รายงานผลการจับเนื้อทรายที่เกาะกระดาด โดย นายสืบ นาคะเสถียร ฝ่ายวิชาการ กองอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมป่าไม้
Capturing Hog deer (Axis porcinus) at Koh Kra-dard
1
การจับเนื้อทรายที่เกาะกระดาด Capturing Hog deer (Axis porcinus) at Koh Kra - dard สืบ นาคะเสถียร ISBN 978-616-7775-07-4 พิมพ์ครั้งที่ 1 พฤศจิกายน 2560 จัดพิมพ์โดย
มูลนิธิสืบนาคะเสถียร 140 ถ.ติวานนท์ ต.บางกระสอ อ.เมืองนนทบุรี จ.นนทบุรี 11000 เบอร์โทร 0-2580-4381 โทรสาร 0-2580-4382 อีเมล์ snf@seub.or.th เว็บไซต์ www.seub.or.th
บรรณาธิการบริหาร ที่ปรึกษา กองบรรณาธิการ ศิลปกรรม ภาพปก ภาพประกอบ
ศศิน เฉลิมลาภ ภาณุเดช เกิดมะลิ ดร.ชวลิต วิทยานนท์ เอกวิทย์ เตระดิษฐ์ ชฎาภรณ์ ศรีใส วรางคณา จันดา อาคม พรรณนิกร Dhole Team กฤติน เลาหะวรุตม์ชัย ธรรมนิตย์ พนมศักดิ์ นฤทธิ์ แปยอ นิกร เป็นศรี
พิมพ์ที่
บริษัท มาตา การพิมพ์ จ�ำกัด 77/261 หมู่ 4 ต.บางคูรัต อ.บางบัวทอง จ.นนทบุรี
2
การจับเนื้อทรายที่เกาะกระดาด
ภาพโดย : นิกร เป็นศรี Capturing Hog deer (Axis porcinus) at Koh Kra-dard
3
การจับเนื้อทรายที่เกาะกระดาด Capturing Hog deer (Axis porcinus) at Koh Kra-dard
4
การจับเนื้อทรายที่เกาะกระดาด
Capturing Hog deer (Axis porcinus) at Koh Kra – dard by : Seub Nakhasathien Technical Section Wildlife Conservation Division Royal Forest Department
Abstract Seventeenth Hog deer were captured during 12th of May to 7th of June in 1986. Koh Kra-dard is an island in Trat province about 4 hours traveling from the mainland. The island has an area of about 1,500 rai there is a dense forest about 150 rai in the middle surrounding by coconut orchard. And also a rambutan orchard of about 15-20 rai near the forest where the deer usually uses for resting in the day. The deer always comes out from the forest for grazing grasses in the coconut orchard during sunset to sunrise. There were more than 50 Hog deer at that period. Many methods were used for capturing such as by using driving tunnel and corral, drop nets, free hands, traps, tranquilize red gun, fishing net made from nylon rope, etc. The result showed that capturing Hog deer in the night by using a nylon fishing-net together with drop nets gave the best result at that time of capturing which the grasses and undergrowth plant in the coconut orchard were not too high. Three of them dead after being captured but one of them, a big male, had a big wound about 5 inches in diameter on its neck which might be causing from fighting by antlers. Fourteenth Hog deer were taken to the sanitary enclosures at Khao Khiew and Khao Soi Dao wildlife breeding centers. There were some of them had caused pain on the back and rear legs. Until the end of July there are only 6 Hog deer left in the enclosures.
Capturing Hog deer (Axis porcinus) at Koh Kra-dard
5
ค�ำน�ำ รายงานวิชาการเรื่อง “การจับเนื้อทรายที่เกาะกระดาด” และ “เลียงผาที่พบใน ประเทศไทย การกระจายถิน่ ทีอ่ ยูอ่ าศัย และพฤติกรรมบางประการ” ทัง้ 2 ชิน้ นี้ เป็นผลงาน ของคุ ณ สื บ นาคะเสถี ย ร เผยแพร่ ค รั้ ง แรก พ.ศ. 2529 เพื่ อ สร้ า งความรู ้ แ ละความ เข้าใจเกี่ยวกับเนื้อทราย (Axis porcinus) และเลียงผา (Capricornis sumatraensis) สัตว์ป่า 2 ชนิดที่ทางองค์กรระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (International Union for Conservation of Nature) หรือ IUCN ได้จัดสถานภาพของเนื้อทรายให้อยู่ใน ระดับสิ่งมีชีวิตที่ใกล้สูญพันธุ์ (Endangered) และเลียงผาเป็นระดับสิ่งมีชีวิตที่เกือบอยู่ ในข่ายใกล้สูญพันธุ์ (Vulnerable) ในปัจจุบันเนื้อทราย (ประชากรที่ถูกเลี้ยง) สามารถพบเห็นได้ง่ายขึ้นจากการศึกษา และการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยในการติดตาม ท�ำให้สามารถเข้าใจลักษณะประชากร การกระจายตัว และพฤติกรรมได้ ประกอบกับการศึกษาในอดีตและบันทึกจากเอกสาร ต่างๆ ช่วยให้เป็นข้อมูลพื้นฐานส�ำหรับการศึกษาต่อยอดได้เป็นอย่างดี ส่วนเลียงผานั้น ไม่ค่อยมีการศึกษามากนัก เพราะเป็นสัตว์ป่าที่ไม่สามารถพบเห็นได้โดยง่ายนัก อย่างไร ก็ตาม สถานะจ�ำนวนประชากรของสัตว์ป่าทั้ง 2 ชนิดนี้ยังมีแนวโน้มลดลงจากสภาพการ เปลี่ยนของถิ่นที่อยู่อาศัย ตลอดจนการลักลอบล่าสัตว์ จึงเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง ในการนี้ มูลนิธิสืบนาคะเสถียร จึงได้น�ำผลงานวิชาการทั้ง 2 ชิ้นนี้มาจัดพิมพ์ใหม่ อี ก ครั้ ง เพื่ อ เผยแพร่ ใ นงานสั ม มนาทางวิ ช าการ เรื่ อ งสั ต ว์ ป ่ า เมื อ งไทย ครั้ ง ที่ 38 “มุ่งสู่การอนุรักษ์สัตว์ป่าแบบแม่นย�ำ” ในการจัดพิมพ์ครั้งนี้ได้ท�ำการปรับปรุงข้อมูล ในบางส่วนให้มีความทันสมัยถูกต้องและให้เป็นปัจจุบัน โดยได้รับความอนุเคราะห์จาก ดร.ชวลิต วิทยานนท์ นักวิชาการอิสระด้านความหลากหลายทางชีวภาพ เข้ามาดูแลในส่วนนี้ มู ล นิ ธิสื บ นาคะเสถี ย ร หวั ง เป็ น อย่ า งยิ่ ง ว่ า การน� ำ ผลงานวิ ช าการ ทั้ ง 2 ชิ้ น ของคุณสืบ นาคะเสถียร มาตีพิมพ์ในครั้งนี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้สนใจ และใช้เป็นพื้นฐาน ในการต่อยอดเรื่องราวของสัตว์ป่าทั้ง 2 ชนิด เพื่อน�ำไปสู่การอนุรักษ์เผ่าพันธุ์สัตว์ป่าให้ คงอยู่สืบต่อไป 6
การจับเนื้อทรายที่เกาะกระดาด
สารบัญ เรื่อง
หน้า
ค�ำขอบคุณ
9
บทน�ำ
11
ประวัติเกาะกระดาด
13
การส�ำรวจเบื้องต้น
23
คณะผู้ด�ำเนินงานและผู้ร่วมงาน
36
อุปกรณ์
38
วิธ ีการ
41
ผลการด�ำเนินการ
46
สรุปและวิจารณ์ผล
50
ภาคผนวก
60
ประวัติผู้เขียน
81
Capturing Hog deer (Axis porcinus) at Koh Kra-dard
7
ภาพโดย : กฤติน เลาหะวรุตม์ชัย 8
การจับเนื้อทรายที่เกาะกระดาด
1. ค�ำขอบคุณ การจับเนื้อทรายที่เกาะกระดาดเป็นไป ไม่ได้ถา้ ไม่ได้รบั การอนุญาตจากคุณชุมพล รังควร ซึ่ ง เป็ น ทายาทคนหนึ่ ง ของเจ้ า ของเกาะ คุณวรกิจบรรหาร (พงษ์ รังควร) ซึ่งท่านได้เสีย ชีวิตไปแล้วเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2514 คณะผู้ด�ำเนินการขอขอบพระคุณเป็น อย่างสูงต่อคุณชุมพล รังควร ที่ท่านได้เล็งเห็น ประโยชน์จากการที่ได้รับมอบเนื้อทราย (จ�ำนวน ไม่จ�ำกัด) ให้แก่ทางราชการ เพื่อด�ำเนินการ เพาะเลี้ ย งให้ สั ต ว์ ป ่ า ที่ ห ายากดั ง กล่ า วได้ เ พิ่ ม จ�ำนวนมากขึ้นเป็นพ่อ – แม่พันธุ์ส�ำหรับการ เพาะเลี้ยงสัตว์ป่าต่อไปในอนาคต อีกท่านหนึ่งที่คณะผู้ด�ำเนินงานอดไม่ ได้ที่จะขอบคุณที่ท่านได้อ�ำนวยความสะดวกใน การเดินทาง การเป็นอยู่ระหว่างท�ำงานอยู่ที่ เกาะกระดาด ตลอดจนความร่วมมือด้วยความ เต็ ม ใจจากผู ้ ดู แ ลกิ จ การบนเกาะแทนเจ้ า ของ เกาะ
Capturing Hog deer (Axis porcinus) at Koh Kra-dard
คณะผู้ส�ำรวจต้องขอบคุณ คุณอดิสรณ์ พร้อมเทพ (พลัม) และพร้อมนี้คณะผู้ด�ำเนิน งานรู้สึกซาบซึ้งในความเอื้ออารีของคุณเอือม ผู้ ดูแลกิจการแทนเจ้าของเกาะอยู่ที่เกาะกระดาด คุณเสนาะ หัวหน้าแม่ครัว ที่มีฝีมือท�ำกับข้าว ระดั บ เชลล์ ช วนชิ ม บรรดาลู ก ครั ว และผู ้ ที่ ท�ำงานอยู่ที่เกาะกระดาดทุกท่านที่ได้ให้ความ ช่วยเหลือกับคณะผู้ด�ำเนินงานในระหว่างที่อยู่ บนเกาะกระดาด พร้อมนี้คณะผู้ด�ำเนินงานต้อง ขอขอบคุณ คุณสายัญห์ สิงหพันธุ์ เจ้าหน้าที่ ป่ า ไม้ ป ระจ� ำ ส� ำ นั ก งานป่ า ไม้ จั ง หวั ด ตราด คุณรังสรรค์ ศิลาอาสน์ ทีไ่ ด้ให้ความช่วยเหลือใน การเดินทางและการติดต่อระหว่างเกาะกับภาค พืน้ ดินตลอดระยะเวลาทีป่ ฏิบตั งิ านอยูท่ เี่ กาะ คณะผู้ด�ำเนินการขอขอบพระคุณและ ขอบคุ ณทุ ก ท่ า นที่ ไ ด้ ก ล่ า วนามและมิ ไ ด้ ก ล่ า ว นามมา ณ. ที่นี้ ในความเอื้ออารีที่ท่านมีต่อคณะ ของเราจนท�ำให้งานจับเนื้อทรายที่เกาะกระดาด ส�ำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี
