ในวงประชุมเล็กๆ ของมูลนิธิสืบนาคะเสถียรเมื่อหลายปีก่อนมีค�ำพูด สั้นๆ หลุดจากวงสนทนาครั้งนั้นว่า “เราท�ำงานให้พี่สืบ” ‘เรา’ ในที่นี้หมายถึงพวกเรา ‘เจ้าหน้าที่มูลนิธิสืบนาคะ เสถียร’ และพี่สืบก็คงจะเป็นใครไปไม่ได้นอกจากเจ้าของนามที่น�ำมา ซึ่งการก่อตั้งเป็นองค์กร ในปีต่อมา ค�ำดังกล่าวก็กลายเป็นข้อความที่ประทับอยู่บน หลังเสื้อยืดที่ระลึกงานร�ำลึกสืบ นาคะเสถียร ส�ำหรับส่วนของทีมงาน “เราท�ำงานให้พี่สืบ” แม้จะเป็นเพียงค�ำง่ายๆ แต่มันแทน ความหมายของหนุ่มสาวหลายสิบชีวิตที่เคยผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนเข้า มาท�ำงานในองค์กรแห่งนี้ได้เป็นอย่างดี เจ้าหน้าที่มูลนิธิสืบฯ หลายคนสารภาพอย่างจริงใจว่าเหตุที่ ตัดสินใจเข้ามาท�ำงานที่นี่ เพราะศรัทธาในตัวสืบ นาคะเสถียร อยาก สานต่อเจตนารมย์และอุดมการณ์นั้น และบางค�ำตอบก็เอ่ยกันอย่าง ง่ายๆ ว่า “อยากท�ำงานให้พี่สืบ” “อยากเป็นเหมือนคนนี้” บัว อรยุพา สังขะมาน เจ้าหน้าที่ ฝ่ายวิชาการมูลนิธิสืบนาคะเสถียร ลั่นวาจาไว้ตั้งแต่วันที่เธอยังใช้ ค�ำน�ำหน้านามว่าเด็กหญิง “คุณสืบเป็นตัวอย่างของการต่อสู้ในสิ่งที่เขาเชื่อว่ามันคือ ความถูกต้อง” ปลา วรรโณบล ควรอาจ อดีตเจ้าหน้าที่ฝ่ายวิชาการ พูดถึงสืบ นาคะเสถียรไว้อย่างภาคภูมิใจ “ก่ อ นจบการศึ ก ษาทางคณะได้ ก� ำ หนดให้ ทุ ก คนเขี ย น บทความวิชาการส่งหนึ่งชิ้น ซึ่งผมเขียนเรื่องอดีตอนาคตสัตว์ป่าห้วย ขาแข้ง แรงบันดาลใจที่ท�ำให้เขียนเรื่องนี้ก็มาจากสืบ นาคะเสถียร” ขุน ธนบัตร อุประ เจ้าหน้าที่ภาคสนามมูลนิธิสืบนาคะเสถียร ก็เคยได้ ประกาศตัวอย่างชัดเจนว่าสืบ นาคะเสถียร เป็นแรงบันดาลใจให้เขา ต้องลาออกจากงานเพื่อมาท�ำงานให้กับองค์กรแห่งนี้
ขณะที่ประทีป มีคติธรรม แม้วันนี้เสื้อที่เขาสวมอาจจะไม่มี ค�ำว่า ‘เราท�ำงานให้พี่สืบ’ ประทับอยู่กลางหลัง แต่เขาก็ยังคงชื่นชม ความคิดในตัวสืบ นาคะเสถียร อยู่เสมอ เขาให้สัมภาษณ์ว่า ความคิด ของ สืบ นาคะเสถียร เป็นสิ่งที่ไม่เคยล้าสมัย ฯลฯ อาจารย์ของผมท่านหนึ่งเคยกล่าวไว่ว่า “อะไรที่เหมือนกัน มันมักจะไหลมารวมกัน” ในวันนี้คนที่ศรัทธาในตัว สืบ นาคะเสถียร ต่างมารวมตัวกันในองค์กรแห่งนี้เพื่อท�ำหน้าที่สานต่อปณิธานนั้น และยังผลให้ผืนป่าตะวันตกยังคงเป็นผืนป่าที่เต็มไปด้วยสรรพชีวิต แห่งจิตวิญญาณที่นักอนุรักษ์คนนี้ได้สร้างไว้ เพียงรัก... เพียงศรัทธา... ในความดีงาม... เพราะมีวันนั้น ... จึงมีวันนี้... ในวาระ 25 ปี การจากไปของ สืบ นาคะเสถียร มูลนิธิสืบ นาคะเสถียร ได้จัดท�ำวารสารสาส์นสืบ ฉบับ 25 นักอนุรักษ์ เล่มนี้ขึ้น เพื่อบอกเล่าเรื่องราวของที่หมุนเวียนเปลี่ยนผ่านในแต่ละยุคสมัยของ คนที่เข้ามาท�ำงานให้พี่สืบ แม้จะคัดเลือกมาเพียง 25 คน แต่ใช่ว่า คนที่ท�ำงานให้พี่สืบ จะมีเพียงแค่ 25 คนนี้เท่านั้น เจ้าหน้าที่ทุกคนที่เคยผ่านเข้ามาร่วม งาน ทุกคนต่างก็เป็นคนท�ำงานให้พี่สืบ ไม่เพียงแต่เจ้าหน้าที่องค์กร ใครต่อใครอีกหลายคนที่มีส่วน ในการเข้ามาช่วยเหลือในเรื่องต่างๆ ตามแต่วาระอ�ำนวย ก็ล้วนแต่ เป็นคนที่ท�ำงานให้พี่สืบ ท้ายที่สุดผู้อ่านทุกท่านที่ถือสาส์นสืบ ฉบับนี้ไว้ในมือ และที่ ดาวน์โหลดในฉบับดิจิตัลออนไลน์ เราทั้งหมดล้วนแต่เป็นผู้ทอดเจตนา สืบ นาคะเสถียร ให้สืบต่อไป
25 ปี ที่เราท�ำงานให้พี่สืบ
มูลนิธิสืบนาคะเสถียรก่อตั้งขึ้นเพื่อสืบสานเจตนารมณ์ของสืบ นาคะเสถียร ที่ต้องการรักษาป่าใหญ่ที่มีสัตว์ป่าและความหลากหลายทาง ชีวภาพที่สมบูรณ์ที่สุดของประเทศไทยอย่างเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขา แข้งและทุ่งใหญ่นเรศวร ซึ่งได้รับการยอมรับขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก หลังการอัตวินิตบาตกรรม ของเขาในเวลา 1 ปีต่อมา รวมถึงขยายผล ความตั้งใจในการอนุรักษ์พื้นที่ป่าโดยรอบในลักษณะของกลุ่มป่าผืนใหญ่ที่ อยู่ด้านเหนือและด้านใต้ของพื้นที่มรดกทางธรรมชาติของโลกที่ปัจจุบัน รับรู้กันโดยทั่วไปในชื่อ “กลุ่มป่าตะวันตก” ที่มีพื้นที่ป่ากว่าสิบสองล้านไร่ ประกอบด้วยพื้นที่คุ้มครองสภาพธรรมชาติที่จัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า 17 แห่ง ในช่วงสิบปีแรกของการท�ำงานสืบสานเจตนารมณ์ มูลนิธิสืบ นาคะเสถียรน�ำงบประมาณที่ได้จากการสนับสนุนการท�ำงานให้เขตรักษา พันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งและทุ่งใหญ่นเรศวร ให้มีประสิทธิภาพเพียงพอใน การป้องกันทรัพยากรทั้งวัสดุอุปกรณ์ และระบบการท�ำงานให้กับเจ้า หน้าที่พิทักษ์ป่ามากมายหลายโครงการ การจัดตั้งกองทุนเพื่อผู้พิทักษ์ป่า กองทุนสนับสนุนการศึกษาวิจัยสัตว์ป่า การวางรากฐานกิจกรรมเผยแพร่ ความรู ้ นิ เ วศวิ ท ยาป่ า ไม้ การจั ด ประชุ ม สั ม มนาและการเผยแพร่
สถานการณ์ภัยคุกคามป่าต่อสาธารณะชน รวมถึงการสร้างอนุสรณ์สถาน “สืบนาคะเสถียร” เพื่อเป็นศูนย์รวมจิตใจให้กับอุดมการณ์ของคนรักษ์ป่า ทั่วประเทศ ตั้งแต่ปี 2543 มูลนิธิสืบนาคะเสถียรเริ่มขยายบทบาทการ ท�ำงานไปสู่การขยายผลการจัดการกลุ่มป่าตะวันตกโดยการก่อตั้งกองทุน ป่าตะวันตกเพื่อสนับสนุนให้กรมป่าไม้พัฒนาโครงการร่วมรักษาผืนป่า ตะวันตกให้เกิดการส�ำรวจข้อมูลเชิงนิเวศอย่างเป็นระบบ และฝึกอบรม เสริมศักยภาพเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าทั่วทั้งป่าตะวันตกอย่างต่อเนื่อง ในขณะ เดียวกันก็ยังมีส่วนร่วมในกิจกรรมทักท้วงโครงการที่มีผลกระทบต่อผืนป่า อย่างต่อเนื่อง ในราวสิ บ ปี ที่ ผ ่ า นมามู ล นิ ธิสื บ นาคะเสถี ย รตั ด สิ น ใจพั ฒ นา บทบาทในการท�ำงานเป็นองค์กรปฏิบัติการในภาคสนามป่าตะวันตก เพื่อ ท�ำหน้าที่เป็นคนกลางในการจัดการความขัดแย้งและการสร้างการมีส่วน ร่วมในการอนุรักษ์ป่าระหว่างชุมชนกว่าหนึ่งร้อยแห่งที่ถูกการประกาศ พื้นที่คุ้มครองสภาพแวดล้อมทั้งอุทยานแห่งชาติ และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ ป่าประกาศพื้นที่ทับซ้อนกับพื้นที่ใช้ประโยชน์ดั้งเดิมของชุมชน และขยาย การท�ำงานไปสู่การท�ำงานเพื่อสร้างชุมชนร่วมอนุรักษ์ป่าร่วมกับชุมชนที่
อยู่ประชิดแนวเขตพื้นที่คุ้มครอง ท�ำให้เกิดผลส�ำเร็จที่ชัดเจนของการ ท�ำงาน ได้แก่ การอ�ำนวยการให้เกิดการส�ำรวจฐานข้อมูลเพื่อการบริหาร จัดการขอบเขตพื้นที่ใช้ประโยชน์ชุมชนร่วมกันระหว่างกรมอุทยานแห่ง ชาติ และคณะกรรมการชุมชนเป็นแผนที่ที่ได้ถือปฏิบัติยอมรับ มีข้อตกลง การอยู ่ ร ่ ว มกั น โดยไม่ ข ยายพื้ น ที่ และร่ ว มอนุ รั ก ษ์ ท รั พ ยากร ภายใต้ โครงการจั ด การพื้ น ที่ คุ ้ ม ครองอย่ า งมี ส ่ ว นร่ ว ม หรื อ ที่ รู ้ จั ก กั น ในชื่ อ โครงการจอมป่า โดยมีบันทึกข้อความของอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ ป่าและพันธุ์พืชให้ใช้ข้อมูลนี้ในการบริหารจัดการชุมชนอย่างมีส่วนร่วม ท�ำให้เกิดปรากฏการณ์ในการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขระหว่างเจ้าหน้าที่ และชาวบ้านในป่า ปัจจุบันในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรด้านตะวัน ออก เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง ได้เกิดกิจกรรมการเดินลาดตระเวน ร่วมกันระหว่างเจ้าหน้าที่และชาวบ้านอย่างสม�่ำเสมอ สามารถควบคุม แนวเขตชุมชนตามข้อตกลงไม่มีการขยายรุกป่า ขณะเดียวกันก็ไม่คดี จับกุมชาวบ้านในข้อหาบุกรุกป่าอีก เป็นผลงานรูปธรรมที่เป็นต้นแบบการ จัดการให้พื้นที่อ่ืนๆ ได้อย่างดี ในขณะที่พื้นที่คุ้มครองอื่นๆ ที่มีชุมชนอยู่ ภายในก็ใช้แนวเขตที่ส�ำรวจร่วมกันนี้อยู่ร่วมกันตามข้อตกลงได้เป็นส่วน ใหญ่ รอบป่าตะวันตกชุมชนที่อยู่ประชิดพื้นที่อุทยาแห่งชาติและเขต รักษาพันธุ์สัตว์ป่า เกือบตลอดแนวป่าในระยะกว่าสองร้อยกิโลเมตร ได้ ขอขึ้นทะเบียนแนวหย่อมพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติที่ยังเหลืออยู่กลางไร่นา ให้เป็นป่าชุมชนเพื่อเป็นคลังอาหาร ต้นน�้ำ แหล่งสมุนไพร และเก็บของ ป่ า ขายเสริ ม รายได้ ภายใต้ ก ารหนุ น เสริ ม ความเข้ ม แข็ ง ชุ ม ชน และ ประสานงานการขึ้นทะเบียนแก้ไขปัญหาต่าง ๆผ่านการท�ำงานโครงการ กับกรมป่าไม้ของมูลนิธิสืบนาคะเสถียร ปัจจุบันมีการเก็บข้อมูลตัวอย่าง ของป่าชุมชนเหล่านี้ มีผลผลิตที่ชุมชนและคนภายนอกเข้ามาใช้ประโยชน์ มีมูลค่าทางเศรษฐกิจกว่าสิบล้านบาทต่อป่าทุกปี นับว่าป่าชุมชนเหล่านี้มี ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจมากนับร้อยล้านบาท กิจกรรมหนุนเสริมวิถีชีวิตเป็นมิตรกับผืนป่านับพันโครงการได้ น�ำร่องกระจายไปทั่วทุกหมู่บ้าน ปัจจุบันเกิดบ้านเรียนรู้ที่ใช้แนวทาง เศรษฐกิจพอเพียงในการด�ำรงชีวิต สามารถเลี้ยงครอบครัวได้โดยไม่มีการ ขยายรุกป่า และมีรายได้มาพออย่างมั่นคง เกิดกลุ่มที่มีศักยภาพพัฒนา เป็นวิสาหกิจชุมชนอย่างน้อย 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มปลูกพืชสมุนไพรอินทรีย์ เพื่อเป็นวัตถุดิบส่งต่อไปผลิตยาที่มูลนิธิโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร์ กลุ่มผ้าทอจอมป่า กลุ่มปลูกกาแฟทดแทนพืชเชิงเดี่ยว ขณะเดียวกันก็มี กิจกรรมน�ำร่องเพื่อลดรายจ่ายในครัวเรือน เช่น โรงตีมีด เครือข่าย สุขภาพชุมชน การฟื้นฟูพืชป่าอย่างมะอิกระวาน ไผ่ บุก เพื่อลดการปลูก พืชเชิงเดี่ยว เพราะรายได้และการลดรายจ่ายของชุมชนในป่าย่อมมีผล ต่อความจ�ำเป็นในการขยายพื้ที่เกษตรกรรมรุกป่า และการล่าสัตว์ป่า โดยตรง มูลนิธิสืบนาคะเสถียร มีส่วนส�ำคัญในการก่อสร้างและผลักดัน โครงการที่เพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันรักษาป่าที่ส�ำคัญหลายแห่ง ได้แก่ การริเริ่มสนับสนุนให้เกิดหน่วยพิทักษ์ป่าทีชอแม บริเวณเส้นทาง ชุมชนเข้าสู่ทุ่งใหญ่นเรศวรด้านตะวันออก หน่วยพิทักษ์ป่ากุยเลอตอ บริเวณเส้นทางชุมชนในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง จุดสกัดพะบ่ง บริเวณล่อแหลมในการเข้าล่าสัตว์ป่าของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่ นเรศวรด้านตะวันตก และการระดมทุนเพื่อสร้างปราการทางน�้ำกึงไกล สกัดการล่าสัตว์ป่าทางล�ำน�้ำแม่กลองเข้าสู่ป่าห้วยขาแข้ง
ในช่ ว งสิ บ ปี ที่ ผ ่ า นมาบทบาทที่ ส� ำ คั ญ ยิ่ ง ของมู ล นิ ธิสื บ นาคะ เสถียรคือการทักท้วงโครงการพัฒนาที่จะมีผลกระทบต่อระบบนิเวศสัตว์ ป่า แทบจะกล่าวได้ว่าหากไม่มีการท�ำงานหาข้อมูลวิชาการเพื่อเสนอ เหตุผลในการทักท้วงโครงการระบบนิเวศในป่าตะวันตกคงเสื่อมสภาพ จากการตัดถนนผ่านป่าที่ส�ำคัญ การขุดอุโมงค์ผันน�้ำผ่านป่า กิจกรรม เหมืองแร่ และการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวกลางป่าหลายแห่ง รวมถึงการ สร้างเขื่อนแม่วงก์ ผลการท�ำงานของมูลนิธิสืบนาคะเสถียร และเพื่อนพ้ององค์กร อนุรักษ์ในป่าตะวันตก ร่วมกับฝ่ายราชการ และภาคีประชาสังคม ท�ำให้ วันนี้ผืนป่าตะวันตกยังคงมีความอุดมสมบูรณ์ เป็นบ้านของสัตว์ป่าที่มี พื้นที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีข้อมูลวิชาการสัตว์ป่ารองรับมากมาย ว่าการอนุรักษ์อย่างเข้มข้นท�ำให้มีสัตว์ป่าเพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะปริมาณ เสือโคร่งสายพันธุ์อินโดจีนที่มีในธรรมชาติมากที่สุดในโลก และยังคงมี ประชากรสัตว์ป่าขนาดใหญ่อยู่อาศัยด�ำรงสายพันธุ์อย่างมั่นคง ทั้ง ช้าง กระทิง วัวแดง สมเสร็จ นกยูง นอกจากการท�ำงานอย่างเข้มข้นในผืนป่าตะวันตก กองทุนเพื่อ ผู้พิทักษ์ป่าได้ช่วยเหลือครอบครัวของผู้พิทักษ์ป่าที่บาดเจ็บและเสียชีวิต จากการปฏิบัติหน้าที่ มอบทุนการศึกษาให้บุตรผู้พิทักษ์ป่าที่เสียชีวิตใน การปฏิบัติหน้าที่อย่างต่อเนื่อง โดยใช้งบประมาณจากการบริจาคจาก สาธารณะชน ปัจจุบันมูลนิธิสืบนาคะเสถียรยังเป็นองค์กรหลักระดับประเทศ ที่สื่อสารความรู้ความเข้าใจในเรื่องระบบนิเวศป่าไม้ และผลกระทบสิ่ง แวดล้อมต่างเพื่อให้สาธารณะชนรับรู้และเป็นแนวร่วมในการอนุรักษ์ สืบสานเจตนาให้คุณสืบ นาคะเสถียรต่อไป เพื่อให้ประเทศไทยยังคงมีป่า ตะวันตกเป็นต้นน�้ำล�ำธาร และแหล่งความหลากหลายทางชีวภาพให้กับ ประเทศไทย และโลกของเรา ให้ยาวนานที่สุดเท่าที่พวกเรา และนัก อนุรักษ์รุ่นต่อไปยังมีแนวร่วม และการสนับสนุนจากสาธารณะชนอย่างที่ ผ่านมายี่สิบห้าปี
ไพโรจน์ ลิ้มเจริญ
บนเส้นทางที่เลือกเดินไปกับธรรมชาติ หลังจากการจากไปของ สืบ นาคะเสถียร เมื่อ 25 ปีก่อน ถือได้ว่าเป็นเหตุการณ์ส�ำคัญของวงการสิ่งแวดล้อม ในประเทศ ท�ำให้หลายองค์กรภาคส่วนและผู้คนอีกจ�ำนวนมากหันมาสนใจประเด็นสิ่งแวดล้อม หนึ่งในนั้นคือ ไพโรจน์ ลิ้มเจริญ ในช่วงเวลาที่ยังเป็นนักศึกษาอยู่ ก่อนที่สามปีให้หลังจะเข้ามาท�ำงานในต�ำแหน่งเจ้าหน้าที่ฝ่ายกิจกรรมมูลนิธิ สืบนาคะเสถียร และเป็นเจ้าหน้าที่คนแรกของมูลนิธิฯ ที่ได้เข้าไปท�ำงานประจ�ำในพื้นที่ห้วยขาแข้ง ช่วงระหว่าง ปี พ.ศ. 2536-2541 ผ่านมากว่า 20 ปี แม้ไม่ได้เป็นเจ้าหน้าที่มูลนิธิสืบนาคะเสถียรแล้ว แต่ไพโรจน์ ลิ้มเจริญ ยังคงท�ำงานอนุรักษ์ ทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอยู่กลุ่มกิจกรรมธรรมชาติและสมาคมอนุรักษ์สัตว์ป่า งานที่มูลนิธิสืบนาคะเสถียร เริ่มท�ำงานที่มูลนิธิสืบนาคะเสถียรในปี พ.ศ. 2536 กิจกรรมในช่วงนั้นคือการจัดอบรมเยาวชนและครูในพื้นที่ ห้วยขาแข้งเป็นหลัก เพื่อต้องการสร้างความรู้ความเข้าใจตลอดจนให้คนในพื้นที่เห็นคุณค่าและความส�ำคัญของป่าห้วย ขาแข้งตามที่พี่สืบได้สร้างไว้ และมีโครงการอบรมผู้พิทักษ์ป่า ในปี พ.ศ. 2540 ตอนนั้นเป็นครั้งแรกที่น�ำเจ้าหน้าที่พิทักษ์ ป่าจากเขตป่าตะวันตกทั้งหมดมาอบรมร่วมกัน ทั้งการลาดตระเวน ความรู้ด้านกฎหมาย การใช้อาวุธ การเข้าจับกุม มี การจัดตั้งกองทุนผู้พิทักษ์ป่าที่ต้องการให้คนภายนอกได้เห็นความส�ำคัญของเจ้าหน้าที่ที่ดูแลรักษาป่า เพื่อเป็นกองทุน ส�ำหรับใช้ดูแลช่วยเหลือเวลาเจ้าหน้าที่เจ็บป่วยหรือเสียชีวิตจากการปฏิบัติหน้าที่
สถานการณ์สิ่งแวดล้อมในช่วงการท�ำงาน ในภาพรวมสิ่งแวดล้อมถือว่าดีขึ้นมาก ต้องยอมรับในส่วนหนึ่ง ว่าตั้งแต่พี่สืบเสียชีวิต มีชมรมอนุรักษ์ต่างๆ หรือกลุ่มคนที่รวมตัวกันเพื่อ ท�ำกิจกรรมอนุรักษ์ธรรมชาติเพิ่มมากขึ้น อาจมีบางช่วงที่ดูซบเซาลงไป บ้าง แต่โดยรวมหลังจากได้มีการร่วมมือกันในการท�ำงานจาก ภาครัฐ มูล นิสืบฯ และคนในพื้นที่อุทัยธานี ก็สามารถท�ำให้ห้วยขาแข้งเป็นที่ยอมรับ ได้ ท�ำให้คนเข้าใจว่าป่าไม่ได้มีไว้เพื่อประโยชน์อย่างอื่นนอกจากเรื่อง ระบบนิเวศ มีโครงการจัดการผืนป่าตะวันตกเชิงนิเวศ โดยให้ระบบนิเวศ มาเป็นตัวก�ำหนดการดูแลผืนป่า หลังจากที่เราได้ท�ำความเข้าใจกันว่าป่า ทั้งหมดเป็นป่าผืนเดียวกัน ตามแนวทางที่พี่สืบได้เคยวางไว้ อะไรคือสิ่งส�ำคัญต่องานอนุรักษ์ ผมเชื่อว่าคนรู้และเข้าใจว่าป่ามีความส�ำคัญอย่างไร รู้และ เข้าใจว่าทรัพยากรธรรมชาติมีความส�ำคัญอย่างไร และเราต้องช่วยกัน ดูแลอย่างไร แต่ความเป็นจริงที่เขาเผชิญอยู่ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเรื่องปาก ท้องหรือเรื่องเศรษฐกิจ ท�ำให้คนต้องสนใจปัญหาใกล้ตัวไว้ก่อน โดยไม่ได้ ดูปัญหาภาพใหญ่ในเรื่องป่าหรือเรื่องธรรมชาติ ถ้าถามว่ามันจะดีขึ้นไหม เราจะไปหวังให้ทุกคนให้ความส�ำคัญคงเป็นไปไม่ได้ แต่เราควรจะมี ทิศทางที่แน่นอน อย่างเรื่องเขื่อนที่อาจจะกลับมาอีก ซึ่งเราสามารถน�ำ เสนอข้อมูลให้ความรู้เพื่อเตรียมรับมือไว้ก่อนได้ เพราะหากถึงเวลาที่ เขื่อนกลับมาแล้วคนเดือนร้อนไม่มีน�้ำใช้ และไม่ได้มีความรู้มาก่อน เขาก็ อาจจะมี ค วามต้ อ งการอยากได้เขื่อน ความรู้จึง เป็น สิ่ง ส�ำคัญ ต่อ งาน อนุรักษ์ คนรุ่นใหม่ที่สนใจในเรื่องงานอนุรักษ์ต้องท�ำอย่างไร ถ้ารู้สึกว่าอยากท�ำให้ลุกขึ้นมาท�ำเลย ไม่จ�ำเป็นจะต้องท�ำใน เรื่องที่ใหญ่โต เริ่มท�ำในเรื่องที่เล็กๆ ก่อน ท�ำในจุดในพื้นที่ที่เราอยู่ และ ด้วยก�ำลังที่เรามี พอลงมือท�ำแล้วมันจะเกิดผลเอง เรามีป่ามีแหล่งน�้ำที่อยู่ ใกล้บ้านเราก็สามารถดูแลได้ ถ้าท�ำคนละเล็กละน้อยแต่ท�ำทุกคนมันก็ ยั่งยืนได้ อย่างงานที่พาคนมาเรียนรู้ที่ห้วยขาแข้งได้เห็นถึงธรรมชาติในจุด ที่สมบูรณ์ที่สุดในประเทศ ก็เพื่อให้เขาได้กลับไปดูแลสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวใกล้ บ้านของเขาว่าเขาสามารถดูแลสิ่งใดได้บ้าง
