ยูหัวภูมิพลอดุลยเดช
• ประสบการณ์การทําวิจัยและสร้างสรรค์ ของ รองศาสตราจารย์ ดร.ธีรศักดิ์ โรจนราธา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
นักวิจัยผู้ได้รับรางวัลผลงานวิจัยดีเด่น ปี 2554 จากสถาบันวิจัยและพัฒนา • การศึกษาศักยภาพของเครื่องจมูกเทียมในการ บ่งชี้ปริมาณการปนของข้าวปทุมธานี 1 ในข้าวขาว ดอกมะลิ 105 โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต อินณวงศ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร
• เก็บตกจากงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์ 2554 • ข่าวสารความเคลื่อนไหว ปณิธาน “ส่งเสริมการสร้าง และเผยแพร่องค์ความรู้” ทุกท่านสามารถแสดงความคิดเห็นในการให้บริการของสถาบันวิจัยและพัฒนาได้ 4 ช่องทาง คือ 1. โทรศัพท์ 034-255-808 2. โทรสาร 034-219-013 3. e-mail : research_inst@su.ac.th 4. กล่องรับความคิดเห็นหน้าห้องระเบียงวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา
บทบรรณาธิการ
ทีป่ รึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อริศร์ เทียนประเสริฐ ผู้อํานวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา
ฉบั บ นี้ มี ข อเริ่ ม ต้ น ด้ ว ยคอลั ม น์ เ ปิ ด โลกกว้ า งเรื่ อ ง “ประสบการณ์การทําวิจัยและสร้างสรรค์” ของ รองศาสตราจารย์ ดร.ธีรศักดิ์ โรจนราธา จากคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และจาก...ชุ ม ชน ขอนํ า เสนอเรื่ อ ง “เก็ บ ตกจากงานสั ป ดาห์ วิทยาศาสตร์ 2554” โดย นายสุพรชัย มั่งมีสิทธิ์ นักวิจัยเชี่ยวชาญ จากสถาบันวิจัยและพัฒนา ส่วนงานวิจัยขอแนะนําผลงานวิจัยเรื่อง “การศึกษาศักยภาพของเครื่องจมูกเทียมในการบ่งชี้ปริมาณการปน ของข้าวปทุมธานี 1 ในข้าวขาวดอกมะลิ 105” ของ ผศ.ดร.บัณฑิต อิ น ณวงศ์ คณะวิ ศ วกรรมศาสตร์ แ ละเทคโนโลยี อุ ต สาหกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร และข่าวสารความเคลื่อนไหวของสถาบันวิจัย และพัฒนา ขอเชิญท่านติดตามอ่านในเล่มนะค่ะ
บรรณาธิการ นางอารีย์วรรณ นวมนาคะ
กองบรรณาธิการ นายสุพรชัย มั่งมีสิทธิ์ นางสาววัชรี น้อยพิทักษ์ นางสาวตปนีย์ พรหมภัทร
เผยแพรโดย
สารบัญ
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร พระราชวังสนามจันทร์ นครปฐม 73000 โทรศัพท์ 0-3425-5808, 0-3421-9013 โทรสาร 0-3421-9013 E-mail : research_inst@su.ac.th Website : http://www.surdi.su.ac.th
เปดโลกกวาง 3 ประสบการณ์การทําวิจัยและสร้างสรรค์
ของ รองศาสตราจารย์ ดร.ธีรศักดิ์ โรจนราธา
จาก...ชุมชน 9 เก็บตกจากงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์ 2554 ผลงานวิจัย 12 การศึกษาศักยภาพของเครื่องจมูกเทียมในการบ่งชี้
วัตถุประสงค
ปริมาณการปนของข้าวปทุมธานี 1 ในข้าวขาว ดอกมะลิ 105
จุล สารสถาบันวิจัยและพัฒ นา เป็นจุล สารอิเล็กทรอนิก ส์ (e-journal) ราย 3 เดือน/ฉบับ จัดทําขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ เผยแพร่ ข่ า วสารกิ จ กรรมต่ า งๆ ของสถาบั น วิ จั ย และพั ฒ นา ตลอดจนความรู้ จ ากบทความวิ ช าการ และผลงานวิ จั ย ของ บุคลากรของมหาวิทยาลัยศิลปากร สถาบันวิจัยและพัฒนายินดี เป็น สื่อกลางในการเผยแพร่ผ ลงานวิจัย บทความทางวิช าการ และเกร็ดความรู้ต่างๆ ของชาวศิลปากรทุกท่าน
ขาวสารความเคลื่อนไหว 18 พิธีพระราชทานรางวัลผลงานวิจยั ดีเด่น 2554 18 งานการนําเสนอผลงานวิจัยแห่งชาติ 2554 20 งานสัปดาห์วิทยาศาสตร์ 2554 21 บูธงานเปิดโลกกว้างงานวิจัย 22 อบรมการเขียนข้อเสนอการวิจัย 22 อบรมการบริหารงานวิจัย (NRPM) 23 การประชาพิจารณ์ 23 ประชุมวิจารณ์ข้อเสนอการปฏิรูประบบวิจัยของ ประเทศ ครั้งที่ 2 24 วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคใต้ศึกษาดูงาน 24 รับสมัครโอน/ย้ายข้าราชการ -2-
จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา ปที่ 20 ฉบับที่ 3 เดือนกรกฎาคม-กันยายน 2554
เปดโลกกวาง
ของ รองศาสตราจารย์ ดร.ธีรศักดิ์ โรจนราธา ภาควิชาเภสัชเคมี คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร สัมภาษณ์โดย อารีย์วรรณ นวมนาคะ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร
สถานการณ์ ปั จ จุ บั น ของการทํ า วิ จั ย ของคณะเภสั ช ศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และมุมมองของการทํา วิจัยในฐานะอาจารย์ในมหาวิทยาลัย ปั จ จุ บั น คณะเภสั ช ศาสตร์ ผ ลิ ต ผลงานวิ จั ย ที่ หลากหลาย เนื่ อ งจากลั ก ษณะของวิ ช าชี พ ที่ มี ค วาม หลากหลายในตัวเอง ซึ่งก็คงไม่แตกต่างจากมหาวิทยาลัย ศิ ล ปากรซึ่ ง ประกอบด้ ว ยคณะวิ ช าที่ แตกต่ า งกั น ผลงานวิ จั ย ของคณะมี ทั้ ง ที่ พั ฒ นาวิ ท ยาการทางเภสั ช ศาสตร์ เช่น การพั ฒนายารูปแบบใหม่ๆ การค้ นหาสาร ออกฤทธิ์จากสมุนไพร หรือเน้นการบริบาลผู้ป่วยและการ นํายาไปใช้ รวมไปถึงการวิจัยด้านเภสัชศาสตร์สังคม เช่น การศึกษาระบบยาของประเทศ ผลงานวิจัยดังกล่าวมีทั้ง เกิดขึ้นจากความสนใจหรือความถนัดส่วนบุคคล และเกิด จากการรวมกลุ่มของอาจารย์นักวิจัยที่มีความสนใจไปใน ทิ ศ ทางเดีย วกั น เช่น ขณะนี้ ผ มและคณาจารย์ที่ มีค วาม สนใจการประยุกต์ใช้ Green philosophy ในงานวิจัยและ พั ฒ นากระบวนการและนวั ต กรรมทางเภสั ช ศาสตร์ ได้ รวมกลุ่ ม กั นจั ด ตั้ง เป็ น กลุ่ ม วิจั ย แบบบู ร ณาการที่ มีชื่ อ ว่ า “Pharmaceutical development of green innovations group (PDGIG)” เป็นต้น ในด้านคุณภาพ ของงานวิ จั ย นั บ ว่ า อยู่ ใ นระดั บ ที่ น่ า พอใจ เนื่ อ งจาก ผลงานวิจัยส่วนใหญ่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการอัน เป็ น ที่ ย อมรั บ หรื อ มี ก ารนํ า ไปใช้ ป ระโยชน์ หรื อ มี ผลกระทบต่อชุมชนและสังคม นอกจากนี้ตัวชี้วัดอีกอย่าง หนึ่งก็คือการที่คณะได้รับรางวัลด้านการวิจัยอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ในทรรศนะส่วนตัว ผมยังเห็นว่าสัดส่วน
ของจํานวนงานวิจัยที่เกิดขึ้นต่อจํานวนอาจารย์ในคณะวิชา ยัง ไม่ ม ากที่ เท่ าควร ผลงานส่ ว นใหญ่ที่ เกิ ดขึ้ นยั งมาจาก นักวิจัยเพียงบางคนหรือบางกลุ่มเท่านั้น ที่เห็นความสําคัญ และลงมือทําวิจัยอย่างจริงจัง ในขณะที่อีกหลายคนคิดที่จะ ทําแต่ยังได้ไม่ลงมือทํา จึงไม่เกิด Output แต่อย่างใด ไม่ว่า จะด้วยเหตุผลเกี่ยวกับข้อจํากัดบางอย่าง หรือทัศนคติที่ มองว่าการทําวิจัยเป็นเพียงภารกิจเสริมหรือ option ของ การทํางาน ซึ่งใครเลือกที่จะทําหรือไม่ทําก็ได้ สิ่งเหล่านี้ ล้ วนต้องได้รับ การแก้ ไ ขหรื อปรั บเปลี่ ย นเสีย ใหม่ ดังนั้ น มุมมองของการทําวิจัยในฐานะอาจารย์ในมหาวิทยาลัยนั้น ผมเห็นว่ามันเป็น “The Must” ที่อาจารย์ทุกคนต้องทํา เมื่ อ ใครก็ ต ามตั ด สิ น ใจก้ า วเข้ า มาเป็ น อาจารย์ ใ น มหาวิทยาลัย ก็ควรรับรู้ว่าสถาบันอุดมศึกษาไม่เพียงแต่ทํา หน้ า ที่ ถ่ า ยทอดสรรพวิ ท ยาการ แต่ ต้ อ งสร้ า งสรรค์ อ งค์ ความรู้ใหม่ด้วย ดังนั้นการทําวิจัยจึงเป็นหน้าที่และความ รับผิดชอบที่มีความสําคัญไม่แตกต่างไปจากหน้าที่ในด้าน การเรียนการสอน นอกจากนี้การทําวิจัยในสถาบัน อุดมศึกษาอาจมีความแตกต่างไปจากในหน่วยงานที่เป็น ศูนย์วิจัยโดยตรง เนื่องจากมหาวิทยาลัยทําหน้าที่หลักใน การผลิตบัณฑิตและบริการวิชาการแก่ชุมชนอีกด้วย ดังนั้น การวิจัยที่สามารถตอบสนองเป้าหมายดังกล่าวควบคู่กับ การตอบโจทย์วิจัยจึงเป็นสิ่งที่ควรจะเป็นและควรจะทํา เช่ น การเปิ ด โอกาสให้ นั ก ศึ ก ษาได้ เ ข้ า มามี ส่ ว นร่ ว มใน งานวิจัยของอาจารย์เพื่อเรียนรู้ รับการถ่ายทอดแนวคิด กลยุทธ์ และประสบการณ์การทําวิจัย ทําให้เกิดการสร้าง บัณฑิตนักวิจัยรุ่นใหม่ต่อๆ ไป แม้ว่าบางครั้งการทําวิจัยใน -3-
จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา ปที่ 20 ฉบับที่ 3 เดือนกรกฎาคม-กันยายน 2554
ลักษณะนี้อาจจะต้องใช้เวลานานและอาศัยความอดทน มากกว่าการทําวิจัยโดยมีผู้ช่วยวิจัยที่มีความชํานาญอยู่แล้ว แต่ผลที่ได้รับนอกเหนือจากผลงานวิจัย ก็คือนักวิจัยรุ่นใหม่ ที่ รั ก และเห็ น ความสํ า คั ญ ของการวิ จั ย และพร้ อ มที่ จ ะ ทํางานวิจัยต่อไปในอนาคต
Relevant to real problems ต้องตอบโจทย์ และแก้ปัญหาได้ตรงจุด • Reachable technology ใช้เทคโนโลยีหรือ วิธีการที่ผู้ปฏิบัติงานสามารถนําไปใช้ได้จริง หลีกเลี่ยง เครื่องมือที่ซับซ้อน ยุ่งยาก ราคาแพง • Reduce the use of reagent & production of waste ใช้สารในกระบวนการและก่อให้เกิดของเสีย น้อย • Replace toxic reagents and procedure with safer ones เปลี่ยนไปใช้สารหรือกรรมวิธีที่ปลอดภัย มากขึ้น • Remain satisfactory performance วิธีการที่ พัฒนาขึ้นต้องมีประสิทธิภาพดี ไม่ด้อยไปกว่าวิธีเดิม • Responsible for environment ส่งผลกระทบ ต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด หลั ง จากที่ ไ ด้ อ อกแบบและปรั บ ปรุ ง กระบวนการ แล้ว จึงทดสอบประสิทธิภาพของวิธี เช่น ในกรณีที่เป็นการ พัฒนาวิธีวิเคราะห์ยา จะต้องตรวจสอบความถูกต้องของ วิธี (Method validation) ว่าให้ผลการวิเคราะห์ถูกต้อง แม่นยํา จําเพาะหรือไม่ เป็นต้น แล้วจึงนําไปทดสอบกับ การทํางานจริงเปรียบเทียบกับวิธีมาตรฐานที่มีอยู่เดิม ตัวอย่างของงานวิจัยที่ผ่านมาและกําลังดําเนินการ ได้ แ ก่ การพั ฒ นาวิ ธี วิ เ คราะห์ ย าปฏิ ชี ว นะโดยใช้ ตั ว เร่ ง ปฏิกิริยาทางชีวภาพหรือเอนไซม์จนได้วิธีการซึ่งปราศจาก การใช้สารเคมีและตัวทําละลายอินทรีย์ที่เป็นอันตราย การ ปรับปรุงระบบเฟสเคลื่อนที่สําหรับการแยกสารด้วยเทคนิค โครมาโทกราฟี ใ ห้ ใ ช้ ตั ว ทํ า ละลายที่ ป ลอดภั ย มากยิ่ ง ขึ้ น และการพัฒนาวิธีวิเคราะห์ยาโดยใช้เทคนิคการลดสเกล หรือขนาดของการวิเคราะห์ลง เพื่อลดปริมาณสารเคมีที่ใช้ และของเสียที่จะเกิดขึ้น งานวิจัยดังกล่าวได้สร้างวิธีการ ใหม่สําหรับวิเคราะห์ยาซึ่งสามารถนําไปใช้ควบคุมคุณภาพ วั ต ถุ ดิ บ และเภสั ช ภั ณ ฑ์ ใ นโรงงานผลิ ต ยา ซึ่ ง จะช่ ว ย ประหยัดต้นทุนของการวิเคราะห์ ได้แ ก่ ค่าสารเคมี ลด ค่ า ใช้ จ่ า ยในการกํ า จั ด ของเสี ย ให้ กั บ โรงงาน เพิ่ ม ความ ปลอดภัยให้กับผู้ปฏิบัติงาน และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ส่ ว นหลั ก การของงานวิ จั ย อาจนํ า ไปประยุ ก ต์ ใ ช้ กั บ การ วิเคราะห์ยาชนิดอื่นๆ ได้ในลําดับต่อไป นอกจากนี้เรายัง คาดหวังว่าแนวคิดสีเขียวของงานวิจัยเหล่านี้จะช่วยปลุก จิตสํานึกและสร้างความตระหนักให้ผู้ปฏิบัติงานหรือผู้ที่ •
ประสบการณ์การทําวิจัยด้านวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช ที่ เ น้ น ก า ร ป ร ะ ยุ ก ต์ ใ ช้ ห ลั ก เ ค มี สี เ ขี ย ว ( green chemistry) ซึ่งเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ท่านมีแนวคิด อย่างไรบ้างในการนํามาประยุกต์ใช้ จุ ด มุ่ ง หมายของการทํ า วิ จั ย คื อ การค้ น หาหรื อ พั ฒนาองค์ความรู้ ใ หม่ ที่ สามารถนําไปตอบโจทย์หรื อ ใช้ แก้ปัญหาได้ อย่างไรก็ตาม หากการพัฒนานั้นไม่สอดคล้อง กับหลักของ “การพัฒนาที่ยั่งยืน” นั่นคือ สามารถค้นพบ สิ่งใหม่ ที่ใ ช้ได้ใ นปัจจุบัน แต่กลั บส่งผลกระทบต่ อคนรุ่น ต่อไป Output ของงานวิจัยชิ้นนั้นก็อาจกลายเป็นปัญหา หรือโจทย์ที่ต้องตามแก้กันต่อไปในอนาคตไม่สิ้นสุด อาจ กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ แม้ว่าเราจะประสบความสําเร็จใน การพั ฒ นาสิ่ ง ต่ า งๆ ให้ เ จริ ญ ก้ า วหน้ า มากยิ่ ง ขึ้ น แต่ เ รา ยังคงต้องการน้ําที่สะอาด อากาศที่บริสุทธิ์ในการดํารงชีวิต ดังนั้น การวิจัยเพื่อสร้างสรรค์องค์ความรู้ กระบวนการ การประยุ ก ต์ ใ ช้ หรื อ ปรั บ ปรุ ง วิ ธี ก ารที่ มี อ ยู่ เ ดิ ม เพื่ อ ก่อให้เกิดความก้าวหน้าในเชิงวิทยาการ ควบคู่ไปกับการ คํานึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และการดํารงชีวิตของ ทุ ก ชี วิ ต ทั้ ง ในปั จ จุ บั น และอนาคต จึ ง เป็ น หนทางสู่ ก าร พัฒนาที่ยั่งยืน เนื่องจากผมสอนและทํางานด้านเภสัชเคมี ได้ตระหนักดีว่ากระบวนการต่างๆ ในการสังเคราะห์และ วิเคราะห์ยามักต้องใช้สารเคมีและก่อให้เกิดของเสียซึ่งอาจ เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมได้ ดังนั้นงานวิจัยส่วนใหญ่ที่ได้ ทํา จึ ง มุ่ ง พั ฒ นาหลั ก การหรื อ กระบวนการใหม่ เพื่ อ เป็ น ต้นแบบในการสังเคราะห์และวิเคราะห์ยาอย่างเป็นมิตรต่อ สิ่ ง แวดล้ อ ม และปลอดภั ย ต่ อ ผู้ ป ฏิ บั ติ ง านตามหลั ก เคมี สีเขียว ท่านมีวิธีการ/ขั้นตอน/เทคนิคอย่างไรบ้าง สามารถนํ า ไปใช้ ป ระโยชน์ ท างด้ า นใด หรื อ ต่ อ ยอด ทางด้านใดได้บ้าง ในการพัฒนากระบวนการสังเคราะห์และวิเคราะห์ ยาอย่ า งเป็ น มิ ต รต่ อ สิ่ ง แวดล้ อ ม และปลอดภั ย ต่ อ ผู้ปฏิบัติงานนั้น เรายึดหลัก 6-R ได้แก่ -4-
จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา ปที่ 20 ฉบับที่ 3 เดือนกรกฎาคม-กันยายน 2554
เกี่ยวข้องได้เห็นถึงความสําคัญของการเลือกใช้ วิจัยและ พัฒนาวิธีการวิเคราะห์ยาที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย
บทความวิจัยเพื่อเผยแพร่ ทํางานวิจัยให้ได้รับรางวัล เป็น ต้น
ความคิดเห็นต่อการได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับสอง จากการประกวดข้ อ เสนอโครงการวิ จั ย และพั ฒ นา เทคโนโลยีด้านสิ่งแวดล้อม ภายใต้บริบท “การพัฒนาที่ ยั่งยืน” จัดโดยกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ก า ร ที่ ไ ด้ รั บ ร า ง วั ล จ า ก ห น่ ว ย ง า น ภ า ย น อ ก มหาวิทยาลัยในลักษณะนี้ เป็นสิ่งสะท้อนที่ดีว่า สิ่งที่กลุ่ม วิจัยของเรากําลังคิดและทําอยู่มีความสอดคล้องกับความ ต้องการและความคาดหวังของสังคม ทั้งนี้ต้องขอขอบคุณ ก ร ม ส่ ง เ ส ริ ม คุ ณ ภ า พ สิ่ ง แ ว ด ล้ อ ม ก ร ะ ท ร ว ง ทรั พ ยากรธรรมชาติ แ ละสิ่ ง แวดล้ อ มที่ เ ข้ า ใจและเห็ น ความสําคัญของทุกองค์กร ทุกวิชาชีพ ซึ่งรวมถึงสาขาเภสัช ศาสตร์ ในการเข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไข ปัญหาสิ่งแวดล้อม รางวัล ดังกล่าวนับเป็ นกําลังใจที่ช่วย ผลั ก ดั น ให้ ก ลุ่ ม วิ จั ย ของเราไม่ เ พี ย งแต่ จ ะสร้ า งสรรค์ ผลงานวิจัยต่อไปเท่านั้น แต่ยังได้สร้างบทบาทใหม่ให้กลุ่ม วิจัยในการเข้าไปมีส่วนร่วมจัดกิจกรรมเพื่อสังคมอีกด้วย เช่น การร่วมรณรงค์แจกสติ๊กเกอร์ “ใส่ใจ...เมื่อใช้สารเคมี ที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม” ในงานวันสิ่งแวดล้อมโลก 2554 ที่ผ่านมา หรือการจัดสัมมนา เรื่อง “Researches Go Green, Save the Earth Clean” และ “HPLC เพื่อ โลกสีเขียว” ให้กับนักศึกษาและผู้สนใจในคณะเภสัช ศาสตร์
