SE MAG นิตยสารกิจการเพื่อสังคม
04 ISSUE
JANUARY-MARCH www.tseo.or.th
JANUARY-MARCH ISSUE SEMAG
1
กิจการเพือ่ สังคม
Social Enterprise พบค�ำตอบ ในงาน
คนไทยขอมือหน่อย
คนละไม้ คนละมือ เพื่อสังคมที่น่าอยู่
2-3 มีนาคม 2556 ณ ลานหน้าห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลเวิลด์ 2
www.tseo.or.th
info@tseo.or.th facebook/tseopress
02-619-8840
083-890-9387
SEMAG JANUARY-MARCH ISSUE
องค์กร BRAC และ GRAMEEN สองกิจการเพื่อ สังคมในประเทศบังคลาเทศ ที่ช่วยคนยากจนได้กว่า 126 ล้านคน สร้างเงินหมุนเวียนกว่าปีละ 10,000 ล้านบาท มีสมาชิกกว่า 10 ล้านคน โดยไม่ต้องใช้เงิน สนับสนุนจากภาครัฐ www.brac.net, www.yunussb.com, www.grameenfoundation.org
Jamie Oliver ก่อตั้งร้ านอาหาร Fifteen เพื่อ จ�ำหน่ายอาหารสุขภาพ เน้นวัตถุดิบอินทรีย์ โดยมี พ่อครัว พนักงานเสิรฟ ์ แคชเชียร์ และพนักงานในร้าน เป็นเด็กเยาวชนทีผ่ ่านการต้องขัง สร้างคนว่างงานให้ กลายเป็นบุคลากรชัน้ ดีในวงการอาหารแล้ว 220 คน www.fifteen.net
ปั จ จุ บั น ประเทศอั ง กฤษมี กิ จ ก ารเพื่ อ สั ง คม ประมาณ 68,000 กิจการ โดยมีส่วนในการช่วย GDPของประเทศ มากถึงร้อยละ 5 หรือ 1 ล้านล้าน บาท ซึ่งมีการจ้างงานกว่า 800,000 คน และมีอัตรา การเติบโตเพิ่มขึ้น 58% เทียบกับ SMEs ที่เพิ่มขึ้น เพียง 28% จากการส�ำรวจคนอังกฤษ 30% อยาก เป็นผู้ประกอบการกิจการเพื่อสังคม www.socialenterprise.org.uk
JANUARY-MARCH ISSUE SEMAG
3
CREDIT
ที่ปรึกษา เบญจมาภรณ์ จันทรพัฒน์ ผู้อ�ำนวยส�ำนักงานพัฒนาภาคีสัมพันธ์ และวิเทศสัมพันธ์ (สสส.) มงคล เกษมสันต์ ณ อยุธยา ผู้อ�ำนวยการส�ำนักงานสร้างเสริมกิจการ เพื่อสังคมแห่งชาติ (สกส.) อารันดร์ อาชาพิลาส กรรมการผู้จัดการ บริษัท ชิล ชิล แคปปิตัล จ�ำกัด บรรณาธิการบริหาร ญาณนี ศิริวงศ์ ณ อยุธยา ปัทมาพร ไชยเชษฐ์พิพัฒกุล บรรณาธิการ รัตติกาล พูลสวัสดิ์ กองบรรณาธิการ โอมศิริ วีระกุล กราฟฟิกดีไซน์ พงศ์ธร ยิ้มแย้ม ช่างภาพ จิตรพงษ์ จีระฉัตร ประสานงาน ธชวรรณ แก้วชนะ สร้างสรรค์และผลิต ความเคลื่อนไหว SE รอบโลก BE Magazine บริษัท ชิล ชิล แคปปิตัล จ�ำกัด
CONTENTS
06
CONTACT US
ส�ำนักงานสร้างเสริมกิจการเพื่อสังคม แห่งชาติ (สกส.) 979 ชั้น 15 อาคาร เอส.เอ็ม ทาวเวอร์ ถ.พหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400 โทร. 0-2298-0500 ต่อ 2130 โทรสาร 0-2298-0500 ต่อ 2114 E-MAIL : info@tseo.or.th WEBSITE : www.tseo.or.th FACEBOOK : fackbook/tseopress ภาพปก : Noyna
4
06 SE NEWS WORLDS 08 SE NEWS THAILAND 10 HEADWAY ต่ออนาคต 14 ABOUT 16 CLEARCUT Co-working Space พื้นที่ที่สาม
1
ความเคลื่อนไหว SE ประเทศไทย
มูลนิธิพระมหาไถ่ คุณค่าของคนพิการ Social Innovation สู่กิจการที่ยั่งยืน
ของคนมีความคิด
The Sync / HUBBA
SEMAG JANUARY-MARCH ISSUE
38
36
42 SHOWCASE 44 SE-NOTED BRAC ยกระดับปัญหาความยากจน พืน้ ทีก่ ารเรียนรูต้ อ่ ยอดความคิด
10
8
22 CLEARCUT ชุมชนนักคิดค้น
กลุ่มเตาแก๊สซุปเปอร์ชีวมวล / กลุ่มพลัง งานป่าเด็ง
28 CLEARCUT ส่งต่อคนรุ่นใหม่ a-chieve / GSVC
34 LOLL AROUND เอกเขนก
42
สวนโมกข์ / TCDC
38 VIEWPOINT ก้Britishาวทั น วิ ส ย ั ทั ศ น์ Council เคียงข้างกิจการ มุ่งสู่ ก้าวที่แข็งแรง
JANUARY-MARCH ISSUE SEMAG
5
SE NEWS WORLD
SE
NEWS
WORLD
Microsoft
Give Fo r Yo u t h
ไมโครซอฟท์ คอร์ปอเรชั่น เปิดตัวเว็บไซต์ระดับโลกชื่อ www. giveforyouth.org พื้ น ที่ ใ นโลก ออนไลน์ที่เปิดโอกาสให้ทุกคนใน โลกมีสว่ นร่วมสานฝันให้กบั เยาวชน ทั่ ว โลกรวมถึ ง ในประเทศไทย เป็ น เว็ บ ไซต์ เ ฉพาะที่ ใ ห้ ผู ้ บ ริ จ าค สนั บ สนุ น โครงการของเยาวชนที่ อยู ่ ใ นความดู แ ลขององค์ ก รที่ ไ ม่ แสวงหาผลก�ำไร รวมถึงเยาวชนที่ ประกอบธุ ร กิ จ เพื่ อ สั ง คมทั่ ว โลก โดยชาวไทยสามารถมี ส ่ ว นร่ ว ม สนับสนุนโครงการนี้ง่ายๆ ด้วยเงิน บริจาคเริ่มต้นเพียง 300 บาท ภาย ใต้เว็บไซต์นมี้ กี ารน�ำเสนอโครงการ ขนาดย่อมจากเยาวชนทัว่ โลกทัง้ สิน้ กว่า 100 โครงการ ซึ่งโครงการ เหล่านี้ต้องการได้รับการสนับสนุน ด้านเงินทุนเพื่อเริ่มต้นโครงการที่ แตกต่างกัน
Wimpy Braille Burger จากการค้นพบว่าในแถบประเทศแอฟริกาใต้ คนตาบอดใช้ชวี ติ อยูใ่ นโลก ของคนปกติอย่างยากล�ำบาก Wimpy เลยท�ำเมนูแฮมเบอร์เกอร์ในร้านให้เป็น อักษรเบรลล์เพื่อให้ประชากรคนตาบอดที่มียอดสูงถึงหนึ่งล้านสองแสนคนใน ประเทศได้มีความสุขต่อการกินเบอร์เกอร์ได้อย่างไรกังวลว่าเบอร์เกอร์ที่สั่งไป นั้น ใช่ของเราหรือเปล่า โดย Wimpy เลือกวิธีการที่แสนจะประหยัดและใช้ ความคิดสร้างสรรค์ผ่านการเรียงเม็ดงาขาวบนเบอร์เกอร์มาเรียบเรียงใหม่ให้ เป็นอักษรเบรลล์ซงึ่ อ่านได้วา่ “เบอร์เกอร์เนือ้ สดใหม่ท�ำเพือ่ คุณ” จากความคิด ต่อเมนูนี้เพื่อคนตาบอด ท�ำให้ข่าวแพร่กระจายไปทั่วโลกและได้รับความนิยม อย่างสูง จนความคิดนี้ได้เข้าไปประกวดงานโฆษณาระดับโลกที่เมืองคาสน์ ประเทศฝรั่งเศสในปี 2012 ก่อนที่จะถูกคณะกรรมการเลือกให้เป็น 1 ใน 100 งานโฆษณาที่ยอดเยี่ยมไป นี่คือจุดเล็กๆ ผู้ผลิตอาหารค�ำนึงถึงคนตาบอดให้ เขากลับมากินอาหารได้อย่างอร่อยอีกครั้ง
Limited Edition Sydney
Dog’s and Cat Home
กฎหมายของออสเตรเลียระบุว่า หมาและแมวจรจัดที่จับได้จะถูกเลี้ยงไว้เพื่อรอคนมารับไปดูแลแค่ 14 วันเท่านั้น เมื่อถึงวันที่ 15 ของการรับเลี้ยงดู สัตว์ตัวนั้นจะถูกฆ่าทันทีไม่ว่าสัตว์ตัวนั้นจะมีมูลค่าราคาแพงหรือ ไม่ก็ตาม เพราะรัฐไม่มีงบประมาณดูแลมากนัก เมื่อปัญหานี้เกิดขึ้นต่อความสงสารของมนุษย์จึงท�ำให้เกิด แคมเปญนีข้ นึ้ มาชักชวนทุกคนช่วยอุปการะหมาและแมวเหล่านีด้ ว้ ยความรวดเร็ว เพราะชีวติ ของพวกมันมีเวลา จ�ำกัด วิธีการคือชวนช่างภาพ 21 คนมาถ่ายรูปสัตว์ที่ถูกจับมาให้ออกมาเป็นภาพถ่ายแนว Limited Edition ท�ำ เป็นโปสเตอร์ติดกลางสี่แยกใหญ่ของซิดนีย์และมีให้ดูทางออนไลน์ เล่าเรื่องของการโดนทิ้งและสิทธิของสัตว์ เป็นต้น และเมื่อโปรเจคนี้จบลงสัตว์ทุกตัวรอดตายเพราะมีผู้อุปการะไปเลี้ยง โดยมีผู้อุปการะมีอัตรามากขึ้นถึง 90 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว 6
SEMAG JANUARY-MARCH ISSUE
เอารถยนต์มา
ปลูกต้นไม้
รัฐแมสซาชูเซตส์ กลายเป็นเมือง แรกที่ไม่ใช้ขวดน�้ำ
พลาสติก
สารพิษ แบรนด์ เ สื้ อ ผ้ า แฟชั่ น ยั ก ษ์ ใหญ่ของโลก “ซาร่า” บริษัทลูก ของบริษัทอินดิเท็กซ์ ได้ประกาศ อย่างเป็นทางการที่จะยุติการใช้ สารเคมีอนั ตรายตลอดห่วงโซ่ผลิต ผลิตภัณฑ์ของตนภายในปี พ.ศ. 2563 ซึง่ เป็นการตอบสนองต่อข้อ เรียกร้องของผูบ้ ริโภคจากโครงการ รณรงค์ “ล้างสารพิษ” ของกรีนพีซ ค�ำประกาศเข้าร่วมล้างสารพิษของ ซาร่าได้มขี นึ้ ภายใน 9 วันหลังจาก กรีนพีซได้มีการเปิดเผยข้อมูลใน รายงาน “สารพิษในเส้นใยแฟชัน่ ระดับโลกและการผลิต” เมือ่ วันที่ 20 พฤศจิกายนทีผ่ า่ นมา ซึง่ ได้มี ผูล้ งรายชือ่ สนับสนุนเรียกร้องกว่า 315,000 คนทั่ ว โลกผ่ า นทาง ออนไลน์ รวมถึ ง มี นั ก กิ จ กรรม กว่า 700 คนทั่วโลกร่วมกันออก มาแสดงกิ จ กรรมสื่ อ สารเชิ ง สัญลักษณ์หน้าร้านขายสินค้าซาร่า ใน 80 เมื อ งทั่ ว โลก รวมถึ ง กรุงเทพมหานครด้วย
ย้อนกลับไปเมื่อปี 2010 ณอง ฮิลล์ วัย 82 ปี ชายผู้น�ำการรณรงค์เรื่องการยกเลิกการ ใช้ขวดน�้ำดื่มพลาสติกอย่างตั้งใจ โดยเฉพาะการชี้ให้เห็นถึงผลกระทบที่มีต่อโลกจากขวด พลาสติกที่เราใช้และทิ้งเป็นขยะหลังจากการดื่ม ณอง ฮิลล์ ชี้ให้เห็นถึงปัญหาพื้นที่ในการ รองรับขยะทีม่ ปี ริมาณทีม่ ากขึน้ มลพิษทางน�้ำทีเ่ กิดจาการก�ำจัดและยังส่งผลกระทบต่อระบบ นิเวศและสิ่งมีชีวิตต่อปลาหลายชนิดต่างๆ ในทะเล ซึ่งถ้าหากเรายังบริโภคผ่านการใช้ขวด พลาสติกต่อไป เราก็ไม่ตา่ งกับวายร้ายทีส่ ร้างสรรค์มลพิษในการท�ำลายโลกอยูท่ กุ วัน จนกระทัง่ การยกเลิกการใช้ขวดน�้ำดื่มพลาสติกได้ส�ำเร็จเมื่อต้นปี 2013 มานี้เอง เมื่อมีการชี้ข้อมูลให้ เห็นว่า ขวดพลาสติกได้ใช้น�้ำมันในการผลิตกว่า 17 ล้านบาร์เรลต่อปี ซึ่งมีการเทียบเท่ากับ การใช้น�้ำมันรถได้ปริมาณถึง 1.3 ล้านคันต่อปี เลยทีเดียว นับเป็นรัฐในระบบทุนนิยมที่หันมา ใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อมของโลกที่เริ่มจะย�่ำแย่มากขึ้นทุกปีจากแนวทางบริโภคนิยมของคนเมือง
ที่มา: http://www.treehugger.com/environmental-policy/concordmassachusetts-becomes-first-city-us-ban-plastic-water-bottles.html
JANUARY-MARCH ISSUE SEMAG
7
ที่มา: http://www.greenpeace.org/seasia/th/press/releases/zara-commits-to-detox/
ที่มา: http://creativemove.com/creative/give-a-car-and-plant-a-tree/#ixzz2DayuhB92
GIVEACAR and Plant a Tree เป็นโครงการ ร่วมมือระหว่าง GIVEACAR ธุรกิจเพื่อสังคมที่ ไม่หวังผลก�ำไร รับผิดชอบดูแลเรือ่ งการรับบริจาค รถยนต์ และ Trees for Cities กับภารกิจในการ น�ำเงินทีไ่ ด้ไปปลูกต้นไม้ โดยมีวตั ถุประสงค์ในการ เพิ่ ม ปริ ม าณต้ น ไม้ เ พื่ อ ฟื ้ น ฟู ส ภาพแวดล้ อ มใน ประเทศอังกฤษจากรถยนต์คันเก่าของคุณ ทั้งนี้ รถยนต์ที่ยังขับได้ก็จะถูกน�ำไปประมูลขายทอด ตลาดให้กับผู้สนใจ ส่วนรถยนต์ที่หมดสภาพไร้ ก�ำลังก็จะถูกแยกชิ้นส่วนขายเป็นเศษเหล็ก โดย คุณสามารถเลือกบริจาครถยนต์แบบเต็มคัน หรือ จะบริจาคครึ่งคันก็ได้ เช่น ถ้ารถยนต์สามารถ ประมูลได้ในราคา 50,000 บาท คุณจะได้รับเงิน 50% หรือ 25,000 บาท ในกรณีที่คุณเลือกบริจาค ครึ่งคัน แต่ถ้าคุณร่วมบริจาคเต็มคัน เงินทั้งหมด จะถูกน�ำไปใช้ในการเพิ่มต้นไม้ และหลังจากที่ ต้นไม้ท�ำการปลูกจากรถยนต์ที่ผ่านการบริจาค ของคุณแล้ว คุณก็สามารถไปเยี่ยมเยียนรถยนต์ คันเก่าที่แปลงสภาพกลายเป็นต้นไม้สีเขียวเพิ่ม ออกซิเจนให้กับโลกใบนี้
หยุดแฟชั่น
SE NEWS THAILAND
SE
NEWS
THAILAND
a day bike f estival
ส่ ง ต่ อ …ของขวั ญ สุขภาพและความสุข
2012
ขึ้นชื่อได้ว่าเป็นเทศกาลจักรยานที่ครบเครื่องและ หลากหลายที่สุด ส�ำหรับ a day bike fest 2012 ที่มี แกนน�ำโดย ทรงกลด บางยี่ขัน บรรณาธิการนิตยสาร อะเดย์ งานนี้เพื่อนักปั่นทุกกลุ่ม ทุกประเภท รวมถึงบุคคล ทั่วไปที่ไม่เคยปั่นจักรยานและสนใจอยากเริ่มปั่น ภายใน งานมีกจิ กรรมหลากหลาย มีรา้ นค้าจากทุกแบรนด์จกั รยาน ชัน้ น�ำมาออกร้าน นิทรรศการเกีย่ วกับจักรยาน โชว์จกั รยาน วินเทจที่หาชมได้ยาก การแข่งจักรยานผาดโผน ฯลฯ ถือ เป็นงานที่ครอบคลุมความต้องการของนักปั่นทุกกลุ่มและ มีพนื้ ทีจ่ ดั งานขนาดใหญ่จคุ นได้ 50,000 คน ตัง้ อยูใ่ จกลาง เมืองย่านมักกะสัน ถือเป็นงานหนึ่งที่ท�ำให้เราได้รู้ว่ายังมี คนที่ชื่นชอบเจ้าพาหนะที่ท�ำให้โลกน่าอยู่ขึ้นเยอะหากเรา เปลี่ยนจากการใช้รถมาใช้จักรยาน