คนเมืองกับธรรมชาติ คนเมืองนี่ได้รับผลกระทบจากธรรมชาติมากที่สุดนะ แต่เขา อาจจะอยู่ในสภาพนั้นจนเคยชิน จนไม่รู้ว่าสิ่งที่เขาต้องเผชิญหลายๆ อย่าง มันส่งผลกระทบมาจากธรรมชาติแทบทั้งสิ้น คนเมืองสามารถ สนับสนุนผู้ที่ดูแลสิ่งแวดล้อมแทนเราได้ หรือใช้ชีวิตให้มีผลกระทบต่อ ธรรมชาติ เราอาจจะอยู่ป่าไม่ได้ เราไม่สามารถออกไปเดินลาดตระเวน แทนเจ้าหน้าที่ได้ แต่เราก็สามารถสนับสนุนเขาได้ ไม่ว่าจะร่วมบริจาค เงินทุนสิ่งของหรือแม้แต่การให้ก�ำลังใจ เปรียบเสมือนว่าป่าเป็นของเรา ทุกคน แต่เราส่งคนให้ช่วยไปดูแลแทนเรา ธรรมชาติสอนอะไรมนุษย์ได้บ้าง ธรรมชาติไม่เคยกล่าวโทษหรือดูถูกกันนะ แบบว่า เฮ้ย! แกต้น เล็กนะ ฉันต้นใหญ่กว่า ท�ำไมแกมาอยู่ตรงนี้ ท�ำไมแกมาเกาะฉัน… คือ เขาไม่ได้เกี่ยงงอนกันและท�ำหน้าที่ของตัวเองตามจุดที่ตัวเองอยู่ให้ดีที่สุด ผมเรียนรู้เรื่องเหล่านี้จากธรรมชาติ และท�ำหน้าที่ที่ตัวเองต้องท�ำ ผมว่า ธรรมชาติสอนมนุษย์แต่มนุษย์เองที่ไม่ค่อยฟังและไม่ค่อยจะเรียนรู้จาก ธรรมชาติ มนุษย์จะพยายามปรับธรรมชาติให้เขากับตัวเอง แต่ไม่เคยคิด จะปรับตัวเองให้เข้ากับธรรมชาติ บางครั้งไม่เรียนรู้ไม่ท�ำความเข้าใจแต่ ยังจะต้องการเอาชนะธรรมชาติเสียอีก นั่นยิ่งท�ำให้ใช้ชีวิตล�ำบากขึ้น หาก เราเรียนรู้ธรรมชาติและปรับตัวอยู่กับธรรมชาติเราจะอยู่กับเขาได้อีกนาน แรงบันดาลใจในการท�ำงานอนุรักษ์กว่า 20 ปี ไม่รู้เหมือนกันว่าเพราะอะไรแต่ผมรู้แค่ว่ามันมีความสุข ผมอยู่ ห้วยขาแข้งผมมีความสุขมากทั้งทีไม่มีสิ่งอ�ำนวยความสะดวกเท่าในเมือง ผมมีความสุขกับการท�ำงานมากกว่า ทุกวันนี้ถ้าเหนื่อยกับการท�ำงานผม จะเข้าไปที่ห้วยขาแข้งเสมอ เข้าไปเดินเล่นสักชั่วโมงแล้วก็ขับรถกลับ ผม มีความรู้สึกว่ามนุษย์ต้องอยู่กับธรรมชาติ ธรรมชาติสามารถให้พลังกับเรา ได้ และเมื่อเรารู้ว่าธรรมชาติส�ำคัญอย่างไร เราจะไม่ยอมหยุดที่จะท�ำงาน เพื่อธรรมชาติ นี่ก็น่าจะเป็นเหตุผลหลักที่สามารถท�ำให้ผมท�ำงานเกี่ยวกับ ธรรมชาติได้อย่างต่อเนื่อง ผมเคยบอกกับหลายคนว่าถ้าคุณไม่รู้ว่าจะ นึกถึงบุญคุณของป่าอย่างไร ให้คุณลองหยุดหายใจหรือลองหายใจในที่ที่ อากาศไม่ดีดูสักพัก แล้วคุณจะนึกถึงต้นไม้ใบไม้ที่เขาคอยบ�ำบัดอากาศที่ สกปรกและคืนอากาศที่สะอาดให้กับคุณ แค่นี้ป่าไม้ก็มีคุณค่ากับคุณแล้ว มากแล้ว
ธิดารัตน์ กาญจนโพชน์
จากความสงสัยเรื่อง สืบ นาคะเสถียร สู่การท�ำงานอนุรักษ์
“สืบ นาคะเสถียร เป็นคนที่เขียวจัด ‘เขียวจัด’ ในที่นี้หมายถึงไม่เอาชุมชุนไม่เอาชาวบ้าน จะเอาแต่ป่า สัตว์ป่าอย่างเดียว” ค�ำพูดของ อาจารย์ในห้องเรียนวันนั้นเป็นแรงผลักดัน ให้ ธิดารัตน์ กาญจนโพชน์ เจ้าหน้าที่มูลนิธิสืบนาคะเสถียร ประจ�ำพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ ตัดสินใจ เดินทางจากบ้านเกิดที่จังหวัดพิจิตรเข้ามาท�ำงาน เพราะอยากพิสูจน์ว่าสิ่งที่สืบ นาคะเสถียรเคยท�ำไว้ กับเรื่องที่ได้ยินมาเป็นควมจริงหรือไม่ เพราะส�ำหรับเธอ สืบ นาคะเสถียร คือบุคคลที่เป็นแรงบันดาลใจในเรื่องของการท�ำงานอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม “คนแรกที่ท�ำให้อยากเข้ามาท�ำงานตรงนี้คือคุณสืบ เรื่องนี้ต้องย้อนกลับไปในสมัยยังเป็นนักศึกษา มีอาจารย์ท่านหนึ่งพูดไว้ว่า สืบ นา คะเสถียร เป็นคนที่เขียวจัด เขียวจัดในที่นี้หมายถึงว่า ไม่เอาชุมชุนไม่เอาชาวบ้าน จะเอาแต่ป่าสัตว์ป่าอย่างเดียว แต่โดยส่วนตัวเป็นคนที่ไม่ได้ เชื่ออะไรจากค�ำบอกเล่าเพียงอย่างดียว ถ้าจะเชื่ออะไรสักอย่างต้องมีการพิสูจน์ ก็เลยอยากพิสูจน์ค�ำของอาจารย์ว่ามันจริงหรือไม่ นี่เป็นปัจจัย หนึ่งที่เข้ามาท�ำงานที่นี่” เธอเล่าถึงเหตุผลในการเข้ามาท�ำงานที่มูลนิธิสืบ
“เมื่อได้มาท�ำงานแล้วจึงได้รู้ว่ามันไม่ใช่ นอกจากคุณสืบจะท�ำงานเพื่อป่าและ สัตว์ป่าอย่างที่รู้กันดี คุณสืบยังได้เข้าไปให้ความรู้เกี่ยวกับองค์กรต่างๆ นักเรียน เยาวชน ทั้งยังมีการส่งเสริมอาชีพให้ชุมชนมีรายได้โดยลดการพึ่งพิงทรัพยากรธรรมชาติอีกด้วย คุณ สืบไม่ได้มองเพียงป่ากับสัตว์ป่าอย่างเดียว แต่ยังมองไปถึงมิติที่ท�ำให้คนสามารถอยู่ร่วมกับ ป่าด้วย ซึ่งเป็นเรื่องของความยั่งยืนที่คุณสืบได้ท�ำไว้ก่อนหน้านี้” “สิ่งนี้เป็นเหมือนแรงผลักดันให้เราสามารถท�ำงานต่อได้ ผู้ชายคนหนึ่งที่มีความรู้ มีหน้าที่การงานที่ดี มีบ้านมีครอบครัว แต่กลับยอมเสียสละเข้ามาท�ำงานตรงนี้ ท�ำงานป่า ไม้ สัตว์ ป่า ชุมชน พี่คิดว่าเราก็เป็นคนๆ หนึ่งถึงไม่ได้ท�ำอะไรที่ใหญ่โตเหมือนที่คุณสืบได้ท�ำ แต่อย่างน้อยๆ เราก็ยังเป็นหนึ่งฟันเฟืองที่คอยขับเคลื่อนในเรื่องงานอนุรักษ์ต่อไปได้” เธอเล่าถึงเรื่องงานอนุรักษ์ที่ท�ำอยู่ให้ฟังว่า “การท�ำงานแบบนี้อย่างแรกคือต้องมี ใจ ต้องมีความเสียสละในบางเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของเวลาเรื่องครอบครัว โดยส่วน ตัวที่ไม่ได้เป็นคนในพื้นที่ มาท�ำงานช่วงแรกๆ จะรู้สึกเคว้งมาก โดยเฉพาะในช่วงแรกที่ ท�ำงานอยู่จังหวัดสุพรรณบุรีก่อนมาประจ�ำพื้นที่นครสวรรค์ มันค่อนข้างที่จะไกลจากบ้าน มาก และต้องพบเจอสิ่งแปลกใหม่ซึ่งต่างจากที่เราเคยเป็น” “อีกทั้งด้วยเรื่องของวัฒนธรรมและภาษาที่แตกต่างกัน บางทีก็รู้สึกสับสนว่าเรา มาท�ำอะไร ท�ำไมเราต้องมาอยู่อย่างนี้ด้วย ทั้งที่ก่อนนี้ก็อยู่แต่ในเมืองเรียนอยู่ในเมือง แต่ พออยู่ไปแล้วเริ่มเห็นตัวงานที่เราท�ำได้เกิดผลต่อชุมชน ชุมชนเริ่มมีการจัดตั้งคณะกรรม การเพื่อปฎิบัติงานร่วมกัน ช่วยกันดูแลเป็นหูเป็นตาแทนเจ้าหน้าที่ป่าไม้ มันเหมือนเป็นสิ่ง
ที่ได้รับการตอบแทนจากงานที่เราท�ำ มีค�ำตอบให้กับค�ำถามที่เราเคยตั้งว่าเรามาท�ำอะไร ท�ำไมต้องมาอยู่ที่นี่” เมื่อถามถึงความยากง่ายเกี่ยวกับการท�ำงาน เธอตอบว่า “การท�ำงานกับชุมชน หรือการท�ำงานกับคน ขึ้นชื่อว่าคนแล้วแน่นอนว่ามีหลากหลายรูปแบบแตกต่างกันไป เรา เข้าไปชักชวนคนกลุ่มหนึ่งให้เข้ามาร่วมในการดูแลรักษาป่า แต่บางกลุ่มก็ยังบุกรุกป่าเพื่อ ท�ำการเกษตรหาเลี้ยงครอบครัว มันก็เป็นเรื่องที่ฟังดูขัดแย้งกันอยู่แล้ว ฉะนั้นสิ่งแรกที่ต้อง ท�ำคือการสร้างความเข้าใจกับชุมชนให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันเสียก่อน” แต่ผลจากการท�ำงานร่วมกับชุมชนอย่างต่อเนื่องกว่า 7 ปี งานของเธอนั้นก็เกิด ความเปลี่ยนแปลงต่อพื้นที่ในหลายๆ ด้าน ท�ำให้จากเดิมที่เจ้าหน้าที่รัฐกับชุมชนในพื้นที่ แทบจะมองหน้ากันไม่ติด แต่ปัจจุบันกลายเป็นว่าชาวบ้านเป็นส่วนหนึ่งกับเจ้าหน้าที่ มีการ ด�ำเนินงานและปฏิบัติงานร่วมกันดูแลทรัพยากรธรรมชาติ เป็นก�ำลังใจให้กันและคอยช่วย เหลือพึ่งพากัน “นักอนุรักษ์ตัวจริงก็คือชาวบ้านในพื้นที่ เพราะว่าเขารักษาป่าโดยไม่มีอะไร ตอบแทน อย่างเรายังได้เงินเดือน ส่วนชาวบ้านบางครั้งออกไปประชุม ออกไปเดินลาด ตระเวน โดยมีเพียงอาหารไม่กี่มื้อเป็นสิ่งตอบแทน อย่างการเดินลาดตะเวนก็มีความเสี่ยง จากพวกลักลอบตัดไม้หรือนายพราน แต่ก็ยอมท�ำโดยไม่มีข้อเรียกร้องอะไร ชาวบ้านใน พื้นที่ก็ถือว่าเป็นนักอนุรักษ์ตัวจริงเช่นกัน”
เกษียร จันทร
จากครูอาสาสู่การเป็นนักอนุรักษ์
เกษียร จันทร อดีตครูอาสาบนดอยสูงที่จังหวัดเชียงราย จบการศึกษามาทางสายครู พร้อมท�ำงานด้านจิตอาสาในการท�ำค่าย กับสถาบันศึกษาต่างๆ ผ่านผู้คนและคลุกคลีกับชุมชนที่อยู่ในถิ่น ทุรกันดาร จนเกิดรักในงานอนุรักษ์ที่ต้องท�ำงานร่วมกับชุมชุน “ก่อนหน้าที่จะเข้ามาท�ำงานมูลนิธิสืบนาคะเสถียร ได้ ท�ำงานอยู่ที่มูลนิธิพัฒนาชุมชนและเขตภูเขาที่เชียงราย เป็นครูอาสา อยู่บนดอยประมาณสามถึงสี่ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 ได้อยู่บนภูเขา แล้วใช้ชีวิตอยู่กับชาวบ้านในถิ่นทุรกันดารไม่มีไฟฟ้าไม่มีน�้ำประปา ร่วมถึงวิถีชีวิตวัฒนธรรมที่แตกต่าง ตอนนั้นในพื้นที่ยังไม่มีหน่วย
งานจากทางภาครัฐที่เข้าไปส่งเสริมเรื่องการศึกษา โดยเราก็จะไป สอนให้เด็กอ่านออกเขียนได้ไปสอนเรื่องการใช้ภาษาพูดคุย เป็นการ ท�ำงานในเรื่องเกี่ยวกับชุมชน” ช่วงเวลาว่างจากการท�ำหน้าที่ครู เกษียรยังเคยเข้าไป ท�ำงานร่วมกับเครือข่ายอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ลุ่มน�้ำโขงล้านนา ซึ่งท�ำเรื่องโครงการฟื้นฟูชุมชุนท้องถิ่น ฟื้นฟูวิถี วัฒนธรรม ความหลากหลายของชาติพันธุ์ ควบคู่ไปกับการอนุรักษ์ แม่น�้ำโขง จากนั้นตัวเขาก็เริ่มหลงใหลงานด้านอนุรักษ์และท�ำให้ ตัดสินใจเข้ามาท�ำงานที่มูลนิธิสืบนาคะเสถียร
เมื่อถึงวันสวมเสื้อมูลนิธิสืบนาคะเสถียร งานที่ได้รับมอบ หมายคือการประสานงานกับชุมชน เขาบอกว่าได้น�ำประสบการณ์ เมื่อครั้งไปเป็นครูมาใช้กับงานตรงนี้ได้มาก “ผมน�ำเอาการวางตัว เมื่ออยู่ร่วมกับชุมชนเข้ามาปรับใช้ในงานของมูลนิธิฯ เราต้องท�ำให้ ประชาชนในพื้นที่รู้ว่า เราไม่ได้มาสั่งการหรือเป็นศัตรูกับเขา แต่มา เพื่ อ รั บ ฟั ง และเปิ ด ใจให้ ค นในชุ ม ชนได้ แ สดงความคิ ด เห็ น และ เข้าไปช่วยเพิ่มเติมในสิ่งที่เขาขาด คอยแนะน�ำให้ค�ำปรึกษาแก่ชาว บ้านในชุมชน” “ตอนเริ่มแรกผมเข้าไปท�ำงานพื้นที่อ�ำเภอแก่นมะกรูด จังหวัดอุทัยธานี ตอนนั้นยังไม่มีโครงการอะไรที่ชักชวนชาวบ้านใน ชุมชนเข้ามาเป็นแนวร่วมท�ำงานอนุรักษ์อย่างงานของมูลนิธิสืบฯ จึง เป็นงานที่ค่อนข้างยากพอสมควร ยากในส่วนที่ต้องอธิบายให้ชาว บ้านเข้าใจว่าป่าที่เขาอยู่อาศัย หรือใช้หากินเป็นป่าที่มีความส�ำคัญ ในระดับประเทศ ซึ่งชาวบ้านอาจยังไม่รู้ จึงอาจเป็นเรื่องปกติที่ก่อน หน้านั้นเขาจะเข้าไปหาประโยชน์จากป่า ไม่ว่าจะเป็นการเก็บของป่า หรือเข้าไปท�ำการล่าสัตว์” งานหลักของเกษียรส่วนใหญ่จะเป็นการท�ำงานร่วมกับ ชุมชนในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ หน้าที่ของเขาคือการผลักดันให้ ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการบริหารป่าชุมชนที่อยู่ในพื้นที่ป่าสงวน ให้ชุมชนตั้งกฎกติกาขึ้นมาก�ำกับ มีพร้อมจัดตั้งคณะกรรมการป่า ชุมชน ส่งเสริมให้เกิดกิจกรรมการลาดตระเวน ท�ำฝาย ปลูกป่า ท�ำ แนวกันไฟ และเขายังรับหน้าที่ประสานงานเพื่อให้ป่าชุมชนได้รับ การจัดตั้งอย่างถูกระเบียบ เกษียร ให้ความเห็นว่า การท�ำงานกับชุมชนนั้นเป็นเรื่อง ส�ำคัญของการอนุรักษ์ เพราะว่า “ถ้าในบทบาทที่เราต้องรับผิดชอบ ในการจัดตั้งป่าชุมชน คิดว่ามีส่วนส�ำคัญตรงที่ได้ให้ชุมชนมีส่วนร่วม ในการบริหารจัดการป่าของเขา เสมือนกับว่าการที่จะรักษาป่าใหญ่ ไว้ให้ได้นั้น ต้องมีการจัดการรักษาป่าเล็กป่าน้อยโดยรอบที่อยู่ใน พื้นที่เขตป่าสงวนให้ได้ คือเรื่องการอนุรักษ์ป่าไม้ไม่ใช่เพียงเจ้าหน้าที่ ป่าไม้เพียงอย่างเดียว แต่ต้องเป็นการท�ำงานอย่างมีส่วนร่วมทุกภาค ส่วน ไม่ว่าจะในตัวชุมชุน ภาครัฐ หรือองค์กรอิสระ NGO” “ถ้าเราไม่ได้เข้าไปท�ำงานในจุดนั้น รูปแบบในการบริหาร จัดการของป่าไม้ก็คงจะยังเหมือนๆ เดิม ชาวบ้านก็อาจจะมีการ หลบๆ ซ่อนๆ ลักลอบกระท�ำความผิด แต่หลังจากเราเข้าไปและได้มี การจัดการในเรื่ององค์ความรู้ ได้เข้าไปพูดคุยกับชาวบ้าน เข้าไปเป็น ตัวกลางคอยเจรจา การบุกรุกพื้นที่ป่าก็ลดน้อยลง จากการดูแลอย่าง มีส่วนร่วมและมีกฎกติกา”
วรรโณบล ควรอาจ
ปัญญา ความเชื่อมโยงของระบบนิเวศ และการมีส่วนร่วม ‘วรรณโณบล ควรอาจ’ อดีตเจ้าหน้าที่มูลนิธิสืบนาคะเสถียร ต�ำแหน่งเจ้าหน้าที่วิชาการ เธอคือส่วนส�ำคัญที่ร่วมผลักดันงานของมูลนิธิ สืบนาคะเสถียรในห้วงเวลาหนึ่งให้ออกสู่สาธารณะ ทั้งจากงานอันเป็น หน้าที่รับผิดชอบ ตลอดจนความสนใจส่วนตัวของเธอ เธอเป็นคนรักสัตว์ ศรัทธาในตัวสืบ นาคะเสถียร มีความใฝ่ฝัน อยากเป็นครูที่สอนให้เด็กคิดเป็นมากกว่าแค่มีความรู้ และวันนี้เธอก�ำลัง สานความฝันนั้น 1. ระบบนิเวศคือความเชื่อมโยง จากเด็กหญิงที่รักและชื่นชอบสัตว์มาตั้งแต่ต้น ‘วรรณโณบล ควรอาจ’ ตัดสินใจสอบเข้าเรียนคณะวิทยาศาสตร์ ภาควิชาชีววิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพราะได้รับค�ำแนะแนวจากอาจารย์ที่นั่น เธอ คิดว่านี่คือทางที่ใช่ส�ำหรับเธอ “พอมีอาจารย์มาแนะแนวให้ที่โรงเรียน เขาพูดเรื่องนิเวศวิทยา และความเชื่อมโยงที่มีถึงกันหมด เรารู้สึกว่านี่คือสิ่งที่เราต้องเดินตามเขา มันเป็นแรงบันดาลใจให้กับเราในตอนนั้น เลยตัดสินใจตามมาเรียนกับ อาจารย์คนนี้” หลังจบการศึกษาชั้นปริญญาตรี เธอตัดสินใจเรียนต่อระดับ ปริญญาโทในสาขาวิชาเดียวกันที่รั้วมหาวิทยาลัยเดิม และตั้งใจว่าเมื่อ เรียนจบแล้วจะประกอบอาชีพครูเพื่อสอนในสิ่งที่ตัวเองชอบ ส่งต่อความ รู้ให้กับคนรุ่นต่อไป แต่ความเป็นจริงเมื่อเธอส�ำเร็จการศึกษาและเข้ารับ งานครูที่มหาวิทยาลัยราชภัฎในบ้านเกิดกลับพบว่า สิ่งที่เธอ ร�่ำเรียนมายังไม่สามารถตอบค�ำถามที่ว่าแท้จริงแล้วระบบนิเวศ มีความเชื่อมโยงถึงกันได้อย่างไร และมี องค์ประกอบอื่นใดเกี่ยวข้องกันมากน้อย แค่ไหน “ความสัมพันธ์ของสิ่งแวดล้อม มันไม่ใช่แค่ว่าน�้ำเสียแล้วก็ไปคิดสูตรมา
บ�ำบัด หรือป่าไม้ถูกตัดแล้วก็ต้องไปปลูกเพิ่ม แต่มันมี ความเชื่อมโยงที่ซับซ้อนกว่านั้น อย่างเช่นเรื่องน�้ำเสีย มันเกิดขึ้นเพราะอะไร หรืออะไรคือต้นตอของการโค่นป่า มันมีเรื่องบริบทความเป็นไปของสังคมเข้ามาเกี่ยวข้อง เรารู ้ สึ ก ว่ า เรายั ง รู ้ ไ ม่ พ อ เลยตั ด สิ น ใจลาออกไปหา ประสบการณ์จริงจากองค์กรด้านสิ่งแวดล้อมก่อน” นั่น เป็นที่มาให้เธอจะเข้ามารับต�ำแหน่งเจ้าหน้าที่วิชาการ ของมูลนิธิสืบนาคะเสถียร 2. การท�ำงานอย่างมีส่วนร่วมเพื่อสิ่งแวดล้อม มู ล นิ ธิสื บ นาคะเสถี ย รเป็ น องค์ ก รแรกที่ เ ธอ ตัดสินใจเข้ามาหาประสบการณ์ เพราะความศรัทธาใน นามที่น�ำมาซึ่งการก่อตั้ง “มูลนิธิสืบนาคะเสถียรเป็น องค์กรที่ยิ่งใหญ่ อาจจะไม่ดังเปรี้ยงปร้าง แต่ก็ชัดเจนว่า
