บทบรรณาธิการ
ขอคำ�แรก เบียร์ เป็นเครื่องดื่มผลิตที่เก่าแก่
ที่สุดของโลกและมีการดื่มโดยชาวโลกเป็น อันดับ 3 รองจากน�้ำเปล่าและชา และเบียร์ ก็ มี ส ่ ว นเกี่ ย วข้ อ งในการสร้ า งอารยธรรม นักประวัติศาสตร์ในหลายแห่งเชื่อกันว่าการ ผลิตเบียร์มมี ากว่า 9,000 ปีแล้ว และครัง้ หนึง่ เมื่อ 5,000 ปีที่แล้ว เบียร์ใช้เป็นการจ่าย ค่ า ครองชี พ ที่ เ มื อ งอู รุ ก ซึ่ ง อยู ่ ใ นเขตของ ประเทศอิรักในปัจจุบัน นอกจากนั้น ในการ สร้างพีระมิดที่อียิปต์ก็มีการแจกเบียร์ให้แก่ แรงงาน เป็นทั้งเครื่องดื่มช่วยลดการกระหายน�้ำและเป็นอาหาร บ�ำรุงร่างกายอีกด้วย การผลิตเบียร์เริ่มที่ยุโรปประมาณ 3,000 ปี ที่แล้ว แต่รสชาติของเบียร์ในสมัยนั้นอาจจะแตกต่างจากสมัยนี้ พอสมควร เพราะใช้ผลไม้ น�้ำผึ้ง และพืชผักต่างๆ ในการผลิต แต่การใช้ฮ็อปในขั้นตอนการผลิตนั้นเพิ่งเริ่มมาเมื่อประมาณ 2,000 ปีที่แล้ว และเมื่อปี ค.ศ. 1516 เจ้าแห่งรัฐบาวาเรียก็ได้ ออกกฎหมายการผลิตเบียร์ว่า เบียร์ที่แท้จริงนั้นจะต้องประกอบ ไปด้วยน�้ำ ฮ็อป บาร์เลย์ และมอลต์ ในขณะนั้นการผลิตเบียร์ จะเป็นในระดับเล็ก ในหมู่บ้าน และในโบสถ์ ผลิตเพื่อการดื่ม ของคนในละแวกนั้นเท่านั้น และได้กลายเป็นเครื่องดื่มประจ�ำ ยุ โ รปไปโดยปริ ย ายเพราะน�้ ำ ดื่ ม ในสมั ย โบราณนั้ น สกปรก มีเชื้อโรคมากมาย เบียร์จึงกลายเป็นเครื่องดื่มหลักเพราะถือว่า เป็นเครื่องดื่มสะอาดที่ผ่านขั้นตอนการฆ่าเชื้อโรคมาแล้ว ชาว เยอรมันก็ได้ปรุงแต่งรสชาติเครื่องดื่มหลักนี้มาตลอด และเบียร์ จากเมืองหนึ่งก็ค่อยๆ กระจายไปอีกเมืองหนึ่ง ท�ำให้ผู้ดื่มเริ่ม เลือกดื่มเบียร์ที่มีรสชาติถูกปาก นักปรุงเบียร์หรือเป็นที่เรียกติดปากกันว่า บรูว์มาสเตอร์ (Brewmaster) เป็นบุคคลส�ำคัญที่สุดในการผลิตเบียร์ เพราะ หากพ่อครัวไม่สามารถปรุงแต่งรสชาติออกมาได้ล�้ำเลิศก็จะไม่มี
คนดื่ ม เบี ย ร์ ข องบริ ษั ท บุ ญ รอดบริ ว เวอรี่ จ�ำกัด ก็ถือว่าเกิดมาได้เพราะพ่อครัวระดับ สุดยอด บุคคลส�ำคัญที่สุดก็คือคุณประจวบ ภิรมย์ภักดี บรูว์มาสเตอร์คนแรกของไทย และบรูว์มาสเตอร์ชาวไทยคนแรกของโลก ปรุงแต่งเบียร์ไทยยี่ห้อแรกคือเบียร์สิงห์ เริ่ม สร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทยตั้งแต่เกือบ 85 ปีที่แล้ว และยังคงเป็นเบียร์ไทยที่ส่งออก ไปทั่วโลกมากที่สุดของไทยอยู่ ความรู้ของ คุณประจวบก็ได้ตกทอดสืบต่อโดยคุณปิยะ ภิรมย์ภักดี บรูว์มาสเตอร์ชาวไทยคนที่สองของโลก ทั้งสองท่าน ก็ได้ปรุงแต่งเบียร์อีกหลายยี่ห้อมาให้ชาวไทยได้ลิ้มรสชาติกัน ที่ส�ำคัญ ความรู้นี้ก็ยังสืบทอดมายังบรูว์มาสเตอร์ทุกรุ่นของบริษัท น�ำทีมในปัจจุบันโดยคุณอิสระ ขาวละเอียด ยูเบียร์ สินค้าน้องใหม่ล่าสุดจากบริษัทก็ผ่านการปรุงแต่ง อย่างพิถีพิถันกว่าจะออกมาได้ก็ใช้เวลาชิมกันอยู่นาน เพราะ สินค้าของสิงห์ขึ้นชื่ออยู่แล้วว่าถ้าไม่อร่อยจริงก็จะไม่ออกและ ดูจากยอดขายที่เพิ่มขึ้นเร็วมากก็ต้องหันมายกนิ้วให้กับพ่อครัว ของเรา สิงห์ แมกกาซีน จึงขอน�ำท่านผูอ้ า่ นมารูจ้ กั กับบรูวม์ าสเตอร์ ของเราในฉบับนี้ครับ แนะน�ำนักปรุงเบียร์ในปัจจุบัน รวมทั้ง ให้รายชือ่ นักปรุงเบียร์จากอดีตสูป่ จั จุบนั การปรุงเบียร์นนั้ เป็นศิลปะ ชนิดหนึ่ง ไม่ใช่ว่าสักแต่ว่าผลิตเบียร์ออกมาแล้วก็ขายได้เลย ดูจากสมัยสงครามที่ขาดวัตถุดิบหลายตัว คุณประจวบก็ได้ คิดค้นสูตรเบียร์ใหม่ที่ใช้ผลิตเบียร์ที่ออกมาขายช่วงสงคราม โดยใช้วัตถุดิบที่หาได้ภายในประเทศช่วยพยุงบริษัทให้อยู่รอด มาได้ และเมื่อความรู้ในการปรุงเบียร์ของเรามาจากประเทศ เยอรมนีตงั้ แต่เดิมอยูแ่ ล้ว บุคคลทีน่ า่ รูจ้ กั ในฉบับนีจ้ งึ เป็นผูน้ ำ� ของ ประเทศผู้ผลิตเบียร์ต้นต�ำรับนี้ด้วยเลยครับ สรวิช ภิรมย์ภักดี SINGHA MAGAZINE
5
สารบัญ
ISSUE 2 / 2017 มิถุนายน 2560
เรื่องเด่น BREWMASTER “เชฟใหญ่แห่งครัวบุญรอด”
20
58
30
72
ข่าว
ข่าวสารกิจกรรม รู้ความเคลื่อนไหวภายในองค์กร
8
สิงห์ ถามมาตอบไป ถ้าเลือกได้ คุณอยากใส่หน้ากากอะไร คุยกับฮีโร่ มานิตา เสถียรโชควิศาล และ ภาณุพล พิทยารัฐ ตามไปดู ทีมภูมิศาสตร์สารสนเทศ ของเก่าเล่าเรื่อง สามสิงห์ ความเหมือนบนความต่าง
28 44 46 52
ท่องเที่ยว เที่ยวเมืองตรัง ณ กันตัง หลงรัก นางเงือกในตำ�นาน
20
ความรู้ทั่วไป ธุรกิจครอบครัวเบียร์ ตอนที่ 7 สเตลล่า อาร์ทัวส์ (Stella Artois) บุคคลน่าสนใจ อังเกลา แมร์เคิล สตรีผู้ทรงอิทธิพลในการเมืองโลก หาเรื่องมาเล่า เกาะฮาชิมะแห่งนางาซากิ สุขภาพดีมีเคล็ดลับ 9 เรื่องเล็ก แต่ให้ผลยิ่งใหญ่
ปากกาพาไป
ว่าด้วยเรื่องมารยาทในการแต่งกาย
54 58 64 68
62
คอลัมน์พิเศษ เมนูเด็ด อาหาร Latin America คุณรู้หรือไม่ ข้าวเป็นอาหารหลักของคนครึ่งโลก
72 76
บันเทิง ทำ�นายคลายเครียด คำ�ทำ�นาย 13 ต้นไม้ ตามตำ�นานเซลติก Knowledge World Trivia แนะนำ�แวดวงศิลป์ รวมบันเทิงนอกกระแส สัมภาษณ์สั้น วี วิโอเลต
74 78 80 82
ISSN 1686-4085
ข้อมูลและเนื้อหาในหนังสือเล่มนี้เป็นลิขสิทธิ์ ของ สิงห์ แมกกาซีน พ.ศ. 2556 ผู้ใดต้องการทำ�ซํ้าหรือดัดแปลงเพื่อเผยแพร่ กรุ ณ าติ ด ต่ อ เพื่ อ ขออนุ ญ าตที่ บ รรณาธิ ก าร โดยตรง
บรรณาธิการ สรวิช ภิรมย์ภักดี กองบรรณาธิการ ภมรพล จันทนะโพธิ ศิริมล โฉมปราชญ์ สิตา พงษ์วิทยาวรงค์ กราฟิกดีไซเนอร์ มัลลิกา ศิริวิเสโสกุล สารเดช สุวรรณประสิทธิ์ โฆษณาและการตลาด รชาดา บุณยปรัตยุษ ประสานงาน ณภาญาดา สายบัว ช่างภาพกิตติมศักดิ์ิ อร่าม อินทรภิรมย์ อิทธิพันธุ์ ฉายผ่องพรรณ สำ�นักงานการพิพิธภัณฑ์และสื่อสิ่งพิมพ์ บริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำ�กัด 999 ถนนสามเสน แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300 singhamag@boonrawd.co.th พิมพ์ที่ บริษัท ศรีสยามการพิมพ์ จำ�กัด 473 ซอยสุทธิพร 2 ถนนประชาสงเคราะห์ ดินแดง กรุงเทพฯ 10400 โทรศัพท์ 0-2641-7941
ทีม่ าภาพปก: cool-beer-mugs.blogspot.com
ข่าว / ข่าวสารกิจกรรม
เชียงใหม่เบเวอเรช จัดงานทำ�บุญครบรอบ 25 ปี @ เชียงใหม่ l 25 กุมภาพันธ์ 2560
นายโรจน์ฤทธิ์ เทพาค�ำ กรรมการรองกรรมการผูจ้ ดั การใหญ่ บริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จ�ำกัด และคณะผู้บริหาร บริษัท บุญรอด บริวเวอรี่ จ�ำกัด และ บริษัทในเครือ ให้เกียรติเข้าร่วมงานท�ำบุญ ครบรอบ 25 ปี บริษัท เชียงใหม่เบเวอเรช จ�ำกัด ในโอกาสงานบุญนี้
8
SINGHA MAGAZINE
ได้นิมนต์พระสงฆ์ 9 รูป และจัดกิจกรรมสาธารณกุศล มอบทุนการ ศึกษาแก่นักเรียนเรียนดีแต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ในเขตพื้นที่ชุมชน รอบโรงงาน อาทิ โรงเรียนวัดศรีโพธาราม โรงเรียนสารภีพิทยาคม เพื่อเสริมสร้างสัมพันธ์อันดีระหว่างบริษัทและชุมชนรอบโรงงาน
Asean Cup F1 Powerboat 2017 @ ชลบุรี l 25-26 กุมภาพันธ์ 2560
บริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จ�ำกัด ร่วมกับ ปตท. และเทศบาล ต.บางเสร่ จัดการแข่งขันเรือเร็วสูตรหนึ่ง รายการ “อาเซียน คัพ เอฟวัน พาวเวอร์โบ๊ท 2017” (Asean Cup F1 Powerboat 2017) การแข่งขันเรือเร็วสูตรหนึ่งรายการใหญ่ที่สุดครั้งแรกในรอบ 20 ปี ของภูมภิ าคอาเซียน และมีนกั แข่งขันระดับอาเซียนเข้าร่วมประชัน ความเร็วอย่างคับคั่งที่หาดบางเสร่ วัตถุประสงค์เพื่อช่วยส่งเสริม
กีฬาทางน�ำ้ ของไทยให้แพร่หลายทัว่ โลก พร้อมกระตุน้ การท่องเทีย่ ว และสร้างรายได้เข้าประเทศอีกทางหนึ่ง โดยนายวุฒา ภิรมย์ภักดี ประธานกรรมการ บริษทั บุญรอดบริวเวอรี่ จ�ำกัด ในฐานะประธาน จัดการแข่งขัน และนายสมจิตร์ นิ่มสุวรรณ นายกเทศมนตรี เทศบาลต�ำบลบางเสร่ ร่วมเป็นประธานในพิธีเปิดการแข่งขันอย่าง เป็นทางการ
มหกรรมอาหารสะอาด รสชาติอร่อย ของดีเมืองปากน�้ำโพ ครั้งที่ 15
งานเทศกาลอาหารทะเล จังหวัดสมุทรสาคร ครั้งที่ 16
ฝ่ายส่งเสริมกิจกรรมพิเศษ 1 ร่วมสนับสนุนเทศบาลนครสวรรค์ จัดงานมหกรรมอาหารสะอาดฯ ณ ลานหน้าหมู่บ้าน NSC อ.เมือง จ.นครสวรรค์ ภายในงานแบ่งพื้นที่ออกเป็น 2 โซน คือ โซนมหกรรม อาหารและคอนเสิรต์ โซนสินค้า OTOP โดยตลอด 5 วันของการจัดงาน มีผู้สนใจเข้าร่วมงานทั้งสิ้นประมาณ 12,500 คน
ฝ่ายส่งเสริมกิจกรรมพิเศษ 1 ร่วมกับชมรมผู้ประกอบการ ร้านอาหารจังหวัดสมุทรสาคร จัดงานเทศกาลอาหารทะเลสุด ยิ่งใหญ่ ใช้พื้นที่ 49 ไร่ ตรงข้ามตลาดทะเลไทยในเขต อ.เมือง ให้เป็นพื้นที่ของการออกร้านอาหาร ตลอดจนสินค้าอื่นๆ และ เครือ่ งเล่น พร้อมทัง้ จัดกิจกรรมลานเบียร์ ได้รบั ความสนใจจาก ประชาชนทั้งในและนอกพื้นที่ตลอด 5 วันของการจัดงาน โดย มีผู้เข้าร่วมงานทั้งสิ้นประมาณ 60,000 คน
@ นครสวรรค์ l 1-5 มีนาคม 2560
@ สมุทรสาคร l 2-6 มีนาคม 2560
SINGHA MAGAZINE
9
ข่าว / ข่าวสารกิจกรรม
Be Proactive Grand Launch @ กรุงเทพมหานคร l 3 มีนาคม 2560
กลุม่ บริหารองค์ความรูแ้ ละส่งเสริมสังคม ร่วมกับ ส�ำนักงานการบุคคลกลาง และ HR Business Partner ได้จัดอบรมหลักสูตร Be Proactive ซึ่งเป็นส่วนหนึ่ง ของนโยบายบริษัทฯ ในปีนี้ เพื่อสร้างวัฒนธรรมขององค์กรให้เป็นไปในทิศทาง เดียวกัน โดยได้จัดงาน Be Proactive Grand Launch เพื่อเปิดตัวโครงการนี้ อย่างเป็นทางการ และได้รับเกียรติจากผู้บริหารระดับสูงของ บริษัท บุญรอด บริวเวอรี่ จ�ำกัด ได้แก่ นายคมสัน แสงทอง รองกรรมการผู้จัดการ นาย ฉัตรชัย วิรัตน์โยสินทร์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ นายชลวิทย์ สุขอุดม ผูอ้ ำ� นวยการกลุม่ บริหารองค์ความรูแ้ ละส่งเสริมสังคม ร่วมให้โอวาทและเสริมสร้าง ก�ำลังใจแก่เหล่าพนักงานทั้งสิ้น 350 คน
10
SINGHA MAGAZINE
LAO FASHION SHOW 2017 @ Vientiane @ ประเทศลาว l 11 มีนาคม 2560
ฝ่ายธุรกิจเบียร์-ภูมภิ าค ร่วมสนับสนุนงาน “Fashion show 2017 let’s wet Lao” งานแฟชั่นโชว์แบบเปียกที่ จัดขึ้นครั้งแรกในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ณ นครเวียงจันทน์ ภายในงานมีการจัดบูธและตกแต่ง รอบๆ บริเวณเป็นธีมของเบียร์สิงห์ ไฮไลท์สำ�คัญคือการ เชิญเหล่าเซเลป นางแบบ ศิลปิน ดาราชื่อดัง และนักข่าว จากทางลาวมาร่วมงานกว่า 500 คน รวมถึงบรรดานายแบบ นางแบบจากประเทศไทยที่มาร่วมสร้างสีสันให้กับงาน มากขึ้น กิจกรรมครั้งนี้ได้รับการตอบรับจากบรรดาผู้มา ร่วมงานเป็นอย่างดี
Art of Salt
@ เพชรบุรี l 17-19 มีนาคม 2560
อบต.บางแก้ ว ผุ ด ไอเดี ย บรรเจิ ด จั ด งาน Art of Salt โดยมีฝ่ายกิจกรรมพิเศษ 2 ให้การ สนับสนุน สถานที่จัดงานอยู่บริเวณกิโลเมตรที่ 41 อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรี ภายในงานแบ่งเป็น 3 โซน ได้แก่ โซนมหกรรมอาหารที่มีการจัดเวทีแสดง ดนตรี รวมถึงออกบูธจำ�หน่ายอาหารและเครือ่ งดืม่ โซนจำ�หน่ายสินค้าพื้นเมือง และโซนการแสดง ประติมากรรมเกลือทะเล ตลอดการจัดงาน 3 วัน มีนักท่องเที่ยวให้ความสนใจเข้าร่วมงานทั้งสิ้น ประมาณ 6,000 คน
ตรังมิวสิคเฟสติวัล ครั้งที่ 4 @ ตรัง l 18 มีนาคม 2560
ฝ่ายส่งเสริมกิจกรรมพิเศษ 2 ร่วมกับ Organizer ในพื้นที่เมืองตรัง จัดคอนเสิร์ต “ตรังมิวสิคเฟสติวลั ” โดยใช้พนื้ ทีห่ าดราชมงคล อ.สิเกา จ.ตรัง เปิดจำ�หน่ายบัตรเข้างานใน ราคา 1,200 บาท มีการแสดงของศิลปิน 10 วง เช่น Slot Machine แสตมป์ สิงโต นำ�โชค Musketeers Playground และ Silly Fool เป็นต้น กิจกรรมได้รบั ความสนใจจากผูช้ มงาน ประมาณ 10,000 คน SINGHA MAGAZINE
11
ข่าว / ข่าวสารกิจกรรม
Singha Summer Camp 2017 @ ทั่วประเทศ l 19 มีนาคม 2560
“สิงห์ ซัมเมอร์แคมป์ ครั้งที่ 9” โครงการกิจกรรมสร้างสรรค์เพื่อน้องๆ เยาวชนจากโรงเรียนในพืน้ ทีร่ อบโรงงานของบริษทั บุญรอดฯ ทัง้ 11 แห่ง ครัง้ นีม้ นี อ้ งๆ ให้ความสนใจสมัครเข้าร่วมโครงการประมาณ 1,400 คน พิธีเปิดโครงการจัดขึ้น ที่หอประชุมใหญ่ บริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำ�กัด โดยมีนายอรรถสิทธิ์ พรหมสุข ผู้จัดการแผนกกิจกรรมประชาสัมพันธ์ บริษัท สิงห์ คอร์เปอเรชั่น จำ�กัด เป็น ประธานการแถลงข่าวเปิดตัวโครงการ พร้อมด้วยวิทยากรผู้เข้าร่วมโครงการ อาทิ นายรุ่งโรจน์ ไทยนิยม นักกีฬาเทเบิลเทนนิส เจ้าของเหรียญทองพาราลิมปิกเกมส์ 2012 นายชนาธิป ซ้อนขำ� นักเทควันโดเหรียญทองแดงโอลิมปิก 2012 นายชวิต ร่วมโพธิ์ รองแชมป์โลกแบทเทิลสไลด์ศึกกีฬาเอ็กซ์ตรีม รายการ “เวิลด์ อินไลน์ ฟรีสไตล์ แชมเปี้ยนชิพ แบงค็อก 2016” เป็นต้น
Singha Cha Am Bikini Beach Run 2017 @ เพชรบุรี l 19 มีนาคม 2560
บริษัท สิงห์ คอร์เปอเรชั่น จำ�กัด ร่วมกับ เทศบาล เมืองชะอำ� และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) จ.เพชรบุรี จัดงานวิง่ บิกนิ ี่ รายการ “สิงห์ หาดชะอำ� บิกนิ ี่ บีช รัน 2017” จัดต่อเนื่องเป็นปีที่ 9 เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว ชายหาดหาดชะอำ� โดยประธานในพิธีปล่อยตัวและมอบ รางวัล ได้รบั เกียรติจาก นายณัฐวุฒิ เพ็ชรพรหมศร รองผูว้ า่ ราชการ จ.เพชรบุรี นายรัตติพงษ์ ภักดี ผู้แทน บริษัท สิงห์ คอร์เปอเรชั่น จำ�กัด นายศรีเพชร อินพันทัง รอง ปลัดเทศบาลเมืองชะอำ� นายวสันต์ กิตติกลุ นายกสมาคม ธุรกิจการท่องเทีย่ ว จ.เพชรบุรี และนายอัครวิชย์ เทพาสิต ผอ.ททท.สำ�นักงานเพชรบุรี งานนี้เปิดโอกาสให้ผู้เข้า แข่งขันใส่บิกินี่ได้ เส้นทางวิ่งใช้เส้นทางเลียบหาดชะอำ� นักวิง่ ทุกคนต้องวิง่ บนชายหาด ระยะทางกว่า 2 กม. ในช่วง สุดท้าย การแข่งขันแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ ฮาล์ฟ มาราธอน 21.1 กม. มินิมาราธอน 10.5 กม. บิกินี่รัน 10.5 กม. และฟันรัน 5 กม. 12
SINGHA MAGAZINE
“สิงห์ออลสตาร์” ปะทะ “วีไอพี พม.” @ กรุงเทพมหานคร l 20 มีนาคม 2560
พลตำ�รวจเอก อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวง การพัฒนาสังคมและความมัน่ คงของมนุษย์ พร้อมนายปิติ ภิรมย์ภกั ดี กรรมการ บริษทั บุญรอดบริวเวอรี่ จำ�กัด และประธานสโมสรฟุตบอล สิงห์ออลสตาร์ ร่วมแถลงข่าวความร่วมมือระหว่าง บริษัท บุญรอด บริวเวอรี่ จำ�กัด กับกระทรวงความมั่นคงมนุษย์ฯ จัดกิจกรรม “สิงห์ อาสา ร่วมพัฒนาสังคม” ภายใต้โครงการประชารัฐร่วมใจ พัฒนาสังคม จัดการแข่งขันฟุตบอลนัดพิเศษระหว่างทีม “สิงห์ ออลสตาร์” พบกับ ทีม “วีไอพี พม.” ซึ่งแข่งขันในวันที่ 22 เมษายน 2560 พร้อมด้วย การเปิดตัวทีมสิงห์ออลสตาร์เป็นแอมบาสเดอร์สนับสนุนการทำ�งาน ของกระทรวงฯ และศูนย์ช่วยเหลือสังคมของกระทรวงฯ
WORLD WATER DAY รณรงค์ประหยัดน�้ำ
@ กรุงเทพมหานคร | 22-26 มีนาคม 2560
น้ำ�ดื่มสิงห์จัด “ขวดเดียวในโลก” กิจกรรมสนุกๆ เพื่อร่วม รณรงค์วนั อนุรกั ษ์น้ำ�โลก โดยให้ถา่ ยรูปสุดเก๋ในสไตล์ของคุณเอง และพิมพ์ภาพขึน้ ไปอยูบ่ นฉลากขวดน้ำ� พร้อมทัง้ จัดรายการสินค้า ในราคาพิเศษและลุ้นรับของรางวัลอีกมากมาย ที่บิ๊กซีราชดำ�ริ บิ๊กซีสะพานควาย บิ๊กซี Extra ลาดพร้าว บิ๊กซีพระราม 2 บิ๊กซี Extra บางใหญ่ และบิ๊กซีรังสิต
Live Leo Concert at Banteay Meanchey @ ประเทศกัมพูชา l 24 มีนาคม 2560
งาน Live Leo Concert at Banteay Meanchey Cambodia เป็นการจัดงานถ่ายทอดสดทั่วประเทศกัมพูชาที่ช่อง Hong Meas HDTV Channel ซึง่ เป็นช่องทีไ่ ด้รบั ความนิยมอันดับต้นๆ ของกัมพูชา งานนี้จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 3 นับจากเดือนมกราคมที่ผ่านมาและเป็น ครั้งสุดท้ายของปีนี้ ได้รับการตอบรับจากผู้ชมในพื้นที่เป็นอย่างดี แม้จะมีฝนตกลงมาช่วงเย็นก่อนการถ่ายทอดสด ทำ�ให้เห็นพลังมวลชน คนกัมพูชาผู้ศรัทธาเบียร์ลีโอ คอนเสิร์ตครั้งนี้ได้ศิลปินอันดับต้นๆ ของกัมพูชามาร่วมแสดงกันอย่างคับคั่ง อาทิ Miss Aok Sokunkanha Mr.Nop Bayarith Pich Sophea and Zono เป็นต้น สำ�หรับไฮไลท์ ของงานคือการแจกรถให้กบั ผูโ้ ชคดีทรี่ ว่ มลุน้ รางวัลจากใต้ฝากระป๋อง เบียร์ลีโอในโปรโมชั่น Pull ring ตอกย้ำ�ว่าลีโอแจกจริงรับจริง คาดว่า โปรโมชั่นนี้จะช่วยกระตุ้นยอดขายอย่างดี งานนี้ถือเป็นการจัดงาน ในประเทศกัมพูชาที่ประสบความสำ�เร็จอย่างสูงมากทีเดียว SINGHA MAGAZINE
13
ข่าว / ข่าวสารกิจกรรม
มิวซิกมูฟ จับมือ เอแบค จัดกิจกรรมดนตรี มิวสิคแคมป์ฯ @ กรุงเทพมหานคร l 27 มีนาคม 2560
นายวุฒินันต์ ภิรมย์ภักดี กรรมการผู้จัดการ บริษัท มิวซิก มูฟ จำ�กัด (MUZIK MOVE) เล็งเห็นความสำ�คัญของการวางรากฐาน ในการสร้างบุคลากรมากความสามารถให้กับอุตสาหกรรมดนตรี จึงจับมือกับ “ภาคธุรกิจดนตรี มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ” ร่วมกัน ส่งเสริมการศึกษาดนตรีให้มีศักยภาพและกระจายความรู้ให้มาก ยิ่งขึ้น ประเดิมงานแรกภายใต้กิจกรรม “Music Summer Camp by ABAC School of Music & Muzik Move” แคมป์ดนตรีสำ�หรับ
การแข่งขันเทนนิสอาชีพ “สิงห์ ทีเอทีพี ทัวร์ 2017” @ นนทบุรี l 27 มีนาคม 2560
นายสรวง จันทรอุไร ผูจ้ ดั การสำ�นักงานส่งเสริมกีฬา บริษัท สิงห์ คอร์เปอเรชั่น จำ�กัด พร้อมด้วย นส.สริตา ศิลปไชย ผูจ้ ดั การฝ่ายผลิตภัณฑ์ บริษทั ศิลาแม็กซิไมซ์ จำ�กัด นายอนนต์ อดิโรจนานนท์ กรรมการผู้จัดการ บ.เวิลด์คลาสนิวทริชั่น จำ�กัด มิสเตอร์ สตีเฟ่น คูน (Mr. Stephen Koon) Director of IMPACT Sports Club มิสเตอร์ โรโน่ คาซิลแล็ค กรรมการผู้จัดการ บริษัท เกรต้าฟาร์ม จำ�กัด และนายภราดร ศรีชาพันธุ์ กรรมการบริหาร ทีเอทีพี ร่วมแถลงข่าวจัดการแข่งขัน เทนนิสอาชีพ “สิงห์ ทีเอทีพี ทัวร์ 2017” ครอบคลุม นักกีฬาทุกช่วงอายุ ชิงเงินรางวัลรวมกว่า 3.38 ล้านบาท ณ ห้องแซฟไฟร์ 201 อาคารอิมแพ็คฟอรัม่ เมืองทองธานี โดยมีนักกีฬาเทนนิสชื่อดังและสื่อมวลชนมาร่วมงาน อย่างคับคั่ง 14
SINGHA MAGAZINE
นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายทั่วประเทศ เพื่อปลูกฝัง ความรู้ สร้างเสริมประสบการณ์รว่ มกับศิลปินคุณภาพและบุคลากร ผู้คร่ำ�หวอดในวงการดนตรีจากบริษัท มิวซิกมูฟ จำ�กัด ตลอดจน คณาจารย์คณะดนตรีของมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ นอกจากนี้ ผู้ที่ ผ่านเข้ามาในกิจกรรม ยังจะมีโอกาสได้รับทุนการศึกษาภาควิชา ธุรกิจดนตรี มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จำ�นวน 5 ทุน และได้ฝึกงาน ที่ MUZIK MOVE อีกด้วย
กลุ่ม Quality Tree จาก SRB ได้รับรางวัล Silver Award TQP 2017 @ กรุงเทพมหานคร l 28-30 มีนาคม 2560
บริษัท สุราษฎร์ธานี เบเวอเรช จำ�กัด ส่งตัวแทนกลุ่ม เข้าประกวดผลงาน (QCC) Thailand Quality Prize 2017 ณ ศูนย์นิทรรศการ ประชุมไบเทคบางนา โดยส่งกลุ่ม Quality Tree เข้าร่วมประกวดประเภท Support QCC ได้รับรางวัล “Silver” เรือ่ ง ลดจำ�นวนครัง้ ในการ Recheck GH Out Spec ใน WT ทางบริษทั ฯ มีนโยบายส่งเสริมและพัฒนาให้พนักงาน มีส่วนร่วมในกิจกรรม QCC เพื่อสามารถแก้ปัญหาต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล อีกทั้งสนับสนุนการ ทำ�งานเป็นทีมเพื่อสร้างความสามัคคีในองค์กร
บุญรอดและมูลนิธิพระยาภิรมย์ภักดี ให้ก�ำลังใจทหารและต�ำรวจทุพพลภาพ @ กรุงเทพมหานคร l 30 มีนาคม 2560
นายศรีล สุขุม นางณัฐวรรณ ทีปสุวรรณ และนางสาว ทิพธิดา สุขมุ ผูแ้ ทนบริษทั บุญรอดบริวเวอรี่ จำ�กัด ร่วมกับมูลนิธิ พระยาภิรมย์ภักดี เข้าพบท่านผู้หญิงอิศรา บุรณศิริ กรรมการ ผูจ้ ดั การมูลนิธสิ ายใจไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ และคณะ เนือ่ งใน วันสายใจไทยทีอ่ าคารมูลนิธสิ ายใจไทย ถนนศรีอยุธยา เพือ่ มอบ กล่องของขวัญและสิ่งของจำ�เป็นให้กำ�ลังใจเหล่าทหารและ ตำ�รวจผู้ทุพพลภาพจากการปฏิบัติหน้าที่ เป็นกิจกรรมที่ บริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำ�กัด และมูลนิธิพระยาภิรมย์ภักดี ทำ�เป็น ประจำ�อย่างต่อเนื่องมานานกว่า 42 ปีแล้ว
ต๊อด ปิติ ภิรมย์ภักดี คว้ารองแชมป์ แข่งรถที่อิตาลี @ ประเทศอิตาลี l 2 เมษายน 2560
