สาส์นสืบ - ความหมายแห่งสัตว์ป่าของฤาษีที่ท่องคั๊วะ

Page 1



แดดสายปลายฝนก�ำลังสาดแสงสู่ทุ่งรวงข้าวที่นาลุง จ้าเหย่ หรือ ชื่อที่สหายปฏิวัติเขตงานตากคุ้นเคยเมื่อสามสิบปี ที่แล้วว่า “สหายสมหมาย” เหนือข้าวที่ก�ำลังสุกเหลือง ผมเห็น ชาวบ้านม่องคั๊วะแต่งชุดปากะญอสีแดงสด เดินสวนกันไปมาตาม คันนา เด็กสาวหลายคนแต่งชุดเชวา (ชุดขาวแสดงสัญลักษณ์ หญิงปากะญอที่ยังไม่แต่งงาน) หน้าตาสดใสเดินปะปนอยู่กับผู้ใหญ่ ท�ำให้ท้องทุ่งกลางหุบเขาวันนั้นเต็มไปด้วยสีสันงดงามยิ่งนัก อดีตสหายปฏิวัติผู้หนักแน่นดุจภูผาม่องคั๊วะอันเป็น สัญลักษณ์ตั้งตระหง่านท้ากาลเวลาอยู่กลางอาณาเขตชุมชนบอกให้ ผมเดินตัดนาไปกินข้าวที่ริมน�้ำหลังแนวพุ่มไม้ เสร็จแล้วให้ ไปเจอกัน ที่เรือนไม้ ไผ่หลังใหม่บนเนินสูง ที่ที่ลุงนัดหมายพวกเรามาเพื่อจัด งานอะไรสักอย่างให้กับการท�ำงานอนุรักษ์ที่ร่วมท�ำกันมา ลุงพินิจ ลุงพอหม่อลา และผู้น�ำทางวัฒนธรรมกระเหรี่ยง ฤาษีอีกหลายคน นั่งรวมกันเหนือยกพื้นบนเรือนไม้ ไผ่ มีชาวบ้านคน อื่นๆ นั่งอยู่แทบทุกพื้นที่บนเรือนจนเต็มแน่น ที่ด้านล่างมีชาวบ้าน และหนุ่มสาวอีกหลายคนนั่งสมทบอยู่บนลานดินรอบๆ เมื่อผมขึ้น ไปถึงลุงจ้าเหย่ก็เรียกให้ผมไปนั่งรวมกับเหล่าแกนน�ำบนยกพื้น มี “ตือ” ยุทธชัย บุตรแก้ว และ “ตู่” ตะวันฉาย หงส์วิลัยเจ้าหน้าที่ ภาคสนามของมูลนิธิสืบนาคะเสถียร ตือเป็นหัวหน้างานในพื้นที่ นี้ ส่วนตู่ เป็นเจ้าหน้าที่ภาคสนามที่มีอาวุโสสูงสุดของมูลนิธิสืบฯ

ท�ำงานในพื้นที่ต่อเนื่องกับตือ ทั้งสองคนได้รับค�ำชวนให้ขึ้นไปนั่ง รวมกับแกนน�ำผู้อาวุโสทั้งหลาย ผมพบหัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ ป่าอุ้มผาง “มงคล ค�ำสุข” ข้าราชการหนุ่มพื้นเพจากภาคอีสานที่ถูก ส่งมาดูแลพื้นที่ทับซ้อนระหว่างเขตอนุรักษ์และชุมชนสามสิบชุมชน ในเขตที่เคยมีปัญหาขัดแย้งระหว่างวิถีชีวิตและกฎหมายอนุรักษ์ สัตว์ป่ามาเนิ่นนานจนกระทั่งดูเหมือนว่าจะไม่มีทางออก แต่ปัญหา คลี่คลายไปหลังจากมูลนิธิสืบฯน�ำโครงการจอมป่า หรือ โครงการ การจัดการพื้นที่คุ้มครองอย่างมีส่วนร่วมมาสลายความขัดแย้ง ระหว่างชุมชนกับเจ้าหน้าที่ ในช่วงเจ็ดปีที่ผ่านมา ลุงจ้าเหย่บอกตือให้ชวนผมมาที่นี่ โดยไม่ ได้บอก รายละเอียดว่าจะมีก�ำหนดการอย่างไร แต่ความที่ท�ำงานร่วมกันมา ยาวนาน ท�ำให้ผมไม่ปฏิเสธค�ำชวนของอดีตนักรบปฏิวัติที่ปัจจุบัน เป็นปราชญ์เฒ่าประจ�ำถิ่นผู้นี้ น�ำไปสู่การเดินทางไกลร่วมพัน กิโลเมตรตั้งแต่เมื่อวาน แต่การจัดการที่ดูเป็นทางการกว่าทุกครั้งที่ เจอกันท�ำให้ผมรู้สึกลึกลับกับบรรยากาศรอบตัวอยู่พอควร แต่ก็เดา ได้ว่าวันนี้ลุงแกคงจะสื่อสารเล่าแถลงเรื่องส�ำคัญอะไรแน่นอน


