1
2
3
วันอังคาร ที่ ๑๐ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๕๖ มันเกือบจะล้มมันเหนื่อยมันล้าเหมือนแทบขาดใจ เดินมาจนท้อไม่เจอจุดหมายปลายทางที่ฝัน จะกลับดีไหมถ้าเดินต่อไปยากเย็นขนาดนั้น ยังถามใจ ตลอดชีวิตฉันเชื่อในสิ่งที่คิด หรือมันจะเป็นอะไรที่ผิด และฉันเองที่หลงทาง ชีวิตมันต้องเดินตามหาความฝัน หกล้มคลุกคลานเท่าไหร่ มันจะไปจบที่ตรงไหน เมื่อเดินเท่าไหร่มันก็ไปไม่ถึง เดินต่อช้า ๆ ไม่อยากปล่อยฝันให้มันหลุดมือ ที่สั่งให้ฉันไปต่อก็คือความเชื่อเท่านั้น ถ้าในวันนี้เรี่ยวแรงยังเหลือก็ยังต้องฝัน ต้องก้าวไป ตลอดชีวิตฉันเชื่อในสิ่งที่คิด แม้ไม่ว่ามันจะถูกหรือผิด จะขอทำ�สุดหัวใจ ชีวิตมันต้องเดินตามหาความฝัน หกล้มคลุกคลานเท่าไหร่ มันจะไปจบที่ตรงไหน แต่จะยังไงก็ต้องไปให้ถึง ที่สุดถ้ามันจะไม่คุ้ม แต่มันก็ดีที่อย่างน้อย ได้จดจำ�ว่าครั้งหนึ่งเคยก้าวไป แค่่คนที่เชื่อในความฝัน จะเหน็ดจะเหนื่อยก็ยังต้องเดินต่อไป ฉันท้อแท้สักกี่ทียังมีหวัง แม้พลาดพลั้งสักกี่ครั้งยังฝันไกล แม้ฉันล้มฉันก็คงไม่ตาย ฉันยังไม่ตาย ฉันยังคงหายใจ แม้ท้อแท้สักกี่ทียังมีหวัง แม้พลาดพลั้งสักกี่ครั้งยังฝันไกล แม้ฉันล้มฉันก็คงไม่ตาย ฉันยังไม่ตาย ฉันยังคงหายใจ ความเชื่อ - บอดี้สแลม
4
คำ�นำ� แฟ้มสะสมผลงานเล่มนี้ จัดทำ�เพื่อรวบรวมผลงานกิจกรรม ผลงานความ สามารถ และความสนใจต่าง ๆ ของผู้จัดทำ� โดยแบ่งได้เป็น 5 ส่วน คือ ผลงาน ความสามารถด้านการถ่ายภาพ ผลงานความสามารถด้านวารสารศาสตร์ ผล งานความสามารถด้านวิดีทัศน์ ผลงานความสามารถด้านการออกแบบ และผล งานกิจกรรมต่าง ๆ ในรอบ 4 ปีการศึกษาของผู้จัดทำ� (พ.ศ. 2553 - 2556) โดย ผลงานบางส่วน ผู้จัดทำ�ได้แนบโค้ดเพื่อเข้าถึงผลงานได้อีกหนึ่งช่องทาง ผู้จัดทำ�ขอกราบขอบพระคุณผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในกิจกรรมต่าง ๆ ที่ผู้จัด ทำ�เคยได้เข้าร่วม และขอขอบคุณผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในแฟ้มสะสมผลงานเล่มนี้ ที่ช่วยให้แฟ้มสะสมผลงานเล่มนี้ออกมาอย่างสมบูรณ์
นายสุรพันธ์ แสงสุวรรณ์ ผู้จัดทำ�
5
สารบัญ
8 48
50 36 6
34 59
8Sexy Six
46 บทความลงวารสาร That is PRC
28 The Teenagers
48 ผลงานความสามารถด้านวิดีทัศน์
ผลงานความสามารถด้านการถ่ายภาพ
ผลงานความสามารถด้านวารสารศาสตร์
44 หนังสือรุ่นเก้า
ผลงานความสามารถด้านวารสารศาสตร์
& จดหมายขาวรอบรั้วมะขามเทศ ผลงานความสามารถด้านวารสารศาสตร์
- ซิทคอม Topfive - ผลงานข่าว ASEAN Young Reporter - สารคดีภาษาอังกฤษ ADMISSIONS - สารคดีบันทึกการเดินทาง ASEAN Exploration Program - ภาพยนตร์สั้น DEATH
58 ผลงานความสามารถด้านการออกแบบ
- ปกหนังสืออนุสรณ์ ปีการศึกษา 2556 โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย - ตราสัญลักษณ์สถาบัน Engaround
60 ผลงานกิจกรรม 62 ภาคผนวก
7
8
Sexy Six
ผลงานความสามารถด้านภารถ่ายภาพ
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
แบบ (จากซ้ายไปขวา) วรุตม์ อารีพันธุ์ | ณัฐรัฐ เสมพิพัฒน์ | ธงชัย สิงห์ ใจ | สหภาพ สมบูรณ์ | รชตะ ไคร้วงษ์ | วีรยุทธ สุรียวงค์ ช่างภาพ สุรพันธ์ แสงสุวรรณ์ ช่างภาพร่วม ณํฐนนท์ ตรีรัตนธำ�รง แต่งหน้า - ทำ�ผม รชตะ แสงมณีวรรณ | ละอออร ภู่ภักดี
26
27
ผลงานความสามารถด้านวารสารศาสตร์ เรื่องและภาพ : สุรพันธ์ แสงสุวรรณ์
28
มีคนเคยบอกว่า วัยรุ่นเป็นได้ครั้งเดียว ทำ�อะไร ทำ�ให้สุด แต่สุดในความหมายของแต่ละคนนั้นไม่เหมือนกัน วัยรุ่นทั้ง 5 คนที่เราเลือกมาพูดคุยกันในพื้นที่ต่อไปนี้ คือวัยรุ่นที่ทำ�ในสิ่งที่ หลายคนคาดไม่ถึง นักเรียนทุน ประธานชมรมสร้างสรรค์เยาวชน ประธานสภานักเรียน นักแสดง และนักเรียนเตรียมทหาร เราจะมานั่งพูดคุยกับเขาถึงสิ่งที่เขาทำ� ที่เปลี่ยนทั้งตัวเอง และสังคม นั้นเกิด ขึ้นได้อย่างไร และมีผลกับชีวิตของพวกเขา และสังคมยังไง
29
30
31
หลายคนในที่นี้ไม่รู้จักโครงการ JSTP ผู้เขียนก็เป็นหนึ่งในนั้น เราพบตะวัน ถิ่นถาวรกุลพร้อมกับรถ จักรยานคู่ใจ และนั่งสนทนากับเขาและเส้นทางสาย ประดิษฐ์เส้นนี้ ตะวันเริ่มเล่าว่า เส้นทางสายประดิษฐ์ ของเขาเริ่มจากโครงการ JSTP ที่จัดโดย สำ�นักงาน พัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สสวท.) ที่ต้องการเฟ้นหานักเรียนมัธยมศึกษาที่มีความสนใจ ในด้านการประดิษฐ์รับทุนเพื่อต่อยอดโครงการของตัว เอง ซึ่งการมาสู่เส้นทางของความสำ�เร็จในครั้งนี้ ไม่ใช่ เรื่องง่าย ๆ “มีวันหน่ึงครูที่โรงเรียนเก่า (โรงเรียนช่อ ฟ้าซินเซิงวานิชบำ�รุง) เอาใบสมัครมาให้ดู เลยลอง สมัครเข้าไป ส่งไป ผ่านเข้ารอบสัมภาษณ์ ตอนไป สัมภาษณ์จะเจอคำ�ถามมาจากคำ�ถามในใบสมัครที่วัน แนวคิดของเรา เช่น ถ้าพระอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวัน ตก โลกจะเกิดอะไรขึ้น ตอนนั้นเขียนไปไม่ได้คิดอะไร เหมือนกัน วันสัมภาษณ์ไปสัมภาษณ์ที่ตึก 40 ปีคณะ วิทย์ฯ มช. กรรมการก็ให้เขียนแผนผังอาคารออกมา มันเป็นกิจกรรมที่สนุกและบ้ามาก ตอนนั้นเขียนออก ไปมั่ว ๆ นะครับ (หัวเราะ) “หลังจากนั้นก็ผ่านครับ ช่วงนั้นเราก็ไม่ หวังอะไร สมัครเล่น ๆ หลังจากสัมภาษณ์เข้าไปก็ เหมือนไปเล่นทอล์กโชว์กับกรรมการ ได้ไปทำ�อะไรอีก เยอะ ก็คือได้เข้าโครงการประมานเดือนพฤษภา เข้า ที่กรุงเทพฯ เป็นครั้งแรกที่นั่งรถไปคนเดียว โชคดีมี คุณป้ามารับไป ซึ่งโดยรวมแล้วค่ายก็ได้เจอกิจกรรม หลายต่อหลายอย่าง เช่นให้เขียนโครงการที่อยากทำ� ผมเขียนเกี่ยวกับพวกรถยนต์ เช่นรถที่มีทั่วไปมีหลัก การการใช้พลังงานยังไง ผมอยากปรับเอามาเป็นพลัง งานไฮโตรเจนที่เป็นมิตรกับโลก ผมก็เอาแนวคิดพวก นี้มานำ�เสนอในค่ายครั้งที่ 1 ก็ได้แนวคิดมาปรับเยอะ กิจกรรมในค่ายจะมีมากกว่าเรื่องวิทยาศาสตร์ มันก็ แค่มุมมองเดียว มีทั้งศิลปะ วัฒนธรรม และสังคมอะไร พวกนี้อ่ะครับ “จากนั้นก็เป็นค่ายครั้งที่ 2 ครับ มันคล้าย กับค่ายแรกครับ เป้นการนำ�เสนอความก้าวหน้าของ งานที่เราทำ� ค่ายสามก็เสนอตัวจบครับ แต่ก็ยังมีค่าย ย่อยอีก 2 ค่ายที่แชร์ประสบการณ์ แล้วก็ไปเที่ยว มี ความรู้เสริม และเป็นการติดตามงานของเราด้วยครับ ตอนนั้นยอมรับว่าเด็กมาก ได้ทำ�ที่ มช. ทำ�แลปตั้งแต่ ตอนนั้น เรียนรู้อะไรมากมายครับ หลังจากนั้นก็เป็น ค่ายที่ 3 ที่เป็นการนำ�เสนอตัวจบ ตอนนั้นไม่ได้ทำ� เป็นรถยนต์เลย มันใหญ่ไป ผมจะพัฒนาพลังงานไฮ โตรเจนให้ได้ราคาที่ถูกลง ตัวอุปกรณ์เซลล์เชื้อเพลิง ที่ใช้ขับเคลื่อนรถยนต์ ตัวอุปกรณ์ก็ค่อนข้างแพง เช่น แพลตตินั่มที่มันแพงมาก เลยอยากทำ�ให้ราคาถุกลง ตอนพรีเซนต์ตอนนั้นเด็กมากครับ ทำ�แลปบางอย่างที่ จะวิเคราะห์ต้องใช้สมการขั้นสูงที่ ป.โท ใช้กัน เลยต้อง ตาม ๆ รุ่นพี่หรืออาจารย์ครับ ตอนนั้นโดนเยอะมาก เรื่องที่ตัวเองทำ�เองมั๊ย ใช่ครับ ผมทำ�เอง แต่เราไม่ได้ ทำ�มาจากสิ่งที่เราทำ�ขึ้นมา หรือปรับจากของเดิม บาง คนก็มองว่าไม่เชื่อใน ค.สามารถ แต่ตอนนั้นก็เป็นแรง ที่ขับเคลื่อนเราให้ออกจากจุดนั้นมา “หลังจากตอนนั้น ม.3 ก็ไม่ค่อยได้ทำ�อะไร แล้ว ช่วงนั้นก็ย้ายโรงเรียน (โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์ วิทยาลัย) ตอนขึ้น ม.4 ก็โอเคละ จากนั้นก็มีความ คิด ม.ปลาย ที่จะกลับไปสู้เรื่องทุนระยะยาว ตอนนั้น เรารู้สึกว่าเราชอบประดิษฐ์อะไรขึ้นมา เราเห็นภาพ สิ่งประดิษฐ์ที่เราอยากทำ�มาก ๆ แต่ก็ยังไม่เห็นกับ ตา ผมสังเกตุตัวเองตอนเด็ก ๆ ที่ผมชอบเอากระดาษ แผ่นใหญ่ ๆ มาวาดสตอรี่บอร์ดเป็นซีนแอนิเมชั่น เป็น การ์ตูนสำ�หรับเด็ก ตอนนั้นไปหาเลยว่าเราจะทำ�ยังไง
