นโยบายสาธารณะเพื่อการปฏิรูปอุดมศึกษาไทย
เปลี่ยนกระบวนทัศน์ ของอุดมศึกษาไทย ศาสตราจารย์นายแพทย์ วิจารณ์ พานิช
ชุดความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับนโยบายสาธารณะด้านการศึกษา
เปลี่ยนกระบวนทัศน์ ของอุดมศึกษาไทย ศาสตราจารย์นายแพทย์ วิจารณ์ พานิช เลขมาตรฐานสากล 978-974-672-560-6
ที่ปรึกษา ศ.ดร.มิ่งสรรพ์ ขาวสอาด บรรณาธิการ ยุวดี คาดการณ์ไกล สนับสนุนการจัดพิมพ์ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ภายใต้แผนงานสร้างเสริมการเรียนรู้ กับสถาบันอุดมศึกษาไทย เพื่อการพัฒนานโยบายสาธารณะที่ดี (นสธ.) สถาบันศึกษานโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พิมพ์ท ี่ บริษัท แปลน พริ้นติ้ง จำกัด ปก ศรัณย์ ภิญญรัตน์ รูปเล่ม วัฒนสินธุ์ สุวรัตนานนท์, จรูญศักดิ์ สายชู จำนวนพิมพ์ 1,000 เล่ม
ราคา 120 บาท
คำนำ
แผนงานสร้างเสริมการเรียนรู้กับสถาบันอุดมศึกษาไทย เพื่อการ พัฒนานโยบายสาธารณะที่ดี (นสธ.) ได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์ นายแพทย์วิจารณ์ พานิช ปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการ อุดมศึกษาไทย อนุญาตให้ นสธ. คัดเลือกบทความ 8 บท จากเว็บบล็อก Gotoknow.org นำมาจั ด พิ ม พ์ เ ผยแพร่ เ พื่ อ จุ ด ประกายความคิ ด
การปฏิรูปอุดมศึกษาให้กับทุกภาคส่วนในสังคม แม้ ว่ า งานเขี ย นดั ง กล่ า วได้ ถู ก ถ่ า ยทอดออกมาต่ า งวาระผ่ า น
เว็บบล็อกของท่าน แต่เป็นสาระที่เขียนได้อย่างสอดคล้องไปในทิศทาง เดียวกัน นำเสนอได้ตรงประเด็นและให้ขอ้ เท็จจริงทีส่ ะท้อนประเด็นปัญหา ที่เป็นปัจจุบันยิ่ง อีกทั้งยังเปี่ยมด้วยมุมมอง แนวคิด และข้อเสนอแนะ
วิธีการที่เป็นทางออกสำหรับผู้เกี่ยวข้องที่จะนำไปปฏิบัติได้เป็นอย่างดี หนังสือเล่มนี้ ประกอบด้วย สาระที่มุ่งสะท้อนความเร่งด่วนของ ปัญหาอุดมศึกษาไทยที่ทุกฝ่ายในสังคมควรให้ความใส่ใจในการปฏิรูป อีกทั้งยังมุ่งชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องก้าวข้ามแนวคิดการบริหาร จัดการแบบเดิมๆที่เป็นอยู่ และหันมาร่วมกันสร้างกระบวนทัศน์ใหม่ใน วงการอุดมศึกษาไทย อันจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น จึงนับว่าเป็น งานเขียนที่ ใ ห้ คุ ณู ป การยิ่ ง ต่ อ ทิ ศ ทางการเปลี่ ย นแปลงอุ ด มศึ ก ษาไทย
และประการสำคัญ ยังเป็นงานเขียนที่หาได้ยากจากเอกสารตำรา หาก แต่เป็นการกลั่นออกมาจากประสบการณ์อันทรงคุณค่ายิ่งของท่านที่ได้ เข้าไปมีบทบาทต่างๆ ในแวดวงอุดมศึกษาไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน ทำให้เห็นการเชื่อมโยงของประเด็นปัญหาและสังเคราะห์ออกมาเป็น
งานเขียนอย่างทรงพลัง ท้ายนี้ แผนงานนสธ. ภายใต้การสนับสนุนจากสำนักงานกองทุน สนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) ขอขอบพระคุณ ศาสตราจารย์ นายแพทย์วิจารณ์ พานิช และ ผู้จัดการเว็บ Gotoknow.org เป็นอย่าง สูงมา ณ ที่นี้ ที่อนุญาตให้นำบทความมาเผยแพร่ต่อในโอกาสของการ ปฏิรูปประเทศไทยครั้งนี้ โดยแผนงาน นสธ. ในฐานะที่เป็นองค์กรทาง วิชาการด้านนโยบายสาธารณะ จะได้ร่วมมือกับภาคีเครือข่ายสถาบัน อุดมศึกษาไทย จุดประกายความคิด สร้างองค์ความรู้ และขับเคลื่อน สังคมให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการปฏิรูปการศึกษาอย่างจริงจัง คณะทำงานวิชาการ แผนงานสร้างเสริมการเรียนรู้กับสถาบันอุดมศึกษาไทย เพื่อการพัฒนานโยบายสาธารณะที่ดี (นสธ.)
สารบัญ 1. 2. 3. 4. 5. 6. 7. 8. 9.
บทนำ เส้นทางอุดมศึกษาไทย เปลี่ยนกระบวนทัศน์ของอุดมศึกษาไทย มหาวิทยาลัยกับการปฏิรูปประเทศไทย โอกาสทำหน้าที่มหาวิทยาลัยในสังคมใหม่ มหาวิทยาลัยเรียนรู้และวิจัย การใช้กลไกงบประมาณพัฒนามหาวิทยาลัย การจัดการระบบอุดมศึกษาไทยแบบเคออร์คิด การกำกับดูแลระบบอุดมศึกษาไทยแบบเคออร์คิด
7 15 29 45 51 55 59 63 71
1
บทนำ
1
หนังสือ “เปลี่ยนกระบวนทัศน์ของอุดมศึกษา” เล่มนี้ เป็นหนังสือที่ เกิ ด จากการรวบรวมบั น ทึ ก ที่ ผ มเขี ย นและเผยแพร่ ใ นเว็ บ บล็ อ ก Gotoknow.org แล้วคุณยุวดี คาดการณ์ไกล ได้อ่านแล้วชอบบางบันทึก และเห็นว่าสามารถรวบรวมจัดทำเป็นหนังสือเชิงนโยบายสาธารณะได้ จึงได้ เสนอขออนุญาตจัดพิมพ์จากผม ซึ่งผมก็ยินดียิ่ง เพราะจะได้เป็นประโยชน์ ในการเผยแพร่ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น เพราะเรื่องของอุดมศึกษาเป็นเรื่องที่มี พลวัตสูงมาก ต้องการการถกเถียงตีความทำความเข้าใจในบริบทใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา แต่ธรรมชาติของการเขียนบทความในบล็อกแล้วรวบรวมเป็นหนังสือ ย่อมได้หนังสือที่มีข้อจำกัดอยู่ในตัว เพราะข้อเขียนเหล่านั้นเขียนขึ้นใน ต่างเวลา และต่างบริบท ภายใต้แรงบันดาลใจหรือความสะเทือนใจของ ผู้เขียนที่แตกต่างกัน ทำให้แต่ละส่วนของหนังสือมีความแตกต่างกันใน บริบท ดังนั้นเมื่ออ่านหนังสือเล่มนี้จะมีลักษณะกระโดด ไม่ค่อยติดต่อกัน หรือบางตอนข้อความหรือรายละเอียดอาจล้าสมัยไปบ้าง เพราะเขียน
ขึ้ น ตามความเป็ น จริ ง ในเวลานั้ น แต่ ข ณะนี้ เ หตุ ก ารณ์ ไ ด้ ผ่ า นมาแล้ ว
2-3 ปี / นโยบายสาธารณะเพื่อการปฏิรูปอุดมศึกษาไทย
นอกจากนั้นสไตล์การเขียนบันทึกในบล็อกเป็นการเขียนแบบสบายๆ ไม่เป็นทางการเน้นใช้ภาษาพูดหรือภาษาตวามคิดไม่ใช่ภาษาทางการ
ดังนั้นจึงต้องขออภัยที่มีภาษาดิบๆ หรือไม่สละสลวยปรากฏอยู่ แต่สาระหลักของ “การเปลี่ยนกระบวนทัศน์” ของอุดมศึกษา ใน หนังสือเล่มนี้เป็นเอกภาพอย่างยิ่ง และยังคงทันสมัย สังคมไทยยังคง ต้องการการเปลี่ยนกระบวนทัศน์ของอุดมศึกษาตามที่นำเสนอในหนังสือ เล่มนี้ และการเปลี่ยนกระบวนทัศน์นี้จะต้องมาจากการลงมือทำของ
คนไทยทั้งประเทศ จึงจะบรรลุผลได้ การรวบรวมข้อเขียนชุดนี้จัดทำเป็น หนังสือออกเผยแพร่อย่างกว้างขวาง จึงมีคุณูปการยิ่งต่อสังคมไทยใน ด้านการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงนโยบายสาธารณะด้านอุดมศึกษา
ซึ่งจะเชื่อมโยงกับนโยบายสาธารณะด้านอื่นๆ ทุกด้าน โดยสาระหลักของการเปลี่ยนกระบวนทัศน์ของอุดมศึกษาที่เสนอใน หนังสือเล่มนี้ได้แก่ • กระบวนทัศน์เชิงวิทยาทานกับกระบวนทัศน์เชิงธุรกิจ จะ นำมาซึ่ ง กระบวนทั ศ น์ ข องความสั ม พั น ธ์ แ นวผู้ ใ ห้ บ ริ ก าร-
ผู้บริโภค และจะต้องมีกลไกคุ้มครองผู้บริโภคและเพื่อให้สังคม ไทยเข้ า สู่ โ ลกาภิ วั ต น์ ข องระบบตลาดและทุ น นิ ย มได้ อ ย่ า ง
เข้มแข็ง เราจะต้องมีกระบวนทัศน์ด้านการจัดการทรัพย์สิน
ทางปัญญาของประเทศ ในรูปแบบที่สร้างความเข้มแข็งให้แก่ ประเทศไทย ไม่ ใ ช่ ก ระบวนทั ศ น์ ที่ ท ำให้ ร ะบบทรั พ ย์ สิ น ทาง ปั ญ ญาของประเทศไทยเน้ น การตอบสนองข้ อ เรี ย กร้ อ งของ ประเทศมหาอำนาจอย่างทีเ่ ป็นอยูใ่ นปัจจุบนั ซึง่ เน้นผลประโยชน์ ศาสตราจารย์นายแพทย์ วิจารณ์ พานิช /
ของต่างชาติ รายละเอียดของกระบวนทัศน์เรื่องทรัพย์สินทาง ปัญญานี้ ไม่ได้รวมอยู่ในหนังสือเล่มนี้ • กระบวนทัศน์ของการกำกับดูแลสถาบันอุดมศึกษาและการ กำกั บ ดู แ ลระบบอุ ด มศึ ก ษา ที่ จ ะต้ อ งเปลี่ ย นจากเน้ น การ ควบคุมสั่งการเพียงอย่างเดียว มาเน้นการดำเนินการสื่อสาร กับระบบกำกับดูแลทางอ้อม ที่มีอิทธิพลต่อระบบอุดมศึกษา สูงกว่าระบบกำกับดูแลโดยตรง (กกอ./สกอ.) ให้มีการทำงาน ประสานกันในการขับเคลื่อนอุดมศึกษาของประเทศไทยไปใน ทิ ศ ทางที่ พึ ง ประสงค์ และที่ อ าจจะสำคั ญ ยิ่ ง กว่ า นั้ น คื อ กระบวนทัศน์ของการกำกับดูแลโดยสังคม โดยที่ ก ลไก กำกับดูแลที่เป็นทางการ (กกอ./ สกอ.) สร้างสารสนเทศเพื่อ สื่อสารสู่สังคม ให้สังคมรับรู้และมีส่วนกำกับดูแลพฤติกรรมของ สถาบันอุดมศึกษา การกำกับดูแลสถาบันอุดมศึกษาจึงจะได้
ผลจริง และยังเปิดช่องให้สถาบันอุดมศึกษาใช้ความสร้างสรรค์ ของตนเองได้ เ พิ่ ม ขึ้ น ด้ ว ย กระบวนทั ศ น์ นี้ ต รงกั น ข้ า มกั บ กระบวนทัศน์ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ที่เน้นการออกกฎระเบียบที่ ค่อนข้างตายตัว • กระบวนทั ศ น์ ที่ อุ ด มศึ ก ษามี ค วามภาคภู มิ ใ จหรื อ ดำรง ความเป็นเลิศอยู่กับการแยกตัวหรือลอยตัวเหนือสังคม จะ ต้ อ งเปลี่ ย นไปเป็ น กระบวนทั ศ น์ ที่ อุ ด มศึ ก ษาสร้ า งและดำรง ความเป็นเลิศทางวิชาการจากการแนบชิดเป็นเนื้อเดียวกันกับ สังคมไทย 10 / นโยบายสาธารณะเพื่อการปฏิรูปอุดมศึกษาไทย
• กระบวนทั ศ น์ เ ชิ ง ระบบที่ จ ะต้ อ งเปลี่ ย นจาก simple & linear เป็น complex & adaptive อันจะนำไปสู่วิธีการกำกับ ดูแล และการบริหารจัดการแบบ เคออร์ดิค เปลี่ยนจากวิธีการ แบบเน้นควบคุมสั่งการ (command & control) ที่ใช้กันอยู่ใน ปัจจุบัน ประเด็นที่เป็นหัวใจของอุดมศึกษาไทยคือ ที่ผ่านมาเราสร้างระบบ อุดมศึกษาของเราแบบลอกมาจากตะวันตก ใช้กระบวนทัศน์แบบตะวันตก แปลงเข้าสู่การประยุกต์ใช้แบบไทยๆ ทำให้ระบบอุดมศึกษามีกลไกยึดโยง กับนานาชาติ หรือมีความเป็นสากลสูง ถือการยึดโยงกับสากลเป็นของสูง แต่มีความเชื่อมโยงกับสังคมไทยต่ำ ถือการเชื่อมโยงและสอดคล้องกับ สังคมไทยเป็นของไม่สูง ไม่น่าภาคภูมิใจ นี่คือกระบวนทัศน์ที่สำคัญที่สุด เป็นหัวใจที่สุด ที่เรายังไม่ได้จับดำเนินการกันอย่างจริงจัง และที่ผ่านมา ความพยายามสร้ า งความเชื่ อ มโยงระหว่ า งอุ ด มศึ ก ษากั บ สั ง คมไทย ประสบความสำเร็จแบบผิวเผิน เพราะกระบวนทัศน์บูชาสากลไม่ยึดถือ กระบวนทัศน์บูชาสังคมไทยซึ่งเป็นตัวอุปสรรค บัดนี้ เราทั้งโชคร้ายและโชคดี (เป็นทั้งวิกฤตและโอกาส) ที่สังคมไทย ส่ออาการแตกแยกร้าวลึก อาจนำไปสู่สงครามกลางเมือง หรืออาจนำไป สู่การปฏิรูปสังคมไทยอย่างขนานใหญ่ ไปสู่ภพภูมิใหม่ รวมทั้งมีโอกาส ปฏิรูประบบอุดมศึกษาในระดับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ได้สำเร็จ คือเปลี่ยน จากบูชาสากล สู่บูชาสังคมไทย ให้เป็นที่เชื่อมั่นและประจักษ์ว่า การทำงาน วิชาการรับใช้และสร้างสรรค์สังคมคือหนทางแห่งความเป็นเลิศของสถาบัน อุดมศึกษา ผมได้เขียนบันทึกชุดนี้ไว้ที่ http://gotoknow.org/post/tag/ วิชาการสายรับใช้สังคมไทย โดยผมได้เสนอให้ใช้เวลา 10 ปีร่วมกันมุ่งมั่น
ศาสตราจารย์นายแพทย์ วิจารณ์ พานิช / 11
เปลี่ยนกระบวนทัศน์ของอุดมศึกษาให้หันมาบูชาให้คุณค่าการทำงานรับใช้ สังคมไทยและสร้างสรรค์ความเป็นเลิศทางวิชาการจากการทำงานรับใช้ สังคมไทย ที่จริงกระบวนทัศน์ทางการศึกษาภาพใหญ่ของโลกก็กำลังเปลี่ยน คือเปลี่ยนจากเน้นการเรียนผ่านการจดจำทำความเข้าใจทฤษฎีเป็นหลัก มาให้ความสำคัญการเรียนจากการปฏิบัติมากขึ้น โดยที่การเรียนจากการ ปฏิบัตินั้นไม่ใช่แค่จะทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ psychomotor domain เท่านั้น แต่จะทำให้เกิดการเรียนรู้ที่ลึกใน cognitive domain และที่ สำคัญที่สุดเกิด affective domain คือมีความรักหรือฉันทะในวิชาความรู้ นั้น เพราะมีความสนุกตอนเรียน ท่านที่สนใจการเปลี่ยนกระบวนทัศน์ข้อนี้ อ่านและค้นคว้าต่อได้จากบทบรรณาธิการในวารสาร Science ฉบับวันที่ 30 กรกฎาคม 2553 ได้ที่ http://www.sciencemag.org/cgi/content/ summary/329/5991/491 การเขียนบันทึกในบล็อกของผมเน้นเขียนเพื่อฝึกฝนตนเอง เน้น บันทึกความคิดสร้างสรรค์ และผมตีความคำว่า “สร้างสรรค์” ว่าผิดมาก กว่ า ถู ก หรื อ ไม่ รั บ รองว่ า จะเป็ น ความคิ ด ที่ ถู ก หรื อ ผิ ด ท่ า นผู้ อ่ า นพึ ง ตระหนักในเจตนารมณ์ดั้งเดิมของข้อเขียนเหล่านี้ด้วย โดยพึงอ่านอย่างมี วิจารณญาณ อย่าอ่านเพื่อเชื่อ นอกจากนั้น แม้จะพยายามไม่เอ่ยถึงตัวบุคคลหรือหน่วยงานใน ลักษณะที่ก่อความเสียหาย แต่ก็อาจมีเอ่ยถึงอยู่บ้างโดยไม่ได้มีเจตนา กล่าวร้าย แต่มีเจตนาบันทึกความจริง แต่ความจริงเหล่านั้นมันเปลี่ยนไป ตามเวลา ข้อบกพร่องบางเรื่องที่เอ่ยถึงในบันทึก เป็นเรื่องที่เชื่อว่าเป็น จริงในตอนที่บันทึกนั้น แต่เวลานี้อาจเปลี่ยนแปลงไปแล้ว (อาจดีขึ้นหรือ 12 / นโยบายสาธารณะเพื่อการปฏิรูปอุดมศึกษาไทย
