เสน่ห์ภูกระดึงในวัน วาน... กับอนาคตที่ ก�ำลังจะเปลี่ยนไป
หากเอ่ยถึงสถานที่ท่องเที่ยวที่เป็นที่นิยมในฤดูหนาว ‘ภูกระดึง’ ย่อมเป็นสถานที่แรก ที่นักท่องเที่ยว ชาวไทยนึกถึง และหวังจะได้ขึ้นไปพิชิตยอดภูกระดึงสัมผัสอากาศหนาวเย็น ชื่นชมทัศนียภาพความสวยงามของ หลังแป แม้จะต้องฝ่าฟันความยากล�ำบาก ความเหนื่อยกาย แลกกับเวลา 4 – 5 ชั่วโมงที่ต้องเสียไปก็ตาม ทว่า ความเหนื่อยยากในการเดินเท้าขึ้นไปพิชิตยอดภูกระดึงนี้เองที่กลับเป็นเสน่ห์ดึงดูดนักท่องเที่ยวให้กับสถานที่ อย่างแท้จริง ชนิดที่ว่าหากมาภูกระดึงก็ต้อง ‘เดินขึ้น’ ยอดภูกระดึง แต่ทว่าหากเกิดกระเช้าไฟฟ้าขึ้นมาแทนที่แล้ว เสน่ห์ที่ว่านี้จะยังคงมนต์ขลังให้กับภูกระดึงอยู่อีกหรือไม่ ? อุ ท ยานแห่ ง ชาติ ภู ก ระดึ ง ถู ก ประกาศ ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ ล�ำดับที่ 2 ต่อจากอุทยาน แห่งชาติเขาใหญ่ โดยตามต�ำนานเล่าว่าภูกระดึง ถูกค้นพบโดยนายพรานผู้หนึ่งที่ขึ้นตามรอยกระทิง ขึ้นไปบนเขา เมื่อขึ้นถึงยอดเขาจึงได้พบกับสภาพ ธรรมชาติ อั น ตระการตา คื อ ที่ ร าบซึ่ ง เป็ น ทุ ่ ง หญ้ า ป่าสนอันกว้างใหญ่ไพศาล ในสมัยก่อนนั้นภูกระดึง เป็ น ที่ รู ้ จั ก กั น ในเฉพาะคนในท้ อ งถิ่ น โดยค� ำ ว่ า ภู ก ระดึ ง มาจากต� ำ นานที่ ว ่ า ในทุ ก วั น โกนหรื อ วันพระชาวบ้านที่บ้านศรีฐานจะได้ยินเสียงระฆัง ที่ ดั ง แววมาจากยอดภู ซึ่ ง “กระดึ ง ” มาจากค� ำ ว่า “กระดิ่ง” ในภาษาพื้นบ้านจังหวัดเลยที่แปลว่า ระฆังใหญ่ และ “ภู” ก็มาจากค�ำว่า “ภูเขา” จน เป็นที่มาของชื่อภูกระดึง จวบจนในสมัยพระบาท ภาพประกอบ : โดย ray daddy, นายเก่าคนก่อน สมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระเจ้าบรมวงศ์ และ เหมียว beautycatsจากกระทู้ ร�ำลึกภูกระดึง เธอ กรมหลวงประจั ก ษ์ ศิ ล ปาคม ข้ า หลวงใหญ่ 40 ปีที่ผ่านมา เวบไซต์ pantip.com สมุหเทศาภิบาลมณฑลอุดรธานีในสมัยนั้น ทรงท�ำ
รายงานไปยังกระทรวงมหาดไทย ว่าพบภูเขาลูกหนึ่ง มีลักษณะพิเศษสวยงามมาก มียอดแบนราบ แปลก กว่าเขาลูกอื่นๆ ภูกระดึงจึงเริ่มเป็นที่รู้จักของผู้คน มากยิ่งขึ้น ต่อมาในปี 2486 รัฐบาลได้ออกพระราช กฤษฎีกาให้ป่าภูกระดึงเป็นป่าสงวนแห่งชาติ จาก ภูกระดึงก็ถูกประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติภูกระดึงใน วันที่ 7 ตุลาคม 2502 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่ออนุรักษ์ ธรรมชาติอันมีลักษณะเด่นเป็นพิเศษไว้ส�ำหรับเป็น ประโยชน์ในด้านการศึกษา ค้นคว้าวิจัยและเพื่อใช้ เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชน (สารคดี, 2542) “ภูกระดึงถูกเปรียบเป็นสัญลักษณ์ของ การเดินเท้าเพื่อขึ้นมาชมธรรมชาติตั้งแต่นานมา แล้ ว ผมว่า น่ า จะตั้ ง แต่ สมั ยรุ ่นพ่อ รุ่ น แม่ ของเรา แล้ว ผมว่ามีแหล่งศึกษาธรรมชาติที่ขึ้นชื่อในเรื่อง ของการเดินทางที่จะใช้ค�ำว่า ‘พิชิต’ ในการท่อง เที่ยว เราต้องท้าทายตัวเองในการที่จะเดินขึ้นไปให้
ถ้ า จะพู ด ถึ ง ความเสมอภาคของคนที่ จะขึ้ น ถึ ง ภู ก ระดึ ง ได้ ท� ำ ไมเราไม่ คิ ด ถึ ง ความเสมอภาคของสัตว์ป่าบ้าง ท�ำไมไม่ เคารพสิทธิของสัตว์ป่า ชาลี วาระดี ตัวแทนจากกลุ่มระวังไพร
ถึง ฝ่าฟันความยากล�ำบากเพื่อขึ้นไปชมธรรมชาติ ความมีเสน่ห์ของภูกระดึงมันก็อยู่ตรงนี้แหละผม ว่า” ชาลี วาระดี ตัวแทนจากกลุ่มระวังไพรได้แสดง ความเห็นในงานเสวนา ‘กระเช้าภูกระดึง... มโนโปร เจ็คท์’ “สมัยก่อนเวลาเดินขึ้นไปหลังแปจะเป็น บันไดขั้นๆ เราต้องใช้แรงใช้มือตะกุยตะกาย ดึง เชือกพาตัวเองขึ้นไป สมัยนี้จะเป็นบันไดเหล็กเราก็ จะไต่เหล็กขึ้นไป ตลอดเส้นทางถ้าเป็นนักดูนกก็จะ เดินชมนก ลิสต์รายชื่อนกไปเรื่อยๆ เป็นความสุข อย่างหนึ่งของนักดูนกจริงๆ อย่างเช่นที่นี่ก็จะมีนก ไต่ไม้หน้าผากก�ำมะหยี่ นอกจากนั้นภูกระดึงก็จะมี ความหลากหลายของพรรณไม้อยู่มาก เช่น หม้อ ข้าวหม้อแกงลิง หยาดน�้ำค้าง กล้วยไม้หายาก” “เมื่อก่อนมีความอุดมสมบูรณ์สูง ถ้าเรา ไม่เดินเท้าเราก็จะไม่มีโอกาสเห็นอะไรสวยๆ แบบ นี้นะ แต่เมื่อมีนักท่องเที่ยวเข้ามามากขึ้น ความ สะดวกสบายมากขึ้น ชนิดพรรณไม้ที่เคยเจอก็ไม่ เจอ สัตว์ป่าที่เคยเจอ หรือยกตัวอย่างง่ายๆ ก็อย่าง พวกนก ก็หาดูยากเหลือเกิน ไม่ค่อยมาปรากฏตัว ให้เห็นแล้ว ค�ำถามคือ เท่านี้ภูกระดึงยังบอบช�้ำไม่ พออีกหรือ จึงจะสร้างกระเช้าขึ้นภูกระดึงให้เพิ่ม จ� ำ นวนนั ก ท่ อ งเที่ ย วให้ ม าเหยี ย บย�่ ำ ธรรมชาติ ใ ห้ สะดวกสบายมากยิ่งขึ้นไปอีก” หากยกเหตุผลของความเสมอภาคในการ เข้ า ถึ ง ภู ก ระดึ ง มาเป็ น เหตุ ผ ลในการสร้ า งกระเช้ า ภูกระดึง ซึ่งต้องการให้ทุกคนมีสิทธิ์ขึ้นมาชมความ งามบนหลังแป ไม่ว่าจะเด็ก ผู้สูงอายุ หรือผู้มีน�้ำ หนักเกินที่ไม่สะดวกต่อการเดินทาง คงต้องบอกว่า ไม่จ�ำเป็นเสมอไป จากประสบการณ์ของนักเดินทาง ที่สัมผัสธรรมชาติและขึ้นภูกระดึงมาหลายครั้ง ท�ำให้ เห็นได้ว่าไม่ว่าจะเป็นเด็ก ผู้สูงอายุ หรือผู้มีน�้ำหนัก เกิน หากต้องการเดินขึ้นภูกระดึงย่อมท�ำได้ แต่อาจ จะต้องใช้เวลาพักหรือเวลาเดินทางนานกว่าคนอื่น