SE MATCHING
D AY
งาน “SE Matching Day” เวทีจบั คูธ่ รุ กิจระหว่าง องค์กรขนาดใหญ่ทงั้ จากภาครัฐและเอกชนกับ กิจการ เพื่ อ สั ง คม เพื่ อ เสริ ม พลั ง สร้ า งสรรค์ สั ง คมร่ ว มกั น กิจกรรมภายใต้ความร่วมมือของ กองทุนสนับสนุนการ สร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) ส�ำนักงานสร้างเสริมกิจการเพือ่ สังคม(สกส.) และผูป้ ระกอบการกว่า 20 สายธุรกิจเข้า ร่วมงานเพือ่ สนับสนุนงานกิจกรรมเพือ่ สังคมและเป็นการ วางรากฐานการฟืน้ ฟูเศรษฐกิจและสังคมของประเทศได้ อย่างยัง่ ยืน เมือ่ วันที่ 18 ตุลาคม 2555 ณ ห้องบอลรูม โรงแรม 531 สุขมุ วิท 31 กรุงเทพฯ 8
SEMAG JANUARY-MARCH ISSUE
ต้อนรับปีใหม่ 2556 งูเล็ก เลมอนฟาร์ม ร่วม กับ ส�ำนักงานสร้างเสริมกิจการเพื่อสังคมแห่งชาติ (สกส.) และเดอะปอร์ตโิ ก้ มอบของขวัญสุดพิเศษ ชวน ทุกท่านร่วมกันใช้วิถีสีเขียว...และให้ของขวัญสุขภาพ เพือ่ สุขภาพของเราและโลก ในงาน ‘Organic Health Market Forward Organic Gift & Goodness ส่งต่อ...ของขวัญสุขภาพและความสุข’ ณ อาคาร The Portico ชิดลม (ซ.หลังสวน) ภายในงานมีเพื่อนเครือ ข่ายกิจการเพื่อสังคมไปส่งต่อความสุขด้วย ทั้ง 141 ของเล่นเพื่อการให้, Brian Sport Edutainment อุ ป กรณ์ กี ฬ าเพื่ อ พั ฒ นาสมองและสุ ข ภาพ และ หัตถกรรมขยะรีไซเคิล เครื่องประดับ และสิ่งของ เครื่องใช้ที่รักษ์โลก
I care Day E-idea
Thailand Recognition
A w a r d
E-idea โครงการประกวดรูปแบบใหม่ทมี่ อบ ทั้งเงินรางวัลและจัดการอบรม ให้กับผู้ประกอบ การด้านสิ่งแวดล้อมรุ่นใหม่ ซึ่งจัดขึ้นในประเทศ ออสเตรเลีย จีน อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไทย และเวียดนาม ซึง่ เกิดขึน้ จากความร่วมมือระหว่าง บริติช เคานซิล และกลุ่มบริษัท Lloyd’s Register Quality Assurance (LRQA) ผู้สมัครจะต้องส่ง เอกสารน�ำเสนอโครงการเกี่ยวกับประเด็นปัญหา ด้านสิง่ แวดล้อมตัง้ แต่หนึง่ ประเด็นขึน้ ไป อันได้แก่ การขนส่ง การลดปริมาณขยะ การลดการใช้ พลังงานและการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ การออกแบบอย่ า งยั่ ง ยื น แนวคิ ด ริ เ ริ่ ม ด้ า น อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ และแผนการรณรงค์ดา้ น การสื่อสารเชิงบวก ในส่วนของประเทศไทย E-idea เริ่มต้นขึ้นเมื่อ 27 เมษายน 2554 จนถึง ปัจจุบนั นีไ้ ด้ผชู้ นะการประกวดโครงการและได้เริม่ ด�ำเนินการไปเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว ในวันนี้เป็น ภาพบรรยากาศ การน� ำ เสนอผลการด� ำ เนิ น งาน ของโครงการเหล่านี้
2 0 1 2
I CARE โดยแมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชัน่ ร่วมกับ สกส. จัดพิธมี อบรางวัลแก่ผชู้ นะเลิศ การประกวด “ครีเอทีฟอาสา” โครงการ iCARE Award 2012 นายวิสษิ ฐ์ มาลัยศิรริ ตั น์ กรรมการผูจ้ ดั การ บริษทั แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชัน่ จ�ำกัด พร้อมด้วย นายธรากร กมลเปรมปิยะกุล ผูจ้ ดั การทัว่ ไป ฝ่ายสือ่ สารองค์กรและองค์กรสร้างสรรค์เพือ่ สังคมไอแคร์ จัดงานประกวดรอบสุดท้ายในโครงการ “iCARE Award 2012 ครีเอทีฟอาสา : Creative Volunteer Contest” โดยมอบรางวัลให้กบั 4 ทีมทีส่ ามารถสะท้อนพลังความคิด และสร้ า งสรรค์ ไ ด้ ดี ที่ สุ ด เพื่ อ ใช้ ใ นการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ให้กบั 4 กิจการเพือ่ สังคม ธุรกิจทีจ่ ะท�ำให้ สังคมดีขนึ้ โดยรางวัลชนะเลิศสุดยอดครีเอทีฟอาสา ได้แก่ ทีมอ้นอ�้ำ กับผลงานกิจการ (ธนาคารขยะออมทรัพย์) รองชนะเลิศอันดับที1่ ได้แก่ทมี Still awake กับผลงาน กิจการ (Brain Sport Edutainment) รองชนะเลิศอันดับ ที่ 2 ได้แก่ทมี ร่ม กับผลงานกิจการ (ไฟฟ้าชุมชน Wind / Solar) และรางวัลชมเชยได้แก่ทีม The Picasso กับ ผลงานกิจการ (Children Mind) โดยแต่ละทีมจะได้เงิน รางวัลพร้อมเงินสนับสนุนเพือ่ น�ำไปสร้างสรรค์ผลงานจริง ให้กบั ผูป้ ระกอบการ รวมมูลค่ากว่า 900,000 บาท
โตแล้ ว ไปไหน
โครงการดีๆ ส�ำหรับน้องระดับมัธยมศึกษาที่จัดมาถึงครั้งที่ 5 แล้ว ส�ำหรับโครงการ a-chieve shadow โตแล้วไปไหน ที่เปิด โอกาสให้ น ้ อ งๆ ชั้ น ม.3-ม.6 ท� ำ ความรู ้ จั ก อาชี พ ที่ ใ ฝ่ ฝ ั น ผ่ า น workshop สุดเข้มข้นและการไปเรียนรู้งานจาก ‘พี่ต้นแบบ’ ใน สถานทีจ่ ริง รวมเวลานานถึง 2 สัปดาห์ น้องคนไหนสนใจ เข้าไปดู รายละเอียดและกรอกใบสมัครกันได้เลยที่ www.a-chieve.org ตั้งแต่วันนี้ถึง 17 มีนาคม 2556
JANUARY-MARCH ISSUE SEMAG
9
HEADWAY-ต่ออนาคต
เราสร้างคน เพราะการอุทิศตน ไม่ได้สร้างคน เพราะเงินเดือน
10
SEMAG JANUARY-MARCH ISSUE
REAL ABILITY OF
DISABLE ‘มูลนิธิพระมหาไถ่’ คุณค่าของคนพิการ คุณพ่อ ดร.พิชาญ ใจเสรี (ประธานพระมหาไถ่เพื่อการพัฒนาคนพิการ)
มูลนิธิพระมหาไถ่ได้ถูกจัดตั้งขึ้นโดยคุณพ่อเรย์มอนล์ แอลลีน เบร็นนัน ชาวอเมริกันเชื้อสายไอริช ที่ได้เข้ามาอยู่พัทยาตั้งแต่ 1971 ในช่วงที่พัทยา เป็ น สถานที่ พั ก ตากอากาศของทหารอเมริ กั น จนเกิ ด ปั ญ หาโสเภณี จ�ำนวนเด็กเร่ร่อนมากมายและรวมไปถึงปัญหาคนพิการแต่คุณพ่อเรย์ เห็ น ว่ า คนเหล่ า นี้ ส มองยั ง ดี อ ยู ่ เ ลยมอบโอกาสด้ ว ยการสร้ า งโรงเรี ย น อาชีวะพระมหาไถ่เพื่อคนพิการที่ปัจจุบันมีจ�ำนวนมากถึง 150 คน
มองการณ์ ไกลผ่านอาชีพ
เมื่อประมาณ 25 ปีที่แล้วคุณพ่อน�ำคนพิการมา 4 คน เพื่อมาสอนคอมพิวเตอร์ซึ่งสมัยนั้นมีคนเรียน คอมพิวเตอร์น้อยมาก คุณพ่อมองการณ์ไกลว่า ถ้าหากคนเหล่านี้เรียนรู้ในเรื่องของคอมพิวเตอร์ ได้ ในอนาคตพวกเขาจะมีงานท�ำแน่ นี่คือวิสัย ทัศน์ของท่าน จนกระทั่งทุกวันนี้คอมพิวเตอร์ เป็นสาขาที่คนพิการเลือกเรียนมากที่สุดและอีก ส่วนหนึ่งคือ อิเล็กทรอนิกส์ เพราะเขาสามารถ น�ำความรู้ตรงนี้ไปเปิดเป็นกิจการของตัวเองได้ พึง่ พิงตัวเองได้ ตรงนีค้ อื สองหลักสูตรของวัดพระ มหาไถ่เพื่อคนพิการ
ก็จะได้ส�ำเนียงอังกฤษ อเมริกัน สแกนดิเนเวียน ฯลฯ อาสาสมัครมาด้วยใจรัก งานหลักของเขา ก็คือสอนภาษาอังกฤษ พวกเขาสามารถท�ำได้ดี กว่าคนที่จบปริญญาตรีเสียอีกเพราะเขาได้ใช้ทุก วัน เพราะฉะนั้นจากคนที่มีพื้นฐานน้อยมากแต่ เขาได้ใช้และซึมซับทุกวันจนเกิดความเคยชิน ตรง นีเ้ หมือนทฤษฎีทวี่ า่ ด้วยการไม่เคยรับอะไรมาก่อน เปรียบเสมือนเด็กคือรับเร็วและเข้าใจเร็ว
โลกของคนพิการ
บางคนก่อนเข้ามาก็คิดว่าตัวเองพิการมาก แต่ พอมาเห็นคนอื่นเป็นมากกว่า เขาก็มีก�ำลังใจ คน ที่เป็นเยอะๆ เขาก็อยากจะพัฒนาตัวเอง ที่นี่ มีอาสาสมัครมาสอน นอกจากให้เรียนแล้วยังพยายามฟื้นฟูสุขภาพทั้ง ใช่ครับ การเรียนการสอนเราจะมีอาสาสมัครจาก ใจและกาย บางคนทิ้งไม้เท้าเลยนะ สามารถเดิน ชาวต่างชาติมาสอนให้ในวิชาต่างๆ ท� ำให้คน ปกติและเล่นฟุตบอลได้ มีอยูค่ นหนึง่ ทีเ่ พิง่ จบจาก พิการเขาได้เรียนรู้ภาษาต่างประเทศไปด้วย เขา เราไปซึ่งเขาเคยต้องใช้ถังออกซิเจนตลอดไม่เช่น
นั้นหายใจไม่ทัน หลังจากที่ให้ฟื้นฟูสุขภาพแล้ว เนี่ย เขาสามารถทิ้งถังออกซิเจนได้เลย
กรณีที่หนักที่สุด
มี อ ยู ่ เ คสหนึ่ ง ซึ่ ง ถื อ เป็ น เคสใหม่ เ ลยคื อ นอน กับรถเข็นเตี้ยๆ มา เขาชื่อด�ำรงค์ศักดิ์ มาจาก จังหวัดชุมพร ตอนเล็กๆ เขาก็ปกตินะ แต่พอ อายุ 10 ขวบเขาเป็นไข้ คุณหมอเลยดูดน�ำ้ เชื้อ จากกระดูกไขสันหลังมาตรวจ หลังจากนั้นเขา เลยเป็นโปลิโอ เวลานีเ้ ขาอายุ 30 ปีแล้ว เขาพิการ ก็จริงแต่เขาก็พยายามไปเรียนจนจบ ม.6 ถือว่ามี ความพยายามสูงมาก รถเข็นที่เขาท�ำขึ้นมามัน เป็นไม้ มีล้อ 4 ล้อ เขาบังคับด้วยการเคลื่อนตัว ขึ้นไปและเอามือสองข้างจับเชือกส�ำหรับล้อหน้า หัวพาดอยู่กับล้อหลังเพื่อหมุนล้อ ขาสองข้างก็จะ หมุนอีกล้อหนึ่งด้านหลัง ระยะเวลากว่า 20 ปีที่ เขาต้องอยู่แบบนี้ หลังจากเรียนจบ ม.6 แล้วเขา
JANUARY-MARCH ISSUE SEMAG
11
HEADWAY-ต่ออนาคต
ไปเป็นเจ้าหน้าทีข่ ายแอมเวย์ คือต้องพบผูค้ นและ ต้องใช้ทกั ษะทางการพูด ในทีส่ ดุ เขาก็เข้ามาเรียน ทีโ่ รงเรียนของพวกเราเพราะทีอ่ นื่ ไม่รบั เขา ซึง่ กรณี นี้เป็นสิ่งที่เราให้การติดตามสูงมากเพราะต้องใช้ ความอดทนสูงมากกว่าคนพิการหลายๆ คน
คนพิการกับอาชีพขายลอตเตอรี่
มันก็ดี เพราะเขามีรายได้ไง ทุกวันนีล้ อตเตอรีร่ าย ได้ดนี ะเพราะมันล่อลวงเพราะเห็นตัวเงินทันที แต่ ว่าถ้าอายุเยอะมากขึ้นมันจะขายได้หรือเปล่าซึ่ง มันอาจจะไม่ยั่งยืนและไม่มีเกียรติด้วย คนที่ซื้อ อาจซื้อเพราะความสงสารในความพิการแต่หาก คนพิการเหล่านั้นมีความรู้ ความสามารถ เขา อาจกลายเป็นคนส�ำคัญขึน้ มาเลยก็ได้ มีเงินเดือน ของตนเอง เงินเดือนสูงกว่าทั่วไปเพราะมีความ ต้องการของตลาด และที่ส�ำคัญท�ำให้คนธรรมดา ทัว่ ไปได้เห็นว่าคนพิการก็สามารถท�ำงานได้นะซึง่ อาจท�ำงานได้ดกี ว่าคนธรรมดาด้วยซ�ำ้ ไป สิง่ เหล่านี้ จะท�ำให้พวกเขาเกิดความรู้สึกเป็นคนที่มีค่า เป็น ทรัพยากรต่อสถานที่ต่างๆ อันนี้เราเรียกว่า คนที่ ได้รับชีวิตใหม่ มีเกียรติ มีศักดิ์ศรี ศักดิ์ศรีที่เคย หายไปแล้วได้หวนกลับมาอีกครั้ง
ปลายทางของคนพิการกับการยอมรับ 12
