สาส์นสืบ - เครือข่ายภูมินิเวศผืนป่าตะวันตก

Page 1

มีนาคม 2553

เครือข่ายภูมินิเวศ

ป่าตะวันตก

เพียงเพื่อจะรักษาพื้นที่ป่า คุณให้ได้มากกว่าความเห็นใจ


เครือข่ายภูมินิเวศผืนป่าตะวันตก


ก่อร่าง

เป็นเครือข่าย ปี พ.ศ. 2549 มูลนิธิสืบนาคะเสถียร ได้ร่วมกับคณะกรรมการอนุรักษ์ผืนป่าตะวันตก จังหวัดอุทัยธานี (กอต.อน.) ดำเนินกิจกรรมกับชุมชนบริเวณขอบป่ากันชนเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ในอำเภอลานสัก อำเภอห้วยคต และอำเภอบ้านไร่บางส่วน ในชื่อ “โครงการป่าชุมชน 30 ป่ารักษาทุกโรค” เป้าหมาย เพื่อหนุนเสริมความเข้มแข็งขององค์กรชุมชนในการมีส่วนร่วมดูแลรักษาและการใช้ประโยชน์ อย่างยั่งยืนจากทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ชุมชน ต่อมาในปี พ.ศ. 2550 มูลนิธิสืบนาคะเสถียร ได้ร่วมกับมูลนิธิคณะกรรมการอนุรักษ์ผืนป่าตะวันตก (มอต.) ดำเนิน โครงการจัดตั้งป่าชุมชนจังหวัดนครสวรรค์และกำแพงเพชร เพื่อสนับสนุนการดำเนินกิจกรรม ป่าชุมชนของชุมชน บริเวณอำเภอแม่เปิน อำเภอแม่วงก์ และอำเภอชุมตาบง จังหวัดนครสวรรค์ และอำเภอโกสัมพีนคร จังหวัดกำแพงเพชร รวม 39 ชุมชนโดยทั้ง 2 โครงการได้รับการสนับสนุนจากสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) และในปี พ.ศ. 2551 มูลนิธิสืบฯ ได้ขยายการทำงานป่าชุมชนให้ครอบคลุมพื้นที่อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี อีก 34 ชุมชน และชุมชนรอบอุทยานแห่งชาติพุเตย อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี และชุมชนในตำบลเขาโจด อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี รวม 29 ชุมชน โดยการสนับสนุนงบประมาณจากรัฐบาลประเทศเดนมาร์ก (DANIDA) พร้อมทั้งมีการประสานการทำงานร่วมกับกรมป่าไม้ ในการหนุนเสริมการทำงานของคณะกรรมการ ชุมชนในการจัดตั้งป่าชุมชน


ป่าชุม ชน แนวกันชนรอบป่า

รูปธรรมที่เกิดขึ้นจากการทำงานป่าชุมชนบริเวณแนวเขตกันชน รอบผืนป่าตะวันตก ทำให้ชุมชนที่เข้าร่วมกิจกรรมทั้ง 135 ชุมชน มีการจัดตั้งป่าชุมชน กติกาป่าชุมชน และจัดให้มีคณะกรรมการ ชุมชนเข้ามารับผิดชอบดูแล เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 มูลนิธิสืบนาคะเสถียร ร่วมกับสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนจัดงาน “เครือข่ายป่าชุมชน เพื่อการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติบริเวณแนวเขตป่ากันชน รอบผืนป่าตะวันตก“ ณ ที่ว่าการอำเภอแม่เปิน จังหวัดนครสวรรค์ โดยมีคณะกรรมการป่าชุมชนทั้ง 135 ชุมชน เข้าร่วมกิจกรรม ซึ่งถือได้ว่าเป็นการแสดงพลังครั้งใหญ่ของกลุ่มคนที่ทำหน้าที่ดูแล ป่าโดยไม่หวังสิ่งตอบแทน ผลจากการประชุมได้ก่อเกิดเครือข่าย คณะกรรมการป่าชุมชนรอบผืนป่าตะวันตกขึ้น มีการประชุม และกิจกรรมเครือข่ายร่วมกันอย่างสม่ำเสมอ ขณะเดียวกันเครือข่ายฯ ได้มีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับชุมชนที่ตั้ง อยู่ ในผืนป่าตะวันตก 129 ชุมชน ในผืนป่าตะวันตก และจากจุดเริ่มในวันนั้น จึงเป็นที่มาของการทำงาน ภายใต้ชื่อ “เครือข่ายภูมินิเวศผืนป่าตะวันตก”


