จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา

Page 1

ยูหัวภูมิพลอดุลยเดช

ปณิธาน “ส่งเสริมการสร้าง และเผยแพร่องค์ความรู้” ทุกท่านสามารถแสดงความคิดเห็นในการให้บริการของสถาบันวิจัยและพัฒนาได้ 4 ช่องทาง คือ 1. โทรศัพท์ 034-255-808 2. โทรสาร 034-219-013 3. e-mail : research_inst@su.ac.th 4. กล่องรับความคิดเห็นหน้าห้องระเบียงวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา


ที่ปรึกษา

บทบรรณาธิการ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อริศร์ เทียนประเสริฐ ผู้อํานวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา

สวั ส ดี ปี ใ หม่ 2555 ค่ ะ ปี ใ หม่ นี้ ข อให้ ผู้ อ่ า นทุ ก ท่ า นมี ความสุข มีสุขภาพพลานามัยที่สมบูรณ์ แข็งแรง คิดหวังสิ่งใด ขอให้สมปรารถนาทุกอย่างนะคะ ฉ บั บ นี้ ข อ เ ริ่ ม ต้ น ด้ ว ย ค อ ลั ม น์ เ ปิ ด โ ล ก ก ว้ า ง เ รื่ อ ง “ประสบการณ์ ก ารทํ า วิ จั ย และสร้ า งสรรค์ ” ของ อาจารย์ ดร.เกรียงไกร เกิดศิริ จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัย ศิลปากร และจาก...ชุมชน ขอนําเสนอเรื่อง “การดําเนินชีวิตตาม ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ควรเริ่มต้นอย่างไร” โดย นายสุพรชัย มั่งมีสิทธิ์ นักวิจัยเชี่ยวชาญจากสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัย ศิลปากร ส่วนงานวิจัยขอแนะนําผลงานวิจัยเรื่อง “คิวบิสม์ในฐานะที่ เป็นจุดเปลี่ยนจากศิลปะเหมือนจริงไปสู่ศิลปะนามธรรม ในศิลปะ สมัยใหม่” ของ อาจารย์สรรเสริฐ สันติวงศ์ จากคณะอักษรศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย ศิ ล ปากร พร้ อ มด้ ว ยข่ า วสารความเคลื่ อ นไหวของ สถาบันวิจัยและพัฒนา ขอเชิญท่านติดตามอ่านในเล่มนะคะ

บรรณาธิการ นางอารีย์วรรณ นวมนาคะ

กองบรรณาธิการ นายสุพรชัย มั่งมีสิทธิ์ นางสาววัชรี น้อยพิทักษ์ นางสาวตปนีย์ พรหมภัทร

เผยแพรโดย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร พระราชวังสนามจันทร์ นครปฐม 73000 โทรศัพท์ 0-3425-5808, 0-3421-9013 โทรสาร 0-3421-9013 E-mail : research_inst@su.ac.th Website : http://www.surdi.su.ac.th

สารบัญ เปิดโลกกว้าง 3 ประสบการณ์การทําวิจัยและสร้างสรรค์ ของ อาจารย์ ดร.เกรียงไกร เกิดศิริ

จาก...ชุมชน

วัตถุประสงค

11 การดําเนินชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ควรเริ่มต้นอย่างไร

จุล สารสถาบันวิจัยและพัฒ นา เป็นจุล สารอิเล็กทรอนิก ส์ (e-journal) ราย 3 เดือน/ฉบับ จัดทําขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ เผยแพร่ ข่ า วสาร กิ จ กรรมต่ า งๆ ของสถาบั น วิ จั ย และพั ฒ นา ตลอดจนความรู้ จ ากบทความวิ ช าการ และผลงานวิ จั ย ของ บุคลากรของมหาวิทยาลัยศิลปากร สถาบันวิจัยและพัฒนายินดี เป็น สื่อกลางในการเผยแพร่ผ ลงานวิจัย บทความทางวิช าการ และเกร็ดความรู้ต่างๆ ของชาวศิลปากรทุกท่าน

ผลงานวิจัย 14 คิวบิสม์ในฐานะที่เป็นจุดเปลี่ยนจากศิลปะเหมือนจริง ไปสู่ศิลปะนามธรรมในศิลปะสมัยใหม่

ข่าวสารความเคลื่อนไหว 20 การประชุมวิชาการและเสนอผลงานวิจัยและ สร้างสรรค์ระดับชาติและนานาชาติ “ศิลปากรวิจัยและสร้างสรรค์ ครั้งที่ 5”

2 จุลสารสถาบันวิจยั และพัฒนา ปที่ 21 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มีนาคม 2555


เปดโลกกวาง

ของ อาจารย ดร.เกรียงไกร เกิดศิริ คณะสถาปตยกรรมศาสตร มหาวิทยาลัยศิลปากร สัมภาษณโดย อารียวรรณ นวมนาคะ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร

1. ผลงานวิจัยที่ได้ทําและโครงการวิจัยที่ทําอยู่ในปัจจุบัน 2550-2552 ผู้ร่วมวิจัย “โครงการวิจัยกฎหมายตราสามดวง: กฎหมายไทยในฐานะมรดกความทรงจําโลก” ทุนเมธีวิจัยอาวุโส สกว. โดย อาจารย์ ดร. วินัย พงศ์ศรีเพียร หัวหน้าโครงการ 2552-ปัจจุบัน ผู้ร่วมวิจัย “100 เอกสารสําคัญเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ไทย” โดย อาจารย์ ดร.วินัย พงศ์ศรีเพียร หัวหน้าโครงการ สนับสนุนโดยสํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) 2552-ปัจจุบัน ผู้ร่วมวิจัย “โครงการวิจัยการศึกษาแบบองค์รวมของการปรับตัวในบริบทใหญ่ที่แตกต่างของ กลุ่มชาติพันธุ์ไท-ลาวในพื้นที่ลุ่มน้ําภาคกลางของประเทศไทย” ทุนอุดหนุนวิจัยศาสตราจารย์ วิจัยดีเด่น 2552 โดย ศาสตราจารย์ เกียรติคุณ อรศิริ ปาณินท์ สนับสนุนทุนโดย สํานักงานกองทุน สนั บ สนุ น การวิ จั ย (สกว.) สํ า นั ก งานคณะกรรมการการอุ ด มศึ ก ษา (สกอ.) และ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 2553 หัวหน้าโครงการ “โครงการวิจัยแผนที่ที่อยู่อาศัยทรงคุณค่าทางวัฒนธรรมในเขตเทศบาลเมืองฯ สมุทรสงคราม” สนับสนุนทุนวิจัยโดยเทศบาลเมืองฯ สมุทรสงคราม และศูนย์บริการวิชาการแห่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2553 หัวหน้าโครงการ “การจัดการองค์ความรู้วัสดุก่อสร้าง และเทคโนโลยีการก่อสร้างพื้นถิ่นใน ภาคกลาง” สนับสนุนทุนวิจัยโดย การเคหะแห่งชาติ 2554-2555 หัวหน้าโครงการวิจัย “โครงการวิจัยเพื่อการจัดการความรู้ และจัดทําแผนที่แหล่งทางธรรมชาติ และวัฒนธรรมเพื่อผลักดันสู่การเสนอชื่อแหล่งมรดกโลกในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1: ลําปาง ลําพูน เชียงใหม่ และแม่ฮ่องสอน” สนับสนุนโดย กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 2555 รองหัวหน้าโครงการ “โครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวย่านสามแพร่ง กิจกรรมที่ ๑ การส่งเสริม การมีส่วนร่วมในการพัฒนา และเผยแพร่ภูมิทัศน์วัฒนธรรม” สนับสนุนโดย กองการท่องเที่ยว กรุงเทพมหานคร 2. ทุนวิจัยที่ได้รับ และเทคนิคการหาทุนเพื่อใช้ในการสนับสนุนการทําวิจัย การทําวิจัยสําหรับนักวิจัยรุ่นใหม่ในปัจจุบันมีแหล่งทุนจํานวนมากที่ให้การสนับสนุน ทั้งสํานักงานกองทุนสนับสนุน การวิจัย (สกว.) รวมไปถึงสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร ซึ่งมีทั้งที่เป็นทุนสําหรับนักวิจัยใหม่ รวมไปถึงทุนที่ จะเพิ่มพูนศักยภาพของนักวิจัยให้พัฒนาหัวข้อวิจัยที่เข้มแข็งเพียงพอที่จะไปต่อยอดทุนจากภายนอก อย่างไรก็ตาม สําหรับตัวผมในการทําโครงการวิจัยใดๆ โดยเฉพาะในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องคือ สถาปัตยกรรมศาสตร์ ภูมิศาสตร์ และประวัติศาสตร์ การทําการศึกษาเบื้องต้นก่อนการวิจัย (Pre-Research) เป็นเรื่องที่สําคัญ การอ่านหนังสือ 3 จุลสารสถาบันวิจยั และพัฒนา ปที่ 21 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มีนาคม 2555


ตั้งต้นเอง แต่ก็มีประโยชน์ในแง่ของการฝึกทักษะด้านการ วิจัย การจัดหาเครื่องไม้เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย รวมทั้ง ขยายประเด็นการศึกษาเชิงลึกต่อเนื่องได้ในอนาคต สุดท้ า ยจึง ขอเรี ย นว่า เทคนิ ค ในการหาทุ น ก็ คื อ “หัวข้อวิจัยมีศักยภาพ” กล่าวคือ หัวข้อต้องไม่ยากเกินไป และไม่ง่ายเกินไป เพราะหัวข้อวิจัยต้องผ่านกระบวนการ กลั่นกรองจากผู้ทรงคุณวุฒิในสาขา... เนื้อหางานต้องไม่ มากเกินไปจนแหล่งทุ นคาดว่าจะทําไม่ ไหว และไม่ น้อย เกินไปที่แหล่งทุนจะมองว่าไม่คุ้มประโยชน์... มีที่มา คือ แสดงให้ เ ห็ น ถึ ง การทบทวนวรรณกรรม สถานภาพ การศึกษาที่ผ่านมา กรอบทฤษฎี และแนวความคิด และมี ที่ไป คือ มีประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับอย่างเป็นรูปธรรม... ที่สําคัญเขียนทุกๆ ประเด็นที่เราจะทําอย่าให้ตกหล่น ใน ขณะเดียวกันก็ต้องเขียนอย่างตรงไปตรงมา สิ่งใดไม่เกี่ยวก็ ไม่ จํ า เป็ น ต้ อ งใส่ ใ ห้ ยื ด เยื้ อ และต้ อ งนํ า เสนอศั ก ยภาพที่ แท้จริงของหัวข้อวิจัยให้ได้ในการเขียน และสุดท้ายต้อง เข้ า ใจแง่ มุ ม ต่ า งๆ ของแหล่ ง ทุ น และส่ ง หั ว ข้ อ วิ จั ย ให้ สัมพันธ์กับแหล่งทุน

เพื่อเก็บประเด็นที่อยู่ระหว่างบรรทัดเป็นสิ่งที่จําเป็นต้องทํา รวมไปถึงการออกไปเดินทางเพื่อเห็นโลกที่กว้างขวางเป็น เรื่ อ งที่ จํ า เป็ น อย่ า งมาก และขั้ น นี้ ค งไม่ มี ใ ครให้ ทุ น เรา ออกไปท่องโลก ผมจึงอยากจะบอกว่า เพราะฉะนั้น เรา ต้ อ งคิ ด ใหม่ ว่ า การเดิ น ทางไม่ ใ ช่ สิ่ ง ที่ ฟุ่ ม เฟื อ ย แต่ ก าร เดิ น ทางกลั บ กลายเป็ น การลงทุ น ให้ ชี วิ ต มี มุ ม มองที่ กว้างขวาง และแตกต่างไปจากโลกในมุมเดิมๆ และจุดนี้จะ เป็นจุดตั้งต้นแรกของการทําวิจัยในสายวิชาที่ผมสังกัดอยู่ คือ ปรัชญา มนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ ในขั้นถัดไปเริ่มศึกษาว่าในวงการวิชาการ วงการ วิ ช าชี พ ในปั จ จุ บั น ต้ อ งการงานวิ จั ย ในแนวใดบ้ า ง นั่ น หมายถึงเราคงต้องเริ่มทําสถานภาพการศึกษาในประเด็นที่ เราจะเริ่ม ต้นทํ าวิจั ยว่ าสถานภาพความรู้ ใ นปัจจุบันเป็น อย่ า งไร สิ่ ง ที่ เ ราจะทํ า ได้ ค้ น พบอะไรใหม่ ห รื อ ไม่ และ ประโยชน์ที่จะได้รับจากการวิจัยของเรามีแง่มุมใดบ้าง การ มองโลกอย่างตรงไปตรงมาเป็นสิ่งที่สําคัญ เพื่อทําให้เรา เข้ า ใจศั ก ยภาพของหั ว ข้ อ วิ จั ย ที่ จ ะพั ฒ นาไปขอรั บ ทุ น สนับสนุนว่ามีศักยภาพเพียงพอหรือไม่ ต่อไปลองพิจารณาดูว่าหัวข้อการวิจัยของเราเป็น งานวิ จั ย แบบใด เป็ น งานวิ จั ย พื้ น ฐานเพื่ อ แสวงหา องค์ความรู้ใหม่ หรือที่เรียกกันว่า Basic Research ซึ่งมี จุ ด มุ่ ง หมายคื อ ความเป็ น เลิ ศ ทางวิ ช าการ หรื อ ว่ า โครงการวิ จั ย จะที่ เ สนอนั้ น เป็ น วิ จั ย ประยุ ก ต์ หรื อ ที่ เรียกกันว่า Applied Research ซึ่งวิจัยทั้งสองแบบนั้นมี คุณลักษณะที่แตกต่างกัน ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่าในโลกวิชาการ (Academic World) นั้น สิ่งที่เราค้นพบใหม่ที่เกิดขึ้นจาก การวิจัยนั้นเป็นจุดแข็ง แต่ศักยภาพที่จะนําองค์ความรู้ใหม่ ที่ค้นพบไปสู่การใช้ประโยชน์ของสังคมนั้นยังเป็นไปได้น้อย จากที่ ก ล่ า วมาข้ า งต้ น มิ ไ ด้ บ อกว่ า งานวิ จั ย ลั ก ษณะใดมี ประโยชน์มากกว่ากัน หากแต่กําลังจะบอกว่าเมื่อเราทราบ คุณลักษณะของงานแล้ว ควรเลือกเวทีที่จะขอทุนให้ตรง เพราะแหล่งทุนแต่ละแหล่งมีพันธกิจในการสนับสนุนการ วิจัยที่แตกต่างกัน การวิจัยอีกลักษณะหนึ่งที่เป็นการบริการวิชาการ สู่ ชุ ม ชนด้ ว ยการใช้ เ ครื่ อ งมื อ ด้ า นการวิ จั ย เนื่ อ งจาก มหาวิ ท ยาลั ย ทํ า หน้ า ที่ เ ป็ น ดั่ ง ปั ญ ญาของสั ง คม จึ ง มี หน่ ว ยงานจํ า นวนไม่ น้ อ ยที่ ต้ อ งการหาที่ ป รึ ก ษามาตอบ คํ า ถามโดยใช้ เ ครื่ อ งมื อ ของการทํ า วิ จั ย แม้ ว่ า งานวิ จั ย ลักษณะนี้ อาจจะไม่ได้เป็นงานที่ผู้วิจัยกําหนดโจทย์วิจัย