เลวลงก็ได้) ท่านผู้อ่านพึงตระหนักในสัจธรรมด้านการเปลี่ยนแปลงเป็น พลวัตของสรรพสิ่ง ข้อพึงสังวรณ์ประการสุดท้าย คือการใช้กระบวนทัศน์สู่การปฏิบัตใิ น ชีวิตจริงของการทำงาน ผมเชื่อว่า (ไม่ทราบว่าเชื่อถูกหรือผิด) ส่วนใหญ่ ต้องใช้หลายกระบวนทัศน์ประกอบกัน คือไม่ใช้แนวทาง all or none ไม่มองกระบวนทัศน์ที่ต่างเป็นขั้วตรงกันข้ามเป็นศัตรูคู่ต่อสู้ แต่มองหา โอกาสมองเป็นสัดส่วน ว่าจะใช้กระบวนทัศน์แบบหนึ่งในสัดส่วนร้อยละ 20 และใช้กระบวนทัศน์ที่เป็นเสมือนคู่ตรงกันข้ามร้อยละ 80 ซึ่งเท่ากับมี กระบวนทัศน์เกี่ยวกับกระบวนทัศน์อีกชั้นหนึ่ง กระบวนทัศน์ตามในย่อหน้า นี้คือกระบวนทัศน์ของการมองสรรพสิ่งว่ามีความซับซ้อนและปรับตัวอยู่ ตลอดเวลา (complex adaptive systems) ไม่มองว่าเป็นสภาพที่ เปลี่ยนแปลงเป็นเส้นตรงและมีระนาบเดียว
ศาสตราจารย์นายแพทย์ วิจารณ์ พานิช / 13
2
เส้นทาง อุดมศึกษา ไทย
2
เมื่อวันที่ 18 ก.ค.52 มีการเฉลิมฉลองอายุครบ 72 ปีของปราชญ์ ท่านหนึ่งของไทยคือ ศ.ดร.เจตนา นาควัชระ ผมได้รับเกียรติชักชวนให้ ร่วมเขียน Think paper ลงหนังสือ “ลบเส้นพรมแดนแห่งศิลปะ” เพื่อ ร่วมแสดงมุทิตาจิตแก่ท่านและยิ่งกว่านั้น ผมถือเป็นการบูชาครูเพราะผม ยึดถือ ศ.ดร.เจตนา นาควัชระ เสมือนเป็นครูคนหนึ่งของผม ที่ผมเรียน “วิชาคิดอย่างลึกซึ้งและเชื่อมโยง” กับท่านมา 16 ปีแล้ว แม้ว่าจะยังไม่ ค่อยถึงไหนแต่ผมก็ได้รับประโยชน์มาก จึงนำข้อเขียนของผมมาเผยแพร่
1. จากวิทยาทานสู่ธุรกิจ : บนเส้นทางอุดมศึกษาไทย
อุดมคติของเส้นทางอุดมศึกษาไทยน่าจะอยู่ที่การทำหน้าที่เป็นพลัง ขับเคลือ่ นสังคมด้านสติปญ ั ญา และในขณะเดียวกัน ก็ทำหน้าทีต่ อบสนอง ความต้องการของสังคมด้วยโดยที่ในการทำหน้าที่ดังกล่าว อุดมศึกษา ควรยึดหลัก คุณภาพ ประสิทธิผล และประสิทธิภาพ และในขณะเดียวกัน สถาบันอุดมศึกษาก็ต้องอยู่รอดและอยู่ดีพอสมควรมีทรัพยากรให้ใช้จ่าย เพื่อการทำหน้าที่ของสถาบันอุดมศึกษาตามอุดมคตินั้น เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2551 ผมได้รับเชิญให้ไปกล่าวปาฐกถานำ เรื่อง “จากวิทยาทานสู่ธุรกิจ: เส้นทางอุดมศึกษาไทย?” ในการประชุมที่ 16 / นโยบายสาธารณะเพื่อการปฏิรูปอุดมศึกษาไทย
เราเรียกกันด้วยชื่อไม่เป็นทางการว่า ศาสตราจารย์สโมสร หรือชื่อจริงว่า “วัฒนธรรมทางวิชาการของอุดมศึกษาไทย” ที่มี ศ.ดร.เจตนา นาควัชระ เป็นประธานจัดการประชุม หลังจากนั้นเป็นการอภิปรายในหัวข้อเดียวกัน โดยผู้ร่วมอภิปราย 3 ท่าน คือ ศ.ดร.คุณหญิงสุชาดา กีระนันทน์, รศ. ดร.จีรเดช อู่สวัสดิ์ และรศ.ดร.ปรีชา จรุงกิจอนันต์ ผมได้บันทึกการ เสวนานี้ไว้ที่ http://gotoknow.org/blog/thaikm/187682 เป็นที่เห็นพ้องกันว่าอุดมศึกษาไทยในปัจจุบันเป็นทั้งเทพยดาและ ซาตานในเวลาเดียวกัน หลายๆ ภาคของอุดมศึกษาเป็นเทพยดาที่โปรย วิทยาทานให้แก่ผู้คน ในขณะเดียวกันก็มีอีกหลายภาคของอุดมศึกษาที่มี ภาพของ “ผีห่าซาตาน” สูบเลือดคน ผ่านธุรกิจอุดมศึกษาที่เป็นธุรกิจที่ ให้บริการที่ด้อยคุณภาพ ไร้ความรับผิดชอบชักจูงโดยความโลภ โดยมัก สมรู้ร่วมคิดกันหลายฝ่ายเปิดหลักสูตรพิเศษที่ขาดกลไกควบคุมคุณภาพ เข้าหลักการ 3 ง่าย คือ เข้าง่าย เรียนง่าย จบง่าย มีผู้ยืนยันว่าเคยเห็น ประกาศโฆษณาหลักสูตรในหนังสือพิมพ์ว่า “จ่ายครบ จบแน่” ผมขอนำเอาสาระที่ได้จากการเสวนาเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2552 มาขยายความด้วยความเห็นของตนเอง จัดทำเป็นข้อเขียนร่วมเฉลิม ฉลองวาระที่ ศ.ดร.เจตนา นาควัชระ มีอายุครบ 6 รอบนักษัตร
2. การศึกษาเป็นวิทยาทานดีจริงหรือ คำตอบคือมีทั้งข้อดีและข้อเสียในสมัยโบราณวัฒนธรรมไทยถือว่า การศึกษาเป็นวิทยาทานทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างครูกับศิษย์เป็นความ สัมพันธ์ที่บริสุทธิ์นำด้วยความรักความเมตตาและความเคารพครูกับศิษย์ จะมีความผูกพันกันตลอดชีวิต ศาสตราจารย์นายแพทย์ วิจารณ์ พานิช / 17
แต่ก็ไม่ใช่จะ “ให้ทาน” กันง่ายๆ มีการหวงวิชามีการเลือกศิษย์ มี การบอกไม่ ห มด เป็ น ที่ รู้ กั น ว่ า ก่ อ นยุ ค ฟื้ น ฟู ศิ ล ปะวิ ท ยาของตะวั น ตก ประเทศจีน มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีหลายด้านล้ำหน้าประเทศ ตะวันตก กองเรือเดินสมุทรของจีนยิ่งใหญ่กว่าของประเทศตะวันตก หลายเท่า กองเรือจีนที่มีเจิ้งเหอเป็นแม่ทัพเดินทางไปถึงชายฝั่งอัฟริกา
แต่เพราะจีนจัดการทรัพย์สินทางปัญญา โดยเน้นการปกปิดไม่เน้นการ เปิดเผยและจัดระบบสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา ความก้าวหน้าทางศิลปะ วิทยาของจีนจึงหยุดชะงัก ในขณะที่ตะวันตกใช้วิธีการทางธุรกิจ คือจด ทะเบียนสิทธิโดยการเปิดเผยความรู้ ผู้นำความรู้ไปใช้ประโยชน์ทางการค้า ต้องจ่ายค่าความรู้นั้น ศิลปะวิทยาจึงก้าวหน้ากว่า เพราะสังคมตะวันออกมองวิชาความรู้เป็นวิทยาทาน สังคมจึงขาด ระบบจัดการวิชาความรู้ เพื่อกระตุ้นการสร้างวิชาความรู้อย่างเป็นระบบ และต่อเนื่อง ในขณะที่สังคมตะวันตกมองวิชาความรู้ว่ามีค่าทางผลประโยชน์ ผู้ที่เป็นผู้สร้างหรือค้นพบความรู้ต้องได้รับผลประโยชน์ตอบแทน โดย สังคมจัดระบบผลประโยชน์ตอบแทน 2 แบบ แบบแรกเป็นชื่อเสียงการ ยอมรับนับถือ โดยการเปิดเผยหรือเผยแพร่ความรู้นั้นผ่านการตีพิมพ์เผยแพร่ แบบที่สองเป็นสิทธิทางปัญญาที่จะได้รับค่าตอบแทนจากผู้เอาไปใช้ประโยชน์ ทางธุรกิจ ซึ่งก็จะต้องเริ่มจากการเปิดเผยความรู้หรือเทคนิคนั้น ผ่านการ จดทะเบี ย นทรั พ ย์ สิ น ทางปั ญ ญา (http://en.wikipedia.org/wiki/ Intellectual_property) จะเห็นว่าสังคมตะวันตกมีการจัดระเบียบความรู้ ผ่าน 2 ระบบ คือระบบการตีพิมพ์เผยแพร่ผ่านวารสารวิชาการ หรือผ่าน หนั ง สื อ วิ ช าการ กั บ ระบบเผยแพร่ ผ่ า นทะเบี ย นทรั พ ย์ สิ น ทางปั ญ ญา 18 / นโยบายสาธารณะเพื่อการปฏิรูปอุดมศึกษาไทย
ทั้งหมดนี้เป้าหมายอยู่ที่การชักจูงบุคคลผู้มีความรู้ให้เปิดเผยความรู้นั้นให้ เป็นสมบัติของสังคม แต่ตนเองก็ยังดำรงความเป็นเจ้าของความรู้นั้น สังคมตะวั นออกเลือ กใช้ แนวคิ ดวิ ทยาทาน จึง ไม่ มีก ารจัด ระบบ ความรู้เพื่อการต่อยอด การต่อยอดความรู้อย่างเป็นระบบจึงเกิดขึ้นเฉพาะใน สังคมตะวันตก สังคมไทยยังขาดวัฒนธรรมของการจัดระบบความรู้และ การจัดระบบเพื่อการต่อยอดความรู้ มาจนถึงปัจจุบัน จะเห็นว่า คำว่า “การศึกษาเป็นวิทยาทาน” เป็นคำพูดหลวมๆ มองว่า ความรู้เป็นสิ่งที่ให้กันแบบไม่เรียกร้องค่าตอบแทน รังเกียจการตอบแทนครู ด้วยเงิน หรือมองว่าครูสูงส่งเกินกว่าที่จะตอบแทนด้วยเงินหรือสินจ้าง รางวัล ในวัฒนธรรมเช่นนี้ การปกปิดความรู้ และไม่เอาใจใส่การจัดระบบ ความรู้ จึงตามมา นำไปสู่สภาพขาดการต่อยอดความรู้ ในยุคที่การศึกษาเป็นวิทยาทาน ความรู้ถือเป็นของสูง เป็นสิ่งที่ต้อง เคารพบูชา การไม่เชื่อตามครูหรือหักล้างความรู้ของครูถือเป็น “ศิษย์คิด ล้างครู” ถือเป็นบาป สภาพเช่นนี้ทำให้ความรู้หยุดนิ่งไม่ต่อยอด ไม่ งอกงาม การศึกษาจะเป็นวิทยาทานได้ ผู้เป็นครูต้องมีรายได้เพียงพอต่อการ ดำรงชีพอย่างสุขสบาย ซึ่งในสมัยโบราณ นักปราชญ์ราชบัณฑิต จะได้ รับการอุปถัมภ์จากเจ้าผู้ครองนครหรือเป็นพระ ได้รับการอุปถัมภ์จาก
ชาวบ้านและคหบดี การศึกษาที่จัดเป็นวิทยาทานจากรัฐ จริงๆ แล้วมาจากภาษีของ ชาวบ้านไม่ใช่ทานที่หลั่งจากฟ้าและในความเป็นจริงจะมีผู้แอบอ้างว่าตน เป็นผู้อุปถัมภ์ ดังเห็นจากนโยบายของรัฐบาลประชานิยม จึงเห็นได้ว่า ศาสตราจารย์นายแพทย์ วิจารณ์ พานิช / 19
ในความเป็นจริงค่าใช้จ่ายในการศึกษาของประชาชนมาจากประชาชน เอง ไม่ทางตรงก็ทางอ้อม ไม่ใช่ทานหรือของฟรีที่หยิบยื่นโดยผู้อื่น
3. การศึกษาเป็นธุรกิจ เป็นความชั่วร้ายหรือไม่
คงต้องทำความเข้าใจเสียก่อน ว่า “ธุรกิจ” ในที่นี้หมายความว่า อย่างไร ผมขอนิยามเอาเองว่าหมายถึงการทำกิจกรรมหรือการลงทุน เพื่อหวังผลกำไร และเอาผลกำไรไปแบ่งกันในหมู่ผู้ร่วมลงทุน ในสหรัฐ อเมริกา ที่มี private university ดาดดื่นและเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำของ โลก แม้มหาวิทยาลัยเหล่านี้มีการบริหารงานแบบธุรกิจ แต่มหาวิทยาลัย เหล่านี้ไม่ใช่ธุรกิจ เพราะไม่ได้หวังสร้างผลกำไรเอาไปแบ่งให้ผู้ถือหุ้น และจริงๆ แล้วไม่มีผู้ถือหุ้น ผู้เป็นเจ้าของมหาวิทยาลัยคือองค์กรสาธารณะ เช่น องค์กรศาสนา หรือมูลนิธิ เป้าหมายหลักของมหาวิทยาลัยเอกชน เหล่านี้คือการทำงานสร้างสรรค์วิชาการ สร้างคน ให้แก่สังคม มหาวิทยาลัยไทย มีทั้งมหาวิทยาลัยของรัฐและมหาวิทยาลัยเอกชน มหาวิทยาลัยเอกชนก็มีทั้งที่มีเอกชนเป็นเจ้าของ และที่มูลนิธิเป็นเจ้าของ ที่มีเอกชนเป็นเจ้าของ กำไรก็เข้ากระเป๋าเจ้าของหรือผู้ถือหุ้น จึงถือเป็น ธุรกิจอย่างแน่นอน มหาวิทยาลัยของรัฐ ก็เรียนรู้วิชาผู้ประกอบการอย่างรวดเร็วเมื่อ มี โอกาสก็เปิดหลักสูตรพิเศษที่คิดค่าเล่าเรียนแพง มีค่าตอบแทนผู้สอนและ ผู้บริหารในอัตราสูง ส่วนหนึ่งให้การศึกษาคุณภาพสูง มีการจัดการอย่าง เป็นระบบที่ยุติธรรมและเปิดเผยตรวจสอบได้ อย่างนี้น่าจะถือเป็นธุรกิจ การศึ ก ษาที่ มี ค วามรั บ ผิ ด ชอบต่ อ สั ง คม ไม่ น่ า จะถื อ ว่ า เป็ น ธุ ร กิ จ ที่ ไ ม่ เหมาะสม 20 / นโยบายสาธารณะเพื่อการปฏิรูปอุดมศึกษาไทย
ไม่ว่ามหาวิทยาลัยของรัฐหรือของเอกชน ที่ฉวยโอกาสตอบสนอง ความต้องการฐานานุภาพ (ปริญญา) ของผู้คนในสังคม เปิดหลักสูตร พิเศษที่ค่าเล่าเรียนแพง บริการแบบเอาใจ นักศึกษาไม่อยากเรียนหนัก ก็ ผ่อนให้เรียนเบาๆ นักศึกษาอยากสอบผ่านแบบไม่ยาก ก็จัดสอบแบบ เอาใจ มี ก ารจั ด กระบวนการเรี ย นรู้ แ ละการทดสอบแบบอลุ้ ม อล่ ว ย
โดยที่บางกรณี หลักสูตรนั้นเกิดจากการคบคิดกันของผู้มีอิทธิพลในพื้นที่ หรื อ ในบ้ า นเมื อ งกั บ ผู้ บ ริ ห ารมหาวิ ท ยาลั ย และหรื อ คณาจารย์ ที่ ส ม ประโยชน์กัน แลกเปลี่ยนปริญญากับผลประโยชน์เป็นเงิน อย่างนี้เป็น ความชั่วร้ายหรือไม่ ความชั่ ว ร้ า ยของการเปิ ด หลั ก สู ต รคุ ณ ภาพต่ ำ หลบเลี่ ย งเกณฑ์ มาตรฐานคุณภาพ คือผลกระทบด้านลบหรือผลเสียหายต่อสังคม ซึ่งน่า จะมีผลร้ายดังต่อไปนี้ 1. ชั ก นำความโลภเข้ า ไปปกคลุ ม หรื อ บ่ อ นเซาะมหาวิ ท ยาลั ย ความโลภมันไม่ทำลายมหาวิทยาลัยแบบเห็นชัด แต่มันจะค่อยๆ กัดกร่อน ทำลายกลไกความเข้มแข็งและความดีงามทุกด้านของ มหาวิทยาลัย ให้ไม่สามารถทำหน้าที่ที่ถูกต้องของความเป็น มหาวิทยาลัยได้ 2. เกิดการสร้างระบบการจัดการและการกำกับดูแล ที่อาจเรียกได้ ว่า “ระบบที่เลวร้าย” (corrupted systems) คือแทนที่จะเป็น ระบบเพื่อผลประโยชน์ของสังคม ก็จะเป็นระบบเพื่อผลประโยชน์ ของสถาบันนั้นเท่านั้น หรือร้ายยิ่งกว่านั้น เพื่อผลประโยชน์ของ คนเพียงบางกลุ่ม ที่ยึดอำนาจภายในสถาบันนั้นได้ ผมมีความ เห็ น ว่ า ในปั จ จุ บั น สถาบั น อุ ด มศึ ก ษาไทยทุ ก แห่ ง แปดเปื้ อ น ศาสตราจารย์นายแพทย์ วิจารณ์ พานิช / 21
มลภาวะนี้ แต่ ม หาวิ ท ยาลั ย ชั้ น นำของเราแปดเปื้ อ นไม่ ม าก และกำลั ง เดิ น ไปในทางที่ แ ปดเปื้ อ นน้ อ ยลง แต่ ก็ มี อี ก หลาย มหาวิทยาลัยที่ดูเสมือนกำลังเดินไปสู่สภาพ “มหาวิทยาลัยที่
ไร้ความรับผิดชอบต่อสังคม” สมบูรณ์แบบ ผมภาวนาให้ความ
เข้าใจข้อนี้ของผมผิดพลาด ไม่เป็นความจริง 3. เกิดสภาพที่ผู้มีอำนาจในมหาวิทยาลัย สมคบกับผู้มีอำนาจใน บ้านเมือง (ซึ่งอาจเป็นผู้มีอำนาจระดับชาติ หรือระดับท้องถิ่น) ร่วมกันผลักดันให้มีหลักสูตรการศึกษาที่มีคุณภาพตามเกณฑ์ ในลักษณะที่คุณภาพอยู่ในแผ่นกระดาษ ไม่ได้อยู่ในการปฏิบัติ เกิดหลักสูตรด้อยคุณภาพที่เห็นกันโจ่งแจ้ง เกิดพฤติกรรมการ จ้างทำวิทยานิพนธ์ ที่อาจารย์ในมหาวิทยาลัยนั้นเองอาจเป็น ผู้รับจ้าง สินจ้างอาจเป็นเงินหรืออย่างอื่น ความสัมพันธ์ระหว่าง อาจารย์กบั ศิษย์บดิ เบีย้ วไปหมด ความเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย ก็ บิ ด เบี้ ย ว แทนที่ จ ะเข้ า มาเป็ น อาจารย์ เ พื่ อ ดำเนิ น ชี วิ ต ของ
นักวิชาการ (scholar) กลายเป็นเข้ามาเป็นอาจารย์เพื่อเป็น บันไดสูอ่ ำนาจการเมือง หรืออำนาจอืน่ ทีไ่ ม่ใช่วชิ าการ คนเหล่านี้ จะทำลายวัฒนธรรม หรือกฎเกณฑ์กติกาที่ส่งเสริมวิชาการไม่ ทางตรงก็ทางอ้อม 4. เป็นการซ้ำเติมสังคมไทย ที่เป็นสังคมบ้ายศบ้าปริญญาอยู่แล้ว ให้รุนแรงยิ่งขึ้น โดยการเข้าไปเป็นแนวร่วมและแสวงประโยชน์ จากการสนองตัณหานั้น ในกรณีเช่นนี้ มหาวิทยาลัยไม่ได้ทำ หน้าที่เตือนสติสังคม กลับยุให้เสียสติเพื่อแสวงประโยชน์ให้แก่ ตนเอง 22 / นโยบายสาธารณะเพื่อการปฏิรูปอุดมศึกษาไทย
5. มหาวิทยาลัยที่ตกอยู่ในสภาพนี้จะไม่ได้ทำหน้าที่ทำนุบำรุงศิลปะ (วิ ท ยา) และวั ฒ นธรรม ไม่ มี ก ารสร้ า งวั ฒ นธรรมเพื่ อ การ สร้างสรรค์สิ่งนี้ มีแต่การสร้างวัฒนธรรมที่ทำลายกระบวนการ ทางปัญญา (anti-intellectual) ธุรกิจดีๆ ที่รับผิดชอบต่อสังคม
