จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา

Page 1

ยูหัวภูมิพลอดุลยเดช

3 ประสบการณการทําวิจัยและสรางสรรค

ของ อาจรย ดร.นันทนิตย วานิชาชีวะ คณะวิทยาศาสตร มหาวิทยาลัยศิลปากร

10 ปุยธาตุอาหารของพืชที่ชุมชนเขาใจ

14 การศึกษาสมบัติเชิงกลและสมบัติ การนําความรอนของวัสดุคอมพอสิต ระหวางผงขีเ้ ลื่อยไมกับพอลิคารบอเนต

20 ขาวสารความเคลื่อนไหว

ปณิธาน “ส่งเสริมการสร้าง และเผยแพร่องค์ความรู้” ทุกทานสามารถแสดงความคิดเห็นในการใหบริการของสถาบันวิจัยและพัฒนาได 4 ชองทาง คือ 1. โทรศัพท 034-255-808 2. โทรสาร 034-219-013 3. e-mail : research_inst@su.ac.th 4. กลองรับความคิดเห็นหนาหองระเบียงวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา


ที่ปรึกษา

บทบรรณาธิการ ฉบั บ นี้ ข อเริ่ ม ต้ น ด้ ว ยคอลั ม น์ เ ปิ ด โลกกว้ า งเรื่ อ ง “ประสบการณ์ ก ารทํ า วิ จั ย และสร้ า งสรรค์ ” ของ อาจารย์ ดร.นันทนิตย์ วานิชาชีวะ จากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัย ศิลปากร และจาก...ชุมชน ขอนําเสนอเรื่อง “ปุ๋ยธาตุอาหาร ของพื ช ที่ ชุ ม ชนเข้ า ใจ” โดย นายสุ พ รชั ย มั่ ง มีสิ ท ธิ์ นั ก วิ จั ย เชี่ ย วชาญจากสถาบั น วิ จั ย และพั ฒ นา มหาวิ ท ยาลั ย ศิ ล ปากร ส่วนงานวิจัยขอแนะนําผลงานวิจัยเรื่อง “การศึกษาสมบัติเชิงกล และสมบั ติ ก ารนํ า ความร้ อ นของวั ส ดุ ค อมพอสิ ต ระหว่ า งผง ขี้เ ลื่อยไม้กับพอลิคาร์บอเนต” ของ นายวิทวุธ วิม ลทรง นักศึกษาจากคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร พร้อมด้วยข่าวสารความเคลื่อนไหวของ สถาบันวิจัยและพัฒนา ขอเชิญท่านติดตามอ่านในเล่มนะคะ

สารบัญ ประสบการณ์การทําวิจัยและสร้างสรรค์ ของ อาจารย์ ดร.นันทนิตย์ วานิชาชีวะ

จาก...ชุมชน 10

ปุ๋ยธาตุอาหารของพืชที่ชุมชนเข้าใจ

ผลงานวิจัย 14

บรรณาธิการ นางอารีย์วรรณ นวมนาคะ

กองบรรณาธิการ นายสุพรชัย นางสาววัชรี นางสาวตปนีย์ นางศรีอัมพร

มั่งมีสิทธิ์ น้อยพิทักษ์ พรหมภัทร ปลั่งสุวรรณ

เผยแพรโดย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร พระราชวังสนามจันทร์ นครปฐม 73000 โทรศัพท์ 0-3425-5808, 0-3421-9013 โทรสาร 0-3421-9013 E-mail : research_inst@su.ac.th Website : http://www.surdi.su.ac.th

เปดโลกกวาง 3

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อริศร์ เทียนประเสริฐ ผู้อํานวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา

การศึกษาสมบัติเชิงกลและสมบัติการนําความร้อนของวัสดุ คอมพอสิตระหว่างผงขี้เลื่อยไม้กับพอลิคาร์บอเนต

ขาวสารความเคลือ่ นไหว 20 โครงการบรรยายพิเศษเรื่อง แนวทางพัฒนาการวิจัยภายใต้ กรอบยุทธศาสตร์การจัดการด้านอาหารฯ 21 โครงการจัดแสดงผลงานวิจัยสร้างสรรค์เพื่อก่อเกิด ประโยชน์ต่อสังคม 22 โครงการอบรมและระดมความคิดเรือ่ ง การวางแผน ยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติราชการสถาบันวิจัยฯ 22 โครงการวันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ Silpakorn KM DAY ครั้งที่ 1 23 โครงการแลกเปลีย่ นเรียนรูเ้ รื่อง การเขียนหนังสือราชการ 24 โครงการแลกเปลีย่ นเรียนรูเ้ รื่อง การบริหารพัสดุโครงการ 25 โครงการอบรมเรื่อง MS Word2007

วัตถุประสงค จุ ล ส า ร ส ถ า บั น วิ จั ย แ ล ะ พั ฒ น า เ ป็ น จุ ล ส า ร อิเล็กทรอนิกส์ (e-journal) ราย 3 เดือน/ฉบับ จัดทําขึ้นโดยมี วั ต ถุ ป ระสงค์ เ พื่ อ เผยแพร่ ข่ า วสาร กิ จ กรรมต่ า งๆ ของ สถาบั น วิ จั ย และพั ฒ นา ตลอดจนความรู้ จ ากบทความ วิ ช าการ และผลงานวิ จั ย ของบุ ค ลากรของมหาวิ ท ยาลั ย ศิลปากร สถาบันวิจัยและพัฒนายินดีเป็นสื่อกลางในการ เผยแพร่ผลงานวิจัย บทความทางวิชาการ และเกร็ดความรู้ ต่างๆ ของชาวศิลปากรทุกท่าน

จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา | ปที่ 21 ฉบับที่ 2 เดือนเมษายน-มิถุนายน 2555 2


เปดโลกกวาง

ของ อาจารย ดร.นันทนิตย วานิชาชีวะ คณะวิทยาศาสตร มหาวิทยาลัยศิลปากร สัมภาษณโดย อารียวรรณ นวมนาคะ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร

ประสบการณ์การทํางานวิจัยที่ผ่านมาและโครงการวิจัยที่ทําอยู่ในปัจจุบัน ที่ผ่านมาจะทําวิจัยเกีย่ วกับการออกแบบและสังเคราะห์สารประกอบเรืองแสงฟลูออเรสเซนต์เพื่อใช้ในการ ตรวจวัดไอออนชนิดต่างๆเพื่อประยุกต์ใช้ในทางการแพทย์ และ ทางสิ่งแวดล้อม และ ปัจจุบันได้เพิม่ งานวิจัยที่ เกี่ยวข้องกับการพัฒนาพลังงานและเทคโนโลยีขึ้น เช่น การออกแบบและสังเคราะห์สารเรืองแสงที่สามารถใช้ใน เทคโนโลยีจอภาพและใช้ในเซลล์สุริยะ โครงการวิจัยที่ทําอยู่ในปัจจุบัน ได้แก่ งานวิจัยเรื่อง “การออกแบบและสังเคราะห์ฟลูออโรไอโอโนฟอร์และ โครโมฟอร์เซ็นเซอร์ เพื่อใช้ในการตรวจวัดไอออนปรอทอย่างจําเพาะเจาะจงโดยตรวจวัดการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติ ทางแสง” “การพัฒนาตัวตรวจจับไอออนของโลหะด้วยนาโนเซนเซอร์เพื่อประยุกต์ใช้ในการแพทย์” “การ สังเคราะห์โลหะเซ็นเซอร์ชนิดใหม่โดยใช้ฟลูเรสซีนหรือโรดามีนฟลูออโรฟอร์” “สารประกอบอินทรีย์ที่มีคอนจูเกชัน สูงเพื่อประโยชน์ทางอิเล็กทรอนิกเชิงแสงและตัวเร่งปฏิกิริยาเชิงเคมีไฟฟ้า” ทุนวิจัยที่ได้รับและเทคนิคการหาทุนเพื่อใช้ในการสนับสนุนการทําวิจัย ทุนวิจัยที่ได้รับในปัจจุบันมี 4 ทุนวิจัย เป็นทุนนักวิจัยรุ่นใหม่จากสํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) 1 โครงการ จากสํานักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) 1 โครงการ จากทุนคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัย ศิลปากร 1 โครงการ และ จากมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ (NRU) 1 โครงการ ประสบการณ์การสร้างทีมวิจัย อาจารย์ พ ยายามสอนนั ก ศึ ก ษาเกี่ ย วกั บ วิ ธี ก ารทํ า วิ จั ย ในห้ อ งปฏิ บั ติ ก ารที่ ถู ก ต้ อ ง สอนให้ นั ก ศึ ก ษา รับผิดชอบ ขยัน ทํางานเป็นกลุ่มและช่วยเหลือกัน ให้นักศึกษารุ่นพี่ช่วยสอนรุ่นน้อง และนอกจากนี้อาจารย์จะสอน การนําเสนอผลงานวิจัยในที่ประชุมระดับชาติ และ นานาชาติ เพราะว่าอาจารย์รู้สึกว่านักศึกษาศิลปากรหลายๆคน ไม่ด้อยกว่านักศึกษาในมหาวิทยาลัยอื่นในด้านวิชาการ แต่มักจะด้อยกว่าในด้านการนําเสนอผลงาน และไม่กล้า

จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา | ปที่ 21 ฉบับที่ 2 เดือนเมษายน-มิถุนายน 2555 3


