Pharlain report

Page 1



ภูเขาพะลึน ช่วงฤดูทำนา

รายงานการศึกษาโดย ชุมชนท้องถิ่นพะลึน

1


แผนที่ความอุดมสมบูรณ์ของ ทรัพยากรธรรมชาติและชุมชนในเขตพะลึน 2

ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติและความมั่งคั่ง ของชุมชนในเขตพะลึน รัฐมอญ ประเทศเมียนมา


คำนำ

เจ้าอาวาสวัดอังแตง เก็บหาได้ทั่วไปในพะลึน ประการที่สอง ชาวบ้าน สามารถนำาข้อมูลที่ได้จากการศึกษาไปแลกเปลี่ยน กันภายในชุมชน รวมถึงเผยแพร่แก่ผ้คู นในสังคมได้ อย่างภาคภูมใิ จ เพราะรายงานฉบับนีไ้ ด้รวบรวมข้อมูล เกีย่ วกับความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ และระบบนิเวศในพะลึนไว้อย่างเด่นชัด การศึกษาครั้งนี้เกิดขึ้นได้เพราะเยาวชนใน ชุ ม ชนของเราช่ ว ยกั น ทำ า งานเก็ บ ข้ อ มู ล อย่ า ง ขะมักเขม้น อีกทั้งเป็นกระบวนการเรียนรู้ให้ชาวบ้าน มั่นใจในคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติและระบบ นิเวศในพื้นที่พะลึนสอดคล้องตามหลักคำาสอนของ พระพุทธเจ้าที่ว่า การแสวงหาสัจจะหรือความจริง ภายในตนเองนั้น ถือเป็นสิ่งประเสริฐยิ่ง ชุมชนในแถบนี้ตั้งอยู่ตามแนวภูเขาพะลึน ชาวบ้านท้องถิ่นทั้งหมดเป็นคนมอญอาศัยการดำารง ชีวิตโดยการทำาสวน หมู่บ้านอังแตงก่อตั้งขึ้นมาเมื่อ 117 ปีท่แี ล้ว คนที่น่มี วี ถิ ชี วี ติ เรียบง่ายตามวัฒนธรรม ดั้งเดิมที่สืบทอดกันยาวนานกว่า 100 ปี พวกเราใน ฐานะผู ้อ าวุ โ สที ่เ ป็ น เสมื อ นเสาหลั ก ของชุ ม ชนมี ความตั้งใจว่า พวกเราไม่อยากเห็นลูกหลานต้อง อาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมอันเสื่อมโทรม ไม่ว่าจะ เป็นดิน นำ้า อากาศ ที่จะถูกปนเปื้อนมลพิษจากโรง

รายงานการศึกษาโดย ชุมชนท้องถิ่นพะลึน

3

คำนำ

แนวความคิดในการจัดทำารายงานการศึกษา “ความ อุ ด มสมบู ร ณ์ ท างทรั พ ยากรธรรมชาติ แ ละความ มั่งคั่งของชุมชนในพะลึน” ริเริ่มขึ้นหลังจากที่ชาว บ้านอังแตงได้ทราบข่าวอันไม่พึงประสงค์เมื่อเดือน เมษายน 2557 ว่า ทุนสัญชาติไทยในนาม บมจ. ทีทซี แี อล (เดิม บมจ. โตโย-ไทยคอร์ปเปอเรชัน่ ) สนใจ เข้ามาลงทุนก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินขนาด 1,280 เมกะวัตต์ ชาวบ้านจำานวนมากซึ่งเป็นคนมอญ รู้สึก กังวลใจกับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นหากมีการสร้างโรง ไฟฟ้าถ่านหินในหมู่บ้านขึ้นจริง เพราะวิถีชีวิตของ ชาวบ้านที่น่พี ่งึ พาทรัพยากรธรรมชาติโดยตรง ทั้งใน ด้านการดำาเนินชีวติ ประจำาวันและการทำามาหากินที่ ต้องอาศัยเกษตรกรรมและการประมงเป็นหลัก ทั้ง การทำานา การทำาสวนหมากและการจับสัตว์นำ้า จุดประสงค์หลักของการศึกษามีด้วยกัน 2 ประการคือ ประการแรก ชาวบ้านจากทั้ง 7 หมู่บ้าน ในพะลึ น ต้ อ งสำ า รวจและประเมิ น คุ ณ ค่ า ของ ทรัพยากรธรรมชาติและชุมชนในถิ่นอาศัยของพวก เขา ไม่ว่าจะเป็นความอุดมสมบูรณ์ของสิ่งมีชีวิต อย่างโลมาในทะเล ปูหลากหลายสายพันธุ์ พันธุ์ไม้ หายากในป่าชายเลน พืชสมุนไพร รวมถึงพืชผักอีก อย่างน้อย 15 ชนิดที่ถอื เป็นอาหารหลัก และสามารถ


ไฟฟ้าถ่านหิน ดังนั้นคณะภิกษุสงฆ์จากทุกวัดใน 7 หมู่บา้ นจึงร่วมมือกับผู้นาำ ชุมชน แกนนำาเยาวชนและ ชาวบ้านในการทำาการศึกษาครั้งนี้ เพื่อแสดงจุดยืน ที่จะปกป้องรักษาทรัพยากร วิถชี วี ติ ศาสนา ประเพณี และวัฒนธรรมของพวกเรา พวกเรามีความภาคภูมิใจที่ได้เห็นรายงาน การศึกษาฉบับนี้ถกู เผยแพร่ส่สู าธารณะ แม้วา่ ความ กังวลใจและความหวาดกลัวของชาวบ้านต่อแผน โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินจะยังคงอยู่ก็ตาม ทั้งนี้ พวกเรารู้สึกขอบคุณ โครงการฟื้นฟูนิเวศในภูมิภาค แม่นำ้าโขง (TERRA) ที่คอยสนับสนุนการเก็บข้อมูล และ Human Rights Foundation of Mon Land (HURFOM) ที่แนะนำาให้ชุมชนรู้จัก TERRA ในโอกาสที่การศึกษาครั้งนี้เสร็จสิ้นลงอย่าง

สมบูรณ์พวกเราขอขอบคุณ TERRA และอาจารย์ สมพร เพ็งคำ่า ที่สนับสนุนทั้งแรงกายและแรงใจใน การขัดเกลาทักษะการเก็บข้อมูล, HURFOM ที่ช่วย ในการแปลรายงานเป็นภาษาท้องถิ่น ทั้งภาษามอญ และภาษาพม่า รวมถึงขอขอบคุณผู้นำาชุมชนและ เยาวชนที่คอยสนับสนุนการศึกษาในครั้งนี้ให้ลุล่วง ไปได้ดว้ ยดี ท้ายที่สดุ อาตมภาพขอขอบคุณเหล่านัก วิชาการ องค์กรภาคประชาสังคม องค์กรชุมชนและ ผู้คนทั้งหลายที่ยังคงยืนเคียงข้างพวกเราในการ ปกป้องทรัพยากรธรรมชาติ วิถีชีวิตของคนท้องถิ่น สิ่งแวดล้อมและสังคมอันดีงามไม่ให้โดนทำาลายโดย การลงทุนที่ขาดจริยธรรม อาตมภาพขออวยพรให้ความอุดมสมบูรณ์ ดำารงอยู่คู่มนุษยชาติบนโลกใบนี้ต่อไป เจ้าอาวาสซอล่ะ วัดอังแตง รามัญนิกาย หมู่บ้านอังแตง เมืองเย รัฐมอญ

4

ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติและความมั่งคั่ง ของชุมชนในเขตพะลึน รัฐมอญ ประเทศเมียนมา


คำนำ

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรรัฐมอญ

เมียนมากำาลังอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านไปเป็นประชาธิปไตยและมีการลงนามสัญญาหยุดยิงชั่วคราว แต่ แผนโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินอันนี้จะนำามาซึ่งความ กังวลใจและความไม่สงบในพะลึนอีกครัง้ สิง่ ทีช่ มุ ชน ท้องถิ่นต้องการคือ การพัฒนาที่เคารพความยั่งยืน และทรัพยากรธรรมชาติของชุมชน เพราะฉะนั้น พวก เขาจึงไม่ตอ้ งการโครงการขนาดใหญ่ทจ่ี ะมาทำาลาย ทรัพยากรธรรมชาติ สังคมและเศรษฐกิจของเขา ผมเคยอภิปรายว่ารัฐมอญยินดีตอ้ นรับการ ลงทุนโดยต่างชาติ แต่รฐั มอญก็มกั ละเลยทีจ่ ะป้องกัน ไม่ให้เกิดผลกระทบต่อประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่น เพราะยังไม่รบั รู้ขอ้ ดีและข้อเสียของโครงการทั้งหมด เป็นเพราะแผนโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหิน ชุมชนพะลึนจึงค้นพบความรักษ์บา้ นเกิดของตนเอง อีกครั้ง และพวกเขาก็จะไม่อนุญาตให้โครงการใดๆ มาทำาลายสิ่งแวดล้อมของพวกเราแน่นอน ด้วยความต้องการที่จะนำาเสนอคุณค่าของ พะลึนต่อชุมชนกันเองและองค์กรร่วม ชาวบ้านได้ ทำาการศึกษา เก็บข้อมูลกันอย่างขะมักเขม้น เพือ่ ให้ ข้อมูลที่ออกมานั้นถูกต้องที่สุด ผมยืนยันเลยว่า ยิ่ง คุณได้เรียนรู้และรู้จักพะลึนเท่าไหร่ คุณจะเห็นและ รู้สึกถึงความรู้สึกของคนพะลึน ดร. ออง นาย อู สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร รัฐมอญ

รายงานการศึกษาโดย ชุมชนท้องถิ่นพะลึน

5

คำนำ

เมืองเยตั้งอยู่ทางภาคใต้ของรัฐมอญ มีประชากร ประมาณ 250,000 คน เป็นคนมอญมากถึงร้อยละ 90 อยู่ร่วมกับคนชาติพันธุ์อื่นๆ เมืองเยเป็นเมืองติด ชายฝั่งทะเล มีทะเลอยู่ทางตะวันตกและภูเขาอยู่ ทางตะวันออก เป็นเมืองที่สวยงาม บรรยากาศดี ภูมิอากาศเหมาะแก่การเพาะปลูกและการประมง ผู้คนที่เมืองเยรุ่งเรืองได้เพราะผืนดินและธรรมชาติ ที่อุดมสมบูรณ์ แม้ผู้คนในเมืองจะเผชิญกับความไม่สงบ ทางการเมืองและการสู้รบมานานหลายปี แต่เมือง เยไม่เคยหยุดพัฒนา เนื่องด้วยพลังและความจริงใจ ของชุมชนท้องถิ่น เมื่อผมศึกษาเมืองเยอย่างละเอียด ผมยิ่ง ตระหนั ก ถึ ง คุ ณ ค่ า ทางวั ฒ นธรรม สั ง คมและ เศรษฐกิจ รวมทั้งทรัพยากรธรรมชาติของพะลึน หัวใจของผมจะเต้นแรงขึ้นและผมจะรู้สึกตื่นเต้น ทุกครั้งที่ผมได้โอกาสเรียนรู้เกี่ยวกับพะลึน แต่ ข ณะนี ้ MOU ระหว่ า งที ที ซี แ อลและ กระทรวงพลังงานไฟฟ้าชี้ว่า ทีทีซีแอลต้องการเดิน หน้าสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินใกล้หมู่บ้านอังแตง ความสันติสุขเพิ่งจะมาเยือนพะลึนเพราะ


คำนำ

ประธานมูลนิธิฟื้นฟูชีวิตและธรรมชาติ ในช่วงเดือนสิงหาคม 2557 ผมได้รับการติดต่อจาก เพื่อนชาวมอญที่อำาเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี ขอให้ชว่ ยติดตามโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินขนาดกำาลัง ผลิต 1,280 เมกะวัตต์ ซึ่งจะก่อสร้างที่เมืองเยในพื้นที่ ของรัฐมอญ ประเทศเมียนมา ด้ ว ยพื ้น ฐานที ่มี ค วามสนใจเรื ่อ งราวของ ประเทศเมี ย นมาเป็ น ทุ น เดิ ม อยู ่แ ล้ ว ไม่ ว่ า จะเป็ น ประเด็นเศรษฐกิจ การเมือ ง สัง คม ประวัติศาสตร์ โบราณคดี ศิลปวัฒนธรรม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่ง แวดล้อมก็ตาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งสิ่งที่เกิดขึ้นในพื้นที่ ของรัฐมอญและรัฐกะเหรี่ยง ซึ่งอยู่ใกล้และติดกับเขต รักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร พื้นที่ในความรับผิด ชอบปกป้องดูแลของผมโดยตรง หลังจากประเทศเมียนมาได้จัดการเลือกตั้ง ทั่วไปเมื่อปี 2553 และได้รัฐบาลที่มาจากการเลือก ตั้ง ประตูเข้าสู่ประเทศเมียนมาก็เปิดกว้างขึ้นอย่าง ไม่เคยปรากฏมาก่อนในประวัติศาสตร์ของเมียนมา กว่า 50 ปีที่เมียนมาปิดประเทศด้วยสาเหตุจากปัญหา การเมืองภายใน ทำาให้เมียนมายังคงความอุดมสมบูรณ์ ด้วยทรัพยากรธรรมชาติ วัฒนธรรมท้องถิ่นที่งดงาม ศิลปกรรมที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่ยากจะ พบเห็นในประเทศอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งศิลปกรรมที่ เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนา ความอุดมสมบูรณ์ดังกล่าว เปรียบเสมือนแม่ เหล็กขนาดใหญ่ท่ที รงพลัง ดึงดูดนักลงทุนทั่วโลกให้เข้า มาแสวงหากำาไรจากการทำาธุรกิจ ไม่วา่ จะเป็นธุรกิจด้าน อุตสาหกรรมที่ใช้วัตถุดิบจากฐานทรัพยากรธรรมชาติ หรือธุรกิจเกี่ยวกับการท่องเที่ยว ที่ใช้ความโดดเด่นของ ศิลปกรรมและความสวยงามของธรรมชาติก็ตาม การ ขยายตัวอย่างรวดเร็วของธุรกิจต่างๆ ได้ส่งผลให้เกิด การทำาลายทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม ศิลปกรรม และวัฒนธรรมท้องถิ่นของเมียนมาไปอย่างน่าเป็นห่วง 6

ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติและความมั่งคั่ง ของชุมชนในเขตพะลึน รัฐมอญ ประเทศเมียนมา

อย่างยิ่ง ปรากฏการณ์การรุกคืบของทุนต่างชาติที่เข้า ยึดกุมเมียนมา ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในพื้นที่หวั เมืองใหญ่ อย่างย่างกุง้ มัณฑะเลย์ เนปิดอว์ ทวาย และมะละแหม่ง เท่านั้น แต่ได้แผ่ขยายไปยังหัวเมืองขนาดเล็กที่หา่ งไกล ออกไป ซึ่งการเดินทางเข้าถึงยังไม่สะดวกนัก แต่นัก ลงทุนต่างชาติไม่เคยย่อท้อที่จะเข้าไปให้ถึง และปักธง ลงฐานยึดครองเป็นทำาเลทอง สร้างกำาไรมหาศาลให้ แก่ตน เมียนมา ประเทศที่พทุ ธศาสนาลงหลักปักฐาน อย่างมั่นคงมายาวนาน กำาลังถูกรุกรานโดยนักลงทุนที่ ไร้ศีลธรรม ละโมบ มีกิเลสอยู่ในหัวใจ โดยเชื่อว่าความ เจริญความทันสมัยเป็นยอดปรารถนาสูงสุดของมนุษย์ เย เป็นเมืองขนาดเล็ก ภายใต้เขตปกครอง ของรัฐมอญ ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศเมียนมา ระหว่างเมืองมะละแหม่ง รัฐมอญ กับเมืองทวาย รัฐ ตะนาวศรี เยเป็นเมืองท่าค้าขายทางทะเล ตั้งแต่ราช อาณาจักรอังกฤษเริ่มเข้ามาในพม่าเมื่อปี 2369 ก่อนที่ จะใช้อาำ นาจและแสนยานุภาพกองทัพเรือ เข้ายึดครอง พม่าทั้งประเทศอย่างเบ็ดเสร็จในปี 2428 แม้ว่าเมืองเยจะตั้งอยู่ห่างไกลจากศูนย์กลาง ความเจริญและธุรกิจ แต่เมืองเยก็หาได้รอดพ้นจาก การรุกรานของทุนไม่ โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินขนาด มหึมากำาลังจะเกิดขึ้น ทำาให้ผมคิดถึงโรงไฟฟ้าถ่านหิน ที่แม่เมาะ จังหวัดลำาปาง ซึ่งส่งผลต่อสุขภาวะของ ประชาชนอย่างกว้างขวาง ประชาชนต้องเจ็บป่วยล้ม ตายด้วยโรคมะเร็งและโรคทางเดินหายใจไปจำานวน มาก นำ้าบ่อที่เคยใช้ดื่มกินปนเปื้อนสารเคมี ไม่สามารถ ใช้ได้อีกต่อไป ชาวบ้านต้องซื้อนำ้าบรรจุถงั บรรจุขวดกิน แทน เงินทอง ที่เคยหาได้จากการขายผลผลิตการเกษตร เช่น ผลไม้ ผัก ก็หดหายไปจนแทบไม่มีรายได้เลย เนื่องจากผลไม้ไม่ติดลูก และผักเน่าเสียจากฝุ่นละออง


เห็นสภาพทางภูมศิ าสตร์ ระบบนิเวศ ได้พดู คุยกับคนใน ชุมชนเกี่ยวกับสภาพทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และความเชื่อ สิ่งต่างๆ เหล่านี้จะสร้างความเชื่อมั่นให้ กับผมที่จะพูดข้อเท็จจริงออกไป ฉะนั้น จำาเป็นอย่างยิ่งที่ ผมจะต้องลงพื้นที่กอ่ สร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินที่เมืองเยให้ ได้ ด้วยความตั้งใจของเพื่อนชาวมอญที่อำาเภอ สังขละบุรี ได้ช่วยประสานงานกับภาคส่วนต่างๆ รวม ทัง้ องค์กรภาคประชาชนที่เมืองมะละแหม่ง ทำาให้ผม มีโอกาสไปถึงเมืองเยเป็นครั้งแรกในชีวิต เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2557 จากเมืองเยต้องใช้เวลาเดินทางอีก ประมาณ 20 นาที ถึงหมู่บ้านอังแตง บริเวณที่ตั้งโรง ไฟฟ้าถ่านหิน อังแตงเป็นหมู่บา้ นเกษตรกรรมเก่าแก่ ร่มครึ้ม ไปด้วยสวนหมากและไม้ผลนานาชนิด ที่ปลูกผสมปนเป คละกันเหมือนป่าธรรมชาติ วัดอังแตงศูนย์รวมจิตใจ ของคนอังแตงทั้งหมู่บ้าน เป็นจุดหมายแรกที่ผมต้อง เข้าไปกราบหลวงพ่อ และได้ถือโอกาสนี้แนะนำาตัวเอง พร้อมทั้งบอกวัตถุประสงค์ท่เี ข้ามายังหมู่บา้ น หลวงพ่อ ถามว่าต้องการข้อมูลอะไรบ้าง ผมตอบหลวงพ่อไม่ได้ จนกว่าผมจะได้เดินสำารวจพื้นที่ ผมขออนุญาตหลวงพ่อเดินสำารวจพืน้ ทีก่ อ่ สร้าง โรงไฟฟ้าถ่านหิน มีชาวบ้านอังแตง 2 คนนำาทาง เราเดิน ผ่านสวนหมากอายุประมาณ 5 ปี ซึ่งบางต้นเริ่มติดผล แล้ว ผ่านสวนหมากที่เพิ่งจะลงปลูกเมื่อปีท่แี ล้ว ทะลุลง ทุ่งนาที่เขียวขจี ต้นข้าวกำาลังโตเต็มที่สงู ราว 1 เมตร เป้า หมายของเราคือมุ่งหน้าตรงไปยังทะเล ที่อยู่หา่ งออกไป ประมาณ 2 กิโลเมตร จุดที่จะกลายเป็นท่าเรือขนถ่าย ถ่านหินและที่ตั้งโรงไฟฟ้า ผมยื น อยู ่บ นหาดโคลน สายตาพุ ่ง ตรงไป ยั ง ทะเล คิ ด ไปถึ ง วั น ข้ า งหน้ า ท้ อ งทะเลอั น เวิ ้ง ว้ า ง จะมีท่าเรือมาบดบัง หันไปด้านซ้ายมือเห็นทิวเขาตั้ง ตระหง่าน ผมถามผู้นำาทางว่าภูเขาที่เห็นชื่ออะไร เป็น คำาถามแรกที่ผมถามคนอังแตง เขาตอบว่าชื่อ “พะเริง” ผมจดไว้วา่ “ภูเขาพะเริง” มาทราบทีหลังว่าที่ถกู ต้อง คือ “พะลึน” แต่ก็ไม่เพี้ยนไปมาก ไม่น่าเชื่อว่าคำาถามแรก ของผมในวันนั้น วันนี้ พะลึน กลับมาเป็นสัญลักษณ์ที่ สำาคัญยิ่งของคนในบริเวณนี้อีกครั้งหนึ่ง และจะกลาย รายงานการศึกษาโดย ชุมชนท้องถิ่นพะลึน

7

คำนำ

ของถ่านหิน บทเรียนจากโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินแม่เมาะ ได้ก่อให้เกิดการลุกขึ้นสู้ของประชาชนในหลายจังหวัด ของประเทศไทย ที่มีแผนก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน ไม่ ว่าจะเป็นที่จังหวัดะเชิงเทรา ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร นครศรีธรรมราช กระบี่ ตรัง ซึ่งมีกำาลังผลิตแต่ละโรง 600-800 เมกะวัตต์ เล็กกว่าโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหิน ที่เมืองเยถึงครึ่งหนึ่ง ความเข้มแข็งของประชาชนในจังหวัดดังกล่าว มีผลทำาให้โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินไม่สามารถสร้าง ได้จนถึงขณะนี้ แม้ว่าเจ้าของโครงการจะพยายามทุก วิถีทาง ทั้งการโฆษณาประชาสัมพันธ์ว่าเป็นโรงไฟฟ้า ถ่านหินสะอาด และประชาชนได้รบั ประโยชน์อย่างมาก มีการพาผู้นาำ ชุมชนไปดูงานต่างประเทศ การเข้าหาผู้นำา ทางศาสนา การกว้านซื้อที่ดิน การสร้างความแตกแยก ในหมู่ประชาชน การเสนอผลประโยชน์ตอบแทนให้แก่ ผู้ที่ช่วยเหลือให้เกิดโครงการก็ตาม ผมรับปากเพื่อนชาวมอญที่อำาเภอสังขละบุรี ว่ายินดีจะช่วยติดตามโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินทีเ่ มืองเย ด้วยเหตุผล 2 ประการ ทีท่ าำ ให้ผมสนใจอยากติดตาม คือ 1. บริษทั เจ้าของโครงการ คือ บริษทั โตโย-ไทย ซึ่งมีคนไทยถือหุ้นอยู่ด้วย และบริษัทนี้จดทะเบียนใน ประเทศไทย ในฐานะคนไทย ผมไม่อยากเห็นบริษทั ของ ไทยเข้าไปก่อปัญหาสร้างความเดือดร้อนในประเทศ เพื่อนบ้าน 2. จะเป็ น การย้ า ยฐานการผลิ ต ไฟฟ้ า จาก ถ่านหินที่คนไทยไม่ต้องการ มายังประเทศเมียนมา หรือไม่ และกำาลังการผลิตของโรงไฟฟ้าถ่านหินที่เมือง เยจำานวนมากถึง 1,280 เมกะวัตต์ จะส่งกลับมาขาย ประเทศไทยด้ ว ยหรื อ ไม่ ผลกระทบที ่จ ะเกิ ด ขึ ้น ต่ อ ประชาชนในเมืองเยจะทำาอย่างไร ในขณะที่กฎหมาย ของเมียนมาเองก็ไม่เข้มงวดเท่าของประเทศไทย สำาหรับผมแล้ว วิธีการติดตามโครงการโรง ไฟฟ้าถ่านหินที่เมืองเย เริ่มจากการรู้จักบริษัทโตโยไทย ลักษณะของโครงการ จุดที่ตั้งโครงการ แต่ผมไม่ กล้าบอกว่าจะมีผลกระทบอย่างไร จนกว่าจะได้ลง ศึกษาพื้นที่จริง และเชื่อมั่นว่าการได้ลงพื้นที่ก่อสร้าง โครงการ มีความสำาคัญอย่างยิ่งในการรณรงค์ เพราะได้


เป็นพลังอันยิ่งใหญ่ต่อไปในอนาคต ชาวบ้านจึงตกลง ร่วมกันว่างานศึกษาชิ้นนี้ให้ใช้ชื่อว่า “พะลึนศึกษา” ผมได้เห็นระบบนิเวศที่น่าสนใจ อันประกอบ ไปด้วยท้องทะเล หาดทราย หาดโคลน แหล่งนำ้าจืด นา ข้าว ทิวเขา สวนหมาก ที่สัมพันธ์กันอย่างลงตัว ไม่เป็น พิษเป็นภัยระหว่างกัน และอยู่ด้วยกันอย่างสงบสุข นี่ กระมัง ที่ช่วยทำาให้คนอังแตงมีชีวิตที่สงบสุขไปด้วย นานๆ ครั้งที่ได้เดินเท้าเปล่า ยำา่ อยู่ในโคลนตม กลางท้องนา แม้จะรู้สกึ เจ็บเท้าอยู่บา้ ง แต่กไ็ ม่หนักหนา อะไร ลมยามเย็นของเดือนกันยายนในช่วงปลายฝน พัดจากทะเลเข้าหาหมู่บ้าน กระทบผิวกายแผ่วๆ ต้น ข้าวเอนลู่ไปตามแรงลม เห็นเป็นลอนคลื่นเหมือนพรม สีเขียวผืนใหญ่ที่ปูทับพื้นลูกฟูก กลิ่นหอมของต้นข้าว ที่กำาลังตั้งท้องทำาให้รู้สึกสดชื่น อีกไม่กี่วันต่อจากนี้ต้น ข้าวก็จะเกิดออกมาเป็นรวง และโตวันโตคืนเป็นเม็ดข้าว ให้คนอังแตงได้เก็บเกี่ยวกิน และจะเป็นเยี่ยงนี้ไปตราบ นานแสนนาน เวลาอันน้อยนิดในการเดินสำารวจอาจไม่ได้ ข้อมูลมากนัก แต่กท็ าำ ให้ผมมั่นใจว่า หมู่บา้ นอังแตงเป็น หมู่บ้านที่ไม่ธรรมดาแน่นอน เป็นพื้นที่ที่น่าศึกษาอย่าง ยิ่ง ทั้งในด้านสังคม เศรษฐกิจ ระบบนิเวศ สิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ วัฒนธรรมท้องถิ่น และความเชื่อ สิ่งเหล่านี้คือคุณค่าของอังแตง เป็นชีวิตของคนอันแตง ที่ควรได้รับการปกป้องดูแลไม่ให้ถูกทำาลาย เราเดินกลับมายังวัดอังแตงในสภาพมอมแมม เนื้อตัวเต็มไปด้วยโคลน เร่งรีบล้างเท้าแล้วขึ้นไปบน ศาลาวั ด ผมเห็ น หลวงพ่ อ กั บ หลวงพี ่นั ่ง อยู ่ใ กล้ กั น ข้างๆ มีชาวบ้านอังแตงทั้งหญิงและชายนั่งรวมกลุ่ม กั น อยู ่ ราวกั บ ว่ า พวกเขากำ า ลั ง นั ่ง รอฟั ง ผลการเดิ น สำารวจของเรา ผมก้มลงกราบหลวงพ่อและหลวงพี่ หลวงพ่อถามว่าเห็นอะไรบ้าง และรู้สึกอย่างไร ผม ตอบว่าเห็นทะเล หาดทราย หาดโคลน นาข้าว สวน หมาก และภูเขา ทำาให้เกิดความรู้สึกเสียดายถ้าสิ่งที่ แปลกตาหายากที่ได้เห็นถูกทำาลายไป นาข้าวอยู่ใกล้ กับทะเลมาก แต่นำ้าและดินไม่เค็ม สวนหมากกลมกลืน กับป่าธรรมชาติบนภูเขา ราวกับเป็นป่าธรรมชาติท้งั ผืน ซึ่งเราไม่ค่อยพบในที่อื่นๆ รู้สึกกังวลว่าองค์ความรู้ของ ชาวบ้านในการทำาสวนหมาก คัดสรรพันธุ์หมาก และ 8

ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติและความมั่งคั่ง ของชุมชนในเขตพะลึน รัฐมอญ ประเทศเมียนมา

รายได้จากการขายผลหมากจะหายไป ผมเชื่อว่าสวน หมากมีความสำาคัญอย่างมากต่อการดำารงชีวิตของคน ทีน่ ี่ ตั้งแต่ผมได้เห็นสภาพของหมู่บ้าน และรู้สึกเป็น ห่วงชาวบ้านที่จะได้รบั ผลกระทบจากมลพิษทางอากาศ เพราะทิศทางลมจะพัดจากทะเลเข้าหาหมู่บ้าน โดยมี ทิวเขาพะลึนยืนขนาบข้างให้เป็นช่องลม สังเกตได้จาก ต้นข้าวที่เอนลู่มาทางหมู่บ้าน ซึ่งนอกจากจะทำาให้ชาว บ้านได้รับผลกระทบด้านสุขภาพแล้ว ยังส่งผลกระทบ ต่อผลผลิตของข้าว หมาก และผลไม้ชนิดต่างๆ รวม ถึงการปนเปื้อนสารเคมีในนำ้าบาดาลด้วย ในประเด็น ทิศทางลม หลวงพ่อก็ดูจะห่วงใยและได้ให้ข้อมูลเพิ่ม เติม การลงพื้นที่หมู่บ้านอังแตงครั้งแรก ทั้งพวก เราซึ่งเป็นบุคคลภายนอกและชาวบ้านอังแตงได้ข้อ สรุ ป ร่ ว มกั น ว่ า การต่ อ สู ้เ พื ่อ หยุ ด โรงไฟฟ้ า ถ่ า นหิ น จำาเป็นต้องสร้างความเข้มแข็งของชาวบ้าน มีข้อมูล ของหมู ่บ้ า นที ่จ ะบอกกั บ ชาวบ้ า นด้ ว ยกั น เองและ สาธารณชนได้ว่า หมู่บ้านมีคุณค่าอะไร ชีวิตความ เป็นอยู่ของชาวบ้านเป็นอย่างไร ชาวบ้านอยู่ได้โดย ไม่จำาเป็นต้องมีโรงไฟฟ้าถ่านหิน ที่สำาคัญคือข้อมูลดัง กล่าวชาวบ้านจะได้มาอย่างไร ซึ่งเป็นภาระหน้าที่ของ ชาวบ้านที่จะต้องร่วมแรงร่วมใจกันแสวงหาและจัดทำา ข้อมูลอย่างเป็นระบบ วันที่ 2-3 ธันวาคม 2557 การจัดประชุมเชิง ปฏิบตั กิ ารเกี่ยวกับผลกระทบจากโรงไฟฟ้าถ่านหิน และ วิธกี ารเก็บข้อมูลในประเด็นทีค่ าดว่าจะได้รบั ผลกระทบ ต่อชุมชนจึงเกิดขึ้นที่อาำ เภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งที่ประชุมได้ช่วยกันระดมความคิดเห็นต่อผลกระทบ ที่จะเกิดขึ้นกับหมู่บ้านอันแตงจากโครงการโรงไฟฟ้า ถ่านหิน ได้ทั้งหมด 14 ประเด็น คือ 1) ผลกระทบด้าน สุขภาพ 2) ผลกระทบด้านระบบนิเวศ 3) ผลกระทบด้าน ประเพณีและวัฒนธรรม 4) ผลกระทบด้านมลพิษทาง อากาศ 5) ผลกระทบด้านแหล่งนำ้าและทะเล 6) ผลกระ ทบด้านสัตว์นำ้า 7) ผลกระทบต่อนาข้าว 8) ผลกระทบ ด้านการย้ายถิ่นฐานของคนในชุมชน 9) ผลกระทบด้าน อาชีพประมง 10) ผลกระทบด้านการเกษตร 11) ผลกระทบ ด้านทรัพยากรป่าชายเลนและป่าบก 12) ผลกระทบต่อ สวนหมาก 13) ผลกระทบต่อธรรมชาติที่สวยงาม และ


ด้วยข้อจำากัดของเวลาและประสบการณ์ของ ชาวบ้าน ที่ไม่เคยทำาการศึกษาและเก็บข้อมูลมาก่อน และนี่คือการศึกษาที่อาจเรียกได้ว่าเป็นชิ้นแรกของคน อังแตงก็วา่ ได้ ระยะเวลา 6 เดือนที่ทาำ การศึกษาจึงทำาได้ แค่ 2 ประเด็น คือ นาข้าว ทะเล สวนหมาก และระบบ นิเวศ (ป่าชายเลน ภูเขา) แต่ผลงานก็ออกมาน่าประทับใจ และสามารถนำาไปใช้ประโยชน์ได้แล้ว แม้วา่ งานศึกษา ชิ้นนี้ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ก็ตาม ผมยังหวังว่าในอนาคต คนอังแตงจะได้ศกึ ษา เก็บข้อมูลในประเด็นที่เหลืออยู่ให้ครบทั้ง 14 ประเด็น ซึ่งจะทำาให้แลเห็นคุณค่าและความสำาคัญของบ้านอัง แตงเพิ่มมากขึ้น ต่อจากนี้ถา้ คนอังแตงจะเป็นแกนกลาง ในการขยายพื ้น ที ่ก ารศึ ก ษาเก็ บ ข้ อ มู ล ในลั ก ษณะ เดียวกันนี้ออกไปรอบข้างให้กว้างขวางครอบคลุมพื้นที่ ทั้งหมดของพะลึน ก็จะช่วยเสริมสร้างความรักความ สามัคคีระหว่างคนพะลึนด้วยกัน และจะนำาไปสู่ความ เข้มแข็งเป็นพลังอันยิ่งใหญ่ของคนพะลึน ที่จะร่วมกัน ปกป้องพื้นที่และชีวิตของผู้คนไม่ให้ถูกทำาลาย พะลึนศึกษา เป็นงานศึกษาวิจยั เชิงปฏิบตั กิ าร อย่างแท้จริง เพราะในระหว่างการศึกษาเก็บข้อมูล ได้ มีการนำาผลการศึกษามาใช้ในการเคลื่อนไหว คัดค้าน โรงไฟฟ้าถ่านหินอย่างเป็นรูปธรรม ไม่จำาเป็นต้องรอ จนกว่าจะได้จดั พิมพ์เป็นรูปเล่ม พะลึนศึกษาจึงเป็นงาน ศึ ก ษาวิ จั ย ที ่มี ชี วิ ต มี พ ลวั ต ต่ า งจากงานศึ ก ษาวิ จั ย จำานวนมาก ที่ไม่รู้ว่าจะเอาไปใช้ประโยชน์อย่างไร ทำา เสร็จแล้วเอาเข้าตู้เก็บหนังสือ ไม่ขยับเขยื้อนเคลื่อนไหว เหมือนไร้ซึ่งชีวิต พะลึนศึกษาได้แสดงออกถึงพลัง ในฐานะ เครื่องมือที่ใช้ต่อสู้เพื่อหยุดโรงไฟฟ้าถ่านหิน โดยมีส่วน ช่วยเสริมความเข้มแข็งของประชาชนในเหตุการณ์การ ชุมนุมใหญ่คดั ค้านโรงไฟฟ้าถ่านหิน เมือ่ วันที่ 5 พฤษภาคม 2558 ที่ลานหน้าวัดอังแตง ซึ่งมีประชาชนเข้าร่วมชุมนุม ประมาณ 6,000 คน วีรวัธน์ ธีรประสาธน์ ประธานมูลนิธิฟื้นฟูชีวิตและธรรมชาติ 5 มิถุนายน 2558 วันสิ่งแวดล้อมโลก รายงานการศึกษาโดย ชุมชนท้องถิ่นพะลึน

