7 creative tricks of photography

Page 1

7 Creative Tricks of

PHOTOGRAPHY

7 เทคนิคการสร้างสรรค์มุมมองภาพถ่าย 10 Trick for Photography

SNAPPIX


“ไม่มีอะไรเลวร้ายไปกว่า ภาพที่คมชัด แต่แนวคิดนั้นเลอะเลือน” - Ansel Adams -


บทนำ

ผมเชื่อมาตลอดว่าความคิดสร้างสรรค์เป็นทุนที่ทุกคนมีติดตัวมาตั้งแต่เกิด

เป็นทุนฟรีที่ได้มาจากสวรรค์ สมัยเด็กๆเราสนุกกับการมองก้อนเมฆบนท้องฟ้า จินตนาการเป็นรูปต่างๆ ตามความรู้ที่เรามีหรือสิ่งที่เราเคยพบเห็นในสมัยนั้น แล้วพยายามเชื่อว่ามันคือความจริง มีสิ่งเหล่านั้นอยู่จริง ถ่ายทอดออกมาใน

กระดาษวาดเขียน พยายามใช้เทคนิคเท่าที่มีกลั่นกรองจิตนาการที่เห็นให้ออกมา เป็นภาพที่ตั้งใจ

เมื่อเราโตขึ้น จากภาพวาดในกระดาษที่พยายามวาดให้คล้ายภาพในความจริง

โลกก็พัฒนาให้เกิดการถ่ายภาพ ที่บันทึกภาพความจริงตามสิ่งที่ผู้ถ่ายจินตนาการ และเป็นอีกครั้งที่เราพยายามเรียนรู้เทคนิคการถ่ายภาพต่างๆ เพื่อให้ได้ภาพตามที่ ต้องการ

หนังสือเล่มนี้ผมจึงตั้งใจรวมเทคนิคในการสร้างสรรค์ภาพถ่าย เพื่อผู้อ่าน

สามารถในสร้างผลงานภาพถ่ายได้ใกล้เคียงกับภาพจินตนาการของตัวเองมากขึ้น “เพราะการมีเครื่องมือที่ดี ช่วยให้ความคิดสร้างสรรค์สามารถใช้งานได้จริง” Kiattichai Hongwiset (Snap)
 SNAPPIX


SYMMETRY ภาพสมมาตร


“ภาพสมมาตร” เป็นการถ่ายภาพที่จัดองค์ประกอบให้ดูสมดุลเท่ากันทั้งภาพ ช่วยเพิ่มความน่าสนใจของภาพได้เป็นอย่างมาก











FRAME WITH IN FRAME สร้างกรอบให้ภาพ


“การใส่กรอบให้ภาพ” เป็นเทคนิคการถ่ายภาพที่สร้างกรอบ ล้อมส่วนที่น่าสนใจของภาพอีกที

ช่วยในการดึงดูดความสนใจของผู้มองภาพ ให้สนใจในสิ่งที่เรากำหนด

และยังสามารถช่วยเสริมมิติของภาพได้อีกด้วย


ปกติภาพจะมีกรอบอยู่แล้ว 1 กรอบ คือ ภาพเต็มใบทั้งใบ

ส่วนกรอบของหน้าต่างที่ล้อมหัวม้า คือ ส่วนที่เรากำหนดให้ดึงดูดสายตาจากผู้ชม


ภาพนี้มีการใช้ผนังของถ้ำ ล้อมรอบทะเลและแหลมอีกที ช่วยให้สายตาของผู้ชมมองไปยังทะเลแลแหลมทันที


ภาพนี้มีการสร้างกรอบมากกว่า 1 ชั้น

ช่วยทำให้ภาพน่าสนใจและมีมิติมากขึ้นด้วย


ภาพนี้มีการนำฉากหน้าที่เป็นพุ่มกิ่งไม้ มาสร้างกรอบให้กับรถที่วิ่งบนถนน

ช่วยให้สายตาของผู้ชมมองไปยังถนนทันทีและยังเพิ่มมิติให้กับภาพอีกด้วย








CONTRAST เล่นกับความต่าง


“เล่นกับความต่าง” เป็นเทคนิคการถ่ายภาพที่สร้างความน่าสนใจ

ในเชิงเนื้อหาและการสื่อความหมายของภาพได้เป็นอย่างดี ทำให้ภาพมีเรื่องราว มีมิติอารมณ์ความรู้สึก ดึงดูดให้ผู้ชมมองภาพได้นานขึ้น