9
ภาพโดย : นฤทธิ์ แปยอ 10
การจับเนื้อทรายที่เกาะกระดาด
2. บทน�ำ ความคิ ด ที่ จ ะจั บ เนื้ อ ทรายที่ เ กาะ กระดาดได้เริ่มขึ้นเมื่อหลายปีมาแล้ว จากการ พู ด คุ ย กั น ระหว่ า งท่ า นรองอธิ บ ดี ก รมป่ า ไม้ คุณไพโรจน์ สุวรรณกร ซึ่งในขณะนั้นท่านด�ำรง ต�ำแหน่งเป็นผู้อ�ำนวยการกองอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมป่าไม้ และคุณชุมพล รังควร ซึ่งในช่วงเวลา ดังกล่าว ทางราชการกรมป่าไม้ได้มีนโยบายที่จะ ส่งเสริมการเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าไปยังภาคเอกชน โดยได้ตั้งศูนย์เพาะเลี้ยงและขยายพันธุ์สัตว์ป่า ขึ้ น ตามภาคต่ า งๆ เน้ น หนั ก ถึ ง ชนิ ด สั ต ว์ ป ่ า ที่ หายากและสั ต ว์ ป ่ า ที่ จ ะให้ ป ระโยชน์ ใ นทาง เศรษฐกิจเป็นอันดับแรก
เจ้าหน้าที่ไปท�ำการส�ำรวจเบื้องต้นเพื่อวางแผน การในการดักจับ ตลอดจนเตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่ จ�ำเป็น หลังจากนั้นการด�ำเนินงานจับเนื้อทราย จึงได้เริ่มขึ้นในตอนต้นเดือนพฤษภาคม 2529 และสิ้นสุดลงในราวกลางเดือนมิถุนายน 2529 เมื่อลมมรสุมเริ่มพัดโหมเข้าอ่าวไทยท�ำให้มีพายุ ฝนและลมแรง การปฏิ บั ติ ง านต่ อ ไปบนเกาะ และการเดิ น ทางระหว่ า งเกาะและตั ว จั ง หวั ด ตราดเป็นไปด้วยความยากล�ำบาก
จากความคิดดังกล่าวข้างต้น การจับ เนื้อทรายจากเกาะกระดาดเพื่อน�ำมาขยายพันธุ์ ยั ง ศู น ย์ เ พาะเลี้ ย งและขยายพั น ธุ ์ สั ต ว์ ป ่ า ของ ทางราชการจึ ง ได้ เ กิ ด ขึ้ น ในเดื อ นเมษายนต่ อ เนื่องมาจนถึงกลางเดือนมิถุนายน 2529 โดยใน ขั้ น แรกกองอนุ รั ก ษ์ สั ต ว์ ป ่ า กรมป่ า ไม้ ไ ด้ ส ่ ง
Capturing Hog deer (Axis porcinus) at Koh Kra-dard
11
ภาพโดย : ธรรมนิตย์ พนมศักดิ์ 12
การจับเนื้อทรายที่เกาะกระดาด
3. ประวัติเกาะกระดาด ผู ้ เ ขี ย นคั ด บทความบางตอนจาก อ นุ ส ร ณ ์ ใ น ง า น พ ร ะ ร า ช ท า น เ พ ลิ ง ศ พ นายวรกิ จ บรรหาร (พงษ์ รั ง ควร) ณ. เมรุ วัดธาตุทอง พระนคร เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2514 ดังนี้ เกาะกระดาดอยู ่ ใ นอ� ำ เภอแหลมงอบ จั ง หวั ด ตราด ยอดสู ง 57 เมตร กว้ า ง 1.2 กิ โ ลเมตร ยาว 2.4 กิ โ ลเมตร เนื้ อ ที่ 2.8 ตารางกิโลเมตร (ภาพที่ 1-2) มีมะพร้าวทั้งเกาะ ยกเว้ น ตอนกลางเกาะ ซึ่ ง ยั ง คงสภาพเป็ น ป่าดงดิบดั้งเดิม (ภาพที่ 3) มีเนื้อที่ประมาณ 150 ไร่ เกาะกระดาดอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของ เกาะหมาก ห่าง 1.2 กิโลเมตร การที่เกาะนี้มีชื่อว่า “เกาะกระดาด” เพราะแต่เดิมมีต้นกระดาดมาก ปัจจุบันยังมี เหลืออยู่บ้าง ต้นกระดาดนี้มีชื่อภาษาลาตินว่า Alocasis indica (ภาพที่ 4) ในพจนานุกรมฉบับ ราชบัณฑิตยสถาน อธิบายถึงต้นกระดาดไว้ว่า เป็ น พรรณไม้ ไ ม่ มี แ ก่ น ในจ� ำ พวกต้ น เผื อ ก ต้ น บอน และล� ำ ต้ น ก็ ค ล้ า ยคลึ ง กั น มั ก ชอบ ขึ้นในหุบเขาที่เย็นและพื้นดินที่ชุ่มและไม่เกี่ยว กับค�ำว่ากระดาษหรือวัตถุแผ่นบางๆ ที่เราใช้ เขียนหนังสือเลย เกาะกระดาดแห่งนี้เป็นแห่ง เดียวในประเทศไทยที่มีโฉนดแสดงว่ามีเจ้าของ ถูกต้องตามกฎหมาย Capturing Hog deer (Axis porcinus) at Koh Kra-dard
เรื่ อ งเดิ ม มี อ ยู ่ ว ่ า ในรั ช สมั ย พระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ฝรั่งเศสได้ พยายามเข้ามาล่าเมืองขึ้นแถวเอเชียอาคเนย์ ประเทศต่างๆ ที่ไม่รู้เท่าถึงการณ์ต่างก็พลาดท่า ตกไปรวมเป็นอินโดจีนของฝรั่งเศส พระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงรู้เท่าทัน ฝรั่ ง เศสจึ ง ทรงพระกรุ ณ าโปรดเกล้ า ฯ ให้ พระเจ้าลูกยาเธอพระองค์เจ้าจีรประวัติวรเดช (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงนครไชยสรีสรุ เดช) ทรงท�ำโฉนดของเกาะขึ้น แล้วให้ทรงซื้อเกาะทั้ง เกาะจากพวกชาวเกาะเดิม และพวกญวณเข้ารีต ซึ่งเข้ามาจับจองใหม่ ด้วยราคา 2,000 บาท ซึ่ง นับว่าแพงมากในสมัยนั้น เมื่อเกาะทั้งเกาะมี เจ้าของที่มีโฉนดแล้วพวกญวณเข้ารีตเลยอพยพ ย้ายไปท�ำมาหากินอยู่ที่เกาะอื่น เหลือแต่ชาว บ้ า นเดิ ม อาศั ย อยู ่ ไ ม่ กี่ ค รั ว เรื อ น ตั้ ง แต่ เ กาะ กระดาดมีเจ้าของแล้วเป็นต้นมา ทางฝรั่งเศสก็ ส่งเรือเวียนไปเวียนมาคอยคุมเชิงบ้างแต่ไม่กล้า เข้ารังควานเป็นอันว่า เกาะกระดาดก็เลยไม่ได้ เข้าไปรวมอยู่ในแผนที่อินโดจีนของฝรั่งเศส เช่น เกาะในบริเวณใกล้เคียงนั้น พระบาทสมเด็ จ พระจุ ล จอมเกล้ า เจ้ า อยู ่ หั ว ได้ เ สด็ จ พระราชด� ำ เนิ น ไปยั ง เกาะ กระดาดหลายครั้ง ดังมีปรากฏในหนังสือพระ ราชหัตถเลขาเมื่อคราวเสด็จประพาสหัวเมือง 13
ภาพที่ 1. แผนที่แสดงที่ตั้งของเกาะกระดาด หมายเลข 104
14
การจับเนื้อทรายที่เกาะกระดาด
ภาพที่ 2. แผนที่โดยสังเขปของเกาะกระดาดพื้นที่ 1,124 ไร่ เป็นป่าดงดิบ 175 ไร่ ส�ำรวจปี พ.ศ.2513
Capturing Hog deer (Axis porcinus) at Koh Kra-dard
15
ภาพที่ 3. ป่าดงดิบบริเวณตอนกลางเกาะ ซึ่งนอกจากจะให้ความชุ่มชื้นแก่พื้นดินแล้วยังเป็นต้นก�ำเนิดของนํ้ากินนํ้าใช้แก่ ชาวเกาะและผู้มาเยือนอย่างไม่มีวันเหือดแห้ง
16
การจับเนื้อทรายที่เกาะกระดาด
ภาพที่ 4. ต้นกระดาด ชื่อเหมือนชื่อเกาะ กระจายเป็นแถวริมชายหาด
Capturing Hog deer (Axis porcinus) at Koh Kra-dard
17
ชายทะเลตะวั น ออกในปี ม ะเมี ย ร.ศ.101 (พ.ศ.2425) กับปีมะแม ร.ศ.102 (พ.ศ.2426) และปีวอก ร.ศ.103 (พ.ศ.2427) คือในปีที่ 15 16 และ 17 ของรัชกาลรวม 3 คราว ที่เกาะกระดาดมีแหลมแห่งหนึ่งเรียกว่า “แหลมพลับพลา” เพราะเคยมีพลับพลาทีป่ ระทับ สร้ า งขึ้ น ส� ำ หรั บ รั บ เสด็ จ พระบาทสมเด็ จ พระ จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อครั้งกระโน้น ส่วนนายวรกิจบรรหาร เจ้าของเกาะ กระดาดคนที่ 3 เป็นผู้ที่ชอบท่องเที่ยวไปตามที่ ต่างๆ ครั้งหนึ่งได้ไปเที่ยวทะเลและได้แวะตาม เกาะต่างๆ ฟากตะวันออกได้เห็นเกาะไม้ซี้ข้าง เกาะกูดเข้า ก็ติดใจเห็นว่าช่างสวยงามเงียบสงบ น่าอยู่นี่กระไร เลยมีความคิดอยากจะอยู่เกาะ บ้ า ง เผอิ ญ วั น หนึ่ ง ไปทราบข่ า วว่ า หม่ อ มเจ้ า นิทัศนาชรอยากจะขายเกาะกระดาดซึ่งอยู่ใน บริเวณทะเลแถบตะวันออกที่ไปมาเมื่อไม่นาน มานี้ก็ตกลงใจซื้อทันทีด้วยราคา 6,000 บาท เงินผ่อน เมื่อซื้อได้โฉนดมาแล้วก็อยากไปอยู่ เพื่ อ ท� ำ ให้ เ กาะนั้ น เกิ ด ดอกออกผลขึ้ น มาด้ ว ย ตัวเอง การที่นายวรกิจบรรหารเป็นผู้ที่มีนิสัยไม่ ชอบส�ำรวย จึงไม่รังเกียจที่จะมีชีวิตที่ตรากตร�ำ บุ ก ป่ า ฝ่ า ดงไปบุ ก เบิ ก เกาะ คุ ณ ชลอภริ ย าก็ สนับสนุนเต็มที่ นายวรกิจบรรหารจึงย้ายจาก กรุงเทพฯ ไปอยู่เกาะ สร้างที่อยู่ชั่วคราวก่อน แล้วจ้างคนงานมากมายมาบุกล้างถาง เพื่อท�ำ สวนมะพร้ า วเป็ น การใหญ่ ต ้ อ งจ่ า ยข้ า วให้
คนงานถึงวันละกระสอบ ตอนแรกๆ มีชีวิตที่ ล�ำเค็ญที่สุด ภายหลังก็ค่อยยังชั่วขึ้นสามารถ สร้างที่อยู่ถาวรริมทะเลได้ ส่วนคุณชะลอทาง กรุงเทพฯ ก็เลี้ยงลูกพลางดูแลโรงพิมพ์อักษรนิติ พลาง เพื่อส่งเงินไปช่วยค่าใช้จ่ายที่เกาะก่อนที่ มะพร้าวจะได้ผล ในปั จ จุ บั น ที่ เ กาะกระดาด นอกจาก เรือนไม้หลังใหญ่ดั้งเดิมของท่านเจ้าของเกาะ คนที่ 3 แล้ว ยังมีบ้านพักเพิ่มอีกหลายหลังกลาง ดงมะพร้าวริมทะเลเป็นบ้านทั้งเล็กทั้งใหญ่แบบ น่ า รั ก เหมาะสมกั บ สภาพธรรมชาติ อ ย่ า งยิ่ ง ผู้ใดที่ได้เคยไปเยือนเกาะแล้วจะไม่ติดใจเป็นจะ ไม่มี (ภาพที่ 5-7)
18
การจับเนื้อทรายที่เกาะกระดาด
ภาพที่ 5. สภาพภายในห้องของบ้านหลังเดิมที่ได้รับการดูแลรักษาเหมือนอย่างที่เคย
Capturing Hog deer (Axis porcinus) at Koh Kra-dard
19
ภาพที่ 6. ภายในห้องเก่าของบ้านหลังเดิมมีพระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวประดับอยู่ตรงมุมหนึ่ง ของห้องใหญ่กลางบ้าน
20
การจับเนื้อทรายที่เกาะกระดาด