9

คำนำ

14) ผลกระทบที่เกิดจากการเข้ามาของบุคคลภายนอก การระดมความคิดเห็นต่อผลกระทบ ชี้ให้เห็น ปัญหาที่จะเกิดขึ้นอย่างกว้างขวางหากโรงไฟฟ้าถ่านหิน เกิดขึ้น ผลกระทบทั้ง 14 ประเด็น ล้วนแต่จำาเป็นที่ชาว บ้านอันแตงต้องศึกษาและรวบรวมข้อมูล แต่ในภาวะ เร่งด่วนที่โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินกำาลังจะเกิดขึ้น ชาวบ้านต้องเลือกเองว่าจะศึกษาประเด็นไหนก่อน ซึ่ง ได้ข้อสรุปว่าจะศึกษาและเก็บข้อมูลใน 5 ประเด็นที่ สำาคัญทีส่ ดุ ก่อน คือ 1) นาข้าว ทะเล และสวนหมาก 2) ประเพณีและวัฒนธรรม 3) การเปลี่ยนแปลงของชุมชน จากการเข้ามาของบุคคลภายนอก 4) สิ่งแวดล้อมและ สุขภาพ และ 5) ระบบนิเวศ (ป่า ภูเขา ทะเล และสายนำา้ ) ผมทราบดีว่าการที่ชาวบ้านต้องลงมือทำาการ ศึกษาเอง เก็บข้อมูลเอง ไม่ใช่เรือ่ งง่ายเลยสำาหรับชาวบ้าน ซึ่งไม่เคยมีประสบการณ์มาก่อน แต่มคี วามจำาเป็นที่ชาว บ้านจะต้องลงมือทำาด้วยตัวเอง เพราะเป็นคนที่น่ี หลาย คนอาจต้องผูกพันกับพื้นที่นี้ไปจนตาย จึงไม่มีใครหรือ นักวิชาการคนไหนรู้พื้นที่ดีกว่าชาวบ้าน การเริ่มต้นศึกษาและเก็บข้อมูลในช่วงแรกๆ อาจดูย่งุ ยาก อืดอาด ชักช้า ไม่คบื หน้า แต่ประสบการณ์ ที่เพิ่มขึ้นตลอดเวลาบวกกับความตั้งใจจริงของชาวบ้าน จะทำาให้การทำางานรวดเร็วขึ้น ผมมั่นใจว่าชาวบ้าน ทำาการศึกษาและเก็บข้อมูลเองได้ ชาวบ้านจะภูมิใจใน ผลงานที่ได้ลงมือทำาเองจนสำาเร็จ และใช้ประโยชน์จาก การศึกษาเก็บข้อมูลจนสามารถหยุดโครงการโรงไฟฟ้า ถ่านหินได้ ชาวบ้านรับรู้มาตั้งแต่ต้น ว่าการศึกษาเก็บ ข้อมูลครั้งนี้ มีเป้าหมายเพื่อหยุดโรงไฟฟ้าถ่านหิน ความ สำาคัญของการศึกษาและเก็บรวบรวมข้อมูล จึงมิได้อยู่ แค่เฉพาะข้อมูลที่ได้มาและจัดพิมพ์เป็นรูปเล่มหนังสือ แต่ความสำาคัญสูงสุดอยู่ที่กระบวนการศึกษาและเก็บ ข้อมูล ที่ใช้เป็นสื่อกลางในการดึงดูดชักจูงคนในชุมชน ให้เข้ามาร่วมในกระบวน เพื่อให้งานศึกษานี้เป็นของ ชุมชน และเป็นประโยชน์กบั ชุมชนอย่างแท้จริง การรวม ตัวของสมาชิกในชุมชนอย่างเข้มแข็ง ด้วยสำ านึกใน คุณค่าของชุมชน จะเป็นพลังอันยิ่งใหญ่ท่จี ะต่อสู้กบั ภัย ต่างๆ ไม่เฉพาะการหยุดโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหิน เท่านั้น


สารบัญ แผนที่ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติและชุมชนในเขตพะลึน

2

คำานำา

3

บทที่ 1 กระบวนการทำางานพะลึนศึกษา

12

บทที่ 2 ภูมิประเทศและชุมชนแห่งพะลึน ภูมิประเทศของพะลึน ชุมชนและวิถีชีวิต

16 16 19

บทที่ 3 สวนหมากและผลไม้ วิธีการปลูกหมาก ความสำาคัญของหมากในเศรษฐกิจท้องถิ่น ผลไม้ในสวน ความสำาคัญของผลไม้ในเศรษฐกิจท้องถิ่น

22 22 24 27 30

บทที่ 4 ทุ่งนาในที่ราบ ความสำาคัญของข้าวในเศรษฐกิจท้องถิ่น ประเพณีที่เกี่ยวกับข้าว

32 34 34

บทที่ 5 ประมงพื้นบ้านในพะลึน ประมงในหมู่บ้านกว๊านตะมอปึย กุ้งมังกรและกั้ง วิธีการทำามาหากินอื่นๆ ใน หมู่บ้านกว๊านตะมอปึย ประมงในหมู่บ้านนิเกรอะ พันธุ์ไม้ในป่าชายเลนที่ปากแม่นำ้านิเกรอะ ความสำาคัญของประมงพื้นบ้านในเศรษฐกิจท้องถิ่น

36 36 42 44 45 46 48

บทที่ 6 รายได้รวม

50

10

ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติและความมั่งคั่ง ของชุมชนในเขตพะลึน รัฐมอญ ประเทศเมียนมา


51 51 54 55 56 57 58 59

บทที่ 8 การเคลื่อนไหวต่อสู้โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหิน สรุปการเคลื่อนไหว แผนที่ภัยคุกคามต่อทรัพยากรธรรมชาติและชุมชนพะลึน ลำาดับเหตุการณ์ ข้อกังวลต่อโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหิน

60 60 61 62 69

บทที่ 9 บทสรุป

71

ภาคผนวก 1. ตัวอย่างสัตว์นำ้าที่พบในหมู่บ้านกว๊านตะมอปึย 2. ตัวอย่างปลาแห้งที่พบในหมู่บ้านกว๊านตะมอปึย 3. ปลาในพะลึน 4. ปู ในพะลึน 5. กุ้ง กั้ง กุ้งมังกร ในพะลึน 6. หอย ในพะลึน 7. สัตว์นำ้าอื่นๆ ในพะลึน 8. นก ในพะลึน 9. ป่าชายเลน 10. การสำารวจป่าชายเลน

72 72 74 75 81 82 84 84 85 89 90

อ้างอิง

92

รายงานการศึกษาโดย ชุมชนท้องถิ่นพะลึน

11

สารบัญ

บทที่ 7 ประวัติหมู่บ้าน อังแตง กว๊านตะมอปึย นิเกรอะ นินู่ ซายแกรม บาลายแซม กว๊านเกาะฮะรอย


บทที่ 1 กระบวนการพะลึนศึกษา

โครงการพะลึนศึกษาเริ่มต้นขึ้นหลังจากที่กลุ่มตัวแทน ชาวบ้านอังแตงเข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการ (workshop) ว่าด้วยเรื่องการวิจัยการจัดการทรัพยากร จัด โดย Human Rights Foundation of Mon Land (HURFOM) และโครงการฟื้นฟูนิเวศในภูมิภาคแม่นำ้า โขง (TERRA) ที่สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี เมื่อวันที่ 2-3 ธันวาคม 2557 จุดประสงค์หลักของการศึกษาครั้งนี้ คือการทำาความเข้าใจความสำาคัญของระบบนิเวศและ ทรัพยากรธรรมชาติของพะลึนต่อชุมชนเพื่อส่งเสริม ความเข้าใจต่อคุณค่าของพะลึนและประชาชนที่อยู่ ในบริเวณนั้น และที่สำาคัญงานศึกษาชิ้นนี้มุ่งให้การ สนับสนุนชาวบ้านพะลึนในการวิเคราะห์ผลกระทบต่อ ธรรมชาติและชุมชนที่อาจเกิดขึ้นหากแผนโครงการโรง ไฟฟ้าถ่านหินดำาเนินการขึ้นจริง ในช่วงการพูดคุยในการประชุมเชิงปฏิบัติการ ตัวแทนชาวบ้านอังแตงอธิบายว่า แหล่งรายได้หลัก ของชุมชนมี 3 อย่างคือ การทำาสวนหมาก การทำานา ข้าว และประมงด้วยเหตุน้ี การศึกษาครั้งนี้จงึ เน้นศึกษา ระบบนิเวศที่เอื้อต่อแหล่งรายได้ท้งั 3 อย่าง และคุณค่า ทางเศรษฐกิจและสังคมของแหล่งทรัพยากรธรรมชาติท่ี เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ ตัวแทนชาวบ้านอังแตงได้ร่วมกัน

12

ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติและความมั่งคั่ง ของชุมชนในเขตพะลึน รัฐมอญ ประเทศเมียนมา

ทำาแผนที่หมู่บ้านขึ้นเพื่อแสดงที่ตั้งของหมู่บ้าน ระบบ นิเวศและภูมิประเทศโดยรวมของบริเวณนั้น หลังการประชุมฯ ชาวบ้านอังแตงจัดตั้งกลุ่ม ทำางานวิจัยชุมชนหลักขึ้นมา(ต่อจากนี้เรียกว่า “ทีม วิ จั ย ”) ซึ ่ง ประกอบไปด้ ว ยพระสงฆ์ แ ละเยาวชนใน หมู่บ้าน ทำาหน้าที่รับผิดชอบในการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับ ระบบนิเวศ สังคม วิถีชุมชน เศรษฐกิจจากแหล่งรายได้ หลักทั้ง 3 และผลไม้ ประวัตหิ มู่บา้ น รวมทั้งกระบวนการ เคลื่อนไหวและรณรงค์คัดค้านแผนโครงการโรงไฟฟ้า ถ่านหิน ตัวอย่างคำถามในแบบสอบถาม - จำานวนครัวเรือนในหมู่บ้าน - จำานวนครัวเรือนในหมู่บ้านที่ทำานา มีสวนหมาก และ ทำาประมง - จำานวนพื้นที่ (เอเคอร์) ที่ใช้สาำ หรับทำานาและสวนหมาก - จำานวนต้นหมากและไม้ผลที่แต่ละครัวเรือนปลูกไว้ - จำานวนผลหมากที่แต่ละครัวเรือนเก็บได้ต่อปี - จำานวนข้าวเปลือกที่แต่ละครัวเรือนเก็บเกี่ยวได้ต่อปี - จำานวนครัวเรือนที่มีเรือประมงและเครื่องยนต์เรือ - จำานวนเครื่องมือประมงของแต่ละครัวเรือน - รายได้จากสวนหมาก นา และประมง


แผนที่แรกที่ชาวบ้านวาด ในการประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อบอกที่ตั้งหมู่บ้านอังแตง และสภาพแวดล้อม

แผนที่ทำามือแสดงพื้นที่นาข้าว สวนหมากและผลไม้ ประมง ลำานำ้า แหล่งนำ้า หมู่บ้าน และโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหิน

ตารางประมวลผลแสดง รายได้จากการทำาสวนหมาก นาข้าวและประมง ในแต่ละหมู่บ้าน

พระครูนนแต หนึ่งในสมาชิกทีมวิจัย อธิบายแผนที่เขตพะลึน

ทีมวิจัยสัมภาษณ์ชาวประมงจาก หมู่บ้านกว๊านตะมอปึยเกี่ยวกับการทำาประมง

ทีมวิจัยสัมภาษณ์ชาวประมง และกลุ่มผู้หญิงเพื่อสอบถาม ข้อมูลพันธุ์ไม้ป่าชายเลน รวมถึงสรรพคุณทางยา

รายงานการศึกษาโดย ชุมชนท้องถิ่นพะลึน

13


ในเริ่มแรก ทีมวิจัยวางแผนศึกษาเพียงแค่ พื ้น ที ่ใ นหมู ่บ้ า นอั ง แตง แต่ ช าวบ้ า นคิ ด ว่ า ควรที ่จ ะ ศึกษาหมู่บ้านใกล้เคียงด้วยเช่นกัน จึงเริ่มการติดต่อ ไปยังเพื่อนบ้านเพื่อประเมินความเป็นไปได้ในการร่วม มือ หลังจากที่ทำาการศึกษาไปได้ระยะหนึ่ง ชาวบ้านหมู่ บ้านอื่นๆ เริ่มมีความสนใจในกระบวนการศึกษามาก ขึ้น จนกระทั่งเดือนมกราคม 2558 ทีมวิจัยขยายพื้นที่ ศึกษาจาก 1 หมู่บ้านเป็น 7 หมู่บ้านในพะลึนประกอบ ด้วย หมู่บา้ นอังแตง หมู่บา้ นนิเกรอะ หมู่บา้ นเคาะเคลีย หมู่บา้ นซายแกรม หมู่บา้ นนินู่ หมู่บา้ นบาลายแซมและ หมู่บ้านเกาะฮะรอย ทีมวิจัยรวบรวมข้อมูลจากชาวบ้านโดยการ สั ม ภาษณ์ แ บบรายบุ ค คลและการพู ด คุ ย โดยการ สัมภาษณ์กลุ่ม (focus group) เพื่อทำาความเข้าใจใน วิธีการทำานา การจับปลา การทำาสวนหมากและผลไม้ รวมถึงคุณค่าเชิงนิเวศของทรัพยากรธรรมชาติที่ชาว บ้านพึ่งพาในการดำารงชีวิต ไม่ว่าจะเป็นคุณสมบัติของ พืชสมุนไพร ความเชื่อทางวัฒนธรรมและศาสนา ความ เกี่ยวข้องของพันธุ์พืชและสัตว์ต่อสังคมชุมชนและการ พักผ่อนหย่อนใจ หลังจากการเก็บข้อมูลมาเป็นระยะเวลา 3 เดือน ในเดือนมีนาคม 2558 ทีมวิจัยทำาการประเมิน รายได้ของชาวบ้านจากการขายหมาก ข้าวและปลาของ หมู่บ้านที่เข้าร่วมงานวิจัย และนำาเสนอการวิเคราะห์ ข้อมูลเหล่านี้ด้วยกันหลายวิธี อาทิ ทำาตารางรายได้ขั้น ตำ่าจากหมาก ข้าว และประมง เนื ่อ งจากที ม วิ จั ย ขยายพื ้น ที ่ศึ ก ษาเป็ น 7 หมู่บา้ น จึงมีการพัฒนาแผนที่แบบเก่าให้มรี ายละเอียด มากยิ่งขึ้นเพื่ออธิบายภูมิประเทศ ระบบนิเวศ และ ความสัมพันธ์ของชุมชนกับสิ่งแวดล้อมในบริเวณ กลุ่ม หมู่บ้านอังแตง (Andin Tract) และเพื่อให้ชาวบ้าน และทีมวิจัยสามารถเข้าใจความเกี่ยวข้องของระบบ นิเวศพะลึนได้ชัดเจนยิ่งขึ้น การสำารวจเริ่มตั้งแต่พื้นที่ บนยอดเขาพะลึนไปถึงพื้นที่ราบตามชายหาด มีการ เก็บตัวอย่างพันธุ์ไม้เพื่อจดบันทึกและศึกษาความอุดม สมบูรณ์ของป่าชายเลน หากทีมวิจัยไม่สามารถเก็บ ตัวอย่างได้ เช่น ตัวอย่างพันธุ์ปลา ทีมวิจัยจะถ่ายรูป ตัวอย่างไว้แทน 14

ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติและความมั่งคั่ง ของชุมชนในเขตพะลึน รัฐมอญ ประเทศเมียนมา

นอกจากนี้ ทีมวิจัยยังได้พูดคุยกับชาวบ้านใน บริเวณจุดเก็บตัวอย่างเพื่อทำาความเข้าใจตัวอย่างใน หลายๆ มิติ เช่น ชื่อในภาษามอญ สรรพคุณทางยาของ พืชสมุนไพร วิธกี ารจับปลา วิธกี ารปรุงอาหาร ฤดูกาลที่ จะพบเจอตัวอย่างชนิดนั้น ในเดือนพฤษภาคม 2558 ทีมวิจยั และชาวบ้าน จากหมู่บ้านนิเกรอะร่วมกันสำารวจพื้นที่ป่าชายเลนริม แม่นำ้านิเกรอะ ทัง้ ทีอ่ ยู่ใกล้ๆ หมู่บ้านและบริเวณปาก แม่นำ้า มีการรวบรวมข้อมูลด้านการทำาประมงพื้นบ้าน และชนิดพันธุ์สตั ว์นาำ้ และพืช แล้วนำาข้อมูลที่ได้มาตรวจ สอบกับชาวบ้านอีกครั้ง ทีมวิจยั พัฒนาแผนที่ข้นึ มาอีกฉบับเพื่อแสดงที่ ตั้งของทั้ง 7 หมู่บา้ น ซึ่งประกอบไปด้วยพื้นที่สวนหมาก นาข้าว ประมง ป่าชายเลน หาดเลน แม่นำ้า ลำาธาร ตาม ที่ได้ลงมือเก็บข้อมูลมาตลอด 1 ปี ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2557 และเสร็จสิ้นในเดือนธันวาคม 2558 พร้อมทั้งตี พิมพ์รายงานฉบับนี้และแผนที่แสดงความอุดมสมบูรณ์ ของทรั พ ยากรธรรมชาติ ใ นพะลึ น ครั ้ง แรกในเดื อ น กุมภาพันธ์ 2559 รายงานพะลึนศึกษาฉบับนี้เป็นการทำางานวิจยั โดยชาวบ้านพะลึน และได้รบั การสนับสนุนจาก TERRA และ HURFOM โดยการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้และ เทคนิคในการเก็บข้อมูลและประมวลข้อมูลตลอดระยะ เวลาทำางานวิจัย นอกจากนี้ ทีมวิจัยขอขอบคุณ คุณธารา บัว คำาศรี ผู้อำานวยการกรีนพีซแห่งตะวันออกเฉียงใต้ที่ให้ ข้อมูลเกี่ยวกับโรงไฟฟ้าถ่านหินและผลกระทบที่จะเกิด ขึ้นจากการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน, คุณสมพร เพ็งคำ่า ผู้ เชี่ยวชาญเรื่องการทำาวิจัยผลกระทบด้านสุขภาพและ สิ่งแวดล้อมโดยชุมชน ที่ช่วยในการออกแบบการเก็บ ข้อมูลและให้คำาปรึกษาแนะนำาชาวบ้านอังแตงตั้งแต่ การประชุมเชิงปฏิบัติการเมื่อเดือนธันวาคม 2557, อาจารย์ ดร. เชอรี ออง จากคณะวิทยาศาสตร์ทาง ทะเล มหาวิทยาลัยปะเตง (Pathein University) ที่ให้ คำาแนะนำาทางด้านวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับระบบนิเวศป่า ชายเลน รวมทั้งช่วยในการตรวจสอบความถูกต้องของ ชื่อวิทยาศาสตร์ และ ดร. ซาน มิน ที่สนับสนุนในการ แปล


ทีมวิจัยอธิบายที่มาของรายได้ จากหมาก ข้าวและประมง

ทีมวิจัยพูดคุยเรื่องวิธีการ ทำางานหาข้อมูล

ทีมวิจัยในพื้นที่ฟื้นฟูป่าชายเลน หมู่บ้านกว๊านเกาะฮะรอย

รายงานการศึกษาโดย ชุมชนท้องถิ่นพะลึน

15


บทที่ 2 ภูมิประเทศและวิถีชีวิตพะลึน ภูมิประเทศของพะลึน เทือกเขาพะลึนตั้งอยู่บริเวณชายฝั่งทะเลทางตอนใต้สดุ ของรัฐมอญ ประเทศเมียนมา ทอดตัวเป็นแนวยาวพาด จากทิศเหนือลงใต้ขนานกับเทือกเขาตะนาวศรีและ ทะเลอันดามัน แนวยอดเขาพะลึนสูงกว่า 400 เมตรจาก ระดับนำ้าทะเลปานกลาง เป็นบ้านของคนมอญกว่า 30,000 คน เทือกเขาพะลึนถูกโอบล้อมไปด้วยพื้นที่สเี ขียว ชะอุ่มตลอดปี จำานวนต้นหมากที่เห็นได้ทั่วทุกมุมของ เขตพะลึ น สะท้ อ นความสำ า คั ญ เชิ ง เศรษฐกิ จ และ วัฒนธรรมของพืชชนิดนี้ต่อชุมชน และยังมีพืชผลไม้ อื ่น ๆ ให้ เ ห็ น ทั ่ว ไปในสวนและหมู ่บ้ า น เช่ น ทุ เ รี ย น มะพร้าว กล้วย ขนุนความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตใน สวนหมากมีความคล้ายคลึงกับระบบนิเวศที่ซับซ้อน ของผืนป่าขนาดเล็กที่ร้อยเรียงต่อๆ กัน ความอุดม สมบูรณ์เช่นนี้เป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ทาำ ให้สตั ว์ปา่ เล็กใหญ่ เข้ามาพักพิงและหาอาหารในสวนหมาก ชาวบ้านระบุ ว่า ชนิดของนกที่พบเห็นได้ทั่วไปมีมากถึง 77 สายพันธุ์ อาทิ นกเด้าดิน (Actitis hypoleucos), นกยางเปีย (Egretta garzetta), นกยางกรอกพันธุ์จีน (Ardeola bacchus), นกอีก๋อย (Numenius sp.) เทือกเขาพะลึนยังถูกห้อมล้อมด้วยผืนนาข้าว ที่ปกคลุมพื้นราบริมชายฝั่งทะเล ในขณะที่สวนหมาก และผลไม้จะเจิดจรัสด้วยสีเขียวชะอุ่มตลอดปี ผืนนาจะ แปรเปลี่ยนสีระหว่างเขียวอ่อนและเหลืองทองอร่ามไป ตามฤดูกาลและปริมาณนำา้ ฝน ลำาธารและคลองเป็นอีก

16

ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติและความมั่งคั่ง ของชุมชนในเขตพะลึน รัฐมอญ ประเทศเมียนมา

หนึ่งอัตลักษณ์ที่สำาคัญของผืนนา สายนำ้าเหล่านี้นำาพา ตะกอนและสารอาหารเพื่อป้อนผืนดินที่แผ่กว้างกลาย เป็นแหล่งเกษตรกรรมที่สำาคัญของชุมชน สายนำ้าที่สำาคัญของพะลึนคือ แม่นำ้านิเกรอะ ดั่งสายนำา้ หลายสายที่หล่อเลี้ยงผืนนาในเขตพะลึนด้วย ตะกอนที่เต็มไปด้วยสารอาหารสำาคัญ แม่นำ้านิเกรอะมี จุดเริ่มต้นร่วมกับลำาห้วยนับไม่ถว้ นซึ่งไหลคู่ขนานมากับ ถนนที่เชื่อมเขตพะลึนกับเมืองเยและลำานำา้ เยไว้ดว้ ยกัน ระหว่างทางก่อนทีแ่ ม่นา้ำ นิเกรอะจะไหลลงทะเลอันดามัน ที่ปากแม่นำ้า จะสังเกตเห็นต้นจาก (Nypa fruticans) ยืนต้นเรียงรายไปตามสายนำ้า ต้นจากยังเป็นเสมือนตัว ละครที่แนะนำาผู้เข้ามาเยือนสู่ระบบนิเวศแห่งใหม่ท่ซี บั ซ้อนไม่แพ้สวนหมากบนเทือกเขา และจะปรากฎเด่นชัด เฉพาะช่วงนำ้าทะเลลด นั่นคือ ป่าชายเลน นอกจากนี้ ยังมีหาดเลนผืนใหญ่ที่แผ่กว้างริม ชายฝั่งทะเลบริเวณใกล้ปากแม่นำ้านิเกรอะ หาดเลน เปรียบเสมือนพื้นที่แนวกันชนระหว่างนำา้ จืดและนำา้ เค็ม ไม่ให้นำ้าเค็มทะลักเข้ามาในเขตแดนนาข้าวที่มีความ เปราะบางสูงต่อนำ้าเค็ม ในบริเวณนี้ยังมีพืชชนิดหนึ่งี ลักษณะคล้ายหญ้า มีใบเรียวยาวแหลมคมที่มลี กั ษณะ เหมือนแม่เหล็กดูดตะกอนเอาไว้ไม่ให้โดนพัดไปไกล ตามคลื่นทะเล ซึ่งหมายความว่ามันทำาหน้าที่คล้ายตู้ เก็บอาหารไว้ให้สัตว์นำ้าตัวเล็กๆ อย่างปู (Mictyris sp.) และหอยขนาดเล็กนับล้านบนหาดเลนมากินได้ตลอด เวลา


ต้นจากขึ้นตามลำานำ้าบริเวณปากแม่นำ้านิเกรอะ

แม่ลูกในหมู่บ้าน กว๊านตะมอปึย

ชาวสวนบางคนเลือกที่จะตาก หมากให้แห้งก่อนส่งไปขายที่ ตลาดหมากตากแห้งสามารถ เก็บไว้ได้นานถึง 9 เดือน

ต้นหมากสูงตระหง่านริมสอง ข้างถนนสู่หมู่บ้านอังแตง

รายงานการศึกษาโดย ชุมชนท้องถิ่นพะลึน

17


หาดเลนจะมีพืชที่มี ลักษณะคล้ายหญ้า มีใบแหลมคมแผ่ปกคลุม หาดเลนอยู่จำานวนมาก

สายนำ้าไหลผ่านหาด เลนก่อนไหลลงสู่ทะเล

เจดีย์บนเขา พะลึน

18

ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติและความมั่งคั่ง ของชุมชนในเขตพะลึน รัฐมอญ ประเทศเมียนมา

ชาวบ้านอังแตงเดินทาง มาไหว้พระที่วัดอังแตง พร้อมชุดดอกไม้ที่ร้อยเอง


ชุมชนและวิถีชึวิต

หมู่บ้านในพะลึนที่เข้าร่วมงานศึกษาครั้งนี้มีทั้งหมด 7 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่บ้านนิเกรอะ หมู่บ้านกว๊านตะมอปึย (หมู่บา้ นอังแตงใหม่) หมู่บา้ นอังแตง หมู่บา้ นซายแกรม หมู่บา้ นนินู่ หมู่บา้ นบาลายแซมและหมู่บา้ นกว๊านเกาะ ฮะรอย (หรือหมู่บ้าน เยปอตาวในภาษาพม่า) หมู่บ้าน ที่ตั้งอยู่ริมฝั่งทะเลอย่างหมู่บ้านนิเกรอะ หมู่บ้านกว๊าน ตะมอปึย และหมู่บา้ นกว๊านเกาะฮะรอยมักทำามาหากิน ด้วยการทำาประมงเป็นหลัก ส่วนหมู่บ้านที่อยู่ใกล้ภูเขา พะลึนและมีพ้นื ที่ทาำ นาทำาสวนอย่างหมู่บา้ นอังแตง หมู่ บ้านซายแกรม หมู่บ้านนินู่และหมู่บ้านบาลายแซมจะ ทำาเกษตรและประกอบอาชีพอื่นในการดำารงชีวติ แต่ละ หมู่บ้านมีวัดตั้งอยู่ในชุมชน เป็นเสมือนจุดศูนย์กลาง ของชุ ม ชน เป็ น ที ่พ บปะและแลกเปลี ่ย นตามจารี ต ประเพณี ในวัดมีสามเณรที่เป็นลูกหลานคนในหมู่บ้าน บวชเรียนอยู่ ส่วนเด็กและเยาวชนคนอื่นๆ ที่ไม่ได้บวช เรียนจะเข้าวัดมาเรียนรู้ภาษาท้องถิ่นและวัฒนธรรม ท้องถิ่นในวัดด้วยเช่นกัน ในช่วงเช้า ชาวบ้านออกมายืน ริมถนนพร้อมกระติกข้าวเล็กๆ ข้างกาย รอพระสงฆ์และ สามเณรที่กำาลังออกเดินบิณฑบาตร ตอนเย็น ชาวบ้าน เตรียมชุดดอกไม้ที่ร้อยด้วยดอกไม้ปลูกเองในบริเวณ บ้านเพื่อนำาไปสักการะพระพุทธรูปและสวดมนต์รว่ มกับ ชาวบ้านคนอื่นๆ ที่วัด วิถชี วี ติ ของชาวบ้านพะลึนจะขึ้นอยู่กบั ที่ต้งั ของ บ้านตนเองและวิธีทำามาหากินของแต่ละคน บทบาท ของชาวบ้านจะถูกแบ่งไว้อย่างชัดเจนระหว่างผู้ชาย และผูห้ ญิง ผูช้ ายทำาหน้าทีใ่ นการออกไปทำางานข้างนอก เช่น จับปลาในทะเลหรือเก็บเกี่ยวผลผลิตในสวนหมาก ผู้หญิงทำางานในบ้าน เช่น จัดเก็บผลผลิตที่ผ้ชู ายนำากลับ มาหรือคัดเลือกปลาที่ผ้ชู ายจับมาได้ ผู้หญิงยังทำาหน้าที่ หลักในการทำาอาหารและดูแลคนในครอบครัว ทีมวิจัยมีโอกาสสัมภาษณ์เชิงลึกกับชาวบ้าน ใน 2 หมู่บ้าน คือ หมู่บ้านอังแตงและหมู่บ้านกว๊านตะ มอปึย หมู่บ้านอังแตง เป็นหนึ่งใน 7 หมู่บ้านที่ร่วม ทำางานศึกษาในครั้งนี้ เนื่องจากชาวบ้านส่วนใหญ่ทาำ มา หากินด้วยการปลูกหมากและทำานา ผลผลิตทางเกษตร ทีส่ าำ คัญในการสร้างรายได้หมู่บา้ นอังแตงจึงเป็นหมาก รายงานการศึกษาโดย ชุมชนท้องถิ่นพะลึน

19

บทที่ 2

พื้นที่พเิ ศษอีกแห่งหนึ่งของเขตพะลึนเป็นพื้นที่ ปลูกข้าวที่ใหญ่ที่สุดของเขตพะลึน ปกคลุมพื้นที่กว่า 1,893 เอเคอร์หรือเทียบเท่า 4,732.5 ไร่ ข้าวที่เก็บเกี่ยว ได้จากบริเวณนี้ไม่ได้เลี้ยงดูคนในเขตพะลึนเท่านั้นแต่ ยังส่งไปยังเมืองอื่นๆ เช่น เมืองเย ด้วยเช่นกัน ธรรมชาติที่ยังอุดมสมบูรณ์ของ “พะลึน” ไม่ เพียงทำาให้เขตพะลึนมีภูมิทัศน์ที่สวยงามและวิถีชีวิตที่ รุ ่ง เรื อ งเท่ า นั ้น แต่ ยั ง เป็ น ปั จ จั ย สำ า คั ญ ที ่ห ล่ อ เลี ้ย ง “สันติภาพ” ในสังคมพะลึนอีกด้วย ชาวบ้านอังแตง กล่าวอย่างมัน่ ใจว่า ตัง้ แต่ชมุ ชนของตนก่อตัง้ มา ชาวบ้าน ไม่เคยประสบภัยพิบตั ทิ างธรรมชาติทร่ี นุ แรงเกินเยียวยา ไม่ว่าจะเป็นภัยแล้งหรือนำ้าท่วมหลาก ทางทีมวิจัยยัง สามารถสั ม ผั ส ความอุ ด มสมบู ร ณ์ ข องทรั พ ยากรธรรมชาติและความมั่นคงของผลผลิตทางเกษตรจาก นาข้าว สวนหมาก ตลอดทัง้ การทำาประมงริมฝัง่ และอืน่ ๆ ที่เป็นปัจจัยสำาคัญต่อคุณภาพชีวติ ที่ดขี องชุมชนได้ดว้ ย เช่นกัน คำาว่า “พะลึน” ยังมีความหมายทางจิตวิญญาณ ดั่งที่ชาวบ้านผู้หนึ่งเคยกล่าวไว้ “พะลึน คือความสามัคคี ความปรองดองของคนในชุมชน ชาวบ้านทุกคนเป็นพี่ เป็นน้องกัน เปรียบเสมือนคนในครอบครัวเดียวกัน ชาวบ้านยังมีความผูกพันอย่างแน่นแฟ้นกับวัดและ คณะสงฆ์ที่เป็นส่วนสำาคัญของสังคม” อัตลักษณ์ความเป็น “พะลึน” ไม่ได้มีความ หมายเพียงพื้นที่เทือกเขาทางตะวันตกเฉียงเหนือของ เมืองเย ในเขตเย รัฐมอญเท่านั้น ชาวบ้านอธิบายว่า หากระบุว่า เป็นหมากหรือกะปิจากพะลึน ผู้คนในรัฐ มอญมักจะยกย่องว่าเป็นสินค้ามีคุณภาพทำาให้มีราคา ที่สูงกว่าผลิตภัณฑ์อื่นๆ ในท้องตลาด เห็นได้วา่ ความหมายของ “พะลึน” นั้นมีหลาก หลายมิติ การทำาความเข้าใจความเป็นพะลึนจำาเป็นที่ จะต้องทำาความเข้าใจ “พะลึน” แบบองค์รวม การศึกษา ครัง้ นีส้ ามารถทำาได้แค่ยกอัตลักษณ์บางอย่างของพะลึน ออกมาเท่านั้น ชาวบ้านผู้หนึ่งกล่าวว่า “หากใครอยาก จะรู้จักพะลึนอย่างลึกซึ้ง ก็ต้องเปิดใจเรียนรู้ความเป็น พะลึนที่ไม่สิ้นสุด”


