สาส์นสืบ - มรดกโลก

Page 1



เวียก่ผะดู อนที่จะเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร

เป็นที่กล่าวขานกันมาหลายชั่วอายุคนของชาวกระเหรี่ยงว่า ป่าผืนหนึ่งซึ่งอยู่ในท้องที่ตำบลไล่โว่ อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรีมีสัตว์ป่าอาศัยอยู่อย่างชุกชุม โดยเฉพาะตรงบริเวณที่เรียกว่า “เวียผะดู” แปลเป็นไทยว่า “ทุ่งใหญ่” ซึ่งเป็นชื่อที่เรียกตามลักษณะเด่นของป่าแห่งนี้ คือทุ่งหญ้าสลับกับผืนป่า และจะมีกระทิงออกเล็มหญ้าระบัดภายหลัง จากไฟไหม้ทุ่งหญ้าในหน้าแล้งของทุกปี ชาวกะเหรี่ยงในดินแดนตะวันตก รู้จักป่าผืนนี้มานานกว่า 200 ปีแล้ว และถือ ว่าเป็นดินแดนอันศักดิ์สิทธิ์ เป็นศูนย์รวมจิตวิญาณของชาวกะเหรี่ยง ชุมชนชาวกะเหรี่ยงจึงร่วมกันรักษาผืนป่าแห่งนี้ ให้คงความอุดมสมบูรณ์อยู่มาจนถึงปัจจุบัน

เหตุการณ์เฮลิคอปเตอร์ล่าสัตว์ ตก เดือนเมษายน 2516 ได้มีคณะบุคคลกลุ่มหนึ่งนำอาวุธสงคราม และ เฮลิคอปเตอร์ของทางราชการเข้าไปล่าสัตว์ในบริเวณป่าผืนนี้ โดยตั้ง แค้มป์พักที่ริมห้วยเซซาโว่ มีการนำเนื้อสัตว์ป่าซึ่งล่าได้มาทำเป็น อาหารเลี้ยงฉลองกันอย่างสนุกสนาน

ในวันเดินทางออกจากป่าทุ่งใหญ่ได้เกิดอุบัติเหตุเฮลิคอปเตอร์ตกที่ อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม ภายในซากของเฮลิคอปเตอร์ลำที่ ตกพบว่ามีซากสัตว์ป่ารวมอยู่ด้วย ข่าวเฮลิคอปเตอร์ตกได้กระจายไป ทั่วทั้งในและนอกประเทศ เหตุการณ์ดังกล่าวยังผลให้ไปสู่เหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 หรือวันมหาวิปโยค ในด้านของนักอนุรักษ์ธรรมชาติ หลังจากเกิดเหตุการณ์ได้มีการ ผลักดันให้เร่งประกาศป่าผืนนี้เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ซึ่งได้รับการ ประกาศเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2517 มีเนื้อที่ทั้งหมด 2,000,000 ไร่ หรือ 3,200 ตารางกิโลเมตร โดยใช้ชื่อว่า “เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร” เนื่องจากมติของคณะกรรมการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าให้เพิ่ม คำว่านเรศวรเข้าไป เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติของพระบาท สมเด็จพระนเรศวรมหาราช


มรดกโลก

ร่วมผลักดันป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง สู่การเป็น

วีรวัธน์ ธีระประสาธน์ นพรัตน์ นาคสถิต ดร.นริศ ภูมิภาคพันธ์ และสืบ นาคะเสถียร เมื่อครั้งต่อสู้เรื่องเขื่อนน้ำโจน ได้ร่วมกันเก็บข้อมูลคุณค่า และความสำคัญของป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง เสนอเป็นเอกสารวิชาการและได้ เผยแพร่ออกสู่สาธารณชน ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ตระหนักได้ว่าผืนป่า และสัตว์ป่ามีค่าและมีความสำคัญควรค่าแก่การอนุรักษ์และปกป้องไว้ให้คงอยู่ มากเพียงใด ทำให้สืบ นาคะเสถียร คิดว่าหนทางที่จะรักษาผืนป่า ทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง แห่งนี้ไว้ได้จะต้องเก็บข้อมูลคุณค่าและความสำคัญของ ป่าผืนนี้ เพื่อนำเสนอต่อคณะกรรมการมรดกโลก เพื่อเป็นหลักประกันว่าป่าผืนนี้ จะถูกปกป้องและได้รับการรักษาไว้ตราบนานเท่านาน สืบ นาคะเสถียร และเบลินด้า สจ๊วต คอกซ์ จึงได้ร่วมกันเก็บข้อมูลและ เขียนเป็นรายงานวิชาการ DOMINATION OF THE THUNG YAI-HUAI KHA KHAENG WILDLIFE SANCTUARY นำเสนอต่อองค์การสหประชาชาติเพื่อให้ ป่า “เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง” เป็นมรดกทางธรรมชาติของโลก จนในที่สุดเดือนธันวาคม 2534 การประชุมพิจารณาคัดเลือกแหล่งมรดกโลก เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง ได้รับการคัดเลือกและประกาศให้เป็น มรดกทางธรรมชาติของโลก

ป่าทุ่งใหญ่

ความอุดมสมบูรณ์ของ

ผืนป่าแห่งนี้เป็นที่รวมพันธุ์สัตว์ป่านานาชนิด เปรียบเสมือนเป็นจุดศูนย์กลางของการกระจายพันธุ์สัตว์ จากการสำรวจนิเวศวิทยาของสัตว์ป่าที่ ปรากฏว่ามีสัตว์ป่าอาศัยอยู่ในพื้นที่ดังกล่าวไม่น้อยกว่า 707 ชนิด ในจำนวนนี้มีสัตว์ป่าที่ตกอยู่ในสภาวะเป็นสัตว์ที่กำลังจะสูญพันธุ์ จำนวน 21 ชนิด และสัตว์ป่าที่มีสถานภาพถูกคุกคามอีก 65 ชนิด บริเวณป่าที่ลุ่มต่ำ (lowland forest) ตอนกลางของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ถือได้ว่าเป็นหัวใจสำคัญของผืนป่าทั้งหมด เพราะเป็นบริเวณที่มี สัตว์ป่าหลายชนิดอาศัยอยู่อย่างหนาแน่นตลอดแนวลำน้ำแควใหญ่ เป็นบริเวณที่มีความอุดมสมบูรณ์ด้วยแหล่งอาหารของสัตว์ป่าขนาดใหญ่ จำพวกช้าง กระทิง และสมเสร็จ ในป่าทุ่งใหญ่นเรศวรต่อกับป่าห้วยขาแข้ง พบว่ามีช้างป่าอาศัยอยู่ไม่น้อยกว่า 300 ตัว รวมถึงยังเป็นที่รวมของสัตว์ป่าหายากชนิดอื่นๆ อาทิ นกฟินฟุท นกกาบบัว นกเงือกคอแดง นกยูงและนกเป็ดก่า นอกจากนี้ทุ่งใหญ่นเรศวร ยังเป็นแหล่งรวมของสภาพธรรมชาติดั้งเดิมที่เหลืออยู่เป็นแหล่งสุดท้ายของประเทศ เป็นตัวแทนของสภาพป่า และความหลากชนิดของสัตว์ป่า มีอาณาเขตกว้างใหญ่เพียงพอที่สัตว์ป่านานาชนิดสามารถอาศัยอยู่ร่วมกันได้อย่างปลอดภัย