เครือข่ายภูมินิเวศผืนป่าตะวันตก

คืออะไร?

จากการทำงานกับชุมชนตามแนวขอบป่า จนก่อเกิดเป็นเครือข่ายป่าชุมชน 135 ป่ารอบผืนป่าตะวันตก โดยการ สนับสนุนของสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน และ DANIDA ภายใต้ “โครงการจัดการพื้นที่คุ้มครองอย่างมี ส่วนร่วม ในผืนป่าตะวันตก” รวมถึงชุมชนในพื้นที่อนุรักษ์อีก 129 ชุมชน ที่มูลนิธิสืบฯเริ่มทำงานมาแต่เดิม ทำอย่างไรให้ชุมชนในพื้นที่อนุรักษ์และชุมชนที่อยู่ตามแนวขอบป่า สามารถสานต่อเป็นเครือข่าย ในการ รักษาผืนป่าตะวันตกไว้ ให้ ได้ จากแต่เดิมทำงานแยกส่วนกัน ส่วนแรกคือการทำงานกับพี่น้องชาติพันธุ์ ในผืนป่า ภายใต้ โครงการจอมป่า 129 ชุมชน อีกส่วนก็คือการทำงานเครือข่ายป่าชุมชน 135 ชุมชน ไม่มีการเชื่อมร้อยกัน ซึ่งชุมชนส่วนใหญ่ ทั้งในและนอกป่าเป็นกลุ่มญาติพี่น้องกัน วิถีวัฒนธรรมเหมือน มีระบบนิเวศของพื้นที่เชื่อม ต่อกัน และแม้แต่ลักษณะปัญหาของชุมชนในแต่ละกลุ่มก็คล้ายคลึงกัน เครือข่ายภูมินิเวศป่าตะวันตก จึงเป็นการทำงานร่วมกันเพื่อดูแลทรัพยากรระหว่างชาวบ้าน จากชุมชน ที่อาศัยอยู่ ในป่าอนุรักษ์ และชาวบ้านจากชุมชนที่อาศัยรอบผืนป่า (ป่ากันชน) เครือข่ายภูมินิเวศป่าตะวันตก จึงเป็นคำตอบ ด้วยการสร้างร้อยเครือข่ายเกี่ยวโยงชุมชนทั้งหมด ด้วยกระบวนการเรียนรู้ ในเวที แลกเปลี่ยนความคิดเห็น เพื่อการรักษาผืนป่าอย่างยั่งยืน คำว่าเครือข่ายภูมินิเวศ จึงเป็นการรวมเอาทุกคนไม่ว่าจะเป็นคนในป่าอนุรักษ์ คนในป่ากันชน ทำงานเพื่อรักษาป่า ขณะนี้มีทั้งสิ้น 264 ชุมชน

“เป้าหมาย” ของ

“เครือข่ายภูมินิเวศผืนป่าตะวันตก” 1. สร้างกระบวนการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติร่วมกัน ทั้งภาคประชาชน และองค์กรรัฐ เพื่อรวมการทำงานให้เป็นอันหนึ่งอันเดียว 2. สร้างการยอมรับและพัฒนาบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการป่าชุมชน เครือข่ายภูมินิเวศผืนป่าตะวันตก เช่นการออก บัตรประจำตัวคณะกรรมการป่าชุมชน ที่ ได้รับการรับรองจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 3. การผลักดันให้ชุมชนได้รับการรับรองสิทธิการดูแลบริหารจัดการป่าชุมชนอย่างถาวรของชุมชน โดยถูกต้องตามกฎหมาย จากที่ ให้ระยะเวลาเพียงแค่ 5 ปี




