จุลสาร เม ย มิ ย

Page 1

ยูหัวภูมิพลอดุลยเดช

3 ประสบการณการทําวิจัยและสรางสรรค

ของ รศ.ดร.มานี เหลืองธนะอนันต คณะเภสัชศาสตร มหาวิทยาลัยศิลปากร

11 ชีวมวลที่ชุมชนสวนเขื่อน

15 การสังเคราะหไทเทเนียมไดออกไซต ที่มีพอรไฟรินเปนตัวเซ็นซิไทซและ ศึกษาสมบัติการเปนสารเรงปฏิกิริยา ดวยแสง

19 ขาวสารความเคลื่อนไหว

ปณิธาน ส่งเสริมการพัฒนาและเผยแพร่การวิจัยและงานสร้างสรรค์ ทุกทานสามารถแสดงความคิดเห็นในการใหบริการของสถาบันวิจัยและพัฒนาได 5 ชองทาง คือ n โทรศัพท 0-3425-5808 o โทรสาร 0-3421-9013 p E-mail : research.inst54@gmail.com q Facebook : http://www.facebook.com/Research.Development r แบบสอบถามความพึงพอใจในการใหบริการของสถาบันวิจัยฯ


ที่ปรึกษา

บทบรรณาธิการ ฉบับนี้ขอเริ่มต้นด้วยคอลัมน์เปิดโลกกว้างเรื่อง “ประสบการณ์การทํา วิจัยและสร้างสรรค์” ของ รองศาสตราจารย์ ดร.มานี เหลืองธนะอนันต์ จาก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และจาก...ชุมชน ขอนําเสนอเรื่อง “ชีวมวลที่ชุมชนสวนเขื่อน” โดย นายสุพรชัย มั่งมีสิทธิ์ นักวิจัยเชี่ยวชาญจาก สถาบั น วิ จั ย และพั ฒ นา มหาวิ ท ยาลั ย ศิ ล ปากร ส่ ว นงานวิ จั ย ขอแนะนํ า ผลงานวิจัยเรื่อง “การสังเคราะห์ไทเทเนียมไดออกไซด์ที่มีพอร์ไฟรินเป็นตัวเซ็นซิ ไทซ์และศึกษาสมบัติการเป็นสารเร่งปฏิกิริยาด้วยแสง” โดย อาจารย์ ดร.ชีวิตา สุวรรณชวลิต และคณะ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร พร้อมด้วย ข่าวสารความเคลื่อนไหวของสถาบันวิจัยและพัฒนา ขอเชิญท่านติดตามอ่านใน เล่มนะค่ะ

สารบัญ เปิดโลกกว้าง

3

ประสบการณ์การทําวิจัยและสร้างสรรค์ ของ รองศาสตราจารย์ ดร.มานี เหลืองธนะอนันต์

จาก...ชุมชน 11 ชีวมวลที่ชุมชนสวนเขื่อน ผลงานวิจัย 15 การสังเคราะห์ไทเทเนียมไดออกไซด์ที่มีพอร์ไฟรินเป็นตัวเซ็นซิไทซ์และ ศึกษาสมบัติการเป็นสารเร่งปฏิกิริยาด้วยแสง

ข่าวสารความเคลื่อนไหว 19 การอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การใช้งานระบบสารสนเทศสําหรับ งานวิจัยและสร้างสรรค์ 20 วันสงกรานต์ 21 ประชุมหารือการพัฒนาโครงการวิจัยเชิงบูรณาการ เพื่อตอบโจทย์การ บริหารการท่องเที่ยวในเขตพื้นที่ภาคกลางตอนล่าง 22 การประชุมเชิงปฏิบัติการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง การทบทวนแผน ยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติราชการสถาบันวิจัยฯ 23 การอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การเขียนบทความภาษาอังกฤษ เพื่อตีพิมพ์ในวารสารวิชาการนานาชาติ 24 การบรรยายพิเศษ เรื่อง การจัดสรรทุนโครงการพัฒนานักวิจัยและ งานวิจัยเพื่ออุตสาหกรรม-พวอ. 25 โครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง การใช้งานระบบฐานข้อมูลงานวิจัย และสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยศิลปากร 26 การบรรยาย เรื่อง แนวทางการปฏิบัติงานด้านจรรยาบรรณของ บุคลากร 27 การอบรมเชิงปฏิบัติการการทดสอบวัสดุด้วยวิธีทางวิทยาศาสตร์ฯ 29 การตรวจประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ประจําปีการศึกษา 2555 30 การอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การใช้งานระบบฐานข้อมูลงานวิจัยและ สร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อริศร์ เทียนประเสริฐ ผู้อํานวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา

บรรณาธิการ นางอารีย์วรรณ นวมนาคะ

กองบรรณาธิการ นายสุพรชัย นางสาววัชรี นางสาวตปนีย์

มั่งมีสิทธิ์ น้อยพิทักษ์ พรหมภัทร

เผยแพร่โดย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร พระราชวังสนามจันทร์ นครปฐม 73000 โทรศัพท์ 0-3425-5808, 0-3421-9013 โทรสาร 0-3421-9013 E-mail : research.inst54@gmail.com Website : http://www.surdi.su.ac.th

วัตถุประสงค์ จุล สารสถาบันวิจัยและพัฒ นา เป็นจุล สารอิเล็กทรอนิก ส์ (e-journal) ราย 3 เดือน/ฉบับ จัดทําขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ เผยแพร่ ข่ า วสาร กิ จ กรรมต่ า งๆ ของสถาบั น วิ จั ย และพั ฒ นา ตลอดจนความรู้ จ ากบทความวิ ช าการ และผลงานวิ จั ย ของ บุคลากรของมหาวิทยาลัยศิลปากร สถาบันวิจัยและพัฒนายินดี เป็น สื่อกลางในการเผยแพร่ผ ลงานวิจัย บทความทางวิช าการ และเกร็ดความรู้ต่างๆ ของชาวศิลปากรทุกท่าน

จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา ปที่ 22 ฉบับที่ 2 เดือนเมษายน – มิถุนายน 2556 [ 2 ]


เปดโลกกวาง

ประสบการณ์การทําวิจัยและสร้างสรรค์ ของ รองศาสตราจารย์ ดร.มานี เหลืองธนะอนันต์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

(ได้รับรางวัลผลงานวิจัยดีเด่น สาขาวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ประยุกต์ จากสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร ประจําปี 2556) สัมภาษณ์โดย อารีย์วรรณ นวมนาคะ สถาบันวิจัยและพัฒนา

ประสบการณ์การทํางานวิจัยที่ผ่านมาและโครงการวิจัย ที่ทําอยู่ในปัจจุบัน จากผลงานวิจัยที่ได้รับรางวัล เรื่อง “ผลของ สารพอลิเอทิลีนไกลคอลต่อคุณสมบัติทางกายภาพและ ความคงตัวของฟิล์มเชลแล็ก” “จริง ๆ ที่มาของงานนี้เริ่มต้นมา ต้องขอบคุ ณ ภก.รศ.ดร.สนทยา ลิ้มมัทวาภิรัติ์ ที่เป็นคนเริ่มคิดในการ นําเชลแล็กมาใช้ประโยชน์ สาเหตุที่รองศาสตราจารย์ ดร. สนทยาให้ความสนใจเพราะ เชลแล็กเป็นสารที่ผลิตมากใน บ้านเรา เป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากประเทศอินเดีย ทําไมถึงไม่ค่อยนํามาใช้ในอุตสาหกรรมมากนัก เรารู้จักคํา ว่า (ชะแล็ก ที่ใช้สําหรับทาเคลือบไม้ ให้มีความเงางาม และเป็ น การถนอมเนื้ อ ไม้ ) แต่ เ รานํ า สารตั วนี้ ม าใช้ ใ น อุตสาหกรรมยา เครื่องสําอาง มันต้องผ่านกระบวนการที่ ทําให้มันบริสุทธิ์จริง ๆ และก่อนหน้าก็มีการนํามาใช้ โดย สมัยก่อนมีการนํามาใช้ แต่ด้วยความที่เชลแล็กเป็นสารที่ ไม่คงตัว พอเก็บไว้พักหนึ่งมันจะเสียคุณสมบัติไป ทําให้ ความต้ องการนํ า ม า ใ ช้ ล ด ล ง แ ต่ พอนํ า ม า ใ ช้ ใ น อุตสาหกรรมยาในช่วงนั้นเป็นสารเคลือบ (เคลือบกันซึม น้ํ า ) เชลแล็ ก มี ค วามโดดเด่ น ของมั น คื อ กั น ซึ ม น้ํ า ได้ ดี ที่สุด พอนํามาใช้ได้ระยะหนึ่งในอุตสาหกรรมยา เป็นฟิล์ม

เคลือบสารทั้งหลาย มันป้องกันน้ําซึมผ่านได้ดี ทําให้ยาคง ตัวแต่ปรากฏว่า เชลแล็กที่เราเคลือบป้องกันมันเกิดการ เสีย เกิดกระบวนการที่มันรวมตัวกัน เรียกว่า พอลิเมอไร เซชั่น ทําให้ยาไม่แตกตัว พอเรากินยาเข้าไป ยามันจึงไม่ สามารถออกฤทธิ์ได้เพราะสารเคลือบตัวนี้เป็นต้นเหตุที่ทํา ให้ ย าเสีย อั นที่จ ริง ไม่ใ ช่ตั วยาที่ เ สี ย แต่ มัน ทําให้ ย าไม่ สามารถแตกตัวและออกฤทธิ์ได้หลังจากการเคลือบและ เก็บไว้ประมาณได้ไม่ถึงปี จึงไม่ได้รับความนิยมในการใช้ อีกประเด็นคือ มีสารสังเคราะห์เกิดขึ้น ซึ่งมันจะทดแทน ได้ ดี ก ว่ า ดั ง นั้ น ความนิ ย มในอุ ต สาหกรรมยาจึ ง ลดลง เรื่อยๆ

สีสันของ “สารเชลแล็ก”

จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา ปที่ 22 ฉบับที่ 2 เดือนเมษายน – มิถุนายน 2556 [ 3 ]


