นิตยสารดอนบอสโก-Mar-Apr 2019 (Thai Salesian Bulletin)

Page 1

March-April 2019

01


EDITOR’s NOTE

นิตยสารดอนบอสโก นิตยสารซาเลเซียน (Salesian Bulletin) คือสิง่ พิมพ์ ที่เป็นทางการของคณะซาเลเซียนซึ่งคุณพ่อบอสโก ได้เป็นผู้ริเริ่มไว้เมื่อเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1877 นิตยสารนี้ได้รับการตีพิมพ์อย่างดีเรื่อยมาเพื่อเผย แพร่งานด้านการจัดการศึกษาอบรมของคุณพ่อ บอสโกไปทั่วโลก ปัจจุบันนิตยสารซาเลเซียนได้ ถูกตีพิมพ์ในรูปแบบที่แตกต่างกันไปจ�านวนทั้งสิ้น 57 ฉบับ 29 ภาษาและถูกเผยแพร่ใน 131 ประเทศ ทั่วโลก นิตยสารดอนบอสโกของประเทศไทยคือ หนึ่งในจ�านวนนี้ด้วย เจ้าของผู้พิมพ์ คุณพ่อเทพรัตน์ ปิติสันต์ ที่ปรึกษา พระสังฆราชโยเซฟ ประธาน ศรีดารุณศีล บรรณาธิการบริหาร sdbsocomthai@gmail.com กองบรรณาธิการ ซ.วิรินทิพย์ อินทร์แย้ม, ซ.ระวิวรรณ บวกหาร ซ.ธิดาเพ็ญ จรัสศรี, ซ.ลัดดา รัชนีลัดดาจิต คุณพ่ออนุสิทธิ์ จันทร์เพ็ญ, คุณธัญญา ศิโรรัตน์ธัญโชค แผนกการเงิน บ.วรวุฒิ จิรสุจริตธรรม ส�านักงานนิตยสารดอนบอสโก 32 ถ.กรุงเทพกรีฑา แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ 10240 โทร 0-2731-7100 E-mail : thaisdbbulletin@gmail.com พิมพ์ที่ วิทยาลัยเทคโนโลยีดอนบอสโกกรุงเทพ โทร. 0-2652-9625 ถึง 30 จัดพิมพ์โดย แผนกสื่อมวลชนซาเลเซียน E-mail : sdbsocomthai@gmail.com

เดือนมีนาคมและเมษายนเป็นเดือนที่ท่านผู้อ่านหลายท่านคงมีโอกาส ได้ไปหลบลมร้อนในที่ต่างๆ บ้าง บางคนอาจโชคดีได้ไปไกลๆ ยังต่างแดน แต่บางคนอาจจะไม่ได้ไปไหน พักอยู่กับบ้าน หลายคนทีเดียวที่ในช่วงนี้ กลับต้องท�างานหนักกว่าเดิม เพราะเด็กๆ ลูกๆ หลานๆ ปิดเรียนก็ต้อง ดูแลพวกเขา แต่กเ็ ป็นความสุขอีกรูปแบบหนึง่ ความสุขนัน้ คงไม่ได้หมายถึง การไม่ต้องล�าบาก ความสบายต่างหากหมายถึงความไม่ต้องล�าบาก แต่ถ้า จะถามว่า จริงไหมทีค่ วามสุขอยูใ่ นการทีเ่ ราไม่ตอ้ งล�าบาก? หากจะตอบแบบ ไม่ต้องคิดมากก็น่าจะตอบว่า “ใช่” แต่ถ้ามีเวลาคิดนิดหนึ่งก็ดูเหมือนว่า ไม่จริงเสมอไป ความสุขไม่ได้อยู่ที่ความสะดวกสบาย มีหลายคนที่สละ ความสบาย ยอมล�าบากเพื่อจะมีความสุขและเป็นความสุขที่แท้จริง กี่ครั้ง กี่หนที่เราท�างานหนัก เหนื่อย แต่เราก็มีความสุข ในความยากล�าบากทั้ง หลายเมื่อเราท�าเพื่อคนอื่น โดยเฉพาะเพื่อคนที่เรารักแล้ว เราพร้อมเสมอ เพราะในการท�าเช่นนั้นเรามีความสุข สุขในการให้ พ่อบอสโกเองล�าบากตลอดชีวติ ของท่านทัง้ นีเ้ พือ่ ท�างานส�าหรับเยาวชน ที่ยากจนและถูกทอดทิ้ง ท่านจึงกล่าวว่า “เพียงเห็นว่าเธอเป็นเยาวชน พ่อก็รักเธอแล้ว” ชีวิตของท่านล�าบากเท่าไร ทรมานทั้งกายและใจเท่าไร เรารู้ประวัติของท่านดี ความรักจึงเป็นเรื่องส�าคัญในการกระท�าของชีวิตเรา ความรักจะเปลีย่ นแปลงชีวติ ของเรา ทีส่ า� คัญ ความรักเปลีย่ นวิธมี อง ทัศนคติ และมุมมอง อีกทั้งการตีความในเหตุการณ์ต่างๆ ในชีวิตของเราด้วย คนทีท่ า� และเห็นการกระท�าต่างๆ ด้วยสายตาของความรักจะมีความสุขเสมอ แม้ในความเหน็ดเหนือ่ ยและเจ็บปวดก็ตาม แล้วก็อย่าลืมว่าคนทีร่ กั เรามาก ที่สุดคือ “พระเจ้า” บรรณาธิการ

วัตถุประสงค์ 1. เผยแพร่จิตตารมณ์และกิจการซาเลเซียนโดยเฉพาะอย่างยิ่งงานธรรมทูต การศึกษาอบรม งานอภิบาลเยาวชน การส่งเสริมและปลูกฝังกระแสเรียก 2. กระชับสายสัมพันธ์และความเป็นหนึ่งเดียวกันในระหว่างกลุ่มต่างๆ ของครอบครัวซาเลเซียน 3. เผยแพร่ความรักและความศรัทธาต่อพระเยซูเจ้าและแม่พระ

2

db Bulletin


CONTENTs

dbBULLETIN MARCH-APRIL 2019

8

ภาพจากปก

“สมาชิกคณะแม่พระองค์อุปถัมภ์ (ADMA)” ประเทศไทย ครบรอบ 150 ปี ของการก่อตั้งคณะ (1869-2019) โดยคุณพ่อบอสโก ที่วัลด๊อกโก กรุงตุริน ประเทศอิตาลี เมื่อวันที่ 18 เมษายน 1869 ส�าหรับในประเทศไทย คณะดังกล่าวมีศูนย์กลางอยู่ที่ วัดแม่พระองค์อุปถัมภ์ ถ.กรุงเทพกรีฑา กทม.

02 EDITOR’s NOTE 04 เรื่องเล่าจากสิง่ รอบตัวของพ่อบอสโก ข้อความพระคัมภีร์บนผนังก�าแพง

05 เสียงเยาวชน

10

“รู้สึกอย่างไรกับการรับศีลอภัยบาป?” 08 ครบรอบ 150 ปี ของคณะแม่พระองค์อุปถัมภ์ (ADMA) 10 หนึ่งศตวรรษแห่งพระพร คุณแม่อาคาทา ลัดดา สัตย์วินิจ SIHM 16 One Moment in Time

17 LOCAL NEWs

26 32

March-April 2019

Near…Far…wherever you are

40

20 22 24

บทความ “พ่อ” ข้ารับใช้พระเจ้า คุณพ่อการ์โล เดลลา โตร์เร เพื่อนนักอบรม เตี่ยกับเสี่ยความท้าทายของพ่อแม่นักอบรม แก่นซาเลเซียน ถึงแก่น ๔ 26 ครอบครัวซาเลเซียนตามล�าน�้า 350 ปี มิสซังสยาม ที่นี่สถานีราชบุรี 29 ส่องโลกซาเลเซียน 32 LECTIO DIVINA การถวายพระกุมารในพระวิหาร 36 กล้ากระแสเรียก ก้าวเดินไปพร้อมกัน 38 บทความ การเป็นผู้ที่มีจิตใจยากจน....นี่คือความศักดิ์สิทธิ์ 40 ครอบครัวซาเลเซียน ความสุขของสมาชิก คณะแม่พระองค์อุปถัมภ์ (ADMA) ดร.อาเดลีนา บุญสม น�้าสมบูรณ์ 42 ผู้ศักดิ์สิทธิ์ซาเลเซียน บุญราศีเซเฟริโน นามูนกูรา 43 เรื่องมีอยู่ว่า ซาลาเปาสื่อรัก

3


เรื่องเล่าจากสิ่งรอบตัวของพ่อบอสโก เรื่อง : Jose J.GoMEZ PALACIOS แปล : Anna

ข้อควำมพระคัมภีร์ บนผนังก�ำแพง

พวกเราคื อ ข้ อ ความพระคั ม ภี ร ์ ที่ เขียนติดไว้เหนือประตูเล็กๆ ทีว่ ลั ด๊อกโก พวกเรายังคงอยู่ที่นี่แม้ว่าเวลาจะผ่าน ไปกว่า 160 ปีแล้วก็ตาม ปัจจุบันนี้มี น้อยคนนักที่จะมองดูพวกเรา คุณพ่อบอสโกได้สร้างระเบียงกว้าง หน้าบ้านใหม่ของท่าน เพื่อให้บรรดา เด็ ก ๆ มี พื้ น ที่ ใ นการเล่ น แม้ ใ นช่ ว ง ที่ อ ากาศไม่ ดี และในเวลาเดี ย วกั น ระเบียงดังกล่าวนี้ก็ใช้เพื่อให้เด็กๆ ได้ ส�ารวมตัวก่อนที่จะเข้าห้องเรียน สวด ภาวนาและเข้านอน แม้ว่าระเบียงจะ มีเพดานไม่สูงมากนักแต่ก็ดูสง่างาม ตามสไตล์ของยุคนั้น เสาทั้ง 11 ต้นใน ระเบียงคือสถานทีท่ พี่ วกเราถือก�าเนิดมา คุณพ่อบอสโกได้ขอให้นายเอ็นเรีย เขียนพวกเราอย่างสวยงามที่เสาแต่ละ ต้น ทุกๆ ค�า่ คุณพ่อบอสโกจะให้โอวาท “ราตรีสวัสดิ์” แก่บรรดาเยาวชน ซึ่ง คุณพ่อมักจะอธิบาย ความหมายของ พวกเราให้กับเยาวชนฟัง รวมทั้งกับ บรรดาแขกและบุคคลที่เดินผ่านประตู ด้ ว ย คุ ณ พ่ อ บอสโกกล่ า วว่ า “เมื่ อ บรรดาเยาวชนรวมทั้งบุคคลที่เข้ามา ท�าธุระในศูนย์เยาวชนเดินผ่านมาที่ 4

ประวัติความเป็นมา

คุณพ่อบอสโกสร้างระเบียงหน้าบ้านและได้ฉาบปูนสีขาว ท่านได้ให้ นายเปโตร เอ็นเรีย เขียนข้อความพระคัมภีร์ตัวใหญ่ที่ผนังก�าแพงและ ที่เสาของระเบียง ท่านปรารถนาให้ข้อความเหล่านี้เตือนใจผู้อ่านและให้ สนใจด้านฝ่ายจิต ข้อความดังกล่าวเขียนเป็นภาษาลาตินและมีค�าแปล เป็นภาษาอิตาเลี่ยนอยู่ด้านล่าง ประตูและทีร่ ะเบียงนี ้ เพือ่ มารอหรือเพือ่ มาเยีย่ มชมสถานที ่ พวกเขาจะได้อา่ น ข้อความที่ติดอยู่บริเวณนี้ แม้ว่าจะเป็นการอ่านเพราะความอยากรู้อยากเห็น หรืออ่านเพื่อฆ่าเวลา ค�าเหล่านี้ก็จะสัมผัสใจและช่วยให้เกิดผลดีกับชีวิตของ พวกเขา” นอกจากที่ระเบียงของศูนย์เยาวชนแล้ว บนผนังของบ้านปินาร์ดีหลังใหม่ ก็มีข้อความเกี่ยวกับการแก้บาปด้วย มันคือแกลเลอรีแห่งพระเมตตาของ พระเจ้าซึ่งมีค�าจารึกพระบัญญัติสิบประการ โดยเริ่มจากบัญญัติข้อแรกที่เขียน เป็นภาษาลาตินว่า “Dominum Deum tuum adorabis ei illi soli servies” แปลว่า “ท่านจงนมัสการพระเจ้าของท่านและรับใช้พระองค์เพียงผู้เดียว” หมายความว่าพระเจ้าทรงเป็นทุกสิ่งส�าหรับเราและเรามีชีวิตอยู่เพื่อพระเจ้า นี่ คือสิ่งที่คุณพ่อบอสโกได้ท�าเพื่อเยาวชนของท่าน คุณพ่อบอสโกมีความภูมใิ จในตัวพวกเรา ฉันเชือ่ ว่าถ้าเป็นไปได้คณ ุ พ่อคงจะ เขียนข้อความพระคัมภีรท์ งั้ เล่มลงบนก�าแพงนีเ้ ป็นแน่ ปัจจุบนั นีข้ อ้ ความพระคัมภีร์ ส่วนใหญ่ได้ถูกลบไปแล้ว ส�าหรับคุณพ่อบอสโกข้อความเหล่านี้เป็นค�าพูดที่มี ชีวิต คุณพ่อมีความสุขเมื่อเห็นเยาวชนมองพวกเราบนผนังก�าแพงและถามถึง ความหมายของเรา คุณพ่อบอสโกรักพระคัมภีรแ์ ละต้องการให้บรรดาเยาวชน น�าพระวาจาของพระเจ้าทีต่ ดิ อยูบ่ นผนังก�าแพงไปสูก่ ารปฏิบตั แิ ละจารึกไว้ในใจ ของพวกเขาตลอดไป db Bulletin


เสียงเยาวชน

dbBulletin

By Andy

เสียงเยาวชน คุณเคยคิดหรือไม่ว่า ท�าไมต้องไปแก้บาป? เพราะเมื่อแก้บาปแล้วก็กลับมาท�าบาปอีกอยู่ดี อย่างไรเสียพระเจ้าก็คงจะยกบาปซ�้าซากเดิมๆ ให้แก่เราเช่นเคย หรือที่หนักกว่าก็คือ บางคนบอกว่าตนเองไม่มีบาปอะไรเลย ลองมาฟังความคิดเห็นของเยาวชนกันว่า

“รู้สึกอย่ำงไรกับกำรรับศีลอภัยบำป?” โอ๊ค - อธิวัฒน์ เจริญพงษ์ อายุ 17 ปี ส�าหรับผม การรับศีลอภัยบาปเป็นเรื่องจ�าเป็น เวลาที่ผมไปแก้บาปผมรู้สึก เหมือนกับลูกไปขอโทษพ่อในสิ่งที่ผมท�าผิดพลาดไป โดยปกติผมจะไปแก้บาป เดือนละครั้ง อาจมีบางเดือนที่ผมไม่ได้ไป เมื่อผมไปขอโทษต่อพระเจ้าเเล้ว ก็ รู้สึกสบายใจขึ้น เวลาเดียวกันก็ได้ฟังค�าเเนะน�าดีๆ จากคุณพ่อให้หลีกเลี่ยง การท�าบาป ให้ท�าความดี ช่วยเหลือผู้อื่น ผมคิดว่าการไปแก้บาปบ่อยๆ ช่วย ท�าให้รสู้ กึ ละอายต่อการท�าบาปมากขึน้ เเต่ถา้ หากเรายังคงท�าตัวเหมือนเดิม ท�า พฤติกรรมเดิมๆ ไม่คิดเปลี่ยนแปลงชีวิต การเเก้บาปก็คงไม่มีความหมายอะไร เราต้องมีความเชื่อในศีลอภัยบาป

March-April 2019

5


เสียงเยาวชน

ชัมมี่ - ชาริษมา สมบูรณ์เจริญศรี อายุ 27 ปี หนูคิดว่าการหมั่นไปรับศีลอภัยบาป เป็นหน้าที่และความรับผิดชอบของเรา แต่ละคน เพราะบาปเป็นบาปของเรา และหนูคดิ ว่าการรับศีลอภัยบาปไม่นา่ กลัว เท่ากับการท�าบาป ไม่ว่าจะเป็นบาปที่เราท�าโดยตั้งใจและไม่ตั้งใจก็ตาม ในสมัย ตอนเป็นเด็ก หนูเองก็รสู้ ึกกลัวทุกครั้งที่ตอ้ งไปสารภาพบาป กลัวว่าจะโดนต่อว่า แต่เมือ่ สารภาพบาปแล้ว ก็ไม่ได้โดนต่อว่าแต่อย่างใด การรับศีลอภัยบาปช่วยหนู ให้เริม่ ต้นปรับปรุงตัวเองให้มจี ติ ใจทีเ่ ข้มแข็ง เกรงกลัวต่อการท�าบาป ช่วยเตือนสติ ให้หนูหมั่นท�าความดีกับคนรอบข้าง ไม่เบียดเบียนกัน และซื่อสัตย์ต่อตนเอง ทีส่ า� คัญการไปสารภาพบาปท�าให้หนูสา� นึกถึงความรักของพระเจ้าและท�าให้พบ กับสันติในจิตใจค่ะ

เพื่อน - ทีปกร อินทร์กรด อายุ 17 ปี ส�าหรับผมแล้ว ศีลอภัยบาปคือศีลที่ช่วยให้ผมคืนดีกับพระเจ้าและเป็นการ เตรียมตัวตาย โดยพร้อมที่จะกลับไปหาพระเจ้าและสวมเสื้อขาวยืนต่อหน้า พระองค์ได้อย่างไม่ต้องอายเลยถ้าวันนั้นมาถึง โดยส่วนตัวแล้วผมรู้สึกอายเวลา ที่มีคนมาบอกให้ไปแก้บาป และบางครั้งก็เจอคุณพ่อดุในที่แก้บาป ท�าให้ตัวเอง ก็ไม่กล้าที่จะไปแก้บาปในครั้งต่อไป

อันนา เชื้อประมง อายุ 24 ปี เคยมีเพื่อนต่างศาสนาถามหนูว่า ศีลอภัยบาปคืออะไร? ถ้ามีศีลอภัยบาป แบบนี้เราก็สามารถท�าบาปได้เรื่อยๆ สิ เพราะแก้บาปแล้วบาปก็หายไป ใน ความรู้สึกของหนู หนูว่ามันไม่ใช่แบบนั้น เมื่อท�าบาป หนูจะรู้สึกผิด และเมื่อไป แก้บาปแล้ว ก็ต้องมีความพยายามที่จะไม่ท�าบาปนั้นอีก ยิ่งถ้าแก้บาปแล้ว ยัง กลับท�าบาปซ�้าเรื่อยๆ มันยิ่งท�าให้รู้สึกผิดหนักมากขึ้นกว่าเดิม และนี่คือค�าตอบ ทีห่ นูได้ให้กบั เพือ่ นไป สมัยทีห่ นูยงั เป็นเด็ก หนูรสู้ กึ หวัน่ ใจทุกครัง้ ทีต่ อ้ งไปแก้บาป เพราะกลัวว่าคุณพ่อที่ฟังแก้บาปจะดุเอา แต่หนูก็ไม่เคยเจอคุณพ่อดุเลยสักครั้ง คุณพ่อจะสอนว่าพระเจ้าพร้อมที่จะให้อภัยเสมอ ขอให้เรารู้สึกเสียใจและตั้งใจ ที่จะไม่ท�าบาปอีก หลังจากนั้นหนูก็ไม่กลัวการไปแก้บาปอีกเลย 6

db Bulletin


dbBulletin ลัคกี้ - ศุภโชค ชัยเจริญ อายุ 16 ปี ผมพยายามไปแก้บาปและรับศีลมหาสนิทบ่อยๆ เพราะเคยได้สัญญาเอาไว้ เมื่อตอนรับศีลมหาสนิทครั้งแรก เมื่อผมไปแก้บาปผมจะรู้สึกโล่งใจ เหมือนได้ ปลดปล่อยความทุกข์ที่มีอยู่ภายในใจออกมา ที่ส�าคัญพระสงฆ์จะให้ค�าแนะน�าที่ มีประโยชน์มากๆ ซึ่งท�าให้ผมพบกับค�าตอบของปัญหานั้นๆ ได้เป็นอย่างดี

มายด์ - กุลธิดา ฮวดหลี อายุ 17 ปี เมือ่ หนูไปแก้บาปหนูรสู้ กึ ว่าสบายใจขึน้ ช่วยให้ความกังวลของหนูลดลง หนูเคยมีประสบการณ์ก่อนการแก้บาปที่ค่อนข้างสับสน เพราะบางครั้ง หนูคดิ ค�าพูดไม่ออก พอเข้าไปแก้บาปก็ตนื่ เต้น บางครัง้ ก็ไม่ได้ยนิ เสียง ของพระสงฆ์ บางทีกฟ็ งั ค�าพูดบางค�าได้ไม่ชดั และส�าเนียงของพระสงฆ์ไม่ ชัดเจนบ้าง ยิ่งเวลาที่มีคนมารอแก้บาปเยอะๆ หนูก็กลัวว่าคนอื่นจะ ได้ยินบาปที่สารภาพออกไปหรือไม่

REPORT จากข้อมูลการวิจัยเชิงส�ารวจเพื่อศึกษาการด�าเนินชีวิต ของเยาวชนคาทอลิก อายุระหว่าง 16-20 ปี จ�านวน 466 คน โดยสุม่ แบบเจาะจง จากสถานศึกษาทัง้ ในกรุงเทพฯ และ ต่างจังหวัด ต่อประเด็นค�าถามข้อหนึง่ ทีว่ า่ “รูส้ กึ อย่างไรกับ การรับศีลอภัยบาป?” เยาวชนไทยร้อยละ 20.84 ตอบว่า เมื่อรับศีลอภัยบาป แล้วท�าให้รสู้ กึ ดีขนึ้ สบายใจขึน้ มีความสุขใจและท�าให้จติ ใจ ปลอดโปร่ง March-April 2019

ส่วนค�าตอบทีเ่ หลือล้วนแต่เป็นไปในเชิงบวก เช่น ท�าให้ รู้ส�านึกว่าตนเป็นคนผิดพลาดและท�าให้ปรับปรุงตนเอง ใหม่ รวมแล้วคิดเป็นร้อยละ 42.18 แสดงว่าเยาวชนมีความ เข้าใจในเรื่องของศีลอภัยบาปพอสมควรและเห็นคุณค่าของ พิธีกรรมนี้ แม้ตัวเลขจะไม่สูงนักก็ตาม ทีม่ า: วรสารวิชาการวิทยาลัยแสงธรรม (พ่อวัชศิลป์ หน้า 70) ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 กรกฏาคม-ธันวาคม 2009 /2552 7


ครบรอบ 150 ปี ของคณะแม่พระองค์อุปถัมภ์ (ADMA) โดย คุณพ่อฟรังซิส ไกส์ ซดบ.

ครบรอบ 150 ป คณะแม่พระองค์อุปถัมภ์ (ADMA) “คณะแม่พระองค์อุปถัมภ์” ดังที่เราเรียกกันในภาษาไทยนี้ หรือตามชื่อใน ภาษาอิตาเลียนคือ “คณะพระนางมารีย์องค์อุปถัมภ์” (Associazione di Maria Ausiliatrice) มีต้นก�าเนิดเชื่อมโยงโดยตรงกับพระวิหารแม่พระองค์อุปถัมภ์ ที่ คุณพ่อบอสโกสร้างและเจิมถวายแด่พระเจ้าในเมืองตุรินเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน ค.ศ. 1868 คุณพ่อมีพรสวรรค์ยอดเยี่ยมจัดการทุกอย่างไว้เป็นระบบ จึงไม่ยอม ให้คารวกิจต่อพระนางมารีย์องค์อุปถัมภ์ของคริสตชนเป็นเพียงกิจกรรมที่ท�า ด้วยความสมัครใจเท่านั้น แต่ได้จัดตั้ง “คณะผู้เลื่อมใสศรัทธาต่อพระนางมารีย์ องค์อุปถัมภ์” เป็นกลุ่มที่สองที่คุณพ่อได้แต่งตั้งอย่างเป็นทางการตามกฎหมาย ของพระศาสนจักร และได้รับการรับรองจากพระสังฆราชแห่งเมืองตุรินในวันที่ 18 เมษายน ค.ศ. 1869 เพือ่ “ส่งเสริมการเคารพพระเยซูเจ้าในศีลมหาสนิทและ เผยแผ่ความเลื่อมใสศรัทธาต่อพระนางมารีย์องค์อุปถัมภ์ของคริสตชน” ต่อมา วันที่ 5 เมษายน ค.ศ.1870 สมเด็จพระสันตะปาปาบุญราศีปีโอ ที่ 9 ทรงรับรองคณะเป็นทางการโดยสมณลิขิตสั้นๆ ประทานพระคุณการุณย์เพิ่ม เติมแก่สมาชิก และทรงมอบสิทธิให้คณะแม่พระองค์อปุ ถัมภ์แห่งแรกทีว่ ลั ด๊อกโก เมืองตุรนิ ประสานสัมพันธ์กบั คณะแม่พระองค์อปุ ถัมภ์อนื่ ๆ ทีจ่ ะเกิดขึน้ ใหม่ทวั่ โลก โดยมีชื่อและจุดประสงค์เดียวกัน ในปี ค.ศ. 1988 โอกาสครบรอบหนึ่งร้อยปีแห่งมรณภาพของคุณพ่อบอสโก คณะนี้ได้เปลี่ยนชื่อทางการจาก “คณะผู้เลื่อมใสศรัทธาต่อพระนางมารีย์องค์ อุปถัมภ์” เป็น “คณะพระนางมารีย์องค์อุปถัมภ์” (ADMA) ซึ่งได้รับการรับรอง จากการประชุมสมัชชาใหญ่ของคณะซาเลเซียน ครั้งที่ 24 (1996) ใจความว่า “คุณพ่อบอสโกได้ให้ก�าเนิดคณะผู้เลื่อมใสศรัทธาต่อพระนางมารีย์องค์อุปถัมภ์ เพื่อให้มีส่วนร่วมในจิตตารมณ์และภารกิจของคณะซาเลเซียน โดยมุ่งมั่นปฏิบัติ 8

db Bulletin


dbBulletin

กิจศรัทธาที่คริสตชนทั่วๆ ไปท�าได้ ในที่สุด วันที่ 5 มกราคม ค.ศ.1989 คุ ณ พ่ อ อั ค ราธิ ก ารพร้ อ มกั บ คณะที่ ปรึกษาของคณะซาเลเซียนได้รับรอง อย่างเป็นการทางว่า คณะแม่พระองค์ อุปถัมภ์เป็นสมาชิกกลุ่มหนึ่งในครอบ ครัวซาเลเซียน สมาชิ ก ของคณะนี้ ม อบตนไว้ ใ น ความคุ้มครองของพระนางมารีย์ โดย มุ่งมั่นปฏิบัติภารกิจดังต่อไปนี้ 1. ตามเจตนารมณ์ของ พระศาสนจักรทีพ่ ระนางมารียท์ รงเป็น รูปแบบและภาพลักษณ์ สมาชิกจะ ให้ความส�าคัญเป็นพิเศษในการร่วม พิธกี รรม โดยเฉพาะอย่างยิง่ ศีลมหาสนิท และศีลอภัยบาป 2. สมาชิกจะมีความเลือ่ มใสศรัทธา ต่ อ พระนางมารี ย ์ อ งค์ อุ ป ถั ม ภ์ ต าม จิ ต ตารมณ์ ข องคุ ณ พ่ อ บอสโก ให้ สอดคล้องกับการฟื้นฟูความศรัทธานี้ ในครอบครัวซาเลเซียน 3. สมาชิกจะฟื้นฟู ปรับปรุงและ ปฏิบตั กิ จิ ศรัทธาทีส่ ตั บุรษุ นิยมท�า เช่น การสวดสายประค�า การระลึกถึงแม่พระ องค์อปุ ถัมภ์ทกุ วันที ่ 24 ของเดือน การ ท�านพวารเตรียมสมโภชแม่พระองค์อุปถัมภ์ ฯลฯ 4. สมาชิ ก จะอธิ ษ ฐานภาวนา ส�าหรับกระแสเรียกในพระศาสนจักร ทั้ ง กระแสเรี ย กการเป็ น ฆราวาส นั ก บวชชายหญิ ง พระสงฆ์ แ ละจะ ส่ ง เสริ ม กระแสเรี ย กในครอบครั ว ซาเลเซียนตามความสามารถของตน 5. สมาชิกจะปฏิบตั ติ ามพระฉบับของ March-April 2019

พระนางมารีย์ โดยสร้างบรรยากาศ แบบคริสตชนที่เปิดใจรับผู้อื่นเข้ามา ในครอบครั ว ของตน และโดยการ อธิษฐานภาวนารวมทั้งปฏิบัติกิจการ ต่ า งๆ เพื่ อ เอาใจใส่ ดู แ ลเยาวชนที่ ยากจนและถูกทอดทิ้ง 6. สมาชิกจะด�าเนินชีวิตประจ�าวัน โดยมี ท ่ า ที ต ามแนวทางพระวรสาร เฉพาะอย่างยิ่ง ด้วยการขอบพระคุณ พระเจ้าส�าหรับสิง่ มหัศจรรย์ทพี่ ระองค์ กระท�าอย่างต่อเนื่อง และด้วยความ จงรักภักดีต่อพระองค์แม้ในเวลาแห่ง ความยากล� า บากและทุ ก ข์ ท รมาน ตามฉบับของพระนางมารีย์” ปีนี้เป็นโอกาสพิเศษส�าหรับคณะ แม่พระองค์อุปถัมภ์ (ADMA) เพราะ มีเหตุการณ์ใหญ่ 2 ประการคือ วันที่ 18 เมษายน ค.ศ. 2019 เป็นวันฉลอง ครบรอบ 150 ปี ของการสถาปนา คณะ ฯ และในวันที ่ 7-10 พฤศจิกายน ค.ศ. 2019 จะมีการประชุมนานาชาติ ครั้งที่ 8 ที่กรุงบัวโนสไอเรส ประเทศ อาร์เจนตินา ในหัวข้อเรื่อง “พร้อม

กับพระนางมารีย์ สตรีผู้มีความเชื่อ” ในการเตรียมประชุมนี้ สมาชิกทุกคน ควรจับตามองพระนางมารีย ์ และยอม ให้พระนางทรงน�าทางเราเพื่อด�าเนิน ชีวิตด้วยความเชื่อในฐานะประชากร ของพระเจ้า โดยฟื้นฟูจุดประสงค์ที่ เป็นแรงบันดาลใจของคุณพ่อบอสโก ในการตั้งคณะฯ ขอบคุณพระมารดา ส�าหรับพระพรที่ได้รับ และมีความ กระตือรือร้นที่จะช่วยผู้อื่นให้มีส่วน ร่วมในความเชื่อและความศักดิ์สิทธิ์

9


หนึ่งศตวรรษแห่งพระพร คุณแม่อาคาทา ลัดดา สัตย์วินิจ SIHM

โดย Marina

หนึ่งศตวรรษแห่งพระพร คุณแม่อาคาทา ลัดดา สัตย์วินิจ SIHM

10

db Bulletin


dbBulletin หากผู้ศักดิ์สิทธิ์คือผู้ที่ท�ำงานเพื่อความดีส่วนรวมและสละผล ประโยชน์ส่วนตัว คุณแม่อาคาทา ลัดดา สัตย์วินิจ คือบุคคลผู้นั้นที่ ก้าวเดินบนเส้นทางแห่งความศักดิ์สิทธิ์ด้วยการด�ำเนินชีวิตประจ�ำ วันอย่างเรียบง่ายแต่เปี่ยมล้นด้วยความรักต่อพระเจ้าและเพื่อน มนุษย์ ชีวิตของท่านเป็นดังหนึ่งศตวรรษแห่งพระพรส�ำหรับทุกคน โอกาสที่คุณแม่มีอายุครบ 100 ปี ในวันที่ 16 เมษายน ค.ศ.2019 และโอกาสฉลอง “350 ปีมสิ ซังสยาม” และฉลอง “50 ปี สังฆมณฑล “เราถูกเรียกให้เป็นผู้ศักดิ์สิทธิ์ ด้วยการด�ำเนินชีวิตของเรา สุ ร าษฏร์ ธ านี ” ท่ า นจึ ง เป็ น บุ ค คลแห่ ง ประวั ติ ศ าสตร์ แ ละเป็ น ในความรัก ปูชนียบุคคลทีเ่ กีย่ วข้องกับเหตุการณ์สำ� คัญทัง้ สองอย่างนี้ นิตยสาร และเป็นประจักษ์พยาน ดอนบอสโกขอแบ่งปันชีวประวัติ มุมมองชีวิต และบทสัมภาษณ์ ในทุกอย่างที่เราท�ำ ไม่ว่าเราจะอยู่ที่ใด...” บุคคลบางคนที่ได้เคยใช้ชีวิตใกล้ชิดกับคุณแม่อาคาทา ลัดดา

(GE 14)

กระแสเรียกคริสตชนและ กระแสเรียกการเป็นนักบวช คุณแม่อาคาทา ลัดดา สัตย์วินิจ เกิดเมีอ่ วันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2462/ ค.ศ.1919 ท่านเป็นลูกสาวคนสุดท้อง ของครอบครัวชาวสวนในชุมชน คริสตชนวัดแม่พระบังเกิด บางนกแขวก จ.สมุทรสงคราม ชีวติ วัยเยาว์ของท่าน อยู่ในช่วงเริ่มต้นมิสซังสยามในสมัย ธรรมทูตฝรั่งเศสที่สืบสานชีวิตคริสตชน ต่อมาจนถึงยุคสมัยคณะซาเลเซียน ที่มาเริ่มงานธรรมทูตในประเทศไทย

เป็นรุ่นที่ 3 ของคณะ ชีวิตของท่าน คือ ผลิตผลความศักดิ์สิทธิ์ของธรรมทูต ซาเลเซียนและคณะธิดาแม่พระองค์อปุ ถัมภ์ ที่ได้หว่านลงในดวงใจของท่าน

นวกจารย์กับโนวิส ปี 1963

ท่านได้ตดั สินใจเข้าคณะภคินผี รู้ บั ใช้ฯ เมื่ออายุ 21 ปี ในวันที่ 31 พฤษภาคม ค.ศ.1940 หลังจากทีไ่ ด้เป็นส่วนหนึง่ ของคณะยุ พ ดี ค าทอลิ ก ของวั ด และ สัมผัสกับผู้ใหญ่ของคณะคือ คุณแม่ อันตนเนียตตา โมเรลลาโต และคุณแม่ ลุยยีนา ดี โยร์โย มาหลายปี ท่าน ได้ท�ำการปฏิญาณครั้งแรก พร้อมกับ เพือ่ นอีก 3 คน ในวันที่ 16 พฤษภาคม ค.ศ. 1943 ที่อารามบางนกแขวก March-April 2019

11


หนึ่งศตวรรษแห่งพระพร คุณแม่อาคาทา ลัดดา สัตย์วินิจ SIHM

โดย Marina

แผนการณ์ของพระเจ้าในชีวิตของท่าน ท่านท�างานในอารามบางนกแขวกอย่างต่อเนื่อง ไม่มี โอกาสไปท�างานตามวัดเช่นสมาชิกอื่นๆ ได้รับการอบรม แบบเรียบง่ายพร้อมกับการฝกและปฏิบัติภารกิจของคณะ ในสมัยนัน้ คือ เป็นผูส้ อนค�าสอน ท�างานกับเยาวชนหญิง ดูแล ความเรียบร้อยของสถานที่และสวนในบริเวณอารามและ โรงเรียนนารีวฒ ั นา มีโอกาสไปช่วยในงานของวัดบ้าง หรือ ไปแทนสมาชิกอื่นในช่วงระยะสั้นๆ คุณแม่ลุยยีนามักจะให้ ท่านไปเป็นเพือ่ นเพือ่ ซือ้ ของหรือท�ากิจธุระและพาสมาชิกไป หาหมอ

พระสมณทูต อันเจโล เปโดรนี พร้อมด้วยพระสังฆราชเปโตร คาเร็ตโต คุณพ่อเอก ทับปิง มาเยี่ยม ร.ร.นารีวิทยา 5 ส.ค.1966

1. พระสมณทูต อัลแบร์โต ตรีการิโก เยี่ยมสังฆมณฑล สุราษฎร์ธานี ปี 1988 2. คุณแม่กับนักบวชหญิงเอเชียที่มาประชุม AMOR VIII วันที่ 1-11 พ.ย. 1988 ณ ร.ร.ธิดาแม่พระ สุราษฎร์ฯ 3. คุณแม่ในขณะเป็นเจ้าคณะสมัยแรก

1

คุณแม่กับพระสันตะปาปา ยอห์น ปอล ที่ 2

2

3

12

ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1947 ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้อบรม คือ เป็นผู้ดูแลผู้ฝกหัดและหลังจากย้ายอารามศูนย์กลาง ของคณะและบ้านอบรมไปที่ราชบุรี ในปี ค.ศ. 1956 ท่าน ก็ได้รับมอบหมายให้เป็นนวกจารย์คนที่ 3 ต่อจากคุณ แม่อนั ตนเนียตตาและซิสเตอร์เอสเตรีนา ปรันโด ธมอ. ท่าน น้อมรับหน้าทีส่ า� คัญนีด้ ว้ ยความเชือ่ วางใจในการทรงน�า ของพระเจ้าและความช่วยเหลือของผู้ใหญ่ และท�าหน้าที่นี้ เป็นเวลา 11 ปี อบรมเตรียมนวกนารี 7 รุ่นให้ถวายตัวแด่ พระเจ้า เวลาเดียวกันก็เป็นผูช้ ว่ ยทีใ่ กล้ชดิ ของคุณแม่อธิการ ลุยยีนา ดี โยร์โย (ธมอ) ในเรื่องต่างๆ ซึ่งเท่ากับเป็นการ ตระเตรียมเพื่อการปกครองคณะต่อไป ปี ค.ศ. 1964 ท่านเป็นสมาชิกคนแรกของคณะที่ได้รับ เลือกเป็นอธิการิณีเจ้าคณะ ท�าหน้าที่ปกครองคณะต่อจาก คุณแม่ลยุ ยีนา ดี โยร์โย ธมอ. ท่านยังได้รบั เลือกให้ทา� หน้าที่ ติดต่อกัน 3 สมัย รวมเวลา 15 ปีติดต่อกัน และหลังจาก เว้นว่างไป 6 ปี ก็กลับมารับหน้าที่เป็นอธิการิณีเจ้าคณะอีกวาระหนึ่ง เป็นเวลา 5 ปี รวมเวลาปกครองคณะทั้งหมด 20 ปี สมาชิก ทุกคนต่างเป็นประจักษ์พยานถึงความเชือ่ ศรัทธาและความ วางใจในพระเจ้า ความสุภาพถ่อมตนและใจที่เปี่ยมด้วย ความรักเมตตาเยีย่ งมารดาของท่าน ตลอดช่วงเวลาการเป็น db Bulletin


dbBulletin

ผู้ใหญ่สูงสุดของคณะ ท่านได้ร่วมงานอย่างใกล้ชิดกั บ ฯพณฯ เปโตร คาเร็ตโต ในสังฆมณฑลราชบุรี และ ต่อมาในสังฆมณฑลสุราษฏร์ธานี โดยเฉพาะในยุคของการ บุกเบิกสังฆมณฑลสุราษฏร์ธานี ท่านพร้อมจะส่งบรรดา ซิสเตอร์ไปเริม่ งานในทุกทีท่ ลี่ ำ� บากและอันตรายด้วยความเชือ่ และไว้วางใจในพระเจ้า โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อช่วยวิญญาณ เด็กๆ เยาวชน และคริสตชนที่อยู่ห่างไกลวัด นอกจากนั้น ก็ ร ่ ว มงานอย่ า งใกล้ ชิ ด กั บ พระสั ง ฆราชและพระสงฆ์ สังฆมณฑลราชบุรี ติดตามการท�ำงานของบรรดาซิสเตอร์ และส่งซิสเตอร์ไปรับใช้ตามวัดที่สังฆมณฑลต้องการ

