เลียงผาที่พบในประเทศไทย การกระจายถิ่นที่อยู่อาศัย และ พฤติกรรมบางประการ The Serow in Thailand Distribution, habitats and some behaviors สืบ นาคะเสถียร ฝ่ายวิชาการ กองอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมป่าไม้ กรกฎาคม 2529
THE SEROW IN THAILAND
1 เลียงผาที่พบในประเทศไทย
เลียงผาที่พบในประเทศไทย การกระจายถิ่นที่อยู่อาศัย และพฤติกรรมบางประการ The Serow in Thailand Distribution, habitats and some behaviors สืบ นาคะเสถียร ISBN 978-616-7775-06-7 พิมพ์ครั้งที่ 1 พฤศจิกายน 2560 จัดพิมพ์โดย
มูลนิธิสืบนาคะเสถียร 140 ถ.ติวานนท์ ต.บางกระสอ อ.เมืองนนทบุรี จ.นนทบุรี 11000 เบอร์โทร 0-2580-4381 โทรสาร 0-2580-4382 อีเมล์ snf@seub.or.th เว็บไซต์ www.seub.or.th
บรรณาธิการบริหาร ที่ปรึกษา กองบรรณาธิการ ศิลปกรรม ภาพปก
ศศิน เฉลิมลาภ ภาณุเดช เกิดมะลิ ดร.ชวลิต วิทยานนท์ เอกวิทย์ เตระดิษฐ์ ชฎาภรณ์ ศรีใส วรางคณา จันดา อาคม พรรณนิกร ธนาวุธ วรนุช
พิมพ์ที่
บริษัท มาตา การพิมพ์ จ�ำกัด 77/261 หมู่ 4 ต.บางคูรัต อ.บางบัวทอง จ.นนทบุรี
2 เลียงผาที่พบในประเทศไทย
THE SEROW IN THAILAND
ภาพโดย : ธนาวุธ วรนุช
THE SEROW IN THAILAND
3 เลียงผาที่พบในประเทศไทย
เลียงผาที่พบในประเทศไทย THE SEROW IN THAILAND การกระจายถิ่นที่อยู่อาศัย และ พฤติกรรมบางประการ DISTRIBUTION, HABITATS AND SOME BEHAVIORS
4 เลียงผาที่พบในประเทศไทย
THE SEROW IN THAILAND
The Serow in Thailand : Distribution, habitats and some behaviors By : Seub Nakhasathien Technical Section Wildlife Conservation Division Royal Forest Department
Abstract Serow (Capricornis sumatraensis) <now C. maritimus and C. sumatraensis; editor> is a mountain animal. It is more or less goat-like in build. It has distinctive conical horns which curve backwards and lack the terminal hook, well developed face glands and a strong goaty odour. The coat is coarse and rather thin, the upperparts are usually black or greyish, with the legs below the knees widely variable in colour, from black to gray to rufous. There is a thick, stiff mane from the crown to the shoulders, of variable colours, but usually lighter than the black. Sex alike and horns are common to both sexes. The species in Thailand is sumatraensis <C. maritimus and C. sumatraensis; editor; editor> which can be separated into 3 groups or 3 sub-species <2 species as C. maritimus and C. sumatraensis; editor> by using hair colours of the legs below the knees and hocks which are black legs serow. All of them, except the black legs serow (C. sumatraensis), scatters around the country. Serows confine themselves to precipitous hills covered with dense forest and tangled undergrowth. They usually travel singly, feed in the early morning and late evening. They can eat grasses and many kinds of leaves. They can go without water for one or more day. The senses of sight and hearing are certainly acute. When suddenly encountered, serow may stand stare for several moments. The alarm call has been variously described as between a snort and a whistle, halfway between a bleat and a roar, or a strange, whistling scream. One or two calves are usually born during July to October by having the gestation period of about 7-8 months.
THE SEROW IN THAILAND
5 เลียงผาที่พบในประเทศไทย
ค�ำน�ำ รายงานวิชาการเรื่อง “การจับเนื้อทรายที่เกาะกระดาด” และ “เลียงผาที่พบใน ประเทศไทย การกระจายถิน่ ทีอ่ ยูอ่ าศัย และพฤติกรรมบางประการ” ทัง้ 2 ชิน้ นี้ เป็นผลงาน ของคุณสืบ นาคะเสถียร เผยแพร่ครั้งแรก พ.ศ. 2529 เพื่อสร้างความรู้และความเข้าใจ เกี่ยวกับเนื้อทราย (Axis porcinus) และเลียงผา (Capricornis sumatraensis) สัตว์ป่า 2 ชนิดที่ทางองค์กรระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (International Union for Conservation of Nature) หรือ IUCN ได้จัดสถานภาพของเนื้อทรายให้อยู่ในระดับสิ่งมี ชีวิตที่ใกล้สูญพันธุ์ (Endangered) และเลียงผาเป็นระดับสิ่งมีชีวิตที่เกือบอยู่ในข่าย ใกล้สูญพันธุ์ (Vulnerable) ในปัจจุบันเนื้อทราย (ประชากรที่ถูกเลี้ยง) สามารถพบเห็นได้ง่ายขึ้นจากการศึกษา และการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยในการติดตาม ท�ำให้สามารถเข้าใจลักษณะประชากร การกระจายตัว และพฤติกรรมได้ ประกอบกับการศึกษาในอดีตและบันทึกจากเอกสาร ต่างๆ ช่วยให้เป็นข้อมูลพื้นฐานส�ำหรับการศึกษาต่อยอดได้เป็นอย่างดี ส่วนเลียงผานั้น ไม่ค่อยมีการศึกษามากนัก เพราะเป็นสัตว์ป่าที่ไม่สามารถพบเห็นได้โดยง่ายนัก อย่างไร ก็ตาม สถานะจ�ำนวนประชากรของสัตว์ป่าทั้ง 2 ชนิดนี้ยังมีแนวโน้มลดลงจากสภาพการ เปลี่ยนของถิ่นที่อยู่อาศัย ตลอดจนการลักลอบล่าสัตว์ จึงเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง ในการนี้ มูลนิธิสืบนาคะเสถียร จึงได้น�ำผลงานวิชาการทั้ง 2 ชิ้นนี้มาจัดพิมพ์ใหม่ อี ก ครั้ ง เพื่ อ เผยแพร่ ใ นงานสั ม มนาทางวิ ช าการ เรื่ อ งสั ต ว์ ป ่ า เมื อ งไทย ครั้ ง ที่ 38 “มุ่งสู่การอนุรักษ์สัตว์ป่าแบบแม่นย�ำ” ในการจัดพิมพ์ครั้งนี้ได้ท�ำการปรับปรุงข้อมูล ในบางส่ ว นให้ มี ค วามทั น สมั ย ถู ก ต้ อ งให้ เ ป็ น ปั จ จุ บั น โดยได้ รั บ ความอนุ เ คราะห์ จ าก ดร.ชวลิต วิทยานนท์ นักวิชาการอิสระด้านความหลากหลายทางชีวภาพ เข้ามาดูแลในส่วนนี้ มู ล นิ ธิสื บ นาคะเสถี ย ร หวั ง เป็ น อย่ า งยิ่ ง ว่ า การน� ำผลงานวิ ช าการ ทั้ ง 2 ชิ้ น ของคุณสืบ นาคะเสถียร มาตีพิมพ์ในครั้งนี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้สนใจ และใช้เป็นพื้นฐาน ในการต่อยอดเรื่องราวของสัตว์ป่าทั้ง 2 ชนิด เพื่อน�ำไปสู่การอนุรักษ์เผ่าพันธุ์สัตว์ป่าให้ คงอยู่สืบต่อไป 6 เลียงผาที่พบในประเทศไทย
THE SEROW IN THAILAND
สารบัญ เรื่อง
หน้า
ลักษณะเด่นชัดภายนอก
9
ชนิดของเลียงผาที่พบในโลก
12
ถิ่นที่อยู่อาศัย
22
พฤติกรรมบางประการ
26
การกินอาหารและน�้ำ
28
ประสาทสัมผัส
31
การส่งเสียงร้อง การเป็นสัดและผสมพันธุ์
34