ภาพที่ 7. รูปถ่ายของคุณวรกิจบรรหารและภริยา ซึง่ ผูท้ มี่ าเยือนเกาะกระดาดมาแสดงความคารวะในฐานะทีท่ า่ นเป็นเจ้าของ
Capturing Hog deer (Axis porcinus) at Koh Kra-dard
21
ภาพโดย : กฤติน เลาหะวรุตม์ชัย 22
การจับเนื้อทรายที่เกาะกระดาด
4. การส�ำรวจเบื้องต้น จากการนั ด หมายโดยคุ ณ อดิ ส รณ์ พร้อมเทพ (พลัม) หลานคนหนึ่งของคุณชุมพล รังควร (พี่ติ่ง) ได้พาคณะส�ำรวจไปพบพี่ติ่งที่ บ้าน เพื่อขออนุญาตและนัดวันเดินทางในการ ไปส�ำรวจวางแผน เพื่อด�ำเนินงานจับเนื้อทราย ที่เกาะกระดาด
วันที่ 3 พฤษภาคม 2529 คณะส�ำรวจ ได้ เดินทางไปถึงเกาะกระดาดโดยการน�ำ ของ คุณอดิสรณ์ พร้อมเทพ และแล้วการส�ำรวจหา ข้อมูลเพื่อวางแผนในการจับเนื้อทรายก็ได้เริ่ม ต้นขึ้น (ภาพที่ 8-9)
ภาพที่ 8. เดินทางด้วยเรือจากจังหวัดตราดไปยังเกาะกระดาดเพื่อส�ำรวจหาแนวทางดักจับเนื้อทราย
Capturing Hog deer (Axis porcinus) at Koh Kra-dard
23
ภาพที่ 9. ท่าเทียบเรือหน้าบ้านหลังเดิมที่ยังดูสง่างามเช่นครั้งสมัยคุณวรกิจบรรหารยังมีชีวิตอยู่
พื้ น ที่ เ ก า ะ ก ร ะ ด า ด ร ว ม ทั้ ง ห ม ด ประมาณ 1,500 ไร่ มีป่าดงดิบดั้งเดิมบริเวณ ตอนกลางเกาะ เนื้อที่ประมาณ 150 ไร่ โดยรอบ เป็ น สวนมะพร้ า ว บริ เ วณตอนเหนื อ ของ ป่ า ดงดิ บ มี ส วนเงาะคิ ด เป็ น เนื้ อ ที่ ป ระมาณ 15-20 ไร่ ในสวนมะพร้าวบางแห่งมีกองหิน ก้ อ นโตที่ มี ไ ม้ พื้ น ล่ า งจ� ำ พวกต้ น สาบเสื อ และ ผกากรองขึน้ ปกคลุมอยูอ่ ย่างหนาแน่น ในฤดูแล้ง วัชพืชในสวนมะพร้าวจะถูกปราบให้เตียนเพื่อ สะดวกต่ อ การเก็ บ หาผลมะพร้ า วในสวน เนื้ อ ทรายจะอาศั ย เต็ ม อยู ่ ใ นป่ า ดงดิ บ และ บริเวณที่เป็นซุ้มไม้พุ่มตามกองหินเป็นที่อาศัย หลบนอนในเวลากลางวัน
จากการส�ำรวจโดยการส่องไฟสปอร์ตไลท์ นั บ จ� ำ นวนของเนื้ อ ทรายที่ ไ ด้ พ บเห็ น โดยรอบ เกาะและไม่พยายามนับซ�ำ้ ปรากฏว่ามีเนือ้ ทราย ที่นับได้ไม่น้อยกว่า 50 ตัว ส่วนมากจะพบเห็น เป็นคู่ ที่อยู่เดี่ยวๆ มักจะเป็นตัวผู้ที่มีเขายาวเห็น ได้เด่นชัด ส่วนตัวเมียและลูกมักจะเดินคู่กัน และเล็มหญ้าอยู่ในแปลงมะพร้าว โดยรอบเกาะ ที่พบเห็นเป็นกลุ่มใหญ่มีอยู่น้อย มีอยู่กลุ่มหนึ่งมี เนื้อทราย 5 ตัว เข้าใจว่าเป็นพ่อ – แม่และลูกๆ เพราะในช่วงเวลาดังกล่าวเนื้อทรายเพศเมีย ส่วนมากให้ก�ำเนิดลูกแล้วและลูกเนื้อทรายโต พอที่จะเดินไปหากินตามพ่อและแม่ได้แล้ว
24
การจับเนื้อทรายที่เกาะกระดาด
ในเวลากลางวันเนื้อทรายเกือบทั้งหมด จะเข้าไปอาศัยนอนในป่าดงดิบกลางเกาะ โดย จะกระจายกั น อยู ่ เ ป็น กลุ่มเล็กๆ ทั่วป่า มีอ ยู่ บางตัวที่หลบนอนอยู่ตามซุ้มไม้พื้นล่างจ�ำพวก ผกากรอง สาบเสือ และหญ้าคาที่ขึ้นรกทึบใน กองหินก้อนใหญ่ๆ ที่กระจายกันอยู่เป็นหย่อมๆ โดยทั่ ว ไปในสวนมะพร้ า วรอบป่ า ดงดิ บ เนื้อทรายจะออกหากินในเวลาใกล้ค�่ำเรื่อยไป จนถึงใกล้เวลาพระอาทิตย์ขึ้น โดยการและเล็ม หญ้าอ่อนที่ระบัดอยู่ในดงมะพร้าว มีหญ้าหลาย ชนิดที่เนื้อทรายกินเป็นอาหารได้แก่ หญ้าแพรก หญ้ามาเลเซีย หญ้าขนมีอยู่บ้าง และพวกพืช ตระกู ล ถั่ ว ชนิ ด หญ้ า ที่ มี อ ยู ่ ม ากบนเกาะคื อ หญ้ า คา ซึ่ ง เมื่ อ ถึ ง ฤดู ม รสุ ม จะขึ้ น สู ง เหนื อ ระดับเข่า ในบริเวณดงหญ้ารกและตามใต้ซุ้มไม้ จะพบเห็นร่องรอยที่นอนของเนื้อทรายอยู่ทั่วไป ร่องรอยเท้าและมูลของเนื้อทรายจะพบเห็นได้ โดยทั่วทั้งเกาะ แม้แต่ตามชายหาดริมทะเล (ภาพที่ 10-11)
นอกจากส่วนที่เป็นป่าดงดิบกลางเกาะ และดงมะพร้าวโดยรอบแล้ว ยังมีพื้นที่ส่วนหนึ่ง ซึ่งอยู่ติดกับป่าดงดิบกลางเกาะ เนื้อที่ประมาณ 15-20 ไร่ เป็นสวนเงาะเดิมที่มีหญ้าคาและ สาบเสือขึ้นปกคลุมตามพื้นสวน บริเวณดังกล่าว ได้เป็นที่หลบนอนของเนื้อทรายทั้งในเวลากลาง วันและกลางคืนในขณะที่หญ้าในดงมะพร้าวยัง ไม่สูงพอที่จะใช้หลบซ่อนตัวได้ (ภาพที่ 12-15)
Capturing Hog deer (Axis porcinus) at Koh Kra-dard
จากการส�ำรวจเบื้องต้นคณะส�ำรวจได้ ว า ง แ ผ น ที่ จ ะ กั้ น บ ริ เ ว ณ ส ว น เ ง า ะ ด ้ ว ย แผ่นพลาสติกสีฟ้าแบบถุงปุ๋ย สูง 1.80 เมตร เป็นวงกลมมีลักษณะเป็นคอกคัดและท�ำปีกกาง ออกไปเป็นรูปตัววีเพื่อต้อนเนื้อทรายที่หลบซ่อน อยู่ในป่าดงดิบให้เข้ามายังคอกแล้วจึงท�ำการ ปิ ด ปากคอกคั ด (ที่ ป ลายแหลมตั ว วี ) ด้ ว ย แผ่นพลาสติกสีฟ้า เช่นเดียวกับส่วนหนึ่งของ คอกคัดจะถูกดัดแปลงให้มีลักษณะเป็นเหมือน ก้นหอยเพื่อต้อนเนื้อทรายที่อยู่ในคอกคัดทีละตัว ให้ เ ข้ า มาก่ อ นที่ จ ะผลั ก ดั น ให้ เ ข้ า ไปในกรง ส�ำหรับขนย้ายต่อไป นอกจากเนื้อทรายที่คุณชุมพล รังควร น�ำมาเลี้ยงปล่อยไว้บนเกาะเมื่อประมาณ 10 ปี มาแล้วด้วยจ�ำนวนเพียง 4 ตัว จนท�ำให้เนื้อ ทรายขยายพันธุ์เพิ่มจ�ำนวนมากมาย ยังมีวัวอีก 3 ตัว ที่เหลืออยู่หลังจากได้ขายวัวออกจากเกาะ เนื่องจากฝูงวัวได้กัดกินยอดมะพร้าวต้นเล็กๆ ที่ปลูกซ่อมแทนต้นเดิมที่อายุมากและล้มหายไป คุณชุมพล รังควร เป็นผู้ที่มีความรักใน ธรรมชาติได้พยายามรักษาสภาพป่าดั้งเดิมและ สัตว์ป่า อีกทั้งได้พยายามน�ำสัตว์ป่าที่สามารถ อาศั ย อยู ่ ไ ด้ บ นเกาะมาปล่ อ ยไว้ ห ลายชนิ ด ด้วยกัน สัตว์ป่าต่างๆ ที่คณะส�ำรวจได้พบเห็น ระหว่ า งส� ำ รวจเนื้ อ ทรายดั ง แสดงในตาราง (หน้าที่ 25-26)
25
ภาพที่ 10. เนื้อทรายที่หลับนอนอยู่ในป่าดงดิบในเวลากลางวันจะออกมาเดินเล็มหญ้า ซึ่งมีอยู่ทั่วไปในสวนมะพร้าว รอบเกาะในเวลาใกล้พระอาทิตย์จะตกดิน และจะกินหญ้าต่อไปในเวลากลางคืนจนถึงเวลาใกล้รุ่ง
ภาพที่ 11. เนื้อทรายที่หลับนอนอยู่ในป่าดงดิบในเวลากลางวันจะออกมาเดินเล็มหญ้า ซึ่งมีอยู่ทั่วไปในสวนมะพร้าว รอบเกาะในเวลาใกล้พระอาทิตย์จะตกดิน และจะกินหญ้าต่อไปในเวลากลางคืนจนถึงเวลาใกล้รุ่ง
26
การจับเนื้อทรายที่เกาะกระดาด
ภาพที่ 12. บริเวณสวนเงาะริมป่าดงดิบ
ภาพที่ 13. ดงหญ้าคาและต้นสาบเสือในสวนเงาะ ซึ่งเป็นที่หลบนอนของเนื้อทรายในเวลากลางวัน
Capturing Hog deer (Axis porcinus) at Koh Kra-dard
27
ภาพที่ 14. บริเวณที่นอนแห่งหนึ่งของเนื้อทรายใต้ซุ้มไม้ริมสวนเงาะ
ภาพที่ 15. เนื้อทรายเพศเมียที่ลุกออกจากที่นอนในพงหญ้าคาของสวนเงาะริมป่าดงดิบ
28
การจับเนื้อทรายที่เกาะกระดาด
ตารางแสดงรายชื่อสัตว์ป่าที่ส�ำรวจพบ ลำ�ดับที่ 1. 2. 3. 4. 5. 6. 7. 8. 9. 10. 11. 12. 13. 14. 15. 16. 17. 18. 19. 20. 21. 22. 23. 24. 25. 26. 27. 28. 29. 30.
ชื่อภาษาไทย ชะนีมือขาว ชะนีมงกุฎ ค้างคาวแม่ไก่ นกยางกรอกพันธุ์จีน นกกวัก นกเปล้าหน้าเหลือง นกเขาเปล้าธรรมดา นกเขาใหญ่หรือนกเขาหลวง นกหกเล็กปากแดง นกดุเหว่าหรือนกกาเหว่า นกกะปูดใหญ่ นกกินเปี้ยว นกจับแมลงสีน�้ำตาล นกกางเขนบ้าน อีกา แซงแซวหางปลา นกปรอดหน้านวล นกเอี้ยงสาริกา นกขมิ้นท้ายทอยด�ำ นกกะเต็นน้อยธรรมดา นกจับแมลงตะโพกเหลือง นกแซวสวรรค์หางด�ำ นกยางลายเสือ นกปลีกล้วยหูเหลืองเล็ก เหยี่ยวผึ้ง เหยี่ยวรุ้ง นกอีเสือสีน�้ำตาล นกมูม นกหัวขวานสามนิ้วหลังทอง นกกินปลีอกเหลือง
ชื่อภาษาอังกฤษ
หมายเหตุ
White-handed Gibbon Pileated Gibbon Flying Fox Chinese Pond Heron White-breasted Waterhen Ashy-headed Green Pigeon Thick-billed Green Pigeon Spotted Dove Vernal Hanging Parrot Asian Koel Greater Coucal White-collared Kingfififfiisher Asian Brown Flycatcher Oriental Magpie Robin Large-billed Crow Black Drongo Yellow-vented Bulbul Common Myna Black-naped Oriole Common Kingfififfiisher Yellow-rumped Flycatcher Japanese Paradise-flFlycatcher Malayan Night Heron Yellow-eared Spiderhunter Oriental Honey-Buzzard Crested Serpent Eagle Brown Shrike Mountain Imperial Pigeon Common Flameback Olive-backed Sunbird
ภาพที่ 16 ภาพที่ 17
Capturing Hog deer (Axis porcinus) at Koh Kra-dard
ภาพที่ 18
ภาพที่ 19
ภาพที่ 20 ภาพที่ 21 ภาพที่ 22
29
ตารางแสดงรายชื่อสัตว์ป่าที่ส�ำรวจพบ (ต่อ) ลำ�ดับที่ 31. 32. 33. 34. 35. 36. 37. 38. 39. 40. 41. 42. 43. 44. 45. 46. 47. 48. 49. 50. 51. 52. 53. 54. 55. 56.
