การละเล่นพื้นบ้านไทย

Page 1

การละเล่นพื้นบ้านไทย Thai children’s games

ั วาลปรีชา รหัส 035 นาฏศล ิ ป์ ไทย นางสาว สวิ ริ น ิ ทร์ ชช


คานา หนังสือเล่มนี้ สร้างขึ้นเพื่อให้เด็กๆได้รู้จักการละเล่นพื้นบ้านสมัยก่อนของ ไทยเรา ยุคนี้เด็ก ๆ เข้าถึงเทคโนโลยีสื่อสารได้ง่ายขึ้น ไม่ว่ามองไปทางไหน ก็ จะเห็นเด็กตัวเล็กตัวน้อยเล่นเกม ใช้เวลาอยูห่ น้าจอสี่เหลี่ยมเกือบทั้งวันทั้งคืน ต่างจากสมัยก่อนที่เด็ก ๆ มักจะชักชวนเพื่อน ๆ ออกมาเล่นการละเล่นพื้นบ้าน ร้องราทาเพลงกันสนุกสนาน ก็น่าคิดเหมือนกันนะคะว่า เด็กสมัยนี้ยังรู้จักและรู้ วิธีเล่นการละเล่นพื้นบ้านของไทยมากน้อยแค่ไหน


สารบัญ หัวข้อ

หน้า

รีรขี ้าวสาร

1

มอญซ่อนผ้า

2

เดินกะลา

3

ม้าก้านกล้วย

4

หมากเก็บ

5

ซ่อนหา หรือโป้งแปะ

6

สรุปท้ายบท

7


รีรขี ้าวสาร Catching the last one in the line เชื่อเลยว่า ชีวิตในวัยเด็กของคนส่วนใหญ่ผ่านการละเล่น "รีรีข้าวสาร" มาแล้ว และยังร้องบทร้องคุ้นหูที่ว่า "รีรีข้าวสาร สองทะนานข้าวเปลือก เด็กน้อยตาเหลือก เลือกท้องใบ ลาน คดข้าวใส่จาน คอยพานคนข้างหลังไว" ได้ด้วย กติกา "รีรีข้าวสาร" ก็คือ ต้องมีผู้เล่น 2 คนหันหน้าเข้าหากัน และเอามือ ประสานกันไว้เป็นรูปซุ้ม ส่วนผู้เล่นคนอื่น ๆ จะกี่คนก็ได้จะยืนเกาะเอวกันไว้ตามลาดับ หัวแถว จะพาขบวนลอดซุ้มพร้อมร้องเพลง "รีรีข้าวสาร" จนเมื่อถึงประโยคที่ว่า "คอยพานคนข้างหลัง ไว้" ผู้ที่ประสานมือเป็นซุ้มจะลดมือลงกันไม่ให้คนสุดท้ายผ่านเข้าไป เรียกว่า "คัดคน" และเล่น อย่างนี้ไปเรื่อย ๆ จนคนหมด ประโยชน์ของการเล่นรีรีข้าวสาร ก็คือ ช่วยให้จิตใจร่าเริงแจ่มใส รู้จักมีไหว พริบ ใช้กลยุทธ์ให้ตัวเองเอาตัวรอดจากการถูกคล้องไว้ได้ รวมทั้งฝึกให้เด็กทางานเป็นกลุ่มได้ ด้วย