ชีวติ หลังการเป็นผูน้ ำ� คณะ และวัยอาวุโสจนถึงปัจจุบนั

หลังจากพ้นจากหน้าทีก่ ารปกครองคณะในปี 1990 ท่าน ก็น้อมรับงานที่ผู้ใหญ่มอบให้ท่านท�ำตามบ้านต่างๆ ของ คณะ รวมทัง้ งานทีบ่ า้ นชุมพาบาล ศูนย์สงั ฆมณฑลสุราษฎร์ธานี ซึ่งส่วนมากจะเป็นงานที่ท่านถนัด คือ การจัดสถานที่ จัดสวน ท่านมีพรสวรรค์ในการปลูกต้นไม้เป็นพิเศษ (green fingers) แจกจ่ายต้นไม้ที่เพาะช�ำไว้ให้ทุกคนที่ต้องการ และอาสาไป ช่วยงานนีใ้ นทุกแห่งทีส่ มาชิกขอ ท่านท�ำอย่างมีความสุขเสมอ จนถึงอายุ 94 ปี และ ปีที่ 70 ของชีวติ การเจิมถวายตัว ท่าน หกล้ม จึงต้องพักรักษาตัว จนปี 2016 ท่านป่วย ด้วยอาการ เลือดไม่ไปเลี้ยงสมอง ได้รับการรักษาและพักฟื้นที่บ้าน พรพัชรหทัยนิรมล ท่านรับรู้แต่ไม่สามารถพูดคุยได้ ท่าน รับสภาพความเจ็บป่วยด้วยใจสงบ อดทน เจริญชีวิตตาม คติพจน์ประจ�ำใจที่ว่า “นบนอบและสันติสุข” อย่างแท้จริง ชีวิตของท่านจึงเป็นธรรมล�้ำลึกที่ยิ่งใหญ่และเป็นประจักษ์ พยานที่เด่นชัดส�ำหรับทุกคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งส�ำหรับ ภคินีผู้รับใช้ดวงหทัยนิรมลของพระแม่มารีย์ “ท่านเป็น ทุกอย่างส�ำหรับทุกคน” ตามแบบฉบับของบิดาผู้ตั้งคณะ คือ ฯพณฯ กาเยตาโน ปาซอตตี

4

March-April 2019

4. คุณแม่กับคุณพ่อกุสตาฟ โรเซนต์ 5. พระสมณทูตซัลวาตอเร เปนนักคีโอ โอกาสเปิดสมัชชาคณะผู้รับใช้ฯ ปี 2005 ที่หัวหิน 6. คุณแม่กับพระสังฆราชประธาน ศรีดารุณศีล โอกาสฉลอง 70 ปีแห่งการปฏิญาณตน 7. คุณแม่กับพระสังฆราชปัญญา กฤษเจริญ

5

6

7

13


หนึ่งศตวรรษแห่งพระพร คุณแม่อาคาทา ลัดดา สัตย์วินิจ SIHM

โดย Marina

บทสัมภาษณ์บุคคลที่ได้เคยใช้ชีวิต ใกล้ชิดกับคุณแม่อาคาทา ลัดดา สัตย์วินิจ

ซ.มะลิวลั ย์ ปรมัตถ์วโิ รจน์ คุณพ่อประเสริฐ สมงาม ซดบ. คุ ณ แม่ เ ป็ น คนสุ ภ าพ ถ่อมตน รู้คุณทุกคนและทุก สิ่ง เพราะส�านึกว่า ตนเอง ท�าอะไรไม่ได้ ไม่เก่ง ไม่มี ความรู้ แต่พระเจ้าเมตตา ผ่านทางทุกคน ท่านมีความ เชื่อศรัทธา ไว้วางใจและรัก พระเจ้าเสมอ ซึ่งแสดงออก มาในชีวติ และการปฏิบตั ติ อ่ ผู้อื่น ถ้าท่านท�าผิดต่อใคร ท่ า นก็ ข อโทษด้ ว ยความ จริงใจ ไม่ว่าจะเป็นผู้ใหญ่ หรือผู้น้อย กล้าเสี่ยงและ เตรียมสมาชิกเพื่ออนาคต ของคณะ

คุ ณ แม่ ใ ห้ เ กี ย รติ กั บ พระสงฆ์เสมอเพราะความ เชื่อว่าพระสงฆ์เป็นผู้แทน ของพระเจ้า ทุกครัง้ ทีพ่ บกัน ท่านจะบอกเสมอว่า ช่วย บอกผู้ใหญ่คณะซาเลเซียน ว่าคณะภคินีผู้รับใช้ฯ อยาก ขอบคุณผู้ใหญ่และพระสงฆ์ ซาเลเซียนทุกท่าน ซึง่ มีบาง คนที่ดีต่อท่านมาก หรือ แม้บางคนอาจจะไม่ได้เห็น ด้วยกับคุณแม่ แต่ท่านก็ไม่ เคยโกรธใคร ประสบการณ์ เหล่านี้ช่วยท่านให้เติบโต และกลายเป็ น ฤทธิ์ กุ ศ ลที่ ท่ า นมี ใ นชี วิ ต เป็ น ความ รู้คุณจากใจจริง ท่านมอง โลกด้วยจิตใจที่สวยงาม

คุณแม่กับพระสังฆราชประพนธ์ ชัยเจริญ

คุณแม่กับพระสังฆราชเปโตร คาเร็ตโตและซิสเตอร์สมปอง ทับปิง

ซ.อุษณีย์ เหมบุตร คุ ณ แม่ มี ค วามซื่ อ สั ต ย์ ในการปฏิบัติความยากจน หากท่ า นได้ รั บ เงิ น ท� า บุ ญ ท่านจะจดบัญชี ท�ารายงาน ทั้งรายรับรายจ่ายอย่างตรง ไปตรงมา ทุกบาททุกสตางค์

14

ซ.ส้มลิ้ม เล้งพ่วง คุ ณ แม่ เ ป็ น คนสุ ภ าพ ถ่อมตน ต้อนรับ ทักทาย ทุกคน รู้สึกอบอุ ่ น เมื่ ออยู ่ ใกล้ มีความความพากเพียร อดทน

คุณแม่มาร่วมสัมมนากลางปีของคณะ ในปี 2004

db Bulletin


dbBulletin

ซิสตอร์สธุ ี เจริญพานิช (หลานที่เป็นญาติสนิท) ท่านได้รบั การอบรมจาก ครอบครัวให้มคี วามเชือ่ ศรัทธาและรักบรรดาญาติมติ ร เมือ่ ท่านเข้าอารามแล้วท่าน ก็ยังให้ความสนใจเอาใจใส่ บรรดาญาติพี่น้องด้วยการ ติดต่อ เยีย่ มเยียน ให้กำ� ลังใจ และภาวนาให้ เมือ่ ทราบข่าว ว่ามีญาติทเี่ จ็บป่วยหรือมีปญั หา ท่านจะปลีกเวลาไปพูดคุย และให้กำ� ลังใจในการด�ำเนิน ชีวิตคริสตชนที่ดีต่อไป คุณแม่กับหลานๆ โอกาสรวมญาติตระกูลสัตย์วินิจ ปี 2015

คุณประไพ ทวีชัย

(พีส่ าวพระคุณเจ้าประพนธ์ ชัยเจริญ)

คุณแม่เป็นคนศรัทธา มี สายประค�ำติดมือเสมอ ท่าน สังเกตและรูว้ า่ ใครชอบอะไร ท่ า นจะเอาของฝากไปให้ ตลอด ไม่เคยลืม

เหมียว - ชิโชอู

(ผู้ดูแลใกล้ชิดในปัจจุบัน) คุ ณ แม่ เ ป็ น คนยิ้ ม แย้ ม แจ่มใส น่ารัก ไม่เคยบ่นถึง ความเจ็บปวด อดทนมาก ยอมรั บ สภาพการดู แ ล พร้อมจะให้ความช่วยเหลือ เมื่ อ กระซิ บ บอกให้ คุ ณ แม่ ช่วยและสวดตลอดเวลา March-April 2019

สมาชิกในครอบครัว ซาเลเซียนโดยเฉพาะอย่างยิง่ บรรดาซิสเตอร์คณะผูร้ บั ใช้ฯ ทุกคน ขอกราบขอบคุณแบบ อย่ า งแห่ ง ชี วิ ต ที่ ดี ง ามและ ศักดิ์สิทธิ์ของคุณแม่ ที่ได้ เสียสละทุกสิง่ แด่พระเจ้าและ คณะจนกระทัง่ ปัจจุบนั บนเตียง แห่งความเจ็บป่วย คุณแม่พดู ด้วยชีวติ ทัง้ หมด รับทนทุกอย่าง ด้วยใจสงบ เป็นพยานชีวติ ที่ ยิง่ ใหญ่ของการมอบอุทศิ ชีวติ ยอมล�ำบาก ยอมตายเพื่อ ลูกๆ เพื่อการเจริญเติบโต ของคณะภคินผี รู้ บั ใช้ฯ พวกลูก วิงวอนพระเจ้าและพระมารดามารีย์ ที่คุณแม่รักสุดชีวิต โปรดให้ คุณแม่ได้รบั พระพรแห่ง ความหวัง ความบรรเทาใจเป็นต้น ในยามเจ็บป่วยนี้ และให้คุณแม่ เปีย่ มด้วยความสุขในความรัก ของพระเจ้าตลอดไปเทอญ

คุณแม่โอกาสฉลอง 70 ปีแห่งการปฏิญาณตน

คุณแม่กับญาติพี่น้องที่เป็นพระสังฆราช พระสงฆ์และนักบวช 15


One Moment in Time

Text & Photo By Gassanee T.

Near…Far…wherever you are @Budapest, Hungary/June 2018

Near…Far… wherever you are ถ้า “ วัดไกล”... ไกลแค่ไหน...ก็ไปถึง ฟ้าจะดึงเราให้ไปจนได้ มีแรงรักผลักพุ่งให้มุ่งไป ทางจะไกลแค่ไหน...ใกล้นิดเดียว ถ้า “ไกลวัด” ใกล้แค่ไหน...ก็ไกลมาก เดินทางยากเสียเวลาพาฉุนเฉียว มันหนักใจ... ใครบอก...ใกล้นิดเดียว 16

ทางทั้งเปลี่ยว ทั้งไกล แถมบันไดอีกร้อยพัน แต่บางครั้งพระเจ้า..ก็ “วัดใจ” ใจแค่ไหน ด�า แดง ขาว ยาว ลึก สั้น มีพรพระมากมายเป็นรางวัล สถานการณ์ร้อยพัน ที่แท้.. แค่...”วัดใจ”... db Bulletin


LOCAL NEWs

By SDB Reporter

เยาวชนจาก สปป.ลาว เรียนจบหลักสูตรระยะสั้น เยาวชนจากศูนย์ฝก วิชาชีพดอนบอสโก เวียงจันทน์ สปป.ลาว จ�านวน 4 คน ได้ ส�าเร็จหลักสูตรการฝกงานจากวิทยาลัย เทคโนโลยีดอนบอสโกกรุงเทพ ระหว่าง วั น ที่ 25 กั น ยายน ค.ศ.2018 ถึ ง 1 มีนาคม ค.ศ.2019 โดยคุณพ่อมณฑล โรจน์สุทัศน์กุล ได้เป็นผู้มอบเกียรติบัตร อนึง่ เยาวชนทัง้ 4 คนจะกลับไปช่วยงานที่ ศูนย์ฝกวิชาชีพดอนบอสโกเวียงจันทน์ โดยท�าหน้าที่เป็นครูในศูนย์

dbBulletin

ข่ำวซำเลเซียน

อบรมที ม งานศู น ย์ เ ยาวชน ค่ายมิตรภาพ 2019 ดอนบอสโก พนมเปญ เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ ค.ศ.2019 ทีมงานของศูนย์เยาวชนดอนบอสโก พนมเปญ ประเทศกัมพูชาไปอบรม ที่ โรงเรี ย นอาชี ว ะดอนบอสโก เคป และได้พักผ่อนร่วมกัน โดยมีคุณพ่อ ชาร์ลส์ อรัญ ไมเกิ้ล เป็นผู้น�าการ อบรม เยาวชนเหล่านี้เป็นนักเรียนของ โรงเรียนอาชีวะดอนบอสโก พนมเปญ ซึ่งสมัครมาท�าหน้าที่เป็นอาสาสมัคร ในศูนย์เยาวชน

เมือ่ วันที ่ 11-16 มีนาคม ค.ศ.2019 แผนกอภิบาลเยาวชนซาเลเซียนน�าโดย คุณพ่อปิยะ พืชจันทร์ ได้จดั ค่ายมิตรภาพ ประจ�าปี 2019 ในหัวข้อ “คนดีคนศักดิส์ ทิ ธิ.์ .. คุณก็เป็นได้” ณ ศูนย์เยาวชนดอนบอสโก เขาตะเกียบ อ.หัวหิน จ.ประจวบฯ มีเยาวชนมาร่วมค่าย จ�านวน 50 คน และมี ซ าเลเซี ย นและที ม งานจั ด ค่ า ย จ�านวน 23 คน

ชุมนุมลูกเสือแสงทองครั้งที่ 6 ฟื้นฟูจิตใจประจ�าปี สมาชิกซาเลเซียนแขวงไทย กัมพูชา และสปป.ลาว ฟืน้ ฟูจติ ใจประจ�าปี ระหว่างวันที่ 11-17 และ 18-24 มีนาคม ค.ศ.2019 ณ บ้านฟื้นฟูจิตใจ ซาเลเซียน อ.หัวหิน จ.ประจวบฯ โดยมีคุณพ่อปัสกัล ชาเวซ วิลลานูเอวา อัคราธิการกิตติคุณ ผู้สืบต�าแหน่งของคุณพ่อบอสโกองค์ที่ 9 เป็นผู้เทศน์ ในหัวข้อ “Wake up the World and Enlighten the future” Salesian life and mission in light of Pope Francis’ project of Church. March-April 2019

ระหว่างวันที่ 3-5 มีนาคม ค.ศ. 2019 โรงเรียนแสงทองจัดชุมนุมลูกเสือ แสงทองครัง้ ที ่ 6 ณ ค่ายลูกเสือชัว่ คราว โรงเรียนแสงทองวิทยา อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ภายใต้สโลแกน “โตไปไม่โกง” โดยมีนักเรียนชั้น ป.4-ม.1 เข้าร่วม การชุมนุมในครัง้ นีร้ วมทัง้ สิน้ 1,097 คน ผู้ก�ากับลูกเสือ 135 คน 17


LOCAL NEWs

By... SDB Reporter

ข่ำวครอบครัวซำเลเซียน ครอบครัวซาเลเซียนร่วมงานวันนักบวชสากล เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ค.ศ.2019 ครอบครัวซาเลเซียนร่วมงาน วันนักบวชสากลโดยจาริกตามรอยมิชชันนารี “350 ปี แห่งการสถาปนา มิสซังสยาม” มีบรรดานักบวชจากคณะต่างๆมาร่วมงานจ�านวน 500 คน กิจกรรมส�าคัญคือการแสวงบุญตามวัดต่างๆ ที่มีประวัติศาสตร์ อันยาวนานโดยการล่องเรือตามล�าน�า้ เจ้าพระยาไปจนถึงวัดนักบุญยอแซฟ จ.อยุธยา เพื่อไปร่วมพิธีบูชาขอบพระคุณ โอกาสนี้มีการจัดฉลอง การปฏิญาณตนเป็นนักบวชครบ 60 ปี, 50 ปีและ 25ปี ให้กับนักบวช คณะต่างๆ ด้วย ซึ่งในจ�านวนนี้มีสมาชิกของครอบครัวซาเลเซียนที่ ร่วมฉลองด้วยคือคณะธิดาแม่พระองค์อุปถัมภ์ จ�านวน 2 ท่าน คณะผู้รับใช้ฯ 3 ท่าน สถาบันพระราชินีมาเรีย จ�านวน 2 ท่าน คณะภคินีพระราชินีมาเรีย จ�านวน 4 ท่าน และได้แสดงความยินดีกับ คุณพ่ออนุสิทธิ์ จันทร์เพ็ญ พระสงฆ์ใหม่ของคณะซาเลเซียนด้วย

ประชุมผู้ประสานงานระดับแขวง ผูป้ ระสานงานระดับแขวงของคณะธิดาแม่พระองค์อปุ ถัมภ์ จ�านวน 18 คน ได้ประชุมวางแผนร่วมกันและ ได้รบั ฟังการบรรยายเรือ่ ง “พระสมณลิขติ Maximum Illud” ของพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 15 ที่บ้านธารพระพร อ.สามพราน จ.นครปฐม โดยมีคุณพ่อวัชศิลป์ กฤษเจริญ เป็นวิทยากร เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ.2019

อบรมวิธีเขียนประวัติศาสตร์ ระหว่างวันที่ 8-9 กุมภาพันธ์ 2019 คณะธิดาแม่พระองค์อุปถัมภ์ แห่งประเทศไทย จัดการอบรมเพื่อศึกษาระเบียบ วิธีทางการเขียน ประวัตศิ าสตร์ โดยมี Sr.Grazia Loparco ธมอ. อาจารย์ผเู้ ชีย่ วชาญด้าน ประวัติศาสตร์ของคณะ เป็นวิทยากรให้การอบรม โดยมีสมาชิกเข้ารับ การอบรม จ�านวน 37 คน 18

db Bulletin


dbBulletin ฟื้นฟูจิตใจ - แสวงบุญ สมาชิกคณะภคินีพระราชินีมาเรียแสวงบุญ ตามรอยมิชชันนารี 350 ปี มิสซังสยาม ณ สักการสถานบุญราศีนิโคลาส บุญเกิด กฤษบ�ำรุง โดย คุณพ่ออนุสรณ์ แก้วขจร เป็นผูบ้ รรยาย เมือ่ วันที่ 9 กุมภาพันธ์ ค.ศ.2019 และไปเข้าเงียบฟื้นฟูจิตใจที่วัดแม่พระมหาทุกข์ อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี โดยคุณพ่อยอดชาย เล็กประเสริฐ เป็นผู้เทศน์ เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ ค.ศ.2019

ซิสเตอร์ซาเลเซียนเข้าเงียบประจ�ำปี ซิสเตอร์ซาเลเซียนจ�ำนวน 38 คน เข้าเงียบฟืน้ ฟูจติ ใจประจ�ำปี ระหว่าง วันที่ 26 กุมภาพันธ์ ถึงวันที่ 5 มีนาคม ค.ศ. 2019 ณ บ้านธารพระพร อ.สามพราน จ.นครปฐม โดยมีคุณพ่อปัสกัล ชาเวซ วิลลานูเอวา อัคราธิการกิตติคุณเป็นผู้เทศน์

อบรมประจ�ำปี วันที่ 2 – 4 มีนาคม ค.ศ.2019 สถาบันธิดาพระราชินมี าเรียได้จดั อบรม ศึกษาประจ�ำปีสำ� หรับสมาชิก ในหัวข้อ “ธิดาพระราชินมี าเรีย ผูร้ บั การเจิม ทีอ่ ยูท่ า่ มกลางโลกตามแนวเอกสารครบ 70 ปี แห่ง Provida Mater Ecclesia” ณ โรงเรียนพระแม่มารี (สาทร) เพื่อศึกษาแนวทางปฏิบัติตามอัตลักษณ์ ของสถาบันในการเจริญชีวติ ผูร้ บั การเจิมถวายตัวทีอ่ ยูท่ า่ มกลางโลกให้มี ความชัดเจนยิ่งขึ้น