ลักษณะของตัวครั่งที่ผลิต “สารเชลแล็ก” รศ.ดร.มานี กล่าวถึงสาเหตุที่เลือกกลับมาทํางานวิจัย เรื่องนี้เพราะว่า เชลแล็กเป็นสารที่มาจากธรรมชาติ ผลิต จากตั ว ครั่ ง ที่ มั น ไปถ่ า ยใส่ ต้ น ไม้ ซึ่ ง มี ใ นพื้ น ที่ ท าง ภาคเหนือ และเห็นว่ามันมาจากประเทศไทยเราเอง ซึ่ง เป็นทรัพยากรที่เรามีอยู่ และผลิตได้เป็นปริมาณมาก สามารถใช้ ประโยชน์ ไ ด้ อย่า งกว้ า งขวางในทางยา และ เครื่องสําอางค์ เช่น มาสคาร่า เป็นต้น นอกจากนี้สารตัว นี้ ยั ง สามารถส่ ง ไปขายในต่ า งประเทศ เช่ น ประเทศ เยอรมนี ซึ่งก็ใช้สารตัวนี้ มีงานวิจัยของเยอรมันได้ศึกษา สารตั ว นี้ อ ย่ า งมากขึ้ น โดยนํ า เข้ า จากประเทศไทย แนวคิดตรงนี้ที่ว่าเชลแล็กมีประโยชน์ และเป็นสารที่อุดม สมบูรณ์ในบ้านเรา เราควรจะเอามันมาพัฒนาให้ดีขึ้น ใน เรื่องความไม่คงตัวเพื่อเพิ่มมูลค่าของมัน จึงเป็นจุดเริ่มต้น ในการศึกษาสารตัวนี้ จะเห็นว่าจากงานวิจัยสามารถทําให้ มันคงตัวดีขึ้น แต่ก็ยังคงต้องศึกษาเพิ่มขึ้น เราเริ่มทํางาน เรื่องเชลแล็กนี้มากกว่า 10 ปี แต่แนวงานทางด้าน ดร.สน ทยา ก็จะปรับปรุงด้านอื่น เช่น พัฒนาในรูปอนุพันธ์ต่างๆ ที่สามารถละลายน้ําได้ เช่น รูปเกลือต่างๆ ส่วนดิฉันก็จะ เน้นเรื่องการทําเป็นฟิล์มเคลือบ เคลือบยาหรือเคลือบ ผลไม้ เพื่อความสวยงามหรือเพื่อความคงตัวโดยใช้สาร ช่ ว ยเพิ่ ม ความยื ด หยุ่ น เพื่ อ เพิ่ ม ความคงตั ว โดยสารที่ เคลื อ บควรจะยื ด หยุ่ น และแข็ ง เพี ย งพอ มั น ต้ อ งมี คุณสมบัติเหมือนพลาสติก ยืดได้ ซึ่งข้อเสียที่พบบ่อยอีก ประการของเชลแล็ก คือ ความเปราะและไม่ยืดหยุ่น จึง ต้ อ งคิ ด หาสารที่ ไ ปลดข้ อ ด้ อ ยตรงนี้ ทํ า ให้ มั น มี ค วาม ยื ด หยุ่ น สารที่ เ พิ่ ม เข้ า มาเรี ย กว่ า พลาสติ ไ ซเซอร์ (plasticizer) หรือสารเพิ่มความยืดหยุ่น ซึ่งพอลิเอทิลีน ไกลคอลเป็ น สารเพิ่ ม ความยื ด หยุ่ น ตั ว หนึ่ ง ก่ อ นเป็ น

งานวิ จั ย ฉบั บ นี้ เราศึ ก ษาเรื่ อ ง คุ ณ สมบั ติ พื้ น ฐานของ เชลแล็กและการทําให้มันคงตัว โดยใช้เพียงเชลแล็กโดย ไม่เติมสารอื่นๆเลยมาทําเป็นฟิล์มเคลือบ พบว่ามันเริ่ม รวมตัวกัน ทําให้มันเสียสภาพไป นี่เป็น paper เก่าเรา ศึ ก ษาโครงสร้ า ง พบว่ า มั น มี โ อกาสจะมารวมตั ว กั น จากนั้ น ทดลองเติ ม สารที่ ส ามารถป้ อ งกั น การเกิ ด การ รวมตัว (พอลิเมอร์ไรเซชั่น) สารตัวนั้นบังเอิญเป็นสารเพิ่ม ความยืดหยุ่นด้วย เราจึงศึกษาใน paper ถัดมา paper เก่าดูความไม่คงตัว 2 เดือนก็เสียแล้ว พอเราเติมสารพอลิ เอทิลีนไกลคอล พบว่าสารตัวนี้เป็นสารเพิ่มความยืดหยุ่น ตัวหนึ่ง และยังเพิ่มความคงตัวให้มัน ดังนั้น จึงเอามาต่อ ยอดใน paper ใหม่ ซึ่งพอลิเอทิลีนไกลคอลมันมีหลาย เกรด ขนาดโมเลกุลต่างๆกันไป เราก็เลยศึกษาว่าขนาด โมเลกุลและความเข้มข้นของสารมีผลหรือไม่ เราก็พบข้อ สรุปว่า ขนาดโมเลกุลและความเข้มข้นที่เหมาะสมเท่านั้น สามารถป้องกันไม่ให้มันรวมตัวกันได้ ซึ่งตอนนี้คณะ ผู้วิจัยได้นําผลงานวิจัยของเชลแล็กมาใช้หลายด้านแล้ว เช่น ทางการเกษตรโดยศึกษาวิเคราะห์คุณสมบัติเบื้องต้น ของฟิล์มที่ใช้ในการเคลือบผลไม้ และทําให้ผลไม้มีความ คงตั ว ยาวนานพอที่ จ ะส่ ง ออกได้ ในทางยาได้ ศึ ก ษานํ า เชลแล็กเป็นส่วนหนึ่งของตัวพายาในการนําส่งยาโปรตีน นอกจากงานวิจัยที่ได้รางวัลนี้ ตอนนี้มีงานวิจัยที่ ทําต่อเป็นเรื่องการฟอกขาว (ต่อยอด) เนื่องจากเชลแล็กสี มันไม่สวย สีมันเหมือนมะม่วงกวน ดําๆ น้ําตาลๆ ไม่น่าใช้ ตอนนี้ให้ นักศึกษาปริญญาโท ทํางานวิจัยเรื่องการฟอก ขาวอยู่ เพราะคนเราส่วนใหญ่ชอบสีขาว ๆ ที่ชวนใช้ และ กําลังศึกษาต่อในเรื่องความเป็นพิษ หรือการใช้สําหรับ นําส่งยา รศ.ดร.มานี ได้กล่าวว่า “ถ้าเราสามารถผลิตสาร ที่เป็นวัตถุดิบจากประเทศไทยได้ และประโยชน์ของสาร ตัวนี้มีอยู่มาก จะเป็นแนวทางที่ดีมาก ซึ่งเป็นการสร้าง มู ล ค่าของสารนั้ น และจะช่วยลดต้นทุ น ของการนําเข้ า สารเคมี ทุ น วิ จั ย ที่ ไ ด้ รั บ และเทคนิ ค การหาทุ น เพื่ อ ใช้ ใ นการ สนับสนุนการทําวิจัย มหาวิ ท ยาลั ย ก็ ส นั บ สนุ น โดยสถาบั น วิ จั ย และ พัฒนาเป็นศูนย์กลางในการประสานงานการขอรับทุนจาก งบประมาณแผ่ น ดิ น ต้ อ งขอขอบคุ ณ สถาบั น วิ จั ย และ

จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา ปที่ 22 ฉบับที่ 2 เดือนเมษายน – มิถุนายน 2556 [ 4 ]


พั ฒนา มหาวิทยาลั ยศิล ปากรที่ ได้ใ ห้การสนับ สนุน การ ทําวิจัย ซึ่งในเบื้องต้นของการเป็นอาจารย์ก็ได้รับทุน สนับสนุนจากงบประมาณเงินรายได้และงบแผ่นดิน อีกทั้ง ยั ง ได้ รั บ การสนั บ สนุ น ทุ น ในชุ ด โครงการวิ จั ย ทํ า ให้ สามารถสร้างงานวิจัยและเริ่มต้นในการสร้างบัณฑิตศึกษา ได้ คณะเภสัชศาสตร์ได้สนับสนุนคณาจารย์ทั้งหลาย ในการทําวิจัย ซึ่งทุนที่ได้รับสําหรับงานวิจัยนี้เป็นทุนของ คณะวิชาในวงเงิน 50,000 บาท นอกจากนั้นยังได้รับทุน สนับสนุนจาก สกว. ในโครงการทุนปริญญาเอกกาญจนา ภิเษก (คปก) ตรงนี้เป็นแหล่งงบประมาณที่สําคัญมากใน การสนับสนุนการทํ าวิจัย โดยเฉพาะสารเคมี และความ ร่ ว มมื อ กั บ คณาจารย์ ใ นต่ า งประเทศ เพราะในด้ า น บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยของเรานี้ สนับสนุนน้อยมากๆ นักศึกษาของดิฉันได้รับเพียง 10,000 บาท ในการทําวิจัย ระดั บปริ ญ ญาเอกและยัง มี นั กศึ ก ษาส่ ว นใหญ่ อีก มากที่ ไม่ได้รับการสนับสนุนเลยเนื่องจากมีเพียงไม่กี่ทุน ในตรง นี้ ถ้ า ไม่ ไ ด้ ทุ น จากโครงการปริ ญ ญาเอกกาญจนาภิ เ ษก งานวิจัยหรือการผลิตบัณฑิตศึกษาจะไม่มีวันเกิดขึ้นเลย สํ า หรั บ เทคนิ ค การหาทุ น ข้ อ สํ า คั ญ ต้ อ งเขี ย น โครงการให้น่าสนใจและมีระเบียบวิธีวิจัยที่ถูกต้อง อีกทั้ง ต้องสร้างผลงานของผู้ขอให้เกิดขึ้นก่อน ซึ่ง สกว. จะให้ ความสําคัญ profile ของผู้ขอทุนคือ ผู้ขอทุนจะต้องมี ผลงานวิจัยตลอดระยะเวลาย้อนหลังไป 5 ปี เนื่องจากทุน มีน้อยลงและการแข่งขันมีมากขึ้น ประสบการณ์การสร้างทีมวิจัย การสร้างทีมวิจัย เรามีทีมคณาจารย์ในภาควิชาที่ สนใจงานในแนวเดียวกันก็ร่วมกันทําวิจัยโดยเริ่มต้นจาก ทําเองก่อน แต่ต่อมาหลังจากที่พอหาแหล่งทุนวิจัยได้บ้าง ก็ส่งเสริมการมีผู้ช่วยวิจัย เพื่อช่วยสนับสนุนการทํางาน วิจัยของคณาจารย์ อีกทั้งเป็นการสร้างทีมวิจัยที่เข้มแข็ง ขึ้น นอกจากนี้ยังได้รวมตัวก่อตั้งกลุ่มวิจัยที่ทํางานในแนว เดียวกันทั้งคณาจารย์ในภาควิชาและต่างภาควิชาโดยใช้ ชื่อกลุ่มวิจัยว่า Pharmaceutical Biopolymer Group (PBiG) ซึ่งมี รองศาสตราจารย์ ดร.พรศักดิ์ ศรีอมรศักดิ์ เป็นแกนนําหลักในการก่อตั้งทีมวิจัยนี้ ซึ่งกลุ่มวิจัยนี้มีการ ประชุมแลกเปลี่ยนความรู้กันเป็นประจํา ผู้ช่วยวิจัยที่ได้

เข้ า มาร่ ว มงานในกลุ่ ม นี้ หลายคนก็ ไ ด้ ศึ ก ษาต่ อ ระดั บ ปริญญาโทและเอก หลายคนก็ได้ไปสร้างงานในหน่วยงาน ต่างๆ โดยเป็นอาจารย์และนักวิ จัยทั้งในหน่วยงานของ ภาครัฐและเอกชน คณะมีเวทีวิชาการเสนอผลงานวิจัยของคณาจารย์ใน คณะหรือไม่อย่างไร คณะวิ ช ามี ก ารส่ ง เสริ ม สนั บ สนุ น ให้ เ สนอ ผลงานวิจัยและสร้างสรรค์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ มีงบประมาณที่สามารถขอสนับสนุนได้ตลอดเวลาแต่ใน วงเงินไม่มากนัก โดยมากจะเป็นการสนับสนุนการเผยแพร่ ในรูปวารสารทางวิชาการ โดยให้การสนับสนุนตาม ประเภทสิ่งพิมพ์และ impact factor การทํางานวิจัยแบบบูรณาการกับสาขาวิชาอื่นๆ ทั้งใน มหาวิทยาลัยศิลปากร และหน่วยงานภายนอก (ที่ผ่าน มามี ก ารดํ า เนิ น การหรื อ ไม่ อนาคตมี ค วามคิ ด เห็ น อย่างไร) ศาสตร์ ท างเภสั ช ศาสตร์ เ ป็ น ศาสตร์ ที่ มี ค วาม บูรณาการในตัวของมันเอง ที่ผ่านมาก็มีความร่วมมือด้าน วิจัยกับคณาจารย์ภาควิชาต่างๆภายในคณะวิชา โดยได้รับ ทุนในการทําวิจัยประเภทชุดโครงการ ซึ่งมีคณาจารย์จาก หลายภาควิชาร่วมมือกันทําวิจัยและมี mentor จากต่าง มหาวิ ท ยาลั ย นอกจากนี้ ยั ง มี ค วามร่ ว มมื อ กั บ ต่ า ง มหาวิทยาลัยและต่างประเทศ ซึ่งเกิดจากการที่นักศึกษา ปริญญาเอกที่ได้รับการสนับสนุนจากทุนโครงการปริญญา เอกกาญจนาภิ เ ษกและทุ น สนั บ สนุ น จากมหาวิ ท ยาลั ย หั ว เฉี ย วในการทํ า วิ จั ย โดยได้ ผ ลิ ต ผลงานวิ จั ย ร่ ว มกั บ คณาจารย์ ใ นต่ า งประเทศทั้ ง ญี่ ปุ่ น เยอรมั น และ ออสเตรเลีย สําหรับอนาคตในการบูรณาการกับหน่วยงาน อื่นๆ เพิ่มขึ้นนั้น คิดว่าต้องขึ้นอยู่กับปัจจัยเรื่องการได้รับ ทุนสนับสนุนซึ่งต้องใช้ความพยายามอย่างมากในการขอ ทุนใหม่ๆ จากหน่วยงานภายนอกรวมทั้งหน่วยงานภายใน มหาวิทยาลัย

จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา ปที่ 22 ฉบับที่ 2 เดือนเมษายน – มิถุนายน 2556 [ 5 ]


ความคาดหวังต่อการส่งเสริมและสนับสนุนการทํางาน วิจัยจากมหาวิทยาลัยศิลปากร รศ.ดร.มานี กล่าวว่าความคาดหวังต่อการส่งเสริม สนับสนุนการทําวิจัยจากมหาวิทยาลัยนั้นไม่อยากคาดหวัง ต่อมหาวิทยาลัยเลยจริงๆ เพราะไม่คิดว่ามหาวิทยาลัยจะ มีศักยภาพที่จะสนับสนุนการวิจัยจนถึงที่สุดได้ มิใช่เพียง แค่การจัดสรรทุนเพื่อให้เกิดการวิจัยเท่านั้น แต่ต้องทําให้ งานวิจัยเกิดการต่อยอดและเกิดผลกระทบต่อสังคมทั้งใน เชิง พาณิ ช ย์แ ละในการพัฒ นาประเทศจริ ง ๆ ที่ สุด ของ งานวิ จั ยมั น จะต้ อ งมี เ งิ น ลงทุ นที่ ต่ อ ยอดอี ก จํ า นวนมาก นอกจากทุ น แล้ ว ยั ง ต้ อ งมี วิ สั ย ทั ศ น์ มี ค วามสั ม พั น ธ์ กั บ องค์ ก รต่ า งๆเพื่ อ ให้ ก ารสนั บ สนุ น จนเกิ ด ประโยชน์ ต่ อ วงการอุตสาหกรรมจริงๆ มันมีอีกหลายขั้นตอนที่จะต้อง ทําเพื่อจะให้เกิดผลสัมฤทธิ์ สําหรับการสนับสนุนของมหาวิทยาลัยโดยการให้ รางวัลผลงานวิจัยและสร้างสรรค์นั้น อันที่จริงมันเป็นเพียง การตี ก ลองเป่ า ประกาศเท่ า นั้ น แต่ ค วามสํ า คั ญ เพื่ อ ให้ ผลงานวิจัยทั้งหลาย เกิดประโยชน์จริงๆนั้นน้อยมาก มัน อาจมีประโยชน์อยู่ก็เพียงน้อยนิด อาจสามารถกระตุ้นให้ คณาจารย์ทํางานวิจัยมากขึ้นก็เป็นไปได้ ซึ่งอันที่จริงหาก ไม่ มี ทุ น อั น นี้ ค ณาจารย์ ก็ ต้ อ งทํ า วิ จั ย อยู่ แ ล้ ว มั น เป็ น mission หนึ่งของการเป็นอาจารย์ ทุกครั้งที่ได้รับทุนใน

การทําวิจัยที่สุดก็สามารถเผยแพร่ผลงานในรูปสิ่งตีพิมพ์ที่ มี impact factor แต่มันก็เป็นเพียงแค่ paper หรือเป็น เพียงช่องทางในการใช้ขอตําแหน่งทางวิชาการหรืออย่าง มากสุดสามารถจดทรัพย์สินทางปัญญาได้ การได้ paper และทรัพย์สินทางปัญญาแล้วยังไง ถามว่าผลงานเหล่านี้ เกิ ด ประโยชน์ ต่ อ สั ง คมมากน้ อ ยแค่ ไ หน ถ้ า เรามี หน่วยงานภาครัฐบาลหรือภาคเอกชนที่มาสนับสนุนให้เกิด ความต่อเนื่องอย่างเป็นรูปธรรม จนสามารถนําไปใช้ได้ใน ระดั บ อุ ต สาหกรรมทั้ ง อุ ต สาหกรรมยา อาหารและ เครื่องสําอางค์หรืออุตสาหกรรมอื่นๆ หรือสามารถพัฒนา จนสามารถส่งออกไปขายต่างประเทศได้ ซึ่งเป็นการสร้าง มู ล ค่ า ของงานวิ จั ย ก็ จ ะเกิ ด ประโยชน์ อ ย่ า งมากต่ อ ประเทศไทย งานวิจัยของนักวิชาการทั้งหลายต่อให้ได้กี่ รางวัลที่หน่วยงานต่างๆพยายามเป่าประกาศกัน และจบ ลงมันก็จะเป็นเพียงแค่สิ่งที่อยู่ในวารสารเท่านั้นหรือเป็น เพี ย งรางวั ล ที่ พ ยายามเชิ ด ชู กั น สั ง คมหรื อ ผู้ ที่ เ กิ ด แรง บั น ดาลใจ มี ค วามคิ ด มี ค วามสามารถในการสร้ า ง งานวิจัย แต่ขาดการสนับสนุนอย่างเป็นรูปธรรมในการต่อ ยอดจนถึงขั้นนําไปใช้ประโยชน์ได้จริงๆ ในที่สุดก็จะเป็นที่ น่าเสียดายมากสําหรับทุน พลังความคิดและเวลาที่ได้เสีย ไป

จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา ปที่ 22 ฉบับที่ 2 เดือนเมษายน – มิถุนายน 2556 [ 6 ]


ประวัติและผลงาน

ชื่อ-ชื่อสกุล มานี เหลืองธนะอนันต์ สถานที่ทํางาน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ตําแหน่ง รองศาสตราจารย์ ประวัติการศึกษา ปริญญาตรีเภสัชศาสตร์ ปริญญาเอกเภสัชศาสตร์ (Pharmaceutics) Manchester University ผลงาน และรางวัล รางวัลที่ได้รับ Scholarship from the Royal Pharmaceutical Society of Great Britain Scholarship from the University of Manchester รางวัลผลงานวิจัยดี สาขาวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ประยุกต์ จากสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร ประจําปี 2550 รางวัลผลงานวิจัยดีเด่น สาขาวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ประยุกต์ จากสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร ประจําปี 2556 ผลงานเผยแพร่ในรูปสิ่งตีพิมพ์ย้อนหลัง 5 ปี 1. Sitthiphong Soradech, Sontaya Limmatvapirat, Manee Luangtana-anan Stability enhancement of shellac by formation of composite film: Effect of gelatin and plasticizers Journal of Food Engineering 116 (2013) 572–580. 2. Kraisit P, Limmatvapirat S, Nunthanid J, Sriamornsak P, Luangtana-Anan M. Nanoparticle formation by using shellac and chitosan for a protein delivery system” Pharmaceutical development and technology Vol.18 No.3 (2013) pp 686-693. 3. Sitthiphong Soradech, Jurairat Nunthanid, Sontaya Limmatvapirat, Manee Luangtana-anan An approach for the enhancement of the mechanical properties and film coating efficiency of shellac by the formation of composite films based on shellac and gelatin Journal of Food Engineering 108 (2012) 94–102. 4. Saengsod S, Limmatvapira S, Luangtana-Anan M, A New Approach for The Preparation of Bleached Shellac for Pharmaceutical Application: Solid Method Advanced Materials Research 506 (2012) pp 50-253.

จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา ปที่ 22 ฉบับที่ 2 เดือนเมษายน – มิถุนายน 2556 [ 7 ]


5. Kraisit P, Limmatvapirat S, Nunthanid J, Sriamornsak P, Luangtana-Anan M. Determination of Surface Free Energy and Contact Angle for Hydrolyzed Shellac Advanced Materials Research 506 (2012) pp 270-273. 6. Sobharaksha P, Indranupakorn R, Luangtana-anan M Influence of Diluents on Physical Properties of Soybean Extracted Powder Prepared by Spray Drying Methodn Advanced Materials Research 506 (2012) pp 529-532. 7. Sobharaksha P, Indranupakorn R, Luangtana-anan M Engineering of Soybean Extract Powder: Identification, Characterisation and Stability Evaluation Advanced Materials Research 2011, 194-196: 507-510. 8. Sitthiphong Soradech, Jurairat Nunthanid, Pornsak Sriamornsa, Sontaya Limmattavapirat and Manee Luangtanaanan Factors affecting an enhancement of mechanical properties of composite edible film based on shellac and gelatin Thai Journal of Agricultural Science : Vol. 44 Iss.5 Spcl. Iss. 2011, 263-269. 9. Sobharaksha P., Luangtana-anan M., Indranupakorn R. Determination of Isoflavones in Soybeans under Various Extraction Methods by Developed High Performance Liquid Chromatography Journal of Hospital pharmacy , 2011, 21(1) January-April. 10. Indranupakorn R., Sobharaksha P., Luangtana-anan M. Antioxidant activities of the soybean extracts obtained by classical extraction, IJPS 6(3): 113-121 (2010). 11. Luangtana-anan M., Limmatvapirat S., Nunthanid J., Chalongsuk R., & Yamamoto K. Polyethylene Glycol on Stability of Chitosan Microparticulate Carrier for Protein. AAPS PharmSciTech 2010, 11(3), 1376-1382. 12. Luangtana-anan M, Nunthanid J, Limmatvapirat S. Effect of molecular weight and concentration of polyethylene glycol on physicochemical properties and stability of shellac film Journal of Agricultural and Food Chemistry 2010, 58(24): 12934-12940. 13. Nunthanid J, Luangtana-Anan M, Sriamornsak P, Limmatvapirat S, Huanbutta K, Puttipipatkhachorn S, Use of spray-dried chitosan acetate and ethylcellulose as compression coats for colonic drug delivery: Effect of swelling on triggering in vitro drug release. European Journal of Pharmaceutics and Biopharmaceutics 2009, 71, (2): 356-361. 14. Panchapornpon D, Nunthanid J, Luangtana-Anan M, Limmatvapirat C, Puttipipatkhachorn S, Limmatvapirat S. Investigation of Modified Shellac as a Potential Material for Enhanced Enteric Drug Delivery of Xenobiotic Agents. Drug Metabolism Reviews 2009, 41: 183. 15. Nunthanid J, Huanbutta K, Luangtana-anan M, Sriamornsak P, Limmatavapirat S and Puttipipatkhachorn S. Development of time- , pH-, and enzyme-controlled colonic drug delivery using spray-dried chitosan acetate and hydroxypropyl methylcellulose. European Journal of Pharmaceutics and Biopharmaceutics 2008; 68(2): 253-259. 16. Limmatvapirat S, Limmatvapirat C, Puttipipatkhachorn S, Nunthanid J, Luangtana-Anan M, Sriamornsak P.Modulation of drug release kinetics of shellac-based matrix tablets by in-situ polymerization through annealing process. Eur J Pharm Biopharm. 2008; 69 (3): 1004-1013. 17. Sriamornsak P, Asavapichayont P, Nunthanid J, Luangtana-Anan M, Limmatvapirat S, Piriyaprasarth S. Waxincorporated Emulsion Gel Beads of Calcium Pectinate for Intragastric Floating Drug Deliv AAPS PharmSciTech. 2008; 9(2): 571-576. 18. Limmatvapirat S, Panchapornpon D, Limmatvapirat C, Nunthanid J, Luangtana-Anan M, Puttipipatkhachorn S. Formation of shellac succinate having improved enteric film properties through dry media reaction.Eur J Pharm Biopharm. 2008; 70(1): 335-344. 19. Sriamornsak P, Nunthanid J, Luangtana-Anan M, Puttipipatkhachorn S. Alginate-based pellets prepared by extrusion/spheronization: A preliminary study on the effect of additive in granulating liquid. European Journal of Pharmaceutics and Biopharmaceutics 2007; 67: 227-235. 20. Manee Luangtana-anan, Sontaya Limmatvapirat, Jurairat Nunthanid, Chalermphon Wanawongthai, Rapeepun Chalongsuk, and Satit Puttipipatkhachorn Effect of Salts and Plasticizers on Stability of Shellac Film J. agri food chem. 55 (3), 687 – 692, 2007. จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา ปที่ 22 ฉบับที่ 2 เดือนเมษายน – มิถุนายน 2556 [ 8 ]


21. Limmatvapirat S, Limmatvapirat C, Puttipipatkhachorn S, Nuntanid J, Luangtana-Anan M. Enhanced Enteric Properties and Stability of Shellac Films through Composite Salts Formation. Eur J Pharm Biopharm. 2007, 67(3):690-8. ผลงานในรูปการนําเสนอในเวทีการประชุมวิชาการย้อนหลัง 5 ปี 1. Parapat Sobharaksha, Manee Luangtana-anan, Ratana Indranupakorn "Engineering of Soybean Extract Powder: Identification, Characterisation and Stability Evaluation" The International Conference on Manufacturing Science and Engineering 2011 (ICMSE 2011) Guilin, China April 8-12, 2011 2. สิทธิพงศ์ สรเดช, จุไรรัตน์ นันทานิช, สนทยา ลิ้มมัทวาภิรัติ์, พรศักดิ์ ศรีอมรศักดิ์ และมานี เหลืองธนะอนันต์ ปัจจัยที่มีผลต่อ ความสามารถในการเปียกและพลังงานอิสระที่พื้นผิวของฟิล์มคมอพอสิตที่เตรียมจากเชลแล็กและเจลาติน การประชุมวิชาการและ เสนอผลงานวิจัยสร้างสรรค์ ศิลปากรวิจัย ครั้งที่ 4 นครปฐม, 19-21 มกราคม 2554 3. Suthep Saengsod, Sontaya Limmatvapirat, Jurairat Nunthanid, Pornsak Sriamornsak and Manee Luangtana-Anan Effect of various solvents on blenching efficiency of shellac การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยทางเภสัชศาสตร์ประจําปี 2553 (ครั้งที่ 27) กรุงเทพ 3-ธ.ค.-53. 4. Pakorn Kraisit, Sontaya Limmatvapirat, Jurairat Nunthanid, Pornsak Sriamornsak and Manee Luangtana-anan Two biodegradable polymers on nanoparticulate formation as protein drug delivery system การประชุมวิชาการ เสนอผลงานวิจัยทางเภสัชศาสตร์ประจําปี 2553 (ครั้งที่ 27) กรุงเทพ 3-ธ.ค.-53. 5. Sitthiphong Soradech, Jurairat Nunthanid, Pornsak Sriamornsak, Sontaya Limmatvapirat and Manee Luangtanaanan. Factors affecting an enhancement of mechanical properties of composite edible film based on shellac and gelatin International Conference on Agriculture and Agro-Industry (ICAAI2010). Food, Health and Trade Chiangrai Province, Thailand. 19-20 November 2010. 6. Parapat Sobharaksha, Manee Luangtana-anan, Ratana Indranupakorn Development of HPLC methods for analytical Genistein and Daidzein from soybean 3rd Botanical Conference of Thailand March 25, 2009 Faculty of Science, Mahidol University. 7. Parapat Sobharaksha, Manee Luangtana-anan, Ratana Indranupakorn Effect of temperatures on the amout of genistein and daidzein from soymilk , งานประชุมมหกรรมสมุนไพรแห่งชาติ ครั้งที่ 6 Impact Muangthongtanee, Pathumtane September 2-6,2009. 8. Parapat Sobharaksha, Manee Luangtana-anan, Ratana Indranupakorn Effect of temperatures on the amout of genistein and daidzein from soymilk The 35 th Congress on Science and Technology of Thailand, The tide resort, Chonburi ,October 15-17, 2009. 9. Pakorn Kraisit, Jurairat Nuntanid, Sontaya Limmatvapirat, Pornsak Sriamornsak, Manee Luangtana-anan Formation of protein loaded nanoparticles between two biodegradable polymers by ionic cross-linking 5th Thailand Pharmacy Congress International Trade and Exhibition Centre (BITEC) in Bangkok , Thailand. November 27-28, 2009 (โปสเตอร์ดีเด่น) 10. Panchapornpon D, Nunthanid J, Luangtana-Anan M, Limmatvapirat C, Puttipipatkhachorn S, Limmatvapirat S. Investigation of modified shellac as a potential material for enhanced enteric drug delivery of xenobiotic agents. 3rd Asian Pacific ISSX meeting, The Imperial Queen’s Park Hotel, Bangkok, Thailand, May 10-12, 2009. 11. Pakorn Kraisit, Jurairat Nuntanid, Sontaya Limmatvapirat, Pornsak Sriamornsak, Manee Luangtana-anan Effect of Chitosan Salts on Complex of Shellac for Protein Delivery System. 12. RGJ-Ph.D. Congress X“Climate Change and Its Impacts”การประชุมนักวิจัยรุ่นใหม่ พบเมธีวิจัยอาวุโส สกว ครั้งที่ 9, เพชรบุรี, April 3 – 5, 2009 13. Panchapornpon D, Puttipipatkhachorn S, Nunthanid J, Luangtana-anan M, Limmatvapirat C, Limmatvapirat S. Effect of Molecular Structure of Cyclic Anhydrides on Solid State Formation and Enteric Properties of Shellac Esters, 17th International Symposium on Microencapsulation, Nagoya, Japan, 29 September- 1 October 2009.

จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา ปที่ 22 ฉบับที่ 2 เดือนเมษายน – มิถุนายน 2556 [ 9 ]


14. Luangtana-anan M, Limmatvapirat S. Nunthanid J, Chitosan Salts as Protein Loaded Microparticle Produced from Waste of Sea Food from Thailand. 17th International Symposium on Microencapsulation, Nagoya, Japan, 29 September- 1 October 2009. 15. Huanbutta K, Luangtana-Anan M, Sriamornsak P, Limmatvapirat S, , Puttipipatkhachorn S, Lim LY Nunthanid J, Effect of Methods of Preparation on Characteristic of Chitosan Microcapsules. 17th International Symposium on Microencapsulation, Nagoya, Japan, 29 September- 1 October 2009. 16. Limmatvapirat, S. Limmatvapirat, C. Panchapornpon, D. Nuntanid, J. Luangtana-anan, M. Sittisombat, C. Sriamornsak, P. Puttipipatkhachorn, S. Evaluation of Shellac as a Matrix Forming Material for Sustained Drug Release. การประชุมนักวิจัยรุ่นใหม่ พบเมธีวิจัยอาวุโส สกว ครั้งที่ 8, Phetchaburi, October 16-18, 2008. 17. Limmatvapirat S, Limmatvapirat C, Panchapornpon D, Nunthanid J, Luangtana-Anan, M, Sittisombat C, Sriamornsak P, Puttipipatkhachorn S. Development of shellac from source available in Thailand as a potential polymer for enteric drug delivery. การประชุมนักวิจัยรุ่นใหม่พบเมธีวิจัยอาวุโส สกว. 16-18 ตุลาคม 2551. เพชรบุรี 18. Limmatvapirat S, Jongjherdsak N, Nunthanid J, Luangtana-Anan M, Limmatvapirat C, Sriamornsak P. Evaluation of porous shellac matrices as a carrier for non-effervescent floating drug delivery. 22nd Federation of Asian Pharmaceutical Associations Congress (FAPA 2008) 7-10 November 2008. Singapore. 19. Panchapornpon D, Jongjherdsad N, Nunthanid J, Luangtana-anan M, Limmatvapirat C, Puttipipatkhachorn S, Limmatvapirat S., Solid state formation of shellac phthalate having improved enteric property and stability., 22nd Federation of Asian Pharmaceutical Associations Congress (FAPA 2008) 7-10 November 2008. Singapore. 20. Panchapornpon D, Limmatvapirat C, Nuntanid J, Luangtana-anan M, Limmatvapirat S. Synthesis of Shellac Phthalate through Environmental Friendly Reaction. ศิลปากรวิจัย ครั้งที่ 2 วันที่ 18-19 ธันวาคม 2551 ณ มหาวิทยาลัย ศิลปากร วังท่าพระ 21. ปกรณ์ ไกรสิทธิ์ และมานี เหลืองธนะอนันต์ Application of chitosan base and chitosan glutamate in microparticles for protein delivery system. ศิลปากรวิจัย ครั้งที่ 2 วันที่ 18-19 ธันวาคม 2551 ณ มหาวิทยาลัย ศิลปากร วังท่าพระ

จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา ปที่ 22 ฉบับที่ 2 เดือนเมษายน – มิถุนายน 2556 [ 10 ]


จาก...ชุมชน

ชีวมวลทีช่ มุ ชนสวนเขื่อน สุพรชัย มั่งมีสิทธิ์ นักวิจัยเชี่ยวชาญ สถาบันวิจัยและพัฒนา

สืบเนื่องจากการเดินทางไปเป็นวิทยากรฝึกอบรม เชิงปฏิบัติการเรื่อง การสร้างเตาชีวมวลให้กับชุมชนบ้าน สวนเขื่อน ตําบลสวนเขื่อน อําเภอเมือง จังหวัดแพร่ เมื่อ วันที่ 6 พฤษภาคม 2556 ที่ผ่านมา การฝึกอบรมในครั้งนี้ ได้รับการสนับสนุนจากเทศบาลสวนเขื่อน ในการจัดหา วัสดุฝึกและค่าใช้จ่ายต่างๆ สําหรับการฝึกอบรม โดยมี ชุมชนต่างๆ ในตําบลส่วนเขื่อน 7 หมู่บ้าน และเครือข่าย จากลําปาง เครือข่ายตําบลแม่หล่าย อําเภอเมืองแพร่ เข้าร่วมการเรียนรู้ในครั้งนี้จํานวน 80 คน สถาบันวิจัย และพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้รับการประสานงาน จากผู้นําขุมชนสวนเขื่อน เพื่อขอสนับสนุนวิทยากรไปให้ ความรู้ เ กี่ ย วกั บ แนวทางการสร้ า งเตา หลั ก การทํ า งาน รวมถึงการนําไปประยุกต์ใช้ในวิถีชีวิตของชุมชน ซึ่งการ ไปครั้งนี้ ผู้เขียนซึ่งเป็นวิทยากรหลัก ได้นําชุมชนต้นแบบ ของเพชรบุรีที่ร่วมกับสถาบันวิจัยและพัฒนาทํางานพัฒนา คิดค้น ปรับปรุง เตาชีวมวลรูปทรงต่างๆ ร่วมไปนําเสนอ ในเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งนี้ด้วย โดยคณะวิทยากรนํา อุ ป กรณ์ เครื่ อ งมื อ บางอย่ า ง รวมถึ ง เตาต้ น แบบไปจั ด แสดงให้ผู้เข้ารับการอบรมได้สัมผัสด้วย นอกเหนือจาก การบรรยายประกอบสไลด์ ทําให้การอบรมครั้งนี้ได้รับ ความสนใจจากผู้เข้ารับการอบรมเป็นอย่างดี

ลัก ษณะพื้ น ที่ ข องตํ า บลสวนเขื่ อ นเท่ า ที่ ผู้เ ขี ย นมี โอกาสได้สัมผัส เพราะผู้เขียนและคณะเดินทางล่วงหน้า ก่อ นวัน อบรม 1 วั น เพื่อ จั ด เตรีย มสถานที่ และหาวั ส ดุ บางส่วนที่จะต้องใช้ในการฝึกปฏิบัติ เมื่อเตรียมการเป็นที่ เรียบร้ อยแล้ว หนึ่งในคณะทํางานของพวกเราเป็ นคน ท้องถิ่นที่เกิดและเติบโตในชุมชนสวนเขื่อนได้พาชาวคณะ เดินทางไปสัมผัสกับภูมิประเทศต่างๆ ของตําบลสวนเขื่อน ระหว่างทางผู้เขียนได้แวะคุยสอบถามกับคนท้องถิ่นทําให้ ทราบถึงความเป็นมาเป็นไปของตําบลนี้พอสมควร

วัดสวนเขื่อน

ตํ า บลสวนเขื่ อ นพื้ น ที่ ส่ ว นใหญ่ เ ป็ น ที่ ร าบสู ง และ มีภูเขาสลับซับซ้อน มีหมู่บ้านอยู่บนภูเขา จํานวน 3 หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ 5 บ้านนาคูหา, หมู่ที่ 6 บ้านนาแคม และหมู่ที่ 7 บ้านแม่แคม พื้นที่ภูเขาส่วนใหญ่เป็นป่าไม้อยู่ ในเขตบริเวณพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติแม่แคม โดยเฉพาะ ทางด้านทิศตะวันออกมีป่าไม้สักและมีลําน้ําแม่แคมไหล ผ่านตําบลสวนเขื่อน ชาวบ้านได้ใช้น้ําจากลําน้ํานี้ในการ ทําเกษตร ส่วนพื้นที่ราบจะอยู่ในบริเวณ หมู่ที่ 1, หมู่ที่ 2, หมู่ที่ 3, หมู่ที่ 4, หมู่ที่ 8, หมู่ที่ 9 และหมู่ที่ 10 ประชากรของเทศบาลตําบลสวนเขื่อน มีประชากรทั้งสิ้น จํานวน 5,402 คน (สถิติข้อมูลเดือนเมษายน พ.ศ.2555)

จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา ปที่ 22 ฉบับที่ 2 เดือนเมษายน – มิถุนายน 2556 [ 11 ]


แยกเป็นชาย 2,693 คน หญิง 2,709 คน จํานวน บ้านเรือน 1,834 หลัง เศรษฐกิจของตําบลสวนเขื่อน ขึ้นอยู่กับสินค้าหัตถกรรมและสินค้าทางการเกษตร สินค้า ที่สร้างชื่อเสียงให้กับตําบลสวนเขื่อน ได้แก่ ลางสาดและ ลองกอง ซึ่งมีรสชาติเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว, สาหร่ายน้ํา จืด(เตา), ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์, หน่อไม้, เห็ดป่า(เห็ดแพะ), ผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่, ชาเมี่ยง

มาก จะว่าไปแล้วก็ทําให้รายจ่ายในครัวเรือนเพิ่มขึ้นจาก ค่าเชื้อเพลิงสําหรับหุงหาอาหาร

ด้ ว ยทรั พ ยากรที่ มี อ ยู่ ใ นพื้ น ที่ อ ย่ า งอุ ด มสมบู ร ณ์ ประกอบกั บ คนพื้ น ที่ ที่ ไ ปตั้ ง ถิ่ น ฐานในจั ง หวั ด เพชรบุ รี อยากจะนําประสบการณ์เกี่ยวกับการสร้างเตาที่ใช้ฟืนมา ให้บ้านเกิดสําหรับเป็นทางเลือกในเรื่องเชื้อเพลิงที่ใช้ใน ครัวเรือนอีกแนวทางหนึ่ง จึงเป็นที่มาของความร่วมมือกัน ระหว่าง สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร ศูน ย์ ป ราชญ์ ช าวบ้ า นบ้ า นดอนผิ ง แดด จั งหวั ด เพชรบุ รี และชุมชนสวนเขื่อน จัดอบรมเชิงปฏิบัติการณ์ การสร้าง เตาชีวมวลขึ้น

แหล่งผลิตสาหร่ายน้ําจืดธรรมชาติ (เตา) ของตําบลสวนเขื่อน

แหล่งไม้ฟืน ด้ ว ยอาชี พ การทํ า เกษตรโดยเฉพาะสวนไม้ ผ ล เช่น ลางสาด ลองกอง ลําใย ในแต่ละปีหลังการเก็บเกี่ยว ผลผลิตแล้ว จะมีการตัดแต่งกิ่งไม้ผลดังกล่าว ทําให้มีกิ่งไม้ เหลือทิ้งเป็นจํานวนมากในแต่ละปี หรือบางครัวเรือนที่ได้ พบเห็นระหว่างที่เดินเที่ยวในชุมชน ก็จะนําไม้ฟืนดังกล่าว มาตัดทอนให้ได้ขนาดพอดีเตาที่ใช้ เรียงไว้เป็นกองใต้ถุน บ้ า นอย่ า งเรี ย บร้ อ ยสวยงาม เพื่ อ เก็ บ ไว้ ใ ช้ หุ ง ต้ ม ใน ครัวเรือน แต่เท่าที่พบจะเห็นกิ่งไม้ที่ตัดแต่งแล้วจะกอง สุมไว้ตามสวนหรือบริเวณโคนต้นไม้ผลเหล่านั้น เห็นแล้ว ก็นึกเสียดายไม่น้อย น่าจะนํามาใช้ประโยชน์ได้มากกว่า นั้ น แต่ ชุ ม ชนสวนเขื่ อ นยั ง ขาดองค์ ค วามรู้ ที่ จ ะผลิ ต อุปกรณ์คือเตาหุงต้มที่มีประสิทธิภาพในการให้ความร้อน สูง ใช้เชื้อเพลิงน้อย ทําให้คนส่วนใหญ่หันไปใช้แก๊สหุงต้ม ในภาคครัวเรือนแทนไม้ฟืนที่มีอยู่ในท้องถิ่นเป็นจํานวน

ง่ายๆ เป็นกันเอง การจั ด อบรมใช้ ส ถานที่ ข องศู น ย์ ถ่ า ยทอด เทคโนโลยีของหมู่บ้าน ตั้งอยู่ริมถนนใหญ่ การเดินทางไป มาสะดวก พื้นที่กว้างขวาง มีความเหมาะสมสําหรับการ

จัดประชุมอบรม เริ่ ม ต้นด้วยผู้นําท้องถิ่นคือรองนายก อบต.สวนเขื่อนกล่าวเปิดการอบรมสั้นๆ เรียบง่ายด้วย สําเนียงคนเมือง ฟังแล้วรื่นหูไปอีกแบบ ดูเป็นภาคนิยมดี แต่ผู้เขียนได้ขออนุญาตเวทีประชุมพูดเป็นภาษาภาคกลาง เนื่องจากอู้กําเมืองบ่อได้ ระหว่างการนําเสนอก็โยนลูกกัน ไปมากับทีมงานที่ไปด้วยกัน เพื่อให้ปราชญ์ชาวบ้านได้ นํ า เสนอประสบการณ์ สู่ พี่ น้ อ งสวนเขื่ อ น ดั ง นั้ น เวที ประชุมจึงเสมือนหนึ่งการพูดคุยเล่าสู่กันฟัง เพียงแต่คุม

จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา ปที่ 22 ฉบับที่ 2 เดือนเมษายน – มิถุนายน 2556 [ 12 ]


ประเด็ น ให้ เ ป็ น ไปตามลํ า ดั บ ขั้ น ตอนในขณะนั้ น เมื่ อ นําเสนอหลักการต่างๆ ของเตาชีวมวลเสร็จก็เป็นการนํา สู่ ก ารปฏิ บั ติ มี ชุ ม ชนเข้ า ร่ ว มจาก 7 หมู่ บ้ า น อี ก 3 หมู่บ้านไม่ได้เข้าร่วมประชุมด้วย เนื่องจากการประสาน งานมีปัญหา มีการสาธิตการใช้เตาชีวมวลในแต่ละแบบให้ ผู้เข้าร่วมอบรมได้เห็นประสิทธิภาพของเตา และได้ลงมือ ปฏิบัติในการประกอบเตา เพื่อให้เกิดทักษะในการสร้าง เตา หากชุมชนจะนําไปขยายผลต่อในแต่พื้นที่ของตนเอง

ผู้เข้ารับการอบรมค่อนข้างแปลกใจในตัวเตาชีวมวลที่ได้ นําเสนอในเวทีการประชุม คาดไม่ถึงว่าวัสดุที่ใช้สําหรับ การสร้างเตาเป็นสิ่งเหลือใช้ในชีวิตประจําวัน หาซื้อได้ตาม ร้ า นรั บ ซื้ อ ของเก่ า เช่ น ถั ง สี กระป๋อ งสี ข นาดเล็ ก ท่ อ เหล็ก เป็นต้น

แต่เมื่อนําประกอบเข้าเป็นตัวเตา ตามหลักวิชาการ กลายเป็ นเตาที่ ใ ห้พลังงานความร้อนได้ ดีเกิ นคาด และ ประหยัดฟืนอีกต่างหาก ทําให้ความสนใจของผู้เข้ารับ การอบรมมี ม ากจนกระทั่ ง ปิ ด การอบรมประมาณ 15.30 น.

ขยายผล

หากผู้นําในท้องถิ่นให้ความสําคัญในการส่งเสริมการใช้ ชีวมวลเป็นพลังงานทางเลือกทดแทนการใช้แ ก๊ส หุงต้ม อย่างจริงจังและต่อเนื่อง ในพื้นที่ที่มีแหล่งชีวมวลอย่าง พอเพียงเช่นตําบลสวนเขื่อนนี้ ผู้เขียนเชื่อว่า รายจ่ายใน ครัวเรือนสําหรับค่าเชื้อเพลิงสําหรับการหุงต้มในครัวเรือน สามารถลดลงได้แน่ และสามารถส่งเสริมให้เกิดอาชีพ เสริ ม สําหรั บการผลิ ตเตาชี วมวลออกจําหน่ายในชุ ม ชน

จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา ปที่ 22 ฉบับที่ 2 เดือนเมษายน – มิถุนายน 2556 [ 13 ]


และพื้นที่ใกล้เคียงได้อีกทางหนึ่ง เนื่องจากเทคโนโลยีการ สร้างเตาชีวมวลที่สถาบันวิจัยและพัฒนานําไปถ่ายทอดใน ครั้งนี้ เป็นเทคโนโลยีที่ไม่ซับซ้อนเกินความสามารถของ ชุ ม ชนที่ จ ะเรี ย นรู้ ไ ด้ และประการสํ า คั ญ วั ส ดุ แ ละ เครื่องมือสําหรับการสร้าง ก็ล้วนแต่หาได้ในพื้นที่และมีอยู่ แล้ ว เป็ น ส่ ว นใหญ่ ดั ง นั้ น ชุ ม ชนใดถ้ า มี ค วามพร้ อ มก็ สามารถเขียนโครงการเพื่อจัดตั้งกลุ่มและนํางบประมาณ มาดําเนินการสร้างเตาชีวมวลในแต่ละ อบต.ได้ ส่งท้าย การอบรมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้นับว่าได้รับความ ร่วมมือเป็นอย่างดีทั้งจากหน่วยงานปกครองท้องถิ่น ผู้นํา แต่ละชุมชน ชาวบ้านในแต่ละหมู่ที่มาอย่างพร้อมเพรียง กัน มีความตั้งใจเรียนรู้และปฏิบัติการอย่างแข็งขันทั้งหญิง และชาย รวมทั้ ง คณะวิ ท ยากรที่ เ ดิ น ทางไกลกว่ า 700 กิโลเมตร เพื่อนําประสบการณ์ในเรื่องการสร้างเตาชีวมวล ไปแลกเปลี่ยนกับพี่น้องจังหวัดแพร่ด้วยความตั้งใจแม้จะ เดิ น ทางไกลก็ต าม แต่ ทุกท่ านที่ ไ ปก็ไ ปด้ว ยความหวัง ดี อยากจะให้พี่น้องในภูมิภาคอื่นๆ ที่สนใจเรื่องราวเหล่านี้ ได้ ซั ก ถามแลกเปลี่ ย น เพื่ อ นํ า ประสบการณ์ ทั ก ษะที่ ตนเองมีอยู่เพื่อประโยชน์ต่อผู้อื่นต่อไป ตามแนวคิดของ กลุ่มปราชญ์ชาวบ้านบ้านดอนผิงแดดที่ว่า “แบ่งปันฉันพี่ น้อง” ในการมีชีวิตที่อยู่เย็นเป็นสุขในอนาคตอย่างยั่งยืน

จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา ปที่ 22 ฉบับที่ 2 เดือนเมษายน – มิถุนายน 2556 [ 14 ]


งานวิจัย

การสังเคราะห์ไทเทเนียมไดออกไซด์ที่มีพอร์ไฟรินเป็นตัวเซ็นซิไทซ์ Syntheses of TiO2 powders sensitized by porphyrin and studying their photocatalytic properties อาจารย ดร.ชีวิตา สุวรรณชวลิต ผศ.ดร.รัชฎา บุญเต็ม คณะวิทยาศาสตร ภาควิชาเคมี มหาวิทยาลัยศิลปากร ที่ปรึกษาโครงการวิจัย รศ.ดร.สัมพันธ วงศนาวา คณะวิทยาศาสตร ภาควิชาเคมี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร

บทคัดย่อ การเตรียมผงพอร์ไฟริ น -ไทเทเนี ยมไดออกไซด์ (TCPP-TiO2) ถูกสังเคราะห์ด้วยวิธีซอลเจลและอิม เพรคเนชั น จากนั้ น นํ า ผงพอร์ ไ ฟริ น -ไทเทเนี ย มได ออกไซด์ที่เตรียมได้ทําการศึกษาสมบัติทางเคมีได้ด้วย เทคนิคต่างๆ เช่น X-ray powder diffractrometry (XRD), Scanning electron microscopy (SEM), Fourier-tranformed infrared spectrophotometry (FT-IR), UV-Vis diffused reflectance spectros copy (DRS) สําหรับผล XRD แสดงอนาเทสเฟสของ ตัวอย่างผง Porphyrin-TiO2 ส่วนผลจาก DRS พบว่า Porphyrin-TiO2 สามารถดูดกลืนแสงวิซิเบิลได้มากกว่า ศึกษาความสามารถในการเป็นสารเร่งปฏิกิริยาด้วยแสง ในการย่อยสลายสีย้อมภายใต้แสงวิซิเบิล โดยงานวิจัยนี้ เลือกใช้ Orange II เป็นสีย้อม ผลการศึกษาการเป็น สารเร่ ง ปฎิ กิ ริ ย าด้ ว ยแสงในการย่ อ ยสลายสี ย้ อ ม Orange II พบว่าผงพอร์ไฟริน-ไทเทเนียมไดออกไซด์มี ประสิ ท ธิ ภ าพการเป็ น สารเร่ ง ปฏิ กิ ริ ย าด้ ว ยแสงดี ก ว่ า ไทเทเนียมไดออกไซด์ที่ไม่ได้เติมพอร์ไฟรินลงไปมาก Abstract Various types of porphyrin-modified TiO2 powders (TCPP -TiO2) were prepared via sol-gel and impregnation methods. The physical properties of the prepared porphyrinTiO2 samples were investigated by several techniques such as X-ray powder diffractrometry (XRD), Scanning electron microscopy (SEM), Fourier-tranformed infrared

spectrophotometry (FT-IR), and UV-Vis diffused reflectance spectroscopy (DRS). XRD results showed the anatase phase was found in all samples. The DRS spectra revealed the modified porphyrin exhibited higher red shifts compared with unmodified-TiO2 sample The photocatalytic activity was evaluated via Orange II dye degradation under visible irradiation. The photocatalytic results revealed that most porphyrin modified TiO2 gave higher photocatalytic efficiency than the unmodifiedTiO2 sample. 1. คํานํา (Introduction) กระบวนการเร่ ง ปฏิ กิ ริ ย าด้ ว ยแสงแบบวิ วิ ธ พั น ธ์ (heterogeneous photocatalysis) เป็นกระบวนการ ที่สามารถสลายสารพิษต่างๆในสิ่งแวดล้อมโดยใช้สารกึ่ง ตัวนําเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาด้วยแสงภายใต้แสงอัลตราไวโอ เล็ตและวิซิเบิล ปัจจุบันการศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการ เร่ ง ปฏิ กิ ริ ย าด้ ว ยแสงนิ ย มใช้ ไ ทเทเนี ย มไดออกไซด์ (TiO2) เป็นสารเร่งปฏิกิริยาอย่างกว้างขวาง เนื่องจาก เป็นสารที่เสถียรต่อปฏิกิริยาเคมี ไม่เป็นพิษและราคาไม่ แพง แต่อย่างไรก็ตาม การนําไทเทเนียมมาประยุกต์ใช้ งานภายใต้แสงวิซิเบิลยังมีประสิทธิภาพต่ํา ต่อมาได้มี การปรั บ ปรุ ง พั ฒ นาประสิ ท ธิ ภ าพการเป็ น สารเร่ ง ปฏิกิริยาด้วยแสงของ TiO2 ให้ใช้งานได้ทั้งภายใต้แสง แสงอัลตราไวโอเล็ตและวิซิเบิล โดยการเจือโลหะทราน ซิชันหรืออโลหะต่างๆ ลงไปบนพื้นผิวหรือโครงผลึกของ ไทเทเนียมไดออกไซด์ หรือการเติมตัวเซนซิไทซ์ ซึ่งอาจ

จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา ปที่ 22 ฉบับที่ 2 เดือนเมษายน – มิถุนายน 2556 [ 15 ]


