Process of
PIXAR
Pixar Process ขั้นตอนการทำ�หนังแบบพิกซ่าร์ “You can’t rush art” คำ�พูดของคุณลุงเจอร์รี่ ช่างซ้อมของ เล่นใน Toy Story 2 นั้นถูกเผง “คุณเร่งงานศิลปะไม่ได้หรอก” เพราะ กว่าจะคลอดออกมาให้แฟนๆ ได้ดูกัน หนังแต่ละเรื่องของพิกซ่าร์นั้น ต้อง ใช้เวลาผลิตเรื่องละ 3-5 ปีและมีกระบวนการมากมาย พวกเขาสร้างหนัง คอมพิวเตอร์อนิเมชั่นทั้งเรื่องกันขึ้นมาได้อย่างไร ไปดูกันดีกว่า
Process of PIXAR
Process 1 Idea
Content 2
ไอเดียมาก่อน
Process 2 Storyboards
6
ช่วยให้เห็นภาพ
Process 3 Voice Recording
10
พากย์เสียงนำ�อารมณ์
Process 4 Animatic / Reel
14
กำ�หนดจังหวะเวลา
Process 5 Concept Art
18
จุดประกาย
Process 6 Modelling
22
ถึงเวลาขึ้นรูปทรง 3 มิติ
Process 7 Set up
26
เตรียมฉากและตัวละครให้พร้อม
Process 8 Lay out
30
จัดวางมุมกล้องในคอมพิวเตอร์
Process 9 Animating
34
เคลื่อนไหวได้แล้วจ้า
Process 10 Shading and Texturing 38 เติมสีและพื้นผิวให้วยงาม
Process 11 Effect and Dynamic ใส่เอ็ฟเฟ็คท์เสริมบรรยากาศ
Process 12 Lighting
42 .
46
จัดแสงสร้างอารมณ์
Process 13 Rendering
50
ประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์
Process 14 Polishing ตกแต่งรายละเอียดให้สมบูรณ์
54
1
Process of PIXAR
2
3
Process of PIXAR
Idea
ไอเดียคือสิ่งสำ�คัญที่สุดอยู่แล้ว ฝ่ายสตอรี่ของพิกซ่าร์ต้องขายไอเดียกันในที่ประชุมกันราวกับ เซลล์ขายของเลยทีเดียว เพื่อให้แน่ใจว่าได้หัวเรื่องที่น่าสนใจและมีศักยภาพพอจะพัฒนาได้ แต่หนังหลายเรื่องของพิกซ่าร์ เช่น A Bug’s Life, Monster. Inc., Wall-E ก็เกินจากการสุมหัวคุยกันตอนมื้อเที่ยงของบรรดาผู้กำ�กับใหญ่ คุยไปคุยมาก็ปิ๊งไอเดียดีๆ ได้นะ! เมื่อไอเดียได้ไฟเขียวแล้ว จึงเริ่มต้นเขียนบทภาพยนตร์ร่างแรกที่เป็นการสรุปใจความสำ�คัญของเรื่อง ที่เรียกว่า ทรีทเมนต์ (Treatment) บางครั้งทรีทเมนต์หลายเวอร์ ชั่นของหนังเรื่องเดียวก็ได้รับการพัฒนาไปพร้อมๆ กัน เพื่อหาจุดลงตัวที่เป็นไปได้หลากหลายของหนัง
4
5
Process of PIXAR
6
7
Process of PIXAR
Story boards
สตอรี่บอร์ดคือพิมพ์เขียวของหนังทั้งเรื่อง ด้วยมุมมองภาพแบบคร่าวๆ ที่เขียนเพื่อให้เห็น การดำ�เนินเรื่องของหนัง จึงเป็นเครื่องมือสำ�คัญที่ช่วยในการเล่าเรื่องอย่างมีประสิทธิภาพ เพราะจะแก้ไขดัดแปลงยังไงก็สามารถทำ�ได้โดยไม่ต้องเสียเวลาและแรงงานทำ�จริง สตอรี่บอร์ดอาร์ทติสท์จะได้รับแจกบท / จังหวะของหนัง (beat outline) เพื่อเอามาแจกแจงว่าจะเล่าเรื่องอย่างไร ใช้มุมภาพและการตัดต่ออย่างไร เพื่อให้เห็นอารมณ์ของตัวละครตามโจทย์แล้วก็เอาไปเสนอ ผู้กำ�กับเป็นคนตัดสิน
8
9
Process of PIXAR
10
11
Process of PIXAR