การเลี้ยงลูกเลียงผา
40
เอกสารอ้างอิง
41
ประวัติผู้เขียน
42
THE SEROW IN THAILAND
37
7 เลียงผาที่พบในประเทศไทย
ภาพโดย : ธนาวุธ วรนุช 8 เลียงผาที่พบในประเทศไทย
THE SEROW IN THAILAND
ลักษณะเด่นชัดภายนอก เลี ย งผามี ต ่ อ มอยู ่ ร ะหว่ า งตากั บ จมู ก หางสั้ น ความสู ง ถึ ง หั ว ไหล่ ป ระมาณ 3 ฟุ ต (Peacock, 1933) เขาจะโค้งงอไปทางด้านหลัง และส่วนปลายจะไม่งอเป็นแบบตะขอเหมือน พวก Chamois ต่อมที่หน้าจะฝังอยู่ในส่วนที่ เป็นแอ่งของกะโหลกศีรษะ มีรูเปิดปกคลุมด้วย ขนสั้นๆ น�้ำมันที่สกัดออกมาจากต่อมจะมีสีขาว เมื่อแห้งจะมีกลิ่นฉุน เลียงผามีกลิ่นตัวเหมือน แพะ กลิ่ น ตั ว เกิ ด จากส่ ว นนอกของผิ ว หนั ง (Prater, 1965) Lekagul and McNeely (1977) กล่าวว่า ขนที่ปกคลุมตัวของเลียงผา หยาบและไม่ ห นาแน่ น มี ส ่ ว นที่ เ ป็ น ขนอ่ อ น ปะปนอยู่บ้างประปราย (ดูจากตัวอย่างที่มีถิ่น ก�ำเนิดในประเทศไทย) ขนตามตัวโดยทั่วไปเป็น สีด�ำหรือสีเทาเข้ม ขนแผงคอเริ่มตั้งแต่โคนเขา ไปจนถึ ง หั ว ไหล่ โ คนเป็ น สี ข าวปลายขนเป็ น สีเทาเข้มหรือสีด�ำ แต่ขนจะมีสีจางกว่าขนตาม แนวสั น หลั ง ขนที่ ข าใต้ หั ว เข่ า ลงมาจะมี สี แตกต่ า งกั น ไป ตั้ ง แต่ สี ด� ำ สี เ ทา ไปจนถึ ง สี น�้ำตาลแดง โคนขนจะมีสีจางกว่า หางสั้นและ ปกคลุมไปด้วยขนสีเทาเข้มบริเวณสันหาง ด้าน ข้ า งมี ข นสี น�้ ำ ตาลแดง ด้ า นในหางไม่ มี ข น ปกคลุม ขนบริเวณริมฝีปากเป็นสีขาว และที่ขา กรรไกรล่างทั้งสองข้างมีขนสีน�้ำตาลแดงปะปน ด้วยขนสีขาว ส่วนมากจะมีขนสีน�้ำตาลแดงและ สีขาวบริเวณใต้คอ หูบางและแคบมักจะชี้ตรง
THE SEROW IN THAILAND
ขนด้านหลังหูเป็นสีน�้ำตาลและปะปนกับขนสีด�ำ ด้านในเป็นขนสีขาว ขนาดของตัวแตกต่างกัน เล็กน้อยระหว่างเพศผู้และเพศเมีย ท�ำให้แยก เพศได้ยากเมื่อเห็นในระยะไกล กีบเท้าสั้นและ แข็ ง แรง บริ เ วณร่ อ งกี บ ตอนหน้ า ของขาทั้ ง 4 ข้าง จะมีรูเปิดขนาดเล็ก รูเปิดที่ร่องขาหน้าจะ อยู่สูงกว่ารูเปิดที่ร่องขาหลังเล็กน้อย (ภาพที่ 1)
ภาพที่ 1. รูเปิด (Pedal Gland) บริเวณตอนหน้าของข้อเท้าทั้งสี่ข้าง
9 เลียงผาที่พบในประเทศไทย
ภาพที่ 2. ด้านขวาเขาของเพศผู้
เขาของเลียงผามีสีด�ำ รูปกรวย ส่วน โคนของเขาเป็นคลื่นประมาณ 3 ใน 4 ของ ความยาว (Prater, 1965) เขาของเพศเมียจะ สั้นกว่าเพศผู้ประมาณ 1-2 นิ้ว และค่อนข้างจะ เล็กกว่า ประกอบกับส่วนที่เป็นคลื่นมีน้อยกว่า (ภาพที่ 3) (Peacock, 1933) โคนเขาของเพศผู้จะ อยู่ชิดกันมากกว่าของเพศเมียเมื่อมองจากด้าน ตรงหน้า (ภาพที่ 2) เขาของลูกเลียงผาจะปรากฏ เป็นตุ่มใต้ผิวหนังเมื่อเกิดได้ประมาณ 3 เดือน เขาจะยาวประมาณครึ่งหนึ่งของความยาวของหู เมื่ออายุประมาณ 1 ปี และเขาจะยาวประมาณ ความยาวของหูเมื่ออายุประมาณ 2 ปี เมื่ออายุ มากกว่า 2 ปี เขาจะยาวกว่าความยาวของหู
10 เลียงผาที่พบในประเทศไทย
ภาพที่ 3. ด้านซ้ายเขาของเพศเมีย
ภาพที่ 4. ท่าทางการถ่ายปัสสาวะของเลียงผา
การจ� ำ แนกเพศของเลี ย งผาเมื่ อ มอง จากระยะไกล อาจท�ำได้โดยการสังเกตท่าถ่าย ปัสสาวะ เพศผู้มักจะยืนตรงหรือย่อตัวเล็กน้อย ส่วนเพศเมียมักจะกางขาและย่อตัวส่วนท้ายลง ต�่ำมากเกือบชิดพื้นดิน ในขณะที่ส่วนหางจะชี้ ออกข้างนอกตัว (ภาพที่ 4)
THE SEROW IN THAILAND
ภาพที่ 5. กะโหลกเลียงผาแดง (C. s.milneedwardsi) ที่จับมาได้จากป่าในจังหวัดฉะเชิงเทรา
ภาพที่ 6. ลักษณะท่าทางการต่อสู้กันระหว่างเพศผู้
THE SEROW IN THAILAND
11 เลียงผาที่พบในประเทศไทย
ชนิดของเลียงผาที่พบในโลก เลียงผาในสกุล Capricornis พบทั้งหมด 7 ชนิด (species) คือ 1. เลียงผาญี่ปุ่น Japanese serow, Capricornis crispus (Temminck, 1845) รูปร่างล�ำตัวสัน้ และมีขนค่อนข้างฟูกว่าชนิดอืน่ ๆ มีสีเทาเข้มอมน�้ำตาล ขาสีคล�้ำ อาศัยอยู่ในป่า บนภูเขา พบในญี่ปุ่น (ภาพที่ 7)
ภาพที่ 7. เลียงผาญี่ปุ่น Japanese serow ทีม่ ารูป : http://www.wilddocu.de/japanese-serow-capricornis-crispus/
ภาพที่ 8. เลียงผาไต้หวัน Taiwan serow ทีม่ ารูป : http://www.wilddocu.de/taiwan-serow-capricornis-swinhoei/
12 เลียงผาที่พบในประเทศไทย
2. เลียงผาไต้หวัน Taiwan serow, Capricornis swinhoei (Gray, 1826) รูปร่าง คล้ายเลียงผาญี่ปุ่นแต่มีขนเกรียนกว่า ด้านหลัง เป็ น สี เ ทา ล� ำ ตั ว ส่ ว นมากเป็ น สี น�้ ำ ตาลแดง ใต้ ค อสี จ าง พบในไต้ ห วั น หรื อ ฟอร์ โ มซา (Formosa) (ภาพที่ 8) 3. เลี ย งผาจี น Chinese serow, Capricornis milneedwardsii (David, 1869) มีสีเป็นสีน�้ำตาลเข้มเกือบด�ำหรือสีด�ำ มีสีแดง ปะปนอยู่บ้างบริเวณส่วนนอกของสะโพก มีขน แผงคอยาวมากเป็ น สี ข าวคลุ ม ถึ ง ส่ ว นหลั ง ใน ตัวผู้เต็มวัย ส่วนขาบริเวณตั้งแต่หัวเข่าลงไปถึง ข้อเท้าเป็นสีแดงแบบสีสนิมเหล็กโดยตลอดทั้ง ตอนนอกและตอนใน พบในจีนถึงภาคตะวันออก ของธิเบต Allen (1940) กล่าวไว้วา่ เลียงผาชนิด นี้ ท างภาคตะวั น ตกของจี น จะมี สี เ ข้ ม กว่ า สี ต ามตั ว โดยทั่ ว ไปเป็ น สี ด� ำ เข้ ม แต่ ส ่ ว นโคน
THE SEROW IN THAILAND
ของขนเป็นสีเทาถึงสีขาว และแถบขนบนแนว สั น หลั ง เป็ น สี ด� ำ โดยตลอดไปจนถึ ง ประมาณ กึ่งกลางของหาง บริเวณหน้าเป็นสีด�ำ และมัก ปรากฏมีจุดสีน�้ำตาลตรงมุมปาก ริมฝีปากล่าง เป็นสีขาว ขนแผงคอส่วนมากเป็นสีดำ� แต่อาจมี บางส่วนเป็นสีขาวขุ่น ส่วนของหน้าแข้งจาก หัวเข่าลงมาเป็นสีสนิมเหล็ก สีสนิมเหล็กของ ขาหลังจะกระจายขึ้นไปตามสะโพกจนถึงส่วน โคนหาง Pocock (1913) ได้กล่าวไว้อกี ว่า จาก หลักฐานที่ปรากฏเลียงผาสีด�ำที่มีขาแดงซึ่งพบ อยู่ทางตอนใต้ของพม่า น่าจะเป็นชนิดเดียวกัน
ภาพที่ 9. เลียงผาจีน Chinese serow ทีม่ ารูป : http://www.wilddocu.de/chinese-serow-capricornis-milneedwardsii/
(ภาพที่ 9)
4. เลี ย งผาแดงพม่ า Red serow, Capricornis rubidus (Blyth, 1863) สีตามตัว ทั่วไปเป็นน�้ำตาลแดงบริเวณหลังมีแถบกลางสี เข้ม ขนแผงคอสีจาง หัวสีเหมือนตัวมีขนสีขาว ปนบริเวณตอนหน้า ริมฝีปากสีขาวปนเทา สีขน ส่วนของขาเหมือนบนตัว พบในพม่าตอนเหนือ และบังกลาเทศ (ภาพที่ 10) 5. เลียงผาหิมาลัย Himalayan serow, Capricornis thar (Hodgson, 1831) ตามตัว โดยทั่ ว ไปเป็ น สี ด� ำ บริ เ วณหลั ง สี จ ะเข้ ม มี ข น แผงคอยาวเป็นสีด�ำ ส่วนบริเวณด้านข้างจะมี ขนสีน�้ำตาลแดงที่ท้อง และขาเป็นสีสนิมเหล็ก มีส่วนของขาตอนล่างเป็นสีจาง พบในเนปาล และอินเดีย (ภาพที่ 11)
THE SEROW IN THAILAND