การทํางานวิจัยแบบบูรณาการกับสาขาวิชาอื่น ๆ ทั้งใน มหาวิทยาลัยศิลปากร และหน่วยงานภายนอก (ที่ผ่าน มามี ก ารดํ า เนิ น การหรื อ ไม่ อนาคตมี ค วามคิ ด เห็ น อย่างไร) ต้องยอมรับว่า งานวิจัยหลายเรื่องที่ผ่านมาและที่ กําลังดําเนินการอยู่ เกิดขึ้นได้และประสบความสําเร็จด้วย ทีมวิจัยที่เกิดจากการร่วมกลุ่มนักวิจัยจากหลายสาขาวิชา อย่ า งผมเองอยู่ ใ นสาขาเภสั ช เคมี แต่ ไ ด้ ทํ า วิ จั ย รวมกั บ อาจารย์ในสาขาเทคโนโลยีเภสัชกรรมและสาขาชีวเภสัช ศาสตร์ ใ นคณะ รวมไปถึ ง นั ก วิ จั ย จากหน่ ว ยงานนอก มหาวิทยาลัย เช่น คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นต้น บางครั้ง หน่วยงานภายนอกยังเป็นแหล่งของโจทย์วิจัยที่ดี และที่ แท้จริง ซึ่งหมายถึงโจทย์ที่ชุมชนหรือสังคมกําลังรอคําตอบ อยู่ ทําให้เกิดการสร้างงานวิจัยร่วมกันอีกด้วย ตัวอย่างเช่น งานวิ จัย เรื่ อ งหนึ่ง ซึ่ง ผมได้ ศึ ก ษาร่ วมกับ ฝ่ า ยเภสัช กรรม โรงพยาบาลบ้านโป่ง จ.ราชบุรี มีโจทย์วิจัยเป็นปัญหาด้าน การผลิตยาซึ่งเกิดขึ้นจริงในโรงพยาบาล ดังนั้นผลการวิจัย ที่ได้จึงสามารถนําไปใช้ประโยชน์ได้โดยตรงกับโรงพยาบาล และผู้ป่วย อีกทั้งสามารถนําไปตีพิมพ์เผยแพร่เพื่อให้เกิด ประโยชน์ในวงกว้างอีกด้วย ดังนั้น ในความคิดของผม การ ทําวิจัยแบบบูรณาการหรือมีความร่วมมือกัน จะช่วยเพิ่ม คุณค่าและคุณภาพของงานวิจัย ทั้งในเชิงกว้างเนื่องจาก มุมมองที่หลากหลาย และในเชิงลึกเนื่องจากความชํานาญ ของนักวิจัยที่มาทํางานร่วมกัน
คณะสนั บ สนุ น ทุ น การทํ า วิ จั ย /สร้ า งสรรค์ และมี เ วที วิชาการเสนอผลงานวิจัยของคณาจารย์ในคณะหรือไม่ อย่างไร สํา หรั บ คณะเภสั ช ศาสตร์ มี ทุ น สนั บ สนุ น การทํ า วิจัย ซึ่งแบ่งประเภทออกเป็นทุนสําหรับนักวิจัยรุ่นใหม่และ สํ า หรั บ นั ก วิ จั ย ที่ มี ป ระสบการณ์ ซึ่ ง ผู้ ส นใจสามารถส่ ง ข้อเสนอโครงการวิจัยได้ตามระยะเวลาที่กําหนดตลอดปี และยังมีทุนสนับสนุนการไปนําเสนอผลงานวิจัยทั้งในและ ต่างประเทศ และรางวัลการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัย เพื่อ ส่งเสริม สนับสนุนและเป็นกําลังใจให้อาจารย์ที่ดําเนินการ วิจัยจนเสร็จสิ้น และสามารถเผยแพร่ผลงานวิจัยสู่วงกว้าง จนเป็นที่ยอมรับซึ่งเป็นอีกขั้นตอนหนึ่งที่สําคัญในการทํา วิจัย นอกจากนี้คณะยังมีการจัดเสวนาเป็นครั้งคราว เพื่อ แลกเปลี่ ย นประสบการณ์ ใ นการทํ า วิ จั ย เช่ น การเขี ย น
ข้อ เสนอแนะ และกํา ลั ง ใจในการทํ า งานวิ จั ย สํา หรั บ นักวิจัยรุ่นใหม่ ผู้ที่กําลังคิดจะทําวิจัย ไม่ว่าจะเป็นอาจารย์หรือ บุคลากรในสายสนับสนุน อาจเริ่มต้นในฐานะผู้ร่วมวิจัย ด้ ว ยโจทย์ เ ล็ ก ๆ ตามความสนใจหรื อ ถนั ด เพื่ อ ให้ เ กิ ด ความสุขและรักในการวิจัย จากนั้นจึงค่อยขยายเป็นเรื่องที่ ใหญ่ ขึ้ น และสามารถตอบโจทย์ ต ามความต้ อ งการของ สังคมหรือนําไปสู่การใช้ประโยชน์มากขึ้น โดยส่วนตัวผม ชื่นชมและยกย่องงานวิจัยทุกชิ้นที่เกิดจากความคิด มีความ ใหม่ และใช้ระเบียบวิธีวิจัยที่ถูกต้อง เพราะแม้ว่าผลงาน นั้นจะไม่ได้ถูกนําไปใช้ประโยชน์ให้เห็นเป็นรูปธรรมในทันที -5-
จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา ปที่ 20 ฉบับที่ 3 เดือนกรกฎาคม-กันยายน 2554
ก็ถือว่าเป็นการสรรค์สร้างองค์ความรู้ใหม่ที่เป็นพื้นฐานหรืออาจนําไปพัฒนาต่อโดยคนในรุ่นต่อไป ดังนั้นขอให้ลงมือ ทํา ศักยภาพที่มีอยู่แล้วในตัวของท่านจะสร้างคุณค่าให้กับตนเอง มหาวิทยาลัย สังคม ประเทศชาติ และโลกใบนี้ ผมขออวย พรให้ทุกท่านสนุกและประสบความสําเร็จในการทําวิจัยครับ
ประวัติและผลงาน
รองศาสตราจารย์ ดร.ธีรศักดิ์ โรจนราธา การศึกษา
- เภสัชศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยม อันดับหนึ่ง เหรียญทอง) พ.ศ.2538 จากคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร - ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต(จุลชีววิทยา) ด้วยรางวัลเกียรติยศผู้สําเร็จการศึกษาที่มีผลการศึกษาดีเยี่ยม (Dean’s List) พ.ศ.2547 จากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ปัจจุบันดํารงตําแหน่ง
รองศาสตราจารย์ประจําภาควิชาเภสัชเคมี คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
ผลงานด้านวิชาการ - ผลงานวิจัยตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ 40 เรื่อง - บทคัดย่อและรายงานวิจัยตีพิมพ์ในเอกสารประกอบการประชุมวิชาการทั้งในและต่างประเทศมากกว่า 60 เรื่อง - บทความวิชาการ 9 เรื่อง - หนังสือ 1 เล่ม รางวัลด้านการวิจัย ได้แก่ - รางวัลการเสนอผลงานวิจัยดีเด่น ในการประชุมวิชาการโครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก (2547) - รางวัลการเสนอผลงานวิจัยดีเยี่ยม ในการประชุมนักวิจัยรุ่นใหม่พบเมธีวิจัยอาวุโส สกว. (2552) - รางวัลผลงานวิจัย สภาวิจัยแห่งชาติ (2552) - รางวัลผลงานวิจัยดีเด่นสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ประยุกต์ และ นักวิจัยดีเด่น (2553) มหาวิทยาลัยศิลปากร - รางวัลรองชนะเลิศการประกวดข้อเสนอโครงการวิจัยและการพัฒนาเทคโนโลยีด้านสิ่งแวดล้อม กระทรวง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (2554) เป็นต้น
-6จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา ปที่ 20 ฉบับที่ 3 เดือนกรกฎาคม-กันยายน 2554
ภาพการได้รับรางวัลผลงานวิจัยดีเด่น ประจําปี 2554 ของสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานรางวัลผลงานวิจัยดีเด่น ประจําปี 2554 แก่ รองศาสตราจารย์ ดร.ธีรศักดิ์ โรจนราธา จากคณะเภสัชศาสตร์ ผลงานวิจัยเรื่อง “การพัฒนาวิธีการวิเคราะห์ยา ปฏิชีวนะอะม็อกซิซิลินในเภสัชภัณฑ์ โดยใช้เอนไซม์” สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ประยุกต์ โดยได้รับเงิน รางวัลจํานวน 30,000 บาท พร้อมใบประกาศเกียรติคุณ ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยศิลปากร ปีการศึกษา 2553 เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2554 ณ ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา มหาวิทยาลัยศิลปากร พระราชวังสนามจันทร์
-7จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา ปที่ 20 ฉบับที่ 3 เดือนกรกฎาคม-กันยายน 2554
ภาพการได้รับรางวัลผลงานวิจัย
รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับสองจากการประกวดข้อเสนอโครงการวิจัยและการพัฒนาเทคโนโลยีด้านสิ่งแวดล้อม ภายใต้บริบท “การพัฒนาที่ยงั่ ยืน” ในงานวันสิ่งแวดล้อมโลก วันที่ 5 มิถุนายน 2554 พร้อมกับนักศึกษาในโครงการวิจยั
แนวคิดหนึ่งของการวิจัยและพัฒนาวิธีวิเคราะห์ยาซึ่งเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยการลดสเกลหรือขนาดของการวิเคราะห์ลง เพื่อลดปริมาณสารเคมีที่ใช้และของเสียที่จะเกิดขึ้น
-8จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา ปที่ 20 ฉบับที่ 3 เดือนกรกฎาคม-กันยายน 2554
จาก...ชุมชน
นายสุพรชัย มังมี ่ สทิ ธิ์ นักวิจยั เชีย่ วชาญ สถาบันวิจยั และพัฒนา
เกริ่นนํา ในห่วงวันที่ 17-19 สิงหาคม 2554 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้จัดงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์ ใน การนําเสนอเรื่องราว และองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับงาน ด้านวิทยาศาสตร์สาขาต่างๆ โดยเชิญโรงเรียนระดับมัธยม ต้นและปลายในภูมิภาคตะวันตกเข้าร่วมงาน มีกิจกรรม หลายด้ า นทั้ ง แข่ ง ขั น ตอบปั ญ หาวิ ท ยาศาสตร์ ประกวด โครงการวิ ท ยาศาสตร์ นอกจากนั้ น กิ จ กรรมดั ง กล่ า ว ข้างต้น ยั งมีการจัดซุ้ ม นํ าเสนอข้ อมูล โครงการเกี่ยวกับ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบั นวิจั ย และพั ฒนา ได้เข้าร่วมกิจ กรรมกับ งาน สัปดาห์วิทยาศาสตร์ปีนี้เป็นปีที่ 3 โดยการนําเสนอข้อมูล และผลการถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชนฐานราก ในรูปแบบ ของโครงการการให้ บ ริ ก ารด้ า นวิ ช าการ ที่ ไ ด้ ดํ า เนิ น กิ จ กรรมดั ง กล่ า วมากว่ า 9 ปี ซึ่ ง กรอบแนวคิ ด ของ สถาบันวิจยั และพัฒนาที่ใช้ในการทํางานด้านการให้บริการ วิ ช าการแก่ ชุ ม ชน คื อ สถาบั น วิ จั ย ฯจะทํ า หน้ า ที่ เ ป็ น ผู้ ประสานให้เกิดการเรียนรู้ระหว่างชุมชนกับชุมชนและกับ หน่วยงานภายนอก เพื่อนําไปสู่การพัฒนาที่เหมาะสมกับ ศักยภาพท้องถิ่น ประการที่สองทําหน้าที่เป็นผู้ประสานให้ เกิดการเปลี่ยนแปลงที่เหมาะสมในชุมชน ประการสุดท้าย เป็นผู้ประสานให้ เกิด เครือ ข่า ยขึ้ น ในชุมชน เพื่อให้ ก า ร แ ก้ ปั ญ ห า หรื อ การพั ฒ นา เ ป็ น ไ ป อ ย่ า ง ต่ อ เนื่ อ งอั นจะ นําไปสู่ความยั่งยืนและความอยู่ดีมีสุขของคนในชุมชนนั้นๆ