แสดงออก ตอนนี้นักศึกษาในกลุ่มหลายคน (5 คน) ได้รับรางวัล (7 รางวัล) จากการนําเสนอผลงานในงานประชุม นานาชาติในช่วงเวลา 3 ปีที่ผ่านมา ก็ยิ่งส่งเสริมให้นักศึกษารุ่นน้องๆ มีแรงบันดาลใจมากขึ้น คณะมีเวทีวิชาการเสนอผลงานวิจัยของคณาจารย์ในคณะหรือไม่อย่างไร คณะมีการจัดให้อาจารย์ที่ได้รับทุนวิจัยเสนอผลงานวิจัยในสัปดาห์วิทยาศาสตร์ค่ะ และ คณะสนับสนุนให้ ออกไปเสนอผลงานวิจัยในงานประชุมต่างๆ ภายนอกมหาวิทยาลัย การทํางานวิจัยแบบบูรณาการกับสาขาวิชาอื่นๆ ทั้งในมหาวิทยาลัยศิลปากร และหน่วยงานภายนอก (ที่ ผ่านมามีการดําเนินการหรือไม่ อนาคตมีความคิดเห็นอย่างไร) มีการดําเนินการค่ะ ทั้งหน่วยงานในมหาวิทยาลัย และ หน่วยงานภายนอก และ ต่างประเทศ เพราะว่าใน งานวิจัยหลายๆ งาน เราไม่มีเครื่องมือที่เหมาะสม และไม่ได้มีความถนัด รวมทั้งเรื่องของทุนวิจัยด้วยค่ะ วิจัยแบบบูรณาการกับหน่วยงานในมหาวิทยาลัย ร่วมวิจัยกับภาควิชาฟิสิกส์ โดยเป็นหัวหน้าโครงการย่อย ในโครงการวิจัยหลัก เรื่อง “การพัฒนาตัวตรวจจับ ไอออนของโลหะด้วยนาโนเซนเซอร์เพื่อประยุกต์ใช้ในการแพทย์” แหล่งทุน สํานักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) วิจัยแบบบูรณาการกับหน่วยงานภายนอก (ในประเทศไทย) เป็ น ผู้ ร่ ว มวิ จั ย กั บ อาจารย์ ใ นคณะวิ ท ยาศาสตร์ จุ ฬ าลงกรณ์ ม หาวิ ท ยาลั ย ในโครงการวิ จั ย เรื่ อ ง “สารประกอบอินทรีย์ที่มีคอนจูเกชันสูงเพื่อประโยชน์ทางอิเล็กทรอนิกเชิงแสงและตัวเร่งปฏิกิริยาเชิงเคมีไฟฟ้า” แหล่งทุน มหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ (NRU) วิจัยแบบบูรณาการกับหน่วยงานภายนอก (ต่างประเทศ) Lab Prof. Masayuki Yamaguchi, School of Materials Science, Japan Advanced Institute of Science and Technology, Japan ร่วมทําวิจัยในเรื่องการทํา nanoparticle เพื่อใช้เป็นตัวดูดซับไอออนโลหะหนักที่มีความจําเพาะ เจาะจงสูง Lab Prof. Hideyuki Murata, School of Materials Science, Japan Advanced Institute of Science and Technology, Japan ร่วมทําวิจัยในเรื่องการ fabrication สารเรืองแสงฟลูออเรสเซนต์เพื่อใช้เป็นอุปกรณ์ขนาดเล็กใน เทคโนโลยีจอภาพ Lab Prof. T. Randall Lee Department of Chemistry, University of Houston, Texas, USA ร่วมทําวิจัยใน เรื่องการสังเคราะห์สารเรืองแสงฟลูออเรสเซนต์ชนิดใหม่เพื่อใช้ในเทคโนโลยีจอภาพ ในการนี้นักศึกษาปริญญาโทจะ ไปทําวิจัยระยะสั้นที่ University of Houston เป็นระยะเวลา 6 เดือน (ก.ค. 2555 – ธ.ค. 2555) อนาคตมีแผนจะร่วมงานกับ Prof. Kevin Burgess (Texas A&M University) เรื่องการพัฒนาสารเรืองแสง ฟลูออเรสเซนต์ชนิดใหม่เพื่อใช้ในทางการแพทย์และการติดตาม และ บําบัดโรคมะเร็ง

จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา | ปที่ 21 ฉบับที่ 2 เดือนเมษายน-มิถุนายน 2555 4


ความคาดหวังต่อการส่งเสริมและสนับสนุนการทํางานวิจัย จากมหาวิทยาลัยศิลปากร อาจารย์ได้รับการสนับสนุนให้ทุนทํางานวิจัยจากภาควิชาเคมี และทางคณะวิทยาศาสตร์ค่ะ และเคยได้รับ ทุนเพื่อไปเสนอผลงานที่ญี่ปุ่นจากมหาวิทยาลัยค่ะ ส่วนตัวคิดว่าคณะวิทยาศาสตร์ และ มหาวิทยาลัยก็สนับสนุน การทํางานวิจัยและสนับสนุนการไปเสนอผลงานวิจัยนะคะ และคิดว่าเราก็ต้องพยายามเพื่อมหาวิทยาลัยเหมือนกัน ค่ะ

ประวัติและผลงาน

อาจารย์ ดร. นันทนิตย์ วานิชาชีวะ สถานที่ทํางาน ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร อ.เมือง จ.นครปฐม e-mail : wanichacheva.nantanit@gmail.com อาจารย์

ตําแหน่ง ประวัติการศึกษา คุณวุฒิ Doctor of Philosophy (Chemistry) วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (เคมีอินทรีย์) วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สหสาขาวิชาวิทยาศาสตรสภาวะแวดล้อม) วิทยาศาสตรบัณฑิต

ปี พ.ศ. ที่จบ 2550 2544 2541

ชื่อสถานศึกษา และ ประเทศ Worcester Polytechnic Institute USA จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประเทศไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประเทศไทย

2536

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ประเทศไทย

ผลงาน และรางวัล บทความทางวิชาการที่ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการในระดับนานาชาติ 1. Wanichacheva, N., Setthakarn, K., Prapawattanapol, N., Hanmeng, O., Lee, V. S., Grudpan, K. Rhodamine Bbased “turn-on” fluorescent and colorimetric chemosensor for highly sensitive and selective detection of mercury (II) ions Journal of Luminescence (2012), 132: 35-40. 2. Wanichacheva, N., Kumsorn, P., Sangsuwan, R., Kamkaew, A., Lee, V.S., Grudpan, K. A new fluorescent sensor bearing three dansyl fluorophores for highly sensitive and selective detection of mercury (II) ions Tetrahedron Letters (2011), 52: 6133–6136. 3. Wanichacheva, N., Kamkaew, A., Watpathomsub, S., Vannajan, S. L., Grudpan, K. 2-[3-(2- Aminoethyl thio)propylthio]ethanamine bearing Dansyl Subunits: An Efficient, Simple and Rapid Fluorometric Sensor for the Detection of Mercury (II) Ions. Chemistry Letters (2010), 10: 1099-1101.

จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา | ปที่ 21 ฉบับที่ 2 เดือนเมษายน-มิถุนายน 2555 5


4. Wanichacheva, N., Watpathomsub, S., Vannajan, S. L., Grudpan, K. Synthesis of a Novel Fluorescent Sensor Bearing Dansyl Fluorophores for the Highly Selective Detection of Mercury (II) Ions. Molecules (2010), 15: 1798-1810. 5. Wanichacheva, N., Siriprumpoonthum, M., Kamkaew, A., Grudpan, K. Dual Optical Detection of a Novel Selective Mercury Sensor Based on 7-Nitrobenzo-2-oxa-1,3-diazolyl Subunits. Tetrahedron Letters (2009), 50, 1783-1786. 6. Driscoll, P. F., Purohit, N., Wanichacheva, N., Lambert, C. R., McGimpsey, W. G. Reversible Photoswitchable Wettability in Noncovalently Assembled Multilayered Films. Langmuir (2007) 23 (26): 13181–13187. 7. Wanichacheva, N., Soto, E. R., Lambert, C. R., McGimpsey, W. G. Surface-Based Lithium Ion Sensor: An Electrode Derivatized with a Self-Assembled Monolayer. Analytical Chemistry (2006), 78(20), 7132-7137. 8. Wanichacheva, N., Benco, J. S., Lambert, C. R., McGimpsey, W. G. A highly Selective Bicyclic Fluoroionophore for the Detection of Lithium Ions. Photochemistry and Photobiology (2006), 82(3), 829-834. 9. Wanichacheva, N., Miyagawa, Y., Ogura, H. Polymerization of UDMA using Zinc Particles and 4-META with and without BPO. Dental Materials Journal (2000), 19(2), 173-185. ผลงานนําเสนอในที่ประชุมทางวิชาการระดับนานาชาติ 1. Wanichacheva, N., Yavuz, S., Benco, J. S., McGimpsey, W. G. Novel Fluoroionophore for Detection of Ammonium ions. 228th ACS National Meeting, Philadelphia, PA, United States, August 22-26, 2004, ANYL-116. 2. Wanichacheva, N., Soto, E., McGimpsey, W. G. Selective Detection of Lithium Ions by Electrochemical and Optical Methods. Pacifichem 2005, Honolulu, HI, December 15-20, 2005, ANYL-960 3. Purohit, N., Wanichacheva, N., McGimpsey, W. G. Noncovalent Assembly of Reversible Photoswitchable Surfaces. Pacifichem 2005, Honolulu, HI, December 15-20, 2005. 4. Wanichacheva, N., Strecker, S. E., Soto, E., Lambert, C. R., McGimpsey, W. G. A Surface-based Ammonium Ion Sensor: An Electrode Derivatized with a Self-Assembled Monolayer. 232nd ACS National Meeting, San Francisco, CA, USA, Sept. 10-14, 2006, ANYL-110. 5. Wanichacheva, N., Lambert, C. R., McGimpsey, W. G. Design and Synthesis of Fluoroionophores and Surface-based Sensors for the Detection of Lithium and Ammonium Ions. 4th International Symposium on Advanced Materials in Asia-Pacific Rim, Niigata, Japan, July 13-15, 2007. 6. Siriprumpoonthum, M., Sangsuwan, R., Teerasarunyanon, R., Kamkaew, A., Sanghiran L.V., Grudpan, K. Wanichacheva, N., Novel Selective Mercury Sensors based on 7-Nitrobenzo-2-oxa-1,3-diazolyl subunit(s): Efficient and Simple Colorimetric and Fluorometric Chemosensors. 6th International Symposium on Advanced Materials in AsiaPacific Rim, Chulalongkorn University, Bangkok, Thailand, November 21-23, 2009. 7. Sangsuwan, R., Teerasarun-yanon, R., Siriprumpoonthum, M., Sanghiran L.V., Grudpan, K., Wanichacheva, N. 2(4-(2-Aminoethylthio)butylthio)ethanamine bearing 7-Nitro-2-oxa-1,3-diazolyl Units: Efficient and Simple Colorimetric and Fluorometric Sensor for Mercury(II) Ions 6th International Symposium on Advanced Materials in AsiaPacific Rim, Chulalongkorn University, Bangkok, Thailand, November 21-23, 2009. 8. Watpathomsub, S., Sanghiran L.V., Grudpan, K., Wanichacheva, N. A New Fluorescent Sensor bearing Dansyl Fluorophores for Highly Selective Detection of Mercury(II) ions. 6th International Symposium on Advanced Materials in Asia-Pacific Rim, Chulalongkorn University, Bangkok, Thailand, November 21-23, 2009.

จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา | ปที่ 21 ฉบับที่ 2 เดือนเมษายน-มิถุนายน 2555 6


9. Wanichacheva, N., Siriprumpoonthum, M., Kamkaew, A., Sangsuwan, R., Teerasarun-yanon, R., Grudpan, K. Novel Selective Mercury Sensors Based on 7-Nitrobenzo-2-oxa-1,3-diazolyl Subunit(s): Efficient and Simple Colorimetric and Fluorometric Chemosensors. 240th ACS National Meeting, Boston, MA, USA, August 22-26, 2010, ANYL-28 10. Wanichacheva, N., Kamkaew, A., Watpathomsub, S., Lee, V. S., Grudpan, K. New Fluorescent Sensors bearing Two Dansyl Fluorophores for Highly Selective Detection of Mercury (II) ions. 240th ACS National Meeting, Boston, MA, USA, August 22-26, 2010, ANYL-223 11. Wanichacheva, N., Setthakarn, K., Prapawattanapol, N., Grudpan, K. Rhodamine-based Fluorescent and Colorimetric Chemosensors for the Selective and Rapid Detection of Mercury(II) Ions. 7th International Symposium on Advanced Materials in Asia-Pacific Rim, Ishikawa, JAPAN, September 30 – October 1, 2010. 12. Watpathomsub, S., Kamkaew, A., Grudpan, K., Wanichacheva, N. New Fluorescent Sensors bearing Two Dansyl Fluorophores for Highly Selective Detection of Mercury (II) Ions. 7th International Symposium on Advanced Materials in Asia-Pacific Rim, Ishikawa, JAPAN, September 30 – October 1, 2010. 13. Watpathomsub, S., Kamkaew, A., Wechapat, N., Lee, V. S., Grudpan, K., Wanichacheva, N. Development of sensitive and selective Hg2+-sensors based on dansyl fluorophore. Pure and Applied Chemistry Conference (PACCON), Bangkok, Thailand. January 5 – 7, 2011. 14. Jiraratnachai, L., Hanmeng, O., Wainiphithapong, C., Grudpan, K., Wanichacheva, N. Synthesis of 2,3diphenylmaleic anhydride derivative and its efficiency in OFF-ON fluorometric sensing of Hg(II) ions. Pure and Applied Chemistry Conference (PACCON), Bangkok, Thailand. January 5 – 7, 2011. 15. Setthakarn, K., Siriprumpoonthum, M., Lee, V. S., Grudpan, K., Wanichacheva, N. A novel fluoroionophore based on pyrene subunits for highly selective and sensitive detection of Cu2+ ions. Pure and Applied Chemistry Conference (PACCON), Bangkok, Thailand. January 5 – 7, 2011. 16. Prapawattanapol, N., Wanichacheva, N., Petsom, A. Optical mercury sensing using naphthalimide fluorophores. Pure and Applied Chemistry Conference (PACCON), Bangkok, Thailand. January 5 – 7, 2011. 17. Wanichacheva, N., Siriprumpoonthum, M., Kamkaew, A., Setthakarn, K., Lee, V. S., Grudpan, K., Highly sensitive and selective fluorescent mercury sensors: Recent developments based on 2-(3-(2aminoethylsulfanyl)propylsulfanyl)ethanamine acyclic ionophore. 14th Asian Chemical Congress, Bangkok, Thailand, 5-8 September 2011. 18. Setthakarn, K., Prapawattanapol, N., Hanmeng, O., Lee, V. S., Grudpan, K., Wanichacheva, N. Synthesis of rhodamine derivatives as highly selective and sensitive mercury fluorescent chemosensors. 14th Asian Chemical Congress, Bangkok, Thailand, 5-8 September 2011. 19. Hanmeng, O., Wainiphithapong, C., Grudpan, K., Wanichacheva, N. Diphenylmaleic anhydride derivative and its efficiency in OFF-ON Hg2+ fluorometric sensing. 14th Asian Chemical Congress, Bangkok, Thailand, 5-8 September 2011. 20. Watpathomsub, S., Kamkaew, A., Grudpan, K., Wanichacheva, N. New highly sensitive and selective fluorescent sensors bearing two dansyl fluorophores for detection of mercury (II) ions. 14th Asian Chemical Congress, Bangkok, Thailand, 5-8 September 2011.

จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา | ปที่ 21 ฉบับที่ 2 เดือนเมษายน-มิถุนายน 2555 7


21. Puangsamlee, T., Tachapermpon, Y., Grudpan, K., Wanichacheva, N. 2-[4-(2-Aminoethylsulfanyl)butyl sulfanyl]ethanamine bearing pyrenylacetamide subunits for the detection of mercury (II) ions. 14th Asian Chemical Congress, Bangkok, Thailand, 5-8 September 2011. 22. Prapawattanapol, N., Wanichacheva, N., Petsom, A. Hg(II)- selective fluoroionophoric behaviors of a 2-(3-(2aminoethylsulfanyl)propylsulfanyl)ethanamine bearing a naphthalimide fluorophore. Proceeding of 14th Asian Chemical Congress, Bangkok, Thailand, 5-8 September 2011. 23. Puangsamlee, T., Hanmeng, O., Kamkaew, A., Wanichacheva, N. Highly sensitive interfacial fluorescence sensing of mercury (II) ions based on self-assembled monolayer. Pure and Applied Chemistry Conference (PACCON), Chaingmai, Thailand. January 9 – 11, 2012. บทความวิชาการในระดับชาติ นันทนิตย์ วานิชาชีวะ. “การออกแบบเซ็นเซอร์เพื่อใช้ตรวจวัดไอออนโลหะเชิงคุณภาพและปริมาณวิเคราะห์ด้วยเทคนิคฟลูออเรส เซนซ์สเปกโทรสโกปี.” วารสารวิทยาศาสตร์ มศว ปีที่ 27, ฉบับที่ 1 (มิถุนายน 2555): หน้า 241-263. การจดสิทธิบัตร McGimpsey, W. Grant; Wanichacheva, Nantanit; Lambert, Christopher R. “A Surface-based Ammonium Ion Sensor: An Electrode Derivatized with a Self-Assembled Monolayer of Hexanedacanethiol-Containing Cyclic Peptide.” U.S. PCT Int. Appl. US 2008031091, 2008. รางวัล IUPAC Young Chemist Awards จากการเสนอผลงานเรื่อง “Highly sensitive and selective fluorescent mercury sensors: Recent developments based on 2-(3-(2-aminoethylsulfanyl)propylsulfanyl)ethanamine acyclic ionophore”. งานประชุม 14th Asian Chemical Congress, Bangkok, Thailand, 5-8 September 2011. นักศึกษาที่ร่วมงานวิจัยได้รับรางวัล The Best Poster Awards : Watpathomsub, S., Kamkaew, A., Grudpan, K., Wanichacheva, N. New Fluorescent Sensors bearing Two Dansyl Fluorophores for Highly Selective Detection of Mercury (II) Ions. 7th International Symposium on Advanced Materials in Asia-Pacific Rim, Ishikawa, JAPAN, September 30 – October 1, 2010. Bangkok Bank young Chemist Awards: 1. Setthakarn, K., Prapawattanapol, N., Hanmeng, O., Lee, V. S., Grudpan, K., Wanichacheva, N. Synthesis of rhodamine derivatives as highly selective and sensitive mercury fluorescent chemosensors. 14th Asian Chemical Congress, Bangkok, Thailand, 5-8 September 2011. 2. Hanmeng, O., Wainiphithapong, C., Grudpan, K., Wanichacheva, N. Diphenylmaleic anhydride derivative and its efficiency in OFF-ON Hg2+ fluorometric sensing. 14th Asian Chemical Congress, Bangkok, Thailand, 5-8 September 2011. 3. Watpathomsub, S., Kamkaew, A., Grudpan, K., Wanichacheva, N. New highly sensitive and selective fluorescent sensors bearing two dansyl fluorophores for detection of mercury (II) ions. 14th Asian Chemical Congress, Bangkok, Thailand, 5-8 September 2011. จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา | ปที่ 21 ฉบับที่ 2 เดือนเมษายน-มิถุนายน 2555 8


4. Puangsamlee, T., Tachapermpon, Y., Grudpan, K., Wanichacheva, N. 2-[4-(2-Aminoethylsulfanyl)butyl sulfanyl]ethanamine bearing pyrenylacetamide subunits for the detection of mercury (II) ions. 14th Asian Chemical Congress, Bangkok, Thailand, 5-8 September 2011. 5. Prapawattanapol, N., Wanichacheva, N., Petsom, A. Hg(II)- selective fluoroionophoric behaviors of a 2-(3(2-aminoethylsulfanyl)propylsulfanyl)ethanamine bearing a naphthalimide fluorophore. Proceeding of 14th Asian Chemical Congress, Bangkok, Thailand, 5-8 September 2011. The Best Presentation Awards: Puangsamlee, T., Hanmeng, O., Kamkaew, A., Wanichacheva, N. Highly sensitive interfacial fluorescence sensing of mercury (II) ions based on self-assembled monolayer. Pure and Applied Chemistry Conference (PACCON), Chaingmai, Thailand. January 11 – 13, 2012.

จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา | ปที่ 21 ฉบับที่ 2 เดือนเมษายน-มิถุนายน 2555 9


จาก...ชุมชน

สุพรชัย มั ่งมีสทิ ธิ์ นักวิจยั เชีย่ วชาญ สถาบันวิจยั และพัฒนา

ช่วงก่อนสงกรานต์ผมมีโอกาสไปพูดคุยกับพี่ น้ องเกษตรกรในจัง หวั ด เพชรบุ รี ที่เ ข้ า รั บ การอบรม ตามหลักสูตรแบ่งปันฉันพี่น้อง ณ ศูนย์ปราชญ์ชาวบ้าน บ้านดอนผิงแดด ตําบลบางขุนไทร อําเภอบ้านแหลม จั ง หวั ด เพชรบุ รี ในฐานะวิ ท ยากรเกี่ ย วกั บ พลั ง งาน ทางเลือกกับแนวทางพอเพียงของชุมชน ศูนย์ฯแห่งนี้ ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากสํานักงานเกษตรและ สหกรณ์จังหวัดเพชรบุรี ในการถ่ายทอดประสบการณ์ การทํ า เกษตรแบบธรรมชาติ แ ละการใช้ พ ลั ง งาน ทดแทน มีเกษตรกรเข้ารับการอบรม ๓ รุ่น รวมทั้งสิ้น ๑๕๐ คน มาจากอํ า เภอต่ า งๆ ของจั ง หวั ด เพชรบุ รี ประจวบคีรีขันธ์ และราชบุรี ช่วงเวลาที่ผมไปร่วม แลกเปลี่ ย นกั บ ชุ ม ชนนั้ น เรื่ อ งหนึ่ ง ที่ พี่ น้ อ งเกษตรกร มักจะพูดหรือซักถามเกี่ยวกับปุ๋ยเคมีที่เขาใช้ในการทํา นานั้น มันเป็นสารพิษเป็นสิ่งที่ต้องห้ามหรือ แล้วทําไม จึง มีจําหน่ายตามร้านขายเคมีการเกษตรต่างๆ ด้ วย

หากเป็นสารพิษต้องห้ามการซื้อขาย หรือรัฐบาลควร หาวิธีการกําจัดออกไปจากการทําเกษตรของประเทศ

ซิ แ ต่ เ หตุ ไ ฉนในปั จ จุ บั น ก็ ยั ง มี จํ า หน่ า ยในท้ อ งตลาด สารพัดยี่ห้อและราคาแพงด้วย ซึ่งในสภาพความจริง ก็ เ ป็ น เช่ น นั้ น จริ ง ๆ ผมจึ ง ได้ เ สาะหาข้ อ มูลจากแหล่ ง ต่างๆ เพื่อทํ าความเข้ าใจแล้ วนํา ไปแลกเปลี่ย นกับ พี่ น้องเกษตรกรที่เข้ารับการอบรมในหลักสูตรดังกล่าว ตั้งแต่ปี ๒๕๕๓ เป็นต้นมา ความจริงของปุ๋ย ปุ๋ยในภาษาไทย สันนิษฐานจากการออกเสียง และความหมายได้ว่า มาจากภาษาจีนแต้จิ๋วที่ออกเสียง ว่า “ปุ๊ย” หรือ “เฝย” (fei) ในภาษาจีนกลาง ซึ่งสองคํา นี้ มี ค วามหมายว่ า อ้ วนพี หรื อดิ น ที่ อุดมสมบูร ณ์ ด้ ว ย สารอาหาร หรือสารอาหารของพืช นอกจากนี้การที่ คนจีนได้นําความรู้เรื่องการทําสวนแบบยกร่อง การ บํ า รุ ง ดิ น ในสวนผั ก ด้ ว ยมู ล สั ต ว์ แ ละสิ่ ง ขั บ ถ่ า ยของ มนุ ษ ย์ ที่ แ ปรรู ป แล้ ว เข้ า มาในสั ง คมไทยทั้ ง เรี ย กสาร บํารุงดินประเภทนี้ว่า “ปุ๋ย” คนไทยในสมัยนั้นจึงได้รับ

จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา | ปที่ 21 ฉบับที่ 2 เดือนเมษายน-มิถุนายน 2555 10


เอาวิ ธี ก ารเกษตรดั ง กล่ า วมาใช้ หากพิ จ ารณา ค ว า ม ห ม า ย ข อ ง ปุ๋ ย ที่ ใ ช้ กั น อ ยู่ ซึ่ ง มี ที่ ม า จ า ก ภาษาอังกฤษ คือ Manure ซึ่งเป็นคําเก่า แปลว่า ปุ๋ย และคํ า ว่ า Fertilizer ซึ่ ง เป็ น คํ าใหม่ แปลว่ า ปุ๋ย เช่ น เดี ย วกั น โดยสรุ ป แล้ ว ปุ๋ ย คื อ สารอนิ น ทรี ย์ ห รื อ สารอิ น ทรี ย์ ซึ่ ง มี ธ าตุ อ าหารที่ เ ป็ น ประโยชน์ ต่ อ พื ช สารนี้จะมาจากธรรมชาติหรือเป็นสารสังเคราะห์ก็ได้ ในพระราชบัญญัติป๋ยุ พ.ศ. ๒๕๑๘ ได้จําแนกปุ๋ยไว้ ๒ ป ร ะ เ ภ ท คื อ ปุ๋ ย เ ค มี แ ล ะ ปุ๋ ย อิ น ท รี ย์ แ ล ะ ใ น พ ร ะ ร า ช บั ญ ญั ติ ปุ๋ ย (ฉ บั บ ที่ ๒ ) พ .ศ . ๒ ๕ ๕ ๐ ครอบคลุมถึงปุ๋ยชีวภาพด้วย ประเภทของปุ๋ยจําแนกตามชนิดของสารประกอบ แบ่งออกเป็น ๓ ประเภท คือ ๑.ปุ๋ยเคมี หมายถึง ปุ๋ยที่เป็นสารอนินทรีย์หรือ สารอินทรีย์สังเคราะห์ รวมถึงปุ๋ยเชิงเดี่ยว ปุ๋ยเชิงผสม ปุ๋ยเชิงประกอบ และปุ๋ยอินทรีย์เคมี แต่ไม่รวมปูนขาว ดินมาร์ล ปูนปลาสเตอร์ ยิปซัม และโดโลไมต์ ๒ . ปุ๋ ย อิ น ท รี ย์ ห ม า ย ถึ ง ปุ๋ ย ที่ ผ ลิ ต จ า ก อินทรียวัตถุโดยกรรมวิธีทําให้ชื้น สับ บด หมัก ร่อน หรือวิธีอื่นมี ๓ ชนิดคือ ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก และปุ๋ยพืชสด ๓.ปุ๋ ย ชี ว ภาพ หมายถึ ง ปุ๋ ย ที่ ไ ด้ จ ากการนํ า จุลินทรีย์ที่มีชีวิตมาใช้เพื่อเพิ่มปริมาณธาตุอาหารหรือ เพิ่มความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหารในดิน ปุ๋ยเคมีเป็นสารพิษ? ปั จ จุ บั น คนไทยจํ า นวนไม่ น้ อ ยมี ค วามกั ง วล เกี่ยวกับผลตกค้างของสารกําจัดศัตรูพืชในผลผลิตพืช ที่ นํ า ม า บ ริ โ ภ ค จึ ง ใ ห้ ก า ร ต้ อ น รั บ ผ ล ผ ลิ ต ที่ มี เครื่ อ งหมายรั บ รองว่ า “ปลอดสารพิ ษ ” กั น อย่ า ง กว้างขวาง และเป็นสถานการณ์ที่ถูกต้องแล้วหากผู้ที่ เกี่ยวข้องดําเนินการอย่างจริงจัง ย้อนกลับไปที่คําถาม จากพี่ น้ อ งเกษตรซั ก ถามผมมาว่ า ปุ๋ ย เคมี มั น เป็ น สารพิษหรือก็ต้องทําความเข้าใจกันดังนี้คือ วัสดุเคมีการเกษตรแบ่งออกเป็น ๔ กลุ่ม ดังนี้

๑.สารกําจัดศัตรูพืชและแมลง (pesticide) ๒.สารควบคุมการเจริญของพืช (plant growth regulators)

๓.สารกําจัดวัชพืช (herbicide) ๔.ปุ๋ย (fertilizers) ใน ๓ กลุ่ม แรกแน่ น อนเป็น สารพิ ษ ต่ อ มนุษ ย์ สัตว์ และพืชบางชนิด หากใช้ไม่ถูกต้องเหมาะสมแล้ว อาจตกค้างในผลผลิตซึ่งจะก่อให้เกิดโทษแก่ผ้บู ริโภคได้ แต่ในกลุ่มที่ ๔ คือ ปุ๋ยนั้น ขอทําความเข้าใจดังนี้ ๑.ปุ๋ยเคมีเป็นแหล่งธาตุอาหารของพืชมิใช่ สารพิษ ๒.และธาตุ อ าหารจากปุ๋ ย เคมี ที่ พื ช ดู ด ไปใช้ ประโยชน์ เป็นแบบเดียวกันกับที่มาจากปุ๋ยอินทรีย์ เพียงแต่ป๋ยุ เคมีให้ธาตุอาหารรวดเร็ว เนื่องจากมีสภาพ ละลายน้ํา ได้ สูง และมาจากกระบวนสั ง เคราะห์ ท าง วิทยาศาสตร์ ซึ่งขณะเดียวกันในธรรมชาติป่าเขาที่มี ความอุดมสมบูรณ์ กระบวนการหมักและย่อยสลาย ด้วยจุลินทรีย์ที่มีอยู่ตามธรรมชาติก็จะผลิตธาตุอาหาร เช่ น เดี ย วกั บ ปุ๋ ย เคมี ดั ง นั้ น ต้ น ไม้ พื ช ผลต่ า งๆ ในป่ า ธรรมชาติจึงงอกงามให้ผลผลิตสูง เมื่อข้อมูลเกี่ยวกับ ปุ๋ยเคมีเป็นดังนี้แล้ว ท่านยังคิดว่าปุ๋ยเคมีเป็นสารพิษ หรือไม่

จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา | ปที่ 21 ฉบับที่ 2 เดือนเมษายน-มิถุนายน 2555 11


