ยูหัวภูมิพลอดุลยเดช
3 ประสบการณการทําวิจัยและสรางสรรค
ของ ผศ.ดร.สุชาดา พิริยะประสาธน คณะเภสัชศาสตร มหาวิทยาลัยศิลปากร
7 เศรษฐกิจชุมชนกับแนวทางพอเพียง
10 การแยกและคัดเลือกจุลินทรียที่ผลิต เอนไซมสงั เคราะหกาแลกโตและฟรุกโตโอลิโกแซกคาไรด 15 ขาวสารความเคลื่อนไหว
ปณิธาน ส่งเสริมการพัฒนาและเผยแพร่การวิจัยและงานสร้างสรรค์ ทุกทานสามารถแสดงความคิดเห็นในการใหบริการของสถาบันวิจัยและพัฒนาได 5 ชองทาง คือ n โทร.0-3425-5808 o Fax.0-3421-9013 p E-mail : research.inst54@gmail.com q Facebook : http://www.facebook.com/Research.Development r แบบสอบถามความพึงพอใจในการใหบริการของสถาบันวิจัยฯ
บทบรรณาธิการ
ที่ปรึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อริศร์ เทียนประเสริฐ ผู้อํานวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา
ฉ บั บ นี้ ข อ เ ริ่ ม ต้ น ด้ ว ย ค อ ลั ม น์ เ ปิ ด โ ล ก ก ว้ า ง เ รื่ อ ง “ประสบการณ์การทําวิจัยและสร้างสรรค์” ของ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุ ช าดา พิ ริย ะประสาธน์ จากคณะเภสั ช ศาสตร์ มหาวิท ยาลั ย ศิลปากร และจาก...ชุมชน ขอนําเสนอเรื่อง “เศรษฐกิจชุมชนกับ แนวทางพอเพียง” โดย นายสุพรชัย มั่งมีสิทธิ์ นักวิจัยเชี่ยวชาญจาก สถาบั น วิ จั ย และพั ฒ นา มหาวิ ท ยาลั ย ศิ ล ปากร ส่ ว นงานวิ จั ย ขอ แนะนํ า ผลงานวิ จั ย เรื่ อ ง “การแยกและคั ด เลื อ กจุ ลิ น ทรี ย์ ที่ ผ ลิ ต เอนไซม์ สัง เคราะห์ก าแลกโต-และฟรุก โตโอลิโ กแซกคาไรด์” โดย ผู้ ช่ ว ยศ า ส ต ร า จ า ร ย์ พิ มพ์ ช นก จ ตุ รพิ รี ย์ แ ล ะค ณ ะ ค ณ ะ วิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร พร้อมด้วยข่าวสารความเคลื่อนไหวของสถาบันวิจัยและพัฒนา ขอ เชิญท่านติดตามอ่านในเล่มนะคะ
บรรณาธิการ นางอารีย์วรรณ นวมนาคะ
กองบรรณาธิการ นายสุพรชัย มั่งมีสิทธิ์ นางสาววัชรี น้อยพิทักษ์ นางสาวตปนีย์ พรหมภัทร
เผยแพร่โดย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร พระราชวังสนามจันทร์ นครปฐม 73000 โทรศัพท์ 0-3425-5808, 0-3421-9013 โทรสาร 0-3421-9013 E-mail : research.inst54@gmail.com Website : http://www.surdi.su.ac.th
สารบัญ เปิดโลกกว้าง 3 ประสบการณ์การทําวิจัยและสร้างสรรค์
ของ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุชาดา พิริยะประสาธน์
วัตถุประสงค์
จาก...ชุมชน 7
เศรษฐกิจชุมชนกับแนวทางพอเพียง
จุล สารสถาบันวิจัยและพัฒ นา เป็นจุล สารอิเล็กทรอนิก ส์ (e-journal) ราย 3 เดือน/ฉบับ จัดทําขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ เผยแพร่ ข่ า วสาร กิ จ กรรมต่ า งๆ ของสถาบั น วิ จั ย และพั ฒ นา ตลอดจนความรู้ จ ากบทความวิ ช าการ และผลงานวิ จั ย ของ บุคลากรของมหาวิทยาลัยศิลปากร สถาบันวิจัยและพัฒนายินดี เป็น สื่อกลางในการเผยแพร่ผ ลงานวิจัย บทความทางวิช าการ และเกร็ดความรู้ต่างๆ ของชาวศิลปากรทุกท่าน
ผลงานวิจัย 10 การแยกและคัดเลือกจุลินทรีย์ที่ผลิตเอนไซม์สังเคราะห์ กาแลกโต-และฟรุกโตโอลิโกแซกคาไรด์
ข่าวสารความเคลื่อนไหว 15 สกว.รับสมัครทุนโครงการพัฒนานักวิจัยและงานวิจัย เพื่ออุตสาหกรรม-พวอ.ระดับปริญญาเอก 16 รางวัลผลงานวิจยั ดีของสถาบันวิจัยและพัฒนา ประจําปี 2555 17 โครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ “A-Z การบริหารงานวิจัย” 18 การติดตามผลโครงการวิจัยของสถาบันวิจัยและพัฒนา โดยทีมงานดูแลระบบ NRPM (วช.)
2 จุลสารสถาบันวิจยั และพัฒนา ปที่ 21 ฉบับที่ 4 เดือนตุลาคม - ธันวาคม 2555
เปดโลกกวาง
ประสบการณการทําวิจยั และสรางสรรค ของ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุชาดา พิริยะประสาธน์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
(ได้รับรางวัลผลงานวิจัยดี สาขาวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ประยุกต์ จากสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร ประจําปี 2555) สัมภาษณ์โดย อารีย์วรรณ นวมนาคะ สถาบันวิจัยและพัฒนา
1. ประสบการณ์การทํางานวิจัยที่ผ่านมาและโครงการวิจัยที่ทําอยู่ในปัจจุบัน งานวิจัยเป็นหนึ่งในพันธกิจที่สําคัญของอาจารย์ที่จะต้องทําควบคู่กับการสอน การทํางานวิจัยมีส่วนช่วยพัฒนาการ เรียนการสอน สามารถใช้ประสบการณ์ความรู้ที่ได้จากการวิจัยในการสอนให้กับนักศึกษา เพิ่มความเข้าใจให้กับนักศึกษา หัวข้อที่รับผิดชอบสอนหัวข้อหนึ่งเป็นเรื่องการออกแบบการทดลอง จึงสามารถบูรณาการการเรียนการสอนเข้ากับการวิจัยได้ งานวิจัยที่ผ่านมาจะเน้นในเรื่องการนําคอมพิวเตอร์มาช่วยในการพัฒนายาและเภสัชภัณฑ์ต่างๆ เช่นการพัฒนาระบบยาที่ นําส่งทางผิวหนัง ยาเม็ดออกฤทธิ์นาน การประยุกต์ใช้สารจากธรรมชาติเพื่อเป็นสารช่วยในเภสัชภัณฑ์ และการพัฒนานาโน อิมัลชันเพื่อเพิ่มการละลายของยา ในการพัฒนาเภสัชภัณฑ์ สมบัติทางเคมีกายภาพของยาและส่วนประกอบในตํารับมีบทบาทสําคัญในการกําหนด ลักษณะของเภสัชภัณฑ์ที่ต้องการ อย่างไรก็ตามสมบัติเหล่านั้นอาจมีความแตกต่างกันระหว่างบริษัท หรือแต่ละครั้งของการ ผลิต ดังนั้นการค้นหาสมบัติที่มีผลโดยตรงต่อเภสัชภัณฑ์และทําให้ได้เภสัชภัณฑ์ที่ต้องการในทุกครั้งของการผลิตจึงเป็นสิ่งที่ สําคัญมาก ผลงานวิจัยที่ได้รับรางวัลนี้เป็นการศึกษาการออพติไมเซชันการตั้งตํารับและกระบวนการผลิตเพื่อหาความสัมพันธ์ ระหว่างคุณสมบัติของสารในตํารับ กระบวนการผลิต และลักษณะพึงประสงค์ของเภสัชภัณฑ์ โดยได้พัฒนาแบบจําลองการ ปลดปล่อยยาจากยาเม็ดเมทริกซ์ที่ใช้สาร hyroxypropylmethylcellulose ด้วยวิธีทางคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ช่วยในการ ตัดสินใจเลือกวัตถุดิบหรือส่วนประกอบในตํารับซึ่งมาจากหลากหลายแหล่งผลิต หรือนําเข้าจากประเทศต่างๆ และมีราคา แตกต่างกัน และค้นหากระบวนการผลิตที่เหมาะสมสําหรับลักษณะที่พึงประสงค์ของเภสัชภัณฑ์ โดยใช้ข้อมูลจากโครงสร้าง ทางเคมี รหัสข้อมูลในเรื่องสมบัติทางเคมีฟิสิกส์ของสารดังกล่าว แบบจําลองทางคอมพิวเตอร์ที่พัฒนาได้สามารถนําไปใช้เพื่อ ช่วยในการตัดสินใจและสามารถเลือกใช้วัตถุดิบที่มีคุณภาพและกระบวนการผลิตที่เหมาะสมเพื่อให้ได้เภสัชภัณฑ์ที่มีลักษณะ พึงประสงค์ และยังช่วยลดระยะเวลาและต้นทุนในการพัฒนาตํารับและกระบวนการผลิตเภสัชภัณฑ์ ซึ่งเป็นประโยชน์อย่าง มากต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมยา 2. ทุนวิจัยที่ได้รับและเทคนิคการหาทุนเพื่อใช้ในการสนับสนุนการทําวิจัย งานวิจัยส่วนใหญ่ได้รับการสนับสนุนจากแหล่งทุนต่างๆ เช่น สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และ สํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) สําหรับอาจารย์และนักวิจัยรุ่นใหม่ ทุนช่วยเหลือทางด้านวิจัยวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี จากมูลนิธิโทเร เพื่อการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ ประเทศไทย ทุนอุดหนุนการวิจัยของ Japan Society for the Promotion of Science ทุนวิจัยนาโนเทคโนโลยีจากศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ เป็นต้น การสมัครรับทุนใด ควรศึกษา รายละเอียดของทุนให้เข้าใจอย่างชัดเจน และประเมินว่าโครงการมีลักษณะเข้าข่ายของทุนนั้นๆ สามารถดําเนินการได้ตาม 3 จุลสารสถาบันวิจยั และพัฒนา ปที่ 21 ฉบับที่ 4 เดือนตุลาคม - ธันวาคม 2555
ข้อกําหนดภายในเวลาจํากัดของทุนได้ บางทีอาจต้องทําการทดลองเบื้องต้นเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการทําวิจัยก่อนการ สมัครขอทุน เพราะแหล่งทุนย่อมต้องการผลลัพธ์ ผลิตผลที่เป็นรูปธรรม นอกจากนี้ควรศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการ ขอทุน เช่น แหล่งทุนบางแหล่งอาจจัดโครงการแนะนําผู้สมัครรับทุน ในส่วนคณะวิชามีการจัดอบรมและแลกเปลี่ยนความรู้ เป็นระยะๆ เกี่ยวกับเรื่องเทคนิคการหาทุนเพื่อใช้ในการสนับสนุนการทําวิจัย เทคนิคการเขียนโครงการวิจัยหรือแม้แต่เทคนิค ที่จะทําให้ได้รางวัลเกี่ยวกับงานวิจัยในเวทีต่างๆ โดยนักวิจัยผู้มีประสบการณ์ 3. ประสบการณ์การสร้างทีมวิจัย การมีทีมวิจัยร่วมที่มีประสิทธิภาพจะทําให้ได้ผลงานวิจัยที่ดีและประสบความสําเร็จ ทีมวิจัยมีความสําคัญอย่างยิ่ง เพื่อให้งานสามารถบรรลุได้ตามเป้าหมาย การสร้างทีมวิจัยอาจเริ่มจากความสนใจในงานที่คล้ายกัน มีความคิดต่อยอดและ บูรณาการงานเข้าด้วยกัน การสร้างงานวิจัยไม่จําเป็นต้องเริ่มจากโครงการใหญ่ๆ แต่ควรเป็นงานที่สนใจ ค่อยๆ ทําและ ต่อยอดเชิงบูรณาการ ที่สําคัญควรคํานึงถึงการนําไปใช้ประโยชน์ในอนาคต ต่อชุมชน ต่อสังคม นอกจากนี้บรรยากาศของ องค์กรก็มีส่วนสําคัญในการสร้างทีมวิจัย ในส่วนของภาควิชาเทคโนโลยีเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร มีการสร้างระบบพี่เลี้ยง โดยให้อาจารย์ผู้มีประสบการณ์ในการวิจัยช่วยเป็นพี่เลี้ยงให้กับอาจารย์ที่กําลังจะเริ่มต้นทํางานวิจัย เพื่อคอยช่วยเหลือและให้คําปรึกษา ในเรื่องการเขียนโครงการขอทุนวิจัย หรือการเป็นนักวิจัยร่วม เป็นต้น นอกจากนี้ ภาควิชายังส่งเสริมให้มีการขอทุนวิจัยจากแหล่งต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกคณะ มีการพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและ สร้างบรรยากาศในเรื่องวิจัยในภาควิชา อีกทั้งยังบูรณาการเข้ากับการเรียนการสอนในรายวิชาเพื่อเปิดโอกาสให้นักศึกษา ทั้งในระดับปริญญาตรีและระดับบัณฑิตศึกษาได้เรียนรู้และมีประสบการณ์ในการทําวิจัย และเป็นการสร้างนักวิจัยรุ่นใหม่ อีกด้วย 4. คณะมีเวทีวิชาการเสนอผลงานวิจัยของคณาจารย์ในคณะหรือไม่อย่างไร คณะวิชามีการสนับสนุนการทํางานวิจัยของคณาจารย์ในคณะอย่างเป็นรูปธรรมในด้านต่างๆ เพื่อเป็นการส่งเสริม สนับสนุน และให้กําลังใจกับคณาจารย์ที่สร้างสรรค์ผลงานวิจัยและนําชื่อเสียงมาสู่คณะวิชา มีการสนับสนุนเรื่องทุนวิจัยทั้ง กรณีที่เป็นนักวิจัยรุ่นใหม่ หรือกรณีที่เป็นนักวิจัยที่มีประสบการณ์ การสนับสนุนการนําเสนอผลงานวิจัยทั้งในประเทศและ ต่างประเทศโดยผู้ที่ได้รับการสนับสนุนการนําเสนอผลงานจะต้องเขียนสรุปรายงานส่งให้กับคณะกรรมการคณะวิชาและ รายงานเหล่านี้จะถูกเก็บที่ห้องเอกสารอ้างอิงของคณะวิชาเพื่อให้นักศึกษา อาจารย์ ผู้สนใจสามารถเข้ามาอ่านได้ นอกจากนี้ คณะวิชายังมีการให้รางวัลสําหรับผลงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ระดับชาติหรือนานาชาติ โดยคณะจะจัดบอร์ดแสดงผลงาน ของคณาจารย์ในแต่ละรอบที่พิจารณารางวัล 5. การทํางานวิจัยแบบบูรณาการกับสาขาวิชาอื่นๆ ทั้งในมหาวิทยาลัยศิลปากร และหน่วยงานภายนอก (ที่ผ่านมามีการ ดําเนินการหรือไม่ อนาคตมีความคิดเห็นอย่างไร) ที่ผ่านมามีการบูรณาการงานวิจัยกับทั้งในส่วนของหน่วยงานภายในคณะเอง เช่นการทํางานวิจัยร่วมกับภาควิชาชีว เภสัชศาสตร์ และภาควิชาเภสัชวิทยาและพิษวิทยา การทําการวิจัยร่วมกับสาขาวิชาอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยศิลปากร เช่น การ ทํางานวิจัยร่วมกับอาจารย์จากภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม และการร่วมงานกับ หน่วยงานภายนอก เช่น สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา และบริษัท บางกอกแล็ป แอนด์ คอสเมติค จํากัด เป็นต้น ซึ่งการร่วมงานกับหน่วยงานอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับชุมชน จะทําให้เห็นภาพของปัญหาได้ชัดเจนขึ้น ซึ่งปัญหาหลายๆ อย่างสามารถหาคําตอบได้จากการค้นคว้าและงานวิจัย การบูรณาการงานวิจัยกับสาขาวิชาอื่นๆ จะทําให้ งานวิจัยสามารถตอบโจทย์ได้กว้างขึ้น และนําไปแก้ปัญหาชุมชนได้หลากหลายและรอบด้านมากขึ้น ในอนาคตงานวิจัยแบบ บูรณาการน่าจะมีความสําคัญมากขึ้น เพราะคําตอบที่ได้จากงานวิจัยน่าจะมี impact ต่อประชาชนมากขึ้น ทั้งยังเป็นการ 4 จุลสารสถาบันวิจยั และพัฒนา ปที่ 21 ฉบับที่ 4 เดือนตุลาคม - ธันวาคม 2555
พัฒนาคุณภาพมาตรฐานของสินค้าทั้งทางเกษตรและอุตสาหกรรมทําให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศและรองรับ ประชาคมอาเซียนต่อไป 6. ความคาดหวังต่อการส่งเสริมและสนับสนุนการทํางานวิจัย จากมหาวิทยาลัยศิลปากร ปัจจุบัน สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร มีการส่งเสริมและสนับสนุนการทําวิจัยและการเผยแพร่ ผลงานวิจัยในรูปแบบต่างๆ เช่น ทุนวิจัยงบประมาณแผ่นดิน ทุนพัฒนานักวิจัยรุ่นใหม่ ทุนส่งเสริมการวิจัยของนักศึกษา ทุน จัดพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัย ทุนตีพิมพ์สิ่งตีพิมพ์มาตรฐานสากล รวมถึงการให้รางวัลผลงานวิจัยในแต่ละปี เป็นต้น มีการ ประชาสัมพันธ์แหล่งทุนภายนอก และเวทีการนําเสนอผลงานทั้งในและต่างประเทศ อีกทั้งยังมีการจัดทําวารสารเผยแพร่ บทความทางวิชาการซึ่งเป็นที่ยอมรับระดับนานาชาติ อย่างไรก็ตามทุนวิจัยในแต่ละปีจะค่อนข้างจํากัด จึงควรหามาตรการ การส่งเสริมและสนับสนุนการทํางานวิจัย เพื่อให้ศิลปากรเป็นมหาวิทยาลัยแห่งการวิจัยและเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนําแห่งการ สร้างสรรค์สืบไป
ประวัติและผลงาน
ชื่อ-ชื่อสกุล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุชาดา พิริยะประสาธน์ สถานทีท่ ํางาน ภาควิชาเทคโนโลยีเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ตําแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ และหัวหน้าภาควิชาเทคโนโลยีเภสัชกรรม ประวัติการศึกษา เภสัชศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับ 1 เหรียญทอง) จากคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2537 วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2539 Doctor of Philosophy (Pharmaceutical Sciences) จาก Kyoto University ประเทศญี่ปุ่น พ.ศ. 2546
5 จุลสารสถาบันวิจยั และพัฒนา ปที่ 21 ฉบับที่ 4 เดือนตุลาคม - ธันวาคม 2555
ผลงาน และรางวัล ผลงานวิจัยตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ บทคัดย่อ และ รายงานวิจัยตีพิมพ์ในเอกสารประกอบการประชุม วิชาการระดับนานาชาติมากกว่า 40 เรื่อง หนังสือ 1 เล่ม บทความทางวิชาการ 3 เรื่อง รางวัลด้านการวิจัยได้แก่ • รางวัล APSTJ/The Nagai Foundation Graduate Student Award, Japan จาก APSTJ/The Nagai Foundation (2545) • รางวัล The Nagai Award Thailand for Research จาก The Nagai Award Thailand (2545) • รางวัลชมเชยในการนําเสนอผลงานวิจัยแบบโปสเตอร์ ในงานประชุมศิลปากรวิจัย ครั้งที่ 1 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร (2550) • รางวัลการนําเสนอผลงานวิจัยดี จากการประชุม FuSEM โดยสถาบันจุฬาภรณ์ (2552) • Science & Technology Research Grant จาก Thailand Toray Science Foundation (2553) • รางวัลผลงานวิจัยดี สาขาวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ประยุกต์ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร (2555)
6 จุลสารสถาบันวิจยั และพัฒนา ปที่ 21 ฉบับที่ 4 เดือนตุลาคม - ธันวาคม 2555
จาก...ชุมชน
เศรษฐกิจชุมชนกับแนวทางพอเพียง สุพรชัย มั่งมีสิทธิ์ นักวิจัยเชี่ยวชาญ สถาบันวิจัยและพัฒนา
มีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันในตัวเอง ตลอดจนใช้ความรู้ และคุณธรรม เป็นพื้นฐานในการดํารงชีวิต ที่สําคัญจะต้อง มี “สติ ปัญญา และความเพียร” ซึ่งจะนําไปสู่ “ความสุข” ในการดําเนินชีวิตอย่างแท้จริง เศรษฐกิจกับชุมชน ความสั ม พั น ธ์ ที่ ไ ม่ ส ามารถจะแยกออกจากกั น หากพิจารณาถึงความหมายของแต่ละเรื่อง อาจคิดว่าไม่ เกี่ยวข้องกัน แต่เมื่อดูถึงรายละเอียดทั้งสองเรื่องมีส่วน เกี่ยวข้องกัน เพราะเศรษฐกิจเป็นเรื่องของการผลิต การ บริโภค และการกระจายผลผลิตโดยผ่านกระบวนการซื้อ ขายแลกเปลี่ยนผลผลิตซึ่งกันและกัน และมีสื่อกลางใน การแลกเปลี่ยน ส่วนชุมชนหมายถึง ครอบครัวหลายๆ ครอบครัวที่มารวมอยู่ในที่เดียวกัน หรือก่อตั้งเป็นชุมชน ในพื้นที่เดียวกัน อาจจะเรียกเป็นละแวกบ้าน หรือหย่อม บ้าน หรือหมู่บ้านก็ได้ ความเป็นชุมชนไม่เฉพาะขอบเขต ของหมู่ บ้ า นแต่ จ ะรวมถึ ง ลั ก ษณะเครื อ ข่ า ยของ ความสั ม พั น ธ์ ที่ ก ว้ า งขวางทั้ ง ระบบอุ ป ถั ม ภ์ แ ละแบบ เครือญาติด้วย ดังนั้น “เศรษฐกิจชุมชน” จึงหมายถึง