รายได้ อยากให้คิดถึงน้องๆ รุ่นหลังด้วย เขาจะ คนพิการเกือบทั้งหมดมาจากครอบครัวที่จนมาก ได้มีโอกาสเหมือนที่เราเคยได้รับ ทีน่ มี่ นี โยบายว่าเราจะรับคนพิการทีม่ ฐี านะยากจน การติดตามชีวิตของคนพิการหลังเรียน ก่อนผู้พิการที่มีฐานะร�่ำรวย เพราะกลุ่มที่มีเงินยัง จบ พอช่วยเหลือตัวเองได้ในการดูแล ทีนกี้ ารเข้ามาที่ เมื่อเวลาที่ได้งานแล้วเราจะมีการติดตามผล 1 ปี นี่ก็ไม่ได้เรียนอย่างเดียว เรามีเรื่องพัฒนาสุขภาพ ว่าเขาสามารถท�ำงานได้ไหม นายจ้างพอใจไหม กายภาพบ�ำบัด เพราะฉะนัน้ เขาจะมีการออกก�ำลัง ถ้ามีอะไรแก้ได้เราก็รีบแก้ หากถ้าเขาไม่มีความ กายทุกวันโดยเล่นกีฬาที่ไม่ได้แตกต่างจากบุคคล อดทน และเลือกออกจากงานโดยท�ำงานยังไม่ถึง ธรรมดาเลย เล่นบาส เล่นเทนนิส เล่นตะกร้อ 1 ปี เขาจะไม่มีสิทธิ์ติดต่อกลับมาหาเราที่นี่นะ เดิน วิ่ง ทั่วไป นอกจากนั้นที่นี่เรายังสอนให้เขา ดังนั้นเขาต้องรอระยะเวลาให้ครบ 1 ปี ที่ท�ำแบบ มีจิตอาสาให้เขาเรียนรู้ต่อการอยู่ร่วมกันอย่างมี นี้เราต้องการสอนเขาว่าคุณต้องสู้ คุณต้องอดทน ชีวิตและจิตใจ ไม่ใช่มุ่งแต่คิดถึงแต่ตนเอง ควร ต่อการท�ำงาน ซึง่ เมือ่ ออกมาแล้วระยะเวลาทีเ่ หลือ คิดถึงคนรอบด้านด้วย เพราะฉะนัน้ คุณสมบัตแิ บบ คุณต้องสูด้ ว้ ยตัวเองหรือไม่กเ็ ป็นช่วงเวลาทีด่ ที จี่ ะ นี้เมื่อจบออกไปแล้วจะเป็นที่ต้องการของสถาน ได้นั่งคิดและหันกลับมาทบทวนตัวเอง ประกอบการทุกที่ ความซื่อสัตย์ ความขยันหมั่น คนพิการหลายคนยังมองตัวเองว่าเป็น เพียร ความกตัญญู ความอดทน สิง่ เหล่านีเ้ ราเน้น ส่วนเกินของสังคม มากจนกลายเป็นปรัชญาของที่นี่ไปแล้ว ผมคาดว่ามันเป็นเรื่องของทัศนคติของคนไทยนะ ส่งต่อโอกาสจากรุ่นพี่สู่รุ่นน้อง เมือ่ ตัวเองเป็นแบบนี(้ พิการ) ก็คดิ ว่าขอให้มนั จบๆ บางคนที่จบไปล้วเขาก็ส่งรายได้กลับมาเพื่อเป็น ภายในชาตินี้ไปก่อน แล้วชาติหน้าค่อยว่ากันใหม่ กองทุ น ให้ รุ ่ น น้ อ งต่ อ ไป เพราะเขารู ้ ว ่ า ค่ า ใช้ ซึง่ ความคิดแบบนีย้ งั มีมากในชนบท พ่อแม่เองก็มี จ่ า ยของที่ นี่ เ พื่ อ ผลิ ต คนหนึ่ ง คนปี ล ะหนึ่ ง แสน บทบาทเยอะมาก เพราะถ้าพวกเขาคิดว่าสภาพ บาท เพราะฉะนั้นเราก็สอนเขาว่าหากมีอาชีพมี แบบนี้ท�ำงานไม่ได้ ท�ำอะไรไม่ได้ ปล่อยให้อยู่
ของสังคม
SEMAG JANUARY-MARCH ISSUE
ที่บ้านดูแลกันเอง หรือพ่อแม่บางคนคิดว่าที่ลูก ตัวเองเป็นแบบนี้เพราะบาปกรรม เขาก็เลยไม่ อยากให้ลูกออกไปไหนเก็บไว้อยู่แต่ในบ้าน ซึ่งสิ่ง ที่ขาดไปจริงๆ ที่คนพิการต้องการคือความกล้า ออกมาเผชิญกับโลก และที่นี่ก็เป็นสถานที่เรา เปิดโอกาสให้พวกเขามีโอกาสทีจ่ ะแสดงศักยภาพ ออกมา
มูลนิธิกับการแก้ไขปัญหา
เรามีการสร้างกลยุทธ์เชิงรุก คือ การออกไป ชักชวนโดยเจ้าหน้าที่และนักเรียนได้ตกลงกัน ว่ า เขาจะท� ำ คาราวานหรื อ แรลลี่ จ ากพั ท ยาไป หนองคายซึ่งการเดินทางครั้งนั้นเราได้แวะทุกที่ หมดเลยทัง้ 19 จังหวัดทีเ่ ป็นทางผ่าน จุดประสงค์ คือไปพบกับคนพิการด้วยกัน โดยหน่วยงานการ พัฒนาของชุมชนต่างๆ เขาก็ต้องประชาสัมพันธ์ ให้คนในพื้นที่ได้รู้ด้วยว่าเราจะมาพบเจอกัน รวม ถึงความร่วมมือจากนายอ�ำเภอหรือผู้ว่าราชการ จังหวัดต่างๆ ด้วย แรลลีค่ รัง้ นีไ้ ด้รบั การสนับสนุน จาก 12 กระทรวงของรัฐบาล ใช้ระยะเวลาในการ เดินทางทั้งหมด 49 วัน เราได้พบกับคนพิการ จ�ำนวนมากถึง 3,000 คน การเดินทางครั้งนั้น มีสื่อต่างๆ ไปท�ำด้วย อาทิเช่น ไทยพีบีเอส ก็ ติดตามเราตลอด หลังจากเรากลับมา เราได้นำ� ระยะการเดินทาง 1,479 กิโลเมตร เป็นเบอร์สาย ด่วนของเราด้วย
ทุกคนมีความเสี่ยงเรื่องความพิการ
ส่วนหนึ่งที่ผมคิดคือเรื่องของยา อาหารที่ถูกตัด ต่อสายพันธุ์มากมาย แต่สุดท้ายในเมื่อผลทาง ร่างกายมันออกมาเป็นแบบนี้ เราก็ใช้สิ่งที่เหลือ อยู่เท่าที่เรามีมาพัฒนาผ่านการช่วยเหลือของเรา เรียนรูก้ ารท�ำกายภาพบ�ำบัด การท�ำสมาธิ การอยู่ กับคนอื่น เรียนรู้โลกภายนอกว่าสิ่งไหนอันตราย สิ่งไหนไม่อันตราย อย่างเช่น การข้ามถนน บาง คนเขาไม่กลัวรถเลยนะซึ่งเราก็ต้องสอนเขาว่ามัน อันตรายแค่ไหน หรือการเสียบปลั๊กไฟว่าเสียบ แบบไหนถูกหรือผิด
นวัตกรรมของมูลนิธกิ บั กิจการเพือ่ สังคม
เรือ่ งตรงนีเ้ ราก็เริม่ ท�ำอยูแ่ ล้ว เพราะการทีจ่ ะแบมือ ขอเงินคนบริจาคมันก็จะยากขึ้นๆ เราต้องช่วย ตัวเอง ทุกวันนี้สถานประกอบการวิ่งหาเรานะ เพราะฉะนั้นเราต้องมีความรอบรู้ว่าสิ่งที่เราท�ำ มันให้ประโยชน์อะไรกับเขาได้บ้าง เช่น โครงการ ขยะ คือถ้าใครบริจาคอะไรมา เราก็เอา ยกเว้น ของเน่าของเสียนะ ซึ่งอนาคตเราจะท�ำเป็นแบบ รีไซเคิลและการแปรรูปขยะให้มมี ลู ค่าซึง่ เจ้าหน้าที่ ของเราก็ไปเรียนรู้มาว่าขยะเนี่ยเป็นทองนะ แล้ว มันก็ท�ำให้เรารู้ว่า สิ่งที่สังคมมองว่า คนเหล่านี้ เหมือนขยะ แต่เรามองเห็นว่าเขาไม่ใช่ เขาเป็น
ทองเพราะเราเริม่ เห็นศักยภาพของเขาทีถ่ กู พัฒนา แล้ว พ่อยังอยากให้บางคนที่จบปริญญาโทไปต่อ ปริญญาเอกเลยเพราะเชื่อว่าเขาไปไหว แต่หลาย คนยังบอกว่าเขายังสนุกกับการท�ำงาน นอกจาก นี้ยังมีบริษัทต่างๆ ที่มาลงทุนขอใช้สถานที่ของ เราเป็นศูนย์คอลเซ็นเตอร์ (Call Center) และ ว่าจ้างคนพิการของเราให้เป็นพนักงานโดยผ่าน การฝึกอบรมจากองค์กรที่มาลงทุนซึ่งผลสุดท้าย เขาก็สามารถท�ำได้ ได้เงินเดือน ส่วนมูลนิธิก็ได้ ส่วนต่างจากค่าน�้ ำ ค่าไฟ นี่เป็นอย่างหนึ่งที่ เข้ามาช่วยการแบ่งเบาภาระของเราไปในตัว ใน อนาคตอาจมีโครงการอื่นๆ ตามมาอีกเยอะ เช่น เบเกอรี่, ไอที เป็นต้น สิ่งเหล่านี้มันคือกิจการเพื่อ สังคมที่คุณพ่อมองเห็นว่ารายได้กลับมาถึงมูลนิธิ และคนพิการ
คนปกติที่มาที่นี่ เขาจะทึ่ง กับคนพิการมาก ว่าเขาอยู่ แบบนี้และมีความสุขได้ อย่างไร
ถ้าเขาเห็นแสงสว่าง คนปกติที่มาที่นี่ เขาจะทึ่ง กับคนพิการมาก ว่าเขาอยู่แบบนี้และมีความสุข ได้อย่างไร เพราะฉะนั้นถ้าสังคมเปิดตาให้กับคน พิการ พวกเขาจะได้ก�ำไรมากมายจากบทเรียน ตรงนี้ของพวกเขา
สังคมควรมองคนพิการให้เ ท่าเทียมกับ คนปกติ
จริงๆ แล้วมันยากมากนะ เพราะมันเป็นธรรมชาติ ของคนทัว่ ไปอยูแ่ ล้วว่า ถ้าคุณไม่สมบูรณ์ ศักยภาพ ของคุณก็ลดน้อยลง ขาดไม้ขาดมือ ขาดความ รวดเร็ว แต่ความพยายามเขามากกว่าคุณนะ ถ้า หากว่าเขามีเวลามากกว่าเขาอาจท�ำได้ดีกว่าคุณ ตรงนี้คือความแตกต่างที่เราต้องเคารพคนพิการ ในเมืองไทยทุกวันนี้คนพิการทุกคนยังไม่ใช่คน พิการที่มีคุณภาพ เราจะต้องฝึกให้เขามีสมาทาน คนพิการเขาต้องการโอกาส เช่นโอกาสทางการ ศึกษา การพัฒนาตัวเอง โอกาสการหางานท�ำ รวม ถึงเป็นก�ำลังใจให้เขาด้วย สถานที่ไหนที่เขาอยาก ท�ำเราก็พยายามหาให้เขาหรือการยกสิทธิเ์ รือ่ งของ กฎหมายไปให้สถานที่ประกอบการได้รับรู้ต่อการ มีสิทธิ์ของคนพิการ แต่ปัญหาอีกอย่างหนึ่ง คือ การเดินทางของคนพิการ เช่น ถ้าเขาไปท�ำงานใน กรุงเทพฯ และไม่มที พี่ กั ให้เขา การเดินทางจะเป็น ภาระมาก เขาจะขึ้นรถเมล์อย่างไร ดังนั้นระบบนี้ จึงควรมีหอพักให้เขา รับรองเขาอยูก่ บั คุณแน่นอน
โครงสร้างทางสังคมหรือช่องทางกฎหมาย “ถ้าคุณอยากบินสูงเหมือนนก คุณจะกลัว ที่เอื้ออ�ำนวยมากขึ้น ลมแรงไปท� ำ ไม” พั ท ยา เทศทอง นั ก กี ฬ า
บอคเซียสองเหรียญทองจากพาราลิมปิกเกมส์เคย พูดไว้ในรายการหนึง่ ผมว่าประโยคทีเ่ ขาได้พดู มา คือทัศนคติเบื้องลึกที่ท�ำให้คนปกติทั่วไปต้องหัน กลับมามองบทบาทของคนพิการในสังคมใหม่ไม่ มากก็น้อย เพราะจากการที่ได้เข้าไปสัมผัสและ พูดคุยกับคนพิการบางส่วนแล้ว ท�ำให้เรารูว้ า่ กลุม่ คนพิการล้วนเป็นคนที่มีความสามารถทางด้าน วิชาชีพต่างๆ และสภาจิตใจของผู้พิการบางคน อาจแข็งแกร่งกว่าคนปกติบางรายด้วยซ�้ำ เพียง แต่พวกเขาขอแค่โอกาสในการท�ำงานต่อการอยู่ ร่วมกับคนปกติ และคนปกติก็ควรเปิดใจอยู่ร่วม เรียนรูก้ บั คนพิการ ผมเชือ่ ว่าหากต่างฝ่ายสามารถ อยู่ร่วมกันได้ด้วยความเข้าใจ เราจะเรียนรู้การ สังคมจะได้อะไรจากตรงนี้ ที่ ไ ด้ ต รงๆ เลยก็ คื อ รั ฐ บาลประหยั ด งบ ได้ ใช้ชีวิตที่ผ่านมาจากความผิดพลาด และต่อเติม ทรัพยากรบุคคลของชาติ เราไม่ได้บ่นรัฐบาลนะ ก�ำลังใจให้กันและกันได้อย่างมีคุณค่ามากขึ้นกัน ว่าท�ำไมไม่ท�ำ แต่เราเลือกที่จะท�ำให้เขาเห็นดี ในสังคม กว่า เมื่อเขาเห็นเขาอาจจะน�ำโครงสร้างของเรา ไปใช้ตอ่ ได้ อีกส่วนหนึง่ ทีส่ งั คมจะได้คอื บทเรียน จากคนพิการ นัน่ คือความพยายาม ความมุมานะ การแสวงหาโอกาส ซึ่งคนพิการเขาจะไม่ท้อแท้ เดี๋ยวนี้มีกฎหมายออกมาว่าถ้าบริษัทมีคน 100 คน ต้องจ้างพนักงานพิการ 1 คน อย่างเช่น เท สโกโลตัสมีพนักงาน 30,000 คน ต้องจ้างคน พิการ 300 คน กฎหมายบอกว่าถ้าคุณไม่จ้าง คุณต้องส่งเงินเข้ารัฐแล้วก็น�ำค่าแรงของที่นั่นคูณ ด้วย 365 วัน หรือถ้าคุณไม่ส่งเงินเข้ารัฐ คุณก็ น�ำเงินไปสนับสนุนองค์กรทีเ่ ขาช่วยเหลือคนพิการ เพราะฉะนั้นการที่เราได้ช่วยให้คนพิการมีงานท�ำ กฎหมายก็ช่วย เมื่อกฎหมายเป็นแบบนี้ คุณภาพ ชีวิตของคนพิการไม่พัฒนาตามก็ถือว่าเป็นคน พิการที่ไม่มีคุณภาพ เพราะฉะนั้นเราถึงอยากให้ พวกเขาออกมาแสดงศักยภาพ
JANUARY-MARCH ISSUE SEMAG
13
ABOUT
Social
Innovation
ปัจจัยที่ 5
กลไกความคิดสร้างสรรค์ ล้วนมีบทบาทส�ำคัญต่อการสร้างการเปลีย่ นแปลงทางสังคม ทีจ่ ะมาช่วย ผลักดัน และแก้ไขปัญหาประเด็นทางสังคมทีอ่ าจเงียบเหงา และถูกละเลยจากความสนใจขององค์กร ภาครัฐ ภาคเอกชน หรือแม้กระทัง่ องค์กรไม่แสวงผลก�ำไรด้วยก็ตาม จึงท�ำให้เกิดภาคประชาชนส่วน หนึง่ ได้ใช้ ‘นวัตกรรมทางสังคม (Social Innovation)’ ขับเคลือ่ นภายใต้แนวคิดและระดับภูมปิ ญ ั ญา ต่อการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น แนวคิดเรือ่ งนวัตกรรมเริม่ ต้นมีมาตัง้ แต่ชว่ ง ทศวรรษที่ 20 จากนักเศรษฐศาสตร์ทางอุตสาหกรรม ทีม่ งุ่ เน้นสร้างสรรค์สงิ่ ใหม่ๆ รวมถึงการวิจยั และพัฒนาทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ก่อนที่ระบบความคิดแนวนี้จะถูกน�ำมาใช้อย่าง เหมาะสมต่อบริบททางสังคมในแต่ละประเทศ โดย เฉพาะประเทศไทยได้เริม่ มีการแสดงให้เห็นถึงพลัง ของภาคประชาชนทางด้านการแสดงความคิดเห็น และการปฎิบัติต่อประเด็นทางสังคม เพื่อการมี ส่วนร่วมในการปรับเปลี่ยน และอนุรักษ์สังคม อย่างเป็นรูปเป็นร่าง
14
การพั ฒ นาสั ง คมและสิ่ ง แวดล้ อ มให้ เ กิ ด ผลลัพธ์ทดี่ จี ากนวัตกรรมเพือ่ สังคม ปัจจัยทีส่ ำ� คัญ คงไม่ใช่เทคโนโลยีหรือช่องทางการสื่อสารทาง นวัตกรรมใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นเพียงอย่างเดียว แต่ เป็นการใช้ไอเดีย ความคิดสร้างสรรค์ ในการ ปฏิบัติ ให้ขยายผลต่อส่วนร่วม และสามารถ เปลี่ ย นแปลงทั ศ นคติ และพฤติ ก รรม ของ ประชาชนทั่วไปได้ต่างหาก แม้มนุษย์ยังคงต้องพึ่งปัจจัย 4 ที่ขาดมิได้ ต่ อ การด� ำ รงอยู ่ ในขณะเดี ย วกั น สั ง คมและ สิ่งแวดล้อมก็ขาดปัจจัยที่ 5 อย่างมนุษย์ที่มีความ
SEMAG JANUARY-MARCH ISSUE
คิดต่อการปกป้องรักษาและสร้างการเปลีย่ นแปลง ให้เกิดทิศทางที่ดีขึ้นไม่ได้เช่นกัน เทคโนโลยีจึง ไม่ใช่คำ� ตอบทีช่ ดั เจนทีส่ ดุ ของนวัตกรรมทางสังคม เพราะมันเป็นเพียงเครื่องมือของมนุษย์ที่มีเจตนา ในการใช้เท่านั้น นวัตกรรมทางสังคมจึงเป็นเรือ่ งของทัศนคติ ความคิดและอุดมการณ์ของมนุษย์ทมี่ งุ่ สร้างความ เปลีย่ นแปลงสังคมและสิง่ แวดล้อมให้ดขี นึ้ กว่าเดิม ในทุกวันนี้
การแก้ปัญหาแบบใหม่โดยใช้ นวัตกรรมอย่างยั่งยืน คุณ + ไอเดีย + ทุน สร้างนวัตกรรม ใช้นวัตกรรมแก้ปัญหา
ยั่งยืนและต่อยอด
แก้ ไขปัญหาได้สำ�เร็จ ใช้นวัตกรรมแก้ ไขปัญหาในพื้นที่อื่น สร้างรายได้ มีทุนต่อยอดนวัตกรรม ได้นวัตกรรมใหม่
