วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร

Page 1

ÇÒÃÊÒÃÁËÒÇÔ · ÂÒÅÑ Â ÈÔ Å »Ò¡Ã SILPAKORN UNIVERSITY JOURNAL ©ºÑºÀÒÉÒä·Â ÊÒ¢ÒÊѧ¤ÁÈÒÊμà Á¹ØÉÂÈÒÊμà áÅÐÈÔŻР»‚·Õè 30 ©ºÑº·Õè 1 Á¡ÃÒ¤Á - ÁԶعÒ¹ ¾.È. 2553

Volume 30 Number 1, January - July 2010

ISSN 0857-5428

©ºÑºÍÑμÅѡɳ


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย สาขาสังคมศาสตร มนุษยศาสตร และศิลปะ ปที่ 30 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน) พ.ศ. 2553 SILPAKORN UNIVERSITY JOURNAL

Volume 30 Number 1, 2010 ISSN 0857-5428 หนวยงานที่รับผิดชอบ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร อ.เมือง จ.นครปฐม 73000

วัตถุประสงค

1. เผยแพรผลงานทางวิชาการสาขาสังคมศาสตร มนุษยศาสตร และศิลปะ ของนักวิชาการ ทั้งภายใน และภายนอกมหาวิทยาลัย 2. เปนสื่อกลางการแลกเปลี่ยนเรียนรูทางวิชาการในสาขาสังคมศาสตร มนุษยศาสตร และ ศิลปะ 3. สงเสริมใหนักวิชาการและผูสนใจไดนําเสนอผลงานวิชาการในรูปบทความวารสาร

ที่ปรึกษา ศาสตราจารยเกียรติคุณ ดร. เจตนา นาควัชระ ศูนยมานุษยวิทยาสิรินธร ศาสตราจารย ดร. สันติ เล็กสุขุม ภาควิชาประวัติศาสตรศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ศาสตราจารย ดร. กุสุมา รักษมณี ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ผูชวยศาสตราจารย ดร. อริศร เทียนประเสริฐ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร

บรรณาธิการ รองศาสตราจารยระเบียบ สุภวิรี ภาควิชาบรรณารักษศาสตร คณะอักษรศาสตร มหาวิทยาลัยศิลปากร

ทุกบทความไดรับการตรวจความถูกตองทางวิชาการโดยผูทรงคุณวุฒิ


กองบรรณาธิการ ศาสตราจารยปรีชา เถาทอง ภาควิชาศิลปไทย คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ มหาวิทยาลัยศิลปากร ศาสตราจารย ดร. สุวิไล เปรมศรีรัตน สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเซีย มหาวิทยาลัยมหิดล รองศาสตราจารยพิษณุ ศุภนิมิตร ภาควิชาภาพพิมพ คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ มหาวิทยาลัยศิลปากร รองศาสตราจารย สุวัฒนา เลี่ยมประวัติ ภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร มหาวิทยาลัยศิลปากร ผูชว ยศาสตราจารย ดร. มาเรียม นิลพันธุ ภาควิชาหลักสูตรและวิธีการสอน คณะศึกษาศาสตร มหาวิทยาลัยศิลปากร ผูชวยศาสตราจารย ดร. บูลยจีรา ชิรเวทย ภาควิชาภาษาอังกฤษ คณะอักษรศาสตร มหาวิทยาลัยศิลปากร

บรรณาธิการบริหารวารสาร นางปรานี วิชานศวกุล

ออกแบบปก รองศาสตราจารยพิษณุ ศุภนิมิตร

กราฟคคอมพิวเตอร คุณอัจฉราวดี สุดประเสริฐ

กําหนดออก

ปละ 2 ฉบับ (มกราคม-มิถุนายน และ กรกฎาคม-ธันวาคม)

จํานวนพิมพ

300 เลม ราคาจําหนาย เลมละ 120 บาท

ติดตอบอกรับและสอบถามขอมูลเพิ่มเติมไดที่ รศ.ระเบียบ สุภวิรี บรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย สาขาสังคมศาสตร มนุษยศาสตร และศิลปะ คณะอักษรศาสตร มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร อ.เมือง จ.นครปฐม 73000 E-mail: dawgrabiab107@gmail.com หรือ คุณปรานี วิชานศวกุล บรรณาธิการบริหารวารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร 44/114 หมูบานเลิศอุบล ซอยพหลโยธิน 52 ถนนพหลโยธิน แขวงคลองถนน เขตสายไหม กรุงเทพฯ 10220 E-mail: pranee_aon@hotmail.com Web site: http://www.journal.su.ac.th หรือ http://www.surdi.su.ac.th

พิมพที่

โรงพิมพมหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร อ.เมือง จ.นครปฐม 73000 โทรศัพท 034 – 255814


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย สาขาสังคมศาสตร มนุษยศาสตร และศิลปะ ปที่ 30 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน) พ.ศ. 2553