3. ประสบการณ์การสร้างทีมวิจัย ผมโชคดี ที่ มี โ อกาสได้ เ ข้ า ร่ ว มที ม วิ จั ย ในฐานะ นักวิจัยรุ่นเด็กในโครงการของนักวิจัยระดับปรมาจารย์ถึง 2 โครงการคื อ โครงการวิ จั ย เมธี วิ จั ย อาวุ โ ส สกว. ของ “อาจารย์ ดร. วินัย พงศ์ศรีเพียร” ในโครงการกฎหมาย ตราสามดวง และโครงการ 100 เอกสารสําคัญเกี่ยวกับ ประวั ติ ศ าสตร์ ข องไทย และโครงการวิ จั ย เมธี วิ จั ย อาวุ โ ส สกว. และโครงการศาสตราจารย์ วิ จั ย ดี เ ด่ น “ศาสตราจารย์ เ กี ย รติ คุ ณ อรศิ ริ ปาณิ น ท์ ” ใน โครงการวิจัยการศึ กษาแบบองค์รวมของการปรับตัวใน บริบทใหญ่ที่แตกต่างของกลุ่มชาติพันธุ์ไท-ลาว ในพื้นที่ลุ่ม แม่น้ําภาคกลางของไทย ซึ่งมีระเบียบวิธีวิจัยที่แตกต่างกัน โดยสิ้นเชิง กล่าวคือ งานวิจัยกลุ่มแรกเป็นงานวิจัยเอกสาร โบราณที่ต้องอ่านเอกสารชั้นต้น และศึกษาตีความจนทราบ ถึงบริบททางประวัติศาสตร์ที่อยู่แ วดล้ อมเอกสารชิ้นนั้น รวมไปถึงการพิสูจน์ทราบถึงคุณค่าของเอกสารต่างๆ ว่ามี ผลกระทบกับสังคมไทยในแง่มุมใด ทําให้ต้องเรียนรู้ และ สร้างประเด็นที่เฉียบคมจากการบูรณาการในศาสตร์ต่างๆ ภายใต้ ร่ ม ของมนุ ษ ยศาสตร์ และสั ง คมศาสตร์ อ ย่ า ง ครบถ้วน สําหรับงานวิจัยกลุ่มที่สอง เน้นการฝึกปฏิบัติงาน 4

จุลสารสถาบันวิจยั และพัฒนา ปที่ 21 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มีนาคม 2555


ในภาคสนามที่ลงพื้นที่ทั้งในจังหวัดต่างๆ ในภาคกลางของ ไทย และต้ น กํ า เนิ ด ของกลุ่ ม ชาติ พั น ธุ์ ต่ า งๆ ก่ อ นที่ จ ะ เคลื่อนย้ายมาตั้งถิ่นฐานในพื้นที่ประเทศไทย เพราะฉะนั้น เครื่องมือของการวิจัยในครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงมานุษยวิทยา สถาปัตยกรรม ที่พยายามถอดรหัส และความรู้ที่เกี่ยวเนื่อง กับผู้คนในท้องถิ่นเพื่อให้ทราบถึงวิธีคิด และแนวทางการ แก้ปั ญ หา จนกระทั่ ง สั่ ง สมออกมาเป็ นภู มิ ปัญ ญาในการ ดําเนินชีวิต ทั้งที่เป็นข้อมูลจากเอกสาร การบอกเล่าผ่าน ผู้คน และการบอกเล่าผ่านสถาปัตยกรรม การจัดการพื้นที่ ภูมิทัศน์วัฒนธรรม ความโชคดีของผมที่นอกเหนือไปจากการได้ร่วม ปฏิ บั ติ ง านในโครงการวิ จั ย แล้ ว ยั ง มี โ อกาสได้ เ รี ย นรู้ ถึ ง วิ ถี ท างของการเป็ น นั ก วิ จั ย ที่ เ ป็ น เลิ ศ ทางวิ ช าการ และ แนวทางการบริ ห ารโครงการวิ จั ย เพื่ อ ให้ ไ ด้ ง านวิ จั ย ที่ มี คุณภาพสูงของคุณครูทั้งสองท่านของผม ในขณะที่ ผ มมี โ อกาสเป็ น นั ก วิ จั ย รุ่ น ใหม่ ใ น โครงการของเมธี วิ จั ย ทั้ ง สอง ผมก็ ไ ด้ มี โ อกาสได้ ทํ า โครงการวิจัยที่ตนเองเป็นหัวหน้าโครงการเอง จึงได้เพิ่ม ทัก ษะทางการวิ จัย ในฐานะของหั วหน้ า โครงการ และมี โอกาสฝึกการบริหารจัดการโครงการวิจัยที่ยุ่งยากซับซ้อน พอๆ กับตัวงานวิจัยเลยทีเดียว ผมใช้วิธีการทํางานเฉกเช่น คุ ณ ครู ทั้ ง สอง คื อ ผมเปิด โอกาสให้ นั กศึ ก ษาเข้ ามาเป็ น ผู้ช่วยในการเก็บข้อมูล และเป็นผู้ช่วยในโครงการวิจัย ทํา ให้ เ กิ ด เป็ น กลุ่ ม นั ก ศึ ก ษากลุ่ ม ใหญ่ ที่ ห ลงใหลการออก ภาคสนามไปเรียนรู้เรื่องต่างๆ นอกห้องเรียน จากโครงการ ที่ผมได้ศึกษาให้การเคหะแห่งชาติที่ลงศึกษาสถานภาพของ ที่อยู่อาศัยในชุมชนชนบทใน 9 จังหวัดของภาคกลาง ใน โครงการดังกล่าวทําให้ผมกับนักศึกษาผู้ช่วยวิจัยที่มากหน้า หลายตาหมุ น เวี ย นเข้ า มาช่ ว ยกั น ตามแต่ เ วลาว่ า งของ นักศึกษาแต่ละคน ทั้งนักศึกษาปริญญาตรี และปริญญาโท ไม่ ใ ช่ แ ค่ ศิ ล ปากรที่ เ ดี ย ว แต่ ม าจากพระจอมเกล้ า ลาดกระบัง พระจอมเกล้าธนบุรี ธรรมศาสตร์ ทําให้เกิด การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกันของนักศึกษาผู้ช่วยวิจัย และผมเองก็ตาม จนนับผู้ช่วยเก็บข้อมูลตอนจัดพิมพ์เล่ม รายงานได้ ก ว่ า 40 คน จึ ง ต้ อ งขอขอบคุ ณ การเคหะ แห่งชาติที่สนับสนุนทุนวิจัยให้มีโอกาสได้ทําความเข้าใจ พื้นที่ภาคกลางเชิงลึก นอกจากนั้น ยังมีโครงการวิจัยใน ลั ก ษณะการบริ ก ารวิ ช าการแก่ ชุ ม ชนตามที่ ไ ด้ ข อ อนุ เ คราะห์ ม าอี ก มากมาย โดยเฉพาะโครงการอนุ รั ก ษ์

ปฏิสังขรณ์อาคารทางศาสนาของวัดต่างๆ ก็ทําให้ผมและ นั ก ศึ ก ษาได้ อ อกตระเวนไปทั่ ว สารทิ ศ กั น โดยที่ ชุ ม ชน ท้องถิ่นจะเลี้ยงดูปูเสื่อทีมวิจัยของเราเป็นอย่างดี แม้ว่าเป็น โครงการวิจัยที่เราทําแบบให้เปล่าไปยังชุมชน หลายครั้งที่ นักศึกษาผู้ช่วยวิจัยก็ต้องมาร่วมเฉลี่ยเงินกันเป็นค่าเดินทาง (เพราะเมื่อไปถึงก็จะนอนพักที่วัดหรือโรงเรียน และชุมชน ก็ จ ะเลี้ ย งดู ปู เ สื่ อ ) แต่ สิ่ ง ที่ ไ ด้ ก ลั บ มาจากโครงการวิ จั ย ลักษณะนี้คือ เราได้นําความรู้ทางวิชาการ และการวิจัยไป มอบให้ชุมชนตามที่ชุมชนร้องขอมา และสร้างให้เกิดสํานึก สาธารณะแก่นักศึกษาที่ร่วมทํางาน และสิ่งที่ไม่คาดคิดก็ คือมุมมองที่เปิดกว้างขึ้นกับการทําโครงการวิจัยเพื่อขอรับ ทุ น สนั บ สนุ น ในโอกาสต่ อ ๆ ไป ในขณะเดี ย วกั น ก็ ไ ด้ ฐานข้อมูลเป็นจํานวนมากเพื่อพัฒนาหัวข้อวิจัยที่เกี่ยวเนื่อง ต่อไป การนํานักศึกษาลงศึกษาภาคสนามนอกห้องเรียน จึงเป็นการเสริมทักษะด้านการใช้ชีวิตร่วมกันเป็นหมู่คณะ ทั้ ง ในประเด็ น ด้ า นการเรี ย นรู้ การทํ า งาน และการอยู่ ร่วมกัน รวมไปถึงฝึกให้เข้าใจ และยอมรับในความแตกต่าง หลากหลายทางวั ฒ นธรรมการปฏิ บั ติ ก ารภาคสนามใน ชุมชนท้องถิ่น และเป็นที่น่ายินดีว่านักศึกษาที่ร่วมลงภาคสนาม เป็นผู้ช่วยเก็บข้อมูลเริ่มสนุกกับการทําวิจัย และแสดงออก อย่ า งโดดเด่ น เมื่ อ เขาเป็ น หั ว หน้ า โครงการวิ จั ย เอง คื อ โครงการวิ จั ย ในวิ ท ยานิ พ นธ์ มี นั ก ศึ ก ษาจํ า นวนไม่ น้ อ ย พัฒนาหัวข้อมาจากพื้นที่ที่ร่วมลงภาคสนาม จนกระทั่งทํา ให้ นั ก ศึ ก ษาหลั ก สู ต รสถาปั ต ยกรรมพื้ น ถิ่ น คณะ สถาปัตยกรรมศาสตร์ที่เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงหลักในการวิจัย ของผม สามารถขอรั บ ทุ น สนั บ สนุ น การวิ จั ย ระดั บ มหาบั ณ ฑิ ต จาก สกว. มาใน 2 ปี จํ า นวน 11 ทุ น รวม ยอดเงินประมาณ 1,800,000 บาท ทําให้นักศึกษาสามารถ ทํา วิ จั ย ในวิ ท ยานิ พ นธ์ ไ ด้ อ ย่ า งมี ป ระสิ ท ธิภ าพ และช่ ว ย สร้ า งข้ อ มู ล องค์ ค วามรู้ ที่ จ ะต่ อ เชื่ อ มไปยั ง หั ว ข้ อ วิ จั ย ที่ อาจารย์ที่ปรึกษาสนใจ หรือสถานภาพการศึกษายังพร่อง อยู่ ไ ด้ ซึ่ ง ต้ อ งขอขอบคุ ณ โครงการทุ น วิ จั ย มหาบั ณ ฑิ ต มนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ สกว. เป็นอย่างสูง กลไกสําคัญของความสําเร็จในการเป็นผู้ร่วมวิจัย เป็นหัวหน้าโครงการวิจัย เป็นหัวหน้าแผนงานวิจัย รวมไป ถึงการเป็นพี่เลี้ยงนักวิจัยรุ่นเยาว์ คือ การเป็นนักวิจัยที่มี คุณธรรม และจริยธรรมในการทํางานวิจัย และการดําเนิน 5

จุลสารสถาบันวิจยั และพัฒนา ปที่ 21 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มีนาคม 2555