เป็นองค์กรที่ท�ำงานด้านสิ่งแวดล้อมอย่างเข้มข้น และเราก็มีคุณสืบ นาคะเสถียรเป็นไอดอ ลด้วย” วรรณโณบล เหมือนกับใครอีกหลายคนที่มองว่าสืบ นาคะเสถียรเป็นฮีโร่ เธอเล่าว่า ภาพที่สืบ นาคะเสถียรไปช่วยเหลือชีวิตสัตว์ป่าตอนสร้างเขื่อนเชี่ยวหลานเป็นสิ่งตราตรึงใน ความทรงจ�ำมาโดยตลอด ด้วยความเป็นคนรักสัตว์เหมือนกัน เมื่อเห็นใครคนหนึ่งทุ่มเทให้ บกับการช่วยชีวิตสัตว์ ส�ำหรับเธอแล้ว นี่ล่ะคือฮีโร่ตัวจริงที่ไม่จ�ำเป็นต้องมีพลังวิเศษเหมือนใน คอมมิค “คุณสืบเป็นตัวอย่างของการต่อสู้ในสิ่งที่เขาเชื่อว่ามันคือความถูกต้อง” ประโยค สั้นๆ จากปากของเธอเมื่อถามว่าชอบอะไรในตัวสืบ นาคะเสถียร เธอเชื่อว่าการที่ได้เข้ามา ท�ำงานที่มูลนิธิสืบนาคะเสถียรจะเป็นการสานต่อความมุ่งมั่นของชายที่เธอศรัทธา และเธอ บอกว่า “การได้มาท�ำงานที่มูลนิธิสืบนาคะเสถียร มันเป็นความภาคภูมิใจในชีวิตของเรา” วรรณโณบล เข้ามารับหน้าที่ในต�ำแหน่งเจ้าหน้าที่ฝ่ายวิชาการในปี พ.ศ. 2552 2554 งานที่เธอได้รับผิดชอบ อาทิเช่น การสนับสนุนงานเรื่องทางเชื่อมสัตว์ป่าที่อุทยานแห่ง ชาติเฉลิมรัตนโกสินทร์ หรืองานสถานการณ์ที่เธอเริ่มต้นเปิดประเด็นด้วยตัวเองอย่างการ คัดค้านการถอนชื่อนกปรอทหัวโขนออกจากการเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง แต่สิ่งส�ำคัญส�ำหรับเธอ ที่ได้จากองค์กรนี้ คือ การท�ำงานอย่างมีส่วนร่วมทุกภาคส่วนที่มูลนิธิสืบนาคะเสถียรด�ำเนิน การมากว่า 10 ปีจนถึงปัจจุบัน มันเป็นความประทับใจของเธอที่มีต่อองค์กรแห่งนี้เป็นอย่าง มาก “เราประทับใจโครงการจอมป่า (ชื่อเต็มโครงการจัดการพื้นที่คุ้มครองอย่างมีส่วน ร่วมในผืนป่าตะวันตก) ถึงแม้เราจะไม่ได้เกี่ยวข้องกับงานของโครงการนี้โดยตรง แต่จากการ ศึกษาข้อมูลโครงการแล้วมันท�ำให้เราเห็นว่าเรื่องของสิ่งแวดล้อมมันมีความเกี่ยวโยงกับทุก ภาคส่วน มันช่วยตอบโจทย์ที่เราเคยสงสัยเมื่อตอนเป็นครูได้” หลั ง ออกจากมู ล นิ ธิสื บ นาคะเสถี ย ร วรรณโณบล ย้ า ยไปท� ำ งานกั บ มู ล นิ ธิสิ่ ง แวดล้ อ มไทย ที่ นั่ น เธอยั ง คงท� ำ งานด้ า นวิ ช าการ โดยรั บ ผิ ด ชอบเรื่ อ งการรั บ มื อ ความ เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศให้กับสังคมเมือง แม้จะแตกต่างจากการท�ำงานของมูลนิธิสืบนา คะเสถียรที่เชื่อมโยงกับเรื่องป่ามากกว่า แต่เธอบอกว่า ประสบการณ์การท�ำงานอย่างมีส่วน ร่วมที่ท�ำกับมูลนิธิสืบนาคะเสถียรช่วยให้เธอท�ำงาน(กับคนเมือง)ได้ง่ายขึ้น 3. ปัญญาจะช่วยแก้ไขปัญหา ปัจจุบันวรรณโณบลก�ำลังมุ่งหน้าศึกษาในระดับปริญญาเอกกับสาขาวิชาเดิม เธอมี เป้าหมายจะน�ำประสบการณ์จากการท�ำงานและความรู้ที่ร�่ำเรียนกลับไปเป็นครูตามที่เธอเคย ตั้งใจไว้แต่ต้น “ถ้ า จะเป็ น ครู อย่ า งแรกต้ อ งมี วุ ฒิ ก ารศึ ก ษาที่ ดี แต่ ที่ ส� ำ คั ญ กว่ า ความรู ้ คื อ ประสบการณ์และมุมมองที่กว้างกว่าแค่ในห้องเรียน” เธอบอก “เราอยากเป็นครูเหมือนอาจารย์ยงยุทธ จรรยารักษ์ (อดีตอาจารย์พิเศษภาควิชา พฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เสียชีวิตเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2557) ท่านไม่ได้สอนแค่ความรู้ แต่ท่านสอนให้เรารู้จักคิด เราอยากเป็นแบบนั้น คือตอนนี้ เด็กนักเรียนเอาแต่ท่องจ�ำไม่ค่อยได้ใช้ความคิด ถ้าเราสามารถสอนให้เด็กรู้จักคิดอย่างที่ อาจารย์ยงยุทธสอน เราจะสามารถผลิตนักคิดต่อยอดจากที่ท่านท�ำไว้ ถ้าหากเขาคิดเป็นเขา จะมีปัญญา พอมีประเด็นสิ่งแวดล้อมเกิดขึ้น เขาจะคิดอะไรที่ลึกซึ้งกว่าแค่การแก้ปัญหา เฉพาะหน้า เขาจะรู้จักการเชื่อมโยงของสิ่งต่างๆ เรื่องอะไรท�ำได้และเรื่องอะไรท�ำไม่ได้ อะไร ต้องคัดค้านเพื่อบ้านเพื่อชุมชนของเขา อาจจะไม่ใช่แค่เรื่องสิ่งแวดล้อม แต่อาจเป็นเรื่อง การเมืองระดับชาติก็ได้”
นิตยา – อนงค์รัตน์
สองสาวหัวใจแกร่งแห่ง ‘โลกสีเขียว’
มีคนเคยกล่าวไว้ว่า ‘การท�ำงานอนุรักษ์ก็เหมือนการวิ่ง มาราธอน ซึ่งไม่มีวันจบวันสิ้นสุด และไม่รู้ว่าเส้นชัยจะอยู่ที่ตรง ไหน’ ซึ่งสร้างความเหนื่อยล้าจนมีคนถอดใจมาแล้วนักต่อนัก แต่ ไม่ใช่กับ นิตยา วงศ์สวัสดิ์ และ อนงค์รัตน์ เพชรสัมฤทธิ์ ซึ่งเธอทั้ง สองยืนยันว่า หากท�ำงานที่รัก แม้จะเหน็ดเหนื่อย แต่มันก็ไม่เคย ท�ำให้ถอดใจ ทั้งสองคนรู้จักกันครั้งแรกที่ชมรมอนุรักษ์ มหาวิทยาลัย รามค�ำแหง ชมรมแห่งนี้ได้หล่อหลอมให้ทั้งคู่มีใจรักธรรมชาติผ่าน การร่วมกิจกรรม โดยอนงค์รัตน์บอกเล่าเรื่องราวการเริ่มต้นชีวิต ของเส้นทางนักอนุรักษ์ให้ฟังว่า “เราเป็นพี่น้องที่รู้จักกันในชมรมอนุรักษ์นี่แหละ ก่อนจะ มาท�ำงานที่สืบก็เป็นอาสาท�ำกิจกรรมด้านอนุรักษ์หลายอย่าง มัน เหมือนเป็นพี่น้อง เป็นเครือข่ายกัน จนกระทั่งปี พ.ศ. 2533 หลังพี่ สืบเสีย มูลนิธิสืบก็ถูกก่อตั้งขึ้น เราก็ได้มาเป็นอาสาสมัครก่อน ตั้งแต่ในขณะที่ก็ยังเรียนอยู่ ตอนนั้นปีสุดท้ายแล้วใกล้จะจบแล้ว สมัยก่อตั้งมูลนิธิแรกๆ ไม่ได้มีเจ้าหน้าที่เยอะอย่างทุกวันนี้นะ มีแค่ ผู้จัดการมูลนิธิแล้วก็เลขาธิการมูลนิธิ เวลามีกิจกรรมซึ่งจะท�ำเป็น โครงการๆ ไปนะ ก็จะรับอาสาสมัครมาท�ำ” ด้วยการเข้าร่วมกิจกรรมไม่ว่าจะเป็นการบรรยายหรือ การเดินป่า กับบรรยากาศความเป็นกันเองแบบพี่น้องในชมรม อนุรักษ์ที่สอดแทรกเกร็ดความรู้เรื่องการอนุรักษ์ ซึ่งค่อยๆ หล่อ หลอมให้ทั้งสองเกิดความรักด้านงานอนุรักษ์ และการจากการ บรรยายกิจกรรมนี้เองที่ท�ำให้นิตยาและอนงค์รัตน์มีโอกาสได้รู้จัก กับวิทยากรที่ชื่อ สืบ นาคะเสถียร “ต้องบอกก่อนว่าเรารู้จักพี่สืบตั้งแต่เรียนปีหนึ่งแล้วนะ ปี 31 น่ะ พี่สืบมาบรรยายที่ชมรม เราก็รู้จักพี่สืบตอนนั้น แล้วก็ รู้จักมากขึ้นตอนค้านเขื่อนน�้ำโจนน่ะ”
เป็นเวลาเกือบ 20 ปีกับการเดินมาราธอนบนเส้นทาง อนุ รั ก ษ์ นิ ต ยาและอนงค์ รั ต น์ ผ ่ า นเหตุ ก ารณ์ ด ้ า นสิ่ ง แวดล้ อ มใน ประเทศไทยมานับไม่ถ้วน แต่เหตุการณ์ที่พวกเธอจ�ำไม่เคยลืมและ ถือว่าเป็นบทเรียนที่ยิ่งใหญ่บทหนึ่งของงานอนุรักษ์นั่นคือการคัดค้าน เขื่อนน�้ำโจน “ตอนนั้นเรายังเด็กนะ รู้สึกว่ามันสะเทือนใจมาก เราอาสา เข้าไปให้ข้อมูลตามที่เราค้นคว้ามา ตามที่พี่สืบอภิปรายบนเวที แต่ โดนชาวบ้านด่าเพราะเขาไม่เข้าใจว่าเราเข้าไปท�ำไม ข้อมูลที่จะให้ เขาตัดสินใจมันก็มีน้อย ไม่เหมือนสมัยนี้ที่ชาวบ้านมีการค้นคว้า ข้อมูลด้วยตัวเขาเอง มันเลยเป็นบทเรียนว่างานอนุรักษ์จะส�ำเร็จไม่ ส�ำเร็จได้มันต้องอาศัยความร่วมมือจากคนในพื้นที่ด้วย กรณีน�้ำโจนนี่ ชัดเจนมาก เป็นเหมือนการพลิกหน้าประวัติศาสตร์ใหม่เลยในสมัย นั้นนะที่พลังของคนในชุมชนสามารถล้มโครงการของรัฐใหญ่ๆ แบบ นั้นได้ ฉะนั้น มันพิสูจน์แล้วว่าถ้าชุมชนเข้มแข็งเราก็จะสามารถ รักษาป่าไว้ได้ เราจึงควรให้ความส�ำคัญกับคนในพื้นที่โดยรอบพื้นที่ที่ เราต้องการท�ำงานอนุรักษ์ด้วย” นิตยากล่าว หากเปรียบเทียบพัฒนาการของงานอนุรักษ์กับ 20 ปีที่ แล้ว ทั้งอนงค์รัตน์และนิตยาให้ความเห็นว่าแม้งานจะอนุรักษ์จะมี การพัฒนาขึ้นแต่ปัญหาเองก็พัฒนาขึ้นเช่นเดียวกันตามความเจริญ ของเทคโนโลยี อีกประการหนึ่งคือแม้เราจะท�ำงานกระตุ้นจิตส�ำนึก ให้รับรู้ถึงปัญหาของสิ่งแวดล้อมมากเพียงไร และถึงแม้ประชาชนจะ มีแนวโน้มในการรับรู้ปัญหามากยิ่งขึ้น แต่เพราะความนิ่งเฉย คิดว่า ไม่ใช่ปัญหาของตน จึงท�ำให้ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมไม่ได้รับการแก้ไข ด้วยแนวทางที่ถูกที่ควรอย่างอย่างยั่งยืนเสียที เพราะเหตุนี้จึงท�ำให้งานอนุรักษ์ไม่มีวันจบสิ้นเปรียบได้กับ การวิ่งมาราธอนนั่นเอง แต่ถึงอย่างนั้นนิตยาและอนงค์รัตน์ก็ยัง ยืนยันว่าพวกเธอไม่เคยเหนื่อยกับการวิ่งมาราธอนบนเส้นทางสายนี้ ด้วยพวกเธอเลือกแล้วและไม่ใช่แค่เลือก แต่พวกเธอยังรักงานที่พวก เธอท�ำ “เราต้องรักงานที่เราท�ำด้วยนะ เพราะเรารักงานที่เราท�ำนี่ แหละ มันจึงไม่มีค�ำว่า ‘ทนท�ำ’ เราก็จะมีความสุขในสิ่งที่เราท�ำ ไอ้สุข ทุกข์มันมีอยู่แล้วแหละ แต่เพราะเรารักในงานที่เราท�ำนี่แหละ ถึงเรา จะไม่ได้อยู่แถวหน้าแต่อย่างน้อยเราก็ภูมิใจที่ได้เป็นเบื้องหลังในการ เปลี่ยนแปลงอะไรในสังคมในทางที่ดี พี่ว่าพี่ก็มีความสุขแล้วนะ” ปัจจุบัน นิตยา วงศ์สวัสดิ์ ด�ำรงต�ำแหน่งผู้จัดการมูลนิธิ โลกสีเขียว และ อนงค์รัตน์ เพชรสัมฤทธิ์ ด�ำรงต�ำแหน่ง เจ้าหน้าที่ ฝ่ายกิจกรรมประจ�ำมูลนิธิโลกสีเขียวเช่นเดียวกัน โดยทั้งสองยัง ยืนยันถึงเจตนารมณ์ด้านการท�ำงานอนุรักษ์ว่ายังมีความสุขบนเส้น ทางนี้อยู่ แม้จะหกล้มบ้าง แต่ก็ไม่ขอยอมแพ้และหยุดวิ่งบนเส้นทาง นี้อย่างแน่นอน
นริศ บ้านเนิน
ผู้คนที่หลากหลายคือความท้าทายกับงานอนุรักษ์ นริ ศ บ้ า นเนิ น เจ้ า หน้ า ที่ ภ าคสนามมู ล นิ ธิสื บ นาคะเสถี ย ร ประจ�ำพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี หนุ่มใหญ่อารมณ์ดีจากเมืองจันทบุรี ที่หลง ไหลในป่าใหญ่ สถานที่แห่งเรื่องราวอันหลากหลาย พร้อมกับอุปนิสัยที่ ชอบความท้าทายและสนุกในการท�ำงานร่วมกับผู้คนมากมาย นริศ ร่วมงานกับทางมูลนิธิฯ มากว่า 10 ปี เริ่มต้นท�ำงานใน พื้นที่บ้านห้วยหินด�ำ จังหวัดสุพรรณบุรี ก่อนจะควบมารับงานในพื้นที่ จังหวัดกาญจนบุรี
“ผมเป็นคนที่ชอบท�ำงานกับชุมชนและผู้คนที่หลากหลาย การ ลงมาประจ�ำพื้นที่เพื่อท�ำงานอนุรักษ์ไม่ใช่แค่การท�ำงานกับป่าอย่างเดียว แต่มันต้องเริ่มต้นตั้งแต่การท�ำงานร่วมกับชุมชนและผู้คนที่อยู่กับป่าด้วย ไม่จะเป็นการผูกมิตรกับคนในพื้นที่ ปรับทุกข์ปรับสุขรับฟังเรื่องราวปัญหา ต่างๆ ของเขา สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องส�ำคัญที่จ�ำเป็นต้องท�ำส�ำหรับงาน อนุรักษ์ เพราะมีส่วนเชื่อมโยงกันทั้งหมด”
นริศเล่าถึงการท�ำงานในบางพื้นที่ว่ามีแรงเสียดทานสูงมาก เพราะชาวบ้านกับเจ้าหน้าที่กรมป่าไม้มี ความขัดแย้งกันสูง ก่อนนั้นเมื่อชาวบ้านกระท�ำความผิดเจ้าหน้าที่จะจับกุมทันที โดยไม่มีการพูดคุยอะไรทั้งสิ้น จึงต้องใช้เวลาพอสมควรในการปรับตัวกับชาวบ้าน “ผมเข้ามาท�ำงานในพื้นที่ช่วงแรกๆ ชาวบ้านส่วนใหญ่คิดว่าเจ้าหน้าที่มูลนิธิสืบฯ คือพวกเดียวกันกับ เจ้าหน้าที่กรมป่าไม้ คิดว่าเราเป็นสายสืบเข้ามาสืบหาข้อมูล และถูกมองว่าเข้ามาเพื่อท�ำการจับกุมชาวบ้านที่ บุกรุกป่า ชาวบ้านจึงยังไม่เปิดใจยอมรับเราในช่วงแรก หลังจากนั้นเราจึงเริ่มต้นด้วยการชักชวนชาวบ้านบางคน ที่เราคุยได้ให้เข้ามาพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ เมื่อเกิดการพูดคุยกันระหว่างเจ้าหน้าที่และชาวบ้านก็เป็นสัญญาณอันดี ว่าทั้งสองฝ่ายเริ่มเปิดใจ ช่วยให้งานของเราท�ำได้ง่ายขึ้น” กลวิธีการพูดคุยกับชาวบ้านนั้นเป็นสิ่งส�ำคัญ นริศ อธิบายว่า “การพูดคุยนั้นจะต้องเข้าใจง่าย กระชับ และต้องให้เขาเห็นรูปธรรมหรือประโยชน์ที่เกิดจากการช่วยดูแลทรัพยากร ในความคิดของเราคือต้องท�ำงานเพื่อ รักป่าเอาไว้ให้ได้อยู่แล้ว แต่ชาวบ้านเขาคิดถึงเรื่องปัญหาปากท้อง คิดว่าลูกเมียเขาจะอยู่อย่างไร เพราะฉะนั้น การหาจุดร่วมที่ทุกฝ่ายจะได้ประโยชน์ร่วมกันจึงส�ำคัญ” “อีกเรื่องที่ส�ำคัญไม่แพ้กันคือต้องเรียนรู้งานให้ครบ ในผู้คนหลากหลายระดับด้วย เพราะการท�ำงาน อนุรักษ์ใช่ว่าจะต้องท�ำงานแค่เพียงกับชาวบ้านหรือแค่กับเจ้าหน้าที่ แต่รวมถึงหน่วยงานต่างๆ ที่เข้ามาท�ำงาน ร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นอ�ำเภอ จังหวัด เพราะทุกภาคส่วนเชื่อมโยงกันหมด” นริศเล่าถึงงานอนุรักษ์ว่า ปกติงานอนุรักษ์เป็นเรื่องของเจ้าหน้าที่ แต่ทุกวันนี้งานอนุรักษ์คือเจ้าหน้าที่ กับชาวบ้าน หลังจากเริ่มมีการบริหารจัดการการใช้ทรัพยากรอย่างเป็นระบบร่วมกัน ทิศทางการอนุรักษ์ก็ดีขึ้น ซึ่งแตกต่างจากเมื่อก่อนที่มีเท่าไหร่ก็ใช้หมด “เมื่อมีการจัดระบบมีการจ�ำกัดว่าเก็บได้แค่ไหน จัดโซนพื้นที่ว่าสามารถเข้าไปถึงได้แค่ไหน เมื่อคนไม่ เข้าไปในพื้นที่ป่าใหญ่ ปัจจัยเสี่ยงของการท�ำลายทรัพยากรธรรมชาติก็น้อยลง” “ชาวบ้านไม่ได้คิดว่าป่าใหญ่ตะวันตกจะต้องมีเสือ มีช้าง มีกวาง แต่คิดว่ารอบๆ บ้านของเขา หลังบ้าน ของเขาได้ประโยชน์อะไรจากป่าที่สมบูรณ์ขึ้น เขาได้กินอิ่มได้นอนหลับ เขาก็เริ่มเห็นการท�ำงานของเราว่าได้ผล ก็เปลี่ยนพฤติกรรมจากเมื่อก่อนที่เป็นผู้ลักลอบกลายเป็นผู้ใช้อย่างมีระเบียบ ได้ผลประโยชน์โดยตรงและมีส่วน ร่วมในการเป็นเจ้าของ ชาวบ้านเปลี่ยนความคิดไปในทางที่ดีขึ้น สังคมเปลี่ยน ความคิดของเจ้าหน้าที่ก็เปลี่ยนไป จากเดิม ทุกคนร่วมกันเป็นเจ้าของป่า และก็หันมาช่วยกันดูแลรักษาป่า” นริศพูดทิ้งท้ายไว้ว่าในเรื่องงานอนุรักษ์ในพื้นที่เป็นเรื่องส�ำคัญ เพราะการท�ำงานส่วนนี้ได้ใกล้ชิดกับ ชาวบ้านและชุมชน รวมถึงหน่วยงานจากภาครัฐอื่นๆ ภายในพื้นที่ หากสามารถรวบรวมข้อมูลในพื้นที่ได้มากกว่า ก็จะเป็นฐานข้อมูลส่งไปในเมือง ซึ่งข้อมูลเหล่านี้มีส่วนส�ำคัญเพราะว่าจะเป็นตัวก�ำหนดนโยบายต่างๆ ส่งลง มายังพื้นที่อีกที “งานขององค์กรอนุรักษ์ยังคงต้องมีอยู่ เพราะองค์กรอนุรักษ์จะช่วยจะสร้างสมดุลในสังคม หรือท�ำให้ เกิดแรงหน่วง เพื่อช่วยชะลอหรือส่งเสริมตามนโยบายเรื่องสิ่งแวดล้อม คือสังคมไทยเป็นสังคมในระบบการเท กระจาด หมายถึงเมื่อมีนโยบายอะไรสั่งการลงมาก็ทำ� ตามๆ กันไปทั้งหมด ไม่มีใครที่จะมาคัดค้านอะไรเพราะไม่ อยากมีปัญหา ฉะนั้นเราต้องมีองค์กรอนุรักษ์ที่คอยท�ำงานถ่วงดุลจุดนี้ไว้”
พื้นที่เขตอุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้า จังหวัดก�ำแพงเพชร เป็น พื้นที่มีการปรับเปลี่ยนหัวหน้าอุทยานฯ บ่อยครั้ง หรือแม้กระทั่งเจ้าหน้าที่ มูลนิธิสืบฯ ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา ก็มีการเปลี่ยนแปลงเจ้าหน้าที่เข้ามา ท�ำงานไม่ต�่ำกว่า 7 คน มนตรี กุญชรมณี เจ้าหน้าที่ภาคสนามมูลนิธิสืบนา คะเสถียร เขาเป็นอีกคนหนึ่งที่เคยเข้าไปฝังตัวอยู่ในพื้นที่ดังกล่าวเป็น เวลาถึง 4 ปี ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้ามีชุมชนชาติพันธุ์ม้งตั้ง รกรากอาศัยอยู่ ที่นั่นมนตรีพบว่าการบุกรุกพื้นที่ป่าเพื่อใช้เป็นพื้นที่ท�ำกิน ของชาวบ้านเป็นหนึ่งปัญหาหลักที่สั่งสมมานาน แม้ว่าในแต่ละปีจะมี อัตราการรุกเพิ่มที่ไม่สูง แต่หากว่ายังคงมีการรุกกันอยู่เรื่อยๆ นั่นแปลว่า เราจะเสียทรัพยากรไปอีกจ�ำนวนไม่น้อย เหนือสิ่งอื่นใด พื้นที่ดังกล่าวถูกการปล่อยปละละเลยเรื่องการ ดูแลมาเป็นเวลานานปัญหาจึงเกิดการสั่งสม หากจะแก้ไขกันในครั้งเดียว ก็ถือเป็นเรื่องยาก ส่วนหนึ่งของปัญหาอาจจะมาจากอุปสรรคเรื่องการ เดินทางเข้าไปในชุมชน ด้วยระยะทางที่ไกล และเส้นทางที่ค่อนข้าง ทุรกันดาร ท�ำให้การดูแลพื้นที่ดังกล่าวอาจท�ำได้ไม่เต็มที่เท่าที่ควรจะเป็น “อย่างแรกคือตัวพื้นที่อยู่ห่างไกลและเข้าถึงได้ยาก ไม่มีน�้ำ ประปาและไฟฟ้าใช้ ถนนหนทางที่เข้ามาท�ำงานเมื่อช่วง 4 ปีก่อนนั้นมี ความยากล�ำบากต่อการเดินทาง เพราะสามารถเดินทางเข้าออกได้ทาง เดียว ช่วงฤดูฝนถนนจะลื่นมาก ผมกับมอเตอร์ไซต์คู่ใจล้มกันไปไม่รู้กี่ครั้ง ถ้าขี่ช้ารถจะเร่งไม่ขึ้นแต่ถ้าขี่เร็วไปอาจแฉลบลงเหวข้างทางได้” มนตรี เล่าพลางหัวเราะถึงประสบการณ์การใช้ถนนเดินทางท�ำงานเมื่อช่วงปี ก่อน อีกหนึ่งความยากล�ำบากคือการท�ำงานในพื้นที่ต่างภาษาและ วัฒนธรรม ชาวบ้านส่วนใหญ่เป็นชาติพันธุ์ม้งและกะเหรี่ยง แน่นอนว่ามี ความแตกต่างกันมากในการใช้ชีวิต ไม่ว่าจะเป็นทางด้านวัฒนธรรมหรือ ภาษาที่ใช้ ซึ่งเป็นอุปสรรคในการท�ำงานอีกอย่างหนึ่งเช่นกัน เมื่อเป็นปัญหาก็ต้องแก้ มนตรีพูดถึงในประเด็นนี้ว่า “แม้จะมี ความแตกต่างกันทางด้านวิถีชีวิตวัฒนธรรมภาษา แต่เราจ�ำเป็นต้อง ท�ำความรู้จักกับชาวบ้านเพราะว่ามันเป็นงานของเรา งานที่เราต้องท�ำ พื้นที่คลองวังเจ้านี้มีประชากรทั้งหมดอยู่ประมาณ 70 กว่าครัวเรือน ผม ต้องเดินไปพูดไปคุยกับชาวบ้านแทบจะทุกหลังเพื่อสร้างความคุ้นเคย ต้องเข้าหาผู้หลักผู้ใหญ่หรือแกนน�ำในหมู่บ้าน บางครั้งก็ต้องใช่ล่ามในการ สื่อสารเพื่อให้การท�ำงานเป็นไปด้วยความราบรื่น” นอกจากเรื่ อ งการเดิ น ทางและวั ฒ นธรรมที่ แ ตกต่ า ง พื้ น ที่ อุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้าซึ่งมีเขตติดต่ออยู่กับพื้นที่จังหวัดตาก มีศูนย์ อพยพอุ้มเปี่ยมซึ่งมีเรื่องเกี่ยวโยงกับการค้ามนุษย์ และเป็นพื้นที่ล�ำเลียง หรือพักยาเสพติดถือได้ว่ามีความเสี่ยงและอันตรายเป็นอย่างมากส�ำหรับ พื้นที่ท�ำงาน แต่เมื่อมันเป็นงาน เราก็ต้องท�ำ มนตรีย�้ำค�ำนั้นอีกครั้ง “งานตรงนี้เราต้องมีความเสียสละ ด้วยพื้นที่อยู่ห่างไกลจาก บ้าน ไม่มีสิ่งอ�ำนวยความสะดวกสบาย เป็นคนต่างถิ่นต้องมาเรียนรู้ต้อง ท�ำความเข้าใจกับชุมชุนรวมทั้งภาครัฐ อย่างครอบครัวผมทั้งภรรยาและ ลูกอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่ จะกลับบ้านก็ต้องเป็นวันหยุดยาว ต้องค�ำนว นกับเวลาว่าคุ้มหรือเปล่าถ้าหากกลับ แต่ด้วยหน้าที่การงานเราก็ต้องยอม เสียสละในจุดนี้”