“เมื่อก่อนเรารู้จัก สืบ นาคะเสถียร สืบ นาคะเสถียรเป็นนักอนุรักษ์ เคยท�ำงานรักษาป่า” ลุงสมหมายเริ่มพูดให้ผู้คนที่มาประชุม ฟัง เชื่อมโยงไปสู่พื้นที่ป่าอุ้มผางรอบหมู่บ้านม่องคั๊วะที่ ไกลนับพันกิโลเมตรจากกรุงเทพฯ ในความจริงแล้ว ป่าอุ้มผางก็คือป่าผืนเดียวกับป่า ห้วยขาแข้งและป่าทุ่งใหญ่ฯ แน่นอนว่าในอดีตหัวหน้าสืบในสมัยโน้นย่อมเดินทางมาส�ำรวจถึงที่นี่ด้วย “เราอยู่ที่นี่กันมา นับถือฤๅษีกัน ค�ำสอนของเราก็คือให้รักษาป่า เหมือนๆ กับสืบ นาคะเสถียร เดี๋ยวนี้ ไม่มีสืบแล้ว แต่ก็มีเขตรักษา พันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผางมารักษาป่าต่อจากสืบ มีมูลนิธิสืบฯมาท�ำงานกับเรา ก็มาให้รักษาป่า ดังนั้น ทุกๆ อย่างเหมือนกัน รักษาป่าเหมือนกัน ตอนนี้บ้านเรายังไม่มีการปลูกพืชเชิงเดี่ยวที่ ใช้สารเคมีมากๆอย่างข้าวโพดเหมือนหมู่บ้านข้างนอก เราอยู่บนต้นน�้ำแม่กลอง น�้ำแม่กลองก็ ไหล ไปสู่ทะเล เรากับทะเลก็เชื่อมโยงต่อกัน ถ้าพื้นที่เราเดือดร้อนป่าหมด คนข้างล่างก็กระทบด้วย เราตั้งกลุ่มต้นทะเลมาเพื่อบอกว่าเรากับทะเล ก็เหมือนกัน ต้องอยู่ด้วยกัน” ลุงจ้าเหย่เคยไปเห็นทะเลมาแล้วในโครงการที่พวกเราพาไปแลกเปลี่ยนกับหมู่บ้านที่ต้นน�้ำพะโต๊ะในพื้นที่อนุรักษ์ บนเส้นทางจากภูผาถึงทะเลที่ชุมพร เมื่อกลับมาลุงก็ ได้จัดตั้งกลุ่มต้นทะเลเพื่อท�ำกิจกรรมอนุรักษ์ป่าในแบบของลุง “ก่อนหน้านี้เราไม่เข้าใจกันกับพวกป่าไม้ บอกมาอนุรักษ์ป่า มาจับเราหาว่าเราท�ำลายป่า แต่มาหลังๆ มีหัวหน้าเขตฯหลายคนมา ใหม่ เริ่มเข้าใจพวกเรามากขึ้น เข้าใจการท�ำนา การท�ำไร่หมุนเวียนของเรา มีกติกาแนวเขตร่วมกัน ท�ำงานด้วยกันได้ มีคณะกรรมการที่ร่วม กันรักษาป่า มูลนิธิสืบฯก็มาประสานงาน ตอนหลังๆนี้ก็เรียกว่าดีขึ้นมาก อยู่ร่วมกันได้ เมื่อก่อนป่าไม้ถือกุญแจดอกเดียว ตอนนี้มีกุญแจสอง ดอกถือร่วมกันทั้งชาวบ้านและป่าไม้ มีอะไรมาคุยกัน อยู่กันได้” หลังจากเล่าเรื่องราวในอดีต ลุงจ้าเหย่ก็เริ่มกล่าวถึงปัญหาใหม่ที่แก้ ไขไม่ ได้ “การท�ำข้าวโพดเป็นการท�ำลายต้นน�้ำ เราเห็นหมู่บ้านอื่นเขาท�ำกันมา ใช้สารเคมีกันมาก ถางป่ามาก ตอนนี้ชาวบ้านที่นี่ตั้งแต่ หมู่บ้านกุยเลอตอ ต่อลงมาอีก 6 บ้าน (กุยต๊ะ กุยเคล๊อะ พอกะทะ มอทะ และม่องคั๊วะ) ในป่าลึกก็อยากปลูกข้าวโพด คนที่นับถือฤๅษี ก็ ผิดข้อห้ามท�ำลายป่า ท�ำลายต้นน�้ำ ก็มาว่าพวกเรา มาถามพวกเราว่าปลูกได้ ไหม เราก็เบื่อ เหนื่อยแล้ว เราคิดว่าใครจะปลูก เราก็ ไม่ว่า เขาแล้ว แต่เราจะไม่ปลูก เรามารวมกันได้หลายคนประกาศตัวกันว่าจะมีคนที่ ไม่ปลูกข้าวโพด ท�ำตามที่ปูย่าตายายบอกมาไม่ ให้ท�ำลายต้นน�้ำ ส่วนใครจะปลูกเราก็จะไม่ว่าเขาแต่เราจะท�ำเป็นตัวอย่างว่าเราไม่ปลูกข้าวโพดเราก็อยู่ ได้ แบบที่ปู่ย่าตายายอยู่มา” ลุงจ้าเหย่ประกาศเสียง ดังฟังชัด แต่เราจับเสียงได้ว่าผู้น�ำทางความคิดผู้นี้ก�ำลังท�ำสงครามทั้ง “ภายนอกและภายใน” อย่างเหนื่อยล้า ดูเหมือนว่าจะเป็นสงครามที่ หนักกว่าการจับอาวุธสู้รบกับรัฐบาลได้ร่วมกับสหายนักศึกษาในเมืองเมื่อหลายสิบปีก่อนด้วยซ�้ำ ผมส�ำรวจแววตาของคนเฒ่ารอบตัวผม ทุกคนประกาศตัวว่าเป็นกลุ่มต้นทะเล เป็นการจัดตั้งครั้งใหม่ ที่ ไม่เกี่ยวกับการปฏิวัติ ทางการเมือง การสงคราม แต่เป็นการรักษาความเชื่อของพวกเขาที่บังเอิญสอดคล้องกับงานอนุรักษ์ที่เราท�ำอยู่ ดูเหมือนว่าพืชเศรษฐกิจที่ ไม่มีประเด็นรุนแรงอะไรในทุ่งภูเขานอกป่าจะน�ำความขัดแย้งที่ลึกลงถึงวิถีวัฒนธรรมที่คนรุ่นนี้ยังนับถือเทียบได้กับการปฏิบัติธรรมทางศาสนา ทีเดียว พลันนั้นผมเข้าใจลายมือภาษาไทยโย้เย้ที่เขียนไว้บนแผ่นไม้ที่บนประตูทางเข้าเรือนว่า