มี อ ยู่ และมี ก ติ ก าของธุ ร กิ จ ที่ รั บ ผิ ด ชอบต่ อ สั ง คม (http:// en.wikipedia.org/wiki/Corporate_social_responsibility) และการที่มหาวิทยาลัยมีการดำเนินการแบบธุรกิจก็ไม่น่าจะเป็นข้อ เสียหาย หากดำเนินการอย่างรับผิดชอบต่อสังคม มีความโปร่งใสเปิดเผย ข้อมูลให้สังคมตรวจสอบได้ และมีกลไกจัดการระบบกำกับดูแลระบบที่ เข้มแข็ง
4. การบริหารและกำกับดูแลสถาบันอุดมศึกษา สถาบันอุดมศึกษาทำหน้าที่สำคัญคือ หล่อหลอมคน ที่จะเป็นผู้นำ ของสั ง คมในอนาคต ดั ง นั้ น หากมี ค วามชั่ ว ร้ า ยในด้ า นแสวงหาผล ประโยชน์โดยมิชอบโดยการจัดการศึกษาแบบหวังผลประโยชน์เป็นหลัก ไม่เอาใจใส่คุณภาพที่เกิดขึ้นก็จะเกิดผลร้ายต่อสังคมในระยะยาว เพราะ ความชั่วร้ายด้านผลประโยชน์และความไม่ละอายต่อบาปจะได้รับการ ปลูกฝังเข้าไปในลูกศิษย์ และเผยแพร่เข้าไปในสังคมวงกว้าง กลไกป้องกันไม่ให้เกิดสภาพชัว่ ร้ายนี้ ได้แก่ การบริหารทีม่ คี ณ ุ ธรรม โดยมีระบบกำกับดูแล (Governance) คือสภามหาวิทยาลัยคอยกำกับ ดู แ ลอี ก ชั้ น หนึ่ ง หากระบบบริ ห ารงานและระบบกำกั บ ดู แ ลเข้ ม แข็ ง บริหารอย่างมีสมรรถนะ และกำกับดูแลอย่างมีหลักการและเอาจริงเอาจัง สภาพการจัดการศึกษาแบบไม่รับผิดชอบต่อคุณภาพจะไม่เกิดขึ้น ศาสตราจารย์นายแพทย์ วิจารณ์ พานิช / 23
การมีสภาพชั่วร้ายอยู่ในสถาบันอุดมศึกษา สะท้อนภาพความล้มเหลว ของการบริหาร และกำกับดูแลระบบอุดมศึกษา ที่สังคมไทยกำลังเผชิญอยู่ เกิดคำถามว่า ยุทธศาสตร์และมาตรการการบริหารระบบ และการกำกับ ดูแลระบบอย่างที่ใช้อยู่ เป็นยุทธศาสตร์และมาตรการที่ถูกต้องหรือไม่ ผมเองมีความเห็นส่วนตัวว่า วิธีการบริหารและกำกับดูแลระบบที่ใช้ อยู่ในปัจจุบันไม่ได้ผล น่าจะเป็นเพราะเป็นวิธีการใช้อำนาจของรัฐเน้น การออกกฎระเบียบ ที่เมื่อออกไปแล้วก็ไม่มีทางบังคับใช้ให้เกิดผลได้จริง (enforcement) ผมมีความเห็นว่าแนวทางที่ใช้กันอยู่เป็นแนวทางที่ล้าสมัย และไม่มีทางได้ผล แนวทางที่น่าจะเหมาะสมกว่าคือ แนวทางที่กลไกภาครัฐ ร่วมมือกับภาคประชาชนหรือภาคสังคม ร่วมมือกันกำกับดูแลด้วยการทำ วิจัยเชิงระบบ และเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับคุณภาพของแต่ละสถาบันให้ สาธารณชนรับทราบ เน้นการใช้อำนาจมหาชนหรืออำนาจประชาชน กำกับพฤติกรรมของสถาบันอุดมศึกษา
5. การใช้กลไกคุ้มครองผู้บริโภคกำกับพฤติกรรม ของสถาบันอุดมศึกษา เมื่อสถาบันอุดมศึกษาจำนวนหนึ่งให้บริการแบบธุรกิจ นักศึกษาก็ เป็ น ผู้ บ ริ โ ภค จึ ง น่ า จะใช้ ก ลไกคุ้ ม ครองผู้ บ ริ โ ภคเป็ น เครื่ อ งมื อ กำกั บ พฤติกรรมของสถาบันอุดมศึกษา แนวความคิดนี้ย่อมมีทั้งผู้เห็นด้วยและ ผู้ไม่เห็นด้วย หากใช้ ก ลไกคุ้ ม ครองผู้ บ ริ โ ภคก็ จ ะต้ อ งดำเนิ น การตาม พ.ร.บ. คุ้มครองผู้บริโภค (http://www.trustmarkthai.com/ifmportal/Portals/ trustmarkthai/privacy_legisative.pdf) ที่ให้สิทธิแก่ผู้บริโภคหากถูก 24 / นโยบายสาธารณะเพื่อการปฏิรูปอุดมศึกษาไทย
ละเมิดสิทธิ์ก็สามารถฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายได้ กลไกนี้ย่อมให้ผลดีแก่
ผู้ใช้บริการและทำให้มหาวิทยาลัยต้องระมัดระวังการกระทำของตนไม่ให้ ละเมิดสิทธิของผู้ใช้บริการ แต่จะทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างสถาบัน อุดมศึกษาเปลี่ยนจากมหาวิทยาลัย-ศิษย์ กลายเป็นผู้ให้บริการ-ลูกค้า ความสัมพันธ์บนพื้นฐานของความไว้วางใจ หรือความเชื่อถือหรือความ สัมพันธ์แบบมนุษย์ต่อมนุษย์จะหมดไป กลายเป็นพันธะทางกฎหมาย และเน้นการรักษาสิทธิ์โดยการฟ้องร้องต่อศาล ผู้ ที่ ไ ม่ เ ห็ น ด้ ว ยกั บ การผลั ก ดั น ให้ ส ถาบั น อุ ด มศึ ก ษากลายเป็ น
ผู้ประกอบธุรกิจอุดมศึกษา ย่อมไม่เห็นด้วยกับการเอามาตรการคุ้มครอง ผูบ้ ริโภคมาใช้กำกับดูแลพฤติกรรมของสถาบันอุดมศึกษา เพราะจะทำให้ สังคมสูญเสียสถาบันที่มีเกียรติภูมิสูงส่ง มีสถานะทางจิตวิญญาณเพื่อ สังคม กลายเป็นสถาบันธุรกิจที่มีจิตวิญญาณด้านกำไรเป็นสำคัญ มหาวิทยาลัยควรเป็นสถาบันที่ขับเคลื่อนความสำเร็จด้วยจิตวิญญาณ สาธารณะ ผ่านความสัมพันธ์ ครู-ศิษย์ และชุมชนวิชาการไม่ใช่ขับเคลื่อน ด้วยความโลภ ผ่านความสัมพันธ์ผู้ค้า-ลูกค้า
6. การพัฒนาขีดความสามารถด้านการบริหาร และการกำกับดูแลสถาบันอุดมศึกษา ในเมื่อวงการอุดมศึกษาต้องการธำรงสถานะที่เป็นที่เชื่อถือของสังคม ไม่ต้องการตกต่ำลงไปเป็นนักธุรกิจอุดมศึกษา ก็ต้องสร้างความเข้มแข็ง ในการดูแลความประพฤติของตนเอง ควบคุมกันเองอย่างเข้มงวดเอาจริง เอาจัง เพื่อสร้างความเชื่อถือไว้วางใจของสังคม และเมื่อมีผู้ต้องการร้อง ทุกข์จากพฤติกรรมของสถาบันอุดมศึกษาก็มีกลไกรับเรื่องราวร้องทุกข์อยู่ ศาสตราจารย์นายแพทย์ วิจารณ์ พานิช / 25
ที่ฝ่ายกำกับดูแลสถาบันอุดมศึกษานั้นๆ และที่หน่วยบริหารจัดการระบบ อุดมศึกษาที่สามารถให้ความเป็นธรรมแก่ผู้ร้องทุกข์นั้นเป็นที่เชื่อถือของ สาธารณชน ดังนั้น ประเทศไทยจึงต้องพัฒนาขีดความสามารถหรือสมรรถนะ ของกลไก 4 ระดับ ได้แก่ 1. สมรรถนะด้านการบริหารจัดการสถาบันอุดมศึกษาเน้นการบริหาร ให้เกิดคุณภาพและคุณธรรม โดยมีเกณฑ์คุณภาพตามกลุ่มของ สถาบันอุดมศึกษานั้นๆ กล่าวง่ายๆ คือต้องมีการฝึกอบรมหลัก การและทักษะด้านการบริหารจัดการสถาบันอุดมศึกษาในแง่มุม ต่างๆ 2. สมรรถนะด้านการกำกับดูแลสถาบันอุดมศึกษาโดยต้องมีการ ฝึกอบรมความรู้ด้านหลักการ และทักษะในการทำหน้าที่กรรมการ สภามหาวิทยาลัย 3. สมรรถนะในการบริหารจัดการระบบอุดมศึกษา ซึ่งก็คือขีด ความสามารถในการทำหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของสกอ. นั่นเอง โดยที่จะต้องพิจารณาว่า จะมีการปรับเปลี่ยนแนวทางการทำ หน้าที่บริหารจัดการระบบอย่างไร 4. สมรรถนะในการกำกับดูแลระบบอุดมศึกษา ซึ่งก็คือขีดความ สามารถในการทำหน้าที่ของคณะกรรมการกกอ. นั่นเองโดยต้อง พิจารณาว่า จะเปลี่ยนกระบวนทัศน์ในการกำกับดูแลอย่างไรบ้าง ศาสตร์และศิลป์ด้านการกำกับดูแลระบบอุดมศึกษามีความ ก้ า วหน้ า มากอ่ า นได้ ที่ http://en.wikipedia.org/wiki/ Governance_in_higher_education 26 / นโยบายสาธารณะเพื่อการปฏิรูปอุดมศึกษาไทย
7. จิตวิญญาณของมหาวิทยาลัย จิตวิญญาณของมหาวิทยาลัยคือ จิตวิญญาณของชุมชนวิชาการ (Scholarly Community) ที่จะต้องมีการสร้างสรรค์ปรับเปลี่ยนและตอกย้ำ หลักคิด ปรัชญา ระบบการจัดการ ระบบการกำกับดูแล กติกา วัฒนธรรม และ ฯลฯ เพื่อการทำหน้าที่ “ภาคส่วนอุดมศึกษา” (Higher Education Sector) ให้แก่สังคม หน้าที่ของอุดมศึกษาไม่ได้มีแค่ความหมาย ตื้นๆ 4 ประการหลัก คือการจัดการเรียนการสอน การวิจัย บริการ วิชาการและทำนุบำรุงศิลปะละวัฒนธรรม อย่างที่พูดกันดาดดื่นทั่วไป หน้าที่ของอุดมศึกษาต้องมีคุณค่าต่อสังคมลึกซึ้งกว่านั้นมาก ต้อง ทำหน้าที่เป็น “สถาบัน” หลัก สถาบันหนึ่งของสังคม ทำหน้าที่ค้ำจุน และสร้างสรรค์สังคม ร่วมกับสถาบันอื่นๆ โดยทำหน้าที่จากรากฐาน ความเป็นชุมชนวิชาการ ทีเ่ ชือ่ มโยงกับสังคมอย่างเป็นเนือ้ เดียวกัน สถาบันหลักของสังคมที่จะได้รับความยอมรับนับถือจากสังคม ต้อง “ให้” แก่สังคม มากกว่า “เอา” จากสังคม ความสัมพันธ์กับสังคมจึงมี มิติที่ลึกและกว้างกว่าวิทยาทาน และสัมพันธ์กันในระดับจิตใจเป็นหลัก ไม่ใช่สัมพันธ์กันด้วยผลประโยชน์เป็นหลักอย่างในธุรกิจ ผมเขียนบทความนี้เพื่อร่วมบูชาปราชญ์ท่านหนึ่งของแผ่นดิน คือ ท่าน ศ.ดร.เจตนา นาควัชระ เนื่องในวาระมีอายุครบ 72 ปี ตามคำเชิญ ชวนของ ผศ.สุวรรณา เกรียงไกรเพ็ชร์ ให้เขียนบทความในลักษณะ “Think paper” ซึ่งผมเข้าใจว่ามาจากสำนวนไทยของท่านอาจารย์เจตนาว่า “ครุ่นคิดพินิจนึก” ซึ่งเมื่อผมอ่านทบทวนบทความนี้แล้วก็ไม่มั่นใจว่าผม ได้ครุ่นคิดอย่างลึกซึ้งเพียงพอ แต่ผมก็ยังอยากส่งบทความมาร่วมลงใน ศาสตราจารย์นายแพทย์ วิจารณ์ พานิช / 27
หนังสือ “ลบเส้นพรมแดนแห่งศิลปะ” นี้อยู่ดี เพราะผมอยากได้ร่วม แสดงมุทิตาจิต และได้ร่วมยกย่อง ศ.ดร.เจตนา นาควัชระ ผู้ที่ผมถือ เป็น “ครู” ด้านความคิดคนหนึ่งของผม เดิ ม ผมได้ ร ะบุ ต ำแหน่ ง ใต้ ชื่ อ ว่ า “ประธานคณะกรรมการการ อุดมศึกษา” แต่เมื่อทบทวนข้อเขียนแล้วเห็นว่าเป็นข้อคิดส่วนตัวของผม ไม่ได้เป็นมติของ กกอ. และความเห็นบางส่วนใน บทความอาจไม่ตรง กับมติของ กกอ. จึงได้เอาตำแหน่งดังกล่าวออก ผมระบุข้อความนี้ไว้ เพื่อป้องกันไม่ให้มีผู้หวังดีเอาตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งใส่เข้าไปใต้ชื่อผม
3
เปลี่ยน กระบวนทัศน์ ของ อุดมศึกษา ไทย
28 / นโยบายสาธารณะเพื่อการปฏิรูปอุดมศึกษาไทย
3
ผมตีความ (ซึ่งไม่ทราบว่าผิดหรือถูก) ว่าวิกฤตต่างๆ ที่เกิดขึ้นใน สังคมหรือในระบบต่างๆ ของสังคม มีสาเหตุใหญ่จากการกระทำทีผ่ า่ นมา ผิดธรรมชาติไม่ตรงกับความเป็นจริง ซึ่งที่น่าจะพบบ่อยที่สุดคือยังหลง หมกมุ่นอยู่กับกระบวนทัศน์เก่า วิธีการเก่า โดยที่สังคม/โลกมันเปลี่ยนไป แล้ว จะทำงานให้ได้ผลต้องใช้กระบวนทัศน์ใหม่ อุดมศึกษาไทยก็อยู่ในวิกฤต เป็นวิกฤตสองด้าน คือทั้งคุณภาพและ ปริมาณ ด้านคุณภาพเป็นที่รู้กันว่าในภาพรวมคุณภาพของบัณฑิตไม่ดี อาจมีที่คุณภาพสูงเพียงบางสาขาในบางสถาบัน ด้านปริมาณ คนทั่วไป ไม่ทราบว่าเวลานี้เรามีสถาบันอุดมศึกษามากเกินไป และยังมีคนต้องการ ตั้งใหม่เพิ่มขึ้นตลอดเวลา ซึ่งถ้าไม่วางกติกาให้ดีทำให้สังคมเข้าใจและ บังคับใช้ให้ได้ผล สถาบันอุดมศึกษาที่ล้นนั้นจะทำ supply creates false demand เกิดผลร้ายต่อสังคม เราต้องการกระบวนทัศน์ใหม่ในการจัดการระบบอุดมศึกษาและใน การจัดการสถาบันอุดมศึกษา กระบวนทัศน์ใหม่ที่สำคัญ ได้แก่ 1. การทำให้อุดมศึกษาเป็นของสังคมไม่ใช่ของหน่วยราชการ ไม่ใช่ ของผู้มีอำนาจรัฐ (Education by All) 30 / นโยบายสาธารณะเพื่อการปฏิรูปอุดมศึกษาไทย
2. การทำให้กิจกรรมอุดมศึกษาเป็นของคนทุกกลุ่มอายุ (Education for All) ของทุกภาคส่วน (sector) ในสังคมไทย 3. การทำให้อุดมศึกษาเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมทุกประเภทในสังคม 4. การทำให้ ร ะบบอุ ด มศึ ก ษาเข้ า ไปเป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ของโลก (Globalization) อย่าง “เป็นมวย” และอย่างที่สังคมไทยได้ ประโยชน์ การเปลี่ยนกระบวนทัศน์ 4 ประเด็นข้างบนนั้นเข้าใจยากจะให้ ชัดเจนต้องอธิบายและยกตัวอย่าง
1. การทำให้อุดมศึกษาเป็นของสังคม ไม่ ใช่ของหน่วยราชการ ไม่ ใช่ของผู้มีอำนาจรัฐ (Education by All) ที่จริงระบบอุดมศึกษาของเราอยู่ใต้กระบวนทัศน์ใหญ่ในสังคม คือ วัฒนธรรมอำนาจ และวัฒนธรรมรัฐรู้ดีกว่าประชาชน การดูแลระบบ อุดมศึกษาที่ผ่านมาจึงเน้นการออกข้อบังคับ มีข้อบังคับดีๆ ออกมามากมาย มีความละเอียดประณีตมาก แต่พอไปเจอสภาพจริงในสังคมไทย ที่มี วัฒนธรรมศรีธนญชัย สกอ. ก็อยู่ในสภาพยักษ์ไร้กระบอง ที่จริงมีกระบอง นะครับ แต่กระบองสั้น คนก็มีน้อย ไม่มีทางไปไล่ตรวจสอบ เพราะที่จริง สามัญสำนึกมันบอกเราว่าถ้าจะให้กฎข้อบังคับศักดิ์สิทธิ์ก็ต้องมีการตรวจ สอบการปฏิบัติตามกฎข้อบังคับ (Law enforcement) และเรารู้ๆ กันอยู่ว่า สังคมไทยเป็นสังคมนักเลี่ยงกฎ เรามีความสร้างสรรค์สูงในการเลี่ยงกฎ ยิ่งนับวันอำนาจรัฐในรูปแบบดั้งเดิมที่เน้นอำนาจเบ็ดเสร็จก็ยิ่งเสื่อม ต้องมีอำนาจทางสังคมอำนาจประชาคมเข้ามาเสริม ศาสตราจารย์นายแพทย์ วิจารณ์ พานิช / 31
อำนาจรัฐดั้งเดิมเป็นอำนาจดิ่งเดี่ยว เวลากำหนดหลักการอะไรก็จัด ออกมาเป็นกฎข้อบังคับของราชการส่วนกลาง แล้วก็สมมติเอาว่าได้ดูแล เรื่องนั้นแล้ว ไม่ได้ตระหนักหรือยอมรับความเป็นจริงว่า การที่สังคมจะ ยอมรับตามหลักการ/ข้อบังคับนั้น สังคมสมัยใหม่ต้องการความเข้าใจ ว่าเป็นเรื่องที่มีประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวมและต่อตัวเขา การละเมิดกติกา เป็นการทำร้ายส่วนรวม ซึ่งมีผลต่อตัวเขาด้วย ก็จะมีขบวนการทางสังคมเข้า มาหนุน เท่ากับว่ามีอำนาจอีกอำนาจหนึ่งเข้ามาเสริมหรือค้ำยันหลักการนั้น นอกจากนัน้ สังคมยังมีกลไกอืน่ อีกมากมาย เช่น กลไกการสือ่ สารมวลชน กลไกคุ้มครองผู้บริโภค กลไก web 2.0 กลไกประชาคม และอื่นๆ ที่จะ เข้ามาช่วยกันสร้างสรรค์สิ่งดีๆ รักษาสิ่งดีๆ ให้แก่สังคม เท่ากับว่าในความเป็นจริงระบบอุดมศึกษา(และระบบอื่นๆ ของสังคม) อยู่ภายใต้อำนาจที่ซับซ้อนหลากหลาย ฝ่ายบริหารและกำกับดูแลระบบ อุดมศึกษาจึงต้องมีความรู้ความสามารถในการเอื้อให้อำนาจในสังคมที่มี ความหลากหลายซั บ ซ้ อ นนั้ น เข้ า มาประกอบกั น เสริ ม กั น สร้ า งระบบ อุดมศึกษาที่ดีให้แก่ประเทศไทย นั่นคือ เราต้องการกระบวนทัศน์ใหม่ มาแทนที่กระบวนทัศน์เดิม โดยกระบวนทั ศ น์ เ ดิ ม มุ่ ง จั ด การ/กำกั บ ด้ ว ยอำนาจรั ฐ ดิ่ ง เดี่ ย ว กระบวนทัศน์ใหม่มุ่งจัดการ/กำกับ ระบบอุดมศึกษาด้วยอำนาจที่หลาก หลาย ที่มีอยู่แล้วในสังคม เราต้องรู้จักส่งเสริมให้พลังด้านดีในสังคมเข้า มาปกป้องรักษา ส่วนที่ดีของระบบอุดมศึกษาและร่วมกันขจัดส่วนที่ชั่วร้าย ก่อผลร้ายแก่สังคมออกไป