สารบัญ บทบรรณาธิการ

5

บทความประจําฉบับ ความสัมพันธระหวางพระมหากษัตริยกับลูกขุนขาทูลละอองในกฎมณเทียรบาล วรพร ภูพงศพันธุ

7

การสราง “พระราชชายาเจาดารารัศมี” ใหเปนบุคคลสําคัญในประวัติศาสตร ทศวรรษ 2500 – ปจจุบัน จิรชาติ สันตะยศ

25

ทวิอัตลักษณ: การตอสูและการปรับตัวของชาวไทใหญพลัดถิ่นในจังหวัดเชียงใหม ปานแพร เชาวนประยูร

41

จิตรกรรมภาพพระโพธิสัตวในสมัยพระอนาคตพุทธเจา 10 พระองคบนแผงไมคอสอง ศาลาการเปรียญหลังเกา วัดในกลาง จังหวัดเพชรบุรี สุพิชฌาย แสงสุขเอี่ยม

69

จิตรกรรมฝาผนังในพระอุโบสถวัดชุมพลนิกายาราม : มุมมองใหมเกี่ยวกับการปฏิเสธ อิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริยในพุทธประวัติสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกลาเจาอยูหัว อิสรา อุปถัมภ

83


การสรางตําแหนงแหงที่ของ “เมืองแพร” ในประวัติศาสตร “ชาติไทย” : จากเมืองกบฏ สูเมืองที่จงรักภักดี ชัยพงษ สําเนียง

99

ชีวิตราษฎรไทยสมัยสงครามมหาเอเชียบูรพา : มุมมองผานการเขามาควบคุมทางรถไฟ สายใตของกองทัพญี่ปุน พวงทิพย เกียรติสหกุล

117

การสรางสรรคนวัตกรรมองคการ : กรณีศึกษาการประยุกตใชการจัดการความรู พยัต วุฒิรงค และ เจษฎา นกนอย