รายงานวิจัยให้ดูดี หากแต่เป็นหัวใจหลักในการทําวิจัยของ ผม เนื่ อ งจากโจทย์ ห รื อ ปั ญ หาวิ จั ย ในปั จ จุ บั น มี ค วาม ซับซ้อนมากขึ้น ศาสตร์ใดศาสตร์หนึ่งอาจจะไม่สามารถ แก้ปัญหาที่ซับซ้อนนั้นได้ การวิจัยเชิงบูรณาการจึงมีการ วิจัยที่จะผลักดันให้เกิดการต่อยอดองค์ความรู้ใหม่ โดยใช้ รากฐานทางวิ ช าการของศาสตร์ ต่ า งๆ บู ร ณาการเข้ า ด้ ว ยกั น เพื่ อ ทํ า ให้ เ กิ ด การตั้ ง ประเด็ น ปั ญ หาที่ เ ฉี ย บคม และมีมุมมองที่กว้างขวางและลึกซึ้ง และแก้ปัญหาต่างๆ ได้ อ ย่ า งรอบด้ า นมากขึ้ น งานวิ จั ย ที่ ผ มดํ า เนิ น การมา ทั้งหมดจึงให้ความสําคัญกับคณะวิจัยที่มีความหลากหลาย เป็นสําคัญ

ชีวิตการทํางานร่วมกัน การประชุมกลุ่ม เพื่อแสวงหาข้อยุติ ของที่ ป ระชุ ม รวมไปถึ ง การเน้ น ให้ เ กิ ด การแสดงความ คิดเห็นในมุมที่แตกต่างกันไปตามบริบทที่แวดล้อม 4. คณะมีเวทีวิชาการเสนอผลงานวิจัยของคณาจารย์ใน คณะหรือไม่อย่างไร คณะสถาปั ต ยกรรมศาสตร์ มี เ วที ท างวิ ช าการ อยู่ ห ลายรู ป แบบ อาทิ เ ช่ น วารสารหน้ า จั่ ว ซึ่ ง เป็ น วารสารวิ ช าการประจํ า คณะสถาปั ต ยกรรมศาสตร์ ซึ่ ง ปัจจุบันเป็นวารสารที่มีคุณภาพสูง มีระบบการกลั่นกรอง บทความที่ ไ ด้ ม าตรฐาน จั ด พิ ม พ์ ปี ล ะ 2 ฉบั บ คื อ ฉบั บ สถาปั ต ยกรรม การออกแบบ และสภาพแวดล้ อม และ ฉบับประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม และสถาปัตยกรรมไทย นอกจากนี้ ยั ง มี ว ารสารหลั ก สู ต รนานาชาติ Architectural Heritage Management and Tourism ซึ่ ง เป็ น วารสารระดั บ นานาชาติ ที่ มี บ รรณาธิ ก ารเป็ น ศาสตราจารย์อาคันตุกะ จากมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ ซึ่งมาเป็นอาจารย์สอนที่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สุ ด ท้ า ย คณะสถาปั ต ยกรรมศาสตร์ ยั ง จั ด การ ประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ “สถาปัตยปาฐะ” เป็นประจําทุกปี และได้รับความไว้วางใจจากคณาจารย์ และนักวิชาการด้านสถาปัตยกรรมศาสตร์จากทั่วประเทศ และต่างประเทศมานําเสนอผลงานอีกด้วย เวทีวิชาการที่จัดขึ้นโดยคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จึงมิได้จัดขึ้นเพื่ อให้คณาจารย์ ในคณะเป็นพื้นที่นําเสนอ ผลงานเพียงอย่างเดียว หากแต่เปิดกว้างให้อาจารย์ และ นักวิชาการทุกๆ คนที่ผลิตผลงานวิชาการที่มีคุณภาพ และ ได้ ม าตรฐานที่ กํ า หนดใช้ เ ป็ น เวที ใ นการนํ า เสนอผลงาน ด้วย เป้าหมายจะผลักดันให้คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากรเป็น “ผู้นําในการออกแบบ และวิจัย ในศาสตร์ด้านสถาปัตยกรรม” ตามวิสัยทัศน์ของคณะฯ

6. ความคาดหวั ง ต่ อ การส่ ง เสริ ม และสนั บ สนุ น การ ทํางานวิจัยจากมหาวิทยาลัยศิลปากร สถาบันวิจัยทําหน้าที่หน่วยงานส่งเสริมการวิจัย ตั้ ง แต่ จั ด หาทุ น สนั บ สนุ น กลั่ น กรองกํ า หนดมาตรฐาน จนกระทั่งสร้างเวทีสําหรับการนําเสนองาน ซึ่งนับว่าทํา พันธกิจได้รอบด้าน และประสบความสําเร็จอย่างสูงมากใน ช่วงเวลา 2-3 ปีที่ผ่านมา สิ่ ง ที่ ค าดหวั ง การส่ ง เสริ ม จากสถาบั น วิ จั ย และ พัฒนาก็คือ ทุนในลักษณะ Matching Fund ที่หลาย หน่วยงาน โดยเฉพาะสํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) กําลังปรับกลยุทธ์ในการให้ทุน แทนที่จะเป็นผู้ให้แต่ เพียงอย่างเดียว แต่มีเงื่อนไขให้มหาวิทยาลัยต้องสมทบทุน ส่วนหนึ่ง ซึ่งคงต้องผลักดันให้มีกองทุนเพื่อสนับสนุนให้ อาจารย์เปิดประตูออกไปขอทุนภายนอก นอกจากนี้ ต้อง เร่งผลักดันให้อาจารย์รุ่นใหม่พัฒนาหัวข้อวิจัยให้เข็มแข็ง และเร่ ง ทํ า วิ จั ย เพื่ อ เข้ า สู่ ตํ า แหน่ ง ทางวิ ช าการ ในการนี้ สถาบันวิ จัยและพัฒนาจึงน่ าจะทําความร่วมมือกับคณะ วิชาทําการสํารวจข้อมูลอาจารย์และจัดกิจกรรมเสริมใน ประเด็นที่ยังขาดในลักษณะเชิงรุก เพื่อบริการและส่งเสริม ให้เกิดบรรยากาศการทําวิจัยในมหาวิทยาลัยมากขึ้น นอกจากนี้ ควรส่งเสริมให้คณาจารย์ที่เป็นนักวิจัย รุ่นใหญ่เสนอโครงการวิจัยในลักษณะ “ชุดโครงการ” ที่มี โครงการวิจัยย่อยหลายโครงการ ซึ่งจะสามารถดึงนักวิจัย รุ่ น ใหม่ รวมทั้ ง นั ก ศึ ก ษาระดั บ บั ณ ฑิ ต ศึ ก ษาเข้ า ไปฝึ ก ปฏิบัติการทําวิจัย สร้างให้เกิดทักษะเรียนรู้ระเบียบปฏิบัติ และแนวทางในการบริหารโครงการวิจัย

5. การทํางานวิจัยแบบบูรณาการกับสาขาวิชาอื่น ๆ ทั้ง ในมหาวิทยาลัยศิลปากร และหน่วยงานภายนอก (ทีผ่ า่ น มามี ก ารดํ า เนิ น การหรื อ ไม่ อนาคตมี ค วามคิ ด เห็ น อย่างไร) ในทัศนะของผม Key Word ว่า “บูรณาการ” ไม่ใช่คําสวยๆ เพื่อเอามาประดับในหัวข้อวิจัย หรือใน 6

จุลสารสถาบันวิจยั และพัฒนา ปที่ 21 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มีนาคม 2555


ประวัติและผลงาน

อาจารย์ ดร.เกรียงไกร เกิดศิริ

ข้อมูลส่วนบุลคล ชื่อ อาจารย์ ดร. เกรียงไกร เกิดศิริ ตําแหน่งบริหาร รองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ประวัติการศึกษา - ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการจัดการมรดกทางสถาปัตยกรรมกับการท่องเที่ยว คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยานิพนธ์เรื่อง: Cultural Landscape and Vernacular Architecture in Kyiang Tung, Shan State. Myanmar. (รางวัล วิทยานิพนธ์ดีสาขาปรัชญา สภาวิจัยแห่งชาติ ประจําปี พ.ศ. 2552) - World Heritage Study, Faculty of Art, Deakin University, Australia. (Module) - ปริญญามหาบัณฑิต สาขาการจัดการมรดกทางสถาปัตยกรรมกับการท่องเที่ยว คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยานิพนธ์เรื่อง: Management Plan for Cultural Tourism Attraction: Sanamchandra Palace. - ปริญญาอักษรศาสตรบัณฑิต (เอกภูมิศาสตร์ โทประวัติศาสตร์) คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. ผลงาน และรางวัล - รางวัลจากการประกวดการทํา CD-ROM ในหัวข้อ "กรุงเทพฯ มหานครแห่งวัฒนธรรม" เพื่อเป็นฐานข้อมูลและสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ในการส่งเสริมการท่องเที่ยว ในโอกาสครบรอบ 40 ปี การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2544. - รางวัลชนะเลิศจากการประกวดภาพยนตร์ Animation ในงาน "Silpakorn Art Festival #2" พ.ศ. 2544 - รางวัลชนะเลิศการเขียนโครงการเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวกรุงเทพฯ โดยใช้โครงการชื่อ "สีสัน บางลําพู" ที่นําเสนอภาพลักษณ์ของ ชุมชนบางลําพูในฐานะที่เป็นชุมชนเก่าแก่และสั่งสมทางวัฒนธรรมอย่างยาวนานจนมีความหลากหลายทางวัฒนธรรมสูง สั่งสมจน กลายเป็นพื้นที่ที่มีคุณลักษณ์โดดเด่น เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีการปะทะสังสรรค์ของสองขั้ววัฒนธรรม จึงจําเป็นที่ต้องเรียนรู้ทําความ เข้าใจพื้นที่ดังกล่าวเป็นกรณีศึกษา สําหรับพื้นที่อื่นๆต่อไป พ.ศ.2544. - สารคดีรางวัลพิเศษ รางวัลนายอินทร์อะวอร์ด จากหนังสือเรื่อง “เนปาล จักรวาลกลางอ้อมกอดของขุนเขา” ประจําปี 2548. - รางวัลวิทยานิพนธ์ดี ประจําปี พ.ศ. 2553 จากสภาวิจัยแห่งชาติ หัวข้อเรื่อง “Cultural Landscape and Vernacular Architecture in Historic Town of Keng Tung, Shan State, Myanmar”

7 จุลสารสถาบันวิจยั และพัฒนา ปที่ 21 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มีนาคม 2555


นําเสนอผลงาน 2549 นําเสนอบทความเรื่อง “มุมมองต่อการอนุรักษ์แหล่งโบราณคดีบาดินห์ เมืองฮานอย ประเทศเวียดนาม (A Conservation Perspective on the Ba Dinh Archeological Site)”. ดําเนินการโดยสมาคมโบราณคดีภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก ครั้งที่ 18 มหาวิทยาลัยฟิลิปปินส์, มะนิลา, ประเทศฟิลิปปินส์. 2549 นําเสนอบทความเรื่อง “วัดบ้านแสน: วิหารร่วมแบบล้านนาพบใหม่กลางป่าเมืองเชียงตุง” ในการประชุมวิชาการทาง สถาปัตยกรรมนานาชาติ “สถาปัตยปาฐะ: สถาปัตยกรรมในดินแดนสุวรรณภูมิ” ณ โรงแรมรอยัลริเวอร์, กรุงเทพฯ ดําเนินการ โดย 5 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, มหาวิทยาลัยขอนแก่น, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, มหาวิทยาลัย นเรศวร, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง. 2552 นําเสนอบทความเรื่อง “วัดไตดอย (ลัวะ): แสงแห่งอารยะที่ฉายผ่านสถาปัตยกรรม” ในการประชุมวิชาการทางสถาปัตยกรรม นานาชาติสถาปัตย์ปาฐะประจําปี 2552 ดําเนินการโดย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. 2552 นําเสนอบทความเรื่อง “ภูมิทัศน์วัฒนธรรม และสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นในเมืองประวัติศาสตร์เชียงตุง” ในการประชุมวิชาการ นานาชาติ Shan Studies ดําเนินการโดย สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2553 การนําเสนอหัวข้อ “โคลงนิราศหริภุญชัยในฐานะหลักฐานทางประวัติศาสตร์ของเมืองเชียงใหม่-ลําพูน” ในโครงการสัมมนา ทางวิชาการ 100 เอกสารสําคัญ:สรรพสาระประวัติศาสตร์ไทย ครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 5–7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 ณ โรงแรม เชียงใหม่ออคิดส์ อ.เมืองฯ จ.เชียงใหม่ 2554 การนําเสนอหัวข้อ “พระบรมธาตุเมืองนครศรีธรรมราช” ในโครงการสัมมนาทางวิชาการ 100 เอกสารสําคัญ:สรรพสาระ ประวัติศาสตร์ไทย ครั้งที่ 5 ระหว่างวันที่ 27–28 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ณ โรงแรมบี.พี.แกรน ทาวเวอร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา บทความ และสิ่งตีพิมพ์ 2548 2549 2549 2549 2549 2550 2550 2550 2550 2550 2550