มนตรี กุญชรมณี
พื้นที่อันห่างไกลกับใจนักอนุรักษ์
อุดม กลับสว่าง คนกับป่าและงานอนุรักษ์
อุดม กลับสว่าง เจ้าหน้าที่มูลนิธิสืบนาคะเสถียรประจ�ำพื้นที่จังหวัดอุทัยธานี เขา เป็นคนที่สนใจการท�ำงานเรื่อง ‘คนกับป่า’ มาตั้งแต่สมัยยังเป็นนักศึกษา ด้วยความเชื่อที่ว่า “การที่จะอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและรักษาป่าให้คงไว้ได้นั้น สิ่งส�ำคัญคือการต้องท�ำให้ ชุมชนและคนที่อยู่กับป่าอยู่ร่วมกันได้” อุดมได้เล่าถึงจุดเริ่มต้นของการท�ำงานในเรื่อง “คน กับป่า” ว่า “เริ่มตั้งแต่สมัยที่ยังเป็นนักศึกษา เพราะเคยมีโอกาสเข้าไปศึกษาเรื่องคนกับป่า ในพื้นที่โละโคะ เขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้า จังหวัดก�ำแพงเพชร หากย้อนไปใน ช่วงที่ผมได้ท�ำการศึกษาอยู่ ตอนนั้นมูลนิธิสืบฯ ยังไม่ได้มีการด�ำเนินงานเรื่องคนกับป่า จน มาช่วงสิบกว่าปีก่อนที่ทางมูลนิธิสืบฯ ได้ท�ำโครงการ ‘จอมป่า’ (โครงการจัดการพื้นที่ คุ้มครองอย่างมีส่วนร่วมในผืนป่าตะวันตก) ขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องที่เราสนใจ และยังมีเพื่อนอีก หลายคนที่สนใจไปในทิศทางเดียว จึงคิดว่าน่าจะสนุกถ้าได้ร่วมกันท�ำงานเรื่องคนกับป่า ร่วมกับมูลนิธิสืบฯ” เหตุผลส�ำคัญที่ท�ำให้อุดมสนใจงานเรื่องคนกับป่า คือการที่เขาไม่เห็นด้วยกับวิธี การไล่คนออกจากป่าเพื่อรักษาป่า ประเด็นนี้ท�ำให้อุดมเกิดค�ำถามขึ้นในใจว่าถ้าเอาคนออก จากป่า แล้วจะให้คนเหล่านั้นไปอยู่ที่ไหน เขามองว่าเรื่องสิทธิชุมชนเป็นสิ่งที่ควรต้องมี และการแก้ปัญหาเรื่องคนในป่าควรเป็นการบริหารจัดหารให้คนอยู่กับป่าได้อย่างฉันท์มิตร ไม่ใช่การขับไล่ “เมื่อมีคนกับป่าโดยหลักการก็ต้องมีคนเข้าไปใช้ประโยชน์จากป่าอยู่แล้ว ไม่ว่า จะเก็บหาของป่าหรือการบุกรุกป่าเพื่อหาพื้นที่ท�ำกิน เพราะฉะนั้นสิ่งที่เราท�ำอยู่ในทุกวันนี้ ไม่ว่าจะเกี่ยวกับป่าหรือคน ทั้งการรักษาป่าที่เหลืออยู่ไว้ให้ได้ เหลือเรื่องของการหนุนเสริม อาชีพให้กับชุมชนที่อยู่ติดกับป่า ล้วนแล้วแต่เป็นเรื่องการรักษาป่าโดยตรงทั้งหมด เมื่อคน อยู่ได้เขาก็จะลดการลดพึ่งพิงจากป่า จึงถือได้ว่านี่เป็นงานอนุรักษ์ที่ส�ำคัญอย่างหนึ่ง” เมื่อถามถึงคนเมืองกับป่าว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกันอย่างไร และคนเมืองกับป่า สามารถมีส่วนช่วยในเรื่องงานอนุรักษ์ทรัพยากรทางธรรมชาติได้ไหม อุดมได้ให้ความเห็น ว่า “คนเมืองส่วนใหญ่ไม่ค่อยสนใจเรื่องงานอนุรักษ์เท่าที่ควร และมีส�ำนึกในเรื่องนี้ น้อยมาก ส่วนใหญ่จะอยู่ในบริบทของการร้องขอเสียมากกว่า และไม่เคยคิดโทษตัวเองว่าก็ มีส่วนส�ำคัญต่อปัญหาทรัพยากรโดยตรง เมื่อน�้ำแล้งไม่มีน�้ำใช้เขาก็โทษว่าเกิดจากการ ท�ำลายป่า แต่ไม่เคยไตร่ตรองว่าในการกินการใช้การบริโภคของตัวเองนั้นเมื่อส่วนที่ส่ง ผลกระทบต่อการท�ำลายป่าหรือไม่” “เราปฏิเสธไม่ได้ว่าการรักษาทรัพยากรในทุกวันนี้ เป็นเรื่องของการแบ่งปันผล ประโยชน์ระหว่างคนกับป่า คือถ้ารักษาป่าไว้ได้คนจะได้ประโยชน์อะไร คือถ้าคนไม่รู้ว่า รักษาป่าแล้วได้ประโยชน์อะไรก็คงไม่มีใครอยากจะช่วยดูแล คือทุกวันนี้เราต้องมานั่งคุย กันแบบที่ว่าถ้ารักษาป่าใครจะได้ประโยชน์อะไรบ้าง ต้องมาเฉลี่ยแบ่งสันปันส่วน ให้คน เห็นภาพว่าถ้าเขาดูแลรักษาป่า แล้วประโยชน์ที่คนจะได้มีอะไรบ้าง”
พัชราภรณ์ ต๊ะกู่
ดอกไม้งามประจ�ำถิ่นอุ้มผาง หากเอ่ยถึง เจ้าหน้าที่ภาคสนามของมูลนิธิสืบนาคะเสถียร ที่ต้องท�ำงานในป่าเป็นหลักเพื่อ ร่วมประสานงานระหว่างภาครัฐกับชุมชน หลายคนอาจจะคิดถึงภาพชายร่างใหญ่ สมบุกสมบัน ลุยไป ได้ทุกที่ไม่มีหวาดหวั่น นอนกลางดินกินกลางทราย โดยหารู้ไม่ว่า ‘พัชราภรณ์ ต๊ะกู่’ หญิงสาวชาวปา กะญอ ก็เป็นหนึ่งในเจ้าหน้าที่ภาคสนามประจ�ำเขตอุ้มผางที่มีความสามารถและศักยภาพในการท�ำงาน ไม่แพ้เพศชายเลย “พี่ท�ำงานที่นี่มา 8 ปีแล้ว ตอนนั้นพี่เคยท�ำงานในเมืองแล้วค่ากินค่าอยู่อะไรมันก็ไม่พอ เพราะเราจบแค่ ม.3 เลยกลับมาอยู่บ้าน อย่างน้อยมันก็ไม่ต้องเสียค่าเช่า แล้วพี่ก็ได้รู้จักกับนายก อบต. เลยถามว่าพอจะมีงานให้ท�ำไหม นายกก็น�ำให้รู้จักกับพี่ตือ (ยุทธชัย บุตรแก้ว เจ้าหน้าที่ภาคสนามมูลนิธิ สืบนาคะเสถียร พื้นที่ อ.อุ้มผาง จ.ตาก) ก็ชวนพี่เข้ามาท�ำในต�ำแหน่งแม่บ้านนะ เราก็ท�ำได้หมดนั่น แหละ ถึงค่าตอบแทนจะไม่มากก็ยังดีกว่าท�ำงานในเมืองแต่ไม่มีเงินเหลือเก็บเลย”
จากต�ำแหน่งที่เคยระบุไว้ว่าเป็นแม่บ้าน เปลี่ยนมาเป็นอาสา มูลนิธิอยู่ 3 ปี ก่อนจะเลื่อนมาเป็นผู้ประสานงานโครงการผ้าทอ จนใน ปัจจุบันพัชราภรณ์ท�ำงานในต�ำแหน่งเจ้าหน้าที่ภาคสนามเขตอุ้มผาง ซึ่ง เจ้าตัวระบุว่าเป็นความรู้สึกภาคภูมิใจอย่างมากที่ได้มีโอกาสเข้ามาท�ำงาน ซึ่งสามารถช่วยชาวบ้านที่เปรียบเสมือนพี่น้องของเธอเองได้ แม้ในตอน นั้นเธอเองจะยังไม่ส�ำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีก็ตาม ความเป็นหญิงที่มีจิตใจละเอียดอ่อน แต่ภายในกลับเข้มแข็ง และแข็งแกร่งอย่างที่ขัดกับภาพลักษณ์ภายนอกอย่างเห็นได้ชัด ท�ำให้พัช ราภรณ์หลงรักงานนี้และยิ่งกว่านั้นคือการได้น�ำผ้าทอของพี่น้องกะเหรี่ยง ในพื้นที่อุ้มผางและเขตทุ่งใหญ่ด้านตะวันออกน�ำออกมาเผยแพร่สร้างราย ได้อีกทางหนึ่งให้กับชาวบ้านภายในพื้นที่ เธอบอกว่า เธอภูมิใจอย่างมากที่ ได้มีโอกาสน�ำวิถีชีวิตของชาวบ้านออกมาเผยแพร่ให้คนภายนอกรู้จัก “โครงการผ้าทอเริ่มต้นจากก่อนหน้านี้พี่ตือ กับทีมงานเข้าไปท�ำ ในภาคสนามอยู่ก่อนแล้ว และได้ไปเห็นวัฒนธรรมวิถีชาวบ้านหลายอย่าง หนึ่งในนั้นคือการทอผ้า ซึ่งชาวบ้านจะทอใส่กันเองอยู่แล้วทุกวัน พอเจ้า หน้าที่ภาคสนามได้เข้าไปเห็น เราก็มีความคิดว่าเราจะท�ำยังไงให้ชาวบ้าน ใช้ชีวิตประจ�ำวันของเขาไปพร้อมๆ กับการร่วมรักษาป่า หมายความว่า ชาวบ้านสามารถหารายได้จากการที่ไม่เข้าไปบุกรุกป่า” จุดประสงค์หลักของโครงการผ้าทอคือเพื่อสนับสนุนให้ชาว บ้านในพื้นที่มีรายได้ แต่ผลพลอยได้ที่ตามมาคือการบุกรุกพื้นที่ลดลง โดย ก่อนหน้าที่จะเกิดโครงการจัดการพื้นที่อย่างมีส่วนร่วมในผืนป่าตะวันตก หรื อ โครงการจอมป่ า ขึ้ น ชาวบ้ า นในพื้ น ที่ ด� ำ รงชี วิ ต ด้ ว ยการท� ำ ไร่ หมุนเวียน ปลูกพืชเชิงเดี่ยว ถางป่าเพื่อขยายพื้นที่ท�ำไร่ แม้ในตอนแรก ชาวบ้านจะไม่เข้าใจถึงจุดประสงค์การเข้ามาของเจ้าหน้าที่มูลนิธิ ก่อให้ เกิดความขัดแย้งในพื้นที่ทั้งระหว่างชาวบ้านกับเจ้าหน้าที่รัฐและชาวบ้าน กับเจ้าหน้าที่มูลนิธิในระดับสูงมาก แต่ในปัจจุบันได้เกิดการสร้างกติกา ชุมชนร่วมกันระหว่างชาวบ้านกับคนท�ำงานอนุรักษ์ และมีโครงการผ้าทอ เป็นการเพิ่มรายได้ให้เขาอีกทางหนึ่ง ส่งผลให้ความตึงเครียดและความ ขัดแย้งในพื้นที่ลดลงในที่สุด แม้จะเป็นแค่ผู้หญิงตัวเล็กๆ แต่ความพยายามท�ำให้พัชราภรณ์ สามารถเดินตามความฝันของตนเองได้ทั้งการศึกษาในระดับปริญญาตรีที่ อีกไม่นานก็จะส�ำเร็จตามหลักสูตรและตามความตั้งใจ ความคาดหวังใน การท�ำงานซึ่งเปรียบเป็นลมหายใจของเธอคือการท�ำให้กลุ่มผ้าทอมีความ เข้มแข็ง สร้างงานที่สร้างรายได้สม�่ำเสมอ ต่อให้ในอนาคตเธอไม่ได้ ท�ำงานมูลนิธิอีกต่อไปแล้วแต่กลุ่มผ้าทอก็ยังด�ำเนินต่อไปได้ เพื่อที่ชาว บ้านจะไม่ต้องกลับไปบุกรุกป่าอีก
สมบัติ ชูมา
งานอนุรักษ์บนความศรัทธาและความเชื่อ
“ในนิยามของผม 30 ป่า คือ ก�ำแพงหน้าด่านก่อนที่จะ ทะลุเข้าไปในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง และสามารถที่จะ รองรับความต้องการของคนได้ สามารถรักษา เยียวยา คนในพื้นที่ อย่างชุมชนที่ต้องใช้ประโยชน์ เป็นผ่าที่ลดแรงปะทะ เป็นแนว กันชนกับเขตรักษาพันธุ์ฯ ถ้าเราจะหยุดปัญหาการรุกล�้ำป่า หรือการ ล่าสัตว์ เราจะท�ำงานแค่ในพื้นที่หมู่บ้านเป้าหมายอย่างเดียวไม่ได้ แต่เราต้องท�ำผืนป่าตลอดทั้งแนว” สมบัติ ชูมา อดีตหัวหน้าภาคสนามมูลนิธิสืบนาคะเสถียร จังหวัดอุทัยธานี ผู้เล็งเห็นความส�ำคัญของแนวป่ากันชนภายใน หมู่บ้านจนเป็นแนวคิดเริ่มต้นที่มาของโครงการ 30 ป่า รักษาทุกโรค สมบัติเล่าว่าชีวิตตั้งแต่เป็นวัยรุ่นของเขาอยู่จัดอยู่ในกลุ่มเด็กเกเรมา โดยตลอด เขาเป็นชาวอุทัยธานีโดยก�ำเนิด เรียนที่นี่จนจบประถม 4 และเส้นทางความเกเรของเขาก็ เริ่มตั้งแต่เข้าเรียนประถม 5 ที่ กรุงเทพฯ เขาก็ถูกจับเขาสถานพินิจจากการทะเลาะวิวาท แต่การที่ เขาได้เข้าไปอยู่ในนั้นนั่นเองที่ท�ำให้สมบัติมองเห็นเรื่องปัญหาของ การกดขี่ที่เขาบอกว่าการกดขี่นี้มันมีอยู่ทุกพื้นที่ เขาจึงมองหาวิถีทาง ที่จะสร้างความเท่าเทียมในสังคมจากการตระเวนหาความหมายใน ชีวิตผ่านการท�ำงานศิลปะที่ภาคเหนือ ภาคอีสาน การเข้าร่วมม็อบ แต่สมบัติกลับไม่พบความต้องการที่ชัดเจนของตนเอง แต่เขารู้เพียง อย่างเดียวในตอนนั้นคือ ‘เขาต้องกลับบ้าน’ สมบั ติ รู ้ จัก มูล นิธิสืบนาคะเสถีย รครั้ง แรกจากการออก รายการโทรทัศน์ของอาจารย์รตยา จันทรเทียร ประธานมูลนิธิสืบฯ ซึ่งพูดคุยเรื่อง พ.ร.บ. ป่าชุมชนผ่านช่อง 11 ในปี 2543 ในตอนนั้น สมบัติออกตัวว่าเขายืนอยู่คนละฝั่งกับแนวความคิดของมูลนิธิสืบฯ ทว่าจากการได้รับฟังความเห็นของอาจารย์รตยาในตอนนั้นท�ำให้ สมบัติเลือกที่จะติดตามงานของมูลนิธิฯ ต่อมาเรื่อยๆ “ผมมารู้จักมูลนิธิเมื่อปี 2543 ตอนที่ไปงานร�ำลึกสืบ เห็น อาจารย์รตยาแล้วรู้สึก เฮ้ย เพราะผมเป็นคนที่มองคนด้วยบุคลิก
และวิธีคิด วิธีพูด แล้วผมชอบที่วิเคราะห์คน ประกอบกับคนที่ผม นับถือแล้วได้มีโอกาสคุยกับเขาท�ำให้เข้าใจในสิ่งที่มูลนิธิท�ำ วัน หนึ่งผมได้มีโอกาสคุยกับพี่ที่เขาท�ำงานต่อสู้เรื่องป่าแล้วแต่ละคน มีแนวคิดที่ชัดเจน จนผมย้อนกลับมามองตัวเองผมเลยพบว่าตัว ผมเองไม่มีอะไรที่ชัดเจนเลย” สมบัติทบทวนความต้องการของตนเอง ประกอบกับ การได้พบ พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดปราชญ์ชาวบ้านหลายต่อ หลายคนที่เป็นแรงบันดาลใจให้เขาลงท�ำงานในชุมชนจนสนิทกับ ชาวบ้านก่อนที่จะมาท�ำงานให้กับมูลนิธิสืบฯ ในที่สุด “ผมเป็นคนชอบพูดคุยกับชาวบ้าน ชอบที่จะเข้าหาชาว บ้าน เวลาชาวบ้านมีปัญหาผมจะรีบลงไปเลยนะ เมื่อก่อนตอน ลงพื้นที่ใหม่ๆ ใครมีปัญหา ลูกเล็กเด็กแดงเจ็บป่วยก็จะรีบเข้าไป ถ้าได้ข่าวตรงไหนมีการตัดไม้ผมก็จะรีบเข้าไปเช่นกัน เพื่อคุยหา วิธีการแก้ปัญหา อย่างเรื่องรั้วมนุษย์เนี่ย ผมเข้าไปท�ำความเข้าใจ กับชาวบ้านว่า เขา ซึ่งเป็นบุคคลโดยรอบป่าชุมชนเป็นบุคคล ส�ำคัญนะ เลยต้องเป็นรั้วอีกชั้นหนึ่ง ถ้าเป็นรั้วไม้ธรรมดาเพียง อย่างเดียวแต่มนุษย์ไม่เอาตัวเองเป็นรั้วป้องกันป่าอีกชั้นหนึ่งเรา จะรักษาป่าไว้ไม่ได้แน่นอน” เขาจึงเชื่อมั่นเรื่องการอยู่ร่วมกันระหว่างคนกับป่า ที่ไม่ ได้มีใครมีอ�ำนาจเหนือกว่าใคร หากแต่เราต้องอาศัยเกื้อกูลกัน เรา ต้องท�ำหน้าที่ดูแลปกป้องป่า ขณะที่ป่าก็จะท�ำหน้าที่ดูแลมนุษย์ เราให้มีลมหายใจ มีน�้ำ มีอาหาร ซึ่งในปัจจุบันสมบัติก็ยังท�ำงาน ด้านสิ่งแวดล้อมร่วมกับชาวบ้านอยู่ โดยเขาหวังว่าการท�ำงานของ เขาที่ท�ำอย่างต้องเนื่องต้องท�ำด้วยศรัทธาและความเชื่อมั่นจะก่อ ให้เกิดความยั่งยืนในการอยู่ร่วมกันระหว่างคนกับป่าในสักวัน “ผมก็ยังท�ำงานไปเรื่อยๆ ผมคิดว่าเราต้องมีความเชื่อ มั่นและศรัทธาในสิ่งที่เราเชื่อว่าวันหนึ่งมันต้องเกิดและมาถึง”
อรยุพา สังขะมาน
งานอนุรักษ์บนความศรัทธาและความเชื่อ
“อยากเป็นเหมือนคนนี้” สาวน้อยวัย 7 ขวบ พูดกับแม่ ของเธอ หลังจากได้อ่านหนังสืออนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ สืบ นาคะเสถียร ที่แม่ของเธอน�ำมาให้ หนังสือเล่มดังกล่าวประกอบ ไปด้วยเรื่องราวประวัติของสืบ ภาพสัตว์ต่างๆ ที่สืบเคยช่วยเหลือ ออกมาจากโครงการเขื่อนเชี่ยวหลาน นี่เป็นจุดเริ่มต้นให้ อรยุพา สังขะมาน เจ้าหน้าที่ฝ่ายวิชาการมูลนิธิสืบนาคะเสถียร สนใจใน เรื่องสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติ เธอย้อนกลับไปเล่าเรื่องราวในวัย เยาว์ให้ฟังว่า “ครั้งแรกที่ได้อ่านหนังสือเล่มนั้นจากแม่ เมื่ออ่านจบแล้ว รู้สึกชอบมากอยากเป็นเหมือนคุณสืบ แต่ด้วยความที่ยังเด็กอาจจะมี ช่วงที่ความสนใจลดน้อยลงหรือห่างหายไปบ้าง จนช่วงเรียนมัธยม ปลายเข้ า เรี ย นสายศิ ล ป์ ซึ่ ง มี วิ ช าชี ว วิ ท ยาอยู ่ ด ้ ว ย เรื่ อ งราว ธรรมชาติสัตว์ป่าจึงกลับคืนมาอีกครั้ง เราเรียนแล้วรู้สึกชอบและ สนุกทุกครั้งที่ได้เรียนโดยเฉพาะเรื่องราวเกี่ยวกับสัตว์ที่ชอบอ่าน ชอบศึกษาเป็นพิเศษ พอเข้าเรียนในระดับมหาวิทยาลัยเรื่องราวที่ เคยพูดกับแม่ในวันนั้นก็ยังดังก้องอยู่ในใจของเรามาเสมอ” เมื่ อ เข้ า ศึ ก ษาในระดั บ มหาวิ ท ยาลั ย แม้ จ ะมี ค วาม หลงใหลในเรื่องสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและสัตว์ป่า แต่เธอกลับต้อง เลือกเรียนนิติศาสตร์ ด้วยเหตุผลของทางบ้านที่อยากให้เธอมีความ รู้ด้านกฎหมาย หลังจากเรียนจบเธอได้เข้าฝึกทนายเพื่อสอบตั๋ว ทนายซึ่งใช้เวลาเกือบปี ในช่วงเวลานี้เธอยังมีกลุ่มเพื่อนจากเว็บไซต์ ที่ ชั ก ชวนกั น ไปดู สั ต ว์ ไ ปถ่ า ยรู ป สั ต ว์ เพื่ อ ศึ ก ษาและแลกเปลี่ ย น ข้อมูลกันอยู่ตลอด อีกทั้งยังเคยลาจากการฝึกทนายไปเป็นอาสา สมัครนับเหยี่ยวอพยพที่เขาเรดาร์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ รวมถึง อาสาสมัครท�ำงานวิจัยชะนีมือขาวของทางมหาวิทยาลัยมหิดลที่จัง หวัดแม่ฮองสอนเป็นเวลาร่วมปี “ช่วงที่ฝึกทนายนั้นค่อนข้างที่จะรู้ตัวเองชัดแล้วว่าเรา ชอบอะไรไม่ชอบอะไร ในช่วงนั้นเป็นช่วงที่ต้องไปศาลบ่อยมากโดย ส่วนใหญ่ได้ไปเป็นผู้ช่วยทนายของจ�ำเลย เข้าไปศาลบ่อยจนรู้สึกว่า กดดันและเครียด ด้วยความที่เรายังเป็นเด็ก เวลาไปติดต่อประสาน งานในศาลก็จะเจอแต่คนพูดจาแย่ๆ เจอคนที่พูดจาไม่เคารพกัน ช่ ว งนั้ น ท� ำ ให้ รู ้ สึ ก ไม่ อ ยากท� ำ งานกั บ คนไปเลย และคิ ด ว่ า อยาก ท�ำงานอยู่กับป่ากับธรรมชาติมากกว่า” เธอเข้ามาเริ่มงานมูลนิธิฯ ให้หลังจากการท�ำงานวิจัยชะนี มือขาว โดยเป็นเจ้าหน้าที่ประจ�ำพื้นที่อุ้มผางจังหวัดตาก ลงพื้นที่ ท�ำงานร่วมกับชุมชน ท�ำแนวเขตป่าชุมชน ท�ำเรื่องพิกัดแผนที่ ท�ำ แผนที่ และเพราะมีประสบการณ์ที่ได้รับมาจากการเป็นอาสาสมัคร การท�ำวิจัยที่จังหวัดแม่ฮองสอน ท�ำให้การเริ่มต้นของเธอค่อนข้าง ด�ำเนินไปได้ด้วยดี