และข้าว ทางทีมวิจัยจึงเลือกหมู่บ้านอังแตงในการ ทำาความเข้าใจความสำาคัญของเกษตรกรรมต่อสังคม และเศรษฐกิจพะลึน หมู่บา้ นอังแตงตั้งอยู่ในเขตเย อยู่หา่ งจากเมือง เยไปทางตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ 11 ไมล์ (ประมาณ 16 กิโลเมตร) มีประชากรทั้งหมด 505 ครัวเรือน พลเมือง ทั้งหมดเป็นคนมอญ ใช้ภาษามอญในการสื่อสาร แม้แต่ ชื่อหมู่บ้าน “อังแตง” ยังเป็นภาษามอญ และมีเรื่องราว ถื อ กำ า เนิ ด จากกลุ ่ม คนมอญซึ ่ง สะท้ อ นให้ เ ห็ น ถึ ง วัฒนธรรมมอญที่ฝังลึกอยู่ในชุมชน จากการสำารวจในเดือนมกราคม 2558 ทีมวิจยั พบว่ามีชาวบ้านจำานวน 89 ครัวเรือนในหมู่บ้านอังแตง มีพ้นื ที่เกษตรเป็นของตัวเองประชากรที่เหลือรับจ้างทำา เกษตรให้ครัวเรือนอื่นๆ หรืออพยพออกไปทำางานใน เมืองต่างๆ ของประเทศเมียนมาหรือในต่างประเทศ อาทิ ไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ และสหรัฐอเมริกา

หมู่บ้านแห่งที่สองที่ทีมวิจัยสัมภาษณ์อย่าง ละเอียดคือ หมู่บ้านกว๊านตะมอปึย ตั้งอยู่บนชายหาด ริมทะเลอันดามัน ชาวบ้านเล่าให้ฟงั ว่ากลุม่ คนทีม่ าบุกเบิกหมูบ่ า้ น กว๊านตะมอปึยเมื่อหลายสิบปีก่อนคือชาวบ้านหมู่บ้าน อังแตงทีอ่ อกมาหาปลาทะเล พวกเขาย้ายมาตามฤดูกาล ออกหาปลาแล้วจะย้ายกลับไปหมู่บ้านอังแตงในช่วง มรสุม ซึ่งเป็นเวลาที่นำ้าทะเลเข้าท่วมหาดทรายจนไม่ สามารถอยู่อาศัยได้ ปัจจุบันหมู่บ้านกว๊านตะมอปึยมี ประชากรอยู่ไม่ตำ่ากว่า 210 ครัวเรือน ส่วนมากทำามา หากินโดยการทำาประมง บางครอบครัวที่ไม่มเี รือเป็นของ ตนเองจะทำามาหากินด้วยวิธีอื่น เช่น ทำาธุรกิจค้าขาย อาหารทะเล เป็นแรงงานหาปลาให้เจ้าของเรือคนอื่นๆ ในชุมชน ทำาโรงเรือนเลี้ยงเป็ด ซึ่งตอนนี้หมู่บ้านกว๊าน ตะมอปึยมีโรงเลี้ยงเป็ดมากถึง 10 แห่งด้วยกัน

หาดทรายหมู่บ้าน กว๊านตะมอปึย

ชีวิตที่หมู่บ้าน กว๊านตะมอปึย

20

ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติและความมั่งคั่ง ของชุมชนในเขตพะลึน รัฐมอญ ประเทศเมียนมา


ทิวทัศน์ของระบบนิเวศพะลึนจากเทือกเขาสู่ท้องนา ไปยังป่าชายเลนที่ปากแม่นำ้านิเกรอะ

“พะลึน คือชุมชนแห่งสันติสุข คือธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์ คือจิตวิญญาณ คือความสามัคคีของคนในชุมชน”

รายงานการศึกษาโดย ชุมชนท้องถิ่นพะลึน

21


บทที่ 3 สวนหมาก

การปลูกหมากในพะลึนเริ่มเมื่อประมาณ 100 กว่าปีที่ แล้ว ในช่วงแรก ชาวสวนจะปลูกหมากไว้กินกันเองใน ครัวเรือน ชาวสวนส่วนใหญ่จะปลูกหมากบนเนินเขา ใกล้หมู่บา้ น แต่เมื่อจำานวนประชากรเพิ่มขึ้น การทำาสวน หมากค่อยๆ แผ่ขยายออกไปตามที่ราบริมเขาไล่ไป จนถึงขอบชายหาด การปลูกหมากในฐานะพืชเศรษฐกิจ ชุมชนเพิ่งเริ่มเป็นที่นยิ มในช่วง 40-50 ปีท่ผี า่ นมาเท่านั้น เอง “บรรพบุรษุ ของเราก่อตัง้ หมูบ่ า้ นนีเ้ มือ่ ประมาณ 120 ปีที่แล้ว หลังจากนั้น 20 ปี ก็มีคนเริ่มปลูกหมาก มากขึ้น ครอบครัวของผมปลูกหมากมานานกว่า 90 ปี ตอนแรกก็ปลูกไว้กนิ เอง ผมเห็นพ่อแม่ผมปลูกหมากมา ตั้งแต่เด็ก ตอนนี้ผมอายุ 43 ปี ผมยังคงปลูกหมาก ขาย หมาก คิดดูดๆี ครอบครัวผมปลูกหมากขายมานานกว่า 40 ปีแล้ว” โก โลนเจ้าของร้านหมากกล่าว

วิธีการปลูกหมาก

เมื่อฤดูกาลเพาะปลูกหมากมาถึง ชาวสวนจะคัดเลือก เฉพาะผลหมากที่ดที ่สี ดุ เท่านั้นมาเพาะเป็นพันธุ์เตรียม ปลูกต้นหมากรุ่นต่อไป ผลหมากที่พบเห็นส่วนใหญ่ใน หมู่บ้านอังแตงมี 2 ลักษณะคือ ผลกลมและผลยาวรี ชาวสวนหมากอธิบายว่า การคัดเลือกพันธุ์หมากที่ดจี ะ ต้องรอให้ผลหมากโตเต็มที่ ผลหมากที่ชาวสวนจะนำาไป เพาะ มักมีรูปร่างกลมและใหญ่ เปลือกบาง เนื้อแน่น ชาวสวนปลูกหมากและดูแลต้นหมากให้มอี ายุ อย่างน้อย 6-10 ปีกอ่ นจะเริ่มเก็บเกี่ยวผลหมากครั้งแรก

22

ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติและความมั่งคั่ง ของชุมชนในเขตพะลึน รัฐมอญ ประเทศเมียนมา

ระยะเวลาในการเพาะปลู ก นั ้น ขึ ้น อยู ่กั บ ความอุ ด ม สมบูรณ์ของดินและปริมาณนำ้าบวกกับความเอาใจใส่ ของชาวสวนการที่จะได้ผลหมากพร้อมขายภายในเวลา 6 ปีจากการเพาะเมล็ด จำาเป็นต้องใช้ความเอาใจใส่มาก และความสมดุลทางธรรมชาติ ด้วยเหตุนี้ พื้นที่ที่ให้ ผลผลิตดี มักอยู่บนเนินเขาริมทะเลซึ่งมีนาำ้ หล่อเลี้ยงให้ ผืนดินชุ่มชื่นตลอดปี ชาวสวนส่วนใหญ่บอกว่า พวกเขา ปลูกและดูแลต้นกล้าอย่างน้อย 10 ปีก่อนจะเริ่มเก็บ เกี่ยวผลหมากจริงๆ หลังจากการเก็บเกี่ยว ชาวสวนจะนำาผลหมาก สุกไปขายต่อทันทีหรือนำาไปตากให้แห้งก่อน การตาก ผลหมากจะเกิ ด ขึ ้น ทั ่ว ไปทั ้ง ในหมู ่บ้ า นและในสวน ชาวสวนบางคนสร้างที่ตากซึ่งมีเสาทำามาจากลำาต้น หมากหรือต้นไผ่ บางคนจะตากหมากบนพื้น ผลหมาก ตากแห้ ง จะสามารถเก็ บ ไว้ ไ ด้ น านถึ ง 9 เดื อ นและ สามารถนำาไปขายได้ตลอดทั้งปีอายุโดยเฉลี่ยของต้น หมากอยู่ที่ 50-70 ปี ชาวสวนจะรอให้ต้นหมากแก่จน ล้มลงมาเองตามธรรมชาติ การตัดต้นหมากหรือพยายาม โค่นต้นหมากแก่จะไม่เป็นที่ไม่นิยมทำากัน และเมื่อต้น หมากเริ่มแก่ ชาวสวนจะนำาต้นกล้าหมากที่เพาะเลี้ยง ไว้ก่อนหน้านี้มาปลูกไว้ข้างๆ เพื่อทดแทนต้นหมากแก่ ที่กำาลังจะล้มลงในอีกไม่ช้า การเก็บเกี่ยวผลหมากจะเริ่มประมาณเดือน สิงหาคม ซึ่งเป็นช่วงที่ผลหมากเริ่มสุก ไปจนถึงเดือน กุมภาพันธ์ กลุ่มผู้ชายรับหน้าที่หลักในการดูแลสวน หมากและเก็บเกี่ยวผลผลิตด้วยการใช้เครื่องมือพื้นบ้าน


“ พวกเราจะไม่ตัดต้นหมากที่แก่ เราจะปล่อยให้มันแก่ตาย แล้วล้มลงมาเองตามธรรมชาติ ”

ในสวนหมากจะมีต้นหมาก หลายรุ่น ทั้งต้นกล้า ต้นที่กำาลัง ให้ผลผลิตและต้นแก่

ต้นหมากสูง ในสวนหมาก

ผลหมาก สุกคาต้น

รายงานการศึกษาโดย ชุมชนท้องถิ่นพะลึน

23


ที่มีลักษณะเหมือนมีดด้ามยาวตัดให้ช่อหมากหล่นลง มาที่พื้นแล้วบรรจุผลหมากเหล่านั้นใส่กระสอบ กลุ่มผู้ หญิงจะช่วยในการเก็บเกี่ยวด้วยเช่นกัน แต่หน้าที่หลัก ของพวกเธอคือการนำาผลหมากไปตากแห้ง โดยตากได้ ทั ้ง หน้ า บ้ า นและใต้ ถุ น บ้ า น บางคนใช้ พื ้น ที ่โ ล่ ง ใน บริเวณหมู่บ้าน การตากหมากให้แห้งสนิทต้องใช้ระยะ เวลาอย่างน้อย 45 วันเพื่อป้องกันปัญหาเน่าเสียและ เชื้อรา หลังจากนั้นชาวบ้านจะเก็บผลหมากใส่กระสอบ ก่อนนำาไปเก็บไว้ในบริเวณบ้าน ชาวสวนบางคนเลือก เพิ่มมูลค่าผลหมากแห้งด้วยการปอกเปลือกก่อนนำาไป ขายที่ตลาดหรือส่งต่อพ่อค้าคนกลาง กลุ่มผู้หญิงมักทำา หน้าที่ในการปอกเปลือกด้วยเครื่องมือพื้นเมือง

ความสำคัญของหมากในเศรษฐกิจ ท้องถิ่น

ชาวสวนระบุว่า การปลูกหมากเป็นที่นิยมเพราะหมาก ได้ราคาสูงและมีราคาที่มั่นคงกว่าพืชเศรษฐกิจชนิด อื่นๆ อย่าง ยางพาราและมันสำาปะลัง พื้นที่สวนหมาก 1 เอเคอร์ (2.52 ไร่) มักมีตน้ หมากโตเต็มวัยอยู่ประมาณ 450-500 ต้น แต่ละต้นจะออกผลประมาณ 250 ผลต่อ ปี ราคาผลหมากสดจะขึ้นลงตามฤดูกาลระหว่าง 15-35 จั๊ตต่อผล ราคาที่สงู ที่สดุ ในช่วงที่ทาำ การศึกษาอยู่ในช่วง เดือนมีนาคม 2558 คือ 35 จั๊ตต่อผล ราคาโดยเฉลี่ยจะ อยู่ที่ 20 จั๊ตต่อผล ผลหมากที่ตากแห้งแล้วจะขายได้ ราคาอยู่ที่ 3,700 จั๊ตต่อ 1 ชั่ง (ชาวบ้านใช้ตราชั่งในการ วัดนำ้าหนัก ซึ่ง 1 ชั่งจะมีนำ้าหนักประมาณ 1.3 กิโลกรัม) หรือเทียบเท่าประมาณ 150 ผลแม้วา่ ผลหมากตากแห้ง จะได้ราคาสูงกว่าการขายผลหมากสด แต่กระบวนการ ตากแห้งนั้นมีความซับซ้อนและใช้เวลานานกว่าการ ขายผลหมากสดนั้นไม่ตอ้ งทำางานอะไรเพิ่มเติมมากนัก หลังการเก็บเกี่ยว รวมทั้งยังต้องมีพื้นที่ในการเก็บผล หมากตากแห้งและดูแลอย่างสมำ่าเสมอเพื่อป้องกันไม่ ให้โดนฝนจนเกิดเชื้อรา ผลหมากส่วนใหญ่ไม่ว่าจะสด หรื อ แห้ ง จะมี พ่ อ ค้ า คนกลางจากเมื อ งเยมารั บ ซื ้อ ชาวสวนบอกว่าหมากเหล่านี้นาำ ไปขายส่งทั้งในประเทศ เมียนมาและต่างประเทศ เช่น จีน ไต้หวัน เกาหลี แต่ ส่วนใหญ่จะส่งออกไปที่ประเทศอินเดีย นอกจากผลหมากที ่ช าวบ้ า นเก็ บ ไว้ บ ริ โ ภค 24

ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติและความมั่งคั่ง ของชุมชนในเขตพะลึน รัฐมอญ ประเทศเมียนมา

กันเองในครัวเรือนหรือนำาไปขายตามท้องตลาดแล้ว ชาวบ้านยังสามารถใช้ประโยชน์และขายส่วนอื่นๆ ของ ต้นหมากได้อีกด้วย โดยเปลือกหมากสามารถนำาไป แปรรูปเป็นกระดาษ ในช่วงเดือนมกราคม 2558 เปลือก หมากจะขายอยู่ที่ราคา 50 จั๊ตต่อ 1 ชั่ง (1.52 บาทต่อ 1.3 กิโลกรัม) ใบหมากที่ตากแห้งแล้วสามารถนำาไปห่อ บุหรี่ ราคาใบหมากสดจะขายอยู่ที่ 1,500 จั๊ตต่อ 1 ชั่ง (45.45 บาทต่อ 1.3 กิโลกรัม) ส่วนต้นหมากนั้น สามารถ นำาไปใช้ในการก่อสร้างบ้านหรือทำาเป็นเสาที่ตากผล หมาก ถุงกระสอบที่เต็มไปด้วยผลหมากตากแห้ง เปรียบเสมือนบัญชีออมเงินของชาวบ้าน ด้วยอากาศที่ ร้อนขึ้นหลังฤดูเก็บเกี่ยว ผลผลิตทางการเกษตรยิ่งลด น้อยลง แต่ราคาผลหมากแห้งยังคงเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ดั่ง ดอกเบี้ยในบัญชีธนาคารที่เพิ่มขึ้นสมำ่าเสมอ เขตพะลึนมีประชากรทั้งหมด 1,590 ครัวเรือน มีชาวสวนหมากทั้งหมด 712 ครัวเรือน โดยมีพื้นที่สวน หมากทั้งหมด 3,858.68 เอเคอร์ (9,723.87ไร่) จากการ สำารวจ ทีมวิจัยพบว่า ในจำานวน 7 หมู่บ้าน หมู่บ้านอัง แตงมีจาำ นวนครัวเรือนที่ทาำ สวนหมากมากที่สดุ คือ 309 ครัวเรือน และมีพื้นที่สวนหมากมากที่สุดเช่นกันคือ 2,058.50 เอเคอร์ (5,187.42 ไร่) รองลงมาคือ หมู่บ้าน ซายแกรม มีจำานวนครัวเรือนที่ทำาสวนหมาก 115 ครัว เรือน มีพื้นที่สวนหมากรวม 564 เอเคอร์ (1,421.28 ไร่) หมู่บ้านนินู่มีชาวสวนหมาก 75 ครัวเรือน รวมพื้นที่สวน หมาก 390.78 เอเคอร์ (984.77 ไร่) หมู่บา้ นบาลายแซม มีชาวสวนหมาก 67 ครัวเรือน รวมเป็นพื้นที่สวนหมาก 121.50 เอเคอร์ (306.18 ไร่) หมู่บา้ นประมง 2 แห่งคือ หมู่บา้ นนิเกรอะและ หมู่บ้านกว๊านตะมอปึย มีชาวสวนหมากด้วยเช่นกัน ใน หมู่บ้านนิเกรอะ มีชาวสวนหมาก 50 ครัวเรือน คิดเป็น พื้นที่สวนหมากรวม 369.50 เอเคอร์ (931.14 ไร่) หมู่บ้านกว๊านตะมอปึยมีชาวสวนหมาก 75 ครัวเรือน รวมเป็นพื้นที่สวนหมาก 354.40 เอเคอร์ (893.09 ไร่) สำาหรับการคิดคำานวนราคาขายผลหมากสด ชาวบ้านเลือกใช้ราคาที่ 20 จั๊ตต่อผล (อัตราแลกเปลี่ยน ที่ 1 บาทเท่ากับ 33 จั๊ต) เนื่องจากเป็นราคาที่ตำ่าที่สุดที่ ขายได้​้ในเดือนมกราคม 2558 อย่างไรก็ตาม ราคาขาย


ผลหมากแห้งที่เก็บไว้ที่บ้านสามารถเก็บได้นาน ถึง 9 เดือน และนำาไปขายได้ตลอดปี

ชาวสวนสร้างที่ตากหมากทำา จากไม้ไผ่หรือต้นหมาก

พื้นที่ตากหมากมี ให้พบเห็นทั่วหมู่บ้าน

รายงานการศึกษาโดย ชุมชนท้องถิ่นพะลึน

25


ผู้หญิงปอกหมากด้วย เครื่องมือพื้นบ้านเพื่อ เพิ่มมูลค่าผลหมาก

ผลไม้อื่นๆ ในสวนหมาก

26

ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติและความมั่งคั่ง ของชุมชนในเขตพะลึน รัฐมอญ ประเทศเมียนมา

ผู้หญิงทำาหน้าที่จัดเก็บ และขายผลหมาก


ผลหมากสดมักจะสูงกว่านี้ แต่จะขึ้นอยู่กับช่วงเวลาใน การขาย และแม้ ว่ า ต้ น หมากจะผลิ ต ผลหมากได้ ประมาณปีละ 200-250 ผล แต่การคำานวนรายได้จาก การปลูกหมากครั้งนี้ ชาวสวนเลือกใช้ตัวเลขเฉลี่ย 97100 ผลต่อปี เพราะเป็นจำานวนผลหมากที่ตำ่าที่สุดที่ ชาวสวนสามารถขายได้เมื่อหักลบกับจำานวนผลหมาก ที่อาจเน่าเสียหรือไม่เหมาะกับการขายส่งตลาด การสำารวจการทำาสวนหมากในพื้นที่ 7 หมู่บา้ น ของพะลึนพบว่า มีตน้ หมากรวมกันประมาณ 1,549,295 ต้ น สามารถเก็ บ เกี ่ย วผลหมากได้ อ ย่ า งน้ อ ย 150,426,000 ผลต่อปี หากคิดราคาผลหมากที่ 20 จั๊ต ต่อผล (60 สตางค์) หมู่บา้ นที่มรี ายได้จากการขายหมาก มากที ่สุ ด ในการสำ า รวจครั ้ง นี ้คื อ หมู ่บ้ า นอั ง แตง ที ่ สามารถมีรายได้จากการขายหมากสด 1,258,040,000 จั๊ตต่อปี (38,122,424 บาทต่อปี) รองลงมาคือ หมู่บ้าน นิเกรอะมีรายได้ 893,960,000 จั๊ตต่อปี (27,089,697 บาทต่อปี) หมู่บา้ นซายแกรม มีรายได้ 392,150,000 จั๊ต ต่อปี (11,883,333 บาทต่อปี) หมู่บ้านนินู่ มีรายได้ 259,910,000 จั๊ตต่อปี (7,876,061 บาทต่อปี) หมู่บ้าน กว๊ า นตะมอปึ ย มี ร ายได้ 126,660,000 จั ๊ต ต่ อ ปี (3,838,182 บาทต่อปี) หมู่บ้านบาลายแซมมีรายได้

77,800,000 จั๊ตต่อปี (2,357,576 บาทต่อปี) ส่วน หมู่บ้านกว๊านเกาะฮะรอยนั้นระบุว่าไม่มีครัวเรือนที่ทำา สวนหมากและไม่มีพื้นที่ทำาสวนหมาก โดยรวมแล้ว หมู่บ้านในพะลึน 7 หมู่บ้านดัง กล่ า วมี ร ายได้ จ ากการขายผลหมากสดอย่ า งน้ อ ย 3,008,520,000 จั๊ตหรือเทียบเท่าประมาณ 91,167,273 บาทต่อปี หากคิดคำานวนรายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือนจาก การปลูกหมากในหมู่บ้านอังแตงและหมู่บ้านนิเกรอะ ซึ่งเป็น 2 หมู่บ้านที่ทำารายได้มากที่สุด จะเห็นว่าครัว เรือนในหมู่บา้ นอังแตงมีรายได้เฉลี่ยจากการปลูกหมาก ปีละ 4,071,326.86 จั๊ตต่อครัวเรือน (123,373.54 บาท ต่อครัวเรือน) ส่วนในหมู่บา้ นนิเกรอะมีรายได้เฉลี่ยปีละ 17,879,200 จั๊ตต่อครัวเรือน (541,793.94 บาทต่อครัว เรือน)

ผลไม้ในสวน

ตารางที่ 3-1 รายได้จากสวนหมาก (ปี 2557) หมู่บ้าน

จำานวน จำานวนครัว ประชากร เรือนที่เป็น (ครัว เจ้าของสวน (ครัวเรือน) เรือน)

พื้นที่สวน มีทั้งหมากและผลไม้ อื่นๆ (เอเคอร์)

จำานวน ต้นหมาก (ต้น)

นิเกรอะ

241

50

369.50

931.14

กว๊านตะมอปึย

210

75

354.40

นินู่

363

96

390.78

ซายแกรม

136

115

บาลายแซม

111

67

121.50

24

-

-

1,590

(33 จั๊ต = 1 บาท)

(จั๊ต)

505

รวม

รายได้จากหมาก ราคาเฉลี่ย 20 จั๊ต ต่อผลหมากสด 1 ผล

(ไร่)

อังแตง

กว๊านเกาะฮะรอย

จำานวน ผลหมาก (ผล)

309 2,058.50 5,187.42

909,610

62,902,000 1,258,040,000

38,122,424

66,145

44,698,000

893,960,000

27,089,697

893.09

90,930

6,333,000

126,660,000

11,883,333

984.77

186,820

12,995,500

259,910,000

7,876,061

564.00 1,421.28

238,935

19,607,500

392,150,000

3,838,182

306.18

56,855

3,890,000

77,800,000

2,357,576

-

-

-

-

-

712 3,858.68 9,723.87 1,549,295 150,426,000 3,008,520,000

91,167,273

รายงานการศึกษาโดย ชุมชนท้องถิ่นพะลึน

27

บทที่ 3

ในสวนหมากไม่ได้มีเฉพาะต้นหมากเท่านั้น แต่ยังมี พืชพันธุ์กินได้ที่ขึ้นเองตามธรรมชาติและที่ปลูกโดย ชาวสวนอีกไม่ตำ่ากว่า 26 ชนิด เช่น ทุเรียน เงาะ ส้ม มังคุด มะปราง สับปะรด มะนาว มะขาม ขนุน มะละกอ กล้วย มะพร้าว ในการสำารวจเบื้องต้น ชาวบ้านได้ รวบรวมพันธุ์ผลไม้และเห็ดที่พบเจอมากที่สุดในสวน


ของตนเอง รวมทั้งฤดูกาลในการเก็บเกี่ยวและรายได้ จากการขายผลผลิต (ตามข้อมูลในตารางที่ 3-2 ปฏิทิน ฤดูกาลเก็บเกี่ยวผลไม้ในสวนหมาก 26 ชนิด) ชาวบ้านจะนำาผลผลิตชุดแรกที่ได้มาถวายแด่ พระสงฆ์ในหมู่บ้านก่อน ไม่ว่าจะเป็นทุเรียนลูกใหญ่ที่ เพิ่งตกลงมาจากต้นทุเรียน เงาะพวงใหญ่พวงแรกของ ฤดูกาล หรือส้มตะกร้าแรกที่เก็บเกี่ยวมาได้ เพื่อแสดง ความเคารพต่อศูนย์รวมศรัทธาที่สำาคัญที่สุดสำาหรับ พวกเขา หลังจากนั้นจึงค่อยเก็บผลผลิตไว้กินกันเองใน ครอบครัว แบ่งปันให้เพื่อนบ้านและมิตรสหาย นำาไป ขายที่ตลาดในหมู่บา้ นหรือหมู่บา้ นใกล้เคียง หรือส่งออก ไปขายต่างถิ่น ทีมวิจัยสังเกตว่า ความหลากหลายของพันธุ์ พืชในสวนหมากเป็นหนึ่งลักษณะพิเศษที่ทำาให้สวน หมากที่พะลึนมีความอุดมสมบูรณ์มาก เสมือนเป็นป่า ผืนเล็กๆ ที่เรียงรายต่อเนื่องกันทั่วพื้นที่พะลึน อาจเป็น ไปได้วา่ การทำาสวนเช่นนี้เป็นการสะท้อนภูมปิ ญ ั ญาการ

มะนาวยักษ์ (เปรี้ยว) เก็บเกี่ยวช่วงเดือนสิงหาคมถึงธันวาคม

28

ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติและความมั่งคั่ง ของชุมชนในเขตพะลึน รัฐมอญ ประเทศเมียนมา

ดูแลสวนหมากของชาวสวนที่สืบทอดกันมารุ่นต่อรุ่น เช่น การปลูกต้นกล้าหมากใกล้ๆ ต้นหมากที่แก่เพื่อ ทดแทนต้นหมากแก่ที่กำาลังจะล้มลงตามธรรมชาติ ซึ่ง มีลกั ษณะคล้ายคลึงกับการเจริญเติบโตของต้นไม้ในป่า ธรรมชาติที่ต้นไม้แก่จะล้มลงเองในขณะที่ต้นกล้าอ่อน ค่อยๆ เติบโตแทนที่ ลักษณะเช่นนี้ทำาให้ต้นไม้ในสวน หมากเป็นลักษณะขั้นบันไดและเปิดทางให้แสงแดดเข้า ถึ ง ต้ น ไม้ เ ล็ ก ๆ ที ่อ ยู ่ใ กล้ ผื น ดิ น มากกว่ า นอกจากนี ้ ชาวสวนยืนยันว่าไม่มีการใช้สารเคมีหรือโลหะหนักที่ เป็นพิษต่อร่างกายและสิ่งแวดล้อมเพือ่ ช่วยในการเพาะ ปลูก ทำาให้ไม่มกี ารปนเปื้อนของสารเคมีในบริเวณสวน หมากและปลอดภัยในการบริโภค สามารถดื่มกินนำา้ ใน ลำาธารหรือบ่อนำา้ ในสวนหมากได้โดยตรง ไม่จาำ เป็นต้อง เป็นห่วงเรื่องสารเคมีที่เป็นพิษต่อร่างกาย ซึ่งอาจเป็น ปัจจัยสำาคัญที่ทำาให้ยังพบเห็นสัตว์ป่ามากมายภายใน พื้นที่สวนหมาก อาทิ กระรอก เสือดำา ลิง หมูปา่ และนก นานาชนิด

ฝรั่ง เก็บเกี่ยวได้ตลอดปี


ตารางที่ 3-2 ปฏิทินฤดูกาลเก็บเกี่ยวผลไม้ในสวนหมาก 26 ชนิด ลำาดับ

ผลไม้

ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค.

ทุเรียน

2

เห็ด

3

ลูกเนียง

4

ฝรั่ง

5

เงาะ

6

มะขาม

7

ส้ม (เปรี้ยว)

8

ขนุน

9

ส้ม

10

หมาก

x

x

11

มะพร้าว

x

x

x

x

x

x

12

มะละกอ

x

x

x

x

x

13

ใบพลู

x

x

x

x

x

14

มะปราง

x

x

x

15

มะนาวยักษ์ (หวาน)

16

ดีปลี

17

มะนาวยักษ์ (เปรี้ยว)

x

18

พริกไทย

x

19

ส้มโอ

x

20

กล้วย

x

21

x x x x

x x x x

x

x

x

x

x

x

x

x

x

x

x

x

x

x

x

x

x

x

x

x

x

x

x

x

x

x

x

x

x

x

x

x

x

x

x

x

x

x

x

x

x

x

x x

x

x

x

x

x x

x

x

x

x

x

x

x

x

x

x

x

x

x

x

x

x

x

x

x

x

x

x

x

x

x

x

x

x

x

x

x

x

x

x

x

x

x

x

x

x

x

x

x

x

x

x

x

x

x

x

x

x

x

x

x

x

x

x

x

จำาปาดะ

x

x

x

x

22

มังคุด

x

x

x

x

23

มะม่วง

x

x

24

เม็ดมะม่วงหิมพานต์

25

สับปะรด

26

มะนาว

x

x

x

x

x

x

x

x

x

x

x

x

บทที่ 3

1

x x

x

x

x

x

x

x

x

x

x

x

หมายเหตุ: x = ช่วงเวลาเก็บเกี่ยวผลผลิต

รายงานการศึกษาโดย ชุมชนท้องถิ่นพะลึน

29


ความสำคัญของผลไม้ในเศรษฐกิจท้องถิ่น

รายได้จากผลไม้จาก 6 หมู่บ้านในกลุ่มหมู่บ้านอังแตง เนือ่ งจากหมูบ่ ้านกว๊านเกาะฮะรอยไม่มีพืน้ ที่สวนจึงไม่มีรายได้จาก ผลไม้ปรากฏในการศึกษานี้ตามตารางที่ 3-3 และ ตารางที่ 3-4 ตารางที่ 3-3 จำานวนผลไม้และรายได้จากผลไม้จาก 6 หมู่บ้านในกลุ่มหมู่บ้านอังแตง (ยกเว้นหมู่บ้านกว๊านเกาะฮะรอยที่ไม่มีสวนผลไม้) 1. มะม่วง จำานวนต้น

จำานวนผล

ราคาต่อผล (จั๊ต)

ราคาต่อผล (บาท)

รายได้ (จั๊ต)

รายได้ (บาท)

5,353

535,300

50

1.52

26,765,000

811,060.61

จำานวนต้น

จำานวนตะกร้า

ราคาต่อตะกร้า (จั๊ต)

ราคาต่อตะกร้า (บาท)

รายได้ (จั๊ต)

รายได้ (บาท)

2,874

14,370

5,000

151.52

71,850,000

2,177,272.73

จำานวนต้น

จำานวนผล

ราคาต่อผล (จั๊ต)

ราคาต่อผล (บาท)

รายได้ (จั๊ต)

รายได้ (บาท)

3,606

72,120

50

1.52

3,606,000

109,272.73

จำานวนต้น

จำานวนผล

ราคาต่อลูก (จั๊ต)

ราคาต่อลูก (บาท)

รายได้ (จั๊ต)

รายได้ (บาท)

3,259

162,950

250

7.58

38,870,000

1,177,878,79

จำานวนต้น

จำานวนผล

ราคาต่อผล (จั๊ต)

ราคาต่อผล (บาท)

รายได้ (จั๊ต)

รายได้ (บาท)

7,668

5,988

300

9.09

1,796,400

54,436.36

จำานวนต้น

จำานวนผล

ราคาต่อผล (จั๊ต)

ราคาต่อผล (บาท)

รายได้ (จั๊ต)

รายได้ (บาท)

501

25,050

50

1.52

129,750

3,931.82

จำานวนต้น

จำานวนผล

ราคาต่อผล (จั๊ต)

ราคาต่อผล (บาท)

รายได้ (จั๊ต)

รายได้ (บาท)

6,420

333,600

50

1.52

16,680,000

505,454.55

จำานวนต้น

จำานวนผล

ราคาต่อผล (จั๊ต)

ราคาต่อผล (บาท)

รายได้ (จั๊ต)

รายได้ (บาท)

2,659

132,950

100

3.03

13,295,000

402,878.79

2. มะปราง

3. มะนาว

4. ขนุน

5. สับปะรด

6. มะนาวยักษ์ (หวาน)

7. มะพร้าว

8. ส้ม

30

ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติและความมั่งคั่ง ของชุมชนในเขตพะลึน รัฐมอญ ประเทศเมียนมา


9. เงาะ จำานวนต้น

จำานวนผล

ราคาต่อผล (จั๊ต)

ราคาต่อผล (บาท)

รายได้ (จั๊ต)

รายได้ (บาท)

1,321

1,079,100

25

0.76

9,907,500

300,227.27

รายได้ (จั๊ต)

รายได้ (บาท)

10. ลูกเนียง จำานวนต้น

จำานวนตะกร้า

ราคาต่อตะกร้า (จั๊ต) ราคาต่อตะกร้า (บาท)

7,712

15,424

5,000

151.52

77,120,000

2,336,969.70

จำานวนต้น

จำานวนลูก

ราคาต่อลูก (จั๊ต)

ราคาต่อลูก (บาท)

รายได้ (จั๊ต)

รายได้ (บาท)

6,166

123,320

1,000

30.30

123,320,000

3,736,969.70

รายได้ (จั๊ต)

รายได้ (บาท)

11. ทุเรียน

12. กล้วย จำานวนต้น

จำานวนเครือ

ราคาต่อเครือ (จั๊ต) ราคาต่อเครือ (บาท)

22,766

86,075

500

15.15

55,930,000

1,694,848.48

จำานวนต้น

จำานวนผล

ราคาต่อผล (จั๊ต)

ราคาต่อผล (บาท)

รายได้ (จั๊ต)

รายได้ (บาท)

3,124

937,200

20

0.61

18,744,000

568,000.00

13. ส้ม (เปรี้ยว)

บทที่ 3

ตารางที่ 3-4 รายได้จากผลไม้ของ 6 หมู่บ้านในกลุ่มหมู่บ้านอังแตง ปี 2557 ลำาดับ 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13

ผลไม้ มะม่วง มะปราง มะนาว ขนุน สับปะรด มะนาวยักษ์ (หวาน) มะพร้าว ส้ม เงาะ ลูกเนียง ทุเรียน กล้วย ส้ม (เปรี้ยว) รวม

รายได้ต่อปี (จั๊ต) 26,765,000 71,850,000 3,606,000 38,870,000 1,796,400 129,750 16,680,000 13,295,000 9,907,500 77,120,000 123,320,000 55,930,000 18,744,000 458,013,650

รายได้ต่อปี (บาท) 811,060.61 2,177,272.73 109,272.73 1,177,878.79 54,436.36 3,931.82 505,454.55 402,878.79 300,227.27 2,336,969.70 3,736,969.70 1,694,848.48 568,000.00 13,879,202