มอญซ่อนผ้า Hiding a cloth behind one’ s back การละเล่นแสนสนุกที่ทาให้ผู้เล่นได้ลุ้นไปด้วย โดยใช้อุปกรณ์เพียงแค่ผ้าผืน เดียวเท่านั้น แล้วให้ผูเ้ ล่นเสี่ยงทาย ใครแพ้คนนั้นต้องเป็น "มอญ" ส่วนคนอื่น ๆ มานั่งล้อมวง คนที่เป็น "มอญ" จะต้องถือผ้าไว้ในมือแล้วเดินวนอยู่นอกวง จากนั้นคนนั่งในวงจะร้องเพลงว่า "มอญซ่อนผ้า ตุ๊กตาอยู่ข้างหลัง ไว้โน่นไว้นี่ ฉันจะตีก้นเธอ" ระหว่างเพลงร้องอยู่ คนที่เป็น "มอญ" จะแอบทิ้งผ้าไว้ข้างหลังผู้เล่นคนใดคน หนึ่ง แต่เมื่อทิ้งผ้าแล้ว จะแกล้งทาเป็นยังไม่ทิ้ง โดยเดินวนไปอีก 1 รอบ หากผู้ที่ถูกทิ้งผ้าไม่รู้ตัว "มอญ" จะหยิบผ้ามาตีหลังผู้เล่นคนนั้น แล้วต้องกลายเป็น "มอญ" แทน แต่หากผู้เล่นรู้ตัวว่ามีผ้า อยู่ข้างหลัง ก็จะหยิบผ้ามาวิ่งไล่ตี "มอญ" รอบวง "มอญ" ต้องรีบกลับมานั่งแทนที่ผู้เล่นคนนั้น แล้วผู้ที่วิ่งไล่ต้องเปลี่ยนเป็น "มอญ" แทน


เดินกะลา Walking with coconut shells ดูจะเป็นการละเล่นพื้นบ้านที่หาดูได้ไม่บ่อยนัก แต่หากเป็นสมัยก่อนจะเห็น เด็ก ๆ เดินกะลา กันทั่วไป โดยผู้เล่นจะต้องนากะลามะพร้าว 2 อันมาทาความสะอาดแล้ว เจาะรูตรงกลาง ร้อยเชือกให้แน่น เพื่อป้องกันไม่ให้เชือกหลุดเวลาเดิน เวลาเดินให้ใช้นิ้วหัวแม่ เท้ากับนิ้วชี้คีบเชือกเอาไว้แล้วเดิน หากมีเด็ก ๆ หลายคนอาจจัดแข่ง เดินกะลา ได้ด้วยการ กาหนดเส้นชัยไว้ใครเดินถึงก่อนก็เป็นผู้ชนะไป ประโยชน์ของการเดินกะลา ก็คือช่วยฝึกการทรงตัว ความสมดุลของร่างกาย เพราะต้องระวังไม่ให้ตกกะลา ช่วงแรก ๆ อาจจะรู้สึกเจ็บเท้า แต่ถ้าฝึกบ่อย ๆ จะชินและหายเจ็บ ไปเอง แถมยังทาให้ร่างกายแข็งแรง เพลิดเพลินอีกด้วย


ม้าก้านกล้วย Banana rib hobbyhorse riding เป็นอีกหนึ่งการละเล่นที่แสดงถึงความมีภูมิปัญญาของคนไทยทีเดียว เพราะใน สมัยก่อนแทบทุกบ้านจะปลูกต้นกล้วยไว้ทั้งนั้น ดังนั้น ต้นกล้วยจึงนามาประยุกต์เป็นของเล่นให้ เด็ก ๆ ได้อย่างดีทีเดียว โดยเฉพาะ ม้าก้านกล้วย ดูเหมือนจะถูกอกถูกใจเด็กชายวัยซนมากที่สุด เพราะเด็ก ๆ จะนาก้านกล้วยมาขี่เป็นม้า เพื่อแข่งขันกัน หรือทาเป็นดาบรบกันก็ได้ วิธีทาม้าก้านกล้วยก็ไม่ยาก เลือกตัดใบกล้วยออกมาแล้วเอามีดเลาะใบกล้วย ออก แต่เหลือไว้ที่ปลายเล็กน้อยให้เป็นหางม้า เอามีดฝานแฉลบด้านข้างก้านกล้วยตรงโคนบาง ๆ เพื่อทาเป็นหูม้า แล้วหักก้านกล้วยตรงโคนหูม้าออก จากนั้นก็นาแขนงไม้ไผ่มาเสี้ยมปลายให้ แหลม ความยาวประมาณคืบกว่า ๆ เสียบหัวม้าที่พับเอาไว้จนทะลุไปถึงก้าน เพื่อให้เป็นสาย บังเหียนผูกปากกับคอม้านั่นเอง เสร็จแล้วก็นาเชือกกล้วยมาผูกด้านหัวม้าและหางม้า ทาเป็น สายสะพายบ่า แค่นี้ก็ได้ม้าก้านกล้วยไปสนุกกับเพื่อน ๆ แล้ว