ชื่อภาษาไทย นกกินปลีคอสีน�้ำตาล นกจับแมลงอกส้มท้องขาว นกนางแอ่นบ้าน นกตะขาบดง นกกิ้งโครงหัวสีนวล แซงแซวเล็กเหลือบ แซงแซวสีเทา นกพงตั๊กแตนอกลาย นกเปล้าคอสีม่วง เหยี่ยวกิ้งก่าสีด�ำ นกกระเบื้องผา นกปลีกล้วยหูเหลืองใหญ่ นกปรอดทอง นกจาบฝนปีกแดง นกกิ้งโครงแกลบปีกขาว นกเฉี่ยวบุ้งใหญ่ นกแซวสวรรค์ นกกาฝากอกเพลิง นกสีชมพูสวน เหยี่ยวหน้าเทา นกเด้าลมหลังเทา นกแต้วแล้วธรรมดา ไก่ป่า ไก่ฟ้าหน้าเขียว ไก่ฟ้าหลังขาว นกแสก
ชื่อภาษาอังกฤษ Brown-throated Sunbird Tickell’s Blue Flycatcher Barn Swallow Oriental Dollarbird Vinous-breasted Starling Bronzed Drongo Ashy Drongo Lanceolated Warbler Pink-necked Green Pigeon Black Baza Blue Rockthrush Spectecled Spiderhunter Black-headed Bulbul Indochinese Bushlark White-shouldered Starling Black-winged Cuckooshrike Asian Paradise Flycatcher Fire-breasted Flowerpecker Scarlet-backed Flowerpecker Gray-faced Buzzard Gray Wagtail Blue-winged Pitta Red Jungle Fowl Crested Fireback Silver Pheasant Barn Owl
30
หมายเหตุ
ภาพที่ 23
ภาพที่ 24 ภาพที่ 25
การจับเนื้อทรายที่เกาะกระดาด
ภาพที่ 16. ชะนีมือขาว หรือ ชะนีธรรมดา (White-handed Gibbon)
ภาพที่ 17. ชะนีมงกุฎ (Pileated Gibbon) ที่ถูกน�ำมาเลี้ยงปล่อยไว้บนเกาะ
Capturing Hog deer (Axis porcinus) at Koh Kra-dard
31
ภาพที่ 18. รังและไข่ของนกเขาใหญ่ (Spotted Dove)
ภาพที่ 19. นกกินเปี้ยว (White-collared Kingfififfiisher)
32
การจับเนื้อทรายที่เกาะกระดาด
ภาพที่ 20. นกกะเต็นน้อยธรรมดา (Common Kingfififfiisher)
ภาพที่ 21. นกแซงแซวสวรรค์หางด�ำ (Japanese Paradise-flflffllycatcher)
Capturing Hog deer (Axis porcinus) at Koh Kra-dard
33
ภาพที่ 22. นกยางลายเสือ (Tiger Bittern)
ภาพที่ 23. นกนางแอ่นบ้าน (Barn Swallow) ท�ำรังอยู่ใต้สะพานท่าเทียบเรือ
34
การจับเนื้อทรายที่เกาะกระดาด
ภาพที่ 24. นกเฉี่ยวบุ้งใหญ่ (Black-winged Cuckooshrike)
ภาพที่ 25. นกแต้วแล้วธรรมดา (Blue-winged Pitta)
Capturing Hog deer (Axis porcinus) at Koh Kra-dard
35
5. คณะผู้ด�ำเนินงานและผู้ร่วมงาน 1. นายสืบ นาคะเสถียร นักวิชาการป่าไม้ 5 2. นายประยุทธ อินทรพาณิชย์ นักวิชาการสัตวบาล 5 3. น.ส.สุมาลี ชัยพรรถพาณิช นักวิชาการสัตวบาล 5 4. นายพรชัย ปทุมรัตนาธาร นักวิชาการป่าไม้ 3 5. นายทวีศักดิ์ ทวีทา พนักงานพิทักษ์ป่า 6. นายยอด เครือแตง พนักงานพิทักษ์ป่า 7. นายมานพ รักษ์พันธ์ พนักงานพิทักษ์ป่า 8. ผู้ร่วมงานที่เคยมีประสบการณ์ในการจับสัตว์รวม 6 นาย
36
การจับเนื้อทรายที่เกาะกระดาด
ภาพโดย : ธรรมนิตย์ พนมศักดิ์ Capturing Capturing Hog Hog deer deer (Axis (Axis porcinus) porcinus) atat Koh Koh Kra-dard Kra-dard
37 37
6. อุปกรณ์ อุ ป กรณ์ ที่ ใ ช้ ใ นการจั บ เนื้ อ ทราย ประกอบด้วย 1. แผ่นพลาสติกสีฟ้าแบบถุงปุ๋ย กว้าง 1.90 เมตร ยาวรวม 1,500 เมตร ใช้กั้นเป็นคอก คัด ท�ำม่านประตู และท�ำแนวปีกกาเป็นรูปตัววี จากปากคอกคั ด เข้ า ไปในป่ า ดงดิ บ จนทะลุ ถึ ง แนวป่า 2. สมอบกท� ำ ด้ ว ยเหล็ ก ฉากและเสา ไม้ไผ่มัดติดเป็นแนวขึงแผ่นพลาสติก 3. แผ่นไม้อัดและไม้แปรรูปส�ำหรับท�ำ ส่วนของก้นหอยบริเวณคอกคัดพร้อมประตูหมุน ปิด – เปิด รวม 3 บาน 4. แผ่นกระจกเงาส�ำหรับล่อให้สัตว์เดิน เข้าหากรงขนย้าย 1 บาน 5. อุ ป กรณ์ ส� ำ หรั บ ช่ า งไม้ ใ ช้ ใ นการ ก่อสร้าง เช่น ค้อน เลื่อย มีด จอบ เสียม เป็นต้น 6. ตาข่ายถักด้วยเชือกมนิลาขนาดเส้น ผ่านศูนย์กลาง 0.5 เมตร ตาขนาด 7 นิ้ว กว้าง 2.50 เมตร ยาว 20 เมตร ร้ อ ยเชื อ กทั้ ง บน และล่าง 7. ตาข่ า ยถั ก ด้ ว ยเชื อ กไนล่ อ นขนาด เส้นผ่านศูนย์กลาง 1 เซนติเมตร ตาขนาด 9 นิ้ว กว้าง 2.50 เมตร ยาว 20 เมตร ร้อยเชือกทั้งบน และล่าง
8. ตาข่ายถักด้วยเชือกพลาสติกขนาด เส้นผ่านศูนย์กลาง 0.5 เซนติเมตร ตาขนาด 3 นิ้ว กว้าง 3 เมตร ยาว 50 เมตร ร้อยเชือกทั้ง บนและล่าง 9. อวนลากถักด้วยเชือกพลาสติกขนาด เส้นผ่านศูนย์กลาง 0.3 เซนติเมตร ตาขนาด 8 นิ้ว กว้าง 2.50 เมตร ยาว 100 เมตร ร้อยเชือก ทั้งบนและล่าง 10. กรงดักที่มีประตูกลและใช้เหยื่อล่อ 11. ห่วงดักชนิดรูปขึ้นติดขา 12. ราวห่ ว งแบบต่ อ เนื่ อ งชนิ ด รู ด ติ ด หัวไหล่ 13. แหถักด้วยเชือกไนล่อนขนาดเส้น ผ่านศูนย์กลาง 0.3 เซนติเมตร ตาขนาด 9 นิ้ว ยาว 8 ศอก 14. สวิ ง ตาข่ า ยถั ก ด้ ว ยเชื อ กไนล่ อ น ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.3 เซนติเมตร ตา ขนาด 7 นิ้ว ปากสวิงเส้นผ่านศูนย์กลาง 1 เมตร มีด้ามจับท�ำด้วยไม้ 15. กรงใส่เนื้อทราย 2 ขนาด ส�ำหรับ เนื้อทรายตัวใหญ่และตัวเล็ก (ภาพที่ 26)
38
การจับเนื้อทรายที่เกาะกระดาด
15.1 กรงใหญ่มาก กว้าง x ยาว x สูง (50x120x100 เซนติ เ มตร) โครงท� ำ ด้ ว ยไม้ 1 นิว้ – 2 นิว้ มีรางลิน้ ส�ำหรับประตูเลือ่ นขึน้ ลงทัง้ ด้านหน้าและด้านหลัง ฝากรงท�ำด้วยไม้อัดชนิด ใช้ภายนอกหนา 6 มิลลิเมตร เจาะรูขนาด 1 ½นิ้ว เป็น 2 แถวที่ฝาด้านข้าง แถวละ 6 รู แถวล่าง อยู่สูงจากพื้นกรง 15 เซนติเมตร ประตูเป็น ประตูเลื่อนขึ้นลงตามรางลิ้นทั้งด้านหน้าและ ด้ า นหลั ง ของกรง ฝาด้ า นบนเจาะรู ส� ำ หรั บ สังเกตเนื้อทรายที่อยู่ในกรง ผนังกรงด้านบน และด้านหน้าบุด้วยกระสอบป่านหรือแผ่นโฟม ชนิดหนายึดแน่นติดกับแผ่นพื้นกรงที่ไม้ขวาง แบบลูกฟูกเพื่อกันสัตว์ลื่นล้มในขณะขนย้าย 15.2 กรงเล็กส�ำหรับลูกเนือ้ ทราย มีขนาด กว้าง x ยาว x สูง (35x65x80 เซนติเมตร) โครงสร้างเช่นเดียวกับโครงใหญ่
16. เวชภั ณ ฑ์ ส� ำ หรั บ รั ก ษาพยาบาล เบื้องต้นส�ำหรับสัตว์ที่จะได้รับบาดเจ็บขณะจับ และขนย้าย 17. อาหารส� ำ เร็ จ รู ป และนมพร้ อ ม อุปกรณ์ในการเลี้ยงดูสัตว์อ่อน 18. อุ ป กรณ์ ส� ำ หรั บ หมายที่ ตั ว สั ต ว์ ที่จับได้ (Tagging and Marking) 19. อุปกรณ์บันทึกประวัติสัตว์ที่จับได้ 20. อุปกรณ์ส�ำหรับการใช้ยายิงสลบ 21. ถุงผ้าสีเข้มที่ใช้ปิดตาเนื้อทรายก่อน ใส่กรงขนย้าย 22. เชือกไนล่อนส�ำหรับมัดขาสัตว์
ภาพที่ 26. กรงส�ำหรับขนย้ายเนื้อทราย ขนาด กว้าง X ยาว X สูง (เซนติเมตร) ส�ำหรับเนื้อทรายตัวเล็ก 35 X 85 X 80 (กรงเล็ก) ส�ำหรับเนื้อทรายตัวใหญ่ 50 X 120 X 100 (กรงใหญ่)
Capturing Hog deer (Axis porcinus) at Koh Kra-dard
39
ภาพโดย : นิกร เป็นศรี 40
การจับเนื้อทรายที่เกาะกระดาด
7. วิธีการ จากการส�ำรวจเบื้องต้นเกี่ยวกับสภาพ พื้นที่และปริมาณของเนื้อทรายที่เกาะกระดาด ในตอนปลายเดือนมีนาคม 2529 ปรากฏว่าใน เวลากลางวั น เนื้ อ ทรายจะหลบนอนอยู ่ ใ น ป่าดงดิบและตามกองหินที่ปกคลุมด้วยไม้พื้น ล่างพวกสาบเสือและผกากรองที่รกทึบ ส่วนใน สวนมะพร้ า วหญ้ า ตามพื้ น สวนจะเตี ย นโล่ ง โดยทั่วไป นอกจากนี้ยังได้พบเนื้อทรายหลายตัว หลบนอนอยู่ในซุ้มหญ้าคาและสาบเสือที่เหลือ อยู่ทั่วไปเป็นซุ้มหนาทึบ ในสวนเงาะที่ติดกับ ป่าดงดิบด้านทิศเหนือท�ำให้คิดว่าจะใช้วิธีสร้าง คอกคัดในบริเวณสวนเงาะและท�ำซองต้อนเป็น ปีกกางออกไปในป่าดงดิบ ซึ่งจะต้องใช้คนต้อน จ�ำนวนมากเพื่อต้อนเนื้อทรายที่หลบนอนอยู่ใน ป่าดงดิบให้เข้ามาตามซองต้อนจนถึงสวนเงาะ ซึ่งเป็นคอกคัดก่อนที่จะถูกต้อนให้เข้าไปยังส่วน ของก้ น หอยและต่ อ ไปยั ง กรงขนย้ า ย ต่ อ ไป ก�ำหนดช่วงเวลาในการปฏิบัติงานจะเริ่มตั้งแต่ ต้นเดือนพฤษภาคมก่อนที่ลมมรสุมจะพัดผ่าน เกาะกระดาดเหมือนที่เคยเป็นตามฤดูกาล ช่วง เวลาที่ เ หมาะสมส� ำ หรั บ ต้ อ นจั บ เนื้ อ ทรายที่ เกาะกระดาดควรเป็นช่วงปลายฤดูแล้งต่อเนื่อง กับฤดูฝน (ประมาณเดือนพฤษภาคม – ต้นเดือน มิถุนายน) เพราะในช่วงวันเวลาดังกล่าวหญ้า ตามพื้นสวนมะพร้าวเริ่มแตกใบและสูงขึ้น การ ต้ อ นท� ำ ได้ ส ะดวกเพราะสามารถมองเห็ น ตั ว Capturing Hog deer (Axis porcinus) at Koh Kra-dard