ประชุมสมาชิกซาเลเซียนผู้ร่วมงานกัมพูชา เมือ่ วันที่ 3 มีนาคม ค.ศ.2019 สมาชิกซาเลเซียนผูร้ ว่ มงานของกัมพูชา ประชุมร่วมกันทีโ่ รงเรียนดอนบอสโกพนมเปญ โดยมีคณ ุ พ่อเลโอ โอโชวา เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ด้วย

March-April 2019

19


บทความ “พ่อ”

โดย อันนา

พ่อ

ถ้าเราเป็นหนุ่มในพฤติกรรม แม้ว่าร่างกายของเราจะแก่ แต่วิญญาณของเรา ก็ยังคงรักษาความงดงาม แห่งวัยหนุ่มไว้ และจะไม่มีวันแก่เลย

คุณพ่อการ์โล เมื่ออายุ 17 ปี ได้ถูกเรียกเป็นทหาร รับใช้ชาติในสงครามโลกครั้งที่ 1 20

ข้ำรับใช้พระเจ้ำ คุณพ่อกำร์โล เดลลำ โตร์เร คุณพ่อการ์โล วัยหนุ่ม

โลกทุกวันนี้เป็นโลกแห่งเทคโนโลยีที่มีวิวัฒนาการและการพัฒนาอย่างต่อ เนื่อง ทั้งแทรกซึมและอ�านวยความสะดวกสบายต่อการด�ารงชีวิต จากที่มนุษย์ ติดต่อกับมนุษย์ด้วยกัน กลายเป็นเทคโนโลยีท�าหน้าที่เป็นสื่อกลางของความ สัมพันธ์ บางเรื่องกลายเป็นสิ่งจ�าเป็นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ยิ่งโลกพัฒนาและ ก้าวล�า้ เพียงใดการให้ความส�าคัญต่อศาสนาหรือชีวติ ฝ่ายจิตก็ได้รบั ผลกระทบโดย ปริยาย! กายและจิตเป็นสองมิติที่รวมกันเข้าเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เมื่อร่างกายได้รับ การพัฒนาก็จะส่งผลต่อจิตเช่นกัน คุณพ่อการ์โล เดลลา โตร์เร เมื่ออายุ 17 ปีได้ ถูกเรียกเป็นทหารรับใช้ชาติในสงครามโลกครั้งที่ 1 เนื่องจากจากทหารอิตาลีล้ม ตายในสงครามเป็นจ�านวนมาก ทางการจึงได้เรียกเด็กชายที่เกิดในปีค.ศ.1900 เข้าประจ�าการอย่างเร่งด่วน เด็กหนุ่มจ�านวนมากต้องไปรายงานตัว โลกแห่ง ความฝัน ความสวยงามแห่งชีวิต อิสรภาพและความรัก ได้มลายสิ้นไปต่อหน้า ต่อตา หนังสือพิมพ์พาดหัวข้อข่าวและเรียกทหารเยาวชนนีว้ า่ “ทหารฟันน�า้ นม” การ์โลไปรายงานตัวที่เมืองเกรโมนา (Cremona) ดังเช่นทุกคน บรรยากาศ เต็มไปด้วยความโศกเศร้าใบหน้าเศร้าหมองดวงตาเอ่อล้นด้วยน�้าตา เพราะการ พลัดพรากจากครอบครัวอันเป็นทีร่ กั และความกลัวตายในสงคราม ทหารฟันน�า้ นม รับเครือ่ งแบบทหารจากนายทหารเพือ่ สวมใส่แทนทีจ่ ะเป็นการจูบแต่เต็มไปด้วย น�้าตา ในเมือ่ หลายคนถูกเรียกมาเป็นทหารอย่างไม่เต็มใจยากยิง่ จะเข้าใจอุดมการณ์ แห่งชายชาติทหาร บางคนบ่นว่า อึดอัด และรู้สึกน่าเบื่อหน่ายกับชีวิต ทุกวัน ทหารจะมีเวลาพัก 2 ชัว่ โมง ให้ออกจากค่ายได้ โดยมีการผลัดเปลีย่ นเวรยามหน้า ประตูในการรักษาความปลอดภัย การ์โลไม่คอ่ ยออกไปข้างนอกนัก บางคนคิดว่า คงไม่มเี งิน เพือ่ นหลายคนได้ขอให้ชว่ ยท�าหน้าทีเ่ ฝ้าเวรแทน การ์โลยินดีทา� หน้าที่ แทนเพื่อนๆ ด้วยความเต็มใจ จนเป็นที่ชื่นชอบในน�้าใจที่มีต่อเพื่อนๆ db Bulletin


dbBulletin

เพื่อนๆ ที่ออกไปนอกค่ายทหาร มักจะเล่าสิ่งที่ไปท�ำนอกลู่นอกทางให้ การ์โลฟังเสมอ ทัง้ ขอค�ำปรึกษา การ์โล ไม่เคยต�ำหนิเพื่อนๆ หรือตัดสิน ขณะ ที่นั่งคุยในวงสนทนาการ์โลจ้องหน้า เพื่อนๆ ทีละคนและพูดให้คิดว่า “ให้ เรารักษาวัยหนุม่ ของเราไว้ให้เต็มเปีย่ ม แม้ว่าเรายังเป็นทหารอยู่...ถ้าเราเป็น หนุ ่ ม ในพฤติ ก รรม แม้ ว ่ า ร่ า งกาย ของเราจะแก่ แต่วิญญาณของเราก็ยัง คงรักษาความงดงามแห่งวัยหนุ่มไว้ และจะไม่มีวันแก่เลย” เพื่อนๆ รู้สึก ประทับใจทั้งค�ำพูดและการปฏิบัติตน ของการ์โล การ์โลได้ยนิ ทหารชาวเมืองแชร์นสุ โก ที่ ก ลั บ ไปเยี่ ย มบ้ า นพู ด ว่ า เงิ น เป็ น สาเหตุของความผิดต่างๆ ก่อนออก เดินทางการ์โลจึงขอให้ทางบ้านส่งเงิน มาให้เพียงเล็กน้อยเพื่อซื้อผลไม้แห้ง

และซือ้ แสตมป์สง่ จดหมายถึงครอบครัว เท่านั้น ทุกครั้งที่ออกจากค่ายทหาร การ์โลจะไปหาวัดใช้เวลาในการเฝ้าศีล สวดภาวนา เพราะในชีวติ ทหารแต่ละคน ต้องรับผิดชอบชีวิตศาสนาของตนเอง การ์โลถูกปลูกฝังจากครอบครัวว่า ให้ดำ� เนินชีวติ โดยมีพระเจ้าร่วมส่วนใน ชีวิตของตนดังชีวิตคริสตชนทั่วไป หาก ชีวติ ไม่หล่อเลีย้ งด้วยชีวติ พระ ก็ไม่มวี นั ที่จะรู้สึกอิ่มมีแต่แสวงหาอยู่ร�่ำไป ดังที่ เพื่อนทหารหลายคนรู้สึกว่าค่ายทหาร เป็นเหมือนคุกที่อึดอัด แต่ส�ำหรับการ์โล เมือ่ มีพระเจ้าในชีวติ ก็ไม่มคี วามจ�ำเป็น ต้องแสวงหาสิ่งใด ชีวิตอยู่ในปัจจุบัน กั บ พระเจ้ า และท� ำ หน้ า ที่ อ ย่ า งดี . ... เพราะความศักดิ์สิทธิ์ไม่ใช่การท�ำสิ่ง ใหญ่โต แต่เป็นสิ่งที่ท�ำด้วยความรัก และรับผิดชอบหน้าที่ของตนอย่างดี

คุณพ่อการ์โล เดลลา โตร์เร พระสงฆ์ซาเลเซียน สิ้นใจอย่างศักดิ์สิทธิ์ ในวันที่ 4 เมษายน ค.ศ.1982 ในปี ค.ศ.2003 คุณพ่อได้รับเกียรติเป็น “ข้ารับใช้พระเจ้า” (Servant of God) อันเป็นขั้นตอนแรก ของกระบวนการ ด�ำเนินเรื่อง แต่งตั้งเป็นนักบุญ

บ้านเกิดของคุณพ่อการ์โล March-April 2019

21


เพื่อนนักอบรม

โดย ยวง บอสโก ธัญญา

เตี ย ่ กั บ เสี ย ่ ความทาทายของพอแมนักอบรม มีเรื่องที่เล่าต่อๆ กันมาในหมู่ของชาว อ.โพธาราม จ.ราชบุรีว่า มีอาแปะสูงวัยคน หนึง่ แกมักจะขีร่ ถจักรยานคูช่ พี คันเก่งเอาเงินมาฝากธนาคารอยูเ่ ป็นประจ�าจนมีความ คุ้นเคยกับพนักงานของธนาคารนั้นเป็นอย่างดี อยูม่ าวันหนึง่ พนักงานคนหนึง่ ก็ถามอาแปะว่า “เถ้าแก่รา�่ รวยขนาดนีท้ า� ไมถึงยังขี่ รถจักรยานเก่าๆอยูอ่ กี อัว๊ เห็นลูกๆเถ้าแก่อขี บั เบนซ์เท่เป็นอาเสีย่ เลย ไม่ให้อหี าให้สกั คันล่ะเถ้าแก่” เถ้าแก่มองหน้าพนักงานคนนัน้ แบบยิม้ ๆแล้วตอบว่า “ชัง่ หัวมัน เตีย่ อีรวย แต่เตีย่ อั้วมันจน” เรื่องนี้ฟังแล้วได้ทั้งข�าได้ทั้งคิด เพราะค�าถามและค�าตอบของเรื่องแสดง ให้เห็นถึงความแตกต่างกันในเชิงทัศนคติ วิธีคิด และช่องว่างของคนสองวัย ที่แตกต่างกันอย่างมาก และเป็นเรือ่ งจริงของครอบครัวในยุคสังคมออนไลน์ท ี่ “ความแตกต่าง” เหล่านีไ้ ด้ กลายเป็นประเด็นปัญหาและอุปสรรคท�าให้การอบรมเลีย้ งดูลกู วัยรุน่ มักไม่ประสบผล ส�าเร็จอย่างที่นักอบรม พ่อแม่ ผู้ปกครอง หรือครูอาจารย์คาดหวัง จากประสบการณ์ชวี ติ จริงของครอบครัวหนึง่ มีพอ่ แม่และลูกชายอีกสองคน ลูกชาย คนโตอายุ 17 ปีเคยเรียนอยู่โรงเรียนพาณิชย์แห่งหนึ่ง ส่วนน้องก�าลังเรียนอยู่ประถม ปลาย ซึ่งปกติพ่อจะเป็นคนไม่ค่อยรับฟังหรืออธิบายอะไรกับลูกเท่าไร ส่วนใหญ่จะใช้วิธี สัง่ ให้ลกู เมียปฏิบตั ติ ามทีต่ นเองคิดและคาดหวังผลไว้แล้ว การอบรมเลีย้ งดูการพูดคุย กับลูกส่วนใหญ่จึงเป็นหน้าที่ของแม่ แต่แม่ก็คิดอย่างแม่คือรักลูกมาก จนบางครั้งถึงกับยอมรับความผิดของลูกไว้เอง และท�าหน้าที่เป็นคนกลางที่ยอมพูดความจริงเพียงครึ่งเดียวเพื่อปกป้องลูก เพื่อให้ สามีพึงพอใจในค�าตอบ 22

db Bulletin


dbBulletin

แต่นับวันลูกชายวัยรุ่นก็ยิ่งเหินห่าง จากพ่อ และเริม่ คบเพือ่ น หนีเรียน เสพยา และซิง่ รถแข่งในยามค�ำ่ คืนจนวันหนึง่ ก็ถกู ต�ำรวจจับกุมด�ำเนินคดีพร้อมกันทั้งแก๊ง วันนัน้ เมือ่ ทัง้ พ่อแม่และลูกวัยรุน่ คนนี้ ต้องมานั่งพร้อมกันอยู่ต่อหน้าเจ้าหน้าที่ ปมของเรื่ อ งจึ ง ค่ อ ยๆถู ก คลี่ ค ลายออก และการสวมกอดกันอย่างอบอุ่นเป็นครั้ง แรกของพ่อกับลูกและแม่กเ็ กิดขึน้ ตามค�ำ แนะน�ำของเจ้าหน้าที่ เสมือนเป็นการเริม่ สร้างความสัมพันธ์ ครั้งใหม่และเป็นครั้งแรกครั้งส�ำคัญใน ชีวติ วัยรุน่ ของลูก หลังจากทีท่ งั้ พ่อและลูก สารภาพว่าไม่เคยสวมกอดกันกันแบบนี้ มานานกว่า 5 ปีแล้ว นับตั้งแต่ลูกก้าวเข้า โรงเรียนชั้นมัธยมต้น และยิ่ ง กว่ า นั้ น คื อ การถกเถี ย งด้ ว ย ถ้อยค�ำรุนแรงที่เสียดแทงใจพ่อแม่ เมื่อ ถูกจับได้ว่าหนีเรียนและออกไปเที่ยวเตร่ กลางคืนกับเพื่อนๆ โดยไม่สนใจค�ำสั่งค�ำ ห้ามปรามของพ่ออีกต่อไป ทั้งด้วยความรักและความโมโหที่ลูก ไม่เชื่อฟัง พ่อจึงใช้วิธีลงโทษรุนแรงและ นิ่งเฉยไม่สนใจเหมือนลูกชายคนนี้เป็น แค่คนอาศัยคนหนึ่งในบ้าน ส่วนตัวลูกก็ทิฐิมานะเมื่อพ่อไม่สนใจ ฉัน ฉันก็ไม่สนพ่อเช่นกัน เธอแรงมาฉันยิง่ แรงกลับไป จะต้องแคร์อะไร? ยังมีเพื่อน มีแม่ให้ท้ายอยู่ไม่เห็นจะเดือดร้อนอะไร วิธีคิดในการอบรมเลี้ยงดูลูกวัย รุ่นของพ่อ ที่มุ่งใช้ความรุนแรง การ ลงโทษในแก้ปัญหา ความห่างเหิน ท่าทีทเี่ ฉยเมยไม่แยแสไม่เอาใจใส่ใจ ต่อความรู้สึกและความต้องการของ ลูกวัยรุ่น และความรักตามใจแบบไร้ ขอบเขตและเหตุผลที่ดีพอของแม่ จึงเป็นเสมือนแรงผลักลูกวัยรุน่ ให้ออก ไปสู่หนทางนรกในสังคมเพื่อนที่ไม่มีใคร เตือนใคร ยิง่ มีแต่ความฮึกเหิมมุทะลุดดุ นั และอยากลองทุกอย่างเมื่อพวกเขามั่วสุม อยู่กันตามล�ำพัง ในวิ น าที ที่ ผู ้ เ ป็ น พ่ อ ตั ด สิ น ใจเอื้ อ ม มือมาโอบไหล่ลูกชาย หลังจากที่ต่างคน ต่างนิ่งงันกันอยู่พักใหญ่ ลูกชายยิ่งก้มตัว ลงต�่ำไม่กล้าแม้แต่จะเงยหน้าขึ้นมาสบ สายตากับพ่อ จนกระทั่งมีเสียงเตือนจาก เจ้าหน้าที่อีกครั้งว่า “เอ้า พ่อลูกลองกอด March-April 2019

กันให้ดูหน่อย เอาเลยครับ” ทันทีที่ฝ่ามือของพ่อแตะถูกไหล่ ของลูก ก็เกิดปรากฎการณ์เหมือน สปริงที่ม้วนตัวเข้าหากัน พ่อลูกกอด กันแน่นด้วยความปรารถนาในความ รักความอบอุน่ จากพ่อทีถ่ กู ซุกซ่อนอยู่ ในจิตใจของลูกมานานแสนนานกว่า ห้าปี และเป็นความประทับใจยิ่งกว่า เมื่อมีมือของแม่เข้ามาร่วมโอบกอด พร้อมทัง้ น�ำ้ ตาของพ่อแม่ลกู ทีพ ่ รัง่ พรู ออกมาไม่ขาดสายด้วยความปิตทิ เี่ อ่อ ล้นออกมาจากหัวใจของทุกคน บรรยากาศความรักความอบอุน่ ความ สัมพันธ์อนั ดีได้เริม่ ต้นขึน้ อีกครัง้ หนึง่ แล้ว ในครอบครัวนี้ จึงเหลืออยูแ่ ต่เพียงว่า บท เรียนชีวิตในครั้งนี้ จะช่วยให้ทุกคนใน ครอบครัวนี้สามารถเดินหน้าต่อไปจน บรรลุถึงเป้าหมายชีวิตได้หรือไม่ ด้ ว ยการใช้ เ หตุ ใช้ ผ ลกั น มากยิ่ ง ขึ้ น กว่าการใช้อารมณ์และความรุนแรงใน การตัดสินในการแก้ปัญหาต่างๆที่รุมเร้า เข้ามา หรือจะร่วมกันเสริมสร้างความรัก ความเข้าใจกันบนพืน้ ฐานของหลักเหตุผล และคุณธรรมจริยธรรมที่พึงมีพึงอยู่ได้ มากน้อยเพียงไร พ่อแม่ ครอบครัวทีอ่ ดุ มด้วยความ รั ก ของพระเจ้ า เยี่ ย งคุ ณ พ่ อ บอสโก นั้น ย่อมต้องอดทนนาน อดทนได้ ทุกอย่างแม้ความผิดของคนอื่น และ เชือ่ ในส่วนดีของเขาอยูเ่ สมอ มีความ หวังอยูเ่ สมอ ไม่คดิ เห็นแก่ตนเองฝ่าย เดียว ไม่ฉุนเฉียว ไม่ช่างจดจ�ำความ ผิด ไม่ชนื่ ชมยินดีเมือ่ มีการประพฤติ ผิด แต่ชื่นชมยินดีเมื่อประพฤติชอบ (เทียบ 1คร 13:4-7) ทีส่ ำ� คัญอย่าลืม กอดกันบ่อยๆ กอดกันนานนาน กอด กันด้วยความรักของพระเจ้า 23