เกรี ยงไกร เกิดศิริ “วัดพู:ภูมิทัศน์วัฒนธรรมแห่งเมืองจําปาสัก ”, ใน วารสารหน้ าจั่ว วารสารวิช าการประจํา คณะ สถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, ฉบับที่ 21, ปีการศึกษา 2547-2548. กรุงเทพฯ: คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์. 2548. หน้าที่ 83-94 Kreangkrai Kirdsiri. “Vihara Wat Bansan: A New Discovery Lanna style’s Vihara in Kyiang Tung, Shan State, Myanmar”. In the Proceeding of the 4th Architectural Discourse: International Symposium on Architecture in the Land of Suvarnabhumi. Bangkok: Faculty of Architecture. 2006. เกรียงไกร เกิดศิริ. เชียงตุง: ภูมิทัศน์วัฒนธรรมเมืองโบราณร่วมวัฒนธรรมล้านนา. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์อุษาคเนย์. 2549. ปิแอร์ และโซฟี เคมองค์, แต่ง, เกรียงไกร เกิดศิริ, แปล. เรือนลาว. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์อุษาคเนย์. 2549. เกรียงไกร เกิดศิริ. “ภูมิทัศน์วัฒนธรรมเมืองโบราณ และองค์ประกอบของเมือง กรณีศึกษา เมืองเชียงตุงและเมืองเชียงใหม่”, ใน วารสารหน้ า จั่ ว ฉบั บ ประวั ติ ศ าสตร์ แ ละสถาปั ต ยกรรมไทย, วารสารวิ ช าการประจํ า คณะสถาปั ต ยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, ฉบับที่ 4 เดือนกันยายน, ปีการศึกษา 2549. กรุงเทพฯ: คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์. 2549. เกรียงไกร เกิดศิริ. เนปาล จักรวาลกลางอ้อมกอดของขุนเขา. กรุงเทพฯ: อัมรินทร์. 2550. เกรียงไกร เกิดศิริ. “วัดและชุมชนบ้านแสน: ลมหายใจของชุมชนบุพพกาลกลางป่าเมืองเชียงตุง”, ใน วารสารเมืองโบราณ, ปีที่ 33, ฉบับที่ 2 เดือนเมษายน-มิถุนายน 2550, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ. 2550. เกรียงไกร เกิดศิริ. “สถานการณ์การจัดการมรดกทางวัฒนธรรมเมืองโบราณพุกาม”, ใน วารสารหน้าจั่ว ฉบับประวัติศาสตร์ และสถาปัตยกรรมไทย, วารสารวิชาการประจําคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, ฉบับที่ 5, ปีการศึกษา 2550. กรุงเทพฯ: คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์. 2550. เกรียงไกร เกิดศิริ, บรรณาธิการ. ปงสนุก: คนตัวเล็กกับการอนุรักษ์. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์อุษาคเนย์, 2550. เกรียงไกร เกิดศิริ, “วิหารพระเจ้าพันองค์: รูปลักษณ์ก่อนแปลงโฉม” ปงสนุก: คนตัวเล็กกับการอนุรักษ์. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์อุษาคเนย์, 2550. เกรียงไกร เกิดศิริ และอมรรัตน์ ลีเพ็ญ, ภูมิทัศน์วัฒนธรรม การสัมมนาทางวิชาการเพื่อสร้างกระแสการรับรู้และเปิดตัวแนว ร่วมเครือข่ายการจัดการภูมิทัศน์วัฒนธรรม และการขจัดมลทัศน์. กรุงเทพฯ: สํานักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ. 2550.

8 จุลสารสถาบันวิจยั และพัฒนา ปที่ 21 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มีนาคม 2555


2551 2551 2551 2551 2551 2552 2552 2553 2553 2554 2554 2554 2554 2555

เกรียงไกร เกิดศิริ. “การอนุรักษ์: หน้ากากอันงดงามของการจัดการมรดกทางวัฒนธรรมของรัฐบาลทหารพม่า”. ใน วารสาร ไทยคดีศึกษา. ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 ตุลาคม 2549-มีนาคม 2550. เกรียงไกร เกิดศิริ, “การจัดการเมืองโบราณพุกาม: การคุกคามทางกายภาพต่อมรดกทางวัฒนธรรมและจินตนาการของผู้รับ สาร”. ใน วารสารเมืองโบราณ, ปีที่ 34, ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มีนาคม 2551, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ. 2551. หน้า 89107. เกรียงไกร เกิดศิริ. ชุมชนกับภูมิทัศน์วัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์อุษาคเนย์, 2551. เกรียงไกร เกิดศิริ, พุกาม: การก่อรูปของสถาปัตยกรรมจากก้อนอิฐแห่งความศรัทธา. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์อุษาคเนย์. 2551. เกรียงไกร เกิดศิริ. “ประเพณีการฌาปนกิจ: จากรากเหง้าเค้ามูลสู่ดินแดนอุษาคเนย์ และลุ่มแม่น้ําเจ้าพระยา” สารคดี. ปีที่ 24 ฉบับที่ 284 ธันวาคม 2551. หน้า 169-179. เกรียงไกร เกิดศิริ. บรรณาธิการ. งานพระเมรุ: ศิลปสถาปัตยกรรม และวัฒนธรรมเกี่ยวเนื่อง. กรุงเทพฯ: อุษาคเนย์. 2552. เกรียงไกร เกิดศิริ. “พระเมรุแบบแผนอยุธยาบนแผ่นดินรัตนโกสินทร์”. งานพระเมรุ: ศิลปสถาปัตยกรรม และวัฒนธรรม เกี่ยวเนื่อง. กรุงเทพฯ: อุษาคเนย์. 2552. เกรียงไกร เกิดศิริ (เขียน), อาวุธ อังคาวุธ (ภาพประกอบ). ภูมิปัญญาสถาปัตยกรรม ๒. กรุงเทพฯ: สถาบันอาศรมศิลป์. กรุงเทพฯ: 2553. เกรียงไกร เกิดศิริ. ทรรศนะอุษาคเนย์ ๑. กรุงเทพฯ: อุษาคเนย์. 2553. เกรียงไกร เกิดศิริ. ล้านนากับการเป็นมรดกโลก. กรุงเทพฯ: อุษาคเนย์. 2554. เกรียงไกร เกิดศิริ และชาญคณิต อาวรณ์. ผ่อล้านนา: มองวิถีวัฒนธรรมล้านนาโดยสังเขป. อุษาคเนย์. 2554. เกรียงไกร เกิดศิริ. พระธาตุศักดิ์สิทธิ์แห่งดินแดนล้านนาตะวันตก. กรุงเทพฯ: กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1. 2554. เกรียงไกร เกิดศิริ และอิสรชัย บูรณะอรรจน์. คู่มือภูมิปัญญาท้องถิ่น: การผลิตวัสดุก่อสร้างพื้นถิ่น. กรุงเทพฯ: การเคหะ แห่งชาติ. 2554. เกรียงไกร เกิดศิริ อิสรชัย บูรณะอรรจน์ และคณะ. “สถานภาพของที่อยู่อาศัยในท้องถิ่น: ศักยภาพ ปัญหา และแนวทางการ พัฒนา” วารสารหน้าจั่ว ฉบับสถาปัตยกรรม การออกแบบ และสภาพแวดล้อม, วารสารวิชาการประจําคณะสถาปัตยกรรม ศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, ฉบับที่ 25, ปีการศึกษา 2553. กรุงเทพฯ: คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์. 2555.

การวิจัย 2550-2552 ผู้ร่วมวิจัย “โครงการวิจัยกฎหมายตราสามดวง: กฎหมายไทยในฐานะมรดกความทรงจําโลก” ทุนเมธีวิจัยอาวุโส สกว. โดย อาจารย์ ดร. วินัย พงศ์ศรีเพียร หัวหน้าโครงการ (ทุนวิจัย 6,000,000 บาท / โครงการวิจัย 3 ปี) 2552-ปัจจุบัน ผู้ร่วมวิจัย “100 เอกสารสําคัญเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ไทย” โดย อาจารย์ ดร. วินัย พงศ์ศรีเพียร หัวหน้าโครงการ สนับสนุนโดยสํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) (ทุนวิจัย 6,000,000 บาท/โครงการวิจัย 3 ปี) 2552-ปัจจุบัน ผู้ร่วมวิจัย “โครงการวิจัยการศึกษาแบบองค์รวมของการปรับตัวในบริบทใหญ่ที่แตกต่างของกลุ่มชาติพันธุ์ไท-ลาวใน พื้นที่ลุ่มน้ําภาคกลางของประเทศไทย” ทุนอุดหนุนวิจัยศาสตราจารย์วิจัยดีเด่น 2552 โดย ศาสตราจารย์ เกียรติคุณ อรศิริ ปาณินท์ สนับสนุนทุนโดย สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) สํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (ทุนวิจัย 9,000,000 บาท / โครงการวิจัย 3 ปี) 2553 หัวหน้าโครงการ “โครงการวิจัยแผนที่ที่อยู่อาศัยทรงคุณค่าทางวัฒนธรรมในเขตเทศบาลเมืองฯ สมุทรสงคราม” สนับสนุนทุนวิจัยโดยเทศบาลเมืองฯ สมุทรสงคราม และศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ทุนวิจัย 180,000 บาท) 2553 หัวหน้าโครงการ “การจัดการองค์ความรู้วัสดุก่อสร้าง และเทคโนโลยีการก่อสร้างพื้นถิ่นในภาคกลาง” สนับสนุนทุน วิจัยโดยการเคหะแห่งชาติ (ทุนวิจัย 1,500,000 บาท) 2554-2555 หัวหน้าโครงการวิจัย “โครงการวิจัยเพื่อการจัดการความรู้ และจัดทําแผนที่แหล่งทางธรรมชาติและวัฒนธรรมเพื่อ ผลักดันสู่การเสนอชื่อแหล่งมรดกโลกในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1: ลําปาง ลําพูน เชียงใหม่ และแม่ฮ่องสอน” สนับสนุนโดยกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 2555 รองหัวหน้าโครงการ “โครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวย่านสามแพร่ง กิจกรรมที่ ๑ การส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการ พัฒนา และเผยแพร่ภูมิทัศน์วัฒนธรรม” สนับสนุนโดย กองการท่องเที่ยว กรุงเทพมหานคร

9 จุลสารสถาบันวิจยั และพัฒนา ปที่ 21 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มีนาคม 2555


จาก...ชุมชน

การดําเนินชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ควรเริ่มต้นอย่างไร สุพรชัย มั่งมีสิทธิ์ นักวิจัยเชี่ยวชาญ สถาบันวิจัยและพัฒนา

หลายท่ า นอาจจะนํ า แนวคิ ด ปรั ช ญาเศรษฐกิ จ พอเพี ย งที่ พ ระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู่ ท รงพระราชทาน แนวทางดังกล่าวให้กับปวงชนชาวไทยมาเกือบ ๔๐ ปีมา ประยุกต์ใช้ในการดําเนินชีวิตอยู่แล้ว แต่อีกหลายๆท่าน อาจจะยั ง ไม่ เ ข้ า ใจในหลั ก การที่ จ ะนํ า มาปรั บ ใช้ อ ย่ า ง เหมาะสมในวิถีชีวิต ปัจจุบันจะพบว่าสถานการณ์โลกเกิด การเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ อย่างรุนแรง ไม่ว่าจะเป็นด้าน ทรัพยากรธรรมชาติ การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิโลก เกิด ปั ญ หาภั ย ธรรมชาติ ที่ นั บ วั น ผลกระทบจะมี ผ ลต่ อ มวล มนุษยชาติอย่างกว้างขวาง สร้างความเสียหายต่อชีวิตและ ทรัพย์สินจํานวนมหาศาล หากสังคมเราไม่มีหลักคิดวิธี ปฏิ บั ติ ที่ เ หมาะสม สอดคล้ อ งกั บ สภาวการณ์ ที่ เ ป็ น อยู่ ก็อาจจะนําไปสู่ปัญหาต่างๆ อีกหลายด้านในการมีชีวิตอยู่ ในโลกใบนี้ ดังนั้น ผู้เขียนขอน้อมนําแนวทางที่พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานต่อสังคมไทยมาเสนอต่อ ท่านผู้อ่าน ดังต่อไปนี้

ประสบการณ์ ทั้งนี้ เพื่อให้ตระหนักถึงประโยชน์ที่จะ เกิดขึ้นจากการดํารงชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง การ ตระหนักรู้นี้ จะนําไปสู่การทดลอง นํามาประยุกต์ใช้กับ ตนเองในการดําเนินชีวิตประจําวันในแง่มุมต่างๆ ซึ่งต้องอยู่ บนรากฐานของทางสายกลาง ความพอประมาณและการ ใช้สติ – ปัญญา ในการตัดสินใจและการปฏิบัติตนเพื่อสร้าง ภู มิ คุ้ ม กั น ในตั ว ที่ ดี พ อควร โดยไม่ ทํ า ให้ ต นเองและผู้ อื่ น เดือดร้อน และจะนําไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ดีในที่สุด ทั้งนี้ ระดับความพอเพียงของแต่ละบุคคลอาจจะแตกต่างกัน ตามสภาพแวดล้อมและเงื่อนไขของแต่ละบุคคลนั้นๆ

เนื่องจากปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นหลักคิด และแนะแนวทางปฏิบัติตนสําหรับทุกคน ทุกระดับ ตั้งแต่ ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐให้ดําเนินไป ในทางสายกลางเพื่อนําไปสู่การพัฒนาที่สมดุล มั่นคง ยั่งยืน ก้าวทันต่อยุคโลกาภิวัตน์และทําความอยู่เย็นเป็นสุข ความสามั ค คี ป รองดองให้ เ กิ ด ขึ้ น ในสั ง คมไทยส่ ว นรวม อย่างแท้จริง จากการทํางานร่วมกับชุมชนในหลายพื้นที่ ผู้เขียน ได้ นํ า แนวคิ ด ดั ง กล่ า วมาประยุ ก ต์ ใ ช้ ใ นโครงการการ ให้บริการวิชาการแก่สังคมและชุมชน ไม่ว่าจะเป็นโครงการ ด้านการปรับปรุงแนวทางการทําเกษตรอินทรีย์ของชุมชน โครงการนําชีวมวลมาใช้ใ ห้เกิดประโยชน์สู งสุ ดด้ วยการ