ภาพที่ 10. เลียงผาแดงพม่า Red serow ทีม่ ารูป : http://www.wilddocu.de/burmese-red-serow-capricornis-rubidus/
ภาพที่ 11. เลียงผาหิมาลัย Himalayan serow ทีม่ ารูป : http://www.wilddocu.de/himalayan-serow-capricornis-thar/
13 เลียงผาที่พบในประเทศไทย
6. เลียงผาขาแดง Indochinese serow, Capricornis maritimus (Heude, 1888) สีตาม ตัวโดยทั่วไปเป็นสีด�ำบริเวณหลังสีจะเข้ม ส่วน บริ เ วณด้ า นข้ า งจะมี ข นสี เ ทาแซมประปราย ส่วนโคนของขนเป็นสีขาว ขนแผงคอสีด�ำ มีขน สีขาวปนบริเวณตอนหน้า ตอนกลางไปจนถึง ท้ า ยทอยมี ข นสี แ ดงปะปน สี ข นส่ ว นในของ ต้นขาเป็นสีสนิมเหล็ก หัวสีด�ำ ริมฝีปากสีขาว ปนเทา มี ข นสี แ ดงปะปนอยู ่ บ ้ า งที่ ริ ม ฝี ป าก บน บริเวณใต้ขากรรไกรล่างทัง้ สองข้างและทีค่ อ มีขนเป็นสีแดงเหมือนสีสนิมเหล็ก คือ มีส่วน ของขาตอนล่างเป็นสีน�้ำตาลแดง และจากพวก หลั ง คื อ ส่ ว นของสี น�้ ำ ตาลแดงจะไม่ ก ระจาย ขึ้นไปเหนือหัวเข่า ขนตามตัวโดยทั่วไปเป็นสีด�ำ ยกเว้นบริเวณหลังและด้านข้างล�ำตัวจะมีโคน ขนเป็นสีขาว ท�ำให้ดูเหมือนมีผมหงอกปะปนอยู่ ประปราย ขนแผงคอจะมีส่วนโคนเป็นสีขาว ส่วนปลายของขนแผงคอตอนหน้าเป็นสีด�ำ ส่วน ตอนหลั ง จนถึ ง ท้ า ยทอยอาจเป็ น สี ด� ำ หรื อ น�้ ำ ตาลไหม้ ขาเป็ น สี ด� ำ หรื อ น�้ ำ ตาลด� ำ ลงไป จนถึงหัวเข่า ถัดลงไปที่ส่วนของหน้าแข้ง สีขน จะผันแปรแตกต่างกันไป บางตัวเป็นสีน�้ำตาล แดงโดยตลอด บางตั ว เป็ น สี น�้ ำ ตาลแดงเป็ น แผ่น และบางตัวมีสีน�้ำตาลแดงปะปนกับสีด�ำ พบตั้งแต่พม่าฝั่งตะวันออกถึงเวียดนาม กัมพูชา ในไทยพบทั่ ว ประเทศและถึ ง คอคอดกระ Pocock, (1913) กล่าวว่าพบในยูนนาน พม่า มะละแหม่ง และเปกู (ภาพที่ 12)
14 เลียงผาที่พบในประเทศไทย
7. เลียงผาขาด�ำ Sumatran serow, Capricornis sumatraensis (Bechstein, 1799) ส่วนของขนบริเวณหน้าระหว่างตากับ จมูกเป็นสีน�้ำตาล (สัตว์ตัวอย่างยังไม่โตเต็มที่) แต่ส่วนหน้าและแก้มเป็นสีด�ำ ขนที่ริมฝีปาก เป็นสีขาว มีขนสีขาวตามแนวขากรรไกรล่าง ทั้งสองข้างที่คอมีขนสีเทาหม่นเป็นแผ่น ด้าน หลังหูสีน�้ำตาลแต่จางกว่าส่วนหลังของคอ สีขน บริ เวณสั นคอเป็ นสี ด� ำ ตอนหน้ า ส่ ว นบริ เวณ ตอนหลังถึงหัวไหล่เป็นสีด�ำหรือเทาเข้ม ขนตาม ตั ว โดยทั่ ว ไปเป็ น สี ด� ำ ปะปนกั บ สี น�้ ำ ตาลด� ำ บริเวณหน้าแข้งสีขนด�ำและค่อนข้างจางกว่า ตอนบน แต่อย่างไรก็ตามสีขนบริเวณหัวเข่า และข้อเท้าจะไม่แตกต่างอย่างเห็นได้ชัดกับสีขน ที่หน้าแข้ง พบในคาบสมุทรมลายูและภาคใต้ ตอนล่างของไทย และบนเกาะสุมาตรา (ภาพที่ 13) Lekagul and McNeely (1977) ได้ จ�ำแนกเลียงผาของไทย (C. sumatraensis) ออกเป็น 2 ชนิด (subspecies) ได้แก่ 1. C. s. sumatraensis Bechstenin, 1799 (ซึ่งรวมทั้ง C. s. robinsoni Pocock, 1908 และ C. s. swettenhami Butter, 1900) เป็นเลียงผาขาด�ำ จะพบได้ตามภูเขาหินปูนที่ สูงชันทางภาคใต้ 2. C. s. milneedwardsi David, 1869 (ซึ่งรวมทั้ง C. s. annectens Kloss, 1919 จาก เกาะหลั ก ) เป็ น เลี ย งผาขาแดง มี ถิ่ น ก� ำ เนิ ด กระจายจากแถบเทือกเขาตะนาวศรีขึ้นไปทาง ตอนเหนือถึงประเทศจีน THE SEROW IN THAILAND
นั บ ตั้ ง แต่ ที่ ผู ้ เ ขี ย นเริ่ ม ท� ำ การศึ ก ษา เกีย่ วกับถิน่ ทีอ่ ยูอ่ าศัยและพฤติกรรมบางประการ ของเลียงผาที่อาศัยอยู่ในป่าธรรมชาติ ตั้งแต่ ต้นปี พ.ศ. 2528 เพราะเห็นว่าเป็นสัตว์ป่าสงวน ที่หายาก ถึงแม้จะมีถิ่นก�ำเนิดอยู่ในหลายจังหวัด ของประเทศ แต่จ�ำนวนที่เหลืออยู่ในแต่ละแห่ง มีน้อย บางแห่งแทบจะหาไม่ได้อีก เนื่องจากการ ล่ า เพื่ อ เอาเนื้ อ มาขายหรื อ มากิ น เป็ น อาหาร ล่ า เนื้ อ เอาหั ว และเขามาประดั บ บ้ า นหรื อ แม้แต่การล่าเพื่อเอาอวัยวะบางส่วนโดยเฉพาะ กะโหลกศี ร ษะของเลี ย งผามาใช้ ใ นการผลิ ต น�้ำมัน เพื่อใช้รักษาโรคไขข้ออักเสบและกระดูก ตามความเชื่อของชาวบ้านท�ำให้สัตว์ป่าชนิดนี้ กลายเป็นสัตว์ที่หาดูได้ยาก ประกอบกับถิ่นที่อยู่ อาศั ย เป็ น ภู เ ขาที่ มี ห น้ า ผาสู ง ชั น ยากต่ อ การ เข้าไปส�ำรวจได้ทั่วถึง ผู้เขียนได้มีโอกาสเห็น เลียงผาในธรรมชาติด้วยตาตนเองเพียง 3 ครั้ง นับตั้งแต่เริ่มท�ำการศึกษาเกี่ยวกับเลียงผามา ตั้ง แต่ ป ี 2528 ดั งนั้น จึงต้อ งอาศัยการดูแ ละ สั ง เกตพฤติ ก รรมของเลี ย งผาในกรงเลี้ ย ง ประกอบกับการศึกษาในธรรมชาติ ปรากฏว่า เลียงผาจ�ำนวน 20 ตัว ในธรรมชาติ และตัวที่ ถูกเลี้ยงไว้ในที่ต่างๆ กัน มีรูปร่าง ลักษณะและ สี ข นแตกต่ า งกั น ไปตามถิ่ น ที่ ก� ำ เนิ ด และอายุ ความผั น แปรของสี ข นตามตั ว โดยทั่ ว ไปไม่ เด่ น ชั ด จะเห็ น แตกต่ า งก็ ต รงส่ ว นของขา ตอนล่างตั้งแต่หัวเข่าลงมาถึงข้อเท้า ซึ่งพอจะ แบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่ม โดยอาศัยความแตกต่าง ของสีขนบริเวณท่อนขาล่างเป็นตัวจ�ำแนก คือ
ภาพที่ 12. เลียงผาขาแดง Indochinese serow ทีม่ ารูป : http://www.wilddocu.de/indochinese-serow-capricornis-maritimus/
ภาพที่ 13. เลียงผาขาด�ำ Sumatran serow ทีม่ ารูป : http://www.wilddocu.de/sumatran-serow-capricornis-sumatraensis/
(ภาพที่ 14)
THE SEROW IN THAILAND
15 เลียงผาที่พบในประเทศไทย
ภาพที่ 14. ลักษณะสีขนขาท่อนล่าง
กลุ่มที่ 1 กลุ่มที่มีขาท่อนล่างเป็นสีด�ำ กลุ่มที่ 2 กลุ่มที่มีขาท่อนล่างเป็นสีน�้ำตาลแดงทั้งหมด กลุ่มที่ 3 กลุ่มที่มีขาท่อนลางเป็นสี น�้ำตาลแดงเพียงบางส่วน
ภาพที่ 15. ลูกเลียงผาขาด�ำ (C. s. sumatraensis) จากจังหวัดกระบี่
16 เลียงผาที่พบในประเทศไทย
กลุ ่ ม ที่ 1 กลุ ่ ม ที่ ข าท่ อ นล่ า งเป็ นสี ด� ำ ชนิด C. sumatraensis มีอยู่ 3 ตัว ตัวหนึ่งได้มา จากจังหวัดสุราษฎร์ธานี มีขนาดโตเต็มวัย อีก ตั ว มาจากจั ง หวั ด ชุ ม พรและอี ก ตั ว ได้ ม าจาก จั ง หวั ด กระบี่ อายุ ป ระมาณ 2 เดื อ นเขายั ง ไม่ ง อกออกมาให้ เ ห็ น ทั้ ง สามตั ว มี ข นตามตั ว โดยทั่วไปเป็นสีด�ำ ขนเป็นสีขาว ขนแผงคอเป็น สีด�ำ โคนขนเป็นสีขาว ขนบริเวณริมฝีปากขาว ขนตามแนวขากรรไกรล่ า งทั้ ง สองข้ า งเป็ น สีขาว ขนใต้คอเป็นสีน�้ำตาลแดง บริเวณขาทั้ง ตอนบนและตอนล่างจนถึงข้อเท้าเป็นสีด�ำไม่มี ขนสีน�้ำตาลแดงปะปน (ภาพที่ 15)
THE SEROW IN THAILAND