139

บทความพิเศษ ศิลปหัตถกรรมพื้นบาน : เอกลักษณเฉพาะถิ่น วิบูลย ลี้สุวรรณ

163


บทบรรณาธิการ วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย สาขาสังคมศาสตร มนุษยศาสตร และศิลปะ ฉบับนี้ได เปลี่ยนกองบรรณาธิการใหมซึ่งประกอบดวยผูเชี่ยวชาญในสาขานี้ คือ ศาสตราจารยปรีชา เถาทอง ศิลปนแหงชาติ ประจําป พ.ศ. 2552 สาขาทัศนศิลป และรองศาสตราจารยพิษณุ ศุภนิมิตร ผูเชี่ยวชาญสาขาศิลปะ ศาสตราจารย ดร. สุ วิ ไ ล เปรมศรี รั ต น และรองศาสตราจารย สุ วั ฒ นา เลี่ ย มประวั ติ ผู เ ชี่ ย วชาญด า นภาษาศาสตร ผูชวยศาสตราจารย ดร. มาเรียม นิลพันธุ ผูเชี่ยวชาญทางการศึกษา และผูชวยศาสตราจารย ดร. บูลยจีรา ชิรเวทย ผูเชี่ยวชาญดานภาษาอังกฤษ นอกจากนี้วารสารฉบับนี้ยังปรับเปลี่ยนรูปเลมใหเปนขนาดเดียวกันกับวารสารมหาวิทยาลัยศิลปากรฉบับ ภาษาอังกฤษ สาขาวิทยาศาสตรและเทคโนโลยี โดยมีรองศาสตราจารย ดร. อรอุมา (ภูประเสริฐ) โตะยามา เปน บรรณาธิการ จากบทความที่หลากหลายเกี่ยวกับเรื่องทองถิ่นที่ตีพิมพในฉบับนี้ ดังเชน เรื่อง “การสราง “พระราช ชายาเจาดารารัศมี” ใหเปนบุค คลสํ าคัญในประวัติศาสตร ทศวรรษ 2500 - ปจ จุบัน ” ของ จิ ร ชาติ สั น ตะ ยศ กลาวถึงการสรางมโนทัศนทางการเมืองที่เกี่ยวโยงกับความสัมพันธของอํานาจในทองถิ่นลานนาของเจานายฝาย เหนื อ กั บ ชาติ ไ ทย จากบทบาทของเจ า ดารารั ศ มี ซึ่ ง เป น พระธิด าของพระเจ า อิ น ทวิ ช ยานนท เจ า ครองนคร เชียงใหม ลําดับที่ 7 ที่ไดรับการถวายตัวเปนพระราชชายาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลาเจาอยูหัว ทําให ประวัติศาสตรยกยองวาเจาดารารัศมีเปนบุคคลสําคัญทางประวัติศาสตรทองถิ่นของไทย และนอกจากนี้ยังทําให ทราบถึงเรื่องราวความรักความผูกพันระหวางเจาดารารัศมีกับพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลาเจาอยูหัว ที่ชวย ประสานความสัม พันธร ะหวา งชนชาวลานนากับ ชาติไทยใหมั่นคงและแนนแฟนตลอดมา จนเปน “สายใยรั ก สองแผนดิน” ปานแพร เชาวนประยูร ศึกษาเรื่อง “ทวิอัตลักษณ : การตอสูและการปรับตัวของชาวไทใหญพลัดถิ่นใน จังหวัดเชียงใหม” กลาวถึงชนชาวไทใหญที่เคยอาศัยในรัฐฉานของพมาและปจจุบันไดอพยพยายถิ่นมาอาศัยใน จังหวัดเชียงใหม ชาวไทใหญเปนกลุมคนตางดาวที่มาอาศัยและสรางปญหาใหกับรัฐไทย แตเพื่อความอยูรอดและ ความปลอดภัย ชาวไทใหญจึงมีการตอสูและปรับตัวเกิดขึ้นหลายรูปแบบ บทความนี้เปนการนําเสนอความเปน อัตลักษณของชาวไทใหญ ดวยบทบาทการจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรม ประเพณี และพิธีกรรมตางๆ ที่วัดปาเปา และวัดกูเตา จัง หวัดเชียงใหม เพื่ อแสดงความเปน ตัวตนและสรา งความสําคัญ เชิ งวัฒ นธรรมใหค นทั่ว ไปได ตระหนักในคุณคาชีวิตของความเปนไทใหญ และใหรัฐไทยรับรูวาชาวไทใหญมิไดเปนศัตรูกับชาวไทยแตอยางไร จึงกลาวไดวาชาวไทใหญ เปนกลุมชาติพันธุที่มีทวิอัตลักษณของความเปนทั้งชาวไทยและไทใหญ สวนเรื่อง “จิตรกรรมภาพพระโพธิสัตวในสมัยพระอนาคตพุทธเจา 10 พระองคบนแผงไมคอสอง ศาลา การเปรียญหลังเกา วัดในกลาง จังหวัดเพชรบุรี” ของ สุพิชฌาย แสงสุขเอี่ยม เปนการศึกษาภาพจิตรกรรมที่เขียน บนแผงไมคอสอง ของศาลาการเปรียญ วัดในกลาง ที่เขียนเปนภาพพระโพธิสัตวในสมัยพระอนาคตพุทธเจา 10 พระองค และในสมัยพระอดีตพุทธเจา 24 พระองค ซึ่งภาพเหลานี้เปนงานที่สืบทอดทางเทคนิคมาจากจิตรกรรม ในสมัยรัชกาลที่ 3 ที่เนนใหเห็นเรื่องการบําเพ็ญบารมีและความเพียรพยายามของพระโพธิสัตวในแตละชาติ อีกเรื่องหนึ่งในทํานองเดียวกันคือ “จิตรกรรมฝาผนังในพระอุโบสถวัดชุมพลนิกายาราม : มุมมองใหม เกี่ยวกับการปฏิเสธอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริยในพุทธประวัติสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกลาเจาอยูหัว” ของ อิสรา อุปถัมภ เปนการศึกษาวิเคราะหภาพจิตรกรรมฝาผนังที่ประกอบดวยภาพประวัติของพระพุทธเจาในอดีตและ ปจจุบัน 7 พระองค ซึ่งผูเขียนมั่นใจวาเปนจิตรกรรมฝาผนังที่สรางขึ้นในสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกลา เจาอยูหัว อันเปนความเชื่อที่วาพระบาทสมเด็จพระจอมเกลาเจาอยูหัวและธรรมยุติกนิกาย ปฏิเสธภาพตอน