นายปิติ ภิรมย์ภกั ดี นักขับชาวไทย และ คาร์โล แวน แดม เพือ่ น ร่วมทีมชาวเนเธอร์แลนด์ ผงาดโพเดี้ยมเป็นเรซที่สองติดต่อกัน หลังควบเฟอร์รารี 488 พาทีมเคซเซล เรซซิ่ง ทีพี 12 เข้าเส้นชัย เป็นอันดับสองในรุ่นโปรแอม การแข่งขันรถยนต์ทางเรียบจีที 3 ชิงแชมป์ยุโรป “บล็องค์แปง จีที ซีรีส์ สปรินท์คัพ” รอบเมนเรซ ที่มิซาโน่ เวิลด์ เซอร์กิต ในประเทศอิตาลี เมื่อค่ำ�วันที่ 2 เม.ย. ตามเวลาประเทศไทย SINGHA MAGAZINE
15
ข่าว / ข่าวสารกิจกรรม
รวมภาพบรรยากาศสิงห์
จัดงานสงกรานต์ทั้งไทยและต่างประเทศ
@ ประเทศลาว l 14-16 เมษายน 2560 @ ประเทศพม่า l 12-16 เมษายน 2560 @ หนองคาย l 13-15 เมษายน 2560 หนองคาย
ประเทศลาว
16
SINGHA MAGAZINE
ประเทศพม่า
SINGHA MAGAZINE
17
ข่าว / ข่าวสารกิจกรรม
สิงห์สงกรานต์มิดไนท์รัน 2017 @ เชียงใหม่ l 13 เมษายน 2560
บริษัท สิงห์ คอร์เปอเรชั่น จำ�กัด ร่วมกับ จังหวัดเชียงใหม่ สวนสัตว์เชียงใหม่ และการท่องเทีย่ วแห่งประเทศไทย จัดการแข่งขัน วิ่งนานาชาติ “สิงห์ สงกรานต์ เชียงใหม่ ไนท์ รัน 2017” การแข่งวิ่ง เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงกีฬา (2017 Thailand Sports Tourism) ได้รบั ความสนใจจากเหล่านักวิง่ ปอดเหล็กทัง้ ชาวไทยและชาวต่างชาติ ทีม่ าเข้าร่วมกว่า 1,300 คน สำ�หรับการชิงชัยครัง้ นีแ้ บ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ วิ่งฮาล์ฟมาราธอน 21.1 กม. วิ่งมินิมาราธอน 10.5 กม. มีจุดวิ่ง เริม่ ต้นทีส่ วนสัตว์เชียงใหม่ขนึ้ ไปถึงพระธาตุดอยสุเทพฯ และกลับมา สิ้นสุดที่สวนสัตว์เชียงใหม่อีกครั้ง
The Fun You Desire
@ ประเทศกัมพูชา l 15 เมษายน 2560
ฝ่ายวางแผนการตลาด-ภูมภิ าค โปรโมตหนังโฆษณาตัวใหม่ของ ร่วมแสดงด้วย นอกจากนี้ในหนังโฆษณาชุดดังกล่าวยังเป็นการ สินค้าลีโอเบียร์ภายใต้แนวคิด “FUN” โดยใช้ tag line “The Fun โปรโมตขวดและกระป๋องรูปแบบใหม่ โดยมีการประชาสัมพันธ์ You Desire” มีศิลปินหญิงกัมพูชาชื่อดังอย่าง Meas Soksophea ผ่านทางโฆษณาโทรทัศน์ บิลบอร์ด แบนเนอร์ และอินเตอร์เน็ต
18
SINGHA MAGAZINE
Singha Sports Hall of Fame 2017 @ กรุงเทพมหานคร l 2 พฤษภาคม 2560
นายสันติ ภิรมย์ภกั ดี กรรมการผูจ้ ดั การใหญ่ บริษทั บุญรอด บริวเวอรี่ จำ�กัด เป็นประธานในงาน “วันนักกีฬาหัวใจสิงห์ ครัง้ ที่ 3” (Singha Sports Hall of Fame 2017) ที่จัดต่อเนื่องเป็นประจำ�ทุกปี ถือเป็นประเพณีในการเปิดบ้านต้อนรับนักกีฬา เพื่อให้กำ�ลังใจ นักกีฬาที่บริษัทให้การสนับสนุนทั้งอดีตและปัจจุบัน ครอบคลุมทั้ง
สมาคมกีฬา ชมรม หรือสโมสรกีฬาต่างๆ และนักกีฬา นอกจากน้ี ยังเป็นงานที่ได้พบปะพูดคุยกันของนักกีฬา ซึ่งทุกคนคือพี่น้อง ครอบครัวเดียวกัน พร้อมกับมีพธิ มี อบรางวัลนักกีฬายอดเยีย่ มให้กบั นักกีฬาแต่ละสมาคมฯ ที่สร้างผลงานโดดเด่น โดยมีเหล่านักกีฬา รวมถึงผู้บริหารสมาคมกีฬาฯ มาร่วมงานเป็นจำ�นวนมาก
SINGHA MAGAZINE
19
ท่องเที่ยว / ตรัง
g n a Tr - เที่ยวเมืองตรัง ณ กันตัง -
หลงรักนางเงือกในตำ�นาน เรื่อง: กาเต้ ภาพ: วันอับดุลฮาเล็ม
จุดเริม่ ต้นของทริปนีค้ อื มันร้อน พอร้อนนักก็ตอ้ งพักร้อน แล้วพอพูดถึงพักร้อนก็นกึ ถึงแต่ทะเล แต่นกึ ไม่ออกว่าทะเล และเกาะทีย่ งั ไม่เคยไปจะเป็นทีไ่ หนดี กริง๊ กร๊างถามคนรูจ้ กั เขาก็แนะนำ�มาว่าไป “ตรัง” สิเธอ เกาะสวยนา้ํ ใส คนไม่ พลุกพล่านดีนกั เราได้ฟงั ก็ชกั สนใจไหนลองหาข้อมูลซิ อ้อ เกาะลิบงที่ตรังนับว่ามีขอ้ มูลน้อยเมือ่ เทียบกับ ถํา้ มรกต เกาะมุก เกาะกระดาน ทัง้ ๆ ที่เป็นเกาะที่มีพื้นที่ใหญ่ที่สุดของจังหวัด แถมเป็น เกาะเดียวทีจ่ ะได้พบกับ “นางเงือก” อีกด้วย รูอ้ ย่างนีจ้ ะรอช้าอยูท่ �ำ ไม รีบจองตัว๋ แบบปัจจุบนั ทันด่วน เหินฟ้ามุง่ หน้าสูจ่ งั หวัดตรังทันที
20
SINGHA MAGAZINE
SINGHA MAGAZINE
21
ท่องเที่ยว / ตรัง เรามาถึงอ.กันตัง ของเมืองตรังตัง้ แต่เช้า และจัดการเช่ารถที่สนามบินเพื่อชมเมือง ไปพลางระหว่างรอนัง่ เรือข้ามไปยังเกาะลิบง ตอนเย็น “น้องปู” คนขับรถอารมณ์ดีพาเรา ไปที่ ศาลเจ้าท่ามก๋งเยี่ย เขาว่ามาถึง ทั้งทีก็ไม่ควรพลาดมาสักการะเพื่อความเป็น สิริมงคล เราจัดแจงขอพรให้ท้องฟ้าสดใส ปลอดมรสุมตลอดการเดินทาง ที่น่ีเปรียบ เหมือนศาลเจ้าประจ�ำจังหวัด พ่อแม่จะพา เด็กแรกเกิดมาไหว้ขอพรเพื่อขอให้พระท่าม ก๋งเยี่ยท่านรับเด็กไว้เป็นบุตร ชีวิตจะได้ รุง่ เรือง และน�ำวันเดือนปีเกิดมาให้เจ้าหน้าที่ ศาลตัง้ ชือ่ ด้วย น้องปูเล่าว่าตัวเองก็มชี อื่ จีนที่ ตั้งที่นี่เหมือนกันชื่อ ตัมเล้ง แปลว่า มังกร “โอ่โอปักษ์ใต้บ้านเรา โอ่โอปักษ์ใต้ บ้านเรา แม่น�้ำภูเขาทะเลกว้างไกล อย่า ไปไหนกลับใต้บ้านเรา อย่าไปไหนกลับใต้ บ้านเรา...” เราฟังเพลงพร้อมพูดคุยถึงวิถี ชีวิตคนตรังกับน้องปูไปพลางไม่นานก็มาถึง สถานีรถไฟกันตัง สถานีปลายทางของ ทางรถไฟสายใต้ฝั่งทะเลอันดามัน อาคาร สถานีเป็นไม้ชั้นเดียว มีสีเหลืองมัสตาร์ดตัด กับสีน�้ำตาลเข้มคงเอกลักษณ์เดิมตั้งแต่สมัย รัชกาลที่ 6 สุดยอดตรงที่ได้ขึ้นทะเบียนเป็น โบราณสถานของจังหวัดตรัง บรรยากาศที่นี่ คึกคักเพราะเต็มไปด้วยผู้คนที่มารอขบวน รถไฟและวั ยรุ ่ นหนุ ่ มสาวที่มาถ่า ยรูป เก็บ ความงามของสถานที่ หลังจากสถานีรถไฟ เราก็เดินทางไปยัง สถานที่ส�ำคัญทางประวัติศาสตร์ของจังหวัด พิพิธภัณฑ์พระยารัษฎานุประดิษฐ์ มหิศรภักดี เป็นบ้านพักของพระยารัษฎา
นุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี๊ ณ ระนอง) อดีตเจ้าเมืองตรัง พิพิธภัณฑ์เป็นอาคารไม้ ขนาดกลางสองชั้น ด้านในมีรูปปั้นหุ่นขี้ผึ้ง ท่านพระยาฯ จัดแสดงข้าวของเครื่องใช้เดิม ของท่านอย่างครบถ้วน รวมถึงประวัติและ
22
SINGHA MAGAZINE
01
03
กุศโลบายการปกครองอันชาญฉลาดของท่าน เช่น การส่งเสริมการปลูกยางพาราครั้งแรก ในตรัง จนกลายเป็นอาชีพหลักของชาวตรัง และชาวใต้มาถึงปัจจุบนั ท�ำให้ทา่ นได้รบั การ ยกย่องว่าเป็น “บิดาแห่งยางพาราของไทย” ** พิพิธภัณฑ์เปิดวันอังคาร - อาทิตย์ เวลา 9:00 - 16:00 น. ค่าชมแล้วแต่ศรัทธา ระหว่างไปท่าเรือเพื่อข้ามไปเกาะลิบง เราแวะที่ วนอุทยานบ่อนํา้ ร้อนกันตัง บ่ อ น�้ ำ พุ ร ้ อ นธรรมชาติ ที่ มี อุ ณ หภู มิ เ ฉลี่ ย ประมาณ 40 - 70 องศา เหมาะส�ำหรับลงแช่ตวั เพื่อพักผ่อนและรักษาสุขภาพ เราจะเห็นคน มานั่งแช่เท้า อาบน�้ำ นวดตัว โดยห้องแช่น�้ำ
04
07
09
01 - 02 03 - 04 05 06 07 08 09 10
ศาลเจ้าท่ามก๋งเยี่ย บรรยากาศที่สถานีรถไฟกันตัง พิพิธภัณฑ์พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี รูปปั้นของพระยารัษฎาฯ กับประชาชนพร้อม คำ�บรรยายกุศโลบายการปกครองของท่าน วนอุทยานบ่อนํ้าร้อนกันตัง บรรยากาศที่หาดหยงหลิง บรรยากาศที่หาดยาว บรรยากาศยามเย็นที่เกาะลิบง
02
05
06
08
10
จะแยกเป็นส่วนตัว มีก๊อกน�้ำร้อนและน�้ำเย็นให้ผสม อุณหภูมิได้ตามต้องการ นอกจากนี้ยังมีเส้นทาง ศึกษาธรรมชาติโดยรอบให้ชมสภาพป่าดงดิบบริเวณ พื้นที่บ่อน�้ำร้อนด้วย น้องปูได้แนะน�ำสถานที่พักผ่อนของคนในพื้นที่ นั่นคือ หาดหยงหลิง หาดทรายขาวละเอียด บรรยากาศสงบ นำ�้ ใส เป็นหาดทีน่ กั ท่องเทีย่ วไม่คอ่ ย รูจ้ กั ทางเข้าเป็นถนนเล็กๆ หลบมุมอยูห่ ลังต้นไม้ ตัง้ อยู่ ในเขตอุทยานแห่งชาติเจ้าไหม อ.กันตัง ค่าเข้าชม คนละ 40 บาท ส่วนใหญ่เป็นคนในพื้นที่ที่มาเล่นน�้ำ ปูเสื่อและกินข้าวใต้ร่มเงาของภูเขาหินปูนหยงหลิง หาดนี้สวยงามมากจน “ศักดิ์สิริ มีสมสืบ” นักเขียน กวีซีไรต์ ประจ�ำปี 2535 แต่งเพลงให้ว่า “เพลงทะเลคลื่นลม ระงมระคน สนทะเล สยายใบ ภูเขากั้นเวิ้งทราย ฉายแวววับวาว เว้าเป็น อ่าวโค้งไกล เกาะน้อยลอยใกล้ไกล เมฆน้อยลอย ล่องไป รื่นรมย์ยามเราเอนกาย บนผืนทรายหาด หยงหลิง ถ้าเธอได้รจู้ กั แล้วเธอจะรักหยงหลิง ถ้าใคร ได้รจู้ กั แล้วเธอจะรักหยงหลิง เจ้าหญิงแห่งเมืองตรัง” ถัดมาไม่ไกลจะเป็น หาดยาว หาดที่ได้รับ ความนิยมจากทั้งนักท่องเที่ยวและคนในพื้นที่เพราะ เป็นหาดทรายขาวที่ยาวสมชื่อ มีร้านค้าริมหาดตั้ง ขายของมากมาย บรรยากาศดูคึกคัก เราเทีย่ วชมทีส่ �ำคัญๆ ของอ.กันตังพอสมควรแล้ว ก็ได้เวลาที่ต้องมุ่งหน้าไปเกาะลิบง จุดหมายหลัก ของเราในทริปนี้ การเดินทางไป เกาะลิบง ต้องขึ้น เรือโดยสารที่ท่าเรือหาดยาวที่ใช้เวลาเพียง 20 นาที ก็มาถึงโดยสะดวก เราเข้าห้องพักเพื่อเก็บแรง รอให้แดดร่มลมตก ค่อยมาเดินส�ำรวจเกาะ สัมผัสวิถชี วี ติ แบบมุสลิม ได้ยนิ เสียงละหมาดแว่วมาจากทีไ่ กลๆ นักท่องเทีย่ วบนเกาะ ไม่พลุกพล่าน ร้านอาหารมีประมาณสองเจ้า เนือ่ งจาก ชาวบ้านส่วนใหญ่ท�ำอาหารกันเอง ด้านหน้ารีสอร์ท มีเกาะเล็กๆ ทีส่ ามารถเดินเชือ่ มกับชายหาดได้ ในช่วง น�้ำลง ชาวบ้านจะเดินเก็บหอยและเหยื่อตกปลาตาม โขดหิน พอนำ�้ ขึน้ ก็สลายตัวแยกย้ายกันกลับเข้าทีพ่ กั เย็นวันนัน้ เราเลือกฝากท้องกับเมนูงา่ ยๆ ของโรงแรม ก่อนรีบเข้านอนพักผ่อน เก็บแรงเที่ยววันต่อไป SINGHA MAGAZINE
23
ท่องเที่ยว / ตรัง 02
01
เช้าวันรุง่ ขึน้ อากาศสดใสไร้วแี่ ววมรสุม (โชคดีมาก) วันนีเ้ ราจะไปตามหา “นางเงือก” กันซะที เมื่อวานนี้เรานัดกับลุงบังหมานไว้ (บัง ค�ำแทนตัวเองว่า “พี่” ของผู้ชาย) บัง เป็นเจ้าของเรือทีเ่ ราพบทีท่ า่ เรือหาดยาวก่อน ข้ามมายังเกาะลิบง เขาจะเป็นผูพ้ าเราไปหา นางเงือก แถมรับประกันเป็นมั่นเหมาะว่า ได้เจอแน่ๆ บังพาหลานชื่อน้องแอมมาด้วย เสียงเจือ้ ยแจ้วของน้องแอม ท�ำให้การเดินทาง ของเรามีสีสันขึ้นเยอะ การไปพบนางเงือกใช้เวลาเดินทาง ประมาณ 15 - 20 นาที สักพักบังก็จอดเรือ และเฝ้ารอให้นางเงือกปรากฏโฉม แต่ผา่ นไป หลายนาทียังไม่มีวี่แวว บังจึงโทรไปแหลงใต้ กับเพือ่ นอยูพ่ กั ใหญ่ ให้เพือ่ นขึน้ ไปบนเขาเพือ่ บอกจุดที่นางเงือกจะปรากฏตัว “โย้หน้าย” (อยู่ไหน) “ท้างน้าย” (ทางไหน) “ฮั้วเรื่อ” (หัวเรือ) “ถ่างคว้า” (ทางขวา) จนพอทราบ ต�ำแหน่ ง แล้ ว บั งก็ ใ ช้ไม้ถ ่อเรือเข้า ไปใกล้ 24
SINGHA MAGAZINE
03
06
ต�ำแหน่งนั้นทันที ไม่ติดเครื่องเรือเพราะกลัว นางเงือกจะตกใจและหนีหายไปซะก่อน ในที่สุดนางเงือกก็ปรากฏตัวบนผิวน�้ำ จนได้ นางเงือกก็คือพะยูนน่ารักตัวอวบอ้วน นัน่ เอง ผิวของมันเงาวับไม่มเี กล็ด พะยูนเป็น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม จะให้นมโดยกอดลูก ไว้กับอก ล�ำตัวของแม่ตั้งฉากกับผืนทะเล เมื่อมองไกลๆ ท�ำให้ดูคล้ายกับนางเงือก
เรือนักท่องเที่ยวที่มารอชม นางเงือก หรือพะยูน บนเขามีจุดให้ส่องกล้องทางไกล 02 เพื่อมองหาตำ�แหน่งของพะยูน พะยูน หรือ นางเงือกในตำ�นาน 03 04 - 05 บรรยากาศหมู่บ้านชาวประมง เรือดักหมึก 06 07 - 08 เกาะเหลาเหลียง อาหารทะเลปรุงสดบนเรือ 09 วุ้นทะเล 10 01
ปัจจุบันถือว่าหายากมากและจัดเป็นสัตว์ป่า สงวน เหตุที่เกาะลิบงพบพะยูนได้เพราะเป็น แหล่งหญ้าทะเล แหล่งอาหารของพะยูนทีใ่ หญ่ ที่สุดของประเทศ บังบอกว่าพะยูนที่เราเจอ น่าจะอายุประมาณ 6 - 7 ปี และทุกช่วงต้นปี พะยูนฝูงใหญ่ 60 - 70 ตัวจะมาอาศัยบริเวณนี้ ประมาณสามวัน ฉะนั้นถือว่าทริปนี้เราโชคดี มากที่ได้พบ บางคนเดินทางมาจากมาเลเซีย หลายครั้งยังไม่พบเลย บรรลุเป้าหมายหลักได้พบนางเงือกใน ต�ำนานจนอิม่ อกอิม่ ใจไปเรียบร้อย จากนีก้ จ็ ะ เทีย่ วเก็บความงามของเกาะน้อยใหญ่ทงั้ หลาย ก่อนอืน่ เราแวะหมูบ่ า้ นชาวประมงทีอ่ ยูไ่ ม่ไกล เพือ่ ซือ้ อาหารทะเลสดๆ ทีช่ าวบ้านเพิง่ ลงอวน มาใหม่ส�ำหรับท�ำอาหารกลางวันบนเรือตามที่ บังแนะน�ำ เราเพิ่งทราบหลังจากคุยกับคนขับ เรือคนอืน่ ๆ ว่า ปกติเรือจะเตรียมข้าวกล่องให้ ส�ำหรับมื้อเที่ยง แต่บังหมานเป็นเจ้าเดียวที่ สอนเราท�ำอาหารบนเรือ เราชมวิธีการแกะปู ออกจากอวน แล้วก็ขอปันซื้อปูม้าบางส่วน เขาใจดีแถมปูหินกับกั้งกระดานมาให้ชิมด้วย จากนัน้ เรามุง่ หน้าไปเกาะเหลาเหลียง เจอเรือ มาเก็บหมึกที่ดักไว้บังก็เทียบเรือแวะซื้อหมึก หอมตัวใหญ่มาเพิ่มให้เราอีก
04
05
07
09
08
10
จากเกาะลิบงเราใช้เวลา 45 นาทีแล่นเรือ มาถึง เกาะเหลาเหลียง ซึ่งอยู่ในพื้นที่ อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา ลักษณะเป็น เกาะสองเกาะตั้งโดดเด่นตัดกับแผ่นฟ้าและ ผืนน�ำ้ สีเขียว ขอบอกเลยว่าคุม้ กับการเดินทาง มามากๆ เพราะเกาะนีค้ อ่ นข้างสงบ คงความ เป็ น ธรรมชาติ แ ละหาดทรายขาวสะอาด เนื่องจากทางอุทยานให้สัมปทานแก่เอกชน เพียงเจ้าเดียวในการดูแลการท่องเที่ยว ที่พัก เป็นเต็นท์ขนาดใหญ่ที่สะอาดสะอ้าน มีไฟฟ้า ตัง้ แต่เวลาหกโมงเย็นถึงเก้าโมงเช้าของอีกวัน มีรา้ นค้าแห่งเดียว และมีกจิ กรรมพายเรือคายัค ปีนหน้าผา ใครได้มาก็จะได้สมั ผัสกับธรรมชาติ อย่างแท้จริง ** เกาะเหลาเหลียงเปิดให้เที่ยวได้ประมาณ กลางเดือน ต.ค. - พ.ค. (ทีเ่ หลือปิดเกาะเพราะ เป็นช่วงมรสุม) ตอนกลางวัน เราท�ำอาหารบนเรือจาก วัตถุดิบที่ซื้อมา แค่ต้มง่ายๆ ก็ได้ปูม้า ปูหิน มากินอย่างเอร็ดอร่อย แม้จะต้องยืมสากของ เจ้าหน้าที่อุทยานมาทุบเปลือก แต่เนื้อข้างใน แน่นและสดมาก มีกั้งกระดานที่บังสอนวิธี แกะให้ มีหมึกที่ทอดทั้งตัวแบบไม่ดึงไส้ออก หั่นกินกันปากด�ำฟันด�ำ ยิงฟันถ่ายรูปเฮฮา กันไป บังบอกที่นี่กินหมึกทั้งตัวแบบนี้เลย พออิ่มก็โดดลงทะเล ว่ายน�้ำจนหน�ำใจ จากนัน้ บังพาเราไปด�ำนำ�้ ต่อที่ เกาะตะเกียง เพื่อชมปะการังสีม่วงสีส้ม แต่เพราะคลื่นแรง น�้ำขุ่น ท�ำให้เราต้องรวมตัวกันเกาะห่วงยาง และผลั ด กั น ด�ำลงไปโดยมี บั ง ที่ ส วมตี น กบ คอยดันหลังให้ เราพบปะการังสีมว่ งตามชัน้ หิน มากมาย แต่สักพักก็เริ่มพบก้อนใสๆ นิ่มๆ คล้ายน�้ำแข็งหลอดลอยเต็มไปหมด ตอนแรก ตกใจ กลัวจะเป็นแมงกะพรุน แต่บังบอกว่า พวกนี้คือวุ้นทะเลที่จะปรากฏเมื่อก�ำลังจะมี มรสุมเข้า รู้ดังนั้น เราก็ด�ำน�้ำชมปะการังต่อ อย่างหมดห่วง จนกระทั่งขากลับเข้าที่พักก็ หมดแรงสลบไสลไปตามๆ กัน SINGHA MAGAZINE
25
ท่องเที่ยว / ตรัง คืนนั้นมีมรสุมเข้ากลางดึก (วุ้นทะเลพยากรณ์ แม่นย�ำจริงๆ) ท�ำให้ไฟติดๆ ดับๆ ตลอดคืน ถือเป็น เรือ่ งธรรมดาของไฟฟ้าบนเกาะ จนเช้าคลืน่ ก็ยงั ไม่สงบ ดีนัก บังให้เพื่อนขับรถซาเล้งมารับเราที่โรงแรมเพื่อไป ขึน้ เรืออีกฝัง่ ของเกาะทีห่ าดบ้านพร้าวซึง่ ไม่มมี รสุม เป็น โอกาสดีให้เราได้นงั่ รถเทีย่ วเกาะไปอีก ระหว่างทางเรา เห็นว่าพืน้ ทีส่ ว่ นใหญ่บนเกาะ ชาวบ้านจะปลูกยางพารา และต้นปาล์มเป็นอาชีพเสริมจากการท�ำประมง ทีท่ า่ เรือ มีรา้ นขายโรตีทอี่ ร่อยสุดๆ แป้งเนือ้ นุม่ ได้ใจ ถัดไปมีรา้ น ขายโอเลี้ยง ชา กาแฟ ให้กินคู่กับโรตีด้วย วันนีบ้ งั แนะน�ำว่าไหนๆ มาแล้วควรไปเกาะยอดฮิต คือ เกาะกระดาน ซะหน่อย เราก็จัดไปอย่าให้เสีย เกาะกระดานมีลักษณะแบนสมชื่อกระดาน ทะเลสวย น�้ำใสจนเห็นปะการัง สมแล้วที่เป็นเกาะยอดฮิต เรา พักทานมือ้ กลางวันทีน่ เี่ สร็จ ก็ไปเก็บถำ�้ มรกตทีเ่ กาะมุก เป็นแหล่งสุดท้าย แต่บอกเลยว่าคนที่มาตรังไม่ควร พลาดถ�้ำนี้จริงๆ ถํา้ มรกต การเดินทางเข้าถำ�้ คือ พอเรือจอดทุกคน
ต้องโดดลงแล้วเกาะหลังว่ายน�้ำต่อแถวกันไป ทางเข้า ค่อนข้างมืดจนหลานของบังต้องใช้ไฟฉายส่องน�ำทาง เราเจอแถวนักท่องเทีย่ วทีม่ ากันกลุม่ ใหญ่สง่ เสียงร้องเพลง ตามไกด์ สร้างสีสนั ได้นา่ รักดี ประมาณห้านาทีในถ�ำ้ มืดๆ มีเพียงแสงที่ลอดผ่านช่องหินเข้ามา ส่องน�้ำทะเลเห็นเป็น สีเขียวมรกต ในถ�้ำมีชายหาดที่เหมือนเมืองซ่อนอยู่ใน ช่องเขาด้วย นับว่าธรรมชาตินั้นช่างปั้นแต่งเสียจริงๆ ชวนให้คิดว่าคนที่เข้ามาพบที่นี่เป็นคนแรกช่างใจกล้าที่ ว่ายน�้ำฝ่าความมืดและค้างคาวมาจนถึงนี่ ในทีส่ ดุ ก็ถงึ เวลากลับบ้าน เราโชคดีมากทีจ่ บทริปก่อน พายุมาพอดี ขากลับทุกคนสลบไสล แม้แต่บังยังแอบงีบ แกบอก “ขับเรือหลับห้านาทีไม่เป็นไร ไม่เหมือนขับรถ” พอกลับเข้าฝั่งที่หาดยาว เราก็โบกมือบ๊ายบายบังหมาน ผู้คอยดูแลเราตลอดทริป ผู้คนเมืองตรัง ความสวยงาม ของธรรมชาติ สร้างความประทับใจและความทรงจ�ำให้เรา อย่างไม่รลู้ มื สามวันสองคืนพวกเรารูส้ กึ เต็มอิม่ และอยาก กลับมาสัมผัส “ตรัง” อีกครั้ง ในวันที่อากาศสดใส 26
SINGHA MAGAZINE
ของเด็ดเมืองตรัง DESSERT ขนมเปี๊ยะยิ้ม มีทั้งหมด 6 ไส้ ได้แก่ เผือก งาดำ�
FOOD
ถัว่ แดง ใบเตย ครีมคัสตาร์ด ชาเขียวและแปะก๊วย แต่เราขอแนะนำ�ไส้เผือก รสชาติของเผือกหวาน พอเหมาะ เข้ากันได้ดีกับไข่เค็ม ขนมจีบไส้สังขยา ชื่อขนมจีบแต่หน้าตาคล้าย กะหรี่พัฟ เป็นแป้งทอดกรอบไส้สังขยา รสหวาน กำ�ลังดี ทำ�สดใหม่ทกุ วัน ไม่ใส่สารกันบูด ถ้าแช่ตเู้ ย็น จะเก็บได้ 7 วัน เหมาะซื้อเป็นของฝาก หาซื้อได้ที่ โรงแรมธรรมรินทร์และสนามบินตรัง
ร้านตรังหมูย่าง ร้านนี้มีหลากหลายเมนู ทั้งขนมจีนน้ำ�ยาปู
รสชาติไม่เผ็ดมาก ติม่ ซำ� ขนมเปีย๊ ะหมูทอด แต่ทลี่ องแล้วห้ามพลาด คือหมูย่างหนังกรอบที่กรอบนอกนุ่มใน และเมนูหมี่ซั่วที่เส้นหมี่ซั่ว ลวกแบบก๋วยเตีย๋ วได้เส้นนิม่ กำ�ลังดี ใส่กระดูกหมูทตี่ ม้ จนเปือ่ ย แถมมี ผักพื้นบ้านอย่างใบมะม่วงหิมพานต์ ผัดกาดนกเขาและยอดจิกด้วย
DRINK ร้านกาแฟสถานีรกั ร้านอยูด่ า้ นหน้าสถานีรถไฟกันตัง เครือ่ งดืม่
รสชาติดีราคาไม่แพง ขอแนะนำ�เมนูมะม่วงเบาปั่น รสชาติเปรี้ยว จี๊ดจ๊าด ช่วยเติมพลังพักคลายร้อนได้อย่างดี
SINGHA MAGAZINE
27
สิงห์ / ถามมาตอบไป
“
“
ถ้าเลือกได้
คุณอยากใส่หน้ากากอะไร
+
เตชินี ผ่องแผ้ว บริษัท บุญรอดเทรดดิ้ง จำ�กัด “หน้ากากเบียร์ เพราะหนูชอบกินเบียร์มากๆๆๆๆ ค่ะ”
ภาคิน รัตนธนกิจ บริษัท บุญรอดเทรดดิ้ง จำ�กัด “หน้ากาก ATM หรือบัตรเครดิตก็ได้ เพราะจะได้มีเงินใช้ไม่ขาดมือ ฮ่าๆ”
28
สุชญา จิตตั้งบุญญา บริษัท บุญรอดเทรดดิ้ง จำ�กัด
สัญชัย ต้นพุดซา บริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำ�กัด “หน้ากากทุเรียน เพราะอยากฝากตัวรับใช้นายครับ”
พิชยพัทธิ์ แสงอรุณ บริษัท บุญรอดเทรดดิ้ง จำ�กัด
“หน้ากากฟลามิงโก้ เพราะฟลามิงโก้เป็นสัตว์ที่ดู สง่างามและน่าเกรงขามในเวลาเดียวกัน และยังมี สีสันที่สดใสชวนมองอีกด้วยค่ะ”
“หน้ากากแปะยิ้มครับ เพราะตัวจริงเป็นคนไม่ตลก และอยากสร้างสีสันให้ผู้อื่น”
ฐิตาภัทร์ เทียนวิจิตรฉาย บริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำ�กัด
จรัสพงศ์ บุญยไวโรจน์ บริษัท บุญรอดเทรดดิ้ง จำ�กัด
ภัทรีกาญจน์ คุณาสวรรค์ บริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำ�กัด
“หน้ากาก Rilakkuma ค่ะ เพราะเป็นคนชอบตุ๊กตา Rilakkuma มากๆ หรือน่ารักเหมือนตุ๊กตาค่ะ”
“หน้ากากสับปะรด เพราะอยากทำ�อะไรให้เป็นสับปะรด”
“ฉลามค่ะ เพราะฉลามมันเฟีย้ วดีคะ่ ”
SINGHA MAGAZINE
เรื่องเด่น / BREWMASTER
Brewmas เชฟใหญ่แห่งครัวบุญรอด
30
SINGHA MAGAZINE
ster
เรื่อง: ศิกานต์
อาหารทุ ก ชนิ ด บนโลกต้ อ งผ่ า นกระบวนการขั้ น ตอน ซับซ้อน ตั้งแต่คัดเลือกวัตถุดิบ หมัก ปรุง แต่งรส เติมกลิ่น ฯลฯ เพื่อให้ได้มาไม่เฉพาะความอร่อย แต่รวมถึงคุณภาพและ โภชนาการที่ผู้บริโภคจะได้รับ กว่าผู้บริโภคจะได้ลิ้มชิมความ โอชะ พ่อครัว (Chef) ต้องใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์ ละเลียด ความใส่ใจลงในทุกขั้นตอนการปรุงเลยจริงๆ
SINGHA MAGAZINE
31
เรื่องเด่น / BREWMASTER การปรุงเบียร์ก็ไม่ต่างกัน เครื่องดื่มสีอ�ำพันส่งกลิ่นหอมที่ทุกคนคุ้นเคย ผ่านการสรรสร้างทุกย่าง ทุกล�ำดับ ใช้ทุกประสาทสัมผัสจาก “บรูว์มาสเตอร์” (Brewmaster) หรือ “นักปรุงเบียร์” ผู้อยู่เบื้องหลังทุกความ กลมกล่อม ให้ถกู อกถูกใจคอเบียร์มากทีส่ ดุ เปรียบว่า หากโรงเบียร์คอื ห้องครัวของภัตตาคาร บรูวม์ าสเตอร์ ก็คือพ่อครัวใหญ่ที่ดูแลตั้งแต่คัดสรรวัตถุดิบชั้นเลิศ จนถึงขณะน�้ำเบียร์ไหลรินสัมผัสลิ้นของผู้บริโภค บรูว์มาสเตอร์ในประเทศไทยไม่ได้มีจ�ำนวนมากเหมือนพ่อครัวอาหารประเภทอื่น เพราะคนไทยไม่คุ้นกับ วิชาชีพปรุงเบียร์ด้วยข้อจ�ำกัดหลายประการในบ้านเรา มาตรว่าบริษัทคือต้นก�ำเนิดเบียร์ไทยเจ้าแรกและชาวสิงห์ ทุกคนรู้จักนักปรุงเบียร์คนแรกของประเทศไทย คุณประจวบ ภิรมย์ภักดี และต่อมา คุณปิยะ ภิรมย์ภักดี บุตรชายคนโตของคุณประจวบได้ตามรอยบิดา ได้เป็นบรูว์มาสเตอร์คนที่สองของไทย หากแต่ผู้สานเจตนา การปรุงเบียร์ของท่านถึงทุกวันนี้เล่า?