วัตถุประสงค์หลักในการใช้ปุ๋ยเคมี ๑. เสริมธาตุอาหารที่ดินขาดแคลนให้เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของพืช (corrective application) หรือเพิ่มเติมธาตุอาหารที่ลดลงเนื่องจากสูญเสียไปในช่วงการปลูกพืช (maintenance application) ๒. ให้ได้ผลผลิตสูงและคุณภาพดีรวมถึงมีผลตอบแทนสูง ๓. คงระดับความอุดมสมบูรณ์ของดินไว้ได้อย่างยั่งยืน เปรียบจุดเด่นจุดด้อยระหว่างปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์ ลักษณะที่มี ธาตุอาหารทั้งหมด ธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรอง ธาตุอาหารเสริม อินทรีย์วัตถุ Organic Matter (OM) ฮิวมัส Humus การปลดปล่อยธาตุอาหาร การละลายของปุ๋ย ระยะเวลาที่ปุ๋ยอยู่ในดิน โอกาสที่ธาตุอาหารจะสูญเสียในอากาศ การให้ผลผลิตในระยะสั้น การให้ผลผลิตในระยะยาว ผลต่อคุณสมบัติทางเคมีของดิน ช่วยปรับสภาพความเป็นกรด-ด่าง ผลต่อคุณสมบัติกายภาพของดิน สภาพเมื่อดินแห้ง สภาพเมื่อดินเปียก การอุ้มน้ําของดิน การไหลซึมน้ําของดิน การถ่ายเทอากาศ การปรับปรุงดินในระยะยาว ผลต่อคุณสมบัติทางชีวภาพของดิน การต้านทานโรคพืช การสร้างอาหารของจุลินทรีย์ การใช้งาน ใช้กับเครื่องพ่นปุ๋ย ธาตุโลหะหนัก หรือสารพิษในปุ๋ย เชื้อโรค หรือ โรคในพืช

ปุ๋ยเคมี ไม่มี มี ไม่มี ไม่มี ไม่มี ไม่มี เร็ว เร็วมาก ไม่นาน มาก สูง ให้ผลผลิตต่ําลง มีผลเสีย แย่ลง แย่ลง ก้อนแข็ง เหนียว ไม่ดี ไม่ดี ไม่ดี แย่ลง จุลินทรีย์น้อยลง ไม่ต้านทาน ไม่มี ง่าย ใช้ได้ ไม่มี ไม่มี

ปุ๋ยอินทรีย์ มี มีน้อยมาก มี มี มี มี ช้า ช้ามาก นาน น้อย ต่ํา มากขึ้นแต่ยังต่ํา ไม่มีผลเสีย ดีขึ้น ดีขึ้น ร่วนซุย นุ่ม ดีมาก ดีมาก ดีมาก ดีขึ้น จุลินทรีย์มากขึ้น ต้านทาน มี ง่าย,ยาก ใช้ได้/ไม่ได้ อาจมี อาจมี

จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา | ปที่ 21 ฉบับที่ 2 เดือนเมษายน-มิถุนายน 2555 12


จุดเด่นของปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ ในหลักสูตรการอบรม ๒ คืน ๓ วัน ก็จะมีเรื่องปุ๋ยหมักชีวภาพที่ผู้เข้าอบรมจะต้องเรียนรู้ท้ังทฤษฎีและ ปฏิ บั ติ ก็ เ กิ ด คํ า ถามว่ า แล้ ว มั น จะได้ ผ ลจริ ง หรื อ วิ ท ยากรชาวนาที่ สั่ ง สม ประสบการณ์การทํานาแบบชีวภาพได้นําเสนอข้อมูลต่างๆ แบบเพื่อนช่วยเพื่อน ทําให้การอบรมมีความสนุกสนาน เป็นบรรยากาศที่เป็นกันเองต่างจากการอบรม ที่ผมได้ประสบมา นําทั้งภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหวที่ผมได้บันทึกไว้ในช่วงที่ผม ทํางานวิจัยกับชาวบ้านมาอวดพี่น้องที่เข้ารับการอบรม ว่ามันมีทางเป็นไปได้และ ไม่เกิดผลเสีย แต่เกิดผลดีคือต้นทุนทํานาลดลง สภาพแวดล้อม ดินน้ํา กุ้ง หอยปู ปลากลับมาอีกครั้งหนึ่ง เป็นแหล่งอาหารในช่วงทํานาได้เป็นอย่างดี ซึ่งจุดแข็ง ของปุ๋ยหมักชีวภาพหรือปุ๋ยอินทรีย์ ดังตารางที่ผมนํามาเปรียบเทียบให้เห็น แต่ โดยสรุปแล้วชุมชนสามารถพึงพาตนเองได้ในระยะยาวดังคําที่ว่า “ทําเพื่อไม่ทํา” แปลความได้ว่าในระยะแรกก็ต้องเหนื่อยต้องหนักกว่าปุ๋ยเคมีแน่ เพราะจุดด้อย ของปุ๋ยหมักอินทรีย์ชีวภาพคือ ธาตุอาหารหลักมีน้อยกว่าปุ๋ยเคมี แต่ในระยะยาวเมื่อดินมีความสมบูรณ์มากขึ้น ทั้งด้านกายภาพ ด้านเคมี แล้ว การใช้ปุ๋ยก็จะน้อยลง ต่างจากปุ๋ยเคมีที่ต้องใช้เพิ่มขึ้นทุกปี ราคาก็สูงขึ้นเช่นกัน และภาระหนี้สินก็จะเพิ่มทวีคูณจนพี่น้องแบกรับแทบไม่ไหว ใช้แบบผสมผสาน “ใช้ปนกันได้ไหมครับระหว่างปุ๋ยเคมีกับปุ๋ยหมักชีวภาพ” ผู้เข้าอบรมยกมือขึ้นถามในช่วงที่ผมกําลังสรุป ประเด็นที่วิทยากรได้พูดเรื่องปุ๋ยหมักชีวภาพและผมอธิบายให้ข้อมูลเกี่ยวกับปุ๋ยเคมีเพิ่มเติม ผมดีใจมากที่ผู้เข้า อบรมชวนคุยแบบนี้แสดงว่าเขาเกิดความเข้าใจเรื่องราวต่างๆ ที่นําเสนอเกี่ยวกับการทําเกษตรแบบธรรมชาติ และสมบัติบางด้านของปุ๋ยเคมี หากพี่น้องเกษตรกรทั่วประเทศได้มีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เช่นนี้ ก็จะเกิดแนว ทางการประยุกต์ใช้ปัจจัยการผลิตคือปุ๋ยได้อย่างมีประสิทธิภาพ และปัญหาใหญ่ของพี่น้องเกษตรกรคือหนี้สินก็ จะค่อยๆ บรรเทาเบาบางลงอย่างแน่นอน หากเขามีความรู้ความเข้าใจแนวทางการใช้ปุ๋ยที่ถูกต้อง ซึ่งมาจาก การได้ข้อมูลอย่างรอบด้านครบถ้วนว่า ปุ๋ยเคมีมีหน้าที่และดีอย่างไร ผลเสียอย่างไร ปุ๋ยหมักชีวภาพที่ภาครัฐมุ่ง ส่งเสริมมีจุดดีจุดด้อยอย่างไร สามารถใช้ร่วมกันได้อย่างไร และมีสูตรการทําอย่างไร หากสิ่งเหล่านี้ได้รับการ เผยแพร่ ส่งเสริม สนับสนุนอย่างจริงจัง ปัญหาหนี้สินของชาวไร่ชาวนาก็จะลดน้อยลง ส่งผลให้คุณภาพชีวิต ความเป็นอยู่ดีขึ้น ทําให้การพัฒนาสังคมด้านต่างๆ ขับเคลื่อนไปได้เร็วขึ้น แม้ในปี ๒๕๕๘ ประชาคมอาเซียนจะ เปิดเสรีด้านต่างๆ ก็ไม่ต้องไปวิตกกังวลกับการแข่งขันว่าจะสู้เขาไม่ได้กับเพื่อนบ้านในเรื่องเกษตรกรรม เมื่อ ต้นทุนการผลิตเราต่ําเราก็สามารถแข่งขันได้ ขอเพียงแต่การเตรียมการเรื่องเหล่านี้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้ให้ความ สนใจมากน้อยเพียงใด แหล่งอ้างอิง ยงยุทธ โอสถสภา. ๒๕๕๑. ปุ๋ยเพื่อการเกษตรยั่งยืน. สํานักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพ. มุกดา สุขสวัสดิ์. ๒๕๔๓. ปุ๋ยและการใช้อย่างมีประสิทธิภาพ. สํานักพิมพ์โอเดียนสโตร์. กรุงเทพ.

จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา | ปที่ 21 ฉบับที่ 2 เดือนเมษายน-มิถุนายน 2555 13


ผลงานวิจัย

การศึกษาสมบัติเชิงกลและสมบัติการนําความร้อนของวัสดุคอมพอสิต ระหว่างผงขี้เลื่อยไม้กับพอลิคาร์บอเนต The study of mechanical properties and thermal conductivity of wood sawdust/polycarbonate composites นายวิทวุธ วิมลทรง ภาควิชาวิทยาการและวิศวกรรมวัสดุ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร

บทคัดย่อ ปั จ จุ บั น ผงขี้ เ ลื่ อ ยไม้ ไ ด้ ถู ก ใช้ เ ป็ น วั ส ดุ เสริ ม แรงอย่ า งแพร่ ห ลายในอุ ต สาหกรรมเทอร์ โ ม พลาสติก เนื่องจากมีราคาถูก ทั้งยังเป็นการนํา วัสดุที่เหลือใช้กลับมาใช้ใหม่ แต่ปัญหาหนึ่งสําหรับ การนําผงขี้เลื่อยไม้มาใช้ในการเสริมแรงให้กับวัสดุ พอลิเมอร์คือความสามารถในการเข้ากันได้ของวัสดุ ทั้งสอง ในงานวิจัยนี้สารคู่ควบไซเลน 2 ชนิด คือ N-(3-Trimethoxysilylpropyl) diethyllenetriamine (TMS) และ γ-aminopropyl trimethoxy silane (Z6011) รวมถึงโซเดียมไฮดรอกไซด์ จะถูกนํามาใช้ ในการปรับปรุงการยึดติดกันระหว่างพื้นผิวของผง ขี้เลื่อยไม้กับพอลิคาร์บอเนต จากผลการทดลอง พบว่าค่ามอดูลัสแรงดึงและมอดูลัสแรงโค้งงอของ วั ส ดุ ค อมพอสิ ต มี ค่ า เพิ่ ม ขึ้ น เมื่ อ เที ย บกั บ พอลิ คาร์ บ อเนตบริ สุ ท ธิ์ อี กทั้งค่ ามอดูลัสแรงดึ งและ มอดูลัสแรงโค้งงอของวัสดุคอมพอสิตจะมีค่าเพิ่มขึ้น เมื่ อ มี ก ารเพิ่ ม ปริ ม าณของผงขี้ เ ลื่ อ ยไม้ ล งไป อย่ า งไรก็ ต ามการเพิ่ม ปริ ม าณของผงขี้ เ ลื่ อ ยไม้ ไ ด้ ส่งผลให้เกิดการลดลงของค่าการทนต่อแรงดึงสูงสุด ของวัสดุคอมพอสิต จากการศึกษาด้วยเทคนิค SEM ได้ทําให้ทราบถึงการรวมตัวกันเป็นกลุ่มก้อน