กลุ ่ ม ที่ 2 กลุ ่ ม ที่ มี ข าท่ อ นล่ า งเป็ น สี น�้ ำ ตาลแดงทั้ ง หมด ชนิ ด C. maritimus มีอยู่ 10 ตัว จากจังหวัดต่างๆ ดังนี้ จังหวัด แม่ฮ่องสอน 1 ตัว ในป่าเมืองกาญจนบุรี 1 ตัว จั ง หวั ด อุ ทั ย ธานี 2 ตั ว (ตั ว หนึ่ ง พบในป่ า ห้วยขาแข้ง) จังหวัดฉะเชิงเทรา 1 ตัว จังหวัด ชลบุรี 1 ตัว จังหวัดอุบลราชธานี 1 ตัว และที่ พบบริเวณริมคลองแสง จังหวัดสุราษฎร์ธานี 3 ตัว ขนตามตัวที่ปรากฏโดยทั่วไปเป็นสีด�ำหรือสีเทา ปนด�ำโคนขนเป็น สีขาว ขนแผงคอเป็นสีด�ำ โดยมีโคนขนเป็นสีขาว ขนตามแนวสันหลังมอง เห็นเป็นแถบสีด�ำ ขนบริเวณฝีปากเป็นสีขาว ขนบริเวณโคนหูด้านนอกเป็นสีน�้ำตาลไหม้เช่น เดี ย วกั บ ขนบริ เ วณโคนหางด้ า นข้ า งส่ ว นที่ ชิดกับก้น ขนบริเวณแนวขากรรไกรทั้งสองข้าง และที่ ค อเป็ น สี ข าวปะปนกั บ ขนสี น�้ ำ ตาลแดง บางตั ว มี ข นสี น�้ ำ ตาลไหม้ บ ริ เ วณโคนขาหลั ง กระจายขึ้นไปที่ส่วนของสะโพก ขนสีด�ำตามตัว กระจายลงมาถึ ง บริ เ วณเหนื อ หั ว เข่ า ส่ ว น บริ เ วณตั้ ง แต่ หั ว เข่ า ลงมาถึ ง ข้ อ เท้ า จะมี ข นสี น�้ ำ ตาลแดงปะปน บางตั ว เป็ น สี น�้ ำ ตาลแดง โดยตลอด จะมีขนสีด�ำปะปนอยู่บ้างเพียงเล็ก น้อยบริเวณด้านนอกของหน้าแข้ง (ภาพที่ 16-22)
ภาพที่ 16. เลียงผาขาแดงจากจังหวัดแม่ฮ่องสอน
ภาพที่ 17. เลียงผาขาแดง (C. s. milneedwardsi) จากจังหวัดอุบลราชธานี
ภาพที่ 18. เลียงผาขาแดงจากจังหวัดฉะเชิงเทรา
THE SEROW IN THAILAND
17 เลียงผาที่พบในประเทศไทย
ภาพที่ 19. เลียงผาขาแดง จากจังหวัดอุทัยธานี
ภาพที่ 20. เลียงผาขาแดง จังหวัดอุทัยธานี
18 เลียงผาที่พบในประเทศไทย
THE SEROW IN THAILAND
ภาพที่ 21. เลียงผาขาแดง (C. s. milneedwardsi) ซึ่งพบและจับได้ในน�้ำ หลังจากถูกต้อนออกจากเกาะกลางอ่างเก็บนํ้า เขื่อนเชี่ยวหลาน จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ภาพที่ 22. เลียงผาขาแดง (C. s. milneedwardsi) ซึ่งพบและถ่ายภาพได้ในเขตรักษาพันธุ์ สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร จังหวัดกาญจนบุรี โดยคุณธนศักดิ์ บุณยเสนา
THE SEROW IN THAILAND
19 เลียงผาที่พบในประเทศไทย
กลุ ่ ม ที่ 3 กลุ ่ ม ที่ มี ข าท่ อ นล่ า งเป็ น สี น�้ำตาลแดงเพียงบางส่วนเคยถูกใช้ชื่อว่าเป็น ชนิดย่อย subspecies annectens มีอยู่ 7 ตัว จากจังหวัดตาก 3 ตัว จังหวัดจันทบุรี 2 ตัว จังหวัดเพชรบุรี 1 ตัว และจังหวัดสุราษฎร์ธานี 1 ตัว กลุ่มนี้มีสีขนตามตัวโดยทั่วไปเป็นสีด�ำ โคนขนเป็นสีขาวมองดูเหมือนผมหงอกประปราย ขนทีต่ น้ ขาจะเป็นสีดำ� หรือสีนำ�้ ตาลด�ำลงมาจนถึง หัวเข่า หน้าแข้งเป็นสีดำ� ยกเว้นบริเวณใต้หวั เข่า ตอนหน้ า และที่ ข ้ อ เท้ า เป็ น สี น�้ ำ ตาลแดง (ภาพที่ 23-25)
ภาพที่ 23. เลียงผาที่มีขาแดงบริเวณใต้หัวเข่าและที่ข้อเท้า (C. s. annectens) จับได้ที่จังหวัดจันทบุรี
ภาพที่ 24. เลียงผา C. s. annectens ได้จากจังหวัดตาก
ภาพที่ 25. เลียงผา C. s. annectens จับได้ในบ่อพลอยจังหวัดจันทบุรี
20 เลียงผาที่พบในประเทศไทย
THE SEROW IN THAILAND
ภาพโดย : ธนาวุธ วรนุช
THE SEROW IN THAILAND
21 เลียงผาที่พบในประเทศไทย
ถิ่นที่อยู่อาศัย เลียงผาในหิมาลายาชอบอาศัยอยู่บน ภูเขาที่มีระดับความสูงตั้งแต่ 6,000-10,000 ฟุต (1,850-3,050 ม.) ส่วนตามเทือกเขาในประเทศ พม่าจะพบเลียงผาได้ทรี่ ะดับความสูง 700-8,000 ฟุต (200-2,450 ม.) Prater, 1965. เลี ย งผามั ก ชอบอาศั ย อยู ่ ต ามภู เ ขาที่ มีหน้าผาสูงชัน ซึง่ ปกคลุมไปด้วยป่าทึบ ยากทีจ่ ะ พบเลียงผาในที่โล่งหรือที่ราบบนภูเขา ยกเว้น บริ เ วณที่ โ ล่ ง ตามลาดหน้ า ผาบนภู เ ขาสู ง แต่อย่างไรก็ตามเลียงผาจะเลือกบริเวณเฉพาะ ที่เป็นหน้าผาหินมีต้นไม้ที่มีหนามประกอบกับ ไม้พุ่มรกทึบเป็นไม้พื้นล่าง (Peacock, 1933) เลียงผามักชอบอาศัยอยู่โดดเดี่ยว หรือเป็นกลุ่ม ขนาดเล็กประมาณ 6 ตัว ตามภูเขาที่มีความ ลาดชันมาก (Walker, 1975) ในบริเวณดังกล่าว จะพบทางเดินแคบๆ ตามตีนหน้าผาหรือกลุม่ หิน ทีต่ งั้ ชัน (Peacock, 1933) บริเวณหน้าผาหินชัน มักมีถ�้ำ ซึ่งเลียงผาใช้เป็นที่อาศัยและมักจะพบ กองมูลขนาดใหญ่ในบริเวณดังกล่าว ซึง่ แสดงว่า เลียงผายังมีอยู่ (Lekagul and McNeely, 1977)
22 เลียงผาที่พบในประเทศไทย
เลี ย งผาสามารถป้ อ งกั น ตนเองได้ ดี แ ละเคย ปรากฏว่ า สุ นั ข ได้ รั บ บาดเจ็ บ และเป็ น แผล ฉกรรจ์ในขณะที่เลียงผาวิ่งสวนออกมาตามทาง เดินเลียบตีนหน้าผาและวิ่งหายเข้าไปในป่าที่รก ทึบยากต่อการติดตาม ดังนั้น จึงไม่ใช่เรื่องที่ง่าย ที่จะเข้าไปใกล้หรือเพื่อเข้าไปดูเลียงผา กีบเท้าที่ สั้นและแข็งแรงท�ำให้เลียงผาสามารถเดินหรือ วิ่งไปตามทางแคบๆ บนลาดหน้าผาหินที่มีความ ลาดชันมาก (Allen,1940) ไม่เฉพาะบริเวณที่ เป็นพื้นหินขรุขระเท่านั้นแม้แต่ที่ราบถ้าเลียงผา ถูกรบกวน มันมักจะวิง่ หายไปอย่างรวดเร็วพร้อม กับส่งเสียงร้องสัน้ ๆ (Prater,1965) เคยปรากฏมี เลี ย งผาอาศั ย อยู ่ ต ามบริ เ วณถิ่ น หากิ น ของ กวางผา (Percock,1933) กรณีเช่นเดียวกันนี้ เคยมี นิ สิ ต จากคณะวนศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย เกษตรศาสตร์ เคยพบเลียงผาหากินอยู่ตามลาด หน้ า ผาหิ น ของดอยม่ อ นจอง อ� ำ เภออมก๋ อ ย จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งมีระดับความสูงประมาณ 1,800 ม. บริเวณดังกล่าวเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยและ แหล่งหากินของกวางผา (ภาพที่ 26)
THE SEROW IN THAILAND
ภาพที่ 26. แผนที่การกระจายของเลียงผาในประเทศไทย
THE SEROW IN THAILAND
23 เลียงผาที่พบในประเทศไทย
ภาพที่ 27. ที่อยู่ของเลียงผาบนยอดเขาหินปูนในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ห้วยขาแข้ง จังหวัดอุทัยธานี
ที่ ป ่ า ห้ ว ยขาแข้ ง จั ง หวั ด อุ ทั ย ธานี เลี ย งผาอาศั ย อยู ่ บ ริ เ วณที่ เ ป็ น หน้ า ผาหิ น บน ยอดเขาซึ่งมีระดับความสูงประมาณ 1,000 ม. สภาพป่าทัว่ ไปเป็นป่าเบญจพรรณ มีไม้ไผ่รวกขึน้ ปะปนอยู่กับไม้ใหญ่ ตามลาดเขาชันมีหน้าผาหิน กระจัดกระจายอยู่ทั่วไป และบริเวณตีนหน้าผา จะมีทางเดินแคบๆ ซึ่งมีร่องรอยเท้าของเลียงผา มีถ�้ำบริเวณตีนหน้าผาหินหลายแห่งที่เลียงผาใช้ เป็ น ที่ น อน บางแห่ ง มี ก องมู ล ที่ ป รากฏเป็ น กองโตและมีเศษขนตามตัวของเลียงผาหล่นอยู่ ตามพื้นที่นอน นอกจากนี้ตามทางเดินยังปรากฏ มี ที่ พั ก ส� ำ หรั บ นอนเคี้ ย วเอื้ อ ง กองมู ล ใหม่ ที่ ป รากฏอยู ่ บ นกองมู ล เก่ า และร่ อ งรอยใหม่ ที่ปรากฏอยู่บริเวณปากถ�้ำแสดงว่าเลียงผายังใช้ พื้ น ที่ บ ริ เ วณนั้ น อยู ่ ลั ก ษณะเช่ น นี้ พ บได้ กั บ เลียงผาที่ปรากฏในป่าทุ่งใหญ่นเรศวร จังหวัด กาญจนบุรี และป่าคลองแสง จังหวัดสุราษฏร์ธานี