ในทางตรงกันข้าม การเดินไปชมธรรมชาติไป เดิน ช้าๆ แบบไม่เร่งรีบ ก็ถือเป็นการใช้ธรรมชาติบ�ำบัดไป ในตัวเช่นเดียวกัน “ถ้าจะพูดถึงความเสมอภาคของคนที่จะ ขึ้นถึงภูกระดึงได้ ท�ำไมเราไม่คิดถึงความเสมอภาค ของสัตว์ป่าบ้าง ท�ำไมไม่เคารพสิทธิของสัตว์ป่า เราค�ำนึงแต่ความเสมอภาคของคนแต่เราลืมนึกถึง ความเสมอภาคของสัตว์ป่าไป ผมว่าถ้าสัตว์ป่ามัน พูดได้มันคงจะโวยวายออกมาบ้างแต่นี่มันพูดไม่ได้ เลยจ�ำเป็นต้องมีคนพูดแทน” ชาลี วาระดี กล่าว แต่ ห ากมี ก ระเช้ า ขึ้ น ภู ก ระดึ ง ขึ้ น มา แน่นอนว่าธรรมชาติสองข้างทางตลอดทางจากจุด เริ่ ม ต้ น ที่ ศู น ย์ บ ริ ก ารนั ก ท่ อ งเที่ ย วบ้ า นศรี ฐ านซึ่ ง สามารถเป็ น เส้ น ทางศึ ก ษาธรรมชาติ ไ ด้ ก็ จ ะไม่ ไ ด้ ใช้ประโยชน์อีกต่อไป ตรงกันข้ามหากมีการสร้าง กระเช้าภูกระดึงภาระหนักกลับจะไปตกอยู่บนสถานี ปลายทางซึ่งก็คือบริเวณผาหมากดูกซึ่งห่างจากหลัง แปประมาณ 800 เมตร ไปสู่บริเวณกางเตนท์อีก ราว 3 กิโลเมตร และนอกจากนั้น ยังต้องอาศัยแรง กายเดินไปตามสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ โดยต้องแบก กระเป๋าไปด้วยแบบปราศจากลูกหาบ การใช้กระเช้า ขึ้นภูกระดึงจึงไม่ใช้ทางเลือกที่ดีนักของผู้ที่ไม่มีแรง กายที่จะเดินทางระยะไกลๆได้ นอกจากนั้น จากที่ ระบุไว้ว่าการสร้างกระเช้าภูกระดึงที่ลงทุนกว่า 800 ล้านบาทจะสามารถเพิ่มจ�ำนวนนักท่องเที่ยวได้กว่า 1 – 2 หมื่นคนต่อวัน ภาระหนักย่อมไปตกอยู่กับ ธรรมชาติด้านบนภูกระดึงที่จะถูกเหยียบย�่ำ จนไม่ สามารถจินตนาการออกได้เลยว่าความบอบช�้ำของ ธรรมชาติจะไปถึงจุดไหนกับการที่ต้องรองรับนักท่อง เที่ยวกว่า 500 คนต่อหนึ่งชั่วโมง ดังนั้น คุณชาลี วาระดี จึงมีข้อสันนิษฐาน ว่าหากจะรับนักท่องเที่ยวที่ไม่สามารถเดินขึ้นไปจุด ต่างๆ เองได้ขึ้นสู่ยอดหลังแป อาจจะต้องมีสิ่งอ�ำนวย ความสะดวกตามมา เช่ น มี ถ นน หรื อ รางเชื่ อ ม
ระหว่างจุด หรืออาจจะมีรถราง ซึ่งแน่นอนว่า เมื่อ มีสิ่งอ�ำนวยความสะดวกเหล่านี้ และทวีจ�ำนวนนัก ท่องเที่ยวมากยิ่งขึ้น หากมีการจัดการขยะ ของเสียที่ ไม่ดี ก็ย่อมก่อให้เกิดมลพิษด้านขยะที่เป็นอันตรายต่อ สัตว์ป่าตามมา นอกจากนั้นยังอาจก่อให้เกิดปัญหาสิ่ง สาธารณูปโภคไม่เพียงพอ เนื่องจากการดูแลไม่ทั่วถึง อีกด้วย อี ก ทั้ ง จากการที่ มี ก ารระบุ ว ่ า เมื่ อ มี ก าร สร้างกระเช้าขึ้นภูกระดึงจะสามารถเปิดอุทยานให้มี การท่องเที่ยวได้ตลอดทั้งปี นโยบายนี้ย่อมก่อให้เกิด การท�ำลายระบบนิเวศ ส่งผลต่อสัตว์ป่าและพรรณ ไม้ ต้นไม้ถูกท�ำลาย สูญเสียพื้นที่ตามธรรมชาติ ป่า ไม้ แหล่งหากินของสัตว์ป่าถูกบุกรุกจนท�ำให้สัตว์ป่า ต้องออกมาหากินนอกบริเวณพื้นที่หากินเดิมของตน ซึ่งเป็นผลให้นักท่องเที่ยวเกิดความเสี่ยงต่อการที่จะ ถูกสัตว์ท�ำร้ายได้ จะเห็ น ได้ ว ่ า จากการวิ เ คราะห์ ข องผู ้ เชี่ยวชาญ การก่อสร้างกระเช้าขึ้นภูกระดึงมีแนว โน้มไปในทางที่จะก่อให้เกิดความเสียหายและผล กระทบต่อธรรมชาติเป็นห่วงโซ่คล้ายโดมิโน่ล้มที่ ส่งผลต่อเนื่องจากตัวแรกไปสู่ตัวที่สองแบบไม่มีจบ สิ้น หากเป็นเช่นนั้นแล้ว เราคงต้องตัดสินใจเลือก ระหว่ า งความสะดวกสบาย กั บ ความยั่ ง ยื น ของ ธรรมชาติที่จะเป็นปอดให้กับลูกหลานของเราต่อไป ในอนาคต
บนภูกระดึงยามค�่ำคืนมากด้วยร้านอาหารและบริการส�ำหรับอ�ำนวยความสะดวกไม่ต่างพื้นที่ชุมชนในเมือง
อุ ท ยานแห่ ง ชาติ เพื่อธรรมชาติหรือ ธุรกิจ
“ประเทศเราสอบตกในเรื่องการบริหาร จัดการ ไม่ว่าจะเป็นนโยบายจากทางภาครัฐที่ไม่มี ความชัดเจนในเรื่องการรักษาทรัพยากรธรรมชาติ อีกทั้งบางนโยบายยังเอื้อประโยชน์ต่อการท�ำลาย ทรัพยากรธรรมชาติ” คุณสุรพล ดวงแข กรรมการ มู ล นิ ธิสื บ นาคะเสถี ย ร สะท้ อ นภาพการบริ ห าร ประเทศในปัจจุบันที่ไม่เห็นความส�ำคัญของการรักษา ทรัพยากรธรรมชาติแต่กลับมุ่งน�ำทรัพยากรออกมาใช้ ในเชิงพาณิชย์เสียส่วนใหญ่ “ยกตัวอย่างในปี พ.