ในบริเวณที่นา ลุงเขียนไม้ ไว้เตือนคนอีกหลายแผ่น “หลงความมืด ต้องได้ความจน พอดีอยู่ ได้นาน ไม่พออายุสั้น รักน�้ำ รักป่า รักสัตว์ เท่ากับรักษาชีวิตตนเอง” “กินด้วยเหงือกตัวเอง คนจนไม่กลัวคนรวย น�้ำขึ้น ป่าหมด เศรษฐีดี ใจ” “บางเกินทะลุ เก่งเกินอยู่ ไม่ ได้ ผืนดินนี้ ไม่มี ใครปั้นได้ อยู่แล้วใครอย่าคิดท�ำลาย หลงเงินต้องกลายเป็นลูกจ้าง” ผมคิดถึงชีวิตในเมืองของเราเอง ที่ปรากฏอยู่ ในความหมายของแผ่นไม้กลางป่า ไม่รู้ว่าในสงครามครั้งใหญ่กับไร่ข้าวโพดที่รุกมายัง แนวรบศรัทธาฤๅษีของสหายเฒ่า ยังจะมี ใครแพ้ชนะกันต่อไปได้แค่ ไหน ในความหมายที่แท้จริง

หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง มงคล ค�ำสุข เป็นคนหนุ่มพื้นเพจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มารับต�ำแหน่งคนดูแลป่าใน พื้นที่ ความขัดแย้งระหว่างชุมชนเก่าแก่ของปากะญอสามสิบกว่าชุมชน และพื้นที่อนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่า ที่มีน�้ำตกทีลอซูเป็นสถานที่ ท่อง เที่ยวชื่อดังจนคนทั่วไปอาจรู้จักมากกว่าชื่ออ�ำเภออุ้มผางด้วยซ�้ำ หัวหน้าหนุ่มคนนี้มีอะไรที่น่าสนใจส�ำหรับผมอยู่ ไม่น้อย ขณะที่เริ่มพูด ให้ ชาวบ้านที่มาร่วมงานประชุมกลุ่มอนุรักษ์ “ต้นทะเล” ที่เรือนไม้หลังใหม่บนเนินใกล้ที่นาของลุงสมหมาย อดีตผู้ ใหญ่บ้านคนแรกหลังจากกอง ก�ำลังปฏิวัติประชาชนวางอาวุธเป็นผู้ร่วมพัฒนาชาติไทยเมื่อหลายสิบปีที่ผ่านมา มงคล อธิบายแนวคิดในการท�ำงานกับชุมชนของเขาว่า “หน้าที่ของข้าราชการคือการบ�ำบัดทุกข์บ�ำรุงสุขให้ประชาชน ไม่ว่าจะเป็นข้าราชการจากหน่วยงานไหนก็มีเป้าหมายการท�ำงาน แบบนี้ ผมมาท�ำงานรักษาป่า ก็มีเครื่องมือคือข้อกฎหมาย เรียกว่าพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า มีบทบัญญัติในการรักษา ทรัพยากรป่าไม้ สัตว์ป่า และแหล่งธรรมชาติ ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ดังนั้นตัวเจ้าหน้าที่อย่างผม ก็มีเครื่องมือในการท�ำงานให้ประชาชน ได้แล้ว แต่ว่าจะเลือกใช้กฎหมายตามวิจารณญาณให้พอดี ให้คนอยู่ ได้ ทรัพยากรอยู่ ได้ มีความขัดแย้งน้อยที่สุดอย่างไร กฎหมายนี้ถ้าใช้ ให้พอดี ผู้ ใช้ก็สามารถท�ำให้ชุมชนอยู่อย่างสงบสุขได้”