Voice Recording สำ�หรับหนังอนิเมชั่น เสียงของนักพากย์ถือเป็นไกด์ช่วยชี้นำ�การแสดงของตัวละคร เราจึงเห็นหนังอนิเมชั่นส่วนใหญ่เฟ้นหานักแสดงที่ดูคล้ายกับตัวการ์ตูนมาพากย์เสียง นักพากย์เหล่านี้จะใช้ทั้งการอ่านบทและด้นสด ทดลองพากย์เสียงไว้หลายๆ แบบ เพื่อให้ผู้กำ�กับเลือกใช้อันที่ดีที่สุด นอกจากนั้น ก็มีการให้ทีมงานของพิกซ่าร์เองพากย์เสียงเป็นไกด์ไปก่อนที่ เรียกว่า Scratch Voices ซึ่งบางครั้งเสียงพากย์เหล่านี้กลับฟังดูดีมากจนถูกใช้ในหนังจริงๆ เช่น เสียงของตัวละคร เอ็ดน่า โหมด ดีไซน์เนอร์ชุดฮีโร่สุดเปรี้ยวจาก The Incredibles ที่พากย์เสียงโดยผู้กำ�กับ แบรด เบิร์ด เอง
12
13
Process of PIXAR
14
15
Process of PIXAR
Animatic / Reel ข้อแตกต่างของหนังอนิเมชั่นกับหนังคนแสดง คือหนังอนิเมชั่นต้องวางแผนอย่างรัดกุมว่าแต่ละช็อตมีความยาวเท่าไหร่ เพื่อควบคุมการทำ�งานที่มีสเกลใหญ่มาก จึงต้องมีการนำ�เสนอสตอรี่บอร์ดที่เสร็จแล้วมาตัดต่อเพื่อฉายดู รีลหรืออนิเมติกนี้จะทำ�ให้ผู้กำ�กับเห็นชัดว่าสตอรี่บอร์ดที่เสนอมานั้นเวิร์คหรือไม่ และยังช่วยกำ�หนดเวลา (timing) ในหนัง เพื่อส่งต่อไปยังขั้นตอนต่อไป
16
17
Process of PIXAR
18
19
Process of PIXAR
Concept Art
แผนกศิลปกรรม (Art Department) ของพิกซ่าร์จะทุ่มเทเวลาค้นคว้าวิจัยรายละเอียดต่างๆ จากความเป็นจริง ก่อนลดทอนรายละเอียดให้กลายเป็นสไตล์ที่ต้องการ พวกเขาจะวาดและออกแบบตัวละคร ฉากหลัง ในหลายรูปแบบทั้งภาพสเก็ตซ์ ลงสี ปะติด ฯลฯ เพื่อหาลุคที่ใช้มาเติมแต่งจินตนาการให้สมบูรณ์ รวมไปถึงการกำ�หนดโทนสีในแต่ละช่วงของหนังเพื่อโน้มนำ�อารมณ์ไปด้วย
20
21
Process of PIXAR
22
23
Process of PIXAR
Modelling
โมเดลลิ่งคือการปั่นรูปทรงสามมิติในคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นขั้นตอนแรกของคอมพิวเตอร์อนิเมชั่น บางครั้งตัวละคร ฉาก และของประกอบฉากต่างๆ จะถูกปั้นขึ้นมาจริงๆ ด้วยวัสดุปั้นคล้ายดินน้ำ�มัน แล้วแสกนเข้าคอมพิวเตอร์ รึไม่ก็ขึ้นโมเดลโดยตรงในคอมพิวเตอร์ หรือทำ�มันทั้งสองอย่างเลยนั้นแหละ โดยอาศัยภาพสเก็ตซ์และต้นแบบต่างๆ ที่แผนกศิลปกรรมมีให้
24
25
Process of PIXAR
26
27
Process of PIXAR
Set up
ตัวละครสามมิติจะถูกตั้งโครงกระดูก และจุดควบคุมการเคลื่อนไหวในร่างกาย เพื่อให้อนิเมเตอร์เอาไปอนิเมทได้ (rigging) ส่วนฉากและของประกอบฉากนั้น จะถูกจัดแต่งโดยคนจัดฉาก (Set Dresser) ซึ่งทำ�งานร่วมกับผู้กำ�กับอย่างใกล้ชิด
28
29
Process of PIXAR
30
31
Process of PIXAR
lay out
เลย์เอ้าท์คือการจัดวางตัวละครและมุมกล้องในฉาก เพื่อดูการเล่าเรื่องและจังหวะเวลา ที่เหมาะสมก่อนนำ�ไปอนิเมทจริง โดยเน้นหนักที่การเคลื่อนกล้อง ซึ่งนโยบายการกำ�กับภาพของพิกซ่าร์ คือทำ�อย่างไรให้คนดูรู้สึกว่ากล้องนั้นไม่ใช่คอมพิวเตอร์ แต่เป็นกล้องที่มีตากล้องอยู่หลังเลนส์จริงๆ การเคลื่อนกล้องจึงคำ�นึงถึงความเป็นไปได้จริงด้วย ต่างจากหนังซีจีมากมาย ที่มักเคลื่อนกล้องแบบหวือหวาเกินมนุษย์