ศ. 2545 กับนโยบายเปลี่ยนสินทรัพย์ให้เป็นทุน ซึ่ง เป็นปัจจัยหลักที่ท�ำให้อุทยานแห่งชาติหลายแห่ง เสื่อมโสมลง เกิดการปรับปรุงพื้นที่ต่างๆ เช่นลาน หินสวยงามที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ก็ถูกเปลี่ยน เป็นลานจอดรถ มีการปรับปรุงบ้านพักดึงดูดนักท่อง เที่ยว เพื่อเรียกเก็บเงินค่าเข้าอุทยานฯ ให้เพิ่มมาก ขึ้น” กรรมการมูลนิธิสืบนาคะเสถียรให้ความ เห็ น ว่ า หน้ า ที่ ข องตั ว อุ ท ยานฯ ควรจะเก็ บ รั ก ษา ทรัพยากรธรรมชาติไว้ให้คนรุ่นหลังได้ใช้ในการศึกษา การใช้ประโยชน์จากอุทยานฯ ต้องอยู่บนพื้นฐานที่ไม่ สร้างความเสียหาย การจัดการจ�ำนวนนักท่องเที่ยว ส�ำหรับอุทยานฯ ควรจะมีการจัดการที่พัฒนาให้ดีขึ้น ยกตัวอย่างเช่น ใครจะเข้าอุทยานฯ ควรต้องมีการ จองล่วงหน้า มีการสั่งซื้อตั๋วในรูปแบบที่ทันสมัยขึ้น จ�ำนวนนักท่องเที่ยวที่เข้าอุทยานต้องก�ำหนดจ�ำนวน ที่ชัดเจน เพื่อความพอดีกับการรองรับของอุทยานฯ ซึ่งเป็นเรื่องทางนโยบายที่ควรต้องท�ำแต่ทุกวันนี้ยัง ไม่มี “ส�ำหรับอุทยานแห่งชาตินั้นเรื่องใช้เพื่อ การศึกษาควรต้องมาก่อนการท่องเที่ยว” สุรพล กล่ า วหนั ก แน่ น และเสริ ม ต่ อ ว่ า ไม่ ว ่ า จะเป็ น เส้ น ทางการศึ ก ษาธรรมชาติ ห รื อ ศู น ย์ เ พื่ อ การศึ ก ษา ธรรมชาติ ในส่วนนี้ต้องเป็นเรื่องที่ต้องทบทวนว่า ท�ำได้อย่างมีคุณภาพแล้วหรือไม่ มากกว่าการที่จะ น�ำเงิน 600 ล้านมาสร้างกระเช้า ซึ่งภูกระดึงเป็น อุทยานแห่งชาติที่มีศักยภาพสูง “ควรจะน� ำ หลั ก วิ ช าการและหลั ก การ จัดการมาใช้เพื่อรักษาคุณภาพของภูกระดึงให้คงอยู่ เพราะจะเป็นประโยชน์ในระยะยาว”
ประเทศเราสอบตกในเรื่ อ งของการ บริหารจัดการ ไม่ว่าจะเป็นนโยบายจาก ภาครั ฐ ที่ ไ ม่ มี ค วามชั ด เจนในเรื่ อ งการ รักษาทรัพยากรธรรมชาติ อีกทั้งบาง นโยบายยังเอื้อประโยชน์ต่อการท�ำลาย สุรพล ดวงแข กรรมการมูลนิธิสืบนาคะเสถียร
บทความโดย รพีพัฒน์ อิงคสิทธิ์
กระเช้าภูกระดึง คุม้ ค่า คุม้ ใคร ? เรามักได้ยินเหตุผลหลากหลายที่สนับสนุนให้มีการสร้างกระเช้าภูกระดึง ไม่ว่าจะเป็นการอ� ำนวยความสะดวกให้กับคน สูงอายุ ผู้พิการ หรือเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงภูกระดึงกับกลุ่มนักท่องเที่ยวใหม่ๆ เพื่อเป็นการสร้างรายได้ให้กับผู้ประกอบการ โดยรอบ แต่น้อยคนที่จะเคยตั้งค�ำถามว่าการก่อสร้างกระเช้าขึ้นภูกระดึงนั้นคุ้มค่าทางเศรษฐกิจจริงหรือไม่ และหากคุ้มค่าจริง ผลประโยชน์ที่ว่าจะไปตกที่ใคร ผู ้ เ ขี ย นได้ รั บ ร่ า งโครงการศึ ก ษาความ เป็นไปได้ในการสร้างกระเช้าภูกระดึง จังหวัดเลย รายงานการศึกษาขั้นกลาง ฉบับปรับปรุงแก้ไข 20 มิถุนายน 2557 ซึ่งเสนอโดยศูนย์บริการวิชาการแห่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับ บริษัท แกรนด์เทค จ�ำกัด บริษัท ไทยซิสเทมเอนไว แอนด์ เอนจิเนีย ริ่ง จ�ำกัด ซึ่งภายในรายงานดังกล่าวมีการค�ำนวณ ผลประโยชน์ทางเศรษฐศาสตร์ซึ่งเต็มไปด้วยศัพท์ที่ เข้าใจค่อนข้างยาก ด้วยความที่ผู้เขียนพอจะมีความ รู้ทางการเงินอยู่บ้าง จึงถือโอกาส ‘แกะ’ รายงานมา เล่าสู่กันฟัง ก่ อ นอื่ น ต้ อ งอธิ บ ายก่ อ นว่ า การศึ ก ษา ความเป็ น ไปได้ หรื อ Feasibility Study ของ โครงการในแง่การเงินนั้น หลักๆ คือการเปรียบเทียบ รายได้และค่าใช้จ่าย เพื่อเปรียบเทียบว่าโครงการดัง กล่าวคุ้มค่าหรือไม่ ซึ่งในส่วนแรก ผู้เขียนขอบอกเล่า เรื่องราวโดยเริ่มจากส่วนของต้นทุนและรายได้ ซึ่ง อ้างอิงจากกรณี A ภายใต้สมมติฐานอัตราคิดลดร้อย ละ 12 ประมาณการโดยปี พ.ศ. 2557 เป็นปีฐานไป ในอนาคต 25 ปี
ในส่วนของต้นทุน แน่นอนว่าโครงการ ก่อสร้างกระเช้าย่อมมีสัดส่วนต้นทุนการก่อสร้างคิด เป็นร้อยละ 68 โดยมีระยะเวลาในการก่อสร้าง 2 ปี มีสัดส่วนต้นทุนด้านการด�ำเนินการและบ�ำรุงรักษา คิดเป็นร้อยละ 26 ค่าใช้จ่ายในการลดผลกระทบสิ่ง แวดล้อมคิดเป็นร้อยละ 3 และค่าเสียโอกาสของ ลูกหาบคิดเป็นร้อยละ 3 ของค่าใช้จ่ายทั้งหมด ส� ำ หรั บ ส่ ว นของรายได้ น่ า แปลกใจที่ โครงการก่อสร้างกระเช้าภูกระดึงกลับมีรายได้หลัก มาจากรายได้ที่เพิ่มขึ้นของชุมชนใน อ.ภูกระดึง ซึ่ง คิดเป็นร้อยละ 53 ของรายได้ทั้งหมด รองลงมาคือ รายได้จากศูนย์การศึกษาเรียนรู้ทางธรรมชาติร้อย ละ 16 และรายได้ที่สูงที่สุดล�ำดับที่สามคือรายได้ จากการให้บริการกระเช้าภูกระดึง คิดเป็นร้อยละ 14 จากรายได้ทั้งหมด ถึงตรงนี้ หลายคนอาจท� ำหน้าสงสัยใน ส่วนของรายได้ ซึ่งมีที่มาที่ไปอย่างไรนั้น ผู้เขียนได้ตั้ง ข้อสังเกต 6 ประเด็นจากรายงานโครงการก่อสร้าง กระเช้าภูกระดึง