มารวิชัย ยมกปาฏิหาริย และการเสด็จลงจากดาวดึงสของพระพุทธเจา เพราะเปนเรื่องอิทธิปาฏิหาริย แตผูเขียน ไดวิเคราะหจากภาพเหลานั้นแลวพบวามีภาพที่แสดงปาฏิหาริยรวมอยูดวย แทจริงแลวการเรียบเรียงพุทธประวัติ ในแนวความคิดของพระบาทสมเด็จพระจอมเกลาเจาอยูหัวนั้น นาจะเชื่อในสิ่งที่พิจารณาแลววาเปนขอความที่ ปรากฏในพระไตรปฎกบาลีโดยตรง “การสร า งตํ า แหน ง แห ง ที่ ข อง “เมื อ งแพร ” ในประวั ติ ศ าสตร “ชาติ ไ ทย” : จากเมื อ งกบฏสู เ มื อ งที่ จงรักภักดี” ของ ชัยพงษ สําเนียง เปนเรื่องราวที่มุงแสดงใหเห็นพลวัตทางประวัติศาสตรของเมืองแพร ที่มีความ ผันแปรและเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา โดยมีการกลาวอางถึงวีรกรรมของชาวเมืองแพร ไดแก พญาพล ผูสรางเมือง แพร ซึ่งเมื่อมาถึงยุคปฏิรูปการปกครอง เมืองแพรถูกกลาวหาวาเปนกบฏ แตในความเปนจริงแลวกลุมกบฏกลับ เปนพวกเงี้ยวที่เขามาปลนเมือง มิใชชาวเมืองแพร หรือ พระญามังไชย วีรบุรุษผูกลาหาญ ไดประกาศความเปน อิสระใหเมืองแพร แตก็ไดเปนตัวแทนของความจงรักภักดีและความซื่อสัตยของคนเมืองแพร ตลอดจนเจาหลวง พิริยเทพวงศ ที่ไดชื่อวาเปน “กบฏ” ผูไมมีความจงรักภักดีตอบานเมืองและพระมหากษัตริย จนตองลี้ภัยไปและถึง พิราลัย ณ หลวงพระบาง แตในอีก 100 ปตอมา กลับไดรับการกลาวอางใหเปนผูมีความจงรักภักดีและเสียสละ หรือเรื่อง “ชีวิตราษฎรไทยสมัยสงครามมหาเอเชียบูรพา : มุมมองผานการเขามาควบคุมทางรถไฟ สายใตของกองทัพญี่ปุน” ของพวงทิพย เกียรติสหกุล อธิบายถึงการเขามาควบคุมเสนทางรถไฟสายใตของทหาร ญี่ปุนอันมีผลตอการดําเนินชีวิตของคนในจังหวัดสงขลา ซึ่งกองทัพญี่ปุนใชเสนทางนี้ในการขนสงกองกําลังบํารุง จากไทยไปยังมลายู รวมไปถึงการเขามาควบคุมทางรถไฟบนเสนทางไปจังหวัดราชบุรี กาญจนบุรี ชุมพร และ ระนอง ซึ่งเปนเสนทางรถไฟไทย–พมา และ สายชุมพร–กระบี่ ที่กองกําลังทหารญี่ปุนสรางขึ้นเพื่อเชื่อมตอจากทาง รถไฟสายใต เพื่อใชในการขนสงกองกําลังไปยังพมา การเขามาควบคุมของกองกําลังญี่ปุนในครั้งนั้นสงผลให ราษฎรไทยในทองถิ่นตองประสบปญหานานานัปการ นับตั้งแตปญหาการใชเงินดอลลาร เครื่องอุปโภคบริโภคที่มี ราคาสูง การขาดแคลนเครื่องอุปโภคบริโภค ตลอดจนปญหาเรื่องผูหญิงปลอบขวัญ และนอกจากนี้กองบรรณาธิการยังไดรับเกียรติจากศาสตราจารยวิบูลย ลี้สุวรรณ เขียนบทความพิเศษ เรื่อง “ศิลปหัตถกรรมพื้นบาน : เอกลักษณเฉพาะถิ่น” ที่กลาวถึงศิลปหัตถกรรมพื้นบานที่เปนเครื่องมือเครื่องใช ของชาวไทยในยุคสมัยโบราณ อันสะทอนถึงแนวความคิดในการออกแบบ การเลือกสรรวัสดุ ตลอดจนรูปแบบของ ศิลปหัตถกรรมพื้นบานที่สอดคลองกับวิถีชีวิต ขนบประเพณี ความเชื่อ ประวัติศาสตรทองถิ่น รวมถึงภูมิปญญา ของชางไทยโบราณ จะเห็นไดวาบทความตางๆ ในเลม เนนถึงความเปนทองถิ่นของไทย จึงทําใหวารสารฉบับนี้ไดชื่อวาเปน ฉบับ “อัตลักษณ” และในฐานะทีมงานของวารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทยนี้ ตองขอขอบพระคุณ นักวิชาการที่สนใจนําเสนอผลงานวิชาการทั้งในลักษณะงานวิจัยและบทความวิชาการ และหวังวาจะไดรับความ สนใจเชนนี้อีกตอไปในอนาคต

รองศาสตราจารยระเบียบ สุภวิรี บรรณาธิการ


ความสัมพันธระหวางพระมหากษัตริยกับลูกขุนขาทูลละออง ในกฎมณเทียรบาล ดร. วรพร ภูพงศพันธุ

ความสัมพันธระหวางพระมหากษัตริยกับลูกขุนขาทูลละออง1 ในกฎมณเทียรบาล2 The Relationship between the Kings and his Courtiers under the Palatine law วรพร ภูพ งศพนั ธุ3 Woraporn Poopongpan

บทคัดยอ บทความนี้ เ ป น การดึ ง สาระบางประการของกฎมณเที ย รบาลมาศึ ก ษาภาพความสั ม พั น ธ ร ะหว า ง พระมหากษัตริยกับเหลาลูกขุนขาทูลละออง (ตามคําศัพทที่ปรากฏในกฎมณเทียรบาล แตเอกสารในสมัยตอมา เรียกวาขุนนางขาราชการ) ทั้งฝายหนาและฝายใน ความสัมพันธกับฝายหนาที่ปรากฏคือความหวาดระแวงเกรงวา คนเหลานี้คิดจะแยงชิงราชบัลลังก สวนความสัมพันธกับฝายในเปนลักษณะความคาดหวังใหบุคคลเหลานี้รักษา พระเกียรติยศและจารีตประเพณีโดยไมกระทําการอันลบหลูพระเกียรติยศของพระองค คําสําคัญ : 1. กฎมณเทียรบาล. 2. ขาราชการฝายใน. Abstract

This article aims to study some content of the Palatine Law (Kot Monthianban) which reflects the relationship between kings and their two groups of servers: the “font” group or state-affair officials, and the “inner” group or royal-affair officials. The relationship between kings and their state-affair officials is that kings are paranoid about the throne. While the relationship between kings and their royal-affair officials is that kings expect them to help keep the royal prestige and royal traditions, as well as not do anything harmful to the royal prestige. Keywords : 1. Palatine Law (Kot Monthianban). 2. Thai Royal-affair officials.