(ในฤดู แ ล้ ง เนื้ อ ทรายจะหลบซ่ อ นในป่ า ดงดิ บ การต้อนในป่าที่รกทึบท�ำได้ยาก) และบริเวณ โคนต้ น มะพร้ า วจะมี ซุ ้ ม หญ้ า และพื ช พื้ น ล่ า ง สู ง พอที่ เ นื้ อ ทรายจะอาศั ย หลบซ่ อ นตั ว ได้ (การต้อนเนื้อทรายเพื่อดักจับในขณะอยู่ในสวน มะพร้าวท�ำได้ง่ายกว่าในป่าดงดิบที่มองเห็นสัตว์ ป่าไม่สะดวก) วิธีการที่ใช้มีอยู่หลายวิธีด้วยกัน ผันแปรไปตามสภาพการเป็นอยู่ของเนื้อทราย ตามฤดูกาล สภาพพื้นที่ การปรับตัวของเนื้อ ทรายเมื่อถูกต้อน ชนิดของวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ซึ่ง พอจะแยกออกได้ดังนี้ 1. ต้อนโดยใช้ซองต้อนและคอกคัด ท� ำ การสร้ า งคอกคั ด และซองต้ อ นด้ ว ยแผ่ น พลาสติ ก สี ฟ ้ า แบบถุ ง ปุ ๋ ย สู ง 1.80 เมตร ความยาวของผนังคอกคัดรวมกับซองต้อนที่ท�ำ เป็นปีกกางออกไปในป่าดงดิบบริเวณตอนเหนือ คิดเป็นระยะทางรวม 1,500 เมตร คอกคัดเป็น รู ป ทรงกลมเส้ น ผ่ า นศู น ย์ ก ลางประมาณ 50 เมตร อยู่ในบริเวณสวนเงาะริมป่าดงดิบ สมอบกที่เป็นเหล็กฉากและไม้ไผ่ผ่าซีกถูกน�ำมา ต่อเป็นเสาเพื่อผูกแผ่นพลาสติกติดเป็นผนัง เสา ห่างกันเป็นช่วงๆ ช่วงละ 2 เมตร แผ่นพลาสติก ถูกผูกติดกับเสาด้วยเชือกฟางชนิดเส้นใหญ่เป็น 2 ช่วง ตอนบนและตอนกลาง ส่วนล่างของแผ่น พลาสติกซึ่งมีรูตาไก่ (ขอบแผ่นพลาสติกตอก 41
ตาไก่ทั้งข้างล่างและบนห่างกันเป็นช่วง ช่วงละ 1 เมตร) ผูกเชือกฟางติดกับสมอบกท�ำด้วยไม้ไผ่ ตอกตรึงให้ชิดพื้นดิน แล้วใช้ทางมะพร้าวสุม ตรงมุมแผ่นพลาสติกที่ติดกับพื้นดินเพื่อปิดไม่ให้ มีช่องว่างป้องกันเนื้อทรายมุดหนีออกไป ส่วน หนึ่งของคอกคัดท�ำเป็นช่องเปิดกว้างประมาณ 5 เมตร เป็นช่องเปิดไปยังส่วนที่เป็นก้นหอย ซึ่ง จะค่อยๆ แคบเข้าไปยังประตูเปิดไปถึงส่วนที่จะ ตั้งกรงขนย้าย ประตูที่ส่วนก้นหอยใช้แบบหมุน พับได้เพื่อใช้ผลักดันเนื้อทรายให้เดินหน้าต่อไป ยังกรงขนย้าย ส่วนที่เป็นหลังคาของก้นหอยถูก ปิดด้วยแผ่นพลาสติกเช่นเดียวกัน บริเวณที่เป็น ปากประตู ข องคอกคั ด ซึ่ ง มี ช ่ อ งเปิ ด ประมาณ 20 เมตร และที่ปากต้อนส่วนที่กางออกมีช่อง เปิดห่างประมาณ 300 เมตร จะถูกปิดเมื่อต้อน เนื้อทรายผ่านด้วยแผ่นพลาสติกที่ผูกกับส่วนบน ด้วยราวเชือกแล้วม้วนขึ้นส่วนบน แนวการต้อน เนื้อทรายเป็นแนวหน้ากระดานเริ่มตั้งแต่ทิศใต้ ของป่าดงดิบมาทางทิศเหนือซึ่งจะเป็นการต้อน ตามทิศทางลมเพื่อป้องกันเนื้อทรายได้กลิ่นคนที่ คุมม่านบริเวณปากซองต้อนและปากคอกคัด ซึ่ง จะท�ำหน้าที่ปิดม่านเพื่อกันเนื้อทรายย้อนกลับ ทางเดิม เนื้อทรายที่ถูกต้อนเข้ามาจนถึงคอกคัด จะถูกปล่อยให้อยู่ค้างคืน วันรุ่งขึ้นจึงจะท�ำการ ต้อนเข้าส่วนก้นหอยแล้วผลักดันเข้ากรงขนย้าย ต่อไป (การกระตุ้นให้เนื้อทรายที่ยืนอยู่ส่วนหน้า กรงขนย้ า ยให้ เ ข้ า กรงโดยใช้ ก ระจกเงาวางที่ ส่วนท้ายของกรงเพื่อให้เนื้อทรายมองเห็นตัว เองและเข้าใจผิดว่าเป็นพวกเดียวกัน จึงเดินเข้า
กรงขนย้ า ยได้ ง ่ า ย) วิ ธีนี้ จ ะใช้ ไ ด้ ดี ใ นกรณี ที่ สัตว์ป่าที่อยู่ในส่วนของป่าดงดิบอยู่กันเป็นฝูง และเมื่อถูกต้อนแล้วจะเคลื่อนที่ไปพร้อมๆ กัน ท�ำให้การหลบหนีออกจากแนวต้อนเป็นไปได้ ยาก แต่ไม่เหมาะกับเนื้อทรายที่อยู่กระจายกัน เป็นกลุม่ เล็กๆ หรืออยูต่ วั เดียว ส่วนมากเป็นตัวผู้ ที่มักหลบซ่อนในพุ่มไม้รกทึบหรือวิ่งย้อนแนว ต้อนกลับไป 2. ต้อนเข้าตาข่ายในคอกคัด เนื้อทราย ที่ถูกต้อนเข้ามาอยู่ในคอกคัดแล้วจะถูกต้อนให้ เข้าไปในส่วนของก้นหอยเพือ่ เข้ากรงขนย้ายต่อไป แต่มีบางตัวที่ไม่สามารถต้อนเข้าซองก้นหอยได้ จึงต้องใช้ตาข่ายที่ถักด้วยเชือกป่านมนิลาหรือ เชือกไนล่อนหรือเชือกพลาสติก ซึ่งมีเชือกร้อย เป็นราวทั้งส่วนบนและส่วนล่างแล้วขึงตั้งขึ้น เป็นแนวโดยใช้ไม้ขนาดเล็กค�้ำยันไว้พออยู่สูง ประมาณ 1.50 เมตร เมื่อเนื้อทรายวิ่งชนตาข่าย จะล้มลงมาคลุมตัวและพันไว้ก่อนที่คนจะเข้าถึง ตัว (ส่วนล่างของตาข่ายตอนล่างจะวางราบไป ตามพื้นดิน) ตาข่ายจะถูกวางในแนวตั้งฉากออก มาจากผนังแผ่นพลาสติกของคอกคัดยาวเป็น ระยะทางประมาณ 20–30 เมตร ก่ อ นที่ จ ะ ใช้ ค นต้ อ นเนื้ อ ทรายให้ อ อกจากที่ ซ ่ อ นในดง หญ้าคาและสาบเสือ 3. ต้อนจับด้วยตาข่าย วิธีนี้ถูกใช้เมื่อ ค้นพบร่องรอยว่ามีเนื้อทรายเข้าไปซ่อนตัวอยู่ใน ดงหญ้าทีม่ ตี น้ สาบเสือและต้นผกากรองขึน้ รกทึบ
42
การจับเนื้อทรายที่เกาะกระดาด
ตาข่ายจะถูกวางเป็นรูปโค้งอ้อมบริเวณนั้นบาง ส่วนโดยใช้ ไ ม้ ค�้ ำ ยั น ไว้กับส่วนบนของตาข่า ย และทิ้งชายล่างให้ราบไปกับพื้นดินด้านที่เนื้อ ทรายหลบอยู่ แล้วใช้คนต้อนให้เนื้อทรายวิ่งออก จากที่ซ่อนเข้าชนตาข่าย ตาข่ายจะล้มลงและ หุ้มตัวเนื้อทรายไว้ก่อนเข้าจับใส่กรงขนย้าย 4. ต้ อ นจั บ ด้ ว ยตาข่ า ยและแผ่ น พลาสติกสูง 1.80 เมตร ด้วยวิธีนี้แผ่นพลาสติก หน้ากว้าง 1.80 เมตร จะถูกน�ำมาสวมบริเวณที่ เป็ น กองหิ น ซึ่ ง มี ไ ม้ พื้ น ล่ า งขึ้ น ปกคลุ ม อย่ า ง หนาแน่นเป็นที่หลบซ่อนของเนื้อทรายในเวลา กลางวัน บางส่วนของผนังแผ่นพลาสติกจะถูก เว้นไว้เพื่อใส่ตาข่ายที่มีไม้ค�้ำยันไว้และจะล้ม เมื่อสัตว์วิ่งชน คนจะต้อนเนื้อทรายให้ออกจากที่ ซ่อนออกมายังแนวทีม่ ตี าข่าย (ตาข่ายทีเ่ หมาะสม ส� ำ หรั บ เนื้ อ ทรายคื อ ตาข่ า ยไนล่ อ นเส้ น โต ประมาณ 3 มิลลิเมตร ถักเป็นตาขนาด 9 นิ้ว สูง 2.50 เมตร โดยตัง้ เป็นผนังสูง 2 เมตร แล้ว ปล่อยชายล่างทีเ่ หลือ 0.50 เมตร ไปตามพืน้ ดิน เข้าหาแนวต้อนขอบตาข่ายทั้งส่วนบนและล่าง ร้อยด้วยเชือกไนล่อนหรือเชือกพลาสติกประมาณ 3 มิลลิเมตร หรือ 8 มิลลิเมตร ตามล�ำดับ เพือ่ ให้ ตาข่ายมีลกั ษณะเป็นถุงเมือ่ สัตว์วงิ่ ชน) 5. ต้ อ นจั บ ด้ ว ยตาข่ า ยและแผ่ น พลาสติกสูง 0.90 เมตร แผ่นพลาสติกสีฟ้า กว้ า ง 1.80 เมตร จะถู ก แบ่ ง ครึ่ ง ให้ เ หลื อ 0.90 เมตร ความสูงไล่เลี่ยกับความสูงของหญ้า Capturing Hog deer (Axis porcinus) at Koh Kra-dard
และต้นสาบเสือในสวนมะพร้าว แผ่นพลาสติก ดังกล่าวจะถูกขึงเป็นผนังในสวนมะพร้าวเป็น ปีกกางออกเป็นรูปตัววี (เมื่อพบเนื้อทรายหลบ ซ่อนอยู่ในดงหญ้าและสาบเสือในสวนมะพร้าว) แต่ละด้านยาวประมาณ 150 เมตร ตาข่ายจะ ถู ก วางบริ เ วณมุ ม แหลมของตั ว วี ซ่ึ ง เว้ น ระยะ ห่างไว้ประมาณ 10 เมตร เนื้อทรายที่หลบซ่อน อยู่จะถูกต้อนให้เข้ามาที่ตาข่าย ตาข่ายจะล้มลง และคลุมตัวเนื้อทรายไว้ การวางตาข่ายด้วยวิธี นี้ควรวางเป็นแนวซ้อนกันอย่างน้อย 2 แนว เนื้อทรายที่ดิ้นหลุดจากตาข่ายแนวแรกจะติด ตาข่ายในแนวต่อไป วิธีนี้ใช้กับการต้อนในเวลา กลางคืนโดยใช้สปอร์ตไลท์และรถแทรกเตอร์ ต้ อ นโดยวางตาข่ า ยไว้ ที่ ร าวป่ า แล้ ว ขึ ง แผ่ น พลาสติ ก กางปี ก เป็ น รู ป ตั ว วี อ อกไปในสวน มะพร้าว 6. จับด้วยมือในน�้ำ เนื้อทรายบางตัวที่ หนีออกไปอยู่ที่เกาะเล็กซึ่งมีหาดทรายเชื่อมต่อ กับเกาะกระดาด (เกาะใหม่) เมื่อถูกต้อนจับจะ หนีลงทะเล คนจับจะกระโดดตามไปแล้ววักน�้ำ ใส่เพื่อกันไม่ให้ออกไปห่างชายฝั่งแล้วจึงช่วยกัน จับขึ้นมาใส่กรงขนย้ายบนชายหาด 7. จั บ ด้ ว ยมื อ บนบก วิ ธีนี้ เ กิ ด ขึ้ น ใน ขณะที่ท�ำการต้อนจับเนื้อทรายที่หลบซ่อนอยู่ โดยใช้ อ วนพลาสติ ก หรื อ ตาข่ า ยไนล่ อ นล้ อ ม บริเวณ แล้วเนื้อทรายหนีออกทางด้านที่เป็น ช่องเปิด (มีเวลาไม่พอที่จะล้อมตาข่ายหรืออวน 43