เขืการต่​่ออนน้ ำ โจน สู้เพื่อป่าทุ่งใหญ่ ... การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (ในสมัยนั้น) ได้พยายามผลักดันให้มีการก่อ สร้างเขื่อนผลิตไฟฟ้าปิดกั้นลำน้ำแควตอนบน บริเวณเขาน้ำโจน เขตรักษาพันธ์สัตว์ป่า ทุ่งใหญ่นเรศวร จ. กาญจนบุรี หากมีการสร้างเขื่อนเกิดขึ้น จะทำให้เกิดอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ น้ำจะท่วมใจกลางป่า ทุ่งใหญ่ฯ เป็นพื้นที่ประมาณ 80,000 ไร่ การสร้างเขื่อนน้ำโจนก็คือการทำลาย ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร ซึ่งพื้นที่บริเวณดังกล่าวเป็นแหล่งรวมสรรพชีวิตที่มีคุณค่าและ มีความสำคัญทั้งของประเทศไทยและของโลก ในการต่อสู่เรื่องเขื่อนน้ำโจน สืบ นาคะเสถียร ได้แสดงให้ภาครัฐตระหนักเห็นถึง คุณค่าความสำคัญของป่าและสัตว์ป่า สืบ นาคะเสถียร ทำงานอย่างหนักเพื่อจัดทำรายงาน “การประเมินผลงานช่วยเหลือ สัตว์ป่าตกค้างในพื้นที่อ่างเก็บน้ำเขื่อนเชี่ยวหลาน” จนสำเร็จ การชี้แจงต่อคณะ กรรมการพิจารณาผลกระทบการสร้างเขื่อนน้ำโจน ซึ่งส่งผลเป็นอย่างมากต่อการ พิจารณาของคณะกรรมการฯ ทำให้หลายฝ่ายสิ้นสงสัยว่า สัตว์จำนวนมากต้องล้มตาย ลงอย่างแน่นอนหากมีการสร้างเขื่อนน้ำโจน และทำให้ยุติโครงการก่อสร้างไปในที่สุด

สัตว์ในป่าทุ่งใหญ่

เอื้อเฟื้อภาพโดย เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร ด้านตะวันตก


ป่าทุ่งใหญ่

ภัยคุกคาม

แม้ว่าการก่อสร้างเขื่อนน้ำโจนจะถูกกลุ่มนักอนุรักษ์คัดค้านจนมีมติให้ยุติการก่อสร้าง แต่อย่างไร ภัยคุกคามป่าทุ่งใหญ่ก็ยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง พ.ศ.2534 คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 5 มกราคม 2533 เห็นชอบตามแผนการของสภาความมั่นคง แห่งชาติ ในการก่อสร้างทางจำนวน 48 สาย ถนน 48 สาย ที่ได้รับการอนุมัติในปี 2534 มีหลาย เส้นทางที่ผ่านเข้าไปในพื้นที่ป่าอันอุดมสมบูรณ์ อย่างน้อยที่สุดมีเส้นทาง 7 สาย ที่จะตัดผ่านเข้าไปใน อุทยานแห่งชาติ อีก 8 สาย ที่จะตัดผ่านเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าหนึ่งใน นั้นที่จะต้องถูกตัดผ่านถ้าเกิดมีการอนุมัติให้สร้าง คือเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรด้าน ตะวันตก จ.กาญจนบุรี เป็นเส้นทางในลำดับที่ 1.6 สายบ้านซองกาเลีย-บ้านไล่โว่-บ้านจะแก ระยะทาง 39.0 กม. แต่หลังจากรัฐบาลได้รับการคัดค้านอย่างหนักทั้งจากนักวิชาการป่าไม้เหล่านัก อนุรักษ์ และมูลนิธิสืบนาคะเสถียร และได้มีการจัดการสัมมนา เรื่อง “เราควรตัดถนน 48 สาย ผ่านเขตป่าอนุรักษ์?” เมื่อวันจันทร์ที่ 22 เมษายน 2534 ณ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และในการสัมมนาที่ประชุมมีมติว่าให้มูลนิธิสืบนาคะเสถียรยื่นข้อเสนอต่อทางรัฐบาลเพื่อทบทวน โครงการนี้โดยด่วน หลังจากนั้นสภาความมั่นคงแห่งชาติ ได้ประกาศยกเลิกถนนสายตัดผ่าน ทุ่งใหญ่นเรศวรด้านตะวันตก ส่วนถนนสายอื่นให้มีการทบทวน ในเดือนกันยายน 2548 กรมโยธาธิการและผังเมืองได้ดำเนินการจัดทำผังเมืองรวม โดยในแผนที่ได้มี การวางแนวเส้นถนนตัดจากด่านเจดีย์สามองค์ ผ่านเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรไปยังจังหวัด ตาก ซึ่งเป็นการตัดถนนเส้นใหม่ ผ่านพื้นที่ป่าอุเมสมบูรณ์ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร สำนักงานเขตทุ่งใหญ่ได้ทำหนังสือคัดค้านการวางเส้นทางตามแผนที่ผังเมืองและการตัดถนนเส้นทาง ดังกล่าว พร้อมกันนั้นองค์กรอนุรักษ์ต่าง ได้มีการหารือและมีมติที่จะคัดค้านผังเมือง พร้อมทั้งได้ยื่น หนังสือเข้าคัดค้านต่อผู้ว่าราชการจังหวัด และกรมโยธาธิการ ผังเมืองในสมัยนั้น กระทั่งโครงการต้องยุติไป ในปี 2549 บริษัทเหมืองแร่โมนิโก้ จำกัด ซึ่งดำเนินการด้านการทำเหมืองแร่ ประเภทแร่พลวง ยื่นหนังสือถึงกรมป่าไม้ และกรมอุทยานแห่งชาติฯ เพื่อเตรียมขอกลับเข้าใช้พื้นที่ในบริเวณเขตต่อเชื่อม ที่กรมอุทยานแห่งชาติฯ มีแผนจะผนวกเข้าเป็นป่าผืนเดียวกับป่ามรดกโลกทุ่งใหญ่นเรศวร ซึ่งตั้งอยู่ในเขต พื้นที่ป่าสมบูรณ์หลังจากที่หยุดกิจการการขุดแต่งแร่งพลวงในบริเวณนี้ไปกว่า 10 ปีแล้ว ด้วยเหตุผลที่เห็น ว่าศักยภาพแร่อาจจะไม่คุ้มทุน แต่บริษัทเหมืองแร่โมนิโก้ จำกัด พยายามจะขอเข้าไปทำเหมืองแร่อีกครั้ง ซึ่งอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืชในเวลานั้นยืนยันจะไม่อนุญาตให้เข้าทำเหมืองแร่ใน บริเวณป่าแห่งนี้เด็ดขาด เนื่องจากจะส่งผลกระทบต่อผืนป่าและสัตว์ป่า