32
ไปลงเรียนแอนิเมชั่นด้วย แต่ตอนนั้นรู้สึกว่าทำ�ไมถึง ล้มเลิกความคิดกลางคัน ผมจะมีปมอย่างนึง คืออยาก ทำ�ขึ้นมา แต่ทำ�ไม่ได้ อยากทำ�แต่ไม่รู้ว่าจะทำ�ยังไง เลย มีแรงขึ้นมาว่าถ้าอยากทำ�อะไร ต้องทำ�ได้ เราอยากจะ ทำ�ให้ได้ ตอนนั้นไม่เข้าใจว่าทำ�ไมถึงคิดแบบนั้น ตอน นั้นผมชอบพวกยานพาหนะทั้งหลาย จริง ๆ ไม่ได้ชอบ หรอก ตอน ม.ปลาย มีเรื่องนึงที่ผมขอมอเตอร์ไซค์พ่อ แต่ไม่ให้ ได้จักรยานมาแทน พ่อให้ปั่นมาโรงเรียน โอเค ช่วงนั้นผมก้ปั่นไปนาน ๆ ก็เริ่มชอบ ซึ่งมันก็เป็นแรง บันดาลใจที่ผมจะคิดโปรเจคต์ใหม่ขึ้นมา หลายคนมีปม แต่บางคนก็เลือกที่จะ ปล่อยให้มันอยู่ในใจ แต่ในขณะที่หลายคนก็มีปมเช่น เดียวกัน แต่การจัดการปมนั้น คือเลือกทำ�อะไรบาง อย่างที่จะทำ�ลายปมนั้นออกไป ตะวันเลือกที่จะสมัคร โครงการ JSTP ในหมวดทุนระยะยาวเพื่อทำ�ลายปม นั้น “ตอนนั้ น ผมอยากทำ � จั ก รยานไฮบริ ด ที่ เราทำ�เองทุกอย่าง ราคาจะถูกลง ตอนนั้นมีครูไววิทย์ (อ.ไววิทย์ จันสังสา) กับครูปู (อ.ขัดิยา จันสังสา) พา ไปแข่งโครงงาน ตอนนั้นสนใจ อยากประดิษฐ์ให้เป็น ตอนนั้นไปแข่งกับเพื่อนผู้หญิงสองคน เข้าแค่รอบภาค เหนือ มันสอนอะไรหลายอย่างที่เป็นตัวที่ช่วยเปิดโลก ให้ผมสร้างได้จริง ๆ แต่มันยังไม่ได้มาจากข้างใน ตอน นั้นทำ�แบตเตอรี่ดินครับ มันไม่ได้คิดมากจาก ค.เข้าใจ ของเรา จุดประสงค์ไม่ชัดเจน ช่วงนั้นปลายปีที่แข่ง น้ำ�ก็ท่วม ผมเลยก็สมัครโครงการที่เกี่ยวกับการทำ� เรื่องหนีน้ำ�ท่วม ได้ไปกับเพื่อน ๆ ประดิษฐ์จริง คิด จริง ผลออกมาก็โอเคฮะ แต่ไม่ชนะ แต่ก็ไม่เป็นไร ได้ประสบการณ์ ช่วงปลายปีนั้นผมก็สมัคร JSTP ม.ปลาย ผมคิดว่าอยากจะได้อะไรจากตรงนั้น อยาก ทำ�ฝันให้เป็นจริง “ทีนี้ผมก็สมัครไป ก็แอบคิดว่าได้แรง บันดาลใจจากจักรยานที่พ่อซื้อให้ เวลาผมปั่นจักรยาน ไปเนี่ย ตอนผมเบรคมันเหนื่อยที่เราต้องปั่นออกตัวอีก ที แอบเบื่อเหมือนกัน ก็เลยคิดอะไรสักอย่างที่ทำ�ให้ เราปั่นจักรยานให้เหนื่อยน้อยลง กะมาเป็นจักรยานไฮ บริดที่ใช้ไฟฟ้ากับแบตฯ ซึ่งผมมองว่าราคาก็สูง แล้วก็ ประสิทธิ์ภาพน้อยกว่าระบบที่ออกมา ผมก็เลยลงมือ ว่า ถ้ามีจักรยานที่มีกงล้อ แล้วเก็บพลังงานไว้ ก็เอา ไอเดียตรงนั้นออกมาทีละนิด ๆ ค่อย ๆ เห็นภาพการ ทำ�งานของมัน แต่ว่าเรายังไม่รู้ว่ามันมีรูปร่างยังไง “ตอนนั้นกดดันตัวเองเยอะ ที่จะทำ�ให้ มันออกมาชัดขึ้นมา ทีนี้ก็เป็นจุดหนึ่งที่เป็นแรง บันดาลใจขึ้นมา ตอนนั้นเลยคิดว่ามีอะไรเกี่ยวกับการ ประดิษฐ์ ผมก็สมัครหมดเลย ตอนผม ม.5 ผมผ่านทั้ง 2 โครงการเลย ซึ่งเป็นการต่อยอดเข้าไปในการทำ�งาน ตอนนั้นเดือนเมษายน โครงการ 2B-KMUTT ของ มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี ก็เรียกผมเข้าไปละ ไปอยู่ใน ม. เลย 1 เดือนเต็ม ๆ โครงการในค่ายก็เช่นให้ทำ�โปรเจคต์ใน 3 อาทิตย์ เรียนรู้ชีวิตใน ม. ก็แฮปปี้ดี แต่ก็ดันโฟกัสกับเรื่องโปร เจคต์มากกว่า ก่อนหน้านั้นประมาน 2 อาทิตย์ ผมไป ค่ายลาว (โครงการ ASEAN Exploration Program ณ สปป. ลาว จัดโดยโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย) ช่วงเวลาที่ปล่อยว่าง ผมไปคุยโครงการกับเพื่อนที่อยู่ JSTP ด้วยกันนี่แหละ แต่ผมก็ยังไม่เห็นภาพจนคุณพ่อ ของเพื่อนก็ช่วยเรื่องภาพของกลไกที่ชัดเจนขึ้น เหมือน ผมเห็นภาพวาดจริง ๆ ในกระดาษ เราก็เห็นว่ามันก้าว ได้เยอะ มันเหมือนเป็นกุญแจเลย พอผมกลับมาทำ�ที่ บางมด ผมเลยลงมือทำ�จริง ๆ เวลาผ่านไปผมก็เอาไป นำ�เสนอนะ แต่ไม่ได้รางวัล ลองมาวิเคราะห์แล้วมัน ไม่ได้ใช้ความรู้ทางด้านวิศวกรรมมากมาย อีกอย่างมัน ประดิษฐ์ขึ้นมาได้นะ แต่ยังไม่สามารถใช้ได้จริง ตอน นั้นยังไม่รู้ว่าผ่านโครงการ JSTP มั๊ย แต่ก็ดีที่ผ่าน เลย
เข้าไปทำ�งานนี้ในค่ายต่อ โครงสร้างของค่ายก็คล้าย ๆ กัน แต่บรรยากาศและความตึงเครียดมันจะมากกว่า มันก็สนุกไปอีกแบบนะครับ “ตั้งแต่เริ่มคิดได้ก็สัก พ.ย. จนถึง พ.ค. ของอีกปี ประมานครึ่งปีกว่าจะทำ�ขึ้นมา หลังจากนั้นก็ จะนำ�เสนอข้อเสนออะไรทำ�นองนี้ อาจารย์เลยแนะนำ� เรื่องการทำ�งาน ประจวบกับการที่มีอาจารย์จาก มช. มาช่วยก็ทำ�ให้ได้อะไรมากขึ้นด้วย วันแรกก็ไปคุยกับ อาจารย์แกว่าอยากทำ�นะ อยากให้มันเป็นจริง เราก็ คุยกับอาจารย์ว่าอยากให้โปรเจคต์นี้เป็นจริง แต่ผม ไม่เข้าใจทฤษฎีว่าจะอธิบายยังไง อาจารย์ก็ใช้ทฤษฎี ฟิสิกส์ ม.ปลาย มาอธิบาย แต่เราก็ไม่เข้าใจว่าจะใช้คำ� อธิบายแบบไหน ช่วงระหว่างสองค่ายแรก ผมทำ�โปร เจคต์เกือบเสร็จละ ฟีดแบ๊คที่กลับมาค่อนข้างเป๊ะและ โอมาก เราก็มั่นใจละว่าเราทำ�ได้ สุดท้ายโปรเจคต์นี้ก็ เป็นรูปเป็นร่างแล้วก็สำ�เร็จขึ้นมา และผมก็ได้ทุนระยะ ยาวกลับมาด้วยครับ เราฟังตะวันจนถึงคำ�ถามสุดท้าย ว่า สุดท้ายแล้วโครงการนี้ให้อะไรกับเขา “ให้ไอเดีย มุมมองวิทยศาสตร์ กระบวนการคิดต่าง ๆ เหมือนสอนให้เราสร้างสรรค์ ได้ การติดต่อผู้ใหญ่ ปฏิสัมพันธ์กับทางสังคม เป็นส่วน หนึ่งที่เสริมสร้างกันมาตลอด ตอนผมเข้า JSTP ผมลืม ไปว่าผมอยากเป็นนักประดิษฐ์ที่อยากสร้างทุกอย่างให้ โลกสบายขึ้น พอสมัครเข้าไปแล้วคลุกคลีกับเรื่องนั้น เหมือนเราลืมไป หลังจากที่ผมได้ทุนระยะยาวจากที่ ไฟท์มา 4 ปี ผมรู้สึกว่าชิลล์มาก เหมือนเราเลื่อนลอย ตั้งเป้าสั้นเกินไปว่าได้ทุน จบ ตอนนั้นไม่ได้คิดต่อ ครับ พอได้แล้วก็ .. จะเป็นอะไรวะ ตอนนั้นก็โชคดีที่ ลืมความฝันไป เราได้เรียนรู้อะไรหลาย ๆ อย่าง การ เริ่มกลับมามองว่าเราเกิดมาทำ�ไม เราต้องการอะไร ในชีวิต บางทีเหมือนเราก็ได้เรียนรรู้ว่าชีวิตมันไม่มี อะไรเลย แค่ว่าเราใช้ชีวิตทุกสเต็ปให้มีความสุขก็โอเค แล้ว โครงการนี้เปลี่ยนผมมากครับ มันเปลี่ยนไปมาก แต่ผมยังไม่เปลี่ยนความฝันที่จะเป็นนักประดิษฐ์ ผม เชื่อแค่ว่าทุกอย่างมันเป็นไปได้ ผมอยากจทำ�ให้โลกนี้ สบายขึ้น มันย้อนกลับมาที่ความฝันและความต้องการ ของเรา ก็คือนักประดิษฐ์ อยากจะก้าวไปสู่ระดับโลก อาจจะสร้างอะไรขึ้นมาที่นำ�สิ่งหนึ่งที่มีในจินตนาการ ออกมาให้โลกได้รู้ มันอาจจะฟังดูบ้า แต่ก็โอเคที่ผม เห็นภาพอยู่ว่ามีสิ่งนี้ และทำ�ให้คนใช้ชีวิตได้ง่ายขึ้น มาก ๆ ทุกอย่างมันมีแรงบันดาลใจ แต่ผมเชื่อว่าชีวิต เรากำ�หนดชีวิตตัวเองได้ สร้างทุกย่างก้าวในชีวิตของ เราได้