จนครบรอบเพราะเนื้อทรายลุกขึ้นและวิ่งหนี) คนที่ยืนอยู่ตรงแนวที่เนื้อทรายวิ่งออกจะตะครุบ จับตัวไว้ (การจับด้วยวิธีนี้จะต้องกระท�ำด้วย ความระมัดระวังเพื่อป้องกันจากอาการกระดูก เคลื่อนหรือช�้ำใน) 8. จับด้วยกรงดักและบ่วงราว วิธีนี้ โดยใช้ ก รงดั ก ที่ มี ป ระตู ก ลแล้ ว ใช้ เ หยื่ อ ล่ อ (ขนุนสุก กระท้อนสุก มะม่วงสุก) หรือใช้บ่วง ชนิดกระตุกติดตา (แบบใช้ยางยืดผูกติดกับเชือก ที่ยึดบ่วงกับต้นไม้ เพื่อป้องกันสัตว์บาดเจ็บจาก การดิ้ น ) ที่ ว างบนทางเดิ น สั ต ว์ ใ นป่ า หรื อ ใช้ ตาข่ายที่ท�ำเป็นรูปแหแล้วชักรอกไว้กับกิ่งต้นไม้ ใหญ่และใช้บ่วงราวชนิดรูดติดเมื่อสัตว์เดินผ่าน โดยวางเป็นแนวตามราวป่าซึ่งมีช่องทางเดิน ออกจากป่าไปยังสวนมะพร้าว 9. จับด้วยปืนยิงยาสลบ วิธีนี้ใช้ได้กับ เนื้อทรายที่เดินออกจากป่าดงดิบมาหากินหญ้า ในสวนมะพร้าว โดยผู้ยิงจะซุ่มรออยู่ก่อนซึ่งจะ เป็นเวลาประมาณ 17.30 น. – 18.15 น. (เป็น เวลาก่อนพระอาทิตย์ตก) เนื้อทรายที่ถูกยิงด้วย ลูกดอกบริเวณสะโพกจะวิ่งอย่างรวดเร็วกลับ เข้าไปในป่าดงดิบ ท�ำให้การตามหาเนื้อทรายที่ ถูกลูกดอกในป่าดงดิบในเวลากลางคืนท�ำได้ยาก 10. จับด้วยแหทอดปลา วิธีนี้ใช้ได้ใน เวลากลางคื น โดยการใช้ ส ปอร์ ต ไลท์ ส ่ อ งจาก รถแทรกเตอร์ เมื่อพบเนื้อทรายแล้วติดตามไป จนเนือ้ ทรายหมอบซุกในพุม่ หญ้าคาและสาบเสือ
ตามโคนต้ น มะพร้ า ว (ในช่ ว งเวลาประมาณ ปลายเดือนพฤษภาคมมีฝนตกลงมาท�ำให้หญ้า และพื ช พื้ น ล่ า งสู ง ขึ้ น จนเนื้ อ ทรายสามารถ หมอบซุกได้) เมื่อรถและไฟสปอร์ตไลท์เคลื่อน เข้าไปจนได้ระยะทอดแหคนทอดแหจะเหวี่ยง แหไปคลุมที่ตัวเนื้อทราย วิธีนี้ใช้ได้กับเนื้อทราย ขนาดเล็ก ส�ำหรับเนื้อทรายที่มีขนาดใหญ่หรือ ตั ว ผู ้ ที่ มี เ ขายาวซึ่ ง มี ก� ำ ลั ง มากจะวิ่ ง ชนแหจน ขาดและลอดไปได้ 11. จับด้วยแหไนล่อน วิธีนี้จับในเวลา กลางคืนโดยใช้รถแทรกเตอร์และไฟสปอร์ตไลท์ เช่ น เดี ย วกั บ วิ ธีที่ 10 แต่ ใ ช้ แ หไนล่ อ นขนาด 8 ศอก เส้นเชือกโต 3 มิลลิเมตร ตาห่าง 9 นิ้ว ซึ่งสามารถใช้ได้กับเนื้อทราย แต่บางโอกาสที่มี หญ้าหรือไม้พุ่มขึ้นสูง (ตอนต้นเดือนมิถุนายนมี ฝนตกมากท�ำให้วัชพืชในสวนมะพร้าวสูงขึ้นมา) ชายแหจะไม่ลงถึงพื้นดินท�ำให้เนื้อทรายวิ่งหนี ลอดชายแหไปได้ 12. จับโดยใช้แหไนล่อนและอวนล้อม วิธีนี้ใช้ในเวลากลางคืนเช่นเดียวกับวิธีที่ 10 เมื่อ พบเนื้ อ ทรายแล้ ว จะติ ด ตามไปจนกระทั้ ง เนื้ อ ทรายหมอบซุ ก จึ ง ล้ อ มอวนพลาสติ ก ตาห่ า ง 7 นิ้ว สูง 2.00 เมตร (อวนมีราวเชือกพลาสติก ทั้ ง ส่ ว นบนและส่ ว นล่ า ง) รอบบริ เ วณที่ เ นื้ อ ทรายนอนหมอบอยู่เมื่อล้อมอวนเสร็จจึงเคลื่อน รถและไฟสปอร์ตไลท์เข้าไปใกล้จนได้ระยะที่จะ ทอดแหได้ จึงทอดแหไปทีต่ วั เนือ้ ทราย เนือ้ ทราย ทีห่ ลุดจากแหจะไปติดอวนทีล่ อ้ มอยูด่ า้ นนอก
44
การจับเนื้อทรายที่เกาะกระดาด
ภาพโดย : นฤทธิ์ แปยอ Capturing Capturing Hog Hog deer deer (Axis (Axis porcinus) porcinus) atat Koh Koh Kra-dard Kra-dard
45 45
8. ผลการด�ำเนินการ ด้วยอุปกรณ์และวิธีการที่กล่าวข้างต้น สามารถจับเนื้อทรายได้จ�ำนวน 17 ตัว รายละเอียด ปรากฏอยู่ในตารางข้างล่างนี้ ตารางที่ 1 แสดงรายละเอียดของเนื้อทรายแต่ละตัวที่จับได้ ตัวที่
วันที่
เวลา
ช่วงเวลา
เพศ
ขนาด
วิธีที่ใช้
1* 2 3* 4 5 6* 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17
12/5/29 12/5/29 14/5/29 17/5/29 27/5/29 28/5/29 28/5/29 29/5/29 31/5/29 31/5/29 3/6/29 4/6/29 4/6/29 5/6/29 5/6/29 6/6/29 7/6/29
10.30 11.00 13.30 16.00 17.30 11.00 22.30 21.00 21.00 21.00 23.00 02.00 22.45 21.30 23.00 00.03 00.07
กลางวัน กลางวัน กลางวัน กลางวัน กลางวัน กลางวัน กลางคืน กลางคืน กลางคืน กลางคืน กลางคืน กลางคืน กลางคืน กลางคืน กลางคืน กลางคืน กลางคืน
เมีย เมีย ผู้ เมีย เมีย ผู้ ผู้ ผู้ เมีย ผู้ เมีย เมีย เมีย ผู้ เมีย เมีย เมีย
โตเต็มวัย โตเต็มวัย โตเต็มวัย โตเต็มวัย อายุมาก วัยรุ่น โตเต็มวัย วัยรุ่น โตเต็มวัย วัยรุ่น ลูกเล็ก ลูกเล็ก โตเต็มวัย วัยรุ่น โตเต็มวัย วัยรุ่น ลูกเล็ก
วิธีที่ 1 วิธีที่ 2 วิธีที่ 3 วิธีที่ 6 วิธีที่ 4 วิธีที่ 2 วิธีที่ 8 วิธีที่ 10 วิธีที่ 12 วิธีที่ 11 วิธีที่ 5 วิธีที่ 12 วิธีที่ 12 วิธีที่ 11 วิธีที่ 12 วิธีที่ 12 วิธีที่ 5
หมายเหตุ * หมายถึง เนื้อทรายที่เสียชีวิตในระหว่างรอการขนย้าย 46
การจับเนื้อทรายที่เกาะกระดาด
ตารางที่ 2 แสดงผลการใช้วิธีต่างๆ ในการจับเนื้อทราย วิธีที่ 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12
รายละเอียด ต้อนเข้าซองรูปก้นหอย ต้อนเข้าตาข่ายในคอกคัด ต้อนเข้าตาข่ายล้ม ต้อนและจับด้วยมือเปล่าในน�้ำ ต้อนและจับด้วยมือเปล่าบนบก ต้อนโดยใช้แผ่นพลาสติกหน้ากว้าง 1.80 ม. และตาข่าย ใช้ปืนยิงยาสลบ ต้อนโดยใช้แผ่นพลาสติกหน้ากว้าง 0.90 ม. และตาข่าย ใช้กรงดักและบ่วงราว ใช้แหทอดปลา และสปอร์ตไลท์ ใช้แหไนล่อนตาห่าง และสปอร์ตไลท์ ใช้แหในล่อน พร้อมอวนล้อม และสปอร์ตไลท์
Capturing Hog deer (Axis porcinus) at Koh Kra-dard
จำ�นวนที่จับได้
%
1 2 1 1 2 1 0 1 0 1 2 5
5.88 11.77 5.88 5.88 11.77 5.88 0 5.88 0 5.88 11.77 29.41
17
100
47
ตารางที่ 3 แสดงผลการเปรียบเทียบจ�ำนวนเนื้อทรายที่จับได้กับช่วงเวลาของวัน ในระหว่างการ ปฏิบัติงาน เริ่มตั้งแต่ วันที่ 2 พฤษภาคม – 15 มิถุนายน 2529 โดยมีช่วงเวลาในการปฏิบัติงานใน เวลากลางวันและกลางคืนเท่ากัน ช่วงเวลา กลางวัน กลางคืน (ใช้สปอร์ตไลท์ช่วย) รวม
จำ�นวนเนื้อทรายที่จับได้ 6 11 17 ตัว
ตารางที่ 4 แสดงการเปรียบเทียบระหว่างเพศ และจ�ำนวนของเนื้อทรายที่จับได้ ช่วงเวลา
จำ�นวนที่จับได้
ผู้ เมีย รวม
6 11 17 ตัว
ตารางที่ 5 แสดงการเปรียบเทียบระหว่างจ�ำนวนของเนื้อทรายที่จับได้กับอายุ โดยประมาณจาก ลักษณะที่มองเห็นภายนอก อายุโดยประมาณ
จำ�นวนที่จับได้
อายุมาก โตเต็มวัย วัยรุ่น ลูกเล็ก รวม
1 8 5 3 17 ตัว
48
การจับเนื้อทรายที่เกาะกระดาด
ภาพโดย : นฤทธิ์ แปยอ Capturing Hog deer (Axis porcinus) at Koh Kra-dard
49