ภาพที่ 28. ทีอ่ ยูข่ องเลียงผาบริเวณยอดเขาหินปูนทีจ่ งั หวัดอุทยั ธานีอกี แห่งหนึง่
ภาพที่ 29. ที่อยู่ของเลียงผาในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาเขียว จังหวัดชลบุรี
ภาพที่ 30. ที่นอนของเลียงผาในช่องหินใต้ก้อนหินใหญ่ที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ ป่าเขาเขียว จังหวัดชลบุรี
(ภาพที่ 27-28)
24 เลียงผาที่พบในประเทศไทย
THE SEROW IN THAILAND
ที่ป่าเขาเขียว จังหวัดชลบุรี บริเวณที่ อยู่ของเลียงผา เป็นหน้าผาหินชันตามลาดเขา ในป่าดงดิบเขา ส่วนที่เป็นหน้าผาหินจะกระจาย อยู ่ ไ ม่ ต ่ อ เนื่ อ งกั น ที่ ร ะดั บ ความสู ง ประมาณ 200 ม. มีร่องรอยเท้าของเลียงผาอยู่ตามพื้น ผิวดินบริเวณตีนหน้าผาและตามลาดเขาจาก หน้าผาหินแห่งหนึ่งไปยังอีกแห่งหนึ่ง ไม่ปรากฏ ว่ า มี ถ�้ ำ ขนาดใหญ่ บริ เ วณที่ น อนเป็ น ถ�้ ำ ตื้ น ๆ
ภาพที่ 32. ที่นอนซึ่งพบบนทางเดินของเลียงผาตามชายหน้าผาเขาหินปูน
ภาพที่ 31. ทางเดินของเลียงผาที่พบบนลาดเขาชันในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ห้วยขาแข้ง จังหวัดอุทัยธานี
มีเศษขนตกอยู่ กองมูลเท่าที่พบอยู่บริเวณตีน หน้าผาห่างจากที่นอนประมาณ 10 ม. ส่วนที่ เป็นกองมูลใหญ่อยู่บนลาดเขาฝั่งตรงข้ามของ ลาดเขาที่พบที่นอน ที่ถ่ายมูลอยู่บริเวณกองหิน ที่ ว างอยู ่ ก ระจั ด กระจายตามลาดเขา และใน กลุ ่ ม ของต้ น กล้ ว ยผามี ที่ น อนเคี้ ย วเอื้ อ ง ซึ่ ง อยู่ไม่ห่างจากบริเวณกองมูลใหม่ ตามทางเดิน ของเลียงผามีร่องรอยของยอดไม้ถูกกัดกินและ บริเวณหน้าผาหินมีต้นไทรและต้นข่อยขึ้นอยู่ ส่วนยอดของไทรและข่อยในระยะทีพ่ อเอือ้ มถึงได้ ถูกเลียงผาเล็มกินเห็นได้ชัดเจน (ภาพที่ 29-33)
ภาพที่ 33. ถ�้ำเลียงผาบนลาดเขาในป่าไผ่รวกของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ห้วยขาแข้ง จังหวัดอุทัยธานี
THE SEROW IN THAILAND
25 เลียงผาที่พบในประเทศไทย
พฤติกรรมบางประการ เลี ย งผามั ก ออกหากิ น ในตอนเช้ า มื ด และตอนใกล้ค�่ำ (Peacock, 1933) มันมักจะกิน หญ้าและยอดไม้ในร่มเงาของไม้พุ่มที่มีหนาม และขึ้นอยู่อย่างแน่นทึบบนสันเขา (Walker, 1975) บางครั้งก็ออกมากินหญ้าตามลาดเขาชัน (Prater, 1965) ในช่วงกลางวันเลียงผามักหลบ ไปนอนตามใต้ ร ่ ม เงาของก้ อ นหิ น บริ เ วณ ตีนหน้าผา (Walker, 1975) ในวันที่มีอากาศ หนาวเย็นเลียงผาจะนอนผึ่งแดดอยู่บนหินตาม หน้าผาซึ่งล้อมรอบไปด้วยต้นไม้ที่มีหนามและ ขึ้นอยู่หนาแน่น ยากต่อการเข้าถึงของสัตว์ป่า หรือมนุษย์ บางครัง้ เลียงผาจะนอนพักบนคาคบไม้ ที่ยื่นออกไปจากเขาลาดชัน (Peacock, 1933)
แยกเท้าหลัง ยกหางและถ่ายมูล ส่วนท่าในการ ถ่ายปัสสาวะจะแตกต่างกันคือ เลียงผาเพศผู้จะ ยืนแยกเท้าเล็กน้อยไม่ยกหาง ส่วนเพศเมียจะ แยกขาหลังออกห่าง ย่อส่วนท้ายของล�ำตัวลง ต�ำ่ มาก ยกหางขึน้ แล้วจึงถ่ายปัสสาวะ (ภาพที่ 34-37)
จากการสังเกตพฤติกรรมของเลียงผา ในกรงเลี้ยงในที่ต่างๆ กันปรากฏว่าเลียงผาจะ ตื่นเช้ามาก หลังตื่นนอนจะเล็มกินอาหารที่เหลือ อยู่ หลังจากนั้นจะถ่ายปัสสาวะและถ่ายมูลใน ช่วงเวลา 05.00-06.00 น. พฤติกรรมการเดิน การกิ น และการนอนเคี้ ย วเอื้ อ งจะปรากฏ ต่ อ เนื่ อ งสลั บ กั น ไปจนกระทั้ ง เวลาเย็ น การ นอนหลับในเวลากลางวันมีน้อยมาก ยกเว้นใน ลู ก เลี ย งผา การถ่ า ยปั ส สาวะมั ก เกิ ด ขึ้ น ก่ อ น การถ่ า ยมู ล เลี ย งผาจะถ่ า ยมู ล อี ก ครั้ ง ในช่ ว ง เวลา 11.00-14.00 น. ท่าในการถ่ายมูลของ เลียงผาเพศผู้และเพศเมียคล้ายคลึงกัน คือยืน 26 เลียงผาที่พบในประเทศไทย
THE SEROW IN THAILAND
ภาพที่ 34. ท่านอนของเลียงผา
ภาพที่ 36. ท่าถ่ายมูลของเลียงผา
ภาพที่ 35. ท่าถ่ายปัสสาวะของเลียงผาเพศผู้
ภาพที่ 37. ท่าถ่ายปัสสาวะของเลียงผาเพศเมีย
THE SEROW IN THAILAND
27 เลียงผาที่พบในประเทศไทย
การกินอาหารและน�้ำ เลียงผากินอาหารเหมือนแพะ มันจะ กิ น ยอดไม้ เ กื อ บทุ ก ชนิ ด แต่ อ ย่ า งไรก็ ต าม เลียงผาชอบกัดกินยอดอ่อนและหน่ออ่อนของ พื ช ที่ มี ก ลิ่ น หอม (Peacock, 1933) จิ น ดา (2526) กล่าวว่า เลียงผาในกรงเลี้ยงที่สวนสัตว์ ดุ สิ ต กิ น อาหารบ่ อ ยครั้ ง ทั้ ง กลางวั น และ กลางคืน หลังการกินอาหารแต่ละครั้ง เลียงผา จะนอนเคี้ยวเอื้อง อาหารที่กินต่อวัน โดยเฉลี่ย เป็นน�้ำหนักแห้งประมาณ 1,625 กรัม และจะ ถ่ า ยมู ล โดยเฉลี่ ย เป็ น น�้ ำ หนั ก แห้ ง ต่ อ วั น ประมาณ 159 กรัม ในแต่ละวันเลียงผาดื่มน�้ำ น้ อ ยมากประมาณ 280 ลบ.ซม. Peacock (1933) กล่าวไว้ว่า เลียงผาสามารถอดน�้ำได้เป็น วันๆ ในบางพื้นที่ที่แห้งแล้ง แต่ส่วนมากแล้วใน บริ เ วณใกล้ เ คี ย งที่ อ ยู ่ อ าศั ย มั ก มี ล� ำ ธารหรื อ แหล่งน�้ำซับซึ่งมักจะพบร่องรอยที่เลียงผาลงมา ดื่มน�้ำจากแหล่งน�้ำนั้น จากการทดลองเก็บยอดต้นไม้และไม้ พื้นล่างบางชนิดที่ปรากฏร่องรอยการถูกกัดกิน ยอดบริ เ วณสองข้ า งทางเดิ น ของเลี ย งผาจาก บริเวณที่นอนไปยังกองมูลของเลียงผา ที่มีอยู่ใน ป่าเขาเขียวแล้วน�ำมากองให้เลียงผาในกรงเลี้ยง ทดลองกินเพื่อดูว่ามีต้นไม้หรือพืชชนิดใดบ้างที่ เลี ย งผาสามารถกิ น เป็ น อาหารได้ ปรากฏว่ า สามารถกินยอดไม้เหล่านั้นเกือบทุกชนิดที่เก็บ 28 เลียงผาที่พบในประเทศไทย
มาทดลอง ชนิ ด ของต้ น ไม้ แ ละพื ช พื้ น ล่ า งที่ เลียงผากิน ปรากฏอยูใ่ นตาราง (ภาพที่ 38-41)
ภาพที่ 38. บริเวณที่นอนเลียงผาและยอดไม้ที่ถูกกัดกิน
ภาพที่ 39. ยอดไม้ทถี่ กู กัดบริเวณใกล้ทนี่ อนเคีย้ วเอือ้ งอีกแห่งหนึง่ ของเลียงผา
THE SEROW IN THAILAND
ตารางแสดงชื่ออาหารของเลียงผา ลำ�ดับที่
ชื่อพื้นเมือง
ชื่อวิทยาศาสตร์
1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27
ไทรกร่าง หนอนตายหยากหรือกระเพียด เถากระไดลิง สะแกดิน เถาส้มปูน มะเม่า มะเม่าดง มะเมาต้น ข่อย คันทรง ผีเสื้อน้อย เสี้ยวน้อย ส้มกุ้ง เถานมวัว ล�ำดวนดง กัดลิ้นลิง มะม่วงดง ส้มปอบ เถาคันเหล็ก เครือกรอบแกรบ ผักปราบ เถาวัลย์ผึ้ง พลา บอนลิ้นทิง เหมือดคนตัวผู้ หรือ จิกหิน ลุกใต้ใบ เครือหนามแน่ เหมือดเขา พลับพลา ปอเต่าให้ โมกมัน มะกอก
Ficus Tinctoria Forst. f. subsp. gibbosa Corner
THE SEROW IN THAILAND
Stemona tuberosa Lour. Bauhinia scandene Linn. Quisqualis indica Linn. Tetrastigma sp. Antidesma sp. Strebus asper Lour. Colubrina asiatica Brongn.