33
34
วันนี้เรามาหาอัจฉรี (เทียน) บัวเขียว ที่ สำ�นักงานโครงการ YGSC (Young Guest Speaker Club) ซึ่งเป็นโครงการในความดูแลของสำ�นักงาน ปราบปรามและป้องกันยาเสพติด (ปปส.) เป็นโครง การที่รวบรวมนักเรียนจาก 7 โรงเรียนเอกชนมาทำ�กิจ กรรมเพื่อสร้างสรรค์สังคมและเยาวชนร่วมกัน ทั้งสำ�นักงานที่ศูนย์การค้าพันทิพย์ พลาซ่า เชียงใหม่ ชั้น 3 มีเทียนคนเดียวที่กำ�ลังแต่งร้านอยู่ เราพอทราบอยู่ว่าเทียนเป็นประธานชมรม ประจำ�รุ่นที่ ... ที่เป็นคนหนึ่งซึ่งทุ่มเทให้กับการทำ�งาน หนักตลอดระยะเวลา 1 ปีที่เป็นประธานชมรม วันนี้เราเลยใช้เวลานี้กับเทียนในการนั่งทบ ทวนเรื่องราวตลอดการทำ�งานของเธอ “ตอนแรกมีพี่จากโครงการมาแนะนำ� มา ชวนเข้าโครงการ มาสมัคร ตอนนั้นสับสนตัวเองว่า เราจะทำ�อะไรในอนาคต รู้สึกสนใจเลยเข้าสมัคร ตอน แรกคิดเลยว่าไม่ติดแน่ ไปค่ายครั้งแรกในชีวิตตอน ม. 4 นอกจากกรอกใบสมัครแล้วก็ต้องเข้ารอบสัมภาษณ์ จาก 100 คนเอา 5 คน ให้เต้นบ้าบอ ให้แนะนำ�ตัว ตอนแรกเรียกสัมภาษณ์ 40 คน แต่ไป ๆ มา ๆ กลัวก็ เหลือไม่กี่คน “พอติดก็ได้ไปเข้าค่ายที่อุทยานแห่งชาติ ดอยสุเทพ – ปุย ตอนแรกก็ตื่นเต้น มีเจ็ดโรงเรียน เป็น 1 ใน 5 ของโรงเรียน กิจกรรมก็สันทนาการ ละลาย พฤติกรรม ทำ�ความรู้จักกัน มีการทำ� Management Skills มีเขียนโครงการ หนังสือราชการ ตาราง 8 ช่อง (กำ�หนดการที่ละเอียดกว่ากำ�หนดการทั่วไป) แล้วก็ สันทนาการ ในนั้นจะมีพิธีบายศรี (พิธีเทียน) ค่ายนี้ ทำ�ให้เรารู้สึกเป็นครอบครัวเดียวกัน ร้องไห้ตามพี่ ซึ้ง มาก ไม่รู้ทำ�ไมแต่ก็ร้องไห้ (หัวเราะ) “กิ จ กรรมหนึ่ ง ในค่ า ยจะมี ใ ห้ ว างแผน โครงการในโรงเรียน เค้าให้วางแผนว่าจบค่ายเราจะ ทำ�อะไรให้โรงเรียน เราวางแผนว่าจะทำ�สวนสมุนไพร ในโรงเรียน (โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย) ให้ วางแผนแล้วนำ�เสนอพร้อมฟังคอมเมนต์ ตอนนั้นครูก็ ถามว่าทำ�ไปแล้วได้อะไร ทำ�เพื่ออะไร ถ้าทำ�ไปแล้วขอ สปอนเซอร์เค้าจะให้เรามั๊ย ตอนนั้นเราตอบยากนะ ยัง เด็กอยู่ แต่พอเข้าไปพรีเซนต์แล้วก็เข้าไปเขียนโครงการ ในโรงเรียน กว่าจะผ่านก็ยาก ให้พี่ตรวจแก้ก็หลายครั้ง เสร็จแล้วก็ยื่นเข้าโรงเรียน แล้วก็ได้พื้นที่เพื่อทำ�โครง การ เราก็จัดการทำ�เองทุกอย่าง “หลังจากโครงการรั้วก็จะมีโครงการ 7 สื่อ รณรงค์ อันนี้ทำ�ร่วมกัน 7 โรงเรียน ให้มานั่งคิดว่าจะ มี 7 สื่อที่วัยรุ่นประสบปัญหาคืออะไร และวิเคราะห์ ว่าควรจะแก้ปัญหายังไง เราก็จัดกิจกรรมวนไปทีละ โรงเรียนทีละอาทิตย์ ปัญหาอยู่ที่ว่าคนทำ�งานมันน้อย มีแค่ 5 คน ติดต่อกันยาก ไอ้ 7 ที่ทำ�มันทำ�ได้แค่ 3 พอ
ทำ�ได้เยอะ ๆ ก็เริ่มอ้างกันบ้างละ หลังจากนั้นเหลือกัน 3 คนมันก็เริ่มท้อ ทำ�ได้แค่ 3 สื่อ ส่วนกลางก็ไม่ได้ว่า อะไร เพราะเราทำ�งานเหมือนเป็นครอบครัว เหมือนพี่ น้องจริง ๆ รอปีหน้ามีน้องมาช่วยนะ “กิ จ กรรมอย่ า งอื่ น ก็ มี อ ย่ า งเลี้ ย งอาหาร กลางวันน้อง ช่วยน้องสิ้นปี ทำ�โรงอาหาร จัดห้อง สมุด อะไรอย่างนี้ มีเยอะมากจนลืมว่าทำ�อะไรไปบ้าง (หัวเราะ) แล้วก็งานประจำ�ปีอย่างเดินวิ่ง อันนี้ มัน เหนื่อยวันงาน จัดสถานที่เสร็จที่ท่าแพ ไปนอนที่บูทีค โฮเทล แล้วก็หอบงานมาที่งานเลย มันเหนื่อยมาก แต่ ก็สนุกดี เทียนที่นั่งอยู่หน้าเราตอนนี้นั่งเล่าเรื่องด้วย รอยยิ้มมาตลอด เหมือนกับว่าปัญหาที่เธอเจอมาทั้ง หมดมันก็เป็นแค่เรื่องเล็กเรื่องเดียวในชีวิต ลองฟังเธอ เล่าดูว่ามันเล็กจริงหรือไม่ “การทำ�งานจริง ๆ ลำ�บาก ตอนแรกมีกัน ไป 5 คน ขากลับบางคนไม่แคร์ว่ากลับมาต้องทำ�งาน บางคนก็แค่เอาเกียรติบัตรเอาพอร์ต ส่วนเราก็ทำ�งาน กันต่อ ก็จะมีออกไปบ้าง แต่ความจริงมันขึ้นอยู่กับการ คุยกัน และการทำ�งานข้างใน คือรุ่นพี่ก่อนวายจี ถ้าเค้า ดึงเรา น้องจะอยู่ แต่บางโรงเรียนก็ไม่สนใจ เข้าค่ายก็ จบ ทำ�ให้ปัญหานี้เกิด อีกปัญหาคือผู้ปกครอง พ่อแม่ ไม่เข้าใจหรอก เค้าไม่คิดว่าการที่เราทำ�ตรงนี้มันพัฒนา ทักษะได้หลายด้าน ไม่ใช่เอาเวลาไปทำ�กิจกรรมอื่นที่ มันไร้สาระ มันเป็นการทำ�กิจกรรมเพื่อสังคมด้วย ไม่ใช่ แค่สังคมได้ เราได้ด้วย “ปัญหาในครอบครัวก็มี มีจนแม่เอือม เล่า ก่อนว่าตั้งแต่เด็กจนตอนนี้ ไม่เคยนั่งรถแดงเอง นั่งรถ ไม่เป็น แม่ห่วงมาก ไปไหนไปรับไปส่ง แต่พอเข้าค่าย มาเราได้ทำ�งาน มันทำ�งานเรื่อย ๆ จนเราต้องออกตัว ว่ากลับบ้านเอง แม่ก็เป็นห่วง แต่ก็มีเพื่อนที่เคยนั่ง รถกลับไปด้วย ก็จะชวนกันไปด้วย ทำ�ให้แม่เราอุ่นใจ ทำ�ให้แม่รู้สึกไว้ใจเรามากขึ้น ตอนนี้แม่ก็เข้าใจละ “ครั้งหนึ่งหนักที่สุดก็ร้องไห้ทุกคืน เราจัด ค่ายกัน 5 คน แต่พอถึงเวลาค่ายคนมาเยอะ เพราะ อยากเจอน้อง แต่ก็ไม่ได้คิดว่าก่อนค่ายจัดเกิดอะไรขึ้น พอเราทำ�ค่ายไม่ดี งานไม่ดี เค้าก็จะตำ�หนิเรา ในค่าย มันจะมีคืนนึงคือพิธีเทียน ก็จะจุดเทียนส่งต่อความ คิด พลังให้น้อง เสร็จพิธีก็จะให้เปิดใจ เค้าก็จัดหนัก ใส่เราว่าน้องทำ�งานไม่เป็น เหมือนไม่ทำ�งานอะไร แต่ เฮ้ย แล้วที่เราทำ�คืออะไร ก็เลยร้องไห้ เสียความรู้สึก ยอมรับว่าเคยโกรธพี่ที่พูดแบบนั้น แต่พอทำ�งานต่อ เรื่อย ๆ ก็ไม่ท้อ ยังมีเพื่อนอยู่ข้าง ๆ ก็ไม่เป็นไรหรอก ตอนนั้นก็เฉย ๆ ไม่เป็นไร ยังไงค่ายเราก็ค่ายเรา เราก็ ทำ�ได้ดีที่เราทำ�ที่สุดละ ไม่แคร์คนมองละ “เคยมีค่ายนึงที่คิดว่าจะออกละ เคยร้องไห้ ตลอดทางกลับบ้าน กลับบ้านยังร้อง ไม่เอาแล้ว จะ
