ยูหัวภูมิพลอดุลยเดช
• การพัฒนาอุตสาหกรรมในภูมิภาคของประเทศไทย • ประสบการณ์การทําวิจัย/สร้างสรรค์ ของ รองศาสตราจารย์ ดร.สมลักษณ์ คงเมือง คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
• บ้านหนองโพธิ์กับวิถกี ารพึ่งตนเอง • ข่าวสารความเคลื่อนไหว
ปณิธาน “ส่งเสริมการสร้าง และเผยแพร่องค์ความรู้” ทุกท่านสามารถแสดงความคิดเห็นในการให้บริการของสถาบันวิจัยและพัฒนาได้ 4 ช่องทาง คือ 1. โทรศัพท์ 034-255-808 2. โทรสาร 034-219-013 3. e-mail : research_inst@su.ac.th 4. กล่องรับความคิดเห็นหน้าสํานักงานเลขานุการ สถาบันวิจัยและพัฒนา
ทีป่ รึกษา
บทบรรณาธิการ สวั ส ดี ปี ใ หม่ 2554 ค่ ะ ปี ใ หม่ นี้ ข อให้ ท่ า นผู้ อ่ า นมี ความสุ ข มี สุ ข ภาพสมบู ร ณ์ แ ข็ ง แรง คิ ด หวั ง สิ่ ง ใดขอให้ สมปรารถนาทุกอย่างนะค่ะ ฉบั บ นี้ มี ข อเริ่ ม ต้ น ด้ ว ยคอลั ม น์ เ ปิ ด โลกกว้ า งเรื่ อ ง “ประสบการณ์การทําวิจัยและสร้างสรรค์” ของ รองศาสตราจารย์ ดร.สมลักษณ์ คงเมือง จากคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และจาก...ชุม ชน ขอนํ าเสนอเรื่อง “บ้า นหนองโพธิ์กับ วิถีก ารพึ่ง ตนเอง” โดย นายสุ พ รชั ย มั่ ง มี สิ ท ธิ์ นั ก วิ จั ย เชี่ ย วชาญจาก สถาบั น วิ จั ย และพั ฒ นา ส่ ว นงานวิ จั ย ขอแนะนํ า ผลงานวิ จั ย เรื่ อ ง “การพัฒนาอุตสาหกรรมในภูมิภาคของประเทศไทย” โดย ผู้ช่วย ศาสตราจารย์ อ ภิ เ ศก ปั้ น สุ ว รรณ จากคณะอั ก ษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และข่าวสารความเคลื่อนไหวของสถาบันวิจัย และพัฒนา ขอเชิญท่านติดตามอ่านในเล่มนะค่ะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อริศร์ เทียนประเสริฐ ผู้อํานวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา
บรรณาธิการ นางอารีย์วรรณ นวมนาคะ
กองบรรณาธิการ นายสุพรชัย มั่งมีสิทธิ์ นางสาววัชรี น้อยพิทักษ์ นางสาวตปนีย์ พรหมภัทร
จัดพิมพและเผยแพรโดย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร พระราชวังสนามจันทร์ นครปฐม 73000 โทรศัพท์ 0-3425-5808, 0-3421-9013 โทรสาร 0-3421-9013 E-mail : research_inst@su.ac.th Website : http://www.surdi.su.ac.th
สารบัญ เปดโลกกวาง 3 ประสบการณ์การทําวิจัยและสร้างสรรค์
ของ รองศาสตราจารย์ ดร.สมลักษณ์ คงเมือง
จาก...ชุมชน 7 บ้านหนองโพธิ์กับวิถีการพึ่งตนเอง ผลงานวิจัย 13 การพัฒนาอุตสาหกรรมในภูมิภาคของ
วัตถุประสงค จุล สารสถาบันวิจัยและพัฒ นา เป็นจุล สารอิเล็กทรอนิก ส์ (e-journal) ราย 3 เดือน/ฉบับ จัดทําขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ เผยแพร่ ข่ า วสารกิ จ กรรมต่ า งๆ ของสถาบั น วิ จั ย และพั ฒ นา ตลอดจนความรู้ จ ากบทความวิ ช าการ และผลงานวิ จั ย ของ บุคลากรของมหาวิทยาลัยศิลปากร สถาบันวิจัยและพัฒนายินดี เป็น สื่อกลางในการเผยแพร่ผ ลงานวิจัย บทความทางวิช าการ และเกร็ดความรู้ต่างๆ ของชาวศิลปากรทุกท่าน
ประเทศไทย
ขาวสารความเคลื่อนไหว 20 การประชุมวิชาการและเสนอผลงานวิจัยและ สร้างสรรค์ ศิลปากรวิจัย ครั้งที่ 4 36 งานเลี้ยงขอบคุณงานศิลปากรวิจัยครั้งที่ 4 37 การเสนอผลงานวิจัยฉบับสมบูรณ์เพื่อจัดพิมพ์ เผยแพร่ ประจําปี 2554 37 รับสมัครโอน/ย้ายข้าราชการตําแหน่งเจ้าหน้าที่ บริหารงานทั่วไป และนักวิชาการพัสดุ
37 รับสมัครสอบคัดเลือกพนักงานใน สถาบันอุดมศึกษาตําแหน่งนักบริหารงานทั่วไป
-2-
จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา ปที่ 20 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มีนาคม 2554
เปดโลกกวาง
¢o§ Ão§ÈÒʵÃÒ¨Òà´Ã.ÊÁÅa¡É³ ¤§eÁืo§ ¤³aeÀÊaªÈÒʵà ÁËÒÇi·ÂÒÅaÂÈiŻҡà สัมภาษณ์โดย อารีย์วรรณ นวมนาคะ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร
ได้ง่าย เพราะปัจจุบันมีงานบูรณาการงานวิจัยในปริมาณมาก ส่วนเรื่องของทุนวิจัยนั้นก็ต้องพร้อม สําหรับแนวทางในการ วิจัยสําหรับนักศึกษาระดับปริญญาโท และเอกของผม นั้นจะ เน้นเรื่องของ creativity ในตัวนักศึกษาเอง คือต้องคิดเป็น สามารถแก้ ปัญ หาเองได้ ด้วยตัวเองและเป็นไปในแนวทาง วิทยาศาสตร์ โดยเริ่มดูจากปัญหาที่เกิดขึ้น ควรเป็นปัญหาที่ เขาสนใจ บางทีแค่คําถามง่ายๆ แต่คําตอบต้องพิสูจน์โดย อาศัยเวลา ผมมักจะให้นักศึกษาเสนอปัญหาเองจากการอ่าน งานวิจัยย้อนหลัง แล้วหาทางแก้ปัญหากันผมจะเน้นเรื่องของ ความชอบและสนใจจากตัวนักศึกษาเองเป็นหลัก ซึ่งแนวทาง นี้อาจจะต่างกับอาจารย์หลายท่าน แต่ทุกคนก็สามารถสร้าง ความสําเร็จกับการวิจัยชิ้นนั้นๆ ได้เหมือนกัน
แนะนํา การถ่ า ยทอดประสบการณ์ ก ารทํ า งานวิ จั ย และ สร้างสรรค์ของอาจารย์ในมหาวิทยาลัยศิลปากรครั้งนี้ ได้รับ ความอนุ เ คราะห์ จ าก รองศาสตราจารย์ ดร.สมลั ก ษณ์ คงเมือง ภาควิชาเทคโนโลยีเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร รองศาสตราจารย์ ดร.สมลั ก ษณ์ คงเมื อ ง เป็ น นักวิชาการที่มีความเชี่ยวชาญ และมีประสบการณ์ในด้าน การทํางานวิชาการ และการทํางานวิจัย/สร้างสรรค์ทางด้าน เภสัชกรรม และเภสัชอุตสาหกรรม สถาบั น วิ จั ย และพั ฒ นา มหาวิ ท ยาลั ย ศิ ล ปากร ขอขอบคุ ณ รองศาสตราจารย์ ดร.สมลั ก ษณ์ คงเมื อ ง ที่ กรุณาถ่ายทอดประสบการณ์การทํางานวิจัยและสร้างสรรค์ มา ณ โอกาสนี้ และจากการสัมภาษณ์การทํางานวิจัยและ สร้างสรรค์ที่ประสบความสําเร็จ ตลอดจนความคิดเห็นและ ข้อเสนอแนะต่าง ๆ ของท่านมีดังต่อไปนี้
ปัญหาอุปสรรคและแนวทางการแก้ไข ปัญหาส่วนใหญ่ก็จะเป็นเรื่องของเวลาในการทํางาน การเป็นอาจารย์นอกจากการสอนก็จะมีงานบริการวิชาการ การทํานุบํารุงศิลปะ และอื่นๆเกี่ยวกับนักศึกษา จนบางครั้ง จะทําให้เวลาในส่วนการทําวิจัยน้อยลง นอกเสียจากการมี ผู้ช่วยวิจัยมาช่วยทํางานชิ้นนั้นๆ ก็สามารถบรรลุงานได้เร็ว ขึ้น แต่ก็อาจสร้างปัญหาได้โดยเฉพาะผู้ช่วยวิจัยซึ่งบางครั้ง ขอลาออกระหว่างมีงานวิจัยทําให้งานวิจัยไม่ต่อเนื่องได้ ซึ่ง อุ ป สรรคอั น แรกจะเป็ น เรื่ อ งของเวลาในการทํ า งาน และ บุ ค ลากรสนั บ สนุ น เรื่ อ งที่ ส องจะเป็ น เรื่ อ งของทุ น วิ จั ย ที่ สนั บ สนุ น แนวทางแก้ ไ ขขั้ น แรกควรมี ก ารวางแผนที่ ดี สําหรับการทํางาน การแบ่งเวลา และการขอทุนวิจัย รวมถึง
ประสบการณ์การทําวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้ประสบความสําเร็จ การที่จะประสบความสําเร็จในหลายๆเรื่องนั้น หลักการ ของผมนั้ น อั น ดั บ แรกต้ อ งมี ใ จรั ก ที่ จ ะทํ า งาน ถ้ า หากไม่ มี ความสนใจที่จะใส่ลงไปก็สามารถจะประสบความเร็จได้ยาก แล้ ว ประการต่ อ มาก็ ต้ อ งมี ผู้ ร่ ว มงานที่ ดี เป็ น teamwork ช่ ว ยกั น ทํ า งาน เราไม่ ไ ด้ เ ก่ ง เพี ย งคนเดี ย ว หากเรามี teamwork ที่ดีก็จะช่วยให้งานของเราประสบความสําเร็จ -3-
จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา ปที่ 20 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มีนาคม 2554
พื้นฐานวิทยาศาสตร์เป็นสําคัญเนื่องจากจะได้สร้างความคิด และสร้างงานวิจัยในเชิงลึกกับงานวิชาการ และมุ่งเน้นการ พัฒนาคนให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น
การสร้าง teamwork ที่แข็งแรง และพยายามรักษาน้ําใจ คนทํางานร่วมกันให้มากที่สุด สุดท้ายก็เป็นเรื่องของบริหาร การจัดการ ผมคิดว่าคงเป็นแนวทางที่นักวิจัยส่วนใหญ่ปฏิบัติ กันคล้ายๆ กัน
การเตรียมตัวเพื่อเสนอขอรับทุนและรางวัล ก่อนอื่นผมไม่เคยที่จะคาดหวังเกี่ยวกับเรื่องรางวัลที่ จะได้รับ แต่จะภูมิใจกับสิ่งที่ทําแล้วมีคนนํางานที่ทําไปใช้ให้ เกิ ด ประโยชน์ สํ า หรั บ กรณี ก ารขอรั บ ทุ น นั้ น จะต้ อ งมี ก าร วางแผนงานวิจัยที่ดี และพยายามตอบคําถามโดยใช้หลักการ วิทยาศาสตร์มาใช้ เพราะการที่จะได้รับทุนวิจัยนั้น ทางผู้ที่ให้ ทุนคงต้องพิจารณาแล้วในเรื่องของความเป็นไปได้ และประ โยขน์ที่เกิดขึ้นจากงานวิจัยชิ้นนั้นๆ ซึ่งบางครั้งผมก็ไม่ได้ขอ ทุ น วิ จั ย มาในช่ ว งแรกเพราะจะต้ อ งมี ก ารศึ ก ษาถึ ง ความ เป็นไปได้ก่อน หากมีความพร้อมก็ส่งไปขอทุนตามแหล่งทุนที่ มี ค วามเกี่ ย วข้ อ งกั บ งานวิ จั ย เช่ น หากศึ ก ษาเรื่ อ ง nanotechnology อาจจะส่งไปขอทุนที่ สวทช. เป็นต้น ความคาดหวังต่อการทําวิจัยและสร้างสรรค์ในอนาคต ผมมีความหวังอยากจะให้งานวิจัยในอนาคตสามารถ ตอบโจทย์หรือปัญหาของประเทศชาติได้ทั้งด้านวิทยาศาสตร์ และทางด้ า นศิ ล ปะมากขึ้ น นอกจากนี้ ยั ง คาดหวั ง ให้ สังคมไทยได้เป็นสั งคมพัฒนาในเรื่องความคิดที่เป็นระบบ ซึ่งงานวิจัยสามารถเป็นไปได้ทั้งงานวิจัยในแนวลึกเพื่อสร้าง ความคิ ด และเข้ า ใจในศาสสตร์ นั้ น ๆ และงานวิ จั ย เชิ ง ประยุกต์ ถ้ารวมแนวคิดสองแบบนี้กันได้จะนับว่าดีมาก