ทำไมต้องเป็น

เครือข่าย

ตะวันฉาย หงษ์วิลัย ในฐานะผู้ประสานงานเครือข่ายเครือข่ายภูมินิเวศผืนป่าตะวันตก เล่าถึงที่มาของการรวมตัวเป็นเครือข่ายว่า ปี 2542 เครือข่ายป่าชุมชนแม่วงก์-แม่เปิน เคยเป็นที่รับรู้ของคนทั้งประเทศ ว่าเป็นเครือข่ายป่าชุมชนที่ประสบความสำเร็จ และเป็นต้น แบบการจัดการป่าชุมชนได้เป็นอย่างดี พื้นที่ป่าเล็กป่าน้อยตลอดแนวรอยต่อเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งและอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ ถูกเชื่อมประสานเพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวมากขึ้นตามความเข้มข้นในการทำกิจกรรมของเครือข่าย แต่เพียงไม่นานหลังจากนั้นชื่อของเครือข่ายฯ เริ่มเลือนหายไป ด้วยปัจจัยทั้งภายใน แกนนำในเครือข่ายสูงอายุมากขึ้น ขาดแกนนำรุ่นใหม่ๆ มาทดแทน ทำให้ขาดความต่อเนื่องในการทำงาน แต่สิ่งสำคัญที่ยังคงอยู่คือป่าชุมชน ที่แกนนำอาวุโสเหล่านี้พยายามประคับ ประคอง ดูแล ให้คงสภาพป่าชุมชนให้มากที่สุด ความอ่อนล้าในอดีตที่เกิดขึ้นกับผู้คนที่เคยเข้าร่วมในเครือข่าย คือสิ่งแรกที่ตะวันฉาย หงษ์วิลัย สัมผัสได้จากที่เขาเริ่มทำงานในตำแหน่ง หัวหน้าภาคสนามมูลนิธิสืบนาคะเสถียรพื้นที่นครสวรรค์-กำแพงเพชร ภายใต้ โครงการจัดการพื้นที่คุ้มครองอย่างมีส่วนร่วม แม้เครือข่ายจะอ่อนล้า แต่ความสำเร็จที่จับต้องได้ ในอดีต ทำให้ตะวันฉายเชื่อว่า ในการทำงานเพื่อรักษาป่าตะวันตก เครือข่ายยัง เป็นหนทางนำไปสู่เป้าหมายได้ “การรักษาผืนป่าโดยเฉพาะอย่างยิ่งผืนป่าตะวันตกนี้ มันเป็นข้อบังคับอยู่แล้วว่า การรักษาป่าก็ต้องต่อเนื่องกัน ไม่ ใช่เป็นเอกเทศ เฉพาะพื้นที่หรือเฉพาะหมู่บ้าน มันไม่เกิดพลังในการที่จะรักษาป่าได้ ดังนั้น จึงต้องทำให้แต่ละป่าชุมชนร้อยต่อกันให้เป็นเครือข่าย เหมือนเป็นกำแพง เป็นรั้วของป่าให้ ได้”

ตะวันฉาย หงษ์วิลัย ผู้ประสานงานเครือข่ายเครือข่ายภูมินิเวศผืนป่าตะวันตก

“ความเป็นเครือข่ายสามารถที่จะเป็นพลังในการต่อรอง แทนที่มันจะเป็น แค่ต่างคนต่างทำซึ่งต่อรองไม่ ได้ พลังมันไม่พอที่จะนำไปสู่การ เปลี่ยนแปลง ทั้งการแก้ปัญหาในพื้นที่และในระดับนโยบาย พี่น้องที่งานเรื่องนี้ มีความจำเป็นที่จะต้องเชื่อมโยงให้มันเกิดเป็น เครือข่ายให้ ได้ เพื่อจะได้ ให้เป็นพลังในการนำไปสู่การขับเคลื่อน ระดับนโยบาย”