ออก เลิก ตอนนั้นเป็นค่ายสิ้นปี พี่เค้าคิดโครงการไว้ สุดท้าย โยน ไม่เอา ไม่มีใครช่วย ถึงเวลาทุกอย่างไม่ พร้อม สรุปค่ายล่ม ทุกอย่างมาตกที่เรา แล้วพี่ที่จบไป แล้วสั่งว่าต้องทำ�ทุกอย่างให้เสร็จภายในวันนี้ ทุกอย่าง ไม่คอนเฟิร์ม แล้วโยนมาที่เรา พี่ก็โทษเราด้วย ไม่ใช่ ความผิดเรา เราเลยทำ�จนเสร็จแล้วก็ร้องไห้ แต่สุดท้าย ก็บอกกับแม่ว่าเราจะไปนะ แล้วก็ออกเลย แต่ก็ทำ�ไม่ ได้เพราะคำ�สัญญาระหว่างเพื่อนกับเรา มันก็ทำ�ให้เรา อยู่ต่อถึงทุกวันนี้ “สิ่งที่ยากที่สุดเหรอ ไม่รู้ มันเจอมายากทุก อย่างจนแก้ปัญหาทุกอย่างได้ละ มันเป็นประสบการณ์ ให้เราแล้วนะว่าถ้าเจอแบบนี้ เราจะทำ�ยังไง มันเหมือน สอนเราเรื่อย ๆ จนแบบปัญหานี้เราแก้ได้นะ อย่าง ตอนเด็ก ๆ ปัญหาคือไม่ได้ของเล่น ร้องไห้ แต่ปัญหา ตอนเราโตมามันก็จะใหญ่ขึ้น ถ้าเราผ่านได้ มันก็จะเล็ก ถึงตอนนี้เทียนก็ยังมีบางภาระงานที่ได้มา ช่วยน้อง เทียนยังคงเล่าอย่างมีความสุขว่า “ค่ายจบแล้วน้องก็ทำ�กิจกรรม นัดประชุม เราจะดู ว่ า น้ อ งคนไหนที่ จ ะเป็ น ทายาทอสู ร ของเรา (หัวเราะ) แต่ก็มีอยู่หน่อย ส่วนมากเด็กที่พร้อม พ่อแม่ ต้องพร้อมด้วย อย่างค่ายนึงเด็กที่จบมาก็ราว ๆ 50 คน แต่เหลือจริง ๆ ไม่เกิน 10 คน เราจะมีวิธีมองอีก แบบ คิดว่าทำ�ไมน้องไม่ทำ� แต่ก็แบบ เอ่อ ให้น้องลอง บ้างว่าตอนที่เราทำ�งานเป็นไง แต่ลองกลับมาคิดว่าเรา จะไม่ทิ้งน้อง เราสัญญากันว่าเราจะไม่ทิ้งน้อง ห้ามทิ้ง นะ เราสร้างน้องมา ไม่ว่าจะเหลือกี่คนก็ห้ามทิ้งน้อง มันเป็นน้องเรา เราปลูกน้องมากับมือ ให้ทำ�ลายกันก็ใช่ ที่ เราเลยช่วยกันมาตั้งแต่ต้นจนจบ ไม่ทิ้งกันแบบค่าย เรา มันเป้นการทำ�งานแบบครอบครัวจริง ๆ คือยังไงก็ ไม่ทิ้งกัน “สิ่งที่ดีที่สุดในการทำ�งาน เพื่อนและพี่ ๆ จริง ๆ ค่ะ เรากับเพื่อน ๆ พี่ ๆ และการที่เราได้เห็น รอยยิ้มว่าเรามีความสุขในการทำ�งานและยิ้มให้เรา มัน ก็เหมือนว่ามีครอบครัวหน่ึงที่อยู่กับเรา”
35
36
37
38
“ผมเป็นลูกคนที่สอง คนเล็กสุดของบ้าน พี่คนโตเรียนปีสามที่ลาดกระบัง (สถาบันเทคโนโลยี พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง) พ่อเป็นผู้ จัดการธนาคาร แม่เป็นแม่บ้าน ตอนเด็ก ๆ ผมขี้อาย ครับ ไม่พูด เงียบมาก พอโตมาก็ยังเงียบ (ยิ้ม) เชื่อหรือไม่ว่าเราตกใจมาก ที่ได้ยินเขาพูด แบบนี้ เด็กอายุ 16 ซื่อ ๆ คนหนึ่งที่กระโดดมารับ บทนำ�ในภาพยนตร์ที่ถูกพูดถึงมากที่สุด เกรียนฟิคชั่น บทของม่อนที่ทั้งทะเล้น ทะลึ่ง ลามก กวนประสาท จะเป็นบทบาทที่เด็กคนนี้ได้รับ หากพูดถึงชื่อ ปุริม รัตนเรืองวัฒนา คงจะ ไม่ค่อยคุ้นหู แต่ถ้าเป็นชื่อปลื้ม เกรียนฟิคชั่น นั่นน่าจะ เป็นชื่อที่แทบทุกคนรู้จัก อีกหนึ่งผลงานคือ คาราบาว เดอะซีรี่ส์ ตอนลูกหิน ที่แสดงถึงพัฒนาการทางการแสดงที่ ชัดเจนยิ่งขึ้นของเขา และทำ�ให้เขาเป็นที่รู้จักในวง กว้างมากขึ้น แต่ปลื้มกลับบอกว่า ทุกอย่างที่เกิดขึ้น มัน เกิดจากความบังเอิญทั้งสิ้น “ผมไม่ได้คิดเลยว่าอยากทำ�งานในวงการ ครับ ชีวิตก็เหมือนเด็กทั่วไป เรียนหนังสือ เล่น มีเป้า หมายว่าอยากเป็นนายร้อย อยากเข้าเตรียมฯ (โรง เรียนเตรียมทหาร) ตอนนั้นอยู่ ม.3 ตอนนั้นทีมงาน เอเจนซี่จากหลาย ๆ ที่ ติดต่อเข้ามา แต่ผมก็ปฏิเสธ ไปหมดเลย อยากสอบ ไม่อยากไปทางนี้ เรียนไปสัก พักสัก 2-3 เดือน ตอนนั้นมีทีมสหมงคลฯ (สหมงคล ฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล) มาติดต่อหน้าโรงเรียนกวด วิชา เจอกันก็คุยกัน ช่วยไปแคสให้ดูหน่อย จะทำ�หนัง สั้นเรื่องนึง ตอนนั้นไม่มีชื่อเรื่อง ตั้งเป็นไพล็อทไว้ว่า 4 เกรียน ก็ปฏิเสธไปอีก พี่เค้าก็ให้ทิ้งเบอร์โทรกับถ่ายรูป ไว้ เสร็จก็เรียกลองไปแคสสักบท ตอนนั้นได้เล่นเป็น บทตี๋ (ในภาพยนตร์เกรียนฟิคชั่น รับบทโดย กฤษณภูมิ พิบูลสงคราม) สองอาทิตย์ผ่านไปก็ไม่คิดอะไร เพราะมี คนมาแคสเยอะมาก แคสทิ้ง ๆ ไป ต่อมาพี่โทรมาบอก ว่าติด ตอนแรกตกใจ ชีวิตเปลี่ยน ตอนนั้นขี้อายมาก บทที่ได้ก็ไม่ตรงกับเรา เป็นบทม่อน แต่ผมกวน ขี้เล่น แต่ก็พอถู ๆ ไถ ๆ ไปบ้าง “โชคดี ห น่ อ ยที่ ก่ อ นเล่ น มี เวิ ร์ ก ช็ อ ปครั บ เลิกเรียนก็ไปที่ออฟฟิศ (สำ�นักงานของสตูดิโอคำ�ม่วน) มีแอ๊คติ้งโค้ชสอนให้เราต้องกล้าทำ�โน่นทำ�นี่ เช่น ไหน ลองถอดเสื้อ ทำ�ท่าเซ็กซี่สิ มันรู้สึกเกร็ง ๆ คือมันไม่ใช่ คนอื่นเค้ามีพื้นอยากเล่นกับเรา ตอนนั้นคนที่พื้นฐาน ดีที่สุดคือเฟี๊ยต (พัทธดนย์ จันทร์เงิน) มีประสบการณ์ ขี้เล่น จนสุดท้ายพี่เขาบอกให้เราคิดว่าเป็นการแสดง อย่างนึง ทำ�อะไรก็ได้ มันคือตัวละครอืกตัว โอเค เป็น ตัวละครก็เป็นตัวละคร รู้สึกว่าเฮ้ย การที่เราเป็นคนที่ ไม่เคยเป็นมันแปลกดีนะ เหมือนฉีกตัวเอง พาเราไป อยู่ในหลาย ๆ มุมมอง ตอนนั้นทำ�เวิร์กช็อปรวม ๆ 4 เดือน “หลังจากนั้นก็จะเป็นวันออกกอง วันแรก เริ่มถ่าย ตอนแรกที่ทำ�เวิร์กช็อปไม่มีอุปกรณ์อะไรเลย แต่พอไปถ่ายเปิดกล้อง องค์ประกอบครบ เกร็ง หลุด ตื่นเต้น แต่เป็นวันแรกพี่เค้าก็เข้าใจ ก็ค่อย ๆ ปรับไป ต่อ ๆ มาก็แสดงดีขึ้นเรื่อย ๆ พี่ ๆ ในกองก็แนะนำ�ว่า ต้องทำ�อะไร พี่เค้าก็จะสอนการยืนไม่ให้บังตัวละคร ยืนเปิดมุมกล้อง สอนมุม สอนคิว ช่วงนั้นถ่ายประมาน 2 เดือน ทั้งที่เชียงใหม่และพัทยา ไม่นับตอนหยุดเกือบ เดือนที่พักช่วงเทศกาล ในรอบ 2 เดือนก็มีออกไปถ่าย ตามคิวครับ โดนเยอะเหมือนกัน ตัวหลัก 4 คน ปลื้มบอกว่า การทำ�งานตรงนี้ เกิดส่งผลกับ ชีวิตปกติของเขาอยู่มากพอสมควร เขาเล่าให้เราฟังว่า “ผลกระทบมันมีบ้าง แต่ไม่เยอะมาก ก่อนนั้นผมเป็นนักกีฬาแบตมินตันอยู่แล้ว ขาดเรียน
บ่อย และต้องเตรียมตัวก่อนเพื่อน บอกเพื่อนให้ช่วย ตามงาน ตอนนั้นผมเคร่งเพราะกลัวไม่ติด ม.4 พออยู่ ม.ปลายแล้วไปแสดงแล้วก็ดันเคร่งกว่า เพราะกลัว เกรดตก เวลาเรียนไม่พอ ซึ่งผมก็จัดแจงแก้ให้แล้วนะ ทำ�ตามกฎระเบียบทุกอย่าง ต้องจัดสัดส่วนการให้น้ำ� หนักไปเลย เรียนซะ 50 ส่วนงานก็แบ่งไปกับเล่น ภาพยนตร์ก็เ หมือ นสินค้าที่ ต้องมีการทำ� โฆษณา การเดินสายสู่สื่อมวลชนก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ ปลื้มยังไม่เคยมีประสบการณ์ “ทีมงานจะมารับฮะ เดินสายตามภาค ต่าง ๆ ไปหมดเกือบทั่วประเทศ ต้องทำ�ความรู้จักกับ แฟน ๆ แล้วก็ขายหนังเรา ถามว่าตื่นเต้นมั๊ย ตื่นเต้นสิ ฮะ (หัวเราะ) แค่อยู่ในโรงเรียนก็มีนิดหน่อยแหละ สัก 10% ตอนแรกคิดว่าจะมีแค่จำ�นวนคนมาเดินห้าง แต่ พอเปิดลิฟท์ก็ .. โห พูดไม่ถูก มีการ์ดแบบล้อมเราเลย นะ นักแสดง 1 คนการ์ดล้อม 4 คน เผื่อตอนโดนปู้ยี้ ปู้ย้ำ� (หัวเราะ) ยิ่งพอมาเจอคนเยอะแบบนี้ก็ยิ่งทำ�ให้ รู้สึกว่าชีวิตเรามันเปลี่ยนนะ มันจะมีคนจำ�ได้ ต้องวาง ฟอร์ม คีปลุค ทำ�หลุดโก๊ะกังไม่ได้ แต่ก็แอบทำ�นะเพรา ผมเป็นคนขี้เล่น เราคงตัวตนของเราไว้ ทักเล่นไป แต่ สิ่งที่เราควรจะมีเพิ่มมาคือการวางมาดให้นิ่ง การแต่ง ตัวให้ถูกกาละเทศะ ครั้งหนึ่งหนังออกแล้วครับ แต่ไม่ คิดว่าพนักงานเซเว่นจะจำ�ได้ ตอนนั้นลากแตะคีบขาด ไป ใส่เสื้อกล้ามขาด ๆ ใส่กางเกงขาสั้น คนในร้านก็ มอง สะกิดกันแล้วก็นินทากัน คิดในใจ ซวยละ แต่ง ตัวอย่างนี้เข้าเซเว่น คือทำ�ตัวไม่ถูก ขนาดซื้อของข้าง บ้านก็ยังโดนขนาดนี้ เลยกลายเป็นว่าทุกครั้งที่เราก้าว เท้าออกบ้าน ทุกคนรู้จักเรา ต้องแต่งตัวใหม่ให้ดูดีอีก นิด วันนั้นมันเป็นตัวของตัวเองมากไปนิดนึง ปัญหาหนึ่งของการทำ�ภาพยนตร์ คือแผ่น ละเมิดลิขสิทธิ์ และภาพยนตร์ไม่ทำ�เงิน โชคร้ายหน่อย ที่เกรียนฟิคชั่นเจอทั้งสองปัญหานี้ ในฐานะนักแสดง เอง ปลื้มบอกกับเราแบบนี้ “หนังไม่ทำ�เงิน ไม่รู้สึกอะไรครับ หนังไม่ได้ อยู่ที่ว่าทำ�ออกมาแล้วทำ�รายได้ร้อยล้าน พันล้าน อยู่ ที่ว่าคนดูดูจบแล้วอิ่ม อย่างหนังของผมตีแผ่แง่คิดของ เพื่อน ให้คนดูอิ่ม กินใจ ได้ข้อคิดกลับไปว่าเพื่อนสำ�คัญ นะ เห็นว่าเพื่อนไม่ทิ้งเรานะ มันทำ�เงินไม่เยอะ แต่ ประสบผลสำ�เร็จด้วยการที่ว่าเข้าชิงรางวัลหลายสำ�นัก “เรื่องแผ่นผี ผมคิดว่าผมปลงละ (หัวเราะ) คิดก่อนหนังออกเลยว่าไม่พ้นหรอก ต้องโดนซูม ต้อง โดนแผ่นผี เอาลงเน็ต ไม่อย่างก็อย่างที่อยู่ในนั้น คือ ทำ�ใจไว้แล้วว่าต้องโดน แต่ก็ดีใจนะฮะที่แฟนคลับเรา จริง ๆ ที่เข้าไปดูคนละหลาย ๆ รอบ (มากสุดคือ 6 รอบ) ซื้อดีวีดีของเรา ครั้งหนึ่งเคยดูหนังตัวเองครับ แอบเข้าไปดูในมุมมืด ๆ นะ พอเห็นฉากใครก็กรี๊ดแซว ไปตามตัวละคร ผมแอบสังเกตุว่าเอ๊ะ คนนี้ หนังเข้าอีก รอบดูอีก คนนี้ดูอีกแล้ว สองรอบ สามรอบ รู้สึกดีนะที่ ทุ่มเทให้เรา นอกเหนือจากนี้ เรายังได้ยินว่าปลื้มเคย เป็นนักกีฬาแบตมินตันด้วย “ผมเป็นนักกีฬาแบตฯ ตั้งแต่ 10 ขวบครับ ตอนนั้นติดเกม อยู่บ้านเล่นเกมอย่างเดียว ไม่ทำ�อะไร พ่อกับแม่เลยลงมติว่าหาอะไรให้ลูกทำ� เลยให้ไปออก กำ�ลังกาย ญาติก็ชวนไปเล่นแบตนะ พ่อแม่ไม่อยากให้ ผมอยู่กับเกม 1 ปีไม่ได้จริงจังอะไรเลย พอถึง 11 ขวบ ไม่ได้รางวี่รางวัลอะไร ไม่จริงจัง คนอื่นได้ถ้วยกันหมด ละ เราอยู่อันดับท้าย เราเลยต้องคิดว่าทำ�ยังไงว่าเอา ให้มันได้ เป้าหมายเลยโผล่มา มีวิธีการในหัวที่เราจะ ได้ไปตรงไหน สิ้นปีก็ได้ถ้วยรางวัลแรกมา พอเรามีเป้า หมาย มีวิธีการ ก็ถึงเป้าสำ�เร็จ หลายอย่างหล่อหลอมทำ�ให้ปลื้มกลายเป็น ปลื้มในวันนี้ สิ่งหนึ่งที่ยังคาใจเรากับเด็กคนนี้ คือสรุป แล้ว เขาจะไปทางไหนต่อ
“งานในวงการทำ � ไปทำ � มาก็ ส นุ ก ดี ค รั บ มันเหนื่อยมาก วัยผมไม่ควรจะต้องมาทำ�งานทำ�การ ต้องเรียน เล่น อยู่กับเพื่อน งานมันได้สังคม ได้ ประสบการณ์ที่คนอื่นมันไม่มี แต่พอไปในวงการนี้ เราจะได้เห็นว่าเขาทำ�งานเป็นระบบ เป็นทีม สามัคคี ใจเย็น อดทน ทุกคนร่วมมือจนได้ผลงานดี ๆ ออก มาชิ้นนึง วงการบันเทิงมันดีนะ แต่ไม่ยั่งยืน เราแก่ได้ ตกงานได้ แฟนคลับหายได้ ทุกอย่างไม่แน่นอน วัน นี้คนชอบเราเยอะมาก ทับคนอื่นไปด้วยเพราะเรามา ใหม่ พอใหม่กว่าเราเข้ามา เราก็จะโดนทับแล้วก็ค่อย ๆ หายไป เพราะฉะนั้นก็ต้องหาอะไรมารองรับเวลาเรา ไม่มีงาน การเรียนของผมก็เลยมาเป็นอันดับ 1 ไว้ก่อน ถ้าหมดงานตรงนี้ผมก็ไปหาอะไรทำ�ที่มั่นคงได้ “ตอนนี้ผมวางไว้สองอย่าง ถ้าไม่ บริหารธุรกิจก็จิตวิทยา คือครูแนะแนวก็แนะนำ�ผม มา ผมชอบใช้เหตุผล อิงกับหลักความเป็นจริง ผมเคย ให้คำ�แนะนำ� ชี้แนวทางกับเพื่อน ผมมีความสุขนะที่ ผมทำ�ให้คนอื่นสบายใจได้ มันดีที่คนอื่นใช้กับเรา ถ้า เราสงบได้ นิ่งได้ มันก็อยู่กับเราไปจนแก่ ช่วยเราไปได้ ตลอดชีวิต หรือไม่ก็เปิดอะไรสักอย่างตอนที่มีชื่อเสียง ถ้ามีต้นทุน บริหารธุรกิจก็จะเป็นอีกแนวทาง แต่งาน ในวงการผมยังรับครับ ผมยังคงรักษาไม่ให้เสียทั้งสอง อย่าง ไม่อยากทำ�ลายแฟนคลับนะ เหมือนวงการนี้เรา เหยียบมาแล้วเราออกไปไม่ได้ งานของเรามันยังคงอยู่ ตลอด เรายังเคยเล่นหนังเรื่องนี้ เราจะอยู่ในจอตลอด ไม่ว่าหนังจะออกมากี่ครั้ง เราก็จะยังอยู่ในนั้น”
39
40
วันนี้เรานัดกับโฌคินทร์ (ปกป้อง) อัศวเศรษฐาพรที่โรงเรียนวารีเชียงใหม่ 1 วันก่อนพิธีจบ หลักสูตรของเขา เราคุยกับปกป้องก่อนสัมภาษณ์ถึงหลาย เรื่องในฐานะเพื่อนเก่า และทำ�ความเข้าใจกับบท สัมภาษณ์ในวันนี้ และวันนี้ เรากำ�ลังจะได้คุยกับ ประธานสภานักเรียนรุ่นที่เก้า ซึ่งเป็นความภาคภูมิใจ สูงสุดของปกป้องในการเป็นนักเรียนโรงเรียนนี้ “ปกป้องย้ายมาโรงเรียนนี้ตอน ม.4 เอา ตรง ๆ คือไม่ติดสายวิทย์ที่โรงเรียนเก่า เลยหาโอกาส ใหม่ ๆ แล้วก็สอบติดโรงเรียนนี้ จริง ๆ แล้วโรงเรียน วารีเด่นด้านกิจกรรม ตอนที่เราอยู่ ม.4 ก็ทำ�กิจกรรม มากกว่า พี่ก็จะทำ�กิจกรรมให้เราเรื่อย ๆ น่าสนุกดี เรา เลยอยากลองทำ� ประกอบกับที่โรงเรียนเก่าเราก็เด็ก กิจกรรมอยู่แล้ว เลยทำ�พวกนี้ดู เริ่มต้นโดยการเป็น สภานักเรียนก่อนครับ คือต้องยื่นใบสมัครเข้าไป แล้ว ก็จะเรียกมาสัมภาษณ์ ตอนนั้นโดนให้แนะนำ�ตัว แล้ว ลองนำ�เสนอสินค้า ตอนนั้นเป็นลูกบอลธรรมดา ให้พูด ว่าบอลลูกนี้น่าสนใจยังไง แล้วก็ให้เต้น เพื่อดูความกล้า แสดงออก แล้วก็แสดงความสามารถ โชว์ทักษะการ แก้ปัญหาเฉพาะหน้า ตัวอย่างเช่นบางคนที่ลงสมัคร เหรัญญิก ให้ลองทวงเงินครูที่สัมภาษณ์ บางคนเขียน ว่าเล่นเปียโนได้ ต้องเล่นเปียโนลมให้ดูว่าเราทำ�ได้จริง แล้วก็ประกาศผล อันนี้คือเป็นรายบุคคล แล้วก็จะเอา ไปเข้าค่ายเพื่อให้เป็นทีม “ในค่ า ยจะเป็ น กิ จ กรรมที่ มี รุ่ น พี่ จั ด ให้ ชื่อค่ายผู้นำ� ในค่ายก็จะแนะนำ�ตัวเอง เพื่อละลาย พฤติกรรม เต้น ทำ�กิจกรรมสนุก ๆ ให้ทำ�ทุกคน จาก นั้นก็จะเป็นกิจกรรมไฮไลต์ที่มีโจทย์ใหญ่ ๆ ให้ทำ�หนึ่ง ข้อ แต่ก็จะมีอุปสรรค เช่นต้องทำ�เรือหนึ่งลำ� ต้องเอา อุปกรณ์แต่ละอย่างมาให้ได้ แต่จะมีอุปสรรคที่ทำ�ให้ เราลำ�บาก พี่จะกดดันเราให้เราเครียด แต่เป็นการจัด ฉาก ตอนนั้นเราก็แสดงออกว่าไม่พอใจจริง ๆ แต่หลัง จากนั้นมาสเตอร์ก็จะเรียกเรามานั่งเคลียร์ใจถึงขั้นต้อง มีคนแสดงความรับผิดชอบโดยการต้องออกจากสภา แล้วก็ประสบความสำ�เร็จมาก พวกเรารักกัน รักครู เราจะรู้สึกผิดที่ทำ�ไม่ดีกับรุ่นพี่ มันทำ�ให้เรารักกันมาก ระหว่างทางที่จะประสบความสำ�เร็จ จะมีเพื่อนอยู่กับ เรา “จากนั้ น ก็ จ ะเลื อ กผู้ นำ � ค่ า ยมาแล้ ว แต่ ปี อย่างรุ่นนี้มีสี่คน แล้วมาหาเสียงในโรงเรียน เราก็ไม่รู้ ว่าทำ�ไมโดน เมื่อก่อนเราเคยอยู่กับครูประจำ�ชั้นสภา ตอนนั้นมาสเตอร์คงเคยเห็นแววของเราตั้งแต่กิจกรรม เล็ก ๆ ยันกิจกรรมใหญ่ ๆ ตั้งแต่ค่ายผู้นำ� เลยโดนเลือก มาเป็น 4 คน พอกลับมาที่โรงเรียนก็จัดกันยิ่งใหญ่ ติด ป้ายหาเสียงจริง หาเสียงจริง นโยบายสำ�คัญเราเน้น ความสุขนะ บางคนเน้นการเรียน กิจกรรม แต่เรา อยากเน้นว่าเราอยากมอบความสุขให้กับทุกคน เพราะ ความสุขคือพื้นในการทำ�ทุกอย่าง ปัญหาช่วงแรกมี เพราะเราไม่รู้จักใคร แต่ที่นี่เปิดโอกาส เพื่อนทุกคน โอเค เรารู้สึกมีเพื่อน จริง ๆ ผู้เข้าสมัครเด็กใหม่ 3 คน เลยนะ พอผลออกมาเราได้ ตกใจมาก ชนะ ประมาน ร้อยกว่าคะแนน รู้สึกว่าคนคาดหวังเยอะมาก ทำ�ให้ เราโดนหนักเรื่องกระแสแบบเราทำ�งานไม่เป็น ไปจู้จี้ ในสภา เพราะเรายังเอาตัวเองเป็นหลัก ปรับตัวไม่ได้ ว่าการทำ�งานสภาที่แท้จริงเป็นยังไง ทำ�โน่นทำ�นี่สิ ช่วง หนึ่งมันจะมีช่วงที่เราโดนพี่ไซโค เช่น บอกจุดอ่อนเอา หน่อยสิ ให้ทุกคนบอกจุดอ่อนของคุณมาสิ วันนั้นรู้สึก แย่มาก สภาจะบอกว่าฝ่ายบริหารหลักที่สุด ฝ่ายอื่นจะ ไม่ผิดถ้าบริหารทำ�ไม่ดีพอ บอกจุดอ่อนมา เช่น ชอบ สั่ง มาเลต ไม่ทำ�งาน เรารู้จุดอ่อนมาทั้งหมด กลับบ้าน ไปร้องไห้ แต่มันทำ�ให้เรารู้จุดอ่อนจริง ๆ จากนั้นสภา กลับมาพีคมาก เป็นรุ่นที่ดีที่สุด เพื่อนชม ครูชม