32 / นโยบายสาธารณะเพื่อการปฏิรูปอุดมศึกษาไทย
นักจัดการระบบอุดมศึกษา นักกำกับระบบอุดมศึกษา ต้องการ กระบวนทัศน์ใหม่ในการทำงานและต้องพัฒนาทักษะใหม่ที่เป็นไปตาม กระบวนทัศน์ใหม่นี้ ผมสารภาพว่าผมเองก็ไม่มีทักษะนี้และกำลังเรียนรู้อยู่ในการปฏิบัติ มีผู้ให้ข้อเท็จจริง (เขา-หลายคน-ยืนยันว่าเป็นข้อจริงไม่ใช่ข้อเท็จ) ว่ามีสถาบันอุดมศึกษาจำนวนหนึ่ง (เขาเอ่ยว่าส่วนใหญ่เป็นสถาบันราชภัฎ) เปิดหลักสูตรพยาบาลศาสตร์ โดยไม่ขออนุมัติหลักสูตรและการจัดการ ศึกษาจากสภาการพยาบาลเสียก่อน จนนักศึกษาใกล้จบก็ไปบีบสภาการ พยาบาลว่าต้องอนุมัติเพราะรับนักศึกษามาแล้ว และนักศึกษาก็ใกล้จบแล้ว บางแห่งใช้วิธีบอกนักศึกษาว่า หน่วยงานที่มีปัญหา ที่จะเป็นตัวกีดกัน การจบปริญญา หรือทำให้ปริญญาได้รับการรับรองก็คือสภาการพยาบาล เรื่องนี้ กกอ./สกอ.ต้องรับผิดชอบต่อสังคมที่จะระมัดระวังดูแลไม่ให้ มี ห ลั ก สู ต รที่ ผ ลิ ต บั ณ ฑิ ต คุ ณ ภาพต่ ำ กว่ า เกณฑ์ ม าตรฐานขั้ น ต่ ำ ยิ่ ง หลักสูตรพยาบาลยิ่งต้องพิถีพิถันเป็นพิเศษ เพราะพยาบาลด้อยความ สามารถอาจทำให้คนไข้ตายได้ จึงต้องมีองค์กรวิชาชีพเข้ามาช่วยอีกแรง หนึ่ง ในการทำหน้าที่ปกป้องผลประโยชน์ของสังคมไม่ให้ถูกทำร้ายจาก หลักสูตรด้อยคุณภาพ ถ้าสกอ./กกอ.ใช้กระบวนทัศน์เดิมก็ต้องมีหนังสือเวียนเตือนสถาบัน อุดมศึกษา/สภามหาวิทยาลัย ให้ปฏิบัติตามขั้นตอน ซึ่งก็รู้ๆ กันว่าจะไม่ ได้ผล เพราะสถาบันที่ทำเช่นนั้นเขาไม่ได้ทำเพราะรู้เท่าไม่ถึงการณ์ แต่ ทำด้วยเจตนาเบี้ยว และใช้วิธีการทางสังคมในการบีบบังคับหน่วยที่ทำหน้าที่ regulatory ศาสตราจารย์นายแพทย์ วิจารณ์ พานิช / 33
วิ ธี ก ารในแนวใหม่ คื อ ต้ อ งใช้ พ ลั ง web 2.0, พลั ง การคุ้ ม ครอง
ผู้บริโภค, พลังของผู้บริโภค เข้ามาร่วมกันป้องกันและจัดการกับสถาบันที่ จงใจละเมิดนี้ ง่ายพอๆ กับปอกกล้วยเข้าปาก คือเอารายชื่อสถาบันที่ได้รับอนุมัติ ให้เปิดหลักสูตรนี้ครบถ้วนจากทุกฝ่ายขึ้นเว็บให้คนเข้ามาค้นง่าย (ต้องไม่ ลืมทำให้ เว็บ เร็ว และค้นง่ายด้วย) และเตือนว่าคนที่เข้าเรียนโดยไม่ ตรวจสอบก่อนต้องรับความเสี่ยงเอาเอง แล้วจัดแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน ให้สังคมรับรู้ นี่คือโอกาสที่จะจัดให้รัฐมนตรีของท่านได้แสดงผลงานนะ ครับ ในเว็บนี้อย่าลืมเปิดช่องให้มีคนเข้ามาแจ้งพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ ของสถาบันอุดมศึกษาด้วย โดยต้องระวังการกลั่นแกล้งต้องให้ลงทะเบียน เปิดเผยตัวต่อ web manager (โดยไม่จำเป็นต้องเปิดเผยต่อสาธารณะ) ให้ติดต่อกลับได้ เท่ากับใช้พลังของผู้บริโภคเข้ามากำกับพฤติกรรมของ สถาบันอุดมศึกษาด้วย แต่ต้องไม่กลั่นแกล้งกัน ถ้ า เราเปลี่ ย น paradigm ในเรื่ อ งนี้ ก็ จ ะมี โ อกาสทำงานอย่ า ง สร้างสรรค์ มีโจทย์วิจัยและพัฒนาใหม่ๆ คนที่ทำงานในระบบก็จะมีลู่ทาง เรียนรู้และก้าวหน้า มากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เคยได้รับคำบอกเล่าตรงกันในหลายวาระจากผู้ใหญ่ต่างคนว่ามีปัญหา สถาบั น อุ ด มศึ ก ษาบางแห่ ง รั บ นั ก ศึ ก ษาโดยหลั ก สู ต รไม่ ไ ด้ ผ่ า นสภา มหาวิทยาลัย ซึ่งก็แน่นอนว่าไม่ผ่านการอนุมัติโดย สกอ. บางหลักสูตรมี นักการเมืองท้องถิ่นเข้ามาเรียนหลายรายเขาเข้าใจว่าการชักชวนนักการเมือง ท้องถิ่นเข้าเรียนก็เพื่อเป็นพลังการเมืองวิ่งเต้นให้หลักสูตรผ่านการอนุมัติ 34 / นโยบายสาธารณะเพื่อการปฏิรูปอุดมศึกษาไทย
เมื่อนักศึกษาใกล้จบก็จะมีคนออกมาโวยวายว่าหน่วยกำกับดูแลไม่ อนุมัติหลักสูตรทำให้นักศึกษาเสียประโยชน์เพราะใกล้จบแล้วจะไม่มีโอกาส หางาน ตามกระบวนทั ศ น์ เ ดิ ม ผู้ บ ริ ห ารของสกอ. ก็ ต้ อ งไปหาทางแก้ ปัญหาที่ผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาก่อขึ้น โดยที่ถ้าดูให้ดีๆ เป็นการทำผิด กฎหมายด้วย ผมมองว่าการดำเนินการตามกระบวนทัศน์/วิธีปฏิบัติเดิมเป็นช่องทาง คอรัปชั่นได้ด้วย เพราะสถาบันอุดมศึกษานั้นอาจให้ผลประโยชน์ตอบแทน ผู้ช่วยเหลือในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งที่อาจไม่ใช่เงินก็ยังถือว่าเป็นคอรัปชั่น
อยู่ดี ผู้รับอาจเป็นข้าราชการระดับไหนก็ได้ แล้วแต่โอกาส หากปฏิบัติตามกระบวนทัศน์เดิม ปัญหาแบบนี้จะเกิดขึ้นเรื่อยๆ ไม่มี ทางหมดไปเพราะเป็นกระบวนทัศน์/วิธีปฏิบัติที่เอื้อการวิ่งเต้นการช่วยเหลือ ให้บิดหรืองอกฎ วิธีปฏิบัติตามกระบวนทัศน์ใหม่ง่ายนิดเดียวคือทำ 2 ทางทั้งป้องกัน และปราบปราม ป้องกันโดยเอารายชื่อหลักสูตรที่ผ่านการอนุมัติถูกต้องตามกระบวน การขึ้นเว็บ ให้คนเข้ามาตรวจสอบโดยง่าย รวมทั้งส่งเสริม (ไม่ต้องทำ เอง) ให้มีการวิจัยทำ rating/ranking หลักสูตรแต่ละสาขาวิชา แล้วเปิด เผยให้สาธารณชนทราบ รวมทั้งเปิดการเสวนาเรื่องคุณภาพของหลักสูตร เป็ น ระยะๆ เพื่ อ เตื อ นประชาชนอย่ า ให้ ห ลงเชื่ อ เข้ า เรี ย นในหลั ก สู ต ร
ด้อยคุณภาพ
ศาสตราจารย์นายแพทย์ วิจารณ์ พานิช / 35
นี่คือการใช้พลังสังคมพลังเปิดเผยพลังสื่อพลัง web 2.0 พลังความรู้ เข้ามาเป็นพลังร่วมในการกำกับดูแลคุณภาพของอุดมศึกษา ไม่ผูกขาด อำนาจไว้ที่ กกอ./สกอ. ตามกระบวนทัศน์เก่า ปราบปรามโดย เมื่อเกิดมีสถาบันอุดมศึกษาที่ปฏิบัติผิดกฎระเบียบ ก็ปล่อยให้มีการดำเนินการตามระเบียบที่กำหนดไว้ สกอ. ไม่เข้าไปช่วย เหลือ นักศึกษาที่เสียประโยชน์ต้องฟ้องร้อง ผู้บริหาร/สภามหาวิทยาลัย เอาเอง เพราะเป็นผู้รับผิดชอบ โดนเข้าไม่กี่ครั้ง ผู้บริหารที่จงใจเบี้ยวก็ จะหมดไปเอง ผมไม่แน่ใจว่าที่เขียนข้างต้นนั้น เป็นวิธีคิดของคนแบบที่ฝรั่งเรียกว่า naive หรือภาษาไทยว่า หน่อมแน้ม หรือเปล่า ท่านผู้อ่านมีแนวคิดใน การป้องกันปราบปรามพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ของสถาบันอุดมศึกษา ที่ บ่อนทำลายความน่าเชือ่ ถือคุณภาพของบัณฑิต โปรดช่วยกันให้คำแนะนำ ด้วยครับ
2. การทำให้กิจกรรมอุดมศึกษาเป็นของคนทุกกลุ่มอายุ (Education for All) ของทุกภาคส่วน (sector) ในสังคมไทย กระบวนทัศน์เดิมของอุดมศึกษาคือ สถานทีท่ คี่ นอายุ 17-24 ปี มา เข้าชั้นเรียนและทำกิจกรรมเพื่อพัฒนาไปสู่ “บัณฑิต” หรือในสายตาของ คนจำนวนหนึ่งเพื่อให้ได้ปริญญา ได้ชื่อว่าเป็นคนที่เรียนจบมหาวิทยาลัย สามารถเชิดหน้าชูตาในสังคมฐานานุภาพได้อย่างมั่นใจตนเอง อาจมีคนที่อายุมากกว่านี้บ้าง มาเรียนระดับบัณฑิตศึกษา และอาจ มีหลักสูตรฝึกอบรมระยะสั้นบ้าง ตั้งแต่ 1 วัน ไปจนถึงเป็นเดือน แต่ 36 / นโยบายสาธารณะเพื่อการปฏิรูปอุดมศึกษาไทย
กิจกรรมเหล่านี้ก็นับว่ามีน้อยมาก กว่าร้อยละ 90 ของกิจกรรม และการ ใช้ทรัพยากร เพื่อคนช่วงอายุ 17-24 ปี นี่คือกระบวนทัศน์เดิม กระบวนทัศน์ใหม่คือ มีคนทุกกลุ่มอายุมาใช้บริการของสถาบัน อุดมศึกษา ในกิจกรรมด้านการเรียนรู้และการค้นคว้าหาความรู้ที่หลากหลาย รูปแบบ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คนที่เคยเรียนจบปริญญาไปแล้ว ต้องกลับเข้ามา เข้ากระบวนการ retooling เพราะความรู้หรือเทคนิคหรือวิธีการที่เคย เรียนจบไปเมือ่ 5-10 ปีทแี่ ล้ว มันเก่าและล้าสมัย ความรูใ้ หม่ เทคนิคใหม่ มันทรงอานุภาพกว่าที่เคยเรียนอย่างเรียกได้ว่าคนละโลก ดังนั้น มหาวิทยาลัยจะต้องให้บริการผลัดเปลี่ยนชุดของความรู้แก่ผู้จบปริญญาแล้ว ด้วย กว่าร้อยละ 50 ของทรัพยากรของระบบอุดมศึกษา ใช้เพื่อการ retooling นี้ ที่สำคัญ สถาบันอุดมศึกษาต้องมีวิธีทำงานแบบใหม่ ที่จะทำให้ สถาบันอุดมศึกษาอยู่ที่ขอบฟ้าใหม่ หรืออยู่ที่แนวหน้าของความรู้ใหม่ ที่ จะ retool คนทำงานได้ อ ย่ า งแท้ จ ริ ง นั่ น คื อ สถาบั น อุ ด มศึ ก ษาต้ อ ง ทำงานพัฒนาความรู้ พัฒนาเทคโนโลยี เป็นหุ้นส่วนหรือภาคีของภาค ชีวิตจริง (real sector) คือสถาบันอุดมศึกษาต้องสร้างและสั่งสมความรู้ ทั้งที่เป็นทฤษฎี และที่เป็นความรู้ปฏิบัติ ในกระบวนทั ศ น์ ใ หม่ นี้ จ ะต้ อ งตี ค วามหรื อ ให้ ค วามหมายของ “อาจารย์” เสียใหม่ ไม่ให้คับแคบ อยู่แค่คนที่เป็นอาจารย์ประจำ ผมเดา ว่าในอนาคตอันใกล้ อาจารย์ในมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่จะไม่ใช่อาจารย์ ประจำ และบทบาทของอาจารย์ประจำก็จะเปลี่ยนไปมาก ทั้งหน้าที่วิจัย จากโจทย์ ข อง real sector และหน้ า ที่ ท ำงานเป็ น ที ม เป็ น virtual institute ศาสตราจารย์นายแพทย์ วิจารณ์ พานิช / 37
ถ้าเรากล้าออกจากกระบวนทัศน์ใหม่เราจะพบว่ามีโอกาสสร้างสรรค์ สถาบันอุดมศึกษาได้อย่างไม่มีขอบเขตจำกัด โดยใช้ความเป็น Learning Organization หมุนกิจกรรมปฏิบัติ-ทำงานเป็นเครือข่าย-เรียนรู้ ยกระดับ
ขีดความสามารถของสถาบันอุดมศึกษาจะเป็นงานที่สนุก ท้าทาย และ เปิดโอกาสให้สร้างสรรค์ได้อย่างไร้ขอบเขต ที่จริงเวลานี้สถาบันอุดมศึกษาไทยจำนวนไม่น้อยได้ก้าวไปสู่ลูกค้า/ นั ก ศึ ก ษาวั ย ทำงานแล้ ว แต่ เ ป็ น การเน้ น ที่ โ อกาสหารายได้ เ ป็ น หลั ก สถาบันอุดมศึกษาหลายแห่งมีพฤติกรรมที่น่าสงสัยว่าผู้จบการศึกษาจะมี คุณภาพจริง หรือบางแห่งยอมให้มี conflict of interest อย่างโจ๋งครึ่ม เช่น คณะหนึ่งเปิดหลักสูตรปริญญาเอกรับนักศึกษาจำนวนมาก อย่างน่า ตกใจแล้ ว คณบดี ก็ เ ข้ า เรี ย นด้ ว ย สถาบั น อุ ด มศึ ก ษาหลายแห่ ง ถื อ ว่ า หลั ก สู ต รเหล่ า นี้ เ ป็ น หลั ก สู ต รพิ เ ศษ มี ค่ า ตอบแทนให้ ค ณะกรรมการ อำนวยการ และออกระเบียบให้อธิการบดีเป็นประธานในทุกหลักสูตร แบบนี้และมีข่าวลือว่าอธิการบดีของมหาวิทยาลัยแห่งนั้นมีรายได้รวมกว่า เดือนละ 5 แสนบาท ในอนาคตหลักสูตรเหล่านี้จะกลายเป็นหลักสูตรปกติ มีกฎระเบียบ เพื่อควบคุมคุณภาพที่รัดกุม ไม่ใช่หลักสูตรเพื่อหาผลประโยชน์ของกลุ่ม คนจำนวนน้อย แต่เป็นไปเพื่อประโยชน์ของบ้านเมือง หลักสูตรการเรียนรู้สำหรับนักศึกษาผู้ใหญ่ หลักสูตรฝึกอบรมระยะสั้น แก่ผู้ทำงานแล้วเพื่อเปลี่ยนความรู้ให้ทันสมัย หลักสูตรที่ออกแบบเฉพาะ สำหรับหน่วยงาน เหล่านี้เป็นความท้าทายและโอกาสสร้างสรรค์สำหรับ สถาบันอุดมศึกษาในกระบวนทัศน์ใหม่ 38 / นโยบายสาธารณะเพื่อการปฏิรูปอุดมศึกษาไทย
หน้าที่อย่างหนึ่งของ กกอ./สกอ. คือดูแลให้ระบบอุดมศึกษาเป็น ระบบที่ “เป็นธรรม” หรือกล่าวเป็นภาษาอังกฤษว่ามี equity กล่าวคือ เอื้อให้คนทุกภาคส่วนของประเทศได้รับผลประโยชน์จากระบบอุดมศึกษา อย่างเท่าเทียมกัน ผมมองว่าเวลานี้ระบบอุดมศึกษาเป็นระบบที่ไม่เป็นธรรม คือรับใช้ คนมีเงิน คนมีโอกาส มากกว่าคนจน คนด้อยโอกาส ผมคิดไปไกลกว่านั้น ว่า คนในระบบอุดมศึกษายังไม่เคยคิดเรื่องนี้อย่างจริงจังเลย ระบบอุดมศึกษาส่วนที่เน้นสนองความต้องการของผู้ด้อยโอกาส คือ วิทยาลัยชุมชน ก็ยังอยู่ในสภาพไม่แข็งแรง และยังมีคนในท้องถิ่นมุ่งจะ ยกระดับให้เป็นมหาวิทยาลัยเพื่อเป็นผลงานของตน โดยที่กลุ่มคนที่ได้รับ ประโยชน์จาก วชช. ก็ยังไม่รู้ว่าความเคลื่อนไหวนั้น เป็นประโยชน์ต่อ
ผู้เคลื่อนไหวไม่ใช่ประโยชน์ของกลุ่มผู้ด้อยโอกาส เนื่องจากประชาชนกลุ่มที่ยากจนและด้อยโอกาส เป็นคนส่วนใหญ่ ของประเทศ ระบบอุดมศึกษาส่วนที่รับใช้คนกลุ่มนี้ จึงต้องใหญ่มาก ไม่ใช่เล็กนิดเดียวอย่างในปัจจุบัน แต่ก็ต้องระวังไม่ให้อุดมศึกษาส่วนที่รับใช้คนจน และคนด้อยโอกาส กลายเป็นกลไกชวนสังคมย่ำเท้าอยู่กับที่ กลายเป็นอุดมศึกษาส่วนที่ล้าหลัง แต่จะต้องทำหน้าที่เปิดโอกาส ให้คนยากจน คนด้อยโอกาส ได้เรียนรู้ สร้างตัวและสร้างชุมชนให้เข้มแข็ง เป็นส่วนหนึ่งของสังคมเรียนรู้และ สังคมอุดมปัญญา คนจนและคนด้อยโอกาสมีที่มาส่วนหนึ่งจากการหมดความมั่นใจใน ตนเอง (self-respect) เนื่องจากการครอบงำของสังคม สถาบันอุดมศึกษา ศาสตราจารย์นายแพทย์ วิจารณ์ พานิช / 39