หมายเหตุ รายได้รวมจากผลไม้ 13 ชนิด รายงานการศึกษาโดย ชุมชนท้องถิ่นพะลึน

31


บทที่ 4 นาข้าว

พื ้น ที ่จ ากตี น เขาพะลึ น สู ่ห าดเลนเป็ น ผื น ดิ น ที ่อุ ด ม สมบูรณ์ด้วยสารอาหารที่พัดลงมาจากภูเขาลงสู่ระบบ คลองที่เชื่อมโยงแปลงนาแต่ละผืนเข้าด้วยกัน หล่อเลี้ยง ผืนดินให้ชุ่มชื้นตลอดปี พื้นที่ตรงนี้คือ แหล่งปลูกข้าวที่ สำาคัญของพะลึน การทำานาในพะลึนมักเริ่มหลังฝนแรกในเดือน เมษายน หลังการเฉลิมฉลองปีใหม่ท้องถิ่น การพรวน ดิน ก่อคันนา เตรียมแปลงเพาะปลูกและหว่านกล้าต้น ข้าวจะเกิดขึ้นช่วงปลายเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือน มิถนุ ายน ระหว่างนั้นฝนจะหลั่งไหลลงมาบนผืนดินสีนาำ้ ตาล จากนั้น ภูมทิ ศั น์จะค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีเขียวขจี ต้น ข้าวที่กำาลังเติบโตแล้วแปรเปลี่ยนเป็นสีทองอร่ามใน ช่วงเดือนพฤศจิกายน อันเป็นจุดเริ่มต้นของฤดูเก็บเกี่ยว อันนำามาซึ่งอาหารและรายได้ ชาวบ้านพะลึนนิยมปลูกข้าว 3 สายพันธุ์คือ ข้าวพันธุ์ท้องถิ่นเมล็ดใหญ่ ข้าวพันธุ์ท้องถิ่นเมล็ดเล็ก และข้าวเหนียวพันธุ์จากประเทศไทย นอกจากนี้ ในช่วง หลายปีที่ผ่านมา ชาวบ้านเริ่มปลูกข้าวพันธุ์หอมมะลิ จากประเทศไทยมากขึ้น แต่ยังไม่ได้เป็นที่นิยมเท่าข้าว พันธุ์ท้องถิ่นที่ปลูกกันอย่างแพร่หลาย “ปึ๊ก” เป็นเครื่องจักสานที่ชาวบ้านใช้ในการ ตวงข้าว ลักษณะคล้ายกระบุง 1 ปึ๊ก สามารถจุข้าวได้ ประมาณ 40 ลิตรหรือ 2 ปี๊ป ในการปลูกข้าวแต่ละครั้ง ไม่ว่าจะเป็นข้าว พันธุ์เมล็ดใหญ่หรือข้าวพันธุ์เมล็ดเล็ก ชาวนาจะใช้ เมล็ดพันธุ์ข้าว 1 ปึ๊ก (40 ลิตร) เพื่อปลูกข้าวในผืนนา ขนาด 1 เอเคอร์ (2.52 ไร่) ถ้าเป็นข้าวเหนียว ปริมาณ

32

ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติและความมั่งคั่ง ของชุมชนในเขตพะลึน รัฐมอญ ประเทศเมียนมา

ข้าวที่ใช้ปลูกจะมากกว่า 1 ปึ๊กต่อเอเคอร์ (มากกว่า 15.87 ลิตรต่อไร่) เมื่อถึงฤดูเก็บเกี่ยว ผืนนา1 เอเคอร์ที่ ปลูกข้าวทั้งข้าวเมล็ดใหญ่และเมล็ดเล็กจะให้ผลผลิต ประมาณ 35-45 ปึ๊ก (ประมาณ 556-714 ลิตรต่อ 1 ไร่) ปริมาณข้าวเหนียวที่เก็บเกี่ยวได้จะมากกว่าพันธุ์ขา้ วทั้ง สอง ในช่วงปี 2557-2558 ราคาตลาดข้าวเมล็ด ใหญ่อยู่ท่ี 7,000 จั๊ตต่อปึ๊ก (5.30 บาทต่อลิตร) ส่วนราคา ข้าวพันธุ์เมล็ดเล็กจะอยู่ที่ 4,500 จั๊ตต่อปึ๊ก (3.41 บาท ต่อลิตร) ข้าวเหนียวจะได้ราคาพอๆ กับข้าวเมล็ดใหญ่ คือ 7,000 จั๊ตต่อปึ๊ก (5.30 บาทต่อลิตร) จากการสัมภาษณ์ชาวบ้านในพื้นที่ 7 หมู่บ้าน พบว่า ครอบครัวที่มีสมาชิกประมาณ 4 คนจะเก็บเกี่ยว ข้าวได้ประมาณ 100 ปึ๊กต่อปี (4,000 ลิตรต่อปี) โดย ปริมาณข้าว 1 ใน 3 ส่วนนั้นจะเก็บไว้กินกันเองภายใน ครอบครัว ส่วนที่เหลืออีก 2 ใน 3 ส่วนจะนำาไปแจกหรือ แบ่งขายต่อ สำาหรับครอบครัวที่มีสมาชิกมากกว่า 8-10 คน จะเก็บเกี่ยวข้าวได้อย่างน้อย 140 ปึ๊กต่อปี (5,600 ลิตรต่อปี) แต่ละหมู่บา้ นจะมีโรงสีขา้ วของตัวเอง หมู่บา้ น อังแตงมีโรงสีข้าวทั้งหมด 4 โรง เจ้าของโรงสีข้าวแห่ง หนึ่งบอกกับทีมวิจัยว่า โรงสีข้าวของตนสามารถรับสี ข้าวได้วันละ 100 ปึ๊ก คิดค่าสีข้าว 300 จั๊ตต่อปึ๊ก (23 สตางค์ต่อลิตร) และจะเก็บแกลบที่เหลือไว้ที่โรงสี อีกหนึ่งปัจจัยสำาคัญในการทำานาคือ นำา้ ที่ใช้ใน การปลูกข้าว ส่วนใหญ่นา้ำ ทีใ่ ช้เป็นนำา้ จากคลองธรรมชาติ ที่หล่อเลี้ยงผืนนาไปทั่วเขตแดน ระบบนำา้ ที่น่ี มีท้งั คลอง


ฤดูกาลดำานาจะ เริ่มประมาณเดือน สิงหาคม

ชาวนาใช้เครื่องจักสานที่มี ลักษณะคล้ายกระบุง เรียก ว่า “ปึ๊ก” ในการตวงข้าว 1 ปึ๊ก สามารถจุข้าวได้ประมาณ 40 ลิตรหรือ 2 ปี๊ป

ข้าวท้องถิ่นชนิด เมล็ดใหญ่ รายงานการศึกษาโดย ชุมชนท้องถิ่นพะลึน

33


ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและคลองขนาดเล็กที่ชาวนาขุดไว้ เพื่อเชื่อมผืนนากับแหล่งนำ้าข้างเคียง ชาวบ้านระบุอีกว่า ชาวนาที่มผี นื นาอยู่ใกล้ชายทะเลและป่าชายเลนจะปล่อยให้ นำ้าทะเลไหลเข้ามาเพื่อเติมสารอาหารให้ดิน แต่การกระทำา เช่นนี้จำาเป็นจะต้องดูแลอย่างใกล้ชิดเพราะไม่เช่นนั้น ผืนดิน อาจเค็มเกินทีจ่ ะปลูกข้าวต่อไปได้ ในอดีตทีผ่ า่ นมามีเหตุการณ์ ที่นำ้าทะเลไหลเข้ามาตามคลองจนเข้าสู่ผืนนาและทำาให้ดิน เค็มได้เกินจะปลูกข้าวได้ แต่เหตุการณ์เช่นนี้จะไม่คอ่ ยปรากฏ บ่อยนัก ทุ่งนาที่เชื่อมเชิงเขาพะลึนสู่ชายทะเลไม่ได้เป็นเพียง แหล่งปลูกข้าวเท่านั้น แต่ยังเป็นแหล่งวัตถุดิบสำาคัญของ กับข้าวนานาชนิดที่ชาวบ้านสามารถเดินไปเก็บได้ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็น ใบบัวบก ผักบุ้ง ดอกกระเจียว อีกทั้งยังมีปลา หอย ปู กบ หนู ที่เป็นทั้งแหล่งอาหารให้คนและสัตว์อื่นๆ

ความสำคัญของข้าวในเศรษฐกิจท้องถิ่น

จากการสำารวจและสัมภาษณ์ชาวบ้านใน 7 หมู่บ้านพบว่ามี ครัวเรือนที่ทาำ นาอยู่ท้งั หมด 325 ครัวเรือน มีผนื นารวมทั้งหมด 1,893 เอเคอร์ (4,770 ไร่) สามารถเก็บเกี่ยวข้าวเปลือกรวม ได้อย่างน้อย 72,938 ปึ๊กต่อปี (2,917,520 ลิตรต่อปี) ราคา ข้าวเปลือกในตลาดในช่วงที่ทำาการสำารวจอยู่ที่ประมาณ 7,000 จั๊ตต่อปึ๊ก (5.30 บาทต่อลิตร) หากคิดรวมรายได้จาก ทั้ง 7 หมู่บา้ นตามราคาตลาดตอนนั้น ชาวบ้านจะมีรายได้จาก การขายข้ า วได้ อ ย่ า งน้ อ ย 510,566,000 จั ๊ต ต่ อ ปี (15,471,696.97 บาทต่อปี) หมู่บ้านอังแตงเป็นหมู่บ้านที่มีครัวเรือนทำานามาก ที่สุดใน 7 หมู่บ้านที่สำารวจคือ 89 ครัวเรือน มีพื้นที่ทำานา 587 เอเคอร์ (1,479.24 ไร่) สามารถเก็บเกี่ยวข้าวเปลือกได้ 20,720 ปึ๊กต่อปี (828,800 ลิตรต่อปี) รายได้จากการทำานาต่อปีของ หมู่บ้านอังแตงคือ 145,040,000 จั๊ต (4,395,151.52 บาท) รายได้จากการทำานาต่อปีเทียบเท่า 247,086.88 จั๊ตต่อเอเคอร์ (2,971.22 บาทต่อไร่) แม้หมู่บ้านนิเกรอะจะเป็นหมู่บ้านชาวประมง แต่ หมู่บ้านนี้มีจำานวนครัวเรือนที่ทำานามากถึง 88 ครัวเรือน มีนา ข้าวอยู่ 547 เอเคอร์ (1,378.44 ไร่) เก็บเกี่ยวข้าวเปลือกได้ 19,425 ปึ ๊ก ต่ อ ปี (777,000 ลิ ต รต่ อ ปี ) คิ ด เป็ น รายได้ 135,975,000 จั๊ตต่อปี (4,120,454.55 บาทต่อปี) รองจากนั้นคือ หมู่บา้ นซายแกรม มีจาำ นวนครัวเรือน ทีท่ าำ นาอยู่ 64 ครัวเรือน มีนาข้าวอยู่ 376 เอเคอร์ (947.52 ไร่) เก็บเกี่ยวข้าวเปลือกได้ 17,543 ปึ๊กต่อปี (701,720 ลิตรต่อปี) 34

ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติและความมั่งคั่ง ของชุมชนในเขตพะลึน รัฐมอญ ประเทศเมียนมา

คิดเป็นรายได้ 122,801,000 จั๊ตต่อปี (3,721,242.42 บาท ต่อปี) หมู่บ้านนินู่ มีจำานวนครัวเรือนที่ทำานาอยู่ 37 ครัว เรือน มีนาข้าวอยู่ 175 เอเคอร์ (441 ไร่) เก็บเกี่ยวข้าว เปลือกได้ 8,160 ปึ๊กต่อปี (326,400 ลิตรต่อปี) คิดเป็นราย ได้ 57,120,000 จั๊ตต่อปี (1,730,909.09 บาทต่อปี) หมู่บา้ น บาลายแซม มีจำานวนครัวเรือนที่ทำานาอยู่ 39 ครัวเรือน มี นาข้าวอยู่ 117 เอเคอร์ (294.84 ไร่) เก็บเกี่ยวข้าวเปลือก ได้ 4,220 ปึ๊กต่อปี (168,800 ลิตรต่อปี) คิดเป็นรายได้ 29,540,000 จั๊ตต่อปี (895,151.52 บาทต่อปี) ส่วนหมู่บา้ น ชาวประมงอีกหมู่บา้ นคือ หมู่บา้ นกว๊านตะมอปึย มีจาำ นวน ครัวเรือนที่ทำานาอยู่ 5 ครัวเรือน มีนาข้าวอยู่ 79 เอเคอร์ (199.08 ไร่) เก็บเกี่ยวข้า วเปลือกได้ 2,170 ปึ ๊ก ต่ อ ปี (86,800 ลิตรต่อปี) คิดเป็นรายได้ 15,190,000 จั๊ตต่อปี (460,303.03 บาทต่อปี) และสุดท้ายคือ หมู่บ้านกว๊าน เกาะฮะรอย มีจาำ นวนครัวเรือนที่ทาำ นาอยู่ 3 ครัวเรือน มีนา ข้าวอยู่ 12 เอเคอร์ (30.24 ไร่) เก็บเกี่ยวข้าวเปลือกได้ 700 ปึ๊กต่อปี (28,000 ลิตร) คิดเป็นรายได้ 4,900,000 จั๊ตต่อปี (148,484.85 บาทต่อปี) แต่ ต ามที ่ไ ด้ ก ล่ า วไว้ เ บื ้อ งต้ น ข้ า วไม่ ใ ช่ เ พี ย ง ผลผลิตเดียวที่ได้จากนาข้าว ยังมีสตั ว์นาำ้ และพืชผักนานา ชนิดที่ชาวบ้านหาเก็บตามทุ่งนาทั้งเพื่อไว้กินเองและส่ง ขายต่อในหมู่บ้านหรือตลาดข้างเคียง ถึงแม้ว่าผลผลิตดัง กล่าวยังไม่ได้ถกู รวบรวมไว้ในงานวิจยั ชิ้นนี้ แต่ทางทีมวิจยั ได้เล็งเห็นถึงความสำาคัญที่ตอ้ งคำานึงถึงและศึกษาเพิ่มเติม อีกในอนาคต

ประเพณีท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับการทำนา

ชาวบ้านพะลึนยังคงสืบทอดพิธกี รรมตามความเชื่อท้องถิ่น ที่มีมาแต่เดิม พิธีกรรมเหล่านี้สะท้อนถึงความเคารพต่อ ธรรมชาติในบริเวณนั้น พิธีกรรมสำาคัญที่เด่นชัดที่สุดคือ การสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์และบรรพบุรุษก่อนจะเริ่มทำานา หรือเตรียมดินโดยเจ้าของนา ซึ่งเริ่มจากการเตรียมชุด เครื่องบูชาสักการะที่ประกอบด้วยหมาก ใบพลู มะพร้าว ข้าวเหนียว นำ้าส้ม ปลา ไก่ เป็นต้น แล้วประกอบพิธีกรรม ที่ทอ้ งนาก่อนจะเริ่มเตรียมที่ดนิ เพื่อทำานา พิธกี รรมที่คล้าย กันนี้จะเกิดขึ้นอีกครั้งตอนก่อนชาวนาจะเริ่มเกี่ยวข้าว และ เมื่อเกี่ยวข้าวเสร็จแล้ว ชาวนาจะนำาข้าวส่วนแรกไปถวาย พระที ่วั ด ก่ อ นจะนำ า ไปเก็ บ ไว้ สำ า หรั บ บริ โ ภคกั น เองใน ครอบครัวหรือขายต่อ


คลองจำานวนมากเชื่อม แหล่งนำ้ากับผืนนา

เด็กๆ หาปลาในแหล่ง นำ้าใกล้เคียงนาข้าว

ตารางที่ 4-1 ข้าวในพะลึน

ราคาขาย

ข้าวเมล็ดใหญ่ พันธุ์ท้องถิ่น สิงหาคม พฤศจิกายน-ธันวาคม ที่ราบ - นำ้าลึก 1 ปึ๊ก/เอเคอร์ 40 ลิตรต่อ 2.52 ไร่ 6,500-7,000 จั๊ตต่อปึ๊ก 4.92-5.30 บาทต่อลิตร

ข้าวเมล็ดเล็ก พันธุ์ท้องถิ่น สิงหาคม กันยายน-ตุลาคม ที่สูง - นำ้าตื้น 1 ปึ๊ก/เอเคอร์ 40 ลิตรต่อ 2.52 ไร่ 4,500 จั๊ตต่อปึ๊ก 3.41 บาทต่อลิตร

ข้าวเหนียว พันธุ์จากประเทศไทย สิงหาคม พฤศจิกายน ที่สูง - นำ้าตื้น มากกว่า 1 ปึ๊ก/เอเคอร์ มากกว่า 40 ลิตรต่อ 2.52 ไร่ 7,000 จั๊ตต่อปึ๊ก 5.30 บาทต่อลิตร

บทที่ 4

ชนิดข้าว ที่มา ช่วงเวลาดำานา ช่วงเวลาเก็บเกี่ยว พื้นที่ปลูก ปริมาณข้าวที่ใช้ในการปลูก

ตารางที่ 4-2 รายได้จากนาข้าว (ปี 2557) หมู่บ้าน

จำานวน จำานวน ประชากร เจ้าของนา (ครัวเรือน)

(ครัวเรือน)

จำานวน ข้าวที่เกี่ยวได้ต่อปี

พื้นที่นา (เอเคอร์)

(1 ปึ๊ก = 40 ลิตร)

(ไร่)

(ปึ๊ก)

(ลิตร)

รายได้จากการขายข้าวต่อปี (จั๊ต)

(33 จั๊ต = 1 บาท)

อังแตง

505

89

587 1479.24

20,720

828,800

145,040,000

4,395,151.52

นิเกรอะ

241

88

547 1378.44

19,425

777,000

135,975,000

4,120,454.55

กว๊านตะมอปึย

210

5

79

199.08

2,170

86,800

15,190,000

460,303.03

นินู่

363

37

175

441.00

8,160

326,400

57,120,000

1,730,909.09

ซายแกรม

136

64

376

947.52

17,543

701,720

122,801,000

3,721,242.42

บาลายแซม

111

39

117

294.84

4,220

168,800

29,540,000

895,151.52

24

3

12

30.24

700

28,000

4,900,000

148,484.85

1,590

325

1893

4,770

72,938

2,917,520

510,566,000

15,471,696.97

กว๊านเกาะฮะรอย รวม

รายงานการศึกษาโดย ชุมชนท้องถิ่นพะลึน

35


บทที่ 5 ประมง

หมู่ บ้ า นที่ ทำ า ประมงเป็ น อาชี พ หลั ก ในพะลึ น มี อ ยู ่ 2 หมูบ่ า้ น ได้แก่ หมูบ่ า้ นกว๊านตะมอปึยและหมูบ่ า้ นนิเกรอะ แม้ทั้งสองหมู่บ้านนี้จะทำาประมงเป็นอาชีพ หลัก แต่ด้วยสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันจึงทำาให้วิธี การทำาประมงของสองหมู่บ้านแตกต่างกันเล็กน้อย หมู่บา้ นกว๊านตะมอปึย ตั้งอยู่รมิ หาดทรายทางตะวันตก ของพะลึน สุดเส้นทางถนนที่เชื่อมพะลึนกับเมืองเย บริเวณนี้มเี นินเขาล้อมรอบและอยู่ตดิ กับทะเลอันดามัน ส่วนหมู่บา้ นนิเกรอะอยู่ทางตอนเหนือของเขตพะลึน ตั้ง อยู่ริมแม่นำ้านิเกรอะ ใกล้บริเวณปากแม่นำ้า รายล้อมไป ด้วยป่าชายเลนผืนใหญ่ ทีมวิจัยลงพื้นที่เก็บข้อมูลและสัมภาษณ์ชาว บ้านจากทั้ง 2 หมู่บา้ น และได้สมั ภาษณ์เชิงลึกเกี่ยวกับ รายได้ แ ละวิ ธี ทำ า ประมงพื ้น บ้ า นที ่ห มู ่บ้ า นกว๊ า นตะ มอปึย ส่วนข้อมูลเกี่ยวกับสัตว์นำ้า ระบบนิเวศป่าชาย เลน วิธกี ารแปรรูปอาหารทะเลนั้น ได้จากการสัมภาษณ์ ชาวประมงหมู่บ้านนิเกรอะ

ประมงที่หมู่บ้านกว๊านตะมอปึย

ที ม วิ จั ย ได้ สั ม ภาษณ์ เ พื ่อ เก็ บ ข้ อ มู ล จากชาวประมง จำานวน 86 ครัวเรือน จากจำานวนประชากรทั้งหมด 210 ครัวเรือน ชาวประมงทั้งหมดที่ออกเรือไปจับปลาใน

36

ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติและความมั่งคั่ง ของชุมชนในเขตพะลึน รัฐมอญ ประเทศเมียนมา

หมู่บ้านกว๊านตะมอปึยเป็นผู้ชาย พื้นที่จับปลาเริ่มจาก บริเวณหมู่บ้านตามแนวชายฝั่งไปยังทะเลอย่างน้อย ประมาณ 5 กิโลเมตร (3 ไมล์) พื้นที่ประมงแบ่งออกเป็น เขตการจับปลา 3 โซนหลัก ได้แก่ 1) โซนบริเวณริมฝั่ง สำาหรับจับปลาตัวเล็กตัวน้อย กุ้งมังกร กั้ง กุ้ง หอย และ ปูเป็นหลัก 2)โซนกลางระหว่างริมฝั่งกับทะเลลึก บริเวณ นี้มกั พบปลาขนาดกลาง โดยเฉพาะปลาหัวยุ่ง (Harpadon nehereus) และกุ้ง, 3) โซนทะเลลึก เป็นบริเวณที่ นำ้าลึกกว่าและมักจะได้ปลาตัวใหญ่กว่า ชาวประมงจะ ออกเรือไปบริเวณนี้ได้เพียงไม่กี่เดือนต่อปี เพราะต้อง ใช้เรือขนาดใหญ่กว่าและมีค่าใช้จ่ายสูงกว่า และจะไม่ ออกเรือช่วงมรสุม เครื่องมือจับปลาที่ชาวประมงนิยมใช้ที่สุดคือ ตาข่าย ชาวประมงจะออกเรือไปวางตาข่ายช่วงก่อนนำา้ ลง ตาข่ายแต่ละผืนที่ชาวประมงขึงไว้มีความกว้าง 70 ฟุต หย่อนลึกลงในทะเลประมาณ 5 ฟุต โดยผูกตาข่าย กับวัสดุคล้ายลูกบอลพลาสติกหรือกระป๋องพลาสติก เพื่อทำาให้ตาข่ายลอยนำา้ ตลอดเวลา และใช้กอ้ นหินเพื่อ ถ่วงปลายตาข่ายสู่ท้องนำ้า ชาวประมงขึงตาข่ายตาม แนวตะวันออก-ตะวันตก เพื่อให้กระแสนำ้าที่ไหลใน ทิศทางเหนือ-ใต้พัดพาปลาและสัตว์นำ้ามาติดที่ตาข่าย ชาวประมงส่วนใหญ่จะวางตาข่ายไว้ 10 จุดและมีการ


เรือประมง บริเวณชายฝั่ง หมู่บ้านกว๊านตะมอปึย

ชาวประมงเตรียม เครื่องมือหาปลา

รายงานการศึกษาโดย ชุมชนท้องถิ่นพะลึน

37


ตกลงแบ่งเขตจับปลากันเองในหมู่ชาวประมง ในเวลา 24 ชั่วโมง ชาวประมงจะออกเรือเพื่อ ไปวางตาข่าย 1 ครั้ง ไปเก็บปลาและสัตว์นำ้าอื่นๆ ตาม เวลานำ้าขึ้น 2 ครั้ง นำ้าลง 2 ครั้ง รวมเป็น 5 ครั้ง ช่วงเวลา ออกเรือขึ้นตามจันทรคติและเปลี่ยนแปลงทุกวัน ชาวประมงจะออกไปเก็บปลาก่อนที่นำ้าจะขึ้น และลง 20 นาที แล้วค่อยเริ่มเก็บปลาและสัตว์นำ้าอื่นๆ ที่ตดิ อยู่ในตาข่ายในช่วงนำา้ ตาย ซึ่งเป็นช่วงเวลาระหว่าง การขึ้น-ลงของนำ้าทะเล หากพวกเขาไม่เข้าใจลักษณะ การขึ้นลงของกระแสนำ้าตามธรรมชาติ และออกเรือไป โดยไม่สงั เกตกระแสนำา้ ชาวประมงจะพลาดช่วงนำา้ ตาย และไม่สามารถเก็บปลาหรือสัตว์นำ้าได้มากตามที่หวัง ไว้ เนื่องจากตาข่ายทำาหน้าที่เสมือนผ้ากรองที่วางกั้น กระแสนำา้ แล้วดักสัตว์นา้ำ เหล่านัน้ ไว้ โดยหากกระแสนำา้

เปลี่ยนทิศทาง สัตว์นำ้าเหล่านั้นก็จะไหลตามออกไป ทุ ก ครั ้ง ที ่ที ม วิ จั ย ออกเรื อ ไปพร้ อ มกั บ ชาว ประมงพบว่า สิ่งมีชีวิตที่จับได้มีทั้งปลา กุ้ง ปู หอย ปลาหมึก เรือบางลำาอาจได้แมงกะพรุนและปลากระ เบนติดมาด้วย ปลาที่ชาวประมงจับได้มากที่สดุ คือ ปลา หัวยุ่ง (Harpadon nehereus) สัตว์นำ้าที่จับได้จะถูกเท ใส่ลงในกระสอบขนาดใหญ่ ความจุเท่าถุงปุ๋ยขนาด ประมาณ 50 กิโลกรัม ปริมาณปลาที่จบั ได้จะแตกต่างกันไปในแต่ละ ฤดูกาล โดยในช่วงหน้าแล้งถึงต้นฤดูร้อนหรือระหว่าง เดือนธันวาคมถึงเดือนมีนาคม ชาวประมงจะจับปลาได้ น้อยกว่าช่วงอื่นๆ ของปี กล่าวคือ จะจับปลาได้ประมาณ 10 กระสอบต่อวัน (500 กิโลกรัมต่อวัน) ทั้งนี้ จำานวน ปลาที่จับได้จะค่อยๆ เพิ่มขึ้นหลังเดือนเมษายนจน

ตารางที่ 5-1 ช่วงเวลาจับปลา เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. ช่วงเวลา จับปลาได้น้อย จับปลา ประมาณ 10 กระสอบ/วัน (500 กิโลกรัม/วัน)

พ.ค.

มิ.ย.

ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. จับปลาได้มาก ประมาณ 100-125 กระสอบ/วัน (5,000-6,250 กิโลกรับ/วัน)

พ.ย.

ธ.ค.

* หมายเหตุ กระทรวงปศุสัตว์ ประมงและพัฒนาชนบท ประกาศระงับการทำาประมงทะเลระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน ถึงสิ้นเดือนสิงหาคม1 ตารางที่ 5-2 พื้นที่จับปลา ทะเลลึก โซน 3 โซนทะเลลึกเป็นบริเวณทีน่ า้ำ ลึกกว่าและมักจะได้ปลาตัวใหญ่กว่า ชาวประมงจะออกเรือไปบริเวณนีไ้ ด้เพียงไม่กเ่ี ดือนต่อปี เพราะต้องใช้เรือขนาดใหญ่กว่าและมีค่าใช้จ่ายสูงกว่า และจะไม่ออกเรือช่วงมรสุมและช่วงแล้ง โซน 2 โซนกลางระหว่างริมฝัง่ กับทะเลลึก บริเวณนีม้ กั พบปลาขนาดกลาง โดยเฉพาะปลาหัวยุง่ (Harpadon nehereus) และกุง้ โซน 1 บริเวณริมฝั่ง สำาหรับจับปลาตัวเล็กตัวน้อย กุ้งมังกร กั้ง กุ้ง หอยและปูเป็นหลัก หาดทราย หาดเลน 1

วันที่ 8 พฤษภาคม 2558 หนังสือพิมพ์ Myanmar Times รายงานว่า กระทรวงปศุสัตว์ ประมงและพัฒนาชนบท ประกาศระงับการ ทำาประมงทะเลระหว่างวันที่ 1 มิถนุ ายนถึงสิ้นเดือนสิงหาคมของทุกปี เพื่อให้ปลาได้ฟ้นื ตัวเกิดขึ้นใหม่และดำารงอยู่อย่างยั่งยืน (อ้างอิง Myat Nyein Aye, “Ocean fisheries to be closed on June 1 for three months.” Myanmar Times. 8 May 2015. (http://www. mmtimes.com/index.php/business/14360-ocean-fisheries-to-be-closed-on-june-1-for-three-months.html).

38

ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติและความมั่งคั่ง ของชุมชนในเขตพะลึน รัฐมอญ ประเทศเมียนมา


ชาวประมงจับปลา โดยการใช้ตาข่าย

รายงานการศึกษาโดย ชุมชนท้องถิ่นพะลึน

39


หญิงสาวใน หมู่บ้านกว๊านตะมอปึย ค่อยๆ เรียงปลาหัวยุ่งสด ตามแนวรางตากปลา

หญิงสาวในหมู่บ้านอันแตง กำาลังเตรียมผสมกุ้งและเกลือ เข้าด้วยกันเพื่อทำากะปิ

40

ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติและความมั่งคั่ง ของชุมชนในเขตพะลึน รัฐมอญ ประเทศเมียนมา


สิ ่ง ที ่น่ า สนใจเกี ่ย วกั บ การจั บ ปลาของชาว ประมงที่นี่ คือ เครื่องมือประมงที่เลือกใช้เป็นเครื่องมือ ขนาดเล็กที่ไม่ได้กวาดต้อนสัตว์นาำ้ ปริมาณมากในคราว เดียวกันอย่างอุปกรณ์ที่เรือประมงพาณิชย์ขนาดใหญ่ ใช้กนั แม้วา่ แต่ละครั้งที่ชาวประมงดึงตาข่ายขึ้นจากนำา้ จะทำาให้นำ้าขุ่น เนื่องจากมีตะกอนฟุ้งกระจาย ทีมวิจัย คิดว่าการทำาประมงขนาดเล็กเช่นนี้เป็นวิธใี นการจัดการ ทรัพยากรธรรมชาติตามภูมิปัญญาท้องถิ่น เพราะชาว ประมงยังคงต้องมีการตกลงร่วมกันในการแบ่งสรรพื้นที่ วางตาข่าย ซึ่งเป็นวิธีที่เปิดโอกาสให้ชาวประมงจัดสรร ทรัพยากรในพื้นที่ร่วมกันอย่างยั่งยืน จากการสัมภาษณ์กลุ่มและลงพื้นที่หมู่บ้าน ประมงทั้ง 2 แห่ง ทีมวิจยั พบพันธุ์ปลาทั้งหมด 142 สาย พันธุ์ ซึ่งปลาจำานวน 121 สายพันธุ์ที่พบเป็นพันธุ์ปลา เศรษฐกิจที่ทางรัฐบาลเมียนมาประกาศไว้จากจำานวน ทั้งหมด 248 สายพันธุ์ อย่างไรก็ตาม ที่กล่าวมานี้เป็นสัตว์นำ้าเพียง ส่วนหนึ่งที่พบเจอในเขตพะลึน ชาวประมงและชาวบ้าน ยืนยันว่ายังมีสตั ว์นาำ้ อีกมากที่ยงั ไม่ได้ทาำ การศึกษา บาง ชนิดเป็นสัตว์เฉพาะถิ่นที่ทางภาครัฐอาจไม่ได้ระบุไว้วา่ เป็นสัตว์เศรษฐกิจแต่มีความสำาคัญต่อคนในชุมชน

รายงานการศึกษาโดย ชุมชนท้องถิ่นพะลึน

41

บทที่ 5

กระทั่งเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน ซึ่งเป็นเวลาที่จบั ปลา ได้มากที่สุดในรอบปี คือจะจับได้ประมาณ 100-125 กระสอบต่อวัน (5,000-6,250 กิโลกรัมต่อวัน) หากชาวประมงเลือกที่จะขายปลาและสัตว์นาำ้ ที่จับได้ทันทีหลังจากออกเรือ พวกเขาจะมีรายได้อย่าง น้อย 25,000 จั๊ตต่อกระสอบ (15.15 บาทต่อกิโลกรัม) แต่ส่วนใหญ่จะมาคัดแยกประเภทและขนาดของสัตว์ นำ้า แล้วจึงตากแห้งก่อนนำาไปขายเพราะจะได้ราคาสูง กว่า โดยกลุ่มผู้หญิงมักทำาหน้าที่คัดแยกประเภทสัตว์ นำา้ การขายปลาและสัตว์นาำ้ อื่นๆ อาจขายกันในหมู่บา้ น และหมู่บา้ นข้างเคียง หรือส่งไปขายยังตลาดในเมืองอื่น นอกจากสัตว์นำ้าตามที่กล่าวมาแล้วนั้น ชาว ประมงจะสังเกตเห็นสัตว์นาำ้ ลักษณะคล้ายโลมาว่ายเข้า มาใกล้ๆ เป็นครั้งคราวระหว่างออกหาปลา โดยเฉพาะ บริเวณที่มีตาข่ายวางไว้ ในช่วงที่ทีมวิจัยออกเรือพร้อม กับชาวประมงเมื่อกลางเดือนพฤษภาคม 2558 ทีมวิจยั สังเกตเห็นสัตว์นำ้าที่มีลักษณะคล้ายโลมาเช่นกัน ชาว ประมงบอกว่า สัตว์นำ้าดังกล่าวจะมากินปลาเล็กปลา น้อยที่ลอยหลุดออกไปจากตาข่ายเวลาที่พวกเขาดึง ตาข่ายขึ้นมา และพวกเขาไม่เคยไปยุ่งกับสัตว์นำ้าชนิด นีเ้ พราะเห็นว่ามันไม่ได้มาก่อให้เกิดความเสียหายอะไร


กุ้งมังกรและกั้ง ในหมู่บ้านกว๊านตะมอปึยมีชาวบ้านที่ทำาอาชีพค้าขาย กุ้งมังกรและกั้งอยู่ 10 ครัวเรือน กุ้งมังกรและกั้งเหล่านี้ รับซื้อมาจากชาวประมงในหมู่บ้านแล้วนำาไปขายต่อที่ อื่น ส่วนใหญ่จะส่งไปขายที่ย่างกุ้งโดยตรง รายได้จาก การขายกุ้งมังกรและกั้งถือเป็นแหล่งรายได้ที่สำาคัญ เนื่องจากขายได้ราคาสูง ในการจับกุ้งมังกรที่นี่ยังคงใช้เครื่องมือแบบ พื้นบ้านตามฤดูกาล ชาวประมงจะใช้เครื่องมือดักจับ พื้นบ้านลักษณะคล้ายลอบ ทำาจากไม้ไผ่และเชือก สาน ห่างๆ มีท่คี ล้องปลาแห้งและเหยื่อล่ออื่นๆ อยู่ตรงกลาง ภายในเครื่องมือ ชาวประมงจะออกเรือไปตอนเช้าเพื่อ นำาที่ดักกุ้งมังกรไว้ราว 20 อัน ไปวางไว้ในทะเล ที่ดัก แต่ละอันสามารถดักกุ้งมังกรได้มากสุด 3 ตัว พอช่วง บ่ายๆ ชาวประมงจะกลับไปอีกรอบตอนนำ้าลงเพื่อไป เก็บที่ดัก ราคาที่พ่อค้าแม่ค้ารับซื้อจากชาวประมงท้อง ถิ่นนั้นขึ้นอยู่กับขนาดของกุ้งมังกร กุ้งมังกรขนาดใหญ่ จะได้ราคา 35,000 จั๊ตต่อ 3 กิโลกรัม (1,061 บาท) ขนาดกลางจะได้ 25,000 จั๊ตต่อ 3 กิโลกรัม (758 บาท) และขนาดเล็กจะได้ 3,000-3,500 จั๊ตต่อ 3 กิโลกรัม (91-106 บาท)