1

พลตรี ห ม อ มราชวงศ ศุ ภ วั ฒ น เกษมศรี อธิ บ ายว า คํ า ว า “ลู ก ขุ น ” ในกฎมณเที ย รบาลและกฎหมายตราสามดวงมี ความหมายเทากับ “ขาทูลละออง” ซึ่งตอมาในสมัยรัตนโกสินทรใชวา “ขุนนาง” และ “ขาราชการ” (วินัย พงศศรีเพียร 2548 : 65) 2 บทความนี้ ตั ด ทอนและสรุ ป ความจากวิ ท ยานิ พ นธ บทที่ 5 ของผู ศึ ก ษา เรื่ อ ง กฎมณเที ย รบาลในฐานะหลั ก ฐาน ประวัติศาสตรไทยสมัยอยุธยาถึง พ.ศ. 2348 3 ผูชวยศาสตราจารย ดร. ประจําภาควิชาประวัติศาสตร คณะอักษรศาสตร มหาวิทยาลัยศิลปากร นครปฐม

7


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปที่ 30 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2553

กฎมณเทียรบาลเปนกฎหมายลักษณะหนึ่ง ในกฎหมายตราสามดวงที่พระบาทสมเด็จพระพุทธ ยอดฟ า จุ ฬ าโลกโปรดฯ ให ชํ า ระเมื่ อ พ.ศ. 2348 กฎหมายตราสามดวงเป น หลัก ฐานสํา คัญ ชิ้น หนึ่ง ที่ สามารถนํ า มาศึก ษาประวั ติศ าสตรไ ทยสมัย อยุธ ยา และตนรัตนโกสินทรไดแมนักประวัติศาสตรที่เครงครัด ในการใชหลักฐานเห็นวากฎหมายตราสามดวงที่ผาน การชําระเมื่อ พ.ศ. 2348 ก็ควรเปนหลักฐานที่บงบอก เรื่ อ งราวตั้ ง แต พ.ศ. 2348 เป น ต น มาก็ ต ามที แต สิ่งหนึ่งที่ปฎิเสธไมไดคือระยะเวลาในการชําระที่สั้น มากคื อ 11 เดือน 4 ทั้ง ๆ ที่ มี ก ฎหมายจํา นวนมากที่ ตองชําระทําใหเชื่อวาผูชําระกฎหมายไมมีเวลาพอที่จะ ทําการชําระสะสางบทกฎหมายไดอยางสมบูรณ (แลงกาต 2526 : 22) ดังนั้นบทกฎหมายเกาครั้งกรุงศรีอยุธยา จึงนาจะหลงเหลืออยูเปนจํานวนมากพอที่จะทําใหเห็น เรื่องราวสมัยอยุธยาไดมากพอควร กฎมณเทียรบาลฉบับแรกสุดเขียนขึ้นเมื่อไร ไมทราบแนชัด แตการที่กฎมณเทียรบาลคือกฎวาดวย การรักษาเรือนหลวงยอมนาจะทําใหกฎมณเทียรบาล คื อ กฎที่ อ ยู คู กั บ สถาบั น กษั ต ริ ย ม าชา นาน เทา ที่ ปรากฏหลักฐานทางประวัติศาสตร กฎมณเทียรบาล ฉบับเกาที่สุดที่ตกทอดมาถึงปจจุบันคือกฎมณเทียรบาล ฉบับที่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถโปรดใหตราขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2011 (ค.ศ.1468)5 กฎมณเที ย รบาลตามความเข า ใจทั่ ว ไปใน ป จ จุ บั น ดั ง ที่ ป รากฏความในรั ฐ ธรรมนู ญ ฉบั บ พ.ศ. 2540 มาตรา 23 เปนเรื่องราวเกี่ยวกับการสืบราช สันตติวงศ 6 แตสําหรับในอดีตแลวเรื่องราวอันมีนัย เกี่ยวของกับการสืบราชสมบัติปรากฏอยูเพียงเล็กนอย เท านั้ น ดั งนั้ นความหมายและความเข าใจเกี ่ย วกับ กฎมณเทีย รบาลในอดีต จึง มีค วามแตกตา งไปจาก ปจจุบัน สําหรับกฎมณเทียรบาลที่จะนํามาศึกษาในที่นี้ 4