32
SINGHA MAGAZINE
รองกรรมการ ผู้จัดการใหญ่อาวุโสและนักปรุงเบียร์ผู้สานต�ำรับ เบียร์ไทยมานานกว่า 80 ปี กรุณาให้ สิงห์ แมกกาซีน มีโอกาสพูดคุยกับทีมบรูวม์ าสเตอร์ของบริษทั ให้เรา ได้ถา่ ยทอดท่านผูอ้ า่ นได้รจู้ กั ทีมงานพ่อครัวใหญ่แห่ง บุญรอดและเห็นลักษณะงานของพวกเขา แท้จริง การผลิตเบียร์ไม่ใช่เพียงหมักตามสูตรแล้วใช้ระบบ อัตโนมัติของเครื่องจักรกลในโรงงานเท่านั้น เพราะ สิง่ ส�ำคัญคือผูเ้ ชีย่ วชาญทีจ่ ะต้องควบคุมรสชาติและ คุณภาพของเบียร์ให้ออกมาคงที่เท่ากันทุกขวด คุ ณ อิ ส ระ ขาวละเอี ย ด
พิธีเปิดโรงงานปทุมธานี พ.ศ. 2535
เมื่ อ พระยาภิ ร มย์ ภั ก ดี ตั ด สิ น ใจเริ่ ม กิจการผลิตเบียร์แห่งแรกในประเทศไทย คุณประจวบ ภิรมย์ภกั ดี ซึง่ ขณะนัน้ เรียน สถาปนิกอยู่ที่ฝรั่งเศส ได้ย้ายไปเรียนด้าน การปรุงเบียร์ที่เยอรมนี เริ่มเรียนภาษาก่อน และเข้าเรียนที่สถาบันเดอเมนส์เมื่อปี 2477 โดยสถาบันนี้ถือเป็นสถาบันที่ส�ำคัญที่สุด ในการฝึกวิชาการปรุงเบียร์ คุณประจวบ เป็ น คนไทยคนแรกที่ ผ ่ า นหลั ก สู ต รและ ผ่านที่สถาบันนี้ เมื่อส�ำเร็จการศึกษาได้รับ ประกาศนียบัตรแล้ว ก็ได้ฝึกงานที่โรงเบียร์ ที่เยอรมนีต่อที่เมืองมิวนิก ตื่นเช้ามาก็ต้อง มาช่วยท�ำความสะอาดโรงงาน ฝึกฝนใน ทุกๆ ด้าน เพื่อที่จะรู้จักทุกมุมของโรงเบียร์ และทุกขัน้ ตอนการผลิต จากนัน้ กลับมาเป็น บรูว์มาสเตอร์ที่ไทยวันที่ 1 มกราคม 2480 ต่อมา คุณปิยะ ภิรมย์ภกั ดี บุตรชายคนโต ของคุณประจวบ ก็ได้ตามรอยบิดาเข้าเรียน ณ สถาบันเดอเมนส์ และที่ Technische Universität München (TUM – วิทยาเขต Weihenstephan) และเข้ารับการฝึกฝนที่ โรงเบียร์ที่เยอรมนีในแบบเดียวกัน ก่อนจะ มาเป็นบรูว์มาสเตอร์คนที่สองของไทยใน วันที่ 1 พฤษภาคม 2508 จนถึงปัจจุบัน
SINGHA MAGAZINE
33
เรื่องเด่น / BREWMASTER
ว่าด้วยวิชาชีพบรูว์มาสเตอร์ วิชาชีพนักปรุงเบียร์คอ่ นข้างมีความเฉพาะด้าน และไม่มขี อ้ มูล กว้างขวางนักในเมืองไทย แม้พวกเขาเป็นเหมือนพ่อครัวใหญ่ของ โรงเบียร์ แต่ความทีไ่ ม่คอ่ ยมีใครรูจ้ กั พ่อครัวนักปรุงเบียร์นกั เราจึง ขอสรุปข้อมูลจากทีม่ โี อกาสได้พดู คุยกับคุณอิสระ ขาวละเอียด น�ำมา เล่าสู่ทุกท่านให้พอเห็นความเป็นวิชาชีพบรูว์มาสเตอร์กันสักนิด ประเทศไทยไม่มีสถาบันสอนการหมักเบียร์
บ้านเรามีข้อจ�ำกัดเรื่องเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จึงยากที่จะมี สถาบันสอนท�ำเบียร์ แต่หากเรียนในสถาบันการศึกษาทีม่ หี ลักสูตร วิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะเทคโนโลยีอาหาร (Food Technology / Food Science) จะมีวิชาเกี่ยวกับการหมัก (Fermentation) ที่ สามารถประยุกต์กับศาสตร์การปรุงเบียร์ หรือเรียนในสาขาวิชา วิทยาศาสตร์ประยุกต์ (Applied Science) เทคโนโลยีชีวภาพ (Biotechnology) หรือจุลชีววิทยา (Microbiology) ที่มีความ เกีย่ วข้องส�ำคัญในเรือ่ งการเพาะและเลีย้ งเชือ้ (ยีสต์) แต่วชิ าเหล่านี้ เป็นเพียงทฤษฎีพื้นฐานที่มีจุดร่วมทางวิชาการ กระบวนการท�ำ เบียร์ต้องเรียนรู้วิธีปฏิบัติจริงจากการฝึกงานในโรงเบียร์ ความเชี่ยวชาญในวิชาชีพบรูว์มาสเตอร์ ต้องใช้องค์ความรู้หลายแขนง
บรูว์มาสเตอร์เปรียบเหมือนพ่อครัวที่ท�ำงานในห้องแล็บ ต้องใช้ความรู้ทางฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา เพื่อเข้าใจปฏิกิริยาเคมี จุลินทรีย์ สารประกอบอื่นๆ ในเบียร์ ในฐานะผู้คุมรสชาติ และ ขณะเดียวกันก็ตอ้ งรูเ้ รือ่ งเครือ่ งจักรและเทคโนโลยี เพือ่ ควบคุมการ ผลิตตลอดกระบวนการ รวมทัง้ รูเ้ รือ่ งธุรกิจเพือ่ ท�ำการผลิตให้ถกู ใจ ผู้บริโภค ความเชี่ยวชาญในวิชาชีพจึงประกอบด้วยองค์ความรู้ หลายแขนง และต้องสั่งสมขึ้นจากประสบการณ์
ความพิเศษของบรูว์มาสเตอร์ที่ต่างจากพ่อครัวอื่นๆ
พ่อครัวทั่วไปปรุงอาหารทั้งคาวหวาน ใช้เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ และเครือ่ งปรุงปรุงรสตามความต้องการ แต่บรูวม์ าสเตอร์ทำ� อาหาร ที่เป็นของเหลว (liquid) สิ่งที่ละลายอยู่ในของเหลวนั้นเกิดจาก การเปลี่ยนแปลงทางเคมีและการท�ำงานของจุลินทรีย์ซึ่งมอง ไม่เห็นด้วยตาเปล่า พวกเขาท�ำงานกันในระดับเซลล์และระดับ โมเลกุล กว่าจะมาเป็นน�ำ้ สีทองได้ บรูว์มาสเตอร์ใช้ทั้งองค์ความรู้ ประสบการณ์ และใช้จนิ ตนาการกับสิง่ ทีค่ นทัว่ ไปมองไม่เห็น นัน่ เป็น ตัวอย่างสถาบันที่สอนการปรุงเบียร์ สถาบันสอนปรุงเบียร์มมี ากในเยอรมนีเพราะความเป็นเมือง ความพิเศษของพ่อครัวนักปรุงเบียร์และความท้าทายในวิชาชีพ เบียร์ อาทิ Technische Universität München (TUM - วิทยาเขต บรูว์มาสเตอร์ Weihenstephan) สถาบันเดอเมนส์ (Doemens World Brew Academy) เมืองมิวนิก สถาบัน VLB Berlin เมืองเบอร์ลิน ส่วนใน บรูว์มาสเตอร์ทำ� เบียร์ได้ทุกประเภท สหรัฐอเมริกา ก็เช่น Oregon State University สถาบัน Siebel เบียร์มหี ลายประเภท บรูวม์ าสเตอร์ตอ้ งท�ำได้ทกุ ประเภท แต่อาจ Institute of Technology เมืองชิคาโก และอีกหลายประเทศใน มีผู้เชี่ยวชาญในเบียร์ใดเป็นพิเศษและแบ่งส่วนความรับผิดชอบ ยุโรป ฝั่งเอเชียที่ใกล้บ้านเราคือจีน เมืองหวูฮั่น (Wuhan) ภายใต้ ตามความเชีย่ วชาญ ผูท้ ำ� งานส่วนใดนานเข้าก็จะมีประสบการณ์มาก การควบคุมจากสถาบันเดอเมนส์ ในส่วนนัน้ เมือ่ ชิมแล้วรับรูค้ วามผิดปกติของรสเบียร์ได้เร็วกว่าคนอืน่ 34
SINGHA MAGAZINE
การดื่มมากๆ ไม่ได้หมายความว่าเชี่ยวชาญมาก
บรูว์มาสเตอร์ชื่นชอบเบียร์ แต่ดื่มมากหรือดื่มน้อยเป็น รสนิยมความชอบส่วนบุคคล การดืม่ เพือ่ สังสรรค์ตา่ งจากการชิม เพื่อทดสอบเบียร์ ผู้ประกอบวิชาชีพอาจจะดื่มเพียงเล็กน้อยเพื่อ ดูแลสุขภาพแต่ไม่ได้หมายความว่าทักษะจะน้อยตาม ขึ้นอยู่กับ ความเชี่ยวชาญของแต่ละบุคคล
พรสวรรค์การรับรู้
เหล่านักปรุงเบียร์จะต้องตาดี หูดี จมูกดี ลิ้นดี และสัมผัสดี เพื่อให้ไวกับทุกความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นในแต่ละขั้นตอนการผลิต
บรูว์มาสเตอร์ต้องมีองค์ความรู้หลากหลายและความชอบ เบียร์เป็นปัจจัยใหญ่ แต่เท่านัน้ ยังไม่พอ ทุกวิชาชีพบนโลกต้องการ ผูม้ คี ณุ ลักษณะพิเศษอันจะส่งผลโดยไวต่อการเกิดความเชีย่ วชาญ ในวิชาชีพนัน้ ๆ นักปรุงเบียร์ก็เช่นกัน คุณอิสระบอกว่า คนเป็น บรูวม์ าสเตอร์จะต้องมี “อายตนะทัง้ 5” อายตนะ เป็นค�ำในพระพุทธศาสนา แปลว่า “เครื่องรับรู้” บริบทนี้หมายถึงอวัยวะการรับรู้ทั้งห้าของมนุษย์ (Sense organs) ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย เหล่านักปรุงเบียร์จะต้องตาดี หูดี จมูกดี ลิ้นดี และสัมผัสดี เพื่อให้ไวกับทุกความผิดปกติที่อาจ เกิดขึน้ ในแต่ละขัน้ ตอนการผลิต เรารูก้ นั ว่าพวกเขาใช้ลนิ้ ทดสอบ รสชาติของเบียร์ให้คงที่ แต่อวัยวะรับรูส้ ว่ นอืน่ ก็ตอ้ งการความไว ในการแยกแยะเช่นกัน “ตา...ใช้ดูวัตถุดิบ ตรวจทางด้านกายภาพ เห็นวัตถุดิบ หน้าตาเหมือนกันหมด ต้องสังเกตด้วยว่าสีผดิ ปกติหรือไม่ มอลต์ ด�ำหรือเปล่า ลองใช้จมูกดมซิ มีกลิ่นแปลกๆ ไหม หรือเวลาที่ รับวัตถุดิบมา ไม่ว่าจะเป็นมอลต์ ข้าวสาร ข้าวบาร์เลย์ ข้าวสาลี มองดูแล้วเห็นว่าเมล็ดสวยยังไม่พอ ต้องสัมผัสเนื้อข้าว รู้สึกว่า เนื้อนิ่มไหม ถ้านิ่มแสดงว่าชื้น เก็บไว้นาน ใช้ไม่ได้ ส่วนหู ต้องหูไว เดินตรวจในโรงงานพลางฟังไปด้วยว่าวันนี้ เครื่องจักรมีเสียงอะไรผิดปกติหรือไม่ ถ้ามี เกิดจากตรงไหน ไม่ได้หมายความว่าบรูวม์ าสเตอร์ทกุ คนต้องมีความละเอียดอ่อน ครบทุกประสาทสัมผัส เพราะมนุษย์แต่ละคนไม่เหมือนกัน เพียง แต่ตรงไหนที่ขาดก็ต้องเพิ่มความใส่ใจตรงนั้นให้มาก นั่นคือ หน้าที่และความรับผิดชอบที่บรูว์มาสเตอร์ต้องตระหนัก” เมื่อได้ฟังความรู้จากคุณอิสระเรายิ่งรู้สึกว่าการเชี่ยวชาญ ในศาสตร์ใดศาสตร์หนึง่ อย่างลึกซึง้ เป็นเรือ่ งน่าทึง่ และยากมากๆ การจะส่งต่อศาสตร์ องค์ความรู้ ประสบการณ์ จากรุ่นสู่รุ่น เพื่อรักษามาตรฐานและคุณภาพผลิตภัณฑ์ของบริษัทยิ่งไม่ใช่ เรื่องง่าย ผู้มารับช่วงพ่อครัวนักปรุงเบียร์รุ่นต่อไปจึงได้รับการ พินิจพิเคราะห์จากนักปรุงเบียร์รุ่นก่อนอย่างเข้มข้น SINGHA MAGAZINE
35
เรื่องเด่น / BREWMASTER
คุยกับบรูว์มาสเตอร์ ก่อนจะได้ทีมนักปรุงเบียร์มาแต่ละรุ่น ทุกคน ต้องผ่านการหมัก บ่ม ผสม เคี่ยวทั้งประสบการณ์ วิชาการ ระเบียบวินัย จากทั้งที่บริษัทและประเทศ เมืองเบียร์กว่าจะส�ำเร็จออกมาเป็นบรูว์มาสเตอร์ หัวใจสิงห์ เราขอเปิดประตูครัวโรงเบียร์เพือ่ ท�ำความ รู้จักกับบรูว์มาสเตอร์ของบริษัทในปัจจุบัน เสาหลัก ของน�้ำเบียร์ท่ีเราคุ้นลิ้นและมั่นใจในคุณภาพ มาดู กันว่า นักปรุงเบียร์เขาเป็นกันอย่างไร และพวกเขา มีภารกิจอะไรบ้าง ฝึกเป็นพ่อครัวโรงเบียร์
“ผมเริ่มจากเด็กฝึกงานในโรงเบียร์ที่สามเสน เรียนรู้งานทุกอย่างด้วยตัวเองตั้งแต่ล้างถัง ขัดหม้อ จนถึ ง กระบวนการผลิ ต ฝึ ก อยู ่ ป ระมาณหนึ่ ง ปี ผูใ้ หญ่ได้ให้ไปเรียนภาษาเยอรมัน เรียนช่วงเช้า บ่าย กลับมาฝึกงาน” คุณชุมพล เพียรเจริญ เล่าให้ฟัง เขาคื อ ผู ้ จัด การฝ่ า ยผลิตและบรูว์มาสเตอร์แ ห่ง ปทุมธานีบริวเวอรี่ เพื่อนนักปรุงเบียร์ร่วมสถาบัน เดียวกับคุณพงษ์สวัสดิ์ ภาโนมัย ผู้จัดการฝ่ายผลิต และบรูว์มาสเตอร์จากโรงเบียร์ขอนแก่น “ผมเรียนภาษาเยอรมันเพื่อเตรียมตัวไปเรียน ที่เยอรมนี สมัยผม ไปเรียนบ้านเขาต้องรู้ภาษาเขา เพราะตอนนัน้ ไม่มหี ลักสูตรภาษาอังกฤษ เรียนภาษา 2 ปี ก็ไปเรียนหมักเบียร์ที่สถาบันเดอเมนส์ พื้นฐาน ปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยช่วยเราแค่เรื่องฟิสิกส์ และการหมัก แต่การท�ำเบียร์นั้นไม่ใช่แค่การหมัก มีการโม่ ต้ม บ่ม และอีกหลายแบบ แต่ละแบบขึน้ กับ เครือ่ งมือ บางอย่างเราไม่รจู้ กั มาก่อน ประสบการณ์ ฝึกงานจากบริษทั ช่วยให้ผมเข้าใจกระบวนการและ ตามทันเครื่องไม้เครื่องมือของเขา การเรียนการสอนเน้นปฏิบัติจริง นอกจาก อาจารย์สอนปรุงเบียร์ ผู้มาสอนยังมีบริษัทผู้ผลิต เบียร์ บริษัทผู้ออกแบบและผลิตเครื่องจักรส�ำหรับ ผลิ ต เบี ย ร์ เรี ย กว่ า ศาสตร์ ไ หนเกี่ ย วข้ อ งเขาส่ ง ผู้เชี่ยวชาญมาสอนหมด องค์ความรู้เขาพร้อมและ ลงรายละเอียดได้ดี เป็นเหตุผลว่าท�ำไมเราจึงไป 36
SINGHA MAGAZINE
01
01
02 03 04
จากซ้ายไปขวา นายชุมพล เพียรเจริญ นายศรัณยู สงคราม นายนราธิป ทองงอก นายอิสระ ขาวละเอียด Dr. Gerd Baur นายสรสิทธิ์ จัตวัฒนกุล นายสราวุธ ศรศักดา นายณัฐวุฒิ กีกาศ นายพงษ์สวัสดิ์ ภาโนมัย 03
เรียนถึงต่างประเทศและส่งรุน่ ต่อไปเรียนด้วย การสอนกันเอง เราท�ำ อยู่แล้ว แต่เราอาจจะสอนรุ่นน้องได้ในแง่ความกว้าง รายละเอียด เจาะลึกบางเรื่องเราก็จะสอนได้ไม่ดีเท่ากับผู้เชี่ยวชาญจริงๆ” ขณะที่ คุ ณ สรสิ ท ธิ์ จั ต วั ฒ นกุ ล ผู ้ จั ด การฝ่ า ยผลิ ต และ บรูว์มาสเตอร์ของสิงห์ เบเวอเรช รุ่นพี่จาก VLB Berlin เสริมว่า การเรียนให้จบและเข้าใจวิธีท�ำเบียร์นั้นไม่ยาก แต่การจะเข้าใจ ศาสตร์ความเป็นบรูว์มาสเตอร์ทั้งองคาพยพ เป็นสิ่งที่ยากมาก เพราะมีความหลากหลายลึกซึ้ง ต้องอาศัยประสบการณ์ในการ ท�ำงานสั่งสมไปเรื่อยๆ รุ่นของคุณชุมพล คุณพงษ์สวัสดิ์ และคุณสรสิทธิ์ เรียกได้ว่า เป็นรุ่นมากประสบการณ์ เป็นรุ่นที่ 2 ถัดจากรุ่นของคุณประจวบ คุณปิยะ และคุณอิสระ พวกเขาใช้เวลาประมาณ 3 ปี ทั้งเรียน และฝึกงานที่นั่น ก่อนจะกลับมาประจ�ำการที่แต่ละโรงเบียร์ ของบริษัท 02
04
SINGHA MAGAZINE
37
เรื่องเด่น / BREWMASTER ส่วนตัวแทนบรูว์มาสเตอร์เลือดใหม่ ไฟแรง คุณอุกฤษฎ์ อัตตโชติ นักปรุง เบียร์สดแห่งร้าน EST.33 สาขาเดอะไนน์ พระรามเก้า ให้ขอ้ มูลว่าเขาเป็นรุน่ 3 ทีท่ งิ้ ช่วงห่างจากรุ่นพี่หลายปี รุ่นของเขานั้น ก่อนไปเรียนที่เยอรมนี ทุกคนจะฝึกงานที่ ปทุมธานีบริวเวอรี่ เป็นพนักงานต�ำแหน่ง เจ้าหน้าที่ฝ่ายผลิต (Production Officer) เรียนรู้การปฏิบัติงานจริงจาก operator จากนั้นจึงไปเรียนที่ VLB Berlin ด้วย หลักสูตรภาษาอังกฤษที่กระชับกว่าของ รุ่นพี่ ใช้เวลาเรียนประมาณ 6 เดือน เมื่อส�ำเร็จการศึกษาแล้วจึงจะได้ชื่อว่า บรูว์มาสเตอร์ “การสอนของเขาเฉพาะเจาะจง ที่เบียร์ ไม่ว่าเบียร์ประเภทไหนเราต้อง ท�ำได้หมด ไม่รวมวิสกี้ ไวน์ ทีต่ อ้ งไปเรียน สถาบันต่างหาก พอได้ประกาศนียบัตรมา ทุกคนจะฝึกงานต่อที่เยอรมนีอีก 3 เดือน ขึ้ น กั บ ผู ้ ใ หญ่ ว ่ า จะส่ ง ใครไปฝึ ก ที่ ไ หน ผมเองได้ฝึกที่ไมโครบริวเวอรี่แห่งหนึ่ง (ธุรกิจโรงเบียร์เล็กหรือบริวผับ) ที่เมือง ดึสเซลดอร์ฟ (Düsseldorf) เรียกว่าฝึก เฉพาะทางส�ำหรับซัพพอร์ตร้าน EST.33 เบ็ ด เสร็ จ แล้ ว รุ ่ น ผมใช้ เ วลาเรี ย นอยู ่ ที่ เยอรมนีประมาณ 10 เดือนครับ” นอกจากประสบการณ์และวิชาความรู้ สิ่ ง ที่ พ วกเขาได้ รั บ จากการไปฝึ ก เป็ น พ่อครัวโรงเบียร์ยังมีเรื่องความมีระเบียบ วินัย ตรงต่อเวลา รวมถึงแนวคิดที่ช่วย พัฒนาตัวเอง เช่น Learning how to learn ที่แปลว่า เรียนรู้วิธีการเรียนรู้ (ด้วย ตัวเอง) หมายถึง หากเราไม่รู้สิ่งใด ก็เริ่ม เรียนรูส้ งิ่ นัน้ ด้วยตัวเอง ไม่จำ� เป็นต้องมอง หาคนสอนเท่านั้น เป็นแนวคิดที่ค่อนข้าง หายากในสังคมไทย 38
SINGHA MAGAZINE
01
01 02 03 04
จากซ้ายไปขวา นายวิวรรธน์ เลี่ยมแก้ว นายอัธยา ปานจรินทร์ และนายอุกฤษฎ์ อัตตโชติ ทีมนักปรุงเบียร์สดแห่งร้าน EST.33 ชิมเบียร์ก่อนเปิดร้าน เตรียมวัตถุดิบสำ�หรับการผลิตเบียร์ Snowy เทสต์หัวจ่ายเบียร์สด
02
03
04
SINGHA MAGAZINE
39
เรื่องเด่น / BREWMASTER 01
แรงบันดาลใจในการปรุงเบียร์ นักปรุงเบียร์หากไม่ชื่นชอบเบียร์ก็คง เป็นนักปรุงเบียร์ไม่ได้ ข้อนี้แน่นอนอยู่แล้ว แต่เหนือกว่าความชอบในรสชาติ เสน่ห์ที่ ส�ำคัญอย่างหนึ่งของศาสตร์ปรุงเบียร์ก็คือ ความเป็นเครื่องดื่มที่เป็นอาหารธรรมชาติ บริสุทธิ์ 100% หรือ Natural pure food ซึ่ง Dr. Fritz Briem ที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยี การผลิตเบียร์และการวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์ บรูว์มาสเตอร์จากเมืองเบียร์ผู้มาร่วมงานกับ บริษัทได้ 10 ปีแล้ว บอกกับเราว่า “ผมหลงใหลในคอนเซ็ปต์ความเป็น ธรรมชาติของเครื่องดื่มชนิดนี้ เมื่อลองปรุง เบียร์และผสมอะไรสักอย่างลงไป เราไม่รดู้ ว้ ย ซ�้ำว่าผลจะออกมาอย่างไร บางครั้งเราก็ได้ เบียร์ที่ยอดเยี่ยม แต่บางครั้งเราก็ได้เบียร์ท่ี ยอดแย่ เราไม่รู้หรอกว่าท�ำไม เราพยายาม หาวิธี ก�ำหนดกระบวนการเพื่อออกแบบ รสชาติ แต่สุดท้ายก็ท�ำไม่ได้ทั้งหมด เพราะ อะไรทีม่ าจากธรรมชาติมนั มีความซับซ้อนใน ตัวของมัน ยิ่งเราพยายามท�ำความเข้าใจก็ ยิ่งมีอะไรที่เราไม่รู้ ผมจึงรู้สึกว่าอาชีพนี้มีแต่ ความท้าทาย ไม่น่าเบื่อเลยส�ำหรับผม” ส่วน Dr. Gerd Baur บรูว์มาสเตอร์ จากสิงห์ เบเวอเรช ผู้เชี่ยวชาญสัญชาติเมือง เบียร์อกี คนก็บอกในท�ำนองเดียวกันว่า เสน่ห์ ของการปรุงเบียร์คอื ความซับซ้อนทีด่ เู หมือน ไม่ซับซ้อน “เรารู้กระบวนการ เรารู้เทคนิคกลไก ของโรงงาน นั่นคือมุมกว้างที่คนอื่นมองเห็น แต่ลึกลงไป เราต้องรู้แม้กระทั่งสังคมและ ประเภทของยี ส ต์ ลั ก ษณะนิ สั ย และคุ ณ ประโยชน์ของมัน เราต้องเข้าใจว่าวัตถุดิบ ทุ ก อย่ า งจะท� ำงานร่ ว มกั น ตามธรรมชาติ อย่างไร การเลีย้ งดูสง่ิ มีชวี ติ พวกนี้ การรับมือ กั บ วั ต ถุ ดิ บ ที่ ไ ม่ เ คยคงที่ เ พราะได้ ม าจาก 40
SINGHA MAGAZINE
01 02 03
Dr. Fritz Briem ที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยีการผลิตเบียร์ Mr. Andreas Althof นักปรุงเบียร์แห่งขอนแก่นบริวเวอรี่ Dr. Gerd Baur นักปรุงเบียร์แห่งสิงห์ เบเวอเรช
ดินฟ้าอากาศ ท�ำให้ผมรูส้ กึ สนุกทีไ่ ด้เรียนรูไ้ ป เรื่อยๆ ผ่านการท�ำงานในแต่ละวัน” Mr. Andreas Althof บรูวม์ าสเตอร์จาก ขอนแก่นบริวเวอรี่ ชาวเยอรมันอีกเช่นกัน ช่วยเสริมว่า แรงบันดาลใจของเขาตัง้ ต้นจาก ความหลงใหลในเบียร์ และเกิดเป็นความรัก ในงานที่สร้างความมุ่งมั่นในการปรุงเบียร์ให้ ประสบความส�ำเร็จ นัน่ คือส่วนหนึง่ ของหัวใจ การปรุงเบียร์ในมุมของเขาด้วย เราคิดว่าบรูวม์ าสเตอร์ทกุ คนล้วนก้าวสู่ วิชาชีพนี้ด้วยความรักในงานและความรู้สึก ท้าทายไม่แพ้กัน ความใส่ใจการปรุงเบียร์ ของพวกเขาไม่ต่างอะไรกับวัตถุดิบชั้นเลิศที่ ใส่ลงไปในเบียร์
ภารกิจควบคุมรสชาติ
02
03
สเต็ปงานประจ�ำวันของบรูวม์ าสเตอร์ หากมอง กว้างๆ จะเริ่มต้นจากการตรวจความเรียบร้อยของ กระบวนการผลิตในโรงงานตัง้ แต่ 7 โมงเช้า จากนัน้ ประชุมพร้อมกันที่ห้องแล็บ ร่วมวิเคราะห์ปัญหา ตรวจสอบวัตถุดิบ การต้มเป็นอย่างไร ค่าทางเคมี และเชือ้ จุลนิ ทรียต์ า่ งๆ ปลอดภัยหรือไม่ ต่อไปก็ชมิ เป็นการชิมเบียร์ที่อยู่ในถังหมัก ถังบ่ม หลังการ กรอง และเบียร์ที่บรรจุแล้ว เพื่อให้ทราบปัญหา ระหว่างกระบวนการ หากรสชาติเปลี่ยนไปอาจ เกิดจากปัจจัย เช่น อุณหภูมิไม่เหมาะ ยีสต์ไม่โต เครือ่ งจักรมีปญั หา ก็จะวางแผนปรับรสชาติให้เข้าที่ หลักๆ ทุกวันต้องท�ำเช่นนี้ แต่เนื้องานจริงๆ ของ พวกเขามีความซับซ้อนกว่านั้นมาก “เราต้องควบคุมดูแลตัง้ แต่วตั ถุดบิ ” คุณสรสิทธิ์ อธิบาย “วัตถุดบิ หลักคือนาํ้ มอลต์ ฮ็อป ยีสต์ เริม่ จาก นํา้ ภายนอกดูเหมือนว่านํา้ ทีไ่ หนก็เหมือนๆ กัน แต่ จริงๆ ข้างในมีแร่ธาตุที่ให้รสและกลิ่นไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับแหล่งที่มา พอน�้ำต่าง รสชาติก็เปลี่ยน มอลต์และฮ็อป ต่อให้สายพันธุ์เดิม แต่ปลูกต่างที่ ต่างดิน ต่างสภาพอากาศ ต่างปี ก็สง่ ผลกับรสชาติอกี เหมือนกัน ยีสต์ สิง่ มีชวี ติ ทีด่ แู ลเอาใจใส่คอ่ นข้างยาก หากยีสต์ไม่โตก็จะส่งผลกระทบกับการหมัก วัตถุดบิ เหล่านี้ต่างที่มาต่างสายพันธุ์ เมื่อน�ำมาผสมกัน เราจึงต้องควบคุมปรับทุกอย่างให้ลงตัว เพื่อให้ รสชาติของเบียร์ออกมาคงที่ทุกขวด” ข้างต้นคือการควบคุมวัตถุดิบ ซึ่งแค่เริ่มต้น เท่านั้น ยังมีความซับซ้อนอีกมากในกระบวนการ ต่อมา ทัง้ การแช่ การต้ม การหมักและอืน่ ๆ แต่ละขัน้ ก็มีปัญหาให้แก้ไขต่างๆ กันไป ขั้นใดสะดุดก็จะ ส่งผลต่อคุณภาพและรสชาติของเบียร์ทั้งสิ้น ทว่า นอกจากดูแลตลอดกระบวนการผลิตเพื่อรักษา มาตรฐานผลิตภัณฑ์ หลังจากที่เบียร์ท�ำการบรรจุ ปิดฝา ติดฉลาก ลงกล่อง และขนส่งออกนอกโรงงาน แล้ ว ภารกิ จ ควบคุ ม รสชาติ ข องบรู ว ์ ม าสเตอร์ ก็ยังไม่จบแค่นั้น SINGHA MAGAZINE
41
เรื่องเด่น / BREWMASTER