พ่อค้าแม่คา้ จะบรรจุก้งุ มังกรไว้ในกล่องขนาด 15 กิโลกรัมและจะรอให้ครบ 10 กล่องหรือ 150 กิโลกรัม ก่อนส่งไปขายที่ย่างกุ้งโดยตรง ปริมาณกุ้งมังกรที่เคย ส่งออกที่ตำ่าที่สุดคือ 7 กล่องต่อเดือนหรือ 105 กิโลกรัม ต่อเดือน ปริมาณที่สูงที่สุดคือ 50 กล่องต่อเดือนหรือ 750 กิโลกรัมต่อเดือน ราคาขายกุ้งมังกรที่ย่างกุ้งตกอยู่ ประมาณ 600,000 จั๊ตต่อกล่อง (18,181.82 บาทต่อ กล่อง) หรือเทียบเท่า 40,000 จั๊ตต่อกิโลกรัม (1,212.12 บาทต่อกิโลกรัม) ส่ ว นการจั บ กั ้ง นั ้น ที ม วิ จั ย ยั ง ไม่ ท ราบราย ละเอียดมากนัก แต่พบเห็นว่า ชาวประมงจะนำากับดัก มาวางไว้บนหาด ความรู้ท่สี บื ทอดกันมารุ่นต่อรุ่นทำาให้ ชาวบ้านสังเกตได้ว่าผืนทรายลักษณะอย่างไรที่จะมีกั้ง อาศัยอยู่ กั้งมีราคาสูงกว่ากุ้งมังกร กั้งขนาดใหญ่จะขาย อยู่ที่ 60,000 จั๊ตต่อ 3 กิโลกรัม (1,818 บาท) กั้งขนาด กลางจะได้ราคา 45,000 จั๊ตต่อ 3 กิโลกรัม (1,364 บาท) และกั้งขนาดเล็กจะได้ 35,000 จั๊ตต่อ 3 กิโลกรัม (1,061 บาท) เมื่อนำาไปขายที่ย่างกุ้ง พ่อค้าแม่ค้าจะขายกั้งได้ ในราคาตัวละ 80,000 จั๊ตเป็นอย่างตำา่ (2,424.24 บาท)

ตารางที่ 5-3 ราคาขายกุ้งมังกรที่ หมู่บ้านกว๊านตะมอปึย

ตารางที่ 5-4 ราคาขายกั้งที่ หมู่บ้านกว๊านตะมอปึย

ขนาดกุ้งมังกร ใหญ่ กลาง เล็ก

42

ราคาต่อ 3 กิโลกรัม (จั๊ต) (บาท) 35,000 1,061 25,000 758 3,000-3,500 91-106

ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติและความมั่งคั่ง ของชุมชนในเขตพะลึน รัฐมอญ ประเทศเมียนมา

ขนาดกั้ง ใหญ่ กลาง เล็ก

ราคาต่อ 3 กิโลกรัม (จั๊ต) (บาท) 60,000 1,818 45,000 1,364 35,000 1,061


ปลาและสัตว์นำ้าสดและตากแห้งนานาชนิดที่ ชาวประมงหมู่บ้านกว๊านตะมอปึยจับได้ (ดูรายชื่อที่ภาคผนวก)

กุ้งมังกร (Panulirus polyphagus)

กั้งที่จับได้จากหาดเลน บริเวณใกล้ๆ ทุ่งนา

ที่จับกุ้งมังกร

รายงานการศึกษาโดย ชุมชนท้องถิ่นพะลึน

43


วิธีการทำมาหากินอื่นๆ ในหมู่บ้านกว๊านตะมอปึย หมู่บ้านกว๊านตะมอปึยมีโรงเรือนเลี้ยงเป็ดอยู่ทั้งหมด 10 แห่ง ผลผลิตหลักของที่นี่คือ ไข่เป็ด เป็ดจำานวน 1,200 ตัวจะให้ไข่เป็ดประมาณ 1,100 ฟองต่อวัน ขายส่งให้ตลาดในราคาฟองละ 100 จั๊ต (3 บาท) โรง เรือนเลี้ยงเป็ดที่เลี้ยงเป็ดไว้มากที่สดุ ในหมู่บา้ นกว๊านตะ มอปึยมีเป็ดอยู่ประมาณ 5,000 ตัว โรงเรือนเลี้ยงเป็ดจะรับซื้อเป็ดที่โตแล้วพร้อม ออกไข่ (ราคาตัวละ 3,000 จั๊ตหรือ 91 บาท) แล้วเลี้ยง ไว้ 3 ปีจนใกล้วยั ที่เป็ดเริ่มออกไข่นอ้ ยลงแล้วจึงขายต่อ ทีมวิจัยถามเจ้าของโรงเลี้ยงเป็ดว่า จะทราบได้อย่างไร ว่าเป็ดตัวไหนแก่เกินไปที่จะออกไข่ เจ้าของโรงเรือน เลี้ยงเป็ดตอบว่า “โดยดูจากขนาดของเป็ด คนอื่นอาจดู ยาก แต่มันไม่ซับซ้อนอะไรสำาหรับเราเพราะเราอยู่กับ เป็ดเหล่านี้ทุกวัน” ต้นทุนส่วนใหญ่ในการเลี้ยงเป็ดเป็นค่าใช้จา่ ย สำาหรับอาหารเป็ด ได้แก่ เศษปลาตัวเล็กตัวน้อยที่ซื้อ มาจากชาวประมงในหมู่บา้ นและข้าวเปลือกจากชาวนา ที่อยู่ใกล้เคียง นอกจากนี้ ยังมีคา่ นำา้ มันที่ใช้ในการสูบนำา้

เพื่อนำามาใช้ในโรงเรือนเลี้ยงเป็ดและค่าจ้างแรงงาน ช่วยดูแลเป็ดจากการสัมภาษณ์ เจ้าของโรงเรือนเลี้ยง เป็ดเจ้าหนึ่งกล่าวว่า เขาปลูกผักสวนครัวไว้ใกล้ๆ โรง เรือนเลี้ยงเป็ดเพื่อนำามาเป็นอาหารให้เป็ด การปลูกผัก อย่าง ผักบุ้ง แตงกวา มะระ และบวบนั้นนับเป็นการลง ทุนที่ตำ่ามาก เนื่องจากดินมีความอุดมสมบูรณ์อยู่แล้ว และสามารถนำาขี้เป็ดหรือเศษอาหารมาใช้ทำาเป็นปุ๋ย ธรรมชาติได้ ส่วนผักที่เหลืออาจนำามากินเองหรือขาย ต่อในตลาดได้ด้วยเช่นกัน รายได้จากการขายผักจะนำา ไปใช้จา่ ยในการดูแลโรงเรือนเลี้ยงเป็ดหรือค่านำา้ มันใน การขนส่ง นอกจากนี้ เจ้าของโรงเรือนเลี้ยงเป็ดดังกล่าว ยังบอกอีกว่า เขาไม่ใช้ป๋ยุ เคมีในการปลูกผักริมโรงเรือน เพราะจะไม่ดีต่อสุขภาพ ผักเหล่านี้จึงเป็นผักอินทรีย์ และปลอดภัยสำาหรับทั้งคนและเป็ด รวมถึงผืนดินและ สิ่งแวดล้อม เจ้าของโรงเรือนเลี้ยงเป็ดจึงไม่มีค่าใช้จ่าย เพิ่มเติมสำาหรับปุ๋ยหรือยากำาจัดศัตรูพชื แต่ส่งิ ที่เป็นภัย คุกคามเป็ดมากที่สุดคือหนู ซึ่งมักจะแอบมากินไข่เป็ด

โรงเรือนเลี้ยงเป็ดในหมู่บ้านกว๊านตะมอปึย

บวบและแตงกวาอินทรีย์จากสวนผักใกล้ๆ โรงเรือนเลี้ยงเป็ด

44

ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติและความมั่งคั่ง ของชุมชนในเขตพะลึน รัฐมอญ ประเทศเมียนมา


ประมงในหมู่บ้านนิเกรอะ ทีมวิจัยปรึกษาชาวบ้านในหมู่บ้านเพื่อเก็บข้อมูลการ ประมงในหมู่บ้านนิเกรอะ เช่น การจับปลาและการทำา ผลิตภัณฑ์จากสัตว์นำ้าอย่างการทำากะปิและการตาก ปลาแห้ง ชาวประมงที่หมู่บา้ นนิเกรอะพาทีมวิจยั ล่องเรือ จากหมู่บา้ นไปตามลำาคลอง เพื่อให้เห็นภาพป่าชายเลน บริเวณปากแม่นาำ้ นิเกรอะ ระหว่างทางจะพบเห็นต้นไม้ หลากหลายอาทิ ต้ น หญ้ า ที ่มี ใ บยาวและเรี ย ว ต้ น โกงกางใบใหญ่ (Rhizophora mucronata) ที่มรี ากงอก ซับซ้อนแตกแขนงออกมาภายนอก การลงพื้นที่ครั้งนี้ ทำาให้เห็นว่า ชาวประมงสามารถระบุชื่อพันธุ์ไม้ในป่า ชายเลนอย่างมั่นใจ รวมทั้งพื้นที่ที่มักพบเจอ จำานวน และการเปลี่ยนแปลงทางความหลากหลายของพันธุ์ไม้ ชาวประมงอธิบายว่า ป่าชายเลนแห่งนี้มพี ชื ที่ กินได้อยู่หลายชนิดแต่จำาต้องมีพื้นฐานความรู้เกี่ยวกับ

พืชอยู่บา้ งเพราะพืชบางชนิดจะกินได้เฉพาะบางฤดูกาล และจะกลายเป็นพืชมีพิษในช่วงเวลาอื่น พืชบางชนิด เป็นสมุนไพร เช่น เหงือกปลาหมอ (Acanthus ilocifolius) ชาวบ้านนำ า หนามตามขอบใบมาจิ้ม บนผิ วหนั ง เพื ่อ บรรเทาพิษจากการถูกงูกัด ชาวบ้านนิเกรอะส่วนมากทำาประมงบริเวณ ปากแม่นำ้านิเกรอะ โดยชาวประมงจะจัดวางตาข่ายไว้ กลางนำ้าเพื่อจับปลา กุ้ง เคย ให้กระแสนำ้าที่ขึ้น-ลงตาม ธรรมชาตินำาเอาสัตว์นำ้าเหล่านี้มาติดตาข่าย ชาวประมงอธิ บ ายว่ า พวกเขาสามารถทำ า ประมงที่ีนี่ได้ตลอดทั้งปี แต่ช่วงที่จะจับปลาได้ดีที่สุดมี อยู่ 2 ช่วง คือ ระหว่างเดือนธันวาคมถึงเดือนมีนาคม และระหว่างเดือนตุลาคมถึงเดือนพฤศจิกายน ขณะที่ ในเดือนเมษายน ซึ่งเป็นช่วงที่รอ้ นที่สดุ และกำาลังเปลี่ยน ผ่านเป็นฤดูฝนจะเป็นช่วงที่จับปลาได้น้อยที่สุด

บทที่ 5

ชาวประมงหมู่บ้านนิเกรอะ ขนกุ้งเคยที่จับได้กลับ หมู่บ้านเพื่อเตรียมทำากะปิ

กะปิตากแห้งที่ หมู่บ้านนิเกรอะ

รายงานการศึกษาโดย ชุมชนท้องถิ่นพะลึน

45


พันธุ์ไม้ป่าชายเลนทีพ ่ บเห็นบ่อย ในบริเวณปากแม่นํ้านิเกรอะ นอกจากกุ้งและปลาในแม่นำ้าแล้ว บริเวณป่าชายเลน ยังมีสิ่งมีชีวิตอื่นๆ อีกมากมายที่ชาวบ้านนำาไปใช้เป็น สมุนไพรและอาหาร เช่น ใบของผักเบี้ยทะเล (Sesuvium portulacastrum) และผลของ Finlaysonia sp. ที่ ชาวบ้านนำาไปกินเป็นเครื่องเคียงกับข้าว อี ก หนึ ่ง ประเด็ น ที ่น่ า สนใจของป่ า ชายเลน ความอุดมสมบูรณ์ของสิ่งมีชีวิตเล็ก เช่น เคย (Acetes sp.) สัตว์นำ้าที่มีความอ่อนไหวต่อสภาพแวดล้อมและ การเปลี่ยนแปลงสูง ในบริเวณปากแม่นำ้านิเกรอะยังมี

46

เคยให้ชาวบ้านจับอยู่มากมาย สิ่งมีชีวิตเหล่านี้สะท้อน ให้เห็นว่านำา้ บริเวณป่าชายเลนและปากแม่นาำ้ ยังสะอาด และอุดมไปด้วยธาตุอาหารที่สามารถหล่อเลี้ยงสิ่งมี ชีวติ เหล่านี้ให้เจริญเติบโตได้ การที่ชาวบ้านสามารถนำา ปลา กุ้ง และเคยมาแปรรูป ยังชี้ให้เห็นว่า สัตว์นำ้าเหล่า นี ้ยั ง คงมี ม ากพอที ่จ ะนำ า ไปบริ โ ภคเองและส่ ง ขาย นอกจากนี ้ กะปิ ยั ง เป็ น ส่ ว นประกอบที ่สำ า คั ญ ใน วัฒนธรรมอาหารมอญท้องถิ่นอีกด้วย

ชาวประมงในแม่นำ้านิเกรอะ

ปูเกาะอยู่บนลำาต้นแสมทะเล (Avicennia marina)

โกงกางใบใหญ่ (Rhizophora mucronata)

ทีมวิจัยร่วมเก็บตัวอย่างพืชป่าชายเลน กับชาวประมงหมู่บ้านนิเกรอะ

ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติและความมั่งคั่ง ของชุมชนในเขตพะลึน รัฐมอญ ประเทศเมียนมา


การสำารวจเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม พบตัวอย่างพืชในป่าชายเลนจำานวน 14 ชนิด แสดงไว้ตามตารางที่ 5-5

ตารางที่ 5-5 พันธุ์ไม้ป่าชายเลนที่พบเห็นบ่อยในบริเวณปากแม่นำ้านิเกรอะ ชื่อวิทยาศาสตร์

ชื่อภาษาไทย

สรรพคุณ/วิธีการใช้โดยชุมชน

1

Rhizophora mucronata

โกงกางใบใหญ่, กงกอน, กงกางนอก, กงเกง, พังกาใบใหญ่

-

2

Aegialitis rotundifolia

ใบพาย, แสม

-

3

Excoecaria agallocha

ตาตุ้มทะเล, ตาตุ่ม, บูตอ

ยางใบมีพิษอันตรายต่อตา

4

Sesuvium portulacastrum ผักเบี้ยทะเล

กินเป็นเครื่องเคียง

5

Dalbergia spinosa

ไม่พบชื่อภาษาไทย

-

6

Acanthus ilicifolius

เหงือกปลาหมอดอกม่วง, แก้มหมอ, แก้มหมอ เล, นางเกร็ง, จะเกร็ง, อีเกร็ง, เหงือกปลาหมอนำ้าเงิน

ใบมีสรรพคุณในการบรรเทาพิษ ชาวบ้านใช้หนามที่ปลายใบจิ้มไป ตามผิวหนังบริเวณที่โดนงูกัด

7

Avicennia marina

แสมทะเล, ปีปีดำา, แสมขาว, พีพีเล

-

8

Finlaysonia maritima

เถากระเพาะปลา

-

9

Derris trifoliata

เถาถอบแถบนำ้า, แควบทะเล, ถอบแถบทะเล, ผักแถบ, ทับแถบ, ถั่วนำ้า

-

10

Bruguira gymnorrhoza

พังกาหัวสุมดอกแดง, ประสัก, ประสักแดง, โกงกางหัวชุม, พังกาหัวสุม, พลัก

-

11

Finlaysonia sp.

ไม่พบชื่อภาษาไทย

ผลกินได้

12

Brownlowia tersa

นำ้านอง

-

13

Avicennia alba

แสมขาว, พีพีเล, แหม, แหมเล

-

14

Aegiscerus corniculatum เล็บมือนาง, เล็บนาง, แสมแดง, ลำาพู

-

15

Avicennia alba

-

แสมขาว, พีพีเล, แหม, แหมเล

รายงานการศึกษาโดย ชุมชนท้องถิ่นพะลึน

บทที่ 5

ลำาดับที่

47


ความสำคัญของประมงพื้นบ้าน ในเศรษฐกิจท้องถิ่น จากการลงพื้นที่ 2 หมู่บา้ นที่ทาำ ประมงเป็นหลักในพะลึน ทีมวิจัยพบว่า หมู่บ้านนิเกรอะมีครอบครัวชาวประมง 22 ครัวเรือน มีเรือประมง 23 ลำา และมีเครื่องยนต์ดีเซล อยู่ 23 เครื่อง มีตาข่ายสำาหรับจับสัตว์นาำ้ 20 ปาก มีราย ได้จากการทำาประมงในช่วงเดือนธันวาคม 2557 ถึง เดือนพฤศจิกายน 2558 (ยกเว้นช่วงประกาศห้ามจับ ปลา) ประมาณ 256,800,000 จั๊ต (7,781,818.18 บาท) จากการสำารวจครอบครัวประมงจำานวน 86 ครัวเรือนในหมู่บ้านกว๊านตะมอปึย ทีมวิจัยพบว่ามีเรือ ประมง 86 ลำา มีเครื่องยนต์ดีเซล 126 เครื่อง และมี ตาข่ายจับปลา 707 ปาก ในช่วงเวลาที่ผ่านจากเดือน ธันวาคม 2557 ถึงเดือนพฤศจิกายน 2558 ชาวประมง มีรายได้ 3,006,600,000 จั๊ต (91,109,090.91 บาท) โดยรวมแล้ว 2 หมู่บ้านประมงในพะลึนมีชาว ประมงทั้งหมด 108 ครัวเรือน มีรายได้จากการประมง

ในหนึ่งปีอย่างน้อย 3,263,400,000 จั๊ต (98,890,909.09 บาท) อย่ า งไรก็ ต าม อาจจำ า เป็ น จะต้ อ งทำ า ความ เข้าใจว่ารายได้ของชาวประมงที่นี่อาจเปลี่ยนไปโดย เฉพาะในช่วงหน้าฝน หนังสือพิมพ์เมียนมาไทม์ (Myanmar Times) รายงานข่าวว่ากระทรวงปศุสัตว์ ประมง และการพัฒนาชนบทเมียนมา ออกประกาศให้​้ชาว ประมงหยุดหาปลาในทะเลระหว่างวันที่ 1 มิถุนายนถึง ปลายเดือนสิงหาคมเพื่อฟื้นฟูพันธุ์ปลาทะเลที่ลดลงไป มาก ชาวประมงในพื้นที่อธิบายว่า ข้อห้ามนี้ส่งผลกระ ทบต่อการทำาประมงและรายได้ของพวกเขามากพอควร โดยเฉพาะกลุ่มชาวบ้านที่ทาำ ธุรกิจและจับกุ้งมังกรและ กั้ง เนื่องจากช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนสิงหาคมเป็น ช่วงที่พวกเขาจับกุ้งมังกรและกั้งได้มากที่สุด

ตารางที่ 5-6 รายได้จากการประมง (ปี 2557) หมู่บ้าน

จำานวน จำานวน จำานวนเรือ จำานวน ประชากร ชาวประมง (ลำา) เครื่องยนต์ดีเซล (ครัวเรือน) (ครัวเรือน) (เครื่อง)

จำานวน ตาข่าย (ปาก)

รายได้จากการประมง ระหว่างเดือนธันวาคม 2557 ถึงเดือน พฤศจิกายน 2558 (ยกเว้นช่วงฟื้นฟูสัตว์นำ้า 3 เดือน) (จั๊ต)

(33 จั๊ต = 1 บาท)

อังแตง

505

-

-

-

-

0

-

นิเกรอะ

241

22

23

23

20

256,800,000

7,781,818.18

กว๊านตะมอปึย

210

86

86

126

707 3,006,600,000

91,109,091.00

นินู่

363

-

-

-

-

0

-

ซายแกรม

136

-

-

-

-

0

-

บาลายแซม

111

-

-

-

-

0

-

กว๊านเกาะฮะรอย

รวม

48

24 1,590

108

109

ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติและความมั่งคั่ง ของชุมชนในเขตพะลึน รัฐมอญ ประเทศเมียนมา

149

727 3,263,400,000

98,890,909.09


1

2

ป่าชายเลนบริเวณปากแม่นำ้า นิเกรอะเป็นพื้นที่ที่มีความหลาก หลายทางชีวภาพสูง สิ่งมีชีวิตที่มัก พบเห็นในบริเวณนี้ ได้แก่

3

4

7

6

8

รายงานการศึกษาโดย ชุมชนท้องถิ่นพะลึน

49

บทที่ 5

5

1. นกยางเปีย (Egretta garzetta) 2. หอย 3. ใบพาย (Aegialitis rotundifolia) 4. ผักเบี้ยทะเล (Sesuvium portulacastrum) 5. โกงกางใบใหญ่ (Rhizophora mucronata) 6. แสมทะเล (Avicennia marina) 7. ลำาแพนหิน (Sonneratia griffiithii) 8. แสมดำา (Avicennia officinalis)


บทที่ 6 รายได้รวม จากการสำารวจและสัมภาษณ์ชาวบ้านพะลึน ตั้งแต่ เดือนมกราคม 2558 ถึงเดือนพฤศจิกายน 2558 รายได้ รวมต่อปีจากการปลูกหมาก ทำานาข้าวและประมงคิด เป็ น มู ล ค่ า 7,240,499,650 จั ๊ต หรื อ เที ย บเท่ า 219,409,080 บาท หมู่บ้านประมงกว๊านตะมอปึยมีรายได้รวม ตลอดปีคือ 3,182,450,000 จั๊ต (96,437,879 บาท) รายได้ส่วนใหญ่มาจากการทำาประมง หมู่บ้านอังแตงมี รายได้ ม ากเป็ น อั น ดั บ สองคื อ 1,650,193,650 จั ๊ต (50,005,868 บาท)รายได้ส่วนใหญ่มาจากการทำาสวน หมาก รองลงมาคือหมูบ่ า้ นประมงอีกแห่ง หมูบ่ า้ นนิเกรอะ

มีรายได้ตลอดปี 1,320,796,000 จั๊ต (40,024,121 บาท) หมู่บ้านซายแกรม หมู่บ้านนินู่ หมู่บ้านบาลายแซม มี รายได้รวมต่อปีคือ 601,905,500 จั๊ต (18,239,561 บาท), 355,805,000 จั๊ต (10,781,970 บาท) และ 124,449,500 จั๊ต (3,771,197 บาท) ตามลำาดับ หมูบ่ า้ น กว๊านเกาะฮะรอยเป็นหมู่บ้านที่เล็กที่สุด มีรายได้ต่อปี 4,900,000 จั๊ต (148,485 บาท) ตามตารางที่ 6-1 ร า ย ไ ด้ จ า ก ก า ร ป ร ะ ม ง ต่ อ ปี คิ ด เ ป็ น 3,263,400,000 จั๊ตต่อปี (98,890,909 บาท) ซึ่งเทียบ เท่ารายได้เกือบครึ่งหนึ่งของรายได้รวมทั้งหมด แจกแจง รายได้ตามผลผลิตอ้างอิงตารางที่ 6-2

ตารางที่ 6-1 รายได้ต่อปีของ 7 หมู่บ้านในพะลึนจากข้อมูลปี 2557-2558 ลำาดับที่ 1 2 3 4 5 6 7

หมู่บ้าน หมู่บ้านอังแตง หมู่บ้านนิเกรอะ หมู่บ้านกว๊านตะมอปึย หมู่บ้านนินู่ หมู่บ้านซายแกรม หมู่บ้านบาลายแซม หมู่บ้านกว๊านเกาะฮะรอย รวม

รายได้ต่อปี (จั๊ต) 1,650,193,650 1,320,796,000 3,182,450,000 355,805,000 601,905,500 124,449,500 4,900,000 7,240,499,650

รายได้ต่อปี (บาท) 50,005,868 40,024,121 96,437,879 10,781,970 18,239,561 3,771,197 148,485 219,409,080

ตารางที่ 6-2 รายได้ต่อปีของ 7 หมู่บ้านในพะลึนจาก 4 แหล่งรายได้คือ ประมง ข้าว หมากและผลไม้ ข้อมูลปี 2557-2558 ลำาดับที่ 1 2 3 4

แหล่งรายได้ ประมง ข้าว หมาก ผลไม้ รวม

50

รายได้ต่อปี (จั๊ต)

รายได้ต่อปี (บาท)

3,263,400,000 510,566,000 3,008,520,000 458,013,650

98,890,909 15,471,697 91,167,273 13,879,202

7,240,499,650

219,409,080

ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติและความมั่งคั่ง ของชุมชนในเขตพะลึน รัฐมอญ ประเทศเมียนมา


บทที่ 7 ประวัติหมู่บ้าน หมู่บ้านอังแตง นอกจากนี้ ประมงยังถือเป็นแหล่งรายได้ที่สำาคัญและ เป็นวิถีชีวิตของชุมชนริมนำ้า ปัจจุบันหมู่บ้านอังแตงกลายเป็นหมู่บ้านที่มี ฐานะทางเศรษฐกิจดี มีความเจริญรุ่งเรือง ในขณะนี้ ประชากรเพิ่มขึ้นมากถึง 500 กว่าครัวเรือน รวมทั้งมี แรงงานที่ยา้ ยถิ่นจากภาคกลางของประเทศเมียนมาเข้า มาเป็นแรงงานตามฤดูกาล อนาคตข้างหน้าของหมู่บา้ น อังแตงมีแต่ความสดใส เนื่องจากเพียบพร้อมไปด้วย ทรัพยากรธรรมชาติมากมาย ไม่ว่าจะเป็นสวนผลไม้ ไร่ นา หรือท้องทะเลอันอุดมสมบูรณ์ ที่ตั้ง - หมู่บ้านอังแตงตั้งอยู่บริเวณตีนภูเขาพะลึน ตั้ง อยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือจากตัวเมืองเยประมาณ 16 กิโลเมตร อยู่ในเขตเย ซึ่งเป็น 1 ใน 10 เขตของรัฐมอญ ผู้คน - มีประชากรทั้งหมด 505 ครัวเรือนหรือ 2,768 คน ประชากรร้อยละ 100 เป็นคนชาติพันธุ์มอญ ศาสนา - ประชากรทั้งหมดนับถือศาสนาพุทธ ใน หมู่บ้านอังแตงมีวัด 1 แห่ง เจ้าอาวาสคนปัจจุบันคือ Bandadhta Thila (Samasayiya) ถือเป็นเจ้าอาวาสรูป แรกที่เป็นคนหมู่บ้านอังแตงโดยกำาเนิด ท่านได้นำาคำา สอนของพระพุทธเจ้าและสืบทอดเจตนารมณ์อดีตเจ้า อาวาสทั้งหลายมาเผยแผ่แก่กับพระสงฆ์ สามเณร ตลอดจนคนในชุมชนเสมอมา เศรษฐกิจ - เศรษฐกิจที่สำาคัญของหมู่บ้านอังแตงคือ การทำานา การทำาสวนหมาก การขายผลผลิตทางการ รายงานการศึกษาโดย ชุมชนท้องถิ่นพะลึน

51

บทที่ 7

ในปี พ.ศ. 2441 กลุ่มชาวมอญนำาโดยอู เซน เดินทางมา ปักหลักในบริเวณใกล้พ้นื ที่หมู่บา้ นอังแตงในปัจจุบนั ใน ขณะนั้น พื้นที่แห่งนี้เต็มไปด้วยป่าไม้และป่าชายเลน ปกคลุมทั่วทั้งบริเวณข้างเคียงหมู่บ้านและกระจายตัว ออกไปเป็นแนวจนถึงชายฝั่งทะเล บริเวณท้ายหมู่บ้าน มีบึงนำ้าจืดขนาดใหญ่ซึ่งรองรับนำ้าที่ไหลมาจากแม่นำ้า แต่ในบางครั้งได้มนี าำ้ ทะเลไหลทะลักเข้าไปด้วยเช่นกัน บึงแห่งนี้เปรียบเสมือนบ้านตลอดทั้งปีของนก สัตว์ป่าและสัตว์นำ้านานาชนิด ในบางฤดู จะพบนก กระยางจำานวนมากเข้ามาอาศัยอยู่ในบริเวณนี้ จึงทำาให้ ชาวบ้ า นเรี ย กบึ ง แห่ ง นี ้ว่ า “บึ ง อั ง แตง” หรื อ บึ ง นก กระยาง แรกเริ่มกลุ่มคนที่เข้ามาตั้งรกรากในบริเวณนี้ มีด้วยกัน 5 ครอบครัว เป็นกลุ่มที่บุกเบิกทำาการเกษตร โดยเริ่มจากการถางป่าเพื่อเป็นพื้นที่เพาะปลูก อีกทั้งยัง ทำามาหากินโดยการทำาประมง หาของป่า ล่าสัตว์ป่า เนื่องจากพื้นที่ตรงนั้นมีความอุดมสมบูรณ์มาก ผู้คนเริ่มทยอยเข้ามาตั้งรกรากมากขึ้นทุกปี จนชุมชนมี ขนาดใหญ่พอที่จะตั้งเป็นหมู่บ้าน แต่เดิมหมู่บ้านนี้ถูก ตั้งชื่อเป็นภาษามอญว่า กว๊านอินตาย (Kwan In Dai) หรือ เง็ทจาอิน (Nget Kya Inn) ในภาษาพม่า จนล่าสุด มีการเปลี่ยนชื่อเป็น กว๊านอังแตง (Kwan In Din) หรือ ภาษาพม่าเขียนว่า อังแตง (Andin) นอกจากนี้ ยังมีคนจากภาคกลางของประเทศ เมียนมาจำานวนมาก ย้ายเข้ามาอยู่อาศัยในหมู่บา้ นด้วย เช่นกัน สมัยก่อนเมื่อร้อยปีท่แี ล้ว ชาวบ้านเลี้ยงชีพด้วย การทำานาเพียงอย่างเดียว ต่อมาชาวบ้านทำาการเกษตร ที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น ได้แก่ สวนหมากและยางพารา


วัดอังแตง

โรงเรียนใน หมู่บ้านอังแตง 52

ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติและความมั่งคั่ง ของชุมชนในเขตพะลึน รัฐมอญ ประเทศเมียนมา


ประมง โดยแหล่งรายได้ที่สำาคัญที่สุดของชาวบ้านอัง แตงคือ การทำาสวนหมากและขายผลผลิตต่างๆ ที่ได้ จากสวน หมู่บ้านอังแตงส่งออกหมากจำานวนมหาศาล ไปทั่วประเทศเมียนมา ผลไม้ท่มี ชี ่อื ว่า Duya Danyin ซึ่ง เป็นผลไม้ยอดนิยมในย่างกุ้งและหลายๆ เมืองก็มาจาก ที่นี่ด้วยเช่นกัน

การศึกษา - เมื่อปี พ.ศ. 2502 มีการตั้งโรงเรียนประถม ศึกษาขึ้นในหมู่บ้าน หลังจากปี พ.ศ. 2514 โรงเรียนได้ ยกระดับการเรียนการสอนและเพิ่มหลักสูตรการศึกษา ให้เป็นชั้นประถมศึกษาถึงระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

สาธารณสุข - หมู่บ้านอังแตงมีสถานพยาบาลของรัฐ มีพยาบาลผดุงครรภ์ที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล กลาง และพรรครัฐมอญใหม่ยังส่งเจ้าหน้าที่เข้ามาให้ บริการทางด้านสาธารณสุขอีกด้วย สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ - หมู่บ้านอังแตงมีเจดีย์หนึ่งองค์ซึ่ง สร้างเมื่อ 100 กว่าปีท่แี ล้ว ตั้งอยู่บนภูเขาทางตะวันออก ของหมู่บา้ น ได้รบั การบูรณะขึ้นมาใหม่และยังคงเป็นที่ เคารพสักการะของชาวบ้านจนถึงทุกวันนี้ และยังมี เจดีย์อีกหนึ่งองค์ตั้งอยู่บริเวณหน้าวัดอังแตง สร้างขึ้น เพื่อฉลองโอกาสครบรอบ 2500 ปีของพระพุทธศาสนา ผู้เฒ่าผู้แก่เล่ากันว่า ในบางคราวเจดีย์องค์นี้จะเปล่ง ประกายสว่างไสวราวกับเกิดปาฏิหาริย์

หมายเหตุ - ชาวบ้านใช้ปฏิทินพม่าในการอ้างอิงช่วงเวลา ทางผู้แปลจึงเทียบปีพุทธศักราชกับปีของพม่า ซึ่งปีพม่า 1259 จะเท่ากับปี พ.ศ. 2441

รายงานการศึกษาโดย ชุมชนท้องถิ่นพะลึน

53

บทที่ 7

สังคม - เมื่อมีกิจกรรมหรืองานประเพณี คนในหมู่บ้าน จะร่วมแรงร่วมใจช่วยเหลือกันเสมอ ไม่ว่าจะเป็น การ ขึ้นบ้านใหม่ งานแต่งงาน หรืองานศพ มีการระดมทุน กันเพื่อซื้อรถมาใช้ในการทำาพิธีศพ โดยเจ้าอาวาสจะ คอยทำาหน้าที่ให้คำาปรึกษา ชาวบ้านยังได้จัดตั้งกลุ่ม ทำางานบริการให้ชุมชน เมื่อปี พ.ศ. 2555 ชาวบ้านได้ รวบรวมเงินไปซื้อรถพยาบาลประจำาหมู่บ้านเพื่อเอาไว้ ใช้ในยามฉุกเฉิน นอกจากนี้ชาวบ้านอังแตงที่ทาำ งานอยู่ ในประเทศมาเลเซีย ได้ช่วยกันบริจาคเงินทุนในการ สร้างอนุสาวรีย์ที่ตั้งอยู่ใจกลางหมู่บ้านอีกด้วย และวัน เข้าพรรษาในปี พ.ศ. 2557 ชาวบ้านร่วมกันบริจาคข้าว ให้แก่ผ้ดู อ้ ยโอกาส ซึ่งเป็นการบริจาคครั้งที่ 6 ในช่วงเข้า พรรษา เหตุการณ์ท่กี ล่าวมาทั้งหมดล้วนแสดงถึงความ เป็นนำา้ หนึ่งใจเดียวของชาวหมู่บา้ นอังแตงได้เป็นอย่าง ดี