หมากเก็บ Pebbles tossing and picking การละเล่นยอดฮิตสาหรับเด็กผู้หญิงนั่นเอง ปกติจะใช้ผู้เล่น 2-4 คน และใช้ก้อนกรวด กลม ๆ 5 ก้อนเป็นอุปกรณ์ กติกาก็คือ ต้องมีการเสี่ยงทายว่าใครจะได้เล่นก่อน โดยใช้วิธี "ขึ้นร้าน" คือแบ มือถือหมากทั้ง 5 เม็ดไว้ แล้วโยนหมาก ก่อนจะหงายมือรับ แล้วพลิกมือกลับรับหมากอีกที ใครมี หมากอยู่บนมือมากที่สุด คนนั้นจะได้เป็นผู้เล่นก่อน จากนั้นจะแบ่งการเล่นเป็น 5 หมาก โดยหมากที่ 1 ทอดหมากให้อยู่ห่าง ๆ กัน แล้วเลือกลูกนาไว้ 1 เม็ด ก่อนจะไล่เก็บหมากที่เหลือ โดยการโยนเม็ดนาขึ้น พร้อมเก็บหมาก ครั้งละเม็ด และต้องรับลูกที่โยนขึ้นให้ได้ ถ้ารับไม่ได้ถือว่า "ตาย" หรือถ้ามือไปถูกเม็ดอื่นก็ถือว่า "ตาย" เช่นกัน ในหมากที่ 2 ก็ใช้วิธีการเดียวกัน แต่เก็บทีละ 2 เม็ด เช่นเดียวกับหมากที่ 3 ใช้ เก็บทีละ 3 เม็ด ส่วนหมากที่ 4 จะไม่ทอดหมาก แต่จะใช้ "โปะ" คือถือหมากทั้งหมดไว้ในมือ โยน ลูกนาขึ้นแล้วโปะเม็ดที่เหลือลงพื้น แล้วรวมทั้งหมดที่ถือไว้ "ขึ้นร้าน" ได้กี่เม็ดถือเป็นแต้มของผู้ เล่นคนนั้น ถ้าไม่ได้ถือว่า "ตาย" แล้วให้คนอื่นเล่นต่อไป โดย "ตาย" หมากไหนก็เริ่มที่หมากนั้น ปกติการเล่นหมากเก็บจะกาหนดไว้ที่ 50-100 แต้ม ดังนั้นเมื่อแต้มใกล้ครบ เวลาขึ้นร้านต้อง ระวังไม่ให้แต้มเกิน ถ้าเกินต้องเริ่มต้นใหม่ อย่างไรก็ตาม ปกติแล้ว "หมากเก็บ" มีวิธีเล่นหลายอย่าง แต่ละอย่างก็จะมีชื่อ เรียกต่างกันไป เช่น หมากพวง, หมากจุ๊บ, อีกาเข้ารัง