การปรุุงเบียร์สดในหม้อต้มคริสตัลของร้าน EST.33
ในการผลิต มีวตั ถุดบิ ชัน้ เลิศ มีเครือ่ งจักรทีด่ ี ตลอดจนรูจ้ กั ควบคุม การผลิตให้สมดุลซึ่งก็ดูจะครอบคลุมแล้ว กระนั้น Dr. Fritz Briem ได้ให้มุมมองที่ทำ� ให้เราเห็นภาพชัดขึ้น “หัวใจของการปรุงเบียร์สำ� หรับผมคือ คน ไม่ได้หมายถึงแค่ บรูวม์ าสเตอร์นะ ผมหมายถึงคนท�ำงานทีเ่ กีย่ วข้องกับกระบวนการ ผลิตทัง้ หมด เพราะต่อให้เรามีเครือ่ งจักรทีส่ มบูรณ์แบบ มีวตั ถุดบิ ที่ ย อดเยี่ ย ม แต่ ห ากเราขาดบุ ค ลากรที่ มี ค วามเชี่ ย วชาญใน กระบวนการผลิตอันซับซ้อน ก็จะเกิดความเสีย่ งต่อความผิดพลาด เราจึงต้องการคนที่สามารถแก้ปัญหา ต้องการคนที่ตัดสินใจได้ว่า ควรจัดการกับวัตถุดิบต่างๆ อย่างไร นั่นคือเหตุผลว่าท�ำไมหัวใจ ของการปรุงเบียร์ส�ำหรับผมจึงอยู่ที่คน” เบียร์... ไม่ตา่ งจากอาหารอืน่ ๆ หากพ่อครัวฝีมอื ไม่ดี อาหาร หัวใจของการปรุงเบียร์ ก็ไม่ถูกปากผู้บริโภค ดังนั้นร้านอาหารทุกร้าน พ่อครัวจึงมีความ เมื่อกระบวนการผลิตมีความส�ำคัญทุกขั้นตอน ขาดเกิน ส�ำคัญอย่างยิง่ หากขาดพ่อครัวทีม่ ฝี มี อื แม้องค์ประกอบอืน่ ๆ ของ อย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้ แล้วสิ่งส�ำคัญที่สุดของการปรุงเบียร์อยู่ ร้านจะดูดี เช่น บรรยากาศ การบริการ และราคาที่รวมกันแล้ว ตรงไหน ค�ำตอบนัน้ หลากหลาย เริม่ จากต้องมีใจรักในงาน มีศลิ ปะ มีความส�ำคัญทัง้ หมด แต่อาหารหรือเบียร์กข็ ายไม่ออกแน่นอน คุณชุมพลบอกว่า “เราควบคุมได้แค่ในส่วนของโรงงาน แต่เนื่องจากเบียร์เป็นผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากการหมัก มันจึงมี สารประกอบมากมาย ทั้งน�้ำตาล โปรตีน ยีสต์ แม้จะบรรจุปิดฝา แล้วก็ตาม กระบวนการทางเคมีในเบียร์ก็ยังเกิดขึ้นตลอดเวลา รสชาติมนั จะเปลีย่ นไปเรือ่ ยๆ เพราะฉะนัน้ บรูวม์ าสเตอร์มหี น้าที่ ให้ความรู้ผู้เกี่ยวข้องในส่วนต่อๆ ไปว่า เมื่อเบียร์ออกจากเราแล้ว ต้องท�ำอย่างไรต่อเพื่อให้เบียร์ดีที่สุด ไม่ว่าจะการขนส่ง เก็บรักษา การแช่ เพื่อให้ลูกค้าได้บริโภคในคุณภาพเดียวกับที่เราสัมผัส” เป็นข้อพิสูจน์ว่างานของพ่อครัวใหญ่แห่งโรงเบียร์คือดูแล ตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทางเลยทีเดียว
42
SINGHA MAGAZINE
BREWMASTER TEAM ทีมงาน “นักปรุงเบียร์” ผู้ประจำ�โรงเบียร์สาขาต่างๆ
นายทวีศักดิ์ สัจจญาณ
นายศรศิริ เจียมจ�ำรัสศิลป
ควบคุมการผลิตเบียร์โรงงานปทุมธานี
ควบคุมการผลิตเบียร์โรงงานปทุมธานี
นายสหชล บุญจิตร์ ควบคุมการผลิตเบียร์โรงงานปทุมธานี
นายทรงศักดิ์ เฮงพระธานี ควบคุมการผลิตเบียร์โรงงานบางเลน
นายณัฐพล ทาทอง
นายศรัณย์ ภู่พงศ์
ควบคุมการผลิตเบียร์โรงงานขอนแก่น
ควบคุมการผลิตเบียร์โรงงานบางเลน
BREWMASTER TIMELINE พ.ศ. 2478 - 2480 Mr. Franz Puels 1 ม.ค. 2480 - 1 ก.ค. 2536 นายประจวบ ภิรมย์ภักดี พ.ศ. 2480 - 2484 Mr. Alfons Goetz พ.ศ. 2485 - 2490 หยุดการผลิตเพราะสงครามโลกครัง้ ที่ 2 ท�ำให้ขาดวัตถุดิบและชาวต่างชาติเดินทางกลับภูมิล�ำเนา ช่วงนี้ คุณประจวบ ภิรมย์ภกั ดี Brewmaster คนแรก ของเมืองไทย ท�ำหน้าทีด่ แู ลการผลิตเบียร์เอง ท่านได้ พัฒนาปรับปรุงน�ำข้าวเจ้ามาเพาะด้วยวิธีการเดียวกันกับ การท�ำมอลต์จากข้าวบาร์เลย์ ท�ำให้ได้มอลต์จากข้าวเจ้า มาใช้ผลิตเบียร์ แก้ขัดไปได้ในช่วงสงคราม พ.ศ. 2491 - 2498 Mr. Alfons Goetz พ.ศ. 2498 - 2504 Mr. Helmuth Dick พ.ศ. 2504 - 2511 Mr. Charlie Eckert 1 พ.ค. 2508 - ปัจจุบัน นายปิยะ ภิรมย์ภักดี พ.ศ. 2511 - 2531 Mr. Guenther Glauninger พ.ศ. 2513 - 2518 Mr. Gerhard Neukirchner พ.ศ. 2518 - 2523 Mr. Hubert Thiel พ.ศ. 2518 - 2525 Mr. Franz Weigersdorfer พ.ศ. 2520 - 2537 Mr. Peter Mittmann พ.ศ. 2523 - ปัจจุบัน นายอิสระ ขาวละเอียด พ.ศ. 2523 - 2525 Mr. Paul Hubmann พ.ศ. 2525 - 2539 Mr. Michael Mankoschewski พ.ศ. 2534 - 2547 Mr. Hubert Thiel พ.ศ. 2535 - 2541 Mr. Andreas Reiss พ.ศ. 2538 - 2543 Mr. Norbert Haslinger พ.ศ. 2538 - 2544 Mr. Thomas Schwind พ.ศ. 2539 - 2542 Mr. Gerd Baur พ.ศ. 2542 - ปัจจุบัน นายชุมพล เพียรเจริญ พ.ศ. 2542 - ปัจจุบัน นายทวีศักดิ์ สัจจญาณ พ.ศ. 2542 - ปัจจุบัน นายพงษ์สวัสดิ์ ภาโนมัย พ.ศ. 2543 - 2545 Mr. Franz Weigersdorfer พ.ศ. 2547 - 2554 Mr. Josef Schraml พ.ศ. 2547 - 2556 Mr. Markus Jungblut พ.ศ. 2547 - ปัจจุบัน Mr. Andreas Althof พ.ศ. 2549 - ปัจจุบัน Dr. Fritz Briem พ.ศ. 2550 - ปัจจุบัน นายสรสิทธิ์ จัตวัฒนกุล นายนราธิป ทองงอก และนายศรศิริ เจียมจ�ำรัสศิลป พ.ศ. 2551 - ปัจจุบัน นายศรัณยู สงคราม นายสหชล บุญจิตร์ และนายทรงศักดิ์ เฮงพระธานี พ.ศ. 2552 - ปัจจุบัน นายอัธยา ปานจรินทร์ นายณัฐพล ทาทอง และนายวิวรรธน์ เลีย่ มแก้ว พ.ศ. 2553 - ปัจจุบัน นายสราวุธ ศรศักดา นายณัฐวุฒิ กีกาศ นายศรัณย์ ภู่พงศ์ และนายอุกฤษฎ์ อัตตโชติ พ.ศ. 2556 - ปัจจุบัน Dr. Gerd Baur พ.ศ. 2560 - ปัจจุบัน นายพงศ์เทพ ชุ่มใจ นายก้อง ใยแจ่ม นายอาทิตย์ เสริมสุขสถาพร นายสินเพชร เกิดสมบุญ นายเตชา อิงคธีรวัฒน์ และนายคุณวัฒน์ บัวบุตร
SINGHA MAGAZINE
43
สิงห์ / คุยกับฮีโร่
เรือ่ ง: ศิกานต์
นับตั้งแต่ “ณัชฐานันตร์ จันทร์กระจ่าง” สร้างชื่อเสียงให้วงการนักว่ายน�้ำหญิงไทยมา อย่างยาวนาน ขณะนี้เกิดคลื่นลูกใหม่ทยอย ฉายแสงกั น ขึ้ น มาเป็ น ดาวประดั บ วงการ มากขึ้น รวมถึง “น้องเฟรช” เด็กหญิงมานิตา เสถียรโชควิศาล ดาวดวงเล็กๆ ทีก่ ำ� ลังส่องแสง โดดเด่นให้ตอ้ งจับตามอง เพราะเธอมีพร้อมทัง้ พรสวรรค์ ความตัง้ ใจ และความมีระเบียบวินยั ทั้งที่เธอเพิ่งอยู่ในวัย 13 ปีเท่านั้น
คลื่นลูกใหม่จอมทำ�ลายสถิติ น้องเฟรช หรือ “เงือกเฟรช ศรีเกษ” สาวน้อยจากจังหวัดศรีสะเกษ พ่อของน้อง มีดีกรีเป็นนักกรีฑาทีมชาติไทยมาก่อน จึง ปลู ก ฝั ง ความมี ร ะเบี ย บวิ นั ย ให้ กั บ ลู ก สาว ขณะทีเ่ ด็กคนอืน่ ๆ อยูใ่ นวัยก�ำลังซน น้องเฟรช ก็ว่ายน�ำ้ เป็นแล้ว พออายุ 6 ขวบ เธอลงแข่ง ครั้งแรก สามารถคว้ารางวัลติดอันดับ 1 ใน 3 ได้ทันที ครอบครัวจึงตัดสินใจส่งเสริมเธอ ในด้านนี้ โดยคุณเอกวิทย์ แสวงผล รอง ประธานผูฝ้ กึ สอนกรีฑาทีมชาติไทยได้แนะน�ำ น้องเฟรชเข้าสู่ครอบครัว สิงห์ คอร์เปอเรชั่น เพื่อให้เธอผ่านการขัดเกลาและผลักดันความ สามารถอย่างเป็นทางการ น้ อ งเฟรชไม่ ท� ำ ให้ ค รอบครั ว ผิ ด หวั ง ทุกครั้งหลังเลิกเรียนเธอจะมาที่ชมรมว่ายน�้ำ สิงห์และตั้งใจฝึกซ้อม สละเวลาสนุกสนาน กับเพือ่ นๆ ทีโ่ รงเรียนให้กบั เส้นทางทีเ่ ลือกเดิน ซึ่งเธอก็ยินดีเพราะท�ำให้เธอมีเพื่อนในวงการ สระด้วยกันมากมาย เจ้าตัวบอกว่ารู้สึกอบอุ่น 44
SINGHA MAGAZINE
“จงขยัน อดทน เอาชนะใจตัวเอง ดูคนอื่นเป็นบทเรียนหรือ แบบอย่าง แล้วเลือกเอาว่าจะเป็นแบบไหน” นี่คือคำ�สอนของคุณพ่อ
คุณ แม่ที่น้องเฟรชจำ�ขึ้นใจ ซึ่งมีส่วนอย่างมากที่ทำ�ให้น้องเฟรชฉายแสงอยู่ทุกวันนี้ ส่วนวันหน้า เชื่อได้เลยว่า “เงือกเฟรช ศรีเกษ” จะเป็นกำ�ลังสำ�คัญของทีมชาติ ไทยในการแข่งขันว่ายน้ำ�ระดับนานาชาติอย่างแน่นอน
ทุกคนเหมือนเป็นพี่น้อง มีโค้ชเสมือนพ่อบ้านที่คอยดูแลให้ค�ำปรึกษา ชมรมว่ายน�้ำ สิงห์ก็เป็นเหมือนบ้านอีกหลังของเธอ ผลจากความตัง้ ใจมุง่ มัน่ ผลงานของน้องเฟรชน่าจับตามองขึน้ เรือ่ ยๆ เธอถนัด ว่ายท่าฟรีสไตล์ระยะสั้นประเภท 50 เมตร หรือ 100 เมตร ตอนอายุ 11 ปี เธอได้ รางวัลชนะเลิศอันดับ 3 ในการแข่งชิงแชมป์ประเทศไทย ท�ำลายสถิติประเทศไทย กลุม่ 4 ในช่วงอายุ 10-11 ปี ส่วนเมือ่ เดือนมีนาคมทีผ่ า่ นมา เธอได้แชมป์ประเทศไทย ในการแข่งขันกีฬาเยาวชนแห่งชาติครัง้ ที่ 33 “ชุมพร-ระนองเกมส์” โดยเบียดตัวเต็ง เข้าเส้นชัยชนิดที่เรียกว่าหักปากกาเซียน แถมท�ำลายสถิติประเทศไทยกลุ่ม 3 ใน รุ่นอายุ 12-13 ปี ก่อนหน้านี้ไม่นาน น้องเฟรชก็ท�ำลายสถิติอีกครั้ง ในการแข่งขันชิงแชมป์ ประเทศไทยประจ�ำปี 2560 เป็นการท�ำลายสถิตขิ องตัวเองจากกีฬาเยาวชนแห่งชาติฯ ที่ชุมพร เธอคว้าเหรียญทองประเภทฟรีสไตล์ 50 เมตรหญิง กลุ่ม 3 ด้วยเวลา 27.01 วินาที ส่งผลให้เธอกลายเป็นจอมท�ำลายสถิตริ นุ่ เยาว์ เจ้าตัวเองก็ตงั้ เป้าว่าจะท�ำลาย สถิตติ วั เองไปเรือ่ ยๆ เพราะการ “สูก้ บั ตัวเอง” เป็นการแข่งทีส่ ำ� คัญทีส่ ดุ ในส่วนของ ท่าว่ายประเภทอื่นๆ เธอก็มุ่งมั่นที่จะท�ำเวลาให้ดีขึ้นต่อไป
ภาณุพล พิทยารัฐ
แชมป์เปี้ยนออลไทยแลนด์กอล์ฟสิงห์ คติที่โปรมะพร้าวยึดเป็นหลักมาตลอดคือ ใช้ความสุขุมเยือกเย็น เข้ า ไว้ ไม่ ว่ า จะตกอยู่ ใ นสถานการณ์ ที่ ทำ � ให้ รู้ สึ ก ท้ อ แท้ เ พี ย งใด
“ผมนึ ก ถึ ง อนาคตตั ว เองครั บ นึ ก กลั บ ไป ถึงจุดเริ่มต้นว่าเรามาได้ไกลแค่ไหน หากเรา ท้อแท้และหยุดแค่นี้ที่ทำ�มาก็สูญเปล่า ผมจึง เดินหน้าต่อไปครับ” นั่นคือแนวคิดของคนเข้มแข็งและ
แสดงถึงความเป็นมืออาชีพ ทำ�ให้เขาค่อยๆ เดินเข้าไปใกล้เป้าหมาย มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการประสบความสำ�เร็จเหมือนฮีโร่ในดวงใจ อย่าง ไทเกอร์ วูดส์ หรือ โปรเล็ก ถาวร วิรัตน์จันทร์ หรือการ ขยับขึ้นไปแข่งในเจแปนทัวร์ ยูโรเปี้ยนทัวร์ และพีจีเอทัวร์
ในการแข่ ง ขั น หลายคนกดดั น เพราะ แบกรั บ ความคาดหวั ง ของใครต่ อ ใคร
แต่ สำ � หรั บ โปรมะพร้ า ว เขาก้ า วลงสนามด้ ว ยความรั ก ในวิ ช าชี พ ด้ ว ยความสนุ ก ที่ ไ ด้ แ ข่ ง ขั น ซึ่ ง เป็ น สิ่ ง สำ � คั ญ และเป็ น แรงใจที่ เ ขามี อ ยู่ ต ลอด ดั ง นั้ น แม้ก้าวของเขาไม่ได้รวดเร็วจนน่าทึ่ง แต่ก็ไม่เคย ถอยหลังและก้าวไปด้วยฝีเท้าที่มั่นคงอยู่เสมอ
แรงบันดาลใจที่ไม่เคยหมด ผลักดันให้ “โปรมะพร้าว” ภาณุพล พิทยารัฐ นักกอล์ฟหนุ่มวัย 24 ปี ก้าวเดินอยู่ในวงการ นักหวดก้านเหล็กมืออาชีพอย่างไม่ย่อท้อ เขาอาจไม่ใช่คนที่ก้าว เร็วที่สุด หรือท�ำผลงานได้หวือหวาน่าจับตามองที่สุด แต่เขาเป็น โปรกอล์ฟมากฝีมืออีกคนของไทยที่เป็นเรี่ยวแรงส�ำคัญในการ แข่งขันเวทีระดับนานาชาติ ก่อนหน้านี้เขาเป็นคนที่ท�ำผลงานได้ ดีที่สุดในบรรดาโปรกอล์ฟไทย 16 คน ในการแข่งขันกอล์ฟชาย ทัวร์ผสมเอเชียนทัวร์และเจแปนทัวร์ พานาโซนิค โอเพ่น 2017 โปรมะพร้าวตามคุณพ่อไปสนามไดร์ฟกอล์ฟตั้งแต่อายุ 5 ขวบ เสน่ห์ของกอล์ฟดึงดูดให้เขาอยากเดินบนเส้นทางนี้จน เริ่มแข่งขันครั้งแรกตอนอายุ 6 ขวบ เขาไม่ใช่คนตัวสูงใหญ่นัก ระยะการไดร์ฟจึงมักจะเสียเปรียบคู่แข่งที่มีก�ำลังดี แต่เขาก็แก้ ด้วยการหมัน่ ออกก�ำลังกายและใช้เทคนิคการปรับวงสวิงเข้าช่วย จนกลายเป็นโปรกอล์ฟที่มีวงสวิงสวยงาม ท�ำระยะการไดร์ฟได้
อย่างมีประสิทธิภาพ เขาเคยท�ำโฮลอินวันในการแข่งกอล์ฟทัวร์ ผสมยูโรเปี้ยนทัวร์และเอเชียนทัวร์ รายการ “ทรู ไทยแลนด์ คลาสสิก” เมื่อปี 2015 จนได้บ้านทาวน์เฮาส์มูลค่า 12 ล้านบาท เป็นรางวัลมาแล้ว ในปี 2016 ฟอร์มของโปรมะพร้าวร้อนแรงขึ้นและยังคง ต่อเนื่องมาจนถึงปีนี้ นอกจากเขาจะท�ำผลงานได้น่าพอใจใน ระดับนานาชาติ เมือ่ เดือนเมษายนทีผ่ า่ นมา เขายังคว้าแชมป์การ แข่งขันกอล์ฟอาชีพในประเทศไทย รายการ “สิงห์ มาสเตอร์ส” ครั้งที่ 18 เป็นแชมป์รายการออลไทยแลนด์ทัวร์ครั้งแรกของเขา และแชมป์ที่ 2 นับตั้งแต่เทิร์นโปร (แชมป์แรกคือไทยแลนด์เอพีจี ทัวร์ เมื่อปี 2013) ต้องบอกว่าโปรมะพร้าวมีพลังใจและสมาธิ ยอดเยี่ยมมาก เพราะเขาได้แชมป์ในเวลาที่สูญเสียคนส�ำคัญ ของชีวิต การแข่งขันอย่างสุขุมและมีสติทั้งที่กำ� ลังเศร้า ไม่ใช่สิ่ง ที่ใครๆ ก็ท�ำได้ SINGHA MAGAZINE
45
ตามไปดู / ทีมภูมิศาสตร์สารสนเทศ
หน่วย ปฏิบัติการ
GIS
สนับสนุน ทีมขายและ การตลาด ด้วย
เทคโนโลยี เรียบเรียง: ศิกานต์
46
SINGHA MAGAZINE
รู้หรือไม่ว่า รถของทีมงานฝ่ายขายที่เราเห็น ออกไปปฏิบัติหน้าที่ตามพื้นที่ต่างๆ ทุกวันนั้น ที่จริงแล้วเขามีเบื้องหลังการท�ำงานที่ซับซ้อนไม่ใช่เล่น และได้น�ำเทคโนโลยีใกล้ตัวในชีวิตประจ�ำวันมาปฏิบัติงาน อย่างจริงจังด้วย โดยเฉพาะเทคโนโลยี GPS ที่เราใช้น�ำทางบ่อยๆ ตอนเดินทางหรือขับรถ
ขออธิบายคร่าวๆ สักนิดว่า GIS และ GPS เป็น เทคโนโลยีที่เกี่ยวกับการส�ำรวจพื้นผิวโลกและการ วิ เ คราะห์ ข ้ อ มู ล หลากหลายประเภทเข้ า ด้ ว ยกั น ผลลัพธ์ที่แสดงเป็นข้อมูลแผนที่ ประกอบกับข้อมูล กราฟิค และข้อมูลเชิงบรรยายอื่นๆ โดยทั้ง 2 ระบบ มีความแตกต่างกัน ดังนี้ ระบบสารสนเทศภูมศิ าสตร์ หรือ GIS ย่อมาจาก Geographic Information System เป็นระบบ ทีเ่ ก็บรวบรวมข้อมูลเชิงพืน้ ทีห่ รือพืน้ ผิวโลกและข้อมูล ต่างๆ แล้วประมวลผลออกมาในรูปภาพแผนที่ และ ค�ำบรรยาย ทั้งในรูปแบบ 2D และ 3D เพื่อน�ำไปใช้ ในการวางแผนและสนับสนุนการตัดสินใจ ส่วนระบบก�ำหนดต�ำแหน่งบนโลก (Global Positioning System: GPS) คือระบบที่บอกพิกัด (Latitude & Longitude) บนพื้นโลก โดยอาศัย
สัญญาณจากดาวเทียมที่ใช้ในการส�ำรวจและบอก ต�ำแหน่ง กล่าวง่ายๆ ว่า GPS ท�ำหน้าที่สำ� รวจข้อมูล ค่าพิกัดเพื่อไปแสดงผลร่วมกับระบบ GIS แสดง ต�ำแหน่งบนแผนที่นั้นเอง บริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จ�ำกัด น�ำระบบ GIS มาใช้ประโยชน์กบั การด�ำเนินงานด้านการขายมากว่า 8 ปีแล้ว โดยเฉพาะการขายภาคสนามทีต่ อ้ งขับรถไปยัง พื้นที่ต่างๆ ซึ่งทีมงานผู้ดูแลระบบ GIS ให้กับบริษัท มีชอื่ เรียกอย่างเป็นทางการว่า “ส่วนระบบภูมศิ าสตร์ สารสนเทศ” ภายใต้ บริษัท บุญรอดเทรดดิ้ง จ�ำกัด หรือที่เราเรียกพวกเขาว่า “ทีม GIS” พวกเขาคือทีม ผู้อยู่เบื้องหลังการใช้เทคโนโลยีดังกล่าว วันนี้เราจะ มาดูกันว่า ทีม GIS เขาเอาข้อมูลเกี่ยวกับเทคโนโลยี ด้านแผนที่และดาวเทียมมาปรับใช้กับระบบการขาย ในบริษัทอย่างไร SINGHA MAGAZINE
47
ตามไปดู / ทีมภูมิศาสตร์สารสนเทศ รู้จักกับ “ทีม GIS”
ตัวแทนจากหน่วยงาน GIS ที่สละเวลา มาให้ข้อมูลภาพรวมการท�ำงานกับเราก็คือ “พีต่ วิ้ ” คุณเอกณรงค์ ผลบุญมา ผูจ้ ดั การส่วน ระบบภูมิศาสตร์สารสนเทศ และ “พี่เมล์” คุณพงษ์เทพ ฤทธิศรธนู ผู้จัดการแผนกระบบ ภูมิศาสตร์สารสนเทศ สองหนุ่มใจดีท่ีเป็น ตัวแทนกูรูด้านการใช้เทคโนโลยีแผนที่และ ข้อมูลจากดาวเทียมทีเ่ กีย่ วข้องกับ “งานขาย” โดยตรง ทั้งสองสรุปหน้าที่หลักๆ ของทีมงาน ภูมิศาสตร์สารสนเทศให้เห็น ดังนี้ • เป็นหน่วย Support System หรือเป็น หลังบ้านให้กับทีมงานฝ่ายขาย โดยให้การ สนับสนุนเครื่องมือในการขาย (Sales Tools) การส�ำรวจ (Singha Survey; เครื่องมือส�ำรวจ ที่ใช้หลักการ 80:20) และให้บริการข้อมูลแก่ ทีมงานฝ่ายขายตั้งแต่ระดับผู้บริหารจนถึง ระดับปฏิบัติการ • เป็นศูนย์รวบรวมข้อมูลทีไ่ ด้จากทีมขาย โดยน� ำ ข้ อ มู ล ทั้ ง หลายมาประมวลผลด้ ว ย เทคโนโลยีและสรุปเป็นรายงาน เพือ่ ให้ฝา่ ยอืน่ ๆ ที่เกี่ยวข้องน�ำข้อมูลดังกล่าวไปใช้ประโยชน์ ทั้งในแง่การประเมินผล การวางแผนการขาย หรือการตลาดในอนาคต
ของร้านค้า วัดระยะทางบนภาพแผนที่ ค้นหา สถานที่ส�ำคัญและดูสภาพการจราจรส�ำหรับ วิเคราะห์หาเส้นทางไปยังร้านค้าที่สั้นที่สุดได้ อีกด้วย ซึ่งแอปพลิเคชันตัวนี้ทางหน่วยงาน GIS ได้พัฒนาขึ้นเพื่อเป็นของบริษัทบุญรอด โดยเฉพาะ GIS Survey Form โปรแกรมประยุกต์ ส�ำหรับการส�ำรวจข้อมูลต่างๆ ทีส่ ามารถแนบ รูปภาพและพิกดั ต�ำแหน่งบนแผนที่ เหมาะกับ งานที่ต้องเก็บข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ต่างๆ โปรแกรมสามารถระบุรายละเอียดของสถานที่ โดยข้อมูลที่ส�ำรวจเข้ามาจะจัดเก็บอยู่บนฐาน ข้อมูลออนไลน์ สามารถดูรายงานการส�ำรวจ ผ่านเว็บไซต์ได้ทันที GPS Tracker ชุดอุปกรณ์บริหาร และติดตามยานพาหนะด้วยดาวเทียม เป็น อุ ป กรณ์ ที่ ติ ด ตั้ ง ไปกั บ รถยนต์ ภ าคสนามที่ ท�ำให้สามารถติดตามต�ำแหน่ง การเคลื่อนที่ ความเร็ว ปริมาณเชื้อเพลิง และประวัติการ เดินทางของรถคันนั้นได้
01 02
การด�ำเนินการของทีม GIS มีหน้าที่แบ่งออกเป็น 4 ส่วน ด้วยกัน ดังนี้ 1. Applications & Tools เป็นส่วนการ
สนับสนุนการติดตั้งอุปกรณ์และแอปพลิเคชัน ที่เป็นประโยชน์กับทีมงานฝ่ายขายส�ำหรับ การปฏิบตั งิ านในพืน้ ที่ โดยใช้สมาร์ทโฟนหรือ คอมพิวเตอร์ อาทิ
Boon Rawd Mobile Survey (BMS) แอปพลิเคชันที่มีฟังก์ชันการใช้งาน
เหมือนกับ Google Map ทีมขายสามารถ บันทึกข้อมูลรายละเอียดและช่วยแชร์ตำ� แหน่ง 48
SINGHA MAGAZINE
03 01 02 03 04 05 06
โปรแกรมประยุกต์สำ�หรับการสำ�รวจข้อมูลต่างๆ การกระจายตัวของร้านค้าและพื้นที่ให้บริการของคลังสินค้า Boon Rawd Mobile Survey (BMS) จัดการข้อมูลอย่างเป็นระบบด้วยโปรแกรมประเภท BI (Business Intelligence) ชุดอุปกรณ์บริหารและติดตามยานพาหนะด้วยดาวเทียม นำ�เสนอข้อมูลในหลากหลายมุมมอง (Multidimensional Model)
2. GIS Data เป็นส่วนของการจัดการข้อมูล
04
05
และแสดงผลที่ได้จากอุปกรณ์แอปพลิเคชัน และจากการส�ำรวจต่างๆ ในแต่ละพื้นที่ เช่น ร้านค้าปลีก ร้านค้าส่ง ตัวแทนจ�ำหน่าย คลัง สินค้า โรงงาน บริษัทในเครือฯ กลุ่มลูกค้า เป้าหมาย ทั้งข้อมูลที่เป็นตัวเลข ตาราง หรือ ค�ำบรรยาย มาปรากฏให้เห็นในรูปแบบแผนที่ และค�ำบรรยาย ดังนั้นจะเห็นต�ำแหน่งและ ข้อมูลทั้งหมดเกี่ยวกับสถานที่ตั้งโรงงาน คลัง สินค้า และร้านค้า สามารถท�ำได้เพราะข้อมูล ที่ได้จากอุปกรณ์ GPS จะมีความพิเศษคือให้ ข้อมูลค่าพิกัด Latitude (เส้นรุ้ง) Longitude (เส้นแวง) โดยละเอียด ประโยชน์ของ GIS Data
• แสดงข้อมูลเป็นภาพแผนที่ร่วมกับ ค�ำบรรยายให้เห็นอย่างชัดเจน อาจน�ำไปใช้ ในการแบ่งเขตพื้นที่การขายหรือพื้นที่การให้ บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ • แสดงภาพรวมในกรณีที่ต้องพิจารณา เชิงพืน้ ที่ เช่น ควรตัง้ คลังสินค้าหรือโรงงาน ณ ทีแ่ ห่งใด ดูการกระจายตัวของร้านค้าประเภท ต่างๆ เพื่อวางแผนการขายตามพื้นที่
3. Analysis & Consult เป็นส่วนของการ
06
จัดการข้อมูลต่างๆ ในเชิงสรุปภาพรวมเพือ่ การ จัดท�ำเป็นรายงานน�ำเสนอผู้บริหารและฝ่ายที่ เกี่ยวข้อง โดยใช้เครื่องมือจัดการข้อมูลอย่าง เป็นระบบด้วยโปรแกรมประเภท BI (Business Intelligence) เช่น Tableau Software และ โปรแกรม Alteryx Designer ที่เป็นเทคโนโลยี ส�ำหรับการรวบรวมข้อมูล จัดเก็บ วิเคราะห์ การเข้าถึงข้อมูล รวมถึงการน�ำเสนอข้อมูล ในหลากหลายมุมมอง (Multidimensional Model) ช่วยให้การวิเคราะห์ข้อมูลสามารถ ท�ำได้อย่างรวดเร็วและหลากหลายมุมมอง สะดวกกับการน�ำข้อมูลไปประเมินผลและ วางแผนงานต่อไป SINGHA MAGAZINE