นี่นับเป็นครั้งแรกที่ผมได้ยินค�ำพูดจากเจ้าหน้าที่ป่าไม้ ที่สามารถมองเห็นโอกาสในความขัดแย้งที่มีมานมนาน โดยไม่เกี่ยงงอนกับข้อ จ�ำกัดคับแคบของราชการ หรือมองชาวบ้านชุมชนอย่างแยกส่วนจากธรรมชาติและวัฒนธรรม รวมทั้งเก๋าพอที่จะพูดเผื่อไว้ส�ำหรับ “อ�ำนาจ” ที่มี ในมือ หากต้องหยิบมาใช้งานเมื่อจ�ำเป็น “ผมเข้ามาท�ำงาน โชคดีที่มีชาวบ้านที่เห็นด้วยกับการอนุรักษ์ มีองค์กรภายนอกอย่างมูลนิธิสืบฯ มาช่วยท�ำความเข้าใจและหาข้อ ตกลงกติกาการอยู่ร่วมกันไว้ก่อนแล้ว มีฐานข้อมูลที่กรมอุทยานฯรับรู้ช่วยให้ผมท�ำงานง่ายขึ้น คราวนี้ก็เหลือแค่จะใช้กฎหมายอย่างไรให้พอดี เพื่อแก้ ไขปัญหาให้ชุมชน เรื่องไหนที่ ใช้กฎหมายแล้วเกิดความไม่พอดี ก็ปรับให้พอดี เรื่องไหนที่กติกาชุมชนไม่สามารถด�ำเนินการกับบางคน บางกลุ่มได้ก็ ใช้กฎหมายรักษาทรัพยากรให้คนอยู่ ได้ ป่าอยู่ ได้”


ผมนึกถึงข้อกฎหมายอันเข้มงวดของเขตรักษาพันธุ์ สัตว์ป่า ที่มีข้อห้ามมากมาย ห้ามล่าสัตว์ ตัดไม้ แม้แต่การ เก็บหิน ขุดดิน ท�ำให้ธรรมชาติใดๆ เสื่อมสภาพ แต่ก็นั่นแหละ ในความเป็นจริงที่พื้นที่คุ้มครองเพื่อการอนุรักษ์ไปประกาศทับ ชุมชนดั้งเดิม แม้แต่พื้นที่อย่างหมู่บ้านเลตองคุ ผืนดินที่มีความ เชื่อว่าเป็น “เมืองหลวง” ของความเชื่อการถือฤๅษี ที่มีฤๅษี ดูแลพิธีกรรมในระดับภูมิภาคทั่วทั้งทิวเขาถนนธงชัยไปจนถึง แนวเขาตะนาวศรี รวมถึง 9 องค์ มีอายุของชุมชนที่เทียบได้ กับกรุงเทพฯเลยทีเดียว หรือ ชุมชนใหญ่อย่างบ้านม่องคั๊วะ ที่ด�ำเนินวิถีวัฒนธรรมมาเป็นร้อยปี บนที่ราบท�ำนากว้างใหญ่ ล้ อมรอบด้วยเขาม่องคั๊ว เขาสองยอดสูงตระหง่าน บนยกพื้นในเรือนไม้ ไผ่ ผมนั่งอยู่ ใกล้ๆ หัวหน้าหนุ่ม ที่ก�ำลังจะพูดอยู่ตามการจัดล�ำดับของลุงสมหมายหรือลุงจ้า เหย่ ที่นัดผู้เกี่ยวข้องในการอยู่ ในป่าและการรักษาป่ามาพูดคุย ให้ชาวบ้านฟัง นาทีนั้นผมยอมรับว่า ผมไม่รู้ว่าจะกล่าวอะไร เพื่อเชื่อมโยงสิ่งที่ลุงสมหมายเพิ่งพูดไปว่า สืบ นาคะเสถียร เป็นนักอนุรักษ์ ท�ำงานอนุรักษ์ เมื่อไม่มีสืบ ก็มีเขตอุ้มผางมา ท�ำงานเหมือนกัน ฤๅษีก็มีค�ำสอนให้รักษาป่าเหมือนกัน และ นักวิชาการวนศาสตร์ตรงหน้าผมก็ก�ำลังพูดเรื่องการรักษาป่า เป็นเวลากว่าสิบปีที่ผมท�ำงานนี้ งานที่ออกแบบให้พวกเราเป็น คนกลางในการคลี่คลายความขัดแย้งระหว่างชุมชนและการ อนุรักษ์ จนใกล้จะพบค�ำตอบ ซึ่งนั่นน่าจะเป็นหน้าที่ของผม ในการอธิบายความส�ำเร็จแนวคิดแบบนามธรรมให้ออกเป็น รูป ธรรม ผมนั่งครุ่นคิด ก่อนยกมือพนมไหว้ ไปทางทิศใต้ ที่ซึ่ง ผมเคยไหว้สักการะศาลเจ้าพ่อฤๅษีแห่งทุ่งใหญ่ตะวันตก ที่ ที่มีผืนป่ากว้างใหญ่เชื่อมป่าที่นี่และที่นั่นไว้เสมือนอาณาจักร เดียวกัน กว่าสิบปีที่ผ่านมา ผมเริ่มงานกับชุมชนกะเหรี่ยง “โผล่ว” ฝั่งป่าตะวันตกด้านใต้ที่เขตจังหวัดกาญจนบุรี และคุ้น เคยกับพวกเขามาก่อนที่จะเริ่มท�ำงานกับกะเหรี่ยงปากะญอ ทางป่าตะวันตกด้านเหนือที่อุ้มผาง ผมรู้เพียงความเชื่อที่เขาไม่ กินนกเงือก ไม่กินชะนี เป็นชุมชนที่ ไม่ท�ำลายธรรมชาติเพราะ วิถีท�ำไร่ข้าวหมุนเวียน ไม่ ใช่ ไร่เลื่อนลอยแบบพืชเชิงเดี่ยว มี ความเอนเอียงพิธีกรรมมาทางไทยทางมอญ เข้าวัดว่าบาลีอยู่ มาก คล้ายชาวบ้านไทยเมื่อครั้งโบราณ