ไม่ว่าปัญหาลักษณะเดิมจะเกิดกี่ครั้งก็สามารถใช้นวัตกรรมที่ สร้างมาแก้ ไขได้ ยั่งยืนและต่อยอด JANUARY-MARCH ISSUE SEMAG
15
Co-Working
Space
บรรยากาศและพื้นที่ท�ำงานเป็นปัจจัยที่ส�ำคัญต่อการสร้างสรรค์ผลงานให้เกิด คุณภาพ THE SYNC และ HUBBA คือสองกิจการเพื่อสังคมที่เริ่มด�ำเนินการอย่าง ต่อเนื่องต่อการใช้พื้นที่ส่วนกลาง เพื่อเป็นศูนย์รวมของผู้ด�ำเนินธุรกิจที่ต้องการ ขับเคลือ่ นเพือ่ การแก้ไขปัญหาของสังคมและสิง่ แวดล้อม โดยทัง้ สองกิจการเชือ่ ว่าการ มีพนื้ ทีส่ ว่ นกลางจะช่วยท�ำให้เกิดความหลากหลาย จากความช�ำนาญทางสายงานอืน่ ๆ เข้ามาร่วมกันสนับสนุน และแก้ไขปรับปรุงให้เกิดมิติใหม่ๆ ต่อการด�ำเนินกิจการขึ้น มาได้อย่างมากมาย Co-Working Space น่าจะเป็นพื้นที่ท�ำงานของคนรุ่นใหม่ใน อนาคตอันใกล้ที่น่าจับตามองมากที่สุด
16
SEMAG JANUARY-MARCH ISSUE
JANUARY-MARCH ISSUE SEMAG
17
CLEAR-CUT
SPACE
COLLABORATION IN
‘THE SYNC’ ศูนย์รวมความคิดที่หลากหลาย
ศรมิษฐ์ จินตนามนัส (DESIGN & MANY MORE)
The Sync เป็นพืน้ ทีก่ ลางต่อการท�ำงานของคนรุน่ ใหม่ทมี่ ที ศั นคติในการเปิดรับความ คิดเห็น และการท�ำงานอยูร่ ว่ มกันกับกลุม่ คนทีห่ ลากหลาย ภายใต้ความคิดสร้างสรรค์ ที่มุ่งไปเพื่อการช่วยเหลือ และพัฒนาผ่านนวัตกรรมทางสังคมจนกลายเป็นแหล่ง ชุมชนขนาดย่อม ที่เต็มไปด้วยนักคิด นักสร้างสรรค์ นักพัฒนา จากสายอาชีพอื่นๆ มาอยู่ร่วมกัน ท�ำให้พื้นที่ส่วนกลางในการท�ำงานร่วมกัน เกิดเป็นพื้นที่คุณภาพต่อ การระดมความคิดในการท�ำงานได้อย่างน่าสนใจ กระบวนการบริหารและการท�ำงาน
The Sync เป็นพื้นที่การท�ำงานร่วมกันของกลุ่ม คนหลากหลายอาชี พ หรื อ กลุ ่ ม คนที่ ต ้ อ งการ สร้างสรรค์นวัตกรรมธุรกิจเพือ่ ช่วยเหลือสังคมให้ น่าอยู่ยิ่งขึ้น ซึ่งพื้นที่ตรงส่วนนี้จะมีในเรื่องของ การจัดเวทีผา่ นการก�ำหนดหัวข้อ เพือ่ แลกเปลีย่ น ความคิดเห็นกันเพือ่ สร้างเครือข่ายจากบุคคลหรือ องค์กรที่สนใจร่วมเข้าด้วยกัน และยังมีบริการให้ ค� ำ ปรึ ก ษากั บ กลุ ่ ม ที่ ต ้ อ งการเริ่ ม ต้ น ธุ ร กิ จ เพื่ อ สังคมหน้าใหม่ ซึ่งในช่วงแรกๆ เราจะเน้นกลุ่มที่ สนใจเรื่องของนวัตกรรมเพื่อสังคม และการท�ำ ธุรกิจ co-working space อีกสิ่งส�ำคัญของการ 18
ท�ำธุรกิจประเภทนี้ คือเรื่องของ location ถ้าหาก คุณสามารถหา location ที่ดีได้ การด�ำเนินธุรกิจ co-working space ก็ถือว่าก้าวเข้าสู่เส้นชัยไป แล้ว 50% นอกเหนือจากนั้นก็คงเป็นเรื่องของ connection และวิธีการจัดการ
3 กลยุทธ์สู่เป้าหมาย
กลยุทธ์มีอยู่สามอย่าง อันดับแรกคือ เชื่อมคนที่ อยากท�ำอะไรที่เหมือนๆ กัน ไม่ว่าคุณจะเป็นผู้ ประกอบการ, อาชีพอิสระหรือแม้กระทั่งคนที่มี ไอเดียมาอย่างเดียว เราอาจท�ำหน้าทีเ่ ป็นคนเชือ่ ม ต่อกับองค์กรทีม่ คี วามสนใจในเรือ่ งเดียวกันให้กบั คนกลุม่ นีอ้ กี ที อย่างทีส่ องคือ การใช้กระบวนการ
SEMAG JANUARY-MARCH ISSUE
ความคิดสร้างสรรค์กบั กระบวนการวิพากษ์แบบใช้ เหตุผล เราต้องพยายามรวมทั้งสองอย่างเข้าด้วย กันให้เกิดความสมดุล สุดท้ายคือการสร้างความ เข้าใจให้กับคน อันนี้มันอาจเป็นผลกระทบที่อาจ จะตามมามากกว่า เพราะหลายคน เขาก็ยังไม่ ค่อยรู้ว่า Social Innovation คืออะไร ความจริง แล้วนวัตกรรมเพื่อสังคมมันสามารถช่วยได้หลาย ทาง ทั้งการใช้ความคิดสร้างสรรค์ ใช้เทคโนโลยี หรือการตลาด ที่สามารถสร้างประโยชน์ให้กับ สังคม
กิจกรรมการท�ำ Sync Lab คือ การรวมตั ว ของคนที่ ส นใจใน
การเป็นศูนย์รวมพื้นที่ ไอเดียจากคนที่มีความ สนใจร่วมกันภายใต้ กระบวนการทางความ คิด นี่คือจุดเริ่มต้นของ พลังที่จะท�ำให้เกิด กระบวนการคิดแก้ไข ปัญหาที่เข้มแข็งและ หลากหลาย เรื่องเดียวกัน
แค่ได้มาพูดคุยกันอย่างเดียวแต่ว่าให้มาร่วมท�ำ การท�ำ Sync Lab เหมือนกิจกรรมที่ชวนคนที่ อะไรด้วยกัน สนใจในประเด็นหรือหัวข้อที่ตั้งไว้เข้ามาร่วมท�ำ แนวทางต่อความยั่งยืนของ The กิจกรรมกัน วิธีในการจัดหรือเลือกประเด็นก็คือ Sync อัพเดทจากสถานการณ์ปัจจุบัน หรือบางทีมัน The Sync พยายามทีจ่ ะท�ำให้เกิดทางเลือกใหม่ๆ อาจจะเกิดจากคนข้างในของ The Sync เอง ที่ ที่แตกต่างมากขึ้น บางทีการมาอยู่รวมกันกับคน อยากจะพูดเกีย่ วกับการท่องเทีย่ วแบบยัง่ ยืนซึง่ ก็มี ที่ท�ำในสายงานเดียวกันหรือแตกต่างกัน มันอาจ ผูป้ ระกอบการหน้าใหม่บางราย ก�ำลังท�ำแนวทางนี้ ท�ำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์หรือเกิดการแก้ไข อยู่ เราก็เลยจัดประเด็นนี้ให้ แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ปัญหาในมิติใหม่ๆ ที่ไม่เคยมีมาก่อนก็ได้ใครจะ มันต้องเป็นประเด็นทีน่ ่าสนใจจริงๆ และต้องเกิด ไปรู้ จากปัญหา มันอาจจะท�ำให้คนเริ่มตั้งค�ำถามกับ ตัวเองมากยิ่งขึ้น สุดท้ายการท�ำ Sync Lab ไม่ใช่
THE SYNC ผู้ดูแล: ศรมิษฐ์ จินตนามนัส ทีต่ งั้ : เลขที่ 111/67 บ้านกลางเมือง ถนนลาดพร้าว จตุจกั ร กรุงเทพฯ 10900 ติดต่อ: 02-938-2517 เว็บไซต์: www.thesync.org เฟซบุ๊ก: thesyncbkk
JANUARY-MARCH ISSUE SEMAG
19
CLEAR-CUT
FREEDOM IN
WORKPLACE
HUBBA พื้นที่ที่สามของคนยุคใหม่ ชาล และ อมฤต เจริญพันธ์ (Cofounder & Managing Director)
ชาล เจริญพันธ์ พาเราเดินดูบรรยากาศโดยรอบและได้ให้ค�ำนิยามกับ HUBBA ว่า เป็นแหล่งรวมตัวของคนที่บ้าๆ บอๆ มาอยู่รวมตัวกัน อาจฟังดูตลกเสียหน่อย แต่ที่ นีก่ ลับเต็มไปด้วยพลัง และความเอาจริงเอาจังของคนทีใ่ ช้สถานทีแ่ ห่งนี้ เป็นศูนย์รวม ตัวในการท�ำงานทัง้ ชาวไทยและต่างชาติ จนท�ำให้เราเริม่ สนใจต่อโมเดลของการด�ำเนิน งานภายใต้รปู แบบการใช้พนื้ ทีใ่ ช้สอยร่วมกันกับคนแปลกหน้ามากมาย ทีด่ ทู า่ ทีวา่ จะ ไปได้สวยในอนาคตกับโมเดล Co-working Space แนวคิดของ HUBBA
ถ้าคุณมาที่นี่ คุณไม่ได้อยู่คนเดียวแต่คุณมีเพื่อน มากมาย มันไม่เหมือนร้านกาแฟที่เข้าไปแล้วทุก คนส่วนใหญ่จะไม่รู้จักกัน เรามองเห็นโอกาสของ Co-Working Space คือ มันสามารถมีได้หลาย ที่ ทุกคนมีสไตล์และมีไอเดียที่แตกต่างกันซึ่ง โอกาสในโลกของธุรกิจจากคนหนุ่มสาวหลายๆ คน ถ้าให้เขาสนใจในเรือ่ งของผูป้ ระกอบการทาง สังคม มักจะเป็นในแง่ของเทคโนโลยีหรือการ ท�ำงานแบบอิสระมากกว่าซึง่ ถ้าคุณท�ำงานเก่งมาก 20
มีระเบียบวินยั คุณก็มโี อกาสทีจ่ ะสร้างรายได้โดยที่ คุณไม่ตอ้ งมาตอกบัตร เดินทางไกลมาท�ำงาน แต่ สามารถท�ำงานที่ไหนก็ได้ที่มีอินเตอร์เน็ต ซึ่งที่นี่ อาจเป็นทางผ่านของคนทีม่ แี นวทางในการท�ำงาน แบบนี้หลายคน ไม่ว่าจะเป็นคนไทยหรือชาวต่าง ชาติเองก็ตาม และการที่คุณมาที่นี่ก็เพื่อท�ำงาน และมี เ พื่ อ นร่ ว มงานหน้ า ใหม่ “Nobody is Stranger” ทุกคนที่เข้ามาท�ำงานในพื้นที่เดียวกัน ถูกคัดเลือกมาแล้วว่าจะใช้สถานที่แห่งนี้เป็นที่ ท�ำงาน ไม่ใช่เป็นที่นอน ที่เหล่หญิง ที่อ่านหนังสือ
SEMAG JANUARY-MARCH ISSUE
สอบหรื อ เป็ น สถานที่ นั ด ลู ก ค้ า ส่ ว นตั ว ของคุ ณ ถ้ า คิ ด จะมาท� ำ แบบนั้ น มั น คงผิ ด แนวคิ ด และ อุดมการณ์ของที่นี่
หลากหลายอาชีพในพืน้ ทีเ่ ดียวกัน
กลุ่มเป้าหมายของเราคือ กลุ่มที่มีธุรกิจใหม่, คน ท�ำงานอาชีพอิสระ, ครีเอทีฟ, ดีไซน์เนอร์ เราเชื่อ ว่าทุกอย่างมันเกิดขึ้นกับคนกลุ่มนี้ เพราะมีความ เป็นผู้ประกอบการในตัวอยู่ รวมไปถึงนักพัฒนา, วิศวกรหรือโปรแกรมเมอร์เข้ามาสนับสนุนด้วย เพราะการมี ค นกลุ ่ ม นี้ เ ข้ า มาจะท� ำ ให้ เ กิ ด การ
เราอยากให้ที่นี่เป็น สถานที่ใกล้ความส�ำเร็จ ของคนที่มุ่งมั่นอยากจะ ท�ำอะไรสักอย่างดีกว่าที่ จะนั่งงงๆ อยู่ที่บ้าน
สนับสนุนในด้านของการคิด และการมองเห็น โอกาสที่น�ำไปด�ำเนินได้จริง เช่น คนหนึ่งสร้าง คนหนึ่งขาย คนหนึ่งออกแบบ ล่าสุดก็เป็นงาน Startup Weekend Bangkok เปิดโอกาสให้ นั ก คิ ด นั ก สร้ า งสรรค์ คนที่ มี หั ว ด้ า นธุ ร กิ จ นักพัฒนา นักออกแบบได้มาพบเจอกันและรวม พลังกันในการพัฒนาโครงการใหม่ๆ ขึน้ มาภายใน 54 ชั่วโมง นอกจากนี้ยังมีค�ำแนะน�ำดีๆ จากโค้ช ผูม้ ากประสบการณ์ทงั้ นักลงทุนและกรรมการทีจ่ ะ มาร่วมตัดสินโครงการของคุณ ซึง่ ตอนนีเ้ ราก็มกี าร คิดวางแผนกันอยูถ่ งึ งานในปีหน้าแล้วว่าเราจะต้อง
ท�ำอะไรบ้าง
เปลีย่ นแปลงลักษณะธุรกิจในเมือง ไทย
เราอาจจะสามารถเปลี่ยนแปลงวงการธุรกิจไทย ให้มันหลากหลายรูปแบบมากขึ้นกว่าเดิมในอดีต เช่น นายทุนกับลูกจ้างหรือเจ้าสัวกับลูกหลาน มัน เป็นระบบเก่าๆ ที่คนเก่งๆ แพ้คอนเนคชั่น แพ้ การเมือง รายได้ไม่เขยิบ ซึ่งการท�ำงานแบบ Coworking นี้เอง จะช่วยให้การท�ำงานของคุณดูมี ไลฟสไตล์กว่า ดีทั้งสุขภาพจิตและกาย
HUBBA ผู้ดูแล: ชาล / อมฤต เจริญพันธ์ ที่ตั้ง: เลขที1่ 9 เอกมัยซอย 4 ถนน สุขมุ วิท 63 พระโขนงเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110 ติดต่อ: 02-714-3388 เว็บไซต์: www.hubbathailand. com เฟซบุ๊ก: hubbathailand
JANUARY-MARCH ISSUE SEMAG
21
ชุมชนนักคิดค้น
ความยัง่ ยืนของสังคมในชนบทมีบอ่ เกิดมาจากความพอเพียง แนวความคิดทีเ่ น้นการ อยูด่ ว้ ยการพึง่ พาตนเองและมีรายได้ตอ่ การยัง่ ชีพด้วยการสร้างสรรค์นวัตกรรมทาง พลังงานอย่าง ถังก๊าสชีวมวลทีใ่ ช้มลู วัวและเศษอาหารรอบตัวมาผลิตเป็นพลังงานเชือ้ เพลิงทางเลือกเพือ่ ระบบครัวเรือนของชาวบ้าน ต�ำบลป่าเด็ง จังหวัดเพชรบุรี และการ สร้างเตาแก๊สจากพลังงานแกลบโดยผูใ้ หญ่ประสิทธิ์ อ�ำเภอโนนแดง จังหวัดเพชรบูรณ์ ท�ำให้เกิดทางเลือกของพลังงานจากชาวบ้านในการน�ำมาประกอบอาชีพและยกระดับ ความเป็นอยูไ่ ด้อย่างดีขนึ้ จนกลายเป็นพืน้ ทีแ่ หล่งเรียนรูต้ อ่ การสร้างสรรค์พลังงาน ให้ใช้ชีวิตอยู่คู่กับธรรมชาติได้อย่างมีสมดุล เมื่อคนตัวเล็กเริ่มปฏิบัติการอะไรบาง อย่างแล้ว ต่อจากนี้เอง คือการเอานวัตกรรมทางความคิดของพวกเขา มาต่อยอด เพื่อกลับคืนสู่สังคม
22
SEMAG JANUARY-MARCH ISSUE
JANUARY-MARCH ISSUE SEMAG
23
CLEAR-CUT
Give and
Go
พลังงานเตาแก๊สซุปเปอร์ชีวมวล
ประสิทธิ์ ตระการฤทธิ์ (ผู้ ใหญ่บ้านโนนแดง ต.บุ้งคล้า อ.หล่มสัก จ.เพชรบูรณ์)
จากคนทีเ่ คยมีเงินเป็นหลักล้านจนกระทัง่ เจอวิกฤตฟองสบู่ ท�ำให้ผใู้ หญ่ประสิทธิต์ อ้ ง กลับกลายเป็นเกษตรกร ซึ่งถือเป็นจุดเปลี่ยนที่ท� ำให้เขาได้หันมาสนใจเรื่องของ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอย่างเข้มข้มและแน่วแน่ จนท�ำให้ได้พบชีวิตใหม่กับการ สร้างนวัตกรรมพลังงาน ทีม่ แี กลบเป็นเชือ้ เพลิงชัน้ ดี และเชือ่ ว่านีค่ อื หนทางแห่งความ พอเพียงและยั่งยืนของชุมชน แกลบคือทางออกของวัตถุดิบ