สิ่งที่สถาบันนําเสนอในปีนี้
ในแต่ละปีทางผู้รับผิดชอบจะกําหนดหัวข้อที่จะ นํา เสนอเป็ น ภาพรวม ซึ่ งในปี 2554 นํา เสนอในหั วข้ อ เกี่ยวกับ พลังงานชี วมวลเรื่ อง “ชี ว มวลแกลบ : พลังงาน ทางเลือก” เป็นเรื่องที่สถาบันวิจัยได้ใช้ข้อมูลพื้นฐานจาก งานวิจัย เรื่ อง การอบแห้ งผลไม้โดยใช้โปรดิวเซอร์แ ก๊ส ของ ดร.วิ ศิ ษ ฎ์ ศ รี วิ ย ะรั ต น์ ภาควิ ช าครุ ศ าสตร์ อุตสาหกรรม คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิ ท ยาลั ย เทคโนโลยี พ ระจอมเกล้ า ธนบุ รี เป็ น โครงการวิ จั ย ที่ ไ ด้ รั บ ทุ น อุ ด หนุ น การวิ จั ย จากสํ า นั ก งาน คณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) โดยการประสานงาน ของเครื อ ข่ า ยวิ จั ย อุ ด มศึ ก ษาภาคกลางตอนล่ า ง ที่ มหาวิทยาลัยศิลปากร มอบหมายให้สถาบันวิจัยและพัฒนา เป็นแม่ข่ายดูแลการจัดสรรทุนและการเผยแพร่รายงานการ วิจัยฉบับสมบูรณ์ เมื่อได้อ่านรายละเอียดของงานวิจัยแล้ว ผู้เขียนเห็นว่าน่าจะใช้หลักการการผลิตแก๊สโปรดิวเซอร์ จากชี ว มวลมาประยุ ก ต์ ใ ช้ เ ป็ น พลั ง งานความร้ อ นที่ ใ ช้ สําหรับการหุงต้มอาหารในครัวเรือนได้ ซึ่งจากการทดลอง ของผู้ เ ขี ย นสามารถผลิ ต แก๊ ส จากแกลบและสามารถใช้ ทดแทนแก๊ ส หุ ง ต้ ม ที่ ใ ช้ กั น อยู่ใ นครั ว เรื อ นได้ เ ป็ น อย่ า งดี จึ ง พั ฒ นาเตาจากแหล่ ง ข้ อ มู ล ที่ มี ผู้ ศึ ก ษาไว้ แ ล้ ว ในเรื่ อ ง ดังกล่าวในอินเทอร์เน็ต ทํ าให้ได้รูปแบบเตาที่ใช้ ได้จริง และในงานดั ง กล่ า วสถาบั น วิ จั ย และพั ฒ นาได้ ส ร้ า งเตา ต้นแบบให้ผู้แ วะชมซุ้ม ของสถาบันวิจัยฯได้ศึกษาเรียนรู้ แลกเปลี่ ย นข้ อ มู ล ซึ่ ง อาจจะนํ า ไปสู่ ก ารพั ฒ นาเตาที่ -9-
จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา ปที่ 20 ฉบับที่ 3 เดือนกรกฎาคม-กันยายน 2554
โดยเฉพาะทางโทรทัศน์ ยังไม่มีคําตอบที่ชัดเจนหรือได้เห็น เพียงเล็กน้อยด้วยการนําเสนอในช่วงสั้นๆ เมื่อมาเจอผู้ ปฏิบัติจริงจากชุมชนก็เลยได้สอบถามซักไซร้ไล่เรียงกันใน ทุก แง่ มุ ม เกิดความเข้า ใจและบางคนก็ต้อ งการลงมือทํ า ประกอบกับในซุ้มของเราก็มีเตาสาธิตมาให้ชมด้วยก็ทําให้ ปัญหาต่างๆ จากผู้สนใจหายไป
เหมาะสมกับชุมชนหรือของแต่ละคนที่นําหลักการดังกล่าว ไปพัฒนาต่อ เสียงตอบรับจากผู้แวะชมซุ้มของสถาบันวิจัยฯ ในปี นี้ นั ก ศึ ก ษามหาวิ ท ยาลั ย ฯโดยเฉพาะคณะ วิศวกรรมศาสตร์ฯ ของ มศก. ให้ความสนใจเป็นจํานวน มาก แวะเข้ามาสอบถาม ชมการทดสอบเตา ทั้งเตาแก๊ส แกลบ และเตาชีวมวล ประการสําคัญคือผู้ที่ถ่ายทอดและ แลกเปลี่ยนข้อมูลกับเหล่าปัญญาชนเหล่านั้น เป็นชาวบ้าน จากชุมชนที่ส ถาบั นวิจัยฯเคยเข้าไปถ่ ายทอดเทคโนโลยี ต่าง ๆ มาแล้วในช่วงที่ผ่านมา นอกจากเรื่องเตาชีวมวล ประเภทต่ า งๆแล้ ว ผู้ ที่ เ ข้ า มาชมงานของสถาบั น วิ จั ย (นอกเหนื อ จากนั ก ศึ ก ษา) ก็ คื อ ประชาชนทั่ ว ไปและ บุคลากรของ มศก. ที่เคยได้ชมผลงานของสถาบันวิจัยในปี ที่ผ่านมา บางคนก็มาสอบถามถึงผลิตภัณฑ์ที่เคยมาซื้อหา ไปใช้ ใ นปี ที่ แ ล้ ว เช่ น เตาอั้ ง โล่ ป ระสิ ท ธิ ภ าพสู ง ที่ ใ ห้ พลังงานความร้อนสูงแต่สิ้นเปลืองถ่านน้อย เตาเผาถ่าน จากถังน้ํามันขนาด 200 ลิตรก็ยังมีคนมาซื้อหาไปทดลอง เผาถ่านที่บ้าน (ชักนึกสนุก) เมื่อได้ฟังปราชญ์ชาวบ้านเล่า กระบวนการเผาถ่ า นให้ ฟั ง และได้ อ ะไรบ้ า งจาก กระบวนการเผาถ่าน ซึ่งบางคนก็มีสวน มีต้นไม้ที่ในแต่ละ ปีจะมีการตัดแต่งมีไม้ฟืนเป็นจํานวนมากไม่รู้จะทําอย่างไร กั บ เศษไม้ เ หล่ า นี้ เมื่ อ ได้ ม าเห็ น มาคุ ย มาแลกเปลี่ ย น เรียนรู้กับผู้รู้ที่เกิดจากการปฏิบัติจนมีทักษะในด้านนี้เป็น อย่ า งดี จึ ง นึ ก ครึ้ ม ในอารมณ์ ขึ้ น มาอยากจะทํ า บ้ า ง บางคนก็มีงานอดิเรกปลูกต้นไม้ เลี้ยงสัตว์เลี้ยงต่างๆ ซึ่ง ผ ล พ ล อ ย ไ ด้ จากการเผา ถ่ า น คื อ น้ํ า ส้ ม ค วั น ไ ม้ สามารถนํ า ไป ประยุ ก ต์ ใ ช้ ไ ด้ ทั้ ง การเกษตร แ ล ะ ป ศุ สั ต ว์ เ ป็ น อิ น ท รี ย์ เคมีที่ได้จากธรรมชาติมีความปลอดภัยสูงทั้งคน พืชผลไม้ และสัตว์ต่างๆ หากใช้ในปริมาณที่เหมาะสม จึงเป็นซุ้มที่ ผู้คนวัยทํางานให้ความสนใจเป็นพิเศษ เพราะหลายๆโจทย์ ที่ ติ ด ค้ า งในใจเมื่ อ พานพบในสื่ อ สารมวลชนต่ า งๆ
บางแง่มุมจากผู้ชมผ่านซุ้มของเรา บอกว่ า ไม่ น่ า เชื่ อ ว่ า สิ่ ง ง่ า ย ๆ ที่ เ รานํ า เสนอจะ สามารถใช้ประโยชน์ได้จริง ยกตัวอย่างเช่น เตาชีวมวลจาก กระป๋องสี ใช้ไม้ฟืนเล็ก ๆ หรือเศษกิ่งไม้เพียงน้อยนิด ก็ สามารถให้ความร้อนได้เป็นอย่างดี หากเมื่อเทียบกับการ ก่อไฟด้วยเตาแบบดั้งเดิมที่เคยใช้ในชีวิตประจําที่ผ่านมา จะพบว่าเศษกิ่งไม้เหล่านี้มีประโยชน์เพียงแค่เป็นไม้ฟื้นเชื้อ ไฟเมื่อเริ่มติดเตาเท่านั้นเอง แต่เมื่อเราสร้างเตาขึ้นมาใหม่ โดยอาศัยหลักการทางวิทยาศาสตร์พื้น ๆ ก็สามารถนําเศษ กิ่งไม้เหล่านี้มาเป็นพลังงานความร้อนที่ใช้ในครัวเรือนได้ อย่ า งสบายๆ หลั ก การดั ง กล่ า วคื อ การไหลเวี ย นของ อากาศร้อนที่ จ ะลอยขึ้ นข้ างบนเสมอ เมื่อ ทํ าให้เ กิดช่ อ ง สําหรับอากาศเย็น ซึ่งมีออกซิเจนปนอยู่ไหลเข้าไปแทนที่ก็ จะเกิดการเผาไหม้ที่สมบูรณ์ และสร้างห้องเผาไม้จากท่อ เหล็กขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ 3 นิ้วขึ้นไป ก็จะเป็นการ บังคับทิศทางให้เปลวไฟพุ่งขึ้นข้างบน เตาแบบดังกล่าวไม่ ต้องใช้อุปกรณ์ใดๆเป็นตัวช่วย หากต้องการเปลวไฟที่แรง มากก็เปิดช่องอากาศเข้าให้กว้างที่สุด หากจะลดเปลวไฟลง ก็ เ พี ย งแต่ ล ดขนาดช่ อ งอากาศเข้ า ให้ เ ล็ ก ลงเท่ า นั้ น ก็ เพียงพอกับความต้องการของผู้ใช้เตาแล้ว ส่วนตัวเตาก็ สร้างจากวัสดุเหลือทิ้งต่างๆ นํากลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์ สูงสุด จากการสังเกตของผู้เขียน พบว่า ผู้ที่ผ่านเข้ามา ชมงานในซุ้มของสถาบันวิจัยและพัฒนาส่วนใหญ่เห็นว่า -10-
จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา ปที่ 20 ฉบับที่ 3 เดือนกรกฎาคม-กันยายน 2554
เรื่องราว ข้อมูลที่นําเสนอภายในบริเวณซุ้ม เป็นเรื่องใกล้ ตัวสามารถจับต้องได้ หากสนใจอยากจะทําก็ทําได้ และ ไม่ยากอย่างที่คิดอย่างที่ได้ยินได้ฟังมา เมื่อมาเห็นมาคุย กับผู้รู้ ทําให้คิดว่าตนเองก็น่าจะทําได้เช่นกัน จึงแวะเข้ามา พู ด คุ ย ซั ก ถามกั น จุ ด เด่ น อี ก ประการหนึ่ ง ของซุ้ ม สถาบั น วิ จั ย และพั ฒ นา คื อ การนํ า ปราชญ์ ช าวบ้ า นเข้ า มาร่ว มแลกเปลี่ย น และสาธิ ตขั้ น ตอนการทํ า งาน และ วิธีการสร้างเตาแบบต่างๆ ให้กับผู้เข้ามาเยี่ยมชมด้วยภาษา ง่ า ยๆ นั ก เรี ย นนั ก ศึ ก ษาที่ ม าพู ด คุ ย ด้ ว ย บางคนก็ ช มว่ า ทําไมลุงรู้เรื่องพวกนี้ด้วยหรือ ศัพท์แสงอาจแตกต่างจากใน ห้องเรียนของเขาเหล่านั้นไปบ้าง ปราชญ์ชาวบ้านก็เล่าให้ ผู้เขียนฟังว่ารู้สึกภูมิใจที่เด็กๆนักศึกษาสนใจซักถามทั้งยัง ได้ แ ลกเปลี่ ย นเรื่ อ งอื่ น ๆ จากเด็ ก เหล่ า นั้ น ด้ ว ย เป็ น ความรู้ สึ ก ของคนรากแก้ ว ที่ มี โ อกาสมาบอกกล่ า วถึ ง เรื่องราวที่เ ขาได้ปฏิ บัติจ นเกิ ดผลดี ต่อตนเองและชุ ม ชน ถื อ ว่ า เป็ น ภาระกิ จ หนึ่ ง ของสถาบั น วิ จั ย และพั ฒ นาที่ จ ะ สร้างเครือข่ายระหว่างชุมชนกับสถาบันการศึกษาให้เกิด การถ่ายเทข้อมูลอันจะนําไปสู่การเรียนรู้ซ่ึงกันและกันให้ มากขึ้ น เป็ น การเปิ ด โลกทั ศ น์ ทั้ ง ของชุ ม ชนและเด็ ก เยาวชนที่กําลังเล่าเรียนอยู่ในระดับอุดมศึกษาให้สามารถ เชื่อมโยงถึงกันได้