ความพอเพียงในการดํารงชีวิตเป็นสิ่งสําคัญ ซึ่ง เป็นเงื่อนไขพื้นฐานที่จะทําให้คนไทยสามารถพึ่งตนเองได้ และสามารถดําเนินชีวิตไปได้อย่างมีศักดิ์ศรีภายใต้อํานาจ และความมี อิ ส ระในการกํ า หนดชะตาชี วิ ต ของตนเอง ความสามารถในการควบคุ ม และจั ด การเพื่ อ ให้ ต นเอง ได้รับการสนองตอบต่อความต้องการในด้านต่างๆ รวมทั้ง ความสามารถในการจัดการปัญหาต่างๆ ได้ด้วยตนเอง ซึ่ง ทั้ ง หมดนี้ ถื อ ว่ า เป็ น ศั ก ยภาพพื้ น ฐานที่ ค นไทยและ สังคมไทยเคยมีมาแต่เดิม วิกฤตเศรษฐกิจจากปัญหาฟองสบู่ ในปี พ.ศ. 2540 และปัญหาความอ่อนแอของชนบท รวมทั้งปัญหา อื่นๆ ที่เกิดขึ้นได้ส่งผลกระทบต่อศักยภาพพื้นฐานที่ คนไทยและสังคมไทยที่มีมาในอดีต ซึ่งล้วนแต่เป็น ข้อพิสูจน์และยืนยันปรากฏการณ์นี้ได้เป็นอย่างดี “เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นแนวพระราชดําริใน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่พระราชทานมานานกว่า 30 ปี เป็นแนวคิดที่ตั้งอยู่บนรากฐานของวัฒนธรรมไทย เป็นแนวทางการพัฒนาที่ตั้งบนพื้นฐานของทางสายกลาง และความไม่ประมาท คํานึงถึงความพอประมาณ ความ
7 จุลสารสถาบันวิจยั และพัฒนา ปที่ 21 ฉบับที่ 4 เดือนตุลาคม - ธันวาคม 2555
2) การพั ฒ นาเศรษฐกิ จ และสั ง คม ฟื้ น ฟู ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมถึงการอนุรักษ์ วัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น จะเห็นว่า ถ้าสามารถพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนให้ เป็นไปตามเป้าหมายที่กําหนดได้แล้ว ปัญหาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม จะลดลงหรือหมดไปจากชุมชน นั้นๆ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า เป็นการพัฒนาที่ยั่งยืนตามหลัก สากลได้แล้ว และ ยังสามารถยืนอยู่บนขาของตัวเองได้ โดยไม่ต้องพึ่งพาผู้อื่นอีกด้วย
ระบบเศรษฐกิจท้องถิ่นที่มีลักษณะเป็นองค์รวมซึ่งไม่ได้มี แต่เพียงมิติทางเศรษฐกิจที่เป็นตัวเลขรายได้ รายจ่าย การ ผลิต และการบริโภค เท่านั้น แต่จะเป็นระบบเศรษฐกิจที่ เป็นส่วนหนึ่งของสังคม วัฒนธรรม ความสัมพันธ์กับวิถี ชีวิต และรวมถึงระบบคุณค่าด้วย เศรษฐกิจชุมชน เป็นการดําเนินกิจกรรมทาง เศรษฐกิจต่างๆ ทั้งด้านเกษตรกรรม อุตสาหกรรม บริการ ทั้งในด้านการผลิต การบริโภค และการกระจายผลผลิต โดยให้คนในชุมชนมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาพื้นฐานทาง เศรษฐกิจของชุมชน คือ ให้มีส่วนร่วมคิด ร่วมทํา ร่วมรับ ผลประโยชน์ บนรากฐานของความสามารถที่มีอยู่ จาก การใช้ “ทุนของชุมชน” ทั้งที่เป็นสินค้าทุน (เครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์การผลิตต่างๆ ฯลฯ ที่มีอยู่หรือ สามารถจัดหามาได้ตามศักยภาพ) ทุนทางเศรษฐกิจ (ปั จ จัยที่ส นับ สนุ น ให้ ก ารดําเนิ นกิ จ กรรมทางเศรษฐกิ จ เป็นไปอย่างสะดวกราบรื่น เช่น ที่ดิน แหล่งน้ํา สภาพภูมิ ประเทศ การคมนาคมขนส่ง เป็นต้น) และทุนทางสังคม (วิถีการผลิต ภูมิปัญญาท้องถิ่น ศาสนสถาน โรงเรียน สถานีอนามัยฯลฯ) ดังนั้น สมาชิกในชุมชนจะเป็นผู้ ตัดสินใจเองว่า พวกเขาจะผลิตอะไรได้บ้างตามศักยภาพ และทุนประเภทต่างๆ ที่มีพวกเขามีอยู่ พวกเขาจะผลิตกัน ยังไง แล้วพวกเขาจะแบ่งปันผลประโยชน์จากการผลิต ร่วมกันอย่างไร นั่นคือชุมชนคิดเอง ทําเอง ได้เอง
เศรษฐกิจพอเพียงนําทางเศรษฐกิจชุมชน จากลักษณะของเศรษฐกิจชุมชนที่กล่าวถึงข้างต้น หากนํ า แนวคิ ด เศรษฐกิ จ พอเพี ย งมาประยุ ก ต์ ใ ช้ จะก่ อ ให้ เ กิ ด ประโยชน์ สู ง สุ ด ต่ อ ชุ ม ชนนั้ น ๆ ซึ่ ง มี รายละเอียดการดําเนินดังนี้ 1) ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่ น้อยเกินไปและไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเอง และผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับ พอประมาณ 2) ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจ เกี่ยวกับระดับความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมี เหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจน คํานึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทํานั้นๆ อย่าง รอบคอบ 3) ภูมิคุ้มกัน หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อม รับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น โดยคํานึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆ ที่คาดว่า จะเกิดขึ้นในอนาคต โดยมีเงื่อนไข ของการตัดสินใจและ ดําเนินกิจกรรมต่างๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียง 2 ประการ ดังนี้
เป้าหมายของเศรษฐกิจชุมชน เศรษฐกิจชุมชน ไม่ใช่ว่าจะเอาแต่ความร่ํารวยอย่าง เดียว หากแต่มีเป้าหมายสําคัญอยู่หลายประการ เช่น 1) การพัฒนาขีดความสามารถของคน ครอบครัว และชุมชน จากการสร้างกระบวนการเรียนรู้เพื่อให้ พึ่งตนเองให้ได้
8 จุลสารสถาบันวิจยั และพัฒนา ปที่ 21 ฉบับที่ 4 เดือนตุลาคม - ธันวาคม 2555
1) เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้ เกี่ยวกับวิชาการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องรอบด้าน ความ รอบคอบที่จะนําความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยง กัน เพื่อประกอบการวางแผนและความระมัดระวังในการ ปฏิบัติ 2) เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้าง ประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์ สุจริต และมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการ ดําเนินชีวิต เศรษฐกิจพอเพียง มุ่งเน้นให้ผู้ผลิต หรือผู้บริโภค พยายามเริ่มต้นผลิต หรือบริโภคภายใต้ขอบเขต ข้อจํากัด ของรายได้ หรือทรัพยากรที่มีอยู่ไปก่อน ซึ่งก็คือ หลักใน การลดการพึ่งพา เพิ่มขีดความสามารถในการควบคุมการ ผลิตได้ด้วยตนเอง และลดภาวะความเสี่ยงจากการไม่ สามารถควบคุ ม ระบบตลาดได้ อ ย่ า งมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ ดั ง นั้ น หากชุ ม ชนใดเข้ า ใจถึ ง แนวคิ ด เศรษฐกิ จ พอเพี ย ง อย่างถ่องแท้ ก็จะสามารถนําหลักการไปใช้สําหรับการ พัฒนาเศรษฐกิ จชุมชนให้ ส ามารถดําเนิน การได้ อย่ า งมี ประสิทธิภาพ ซึ่งจะนําไปสู่การแก้ไขปัญหาของชุมชนได้ อย่างยั่งยืนต่อไป เศรษฐกิจพอเพียงไม่ได้แปลว่า การกระเบียด กระเสียรจนเกินสมควร หากแต่อาจฟุ่มเฟือยได้เป็นครั้ง คราวตามอัตภาพ แต่คนส่วนใหญ่ของประเทศ มักใช้จ่าย เกินตัว เกินฐานะที่หามาได้ เศรษฐกิจพอเพียง สามารถ นําไปสู่เป้าหมายของการสร้างความมั่นคงในทางเศรษฐกิจ ได้ เช่นโดยพื้นฐานแล้วประเทศไทยเป็นประเทศ เกษตรกรรม เศรษฐกิจของประเทศจึงควรเน้นที่เศรษฐกิจ การเกษตรเน้นความมั่นคงทางอาหาร เป็นการสร้างความ มั่นคงให้เป็นระบบเศรษฐกิจในระดับหนึ่ง จึงเป็นระบบ เศรษฐกิจที่ช่วยลดความเสี่ยง หรือความไม่มั่นคงทาง เศรษฐกิจในระยะยาวได้ ผลจากการใช้แ นวทางการพั ฒ นาประเทศไปสู่ ความทันสมัย ได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแก่สังคมไทย อย่างมากในทุกๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรม สังคม และสิ่งแวดล้อม อีกทั้ง กระบวนการของความเปลี่ยนแปลงมีความสลับซับซ้อน มากขึ้ น เพราะการเปลี่ ย นแปลงทั้ ง หมดต่ า งเป็ น ปั จ จั ย เชื่อมโยงซึ่งกันและกัน สําหรับผลของการพัฒนาในด้าน บวกนั้น ได้แก่ การเพิ่มขึ้นของอัตราการเจริญเติบโตทาง
เศรษฐกิจ ความเจริญทางด้านวัตถุ และสาธารณูปโภค ต่างๆ ระบบสื่อสารที่ทันสมัย หรือการขยายปริมาณและ กระจายการศึกษาอย่างทั่วถึงมากขึ้น แต่ผลด้านบวก เหล่านี้ส่วนใหญ่แล้วจะกระจายไปถึงคนในชนบท หรือ ผู้ด้อยโอกาสในสังคมน้อยมาก ในทางตรงกันข้าม กระบวนการเปลี่ยนแปลงของสังคมดังกล่าวได้ก่อให้เกิด ผลลัพธ์ในด้านลบตามมา เช่น การขยายตัวของรัฐที่เข้าไป ในชนบทได้ส่งผลให้ชนบทเกิดความอ่อนแอในหลายๆด้าน ทั้งต้องพึ่งพิงตลาดและพ่อค้าคนกลางในการสั่งซื้อสินค้า ทุน ความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติระบบ ความสัมพันธ์แบบเครือญาติเสื่อมคลายลง และการ รวมกลุ่มกันตามประเพณีเพื่อการจัดการทรัพยากรที่เคยมี อยู่แต่เดิมแตกสลายลง ภูมิความรู้ที่เคยใช้แก้ปัญหาและ สั่งสมกันมายาวนานถูกลืมเลือนและเริ่มสูญหายไปสิ่งที่ เกิดขึ้นเหล่านี้หากยังไม่คิดแก้ไขพัฒนาอย่างจริงจังของ ภาคส่วนต่างๆ ปัญหาของประเทศไทยก็จะยิ่งเพิ่มขึ้นและ หนักขึ้น ยากที่แก้ไขและอาจนําไปสู่การล่มสลายท้ายที่สุด ซึ่งขออย่าได้ไปถึงจุดนั้นเลย
9 จุลสารสถาบันวิจยั และพัฒนา ปที่ 21 ฉบับที่ 4 เดือนตุลาคม - ธันวาคม 2555
งานวิจัย
การแยกและคัดเลือกจุลินทรียท์ ี่ผลิตเอนไซม์สังเคราะห์ กาแลกโต-และฟรุกโตโอลิโกแซกคาไรด์ Isolation and screening of microorganisms producting enzymes for synthesizing galacto- and fructo-oligosaccharides ผูชวยศาสตราจารยพิมพชนก จตุรพิรีย อาจารยจุนธนี วีรเจตบดีธัช คณะวิศวกรรมศาสตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
บทคัดย่อ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อคัดเลือกจุลินทรีย์ที่มี ประสิ ท ธิ ภ าพในการผลิ ต เอนไซม์ เ บต้ า -กาแลกโตซิ เ ดส และฟรุ ก โตซิ ล ทรานสเฟอเรส จากนั้ น ทดสอบการผลิ ต กาแลกโต-โอลิโกแซกคาไรด์ (GOS) และฟรุกโต-โอลิโก แซกคาไรด์ (FOS) จากเอนไซม์เบต้า-กาแลกโตซิเดสและ ฟรุกโตซิลทรานสเฟอเรส ที่ผลิตได้ ผลการทดลองพบว่า เชื้อ SAG 371 และ SAL 371 มีค่ากิจกรรมของเอนไซม์ เบต้า-กาแลกโตซิเดสที่สูง สามารถผลิต GOS ได้ประมาณ 18- 19 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่เชื้อ FA 5 มีค่า Ut/Uh สูง ที่สุด สามารถผลิต FOS ในรูปของ1-kestose และ 1nystose ได้ 4 และ 14 เปอร์เซ็นต์ ตามลําดับ
คํานํา หรือบทนํา (Introduction) ปั จ จุ บั น ผู้ บ ริ โ ภคพยายามมองหาอาหารที่ มี คุณสมบัติต่างๆมากขึ้น ทั้งในแง่ของการมีคุณค่าทางอาหาร สู ง มี ค วามปลอดภั ย และส่ ง ผลดี ต่ อ สุ ข ภาพ ซึ่ ง อาหาร เหล่านี้เรียกว่า อาหารฟังก์ชัน (Functional food) โดย อาหารฟังก์ชันนี้จะไม่ถูกย่อยในทางเดินอาหารส่วนบนจะ ผ่านมายังลําไส้ใหญ่และส่งผลดีต่อสุขภาพ ตัวอย่างของ อาหารฟังก์ชันนี้ ได้แก่ พรีไบโอติกส์ (Prebiotic) ซึ่งมี คุณสมบัติช่วยปรับส่วนของอาหารที่ไม่ถูกย่อยในทางเดิน อาหาร มีผ ลกระตุ้ น การเจริ ญ ของแบคทีเ รีย ในกลุ่ม โพร ไ บ โ อ ติ ก ส์ ( Probiotic) ทํ า ใ ห้ เ กิ ด ก า ร ส ม ดุ ล ข อ ง สภาพแวดล้อมในระบบลําไส้ ช่วยให้ระบบการย่อยและดูด ซึ ม อาหารดี ขึ้ น เพิ่ ม เมแทบอลิ ซึ ม ของไขมั น เพิ่ ม ระบบ ภูมิคุ้มกันของร่างกาย ลดความดันโลหิต และลดการเสี่ยง ต่อการเกิดโรคมะเร็ง ผลิตภัณฑ์ที่มีขายแล้วตามท้องตลาด เช่ น นมผงสํ า หรั บ ทารกและเด็ ก ที่ มี ส่ ว นผสมของ พ รี ไ บ โ อ ติ ก ส์ ก า แ ล ก โ ต โ อ ลิ โ ก แ ซ ก ค า ไ ร ด์ (Galactooligosaccharide, GOS) หรือ ฟรุกโตโอลิโกแซก คาไรด์ (Fructooligosaccharide, FOS) เพื่อช่วยระบบ การขับถ่ายของเด็ก หรือผลิตภัณฑ์ดัดแปลงจากนม เช่น โยเกิร์ตที่มีส่วนผสมของจุลินทรีย์โพรไบโอติกส์ ที่ช่วยให้ ร่างกายได้สารอาหารที่มี อยู่ในนมเต็ ม ที่ โดยไม่ มีอาการ ท้องเสีย ท้องอืด เหมือนกับการดื่มนม เนื่องจากน้ําตาล แลกโตสถูกเปลี่ยนเป็น กรดแลกติค โปรตีนก็ถูกย่อยเป็น กรดอะมิโน ร่างกายก็สามารถนําไปใช้ได้ทันที และใน