ของอนุ ภ าคผงขี้ เ ลื่ อ ยไม้ นอกจากนี้ ก ารเพิ่ ม ปริ ม าณการใช้ ผ งขี้ เ ลื่ อ ยไม้ ยั ง ส่ ง ผลให้ ค่ า การนํ า ความร้ อ นของวั ส ดุ ค อมพอสิ ต มี ค่ า ลดลงอย่ า งมี นัยสําคัญ โดยจากการทดลองพบว่าปริมาณการ ใช้ผงขี้เลื่อยไม้ที่เหมาะสมที่สุดในการเสริมแรงให้กับ วัสดุคอมพอสิตอยู่ที่ 10 % โดยน้ําหนักของพอลิ คาร์บอเนต คําสําคัญ : พอลิคาร์บอเนต, ผงขี้เลื่อยไม้, โฟมคอม พอสิต, การนําความร้อน Abstract Wood sawdust was increasingly being used as reinforcement in commercial thermoplastics due to low cost, reusable raw materials. One of the problems of using wood sawdust is its interfacial adhesion with polymeric matrix. In this research, two types of silane coupling agents (N-(3-Trimethoxysilylpropyl) diethyllenetriamine and γ-aminopropyl trimethoxy silane) and sodium hydroxide were used for the modification of interfacial adhesion in wood sawdust/polycarbonate composites. The effects of

จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา | ปที่ 21 ฉบับที่ 2 เดือนเมษายน-มิถุนายน 2555 14


chemical treatment and wood sawdust content (10, 20 and 30 % by wt) were investigated by Fourier transform infrared spectroscopy, scanning electron microscopy (SEM), thermal conductivity analysis. Young’s modulus of composites was in general higher than the neat PC except for the one with γ-aminopropyl trimethoxy silane treatment. Tensile modulus of composites was increased as the filler loading increased. Nevertheless, the addition of wood sawdust resulted in the tensile strength reduction of the composites. The SEM micrographs reveal that the aggregation of wood particles and weak interfacial bond between the treated wood sawdust and the polymeric matrix with increasing filler loading. Furthermore, the thermal conductivity was reduced significantly with the increment of wood sawdust contents. Wood content in the most appropriate use of reinforcement in the composite was 10% compared to the weight of polycarbonate. Key words : polycarbonate, wood sawdust, composite foam, thermal conductivity 2. บทนํา ในปัจจุบันมีการทําหลังคามาจากวัสดุหลาย ประเภท เช่น กระเบื้อง ซีเมนต์​์ ไม้ ฯลฯ โดยวัสดุที่ ใช้ ทํ า หลั ง คาอี ก ชนิ ด หนึ่ ง ที่ น่ า สนใจ คื อ พอลิ คาร์ บ อเนต เนื่ อ งจากพอลิ ค าร์ บ อเนต เป็ น พลาสติกที่มีความโปร่งใส ต้านทานการขีดข่วนได้ดี ทนความร้ อนและป้องกั น รัง สี ยูวีไ ด้ ดี ทนต่ อ แรง

กระแทกมากกว่ากระจก อีกทั้งยังน้ําหนักเบา จึง ประหยัดไม่เปลืองโครงสร้าง ปัจจุบันได้มีการทํ า วั ส ดุ เ ชิ ง ประกอบของพอลิ ค าร์ บ อเนตที่ ใ ช้ ทํ า เป็ น หลั ง คา โดยการใช้ เ ส้ น ใยแก้ ว ผสมลงไปในพอลิ คาร์บอเนตเพื่อช่วยในการปรับปรุงสมบัติเชิงกลให้ดี ขึ้น แม้เส้นใยแก้วจะช่วยในการเสริมแรงให้กับพอลิ คาร์บอเนตได้ แต่เนื่องจากเส้นใยแก้วนั้นมีราคา ค่อนข้างสูงและไม่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ดังนั้นจึง มีแนวคิดที่จะใช้ผงขี้เลื่อยไม้มาช่วยในการเสริมแรง แทนการใช้เส้นใยแก้ว เนื่องจากผงขี้เลื่อยไม้เป็น วัสดุเหลือใช้ที่สามารถหาได้ง่ายภายในประเทศ มี ราคาถูกและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม งานวิจัยนี้จึงได้ทําการทดลองขึ้นรูปคอมพอ สิตของพอลิคาร์บอเนตกับผงขี้เลื่อยไม้ เพื่อศึกษา ถึงผลการใช้ผงขี้เลื่อยไม้ในการใช้เป็นวัสดุเสริมแรง ในพอลิคาร์บอเนต แต่เนื่องจากผงขี้เลื่อยไม้และ พอลิคาร์บอเนตเข้ากันได้ยาก ดังนั้นในงานวิจัยนี้ จะทํ า การศึ ก ษาผลของการเติ ม สารคู่ ค วบไซเลน เพื่อช่วยประสานหรือยึดติดกันระหว่างผงขี้เลื่อยไม้ และพอลิ ค าร์ บ อเนต รวมทั้ ง ศึ ก ษาถึ ง ผลของ ปริ ม าณการใช้ ผ งขี้ เ ลื่ อ ยไม้ ต่ อ สมบั ติ เ ชิ ง กลและ สมบั ติ ก ารนํ า ความร้ อ นของคอมพอสิ ต โดย คาดหวังว่าโฟมคอมพอสิตของพอลิคาร์บอเนตกับ ผงขี้เลื่อยไม้ที่ได้ จะสามารถนําไปประยุกต์ใช้งาน เป็นหลังคาหรือฉนวนกันความร้อนที่มีความแข็งแรง ทนทาน และสามารถช่ ว ยลดอุ ณ หภู มิ ภ ายในบ้ า น หรือตัวอาคารให้ลดลงได้ 3. วัตถุประสงค์ของการวิจัย 3.1 เพื่อศึกษาผลของชนิดและปริมาณสารคู่ ควบไซเลน ที่มีต่อสมบัติเชิงกล สมบัติทางความร้อน

จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา | ปที่ 21 ฉบับที่ 2 เดือนเมษายน-มิถุนายน 2555 15


และสั ณ ฐานวิ ท ยา ของวั ส ดุ ค อมพอสิ ต ของพอลิ คาร์บอเนตกับผงขี้เลื่อยไม้ 3.2 เพื่อศึกษาผลของปริมาณผงขี้เลื่อยไม้ ที่ มีต่อสมบัติเชิงกล สมบัติทางความร้อน และสัณฐาน วิทยา ของวัสดุคอมพอสิตของพอลิคาร์บอเนตกับผง ขี้เลื่อยไม้ 4. วิธีดําเนินงานวิจัย 4.1 ขอบเขตการวิจัย 4.1.1 ผงขี้ เ ลื่ อ ยไม้ ที่ ใ ช้ ใ นงานวิ จั ย มี ขนาดอนุภาคประมาณ 100-150 ไมโครเมตร 4.1.2 เลือกใช้ไซเลน 2 ชนิด คือ γ aminopropyl trimethoxy silane (Z-6011) และ N(3-Trimethoxysilylpropyl)diethylenetriamine (TMS) 4.1.3 สั ด ส่ ว นของผงขี้ เ ลื่ อ ยไม้ ที่ ใ ช้ ใ น การขึ้นรูปเป็นวัสดุคอมพอสิตมี 3 ปริมาณ คือ 10%, 20% และ 30%wt โดยน้ําหนักของคอมพอสิต 4.2 ขั้นตอนการวิจัย ส่วนที่ 1 ศึกษาผลของชนิดและปริมาณ สารคู่ควบไซเลนที่มีต่อสมบัติต่างๆของคอมพอ สิต ตอนที่ 1 ศึกษาผลของชนิดสารคู่ควบไซเลน ที่มีต่อสมบัติต่างๆ ของคอมพอสิต 1. ปรั บ ปรุ ง ผิ ว ผงขี้ เ ลื่ อ ยไม้ โ ดยการใช้ โซเดียมไฮดรอกไซด์ (caustic soda) 2. ปรับปรุงผิวผงขี้เลื่อยไม้ด้วยสารคู่ควบ ไ ซ เ ล น 2 ช นิ ด N-(3-Trimethoxysilylpropyl) diethylenetriamine แ ล ะ γ-aminopropyl trimethoxysilane (Z-6011) โดยใช้สารคู่ควบไซเลน แต่ละชนิดในปริมาณ 1.0 % โดยน้ําหนักผงขี้เลื่อยไม้ 3. นําผงขี้เลื่อยไม้ที่ผ่านการปรับปรุงพื้นผิว

ทั้งหมดมาทําการพิสูจน์เอกลักษณ์ด้วยเทคนิค FTIR 4. ขึ้ น รู ป วั ส ดุ ค อ ม พ อ สิ ต ข อ ง พ อ ลิ คาร์บอเนต/ผงขี้เลื่อยไม้ 5. ทดสอบสมบั ติ ต่ า งๆ ของคอมพอสิ ต ได้แก่ การทดสอบแรงดึง (Tensile Test),การทดสอบ การทนต่อการโค้งงอ (Flexural Test), การทดสอบ ความทนทานต่อการกระแทก (Impact Test), การ ทดสอบ Thermogravimetric Analysis (TGA), การ ทดสอบค่าการนําความร้อน (ThermalConductivity), การทดสอบด้ ว ยเทคนิ ค Scanning electron microscopy (SEM) ตอนที่ 2 ศึกษาผลของปริมาณสารคู่ควบ ไซเลนที่มีต่อสมบัติต่างๆ ของคอมพอสิต 1. จากการทดลองในตอนที่ 1 นําผลที่ได้ จากการทดสอบมาวิเคราะห์หาชนิดของสารคู่ควบที่ เหมาะสมที่สุดที่ใช้ในการปรับปรุงพื้นผิวของผงไม้ 2. ทําการทดลองเหมือนตอนที่ 1 โดยเลือก สารคู่ ค วบไซเลนชนิ ด ที่ เ หมาะสมที่ สุ ด ทํ า การ ปรับเปลี่ยนปริมาณการใช้เป็น 0 %, 0.5%, 1.0%, 1.5% และ 2.0% โดยน้ําหนักผงขี้เลื่อยไม้ ส่วนที่ 2 ศึกษาผลของปริมาณผงขี้เลื่อย ไม้ต่อสมบัติต่างๆ ของคอมพอสิต 1. จากการทดลองในตอนที่ 2 ของส่วนที่ 1 นําผลที่ได้จากการทดสอบมาวิเคราะห์หาปริมาณ ของสารคู่ควบที่เหมาะสมที่สุดที่ใช้ในการปรับปรุง พื้นผิวของผงไม้ 2. ทําการทดลองเหมือนส่วนที่ 1 โดยเลือก สารคู่ควบไซเลนชนิดและปริมาณที่เหมาะสมที่สุด และทําการปรับเปลี่ยนปริมาณการใช้ผงขี้เลื่อยไม้ เป็น 10, 20 และ 30% โดยน้ําหนักของพอลิ คาร์บอเนต

จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา | ปที่ 21 ฉบับที่ 2 เดือนเมษายน-มิถุนายน 2555 16


5. สรุปผลการวิจัย ตารางแสดงองค์ประกอบของวัสดุคอมพอสิตที่ขึ้นรูปในงานวิจัย composition Sample code Neat PC PC/W-Untreated PC/W-NaOH PC/W-Z6011 1.0 PC/W-TMS 0.5 PC/W-TMS 1.0 PC/W-TMS 1.5 PC/W-TMS 2.0 PC/W20-TMS0.5 PC/W30-TMS0.5

Wood sawdust (w/w)

NaOH (w/w)

Z6011 (w/w)

TMS (w/w)

10 10 10 10 10 10 10 20 30

4.0 -

1.0 -

0.5 1.0 1.5 2.0 0.5 0.5

-

-

จากการทดสอบสมบัติต่างๆ ของคอมพอสิตที่ได้กล่าวมา จะเห็นได้ว่าการเติมผงขี้เลื่อยไม้ช่วย ปรับปรุงค่า modulus หรือความสามารถในการต้านทานการเปลี่ยนรูปของวัสดุคอมพอสิตให้เพิ่มขึ้นได้ ในขณะที่ความแข็งแรงของพอลิคาร์บอเนตมีค่าลดลงเมื่อเติมผงขี้เลื่อยไม้ลงไป โดย PC/W- Untreated, PC/W- NaOH และ PC/W-TMS แสดงค่า strength และ Young’s modulus ที่มีค่าใกล้เคียงกัน ขณะที่ PC/WZ6011 ให้ค่า strength และ Young’s modulus ที่ต่ําที่สุด โดยในส่วนของ flexural modulus ซึ่งเป็น ความสามารถในการต้านทานการเปลี่ยนรูปเมื่อได้รับแรงโค้งงอ คอมพอสิตของ PC/W-TMS แสดงค่าการ ปรับปรุงที่ดีที่สุด โดยสูงกว่าพอลิคาร์บอเนตบริสุทธิ์เกือบ 5 เท่า และให้ค่าสูงกว่าคอมพอสิตซึ่งไม่ได้รับการ ปรับปรุงพื้นผิวของผงขี้เลื่อยไม้ด้วยวิธีใดๆ เลยกว่า 2 เท่า นอกจากนี้แล้ววัสดุคอมพอสิต PC/W-TMS ยัง แสดงถึงการเป็นฉนวนทางความร้อนที่ดีกว่าวัสดุคอมพอสิตตัวอื่นได้ดีพอๆกับ PC/W-Z6011 ซึ่งเป็นคอมพอสิต ที่มีค่าการนําความร้อนต่ําสุด ดังนั้นในการวิจัยขั้นต่อไปที่จะทําการศึกษาผลของปริมาณสารคู่ควบไซเลนที่มี ต่ อ สมบั ติ ต่ า งๆ ของพอลิ ค าร์ บ อเนตคอมพอสิ ต กั บ ผงขี้ เ ลื่ อ ยไม้ โดยใช้ ส ารคู่ ค วบไซเลนชนิ ด N(3-Trimethoxysilylpropyl) diethylenetriamine ในการปรับปรุงความเข้ากันได้ระหว่างผงขี้เลื่อยไม้กับพอลิ คาร์บอเนต จากการทดสอบสมบัติต่างๆ เพื่อศึกษาผลของปริมาณสารคู่ควบไซเลนที่มีต่อการปรับปรุงความเข้า กันได้ระหว่างผงขี้เลื่อยไม้กับพอลิคาร์บอเนต เมื่อพิจารณาถึงการทดสอบสมบัติเชิงกลจะเห็นได้ว่า PC/WTMS 0.5% มีสมบัติเชิงกลที่ดีที่สุดเมื่อเทียบกับการปรับปรุงด้วยไซเลน TMS ในปริมาณมากขึ้น ผลจากการ

จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา | ปที่ 21 ฉบับที่ 2 เดือนเมษายน-มิถุนายน 2555 17


ทดสอบชี้ให้เห็นว่าเมื่อทําการเพิ่มปริมาณการใช้ไซเลน TMS จาก 0.5wt.% ไปเป็น 1.0wt.%, 1.5wt.% และ 2.0wt.% ความแข็งแรงของคอมพอสิตมีแนวโน้มที่ลดลงทั้งค่า tensile strength และ flexural strength ส่วน ความสามารถในการต้านทานการเปลี่ยนรูป (flexural modulus) นั้น มีค่าลดลงเป็นอย่างมาก ในขณะที่ Young’s modulus มีค่าค่อนข้างคงที่แม้จะทําการเพิ่มปริมาณการใช้ไซเลนแล้วก็ตาม ผลการทดสอบสมบัติ การนําความร้อนนั้น ปริมาณการใช้ไซเลนในการปรับปรุงไม่ได้ส่งผลให้เห็นถึงความแตกต่างอย่างมีนัยสําคัญ จึงพอจะกล่าวได้ว่าสมบัติการเป็นฉนวนความร้อนของคอมพอสิตของพอลิคาร์บอเนตในระบบแต่ละตัวมีค่า ใกล้เคียงกันเป็นอย่างมาก ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าจากการศึกษาผลของปริมาณสารคู่ควบไซเลนที่มีต่อสมบัติเชิงกลและสมบัติการ นําความร้อนของวัสดุคอมพอสิต PC/W-TMS 0.5% ให้ผลการทดสอบที่ดีที่สุดเมื่อเทียบกับการใช้ไซเลน TMS ในปริมาณอื่นๆ จากการทดสอบสมบัติต่างๆ เพื่อศึกษาผลของปริมาณผงขี้เลื่อยไม้ที่มีต่อสมบัติเชิงกลและสมบัติ การนําความร้อนของวัสดุคอมพอสิต เมื่อพิจารณาถึงการทดสอบสมบัติเชิงกลสรุปได้ว่าการเพิ่มปริมาณผง ขี้เลื่อยไม้ทําให้ความแข็งแรงของวัสดุคอมพอสิตโดยรวมลดลง ซึ่งจะเห็นได้จากค่า tensile strength, flexural strength รวมถึง impact strength ที่มีแนวโน้มลดลงอย่างเห็นได้ชัด ในขณะที่ modulus ของวัสดุมีการ เปลี่ยนแปลงไปในทิศทางตรงกันข้ามคือมีค่าเพิ่มขึ้นเมื่อทําการเพิ่มปริมาณผงขี้เลื่อยไม้ เมื่อพิจารณาถึงสมบัติ เชิงกลทั้งสองแบบนี้แล้ว จะเห็นได้ว่าผลของ strength มีค่าที่แตกต่างกันมากกว่าผลของ modulus ดังนั้นเมื่อ พิจารณาถึงสมบัติเชิงกลโดยรวมของวัสดุคอมพอสิต PC/W10%-TMS ได้ให้ผลทางสมบัติเชิงกลที่ค่อนข้างดี ที่สุด เมื่อเทียบกับการเติมผงขี้เลื่อยไม้ในปริมาณอื่นๆ ในส่วนของผลการทดสอบสมบัติการนําความร้อนนั้น ปริมาณการเติมผงขี้เลื่อยไม้ไม่ได้ส่งผลให้เห็นถึงความแตกต่างอย่างมีนัยสําคัญ เนื่องจากสมบัติการเป็น ฉนวนความร้อนของคอมพอสิตของพอลิคาร์บอเนตในระบบแต่ละตัวมีค่าใกล้เคียงกันมาก ดังนั้นจากการศึกษาผลของปริมาณผงขี้เลื่อยไม้ที่มีต่อสมบัติเชิงกลและสมบัติการนําความร้อนของ วัสดุคอมพอสิต PC/W10%-TMS 0.5% ให้ผลการทดสอบที่ดีที่สุดเมื่อเทียบกับการเติมผงขี้เลื่อยไม้ในปริมาณ อื่นๆ 6. ข้อเสนอแนะในการนําผลวิจัยไปใช้ พอลิคาร์บอเนตคอมพอสิตชนิด PC/W-TMS 0.5 ให้ผลของสมบัติความต้านทานแรงโค้งงอที่ดีกว่า วัสดุคอมพอสิตชนิดอื่นๆ โดยเฉพาะผลของความสามารถในการต้านทานการเปลี่ยนรูปเมื่อได้รับแรงโค้งงอ ซึ่งดีกว่าพอลิคาร์บอเนตบริสุทธิ์ถึงเกือบ 5 เท่า ขณะที่สมบัติการนําความร้อนของ PC/W-TMS 0.5 ก็มีค่าที่ ต่ํากว่าพอลิคาร์บอเนตคอมพอสิตชนิดที่ผงขี้เลื่อยไม้ไม่ได้รับการปรับปรุงพื้นผิว ดังนั้น จึงเหมาะแก่การนําไป ประยุกต์ใช้งานในด้านที่ต้องการเสถียรภาพหรือความสามารถในการคงรูปของชิ้นงานเมื่อได้รับแรงโค้งงอ รวมถึงสมบัติการเป็นฉนวนความร้อนที่ดี

จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา | ปที่ 21 ฉบับที่ 2 เดือนเมษายน-มิถุนายน 2555 18


7. บรรณานุกรม [1] M.A. Khan., F. Mina, and L.T. Drzal, “Influence of silane coupling agents of different functionalities on the performance of jute-polycarbonate composite,” Composite Materials and Strutures Center, (2000): 5-10. [2] P. Threepopnatkul, N. Keaerkitcha, and N. Athipongarporn, “Effect of surface treatment on performance of pineapple leaf fiber-polycarbonate composites,” Composites: Part B, 40 (2009): 628-632. [3] R. Gosselin and D. Rodrigue, “Injection Molding of Postconsumer Wood–Plastic Composites II: Mechanical Properties,” Journal of Thermoplastic Composite Materials, 19 (2006): 659-669.