จากยากทําให้ง่ายสามารถทําได้จริง เป็นวิถีปฏิบัติที่สถาบันวิจัยใช้เป็นแนวทางการทํา โครงการการให้บริการทางวิชาการแก่สังคมชุมชนมาโดย ตลอด หากเรานําผลการวิจัยมาย่อยให้ง่ายขึ้นเพื่อนําไป สู่ ก ารปฏิ บั ติ ไ ด้ จ ริ ง โดยคํ า นึ ง ถึ ง กลุ่ ม ผู้ ใ ช้ ป ระโยชน์ จ าก งานวิจัยเป็นหลัก จะทําให้งานวิจัยนั้นมีคุณค่าต่อสังคม มากกว่าที่ งานวิจั ยขึ้นหิ้งเหมือนดังที่ งานวิจั ยหลายเรื่อง เป็นอยู่ และต้องอาศัยนักวิชาการที่มีใจที่จะทํางานด้านนี้ ให้บังเกิดผลอย่างแท้จริง จะทําให้งานวิจัยต่างๆ จากแต่ ละด้านสามารถนําไปใช้ประโยชน์ในการขับเคลื่อนสังคมไป ในทิ ศ ทางที่ ต้ อ งการได้ และคํ า กล่ า วที่ ก ล่ า วกั น ว่ า การ พัฒนาประเทศตั้งอยู่บนพื้นฐานแห่งความรู้ก็จะเป็นจริงได้ หากทุกภาคส่วนเห็นความสําคัญของความรู้กับการนําไปใช้ ประโยชน์อย่างแท้จริง
-11จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา ปที่ 20 ฉบับที่ 3 เดือนกรกฎาคม-กันยายน 2554
ผลงานวิจัย
การศึกษาศักยภาพของเครือ่ งจมูกเทียมในการบงชี้ปริมาณการปน ของขาวปทุมธานี 1 ในขาวขาวดอกมะลิ 105 Study the potential application of electronic nose to identify degree adulteration of Pathum Thani 1 in Khaw Dok Mali 105 rice ผศ.ดร.บัณฑิต อินณวงศ์ ภาควิชาเทคโนโลยีอาหาร คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร
1. บทคัดย่อ งานวิจยั นี้ มีวตั ถุ ประสงค์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงกลิ่นของข้าวขาวดอกมะลิ 105 ที่มีขา้ วปทุมธานี 1 ผสมใน อัตราส่วนร้อยละ 0, 20, 15, 10, 8, 5 และ 100 โดยนํ้าหนัก ตามลําดับ โดยใช้เครื่องจมูกเทียม เมื่อระยะเวลาในการเก็บ รักษานาน 6 เดือน รวมถึงติดตามผลการเปลี่ยนแปลงขององค์ประกอบทางเคมี และปริมาณสารระเหยได้ในข้าว จากผล การศึกษาพบว่าเครื่องจมูกเทียมมีศกั ยภาพในการจําแนกรูปแบบกลิ่นของตัวอย่างข้าวขาวดอกมะลิ 105 และข้าวปทุมธานี 1 ได้อย่างชัดเจนในระหว่างการเก็บรักษาเป็ นเวลา 6 เดือน โดยข้าวที่ไม่มีการผสม (ร้อยละ 0 และ 100) มีค่าความแปรปรวน สะสมใน PC2 สูงถึงร้อยละ 99 เมื่อพิจารณาระยะเวลาการเก็บรักษาของข้าวแต่ละชุด พบว่าข้าวขาวดอกมะลิ 105 สามารถ แยกกันได้อย่างชัดเจนเมื่อเก็บไว้ที่เวลา 1, 2, 5 และ 6 เดือน แต่กลับไม่สามารถแยกความแตกต่างได้ในช่วงเดือนที่ 3 และ 4 ในขณะที่ ขา้ วปทุ มธานี 1 จะสามารถแยกความแตกต่างได้ต้ังแต่เดือนที่ 1 ถึ ง 4 แต่ไม่สามารถจําแนกได้ในเดือนที่ 5 และ 6 นอกจากนี้ เมื่อทําการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงขององค์ประกอบทางเคมี พบว่าระยะเวลาในการเก็บรักษาไม่มีผล ต่อการเปลี่ยนแปลงของความชื้ น โปรตีน ไขมัน ใยอาหาร เถ้า คาร์โบไฮเดรต และอะไมโลสของข้าวทั้ง 2 ตัวอย่าง ในขณะที่ การวิเคราะห์ปริมาณสารระเหยได้ดว้ ยเครื่อง GC-MS พบว่าปริมาณสารประกอบระเหยได้ที่พบประกอบด้วยสาร 6 กลุ่มคือ แอลกอฮอล์ แอลดีไฮด์ คีโตน อัลเคน อัลคีน และเฮเทอโรไซคลิก โดยมีนาโนแนล และเฮกซาแนลเป็ นสารประกอบหลัก ทั้งนี้ ปริมาณ 2-อะเซติล-1-ไพโรลีน (2-AP) ซึ่งเป็ นสารให้กลิ่นหอมหลักในข้าวขาวดอกมะลิ 105 และปทุมธานี 1 ลดลง ร้อยละ 27.35 และ 33.64 ตามลําดับ ส่วนปริมาณเฮกซาแนล เพิ่มขึ้ นร้อยละ 87.87 และ 89.75 ตามลําดับ เมื่อ ระยะเวลาในการเก็บรักษานานขึ้ น 6 เดือน
Abstract The objectives of this study were to investigate the changes of odor profiles using electronic nose under 6 months of storage time in Khaw Dok Mali rice 105 mixed with Pathumthani rice 1 by ratios 0, 20, 15, 10, 8, 5, and 100 percentages by weight, respectively and also to determine the changes of chemical components and volatile compounds in both rice varieties. The electronic nose was therefore potentially exhibited the ability to discriminate the odor profile of 2 rice varieties during storage. Considerably, the 2 pure treatments of rice which contained a hundred percent of Khaw Dok Mali rice 105 and Pathumthani 1 rice showed high cumulative variances -12จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา ปที่ 20 ฉบับที่ 3 เดือนกรกฎาคม-กันยายน 2554
for first and second principal components (PC1 and PC2) up to 99 percentages when principal component analysis (PCA) was conducted. The analysis of compressive data obtained from electronic nose could be distinctively discriminated during storage time at first, second, fifth, and sixth month on Khaw Dok Mali rice 105 and at first to forth month on Pathumthani rice 1. Chemical analysis of both Khaw Dok Mali rice 105 and Pathumthani rice 1 resulted that there were no significant differences in moisture content, protein, fat, crude fiber, ash, carbohydrate, and amylase content changes during 6 months storage. Nevertheless, GC-MS was conducted to investigate the volatile compounds and the results displayed 6 groups of volatile compounds including alcohol, aldehyde, ketone, alkane, alkene, and heterocyclic. Nanonal and hexanal showed the main volatile compounds found in GC-MS analysis. Besides, the quantity of 2-acetyl-1-pyrroline (2-AP) which was main contributing compounds in both 2 rice varieties, decreased to 27.35 and 33.64 percentages, meanwhile the increments of hexanal were 87.87 and 89.75 percentages for Khaw Dok Mali rice 105 and Pathumthani rice 1, respectively when they stored for 6 months. 2. บทนํา (Introduction) การตรวจสอบการปนข้าวปทุมธานี ในข้าวขาวดอกมะลิน้ั น ในปั จจุบนั สามารถทําการตรวจสอบได้เพียงวิธีเดียวคือ การตรวจ DNA ของข้าว (Ronnarit, 2005) ซึ่งใช้ค่าใช้จ่ายสูงและเวลาในการตรวจสอบนานมาก อีกทั้งหน่ วยงานที่ทาํ การ ตรวจสอบยังมีไม่เพียงพอต่อความต้องการของภาคอุตสาหกรรม ซึ่ งหากให้ผูส้ ่งออกทุ กรายทําการส่งตัวอย่างตรวจก็ ไม่ สามารถรองรับได้ อีกทั้งราคาและเวลาที่มากในการตรวจสอบนั้ นทําให้ผูส้ ่งออกมีความต้องการที่จะหาวิธีการที่จะสามารถ ตรวจสอบการปนได้นอกจากการตรวจ DNA ซึ่งการที่จะสามารถตรวจสอบการปนของข้าวปทุมธานี ได้น้ั นจําเป็ นที่จะต้อง ทราบข้อมูลอย่างละเอียดทั้งในแง่คุณลักษณะทางเคมีและกายภาพของข้าวทั้งสองชนิ ดนี้ ว่ามีคุณสมบัติต่างกันอย่างไรบ้าง ซึ่ง ข้อมูลดังกล่าวเป็ นข้อมูลพื้ นฐานที่จะนํ ามาสู่การพัฒนาเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่มีราคาถูก และสามารถใช้ในการตรวจสอบ การปนระหว่างข้าว 2 สายพันธุ ์ได้อย่างรวดเร็ ว และมีประสิทธิ ภาพ ดังนั้ นการวิเคราะห์ถึงความแตกต่างไม่ว่าจะเป็ น คุณสมบัติทางเคมี เช่น กลิ่นรสของข้าว 2 สายพันธุ ์ ตลอดจนความแตกต่างทางกายภาพที่โดดเด่นนั้ นจะสามารถนํ ามา ประยุกต์ใช้เป็ นข้อมูลที่สาํ คัญอย่างยิ่ง โดยใช้เป็ นฐานองค์ความรูส้ าํ หรับในการต่อยอดเพื่อพัฒนากระบวนการหรือเครื่องมือ ในอนาคต แม้ว่าในปั จจุบนั อาจได้มีการทําวิจยั เกี่ยวกับลักษณะทางเคมี และกายภาพของข้าวขาวดอกมะลิ เช่น การศึกษาหา ปริมาณสาร 2-Acetyl-1-Pyrroline (2-AP) (Sugunya, 2003) การหาปริมาณอะไมเลส (Zhongkai, 2003) การวัดสี ซึ่ง การหาค่าต่างๆ เหล่านี้ เป็ นเพียงการวัดเพื่อเก็บข้อมูลเท่านั้น ไม่ได้มีการนําข้อมูลที่ได้มาทําการประมวลวิเคราะห์และทําการ เปรียบเทียบกับการวัดค่าต่างๆ จากข้าวปทุมธานี เลยทําให้ไม่สามารถหาวิธีการวัดค่าที่จะแยกความแตกต่างของข้าวทั้ง 2 ตัวอย่างนี้ ได้ งานวิจยั ปั จจุบนั ส่วนมากมักจะมุ่งเน้นศึกษาไปในด้านคุณสมบัติเฉพาะตัวของข้าวไทยสายพันธุ ์ต่างๆ เสียเป็ นส่วน ใหญ่โดยเฉพาะองค์ความรูเ้ ชิงลึกที่เกี่ยวกับข้าวขาวดอกมะลิ แต่มีงานวิจยั เพียงไม่กี่ชิ้นงานเท่านั้นที่จะทําการศึกษาหาวิธีการ ที่มีประสิทธิภาพสูงสําหรับใช้บ่งชี้ ถึงระดับการปนของข้าวไทยแต่ละสายพันธุ ์ และยิ่งหากค้นให้ลึกลงไปในรายละเอียดกลับ พบว่า งานวิจยั ที่ทาํ เปรียบเทียบความแตกต่างของข้าวแต่ละสายพันธุ ์ ผูว้ ิจยั จะนิ ยมใช้ขา้ วสายพันธุท์ ี่มีความแตกต่างกันอย่าง ชัดเจนซึ่งอาจเป็ นการผสมระหว่างทั้งข้าวพันธุต์ ่างประเทศและภายในประเทศ โดยทัว่ ไป ถ้าหากต้องการที่จะศึกษาถึงการเปลี่ยนแปลงทางด้านกลิ่นรสของผลิตภัณฑ์อาหารนั้ น นั กวิจยั นิ ยมทํา ด้วยกัน 2 วิธีคือ การประยุกต์ใช้กระบวนการทดสอบทางประสาทสัมผัส หรือ การใช้เครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสูงในการ วิเคราะห์สารให้กลิ่นรส เช่น GC/MS เป็ นต้น (Hodgins และ Simmonds, 1995; Hodgins, 1996; Mielle และ Marquis, 1998; Yang และคณะ, 2000) อย่างไรก็ตามแต่ละวิธีดงั กล่าวมีขอ้ จํากัดที่แตกต่างกัน ส่วนการใช้เครื่องมือ GC/MS นั้น -13จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา ปที่ 20 ฉบับที่ 3 เดือนกรกฎาคม-กันยายน 2554
เป็ นวิธีที่ตอ้ งการผูท้ ี่มีความชํานาญสูงเพื่อแปลผลให้สอดคล้องกับคุณภาพของผลิตภัณฑ์อาหารที่ตอ้ งการทดสอบ (Hodgins, 1996; Yang และคณะ, 2000) ดังนั้นวิธีที่น่าสนใจในการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงทางด้านกลิ่นรสของผลิตภัณฑ์อาหาร ควรจะต้องมีความว่องไว ง่ายต่อการใช้และมีความถูกต้องแม่นยําสูง ในช่วง 15 ปี ที่ผ่านมา บริษัทผลิตเครื่องมือวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์เพื่อการค้าต่างๆ ได้ทําการพัฒนาเครื่องมือ Chemosensory system หรือ “electronic nose” เพื่อใช้บ่งชี้ ถึงการเปลี่ยนแปลงหรือความแตกต่างทางด้านกลิ่นรสของ ผลิตภัณฑ์ต่างๆ (Lacey และ Osborn, 1998; Philip และคณะ, 1997; Schaller และ Bosset, 1998; Warburton, 1996) โดยเครื่องมือ electronic nose นี้ ส่วนใหญ่จะประกอบด้วย arrays of chemical sensors ทั้งนี้ chemical sensor แต่ละตัวจะ มีความสามารถและประสิทธิภาพในการตอบสนองต่อประเภทของสารระเหยกลิ่นรสที่แตกต่างกันออกไป ประกอบกับการ พัฒนาศักยภาพของ software ที่ใช้ในการวิเคราะห์ความแตกต่างทางสถิติ และการประยุกต์ใช้ระบบ artificial neutral networks จึงทําให้เครื่อง electronic nose สามารถวิเคราะห์ความแตกต่างของกลิ่นรสในอาหารได้ในประสิทธิภาพสูง และ รวดเร็ว (Hodgins และ Simmonds, 1995; Hodgins, 1996; Mielle, 1996; Payne, 1998) ปั จจุบนั นักวิจยั หลายๆท่านได้ประยุกต์ใช้เครื่อง เครื่องจมูกเทียม ในอุตสาหกรรมอาหารหลายประเภท เช่น ใน อุตสาหกรรมไวน์ อุตสาหกรรมเนยแข็ง และอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์เนื้ อสัตว์ เป็ นต้น โดยนํ ามาใช้ในการควบคุมคุณภาพ การตรวจสอบในขั้นตอนการผลิ ต การตรวจความแก่อ่อนของวัตถุ ดิบโดยเฉพาะผลไม้ และ การเปลี่ ยนแปลงกลิ่นรส เนื่ องจากภาชนะบรรจุ (Aparicio และคณะ, 2000; Muhl และคณะ, 2000; Yang, 2000) เครื่อง เครื่องจมูกเทียม จึงเป็ น อีกหนึ่ งแนวทางหนึ่ งที่ สามารถประยุ กต์ใช้ในการวิเคราะห์การเปลี่ ยนแปลงทางด้านกลิ่ นรสของผลิ ตภัณฑ์อาหารต่ างๆ เนื่ องจาก สะดวก ใช้เวลาวิเคราะห์ส้นั มีความถูกต้องและแม่นยําสูง ดังนั้ นวัตถุประสงค์ของการวิจยั นี้ จึงเป็ นการศึกษาการประยุกต์ใช้เครื่องจมูกเทียมในการติดตามเปลี่ยนแปลงกลิ่น ของข้าวขาวดอกมะลิ 105 ที่ถูกผสมด้วยข้าวปทุมธานี 1 ในอัตราส่วนต่างๆ ที่ระยะเวลาการเก็บรักษานาน 6 เดือน รวมถึง วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงขององค์ประกอบทางเคมี และการเปลี่ยนแปลงของปริมาณสารประกอบที่ ระเหยได้ดว้ ยเครื่อง GC-MS 3. วัตถุประสงค์ของการวิจยั (Objective) 3.1 ศึกษาผลของเครื่องจมูกเทียมต่อการจําแนกรูปแบบกลิ่นในข้าวขาวดอกมะลิ 105 และปทุมธานี 1 ระหว่างเก็บรักษา 3.2 ศึกษาการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบของสารระเหยในข้าวขาวดอกมะลิ 105 และปทุมธานี 1 ระหว่างการ เก็บรักษา 4. วิธีดาํ เนิ นการวิจยั (Materials and Method) 4.1 การเตรียมตัวอย่าง ในการศึกษาใช้ขา้ ว 2 ตัวอย่าง คือหอมมะลิ 105 และปทุมธานี 1 จากศูนย์วิจยั ข้าว จังหวัดปทุมธานี โดยเก็บเกี่ยว ตัวอย่างจากแปลงทดลองในเดือนเมษายน 2552 ซึ่งข้าวทั้ง 2 ตัวอย่างมีความชื้ นเริ่มต้นประมาณ 12-13% (ฐานเปี ยก) ทําการสุ่มข้าวทั้ง 2 ตัวอย่างมาขัดสีดว้ ยเครื่องสีขา้ ว แล้วทําความสะอาดโดยใช้แรงลม (aspirator) เพื่อกําจัดสิ่งปนเปื้ อนออก จากข้าวสาร หลังจากนั้นเก็บรักษาข้าวสารในถุงโพลีโพรพีลีนถุงละประมาณ 500 กรัม ที่อุณหภูมิ 30-35 องศาเซลเซียส และความชื้ นสัมพัทธ์ประมาณ 65-70% ทั้งนี้ ในการวิเคราะห์ปริมาณสารประกอบที่ระเหยได้ (volatile compound) ตัวอย่างข้าวจะถูกนํามาบดด้วยเครื่องโม่ บดแบบค้อน (hammer mill, Retsch, GmbH 5657 HAAN, Germany) และร่อนผ่านตะแกรงขนาด 35 เมช 4.2 การวิเคราะห์องค์ประกอบพื้ นฐาน นําข้าวทั้ง 2 สายพันธ์มาวิเคราะห์องค์ประกอบพื้ นฐาน ได้แก่ ความชื้ น โปรตีน ไขมัน ใยอาหารทั้งหมด เถ้า (ตาม -14จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา ปที่ 20 ฉบับที่ 3 เดือนกรกฎาคม-กันยายน 2554
วิธีของ AOAC, 2005) คาร์โบไฮเดรต (ตามวิธีของ NLH, 1995) และอะไมโลส (ตามวิธีของ AACC) 4.3 การวิเคราะห์ดว้ ยเครื่องจมูกเทียม เครื่องจมูกเทียม (Alpha M.O.S. รุ่น FOX 3000) ประกอบด้วย MOS sensor จํานวน 12 ตัว ซึ่งเชื่อมต่อเข้ากับ เครื่องเก็บตัวอย่างอัตโนมัติ (Auto sampler) รุ่น HS 100 (ภาพที่ 1) โดยตัวอย่างข้าวทั้ง 2 ตัวอย่างที่จดั เตรียมไว้ตาม สัดส่วนที่ตอ้ งการศึกษาในแต่ละเดือน จะถูกนํามาชัง่ ให้ได้น้ําหนัก 5 กรัม ใส่ในขวดแก้ว (Glass vial) ขนาด 10 มิลลิลิตร แล้วปิ ดด้วยฝาให้สนิ ทเพื่อป้องกันความแปรปรวนจากการเปลี่ยนแปลงของกลิ่นก่อนการวิเคราะห์ จากนั้นจึงนําขวดแก้วแต่ละ ขวดมาวางลงในถาดบรรจุสาํ หรับรอการวิเคราะห์ต่อไป ข้อมูลที่ได้จากเครื่องจมูกเทียมจะถูกนํ ามาวิเคราะห์วิธีองค์ประกอบหลัก ด้วยโปรแกรม Win-DAS (Wiley, Chichester, U.K.) เพื่อแยกความแตกต่างของข้อมูล