1. รายได้ที่เพิ่มขึ้นของชุมชนใน อ.ภูกระดึง รายได้ส่วนนี้ค�ำนวณโดยอ้างอิงจากการ ส�ำรวจในโครงการติดตามและประเมินผลการด�ำเนิน งาน ประจ�ำปีงบประมาณ พ.ศ.2556 ของกรมอุทยาน แห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช โดยค�ำนวณว่าการ มี อุ ท ยานแห่ ง ชาติ จ ะท� ำ ให้ ชุ ม ชนโดยรอบมี ร ายได้ เพิ่มขึ้น 1,525.21 บาทต่อเดือน โดยในรายงานที่จัด ท�ำโดยกรมอุทยานฯ นั้น ค�ำนวณเฉลี่ยว่าผู้ได้รับผล ประโยชน์คิดเป็นร้อยละ 10 ของประชากรทั้งหมด และได้รับผลประโยชน์ทั้งสิ้น 4 เดือนในหนึ่งปี ที่ น ่ า สนใจคื อ ในโครงการก่ อ สร้ า ง กระเช้าภูกระดึงนั้นได้อ้างอิงตัวเลขรายได้ที่เพิ่ม ขึ้นจากรายงานที่จัดท�ำโดยกรมอุทยานฯ แต่ปรับ เปลี่ยนสมมติฐานว่าผู้ได้รับประโยชน์คิดเป็นร้อยละ 15 ของประชากรทั้งหมดใน อ.ภูกระดึง และได้รับ ประโยชน์ทั้งสิ้นเป็นเวลา 8 เดือนในรอบหนึ่งปี จึงมี โอกาสที่ตัวเลขผลประโยชน์ที่ได้จากการค�ำนวณนั้น จะสูงกว่าความเป็นจริง นอกจากนี้ ในแง่การวิเคราะห์โครงการ ผลประโยชน์ดังกล่าวคือผลประโยชน์ที่ชุมชนได้รับ อยู่แล้วจากการมีอุทยานแห่งชาติ โดยรายได้ที่เพิ่ม ขึ้นนั้นไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการก่อสร้างกระเช้า ภูกระดึงหรือไม่ได้ก่อสร้าง ผู้เขียนจึงตั้งข้อสังเกต ว่ า การรวมเอาผลประโยชน์ ดั ง กล่ า วไว้ ว ่ า เป็ น ผล ประโยชน์ที่ได้จากโครงการกระเช้าภูกระดึงนั้นไม่ เหมาะสม
2. การพยากรณ์ปริมาณนักท่องเที่ยว จากข้ อ มู ล ในอดี ต ซึ่ ง ระบุ ใ นรายงาน ระหว่างปี 2547 – 2556 นักท่องเที่ยวในภูกระดึง มีแนวโน้มคงที่โดยลดลงเล็กน้อย แต่การพยากรณ์ กลับเพิ่มสูงขึ้นอย่างน่าตกใจ โดยหากเปรียบเทียบ ตัวเลขนักท่องเที่ยวจริงในปี 2556 อยู่ที่ 60,319 ราย แต่ตัวเลขที่ใช้ในการพยากรณ์ปีแรกคือปี 2557 กลับเพิ่มสูงขึ้นเป็น 96,526 ราย และเพิ่มขึ้นปีละ 5 เปอร์เซ็นต์ จนถึง288,228 รายในปี 2581 ในขณะที่มีการศึกษาปริมาณนักท่องเที่ยว ที่รองรับได้ของภูกระดึง โดยคณะสิ่งแวดล้อมและ ทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2537 คือ 1,500 คนต่อวัน โดยบริษัททีมได้ศึกษาในภายหลัง บริษัท ทีม คอลซัลติ้ง เอนจีเนียร์ริ่ง แอนด์ แมเนจเม นท์ จ�ำกัด ได้เสนอว่าสามารถขยายขีดความสามารถ ในการรองรับนักท่องเที่ยวเป็น 1,925 คนต่อวัน และ หากมีกระเช้าจะสามารถรับนักท่องเที่ยวได้ 4,425 คนต่อวัน จากรายงานดั ง กล่ า ว ผู ้ เ ขี ย นได้ ส รุ ป ข้อมูลว่าบริเวณท่องเที่ยวในภูกระดึง แบ่งออกเป็น
3 ประเภทคือหน้าผาชมพระอาทิตย์ขึ้น รับนักท่อง เที่ยวได้ 773 คนต่อวัน หน้าผาชมพระอาทิตย์ตกรับ นักท่องเที่ยวได้ 6,297 คนต่อวัน และบริเวณน�้ำตก รับนักท่องเที่ยวได้ 602 คนต่อวัน ซึ่งถือเป็นขีดจ�ำกัด โดยนักท่องเที่ยวแต่ละคนใช้พื้นที่ไม่เกิน 1 ตาราง เมตร ค�ำถามต่อประเด็นการพยากรณ์นักท่อง เที่ยวคือ ภูกระดึงจะสามารถรองรับนักท่องเที่ยวตาม ที่คาดได้หรือไม่ โดยผู้เขียนได้ท�ำการเปรียบเทียบกับ ภูเรือ ซึ่งเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่เข้าถึงได้ง่ายและอยู่ ใกล้เคียงกับภูกระดึง พบว่านักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ก็ จะมาท่องเที่ยวในช่วงตุลาคมถึงกุมภาพันธ์ โดยแทบ ไม่มีนักท่องเที่ยวในฤดูร้อนหรือฤดูฝน หากนั ก ท่ อ งเที่ ย วมาเที่ ย วในภู ก ระดึ ง เฉพาะฤดูหนาวกว่า 200,000 ราย ก็ต้องตั้งค�ำถาม ว่ า ภู ก ระดึ ง จะรองรั บ ได้ ห รื อ ไม่ และสมมติ ฐ าน ที่ทางผู้จัดท�ำรายงานท�ำขึ้นนั้นมีความสมเหตุสมผล แค่ไหน
3. รายได้จากการใช้บริการกระเช้า ในรายงานระบุ ว ่ า ค่ า ใช้ จ ่ า ยในการใช้ กระเช้าจะอยู่ที่รอบละ 200 บาท ซึ่งนักท่องเที่ยว ที่มาท่องเที่ยวภูกระดึงจะแบ่งเป็นสองประเภท คือ นักท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ที่จะใช้บริการกระเช้าคิดเป็น ร้อยละ 23 และนักท่องเที่ยวทั่วไป ที่จะใช้บริการ กระเช้าร้อยละ 100 ที่น่าสนใจคือตัวเลขดังกล่าวมาจากการ เก็บแบบสอบถามเพียง 187 ชุดจากนักท่องเที่ยว ปัจจุบันซึ่งในรายงานจัดอยู่ในกลุ่มนักท่องเที่ยวเชิง นิ เ วศ ซึ่ ง ในวิ ธีก ารวิ จั ย ก็ ต ้ อ งตั้ ง ค� ำ ถามว่ า นั ก ท่ อ ง เที่ยว 187 รายสามารถเป็นตัวแทนกลุ่มประชากรนัก ท่องเที่ยวภูกระดึงราว 60,000 คนได้หรือไม่ อีกทั้ง ในรายงานก็ไม่ได้มีการส�ำรวจความคิดเห็นว่านักท่อง เที่ยวทั่วไปที่จะใช้บริการกระเช้าทั้งขาขึ้นและขาลง นั้นคือใคร และจะใช้บริการจริงหรือไม่