“เครือข่ายเป็นกลไกสำคัญ การที่จะเกิดความยั่งยืนต้องว่าด้วยเรื่อง การปฏิบัติให้เป็นรูปธรรม เรามารวมตัวเป็นเครือข่ายเพื่ออะไร ต้องมีวัตถุประสงค์ ต้องมีเป้าหมายให้ชัด วันนี้เรามีเป้าหมายในการ รักษาป่า เพื่ออะไร ก็เพื่อคนในชุมชน พี่น้องได้ ใช้ประโยชน์ตามสมควร ในขณะเดียวกัน ป่าก็ ไม่เสื่อมโทรมลงไป คือให้เขาสามารถที่จะ ใช้ชีวิตอยู่ภายใต้การพึ่งพิงกันและกัน ป่าก็ต้องพึ่งคน คนก็ต้องพึ่งป่าให้ ได้ แต่ว่าในขณะเดียวกัน การนำไปสู่การปฏิบัติก็มีความ จำเป็นที่ต้องทำให้ ได้อย่างต่อเนื่อง คือให้เขามีกิจกรรมทำ กิจกรรมที่สร้างการเรียนรู้ ทั้งในเชิงของการให้รู้คุณค่าของป่าจริงๆ ที่สามารถจับต้องได้ สามารถเป็นบทพิสูจน์ ให้พี่น้องเห็นเป็นรูปธรรมของมัน การรักษาป่า รักษาป่าแล้วคือยังไง จริงๆ การรักษาป่า ถ้าคนไม่ยุ่งมันก็อยู่ของมันได้ แต่ ในขณะที่คนเข้าไปใช้ประโยชน์อย่างเดียว มันก็หมด ต่างคนต่างใช้ โดยไม่มีการดูแลรักษา อันนี้คือหัวใจสำคัญ”


รายชื่อเครือข่ายในป่าตะวันตก เครือข่ายชาติพันธุ์ ภูมิปัญญา และศิลปะวัฒนธรรม กาญจนบุรี : เครือข่ายชาติพันธุ์กะเหรี่ยงตำบลไล่ โว่ -ตำบลหนองลู, เครือข่ายดนตรีเพื่ออนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมตำบลไล่ โว่, เครือข่ายงานวิจัย ด้านสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ตำบลไล่ โว่ (สกว.) สุพรรณบุรี กาญจนบุรีฝั่งตะวันออก : ชาติพันธุ์กระเหรี่ยงในผืนป่า ตะวันตกฝั่งตะวันออก อุทัยธานี : กลุ่มบ้านดินลานสัก

เครือข่ายเฝ้าระวังทรัพยากรธรรมชาติ กาญจนบุรี : กลุ่มเฝ้าระวังแหล่งอนุรักษ์พันธุ์ปลา บ้านปอสามต้น, เครือข่ายลาดตระเวน บ้านปอสามต้น, เครือข่ายลาดตระเวนอย่างมี ส่วนร่วมทุ่งใหญ่ตะวันตก, คณะกรรมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ตำบลไล่ โว่, เขตอนุรักษ์พันธุ์ปลา บ้านโชคดีสุพรรณ, เครือข่ายเฝ้าระวังช้างบ้านภูเตย, เครือข่ายเฝ้าระวังช้างบ้านแปลง 4 สุพรรณบุรี กาญจนบุรีฝั่งตะวันออก : กลุ่มเฝ้าระวังช้างป่าบ้านแสวง บ่าและกลุ่มบ้านบึงชะโค, ประตูป่าปกป้องทรัพยากรป่าไม้, เครือข่าย ภูมินิเวศผืนป่าตะวันตกโซนสุพรรณบุรี-กาญจนบุรี, อาสาสมัครพิทักษ์ อุทยานแห่งชาติเฉลิมรัตนโกสินทร์