32
33
Process of PIXAR
34
35
Process of PIXAR
Animating หัวใจสำ�คัญของหนังอนิเมชั่น อนิเมเตอร์ต้องทำ�หน้าที่เหมือนนักแสดง หรือนักเชิดหุ่นที่ไม่เพียงแต่เคลื่อนไหวให้หน้าเชื่อถือ แต่ต้องถ่ายทอดความรู้สึกได้อย่างสมจริงมีชีวิตชีวา เกิดจากที่อนิเมเตอร์ลองแสดงเองจริงๆ และถ่ายคลิปไว้ดูเพื่อศึกษา ส่วนการแสดงออกทางใบหน้านั้น อนิเมเตอร์จะมีกระจกติดโต๊ะไว้ทุกคนเพื่อส่องดูตัวเอง
36
37
Process of PIXAR
38
39
Process of PIXAR
Shading and
Texturing
การใส่สีและพื้นผิวเติมเต็มรายละเอียดให้สมบูรณ์ นอกจากจะเป็นงานหนักแล้ว ยังมีเรื่องทางเทคนิคยากๆ อย่าง ขน ผม ความเลื่อมมัน ความเปียกน้ำ� ฯลฯ แม้จะดูเป็นเรื่องทางเทคนิค แต่ก็ต้องอาศัยความคิดสร้างสรรค์ ทำ�อย่างไรให้ดูเป็นธรรมชาติ แต่ยังมีสไตล์ตามที่ต้องการ
40
41
Process of PIXAR
42
43
Process of PIXAR
Effect and
Dynamic
หลายสิ่งที่เคลื่อนไหวในหนังอนิเมชั่นไม่ใช่อนิเมเตอร์ทำ�เองกับมือ แต่เป็นการคำ�นวนของคอมพิวเตอร์ โดยการใส่ค่าทางฟิสิกส์ พวกธาตุในธรรมชาติอย่าง น้ำ� ลม ควัน ระเบิด ฯลฯ จะถูกใส่เข้าไปในขั้นตอนนี้โดยผ่านเอ็ฟเฟ็คท์หรือเทคนิคคอลอนิเมเตอร์ รวมถึงการเคลื่อนไหว (Cloth Simulation) ของเสื้อผ้าด้วย
44
45
Process of PIXAR
46
47
Process of PIXAR
Lighting การจัดแสงถือเป็นขึ้นตอนสุดท้ายที่ช่วยสร้างบรรยากาศให้กับหนังอนิเมชั่น และเป็นเรื่องทางเทคนิคที่ต้องอ้างอิงวิทยาศาสตร์ถึงขั้นความถี่แสง แม้ว่าการจัดแสงในสตูดิโอทั่วไปจะใช้หลัก ‘ไฟ 3 ดวง’ แต่การจัดแสงในหนังของพิกซ่าร์ไม่จำ�กัดแค่นั้น ฉากหนึ่งๆ อาจใช้ไฟในคอมพิวเตอร์เป็นร้อยดวงเลยทีเดียว เพื่อให้ได้ภาพในฝันที่สวยงามตามต้องการ
48
49
Process of PIXAR
50
51
Process of PIXAR
Rendering ส่วนมากในการทำ�หนังอนิเมชั่น แต่ละแผนกจะแยกส่วนกันไปทำ�เพื่อความคล่องตัว และเบาน้ำ�หนักของไฟล์คอมพิวเตอร์ที่ใช้ แต่สุดท้ายแล้วคอมพิวเตอร์ก็จะประมวลผลทั้งหมดรวมกัน นี้เป็นขั้นตอนที่ต้องรอให้คอมพิวเตอร์ทำ�งานล้วนๆ คำ�นวนง่ายๆ ว่า 1 วินาทีมี 24 เฟรม แต่ละเฟรมใช้เวลาเรนเดอร์ประมาณ 6 ช.ม. (บางเฟรมที่เทพๆ อาจต้องใช้ถึง 90 ช.ม.) หนังทั้งเรื่องที่ยาวชั่วโมงกว่าจะต้องใช้เวลาแค่ไหนก็ไปคิดเอาเอง
52
53
Process of PIXAR
54
55
Process of PIXAR
Polishing เสร็จแล้วแต่ยังไม่เรียบร้อยดี ทีมงานโพสต์โพรดักชั่นของพิกซ่าร์ ต้องนำ�หนังไปตัดต่อจนเนี้ยบ ใส่ดนตรีประกอบและซาวน์เอ็ฟเฟ็คท์ ก่อนจะทำ�ฟอร์แม็ตให้เหมาะสมพร้อมฉายในโรงฯ ต่อไป
56