ส่ ว นหนึ่ ง น่ า จะได้ พั ฒ นาทั ก ษะและความรู้ เ พื่ อ ทำหน้ า ที่ นี้ โ ดยเฉพาะ
งานนี้จะเป็นการสร้างสรรค์วิชาการที่ทรงคุณค่ายิ่ง ที่จริงสังคมไทยภาคชนบทกำลังค้นพบแนวทางสร้างความเข้มแข็ง ของชุมชนผ่านกระบวนการ/เครือข่ายแผนแม่บทชุมชน มหาวิทยาลัย ชีวิต โรงเรียนชาวนา กระบวนการประชาคม ฯลฯ คือจริงๆ แล้วมี หน่ออ่อนของขบวนการเรียนรูใ้ นภาคชนบท ทีส่ ว่ นใหญ่ชาวบ้านดำเนินการ กันเองอยู่แล้ว หากสถาบันอุดมศึกษาหาวิธีเข้าไปหนุนเสริม (empower และทำงานวิชาการเพื่อหนุน/ร่วมมือให้เกิดพลังเสริม (synergy) ระหว่าง กั น การทำหน้ า ที่ นี้ จ ะเป็ น งานที่ ไ ม่ ย าก สนุ ก และยั ง จะมี ร ายได้ ด้ ว ย เพราะเวลานี้ อปท. มีงบประมาณเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ที่ ส ำคั ญ คื อ จะต้ อ งมี ก ารวิ จั ย เชิ ง ระบบเพื่ อ ประเมิ น ว่ า ระบบ อุดมศึกษาในภาพรวมได้รบั ใช้คนยากจน คนด้อยโอกาสอย่างเป็นธรรม หรือไม่ และควรมียทุ ธศาสตร์เชิงระบบอย่างไร ทีจ่ ะทำให้ระบบอุดมศึกษา มีความเป็นธรรมมากขึ้น รวมทั้งต้องมีแผนยุทธศาสตร์ที่เป็นรูปธรรม
3. การทำให้อุดมศึกษาเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรม ทุกประเภทในสังคม ความเคลื่อนไหวที่น่าชื่นชมของระบบอุดมศึกษา คือนโยบายแบ่ง กลุ่มสถาบันออกเป็น 4 กลุ่ม เพื่อให้มีจุดเน้นต่างกัน สร้างขีดความสมารถ หรือความเป็นเลิศที่แตกต่างกัน และกระแสธรรมชาติที่สถาบันอุดมศึกษาที่ เน้นเด่นเพียงบางด้าน บรรลุคุณภาพได้ง่ายกว่า กำลังผลักดันให้สถาบัน อุดมศึกษาแต่ละสถาบันจะต้องเลือกกลุ่มที่ตนถนัดหรือมีข้อได้เปรียบ 40 / นโยบายสาธารณะเพื่อการปฏิรูปอุดมศึกษาไทย
ตั ว ขั ด ขวางเป้ า หมายที่ ส ถาบั น อุ ด มศึ ก ษา จะเป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ของ กิจกรรมในสังคม ได้แก่ (1) วัฒนธรรมลอยตัวเหนือสังคม (2) ไม่กำหนด เข็มมุ่งว่าจะเน้นกิจกรรมประเภทใดของสังคม (3) วิธีกำหนดภาระงาน ของอาจารย์ (4) ความคับแคบของการกำหนดเกณฑ์ผลงานวิชาการ วัฒนธรรมลอยตัวเหนือสังคม เราเคยชินอยู่กับวัฒนธรรมนี้จนไม่รู้ตัว จนระบบการทำงานของ สถาบันอุดมศึกษา และของระบบอุดมศึกษาเป็นการทำงานแบบแยกตัว ออกจากสังคม จะมีเชื่อมโยงบ้างก็อย่างเป็นรายกิจกรรม รายโครงการ เป็นครั้งคราว ไม่ได้ร่วมงานเป็นเนื้อเดียวกันร่วมหัวจมท้ายกัน คนในวงการอุดมศึกษาภูมิใจอยู่กับสถานะเหนือสังคม ไม่ได้ภูมิใจ อยู่กับสถานะเป็นเนื้อเดียวกันกับสังคม นี่คือสิ่งที่เราจะต้องช่วยกันแก้ไข และต้องทำอย่างเป็นระบบมีวิธีการ ที่เป็นรูปธรรม แต่ละสถาบันอุดมศึกษามีเข็มมุ่งว่า จะคลุกวงในของสังคมโดยเน้น กิจกรรมประเภทใด นีค่ อื สภาพทีพ่ งึ ประสงค์และเป็นข้อท้าทาย กกอ./สกอ.ว่าจะดำเนินการ อย่างไร จึงจะชักจูงให้สถาบันอุดมศึกษาแต่ละแห่งเดินไปในแนวทางนี้
ภาระงานของอาจารย์แนวใหม่ ต้องนับภาระงานคลุกวงในของสังคมตามเป้าหมายและแผนงาน ของสถาบัน เป็นส่วนหนึ่งของการทำงาน มีการมอบหมายงานประเภทนี้ อย่างเป็นทางการ หรือมีการทำความตกลงเป็นรายตัวของอาจารย์ มีการ ศาสตราจารย์นายแพทย์ วิจารณ์ พานิช / 41
ประเมินคุณภาพของผลงานมีการให้คุณค่าของผลงานที่มีคุณภาพสูง ทั้ง ในด้านรางวัลการยกย่องและค่าตอบแทน
การกำหนดเกณฑ์ผลงานวิชาการแนวใหม่ นอกจากเกณฑ์ผลงานวิชาการที่ใช้อยู่แล้ว ต้องสร้างเกณฑ์ใหม่ขึ้น มาเป็นเกณฑ์คู่ขนานเรียกว่าผลงานวิชาการรับใช้สังคมที่จะต้องสร้างวิธี ประเมินคุณภาพทางวิชาการ สร้างวารสารวิชาการแนวรับใช้สังคม พัฒนา ระบบ peer review แนวใหม่ เป็นเรื่องที่ท้าทายอย่างยิ่ง ความยากและท้าทายอยู่ที่กิจกรรมวิชาการจะมีหลากหลายรูปแบบ
และส่ ว นใหญ่ จ ะเป็ น กิ จ กรรมสหสาขาวิ ช า เป็ น การทำ R&D แบบ Translational Research เท่ากับเราจะต้องสร้างระบบวิชาการแนว Knowledge Translation หรือ Knowledge Application ขึ้นในสังคมไทย อันจะเป็นเรื่องมีคุณค่า และมีความท้าทายอย่างยิ่ง
4. การทำให้ระบบอุดมศึกษาเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของโลก (Globalization) อย่าง “เป็นมวย” และอย่างที่สังคมไทยได้ประโยชน์ ในกระบวนทัศน์เก่า หรือที่ปฏิบัติกันอย่างดาดดื่นในปัจจุบันกระแส internationalization ของอุดมศึกษา ได้ก่อผลร้ายต่อระบบอุดมศึกษา ไทย 2 ประการเป็นอย่างน้อย คือ (1) เป็นข้ออ้างให้ผู้บริหารเดินทางไป ต่างประเทศด้วยเป้าหมายหลักคือไปเที่ยว แต่อ้างว่าไปดูงานหรือไปติดต่อ ความร่วมมือ มีคนในต่างประเทศนินทาให้ผมฟังมากมายน่าอับอาย
ทำให้สูญเงินภาษีของชาวบ้านไปโดยได้ประโยชน์ไม่คุ้มค่า แถมยังเสีย
42 / นโยบายสาธารณะเพื่อการปฏิรูปอุดมศึกษาไทย
ชื่อเสียงของประเทศ (2) เป็นการเอาตัวเข้าไปอยู่ใต้ colonization ทาง
วิชาการ โดยหวังว่าจะส่งคนของตนไปเรียนต่อให้ได้ปริญญาเอกแบบ เรียนไม่ยาก เพื่อให้สถาบันผ่านเกณฑ์สัดส่วนของอาจารย์ระดับปริญญา เอก ของ สมศ. ประเทศที่ระบบบัณฑิตศึกษาก้าวหน้ามาระดับหนึ่งแล้วอย่างไทย ต้องมุ่งสร้าง self-reliance ด้านอุดมศึกษา ซึ่งรายละเอียดจะอยู่ในตอน ที่ 7 โดยต้องมีความร่วมมือกับอุดมศึกษาของนอกประเทศในลักษณะที่ เราก็มีศักดิ์ศรี มีความเท่าเทียมกันในระดับหนึ่ง และความร่วมมือนั้น ต้องร่วมอย่าง “เป็นมวย” ไม่ใช่ร่วมมือแบบให้เขาตักตวงประโยชน์ ฝ่าย เราได้แค่ผลแบบตื้นๆ และด้อยคุณภาพ คือยิ่งร่วมมือ ก็ยิ่งอ่อนแอ เป็น ความร่วมมือในรูปแบบที่จะต้องพึ่งเขาไปตลอดชาติ ระบบอุดมศึกษาส่วนที่จะต้องร่วมมือและแข่งขันในสังเวียนโลก คือ อุดมศึกษาส่วนที่เป็นสถาบันกลุ่มที่เน้นบัณฑิตศึกษาและวิจัย ซึ่งควรมี จำนวนสถาบันไม่เกินร้อยละ 5 ของทั้งหมด สถาบันเหล่านี้จะต้องเน้น งานวิชาการระดับโลก เน้นขอบฟ้าวิชาการ เน้น Global relevancy เน้น เกณฑ์คุณภาพระดับโลก ถูกตรวจสอบและประเมินด้วยเกณฑ์เหล่านั้น ร้อยละ 70-80 ของ global contact ของอุดมศึกษาไทยต่ออุดมศึกษา โลกจะผ่านสถาบันกลุ่มนี้ สถาบันกลุ่มที่เน้นบัณฑิตศึกษาและวิจัยจะต้องร่วมมือใกล้ชิดกับ สถาบันอุดมศึกษาส่วนที่เหลือ (และ real sector ไทย) เพื่อใช้เป็น สะพานเข้าสู่ Local relevancy เพื่อใช้ความเข้มแข็งของวิชาการไทยรับ ใช้สังคมไทย เป็นแรงส่งในการสร้างสรรค์ผลงานวิชาการที่เป็นเลิศที่ต่าง ศาสตราจารย์นายแพทย์ วิจารณ์ พานิช / 43
ประเทศสู้เราไม่ได้ เพราะเขาไม่มีระบบนิเวศ (ทั้งทางธรรมชาติและทาง วัฒนธรรม) อย่างที่เรามี ระบบอุดมศึกษาไทยส่วนที่เหลือจะต้องเน้น Local relevancy เน้นการทำงานร่วมมือกับภาคชีวิตจริง (real sector) ของสังคมไทย ความร่วมมือต่างประเทศของสถาบันกลุ่มนี้ จะใช้จุดแข็งของ Local relevancy เป็น “สินทรัพย์ทางปัญญา” สำหรับดึงดูดความร่วมมือใน แบบที่เท่าเทียมกัน เน้นความร่วมมือที่จะช่วยส่งเสริม Local relevancy ของเราเอง ส่วนการผลิตบุคลากรระดับปริญญาเอกนั้นเกือบทั้งหมดจะ ทำภายในประเทศโดยร่วมมือกับมหาวิทยาลัยกลุ่มที่เน้นบัณฑิตศึกษา และวิจัย จะเห็นว่าสิ่งที่เป็นกระบวนทัศน์ใหม่คือ ความเข้มแข็งทางวิชาการ หลากหลายแบบ ที่จะต้องสร้างขึ้นภายในระบบอุดมศึกษาของเราเอง และหลายกลุ่มสถาบันนั้นจะต้องมีความร่วมมือกันให้เกิด synergy ร่วม กันยกระดับคุณภาพหรือความเป็นเลิศแต่ละแบบ โดยการทำงานหนัก อดทน ต่อสู้ ต้องร่วมกันสร้างวัฒนธรรมอุดมศึกษาที่ขยันขันแข็ง สร้าง วัฒนธรรมคุณภาพสูง สร้างเกณฑ์คุณภาพที่มีหลากหลายแบบโดยบาง ส่วนก็องิ เกณฑ์ในต่างประเทศ อีกหลายๆ ส่วนเราต้องกล้าสร้างขึน้ ใช้เอง โดยมีเป้าหมายสุดท้ายเพื่อให้ระบบอุดมศึกษารับใช้สังคมไทยได้อย่างสม ภาคภูมิเป็นที่ยอมรับนับถือในสังคม เราต้องไม่ใช้วัฒนธรรมคุณภาพแบบศรีธนญชัย ไม่อ้าง Globalization เพื่อประโยชน์ตนแบบตื้นๆ
44 / นโยบายสาธารณะเพื่อการปฏิรูปอุดมศึกษาไทย
4
มหาวิทยาลัย กับการปฏิรูป ประเทศไทย
4
มหาวิทยาลัยมหิดลจัดศาลายาเสวนา เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2553 เพื่อทำความเข้าใจว่ามหาวิทยาลัยจะเข้าไปร่วมฟิ้นฟูเยียวยาประเทศ จากความแตกแยกร้าวลึก ได้อย่างไร สรุปประเด็นการเสวนาดังต่อไปนี้ วิกฤตต่างๆ ที่กำลังเกิดขึ้นในสังคมไทย ได้สะท้อนให้เห็นถึงความ ขัดแย้งและการแตกแยกทางความคิดของคนในสังคม ซึ่งไม่เคยเกิดขึ้น และสะสมมากเท่านี้มาก่อน เกิดความไม่ไว้วางใจ หวาดระแวงซึ่งกันและกัน รวมถึงโครงสร้างของระบบอำนาจ สร้างความเหลื่อมล้ำไม่เท่าเทียม ทั้ง ในเรื่องของการศึกษา สังคม และเศรษฐกิจ วิกฤตครั้งนี้จึงเป็นเรื่องที่ สลับซับซ้อนและยากต่อการเข้าใจให้ถ่องแท้ ไม่ใช่เพียงการแบ่งสีซึ่งเป็น เพียงปลายเหตุ สังคมไทยต้องการพลังทางความคิดและพลังทางปัญญา ในการช่ ว ยผลั ก ดั น ประเทศออกจากภาวะวิ ก ฤติ ดั ง กล่ า ว ซึ่ ง สถาบั น อุดมศึกษา รวมทั้งมหาวิทยาลัยมหิดล ในฐานะเป็นแหล่งขุมพลังทาง ปัญญาควรมีบทบาทในการดำเนินการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
1. ปัญหาในระบบการศึกษาและแนวทางแก้ ไข
ระบบของมหาวิ ท ยาลั ย เป็ น ผลผลิ ต ของการเลื อ กเฟ้ น เชิ ง ระบบ เป็นการศึกษาแบบแยกส่วน ก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำค่อนข้างสูงทำให้ 46 / นโยบายสาธารณะเพื่อการปฏิรูปอุดมศึกษาไทย
เกิดสังคมร้าวลึก สังคมขาดคนมีจิตสำนึกสาธารณะร่วมกัน การศึกษา มุ่งเน้นความเป็นเลิศ มี IQ สูง แต่มี EQ ต่ำลง จะเห็นได้ว่าในปัจจุบันระบบอุดมศึกษาทำหน้าที่น้อยไม่เข้าใจสังคม ขาดการทำความเข้าใจ ขาดการวิเคราะห์ มีผลงานที่หลากหลายแต่ไม่ได้ นำไปใช้ประโยชน์ ไม่มีการรวมตัว ขาดการประสานความร่วมมือและ แบ่งงานกันทำ ไม่ได้จับงานอย่างเป็นระบบ ไม่ได้เข้าไปขับเคลื่อนให้สังคม ไทยเป็นสังคมเรียนรู้ (Learning Society) เนื่องจากสังคมมีความซับซ้อน และเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว แต่สังคมไทยในปัจจุบันมองโลกแบบเส้นตรง มองความสั ม พั น ธ์ เ ป็ น ทวิ ภ าคี (bilateral) ไม่ ไ ด้ ม องเป็ น พหุ ภ าคี (multilateral) ซึ่งสถาบันอุดมศึกษามีหน้าที่จะต้องขับเคลื่อนในส่วนนี้ ทำให้สังคมมองสิ่งต่างๆ อย่างซับซ้อนเคลื่อนไหว และเปลี่ยนแปลงให้ได้ ทำให้เกิดความโปร่งใสในสังคม มหาวิทยาลัยต้องทำอย่างเป็นกลาง ให้คนรู้ว่าไม่มีผลประโยชน์ส่วนตัว เป็นเรื่องของวิชาการความรู้ ทำให้สังคมเรียนรู้อภิปรายกันเพื่อการเรียนรู้เชิงสังคมไม่ใช่เพื่อเอาชนะ เรื่องความโปร่งใส (transparency) การเข้าใจสังคม มหาวิทยาลัยต้อง ทำและต้องทำให้ได้ 1. ปลูกฝังให้นักศึกษาในมหาวิทยาลัย รู้จักหน้าที่ มีพื้นฐานเรื่อง สิทธิเสรีภาพ มหาวิทยาลัยช่วยกระตุ้นโดยให้โอกาส ตลอดจน สนับสนุนให้ใช้พลังบนฐานของสิทธิเสรีภาพที่ถูกต้องในการมี ส่วนร่วมทำงานกับสังคม กับบ้านเมือง 2. มหาวิทยาลัยควรสร้างผลผลิตที่สนองความต้องการของสังคม มีจิตสำนึก/จิตสาธารณะที่แท้จริง มีการนำความรู้หรือปัญญา ศาสตราจารย์นายแพทย์ วิจารณ์ พานิช / 47
เป็นกระแสหลักของสังคม เพื่อให้มีความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งที่จะ แก้ไขและขับเคลื่อนประเทศ 3. มหาวิทยาลัยมีศักยภาพสูง มีความรู้เพียงพอต่อการเริ่มต้นปฏิรูป ประเทศไทย ความสามารถในการส่งต่อข้อมูลการเชื่อมสัมพันธ์ องค์กรต่างๆ ความสามารถในการยกระดับความรู้สติปัญญา ของคนในสังคม สร้างบุคลากรทำงานคู่ขนานใกล้ชิดกับสังคม 4. บทบาทของมหาวิทยาลัยในการลดช่องว่างทางสังคม และเพิ่มการ เป็นเพื่อนร่วมสถาบันระหว่างนักศึกษาต่างภาค ต่างสถานะทาง สังคม เพื่อสร้างโอกาสและลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม ทำให้ เกิดการเป็นเบ้าหลอมทางสังคม สามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบ การเรียนรู้กับคนในชุมชน มีการเรียนรู้ร่วมกัน มีความใกล้ชิด และสร้างความเข้าใจมากขึ้น 5. มหาวิทยาลัยควรหยิบประเด็นเชิงนโยบายของสังคมมาตีแผ่ วิเคราะห์ ทำความเข้าใจ หาข้อมูล และชี้ให้สังคมเห็น รวมทั้ง ทำอย่างไรที่จะทำให้องค์ความรู้ในมหาวิทยาลัยถูกถ่ายทอดสู่ สังคม เป็นกระแสหลักของสังคม 6. มหาวิทยาลัยควรสอนให้นักศึกษาคิดในเชิงยุทธศาสตร์ เชิงระบบ เช่ น ในเรื่องความขัดแย้งเรียนมาแต่การแก้ไข ไม่เรียนเชิง ป้องกัน และการปรองดองเยียวยา เป็นต้น 7. มหาวิ ท ยาลั ย ควรกลั บ มาสร้ า งความเข้ ม แข็ ง ของตั ว เองและ เชื่อมโยงเป็นเครือข่าย โดยความร่วมมือจากมหาวิทยาลัยต่างๆ เชื่อมโยงสู่สังคมวงกว้างและชุมชนโดยรอบมหาวิทยาลัย เพื่อเปิด พื้นที่ทางปัญญาและพื้นที่ทางสังคมอย่างกว้างขวาง 48 / นโยบายสาธารณะเพื่อการปฏิรูปอุดมศึกษาไทย
2. กลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเพื่อแก้วิกฤต และปฏิรูปประเทศไทย การแก้ไขวิกฤตของประเทศไทย มี 6 เรื่องที่ต้องดำเนินการ คือ 1) เยียวยา 2) สร้างกระบวนการยุติธรรม 3) ค้นหาความจริง 4) ฟื้นฟู กายภาพ ทั้งกิจการ บุคคล และสังคม 5) ปฏิรูป และ 6) บูรณาการแผน
ปรองดองของรั ฐ บาล ให้ ส อดรั บ กั บ ความคิ ด และแผนงานของภาค ประชาชน แต่ ต้ อ งทำร่ ว มกั น แบบคู่ ข นานต้ อ งประยุ ก ต์ ดั ด แปลงและ บูรณาการร่วมกัน ไม่ใช่ต่างฝ่ายต่างทำ โดยมีกลไกในการขับเคลื่อน ดังนี้ 1. กลไกติดตามศึกษา มีกลุ่มคนหรือมีกระบวนการติดตามหรือ ศึกษาทั้ง 6 ประเด็นข้างต้น เช่น การเยียวยา ต้องทำให้ทั่วถึง และละเอียดขึ้น เพื่อให้เกิดความสมานฉันท์จากการเยียวยา อาจมีคณะทำงานขึ้นมา โดยเริ่มดำเนินการทีละเรื่อง 2. กลไกจัดกระบวนการ วิกฤติครั้งนี้มีความพยายามจะแก้แต่ ขาดกระบวนการที่ดี มหาวิทยาลัยหลายแห่งมีความเข้าใจเรื่อง กระบวนการ มีบุคลากร การจัดกระบวนการในเรื่องต่างๆ โดย เฉพาะการปรองดอง การปฏิรูปต้องมีกระบวนการ 3. กลไกสนับสนุนชุมชนท้องถิน่ ซึง่ เป็นฐานของประชาชนทำให้เข้มแข็ง เป็นสุขสามารถอยู่เย็นเป็นสุขซึ่งมหาวิทยาลัยเล่นบทบาทได้ การจัดกระบวนการที่ดีต้องนำไปสู่การเรียนรู้จากการกระทำ จะมี กระบวนการที่ทั้งนักศึกษา บุคลากร มาร่วมกันทำ ซึ่งสามารถเริ่มได้ ทันที แต่การจัดกระบวนการให้กับคู่กรณีที่ขัดแย้งรุนแรงต้องอาศัยกลุ่มที่ ใหญ่รวมกับมหาวิทยาลัยอื่นๆ ซึ่งต้องมีการหารือร่วมกันว่าจะร่วมกันทั้ง ประเทศจัดกระบวนการให้ดี หรือร่วมกับสถาบันพระปกเกล้า สิ่งเหล่านี้ ทำได้และน่าจะทำ ควรทำและพร้อมลงมือทำ
5
โอกาสทำหน้าที่ มหาวิทยาลัย ในสังคม ใหม่
5
นักวิชาการของมหาวิทยาลัยรวมตัวกัน ทำหน้าที่วิเคราะห์นโยบาย หรือการตัดสินใจสำคัญๆ และบอกผลกระทบหลากหลายด้านต่อบ้านเมือง เพื่อสร้างสังคมเรียนรู้ ทำให้การทำงานสาธารณะเป็นการเรียนรู้เชิงสังคม ทั้งหมด ทำสังคมไทยให้เปิดกว้างยอมรับฟัง ซึ่งจะมีผลให้คนไทยถูกหลอก ได้ยากขึ้น ความขัดแย้งร้าวลึกในสังคมไทย เปิดหน้าต่างแห่งโอกาสให้แก่สถาบัน ทางปัญญาของประเทศอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ต่อไปนี้มหาวิทยาลัยจะมี โอกาสสร้างความโปร่งใสให้แก่สังคม ทำหน้าที่เป็นจิตสำนึกแห่งความ ถูกต้อง ทางจริยธรรม ทางความเป็นธรรม ให้แก่สังคม เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2553 เรานัดกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดลที่ แสดงความเอาจริงเอาจังที่จะผลักดันมหาวิทยาลัยให้เข้าไปเยียวยาสังคม มาคุยกันที่ภัตตาคารของวิทยาลัยนานาชาติ โดยมี ดร.วิชิต สุรพงษ์ชัย เป็นผู้นำเสนอแนวคิดและแนวทางดำเนินการเพื่อใช้มหาวิทยาลัยเป็นกลไก สร้างภราดรภาพของผู้คนในชาติ และ ศ.นพ.ประเวศ วะสี และอ.ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม ก็เตรียมเอกสารมาเสนอแนวคิดและแนวทางดำเนินการด้วย เป็นบรรยากาศที่ผมเห็นแล้วมีความสุข ว่าประเทศไทยเราไม่ขาดแคลน ผู้ใหญ่ที่เป็น concerned citizen 52 / นโยบายสาธารณะเพื่อการปฏิรูปอุดมศึกษาไทย
แต่ที่จะเล่าในบันทึกนี้ เป็นปิ๊งแว้บที่ผมได้จากการสนทนาในเที่ยง วันนั้น ที่เราพูดกันว่าต่อไปสังคมไทยจะต้องเปิดกว้าง และการใช้อำนาจรัฐ ทุกอำนาจจะต้องโปร่งใสมีกลไกตรวจสอบสาธารณะและเป็นกระบวนการ เรี ย นรู้ ร่ ว มกั น ในสั ง คม โดยต้ อ งยอมรั บ ว่ า คนเราไม่ ว่ า จะเก่ ง แค่ ไ หน ตำแหน่งใหญ่แค่ไหน ศักดิ์สิทธิ์แค่ไหน ย่อมทำผิดได้และผิดถูกในเรื่อง ของสังคมนั้นมันซับซ้อนเสียจนเราไม่สามารถตราได้ชัดๆ ว่าผิดหรือถูก แต่เราสามารถวิเคราะห์ได้ว่าการตัดสินใจนั้นๆ ก่อผลต่อส่วนต่างๆ กิจการต่างๆ มิติต่างๆ ของบ้านเมืองอย่างไร ต่อจากนี้ไปถ้าเราไม่ประสบความสำเร็จในการเปิดสังคมไทยให้เปิด กว้าง ยอมรับการวิพากษ์วิจารณ์อย่างสร้างสรรค์ เพื่อนำไปสู่การเรียนรู้ ร่วมกันทั่วทั้งสังคมไทย เพื่อร่วมกันสร้างสังคมที่มีความเป็นธรรมมากขึ้น ช่องว่างระหว่างคนต่างถิ่น ต่างฐานะ ต่างอาชีพ ลดแคบลง ประเทศไทย จะแตกออกเป็นเสี่ยงๆ เหมือนอย่างที่มีการแสดงละครประกอบการ ทำความเข้าใจฉากอนาคตของประเทศไทยใน 10 ปีข้างหน้า มหาวิทยาลัยเป็นองค์กรที่เป็นกลางทางการเมือง และเป็นกลางใน เรื่ อ งผลประโยชน์ เป็ น ที่ ย อมรั บ กั น โดยทั่ ว ไปในคุ ณ ลั ก ษณะนี้ ข อง มหาวิทยาลัย นี่คือต้นทุนของมหาวิทยาลัยที่จะเข้าไปทำหน้าที่ที่อ่อนไหว นี้ให้แก่สังคม คือหน้าที่เตือนสติและสร้างปัญญา หยิบเอาเรื่องสำคัญๆ ในบ้านเมืองมาวิเคาระห์แยกแยะทำความเข้าใจและบอกแก่สังคม บอก ให้รู้ว่านโยบายหรือการตัดสินใจของผู้ถืออำนาจรัฐด้านต่างๆ ทั้งด้าน การออกกฎหมาย (นิติบัญญัติ) ด้านบริหารและด้านตุลาการรวมทั้ง องค์กรอิสระต่างๆ ที่เมื่อมีมติหรืออกกฎหมาย หรือตัดสินคดีออกมาแล้ว มหาวิทยาลัยต่างๆ จะแบ่งหน้าที่กันตรวจสอบโดยใช้หลักวิชาการและ ศาสตราจารย์นายแพทย์ วิจารณ์ พานิช / 53
โดยเก็บข้อมูลหลักฐานมาวิเคราะห์สังเคราะห์อย่างลุ่มลึก และบอกแก่ สังคม โดยการทำหน้าที่ที่เป็นการดำเนินงานเชิงสถาบัน ไม่ใช่เป็นการ ทำงานของอาจารย์เดี่ยวๆ เชิงปัจเจก ทุกก้าวย่างของบ้านเมืองทีด่ ำเนินการและรับผิดชอบโดยฝ่ายการเมือง ฝ่ายราชการ ฝ่ายธุรกิจ ฝ่ายประชาสังคม ต่างก็มองได้ว่าเป็นขั้นตอน ของการเรียนรู้เชิงสังคม ที่แม้จะตั้งใจดีอย่างไรก็ตาม สามารถมองหลาย มุมได้ มองต่างกันได้ สังคมต้องเปิดใจ เปิดโอกาสให้ฝ่ายวิชาการเข้ามา ทำงานวิ ช าการสร้างสรรค์ เพื่อบอกผลกระทบในหลากหลายด้านให้ สังคมรับรู้ และเตรียมตัวรับการเปลี่ยนแปลงนั้น โดยเราต้องไม่เน้นถูกผิ ด แต่ เ น้ น เรี ย นรู้ และนำเอาไปใช้ ใ นอนาคตให้ คิ ด เรื่ อ งเหล่ า นั้ น ได้ รอบคอบลึกซึ้งขึ้น และสาธารณชนทั่วไปเข้าใจเรื่องราวได้ชัดเจนขึ้น ไม่ ตกเป็นเหยื่อของมายาคติ หรือเหยื่อของการโฆษณาชวนเชื่อผ่านสื่อที่ เวลานี้ควบคุมได้ยาก มหาวิทยาลัยต้องเป็นสติและเป็นปัญญาให้แก่สังคมโดยการสร้าง ระบบการเรียนรู้เชิงสังคมขึ้นในประเทศไทยเพื่อช่วยให้คนไทยในทุกวิถีชีวิต ถูกหลอกได้ยากขึ้น
54 / นโยบายสาธารณะเพื่อการปฏิรูปอุดมศึกษาไทย
6
มหาวิทยาลัย เรียนรู้ และวิจัย
6
ไม่ว่าจะอยู่ในกลุ่มใด สถาบันอุดมศึกษาต่างก็ต้องเป็นมหาวิทยาลัย “เรียนรู้และวิจัย” ตัวตัดสินผลสำเร็จและความเป็นเลิศของมหาวิทยาลัย จึงอยู่ที่ความสามารถในการเรียนรู้และวิจัย ตามเข็มมุ่งหรือโฟกัสที่ตน กำหนด นโยบายและมาตรการสำคัญอย่างหนึ่งของอุดมศึกษา ในปี พ.ศ. 2552-2553 คือการทำให้แต่ละสถาบันโฟกัสจุดมุ่งหมาย (mission) ของ ตนเอง คือจะบอกว่าเป็นสถาบันอุดมศึกษาหรือเป็นมหาวิทยาลัยไม่เพียง พอ ต้องบอกว่าเป็นมหาวิทยาลัยที่เน้นภารกิจหรือจุดมุ่งหมายอะไร จะ ได้มุ่งมั่นสร้างความเป็นเลิศทางวิชาการตามโฟกัสของตนได้ มหาวิทยาลัยใดโฟกัสจุดมุ่งหมายของตนไม่ได้ซึ่งอาจเกิดจากผู้บริหาร ไม่เอาไหน หรือสภามหาวิทยาลัยไม่เอาไหน หรือเพราะขาดความสามัคคี ภายใน หรือเพราะเหตุอื่นๆ มหาวิทยาลัยนั้นจะก้าวหน้ายากสู้กับกระแส การแข่งขันยาก นี่คือหลักของการบริหารจัดการ จะเข้มแข็งได้ต้องสามารถโฟกัสเป้าหมายของตนได้ต้องทำให้เป้าหมาย ชัด ชัดในระดับคุณค่าและเข้าใจ พร้อมใจร่วมกันภายในองค์กร แล้วเปิด โอกาสให้แต่ละหน่วยย่อยทำงานเพื่อบรรลุเป้าหมายนั้น โดยทำงานเสริม แรงกันและมีอิสระ ยืดหยุ่น ในการบรรลุเป้าหมายในส่วนที่ตนรับผิดชอบ 56 / นโยบายสาธารณะเพื่อการปฏิรูปอุดมศึกษาไทย
ที่ร้ายกว่านั้น คือเลือกเป้าหมายผิด เลือกเป้าหมายที่ตนไม่ถนัด หรือ เป็นเป้าหมายที่ตนไม่มี comparative advantage ก็จะทำให้ตนเอง แข่งขันได้ไม่บรรลุความเป็นเลิศที่แท้จริง ผมเคยได้ยินผู้บริหารมรภ. บางแห่งพูดว่าจะให้เลือกกลุ่มมหาวิทยาลัย ว่าเป็นมหาวิ ท ยาลั ย เพื่ อ ท้ อ งถิ่ น ก็ ท ำใจไม่ ไ ด้ ค ล้ า ยๆ กั บ ว่ า การเป็ น มหาวิทยาลัยเพื่อท้องถิ่นเป็นเรื่องต่ำต้อยน้อยหน้า ซึ่งเป็นเรื่องที่ผมมอง ว่าเป็นมายาคติ ความเป็นเลิศไม่ได้อยู่ที่จัดตนเองอยู่ในกลุ่มไหน แต่อยู่ที่สร้างผลงาน เป็นเลิศในกลุ่มนั้นได้จริงหรือไม่ ผลงานและการทำคุณประโยชน์แก่สังคม เป็นตัวตัดสิน ไม่ว่าจะอยู่ในกลุ่มใดสถาบันอุดมศึกษาต่างก็ต้องเป็นมหาวิทยาลัย “เรียนรู้และวิจัย” ตัวตัดสินผลสำเร็จและความเป็นเลิศของมหาวิทยาลัยจึง อยู่ที่ความสามารถในการเรียนรู้และวิจัยตามเข็มมุ่งหรือโฟกัสที่ตนกำหนด โดยต้องไม่ลืมว่าบอร์ดได้กำหนดหลักการอื่นๆ ไว้ใน Policy Circle ที่มี 4 quadrant แล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การกำหนดเป้าหมายสุดท้าย ขององค์กร ก็จะเป็น “ธงนำ” ให้แก่ฝ่ายจัดการได้เป็นอย่างดี การกำหนดข้อห้ามให้แก่ฝ่ายจัดการนั้น ก็คือการกำหนดจริยธรรมและ ความรอบคอบนั่นเอง ซึ่งมักเป็นการกำหนดกว้างๆ วิธีกำหนดเช่นนี้จะ ทำให้ฝ่ายจัดการสามารถหาทางบรรลุเป้าหมายสุดท้ายได้หลายแนวทาง มีความยืดหยุ่นในการทำงาน ทำให้ฝ่ายจัดการสามารถใช้ความริเริ่ม สร้างสรรค์ได้เต็มที่ 1 1
Ref. : John Carver. Boards that Make a Difference : A New Design for ศาสตราจารย์นายแพทย์ วิจารณ์ พานิช / 57
บอร์ดกับการดูแลตนเอง บอร์ ด ทำหน้ า ที่ เ ป็ น ตั ว แทนเจ้ า ของเป็ น กลไกความรั บ ผิ ด ชอบ (Accountability) ต่อเจ้าของ สำหรับองค์กรภาครัฐและองค์กรไม่ค้ากำไร “เจ้าของ” คือสาธารณชน ไม่ใช่ผู้ออกเงินและไม่ใช่รัฐบาล ความเป็นเจ้าของเน้นที่ความสัมพันธ์เชิง จริยธรรมมากกว่าเชิงกฎหมาย หน้าทีห่ ลักของบอร์ดคือ ทำให้เกิดความเชือ่ มัน่ (Trust) จากสาธารณชน ต่อองค์กร ความสัมพันธ์เชิงความเชื่อมั่นที่บอร์ดสร้างขึ้นนี้ ความสัมพันธ์ต่อ “เจ้าของ” สำคัญกว่าความสัมพันธ์ต่อพนักงานขององค์กร คือบอร์ดต้องเน้น สร้างความสัมพันธ์ภายนอกมากกว่าความสัมพันธ์ภายใน บอร์ด ต้องนำส่งผลผลิตหลัก 3 อย่าง 1. ความเชื่อมโยงกับเจ้าของ 2. เอกสารระบุนโยบายกำกับดูแล (ตาม 4 quadrant ของ Policy Circle) 3. หลักฐานรับรองว่าองค์กรได้กระทำภารกิจที่กำหนดไว้อย่างดี นอกจากนั้น บอร์ด ยังอาจนำส่งผลผลิตรองด้วยก็ได้ เช่น การ กำหนดกฎข้อบังคับ การระดมทุน 2 Leadership in Nonprofit and Public Organizations. 3rd Ed., 2006, pp. 79-114. 2 Ref. : John Carver. Boards that Make a Difference : A New Design for Leadership in Nonprofit and Public Organizations. 3rd Ed., 2006, pp.185-213. 58 / นโยบายสาธารณะเพื่อการปฏิรูปอุดมศึกษาไทย
7
การใช้กลไก งบประมาณ พัฒนา มหาวิทยาลัย
7
ดร.วิชิต สุรพงษ์ชัย มองว่าฝ่ายกำกับดูแล คือสภามหาวิทยาลัย ต้ อ งมี ส่ ว นดึ ง มหาวิ ท ยาลั ย ออกมาจากการจั ด ทำงบประมาณแบบ “business as usual” คือทำอย่างที่ทำต่อๆ กันมา ต้องหาทางให้มีการ จัดทำงบประมาณเพื่อให้ “การเงินรับใช้การพัฒนา” ต้องมีการโฟกัส ลำดับความสำคัญของงาน และการพัฒนา และพุ่งงบประมาณไปที่นั่น นี่คือยุทธศาสตร์การทำงานที่สำคัญยิ่งและคนที่มาจากราชการไม่ คุ้นเคย เพราะเราคุ้นกับข้อจำกัดของงบประมาณที่แค่ใช้ทำงานประจำ ที่ทำต่อๆ กันมา ก็ไม่ค่อยพอใช้อยู่แล้ว แต่กรรมการสภามหาวิทยาลัยที่มาจากภาคธุรกิจ อย่าง ดร.วิชิต สุรพงษ์ชัย มองว่าฝ่ายกำกับดูแล คือสภามหาวิทยาลัย ต้องมีส่วนดึง มหาวิทยาลัยออกมาจากการจัดทำงบประมาณแบบ “business as usual” คือทำอย่างที่ทำต่อๆ กันมา ต้องหาทางให้มีการจัดทำงบประมาณเพื่อให้ “การเงินรับใช้การพัฒนา” ต้องมีการโฟกัสลำดับความสำคัญของงาน และการพัฒนา และพุ่งงบประมาณไปที่นั่น ทุกส่วนงานต้องมีการจัดลำดับความสำคัญของงาน งานบางอย่าง ควรเลิกทำ และตัดงบประมาณไป หันไปมุ่งทำงานที่สำคัญ และจัดสรร 60 / นโยบายสาธารณะเพื่อการปฏิรูปอุดมศึกษาไทย