เรื่องของระบบท่อความร้อน ได้เข้ามาปรึกษาว่า จะท�ำเตาแก๊สจากพลังงานแกลบไหม เพราะท่าน ก็ได้รับงบประมาณจาก สสส. มาช่วยในเรื่องของ เตาแก๊สพลังงานแกลบเพื่อชุมชน แต่ตอนนั้น ยังไม่สมบูรณ์เพราะยังมีเรื่องของควันและกลิ่น
เราเคยเข้ า ไปดู โ ครงการพระราชด� ำ ริ ข อง พระเจ้าอยู่หัว เขามีการน�ำแกลบมาอัดแท่งกลาย เป็นถ่านแท่งทีว่ งั สวนจิตรลดา เราก็สนใจว่าอยาก จะท�ำ เลยจดเบอร์โทรศัพท์เอาไว้และโทรไปดู ท�ำให้เรารู้ว่าการลงทุนมันเยอะเหมือนกัน เป็น มุ ่ ง มั่ น จนส� ำ เร็ จ และเกิ ด วิ ส าหกิ จ แสนบาทเชียว เราไม่มีทุนแต่เรามีแกลบ บังเอิญ ชุมชน ช่วงที่ ดร.พิทักษ์ สุวรรณกูฏ ซึ่งท�ำงานอยู่ที่การ เตาตัวเดิมของท่านตอนนั้นทิ้งเอาไว้ 4-5 ปี เราก็ ไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยเป็นผู้เชี่ยวชาญ ค่อยๆ พัฒนาว่าท�ำอย่างไรให้เตามันจุดติดง่ายขึน้ 24
SEMAG JANUARY-MARCH ISSUE
โดยยังใช้แกลบ สุดท้ายเราก็ออกแบบให้มันดีขึ้น ด้วยการให้มนั มีการเผาไหม้สองระดับเพือ่ ไม่ให้มนั ก่อให้เกิดกลิน่ และควันออกมา จนสุดท้ายก็พฒ ั นา ให้กลายเป็นเตาที่สามารถใช้เชื้อเพลิงได้หลาย อย่าง เช่น ซังข้าวโพด, ท่อนไม้ ฯลฯ เราก็เลย เปลีย่ นชือ่ จากเตาแก๊สพลังงานแกลบเป็นเตาแก๊ส ซุปเปอร์ชวี มวล ตอนนีด้ อกเตอร์ยงั ไม่รเู้ ลยครับว่า ท�ำได้แล้ว ถ้าท่านรู้คงดีใจว่าเราท�ำได้แล้ว เราก็ ท�ำใช้เองในหมู่บ้านชุมชนก็ได้เกิดเป็นวิสาหกิจ
เศรษฐกิจพอเพียงคือ ธุรกิจแบบเมตตาทุนนิยม คือท�ำแล้วเมตตากรุณา ต่อกัน พัฒนากลุ่ม พัฒนาเครือข่าย แต่ ระบบทุนนิยมมัน เห็นแก่ตัวเอาก�ำไรเป็น ที่ตั้ง ถ้าเราเข้าใจทั้งระบบ ทุกคนคงมีความสุขครับ พลังงานเตาแก๊สซุปเปอร์ชีวมวล ผู้ดูแล: ผู้ใหญ่ประสิทธิ์ ตระการฤทธิ์ ที่ตั้ง: 199 หมู่ 13 บ้านโนนแดง ต�ำบลบุ้งคล้า อ�ำเภอหล่มสัก จังหวัด เพชรบูรณ์ 67110 ติดต่อ: 085-051-2492 อีเมล: phasith2499@gmail.com ชุมชนจัดจ�ำหน่ายให้กบั คนทีม่ าดูงานหรือคนทีร่ บั ข่าวสารจากโทรทัศน์ดว้ ย เพราะศูนย์ทนี่ เี่ ป็นศูนย์ เศรษฐกิจพอเพียงด้วย เปิดโอกาสให้คนอื่นมา เรียนรูเ้ พือ่ น�ำไปใช้ได้จริงไม่ได้เปิดเพือ่ หวังผลประ โยชน์ใดๆ ทั้งสิ้น
การช่วยเหลือของเตาแก๊สชีวมวล
การใช้ แ กลบเป็ น เชื้ อ เพลิ ง ถื อ เป็ น นวั ต กรรมที่ สามารถเข้าไปช่วยอาชีพที่ค้าขายได้ เช่น พ่อค้า ขายก๋วยเตี๋ยว, คนขายกล้วยทอด อาชีพเหล่านี้ ต้ อ งใช้ แ ก๊ ส วั น ละถั ง ซึ่ ง เดี๋ ย วนี้ เ จอค่ า แก๊ ส ไปก็
เหนื่อยพอสมควร ถ้าเขามีชีวมวลซึ่งเป็นวัสดุที่ ให้กับหลายชุมชนที่ยังอยู่ในเขตป่าซึ่งยังมีปัญหา ต้นทุนต�่ำสามารถหาซือ้ ได้ทวั่ ไป มันก็ประหยัดไป ในเรื่องการเดินสายไฟฟ้าเข้าไปในหมู่บ้านชุมชน ซึ่งมันอาจเป็นการรุกร�้ำสิ่งแวดล้อมด้วย เพราะ ได้เยอะแยะนะ ฉะนั้นกระบวนการเรื่องของพลังงานทางเลือก ถ้า ประโยชน์ ในมุมกว้าง เริ่มต้นเรามองไปที่การแก้ไขในครัวเรือนและการ รัฐบาลสนับสนุนน�ำงบประมาณบางส่วนให้นกั วิจยั ใช้ วั ส ดุ ธ รรมชาติ อ ย่ า งแกลบมาเป็ น เชื้ อ เพลิ ง ชุมชน โดยงบประมาณที่น้อยนิดก็สามารถเชื่อม นวั ต กรรมเหล่ า นี้ มั น จะขยายต่ อ ยอดไปได้ อี ก นวัตกรรมของชุมชนให้ไปสอดคล้องกับวิถีชีวิต เราน�ำกระบวนการตรงนี้พัฒนาหมู่บ้านของเรา เขาได้ สามารถผลิ ต ไฟฟ้ า ด้ ว ยต้ น ทุ น ที่ ไ ม่ แ พงจาก นวัตกรรมตรงนี้ รวมไปถึงการสร้างองค์ความรู้ JANUARY-MARCH ISSUE SEMAG
25
CLEAR-CUT
Energy
Reform
‘พลังงานป่าเด็ง’ ชีวิตที่ยั่งยืนจากพลังงานธรรมชาติ โกศล แสงทอง (ประธานเครือข่ายรวมใจตามรอยพ่อ)
โกศล แสงทอง เคยท�ำงานที่สถาบันสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทยมานานกว่า 20 ปี ท�ำให้เขาได้มีโอกาสเดินทางไปทั่วประเทศ จนสุดท้ายได้มาปักหลักลงเอยที่ต�ำบล ป่าเด็ง จังหวัดเพชรบุรี และได้เป็นแกนหลักต่อการน�ำวิถีเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้กับ ชาวบ้านในพื้นที่ เพื่อการสร้างคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้นด้วยการผลิตพลังงานทางเลือก จากทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่รอบตัว พลังงานป่าเด็งกับกองทุน
เริม่ จากการทีพ่ นื้ ทีใ่ นป่าเด็งไม่มไี ฟฟ้าใช้ เลยมา สนใจเรือ่ งพลังงาน ตอนเด็กๆ ผมเคยเห็นบ่อแก๊ส ชีวภาพทีเ่ อามูลสัตว์หรือของเหลือใส่เข้าไปหมักให้ เป็นแก๊ส ผมก็ชอบมาตัง้ แต่เด็ก เราเลยจับกลุม่ คุย กัน เลยเกิดการทดลองแก๊สชีวภาพปริมาณ 200 ลิตร ใช้พลังงานได้เพียง 15 นาที ซึง่ เรารูแ้ ล้วว่า มันสามารถท�ำได้จริง ก็เลยมาคิดขนาดทีพ่ อใช้กบั สภาพครัวเรือนได้ เราก็มีการรวมเงินกันกับชาว บ้านเพือ่ มาท�ำถังแก๊สชีวภาพตัวแรก หลังจากนัน้ 26
เราก็เริม่ ท�ำแจกจ่ายไปหลายครอบครัว พอมาถึงตัว ทีส่ องคือ เตาเผาถ่านกับถัง 200 ลิตร ซึง่ การเผา ถ่านแต่กอ่ นคือ ถ่านไม่บริสทุ ธิ์ ผิดกฎหมายเพราะ มันใกล้กบั เขตอุทยานและสิง่ สุดท้ายคือเราต้องไป ซือ้ เราก็ออกแบบเตาให้เหมาะกับครัวเรือนเหมือน เดิมและสิง่ ทีเ่ ราได้คอื ถ่านมันบริสทุ ธิ์ กิง่ ไม้ทถี่ กู ตัด จากการตกแต่งกิง่ จากไม้ทเี่ ราปลูก ก็สามารถน�ำมา เผาเป็นถ่านได้ดกี ว่าน�ำไปทิง้ ตอนแรกเราไม่มเี ตา ทีจ่ ะมอบให้ทกุ ครัวเรือน ดังนัน้ เราจึงมีความคิดที่ ว่าหากใครต้องการเตาเผาถ่านไปครอบครองต้องมี
SEMAG JANUARY-MARCH ISSUE
ข้อแม้คอื คืนถ่าน 1 กระสอบ เพราะหนึง่ คนทีไ่ ด้ เตาไปต้องเผาอยูแ่ ล้ว ซึง่ การได้ถา่ นมา เราก็เอา มาขายคนในกลุ่มเพื่อสร้างกองทุนหมุนเวียนใน หมูบ่ า้ นเพือ่ น�ำเอาไปซือ้ อุปกรณ์ให้คนอืน่ ต่อ
การบริหารความรู้ผ่านการอบรม ชาวบ้าน
ผมเชื่อว่าการอบรมเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ การมอบ ความรูเ้ รือ่ งแก๊สชีวภาพ เป็นสิง่ ทีค่ วรท�ำต่อ ท�ำไม มันถึงเกิดแก๊สได้แล้วเราจะมีวิธีการรักษาอย่างไร ผมคิ ด ว่ า การอบรมผ่ า นความรู ้ มั น ส� ำ คั ญ มาก
มีคนถามผมว่าท�ำ แบบนี้ไปเพื่ออะไร ผมก็บอกว่าผมมี ความสุข ได้ความสะใจ จากการท�ำแก๊สชีวภาพ ซึ่งมันท�ำให้เกิดการ พัฒนาพวกนวัตกรรม ได้อย่างไม่มีวันสิ้นสุด
พลังงานป่าเด็ง ผู้ดูแล: โกศล แสงทอง ที่ตั้ง: ต�ำบลป่าเด็ง อ�ำเภอแก่ง กระจาน จังหวัดเพชรบุรี 76170 ติดต่อ: 085-271-9262 อีเมล: go_soccom_4@ hotmail.com องค์ความรูก้ บั จิตส�ำนึกของคนส�ำคัญมาก มันต้อง มีการพูดคุยกันทุกเดือน ให้เขารู้จักการบริหาร จัดการต่ออุปกรณ์ทไี่ ด้รบั ไป แต่บางครัง้ มันก็จะมี เหตุการณ์ทตี่ อ้ งมีการเสียสละกันบ้าง ด้วยการจัด องค์ประชุมชาวบ้านแบบนี้ เพือ่ ฟังเสียงส่วนใหญ่วา่ จะอนุญาตให้อีกหมู่บ้านหนึ่งซึ่งต้องการถังแก๊ส ชีวภาพไปใช้ตอ่ การด�ำรงชีวติ หรือเพือ่ น�ำไปให้เขา เรียนรูร้ ะหว่างการพัฒนาสร้างถังแก๊สตัวต่อไป ซึง่ มันก็ถอื เป็นการท�ำงานบริหารร่วมกับคนในหมูบ่ า้ น ในแต่ละแห่งเหมือนกัน
รายได้จากการพัฒนา
เราผลิตน�ำ้ ยาล้างจาน แชมพูสระผม สบู่ เพือ่ ทีใ่ ช้ กันเองโดยเอาวัสดุสมุนไพรในชุมชนมาใช้ หนึง่ คือ เราลดค่าใช้จา่ ยและได้ของดี พอเริม่ จะเข้าปี 2556 เราเริม่ มองด้วยการขาย เพือ่ รวมกันไปสร้างรายได้ อีกทางหนึง่ ซึง่ มันเป็นหนทางของการพึง่ พาตัวเอง ให้อยูไ่ ด้และพร้อมทีจ่ ะเผือ่ แผ่ให้คนอืน่
อยากมีนวัตกรรมใหม่ๆ แต่ยงั ขาด นักประดิษฐ์
จริงๆ แล้วคนไทยมีความสามารถมากนะครับ แต่ มักถูกตีกรอบไม่กล้าที่จะหลุดออกมา อย่างเช่น ถ้าเป็นเจ้าหน้าทีจ่ ะมาป่าเด็ง ก็อาจจะมีคนบอกว่า อย่ามาเลยมันไกล ค่าน�ำ้ มันไม่คมุ้ หรอก มันท�ำให้ นักประดิษฐ์ไม่กล้าที่จะมองเห็นสิ่งใหม่ๆ หรือไม่ กล้าทีจ่ ะท�ำอะไรใหม่ๆ แต่ถา้ มีคนคิดได้จริง ท�ำได้ จริง มีนโยบายทีส่ ง่ เสริมจริงจัง มันก็จะเห็นผล
JANUARY-MARCH ISSUE SEMAG
27
ส่งต่อคนรุ่นใหม่
A – CHIEVE เป็นหนึ่งในกิจการเพื่อสังคมของคนรุ่นใหม่ที่มองเห็นเรื่องของการค้น พบอาชีพที่สนใจของเด็กมัธยมศึกษาทั่วประเทศไทย ให้สามารถเกิดขึ้นได้จริงโดย การทดลองฝึกงาน และ GSVC คือกิจการที่เป็นตัวเชื่อมระหว่างกลุ่มคนที่มีแผน พัฒนาเพือ่ สังคมและสิง่ แวดล้อมเพือ่ สนับสนุนต่อการไปประกวดในเวทีระดับโลก ทัง้ สองกิจการพยายามสร้างโอกาสให้คนรุน่ ใหม่ มีพนื้ ทีต่ อ่ การค้นพบและค้นหาต่อเป้า หมายที่ได้ตั้งเป้าเอาไว้ เชื่อว่ากิจการเพื่อสังคมลักษณะนี้จะเป็นฐานที่สำ� คัญต่อการ เปลีย่ นแปลงของสังคม ทีต่ อ้ งการพลังจากคนรุน่ ใหม่ทจี่ ะมีบทบาทต่อการสร้างสรรค์ สิ่งใหม่ๆ ให้ดีกว่าเก่ามากขึ้น
28
SEMAG JANUARY-MARCH ISSUE
JANUARY-MARCH ISSUE SEMAG
29
CLEAR-CUT
Find Destiny
‘A-CHIEVE’
โตแล้วไปไหน
ภูมิสิทธิ์ ศิระศุภฤกษ์ชัย (ผู้ร่วมก่อตั้ง A-CHIEVE)
เด็กผู้ชายที่เรียนจบเศรษฐศาสตร์ เขาสามารถโตไปเป็นนายธนาคาร, โบรกเกอร์มือ ทอง, พนักงานบัญชีและอีกหลายหน้าที่ ที่เกี่ยวพันกับการเงิน แต่เอิร์ท-ภูมิสิทธิ์ ศิระศุภฤกษ์ชยั ได้ปฎิเสธกับทางเลือกเหล่านัน้ ด้วยการหันหน้าสร้างกิจการเพือ่ สังคม อย่าง A-CHIEVE กิจการที่เปิดโอกาสให้เด็กมัธยมปลายทั่วประเทศ ได้ค้นหาตัวเอง ต่ออาชีพที่วาดฝันไว้ให้เป็นความจริง พลังความคิดและแรงบันดาลใจ
มันเริ่มมาจากปีสุดท้ายของการเรียนได้มีโอกาส เรี ย นรู ้ เ รื่ อ งกิ จ การเพื่ อ สั ง คมพอดี และความ ต้องการของเพือ่ นแต่ละคนไม่อยากออกมาท�ำงาน ในรูปแบบของบริษัททั่วไป แต่อยากออกมาท�ำ อะไรดีๆ บ้าง เลยคิดถึงเรื่องการศึกษา เพราะ เด็กไทยที่เรียนกันอย่างเดียว ความเก่งในการใช้ ชีวิตมันไม่มี ทีนี้เราได้พบข้อมูลว่าต่างประเทศมี การท�ำ “JOB SHADOW” ซึง่ มันเป็นรูปแบบทีเ่ ด็ก เข้าไปเรียนรูใ้ นทีท่ ำ� งานหนึง่ วันในวงการนัน้ ๆ เรา ก็มองว่ามันน่าสนใจเลยดึงโครงสร้างมาแล้วมาท�ำ ในรูปแบบของเราเอง 30
รูปแบบแบบการด�ำเนินงาน
สอบถามว่ามีปัญหาอะไรบ้างไหม ถ้ามีเราก็ช่วย กันคิด ช่วยกันแก้ หลักๆ มันก็ไม่ได้ให้แค่ข้อมูล อาชีพอย่างเดียว แต่น้องเขาจะได้ประสบการณ์ ชีวติ มันท�ำให้นอ้ งเขาโตขึน้ ไปอีกขัน้ หนึง่ และเรา ยังจัดเวิร์คช็อป หาบุคคลดังที่ประสบความส�ำเร็จ ในอาชีพ อาทิ นิ้วกลม พี่โหน่ง อะเดย์ ฯลฯ มา ให้ค�ำแนะน�ำน้องๆ เพื่อจะบอกว่าเส้นทางที่เรา ก�ำลังเลือกหรือท�ำสิง่ ทีต่ วั เองสนใจควรด�ำเนินชีวติ รูปแบบไหน