Color ต่างกันที่สี


Texture ต่างกันที่ผิว


Time ต่างกันที่ยุคสมัย


Size ต่างกันที่ขนาด


Place สถานที่ต่างจากเดิม






REFLECTION มุมสะท้อน


“มุมสะท้อน” เป็นเทคนิคที่อาศัยการสะท้อนจากสิ่งที่มีคุณสมบัติในการสะท้อน เช่น แก้ว, กระจก, โลหะมันวาว, แหล่งน้ำ ฯลฯ

สามารถสร้างมิติและความแปลกตาให้กับภาพได้อย่างดี


Mirror

สะท้อนจากกระจก


Water

สะท้อนจากแหล่งน้ำ


Steel

สะท้อนจากโลหะมันวาว


Glass

สะท้อนจากแก้ว








Pattern ลวดลาย


“ลวดลาย” เป็นเทคนิคการถ่ายภาพที่อาศัยการเรียงตัวซ้ำๆ

ของวัตถุ เกิดเป็นมุมมองและองค์ประกอบที่น่าสนใจ

การถ่ายภาพลวดลาย เป็นแบบฝึกการสังเกตอย่างดี เทคนิคนี้จะฝึกมองให้เป็นภาพเฉพาะส่วนๆ จากปกติที่เราคุ้นเคยแต่ภาพมุมกว้าง

เราจะได้เรียนรู้การซูมภาพ การตัดสิ่งที่ไม่จำเป็นออก เพื่อให้เหลือแค่ส่วนลวดลายเฉพาะที่เราสนใจเท่านั้น


การถ่ายภาพลวดลาย แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ 1. Emphasize the Patterns - ลวดลายที่เป็นเนื้อเดียวกัน 2. Breaking Patterns - ลวดลายที่ไม่เป็นเนื้อเดียวกัน


Emphasize

ลวดลายที่เป็นเนื้อเดียวกัน

- ทำให้ภาพมีความลื่นไหลและ สอดคล้องกันตลอดทั้งภาพ


Breaking

ลวดลายที่ไม่เป็นเนื้อเดียวกัน


Breaking

ลวดลายที่ไม่เป็นเนื้อเดียวกัน


Breaking

ลวดลายที่ไม่เป็นเนื้อเดียวกัน



Breaking

ลวดลายที่ไม่เป็นเนื้อเดียวกัน - ทำให้ความลื่นไหลของภาพหยุดชะงัก

สร้างความสะดุดตา และน่าสนใจให้ภาพ

อาจจะเป็นสี ลวดลาย หรือการจัดวางที่ ต่างจากลวดลายหลักของภาพ


Breaking

ลวดลายที่ไม่เป็นเนื้อเดียวกัน


Breaking

ลวดลายที่ไม่เป็นเนื้อเดียวกัน




SILHOUETTE ภาพเงาดำ


“ภาพเงาดำ” หรือเรียกอีกชื่อว่า “ภาพซิลลูเอท”

เป็นภาพที่เหมาะกับการสร้างเรื่องราวให้ภาพอย่างมาก สามารถถ่ายทอดอารมณ์ได้อย่างยอดเยี่ยม

ปล่อยให้ผู้ชมได้จินตนาการไปกับตัวภาพเอง


สเน่ห์ของการถ่ายภาพเงาดำ

คือ การเล่นกับรูปร่างของตัวแบบ เช่น รูปร่างของสิ่งก่อสร้าง

หรือการเคลื่อนไหวท่าทางของสิ่งมีชีวิต

ทำให้ภาพแนวนี้มีมิติในการเล่นเรื่องราวและอารมณ์อย่างมาก ขึ้นอยู่กับเราแล้วครับ

ว่าจะทำให้ผู้ชมจินตนาการภาพเราในแบบไหน


5

ขั้นตอนถ่ายภาพ “เงาดำ” ใครเห็นเป็นต้องร้อง ว้าว!!