แต่หลังจากท�ำงานได้ราว 1 ปี ก็มีเหตุให้เธอต้องผลิก ผันชีวิตการท�ำงานขึ้นอีกครั้ง เมื่อเธอประสบอุบัติเหตุจากการ โหมงานหนักจนขับรถมอเตอร์ไซต์หลับใน ทางมูลนิธิฯ จึงเรียก ตัวเธอกลับมาท�ำงานประจ�ำส�ำนักงานที่กรุงเทพฯ ในต�ำแหน่งเจ้า หน้าที่ฝ่ายวิชาการ เพราะเห็นว่าเธอมีคนรู้จักที่อยู่ในแวดวง วิ ช าการที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ เรื่ อ งสิ่ ง แวดล้ อ มเยอะ จึ ง น่ า จะเป็ น ประโยชน์ต่อมูลนิธิฯ และนอกจากงานข้อมูลเอกสารทางวิชาการ ที่เธอต้องท�ำแล้ว อีกหนึ่งบทบาทส�ำคัญบทบาทใหม่ในช่วงไม่กี่ปีที่ ผ่านมาที่เธอได้ท�ำ คืองานคัดค้านโครงการต่างๆ ที่มีผลกระทบ ต่อสิ่งแวดล้อม “เข้ามาท�ำงานที่กรุงเทพฯ จะเป็นงานเอกสารข้อมูลซะ ส่วนใหญ่ แต่เมื่อมีโครงการที่ทางมูลนิธิฯ คัดค้าน เราที่เป็นเจ้า หน้าที่ฝ่ายวิชาการก็ต้องหาข้อมูลแม้จะมีข้อมูลเดิมอยู่แล้ว แต่ เราก็ต้องมีการลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลเพิ่มอีก ซึ่งเป็นเรื่องใหม่ ส�ำหรับเรา อย่างช่วงที่คัดค้านเขื่อนแม่วงก์จะมีการลงพื้นที่ไป เก็บข้อมูลบ่อยมาก ซึ่งแน่นอนว่าการคัดค้านในแต่ละโครงการ นั้นย่อมมีทั้งคนที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ฉนั้นการลงพื้นเพื่อเก็บ ข้อมูลก็มีความเสี่ยงกับเรา มีช่วงหนึ่งที่อาจารย์ศศินต้องมาเตือน เราให้คอยระวังตัวเวลาลงพื้นที่” เมื่อถามความคิดเห็นเกี่ยวกับงานคัดค้านต่อตัวโครง ต่างๆ ที่ได้ท�ำอยู่เธอได้ให้ความเห็นว่า “ความจริงเราไม่ได้ค้านไป ซะทุกเรื่องนะ เราพยายามหาข้อมูลจากทั้งสองฝั่ง ว่าข้อดีข้อเสีย ของมันคืออะไร และสิ่งที่จะเกิดขึ้นสิ่งไหนคุ้มค่ากว่ากันกับการที่ ยังมีหรือไม่มีธรรมชาติตรงนี้อยู่ อย่างกรณีเขื่อนแม่วงก์เราก็ เข้าไปศึกษาก่อนว่าถ้าสร้างจะเกิดผลกระทบอะไร หรือถ้าไม่ สร้างเรามีทางเลือกอย่างอื่นหรือไม่ เรามีการลงไปเก็บข้อมูลใน พื้นที่บ่อยมากซึ่งเป็นการคัดค้านในเชิงข้อมูล” “คือก่อนที่จะออกมาปกป้องหรือคัดค้านในเรื่องใดนั้น เราต้องมีข้อมูลที่หนักแน่นพออยู่ในมือว่าสิ่งที่จะต้องแลกมานั้น คุ้มค่าหรือไม่ และเราจะไม่ท�ำการคัดค้านต่อตัวโครงการใดๆ ถ้า เราไม่มีการหาข้อมูลก่อน”
อดิศร จันทร์ศรี ปกป้องป่าด้วยพลังชุมชน
อดิศร จันทร์ศรี เจ้าหน้าที่ภาคสนามมูลนิธิสืบนาคะเสถียร เริ่ม ต้นการท�ำงานที่มูลนิธิอนุรักษ์ผืนป่าตะวันตก ในช่วงปี พ.ศ. 2550 ซึ่ง ท�ำงานเรื่องการจัดตั้งผืนป่าชุมชนเป็นหลัก ในพื้นที่จังหวัดนครรสวรรค์ และจังหวัดก�ำแพงเพชร ก่อนที่ 2 ปีต่อมาจะเข้ามาท�ำงานที่มูลนิสืบฯ ด้วยประสบการณ์ที่เคยท�ำงานร่วมกับชุมชนในพื้นที่และเป็นคนในพื้นที่ จึงได้ถูกชักชวนให้เข้ามาร่วมงาน อดิศรเล่าถึงการท�ำงานในช่วงแรกของเขาว่า “ผมได้เข้ามารับ งานในพื้นที่อ�ำเภแแม่วงก์และแม่เปิน จังหวัดนครสวรรค์ โดยท�ำงานกับ ร่วมกับชุมชนเป็นหลัก เป็นงานผลักดันให้เกิดเขตป่าชุมชนขึ้น หน้าที่ของ เราเปรียบเสมือนเป็นคนคอยประสานงานให้ระหว่างชุมชนกับทางภาครัฐ ซึ่งในตัวชุมชนนั้นก็มีการจัดตั้งคณะกรรมการกันอยู่แล้ว แต่ต้องประสาน งานให้เจ้าหน้าที่กรมป่าไม้เข้ามารับทราบรับรู้ด้วยว่าชุมชนจะท�ำอะไรกัน บ้าง นอกจากนี้ยังมีการท�ำกิจกรรมอื่นๆ ร่วมกับชุมชน เช่น ปลูกป่า ท�ำ ฝายชะลอน�้ำ เพื่อเป็นการสร้างความสัมพันธ์กันระหว่างชุมชน” เมื่ อ ถามถึ ง ความส� ำ คั ญ ของการจั ด ตั้ ง ป่ า ชุ ม ชนนั้ น มี ค วาม ส�ำคัญอย่างไร และท�ำไมต้องมีการจัดตั้งป่าชุมชน อดิศร ให้ความเห็นว่า “เป้าหมายหลักในการจัดตั้งเขตป่าชุมชนเพื่อลดการพึ่งพิงทรัพยากรจาก ป่าของชาวบ้านและชุมชน ลดการเข้าไปในป่าอนุรักษ์ของชาวบ้าน ซึ่งเรา จ� ำ เป็ น ต้ อ งรั ก ษาป่ า ที่ เ หลื อ น้ อ ยไว้ ป่ า ชุ ม ชนจึ ง เป็ น พื้ น ที่ ที่ ช าวบ้ า น สามารถหากินหาใช้ได้ ถ้าเราไม่ท�ำปัญหาจะเกิดต่อตัวทรัพยากรธรรมชาติ รวมถึงความขัดแย้งที่จะตามมาระหว่างภาครัฐกับชุมชน จากการที่ชาว บ้านเข้าไปบุกรุกพื้นที่ป่า การส่งเสริมและสนับป่าชุมชนจึงมีความส�ำคัญ” สิ่งหนึ่งที่ส�ำคัญในการเข้าไปท�ำงานกับชาวบ้านในพื้นที่ คือการ เข้าไปผลักดันและกระตุ้นการท�ำงานของคนในชุมชุน แม้ว่าในจังหวัด นครสวรรค์จะเป็นพื้นที่เครือข่ายที่ท�ำงานอนุรักษ์อยู่แล้ว แต่ก็อาจจะมีใน บางช่วงที่การเคลื่อนไหวในเรื่องการท�ำงานอาจจะน้อย “เมื่อก่อนจะมีเครือข่ายออมทรัพย์ส่ิงแวดล้อมแม่วงก์แม่เปิน ซึ่งเราก็ได้อาศัยตามไปท�ำงานตามแกนน�ำหลักๆ ในยุคนั้นอยู่แล้ว ซึ่งเป็น ประธานกลุ่มแต่ละชุมชน แต่ด้วยความที่กิจกรรมไม่ต่อเนื่องงานจึงดู เงียบๆ ไป เมื่อเราเข้าไปท�ำงานจึงได้ชักชวนให้ชุมชนเข้ามาประชุมกันทุก เดือน ทั้งประสานงานกิจกรรมระหว่างชุมชนเอง รวมถึงประสานงาน ระหว่างชุนชนกับทางภาครัฐ จากเดิมที่ต่างคนต่างท�ำงานกัน ปัจจุบันก็ เปลี่ ย นมานั่ ง พู ด คุ ย วางแผนงานร่ ว มกั น มี ป ่ า ชุ ม ชนแล้ ว เราจะรั ก ษา อย่างไร มีแผนฟื้นฟูหรือพัฒนาอย่างไร หรือช่วยสนับสนุนงบประมาณ เล็กๆ น้อยๆ ค่าข้าวค่าน�้ำ ซึ่งก็จะท�ำให้เกิดกิจกรรมงานอนุรักษ์ข้ึนอย่าง ต่อเนื่อง”
นอกจากงานร่วมกับชุมชนและทางภาครัฐแล้ว งานที่ต้องท�ำ กับคนรุ่นใหม่ก็ถือเป็นสิ่งส�ำคัญ อดิศรได้ร่วมท�ำงานกลับกลุ่มเยาวชนใน พื้นที่ เพื่อให้การท�ำงานนี้ไม่จบเพียงคนรุ่นตัวเองเท่านั้นแต่ยังจะส่งต่อไป ยังรุ่นต่อไปด้วย “วิทยากรที่มาบรรยาให้กลุ่มเยาวชนในพื้นที่ฟังไม่ใช่คนไกลตัว แต่เป็นวิทยากรที่เป็นรุ่นพ่อรุ่นปู่ในพื้นที่ มาเล่ามาบรรยายให้เด็กๆ ฟังถึง ความสมบูรณ์ของป่าในอดีต ซึ่งในปัจจุบันเด็กๆ เขาอาจจะมองเห็นว่าป่า อาจจะเหลือน้อย และก็มีการพาเด็กไปเรียนรู้จากพื้นที่ป่าจริงๆ ว่าข้างใน ป่ามีอะไร ระบบนิเวศเป็นอย่างไร เราก็ให้ปู่ๆ ลุงๆ ผู้สูงอายุในชุมชนพา ไปเรียนรู้ เพื่อให้เด็กๆ เกิดความเข้าใจ และอยากจะรักษาป่าที่มีอยู่ใน ตอนนี้” หลั ง จากการท� ำ งานในพื้ น ที่ ก ว่ า 6 ปี อดิ ศ รเล่ า ถึ ง ความ เปลี่ยนแปลงจากการท�ำงานที่ผ่านมาว่า “จากเมื่อก่อนแนวเขตป่าชุมชน นั้นจะมีการถูกบุกรุกอยู่ตลอด พื้นที่ท�ำกินก็จะถูกขยายเข้าไปในป่าเรื่อยๆ แต่ตอนนี้สามารถควบคุมได้แล้ว เพราะแต่ละพื้นที่ได้มีการพูดคุยกันใน การแก้ปัญหา โดยมีทางออกด้วยวิธีการท�ำแนวเขตที่ชัดเจนขึ้น มีการเดิน ส�ำรวจแนวเขตเพื่อป้องกันการบุกรุกอย่างสม�่ำเสมอ หากพบพื้นที่ไหนที่มี การบุกรุกก็เข้าไปคุยแก้ปัญหากับเจ้าของพื้นที่นั้นๆ คุยกันด้วยเหตุผลและ ข้อมูล ซึ่งในทุกวันนี้ก็ท�ำให้แนวเขตป่านั้นคงที่มากจากเมื่อก่อน” เข้ากล่าวถึงเรื่องงานอนุรักษ์ทิ้งท้ายไว้ว่า “สิ่งส�ำคัญส�ำหรับงานอนุรักษ์ คือเราต้องรักษาทรัพยากรที่มีอยู่เอาไว้ให้ได้ก่อน เพราะถ้าอย่างคนรุ่นเรา ไปปลูกป่าในพื้นที่ที่เสียหายไปแล้วอย่างน้อยก็ต้องใช้เวลาสัก 20 ปี กว่า จะคืนระบบนิเวศของป่าได้ ดังนั้นเรื่องที่ส�ำคัญส�ำหรับพวกเราในตอนนี้ คือต้องอนุรักษ์ป่าที่ยังเหลืออยู่เอาไว้ให้ได้ การปลูกหรือเพิ่มพื้นที่สีเขียว ในพื้นที่ที่ถูกบุกรุกไปแล้วถือว่าเป็นเรื่องที่ดีก็อาจจจะใช่ แต่ความเป็นจริง แล้วถ้าพื้นที่ที่เคยโดนบุกรุกแล้ว เราสามารถรักษาไว้ให้ได้โดยไม่มีใครมา ท�ำลายเพิ่มอีกก็พอ แล้วป่าจะคืนกลับสภาพเดิมได้ด้วยตัวของเขาเอง”
ตะวันฉาย หงส์วิลัย เสียงเพลงจากผืนป่า
ตะวันฉาย หงส์วิลัย เจ้าหน้าที่ภาคสนามประจ�ำมูลนิธิสืบนาคะ เสถียร เริ่มงานครั้งแรกที่มูลนิธิฯ เมื่อ 11 ปีก่อน ด้วยระยะเวลาอัน ยาวนานในการท�ำงาน เขาได้ผ่านการท�ำงานร่วมกับชุมชนหลากหลาย พื้นที่ ผ่านเรื่องราวและวิถีชีวิตวัฒนธรรมที่แตกต่าง ไม่ว่าจะเป็นพี่น้อง คนไทยหรือพี่น้องชนเผ่า งานอนุรักษ์ของเขาจึงมีเรื่องราวที่หลากหลาย “ผมท�ำงานกับชุมชนครั้งแรกที่อุทยานแห่งชาติพุเตย จังหวัด สุพรรณบุรี มีการเก็บฐานข้อมูลชุมชน ข้อมูลครัวเรือนประชากรในพื้นที่ และท�ำแผนที่แผนผังของชุมชน รวมทั้งศึกษาวิถีชีวิตวัฒนธรรมความเชื่อ ของคนในพื้นที่ ว่าเขามีพื้นเพอย่างไรเป็นใครมาจากไหนและท�ำมาหากิน อะไร เพื่อให้เข้าถึงปัญหาในตัวชุมชนว่ามีอะไรบ้าง เมื่อเข้าใจถึงปัญหา เราก็เปรียบเสมือนเป็นคนกลางที่ช่วยสื่อสารระหว่างชุมชนในพื้นที่กับ ภาครัฐ” หลังจากที่ท�ำงานอยู่ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติพุเตยได้ประมาณ 2 ปี ตะวันฉายได้ย้ายมาปฏิบัติงานในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ ท�ำหน้าที่ ประสานงานร่วมคณะกรรมการอนุรักษ์ป่าตะวันตก และเข้ามาท�ำงานใน เชิงกิจกรรมปฏิบัติงาน ตะวันฉายเล่าถึงผลของการท�ำงานกับชุมชนว่า “ถ้าถามว่า สามารถยุติการบุกรุกได้ทั้งหมดหรือไม่ก็อาจจะไม่ใช่ แต่ถ้าไม่มีเราเข้าไป ท�ำงานในพื้นที่ ป่าก็อาจจะไม่เหลือในจ�ำนวนเท่าทุกวันนี้ เรามีการจัดตั้ง ป่าชุมชนและชุมชนช่วยกันดูแล สามารถรักษาทรัพพยากรให้เพิ่มขึ้นจาก เดิมได้ ในหลายพื้นที่ที่เราเข้าไปท�ำงานก็ไม่มีการบุกรุกหรือขยายพื้นที่ แน่นอนว่าในแต่ละพื้นที่อาจจะยังมีบ้างที่มีการบุกรุกป่าอยู่ แต่ด้วยคน ส่วนใหญ่ท่ียังเคารพกติกาและเชื่อว่ามีป่าแล้วมีอาหารกิน มีป่าแล้ว สามารถอยู่ได้ก็ท�ำให้คนที่ยังบุกรุกอยู่เริ่มเปลี่ยนใจ และป่ารอบผืนป่า ตะวันตกยังสามารถอยู่ได้ส่วนหนึ่งก็มีผลมาจากการท�ำงานตรงนี้”
การท�ำงานกับคนและชุมชนที่แตกต่างกัน สิ่งส�ำคัญคือการ สื่อ สารที่ต ้อ งมีรูป แบบที่หลากหลาย อีกวิธีการหนึ่งที่เขาได้ใช้ในการ สื่อสารเรื่องราวจากพื้นที่ส่งต่อไปยังกลุ่มเป้าหมายต่างๆ ให้เข้าใจในงานที่ ท�ำ นั่นคือเสียงเพลง ที่เป็นการสื่อสารงานอนุรักษ์อีกช่องทางหนึ่งส�ำหรับ เขา “ได้ แ รงบั น ดาลใจมาจากสมั ย ที่ ท� ำ งานอยู ่ ป ่ า ผากจั ง หวั ด สุพรรณบุรี เมื่อเจอปัญหากะเหรี่ยงไม่มีพื้นที่ท�ำกิน จากการที่ได้เข้าไปใช้ ชีวิตและศึกษาในด้านวิถีชีวิตวัฒนธรรมความเชื่อของเขา จึงเห็นถึงความ ขัดแย้งระหว่างรัฐกับชุมชนกะเหรี่ยง จึงเขียนเพลงที่ชื่อกะเหรี่ยงขึ้นมา อีกส่วนหนึ่งเมื่อเราไปคุยเรื่องการอนุรักษ์ให้คนภายนอกฟัง บางครั้งเป็น เรื่องที่น่าเบื่อแล้วเข้าใจยาก จึงคิดว่าวิธีที่จะสื่อสารกับผู้คนนั้นไม่น่าจะมี วิธีการพูดเพียงอย่างเดียว เนื้อหาในเพลงที่แต่งส่วนใหญ่ก็เป็นเรื่องเกี่ยว กับงานที่ท�ำและเรื่องป่าตะวันตก ทุกครั้งที่ไปเล่นดนตรีผมจะพูดถึงเรื่อง ป่าตะวันตกเสมอ พูดในเชิงความส�ำคัญต่างๆ เป็นอาหารเป็นแหล่งน�้ำ เพื่อพยายามให้คนฟังเห็นคุณค่า” ตะวันฉายได้พูดถึงเรื่องงานอนุรักษ์ในภาพรวมทิ้งท้ายไว้ว่า “เรื่องงานอนุรักษ์เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับทุกคน คือถ้าไม่มีน�้ำจากป่าเติม ไปแล้วคนเมืองจะใช้น�้ำจากไหน คนก็ยังใช้น�้ำจากป่าที่เรายังคงรักษากัน อยู่ คือถ้าจะมองว่าเกี่ยวเฉพาะคนต้นน�้ำก็ไม่น่าใช่ ถามว่าจริงๆ แล้วจะ พยายามให้คนปลายน�้ำมีส่วนในการรักษาป่าต้นน�้ำอย่างไร คือบางคนยัง ไม่รู้ว่ามันมีส่วนเกี่ยวข้องกับตัวเอง โจทย์ใหญ่อีกหนึ่งเรื่องก็คือเราจะท�ำ อย่างไรให้คนเมืองเข้าใจและเห็นความส�ำคัญของป่าที่เป็นแหล่งต้นน�้ำ คือจะท�ำอย่างไรให้เขาได้รู้ว่าแหล่งน�้ำที่เขาใช้มาจากตรงนี้นะ และคุณก็ ต้องมีส่วนในการช่วยในการรักษา”
ยุทธนา เพชรนิล
เกษตรอินทรีย์รักษาคน รักษาป่า “คนท� ำ ได้ ป ระโยชน์ คนกิ น ได้ ป ระโยชน์ สิ่ ง แวดล้ อ มได้ ประโยชน์” เป็นค�ำกล่าวของ ยุทธนา เพชรนิล ที่มีต่อตัวโครงการเกษตร อินทรีย์ที่เขารับผิดชอบงานอยู่ในปัจจุบัน ส�ำหรับเขาการท�ำงานโครงการ นี้นับเป็นจุดพลิกผันจากงานก่อนหน้าที่เคยท�ำอยู่บริษัทผลิตเมล็ดพันธุ์พืช ที่ผลิตโดยใช้สารเคมี ประสบการณ์ 6 ปี จากที่นั่น มีแต่ภาพเกษตรกร และคนในพื้นที่เริ่มมีปัญหาสุขภาพ ชุมชนไม่ได้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี อีก ทั้งยังไม่ได้ท�ำให้บริษัทรวยขึ้น และสิ่งแวดล้อมเองก็ถูกท�ำลาย ยุ ท ธนาตั ด สิ น ใจลาออกจากงานที่ บ ริ ษั ท เมล็ ด พั น ธุ ์ ดั ง กล่ า ว และเข้ามาท�ำงานที่มูลนิธิสืบฯ หลังจากท�ำงานไปได้ 2 ปี ซึ่งเป็นช่วงสิ้น สุดโครงการจอมป่า (โครงการจัดการพื้นที่คุ้มครองอย่างมีส่วนร่วมในผืน ป่าตะวันตก) ในระยะแรก เวลานั้นมูลนิธิสืบนาคะเสถียรได้ริเริ่มโครงการ สุมนไพรอินทรีย์ในผืนป่าตะวันตกขึ้นมา โดยเป็นโครงการที่ท�ำร่วมกับ มูลนิธิโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร เพื่อให้ชุมชนที่มีการท�ำเกษตร ในพื้นที่ป่าตะวันตกหันมาท�ำเกษตรอินทรีย์ และผลิตวัตถุดิบจากเกษตร อินทรีย์จ�ำพวกพืชสมุนไพร ขมิ้น อัญชัญฯ ส่งให้อภัยภูเบศร ยุทธนาเป็นผู้ ได้รับมอบหมายให้เป็นเจ้าหน้าที่โครงการดังกล่าว
“ก่อนหน้านี้คนส่วนใหญ่ในชุมชนท�ำการเกษตรเชิงเดี่ยวแทบทั้งหมด ปลูก ข้าวโพดปลูกมันส�ำปะหลังเป็นอาชีพหลัก อาจจะมีบ้างที่เป็นเกษตรอย่าง อื่นแต่ก็หนีไม่พ้นการใช้สารเคมี ซึ่งปัญหาในการท�ำเกษตรเชิงเดี่ยวนั้นมี ผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก ยกตัวอย่างการปลูกข้าวโพด ในปี แรกผลผลิตอาจจะดีมากเพราะปลูกในพื้นที่ใหม่ แต่ในปีต่อไปผลผลิตจะ ลดลงหากปลูกในพื้นที่เดิม จึงจ�ำเป็นต้องมีการใส่ปุ๋ยเพิ่ม ซึ่งชาวบ้านก็ไม่ อยากสิ้นเปลืองเพราะต้นทุนราคาของปุ๋ยที่สูง จึงใช้วิธีการถางป่าเพื่อให้ ได้มาซึ่งพื้นที่ใหม่ ซึ่งเป็นการท�ำลายป่าไปเรื่อยๆ อีกอย่างข้าวโพดยังเป็น พืชที่ท�ำก�ำไรได้น้อยต่อจ�ำนวนพื้นที่ การที่จะท�ำให้เกษตรกรมีรายได้ที่ เยอะต้องใช้พื้นที่จ�ำนวนมากในการปลูก เท่ากับว่าต้องถางป่าท�ำลายป่า เป็นจ�ำนวนมาก ถ้าเราไม่แก้ปัญหาตรงนี้อนาคตป่าอาจจะไม่เหลือ” การเริ่มต้นงานเกษตรอินทรีย์ในพื้นที่ไม่ใช่เรื่องง่าย นอกจาก จะต้องเปลี่ยนแปลงวิธีการท�ำเกษตรในรูปแบบเดิมๆ ที่ชาวบ้านท�ำกันอยู่ แล้ว เรื่องรายได้ก็เป็นปัจจัยส�ำคัญเช่นกัน “ช่วงแรกที่เข้าท�ำงานค่อนข้างจะยากล�ำบาก เพราะต้องให้เขา ปรับเปลี่ยนวิธีการท�ำเกษตรใหม่หมดเลย แล้วเรื่องรายได้ก็ยังไม่มีในช่วง
สองสามปีแรก เพราะกว่าผลผลิตจะขายได้ต้องใช้เวลา ต้องรอเงิน ซึ่งตัว เกษตรกรไม่สามารถที่จะรอได้ เราจ�ำเป็นต้องหาเงินทุนมาหมุนเวียนให้ ชาวบ้านใช้จ่ายก่อนสักเล็กน้อย สัก 20-30 เปอร์เซ็น เพื่อให้เขาเลี้ยงตัว เองได้ในระดับหนึ่ง จนปัจจุบันกลุ่มที่ร่วมโครงการเริ่มมีเงินทุนหมุนเวียน จนเกิดสภาพคล่อง และดูแลตัวเองได้ เกษตรกรก็เริ่มว่าเรามาถูกทางแล้ว สุขภาพได้ สิ่งแวดล้อมได้ คนเอาของเราไปกินก็ได้ประโยชน์ด้วย” โครงการสุมนไพรอินทรีย์ในผืนป่าตะวันตกเริ่มต้นท�ำงานที่ จังหวัดกาญจนบุรีเป็นพื้นที่แรก หลังจากประสบความส�ำเร็จในพื้นที่ บุกเบิก โครงการก็ได้ต่อยอดไปอีกหลายพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่อุ้มผาง จังหวัดตาก ชุมชนโละโคะ จังหวัดก�ำแพงเพชร ต�ำบลบ้านไร่จังหวัด อุทัยธานี “ผมอยู่กับการเกษตรมาตั้งแต่เกิดเพราะเป็นลูกชาวไร่ชาวนา เช่ น เดี ย วกั บ งานอนุ รั ก ษ์ ที่ ท� ำ มาตลอดตั้ ง แต่ ส มั ย เรี ย นมั ธ ยมจนจบ มหาวิทยาลัย เรื่องการเกษตรและเรื่องงานอนุรักษ์มันมีส่วนเชื่อมโยงกัน คือถ้าคุยเรื่องการอนุรักษ์กับชาวบ้านแต่ไม่ได้คุยเรื่องปัญหาปากท้องยังไง มันก็คุยกันไม่รู้เรื่อง สิ่งส�ำคัญคือเราต้องท�ำให้ชุมชุนเห็นถึงผลประโยชน์ที่
เขาสามารถจับต้องได้ก่อน เมื่อจับต้องได้แล้วคนก็อยากเข้ามาท�ำงานร่วม กับเรา เราจะไปบอกไปห้ามเขาอย่างเดียวว่าอย่าไปปลูกข้าวโพด แล้วถ้า ไม่ให้เขาปลูกเราจะให้เขาท�ำอะไร เราก็ต้องหารายได้อย่างอื่นมาทดแทน ให้เขาด้วย” “เราจะปลูกสมุนไพรเพื่อผลิตยา สมุนไพรที่จะปลูกนั้นต้อง รักษาโรคได้ ไม่ได้ไปเพิ่มโรคให้ผู้ใช้ สารเคมีจึงต้องไม่มี แล้วส่วนใหญ่ ชุมชนที่เราท�ำงานด้วยอยู่ในพื้นที่ต้นน�้ำ ถ้ามีสารเคมีปนเปื้อนลงแหล่งน�้ำ ผลมันไม่ใช่แค่เฉพาะพื้นที่นั้นแต่ยังกระทบไปถึงคนเมือง อะไรที่ท�ำแล้ว มันไม่ดีก็อย่าไปท�ำ ถ้าอยากที่จะท�ำก็ต้องยึดหลักที่มันดีทั้งหมดไม่ว่าจะ เป็นสิ่งแวดล้อม และสิ่งส�ำคัญคือตัวเกษตรกรเองก็จะได้ผลดีกลับคืนไป ด้วย เพราะไม่ต้องไปสัมผัสกับสารเคมี” “การท�ำเกษตรอินทรีย์เรายึดหลัก 3 ข้อ คือ คนท�ำได้ประโยชน์ คนกินได้ประโยชน์ สิ่งแวดล้อมได้ประโยชน์ ตราบใดที่ยึดหลักทั้ง 3 ข้อนี้ ไว้งานโครงการนี้ก็จะสามารถเดินต่อไปได้เรื่อยๆ และสิ่งแวดล้อมก็จะดี ขึ้นเรื่อยๆ”