4. รายได้ จ ากศู น ย์ ก ารศึ ก ษาเรี ย นรู ้ ท าง ธรรมชาติ ศู น ย์ ก ารศึ ก ษาเรี ย นรู ้ ธ รรมชาติ ต ามที่ ระบุในรายงาน จะเก็บบริการคนละ 100 บาท โดย รองรั บ นั ก ท่ อ งเที่ ย วได้ 500 คน โดยเปิ ด บริ ก าร เฉพาะวั น เวลาราชการ โดยจะเปิ ด ให้ บ ริ ก ารหลั ง กระเช้าภูกระดึงสร้างเสร็จสิ้น และในปีแรกจะมีผู้มา ใช้บริการ 25,000 ราย เติบโตปีละ 10 เปอร์เซ็นต์ จนถึง 130,000 รายต่อปีในปี 2577 ผู้เขียนสงสัยถึงความเป็นไปได้ของศูนย์ การศึกษาฯดังกล่าว เนื่องจากในแง่มุมทางธุรกิจแล้ว การประมาณการณ์ ข ้ า งต้ น ถื อ ว่ า ไม่ ส มเหตุ ส มผล เนื่องจากการท่องเที่ยวในสถานที่ต่างๆจะมีผู้มาท่อง เที่ยวจ�ำนวนมากในวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ ซึ่งเป็นวันที่ ศูนย์ฯไม่เปิดให้บริการ จึงไม่น่าจะสร้างรายได้ได้ตาม ที่คาดหวัง ยิ่งกว่านั้น การตั้งเพดาน 130,000 ราย ต่อปีนั้น มาจากการคิดเลขที่ค่อนข้างหยาบ กล่าวคือ น�ำตัวเลข 365 วัน หักวันหยุดเสาร์อาทิตย์ประมาณ 105 วั น จะได้ เ ลขคร่ า วๆ คื อ 260 น� ำ มาคู ณ กั บ ปริมาณรองรับนักท่องเที่ยว 500 คนต่อวัน ปรากฎ ว่าได้ 130,000 ต่อปี ซึ่งถือว่าเป็นไปไม่ได้ เพราะนั่น หมายถึงการที่นักท่องเที่ยวมาใช้บริการในวันธรรมดา ทุกวัน ตลอดปี วันละ 500 คน นอกจากนี้ ในตัวรายงานยังมีจุดผิดพลาด ที่ค่อนข้างร้ายแรง คือการค�ำนวณผิดพลาดโดยคิด รายได้จากศูนย์ฯ 500 บาทต่อราย โดยคิดรวม 400 บาทจากการนั่งกระเช้าขาขึ้นและขาลง ถือเป็นการ คิ ด ซ�้ ำ ซ้ อ นจากรายได้ ค ่ า กระเช้ า จึ ง ควรปรั บ การ ค�ำนวณเป็น 100 บาทต่อราย
5. การไม่สอดคล้องกันระหว่างรายได้และค่าใช้จ่าย ในการวิเคราะห์โครงการสิ่งส�ำคัญที่สุด คือรายได้และค่าใช้จ่ายต้องสอดคล้องกันเพื่อให้การ วิ เ คราะห์ ส มเหตุ ส มผล สิ่ ง ที่ ผู ้ เ ขี ย นสั ง เกตได้ จ าก รายงานคือ ในโครงการก่อสร้างกระเช้าภูกระดึง มี รายได้จ�ำนวนค่อนข้างสูงจากศูนย์การศึกษาเรียนรู้
ทางธรรมชาติ แต่กลับไม่มีต้นทุนในการก่อสร้างและ บริหารจัดการ อีกทั้งในรายงานยังระบุว่ากระเช้าจะ ท�ำให้มีรายได้เพิ่มขึ้นจากนักท่องเที่ยว ทั้งรายได้ค่าที่ พักและค่าอาหาร แต่กลับไม่มีต้นทุนในการพัฒนา สาธารณูปโภคเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้น
6. การก่อสร้างสิ่งอ�ำนวยความสะดวกเพื่อรองรับปริมาณนักท่องเที่ยว ต้ น ทุ น ในการก่ อ สร้ า งสิ่ ง อ� ำ นวยความ สะดวกเช่นที่พัก ร้านอาหาร หรือการบ�ำรุงรักษาเส้น ทางนั้น กลับไม่มีปรากฎในรายงาน ทั้งที่หากต้องการ ให้มีนักท่องเที่ยวมาตามที่คาดการณ์ไว้ โครงการ ก่ อ สร้ า งกระเช้ า ภู ก ระดึ ง จ� ำ เป็ น ต้ อ งรวมถึ ง การ พัฒนาสาธารณูปโภคพื้นฐานเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของ ต้นทุนด้วย เพื่อให้การพยากรณ์มีความสมเหตุสมผล (ในส่วนข้อสรุป หากผู้อ่านไม่เข้าใจค� ำ ศั พ ท์ ใ นการวิ เ คราะห์ โ ครงการ ผู ้ เ ขี ย นได้ อ ธิ บ าย คร่าวๆไว้แนบท้ายบทความ) ในส่ ว นท้ า ยของรายงาน ได้ มี ก ารสรุ ป แสดงผลการค�ำนวณวิเคราะห์โครงการโดยแบ่งเป็น หลากหลายกรณีศึกษา ซึ่งผู้เขียนขอยกผลการศึกษา ของกรณี A ที่อัตราคิดลด 12 เปอร์เซ็นต์ซึ่งมีข้อสรุป ดังนี้
จะเห็นได้ว่า โครงการกระเช้าภูกระดึงนั้น ขาดทุนทางการเงิน กล่าวคือไม่คุ้มค่าที่จะก่อสร้าง ในเชิงธุรกิจ ซึ่งถือเป็นสิ่งที่น่ากังวลเนื่องจากรัฐบาล องค์กรท้องถิ่น หรือผู้ดูแลบริหารโครงการต้องรับ ภาระเนื่องจากไม่สามารถสร้างรายได้ได้เพียงพอต่อ ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น ในแง่ เ ศรษฐศาสตร์ โครงการจะคุ ้ ม ค่าโดยสร้างประโยชน์ให้กับชุมชนโดยรอบ ซึ่งผล ประโยชน์ ห ลั ก ที่ ส ร้ า งขึ้ น คื อ รายได้ ที่ เ พิ่ ม ขึ้ น ของ ชุมชนใน อ.ภูกระดึง ซึ่งสูงถึงร้อยละ 53 ของรายได้ ทั้งหมด และยังเป็นผลประโยชน์ที่ผู้เขียนเองก็ยังตั้ง ข้อสงสัยว่าควรน�ำมารวมในการวิเคราะห์โครงการ หรือไม่
ส่วนค�ำถามที่ว่ากระเช้าภูกระดึงนี้คุ้มค่าหรือไม่ ต้องยอมรับว่าในตัวรายงานเองก็ยังแสดงตัวเลข ที่บอกอย่างชัดแจ้งว่าไม่คุ้มค่า และไม่ยั่งยืน เพราะเป็นโครงการที่ไม่สามารถเลี้ยงตัวเองได้และต้องพึ่งพิงงบ ประมาณจากภาครัฐ ส่วนกระเช้านี้จะคุ้มใคร ผู้เขียนไม่สามารถตอบได้ เพราะในรายงานขาดการระบุและเก็บ ข้อมูลผู้มีส่วนได้เสียอย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นลูกหาบที่ขาดรายได้ ผู้ค้าขายและชุมชนโดยรอบภูกระดึง และที่ ส�ำคัญที่สุด คือนักท่องเที่ยวที่ไม่เคยมาภูกระดึงและจะเดินทางมาหลังจากการก่อสร้างกระเช้า ซึ่งในรายงาน แทบไม่มีการกล่าวถึง แต่กลับสร้างกลุ่มคนเหล่านั้นขึ้นมาโดยแทบไม่รู้จักหน้าตาของลูกค้ากลุ่มนี้เสียด้วยซ�้ำ