Desmodium renifolium Schindl. var oblatum Ohashi
Embelia sp. Anomianthus dulcis Sincl. Mitrephora sp. Walsura trichestema Miq. Antidesma sp. Cissus sp. Ventilago cristata Pierre. Commelina sp. Smilax sp. Grewia sp. Aqlonema sp. Helicia formosana Phyllanthus amarus Schum & Thonn. Thunberqia sp. Symplocos sp. Grewia paniculata Ress. Wrightia tomentosa Roem. & Thonn. Spondias pinnata Kurzx 29 เลียงผาที่พบในประเทศไทย
ภาพที่ 39. เปลือกไม้ที่ถูกเลียงผากัดแทะจนฉีกขาด
ภาพที่ 40. บริเวณที่นอนเคี้ยวเอื้องของเลียงผาซึ่งอยู่ใต้ร่มเงาต้นกล้วยผาใน เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาเขียว จังหวัดชลบุรี
ภาพที่ 41. รอยกัดที่บริเวณยอดหญ้าริมทางเดินของเลียงผาบนเขาลาดชัน
นอกจากนี้ได้แก่ หญ้าหนวดฤาษี (Heteropogon contortus Linn.) หญ้าข้าวนกเขา หญ้า พุ่งชู้ (Chrysopogon orientalis A. Camus) และหญ้าพริกพราน (Apluda mutica Linn.) หมายเหตุ หญ้าบางชนิดที่พบมีร่องรอยถูกกัดกิน ซึ่งขึ้นอยู่บนลาดเขาข้างทางเดินของ เลียงผาที่ป่าห้วยขาแข้ง จังหวัดอุทัยธานี
30 เลียงผาที่พบในประเทศไทย
THE SEROW IN THAILAND
ประสาทสัมผัส เลียงผามีประสาทตาและหูดีมาก ส่วน ประสาทในการดมกลิ่ น ได้ รั บ การพั ฒ นาได้ ดี เกือบเท่าประสาทตาและประสาทในการรับฟัง เสียง (Peacock, 1933) ในกรณีที่เลียงผาเผชิญ หน้ากับศัตรูกะทันหัน เลียงผามักจะยืนและเบิ่ง ตามองด้วยความไม่แน่ใจอยู่ชั่วขณะหนึ่งก่อนที่ จะกระโจนลงลาดเขาหายไปในดงไม้ที่แน่นทึบ (Lekagul and MaNeely, 1977) ผู้เขียนเคยพบ เลียงผาที่ห้วยขาแข้ง จังหวัดอุทัยธานีครั้งหนึ่ง ขณะนั้นเป็นเวลาประมาณ 11.00 น. ในเดือน มกราคม ต้นไม้และไผ่ทิ้งใบร่วงอยู่ทั่วไปตามพื้น ป่า น�้ำตามล�ำห้วยแห้ง เลียงผาตัวหนึ่งเดินกลับ มาบริเวณถ�้ำหินปูนซึ่งเป็นที่นอน แต่ก่อนที่จะ ถึงปากถ�้ำ เลียงผาตัวนั้นเดินตรงไปยังแอ่งน�้ำใน ร่องห้วยแห้ง ก่อนที่จะถึงแอ่งน�้ำมันคงจะได้ยิน เสียงผิดปกติบริเวณปากถ�้ำจึงหันหน้ามามอง พร้อมกับใบหูขนาดใหญ่ตั้งขึ้นเพื่อฟังเสียง และ แล้วก็วิ่งลงเขาหายไปในดงไม้เบื้องล่าง หลังจาก ที่ เ งี ย บไปประมาณ 5 นาที ผู ้ เ ขี ย นและคน น� ำ ทางได้ เ ห็ น หู ข นาดใหญ่ โ ผล่ พ ้ น ลาดเขาที่ บั ง ตาอยู ่ ใ นดงไผ่ ร วกที่ ก� ำ ลั ง ผลั ด ใบ เลี ย งผา ตัวนั้นค่อยๆ เคลื่อนเข้ามาใกล้ ตามองจ้องมา ทีเ่ รา หูขนาดใหญ่ตงั้ ชัน มันก้มหัวลอดล�ำไม้ไผ่ซงึ่ ล้ ม ขวางทางอยู ่ แ ละมายื น อยู ่ ต รงหน้ า ด้ า น ตรงข้ามกับผนังห้วยแห้ง ด้านหลังของเราคือ ถ�้ำหินปูน ซึ่งเลียงผาต้องการมานอนพักเพราะ
THE SEROW IN THAILAND
เป็นทีท่ มี่ อี ากาศเย็น ในขณะทีอ่ ณ ุ หภูมใิ นป่าก�ำลัง สูงขึ้นเนื่องจากใกล้เวลาเที่ยงวัน มันยืนเบิ่งมอง พวกเราในระยะห่างประมาณ 10 ม. จากจุดนั้น ถ้ากระโดดข้ามมาอีกฟากของห้วยแห้ง และเดิน ตามก้อนหินไม่กี่ก้าวก็จะถึงปากถ�้ำ มันยืนอยู่ ตรงนัน้ พร้อมกับกระทืบเท้าหน้าสลับกันซ้ายขวา เหมื อ นจะขั บ ไล่ ใ ห้ พ วกเราถอยออกไปให้ พ ้ น บริเวณนั้น (ภาพที่ 43) เราสามารถเห็นหยดน�้ำลาย ที่ ไ หลย้ อ ยลงมาที่ ค างและหยดลงที่ พื้ น ดิ น เลียงผาตัวนั้นคงจะเดินทางกลับมาจากบริเวณ ที่ไปหากินในระยะทางไกล (ภาพที่ 44) เพราะสภาพ ป่าในบริเวณนั้นเริ่มแห้งแล้ง แหล่งอาหารมีอยู่ จ�ำกัดและน�้ำในห้วยแห้ง ด้วยความเหนื่อยและ ต้องการน�้ำ หลังจากนั้นก็จะเข้านอนพักให้เย็น สบายในถ�้ำหินปูน แต่เนื่องจากมีบางอย่างมา ขวางทางอยู่ ท�ำให้ไม่สามารถท�ำในสิ่งที่ต้องการ ได้ จึงแสดงอาการก้าวร้าวต่อผู้บุกรุก มันยืนอยู่ ตรงนั้นนานประมาณ 30 วินาที แล้วหันหลัง กลั บ แต่ แ ทนที่ จ ะกระโจนลงลาดเขา มั น กระโจนขึ้ น ตามลาดเขาและหายเงี ย บไป ใน ขณะที่ พ วกเราก� ำ ลั ง เฝ้ า รอการกลั บ มาของ เลียงผาตัวนั้น เราได้เห็นเก้งเพศเมียตัวหนึ่งเดิน ผ่านมาตามลาดเขาตอนล่างพร้อมกับเคี้ยวเม็ด มะกอกป่า (ภาพที่ 42)
31 เลียงผาที่พบในประเทศไทย
ภาพที่ 42. เก้งเพศเมียตัวหนึ่งเดินเคี้ยวเอื้องผ่านบริเวณปากถ�้ำที่อยู่ของ เลียงผา
อี ก สองครั้ ง ที่ ผู ้ เ ขี ย นพบเห็ น เลี ย งผา บริเวณริมฝั่งคลองแสง จังหวัดสุราษฏร์ธานี ใน เวลากลางคื น ประมาณ 24.00 น. ในเดื อ น มิถุนายน เมื่อเราส่องไฟสปอร์ตไลท์ไปต้องตา เลียงผาทั้ง 2 ตัว เลียงผาจะไม่กระโจนหายไป ในทั น ที แต่ จ ะยื น นิ่ ง ดู อ ยู ่ เ ป็ น เวลานาน จน กระทั่งพวกเราเข้าไปใกล้ จึงค่อยๆ เดินหลบ เข้าไปหลังพุ่มไม้ทึบ
ภาพที่ 43. ภาพเลียงผาที่มายืนจ้องและกระทืบเท้าไล่ให้ผู้บุกรุกถอยหนีออกไปจากแนวทางเดินเข้าสู่ถ�้ำหินปูนที่เย็นสบายในเวลาเที่ยงวัน
ภาพที่ 44. กลับมาปรากฏตัวอีกครัง้ หลังจากตืน่ ตกใจและกระโจนหายลงไป ตามลาดเขาชัน
32 เลียงผาที่พบในประเทศไทย
ผู้เขียนใคร่ขอน�ำข้อมูลเกี่ยวกับเลียงผา ที่คุณธนศักดิ์ บุณยเสนา เขียนมาเล่าให้ฟังมา ถ่ า ยทอดไว้ ณ ที่ นี้ เกี่ ย วกั บ พฤติ ก รรมบาง ประการของเลียงผาทีไ่ ด้พบในป่าทุง่ ใหญ่นเรศวร จังหวัดกาญจนบุรี ดังนี้ “รุ่งเช้าวันที่ 6 เมษายน 2529 เวลาประมาณ 06.30 น. ผมได้ยินเสียง ร้องคล้ายแพะเสียงดังมาก มาจากตีนเขาใกล้ๆ ที่ผมพักแรมอยู่ ครั้งแรกคิดว่าเป็นเสียงเก้ง แต่ หลั ง จากย่ อ งตามเสี ย งร้ อ งขึ้ น ไปตามลาดเขา และเดิ น ลั ด เลาะไปตามกอไผ่ ห นามที่ ขึ้ น อยู ่ THE SEROW IN THAILAND
ทั่ ว ไปในป่ า โปร่ ง มี ต ้ น ไม้ ขึ้ น แซมอยู ่ บ ้ า ง ประปราย ผมได้พบเลียงผาระยะห่างจากผม ประมาณ 30 ม. มั น จ้ อ งมองมาทางผมและ ค่อยๆ เดินหนีไปช้าๆ และหายไป อีก 10 นาที ต่อมา ผมได้เห็นเลียงผาอีกตัว (ไม่แน่ใจว่าเป็น ตัวเดียวกันหรือไม่) ผมพยายามอ้อมไปเพื่อถ่าย รู ป ให้ ชั ด แต่ ไ ม่ พ บตั ว เสี ย แล้ ว ขณะที่ ยั ง คิ ด เสี ย ดายว่ า จะไม่ ไ ด้ พ บตั ว มั น อี ก ก็ ต ้ อ งสะดุ ้ ง เพราะได้ยินเสียงร้องของมันดังขึ้นด้านหลัง แต่ สูงขึ้นไปกว่าเดิม ผมย่องตามไป มันส่งเสียงร้อง ดังลั่นหลายครั้ง แต่ละครั้งมันส่งเสียงร้องอยู่ สักครู่ก็กระโจนหนีไป ต่อมาผมได้เห็นเลียงผา อีกตัวหนึ่งใกล้กับจุดที่ตัวก่อนกระโดดหนีไป มัน ยืนนิ่งและดูกลมกลืนกับสภาพป่ามาก ถึงแม้มัน จะมองเห็นผม แต่มันก็ยังคงยืนมองนิ่งอยู่เป็น เวลานาน จนกระทั่งผมต้องกลับลงมาเพราะ พรรคพวกกู่เรียก เพราะเห็นผมหายไปนานกว่า ชั่วโมง และผมก็กู่ตอบลงไป แต่เลียงผาตัวนั้นก็ ยังยืนเฉยอยู่อย่างนั้น ก่อนผมจะกลับมันก็ยังคง ยืนฟังค�ำอ�ำลาจากผม โดยไม่ยอมหนีไปไหนเลย เป็นภาพที่ประทับใจมาก” (ภาพที่ 45-46)
