ที่มาและการดาเนินการของ กลุ่มพิทักษ์อากาศสดชื่น มาบตาพุด ระยอง Airfresh Society Maptaphut Rayong (จัดตั้งเมื่อ ๕ พฤษภาคม ๒๕๔๔) เริ่มต้นขึ้นจากปัญหาขยะชุมชน ที่อยู่ข้างที่พักอาศัย ร้านคอมโฮม คอมพิวเตอร์ ถนนโสภณ ซอย ๘ มาบ ตาพุด ระยอง ทาหนังสือร้องเรียนถึง นายกเทศมนตรีมาบตาพุด ให้ช่วยแก้ปัญหาขยะและกลิ่นขยะ ดังกล่าว ความเป็นชาวบ้านธรรมดามักถูกไถ่ถามถึงที่มาที่ไป ในเมื่อคนอื่นทนได้ แต่ทาไมเราทนไม่ได้ ปัญหาของชุมชนในเขตมาบตาพุดนอกจากเรื่องขยะและน้าประปาแล้ว ยังมีปัญหาใหญ่เรื่องมลภาวะที่มา จากการมีซึ่งโรงงานอุตสาหกรรมเคมี-ก๊าซและท่าเรือขนถ่าย และนอกจากปัญหากลิ่นรุนแรงจากมลภาวะ ทางอากาศ-กลิ่นขยะ-น้าเสียปนเปรื้อนสารพิษ-ขยะอุตสาหกรรม-น้าทะเลเสีย-ชายหาดถูกกัดเซาะ แล้ว ยังมีสิ่งที่เป็นมลภาวะทางสังคม คือการซื้อมวลชน-ชุมชน-ตัวแทนชุมชน โดยกองทุนต่างๆของโรงงาน คน ที่จะออกมาเรียกร้องให้ผู้คนมาสนใจปัญหาต่างๆ จึงถูกทาให้มองเป็นการเรียกร้องหาผลประโยชน์เกือบ ทั้งหมด การประท้วงของผู้คนในมาบตาพุด ซึ่งส่วนใหญ่ มาจากเหตุผลเรื่องที่ดิน-การเวนคืนเป็นตัวชี้นา หลัก รวมทั้งการเรียกรับผลประโยชน์ จนปัญหาที่แท้จริงกับถูกหลงลืมไปหมด การย้ายโรงเรียนออกจาก พื้นที่เดิม เป็นปัญหาที่ชัดเจนที่สุด ว่าที่นมี่ ีปัญหา-ที่แก้ไขไม่ได้ การก่อตัวขึ้นของกลุ่มพิทักษ์อากาศสดชื่น จึงเริ่มขึ้นจากปัญหาของกลิ่นมลภาวะอากาศรุนแรงที่เกิดขึ้นขณะนั้น ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๔๔ – ยื่นหนังสือ ร้องเรียนเกี่ยวกับสภาพอากาศพิษที่มากเกินกว่าที่จะยอมรับได้ บริเวณตาบลมาบตาพุดและเขตใกล้เคียง ถึง ผู้ว่าราชการจังหวัด ระยอง สาเนา รมต.วิทยาศาสตร์และ สิ่งแวดล้อม รมต.อุตสาหกรรม ท่านผู้ว่าการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ผลที่ได้รับ – พื้นที่นี้มีกฎหมายเฉพาะซึ่งอยู่นอกเหนืออานาจผู้ว่าราชการจังหวัด แต่จะประสานการนิคม แห่งประเทศไทย ที่กากับดูแลต่อไป ๙ กันยายน ๒๕๔๔ - ร่วมกับกลุ่มอนุรักษ์ฯ ระยอง ๔๓ ได้จัดส่งเอกสารโครงการเพื่อนาเสนอ ๒๕ ชุมชน ของมาบตาพุด ในการพิจารณาให้การสนับสนุนและร่วมต่อสู้กับแหล่งกาเนิดมลพิษ อย่างมีกฎเกณฑ์ ระเบียบ แบบแผนและเป็นรูปธรรมในทิศทางเดียวกัน ผลที่ได้รับ – ไม่ได้รับการใส่ใจ มีผู้มาร่วมน้อยมากจนกาหนดแนวทางอะไรร่วมกันไม่ได้ ขบวนการต่อสู้แบบโดดเดี่ยวจึงเริ่มขึ้น โดย ... คนกลุ่มเล็กๆ ๗-๘ คน การรณรงค์ คัดค้านการมาสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน บีแอลซีพี ขนาด ๑๔๐๐ เมกะวัตต์ ที่มาบตาพุด ระยอง การติดป้ายคัตเอ้าท์รณรงค์ให้ความรู้ เรื่องมลพิษถ่านหิน บริเวณ ชุมชนต่างๆ การติดป้ายรณรงค์คัดค้านโรงไฟฟ้าฟ้าถ่านหิน
การแจกใบปลิว เรื่องมลภาวะแวดล้อม, ขยะสารเคมี-ขยะอุตสาหกรรม, ปัญหาน้าเสีย-กลิ่นและมลภาวะ และรณรงค์คัดค้านโรงไฟฟ้าฟ้าถ่านหิน