พี่ตู่ ตะวันฉาย นั่งติดกับลุงพินิจผู้น�ำพิธีกรรม ที่ท�ำหน้าที่เหมือนฤๅษีที่กลุ่มบ้านม่องคั๊วะ มอทะ แกวอทะ เปิดเอกสารบางอย่างที่ ลุงส่งมาให้เมื่อสักครู่อย่างสนใจ พร้อมทั้งส่งมาให้ผมอย่างไม่มีปี่ไม่มีมีขลุ่ย ในเอกสารนั้นเป็นกฎระเบียบของกลุ่มต้นทะเลที่รับเอาความเชื่อ ฤๅษีมาประยุกต์เป็นข้อตกลง มีตัวพิมพ์ทันสมัยด้วยฟอนต์ภาษากะเหรี่ยงและไทยด้วยคอมพิวเตอร์ ทราบภายหลังว่าเป็นผลงานการผลิต เอกสารของทีมงานภาคสนามของเราเองเมื่อหลายปีก่อน ข้อห้ามของคนถือฤๅษีแปลเป็นภาษาไทย มีหลายเรื่องที่น่าจะสอดคล้องกับการอนุรักษ์ เช่น ห้ามท�ำลายป่า ห้ามเผาป่า ห้าม ท�ำลายต้นน�้ำ ห้ามขุดท�ำลายตลิ่ง ประกอบข้อห้ามข้ออื่น เช่น ห้ามยิงปืน ห้ามฆ่าคน ห้ามท�ำลายผู้หลักผู้ ใหญ่ ห้ามลักทรัพย์ ห้ามไปปล้น และต้องปฏิบัติตามค�ำสั่งของฤๅษี นี่เป็นระเบียบสังคมของกะเหรี่ยงในฝั่งถนนธงชัยใกล้อาณาจักรไทยมานมนาน อยู่กันโดยไม่มีผู้น�ำทางการ มีแต่ผู้น�ำพิธีกรรม ต่างกับฝั่งใกล้พม่าที่มุ่งรบแย่งชิงอ�ำนาจรัฐเพื่อปกครองตนเองจากรัฐพม่า ในเอกสารนี้ยังมีข้อตกลงของกลุ่มต้นทะเลที่ สมาชิกตกลงกัน ว่าหากมีผู้ท�ำผิดข้อห้ามจะต้องปฏิบัติชดใช้อย่างไร ส่วนใหญ่เป็นการปลูกต้นไม้ชดใช้หลายเท่า และการบ�ำเพ็ญประโยชน์ ต่อสาธารณะต่างๆ ที่ส�ำคัญคือ ผู้กระท�ำผิดเหล่านี้ จะต้องถูก “วิจารณ์” ผมรู้สึกถึงกลิ่นอายของภาษาไทยแบบสหายปฏิวัติ ที่ผู้เฒ่าเหล่านี้ คุ้นเคยได้พอสมควร ป่าใหญ่ของที่นี่หยุดเวลาจากโลกภายนอกไว้อย่างน่าทึ่งทีเดียว

ในหน้าถัดๆไป ผมสะดุดกับข้อปฏิบัติของกลุ่มต้นทะเลที่เกี่ยวกับสัตว์ป่าคุ้มครอง ที่ถือ และผิด (ภาษาเขาว่าอย่างนี้) สมเสร็จ คือ เนื้อสัตว์ทุกชนิด กินและยิงไม่ ได้ เขาถือ นกกก คือพระเจ้าแผ่นดิน เสียชีวิตหนึ่งตัว เหงาห้วย 7 เส้น ชะนี คือเจ้าป่าที่เป็นป่าดงดิบ ถ้า เสียชีวิตหนึ่งตัว เหงาป่า 7 ผืน เลียงผา คือเจ้าผา งูเหลือม ถือว่าเป็นสัตว์ ใหญ่ที่สุดในโลก นกแซงแซว เป็นผู้พิพากษาของนก และ เก้งหม้อ คือเจ้าที่ล�ำห้วย ผมเริ่มรู้สึกเข้าใจในบางสิ่งที่ฤๅษีห้าม เมื่อเชื่อมโยงกับสิ่งที่ลุงสมหมายและหัวหน้ามงคลอธิบาย กับความเชื่อเรื่องสัตว์ป่าคุ้มครอง ที่ผมเพิ่งได้อ่านละเอียดเป็นครั้งแรก ผมเงยหน้ามองไปทางทิศใต้ ทางศาลฤๅษีที่ทุ่งใหญ่เมืองกาญจนบุรีอย่างประหลาดใจ ในห้วงคิดขณะนั้น เพราะผมรู้แล้วว่า อะไร คือความหมายที่แท้จริงของสิ่งที่ทุกคนก�ำลังกล่าวกันมา ในหน้าต�ำราโบราณเรื่องนี้