Abstract The aim of this project is to screen for high activities of β-galactosidase and fructosyltransferase in many strains and to produce galacto-oligosaccharide (GOS) and fructooligosaccharide (FOS) from these enzymes, respectively. It was found that strains SAG 371 and SAL 371 showed the highest β-galactosidase activity and could produce GOS up to 18-19% where as the strain FA 5 had maximum Ut/Uh and could produce FOS in terms of 1-kestose and 1-nystose up to 4 and 14%, respectively. 10
จุลสารสถาบันวิจยั และพัฒนา ปที่ 21 ฉบับที่ 4 เดือนตุลาคม - ธันวาคม 2555
โยเกิ ร์ ต มี แ ร่ ธ าตุ แ คลเซี ย มและฟอสฟอรั ส ในปริ ม าณสู ง กรดแลกติคช่วยในการดูดซึมแร่ธาตุทั้งสองและทําให้ระบบ ย่อยอาหารทํางานได้ดียิ่งขึ้น แนวโน้มของปริมาณความต้องการของอาหารที่ ช่ว ยในการย่อ ยสลายน้ํ า ตาลหลายโมเลกุ ล ให้ ก ลายเป็ น น้ําตาลโมเลกุลเดี่ยวมีแนวโน้มมากขึ้น โดย FOS สามารถ ผลิตจากน้ําตาลซูโครสโดยการทํางานของเอนไซม์ในกลุ่ม ฟรุกโตซิลทรานสเฟอเรส ขณะที่ GOS อาศัยกิจกรรมการ ทํ า งานของเอนไซม์ เ บต้ า -กาแลกโตซิ เ ดส และน้ํ า ตาล แลกโตสเป็นสารตั้งต้น ทั้งฟรุกโตซิลทรานสเฟอเรส และ เบต้า-กาแลกโตซิเดส พบได้ในพืชและจุลินทรีย์ ซึ่งการ ผลิตเอนไซม์จากเชื้อจุลินทรีย์จะใช้เวลาที่สั้นกว่าการผลิต จากพืชเพราะมีช่วงชีวิตที่สั้นและมีอัตราการเจริญที่สูงกว่า เห็นได้จากรายงานวิจัยต่างๆ ที่ศึกษาเกี่ยวกับการคัดแยก เชื้อจุลินทรีย์ที่สามารถผลิตเอนไซม์ดังกล่าว การคัดแยก เชื้อจากแหล่งที่มีสารตั้งต้นที่เชื้อสามารถนําไปใช้ประโยชน์ ได้ก็เป็นอีกช่องทางที่จะได้เชื้อที่มีกิจกรรมการทํางานของ เอนไซม์ที่สนใจคัดแยก โดยเฉพาะการนําเอาของเสียของ เหลือใช้ในอุตสาหกรรมที่อาจมีการปะปนของสารตั้งต้น ออกมาจากระบบการผลิตมาใช้ในการคัดแยกเชื้อก็ยิ่งจะ เป็ น การดี ที่ จ ะทํ า ให้ ไ ด้ เ ชื้ อ ที่ ต้ อ งการและยั ง เป็ น การใช้ ประโยชน์จากของเหลือทิ้งอีกด้วย คณะผู้ วิ จั ย ได้ เ ล็ ง เห็ น ถึ ง ประโยชน์ ที่ สํ า คั ญ ของ พรีไบโอติกส์ และศักยภาพของการผลิตพรีไบโอติกส์ ในระดับอุตสาหกรรม เนื่ องจากพรีไบโอติกส์ เป็น ส่ ว นประกอบอาหารที่ ไ ม่ มี ชี วิ ต ซึ่ ง ช่ ว ยให้ ผู้ ผ ลิ ต อาหาร สามารถผลิ ต ได้ ง่ า ยขึ้ น เช่ น ในการทํ า อาหารสุ ข ภาพ สามารถใส่พรีไบโอติกส์ลงในอาหารได้เลย แล้วเข้าสู่การทํา ให้แห้งด้วยความร้อนได้ ดังนั้น จึงมุ่งเน้นการวิจัยไปที่การ คัด กรองเชื้อ จุลิน ทรีย์ ที่ส ามารถผลิ ตเอนไซม์ สัง เคราะห์ พรีไบโอติกส์ GOS และ FOS จากน้ําทิ้งของโรงงานนม และโรงงานน้ําตาล ตามลําดับ และเชื้อที่มีความสามารถใน การผลิ ต เอนไซม์ ดั ง กล่ า วได้ สู ง สุ ด จะถู ก นํ า ไปขยายผล การศึกษาต่อในแง่มุมต่างๆ เพื่อให้เกิดการต่อยอดงานวิจัย เพื่อนําไปใช้ได้จริงในอุตสาหกรรม ซึ่งหากงานวิจัยดังกล่าว นี้สําเร็จลงได้จะเป็นการเพิ่มศักยภาพการผลิตพรีไบโอติกส์ เพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมอาหารสุขภาพในประเทศอย่าง ยั่งยืนและยังเป็นการลดของเสียที่เกิดขึ้นในระบบการผลิต ด้วย
วัตถุประสงค์ของการวิจัย/สร้างสรรค์ (Objective) 1. คัดเลือกจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพในการผลิต เอนไซม์เบต้า-กาแลกโตซิเดสและฟรุกโตซิลทรานสเฟอเรส 2. ทดสอบการผลิต GOS และ FOS จากเอนไซม์ เบต้า-กาแลคโตซิเดสและฟรุคโตซิลทรานสเฟอเรส ที่ผลิต จากเชื้อที่คัดเลือกได้จากข้อ 1. วิธีดําเนินการวิจัย/สร้างสรรค์ (Materials and Method) 1. แยกและคัดเลือกเชื้อที่ผลิตเอนไซม์เบต้า-กาแลกโต ซิเดส 1.1 ตัวอย่างที่ใช้แยกเชื้อจุลินทรีย์ เลื อ กเก็ บ ตั ว อย่ า งจากบริ เ วณที่ ค าดว่ า จะมี เชื้อจุลินทรีย์ที่สามารถผลิตเอนไซม์เบต้า-กาแลกโตซิเดสได้ เช่น ฟาร์มโคนม โรงงานอุตสาหกรรมนม โรงงานผลิตเนย แข็ง อุจจาระแม่และเด็ก อาหารหมัก เช่น แหนม ไส้กรอก อีสาน เป็นต้น ในงานวิจัยนี้ได้รับความอนุเคราะห์เชื้อจาก อาจารย์ ดร. เชาวรี ย์ อรรถลังรอง ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร 1.2 การแยกเชื้อและเก็บเชื้อ นําตัวอย่างมาแยกเชื้อบนอาหารเลี้ยงเชื้อที่มีแลก โตสเป็นแหล่งคาร์บอน เลือกโคโลนีที่มีลักษณะแตกต่าง กัน streak บนอาหารเลี้ยงเชื้อแข็ง เพื่อให้แยกเป็นโคโลนี เดี่ยว และเก็บเชื้อบริสุทธิ์ที่แยกได้ในอาหารเลี้ยงเชื้อที่ 4 องศาเซลเซียส เพื่อไว้ศึกษาต่อไป 1.3 การคั ด เลื อ กเชื้ อ ที่ มี กิ จ กรรมของเอนไซม์ เบต้า-กาแลกโตซิเดส บนอาหารแข็ง นําตัวอย่างเชื้อบริสุทธิ์ที่คัดเลือกได้ มาเลี้ยงบน อาหารแข็ ง ที่ มี แ ลกโตสเป็ น แหล่ ง คาร์ บ อน จากนั้ น ตรวจสอบกิจกรรมของเอนไซม์เบต้า-กาแลกโตซิเดสด้วย X-gal และ IPTG และเก็บเชื้อที่มีกิจกรรมของเอนไซม์ เบต้า-กาแลกโตซิเดสในอาหารเลี้ยงเชื้อที่ 4 องศาเซลเซียส เพื่อไว้ศึกษาต่อไป 1.4 คัดเลือกเชื้อที่มีกิจกรรมของเอนไซม์เบต้ากาแลกโตซิเดส สูงที่สุด เพาะเลี้ยงเชื้อที่คัดเลือกได้จากข้อ 1.3 ในอาหาร เลี้ ย งเชื้ อ เหลว ที่ มี แ ลกโตสเป็ น แหล่ ง คาร์ บ อน จากนั้ น ทดสอบกิจกรรมของเอนไซม์เบต้ า-กาแลกโตซิเดส ด้วย oNPG เพื่อทดสอบว่าเชื้อตัวใดมีกิจกรรมของเอนไซม์ 11