นครสวรรค์ : เครือข่ายโรงเรียนชาวนา (สระสวัสดิ์) กำแพงเพชร : เครือข่ายชาติพันธุ์ ปากญอ บ้านโละโคะ วุ้งกะสัง, เครือข่ายชาติพันธุ์ม้งใน อช.คลองวังเจ้า อุ้มผาง : กลุ่มต้นทะเล 7 ชุมชน, ศูนย์ประเพณีวัฒนธรรมกะเหรี่ยงบ้าน มอทะ, ศูนย์ประเพณีวัฒนธรรมกะเหรี่ยงบ้านทิโพจิ

อุทัยธานี : เครือข่ายรั้วมนุษย์สื่อสาร (วัดทัพหลวง) อุ้มผาง : คณะกรรมการร่วมรักษาผืนป่าตะวันตก 34 ชุมชน, บ้านสัตว์ป่า เช่น บ้านกวาง, บ้านเลียงผา ,โป่ง, เขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำ เช่น วังปลา วังกบ, บ้านนกเงือกกรามช้างปากเรียบ บ้านกรูโบ

เครือข่ายป่าชุมชน กาญจนบุรี : เครือข่ายป่าชุมชนตำบลชะแล สุพรรณบุรี กาญจนบุรีฝั่งตะวันออก : เครือข่ายป่าชุมชน 29 ป่ารอบ อช.พุเตย, เครือข่ายป่าชุมชนตำบลสมเด็จเจริญ อุทัยธานี : เครือข่าย 30 ป่ารักษาทุกโรค นครสวรรค์ : เครือข่ายป่าชุมชนอำเภอแม่เปิน, เครือข่ายป่าชุมชน อำเภอแม่วงก์-ชุมตาบง, เครือข่ายป่าชุมชนอำเภอแม่วงก์ –แม่เปิน – ชุมตาบง กำแพงเพชร : เครือข่ายป่าชุมชนกำแพงเพชร อุ้มผาง : เครือข่ายป่าชุมชนกุยเลอตอ


รายชื่อเครือข่ายในป่าตะวันตก

เครือข่ายเรียนรู้กสิกรรมธรรมชาติ

เครือข่ายบ้านเรียนรู้

กาญจนบุรี : ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติบ้านทุ่งนางครวญ

กาญจนบุรี : กลุ่มบ้านเรียนรู้ ตำบลปรังเผล

สุพรรณบุรี กาญจนบุรีฝั่งตะวันออก : ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติพื้นที่ ต้นน้ำบ้านบึงชะโค

สุพรรณบุรี กาญจนบุรีฝั่งตะวันออก : เครือข่ายสมุนไพรอินทรีย์ ต.เขาโจด, เครือข่ายเกษตรอินทรีย์บ้านห้วยหินดำ, เครือข่ายบ้านเรียนรู้ เกษตรผสมผสาน โซนสุพรรณบุรี-กาญจนบุรีด้านตะวันออก

นครสวรรค์ : เครือข่ายเกษตรยั่งยืน (กลุ่มปุ๋ยหมักชีวภาพกลุ่มแปรรูปสมุนไพร-กลุ่มสวัสดิการ-กลุ่มออมทรัพย์กลุ่มดอกไม้ประดิษฐ์), ศูนย์การเรียนรู้เกษตรผสมผสาน (บ้านคลองแบ่ง)

อุทัยธานี : บ้านเรียนรู้ลานสัก (กลุ่มลุงวิเชียร) อุ้มผาง : กลุ่มบ้านกุยเลอตอ-หม่องกั๊วะ, กลุ่มทีชอแม-ยูไนท์, กลุ่มแม่จันทะ-ทิบาเก, กลุ่มต้นทะเล