อ�ำนาจ สุขขวัญ
ความสุขจากการให้ คือรางวัลนักอนุรักษ์ อ�ำนาจ สุขขวัญ เจ้าหน้าที่ภาคสนามมูลนิธิสืบนาคะ เสถียร ประจ�ำพื้นที่จังหวัดก�ำแพงเพชร ในอดีตเขาเริ่มต้นท�ำงาน ในแวดวงเกษตอินทรีย์เมื่อราว 8 ปีก่อน จากการเข้ามาเป็นอาสา สมัครของชมรมกสิกรรมธรรมชาติ และอาสาสมัครชาสุขภาพ จังหวัดก�ำแพงเพชร และนี่เป็นเหมือนก้าวแรกที่ท�ำให้เขาได้รู้จัก ผู้คนในแวดวงอนุรักษ์ก่อนได้เข้ามาร่วมงานกับทางมูลนิธินิสืบนา คะเสถียร ส่วนเหตุผลที่เขาสนใจมาท�ำเกษตรอินทรีย์ เพราะว่า ชุมชนบ้านเกิดของตัวเองท�ำการเกษตรโดยใช้สารเคมีกันมาก และผลของมันก็ไม่ใช่เรื่องที่ดีนัก เขาจึงเกิดความคิดที่อยากจะ เปลี่ยนแปลงบางสิ่งบางอย่างให้กับบ้านเกิด อ�ำนาจเริ่มต้นลงมือ ลองผิดลองถูกด้วยการปลูกพืชผักอินทรีย์ด้วยตัวเองก่อน จากนั้น ก็ค่อยๆ ขยับขยายความรู้ด้วยการไปเป็นอาสาสมัครและได้เข้าไป เป็นลูกศิษย์วัดกับพระครูอรรถกิจนันทคุณ แห่งวัดป่าดอยลับงา จังหวัดก�ำแพงเพชร ซึ่งเป็นพระสายอนุรักษ์ และท�ำงานเกี่ยวกับ เครือข่ายการอนุรักษ์ในพื้นที่ จึงได้แนะน�ำให้เข้าไปท�ำงานร่วมกับ เครือข่ายอนุรักษ์ผืนป่าตะวันตก และได้รู้จักกับตะวันฉาย หงส์ วิลัย เจ้าหน้าที่ภาคสนามมูลนิธิสืบนาคะเสถียร นับแต่นั้นนั้น เป็นต้นมา “ผมเริ่ ม ต้ น การท� ำ งานจากโครงการจั ด ตั้ ง ป่ า ชุ ม ชน จังหวัดนครสวรรค์และจังหวัดก�ำแพงเพชร โดยท�ำงานเป็นเจ้า หน้าที่เครือข่ายอนุรักษ์ผืนป่าตะวันตก หลังจากท�ำงานตรงนี้ได้ใน ระยะเวลาประมาณ 1 ปี จนหมดตัวโครงการ ก็ได้รับโอกาสให้ เข้ามาร่วมงานกับทางมูลนิธิสืบฯ ในช่วงนั้นจะมีพี่ตู่ ตะวันฉาย ช่วยเหลือในหลายๆ เรื่อง ไม่ว่าจะเป็นวิธีคิดหรือกระบวนการ ท�ำงานในด้านอนุรักษ์ เพราะเรายังใหม่ส�ำหรับการท�ำงานในด้าน นี้ และเนื้อหาของงานก็ไม่ได้ตรงกับทางที่เรียนมา ถือได้ว่าพี่ตู่ ตะวันฉายเป็นหนึ่งคนส�ำคัญที่ท�ำให้ผมได้เริ่มต้นท�ำงานนี้” ถึงแม้จะเป็นคนในพื้นที่ แต่การเข้าไปท�ำงานในแต่ละ ชุมนั้นก็มีความแตกต่างกันไป ต้องประสบพบเจอทั้งชาวบ้านที่ เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับการท�ำงาน ซึ่งเขาได้เล่าถึงหลักส�ำคัญ ในการเข้าไปท�ำงานในพื้นที่ว่า “วิธีการท�ำงานของเราในพื้นที่จะแตกต่างกันกับทาง ภาครัฐ ทางรัฐจะใช้การบังคับตามกฏหมาย แต่การท�ำงานของ เราจะเป็นการเข้าไปคุยกับชุมชนก่อนเป็นอันดับแรก เข้าไปปรับ ทุกข์ผูกมิตรกับชาวบ้านให้เขาเห็นถึงผลดีหากเข้ามาร่วมงานกับ
เรา ถ้าคุณรักษาป่าแล้วป่าจะให้ประโยชน์กลับคืนสู่คุณอย่างไร ที่ส�ำคัญเราต้องพร้อมที่จะเปิดรับสิ่งใหม่ๆ อยู่เสมอ ในบางเรื่อง เราต้องไปศึกษารับความรู้จากชาวบ้าน ไม่ใช่เอาความรู้ไปให้ ชาวบ้านอย่างเดียว บางเรื่องในพื้นที่เราอาจจะไม่เคยรู้มาก่อน แต่ชาวบ้านเขาอาจจะเข้าใจอย่างลึกซึ้งเพราะเขาอยู่กับสิ่งนั้น มาตลอดทั้งชีวิต” “หากไม่ได้นับหน่วยงานจากทางภาครัฐที่ต้องท�ำงาน กับชุมชุนอยู่แล้ว มูลนิธิสืบฯ คือชื่อแรกที่ชุมชนจะนึกถึง เพราะ เราเข้ามาสนับสนุนชุมชนในหลายๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นการจัดตั้ง ป่าชุมชน ชักชวนมาท�ำงานอนุรักษ์ หรือสอนวิถีคิดแนวคิด ต่างๆ ให้กับชุมชน” กลไกส�ำคัญในการท�ำงานที่ปฎิเสธไม่ได้คือเรื่องงบ ประมาณ แต่จากประสบการณ์ตลอดระยะเวลาการท�ำงานของ อ�ำนาจ เขามองว่ามันเป็นสิ่งจ�ำเป็นแต่นั่นก็ไม่ใช่ทั้งหมดทั้งหมด ทั้งมวลของการท�ำงาน การเป็นเพื่อนที่ดีต่อกันต่างหากที่เขา มองว่าคือสิ่งส�ำคัญของการท�ำงานอนุรักษ์ “8 ปี ที่ได้ท�ำงานร่วม กั บ ชุ ม ชน ต่ อ ให้ ชุ ม ชนเข้ ม แข็ ง แล้ ว หางบประมาณในการ บริหารจัดการท�ำงานเองได้ แต่ผมคิดว่าเรากับชุมชนจะทิ้งกันไม่ ได้ อย่างช่วงที่เราไม่มีงบประมาณเข้ามาท�ำงาน พอได้คุยกับ ชาวบ้านเขาก็บอกว่าไม่เป็นไรๆ เข้ามาช่วยกันท�ำงานได้ อย่าง น้อยได้เข้าไปท�ำการแลกเปลี่ยนพูดคุย หรือเสนอแนวทางความ คิด ว่างานจะเป็นไปในรูปแบบไหน เขาก็ยังอยากที่จะชวนมูล นิธิสืบฯ เข้าไปท�ำงานด้วย ซึ่งเป็นเรื่องของความผูกพันไม่ได้ เกี่ยวกับตัวเงินหรือว่าตัวงบประมาณ เป็นการท�ำงานแบบใช้ใจ แลกใจกัน ผมคิดอยู่เสมอว่าไม่ว่าจะกี่ปีเราไม่มีทางถอนตัวจาก พื้นทีที่เราท�ำงานได้” อ�ำนาจพูดทิ้งท้ายถึงงานอนุรักษ์ที่ต้องท�ำงานร่วมกับ ชุ ม ในพื้ น ที่ ไ ว้ ว ่ า “การท� ำ งานอยู ่ ต รงนี้ ผมคิ ด ว่ า มี ค วามสุ ข ส�ำหรับผมมากนะ อย่างแรกคือได้ท�ำงานอยู่ที่บ้านเกิดของเรา เอง ไม่ต้องจากบ้านไปไหนไกล และเป็นงานที่เรารัก ซึ่งเราชอบ ในงานอนุรักษ์ตั้งแต่เริ่มท�ำงานเป็นอาสาสมัคร เคยมีรุ่นพี่ใน สายงานอนุ รั ก ษ์ บ อกกั บ ผมว่ า การที่ เ ราได้ ม าท� ำ งานแบบนี้ เหมือนกับเราได้ให้โอกาสคนอื่น ให้เขาได้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี ขึ้น ซึ่งสิ่งที่ได้รับคืนกลับมาของการท�ำงานอนุรักษ์คือความสุข ที่มาจากการเป็นผู้ให้นั่นเอง”
ยุทธชัย บุตรแก้ว
วิถีธรรมน�ำทางงานอนุรักษ์
ยุทธชัย บุตรแก้ว เจ้าหน้าที่ภาคสนามมูลนิธิสืบนาคะ เสถียร เป็นคนอุ้มผางที่ไปเติบโตแม่สอดจังหวัดตาก ก่อนจะย้าย กลับมาเรียนที่อุ้มผางอีกครั้งในช่วงปลายชั้นประถมศึกษา ผ่าน การใช้ชีวิตในวัยเยาว์อย่างเกเร จนถึงจุดที่เคยคิดว่าจะฆ่าตัวตาย ก่อนจะมีจุดพลิกผันที่ได้เข้าไปอยู่วัดและได้เจอกับพระที่ท�ำงาน ด้านนักอนุรักษ์ โดยใช้หลักธรรมะเป็นตัวเชื่อม “เป็นช่วงที่เรียอยู่ ปวช. ปี 3 ผมได้ตั้งกลุ่มอนุรักษ์ขึ้น มา มีวงดนตรี มีพระช่วยแต่งเพลงให้ เริ่มชวนกลุ่มอนุรักษ์มาพูด คุยท�ำงานเชื่อมกับกลุ่มอนุรักษ์ในวิทยาลัยตาก พากันไปห้วยขา แข้งซึ่งเป็นช่วงที่คุณสืบจากไปได้ไม่นาน อันนี้เป็นจุดเปลี่ยนหนึ่ง อาจจะเป็นเพราะกระแสการอนุรักษ์ที่บูมอยู่ขณะนั้น การท�ำงาน อนุรักษ์เหมือนกับเป็นการฝึกให้รู้จักการเสียสละ อย่างถ้าอยาก เป็นนักอนุรักษ์ ใจคุณต้องอนุรักษ์ด้วย วิถีของการอนุรักษ์คือวิถี แห่งพุทธ การอยู่แบบเรียบง่าย การใช้ประโยชน์สูงสุด เริ่มฝึกตัว เองจากไม่เคยเสียสละ เป็นเสียสละมากขึ้น ทั้งก�ำลังแรงกายแรง ใจทุ่มเทให้หมด โดยมีธรรมมะเป็นจุดศูนย์กลาง” ด้วยความที่เป็นคนพื้นที่ และได้ใช้ชีวิตอยู่ในชุมชนที่มี ความหลากหลาย ยุทธชัยจึงมีความเชื่อว่าการที่จะให้ป่าอยู่ได้นั้น จะต้องรักษาชุมชนไว้ให้ได้ด้วย เพราะวิถีชีวิตชุมชนดั้งเดิมนั้นไม่ ได้มีผลกระทบกับป่า เขาจึงไม่เห็นด้วยกับการเอาคนออกจากป่า “การเข้าไปท�ำงานชุมชนต้องใช้เวลาเป็นปี ตั้งแต่เริ่ม ศึกษาประเพณี วิถีชีวิตในแต่ละที่ว่าเขาชอบแบบไหนไม่ชอบแบบ ไหน ต้องศึกษาเขาก่อนไม่ใช่ไปเอาความรู้ให้เขาก่อน ซึ่งในแต่ละ พื้นที่เขาจะมีวิถีวัฒนธรรมดั้งเดิม อย่างเรื่องวิถีชีวิตประสบการณ์ ต่างๆ มันไม่มีในที่เราเรียน เช่น ท�ำไมต้องท�ำบ้านอย่างนี้ ท�ำไม
ต้องมีประเพณีแบบนี้ วิถีชีวิตการท�ำไร่ท�ำสวนมันเชื่อมโยงกัน หมดเราก็ศึกษา พอเรารู้องค์ประกอบแล้วเราก็จะเข้าไปได้ถูก ทาง” เมื่ อ ถามยุ ท ธชั ย ถึ ง การท� ำ งานอนุ รั ก ษ์ มี ค วามยาก ล�ำบากอย่างไรเขาได้ให้ความเห็นว่า “ผมคิดว่าไม่ยากถ้าเราท�ำ จริง หมายถึงว่าถ้าเราคิดถึงว่าจะให้อะไรเขา ก็ต้องเหมือนกับที่ ตัวเราอยากได้ด้วย เราก็ต้องท�ำเองด้วยเข้าใจเองด้วย อย่างการที่ จะให้เขาท�ำบ้านเรียนรู้ผมก็ต้องท�ำเองด้วย บอกอย่างไรต้องท�ำ อย่างนั้น บางทีแ ทบจะดูไม่ออกว่าจะต้อ งท�ำงาน มันเหมือน เป็นการใช้ชีวิตปกติของเราไปแล้ว มันก็เป็นเรื่องของงานอาจจะ ยังไม่ถึงกับตกผลึกแต่ก็น�ำเอาไปใช้กับงานได้ มีหลายสิ่งหลาย อย่างที่ผมยังต้องฝึก ซึ่งผมเป็นคนที่ค่อนข้างช้า แต่ถ้าเข้าใจอะไร แล้วจะเข้าใจเลย ก็ผิดหวังมาเยอะเป็นช่วงแสวงหาไปเจอคน หลายกลุ่มหลายแนว เราจะรู้ว่าใช่ไม่ใช่ก็คือเอาหลักธรรมไปจับ ว่ามีเสียสละไหมมันก็จะออกมาเอง คนที่จะมาท�ำงานอนุรักษ์ถ้า ไม่มีตรงนี้มันอยู่ไม่ได้นานต้องปลดความยากออก” ยุทธชัยพูดถึงอุดมการณ์และมุมมองต่อสังคมในงาน อนุรักษ์ด้วยวิถีแห่งธรรมะว่า “การเสียสละอะไรก็ตามที่ช่วยเหลือ สังคมได้ อะไรก็ได้ที่ไม่เบียดเบียนใครและเดือดร้อนใคร และเป็น ประโยชน์ต่อสังคม ก็จะยืนอยู่บนเส้นทางนี้ตลอด อย่างน้อยก็ เป็นเส้นทางที่เราเดินมาแต่ไกล ผมว่าคนที่จะรักธรรมชาติได้ต้อง ไม่ รัก โลภ โกรธ หลง แต่ต้องมีสติ ถ้าฐานตัวนี้ไม่มีการอนุรักษ์ จะไม่ยั่งยืน เพราะมันจะเปลี่ยนเป็นความโลภ ความอยากได้ อยากมีอยากดัง”
ธนบัตร อุประ
จากเมืองสู่ป่ากับการเรียนรู้อยู่เพื่อธรรมชาติ ธนบัตร อุประ เจ้าหน้าที่ภาคสนามมูลนิสืบนาคะเสียร ประจ�ำพื้นที่อุ้มผางจังหวัดตาก ชายหนุ่มวัย 27 เป็นอดีตนัก วอลเลย์วอลชายหาดเยาวชนทีมชาติในสมัยมัธยมปลาย เป็น หนุ่มรัฐประศาสนศาสตร์ในช่วงชีวิตมหาวิทยาลัย เป็นช่างแอร์ หลังจากจบการศึกษา และเป็นเจ้าหน้าที่ภาคสนามที่มีอายุน้อย ที่สุดของมูลนิธิ หากย้อนไปเมื่อสามปีก่อน ในวัย 24 เด็กหนุ่มที่ จบการศึ ก ษาโดยใช้ ชี วิ ต อยู ่ ใ นเมื อ งเป็ น หลั ก ได้ ตั ด สิ น ใจครั้ ง ส�ำคัญครั้งหนึ่งในการหลีกหนีชีวิตในเมือง เพื่อไปแสวงหาชีวิตที่ อยู่กับธรรมชาติ เขาเล่าถึงเรื่องราวในสมัยเรียนถึงจุดเริ่มต้นที่ท�ำให้ สนใจเรื่องราวธรรมชาติว่า “ผมเป็นคนชอบฟังเพลงเพื่อชีวิต ซึ่ง มีเนื้อหาเรื่องราวเกี่ยวกับธรรมชาติ รวมถึงก่อนจบการศึกษาทาง คณะได้ก�ำหนดให้ทุกคนเขียนบทความวิชาการส่งหนึ่งชิ้น ซึ่งผม เขียนเรื่องอดีตอนาคตสัตว์ป่าห้วยขาแข้ง แรงบันดาลใจที่ท�ำให้ เขียนเรื่องนี้ก็มาจากสืบ นาคะเสถียร จากที่เคยได้ฟังเพลงที่มี เรื่องราวของสืบ หลังจากนั้นผมก็ได้ไปหาข้อมูลจากหนังสือเกี่ยว กับสัตว์ป่า และข้อมูลหลักๆ ก็ได้มาจากทางมูลนิธิสืบฯ นั่นน่าจะ เป็นจุดส�ำคัญที่ได้ท�ำรู้จัก สืบ นาคะเสถียร เพิ่มมากขึ้น” ธนบัตรยังใช้ชีวิตอยู่ในเมืองเป็นหลัก ด้วยงานในสายที่ เรียนมาในช่วงเวลานั้นค่อนข้างจะหายาก เขาจึงได้ไปสมัครงาน อยู่ที่บริษัทแอร์แห่งหนึ่ง ในต�ำแหน่งเจ้าหน้าที่ฝ่านเทคนิค ซึ่งเป็น จุดเปลี่ยนส�ำคัญในชีวิตของเขาเอง “ช่วงจบมาด้วยคณะที่ผมเรียนค่อนข้างที่จะหางานยาก เลยคิดว่ามีงานอะไรให้ท�ำก็ท�ำไปก่อน จนได้ไปสมัครเป็นช่างฝ่าย เทคนิคบริษัทแอร์ แต่ท�ำงานไปได้ประมาณสัก 7 เดือน แล้วเกิด ความเบื่อหน่ายจากงานที่จ�ำเจ คือคิดอยู่เสมอว่าเรียนจบมาทั้งที เราจะมาท�ำงานแบบอยู่ไปวันๆ ตื่นมากินข้าวออกไปท�ำงานแล้วก็ กลับมาอยู่ในห้องสี่เหลี่ยมเล็กๆ ในเมืองเท่านี้เองหรอ เกิดความ รู้สึกอยากจะท�ำงานเพื่อคนอื่นท�ำงานเพื่อสังคมบ้าง ให้สังคมได้ ประโยชน์จากความสามารถที่เราได้ร�่ำเรียนมา”
หลังจากนั้นไม่นนานโอกาสของเขาก็มาถึง เมื่อมีข่าวว่า มูลนิธิสืบนาคะเสถียรเปิดรับสมัครงานในต�ำแหน่งเป็นเจ้าหน้าที่ ภาคสนาม “รุ่งขึ้นผมไปลาออกจากงานที่ท�ำอยู่เลย ทั้งๆ ที่ไม่รู้ว่า ทางมู ล นิ ธิสื บ ฯ จะรั บ ผมเข้ า ท� ำ งานหรื อ เปล่ า ด้ ว ยซ�้ำ ถึ ง ตอน สัมภาษณ์งาน ผมไม่รู้เรื่องอะไรเลย ไม่รู้ว่ามางมูลนิสืบฯ ท�ำงาน เกี่ยวกับอะไร ไม่มีพื้นฐานในงานด้านชุมชน ไม่มีความรู้ในเรื่อง แผนที่ ใช้จีพีเอสไม่เป็น พี่เขาถามว่ารู้จักอุ้มผางพื้นที่ที่เราต้องไป ท�ำงานไหม เรายังตอบพี่เขาไปว่าไม่เคยได้ยินชื่อนี้มาก่อนเลย ถาม อะไรก็ตอบไม่ได้ สัมภาษณ์เสร็จก็รออยู่ประมาณสองเดือนจนคิดว่า คงไม่ได้แล้ว แต่สุดท้ายมูลนิธิสืบฯ ก็โทรมาถามเราว่าอยากลองไป พื้นที่ที่ท�ำงานก่อนไหม ซึ่งเราก็ได้ตอบตกลงเลยได้ท�ำงานที่มูลนิธิ” ธนบั ต รเข้ า มาท� ำ งานที่ มู ล ธิ โ ดยที่ ไ ม่ มี พื้ น ฐานในการ ท�ำงานเกี่ยวกับชุมชุน เพราะไม่รู้ว่ามูลนิธิท�ำงานเกี่ยวกับอะไรมา ก่อน รู้เพียงว่าอยากท�ำงานกับมูลนิธิเพียงเท่านั้น แต่ก็อาศัยได้ ศึกษาจากพี่ๆ ที่ท�ำงานมาก่อนจนเริ่มเรียนรู้สิ่งต่างๆ ทั้งที่เกี่ยวข้อง กับงาน ตลอดจนประสบการณ์ชีวิตในรูปแบบที่แตกต่างจากสังคม เมืองที่เขาเคยจากมา “งานในป่าสอนให้เรารู้จักพึ่งตัวเองนะ อย่างไฟฟ้าก็จะมี จ�ำนวนการใช้ที่จ�ำกัด ต้องหัดก่อไฟ ท�ำอาหารหุงข้าวเองทั้งหมด ต้องเรียนรู้วิถีชีวิตวัฒนธรรมที่แตกต่างและหลากหลาย ชาวบ้าน เขาไม่ได้สนใจหรอกว่าคุณจะจบอะไรมาจากไหน หากเข้าไปอยู่ใน พื้นที่เขาสนใจแค่เพียงว่าคุณหุงข้าวเป็นไหมเท่านั้น ถ้ายังพึ่งตัวเอง ไม่ได้โอกาสที่จะช่วยคนอื่นก็เป็นเรื่องยาก” ธนบัตรทิ้งท้ายในเรื่องงานอนุรักษ์ไว้ว่า “จริงๆ แล้วงาน อนุรักษ์เป็นเรื่องของทุกภาคส่วน ไม่ใช่เป็นเรื่องของใครคนใดคน หนึ่ง มันเหมือนโดมิโน่ที่มีผลบกระทบเชื่อมโยงส่งต่อถึงกันทั้งหมด คนเมืองอาจจะคิดแค่ว่าน�้ำมาจากก๊อก แค่เปิดก็มีน�้ำใช้แล้ว แต่ไม่ ได้รู้ว่าจริงๆ แล้วน�้ำมาจากป่า การจะช่วยกันอนุรักษ์สามารถเริ่มท�ำ ในเรื่องที่ง่ายๆ เอาแค่เรื่องใกล้ตัวแค่ประหยัดน�้ำประหยัดไฟก็เพียง พอแล้ว”
ณรงค์ศักดิ์ มาลีศรีโสภา กาแฟรักษาป่าต้นน�้ำ
ณรงค์ศักดิ์ มาลีศรีโสภา เจ้าหน้าที่ภาคสนามมูลนิธิสืบนาคะ เสถียร คนบนดอยสูง ณ บ้านแม่กลองน้อย อ�ำเภออุ้มผาง จังหวัด ตาก เข้ามาร่วมงานกับมูลนิธิสืบฯ เมื่อ 2 ปีก่อน เขาตัดสินใจเข้า ร่วมงานกับมูลนิธิสืบฯ เพราะเห็นการท�ำงานด้านการส่งเสริม อาชีพเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมขององค์กร และคิดว่านี่น่าจะเป็น ค�ำตอบให้กับชุมชนของตัวเองที่ก�ำลังถูกเกษตรเชิงเดี่ยวรุกเข้ามา ท�ำลายพื้นที่สีเขียว “ผมเข้ามาร่วมงานกับทางมูลนิธิสืบฯ เพราะเห็นมูล นิธิฯ เข้ามาช่วยสนับสนุนอาชีพให้กับคนในชุมชนที่อยู่ในพื้นที่ แหล่งต้นน�้ำ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ผมเพิ่งส�ำเร็จการศึกษาและกลับ มาอยู่บ้านที่แม่กลองน้อยพอดี ตอนแรกตั้งใจไว้ว่าจะกลับมาปลูก ไม้ผลเมืองหนาว เพราะที่บ้านก็ท�ำสวนอยู่แล้ว แต่ก็ตัดสินใจมา ปลูกกาแฟเพราะคิดว่าสามารถต่อยอดและเพิ่มมูลค่าได้ และคิด ว่ารายได้จากการปลูกกาแฟน่าจะท�ำให้ชาวบ้านเปลี่ยนใจเลิกท�ำ เกษตรเชิงเดี่ยว” ชุมชนแม่กลองน้อย แม้จะเป็นเพียงชุมชนเล็กๆ ใน อ�ำเภออุ้มผาง แต่ที่นี่มีความส�ำคัญยิ่งในฐานะเป็นพื้นที่ต้นน�้ำแม่ กลอง จังหวัดสมุทรสงคราม แต่ปัจจุบันพื้นที่แห่งนี้ก�ำลังถูกรุก หนักของการเกษตรเชิงเดี่ยว และมีการใช้สารเคมีอย่างรุนแรง ณรงค์ ศั ก ดิ์ ที่ ก ลั บ มาเฝ้ า มองชุ ม ชนของตนเริ่ ม เห็ น ปัจจัยเสี่ยงจากการใช้สารเคมีของคนในชุมชนที่เริ่มมีปัญหาด้าน สุขภาพจนน่าเป็นห่วง เขาเล่าว่า หากเทียบเป็นเปอร์เซ็นของคน ที่ท�ำเกษตรเชิงเดี่ยวในปัจจุบันมีจ�ำนวนถึง 40 เปอร์เซ็นต์ ที่มี ปัญหาทางด้านสุขภาพ มีสารเคมีตกค้างในเลือด นับเป็นเรื่องที่ อันตรายและควรที่จะเปลี่ยนพฤติกรรมในการท�ำการเกษตรแบบ เดิม นอกจากนี้ อีกสิ่งที่เขากังวล คือ พื้นที่ตรงนี้เป็นพื้นที่ ป่าต้นน�้ำ หากเกิดอะไรขึ้น คงไม่ใช่แค่ชุมชนของเขาเท่านั้นที่จะ ได้รับผลกระทบ แต่ยังรวมถึงคนปลายน�้ำอีกหลายล้านชีวิตที่อาจ จะพลอยได้รับผลกระทบตามไปด้วย