9. สรุปและวิจารณ์ผล จากผลการด�ำเนินงานจับและขนย้าย เนื้อทรายจากเกาะกระดาด จังหวัดตราด ใน ระหว่าง วันที่ 2 พฤษภาคม 2529 จนถึงวันที่ 15 มิถุนายน 2529 ได้เนื้อทรายทั้งสิ้น 17 ตัว ในจ�ำนวนนี้มีอยู่ 3 ตัว เสียชีวิตในระหว่างรอ การขนย้าย เสียชีวติ อาจเนือ่ งมาจากความเครียด ในระหว่ า งที่ ถู ก ต้ อ น ท� ำ ให้ ส มดุ ล ร่ า งกาย ผิ ด ไป เนื่ อ งจากระบบต่ อ มไร้ ท ่ อ สู ญ เสี ย การ ท� ำ หน้ า ที่ ท� ำ ให้ ร ะดั บ น�้ ำ ตาลในเลื อ ดลดลง อย่างรวดเร็ว และสัตว์จะตายด้วยอาการเกร็ง (ภาพที่ 27) ส�ำหรับตัวผู้ที่จับได้เป็นตัวที่ 3 ซึ่งเสีย ชี วิ ต เนื่ อ งมาจากบาดแผลที่ เ กิ ด จากการขวิ ด กั น เองจนเป็ น แผลขนาดใหญ่ ที่ บ ริ เ วณล� ำ คอ ด้ า นซ้ า ย (ภาพที่ 28) มี ห นอนไชลึ ก เข้ า ไปจนถึ ง กระดู ก ก้ า นคอ บริ เ วณดั ง กล่ า วเนื้ อ ทรายไม่ สามารถเลียได้ จึงท�ำให้เกิดมีหนอนไชบาดแผล และลุกลาม ใหญ่โตขึ้น หลังจากได้รับการช�ำระ บาดแผลด้วยน�้ำยาล้างแผลแล้ว ได้ท�ำการฉีดยา ปฏิ ชี ว นะและยาบ� ำ รุ ง ให้ แต่ เ นื้ อ ทรายตั ว ดั ง กล่ า วเสี ย ชี วิ ต ในเวลาต่ อ มาหลั ง จากอยู ่ ไ ด้ ประมาณ 24 ชั่วโมง วิ ธีก ารต่ า งๆ ที่ ใ ช้ ใ นการต้ อ นจั บ เนื้ อ ทรายทั้ง 12 วิธีที่ใช้ นับตั้งแต่การสร้างคอกคัด และซองต้อน ไปจนล�ำดับสุดท้าย คือการใช้ สปอร์ตไลท์ส่องหาเนื้อทรายในเวลากลางคืน
แล้วใช้แหไนล่อนประกอบกับอวนลากในการจับ เนื้ อ ทรายที่ ห มอบลงอยู ่ ใ นหญ้ า คาปรากฏว่ า การต้ อ นจั บ เนื้ อ ทรายที่ เ กาะกระดาดในเวลา กลางคืนให้ผลดีมากกว่าในเวลากลางวัน เพราะ สัตว์ป่าจะไม่เหนื่อยมากในระหว่างถูกต้อนจับ และระยะเวลาที่ ใ ช้ ใ นการต้ อ นจั บ สั้ น กว่ า เนื้ อ ทรายทุ ก ตั ว ที่ จั บ ได้ ใ นเวลากลางวั น (ไม่ว่าจะด้วยวิธีใดก็ตาม) ไม่มีตัวใดเสียชีวิตใน ระหว่างที่รอการขนย้าย ซึ่งบางครั้งต้องรออยู่ใน กรงขนย้ายนานประมาณ 5 วัน หมายเหตุ กรงที่ ใ ช้ ข นย้ า ยเนื้ อ ทราย จากเกาะกระดาดได้ถูกดัดแปลงจากกรงขนย้าย เนื้อทรายทั่วไปเล็กน้อย คือมีขนาดโตขึ้น เพื่อให้ เนื้อทรายขยับตัวได้สะดวกในระหว่างรอการขน ย้ายเป็นเวลานานๆ อนึ่ง วิธีการต้อนจับโดยใช้สปอร์ตไลท์ ประกอบกับการใช้แหไนล่อนและอวนลากใน เวลากลางคืน นับว่าเป็นวิธีการที่ใช้ได้เป็นอย่าง ดีในช่วงเวลาที่ไปปฏิบัติงาน เนื่องจากช่วงเวลา ดังกล่าวสภาพพื้นที่ในสวนมะพร้าวรอบเกาะถูก ปกคลุ ม ไปด้ ว ยพื ช พื้ น ล่ า งที่ ขึ้ น ไม่ สู ง มากนั ก พอที่เนื้อทรายจะอาศัยหมอบซุกได้เมื่อเห็นแสง ไฟจากสปอร์ตไลท์และรถแทรกเตอร์ที่ใช้เป็น พาหนะ สามารถเคลื่อนเข้าไปในระยะที่สามารถ
50
การจับเนื้อทรายที่เกาะกระดาด
ใช้ แ หและอวนลากได้ ถ้ า สภาพพื้ น ที่ ใ นสวน มะพร้าวโล่งเตียนมากเกินไปเนื้อทรายก็จะไม่ หมอบ หรือถ้าสภาพพื้นที่รกมาก (สาเหตุเวลา ต้นฤดูฝนที่มีลมมรสุมพัดผ่านเกาะ ท�ำให้หญ้า และพืชพื้นล่างเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว) ท�ำให้ การใช้วิธีดังกล่าวไม่ได้ผล ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ ว่าช่วงเวลาที่เหมาะสมส�ำหรับการจับเนื้อทราย ที่เกาะกระดาดในเวลากลางคืน คือช่วงระหว่าง กลางเดือนพฤษภาคมจนถึงเดือนมิถุนายน หลัง จากนั้ น จะมี ฝ นตกมาก และตกบ่ อ ยครั้ ง ทั้ ง กลางวันและกลางคืน ในช่วงเวลานับตั้งแต่เริ่มปฏิบัติงานจน สิ้นสุดลง มีเนื้อทรายเพศผู้ที่มีขนาดใหญ่และ สมบูรณ์สามารถหนีรอดไปได้หลายตัว เนื่องจาก การที่มีเขายาว ประกอบกับพละก�ำลังที่มากกว่า เนื้ อ ทรายเพศเมี ย และลู ก เนื้ อ ทราย ดั ง นั้ น เนื้อทรายส่วนใหญ่ในจ�ำนวนที่จับได้จึงเป็นเนื้อ ทรายเพศเมี ย และจากจ� ำ นวนเนื้ อ ทรายที่ มี ขนาดโตเต็มวัยจ�ำนวน 8 ตัว ที่จับได้เป็นเนื้อ ทรายเพศผู้เพียง 2 ตัวเท่านั้น การไล่ต้อนเนื้อทรายให้เข้าคอกคัดหรือ ตาข่ า ยในเวลากลางวั น กระท� ำ ได้ ย าก โดย เฉพาะในป่าดงดิบ เนื่องจากเนื้อทรายที่หมอบ ซุ ก อยู ่ ใ นที่ ร กจะไม่ เ คลื่ อ นไหวจนกว่ า จะมี ค น เข้ า ไปใกล้ จุ ด ที่ ห ลบซ่ อ นอยู ่ หลายครั้ ง ที่ เนื้อทรายลุกออกจากที่ซ่อนและวิ่งย้อนแนวการ ต้อนหนีไป ในขณะที่คนต้อนเดินเข้าไปจนเกือบ Capturing Hog deer (Axis porcinus) at Koh Kra-dard
จะถึงตัวเนื้อทรายที่ซ่อนอยู่ในที่รกทึบ เนื้อทรายตัวที่ 5 ที่จับได้ในขณะอยู่ใน น�ำ้ ได้หนีการต้อนไปจนถึงทะเล และกระโดดลงน�ำ้ และพยายามว่ายหนีห่างออกไปยังเกาะหมาก ที่อยู่ห่างออกไปประมาณ 1.2 กิโลเมตร คนต้อน กระโดดตามไปและวักน�้ำใส่เนื้อทรายเพื่อกันไม่ ให้ว่ายห่างฝั่งออกไป หลังจากนั้นได้ช่วยกันจับ ขึ้นมาบนบก การใช้ปืนยิงยาสลบจะกระท�ำในเวลา เย็นก่อนพระอาทิตย์ตกดิน เมื่อเนื้อทรายเริ่ม เดิ น ออกจากป่ า ดงดิ บ มายั ง สวนมะพร้ า วโดย รอบเพื่อเล็มกินหญ้าอ่อน แต่เมื่อเนื้อทรายโดน ลูกดอกบรรจุน�้ำยาแล้วจะวิ่งหนีไปยังป่าดงดิบ การตามหาสัตว์ป่าที่ถูกลูกดอกในป่าดงดิบใน เวลากลางคืนท�ำได้ยาก วิธีนี้จึงไม่ได้ผลในช่วง การปฏิบัติงานดังกล่าว เนื้ อ ทรายที่ เ กาะกระดาดมี พ ฤติ ก รรม เปลี่ยนแปลงไปตามล�ำดับนับตั้งแต่เริ่มท�ำการ ต้อนจับ ยิ่งนานวันขึ้นการจับยิ่งล�ำบากมากขึ้น เนื่ อ งจากการถู ก รบกวนการเป็ น อยู ่ ต ามปกติ แม้แต่ในเวลากลางคืน เมื่อเนื้อทรายเห็นแสงไฟ และได้ยินเสียงรถแทรกเตอร์ก็จะหนีหาที่หลบ ซ่อน การส่องไฟหาตัวท�ำได้ยากขึ้น วิธีการใน การต้อนจับจึงเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา อีก ประการหนึ่งคือ ก่อนที่จะมีการจับเนื้อทราย ได้ มี ก ารต้ อ นวั ว ออกจากเกาะมาครั้ ง หนึ่ ง แล้ ว 51
ซึ่งในเวลานั้นเนื้อทรายก็ถูกรบกวนตามไปด้วย และเมื่ อ มาโดนรบกวนซ�้ ำ เข้ า ไปอี ก จึ ง ท� ำ ให้ เนื้อทรายหวาดระแวงและปราดเปรียวมากขึ้น อนึ่ง ในช่วงเวลาที่ด�ำเนินการจับเนื้อ ทรายที่เกาะกระดาด คณะผู้ด�ำเนินงานได้รับ มอบหมายให้ท�ำการขนย้ายกวางป่า 2 ตัว จาก ฟาร์มจระเข้ และอีก 2 ตัว จากคอกเลี้ยงในเขต รักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาสอยดาว จังหวัดจันทบุรี การต้อนกวางป่าเข้ากรงขนย้ายทั้ง 2 แห่ง ใช้วิธี การต้อนเข้าซองแคบๆ ในคอกเลี้ยงก่อนแล้วจึง ต้อนเข้ากรงขนย้ายอีกที่หนึ่ง การขนย้ายควร กระท�ำในเวลากลางคืนในขณะที่อากาศเย็น แต่ ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ควรมีการลดอุณหภูมิในกรง ขนย้ายด้วยการรดน�้ำในกรง และใส่น�้ำแข็งใน กรงขนย้าย ส�ำหรับน�้ำและอาหารสัตว์ที่ถูกขน ย้าย ไม่มีความจ�ำเป็นต้องให้ ถ้าระยะเวลาไม่ เกิน 12 ชั่วโมง ถ้าเกินกว่านั้นจะต้องหยุดการ เดิ น ทางเพื่ อ ให้ สั ต ว์ ไ ด้ พั ก และให้ น�้ ำ ที่ ผ สม วิตามินและยาปฏิชีวนะเพียงเล็กน้อยเท่านั้น การให้น�้ำและอาหารมากเกินพอในระหว่างการ ขนย้ายจะท�ำให้สัตว์ท้องอืด และอาจเสียชีวิตได้ ถ้าไม่ได้รบั การแก้ไขทันท่วงที (ภาพที่ 29-37) กรงที่ใช้ในการขนย้ายควรมีขนาดพอดี กับตัวสัตว์เมื่อยืนอยู่ในท่าปกติ อย่าให้โตมาก เพราะจะท�ำให้สัตว์กลับตัวได้ ทั้งด้านบนและ ด้านหน้าควรบุด้วยแผ่นโฟมชนิดหนาเพื่อกัน การกระแทก พื้นกรงควรรองด้วยฟางให้หนา
ประมาณ 20 – 30 เซนติ เ มตร หรื อ ใช้ ไ ม้ ขนาดเล็กตีเป็นแนวขวางเป็นระยะเพื่อกันสัตว์ ลื่นล้มในขณะขนย้าย เมื่อสัตว์อยู่ในกรงแล้ว ควรน� ำ ไปวางไว้ ใ นที่ ที่ มี ก ารระบายอากาศดี และไม่ควรให้คนหรือสัตว์เลี้ยงเข้าไปรบกวน สัตว์ป่า เพื่อให้สัตว์ได้พักและฟื้นคืนสภาพจาก การตื่นตกใจให้เร็วที่สุด คอกอนุบาลสัตว์ป่าหลังการขนย้ายควร เป็นคอกทึบท�ำด้วยไม้มีประตูเปิดทั้งส่วนหน้า และหลัง สูงไม่น้อยกว่า 2.50 เมตร ขนาดกว้าง ยาวโดยประมาณ 3-5 เมตร มี ห ลั ง คาคลุ ม กันแดดและฝน การปล่อยสัตว์จากกรงขนย้าย เข้าคอกอนุบาลควรท�ำในเวลากลางคืน เพื่อให้ สั ต ว์ ค ่ อ ยๆ ปรั บ ตั ว เข้ า กั บ สภาพที่ อ ยู ่ ใ หม่ (ภาพที่ 38-40)
52
การจับเนื้อทรายที่เกาะกระดาด