THE SEROW IN THAILAND
ภาพที่ 45. เลียงผาซึ่งส่งเสียงร้องดังตอนเช้ามืดวันหนึ่งบริเวณชายลาดเขา แห่งภูก่องก๋อง ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร และกระโจนหนีขึ้น ไปอยู่บนหน้าผาหิน ยืนนิ่งนานจนผู้ถ่ายภาพ คือคุณธนศักดิ์ บุณยเสนา ไม่ อยากจากมา
ภาพที่ 46. เลียงผาที่ คุณธนศักดิ์ บุณยเสนา ได้พบขณะที่ติดตามไปภายหลัง จากได้ยินเสียงร้องดังมาจากชายเขาใกล้ที่พักแรมริมห้วยสภาพป่าตอนล่าง เป็นป่าไผ่รวก
33 เลียงผาที่พบในประเทศไทย
การส่งเสียงร้อง เลียงผาจะส่งเสียงร้องเมื่อตกใจ เสียง ร้องที่เปล่งออกมาจะเป็นเสียงที่เกิดขึ้นระหว่าง เสียงที่ผ่านทางจมูกและปาก (snort and whistle) คล้ายเสียงร้องของกวางผาแต่จะแหลมและดัง กว่า (Peacock, 1933) Prater (1965) กล่าวว่า เสียงที่เลียงผาเปล่งออกมาเหมือนกับเสียงเป่า ปากสั้นๆ (whistling scream) Lekagul and McNeely (1977) กล่าว ว่า เสียงร้องของเลียงผาเป็นเสียงครึ่งๆ กลางๆ ระหว่าง a bleat and a roar or a strange, whistling scream. เลียงผาเพศเมียที่เลี้ยงไว้ที่ศูนย์ศึกษา ธรรมชาติและสัตว์ป่าเขาเขียว จังหวัดชลบุรี มัก จะส่งเสียงร้องคล้ายๆ “เอี๊ยะ” สั้นๆ หลายครั้ง เมื่ อ แรกเห็ น คนให้ อ าหารเดิ น ผ่ า นมาในช่ ว ง เวลาที่ต้องให้อาหาร เสียงที่เปล่งออกมาเป็น เสี ย งที่ อ อกมาจากล� ำ คอผ่ า นจมู ก ในขณะ ส่งเสียงร้องจะเดินด้วยความกระวนกระวาย และมองไปยังคนเลี้ยงตลอดเวลา บางขณะจะ ยกขาหน้าทั้งสองข้างขึ้นปีนตาข่ายคอก ส่วน เสียงร้องของเลียงผาเพศผู้จะเกิดขึ้น 2-3 ครั้ง ขณะเข้าไปคลอเคลียเพศเมีย เมื่อแสดงอาการ เป็นสัดเท่านั้น เสียงที่เปล่งออกมาคล้ายๆ กับ เพศเมีย
34 เลียงผาที่พบในประเทศไทย
THE SEROW IN THAILAND
ภาพโดย : ธนาวุธ วรนุช
THE SEROW IN THAILAND
35 เลียงผาที่พบในประเทศไทย
ภาพโดย : ธนาวุธ วรนุช 36 เลียงผาที่พบในประเทศไทย
THE SEROW IN THAILAND
การเป็นสัดและผสมพันธุ์ ข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมการผสมพันธุ์ ของเลี ย งผาในธรรมชาติ มี อ ยู ่ น ้ อ ยมาก ใน ประเทศพม่า เลียงผาจะออกลูกครั้งละ 1 หรือ 2 ตัว ในระหว่างเดือนกันยายนถึงตุลาคม หลัง จากตั้ ง ท้ อ งได้ ป ระมาณ 8 เดื อ น (Walker, 1975) Peacock (1933) กล่าวว่า เลียงผาจะตั้ง ท้องนานประมาณ 7 เดือน และจะคลอดลูกใน ช่วงต้นเดือนกรกฎาคมถึงปลายตุลาคม แต่ใน หิมาลายาการเป็นสัดของเลียงผาจะเกิดขึ้นใน ราวปลายเดือนตุลาคม และจะคลอดลูกในเดือน พฤษภาคม และมิถุนายน ในพม่าลูกเลียงผาจะ เกิดในราวปลายเดือนกันยายน ระยะเวลาที่ใช้ ในการตั้งครรภ์ประมาณ 7 เดือน เช่นเดียวกัน (Prater, 1965) ลูกเลียงผาจะอยู่กับแม่เป็นเวลา เกือบ 1 ปี หลังจากนั้นจะแยกตัวถูกเลี้ยงไว้เป็น เวลานานกว่า 10 ปี (Lekagul and Mcneely, 1977) จากเลี ย งผาที่ ผู ้ เ ขี ย นได้ พ บเห็ น ใน กรงเลี้ยงจ�ำนวน 14 ตัว มีอยู่ 5 ตัวที่ทราบ วันเกิด ปรากฏว่าทัง้ 5 ตัว มีชว่ งวันเกิดอยูร่ ะหว่าง ตอนต้ น ของเดื อ นกรกฎาคม จนถึ ง ประมาณ กลางเดือนตุลาคม
THE SEROW IN THAILAND
จิ น ดา (2526) กล่ า วว่ า เลี ย งผาที่ สวนสัตว์ดุสิต ทั้งตัวผู้และตัวเมียจะอยู่แยกกัน ไม่มาคลอเคลียหรือเดินไปด้วยกัน ยกเว้นในวันที่ ตัวเมียเป็นสัด มันจะเข้าไปหาตัวผู้ ใช้ลนิ้ เลียตาม ตัว หัวและหูของตัวผู้ พฤติกรรมเช่นนีเ้ กิดขึน้ ครัง้ แล้ ว ครั้ ง เล่ า จนกระทั่ ง ตั ว ผู ้ ย อมรั บ และเดิ น คลอเคลียไปด้วยกัน ทัง้ คูจ่ ะเลียตามตัวให้กนั และ กัน หลังการจับคู่ผสมพันธุ์แล้ว ก็จะแยกกันอยู่ ตามล�ำพังเช่นเดิม เลียงผาเพศเมียให้ก�ำเนิดลูก 2 ครัง้ ในเดือนธันวาคมและมกราคม แต่ละครัง้ ให้ลกู 1 ตัว ระยะเวลาในการตัง้ ครรภ์แต่ละครัง้ เฉลี่ย 210-230 วัน (ประมาณ 7 เดือน ถึง 7 เดื อ นครึ่ ง ) ลู ก เลี ย งผาที่ เ กิ ด ใหม่ มี น�้ ำ หนั ก ตั ว ประมาณ 3,900 กรัม ความยาวรวมของหัวและ ตัว 52 ซม. ความสูงถึงไหล่ 43 ซม. ลูกเลียงผา สามารถเดินเป็นระยะสัน้ ๆ ได้หลังเกิดประมาณ 4 ชัว่ โมง การกินนมแม่จะด�ำเนินไปประมาณ 5-6 เดือน พฤติกรรมการแยกตัวอยูต่ ามล�ำพังของลูก เลียงผาจะเกิดขึ้นเมื่ออายุได้ประมาณ 1 เดือน และจะเข้ามาดูดนมจากแม่เมือ่ หิวเท่านัน้
37 เลียงผาที่พบในประเทศไทย
การเป็นสัดของเลียงผาเพศผู้ที่เลี้ยงไว้ที่ ศู น ย์ ศึ ก ษาธรรมชาติ แ ละสั ต ว์ ป ่ า เขาเขี ย ว จังหวัดชลบุรี มักเกิดขึ้นในตอนเช้ามืดและตอน เย็นประมาณ 17.00 น. อาการที่แสดงออก คือ จ ะ เ ดิ น ไ ป ด ม บ ริ เ ว ณ ที่ เ ลี ย ง ผ า เ พ ศ เ มี ย ถ่ายปัสสาวะทิ้งไว้ ชูจมูกขึ้นสูงและสูดอากาศ จากนั้ น จะเดิ น เข้ ามาหาเพศเมีย ดมและเลีย ตามตัว ในช่วงเวลานั้น ขนตามตัวจะตั้งชัน หาง ชีข้ นึ้ ยกขาหน้าทัง้ ซ้ายและขวาสลับกันคล้ายการ เตะเบาๆ ตามตัวของเลียงผาเพศเมีย ส่วนของ อวัยวะเพศโผล่ออกให้เห็น บางครั้งตัวเมียจะ หันหัวกลับมาและทั้งคู่จะชนเขากันสักครู่หนึ่ง ตัวเมียจะเดินหรือวิ่งหนีไปยืนดูอยู่ห่างๆ ส่วน ตัวผู้ยังคงคึกคะนองอยู่ จะเอาเขาขวิดกับรากไม้ หรือต้นไม้ ส่ายหัวไปมา ท�ำเสียงฟืดฟาดออกมา ทางจมูก สะบัดหัวแล้ววิง่ อย่างเร็วไปรอบๆ คอก บางครั้งกระโจนยกเท้าหน้าขึ้นสูงแล้วกระแทก ลงบนพื้น ขูดกีบเท้ากับพื้นดิน วิ่งอย่างเร็วและ หยุดชั่วขณะในแต่ละรอบ หลังจากวิ่งจนเหนื่อย แล้ ว จะล้ ม ตั ว ลงและนอนหอบเป็ น เวลานาน
ในกรณีที่เลียงผาเพศผู้และเพศเมียถูก เลี้ยงไว้ในคอกเดียวกัน เมื่อทราบว่าเลียงผาเพศ เมียตั้งท้อง ควรแยกคอกให้อยู่ตามล�ำพัง เพราะ เคยปรากฏว่า เลียงผาเพศผู้จะท�ำลายลูกของ มันเองเมื่อแรกเกิดลูกเลียงผาเสียชีวิตได้