ในการเริ่มต้นเปลี่ยนแปลงชุมชนด้วยเกษตรอินทรีย์ และการปลูกกาแฟในปัจจุบันของชุมชนและตัวณรงค์ศักดิ์ เขา เล่าว่าเดิมทีชุมชนแห่งนี้มีการปลูกกาแฟมาก่อนแล้วโดยได้รับ การสนับสนุนจากภาครัฐแต่ก็ไม่ได้มีการด�ำเนินการหรือส่งเสริม อย่างเป็นรูปธรรม ท�ำให้ไม่มีใครสนใจปลูกกันจริงจัง กาแฟจึง กลายเป็นพืชที่ถูกปลูกทิ้งไว้ตามไร่ตามสวน ณรงค์ศักดิ์ จึงต้อง ริเริ่มใหม่ด้วยตัวเองอีกครั้ง “ตอนนี้ได้ส่งเสริมกาแฟพันธุ์อาราบิก้า เพราะเป็นพืชที่ ใช้พื้นที่น้อย และต้องอาศัยร่มเงาจากไม้ใหญ่ในการเจริญเติบโต ปลูกแซมกับการท�ำไม้ผลเมืองหนาวหรือต้นไม้ใหญ่ประจ�ำถิ่นได้ เป็นการท�ำเกษตรที่เป็นมิตรต่อผืนป่าและสิ่งแวดล้อม และช่วย ลดการแผ้วถางป่าต่างจากการท�ำเกษตรเชิงเดี่ยว และด้วยความ เหมาะสมในพื้นที่ชุมชนที่มีระดับความสูงจากระดับน�้ำทะเลที่ เหมาะต่อการเพาะปลูก อากาศที่หนาว จึงสามารถปลูกกาแฟที่ ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ และเมื่อเทียบการปลูกกาแฟกับการท�ำ เกษตรเชิงเดี่ยว การปลูกกาแฟนั้นยังมีต้นทุนที่น้อยกว่า ใช้พื้นที่ น้อยกว่า แต่ได้ก�ำไรมากกว่าอีกด้วย” แม้จะเป็นแค่ช่วงเริ่มต้น แต่การปลูกกาแฟก็สามารถ ท�ำรายได้ให้สมาชิกกลุ่มบ้างแล้ว นอกจากนี้ยังมีการประชุมฝึกอม รมเพิ่มความรู้ในเรื่องกาแฟให้คนในชุมชน รวมถึงการศึกษาดู งานต่างๆ ปัจจุบันทางกลุ่มสมาชิกมีเป้าหมายที่จะเพิ่มยอดคนที่ เคยท�ำเกษตรเชิงเดี่ยวให้หันมาปลูกกาแฟเให้มากขึ้น วางเป้า หมายไว้พื้นที่เกษตร 50 เปอร์เซ็นของชุมชนจะเป็นพื้นที่ที่ท�ำการ เพาะปลูกกาแฟ “กาแฟเป็นพืชที่อาศัยร่มเงาจากต้นไม้ใหญ่ เพราะ ฉะนั้นถ้าชุมชุนหันมาปลูกกาแฟนอกจากรายได้ที่จะได้รับแล้ว ก็ จะเป็นการเพิ่มพื้นที่สีเขียวในชุมชนด้วย เท่ากับเราได้พื้นที่ป่าที่ ถูกท�ำลายจากการเกษตรเชิงเดี่ยว ตอนนี้นอกจากกาแฟแล้วยัง สนุบสนุนชุมชนเพาะกล้าไม้ผลด้วย ซึ่งกระบวนการทั้งหมดจะ ไม่ มี ส ารเคมี เ ข้ า มาเกี่ ย วข้ อ ง และในอนาคตอยากให้ เ กษตร อินทรีย์เป็นรายได้หลักของชุมชนที่อยู่ในพื้นที่ต้นน�้ำ”
ปราโมทย์ ศรีใย
การอนุรักษ์คืองานที่ต้องปรับตัวกันไม่มีที่สิ้นสุด “ผมเริ่มต้นด้วยความสนใจในตัวคุณสืบจากบทเพลง ของวงคาราบาวตอนปี 2534 และมีโอกาสได้ไปห้วยขาแข้งจาก การเข้าค่ายในอีก 10 ปี ต่อมา ท�ำให้ได้ซึมซับถึงชีวิตแนวคิดและ อุ ด มการณ์ ของคุ ณ สื บ เพิ่ ม มากขึ้ น ไม่ ว ่ า จะเป็ น ในเรื่ อ งการ จัดการทรัพยากรธรรมชาติที่ต้องเป็นเรื่องของทุกคน และใน ความคิดที่ว่าสังคมจะดีขึ้นถ้าทุกคนมีความเท่าเทียมกัน ทั้งด้าน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อย่างที่คุณสืบได้เคยกล่าว ไว้” ปราโมทย์ ศรีใย เจ้าหน้าที่ภาคสนามประจ�ำมูลนิธิสืบ นาคะเสถียร ประจ�ำพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี เกิดความสนใจเรื่อง ความคิดและวิธีการท�ำงานของสืบ นั้นคือจุดเริ่มต้นของการเข้า มาท�ำงานให้พี่สืบ จากวันนั้นจนถึงวันนี้ระยะเวลาผ่านมานาน กว่า 11 ปี ที่เขายังคงท�ำงานอนุรักษ์ให้มูลนิธิฯ อย่างต่อเนื่อง เขา เล่ า ถึ ง ประสบการณ์ ก ารท� ำ งาน จากเคยใช้ ชี วิ ต ในกรุ ง เทพฯ เหมือนคนเมืองทั่วๆ ไป ก่อนจะมุ่งหน้าไปท�ำงานประจ�ำพื้นที่ จังหวัดกาญจนบุรี ไว้ว่า “ช่วงแรกในการท�ำงานเราก็ยังติดความเป็นคนเมือง อยู่ เราไม่สามารถสลัดภาพตรงนี้ได้ทั้งหมด แต่มันก็ดีที่ชุมชุนชาว บ้านเขามีความเอ็นดูเรา ปัญหาอุปสรรคจึงเป็นเรื่องของตัวเรา เองเสียมากกว่า อะไรที่ไม่เคยท�ำต้องท�ำ อะไรที่ไม่เคยกินต้องกิน เรากินข้าวสามมื้อแต่คนกระเหรี่ยงกินสองมื้อเราก็ต้องปรับตัว การเดินป่าการเดินเข้าไปในไร่ อาจจะต้องตื่นเช้ามากขึ้น ต้องหุง หาอาหารเองได้ และใช้ชีวิตอยู่กับชาวบ้าน ศึกษาพูดคุยภาษา บางค�ำที่จ�ำเป็นต้องรู้ รวมทั้งประเพณีและวันหยุดของเขาด้วย มี ความยากล�ำบากไปในตัวเอง” การท� ำ งานอยู ่ ใ นพื้ น ที่ ต ลอดระยะเวลาสิ บ กว่ า ปี นั้ น ท�ำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างในพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นใน เรื่องของคน ชุมชน และหน่วยงานภาครัฐ ที่ก่อนจะเข้าไปท�ำงาน มีปัญหาเรื่องความขัดแย้งในพื้นที่ ไม่ว่าจากการบุกรุกป่า หรือ การจับกุมชาวบ้านของรัฐกันเป็นประจ�ำ
“หลังจากเข้าไปท�ำงาน ชุมชมกับเจ้าหน้าที่ป่าไม้มีความ เข้าใจซึ่งกันและกันเพิ่มขึ้น ชาวบ้านรู้ว่าเจ้าหน้าที่ต้องท�ำตาม กฎหมายแบบนี้ และเจ้าหน้าที่ก็ได้รู้ว่าชาวบ้านมีวิถีชีวิตแบบนี้ และที่เห็นได้ชัดคือมีระบบการจัดการทรัพยากรที่เพิ่มมากขึ้น จาก เมื่อก่อนที่มีการบุกรุกป่าตัดไม้ จนทุกวันนี้ชุมชนมีการจัดตั้งคณะ กรรมมการขึ้น เจ้าหน้าที่เข้ามามีส่วนร่วมในการตรวจสอบการใช้ ทรัพยากรอย่างเป็นระบบ ซึ่งเราเข้าไปเป็นตัวกลางในการพูดคุย และสร้างระบบ ส่งผลให้แนวเขตพื้นที่ไม่ได้ถูกขยายออกไปจาก เดิมหลังจากท�ำแนวเขตร่วมกัน ตัวทรัพยากรธรรมชาติก็ยังคงอยู่ หลังจากที่เราได้ลงพื้นที่ไปท�ำงานตลอดระยะเวลากว่าสิบปีที่ผ่าน มา” นอกจากการเข้าถึงชุมชนและการท�ำงานร่วมกับเจ้า หน้าที่ ส่วนหนึ่งในการท�ำงานในพื้นที่ปราโมทย์ได้ใช้กระบวนการ ทางประวั ติ ศ าสตร์ จ ากการที่ ไ ด้ ร�่ ำ เรี ย นมาในการเก็ บ รวบรวม ข้อมูลแล้วน�ำมาวิเคราะห์ ว่าท�ำไมทรัพยากรถึงมีการเปลี่ยนแปลง ท�ำไมจ�ำนวนประชากรถึงได้เพิ่มขึ้น รวมถึงการวิเคราะห์ในภาพ รวมเรื่องสิ่งแวดล้อมนอกเหนือจากในประเทศ และนโยบายต่างๆ ภายในประเทศที่ควรจะมีการเปลี่ยนแปลง และทิศทางในเรื่อง งานอนุรักษ์ในอนาคตว่าควรจะเป็นไปในรูปแบบใด “ทุกวันนี้นโยบายต่างๆ ของรัฐ เป็นเรื่องที่ล้าหลังและ ไม่ทันสมัย อย่างทุกวันนี้เป็นเรื่องกว้างมากขึ้น อย่างการเปิดเออีซี ก็เป็นนโยบายที่ส่งผลกระทบมาถึงเราด้วย ซึ่งเป็นเรื่องใหม่ที่เรา ต้องคิด อย่างถ้าประเทศเพื่อนบ้านตัดถนนในป่าข้างๆ ก็มีผลกระ ทบมาถึงเราได้ หรือแม้แต่ประเทศจีนสร้างเขื่อนแล้วมีผลประทบ ต่อแม่น�้ำโขง ก็มีผลกระทบต่อเราและหลายประเทศ นโยบายต่อ เรื่องทรัพยากรในภายภาคหน้าจะต้องอิงกับเรื่องไร้พรมแดน ป่า ตะวันตกจะไม่เป็นของเราคนเดียว แต่จะเป็นของทุกคนในโลก นักอนุรักษ์ยุคใหม่ต้องก้าวตามให้ทัน การอ้างอิงในนโยบายต่างๆ จะไม่ใช่นโยบายรัฐบาลใดรัฐบาลหนึ่งอีกต่อไป แต่จะเป็นเรื่องของ ภาคพื้ น เอเชี ย แปซิ ฟ ิ ก เป็ น เรื่ อ งของภู มิ ภ าคระดั บ เอเชี ย จะ ตัดถนนเส้นนี้ ท�ำรางรถไฟเส้นนี้ ไม่ใช่เพียงแค่กลุ่มอนุรักษ์บ้าน เราเพียงเท่านั้น”
พร พนาวัน
งานอนุรักษ์กับยุคสมัยที่เปลี่ยนไป
พร พนาวั น อดี ต เจ้ า หน้ า ที่ ภ าคสนามมู ล นิ ธิสื บ นาคะเสถี ย ร ประจ�ำพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี มีความผูกพันกับป่ามาตั้งแต่เด็ก สมัยเรียน มัธยมปลายเริ่มมีความสนใจเรื่องธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพราะชอบเรียน รู้เรื่องราวต่างๆ เกี่ยวกับธรรมชาติ ก่อนจะมาเริ่มต้นงานอนุรักษ์สมัยเป็น นักศึกษาตอนปี พ.ศ. 2538 โดยได้เข้าร่วมชมรักอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่ง แวดล้อมมหาวิทยาลัยรามค�ำแหง และท�ำหน้าที่เป็นผู้ประสานงานใน 16 สถานบันการศึกษา เข้าไปท�ำงานคัดค้านโครงการท่อก๊าซไทย-พม่า ที่จังหวัด กาญจนบุรี
หลังจากจบการศึกษา พร พนาวัน เริ่มท�ำงานเป็นเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์และ เผยแพร่งานต่างๆ ที่เขาน�้ำพุจังหวัดกาญจนบุรี ก่อนที่จะเข้ามาร่วมงานโครงการจัดการผืน ป่าตะวันตกกับกรมอุทยานแห่งชาติ กระทั่งได้เข้ามาท�ำงานที่มูลนิธิสืบฯ ในช่วงปี พ.ศ. 2547 เขาเริ่มต้นงานที่มูลนิธิสืบฯ ในพื้นที่บ้านเขาเหล็ก จังหวัดกาญจนบุรี ในพื้นที่เขต อุทยานแห่งชาติเฉลิมรัตนโกสินทร์ สลับกับพื้นที่จังหวัดก�ำแพงเพชรในบางช่วง รวมระยะ เวลาในการท�ำงานทั้งหมด ร่วม 7 ปี เขาเล่าถึงการลงไปท�ำงานในพื้นที่ว่า ด้วยความเป็น พื้นที่ที่ค่อนข้างใหม่ เข้าไปโดยไม่มีข้อมูลเบื้องต้นมาก่อน ท�ำให้ต้องเริ่มเรียนรู้พื้นที่ไป พร้อมๆ กับการท�ำงาน เป็นการท�ำงานแบบลองผิดลองถูก และต้องปรับตัวอยู่ตลอดเวลา ซึ่งถือได้ว่าเป็นประสบการณ์ในด้านการอนุรักษ์ที่ส�ำคัญในช่วงนั้น เมื่อถามถึงเรื่องงานอนุรักษ์ในปัจจุบันว่ามีความยากง่ายแตกต่างจากเมื่อก่อน อย่างไร พร พนาวัน ได้ให้ความเห็นว่า “ความยากของงานอนุรักษ์ในทุกวันนี้ คือการที่เรา จะสื่อสารออกไปอย่างไรให้คนได้ตระหนักถึงรื่องสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นป่าสัตว์ป่าหรือ ทรัพยากรธรรมชาติ ว่ามีความส�ำคัญกับเราทุกคน คือจริงๆ เราไม่ได้ต้องการให้ถึงขั้นต้อง สุดโต่ง ไม่ต้องเลิศหรูอะไรมาก หรือต้องมีป่ากันทั้งประเทศซึ่งคงเป็นไปไม่ได้ เพราะนี้คือยุค สมัยที่เปลี่ยนไป เป็นยุคที่แต่ละประเทศเชื่อมโยงถึงกันหมด เป็นยุคแห่งการพัฒนา ซึ่งเรา จะไปปิดกั้นคงไม่ได้ ประชาชนส่วนใหญ่อยากเห็นการพัฒนาอยากเห็นความเจริญอยู่แล้ว งานอนุรักษ์จึงเป็นเรื่องที่ยากกว่าเดิมในตรงนี้” ส่วนส�ำคัญในการขับเคลื่อนการท�ำงานที่ส�ำคัญของเขาในการท�ำงานที่ผ่ามาคือ สืบ นาคะเสถียร “คุณสืบเป็นเหมือนแรงบันดาลใจ และถือได้ว่าเป็นแบบอย่างในงาน อนุรักษ์ส�ำหรับผม เป็นบุคคลที่หน้าสนใจและน่ายกย่อง ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องการท�ำงานและ อุดมการณ์ ถือได้ว่าเป็นแบบอย่างให้กับคนท�ำงานอนุรักษ์ และท�ำให้ผมมีแรงที่จะท�ำงาน อนุรักษ์สืบต่อไป” พร พนาวัน พูดถึงเรื่องสิ่งแวดล้อมทิ้งท้ายไว้ว่า “เรื่องสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันเป็น ยุคโลกสมัยใหม่ เป็นโลกที่ท�ำให้คนติดต่อสื่อสารกันง่ายขึ้น แต่ท�ำให้คนลืมสิ่งที่อยู่ใกล้ตัว ลืมการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน คนรุ่นใหม่ยังให้ความส�ำคัญในเรื่องธรรมชาติสิ่งแวดล้อม น้อยกว่าที่ควรจะเป็น สังคมมีคมเลื่อมล�้ำและเปลี่ยนแปลงจากเดิม ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมก็ดูเหมือนจะถดถอยลดลงไปเรื่อยๆ ซึ่งอาจจะท�ำให้เกิดผลกระทบตามมา ในหลายๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นภัยจากธรรมชาติต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นทางตรงหรือทางอ้อม อาจ จะไม่เกิดขึ้นโดยฉับพลันให้เห็นกันวันสองวันก็จริง แต่ถ้าวันนี้ทุกคนเริ่มตระหนักถึงปัญหา สิ่งแวดล้อมกันมากขึ้น ก็คงยังไม่สายเกินที่จะแก้ไข” ปัจจุบัน พร พนาวัน ท�ำงานเป็นผู้ช่วยงานประชาสัมพันธ์เผยแพร่งานวิชาการ สถาบันวิจัยสัตว์ป่าจังหวัดฉะเชิงเทรา ในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน
ประทีป มีคติธรรม อดีตเจ้าหน้าที่ฝ่ายวิชาการมูลนิธิ สืบนาคะเสถียร เข้ามาท�ำงานที่มูลนิธิในช่วงปี พ.ศ. 2546 โดยท� ำ งานด้ า นข้ อ มู ล วิ ช าการเกี่ ย วกั บ นโยบายและโครงการต่ า งๆ ที่ มี ผ ลกระทบต่ อ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งด�ำเนิน โครงการอนุ รั ก ษ์ แ ละการฟื ้ น ฟู ชุ ม ชนหลั ง เหตุ ก า รณ์ สึ น ามิ ใ นพื้ น ที่ เ กาะพระทอง อ� ำ เภอคุ ร ะบุ รี จังหวัดพังงา ปัจจุบันท�ำงานอยู่ส�ำนักงานกรรมการ ปฏิรูปกฎหมาย ในต�ำแหน่งเลขานุการกรรมการปฎิ รู ป กฎหมาย โดยยั ง คงท� ำ งานเกี่ ย วกั บ การปฏิ รู ป กฎหมายด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ไม่ ว ่ า จะเป็ น กฎหมายสิ่ ง แวดล้ อ ม กฎหมายแร่ กฎหมายที่ดิน กฎหมายน�้ำ กฎหมายป่าไม้ กฎหมาย ผังเมือง เป็นต้น ประทีปเล่าว่ามีความสนใจในเรื่องงานอนุรักษ์มา ตั้งแต่ช่วงสมัยเรียนมหาวิทยาลัย จากความชื่นชอบ ในการเที่ยวป่าและการดูนก จวบจนเขาได้เข้าไป เป็ น อาสาสมั ค รศู น ย์ ศึ ก ษากระเหรี่ ย งและพั ฒ นา กรณีปัญหาเหมืองแร่คลิตี้ ที่ท�ำให้เขาได้รับความรู้ และสนใจปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและงานอนุรักษ์ เพิ่มขึ้น และตั้งแต่วันนั้นจนถึงวันนี้งานอนุรักษ์ยัง เป็นงานที่เขาท�ำมาอย่างต่อเนื่อง
ประทีป มีคติธรรม
งานอนุรักษ์ที่ท�ำแล้วไม่มีวันจบ
ท�ำไมต้องท�ำงานอนุรักษ์ เรามองเรื่องงานอนุรักษ์เป็นกระบวนการที่ส�ำคัญในเรื่องของ การพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งประกอบด้วยสามส่วนหลักที่มีความสมดุล คือ ด้าน สังคม ด้านเศรษฐกิจ และด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แต่ ในความเป็ น จริ ง เราเน้ น การพั ฒ นาทางด้ า นเศรฐกิ จ โดยการน� ำ เอา ทรัพยากรธรรมชาติต่างๆ ขึ้นมาใช้ จนเศรษฐกิจของโลกและของประเทศ เติ บ โตไปมาก แต่ ใ นเรื่ อ งทรั พ ยากรธรรมชาติ แ ละสิ่ ง แวดล้ อ มกลั บ เสื่อมโทรมลง และในขณะที่สังคมชุมชนจ�ำนวนมากก็ได้รับผลกระทบจาก โครงการด้านการพัฒนาต่างๆ ผมจึงคิดว่างานอนุรักษ์คืองานเคลื่อนไหว ทางสังคมที่สร้างความสมดุลระหว่างการพัฒนาเศรษฐกิจ ทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และสังคมชุมชนให้มีความสมดุลกัน หรือสิ่งที่ เรียกว่าการพัฒนาที่ยั่งยืนนั่นเอง สืบกับงานอนุรักษ์ แม้ผ่านมา 25 ปี แต่ความคิดของคุณสืบยังทันสมัย และทัน สถานการณ์อยู่เสม ยกตัวอย่างเช่นคุณสืบเคยแสดงความคิดเห็น ถึงคน ที่ไม่มีโอกาสในและถูกเอารัดเอาเปรียบในสังคมว่า “ผมเห็นใจคนที่ไม่มี โอกาสในสังคม ถูกบีบคั้นถูกเอาเปรียบทุกอย่าง ประเทศไทยจะดีขึ้นถ้า คนที่มีโอกาสยอมสละโอกาสบ้าง เราช่วยเหลือคนส่วนใหญ่ที่ไม่มีโอกาส ลืมตาอ้าปากได้ ผมอยากเห็นสังคมดีขึ้น” ถ้าเทียบกับในปัจจุบันก็คือ การ สะท้อนถึงปัญหาเรื่องความเหลื่อมล�้ำและความไม่เป็นธรรมในสังคมที่ กล่าวถึงกันในปัจจุบัน คุณสืบเคยกล่าวว่า “ผมสนใจงานวิจัยมากกว่าที่จะไปวิ่งจับคน เพราะว่าจับได้แค่ตัวเล็ก ๆ ตัวใหญ่ ๆ จับไม่ได้ ก็เลยอึดอัดว่า กฎหมาย บ้านเมืองนี้มันใช้ไม่ได้กับทุกคน มันเหมือนกับว่าเราไม่ยุติธรรม เรารังแก ชาวบ้านในความรู้สึกของเขาเหมือนกับไม่ได้ให้ความยุติธรรมแก่คนใน สังคม” ถ้าเทียบกับปัจจุบันก็คือความไม่เป็นธรรมในการบังคับใช้กฎหมาย คุณสืบเคยเรียกร้องให้รัฐบาลเปิดใจให้กว้างยอมรับความคิด เห็นจากภาคส่วนต่างๆ “จะเป็นไปได้ไหมที่รัฐบาลจะเปิดใจกว้าง โดยการ ให้ทุกฝ่าย ทั้งประชาชน ผู้น�ำในท้องถิ่น ผู้แทนราษฎร นักวิชาการที่ เกี่ยวข้อง มาพูดคุยร่วมกัน...ผมคิดว่ามันหมดยุคแล้ว มันควรจะมาถึงยุคที่ ทุ ก คนมี ค วามเสมอภาคในการแสดงความคิ ด เห็ น ช่ ว ยกั น แก้ ป ั ญ หา เพราะปัญหาสิ่งแวดล้อมมันไม่ได้เกิดขึ้นกับคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง” ซึ่ง ปัจจุบันก็คือหลักการเรื่องการมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมนั่นเอง ดังนั้น สิ่งที่คุณสืบได้เคยพูดไว้ยังคงใช้ได้จนถึง ปัจจุบัน