บนศาลากิจกรรมหลังใหม่ของกลุ่มต้นทะเล บ้านม่องคั๊วะในป่าลึกของอุ้มผาง ที่วันนั้นคล้ายเป็นวันประกาศเจตนาสืบทอดความ เชื่อศรัทธาเรื่องค�ำสอนฤๅษี ที่จริงๆแล้วน่าจะเป็นความศรัทธาสืบต่อแนวคิดทางพระพุทธศาสนาเรื่องการรอพระศรีอริยเมตไตรยที่จะเป็น พระพุทธเจ้าองค์ต่อจากพระพุทธโคดม ที่แพร่กระจายสืบต่ออยู่ ในคนพุทธทั้งมอญ พม่า ไทย โดยเฉพาะในรัฐคะฉิ่นที่เป็นรัฐกะเหรี่ยงใน พม่า นี้เป็นความรู้ที่คนโผล่วบ้านทิบาเก และเลตองคุ เล่าให้ผมฟังเมื่อหลายปีมาแล้ว แต่ส�ำหรับคนปากะญอที่ม่องคั๊วะ อาจจะไม่ ได้อธิบาย อะไรให้ฟังในลักษณะนี้ ลุงพินิจ ที่เป็นผู้น�ำทางวัฒนธรรมฤๅษีของย่านนี้ ก็ปฏิบัติตนคล้ายผู้ทรงศีล แต่งชุดขาว ท�ำพิธีกรรมกับต้นโพธิ์ ตามต�ำรับต�ำรา โบราณก็ ไม่เคยขัดข้องอะไรในความเชื่อมโยงเรื่องราวเหล่านี้เข้าหากัน ตามสิ่งที่ ได้รับค�ำบอกเล่าเมื่อได้เดินทางท�ำงานในป่าตะวันตก ของผม วันนั้นลุงเองก็ ไม่ ได้กล่าวอะไรมากไปกว่าให้ศีล ให้พรแสดงความยินดีที่ลูกหลานได้มารวมกันเพื่อตั้งใจที่จะ “ปฏิบัติ” เพราะหน้าที่ พูดจาวันนั้นเหมือนลุงๆ ได้วางสคริปต์ไว้แล้วว่าเป็นหน้าที่ของลุงจ้าเหย่ หรือ สหายสมหมาย ที่พูดภาษาไทยและปากะญอได้คล่องแคล่ว แสงแดด ยามใกล้เที่ยงลอดช่องแสงใกล้หลังคาใบตองตึงลงมากระทบกับควันยาเส้นใบจากของผู้อาวุโสด้านหลังศาลาใกล้ทางขึ้น ท�ำให้บรรยากาศในศาลาไม้ ไผ่ดูขรึมขลังคล้ายโบสถ์วิหาร พลันผมเชื่อมโยงค�ำสั่งสอนของฤๅษีตามต�ำราปากะญอจากลุงพินิจ ในเรื่องการถือ เรื่องสัตว์ป่าเจ็ดชนิดไปสู่ความศรัทธาอีกชุดหนึ่งของปราชญ์กะเหรี่ยงโผล่วฝั่งเมืองกาญจนบุรีที่เรียกว่า “หลักวัตถุธรรมตา” ที่ว่าความสมดุล ของ ดิน น�้ำ ลม ไฟ ต้นไม้ สัตว์ป่า คน เป็นหลักส�ำคัญ หากเจ็ดอย่างนี้ปกติ ก็สงบสุข แต่หากเกิดความไม่สมดุลกันแล้วจะท�ำให้ บุคคล ครอบครัว ชุมชน และโลก เดือดร้อน อย่างที่ผมบอกแล้วว่าฝั่งทางกาญจนบุรีมีความใกล้ชิดกับวัดวาว่าบาลีคล้ายบ้านผมอยู่มาก

บรรยากาศศาลาไม้ ไผ่ ในแสงสวยกระมังที่น�ำความคิดของผมไปเทียบเคียงเรื่องราวสองชุดความเชื่อเข้าหากันอย่างพอดี ฤๅษีสอน ให้รักษาธรรมชาติป่าเขา ชุมชนกลางป่าก็ย่อมมีสัตว์ป่าที่ทุกคนคุ้นชินเป็นสัญลักษณ์ ให้คนเข้าถึง ผมเทียบเคียงเลียงผา สัตว์ป่าคุ้มครองใน กลุ่มต้นทะเล ที่ถือและผิดเพราะเป็นเจ้าผา คือดิน เก้งหม้อ เจ้าที่ล�ำห้วยเป็นน�้ำ นกแซงแซวผู้พิพากษาของนกย่อมเป็นลม และงูเหลือมที่ถือ เป็นสัตว์ ใหญ่เป็นไฟ เนื่องจากคอยขจัดท�ำลายสัตว์ป่าต่างๆให้มีจ�ำนวนสมดุล ชะนี เจ้าป่าดงดิบ คือต้นไม้ นกกก ที่แทนพระเจ้าแผ่นดิน คือ คน จะเห็นว่าเราเทียบสัตว์ป่า 7 ชนิด กับหลักวัตถุธรรมตาอย่างพอดิบพอดี และคนโผล่วก็เชื่อเช่นกันว่าสิ่งเจ็ดอย่างสร้างสมดุลปกติสุข