49
ตามไปดู / ทีมภูมิศาสตร์สารสนเทศ 4. Fleet management system หรือ
ที่เรียกกันติดปากว่า ระบบ GPS Tracking เป็นระบบที่ใช้ในส่วนของการบริหารและ ติดตามยานพาหนะของรถทีมขายภาคสนาม ด้วยดาวเทียมจากอุปกรณ์ GPS Tracker ที่ติดตั้งบนรถ เพื่อแสดงต�ำแหน่งของรถ แต่ละคันและเก็บรวบรวมข้อมูลการเดินทาง จากอุปกรณ์เพือ่ น�ำไปแสดงผลและวิเคราะห์ ข้อมูลในหลายรูปแบบ ตัวอย่างประโยชน์จาก GPS Tracking ได้แก่ ติดตามต�ำแหน่ง สถานที่ ความเร็ว แบบ Real time
• สามารถวางแผนการเข้าเยีย่ มร้านค้า ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประหยัดเวลา • ลดการเกิดอุบตั เิ หตุ ควบคุมการขับรถ เร็วเกินก�ำหนด บันทึกข้อมูลรถเป็นสถิติ เช่น ต�ำแหน่งที่มักเกิดอุบัติเหตุให้ด้วย • สามารถติดตามการโจรกรรม ในกรณี ที่รถถูกขโมย • ลดอัตราสิ้นเปลืองน�้ำมัน จากการ เดินทางตามแผนที่วางไว้ และหากถูกขโมย น�้ำมัน ข้อมูลก็จะแสดงให้ทราบเช่นกัน
ติดตามตำ�แหน่ง สถานที่ ความเร็ว แบบ Real time
สนับสนุนสิงห์ออนไลน์ช็อป ด้วยระบบ GPS Tracking
สนับสนุนการจัดส่งสินค้า
• สนับสนุนสิงห์ออนไลน์ช็อป (www. singhaonlineshop.com) ที่มีแอปพลิเคชัน ในการสัง่ ซือ้ สินค้า โดยรายการทีถ่ กู สัง่ เข้ามา ในระบบของ Singha Online จะถูกส่งต่อไปยัง ระบบ GPS Tracking ของหน่วยงาน GIS เพือ่ แสดงต�ำแหน่งรวมถึงเส้นทางของลูกค้า ทีส่ งั่ ซือ้ สินค้า และยังสามารถบอกได้วา่ การ ขนส่งอยู่ระหว่างด�ำเนินการ หรือส่งสินค้า เรียบร้อยแล้วอีกด้วย • ระบบแสดงพิกัดโรงงาน คลังสินค้า และร้านค้า ร่วมกับต�ำแหน่งของลูกค้าที่ สั่งสินค้าเพื่อพิจารณาว่าในพื้นที่ท่ีก�ำหนด สามารถโหลดสินค้าจากโรงงานถึงร้านค้า โดยตรง หรือต้องโหลดสินค้าจากคลังสินค้า แหล่งใดถึงจะใกล้และประหยัดที่สุด 50
SINGHA MAGAZINE
02
01 03
บรรยากาศการอบรมการทำ� story map
พัฒนาการ GPS 1. กระดาษจดคู่ใจกับแผนที่ทางหลวงคอยนำ�ทาง 2. GPS Handheld คู่กับกระดาษ คอยจดพิกัดของร้านค้า 3. เว็บไซต์ที่มีแผนที่ให้หาที่ตั้งโรงงานและร้านตัวแทนจำ�หน่าย แล้วนำ�ข้อมูลที่ได้ใส่เนวิเกเตอร์ในรถให้คอยนำ�ทาง 4. แอปพลิเคชั่น Google map ในสมาร์ทโฟนที่พัฒนามาเป็น แอปพลิเคชั่นภายในของบริษัท
และนีค่ อื ภาพรวมการท�ำงานของหน่วยงาน GIS หรือทีมภูมิศาสตร์สารสนเทศ ที่เรียกได้ว่า เป็นมือฉมังเรื่องของ GIS ทั้งเป็นผู้มากความ สามารถเรื่องการจัดการข้อมูล ประมวลผล และ น�ำเสนอในรูปแบบต่างๆ อย่างเป็นระบบ ใครที่ สนใจอยากจะมีความรูเ้ กีย่ วกับแอปพลิเคชัน่ ต่างๆ ข้างต้น หรืออยากพัฒนาทักษะในการน�ำเสนอ ข้อมูลให้น่าสนใจ ทางหน่วยงาน GIS พร้อมแชร์ ข้อมูลความรู้ โดยเปิดหลักสูตรอบรมที่แบ่งเป็น หัวข้อต่างๆ เช่น • การใช้แผนที่ในชีวิตประจ�ำวัน การใช้ app ทั่วไป หรือ app พิเศษ วิธีแชร์ตำ� แหน่ง การ get location หรือสิ่งที่เกี่ยวข้องกับแผนที่ ในสมาร์ทโฟน การสร้างแผนที่เพื่อแชร์ให้เพื่อน • การใช้ google form / google doc และ Freeware อื่นๆ ที่ใช้ในการท�ำแบบส�ำรวจต่างๆ • การท�ำ story map การน�ำเสนอเว็บเพื่อ บรรยายแต่ละสถานที่ที่มีเรื่องราวเป็นของตัวเอง • การท�ำ presentation ด้วยโปรแกรม Prezi และ PowerPoint เพื่อการน�ำเสนอในรูปแบบ Modern Presentation อย่างมืออาชีพ หากใครสนใจสามารถติดตามรายละเอียดได้ที่ line: brgis หรือสอบถามทีมงาน GIS โดยตรง ได้ที่ 02-6592304
แนะนำ�ทีมงาน
04
01 02 03 04
08
05
06
06 07 08 05
07
09
09
เอกณรงค์ ผลบุญมา (ติ้ว) ผู้จัดการส่วนระบบภูมิศาสตร์สารสนเทศ พงษ์เทพ ฤทธิศรธนู (เมล์) ผู้จัดการแผนกพัฒนาระบบภูมิศาสตร์สารสนเทศ ภาวินี ไชยเนตร (ปิง) เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการระบบภูมิศาสตร์สารสนเทศ นฤมล นิธโยธาน (บี) เจ้าหน้าที่สนับสนุนระบบภูมิศาสตร์ รุ่งรัตน์ กิจนิชี (ต้น) หัวหน้าหน่วยสนับสนุนระบบภูมศิ าสตร์สารสนเทศ ศิวพงศ์ ศรีสดใส (แจ๊ค) เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการระบบภูมิศาสตร์สารสนเทศ ชัยวัฒน์ ฟุง (ตัส) เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการระบบภูมิศาสตร์สารสนเทศ ศราวุธ คำ�จ๋า (อ๊อด) เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการระบบภูมิศาสตร์สารสนเทศ อรรคพล พันธ์เหลา (วอช) เจ้าหน้าที่สนับสนุนระบบภูมิศาสตร์
SINGHA MAGAZINE
51
สิงห์ / ของเก่าเล่าเรื่อง
สามสิงห์ ความเหมือนบนความต่าง โดย…พฤกษา รวี
แต่ละหยดหยาดมาด้วยมุ่งมั่น สิงห์บากบั่นพัฒนามาทุกสมัย จนกระทั่งเข้าไปยืนในหัวใจ ของคนไทยเป็นประจ�ำทุกวันคืน
การผลิตใช้วิธี “ดีคอคชั่น” ซึ่งเหมือนกันกับสิงห์โกลด์ที่กล่าวถึง ส่วนดีกรีแก่กว่าหน่อยค่อยค�ำนึง แต่ไม่ถึง “ลาเกอร์ เบียร์” อยู่ปานกลาง
มาบัดนี้ก้าวเข้าปีที่หกสิบเอ็ด กลเม็ดเผยให้เห็นความทันสมัย มีเบียร์สิงห์สามรสชาติต่างกันไป แล้วแต่ใจใครนิยมให้สมปอง
แอลกอฮอล์ในน�้ำเบียร์ร้อยละสี่ แคลอรี่สิบสี่มีพอเหมาะ ท่านที่เคยชอบเบียร์สดรสจ�ำเพาะ ลองวิเคราะห์ลองจิบจะติดใจ
“ลาเกอร์ เบียร์” คือสิงห์แรกที่วางตลาด ด้วยรสชาติเพื่อคนไทยเป็นหลักใหญ่ ผลิตด้วยกรรมวิธีอย่างตั้งใจ รักษาให้เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว
สิงห์ดราฟท์เบียร์สูตรทีเด็ดเป็นของสิงห์ เพื่อไม่ทิ้งความสดมันของเบียร์สด การน�ำเบียร์พาสเจอไรซ์จึงต้องงด กรองยีสต์หมดด้วยเครื่องกรองของเฉพาะ
เริ่มด้วยการคัดเลือก “ฮ็อป” วัตถุดิบ เพื่อให้จิบได้รสชาติมาตรฐาน ทั้งกลิ่นหอมและความใสติดใจนาน ไม่มีการน�ำเกรดต�่ำมาเจือปน
กรรมวิธีการผลิต “สิงห์โกลด์” นั้น “ดีคอคชั่น” คือวิธีที่เลือกใช้ เพื่อเปลี่ยนแป้งเป็นน�ำ้ ตาลก่อนผ่านไป วิธีใหม่ที่สิงห์คิดผลิตมา
นอกจากนี้ฝาปิดเบียร์และกระป๋อง ก็จะต้องน�ำไปผ่านการฆ่าเชื้อ โดยใช้เครื่องความร้อนสูงสุดเหลือเฟือ ก�ำจัดเชื้อ “จุลินทรีย์” ที่มีมา
แล้วจึงใช้วิธี “อินพิวชั่น” ซึ่งเป็นขั้นเปลี่ยนแป้งจากข้าวมอลต์ ให้กลายเป็นน�้ำตาลตามขั้นตอน ก่อนจะจรสู่กระบวนการขั้นต่อไป
น�ำ้ เบียร์ใสละเอียดฟองสะท้อนแสง คือทองแห่งเบียร์เบาใต้เงาสิงห์ แอลกอฮอล์สามจุดห้าน่าลองชิม รสชาตินิ่ม แคลอรี่ต�่ำ ฉ�่ำชื่นใจ
ทัง้ สิงห์ใหญ่ สิงห์โกลด์ สิงห์ดราฟท์ มีความต่าง เป็นแบบอย่างของรสชาติตามเป้าหมาย ไว้ให้ผู้บริโภคเลือกตามสไตล์ คือจุดหมายที่แท้จริงแห่งสิงห์ไทย
เมื่อเสร็จสิ้นกรรมวิธีพิถีพิถัน น�ำ้ เบียร์นั้นมีแอลกอฮอล์ต่อน�ำ้ หนัก ร้อยละห้า “ลาเกอร์ เบียร์” ชื่นใจนัก สัญลักษณ์แห่งสิงห์ยิ่งจีรัง
แต่สองสิงห์มีสิ่งเหมือนเมื่อบรรจุ ก่อนบรรลุขั้นสุดท้ายการผลิต ต้องผ่านการพาสเจอร์ไรซ์อย่างมิดชิด เพื่อประสิทธิภาพของยอดเบียร์
นี่คือเบียร์มาตรฐานนามว่า “สิงห์” ที่ทุกสิ่งอยู่ภายใต้ความทันสมัย ทั้งเครื่องจักรกลวิธีความตั้งใจ เพื่อให้ได้มีเบียร์ดีในสังคม
สิงห์ที่สองน้องใหม่เป็นเบียร์อ่อน แต่ก็ซ่อนความสะใจสไตล์สิงห์ เรียกติดปากว่า “สิงห์โกลด์ ไลท์เบียร์” จริง ชื่อของสิงห์รับประกันเบียร์ชั้นดี
สิงห์น้องใหม่ล่าสุดคือ “เบียร์สด” แต่ละหยดบรรจุในกระป๋องสวย เรียกกันว่า “สิงห์ดราฟท์เบียร์” เอื้ออ�ำนวย เพราะได้ช่วยให้เบียร์สดรสชาติมัน
หกสิบปีสิงห์ไม่เคยอยู่กับที่ แต่จะมีการเปลี่ยนแปลงแสดงให้เห็น รุดเดินหน้าพัฒนาเช่นเคยเป็น ดังเราเห็น “สามสิงห์” ยิ่งมั่นใจ
ที่มา: หนังสืออภิรมย์ ปี 2537 จากคอลัมน์ “เล่าขานตำ�นานสิงห์”
52
SINGHA MAGAZINE
ความรู้ทั่วไป / ธุรกิจครอบครัวเบียร์
เรื่อง: วิชา วิศาลศิลป์
01
เมื่อพูดชื่อ สเตลล่า อาร์ทัวส์ แล้วคิดว่าน้อยคนที่จะไม่รู้จักเบียร์ยี่ห้อนี้เพราะมีมาช้านาน แต่โรงเบียร์ผู้ผลิตนี้มีความเป็นมาที่ยาวนานกว่าที่ทุกคนจะรู้ มีต้นตอมาจากปี ค.ศ. 1366 หรือกว่า 650 ปีที่แล้ว ฟังแล้วดูเก่าแก่จริงๆ การเดินทางของโรงเบียร์นี้ก็ไม่ใช่ธรรมดา แน่นอนว่าโรงเบียร์เก่าแก่ระดับนี้ ต้องมีเรื่องเล่ามากมาย มีการเปลี่ยนมือพอสมควรแต่ก็ยังคงเอกลักษณ์เดิมๆ ของยุโรปได้ดีพอควร ย้อนไปในอดีตกาลที่นานเหลือเกินนี้ ในปี ค.ศ. 1366 ที่เมืองลูเวน (Leuven) ประเทศเบลเยียม ได้มีการก่อตั้ง โรงเบียร์ชื่อว่า เดนฮูร์น (Den Hoorn) หรือภาษาอังกฤษแปลว่า The Horn หมายถึง “แตร” 54
SINGHA MAGAZINE
04
03 02
05
07
01 02-03 04 05 06 07
โรงงานเดิมที่ปล่อยทิ้งร้างในปัจจุบัน โรงเบียร์เดิม ที่รองแก้วโบราณ เล่าเรื่องประวัติของ โรงเบียร์ ภาพการดื่มเบียร์ในอดีต รถม้าส่งเบียร์ของโรงเบียร์เพียดเบิฟ “แตร” สัญลักษณ์บนฉลากเบียร์ของ Stella Artois
06
สัญลักษณ์แตรนี้ยังคงมีให้เห็นบนฉลากเบียร์ของ Stella Artois ใต้ปีกำ� เนิดที่ไม่รู้ว่ามีใคร สังเกตกันบ้าง และในปีต่อๆ มาก็มีคนอื่นตั้งโรงเบียร์ขึ้นมามากมาย คงเดาเอาได้ว่า คนเบลเยียมชอบดืม่ เบียร์มากขนาดไหน เพราะภายในไม่กปี่ กี ม็ โี รงเบียร์เป็นสิบโรงแข่งขัน กันในเมืองเดียว แต่ที่โรงเบียร์เดนฮูร์นนี้มีนักปรุงเบียร์ฝีมือเยี่ยมชื่อว่า เซแบสเตียน อาร์ทวั ส์ ผูท้ ำ� งานอยูม่ านานและค่อยๆ ไต่เต้าขึน้ มาเรือ่ ยๆ จนมาเป็นหัวหน้าบรูวม์ าสเตอร์ เมื่อปี 1708 และในที่สุดได้ตกลงซื้อกิจการนี้จากครอบครัวเดิมเมื่อปี 1717 และเปลี่ยนชื่อ เป็นบริวเวอรี่อาร์ทัวส์ โรงเบียร์นี้เติบโตขึ้นเรื่อยๆ โดยบุตรชายของนายเซแบสเตียนชื่อนายเอเดรียนได้ ขยายก�ำลังผลิตขึ้นไปอีก และโดยที่นายเอเดรียนมีลูกถึง 12 คน จึงเริ่มมีการศึกษาการ จัดการหุน้ ของบริษทั บุตรชายคนโตของนายเอเดรียนคือ นายลีโอนาร์ด รับช่วงต่อจากบิดา และได้ซอื้ โรงเบียร์ในละแวกนัน้ 2 โรง ขยายการผลิตได้อย่างรวดเร็ว และได้ขอค�ำปรึกษา เรื่องการดูแลครอบครัวจากอาจารย์มหาวิทยาลัยซึ่งให้ค�ำแนะน�ำว่า ให้รวมหุ้นทั้งหมด ไว้ที่เดียวกัน และหากบุคคลในครอบครัวบางคนไม่อยากยุ่งเกี่ยวกับธุรกิจแล้ว ก็ควร ซื้อส่วนของเขาคนนั้นกลับมา เขาจะได้เอาเงินไปท�ำอย่างอื่นได้ ซึ่งจาก 12 คนก็เหลือ 6 คนที่ตกลงจะดูแลธุรกิจเบียร์ต่อ ขณะเดียวกันนายลีโอนาร์ดก็ได้ตกลงซื้อโรงเบียร์ใน ละแวกนั้นอีก 2 โรง ท�ำให้ยอดผลิตของเขาเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วอีกครั้ง ใน 6 คนพี่น้องที่ เหลือนี้ 4 คนตายจากไปจนเหลือพีช่ ายคนโตและน้องสาวคนเล็ก และในทีส่ ดุ นายลีโอนาร์ด พี่ชายคนโตก็ได้จากไปในปี 1820 บริษัทและทรัพย์สินทั้งหมดตกเป็นของน้องสาวคนเล็ก SINGHA MAGAZINE
55
ความรู้ทั่วไป / ธุรกิจครอบครัวเบียร์ 01 02
03 01 02-03 04 05 06 07-08 09
โฆษณาปี 2560 ที่ใช้ตัวละครเป็นผู้ริเริ่มเบียร์คือ Sebastian Artois โฆษณาและที่รองแก้วในอดีต โรงเบียร์ในปัจจุบันที่เมืองลูเวิน ไวส์เคานท์เดอสปูลเบิก หัวหน้าครอบครัวสเตลล่า อาร์ทัวส์ เล่าประวัติบริษัทที่เมืองไทยเมื่อเดือนก.พ. ที่ผ่านมา โฆษณาปี 2550 ใช้ตัวละครเป็น Edmond Willems ปู่ทวดของครอบครัวเจ้าของในปัจจุบัน ขวดเบียร์และเบียร์ของสเตลล่าต้องเสิร์ฟในแก้วพิเศษ การปาดฟองแก้วเบียร์
แต่เพียงผู้เดียว ซึ่งก็ได้พยายามบริหารกิจการจนในที่สุดต้องหา คนนอกเข้ามาช่วยดูแลเพราะตัวน้องสาวเองแต่งงานแต่ไม่มีลูก ซึ่งเธอก็มีอายุต่อมาอีก 20 ปี มีผู้จัดการชื่อ นายอัลเบิร์ต มาเนฟ ที่ดูแลกิจการให้เป็นอย่างดี โรงเบียร์ก็ยังเติบโตขึ้นเป็นล�ำดับจน เธอเสียชีวิตเมื่อปี 1840 ในวัย 78 ปี มรดกทั้งหมดจึงยกให้แก่นาย อัลเบิร์ต ซึ่งก็ไม่มีลูกอีก ทรัพย์สมบัติทั้งหมดจึงตกต่อไปที่หลาน ชายของภริยาชื่อนายเอดมอนด์ วิลเล็มส์ ซึ่งกลายเป็นต้นตระกูล ของเจ้าของในปัจจุบัน นายเอดมอนด์มีบุตรสาว 2 คน แต่งงานมีลูกกันไปแต่ไม่ได้ บริหารงานในโรงเบียร์เลย มีการจ้างผู้จัดการมืออาชีพเข้ามาดูแล กิจการเรื่อยมา โดยสามีของบุตรสาวทั้งสองได้เข้ามาอยู่ในคณะ กรรมการของบริษัทแต่ไม่ได้ดูแลกิจการ จึงกลายเป็นธรรมเนียม ของการท�ำงานของโรงเบียร์อาร์ทัวส์ไปโดยปริยายตั้งแต่นั้นมา ด้วยกิจการได้ขยายอย่างต่อเนื่องเรื่อยมา รวมถึงแตกแขนง ออกไปในธุรกิจอื่นๆ เช่น บาร์ ร้านอาหาร และอสังหาริมทรัพย์ จนถึงปี 1902 ได้มีการซื้อโรงเบียร์เพิ่มเติมอีก 2 โรง ยอดขายก็ เพิ่มมากขึ้นอีก ก่อนหน้านั้นโรงเบียร์ไม่ได้ท�ำการบรรจุเบียร์เอง แต่ส่งเป็นถังไปให้ลูกค้าที่จะเป็นผู้บรรจุเบียร์ลงขวดแล้วขายต่อ ทว่าเริม่ มีการปฏิรปู โรงเบียร์หลายโรงหันมาบรรจุเบียร์ลงขวดเอง 56
SINGHA MAGAZINE
04
05
และบ้างก็ขายตรงเอง เพราะคนสมัยนั้นสั่งเบียร์เป็นลัง เมื่อดื่ม หมดก็จะวางลังเบียร์พร้อมขวดเปล่าไว้หน้าบ้าน คนจากโรงเบียร์ ก็จะขับรถม้ามาเก็บและน�ำเบียร์ใหม่เต็มลังมาวางให้แทน เก็บเงิน ทีหลัง ท�ำแบบเดียวกับการบริโภคนมสดเลยทีเดียว เป็นธรรมเนียม ของประเทศนักดื่มเบียร์จริงๆ ในปี 1920 ยอดขายของโรงเบียร์อาร์ทัวส์อยู่ที่ 187,000 เฮกโตลิตร และในปี 1926 ทางบริษัทก็ได้น�ำสูตรเบียร์เก่ามา ปรับปรุงแล้วออกเป็นเบียร์พเิ ศษช่วงหน้าหนาวของปี 1926 ให้ชอื่ ว่า ดาวของอาร์ทวั ส์ หรือ Stella Artois แต่ดว้ ยความต้องการในตลาด มีมากขึน้ อยูต่ ลอด เบียร์นจ้ี งึ กลายเป็นเบียร์ทมี่ ยี อดขายมากทีส่ ดุ ของบริษัทไป ท�ำให้ยอดขายในปี 1940 กลายเป็น 447,000 เฮกโตลิตร แต่ทุกอย่างก็จบลงเมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 มาเยือน โรงเบียร์ดั้งเดิมเจอลูกระเบิดลงอย่างหนักจนเสียหายเกือบหมด หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลง ทางครอบครัวผู้ถือหุ้น หลัก กล่าวคือ ครอบครัว de Spoelberch และ de Mevius ก็ได้ กลับมาคุยกันว่าจะเดินหน้ากันอย่างไร ส่วนใหญ่เห็นควรด�ำเนิน การก่อสร้างทุกอย่างขึ้นใหม่และจะต้องเอาความเจริญรุ่งเรือง ด้านการผลิตและการค้าเบียร์กลับมาให้ได้ ทัง้ นีม้ ผี ถู้ อื หุน้ 1 คนที่ ไม่มคี รอบครัวได้ตายจากไป หุน้ จึงกลับเข้าส่วนรวม ส่วนผูถ้ อื หุน้
อีก 1 คนตัดสินใจไม่เดินต่อไปกับครอบครัว (ซึ่งเขาดูจะเสียใจกับการตัดสินใจครั้งนี้ มากเพราะอนาคตสดใสกว่าที่ทุกคนจะ คาดการณ์ได้) ส่วนผู้ถือหุ้นที่เหลือก็ต้อง เป็นหนี้ธนาคารมหาศาล เพราะจัดหา เงินทุนมาซ่อมแซมโรงงานกันใหม่ แต่ก็ สามารถกลั บ มาได้ เ พราะการค่ อ ยเป็ น ค่อยไปและครอบครัวผู้ถือหุ้นมีความเป็น ปึกแผ่นสูง ในช่วงปี 1966 มีโรงเบียร์เก่าแก่ ของเบลเยียมอีกแห่งหนึ่งชื่อ เพียดเบิฟ เป็นธุรกิจของครอบครัวแวนดามม์ (Van Damme) ได้เปิดตัวเบียร์ใหม่ชอื่ จูปเิ ลอร์ (Jupiler) เป็นที่ถูกคอของชาวเบลเยียม มากจนยอดขายเพิ่มขึ้นเร็วมาก แซงหน้า เบียร์สเตลล่า อาร์ทัวส์ ในไม่ช้า แต่ด้วย ความคิดของผูบ้ ริหารในขณะนัน้ ว่า แทนที่ จะแข่งขันกันท�ำไมไม่หันมาร่วมมือกัน เพื่อเพิ่มยอดขาย เพราะแต่ละเบียร์ก็ สามารถขายคนละมาร์เก็ตได้ จึงได้รวมตัว กันเป็นบริษัทอินเตอร์บรูว์ (Interbrew) กลายเป็นบริษัทผลิตเบียร์ที่ใหญ่ขึ้นมา ทันทีในยุโรป แต่ใช่ว่าการรวมตัวแบบนี้จะ เป็นเรื่องแปลก เพราะโรงเบียร์อื่นๆ ก็เริ่ม หันมารวมตัวกัน เช่น ไฮเนเก้นกับแอมสเตล (Heineken-Amstel) คาร์ลสเบิรก์ กับตูบวร์ก (Carlsberg-Tuborg) และโครเนนเบิรก์ กับ
Société Européenne de Brasseries
ผู้ผลิต
เบียร์ยี่ห้อกันเทอร์บราว (Kanterbräu) การรวมตั ว ของโรงเบี ย ร์ อ าร์ ทั ว ส์ ไม่ใช่อะไรใหม่ เพราะตั้งแต่ เซแบสเตียน อาร์ทวั ส์ ซือ้ บริษทั มาได้แล้วนัน้ หลานชาย ของเขาก็ได้ซื้อโรงเบียร์คู่แข่งมา 2 โรงแล้ว และก็มกี ารขยายตัวด้วยการซือ้ โรงเบียร์อนื่ มาเป็นระยะๆ การรวมตัวเป็น Interbrew ก็ถือเป็นอีกก้าวหนึ่งที่ท�ำให้บริษัทโตขึ้น และในปี 1986 เป็นปีที่บริษัทนี้จะก้าว กระโดดแบบที่ ไม่ มีใครเคยเห็ น มาก่ อ น ด้วยการซื้อกิจการโรงเบียร์ที่ใหญ่กว่า ตัวเอง 2-3 เท่า นั่นก็คือบริษัท Labatt แห่งแคนาดา ถือเป็นการฮุบกิจการที่มี ความเสี่ยงมากส�ำหรับครอบครัว ต้องขาย ธุรกิจอื่นๆ ออกไปหมดรวมถึงบาร์ ร้าน อาหาร อสังหาริมทรัพย์ และธุรกิจน�ำ้ แร่ แต่ ก็สำ� เร็จไปได้ดว้ ยดี และอาจจะเป็นจุดหักเห ที่ส�ำคัญในการท�ำธุรกิจของ Interbrew ก็น่าจะว่าได้ เพราะต่อจากนั้นมีแต่การ รวมตัวหรือซื้อกิจการโรงเบียร์ที่ใหญ่ขึ้น เรื่อยๆ จนกลายมาเป็นบริษัทเบียร์ที่ใหญ่ ที่สุดในโลกภายใต้ชื่อ ABInBev ในปัจจุบัน มียี่ห้อเบียร์กว่า 200 ยี่ห้อและส่วนแบ่ง ของตลาดเบียร์โลกที่ 30% และยังถือว่า เป็นธุรกิจครอบครัวแบบร่วม กล่าวคือ ครอบครัวผูถ้ อื หุน้ เดิมของสเตลล่า อาร์ทวั ส์ 08
09
07
06
ก็ยังคงเป็นหนึ่งในกลุ่มครอบครัวผู้ถือหุ้น บริษัทใหม่นี้ แม้ว่าจะมีหุ้นส่วนที่ซอยน้อย ลงไป แต่ผลประโยชน์ทางการเงินสูงขึ้น หลายเท่าตัว และหนึง่ ในยีห่ อ้ เบียร์ของกลุม่ ยักษ์ใหญ่นี้ก็ยังคงมี Stella Artois ปะปน อยูด่ ว้ ย มีความส�ำคัญทีน่ อ้ ยลงกว่าในอดีต แต่ก็ยังคงถือเป็นเบียร์เอกเบียร์หนึ่งของ บริษทั ทีใ่ หญ่โตเกินความคาดฝันของทุกคน ในครอบครัว จากโรงเบียร์เล็กๆ ทีเ่ กิดขึน้ ในประเทศเล็กๆ ประเทศหนึง่ ในทวีปยุโรป กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของผู้น�ำการผลิต เบียร์ของโลกไปแล้ว ที่มาภาพ: http://new.priceinspector.co.uk/stella-artois-prices/ http://beerpulse.com/brewery/stella-artois-2/ http://adsoftheworld.com/media/print/he_broke_ the_law https://twitter.com/mattwalshssm/status/ 717053520395046912 http://www.dhnet.be/regions/liege/la-biereen-vedette-52ae83b73570105ef7d52d2e https://www.flickr.com/photos/sanderkardinaal/ 12168644763 http://www.panoramio.com/photo/3409135 https://uk.pinterest.com/pin/528539706239710830/ http://www.drinkstuff.com/products/product. asp?ID=10393 https://www.pinterest.com/aacaya/random/?lp=true http://basedecerveja.misi.eu/cerveja/stellaartois/ oval/stellaartois0/ http://nevsepic.com.ua/reklama/page,8,9989kreativnaya-reklama-2800-foto-1-chast.html
SINGHA MAGAZINE
57
ความรู้ทั่วไป / บุคคลน่าสนใจ
Angela Merkel อังเกลา แมร์เคิล
เรื่อง: ลาพิส ลาซูรี
สตรีผู้ทรงอิทธิพลในการเมืองโลก