ข้อควรรู้บางประการเพื่อความเข้าใจเรื่องการวิเคราะห์โครงการ - การวิเคราะห์โครงการทางเศรษฐศาสตร์และการเงินมีความแตกต่างกันอย่างไร ลองจินตนาการว่ามีบริษัทขุดเจาะน�้ำมันแห่งหนึ่ง รายได้ทางการเงินของบริษัทนั้นจะถูกบันทึกไว้ ในงบการเงิน เช่นรายได้จากการขายน�้ำมัน หรือต้นทุนจากการผลิตน�้ำมัน ซึ่งถือเป็นเงินที่ธุรกิจรับและจ่าย จริง ส่วนต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์ คือผลกระทบภายนอกที่บริษัทไม่ต้องจ่ายเป็นตัวเงิน แต่เป็นผลกระทบ ที่ชุมชนต้องแบกรับทั้งทางลบและทางบวก เช่นการขุดเจาะน�้ำมันท�ำให้ประชาชนในพื้นที่มีรายได้จากการ ประมงลดลง หรือการขุดเจาะน�้ำมันท�ำให้ชุมชนมีรายได้จากการขายของเพิ่มขึ้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะไม่แสดงอยู่ใน ก�ำไรหรือขาดทุนของกิจการ โดยในการวิเคราะห์โครงการทางเศรษฐศาสตร์จะตั้งต้นที่การวิเคราะห์ทางการเงิน และบวกหรือ ลบต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์เข้าไปในการวิเคราะห์ ในส่วนของโครงการกระเช้าภูกระดึง ผู้เขียนได้สรุปต้นทุนทางการเงินและเศรษฐศาสตร์ดังตารางต่อไปนี้
- อัตราคิดลด (Discount Rate) และมูลค่าปัจจุบัน สุทธิ (Net Present Value: NPV) ก่อนอื่นต้องท�ำความเข้าใจก่อนว่า เงินใน ปัจจุบันกับเงินในอนาคตนั้นมีมูลค่าไม่เท่ากัน หาก ลองคิดเล่นๆว่า ถ้ามีตัวเลือกคือรับเงินเดือนตอน ปลายเดือนเดือนละ 10,000 บาท กับท�ำงานตลอด ทั้งปีและได้เงินทีเดียวตอนปลายปี 120,000 บาท แน่นอนว่าทุกคนย่อมเลือกทางเลือกแรกเพราะเรา จะได้เงินเร็วกว่าทางเลือกที่สอง และจะเห็นได้ว่าเงิน 10,000 ในปัจจุบันที่เรามีอยู่ กับเงิน 10,000 บาท ที่เราจะได้รับในอีก 12 เดือนข้างหน้านั้นมีมูลค่าไม่ เท่ากัน เพราะเราต้อง ‘เลื่อน’ การใช้จ่ายออกไปใน อนาคต แนวคิด ‘ค่าของเงินตามเวลา’ ถูกน�ำมา ปรับใช้กับการวิเคราะห์โครงการในฐานะอัตราคิดลด ที่จะเป็นตัวแทนความเสี่ยง หรือต้นทุนความแตกต่าง ของเงินในแต่ละช่วงเวลา คิดลดกลับมาให้เป็นมูลค่า ปัจจุบัน (Present Value)แล้วน�ำมาหักกลบลบกันทั้ง รายได้และค่าใช้จ่าย เพื่อพิจารณาว่าโครงการนั้นๆมี ความคุ้มค่า คุ้มทุนหรือไม่ ในฐานเวลาปัจจุบัน การวิเคราะห์โครงการภาครัฐนั้นมีการถก เถียงกันมาโดยยังไม่มีข้อสรุปว่าควรจะใช้อัตราคิดลด ที่เท่าไรจึงจะเหมาะสม ในรายงานก็ได้น�ำเสนอการ ค�ำนวณโดยใช้อัตราคิดลด 7% 12% และ 17% ซึ่ง กรณีที่ผู้เขียนน�ำมาบอกเล่าในบทความนั้น คือกรณี 12% - อัตราส่วนผลประโยชน์ต่อค่าใช้จ่าย (B/C Ratio) เป็ น อั ต ราส่ ว นที่ มี วิ ธีก ารค� ำ นวณตรง ตามชื่อคือน�ำมูลค่าปัจจุบันของผลประโยชน์มาหาร ค่าใช้จ่าย ซึ่งผลลัพธ์ตัวเลขที่ได้ออกมานั้นสามารถ ตีความให้เข้าใจง่ายว่า หากลงทุนไป 1 บาทจะได้ ผลตอบแทนกลับคืนมากี่บาท เช่น โครงการก่อสร้าง กระเช้าภูกระดึง จ.เลย ในการวิเคราะห์โครงการ ทางการเงินพบว่าอัตราส่วนผลประโยชน์ต่อค่าใช้ จ่ายมีค่าเท่ากับ 0.51 หมายความว่า โครงการนี้ ลงทุนไป 1 บาท จะได้กลับคืนมา 0.51 บาท เรียกว่า ลงทุนแบบไม่คุ้มค่า
รพีพัฒน์ อิงคสิทธิ์
ในตั ว รายงานเองก็ ยั ง แสดงตั ว เลขที่ บอกอย่างชัดแจ้งว่าไม่คุ้มค่า และไม่ยั่งยืน เพราะเป็นโครงการที่ไม่สามารถเลี้ยงตัว เองได้และต้องพึ่งพิงงบประมาณจาก ภาครัฐ
กระเช้ า ไฟฟ้ า ขึ้ น ภู ก ระดึ ง พาหนะ หรือหายนะ จากเวทีเสวนา “กระเช้าภูกระดึง มโน.. โปรเจคท์” คุณเต็งพ้ง เพียรพัฒน์ ตัวแทนชมรม OK Nature ได้หยิบยกประเด็นกระเช้าภูกระดึงพาหนะ หรือหายนะ ขึ้นมาน�ำเสนอเพูดคุยแลกเปลี่ยนความ คิดเห็นในมุมมองที่ว่าหากโครงการกระเช้าไฟฟ้าเกิด ขึ้น ผลพวงที่จะตามมาสู่ภูกระดึงในอนาคตนั้นจะ เป็นอย่างไร คุณเต็งพ้งได้พูดถึงประสบการณ์ที่ได้เดิน ทางไปศึ ก ษาดู ก ระเช้ า เพื่ อ การท่ อ งเที่ ย วในหลาย ประเทศ และเมื่ อ น� ำ มาเปรี ย บเที ย บกั บ รายงาน โครงการกระเช้าไฟฟ้าภูกระดึงว่า จากการศึกษาที่ ผ่านมายังไม่มีประเทศใดในโลกสามารถน�ำนักท่อง เที่ยวขึ้นไปได้ชั่วโมงละ 4,000 คน อย่างที่งานวิจัยได้ รายงานมา และภูกระดึงควรเป็นสถานที่ที่เข้าถึงยาก ไม่ใช่ว่าใครจะขึ้นไปก็ได้ ซึ่งจากรายงานดังกล่าวก็ไม่ ได้ลงรายละเอียดอย่างครอบคลุมไม่ว่าจะเป็นผลกระ ทบที่จะเกิดขึ้นต่อระบบนิเวศ สัตว์ป่า และประชาชน ในพื้นที่ อีกทั้งประเด็นเรื่องกระเช้าไฟฟ้าภูกระดึง ที่ยกขึ้นมาว่าเป็นเรื่องของประชาชนในพื้นที่ เมื่อ
ได้ศึกษาดูจากการสร้างกระเช้าในต่างประเทศ ไม่มี สถานที่ ใ ดเมื่ อ สร้ า งแล้ ว ประชนในพื้ น ที่ จ ะได้ รั บ ประโยชน์แท้จริง แต่จะกลายเป็นผลประโยชน์เชิง ธุ ร กิ จ ในรู ป แบบการท� ำ สั ม ปทาน เป็ น เศรษฐกิ จ เฉพาะเจ้าของสัมปทานเพียงไม่กี่รายเท่านั้น ส่วน ร้านค้า ลูกหาบ จะถูกเปลี่ยนสถานะเป็นลูกจ้างใน ระบบธุรกิจสัมปทาน จึงเกิดค�ำถามขึ้นว่ากระเช้า ไฟฟ้านี้จะสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจให้ประชน ในพื้นที่ได้จริงหรือไม่ ทั้ ง นี้ อุ ท ยานแห่ ง ชาติ เ ป็ น ที่ ส งวนไว้ ส�ำหรับ 3 เรื่องส�ำคัญ คือ 1.ใช้ส�ำหรับในงานวิจัย 2.ใช้ส�ำหรับการอนุรักษ์ 3.ในเรื่องนันทนาการ แต่ ถึงแม้ในข้อสุดท้ายจะเป็นเรื่องนันทนาการ ก็ควรจะ เป็นในเรื่องการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ซึ่งแตกต่างจาก การท่องเที่ยวแบบฉาบฉวยที่นักท่องเที่ยวไม่มีความ รู้ความเข้าใจในธรรมชาติ ท�ำให้เกิดความเสื่อมโทรม ของธรรมชาติเพิ่มขึ้น ซึ่งในส่วนรายงานยังไม่มีค�ำ อธิ บ ายถึ ง เรื่ อ งการฟื ้ น ฟู ว่ า หากปล่ อ ยให้ นั ก ท่ อ ง เที่ยวเยอะจนเกินที่ธรรมชาติรองรับได้จะมีการฟื้นฟู อย่างไร