จุลสารสถาบันวิจยั และพัฒนา ปที่ 21 ฉบับที่ 4 เดือนตุลาคม - ธันวาคม 2555
ดูดกลืนแสงที่ 520 นาโนเมตรเทียบค่า OD ที่ได้ โดยใช้ กราฟมาตรฐาน 2.5 นําเชื้อที่มี transfructosylation ratio ที่สูง นํามาทดสอบการผลิต FOS โดยบ่มเอนไซม์หยาบกับ สารละลายน้ําตาลซูโครส 60% (w/v) ในอัตราเอนไซม์ต่อ สารละลาย 1:10 (v/v) เก็บตัวอย่างมาวิเคราะห์ปริมาณ FOS โดย HPLC
เบต้า-กาแลกโตซิเดส สูงที่สุด โดยวัดค่าการดูดกลืนแสงที่ 420 นาโนเมตร 1.5 ระบุสายพันธุ์ของเชื้อที่คัดเลือกได้ นําเชื้อที่มีกิจกรรมของเอนไซม์เบต้า-กาแลกโตซิ เดสสูงที่สุด มาระบุสายพันธุ์ของเชื้อ (identifiy) 1.6 นําเชื้อที่มีกิจกรรมของเอนไซม์เบต้า-กาแลก โตซิเดสสูงที่สุดนํามาทดสอบการผลิต GOS โดยบ่มน้ําหมัก ที่ผ่านการแยกเซลล์กับสารละลายแลกโตสเก็บตัวอย่างมา วิเคราะห์ปริมาณ GOS โดย HPLC
สรุปผลการวิจัย/สร้างสรรค์ (Result and Discussion) จากการคัดเลือกเชื้อจุลินทรีย์ที่มีความสามารถใน การผลิตเอนไซม์เบต้า-กาแลกโตซิเดส พบว่าเชื้อ SAG 371 และ SAL 371 มีค่ากิจกรรมจําเพาะและมีค่ากิจกรรมของ เอนไซม์เบต้า-กาแลกโตซิเดสที่สูง ดังรูปที่ 1 จากนั้นศึกษา การผลิ ต กาแลกโต-โอลิ โ กแซกคาไรด์ (GOS) โดยบ่ ม เอนไซม์ กั บ แลกโตสที่ ล ะลายในสารละลายฟอสเฟต บัฟเฟอร์ พีเอช 6.5 ความเข้มข้น 250 มิลลิกรัมต่อ มิลลิลิตร ที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 24 ชั่วโมง พบว่า เชื้อ SAG371สามารถผลิต GOS ได้สูงสุด ประมาณ 18 เปอร์เซ็นต์ ในชั่วโมงที่ 48 และ เชื้อ SAL371 สามารถผลิต GOS ได้ สูงสุดประมาณ 19 เปอร์เซ็นต์ ในชั่วโมงที่ 36 (รูปที่ 2) จากการคัดเลือกเชื้อจุลินทรีย์ที่มีความสามารถใน การผลิตเอนไซม์ฟรุกโตซิลทรานสเฟอเรส พบว่าเชื้อ FA 5 (รูปที่ 3) มีค่า Ut/Uh สูงที่สุด จากนั้นศึกษาการผลิตฟรุก โต-โอลิโกแซกคาไรด์ (FOS) โดยบ่มเอนไซม์กับซูโครสที่ ละลายในสารละลายซิเตรตบัฟเฟอร์ พีเอช 5.15 บ่มที่ อุณหภูมิ 55 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 48 ชั่วโมง พบว่า เชื้อ FA 5 สามารถผลิต FOS ได้ โดยมีปริมาณการผลิต 1kestose ได้สูงสุดประมาณ 4 เปอร์เซ็นต์ ในชั่วโมงที่ 4 ของการทําปฏิกิริยา และมีปริมาณการผลิต 1-nystose ได้สูงสุดประมาณ 14 เปอร์เซ็นต์ ในชั่วโมงที่ 18 ของการ ทําปฏิกิริยา (รูปที่ 4)
2. แยกและคัดเลือกเชื้อที่ผลิตเอนไซม์ฟรุกโตซิลทรานส เฟอเรส 2.1 เ ก็ บ ตั ว อ ย่ า ง ดิ น น้ํ า ทิ้ ง แ ล ะ น้ํ า ใ น กระบวนการผลิตจากโรงงานน้ําตาล ผลไม้ชนิดต่างๆ เช่น กล้วย น้ําตาลสด เป็นต้น 2.2 การคัดแยกเชื้อที่สามารถใช้น้ําตาลซูโครสได้ โดยนํ า ตัว อย่ า งจากแหล่ ง ต่ า งๆ มาทํ า การคั ด แยกเชื้ อ ที่ สามารถเจริญในอาหารเลี้ยงเชื้อ YPS ที่มีน้ําตาลซูโครส เป็ น องค์ ป ระกอบ เลื อ กโคโลนี ที่ มี ลั ก ษณะแตกต่ า งกั น streak ลงบนอาหารแข็งเพื่อให้แยกเป็นโคโลนีเดี่ยว นําไป บ่มที่อุณหภูมิ 28 องศาเซลเซียส และเก็บเชื้อบริสุทธิ์ที่แยก ได้ในอาหารเลี้ยงเชื้อที่ 4 องศาเซลเซียส เพื่อศึกษาต่อไป 2.3 ก า ร คั ด เ ลื อ ก เ ชื้ อ ที่ มี กิ จ ก ร ร ม transfructosylation ที่ดี โดยนําตัวอย่างเชื้อบริสุทธิ์ที่ได้ จากข้อ 2.2 มาเลี้ยงในอาหารเหลว YPS บ่มที่ 28 องศา เซลเซียส 120 ชม. อัตราการเขย่า 250 รอบต่อนาที แล้ว จึงกรองแยกเส้นใยราออก นําน้ําหมักที่ผ่านการแยกเซลล์ (เอนไซม์หยาบ) ไปทดสอบ 2.4 หา transfructosylation ratio (Ut/Uh, transferase/hydrolase ratio) โดยผสม 0.1โมลาร์ ซิ เตรต บัฟเฟอร์ พีเอช 5.5 สารละลายน้ําตาลซูโครส 20% (w/v) และน้ํากลั่น ที่ 55 องศาเซลเซียส 15 นาที จึงเติม เอนไซม์ที่เจือจางตามต้องการ และบ่มต่อ 15 นาที หยุด ปฏิ กิ ริ ย าที่ 100 องศาเซลเซี ย ส 15 นาที จากนั้ น นํ า ตั ว อ ย่ า ง ที่ ไ ด้ ม า วิ เ ค ร า ะ ห์ น้ํ า ต า ล รี ดิ ว ซ์ โ ด ย วิ ธี Somogyi/Nelson และวิเคราะห์กลูโครสโดยวิธี glucose oxidase-peroxidase (GOD/POD) ทําการวัดค่าการ
12 จุลสารสถาบันวิจยั และพัฒนา ปที่ 21 ฉบับที่ 4 เดือนตุลาคม - ธันวาคม 2555
รูปที่ 1 ค่า specific activity ระหว่างสภาวะที่ให้อากาศกับสภาวะที่ไม่ให้อากาศ
(ข)
(ก)
รูปที่ 2 รูปแบบจลนพลศาสตร์ของปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นระหว่างการผลิต GOS จากการทําปฏิกิริยาระหว่างแลกโตส และเอนไซม์เบต้า-กาแลกโตซิเดสจาก (ก) เชื้อ SAG 371, (ข) เชื้อ SAL 371 เมื่อ ( ) % GOS, ( ) % แลกโตส ,( ) % กลูโคส และ ( ) % กาแลกโตส
รูปที่ 3 เชื้อราที่เจริญได้บนอาหารที่มีน้ําตาลซูโครสเป็นองค์ประกอบ (FA 5)
13 จุลสารสถาบันวิจยั และพัฒนา ปที่ 21 ฉบับที่ 4 เดือนตุลาคม - ธันวาคม 2555