เรารับตัง้ แต่ ม.4 – ม.6 ทีเ่ รารับมัธยมปลายเพราะ ว่ามันเป็นระบบที่เราต้องไปเรียนรู้ด้วยตัวเอง ซึ่ง ระบบการศึกษาไทยมันไม่ได้สอนให้เด็กเป็นแบบ นั้นตั้งแต่แรก และเด็กมัธยมปลายเขาจะรู้เรื่อง รูร้ าวและมีกระบวนการตัดสินใจว่าสิง่ ใดเหมาะ สิง่ ใดไม่เหมาะ โดยก่อนเข้าไปฝึกงานจริงยังสถานที่ ต่างๆ ที่เรามีคอนเนคชั่น เราก็มีเวิร์คช็อปให้ด้วย ในด้านทักษะการสื่อสาร ทักษะการท�ำงาน เช่น ี่ งั คมได้รบั ควรจะโทรหาพี่เขาช่วงไหนที่จะเหมาะ ควรจะ การเติบโตคือผลลัพธ์ทส กระตือรือร้นอย่างไรให้มนั เหมาะสม ระหว่างน้อง มันเป็นการได้เห็นการเปลีย่ นแปลงของคนๆ หนึง่ ไปฝึกงาน ตอนเย็นเราก็จะติดตามด้วยการโทรไป ผมว่ า การเปลี่ ย นแปลงแค่ ค นเดี ย วมั น ก็ คุ ้ ม ค่ า
SEMAG JANUARY-MARCH ISSUE
ถ้าคุณได้ท�ำในสิ่งที่ ตัวเองรักแล้ว คุณจะค้น พบศักยภาพของตัวเอง อีกมากมายและยัง สามารถน�ำไปท�ำ ประโยชน์เพื่อคนอื่นได้
ส�ำหรับการลงทุน เพียงแต่ถา้ พูดถึงมุมทีเ่ ราท�ำ เรา มากขึ้น หรือฝึกครู นักศึกษาฝึกงานแนะแนว ซึ่ง เห็นการเติบโตในเรือ่ งของประสบการณ์ ความคิด เราก็จะค่อยๆ ปรับกันไป ความรับผิดชอบ การรูจ้ กั วางแผน การมีเป้าหมาย ความตั้งใจ ความกระตือรือร้นต่อการเดินตาม ความฝันของตัวเอง มันมีการเปลี่ยนแปลงและ แตกต่างไปจากเดิมที่จริงจัง ถ้าเทียบกับเด็กคน อื่นทั่วๆ ไป ตอนนี้เราก็พยายามเข้าหาโรงเรียน ต่างๆ เพื่อท�ำงานกับคุณครูแนะแนวให้มากขึ้น เพือ่ ทีจ่ ะสร้างการเปลีย่ นแปลงให้มนั มากกว่านี้ ซึง่ การท�ำของเราคือการน�ำวิชาแนะแนวมาปรับปรุง ใหม่ให้กลายเป็นการเวิรค์ ช็อป ท�ำให้เด็กเขาสนใจ
A-CHIEVE ผู้ดูแล: ภูมิสิทธิ์ ศิระศุภฤกษ์ชัย ที่ตั้ง: ห้อง7b อาคารบ้านสุโขทัย ตึก15 ซอยรามค�ำแหง30/1 แขวง หัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ 10240 ติดต่อ: 081-423-3323 เว็บไซต์: www.a-chieve.org เฟซบุ๊ก: achieve.org
JANUARY-MARCH ISSUE SEMAG
31
CLEAR-CUT
Good Plan
Good World ‘GSVC’ ผลักดันความคิดสู่เวทีโลก
ภัทราพร แย้มละออ (Manager Center of Sustainable Enterprise) โครงการ GSVC (Global Social Venture Competition) เกิดขึน้ ครัง้ แรกทีป่ ระเทศ สหรัฐอเมริกา ณ University of California Berkeley โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการ สร้างแผนธุรกิจต่อการสร้างก�ำไรควบคูไ่ ปกับการแก้ไขปัญหาสังคม ก่อนทีจ่ ะได้ขยาย เข้ามาในแถบทวีปเอเชีย รวมถึงประเทศไทยที่ได้ส่งแผนเข้าไปแข่งขันครั้งแรกในปี 2006 จนเริ่มได้รับความสนใจเรื่อยมา รูปแบบของธุรกิจแบบ GSVC
มันควรเป็นธุรกิจที่ท�ำก�ำไรทางการเงินได้ แก้ไข ปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืน มัน ต้องบอกได้ว่าสามารถช่วยได้กี่คน ภายในกี่ปี สามารถสร้ า งรายได้ ใ ห้ เ ขาเพิ่ ม ขึ้ น ได้ เ ท่ า ไหร่ คือต้องมีตัวเลขออกมา ไม่สามารถพูดลอยๆ ออกมาได้ ถ้าใครจะส่งแผนเข้ามาต้องมีสองสิ่ง นี้คือ เป้าหมายทางการเงิน และเป้าหมายทาง สังคม
เกณฑ์การคัดเลือกแผนธุรกิจเพือ่ สังคมต่อเวทีโลก ในแต่ละปีก็มีจ�ำนวนเข้ามามากขึ้นเรื่อยๆ อย่าง 32
ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็มี สิงคโปร์ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ เป็นต้น ซึ่งประเทศเหล่านั้นเขาพูด ภาษาอังกฤษกันได้ แต่เด็กไทยไม่ได้ใช้ภาษา อังกฤษเป็นหลัก มันก็เลยเป็นอุปสรรค แต่อย่าง ธุรกิจ FREEHAP เขาเป็นลูกศิษย์เรา เขาก็ส่งเข้า มาประกวดที่ GSVC บวกกับตอนนั้นเริ่มเป็น กระแสด้วย เขาก็มีวิธีการน�ำเสนอที่ไม่เหมือนกับ ทีมอื่น โดยแนวคิดของ FREEHAP เป็นเครื่องมือ ที่ท�ำให้คนมีความสุขมากขึ้น ซึ่งผลออกมาก็ชนะ แต่มนั จะพิเศษตรงทีก่ รรมการจะแบ่งออกเป็นสอง ขั้วเลย คือ เชื่อกับไม่เชื่อ ฝั่งที่ไม่เชื่อเขาก็ให้ เหตุผลว่ามันจะหารายได้เพื่อเพิ่มผลทางการเงิน
SEMAG JANUARY-MARCH ISSUE
ได้อย่างไร ซึ่งโจทย์ของมันก็คือท�ำอย่างไรให้คน ซื้อแอพพลิเคชั่นของเขา ในขณะที่ฝั่งที่เชื่อ เขาก็ จะคิดว่ามันสามารถพัฒนาไปอย่างอืน่ ได้ เช่น ถ้า คุณสามารถเก็บข้อมูลคนไทยว่าวันนี้มีความสุข มากน้อยกว่าเมื่อวาน มันอาจจะเป็นแหล่งข้อมูล มหาศาลของบริษัทและภาครัฐที่จะท�ำอย่างไรให้ คนมีความสุขมากขึ้น
ถ้ า จะให้ เ ขี ย นแผนแก้ ไ ขปั ญ หา มาสักหนึ่งแผน อยากจะแก้ไขอะไร คงแก้เรื่องปัญหาทางการศึกษา เพราะการศึกษา มันเป็นรากของปัญหาทีม่ าของทุกอย่าง ท�ำไมช่วง นีม้ แี ต่ขา่ วออกมาว่าเราภาษาอังกฤษไม่ดี หรือการ
เรารู้สึกว่าความคิดของ คนที่เข้าร่วมมันวิเศษ มาก มันเหมือนเป็นพร ของการท�ำงาน ที่ท�ำให้ เราได้เจอคนแบบนี้ และ ก็เอาเรื่องราวที่ไปเจอมา ถ่ายทอดให้กับนักศึกษา ได้ฟังอีกทีหนึ่ง
เชือ่ ต่อข่าวต่างๆ ทีอ่ อกมากันมากมาย เราควรจะ เชือ่ ไปเลย หรือต้องหาข้อมูลเพิม่ เติมประกอบการ ตัดสินใจ มันก็เลยเป็นที่มาของความขัดแย้งใน ประเทศนี้เพราะมีข้อมูลเต็มไปหมด พอเราเลือก ในสิ่งที่เราอยากจะเชื่อโดยที่ไม่ได้มองว่ามันมี ประเด็นที่ซับซ้อนอยู่อีกมาก แต่เราก็ขี้เกียจที่จะ รับรู้ ดังนัน้ พอเราไม่มคี วามรูเ้ พือ่ เป็นภูมคิ มุ้ กันพอ เนี่ย เราก็จะตกเป็นเครื่องมือของใครบางคนได้ ง่าย ทัง้ ทีจ่ ริงๆ แล้วหลายๆ คนอาจจะมีเจตนาดี
ความคาดหวังกับเด็กรุ่นใหม่
พอดีวา่ คนรุน่ ใหม่เป็นเจเนอเรชัน่ ทีอ่ าจไม่ได้สร้าง ปัญหาขึ้นมาโดยตรงแต่ต้องเข้ามาแก้ (หัวเราะ)
แต่ถ้าเลือกที่จะไม่ท�ำมันก็ไม่มีทางเลือกมากนักที่ คุณจะไม่ท�ำ ปัญหาหลายๆ เรื่องบนโลกใบนี้ เรา ไม่สามารถแก้ไขได้แล้วซึง่ เราต้องยอมรับ เช่น น�้ำ แข็งขัว้ โลกก�ำลังละลายซึง่ เราไม่สามารถย้อนเวลา กลับไปแก้ไขได้ ทีนี้จะท�ำอย่างไรให้มันอยู่ได้นาน ขึ้น ให้คนรุ่นหลังมีชีวิตที่ดีขึ้น พวกเขาก็จะต้อง แก้ไขและคิดให้มากขึ้น คิดนอกกรอบให้มากขึ้น เพื่อให้ชีวิตมันอยู่ได้ต่อไปในอนาคต
GSVC (Global Social Venture Competition) ผู้ดูแล: ภัทราพร แย้มละออ ที่ตั้ง: คณะธุรกิจและการบัญชี ชัน้ 3 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ถนน พระจันทร์ เขตพระนคร 10200 ติดต่อ: 081-806-8555 เว็บไซต์: www.gsvc-sea.org เฟซบุ๊ก: GSVCsea
JANUARY-MARCH ISSUE SEMAG
33
สวนโมกข์
(หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ) จิตสบาย กายสงบ
ท่ามกลางใจเมืองที่เร่งรีบ และการแข่งขันเพื่อความก้าวหน้าในชีวิต หลายคนมุ่งท�ำแต่งาน ขยันจน นอนดึก จนลืมคนใกล้ตัวและสุขภาพของตัวเองไปชั่วขณะ บางครั้งก็ไม่สามารถเรียกมันกลับคืน มาได้ แต่สิ่งที่ได้รับมาแทนคือ ความเครียด ความกังวลและสุขภาพที่อ่อนแอลง ทั้งหมด คือ ชีวิต ของผมช่วงขณะหนึ่ง ที่หลงกลหลุมพลางของความก้าวหน้าแบบผิดๆ ที่ไม่ยอมหันมามองมิติของ จิตใจและร่างกายของตัวเอง ว่ามันไม่ใช่เครื่องจักร รับใช้ความฝันจากลมปากและความคิดของใคร หลายคนที่อยากให้เราเป็น แทนที่เราควรจะเป็นคนก�ำหนดเส้นทางเดินของชีวิตเราเอง 34
SEMAG JANUARY-MARCH ISSUE
จากเหตุการณ์ทั้งหมดที่เกิดขึ้นท�ำให้ผมมอง เห็นถึงสาเหตุจากสภาพแวดล้อมที่เข้ามาถาโถม บังคับให้เราอยู่ในลู่วิ่ง โดยปราศจากความหยุด หย่อนทางกายและความคิด ลู่วิ่งหายนะนั้นพัง ทลายลงจากการมีสติกลับมานั่งคิดทบทวนเรื่อง ราวต่างๆ นาๆ จากสถานที่แห่งนี้ในยามบ่าย วันหนึ่งที่ผมได้มีโอกาสเข้ามานั่งพักผ่อนหลังจาก ออกก�ำลังกาย จากพื้นที่สวนสาธารณะด้านข้าง ที่ไม่ห่างไกลจากสวนโมกข์ หอจดหมายเหตุพุทธ ทาส อินทปัญโญ สภาพแวดล้อมของที่แห่งนี้ร่มรื่นและโปร่ง โล่งสบายพร้อมกับไอเย็นๆ จากบึงน�้ำขนาดใหญ่ ที่ เ ป็ น ตั ว สร้ า งระยะห่ า งจากสวนรถไฟให้ เ ป็ น เขตแดนที่ห่างกันเพียงเล็กน้อยพอมองเห็น ตัว ตึกถูกออกแบบด้วยการสร้างสไตล์สมัยใหม่ฉาบ ด้วยปูนเปลือย ไร้ริ้วรอยการแต่งแต้มด้วยสีสัน มี ที่นั่งพักเป็นจุด ณ ลานไม้พื้นที่กว้าง พร้อมลาน โค้งวงกลมที่เหมาะส�ำหรับการจัดเสวนาธรรม มี ผู้หลักผู้ใหญ่ คนวัยเกษียณและคนหนุ่ม คนสาว เข้ามานัง่ อ่านหนังสือกันพอประมาณ ผมเดินดูและ นัง่ สลับกันไปภายใต้ชนั้ หนึง่ ของอาคารทีโ่ ปร่งโล่ง และมีสายลมมากระทบตัวอย่างสม�่ำเสมอ ทุกอย่างก้าวของการได้มาที่แห่งนี้ ท� ำให้ เราหวนคิด และทบทวนตัวเองอย่างไม่รู้ตัว อาจ เพราะความเงียบและสภาพแวดล้อมที่ไม่วุ่นวาย รวมถึงอากาศที่ถ่ายเทสะดวก ท�ำให้การเดินไป ตามพื้นที่ต่างๆ ของที่แห่งนี้เสมือนเราก�ำลังเดิน ภาวนาสติอยู่ตลอดเวลา บนชั้ น สองของหอจดหมายเหตุ พุ ท ธทาส
อินทปัญโญ มีผลงานทางศิลปะด้วยรูปถ่ายหลาย สิบรูปถูกแขวนใกล้ติดกับผนังก�ำแพงด้วยสลิงไม่ กีต่ วั ภาพถ่ายจากการประกวดทีม่ เี นือ้ หาสะท้อน ถึ ง หลั ก ธรรมะและค� ำ สอน ผ่ า นมุ ม มองของ ช่างภาพสะท้อนออกมาได้อย่างสวยสดงดงาม ผมค่อยๆ ทยอยเดินชมผลงานจากศิลปินหลายๆ คน ทีใ่ ห้ได้มมุ มองธรรมะผ่านภาพนิง่ ทีไ่ ม่เหมือน กัน อย่างหลากหลายและน่าขบคิด นอกเหนือ จากนี้ยังมีห้องปฎิบัติธรรมที่เงียบสงบและห้อง นิทรรศการ ‘นิพพานชิมลอง’ ให้บุคคลภายนอก อย่างเราได้เข้าไปชมอีกด้วย ชั้ น บนสุ ด ของที่ แ ห่ ง นี้ เป็ น พื้ น ที่ ที่ เ หมาะ ส�ำหรับบุคคลทีต่ อ้ งการใช้พนื้ ทีท่ ำ� งานค้นคว้าภาย ใต้ความสงบ ที่แห่งนี้มีห้องค้นคว้าให้ใช้หนึ่งห้อง ใหญ่ๆ พร้อมกับหนังสือเกี่ยวกับพุทธศาสนาอีก มากมาย รวมถึงห้องจดหมายเหตุที่ถือเป็นคลัง เอกสารของท่านพุทธทาส อินทปัญโญ โดยถือ เป็นผลงานทางความคิดชุดที่ส�ำคัญยิ่ง เวลาหมดไปอย่างรวดเร็วเหมือนกับที่หลาย คนชอบพูดว่า เวลาจะผ่านไปเร็วเมื่อเรามีความ สุขมากกว่าความทุกข์ทเี่ ข้ามาหาเรา ดูเหมือนการ มาทีน่ จี่ ะตอกย�ำ้ ข้อเท็จจริงให้เป็นแบบนัน้ จากชัน้ บนสู่ชั้นล่าง ผมพาตัวเองไปยังลานวงกลมที่อยู่ ใต้ความร่มรื่นจากการบดบังแสงของต้นไม้ใหญ่ พื้นผิวมีแต่ทราย ก้อนกรวดและหินก้อนใหญ่ที่ เป็นเก้าอี้เอาไว้นั่งพัก หญิงคนหนึ่งซึ่งดูเหมือน จะปลดเกษียณ เธอนั่งอยู่ไม่ไกลจากผมมากนัก ค่อยๆ ลุกขึ้นและเดินรอบวงกลมที่ถูกปูทางด้วย ปูนเปลือย เธอค่อยๆ หยิบอาหารจากถุงพลาสติก ทีเ่ ตรียมมาโปรยให้นกบริเวณนัน้ ค่อยๆ ลงมากิน
โดยไม่มอี าการตืน่ ตูม อาจเพราะด้วยความเคยชิน ในชีวิตที่เร่งรีบท�ำให้ผมและอาจรวมถึงใคร หลายๆ คนลืมสิ่งที่อยู่รอบตัวเราเล็กๆ น้อยๆ ไป หมด รวมไปถึงการมัว่ แต่หมกหมุน่ อยูก่ บั เป้าหมาย จนละเลยสุขภาพจิตและสุขภาพกายต่อสิง่ เร้าของ สภาพแวดล้อม ทีข่ นานกับความต้องการและเรียก ร้องจากสังคม ท่ามกลางใจเมืองที่เร่งรีบและแข่งขัน ยังโชค ดีทยี่ งั มีพนื้ ทีใ่ ห้มนุษย์ได้เรียกสติและจิตใจให้กลับ คืนมาจากสภาพแวดล้อมที่สงบนิ่ง รู้สึกตัวทั่วกาย พร้อมทุกลมหายใจเข้าออก
ที่ตั้ง: สวนวชิรเบญจทัศ จตุจักร แขวงจตุจักร เขตจตุจักร, กรุงเทพมหานคร 10900 เปิดบริการ: ทุกวัน 09.00 น. – 18.00 น.