ภาพที่ 27. เนื้อทรายที่เสียชีวิตในขณะระหว่างรอการขนย้าย ถูกผ่าซากเพื่อชันสูตร หาสาเหตุการตาย
ภาพที่ 28. เนื้อทรายเพศผู้ตัวที่ได้รับบาดเจ็บจากการต่อสู้กันด้วยเขาจนเป็นแผล ขนาดใหญ่บริเวณล�ำคอด้านซ้าย
Capturing Hog deer (Axis porcinus) at Koh Kra-dard
53
ภาพที่ 29. ต้อนกวางป่า 2 ตัว ที่ฟาร์มจระเข้ จังหวัดสมุทรปราการเข้าในคอกเล็กก่อนที่จะผลักดันเข้ากรงขนย้ายและน�ำ ขึ้นรถบรรทุกเพื่อน�ำไปยังศูนย์เพาะเลี้ยงและขยายพันธุ์สัตว์ป่าเขาสอยดาวจังหวัดจันทบุรี
ภาพที่ 30. ต้อนกวางป่า 2 ตัว ที่ฟาร์มจระเข้ จังหวัดสมุทรปราการเข้าในคอกเล็กก่อนที่จะผลักดันเข้ากรงขนย้ายและน�ำ ขึ้นรถบรรทุกเพื่อน�ำไปยังศูนย์เพาะเลี้ยงและขยายพันธุ์สัตว์ป่าเขาสอยดาวจังหวัดจันทบุรี
54
การจับเนื้อทรายที่เกาะกระดาด
ภาพที่ 31. ต้อนกวางป่า 2 ตัว ที่ฟาร์มจระเข้ จังหวัดสมุทรปราการเข้าในคอกเล็กก่อนที่จะผลักดันเข้ากรงขนย้ายและน�ำ ขึ้นรถบรรทุกเพื่อน�ำไปยังศูนย์เพาะเลี้ยงและขยายพันธุ์สัตว์ป่าเขาสอยดาวจังหวัดจันทบุรี
ภาพที่ 32. ระบายความร้อนในกรงขนย้ายด้วยนํ้าแข็ง
Capturing Hog deer (Axis porcinus) at Koh Kra-dard
55
ภาพที่ 33. ต้อนกวางป่าในคอกที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาสอยดาวเข้าซองแคบ
ภาพที่ 34. และผลักดันเข้ากรงขนย้ายที่ถูกน�ำมาวางขวางทางเปิดของช่องแคบ
56
การจับเนื้อทรายที่เกาะกระดาด
ภาพที่ 35. ท�ำการขนย้ายกวางป่า 2 ตัวมายังคอกอนุบาลสัตว์ป่า
ภาพที่ 36. ท�ำการขนย้ายกวางป่า 2 ตัวมายังคอกอนุบาลสัตว์ป่า
Capturing Hog deer (Axis porcinus) at Koh Kra-dard
57
ภาพที่ 37. กวางป่าที่ขนย้ายมาอยู่ในคอกอนุบาลสัตว์ป่าที่ศูนย์เพาะเลี้ยงและขยายพันธุ์สัตว์ป่าเขาสอยดาวจังหวัดจันทบุรี
ภาพที่ 38. กรงที่บรรจุเนื้อทรายพร้อมกรงเปล่าและวัสดุอุปกรณ์ ถูกล�ำเลียงขึ้นรถบรรทุกเพื่อเดินทางต่อไปยังคอกอนุบาล สัตว์ป่า
58
การจับเนื้อทรายที่เกาะกระดาด
ภาพที่ 39. ลักษณะของคอกอนุบาลสัตว์ป่าก่อนที่จะปล่อยสัตว์เข้าไปในคอกเลี้ยงต่อไป
ภาพที่ 40. ลักษณะของคอกอนุบาลสัตว์ป่าก่อนที่จะปล่อยสัตว์เข้าไปในคอกเลี้ยงต่อไป
Capturing Hog deer (Axis porcinus) at Koh Kra-dard
59
ภาคผนวก
60
การจับเนื้อทรายที่เกาะกระดาด
ภาพแสดงกับดักชนิดปลอดภัย
Capturing Hog deer (Axis porcinus) at Koh Kra-dard
61
ภาพแปลนแสดงซองต้อนและคอกดัก
62
การจับเนื้อทรายที่เกาะกระดาด
ภาพแสดงกับดักชนิดบ่วงราวแบบต่อเนื่อง
Capturing Hog deer (Axis porcinus) at Koh Kra-dard
63
ภาพแสดงการต้อนโดยใช้แผ่นพลาสติกขึงเป็นแนวปีกกาง สอยเข้าหาตาข่ายดักชนิดล้มลงเมื่อถูกชน
64
การจับเนื้อทรายที่เกาะกระดาด
ภาพแสดงกับดักชนิดดึงให้ลอยขึ้นเหนือศรีษะ
Capturing Hog deer (Axis porcinus) at Koh Kra-dard
65
ห่วงรูดแบบต่อเนื่องบนราวเชือกคู่ที่ใช้ดักเนื้อทราย
ท�ำการขนย้ายวัสดุอุปกรณ์ที่จะใช้ในการจับเนื้อทรายลงเรือไปเกาะกระดาด
66
การจับเนื้อทรายที่เกาะกระดาด
พาหนะที่ใช้ในการขนย้ายวัสดุอุปกรณ์และใช้ประกอบในการต้อนจับเนื้อทราย
เริ่มท�ำการตอกสมอบกเพื่อตั้งเสาส�ำหรับขึงแผ่นชีท ท�ำคอกคัดและปีกกา
Capturing Hog deer (Axis porcinus) at Koh Kra-dard
67
ตัดไม้ไผ่และผ่าเป็นเสาส�ำหรับขึงแผ่นพลาสติก
ท�ำการขึงแผ่นพลาสติกสีฟ้าเป็นวงคอกคัดในบริเวณสวนเงาะ
68
การจับเนื้อทรายที่เกาะกระดาด
แผ่นพลาสติกสีฟ้าที่ใช้ท�ำผนังคอกคัดและปีกกางส�ำหรับต้อนเนื้อทราย (กว้าง 1.80 เมตร ยาวรวม 1,500 เมตร)
ส่วนที่เป็นปากทางเข้าซองต้อนเนื้อทรายจากคอกคัด
Capturing Hog deer (Axis porcinus) at Koh Kra-dard
69
ส่วนที่เป็นช่องต้อนเนื้อทรายไปยังทางออกสู่กรงขนย้าย
70
การจับเนื้อทรายที่เกาะกระดาด
ตาข่ายที่ใช้ขึงปิดปากปีกกางเมื่อต้อนเนื้อทรายผ่านเข้ามาสู่คอกคัด
Capturing Hog deer (Axis porcinus) at Koh Kra-dard
71
เนื้อทรายที่ถูกจับได้จะถูกใส่กรงขนย้ายก่อนเพื่อรอการขนย้ายออกจากเกาะไปยังคอกอนุบาลสัตว์ป่า
แหตาขนาดใหญ่ถักด้วยเชือกไนล่อน เพื่อใช้ทอดเนื้อทรายขณะหมอบซุกอยู่ในพงหญ้าในเวลากลางคืน
72
การจับเนื้อทรายที่เกาะกระดาด
กรงขนย้ายที่บรรจุเนื้อทรายเรียบร้อยแล้ว ถูกน�ำมาวางรวมไว้ใต้ร่มเงาต้นไม้ก่อนท�ำการขนย้ายออกจากเกาะ (ก�ำลังฉีดนํ้า ท�ำความสะอาดกรงก่อนให้นํ้าและอาหารในแต่ละเวลา)
กรงบรรจุเนื้อทรายถูกล�ำเลียงลงเรือเล็กเพื่อไปขึ้นเรือใหญ่ที่ทอดสมออยู่นอกเกาะ
Capturing Hog deer (Axis porcinus) at Koh Kra-dard
73
เนื้อทรายในกรงขนย้ายถูกล�ำเลียงโดยเรือประมงออกจากเกาะกระดาด
ระบายความร้อนด้วยนํ้าให้เนื้อทรายในกรงขนย้ายขณะเดินทาง
74
การจับเนื้อทรายที่เกาะกระดาด
เนือ้ ทรายทีถ่ กู จับได้โดยใช้ตาข่ายเชือกป่านมนิลา จะถูกปิดและมัดขาด้วยเชือกไนล่อนก่อนทีจ่ ะน�ำมาใส่ในกรงขนย้ายต่อไป
ตรวจดูฟันเพื่อใช้ประกอบในการประมาณอายุ
Capturing Hog deer (Axis porcinus) at Koh Kra-dard
75
ลูกเนื้อทรายที่จับได้ด้วยมือขณะส่องสปอร์ตไลท์ในเวลากลางคืนบริเวณดงหญ้าคาในสวนมะพร้าว
ความน่ารักของลูกเนื้อทรายกับเด็กน้อยขณะให้นม
76
การจับเนื้อทรายที่เกาะกระดาด
ลูกเนื้อทรายที่ได้รับบาดเจ็บบริเวณสะโพก ได้รับการเข้าเฝือกผ้า
Capturing Hog deer (Axis porcinus) at Koh Kra-dard
77
เนื้อทรายที่ถูกปล่อยเข้าไปอยู่ในคอกอนุบาลที่ศูนย์เพาะเลี้ยงและขยายพันธุ์สัตว์ป่าเขาสอยดาวจังหวัดจันทบุรี
78
การจับเนื้อทรายที่เกาะกระดาด
เนื้อทรายในคอกอนุบาลที่ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าเขาเขียว จังหวัดชลบุรี
Capturing Hog deer (Axis porcinus) at Koh Kra-dard
79
ภาพโดย : นิกร เป็นศรี 80
การจับเนื้อทรายที่เกาะกระดาด
ประวัติผู้เขียน
นกบางชนิด ที่อ่างเก็บน�้ำบางพระ จังหวัดชลบุรี และเริม่ ท�ำงานวิจยั ด้านสัตว์ปา่ นับแต่นนั้ เรือ่ ยมา สืบเคยให้สัมภาษณ์เอาไว้ว่า “ผมสนใจ งานวิจัยมากกว่าที่จะไปวิ่งจับคน เพราะว่าจับได้ แค่ตัวเล็กๆ ตัวใหญ่ๆ จับไม่ได้ ก็เลยอึดอัดว่า กฎหมายบ้ า นเมื อ งนี้ มั น ใช้ ไ ม่ ไ ด้ กั บ ทุ ก คน มันเหมือนกับว่าเราไม่ยุติธรรม เรารังแกชาว บ้านในความรู้สึกของเขา เหมือนกับไม่ได้ให้ ความยุ ติ ธ รรมแก่ ค นในสั ง คม ในฐานะที่ ผ ม มีหน้าที่ที่ต้องรักษาป่า ผมก็เลยขอไปท�ำงานทาง ด้านวิจัยเกี่ยวกับสัตว์ป่าแทน” สืบ นาคะเสถียร อดีตหัวหน้าเขตรักษา พันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ชาวปราจีนบุรี เกิดเมื่อ วันที่ 31 ธันวาคม 2492 เรียนจบคณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ รุ่นที่ 35 สอบเข้า ท�ำงานกรมป่าไม้ได้ในปี 2518 2524 สืบ นาคะเสถียร ด�ำรงต�ำแหน่ง หัวหน้าเขตห้ามล่าสัตว์ป่าบางพระ และเริ่มงาน วิจัยชิ้นแรก คือการศึกษาการท�ำรังวางไข่ของ
Capturing Hog deer (Axis porcinus) at Koh Kra-dard
ด้วยความที่สืบ นาคะเสถียร เป็นคน ช่างสังเกต ชอบจดบันทึก สเก็ตช์รูป ถ่ายรูป ซึ่ง ท�ำให้งานวิจัยสัตว์ป่าของเขามีความน่าสนใจ สืบ นาคะเสถียร จบชีวิตลงเมื่อวันที่ 1 กั น ยายน 2533 ที่ เ ขตรั ก ษาพั น ธุ ์ สั ต ว์ ป ่ า ห้วยขาแข้ง โดยมีผลงานทางวิชาการและงาน วิ จั ย หลายชิ้ น ไว้ เ ป็ น มรดกให้ ผู ้ ส นใจได้ ศึ ก ษา และ น�ำไปต่อยอดได้มาถึงปัจจุบัน
81
82
การจับเนื้อทรายที่เกาะกระดาด