คือกฎมณเทียรบาล ฉบับ พ.ศ. 2011 (ค.ศ. 1468) ที่ รวมอยู ในประมวลกฎหมายตราสามดวงและได นํ ามา ตีพิมพ เผยแพรใหม พรอมทั้งทําคํ าอธิบายศัพทเมื่อป พ.ศ. 2548 (ค.ศ. 2005) ในชื่อกฎมณเทียรบาลฉบับ เฉลิมพระเกียรติ กฎมณเทียรบาลมีสถานะเปนพระราช กําหนดกฎหมายจึงทําใหมีอํานาจบังคับใชในทางปฏิบัติ เช นเดี ยวกั บกฎหมายอื่ นๆ หากแต กฎมณเที ยรบาล อาจจะมี ค วามแตกต า งจากกฎหมายอื่ น ในแง ที่ ว า กฎหมายโดยทั่ วๆ ไปนั้ น เป น บทบั ญ ญั ติ เ พื่ อ ระงั บ ขอพิพาทตางๆ ที่เกิดขึ้นระหวางกัน แตกฎมณเทียรบาล นั้ นเป น กฎ (กฎหมาย) สํ า หรั บ รั ก ษาเรื อ นพระเจ า แผนดินและเปนการพรรณนากําหนดพระเกียรติยศของ พระเจ าแผ นดิ นและพระบรมวงศานุ วงศ ข าราชการ ผู ใหญ ผู น อยซึ่ งอยู ในตํ าแหน งราชการ และข อบั งคั บ สําหรับขาราชการที่จะประพฤติใหถูกตองไมมีความผิดใน พระเจาแผนดิน (รวมเรื่องราชาภิเษก ธรรมเนียมราช ตระกูลในกรุงสยาม พระราชานุกิจและอธิบายวาดวย ยศเจา 2546 : 76-77) ลักษณะดังกลาวแสดงใหเห็น วากฎมณเทียรบาลเปน เรื่องราวภายในของพระเจา แผ น ดิ น หรื อ เกี่ ย วข อ งกั บ พระเจ า แผ น ดิ น เป น หลั ก การที่กฎมณเทียรบาลเปนกฎหมายที่เกี่ยวของกับพระ เจ า แผ น ดิ น ตลอดจนผู เ กี่ ย วข อ งกั บ การใช ชี วิ ต ใน พระราชวังหลวงทําใหกฏมณเทียรบาลเปนขอมูลและ หลั ก ฐานที่ มี ค วามสํ า คั ญ ยิ่ ง ในการศึ ก ษาเกี่ ย วกั บ สถาบันพระมหากษัตริย บทความนี้ผูศึกษานําสาระกฎมณเทียรบาล มาศึ ก ษาความสั ม พั น ธ ร ะหว า งพระมหากษั ต ริ ย กั บ ลู ก ขุ น ข า ทู ล ละอองโดยจะเน น ไปที่ ค วามสั ม พั น ธ ระหว า งพระมหากษั ต ริ ย กั บ ฝ า ยหน า และฝ า ยใน อยางไรก็ตาม เนื่องจากกฎมณเทียรบาลไมไดมีความ สมบูรณในตัวเอง ฉะนั้นการจะไดภาพความสัมพันธที่ มี สี สั น เห็ น ผู ค นจึ ง ต อ งนํ า เอกสารร ว มสมั ย อื่ น ๆ มา ประกอบการศึกษาดวย

งานชํารุกฎหมายตราสามดวงเริ่มเมื่อวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2347 ฉบับที่เขียนเสร็จกอนอาลักษณไดตรวจทานเมื่อวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2347 คิดเปนเวลาประมาณ 7 เดือน ฉบับเขียนครั้งสุดทาย อาลักษณตรวจทานในวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2348 คิดเปนเวลาไมถึง 11 เดือน หลังจากวันเริ่มงาน (ร. แวงกาต 2523 : 22) 5 รัชสมัยและปศักราชของกฎมณเทียรบาลในที่นี้ยึดถือตามการตรวจสอบของ ศ.ดร.ประเสริฐ ณ นคร ที่ระบุวา วัน เดือน ป นักษัตรในบานแผนกของกฎมณเทียรบาลตรงกับวันเสารที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2011 (ค.ศ. 1468) 6 ความในรัฐธรรมนูญกลาววา “ภายใตบังคับมาตรา 23 การสืบราชสมบัติใหเปนไปโดยนัยแหงกฎมณเทียรบาล วาดวยการ สืบสันตติวงศ พระพุทธศักราช 2467” (รัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 : 7)

8


ความสัมพันธระหวางพระมหากษัตริยกับลูกขุนขาทูลละออง ในกฎมณเทียรบาล ดร. วรพร ภูพงศพันธุ