ประสบการณ์การนํามาประยุกต์ใช้ การนําเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ให้ได้ผลใน การดําเนินชีวิตเริ่มต้นจากการมีความรู้ความเข้าใจถูกต้อง ถึงความหมายหลักการสําคัญและประโยชน์ของเศรษฐกิจ พอเพี ย ง ซึ่ ง เกิ ด จาก ก ร ะ บ ว น ก า ร เ รี ย น รู้ ด้วยตนเอง หรือร่วมกับ ผู้อื่น ทั้งจากการปฏิบัติ และการแลกเปลี่ ย น ค ว า ม คิ ด เ ห็ น แ ล ะ 10

จุลสารสถาบันวิจยั และพัฒนา ปที่ 21 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มีนาคม 2555


แปรรูปและสร้างเครื่องมือที่จะเป็นเครื่องช่วยให้การดํารง ชีพของชุมชนสามารถพึ่งพาทรัพยากรท้องถิ่นให้มากที่สุด ลดการใช้ทรัพยากรที่ตนเองไม่มีหรือไม่สามารถผลิตเองได้ โดยให้ใช้น้อยที่สุดเท่าที่จะทําได้ โดยอาศัยแนวทางของ เศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้ เกิดความเชื่อมั่นในศักยภาพของตนเอง ที่จะดําเนินชีวิตอยู่ ในสังคมได้อย่างมีความสุข แนวทางการประยุกต์ใช้ ในเบื้องต้นผู้ที่จะนําแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงมา ปรั บ ใช้ ใ นวิ ถี ชี วิ ต ประจํ า วั น นั้ น ประการแรกคื อ การ ตระหนักรู้ ซึ่งจะนําไปสู่การทดลอง นํามาประยุกต์ใช้กับ ตนเองในการดําเนินชีวิตประจําวันในแง่มุมต่างๆ ซึ่งต้องอยู่ บนรากฐานของทางสายกลาง ความพอประมาณและการ ใช้สติ – ปัญญา ในการตัดสินใจและการปฏิบัติตน เพื่อ สร้างภู มิ คุ้ม กั นในตั วที่ ดีพอควร โดยไม่ทํา ให้ตนเองและ ผู้อื่นเดือดร้อน และจะนําไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ดีในที่สุด ทั้งนี้ ระดับความพอเพียงของแต่ละบุคคลอาจจะแตกต่าง กันตามสภาพแวดล้อม และเงื่อนไขของแต่ละบุคคลนั้นๆ เนื่องจากปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นหลักคิด และแนะแนวทางปฎิบัติตนสําหรับทุกคน ทุกระดับ ตั้งแต่ ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐให้ดําเนินไป ในทางสายกลางเพื่อนําไปสู่การพัฒนาที่สมดุล มั่นคง ยั่งยืน ก้าวทันต่อยุคโลกาภิวัตน์และทําความอยู่เย็นเป็นสุข ความสามัคคีปรองดองให้เกิดขึ้นในสังคมไทยโดยรวม

๑. หลักวิชา โดยพระองค์ท่านจะทําอะไร ทรง อาศัยหลักวิชาเสมอ ไม่ได้ทําตามอารมณ์ ไม่ได้ทําตาม กระแส ไม่ได้ตัดสินใจตามผลประโยชน์ของใคร แต่ใช้หลัก วิ ช า เพื่ อ ให้ เ กิ ด ประโยชน์ สู ง สุ ด แก่ ทุ ก คน การทํ า อะไร จะต้องทําวิจัยให้แน่ก่อน ก่อนที่จะเผยแพร่ให้ส่วนราชการ นําไปเผยแพร่ต่อ แต่ในประเทศเราไม่ จะทําอะไรทุก จัง หวั ด ทํ า เหมือ นกั น ๔๐,๐๐๐ โรงเรี ย น ทํ า เหมื อ นกั น ซึ่งไม่ควรใช้ ๒. เงื่อนไขคุณธรรม ต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจ ของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐและนักธุรกิจใน ทุกระดับ ให้มีสํานึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์ สุจริต ๓. เงื่อนไขในการดําเนินชีวิต ต้องรอบรู้ดําเนิน ชีวิตด้วยความอดทนเรื่องความเพียร สาระแห่งการประยุกต์ในชีวิตประจําวัน เมื่ อ ทราบถึ ง หลั ก การของแนวคิ ด เศรษฐกิ จ พอเพี ย งแล้ ว ลองนํ า สู่ ก ารปรั บ ใช้ จ ริ ง ให้ เ หมาะสม สอดคล้องกับวิถีแต่ละคนตามศักยภาพ เช่น หลักความพอเพียง พอประมาณกับเวลา พอประมาณกับสถานที่ พอประมาณกําลังแรงงานและกําลังทรัพย์ พอประมาณกับความสามารถของตนเอง หลักความมีเหตุผล ได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์แก่ตนเองและชุมชน ได้สร้างประโยชน์แก่สังคม เข้าใจปัญหา แก้ปัญหาได้ และพัฒนาได้ถูกต้อง หลักการมีภูมิคุ้มกัน ได้ออกกําลังกาย ร่างกายแข็งแรง เกิดความรัก และผูกพันของคนในชุมชน มีส่วนร่วมในการแก้ไข และพัฒนาชุมชนให้ยั่งยืน

หลักการสําคัญของเศรษฐกิจพอเพียง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดํารัส ถึงแนวทางการนําหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ให้ ได้ผลดีว่ามี ๓ เงื่อนไข คือ 11

จุลสารสถาบันวิจยั และพัฒนา ปที่ 21 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มีนาคม 2555


เงื่อนไขความรู้ วิธีการสํารวจปัญหาตนเอง และปัญหาของชุมชน รู้วิธีการจัดทําโครงการแก้ปัญหา รู้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง รู้แหล่งศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม เพื่อนําไปประยุกต์ใช้ นําหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปแก้ไขปัญหาตนเอง และพัฒนาชุมชน เงื่อนไขคุณธรรม มีสติปัญญา มีความสามัคคี มีความรับผิดชอบ มีความขยันอดทน รู้จักประหยัดอดออม รู้จักการแบ่งปัน จะเห็นได้ว่าหากเราทุกคนใช้หลักวิชามาประยุกต์ใช้ ในการปฏิบัติงานให้เหมาะสมกับความจริง วางแผนการ ทํางานอย่างเป็นระบบ การยึดถือประโยชน์ส่วนรวมเป็น สําคัญ และน้อมนํากระแสพระราชดํารัสมาพิจารณาอย่าง สม่ําเสมอ เราก็จะเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่ปฏิบัติตนสมบูรณ์ หน่วยงานที่เราปฏิบัติภารกิจอยู่ก็จะปฏิบัติหน้าที่ได้อย่าง สมบูรณ์ ความอยู่เย็นเป็นสุขก็จะบังเกิดขึ้นทั้งส่วนของ ปัจเจกและระดับชุมชนต่อไป

12 จุลสารสถาบันวิจยั และพัฒนา ปที่ 21 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มีนาคม 2555


คิวบิสม์ในฐานะทีเ่ ป็นจุดเปลี่ยนจากศิลปะเหมือนจริง ไปสู่ศิลปะนามธรรม ในศิลปะสมัยใหม่1 Cubism as a Transition from Realism to Abstract Art in Modern Art 2

สรรเสิรฐ สันติวงศ คณะอักษรศาสตร มหาวิทยาลัยศิลปากร

ส่วนโฟวิสม์ที่บุกเบิกโดยอองรี มาร์ติสส์ (Henry Matisse) ได้ ส่ ง อิ ท ธิ พ ลให้ กั บ ศิ ล ปะนามธรรมที่ มี รู ป ทรงอิ ส ระ (Organic Form) งานวิจัยชิ้นนี้ได้เลือกศึกษาในส่วนของคิวบิสม์ ซึ่ง ถือเป็นแกนสําคัญ เนื่องจากทั้งแนวทางของคิวบิสม์และปี กาสโซผู้บุกเบิกศิลปะแนวนี้ได้ส่งอิทธิพลให้กับรูปแบบและ แนวทางของศิ ล ปะสมั ย ใหม่ โดยการรั บ การถ่ า ยเท ตลอดจนสังเคราะห์และเป็นแกนหลักให้กับพัฒนาการทาง ศิล ปะในภาพรวม เช่ น รู ป แบบกึ่ ง นามธรรมหั ว ก้ า วหน้ า อย่างกลุ่มฟิวเจอร์ริสม์ (Futurism) ศิลปะนามธรรมที่เป็น การสังเคราะห์เฉพาะในส่ วนของรู ปทรงและสี อย่างเดอ สไตล์ (De Stijle) ซูพรีมาติสม์ (Suprematism) และกลุ่ม ที่ ส ร้ า ง ง า น ส า ม มิ ติ อ ย่ า ง ค อ น ส ต รั ค ทิ ว วิ ส ม์ (constructivism) ไคเนติ ค (Kinetic art) มิ นิ ม อลลิ ส ม์ (Minimalism) และให้อิทธิพลต่อการสร้างรูปลักษณ์ของ ประยุกต์ศิลป์รวมถึงการเรียนการสอนทางศิลปะและการ ออกแบบในยุคสมัยใหม่อย่าง เบาว์เฮ้าส์ (Bauhaus) การ ออกแบบเลขศิลป์ (Graphic Design) สถาปัตยกรรม การ ออกแบบเครื่องเรือน (Interior Design) เครื่องใช้ต่างๆ (Product Design) ซึ่งเป็นภาพรวมของการเคลื่อนไหวทั้ง วิจิตรศิลป์และมัณฑณศิลป์ของศิลปะในศตวรรษที่ 20 ที่ ผ่านมา

บทนํา ศิลปะสมัยใหม่ได้แสดงให้เห็นถึงพลวัตที่รับและ ถ่ายเท รูปแบบ แนวความคิด และเนื้อหาอย่างซับซ้อน จน ทําให้เกิดสไตล์หรือลัทธิทางศิลปะ (ism) ที่หลากหลายทั้ง ในด้านแนวคิด และรูปแบบการสร้างสรรค์ศิลปะอย่างมาก จากความแตกต่างหลากหลายที่เกิดขึ้นนี้ เราอาจพิจารณา ได้จากลักษณะขั้ วตรงข้ามที่เด่ นชัดระหว่างลั กษณะของ การเน้นความเหมือนจริงในยุคสัจนิยม (Realism) กับการ นําเสนอในรูปแบบนามธรรมในกลางศตวรรษที่ 20 โดย ศึกษาพัฒนาการในส่วนของรูปลักษณ์และแนวความคิด จะ ช่วยให้เกิดความชัดเจนและคลี่คลายความซับซ้อนจนทําให้ เกิดความเข้าใจในภาพรวมของศิลปะในยุคสมัยใหม่ได้ ใน ขณะเดียวกันองค์ความรู้ที่เกิดจากการศึกษาวิจัยทําให้เกิด ความเข้าใจที่ชัดเจนเกี่ยวกับรูปแบบและแนวคิดที่แตกต่าง กันอย่างสุดขั้วของศิลปะในสองลักษณะดังกล่าว ลั ก ษณะขั้ ว ตรงข้ า มดั ง กล่ า วเราสามารถเห็ น การ คลี่ ค ลายและจุ ด เชื่ อ มโยงระหว่ า งความเหมื อ นจริง และ ความเป็นนามธรรมของงานศิลปะในรูปแบบของศิลปะกึ่ง นามธรรม โดยมีกลุ่มหรือกระบวนการที่เป็นแกนสําคัญคือ คิวบิส ม์ (Cubism) และโฟวิ ส ม์ (Fauvism) คิวบิส ม์ซึ่ง บุกเบิกโดยปาโบล ปีกาสโซ (Pablo Picasso) และ จอร์จ บราก (George Braque) ได้ส่งอิทธิพลโดยตรงกับ ศิลปะนามธรรมแบบเรขาคณิต (Geometrical Form) 1 2

โครงการวิจัยที่ได้รับทุนจากคณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร อาจารย์ประจําหมวดวิชาทัศนศิลป์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ นครปฐม

13 จุลสารสถาบันวิจยั และพัฒนา ปที่ 21 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มีนาคม 2555


สุ น ทรี ย ศาสตร์ แ ละล้ ม ล้ า งจารี ต แบบแผนคลาสสิ ก เดิ ม แนวโน้ ม ต่ อ มาของศิ ล ปะเป็ น การแสดงออกที่ ใ ห้ ความสําคัญกับอารมณ์และความรู้สึกมากขึ้นและมีลักษณะ ต่ อ ต้ า นการใช้ เ หตุ ผ ลและความสมจริ ง ในศิ ล ปะเช่ น อิมเพรสชั่ นนิสม์ โพสต์อิมเพรสชั่นนิ สม์โฟวิส ม์หรือกลุ่ ม เอ็ ก เพรสชั่นนิส ม์ และเซอร์เรี ย ลลิ ส ม์ซึ่งเป็น อิท ธิพลต่ อ เนื่องมาจากยุคโรแมนติก อีกด้านหนึ่งศิลปะภายใต้แนวคิด สมั ย ใหม่ (Modernity) ความเป็ น เหตุ เ ป็ น ผลและ วิทยาศาสตร์ขณะเดียวกันความคิดแบบคลาสสิกในเรื่อง ของรู ป แบบและสั ด ส่ ว นยั ง คงมี อิ ท ธิ พ ลต่ อ ศิ ล ปิ น อย่ า ง เซซานน์ กลุ่ ม คิ ว บิ ส ม์ ฟิ ว เจอร์ ริ ส ม์ และส่ ง ผ่ า นมายั ง เดอสไตล์ ซู พ รี ม าติ ส ม์ คอนสตรั ค ทิ วิ ส ม์ และ ศิ ล ปะ นามธรรมเรขาคณิตในช่วงครึ่งหลังของศตวรรษที่ 20