หากพูดถึงนักการเมืองหญิงผู้ทรงอิทธิพลของโลก คนไทยส่วนใหญ่อาจนึกถึง ฮิลลารี คลินตัน แห่งสหรัฐฯ หรือ อองซานซูจี แห่งพม่า แต่จากสถานการณ์โลกในปัจจุบัน นักการเมืองหญิงผู้ทรงอิทธิพลทางการเมือง และไม่ควรพลาดจับตาดูบทบาทของเธอก็คือ อังเกลา แมร์เคิล (Angela Merkel) นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรก ของเยอรมนี ผู้ด�ำรงต�ำแหน่งต่อเนื่องมาแล้ว 3 สมัย ตั้งแต่ปี 2005 และเธอยังประกาศว่าจะลงชิงชัยเพื่อสมัยที่ 4 ในการเลือกตั้งปลายปี 2017 ซึ่งการเลือกตั้งครั้งนี้จะเป็นสิ่งบ่งชี้ว่า ประเทศในแถบยุโรปจะเอียงไปอยู่การเมือง ฝั่งขวาที่ค่อนไปทางอนุรักษ์นิยมเหมือนสหรัฐฯ หรือไม่
อังเกลา แมร์เคิล มีชื่อเต็มว่า อังเกลา โดโรเธีย คาสเนอร์ (Angela Dorothea Kasner) เกิดในปี 1954 ที่เมืองฮัมบูร์ก หลัง ก�ำแพงเบอร์ลินฝั่งตะวันตก หลังจากนั้นไม่นาน พ่อของเธอที่เป็น นักบวชนิกายโปรเตสแตนต์ก็พาครอบครัวย้ายมาท�ำงานในฝั่ง ตะวันออก ชีวติ วัยเด็กของเธอเป็นไปอย่างเรียบๆ ใฝ่ศกึ ษาเล่าเรียน 58
SINGHA MAGAZINE
และก็เหมือนกับเยาวชนทั่วไปในเยอรมนีตะวันออกที่ต้องเป็น สมาชิกองค์กรเยาวชนคอมมิวนิสต์ เพื่อโอกาสทางการศึกษา ในมหาวิทยาลัย เธอแต่งงานกับ อูลริช แมร์เคิล (Ulrich Merkel) และใช้นามสกุลของเขาจนถึงปัจจุบนั แม้ภายหลังเธอจะหย่าและ แต่งงานใหม่กับ โจชิม เซาเออร์ (Joachim Sauer) แล้วก็ตาม
แมร์เคิลจบปริญญาเอกด้านฟิสิกส์และท�ำงานเป็นนักวิจัย เธอก็นงั่ ต�ำแหน่งรัฐมนตรีดา้ นสิง่ แวดล้อมและพลังงานนิวเคลียร์ที่ เกีย่ วกับทฤษฎีควอนตัม เธอไม่คอ่ ยแต่งตัวและออกจะเชยๆ ด้วยซ�ำ้ ท�ำให้เส้นทางนักการเมืองของเธอชัดเจนและมั่นคงขึ้น แต่ ห ากใครได้ ฟ ั ง เธอพู ด ก็ จ ะรู ้ ว ่ า เธอ ในปี 1999 เฮลมุท โคห์ล ถูกโจมตี ปราดเปรื่ อ งมาก รู ้ ท้ั ง ภาษาเยอรมั น ด้วยเรือ่ งอือ้ ฉาวว่าระดมเงินเพือ่ สนับสนุน อังกฤษ และรัสเซีย รัฐบาลเคยทาบทาม กิ จ การของพรรคอย่ า งผิ ด กฎหมาย ให้เธอเป็นสายข่าว แต่เธอปฏิเสธโดย นักการเมืองคนส�ำคัญในพรรคหลายคน อ้างว่าเก็บความลับไม่เก่ง ครอบครัว โดนหางเลขไปด้วย แมร์เคิลเรียกร้องให้ ของเธอเป็นหนึ่งในประชากรบางส่วน หัวหน้าพรรคลาออกจากต�ำแหน่ง เพื่อกู้ ที่ถูกรัฐบาลเยอรมนีตะวันออกติดตาม ภาพลักษณ์และคะแนนนิยมของพรรค ควบคุมพฤติกรรม การถูกจ�ำกัดสิทธินั้น ที่ตกต�ำ่ ลง พรรค CDU แพ้การเลือกตั้ง ส่งผลให้แมร์เคิลศรัทธาเรือ่ งเสรีภาพและ ใหญ่ในปีนั้น เมื่อโคห์ลลาออก แมร์เคิล ประชาธิปไตยอย่างมาก ในช่วงปลาย กลายเป็นตัวเลือกทีด่ สี ำ� หรับต�ำแหน่งผูน้ ำ� ยุค 80 เธอจึงเริ่มเข้าสู่เส้นทางการเมือง พรรค เพราะเธอค่อนข้างได้รบั ความนิยม โดยสมัครเป็นสมาชิกกลุม่ ต่อต้านรัฐบาล จากสาธารณชน แล้วเธอก็ได้รบั เลือกเป็น เยอรมนีตะวันออก หัวหน้าพรรคจริงๆ โดยเป็นผูห้ ญิงคนแรก ในปี 1989 เกิดเหตุการณ์ก�ำแพง ทีด่ ำ� รงต�ำแหน่งหัวหน้าพรรคการเมืองใน เบอร์ลินล่มสลาย ช่วงเวลานั้นแมร์เคิล เยอรมนี ก่อนจะขึ้นเป็นผู้นำ� ฝ่ายค้านใน มีโอกาสเข้าสู่การเมืองเต็มตัว เพราะมี สภาในเวลาต่อมา กลุ่มการเมืองเกิดขึ้นหลายกลุ่ม โดย มองเผินๆ เหมือนเส้นทางการเมือง แมร์เคิลร่วมเป็นสมาชิกกลุ่มตื่นตัวทาง ของแมร์เคิลไม่ได้ยากเย็นอะไรนัก แต่ ประชาธิปไตยที่ต่อมารวมเข้ากับพรรค แท้จริง ความเป็นผูห้ ญิง อายุนอ้ ย นับถือ คริ ส เตี ย นเดโมแครต (CDU) พรรค นิกายโปรเตสแตนต์ และมาจากเยอรมนี การเมืองทีใ่ หญ่ทสี่ ดุ ของประเทศ หัวหน้า ตะวันออก ท�ำให้เธอต้องเผชิญแรงกดดัน พรรคคือ เฮลมุท โคห์ล (Helmut Kohl) อย่างมาก ประการแรก พรรคการเมืองที่ ต่อมาแมร์เคิลได้รบั เลือกตัง้ เข้าสูส่ ภาโดย แมร์เคิลสังกัดนับถือนิกายคาทอลิกอย่าง เป็นตัวแทนจากรัฐเมคเลนบูรก์ -ฟอร์พอม เคร่งครัด จึงถือสาที่เธอเคยหย่าและ เมิร์น ฝั่งเยอรมนีตะวันออก เป็นหม้ายก่อนแต่งงานใหม่ ประการที่ 2 Matteo Renzi, Angela Merkel and Francois Hollande เฮลมุท โคห์ล สนับสนุนเธออย่างมาก เธอต้องฝ่าฝันแนวคิดดัง้ เดิมทีว่ า่ ผูน้ ำ� ควร ด้วยเหตุผลว่า เขาต้องการให้มคี นจากทัง้ เป็นผู้ชาย ประการที่สาม การที่เธอมา ฝั่งตะวันตกและตะวันออกอยู่ในรัฐบาล จากเยอรมนีตะวันออกท�ำให้เธอมักถูกโยง เพื่อขยายฐานเสียง และนอกจากความ เข้ากับคอมมิวนิสต์ โดยถูกโจมตีเรื่องที่ สามารถ แมร์เคิลยังไม่มปี ระวัตเิ กีย่ วข้อง เคยเป็นสมาชิกองค์กรเยาวชนคอมมิวนิสต์ กับองค์กรลับของรัฐบาลฝั่งตะวันออก แต่เพราะเธอไม่ได้มีต�ำแหน่งส�ำคัญใน เมื่อโคห์ลได้รับเลือกเป็นนายกรัฐมนตรี Martin Schulz and Angela Merkel องค์กรนั้น ประเด็นนี้จึงตกไป ในปี 1991 อนาคตทางการเมืองของ ข้อได้เปรียบทีแ่ ข็งแกร่งของแมร์เคิล แมร์เคิลก็สดใส เธอได้ต�ำแหน่งรัฐมนตรีด้านการดูแลสตรีและ จนยากที่ใครจะโค่นเธอได้คือความนิยมจากสาธารณชน ความ เยาวชน ซึง่ ถือเป็นรัฐมนตรีทอี่ ายุนอ้ ยทีส่ ดุ ในยุคนัน้ และ 3 ปีตอ่ มา ธรรมดาและเรียบง่ายของแมร์เคิล (ทีบ่ างคนค่อนขอดว่า “พวกเชยๆ SINGHA MAGAZINE
59
ความรู้ทั่วไป / บุคคลน่าสนใจ จากตะวันออก”) ท�ำให้เธอเป็นคนติดดิน ไม่ฟู่ฟ่า ดูจริงใจ เป็น แบบอย่างผูน้ ำ� ทีค่ นเยอรมันชืน่ ชอบ แม้บางครัง้ เธอจะตรงไปตรงมา จนมีศตั รูคอ่ นข้างมาก แต่ขณะเดียวกันก็มคี นยกย่องเธอมากเช่นกัน แสดงออกให้เห็นแล้วในวันที่เธอได้ขึ้นเป็นหัวหน้าพรรค ท�ำเอา นักสังเกตการณ์ทางการเมืองถึงกับตะลึงไปตามๆ กัน ความนิยมของแมร์เคิลเพิม่ ขึน้ เรือ่ ยๆ ในทีส่ ดุ การเลือกตัง้ ใหญ่ ปี 2005 พรรค CDU ก็ได้เสียงข้างมากและจัดตั้งรัฐบาลผสม แม้สมาชิกรัฐบาลผสมบางส่วน ไม่ยอมรับเธอ แต่แมร์เคิล ก็ได้รับการโหวตให้เป็นผู้น�ำ ประเทศ ช่วง 2 ปีแรกของการ ครองต�ำแหน่ง โพลความเห็น ของชาวเยอรมั น ออกมาว่ า ประชาชนกว่า 76% พอใจ ผลงานของแมร์เคิล ซึ่งเป็น คะแนนความเชื่ อ มั่ น ต่ อ รัฐบาลที่สูงที่สุดของประเทศ นับจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ส่วนใหญ่เป็นผลงานระดับนานาชาติ เธอโน้มน้าวให้กลุม่ ประเทศ G8 เห็นพ้องทีจ่ ะลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลงในระดับที่ น่าพอใจ และชักน�ำให้ประเทศสมาชิก EU เห็นด้วยกับสนธิสญั ญา ฉบับใหม่เพื่อใช้แทนรัฐธรรมนูญของ EU ทั้งหมดนี้ส่งผลให้แมร์เคิลได้รับเลือกเป็นนายกรัฐมนตรี สมัยที่ 2 ในปี 2009 เธอได้เผชิญความท้าทายครั้งใหญ่นั่นคือ วิกฤตยูโรโซน ปฏิเสธไม่ได้วา่ เยอรมนีคอื เสาหลักแห่งเสถียรภาพ ทางเศรษฐกิจของ EU การตัดสินใจใดๆ ของแมร์เคิลไม่เพียงแค่ ขับเคลือ่ นเยอรมนีเท่านัน้ หากยังขับเคลือ่ น EU ด้วย เมือ่ แมร์เคิล ตัดสินใจว่าเยอรมนีจะช่วยอุม้ ภาระหนีส้ นิ ของกรีซทีเ่ ป็นจุดเริม่ ต้น ของวิกฤตยูโรโซน เธอก็กลายเป็นหัวหอกส�ำคัญของการเรียกความ เชือ่ มัน่ กลับมาสูย่ โู รโซนอีกครัง้ เธอออกมาตรการรัดเข็มขัดอย่าง เข้มงวดแก่ประเทศสมาชิก โดยมัน่ ใจว่าการมีวนิ ยั ทางการคลังจะ ช่วยคลี่คลายปัญหาหนี้ในระยะยาว นโนบายของแมร์เคิลสร้างความล�ำบากให้ประเทศในยูโรโซน ไม่น้อย เธอไม่ใคร่จะเป็นที่ชื่นชอบของหลายชาตินัก โดยเฉพาะ ประเทศลูกหนีใ้ นยูโรโซนทีแ่ อบบ่นว่าเธอคือฮิตเลอร์ทางเศรษฐกิจ และคะแนนนิยมของเธอในเยอรมนีก็เริ่มตกลง แต่เธอก็ยังได้ กลับมาเป็นนายกฯ สมัยที่ 3 ด้วยเหตุผลว่าเธอมีลักษณะของ 60
SINGHA MAGAZINE
ความรอมชอมและชาวเยอรมันก็ยังเชื่อมือเธออยู่จากผลงานท่ี่ ท�ำให้เศรษฐกิจและการส่งออกของประเทศฟื้นตัวขึ้นมาในระดับ ที่น่าพอใจ อย่างไรก็ตาม การครองต�ำแหน่งครั้งที่ 3 นี้ แมร์เคิลออก นโยบายทีส่ นั่ คลอนความนิยมของเธออย่างมาก นัน่ คือการเปิดรับ ผูอ้ พยพจากสงครามซีเรีย ซึง่ ท�ำให้เกิดปัญหาชาวตะวันออกกลาง นับล้านคนอพยพเข้ามาในเยอรมนีและยุโรป แม้นโยบายของเธอ จะเป็นไปเพื่อแนวคิดเสรีชน และการไม่ปิดกั้น แต่หลาย ประเทศในยุ โ รปรวมถึ ง คน เยอรมันเองแสดงออกชัดเจน ว่าไม่เห็นด้วย ปัญหาเรื่องนี้ สหราชอาณาจักรน�ำมายกเป็น ประเด็นหลักในการขอถอนตัว จาก EU ด้วยเช่นกัน ขณะเดียวกันค่านิยมทาง การเมืองของโลกตะวันตกได้ เปลี่ยนแปลงไป จากแนวคิด การร่วมมือกัน ใช้หลักสิทธิมนุษยชนและความเท่าเทียมขับเคลือ่ น โลก หันมาสู่กระแส “แยกตัว” ที่เน้นประโยชน์ของประเทศตัวเอง มาก่อน อาจกล่าวหลวมๆ ว่าเบนมาทางอนุรกั ษ์นยิ มก็วา่ ได้ ชัยชนะ ของดอนัลด์ ทรัมป์ (Donald Trump) จากการเลือกตั้งของสหรัฐฯ เป็นข้อพิสจู น์ของการเปลีย่ นแปลงนี้ รวมถึงคะแนนนิยมของพรรค ฝ่ายค้านในยุโรปที่มีแนวคิดเอียงขวาก็กำ� ลังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แมร์ เ คิ ล ยอมรั บ ว่ า นโยบายเปิ ด รั บ ผู ้ อ พยพและการ เปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นท�ำให้เธออยู่ในภาวะที่ยากล�ำบาก ทว่าเธอ ก็ยังยืนยันในเจตนารมณ์ที่สนับสนุนแนวคิดความร่วมมืออันเป็น เอกภาพ และลงสมัครชิงชัยต�ำแหน่งนายกฯ สมัยที่ 4 ซึ่งหากเธอ ได้รับเลือกอีกครั้ง ก็จะกลายเป็นนายกฯ คนที่ 3 ของเยอรมนีที่อยู่ ในต�ำแหน่งนานทีส่ ดุ ในยุคหลังสงคราม แต่ทสี่ ำ� คัญกว่านัน้ หากเธอ ได้รบั เลือกอีกครัง้ สหภาพยุโรปก็จะยังมีเธอเป็นแรงยึดเหนีย่ วไม่ให้ แยกออกจากกัน รวมถึงเธอจะเป็นสัญลักษณ์ของการคานอ�ำนาจกับ พรรคการเมืองฝ่ายขวาอีกด้วย ขอบคุณข้อมูลจาก:
https://en.wikipedia.org/wiki/Angela_Merkel http://www.bbc.com/news/world-europe-23709337 http://oknation.nationtv.tv/blog/print.php?id=245018
ที่มาภาพ:
http://www.cnbc.com http://notjustrich.com http://www.randomlynew.com
ปากกาพาไป / ว่าด้วยเรื่องมารยาทในการแต่งกาย
ว่าด้วยเรื่องมารยาทในการแต่งกาย อิฉันเป็นคนที่ชอบใส่มูมู่อยู่บ้าน เวลามีช่างมาซ่อมเครื่องซักผ้า หม้อต้มกาแฟ ก็มักจะมองหน้า อิฉันแปลกๆ เหมือนกับว่าแต่งตัวอย่างนี้เนี่ยเหรอคือคุณนายเจ้าของบ้าน อูบ๊ะ ก็คนอยู่บ้านจะให้ ใส่ ชุดลูกไม้ผ้าไหมกันหรือยังไง (หรือนั่นคือชุดที่คุณนายปกติเขาใส่กัน ?!?) แหม ใช่ว่าอิฉันจะเป็นคน ปอนๆ นะคะ เวลาต้องออกไปข้างนอก อิฉันก็จะแต่งตัวให้ดูดีเหมาะกับสถานที่ที่จะไปอยู่แล้วค่ะ ชิส์ ธรรมดาเวลาอิฉันไปซื้อของจ่ายตลาดหรือไปกินข้าว อะไรประมาณนั้นอะค่ะ จากรองเท้าส้นเตี้ยก็เปลี่ยนให้ส้นสูง กลางวันตามห้าง อิฉันก็แต่งตัวสบายๆ ค่ะ สมัยโบราณเรียก อีกนิดให้สง่าขึ้น มีเครื่องประดับพอวิบวับไม่ถึงกับบาดตา แต่งกายแบบ “ล�ำลอง” ถ้าติดฝรั่งค�ำไทยค�ำก็ต้อง “แคชั่วล์” เรือ่ งการแต่งตัวจริงๆ แล้วมันเป็นเรือ่ งของรสนิยมนะคะ แต่ถา้ ตกค�ำ่ ทีร่ กั จะพาไปดินเน่อทีร่ า้ นเก๋ๆ อิฉนั ก็จะยกระดับ สอนกันล�ำบาก อิฉนั เน้นทีแ่ ต่งตัวให้ถกู กาลเทศะค่ะ รวมไปถึง เสื้อผ้าอีกนิดแทนที่จะเป็นกางเกงยีนส์ (ที่จริงๆ แล้วปัจจุบัน การให้เกียรติเจ้าภาพด้วย เช่นว่าได้รับเชิญไปงานแต่งงานก็ ใส่ไม่เข้าแล้ว) เสื้อยืด แต่ไม่แตะนะคะ อิฉันไม่ลากแตะไม่ว่า อย่าไปแต่งตัวประชันเจ้าสาวค่ะ คือพยายามเลี่ยงๆ การใส่ จะแคชัว่ ล์แค่ไหน แตะนีใ่ ส่เดินชมสวนในบ้าน ไปบ้านแม่หรือไป ชุดราตรีสีขาวหรือโปะเครื่องเพชรสมบัติเจ้าคุณย่าเสียจน กินข้าวบ้านอินลอว์สเท่านัน้ ค่าาา อ้อๆ กับใส่ไปเทีย่ วทะเลค่ะ เจ้าสาวหงอยเลยนะคะ อิฉันเห็นมาหลายงานเลยสาวๆ เดิน แต่จะลงหาดนั้นเท้าเปล่านะคะ เคยเห็นคนใส่ส้นตึกเดิน ใส่ชดุ ขาวกันว่อน ไม่รคู้ นไหนเป็นเจ้าสาวเลยค่ะ ไม่เข้าใจค่ะ ชายหาดและกางร่มทีนึงค่ะ เกือบสะดุดปูลมหน้าคะม�ำ วันอืน่ ๆ ใส่สตี า่ งๆ นานาพอได้รบั เชิญไปงานแต่งรีบหาชุดขาว ทรายแน่ะค่ะ กร๊ากๆ อ้าวๆ นอกเรื่องไปแล้ว มาใส่กันเป็นแถว ขอให้เจ้าสาวเขาเด่นสักวัน ค่ะ... ต่อค่ะ ...ไปกินข้าวยามค�่ำกับที่รักที่ร้าน ไม่ได้เชียวหรือคะ อ้อๆ อีกสีค่ะ สีด�ำ เอิ่ม... เก๋ๆ อิฉนั ก็จะแต่งตัวสวยขึน้ อีกนิดแบบสมาร์ท งานแต่งนี่งานมงคล ขอสีสันสดใสหน่อยค่ะ ทีไปงานศพละไม่ยักกะใส่สีด�ำกัน ไพล่ไปใส่ แคชั่วล์ตามขี้ปากคนสมัยใหม่ไฮโซ เช่นชุดซื้อ เรือ่ ง: วิฬาร์สดุ า ขาวด�ำเสียนี่ ก็ไม่อยากจะบ่นนะคะ เข้าใจค่ะ จากตลาดพาหุรัดก็จะอัพเกรดเป็นซาร่าหรือ 62
SINGHA MAGAZINE
ว่าบางคนต้องกระหืดกระหอบมาจากที่ ท�ำงานและไม่อยากใส่สีด�ำปึ๊ดปื๋อทั้งวัน เอาเถอะค่ะ อิฉันจะพยายามเอาหูไปนา ไปไร่คะ่ แต่รายทีอ่ ฉิ นั เห็นคนนี้ อิฉนั ต้อง เอาหูตาคืนกลับมาค่ะ เธอใส่ชุดด�ำตาม กฎกติกาจริงๆ แต่ดันหิ้วกระเป๋าสีแสด มา อิฉนั ลมจะใส่คว้ายาดมส้มมือมาแทบ ไม่ทัน ไม่ใช่อะไร ยัยคนนี้เป็นญาติอิฉัน เอง!!! เอ็ดให้ก็ยังมาเถียงว่าก็ลืมเปลี่ยน กระเป๋า แหม! ก็ทิ้งไว้ในรถก็ได้แม่คู้น ถือมาสีเดียวกับจีวรพระเลย ไหนๆ ก็เรือ่ ยมาถึงงานศพแล้ว ขอต่อ เลยนะคะ มีน้องๆ จากสิงห์แมกนี่ละค่ะ เคยมาถามว่างานหลวงกับงานราษฎร์นี่ มันผิดกันอย่างไรในเรื่องของการแต่งตัว เอาง่ายๆ ค่ะ งานหลวงคืองานทีพ่ ระเจ้า อยู่หัวฯ รับจัดให้ทุกอย่าง จัด 3 วัน 7 วัน อะไรก็แต่จะโปรดเกล้าฯ เวลาที่เราไป งานหลวงตามปกติก็ควรจะใส่ชุดไทย แต่ถ้าไม่มีก็ใส่เป็นกระโปรงยาวก็ได้ค่ะ แต่ไม่ใช่ชุดราตรีกรุยกรายนะคะ เอาที่ เรียบร้อยทีส่ ดุ ละค่ะ ถ้าไม่มกี ระโปรงยาว จริงๆ ก็กระโปรงสั้น แต่ไม่ใช่สั้นแบบ เสมอหูนะคะ และใส่ถงุ น่องด�ำเสียหน่อย จริงๆ อิฉันว่าใครจะใส่แบบที่ว่ามาใน งานราษฎร์กไ็ ม่ผดิ อะไรนะคะ ดูเรียบร้อย สวยงามด้วย งานราษฎร์นี่ถ้าไม่อยากใส่ ถุงน่องก็ละไว้ได้ค่ะ แต่ขอให้กระโปรง อย่าสัน้ แบบนัง่ ตรงข้ามพระแล้วท่านสวด ไม่รู้เรื่องเลยค่ะ ส่วนผู้ชายใส่ชุดสูทสีมืด อย่ า ลื ม ติ ด ปลอกแขนทุ ก ข์ ด ้ ว ยนะคะ เดี๋ยวนี้ไม่ค่อยมีใครรู้จักกันแล้วจะมา เถียงว่าก็ใส่สูทด�ำเนคไทด�ำแล้วจะเอา อะไรอีก แต่มันเป็นธรรมเนียมปฏิบัติ กันมาช้านานไม่เคยประกาศยกเลิกค่ะ แล้วปลอกแขนทุกข์นี่ติดทั้งงานราษฎร์ งานหลวงเลยนะคะ ไม่อย่างนั้นก็ใส่เสื้อ พระราชทานสีด�ำอิฉันว่าก็ดูโก้ดี ถ้าเป็น
งานหลวงก็แขนยาวสักหน่อย งานราษฎร์ ก็แขนสั้นได้ค่ะ ปลอกแขนก็ไม่ต้องติด มี น้องคนหนึ่งถามว่าแล้วชุดขาวขอเฝ้าละ คืออะไร เห็นตอนที่บริษัทไปเป็นเจ้าภาพ งานพระบรมศพทุกคนใส่ชุดขาวกันหมด คืองีค้ ะ่ ชุดขาวเป็นชุดทางการส�ำหรับคน ทั่วไปที่ไม่ใช่ข้าราชการใส่เพื่อเข้าเฝ้าฯ พระมหากษัตริย์เรียกว่าชุด “ขอเฝ้า” ก็ ตรงตัวเลยค่ะ การที่เราไปถวายบังคม พระบรมศพก็เท่ากับเราไปเข้าเฝ้าฯ ท่าน ใส่ชุดนี้จึงเหมาะสมและงดงามที่สุดค่ะ อย่างงานพระราชทานเพลิงศพทีม่ เี จ้านาย เสด็จก็ดี หรือมีผแู้ ทนพระองค์กด็ ี เจ้าภาพ ก็ควรต้องใส่ชดุ ขาวค่ะ ถือว่าเป็นการถวาย พระเกียรติแด่พระองค์ท่าน มีอีกงานที่อิฉันอยากพูดถึงคืองาน ราตรีสโมสร โดยมากงานนี้จะเป็นงานที่ เว่อวังอลังการ ผูช้ ายใส่ทกั ซิโด ผูห้ ญิงใส่ ชุดราตรียาว อิฉนั ละช้อบชอบงานแบบนี้ เพราะจะได้งัดชุดโก้ออกมาใส่รวมทั้ง เอาเครื่องประดับตกทอดของบรรพบุรุษ ออกมาหายใจบ้าง แต่ที่รักของอิฉันสิคะ จะบ่นกระปอดกระแปดเพราะชุดทักซิโด นี่ไม่ใช่ว่าจะหยิบเสื้อเชิ้ตที่ใส่ไปท�ำงาน ทุกวันมาใส่ได้นะคะ มันจะต้องเป็นเสื้อ ที่มีรายละเอียดหน่อย มีตีเกล็ดบ้าง อะไรบ้าง คอปก ข้อมือก็จะมีให้เลือก แล้วแต่แฟชัน่ ยุคนัน้ ๆ กระดุมก็เป็นแบบ เฉพาะที่ถอดไปใส่กับตัวอื่นได้ ถือเป็น เครือ่ งประดับอย่างหนึง่ ของท่านชาย นีค่ อื ทั้งกระดุมเสื้อและกระดุมข้อมือนะคะ กางเกงก็ต้องมีแถบข้างแล้วก็ต้องมีผ้า คาดพุง รองเท้าก็เรือ่ งมากค่ะ ถ้าไม่ตาม ธรรมเนียมนักก็ใส่รองเท้าผูกเชือกก็ได้คะ่ แต่ ค วรจะขั ด เป็ น เงางามหรื อ ถ้ า ชอบ แบบตามธรรมเนียมคือรองเท้าหนังแก้ว แบบสวมมีโบว์ผ้าไหมประดับที่ด้านบน ของรองเท้า หรือไม่ก็แบบผู้ดีอังกฤษที่
เจ้าชายอัลเบิร์ตพระสวามีควีนวิคตอเรีย เป็นผู้ออกแบบและท�ำให้เป็นที่นิยมกัน อย่างมาก เป็นรองเท้าหนังกลับ ปักชือ่ ย่อ หรือตราประจ�ำตระกูลอะไรตามแต่ที่หัว รองเท้า ทีร่ กั ของอิฉนั ก็มแี บบนีก้ บั เขาอยู่ คูน่ งึ ค่ะ ใส่อยูป่ ระจ�ำตามประสานักเรียน เก่าอังกฤษ เคยมีเพือ่ นอิฉนั คนหนึง่ ไม่ยอม เข้างานเพราะลืมเอารองเท้าทักซิโดมา ไปนั่งหน้างออยู่นอกห้องจัดเลี้ยง อิฉัน เพียรพยายามชวนเข้ามาก็ไม่ยอมเพราะ เจ้ า ตั ว ว่ า แต่ ง ตั ว ไม่ ถู ก ต้ อ งครบถ้ ว น ในที่สุดก็หน้างอกลับบ้านไป ค�้ำข�ำค่ะ งานที่ต้องใส่ชุดทักซิโดจะเรียกว่า งานแบล็คไท (Black Tie) เมื่อไม่นานนี้ อิ ฉั น ได้ รั บ เชิ ญ ไปงานนั ย ว่ า จะหรู เ ริ ด สะแมนแตน เปิดบัตรเชิญดูวา่ ต้องแต่งตัว อย่างไร งงค่ะ เขาเขียนว่าแบล็คไท หรือดาร์คสูท เอาละสิ เลือกสัก อย่างได้ไหม อิฉันสงสัยว่าคนเชิญ เขารู ้ ค วามแตกต่ า งระหว่ า งการ แต่งกายทั้ง 2 อย่างนี้ไหม พออิฉัน
เข้างานก็อย่างที่คิดค่ะ แต่ละคนก็มา ตามใจชอบ มีทั้งทักซ์ฯ ทั้งสูท ผูกหู กระต่ายบ้าง ผูกเน็คไทบ้าง (สีด�ำนะ ก็ การ์ดเชิญบอกไทด�ำอะ) สับสนอลหม่าน ไปหมด ส่วนผู้หญิงมีทั้งชุดยาว ชุดสั้น กางเกง สารพัดสารเพ งานที่อิฉันวาด ภาพไว้ ส วยงามเหมื อ นฉากจากเรื่ อ ง เดอะเกรทแกซบี้เป็นอันต้องบี้ไปอย่าง ทันตาเห็น ออกจะผิดหวังเล็กน้อยเพราะ ตอนนีไ้ ม่มงี านสวยๆ สนุกๆ ให้ไปเท่าไร แล้ว อย่างว่านะคะ รสนิยมการแต่งตัว สอนกันล�ำบาก แต่เราเรียนรู้กันได้ค่ะ ดีที่สุดคือจะท�ำอะไรก็ให้มันรู้กาลเทศะ ให้เกียรติเจ้าภาพและสถานที่ ถ้าเราขาด ตรงนีไ้ ปจะให้ใส่ชดุ ยีห่ อ้ หรูหราแพงระยับ โปะโคตรเพชรมหามรกตยังไง เราก็ดเู ป็น คนที่รสนิยมต�่ำทรามอยู่ดีค่ะ SINGHA MAGAZINE
63
หาเรื่องมาเล่า / ฮาชิมะแห่งนางาซากิ
ฮาชิมะ
แห่งนางาซากิ
a m i h has เศษซากความเจริญที่ดับสูญ
เรื่อง: ลาพิส ลาซูรี
64
SINGHA MAGAZINE
ไกลออกไปทางตอนใต้ของญี่ปุ่น ห่างจากชายฝั่งเมืองนางาซากิ 15 กิโลเมตร มีเกาะเล็กมาก แห่งหนึ่ง ตั้งตระหง่านเสมือนผู้รักษาการณ์น่านนํ้าของอ่าวนางาซากิ ลักษณะของเกาะนั้นผิดแปลก จากเกาะอื่นโดยรอบ ดูเป็นสีเทาอึมครึม อัดแน่นด้วยสิ่งปลูกสร้างทรงสี่เหลี่ยม ล้อมรอบด้วยกำ�แพง คอนกรีตสูงหนา หน้าตาเหมือนเรือรบลำ�ใหญ่เก่าครํ่าคร่า ใครไม่รู้จักเกาะนี้ หากนั่งเรือผ่านมา เห็นคงจะเข้าใจผิดคิดว่าเป็นคุกอัลคาทราซของญี่ปุ่น แต่แท้จริงนั่นคือ “เกาะฮาชิมะ” ที่ครั้งหนึ่ง เคยเป็นตัวแทนความเจริญสูงสุดของประเทศ ก่อนจะถูกปล่อยทิ้งร้าง เหลือไว้เพียงซากปรักหักพัง