ส่วนในประเด็นที่อ้างถึงความเท่าเทียม ไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้สูงอายุ ที่ควรมีสิทธิขึ้นไปเที่ยว บนภูกระดึงได้เหมือนกันนั้น คุณเต็งพ้งได้ให้ความ คิดว่า พื้นที่บางพื้นที่ไม่ได้เหมาะส�ำหรับคนบางคน และประเทศไทยยังมีสถานที่ท่องเที่ยวอีกหลายแห่ง ที่เหมาะสมและสวยงามที่สามารถไปสัมผัสได้ จึง ไม่ควรน�ำเรื่องนี้มาเป็นเงื่อนไขในการสร้างกระเช้า ไฟฟ้าขึ้นภูกระดึง อีกทั้งเมื่อมีนักท่องเที่ยวเยอะผลที่ ตามมาคือการเพิ่มขึ้นของร้านสะดวกซื้อ สิ่งอ�ำนวย ความสะดวกต่างๆ ซึ่งท�ำให้ธรรมชาติไม่มีเวลาได้พัก ฟื้นอีกด้วย ดั ง นั้ น หากกระเช้ า ภู ไ ฟฟ้ า กระดึ ง ถู ก สร้ า งขึ้ น นั่ น จึ ง หมายถึ ง หายนะที่ ก� ำ ลั ง มาเยื อ น ภูกระดึง และอาจเป็นข้ออ้าง “ภูกระดึงโมเดล” ส�ำหรับสถานที่ท่องเที่ยวไม่ว่าจะเป็นภูหรือดอยอื่นๆ อี ก หลายแห่ ง ในประเทศเพื่ อ สร้ า งกระเช้ า ไฟฟ้ า เหมือนกัน เพราะถ้าภูกระดึงสามารถสร้างได้ที่อื่นก็ คงจะไม่ยาก ในการที่จะสร้างกระเช้าฟ้าต่อคิวจาก ภูกระดึง
การท่ อ งเที่ ย วแบบฉาบฉวยที่ นั ก ท่ อ ง เที่ยวไม่มีความรู้ความเข้าใจในธรรมชาติ ท�ำให้เกิดความเสื่อมโทรมของธรรมชาติ เพิ่มขึ้น เต็งพ้ง เพียรพัฒน์ ชมรม OK Nature
กระเช้ า ไฟฟ้ า ขึ้ น ภู ก ระดึ ง ‘มโน... โปรเจคท์ ?’ นพรัตน์ นาคสถิตย์ รองประธานมูลนิธิ สืบนาคะเสถียร ซึ่งเป็นอดีตข้าราชการในกรมอุทยาน และเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านโครงการแผนแม่อุทยาน และเขตรักษาพันธุ์ฯ ด้านงานวิชาการ ได้กล่าวถึงตัว เล่มของโครงการศึกษาความเป็นไปได้ การก่อสร้าง กระเช้าไฟฟ้าขึ้นภูกระดึง จ.เลยไว้ว่า “งานสุ ด ท้ า ยที่ ผ มท� ำ คื อ ดู แ ลด้ า น โครงการแผนแม่บทอุทยานและเขตรักษาพันธุ์ฯ ดู เกี่ยวกับงานวิชาการ ว่าโครงการนั้นมีความสมเหตุ สมผลหรือเป็นไปได้มากแค่ไหน เกษียณออกมาสิบ กว่าปีแล้ว แต่ก็ได้กลับมาใช้วิชาเก่าอีกครั้งหนึ่ง อ่ า นรายงานฉบั บ นี้ แ ล้ ว ความรู ้ สึ ก คื อ เต็ ม ไปด้ ว ย ความเศร้าใจที่เห็นนักวิชาการรุ่นใหม่ๆ โดยเฉพาะ นักวิชาการสถาบันมีชื่อและบริษัทเอกชนมาย�่ำยีเงิน ภาษีของเรา ถ้าท่านได้อ่านท่านจะรู้สึกว่าสมแล้ว กับที่เรียกโครงการนี้ว่ามโนโปรเจคท์” “ภู ก ระดึ ง เมื่ อ หลายสิ บ ปี ก ่ อ นเปรี ย บ เทียบกับภูกระดึงในปัจจุบันต้องบอกว่าตอนนี้มัน ไม่มีจุดขายอะไรอีกแล้ว และในงานโครงการการ ศึกษาความเป็นไปได้ในการก่อสร้างภูกระดึงฉบับนี้ ไม่มีบอกถึงจุดประสงค์ของการให้มีอุทยานเพื่อการ เรียนรู้ธรรมชาติ ผมเลยไม่เข้าใจว่าจะท�ำกระเช้า ขึ้นไปเพื่ออะไร พูดแค่จะได้เงินเท่าไร ใครได้ใคร นพรัตน์ นาคสถิตย์ รองประธานมูลนิธิสืบนาคะ เสถียร
เสีย พูดแต่ว่าใครจะได้แต่ไม่บอกว่าใครจะเสีย ผม เลยไม่เข้าใจว่าจะจ้างนักวิจัยมาท�ำไม” จากการวิ เ คราะห์ ข องคุ ณ นพรั ต น์ ต ่ อ เอกสารโครงการศึกษาความเป็นไปได้ การก่อสร้าง กระเช้าไฟฟ้าขึ้นภูกระดึง จ.เลยท�ำให้พบว่าเนื้อหา รายละเอียดของโครงการนั้นมีความบกพร่องอยู่ใน หลายส่วน ยกตัวอย่างเช่น 1) มีการระบุจ�ำนวนตัวเลขงบประมาณ การใช้ในการก่อสร้างโครงการกระเช้าขึ้นภูกระดึง โดยละเอียดกว่า 596 ล้าน แต่กลับไม่มีการระบุที่มา ที่ไปของค่าสร้างกระเช้าภูกระดึง ซึ่งเป็นภาษีของ ประชาชนแต่กลับไม่สามารถจ�ำแนกรายละเอียดของ ค่าใช้จ่ายต่างๆ ได้ 2) จากข้ อ ก� ำ หนดในการศึ ก ษาซึ่ ง ต้ อ ง มี ก ารท� ำ รายงานการศึ ก ษาความเป็ น ไปได้ และ รายงานผลกระทบต่ อ สิ่ ง แวดล้ อ ม ข้ อ มู ล เหล่ า นี้ ต้ อ งมาจากการลงส� ำ รวจพื้ น ที่ จ ริ ง แต่ ข ้ อ ในที่ พ บ ในรายงานโครงการฯ ฉบับนี้กลับเป็นการรวบรวม ทบทวน จากงานวิจัยชิ้นอื่นๆ มิใช่การลงส�ำรวจจริง หากจะพบก็เป็นข้อมูลการสัมภาษณ์ แต่ไม่พบข้อมูล ด้านป่าไม้หรือสัตว์ป่าตามที่ได้กล่าวเอาไว้ เป็นข้อมูล ทุติยภูมิแทบทั้งสิ้น 3) เมื่ อ ไม่ มี ก ารรวบรวมข้ อ มู ล ด้ า นป่ า ไม้หรือสัตว์ป่าจากการส�ำรวจจริงซึ่งข้อมูลดังกล่าว สามารถน�ำมาประกอบวิเคราะห์ในการเลือกเส้นทาง ก่อสร้างกระเช้าว่าเส้นทางใดจะก่อให้เกิดความเสีย หายต่อระบบนิเวศป่าไม้หรือสัตว์ป่ามากน้อยเพียง ไร ทางคณะผู ้ ด� ำ เนิ น การวิ จั ย จึ ง ได้ คิ ด สู ต รในการ ค�ำนวณเส้นทางการก่อสร้างกระเช้าขึ้นมาเองแต่เส้น ทางนั้นชาวบ้านในท้องที่ไม่ยอมรับเนื่องจากเป็นการ ท�ำลายภูมิทัศน์ 4) ไม่ มี ก ารกล่ า วถึ ง ข้ อ มู ล ด้ า นสั ต ว์ ป ่ า เช่น ช้าง หรือหมาใน เป็นต้น ซึ่งเคยมีกรณีสัตว์ออก มาท�ำร้ายนักท่องเที่ยวเกิดขึ้นมาแล้วแต่ หรือด้าน ธรณีวิทยาที่อาจก่อให้เกิดอันตรายกับนักท่องเที่ยว ไม่ถูกกล่าวถึงในรายงานการศึกษาความเป็นไปได้ดัง กล่าว 5) มีการกล่าวถึงประโยชน์จากการสร้าง กระเช้าด้วยการน�ำมาใช้ประโยชน์ในการจัดการขยะ ซึ่งมีการจัดให้มีที่พักขยะรวมบริเวณขาขึ้นภูกระดึง โดยสามารถรองรับขยะได้ 3 วัน และได้จัดเตรียม