8. คําขอบคุณ ผู้วิจัยสามารถทํ าวิทยานิพนธ์ฉบั บนี้เป็น ไปได้ด้วยดี ทั้ งนี้ ต้องขอขอบพระคุณสถาบันวิจัยและ พัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร ภาควิชาวิทยาการและวิศวกรรมวัสดุ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร ศูนย์ความเป็นเลิศแห่งชาติด้านปิโตรเลียม ปิโตรเคมีและวัสดุข้ันสูงสําหรับ การสนั บ สนุ น ด้ า นเงิ น ทุ น อุ ป กรณ์ และห้ อ งปฏิ บั ติ ก ารที่ ใ ช้ ใ นงานวิ จั ย และขอขอบคุ ณ บริ ษั ท ไทยโพลิ คาร์บอเนต จํากัด ที่ให้ความอนุเคราะห์เม็ดพลาสติกพอลิคาร์บอเนตสําหรับการทํางานวิจัยในครั้งนี้ ผู้วิจัยขอกราบขอบพระคุณ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พูนทรัพย์ ตรีภพนาถกูล ผู้เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา ที่กรุณาให้ความช่วยเหลือ แนะแนวทางในการศึกษา วิเคราะห์ พร้อมให้คําแนะนําอันเป็นประโยชน์ยิ่งด้วยความ เอาใจใส่มาโดยตลอด ภาพที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย

(a) PC/W10%-TMS (b) PC/W20%-TMS (c) PC/W30%-TMS รูปแสดงภาพถ่ายจาก Scanning Electron Microscope ของวัสดุคอมพอสิตพอลิคาร์บอเนตผสมผงขี้เลี้อยไม้ในปริมาณต่าง ๆ และผ่านการ ปรับปรุงผิวด้วยสารปรับปรุงผิวชนิด TMS

จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา | ปที่ 21 ฉบับที่ 2 เดือนเมษายน-มิถุนายน 2555 19


ขาวสารความเคลื่อนไหว โครงการบรรยายพิเศษ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อริศร์ เทียนประเสริฐ ประธานคณะอนุกรรมการเครือข่ายวิจัยอุดม ศึกษาภาคกลางตอนล่าง ผู้อํานวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นประธาน เปิดงาน และเป็นผู้ดําเนินรายการการบรรยายพิเศษเรื่อง "แนวทางพัฒนาการวิจัยภายใต้กรอบ ยุทธศาสตร์การจัดการด้านอาหารของประเทศไทย" วิทยากรโดย คุณพัชนี อินทรลักษณ์ จาก สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา และ เรื่อง "สวก.พบนักวิจยั " วิทยากรโดย รองศาสตราจารย์ ดร.พีรเดช ทองอําไพ ผู้อํานวยการสํานักงานพัฒนาการวิจยั การเกษตร (สวก.) และ ดร.นงลักษณ์ ปานเกิดดี ทีป่ รึกษา (สวก.) เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2555 เวลา 8.30-12.00 น. ณ ห้องประชุมชั้น 5 อาคารหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ผู้เข้าร่วมฟังการบรรยายประกอบด้วย คณาจารย์จากสถาบันอุดม ศึกษาในเครือข่ายวิจัยอุดมศึกษาภาคกลางตอนล่าง และผู้สนใจทั่วไป รวมทั้งสิ้น 75 คน

จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา | ปที่ 21 ฉบับที่ 2 เดือนเมษายน-มิถุนายน 2555 20


โครงการจัดแสดงผลงานวิจัยสร้างสรรค์เพื่อก่อเกิดประโยชน์ต่อสังคม

สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้ร่วมจัดแสดงผลงานวิจัยในงาน “การประชุม สุดยอดมหาวิทยาลัยวิจยั แห่งชาติ ครั้งที่ 1” เมื่อวันที่ 29-30 เมษายน 2555 ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติ สิริกิติ์ กรุงเทพฯ จัดโดยสํานักบริหารโครงการส่งเสริมการวิจยั ในอุดมศึกษาและพัฒนามหาวิทยาลัยวิจยั แห่งชาติ สํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ภายในงานจะเป็นการรวบรวมและรายงานผลการดําเนิน วิจัยที่เกิดขึ้นภายในมหาวิทยาลัยวิจยั แห่งชาติ 9 แห่ง และเป็นเวทีแห่งการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ระหว่าง มหาวิทยาลัยอันนําไปสู่การรวมกลุ่มวิจยั เชิงบูรณาการระหว่างมหาวิทยาลัย (supra cluster) รวมทั้งมีการ จัดนิทรรศการแสดงผลงานวิจัยดีเด่นของมหาวิทยาลัยที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมและประชาชนทั่วไป ใน ครั้งนี้สถาบันวิจัยและพัฒนาได้นําเสนอผลงาน “การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมสีเขียวทางเภสัชศาสตร์ Pharmaceutical Development of Green Innovations” ของ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ซึ่งแสดงถึงการสร้างองค์ความรู้ พัฒนากระบวนการ และผลิตนวัตกรรม สีเขียวทางเภสัชศาสตร์ที่คํานึง ถึงความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยผสมผสานศาสตร์และเทคโนโลยีที่เหมาะสม โดยมีวัตถุประสงค์เพือ่ เผยแพร่ผลงานวิจัยของมหาวิทยาลัยศิลปากรสู่สาธารณชนและผู้สนใจ ได้มีแนวคิดมาต่อยอดเพื่อให้เกิด ประโยชน์ในการสร้างสรรค์ผลงานทีม่ ีเอกลักษณ์และเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ และสร้างความ สัมพันธ์กับองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนให้เป็นทีย่ อมรับและสนับสนุนการพัฒนาผลงานสร้างสรรค์ของ มหาวิทยาลัย จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา | ปที่ 21 ฉบับที่ 2 เดือนเมษายน-มิถุนายน 2555 21


โครงการอบรมและระดมความคิดเรื่อง การวางแผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติราชการ สถาบันวิจยั และพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร

สถาบันวิจัยและพัฒนาได้ดําเนินการจัดโครงการอบรมและระดมความคิดเรื่อง "การวางแผนยุทธศาสตร์และ แผนปฏิบัติราชการสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร" เมื่อวันที่ 18-20 เมษายน 2555 ณ สถาบันวิจัย และพัฒนา และโรงแรมชมวิว อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ผู้เข้าร่วมโครงการประกอบด้วย ผู้บริหารและบุคลากรของ สถาบันวิจัยและพัฒนา รวม 17 คน

โครงการวันแลกเปลีย่ นเรียนรู้ Silpakorn KM DAY ครั้งที่ 1

สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากรได้เข้าร่วมจัดบูธแสดงผลงานโครงการวันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ Silpakorn KM DAY ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2555 ณ หอศิลป์บรมราชกุมารี คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ นครปฐม

จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา | ปที่ 21 ฉบับที่ 2 เดือนเมษายน-มิถุนายน 2555 22


โครงการแลกเปลี่ยนเรียนรูเ้ รือ่ ง “การเขียนหนังสือราชการ” 28 พฤษภาคม 2555 ณ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร

สถาบันวิจัยและพัฒนาได้ดาํ เนินการจัดโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง "การเขียนหนังสือ ราชการ" วิทยากรโดย นางศรีอัมพร ปลั่งสุวรรณ เจ้าหน้าทีบ่ ริหารงานทั่วไปชํานาญการ เมือ่ วันที่ 28 พฤษภาคม 2555 ณ สถาบันวิจยั และพัฒนา ผู้เข้าร่วมโครงการประกอบด้วย ผู้บริหารและบุคลากร ของสถาบันวิจัยและพัฒนา รวม 18 คน

จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา | ปที่ 21 ฉบับที่ 2 เดือนเมษายน-มิถุนายน 2555 23


โครงการแลกเปลี่ยนเรียนรูเ้ รือ่ ง “การบริหารพัสดุโครงการ” 29 พฤษภาคม 2555 ณ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร

สถาบันวิจัยและพัฒนาได้ดาํ เนินการจัดโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง "การบริหารพัสดุ โครงการ" วิทยากรโดย นางสาวญาณิศา เผื่อนเพาะ เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2555 ณ สถาบันวิจยั และพัฒนา ผู้เข้าร่วมโครงการประกอบด้วย ผู้บริหารและบุคลากร ของสถาบันวิจัยและพัฒนา รวม 18 คน

จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา | ปที่ 21 ฉบับที่ 2 เดือนเมษายน-มิถุนายน 2555 24


โครงการอบรมเรื่อง MS Word2007 29 พฤษภาคม 2555 ณ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร

สถาบันวิจัยและพัฒนาได้ดาํ เนินการจัดโครงการอบรมความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์เพื่อเพิ่ม ทักษะในการปฏิบัติงานประจําปีเรื่อง "Micorsoft Office Word2007" วิทยากรโดย นางสาวปัทมาพร เกิดแจ้ง นักวิชาการคอมพิวเตอร์ เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2555 ณ สถาบันวิจัยและพัฒนา ผู้เข้าร่วม โครงการอบรมประกอบด้วย ผู้บริหารและบุคลากรของสถาบันวิจัยและพัฒนา รวม 18 คน

จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา | ปที่ 21 ฉบับที่ 2 เดือนเมษายน-มิถุนายน 2555 25


สถาบันวิจยั และพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร พระราชวังสนามจันทร นครปฐม 73000 e-mail: research.inst54@gmail.com , http://www.surdi.su.ac.th โทรศัพท 0-3425-5808 โทรสาร 0-3421-9013


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.