JANUARY-MARCH ISSUE SEMAG
35
LOLL AROUND-เอกเขนก
TCDC (THAILAND CREATIVE DESIGN CENTER)
KNOWLEDGE IS
UNKNOWN สวรรค์นักคิด พื้นที่นักออกแบบ
ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบหรือที่เรามักเรียกกันติดปากว่า ‘TCDC’ ถือเป็นสถานที่คนรุ่นใหม่ได้ ใช้เป็นสถานที่ลับสมองเพื่อหาความคิดใหม่ๆ มาเติมให้เต็มและทันสมัยอยู่เสมอ รวมถึงเป็นพื้นที่ ของการแสดงงานออกแบบจากศิลปินชื่อดังและผลงานที่น่าสนใจต่อการประยุกต์ใช้อีกมากมาย
36
SEMAG JANUARY-MARCH ISSUE
ที่ตั้ง: TCDC ชั้น6 ดิเอ็มโพเรียม ช้อปปิ้ง คอมเพล็กซ์ เปิดบริการ: อังคาร – อาทิตย์ (ปิด วันจันทร์) เวลา: 10.30 – 21.00 น. เว็บไซต์: www.tcdc.or.th
บรรยากาศของห้ อ งสมุ ด ถู ก ออกแบบให้ ผู ้ เข้าไปใช้บริการ ตื่นตาตื่นใจและกระตุกไอเดียได้ เป็นอย่างดี เพราะใช้วสั ดุจากพืน้ ไม้สสี ว่างบวกกับ การตกแต่งและจัดวางพื้นที่ให้โล่งโปร่งไม่อึดอัด ใช้หน้าต่างเป็นบานกระจกเพื่อรอรับแสงสว่างที่ ส่องเข้ามาก็ทำ� ให้ภาพรวมของพืน้ ทีใ่ นห้องนีก้ ลาย เป็นสวรรค์ของนักคิด นักออกแบบ นักหาข้อมูล ได้อย่างมาก ขณะเดียวกันวัตดุดิบใน TCDC ยัง ชักจูงแนวคิด ‘การออกแบบเพือ่ แก้ไขปัญหาสังคม’ ไว้ให้กับนักดีไซเนอร์อยู่ถูกซอกทุกมุม ประเภทของหนังสือที่อยู่บนชั้นถูกแบ่งออก เป็ น หลายประเภท อาทิ ประวั ติ ศ าสตร์ ก าร ออกแบบ, ศิลปะภาพประกอบ, ศิลปะในงาน โฆษณา, หนังสือรวมออกแบบตกแต่ง, ภาพยนตร์, ธรณีวิทยา, การออกแบบรถยนต์, การออกแบบ ผลิตภัณฑ์ เป็นต้น ทั้งนี้ยังมีมุมของภาพยนตร์ที่ น่าสนใจอีกมากมายโดยจะถูกจัดแบ่งประเภทและ ล�ำดับความน่าสนใจจากบรรณารักษ์ทดี่ แู ล รวมถึง มีห้องชมภาพยนตร์ภายในพื้นที่ห้องสมุดด้วยเช่น กัน
Connexion Bangkok ที่ขึ้นชื่อว่าเป็นห้องสมุด เพื่อการออกแบบแห่งแรกของเอเชีย โดยตั้งใจ เปิดพื้นที่ให้นักออกแบบ นักเรียน นักศึกษา ได้ เรียนรู้และสัมผัสวัสดุที่นักออกแบบระดับโลกได้ ใช้ในการสร้างสรรค์ผลงานและยังเป็นสถานที่ รวบรวมวัสดุที่ใช้ในการผลิตกว่า 7,000 ชิ้น เพื่อ ได้ให้บคุ คลทีส่ นใจ (ต้องสมัครสมาชิกเท่านัน้ ) ได้ เรียนรู้และทันต่อความเปลี่ยนแปลงต่อวัสดุการ ออกแบบ เช่น วัสดุจากใบบัวที่คงสภาพด้วยวิธี ทางธรรมชาติส�ำหรับใช้ปูผิวได้เหมือนกระดาษ โดยผ่านกระบวนการป้องกันเชื้อรา สามารถเก็บ ไว้ได้นานถึง 4-5 ปีและเหมาะส�ำหรับการน�ำไป ท�ำเครื่องเขียน ปกหนังสือและบรรจุภัณฑ์อื่นๆ ได้ หรือวัสดุที่น่าสนใจอย่างหนังปลากระเบน ที่สามารถน�ำไปใช้เป็นวัสดุการป้องกันจากการ เสียดสี หรือการขัดถูได้อย่างดีเยี่ยม ซึ่งหนัง เหล่านี้เป็นผลพลอยได้จากอุตสาหกรรมอาหาร ทะเลเท่านั้น มิได้เกิดจากการล่าโดยตั้งใจของนัก ออกแบบโดยเฉพาะ ห้องวัสดุเพือ่ การเรียนรูแ้ ห่งนี้ ยังมีอกี 8 แห่ง ทัว่ โลกทีไ่ ด้กระจายไปอยูท่ เี่ มืองชัน้ น�ำแห่งแฟชั่นอย่าง มิลาน, โคโลญจน์, นิวยอร์ก, โซล, อิสตันบูล, ปักกิ่ง และเซี่ยงไฮ้
แรงผลักดันในการค้นหาความรู้และจินตนาการ ใหม่ๆ อยู่เสมอ เพื่อสร้างผลงานและสิ่งประดิษฐ์ งานนวั ต กรรมออกมาเพื่ อ ช่ ว ยเหลื อ และสร้ า ง คุณค่าทางศิลปะควบคู่ไปกับการช่วยเหลือสังคม อยู่อย่างต่อเนื่อง ส�ำหรับนักคิดและนักออกแบบ ที่จะเพิ่มคุณค่าในการท�ำงานประกอบอาชีพทาง ด้านนี้ออกมา ภายใต้พื้นที่อันสงบจากห้องสมุดของศูนย์ การเรียนรู้การออกแบบและเสี ยงจากการเปิด หนังสือเพื่อค้นหาความคิดใหม่ๆ ไม่มีอะไรจะ สรุปความได้มากไปกว่าค�ำว่า นี่คือสวรรค์ของ นักคิดและพื้นที่ของนักออกแบบอย่างแท้จริง
เมื่ อ เดิ น ไปถึ ง สุ ด ทางของห้ อ งสมุ ด ถื อ เป็ น พื้ น ที่ ใ นโลกของนั ก ออกแบบที่ น ่ า จะชื่ น ชอบ ในโลกของงานออกแบบและอาชีพที่จ�ำเป็น และถวิ ล หาเป็ น อย่ า งมากกั บ พื้ น ที่ Material ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ยังคงจ�ำเป็นต้องอาศัย
JANUARY-MARCH ISSUE SEMAG
37
VIEWPOINT-ก้าวทันวิสัยทัศน์
Opportunity under Language
‘British Council’ ก้าวที่แข็งแรง ของกิจการ เพื่อสังคม
38
SEMAG JANUARY-MARCH ISSUE
ภาษิวัต สุทธิรักษ์ (Programmes Manager Society) เราได้พูดคุยและแลกเปลี่ยนทัศนะต่อสถานบันภาษาอย่างบริติช เคานซิลที่เปรียบเสมือนตัวแทน จากต้นก�ำเนิดของรูปแบบกิจการเพือ่ สังคมทีเ่ กิดขึน้ ในประเทศอังกฤษ ท�ำให้เรารับรูถ้ งึ แรงสนับสนุน จากภาครัฐและโอกาสทีผ่ ปู้ ระกอบการเพือ่ สังคมของไทยทีจ่ ะได้แสดงศักยภาพและมีโอกาสร่วมงาน กับผู้คนในแวดวงนี้มากยิ่งขึ้นด้วยองค์ประกอบที่ส�ำคัญอย่างภาษาสากลต่อการสื่อสาร ท�ำไมองค์กรสถาบันภาษาถึงได้สนใจเข้า ให้มีการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ใหม่ๆ ระหว่าง ถือหุ้นเหมือนระบบทุนนิยมทั่วไป ซึ่งภาพรวมต่อ มาท�ำ Social Enterprise กั น ถื อ เป็ น การสร้ า งสะพานเชื่ อ มโยงความ การพัฒนากิจการเพื่อสังคมในประเทศอังกฤษ จริงๆ แล้วบริตชิ เคานซิล ได้ตระหนักว่าการ พัฒนาแบบยั่งยืนเป็นเรื่องส�ำคัญส�ำหรับทุกคนที่ เราร่วมงานด้วย มันเลยเป็นเหตุผลว่าท�ำไมเราถึง ร่วมมือกับพันธมิตรในระดับประเทศหรือระหว่าง ประเทศที่เราได้มีองค์กรที่เข้าไปตั้งอยู่ที่ต่างๆ โดยเรามีการเชือ่ มโยงบุคคล ชุมชนและหน่วยงาน ต่างๆ ต่อการหาทางออกในการแก้ไขปัญหาเหล่า นั้นผ่านการท�ำกิจกรรมเพื่อสังคม
ลักษณะการด�ำเนินงานขององค์กร
การด�ำเนินงานของบริติช เคานซิล ด�ำเนิน การภายใต้โครงการที่ชื่อว่า SKILL FOR SOCIAL ENTREPRENEURS (SFSE) เป็นโครงการที่บริติช เคานซิล ปัจจุบันด�ำเนินการอยู่ใน 13 ประเทศ ทั้งในทวีปยุโรบและเอเชีย โดยในแต่ละประเทศ ท�ำงานร่วมกับหน่วยงานพันธมิตรในการส่งเสริม และสนั บ สนุ น กิ จ การเพื่ อ สั ง คมซึ่ ง เป็ น รู ป แบบ การด�ำเนินกิจการที่มีจุดมุ่งหมายด้านสังคมและ สิ่งแวดล้อมและสร้างผลกระทบเชิงบวกให้กับ ชุมชนโดยรอบ นอกเหนือจากนี้โครงการ SFSE ยังสนับสนุนผู้ประกอบการทางสังคม หน่วยงาน เอ็นจีโอ ผู้น�ำชุมชน นักพัฒนาและเยาวชนรุ่น ใหม่ ด้วยการฝึกอบรม การให้ค�ำปรึกษา รวมถึง ความเชี่ยวชาญทางภาษา นอกจากนั้นโครงการ นี้ยังร่วมงานกับหน่วยงานในระดับประเทศและ ระหว่างประเทศ ให้เกิดนักลงทุนด้านสังคมที่ ให้การสนับสนุนทางการเงิน ให้ค�ำปรึกษา การ แนะน�ำเพื่อให้เกิดกิจการเพื่อสังคม
การด�ำเนินงานกับประเทศไทย ส�ำหรับประเทศไทย โครงการนีม้ วี ตั ถุประสงค์
เพื่ อ สร้ า งให้ เ กิ ด ความสั ม พั น ธ์ อั น ดี ร ะหว่ า ง ประเทศไทยกับราชอาณาจักร ในการเสริมสร้าง และพัฒนาเครือข่ายผู้ประกอบการเพื่อสังคมเพื่อ พัฒนาศักยภาพของชุมชนท้องถิ่น เปิดโอกาส
สัมพันธ์ทดี่ รี ะหว่างภาครัฐบาล ภาคธุรกิจ องค์กร สาธารณประโยชน์ แ ละภาคการศึ ก ษา โดยมี แนวคิด 3 อย่างคือ การเป็นพาร์ทเนอร์ชิพ คือ การทีอ่ งค์กรได้ทำ� งานกับผูป้ ระกอบการทางสังคม ชุมชน โรงเรียน มหาวิทยาลัย ภาครัฐ หรือเอ็น จีโอ ส่วนที่สองเป็นเรื่องของการเพิ่มเครือข่าย (NETWORKING) เพือ่ เพิม่ การเข้าถึงจากเครือข่าย พันธมิตรใหม่ๆ โดยการจัดนิทรรศการนานาชาติ หรือการจัดตารางดูงานทั้งในและนอกประเทศ อังกฤษ ส่วนสุดท้ายคือ การพัฒนาผู้ประกอบ การสังคม เราต้องการให้ผปู้ ระกอบการมีศกั ยภาพ และความเข้มแข็ง มีความรูใ้ นเรือ่ งของการแปรรูป ผลผลิตทางธุรกิจ มีกลยุทธ์ในการด�ำเนินกิจการ มีแนวทางการแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ที่ สามารถช่วยให้ผู้ประกอบการเอาชนะอุปสรรค และปัญหาท่ามกลางสภาวะเศรษฐกิจโลกและ สามารถสร้ า งการเปลี่ ย นแปลงในเชิ ง บวกได้ แนวคิดในเบื้องต้นมันจะช่วยกระจายความรู้และ สร้างพันธมิตรอย่างไร้พรมแดน ซึ่งจะช่วยให้เกิด ผลประโยชน์ด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมตามมา และสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างสองประเทศ ด้วย
ระบบ SE ที่ประเทศอังกฤษซึ่งถือเป็นต้น แบบ เขามี แ นวคิ ด และวิ ธี ป ฏิ บั ติ กั น อย่างไร ที่อังกฤษเขาจะมีค�ำนิยามถึงค�ำว่า ‘กิจการ
เพือ่ สังคม’ กันอย่างชีช้ ดั เลย เขาได้ให้ความส�ำคัญ ต่อแนวคิดและการปฏิบตั กิ จิ การเพือ่ สังคมทีม่ กี าร ด�ำเนินเชิงธุรกิจที่มีเป้าหมายทางสังคมเป็นหลัก โดยผลตอบแทนของการด�ำเนินงานโดยหลักนั้น จะย้อนน�ำมาสูก่ ารพัฒนาสังคมและพัฒนาองค์กร ให้เติบโตขึน้ เพือ่ ให้สงั คมได้รบั ประโยชน์ ไม่ใช่การ ด�ำเนินภายใต้ความมั่งคั่งของเจ้าของธุรกิจหรือผู้
นั บ ว่ า มี โ ครงสร้ า งการด� ำ เนิ น กิ จ การที่ มี ค วาม โปร่งใส เรียกได้วา่ ไล่ตงั้ แต่ระดับนโยบายทางด้าน ธุรกิจ ด้านการเงิน การพัฒนาบุคลากร ทั้งหมด ล้วนเป็นสิ่งจ�ำเป็นต่อการเริ่มต้นในการขับเคลื่อน กิจการเพื่อสังคมทั้งในระดับจุลภาคและมหภาค ของประเทศอังกฤษ
นโยบายการด�ำเนินงานกิจการเพื่อสังคม ที่อังกฤษ ได้ถูกผลักดันโดยรัฐบาลบ้าง ไหม มันก็มีอย่างชัดเจนในปี 2010 ภายใต้การน�ำ
ของนายกรัฐมนตรีองั กฤษอย่าง เดวิด คาเมรอน ก็เป็นรัฐบาลที่ถูกเลือกมาจากพรรคอนุรักษ์นิยม เขาได้ ข ยายนโยบายใหม่ ภ ายใต้ แ นวคิ ด Big Society Policy ซึ่งเน้นในเรื่องของการสนับสนุน การท�ำงานต่อสังคมพร้อมกับการสร้างเครือข่าย ในการท�ำงานกับกระทรวงต่างๆ ต่อการท�ำงาน เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายที่คาเมรอนได้ทำ� เอา ไว้ ซึ่งแนวคิดเรื่องนโยบายของสังคมเป็นใหญ่ เนี่ย เขาก็มีประเด็นใหญ่ๆ 3 ประเด็นที่ต้องท�ำ เพื่อตอบสนองนโยบายเขา คือ การสร้างความ เข้มแข็งชุมชน โดยเน้นเรื่องของการกระจาย อ�ำนาจจากส่วนกลางมายังท้องถิน่ และยังให้คนใน ชุมชนมีสิทธิในการด�ำเนินงานด้วย ซึ่งจริงๆ บ้าน เราตามต่างจังหวัดก็อาจมีการใช้ระบบนี้อยู่คือ การมอบการกระจายอ�ำนาจไปตามพื้นที่ชนบท อย่าง ผู้ใหญ่บ้าน หัวหน้าชุมชน ประเด็นที่สอง การปรับปรุงบริการสาธารณะ เรื่องนี้ก็ถือว่าเป็น ประเด็นที่ส�ำคัญไม่แพ้กันเพราะประชาชนได้มี การจ่ายภาษีในเรตที่ค่อนข้างสูงท�ำให้ความคาด หวังในเรื่องของการบริการด้านสาธารณะต้องสูง ขึ้นตามไปด้วย การท�ำงานของภาครัฐก็จ�ำเป็น ต้องด�ำเนินงานให้ชดั เจนมีศกั ยภาพต่อการจัดการ พื้นที่สาธารณะอย่าง โรงเรียน โรงพยาบาลหรือ
JANUARY-MARCH ISSUE SEMAG
39
บริติช เคานซิล ได้ ตระหนักว่าการพัฒนา แบบยั่งยืนเป็นเรื่อง ส�ำคัญส�ำหรับทุกคนที่ เราร่วมงานด้วย
แม้แต่ศูนย์ฟื้นฟูนักโทษก็ตามที ประเด็นสุดท้าย ในนโยบายนี้ก็คือ การสนับสนุนการขับเคลื่อน ภาคสังคมซึ่งส�ำคัญเหมือนกัน ต่อการให้โอกาส ประชาชน ได้ขบั เคลือ่ นการเปลีย่ นแปลงต่อสังคม อย่างการท�ำอาสาสมัครหรือจิตอาสาบ้านเรา การ ท�ำให้เกิดวิสาหกิจชุมชนและกิจการเพื่อสังคม กระบวนการเหล่านี้ภาครัฐได้สนับสนุนเพื่อก่อให้ เกิดการพัฒนาและแก้ไขปัญหาสังคมจากพลังของ ภาคประชาชนด้วย
Society Capital Group สังเกตว่าชื่อจะเหมือน กับนโยบายที่ตั้งไว้ในเรื่องของสังคมเป็นใหญ่ซึ่ง โครงการเหล่านี้ก็จะแยกเป็นในส่วนของสถาบัน การเงินอิสระ และมูลนิธิที่รับเงินทุนเพื่อด�ำเนิน งานต่อเป้าหมายทางสังคม โดยมีเป้าหมายเพื่อ ให้เกิดการขยายผลกระทบเชิงบวกทางสังคมด้วย บทบาทในการสร้ า งกลไกตลาดการลงทุ น เพื่ อ สังคม โดยการพัฒนาจากองค์กรตัวกลางทางการ เงินเท่านั้น จะไม่มีการเข้าไปแทรกแซงตลาด ปัจจัยที่ส�ำคัญต่อการสร้างความเติบโต โดยตรงระหว่างนักลงทุนและกิจการเพื่อสังคม
และขยายผลทางสังคม
การเข้ามาช่วยเหลือและสนับสนุน สกส. การท�ำอะไรมันก็ต้องมีภาคการเงินเข้ามา มองเห็นแนวทางอย่างไรบ้าง เกี่ยวข้องอยู่แล้ว ซึ่งแนวคิดของการลงทุนเพื่อ สังคมเกิดขึ้นมากว่า 30 ปีแล้ว ในรูปแบบของ ไมโครไฟแนนซ์และในปี 2009 เกิดการสร้าง เครือข่ายเพิม่ เติมอย่าง Global Impact Investing Network (GIIN) โดยความร่วมมือระหว่างสถาบัน ชั้นน�ำภาคการเงินและองค์กรไม่แสวงหาก�ำไร หลายแห่ง เพื่อค้นคว้าวิจัยการวัดผลทางสังคม เพื่อเป็นมาตรฐานตัวชี้วัดแนวทางในการด�ำเนิน ผลงานทางสังคมและสิ่งแวดล้อม สิ่งที่เล่ามา ก็จะเป็นในเรื่องของปัจจัยทางการเงินที่เข้ามา สนั บ สนุ น องค์ ก รที่ เ ข้ า มาร่ ว มท�ำ วิ จั ย ซึ่ ง มั น ก็ ท�ำให้รัฐบาลอังกฤษเขาก็เห็นถึงความส�ำคัญใน การขยายภาคส่วนกิจการเพื่อสังคม โดยหนึ่ง ในปั จ จั ย สนั บ สนุ น ของรั ฐ คื อ การสร้ า งกลไก ตลาดการลงทุนเพื่อสังคมให้มีความหลากหลาย เข้มแข็งและยั่งยืนจนกระทั่งได้เกิดการจัดตั้ง Big 40
จริงๆ แล้วต้องขอบอกว่าทางบริติช เคานซิล กับ สกส. มีการด�ำเนินงานทีใ่ กล้ชดิ กันมาตัง้ แต่ตน้ ย้อนกลับไปในสมัยรัฐบาลยุคนายกรัฐมนตรีของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ บริติช เคานซิล ได้มีการ จัดการศึกษาดูงานที่ประเทศอังกฤษให้กับคณะ ของรัฐบาลไทยไปศึกษาเพื่อการพัฒนาและผล ของการด�ำเนินงานด้านกิจการเพือ่ สังคม หลังจาก กลับมาทางรัฐบาลก็ได้จัดตั้งคณะกรรมมาธิการ ด้ า นกิ จ การเพื่ อ สั ง คมแห่ ง ชาติ เ พื่ อ เผยแพร่ นวัตกรรมทางสังคมซึ่งได้รวมบริติช เคานซิล เป็นหนึ่งในคณะกรรมาธิการ หลังจากนั้นคณะ กรรมาธิการก็ได้มีมติจัดตั้ง สกส. เพื่อเป็นหน่วย งานกลางในการขับเคลื่อนและขยายการด�ำเนิน งานด้านกิจการเพือ่ สังคมแห่งประเทศไทย ซึง่ การ มีองค์กร สกส. เข้ามาท�ำให้ประเทศไทยมีความ โดดเด่นเป็นอย่างมากในภูมิภาคเอเชียหรือแม้