แรงบันดาลใจในการทําวิจัยและสร้างสรรค์ งานวิ จั ย ส่ ว นใหญ่ ที่ ผ มสนใจ ที่ ไ ม่ ใ ช่ ง านของ นักศึกษาปริญญาโทหรือเอก แต่มักมาจากปัญหาของชุมชน จริ ง เพราะการแก้ ไ ขปั ญ หาของชุ ม ชนจะช่ ว ยทํ าให้ ค นใน ชุมชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และบางครั้งสร้างรายได้ ทําให้ ชุ ม ชนแข็ง แรง และมีก ารพั ฒ นาประเทศแบบยั่ง ยืน เช่ น งานวิจัยเรื่องการกําจัดเห็บออกจากสุนัขทหาร ของกรมสัตว์ แพทย์ทหารบก เป็นปัญหาจริง โดยถามว่าจะไล่เห็บออก จากสุนัขทหารอย่างไรโดยสารที่ใช้ไม่เป็นพิษโดยใช้สารจาก ธรรมชาติ หรือ งานวิ จัยเกี่ยวกั บน้ํ านมวัวที่มี มากจนเป็น ปัญหาต้องทิ้ง จึงมีการพัฒนามาปรับเอามาใช้ทําเป็นสบู่แข็ง ผสมน้ํานมวัว ขณะนี้เป็นผลิตภัณฑ์ที่ขายในชุมชนหลังเขา จังหวัดสระบุรี เป็นต้น ที่จริงแล้วคนไทยมีปัญหาเรื่อง ความเป็นอยู่ ความยากจนอยู่มาก หากเราจะมัวแต่มุ่งเน้น เกี่ยวกับวิ ท ยาศาสตร์ไปมากๆ อาจจะไม่ ได้ ช่ว ยแก้ไ ขของ ประเทศในมุมนี้ แต่สําหรับกรณีของงานวิจัยระดับนักศึกษา ระดับปริญญาโท และเอก จะมุ่งเน้นเรื่องเกี่ยวกับการวิจัย -4-
จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา ปที่ 20 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มีนาคม 2554
หรือระบบ mentor ซึ่งนักวิจัยที่มีประสบการณ์มากกว่า สามารถถ่ายทอดหรือช่วยเหลือกับนักวิจัยใหม่ได้ ซึ่งก็มีทุน จากหลายแหล่ ง สํ า หรั บ นั ก วิ จั ย รุ่ น ใหม่ ร ะบุ เ รื่ อ งเกี่ ย วกั บ นั ก วิ จั ย พี่ เ ลี้ ย ง ดั ง นั้ น ผมจึ ง คาดหวั ง เกี่ ย วกั บ นั ก วิ จั ย ที่ มี ประสบการณ์มากกว่า จะช่วยกันพัฒนานักวิจัยรุ่นใหม่ให้มี ความสําเร็จยิ่งๆ ขึ้นไป
นโยบายแนวทางของคณะเภสัชศาสตร์ตอ่ การส่งเสริม สนับสนุนงานวิจัยและสร้างสรรค์ ทางคณะเภสั ช ศาสตร์ มี น โยบายในเรื่ อ งของการ สนับสนุนทุนวิจัย และมีเครื่องมือที่ทุกคนสามารถใช้ร่วมกัน ได้ จึงทําให้การทําวิจัยของอาจารย์ในคณะวิชา มีจํานวนมาก แต่มี ปัญ หาน้อย นอกจากนี้ ทางคณะฯได้ ใ ห้ทุน สนับสนุน เรื่ อ งงานตี พิ ม พ์ แ ละเผยแพร่ ง านวิ จั ย แก่ นั ก วิ จั ย ทํ า ให้ แต่ ล ะท่ า นมี กํ า ลั ง ใจในการทํ า งานมาก ซึ่ ง นั บ ว่ า เป็ น แรงผลักดันทําให้เกิดงานวิจัยในทุกด้านมากขึ้น ข้อเสนอแนะในการทําวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีสําหรับนักวิจัยรุน่ ใหม่ สําหรับ นักวิจัยรุ่นใหม่ควรต้องถามตัวเองว่าชอบ งานชนิดใดก่อน เท่าที่พบ นักวิจัยรุ่นใหม่ๆ มักเริ่มจากงานที่ ตัวเองถนัดก่อน แล้วค่อยพัฒนาไปด้านต่างๆ ซึ่งในการเริ่ม งานวิจัยนั้ นสิ่ งสําคัญ นอกจาก ความรู้ ทุนวิจัย และ บรรยากาศการวิจัยที่ดีแล้ว ควรจะมีเรื่องของนักวิจัยพี่เลี้ยง
ประวัติและผลงาน ชื่อ – สกุล สมลักษณ์ คงเมือง ตําแหน่ง : รองศาสตราจารย์ เบอร์ภายใน : 24293 อีเมล์ : somlak@su.ac.th หน่วยงานทีส่ งั กัด : ภาควิชาเทคโนโลยีเภสัชกรรม ระดับการศึกษา ปริญญาตรี : B.Sc. in Pharm., Chulalongkorn University (1988) ปริญญาโท : M.Sc. in Pharm. (Industrail Pharmacy), Chulalongkorn University (1991) ปริญญาเอก : Ph.D. (Pharmaceutics), Purdue University (1999) ที่ทํางานเลขที่ : ภาควิชาเทคโนโลยีเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร อ.เมือง จ.นครปฐม 73000
-5-
จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา ปที่ 20 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มีนาคม 2554
ประวัติการทํางาน 2531 เภสัชกรประจําโรงงาน B L Hua จํากัด 2532 เภสัชกรการตลาด บริษัท Merck Sharp & Dohm 2534 อาจารย์ประจําคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร 2535 กรรมการสภาคณาจารย์ มหาวิทยาลัยศิลปากร 2535 - 2536 รักษาการในตําแหน่งเลขานุการคณะเภสัชศาสตร์ 2535 - 2356 หัวหน้าภาควิชาเภสัชกรรม 2547 - 2550 หัวหน้าภาควิชาเทคโนโลยีเภสัชกรรม 2551 หัวหน้าหน่วยภูมิปัญญา คณะเภสัชศาสตร์ 2548- ปัจจุบนั คณะอนุกรรมการมาตรฐานเครื่องสําอาง กองเครื่องสําอาง สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา เอกสารตีพิมพ์(บางส่วน) •
Kongmuang S, Emonanekkul K, Kampew P, Wongwut F (2010) Formulation of coconut oil dry emulsion, Journal of Research and Innovation for Thai Industries. page : 16-21.
•
สมลักษณ์ คงเมือง, Kanita Emonanekkul , Phongpen Kampew, Fonthip Wongwut (2553 - 2553) การตั้งตํารับอิมัลชันแห้งของ น้ํามันมะพร้าว, วารสารวิจัยและนวัตกรรมเพื่ออุตสาหกรรมไทย. page : 16-21.
•
Kongmuang S, Phakdisirivichai N, Detwattanadet N, Samma N, Anurakchanaphon D, Choodam T (2010) Effect of coloring agents on starch properties: In powder and paste form, Advanced Materials Research. page : 173-176.
•
Chetanachan P, Akarachalanon P, Worawirunwong D, Dararutana P, Bnagtrakulnonth A, Bunjop M, Kongmuang S (2008) Ultrastructural Characterization of Liposome using transmission electron microscope, Advance Materials Research. page : 709-711.
•
Chetanachan P, Akarachalanon P, Worawirunwong D, Dararutana P, Bangtrakulnonth A, Bunjop M, Kongmuang S (2008) Ultrastructural characterization of liposomes using transmission electron microscope, Advanced Materials Research. 55 page : 709-711.
•
สมลักษณ์ คงเมือง, อนุรักษ์ ล้อวงศ์งาม (2550) การประยุกต์ใช้ระบบ Solid Lipid Nanoparticles ทางเครื่องสําอาง, วารสารฟาร์ มาไทม์. page : 49-55.
•
สมลักษณ์ คงเมือง (2549) โสม, วารสารฟาร์มาไทม์. page : 51-56.
การประชุมนําเสนอผลงานวิจัย • Anurak Lorwongngam, Chansiri G, Peankit Dangprasert, Kongmuang S, Griseofulvin Solid Lipid Nanoparticles Based on Microemulsion Technique 2011 International Conference on Manufacturing Science and Engineering Guilin China 09 April 2011 •
Kongmuang S, Kanita Emonanekkul, Phongpen Kampew, Fonthip Wongwut, Pornkamol Sakpisuttivanit, Peeramon Kaisangdong, Formulation of Coconut oil dry emulsion The 4th Sino-Thai International Confernece Khon Kaen, Thailand 11 July 2010
•
Kongmuang S, Emonanekkul K, Kampew P, Wongwut F, Sakpisuttivanit P, Kaisangdong P, Formulation of coconut oil dry emulsion The 4th Sino-Thai International Conference "Traditional Medicine and Research and Development in Pharmacy Related Area" Pullman Khon Kaen Raja Orchid Hotel, Khon Kaen, Thailand. 11 July 2010 -6-
จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา ปที่ 20 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มีนาคม 2554
จาก...ชุมชน
นายสุพรชัย มั ่งมีสทิ ธิ์ นักวิจยั เชีย่ วชาญ สถาบันวิจยั และพัฒนา
เกริ่นนํา