หลักการอนุรักษ์ทั่วไปแบบนักวิทยาศาสตร์ที่ผม เคยรู้มาที่ว่าการอนุรักษ์ไม่ ใช่การไม่ ใช้เลย แต่เป็นการใช้ แบบฉลาดรักษาสมดุล ใช้ ได้เท่าที่เป็นผลผลิตไม่กินทุน ก็ คงเหมือนที่หัวหน้ามงคล นักวนศาสตร์ผู้ดูแลเขตรักษา พันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผางกล่าวน�ำว่าเข้ามารักษาทรัพยากรให้ อยู่ ได้ด้วยความพอดี โดยมีเครื่องมือคือตัวบทกฎหมาย อ�ำนาจหน้าที่ ท�ำเพื่อบ�ำบัดทุกข์บ�ำรุงสุขให้ทุกชีวิตเป็น ปกติสุข ไม่มากไป ไม่น้อยไปจนทรัพยากรป่าไม้สัตว์ป่าเสีย หายมากกว่านี้ และในทางวิทยาศาสตร์นิเวศวิทยา เรา มักก�ำหนดดัชนีชี้วัดความสมบูรณ์ของป่าด้วยสัตว์ป่าบาง ชนิด ที่มีคุณสมบัติของชนิดพันธุ์บ่งชี้บางเรื่อง เช่น ป่าที่ มีเสือใหญ่สืบทอดลูกหลานกระจายพันธุ์ก็ย่อมมีสัตว์กีบที่ เป็นอาหารจ�ำนวนมากพอ ป่าที่มีนกเงือกก็ย่อมมี ไม้ ใหญ่ ให้ตัวเมียอาศัยในโพรง ป่าที่มีกบทูต ย่อมมีแหล่งน�้ำ นั่นก็ หมายความว่าหากยังพบเจอสัตว์บางชนิดระบบนิเวศก็ยัง สมดุลอยู่ ได้นั่นเอง ถึงตอนนี้ผมมั่นใจว่าค�ำสั่งสอนโบราณเรื่องสัตว์ป่าของ ฤๅษีป่าในชุมชนกะเหรี่ยง คงมิได้หมายความเพียงแค่ ให้ บันยะบันยังการล่าการกินของชาวบ้าน หรือเพียงห้ามกิน นกกก ไม่กินชะนี เพื่อรักษาสัตว์ป่าไว้บ้างแค่นั้น แต่น่าที่ จะเชื่อมโยงไปถึงการรักษาสมดุลของป่า ที่จะไม่ก่อความ เดือดร้อนมาให้ตนเอง ครอบครัว ชุมชน และคนภายนอก ดังที่คนโผล่วเขาว่ามา หากยังมีเลียงผา ภูเขาก็ยังต้อง สมบูรณ์มีป่าคลุม คอยเติมธาตุอาหารลงมาให้ ไร่นาเบื้อง ต�่ำ หากยังมีเก้งหม้อ หากินได้ ในใกล้ล�ำน�้ำ คุณภาพและ ปริมาณน�้ำในห้วยก็ต้องดีพอ มีนกแซงแซวร้อง ก็น่าจะบอก ถึงลมฟ้าอากาศ ปกติ มีงูเหลือม ก็ก�ำจัดสัตว์รอบหมู่บ้าน เช่นปริมาณลิง หมูป่าและอีกสารพัดที่คอยมารบกวนพืชใน นาไร่ เหมือนไฟที่เป็นตัวก�ำจัดเผาไหม้สิ่งต่างๆ มีชะนี ป่า ต้นน�้ำก็คงยังปกติ มีสมเสร็จอยู่ ในป่าต�่ำแสดงว่าสองฝั่ง ห้วยอยู่ ได้ สัตว์ป่าอื่นๆ ก็อยู่ ได้เช่นกัน มีนกกก ก็เท่ากับ มีความยั่งยืนของต้นไม้พันธุ์ไม้ที่จะกระจายพันธุ์อยู่ทั่วป่า เป็นความยั่งยืนของระบบใหญ่ซึ่งน่าจะต้องเกี่ยวกับคนที่ ต้องไม่ท�ำลายวงจรการสืบสายเผ่าพันธุ์ เช่นกัน