“ช่่วงแรกเราท้อบ่อย เราเป็นประธาน โดน ไซโค เคยโดนเรียกไปด่าด้วย นั่งในห้องคนเดียวแล้ว เรียกไปด่านานมาก ไม่มีใครในสภารู้ แต่เราก็จะคิดถึง คนที่เลือกเราเข้ามา นอกจากคนกลุ่มนั้นก็เพื่อนเรา ใกล้ตัวคือฝ่ายบริหารและเลขา เราอยู่ด้วยกันมาตลอด แต่เราท้อไม่ได้ ถ้าเราท้อ ทุกคนจะไม่ทำ�อะไร แต่ถ้า ท้อจะเก็บไว้คนเดียว เลือกที่จะไม่ระบายกับคนใน แต่ ระบายกับเพื่อนเก่า (หัวเราะ) ปกป้ อ งบอกว่ า การทำ � กิ จ กรรมร่ ว มกั บ เพื่อน ๆ และทำ�กิจกรรมให้กับทุกคนในโรงเรียนคือ ความท้าทายและเป็นเรื่องที่สนุก ลองฟังกิจกรรมที่ปก ป้องทำ�ดูว่าน่าสนุกแค่ไหน “ปี ห นึ่ ง จะมี โ ครงการหลั ก เกื อ บสิ บ โครงการทั้งปี ไม่รวมย่อย เราแบ่งเป็นฝ่ายซะสิบ สาม เราแบ่งกัน แต่ละฝ่ายก็จะมีแต่ละโครงการ แต่ หลัก ๆ คือรับน้องลุยน้ำ� เฟรชชี่ไนท์ ตอนเราเข้ามา ก็งงว่าทำ�ไมต้องลุยน้ำ� ไม่ได้ค้างคืน แต่พอเข้ามามัน เป็นกิจกรรมที่สนุกมาก วันแรกที่เข้ามา น้องทั้งหมด อยู่ในโรงเรียน ทำ�ความรู้จักโรงเรียน กลางคืนนอนบน ตึกเรียนร่วมสองสามร้อย วันต่อมาก็ไปห้วยตึงเฒ่า ไป ทำ�กิจกรรมเป็นห้องร่วมพี่น้อง พอได้ทำ�เองเรารู้สึก ตื่นเต้นมาก จากที่เราโดนกระทำ�ทุกอย่าง กับการที่ เราต้องเป็นฝ่ายกระทำ� เราได้มองในมุมที่น้องไม่ได้ มอง เช่นน้องหลับ เราประชุม ต้องวางแผน ตื่นเช้ากว่า น้อง นอนสายกว่าน้อง เราเห็นอีกมุมที่น้องไม่เห็น เป็น ประสบการณ์ใหม่ ๆ “อีกหนึ่งกิจกรรมคือค่ายวันเด็ก มันจะมี ปัญหามาก เราออกไปต่างอำ�เภอ เขา ดอย ไปในที่ ๆ ต้องการความช่วยเหลือจริง ๆ เราไปบริจาคของ ต้อง มีทีมเซอร์เวย์ แต่จะมีฝ่ายอำ�นวยการที่ต้องลงพื้นที่ ส่ง รองประธานไป พอเรามั่นใจ เราก็ไป พาน้องที่สมัคร ค่ายไปเกือบร้อยชีวิต ทางจะตกหลุม ลูกรัง อ้วกตลอด ทาง อารมณ์ไปปาย แต่เราได้อะไรเยอะ ไม่มีความช่วย เหลือจริง ๆ มันเป็นวันเด็กที่ทำ�ให้เด็กมีความสุขจริง ๆ “บอกตามตรงว่า ทุกกิจกรรมภูมิใจ เราทำ� กันเอง น้อยมากที่ครูจะมายุ่ง ครูจะมาดูเบื้องหน้าแล้ว ให้คำ�แนะนำ� แต่เบื้องหลังเราทำ�กันเอง ที่ภูมิใจสุดคือ สภาสัญจร ไปเที่ยวกัน ไปดูงานเครืออัสสัมชัญ แทนที่ เราได้กิจกรรมมา เราเอากิจกรรมไปแจก เขาชอบสภา โรงเรียนเรามาก โรงเรียนเราเด่นกิจกรรมจริง ๆ แต่เรา ให้น้ำ�หนักกิจกรรมการเรียนเท่ากัน หนึ่งปีของปกปองจากที่เราฟังมา ตัว ปกป้องมีความสุขและตั้งใจกับงานที่ทำ�มาโดยตลอด แต่เมื่อถึงเวลาส่งมอบหน้าที่ให้กับน้อง ปกป้องมอง เรื่องนี้อย่างไร “ช่วงนั้นร้องไห้ มันรู้สึกเสียดายมิตรภาพ บอกตรง ๆ รักสภามาก ตอนเช้าเราเข้าแถวกับสภา เรา จะมีแถวแยกออกไปเพราะสภาใส่สูท เราจะเป็นเด็ก นอกที่อยู่หน้าแถว เจอหน้ากันทุกเช้า คุยทุกเย็น เจอ กันตลอด เจอกันบ่อยกว่าเพื่อนในห้อง แต่ครูทุกคน เข้าใจเรานะ เราสนิทกันมาก ยิ่งวันจบเราจะไม่ได้เจอ กันทุกเช้าแล้วเหรอ เราจะไม่ได้ทำ�กิจกรรมด้วยกันแล้ว เหรอ รู้สึกคิดถึงเวลาเก่า ๆ “วันส่งมอบจะส่งมอบในพิธีสถาปนาสภา ในวันไหว้ครู ไม่ยิ่งใหญ่ แค่เราได้รับเกียรติบัตร แต่น้อง ได้รับสูท แต่พิธีสถาปนาจริง ๆ คือในวันค่ายนั่นแหละ จะมีพิธีจริงจังในค่าย กับของอีกหนึ่งชิ้น “วันนั้นเราทำ�เป็นการแสดงอำ�ลาตำ�แหน่ง ให้นักเรียนทั้งโรงเรียน แล้วก็ส่งมอบให้น้องแล้ว สถาปนาสภาเลย จะบอกว่าการแสดงของแต่ละรุ่นไม่ เหมือนกัน เราแสดงสด ติดไวร์เลสที่ปาก ทุกอย่างมัน สด เปลี่ยนชุดสด พูดสด เรากังวลเรื่องสคริปต์ เราเป็น ตัวหลัก เราอำ�ลาตำ�แหน่งตัวเอง แต่เราประสบความ สำ�เร็จ ทุกคนชมเรา พูดไปเรื่อย ๆ เครียดแต่สนุกดี ซึ้ง
ในใจนะ ตอนนั้นไม่สติที่จะทำ�อะไรแล้ว แต่ก็ออกมาดี มาก ทุกคนปรบมือให้เราดังมาก นานมาก แล้วก็รู้สึก อึนในใจว่า เฮ้ย จบแล้ว เสียงปรบมือทั้งหมดเหมือน ตอบแทนกิจกรรมที่เราสร้างมาทั้งหมด “ขอใช้พื้นที่ตรงนี้เป็นพื้นที่ขอบคุณนะครับ รู้สึกขอบคุณจริง ๆ รักโรงเรียนนี้ ไม่มีวันลืม โรงเรียนนี้ ให้อะไรกับเรามาก แค่สิบปีพัฒนาการดีมาก เราภูมิใจ ในโรงเรียนนี้ มีสังคมที่ดีมาก เรารักกัน ขอบคุณน้อง ๆ ตลอดระยะเวลาที่เราทำ�กิจกรรมให้ ถ้าไม่มีน้อง ๆ เรา จะไม่สำ�เร็จเลย ขอบคุณน้อง ๆ ด้วยครับ” เราจบบทสัมภาษณ์ตรงนี้ ก่อนที่เราจะ แยกย้ายกัน และพบเจอกันอีกครั้งในพิธีจบหลักสูตร ของปกป้อง
41
42
ในวงการการศึกษา เรื่องหนึ่งที่จะเกิดขึ้น เป็นประจำ�ในแต่ละปี คือการสอบคัดเลือกเป็นนัก เรียนเตรียมทหาร แต่ละปี นักเรียนชายร่วมสองหมื่นชีวิตจะ มารวมกันเพื่อสอบคัดเลือกเพื่อเป็น 1 ใน 200 คนของ โควต้านักเรียนเตรียมทหารแต่ละปีเท่านั้น ที่จังหวัดเชียงใหม่ มีเด็กคนหนึ่งที่พยายาม ต่อสู้เพื่อความฝันของเขามาตลอดระยะเวลา 3 ปี เขาเคยพลาดมาแล้ว 1 ครั้ง แต่เขาก็ยังไม่ ท้อเพื่อความฝันเดียวกับคนเกือบ 2 หมื่นคน ก่อนหน้านั้น เราเองยังจำ�ไม่ได้ว่าครั้งสุด ท้ายที่เจอเขา เป็นแบบไหน เรานัดเจอเขาในวันที่ 2 มกราคมในพิธี วันคล้ายวันสถาปนาโรงเรียนในชุดปกติของนักเรียน เตรียมทหาร เขามาในนามนตท.ปรัตถกร (พี) จีนประชา “ เ ห ตุ ผ ล ที่ ผ ม อ ย า ก เ ป็ น นั ก เ รี ย น เตรียมทหาร มันคือพื้นฐานของการเป็นทหารทั้ง 4 เหล่าทัพ ตอนเด็ก ๆ ฝันว่าอยากปกป้องชาติด้วยอุดม การของผม นอกจากนี้ยังเป็นเกียรติของวงศ์ตระกูล ด้วย ตอนเด็ก ๆ พ่อชอบพาไปเที่ยวกองบินตอนงาน วันเด็ก ก็รู้สึกชอบพี่เค้า อยากเป็นแบบพี่เค้า เลย ศึกษาความรู้เหล่านั้น เริ่มอ่านหนังสือ 5 วิชาหลัก เป็น เนื้อหา ม.3 – ม.4 ต้องทำ�แบบฝึกหัดเยอะ ๆ แล้วก็ ต้องออกกำ�ลังกายตั้งแต่เนิ่น ๆ ให้ชินในสนามสอบจริง ยอมรับว่าเตรียมตัวตั้งแต่ ม.2 ถามเพื่อน ๆ ผมได้นะ (หัวเราะ) “ตอนนั้นผมสอบเข้าได้ลำ�ดับท้าย ๆ ผม เรียน ม.3 ไม่ค่อยเก่งด้วย อีกอย่างผมทำ�สอบสัมภาษณ์ ไม่ค่อยดีเท่าไหร่ด้วย เลยไม่ผ่านปีนั้นครับ แต่ก็ไม่ได้ ท้อนะครับ ล้มก็เริ่มใหม่ เป็นประสบการณ์มากกว่า แล้วก็อยากใช้ชีวิตที่โรงเรียนอีก 1 ปีด้วย ตักตวงความ รู้ด้วย หลังจากนั้นเตรียมตัวมากขึ้นครับ จากปกติที่ อ่านหนังสือแค่ 4 – 5 ทุ่มก็เป็นเที่ยงคืนตีหนึ่ง วิ่งว่าย น้ำ�ทุกวัน เพื่อนชวนไปไหนไม่ไปครับ ถือว่าอดเปรี้ยว ไว้กินหวานครับ กล้าพูดเลยว่าทิ้งทุกอย่างครับ แฟนก็ ไม่มี พอติดก็มีบ้างครับ (หัวเราะ) “วันที่สอบข้อเขียน สอบกัน 4 วัน 4 เหล่า ก็คือวันละเหล่า เอา 5 วิชาหลักมาเรียงกัน จากนั้นก็ไป สอบร่างกาย มี 8 สถานี ใช้เวลาสอบ 3 วัน 2 วันแรก พ่ อ แม่ ไ ปส่ ง ถึ ง โรงเรี ย นนายร้ อ ยพระจุ ล จอมเกล้ า ฯ เพราะผมเลือกทหารบกครับ สอบก็ตื่นเต้น สนุกมาก เหมือนปลดปล่อยสิ่งที่เตรียมมาเต็มที่ครับ แอบกลัวคู่ แข่งครับ แต่ก็ทำ�เต็มที่ ไม่พลาดด้วย อีกหนึ่งวันตรวจ ร่างกายกับสอบสัมภาษณ์ “คุณครูจะถามประวัติส่วนตัว คำ�ถามทาง จิตวิทยา แล้วก็วัดไหวพริบปฏิภาณครับ ตอนนั้นให้ ร้องเพลงความฝันอันสูงสุดครับ เป็นเพลงพระราช นิพนธ์ที่พวกเราทุกคนภูมิใจครับ ตอนนั้นยอมรับว่า มั่นใจจริง ๆ ระยะเวลาการเตรียมตัวที่นานมากถึง 3 ปี ผมพร้อมแล้วที่พร้อมจะเป็นนักเรียนเตรียมทหารครับ “หลังจากนั้นก็ตรวจร่างกายครับ ตรวจ ตั้งแต่หัวจรดเท้าครับ ห้ามสัก ห้ามเจาะหู ห้ามเป็นโรค ที่สังคมรังเกียจ ห้ามเป็นโรคที่ทหารไม่ยอมรับ ตรวจ เลือด ตรวจน้ำ�ลาย แล้วก็ลักษณะทางทหารครับ ส่วน สูง น้ำ�หนัก สายตา ถ้าสั้นมาก ๆ หรือว่าไปทำ�เลสิ คมาก็ไม่ได้ ตอนนั้นต้องถอดเสื้อผ้าหมดครับ ยอมรับ ว่าอายมากครับ เข้าไปชุดนึงก็ 4 – 5 คน อายกันเอง ครับ พอตรวจเสร็จก็หัวเราะกันครับ ไม่มีอะไร ใช้เวลา ไม่ยาวนานด้วยครับ แค่ 10 นาที หลังจากนั้นก็รอครับ สิ้นเดือนเมษาก็ส่งตัวเข้าโรงเรียน หลายคนอาจจะเคยเห็นคลิปของนักเรียน เตรียมทหารที่พ่อแม่มาส่ง มีร้องไห้ลงในยูทูป พีบอก ว่า มันเหมือนกันเป๊ะกับความจริงที่เขาเจอ
“วันส่งตัวก็ ... น้ำ�ตาลูกผู้ชายครับ ร้องไห้ คิดถึงกันทั้งผมทั้งแม่ ไม่ได้เจอกันยาวเลย แต่พอเลือก มาทางนี้ก็เต็มใจครับ (ยิ้ม) “พอส่ ง ตั ว เสร็ จ ไปจั ด ระเบี ย บโรงนอน ครับ รับสัมภาระ จัดของเยอะแยะ ตอนนั้นต้องทำ� ตามรุ่นพี่ จัดที่นอนต้องตึง ระยะไม้แขวนเสื้อต้องเป๊ะ วางรองเท้าให้ตรงกัน ขัดให้เงา จากนั้นก็ไปฟังคำ�ชี้ แจ้ง แล้วก็รับตำ�รา หลังจากนั้นก็ฝึกลักษณะทหาร ความรู้ทั่วไป อุดมการณ์ความรักชาติ เนื้อหาพื้นฐาน ต่าง ๆ ตอนนั้นใช้เวลาเกือบ 2 อาทิตย์จนจะได้เข้าไป เรียน ตอนนี้ยังไม่ได้กลับบ้านครับ เข้าเมษา ออกมิถุนา ระหว่างนั้นก็จะมีรับน้องครับ ในฐานะน้องปีหนึ่งก็ ต้องโดนอยู่แล้ว ตอนนั้นจะโดนซ่อมครับ หรือว่าการ ธำ�รงวินัย ก็จะมีท่าวิ่งจับเวลาให้เหนื่อย พุ่งหลัง วิดพื้น หมอบลุก แบกซุง ลุกนั่ง ทั้งหมดทั้งมวลเป็นการให้ ออกกำ�ลังกายทางอ้อมให้ร่างกายแข็งแรง มันมีความ หมายแฝงในตัว ส่วนสภาพจิตใจก็โดนกดดันครับ จะ โดนประมานว่ายังเด็กนะ ยังเล็กนะ ทำ�อะไรไม่เป็น มัน เหมือนเป็นการฝึกว่าเราต้องรับความกดดันต่อหน้าที่ การงานในสภาพจริงครับ รับน้องจะมี 3 ช่วง เป็นการ รับเครื่องหมายครับ ภาษาทหารจะเรียกขุด ขุดแรกคือ ขุดจักรดาว (เครื่องหมาย) ขุดชุดปกติ (เครื่องแบบ) กับขุดแหวนพร้อมชุด ตอนโดนขุดจะโดนทั้งกดดันทั้ง ร่างกายและจิตใจ ซ่อมวินัยแล้วก็โดนไซโคไปเรื่อย ๆ พอแยกเหล่าไปก็ต้องขุดของตามเหล่าอีก อีกสักพัก หลังจากรับน้อง ก็จะเปิดเทอมครับ “เปิดเทอมสำ�หรับนักเรียนเตรียมฯ หนัก มากเลยครับ ต้องโดนรับน้องด้วย โดนเนื้อหาสายวิทย์ ด้วย เรื่องหลับในห้องเป็นเรื่องปกติด้วยครับ โชคดี ที่อาจารย์บางคนเข้าใจ บางคนปลุกไม่ตื่นก็โดนซ่อม บาง บางคนหนักสุดก็โดนกักบริเวณครับ คือกักอยู่ใน โรงเรียน ช่วงวันเสาร์อาทิตย์ก็หยุด แต่ก็ไม่ได้ออก ส่วน เรื่องการสอบเป็นเรื่องใหญ่ครับ ใครตกก็ต้องซ้ำ�ชั้น ซ้ำ� ได้ปีเดียว โชคดีที่เกรดผมก็ผ่านครับ เด็กเรียนครับ ผม อ่านหนังสือตั้งแต่ 1 ทุ่มถึงเที่ยงคืนครับ ปกติต้อง 4 ทุ่ม เป็นการอนุโลมสำ�หรับการสอบ แต่ถึงเวลาตีห้าก็ ต้องตื่น เราแอบถามเรื่องปล่อยหลอก ซึ่งเป็นที่โจษ จันถึงความเนียน และสภาพจิตใจที่พลิกล็อคหลังจาก โดนหลอก “ปล่อยหลอกจะโดนช่วงการเป็นนักเรียน ใหม่ ช่วงที่เปิดเทอมใหม่ ๆ ไม่ได้กลับบ้าน จะมีการ เล่นละครเล็ก ๆ ว่าจะได้กลับบ้าน เอารถโรงเรียนมา รอ แต่สุดท้ายก็จะโกหกว่ามีคำ�สั่งว่างดกลับบ้าน โชคดี ที่รุ่นผมไม่โดนปล่อยหลอกครับ แต่รุ่นน้องของผมโดน สมมุติถ้าโดนผมก็เสียใจนะ พ่อแม่อุตส่าห์รอ บางครั้ง พ่อแม่ก็ทราบจากทางโรงเรียนครับ นอกจากกิ จ กรรมตามแบบธรรมเนี ย ม ทหาร และเนื้อหาวิชาการที่เข้มข้นไม่แพ้ใครแล้ว สิ่ง หนึ่งที่พีเล่าให้เราฟัง คือการทำ�กิจกรรมร่วมกับต่าง โรงเรียน นั่นคือ กีฬาเตรียมทหาร - เตรียมอุดมฯ และ เตรียมทหาร - ยุพราชฯ “เตรียมทหาร - เตรียมอุดมฯ มีช่วงเดือน ธันวาคมครับ เป็นข้อตกลงกันของทั้งสองโรงเรียน ที่อยากให้ทั้งสองโรงเรียนรู้จักกัน มีกิจกรรมแลก เครื่องหมายโรงเรียน แลกจักรดาวกับพระเกี๊ยวกัน ทำ�ความรู้จักกับเพื่อน ๆ ในโรงเรียน มีกีฬาที่แข่งเช่น ฟุตบอล บาสเก็ตบอล วอลเล่ย์บอล มีการแสดงร่วม กัน กินเลี้ยงกลางคืน ส่วนยุพราชฯ มีช่วงเดือนธันวา ครับ (แต่ในช่วงที่สัมภาษณ์) ผมยังไม่มีโอกาสได้สัมผัส ครับ เพราะส่วนใหญ่เป็น ปี 2 การเป้นนักเรียนเตรียมทหารนั้น ใน ทรรศนะของผู้เขียนต้องเป็นคนที่อึด ถึก ลุย เราพูด เล่น ๆ แบนี้กับพี่ แต่พีก็พูดถึงเรื่องนี้ว่า
“ช่วงขุดนี่แหละครับ ขุดแหวน นานมาก ครับ เป็นเกือบสองอาทิตย์เลยครับ เพราะแหวนสำ�คัญ มากกับการเป็นทหาร มันแสดงออกถึงความเป็นรุ่น จบไปก็จะเก็บไว้ มีแหวนสองอย่างคือแหวนเรา กับ แหวนญาติ (ให้แฟน) ถ้าใส่เครื่องแบบ (กางเกงขาสั้น) ห้ามใส่แหวน จากสายตาของผู้เขียนที่มองพีอยู่ตอนนี้ใน ฐานะเพื่อน ความเปลี่ยนไปของพีเองนั้นมีมากกว่าที่ เราคิดไว้ พีพูดถึงเรื่องนี้ไว้ว่า “ชีวิตเปลี่ยนไปเยอะครับ จากที่เรียน มัธยมซน ๆ ไม่มีระเบียบแบบแผนอะไรในชีวิต พอไป อยู่ก็รู้สึกมีระบบระเบียบมากขึ้น รู้ว่าอนาคตจบไปต้อง ทำ�อะไร คือทำ�เพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์ และประชาชน มีความภูมิใจ มีจุดหมายที่แน่นอน เหมือนค้นหาตัวเอง เจอ “ถ้าผมจบ 3 ปีที่เตรียมฯ ผมจะต่อที่ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าครับ เป็นร้อยตรี ผู้ หมวดทหารบกครับ ผมตั้งใจจะเป็นผู้นำ�หน่วยครับ อยากไปลาดตระเวณ พาไปต่อสู้พวกผู้ก่อการร้าย ถ้า มีโอกาสก็อยากไปช่วยประชาชนเดือดร้อนครับ มี อุทกภัยก็ไปช่วย ไปช่วยสอนหนังสือให้เด็กที่ไม่รู้ หนังสือ เป็นอีกหนึ่งอย่างที่ผมอยากทำ�ครับ
ขอขอบคุณ ตะวัน ถิ่นถาวรกุล อัจฉรี บัวเขียว ปุริม รัตนเรืองวัฒนา โฌคินทร์ อัศวเศรษฐาพร นตท. ปรัตถกร จีนประชา ชมรม YGSC เชียงใหม่
43
ผลงานความสามารถด้านวารสารศาสตร์ ในการผลิตหนังสือรุ่นเก้า ในนามบรรณาธิการรุ่น
1
2
1) หน้าประวัติโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย 2) หน้าพูดคุยกับประธานรุ่น 3) หน้าประมวลรางวัล Kao’s Shine Bright & Youngster Awards 4) หน้ารวมข้อความจากทวิตเตอร์ในหัวข้อ #prcfact 5) หน้าอุทิศแก่ผู้เสียชีวิตในรุ่นเก้าจากอุบัติเหตุ
4444
3
4
5
45
ผลงานความสามารถด้านวารสารศาสตร์ ในการทำ�คอลัมน์ลงสื่อสิ่งพิมพ์ของโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย
ผลงานตีพิมพ์ในสารน้ำ�เงินขาว ฉบับที่ 5 (คอลัมน์ขอคิดด้วยคน) และ 6
ผลงานตีพิมพ์ในจดหมายข่าวรอบรั้วมะขามเทศ ฉบับที่ 3 (บทความนักศึกษาวิชาทหาร) ฉบับที่ 4 (สัญญา MOU) ฉบับที่ 5