ชือ่ เสียงของเกาะฮาชิมะโด่งดังในหมู่ ผูห้ ลงใหลความลึกลับ จากความเปลีย่ วร้าง และบรรยากาศวังเวง ท�ำให้เกาะนีไ้ ด้ชอื่ ว่า มีวิญญาณสิงสถิต มีเสียงลือเล่าอ้างต่อๆ กันไปจนได้รับฉายาว่า “เกาะผี” สถานที่ สยองขวัญติดอันดับโลก คนไทยเองก็เคย สร้างหนังเกีย่ วกับความน่ากลัวของทีแ่ ห่งนี้ มาแล้ว แต่หากจะย้อนไปสืบประวัติของ เกาะฮาชิมะกันจริงๆ จะพบว่าเรือ่ งราวบน เกาะมีอะไรมากกว่าเรื่องผีสาง เพราะเป็น ประวัติศาสตร์ที่สะท้อนการเปลี่ยนแปลง แบบก้าวกระโดดของญี่ปุ่น หลังยอมเปิด ประเทศในสมัยเมจิ (ค.ศ. 1868-1912) เดิมฮาชิมะ เป็นเกาะหินไร้ประโยชน์ ไม่มีดินให้ปลูกพืชพรรณ ไม่มีแหล่งน�้ำ สะอาด และคงจะไร้ประโยชน์อยู่อย่างนั้น หากญี่ปุ่นไม่เปลี่ยนจากระบบศักดินามาสู่ การปฏิวัติอุตสาหกรรม ในยุคที่เครื่องจักร
ไอน�ำ้ ขับเคลือ่ นโลก ถ่านหินคือทรัพยากรที่ ทรงคุณประโยชน์สูงสุด เกาะนอกชายฝั่ง เมืองนางาซากิ ซึง่ เป็นแหล่งถ่านหินชัน้ ยอด ของประเทศ แปรสภาพเป็นเหมืองถ่านหิน เพื่อรองรับอุตสาหกรรมหนักที่ผุดขึ้นเร็ว แม้แต่เกาะฮาชิมะที่การขุดท�ำได้ยากเย็น ยังมีความพยายามครัง้ แล้วครัง้ เล่าทีจ่ ะน�ำ ถ่านหินข้างใต้ขึ้นมาใช้งาน กระทัง่ ปี ค.ศ. 1887 ครอบครัวฟูกะโฮริ ขุดเจาะเหมืองใต้ดนิ บนเกาะฮาชิมะส�ำเร็จ เป็นครัง้ แรก และ 3 ปีตอ่ มา ได้ขายทัง้ หมด ให้บริษัทมิตซูบิชิด้วยราคา 100,000 เยน มิตซูบิชิเริ่มโครงการขุดอุโมงค์แนวดิ่งลึก ใต้ทะเล 199 เมตร ใช้เศษหินแร่ในเหมือง มาปรับสภาพพื้นที่บนเกาะให้เป็นพื้นราบ ส�ำหรับตั้งโรงงานและที่พักอาศัยคนงาน ท�ำให้บนเกาะมีพนื้ ทีใ่ ช้สอยประมาณ 40 ไร่ รวมถึ ง สร้ า งก� ำ แพงคอนกรี ต สู ง หนา
ล้อมรอบเกาะ ป้องกันพายุฝนและละออง ทะเล ทั้งหมดแล้วเสร็จประมาณปี 1907 หลังเสร็จสิ้นโครงการ หน้าตาของ เกาะก็เปลี่ยนไป ดูคล้ายเรือรบล�ำใหญ่ น่าเกรงขาม หนังสือพิมพ์ท้องถิ่นขนาน นามเกาะนีว้ า่ “กุนคะจิมา่ ” (Gunkanjima) แปลว่า เกาะเรือรบ กลายเป็นชือ่ ทีช่ าวญีป่ นุ่ นิยมเรียกมากกว่าชื่อจริง ช่วงหลายปีที่ มิตซูบชิ บิ ม่ เพาะเกาะนี้ ญีป่ นุ่ เป็นชาติเดียว ในเอเชียที่ปฏิวัติอุตสาหกรรมส�ำเร็จ และ ได้ชัยชนะในสงครามจีน-ญี่ปุ่น ครั้งที่ 1 (ค.ศ. 1894-1895) ตามด้วยสงคราม รัสเซีย-ญี่ปุ่น (ค.ศ. 1904-1905) จึงเกิด ความฮึกเหิมทีจ่ ะเป็นประเทศมหาอ�ำนาจ เพือ่ ขยายอ�ำนาจต่อไป ความต้องการ ถ่านหินส�ำหรับผลิตยุทโธปกรณ์เพิ่มสูงขึ้น ไม่หยุด เกาะฮาชิมะผลิตถ่านหินได้ปีละ ประมาณ 150,000 ตัน จ�ำนวนแรงงานบน
SINGHA MAGAZINE
65
หาเรื่องมาเล่า / ฮาชิมะแห่งนางาซากิ
66
SINGHA MAGAZINE
เกาะพุ่งสูงเกิน 3,000 คน เกิดความแออัด ที่อยู่อาศัยไม่เพียงพอ มิตซูบิชิแก้ปัญหา ด้วยการสร้างอพาร์ตเมนต์ทรงสี่เหลี่ยม สูง 6 ชัน้ บริเวณริมเกาะด้านใต้ ในปี 1916 เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กแห่งแรก ของญีป่ นุ่ สร้างหลังตึกคอนกรีตเสริมเหล็ก แห่งแรกของโลกในสหรัฐฯ 14 ปี ห้องพักคนงานเป็นห้องเดีย่ วเล็กแคบ ขนาดเสื่อทาทามิ 6 ผืน (9.9 ตาราง เมตร) มีแค่หน้าต่าง ประตู และทางเดิน เล็กๆ ส่วนห้องอาบน�้ำ ห้องอาหารต้องใช้ ร่วมกับผูอ้ นื่ หลังจากนัน้ 2 ปี อพาร์ตเมนต์ ที่ ใ หญ่ แ ละซั บ ซ้ อ นกว่ า ก็ เ กิ ด ขึ้ น บริ เ วณ กลางเกาะ เป็นอาคารทรง E สูง 9 ชั้น ถือว่าสูงที่สุดของญี่ปุ่นในยุคนั้น ช่วงก่อน สงครามโลกครัง้ ที่ 2 ขณะทีย่ งั ไม่มแี ห่งไหน ของญี่ปุ่นมีตึกคอนกรีตสูงๆ ทว่าตึกสูงบน เกาะฮาชิมะกลับเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนกระทัง่ เกาะเล็กๆ นีเ้ บียดเสียดไปด้วยตึกคอนกรีต กว่า 30 หลัง จ�ำนวนอพาร์ตเมนต์ทเี่ พิม่ ขึน้ บนเกาะ แสดงถึงแรงงานที่แออัดและการเร่งผลาญ ถ่านหินไปใช้ท�ำสงครามของรัฐ ระหว่าง สงครามโลกครั้งที่ 2 แรงงานบนเกาะ ถูกใช้งานเยี่ยงทาสเพื่อท�ำการผลิตให้ถึง ขีดสุด เกาะฮาชิมะผลิตถ่านหินได้มาก ถึง 410,000 ตันต่อปี ตัวเลขความส�ำเร็จนี้ ได้มาบนความทุกข์ยากของมนุษย์ แต่ ไม่ใช่มนุษย์ชาวญี่ปุ่น เพราะแรงงานญี่ปุ่น ขณะนั้ น ก� ำ ลั ง เผชิ ญ สมรภู มิ ทั่ ว เอเชี ย แปซิฟกิ เชลยทีแ่ พ้สงคราม เช่น จีน เกาหลี จึงถูกเกณฑ์มาใช้แรงงานตามเหมืองและ โรงงานอุตสาหกรรมแทน คุณภาพชีวิตของแรงงานเชลยบน เกาะอยูใ่ นขัน้ เลวร้าย พวกเขาถูกบังคับให้ ท�ำงานหนักท่ามกลางก๊าซพิษที่สะสมใน อุโมงค์และหินรอบตัวทีพ่ ร้อมถล่มลงมาได้ ทุกขณะ ไม่มีระบบรักษาความปลอดภัย อะไรทั้งสิ้น แรงงาน 4-5 คนเสียชีวิต
ทุกเดือนเพราะอุบัติเหตุในเหมือง ซ�้ำร้าย ลงไปอี ก เมื่ อ ระเบิ ด ปรมาณู ถ ล่ ม เมื อ ง นางาซากิ เกาะฮาชิมะที่ต้องพึ่งพาปัจจัย ด�ำรงชีพจากแผ่นดินใหญ่ เสมือนถูกตัดขาด มีแรงงานเสียชีวติ จากการป่วย ขาดอาหาร ตรากตร�ำท�ำงาน และฆ่าตัวตาย รวมแล้ว ทั้งสิ้น 1,300 คน หลังจากความเลวร้ายทัง้ หมดผ่านพ้น เกาะฮาชิมะก็เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี ขึ้นมาก ถ่านหินได้รับความนิยมเช่นเดิม ครั้งนี้เป็นไปเพื่อเร่งฟื้นฟูความเสียหาย ของชาติ เป็นช่วงยุคทองของอุตสาหกรรม แทบจะทุกประเภทของญี่ปุ่น ส่งผลให้ กิ จ การบนเกาะรุ ่ ง เรื อ งถึ ง ขี ด สุ ด ในปี 1959 เกาะฮาชิมะสร้างสถิติด้วยจ�ำนวน ประชากร 5,259 คน อยู่กันเกือบทุกซอก ทุกมุมของอพาร์ตเมนต์ทุกหลัง หากคิด ความหนาแน่นเฉพาะเขตทีพ่ กั อาศัยจะได้ 1 เฮกเตอร์ต่อจ�ำนวนประชากร 1,391 คน (1 เฮกเตอร์ เท่ากับ 6 ไร่ 1 งาน) กล่าว กันว่าเป็นความหนาแน่นของประชากร ที่มากที่สุดเท่าที่โลกเคยบันทึก ในพืน้ ทีจ่ ำ� กัดจ�ำเขีย่ นี้ มิตซูบชิ เิ ลีย้ งดู พนั ก งานอย่ า งดี ใต้ ร ่ ม เงาของหมู ่ ตึ ก อพาร์ตเมนต์ มีทงั้ โรงเรียน สนามเด็กเล่น โรงยิมเนเซียม โรงหนัง บาร์ ร้านอาหาร ร้านสะดวกซื้อ 25 แห่ง โรงพยาบาล ร้าน ตัดผม วัด ศาลเจ้า แม้กระทั่งสถาน กลางคืน พร้อมกันนั้น หม้อหุงข้าว ตู้เย็น โทรทัศน์ เป็นเครือ่ งใช้ไฟฟ้าพืน้ ฐานส�ำหรับ อพาร์ตเมนต์ทุกหลัง ทั้งเกาะกลายเป็น ชุมชนที่เจริญล�้ำสมัยอย่างเต็มรูปแบบ มี บันไดและระเบียงทางเดินที่เชื่อมหมู่ตึก เข้าด้วยกันต่างถนน ช่วยให้การเดินทาง บนเกาะใช้เวลาน้อยกว่าสูบบุหรี่มวนหนึ่ง อย่างไรก็ดี ชีวิตรุ่งเรืองที่หาได้ยาก ของชาวฮาชิมะอยู่ได้ไม่นานนัก ช่วงปลาย ยุค 60 น�ำ้ มันเข้ามาแทนทีท่ รัพยากรถ่านหิน อุตสาหกรรมถ่านหินไม่สร้างผลก�ำไรอีก
ต่อไป มิตซูบิชิเริ่มใช้นโยบายลดจ�ำนวน พนักงานบนเกาะ ทยอยฝึกอบรมและส่ง พวกเขาไปยังอุตสาหกรรมอืน่ ๆ ทีก่ ระจาย อยูท่ วั่ ประเทศ แต่ชาวเกาะจ�ำนวนมากไม่ อยากย้ายไปไหน กระทัง่ วันที่ 15 มกราคม ปี 1974 มิตซูบิชิได้ประกาศปิดเกาะอย่าง เป็นทางการ และสัง่ ให้ทกุ คนย้ายออกจาก เกาะในทันที หลังจากนั้น การอพยพผู้คนก็เกิดขึ้น รวดเร็วจนน่าใจหาย เพียง 3 เดือน เกาะ ฮาชิมะที่เป็นความรุ่งเรืองของยุคสมัยมา ช้านานได้กลับสูส่ ภาพไร้ประโยชน์ดงั ทีเ่ คย เป็นเมื่อ 84 ปีก่อนอีกครั้ง เกาะได้ถูกลืม ไปตามกาลเวลา เป็นเพียงเกาะร้างของ เอกชนที่คนเข้าไม่ได้ กลับมาโด่งดังใหม่ อีกครั้งหลังจากปี 2000 เพราะข่าวลือเรื่อง วิญญาณ และปัจจุบันกลายมาเป็นแหล่ง ท่องเที่ยวส�ำคัญอีกแห่งของเมืองนางาซากิ เกาะฮาชิมะได้ขนึ้ ทะเบียนเป็นมรดก โลก เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม ปี 2015 โดย เป็นหนึง่ ใน 23 เขตอุตสาหกรรมแห่งยุคเมจิ ในฐานะประวัตศิ าสตร์ความส�ำเร็จของการ ปฏิวัติอุตสาหกรรมในญี่ปุ่น แต่ลึกลงไป เกาะฮาชิมะคือภาพสะท้อนบทสรุปของการ พัฒนาได้ทกุ ยุคทุกสมัย ชุมชนใดเต็มไปด้วย ความเจริญและสิ่งอ�ำนวยความสะดวกแต่ ไม่มีทรัพยากรอันทรงคุณค่าส�ำหรับมนุษย์ ในทีส่ ดุ ชุมชนนัน้ จะถูกปล่อยทิง้ ร้าง เหลือไว้ เพียงซากความเจริญที่ไร้ประโยชน์ มองดูให้ดีแล้ว เศษซากบนเกาะ ฮาชิมะ อาจจะเป็นภาพสะท้อนของโลกใบนี้ ในอนาคต แปลและเรียบเรียงจาก www.cabinetmagazine.org/issues/7/hashima.php en.wikipedia.org/wiki/Hashima_Island ที่มาภาพ: http://www.smartage.pl/hashima-niesamowita https://travel.gaijinpot.com/gunkanjima/ http://www.marchandmeffre.com/gunkanjima http://www.japantimes.co.jp http://nari-net.com/gunkanjima-cruise-tours http://edition.cnn.com/2013/06/13/travel/hashima http://touzainanboku.com/?tag=hashima http://bartjapanworld.blogspot.com
SINGHA MAGAZINE
67
ความรู้ทั่วไป / สุขภาพดีมีเคล็ดลับ
(
9 เรื่องเล็ก
แต่ให้ผลยิ่งใหญ่ เรียบเรียง: ศิกานต์
)
ใครก็รู้วิธีง่ายๆ ที่ทำ�ให้ร่างกายแข็งแรง เช่น ดื่มนํ้าเยอะๆ พักผ่อนให้เพียงพอ กินอาหารที่มีประโยชน์ หมั่นออกกำ�ลังกาย จริงอยู่ที่คุณรู้เรื่องพวกนี้ดีอยู่แล้ว แต่คงไม่ ใช่ทุกคนที่ทำ�แล้วแน่ๆ เราจึงขอนำ�เสนอ 9 เรื่องง่ายๆ ที่ทำ�น้อยแต่ได้มาก ขอเพียงปรับการใช้ชีวิตนิดหน่อย สุขภาพของคุณก็จะดีขึ้นทันตาเห็น
กินมื้อเช้า ที่อุดมด้วยใยอาหาร ออกแบบมือ้ เช้าง่ายๆ ด้วยการเลือก กินซีเรียลที่มีใยอาหารอย่างน้อย 10 กรัม ผสมกับกรีกโยเกิร์ตจากนั้นโรยด้วยผล ราสเบอร์รีหรือบลูเบอร์รีสด กรีกโยเกิร์ต มีโปรตีนสูงกว่าโยเกิร์ตธรรมดาถึง 3 เท่า ขณะทีร่ าสเบอร์รสี ดให้ใยอาหารทีด่ ตี อ่ การ ขับถ่าย เมนูนมี้ กี ากใยมากพอให้คณุ อิม่ ท้อง โดยที่คุณไม่ต้องไปหาอะไรรองท้องก่อน ถึงมื้อเที่ยง
68
SINGHA MAGAZINE
ออกไปเดินเล่นบ้าง ถ้าคุณไม่ได้จะเป็นนักกีฬา ก็ไม่ต้อง ดัน้ ด้นวิง่ เป็นกิโลๆ เพือ่ ความฟิตและความ Healthy เพราะจากผลการวิจยั ในสหรัฐฯ ที่ เคยตีพิมพ์ลงวารสาร Journal of Applied Physiology ระบุว่าการเดิน 2 นาที ในทุก 20 นาที จะส่งผลดีตอ่ ระบบไหลเวียนโลหิต และระบบเผาผลาญของร่างกาย ดังนั้น หากคุณนัง่ ท�ำงานนานๆ อย่าลืมลุกขึน้ มา สูดอากาศบริสุทธิ์บ้าง เท่านี้ก็จะเป็นการ ผ่อนคลายและเสริมสุขภาพตัวเองแล้ว
เติมกลิ่นและรสธรรมชาติ ในนํ้าเปล่า คุณเคร่งครัดกับกฎดืม่ น�ำ้ เปล่า 8 แก้ว ต่อวันมากแค่ไหน ถ้าคุณรู้สึกเบื่อกับรส จืดชืด และอยากดื่มอะไรที่ทำ� ให้สดชื่นได้ มากกว่านี้ แทนทีค่ ณุ จะเลือกดืม่ น�ำ้ หวาน ขอ แนะน�ำให้คณุ เพิม่ รสชาติในน�ำ้ เปล่าด้วยการ เติมกลิน่ และรสจากสิง่ ทีเ่ ป็นธรรมชาติและ ไร้แคลอรี่ เช่น แตงกวา มะนาว รสชาติคง สูน้ ำ�้ หวานแต่งกลิน่ รสไม่ได้ แต่ดกี บั ตัวคุณ มากกว่าเห็นๆ
กินบ่อยได้แต่กินน้อยๆ การกินอาหารมือ้ ย่อยๆ และกินน้อยๆ ตลอดวันจะช่วยให้ระบบย่อยของร่างกาย ท�ำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพกว่าการเน้น กินเยอะๆ ในมื้อหลัก โดยแบ่งเป็นอาหาร มื้อย่อย 5 มื้อ คือเพิ่มช่วงสายและช่วงบ่าย แต่แน่นอนว่ามือ้ ย่อยนัน้ ควรเป็นอาหารทีม่ ี ประโยชน์ต่อร่างกายด้วย
วางแผนล่วงหน้า เมือ่ คุณหัวหมุนกับงานตลอดสัปดาห์ อาหารประเภทจังก์ฟู้ดมักจะเป็นตัวเลือก ของคุณเพือ่ ความสะดวกรวดเร็ว และคุณก็ มักจะลืมเรือ่ งออกก�ำลังกายกับนอนพักผ่อน ให้เพียงพอ ดังนัน้ การจัดสรรเวลาล่วงหน้า จะช่วยให้คณุ มีโอกาสรีแลกซ์และหาอาหาร ดีๆ มาถนอมสุขภาพตัวเอง
กินถั่วแทนคุกกี้ ถัว่ และพืชตระกูลถัว่ เช่น ถัว่ ลิสง ถัว่ ลันเตา ถั่วเหลือง ถั่วอัลฟัลฟา ล้วนอุดม ด้วยโปรตีน เส้นใย วิตามิน และไม่มไี ขมัน หากคุณหิวระหว่างมื้อหรืออยากหาอะไร กินเล่น ถั่วเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจเพราะ ให้พลังงานแก่ร่างกายและดีต่อสุขภาพ มากกว่าคุกกี้หรือเค้ก
ไม่สวมรองเท้ายํ่าเข้าบ้าน วิธนี ไี้ ม่ใช่แค่ดสี ำ� หรับคุณ ยังจะดีตอ่ คนในครอบครัวของคุณด้วย และบางที อาจจะเป็นเรือ่ งเล็กๆ ทีใ่ ห้ผลดีได้เร็วทีส่ ดุ เพราะขณะที่สวมรองเท้าเดินยํ่าในบ้าน ฝุ่นละอองและสารเคมีที่ติดมากับรองเท้า จะส่งผลให้แบคทีเรียและเชื้อโรคต่างๆ แพร่กระจายอยูใ่ นบ้าน ทางทีด่ ถี อดรองเท้า แล้วหิ้วเข้ามาในบ้าน อย่าเดินย�่ำเข้ามา แล้วถอดภายหลัง
ใช้พัดลมระบายอากาศ การติดตั้งพัดลมระบายอากาศจะ ช่วยไล่กลิ่นไม่พึงประสงค์ รวมถึงควัน ที่เกิดจากการประกอบอาหารในห้องครัว และไอนํ้าจากเครื่องท�ำนํ้าอุ่นในห้องน�้ำ ที่ท�ำให้เกิดเชื้อรา แค่ลงทุนกับพัดลม ระบายอากาศสักนิด บ้านของคุณก็จะน่าอยู่ มากขึน้ และเมือ่ อากาศถ่ายเทสะดวกก็จะ ช่วยลดอาการภูมิแพ้ได้ด้วย
ให้โลกโซเชียล ช่วยเพิ่มแรงบันดาลใจ อัพเดตกิจกรรมเพือ่ สุขภาพทีค่ ณุ ท�ำ ลงในโลกโซเชียล เพือ่ ให้เพือ่ นๆ ช่วยกระตุน้ ให้คุณบรรลุเป้าหมาย ไม่ว่าคุณจะก�ำลัง ลดความอ้วนหรือกินอาหารคลีน แรงเชียร์ จากเพื่อนๆ จะท�ำให้คุณพยายามมากขึ้น ถือเป็นการน�ำเรือ่ งง่ายๆ ในชีวติ ประจ�ำวัน มาสร้างแรงบันดาลใจและมองหาคนที่มี ความพยายามเหมือนกับคุณ
แปลและเรียบเรียงจาก: https://www.realbuzz.com/articles/10-small-health-changes-that-make-a-big-difference/
SINGHA MAGAZINE
69
ความรู้ทั่วไป / สุขภาพดีมีเคล็ดลับ
70
SINGHA MAGAZINE
คอลัมน์พิเศษ / เมนูเด็ด
เมนูเด็ด
Latin America เรื่อง: เชฟมูจ
อาหารกับคนไทยเป็นเรื่องที่แบ่งแยกออกจากกันได้ยาก เรียกว่ามาเป็นท็อป 5 ของคนส่วนใหญ่ เมือ่ คิดว่าจะทานอะไรดีมอ้ื เช้า กลางวัน และเย็น จะนัดเจอเพือ่ น ที่ร้านไหนดี จะพาคู่รักไปทานข้าวที่ไหนดี ทุกอย่างเป็นเรื่องของการรับประทาน อาหารทั้งสิ้น และในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา มีร้านอาหารเปิดตัวมากมาย จากหลาย ชาติด้วยกัน ท�ำให้เราได้ลิ้มรสอาหารจากชาติต่างๆ ได้ง่ายโดยไม่ต้อง
เฟชูวาดา
เฟชูวาดา (Feijoada)
อาหารประจ� ำ ชาติ ข องบราซิ ล ที่ มี ถิ่ น ก�ำเนิดในโปรตุเกส เป็นสตูวท์ นี่ ำ� ถัว่ เนือ้ สัตว์ เช่น หมู เบคอน เนือ้ และเครือ่ งเทศต่างๆ เดินทางไปถึงประเทศนั้น โดยเฉพาะประเทศในภูมิภาคลาตินอเมริกา มาตุ๋นจนเปื่อยนุ่ม นิยมทานคู่กับข้าวและ ทีต่ อ้ งใช้ทงั้ เวลาและเงินมากในการเดินทาง สิงห์ แมกกาซีน จึงขอน�ำเสนอ ผักสลัด โดยจะใช้วัตถุดิบและมีรสชาติ เรื่ อ งเกี่ ย วกั บ อาหารนานาชาติ ม าให้ ผู ้ อ ่ า นได้ รั บ ทราบข้ อ มู ล และหิ ว โหยไป แตกต่างกันไปในแต่ละภูมิภาค พร้อมกัน เริ่มต้นที่ภูมิภาคที่ไกลสุดโขอย่างลาตินอเมริกาก่อนเลยครับ
ลาตินอเมริกาคือประเทศที่ตั้งอยู่ในเขต อเมริกากลางลงไปถึงอเมริกาใต้ ในอดีต มีอารยธรรมชนเผ่าโบราณอันรุง่ เรืองตัง้ แต่ มายา (Maya) แอซเท็ก (Aztec) เรื่อยมา จนถึงอินคา (Inca) และอาหารหลักที่ หล่อเลี้ยงคนท้องถิ่นมานานกว่า 5,000 ปี คือ ข้าวโพด ถัว่ พืชตระกูลน�ำ้ เต้า มันฝรัง่ มันส�ำปะหลัง พริกไทย เครื่องเทศ และ พริกชนิดต่างๆ ด้วยพืน้ ทีอ่ นั กว้างใหญ่และ ภูมิประเทศหลากหลาย อาหารท้องถิ่นใน แต่ละประเทศจึงมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว จุดเด่นคือการรวมกันระหว่างอาหารของ ชนพื้นเมืองกับชาติเจ้าอาณานิคมอย่าง สเปน โปรตุเกส ฝรั่งเศส และฮอลแลนด์ นอกจากนี้ การอพยพย้ายถิ่นฐานของชาว แอฟริกา ยุโรป และเอเชีย ก็เป็นอีกปัจจัย ที่ท�ำให้เกิดรสชาติอาหารแปลกใหม่ด้วย แต่ฉบับนี้เราจะขอเรียกน�ำ้ ย่อยกันก่อนสัก 2 ประเทศ นั่นคือ บราซิลและเปรู 72
SINGHA MAGAZINE
มูเกก้า (Moqueca)
อีกหนึง่ อาหารประจ�ำชาติของบราซิล เป็น สตูวท์ ี่มกี ลิน่ อายและอิทธิพลการปรุงแบบ แอฟริกา ใช้ปลาหรือเนื้อสัตว์ทะเลมาตุ๋น กับผักและเครือ่ งเทศ มีรสเปรีย้ ว เผ็ดร้อน พอประมาณ หากินได้ทั่วประเทศ แต่ที่ อร่อยที่สุดต้องที่บ้านเกิดของเมนูนี้ คือรัฐ อิสปีริตู ซานตู (Espírito Santo) ทางภาค ตะวันออกเฉียงใต้ ชูร์ราสกู (Churrasco)
สเต็กบราซิลที่ได้รับอิทธิพลจากโปรตุเกส และสเปน น�ำเนือ้ สัตว์ชนิดต่างๆ มาเสียบ บราซิล (Brazil) แท่งเหล็ก ย่างบนถ่านให้สกุ หอม นิยมทาน คนบราซิ ล ทานข้ า วและถั่ ว ต้ ม เป็ น กันแพร่หลาย ร้านอาหารทีเ่ สิรฟ์ เชอร์ราสโก อาหารหลัก มื้อเที่ยงคือมื้อส�ำคัญที่สุด จะมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวคือ ผู้เสิร์ฟถือ ของวั น ในขณะที่ ก าแฟคื อ เครื่ อ งดื่ ม แท่งเสียบเนื้อเดินแล่ให้ลูกค้าตามโต๊ะ ประจ�ำชาติ ประเทศบราซิลเป็นผู้ผลิต เบี ย ร์ ร ายใหญ่ เ ป็ น อั น ดั บ สามของโลก กรุงเทพฯ มีร้านอาหารบราซิลเปิดอยู่ไม่มาก แต่ถ้าใครสนใจลิ้มรสก็มีร้านแนะน�ำนะครับ คนบราซิลดื่มเบียร์ราว 62.2 ลิตรต่อคน Brasil Churrasco | ต้นซอยสุขุมวิท 29 และต่อปี เบียร์พิลสเนอร์ (Pilsner) เป็น เบอร์โทรศัพท์ 086-007-7599 Rio’s Grill | โรงแรมเอเชีย ถนนพญาไท ลาเกอร์เบียร์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด เบอร์โทรศัพท์ 0-2217-0808 ต่อ 5357 คิดเป็น 98% ของตลาดในประเทศ
เปรู (Peru) ชูร์ราสกู มูเกก้า เซบีเช่
อาหารเปรูคือส่วนผสมทางวัฒนธรรมหลากหลายเชื้อชาติ จุดเด่นที่ส�ำคัญคือรสชาติจัดจ้านด้วยพริกและเครื่องเทศ นานาชนิด อาหารสเปนมีอิทธิพลอย่างสูงต่ออาหารเปรู การตัง้ ถิน่ ฐานของชาวยุโรปและเอเชียโดยเฉพาะชาวญีป่ นุ่ ได้กำ� เนิดอาหารแนวใหม่ทเี่ รียกกันว่า นิคเคอิ (Nikkei) คน เปรูนิยมดื่มเบียร์มากเพราะเบียร์ราคาถูกและสะอาดกว่า น�้ำเปล่า วิธีดื่มเบียร์ของพวกเขาคือนั่งล้อมวงแล้วดื่มเบียร์ แก้วเดียวทีค่ นข้างๆ รินให้จนครบรอบ แสดงให้เห็นถึงสังคม ที่อยู่กันเป็นหมู่คณะและรักการแบ่งปัน เซบีเช่ (Ceviche)
ชูเป้ เด คามาโรเนส
อาหารประจ�ำชาติที่โด่งดังไปทั่วโลก รัฐบาลท้องถิ่นถึงกับ ก�ำหนดให้มีวันเซบีเช่ (Ceviche’s Day) เมนูนี้ใช้เนื้อกุ้ง ปลาหมึก เนือ้ ปลาดิบ มาหัน่ เป็นชิน้ คลุกเคล้ากับหอมใหญ่ และซอสถัว่ เหลือง ท�ำให้สกุ ด้วยกรดจากมะนาว มักทานคูก่ บั มันหวาน ข้าวโพด และอะโวคาโด ชูเป้ เด คามาโรเนส (Chupe de Camarones)
อาหารดั้งเดิมตามแบบฉบับเปรู เป็นซุปข้นที่มีกุ้ง มันฝรั่ง พริก และนม เป็นส่วนประกอบหลัก มีกลิ่นอายความเป็น เอเชียเจือปน ลักษณะคล้ายต้มย�ำกุ้งน�ำ้ ข้นบ้านเรา โปโย่ อะ ลา บราซ่า (Pollo a la Brasa)
อาหารคลาสสิกประจ�ำชาติ ก�ำเนิดในกรุงลิมา เมืองหลวง ของประเทศ วิธีทำ� แสนง่ายคือ น�ำไก่มาหมักกับเครื่องเทศ นานาชนิดแล้วน�ำไปอบกับถ่านไม้ ซึง่ ให้กลิน่ หอม เรียบง่าย หากินได้ทั่วประเทศ โปโย่ อะ ลา บราซ่า
กรุงเทพฯ มีร้านอาหารเปรูที่น่าสนใจอยู่พอสมควร หากใครอยากรู้อยากลองก็ไปลองดูได้นะครับ Blu36 | ซอยนภาทรัพย์ 2 สุขุมวิท 36 เบอร์โทรศัพท์ 063-216-8473 Above Eleven | ชั้น33 อาคาร Fraser Suite สุขุมวิท 11 เบอร์โทรศัพท์ 083-542-1111 ที่มาภาพ: www.operationworld.org cravingsinamsterdam.com cookdiary.net
static01.nyt.com assets.epicurious.com practicalwanderlust.com
SINGHA MAGAZINE
73
บันเทิง / ทำ�นายคลายเครียด
คำ�ทำ�นาย
13 ต้นไม้ ตามตำ�นานเซลติก
ต้นเบิร์ช (BIRCH TREE)
ต้นมะกอก (ASH TREE)
ต้นหลิว (WILLOW TREE)
ต้นโรแวน (ROWAN TREE)
ต้นอัลเดอร์ (ALDER TREE)