ผลที่ได้รับ – มีการมาของรัฐมนตรีอุตสาหกรรม ๒ ครั้ง และมีการประชุมรับปัญหาชาวบ้านที่การนิคมฯ โดยอธิบดีกรมโรงงาน และสุดท้าย สภาพอากาศที่กลิ่นรุนแรงหายไป แต่ได้โรงไฟฟ้าถ่านหิน ได้นิคมเอเชีย เพิ่มขึ้นมา ๑๕ มิถุนายน ๒๕๔๕ รณรงค์ เรื่องขอให้มาบตาพุดเป็นเขตควบคุมมลพิษ http://www.thaingo.org/cgi-bin/content/content๑/show.pl?๐๐๓๗ ผลที่ได้รับ – เพิ่งมีผลในปี ๒๕๕๒ ประกาศให้มาบตาพุดเป็นเขตควบคุมมลพิษ ๒๑ มิถุนายน ๒๕๔๕ ยื่นหนังสือถึง นายกรัฐมนตรี ขณะมา ครม.สัญจร เปิดคลินิกชุมชน ของ ปตท.มาบ ตาพุด เพื่อคัดค้านโรงไฟฟ้าฟ้าถ่านหินบีแอลซีพี ผลที่ได้รับ – มีงบประมาณ ลงมายัง พื้นที่ และการจะสร้าง มหาวิทยาลัย บริเวณ โรงเรียน มาบตาพุด พัน-เดิม แต่ให้สร้างโรงไฟฟ้าฯ ต่อไป ๑๓ มีนาคม ๒๕๔๘ รณรงค์ เรื่องทรัพยากรน้า และการปันส่วนน้าในภาคตะวันออก http://www.thaingo.org/cgi-bin/content/content๑/show.pl?๐๒๖๗ ผลที่ได้รับ- ทางโรงไฟฟ้า บีแอลซีพี สร้างแหล่งเก็บน้าใน พื้นที่ข้างเคียง ซึ่งเดิมถูกกันไว้เป็นพื้นที่ส่วนต่อ ขยาย โครงการที่อยู่ระหว่างการติดตาม ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๕๒ นาเสนอ โครงการกองทุนขยะชุมชน กับ รองนายกเทศมนตรี เทศบาลมาบตาพุด ระยอง ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ ร้องเรียนเรื่อง ขยะชุมชนและกลิ่นขยะรุนแรงในหมู่บ้านเบญจพร กับ นายกเทศมนตรี เทศบาลมาบตาพุด ระยอง สาเนา ผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง, รมต.ธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม ผลที่ได้รับ – มีหนังสือจากผู้ว่าฯถึงนายกฯ ให้ช่วยเร่งรัด นานกว่า ๒ สัปดาห์ยังไม่มีอะไรคืบหน้า จนต้อง เกณฑ์คนไปช่วยกันทาเอง
๑๕ ธันวาคม ๒๕๕๒ นาเสนอกับ ปตท. เรื่องกรณีศึกษาการทรุดตัวของโครงสร้าง ที่ตั้งบนฐานรากตื้นที่ ไม่มีการตอกเสาเข็ม ของโรงงานต่างๆของ ปตท. โรงแยกก๊าซที่ ๖, โรงแยกก๊าซอีเทน, โรงงาน ปตท.ฟี นอล และโรงงานอื่นๆ ในมาบตาพุด ระยอง ซึ่งฐานรากเกือบทั้งหมดไม่ตอกเสาเข็ม ด้วยความกังวลถึง ปัญหาการวิบัติของโครงสร้างระบบท่อและเครื่องจักร การรั่วจานวนมากหรือจนมีการเกิดระเบิดจะส่งผล กระทบรุนแรงต่อสภาวะแวดล้อมและชุมชน ในวงกว้าง ถ้ากรณีที่ไม่สามารถควบคุมได้ เช่นเดียวกันกับ ไฟไหม้แท่นเจาะ ของ ปตท.สผ ในทะเลของประเทศออสเตรเลีย หรือ ไฟไหม้โรงงานก๊าซของเอสโซ่ ใน ลองฟอร์ด ประเทศออสเตรเลีย ซึ่งมีปัญหามาจากการออกแบบ หรือ ไฟไหม้โรงงานปิโตรเคมี ในประเทศ จีน ที่เพิ่งเกิดขึ้น นาเสนอเพื่อให้ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบและคณะผู้ตรวจสอบ-ติดตามฯ แก้ไขความ แข็งแรงโครงสร้างฯ ปตท. อ้างว่า ออกแบบถูกต้องโดยบริษัทมีชื่อเสียงทั้งในและต่างประเทศได้รับการอนุมัติโดยหน่วยงาน