ภาพที่ 48. ท่าแสดงอาการก่อนการจับคู่ผสมพันธุ์ของเลียงผาเพศผู้โดยจะชู จมูกขึ้นสูงและสูดอากาศเข้าปอดอย่างแรง หลังจากดมบริเวณที่เพศเมีย ถ่ายปัสสาวะ
(ภาพที่ 47-48)
ภาพที่ 47. ลักษณะการเกี้ยวพาราสีของเพศผู้
38 เลียงผาที่พบในประเทศไทย
THE SEROW IN THAILAND
ภาพโดย : ธนาวุธ วรนุช
THE SEROW IN THAILAND
39 เลียงผาที่พบในประเทศไทย
การเลี้ยงลูกเลียงผา ผู ้ เ ขี ย นได้ มี โ อกาสสอบถามถึ ง วิ ธีก าร เลี้ยงดูลูกเลียงผาในขณะที่ยังไม่อดนมจากผู้ที่ เคยเลี้ยงลูกเลียงผา 2 ท่าน คือ คุณลุงจอม มาลัย และคุณธีรพันธ์ สมานวรวงศ์ ทั้งสอง ท่ า นเคยใช้ วิ ธีเ ลี้ ย งคล้ า ยคลึ ง กั น คื อ จั บ ลู ก เลียงผานอนบนตักแล้วป้อนนมด้วยขวดนมที่มี หัวดูดชนิดที่ใช้กับเด็กทารก โดยสอดขวดนมไว้ ระหว่างขาหนีบ หรือไม่เช่นนั้นก็ยืนแล้วสอด ขวดนมให้ลอดหว่างขาไปทางด้านหลังในระดับ ที่ลูกเลียงผาดูดถึง ลูกเลียงผาจะดูดนมจากขวด นมและจากคนป้อนนมคนเดิมเสมอ บางครั้งคน ป้อนจะต้องนุ่งผ้าชุดเดิมที่เคยใช้ขณะป้อนนม ในตอนแรกๆ เพื่อให้ลูกเลียงผาเกิดความคุ้นเคย การป้อนนมดังกล่าวจะกระท�ำประมาณ 6 เดือน วันละ 2 ครั้ง นมที่ใช้เลี้ยงลูกเลียงผาควรเป็น นมส� ำ หรั บ เลี้ ย งสั ต ว์ ถ้ า หาไม่ ไ ด้ อ าจใช้ น ม ส�ำหรับเลี้ยงทารกตามอายุของลูกเลียงผา การ เปลี่ยนนมจะท�ำให้ลูกเลียงผาท้องเสีย หลังจาก 6 เดื อ นไปแล้ ว ลู ก เลี ย งผาจะเริ่ ม กิ น อาหาร จ�ำพวกพืชใบเขียวและผลไม้ ลูกเลียงผากินน้อย มาก การให้น�้ำกระท�ำเช่นเดียวกับการให้นม
40 เลียงผาที่พบในประเทศไทย
เลี ย งผาที่ ถู ก เลี้ ย งจนโตแล้ ว จะกิ น อาหารจ�ำพวกพืชใบเขียวและผลไม้ได้เกือบทุก ชนิด ตัวอย่างเช่น ผักบุ้ง ต�ำลึง ยอดเถาคัน พลู ขิง ข่า กระชาย ตะไคร้ มะเขือ ใบกระถิน ยอด ทองหลาง ใบกล้วยอ่อน มันเทศ พวกผักผลไม้ ได้แก่ กล้วย ส้มโอ ละมุด มะละกอ มะขามป้อม มะกอก มะม่วง เป็นต้น นอกจากอาหารต่างๆ ที่ใช้เลี้ยงเลียงผา ตามที่กล่าวแล้ว สมควรให้อาหารเสริม เกลือแร่ และมี ก ารถ่ า ยพยาธิ เ ป็ น ครั้ ง คราว ชนิ ด ของ อาหารและยาควรปรึกษาเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์หรือ สัตวแพทย์ อนึ่ง การน�ำเลียงผาที่โตแล้วจากป่ามา เลี้ยงมักจะไม่รอดเพราะเลียงผาที่ถูกจับมาจะ เกิดอาการเครียดมากขณะที่ถูกจับและขนย้าย ท�ำให้ระบบต่างๆ ภายในของร่างกายเปลีย่ นแปลง ไป เนื่ อ งจากต่ อ มไร้ ท ่ อ สู ญ เสี ย การท� ำ งาน ท� ำ ให้ ร ะดั บ น�้ ำ ตาลในเลื อ ดลดลงอย่ า ง รวดเร็ว และสัตว์จะตายด้วยอาการเกร็ง
THE SEROW IN THAILAND
เอกสารอ้างอิง 1. จิ น ดา เครื อ หงส์ 2526 “นิ เ วศวิ ท ยาและพฤติ ก รรมบางประการของเลี ย งผาในกรงเลี้ ย ง” วิทยานิพนธ์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 2. G.M Allen, 1940. “The Mammals of China and Mongolia.” The American Museum of Natural History. New York 3. J. Castello, 2016. Bovids of the World: Antelopes, Gazelles, Cattle, Goats, Sheep, and Relatives. Princeton Field Guides: 664pp. 4. J.R. Ellerman and T.C.S. Morrisan-Scott, 1965. “Checklist of Palaearctic and Indian Mammals.” 1758- 1946. 2nd Edition. The Alden Press, Oxford.” 5. Groves, C., and P. Grubb, 2011. UNGULATETAXONOMY. Johns Hopkins University Press, Baltimore, Maryland, 317 pp 6. C.B. Kloss, 1919. “Mammals Collected in Siam”. Jour. of Natural History of Siam Society. 3 : 391. 7. B. Lekagul and J.A McNeely, 1977. “Mammals of Thailand”. Kuruspha, Ladprao Press, Bangkok. 8. R.I. Pocock, 1913. “The Serows, Gorals and Takins of Brithish India and The Straits Settlement”. Jour. of the Bombay Natural History Society. Vol. XXII, No.2. p. 296-320. 9. E.H. Peacock, 1933. “A Game-Book for Burma and Adjoining Territories”. H.F and G. Witherby, 326 High Holborn, W.C., London. 10. S.H. Prater, 1965. “The book of Indian Animals”. Bombay Natural History Society, India. 11. E.P. Walker, 1975. “Mammals of the world”. 3rd Edition, Vol. II. The Johns Hopkins University Press, Baltimore and London. 12. Don E. Wilson and Russell A. Mittermeier eds, 2011. Genus Capricornis in. Handbook of the Mammals of the World - Volume Hoofed Mammals 2. Lynx Edicions: 746-749.
THE SEROW IN THAILAND
41 เลียงผาที่พบในประเทศไทย
ประวัติผู้เขียน
นกบางชนิด ที่อ่างเก็บน�้ำบางพระ จังหวัดชลบุรี และเริม่ ท�ำงานวิจยั ด้านสัตว์ปา่ นับแต่นนั้ เรือ่ ยมา สืบเคยให้สัมภาษณ์เอาไว้ว่า “ผมสนใจ งานวิจัยมากกว่าที่จะไปวิ่งจับคน เพราะว่าจับได้ แค่ตัวเล็กๆ ตัวใหญ่ๆ จับไม่ได้ ก็เลยอึดอัดว่า กฎหมายบ้ า นเมื อ งนี้ มั น ใช้ ไ ม่ ไ ด้ กั บ ทุ ก คน มันเหมือนกับว่าเราไม่ยุติธรรม เรารังแกชาว บ้านในความรู้สึกของเขา เหมือนกับไม่ได้ให้ ความยุ ติ ธ รรมแก่ ค นในสั ง คม ในฐานะที่ ผ ม มีหน้าที่ที่ต้องรักษาป่า ผมก็เลยขอไปท�ำงานทาง ด้านวิจัยเกี่ยวกับสัตว์ป่าแทน” สืบ นาคะเสถียร อดีตหัวหน้าเขตรักษา พันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ชาวปราจีนบุรี เกิดเมื่อ วันที่ 31 ธันวาคม 2492 เรียนจบคณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ รุ่นที่ 35 สอบเข้า ท�ำงานกรมป่าไม้ได้ในปี 2518 2524 สืบ นาคะเสถียร ด�ำรงต�ำแหน่ง หัวหน้าเขตห้ามล่าสัตว์ป่าบางพระ และเริ่มงาน วิจัยชิ้นแรก คือการศึกษาการท�ำรังวางไข่ของ
42 เลียงผาที่พบในประเทศไทย
ด้วยความที่สืบ นาคะเสถียร เป็นคน ช่างสังเกต ชอบจดบันทึก สเก็ตช์รูป ถ่ายรูป ซึ่ง ท�ำให้งานวิจัยสัตว์ป่าของเขามีความน่าสนใจ สืบ นาคะเสถียร จบชีวิตลงเมื่อวันที่ 1 กั น ยายน 2533 ที่ เ ขตรั ก ษาพั น ธุ ์ สั ต ว์ ป ่ า ห้วยขาแข้ง โดยมีผลงานทางวิชาการและงาน วิ จั ย หลายชิ้ น ไว้ เ ป็ น มรดกให้ ผู ้ ส นใจได้ ศึ ก ษา และ น�ำไปต่อยอดได้มาถึงปัจจุบัน
THE SEROW IN THAILAND