เป็ น โมเลกุ ล ของสี ย้ อ มหรื อ สารกึ่ ง ตั ว นํ า ที่ มี ค่ า band gap energy ต่ํากว่าลงไป พบว่าวิธีการดังกล่าวช่วยเพิ่ม ประสิทธิภาพการเป็นสารเร่งปฏิกิริยาด้วยแสง สําหรับ งานวิจัยนี้สนใจที่จะสังเคราะห์ไทเทเนียมไดออกไซด์ที่ใช้ พอร์ไฟรินเป็นตัวเซนซิไทซ์ (porphyrin sensitizedTiO2) โดยทําการหาสภาวะที่เหมาะสม รวมทั้งยังนํา ผลิตภัณฑ์ที่ได้ไปทดสอบสมบัติทางเคมีด้วยเทคนิคต่างๆ เช่น XRD, SEM, IR, DRS และศึกษาความสามารถใน การเป็นสารเร่งปฏิกิริยาด้วยแสงในการสลายสีย้อมออร์ เรนจ์ทู (Orange II) ภายใต้แสงวิซิเบิล

ชั่วโมง ก็จะได้ผลิตภัณฑ์ porphyrin sensitized-TiO2 ซึ่งแทนด้วย TCCP/TiO2_sg จากนั้นนําผลิตภัณฑ์ที่ได้ ไปทดสอบสมบั ติ ท างเคมี ด้ว ยเทคนิ ค ต่ า งๆ เช่ น XRD, SEM, IR, DRS สําหรับการทดสอบความสามารถในการ เป็นสารเร่งปฏิกิริยาด้วยแสงในการสลายสีย้อมออร์เรนจ์ ทู (Orange II) ทําโดยนําผง porphyrin modified-TiO2 ชนิดต่างๆมาผสมกับสีย้อม Orange II ฉายแสงภายใต้ แสงวิซิเบิลแล้วเก็บสารละลายสีย้อมที่เวลาต่างๆ ไปวัด ความเข้มข้นที่เหลือด้วยเครื่องยูวีวิซิเบิลสเปกโตรโฟโต มิเตอร์ เพื่อคํานวณหาประสิทธิภาพในการสลายสีย้อม

2. วัตถุประสงค์ของการวิจัย (Objective) 1. เพื่อศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการสังเคราะห์ ไทเทเนียมไดออกไซด์ที่ใช้พอร์ไฟรินเป็นตัวเซนซิไทซ์ที่ เตรียมด้วยวิธีซอลเจล (Sol-gel) และอิมเพรคเนชัน (Impregnation) 2. เพื่ อ ศึ ก ษาสมบั ติ ท างเคมี ข องไทเทเนี ย มได ออกไซด์ที่ใช้พอร์ไฟรินเป็นตัวเซนซิไทซ์ที่สังเคราะห์ได้ 3. เพื่ อ ศึ ก ษาความสามารถในการเป็ น ตั ว เร่ ง ปฏิกิริยาของไทเทเนียมไดออกไซด์ที่ใช้พอร์ไฟรินเป็นตัว เซนซิไทซ์ที่สังเคราะห์ได้ในการสลายสีย้อม

4. สรุปผลการวิจัย (Result and Discussion) ผลการศึกษาโครงสร้างผลึกด้วยเทคนิค XRD พบว่าตัวอย่าง porphyrin modified-TiO2 ชนิดต่างๆ มี เ ฟสเหมื อ นกั บ TiO2 ที่ ใ ช้ นั่ น คื อ พบอนาเทสเฟสดั ง แสดงในรูปที่ 1 สําหรับผลการศึกษาโครงสร้างจุลภาค ด้ ว ยเทคนิ ค SEM พบว่ า ตั ว อย่ า ง porphyrin modified-TiO2 ชนิดต่างๆมีอนุภาคเป็นทรงกลมที่มีการ รวมตั ว กั น เป็ น กลุ่ ม ก้ อ น ดั ง แสดงในรู ป ที่ 2 ผล การศึกษาหมู่ฟังก์ชันด้วยเทคนิค IR พบว่ามีแถบการยืด ที่แสดงหมู่ COOH ของพอร์ไฟริน และพบแถบการยืด ของพันธะ Ti-O ของ TiO2 ส่วนผลการศึกษาค่าการ ดูดกลืนแสงด้วยเทคนิค DRS พบว่าตัวอย่าง porphyrin modified-TiO2 มีค่าการดูดกลืนแสงในช่วงวิซิเบิลเพิ่ม มากขึ้นซึ่งช่วยสนับสนุนผลการเป็นสารเร่งปฏิกิริยาด้วย แสงภายใต้แสงแสงวิซิเบิล ผลการศึกษาความสามารถ ในการเป็นสารเร่งปฏิกิริยาด้วยแสงในการสลายสีย้อม ออร์เรนจ์ทู (Orange II) ภายใต้แสงวิซิเบิล ดังแสดงใน รูปที่ 3 พบว่าตัวอย่าง porphyrin modified-TiO2 ชนิดต่างๆสามารถสลายสีย้อมได้ภายใต้แสงวิซิเบิล โดย ประสิทธิภาพของตัวอย่าง porphyrin modified-TiO2 เป็นดังนี้ TCCP/TiO2_sg > TCCP/TiO2_imp > unmodified-TiO2

3. วิธีดําเนินการวิจัย (Materials and Method) ใ น ง า น นี้ จ ะ เ ลื อ ก ใ ช้ meso-Tetra (p-carboxyphenyl) porphyrin (TCCP) เป็นตัวเซน ซิไทซ์ ซึ่งวิธีการสังเคราะห์ไทเทเนียมไดออกไซด์ที่ใช้พอร์ ไฟรินเป็นตัวเซนซิไทซ์ (porphyrin sensitized-TiO2) ด้วยวิธีการอิมเพรคเนชัน ทําโดยนําสารละลาย TCCP ที่ มีความเข้มข้น 0.5 m M ผสมกับผงไทเทเนียมได ออกไซด์ ที่ สั ง เคราะห์ โ ดยวิ ธี โ ซลเจล คนเป็ น เวลา 24 ชั่วโมง แล้วนําไปกรองและล้างและนําไปอบที่ อุณหภูมิ 105 oC เป็นเวลา 24 ชั่วโมง ก็จะได้ผลิตภัณฑ์ porphyrin sensitized - TiO2 ซึ่งแทนด้วย TCCP/ TiO2_imp สําหรับการเตรียม porphyrin sensitizedTiO2 ด้วยวิธีเซอลเจลเริ่มจากนําสารละลาย 0.5 M TiOSO4 มาควบคุมอุณหภูมิที่ 90oC เป็นเวลา 1 ชั่วโมง เติมแอมโมเนียมไฮดรอกไซด์ (NH4OH) จนสารละลายมี pH เป็น 7 และเติมสีย้อมพอร์ไฟริน (TCPP) ควบคุม อุณหภูมิที่ 90oC เป็นเวลา 24 ชั่วโมงแล้วนําไปกรอง และล้างและนําไปอบที่อุณหภูมิ 105oC เป็นเวลา 24

จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา ปที่ 22 ฉบับที่ 2 เดือนเมษายน – มิถุนายน 2556 [ 16 ]


รูปที่ 1 XRD ของตัวอยาง porphyrin sensitized-TiO2

รูปที่ 2 รูป SEM ของตัวอยาง a) unmodified-TiO2 b) TCCP/TiO2_sg c) TCCP/TiO2_imp

รูปที่ 3 ประสิทธิภาพในการสลายสียอมออรเรนจทู (Orange II) ของตัวอยาง porphyrin sensitized-TiO2 ภายใตแสงวิซิเบิล

จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา ปที่ 22 ฉบับที่ 2 เดือนเมษายน – มิถุนายน 2556 [ 17 ]


5. ข้อเสนอแนะในการนําผลวิจัยไปใช้ 1. ควรสังเคราะห์ metal-porphrin ตัวอื่นๆเพิ่มเติม (M= Co, Ni, Fe, Cr) เพื่อศึกษาการเป็นสารเร่งปฏิกิริยา ด้วยแสงเพิ่มเติม 2. ศึกษาในรูปแบบฟิล์มบางเพื่อจะนําไปใช้เป็นเซลล์แสงอาทิตย์ 6. บรรณานุกรม (Reference) 1. Campbell, W.M., Burrell, A.K., Officer, D.L. and Jolley, K.W. (2004) Porphyrins as light harvesters in the dye-sensitised TiO2 solar cell. Coordination Chemistry Reviews 248: 1363–1379. 2. Huang, H., Gu, X., Zhou, J., Ji, K., Liu, H. and Feng, Y. (2009) Photocatalytic degradation of Rhodamine B on TiO2 nanoparticles modified with porphyrin and iron-porphyrin. Catalysis Communications 11: 58–61. 3. Kathiravan, A. and Renganathan R. (2009) Effect of anchoring group on the photosensitization of colloidal TiO2 nanoparticles with porphyrins. Journal of Colloid and Interface Science 331: 401–407. 7. คําขอบคุณ (Acknowledgement) ผู้วิจัยขอขอบคุณเงินทุนวิจัยจากสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร และภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม

จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา ปที่ 22 ฉบับที่ 2 เดือนเมษายน – มิถุนายน 2556 [ 18 ]


ขาวสารความเคลื่อนไหว

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง "การใช้งานระบบสารสนเทศสําหรับงานวิจัยและสร้างสรรค์"

สถาบันวิจัยและพัฒนาได้จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การใช้งานระบบสารสนเทศ สําหรับงานวิจัยและสร้างสรรค์” เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบสารสนเทศให้แก่ บุคลากรที่เกี่ยวข้อง จํานวน 15 คน โดยมีวิทยากรจากบริษัท วิชั่นเน็ต จํากัด เป็นผู้ให้การอบรม เมื่ อ วั น ที่ 2 เมษายน 2556 เวลา 8.30-16.30 น. ณ ห้ อ งปฏิ บั ติ ก ารศู น ย์ ค อมพิ ว เตอร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์

จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา ปที่ 22 ฉบับที่ 2 เดือนเมษายน – มิถุนายน 2556 [ 19 ]


วันสงกรานต์

สถาบันวิจัยและพัฒนาได้จัดพิธีรดน้ําขอพรผู้ใหญ่ในวันกรานต์ เพื่อสืบสานประเพณีวันสงกรานต์และวัน ปีใหม่ของไทย 2556 เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2556 เวลา 13.00 น. ณ ห้องประชุมสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ นครปฐม โดยมี อธิการบดี ผู้บริหาร ที่ปรึกษาและ คณะกรรมการประจําสถาบันวิจัยและพัฒนา และบุคลากรสถาบันวิจัยและพัฒนา จํานวน 30 คน เข้าร่วม กิจกรรมดังกล่าว

จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา ปที่ 22 ฉบับที่ 2 เดือนเมษายน – มิถุนายน 2556 [ 20 ]