ความสัมพันธระหวางพระมหากษัตริยกับฝายหนา ความสั ม พั น ธ ร ะหว า งพระมหากษั ต ริ ย กั บ ฝายหนาในกฎมณเทียรบาลที่เห็นไดชัดเจนคือความ หวาดระแวง ที่ ก ล า วเช น นี้ พิ จ ารณาจากความใน กฎมณเที ย รบาลหลายตอนเน น ไปที่ เ รื่ อ งความ ปลอดภัย ของพระมหากษัตริ ยใ นยามเสด็จ พระราช ดํ า เนิ น ทั้ ง ทางบกทางน้ํ า รวมถึ ง การห า มมิ ใ ห ข า ทู ล ละอองคบหาราชบุตร มิใหเจาเมืองไปมาหากันและใน กรณี โ ปรดฯ ให ข า ทู ล ละอองคนใดไปรั้ ง เมื อ งไปทํ า สงคราม ถามิทรงเรียกใหกลับเขามาพระนครมิใหเขา มาเอง เป น ต น กฎข อ บั ง คั บ เหล า นี้ ส ะท อ นให เ ห็ น ความไมไววางใจของพระมหากษัตริยที่มีตอเจานาย และเหลาขาทูลละอองดวยทรงเกรงวาบุคคลเหลานี้จะ สมรูรว มคิด วางแผนกอ กบฏคิดรา ยตอชีวิตและราช บัลลังกของพระองค อยางไรก็ดี เหตุก ารณแ ยงชิง อํานาจราชบัลลังกหลายครั้งในประวัติศาสตร ก็เปนสิ่ง ยืนยันไดวากฎหมายที่บัญญัติออกมานี้7 ไมสามารถ ระงั บ หรื อ หยุ ด ยั้ ง การแย ง ชิ ง อํ า นาจทางการเมื อ ง ไดเลย8 แมวาบทงโทษในกรณีที่ทําผิดคิดรายตอ กษัตริยจะถึงขั้นตายก็ตามที แมวากฎหมายที่ออกมาจะมิอาจปองกันการ แยงชิงอํานาจราชบัลลังกได แตกฎหมายและบทลงโทษ ในกฎหมายก็ยังคงเปนมาตรการสําคัญในการปองปราม มิใหกระบวนการสมรูรวมคิดลมลางราชบัลลังกเกิดขึ้น หรื อ ถ า พิ จ ารณาในอี ก แง มุ ม หนึ่ ง เนื้ อ หาสาระของ กฎหมายในสวนที่วาดวยขอหามตางๆ อันจะนํามาซึ่ง การสมคบคิดก อ กบฏก็คือสิ่งสะทอ นใหเห็น ความ

พยายามป อ งกั น การก อ กบฏ ขณะเดี ย วกั น ก็ คื อ สิ่ ง แสดงใหเห็นความหวาดระแวงของพระมหากษัตริยที่ มี ต อ โอรส เจ า นายเชื้ อ พระวงศ แ ละบรรดาลู ก ขุ น นั่นเอง สําหรับกฎมณเทียรบาลก็มีบทบัญญัติทํานอง นี้อ ยู ห ลายตอนด ว ยกั น เมื่อ ประมวลดูแ ล ว สามารถ จัดแบงสาระสําคัญออกไดเปน 2 ประการใหญๆ คือ ประการแรก การหามเจานาย ลูกขุนทั้งหลายและเจา เมื อ งคบหาไปมาหาสู กั น ประการที่ ส อง การ ระแวดระวั ง ความปลอดภั ย ยามที่ พ ระมหากษั ต ริ ย ประกอบราชกิจตางๆ 1.1 การหามเจานาย ลูกขุนและเจาเมือง คบหาไปมาหาสูกัน กฎมณเที ยรบาลกํ าหนดไว ชั ดเจนว า ห า ม ลูกขุนนา 10000 ถึงนา 1600 ไปมาหาสูกัน หามลอบ เจรจากัน หามเจาเมืองไปมาหาสูกัน หามลูกขุนนา 10000 ถึงนา 800 คบหาราชบุตร ราชนัดดา ถามิเชื่อ มีโทษถึงตาย “อนึ่ง แตนา ๑๐๐๐๐ ลงมาถึงนา ๑๖๐๐ แลไปมาหากันถึงเรือนก็ดี ที่สงัด แหงใดๆ ก็ดี แลลอบเจรจากันก็ดี แล นั่งในศาลาลูก ขุน เจรจากระซิ บกัน แต สองตอสองก็ดี โทษฟนฅอริบเรือน” “อนึ่ง…ขุนสนมไปคบลูกขุนทหาร โทษถึงตาย” “หนึ่งหัวเมือง หนึ่งกัน เจ าเมื อง หนึ่งกันไปหาเมืองหนึ่งโทษถึงตาย”