พอเพียงเป็นปรัชญาชี้ถึงแนวทางการดํารงอยู่และปฏิบัติ ของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับ ชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศ ให้ดําเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนา เศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกในยุคโลกาภิวัตน์ ความ พอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึ ง ความจํ า เป็ น ที่ จ ะต้ อ งมี ร ะบบภู มิ คุ้ ม กั น ในตั ว ที่ ดี พอสมควรต่อการมีผลกระทบใดๆ อันเกิดจากการ เปลี่ยนแปลงทั้งภายในและภายนอก ทั้งนี้จะต้องอาศัย ความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่ง ในการนํ า วิ ช าการต่ า งๆ มาใช้ ใ นการวางแผนและดาร ดําเนินการทุกขั้นตอน และขณะเดียวกัน จะต้องเสริมสร้าง พื้นฐานจิตใจของคนในชาติให้มีสํานึกในคุณธรรม ความ ซื่อสัตย์สุจริตและให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดําเนินชีวิต ด้วยความอดทน ความเพียร มีสติปัญญา และความ รอบคอบเพื่ อ ให้ ส มดุ ล และพร้ อ มต่ อ การรองรั บ การ เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง ทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็น อย่างดี
ช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ผมได้มีโอกาส ได้ อ อกไปรั บ ใช้ ชุ ม ชนแห่ ง หนึ่ ง ในอํ า เภอกํ า แพงแสน จังหวัดนครปฐม ในหัวข้อการพึ่งตนเองตามแนวทาง เศรษฐกิจพอเพียง ด้วยการประสานงานของพัฒนากร อําเภอกําแพงแสน เพื่อให้สถาบันวิจัยและพัฒนาออกไป บรรยายแล ะส าธิ ต การทํ า น้ํ า ยาทํ าค วาม สะอาด เอนกประสงค์ เพื่อลดรายจ่ายในครัวเรือน ท่านผู้อ่าน อาจจะสับสนว่าภารกิจเหล่านี้ สถาบันวิจัยและพัฒนาทํา ด้วยหรือ ก่อนอื่นต้องเรียนให้ท่านผู้อ่านได้ทราบว่า ภารกิจ หนึ่งของสถาบันวิจัยและพัฒนาที่ได้ดําเนินการมาตลอด ระยะเวลาคือ การให้บริการทางวิชาการแก่ชุมชน โดยเน้น การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา สถาบันวิจัยและพัฒนาได้ให้บริการทางวิชาการแก่ชุมชนใน พื้นที่จังหวัดเพชรบุรี ราชบุรี สมุทรสงคราม สมุทรสาคร และจังหวัดนครปฐม ซึ่งส่วนใหญ่จะนําแนวทางของ เศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้เพื่อให้ประโยชน์เกิดขึ้นกับ ชุมชนให้มากที่สุดบนพื้นฐานของศักยภาพของท้องถิ่น
ในสมั ย ก่ อ นเกษตรกรจะทํ า การผลิ ต เพื่ อ การ บริโภค โดยอาศัยธรรมชาติตามสภาพแวดล้อม มีการปลูก พืชหลากหลายชนิดคละกัน ทั้งพืชผัก ผลไม้ ไม้ยืนต้น พืช สมุนไพร พืชใช้สอย ในลักษณะของสวนผสม พืชเหล่านี้จะ มีความสัมพันธ์ทางนิเวศวิทยาซึ่งกันและกัน มีความ ต้องการสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมกับการเจริญเติบโตแตกต่าง
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หลายท่านคงพอจะทราบแนวคิดดังกล่าวอยู่บ้าง พอสมควรแล้ว ผมขออนุญาตนํามาเสนอประกอบบทความ ในครั้งนี้เพื่อนําไปสู่ความเข้าใจว่าทําไมสถาบันวิจัยฯจึงมี ภารกิจเหล่านี้แทรกอยู่ในงานขององค์กร เศรษฐกิจ -7-
จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา ปที่ 20 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มีนาคม 2554
กันไปเกี่ยวกับแสงแดด อุณภูมิความชื้น ดิน เป็นต้น ต่อมา มีการพัฒนาเกษตรเพื่อบริ โภคสู่การจําหน่ายในปัจจุ บัน เกษตรกรส่วนใหญ่มุ่งเพิ่มรายได้ จึงทําการเกษตรเพื่อ จําหน่าย ทําให้ต้องใช้ทรัพยากรจากภายนอกมากขึ้น ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น
บ้านหนองโพธิ์ เป็นชุมชนที่อยู่ไม่ห่างจากนครปฐม ประมาณ 20 กิโลเมตร เป็นชุมชนที่ตั้งอยู่ในทําเลที่มี ความอุดมสมบูรณ์คือมีคลองชลประทานตัดผ่านและมีน้ํา ตลอดปี อาชีพส่วนใหญ่ของชุมชนคือการปลูกอ้อย หน่อไม้ฝรั่ง ข้าวโพดฝักอ่อน เลี้ยงวัวนม เป็นชุมชนที่มี ความพร้อมในด้านการประกอบอาชีพทางการเกษตรเป็น อย่างมาก เมื่อย้อนกลับไปเมื่อสัก 7 ปี ผมเคยนําเสนอผล การสํารวจเศรษฐกิจชุมชนในพื้นที่จังหวัดนครปฐมในแต่ละ ตําบลถึงผลผลิตที่เด่นๆ ของหมู่บ้าน และที่นี่คือบ้านหนอง โพธิ์เป็นแหล่งผลิต “สลกบาตร” ที่ใหญ่ที่สุด ส่งไปขายใน พื้นที่ต่างๆ ของประเทศ เป็นที่หุ้มบาตรพระขณะออก บิ ณ ฑบาตในตอนเช้ า ถั ก ทอด้ ว ยเส้ น ด้ า ยที่ ส วยงามมี ลวดลายต่างๆ พอผมเริ่มเข้าสู่หมู่บ้านจึงจําได้ว่าเคยมา ที่นี่แล้ว
แนวทางเศรษฐกิจพอเพียงอาจจะขยายความได้ว่า เป็นการดําเนินชีวิตหรือวิถีชีวิตของคนไทย ให้อยู่อย่าง ประมาณตน เดินทางสายกลาง มีความพอดี และพอเพียง กับตนเอง ครอบครัว และชุมชน โดยไม่ต้องพึ่งพาปัจจัย ภายนอกต่างๆ ที่เราไม่ได้เป็นเจ้าของ สิ่งสําคัญต้องรู้จัก พึ่งพาตนเอง โดยไม่ทําให้ผู้อื่นเดือดร้อน และรู้จักการนํา ทรัพยากรที่เรามีอยู่มาใช้ใ ห้เกิดประโยชน์ในการดําเนิน ชีวิต เช่นรู้จักการนําปัจจัยพื้นฐานมาใช้ในการดําเนินชีวิต อย่างมีความสุขความสบายและพอเพียงกับตนเอง
น้ํายาทําความสะอาดสมุนไพรพื้นบ้าน
บ้านหนองโพธิ์ ตําบลห้วยหมอนทอง อําเภอกําแพงแสน จังหวัดนครปฐม
สิ่งที่ผมได้นําไปแลกเปลี่ยนในวันนั้น คือการทํา น้ํ า ยาทํ า ความสะอาดเอนกประสงค์จ ากผลไม้เ ปรี้ย วใน ชุมชน ซึ่งสามารถนําผลผลิตที่ได้ไปใช้ซักล้าง ล้างจานชาม โดยปกติในอดี ตพื้นบ้านก็ไม่ได้ใช้น้ํายาล้างถ้วยล้างจาน ดังเช่นในปัจจุบันนี่หรอกครับ อย่างดีก็ใช้น้ําด่างจากขี้เถ้า มาผสมกับน้ําหมักผลไม้เปรี้ยวต่างๆ เช่น มะขามเปียก มะเฟือง มีมะกรูด มะนาว ในการทําความสะอาดคราบ สกปรกจากภาชนะจานชามต่างๆ แค่นี้ก็เอี่ยมแล้ว แต่ใน ปัจจุบันมีตลาดนัดแพร่เข้าสู่ทุกหัวระแหงของชุมชน ทําให้ มีความสะดวกสบายมากขึ้นในการจับจ่ายซื้อหาข้าวของ เครื่องใช้ต่างๆ ไม่เว้นแม้กระทั่งน้ํายาล้างถ้วยล้างจาน สบู่ ยาสีฟันมีขายหมดทุกอย่าง จึงทําให้ภูมิปัญญาดั้งเดิมของ ท้ อ งถิ่ น ถู ก มองข้ า มด้ ว ยเหตุ ที่ ไ ม่ อ ยากจะทํ า ใช้ เ องแล้ ว ประกอบกับของพื้นบ้านไม่มีฟองฟู่ฟ่าเหมือนที่ซื้อเขาตาม ตลาดนัด จึงทําให้หลงไปกับผลิตภัณฑ์ตัวใหม่ที่เข้ามา พร้ อ มกั บ การโหมโฆษณาผ่ า นโทรทั ศ น์ ที่ เ ดี๋ ย วนี้ เ ป็ น สิ่งจําเป็นพื้นฐานที่ทุกครัวเรือนต้องมีไว้ประจําบ้านอย่าง น้อยหนึ่งเครื่องเอาไว้ดูหนังดูละคร พร้อมกับถูกมอมเมา
เมื่ อ ผมได้ รั บ การติ ด ต่ อ จากพั ฒ นากรอํ า เภอ กํ า แพงแสนว่ า ให้ ไ ปเป็ น วิ ท ยากรให้ กั บ ชุ ม ชนหนองโพธิ์ เกี่ยวกับการทําน้ํายาทําความสะอาดเอนกประสงค์ ท่าน ผู้อ่านอาจจะงงแล้วมาเกี่ยวข้องอย่างไรกับสถาบันละครับ ในปีที่ผ่านมาในพื้นที่จังหวัดเพชรบุรี ที่สถาบันวิจัยและ พั ฒ นาได้ เ ข้ า ร่ ว มให้ ค วามรู้ กั บ หน่ ว ยงานทั้ ง ภาครั ฐ และ ชุมชนที่ประสานงานเข้ามาขอความอนุเคราะห์ ประกอบ ด้วย เทคนิคการประยุกต์ใช้จุลินทรีย์เพื่อการผลิตของ ชุมชน การผลิตน้ํามันไบโอดีเซลจากน้ํามันพืช การผลิต ถ่านคุณภาพสูง และน้ําส้มควันไม้ การสร้างเตาเผาถ่านอิ วาเต๊ะขนาดเล็ก การผลิตเตาอั้งโล่คุณภาพสูง และการทํา น้ํายาทําความสะอาดเอนกประสงค์ เป็นต้น และในปีที่ ผ่านมาชุมชนหนองโพธิ์ได้มีโอกาสไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับ ชุมชนเพชรบุรี ทําให้อยากจะทํากิจกรรมเพื่อลดรายจ่าย ในครัวเรือนในเรื่องของน้ํายาเอนกประสงค์ จึงติดต่อมาที่ สถาบันวิจัยและพัฒนาเพื่อไปให้ความรู้กับชุมชน -8-
จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา ปที่ 20 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มีนาคม 2554
การชักชวนให้บริโภคสินค้าต่างๆ มากขึ้น ทั้งที่บางอย่าง สามารถทําเองได้แต่ไม่เท่เหมือนในโทรทัศน์ เลยไม่ทํา ซื้อดีกว่า
อย่าคนแรงเพราะจะทําให้มฟี องเกิดมาก N70 คือสารลดแรงตึงผิวประจุลบ มีหน้าที่เป็นสาร ทําความสะอาดต่างๆมีชื่อเต็มๆ ว่า Texapon N70 มีชื่อ ทางเคมีว่า Sodium Laurylether Sulfate N70 (โชเดีย มลอริวอีเทอร์ซัลเฟต N70) มีชื่อย่อๆว่า SLES ส่วน F24 คือ สารขจัดไขมันหรือ LAS (linearalkylbenZene Sulfonate) จะใช้น้ํามะกรูดหรือมะนาวหมักก็ได้ครับใส่ 4 ลิตร
ชุมชนหนองโพธิ์ ได้ทําประชาคมในหมู่บ้านเพื่อ ทบทวนรายรับรายจ่ายของหมู่บ้านตนเองพบว่า รายจ่าย หลักส่วนหนึ่งของครัวเรือนคือ รายจ่ายด้านสบู่ น้ํายาล้าง จาน ผงซักฟอก ซึ่งไม่ว่ายากดีมีจนแค่ไหน สิ่งเหล่านี้ก็ ต้องหามาใช้ ขาดไม่ได้ และเมื่อมีโอกาสไปแลกเปลี่ยนกับ ชุมชนต้นแบบที่จังหวัดเพชรบุรี จึงคิดที่จะหาวิธีการผลิต สิ่งของเครื่องใช้พื้นฐานของชุมชนขึ้น โดยเริ่มจากการทํา น้ํายาเอนกประสงค์ขึ้น ซึ่งมีสูตรและวิธีการทําที่ไม่ยุ่งยาก ซับซ้อนมากนัก
วิธีทําน้ํามะกรูดหรือมะนาวหมัก หั่นมะกรูดหรือมะนาว 4 กิโลกรัม เป็นสองซีก ใส่ น้ําตาลแดง 1 กิโลครึ่ง น้ํา 10 ลิตร หมัก 30 วัน กรองเอา แต่น้ํามาใช้ น้ํายาเอนกประสงค์สูตรมะกรูด วัสดุอุปกรณ์