เล่นซ่อนหา หรือ โป้งแปะ Hide and seek "เล่นซ่อนหา" หรือ "โป้งแปะ" เป็นหนึ่งในการละเล่นพื้นบ้านที่มีมาช้านาน และยังได้รับความนิยมอยู่ทุกยุคทุกสมัย เพราะกติกาง่าย แถมสนุก และต้องมีการกาหนดอาณา เขต เพื่อไม่ให้กว้างจนเกินไป จนถึงวันนี้ก็ยังมีเด็ก ๆ จับกลุ่มกันเล่นซ่อนหาให้เห็นกันอยู่ โดยกติกาก็คือ คนที่เป็น "ผู้หา" ต้องปิดตา และให้เพื่อน ๆ ไปหลบหาที่ซ่อน โดยอาจจะนับเลขก็ได้ ส่วน "ผู้ซ่อน" ในสมัยก่อนจะต้องร้องว่า "ปิดตาไม่มิด สาระพิษเข้าตา พ่อ แม่ทานาได้ข้าวเม็ดเดียว" แล้วแยกย้ายกันไปซ่อน เมื่อ "ผู้หา" คาดคะเนว่าทุกคนซ่อนตัวหมดแล้ว จะร้องถามว่า "เอาหรือยัง" ซึ่ง เมื่อ "ผู้ซ่อน" ตอบว่า "เอาละ" "ผู้หา" ก็จะเปิดตาและหาเพื่อน ๆ ตามจุดต่าง ๆ เมื่อหาพบจะพูด ว่า "โป้ง..(ตามด้วยชื่อผู้ที่พบ)" ซึ่งสามารถ "โป้ง" คนที่เห็นในระยะไกลได้ จากนั้น "ผู้หา" จะหาไปเรื่อย ๆ จนครบ ผู้ที่ถูกหาพบคนแรกจะต้องมาเปลี่ยนมา เป็น "ผู้หา" แทน แต่หากใครซ่อนเก่ง "ผู้หา" หาอย่างไรก็ไม่เจอสักที "ผู้ซ่อน" คนที่ยังไม่ถูกพบ สามารถเข้ามาแตะตัว "ผู้หา" พร้อมกับร้องว่า "แปะ" เพื่อให้ "ผู้หา" เป็นต่ออีกรอบหนึ่งได้ ประโยชน์จากการเล่นซ่อนหา ก็คือ ฝึกให้เป็นคนช่างสังเกต สามารถจับ ทิศทางของเสียงได้ รวมทั้งรู้จักประเมินสถานที่ซ่อนตัว จึงฝึกความรอบคอบได้อีกทาง นอกจากนี้ยังทาให้ผู้เล่นสนุกสนาน อารมณ์แจ่มใสเบิกบานไปด้วย


สรุปท้ายบท การละเล่นพืน ้ บ ้าน คือ การละเล่นทีแ ่ สดงเอกลักษณ์ของท ้องถิน ่ นัน ้ ๆ ทีม ่ ี ั ลักษณ์ อัน อยูท ่ ั่วทุกภาคของประเทศไทย เป็ นกิจกรรมบันเทิงทีแ ่ ฝงไว ้ด ้วยสญ ื่ ของสงั คม ทีส ื เนือ ่ งด ้วยวัฒนธรรมและประเพณี สะท ้อนวิถช ี วี ต ิ และความเชอ ่ บ ทอดมาแต่โบราณ ประวัตศ ิ าสตร์ไทยได ้บันทึกไว ้ว่า คนไทยมีการละเล่นมาตัง้ แต่สมัยสุโขทัย ิ าจารึกหลักที่ ๑ จารึกพ่อขุนรามคาแหงมหาราช กล่าวว่า ใครใคร่ จากความในศล จักมักเล่น เล่น ใครจักมักหัว หัว ใครจักมักเลือ ่ น เลือ ่ น ประเพณีและวัฒนธรรมไทยสมัยก่อน มักสอดแทรกความสนุกสนานบันเทิง ควบคูไ่ ปกับการทางาน ทัง้ ในชวี ต ิ ประจาวัน เทสกาลงานบุย และตามระยะเวลา แห่งฤดูกาล เรียกกิจกรรมบันเทิงว่า เป็ นการละเล่น ครอบคลุมการเล่นลักษณะ ต่างๆ


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.