เครือข่ายพัฒนาอาชีพและระบบ สวัสดิการ กาญจนบุรี : กลุ่มผู้ปลูกสมุนไพร (เขื่อนศรีฯตะวันตก), กลุ่มผู้ปลูกสวนไผ่ถวายพระราชินี ตำบลชะแล, กลุ่มไม้กวาด ดอกหญ้าบ้านอีต่องอีปู่, กลุ่มออมทรัพย์ บ้านโชคดีสุพรรณ, เครือข่ายสุขภาพบ้านไล่ โว่-จะแก, กลุ่มท่องเที่ยวเชิงนิเวศอีต่อง-อีปู่ สุพรรณบุรี กาญจนบุรีฝั่งตะวันออก : กลุ่มผู้ปลูกสมุนไพร (เขื่อนศรีฯตะวันออก) นครสวรรค์ : กลุ่มผลิตไม้กวาด (ตลุกตาสาม), กลุ่มผ้าทอย้อมสีธรรมชาติ (ชุมตาบง, กลุ่มผลิตภัณฑ์อะลูมิเนียม (สระสวัสดิ์) อุ้มผาง : กองทุนมะตึงยาง อำเภออุ้มผาง, กองทุนข้าวเปลือกรวมหมู่ กลุ่มบ้านลุ่มน้ำแม่จัน, กองทุนมะอิ, กระวานนำร่อง ตำบลแม่จัน, กองทุนผ้าทอมือ ตำบลแม่จัน, กองทุนพริกแลกเกลือ 7 ชุมชนในสป. ทุ่งใหญ่นเรศวร ด้านตะวันออก, เครือข่ายอาสาสมัครสุขภาพชุมชนลุ่ม น้ำแม่จัน


รายชื่อเครือข่ายในป่าตะวันตก

เครือข่ายเยาวชน สุพรรณบุรี กาญจนบุรีฝั่งตะวันออก : เครือข่ายโรงเรียนรอบผืนป่า สุพรรณบุรี-กาญจนบุรีด้านตะวันออก

เครือข่ายวิทยากรกระบวนการ กาญจนบุรี : ทีมจอมป่า อช.เขาแหลม, ทีมจอมป่า อช.ลำคลองงู, ทีมจอมป่า สป.ทุ่งใหญ่นเรศวร ด้านตะวันตก, ทีมจอมป่า อช.ไทรโยค, ทีมโครงการนำร่องเอราวัณ

อุทัยธานี : เครือข่ายเยาวชนกีฬาลานสัก, ค่ายมวยแข้งพิทักษ์มรดกโลก, สุพรรณบุรี กาญจนบุรีฝั่งตะวันออก : ทีมจอมป่า อช.พุเตย, ห้องสมุดชุมชนบ้านบึงเจริญ ทีมจอมป่า อช.เฉลิมรัตนโกสินทร์, ทีมสื่อความหมายสลักพระ, ทีมเขื่อนศรีนครินทร์ นครสวรรค์ : เครือข่ายเยาวชน “ต คน ห้วยป่า” (อ.แม่เปิน,อ.ชุมตาบง) อุทัยธานี : ทีมจอมป่าและกสป.ขาแข้ง, บุญเลิศ เทียนช้าง กำแพงเพชร : เครือข่ายเยาวชนต้นกล้าน้อย นครสวรรค์ : ทีมจอมป่า อช.แม่วงก์ (อ.เมือง,อ.คลองลาน,อ.สักงาม) อุ้มผาง : กลุ่มเยาวชนต้นกล้าทะเล

กำแพงเพชร : ทีมจอมป่า อช.คลองวังเจ้า, ทีมสื่อความหมายเขาสนามเพรียง อุ้มผาง : ทีมจอมป่า สป.อุ้มผาง, ทีมทุ่งใหญ่นเรศวรตะวันออก


ผมคิดว่ามันหมดยุคแล้ว มันควรจะมาถึงยุคที่ทุกคนมีความเสมอภาค ในการแสดงความคิดเห็น ช่วยแก้ปัญหา เพราะปัญหาสิ่งแวดล้อม ไม่ได้เกิดขึ้นกับคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง

สืบ นาคะเสถียร สารคดี ฉบับ 65 หน้า 99, กรกฎาคม 2553

สื่อสารเพื่อสืบสานความคิดสืบ นาคะเสถียร

มูลนิธิสืบนาคะเสถียร

]

693 ถนนบำรุงเมือง คลองมหานาค เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร 10100 โทรศัพท์ 0-2224-7838-9 http://www.seub.or.th E-Mail snf@seub.or.th

สิ่งตีพิมพ์


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.