วัตถุประสงค์ของโครงการวิจัย 1.ศึกษาถึงแนวความคิด และหลักการที่สําคัญของ ศิลปะเหมือนจริงและศิลปะนามธรรม 2.เพื่อศึกษาให้เห็นถึงพัฒนาการและการคลี่คลาย จากศิลปะแบบเหมือนจริง จนถึงศิลปะนามธรรม 3.เพื่อศึกษาทิศทางและพัฒนาการของศิลปะในยุค สมัยใหม่ทั้งส่วนที่ให้อิทธิพลและส่วนที่ได้รับอิทธิพลจากคิว บิส ม์ ทั้ ง ในส่ว นของรู ป แบบ แนวความคิ ด หลั ก การทาง สุ น ทรี ย ศาสตร์ และศิ ล ปิ น คนสํ า คั ญ ที่ มี ส่ ว นบุ ก เบิ ก ต่ อ รูปแบบและแนวทางมาสู่ศิลปะนามธรรม วิธีดําเนินการวิจัย และขอบเขตของการวิจัย งานวิจัยเป็นการวิจัยจากเอกสารตํารา เพื่อเสนอให้ เห็ น ทิ ศ ทางและพั ฒ นาการของศิ ล ปะในช่ ว งเข้ า สู่ ยุ ค สมัยใหม่จนถึงศิลปะนามธรรมโดยมีคิวบิสม์เป็นจุดเปลี่ยน และจุดเชื่อมต่อที่สําคัญโดยในส่วนแรกเป็นบทวิเคราะห์ให้ เห็นถึงอิทธิพลของบริบทและการเปลี่ยงแปลงทางสังคมที่ ส่งผลต่อ โลกทัศน์ วิถีชีวิตและค่านิยมในสังคม มโนทัศน์ที่ เกี่ยวข้อง กับความก้าวหน้า และวิทยาศาสตร์ เป็นปัจจัยที่ สํ า คั ญ ในการเร่ ง เร้ า และเป็ น ปฏิ ก ริ ย าต่ อ แนวคิ ด และ รูปแบบของศิลปะจนนําไปการต่อต้านจารีตและแบบแผน ดั้งเดิมที่มีรากฐานจากวัฒนธรรมคลาสสิก ในส่วนที่สองเป็นการแสดงให้เห็นถึงพัฒนาการและ การคลี่คลายของรูปแบบและแนวคิดโดยในช่วงแรกเป็น การเน้นให้เห็นถึงหลักการที่เน้นย้ําในเรื่องของเสรีภาพใน การแสดงออกของศิ ล ปิ น นั บ จากสั จ นิ ย มจนถึ ง โพสต์ อิมเพรสชั่นนิสม์ และเซซานน์ และ ในช่วงหลังแสดงให้ เห็นพัฒนาการและการคลี่คลายของรูปแบบจากคิวบิสม์มา สู่ น ามธรรมแบบเรขาคณิ ต เช่ น ซู พ รี ม าติ ส ม์ เดอสไตล์ คอนสตรัคทิวิสม์ และ มินิมอลลิสม์

การเปลี่ยนแปลงจากลักษณะสมจริงมาสู่ศิลปะนามธรรม และนามธรรมแบบเรขาคณิต พัฒนาการและการคลี่คลายนี้สามารถสรุปได้จาก องค์ประกอบและปัจจัยที่มาจากการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ทั้ ง ในส่ ว นของบริ บ ททางสั ง คม แนวคิ ด และหลั ก สุ น ทรี ย ศาสตร์ ตลอดจนอิ ท ธิ พ ลและพั ฒ นาการของ รูปแบบดังนี้ คือ 1.การเปลี่ยนแปลงทางสังคม 2.การเปลี่ย นแปลงทั ศ นคติในเรื่ องของความงาม และหลักสุนทรียศาสตร์ของศิลปะ 3.การเปลี่ ย นแปลงรู ป แบบและลั ก ษณะการ แสดงออกของศิลปะที่หันเหออกจากความสมจริง 4.คิวบิสม์ซึ่งเป็นจุดเปลี่ยนและหักเหจากการอ้างอิง วัตถุมาสู่นามธรรมเรขาคณิต การเปลี่ยนแปลงทางสังคม สั ง คมและสภาพแวดล้ อ มแบบใหม่ ทั้ ง ในด้ า น ประชากร สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ เทคโนโลยีและนวัตกรรม มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงทั้งแนวความคิดและ รูปลักษณ์ทางศิลปะที่เกิดในช่วงเวลานี้ แนวความคิดแบบ เสรี นิ ย มได้ ส ร้ า งให้ เ กิ ด บรรยากาศ การวิ พ ากษ์ แ ละตั้ ง คําถาม การแสวงหาอย่างเข้มข้นและเป็นอิสระทําให้เกิด การคิดค้นทั้งรูปแบบและหลักสุนทรียภาพของศิลปะที่มี ความหลากหลาย แปลกใหม่ เต็มไปด้วยจินตนาการและ ความคิ ด ริ เ ริ่ ม ใหม่ ๆ หรื อ อาจกล่ า วได้ ว่ า บริ บ ทและ

สรุปผลการวิจัย พัฒนาการและการคลี่คลายมาสู่ศิลปะนามธรรม และนามธรรมแบบเรขาคณิต ภาพรวมของศิลปะในศตวรรษที่ 20 ในช่วงครึ่งแรกของศตวรรษที่ 20 มีการแสดงออก แนวความคิดและรูปลักษณ์ที่มีความหลากหลายซึ่งแสดงให้ เห็นพัฒนาการและการคลี่คลายไปสู่ศิลปะนามธรรม สัจ นิ ย ม (Realism)ได้ ว างรากฐานแนวความคิ ด ใหม่ ท าง 14

จุลสารสถาบันวิจยั และพัฒนา ปที่ 21 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มีนาคม 2555


เซซานน์ศึกษาเรื่องมิติและรูปทรงของวัตถุตลอดจนการ ประสานสัมพันธ์ของมิติและรูปทรงภายในภาพ เซซานน์ หลีกเลี่ยงลักษณะการผสานกันของรูปทรงในศิลปะโบราณ ที่ยืนยู่บนหลักทัศนียภาพแบบเดิม หากแต่ได้สร้างรูปแบบ ของการผสานสัมพันธ์แบบใหม่ขึ้นมา หัวใจของศิลปะแบบ เซซานน์จึงเป็นเรื่องของรูปทรง เส้น ระนาบ ผลึก และมวล โดยเฉพาะในยุ ค หลั ง สี สั น ของงานจะถู ก กํ า จั ด ออกไป เรื่อยๆ และสิ่ งเหล่านี้ได้กลายเป็นลักษณะและหลักการ ของคิวบิสม์ในเวลาต่อมา คิว บิส ม์ ใ นฐานะจุ ด เปลี่ย นมาสู่ศิ ล ปะนามธรรม แบบเรขาคณิต ในลักษณะที่คาบเกี่ยวกับความเป็นนามธรรมและ รูปธรรม ทั้งในส่วนของแนวความคิดและรูปแบบ คิวบิสม์ ได้ แ สดงให้ เ ห็ น ถึ ง ความพยายามในการแสวงหาแบบ (Form) ในอุด มคติจ ากการทดลองค้นหาสุน ทรี ยะที่เกิ ด จากการประสานสัมพันธ์ของรูปทรงลักษณะนามธรรมแบบ เรขาคณิตได้ถูกเผยให้เห็นจากพัฒนาการและกระบวนการ ค้นคว้าทดลองของกลุ่มคิวบิสต์แนวร่วมในยุคหลัง ซึ่งมีที่มา จาก โพสต์อิมเพรสชั่นนิสม์ คิวบิสม์ยุคเริ่มต้น แนวคิดและเทคนิคที่ได้รับจากเซซานน์ถือเป็นส่วน สําคัญอย่างมาก เช่นการสร้างผลึกซ้ําๆในระนาบตื้นๆ มา ผสานกับแนวทาง แบบ ศิลปะอนารยะ (Primitivism) ซึ่ง ได้รับอิทธิพลผ่านของ อองรี รุสโซ (Henri Rousseau) อังเดร เดอเรน (Andrea Derain) อองรี มาติส (Henri Matisse) และส่ ว นที่ ไ ด้ รั บ อิ ท ธิ พ ลโดยตรงจาก รู ป สลั ก แบบแอฟริ กั น ศิ ล ปะอเมริ ก าใต้ ยุ ค ก่ อ นโคลั ม บั ส (Pre-Columbus) ศิลปะกรีกยุคอาร์เคอิค (Archaic) และ ศิลปะพื้นเมืองของสเปน (Iberian Art) โดยเฉพาะลักษณะ ของศิ ล ปะอั ฟ ริ กั น แสดงให้ เ ห็ น ถึ ง อิ ท ธิ พ ลอย่ า งชั ด เจน ที่มีการบิดผันรูปทรงให้เกิดเป็นรูปหน้าตัด แนวคิดที่เกิด จ า ก ก า ร ใ ช้ มุ ม ม อ ง จ า ก ห ล า ย ตํ า แ ห น่ ง พ ร้ อ ม กั น (Simultaneous) และทํ า ลายทั ศ นี ย ภาพแบบคลาสสิ ก (Single Point Perspective) การใช้สัญญะ (Sign) อ้างอิง และการใช้ระนาบตื้นๆที่พบในผลงานของมาเนท์ในก่อน หน้านี้ รวมถึงการใช้ลักษณะที่เป็นเส้นตรงและเป็นเหลี่ยม มุม และแบบแผนของการประสานสัมพันธ์ของรูปทรงที่พบ ในผลงานของเซอร์ราท์

แนวความคิดแบบสมัยใหม่นี้ได้เปิดทางให้กับแนวความคิด และรูปลักษณ์ใหม่ทางศิลปะ ก า ร เ ป ลี่ ย น แ ป ล ง ข อ ง แ น ว คิ ด แ ล ะ ห ลั ก สุนทรียศาสตร์ การเปลี่ ย นแปลงนี้ มี ที่ ม าจากการวิ พ ากษ์ แ ละ ต่ อ ต้ า นวั ฒ นธรรมคลาสสิ ก ซึ่ ง เป็ น กระแสต่ อ เนื่ อ งจาก ยุ ค โรแมนติ ก สั จ นิ ย มได้ ส ร้ า งศิ ล ปะในลั ก ษณะของ “บทวิ พ ากษ์ วั ฒ นธรรมคลาสสิ ก ” โดยการตั้ ง คํ า ถามถึ ง คุณค่าและสุนทรียศาสตร์ตามจารีตเดิม อิมเพรสชั่นนิสม์ได้ วิพากษ์รูปแบบของศิลปะคลาสสิกในส่วนของหน้าที่ในการ เล่าเรื่องและความสมจริงซึ่งทําให้นับตั้งแต่อิมเพรสชั่นนิสม์ ทั้งรูปแบบและแนวความคิดทางศิ ลปะอยู่บนหลักการที่ ต่อต้านจารีตและแบบแผนคลาสสิกเดิมและถอยห่างจาก ความสมจริ ง มากขึ้ น จนไปสู่ รู ป แบบนามธรรมเมื่ อ เข้ า สู่ ทศวรรษที่ 20 การเปลี่ ย นแปลงรู ป แบบและลั ก ษณะการ แสดงออกของศิลปะ รู ป แบบมาก่ อ นเนื้ อ หา และสาระสํ า คั ญ ของ รูปทรง อิมเพรสชั่นนิสม์และโพสต์อิมเพรสชั่นนิสม์ได้แสดง ให้เห็นถึงสาระสําคัญใหม่ของจิตรกรรม นั่นคือรูปแบบที่ เข้ามาแทนที่เรื่องราว ในระหว่างนี้ความสมจริงได้ถูกลบ เลือนไปทีละน้อย นับจากละเอียดวิจิตรบรรจงในการสร้าง พื้นผิว การเลือนหายของเส้นขอบคมและการแทนที่ด้วย รอยฝี แ ปรง การเกลี่ ย ไล่ น้ํ า หนั ก ของสี ไปจนถึ ง หลั ก ทัศนียภาพ ขณะที่รูปทรงและสีสัน การจัดองค์ประกอบได้ แสดงบทบาทสําคัญในการสร้างความรู้สึกและจินตนาการ การอ้างอิงความหมายจากตัววัตถุค่อยๆ หมดความสําคัญ ลง โดยเฉพาะผลงานของมาติ ส ม์ แ ละโฟวิ ส ม์ ที่ ใ ห้ ความสําคัญการแสดงอารมณ์ความรู้สึกผ่าน รูปทรง เส้น และสี ขณะที่การบุกเบิกของเซอร์ราท์ เซซานน์ แสดงให้ เห็นถึงความสําคัญของรูปทรง ทั้งเซอร์ราท์และเซซานน์ยืน อยู่ บ นหลั ก การของอิ ม เพรสชั่ น นิ ส ม์ แ ละมองเห็ น กระบวนการคลี่คลายและสาระใหม่ของจิตรกรรม ผลงาน ของทั้งสองลดความสําคัญของเรื่องราว เซอร์ราท์ใช้เทคนิค แต้มสีเป็นจุดที่พัฒนาต่อจากอิมเพรสชั่นนิสม์ผสานเข้ากับ การจัดระเบียบของรูปทรง (Formal Order) สร้างลักษณะ พิเศษให้กับผลงานที่มีความนิ่งสงบและสุกสว่าง ขณะที่ 15