ทิศทางงานอนุรักษ์ในอนาคต คงเป็นไปในทิศทางที่คุณสืบได้กล่าวไว้ โดยต้องเชื่อมโยงเรื่อง การอนุรักษ์กับเรื่องปัญหาความเลื่อมล�้ำความไม่เป็นธรรมในสังคมให้ได้ งานอนุรักษ์ที่ให้ความส�ำคัญกับสิทธิชมชุนและเรื่องการมีส่วนร่วมของ ประชาชน ชุมชน ภาคีและภาคส่วนต่างๆ ให้มากขึ้น นอกจากนั้นควร เชื่อมโยงงานอนุรักษ์กับมาตรการใหม่ๆ เช่น มาตรการเศรษฐศาสตร์สิ่ง แวดล้อม การเตรียมความพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิ อากาศ เป็นต้น ในประเด็ น เรื่ อ งกฎหมายการจั ด การป่ า ไม้ สั ต ว์ ป ่ า และสิ่ ง แวดล้ อ ม ซึ่ ง บั ง คั บ ใช้ ม าเป็ น เวลานาน ในขณะที่ ส ถานการณ์ ด ้ า น ทรัพยากรธรรมชาติและสังคมได้เปลี่ยนแปลงไปมากจาก 50 ปีที่แล้ว เช่นการเกิดขึ้นของรัฐธรรมนูญปี 40-50 ซึ่งพูดถึงเรื่องสิทธิชุมชน และ การมีส่วนร่วมของประชาชนของชุมชนในการจัดการเรื่องสิ่งแวดล้อม ใน ขณะที่ตัวกฎหมายต่างๆ เหล่านี้ ไม่ได้ถูกปรับแก้ไขให้สอดคล้องกับหลัก การใหม่ๆ จึงสมควรปรับแก้ไขให้สอดคล้องกัน ส่วนจะมีการปรับปรุง เนื้อหาอย่างไรจนต้องอยู่บนพื้นฐานการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย ได้ร่วม วิเคราะห์ในสภาพปัญหาและก�ำหนดทิศทางแนวทางในการแก้ไขในเชิง ข้อกฎหมายว่าควรจะมีเนื้อหาอย่างไร งานอนุรักษ์ให้อะไรกับคนท�ำงานอนุรักษ์ งานอนุรักษ์เป็นงานที่ให้ประสบการณ์กับผมมาก จากเดิมผมท�ำงานเรื่อง การอนุรักษ์บนฐานงานวิชาการ ส่วนใหญ่เราก็จะอนุรักษ์เรื่องสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติเป็นหลัก แต่ในช่วงหลักผมได้ลงมาท�ำในเรื่องสิทธิ มนุษยชน สิทธิชุมชน ท�ำงานเรื่องข้อกฎหมาย ท�ำงานเรื่องส่งเสริมเรื่อง การมีส่วนร่วมกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ผมคิดว่างานอนุรักษ์ เป็นรากฐานของความคิดที่ต่อเนื่องไปยังเรื่องอื่นๆ การท�ำงานอนุรักษ์ อยู่ กับธรรมชาติ ท�ำให้เราเข้าใจสัจธรรมพื้นฐานของชีวิตมากขึ้น ท�ำให้เรา เข้าใจว่าจริงๆ แล้วชีวิตเราคืออะไร เราคือส่วนหนึ่งของธรรมชาติใน ฐานะสปีชีย์ Homo sapiens เคยมีคนกล่าวไว้ว่างานอนุรักษ์เป็นเรื่องที่ท�ำไม่มีวันจบ เราต้อง ท�ำไปเรื่อยๆ ซึ่งเป็นความจริงเพราะในการด�ำรงชีวิตของมนุษย์ย่อมต้อง พึ่งพิงและใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไม่ว่าทางตรงหรือทาง อ้ อ ม ในขณะที่ สั ง คม สถานการณ์ แ ละสภาพปั ญ หาด้ า นทรั พ ยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ฉะนั้นงาน อนุรักษ์จึงไม่มีวันสิ้นสุดงานอนุรักษ์ที่ท�ำแล้วไม่มีวันจบ
ณรงค์ จ่างกมล
ประชาชน ประชาธิปไตย และงานอนุรักษ์
“การเมืองที่เป็นประชาธิปไตยมีความส�ำคัญต่องานอนุรักษ์ นโยบายต่ า งๆ ที่ มี ผ ลกระทบต่ อ สิ่ ง แวดล้ อ มนั้ น ล้ ว นแต่ เ ชื่ อ มโยงกั บ การเมือง ถ้าการเมืองไม่เป็นประชาธิปไตยงานอนุรักษ์จะท�ำได้ยากและ ล�ำบากขึ้น หากผู้ที่มีอ�ำนาจต้องการจะท�ำโครงการใดก็มีสิทธิท�ำได้ โดยที่ ไม่ต้องค�ำนึกถึงผลกระทบที่จะตามมา และประชาชนไม่สามารถมีปากมี เสียงหรือโต้แย้งอะไรได้” เป็นค�ำกล่าวของ ณรงค์ จ่างกมล อดีตเจ้า หน้าที่ฝ่ายวิชาการมูลนิธิสืบนาคะเสถียร ณรงค์เข้าท�ำงานที่มูลนิธิสืบในช่วงปี พ.ศ. 2536 โดยมีจุดเริ่ม ต้นในงานอนุรักษ์ตั้งแต่สมัยเรียน ซึ่งได้เข้าร่วมเป็นหนึ่งในคณะกรรม อนุ รั ก ษ์ ธ รรมชาติ แ ละสิ่ ง แวดล้ อ ม 16 สถาบั น การศึ ก ษา ในการท� ำ กิจกรรมต่างๆ ก่อนจะเข้ามารับหน้าที่ฝ่ายวิชาการที่มูลนิธิสืบฯ ซึ่งดูแล งานข้อมูลวิชาการที่เกี่ยวข้องกับนโยบายต่างๆ ของภาครัฐ ไม่ว่าจะเป็น ปัญหาพื้นที่ท�ำกินพื้นที่ป่า รวมไปถึงตรวจสอบคัดค้านในตัวโครงการที่มี ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และการจัดสัมนาเชิงวิชาการในประเด็นต่างๆ ปัจจุบันเขายังขับเคลื่อนในงานอนุรักษ์และสิ่งแวดล้อม และใช้โซเชียลมี เดียในการติดตามและให้ข้อมูลข่าวสารต่างๆ ในเรื่องงานอนุรักษ์ นโยบายภาครัฐกับสิ่งแวดล้อมเชื่อมโยงอย่างไร นโยบายกับสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องที่เชื่อมโยงกัน ทุกวันนี้เรามีน โยบายที่ท�ำลายทรัพยากรสิ่งแวดล้อมมากกว่านโยบายที่จะอนุรักษ์ ซึ่งจะ ส่งผลกระทบให้การท�ำงานในพื้นที่ไม่เกิดมีประโยชน์มากนัก จริงอยู่ที่อาจ จะมีบางพื้นที่ท่ีได้รับการอนุรักษ์อย่างดี อย่างเช่นห้วยขาแข้งที่คงไม่มี นโยบายใดที่จะไปท�ำลาย คือคงไม่มีใครไปสร้างเขื่อนที่ห้วยขาแข้งอย่าง แน่นอน แต่พื้นที่โดยรอบอย่างพื้นที่แม่วงก์มันก็ยังคงมีอยู่ และนโยบายที่ จะพัฒนาพื้นที่อื่นก็ยังคงจะมีอยู่ ซึ่งโดยรวมแล้วเราปฏิเสธไม่ได้ว่าการ เมืองและการอนุรักษ์ไม่ใช่เรื่องเดียวกัน เพราะนโยบายของภาครัฐก็มา จากการเมือง ถ้าประชาชนไม่ได้มีส่วนร่วมในการแสดงออก หรือแสดง ความคิดเห็นก็อาจเกิดปัญหาต่อตัวนโยบาย ซึ่งจะตามมาด้วยปัญหาสิ่ง แวดล้อม นโยบายภาครัฐกับประชาชน ต้องให้ความส�ำคัญกับประชาชนในวงกว้างให้มากขึ้น ต้องให้ ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในเชิงนโยบาย ยกตัวอย่างเช่นชุมชนอยากจะ เป็นชุมชนสีเขียว แต่ปรากฏว่ามีนโยบายการพัฒนาที่มากเกินไปจนตั้งรับ ไม่ทัน จัดการขยะจัดการน�้ำเสียในชุมชนไม่ได้ มันก็ไม่สามารถท�ำให้ ชุมชนสีเขียวเกิดขึ้นได้จริง นโยบายจึงมีส่วนส�ำคัญมาก การรับฟังความ คิดเห็นจากประชาชนในพื้นที่ก็ยังมีน้อยอยู่ คือเวลามีนโยบายมันใช้กันใน พื้นที่ระดับล่างฉะนั้นต้องฟังเสียงประชาชน ใช่เพียงว่ามีโครงการมีนโย
บายก็ จ ะท� ำ อย่ า งเร่ ง รั ด รวดเร็ ว จนชุ ม ชนนั้ น ตั้ ง ตั ว ไม่ ทั น อี ก ส่ ว นคื อ นโยบายภาครัฐส่วนใหญ่ ที่จะเน้นการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ เมื่อ เข้าไปในชุมชนแล้วไม่ได้แก้ปัญหาเรื่องความเลื่อมล�้ำความเท่าเทียมกัน ในสังคม หากเป็นอยู่อย่างนี้ระดับในการจะท�ำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจะ ช้าและคงต้องใช้เวลา ส่วนหนี่งคือชุมชนเองก็ต้องมีความสนใจในเรื่อง ชุมชนให้มากขึ้นกว่านี้ด้วย รวมไปถึงทั้งในนโยบายระดับชาติและระดับ โลก เพราะว่าการเข้าถึงของเอ็นจีโอหรือภาครัฐเองก็ไม่สามารถเข้าไปถึง ได้ในทุกพื้นที่ สิ่งแวดล้อมและการเมือง เราอาจจะมองเรื่องสิ่งแวดล้อมไม่เกี่ยวกับการเมือง แต่ถ้ามี เรื่องนโยบายเราก็ไม่สามารถปฏิเสธได้ว่ามีความเกี่ยวข้องกัน อีกอย่างคือ ตัวองค์กรก็พยายามจะเซ็นเซอร์ตัวเองให้ออกจากเรื่องการเมือง หากไป ยุ่งในเรื่องการเมืองก็อาจจะเกิดการตั้งค�ำถามว่าเข้าไปยุ่งเรื่องการเมือง ท�ำไม มีผลประโยชน์อะไรแอบแฝงหรือไม่ คือตรงนี้ต้องบอกให้ประชาชน เข้าใจว่าการที่จะเข้าไปเกี่ยวข้องการเมืองนั้น ไม่จ�ำเป็นว่าต้องฝ่ายใดฝ่าย หนึ่ง ประชาชนก็ต้องไม่ผลักให้องค์กรหรือเอ็นจีโอเข้าไปอยู่ในฝ่ายใดฝ่าย หนึ่งทางการเมืองด้วย ให้ดูในเรื่องนโยบายที่คัดค้าน ไม่ใช่ดูที่ตัวนักการ เมืองหรือพรรคการเมืองซึ่งไม่ถูกต้อง อย่างในช่วงเดินคัดค้านเขื่อนแม่ วงก์เราก็โดนจัดให้ไปอยู่ในกลุ่มล้มรัฐบาลเดิม หรือถ้าจะออกมาคัดค้าน ต่อต้านอะไรในตอนนี้ ก็จะถูกผลักให้เป็นกลุ่มผู้ที่สร้างความวุ่นวายและ เป็นฝ่ายที่ตรงข้ามรัฐบาลนี้ พรรคการเมืองสีเขียว การจัดตั้งพรรคการเมืองสีเขียวเป็นอีกหนึ่งช่องทางขับเคลื่อน ในเชิ ง นโยบาย ควรจะมี อ งค์ ก รอนุ รั ก ษ์ ส ่ ว นหนึ่ ง ที่ เ ข้ า ไปมี ส ่ ว นร่ ว ม ทางการเมือง เพื่อเป็นตัวเลือกให้ประชาชน เพราะการเปลี่ยนแปลงใน เชิงอนุรักษ์ มันไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ด้วยค�ำสั่งผู้น�ำหรือว่าคนใดคน หนึ่ง แต่การเปลี่ยนแปลงนั้นต้องเกิดจากประชาชนส่วนใหญ่เป็นคน เปลี่ยนแปลง เมื่อมีพรรคการเมืองเกิดขึ้นประชาชนมีทางเลือก เราก็ สามารถเข้าไปผลักดันในเชิงนโยบายได้ ซึ่งองค์กรอนุรักษ์ในระยะยาว ควรที่จะคิดถึงเรื่องนี้ ว่าจะท�ำกันอย่างไรหรือผลักดันอย่างไรให้เกิดขึ้นได้ อีกทั้งนโยบายที่ไม่ได้เกิดขึ้นมาจากประชาชน หรือจากการรับนโยบาย ของประชาชน จริงๆ อาจจะเป็นนโยบายที่ดีจริง แต่มันอาจจะไม่มีความ ยั่งยืน
พงษ์ศักดิ์ ม่วงงาม
งานอนุรักษ์ต้องท�ำเป็นตัวอย่าง พงษ์ศักดิ์ ม่วงงาม เจ้าหน้าที่ภาคสนามมูลนิธิสืบนาคะเสถียรประจ�ำพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี เขาน�ำความรู้ทาง ด้านเกษตรที่ตัวเองถนัดมาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมดั้งเดิมในการท�ำการเกษตรของชาวบ้าน ที่มีการใช้สารเคมีซึ่งเป็น อันตรายต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและต่อตัวชาวบ้านเองด้วย นอกจากนั้นการท�ำเกษตรแบบเดิมยังไม่ได้ ช่วยให้ชาวบ้านมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น แถมพ่วงด้วยหนี้สิ้นที่ตามมา และที่ส�ำคัญคือการรุกพื้นที่ป่าเพื่อใช้เป็นพื้นที่ ท�ำการเกษตร เมื่อเห็นปัญหาที่อยู่ตรงหน้า พงษ์ศักดิ์จึงมองหาทางแก้ และกลวิธีของเขา คือการลงมือท�ำให้เห็น “ผมท�ำงานทุกอย่างด้วยความจริงใจ ถ้าไม่ชอบให้ใครท�ำแบบไหนกับเราผมก็จะไม่ท�ำแบบนั้น ชาวบ้าน สามารถว่าผมได้ตักเตือนผมได้ คนอื่นอาจจะมีวิธีการไม่เหมือนผมแต่ผมยึดหลักในแบบนี้ บางครั้งก็มีบ้างที่คิดว่ายังท�ำไป ไม่ถึงที่ได้ตั้งใจไว้ หรือหากเป็นคนอื่นอาจจะท�ำได้มากกว่านี้ ผมเข้าไปในหมู่บ้านเหมือนไปหาครอบครัวญาติพี่น้อง การ ท�ำงานที่เราแนะน�ำชาวบ้านจะท�ำตามหรือไม่ไม่ใช่ปัญหา แต่เข้าใจและฟังที่เราพูดก็พอ อย่างเรื่องปลูกข้าวโพดผมเคย บอกให้ชาวบ้านเลิกท�ำเขาก็ยังไม่เชื่อ ผมก็ใช้การคิดค�ำนวนให้ชาวบ้านเห็น ให้ดูว่าท�ำแล้วมันขาดทุนจริงๆ ซึ่งเมื่อเห็น จริงเขาก็พร้อมท�ำตาม” ในการด�ำเนินงานศูนย์กสิกรรมธรรมชาติบ้านทุ่งนางครวญ ที่พงษ์ศักดิ์เป็นผู้ดูแล เขาลงมือท�ำทุกอย่างกับทีม งาน บางครั้งก็จัดกิจกรรมอบรมความรู้ให้ชุมชน และยังเป็นแหล่งกองคลังกล้าไม้บางชนิดส�ำหรับแจกจ่ายให้กับชุมชน หรือหน่วยงานในพื้นที่ใกล้เคียง การรุกคืบของพืชเชิงเดี่ยวอย่างหนักหน่วงและไม่รีรอเวลา ท�ำให้พงษ์ต้องงัดกลเม็ดต่างๆ ออกมาสู้รบ ต้อง หาพืลผลหลายๆ อย่างมาเปลี่ยนความคิดคนให้ได้ เขายกตัวอย่างกรณีศึกษาน่าสนใจเรื่องการปลูกไผ่ เพื่อทดแทนพืชเชิงเดี่ยว เพราะไผ่จะช่วยป้องกันการพัง ทลายของหน้าดิน รักษาความชุ่มชื่น อีกทั้งยังให้ผลในทางเศรษฐกิจที่ไม่ต้องลงทุนมาก มีหน่อไม้ไว้กิน มีไม้ไผ่ไว้ใช้ ประโยชน์ ลดพื้นที่การปลูกข้าวโพด ข้อส�ำคัญยังช่วยฟื้นฟูระบบนิเวศได้ด้วย “สิ่งต่างๆ ลงมือท�ำ เหมือนเป็นการจุดประกายความคิดเพื่อลุกขึ้นมาพิสูจน์ให้สังคมได้เห็นว่าชุมชนสามารถอยู่ อาศัยและรักษาธรรมชาติอย่างเกื้อกูลกันได้”
รตยา จันทรเทียร นางสิงห์แห่งผืนป่าตะวันตก
ฝนเม็ดเล็กๆ ร่วงพราวลงจากท้องฟ้าขมุกขมัว ไม่มีท่าที ว่าจะเบาลงมีแต่จะทวีความหนักของเม็ดฝนขึ้นเรื่อยๆ เป็นอุปสรร คเล็กๆ ให้คณะเดินป่าส�ำรวจเส้นทางการศึกษาธรรมชาติในเขต ทุ่งใหญ่ตะวันตก ซึ่งเป็นหนึ่งในอาณาเขตของป่ารอยต่อ 6 จังหวัด สถานที่ท�ำงานของมูลนิธิสืบนาคะเสถียร หญ้าที่มีหยดน�้ำเกาะ ประกอบกับดินลื่นๆ เป็นอุปสรรคล�ำดับต่อมา แต่ทว่า กลับไม่ ท�ำให้ อาจารย์ รตยา จันทรเทียร ลดความมานะในการเดินลง แม้แต่น้อย ซ�้ำยังมีรอยยิ้มอยู่บนใบหน้า ซึ่งเห็นได้ชัดแม้ไม่ต้องพูด ว่ า ‘ความสุ ข ของอาจารย์ คื อ การได้ อ ยู ่ ท ่ า มกลางธรรมชาติ ที่ สมบูรณ์’ ในวัย 84 ปี อาจารย์รตยา จันทรเทียร รับบทบาทการ เป็นประธานมูลนิธิสืบนาคะเสถียรมาแล้วกว่า 23 ปี แต่ก่อนจะมา ถึงจุดนี้ อาจารย์ผ่านการท�ำงานทั้งในสายงานอนุรักษ์และไม่ใช่ สายงานอนุรักษ์ แต่ดูเหมือนว่าความรักในงานอนุรักษ์จะมีอยู่ใน จิตวิญญาณของอาจารย์มาโดยตลอด เห็นได้จากในปี 2530 แม้ ตอนนั้นอาจารย์จะด�ำรงต�ำแหน่งผู้อ�ำนวยการส�ำนักผู้ว่าการการ เคหะแห่ ง ชาติ อ ยู ่ แต่ อ าจารย์ ก็ ยั ง ได้ เ ข้ า ไปมี ส ่ ว นร่ ว มในการ คั ด ค้ า นการสร้ า งเขื่ อ นน�้ ำ โจนในพื้ น ที่ ทุ ่ ง ใหญ่ น เรศวรอั น เป็ น ปรากฏการณ์ของสังคมไทยที่ทุกภาคส่วนมีน�้ำเสียงไปในทิศทาง เดียวกัน และจากการที่อาจารย์แสดงให้เห็นว่า ทุ่งใหญ่นเรศวรนี้ ไม่ใช่ทุ่งโล่งๆ แต่เป็นเหมือนมดลูกของป่าที่มีสรรพชีวิตอาศัยอยู่ มากมาย ในที่สุด รัฐบาลในสมัยนั้นก็ต้องชะลอโครงการไว้ และ นั่น... ท�ำให้อาจารย์ได้รู้จักชื่อ “สืบ นาคะเสถียร” เป็นครั้งแรก “คุณสืบเคยไปท�ำงานที่การเคหะแห่งชาติอยู่ปีกว่าๆ แต่ ไม่ได้เจอตัวกัน ตอนต่อสู้เรื่องเขื่อนน�้ำโจน คุณสืบได้ท�ำข้อมูลเรื่อง คุณค่าของป่าทุ่งใหญ่ฯ และผลที่เกิดขึ้นหากโดนน�้ำท่วม เราก็เอา ข้อมูลนั้นมาเผยแพร่ นั่นแหละที่ได้รู้จักคุณสืบ ไม่ได้สนิทสนมกัน นัก แต่เรามีแนวคิดเดียวกัน ที่ท�ำงานอยู่ในทุกวันนี้ก็ด้วยศรัทธา เดียวกัน” นั บ เป็ น เวลาเกื อ บ 20 ปี นั บ แต่ เ กษี ย ณอายุ จ าก ต� ำ แหน่ ง ผู ้ ว ่ า การเคหะฯ ในปี พ .ศ. 2533 จากเหตุ ก ารณ์ ที่ ประเทศไทยสูญเสียคุณสืบ นาคะเสถียร นักวิชาการป่าไม้ผู้ พิทักษ์รักษาป่าผืนป่า และสัตว์ป่า อาจารย์รตยา จึงได้เข้ารับ ต�ำแหน่งประธานมูลนิธิสืบนาคะเสถียร ท�ำงานอาสาสมัคร เพื่อ ด�ำเนินภารกิจสืบทอดเจตนารมณ์ของคุณสืบ เพื่อช่วยให้ผืนป่า สัตว์ป่า และแหล่งธรรมชาติ ได้รับการอนุรักษ์ในวิถีทาง ที่เอื้อ ประโยชน์อย่างยั่งยืนต่อมนุษย์ และอนุชนรุ่นหลัง ภายใต้แนวคิด “ให้มนุษย์ได้เกื้อกูลธรรมชาติ เพื่อธรรมชาติคงอยู่ เพื่อเกื้อกูล มนุษย์”
“หัวหน้าสืบ นาคะเสถียร อดีตหัวหน้าเขตรักษาพันธุ์ สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จากไปเมื่อ 1 ก.ย. 2533 เป็นเวลา 25 ปีมา แล้วงานใหญ่ชิ้นสุดท้ายก่อนจากลา คืองานวิชาการที่หลากหลาย เพื่ อ เสนอผื น ป่ า ทุ ่ ง ใหญ่ น เรศวร-ห้ ว ยขาแข้ ง เป็ น มรดกทาง ธรรมชาติของโลก ในครั้งนั้นคุณสืบได้ให้ความเห็นไว้ด้วยว่า ถ้า จะรักษาระบบนิเวศ ทุ่งใหญ่นเรศวร-ห้วยขาแข้ง ไว้ให้ได้ จะต้อง รักษาผืนป่าที่ต่อเนื่องกับป่าทั้ง 2 ทั้งด้านบน และด้านล่างไว้ด้วย มีหลักฐานเป็นแผนที่ ที่หมายขอบเขตโดยคุณสืบ นาคะเสถียร ‘ชื่อ แผนที่ป่าตะวันตก’ โดยคุณสืบ นาคะเสถียร แผนที่นี้ใน ปั จ จุ บั น ใส่ ก รอบแขวนอยู ่ ที่ ส� ำ นั ก งานมู ล นิ ธิสื บ นาคะเสถี ย ร กรุงเทพมหานคร” การท� ำ งานโครงการจอมป่ า ในผื น ป่ า ตะวั น ตก เป็ น แนวทางใหม่ในการอนุรักษ์ป่า ควบคู่ไปกับการรักษาความเป็น ชุมชน โดยแก้ไขความขัดแย้งในเรื่องการประกาศเขตอนุรักษ์ทับ พื้นที่ชุมชน ความขัดแย้งประเด็นการท�ำไร่หมุนเวียนของชาว กะเหรี่ยง และความขัดแย้งในเรื่องการขยายพื้นที่เกษตรกรรม ของชุมชนบนพื้นที่ต้นน�้ำที่ส่งผลกระทบทางระบบนิเวศ และสิ่ง แวดล้อมอย่างรุนแรง ตลอดจนเป็นตัวอย่างการร่วมมือระหว่าง ชุมชน และภาครัฐ โดยมีรูปธรรมชัดเจนในผืนป่าตะวันตก ซึ่งเป็น ป่าอนุรักษ์ที่ต่อเนื่องใหญ่ที่สุดของประเทศไทย (พื้นที่รวมกว่า 12 ล้านไร่ ของ 17 ป่าอนุรักษ์) ท�ำให้เกิดการแก้ปัญหาในพื้นที่อย่าง เป็นรูปธรรม ส่งผลในการรักษาทรัพยากร เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนใน การขยายผลสู่พื้นที่อื่นๆ ต่อไป อาจารย์รตยา มักยืนยันให้ความเห็นเสมอว่า “แท้ที่จริง เรื่องของคน ชุมชน สิ่งแวดล้อม และทรัพยากรธรรมชาติ เป็น เรื่องที่ยึดโยงมีผลกระทบซึ่งกันและกัน ถ้าเรามุ่งหวังให้ชุมชนเข้ม แข็งพึ่งตนเองได้ ต้องให้ความส�ำคัญเรื่องการรักษาทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้มากกว่าที่ผ่านมา” ทุกวันนี้อาจารย์รตยา ผู้ได้รับสมญาว่า “นางสิงห์เฝ้า ป่ า ” ยั ง ท� ำ หน้ า ที่ ข องตนเองอย่ า งสม�่ ำ เสมอ ไม่ มี ท ่ า ที จ ะ เหน็ดเหนื่อย และท่านก็ยืนยันว่าสุขภาพยังแข็งแรงดีอยู่ไม่ต่าง จากยี่สิบปีก่อน และไม่มีสิ่งใดน่าเป็นห่วง แต่สิ่งที่ท�ำให้ท่านเป็น ห่วงมากๆ กลับเป็นอนาคตของผืนป่าในเมืองไทย... “ป่าเมืองไทยวันนี้เหลือจ�ำกัดจริงๆ ถ้าอยากรู้ว่าจ�ำกัด แค่ไหน ทุกคนวันนี้มีเฟซบุ๊ก มีไอแพด ลองเปิดดูได้ว่ามันเหลือ เท่าไรแล้ว แล้วทางที่ดีที่สุดวันนี้ก็คือ ท�ำอะไรทั้งหลายขอให้หลบ ป่า ไม่ใช่เข้าไปใช้ในป่า ไม่ว่าจะเป็นโครงการถนน หรืออ่างเก็บน�้ำ นี่คือการรักษาที่ส�ำคัญที่สุดก็คือรักษาของเดิม อย่าไปรังแกเขา” อาจารย์รตยาฝากไว้ด้วยหัวใจที่ยังคงเป็นห่วง