แก่นซาเลเซียน By บ.สันติสุข

ถึงแก่น ๔

คุณพ่อบอสโกเติบโตขึ้นมาในบรรยากาศชีวิตจิตที่คุณแม่มาร์เกริตาด�าเนิน ชีวิตและส่งทอดให้ลูก เป็นชีวิตจิตที่ไม่อิงทฤษฎีหรือหลักเทววิทยา ซึ่งเป็นเรื่อง ห่างไกลส�าหรับคุณแม่ทเี่ ป็นแค่ชาวนาชาวสวน จึงเป็นชีวติ จิตทีเ่ ป็นประสบการณ์ จริงของชีวิตแต่ละวันที่ประกอบขึ้นด้วยหน้าที่การงาน ชีวิตครอบครัว ความศรัทธา ในพระเจ้า เป็นการด�าเนินชีวิตแต่ละวันในความลงตัวแห่งความสัมพันธ์กับพระเจ้าและ ความสัมพันธ์กบั มนุษย์ เป็นความสัมพันธ์สองอย่างทีเ่ กีย่ วโยงและเสริมสร้างกัน อย่างแยกไม่ออก ความสัมพันธ์กับเพื่อนพี่น้องแต่ละคนในแต่ละวันเป็นอย่างไร ขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ที่มีกับพระเจ้า ความสัมพันธ์กับพระเจ้าเป็นตัวแปรแห่ง ความสัมพันธ์กับเพื่อนพี่น้อง นีค่ อื แก่นแห่งชีวติ จิต เป็นความสัมพันธ์กบั พระเจ้าและความสัมพันธ์ กับเพื่อนพี่น้อง ชีวติ จิตเป็นความสัมพันธ์กบั พระเจ้าไม่เพียงในแง่ของความเชือ่ เชือ่ ว่าพระเจ้า ทรงมีอยู่จริง เชื่อว่าพระเจ้าทรงสร้างเรามา เชื่อว่าพระเจ้าทรงรักเรา ชีวิตจิตเป็น ความสัมพันธ์กับพระเจ้าไม่เพียงในแง่ของการสวดภาวนา สรรเสริญพระเจ้า ขอบคุณพระองค์ ขอพรพระองค์ หรือขอโทษพระองค์ แต่ชีวิตจิตเป็นความสัมพันธ์กับพระเจ้าในความส�านึกถึงการประทับอยู่ของ พระองค์ทสี่ ง่ ผลกระทบไปถึงชีวติ ความเป็นอยู ่ การเป็นการกระท�า เป็นความสัมพันธ์ ทีต่ อ่ เนือ่ ง ทัง้ เมือ่ รูต้ วั ทัง้ เมือ่ ไม่รตู้ วั ทัง้ เมือ่ ตัง้ ใจ ทัง้ เมือ่ ไม่ตงั้ ใจ ยิง่ กว่าความสัมพันธ์ ที่เรามีกับชีวิตที่อยู่ในตัวเรา เมื่อมองความสัมพันธ์ที่เรามีกับชีวิต วันหนึ่งๆ เราด�าเนินชีวิตแทบไม่รู้ตัว แทบไม่ได้ให้ความตัง้ ใจแก่ชวี ติ ทีอ่ ยูใ่ นตัวเรา ตืน่ ขึน้ มาก็เป็นเรือ่ งของการกระท�า จากการกระท�าหนึ่งไปสู่การกระท�าหนึ่ง หมกมุ่นอยู่การด�าเนินชีวิตจากเช้าจรด เย็น โดยไม่ได้คา� นึงด้วยซ�า้ ว่าเบือ้ งหลังของกระท�า เบือ้ งหลังกิจการ แต่ละอย่าง มี 24

db Bulletin


dbBulletin

ชีวติ เป็นตัวแปร ให้กำ� ลัง ให้ความคิดอ่าน ให้ความมุมานะ...เป็นพลังขับเคลื่อน อย่างต่อเนื่อง ชีวิตของเราแต่ละวัน จึงเป็นความสัมพันธ์กับการด�ำเนินชีวิต การกระท�ำ ซึ่งเป็นการแสดงออกของ ชีวิต แต่แทบไม่ได้ค�ำนึงถึงความสัมพันธ์ กับชีวิต พอชีวิตมีอันเป็นไป จะเป็น การจบชีวิตของคนใดคนหนึ่งหรือ คนใกล้ตัว เมื่อนั้นเราจึงส�ำนึกถึงชีวิต ในตัวเรา เมื่อนั้นเราจึงเห็นถึงคุณค่า ของชีวติ ในตัวเรา เมือ่ นัน้ เราจึงเห็นถึง ความส�ำคัญของชีวิตในตัวเรา เมื่อนั้น เราจึงเห็นคุณค่าแห่งชีวิต ตลอดเวลาชีวิตเราอยู่ในตัวเรา แต่ เราคิดถึงบ้าง เราส�ำนึกถึงบ้าง และมัก จะไม่คิดถึงหรือส�ำนึกถึงเสียส่วนใหญ่ เรามักจะคิดถึงและส�ำนึกในชีวติ แค่ใน แง่ของร่างกายและวัดคุณค่าแห่งชีวิต จากแง่ของร่างกาย ร่างกายแข็งแรง ไม่เจ็บไข้ได้ป่วย กินได้นอนหลับ... ถือว่าชีวิตเราดี แต่หากร่างกายเจ็บ ออดๆแอดๆ กินไม่อร่อย นอนแต่ไม่หลับ เราก็รำ� พึงร�ำพันว่าชีวติ เราไม่ดี ทัง้ ๆ ที่ ชีวิตมีเป็นมากกว่านั้น ชีวติ จิตเป็นความสัมพันธ์กบั พระเจ้า ในความส� ำ นึ ก ถึ ง การประทั บ อยู ่ ข อง พระองค์ เป็นความส�ำนึกในความยิ่ง ใหญ่และในความส�ำคัญของพระองค์ ในชีวิตเรา เพราะทรงอยู่เบื้องหลัง ชีวิตเราแต่ละคน ทรงให้ชีวิตเรามา ซึ่งถือว่าเป็นพระพรสูงส่ง เพราะเมื่อ มีชีวิต พระพรอื่นๆ ก็ตามมาอย่างไม่ ขาดสาย ความสัมพันธ์กับพระเจ้าจึง เป็นความส�ำนึกนี้เป็นอันดับแรก และ เมือ่ มีความส�ำนึกนีแ้ ล้ว ความส�ำนึกอืน่ ๆ ก็จะตามมาโดยธรรมชาติ ถ้าส�ำนึกว่า ชีวิตได้รับมาจากพระเจ้า ความส�ำนึก March-April 2019

ในการด� ำ เนิ น ชี วิ ต ให้ ดี ที่ สุ ด เพื่ อ ให้ สมกับความรักและพระพรยิ่งใหญ่นี้ สะท้อนออกมาในความรู้คุณ ในการ เป็นและในการท�ำทุกอย่าง แต่ละช่วง เวลา เพือ่ เติมเต็มชีวติ ให้เต็มร้อยอย่าง ต่อเนื่องในทุกด้าน ในทุกแง่ทุกมุม ตามมาด้วยความส�ำนึกในบุญคุณที่ มีต่อพระเจ้าที่สะท้อนออกมาในการ ท�ำให้ชีวิตเต็มเปี่ยมสมความคาดหวัง ของพระองค์ เวลาเดียวกันความส�ำนึก ในบุญคุณของพระเจ้ายังสะท้อนออก มาในทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็นและที่ท�ำ ส�ำหรับเพื่อนพี่น้อง ส�ำนึกในบุญคุณ ของพ่อกลับเป็นส�ำนึกในหน้าทีท่ มี่ ตี อ่ ลูกของพ่อ แต่ละอย่างที่ช่วยเติมเต็ม ชีวิตของเพื่อนพี่น้องคือการแสดงออก ของความกตัญญูต่อพระเจ้าอย่างเป็น รูปธรรม ความส�ำนึกในบุญคุณของพระเจ้า สะท้อนออกมาอย่างเป็นรูปธรรมใน การมี ค วามสุ ข กั บ ชี วิ ต เป็ น การบ่ ง บอกให้เห็นเป็นรูปธรรมว่าหนึ่งชีวิต ที่พระเจ้าประทานให้เป็นชีวิตที่สูงส่ง และคุ้มค่า เพราะเป็นชีวิตที่ด�ำเนินไป ด้วยความสุขความยินดีอย่างต่อเนื่อง เมื่อเห็นเราด�ำเนินชีวิตอย่างมีความ สุขและเต็มศักยภาพ พระเจ้าก็ทรง ถือว่าสร้างเรามาและให้ชวี ติ แก่เรานัน้ คุ้มค่า แต่หากเราด�ำเนินชีวิตโดยไม่มี ความสุขความยินดี พระเจ้าก็ทรงอด คิดไม่ได้ว่าไม่น่าจะสร้างเราให้ต้อง ล�ำบากล�ำบนไร้ซึ่งความสุขแบบนี้เลย ถ้ามองจากแง่นี้ จะเห็นได้ชัดเจนว่า ชีวติ จิตคือการด�ำเนินชีวติ ด้วยความสุข และความยินดี ซึ่งเริ่มต้นตั้งแต่ความ ส�ำนึกว่าชีวติ เป็นพระพรแห่งทีพ่ ระเจ้า ประทานให้ นัน่ หมายความว่าความสุข

และความยินดีคือตัวชี้บอกชีวิตจิตอัน เป็นชีวิตแห่งความสัมพันธ์กับพระเจ้า ตั้งแต่จุดเริ่มต้นแห่งชีวิต ดังที่พระเจ้า ตรั ส ไว้ ใ นหนั ง สื อ ประกาศกเยเรมี ย ์ ๑,๕ “เรารู้จักเจ้าก่อนที่เจ้าจะเป็นตัว เป็นตนในครรภ์(มารดา)และก่อนที่ เจ้ า จะถื อ ก� ำ เนิ ด มาเราได้ เจิ ม เจ้ า ไว้ แล้ว” ความสุขและความยินดีจึงไม่อยู่ ในสิ่งที่เรามีซึ่งเดี๋ยวมีเดี๋ยวไม่มี แต่อยู่ ในสิ่งที่เราเป็นซึ่งเป็นโดยตลอด ส� ำ หรั บ ผู ้ ที่ มี ค วามสั ม พั น ธ์ กั บ พระเจ้ า ในชี วิ ต ตามแนวทางของ คุณแม่มาร์เกริตาที่ส่งทอดมาถึงคุณ พ่อบอสโก เขาจะพบเห็นพระเจ้าใน สิ่งสร้างรอบกาย ทุกสิ่งทุกอย่างเผย ให้เห็นพระเจ้า เผยให้เห็นความรัก ของพระองค์ เขาจะเห็นได้ชัดเจนว่า ทุกสิ่งทุกอย่างน�ำไปถึงพระเจ้า ทุกสิ่ง ทุกอย่างมีร่องรอยการประทับอยู่ของ พระเจ้า พระเจ้าผู้ทรงเป็นความรัก พระเจ้าผู้ทรงเป็นบิดา และนี่คือความจริง ที่น�ำความสุขและความยินดีมาให้ใน ชีวิตแต่ละวัน และนี่คือสิ่งที่คอยค�้ำจุน ความสุขและความยินดีได้อย่างต่อเนือ่ ง ไม่วา่ จะอยูใ่ นสถานการณ์ใด ไม่วา่ จะต้อง เผชิญหน้ากับสิ่งใด

25


ครอบครัวซาเลเซียนตามล�าน้�า 350 ปี มิสซังสยาม By กุหลาบป่า

·Õè¹ÕèʶҹÕÃÒªºØÃÕ

สถานีรถไฟราชบุรีซึ่งบรรดาธรรมทูต กระจิบงีบหลับในถุงผ้าซึ่งวางอยู่บน เดินทางไปเยี่ยมและเปิดบ้านใหม่ ชั้นวางของในขบวนรถด่วนสายใต้ตั้งแต่

หัวค�่า ตกใจตื่นเมื่อฟ้าเริ่มสาง และได้ยิน เสียงประกาศจากสถานีขณะที่รถไฟชะลอ จอดในรางที่หนึ่ง “ที่นี่ สถานีราชบุรี ที่นี่ สถานีราชบุรี ท่านผู้โดยสารที่มีความประสงค์จะลงที่ สถานีราชบุรีโปรดเตรียมสิ่งของสัมภาระ ของท่านน�าลงให้เป็นทีเ่ รียบร้อย ... รถไฟ ขบวนนี้เมื่อออกจากสถานีราชบุรีแล้วจะ หยุดรับส่งผู้โดยสารที่สถานีบ้านโป่งเป็น สถานีต่อไป …” พี่เล็กรีบยกกระเปา และไม่ลืมหยิบถุง ผ้าบนชัน้ วางของเดินไปรอทีป่ ระตู กระจิบ ตื่นเต้นมากที่ได้ลงจากรถไฟ ได้ยินเสียง เพือ่ น ๆ ส่งเสียงรับอรุณอยูต่ ามต้นไม้ใกล้ ๆ สถานีนั่นเอง แต่ยังไม่ทันได้บินไปไหน ไกลพี่เล็กก็เข้าบ้านพรพัชรหทัยนิรมล ที่ ถนนรถไฟซะแล้ว จึงบินตามไป แน่นอน ละมาที่นี่ต้องเข้าห้องท�างานชั้นสามที่มี เอกสารเก่าๆ เปิดอยู่ หลังจากธรรมทูตซาเลเซียนตั้งหลักที่

26

บางนกแขวกแล้ว การเดินทางติดต่อกับ กรุงเทพและหัวเมืองอืน่ ๆ นัน้ ทางทีส่ ะดวก ที่ สุ ด คื อ ตามล� า น�้ า แม่ ก ลองขึ้ น มาทาง เหนือถึงราชบุรีแล้วไปทางรถไฟ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1931 ท่านปาซอตตีฝันที่จะเปิดบ้าน ที่ราชบุรี “(ราชบุรี) เป็นสถานที่ที่จะต้องเริ่ม งาน อย่างน้อยให้มศี นู ย์เยาวชนส�าหรับวัน ฉลอง (Oratorio Festivo) มันจะกลับกลาย เป็นท้องทุ่งส�าหรับเดินเที่ยว และสถาน ที่ที่จะให้ความสะดวก เพื่อน�าบุคลากร จากศูนย์ธรรมทูตอื่น ๆ มาชุมนุมในงาน สมโภชและงานฉลอง” คุณพ่อมาริโอ รูเซ็ดดู เป็นผู้รับมอบ หมายให้ไปบุกเบิกเมื่อต้นปี 1934 วันที่ 1 เมษายนคือวันปัสกา ท่านปาซอตตีตงั้ ใจ จะเปิดบ้านที่ราชบุรีโอกาสแต่งตั้งคุณพ่อ บอสโกเป็นนักบุญ แต่บ้านยังไม่พร้อมจึง ต้องเลื่อนไปเปิดบ้านในวันที่ 26 เมษายน หลั ง จากนั้ น บ้ า นนั้ น ก็ เ ป็ น บ้ า นรั บ รอง ส�าหรับสมาชิกที่ผ่านไปมา หลังจากพบอุปสรรค แก้ปัญหาด้วย ความเพียรพยายามหลายครั้ง ที่สุด วันที่ 5 มกราคม ค.ศ. 1947 ได้ซอื้ บ้านใกล้สถานี รถไฟเพื่ อ ท� า เป็ น วั ด ชั่ ว คราว และวั น ที่ 20 ตุลาคม ค.ศ. 1947 จึงมีการซื้อที่ดิน ผืนใหญ่ 48 ไร่ครึ่ง โดยมีโครงการสร้าง โรงเรียนและบ้านเณรที่นั่น 10 ปีต่อมา ชาวราชบุรีต้องประหลาดใจที่เห็นอาคาร 3 ชั้น โดดเด่นกลางทุ่งนา ทั้งด้านถนน คฑาธรและด้านถนนราษฎรยินดี นั่นคือ การเริ่มต้นของโรงเรียนดรุณาราชบุรีและ โรงเรียนนารีวทิ ยาในสมัยของพระสังฆราช เปโตร คาเร็ตโต db Bulletin


dbBulletin 1

สถานีบ้านโป่ง

“... รถไฟขบวนนี้เมื่อออกจากสถานี ราชบุ รี แ ล้ ว จะหยุ ด รั บ ส่ ง ผู ้ โ ดยสารที่ สถานีบ้านโป่งเป็นสถานีต่อไป …” วันที่ 18 ธันวาคม 1932 มีพิธีเปิดโรงเรียน แห่งแรกของซาเลเซียนในประเทศไทย ที่ บ้านโป่ง ทุกคนชื่นชมในความเชื่อและ ความพยายามของคุณพ่อยอแซฟ ปีนฟั โฟ ผู้ด�ำเนินการสร้างโรงเรียนแห่งนี้ ในปี ค.ศ. 1939 คณะธิดาแม่พระองค์ อุปถัมภ์ได้เปิดบ้านที่บ้านโป่ง โรงเรียน นารี วุ ฒิ แ ยกโรงเรี ย นหญิ ง ออกจาก โรงเรียนเซนต์โยเซฟแผนกชาย นอกนัน้ ยังขยายงานไปกรุงเทพฯ จาก ความฝันที่ว่า “ที่กรุงเทพจะต้องมีบ้าน อย่างน้อย 4 บ้าน 2 บ้านส�ำหรับพระสงฆ์ ซาเลเซียนและ 2 บ้านส�ำหรับคณะ ธิดาแม่พระองค์อุปถัมภ์ ส่วนบ้านอื่น ๆ จะผุ ด ขึ้ น ทางเหนื อ และภาคใต้ ใ น จุดศูนย์กลางที่ส�ำคัญๆ” อั ค ราธิ ก ารของคณะซาเลเซี ย นได้ เขี ย นถึ ง พระคุ ณ เจ้ า ปาซอตตี ลงวั น ที่ 6 มิถนุ ายน 1935 เน้นว่า การเปิดโรงเรียน อาชีวะทีก่ รุงเทพฯ ยังเป็นโครงการเร่งด่วน March-April 2019

2

ของคณะซาเลเซียนในประเทศไทย ในปี ค.ศ. 1959 คณะธิดาแม่พระองค์ อุ ป ถั ม ภ์ ไ ด้ เ ปิ ด บ้ า นที่ ศ าลาแดง กรุงเทพฯ เพือ่ เป็นหอพักส�ำหรับนักศึกษา และส�ำนักงานแขวง

1. บ้านหลังสถานีรถไฟใช้เป็นวัดและ บ้านพักจนกระทั่งมีศูนย์สังฆมณฑลที่ราชบุรี 2. สถานีบ้านโป่งสมาชิกซาเลเซียนและ นักเรียนรอรับเสด็จ

สถานีหัวหิน

บรรดาธรรมทูตเดินทางขึ้นล่องโดย รถไฟ น�ำความรักของพระเจ้าไปสู่ผู้คน มากมาย ตั้งแต่ปี ค.ศ 1935 คุณพ่อมารีโอ รูเซ็ดดู ขึ้นรถไฟจากราชบุรีไปส�ำรวจและ พบคริสตชนประมาณ 50 คนทีห่ วั หิน และ เริ่มสร้างวัดเล็ก ถวายแด่นักบุญเทเรซา แห่งพระกุมารเยซู ด้วยการบริจาคของผู้มี 27


ครอบครัวซาเลเซียนตามล�าน้�า 350 ปี มิสซังสยาม By กุหลาบป่า

3

ใจศรัทธา หลังจากนั้นประมาณ 6 เดือน ก็ได้ซอื้ ทีด่ นิ แปลงใหญ่ประมาณ 40-50 ไร่ ที่ติดจ�านองอยู่ บรรดาสมาชิกทั้งพระสงฆ์ ภราดาและสามเณรช่วยกันก่อสร้างบ้าน พักแบบง่าย ๆ เปิดบ้านพักตากอากาศ ส�าหรับสามเณร พร้อมกับท�างานอภิบาล ติดตามดูแลสัตบุรุษ 6-7 ครอบครัว นอกนั้นคุณพ่อมารีโอและธรรมทูต อื่นๆ ยังไปเยี่ยมถึงชุมพร หาดใหญ่ ยะลา โดยเส้นทางรถไฟ แล้วต่อรถยนต์ไปยัง สถานทีต่ า่ งๆ ทีค่ รอบครัวคริสตชนรอคอย พบผู้อภิบาล เช่น อาจารย์ทวน คมกฤส ขึ้ น รถไฟที่ ส ถานี ค วนเนี ย งเพื่ อ รอรั บ ท่านกาเยตาโน ปาซอตตี น�าไปลงสถานี หาดใหญ่เพื่อไปพักที่บ้าน วันรุ่งขึ้น วันที่ 20 ตุลาคม ค.ศ. 1935 หลังมิสซาได้โปรด ศีลล้างบาปให้ลกู คนแรก ปัจบุ นั คือ คุณพ่อ ทัศไนย์ คมกฤส กระจิบเพลินไปกับเรื่องราวในอดีต รูส้ กึ ตัวเมือ่ ได้ยนิ เสียงประกาศคล้ายๆ กัน อีกครั้ง “ที่นี่ สถานีราชบุรี ...ที่นี่ โรงเรียน นารีวทิ ยา คณะผูร้ บั ใช้ฯ ยินดีตอ้ นรับ... สมาชิกครอบครัวซาเลเซียน..” วันที่ 26 มกราคม ค.ศ. 2019 เป็นวัน ชุมนุมครอบครัวซาเลเซียน ซึ่งส่วนใหญ่ เดินทางมาโดยรถยนต์ จากกรุงเทพฯ สามพราน บ้านโป่ง หัวหิน สุราษฎร์ธานี และหาดใหญ่ ปีนี้จัดที่โรงเรียนนารีวิทยา คณะผู้รับใช้ดวงหทัยนิรมลของพระแม่มารีย์เป็นเจ้าภาพ สมาชิกในครอบครัว ซาเลเซียนมาร่วมงานประมาณ 300 คน ใน บรรยากาศความเป็นพีน่ อ้ ง ตัง้ แต่ 8.00 น. เราทักทายกันอย่างอบอุ่น ร่วมกิจกรรม 28