งบประมาณไปที่ส่วนนั้น นี่คือหน้าที่หรืองานบริหารที่ยากและท้าทาย แต่เป็น งานที่ฝ่ายบริหารต้องไม่หลีกเลี่ยง สภามหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2552 แนะนำ ให้จัดแบ่งงบประมาณออกเป็น 2 ส่วน คือส่วนของงานประจำ ที่จะต้องทำ กับส่วนของงานพัฒนา เพื่อขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงหรือการพัฒนา มหาวิทยาลัยตามเป้าหมายที่กำหนด ส่วนแรกแม้จะเป็นงานประจำ แต่ก็ ต้องตั้งคำถามว่า ทำอย่างไรจึงจะใช้เงินได้ cost-effective ที่สุด หรือมี ประสิทธิภาพที่สุดนั่นเอง เรากำลังเผชิญความท้าทายที่เมื่อมหาวิทยาลัยมหิดล ออกมาเป็น มหาวิ ท ยาลั ย ในกำกั บ รั ฐ แล้ ว เราสามารถกำกั บ ดู แ ลและจั ด การให้ มหาวิทยาลัยมหิดลทำงานรับใช้สังคมได้ดียิ่งขึ้น ใช้ทรัพยากรของชาติ
ก่อผลต่อสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และสามารถทำงานยากๆ ได้มากขึ้น กรรมการที่มาจากภาคธุรกิจ กำลังช่วยกันนำเอาวิธีการบริหารจัดการ สมัยใหม่ เข้ามาปรับใช้ในมหาวิทยาลัย เพื่อให้มหาวิทยาลัย produce more with less resources คือมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นนั่นเอง แต่ที่เรา อยากได้ยิ่งกว่านั้น คือช่วยให้มหาวิทยาลัยมหิดลสามารถ produce the unproducable คือทำหน้าที่ที่ยังไม่เคยทำหรือทำไม่ได้ ให้ทำได้ นั่นคือ เพิ่มขีดความสามารถ และคุณภาพนั่นเอง นี่คือตัวอย่างของการที่สภามหาวิทยาลัยทำหน้าที่แนว Generative Governance
ศาสตราจารย์นายแพทย์ วิจารณ์ พานิช / 61
8
การจัดการ ระบบอุดม ศึกษาไทย แบบเคออร์ดิค
8
แนวคิด หลักการ วิธีการ แบบเคออร์ดิคเหมาะสมต่อสิ่งที่มีธรรมชาติ ซับซ้อน มีความสัมพันธ์ที่ซับซ้อน มีทั้งความไม่แน่นอนและความแน่นอน หรือกฎเกณฑ์กติกาของธรรมชาติอยู่ด้วยกัน แนวคิด หลักการ วิธีการ แบบเคออร์ดิค จึงเหมาะสมอย่างยิ่งต่อการนำมาใช้ในการจัดการระบบ ต่างๆ ระบบที่ยิ่งซับซ้อนยิ่งเหมาะต่อการใช้ แนวคิด หลักการ วิธีการ แบบ เคออร์ดคิ ดังนัน้ การใช้ในการจัดการระบบอุดมศึกษาจึงน่าจะเป็นแนวทาง
ที่ถูกต้อง ที่ผ่านมาการจัดการระบบอุดมศึกษา (และระบบอื่นๆ ของประเทศ ไทย) ใช้แนวคิด หลักการ และวิธีการแบบควบคุมและสั่งการ (Command and Control) เน้นการควบคุมและสั่งการแบบรวมศูนย์ ผ่านการออกข้อ บังคับหรือกฎระเบียบ และการควบคุมให้เป็นไปตามข้อบังคับเหล่านั้น สิ่งที่เกิดขึ้นคือ เกิดข้อบังคับเดียว ใช้กับทุกสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ ใน ลักษณะที่เรียกว่า “ทุกคนสวมรองเท้าเบอร์เดียวกันหมด” (One size fits all.) ทั้งๆ ที่แต่ละคนมีขนาดเท้าไม่เท่ากัน และในความเป็นจริงของสถาบัน อุ ด มศึ ก ษา ประเด็ น สำคั ญ มี ห ลากหลาย ซั บ ซ้ อ นกว่ า ขนาดรองเท้ า มากมายนัก 64 / นโยบายสาธารณะเพื่อการปฏิรูปอุดมศึกษาไทย
ที่จริง ระเบียบข้อบังคับที่ใช้ควบคุมสถาบันอุดมศึกษามี 2 ชุด ชุด หนึ่งใช้กับสถาบันของรัฐ อีกชุดหนึ่งใช้กับสถาบันเอกชน มีความเคร่งครัด แตกต่างกัน เห็นได้ชดั ว่า การจัดการระบบอุดมศึกษาแบบควบคุมและสัง่ การ สามารถดำเนินการได้เฉพาะที่ต้นทาง คือควบคุมหลักสูตร ทรัพยากรที่ ใช้ (เช่ น สั ด ส่ ว นอาจารย์ ต่ อ นั ก ศึ ก ษา อาคารสถานที่ ฯลฯ) แต่ ไ ม่ สามารถควบคุมคุณภาพที่ผลผลิต คือบัณฑิตที่จบการศึกษา อุดมศึกษา ไทยจึงตกอยู่ในสภาพปริญญาเฟ้อและคุณภาพแตกต่างหลากหลายมาก เกินไป สภาพที่เกิดขึ้นคือ คุณภาพของอุดมศึกษาไทยในภาพเฉลี่ยต่ำ และจะไม่สามารถทำหน้าที่ขับเคลื่อนทางปัญญาให้แก่สังคมได้ หากทิ้งไว้ใน สภาพนี้ คนที่มีกำลังทางเศรษฐกิจจะส่งลูกหลานไปศึกษาต่างประเทศ มากขึ้น สถาบันในต่างประเทศจะรุกเข้ามาจัดบริการในประเทศไทยมาก ขึ้น เด็กสมองดีจะถูกดึงดูดไปศึกษาในสถาบันของต่างประเทศมากขึ้น (Brain drain) ทำให้การสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ผ่านกระบวนการทางสติปัญญา ที่ใช้ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์สูง โดยใช้ คนที่มีสติปัญญาสูง ทำได้ยาก การจัดการระบบอุดมศึกษา จึงควรหันมาเน้นจัดการที่ปลายทาง คือ จัดการที่ผลลัพธ์สุดท้ายของระบบ จัดการคุณค่าของระบบ จัดการปัจจัย ต่างๆ ของระบบอุดมศึกษาเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ปลายทางต่อสังคมตาม เป้าหมายทีก่ ำหนด การจัดการตามแนวนี้ คือการจัดการ แบบเคออร์ดคิ หากจะใช้หลักการ แนวทาง และแนวปฏิบัติ แบบเคออร์ดิคต่อการ จัดการระบบอุดมศึกษา ควรพิจารณาองค์ประกอบหลักทั้ง 6 ประการ ดังนี้ ศาสตราจารย์นายแพทย์ วิจารณ์ พานิช / 65
1. ปณิธานความมุ่งมั่น (Purpose) ของระบบอุดมศึกษา ปณิธานความมุ่งมั่นของระบบอุดมศึกษา เป็นสิ่งที่คนในสังคมต้อง ร่วมกันกำหนด เพราะระบบอุดมศึกษาไทยเป็นของสังคมไทย เป็นของ คนไทยทุกคน และการกำหนดปณิธานความมุ่งมั่นของระบบอุดมศึกษา ต้องเป็นกระบวนการต่อเนื่องไม่มีสิ้นสุด มีการทบทวนใหญ่เป็นระยะๆ ว่าตัวระบบเดินไปตรงตามปณิธานความมุ่งมั่นที่กำหนดไว้หรือไม่ หน้าที่หรือปณิธานความมุ่งมั่นของระบบอุดมศึกษาโดยทั่วไปรวมถึง • การผลิตกำลังคนระดับสูงให้แก่ประเทศ • การทำหน้าที่สมองหรือเป็นสติปัญญาให้แก่สังคมในหลากหลาย ด้าน ทั้งด้านการเปิดพรมแดนแห่งความรู้และเทคโนโลยี การชี้ ทิศทางของสังคม การเตือนสติสังคมการเป็นที่พึ่งด้านคุณธรรม จริยธรรม • การเป็นกลไกขับเคลื่อนสังคม ร่วมกับภาคส่วน (sector) ต่างๆ ของสังคม ให้สังคมไทยสามารถมีความรักความปรองดอง และ อยู่ร่วมกับสังคมโลกได้อย่างมีศักดิ์ศรี มีความภูมิใจในความ เป็นไทย • การเป็นกลไกแลกเปลี่ยนเชื่อมโยงสัมพันธ์กับนานาประเทศ
ในด้านอุดมศึกษาวิจัยทรัพย์สินทางปัญญาศิลปะและวัฒนธรรม กีฬา และอื่นๆ • การเป็นกลไกนำเอา talent และ intellectual assets ของสังคม ไทย มาพัฒนาให้เต็มศักยภาพ และทำหน้าที่สร้างสรรค์ให้แก่ สังคมไทย 66 / นโยบายสาธารณะเพื่อการปฏิรูปอุดมศึกษาไทย
ปณิธานความมุ่งมั่นของระบบอุดมศึกษาเป็นเข็มทิศ เป็นพลัง เป็น แรงดึงดูดความร่วมมือร่วมใจจากภาคส่วนอื่นๆ ของสังคม และเป็นตัว กำหนดคุณค่า คุณธรรม ศีลธรรม กฎเกณฑ์กติกา และพฤติกรรมของ องค์ประกอบ หรือผู้มีส่วนลงมือดำเนินการกิจกรรมอุดมศึกษาทั้งหมด ปณิธานความมุ่งมั่น (Purpose) เป็นตัวเชื่อมร้อยความแตกต่าง หลากหลายของระบบอุดมศึกษาเข้าหากัน เป็นกลไกของความเป็นเอกภาพ ในท่ามกลางความหลากหลาย (Unity within diversity) ของระบบ
2. หลักการหรือหลักชี้นำ (Guiding Principle) ของการจัดการระบบอุดมศึกษา หลักการโดยทั่วไปของแนวคิดหลักการวิธีการ แบบเคออร์ดิค ได้แก่ • หลักเปิดกว้าง (inclusive) คือเปิดกว้างให้แก่ผู้คนที่หลากหลาย
ในสังคมเข้ามามีส่วนขับเคลื่อนระบบ ไม่ใช้หลักการแบบจำกัด บทบาท (exclusive) เฉพาะคนในวงการศึกษาเท่านั้น • หลักการไวต่อสภาพแวดล้อม ซึ่งหมายถึงเข้าใจสภาพแวดล้อม ในมิ ติ ที่ ลึ ก และตอบสนองหรื อ ชี้ น ำสั ง คมในมิ ติ ที่ ลึ ก นั้ น ตีความได้ว่า มีการดำเนินการทำความเข้าใจสภาพแวดล้อม เชิงระบบ ด้วยการวิจัยระบบ (Systems Research) ทำให้เกิด ความรู้เชิงระบบ (Systems Knowledge) ของปัจจัยภายนอก
สำหรับนำมากำหนดนโยบาย มาตรการ และวิธีปฏิบัติ เพื่อ
ขับเคลื่อนระบบ ทำให้กระบวนการขับเคลื่อนระบบมีลักษณะ Research-based หรือ Knowledge-based ศาสตราจารย์นายแพทย์ วิจารณ์ พานิช / 67
• หลักการเข้าใจตนเอง ซึ่งก็คือเข้าใจระบบอุดมศึกษาเองในมิติ ที่ ลึ ก และเชื่ อ มโยง รวมทั้ ง ในมิ ติ ที่ เ ปลี่ ย นแปลงไม่ ห ยุ ด นิ่ ง (dynamic) ความเข้าใจดังกล่าวได้จากการวิจัยระบบอุดมศึกษา เอง ทำให้การจัดการระบบอุดมศึกษา มีลักษณะ Knowledgebased ทั้งที่เป็นความรู้เชิงระบบของสภาพแวดล้อม และความ รู้เชิงระบบของระบบอุดมศึกษา และที่สำคัญที่สุด ความรู้เชิง ระบบของระบบปฏิสัมพันธ์ระหว่างภาคส่วนต่างๆ กับระบบ อุดมศึกษา • หลักการเอกภาพในท่ามกลางความหลากหลาย เอกภาพใน ปณิธานความมุ่งมั่น แต่หลากหลายในวิธีปฏิบัติ
3. ผู้ร่วมกิจกรรม (Participants) ของระบบอุดมศึกษา โดยยึดตาม “หลักเปิดกว้าง” ที่กล่าวแล้วข้างบน ผู้ร่วมกิจกรรม (participants) หรือผู้มีส่วนได้เสีย (stakeholders) ของระบบอุดมศึกษา คือทุกคน หรือทุกภาคส่วน (sector) ในสังคม ดังนั้น การจัดการระบบ อุดมศึกษาจะต้องส่งเสริมให้ทุกคน ทุกภาคส่วนของสังคม มีส่วนเข้ามา แสดงบทบาท ต้องไม่จำกัดบทบาทเฉพาะในกลุ่มคนที่ทำงานในสถาบัน อุดมศึกษาเท่านั้น ผู้แสดงบทบาท ต่อการจัดการระบบอุดมศึกษา น่าจะมีหลายวง
วงในสุดคือหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง คือ สกอ. (สำนักงานคณะ กรรมการการอุดมศึกษา) รับผิดชอบด้านการจัดการ (management) ระบบ กกอ.(คณะกรรมการการอุดมศึกษา) รับผิดชอบด้านการกำกับ ดูแล (governance) ระบบ วงถัดออกมา คือ “ภาคชีวิตจริงของสังคม” 68 / นโยบายสาธารณะเพื่อการปฏิรูปอุดมศึกษาไทย
(real sector) ที่ต้องสัมผัสกับส่วนต่างๆ ของระบบอุดมศึกษาอยู่ทุกเมื่อ เชื่อวัน จะมีบทบาทร่วมมือ ใช้งาน และให้ข้อมูล/ความเห็น เชิงป้อนกลับ (feedback) ต่อระบบอุดมศึกษาอยู่ตลอดเวลา โดยระบบอุดมศึกษา ต้องพัฒนาขีดความสามารถในการรวบรวมและสังเคราะห์ข้อมูลป้อน กลับให้เป็นสารสนเทศเชิงระบบ (Systems Information) สำหรับใช้ใน การปรับตัวของระบบอุดมศึกษา เนื่องจากอุดมศึกษาได้กลายเป็น “สินค้า” (commodity) ในลักษณะ หนึ่งไปแล้ว ดังนั้นจึงต้องมีระบบคุ้มครองผู้บริโภคเข้ามาแสดงบทบาทด้วย จะต้องร่วมกันทำความเข้าใจว่า ผู้ร่วมกิจกรรมของระบบอุดมศึกษา มีฝ่ายใดอีกบ้าง แสดงบทบาทในฐานะใด อย่างไร ผู้เขียนไม่มีความรู้ เพียงพอที่จะระบุให้ครบถ้วนได้
4. แนวทางจัดองค์กร (Organizational Concept) ขององค์กรจัดการระบบอุดมศึกษา หากยึดตามหลักการเคออร์ดิค การจัดองค์กรหรือโครงสร้างองค์กร ต้ อ งมาที ห ลั ง หรื อ รั บ ใช้ 3P แรก คื อ Purpose, Principle และ Participants คือใช้หลักการ PPPO ใช้ O สนองหรือรับใช้ PPP แต่ใน ราชการไทย เรายึดแนวทางตรงกันข้าม คือกำหนดโครงสร้างองค์กรไว้ ในกฎหมาย ทำให้การจัดการแบบเคออร์ดิค เป็นเรื่องยาก แต่ก็ไม่ถึงกับ ทำไม่ได้เลย หากยึ ด ตามหลั ก การจั ด การระบบแนว Knowledge-based / Research-based ก็ต้องมีการจัดองค์กรให้มีกลไกการวิจัยเชิงระบบ ซึ่ง ต่อไปอาจมี สวรอ.(สถาบันวิจัยระบบอุดมศึกษา-Higher Education ศาสตราจารย์นายแพทย์ วิจารณ์ พานิช / 69
Systems Research Insitute) เกิดขึ้น ในช่วงแรกอาจมีคณะอนุกรรมการ วิจัยระบบอุดมศึกษา จะต้องมีการจัดองค์กรเพื่อใช้พลังที่หลากหลายมาขับเคลื่อนระบบ เช่น อาจต้องมีมูลนิธิคุ้มครองผู้บริโภคด้านอุดมศึกษา เป็นต้น
5. ธรรมนูญ (Constitution) หรือกติกา ในการดำเนินการจัดการระบบอุดมศึกษา ดังกล่าวแล้วว่า ในระบบราชการไทยเราอยู่ภายใต้กระบวนทัศน์เชิง อำนาจควบคุมสั่งการ เราจึงมีกฎหมายระบุกติกาในการจัดการระบบอุดม ศึกษามาแล้วเป็น “ธรรมนูญ” ภายใต้แนวคิดเชิงควบคุมสั่งการเป็นข้อจำกัด ของการประยุกต์ใช้หลักการ เคออร์ดิค ในการจัดการระบบอุดมศึกษาไทย แต่ ก ระนั้ น ก็ ต าม ก็ ยั ง มี ช่ อ งทางที่ กกอ.และสกอ.จะร่ ว มกั น ประยุกต์ใช้หลักการ เคออร์ดิค และกำหนดข้อบังคับ หรือระเบียบปฏิบัติ เพื่อใช้พลัง เคออร์ดิค ตามหลักการ PPP ข้างต้น
6. วิธีปฏิบัติ (Practice) ในการจัดการระบบอุดมศึกษาไทย วิธีปฏิบัติตามหลัก เคออร์ดิค PPPOC ข้างต้น จะใช้ทั้งการกำหนด กฎข้อบังคับ ซึ่งต้องทำตามที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ.การศึกษา พ.ศ.2542 และกฎหมายอื่ น ๆ โดยทำคู่ ข นานไปกั บ กิ จ กรรมจั ด การระบบตาม PPPOC ข้างต้น คือทำด้านบังคับ คู่ไปกับทำด้านส่งเสริม ส่งเสริมให้ เกิดวิวัฒนาการของระบบ โดยทุกภาคส่วนของสังคมไทยเข้ามาแสดง บทบาทในการพัฒนาระบบ ไม่ใช่ปล่อยให้เฉพาะคนในวงการอุดมศึกษา เป็นผู้ผูกขาดการพัฒนาระบบ 70 / นโยบายสาธารณะเพื่อการปฏิรูปอุดมศึกษาไทย
9
การกำกับดูแล ระบบอุดม ศึกษาไทย แบบเคออร์ดิค
9
การที่ ผ มเข้ า ไปทำหน้ า ที่ ป ระธานคณะกรรมการการอุ ด มศึ ก ษา (กกอ.) ตั้งแต่ต้นปี 2552 เป็นต้นมา ทำให้ผมได้เรียนรู้ว่า การกำกับ ดูแลระบบอุดมศึกษาไทยในปัจจุบัน ได้ผลน้อย ไม่สามารถกำกับให้ ระบบอุดมศึกษาขับเคลื่อนไปในทิศทางที่กำหนดได้ เพราะวิธีคิดและ ยุทธศาสตร์มาตรการกำกับมันล้าสมัยหรือตกยุค ไม่ได้ใช้วิธีกำกับดูแล ระบบที่มีธรรมชาติซับซ้อนและปรับตัว (Complex Adaptive System)