ประชุมหารือการพัฒนาโครงการวิจัยเชิงบูรณาการเพื่อตอบโจทย์ การบริหารการท่องเที่ยวในเขตพื้นที่ภาคกลางตอนล่าง

สถาบันวิจัยและพัฒนาได้จัดประชุมหารือการพัฒนาโครงการวิจัยเชิงบูรณาการเพื่อตอบโจทย์การ บริ ห ารการท่ อ งเที่ ย วในเขตพื้ น ที่ ภ าคกลางตอนล่ า ง โดยได้ เ ชิ ญ นายภราเดช พยั ฆ วิ เ ชี ย ร กรรมการสภา มหาวิทยาลัยศิลปากรประเภทผู้ทรงคุณวุฒิ มาให้คําแนะนําเพื่อเป็นแนวทางในการดําเนินการ เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2556 เวลา 14.00-17.00 น. ณ ห้ อ งประชุ ม สถาบั น วิ จั ย และพั ฒ นา มหาวิ ท ยาลั ย ศิ ล ปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ นครปฐม โดยมีคณาจารย์จากคณะวิชาต่างๆ และผู้เกี่ยวข้อง จํานวน 16 คน เข้าร่วมประชุมและหารือในประเด็นดังกล่าว

จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา ปที่ 22 ฉบับที่ 2 เดือนเมษายน – มิถุนายน 2556 [ 21 ]


โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการและแลกเปลีย่ นเรียนรู้ เรื่อง “การทบทวนแผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติราชการสถาบันวิจัยและ พัฒนา และศึกษาวิถีชีวิตชุมชนประมงชายฝั่งอ่าวไทย”

สถาบันวิจัยและพัฒนาได้ดําเนินการจัดโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง “การ ทบทวนแผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติราชการสถาบันวิจัยและพัฒนา และศึกษาวิถีชีวิตชุมชนประมงชายฝั่งอ่าว ไทย” วิทยากรโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.คีรีบูน จงวุฒิเวศย์ คณะศึกษาศาสตร์ เมื่อวันที่ 9-10 พฤษภาคม 2556 ณ ห้องประชุมสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ นครปฐม และจังหวัด เพชรบุรี ผู้เข้าร่วมโครงการฯประกอบด้วย ผู้บริหาร และบุคลากรสถาบันวิจัยและพัฒนา จํานวน 20 คน

จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา ปที่ 22 ฉบับที่ 2 เดือนเมษายน – มิถุนายน 2556 [ 22 ]


โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การเขียนบทความภาษาอังกฤษเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ ในวารสารทางวิชาการระดับนานาชาติ” สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร ร่วมกับ เครือข่ายวิจัยอุดมศึกษาภาคกลางตอนล่าง สํานักงานคณะกรรมการการ อุดมศึกษา (สกอ.) ได้จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “การเขียนบทความภาษาอังกฤษเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารทางวิชาการ ระดับนานาชาติ” เมื่อวันที่ 29-31 พฤษภาคม 2556 เวลา 08.30-16.30 น. ณ ห้องประชุมสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัย ศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ นครปฐม ผู้เข้าร่วมการอบรมฯ ประกอบด้วย คณาจารย์ นักศึกษา รวมจํานวน 20 คน วันที่ 29-30 พฤษภาคม 2556 กล่าวเปิดงานโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อริศร์ เทียนประเสริฐ ผู้อํานวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา ประธานคณะอนุกรรมการเครือข่ายวิจัยอุดมศึกษาภาคกลางตอนล่าง วิทยากรได้แก่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เสงี่ยม โตรัตน์ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บํารุง โตรัตน์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

วันที่ 31 พฤษภาคม 2556 วิทยากรได้แก่ อาจารย์ชัยวัฒน์ แก้วพันงาม คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา ปที่ 22 ฉบับที่ 2 เดือนเมษายน – มิถุนายน 2556 [ 23 ]


การบรรยายพิเศษ

เรื่อง การจัดสรรทุนโครงการพัฒนานักวิจัยและงานวิจัย เพื่ออุตสาหกรรม-พวอ.

สถาบั นวิ จัยและพั ฒนา ร่ วมกั บ บัณฑิ ตวิ ทยาลัย ได้เชิญ รองศาสตราจารย์ ดร.อุด มศิ ล ป์ ปิ่นสุ ข ผู้รับผิดชอบโครงการพัฒนานักวิจัยและงานวิจัยเพื่ออุตสาหกรรม-พวอ. ซึ่งเป็นโครงการของสํานักงานกองทุน สนับสนุนการวิจัย (สกว.) มาให้ข้อมูลเกี่ยวกับโครงการ และหารือแนวทางการดําเนินการร่วมกับท่านอธิการบดี เพื่อทําข้อตกลงความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยศิลปากร และ สกว. เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2556 เวลา 13.30 16.00 น. ณ ห้องนริศรานุวัดติวงศ์ สํานักงานอธิการบดี ตลิ่งชัน โดยมีคณบดี และอาจารย์ประจําหลักสูตร บัณฑิตศึกษาจากคณะวิชาทั้งสามวิทยาเขตเข้าร่วมฟังการบรรยายผ่านระบบ Video Conference และถ่าย ทอดสดผ่านทาง Internet

จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา ปที่ 22 ฉบับที่ 2 เดือนเมษายน – มิถุนายน 2556 [ 24 ]


โครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง "การใช้งานระบบฐานข้อมูลงานวิจัยและสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยศิลปากร"

สถาบันวิจัยและพัฒนาได้จัดโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง “การใช้งานระบบฐานข้อมูลงานวิจัย และสร้างสรรค์” เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้งานระบบฐานข้อมูลให้แก่บุคลากรที่เกี่ยวข้อง จํานวน 15 คน โดยมีวิทยากรจากบริษัท วิชั่นเน็ต จํากัด เป็นผู้ให้การอบรม เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2556 เวลา 9.00-16.30 น. ณ ห้องปฏิบัติการศูนย์คอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์

จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา ปที่ 22 ฉบับที่ 2 เดือนเมษายน – มิถุนายน 2556 [ 25 ]


การบรรยายพิเศษ

เรื่อง “แนวทางการปฏิบัติงานด้านจรรยาบรรณของบุคลากร”

สถาบันวิจัยและพัฒนา ได้เชิญ รองศาสตราจารย์ ดร.มณีปิ่น พรหมสุทธิรักษ์ มาบรรยายพิเศษเรื่อง “แนวทางการปฏิบัติงานด้านจรรยาบรรณของบุคลากร” แก่ผู้บริหารและบุคลากรของสถาบันวิจัยและพัฒนา เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2556 เวลา 11.00-12.00 น. ณ ห้องประชุมสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัย ศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ นครปฐม

จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา ปที่ 22 ฉบับที่ 2 เดือนเมษายน – มิถุนายน 2556 [ 26 ]


โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ “การทดสอบวัสดุด้วยวิธีทางวิทยาศาสตร์และการเลือกใช้วัสดุ เพื่อการอนุรักษ์ผลงานศิลปกรรม”

สถาบันวิจัยและพัฒนา ร่วมกับ หอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ “การทดสอบวัสดุด้วยวิธีทางวิทยาศาสตร์และการเลือกใช้วัสดุเพื่อการอนุรักษ์ผลงานศิลปกรรม” เมื่อวันที่ 17-18 มิถุนายน 2556 เวลา 08.30-16.30 น. ณ ท้องพระโรง หอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ กรุงเทพฯ โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อริศร์ เทียนประเสริฐ (ผู้อํานวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา) บรรยายและอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การทดสอบวัสดุด้วยวิธีทางวิทยาศาสตร์เบื้องต้นเพื่อการอนุรักษ์ผลงานศิลปกรรม” ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รัฐพล อ้นแฉ่ง (คณะวิทยาศาสตร์) บรรยายเรื่อง “สภาวะอากาศทําให้โบราณสถานเสื่อมโทรมได้อย่างไร” และ นายสุชา ศิลปชัยศรี (หอศิลป์) บรรยายเรื่อง “การอนุรักษ์เชิงป้องกันกับการขนย้ายผลงานศิลปกรรมเพื่องาน นิทรรศการสัญจร” เป็นวิทยากร ผู้เข้าร่วมการอบรมประกอบด้วย คณาจารย์ นักวิชาการ ภัณฑารักษ์ นักศึกษา และ ผู้สนใจทั่วไป จํานวน 60 คน จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา ปที่ 22 ฉบับที่ 2 เดือนเมษายน – มิถุนายน 2556 [ 27 ]


ปฏิบัติการกลุ่มย่อยหัวข้อ “การเลือกใช้วสั ดุและวิธีการห่อผลงานศิลปกรรมเพื่อความปลอดภัยในการขนย้าย”

จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา ปที่ 22 ฉบับที่ 2 เดือนเมษายน – มิถุนายน 2556 [ 28 ]


การตรวจประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ประจําปีการศึกษา 2555

สถาบันวิจัยและพัฒนา ได้รับการตรวจประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ประจําปีการศึกษา 2555 (1 มิถุนายน 2555 - 31 พฤษภาคม 2556) เมื่อวันศุกร์ที่ 21 มิถุนายน 2556 โดยมีคณะกรรมการประเมิน คุณภาพการศึกษาภายใน ได้แก่ รองศาสตราจารย์ ดร.มณีปิ่น พรหมสุทธิรักษ์ (ประธาน) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมถวิล จริตควร (กรรมการ) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อภิเศก ปั้นสุวรรณ (กรรมการ) นางสาวนิศารัตน์ เวชประพันธ์ (กรรมการและเลขานุการ) และนางสาววัชรี น้อยพิทักษ์ (ผู้ประสานงาน) ผลการประเมิน คุณภาพการศึกษาภายในสถาบันวิจัยและพัฒนาในภาพรวมอยู่ในระดับดี โดยได้ 4.36 คะแนน

จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา ปที่ 22 ฉบับที่ 2 เดือนเมษายน – มิถุนายน 2556 [ 29 ]


โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การใช้งานระบบฐานข้อมูลงานวิจัยและสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยศิลปากร”

สถาบันวิจัยและพัฒนาได้จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การใช้งานระบบฐานข้อมูลงานวิจัย และสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยศิลปากร” เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบฐานข้อมูลให้แก่ บุคลากรที่เกี่ยวข้อง จํานวน 15 คน โดยมีวิทยากรจากบริษัท วิชั่นเน็ต จํากัด เป็นผู้ให้การอบรม เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2556 เวลา 9.00-16.30 น. ณ ห้องปฏิบัติการศูนย์คอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขต พระราชวังสนามจันทร์

จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา ปที่ 22 ฉบับที่ 2 เดือนเมษายน – มิถุนายน 2556 [ 30 ]


สถาบันวิจยั และพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร นครปฐม 73000 e-mail: research.inst54@gmail.com , http://www.surdi.su.ac.th โทรศัพท 0-3425-5808 โทรสาร 0-3421-9013


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.