4

5

ต่างๆ อย่างตื่นตาตื่นใจ ได้รับรู้และมั่นใจ ว่า “ความศักดิ์สิทธิ์เป็นของเราแต่ละคน” จบด้วยบูชาขอบพระคุณ ด้วยความกตัญญู รู้คุณ ลาจากกันเวลา 16.00 น. พ่อบอสโก คงมองลงมาจากเบื้องบนด้วยความภูมิใจ ที่ลูกๆ ต่างส�านึกในมรดกที่พ่อมอบให้ และจะพยายามสืบทอดให้สายธารแห่ง ความเชื่อ ความรักในงานอภิบาลเยาวชน ไหลรินต่อไป ในจิตตารมณ์ธรรมทูตเช่น บรรพบุรุษของเรา

3. คุณพ่อมารีโอไปพบสัตบุรุษ ที่โรงแรม รถไฟหัวหิน 4. คุณพ่อมารีโอและสัตบุรษุ ทีส่ ถานีรถไฟ ชุมพร 5. ฯพณฯ กาเยตาโน ปาซอตตี โปรด ศี ล ล้ า งบาปลู ก ของอาจารย์ ท วน คมกฤส หาดใหญ่

db Bulletin


dbBulletin

ส่องโลกซาเลเซียน By SDB Reporter

World News ฉลอง 100 ปี ซาเลเซียนในไอร์แลนด์ คุณพ่ออังเกล แฟร์นันเดซ อาร์ติเม อัคราธิการซาเลเซียนร่วมฉลอง 100 ปี ซาเลเซียนในประเทศไอร์แลนด์ (1919-2019) เมือ่ วันที ่ 15 กุมภาพันธ์ 2019 ที ่ Maynooth โอกาสนีค้ ณุ พ่อได้เยีย่ มสมาชิกและหมูค่ ณะ ซาเลเซียนในประเทศไอร์แลนด์ด้วย

วิ่งการกุศล เมือ่ วันที ่ 10 มีนาคม ค.ศ.2019 มูลนิธคิ ณะซาเลเซียนแห่งประเทศโปรตุเกส จัดวิ่งการกุศลครั้งที่ 4 “Corrida Salesianos 2019” ที่กรุงลิสบอน โดยมี คุณพ่อ José Aníbal Mendonça เจ้าคณะแขวงเป็นประธานกล่าวเปิดงาน มีผู้ร่วมวิ่งทั้งสิ้น 3,000 คน รายได้เพื่อสนับสนุนโครงการด้านสังคมและ ช่วยเหลือคนยากจน

ซาเลเซียนสงฆ์ใหม่ 8 องค์

ชุมนุมเพื่อนซาวีโอ แขวงเปียตมอนต์ อิตาลี ตัวแทนสมาชิกชมรมเพือ่ นซาวีโอ ซึ่งมาจากบ้านซาเลเซียนและวัด จ�านวน 30 แห่งของแขวงเปียตมอ นท์ ประเทศอิตาลี จ�านวน 400 คน ชุมนุมที่คอลเลดอนบอสโก ตุริน ระหว่างวันที่ 16-17 กุมภาพันธ์ 2019 โดยมีทมี งานประกอบไปด้วย โปสตูลนั ต์ โนวิส สมาชิกซาเลเซียน ชายและหญิง รวมท้ังพี่เลี้ยงที่ช่วย จัดงานและกิจกรรมต่างๆ March-April 2019

คุณพ่อปอล ลิงคอต เจ้าคณะแขวงซาเลเซียนเมืองชิลลอง ประเทศอินเดีย เป็นประธานพิธบี ชู าขอบพระคุณโมทนาคุณพระเจ้าส�าหรับพระพรแห่งกระแสเรียก การเป็นสงฆ์ของพระสงฆ์ซาเลเซียนใหม่ 8 องค์ที่ Nongthymmai ท่ามกลาง สมาชิกซาเลเซียนและสัตบุรษุ ทีม่ าร่วมพิธกี ว่า 1,000 คน เมือ่ วันที ่ 17 กุมภาพันธ์ ค.ศ.2019

ปฏิญาณตนครั้งแรก เมือ่ วันที ่ 2 มีนาคม ค.ศ.2019 นวกชนซาเลเซียนจ�านวน 14 คนของประเทศ แองโกลาได้ปฏิญาณตนครั้งแรก โดยคุณพ่อวิกเตอร์ เซเควรา เจ้าคณะแขวง แองโกลาเป็นประธานในพิธี 29


REGIONAL NEWs By... SDB Reporter

มรณสักขีซาเลเซียน คุณพ่ออันตน เชซาเร แฟร์นันเดซ ซาเลเซียนธรรมทูตชาวสเปน ซึง่ ท�างาน อยูท่ ปี่ ระเทศบูรก์ นิ าฟาโซ ถูกยิงเสียชีวติ โดยผู ้ ก ่ อ การร้ า ย ในขณะที่ ท ่ า น ก� า ลั ง เดิ น ทางกลั บ หมู ่ ค ณะหลั ง จากไปประชุ ม สมั ช ชาแขวงเมื่ อ วั น ที่ 15 กุมภาพันธ์ ค.ศ.2019 สิริอายุ 72 ปี และได้มพี ธิ บี ชู าขอบพระคุณปลงศพ ทีว่ ดั นักบุญแคทเธอรีน เมืองโพโซบรังโก ประเทศสเปน ท่ามกลางสมาชิกซาเลเซียน และสัตบุรุษ เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ ค.ศ.2019

คุณพ่ออันตน เชซาเร แฟร์นนั เดซ เกิดเมื่อ 7 กรกฎาคม ค.ศ.1946 ท่ า นได้ รั บ ศี ล บวชเป็ น พระสงฆ์ ใน ปี 1973 และได้เป็นธรรมทูตในทวีป แอฟริกา ปี 1982 ท่านเป็นธรรมทูต ซาเลเซี ย นคนแรกที่ ไ ปบุ ก เบิ ก งานที่ ประเทศโตโก เมือ่ 35 ปีทแี่ ล้ว นอกนัน้ ท่านได้ท�าหน้าที่เป็นนวกจารย์เป็น เวลา 10 ปี คือ ปี 1988-1998 ตามสถิตปิ ี 2018 รายงานว่า พระสงฆ์ คาทอลิกทั่วโลกถูกฆ่าเสียชีวิตจ�านวน 36 คน เฉลี่ย 3 คน / เดือน โดย จ�าแนกเป็น ทวีปแอฟริกา 19 คน (ใน 7 ประเทศ) ทวีปอเมริกา 13 คน (ใน 4 ประเทศ) ทวีปเอเซีย 3 คน (ใน 2 ประเทศ) และทวีปยุโรป 1 คน (ใน 1 ประเทศ) 30

db Bulletin


dbBulletin

EAO News ประชุม TVET ภูมิภาค EAO

ประชุมประวัตศิ าสตร์ซาเลเซียน ภูมิภาค EAO ครั้งที่ 4 วันที่ 10-15 กุมภาพันธ์ ค.ศ.2019 สมาคมนักประวัติศาสตร์ซาเลเซียนน�ำ โดยคุณพ่อฟรังซิส มอตโต จัดประชุม ประวัติศาสตร์ซาเลเซียนภูมิภาคเอเชีย ตะวันออกและโอเชียเนีย (EAO) ครัง้ ที่ 4 ณ บ้ า นธารพระพร อ.สามพราน จ.นครปฐม โดยมี ผู ้ แ ทนสมาชิ ก ใน ครอบครัวซาเลเซียนจากภูมิภาค EAO เข้าร่วมประชุมจ�ำนวน 47 คน

เมือ่ วันที่ 25-27 กุมภาพันธ์ ค.ศ.2019 ได้มกี ารประชุมผูร้ บั ผิดชอบโรงเรียน อาชีวะในภูมิภาค EAO ที่กรุงโฮจิมิน ประเทศเวียดนาม โดยมีตัวแทนจาก ประเทศต่างๆในภูมิภาค EAO เข้าร่วมประชุม ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความร่วมมือ กันและวางแผนงานเพื่อการช่วยเหลือเยาวชนต่อไป

ประชุมเหรัญญิกแขวง และ PDO ภูมิภาค EAO เหรัญญิกแขวงและผูร้ บั ผิดชอบ PDO ในภูมภิ าคเอเชียตะวันออกและโอเชียเนีย ประชุมร่วมกันที่บ้านเอมมาอูส เมืองพอร์ตมอร์สบี ประเทศปาปัวนิวกีนี ระหว่าง วันที่ 3 -7 มีนาคม ค.ศ.2019 โดยมีภราดา Jean Paul Muller เหรัญญิกคณะ และทีมงานจากกรุงโรม ร่วมประชุมด้วย มีผู้ร่วมประชุมจ�ำนวน 25 คน

ประชุมเจ้าคณะ ภูมิภาค EAO ระหว่างวันที่ 4-7 มีนาคม ค.ศ. 2019 เจ้าคณะแขวงซาเลเซียนภูมภิ าค EAO ประชุมร่วมกันทีส่ ำ� นักงานแขวง ซาเลเซียน กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ และได้ ร ่ ว มในพิ ธี ก ารรั บ ต� ำ แหน่ ง ของคุณพ่อเจ้าคณะองค์ใหม่ของแขวง เกาหลีใต้เมื่อวันที่ 3 มีนาคม ค.ศ. 2019 ด้วย

March-April 2019

31


LECTIO DIVINA By พระสังฆราช โยเซฟ ประธาน ศรีดารุณศีล

กำรถวำยพระกุมำรในพระวิหำร

เพื่ อ เตรี ย มจิ ต ใจพร้ อ มอ่ า นพระวาจาของ พระเจ้าในบทนี้ ให้เราวอนขอพระจิตของพระเจ้า ทรงฟื้นฟูจิตใจของเรา เปิดดวงใจของเราให้พร้อม ยอมรั บ ความเข้ า ใจใหม่ ๆ พร้ อ มรั บ ก� า ลั ง ใจที่ พระเจ้าปรารถนาประทานให้กับเรา... ให้เรา จินตนาการว่า ขณะนี้เราก�าลังเดินติดตามนักบุญ โยเซฟและพระนางมารีย์ผู้อุ้มพระกุมารเยซูเจ้า ไว้ในอ้อมแขน ก้าวเข้าไปในพระวิหาร ณ กรุง เยรูซาเล็ม...

Lectio : พระเจ้าตรัส ลูกา 2:22-35

การถวายพระกุมารในพระวิหาร

22เมื่อครบก�าหนดเวลาที่มารดาและบุตรจะ ต้องท�าพิธชี า� ระมลทินตามธรรมบัญญัตขิ องโมเสส โยเซฟพร้อมกับพระนางมารีย์น�าพระกุมารไปที่ กรุงเยรูซาเล็มเพื่อถวายแด่พระเจ้า 23มีเขียนไว้ ในธรรมบัญญัติของพระเจ้าว่า จะต้องถวายบุตรชาย คนแรกแด่พระเจ้า 24และถวายเครื่องบูชาคือ 32

นกเขาหนึ่งคู่หรือนกพิราบสองตัวตามที่มีก�าหนดไว้ในธรรมบัญญัติ ของพระเจ้า 25เวลานั้น ที่กรุงเยรูซาเล็ม ชายผู้หนึ่งชื่อ สิเมโอน เป็นคนชอบธรรมและย�าเกรงพระเจ้า เขารอคอยความรอดพ้นของ อิสราเอล พระจิตเจ้าสถิตอยูก่ บั เขา 26และทรงเปิดเผยให้เขารูว้ า่ เขา จะไม่ตายก่อนทีจ่ ะได้เห็นพระคริสต์ของพระเจ้า 27พระจิตเจ้าทรงน�า สิเมโอนเข้าไปในพระวิหาร ขณะที่โยเซฟพร้อมกับพระนางมารีย์น�า พระกุมารเข้ามาปฏิบัติตามที่ธรรมบัญญัติก�าหนดไว้ 28สิเมโอนรับ พระกุมารมาอุ้มไว้ และกล่าวถวายพระพรแด่พระเจ้าว่า บทเพลงของสิเมโอน 29ข้าแต่พระเจ้า บัดนี้ พระองค์ทรงปล่อยผู้รับใช้ของพระองค์ไปเป็นสุข ตามพระด�ารัสของพระองค์ 30เพราะนัยน์ตาของข้าพเจ้าได้เห็นองค์พระผู้ช่วยให้รอดพ้น 31ผู้ที่พระองค์ทรงจัดเตรียมไว้ส�าหรับนานาประชาชาติ 32เป็นแสงสว่างเปิดเผยให้คนต่างชาติรู้จักพระองค์ และเป็นสิริรุ่งโรจน์ส�าหรับอิสราเอลประชากรของพระองค์ สิเมโอนกล่าวท�านาย 33โยเซฟประหลาดใจในถ้อยค�าที่กล่าวถึงพระกุมาร พระนางมารีย์ ก็ทรงรู้สึกเช่นเดียวกัน 34สิเมโอนอวยพรท่านทั้งสองและกล่าวแก่ พระนางมารีย์ พระมารดาว่า “พระเจ้าทรงก�าหนดให้กุมารนี้เป็นเหตุ ให้ ค นจ� า นวนมากในอิ ส ราเอลต้ อ งล้ ม ลง หรื อ ลุ ก ขึ้ น และเป็ น dbBulletin db Bulletin


dbBulletin

เครื่องหมายแห่งการต่อต้าน 35เพื่อความในใจของคนจ�ำนวนมาก จะถูกเปิดเผย” ส่วนท่าน ดาบจะแทงทะลุจิตใจของท่าน

เข้าใจความหมายของพระวาจา

“ธรรมบัญญัติ” “กรุงเยรูซาเล็ม” “พระวิหาร” และ “จิต แห่งการพยากรณ์” เหล่านี้คือบริบทของการเผยแสดงครั้งใหม่ของ พระเจ้าเรื่องความรอดพ้น เหตุการณ์ฉากนี้ให้เกียรติ ธรรมเนียม โบราณสองประการ คือ การช�ำระมลทินของผู้เป็นมารดาหลังจาก ให้ก�ำเนิดบุตรได้ 40 วัน และ การถวายบุตรชายคนแรกแด่พระเจ้า ในการช�ำระมลทินของมารดา ต้องถวายลูกแกะตัวหนึง่ แต่ถา้ นาง ไม่สามารถซื้อหาลูกแกะมาได้ ก็สามารถถวายนกพิราบหรือนกเขา หนึ่งคู่แทนได้ ธรรมบั ญ ญั ติ ก� ำ หนดให้ ถ วายบุ ต รชายคนแรกเพราะถื อ ว่ า บุตรหัวปีเป็นกรรมสิทธิ์ของพระเจ้า ผู้ทรงช่วยให้บุตรหัวปีของชาว อิสราเอลรอดชีวติ ในคืนปัสกา การถวายพระเยซูเจ้าเป็นเครือ่ งหมาย ของการถวายตัว รับใช้พระเจ้าตลอดชีวิตของพระองค์ สิเมโอนเป็นตัวแทนของอิสราเอลยุคโบราณ เขายึดมั่นในธรรม ประเพณีตลอดชีวิตและรอคอยด้วยความหวัง ในตัวชายชราผู้นี้ อิสราเอลยอมรับว่าการรอคอยอันยาวนานได้สนิ้ สุดลงแล้ว และยุคใหม่ แห่งความรอดพ้นได้เริ่มขึ้นแล้ว อิสราเอลยุคเดิมสามารถพักผ่อน อย่างสงบ ขณะที่ยุคใหม่ของพระเมสสิยาห์เริ่มขึ้น การรอคอย “ความบรรเทาของอิสราเอล” ของสิเมโอน หมายถึงยุคที่ประกาศก อิสยาห์กล่าวถึง ซึ่งจะเป็นยุคที่อิสราเอลได้รับความบรรเทา และ พระสิริรุ่งโรจน์ของพระเจ้าจะเผยตัวแก่ทุกชนชาติ (อสย 40)

March-April 2019

พระจิตเจ้าทรงเปิดเผยให้สิเมโอนรู้ว่าเขาจะไม่ตายจนกว่าจะได้ เห็นพระเมสสิยาห์ของพระเจ้า ขณะที่เขารับพระกุมารมาอุ้มไว้ เขา สรรเสริญพระเจ้าที่ทรงรักษาค�ำพูดของพระองค์ บัดนี้ ณ จุดเปลี่ยน ของประวัติศาสตร์ เขาสามารถตายได้แล้ว เพราะเขาได้เห็น ความรอดพ้นของชนชาติทงั้ หลายแล้ว ถ้อยค�ำของสิเมโอนทีป่ ระกาศ ว่า ความรอดพ้นทีพ่ ระคริสตเจ้าน�ำมานัน้ จะมีผลต่อคนทัง้ โลก ท�ำให้ ทัง้ พระนางมารียแ์ ละนักบุญโยเซฟประหลาดใจ และเป็นการท�ำนาย ล่วงหน้าเกีย่ วกับงานเทศนาสัง่ สอนของพระเยซูเจ้าและพระศาสนจักร

33


LECTIO DIVINA By พระสังฆราช โยเซฟ ประธาน ศรีดารุณศีล

ของพระองค์ แต่กระนั้น ท่ามกลางค�าบอกเล่าที่เต็มไปด้วย แสงสว่าง ความยินดีและความหวัง สิเมโอนยังกล่าว ค�าพูดทีน่ า่ กังวลใจต่อพระนางมารียโ์ ดยตรงด้วย เขา เปิดเผยว่าความรอดพ้นที่พระเจ้าประทานให้นี้ จะ ต้องเกิดขึน้ ควบคูก่ บั ความเสียสละยิง่ ใหญ่ พระเยซูเจ้า จะทรงเป็ น “เครื่ อ งหมายแห่ ง การต่ อ ต้ า น” เครือ่ งหมายของพระคริสตสมภพ คือทารกทีม่ ผี า้ พัน กายนอนอยู่ในรางหญ้าจะน�าไปสู่เครื่องหมายของ พระเยซูเจ้าผูถ้ กู ตรึงกางเขนและฝังไว้ พระองค์จะทรง เป็นต้นเหตุให้เกิดความขัดแย้ง หลายคนจะปฏิเสธ พระองค์ หลายคนจะยอมรับพระองค์ และสิเมโอน แจ้งแก่พระนางมารีย์ว่า “ดาบจะแทงทะลุจิตใจของ ท่าน” พระนางจะมีส่วนร่วมรับความเจ็บปวดต่างๆ รวมถึงการถูกปฏิเสธทีพ่ ระบุตรของพระนางจะได้รบั ...