ที่จะต้องกำกับแบบ เคออร์ดิค วิธีกำกับดูแลที่ กกอ./สกอ. ใช้อยู่ในปัจจุบัน เป็นแบบควบคุมและ สั่งการ (Command and Control) เน้นที่การออกกฎระเบียบ และคอย ดูแลตรวจสอบให้มีการปฏิบัติตามกฎระเบียบ ซึ่งในระบบอุดมศึกษาที่ ใหญ่และซับซ้อนอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน กกอ./สกอ. ทำได้เพียงออก กฎระเบียบ แต่แทบจะไม่รู้เลยว่ามีการปฏิบัติตามกฎระเบียบอย่างจริงจัง แค่ไหน เสียงเล่าลือเรื่องการเลี่ยงกฎมีอยู่ทั่วไป โดยที่ กกอ./สกอ.ไม่มี ความสามารถเข้าไปตรวจสอบได้ครบถ้วนจริงจัง การกำกับดูแลแบบควบคุมและสั่งการ มีลักษณะยึดกฎระเบียบ เป็นที่มั่น จะทำอะไรก็หันไปตรวจสอบกฎระเบียบ หากตัดสินใจถูกต้อง ตามกฎระเบียบแม้จะก่อผลเสียหายต่อบ้านเมืองก็ไม่เป็นไร 72 / นโยบายสาธารณะเพื่อการปฏิรูปอุดมศึกษาไทย
ตรงกันข้ามกับการกำกับดูแลแบบ เคออร์ดิค ยึดผลประโยชน์ต่อ บ้านเมืองเป็นหลัก แล้วทีมงานกำกับดูแล (Participants) ร่วมกัน เขียนเป็นปณิธานความมุ่งมั่นร่วม (Shared Purpose) ในการทำงานจาก นั้นจึงแตกเป็น Core Principles สำหรับใช้กำหนดทิศทางในการทำ หน้าที่กำกับดูแล
1. ระบบซ้อนระบบ มีธรรมชาติเป็นระบบที่ซับซ้อน และปรับตัวทั้ง 2 ระบบ
ผมเข้าใจผิดมานานเกี่ยวกับกลไกกำกับดูแลระบบอุดมศึกษา และเชื่อ ว่าคนทั่วไปก็เข้าใจผิดเหมือนผม ว่าหน่วยงานหรือองค์กรที่รับผิดชอบ กำกับดูแลระบบอุดมศึกษาคือ กกอ./สกอ. ย้ำว่าความเข้าใจเช่นนี้ผิดนะ ครับ หรือกล่าวใหม่ว่าถูกเพียง 1 ส่วน ผิด 3 ส่วน จริงๆ แล้วการกำกับ ดูแลระบบอุดมศึกษาเป็นระบบที่ซับซ้อนและปรับตัว มีหลายองค์กรเข้า มาเกี่ยวข้องในต่างบทบาทอย่างซับซ้อน และบางครั้งบางเรื่องก็ซ่อนเงื่อน (คือไม่ตรงไปตรงมา) เท่ากับกลไกกำกับเองก็เป็นระบบ และเป็นระบบที่มีธรรมชาติซับซ้อน และปรับตัว เพื่อกำกับระบบอุดมศึกษาที่เป็นระบบที่ซับซ้อนและปรับตัว เหมือนกัน เมื่อเป็นระบบที่ซับซ้อนและปรับตัว ทั้งตัวผู้กำกับและผู้ถูกกำกับ กลไก ความสัมพันธ์ในระบบทั้งสองจึงยิ่งต้องเป็นกลไกแบบ เคออร์ดิค จึงจะได้ ผลอย่างแท้จริง กลไกความสัมพันธ์แบบควบคุมและสั่งการ ได้ผลน้อย
หรืออาจกล่าวใหม่ว่า จะให้ได้ผลสูงสุด ต้องใช้ทั้ง 2 กลไกร่วมกัน ศาสตราจารย์นายแพทย์ วิจารณ์ พานิช / 73
2. องค์กรที่อยู่ ในระบบกำกับดูแลระบบอุดมศึกษา องค์กรที่เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลระบบอุดมศึกษาได้แก่ 1. คณะกรรมการการอุ ด มศึ ก ษา (กกอ.) และสำนั ก งานคณะ กรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) มีหน้าที่ตาม พ.ร.บ.การศึกษา แห่งชาติ พ.ศ.2542 มาตรา 37 2. สำนั ก งานรั บ รองมาตรฐานและประเมิ น คุ ณ ภาพการศึ ก ษา (สมศ.) 3. สำนักงบประมาณ 4. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาข้าราชการพลเรือน (กพร.) 5. สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน 6. รัฐสภาในฐานะกลไกตรวจสอบงบประมาณแผ่นดินที่ให้โดยตรง และโดยอ้อม แก่สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ และโดยอ้อมแก่สถาบัน อุดมศึกษาเอกชน 7. สำนักงานพัฒนาและรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (สรพ.) เกี่ยวข้องกับสถาบันอุดมศึกษาที่มีโรงพยาบาล 8. องค์กรวิชาชีพ เช่น แพทยสภา สภาการพยาบาล สภาวิศวกร เป็นต้น เกี่ยวข้องกับการรับรองหลักสูตรวิชาชีพ ทำให้หลักสูตร ทั น สมั ย สอดคล้ อ งกั บ ความต้ อ งการของสั ง คม หรื อ ทำให้ หลักสูตรล้าหลังก็ได้ 9. ศาลปกครอง เกี่ ย วข้ อ งกั บ คดี ท างปกครองซึ่ ง ทั้ ง สถาบั น อุดมศึกษาของรัฐ และของเอกชนต่างก็ตกอยู่ภายใต้อำนาจ ของศาลปกครอง 74 / นโยบายสาธารณะเพื่อการปฏิรูปอุดมศึกษาไทย
11. องค์กรด้านการวิจัยและพัฒนา ซึ่งเป็นแหล่งทุนวิจัย ได้แก่ สภาวิจัยแห่งชาติ (วช.), สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.), สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.), สำนักงานวิจัย พัฒนาการเกษตร (สวก.), สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.), สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.), เป็นต้น 11. องค์กรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งเป็นหน่วยนโยบาย และแหล่ ง ทุ น วิ จั ย ได้ แ ก่ สำนั ก งานนโยบายวิ ท ยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (สวทน.), สวทช., สนช., เป็นต้น 12. องค์กรด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ เช่น กระทรวง สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย (TEI) เป็นต้น 13. องค์ ก รด้ า นนโยบายเศรษฐกิ จ และสั ง คม เช่ น สำนั ก งาน
คณะกรรมการพั ฒ นาเศรษฐกิ จ และสั ง คมแห่ ง ชาติ (สศช.), สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) เป็นต้น 14. อื่นๆ ที่ผมยังนึกไม่ออกทั้งนี้ไม่นับรวมรัฐมนตรีศึกษาธิการที่ใน ความเป็นจริงมีส่วนเกี่ยวข้องทั้งทางตรงและทางอ้อม และจริงๆ แล้วกระแสสังคมในภาพรวมก็อยู่ในระบบกำกับดูแลทางอ้อมด้วย รวมทั้งกระทรวงอื่นๆ ก็มีส่วนเกี่ยวข้องและกำกับดูแลระบบ อุดมศึกษาทางอ้อมทุกกระทรวง จากรายการข้างบน แสดงว่า หากตีความเรื่องการกำกับดูแลใน ความหมายที่ ก ว้ า ง ว่ า หมายถึ ง หน่ ว ยงาน หรื อ กิ จ กรรม ที่ ร ะบบ ศาสตราจารย์นายแพทย์ วิจารณ์ พานิช / 75
อุดมศึกษาจะต้องสื่อสารมีปฏิสัมพันธ์ด้วย ทั้งทางตรงและทางอ้อม เพื่อ ให้สามารถทำหน้าที่เกิดประโยชน์ต่อสังคมไทยอย่างสูงสุด เราจะเห็นความ ซับซ้อนสุดประมาณของระบบกำกับดูแลระบบอุดมศึกษา แต่ในทางตรง กันข้าม หากเราไม่คิดอย่างซับซ้อนเช่นข้างบน เราก็จะเห็นเพียงความ สัมพันธ์ระหว่าง กกอ. / สกอ. และสถาบันอุดมศึกษาต่างๆ เท่านั้น จะเป็ น ระบบ Simple & Linear หรือเป็นระบบ Complex & Adaptive ขึ้นอยู่กับโลกทัศน์ของเรา แล้วโลกทัศน์หรือกระบวนทัศน์ นั้นๆ ก็จะนำไปสู่การจัดองค์กร และการดำเนินการตามแนวทางนั้นๆ
3. การจัดการระบบกำกับดูแลระบบอุดมศึกษา ในภาวะที่ระบบกำกับดูแล (ระบบอุดมศึกษา) มีความซับซ้อนดังกล่าว ข้างต้น จึงต้องมีการ “จัดการ” ระบบกำกับดูแลนี้ เพื่อให้เกิดการทำงาน อย่างร่วมมือหรือประสานงานกัน หาทางป้องกันสภาพที่ต่างหน่วยต่างทำ หรือในบางกรณี ทำอย่างขัดแย้งกันและก่อผลเสียต่อบ้านเมือง หากใช้แนวทางของการจัดการแนว เคออร์ดิค ก็ต้อง “จัดการแบบ ไม่จัดการ” หรือจัดการโดยใช้การสื่อสาร ไม่ใช่โดยการสั่งการ เพราะใน ระบบกำกับดูแลที่หน่วยงานข้างบนเกี่ยวข้อง อยู่ในสภาพ “ไม่มีใครใหญ่ กว่ า ใคร” จึ ง ไม่มีอำนาจสั่งการ มีแต่อำนาจของคุณค่าต่อบ้านเมือง อำนาจของความรู้หรือข้อเท็จจริง อำนาจของการมีข้อมูลและตีความข้อมูล อย่างลุ่มลึกน่าเชื่อถือ และอำนาจของเสียงสาธารณะ กกอ./สกอ. ตามกฎหมายมี ห น้ า ที่ ก ำกั บ ดู แ ลระบบอุ ด มศึ ก ษา โดยตรง หากยึดถือกระบวนทัศน์ Complex & Adaptive ก็จะต้อง เปลี่ยนยุทธศาสตร์และวิธีการทำงาน จากที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ที่ใช้แนวทาง 76 / นโยบายสาธารณะเพื่อการปฏิรูปอุดมศึกษาไทย
Command & Control และกำกั บ แบบศิ ล ปิ น เดี่ ย ว ไปสู่ แ นวทาง Chaordic หาองค์กรแนวร่วมในการดำเนินการกำกับดูแล ซึ่งผมจะลอง เสนอยุทธศาสตร์และวิธีการ โดยไม่รับรองว่าจะเป็นแนวทางที่ถูกต้อง
4. การจัดการระบบกำกับดูแลแนว เคออร์ดิค แนวความคิดนี้เกิดจากวิธีมองระบบกำกับดูแลระบบอุดมศึกษา ว่า ไม่ได้อยู่ใต้อำนาจของ กกอ./สกอ. เท่านั้น แต่มีหน่วยงานหลายสิบหน่วย เข้ามาเกี่ยวข้องทั้งโดยตรงและโดยอ้อม ดังกล่าวข้างต้น รวมทั้งเสียง ประชาชนก็มีส่วนกำกับดูแลด้วบ กกอ./สกอ.จึงต้องทำหน้าที่ 2 ชั้น คือกำกับดูแลสถาบันอุดมศึกษา โดยการใช้อำนาจหน้าที่ตามกฎหมายตามแนวทางที่ทำอยู่ในปัจจุบัน ซึ่ง น่าจะเรียกว่า เป็นการกำกับดูแลทางตรง ร่วมกับการทำหน้าที่กำกับดูแล ทางอ้อม ผ่านการมีปฏิสัมพันธ์กับหน่วยงานอีกหลายสิบหน่วยงาน ใน ระบบกำกับดูแลระบบอุดมศึกษา เพื่อให้มีการทำงานร่วมกันเป็น “วงดนตรี ประสานเสียง” ในที่นี้เป็นการประสานการทำงาน เพื่อไปสู่เป้าหมายให้ ระบบอุดมศึกษามีความเข้มแข็ง เป็นพลังของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และสังคม กกอ./สกอ.จึงต้องสร้างความรู้เชิงระบบของระบบอุดมศึกษา ที่ เชื่อมโยงกับระบบต่างๆ ในสังคม และมีความแม่นยำน่าเชื่อถือออกสื่อสาร ไปยังหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และสื่อสารออกไปยังสังคมวงกว้าง ด้ ว ย ชี้ ใ ห้ เ ห็ น ว่ า ระบบอุ ด มศึ ก ษาในปั จ จุ บั น เป็ น อย่ า งไร มี จุ ด แข็ ง
จุดอ่อนอย่างไรบ้าง หากจะเพิม่ ความเข้มแข็งทีจ่ ดุ ก หน่วยงานทีเ่ กีย่ วข้อง จะต้องทำ/ไม่ทำ อะไรบ้าง เพราะอะไร ศาสตราจารย์นายแพทย์ วิจารณ์ พานิช / 77
การกำกั บ ดู แ ลทางอ้ อ มของ กกอ./สกอ. ต่ อ ระบบอุ ด มศึ ก ษานี้ กกอ./สกอ. จะต้องใช้ยุทธศาสตร์ “เจ้าของร่วม” ในการสร้างข้อมูลข่าวสาร ขึ้นมาเป็นเครื่องมือกระตุ้นให้เกิดการสื่อสารหลายทางในสังคม หน่วย งานที่อยู่ในระบบกำกับดูแลระบบอุดมศึกษา ต่างก็มีภารกิจและเป้าหมาย ของตนในลักษณะที่เป็น “แนวร่วม” กับความเข้มแข็งของระบบอุดมศึกษา หากระบบอุดมศึกษาทำหน้าที่ได้ดี เขาก็ได้ผลงานไปด้วย ดังนั้น การ สร้างความรู้ตรงจุดสัมผัสระหว่างระบบอุดมศึกษากับงานของหน่วยงานนั้น จึงเป็นความสนใจหรือเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของหน่วยงานโดยตรง กกอ./สกอ.จึงควรไปชวนให้หน่วยงานนั้นร่วมให้ทุนและร่วมให้ความเห็น ต่อโครงการวิจัยเพื่อสร้างความรู้และข้อมูลข่าวสารชิ้นนั้น การร่วมเป็น เจ้าของการวิจัยเชิงระบบเช่นนี้ เท่ากับเป็นกุศโลบายให้หน่วยงานใช้ ข้อมูลจากผลการวิจัยในการทำงานของตนในส่วนที่เกี่ยวข้องกับระบบ อุดมศึกษา นี่คือ ตัวอย่างของวิธี “จัดการแบบไม่จัดการ” โดย กกอ./สกอ.
5. เครื่องมือสร้างความรู้ความเข้าใจ เพื่อกำกับดูแลระบบอุดมศึกษา หลังจากใคร่ครวญมานาน ผมสรุป (ไม่ยืนยันว่าถูกต้อง) ว่าเครื่องมือ สร้ า งความรู้ ค วามเข้ า ใจ และสื่ อ สารความรู้ เพื่ อ กำกั บ ดู แ ลระบบ อุดมศึกษา ที่ดีที่สุดและได้ผลที่สุดคือ การจัดระดับ/อันดับ (rating/ ranking) สถาบันอุดมศึกษา เพราะการจัดระดับ/อันดับ ต้องใช้ข้อมูล จำนวนมาก (และแม่นยำ) เอามาสังเคราะห์กันเข้าเป็นดัชนีจำนวนน้อย กลุ่ม ในแต่ละกลุ่มก็แตกออกเป็นตัวชี้วัดย่อยๆ 78 / นโยบายสาธารณะเพื่อการปฏิรูปอุดมศึกษาไทย
ปัญหาของระบบอุ ด มศึ ก ษาไทยคื อ เราต้ อ งการการปรั บ ตั ว ของ สถาบันอุดมศึกษาอย่างมากมายหลายด้าน แต่สถาบันอุดมศึกษาไทยมี ความคุ้นเคยกับการอยู่ใน comfort zone และยังมีระบบการทำงานของ หลายหน่วยในระบบกำกับดูแล ที่เป็นวัฒนธรรมอุปถัมภ์ หรือวัฒนธรรม ยึดสภาพเดิมเป็นหลัก ผมเชื่อว่าระบบจัดระดับ/อันดับจะช่วยผลักดันทั้ง ระบบอุดมศึกษา และระบบกำกับดูแล ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใหญ่ได้ โดยต้องไม่ลมื ว่า ระบบการจัดระดับ/อันดับมีทงั้ ข้อดีและข้อเสีย ข้อเสีย มาจากความไม่ แ ม่ น ยำของข้ อ มู ล และความเข้ า ใจผิ ด เกี่ ย วกั บ ระบบ อุดมศึกษา ความเสี่ยงต่อความเข้าใจผิดเรื่องระบบอุดมศึกษาไทยได้หมด ไปแล้วจากแผนระยะยาว 15 ปี ระยะที่ 2 และจากการดำเนินการของ กกอ./สกอ.และของสมศ. ที่กำหนดให้มีสถาบันอุดมศึกษา 4 กลุ่ม ดังนั้น การจัดระดับ/อันดับสถาบันอุดมศึกษา ก็ต้องจัด 4 กลุ่ม ผมเคยเขียนบันทึกเรื่องการจัดอันดับสถาบันอุดมศึกษาไว้ อ่านได้ที่ http://gotoknow.org/blog/council/tag/university%ranking ขอย้ำว่าการจัดระดับ/อันดับ สถาบันอุดมศึกษาเป็นเพียงหนึ่งใน หลายๆ เครื่องมือ ที่ควรนำมาใช้สร้างการสื่อสารหลายทางขึ้นในสังคม ไทย เพื่อสร้างความเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงระบบอุดมศึกษา
6. สรุป การกำกับดูแลระบบอุดมศึกษาแนว เคออร์ดิค ทำโดยมองกลไก กำกับดูแลระบบอุดมศึกษา ว่าเป็นเสมือน “ป่าแห่งระบบกำกับดูแล” หรือ “นิเวศน์แห่งองค์กรกำกับดูแล” และกกอ./สกอ. มีหน้าที่รดน้ำพรวนดิน ใส่ปุ๋ยให้ระบบนิเวศนั้นเติบโตงอกงาม ทำหน้าที่สอดประสานกัน โดยมี ศาสตราจารย์นายแพทย์ วิจารณ์ พานิช / 79
เป้าหมายเดียวกันคือ ความเจริญก้าวหน้าสงบสุขยั่งยืนของสังคมไทย
น้ำดินปุ๋ยในที่นี้คือ ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับระบบอุดมศึกษา ที่มีความ แม่นยำน่าเชื่อถือ สำหรับเอาไปใช้กำหนดนโยบาย และข้อมูลข่าวสารที่ ทรงอานุภาพที่สุดคือ การจัดระดับ/อันดับสถาบันอุดมศึกษา
80 / นโยบายสาธารณะเพื่อการปฏิรูปอุดมศึกษาไทย