สูตรและวิธีการทําน้าํ ยาทําความสะอาดเอนกประสงค์ วัสดุทําน้ํายาทําความสะอาดเอนกประสงค์ 1. N70 หรือหัวเชื้อ 1 กิโลกรัม 2. F24 หรือสารขจัดไขมัน ครึ่งกิโลกรัม ถ้าไม่มีไม่ต้อง ก็ได้ครับ 3. เกลือ ประมาณ ครึ่งกิโลกรัม ถึง 1 กิโลกรัม หรือ บางที่เรียกว่าผงข้น 4. น้ําผลไม้รสเปรี้ยว (มะกรูด มะนาว มะเฟือง ) ประมาณ 4 ลิตร 5. น้ําสะอาด ประมาณ 7 ลิตร อันนี้แล้วแต่ความข้น ครับหากยังข้นก็เติมได้อีกแต่ถ้ามากไปก็ใช้ไม่ได้บางที่ใช้น้ํา ขี้เถ้าผสมด้วย แต่ไม่มีก็ไม่ต้องครับ วิธีทําน้ํายาล้างจาน
1. N701 กิโลกรัม 2. เกลือ1 กิโลกรัม 3. น้ําด่างจากขี้เถ้า 7 ขวด (ขวดโค้ก 1.25 ลิตร) (ประมาณ 10 ลิตร) 4. น้ํามะกรูด 1 ขวดครึ่ง (ขวดโค้ก 1.25 ลิตร) 5. ถังพลาสติกและไม้พาย 1 ชุด 6. หม้อ 1 ใบใหญ่ วิธีการทํา 1. นําเกลือเทใส่ถังพลาสติกแล้วนํา N 70 เทลง ผสมกวนให้เข้ากันไปเรื่อย ๆ จนเป็นเนื้อครีมสีขาวเนียน ลักษณะเหนียวและหนืด (กวนไปในทิศทางเดียวกันตลอด ) 2. เติมน้ํามะกรูดลงไปกวนผสมจนเข้ากันดี จนเป็นเนื้อ เดียวกัน
เท N70 กับ F24 ลงในภาชนะกวนไปในทิศทาง เดียวกันให้เข้ากันจนเป็นครีมขาวๆ จากนั้นเติมน้ําผลไม้ลง ไปกวนไปเรื่ อ ยๆ หากไม่ ข้ นก็ ค่ อ ยๆ เติ ม เกลื อ ที ล ะน้ อ ย สังเกตุดูหากข้นมากก็เติมน้ําลงไปสลับกันจนน้ําหมดทิ้งไว้ 1 คืนจนฟองยุบแล้วตักใส่ภาชนะไว้ใช้ ต้นทุนประมาณ 140 บาท ครับ ส่วนปริมาณที่ได้ก็ขึ้นอยู่กับว่าใช้น้ําไป เท่าใด
3. จากนั้นเติมน้ําด่างลงไป แล้วนําไปตั้งไฟกวนไป เรื่อยๆ จนสุกให้น้ําใส (ประมาณ 20 - 40 นาที) แล้ว ยกลง ทิ้งไว้ให้เย็น จึงนําไปบรรจุใส่ขวด / ภาชนะไว้ใช้ ตามต้องการ
-9-
จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา ปที่ 20 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มีนาคม 2554
การทําน้ํายาเอนกประสงค์นี้ สามารถทําได้ง่าย โดยใช้วัสดุอุปกรณ์จากธรรมชาติ ที่ประหยัดค่าใช้จ่าย ใช้เวลาเพียงไม่ นานก็สามารถทําได้ ซึ่งน้ํายาเอนกประสงค์นี้จะช่วยรักษาสภาพแวดล้อม สามารถใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง ทั้งยังไม่มี สารพิษตกค้างอีกด้วย สูตรน้าํ ยาล้างจานสมุนไพร 1. มะกรูดล้างให้สะอาดหั่นเป็นแว่นๆ
2. มะขามเปียก ฉีกออกจากปั้น ทั้งสองอย่างนี้ช่วยขจัดคราบได้ดี
-10-
จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา ปที่ 20 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มีนาคม 2554
3. ชั่งน้ําใส่หม้อแสตนเลส 2.5 กก. ใส่มะกรูด, มะขามเปียก และใบชาลงไป ตั้งไฟให้เดือดแล้วต้มต่อสักพัก ใช้ทัพพี คนๆ ให้ส่วนผสมถูกต้มให้ทั่วๆ
4. เมื่อส่วนผสมเย็นแล้ว นําหัวแชมพูใสมาเทใส่คนให้เข้ากันดีส่วนผสมเข้ากันดีแล้วจะได้น้ําสีน้ําตาลใสๆและมีกลิ่น หอม
5. ค่อยๆ ใส่เกลือหรือจะใช้ผงข้น โซเดียมคลอไรด์ลงไปทีละ 1 ช้อนโต๊ะ และคนให้ละลายจึงใส่อีกช้อนักขึ้นแล้วเทดูว่า ข้นพอตามต้องการหรือยัง เมือ่ ข้นพอแล้วก็หยุดใส่เกลือจํานวนเกลืออาจน้อยกว่าหรือมากกว่านิดหน่อยจากที่ให้ไว้ ขึ้นอยู่กับ ความต้องการว่าอยากให้ข้นหนืดแค่ไหน
-11-
จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา ปที่ 20 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มีนาคม 2554
วัสดุอุปกรณ์ 1. หัวเชื้อน้ํายา (N 70) 1 กิโลกรัม 2. สมุนไพรรสเปรี้ยว 3 กิโลกรัม (สับปะรด มะกรูด มะนาว ฯ) 3. เกลือ/ผงข้น 1 กิโลกรัม 4. น้ําสะอาด 10 กิโลกรัม *** ภาชนะที่ใช้กวนน้ํายาควรเป็นภาชนะก้นเรียบ เช่น กาละมัง ถังสี เป็นต้น ไม้พายควรมีขนาดยาวถึงก้นภาชนะเพื่อจะได้ ง่ายต่อการกวน ขั้นตอน / วิธที ํา 1. ล้างมะนาว มะกรูด และสับปะรดให้สะอาด หั่นเป็นชิ้นๆ แล้วต้ม กรองเอาแต่น้ํา 3 กิโลกรัมผสมน้าํ สะอาด 10 กิโลกรัม จะได้น้ําสมุนไพร 13 กิโลกรัม (หากอยากให้มีสีเหลืองใส่ขมิ้นในน้ําต้มสมุนไพรไปด้วย 1 ขีด) 2. นํา N 70 จํานวน 1 กิโลกรัมใส่ถังก้นเรียบ ค่อยๆ รินน้ําสมุนไพรใส่ถัง ใช้พายไม้กวนน้ําสมุนไพรให้ผสมเข้ากันกับ N 70 โดยกวนไปทางเดียวกันตลอดในทิศทางใดทิศทางหนึ่งเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดฟองมากโดยกวนประมาณ 15 นาที จนมี เนื้อเป็นสีขาวครีม 3. จากนั้นค่อยๆ เทน้ําสมุนไพรลงไปในถังในระหว่างที่กวน โดยโรยเกลือป่นลงไปด้วยเป็นระยะพร้อมๆ กัน จํานวน 1 กิโลกรัม คนให้เข้ากันจนเป็นสีขาวนวล 4. ตั้งทิ้งไว้ 6 ชั่วโมง ก่อนนําไปใช้งาน (หรือทิ้งไว้ 1 คืน) 5. จากนั้นนําไปใช้ล้างจาน ล้างคราบสกปรกต่างๆ ได้เลย ส่วนผสม 1. น้ําสะอาด หรือน้ําด่างขี้เถ้า 10 ลิตร 2. ผลไม้รสเปรีย้ ว (สับปะรด, มะนาว ฯลฯ ) 3 ก.ก 3. เกลือ 1 ก.ก 4. N 70 สารตั้งต้นให้เกิดฟอง 1 ก.ก วิธีทํา 1. หั่นผลไม้รสเปรี้ยวให้เป็นชิ้นเล็กๆ นําไปต้มกับน้ํา 3 ลิตร นานประมาณ 30-40 นาที (ไฟปานกลาง) ปล่อยไว้ให้ เย็น กรองเอาแต่น้ํา 2. นํา N 70 เทลงในถัง กวนให้ทิศทางเดียวกันตลอด ประมาณ 5-10 นาที ให้ฟูขึ้นขาวนวล 3. โรยเกลือ 8 ขีด ลงไปทีละน้อยสลับกับการใส่น้ําผลไม้ จนส่วนผสมหมด จะได้ความข้นพอดี ใส่เกลือส่วนที่เหลือ 2 ขีดตอนสุดท้าย แล้วกวนต่อให้เข้ากัน 4. บรรจุภัณฑ์ ไว้สําหรับใช้ในครอบครัวเรือน
-12-
จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา ปที่ 20 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มีนาคม 2554
ประหยัดค่าใช้จ่าย จะเห็นได้ว่าต้นทุนสําหรับทําน้ํายาทําความสะอาดเอนกประสงค์ตกไม่เท่าไหร่ครับเฉลี่ยประมาณไม่เกิน 150 บาทก็ ทําน้ํายาเอนกประสงค์สําหรับใช้ทําความสะอาดได้ไม่น้อยกว่า 20 ลิตร ที่สําคัญผูท้ ํารู้สึกถึงคุณค่าในสิ่งที่ตนเองได้ทําและ สามารถใช้ได้ดีไม่แพ้กับที่ซื้อเขามาใช้และดีกว่าที่เราสามารถนําผลไม้เปรีย้ วสดๆ จากข้างบ้านมาใช้ได้เลย หากต้องการสีสันก็ เพิ่มได้จากสมุนไพร เช่น สีเหลืองจากขมิ้น สรรพคุณถนอมมือด้วย สีม่วงจากน้ําดอกอัญชัน เป็นต้น เหล่านี้ล้วนแต่นําเอา ทรัพยากรที่มีอยู่แล้วมาประยุกต์บนพื้นฐานการพึ่งพาตนเองตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียง
-13-
จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา ปที่ 20 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มีนาคม 2554
ผลงานวิจัย
การพัฒนาอุตสาหกรรมในภูมภิ าคของประเทศไทย Industrial Development in Regional Area of Thailand นายอภิเศก ปั้นสุวรรณ นายสุเพชร จิรขจรกุล นางสาวกัลยา เทียนวงศ์ นายบูรณะศักดิ์ มาดหมาย คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
บทคัดย่อ ประเทศไทยประสบความสํ า เร็ จ ในการพั ฒ นา ประเทศไปสู่ความเป็น ประเทศอุตสาหกรรมและยกระดับ รายได้ของประชากรในประเทศให้สูงขึ้น โดยเป็นประเทศ อันดับที่สามของประเทศที่น่าลงทุนในภูมิภาคเอเชียจากผล การสํ า รวจของกลุ่ ม บรรษั ท ข้ า มชาติ ซึ่ ง เป็ น ผลจาก นโยบายส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมระดับภาคในช่วง ทศวรรษที่ 2500 ส่งผลให้ประเทศไทยก้าวไปสู่การเป็น ประเทศอุตสาหกรรมใหม่ อย่างไรก็ตามประเทศไทยกลับ ไม่ ป ระสบความสํ า เร็ จ ในการพั ฒ นาอุ ต สาหกรรมไปสู่ ภูมิ ภ าคต่ า งๆ ของประเทศ ผลการพั ฒ นาอุ ต สาหกรรม ส่งผลให้เกิดการขยายตัวของการพัฒนาเศรษฐกิจในเขต กรุงเทพมหานคร ซึ่งแสดงมาในรูปของการพัฒนา เศรษฐกิจที่ขาดความสมดุ ล ในเชิงพื้นที่ ในประเทศ และ ส่งผลสืบเนื่องให้เกิดความยากจน ความเหลื่อมล้ําระหว่าง รายได้และการพัฒนาของภูมิภาค
promotion are efficiency since 1960s, Thai industries have entered a new period of rapid growth, as NICs in Asia. However, Thailand has stilled regional disparity problem, especially in term of industrial development. As a result of industrialization, economic growth has increased the primacy of Bangkok Metropolis. This represents one of the most critical problems of economic structural imbalance in Thailand, which relates to many other fundamental problems such as poverty, high income inequality and regional disparities.