1. รูปร่างของแบบต้องน่าสนใจมากพอ เนื่องจาก “ภาพเงาดำ”

ไม่สามารถแสดงสี รูปทรง หรือรายละเอียดของตัวแบบได้ ดังนั้น รูปร่างแบบจึงต้องน่าสนใจมากพอ ที่จะหยุดสายตาของคนดูให้ได้

อาจจะเป็นการแสดงท่าทางเรื่องราวของผู้คน

หรือรูปร่างของสถานที่สิ่งของที่แปลกตากว่าปกติ


2. ต้องเลือกแสงที่ใช่ แน่นอนว่า แสงที่จะทำให้ตัวแบบเป็นเงาดำได้ ต้องให้แสงที่มีทิศทางมาจากข้างหลัง และแสงหลังต้องมากกว่าแสงหน้า

ห้ามใช้ไฟหรือแฟลชส่องไปที่แบบ เด็ดขาด!!


ช่วงเวลาที่เหมาะกับการถ่ายภาพเงาดำคือ 1. Twilight ก่อนพระอาทิตย์ขึ้นหรือหลังพระอาทิตย์ตก 2. แสงที่ส่องแรงๆ ในช่วงเช้า-สาย หรือ บ่าย-เย็น


3. จัดวางองค์ประกอบต้องน่าสนใจ ไม่ใช่แค่มีรูปร่างแบบหรือแสงที่ใช่แล้ว ภาพจะออกมาโดนทันที การจัดองค์ประกอบภาพยังคงสำคัญมากอยู่ครับ

คุณต้องบาล๊านซ์ระกว่างตำแหน่งของแบบ องค์ประกอบต่างๆ ตำแหน่งของแสงอาทิตย์ หรือเรื่องราวที่ต้องการจะใส่ ให้น่าสนใจน่าติดตาม ก่อนถ่ายให้คิดเสมอว่า
 “ภาพถ่าย 1 ภาพ คือ

ข้อความหนึ่งประโยคหรือเรื่องราวสั้นๆหนึ่งเรื่อง”


4. เลือกมุมเงารูปร่างของแบบให้ดี จุดเด่นของภาพเงาดำคือ รูปร่างของแบบ ฉะนั้น ก่อนที่จะหยุดถ่ายลองเช็คให้ดีว่า

รูปร่างของตัวแบบได้มุมได้สัดส่วนที่เหมาะสมหรือยัง เพราะถ้ารูปเงาผิดมุมผิดสัดส่วนเมื่อไหร่

ความหมายของภาพอาจจะเปลี่ยนไปทันที ผู้ชมจะเข้าใจผิดเพี้ยนหรือไม่เข้าใจเลยก็ได้ ต้องใส่ใจใส่ความละเอียดเรื่องนี้ด้วยครับ


5. การตั้งค่ากล้อง อย่าเพิ่งพาระบบออโต้อย่างเดียว หลายครั้งออโต้ก็ไม่ได้ฉลาดนัก ให้วัดแสงไปที่แสงข้างหลังของแบบหรือชดเชยแสงให้ไปทางลบ จนกว่าจะได้ภาพด้านหน้าของแบบเป็นเงาดำ ไม่ว่าจะใช้โหมด Auto หรือ Manual

ใช้เช็คก่อนทุกครั้งว่า คุณได้ภาพที่เป็นเงาดำแล้วจริงๆ “อย่าไว้ใจอุปกรณ์ แต่จงไว้ใจตัวคุณเอง”











MOTION / MOVEMENT ภาพเคลื่อนไหว


“ภาพเคลื่อนไหว” ภาพเคลื่อนที่ผมหมายถึง ไม่ใช่ภาพ VDO นะครับ แต่เป็นภาพนิ่งที่ดูเหมือนมีการเคลื่อนไหว ในเชิงมิติความรู้สึกจากการมอง

เทคนิคนี้ช่วยให้ภาพดูมีชีวิต มีมิติของอารมณ์

เพิ่มความน่าตื่นตาตื่นใจให้กับภาพได้อย่างมาก


ภาพเคลื่อนไหว ผมแบ่งเป็น 3 ประเภท

1. ภาพวัตถุ/ตัวแบบมีการเคลื่อนไหว

2. ภาพที่เคลื่อนไหวตามวัตถุ/ตัวแบบ 3. ภาพที่ถูกหยุดการเคลื่อนไหว


1. ภาพวัตถุ/ตัวแบบมีการเคลื่อนไหว คือ ภาพที่เราล็อกมุมที่ต้องการจะถ่าย

แล้วปล่อยให้ตัวแบบหรือวัตถุในภาพเคลื่อนที่ไป

ดังนั้นจะได้ภาพที่มีการเคลื่อนไหวของตัวแบบโดยที่มุมยังคมชัดอยู่ เทคนิคนี้ต้องใช้ Speed Shutter ค่อนข้างต่ำ