พื้นที่ส�ำหรับทิ้งและคัดแยะขยะไว้ที่ศูนย์บริการนัก ท่องเที่ยวศรีฐาน (เชิงเขา) เนื้อที่ 10 และที่ศูนย์ บริการนักท่องเที่ยววังกวาง (ยอดเขา) 30 ไร่ และที่ วังกวางนี้เองที่มีการจัดการขยะด้วยการน�ำขยะมาฝัง หรือเผา ซึ่งอาจจะก่อให้เกิดผลกระทบต่อระบบนิเวศ ป่าดิบเขาบนภูกระดึงที่ต้องสูญเสียพื้นที่กว่า 30 ไร่ไป กับการฝังกลบขยะ 6) การส�ำรวจทรัพยากรป่าไม้ ไม่มีการ รายงานถึงวิธีการ ขั้นตอนของการด�ำเนินงาน แต่ กลับมีการเขียนบัญชีรายชื่อพรรณไม้ในภาคผนวก ซึ่งบางชนิดกลับไม่พบในพื้นที่จริง หรือการจ�ำแนก ชนิ ด ป่ า ที่ เ ป็ น ไปอย่ า งไม่ ถู ก ต้ อ ง ข้ อ มู ล ด้ า นชื่ อ วิทยาศาสตร์ของไม่พบในไทยแต่กลับพบในประเทศ ญี่ปุ่น แสดงให้เห็นถึงความอ่อนวิชาการด้านป่าไม้ หรือความไม่เชี่ยวชาญของคณะท�ำงาน “รายชื่อพรรณไม้หลายชนิดที่ไม่พบที่นี่ ก็มีเขียนอยู่ในรายงาน เช่น ยางกราด ท�ำให้ทราบ ว่าข้อมูลพวกนี้มันไม่มีการส�ำรวจจริงๆ มันมโนขึ้น มาเองจริ ง ๆ” คุ ณ นพรั ตน์ เ พิ่ มเติ ม “ในส่ ว นของ สัตว์ป่ายิ่งหนักเข้าไปใหญ่ ซึ่งไม่มีการส�ำรวจ ไม่มี การบอกเทคนิค แล้วก็ไปลอกเขามาจากนี่เลยครับ โครงการท�ำเอกสารแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมและ ธรรมชาติที่จะขอขึ้นเป็นมรดกโลก ในเล่มของข้อมูล พื้นฐานและแผนการจัดการเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภู หลวง อุทยานแห่งชาติภูกระดึงจังหวัดเลย ในหน้า 223 ถ้ า ถามผมว่ า ท� ำ ไมผมจึ ง หาเจอ เพราะโดย ปกติแล้วผมต้องตรวจรายงานอย่างนี้บ่อยๆ และ รายชื่อสัตว์ป่าพวกนี้มันจะลอกกันๆมา ผมเลยต้อง แกะรอยย้อนหลังดู ผมเลยไปหาเกี่ยวกับภูกระดึง มาดู แต่ที่อดสูใจเป็นอย่างยิ่งคือ น�ำเอารายชื่อสัตว์ ที่สูญพันธุ์หรือเคยพบในภูกระดึงมาใส่ในภาคผนวก เช่น เสือโคร่ง กระทิง นกกะเรียน ซึ่งมันสูญพันธุ์ไป นานแล้ว” ตัวอย่างข้างต้นที่ได้กล่าวไปนั้นจะเห็นได้ ว่ารายงานโครงการศึกษาความเป็นไปได้การก่อสร้าง กระเช้าไฟฟ้าขึ้นภูกระดึง จ.เลยเกิดขึ้นจากข้อมูล ทุติยภูมิเป็นส่วนมาก ไม่ได้มีการลงไปส�ำรวจพื้นที่ จริง ส่งผลให้ข้อมูลที่ได้ไม่มีความถูกต้องพอส�ำหรับ การน�ำมาประกอบการวิเคราะห์ สิ่งที่ปรากฏอยู่ใน เล่ม รวมถึงสิ่งที่น�ำเสนอออกสู่สาธารณะชน เป็น ไปได้ว่าอาจจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อธรรมชาติ แม้ ก ระทั่ ง ข้ อ เสนอแนะยั ง มี ก ารคั ด ลอกมาจาก วิทยานิพนธ์ฉบับอื่นๆ บ่งบอกถึงความไม่พร้อมทั้งใน ด้านข้อมูลดิบและด้านการวิเคราะห์ข้อมูลของคณะผู้ จัดท�ำ ในเมื่อตัวโครงการยังไม่พร้อมขนาดนี้แล้ว ท่านคิดว่าการก่อสร้างจริงจะพร้อมแล้ว แน่หรือ ไม่ใช่เพียงจะเป็นมโนโปรเจคท์... โปรเจคท์ กระเช้าลอยฟ้าที่มีความมโนลอยฟุ้งอยู่ในอากาศ...
กองทุนเพื่อผู้พิทักษ์ป่า มูลนิธิสืบนาคะเสถียร เพราะบุ ค คลผู ้ รั ก ษาปกป้ อ งทรั พ ยากรธรรมชาติ ป ่ า ไม้ แ ละ สัตว์ป่ามีอยู่ทั่วประเทศ เพื่อสร้างขวัญและก�ำลังใจให้กับบุคคล เหล่านี้ว่า ต่อไปทุกๆ ครั้งที่พวกเขาต้องออกไปท�ำหน้าที่ หาก เกิดเหตุที่ไม่คาดฝันขึ้นกับตัวเขา ไม่ว่าจะเป็นการบาดเจ็บหรือเสีย ชีวิต เขาจะมั่นใจได้ว่าลูกเมียและครอบครัวที่อยู่เบื้องหลังจะไม่ได้รับ ความเดือดร้อนมากนัก ร่วมสนับสนุนกองทุนผู้พิทักษ์ป่า โดยบริจาคทุนทรัพย์ผ่าน บัญชีออมทรัพย์ที่ + ธนาคารกรุงไทย สาขามหานาค บัญชีออมทรัพย์ เลขที่ บัญชี 156-1-06820-9 ชื่อบัญชีมูลนิธิสืบนาคะเสถียร + ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาบางบัว บัญชีออมทรัพย์ เลข ที่บัญชี 053-2-38652-4 ชื่อบัญชี มูลนิธิสืบนาคะเสถียร + ธนาคารกสิกรไทย ส�ำนักพหลโยธิน บัญชีออมทรัพย์ เลข ที่บัญชี 099-2-68730-4 ชื่อบัญชีมูลนิธิสืบนาคะเสถียร
มูลนิธิสืบนาคะเสถียร 693 ถ.บ�ำรุงเมือง คลองมหานาค ป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร 10100 โทร 0-2224-7838-9 เมล์ snf@seub.or.th facebook.com/SeubNakhasathienFD twitter.com/Seub2010 instagram.com/SEUBFD youtube.com/seub2010