รูปที่ 4 รูปแบบจลนพลศาสตรที่เกิดขึ้นระหวางการผลิต FOS จากการทําปฏิกิริยาระหวางสารละลายซูโครส ความเขมขน 20 กรัม/ลิตร กับ เอนไซมหยาบของเชื้อ FA 5 ข้อเสนอแนะในการนําผลวิจัย/สร้างสรรค์ไปใช้ (เฉพาะที่สาํ คัญ) เนื่องจากงานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเริ่มต้นจึงต้องมีการปรับปรุงต่อไปในอนาคตเพื่อให้ได้ activity ที่สูงขึ้น บรรณานุกรม (เฉพาะทีส่ ําคัญ) (Reference) Crittenden, R.G. and Playne, M.J. (1996) Production, properties and applications of food-grade oligosaccharides. Trends in Food Science & Technology, 7: 353 – 361. Farn, W.E.R., Prebiotics and Probiotics. In: Wildman REC. Handbook of Nutraceuticals and Functional Foods. New York, CRC Press. 2000:407-422. Gekas, V., and Lόpez-Leiva, M. (1985) Hydrolysis of lactose: a literature review. Process Biochemistry 20:2–12. Mahoney, R., R. (1998) Galactosyl-oligosaccharide formation during lactose hydrolysis: a review. Food chemistry. 63: 147-154 Maugeri, F. and Hernalsteens, S. (2007). Screening of yeast strains for transfructosylating activity. Journal of Molecular Catalysis B: Enzymatic, 49: 43 – 49. Nakkharat, P. and Haltrich, D. (2006) Purification and characterization of an intracellular enzyme with β-glucosidase and β-galactosidase activity from the thermophilic fungus Talaromyces thermophilus CBS 236.58. Journal of Biotechnology. 123: 304-313. Roberfroid M. B. (1999) Concept on functional foods : the case of inulin and oligofructose. Journal of Nutrition. 127(suppl): S1398-1401. Sangeetha, P.T., Ramesh, M.N., and Prapulla, S.G. (2005(b)) Recent trends in the microbial production, analysis and application of fructooligosaccharides. Trends in Food Science & Technology, 16: 442 – 457. Urgell, M. R. and Orleans A. S. (2001) Oligosaccharides: application in infant food. Early Human development. 65 Suppl.: S45-S52.
คําขอบคุณ (Acknowledgement) งานวิ จั ย นี้ ไ ด้ รั บ การสนั บ สนุ น จากทุ น อุ ด หนุ น การวิ จั ย จากเงิ น งบประมาณแผ่ น ดิ น ประจํ า ปี 2554 ของ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร และได้รับการสนับสนุน จากภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะวิศวกรรมศาสตร์ และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร 14 จุลสารสถาบันวิจยั และพัฒนา ปที่ 21 ฉบับที่ 4 เดือนตุลาคม - ธันวาคม 2555
ขาวสารความเคลื่อนไหว
สกว.รับสมัครทุนโครงการพัฒนานักวิจัยและงานวิจัย เพื่ออุตสาหกรรม-พวอ. ระดับปริญญาเอก
สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ได้มาให้ข้อมูลการรับสมัครทุนโครงการพัฒนานักวิจัยและ งานวิจัยเพื่ออุตสาหกรรม-พวอ. ระดับปริญญาเอก แก่ผบู้ ริหาร คณาจารย์และนักศึกษาของมหาวิทยาลัยศิลปากร เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2555 เวลา 14.00 น. ณ สถาบันวิจัยและพัฒนา
15 จุลสารสถาบันวิจยั และพัฒนา ปที่ 21 ฉบับที่ 4 เดือนตุลาคม - ธันวาคม 2555
รางวัลผลงานวิจัยดีของสถาบันวิจัยและพัฒนาประจําปี 2555
ศาสตราจารย์เกียรติ คุณหญิงไขศรี ศรีอรุณ นายกสภามหาวิทยาลัยศิลปากรได้มอบรางวัล ผลงานวิจัยดีแก่คณาจารย์ในวันสถาปนามหาวิทยาลัยศิลปากร เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2555 ณ หอประชุม มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ โดยได้รับเงินรางวัลๆ ละ 15,000 บาท พร้อมใบประกาศเกียรติคุณจากนายก สภามหาวิทยาลัย จํานวน 2 รางวัล ดังนี้ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ประยุกต์ เรื่อง “การออพติไมเซชันการตั้งตํารับและกระบวนการผลิตเภสัชภัณฑ์ : การศึกษาเชิงทดลองและการ พัฒนาแบบจําลอง” โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุชาดา พิริยะประสาธน์ และคณะ คณะเภสัชศาสตร์ สาขาวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เรื่อง “การพัฒนาพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการศึกษาเชิงสร้างสรรค์” โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.คีรีบูน จงวุฒิเวศย์ และคณะ คณะศึกษาศาสตร์
16 จุลสารสถาบันวิจยั และพัฒนา ปที่ 21 ฉบับที่ 4 เดือนตุลาคม - ธันวาคม 2555
โครงการแลกเปลีย่ นเรียนรู้ (KM) เรื่อง “A-Z การบริหารงานวิจัย”
สถาบันวิจัยและพัฒนาได้ดําเนินการจัดโครงการแลกเปลีย่ นเรียนรู้ (KM) เรื่อง "A-Z การบริหาร งานวิจัย" วิทยากรโดย นางสาวตปนีย์ พรหมภัทร นักวิจัยชํานาญการ ในวันที่ 25 กันยายน 2555 เวลา 13.30-14.30 น. ณ ห้องประชุมสถาบันวิจัยและพัฒนา ผู้เข้าร่วมโครงการประกอบด้วย ผู้บริหารและ บุคลากรของสถาบันวิจัยและพัฒนา รวม 14 คน
17 จุลสารสถาบันวิจยั และพัฒนา ปที่ 21 ฉบับที่ 4 เดือนตุลาคม - ธันวาคม 2555
การติดตามผลโครงการวิจัยของสถาบันวิจัยและพัฒนา โดยทีมงานดูแลระบบ NRPM (วช.)
ทีมงานดูแลระบบ NRPM ของสํานักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ได้เข้ามาติดตามผลโครงการวิจัย และให้คําแนะนําเกี่ยวกับระบบ NRPM แก่ผู้รับผิดชอบระบบ NRPM ของสถาบันวิจัยและพัฒนา ในวันที่ 27 กันยายน 2555 ณ สถาบันวิจัยและพัฒนา
18 จุลสารสถาบันวิจยั และพัฒนา ปที่ 21 ฉบับที่ 4 เดือนตุลาคม - ธันวาคม 2555
สถาบันวิจยั และพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร นครปฐม 73000 e-mail: research.inst54@gmail.com , http://www.surdi.su.ac.th โทรศัพท 0-3425-5808 โทรสาร 0-3421-9013