ต้นฮอธอร์น (HAWTHORN TREE)
สัญลักษณ์แห่งผู้ประสบความสำ�เร็จ 24 ธันวาคม - 21 มกราคม คุณเป็นคนแสวงหาโอกาสและเต็มไปด้วย แรงบันดาลใจทีจ่ ะไปให้ถงึ เป้าหมาย และยัง คอยไขว่คว้าโอกาสที่ดีข้ึนเสมอเพื่อทำ�ให้ ชีวติ ยกระดับขึน้ เรือ่ ยๆ มีความเป็นผูน้ �ำ ตาม ธรรมชาติ สดใสร่าเริง และเป็นมิตร แต่ ระหว่างไปให้ถงึ เป้าหมาย คุณมักจะกดดัน ตัวเองและคิดอะไรในแง่ร้าย พลอยประจำ�: หินเขี้ยวหนุมาน (Quartz)
สัญลักษณ์แห่งนักคิด 21 มกราคม - 17 กุมภาพันธ์ คุณเป็นคนรอบรู้และฉลาด เต็มไปด้วย ความกระตือรือร้นและความคิดสร้างสรรค์ สามารถที่ จ ะเปลี่ ย นสิ่ ง รอบตั ว ให้ เ ป็ น ประโยชน์กับตัวเอง บางคนอาจจะเข้าใจ คุณผิด แต่บางคนก็รู้ว่าคุณมีมุมมองชีวิต ในแบบของคุณเอง คุณสร้างสรรค์ก็จริง แต่มักจะท้อแท้ระหว่างทางก่อนที่จะบรรลุ เป้าหมาย พลอยประจำ�: เพริดอต (Peridot) 74
SINGHA MAGAZINE
สัญลักษณ์แห่งคนเจ้าเสน่ห์ 18 กุมภาพันธ์ - 17 มีนาคม คุณเป็นศิลปินตัวยง มักจะนำ�สิ่งสวยงาม ตามธรรมชาติมาสร้างสรรค์เป็นผลงาน ชิ้นโบแดง คุณมีเสน่ห์ดึงดูดผู้อื่นและเป็น แรงบันดาลใจให้ใครต่อใครเพราะความ สามารถในด้านศิลปะ คุณอ่อนไหว เวลาที่ คุณจะสันโดษ คุณก็หายไปเลยจนคนอื่น คิดว่าคุณอารมณ์แปรปรวน พลอยประจำ�: หินปะการัง (Coral)
สัญลักษณ์แห่งผู้บุกเบิก 18 มีนาคม - 14 เมษายน คุณมีความมั่นใจในตัวเองสูง และความ มาดมั่นนี้เองที่เป็นเสน่ห์ของคุณ คุณมี เพื่อนฝูงมากมาย มีความสามารถในการ ริเริ่มโครงการต่างๆ เป็นคนบ้างานและมี สมาธิกับงานตรงหน้า หากต้องเสียเวลา ไปกับเรื่องอื่นๆ ก็จะหัวเสีย ขณะเดียวกัน คุ ณ หวั่ น วิ ต กง่ า ยและถ้ า ไม่ ใ ช่ เ รื่ อ งงาน คุณก็หมดความสนใจได้ง่ายเหมือนกัน พลอยประจำ�: ทับทิม (Ruby)
สัญลักษณ์แห่งนักสังเกตการณ์ 15 เมษายน - 12 พฤษภาคม คุณอ่อนไหวง่ายมาก มีสัญชาตญาณที่ไว เป็นพิเศษ มีความอดทนสูงกว่าใคร และมี พรสวรรค์ในการรวบรวมข้อมูลมากมาย ด้วยความทรงจำ�ของตัวเอง เป็นที่ปรึกษา และครูบาอาจารย์ที่ดี คุณช่างฝัน มักจะ ควบคุมตัวเองไม่ให้ดโู ดดเด่น และปากแข็ง ได้พอๆ กับหลุดความลับง่าย พลอยประจำ�: มุกดาหาร (Moonstone)
สัญลักษณ์แห่งคนเจ้าเล่ห์ 13 พฤษภาคม - 9 มิถุนายน คุณเป็นพวกชอบออกนอกกรอบ ไม่เป็น อย่างที่ใครๆ คาดหวัง คนอื่นจะคิดว่าคุณ เป็ น พวกชอบทำ � อะไรแปลกแยก แต่ ถ้ า เขารู้จักคุณ ก็จะรู้ว่าคุณไม่ได้เป็นแบบนั้น คุ ณ ปรั บ ตั ว เก่ ง หากต้ อ งพบเจอกั บ การ เปลี่ยนแปลงหรือจุดพลิกผันในชีวิต คุณมี ทักษะในการมองภาพรวม แต่คณุ ขีเ้ บือ่ และ กระสับกระส่ายได้ง่าย พลอยประจำ�: โทปาซ (Topaz)
ต้นโอ๊ก (OAK TREE)
ต้นฮาเซล (HAZEL TREE)
ต้นไม้เลื้อย (IVY TREE)
ต้นโฮลี่ (HOLLY TREE)
ต้นเถาวัลย์ (VINE TREE)
ต้นรีด (REED TREE)
สัญลักษณ์แห่งผู้เข้มแข็ง 10 มิถุนายน - 7 กรกฎาคม คุณเป็นคนเข้มแข็งมาก เป็นนักปฏิบัติ ตัวยง ติดดิน ถึงจะไม่ชอบการเปลีย่ นแปลง แต่คุณก็สามารถที่จะเผชิญหน้าและรับมือ กับสิ่งต่างๆ ได้ในแบบที่คนอื่นทำ�ไม่ได้ คุ ณ ฉลาดและมี มุ ม มองชี วิ ต ในแง่ บ วก มี ค วามหวั ง ให้ ตั ว เอง ชอบที่ จ ะอยู่ กั บ ครอบครัวและญาติมิตร เป็นคนใจบุญ ชอบให้ความช่วยเหลือผู้ตกทุกข์ได้ยาก พลอยประจำ�: เพชร (Diamond)
สัญลักษณ์แห่งนักปกครอง 8 กรกฎาคม - 4 สิงหาคม คุ ณ มี ส ง่ า ราศี แ ผ่ อ อกมารอบตั ว โดย ธรรมชาติ มักเป็นผู้มีอำ�นาจและอยู่ใน ตำ � แหน่ ง ใหญ่ โ ต มี เ ซนส์ ท างธุ ร กิ จ ที่ ดี คุณใช้เวลาส่วนมากไปกับความมุง่ มัน่ ทีจ่ ะ ทำ�เป้าหมายให้บรรลุ คุณใจกว้าง และ มัน่ ใจในความสามารถของตัวเอง แต่เซนส์ เรือ่ งการมองคนของคุณไม่คอ่ ยดีเอาซะเลย พลอยประจำ�: คาร์เนเลียน (Carnelian)
สัญลักษณ์แห่งผู้รอบรู้ 5 สิงหาคม - 1 กันยายน คุณเก่งเรื่องวิชาการ เป็นคนฉลาดโดย ธรรมชาติ มักจะสนใจอาชีพครูหรือการ ท�ำงานเขียน มีความจ�ำยอดเยีย่ ม สามารถ ทบทวนท่องจ�ำได้โดยไม่ผิดพลาดอย่าง น่าทึง่ คุณจะประสบความส�ำเร็จอย่างมาก หากใช้ความสามารถนี้ในการท�ำงาน แต่ คุณก็เคร่งครัดและมาตรฐานสูงจนคนอื่น ปวดหัวกับคุณ พลอยประจำ�: อเมทิสต์ (Amethyst)
สัญลักษณ์แห่งผู้รักความเสมอภาค 2 กันยายน - 29 กันยายน คุณเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาได้ตลอด คาดเดา ไม่ถกู แต่หากอยูใ่ นสถานการณ์แบ่งฝักฝ่าย คุณก็จะปฏิบตั กิ บั ทัง้ สองฝ่ายอย่างเท่าเทียม เป็นคนมีเสน่หม์ าก มีรสนิยมทีต่ อ้ งเป๊ะและ สรรหาสิ่งที่ดีที่สุดให้กับตัวเอง แต่คุณมัก จะมีความรู้สึกลึกซึ้งไม่ว่ากับเรื่องใดๆ จน ส่งผลเสียกับตัวเอง พลอยประจำ�: มรกต (Emerald)
สัญลักษณ์แห่งผู้รอด 30 กันยายน - 27 ตุลาคม คุณเป็นนักสื่อสารที่เก่งกาจ มีใจกุศลและ ชอบให้ผู้อื่นอยู่เป็นนิจ คุณหาเพื่อนเก่ง และมีบรรยากาศเป็นมิตรอยู่รอบตัวเสมอ มีความเข้มแข็งในการก้าวผ่านอุปสรรค ต่างๆ ในชีวิต สนใจหาเป้าหมายใหม่ๆ ที่ยังไม่เคยประสบมาก่อน แต่คุณมักขาด ความมั่นใจ ลังเล และมีความก้าวร้าว แฝงอยู่ข้างใน พลอยประจำ�: โอปอล (Opal)
สัญลักษณ์แห่งนักสืบสวน 28 ตุลาคม - 24 พฤศจิกายน คุณชอบค้นหาความจริงในสิ่งที่คุณสงสัย และก็จะดั้นด้นสืบเพื่อหาคำ�ตอบให้จงได้ มี ค วามสามารถในการทำ � ให้ ค นอื่ น รู้ สึ ก สบายใจและอยากมาพึ่งพิง คุณสามารถ สร้างประวัตศิ าสตร์ อาจเป็นนักหนังสือพิมพ์ หรือนักสืบทีย่ อดเยีย่ ม แต่คณุ มีตณั หาทีต่ อ้ ง ระวังไม่ให้หลงทางในสิ่งที่ท�ำ อยู่ พลอยประจำ�: แจสเปอร์ (Jasper)
ต้นเอลเดอร์ (ELDER TREE)
สัญลักษณ์แห่งการเวียนว่าย 25 พฤศจิกายน - 23 ธันวาคม คุณรักอิสระและบ่อยครัง้ ก็มกั จะเป็นคนทีจ่ บั ไม่ได้ไล่ไม่ทนั ชอบใช้ชวี ติ สุดเหวีย่ ง รักความท้าทายและมุง่ หา ความเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง คุณพูดตรงจนบางทีก็กลายเป็นพูดไม่คิด แถมไม่รู้สึกรู้สา และบางครั้งยัง ชอบตัดสินคนอื่น พลอยประจำ�: หินสีดำ� (Jet) แปลและเรียบเรียงจาก: http://www.sunsigns.org/celtic-astrology/ SINGHA MAGAZINE
75
คอลัมน์พิเศษ / คุณรู้หรือไม่
คุณรู้หรือไม่
ข้าวเป็นอาหารหลัก ของคนครึ่งโลก ข้าวเป็นพืชวงศ์เดียวกับหญ้า (Oryza) มีมากกว่า 40,000 สายพันธุ์ แต่ที่น�ำ มาปลูกและรับประทานอย่างแพร่หลายมีแค่ 2 สายพันธุ์ใหญ่ ได้แก่ African rice เป็นสายพันธุ์ที่ทนต่ออากาศแห้งแล้งและศัตรูพืช แต่ไม่นิยมปลูกในพื้นที่อื่น ของโลก และ Asian rice ที่นิยมปลูกมากในทวีปเอเชียก่อนขยายไปทั่วโลก โดย Asian rice มี 2 กลุ่มหลักที่นิยมกันคือ กลุม่ อินดิกา้ (Indica) หรือ ข้าวเมล็ดยาว (Long-grain rice) ตัง้ ชือ่ จากแหล่งทีค่ น้ พบ
ครั้งแรกในอินเดีย นิยมปลูกในเขตร้อนชื้น ตั้งแต่พื้นที่จีนตอนล่าง คาบสมุทรอินโดจีน ไปจนถึงอินเดียและศรีลังกา ต่อมาขยายไปยังทวีปอเมริกา ให้ผลผลิตต่ำ� ข้อสังเกตคือ เมล็ดข้าวมีลกั ษณะเรียวยาว หักง่าย แต่เมือ่ หุงแล้วข้าวจะฟูไม่เกาะตัวกัน ข้าวอินดิกา้ ที่ นิยมคือ ข้าวหอมมะลิ (Jasmine rice) ข้าวบาสมาติ (Basmati rice) และข้าวอเมริกัน เมล็ดยาว (American long-grain rice) เหมาะกับการทำ�เมนู เช่น
กลุม่ จาปอนิกา (Japonica) หรือ ข้าว
เมล็ดสั้น (Short-grain rice) นิยมปลูก ในแถบอากาศอบอุ่นและหนาว เช่น จีน ญี่ปุ่น เกาหลี เรื่อยไปจนถึงทวีปอเมริกา และยุโรป ให้ผลผลิตสูง ข้อสังเกตคือ เมล็ดข้า วมีลักษณะกลมป้อม หักยาก เมือ่ หุงสุกจะมีความเหนียวและความชืน้ สูง ที่นิยมในกลุ่มนี้คือข้าวอาร์โบริโอ (Arborio rice) ข้าวญี่ปุ่นโคชิฮิคาริ (Kochihikari rice) ข้าวเหนียว (Glutinous rice) ข้าว บอมบา (Arroz Bomba) เหมาะกับการ ทำ�เมนู เช่น
ริซอตโต้ (Risotto) อาหารอิตาเลียนทีใ่ ช้ขา้ ว
อาร์โบริโอสายพันธุ์ท้องถิ่น เพราะมีปริมาณ แป้งสูงทำ�ให้ซึมซับรสชาติของซอสที่เ หนียว ข้นได้เต็มที่ ริซอตโต้ที่ดี ข้าวจะต้องสุกแบบ ยังมีความกรุบภายในเมล็ดข้าว
ปาเอญ่า (Paella) อาหารสเปนยอดนิยม
ใช้ข้าวบอมบาที่มีคุณสมบัติในการซึมน้ําที่ดี เพราะข้ า วจะต้ อ งซึ ม ซั บ รสชาติ ข องซอสใน ขณะอบจนสุกแห้ง แต่ไม่เละเหมือนริซอตโต้
บริยานี (Biryani) อาหารอินเดียจำ�พวกข้าว นาซิ เลอมัก (Nasi Lemak) อาหารท้องถิ่น หมกไก่ จะใช้ข้าวบาสมาติที่มีความหอมเป็นพิเศษ ให้รสสัมผัสที่แน่น แต่ไม่แข็งหรือนุ่มเกินไป
ของมาเลเซียและสิงคโปร์ นิยมใช้ข้าวหอมมะลิ เพราะได้ความหอมที่เข้ากันดีเมื่อหุงด้วยกะทิ
ข้าวคลุกกะปิ (Rice with shrimp paste) อาหารไทยที่ผสมผสานวัตถุดิบและภูมิปัญญา ท้องถิ่นอย่างลงตัว นิยมใช้ข้าวหอมมะลิมาคลุก กับกะปิชั้นดี ได้เมล็ดข้าวเรียงสวยน่ารับประทาน
76
SINGHA MAGAZINE
ซูชิ (Sushi) อาหารญีป่ นุ่ ทีท่ กุ คนคุน้ เคย ใช้ขา้ ว
โคชิฮคิ าริซงึ่ เนือ้ ข้าวมีรสหวานตามธรรมชาติ และมียางที่ทำ�ให้ข้าวเกาะตัวกัน ไม่ร่วน
Knowledge / World Trivia
World Trivia Knowledge
โรม
นิวยอร์ก
» ต้น แบบของสุขภัณฑ์ชักโครกเริ่มใช้กันมาตั้งแต่ สมัยโรมัน และพบซากห้องน�้ำที่มีการใช้ระบบแบบ ชักโครกอยู่ทั่วเมือง
» ก่อนจะใช้ชื่อ NYC หรือ นิ ว ยอร์ ก นั้ น เมื อ งนี้ เ คย เรียกว่า นิวอัมสเตอร์ดัม (New Amsterdam)
» น�้ ำ พุ เ ทรวี ชื่ อ ดั ง ที่ นั ก ท่ อ งเที่ ย วเกื อ บทุ ก คนจะโยน เหรียญลงไปนัน้ เมือ่ น�ำเงินทีเ่ ก็บจากน�ำ้ พุทงั้ หมดไปบริจาค โดยเฉลี่ยต่อวันจะตกอยู่ที่ประมาณ 3,000 ยูโร
» บริการ taxi เกิดขึ้นครั้งแรกที่นี่ ในปี 1907 » ก� ำ เนิ ด รถไฟเหาะตี ลั ง กาครั้ ง แรก ของโลกที่ Coney island ในปี 1884
» ห้างสรรพสินค้าเกิดขึ้นครั้งแรกในช่วง ค.ศ. 107-110 ชื่อว่า The Trajan’s market หรือ Mercati di Traiano ในภาษาอิตาเลียน เป็นห้างหลายชั้น ไม่ต่างจาก ปัจจุบัน มีสินค้าและของช�ำ หลายชนิดวางจ�ำหน่าย
» ในแมนฮัตตัน อพาร์ตเมนท์จะห่าง จากสถานีร ถไฟใต้ดิน ไกลที่ สุ ดแค่ 1.2 กิโลเมตรเท่านั้น
ฮาวาย
บาหลี
» เมื่อก่อนเรียกว่า Sandwich islands หรือ หมู่เกาะแซนด์วิช
» มี ด อกไม้ แ ละพื ช พรรณ ชนิดต่างๆ มากที่สุดในโลก
» เป็นรัฐเดียวในสหรัฐอเมริกาที่มีสภาพอากาศ เหมาะสมจะปลูกต้นโกโก้ ซึง่ เมล็ดของต้นโกโก้เป็น วัตถุดิบหลักในการท�ำช็อคโกแลต
Lovina Beach
» ตัวอักษรของภาษาฮาวายนั้นมีทั้งหมด 13 ตัว คือ A, E, H, I, K, L, M, N, O, P, U, W และ Okina ที่มีหน้าตา เหมือน apostrophe ( ’ ) ซึ่งใช้จ�ำแนกความแตกต่าง ของแต่ละค�ำ เช่น ko’u แปลว่าของฉัน (my) ในขณะที่ kou แปลว่า ของคุณ (your)
» มี ห าดทรายขาวที่ ส วยงาม ดึงดูดนักท่องเที่ยว และหาดทรายด�ำที่เรียกว่า Lovina Beach ที่แม้จะดูสกปรกและดูดความร้อน ได้ร้อนสะใจ แต่ชายหาดนี้ได้สร้างประสบการณ์ ใหม่ๆ ให้กับนักท่องเที่ยวที่สามารถชมฝูงปลา โลมาหรือด�ำน�้ำเพื่อชมความงามของโลกใต้น�้ำ
Canada
บราซิล
» ครอบคลุม 50% ของทวีป อ เ ม ริ ก า ใ ต ้ แ ล ะ ใ น ห นึ่ ง ประเทศนี้ใช้เวลาต่างกันถึง 3 ช่วงเวลาในพื้นที่ต่างๆ
Brazil
แคนาดา
» ประเทศที่มีพื้นที่ใหญ่ที่สุดอันดับสองของโลก
» ชายแดนของบราซิลติดทุกประเทศในอเมริกาใต้ (9 ประเทศ) ยกเว้นชิลีกับเอกวาดอร์
» มอนทรีออล ได้ชอื่ ว่าเป็นเมืองทีใ่ ช้ภาษาฝรัง่ เศสเยอะ ทีส่ ดุ เป็นอันดับสองของโลกถัดจากปารีสของฝรัง่ เศส
จีน
» Trans-Canada Highway คือทางด่วนที่ยาวที่สุด ในโลกโดยมีความยาวทัง้ สิน้ 7,604 กิโลเมตร อุณหภูมิ ต�่ำสุดของแคนาดาที่บันทึกไว้คือ -63 องศาเซลเซียส ที่ Snag เมือง Yukon ณ วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 1957
» 70% ของของเล่นทั่วโลกผลิตขึ้นที่จีน » กระดาษแรกเริ่มนั้นมาจากประเทศจีน
SINGHA MAGAZINE
efund
78
Ta
xR
» การใช้ธนบัตรใช้ครั้งแรกที่ประเทศจีน
» การซื้ออาหารสุนัขน�ำมาลดหย่อนภาษีได้
บันเทิง / แนะนำ�แวดวงศิลป์
FILM
>>
เด็กชายในชุดนอนลายทาง
ภาพยนตร์เก่าในปี 2008 ที่ดัดแปลงจากบทประพันธ์ชื่อเดียวกัน ซึง่ ขายได้มากกว่า 5 ล้านเล่มทัว่ โลก เป็นเรือ่ งราวเล็กๆ แต่สดุ สะเทือนใจ เพราะเกิดในช่วงเวลาอันเลวร้ายของมนุษยชาติ ณ รัว้ กัน้ ระหว่างบ้านพัก ที่หรูหราของนายทหารเยอรมันกับค่ายกักกันชาวยิวที่โหดร้าย เด็กน้อย ต่างเชือ้ ชาติ 2 คน เกิดมิตรภาพอันแน่นแฟ้น พวกเขาไม่เข้าใจสงคราม หรือการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ รูแ้ ต่วา่ ดีใจทีต่ วั เองได้เพือ่ นสนิทในโลกทีถ่ กู ปิดกัน้ ให้เดียวดาย หากแต่มติ รภาพของเด็กน้อยก็เป็นแค่หยดน�ำ้ เล็กๆ ท่ามกลาง ไฟแห่งความขัดแย้ง กว่าผูใ้ หญ่บางคนจะตระหนักถึงผลลัพธ์อนั เลวร้าย ของสงคราม ก็ตอ้ งรอให้ความเลวร้ายนัน้ เกิดขึน้ กับตัวเอง หนังถ่ายทอด ความน่าประทับใจในมิตรภาพและความเศร้าสลดของสงครามได้อย่าง กินใจ ใครทีเ่ คยอ่านเวอร์ชนั หนังสือทีแ่ ปลเป็นภาษาไทยมาแล้ว ไม่ควร พลาดชมเวอร์ชนั ภาพยนตร์ทงี่ ดงามไม่แพ้กนั
MUSEUM
>>
พระราชวังพญาไท ในล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 6 ภายในโรงพยาบาลพระมงกุฎ มีพระต�ำหนักใหญ่ทเี่ ต็มไปด้วย กลิ่นอายประวัติศาสตร์ เพียงมองจากที่ไกลๆ ก็รู้สึกถึงแรงดึงดูด เพราะความสวยงามของตัวอาคารที่เป็นสไตล์โกธิคผสมผสาน โรมาเนสก์ เมื่อเข้ามาเยือนภายในก็ยิ่งรู้สึกชื่นชมเพราะความงามที่ เรียบหรู และภาพเขียนเฟรสโก้ที่คล้ายกับในพระที่นั่งอนันตสมาคม ซึ่งสร้างขึ้นสมัยรัชกาลที่ 5 เช่นเดียวกัน นอกจากนี้ เครื่องเรือน เครือ่ งใช้ตา่ งๆ ก็ยงั อยูใ่ นสภาพดี ได้รบั การจัดวางให้ชมอย่างใกล้ชดิ ผู้มาเยือนจะได้น้อมร�ำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระ ศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถฯ และล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 6 ผู้ทรงเคย ประทับ ณ พระต�ำหนักแห่งนี้ ทีส่ ำ� คัญ เข้าชมฟรี มีวทิ ยากรบรรยาย ให้ความรู้ตลอดงาน ผู้สนใจเข้าชมสามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.bangkokgoguide.com/phya-thai-palace.php 80
SINGHA MAGAZINE
SHOW
>>
ขอพบในฝัน สุนทราภรณ์เดอะมิวสิคลั
เปิดการแสดงอีกครั้งส�ำหรับ “ขอพบ ในฝัน” ละครเพลงที่บอกเล่าเรื่องราวความ รักของ “เดียว” วิญญาณหนุ่มที่เฝ้าวนเวียน เคียงข้าง “แนน” หญิงสาวอันเป็นทีร่ กั แม้ตน จะตายมาเกือบปีแล้วก็ไม่ยอมไปไหน ขณะที่ แนนก็ไม่ยอมมีใครเพราะยึดมัน่ ในค�ำสัญญา ที่เคยให้ไว้กับเดียว แต่เรื่องราวความรักต่าง มิติของคนและผี กลับพาให้ความรักของ คนจริงๆ อย่างเชษฐาและเมย์ยุ่งเหยิง เมื่อ เชษฐาหัวใจวายตายกะทันหัน เป็นโอกาส ให้เดียวเข้าสิงร่างและพยายามจะกลับไปหาแนน บทสรุปของเรื่องราวที่ทั้งอลวน ทั้งขบขันนี้จะเป็นอย่างไร ร่วมรับชมรับฟังผ่านบทเพลงไพเราะของสุนทราภรณ์ พร้อมกันได้ตั้งแต่วันที่ 17 มิ.ย - 23 ก.ค นี้ ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.thaiticketmajor.com
BOOK
>>
งานของฉัน สนุกเป็นบ้าเลย !
หนังสือเพื่อมนุษย์เงินเดือนโดยเฉพาะ การทำ�งาน ถ้ามาถึงระดับที่ไม่รู้ว่า กำ�ลังเล่นหรือทำ�งานอยู่ แสดงว่าคุณประสบความสำ�เร็จเป็นอย่างมาก
คุณคงรู้สึกเหนื่อยกับงานจนบางครั้งก็รู้สึกว่า “ท�ำไปเพื่ออะไร” แล้วคุณก็ พยายามออกไปหาแรงจูงใจมากมายเพื่อให้อยากท�ำงานต่อ แต่สิ่งที่หนังสือเล่มนี้ จะบอกเป็นเคล็ดลับง่ายๆ ทีใ่ ช้ได้ตลอดกาล นัน่ คือ “พอใจในสิง่ ทีท่ ำ� รักในสิง่ ทีท่ ำ� แล้วจะท�ำออกมาได้ดี” โดยแนะน�ำวิธีให้คุณสร้างความพอใจและแรงจูงใจในการ ท�ำงานขึน้ ด้วยตัวคุณเอง ไม่ตอ้ งออกไปหาทีไ่ หน จากนัน้ ก็ลงมือท�ำด้วยตัวเองและ สร้างความส�ำเร็จด้วยตัวเอง ปรับเปลี่ยนมุมมองจากการท�ำงานเพราะเป็นค�ำสั่ง หรือท�ำเพื่อเงินเดือน เป็นการท�ำงานเพื่อความพึงพอใจส่วนตัว หากคุณสนุก กับงานจนมาถึงจุดที่ไม่รู้ตัวว่าก�ำลังเล่นหรือท�ำงานอยู่ ขอแสดงความยินดีด้วย คุณมาถึงเส้นทางของความส�ำเร็จแล้ว
BOXX MUSIC Single >> ขอพร เพลงแรกในชีวิตของ “กันต์ ชุณหวัตร”
นอกจากบทบาทนักแสดง วันนีห้ นุม่ กันต์แสดง ความสามารถในฐานะศิลปินที่เขาใฝ่ฝันมาตลอด และซิงเกิลแรกในชีวิต เขาเขียน Story เนื้อร้องด้วย ตัวเอง ว่าด้วยเรื่องราวที่พบเจอจากชีวิตของผู้หญิง คนหนึ่ง เธอเจ็บปวดจากความรัก ทุกวันเธอท�ำได้ เพียง “ขอพร” แต่สิ่งที่เธอขอ... คือขอให้ไม่ต้อง ลืมตาตื่นขึ้นมาหายใจอีกเลย เพื่อจะได้หลุดพ้นจาก เรื่องราวที่ท�ำให้เธอต้องทรมาน บรรยากาศของเพลง และงานดนตรีดูแลโดย BOXX MUSIC ที่ช่วยผสาน ความเศร้าให้บทเพลงถ่ายทอดออกมาได้อย่างลงตัว กันต์ ชุณหวัตร ร่วมงานกับโปรดิวเซอร์มอื ฉมัง “คชภั ค ผลธนโชติ ” (พล วงแคลช) ที่ ช ่ ว ยดึ ง เอกลักษณ์และตัวตนของกันต์ลงมาในงานชิ้นแรก จน “ขอพร” มีท่วงท�ำนองแห่งความเศร้าและความ เจ็บปวดที่กินใจ มาร่วมขอพรให้คำ� อธิษฐานเป็นจริง ได้แล้ววันนี้ผ่านทาง Apple Music หรือสามารถ ดาวน์โหลดผ่าน iTunes ราคาเพลงละ 19 บาท อั พ เดตข่ า วสารและความเคลื่ อ นไหวของ “BOXX MUSIC” ได้ที่
Facebook: https://www.facebook.com /boxxmusicteam/ IG: boxxmusicteam Twitter: boxxmusicteam Youtube Channel: BOXX MUSIC
SINGHA MAGAZINE
81
บันเทิง / สัมภาษณ์สั้น
Violette Wautier วี วิโอเลต
นักร้อง นักแสดง สิ่งที่คุณขาดไม่ได้ ในชีวิตประจำ�วัน “น้ำ�เปล่า” อาหารจานโปรดของคุณคือ “สปาเกตตี โบโลนเนส” คุณมีความสุขที่สุดเมื่อ... “เปิดเพลงอาบน้ำ�นานๆ” ช่วงเวลาใน อดีตที่คุณคิดว่าอยากกลับไปแก้ไข
“กลับไปตอนอนุบาล จะไม่เลือก เรียนเปียโน” สิ่งที่คุณกลัวคือ “กลัวไม่เหลือใครค่ะ” บุคคลที่
คุณชื่นชมมากคือใคร เพราะ อะไร “พ่อแม่ พวกเขาใจกว้าง
มากๆ ค่ะ”
หนังสือหรือนิตยสารที่คุณชอบอ่าน “Harry Potter” สิ่งที่ดีที่สุดในตัวคุณ “ความจริงใจ” สิง่ ทีแ่ ย่ทส่ี ดุ ในตัวคุณ “ไม่สามารถเก็บความ
รู้สึกอะไรได้ โผล่ออกบนหน้าทุกอย่าง”
นิสยั แบบไหนในสังคมทีค่ ณ ุ คิดว่าแย่ทสี่ ดุ “คิดว่าคนทีช่ อบเอาเปรียบคนอืน่ ” นิสยั แบบไหนในสังคมที่คุณคิดว่าดีเป็นเลิศ “คนที่ทำ�ให้คนรอบข้างยิ้ม” คุณมัก ประทับใจกับ.... “ความสวยงามของ ธรรมชาติ” ถ้าพรุ่งนี้โลกจะแตก คุณอยากทำ�อะไรก่อน “อยาก ช่วยเหลือโลกใบนี”้ ทีท่ คี่ ณ ุ ชอบไป มากทีส่ ดุ “ห้องนอน” ความฝันใน วัยเด็กของคุณ อยากเป็นอะไร “นักร้อง” สมมติได้เกิดใหม่ ชาติหน้า คุณอยากจะเกิด เป็นอะไร “อะไรก็ได้ เพราะ
วีคงไม่รู้หรอก ตอนนั้นวี ก็คงไม่ใช่วีแล้ว”
82
SINGHA MAGAZINE