คําสําคัญ : การพัฒนาอุตสาหกรรม, รูปแบบทางพื้นที่ ของการพัฒนาอุตสาหกรรม, ความเหลื่อมล้ําของการ พัฒนาอุตสาหกรรม
บทนํา
Keywords Industrialization, Regional Industrial development pattern, Industrial development disparities จากการศึกษาของธนาคารโลก (World Bank) พบว่าในปี พ.ศ. 2550 ในประเทศไทยมีประชากรที่อาศัย ในชนบทประมาณร้อยละ 70 ในขณะที่ในเขตเมืองมี ประชากรเพียงร้อยละ 30 เท่านั้น โดยประชากรประกอบ อาชีพทางด้านการเกษตรและอุตสาหกรรม ประมาณร้อย ละ 40 และ 14 ตามลําดับ (World Bank, 2009a) และ เนื่องจากการจ้างงานในชนบทยังมีจํากัด ทําให้แรงงาน หนุ่มสาวในช่วงอายุ 12-24 ปี จากชนบทเข้ามาหางานทํา ในเมือง โดยมีการอพยพเพิ่มขึ้นจาก 420,000 คน ในช่วงปี พ.ศ. 2519–2523 (โดยประมาณร้อยละ 80 เป็นการ
Abstract Thailand is successful in term of industrial promotion and per capita income. Currently, Thailand is the 3rd of the most attractive business locations in Asia and the Pacific from transnational corporations (TNCs) surveying. It means the macro policies related to industrial -14-
จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา ปที่ 20 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มีนาคม 2554
(World Bank, 2009a) ทําให้เกิดมีการอพยพแรงงานจาก ในเมืองกลับสู่ถิ่นฐานเดิมอันเนื่องจากนั้นได้เพิ่มแรงกดดัน ต่อทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งเกิดจากการแข่งขันแย่งที่ทํากิน และงานนอกไร่นาที่มีจํากัดอยู่แล้ว ปัญหาต่างๆ เหล่านี้ได้ ทําให้เกิดปัญหาทางสังคมสูงขึ้นเช่น เด็กเร่ร่อน แรงงาน เด็ก โสเภณี อาชญากรรมและการฆ่าตัวตายมีอัตราสูงขึ้น เป็นต้น ทั้งนี้ทางธนาคารโลกได้เสนอมาตรการในการ พัฒนาชนบท โดยการส่งเสริมและขยายโอกาสการจ้างงาน นอกไร่นาและธุรกิจนอกภาคการเกษตร เพื่อเป็นแหล่ง รองรับแรงงานส่วนเกินและสร้างรายได้ให้กับคนในชนบท ตลอดจนสร้างมูลค่าเพิ่มแก่ผลผลิตการเกษตรของชุมชน ท้องถิ่น ธุรกิจดังกล่าวควรได้รับการพัฒนาให้เป็นกลไกใน การสร้างความเจริญเติบโตให้แก่เศรษฐกิจชนบทในระยะ ต่อไป ทั้งนี้เนื่องจากข้อจํากัดในการขยายการผลิตสาขา เกษตร รวมทั้งประชากรรุ่ น ใหม่ สนใจงานที่ใ ห้ค่ า ตอบแทนสูงกว่าการทํางานเกษตร (Pansuwan and Jirakajohnkool, 2006) ดั ง นั้ น การส่ ง เสริ ม อุ ต สาหกรรมในท้ อ งถิ่ น หรื อ ชนบทในภู มิ ภ าคต่ า งๆ จึ ง เป็ น สิ่ ง ที่ สํ า คั ญ โดยเฉพาะ อุตสาหกรรมขนาดย่อมที่ สามารถดําเนินการได้ ภายใต้ ปัจจัยท้องถิ่นที่มีความแตกต่างกัน การสนับสนุนกิจการ ดั ง กล่ า วเริ่ ม ชั ด เจนขึ้ น ภายหลั ง จากที่ ป ระเทศไทยได้ ประสบกับวิกฤตการณ์เศรษฐกิจ รัฐจึงได้พยายามผลักดัน โครงการต่างๆเพื่อสนับสนุ นและส่งเสริม วิสาหกิจขนาด กลางและขนาดย่อม (Small and Medium Enterprises : SMEs) โดยการจัดตั้งสถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม ขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากตระหนักว่า วิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม เป็นวิสาหกิจที่มีความเหมาะสม มีค วามคล่อ งตัวในการปรั บสภาพให้เ ข้ ากั บ สถานการณ์ ทั่วไปของประเทศ อีกทั้งยังเป็นวิสาหกิจที่ใช้เงินทุนใน จํานวนเงินที่ต่ํากว่าวิสาหกิจขนาดใหญ่ และยังช่วยรองรับ แรงงานจากภาคเกษตรกรรมเมื่ อหมดฤดูกาลเพาะปลูก รวมทั้งเป็นแหล่งรองรับแรงงานที่เข้ามาใหม่ เป็นการป้อง กั บ การอพยพของแรงงานที่ จ ะเข้ า มาหางานทํ า ในเขต กรุงเทพมหานครและปริมณฑล และช่วยกระจายการ กระจุกตัวของโรงงานอุตสาหกรรมไปสู่ภูมิภาค ก่อให้เกิด การพั ฒ นาความเจริ ญ เติ บ โตทางเศรษฐกิ จ ทั้ ง ในส่ ว น ภูมิภาคและของประเทศอย่างยั่งยืน(อภิเศก ปั้นสุวรรณ, 2552)
อพยพตามฤดูกาล) เพิ่มขึ้นถึงจํานวน 992,000 คนในช่วง ปี พ.ศ. 2534 – 2539 (โดยประมาณร้อยละ 70 เป็นการ อพยพอย่างถาวร) ซึ่งมีผลทําให้แรงงานในภาคการเกษตร ลดลงจาก 20.5 ล้านคน ในปี พ.ศ. 2532 เหลือเพียง 16.9 ล้านคน ในปี พ.ศ. 2538 ซึ่งมีสาเหตุมาจากค่าจ้างที่สูงกว่า ในภาคอุตสาหกรรมซึ่งส่วนใหญ่ตั้งในเขตเมือง โดยเฉพาะ เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล นอกจากนี้ยังเป็นผล มาจากข้อจํากัดในปัจจัยการผลิตทางด้านการเกษตรเช่น ขาดแคลนที่ดิน น้ํา หรือปัจจัยการผลิตอื่นๆ ทําให้ขีด ความสามารถในการรองรับแรงงานลดลง และปัญหาที่ สําคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือความล้มเหลวของนโยบายของรัฐ และการตลาดในการส่ ง เสริ ม อุ ต สาหกรรมในชนบท (ธนาคารโลก, 2543) จากสาเหตุดังกล่าวได้ส่งผลให้เกิด ความยากจนในชนบทขึ้ น โดยรายงานการศึ ก ษาของ ธนาคารโลก พบว่ า ในการสํ า รวจในปี พ.ศ.2550 นั้ น ประเทศไทยมีประชากรที่อยู่ในภาวะยากจนประมาณ 5.4 ล้านคน และกว่าร้อยละ 88 ของประชากรกลุ่มดังกล่าว อาศัยอยู่ในชนบท (World Bank, 2009b) อุตสาหกรรมและแหล่งงานสําคัญทางเศรษฐกิจ โดยส่วนใหญ่มักจะตั้งในเขตเมืองใหญ่หรือเมืองสําคัญๆ (World Bank, 2008) ในประเทศไทย พบว่าแหล่ง อุตสาหกรรมที่สําคัญจะตั้งในแถบกรุงเทพมหานครและ ปริมณฑล (Glassman, 2001) ส่งผลให้การพัฒนา เศรษฐกิจในช่วง 3 ทศวรรษที่ผ่านมา รัฐยังไม่สามารถ แก้ปัญหาความยากจน และการกระจายรายได้ในชนบทได้ (Glassman, 2007) โดยในช่วงระหว่างปี พ.ศ.2524 – 2529 พบว่าการกระจายรายได้มีแนวโน้มเลวลง และความ ยากจนก็มีจํานวนสูงขึ้น โดยสภาวะความยากจนที่ลด น้อยลงอย่างสม่ําเสมอจะพบแต่เพียงในเขตเทศบาลและใน เขตกรุ งเทพมหานครเท่ านั้ น แต่ ส ภาวะความยากจนใน หมู่บ้านชนบทกลับเพิ่มขึ้น (ธนาคารโลก, 2543) และผล จากการศึกษาของธนาคารโลกในระยะต่อมายังพบว่าในปี พ.ศ. 2550 ช่องว่างของรายได้ของประเทศไทยสูงมากเมื่อ เทียบกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออก และเมื่อ พิจารณาเปรียบเทียบระหว่างภูมิภาคจะพบว่า ในช่วงปี พ.ศ. 2531- 2550 นั้ น ความแตกต่ า งของรายได้ ข อง ประชากรระหว่างภูมิภาคมีอยู่สูงมากและมีแนวโน้มการ เปลี่ยนแปลงน้อยมาก (World Bank, 2009b) และผล จากวิกฤตเศรษฐกิจของโลกในช่วงปี พ.ศ. 2551-2552 ที่ ผ่ า นมาได้ ส่ ง ผลมี ผู้ ว่ า งงานในภาคอุ ต สาหกรรมมากขึ้ น -15-
จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา ปที่ 20 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มีนาคม 2554
3.เพื่อนําเสนอแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรม ไปสู่ภูมิภาคของประเทศไทย ประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูล จากการ กระจายตัวและโครงสร้างของอุตสาหกรรมในแต่ละภูมิภาค ร่วมกับการวิเคราะห์ข้อมูลจากนโยบายและมาตรการต่างๆ ของรัฐ และทําการสัมภาษณ์ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ของ หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งในส่วนกลางและในภูมิภาค ต่างๆ เพื่อให้เห็นความสัมฤทธิ์ของนโยบายและมาตรการ ต่างๆ ว่าประสบความสําเร็จหรือไม่อย่างไร และเพื่อให้ ทราบถึงปัญหาและอุปสรรคในการดําเนินการและข้อจํากัด ในการพัฒนาอุตสาหกรรมในภูมิภาค และทําการศึกษา และเสนอแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมในภูมิภาคของ ประเทศไทยต่อไป
วัตถุประสงค์ 1.เพื่อศึกษานโยบายและมาตรการที่เกี่ยวข้องกับ การพัฒนาอุตสาหกรรมในภูมิภาคของประเทศไทย 2.เพื่อศึกษาโครงสร้างและการกระจายตัวของ อุตสาหกรรมในภูมิภาคต่างๆ ของประเทศไทย 3.เพื่อนําเสนอแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรม ไปสู่ภูมิภาคของประเทศไทย ขอบเขตของการวิจัย 1.พิจารณา/ศึกษาข้อมูลจากพื้นที่แต่ละภาคของ ประเทศไทย โดยการแบ่งออกเป็น 6 ภูมิภาค ตาม หลั ก เกณฑ์ ข องสํ า นั ก งานคณะกรรมการพั ฒ นาการ เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 2.เน้นการศึกษานโยบายการพัฒนาอุตสาหกรรม ในภูมิภาคของหน่วยงานต่างๆ ดังนี้ กระทรวงอุตสาหกรรม สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติ, สํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน และ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย 3.ทํ า การศึ ก ษานโยบายและมาตรการต่ า งๆ ในช่ ว งระยะเวลาของแผนพั ฒ นาเศรษฐกิ จ และสั ง คม แห่งชาติฉบับที่ 1 จนถึงปัจจุบัน 4.การศึกษาการกระจายตัวของอุตสาหกรรมใน ภูมิภาคต่างๆ จะใช้ข้อมูลจากฐานข้อมูลของกรมส่งเสริม อุตสาหกรรมและกรมโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งมีข้อมูล สะสมของโรงงานอุตสาหกรรมระหว่างปี พ.ศ. 2510 – 2548
สรุปผลการวิจัย 1 . น โ ย บ า ย แ ล ะ ม า ต ร ก า ร ก า ร พั ฒ น า อุตสาหกรรมในประเทศไทย จากการศึกษานโยบายและมาตรการในการ พัฒนาอุตสาหกรรม พบว่า ในช่วงต้นรัฐได้ให้ความสําคัญ กับการพัฒนาอุตสาหกรรมเพื่อทดแทนการนําเข้า ก่อน จะพัฒนาไปสู่อุตสาหกรรมที่ผลิตเพื่อเน้นการส่งออก ใน ส่ ว นของนโยบายและมาตรการในการพั ฒ นาพื้ น ที่ แ ละ อุตสาหกรรมในภูมิภาค พบว่า รัฐได้ ให้ ความสําคัญ กับ นโยบายดังกล่าวตั้งแต่ช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติฉบับที่ 3 (2515-2519) เป็นต้นมา โดยมาตรการ การกําหนดเขตส่งเสริมการลงทุน ได้รับการนําไปสู่การ ปฏิ บั ติ อ ย่ า งต่ อ เนื่ อ ง อย่ า งไรก็ ต ามพบว่ า นอกจาก นโยบายดังกล่าวแล้ว รัฐไม่ได้ให้การสนับสนุนในนโยบาย และมาตรการอื่นๆ เพิ่มเติ ม นอกจากแผนพัฒนาเมือ ง หลักและเมืองรอง รวมทั้งแผนพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 5-6 (2525-2529, 2530-2534) เท่านั้น
วิธีการดําเนินการวิจัย 1.เพื่อศึกษานโยบายและมาตรการที่เกี่ยวข้อง กับการพัฒนาอุตสาหกรรมในภูมิภาคของประเทศไทย ทําการศึกษารายละเอียดทางด้านนโยบายและ มาตรการของภาครัฐ รวมทั้งแผนงานและการดําเนินงานที่ ผ่านมา ที่ส่งผลต่ออุตสาหกรรมในภูมิภาค 2.เพื่อศึกษาโครงสร้างและการกระจายตัวของ อุตสาหกรรมในภูมิภาคต่างๆ ของประเทศไทย ทําการศึ กษาโครงสร้ างและภาพรวมของการ กระจายตัวของอุตสาหกรรมในแต่ละภูมิภาค โดยพิจารณา จากจํานวนโรงงาน โดยใช้ข้อมูลของกรมโรงงาน อุตสาหกรรม ซึ่งรวบรวมโดยกรมส่งเสริมฯ