อาจจะต้องใช้ขาตั้งกล้องในการช่วยให้ได้ภาพที่นิ่งขึ้น







2. ภาพที่เคลื่อนที่ตามวัตถุหรือตัวแบบ เทคนิคนี้เรียกอีกชื่อว่า “แพนกล้อง”

คือ เราจะเคลื่อนที่มุมกล้องตามวัตถุหรือตัวแบบที่กำลังเคลื่อนไหว ดังนั้นภาพที่ได้ตัวแบบคมชัด แต่ส่วนอื่นรอบๆจะมีการเคลื่อนไหว เทคนิคนี้ต้องใช้ความชำนาญฝึกฝนอย่างมาก เราต้องฝึกความเร็วในการแพนกล้อง

ให้สอดคล้องกับความเร็วของแบบหรือวัตถุ






3. ภาพที่ถูกหยุดการเคลื่อนไหว

เป็นภาพที่ต้องใช้ความเร็วของ Speed Shutter สูงๆ เพื่อให้หยุดการเคลื่อนไหวของตัวแบบ/วัตถุ

ให้อารณ์เหมือนถูกหยุดเวลา ถูกจับจังหวะภาพในเสี้ยววินาที จุดเด่นของเทคนิคนี้คือ การจับจังหวะที่สายตาปกติไม่ค่อยได้เห็น

ดังนั้นถ้าเราจับจังหวะได้น่าสนใจเท่าไหร่ ภาพจะน่าสนใจขึ้นเท่านั้น






บทส่งท้าย “ทุกบทเรียนต้องการการฝึกฝน” ความอร่อยของอาหารขึ้นอยู่กับความสามารถพ่อครัวฉันใด

ความน่าสนใจของภาพถ่ายก็ขึ้นอยู่กับความสามารถนักถ่ายภาพฉันนั้น หนังสือ 7 เทคนิคสร้างสรรค์มุมมองภาพถ่ายเล่มนี้ ไม่ใช่หนังสือวิเศษที่อ่าน จบแล้วคุณจะถ่ายภาพขั้นเทพได้ในทันที มันเป็นเพียงเครื่องมือเบื้องต้นใน การสร้างสรรค์ผลงานภาพถ่ายเท่านั้น คุณต้องนำไปฝึกฝน เรียนรู้ และ ประยุกต์ใช้ในแบบฉบับของตัวเองอย่างสม่ำเสมอ

“ลงมือ ฝึกฝน เรียนรู้ พัฒนา ทำให้เป็นนิสัย” นี่คือคาถาการถ่ายภาพให้เก่ง ที่ผมใช้มาตลอด

ขอให้สนุกกับการถ่ายภาพนะครับ Kiattichai Hongwiset (Snap)
 SNAPPIX


เปิดจองพร้อมกัน!

วันอาทิตย์ที่ 31 สค.นี้

รายละเอียด >>> คลิก


เกียรติชัย หงษ์วิเศษ “สแนป” ช่างภาพที่ชอบทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย

วิทยากรและนักสร้างนวัตกรรมความรู้ด้านการถ่ายภาพ สแนป เป็นช่างภาพอาชีพด้านสถาปัตยกรรมและโฆษณา ที่มีสไตล์ในการทำงานเฉพาะตัว เขาเป็นช่างภาพที่ชอบทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย เขามีจุดยืนที่จะพัฒนาวงการถ่ายภาพของเมืองไทย ให้ผู้คนเข้าถึงง่ายและต่อยอดไปสู่วงการอาชีพต่างๆได้ เขาเชื่อว่า “การถ่ายภาพ” ไม่ใช่แค่ศิลปะทั่วไป แต่เป็นเครื่องมือที่สามารถช่วยพัฒนาชีวิต ให้กับผู้คนได้อีกเป็นจำนวนมาก

ติดตามข่าวสารและพูดคุยกับ สแนป ได้ที่ Fanpage : Snappix | Instagram : snappix.ig Official Line : @snappix www.snappixinfo.com


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.