และในปี พ.ศ. 2555 ทางโรงเรียนได้ขยายหลักสูตร จนถึงระดับมัธยมศึกษาตอนปลายตามจำานวนนักเรียน ที่เพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้หมู่บ้านอังแตงยังมีโรงเรียนอีกหนึ่งแห่ง โรงเรียนแห่งนี้เป็นโรงเรียนมอญก่อตัง้ ขึ้นเมือ่ ปี พ.ศ. 2514 เพือ่ รักษาและสืบทอดวัฒนธรรมและภาษามอญ โรงเรียนแห่งนี้ขยายเป็นโรงเรียนที่มีหลักสูตรถึงระดับ มัธยมศึกษาตอนต้นเมื่อปี พ.ศ. 2528 และเพิ่มหลักสูตร ระดับมัธยมศึกษาปลายเมื่อปี พ.ศ. 2543 ตามคำา แนะนำาของพรรครัฐมอญใหม่ ดังนั้นในปัจจุบนั หมู่บา้ น อังแตงจึงมีโรงเรียนตามหลักสูตรระดับมัธยมศึกษา ตอนปลายอยู่ถึง 2 แห่งด้วยกัน


หมู่บ้านกว๊านตะมอปึย เมื่อปี พ.ศ. 2461 มีครอบครัวจำานวน 7 ครอบครัวด้วย กั น ที ่ช่ ว ยกั น ก่ อ ตั ้ง หมู ่บ้ า นกว๊ า นตะมอปึ ย ได้ แ ก่ ครอบครัวนายแหม่และมีอายลัย, ครอบครัวนายทางิด และมีมาจี, ครอบครัวนายฉ่วยงาและมีอายโอน, ครอบ ครัวนายบยูและมีอายลิน, ครอบครัวนายยิทและมีอาย เมียน, ครอบครัวนายพันและมีอายนอง และครอบครัว มีอายยา หมู่บ้านกว๊านตะมอปึยเดิมชื่อว่า “งาอิน” ซึ่ง ตั้งตามชื่อบึงยาวที่ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของหมู่บ้าน แต่ ด้วยที่ตั้งของหมู่บ้านอยู่ใกล้หมู่บ้านอังแตง หมู่บ้านนี้ จึงมักถูกเรียกว่า “กว๊านตะมอปึย” ซึ่งมีความหมายว่า “หมู่บ้านอังแตงใหม่”

54

ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติและความมั่งคั่ง ของชุมชนในเขตพะลึน รัฐมอญ ประเทศเมียนมา

ทีต่ งั้ - หมู่บา้ นกว๊านตะมอปึยตั้งอยู่รมิ ทะเลและอยู่หา่ ง จากหมู่บ้านอังแตงไปทางตะวันตก 1 กิโลเมตร ประชากร - ชาวบ้านทั้งหมดเป็นคนมอญ มีแรงงาน จากภูมิภาคอื่นของประเทศเมียนมาเข้ามาทำางานและ อยู่อาศัยเป็นครั้งคราวในบางฤดูกาล ศาสนา - ชาวบ้านส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ มีวัดใน หมู่บ้านอยู่ 1 แห่ง สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2473 และมี อุโบสถในวัดที่ก่อสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2478 การศึกษา - โรงเรียนประถมชาติมอญในหมู่บ้านสร้าง ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2536 โรงเรียนประถมของรัฐสร้างขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ. 2557 และยกระดับเป็นโรงเรียนมัธยมเมือ่ ปี พ.ศ. 2558


หมู่บ้านนิเกรอะ หมู่บ้านนิเกรอะตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2423 โดยคนมอญ นำาโดยนายทุนออง ในช่วงที่ก่อตั้งหมู่บ้าน ชาวบ้านได้ แผ้วถางป่าเพื่อทำาเป็นพื้นที่เกษตร โดยชาวบ้านยึด การเกษตรเป็ น อาชี พ หลั ก เพราะที ่ดิ น บริ เ วณนี ้อุ ด ม สมบูรณ์มาก ชาวบ้านสร้างท่าเรือไว้ทางตะวันออกของ หมู่บ้าน เพื่อขนส่งข้าวออกไปที่อื่น ท่าเรือนี้มีชื่อภาษา มอญว่า “นิเซาะ” แปลว่า ท่าเรือข้าว ส่วนในภาษาพม่า จะมีชื่อเรียกว่า “ซาบาเซน” ทั้งนี้หมู่บ้านนิเกรอะตั้งอยู่ ใกล้ปากแม่นำ้านิเกรอะ และเนื่องจากแม่นำ้านิเกรอะอยู่ ใกล้ ท ะเลและได้ รั บ อิ ท ธิ พ ลความเค็ ม จากนำ้ า ทะเล บริเวณนั้นจึงมีป่าชายเลนผืนใหญ่เรียงรายทั้งสองฝั่ง แม่นำ้า ที่บริเวณท่าเรือมีต้นมะม่วงใหญ่อยู่หนึ่งต้น บางคนเลยเรียกท่าเรือนี้เป็นภาษามอญว่า “นิเกรอะ” แปลว่า ท่าเรือมะม่วง หรือ “เนียนเกรอะ”

ที่ ตั้ ง - หมู ่บ้ า นนิ เ กรอะอยู ่ห่ า งจากหมู ่บ้ า นอั ง แตง ประมาณ 1.6 ไมล์ (2.6 กิโลเมตร) แม่นำ้าใกล้หมู่บ้าน เป็นแม่นำ้าที่ไหลลงสู่ทะเล ประชากร - มีประชากรอยู่ 241 ครัวเรือนหรือ 646 คน ชาวบ้านส่วนใหญ่เป็นคนมอญ มีชาวประมงบางส่วนที่ อพยพมาจากภูมิภาคอื่นของประเทศเมียนมา ศาสนา - ชาวบ้านทั้งหมดนับถือศาสนาพุทธ วัดใน หมูบ่ า้ นก่อสร้างขึน้ เมือ่ ปี พ.ศ. 2428 อุโบสถไจ๊บาโมกว๊าน ตั้งอยู่ทางตะวันออกของหมู่บ้าน วิถีชีวิต - การทำานาถือเป็นอาชีพหลักของชาวบ้าน นอกจากนั้นแล้วยังมีการทำาสวนหมากและประมงอีก ด้วย

รายงานการศึกษาโดย ชุมชนท้องถิ่นพะลึน

55

บทที่ 7

การศึกษา - โรงเรียนประถมชาติมอญก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2521 โรงเรียนประถมของรัฐก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2525


หมู่บ้านนินู่ เมื่อปี พ.ศ. 2433 หมู่บ้านนินู่ถูกก่อตั้งขึ้นโดยนายหล่อ พร้อมกับชาวบ้านอีก 6 ครอบครัวในเวลานั้น เทือกเขา พะลึนปกคลุมไปด้วยป่าไม้เขียวชอุ่มและเต็มไปด้วย สัตว์ปา่ นานาชนิด และบริเวณโดยรอบหมู่บา้ นมีปา่ ชาย เลนและสัตว์ทะเลอีกจำานวนมาก ชาวบ้านส่วนใหญ่ทาำ มาหากินโดยการทำานา ผู้คนจากนอกหมู่บา้ นทยอยย้าย เข้ามาอยู่อาศัยในหมู่บ้านนินู่มากขึ้นเพราะมีดินและ ป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ และอยู่ใกล้ทะเล ง่ายต่อการทำา มาหากิน หลังจากนั้น หมู่บ้านนินู่ก็ค่อยๆ ขยายขึ้นจน กลายเป็นหมู่บ้านขนาดใหญ่ ในอดีตเคยมีท่าเรือตั้งอยู่ทางตะวันออกของ หมู่บ้าน ตรงท่าเรือมีป้ายขนาดใหญ่ ท่าเรือนี้เลยมีชื่อ ภาษามอญว่า “นินู่” แปลว่า ท่าเรือที่มีป้ายขนาดใหญ่ ชาวบ้านเลยเรียกตัวหมู่บ้านว่า “นินู่” เช่นกัน

ที่ตั้ง - หมู่บ้านนินู่ตั้งอยู่ในเขตเย บริเวณเขิงเขาพะลึน ห่างจากตัวเมืองเย 8 ไมล์ (13 กิโลเมตร) ประชากร - มีประชากรอยู่ทั้งหมด 363 ครัวเรือน หรือ 1,378 คน ชาวบ้านทั้งหมดเป็นคนมอญ ศาสนา - ชาวบ้านส่วนใหญ่นบั ถือศาสนาพุทธ ชาวบ้าน ร่วมกันสร้างวัดในหมู่บา้ นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2470 และ สร้างวัดแห่งที่สองเมื่อปี พ.ศ. 2523 วัดตั้งอยู่ทางทิศใต้ และทิศเหนือของหมู่บ้าน วิถชี วี ติ - การทำานาและสวนถือเป็นอาชีพหลักของชาว บ้าน โดยเฉพาะการทำาสวนหมากบนเทือกเขาพะลึน สาธารณสุข - คลินิกหมู่บ้านเปิดทำาการครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2551 มีหมอประจำาหมู่บ้านอยู่ 1 คน

56

ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติและความมั่งคั่ง ของชุมชนในเขตพะลึน รัฐมอญ ประเทศเมียนมา


หมู่บ้านซายแกรม หมู่บ้านซายแกรม หรือหมู่บ้านธากาแรมในภาษาพม่า ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2441 ห่างจากเมืองเย 10.5 ไมล์ (17 กิโลเมตร) ในอดีต หมู่บา้ นซายแกรมมีตน้ ไม้ใหญ่และรัง ผึ้งจำานวนมาก โดยเฉพาะในสุสาน หมู่บ้านซายแกรม เป็นชื่อภาษามอญ แปลว่า หมู่บ้านรังผึ้ง หมู่บา้ นซายแกรมมีประชากรอยู่ 125 ครัวเรือน

หรือ 698 คน ชาวบ้านสร้างวัดในหมู่บ้านขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2525 และสร้างอุโบสถทรายขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2472 แล้ว ตกแต่งบำารุงใหม่ด้วยอิฐเมื่อปี พ.ศ. 2537 โรงเรียนประถมชาติมอญในหมู่บ้านสร้างขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 2530 หลังจากนั้น 18 ปี โรงเรียนชาติมอญ เปลี่ยนเป็นโรงเรียนประถมของรัฐ

บทที่ 7

รายงานการศึกษาโดย ชุมชนท้องถิ่นพะลึน

57


หมู่บ้านบาลายแซม เมื่อปี พ.ศ. 2463 ชาวสวนจำานวนมากกระจายตัวทำา สวนอยู่ทั่วบริเวณนี้ หลังจากนั้น ชาวสวนเหล่านั้นรวม กลุ่มกันสร้างศาลาอุปสมบทลอยนำ้าขึ้นในบริเวณนั้น ต่อมาในปี พ.ศ. 2471 มีครอบครัวจำานวน 7 ครอบครัวย้ายมาตั้งรกรากใกล้ๆ บริเวณศาลาอุปสมบท ลอยนำ้าและตั้งหมู่บ้านใหม่ตามชื่อของศาลาอุปสมบท ดังกล่าว หมู่บ้านแห่งนี้จึงกลายเป็น “หมู่บ้านบาลาย แซม” หมายถึง หมู่บ้านศาลาอุปสมบทลอยนำ้า

ทีต่ งั้ - ตั้งอยู่บริเวณเชิงเขาพะลึน อยู่หา่ งจากตัวเมืองเย ประมาณ 8 ไมล์ (ประมาณ 13 กิโลเมตร) ประชากร - มีประชากรอยู่ 111 ครัวเรือน รวม 498 คน ประชากรทั้งหมดเป็นคนมอญ ศาสนา - ชาวบ้านหมู่บ้านบาลายแซมส่วนมากนับถือ ศาสนาพุทธ วัดในหมู่บ้านสร้างขึ้นมาเมื่อปี พ.ศ. 2491 วิถชี วี ติ - ชาวบ้านหมู่บา้ นบาลายแซมมีรายได้หลักจาก การทำาสวนหมากและนาข้าว การศึกษา - หมู่บา้ นบาลายแซมมีโรงเรียนชาติมอญมา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2515 สาธารณสุข - มีหมอท้องถิ่นจากหมู่บ้านนินู่ ซึ่งเป็น หมู่บ้านที่อยู่ใกล้เคียง เป็นผู้รักษาชาวบ้านในหมู่บ้าน ที่เจ็บไข้

58

ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติและความมั่งคั่ง ของชุมชนในเขตพะลึน รัฐมอญ ประเทศเมียนมา


หมู่บ้านกว๊านเกาะฮะรอย หมู่บ้านกว๊านเกาะฮะรอยเป็นชื่อภาษามอญมีชื่อเรียก เป็นภาษาพม่าว่า “เย ปอ ตอง” หมู่บ้านแห่งนี้ก่อตั้งขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 2531 หมู่บ้านกว๊านเกาะฮะรอยตั้งอยู่ทางตะวันตก เฉียงเหนือของตัวเมืองเย อยู่ห่างจากหมู่บ้านอังแตง 1 ไมล์ (1.6 กิโลเมตร) และเป็นหมู่บ้านในกลุ่มหมู่บ้าน อังแตง ในอดีต บริเวณใกล้เคียงหมู่บ้านกว๊านเกาะ ฮะรอยมีตน้ สนทะเลอยู่เป็นจำานวนมาก หมู่บา้ นจึงมีช่อื ตามชื่อต้นสนทะเลในภาษามอญ

หมู่บ้านกว๊านเกาะฮะรอยมีประชากรอยู่ 24 ครัวเรือน รวม 116 คน ชาวบ้านส่วนใหญ่เป็นคนมอญ และบางส่วนเป็นแรงงานอพยพมาจากพื้นที่อื่น การทำามาหากินหลักของชาวบ้านที่นี่ คือ การ ทำานาและหาปลา ชาวบ้านส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ วัดแห่ง แรกของหมู่บ้านก่อสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2529 วัดแห่งที่ สองก่อสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2542 และมีเจดีย์อีก 1 แห่ง ก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2501

บทที่ 7

รายงานการศึกษาโดย ชุมชนท้องถิ่นพะลึน

59


บทที่ 8 การเคลื่อนไหวของชุมชนในการ คัดค้านโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหิน สรุปเหตุการณ์

เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2557 ตัวแทนจาก บริษัท ทีทีซี แอล จำากัด (มหาชน) (เดิมคือบริษัท โตโย-ไทย คอร์ป เปอร์เรชั่น จำากัด (มหาชน)), กระทรวงไฟฟ้ารัฐมอญและ สภารัฐมอญ เดินทางเข้ามาที่หมู่บา้ นอังแตง โดยที่คณะ ตัวแทนดังกล่าวเข้าพบชาวบ้านและแจ้งว่าจะมีการ สร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินในบริเวณหมู่บ้านอังแตง ชาว บ้านในชุมชนไม่ชอบโครงการดังกล่าวจึงไม่ได้แสดง ท่าทียอมรับหรือเห็นด้วยกับโครงการ นับตั้งแต่นั้นมา ชาวบ้านทำาการค้นหาข้อมูล เพิ่มเติมเกี่ยวกับตัวโครงการและผลกระทบจากโรง ไฟฟ้าถ่านหิน เพราะพวกเขาไม่ชอบและไม่ต้องการให้ มีโรงไฟฟ้าถ่านหินในชุมชน และได้แสดงเสียงคัดค้าน โครงการเรื่อยมา วันที่ 3 มิถุนายน 2557 เจ้าหน้าที่ของบริษัท ต่ า งชาติ แ ห่ ง หนึ ่ง เข้ า ไปในพื ้น ที ่ห มู ่บ้ า นเพื ่อ ทำ า การ ศึกษาในบริเวณริมชายฝั่งทะเลเป็นระยะเวลา 1 เดือน ทางบริษทั ไม่ได้บอกชื่อบริษทั ให้ชาวบ้านทราบ และไม่ ได้ระบุเหตุผลในการเข้ามาของพวกเขา หลังจากนั้น ชาวบ้านพบว่า บริษัทดังกล่าวเข้ามาเพื่อทำาการศึกษา เบื้องต้นของโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินที่ชาวบ้านกำาลัง คัดค้านอยู่

60

ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติและความมั่งคั่ง ของชุมชนในเขตพะลึน รัฐมอญ ประเทศเมียนมา

วันที่ 5 กันยายน 2557 รัฐบาลของรัฐมอญ สั่งห้าม บมจ. ทีทีซีแอล ดำาเนินการศึกษาความเป็นไป ได้ของโครงการ เนื่องจากช่วงเวลาในการสำารวจและ ศึกษาหมดไปแล้วตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคม 2557 ทั้งนี้ ได้สง่ หนังสือสัง่ ห้ามไปที่สาำ นักงานบริหารของเขตเมือง เมาะลัมใยและสำานักงานบริหารของเขตเยด้วย วันที่ 14 ธันวาคม 2557 ชาวบ้านกว่า 400 คนร่วมกับองค์กรเยโซเชียลโซไซตี้ (Ye Social Society - YSS) เดินขบวนประท้วงโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินใน เมืองเย วันที่ 9 เมษายน 2558 บมจ. ทีทีซีแอล ลง นามบันทึกข้อตกลงกับกระทรวงพลังงานไฟฟ้า (MOA) เพือ่ ดำาเนินการโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหิน อย่างไรก็ตาม ชาวบ้านไม่ได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับการลงนามครั้งนี้ วันที่ 5 พฤษภาคม 2558 ประชาชนกว่า 6,000 คนรวมตัวกันประท้วงโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหิน ที่หมู่บ้านอังแตงในเขตพะลึน วันที่ 9 พฤษภาคม 2558 ประธาน บมจ. ทีที ซีแอล พร้อมคณะเจ้าหน้าที่และตัวแทนบริษัท วินยอง ชีอู (Win Yaung Chi Oo) เดินทางไปที่วัดอังแตง เมื่อ คนในชุมชนได้ยินข่าวว่า จะมีตัวแทนของ บมจ. ทีทีซี แอล เดินทางเข้ามาที่วัด ชาวบ้านจึงนัดรวมตัวกัน ประท้วงคัดค้านโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหิน


เราไม่ต้องการโรงไฟฟ้าถ่านหิน

แผนที่ภัยคุกคามต่อ ทรัพยากรธรรมชาติและชุมชนพะลึน รายงานการศึกษาโดย ชุมชนท้องถิ่นพะลึน

61


ลำดับเหตุการณ์ ับเหตุการณ์

1. ในปี พ.ศ. 2556 บมจ. ทีทซี แี อล ลงนามบันทึกความ เข้าใจ (MOU) กับกระทรวงพลังงานไฟฟ้าเพื่อ พัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินในพื้นที่บริเวณ หมู่บ้านอังแตง แต่ชุมชนไม่ได้รับทราบการลงนาม ดังกล่าว 2. ต้นปี พ.ศ. 2557 ผู้จัดการโครงการ บมจ. ทีทีซีแอล เดินทางไปที่หมู่บา้ นนิเกรอะและเข้าพบพระสงฆ์ 4 รูปและเจ้าหน้าที่จากหมู่บ้านอังแตงเพื่อขอพื้นที่ จำานวน 200 เอเคอร์ (500 ไร่) ทางบริษัทยังได้มอบ รายงานการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการโรง ไฟฟ้าถ่านหินเย (Feasibility Study of Ye Coalfired Power Plant) จำานวน 6 เล่ม ให้เจ้าอาวาสวัด โดยที่เนื้อหาของรายงานเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด 3. วันที่ 23 เมษายน 2557 โครงการความโปร่งใสใน อุตสาหกรรมสกัดทรัพยากรธรรมชาติแห่งประเทศ เมียนมา (Myanmar Extractive Industries Transparency - Myanmar EITI) เข้ามาจัดอบรมให้ความ รูช้ มุ ชนเกีย่ วกับโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินทีว่ ดั อังแตง 4. วันที่ 25 เมษายน 2557 บมจ. ทีทีซีแอล จัดประชุม ประชาสัมพันธ์โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินในหมู่บา้ น อังแตง ชาวบ้านเรียกร้องให้ทางบริษทั แปลรายงาน การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการโรงไฟฟ้า ถ่านหินเยเป็นภาษามอญ แต่ทางบริษัทไม่ได้แปล เอกสารตามความต้องการของชาวบ้าน และทาง บริษัทขอรายงานทั้ง 6 เล่มคืนจากเจ้าอาวาสและ นำาติดตัวกลับไปด้วย ชาวบ้านจำานวนมากไม่เห็น ด้วยกับโครงการและไม่ยินยอมให้มีการสร้างโรง ไฟฟ้าถ่านหิน ชาวบ้านอธิบายว่าทางบริษัทไม่ได้ ชี้แจงข้อมูลโครงการให้ชาวบ้านได้รับรู้เท่าที่ควร 5. ช่วงเช้าวันที่ 26 เมษายน 2557 YSS และ HURFOM เข้าพบชาวบ้านที่หมู่บา้ นอังแตงและอธิบายผลกระ ทบของโรงไฟฟ้าถ่านหิน และในช่วงเย็นรัฐมนตรี พลังงานไฟฟ้าแห่งรัฐมอญ นาย ลาวีออง (Nai Lawi Ong) เดินทางเข้าหมู่บ้านอังแตงเพื่อเข้าพบเจ้า อาวาสและดูพื้นที่โครงการ 6. วันที่ 11 พฤษภาคม 2557 ชาวบ้านเชิญองค์กร 62

ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติและความมั่งคั่ง ของชุมชนในเขตพะลึน รัฐมอญ ประเทศเมียนมา

พัฒนาทวาย (Dawei Development Association - DDA) มาที่หมู่บา้ นอังแตงเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ เกี ่ย วกั บ ผลกระทบของโรงไฟฟ้ า ถ่ า นหิ น และ โครงการท่าเรือนำ้าลึกทวาย 7. วันที่ 12 พฤษภาคม 2557 มี นีนซี าน (Mi Ni Ni San) ผู้จดั การโครงการ บมจ. ทีทซี แี อล เข้าพบเจ้าอาวาส วัดอังแตง 8. วันที่ 17 พฤษภาคม 2557 นาย แบยาแล (Nai Barya Lae) หัวหน้าเขตประจำาเขตทวายแห่งพรรค มอญใหม่ (New Mon State Party - NMSP) เดิน ทางมาพบชาวบ้านอังแตงและให้คำามั่นสัญญาว่า พรรคมอญใหม่จะเคารพเสียงประชาชน 9. วันที่ 24 พฤษภาคม 2557 ชาวบ้านอังแตงเชิญ โครงการความโปร่งใสในอุตสาหกรรมสกัดฯ (EITI) และ องค์กรพัฒนาทวาย (DDA) เข้าร่วมประชุมกับ ชาวบ้านที่วัดนิเกรอะ ที่ประชุมได้มีการรวบรวม เหตุผลของชาวบ้านในการคัดค้านโครงการโรง ไฟฟ้าถ่านหินไว้ดว้ ย (ดู “ข้อกังวล 10 ประการหน้า 69) 10. วันที่ 31 พฤษภาคม 2557 ซาย แกซาย (Sai Khae Sai) จากองค์กร Ethnic Community Development Forum - ECDF จัดอบรมเรื่องการปกป้องสิ่ง แวดล้อมที่หมู่บ้านอังแตง 11. ต้นเดือนมิถุนายน 2557 บริษัทท้องถิ่นขนาดเล็ก แห่งหนึ่งซื้อที่ดินในบริเวณใกล้พื้นที่โครงการโรง ไฟฟ้าถ่านหิน ทางบริษทั ระบุวา่ จะเลี้ยงปลาและกุ้ง ในที่แปลงดังกล่าว ในเวลาต่อมา บริษัทเปลี่ยนชื่อ บริษัทเป็น บริษัท วินยองชีอู (Win Yaung Chi Oo) และทำางานให้ความร่วมมือกับ บมจ. ทีทีซีแอล 12. ต้นเดือนมิถนุ ายน 2557 สมาชิกกลุ่ม YSS กว่า 100 คนจัดกิจกรรมเดินรณรงค์ "เราไม่เอาถ่านหิน" ใน ตัวเมืองเย พร้อมแจกเอกสารรณรงค์เกี่ยวกับผล กระทบของถ่านหินและโรงไฟฟ้าถ่านหินให้ชาวบ้าน ที่อยู่อาศัยใกล้พื้นที่โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหิน 13. วันที่ 3 มิถุนายน 2557 บริษัทต่างชาติแห่งหนึ่งเข้า สำารวจบริเวณชายฝั่งทะเลเป็นเวลาเกือบหนึ่งเดือน แต่ บมจ. ทีทซี แี อล ไม่เคยกล่าวถึงการเข้ามาสำารวจ


แผนโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินที่ เสนอโดย บมจ. ทีทีซีแอล

แผนภาพแสดงผลกระทบด้าน สุขภาพจากโรงไฟฟ้าถ่านหิน

รายงานการศึกษาโดย ชุมชนท้องถิ่นพะลึน

63


พื้นที่ของบริษัทต่างชาติดังกล่าว หรือชี้แจงเหตุผล ของการสำารวจเลย 14. วันที่ 8 มิถุนายน 2557 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จากเขตชอง์โซน ดร. อองนายอู (Dr. U Aung Naing Oo) เข้าร่วมประชุมและพบปะกับชาวบ้าน คณะ สงฆ์และเจ้าหน้าที่รัฐประจำาเขต (Township) ผล จากที่ประชุมระบุว่า จากจำานวนผู้เข้าร่วมประชุม ทั้งหมด 216 คน มีคนที่ไม่เห็นด้วยกับโครงการโรง ไฟฟ้าถ่านหินจำานวน 206 คน คนที่เห็นด้วย 4 คน และคนที่ไม่ตัดสินใจอีก 6 คน 15. วันที่ 13 มิถุนายน 2557 ที่ทำาการพรรคมอญใหม่ ออกแถลงการณ์ฉบับที่ 2/2014 แสดงเจตจำานง คัดค้านโครงการใดๆ ที่จะทำาลายชุมชนท้องถิ่น 16. วันที่ 13 มิถนุ ายน 2557 สส. ดร. อองนายอู ประธาน คณะกรรมการพิจารณาโครงการธุรกิจแห่งสภารัฐ มอญ รวบรวมข้อมูลจากการประชุมเมื่อวันที่ 7 มิ ถุ น ายน และยื ่น เอกสารพร้ อ มภาพถ่ า ยและ วี ดี ทั ศ น์ แ สดงเสี ย งคั ด ค้ า นโครงการโรงไฟฟ้ า ถ่านหินของชุมชนท้องถิ่นเข้าที่ประชุมสภารัฐมอญ ซึง่ ประกอบไปด้วยประธานสภารัฐมอญและมุขมนตรี รัฐมอญ 17. เดือนสิงหาคม 2557 ชาวบ้านและสมาชิก YSS ร่วม ลงนามจดหมายคัดค้านโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหิน 18. วันที่ 5 กันยายน 2557 รัฐบาลท้องถิ่นรัฐมอญสั่ง ห้าม บมจ. ทีทซี แี อล ดำาเนินการศึกษาความเป็นไป ได้ของโครงการ เนื่องจากช่วงเวลาในการสำารวจ และศึกษาหมดไปแล้วตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคม 2557 ทั ้ง นี ้ไ ด้ ส่ ง หนั ง สื อ สั ่ง ห้ า มไปที ่สำ า นั ก งาน บริหารทั่วไปของเขตเมืองเมาะลัมใยและสำานักงาน บริหารของเขตเยด้วย 19. วันที่ 7 กันยายน 2557 กลุ่มเยาวชนมอญ (Mon Youth Forum - MYF) ส่งหนังสือคัดค้านโครงการ โรงไฟฟ้าถ่านหินถึงรัฐสภาท้องถิ่นรัฐมอญ 20. วันที่ 5 ตุลาคม 2557 นาย ลาวีออง (Nai Lawi Ong) รัฐมนตรีพลังงานไฟฟ้าแห่งรัฐมอญ, นาย แบยา อองโม (Nai Barya Aung Moe) สมาชิกสภาผู้แทน ราษฎรจากเขตเย, นาย มินเต็งฮัน (Nai Min Thein Han) และ มี เมียนทัน (Mi Myint Than) เดินทาง 64

ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติและความมั่งคั่ง ของชุมชนในเขตพะลึน รัฐมอญ ประเทศเมียนมา

เข้าหมู่บ้านเพื่อจัดเวทีประชุมสาธารณะ อย่างไร ก็ตาม ชาวบ้านไม่เห็นด้วยกับการจัดประชุม ทั้งนี้ ตัวแทนหน่วยงานเข้าพบเจ้าอาวาสเพื่ออธิบาย ประโยขน์ของโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินพร้อมระบุวา่ บมจ. ทีทีซีแอล ได้ยกเลิกโครงการแล้ว 21. วันที่ 10 ตุลาคม 2557 ชาวบ้านคนหนึ่งที่สนับสนุน โครงการโรงไฟฟ้ า ถ่ า นหิ น ยื ่น เอกสารสนั บ สนุ น โครงการพร้อมลายเซ็นของชาวบ้านคนอื่นๆ ต่อ หน่วยงานภาครัฐ แต่ภายหลังพบว่า เอกสารดัง กล่าวเป็นเอกสารเท็จ โดยมีการแอบอ้างชื่อของชาว บ้านที่เสียชีวติ แล้วและชาวบ้านที่ไปทำางานในต่าง ประเทศรวมอยู่ด้วย 22. วันที่ 10 ธันวาคม 2557 บมจ. ทีทีซีแอล จัดทริปดู โรงไฟฟ้าถ่านหินทีญ ่ ป่ี นุ่ เป็นเวลา 8 วัน โดยมีพระสงฆ์ จำานวน 3 รูป ชาวบ้าน 4 คน ตัวแทนจากรัฐสภามอญ สื่อและตัวแทนจากบริษัท วินยองชีอู ร่วมทริปด้วย 23. วันที่ 14 ธันวาคม 2557 ชาวบ้านกว่า 400 คนร่วม กับองค์กร YSS เดินขบวนประท้วงโครงการโรง ไฟฟ้าถ่านหินในเมืองเย 24. วันที่ 15 ธันวาคม 2557 คณะสงฆ์และชาวบ้านเขต พะลึนเข้าพบประธานรัฐสภา มุขมนตรีและสมาชิก สภาผู ้แ ทนราษฎรแห่ ง รั ฐ มอญเพื ่อ เรี ย กร้ อ งให้ ทางการหยุดโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหิน มุขมนตรี แห่งรัฐมอญตอบว่า โครงการจะไม่สามารถดำาเนิน การต่อได้หากชุมชนไม่ยินยอม 25. วันที่ 15 ธันวาคม 2557 คณะสงฆ์ เจ้าหน้าที่รัฐ ประจำาหมู่บา้ นและกลุ่มเยาวชนในพะลึนยื่นคำาร้อง คัดค้านโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินพร้อมลายเซ็น ชาวบ้านทั้งหมด 6,702 รายชื่อ 26. วันที่ 19 ธันวาคม 2557 มีกลุ่มคนในนาม Global Environment Preservation Group จำานวน 7 คน เดินทางมาที่หมู่บ้านอังแตง เมื่อชาวบ้านถามว่า ทางกลุ่มมาทำาอะไรที่หมู่บา้ น ทางกลุ่มกลับไม่ตอบ คำาถามชาวบ้าน 27. วันที่ 22 ธันวาคม 2557 ชาวบ้านและพระสงฆ์ใน พะลึนกว่า 30 คนเข้าพบหัวหน้าและกรรมการพรรค รัฐมอญใหม่ที่สำานักงานใหญ่ของพรรคที่ เย-ชอง พะยา (Ye-Chaung Payar) เพื่อตรวจสอบจุดยืน


34. วันที่ 31 มกราคม 2558 HURFOM เปิดตัวภาพยนต์ สารคดีเรื่อง Touching the Fire เพื่อสื่อสารความ ขัดแย้งที่กำาลังก่อตัวขึ้นจากการเสนอทำาโครงการ โรงไฟฟ้าถ่านหินในเขตเยและเสียงคัดค้านของ ประชาชนในพื้นที่ สารคดีมีความยาว 38 นาที 35. วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2558 กลุม่ ศาสนานามว่า รามัญยะ สังฆะ โนกะฮะ (Rehmonya Sang-ga Note-ga-ha) ออกแถลงการณ์ร่ว มคัดค้านโครงการโรงไฟฟ้ า ถ่านหิน วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2558 YSS และองค์กร ชุ ม ชนตั ้ง คำ า ถามกั บ ความไม่ ช อบมาพากลของ หนังสือพร้อมรายชื่อชาวบ้านกว่า 6,000 รายชื่อที่ ส่งไปยังสำานักงานของประธานาธิบดีที่เมืองหลวง เนปิ ด อว์ หนั ง สื อ อ้ า งว่ า ชาวบ้ า นเห็ น ด้ ว ยกั บ โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินเพราะเหตุผล 3 ประการ คือ เป็นโครงการที่ใช้เทคโนโลยีประเภทอุลตร้า ซุปเปอร์คริตคิ ลั , จะผลิตกระแสไฟฟ้าและจำาหน่าย ในราคาย่อมเยา และจะสร้างอาชีพให้ชุมชน 36. วันที่ 10 มีนาคม 2558 ชาวบ้านจำานวน 35 คนที่ เคยลงนามสนับสนุนโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินจัด เวทีช้แี จงต่อสื่อมวลชนถึงเหตุผลเคยทำาให้พวกเขา สนับสนุนโครงการและเรียกร้องให้ YSS ช่วยให้คำา แนะนำาในการดำาเนินคดีกับกลุ่มคนที่โน้มน้าวให้ พวกเขาสนับสนุนโครงการ 37. วันที่ 8 เมษายน 2558 สส. ดร. อองนายอู ยื่น จดหมายคัดค้านโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินที่เยต่อ สภารัฐมอญ ซึ่งมีตัวแทนจากกระทรวงพลังงาน ไฟฟ้าในรัฐมอญร่วมอยู่ด้วย แต่ทางประธานสภา สมาชิกสภาท่านอื่นๆ หรือตัวแทนจากกระทรวง พลังงานไฟฟ้าไม่ให้การสนับสนุนอย่างชัดเจน 38. วันที่ 9 เมษายน 2558 บมจ. ทีทีซีแอล ลงนาม บันทึกข้อตกลง (MOA) กับกรมการวางแผนไฟฟ้า พลั ง นำ้ า กระทรวงพลั ง งานไฟฟ้ า เพื ่อ พั ฒ นา โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินขนาด 1,280 เมกะวัตต์ ประเภทอุลตร้าซุปเปอร์คริติคัล มูลค่าการลงทุน ประมาณ 2,800 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือเทียบเท่า 91,000 ล้านบาท มูลค่า EPC Contract ประมาณ 2,300 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จะใช้เวลาในการก่อสร้าง โครงการประมาณ 4-6 ปี รายงานการศึกษาโดย ชุมชนท้องถิ่นพะลึน