ภาพที่ 1 เครื่องจมูกเทียม (Alpha M.O.S. Model FOX 3000) 4.4 การวิเคราะห์สารประกอบระเหยได้ (ดัดแปลงจากวิธีของ Wongpornchai และคณะ, 2004) ชัง่ นํ้าหนักแป้งข้าว 8.00 กรัม ใส่ขวด vial ขนาด 27 มิลลิลิตร หลังจากนั้นเติมสารละลายมาตรฐาน 2,4,6trimethyl pyridine (ความบริสุทธิ์ 99%, Aldrich Chemical, Germany) ความเข้มข้น 6.24 มิลลิกรัม/ลิตร ปริมาตร 10 ไมโครลิตร เป็ น internal standard ทําการปิ ดด้วยฝาอลูมิเนี ยมที่มี septum ชนิ ด PTFE/silicone การสกัดสารประกอบที่ระเหยได้จากตัวอย่างจะใช้ไฟเบอร์ SPME (Supelco, Bellefonte, PA) ชนิ ด CAR/PDMS ที่มี ความหนา 75μm ซึ่งถูกทํา pre-conditioning ใน GC injector port ที่อุณหภูมิ 200°C นาน 30 นาที หลังจากนั้นแทงไฟ เบอร์ผ่าน septum ให้ไฟเบอร์อยู่เหนื อตัวอย่างประมาณ 1 เซนติเมตร บ่มที่อุณหภูมิที่ 80°C นาน 30 นาที ก่อนนําไป วิเคราะห์ดว้ ย GC-MS ต่อไป การวิเคราะห์สารประกอบที่ระเหยได้ที่ถูกดูดซับบนไฟเบอร์ จะใช้เครื่อง GC-MS (Agilent 6890N (G 1530N) และ G2579A mass-selective detector, Agilent Technologies, USA) โดยใช้การฉีดแบบ split/splitless (model CP3800 injector) ส่วน MS detector จะตั้งแบบ electron impact (EI) mode ในช่วงค่า m/z เป็ น 40–400 m/z และ SIM (Selected Ion Monitoring) mode สารระเหยที่ดดู ซับถูกชะออกใน injector port spitless mode ที่ 250°C เป็ นเวลา 3 นาที ภายในคอลัมน์สารระเหยถูกชะด้วยก๊าซฮีเลียมใน wall-coated open tubular (WCOT) fused silica 30 m x 0.32 mm เคลือบคอลัมน์ดว้ ย chemically bonded polysiloxane low bleed phase (HP-SIL 5 CB Low Bleed/MS) ขนาด 0.25μm ใช้โปรแกรมอุณหภูมิดงั นี้ : อุณหภูมิเริ่มต้น 35°C เป็ นเวลา 3 นาที จากนั้นเพิ่มอุณหภูมิเป็ น 50°C ที่อตั รา 2°C/min ก่อน เพิ่มอุณหภูมิเป็ น 100°C ที่อตั รา 3°C/min และเพิ่มอุณหภูมิอีกครั้งเป็ น 180°C ที่อตั รา 5°C/min จากนั้น post run ที่ อุณหภูมิ 230°C เป็ นเวลา 5 นาที สภาวะคอลัมน์คืออัตราการไหลคงที่ 1.4 ml/min -15จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา ปที่ 20 ฉบับที่ 3 เดือนกรกฎาคม-กันยายน 2554
4.5 การวิเคราะห์ทางสถิติ วางแผนการทดลองแบบ Complete Randomized Design วิเคราะห์ผลทางสถิติดว้ ยโปรแกรมสําเร็จรูป SAS (Statistical Analysis System Institute, USA, 2000) ด้วยวิธี General Linear Model Program (GLM) วิเคราะห์ความ แตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยด้วยวิธี Least Significant Difference (LSD) ที่ระดับความเชื่อมัน่ ร้อยละ 95 5. สรุปผลการวิจยั (Result and Discussion) จากการประยุกต์เพื่อหาความเป็ นไปได้ในการใช้เครื่องจมูกเทียม เพื่อจําแนกความแตกต่างรูปแบบกลิ่นของข้าวขาว ดอกมะลิ 105 และ ข้าวปทุมธานี 1 โดยทําการคัดเลือก Sensor ให้เหมาะสมกับการติดตามการเปลี่ยนแปลงรูปแบบกลิ่น จากการทดลองพบว่าความสามารถในการจําแนกรูปแบบกลิ่นของข้าวลดลง เมื่อระยะเวลาในการเก็บรักษานานขึ้ น เนื่ องจาก เกิดการเปลี่ยนแปลงปริมาณและองค์ประกอบของสารประกอบที่มีกลิ่นในระหว่างการเก็บรักษา แต่หากพิจารณาเฉพาะข้าว ขาวดอกมะลิ 105 และข้าวปทุมธานี 1 ที่ไม่ได้มีการผสมกัน พบว่าการใช้เครื่องจมูกเทียมจะสามารถแยกความแตกต่างของ รูปแบบกลิ่นได้อย่างชัดเจนตลอดระยะเวลาการเก็บรักษา 6 เดือน ดังแสดงในภาพที่ 2 ในขณะเดียวกันจากการศึกษาการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบทางเคมีของข้าวขาวดอกมะลิ 105 และปทุมธานี 1 ระหว่างการเก็บรักษาเป็ นระยะเวลา 6 เดือน พบว่าระยะเวลาในการเก็บรักษาไม่มีผลอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับความ เชื่อมัน่ ร้อยละ 95 ต่อการเปลี่ยนแปลงด้านความชื้ น คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน เถ้า ใยอาหาร และอะไมโลสของข้าวแต่ละ ตัวอย่าง ทั้งนี้ ข้าวขาวดอกมะลิ 105 จะมีปริมาณไขมัน และใยอาหารแตกต่างจากข้าวปทุมธานี 1 เล็กน้อย นอกจากนี้ เมื่อทํา การวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของสารระเหยในข้าวด้วยเครื่อง GC-MS พบว่าสามารถจําแนกสารที่พบได้เป็ น 6 กลุ่ม คือ แอลกอฮอล์ แอลดี ไฮด์ คีโตน อัลเคน อัลคีน และเฮเทอโรไซคลิ ก โดยแอลดีไฮด์เป็ นสารกลุ่มหลักที่ พบและมีปริ มาณสูง โดยเฉพาะ nonanal และ hexanal ซึ่งจะมีปริมาณเพิ่มสูงขึ้ นระหว่างการเก็บรักษา ในขณะที่ 2-AP จะลดลงระหว่างการเก็บ รักษา ดังแสดงในภาพที่ 3 และ 4 อย่างไรก็ตามผลการติดตามการเปลี่ยนแปลงของปริมาณสารระเหยได้ในข้าวทั้ง 2 ตัว อย่า งระหว่า งการเก็ บ รัก ษา พบว่า ผลจากการวิเ คราะห์ด ว้ ยเครื่ อง GC-MS สอดคล้อ งกับ ความแตกต่ า ง ของรูปแบบกลิ่นที่วเิ คราะห์ได้จากเครื่องจมูกเทียม
ความเข้มข้นของ 2-AP (ppm)
ภาพที่ 2 การจําแนกรูปแบบกลิ่นของข้าวขาวดอกมะลิ 105 และข้าวปทุมธานี 1 ในระหว่างการเก็บรักษา
ภาพที่ 3 ผลของระยะเวลาเก็บรักษาต่อปริมาณ 2-AP ในข้าวขาวดอกมะลิ 105 และปทุมธานี 1 -16จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา ปที่ 20 ฉบับที่ 3 เดือนกรกฎาคม-กันยายน 2554
การสูญเสีย 2-AP (%)
ภาพที่ 4 ผลของระยะเวลาเก็บรักษาต่อปริมาณ hexanal ในข้าวขาวดอกมะลิ 105 และปทุมธานี 1 6. บรรณานุ กรม (Reference) Grimm CC., Bergman C., Delgado JT., Bryant R. 2001. Screening for 2-acetyl-1-pyrroline in the headspace of rice using SPME/GC-MS. J Agri Food Chem 49: 245-249. Ishitani K., Fushimi C. 1994. Influence of pre- and post-harvest conditions on 2-acetyl-1-pyrroline concentration in aromatic rice. The Koryo 183: 73-80. Laohakunjit N., Kerdchoechuen O. 2007. Aroma enrichment and the change during storage of non-aromatic milled rice coated with extracted natural flavor. Food Chem 101: 339-344. Mahathreeranont S., Keawsa-ard, S., Dumri K. 2001. Quantification of the rice aroma compound, 2-acetyl-1pyrroline, in uncooked Khao Dawk Mali 105 brown rice. J Agri Food Chem 49: 773-779. Shibuya N., Iwasaki T., Yanase H., Chikubu S. 1974. Studies on deterioration of rice during storage. I. Changes of brown rice and milled rice during storage. J Jap Sco Food Sci Tech 21: 597. Tulyathan V., Srisupattarawanich N., Suwanagul A. 2008. Effect of rice coating on 2-acetyl-1-pyrroline and nhexanal in brown rice cv. Jao Hom Supanburi during storage. Post Bio and Tech 47: 367-372. Wongpornchai S., Dumri K., Jongkaewwattana S., Siri B. 2004. Effects of drying methods and storage time on the aroma and milling quality of rice (Oryza sativa L.) cv. Khao Dawk Mali 105. Food Chem 87: 407-414. 7. คําขอบคุณ (Acknowledgement) ขอขอบคุณสถาบันวิจยั และพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร ที่ให้ทุนอุดหนุ นประจําปี งบประมาณ 2552
-17จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา ปที่ 20 ฉบับที่ 3 เดือนกรกฎาคม-กันยายน 2554
ขาวสารความเคลื่อนไหว พิธีพระราชทานรางวัลผลงานวิจัยดีเด่น ประจําปี 2554
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานรางวัลผลงานวิจัยดีเด่น ประจําปี 2554 แก่ รองศาสตราจารย์ ดร.ธีรศักดิ์ โรจนราธา จากคณะเภสัชศาสตร์ ผลงานวิจัยเรื่อง “การพัฒนาวิธีการวิเคราะห์ยา ปฏิชีวนะอะม็อกซิซิลนิ ในเภสัชภัณฑ์โดยใช้เอนไซม์” สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ประยุกต์โดยได้รับเงิน รางวัลจํานวน 30,000 บาท พร้อมใบประกาศเกียรติคุณ ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยศิลปากร ปี การศึกษา 2553 เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2554 ณ ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา มหาวิทยาลัยศิลปากร พระราชวังสนามจันทร์ นครปฐม
มหาวิทยาลัยศิลปากรได้รับรางวัล Gold Award ถ้วยรางวัลจากนายกรัฐมนตรี (ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร) พร้อมเงินสด 20,000 บาท ในงานการนําเสนอผลงานวิจัยแห่งชาติ 2554 (Thailand Research Expo 2011) วันที่ 26-30 สิงหาคม 2554 ณ ศูนย์ประชุมบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุเทพฯ
-18จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา ปที่ 20 ฉบับที่ 3 เดือนกรกฎาคม-กันยายน 2554
กิจกรรมภายในงาน การบรรยายพิเศษ •
เรื่อง “ศิลปากรพัฒนาเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์” โดย ผศ.ดร.อริศร์ เทียนประเสริฐ ผู้อํานวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร
•
เรื่อง การพัฒนาพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการศึกษาเชิงสร้างสรรค์ โดย ผศ.ดร.คีรีบูน จงวุฒิเวศย์ จากคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
•
เรื่อง GC2:Green Clean and Creative Food for Gastronomy Tourism โดย ผศ.ดร.บุศรากรณ์ มหาโยธี คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร
•
เรื่อง การถ่ายทอดองค์ความรู้ด้วยการอบรมและปฏิบัติการสร้างสรรค์งานศิลปะภาพพิมพ์ จากแม่พิมพ์ไม้และแม่พมิ พ์คอนกรีตฯ โดย ผศ.ชัยณรงค์ อริยประเสริฐ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
การออกบูธแสดงผลงานวิจัยและสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
-19จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา ปที่ 20 ฉบับที่ 3 เดือนกรกฎาคม-กันยายน 2554
งานสัปดาห์วันวิทยาศาสตร์ ประจําปี 2554 17-19 สิงหาคม 2554 สถาบันวิจัยและพัฒนาได้ดําเนินการจัดกิจกรรม ร่วมกับ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ณ บริเวณลาน หน้าสถาบันวิจัยและพัฒนา และอาคารวิทย์ 4 คณะวิทยาศาสตร์ ในงานสัปดาห์วันวิทยาศาสตร์ เมื่อวันที่ 17-19 สิงหาคม 2554 โดยมีกิจกรรมต่างๆ ดังนี้
1. โครงการ Creative Inspiration Zone
•
อบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง "เทคนิคการทําเครื่องเคลือบดินเผา" (แบ่งกลุ่ม) วิทยากรโดย อาจารย์ธาตรี เมืองแก้ว และคณะ • • •
กลุ่มที่ 1 สาธิตการขึ้นรูปด้วยมือ
กลุ่มที่ 2 สาธิตการขึ้นรูปด้วยแป้นหมุน กลุ่มที่ 3 สาธิตเทคนิคการหล่อน้ําดิน
2. การแสดงผลงานเครื่องประดับและตกแต่ง เมื่อวันที่ 17-19 สิงหาคม 2554 ณ บริเวณใต้อาคารวิทย์ 4 คณะวิทยาศาสตร์
-20จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา ปที่ 20 ฉบับที่ 3 เดือนกรกฎาคม-กันยายน 2554
3. โครงการ "เทคโนโลยีกับความพอเพียง" ณ บริเวณหน้าสถาบันวิจัยและพัฒนา
• •
สาธิต แกลบ พลังงานทางเลือกชีวมวล
การจําหน่ายผลิตภัณฑ์จากชุมชน เช่น ข้าวกล้องหอมมะลิ, แชมพูสระผม, ครีมนวดผม, สบู่, น้ํายาล้างจาน, น้ําส้มควันไม้
บูธงาน "เปิดโลกกว้างงานวิจัยเพื่อพัฒนาการบินไทยให้ยั่งยืน"
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากรได้ดําเนินการจัดบูธงาน "เปิดโลกกว้างงานวิจัยเพื่อพัฒนาการบิน ไทยให้ยั่งยืน" เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2554 ณ การบินไทย สํานักงานใหญ่ จัดโดย กองวิจัยและพัฒนาธุรกิจการเงิน (Y6)
-21จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา ปที่ 20 ฉบับที่ 3 เดือนกรกฎาคม-กันยายน 2554
อบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อเขียนร่างข้อเสนอโครงการเพื่อขอรับทุนสนับสนุน การวิจัยสําหรับตอบโจทย์พื้นที่
เครือข่ายวิจัยอุดมศึกษาภาคกลางตอนล่าง สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากรได้ดําเนินการจัดโครงการ อบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อเขียนร่างข้อเสนอโครงการเพื่อขอรับทุนสนับสนุนการวิจัยสําหรับตอบโจทย์พื้นที่ วิทยากรโดย รศ.ดร.พีรเดช ทองอําไพ รองผู้อํานวยการสํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย ผศ.ปราโมทย์ อนันต์วราพงษ์ จาก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ดร.ทศพร ทองเที่ยง จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และ อ.พิเชษฐ รุ้งลาวัลย์ จากวิทยาลัยแสงธรรม เมื่อวันที่ 8-10 กรกฎาคม 2554 ณ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตสารสนเทศ เพชรบุรี ผู้เข้าร่วมประกอบด้วย คณาจารย์ นักวิจัย จากสถาบันอุดมศึกษาในเครือข่ายวิจัยอุดมศึกษาภาคกลางตอนล่าง รวม 35 คน
โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง โปรแกรมระบบบริหารงานวิจัย (NRPM) เพื่อเสนอของบประมาณประจําปี 2556
สถาบันวิจัยและพัฒนาได้ดําเนินการจัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง "การใช้โปรแกรมระบบบริหารงานวิจัย (NRPM) เพื่อเสนอของบประมาณประจําปี 2556” เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2554 ณ ห้องปฏิบัติการศูนย์คอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร พระราชวังสนามจันทร์ ผู้เข้าร่วมประกอบด้วย คณาจารย์ และผู้ประสานงานของหน่วยงานและคณะ วิชาของมหาวิทยาลัยรวม 35 คน
-22จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา ปที่ 20 ฉบับที่ 3 เดือนกรกฎาคม-กันยายน 2554
ประชาพิจารณ์แนวทางการปฏิรูประบบการสนับสนุนการสร้างสรรค์ทางศิลปะ
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากรได้ดําเนินการจัดประชาพิจารณ์แนวทางการปฏิรูประบบการ สนับสนุนการสร้างสรรค์ทางศิลปะ เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2554 ณ ห้องประชุมนริศรานุวัดติวงศ์ ชั้น 4 สํานักงาน อธิการบดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ตลิ่งชัน กรุงเทพฯ ผู้เข้าร่วมการประชาพิจารณ์ประกอบด้วย คณาจารย์ทางสาย ศิลปะ และผู้สนใจรวม 35 คน
การประชุม "วิจารณ์ข้อเสนอการปฏิรูประบบวิจัยของประเทศ ครั้งที่ 2
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อริศร์ เทียนประเสริฐ ผู้อํานวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากรนําเสนอ "ระบบการสนับสนุนการสร้างสรรค์ทางศิลปะ" ในการประชุม "วิจารณ์ข้อเสนอการปฏิรูประบบวิจัยของประเทศ ครั้งที่ 2" เมื่อวันจันทร์ที่ 12 กันยายน 2554 ณ ห้องแมจิก 3 ชั้น 2 โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ กรุงเทพฯ จัดโดย สถาบันคลังสมองของ ชาติ
-23จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา ปที่ 20 ฉบับที่ 3 เดือนกรกฎาคม-กันยายน 2554
สํานักงานบริหารการวิจัย วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคใต้ศึกษาดูงาน
สํานักงานบริหารการวิจัย วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคใต้ ได้เข้าศึกษาดูงานเกี่ยวกับด้านการบริหารของสถาบันวิจัยและ พัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2554 ณ ห้องประชุมสํานักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ตลิ่งชัน กรุงเทพฯ ผู้เข้าศึกษาดูงานประกอบด้วย คณาจารย์ และบุคลากร รวมประมาณ 14 คน
ขยายเวลารับสมัครสอบคัดเลือกข้าราชการเพื่อรับโอน/ย้าย มาดํารงตําแหน่งเจ้าหน้าที่บริหารงานทัว่ ไป และ ตําแหน่งนักวิชาการพัสดุ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร เปิดรับสมัครสอบคัดเลือกข้าราชการเพื่อรับโอน/ย้าย มาดํารงตําแหน่ง เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป จํานวน 1 อัตรา ภายในวันที่ 30 กันยายน 2554 และตําแหน่งนักวิชาการพัสดุ จํานวน 1 อัตรา ภายใน วันที่ 31 ตุลาคม 2554 สังกัดสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ นครปฐม ผู้ประสงค์จะสมัครสอบคัด เลือกให้ ขอและยื่นใบสมัครด้ วยตนเองได้ที่ งานการเจ้า หน้าที่ มหาวิท ยาลัยศิ ลปากร พระราชวังสนามจันทร์ พร้อมหลักฐานการสมัครดูรายละเอียดได้ที่ http://www.surdi.su.ac.th โทรศัพท 034 255 808 โทรสาร 034 219 013
-24จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา ปที่ 20 ฉบับที่ 3 เดือนกรกฎาคม-กันยายน 2554
สถาบันวิจยั และพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร พระราชวังสนามจันทร นครปฐม 73000 e-mail: research.inst54@gmail.com , http://www.surdi.su.ac.th โทรศัพท 0-3425-5808 โทรสาร 0-3421-9013
-25จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา ปที่ 20 ฉบับที่ 3 เดือนกรกฎาคม-กันยายน 2554