จุลสารสถาบันวิจยั และพัฒนา ปที่ 21 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มีนาคม 2555


ขณะเดี ย วกั น ความเคลื่ อ นไหวภายนอกฝรั่ ง เศส เช่น เอ็กเพรสชั่นนิสม และ ฟิวเจอร์ริสม์ วอติกซิสม์ มีการ เคลื่อนไหวที่สอดรับกับทิศทางของศิลปะที่คลี่คลายไปสู่ รูปแบบนามธรรม โดยเฉพาะนามธรรมในแบบเรขาคณิต กลุ่มฟิวเจอร์ริสม์รับรูปแบบการทับซ้อนของรูปทรงแบบ เ ร ข า ค ณิ ต ข อ ง คิ ว บิ ส ม์ ม า ใ ช้ โ ด ย แ ส ด ง ใ ห้ เ ห็ น ถึ ง สุนทรียศาสตร์ใหม่ที่อยู่บนความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี การเปลี่ ย นแปลงและเคลื่ อ นไหว ฟรั น ซ์ มาร์ ก (Franz Mark) ไฟน์นิ่งเกอร์ (Lyonel Feininger) และพอล คลี (Paul Klee) แสดงถึงลักษณะกึ่งนามธรรมแบบเรขาคณิต ที่ผสานลักษณะเชิงวิชาการของคิวบิสม์ในการวิเคราะห์เข้า กั บ อารมณ์ ค วามรู้ สึ ก แบบดนตรี แ ละบทกวี ที่ มี ลั ก ษณะ เฉพาะตัวที่แตกต่างกัน

คิวบิสม์วิเคราะห์ (Analytical Cubism) รูปลักษณ์ของคิวบิสม์วิเคราะห์มีความแปลกใหม่ ที่ ลดทอนรูปทรงจากธรรมชาติลงเหลือรูปทรงพื้นฐาน แบบ เรขาคณิต และไม่ได้ถูกร้อยเรียงด้วยไวยากรณ์ของภาษา ภาพแบบเก่ า รู ป ทรงจะถู ก ถอดและทอนลงโดยคง รู ป ลั ก ษณ์ เ ดิ ม เพี ย งลั ก ษณะสํ า คั ญ จากนั้ น จึ ง ถู ก นํ า มา ประกอบใหม่ด้วยการวางทับซ้อนและเหลื่อมล้ําด้วยจังหวะ ซ้ําของปริมาตรและรูปทรง บางครั้งดูเหมือนการผสมผสาน ปนเป อย่างยุ่งเหยิง เทคนิคและลักษณะที่สําคัญในช่วงนี้ เรียกว่า พาสเสจ (Passage) และ เฮอเมติค (Hermetic) คิวบิสม์สังเคราะห์ (Synthetic Cubism) คิวบิสม์สังเคราะห์เป็นผลสืบเนื่องจากการค้นคว้า ทดลองคิวบิสม์วิเคราะห์ ปี 1912-20 ถือเป็นช่วงเปลี่ยน ผ่านของคิวบิสม์ เมื่อบรากและปีกาสโซ ได้นําเทคนิคการ สร้างพื้นผิวด้วยวัสดุอื่นๆ และการนํากระดาษมาปะติดร่วม ด้วยกับการใช้ตัวอักษร ดินสอ และสีเขียนลงในภาพ และ ในปี 1 913 ผลงานของบราคและปี ก าสโซได้ เ ข้ า สู่ ยุ ค ที่ เรี ย กว่ า คิ ว บิ ส ม์ สั ง เคราะห์ ซึ่ ง เป็ น ผลที่ เ กิ ด จากการใช้ เทคนิคใหม่นี้ คิวบิสม์สังเคราะห์ในช่วงแรกจะพบร่องรอย ของการปะติด (Collage) คือ ลักษณะการใช้แถบแผ่น สี่เหลี่ยมยาวขนาดต่างๆทับกันเป็นชั้น ซึ่งลักษณะของการ ใช้ แ ถบกระดาษปะติ ด นี้ ไ ด้ ค ลี่ ค ลายมาสู่ น ามธรรมแบบ เรขาคณิต (เปรียบเทียบภาพ The Table ของ ปิกัสโซ กับ Vertical Planes ของคัฟกา) ในช่วงหลังปี1917 ผลงาน ของปีกาสโซแสดงให้เห็นถึงลักษณะที่แบนตลอดจนสีที่มี ความสุกสว่างและมีรูปทรงแบบเรขาคณิตซึ่งเป็นลักษณะที่ สําคัญของ เดอสไตล์ และซูพรีมาติสม์ในเวลาต่อมา แนวร่วมและคิวบิสม์ยุคหลัง (Later Cubism) ช่วงเวลานี้แม้ว่าปีกาสโซและบรากยังคงสร้างงานที่ แสดงให้ เ ห็ น ถึ ง รู ป ร่ า งของวั ต ถุ แ ละเปลี่ ย นไปสู่ คิ ว บิ ส ม์ สังเคราะห์และใช้การปะติด (Collage) คิวบิสต์คนอื่นๆมี ความเห็นและสร้างงานในลักษณะที่แตกต่างไป เช่น ใน ก ลุ่ ม อ อ ฟิ ส ม์ ที่ ริ เ ริ่ ม โ ด ย อ พ อ ล ลิ เ น ย์ ( Gilliume Apollinaire) ผลงานของ เดอโลเนย์ (Robert Delaunay) เลเจร์ (Fernand Leger) อาร์พ (Jean Arp) และรวมถึง คัฟกา (Frantisek Kupka) ได้แสดงให้เห็นถึงการพัฒนาคิว บิสม์ไปรูปทรงบริสุทธิ์และลักษณะแบบนามธรรมอย่างเต็ม รูปแบบ

อิทธิพลต่อศิลปะนามธรรมแบบเรขาคณิต ปี 1912 เดลอนนิเย และฟรานทิเสค คัพกา และ สมาชิกในกลุ่ม ออฟิสม์ แสดงให้เห็นว่า คิวบิสม์ได้พัฒนา มาถึงลักษณะแบบนามธรรมโดยสมบูรณ์ในแบบเรขาคณิต ในผลงานชุด หน้าต่าง (Window series) และระนาบ แนวตั้ง (Vertical Planes) และในปี 1915 องค์ประกอบ (Composition) ของ ฮันส์ อาร์พ (Hans Arp ) สมาชิกใน กลุ่ม เบลาเออร์ ไรเทอร์ (Blauer Reiter) องค์ประกอบ ของ อาร์ฟมีความบริสุทธ์แสดงความเรียบง่ายของรูปทรงมี ความกระจ่างชัดและปราศจากความซับซ้อนและมีทิศทาง ที่ชัดเจนกว่าออฟิสม์ ผลงานของอาร์ฟซึ่งเกิดขึ้นก่อน เดอ สไตล์ แ ละนี โ อพลาสติ ก ของมงเดรี ย นที่ ล ดทอนความ ซับซ้อนทั้งหมดเหลือเพียงสี่เหลี่ยมและแม่สี ซึ่งก่อนหน้านี้ มีเพียง มัลเลวิชและซูพรีมาติสม์ (1913) ที่มอสโควที่แสดง ให้ เ ห็ น ทิ ศ ทางของพั ฒ นาการไปสู่ รู ป ทรงบริ สุ ท ธ์ ข อง นามธรรมแบบเรขาคณิต เดอสไตล์ ซูพรีมาติสม์ (De Stijle and Suprematism ) เดอสไตล์ และ ซูพรีมาติสม์ ถือเป็นการเริ่มต้นเข้าสู่ รูปลักษณ์ใหม่ ด้วยหลักการและแนวทางที่มีความชัดเจน ในการนํ า เสนอถึ ง สาระใหม่ ที่ อ ยู่ บ นพื้ น ฐานของความ บริ สุ ท ธิ์ ข องรู ป ทรงและสี การขจั ด ลั ก ษณะแบบอั ต วิ สั ย (Subjectivity) ไปสู่ความบริสุทธิ์ของรูปลักษณ์ (Pure Form) ทั้งซูพรีมาติสม์และเดอสไตล์แสดงถึงความกระจ่าง ชัดและเรียบง่ายมีลักษณะในอุดมคติเช่นเดียวกับแบบใน 16

จุลสารสถาบันวิจยั และพัฒนา ปที่ 21 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มีนาคม 2555


ศิลปะในครึ่งหลังศตวรรษที่ 20 ในช่ ว งครึ่ ง หลั ง คริ ส ศตวรรษที่ 20 มี ค วาม หลากหลายไม่ เ พีย งรู ปแบบการแสดงออกของสกุ ล และ แนวความคิดต่างๆ ทั้งนามธรรมแบบเอ็กเพรสชั่นนิสม์และ นามธรรมแบบเรขาคณิตที่ ยังคงส่งอิท ธิ พลต่อรูปลักษณ์ ของศิลปะต่อมาทั้งในนามกลุ่ม ดาดา และศิลปินที่รับเอา แนวทางแบบนามธรรมเรขาคณิตมาพัฒนาต่อ เช่น ฮันส์ อาร์ฟ (Hans Arp) มาแซล ดูชอมป์ (Marcel Duchamp) เคอร์ท ชวิทเตอร์ (Kurt Schwitter) ช่ ว งปี 1950 เป็ น ปี ที่ ศิ ล ปะนามธรรมแบบเรขาคณิ ต เสื่ อ มความนิ ย ม ขณะที่นามธรรมเอ็กเพรสชั่นนิสม์ของศิลปินอเมริกันอย่าง แจคสัน พอลล็อค (Jackson Pollock) วิลเลม เดอ คูนนิ่ง (Willem De Koonning) ได้รับความนิยมเข้ามาแทนที่ และส่ ง ผลอย่ า งสู ง กั บ ศิ ล ปิ น ในรุ่ น ต่ อ มา ในช่ ว งระยะ ระหว่างปี 1960 ทรรศนะและมุมมองทางศิลปะแสดงให้ เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงที่สําคัญไปสู่ยุคใหม่ที่ถูกเรียกใน ภายหลังว่าโพสต์ โมเดิร์น (Post Modernism) ซึ่งมีการ เปลี่ยนแปลงทั้งรูปแบบและแนวความคิดในการสร้างงาน อย่างมาก อย่างไรก็ตาม ในบางกลุ่มยังคงแสดงให้เห็นถึง ลักษณะของการแสดงออกและแนวความคิดที่สืบเนื่องจาก ยุ ค สมั ย ใหม่ ซึ่ ง ถู ก เรี ย กว่ า สมั ย ใหม่ ต อนปลาย (Late Modernism) ศิลปินกลุ่มนี้สร้างงานในแบบนามธรรมซึ่ง ก า ร ผ ส ม ผ ส า น แ ล ะ ป ร ะ ยุ ก ต์ ทั้ ง ใ น ลั ก ษ ณ ะ ข อ ง แอบสแตรค เอ็ ก เพรสชั่ น นิ ส ม์ และนามธรรมแบบ เรขาคณิต จิ ต รกรรมและประติ ม ากรรมในระหว่ า ง 19601970 เป็นช่วงเวลาที่นามธรรมแบบเรขาคณิตกลับมาเป็น แนวทางหลักและมีอิทธิพลต่อศิลปินจํานวนมาก เช่น มินิ มอลลิสม์(Minimalism) ฮาร์ด เอดจ์ (Hard edge) คัลเลอร์ฟีล เพนท์ติ้ง (Co lour Field Painting) และ ไลริคคอล แอบสแตรคชั่น (Lyrical Abstraction) รวมถึง ป๊อป อาร์ต (Pop Art) และ อ๊อฟ อารต์ (Oft Art) ซึ่ง ทั้ ง หมดถื อ เป็ น การวางรากฐานใหม่ แ ละมี ส่ ว นในการ กําหนดทิศทางของศิลปะที่เกิดขึ้นตลอดช่วงศตวรรษที่ 20 ที่ผ่านมา

