ้ พียบพร้อม ทัง้ ด้านความรู้ และความ เชื่อในศาสนา เป้าหมายเดียวของเธอคือ ใช้ชีวิต เพือ่ เด็กทีย่ ากจน ฝึกความสุภาพถ่อมตน น�ำให้คนอื่นมารักพระได้มากเท่าที่เธอรัก เธอโปรดปรานเด็กยากจนและเด็กที่ ถูกทอดทิ้งมากที่สุด เด็กเหล่านี้รู้ดีว่า ความรั ก ของซิ ส เตอร์ ผู ้ นี้ เ ต็ ม ไปด้ ว ย ความสุ ภ าพ อดทนและเมตตา เธอด� ำ เนิ น ชี วิ ต นั ก บวชด้ ว ยใจร่ า เริ ง และซื่อสัตย์อย่างน่าชม แม้เมื่อความ เจ็ บ ป่ ว ยมาเยื อ น เธอก็ ยั ง ยิ น ดี รั บ และถวายชี วิ ต นั้ น แด่ พ ระเป็ น เจ้ า เธอลาโลกนี้ไปสู่เคหาสน์ของพระองค์ เมื่อมีอายุเพียง 29 ปี ขอให้แบบอย่างชีวิตและคุณธรรม ความดีงามของซิสเตอร์เทเรซา วัลเซ่ ปันแตลลินี เป็นพลังก้าวเดินในหนทาง แห่งความดีและการเลือกอย่างมีคณ ุ ค่า ในชีวิตแต่ละวันของเราเสมอ db Bulletin
เรื่องมีอยู่ว่า
โดย ลียองเอ
น้องพี่ที่รัก เด็ ก ชายหน้ า ตาน่ า รั ก คนหนึ่ ง อุ ้ ม ตุ ๊ ก ตาลู ก แกะขนาดก� ำ ลั ง พอเหมาะพอดี ตั ว เดินลัดเลาะไปตามที่ต่างๆ ผ่านสวนสาธารณะ ห้างสรรพสินค้า ตลาดนัด และ ย่านชุมชน…..ทุกคนที่ผ่านไปผ่านมาเห็นเขา ต่างก็พากันอมยิ้ม บางคนก็หัวเราะข�ำ บางคนก็ทัก บางคนก็แซว “จะโตเป็นหนุ่มแล้วนะหนู ยังติดตุ๊กตาอยู่อีกเหรอ” “แหม! ตุ๊กตากับคนอุ้มน่ารักพอๆกันเลยนะ” “ขายรึเปล่าจ๊ะพ่อหนู ขอซื้อต่อได้มั้ย” “อุ้มดีๆ นะ ระวังท�ำหล่นลงพื้นล่ะ” “แปลกแฮะเด็กผู้ชายเล่นตุ๊กตา!!!” เด็กชายได้แต่ส่งยิ้มกลับไปให้อย่างน่าเอ็นดูแทนค�ำตอบ เขายังคง อุม้ ตุก๊ ตาลูกแกะอย่างทะนุถนอมแล้วเดินเร่งฝีเท้าต่อไป เขาก้มลงมองดู นาฬิกาข้อมือทุกๆ 5 นาที เพื่อจะกลับไปให้ถึงบ้านก่อนเที่ยง เมื่อกลับถึงบ้าน เขารีบถอดรองเท้าแล้วเปิดประตูเข้าบ้าน ทันทีทนี่ อ้ งสาววัยสามขวบเห็นเขา ก็รบี โผเข้าหาเขาทันที เขายืน่ ตุก๊ ตา ให้น้อง แล้วเอามือเช็ดคราบน�้ำตาที่แก้มใสๆ ของน้องสาว พลางพูดว่า “พี่หาเจอแล้วนะ น้องลืมตุ๊กตาแกะไว้ใต้ต้นไม้ในสวนสาธารณะน่ะ นี่พี่อุ้มมาอย่างดีเลยนะ ไม่เลอะเลย ดูสิยังขาวนวลเหมือนเดิมเลย” น้องสาวยิ้มร่า กระโดดกอดพี่ชายแน่น พลางร้องตะโกนด้วยความดีใจ อย่างสุดเสียงว่า “เย้! เย้! เจอตุ๊กตาแกะแล้วๆ ขอบคุณค่ะ ขอบคุณ เย้! เย้!” เขาเองก็กระโดดโลดเต้นตามน้องสาวไปด้วย เขารู้สึกดีใจที่ท�ำให้น้องสาว มี ค วามสุ ข น้ อ งสาวของเขารั ก ตุ ๊ ก ตาแกะตั ว นี้ ม าก แม้ จ ะมี ตุ ๊ ก ตาตั ว อื่ น ๆ อีกมากมายก็ตาม น้องคงร้องไห้ไม่เลิกแน่ๆ ถ้าไม่เจอตุก๊ ตาแกะตัวนี้ น้องไม่ยอม กินอะไรเลยตั้งแต่เช้าเพราะตุ๊กตาแกะหายไป เขาจึงรีบออกไปตามหาตุ๊กตาแกะ เพือ่ กลับมาให้ทนั ก่อนเทีย่ ง โดยมีเหตุผลเพียงประการเดียวคือ เขากลัวว่าถ้าเลย มื้อเที่ยงไปแล้ว น้องสาวของเขาจะหิว….. “ท่านใดที่มีแกะร้อยตัว ตัวหนึ่งหายไป จะไม่ละแกะเก้าสิบเก้าตัวไว้ ในถิ่นทุรกันดาร ออกไปตามหาแกะที่หายไปจนพบหรือ เมื่อพบแล้ว เขาจะยกมันใส่บ่าด้วยความยินดี กลับบ้านเรียกมิตรสหายและ เพื่ อ นบ้ า นมา พู ด ว่ า “จงร่ ว มยิ น ดี กั บ ฉั น เถิ ด ฉั น พบแกะตั ว ที่หายไปนั้นแล้ว” (ลก.15:4-6)
July-August 2019
43
พระพรที่ได้รับ
หายจากโรคไต ลูกได้ป่วยเป็นโรคไต หลังจากที่ได้ไปหาหมอเพื่อท�ำการรักษา คุณ หมอได้แจ้งว่าลูกจะต้องฟอกไตในอีก 2 เดือนข้างหน้า ลูกได้ภาวนาวิงวอน ขอแม่พระองค์อุปถัมภ์ให้ช่วยลูกพบหนทางในการรักษา แม่พระได้ฟัง ค�ำภาวนาของลูกและช่วยลูกให้พบช่องทางการรักษาจนท�ำให้ลูกหายจาก โรคนี้และไม่ต้องฟอกไต ลูกจึงขอเทิดเกียรติแม่พระองค์อุปถัมภ์ผ่านทาง นิตยสารดอนบอสโก มารีอา มาณี ช้อยเครือ ความช่วยเหลือจากเบื้องบนที่หอพักเอาซีลีอุม ข้าพเจ้าเป็นช่างรับเหมาก่อสร้าง ซึ่งซิสเตอร์ได้เรียกมาเพื่อซ่อมหลังคา บนตึกชั้น 5 ของบ้านพักซิสเตอร์ เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2019 เพราะ กระเบื้องเก่าและช�ำรุดอย่างมาก ในขณะที่ข้าพเจ้าก�ำลังอธิบายงานให้กับ ช่างผูช้ ว่ ยอยูบ่ นหลังคา ข้าพเจ้าได้เผลอก้าวถอยหลังไปเหยียบกระเบือ้ งทีเ่ ก่า และผุมาก ข้าพเจ้าเสียหลักหงายหลังล้มไปทัง้ ตัว เหตุการณ์ทกุ อย่างเกิดขึน้ เร็วมาก วินาทีนนั้ ข้าพเจ้าคิดว่าข้าพเจ้าคงต้องร่วงหล่นไปทีพ่ นื้ ข้างล่างอย่าง แน่นอน แต่เหมือนเวลาได้หยุดนิง่ ตัวข้าพเจ้าได้คา้ งอยูบ่ นหลังคาเก่าๆ ผุๆ ที่ก�ำลังจะแตกและพร้อมที่จะร่วงลงไปข้างล่างได้ตลอดเวลา ข้าพเจ้ารู้สึก เหมือนมีพลังบางอย่างดันหลังข้าพเจ้าไว้ไม่ให้ร่วงหล่นลงไป ซึ่งในความ เป็นจริงแล้ว หลังคากระเบื้องนั้นไม่สามารถรับน�้ำหนักของข้าพเจ้าได้ แต่ ข้าพเจ้ากลับยังค้างอยู่ได้โดยไม่ร่วงหล่นลงไปทั้งๆ ที่ไม่มีอะไรให้ยึดเกาะ แล้วนั้นช่างผู้ช่วยได้ยื่นมือมาดึงข้าพเจ้าขึ้นมา ข้าพเจ้าได้ส�ำรวจตัวเอง ปรากฎว่ามีรอยแผลถลอกเพียงเล็กน้อยทีแ่ ขนและหลัง ส่วนทีข่ อ้ ศอกมีแผล ค่อนข้างใหญ่ ซิสเตอร์ได้ชว่ ยปฐมพยาบาลให้ขา้ พเจ้าในเบือ้ งต้น แล้วจึงไป ตรวจที่โรงพยาบาล ข้าพเจ้ารู้ในทันทีว่า นี่คือการช่วยเหลือจากเบื้องบน และเป็นแม่พระองค์อปุ ถัมภ์ทที่ รงช่วยข้าพเจ้าไว้อย่างแน่นอน ข้าพเจ้าจึงขอ โมทนาคุณแม่พระผ่านทางนิตยสารดอนบอสโกมา ณ โอกาสนี้ด้วย นายอธิปัตย์ ผู้รับเหมาก่อสร้าง