65

บทที่ 8

ของพรรคต่อโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหิน 28. วันที่ 27 ธันวาคม 2557 ชาวบ้านกว่า 500 คนลง นามคั ด ค้ า นโครงการโรงไฟฟ้ า ถ่ า นหิ น ในวั น เดี ย วกั น นั ้น บมจ. ที ที ซี แ อล จั ด การประชุ ม ประชาสัมพันธ์โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินประเภท อัลตร้าซุปเปอร์คริติคัลเป็นครั้งที่สอง ที่วัดโกยินเล (Ko Yin Lay) ซึ่งอยู่นอกเขตพะลึน 29. วันที่ 28 ธันวาคม 2557 กลุ่มเยาวชนมอญประกาศ จุดยืนคัดค้านโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินในงานวัน เยาวชนมอญที่หมู่บ้านนิพะดอ (Hnee Padaw Village) เขตมุดน (Mudon Township) 30. วันที่ 30 ธันวาคม 2557 นาย จี ซาน (Nai Kyi San) เลขาธิการพรรครัฐมอญใหม่ (Secretary of NMSP) ประจำาเขตทวาย, นาย เนียน ทุน (Nai Nyan Htun) ผู ้บั ง คั บ กองพั น และกองกำ า ลั ง ทหารมอญกู ้ช าติ (2nd colonel Battalion Commander), นาย ออง มา-แง (Nai Aung Ma-ngae) หัวหน้าพรรครัฐมอญ ใหม่ประจำาเขตทวาย และสมาชิกพรรครัฐมอญใหม่ กว่ า 20 คนประกาศสนั บ สนุ น ชาวบ้ า นในการ คัดค้านโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินในเขตเย ในงาน ประชุมครั้งนี้มีชาวบ้านเข้าร่วมสังเกตการณ์กว่า 600 คน ประกอบด้วยตัวแทนชาวบ้านพะลึน กลุ่ม รักษ์พะลึน (United Parlain Region Group) กลุ่ม YSS และสมาคมเยาวชนนิยมอ่านหนังสืออาลิน เอน (Ahlin Eain Association) 31. วันที่ 9 มกราคม 2558 ชาวบ้านหมู่บ้านอังแตงส่ง หนังสือคัดค้านโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินและร้อง เรียนการกระทำ าที่ไร้ความโปร่งใสของบริษัทถึง บมจ. ทีทีซีแอล 32. วันที่ 12 มกราคม 2558 YSS ส่งคำาร้องคัดค้าน โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินถึงองคมนตรีรัฐมอญ พร้อมลายเซ็นชาวบ้านกว่า 4,000 รายชื่อ 33. วันที่ 25 มกราคม 2558 พรรครัฐมอญใหม่และกอง กำ า ลั ง ทหารมอญกู ้ช าติ อ อกแถลงการณ์ ว่ า สถานการณ์ในรัฐมอญยังมีความไม่สงบและไม่ เหมาะในการทำาโครงการพัฒนาใดๆ ทั้งนี้ทางพรรค และกองกำาลังได้ประกาศคัดค้านโครงการโรงไฟฟ้า ถ่านหินร่วมกับประชาชนด้วย


39. วันที่ 30 เมษายน 2558 คณะสงฆ์ เจ้าหน้าที่รฐั ท้อง ถิ่น ผู้ทรงคุณวุฒิและชาวบ้านจากเขตพะลึนยื่น จดหมายคัดค้านโครงการถึงประธานาธิบดี 40. วันที่ 4 พฤษภาคม 2558 คณะสงฆ์และเจ้าหน้าที่ รัฐท้องถิ่นเขตพะลึนเข้าพบประธานสภา มุขมนตรี และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแห่งรัฐมอญเป็นครั้ง ที่สอง ทางรัฐบาลท้องถิ่นชี้แจงว่าทางรัฐไม่ทราบ เรื่องการลงนามข้อตกลงดังกล่าว 41. วันที่ 5 พฤษภาคม 2558 ประชาชนกว่า 6,000 คน รวมตั ว กั น ประท้ ว งโครงการโรงไฟฟ้ า ถ่ า นหิ น ที ่ หมู่บ้านอังแตง 42. วันที่ 7 พฤษภาคม 2558 ชาวบ้านจัดเวทีประชุม เกี่ยวกับโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินที่เมืองเย แต่ ตัวแทนจาก บมจ. ทีทีซีแอล, บริษัท วินยองชีอู, หน่วยงานรัฐและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไม่ได้เข้า ร่วม 43. วันที่ 9 พฤษภาคม 2558 ประธาน บมจ. ทีทีซีแอล พร้อมคณะเจ้าหน้าที่และตัวแทนบริษัท วินยองชีอู เดินทางไปที่วัดอังแตง เมื่อคนในชุมชนได้ยินข่าว การมาเยือนของ บมจ. ทีทซี แี อล ชาวบ้านกว่า 100 คนจึงรวมตัวกันประท้วงคัดค้านโครงการโรงไฟฟ้า ถ่านหินที่วัด 44. วันที่ 9 พฤษภาคม 2558 เจ้าหน้าที่ตำารวจ 5 นาย จากสถานีตำารวจประจำาเมืองเยเข้าไปที่หมู่บ้าน อังแตงเพื่อตรวจสอบตามคำาร้องว่าการชุมนุมที่เกิด ขึ้นเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคมมีการบังคับผู้เข้าร่วมให้ คัดค้านโครงการโรงไฟฟ้าหรือไม่ เจ้าหน้าที่ตำารวจ ดำาเนินการสอบสวนชาวบ้านแต่ชาวบ้านปฏิเสธ คำาร้องดังกล่าว ทางเจ้าหน้าที่ตำารวจไม่ได้เปิดเผย ผู้ร้อง 45. ช่วงเย็นวันที่ 15 พฤษภาคม 2558 ชาวบ้านผู้หญิง จากหมู่บา้ นซายแกรมเดินทางไปที่หมู่บา้ นนิเกรอะ เพื่อขอโฉนดที่ดนิ ของชาวบ้าน ข่าวการไปเยือนของ เธอกลายเป็นประเด็นของหมู่บา้ นในเขตพะลึนและ ถูกยกให้เป็นวาระในที่ประชุมหมู่บ้านประจำาเดือน ในวันถัดมา 46. วันที่ 16 พฤษภาคม 2558 ชาวบ้านพะลึนกว่า 300 คนรวมตัวกันที่วัดอังแตงและประกาศว่าจะทำาทุก 66

ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติและความมั่งคั่ง ของชุมชนในเขตพะลึน รัฐมอญ ประเทศเมียนมา

วิถีทางในการหยุดโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหิน สส. ดร. อองนายอู ได้เข้าร่วมประชุมด้วย 47. วันที่ 13 มิถุนายน 2558 โกมินซอ (Ko Min Zaw) และมินไซก์รอท (Min Seik Rot) ชาวบ้านที่ได้ร่วม คณะเดินทางไปญี่ปุ่นเมื่อปลายปี 2557 จัดงาน แถลงข่าวเพื่อชี้แจงสิ่งที่พวกเขาพบเจอในช่วงที่ไป ญี ่ปุ ่น โกมิ น ซอกล่ า วว่ า ประมงพื ้น เมื อ งจะถู ก ทำาลายโดยโรงไฟฟ้าถ่านหิน มินไซก์รอทกล่าวว่า การเดินทางในประเทศญี่ปุ่นมีเวลาจำากัดและไม่มี การแบ่งเวลาสำาหรับการถามรายละเอียดเกี่ยวกับ โรงไฟฟ้าถ่านหิน 48. วันที่ 13 มิถุนายน 2558 ชาวบ้านจำานวน 20 คน รวมทั้งผู้ใหญ่บ้านหมู่บ้านนิเกรอะถูกเรียกตัวไป สถานีตาำ รวจเมืองเยเพื่อชี้แจงเหตุการณ์การชุมนุม เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม ชาวบ้านตั้งข้อสังเกตว่า การเข้าเรียกตัวไปในครั้งนี้ไม่ปกติเพราะผู้กำากับ จากเมืองตันบูซายัตทำาหน้าทีส่ อบสวน ไม่มจี ดหมาย เรียกอย่างเป็นทางการส่งถึงชาวบ้าน และทางเจ้า หน้าที่ไม่เปิดเผยเหตุผลในการเรียกตัวชาวบ้าน 49. วันที่ 13 มิถุนายน 2558 เจ้าหน้าที่ตำารวจเรียกชาว บ้าน 20 คนเข้าพบที่สถานีตำารวจเมืองเยเป็นครั้งที่ สอง 50. วันที่ 25 มิถนุ ายน 2558 ชาวบ้านประมาณ 350 คน เดินทางไปสถานีตำารวจเมืองเยเพื่อยืนยันความ บริสุทธิ์ใจของชาวบ้าน 20 คนที่ถูกกล่าวหาจาก กระทำาเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2558 51. วันที่ 4 กรกฎาคม 2558 อู ทันนาย (U Than Nine) เจ้าหน้าที่ฝ่ายโลจิสติก บริษัท CEA จำากัดและเจ้า หน้าที่จากสำานักงานตรวจคนเข้าเมืองประจำาเมือง เยเข้าพบเจ้าหน้าที่รัฐท้องถิ่นของหมู่บ้านอังแตง เพื่อสอบถามความคิดเห็นของชาวบ้านต่อโครงการ โรงไฟฟ้าถ่านหิน ผู้เข้ามาเยือนทั้งสองท่านช่มขู่ชาว บ้านว่าจะทำาอย่างไรหากรัฐบาลใหม่ตอ้ งการสร้าง โรงไฟฟ้าถ่านหินและทางทหารจะเข้ามาควบคุม อย่างเคร่งครัด จากนั้นผู้เข้ามาเยือนทั้งสองท่านเดิน ทางไปที่หมู่บ้านกว๊านตะมอปึยเพื่อไปถ่ายรูป 52. วันที่ 10 กรกฎาคม 2558 ฟิลิป เฟ (Philip Fay) ผู้ บริหารฝ่ายการจัดการ บริษัท Instant Ports-Eco


วันที่ 5 พฤษภาคม 2558 ประชาชนกว่า 6,000 คน รวมตัวกันประท้วงโครงการ โรงไฟฟ้าถ่านหินที่ หมู่บ้านอังแตง ภาพจาก The Irrawaddy

รายงานการศึกษาโดย ชุมชนท้องถิ่นพะลึน

67


Friendly Remote Port Solutions และชาวพม่า 2 คนเดินทางไปที่หมู่บา้ นกว๊านตะมอปึย แต่เมื่อชาว บ้านถามถึงเหตุผลที่เข้ามาที่หมู่บา้ น ผู้เข้ามาเยือน ไม่สามารถตอบคำาถามได้อย่างชัดเจน 53. วันที่ 13 กรกฎาคม 2558 องค์กร National Enlightenment Institute (NEI) และบริษทั M.J. Marinoco Ltd พยายามเข้าไปทำาการสำารวจผลกระทบที่อาจ เกิดขึ้นจากโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินที่หมู่บ้าน อังแตง แต่ชาวบ้านปฏิเสธและกล่าวกับทางหัวหน้า กลุ่ม อู เคซานวิน (U Kay San WIn) ว่าชาวบ้านไม่ อนุ ญ าตให้ ใ ครเข้ า มาสำ า รวจพื ้น ที ่ห ากผู ้นั ้น ไม่ ประสงค์จะเปิดเผยข้อมูลที่ได้จากการสำารวจ 54. วันที่ 24 สิงหาคม 2558 คณะสงฆ์ ผู้ทรงคุณวุฒิ เจ้าหน้าที่รฐั ท้องถิ่น องค์กรชุมชนและชาวบ้านร่วม กันส่งหนังสือคัดค้านโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินถึง คณะกรรมาธิการการลงทุนแห่งประเทศเมียนมา 55. วันที่ 7 ตุลาคม 2558 ชาวบ้านอังแตงจัดเวทีแถลง ข่าวที่โรงแรมเรมอญยะ เมืองเมาะลัมไย และเปิด ตัววีดีทัศน์และหนังสือบทสัมภาษณ์ชาวบ้านที่ไป ร่วมเดินทางไปดูโรงไฟฟ้าถ่านหินที่ประเทศญี่ปุ่น เมื่อปลายปี 2557 56. วันที่ 26 พฤศจิกายน 2558 ชาวบ้านอังแตงส่ง หนังสือเรียกร้องไม่ให้ธนาคารเพื่อความร่วมมือ

68

ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติและความมั่งคั่ง ของชุมชนในเขตพะลึน รัฐมอญ ประเทศเมียนมา

ระหว่างประเทศแห่งญี่ป่นุ (Japan Bank for International Cooperation - JBIC) และองค์กรความ ร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ป่นุ (Japan International Cooperation Agency - JICA) สนับสนุน การลงทุนโครงการขอบ บมจ. ทีทีซีแอล 57. วันที่ 27 พฤศจิกายน 2558 ชาวบ้านอังแตงส่ง หนังสือคัดค้านโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินถึงสถาน ทูตญี่ปุ่นประจำาประเทศเมียนมาและจัดเวทีแถลง ข่าวให้สื่อมวลชน 58. วันที่ 19-24 ธันวาคม 2558 พระครูนนแตและกลุ่ม เยาวชนหมู่บา้ นอังแตงเดินทางเยี่ยมเยียนชาวบ้าน หมู่บ้านทั้ง 7 หมู่บ้านในสังกัดกลุ่มหมู่บ้านอังแตง (Andin Village Tract) เพื่อให้แต่ละหมู่บ้านตรวจ สอบข้อมูลประวัติหมู่บ้านของตนเองที่ทางกลุ่มได้ รวบรวมไว้ก่อนจะนำามาประกอบในรายงานฉบับ สมบูรณ์ 59. วันที่ 30 ธันวาคม 2558 มี เมียนทัน (Mi Myint Than) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเขตเยตั้งคำาถาม เกี่ยวกับโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินในการประชุม ประจำาปีของสภารัฐมอญ โดยมี อู อองทันอู (U Aung Than Oo) ปลัดกระทรวงพลังงานไฟฟ้าตอบ กลับว่า โครงการดังกล่าวและการสำารวจที่เกี่ยวข้อง ถูกระงับเพราะไม่ได้รับคำายินยอมจากชุมชน


เหตุผลในคัดค้านโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหิน 10 ประการของชุมชน วันที่ 24 พฤษภาคม 2557 กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ คณะสงฆ์ กลุ่มประชาสังคมในหมู่บ้านและเครือข่ายเยาวชนใน เขตพะลึนรวมตัวกันจัดประชุมที่หมู่บ้านนิเกรอะ สังกัด กลุ่มหมู่บ้านอังแตง เขตเย เพื่อปรึกษาหารือกันเรื่อง โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหิน ในที่ประชุมมีข้อสรุปดังนี้

ด้วยเหตุผลดังที่กล่าวมาเบื้องต้น ที่ประชุมจึง ตัดสินใจคัดค้านโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินในเขตเย

รายงานการศึกษาโดย ชุมชนท้องถิ่นพะลึน

69

บทที่ 8

1. สิ่งแวดล้อมของชุมชนจะถูกทำาลายหากมีโครงการ โรงไฟฟ้าถ่านหิน 2. วิถชี วี ติ ดั้งเดิมและพื้นที่การเกษตรของชุมชนจะได้ รับผลกระทบหากมีโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหิน 3. โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินจะทำาลายดินและส่ง ผลกระทบรุนแรงต่อการทำาเกษตรกรรม และทำาให้ แหล่งนำ้าสกปรก 4. โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินจะทำาให้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทวีความรุนแรงมากขึ้น ซึ่ง จะส่ ง ผลกระทบต่ อ คนทุ ก ภาคส่ ว น รวมทั ้ง สิ ่ง แวดล้อมและการเกษตรกรรม 5. โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินจะสร้างขยะเคมี ซึ่งจะ มาทำาลายสิ่งมีชีวิตในทะเลทั้งหมด 6. ควันที่ปล่อยจากตัวโรงไฟฟ้าจะก่อให้เกิดมลพิษ ทางอากาศ ส่ ง ผลทำ า ลายสุ ข ภาพและบั ่น ทอน อายุขัยของผู้คนในชุมชน

7. เสียงรบกวนจากโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหิน การเดิน ทางเข้า-เอาของพาหนะขนาดใหญ่และท่าเรือจะ เปลี่ยนวิถีชีวิตของคนท้องถิ่นและทำาลายธุรกิจที่ เกี่ยวข้องกับการประมงนำ้าเค็มของชาวบ้าน 8. การดำาเนินงานภายในโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหิน จะส่งเสียงดังรบกวน ทำาให้ชาวบ้านไม่สามารถ ได้ยินเสียงลมและเสียงทะเล ซึ่งเป็นสัญญาณ เตือนภัยพิบัติทางธรรมชาติที่อาจจะเกิ ด ขึ ้นใน พื้นที่ 9. ขยะมลพิษจากโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินจะส่ง ผลกระทบต่อสุขภาพของผู้คนท้องถิ่นอย่างรุนแรง 10.โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินจะนำาแรงงานอพยพจาก ภายนอกเข้ามาในกลุ่มหมู่บ้านอังแตง ซึ่งจะก่อ ผลกระทบต่อวิถชี วี ติ วัฒนธรรม ภาษา และศาสนา ของชุมชนท้องถิ่น


เราไม่ต้องการถ่านหิน เราไม่ต้อนรับ ทีทีซีแอล

การประชุมในหมู่บ้านเพื่อ หารือแนวทางในการคัดค้าน โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหิน 70

ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติและความมั่งคั่ง ของชุมชนในเขตพะลึน รัฐมอญ ประเทศเมียนมา


บทที่ 9 บทสรุป ตัวเลขรายได้ 7,240,499,650 จั๊ต หรือเทียบ เท่า 219,409,080 บาทที่ได้มาจากหมาก ผลไม้ ข้าว และประมงในงานวิจัยนี้ เป็นตัวชี้วัดเบื้องต้นรูปแบบ หนึ่งที่สะท้อนความสำาคัญของทรัพยากรธรรมชาติใน พะลึนต่อการดำารงชีวิตและการทำามาหากินของชาว บ้าน แม้ว่ารายได้นี้จะสะท้อนให้เห็นความสำาคัญของ พะลึนเพียงมิติเดียว แต่หากตัวชี้วัดเหล่านี้ลดลงหรือ สูญหายไป เนือ่ งจากได้รบั ผลกระทบจากโครงการพัฒนา ทีก่ าำ ลังย่างกรายเข้ามาในพืน้ ที่ สิง่ ทีช่ าวบ้านต้องสูญเสีย ไปจะไม่ได้มเี พียงรายได้และฐานะทางเศรษฐกิจเท่านั้น แต่อาจรวมถึงทุกสิ่งทุกอย่างที่แวดล้อมพวกเขาอยู่ รวม ทั้งวัฒนธรรมประเพณี ค่านิยม ความคิดความเชื่อที่หล่อ หลอมจนเป็นนำ้าหนึ่งใจเดียวกันของชุมชนไว้ด้วยก็ เป็นได้ ทีมวิจัยหวังว่า องค์ความรู้และข้อมูลที่ได้จาก งานวิจัยครั้งนี้จะเป็นชนวนจุดประกายให้ชุมชนพะลึน ตระหนักถึงคุณค่าของบ้านเกิดและทรัพยากรธรรมชาติ ที่พวกเขามีอยู่ เป็นแหล่งความรู้ในการสนับสนุนให้ ชาวบ้านสามารถบอกเล่าความภาคภูมิใจในบ้านเกิด ของพวกเขาต่อครอบครัว ลูกหลาน เพื่อนบ้าน รวม ถึงสาธารณชนได้อย่างมั่นใจ เป็นข้อมูลที่ชี้ให้เห็นถึง เหตุผลในการปกปักษ์รักษาพะลึนไว้ และเป็นจุดเริ่ม ต้นในการค้นคว้าหาข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อเป็นแรงบันดาล ใจในการพูดคุยและวางแผนแนวทางการพัฒนาตาม ความประสงค์ของชาวบ้าน และต่อสู้กับภัยคุกคามที่ อาจเข้ามาทำาลายสังคมและธรรมชาติของพวกเขา

รายงานการศึกษาโดย ชุมชนท้องถิ่นพะลึน

71

บทที่ 9

ข้อมูลที่นำาเสนอในรายงานวิจัยฉบับนี้ เป็นเพียงส่วน น้อยของภาพรวมเขตพะลึนเท่านั้น ทรัพยากรธรรมชาติและทิวทัศน์อันน่าตื่นตา ตื่นใจของเขตพะลึนเป็นจอฉายภาพที่แสดงให้เห็นถึง ความหลากหลายและความอุดมสมบูรณ์ของระบบ นิเวศที่หล่อเลี้ยงผู้คนมากมายให้อิ่มเอม ไม่ว่าจะเป็น สวนหมากที่เต็มไปด้วยผลไม้หลากหลายรสชาติและ ต้นหมากที่เปรียบเสมือนเงินฝากออมทรัพย์ในธนาคาร ของชาวบ้าน คลื่นนำา้ ทะเลที่ผสมกลมกลืนกับนำา้ จืดจาก แม่นาำ้ กลายเป็นนำา้ กร่อยที่เต็มไปด้วยสารอาหารมาต่อ เติมต้นไม้ในป่าชายเลน และสร้างแหล่งอนุบาลตาม ธรรมชาติเพื่อเพาะเลี้ยงสัตว์นำ้าให้เจริญเติบโต รวมทั้ง ทุ่งนาอันกว้างขวางที่แผ่ปกคลุมพะลึนไปทั่ว อาหารที่อุดมด้วยคุณค่าทางโภชนาการ นำ้าที่ ใสสะอาด อากาศที่บริสุทธิ์ รายได้ที่สมำ่าเสมอ สิ่งเหล่า นี้ ถือเป็นหลักประกันของปัจจัยพื้นฐานในการดำารงชีวติ ของคนในชุมชน เป็นดั่งต้นกำาเนิดแห่งรอยยิ้มและความ สุขของชาวบ้านพะลึนที่สะท้อนให้เห็นถึงคุณภาพชีวติ ที่ ดีของผู้คนที่นี่ สายสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นของชุมชนบวก กับธรรมชาติที่ร่มเย็น คือสิ่งที่หลอมรวมให้ชาวบ้านอยู่ ร่วมกันอย่างปรองดองและสงบสุข ความร่วมใจในการ ใช้สอยทรัพยากรธรรมชาติท่มี อี ย่างจำากัดซึ่งการจัดการ อย่างยั่งยืน และที่สาำ คัญคือวัดในชุมชนนั้นถือเป็นศูนย์ รวมทางจิตใจ ความเชื่อความศรัทธา และทำาหน้าที่เป็น ศูนย์กลางในการสืบสานความงดงามของวัฒนธรรม ท้องถิ่นของพวกเขาไว้


ภาคผนวก 1. ตัวอย่างสัตว์นํ้าที่พบในหมู่บ้านกว๊านตะมอปึย (สำรวจเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2558)

72

ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติและความมั่งคั่ง ของชุมชนในเขตพะลึน รัฐมอญ ประเทศเมียนมา


ลำาดับที่

Lagocephalus lunaris Arius maculatus Megalaspis cordyla Congresox talabonoides Lepturacanthus savala Ilisha elongata Loligo spp. Harpadon nehereus Parapenaeopsis sculptilis Otholithoides pama Coilia dussumieri Acetes sp. Paenaeus sp. Charybdis rivers Setipinna taty Acetes sp. Penaeus sp. Acetes sp. Exhippolysmata ensirostris Solenocera crassicarnis Unidentified species Coilia dussumieri Exopalaemon styliferus Harpiosquilla sp. Harpiosquilla sp.

ชื่อภาษาอังกฤษ

ชื่อภาษาไทย

Green rough-backed puffer Spotted catfish Torpedo scad Indian pike conger Savalai Hairtails (Ribbon Fish) Elongated ilisha Squid, splendid squid Bombay duck, Bummalo Rainbow shrimp Pama croaker Goldspotted grenadier anchovy Krill Shrimp Swimming crab Scaly hairfin anchovy Krill Shrimp Krill Hunter shrimp, Caridean shrimp Red Shrimp, Coastal Mud Shrimp Goldspotted grenadier anchovy Roshna prawn Mantis shrimp Mantis shrimp

ปลาปักเป้าหลังเขียว ปลากดหัวโหม่ง ปลาแข้งไก่, หางแข็ง, ตีโล้ง ปลาไหลทะเล ปลาดาบ ปลาอีปุคยาว หมึกกล้วย ปลาหัวยุ่ง กุ้งปล้อง, กุ้งจิ๊กโก๋ ปลาจวด ปลาหางไก่จุดทอง เคย กุ้ง ปูม้า ปลาแมว เคย กุ้ง เคย กุ้ง กุ้งแดง, กุ้งส้ม ไม่ทราบสายพันธุ์ ปลาหางไก่จุดทอง กุ้งหัวมีดโกน กั้งตั๊กแตน กั้งตั๊กแตน

รายงานการศึกษาโดย ชุมชนท้องถิ่นพะลึน

73

ภาคผนวก

1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25

ชื่อวิทยาศาสตร์


2. ตัวอย่างปลาแห้งที่พบในหมู่บ้านกว๊านตะมอปึย (สำรวจเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2558)

74

ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติและความมั่งคั่ง ของชุมชนในเขตพะลึน รัฐมอญ ประเทศเมียนมา


ลำาดับที่

1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13

ชื่อวิทยาศาสตร์

Taenioides sp. Taenioides sp. Trypauchen sp. Apocryptodon sp. Otolithoides sp. Polynemus paradiseus Pampus argenteus Sepia sp. Lepturacanthus savala Unidentified species Unidentified species Coilia dussumieri Coilia dussumieri

ชื่อภาษาอังกฤษ

ชื่อภาษาไทย

Eel Goby Eel Goby Madura goby Pama croaker Paradise threadfin Silver pomfret Cuttlefish Savalai Hairtails (Ribbon Fish) Goldspotted grenadier anchovy Goldspotted grenadier anchovy

ปลาบู่เขือ ปลาบู่เขือ ไม่ทราบสายพันธุ์ ไม่ทราบสายพันธุ์ ปลาจวด หนวดพราหมณ์ จะละเม็ดขาว, แป๊ะเซีย หมึกกระดอง ปลาดาบ ไม่ทราบสายพันธุ์ ไม่ทราบสายพันธุ์ ปลาหางไก่จุดทอง ปลาหางไก่จุดทอง

ภาคผนวก

3. ชนิดพันธุ์ปลาในพะลึน (สำรวจเมื่อปี พ.ศ. 2558) ลำาดับที่

ชื่อวิทยาศาสตร์

ชื่อภาษาพม่า

ชื่อภาษาอังกฤษ

ชื่อภาษาไทย

1

Abalistes stellaris

nga than

Starry triggerfish

ปลาวัวไก่ตอน

2

Ablennes hians

nga phaun yoe gyee

Flat needlefish

ปลากระทุงเหวบั้ง

3

Acanthurus mata

nga yan shar

Elongate surgeonfish

ปลาขี้ตังเบ็ดหน้าเหลือง

4

Aesopia cornuta

nga pha yone

Zebra sole

ลิ้นม้าลาย

5

Akysis longifilis

nga doke telk

Sittaung akysis

-

6

Alectis ciliaris

byar san whaik

Threadfish trevally

ปลาผมนางลาย

7

Anabas testudineus

nga pyay ma

Climbing perch

ปลาหมอ

8

Anguilla bengalensis

nga myeik htonn

Mottled eel

ปลาสะแงะ

9

Anodontostoma chacunda

nga wun pue, bar thi

Chacunda gizzard shad

ปลาตะเพียนนำ้าเค็ม

10

Apocryptodon sp.

-

Madura goby

ปลาบู่ทราย, ปลาบู่ทอง, ปลาบู่หิน, ปลาลูกทราย, ปลาลูกหิน

11

Arius maculatus

nga yaun

Spotted catfish

ปลากดหัวแข็ง

12

Atropus atropos

nga da ma

Cleftbelly trevally

ปลาข้างเงิน, ปลาหัวแข็ง, ปลาหัวตะกั่ว

รายงานการศึกษาโดย ชุมชนท้องถิ่นพะลึน

75


ลำาดับที่

76

ชื่อวิทยาศาสตร์

13

Auxis thazard

14

ชื่อภาษาพม่า tuna, nga poke yaunn, nga kyee kann

ชื่อภาษาอังกฤษ

ชื่อภาษาไทย

Frigate tuna

ปลาโอขาว

Boleophthalmus boddarti nga daunn pyauk, nga phyan, nga pyat

Goggle-eyed goby, Mud skipper

ปลาจุมพรวด, ปลาตีน จุดฟ้า

15

Caesio cuning

Redbelly yellowtail fusilier หางเหลือง

16

Carangoides coeruleopin- byar zan waik natus

Longnose trevally

สีกุนป้อม

17

Cephalopholis argus

kyauk nga

Peacock hind

กะรังลายนกยูง

18

Cephalopholis boenak

kyauk nga

Chocolate hind

ปลากะรังบั้ง

19

Cephalopholis miniata

kyauk nga

Coral hind

ปลากะรังแดงจุดนำ้าเงิน

20

Channa striata

nga yant

Snakehead mueerl

ปลาช่อน

21

Chirocentrus dorab

nga saik htoe, za lwe

Dorab wolf-herring

ปลาดาบลาว

22

Chrysochir aureus

thin warr

Reeve's croaker

ปลาจวดทอง

23

Cirrhinus mrigala

nga kyinn

Mrigal

ปลานวลจันทร์

24

Clarias batrachus

nga khu

Walking catfish

ปลาดุกด้าน

25

Coilia dussumieri

mee tan thwe, nga kyan Goldspotted grenadier ywet anchovy

ปลาหางไก่จุดทอง

26

Coilia ramcarati

-

Ramcarat grenadier anchovy

-

27

Colisa fasciata

nga phyinn tha let

Banded gourami

ปลากระดี่ยักษ์

28

Congresox talabon

nga hauk, thin baw pauk Yellow pike conger

ปลายอดจาก, ปลาหลด

29

Congresox talabonoides

thin paunn htoe, nga shwe

ยอดจาก

30

Cynoglossus bilineatus

nga khwaye shar, khwa Fourlined tonguesole shar, shar lay

ปลายอดม่วงลายสี่เส้น, ปลาลิ้นหมา

31

Cynoglossus lingua

nga khwaye shar, khwa Long tonguesole shar, shar lay

ปลายอดม่วงหงอนยาว

32

Cynoglossus microlepis

nga khwaye shar

Smallscale tonguesole

ปลายอดม่วงเกล็ดถี่

33

Danio nigrofasciatus

nga noke pyauk, yay yauk nga

Spotted danio, Dwarf danio

ปลาซิว

34

Datnioides quadrifasciatus

-

-

ปลากะพงลาย

35

Decapterus macrosoma

pan zinn

Shortfin scad

ปลาทูแขกครีบสั้น

36

Donax sp.