มรดกโลก ในวันนี้

20 ปีที่ผ่านมา การจัดการเพื่อรักษาป่ามรดกโลกไว้ยังคงเป็นภารกิจสำคัญที่หลายฝ่าย ร่วมมือกันทำ วันนี้ สถานภาพของสัตว์ป่าได้รับการดูแลมากยิ่งขึ้น การทำงานวิจัย เรื่องสัตว์ป่าเป็นส่วนสำคัญเรื่องหนึ่งของการอนุรักษ์สถานภาพสัตว์ป่าในมรดกโลก อาทิ สถานีวิจัยสัตว์ป่าเขานางรำ ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง คือหนึ่งในตัวอย่างของการ ทำงานวิจัยเพื่อรักษาเผ่าพันธุ์สัตว์ป่าอย่าง “เสือโคร่ง” จากการเก็บข้อมูลพบว่าประเทศไทยเป็นเพียงประเทศเดียวในโลกที่มีเสือโคร่งเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ซึ่งเป็นป่ามรดกโลกเช่นกัน นอกจากนี้ยังมีการศึกษาเก็บข้อมูลสัตว์ป่าชนิดอื่นๆ ผ่านทางกล้องดักถ่าย และการลาดตระเวน ด้านการป้องกันภัยคุกคาม ปัจจุบันในพื้นที่มรดกโลก ได้นำรูปแบบการลาดตระเวน เชิงคุณภาพ (Smart patrol system)โดยมีเจ้าหน้าที่ที่ผ่านการอบรมเพื่อพัฒนาร่างกาย การจับกุมผู้กระทำผิด การใช้อาวุธ การปฐมพยาบาลเบื้องต้น รวมถึงการใช้เครื่องมือและ เทคโนโลยีสารสนเทศภูมิศาสตร์ เช่น การใช้แผนที่ เข็มทิศ GPS การจำแนกร่องรอยสัตว์ป่า การสร้างความเข้าใจและการจดบันทึกแบบฟอร์มการลาดตระเวนที่เป็นมาตรฐาน มีระบบ ในโครงการลาดตระเวนเชิงพื้นที่ MIST (a spatial Management Information System) ที่บุคลากรระดับบริหารในพื้นที่ มีระบบที่สามารถตรวจสอบประสิทธิภาพการลาดตระเวน ผ่านการจัดเก็บและประมวลผลเชิงพื้นที่ สามารถวิเคราะห์แนวโน้มการเกิดปัญหาและนำไป สู่การวางแผนการลาดตระเวนในช่วงต่อไปเพื่อป้องกันปัญหาได้อย่างทันการและตรงจุด