ภาครัฐ – มีการทดสอบการรับน้าหนักของดิน ซึ่งเป็นดินปรับถมใหม่ ว่าสามารถใช้ฐานรากตื้น ไม่มีความ จาเป็นที่จะต้องตอกเสาเข็ม ความสูงเฉลี่ยโครงสร้างระบบท่อและเครื่องจักร ประมาณ ๑๕-๑๘ เมตร เทียบกับตึกสูง ๕-๖ ชั้น (ขณะที่โรงงานใกล้เคียงมีการใช้เสาเข็มเจาะหรือเสาเข็มตอกจานวนมาก กับ โครงสร้างต่างๆทีม่ ีขนาดเล็กกว่า) ความห่วงใยกังวลนี้ มาจากวิศวกรโยธาหลายท่านที่ก่อสร้างโรงงานให้กับ ปตท. ที่พบว่า หลายโครงการ นั้นไม่มีการตอกเสาเข็มและมีการทรุดจานวนมาก ขณะติดตั้งโครงเหล็ก-ท่อ-เครื่องจักร ต่างๆ ซึ่งเป็นผล มาจากการออกแบบ และกังวลว่าถ้าเปิดใช้โรงงานแล้ว จะมีปัญหาอะไรเกิดขึ้นตามมาอีกเพราะเป็น โรงงานก๊าซและสารเคมีอันตราย บางโครงการของ ปตท. ที่สามารถแนะนาทัดทานได้ มีการเปลี่ยนแปลง การออกแบบจนมีการใช้เสาเข็มจานวนมาก และ วิศวกรโยธา ๓-๔ ท่าน ซึ่งเดิมจะมาร่วมเป็น คณะ ตรวจสอบ-ติดตาม เพื่อแก้ไข เพิ่มความแข็งแรงด้วย ซึ่งขณะนี้ยังคงทางานอยู่ใน พื้นที่ มาบตาพุด ความร่วมมือกับองค์กรประชาสังคมอื่น และการร่วมสัมมนา รวมทั้งการส่งข้อมูลข่าวสาร เครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก – คุณสุทธิ อัชฌาสัย สภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยจากการทางานฯ – คุณสมบุญ สีคาดอกแคม กลุ่มกรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ - คุณธารา บัวคาศรี งานกลุ่มศึกษาและรณรงค์มลภาวะอุตสาหกรรม – คุณเพ็ญโฉม แซ่ตั้ง กลุ่มรักท้องถิ่นปลวกแดง กลุ่มถังตรวจอากาศ การร่วมสัมมนา กับเครือข่ายสิ่งแวดล้อมและกลุ่มศึกษาฯ ต่างๆ
เวบไซด์-เวบบล็อก ของกลุ่มพิทักษ์อากาศ www.airfresh-society.co.cc เวบไซด์ ปี ๒๕๕๒ ประกาศมาบตาพุดเป็นเขตควบคุมมลพิษ http://www.boonchoo.org/airfresh/indexo.htm เวบไซด์ ปี ๒๕๔๘ คัดค้านโรงไฟฟ้าถ่านหิน www.oknation.net/blog/airfresh-society เวบบล็อก เครือข่ายเนชั่น http://airfresh-society.blogspot.com/ เวบบล็อก เครือข่ายกูเกิ้ล การจดทะเบียน - ส่วนสนับสนุน เป็นกลุ่มผู้ที่รัก-สนใจสิ่งแวดล้อม ท้วงติง นาเสนอ เพื่อให้มีการแก้ไข ไม่ได้จดทะเบียนกับ กรม ส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ไม่ได้เป็นนิติบุคคลเพื่อทาการใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับเงินบริจาคหรือเงินสนับสนุน ซึ่งไม่เคยมีการ ดาเนินการลักษณะดังกล่าว และใช้จา่ ยเท่าที่สามารถแบ่งจากที่มีใช้ แล้วทาแบบประหยัด ไม่ได้เข้าเป็น กรรมการสิ่งแวดล้อม หรือ กรรมการอื่นใดๆ ในโครงการก่อสร้างของโรงงาน ต่างๆ และการนิคมฯต่างๆ ไม่มีธุรกิจ ที่ทาร่วมกับโรงงานใดๆ ยกเว้นการทางาน ในฐานะพนักงานบริษัทฯ (วิศวกรโยธา) ประวัติและงานกิจกรรม ผู้จัดตั้งกลุ่มพิทักษ์อากาศสดชื่น นายศรัลย์ ธนากรภักดี, จบคณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาโยธา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รุ่น ๑๒ งานกิจกรรม ประธานชมรมศิลปะและการออกแบบ คณะวิศวฯ กลุ่มงานค่ายอาสา-อนุรักษ์-วรรณศิลป์ สโมสรนักศึกษา มช. กลุ่มรณรงค์คัดค้านการลดค่าเงินบาท (สมัย นายกเปรม) แกนนาเรียกร้องให้มีการเลือกตั้งอธิการบดี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ งานกิจกรรมหลังจากจบการศึกษา อภิปรายร่วม งานครบ ๑๐๐ วัน คณะรัฐประหาร รสช. ประสานงานมวลชนเรียกร้องประชาธิปไตย ๔-๒๐ พฤษภาคม ๒๕๓๕ จัดตั้งกลุ่มพิทักษ์อากาศสดชื่น ๕ พฤษภาคม ๒๕๔๔
ร่วมงานสัมมนา ของเครือข่ายสิ่งแวดล้อมต่างๆ ประสบการณ์งานวิศวกรรมโยธาและงานบริหาร มีความชานาญงานด้านคอมพิวเตอร์ ออกแบบโปรแกรม Payroll / Cost Control งานออกแบบเวบไซด์ / สื่อสารสนเทศ งานประมูลงานทั่วไป / แผนงาน-รายรับ-รายจ่ายโครงการ งานจัดรูปแบบองค์กร และปรับปรุงงานบริหาร งานควบคุมโครงการ / งานเคลม งานให้คาปรึกษา ปัญหาวิศวกรรม / บริหารวิธีการก่อสร้าง การเพิ่มองค์ความรู้ด้านวิศวกรรมและการบริหารโครงการ ทางกลุ่มฯ มีความเห็นร่วมกันว่า การตรวจสอบ-ติดตาม แก้ไข เพิ่มความแข็งแรงให้กับโครงสร้าง ที่จะ ทาร่วมกับ ปตท. ที่ทางกลุ่มฯเสนอนั้น เห็นว่า ปตท. ไม่สามารถดาเนินการได้ และแสดงท่าทีที่เห็นว่า ข้อเสนอดังกล่าวเป็นการเรียกร้องหาประโยชน์ เหมือนการดาเนินการของหลายๆกลุ่ม ในมาบตาพุด ทั้งที่เคยแจ้งให้ทราบแล้วว่า คณะตรวจสอบ-ติดตามฯ ที่จะเข้ามานั้น เป็นวิศวกรโยธาที่ร่วมทางานในการ ก่อสร้างโรงงานต่างๆของ ปตท. เพราะการดาเนินการขณะนั้น ทาภายใต้คาสั่ง ในฐานะพนักงาน ของ ผู้รับเหมาช่วงเท่านั้น ทาตามแบบและมีข้อจากัดในการนาเสนอความเหมาะสมถูกต้องของวิธีการก่อสร้าง แต่ยังคงเห็นว่า การตรวจสอบ-ติดตาม แก้ไข ควรดาเนินการโดย คณะกรรมการฯ ที่ชอบด้วยคาสั่ง นายกรัฐมนตรีที่มีอยู่เดิม คือ การจะนาเสนอเรื่องให้ คณะกรรมการ ๔ ฝ่ายเพื่อแก้ปัญหามาบตาพุด (ภายในวันที่ ๑๙ มกราคม ๒๕๕๓ ตามกรอบเวลางานเอกสารทั่วไป ประมาณ ๒ สัปดาห์จากการ นาเสนอ) และจะสาเนาเรื่องความต้องการให้ตรวจสอบติดตามแก้ไขนี้ ให้กับผู้ประสานงานเครือข่าย สิ่งแวดล้อมฯ เฉพาะที่อ้างอิงถึงเท่านั้น ส่วนปัญหาผลกระทบถึงการรับรู้ของประชาชนนั้น เห็นว่า ทาง ปตท. น่าจะดาเนินการชี้แจงกรณีต่างๆ ได้ เพราะประชาชนส่วนใหญ่ในมาบตาพุด ให้การสนับสนุนงาน ของ ปตท. ซึ่งไม่น่าจะมีผลกระทบมาก การเรียกรับผลประโยชน์ต่างๆ คงจะเกิดขึ้นบ้างตามเหตุปัจจัยของ แต่ละฝ่ายแต่ละกลุ่มที่มีอยู่ แจ้งมาเพื่อทราบว่า ได้มีความพยายามไม่ให้เกิดผลกระทบกับสภาวะงานก่อสร้างต่างๆที่ซบเซาอยูแ่ ล้ว ขณะนี้ แต่เนื่องจากปัญหาข้อจากัด ของ ปตท. และคณะผู้ตรวจสอบติดตามฯ ความพยายามและความ เข้าใจ จึงเดินสวนทางกัน