จากที่กล่าวมาข้างต้นทําให้ทราบได้ว่า การพัฒนา อุตสาหกรรมของประเทศเพื่อเป็นการทดแทนการนําเข้า นั้ น แรกเริ่ ม ตั้ง ในเขตกรุ ง เทพฯ แต่ เ มื่ อ การใช้ ที่ ดิ น เพื่ อ อุตสาหกรรมในบริเวณดังกล่าวเริ่มหนาแน่นจึงมีการขยาย ออกไปยังจังหวัดปริมณฑลรอบกรุงเทพฯ อันเนื่องมาจาก ความสะดวกสบายของการขนส่ง สาธารณูปโภคที่ครบครัน (Glassman, 2001) แต่ต่อมาในแผนฯ ฉบับที่ 3 (พ.ศ. -16-
จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา ปที่ 20 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มีนาคม 2554
ตะวันออก ได้แก่ จังหวัดชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา ในขณะที่ภูมิภาคอื่นๆ ยังคงมีกลุ่มอุตสาหกรรมการเกษตร และการแปรรูปอาหารเป็นหลัก นอกจากนี้ยังพบว่า อุตสาหกรรมในภูมิภาคโดย ส่ ว นใหญ่ จ ะมี พื้ น ฐานจากทรั พ ยากรและกิ จ กรรม การเกษตรในท้ อ งถิ่ น โดยเฉพาะในภาคตะวั น ออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ จะเป็นอุตสาหกรรมการ แปรรูปทางการเกษตรและอาหาร รวมทั้งภาคใต้ที่มีการ พัฒนาอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์และผลิตภัณฑ์ต่อเนื่องจาก ยางพารา ยกเว้ น ภาคตะวั น ออก ที่ มี สั ด ส่ ว นของ อุ ต สาหกรรมกลุ่ ม ที่ พึ่ ง พิ ง ทรั พ ยากรการเกษตรและ ทรัพยากรธรรมชาติน้อยกว่าภูมิภาคอื่นๆ ในขณะที่กลุ่ม อุตสาหกรรมที่เน้นการใช้ทุนและเทคโนโลยีในการผลิตใน ภู มิ ภ าคต่ า งๆ นั้ น มี จํ า นวนน้ อ ยมาก ซึ่ ง สอดคล้ อ งกั บ แ น ว คิ ด ท า ง ภู มิ ศ า ส ต ร์ เ ศ ร ษ ฐ กิ จ ส มั ย ใ ห ม่ (New Economic Geography Model) ของ Krungman (Krugman, 1991a, 1991b) ที่กล่าวถึงพื้นที่ที่มีความ เชี่ยวชาญและการกระจุกตัวทางพื้นที่ (Specialization or Localization) ของอุตสาหกรรมสูง เป็นผลสืบเนื่องมาจาก ความประหยัดของการรวมกลุ่ม (Agglomeration) รวมทั้ง เกิดการรวมตัว (Cluster) ในอุตสาหกรรมบางประเภทสูง โดยเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมที่สามารถเคลื่อนย้ายได้ง่าย (Footloose Industry) ซึ่งมักจะพบในพื้นที่ที่มีความ เชื่อมโยงทางการค้าระหว่างภู มิ ภาคหรือระดับโลก เช่น แถบชายแดนที่มีการค้าระหว่างประเทศ หรือ เมืองท่าที่ สําคัญๆ ซึ่งปรากฏการณ์ดังกล่าวสอดคล้องกับ งานศึกษา ของ Kim (1995), Brulhart and Torstensson (1996), Amiti (1999), Demery and Squire (1996) Sjöberg and Siöholm (2004) และ Silva (2007) เป็นต้น งาน เหล่ า นี้ ไ ด้ ข้ อ สรุ ป ในทิ ศ ทางเดี ย วกั น ว่ า การค้ า เสรี ไ ด้ ก่อ ให้ เ กิ ด ปรากฏการณ์ ก ารกระจุ ก ตัว ของอุ ต สาหกรรม นําไปสู่การเกิดปัญหาความเหลื่อมล้ําของรายได้ทั้งระหว่าง และภายในประเทศต่างๆ
2515-2519) เป็นต้นมา รัฐได้พยายามที่ส่งเสริมการขยาย อุตสาหกรรมให้ไปตั้งในส่วนภูมิภาคเพื่อเป็นการลดความ แออั ด ในส่ ว นกลาง ที่ สํ า คั ญ เพื่ อ เป็ น การกระจายความ เจริญออกสู่ภูมิภาค รวมทั้งสร้างรายได้ให้กับประชาชนโดย ไม่ต้องอพยพย้ายถิ่นเข้ามาในส่วนกลาง โดยรัฐได้พยายาม ที่จะหานโยบายต่าง ๆ มาใช้แ ต่ที่ สําคัญ คื อนโยบายการ พัฒนาเมืองหลัก เมืองรอง ที่ได้กําหนดพื้นที่ของจังหวัดใน แต่ ล ะภู มิ ภ าคให้ เ ป็ น ศู น ย์ ก ลางที่ จ ะพั ฒ นาไปยั ง จั ง หวั ด รอบ ๆ (Kaothien and Webster,1998) นอกจากนี้รัฐ พยายามที่ จ ะหานโยบายทั้ ง มาตรการด้ า นภาษี สิ ท ธิ ประโยชน์ผ่ านทางสํานั กงานคณะกรรมการส่ งเสริมการ ลงทุน (BOI) และการนิคมอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ สร้างแรงจูงใจ กระตุ้นให้นักลงทุนได้หันมาพิจารณาพื้นที่ ต่ า งจั ง หวั ด ในส่ ว นภู มิ ภ าค อย่ า งไรก็ ต ามจากการ ดํ า เนิ น งานของรั ฐ บาลกว่ า 35 ปี ก็ ถื อ ว่ า ประสบ ความสําเร็จในระดับหนึ่งโดยเฉพาะเห็นได้ชัดเจนในภาค ตะวันออกซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเล (Glassman, 2007) 2. โครงสร้า งและการกระจายตั วของอุ ต สาหกรรมใน ประเทศไทย ในการวิ เ คราะห์ โ ครงสร้ า งและกระจายตั ว ของ โรงงานอุ ต สาหกรรมในแต่ ล ะภู มิ ภ าค ในช่ ว งปี พ.ศ. 2510 - 2549 พบว่า โครงสร้างของอุตสาหกรรมของ ประเทศไทยในปัจจุบัน ได้พัฒนาจากกลุ่มอุตสาหกรรมที่ เน้ น การใช้ วั ต ถุ ดิ บ หรื อ ทรั พ ยากรธรรมชาติ (Resource Based Industry) และกลุ่มอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานอย่าง เข้มข้น (Labor Intensive Industry) มาสู่กลุ่ม อุตสาหกรรมที่เน้ นการใช้ ทุ นและเทคโนโลยี ในการผลิต (Capital Intensive Industry) มากขึ้น โดยในปี พ.ศ. 2549 กลุ่มอุตสาหกรรมเคมีและเคมีภัณฑ์มีการลงทุนมาก ที่ สุ ด ถึ ง 670,854 ล้ า นบาท จากการลงทุ น ใน ภาคอุตสาหกรรมทั้งสิ้น 4,045,982 ล้านบาทหรือคิดเป็น ร้อยละ 16.58 ในขณะที่การจ้างงานส่วนใหญ่ยังอยู่ใน กลุ่มผลิตภัณฑ์สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม รองลงมาคือกลุ่ม อุตสาหกรรมแปรรูปอาหารและเครื่องดื่มซึ่งมีจากการจ้าง งานถึง 740,197 และ 592,639 คน หรือร้อยละ 20.90 และ 16.73 ตามลําดับ อย่างไรก็ตามจากการศึกษาพบว่า อุตสาหกรรมในกลุ่มดังกล่าวส่วนใหญ่ยังคงกระจุกตัวอยู่ใน เขตกรุ ง เทพฯและปริ ม ณฑล รวมทั้ ง บางจั ง หวั ด ในภาค
3. แนวทางการพั ฒ นาอุ ต สาหกรรมไปสู่ ภู มิ ภ าคของ ประเทศไทย จากการศึกษานโยบายและมาตรการต่างๆ ในการ กระจายอุตสาหกรรมไปสู่ภูมิภาคหรือต่างจังหวัดนั้น พบว่า มีแนวทางใหญ่ๆ 5 แนวทางคือ 1. การให้สิ่งจูงใจทางด้านภาษีอากร ปัจจัยพื้นฐาน -17-
จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา ปที่ 20 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มีนาคม 2554
ความสามารถของผู้ประกอบการในท้ องถิ่ น และพั ฒนา สภาพแวดล้อม รวมถึงสิ่งจําเป็นต่างๆเพื่อเป็นแรงจูงใจให้ เกิดผู้ประกอบการอุตสาหกรรมในท้องถิ่นนั้นๆเพิ่มเติม ซึ่ง เท่ากับว่าเป็นการพัฒนาอุตสาหกรรมในภูมิภาคไปพร้อม กันด้วย 3. การรับช่วงการผลิตระหว่างอุตสาหกรรมในเขต เมืองกับอุตสาหกรรมในภู มิภาค โดยอาศัยข้อจํากัดของ อุตสาหกรรมในแต่ละพื้นที่ กล่าวคืออุตสาหกรรมในเขต เมื อ งมี ปั ญ หาในเรื่อ งต้น ทุ น การผลิ ต จากราคาที่ ดิน และ ค่ า แรงที่ สู ง ขึ้ น ในขณะที่ อุ ต สาหกรรมในต่ า งจั ง หวั ด มี ข้อจํากัดในการจัดหาทุนและการตลาด ดังนั้นระบบการรับ ช่วงการผลิตจึงเป็นแนวทางหนึ่งในการกระจายงานไปยัง ภูมิภาคหรือต่างจังหวัด และยังส่วนสําคัญในการพัฒนา อุตสาหกรรมในภูมิภาคให้ มีการบริหาร การจัดการและ ระดับฝีมือของแรงงานให้ดีขึ้นผ่านตัวแทนของบริษัท ผู้ว่า จ้างผลิต ซึ่งในระบบการรับช่วงการผลิตอาจจะมีทั้งการ ว่าจ้างผลิตระหว่างโรงงานอุตสาหกรรมด้วยกัน หรือการ ว่ า จ้ า งแรงงานในภู มิ ภ าคหรื อ หมู่ บ้ า นทํ า การผลิ ต ใน ครัวเรือนจากโรงงานอุตสาหกรรม อย่างไรก็ดีการรับช่วง การผลิตอาจจะประสบปัญหาได้หากผู้ว่าจ้างผลิตเปลี่ยนไป เลือกผู้รับจ้างผลิตที่สามารถทําการผลิตในราคาที่ถูกกว่า ซึ่งส่งผลให้ผู้รับจ้างผลิตอาจจะต้องเลิกกิจการไปเนื่องจาก ขาดทักษะในการจัดหาทุนและตลาดทดแทนได้ 4 . ก า ร ส ร้ า ง ก ลุ่ ม แ ล ะ เ ค รื อข่ า ย ข อ ง ก ลุ่ ม อุตสาหกรรมที่ต่อเนื่องกัน (Cluster) จะมีส่วนสําคัญใน การกระตุ้นการลงทุนในพื้นที่ได้เป็นอย่างดี ซึ่งประเทศไทย ได้ ดํ า เนิ น การแล้ ว ในบางอุ ต สาหกรรม เช่ น กลุ่ ม อุตสาหกรรมยานยนต์ ส่งผลให้มีการลงทุนอย่างสูงในกลุ่ม อุตสาหกรรมยานยนต์ และชิ้นส่วน รวมทั้งอุตสาหกรรม ต่อเนื่องอื่นๆ จากนโยบายการพัฒนาประเทศไทยให้เป็น ดี ทรอยท์ของภูมิภาคเอเชีย (Detroit of Asia) ทําให้เกิด การลงทุนของกลุ่มอุตสาหกรรมดังกล่าวในเขตพื้นที่ภาค ตะวันออก โดยเฉพาะในจังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี และ ระยอง ดังนั้น หากประเทศไทยสามารถกํ าหนดกลยุท ธ์ พื้นที่เฉพาะได้ ก็จะมีส่วนสําคัญในการสร้างบรรยากาศการ ลงทุนในพื้นที่ได้ 5. ความร่วมมือกับต่างประเทศในการพัฒนาพื้นที่ ที่มีการลงทุนทางด้านอุตสาหกรรมต่ํา โดยเฉพาะในพื้นที่ ตอนในภาคพื้นทวีป (Hinter land) เช่น พื้นที่ในเขต ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นต้น อย่างไรก็
และสาธารณูปโภคที่จําเป็นต่างๆในท้องถิ่นนั้นๆ เพื่อเป็น แรงจูงใจให้ผู้ประกอบการจากส่วนกลางและต่างประเทศ ไปลงทุนยังพื้นที่นั้น โดยมีแนวความคิดว่าปัจจัยพื้นฐาน ต่างๆในภูมิภาคยังด้อยกว่าในส่วนกลาง ดังนั้นจึงควรมีการ ชดเชยความเสียเปรี ยบดั งกล่าว โดยอาศัยการชี้นํ าหรื อ ลงทุนจากภาครัฐเป็นสําคัญ โดยเฉพาะการลงทุนในการ สร้างสิ่งอํานวยความสะดวก และปัจจัยที่ใช้ในการผลิตและ ขนส่ง เช่น ท่าเรือ สนามบิน หรือ นิคมอุตสาหกรรม เป็น ต้น ซึ่งจะมีส่วนสําคัญสําหรับนักลงทุนต่างชาติ เช่น ที่ได้ ดําเนินการและประสบความสําเร็จในจังหวัดลําพูน ในการ ดึ ง นั ก ลงทุ น ต่ า งชาติ จ ากญี่ ปุ่ น มาลงทุ น ในอุ ต สาหกรรม ชิ้ น ส่ ว นอิ เ ล็ ก ทรอนิ ก ส์ เป็ น ต้ น อย่ า งไรก็ ดี ก ารสร้ า งสิ่ ง อํานวยความสะดวกไม่ใช่เงื่อนไขของความสําเร็จในการ ส่งเสริมการลงทุนแต่เพียงอย่างเดียว ดังในกรณีของนิคม อุตสาหกรรมในจังหวัดราชบุรี และพิจิตร ที่มีการลงทุน น้อ ยในพื้น ที่ ส่ ว นหนึ่ ง เนื่ อ งจากการที่ ก ฎหมายระหว่ า ง หน่วยงานยังไม่เกื้อกูลกันโดยตรง เช่น ในขณะที่ พ.ร.บ. ส่งเสริมการลงทุน ไม่ได้ให้สิทธิประโยชน์เพิ่มเติมจากเขต ส่งเสริมการลงทุน (เขต 3) ในการลงทุนในพื้นที่ของนิคม อุตสาหกรรม ส่งผลให้โรงงานอุตสาหกรรมจํานวนมากจะ ไปตั้งในพื้นที่รอยต่อของเขต 2 ซึ่งในปัจจุบันได้กลายเป็น เขตอุ ต สาหกรรมที่ สํ า คั ญ เช่ น จั ง หวั ด เพชรบุ รี และ ปราจี น บุรี เป็ นต้ น ในขณะที่ ก ารลงทุ น ในพื้น ที่ ข องการ นิคมอุตสาหกรรมเกิดขึ้นน้อยมาก เนื่องจากราคาที่ดินที่ แตกต่ า งกั น อย่ า งมากของพื้ น ที่ ใ นและนอกเขตนิ ค ม อุตสาหกรรม 2. การพัฒนาผู้ประกอบการท้องถิ่น เป็นแนวทาง ที่ได้รับความสนใจและให้ความสําคัญมากขึ้นภายหลังจาก ที่พบว่า การดําเนินการโดยการอาศัยสิ่งจูงใจต่างๆเพื่อให้ เกิ ด การลงทุ น อุ ต สาหกรรมในภู มิ ภ าคนั้ น ไม่ ป ระสบ ความสําเร็จเท่าที่ควรดังจะเห็นได้จากข้อมูลการศึกษาที่ยัง พบว่ า ยั ง พบการกระจุ ก ตั ว ของอุ ต สาหกรรมในแถบ กรุงเทพมหานครและปริมณฑล รวมทั้งผลการวิจัยและ ศึ ก ษาของหน่ ว ยงานต่ า งๆนั้ น ได้ ข้ อ สรุ ป ตรงกั น ว่ า อุตสาหกรรมที่อยู่ในภูมิภาคหรือต่างจังหวัดนั้น ส่วนใหญ่ เกิดจากการลงทุนของผู้ประกอบการซึ่งมีพื้นเพเป็นคนใน ท้องถิ่นๆนั้น แต่เนื่องจากข้อจํากัดหลายๆประการทําให้ การพัฒนาอุตสาหกรรมที่ดําเนินงานในภูมิภาคไม่สามารถ พั ฒ นาได้ อ ย่ า งเต็ ม ที่ ดั ง นั้ น แนวคิ ด ใหม่ ใ นการพั ฒ นา อุ ต สาหกรรมในภู มิ ภ าคจึ ง เน้ น การพั ฒ นาความรู้ -18-
จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา ปที่ 20 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มีนาคม 2554
พัฒนาอุตสาหกรรม
ดี การพัฒนาเขตเศรษฐกิจชายแดน และความร่วมมือใน การพัฒนาเศรษฐกิจของอนุภูมิภาค เช่น โครงการพัฒนา อนุภูมิภาคลุ่มน้ําโขง (The Greater Mekong Subregions: GMS) ซึ่งจะมีส่วนสําคัญในการกระตุ้นการลงทุน ในบริเวณจังหวัดในพื้นที่ชายแดน ที่เป็นประตูเชื่อมโยง ระหว่ า งประเทศต่ า งๆ ได้ แ ก่ สาธารณรั ฐ ประชาชนจี น สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สาธารณรัฐสังคม นิ ย มเวี ย ดนาม สหภาพเมี ย นม่ า ร์ และกั ม พู ช า ประชาธิปไตย (Tsuneishi, 2005) จะมีส่วนสําคัญในการ ขยายตลาดสินค้าไปยังประเทศเหล่านี้ รวมทั้งการใช้เป็น เส้นทางในการขนส่งสินค้าต่างๆไปยังตลาดในภูมิภาคอื่นๆ ซึ่งส่งผลให้ลดค่าใช้จ่ายในการขนส่งอีกด้วย นอกอาจจะใช้ แรงงานของประเทศต่ า งๆเหล่ า นี้ ใ นการผลิ ต สิ น ค้ า บาง ประเภท โดยเฉพาะที่ต้องอาศัยแรงงานจํานวนมากในการ ผลิต เช่น สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ซึ่งจะมีส่วนสําคัญในการ ลดปัญหาการหลบหนีเข้าเมืองของแรงงานต่างด้าวได้เป็น อย่างดี กล่ า วโดยสรุ ป แล้ ว การสนั บ สนุ น และส่ ง เสริ ม อุ ต สาหกรรมในภู มิ ภ าค จํ า เป็ น ต้ อ งวางกรอบในการ กํา หนดนโยบายและมาตรการไปในทิ ศ ทางเดีย วกั น ใน ขณะเดียวกันการลดบทบาทของส่วนกลางและสนับสนุน หน่ ว ยงานในท้ อ งถิ่ น ให้ ส ามารถกํ า หนดทิ ศ ทาง และ วางแผนการดําเนินการเองได้ รวมทั้งการให้เอกชนและ ชุมชนในท้องถิ่นและผู้ที่เกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วม จะมี ส่วนสําคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรมในภูมิภาค ทั้งนี้การ ประสานงานกั น ระหว่ า งหน่ ว ยงานนั บ เป็ น เรื่ อ งที่ มี ความสํ า คั ญ ซึ่ ง จะมี ส่ ว นให้ ก ารบริ ห ารบุ ค ลากรและ งบประมาณมีประสิทธิ ภาพมากขึ้ น ซึ่งจะส่งผลให้ อุตสาหกรรมขนาดย่อมในภูมิภาคได้รับบริการที่ดีขึ้นด้วย
บรรณานุกรม จักรมณฑ์ ผาสุกวนิช. การส่งเสริมการลงทุนเพื่อกระจาย อุตสาหกรรมไปสู่ภูมิภาค. วิทยาลัยป้องกัน ราชอาณาจักร, 2539-2540 เจษฎา โลหอุ่นจิตร. นโยบาย มาตรการและสถาบันเพื่อ การอุตสาหกรรมชนบท. กรุงเทพฯ : มูลนิธิ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย, 2533. โชคดี แก้วแสง. ผู้อํานวยการสํานักยุทธศาสตร์และ นโยบายการลงทุน สํานักงานคณะกรรมการ ส่งเสริมการลงทุน. สัมภาษณ์, 1 พฤษภาคม 2551. โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฏ์. “อุตสาหกรรมชนบทกับระบบบริหาร ราชการ” วารสารข้าราชการ .เมษายน 2527, หน้า 55-61. ไทเลอร์ บิกส์และคณะ. การวิจัยอุตสาหกรรมและการจ้าง งานในชนบท : รายงานประมวลผล. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย,2533. ธนาคารโลก. รายงานการติดตามสถานการณ์เศรษฐกิจใน ประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สํานักงาน ธนาคารโลกประจําประเทศไทย, 2543. Asian Development Bank (ADB)., 2002 .Building on Success: A Strategic Framework for the Next Ten Years of the Greater Mekong Sub-region Economic Cooperation Program. Manila: Office of External Relations, Asian Development Bank. Amiti, M. (1999), Specialisation patterns in Europe, Weltwirtschaftliches Archiv, Vol.135 (4), pp. 573-593. Alonso, W., 1971. “The Location of Industry in Developing Countries” in Industrial Location and Regional Development; Proceeding of Interregional Seminar Minsk, 14-26 August 1968, New York: UN. Biggs, T. Brimble P and Snodgrass D., 1990. Rural Industry and Employment Study: A Synthesis Report. Bangkok: Thailand Development Research Institute.
ข้อเสนอแนะในการทําวิจัยครั้งต่อไป งานวิจัยที่น่าจะทําการศึกษาในอนาคตคือ 1.โอกาสการลงทุ น ในภาคอุ ต สาหกรรมในพื้ น ที่ ชายแดน โอกาส ปัญหา และอุปสรรค 2.การประเมินแผนพัฒนาเมืองหลักและเมืองรอง ในฐานะการรองรับการพัฒนาอุตสาหกรรม 3.แนวทางผสานนโยบายสาธารณะในการพัฒนา ภูมิภาคและอุตสาหกรรม 4.ความสั ม พั น ธ์ ข องพื้ น ที่ ค วามยากจนกั บ การ -19-
จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา ปที่ 20 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มีนาคม 2554
Datta, S. K. and Mukhopadhyay, F., 1999. Industrial Disparity in India: A Test of Convergence, Indian Journal of Regional Science, Vol. 36(1), pp. 19-30. Glassman, J., 2007. Recovering from Crisis: The Case of Thailand's Spatial Fix, Economic Geography, Vol.83 (4), pp.349-370.
สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติ และ Prof. Dr. Jayant K. Routray อาจารย์ ประจํ า สาขา การวางแผนพั ฒ นาชนบทและภู มิ ภ าค สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (A.I.T.) ที่ให้แนวคิดในการ วิเคราะห์ รวมทั้งผู้ บริหาร ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ใ น หน่ วยงานต่ างๆในการให้เข้าสัม ภาษณ์ และอนุ เ คราะห์ ข้ อ มู ล ที่ ใ ช้ ป ร ะ ก อ บ ก า ร ศึ ก ษ า ไ ด้ แ ก่ สํ า นั ก ง า น คณะกรรมการพั ฒ นาการเศรษฐกิ จ และสั ง คมแห่ ง ชาติ สํ า นั ก งานคณะกรรมการส่ ง เสริ ม การลงทุ น การนิ ค ม อุ ต สาหกรรม กรมโรงงานอุ ต สาหกรรม กรมส่ ง เสริ ม อุ ต ส า ห ก ร ร ม แ ล ะ ธ น า ค า ร โ ล ก ต ล อ ด จ น ท่ า น ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมในพื้นที่ต่างๆ
คําขอบคุณ ในการศึกษาเรื่อง การพัฒนาอุตสาหกรรมใน ภูมิภาคในครั้งนี้ ได้ดําเนินการ และสําเร็จลงได้ด้วยดี ทั้งนี้ ด้วยคําแนะนําจากที่ปรึกษาโครงการและบุคคลที่เกี่ยวข้อง ต่างๆ ได้แก่ คุณโกมล ชอบชื่นชม อดีตรองเลขาธิการ
-20-
จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา ปที่ 20 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มีนาคม 2554
ขาวสารความเคลื่อนไหว การประชุมวิชาการและเสนอผลงานวิจยั และสรางสรรค "ศิลปากรวิจยั ครั้งที่ 4 : บูรณาการศาสตรและศิลป คือ ศิลปากร”
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร ร่วมกับเครือข่ายวิจัยอุดมศึกษาภาคกลางตอนล่าง สํานักงาน คณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ได้ดําเนินการจัดการประชุมวิชาการและเสนอผลงานวิจัย/สร้างสรรค์ "ศิลปากรวิจัย ครั้งที่ 4 : บูรณาการศาสตร์และศิลป์ คือ ศิลปากร" เมื่อวันที่ 19-21 มกราคม 2554 ณ ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา พระราชวังสนามจันทร์ นครปฐม การดําเนินงาน ประกอบด้วย 1. เสวนาทางวิชาการ 2. การ นําเสนอผลงานวิจัยภาคบรรยาย 3. การนําเสนอผลงานภาคโปสเตอร์ 4. นิทรรศการและงานสร้างสรรค์ 5. การจัดแสดง ดนตรีของคณะอักษรศาสตร์ 6. การจัดแสดงดนตรีของคณะดุริยางคศาสตร์ 7. การแสดงหนังใหญ่วัดขนอน 8. การออก ร้านผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์ - จํานวนผูเ้ ข้าร่วมโครงการประชุมฯ จํานวน 735 คน ประกอบด้วย ผู้นําเสนอผลงานวิจัยภาคบรรยาย/โปสเตอร์/ผลงาน สร้างสรรค์ จํานวน 152 คน บุคคลทั่วไป จํานวน 502 คน สื่อมวลชน จํานวน 3 คน คณะกรรมการ/นักแสดง/ เจ้าหน้าที่/อื่นๆ จํานวน 78 คน - การนําเสนอผลงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ จํานวนทั้งหมด 157 เรื่อง ประกอบด้วย การนําเสนอผลงานวิจัยภาค บรรยายจํานวน 70 เรื่อง การนําเสนอผลงานวิจัยภาคโปสเตอร์ จํานวน 69 เรื่อง ผลงานสร้างสรรค์ของคณาจารย์ จํานวน 3 เรื่องโครงการศิลปากรพัฒนาเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ จํานวน 15 เรื่อง -21-
จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา ปที่ 20 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มีนาคม 2554
ประชุมเครือข่ายวิจัยอุดมศึกษาภาคกลางตอนล่าง ประชุมคณะอนุกรรมการเครือข่ายวิจัยอุดมศึกษาภาคกลางตอนล่าง ครั้งที่ 1/2554 เมื่อวันพุธที่ 19 มกราคม 2554 เวลา 12.00-15.30 น. ณ ห้องประชุมชั้น 1 ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบ พระชนมพรรษา มหาวิทยาลัยศิลปากร พระราชวังสนามจันทร์ นครปฐม เพื่อพิจารณาโครงการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ ชุมชนฐานรากประจําปีงบประมาณ พ.ศ.2554 และการนําเสนอรายงานความก้าวหน้าในการดําเนินงานโครงการวิจัยและ นวัตกรรมเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชนฐานราก ประจําปีงบประมาณ 2553 ครั้งที่ 2 ผู้เข้าร่วมประชุมรวมประมาณ 35 คน
การจัดแสดงดนตรีของคณะอักษรศาสตร์
-22-
จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา ปที่ 20 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มีนาคม 2554
พิธเี ปิดงาน วันที่ 19 มกราคม 2554 เวลา 18.30 น.