คน กับ ป่าทุ่งใหญ่ ภายในพื้นที่เขตทุ่งใหญ่นเรศวร มีชุมชนอาศัยอยู่บางแห่งเริ่มมีการเปลี่ยน แปลงวิถีชีวิตตามกระแสทุนนิยมจากภายนอก ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อทรัพยากร ธรรมชาติในพื้นที่ การจัดการชุมชนอย่างมีส่วนร่วมในผืนป่าตะวันตก คือแนวทางในการทำงาน ที่ยอมรับร่วมกัน เพื่อคนอยู่ได้ ป่าอยู่ได้ สัตว์ป่าอยู่ได้ ทำให้เกิดการประสาน การทำงานร่วมกัน 3 ฝ่าย คือเจ้าหน้าที่รัฐ ชุมชน และมูลนิธิสืบนาคะเสถียร ให้ความหลากหลายทางชีวภาพและระบบนิเวศดั้งเดิมของผืนป่าตะวันตก ได้รับการดูแลให้คงอยู่อย่างแท้จริงและยั่งยืน ด้วยความรับผิดชอบ ร่วมรับผลได้-ผลเสีย ของผู้ที่เกี่ยวข้องในทุกภาคส่วน เน้นกระบวนการ การทำงานอย่างมีส่วนร่วม ให้เกิดความเข้าใจร่วมกันและเท่ากันในทุกฝ่าย เพื่อนำไปสู่ข้อตกลงที่ชัดเจน และเป็นที่ยอมรับร่วมกันทุกฝ่าย โดยได้ตั้ง เป้าหมายในการดำเนินกิจกรรมร่วมกันดังนี้ - เกิดข้อตกลงในแนวเขตการใช้ที่ดินของชุมชนที่ชัดเจนและยอมรับร่วมกันทุ กฝ่าย - เกิดคณะกรรมการ และกติกาชุมชนในการบริหารจัดการทรัพยากรภายใน พื้นที่ใช้ประโยชน์ชุมชน และทำงานร่วมกับเจ้าหน้าที่พื้นที่คุ้มครองในการดูแล รักษาทรัพยากรธรรมชาติโดยรอบชุมชน - เกิดกิจกรรมหนุนเสริมวิถีชีวิต อาชีพ และวัฒนธรรมภายใต้แนวทาง เศรษฐกิจพอเพียงและสอดคล้องกับวิถีชุมชนในผืนป่า - ชุมชนกับเจ้าหน้าที่พื้นที่คุ้มครองมีทัศนคติที่ดีในการทำงานร่วมกัน


ผมว่าประเทศไทยถ้าสามารถเก็บป่าธรรมชาติเอาไว้ได้ประมาณร้อยละ 20 แล้วเราใช้อย่างถูกต้อง หมายถึง เก็บเอาไว้เพื่อให้มันอำนวยประโยชน์ในแง่ของการควบคุมสภาวะแวดล้อมอะไรต่าง ๆ เป็นแหล่งผลิตของธาตุอาหาร หรือความอุดมสมบูรณ์ให้กับพื้นที่ลุ่มน้ำตอนล่าง ถ้าเราใช้ป่าทั้งหมด ที่เป็นแหล่งกำเนิดของความอุดมสมบูรณ์ไปแล้ว เราจะไปหาความอุดมสมบูรณ์ได้ที่ไหน

สื่อสารเพื่อสืบสานความคิดสืบ นาคะเสถียร

693 ถนนบำรุงเมือง คลองมหานาค เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร 10100 โทร 0 2224 7838-9 http://www.seub.or.th

สิ่งตีพิมพ์

[

[

มูลนิธิสืบนาคะเสถียร


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.