ความหมายของเพลโตมงเดรียนและมีลแลวิชถือได้ว่าเป็น ผู้ศึกษาและติดตามความเคลื่อนไหวคิวบิสม์อย่างใกล้ชิด จากผลงานที่แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลคิวบิสม์ในระยะต่าง ขณะที่ศิลปินอื่นๆในฝรั่งเศสมีการสร้างงานที่ควบคู่ระหว่าง นามธรรมและการกลับมาสู่การแสดงรู ปลักษณ์ที่ อ้างอิง วัตถุ ซูพรีมาติสม์ และเดอสไตล์แสดงให้เห็นพัฒนา การ และทิศทางที่ชัดเจนและแน่วแน่ในการค้นคว้าและสร้าง งานในลักษณะนามธรรมและรูปทรงบริสุทธิ์อย่างต่อเนื่อง เช่น องค์ประกอบของมงเดรียนในระหว่างปี 1911-1915 เช่นเดียวกับมัลเลวิชที่ได้ลดทอนองค์ประกอบเหลือเพียง สี่เหลี่ยมขาวดําในปี 1913 และผลงานหลังจากนี้มีความ ซับซ้อนขึ้น เช่น การจัดวางที่รูปทรงขนาดแตกต่างและทับ ซ้อนบนพื้นที่ว่างอยู่บนแกนเอียงหรือเส้นทะแยง จิตรกรรม นามธรรมได้คลี่คลายจนมาถึงภาพ สีขาวบนสีขาว (White on white 1918) และสีดําบนสีดํา (Black on Black 1920) ศิลปกรรมได้คลี่คลายมาสู่วัสดุและมิติใหม่ๆในเชิง โครงสร้าง และยังคงแนวคิดเรื่องความบริสุทธิ์ของรูปทรง คอนสตรัคทิวิสม์ (Constructivism) นอกจาก คาสิเมียร์ มัลเลวิช (Kazimir Malevich) แล้ว วลาดิเมียร์ ทาทลิน (Vladimir Tatlin) นาอุม กาโบ (Naum Gabo) อังตวน เพฟเนอร์ (Antoine Pevsner) และอเลกซานโดร รอดเชงโก (Alexandr Rodchenko) อยู่ในกลุ่มผู้ร่วมบุกเบิกศิลปะนามธรรมแบบเรขาคณิตใน รั ส เซี ย ซึ่ ง เป็ น ความเคลื่ อ นไหวที่ ป ระสานต่ อ เนื่ อ งจาก ซูพรีมาติสม์ ซึ่งต่างมีท่ีมาจากคิวบิสม์ โดยเฉพาะการใช้ เทคนิคปะติดของปีกาสโซที่สร้างในปี 1912 ซึ่งนอกจาก กระดาษ แล้วยังใช้แผ่นวัสดุที่ยื่นออกมาภายนอก เช่น ไม้ การ์ ด บอร์ ด แก้ ว ในปี 1913 ทาทลิ น ได้ ส ร้ า งงานใน ลักษณะเดียวกันนี้และได้ เพิ่มความหลากหลายของวัส ดุ รวมถึงลักษณะนามธรรมที่มากขึ้น และได้เปลี่ยนแปลงไปสู่ การสร้างงานแบบสามมิติในปี 1915 ผลงานแสดงให้เห็น ถึงลักษณะที่แตกต่างจากประติมากรรมตามแบบแผนทั่วไป ด้วยโครงสร้างเรขาคณิตโดยการก่อรูปที่ผสมผสานกับหลัก วิศวกรรมและวัสดุที่ใช้ในวิศวกรรมสมัยใหม่เช่น คอนกรีต ลวดสลิง แผ่นโลหะ

17 จุลสารสถาบันวิจยั และพัฒนา ปที่ 21 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มีนาคม 2555


บรรณานุกรม Barr Alfred , H. JR. 1974. Cubism and Abstract Art . New York : The Museum of Modern Art Bo cola, Sandro. 2001. Timelines -The Art of Modernism 1870-2000 . London : Taschen Press. Butler, Christopher. 1994. Early Modernism. Oxford : Clarendon Press Dixon, Andrew Graham. 2008. Art. London : DK. Feldman, Edmund Burke. 1992. Variety of visual experience. New York : Haryn Abrams Inc. Foster, Hals , Rosalind Krauss, Yves-Alain Bois and Benjamin H.D. Buchlow. 1900. Art since 1900. London : Thames and Hudson Gombrich , E.H. 2004. The Story of Art . New York : Phaidon press. Golding John. 1974. “Cubism”. Concept of Modern Art . Nikos Stangos, eds.2nd edition. pp. 50- 77. New York : Harper and Row publisher. Honour, Huge and John Fleming. 2002. A World history of Art. sixth edition. London : Laurence king publishing. Kissick, John. 1993. Art Context and riticism. Hong Kong : Brown and Benchmark. Lynton, Norbert . 1994. The Story of Modern Art. London: Phaidon Press. Lynton, Norbert .1974. “Expressionism”. Concept of Modern Art . Nikos Stangos, eds.2nd edition. pp.34-35.New York: Harper and Row publisher Neret, Gilles. 2003. Malevich. Cologne : Taschen Press Nochlin, Linda. 1996. Realism and Traditional in Art 1848-1900. New Jersey : Prentice-Hall,Inc Read, Herbert. 1982. The philosophy of Modern Art. London : Faber and Faber press. Rodriguez, Chris and Chris Garrett. 2005. Introducing Modernism. New York : Totem Book. Russell, John. 1965. Seurat. London :Thames and Hudson .. Spate ,Virginia .1974. “Orphism”. Concept of Modern Art . Nikos Stangos, eds.2nd edition. pp. 85-90. New York: Harper and Row publisher Stangos. Nikos. 1974. Concept of Modern Art. 2ndedition. New York: Harper and Row publisher. Turner, Jane. 2000. From Expressionism to Post Modernism. London: Grove art.

18 จุลสารสถาบันวิจยั และพัฒนา ปที่ 21 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มีนาคม 2555


ขาวสารความเคลื่อนไหว

สรุปผลการดําเนินงาน โครงการประชุมวิชาการและเสนอผลงานวิจยั และสรางสรรคระดับชาติและนานาชาติ "ศิลปากรวิจยั และสรางสรรค ครัง้ ที่ 5 : บูรณาการศาสตรและศิลป” สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร รวมกับ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร และเครือขายวิจัยอุดมศึกษาภาค กลางตอนลาง สํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ไดดําเนินการจัดโครงการประชุมวิชาการและเสนอผลงานวิจัยและ สรางสรรคระดับชาติและนานาชาติ "ศิลปากรวิจัยและสรางสรรค ครั้งที่ 5 : บูรณาการศาสตรและศิลป" ระหวางวันที่ 25-27 มกราคม 2555 ณ ศูนยศิลปวัฒนธรรมเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษาและหอศิลปสนามจันทร มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขต พระราชวังสนามจันทร นครปฐม โดยมีรายละเอียดดังนี้ การดําเนินงาน 1. การบรรยายพิเศษ จํานวน 4 เรื่อง 2. เสวนาวิชาการ จํานวน 2 เรื่อง 2 เรื่อง 3. อบรมเชิงปฏิบัติการ จํานวน 4. นิทรรศการผลงานวิจัยและสรางสรรคของคณาจารย จํานวน 9 เรื่อง 5. การแสดงหนังตะลุง จํานวนผลงานที่เขารวมนําเสนอ 168 เรื่อง • ภาคบรรยาย จํานวน 95 เรื่อง • ภาคโปสเตอร จํานวน 60 เรื่อง • ผลงานสรางสรรค จํานวน 8 เรื่อง • ผลงานวิจัยและสรางสรรคของเครือขายวิจัย จํานวน 5 เรื่อง อุดมศึกษาภาคกลางตอนลาง ผูเขารวมการประชุมรวมทั้งสิ้น 1,870 คน ผลการประเมิน พบว า ผูเขารวมโครงการประชุมวิชาการและเสนอผลงานวิจัยและสรางสรรคระดับชาติและนานาชาติ "ศิลปากรวิจัยและ สรางสรรค ครั้งที่ 5 : บูรณาการศาสตรและศิลป" มีความพึงพอใจอยูในระดับมาก คิดเปนรอยละ 86.20 โดยเฉพาะหัวขอที่ผูเขารวมงาน ใหความสนใจมากที่สุดคือ หัวขอเรื่อง “ทําไมประเทศเพื่อนบานจึงชังเรา” และหัวขอเรื่อง “ปราสาทพระวิหาร : มรดกวัฒนธรรมของเอเชีย ตะวันออกเฉียงใตที่ไมใชเรื่องการเมือง” เพราะเปนหัวขอที่นําเสนอขอมูลที่อยูในเหตุการณปจจุบันและเปนหัวขอที่นาสนใจของประชาชน ทั่วไป และกอใหเกิดความรูความเขาใจสามารถนําไปใชประโยชนได ในสวนนิทรรศการ ผูเขารวมงานสวนใหญมีความพึงพอใจอยูในระดับมาก และใหความชื่นชมในเรื่องเกี่ยวกับรูปแบบการจัด แสดงนิทรรศการผลงานวิจัยและสรางสรรค เนื่องจากมีความนาสนใจและเหมาะสม โดยเฉพาะการจัดสถานที่และการตกแตงภูมิทัศน อยางสวยงามมีสุนทรียภาพมากที่สุด สมกับการเปนมหาวิทยาลัยชั้นนําแหงการสรางสรรค

19 จุลสารสถาบันวิจยั และพัฒนา ปที่ 21 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มีนาคม 2555


วันพุธที่ 25 มกราคม 2555 การบรรยายพิเศษ เรื่อง “ทําไมประเทศเพื่อนบานจึงชังเรา” เวลา 10.00-11.00 น. ณ หองประชุมชั้นบน ศูนยศิลปวัฒนธรรมฯ โดย นายวีระศักดิ์ โควสุรัตน อดีตรัฐมนตรีวาการกระทรวงการทองเที่ยวและกีฬา และ อดีตผูอํานวยการสถาบันระหวางประเทศเพื่อการคาและการพัฒนา (องคการมหาชน)

การบรรยายพิเศษ เรื่อง “ปราสาทพระวิหาร : มรดกวัฒนธรรมของเอเชียตะวันออกเฉียงใตที่ไมใชเรื่องการเมือง” เวลา 11.00-12.00 น. ณ หองประชุมชั้นบน ศูนยศิลปวัฒนธรรมฯ โดย ศาสตราจารย ดร.ศักดิ์ชัย สายสิงห คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร

เสวนาวิชาการ เรื่อง “ศิลปกรรมทางศาสนากับความสัมพันธในเอเชียตะวันออกเฉียงใต” เวลา 14.00-17.00 น. ณ หองประชุมชั้นบน ศูนยศิลปวัฒนธรรมฯ โดย คณาจารยจากภาควิชาประวัติศาสตรศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร

20 จุลสารสถาบันวิจยั และพัฒนา ปที่ 21 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มีนาคม 2555


พิธีเปดนิทรรศการผลงานวิจัยและสรางสรรค ณ หอศิลปสนามจันทร เวลา 17.00 -18.00 น.

งานเลี้ยงรับรอง ณ หอศิลปสนามจันทร

21 จุลสารสถาบันวิจยั และพัฒนา ปที่ 21 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มีนาคม 2555


การแสดงหนังตะลุง โดย บานหนังตะลุง สุชาติ ทรัพยสิน ศิลปนแหงชาติ จ.นครศรีธรรมราช ณ เวทีการแสดงหนาศูนยศิลปวัฒนธรรมฯ เวลา 19.00-21.00 น.

22 จุลสารสถาบันวิจยั และพัฒนา ปที่ 21 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มีนาคม 2555


วันพฤหัสบดีที่ 26 มกราคม 2555 เสวนาวิชาการ เรื่อง “ภูมิทัศนวัฒนธรรมที่หลากหลายของกลุมชาติพันธุในบริบทเอเชียตะวันออกเฉียงใต” เวลา 9.00-12.00 น. ณ หองประชุมชั้นบน ศูนยศิลปวัฒนธรรมฯ โดย คณาจารยจากคณะสถาปตยกรรมศาสตร มหาวิทยาลัยศิลปากร และคณะสถาปตยกรรมศาสตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร

การนําเสนอผลงานวิจัยภาคบรรยาย เวลา 13.00-16.30 น. ณ หองประชุมชั้น 1 หองประชุมชั้น M หอศิลปสนามจันทร

หองประชุมชั้น 1 ศูนยศิลปวัฒนธรรมฯ และเรือน 4

23 จุลสารสถาบันวิจยั และพัฒนา ปที่ 21 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มีนาคม 2555


วันศุกรที่ 27 มกราคม 2555 บรรยายพิเศษ เรื่อง “สมุนไพรไทยในเชิงธุรกิจ” เวลา 09.00-10.30 น. ณ หองประชุมชั้นบน ศูนยศิลปวัฒนธรรมฯ โดย รองศาสตราจารย สินธพ โฉมยา คณะเภสัชศาสตร มหาวิทยาลัยศิลปากร

บรรยายพิเศษ เรื่อง “ธุรกิจสปากับสมุนไพรไทย” เวลา 10.30-12.00 น. ณ หองประชุมชั้นบน ศูนยศิลปวัฒนธรรมฯ โดย อาจารยปทมล อินทสุวรรณ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร

24 จุลสารสถาบันวิจยั และพัฒนา ปที่ 21 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มีนาคม 2555


การนําเสนอผลงานวิจัยภาคบรรยาย เวลา 13.00-16.30 น. ณ หองประชุมชั้น 1 หองประชุมชั้น M หอศิลปสนามจันทร

หองประชุมชั้น 1 ศูนยศิลปวัฒนธรรมฯ และเรือน 4

การอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “การนวดไทยเพื่อสุขภาพ” เวลา 13.00-16.30 น. โดย วิทยาลัยชุมชนสมุทรสาคร ณ เรือน 3 ศูนยศิลปวัฒนธรรมฯ

25 จุลสารสถาบันวิจยั และพัฒนา ปที่ 21 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มีนาคม 2555


นิทรรศการผลงานวิจัยและสรางสรรค ณ หอศิลปสนามจันทร

การนําเสนอผลงานวิจัยและสรางสรรคภาคโปสเตอร ณ หอศิลปสนามจันทร

การแสดง Sound Installation

26 จุลสารสถาบันวิจยั และพัฒนา ปที่ 21 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มีนาคม 2555


เบื้องหลังความสําเร็จ

27 จุลสารสถาบันวิจยั และพัฒนา ปที่ 21 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มีนาคม 2555


เบื้องหลังความสําเร็จ

28 จุลสารสถาบันวิจยั และพัฒนา ปที่ 21 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มีนาคม 2555


สถาบันวิจยั และพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร พระราชวังสนามจันทร นครปฐม 73000 e-mail: research.inst54@gmail.com , http://www.surdi.su.ac.th โทรศัพท 0-3425-5808 โทรสาร 0-3421-9013


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.