Meditatio

หลังจากตั้งใจอ่านและไตร่ตรองพระวรสารนี้ ด้วยความพิศวงแล้ว ให้เราพิจารณาสารและความ ท้าทายที่เราได้รับเป็นส่วนตัวจากการเผยแสดงของ พระเจ้า ให้พระวาจาแสดงปฏิกิริยากับประสบการณ์ แห่งความเชื่อในตัวเรา และครอบครัวของเรา ๐ การถวายพระกุมารในพระวิหารแสดงให้ เห็นว่า ผลงานใหม่ของพระเจ้าก�าลังท�าให้ค�าสัญญา

34

โบราณส�าเร็จไป ความทรงจ�าจะเป็นรากฐานของความหวังในอนาคต เสมอ ข้อคิดนี้เป็นความจริงอย่างไรในชีวิตของเรา ๐ สิเมโอนได้เฝ้ารอคอยมานานหลายปี การเพียรทนของ ท่านสอนเราให้รู้จักคุณค่าของการรอคอยอย่างใจจดใจจ่ออย่างไร เราก�าลังรอคอยให้ค�าสัญญาใดเป็นความจริงบ้าง ๐ ความหวัง การวางใจ และการรอคอยอย่างอดทนเป็นท่าที ทีจ่ า� เป็นส�าหรับผูม้ คี วามเชือ่ ทุกคน เราเคยเห็นผลดีจากการวางใจใน ตารางเวลาของพระเจ้ามากกว่าวางใจในตารางเวลาของเราเองหรือไม่ ๐ “ดาบจะแทงทะลุจิตใจของท่าน” ท�านายถึงความทุกข์ ยากที่พระนางมารีย์จะต้องทนรับเพราะความรักที่มีต่อพระบุตรของ พระนาง พระนางรู้สึกอย่างไรเมื่อได้ฟังค�าท�านายนี้จากสิเมโอน ตลอดพระชนมชีพของพระเยซูเจ้าดวงใจของพระนางมารีย์ถูกดาบ แทงทะลุอย่างใดบ้าง ๐ แม่พระมหาทุกข์แสดงให้เราเห็นถึงพระหรรษทานทีเ่ กิดขึน้ ควบคูก่ นั เสมอกับความทุกข์ทรมานทีไ่ ด้รบั ขณะทีค่ วามทุกข์ทรมาน ท�าร้ายจิตใจแต่บาดแผลจากความทรมานนั้นก็กลับเป็นเครื่องมือ

db dbBulletin Bulletin


dbBulletin

ขยายหัวใจของมนุษย์ให้ใหญ่ขึ้น พระนาง มารียส์ อนเราให้ทนรับความทุกข์ทรมานด้วย ท่าทีเช่นไร ๐ เราอาจเปลี่ยนทัศนคติต่อความ ทุกข์ทรมานจากที่เคยมองว่าเป็นความโศก เศร้าอย่างไร้เหตุผลให้กลายเป็นมองเห็น โอกาสแห่งการรับพระหรรษทานเข้ามาใน ชีวติ เพือ่ ทีจ่ ะขยายหัวใจของเราและช่วยเหลือ ผู้อื่นให้มองเห็นความหมายและความหวัง ท่ามกลางความเจ็บปวด

Oratio

ตอบสนองต่อพระวาจาทีพ่ ระเจ้าตรัสกับ เรา ด้วยค�าภาวนาจากใจของตนเอง ด้วยการ ใช้ความคิด ภาพจินตนาการและค�าศัพท์จาก พระคัมภีร์ เพื่อแต่งบทภาวนาของเรา อาจเริ่มต้นด้วยค�าภาวนานี้ จากนั้นจึง ภาวนาต่อไปด้วยค�าพูดของเราเอง ๐ ข้ า แต่ พ ระเจ้ า ผู ้ ท รงน� า ความ รอดพ้นมาสู่โลกผ่านพระบุตรของพระองค์ โปรดให้ขา้ พเจ้ารับพระเยซูเจ้าไว้ในอ้อมแขน และยอมให้ความรักของพระองค์แทรกเข้า มาในหัวใจ โปรดประทานพระพรแห่งความ เชื่อ เพื่อให้ข้าพเจ้าวางใจในพระองค์อย่าง สมบูรณ์ โปรดประทานพระพรแห่งความหวัง เพื่อให้ข้าพเจ้ามองเห็นความทุกข์ทรมาน ในชี วิ ต ที่ ผ ่ า นมาเป็ น พระหรรษทาน และโปรดประทานพระพรแห่ ง ความรั ก เพื่อให้ข้าพเจ้าสัมผัสกับการประทับอยู่ของ พระองค์......

Contemplatio

และเมื่อค�าพูดดูเหมือนจะมากเกินไป หรือน้อยจนไม่เพียงพอ ให้เราพักผ่อนกับ พระเจ้าในการภาวนาเพ่งพินิจ โดยไม่ต้อง ใช้ค�าพูด ๐ สิเมโอนรอคอยมาทั้งชีวิตเพื่อได้ เห็นพระเมสสิยาห์ของพระเจ้าผูเ้ สด็จมา เมือ่ ท่านมองพระกุมารเยซูในอ้อมแขน ท่าน สมหวังแล้ว ไม่มสี ง่ิ ใดต้องกังวลใจอีกต่อไป.. ให้เราจินตนาการถึงประสบการณ์การได้โอบ March-April 2019

กอดใครสักคนที่รอคอยมาตลอดชีวิต ใช้เวลาเพ่งพินิจการได้รับพระเยซูคริสตเจ้าผู้เสด็จเข้า มาในหัวใจของเรา

Communicatio

ในวันนี้ เราจะน�าประสบการณ์กับพระวาจาของพระเจ้ามาปฏิบัติจริง เพื่อเปลี่ยนวิธีคิด ความรู้สึก และพฤติกรรมของเราได้อย่างไร ๐ ภาพเหตุการณ์การถวายพระกุมารในพระวิหารนี้ เป็นตัวอย่างของความวางใจใน พระเจ้า บุคคลใดในเหตุการณ์นที้ เี่ ราต้องการเลียนแบบ และใช้ความปรารถนานัน้ พยายาม เปลี่ยนแปลงตนเอง เปลี่ยนแปลงชีวิตให้กลับเป็นผู้ที่วางใจในพระเจ้าอย่างเต็มเปี่ยม 35


กล้ากระแสเรียก เรียบเรียงโดย อัลปิโน

กาวเดินไปพรอมกัน วิถีเด็กบ้านนอก “ลุกขึน้ มาจากทีน่ อนได้แล้วลูก เดีย๋ วไปโรงเรียนสายนะ” เสียงของแม่ทตี่ ะโกน จากห้องครัว เพื่อปลุกให้ผมตื่นเพื่อต้อนรับวันใหม่และพร้อมที่จะท�าหน้าที่ ประจ�าวันของผมนั่นคือ การไปโรงเรียน โรงเรียนอะไรนะเหรอ ก็โรงเรียนวัดใน ชนบทนั้นแหละครับ แม่ปลุกผมทุกวัน จากนั้นผมก็จะต้องรีบลุกขึ้นไปอาบน�้า ท�าธุระส่วนตัว ทานอาหารเช้าทีม่ เี พียงครีมเทียมชงกับน�า้ ร้อนและใส่นา�้ ตาลนิดหน่อย เพื่อเพิ่มความหวานกับคุกกี้สองชิ้น จากนั้นก็หนีบเจ้ารองเท้าแตะหูคีบ แล้วรีบ เดินไปโรงเรียน ระยะทางก็ประมาณ 3 กิโลเมตรได้ ชีวิตผมช่วงนั้นก็เป็นแบบนี้ ทุกวันละครับ ผมยังจ�าได้ชว่ งนัน้ ผมน่าจะอยูช่ นั้ ประถมศึกษาปีทหี่ นึง่ ครับ...คงจะ สงสัยสิครับว่า ผมอยู่แค่ ป.1 จะเดินไปโรงเรียนคนเดียวได้หรือ...ได้ครับ ผมมี ลูกพี่ลูกน้องที่โตกว่าผมหลายปี เดินไปด้วยกันครับ ความทรงจ�าที่ไม่ลืมเลือน ผมมีความทรงจ�าหนึง่ ทีย่ งั อยูใ่ นหัวสมองและในความรูส้ กึ ของผมมาตลอด เช้าวันหนึ่ง ขณะที่ผมก�าลังเตรียมตัวจะไปโรงเรียน ผมได้ยินเสียงแตรรถยนต์ ทีด่ งั มาจากหน้าบ้าน แม่จงึ ตะโกนบอกผมว่า “ไปดูซลิ กู ใครมาบีบแตรหน้าบ้าน” เมื่อสิ้นเสียงค�าสั่งของแม่ ผมก็วิ่งออกไปดูหน้าบ้าน ปรากฏว่ามีชายสองคนเดิน ลงมาจากรถตู้เก่าๆ คันสีเหลือง คนแรกใส่ชุดสีขาวยาวๆ ในช่วงเวลานั้นผมก็รับ รู้ได้ล่ะครับ ว่าชายคนแรกคือคุณพ่อเจ้าวัด ส่วนชายคนที่สองท่านก็ใส่ชุดสีขาว ยาวเหมือนกัน แต่กระดุมที่ชุดของท่านสีจะออกม่วงๆ อมชมพู และก็มีผ้าคาดเอว สีเดียวกับกระดุมด้วย ส�าหรับท่านที่สองนี้ ในตอนนั้นผมไม่ทราบจริงๆ ว่าใคร (ท่านคือพระสังฆราช) ผมเลยละจากตรงนัน้ รีบวิง่ ไปบอกแม่ทกี่ า� ลังจะเตรียมตัว เข้าไปท�างานในไร่ว่า “แม่ๆ พ่อเจ้าวัดมา แต่พ่อเขามากับใครไม่รู้อ่ะ ใส่ชุดสีขาว เหมือนกัน” เมื่อแม่ได้ยิน ก็รีบวิ่งออกไปต้อนรับ เชิญพระคุณเจ้า และคุณพ่อ 36

db Bulletin


dbBulletin

เจ้าวัดเข้าบ้าน จากนัน้ แม่กใ็ ห้ผมไปเรียกยายมา ผมก็รบี วิง่ ไปเรียกยายตามแม่สั่ง ในขณะทีพ่ วกผูใ้ หญ่กำ� ลังสนทนากับพระคุณเจ้าและ คุณพ่อเจ้าวัด ผมก็เดินผ่านวงสนทนาพร้อมกับเตรียมยกมือ ไหว้สวัสดีกอ่ นไปโรงเรียน ทันใดนัน้ คุณพ่อเจ้าวัดก็บอกกับ ผมว่า “เดี๋ยวพ่อไปส่งนะหนู พ่อก�ำลังจะคุยธุระเสร็จแล้ว” ด้วยความเป็นเด็ก ไม่รู้อะไรมากมาย ผมก็เลยพยักหน้า พร้อมกับมองหน้าแม่ และยาย จากนัน้ ผมก็เดินไปรอทีห่ น้าบ้าน ไม่นานนักคุณพ่อเจ้าวัด พระคุณเจ้า ยาย และแม่ของผมก็ เดินออกมากหน้าบ้าน คุณพ่อเจ้าวัดเรียกผม “ไอ้หนู ขึ้นรถเลย พ่อก�ำลังจะไปแล้ว” ผมก็รู้สึกตื่นเต้นครับ จะได้นั่งรถตู้แล้ว มันเป็นครั้งแรกในชีวิตที่นั่งรถตู้ครับ เพราะปกติผมนั่งแต่ จักรยาน หรือไม่ก็รถเครื่องเก่าๆ ผมยกมือสวัสดีแม่ และ ยาย แล้วผมก็ขึ้นรถตู้ แม่ และยายของผมก็ลาพระคุณเจ้า และคุณพ่อเจ้าวัด จากนัน้ คุณพ่อเจ้าวัดก็ออกรถ และตรงไป ทีโ่ รงเรียนทีผ่ มเรียนอยู.่ ..เมือ่ ไปถึงหน้าโรงเรียน ภาพทีเ่ ห็น ตรงหน้าคือ นักเรียนทุกคนมาเข้าแถว แล้วก�ำลังร้องเพลงชาติ... โอ้ ไม่นะ ผมมาสาย ผมกลัวครูฝ่ายปกครองท�ำโทษมาก แม้วา่ ในช่วงเวลานัน้ ผมยังเป็นเด็กมาก แต่ผมก็กลัวการลงโทษ เพราะผมเห็นครูฝา่ ยปกครองท�ำโทษนักเรียนทีม่ าสาย ความกลัวนั้น ท�ำให้ผมไม่อยากลงจากรถ และร้องไห้หนักมาก คุณพ่อเจ้าวัดถามผมว่า “เป็นอะไร ร้องไห้ทำ� ไม” ผมก็ตอบท่าน ทั้งๆ ที่ร้องไห้อยู่ “ผมมาโรงเรียนสายครับ ผมกลัวครูตีผมครับ” ท่านก็ตอบกลับมาว่า “โถ่เอ๋ย นึกว่าเรื่องอะไร...ไม่เป็นไร หยุดร้องนะ เดีย๋ วพ่อจะเดินพาหนูไปส่งทีห่ อ้ งเรียนเลย แล้วพ่อจะบอกครูเองว่าท�ำไมมาสาย หนูไม่ต้องกลัวนะ ครูจะไม่ตีหนู” ด้วยความที่ผมเชื่อท่าน ผมก็เริ่มหยุดร้องไห้ แล้วก็เดินไปกับท่าน คุณพ่อเจ้าวัด เดินแตะทีบ่ า่ ของผมตลอด แล้วพาผมไปส่งที่ห้องเรียนเลย และเมื่อไปถึงห้องเรียน March-April 2019

ท่านก็ได้บอกเหตุผลกับครู ว่า ท่านมีธุระที่บ้านของ ผมนิ ด หน่ อ ย เลยมาส่ ง ผมสาย ครูยิ้มให้ผม แล้ว บอกว่าให้เข้าห้องเรียนได้ ผมยกมือสวัสดีลาคุณพ่อเจ้าวัด ท่านยิ้ม แล้วก็ลูบหัวของผม บอกว่า “เป็นเด็กดี ตัง้ ใจเรียนนะ แล้วพบกันใหม่วนั อาทิตย์ เวลาทีพ่ อ่ มาท�ำมิสซานะ” ผมได้แต่พยักหน้า แล้วท่านก็เดิน ละจากผมไปในวันนั้น นี่เป็นเหตุการณ์ที่ส�ำคัญมาก เป็นเหตุการณ์แรกในชีวิต ที่ผมสัมผัสได้ถึงความรักใจดีของการอภิบาลซาเลเซียนผ่าน ทางคุณพ่อเจ้าวัด ท่านไม่เพียงมาส่งผมทีห่ น้าประตูโรงเรียน แต่ทา่ นเดินมาข้างๆ ผม และเดินไปทีห่ อ้ งเรียนพร้อมกับผม เปลี่ยนชีวิต การพบปะสนทนาของคุณพ่อเจ้าวัด พระคุณเจ้า ยาย และ แม่ของผม มันเปลี่ยนชีวิตของผมครับ เพราะท่านมาคุยกับ ทางบ้านของผม เพื่อจะให้ผมย้ายโรงเรียนไปเข้าเรียนที่ โรงเรียนซาเลเซียน โดยคุณพ่อเจ้าวัดจะติดต่อเป็นธุระให้ครับ ผมดีใจมากที่ได้เปลี่ยนโรงเรียน อย่างไรก็ตาม การเรียน ในโรงเรียนเอกชนก็มีค่าใช้จ่ายไม่น้อยทีเดียว โดยเฉพาะ ส�ำหรับครอบครัวของเราซึ่งเป็นชาวไร่ชาวสวนในชนบท พ่อแม่ของผมก็ต้องท�ำงานหนักมากขึ้นเพื่อส่งผมเรียน แต่ ประเด็นส�ำคัญคือ ผมขอบคุณพระเจ้าที่ส่งคุณพ่อเจ้าวัด ซาเลเซียนมาเปิดทางให้ผมได้รจู้ กั คุณพ่อบอสโกและ เข้าเรียนในโรงเรียนซาเลเซียนซึ่งเป็นสถานศึกษาคาทอลิก ที่ช่วยให้ผมได้เรียนค�ำสอน ช่วยมิสซา อยู่ใกล้ชิดวัด มี ประสบการณ์ในด้านต่างๆ ในบรรยากาศที่สนุกสนานและ จริงใจ จากจุดนี้ กระแสเรียกของผมได้เริ่มเติบโตขึ้น จนผม ได้เข้าบ้านเณรซาเลเซียนและได้เป็นซาเลเซียนจนถึงปัจจุบนั 37


บทความ

โดย...ธ.เนาวรัตน์

การเปนผูที่มีจิตใจยากจน.... นี่คือความศักดิ์สิทธิ์ หากเรามองไปในโลก ในสังคมไทยของเรา ค�า ค�าหนึง่ ทีเ่ รามักจะได้ยนิ บ่อยๆ “ยุคThailand 4.0” ยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงในด้านสังคม เศรษฐกิจ ซึ่งมีผลกระทบ ต่อวิถชี วี ติ ของคนไทยไม่มากก็นอ้ ย และความพยายามของทุกฝ่าย ทัง้ ภาครัฐและ เอกชน ที่จะช่วยให้สังคมผ่านวิกฤตทางเศรษฐกิจ นั่นก็คือการแก้ปัญหา ความยากจน ถ้าเราถามค�าถามปลายเปิด จากบุคคลที่อยู่รอบข้างเราว่า ใครบ้าง อยากเป็นคนยากจน คงจะไม่มีใครที่ตอบว่า “ฉันอยากเป็นคนจน” แล้วเรา จะต้องมองชีวิตแบบไหนล่ะ เพื่อให้ตนเองเป็นผู้ยากจนในหัวใจ ดังที่ พระวาจา ของพระเจ้าได้ผลักดันเรา เรือ่ งความสุขแท้ 8 ประการ “ผูม้ ใี จยากจนย่อมเป็นสุข เพราะอาณาจักรสวรรค์เป็นของเขา” (มธ 5: 3) พระด�ารัสของพระเยซูเจ้า เชิญชวน ให้เราทุกคนเดินสวนกระแสสังคม พระองค์ทรงเชือ้ เชิญเราให้มองเข้าไปภายในใจ ของตนเอง นั่นหมายถึง การมีใจที่ยากจน ความยากจนเริ่มที่หัวใจก่อน แล้วจึง แสดงออกภายนอกในท่าที ค�าพูด ความประพฤติ เป็นการแสดงออกของผู้ที่ไม่ ติดใจกับทรัพย์สินเงินทอง ขอน�าพระด�ารัสขององค์สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสที่ตรัสในสมณลิขิต เตือนใจ จงชื่นชมยินดีเถิด (GAUDETE ET EXSULTATE) เกี่ยวกับการเรียก 38

db Bulletin


dbBulletin

ไปสู่ความศักดิ์สิทธิ์ในโลกปัจจุบัน ข้อ 67 พระเยซูเจ้าตรัส กับเราในเรื่องอุปมาเปรียบเทียบเศรษฐีโง่เขลา ที่มั่นใจใน ทรัพย์สมบัต ิ ความมัน่ คงของตนเอง โดยไม่รวู้ า่ เขาจะต้องตาย ภายในวันนั้น (ลก 12:16-21) ทรัพย์สมบัติจะมีคุณค่าและ เกิดประโยชน์ก็ต่อเมื่อเราใช้ทรัพย์สมบัตินั้น เพื่อแบ่งปัน ให้กับผู้ที่อยู่ในความทุกข์ยากล�าบาก ทรัพย์สมบัติไม่ท�าให้ ใจเราปิดที่จะคิดถึงแต่ตนเอง ไม่มีพื้นที่ให้กับพระเจ้า จึง ท�าให้พระเยซูเจ้าตรัสว่า เป็นบุญของผู้ที่มีจิตใจยากจน ในสภาพสังคมที่เราด�าเนินชีวิตอยู่ เราอาจจะตั้งค�าถาม ว่า แล้วเราจะด�าเนินชีวติ อย่างไร เพือ่ จะเป็นผูม้ จี ติ ใจยากจน

ของการร่วมทุกข์ ร่วมสุข กับผู้ที่อยู่ในความยากล�าบาก ที่ ต้องการความช่วยเหลือ ผูย้ ากจนไม่ได้หมายความถึงผูข้ ดั สน เท่านั้น แต่เป็นผู้ที่อยู่ในความต้องการความช่วยเหลือด้าน ในด้านหนึ่งของชีวิตที่มากกว่า เป็นการส่งเสริมศักดิ์ศรี ความเป็นมนุษย์ให้สมบูรณ์ขึ้นในแต่ละบุคคล