4646
6 (บทความโครงการ Thailand Go Green) ประจำ�ปีการศึกษา 2553
(การเตรียมคอนเสิร์ตของวงดุริยางค์โรงเรียนฯ) ฉบับที่ 8 (สัมภาษณ์ผู้ชนะรายการวิทยสัประยุทธ) ประจำ�ปีการศึกษา 2554
47
ผลงานความสามารถด้านวิดีทัศน์
Topfive เหนือห้ายังมีเฮ (2555)
ละครซิทคอมสำ�หรับชิ้นงานในรารวิชาภาษาอังกฤษโครงงาน ภาคเรียนที่ 1 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ปีการศึกษา 2555 โรงเรียนปรินส์อรยแยลส์วิทยาลัย (ยอดผู้เข้าชม 14,663 ครั้ง บน www.youtube.com ณ 15 เมษายน 2557) กฤษณภูมิ พิบูลสงคราม | ณัฐวุฒิ อินแก้ว | พรภวินท์ ไทยถาวร | ศรัณยภัทร ฟั่นแก้ว | ไกรวิชญ์ วัลลิภากร รชตะ ไคร้วงษ์ | ฉัตรระวี ทองเจริญเกียรติ | ไอรดา ทิพยเนรตร | กมลวรรณ เนียมเที่ยง | จิรวัฒน์ วัฒนชัย | ภูมิ สาธุธรรม
4848
49
PRC & Bee School ASEAN YOUNG REPORTERS (2555) ผลงานสารคดีข่าวในงานศิลปหัตถกรรมนักเรียนภาคเหนือ ครั้งที่ 62 จัดโดย สำ�นักงานคณะกรรมการการศึกษาขึ้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
5050
51
ADMISSION : Where our ways will be? (2555)
ผลงานสารคดีในชนมรม Media Arts Club ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย
5252
53
ASEAN Exploration Program 2013 (2556)
ผลงานสารคดีบันทึกการเดินทาง โครงการ ASEAN Exploration Progaram 2013 จัดโดย โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย
5454
55
DEATH : ฉันเห็นเพื่อนฉันตายทีละคน (2556)
ภาพยนตร์เพื่อเปิดในงานเลี้ยงรุ่น Xavier’53 วันที่ 11 พฤษภาคม 2556 (ยอดผู้เช้าชมแบบปิด 356 ครั้ง บน www.youtube.com ณ 15 เมษายน 2557) วีรยุทธ สุริยวงศ์ | ชลลกานต์ ผลละออ | กษิดิศ คล้ายแก้ว | ธัญมณี เลิศพฤกษ์ | รชตะ แสงมณีวรรณ | ธนดล สังข์คำ� จิรวัฒน์ วัฒนชัย | คริษฐ์ นิ่มคีรีเรืองผล | ธัญยธรณ์ ไชยวงศ์ | กุลธิดา รัตนาภิรมย์ | กฤษพิสิษฐ์ วิทยาผาสุข | นพบุรี มีลือการ
5656
57
ผลงานความสามารถด้านการออกแบบ
อ
อกแบบปกหนังสืออนุสรณ์ประจำ�ปีการศึกษา 2556 โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย โดยใช้สีน้ำ�เงิน เป็นสีพื้นหลัง บรรจุภาพกิจกรรมในปีการศึกษานี้ ลงในตัวเลข 2013 เพื่อเป็นสัญลักษณ์ความทรงจำ�ของเหตุการณ์ ตลอดทั้งปีการศึกษาที่ผ่านมา
58
อ
อกแบบตราสัญลักษณ์ และออกแบบ ภาพกราฟิคกระกอบหน้า Facebook Fanpage ประจำ�สถาบันภาษา Eng Around โดยใช้สีฟ้าเป็น สีธีมหลักในการออกแบบ โดยสีฟ้าอ่อนแทนตัวย่อ ของสถาบันภาษา การจัดวางข้อความเป็นขั้นบันได แสดงถึงลำ�ดับที่ไม่มีที่สุดของภาษา และสีฟ้าเข้ม แทนความเข้มข้นของเนื้อหาที่สถาบันจัดสอน ซึ่ง ทางสถาบันจะนำ�ไปใช้จริงในองค์กรในเร็ว ๆ นี้
5959
ผลงานกิจกรรม
เข้าร่วมกิจกรรมปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติ จัดโดยรุ่นซาเวียร์’53 โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์ เ ข้ า ร่ ว ม ช ม ร ม เ สี ย ง ต า ม ส า ย แ ล ะ วิทยาลัย เมื่อวันที่ 4 - 5 ธันวาคม 2553 ประชาสัมพันธ์ ตั้งแต่ปีการศึกษา 2553 - 2556 เข้าร่วมกิจกรรมค่ายอาสาฯ รุ่นซา เวียร์ ณ โรงเรียนบ้านงิ้วเฒ่า อำ�เภอสะเมิง จังหวัด เชียงใหม่ เมื่อวันที่ 21 - 23 มกราคม 2553
ได้รับมอบหมายเป็นตัวแทนนักเรียนใน การนำ�เสนอโครงการที่มีการบูรณาการหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียน ในงานตลาดนัด ความรู้เศรษฐกิจพอเพียง จัดโดย มูลนิธิสยามกัมมา จล ณ โรงแรมิราเคิล แกรนด์ กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 27 - 28 พฤษภาคม 2554
60
ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 จาก การเข้าร่วมการแข่งขันโต้วาทีภาษาอังกฤษ ในงาน เข้าร่วมการอบรม “นักข่าวพลเมือง Open House - Open Heart จัดโดย โรงเรียนมงฟ เยาวชนรักพลังงาน” จัดโดย คณะการสื่อสาร อร์ตวิทยาลัย เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2554 มวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และการไฟฟ้าฝ่าย ผลิตแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 1 - 4 สิงหาคม 2555
ร่วมแสดงและอำ�นวยละครเวทีภาษา รับหน้าที่ผู้ดำ�เนินรายการ ในงานวัน อังกฤษ ร่วมกับนักเรียนผู้มีความสามารถด้านภาษา เข้าร่วมกิจกรรม “ค่่ายก้าวแรกสู่รังนก ภาษาต่างประเทศ (Foreign Language Day 2011 อังกฤษ ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย รุ่นที่ 9 ครั้งที่ 6” จัดโดย คณะวารสารศาสตร์และสื่อสาร & 2012) จัดโดย โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย (PRC 9th Gifted English) ในงานวันภาษาต่าง ประเทศ (Foreign Language Day) จัดโดย โรง มวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ 2 - 4 เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2554 7 ธันวาคม 2555 เรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พฤศจิกายน 2555 2554
รับหน้าที่ผู้ดำ�เนินรายการ ในงานราตรี เพลิ น เพลง ประจำ�ปีการศึกษา 2556 จัดโดย โรง ร่วมจัดกิจกรรมค่ายอาสา GE Field ยนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม ร่วมจัดรายการวิทยุ “สติคิด ปัญญา Trip To Pai ในนามนักเรียนผู้มีความสามารถด้าน เรี2555 รู้ โดยเด็กไทย” โดยธนาคารสมอง และคณะการ ภาษาต่างประเทศ ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย สื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 8 โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย ณ โรงเรียนบ้าน ป่ายาง อำ�เภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน เมื่อวันที่ 26 และ 29 กันยายน 2555 - 27 พฤศจิกายน 2555
6161
ภาคผนวก จดหมายรับรองความสามารถ
62
63
ภาคผนวก ใบรับรองผลการเรียน + ประวัติส่วนตัว
64
ข้อมูลทั่วไป ชื่อ นามสกุล ชื่อเล่น
นายสุรพันธ์ แสงสุวรรณ์ อาร์ตี้ เลขที่ตามบัตรประจำ�ตัวประชาชน 1509901624308 เกิดเมื่อ วันจันทร์ที่ 25 กันยายน 2538 สถานที่เกิด โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ สัญชาติ ไทย เชื้อชาติ ไทย ศาสนา พุทธ น้ำ�หนัก 82 กิโลกรัม ส่วนสูง 171 เซนติเมตร ที่อยู่ / ภูมิลำ�เนา 123 หมู่ 4 ถนนเชียงใหม่ - ลำ�พูน ตำ�บลหนองหอย อำ�เภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50000 เบอร์โทรศัพท์ 082-8964598 อีเมล์ mpsoci3ty@icloud.com mpsoci3ty@gmail.com
ประวัติการศึกษา ชั้นเตรียมอนุบาล - อนุบาล 2 โรงเรียนสวนเด็กเชียงใหม่
ชั้นอนุบาล 3 ชั้นประถมศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย
65
66
67
68