-

Gastropod

ปลาหอยเสียบ

37

Drepane punctata

nga pa le, sin narr ywet Spotted sicklefish

ปลาหูช้าง

38

Dussumieria acuta

nga kyaw nyo, peinn ne Rainbow sardine sayt

ปลากุแลกล้วย

shwe wun ne

ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติและความมั่งคั่ง ของชุมชนในเขตพะลึน รัฐมอญ ประเทศเมียนมา

Indian pike conger


ลำาดับที่

ชื่อวิทยาศาสตร์

39

Eleutheronema tetradactylum

40

ชื่อภาษาพม่า

ชื่อภาษาไทย

za yaw gyi

Four finger threadfin

ปลากุเราหนาวสี่เส้น

Ephippus orbis

sin narr pu

Orbfish

ปลาจาระเม็ดขาว, ปลา ข้าวเม่า

41

Epinephelus areolatus

kyauk nga

Areolate grouper

ปลากะรังลายหางตัด

42

Epinephelus bleekeri

kyauk nga

Duskytail grouper

ปลากะรังจุดเหลือง

43

Epinephelus coioides

kyauk nga, nga tauk tu

Orange-spotted grouper

ปลากะรังดอกแดง

44

Epinephelus fasciatus

kyauk nga

Blacktip grouper

ปลากะรังแดง

45

Epinephelus faveatus

kyauk nga

Barred-chest gropuer

ปลากะรัง

46

Epinephelus fuscoguttatus

kyauk nga

Brown-marbled grouper

ปลากะรังลายหินอ่อน

47

Epinephelus malabaricus kyauk nga

Malabar grouper

ปลากะรังหูกวาง

48

Epinephelus tauvina

kyauk nga

Greasy grouper

ปลากะรังปากแม่นำ้า

49

Euthynnus affinis

tuna, nga mei lone, donn pyan

Kawakawa

ปลาโอลาย

50

Eutropiichthys vacha

-

-

ปลาสังกะวาดหน้าหนู, ปลาสวายหนู

51

Exocoetus volitans

nga pyan

Tropical two-wing flyingfish

ปลานกกระจอกสองปีก

52

Formio niger

nga moke me

Block pomfret

ปลาจะละเม็ดดำา

53

Glossogobius giuris

ka tha poe, nga sha poe Tank goby

ปลาบู่ทราย, ปลาบู่ทอง, ปลาบู่หิน, ปลาลูกทราย, ปลาลูกหิน

54

Gnathanodon speciosus

ka la ngue

Golden trevally

ปลาตะกลอง, ปลาตะ กลองเหลือง

55

Gonialosa manmina

-

Ganges river gizzard shad

-

56

Gymnocranius griseus

nga wet sat

Grey large-eye bream

ปลาอีคุดบั้ง

57

Harpadon nehereus

nga hnat, bar yar gar

Bombay duck

ปลาหนวดยุ่ง

58

Heteropneustes fossilis

nga kyee

Stinging catfish

ปลาแมง(จืด)

59

Hyporhamphus limbatus

daunn chinn, phonn dee Congaturi halfbeak

ปลาเข็มปากแดง

60

Ilisha elongata

myet san kyel, nga zinn Elongate ilisha pyarr, myet lonn kyel

อีพุด

61

Johnius belangerii

nga poke thin, nga gaunn pwa

ปลาจวด

62

Johnius coiter

nga poke thin, nga pyet, Coiter croaker ka ta myin

ปลาจวดคงคา

63

Katsuwonus pelamis

tuna, nga mei lone, done pyan

ปลาโอแถบ,ปลาทูน่าท้อง แถบ

Belanger's croaker

Skipjack tuna

รายงานการศึกษาโดย ชุมชนท้องถิ่นพะลึน

ภาคผนวก

ชื่อภาษาอังกฤษ

77


ลำาดับที่

78

ชื่อวิทยาศาสตร์

ชื่อภาษาพม่า

ชื่อภาษาอังกฤษ

ชื่อภาษาไทย

64

Lactarius lactarius

nga tee

False trevally

ปลาใบขนุน

65

Lagoecephalus lunaris

nga pue tinn

Green rough-backed puffer

ปลาปักเป้าหลังเขียว

66

Lates calcarifer

ka ka tit, ka ta paunn

Giant seabass

ปลากะพงขาว

67

Leiognathus equulus

nga dinn garr, nga wainn

Common ponyfish

ปลายักษ์

68

Lepturacanthus savala

nga ta khun, nga tha ywe min kyarr

Savalani hairtail

ปลาดาบเงิน

69

Lethrinus nebulosus

nga wat sat

Sprangled emperor

ปลาหมูสีฟ้า

70

Liza tade

-

-

ปลากระบอกหัวสิว

71

Lobotes surinamensis

pin lei nga pyay ma

Triple tail

ปลากะพงดำา

72

Lutijanus vitta

kyauk parr ne

Brownstripe red snapper

ปลากะพงเหลืองขมิ้น, ปลาข้างแถว, ปลาข้าง เหลือง

73

Lutjanus argentimaculatus

nga khwaye pa ne, nga Mangrove red snapper parr ne

ปลากะพงสีเลือด

74

Lutjanus johnii

nga parr ne

John's snapper

ปลากะพงแดง,ปลาปาน, ปลากะพงข้างปาน, ปลา อั้งเกย

75

Lutjanus kasmira

nga parr ne

Common bluestripe snap- ปลากะพงแถบนำ้าเงิน per

76

Mastacembelus armatus

-

Zig- zag eel

ปลากระทิง,ปลาหลาด

77

Mene maculata

ta yoke darr

Moonfish

ปลาพระจันทร์

78

Monopterus albus

nga shint ne

Swamp eel

ปลาไหลนา

79

Monopterus cuchia

nga shint mwe

Cuchia eel

ปลาไหลบึง

80

Mugil cephalus

ka ba lue

Flathead mullet

ปลากระบอกเทา

81

Mystus vittatus

-

-

ปลาแขยงข้างเหลือง

82

Mystus vittatus (Bloch, 1794)

nga zin yainn

Striped dwarf catfish

ปลาช่อน

83

Naucrates ductor

hinn cho khat

Pilot fish, Damsel fish

ปลาสลิดหิน

84

Nemapteryx caelatus

nga yaun

Engraved catfish

ปลากดแดง

85

Notopterus notopterus

nga phere

Featherback

ปลาสลาด, ปลาฉลาด

86

Ompok bimaculatus

-

Butter catfish

ปลาชะโอน

87

Ophichthus lithinus

-

Snake eel

ปลาไหลงู

88

Osteobrama alfredianus

-

Carplet

ปลาไข่อองเล็ก

89

Otolithes ruber

thin phyu, nga poke thin Tiger-toothed croaker

ปลาจวดเตียน, ปลาจวด แดง

90

Otolithoides pama

nga poke thin

ปลาจวด

ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติและความมั่งคั่ง ของชุมชนในเขตพะลึน รัฐมอญ ประเทศเมียนมา

Pama croaker


ลำาดับที่

ชื่อวิทยาศาสตร์

ชื่อภาษาพม่า

ชื่อภาษาอังกฤษ

ชื่อภาษาไทย

Pampus argenteus

nga moke phyu

Silver pomfret

ปลาจาระเม็ดขาว

92

Pampus chinensis

onn nga moke

Chinese silver pomfret

ปลาจาระเม็ดขาวจีน, ปลาตาพอง

93

Pangasius pangasius

nga tan

Yellowtail catfish

ปลาสวายหางเหลือง

94

Panulirus polyphagus

kyauk pa zun, ba ghel

Mud spiny lobster

ปลากุ้งมังกรเลน

95

Parastromateus niger

nga moke mei

Black pomfret

ปลาจาระเม็ดดำา

96

Pastinachus sephen

leik kyauk tinn khun

Cowtail stingray

ปลากระเบนธง

97

Pellowna ditchela

nga zinn pyarr

Pellona

อีพูดเล้ก

98

Platax teira

nga leik pyar gyee

Batfish

ปลาหูช้างครีบยาว

99

Platycephalus indicus

nga sin ninn

Bartail flathead

ปลาช้างเหยียบ, ปลาหาง ควาย

100

Plectorhinchus lineatus

nga wet

Yellowbanded sweetlips

ปลาสร้อยนกเขา

101

Plectropomus areolatus

bar thar

Squaretail coralgrouper

กะรัง, กุดสลาดจุดฟ้า

102

Plotosus canius

pin lei nga khu, ka byaunn

Gray eel-catfish

ปลาดุกทะเลยักษ์

103

Polynemus indicus

ka kue yan, kyawl yin

Indian threadfin

ปลากุเรา

104

Polynemus paradiseus

nga pon narr

Paradise threadfin

ปลาหนวดพราหมณ์

105

Pomacanthus annularis

nga leik pyar

Bluering angelfish

ปลาสินสมุทร

106

Pomadasys maculatus

kyar kyawt nge, ka larr goke

Saddle grunt

ปลากระต่ายขูด, ปลา สีกรุด, ปลาหัวขวาน

107

Pseudambassis ranga

-

Indian glassy fish, Indian glassy perch or Indian X-ray fish

ปลาแป้นแก้วรังกา

108

Pseudeutropius antherinoides

-

Indian potasi

-

109

Pseudorhombus arsius

nga khwaye shar

Largetooth flounder

ปลาลิ้นหมา, ปลาใบขนุน

110

Pseudorhombus duplicio- nga khwaye shar cellatus

Ocellated flounder

ปลาลิ้นหมา

111

Pterocaesio diagramma

shwe asinn

Double-lined fusilier

ปลากล้วยเขียวสองแถบ

112

Pterotolithus maculatus

nat ka tor

Blotched tiger-toothed croaker

ปลาจวดเขี้ยวจุด

113

Raconda russeliana

nga da lar

Raconda

ปลาใบไผ่

114

Rastrelliger kanagurta

pa lar tue, shan pa due

India mackerel

ปลาทูโม่ง, ปลาโม่งลัง

115

Rhinomugil corsula

-

Corsula, Corsula Mullet

116

Sardinella albella

-

-

ปลาหลังเขียว, ปลาอกแล

117

Sardinella gibbosa

nga kone nyo

Goldstripe sarinella

ปลาหลังเขียว

118

Scatophagus argus

nga khet, nga pa thun, nga bee

Spotted scat

ปลาตะกรับ, ปลาเสือดาว, ปลา แปบลาย

รายงานการศึกษาโดย ชุมชนท้องถิ่นพะลึน

ภาคผนวก

91

79


ลำาดับที่

80

ชื่อวิทยาศาสตร์

ชื่อภาษาพม่า

ชื่อภาษาอังกฤษ

ชื่อภาษาไทย

119

Scolopsis bimaculatus

myet lonn gyee

Thumbprint monocle bream

-

120

Scomberoides commersonianus

nga zar pyat, nga let war

Takang queen fish

ปลาสละ

121

Scomberomorus guttatus nga kun shut

Mackerel

ปลาอินทรีข้าวตอก, ปลา อินทรีจุด

122

Seriolina nigrofasciata

nga htaw pat

Blackbanded trevally

ปลาสำาลี, ปลาช่อลำาดวน

123

Setipinna taty

-

Scaly haifin anchovy

ปลาแมวหนวดพราหมณ์

124

Sicamugil hamiltonii

-

Burmese mullet

ปลากระบอก

125

Siganus canaliculatus

nga yun shar, nga hsu than

White-spotted spinefoot

สลิดหิน/สลิดทะเลจุดขาว

126

Sillaginopsis panijus

nga pa lway, nga the htoe

Flathead sillago, whiting

-

127

Sillago sihama

nga pa lway, nga the htoe

Silver sillago, whiting

ปลาเห็ดโคนเงิน, ปลา ซ่อนทรายเงิน

128

Silonia silondia

nga myuin

Butter catfish

ปลาชะโอน

129

Sphyraena barracuda

pin le nga mway htoe, nga lunn, kyi pwayt taunt

Great barracuda

ปลาสากดอก

130

Taenioides sp.

-

Whiskered eel goby

ปลาบู่ทราย, ปลาบู่ทอง, ปลาบู่หิน, ปลาลูกทราย, ปลาลูกหิน

131

Tenualosa ilisha

nga tha lauk

Hilsa shad

ปลาตะลุมพุกฮิลซา

132

Tenualosa toli

nga tha lauk yauk pha

Toli shad

ปลาตะลุมพุก

133

Terapon jarbua

nga gonn kyarr

Jarbua terapon

ปลาข้างตะเภาลายโค้ง, ปลาข้างลาย

134

Terapon theraps

nga gonn kyarr

Largescaled therapon, Finger perce

ปลาข้างตะเภาเกล็ดใหญ่

135

Tetraodon cutcutia

nga pue tinn, pa jinn, nga se pue

Green puffer

ปลาปักเป้านำ้าจืด

136

Thunnus obesus

nga poke yaun, nga kyee kann, tue nar

Bigeye tuna

ปลาทูน่าครีบเหลือง

137

Trypauchen sp.

-

Naked goby, Burrowing goby

ปลาเขือแดง

138

Tylosurus crocodilus

sa lon kyauk

Hound needlefish

ปลากระทุงเหวทะเล

139

Ulua mentalis

zar kyann

Longrakered trevally

ปลาจุ้ยจินเหงือกยาว

140

Wallago attu

-

-

ปลาเค้าขาว

141

Xenetondon cancila

nga phaun yoe

Freshwater garfish

ปลากระทุงเหวเมือง

142

Yunnanilus brevis

nga bauk sarr

Polka loach

ปลาหมูยูนนาน

ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติและความมั่งคั่ง ของชุมชนในเขตพะลึน รัฐมอญ ประเทศเมียนมา


4. ปู ในพะลึน (สำรวจเมื่อปี พ.ศ. 2558) ลำาดับที่

ชื่อวิทยาศาสตร์

ชื่อภาษาอังกฤษ

ชื่อภาษาไทย

1

Charybdis feriata

Coral crab

ปูปะการัง

2

Charybdis river

-

-

3

Grapsus sp.

Lightfoot crab, red rock crab

ปูหินสีแดง

4

Macrophthalmus sulcatus -

-

5

Matuta planipes

ปูหนุมานลายดอก

6

Ocypoda ceratophthalma Horned ghost crab or horn-eyed ghost ปูลมใหญ่ crab

7

Ocypode sp.

Ghost crab

ปูลม, ปูผี

8

Portunus pelagicus

Blue swimming crab

ปูม้า

9

Portunus sanquinolentus

Blood-spotted swimming crab

ปูม้า, ปูดาว, ปูสามจุด, ปูม้าสามจุด

10

Scylla serrata

Mud crab, Mangroove crab

ปูทะเล, ปูดำา

11

Uca dussumieri

Dussumier's fiddler crab

ปูก้ามดาบ, ปูเปี้ยว, ปูก้ามโต

12

Uca tetragonon

Tetragonon fiddler crab

ปูก้ามดาบ, ปูเปี้ยว, ปูก้ามโต

Flower moon crab

Chirocentrus dorab Dorab wolf-herring ปลาดาบลาว

ภาคผนวก

Coilia dussumieri Goldspotted grenadier anchovy ปลาหางไก่จุดทอง

Baleophthalmus boddarti Mud-skipper ปลาจุมพรวด, ปลาตีนจุดฟ้า

ปลาหัวยุ่ง

Lepturacanthus savala Savalani hairtail ปลาดาบเงิน

Arius maculatus Spotted catfish ปลากดหัวแข็ง

รายงานการศึกษาโดย ชุมชนท้องถิ่นพะลึน

81


5. กุ้ง กั้ง กุ้งมังกร ในพะลึน (สำรวจเมื่อปี พ.ศ. 2558) ลำาดับที่

ชื่อวิทยาศาสตร์

ชื่อภาษาอังกฤษ

1

Acetes sp.

Krill

เคย

2

Exhippolysmata ensirostris

Hunter shrimp, Caridean shrimp

กุ้งคารีเดีย

3

Exopalaemon styliferus

Roshna prawn

กุ้งหัวมีดโกน

4

Harpiosquilla raphidea

Giant mantis shrimp

กั้งตั๊กแตนหางจุด

5

Macrobrachium idella

Sunset Shrimp

-

6

Macrobrachium malcolmsonii

Monsoon river-prawn

กุ้งแม่นำ้าอินเดีย

7

Macrobrachium rosenbergii

Giant fresh water prawn

กุ้งก้ามกราม

8

Macrobrachium villosimanus

Goda River prawn

-

9

Metapenaeus brevicornis

Sand shrimp

กุ้งหัวมันนำ้าเค็ม

10

Metapenaeus conjunctus

Pink Shrimp/ Wood Shrimp

กุ้งโอคักลี่

11

Metapenaeus tenuipes

Yellow shrimp

กุ้งหัวมัน

12

Metapenaeus affinis

Jinga shrimp

กุ้งตะกาด, กุ้งโอคักเล็ก

13

Parapenaeopsis sculptilis

Rainbow shrimp

กุ้งปล้อง, กุ้งจิ๊กโก๋

14

Penaeus canaliculatus

Witch prawn

กุ้งลายเสือ

15

Penaeus japonicus

prawn

กุ้งลายเสือ, กุ้งม้าลาย

16

Penaeus indicus

Indian prawn

กุ้งแชบ๊วย

17

Penaeus monodon

Asian tiger shrimp

กุ้งกุลาดำา

18

Panulirus polyphagus

Mud spiny lobster

กุ้งมังกรปล้องเหลือง

19

Solenocera crassicarnis

Red shrimp

กุ้งแดง

Cynoglossus lingua Long tonguesole ปลายอดม่วงหงอนยาว

Johnius coiter Coiter croaker ปลาจวกคงคา

82

ชื่อภาษาไทย

ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติและความมั่งคั่ง ของชุมชนในเขตพะลึน รัฐมอญ ประเทศเมียนมา

Shark ฉลาม

Pastinachus sephen Cowtail stingray ปลากระเบนธง


Grapsus sp. Lightfoot crab ปูหินสีแดง

Uca dussumieri Dussumier's fiddler crab ปูก้ามดาบ ปูเปี้ยว ปูก้ามโต

Ocypoda ceratophthalmoa Horned ghost crab ปูลม, ปูผี

Matuta planipes Flower moon crab ปูหนุมานลายดอก

Sabella sp. Tube dwelling polychaete ไส้เดือนทะเล

ภาคผนวก

Macrophthalmus sulcatus

Ocypode sp. Ghost crab ปูผี, ปูลม

Tealia sp. Sea anemone ดอกไม้ทะเล

งูในป่าชายเลน

รายงานการศึกษาโดย ชุมชนท้องถิ่นพะลึน

83


6. หอย ในพะลึน (สำรวจเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2558)

ลำาดับที่

1 2 3 4 5 6 7 8 9

ชื่อวิทยาศาสตร์

Spisula sp. Mactra sp. Fasciolaria tulipa Fusinus sp. Cymia sp. Nerita sp. Babylonia sp. Unidentified species Lithorina scabra

ชื่อภาษาอังกฤษ

Clam Blood clam Tulip shell Nerite Ivory Whelk/ babylon snail Mangrove periwinkle/ Scabra Periwinkle

ชื่อภาษาไทย

หอยตลับ หอยแครง หอยสังข์ หอยปิ่นปักผม หอย หอยหวาน หอยนำ้าพริกป่าเลน

7. สัตว์นํ้าอื่นๆ ในพะลึน (สำรวจเมื่อปี พ.ศ. 2558) ลำาดับที่

1 2 3 4

84

ชื่อวิทยาศาสตร์

Onchidium sp. Enhydris bennetti Sabella sp. Medusae sp.

ชื่อภาษาอังกฤษ

Slug Bennett's water snake Tube dwelling polychaete Jellyfish

ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติและความมั่งคั่ง ของชุมชนในเขตพะลึน รัฐมอญ ประเทศเมียนมา

ชื่อภาษาไทย

ทาก งูนำ้า ไส้เดือนทะเล แมงกระพรุน


Egretta garzetta Little egret นกยางเปีย

Corvus splendens House crow อีแก

Numenius arquata Eurasian curlew นกอีก๋อยใหญ่

Ardeola bacchus Chinese pond-heron นกยางกรอกพันธุ์จีน

Numenius sp. Curlew

Accipter badius Shikra เหยี่ยวนกเขาชิครา

ภาคผนวก

Actitis hypoleucos Common sandpiper นกเด้าดิน Hirundo rustica Barn swallow นกนางแอ่นบ้าน Calidris ferruginea Curlew sandpiper นกชายเลนปากโค้ง

8. นก ในพะลึน (สำรวจเมื่อปี พ.ศ. 2558) ลำาดับที่

ชื่อวิทยาศาสตร์

ชื่อภาษาพม่า

ชื่อภาษาไทย

ระบบนิเวศที่มักพบเจอ

1

Accipiter badius

Shikra

เหยี่ยวนกเขาชิครา

deciduous and the more open evergreen forests, plantations and open country; often near towns from plains up to 1,500 m; common resident.

2

Accipiter trivirgatus

Crested goshawk

เหยี่ยวนกเขาหงอน

forests, second growth

3

Accipiter virgatus

Besra

เหยี่ยวนกกระจอกเล็ก

wooded areas

4

Actitis hypoleucos

Common sandpiper

นกเด้าดิน

ditches, marshes, paddy fields, rivers (including fast-flowing streams); usually around the drier margins of extensive coastal mudflats; very common winter visitor รายงานการศึกษาโดย ชุมชนท้องถิ่นพะลึน

85


ลำาดับที่

86

ชื่อวิทยาศาสตร์

ชื่อภาษาพม่า

ชื่อภาษาไทย

ระบบนิเวศที่มักพบเจอ

5

Aegithina tiphia

Common iora

นกขมิ้นน้อยธรรมดา

forest edge, gardens, scrub, mangroves, rubber

6

Anas poecilorhyncha

Spot-billed duck

เป็ดเทา

marshes, rivers, lakes

7

Anser anser

Grey-lag goose

rivers, lakes, grain fields, grasslands

8

Anser indicus

Bar-headed goose ห่านหัวลาย

large rivers, lakes, grain fields, grasslands

9

Apus affinis

House swift

นกแอ่นบ้าน

cliffs, caves, rocky islets, cities; feeds over open areas

10

Ardeola bacchus

Chinese pondheron

นกยางกรอกพันธุ์จีน

open area, usually near water, including marshes, paddy fields, mangroves and intertidal mudflats; very common winter visitor

11

Aviceda leuphotes (lophotes)

Black baza

เหยี่ยวกิ้งก่าสีดำา

open forests, second growth, villages

12

Botaurus stellaris

Great bittern

นกยางแดงใหญ่

reeds, marshes

13

Bubulcus ibis

Cattle egret

นกยางควาย

paddyfields, pastures, marshes

14

Cairina scutulata

White-winged duck เป็ดก่า

streams and swamps in dense forest by day; rivers and paddyfields at night

15

Calidris ferruginea

Curlew sandpiper

นกชายเลนปากโค้ง

coastal mudflats; less frequently on freshwater areas; very common winter visitor

16

Calidris temminckii

Temmick's stint

นกสติ๊นท์อกเทา

mud-flats, marshy areas

17

Calidris tenuirostris

Great knot

นกน๊อทใหญ่

mud-flats, sea-coasts

18

Certhia discolor

Brown-throated treecreeper

นกเปลือกไม้

forests

19

Circus melanoleucos

Pied harrier

เหยี่ยวด่างดำาขาว

open country, marshes, paddyfields

20

Collocalia esculenta (linchi)

White-bellied swiftlet

นกแอ่นทองขาว

forests, second growth

21

Collocalia fuciphaga Edible-nest swiflet (inexpectata francica, vestita)

นกแอ่นกินรัง

presumably over forest; elsewhere nest under waterfalls

22

Corvus splendens

House crow

อีแก

open plains, towns, coastal areas

23

Crocethia alba

Sanderling

นกคอสั้นตีนไว

sea-coasts, mud-flats

24

Crypsirina temia

Racket-tailed treepie

นกกาแวน

open country, scrub, second growth, cultivation

25

Dicrurus hottentottus

Spangled drongo

นกแซงแซวหงอนขน

forests, second growth

ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติและความมั่งคั่ง ของชุมชนในเขตพะลึน รัฐมอญ ประเทศเมียนมา


ลำาดับที่

ชื่อวิทยาศาสตร์

ชื่อภาษาพม่า

ชื่อภาษาไทย

ระบบนิเวศที่มักพบเจอ

26

Dicrurus paradiseus

Greater rackettailed drongo

นกแซงแซวหางบ่วงใหญ่

open forests, second growth, cultivation

27

Egretta alba

Great egret

นกยางโทนใหญ่

paddyfields, lakes, marshes, mangroves, mud-flats

28

Egretta eulophotes

Chinese egret

นกยางจีน

coastal flats, estuary

29

Egretta garzetta

Little egret

นกยางเปีย

marshes, mangroves

30

Egretta intermedia

Plumed egret

นกยางโทนน้อย

paddyfields, lakes, marshes, mangroves, mud-flats

31

Ficedula dumetoria

Rufous-chested flycatcher

นกจับแมลงอกสีส้ม

evergreen forest, bamboo

32

Fregata andrewsi

Christmas frigatebird

นกโจรสลัดเกาะคริสต์มาส coastal waters, islands

33

Fregata ariel

Lesser frigatebird

นกโจรสลัดเล็ก

coastal waters, islets

34

Fregata minor

Great frigatebird

นกโจรสลัดใหญ่

coastal waters, islands

35

Gallus gallus

Red junglefowl

ไก่ป่า

forest, second growth, scrub, rice stubble

36

Gavia stellata

Red-throated diver

37

Glaucidium brodiei

Collared owlet

นกเคร้าแคระ

forests

38

Haliaeetus leucogaster

White-bellied seaeagle

นกออก

sea-coasts, large lakes, rivers

39

Haliastur indus

Brahminy kite

เหยี่ยวแดง

open wooded areas, often near civilization

40

Heteroscelus brevipes Grey-tailed tattler (incanus)

นกตีนเหลือง

mud-flats, sea-coasts

41

Hirundo daurica (stri- Red-rumped swal- นกนางแอ่นตะโพกแดง olata, hyperythra) low

open areas

42

Hirundo rustica

Barn swallow

นกนางแอ่นบ้าน

open country from plains to over 2,000 meters; though most abundant in well-watered lowlands; very common winter visitors; apparently breeds locally on a few high mountains

43

Hodgsonius phaenicuroides (phoenicuroides)

White-bellied redstart

นกเขนแปลง

dense grass and scrub in open country

44

Icthyophaga nana

Lesser fish-eagle

เหยี่ยวปลาเล็กหัวเทา

forested waterways

45

Ixobrychus sinensis

Yellow bittern

นกยางไฟหัวดำา

reeds, marsh grass, paddyfields

46

Loriculus vernalis

Vernal hanging parrot

นกหกเล็กปากแดง

forests, second growth

sea-coasts, large lakes, rivers

ภาคผนวก

รายงานการศึกษาโดย ชุมชนท้องถิ่นพะลึน

87


ลำาดับที่

88

ชื่อวิทยาศาสตร์

ชื่อภาษาพม่า

ชื่อภาษาไทย

ระบบนิเวศที่มักพบเจอ

47

Machaerhamphus alcinus

Bat hawk

เหยี่ยวค้างคาว

wooded limestone hilly country

48

Malacopteron magnum

Rufous-crowned babbler

นกกินแมลงหัวแดงใหญ่

bushes and small trees in forest and second growth

49

Microhierax caerulescens

Collared falconet

เหยี่ยวแมลงปอขาแดง

open forest, forest edge

50

Microhierax fringillarius (horsfieldi)

Black-thighed falconet

เหยี่ยวแมงปอขาดำา

semi-open country, forest edge, second growth

51

Milvus migrans (lineatus)

Black kite

เหยี่ยวดำา

open and coastal areas, rivers, harbours, cities

52

Numenius arguata

Eurasian curlew

นกอีก๋อยใหญ่

coastal mudflats, sandy beaches

53

Nycticorax nycticorax Black-crowned night-heron

นกแขวก

marshes, mangroves

54

Phaethon aethereus

Red-billed tropicbird

นกร่อนทะเลปากแดง

oceans, oceanic islands

55

Phylloscopus davisoni White-tailed leafwarbler

นกกระจิ๊ดหางขาวเล็ก

evergreen forest

56

Pitta phayrei

Eared pitta

นกแต้วแล้วหูยาว

forests, second growth

57

Plegadis falcinellus

Glossy ibis

นกช้อนหอยดำาเหลือบ

marshes, lakes

58

Pseudibis davisoni (papillosa)

White-shouldered ibis

นกช้อนหอยดำา

lakes, rivers, marshes, paddyfields

59

Pseudibis gigantea

Giant ibis

นกช้อนหอยใหญ่

swamps, lakes, open forest

60

Psittacula finschii (himalayana)

Grey-headed parakeet

นกกะลิง

forests, second growth

61

Pteruthius aenobarbus

Chestnut-fronted shrike-babbler

นกเสือแมลงหน้าสีตาล

evergreen forest and edge

62

Pycnonotus cyaniventris

Grey-bellied bulbul นกปรอดท้องสีเทา

forests, open wooded country

63

Pycnonotus melanicterus (dispar, flaviventris)

Black-crested bulbul

forest edge, second growth, scrubs

64

Rhaphidura leucopygialis

Silver-rumped swift นกแอ่นเล็กหางหนาม ตะโพกขาว

forests, especially near streams

65

Rhipidura perlata

Spotted fantail

นกอีแพรดอกลาย

evergreen forest (usually subcanopy)

66

Sarkidiornis melanotos

Comb duck

เป็ดหงส์

marshy lakes, paddyfields

67

Seicercus affinis (burkii)

White-spectacled warbler

นกกระจ้อยวงตาสีทอง

evergreen forest

ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติและความมั่งคั่ง ของชุมชนในเขตพะลึน รัฐมอญ ประเทศเมียนมา

นกปรอดเหลืองหัวจุก


ลำาดับที่

ชื่อวิทยาศาสตร์

ชื่อภาษาพม่า

ชื่อภาษาไทย

68

Spilornis cheela

Crested serpenteagle

69

Spizaetus alboniger (nipalensis)

Blyth's hawk-eagle เหยี่ยวดำาท้องขาว

70

Streptopelia chinensis Spotted dove

นกเขาใหญ่,นกเขาหลวง

open country, cultivation, gardens, open forest, second growth

71

Strix seloputo (orienta- Spotted wood-owl lis)

นกเค้าป่าหลังจุด

forests, second growth, orchards, town parks, villages, paddyfields

72

Tesia castaneocoronata

นกจุนจู๋หัวสีตาล

undergrowth in evergreen forest

73

Threskiornis melano- Black-headed ibis นกช้อนหอยขาว,นกกุลา cephalus (aethiopica)

marshes, lakes

74

Treron bicincta

Orange-breasted pigeon

นกเปล้าอกสีม่วงนำ้าตาล

open coastal areas, forest, second growth

75

Turnix sylvatica

Little buttonquail

นกคุ่มอืดเล็ก

scrub, cultivation

76

Yuhina castaniceps (torqueola, striata)

Striated yuhina

นกภูหงอนหัวนำ้าตาลแดง

open forest, edge of evergreen

77

Yuhina nigrimenta

Black-chinned yuhina

นกภูหงอนคางดำา

scrub, evergreen forest

Chestnut-headed tesia

เหยี่ยวรุ้ง

ระบบนิเวศที่มักพบเจอ forests forests (imm. Often in lower, more open areas)

ภาคผนวก

9. พันธุ์ไม้ในป่าชายเลน ลำาดับที่

ชื่อวิทยาศาสตร์

ชื่อภาษาอังกฤษ

ชื่อภาษาไทย

1

Acanthus ilicifolius

Holly-leaved/Acanthus/Sea Holly, and Holy Mangrove

เหงือกปลาหมอดอกขาว

2

Aegialites rotundifolia

Nunia gach

ใบพาย, แสม

3

Aegiscerus corniculatum

Black Mangrove, River Mangrove or Khalsi

เล็บมือนาง

4

Avicennia alba

Api Api Putih

แสมขาว

5

Avicennia marina

grey mangrove/ white mangrove

แสมทะเล

6

Avicennia officinalis

Api-api Ludat

แสมดำา

7

Brownlowia tersa

Dungun, Dungun Air, Maragomon, Nam nong

นำ้านอง

8

Bruguira cylindrica

Bakau Putih

ถั่วขาว, ประสักขาว, โปรย, โปรง

9

Bruguiera gymnorrhiza

black Mangrove

พังกาหัวสุมดอกแดง

10

Dalbergia spinosa

Byaik, Ye-chinya

11

Derris trifoliate

Sea Derris

ถอบแถบทะเล, ถอบแถบนำ้า, ผักแถบ รายงานการศึกษาโดย ชุมชนท้องถิ่นพะลึน

89


ลำาดับที่

ชื่อวิทยาศาสตร์

ชื่อภาษาอังกฤษ

ชื่อภาษาไทย

12

Excoecaria agalocha

Buta-buta, Blind-your-eyes

ตาตุ่มทะเล

13

Finlaysonia maritime

Finlayson's creeper

14

Nypa frutican

Nipa palm

ต้นจาก

15

Rhizophora apiculata

Bakau Minyak

โกงกางใบเล็ก

16

Rhizophora mucronata

(loop-root mangrove, red mangrove or Asiatic mangrove

โกงกางใบใหญ่

17

Sesuvium portulacastrum

sea purslane

ผักเบี้ยทะเล, ผักเป๊ะ

18

Sonneratia griffithii

Perepat, Mangrove Apple, Pedada, Pidada

ลำาแพนหิน, ลำาแพนทะเล

19

Xylocarpus granatum

Mangrove Cannonball, Nyireh Bunga

ตะบูนขาว, กระบูนขาว

* หมายเหตุ - ทีมวิจัยทำาการสำารวจป่าชายเลนเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคมและวันที่ 9 ตุลาคม ปี พ.ศ. 2558 และวันที่ 28 มกราคม ปี พ.ศ. 2559

10. การสำรวจป่าชายเลน

นอกจากการสำารวจป่าชายเลนกับชาวบ้านนิเกรอะดั่งที่ กล่าวไปในบทที่ 5 แล้ว ช่วงบ่ายวันที่ 8 ตุลาคม 2558 ทีมวิจยั ลงพืน้ สำารวจป่าชายเลนบริเวณปากแม่นา้ำ นิเกรอะ เป็นครั้งที่สอง เพื่อสำารวจความหลากหลายทางชีวภาพ ของป่าชายเลนด้วยการนับจำานวนชนิดพันธุ์พชื และสัตว์ ที่พบเห็นในแปลงสำารวจ ทีมวิจัยประกอบด้วยพระสงฆ์ เยาวชน ผู้ใหญ่ และชาวประมงจากหมู่บา้ นอังแตงและหมู่บา้ นนิเกรอะ ทีมวิจัยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มหลักคือ กลุ่มสำารวจและ กลุ่มจดบันทึก แปลงสำารวจมีขนาด 10x20 ฟุต ในพื้นที่ป่า ชายเลนบริเวณริมฝั่งแม่นำ้าสาขา กลุ่มสำารวจทำาหน้าที่ นั บ จำ า นวนชนิ ด พั น ธุ ์พื ช และสั ต ว์ ที ่พ บเห็ น ในแปลง สำารวจ ส่วนกลุ่มจดบันทึกทำาหน้าที่วาดแผนที่แปลง สำารวจและบริเวณโดยรอบ มีการเก็บตัวอย่างพืชและ สัตว์ที่พบเจอ พร้อมทั้งระบุตำาแหน่งของพันธุ์พืชและ สัตว์แต่ละชนิดลงแผนที่

90

ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติและความมั่งคั่ง ของชุมชนในเขตพะลึน รัฐมอญ ประเทศเมียนมา

นอกจากนี ้ ที ม วิ จั ย ได้ ส อบถามชื ่อ ท้ อ งถิ ่น ภาษามอญของพืชและสัตว์แต่ละชนิดจากชาวประมง เพื่อความเข้าใจที่ตรงกัน เนื่องจากทีมวิจัยไม่รู้จักหรือ ไม่คุ้นเคยกับพันธุ์พืชหรือสัตว์บางชนิด หลังจากการสำารวจพื้นที่ ทีมวิจัยเดินทางกลับ มายังหมู่บ้านอังแตงเพื่อทำาแผนที่แปลงสำารวจ พร้อม ทั้งระบุตำาแหน่งของพันธุ์พืชและสัตว์แต่ละชนิดที่พบ เจอลงในแผนที่ โดยทีมวิจัยใช้คู่มือนักสืบชายหาดของ มูลนิธิโลกสีเขียวในการจำาแนกชนิดพันธุ์และระบุชื่อ วิทยาศาสตร์ของพืชและสัตว์ ในแผนที่ที่เสร็จสมบูรณ์แล้ว ได้ระบุชื่อและ สัญลักษณ์ของสิ่งมีชวี ติ ที่พบในแปลงสำารวจ ได้แก่ พันธุ์ พืชจำานวน 4 ชนิด, ปู 2 ชนิด, งู 1 ชนิด, หอย 8 ชนิด และปลา 1 ชนิด โดยทีมวิจยั สามารถระบุช่อื วิทยาศาสตร์ ของพันธุ์พืชทั้ง 4 ชนิดที่พบเจอคือ Avicennia marina, Avicennia alba, Aegialitis rotundifolia และ Sonneratia griffithii


ทีมวิจัยประกอบด้วยพระสงฆ์ เยาวชน ผู้ใหญ่และ ชาวประมงสำารวจความหลากหลายทางชีวภาพ ของป่าชายเลนที่ปากแม่นำ้านิเกรอะ ทีมวิจัยใช้คู่มือนักสืบชายหาด ในการจำาแนกชื่อวิทยาศาสตร์ ของพันธุ์พืชและสัตว์ที่พบเจอ รวมทั ้ง ได้ ทำ า แผนที ่แ สดง ตำาแหน่งแปลงสำารวจ โดยใช้ สั ญ ลั ก ษ ณ์ ใ น ก า ร แ ส ด ง ตำ า แหน่ ง พั น ธุ์ พื ช และสั ต ว์ ที ่ พบเจอ

ทีมวิจัยพบพันธุ์พืช 4 ชนิดใน แปลงสำารวจได้แก่ Avicennia marina, Avicennia alba, Aegialitis rotundifolia และ Sonneratia griffithii

แผนที่ที่เสร็จสมบูรณ์จาก การสำารวจป่าชายเลน รายงานการศึกษาโดย ชุมชนท้องถิ่นพะลึน

91


อ้างอิง Bunsong Lekhakun, et al. A Guide To The Birds Of Thailand. Bangkok: Saha Karn Bhaet Co., 1991. Print. Min James Bond. “Comparative Studies on the Macrofauna Dwelling in Substrats of Different Habitats From Ye Coastal Areas, Mon State”. Master of Science. Mawlamyine University, 2014. Print. Myanmar Fishery Products Processors and Exporters Association. Commercial fishes of Myanmar. Yangon: P.A.G, 2008. Print. Yin Yin Win. “A Study on Composition of Mangrove Plants And Associated Faunas From the Kamarwet Creek, Mudon Township, Mon State”. Master of Science. Mawlamyine University, 2015. Print. Zin Moh Moh Tun. “Studies on the Brachyuran Crabs From Ye Coastal Areas, Mon State”. Master of Science. Mawlamyine University, 2012. Print. มูลนิธิโลกสีเขียว. คู่มือนักสืบชายหาด

92

ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติและความมั่งคั่ง ของชุมชนในเขตพะลึน รัฐมอญ ประเทศเมียนมา




Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.