แตรวงนครชัยศรี
-23-
จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา ปที่ 20 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มีนาคม 2554
การแสดงหนังใหญ่วัดขนอน
การลงทะเบียน
-24-
จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา ปที่ 20 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มีนาคม 2554
การนําเสนอผลงานวิจัยภาคบรรยาย วันที่ 20 มกราคม 2554
การนําเสนอผลงานวิจัยภาคนิทรรศการ
-25-
จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา ปที่ 20 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มีนาคม 2554
ผลงานสร้างสรรค์
Hall of Fame
-26-
จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา ปที่ 20 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มีนาคม 2554
เสวนาทางวิชาการเรื่อง “การเสวนาเกณฑ์การสร้างสรรค์ทางดนตรี” โดย สถาบันอุดมศึกษาที่มีการเรียนการสอนด้านดนตรีในประเทศไทย วันที่ 20 มกราคม 2554 ณ เรือนรับรอง
-27-
จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา ปที่ 20 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มีนาคม 2554
การแสดงดนตรีของคณะดุรยิ างคศาสตร์
การนําเสนอผลงานวิจัยภาคบรรยาย วันที่ 21 มกราคม 2554
-28-
จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา ปที่ 20 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มีนาคม 2554
การออกร้านผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์
โครงการศิลปากรพัฒนาเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ 1.โครงการอบรมเชิงสร้างสรรค์ “ดนตรีไทยเชิงสร้างสรรค์เพื่อเสริมสร้างเศรษฐกิจชุมชน” โดย รองศาสตราจารย์ พงษ์ศิลป์ อรุณรัตน์
-29-
จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา ปที่ 20 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มีนาคม 2554
2.โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ “การผลิตสือ่ ภาพยนตร์สั้น/สารคดีสรรสร้างเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์แก่ชุมชน” โดย อาจารย์ภัธทรา โต๊ะบุรินทร์
3.โครงการการพัฒนาพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการศึกษาเชิงสร้างสรรค์ โดย ผศ.ดร.คีรีบูน จงวุฒิเวศย์
4. โครงการ Gc2 : Green, Clean and Creative Food for Gastronomy Tourism โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บุศรากรณ์ มหาโยธี
-30-
จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา ปที่ 20 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มีนาคม 2554
5.โครงการถ่ายทอดความรู้ด้านการเกษตรแก่ชุมชนแบบครบวงจร โดย รองศาสตราจารย์ น.สพ.เกรียงศักดิ์ พูนสุข
6. โครงการศิลปกรรมจากภูมปิ ัญญาไทย โดย รองศาสตราจารย์ ปริญญา ตันติสุข
7.โครงการการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน:ต้นแบบผลิตภัณฑ์ใหม่และบรรจุภณ ั ฑ์กลุ่มวิสาหกิจชุมชนพัฒนาอาชีพ ท่าผา จังหวัดราชบุรี โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ลุ้ย กานต์สมเกียรติ
-31-
จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา ปที่ 20 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มีนาคม 2554
8. โครงการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้วยการอบรมและปฏิบัติการสร้างสรรค์งานศิลปะภาพพิมพ์จากแม่พมิ พ์ไม้ และแม่พมิ พ์คอนกรีต : ผลิตภัณฑ์ใหม่ของที่ระลึกชุมชนเกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชัยณรงค์ อริยะประเสริฐ
9. โครงการอนุรักษ์ผลงานศิลปกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องใน โอกาสมหามงคลพระชนมพรรษาครบ 84 พรรษาโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ญาณวิทย์ กุญแจทอง
10. โครงการศึกษาและพัฒนาการจัดการท่องเที่ยวแหล่งเครื่องถ้วยทางโบราณคดี โดย ศาสตราจารย์สายันต์ ไพรชาญจิตร์
-32-
จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา ปที่ 20 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มีนาคม 2554
11.โครงการวิจัยอนุรักษ์งานศิลป์และสืบสานวัฒนธรรมไทยเชิงสร้างสรรค์ : การถ่ายทอดองค์ความรู้ต้นแบบงานออกแบบ สู่ระดับสากลของนักออกแบบไทย โดย รองศาสตราจารย์เอกชาติ จันอุไรรัตน์
12.เงาที่แปรเปลี่ยน : โครงการสารคดีเชิงทดลอง กรณีศึกษา หนังใหญ่วดั ขนอน อ.โพธาราม จ.ราชบุรี โดย อาจารย์อานันท์ นาคคง
13. โครงการศิลปะการนวดบําบัดและการให้บริการสุขภาพด้านสปา โดย อาจารย์วันชัย เจือบุญ
-33-
จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา ปที่ 20 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มีนาคม 2554
14. โครงการศิลปินรุ่นเยาว์เพื่อการอนุรักษ์งานศิลป์และสืบสานวัฒนธรรมไทยเชิงสร้างสรรค์ โดย รองศาสตราจารย์คณิต เขียววิชัย
15. โครงการนวัตกรรมการเปลี่ยนขยะสู่งานสร้างสรรค์ โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รัชฎา บุญเต็ม
กิจกรรมโครงการศิลปากรพัฒนาเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ •
การสาธิตศิลปะการนวดบําบัดและการให้บริการสุขภาพด้านสปา
-34-
จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา ปที่ 20 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มีนาคม 2554
•
การสาธิตการปฏิบัติการทดสอบคุณสมบัตเิ บื้องต้นของวัสดุที่ใช้ในงานทางศิลปะ
•
การสาธิตการทํางานศิลปะภาพพิมพ์จากแม่พิมพ์ไม้และคอนกรีต
งานสร้างสรรค์ของคณาจารย์ •
การศึกษาประสิทธิภาพของน้ํามันปาล์มและเทียนไขในการยืดอายุการเก็บรักษาหยวกกล้วยแกะสลัก โดย อ.ภูธฤทธิ์ วิทยาพัฒนานุรักษ์ รักษาศิริ
-35-
จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา ปที่ 20 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มีนาคม 2554
•
•
ประติมากรรมเครื่องเคลือบดินเผา : แดนสมมุติ โดย ผศ.กรธนา กองสุข
ถอดรหัสโคลงนิราศหริภุญชัยสู่การวิจัยและผลงานสร้างสรรค์ โดย อ.ดร.เกรียงไกร เกิดศิริ
-36-
จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา ปที่ 20 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มีนาคม 2554
งานเลี้ยงขอบคุณงานศิลปากรวิจัย ครั้งที่ 4
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากรเลี้ยงขอบคุณที่ปรึกษาและคณะกรรมการประจําสถาบันวิจัยและ พัฒนา คณะทํางาน ผู้นําเสนอผลงานสร้างสรรค์ และผู้นําเสนอผลงานวิจัยและสร้างสรรค์ โครงการ "ศิลปากรพัฒนา เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์" ทุกท่านที่ทําให้งานศิลปากรวิจัย ครั้งที่ 4 ประสพความสําเร็จอย่างดียิ่ง เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 10 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา 18.00 น. ณ ภัตตาคารวาแตล วิทยาลัยนานาชาติ กรุงเทพฯ
-37-
จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา ปที่ 20 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มีนาคม 2554
ขอเชิญชวน...เสนอผลงานวิจยั ฉบับสมบูรณเพือ่ จัดพิมพเผยแพร ประจําป 2554 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากรขอเชิญชวนคณาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการ และผู้สนใจของมหาวิทยาลัย ศิลปากรเสนอผลงานวิจัยฉบับสมบูรณ์เพื่อจัดพิมพ์เผยแพร่ ประจําปี 2554 เพื่อเป็นการส่งเสริมและเผยแพร่ผลงานวิจยั ของบุคลากร ในมหาวิทยาลัยให้แพร่หลายมากยิ่งขึ้น ผู้ประสงค์จะเสนอผลงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ สามารถขอและส่งผลงานวิจัยตามแบบ (สว.ว.13) ได้ที่ สถาบันวิจัยและพัฒนา ภายในวันที่ 31 พฤษภาคม 2554 หรือสอบถามได้ที่ คุณหรรษา นิลาพันธ์ โทรศัพท์ 034 259 686, 034 255 808 โทรสาร 034 219 013 เบอร์ภายใน 21421, 21405 หรือ Download แบบฟอร์มได้ที่ http://www.surdi.su.ac.th
ขยายเวลารับสมัครสอบคัดเลือกขาราชการเพือ่ รับโอน/ยายมาดํารง ตําแหนงเจาหนาทีบ่ ริหารงานทั่วไป และตําแหนงนักวิชาการพัสดุ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร เปิดรับสมัครสอบคัดเลือกข้าราชการเพื่อรับโอน/ย้ายมาดํารงตําแหน่ง เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป จํานวน 1 อัตรา และตําแหน่งนักวิชาการพัสดุ จํานวน 1 อัตราสังกัดสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัย ศิลปากร พระราชวังสนามจันทร์ นครปฐม คุณสมบัติ 1.ผู้สมัครต้องเป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา สังกัดสํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 2.ต้องมีวุฒิการศึกษาไม่ต่ํากว่าปริญญาตรี หรือเทียบเท่าไม่ต่ํากว่านี้ 3.ตําแหน่งนักวิชาการพัสดุต้องมีประสบการณ์การปฏิบัติงานด้านพัสดุไม่น้อยกว่า 1 ปี ผู้ประสงค์จะสมัครสอบคัดเลือกให้ขอและยื่นใบสมัครด้วยตนเองได้ทงี่ านการเจ้าหน้าที่ มหาวิทยาลัยศิลปากร พระราชวัง สนามจันทร์ ได้ตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ 16 มิถุนายน 2554 พร้อมหลักฐานการสมัคร ดูรายละเอียดได้ที่ http://www.surdi.su.ac.th โทร.034 255 808
รับสมัครสอบคัดเลือกบุคคลเพือ่ บรรจุเปนพนักงานในสถาบันอุดมศึกษา ตําแหนงนักบริหารงานทั่วไป สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากรเปิดรับสมัครสอบคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุเป็นพนักงานในสถาบันอุดมศึกษา ตําแหน่งนักบริหารงานทั่วไป จํานวน 1 อัตรา อัตราค่าจ้างเดือนละ 12,120 บาท สังกัดสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร พระราชวังสนามจันทร์ นครปฐม คุณสมบัติ 1.ผู้สมัครต้องมีคุณสมบัติทั่วไปครบตามข้อ 15 แห่งข้อบังคับมหาวิทยาลัยศิลปากรว่าด้วยการบริหารงานบุคคลพนักงาน ของมหาวิทยาลัย พ.ศ.2546 2.วุฒิการศึกษาปริญญาโทหรือเทียบเท่าได้ไม่ต่ํากว่านี้ 3.มีความสามารถในการติดต่อประสานงานและการใช้คอมพิวเตอร์ Microsoft Office เป็นอย่างดี 4.ถ้ามีประสบการณ์ด้านการประสานงานการวิจัยจะพิจารณาเป็นพิเศษ ผู้ ป ระสงค์ จ ะสมั ค รสอบคั ด เลื อ กให้ ข อและยื่ น ใบสมั ค รด้ ว ยตนเองได้ ที่ งานการเจ้ า หน้ า ที่ มหาวิ ท ยาลั ย ศิ ล ปากร พ ร ะ ร า ช วั ง ส น า ม จั น ท ร์ ไ ด้ ตั้ ง แ ต่ วั น ที่ 1 -1 5 มี น า ค ม 2 5 5 4 พ ร้ อ ม ห ลั ก ฐ า น ก า ร ส มั ค ร ดู ร า ย ล ะ เ อี ย ด ไ ด้ ที่ http://www.surdi.su.ac.th โทร.034 255-808 -38-
จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา ปที่ 20 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มีนาคม 2554
สถาบันวิจยั และพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร พระราชวังสนามจันทร นครปฐม 73000 e-mail: research.inst54@gmail.com , http://www.surdi.su.ac.th โทรศัพท 0-3425-5808 โทรสาร 0-3421-9013
-39-
จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา ปที่ 20 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มีนาคม 2554