เมื่อสายๆตอนเริ่มงาน ลุงจ้าเหย่พูดน�ำไว้ว่าสืบ นาคะเสถียร เคยอนุรักษ์ป่า เดี๋ยวนี้ ไม่มีสืบ ก็มีเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเข้า มาแทน เหมือนฤๅษีที่บอกให้รักษาป่า ตอนนี้เรามาท�ำงานร่วมกันทั้งชาวบ้านกลุ่มต้นทะเล เจ้าหน้าที่และมูลนิธิสืบ ก็มีเป้าหมาย เหมือนกัน หัวหน้ามงคลก็พูดว่าเข้ามารักษาสมดุลทั้งระบบนิเวศและคนให้พอดี เมื่อผมคิดถึงเรื่องราวต่างๆ ที่ว่ามาถึงได้เข้าใจใน ความหมายที่แท้จริงของความเหมือนกันที่ปราชญ์เฒ่าเบื้องหน้าผมเขาคิดไปถึงและคงถึงคิวที่ผมต้องเชื่อมโยงสิ่งต่างๆเหล่านี้ ให้ คนบนศาลาได้เข้าใจเหมือนกัน ที่ส�ำคัญคือต้องเชื่อมโยงสิ่งต่างๆให้พอดี รักษาตัวชี้วัดทางวิทยาศาสตร์ของฤๅษี ให้ ได้ การสืบทอดงานอนุรักษ์รักษา สมดุลปกติสุขให้บุคคล ครอบครัว ชุมชน และโลกข้างนอกที่รวมไปถึงบ้านผมบ้านคุณ เรามีแนวทาง มีผู้คน มีความรู้ครบถ้วนอยู่ แล้ว ขึ้นกับว่าเราจะสร้างสมดุลและเป็นคนกลางเชื่อมประสานได้พอดี ได้แค่ ไหนบนหนทางอีกยาวไกลในเส้นทางป่า เส้นทางคน แต่นั่นก็เทียบไม่ ได้เลยกับคนกะเหรี่ยงที่ประกาศตัวรักษาประเพณีความเชื่อฤๅษีที่สืบทอดมาหลายร้อยพันปี รักษาความดี ความ เป็นชุมชนที่ดี จากรุ่นสู่รุ่น เพื่อรอเป็นก�ำลังให้องค์ศาสดาองค์ ใหม่ ในอีกไม่รู้กี่ร้อยพันปีข้างหน้า

ลุงจ้าเหย่ บอกว่า ทุกอย่างเหมือนกัน ทุกอย่างมาเหมือนกันแล้ว


ลัทธิฤๅษีนั้นเป็นลัทธิความเชื่อที่มีการนับถือมาอย่างยาวนาน ค�ำว่า ฤาษี แปลว่า ผู้เห็น หมายถึง การแลเห็นด้วยความรู้ พิเศษอันเกิดจากฌาน สามารถแลเห็นอดีต ปัจจุบัน อนาคต ในโซนวัฒนธรรมลัทธิฤๅษีพัฒนามาจากกระบวนการปรับตัวเพื่อความ สอดคล้องกับบริบทสังคมที่อาศัย เดิมกะเหรี่ยงอาศัยในพม่าและปกรองโดยพือย่าแฮ (ปู่หรือฤาษี) อยู่กันเป็นปึกแผ่นพึ่งพาธรรมชาติ ชีวิตเรียบง่าย มีความเชื่อตัวเดียวกันคือ ผีบ้าน และผีเรือน ผีของชนกะเหรี่ยงจะเป็นผีพหูพจน์ คือมีการนับถือผีหลายตัวร่วมกัน เช่น เจ้าแห่งผืนน�้ำ (คองซากา) เทพธิดาปกป้องดิน (ซ่งทะรี) เทพยดาแห่งน�้ำ (โปโลกุ) เทพธิดาแห่งข้าว (พิบือโย) และผีบรรพบุรุษ ความ เชื่อเหล่านี้เมื่อผสมผสานกับพุทธศาสนาจึงเกิดเป็นลัทธิฤๅษี โดยหากแบ่งตามลัทธิความเชื่อพอแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม คือ กลุ่มความเชื่อ ดั้งเดิมที่หลากหลาย กลุ่มกะเหรี่ยงพุทธ กลุ่มกะเหรี่ยงคริสต์ และกลุ่มกะเหรี่ยงลัทธิฤาษี ฤาษีเริ่มปรากฎหลักฐานในมหากาพย์รามายณะ และมหาภารตะของกลุ่มวัฒนธรรมอินเดีย ซึ่งลัทธิฤๅษีเป็นเรื่องของจิตใจ ภายในเกิดขึ้นกับบุคลในทุกศาสนาและกลุ่มพิธีกรรมต่างๆ ฤๅษีบางคนจะออกมาช่วยเหลือสังคม โดยการเป็นผู้น�ำทางคุณธรรมด้าน ต่าง ๆ เช่น เป็นผู้สื่อผ่านระหว่างสิ่งศักดิ์สิทธิ์เบื้องบน ดังปรากฏในเกร็ดพงศาวดารมอญ เรื่องเมืองหงสาวดีว่าพระอินทร์ประทาน กลองวิเศษให้ฤๅษี และฤๅษีมอบกลองนี้ ให้เชื้อพระวงศ์ของมอญ เป็นผู้มีเมตตาให้ความช่วยเหลือนางสีดาในรามายณะ เป็นผู้น�ำในการ สร้างบ้านแปลงเมือง ในต�ำนานจามเทวีวงศ์กล่าวถึงฤๅษีวาสุเทพ


ผมคิดว่าป่าไม้จะอยู่ ได้ คนต้องอยู่ ได้ ก่อน เพราะคนที่ด้อยโอกาสในสังคม เขาไม่ ส ามารถจะไปเรี ย กร้องอะไร เขาไม่มีอ�ำนาจ ไม่มีอิทธิพลอะไร คน พวกนี้อยู่กับธรรมชาติ อยู่กับป่าไม้ เขาควรที่จะได้ ใช้ประโยชน์จากป่า


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.