SEMAG JANUARY-MARCH ISSUE
กระทั่งในยุโรปก็ตามที่มีหน่วยงานภาครัฐด�ำเนิน การและผลักดันเรื่องกิจการเพื่อสังคมอย่างเป็น รูปธรรม ไม่วา่ จะเป็นเรือ่ งการให้ค�ำปรึกษาแนะน�ำ การส่งเสริมศักยภาพของผูป้ ระกอบการทางสังคม การลงทะเบียน ตลอดจนการขยายการด�ำเนินงาน ไปยังสถาบันอุดมศึกษาหรือแม้กระทัง่ ความมุง่ มัน่ ในการจัดตั้งศูนย์การศึกษาส�ำหรับผู้ประกอบการ ด้านสังคมโดยเฉพาะ ซึง่ ทางบริตชิ เคานซิล มัน่ ใจ ว่าความมุง่ มัน่ ของทาง สกส. จะท�ำให้แนวทางของ กิจการเพื่อสังคม กลายมาเป็นเครื่องมือในการ แก้ไขปัญหาสังคมและสร้างกิจการให้เกิดความ ยั่งยืนอย่างแท้จริง โดยทางบริติช เคานซิลเองก็ จะสนับสนุนในด้านของการให้ขอ้ มูลความรู้ ความ ช�ำนาญและความร่วมมือกับหน่วยงานทีเ่ กีย่ วข้อง ในราชอาณาจักรอย่างต่อเนื่องครับ
การเชื่ อ มโยงของภาษาสากล กั บ การ ท�ำงานเพื่อสังคม
ผมขอพู ด ในประเด็ น ที่ ว ่ า ภาษาสากลจะ ท�ำให้ผู้ประกอบการด้านสังคมได้รับผลประโยชน์ อย่างไรมากกว่า ซึ่งแน่นอนว่าการที่ผู้ประกอบ การสามารถสื่อสารเข้าใจภาษาสากล ไม่ว่าจะ เป็นภาษาอังกฤษหรือภาษาจีน ย่อมท�ำให้บุคคล เหล่ า นั้ น สามารถเข้ า ถึ ง แหล่ ง ความรู ้ ความ ช�ำนาญต่างๆ นอกประเทศเพิ่มมากขึ้น สามารถ เข้าร่วมเป็นสมาชิกเครือข่ายในระดับนานาชาติ ได้ ตลอดจนเป็นการใช้ภาษาให้เป็นเครื่องมือใน การหาลู่ทางต่อการสร้างตลาดภายนอกประเทศ นอกจากนั้นการที่ประเทศในภูมิภาคอาเซียนจะ
ก้าวสู่การเป็นเอกภาพภายใต้บริบทประชาคม อาเซียนอย่างเต็มตัวในปี 2558 ซึ่งจะท�ำให้โลก แห่งการท�ำงานเกิดการเปลีย่ นแปลงอย่างต่อเนือ่ ง และรวดเร็ว ภาษาอังกฤษจึงนับเป็นทักษะจ�ำเป็น ที่จะช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถรับมือกับความ ท้าทายต่างๆ ในชีวิตการท�ำงานได้อย่างดียิ่งขึ้น ตัวอย่างเช่น บริติช เคานซิล ในภูมิภาคเอเชีย ตะวันออกร่วมกันสร้างเครือข่ายส�ำหรับผูป้ ระกอบ การด้านสังคมในภูมิภาคเอเชีย มีการจัดอบรม สัมนาการแลกเปลี่ยนความรู้ ส่วนในระดับโลก นั้น บริติช เคานซิล ได้สร้างเครือข่ายออนไลน์ หรือ Social Enterprise Network บนเว็บไซต์ ของ The Guardian ทีเ่ ปิดโอกาสให้ผปู้ ระกอบการ ทุ ก มุ ม โลกได้ เ ป็ น สมาชิกเครือข่ายต่อการเพิ่ม โอกาสที่จะร่วมมือกันสร้างสรรค์และแก้ไขปัญหา ระดับใหญ่ที่อาจต้องใช้ความร่วมมือกัน
มุมมองต่อระบบของ Social Enterprise ในปัจจุบันและอนาคต
ส�ำหรับประเทศไทย ผมเชื่อว่าเรามีกิจการ ที่ด�ำเนินงานในรูปแบบกิจการเพื่อสังคมอยู่แล้ว มากมาย แต่คนเหล่านั้นอาจจะยังไม่รู้ว่าตัวเอง เป็นผู้ประกอบการทางสังคม เพราะอาจจะยังไม่ ทราบค�ำนิยามของค�ำว่ากิจการเพื่อสังคมอย่าง แท้จริง ซึ่งผมคิดว่าสิ่งที่เราควรจะต้องท�ำต่อและ ท�ำอย่างต่อเนื่อง คือ การเผยแพร่ความรู้และตัว ตนของผู้ประกอบการทางมุมนี้ให้มากยิ่งขึ้นและ ก็ต้องมีองค์กรหรือหน่วยงานเข้ามารองรับ JANUARY-MARCH ISSUE SEMAG
41
SHOWCASE
BRAC (Bangladesh Rehabilitation Assistance Committee)
Extend a Hand to Around the World
อย่าหยุดการช่วยเหลือ อย่าหยุดการพัฒนา ประเทศบังคลาเทศจัดเป็นประเทศก�ำลังพัฒนาทีม่ กี ารด�ำเนินเรือ่ งกิจการเพือ่ สังคมอย่างมุง่ มัน่ โดยเฉพาะการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจ รวมถึงการยกระดับปัญหาความยากจน หลังผลกระทบจาก รอยสงครามประกาศอิสรภาพในปี ค.ศ. 1971 ท�ำให้ เซอร์ ฟาเซล ฮาเซน อัลเบด ได้ทำ� การก่อตัง้ องค์กร เอกชนทีไ่ ม่แสวงผลก�ำไรทีช่ อื่ ว่า BRAC (Bangladesh Rehabilitation Assistance Committee) เพือ่ เข้ามาแก้ไขปัญหาคุณภาพชีวติ ทีย่ ำ�่ แย่ของประชาชนโดยรวมของประเทศในปี ค.ศ 1972 โดยเน้น การช่วยเหลือทางด้านสุขอนามัย การให้การศึกษา การฝึกอบรมเพิม่ ศักยภาพให้กบั แรงงาน ฯลฯ 42
SEMAG JANUARY-MARCH ISSUE
40 กว่าปีให้หลังจากประเทศที่เคยขึ้นชื่อ ว่ามีดัชนีวัดผลสุขภาพของประชาชนแย่ที่สุด ในโลก ปัจจุบันสุขภาพของชาวบังคลาเทศ มีทิศทางที่ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โดยข้อมูล ตั้งแต่ ค.ศ. 1990 ได้ชี้ให้เห็นว่าอัตราการ ตายของเด็ ก ในบั ง คลาเทศลดลงจาก 133 ราย เหลือเพียง 53 ราย จากจ�ำนวนการเกิด 1,000 ราย หรือการเสียชีวิตของมารดาจาก เดิม 574 ราย เหลือ 194 ราย จากประชากร ทั้งหมด 100,000 คน นอกเหนือจากการลด อัตราการเสียชีวิตจากความร่วมมือระหว่าง องค์ กรที่ ไ ด้ เ ข้ า มาช่ ว ยเหลือประชาชนแล้ว BRAC ยังได้จับมือกับรัฐบาลในบังคลาเทศ เพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีแก่ประชาชนทางสุข ภาวะ อาทิเช่น การให้วัคซีนป้องกันกับเด็ก เล็กหรือการมีอาสาสมัครมาช่วยให้ความรู้ต่อ การรักษาความสะอาดที่อยู่อาศัยของผู้หญิงที่ ก�ำลังตัง้ ครรภ์ โดยสัดส่วนนีถ้ อื ว่ามีการด�ำเนิน งานเป็นไปอย่างประสบผลส�ำเร็จหลังจากได้มี การท�ำแบบประเมินออกไป ในส่ ว นของการศึ ก ษานั้ น BRAC ได้ มี บ ทบาทเป็ น อย่ า งมากต่ อ การขั บ เคลื่ อ น พัฒนาทรัพยากรบุคคลให้มีประสิทธิภาพมาก ยิ่งขึ้น จ�ำนวนเด็กประมาณ 5 ล้านคนโดย เฉลี่ย มากกว่า 60 เปอร์เซ็นต์ของเด็กใน จ�ำนวนนั้น ได้เรียนจบจากโรงเรียนประถม ศึกษาของ BRAC ที่ได้ก่อตั้งขึ้นและผลผลิต จากโรงเรียนแห่งนี้ ได้ทยอยเข้าไปเรียนต่อใน สถานที่ที่ดีกว่าโรงเรียนในระบบกระแสหลัก ด้วยซ�้ำ เพราะ BRAC ได้มีการร่วมมือจาก กรมการศึ ก ษาทั่ ว โลกเพื่ อ สนั บ สนุ น โอกาส ทางการศึกษาของเด็กในบังคลาเทศให้มโี อกาส เท่าเทียม กับประเทศทีพ่ ฒ ั นาขึน้ ไปเรือ่ ยๆ ใน อนาคตอันใกล้ ภาคส่วนของแรงงานจากจ�ำนวนประชากร ที่มหาศาลเพิ่มขึ้นเป็น 4 เท่า จากเมื่อก่อนที่มี อยู่ประมาณ 22 ล้านคน ท�ำให้ตลาดแรงงาน
ในบังคลาเทศเริม่ มีพนื้ ทีจ่ ำ� กัดส่งผลให้แรงงาน บางส่วนไม่มีรายได้ ซึ่งน�ำไปสู่การขโมยและ อาชญากรรมที่รุนแรง BRAC จึงได้พยายาม มอบโอกาสส� ำ หรั บ แรงงานในสั ด ส่ ว นนี้ โดยได้ มี ก ารร่ า งนโยบายของความร่ ว มมื อ จากภาคอุตสาหกรรมต่างๆ ในบังคลาเทศ หรื อ อุ ต สาหกรรมต่ า งชาติ ที่ เ ข้ า มาลงทุ น ภายในประเทศ เช่น อุตสาหกรรมงานฝีมือ, งานปั้นเซรามิก, โรงรีดนม หรืองานทางการ เกษตร ซึ่งต้องมีการค�ำนึงถึงความเหมาะสม ของทักษะแรงงานในแต่ละภาคส่วนต่อโอกาส ของงานที่จะเข้าไปท�ำด้วยเช่นกัน นอกเหนือจากนี้ BRAC ยังได้ไปสร้าง ฐานแนวคิ ด และความร่ ว มมื อ ในประเทศ อัฟกานิสถานในปี 2002 เนื่องจากประเทศ ทั้งสองมีความเสียหายใกล้เคียงกันจากภาวะ สงคราม การขยายตัวไปที่ประเทศศรีลังกา เพื่อการเติมความรู้ในเรื่องการเพาะปลูกใน ปี 2004 และยังขยายไปยังในประเทศยูกันดา และแทนซาเนีย ในปี 2006 ทุกวันนี้ BRAC มีพันธมิตรรวมอยู่ 10 ประเทศในเขตเอเชียใต้, ทวีปแอฟริกาและ แถบแคริเบียน ภายใต้โครงสร้างการส่งเสริม ทางการศึกษา, สุขภาพ, การสร้างอาชีพและ การพัฒนาทางการเกษตร การเปลีย่ นแปลงจากภาวะหลังสงครามใน บังคลาเทศเมื่อ 40 กว่าปีก่อน จากเซอร์ ฟา เซล ฮาเซน อัลเบด ผู้ก่อตั้ง BRAC ได้แสดง ทัศนคติไว้ว่า “องค์กรที่ผมก�ำลังท�ำอยู่จะเป็น จุดเริ่มต้นของการพัฒนาศักยภาพของมนุษย์ และสร้างความเท่าเทียมให้เหมาะสมต่อสิทธิ มนุษยชนมากขึ้น รวมไปถึงการได้รับความ ร่ ว มมื อ จากองค์ ก รพั น ธมิ ต รทั่ ว โลกที่ จ ะมา เป็นส่วนหนึง่ ต่อการสร้างโอกาสให้กบั มนุษย์ที่ ขาดแคลน สิง่ เหล่านีค้ อื เป้าหมายทีเ่ ราก�ำลังจะ สูต้ อ่ ไปให้คนทัว่ โลกได้รบั รูต้ อ่ การเปลีย่ นแปลง ในสิ่งที่เราท�ำ”
BRAC-SOCIAL ENTERPRISES
โครงการหัตถกรรม (BRAC Aarong) 1978 สนับสนุนสินค้าท�ำมือจากกลุม่ แม่บา้ นให้เกิดเป็น สินค้าทีม่ มี ลู ค่า โครงการผสมเที ย ม (BRAC Artificial Segmentation) 1987 ผสมเทียมสัตว์เพือ่ การ สร้างผลผลิตทีก่ อ่ ให้เกิดรายได้มากกว่าเดิม โครงการเพาะไก่ (BRAC Chicken) 2004 ขยาย โครงการเพาะไก่ตอ่ ความต้องการของตลาด โครงการเก็บพืชผล (BRAC Cold Storage) 1980 การมีพนื้ ทีแ่ ละอุปกรณ์จดั เก็บมันฝรัง่ และพืชผล โครงการนมวัว (BRAC Dairy) 1998 สร้างโอกาส ให้แก่เกษตรกรหรือชาวบ้านทีต่ อ้ งการซือ้ นมวัวใน ราคาทีเ่ ป็นธรรม โครงการประมง (BRAC Fisheries) 1998 พัฒนา ชาวชนบท ทีท่ ำ� ประมง ให้ได้ผลดีจนกลายเป็นวิถี และอาชีพ โครงการดูแลพืชผล (BRAC Nursery) 1988 ช่วย เหลือเกษตรกรต่อการเพาะปลูกให้ได้ผลผลิตทีม่ ี คุณภาพ โครงการกระดาษมือสอง (BRAC Recycled Handmade Paper) 2000 ลดการตัดต้นไม้จาก ป่าให้นอ้ ยลง โครงการทางพลังงาน (BRAC Solar) 1998 สร้าง แหล่งผลิตพลังงานเพือ่ สร้างความสะดวกในการ ประกอบอาชีพ โครงการสุขอนามัย (BRAC Sanitary Napkin) 1999 ช่วยเหลือปัญหาของหญิงสาวให้พวกเธอ รูจ้ กั ผ้าอนามัยทีส่ ะอาดและราคาไม่แพง โครงการเกลือเพือ่ ชีวติ (BRAC Salt) 2001 สนับสนุนการสร้างโรงผลิตเกลือทีส่ ะอาดจากการ สนับสนุนของยูนเิ ซฟ
JANUARY-MARCH ISSUE SEMAG
43
SE-NOTED
EDUCATION
“การหยุดก้าว เท่ากับการเดินถอยหลัง” พบพื้นที่การเรียนรู้ เพื่อต่อยอดความคิด พัฒนาสู่นักสร้างสรรค์ทางสังคม
01
02
03
04
05
06 44
Social Enterprise + Social Innovation
04. เครือข่ายวิถีเกษตรกรรม ยั่งยืน มูลนิธิศึกษาพัฒนาชนบท “เป็นศูนย์กลางแลกเปลี่ยนองค์ ความรู้ด้านเกษตรอินทรีย์แก่ เกษตรกร หน่วยงานรัฐ องค์กร 01. Thai Handi Club “คลับของคนท�ำมือ เพื่อช่วยเสริม ท้องถิ่น ภาคเอกชน รวมทั้งเป็น ช่องทางในการสร้างตลาดรองรับ สร้างอาชีพและรายได้ให้กับผู้ การกระจายผลผลิตทางการ พิการทางการได้ยิน” เกษตร” สถานที่ : เลขที่ 29 ซอยเจริญนคร 26 ถนน
= Good Society
เจริญนคร เขตคลองสาน กรุงเทพฯ 10600 โทรศัพท์ : 08 9145 4295 อีเมล : nadt@nadt.or.th
02. มูลนิธิกองทุนไทย “สนับสนุนแหล่งทุนสู่องค์กรระดับ รากหญ้า เพื่อน�ำกลับไปพัฒนา ชุมชนให้แข็งแรง และต่อยอด พัฒนาระดับรากหญ้าสู่ระดับต่าง ประเทศ โดยส่งเสริมเทคโนโลยี เพื่อการสื่อสาร” สถานที่ : เลขที่ 2044/23 ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310 โทรศัพท์ : 0 2314 4112-3, 0 2318 3959 อีเมล : dsc@tff.or.th เว็บไซต์ : www.tff.or.th
03. มูลนิธิสถาบันส่งเสริมการ จัดการความรู้เพื่อสังคม “องค์กรกลางในการรวบรวม บุคคลากร และวิทยากรด้านการ เรียนรู้เกิดเป็นชุมชุน หรือสังคม แห่งการเรียนรู้ เพื่อแลกเปลี่ยน องค์ความรู้แก่กันและกันอย่างไม่รู้ จบ” สถานที่ : เลขที่ 1168 ซอยพหลโยธิน 22 ถนน พหลโยธิน แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทรศัพท์ : 0 2511 5758, 0 2511 5992 เว็บไซต์ : www.kmi.or.th SEMAG JANUARY-MARCH ISSUE
สถานที่ : เลขที่ 57/4 หมู่ 3 ต�ำบลสันป่ายาง อ�ำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ 50330 โทรศัพท์ : 08 1030 0253
05.มูลนิธิศูนย์ฝึกอบรมเกษตรกร รมและอาชีพ “ศูนย์วิจัยและทดลองด้านเกษตร อินทรีย์ สนับสนุนความรู้เกษตร อินทรีย์ ให้หน่วยงานภาครัฐและ เอกชน เป็นศูนย์กลางของการรับ ซื้อ ท�ำโครงการสอนเกษตรและ อาชีพ แปรรูปผลิตภัณฑ์เหลือใช้ จากการเกษตรแก่โรงเรียน”
สถานที่ : เลขที่ 172 หมู่ 8 ต�ำบลหงส์หิน อ�ำเภอจุน จังหวัดพะเยา 56130 โทรศัพท์ : 08 9954 8861 อีเมล : kh_anitta@live.com
06. Math Game Center “เปิดสอนคณิตศาสตร์แบบ สนุกสนานแก่ครูและอาจารย์ฟรี เพื่อถ่ายทอดการเรียนการสอน ทางเลือก และผลิตของเล่นที่ พัฒนาสติปัญญาและอารมณ์ไป พร้อมกัน” สถานที่ : ศูนย์เล่นเกมคณิตศาสตร์ 33 ถนน สุคนธสวัสดิ์ ลาดพร้าว 71 เขตลาดพร้าว กรุงเทพฯ 10230 โทรศัพท์ : 08 1732 1572 เว็บไซต์ : www.mathgamecenter.com
สกส. ส�ำนักงานสร้างเสริมกิจการเพื่อสังคมแห่งชาติ (สกส.)เป็นองค์กรที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพว่าด้วยการจัดตั้งส�ำนักงาน สร้างเสริมกิจการเพื่อสังคมแห่งชาติ พ.ศ.2553 เพื่อเป็นกลไกสนับสนุนการด�ำเนินงานตามแผนแม่บทว่าด้วยการสร้างเสริมกิจการเพื่อสังคม พ.ศ.2553-2557 สกส.มีเป้าหมายส�ำคัญในการกระตุ้น สนับสนุน ประสานความร่วมือเพื่อให้เกิดกิจการเพื่อสังคมและพัฒนาเป็นเครือข่ายกิจการเพื่อสังคมทั่วประเทศไทย รวมทั้งตอบสนองต่อปัญหาที่เกิดขึ้นทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม
การท�ำกิจการเพื่อสังคม = การแก้ปัญหาสังคมอย่างยั่งยืน ปัญหาแบบเดิม
การแก้ปัญหาแบบใหม่โดยใช้ นวัตกรรมอย่างยั่งยืน คุณ+ไอเดีย+ทุน
คุณ+ทุน แก้ปัญหาลักษณะเดิม ครั้งที่ 1 สร้างนวัตกรรม ใช้นวัตกรรมแก้ปัญหา
คุณ+ทุน แก้ปัญหาลักษณะเดิม ครั้งที่ 2
คุณ+ทุน แก้ปัญหาลักษณะเดิม ครั้งที่ 3
สิ้นเปลือง! และหมดไป
เพราะต้องใช้ทุนทุกครั้งเพื่อแก้ไข ปัญหาลักษณะเดิม
ยั่งยืน และ ต่อยอด ไม่ว่าปัญหา ลักษณะเดิมจะ เกิดกี่ครั้งก็ สามารถใช้ นวัตกรรมที่ สร้างมาแก้ไขได้
แก้ปัญหาได้ส�ำเร็จ
ใช้นวัตกรรมแก้ไข ปัญหาในพื้นที่อื่น
สร้างรายได้
มีทุนต่อยอดนวัตกรรม
ได้นวัตกรรมใหม่
46
SEMAG JANUARY-MARCH ISSUE