ประการที่สาม ใจที่ยากจนเสนอให้เรารู้จักตีคุณค่า สิ่งต่างๆ อยากถูกต้อง ล�าดับความต้องการ อะไรส�าคัญ มาก่อนหรือหลัง เพื่อไม่ตกอยู่ในลัทธิบริโภคนิยม ใช้จ่าย เงินด้วยการจัดการที่ดี ฉะนั้น ผู้ที่มีหัวใจที่ยากจนเท่านั้น พระเจ้าจะเข้ามาประทับในดวงใจของเขาอย่างถาวรและทีใ่ ด ประการแรก ใจที่ยากจน เรียกร้องความตั้งใจส่วน มีพระเจ้า ที่นั่นมีความรัก มีความดีงามทุกๆ ประการ บุคคล ที่จะเป็นประจักษ์พยานในความเรียบง่าย ความ ซึ่งท�าให้เราบอกได้ว่า นี่ แ ห ล ะ พอดีและเป็นอิสระจากความต้องการต่างๆ ที่มารุมล้อมเรา คือความศักดิ์สิทธิ์... ค�าพูดที่น่ารักและควรฝกฝนบ่อยๆ ก็คือ “ได้ก็ดี ไม่มีก็ได้” ไม่ติดใจกับความปรารถนาตามประสามนุษย์ ที่อยากจะมี อยากจะได้ อยากจะเป็น อยากจะเด่น อยากจะดัง ประการที่สอง ใจที่ยากจนเสนอให้เรา มีจิจิตวิญญาณของการแบ่งปัน การให้ การอุทิศตนเอง ตามบทบาทหน้าที่ ของแต่ละคน ค�าพูดทีว่ า่ “ไม่มใี คร ยากจน จนกระทั่งไม่สามารถ ให้อะไรได้” เช่น ให้เวลา ให้ ความสามารถ ให้ก�าลังใจ ให้ สิ่ ง ของเครื่ อ งใช้ ให้ ก าร ฯลฯ ทั้งหมดนี้คือท่าที อภัย ฯลฯ ทั March-April 2019

39


ครอบครัวซาเลเซียน By... MR.OK

¤ÇÒÁÊØ¢¢Í§ÊÁÒªÔ¡ ¤³ÐáÁ‹¾ÃÐͧ¤ ÍØ»¶ÑÁÀ (ADMA) ´Ã.ÍÒà´ÅÕ¹Ò ºØÞÊÁ ¹íéÒÊÁºÙó

ทุกๆ คน รวมทั้งกับบรรดาพระสงฆ์หนุ่มๆ ด้วยเกรงว่าจะดิฉนั จะถูกเรียกว่า “คุณป้า” หรือ “คุณยาย” ฯลฯ

ลูกหม้อซาเลเซียน

ดร.บุญสมเล่าให้เราฟังต่อว่า “ดิฉันได้ย้าย ตั ว เองมาสั ง กั ด ใน ‘วั ด แม่ พระองค์ อุป ถั ม ภ์ กรุงเทพกรีฑา’ ตั้งแต่เปิดวัดใหม่ๆ อาจมิใช่ ด้วยเหตุผลของการอยู่ใกล้วัดนี้ แต่ด้วยเหตุผล ของการเป็น ‘ลูกหม้อซาเลเซียน’ ดิฉันกล้าพูด ได้วา่ ดิฉนั เติบโตจากซาเลเซียน โดยตัง้ แต่เล็กๆ (อายุ 8 ขวบ) ได้เรียนค�าสอนกับซิสเตอร์ ซาเลเซียนในภาคฤดูร้อนทุกๆ ปี รวมทั้งได้ เรียนจบระดับมัธยมจากโรงเรียนของซิสเตอร์ ซาเลเซียนด้วย ดิฉันรู้สึกผูกพันและได้รับการ ถูกปลูกฝังจิตตารมณ์ซาเลเซียนที่หยั่งรากลึก ลงในจิตใจตั้งแต่ยังเล็ก ด้วยเหตุนี้ จึงไม่ใช่ ดร.บุญสม น�้าสมบูรณ์ สมาชิก ADMA ได้ เรือ่ งยากทีด่ ฉิ นั จะตัดสินใจเข้าเป็นสมาชิกคณะ เริม่ ต้นการพูดคุยกับเราด้วยการแนะน�าตนเอง พระนางมารีย์องค์อุปถัมภ์ (ADMA)” ว่า “ชื่อนักบุญของดิฉัน คือ “อาเดลีนา” คง เมื่ อ ถามถึ ง ความเป็ น มาในการเข้ า เป็ น เป็นชื่อนักบุญที่ไม่ค่อยคุ้นหูเท่าไหร่นัก ส่วน สมาชิก ADMA พีแ่ อ๊ดบอกกับเราว่า “ดิฉนั ได้ ชื่อ “บุญสม” นั้นบิดาเป็นคนตั้งให้ ท่านคง รับการเชิญชวนจากคุณอรจิตรา วิภาคหัตถกิจ ต้องการให้มี “บุญ” ติดตัวอยู่ตลอดเวลา ส่วน หรือคุณแอม ดิฉันขอถือโอกาสนี้ขอบคุณคุณ นามสกุล “น�้าสมบูรณ์” นั้น เป็นนามสกุลของ แอมที่ท�าให้ดิฉันได้พบสิ่งที่ดีๆ ด้วย เหตุผลที่ ผูท้ มี่ ถี นิ่ ก�าเนิดทีส่ ามพราน คนทีน่ นั่ จะรูจ้ กั กับ ดิฉันตัดสินใจเข้าคณะนี้ก็เพราะว่าต้องการ “ตระกูลน�้าสมบูรณ์” เป็นอย่างดี หลายๆ คน เสริมสร้างความศรัทธาต่อแม่พระ เพราะรู้ตัว อาจจะเรียกดิฉันว่า “พี่แอ๊ด” ทั้งนี้เป็นผลมา ดีวา่ ตนเองยังสามารถก้าวหน้าในความศรัทธา จากการแนะน�าตัวของดิฉันในครั้งแรกๆ กับ ต่อแม่พระได้มากกว่านี้อีก” 40

db Bulletin


dbBulletin

บทบาทและหน้าที่

ในช่วงเวลาประมาณ 15 ปีของการเป็น สมาชิกคณะ ADMA ดิฉนั ได้มโี อกาสรับใช้คณะ ในฐานะรองประธานกรรมการ ได้เขียน โครงการฯ และร่วมจัดกิจกรรมต่างๆ ตาม จิตตารมณ์ของคณะ อาทิ การเสริมสร้าง ความศรัทธาต่อแม่พระและศีลมหาสนิท การฟื้นฟูจิตใจของสมาชิก ความร่วมมือกับ ครอบครัวซาเลเซียน ความร่วมมือในกิจการ ของพระศาสนจักร และการเยี่ยมวัดแม่พระ องค์อุปถัมภ์ เป็นต้น

พวกเราด้วยดีเสมอมา เวลาเดียวกันดิฉันต้อง ขอบคุณสมาชิกในกลุ่มทุกท่านที่ช่วยกันสร้าง บรรยากาศแห่งความรัก ความอบอุ่น การ เอาใส่ใจดูแลกันทั้งในยามเจ็บป่วยและในยาม สุขสบาย แม้ความตายจะพรากสมาชิกบางท่าน ไปจากพวกเราแล้ว เราก็ยังระลึกถึงพวกเขาใน ค�ำภาวนาเสมอ ดิฉันรู้สึกมีความอบอุ่นที่ได้อยู่ ในคณะ ADMA ค่ะ

ความสุขของการเป็นสมาชิก ADMA

การร่วมเป็นสมาชิกในคณะ ADMA ท�ำให้ ดิฉน ั ได้รบั การหล่อเลีย้ งด้านจิตวิญญาณ อย่างต่อเนื่อง โดยอาศัย ADMA Online ซึ่ง ก่อให้เกิดความเป็นหนึง่ ในการด�ำเนินชีวติ ภายใต้จติ ตารมณ์เดียวกันกับ ADMA กลุม่ อืน่ ๆ ทั่วโลก ดิฉันรู้สึกมีความสุขที่มีคุณพ่ออารอน อัลโกเซบา จิตตาธิการของกลุ่มที่ดูแลเอาใจใส่ March-April 2019

41


ผู้ศักดิ์สิทธิ์ซาเลเซียน By ว.วรินทร์

บุญรำศีเซเฟริโน นำมูนกูรำ (Ceferino Namuncurá) (ฉลองในวันที่ 26 สิงหำคม)

บุญราศีเซเฟริโน นามูนกูรา เกิดเมือ่ วันที ่ 26 สิงหาคม ค.ศ. 1886 ในครอบครัว ของหัวหน้าเผ่านาม “มานูเอล นามูนกูรา” ท่านเป็นบุตรคนที่ 8 ในจ�านวนพี่น้อง 12 คน อาศัยอยู่ที่ชิมเปย์ เมืองเล็กๆ ท่ามกลางหุบเขาของจังหวัดรีโอเนโกร ประเทศอาร์เจนตินา วันที่ 24 ธันวาคม ค.ศ.1887 ท่าน ได้รับศีลล้างบาป โดยคุณพ่อโดมินโก มิลาเนซิโอ ซึง่ เป็นธรรมทูตซาเลเซียนที่ นั่น ท่านเติบโตมาพร้อมกับความคาดหวัง ของบิดาที่ปรารถนาให้ท่านเป็นหัวหน้าเผ่า และเป็นราชาแห่งทุง่ หญ้าปัมปัสคนต่อไป เมื่อท่านอายุได้ 11 ปี บิดาได้ส่ง ท่านไปเรียนที่โรงเรียนปีโอที่ 9 ของ คณะซาเลเซียนทีก่ รุงบัวโนสไอเรส ท่าน เป็นนักเรียนที่ดี รักในการเล่นกีฬา และการขี่ม้า นอกจากนั้น ท่านยังร้อง เพลงได้ยอดเยี่ยม เมื่ออายุ 12 ปี ท่าน ได้รับรางวัลชนะเลิศค�าสอนประจ�า ปี เพื่อนๆ เรียกท่านว่า “เจ้าชาย แห่งความเชื่อคริสตชน” ท่านเป็น เด็กเรียบง่าย อ่อนโยน ปฏิบัติตาม ระเบียบ เชือ่ ฟัง เปิดเผย ซือ่ สัตย์ ท�า หน้าที่ในฐานะนักเรียนอย่างดี อีกทั้ง ดูแลเพื่อนๆ และช่วยเหลือทุกคนด้วย ความใจกว้าง ที่ส�าคัญท่านมีความเชื่อ ทีร่ อ้ นรนและมีความศรัทธาในศีลมหาสนิท ท่านเป็นทีร่ กั ของเพือ่ นๆ และครู ทุกคน 42

ข้าแต่พระเยซูเจ้า ขอพระองค์ โปรดคุ้มครองพี่น้อง แห่งทุ่งหญ้าของลูก หากพวกเขา ไม่ได้รักพระองค์ ก็เป็นเพราะว่าพวกเขา ไม่ได้รู้จักพระองค์

(บทภาวนาของบุญราศีเซฟาริโน)

พากันเรียกท่านว่า “ดอมินิก ซาวีโอ” ทีโ่ รงเรียนนีเ้ องท่านได้พบกับพระสังฆราช ยอห์น กัลเยโล ซึง่ เป็นหัวหน้าธรรมทูต ซาเลเซียนในปาตาโกเนีย ท่านปรารถนา ที่จะเป็นพระสงฆ์คณะซาเลเซียน เพื่อ จะประกาศข่าวดีแก่พนี่ อ้ งอินเดียนแดง ของท่าน พระคุณเจ้าจึงได้ส่งท่านเข้า บ้านเณรเล็กที่เวียตมา ต่อมาท่านได้ ล้มเจ็บด้วยโรควัณโรค ในปี 1904 พระคุณเจ้ากัลเยโลได้ พาท่านไปที่ประเทศอิตาลี โดยหวังว่า ท่านจะมีสุขภาพที่ดีขึ้นและให้ท่านได้ เริม่ การเรียนเป็นสามเณรทีก่ รุงตุรนิ แต่ สุขภาพของท่านก็ไม่ดขี นึ้ อาจเป็นเพราะ สภาพอากาศ ผู้ใหญ่จึงส่งท่านไปเข้า บ้านเณรที่กรุงโรมแทน เดือนมีนาคม ค.ศ.1905 ท่านได้ลม้ ป่วย อย่างหนัก แม้อาการจะรุมเร้าท่าน มากเพียงใดท่านก็ไม่เคยบ่น ท่านกลับ น้อมยอมรับพระประสงค์ของพระเจ้า ทีส่ ดุ แล้วท่านก็จากไปอย่างสงบด้วย โรควัณโรค ในวันที ่ 11 พฤษภาคม ค.ศ.1905 ด้วยอายุ 18 ปี 8 เดือน 17 วัน สมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกิ ต์ท ี่ 16 ได้สถาปนาท่านเป็นบุญราศีเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน ค.ศ.2007 นับได้ว่า ท่านเป็นบุญราศีองค์แรกที่เป็นชนเผ่า พื้นเมืองของทวีปอเมริกาใต้ db Bulletin


เรื่องมีอยู่ว่า By ลียองเอ

dbBulletin

ซำลำเปำสื่อรัก เด็กชายวัยซนตัวป่วนประจ�าซอยรีบวิ่งกลับบ้านด้วย ความเร็วสูง เขาวิ่งไปพลางร้องตะโกนไปพลาง “แม่จะกลับมาแล้วๆ” ขาก็วิ่ง แขนก็แกว่ง สายตาก็ลอกแลก บวกกับความ เลินเล่อและซุ่มซ่ามที่เป็นนิสัยจึงท�าให้เขาวิ่งสะดุดเขียงหมู ที่ขวางอยู่ตรงหน้า ขนมจีบและซาลาเปาที่ถือมาด้วยตกลง พืน้ หล่นกระจาย เขารีบหยิบซาลาเปาทีพ่ อจะดูได้ลกู หนึง่ ขึน้ มา แล้วค่อยๆ ลอกแป้งที่เลอะดินออก แล้วรีบวิ่งไปดักรอ แม่ที่หน้าบ้าน อีกสักพักไม่นานนักแม่ก็มา แม่ก้าวลงจากรถพร้อมกับอุ้มทารกแรกเกิดไว้ในอ้อมแขน ใช่แล้ว น้องชายคนใหม่ของเขานั่นเอง แม่ยิ้มหวานให้ เขาเป็นการทักทาย แต่เขากลับมีน�้าปริ่มๆ ในตา เขายื่น ซาลาเปาลูกเล็กเท่าไข่ไก่ให้แม่ เพราะโดนลอกแป้งออก เกือบหมดแล้ว แม่เห็นก็เดาได้ทันทีว่าเกิดอะไรขึ้น แม่ อมยิ้มแล้วพูดว่า “ซาลาเปาลูกเล็กก�าลังพอดีมอื เลยลูก นีถ่ า้ ลูกใหญ่กว่านี้ แม่คงจะถือทัง้ ซาลาเปา ทัง้ อุม้ น้องไม่ไหวแน่ๆ ขอบใจมาก นะลูก ลูกนี่รู้ใจแม่ที่สุดเลย” และแล้ ว ดวงตาที่ เ คยปริ่ ม น�้ า ก็ ก ลั บ สดใสขึ้ น อี ก ครั้ ง ใบหน้าที่เคยเปื้อนฝุ่นก็กลับมาเปื้อนด้วยรอยยิ้ม เพราะ แม่รับรู้ได้ถึงเจตนาดีของเขา แม้ว่าการกระท�าของเขาจะไม่ สมบูรณ์แบบก็ตาม พระเจ้าก็เช่นเดียวกัน ไม่มีใครจะรู้จักเราดีเท่าพระเจ้า และแม้ว่าเราจะไม่ใช่มนุษย์ที่สมบูรณ์แบบ มีข้อผิดพลาด และข้อบกพร่องต่างๆ นานา แต่พระเจ้าทรงรักเราในแบบ ที่เราเป็น พระองค์ทรงรักที่เจตนาดีของเรา “เราได้รักเจ้าด้วยความรักนิรันดร์ เพราะฉะนั้น เราจึงมีความรักมั่นคงต่อเจ้าสืบไป” (ยรม 31:3)

March-April 2019

43


โมทนาคุณ

“หากปราศจากพวกท่านแล้ว เราไม่สามารถท�ำอะไรได้เลย” ลูกขอกราบขอบพระคุณแม่พระผู้เสนอวิงวอนให้พระเป็นเจ้าได้ โปรดประทานพละก�ำลังให้ลูกสามารถรับวิกฤตของชีวิตในการจาก ไปของลูกชาย... สังฆานุกร ยอแซฟ ชัยธวัช ธีรานุสนธิ์

“หากปราศจากความช่วยเหลือของพวกท่านแล้ว พ่อคงท�ำกิจการต่างๆ ได้เพียงเล็กน้อย หรืออาจท�ำอะไรไม่ได้เลย แต่ด้วยความช่วยเหลือของพวกท่าน เราสามารถร่วมมือกับพระหรรษทานของพระเจ้า เพื่อช่วยซับน�้ำตาให้กับหลายชีวิตและช่วยวิญญาณ ให้รอดได้มากมาย”

เทเรซา บุญสาย น�้ำสมบูรณ์ ธีรานุสนธิ์

ลูกอยากขอบพระคุณพระแม่ที่ทรงอยู่เคียงข้างลูกเสมอ โดย เฉพาะในเวลาที่ลูกเงียบเหงา กังวลใจ เป็นทุกข์ หรือรู้สึกเสียใจ ลูก จะดูรปู ของพระแม่และพูดคุยกับพระแม่ซงึ่ ท�ำให้ความทุกข์และความ กังวลใจต่างๆ หายไปหมด ลูกรู้สึกมีความสุขและอบอุ่นใจ แม้ว่าลูก จะต้องอยู่คนเดียวก็ตาม เพราะลูกรู้ว่าพระแม่ทรงอยู่กับลูกเสมอ

พินัยกรรมของคุณพ่อบอสโกถึงผู้มีพระคุณ

มาร์การิตา มารีอา อาลาก๊อก พีระยา วงศ์วัน

ผมได้ประกาศขายบ้านตัง้ แต่เดือนมีนาคม 2561 เป็นต้นมา แต่ ไม่มผี สู้ นใจเลย จนมาถึงวันอาทิตย์ที่ 28 ตุลาคม 2561 ผมได้เริม่ สวด วอนขอบุญราศีไมเคิล รัว ซึ่งฉลองในวันที่ 29 ตุลาคม ผลปรากฏว่า ภายในสัปดาห์นนั้ มีผสู้ นใจดูบา้ นถึง 3 ราย พร้อมกัน และได้รบั การ ยืนยันจากผู้สนใจ 1 ใน 3 รายนั้นว่าตกลงจะซื้อบ้านของผม และผม ได้ขายบ้านไปเรียบร้อยในเดือนธันวาคม 2561 ผมจึงขอโมทนาคุณ พระเจ้าผ่านทางค�ำเสนอวิงวอนของบุญราศีไมเคิล รัว

กฤษดา ยนปลัดยศ

บ�ำรุงการพิมพ์ พัชรินทร์-วีระสิทธิ์ ฉัตรสุภางค์ คุณสรายุทธ ค�ำธนะ คุณวิโรจน์ เวียนวัฒนะ คุณกมลศรี เสรีรักษ์ กิตติ ศรพงษ์

เสาวลักษณ์ จิรานนท์ เสาวลักษณ์ นิกรพรอุดม วราลักษณ์ ผังรักษ์ องค์อร รุ่งรัชตะเวช ไม่ประสงค์ออกนาม

ทุกวันที่ 24 ของทุกเดือนจะมีการถวายมิสซา แก่สมาชิกนิตยสาร รวมทั้งผู้มีอุปการะคุณต่อนิตยสาร

ธารน�้ำใจ

ท่านสามารถร่วมสนับสนุนการพิมพ์นิตยสารดอนบอสโกได้ที่

บัญชี วัดนักบุญยอแซฟ บ้านโป่ง ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาถนนศรีนครินทร์ (กรุงเทพกรีฑา) บัญชีออมทรัพย์เลขที่บัญชี 080-221616-6 (ส่งเงินแล้วโปรดแจ้งรายละเอียดให้แผนกสื่อมวลชนซาเลเซียนทราบด้วย)

สนใจสมัครสมาชิกได้ที่

แผนกสื่อมวลชนซาเลเซียน 32 ถ.กรุงเทพกรีฑา หัวหมาก บางกะปิ กรุงเทพฯ 10240 Tel: 02-7317100 Email: sdbsocomthai@gmail.com

(หากท่านเปลี่ยนชื่อและที่อยู่ผู้รับ กรุณาแจ้งให้ทางนิตยสารทราบ)

44

db Bulletin


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.