“หากปราศจากพวกท่านแล้ว เราไม่สามารถท�ำอะไรได้เลย” ค�ำปราศรัยของคุณพ่อบอสโกถึงผู้มีพระคุณ “หากปราศจากความช่วยเหลือของพวกท่านแล้ว พ่อคงท�ำกิจการต่างๆ ได้เพียงเล็กน้อย หรืออาจท�ำอะไรไม่ได้เลย แต่ด้วยความช่วยเหลือของพวกท่าน เราสามารถร่วมมือกับ พระหรรษทานของพระเจ้าเพื่อช่วยซับน�้ำตาให้กับหลายชีวิต และช่วยวิญญาณให้รอดได้มากมาย”
บ�ำรุงการพิมพ์ ดุษฎี นันทวิจิตร์ สุเวทย์ ธีรวชิรกุล รินทร์ลภัส อัครเฉลิมศรี โชคชัย อัตตกิจกุล สุธี-สุธิดา ศรีดารุณศิลป์ มณีวรรณ กิจบ�ำรุง ณัฐกฤช ศิวะศรี สุเทพ สุรชวาลา ทักษพร โชควิจิตรกุล สุดารัตน์ วิวัฒนพูนผล ไพฑูรย์-ลูซีอา สุริยมงคล รัฐภูมิ พงศกรพุทธิกุล กิมล้วน แซ่ลี้ มาลี แซ่ปึง ศิธร วีรวัฒน์ปรัญญา อรนงค์ ซื่อเพียรธรรม ครอบครัวจรูญเศรษฐวัฒนา วิภา นิติรักษ์ สุรัตน์ ศิริรัตนกูล สุพจน์ ดีสุดจิตร ยุพิน สงวนวงศ์ จรัญ บุญทัน กีรติ บุญเจือ วรวรัฏฐ์ ปริติวิชวานต์ วิภาดา บริวัตรวสุนันท์ เก็จมุก กุลชน สิวลี ศิริไล สุวิทย์ ธีรวชิรกุล สุจนา วัฒนวิทย์ วารุณี จันทรานุวัฒน์ ธรรมรส วงศ์ชนนันท์ ประคัลภ์-ไพรศรี-ศิราภา อุดมอักษร อัจจิมา นาทะสิริ สุภาพ กุโลทัยพิภพ เซี่ยมเค้ง แซ่จิว นิพนธ์,ฐิติพร,ภูริดา เปี่ยมเมตตาวัฒน์ วรรณนภา ศานติวศิน ประกายรัตน์ พิทักษ์นิตินันท์ ดรุณี กลีบบัว สุพิณดา ช้อยเครือ พัชรา นากาโน ไม่ประสงค์ออกนาม 9 คน
(หากท่ า นประสงค์ ที่ จ ะโมทนาคุ ณ แม่ พ ระและผู ้ ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ ซ าเลเซี ย นส� ำ หรั บ พระพรที่ ไ ด้ รั บ ลงใน นิตยสารดอนบอสโก โปรดส่งข้อความมายัง Email: sdbsocomthai@gmail.com)
สนใจสมัครสมาชิกได้ที่
44
ธารน�้ำใจ
แผนกสื่อมวลชนซาเลเซียน 32 ถ.กรุงเทพกรีฑา หัวหมาก
ท่านสามารถร่วมสนับสนุนการพิมพ์นิตยสารดอนบอสโกได้ที่
(หากท่านเปลี่ยนชื่อและที่อยู่ผู้รับ กรุณาแจ้งให้ทางนิตยสารทราบ)
(ส่งเงินแล้วโปรดแจ้งรายละเอียดให้แผนกสื่อมวลชนซาเลเซียนทราบด้วย)
บางกะปิ กรุงเทพฯ 10240 Tel: 02-7317100 Email: sdbsocomthai@gmail.com อ่านนิตยสารออนไลน์
ทุกวันที่ 24 ของทุกเดือนจะมีการถวายมิสซา แก่สมาชิกนิตยสาร รวมทั้งผู้มีอุปการะคุณต่อนิตยสาร
บัญชี กองทุนนิตยสารดอนบอสโก ธนาคารธนชาต สาขาโรงพยาบาลรามค�ำแหง เลขที่บัญชี 096 - 6 - 11569 - 2
db Bulletin