7

นอกจากกฎมณเทียรบาลแลว พระไอยการอาญาหลวง พระไอยการกระบดศึก พระราชกําหนดเกา กฎ 36 ขอและพระราช กําหนดใหมมีเนื้อความบางสวนระบุถึงการหามลูกขุนคบหาเจานาย หามเจาเมืองไปมาหากันรวมถึงโทษที่คิดกบฏคิดรายตอพระเจา แผนดิน การที่กฎหมายมีเนื้อความบางสวนคลายๆ กันเชนนี้ ดูเปนการสะทอนใหเห็นความพยายามปองกันและปองปรามไมให เจานายและขุนนางคบคิดกันกอกบฏ แตขณะเดียวกันการที่มีกฎหมายออกมาซ้ําและย้ําขอหามปฏิบัติมากเทาไรก็ยิ่งเปนการแสดงให เห็นวากฎหมายนั้นแทบไมมีประสิทธิภาพในการบังคับใชเลย 8 ผูศึกษาเขียนความตรงนี้ดวยตระหนักเสมอวาเนื้อความในกฎหมายโดยเฉพาะกฎมณเทียรบาลนั้นมีทั้งสวนที่เกากวา ศักราชที่ปรากฏในบานแผนก (พ.ศ. 2011 / ค.ศ. 1468) และสวนที่เพิ่มเติมหลังจากนั้น กรณีที่เพิ่มเติมเขามาทีหลังคงเปนเพราะมีการ กระทําบางประการอันมีผลใหเกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองขึ้น จนตองมีการบัญญัติกฎหมายออกมาปองปรามและปองกันไมให เกิดการกระทํานั้นอีก แตการจะระบุวาเนื้อความสวนใดแทรกเขามาในสมัยไหนหรือเพราะเกิดเหตุการณใดขึ้นเปนสิ่งที่ทําไดยาก สําหรับผูศึกษาแลวกฎหมายที่ออกมานั้นเปนเพียงการปองปรามมิอาจปองกันมิใหเกิดการแยงชิงอํานาจทางการเมืองได เหตุการณ ประวัติศาสตรเรื่องการรวมตัวของกลุมขุนนางขาราชการและเจานาย หรือการรวมตัวกันของขุนนางเพื่อแยงชิงอํานาจทางการเมือง ลวนมีใหเห็นตลอดสมัยอยุธยา

9


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปที่ 30 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2553

“อนึ่ ง ลู ก ขุ น นา ๑๐๐๐๐ ถึ ง นา ๘๐๐ แลไปคบไปหาพระราชบุตร พระ ราชนัดดา โทษถึงตาย” “อนึ่ง ขุนหมื่นหัวพันผูใด ทานมิให เผื่ อใจแก พระราชกุ มาร พระราชนัดดา พระราชบุตรี เลือกชางดีมาดีใหนั้นมิได ถามีรับสั่งใหแกลูกเธอ หลานเธอไซให พิดทูลร่ําเรียน จึ่งพนพระราชอา ช” ั (วินัย พงศศรีเพียร 2548 : 122-123) ข อ กํ า หนดเหล า นี้ ไ ม เ พี ย งสะท อ นความ หวาดระแวงของพระมหากษัตริยเทานั้น หากยังแสดง ใหเห็นถึงความรอบคอบของผูออกกฎหมายในการที่ จะกํ าหนดเนื้อหากฎหมายใหค รอบคลุมวาห ามผูใ ด คบหากั น บ า ง เริ่ ม ตั้ ง ลู ก ขุ น นา 10000 ถึง นา 1600 เมื่อพิจ ารณาพระไอยการตํา แหนงนาพลเรื อน พระ ไอยการตําแหนงนาทหาร ผูมีศักดินา 10000 คือ เจ า พญามหาอุ ป ราช สมุ หนายก สมุ หพระกลาโหม เสนาบดีจตุสดมภทั้ง 4 ออกญาพระเสด็จ เจากรมธรรม การ ออกพญาศรีราชเดโชไชย (เดโช) ออกพญาศรี ราชเดชไชยทายน้ํา พระมหาราชครูพระครูมหิธรและ พระมหาราชครู พระราชประโรหิ ตาจารย ลู ก ขุ น นา 10000 เหลานี้คือผูมีศักดินาสูงสุด (ที่ไมใชเจานาย เชื้อพระวงศ) และเปนผูมีอํานาจควบคุมกําลังคนมาก ที่สุด (ยกเวน 2 ทานสุดทาย) ในเหลาลูกขุนขาทูลละออง ดวยกัน การหามพบปะนั้นสั่งลงมาถึงผูมีศักดินา 1600 ซึ่งสวนใหญแลวมีสถานะเปนเจากรม โดยเฉพาะพระ ไอยการตําแหนงนาทหารนั้น ผูมีศักดินา 1600 คือ เจากรมที่มีสวนในการคุมกําลังพลทั้งสิ้น ไมวาจะเปน เจากรมทวนทองขวา/ซาย กรมพระตํารวจนอกขวา/ ซ า ย เจ า กรมกลิ อ อ ง เจ า กรมดั้ ง ทองขวา/ซ า ย เจ า กรมอาษาจามขวา/ซ า ย เป น ต น พระไอยการ ตํ า แหน ง นาพลเรื อ นให ข อ มู ล ว า ผู ม ีศ ัก ดิน า 1600 โดยมากเปน เจา กรม บางกรมก็มีสว นเกี่ย วขอ งกับ ดูแ ลรัก ษาความปลอดภัย องคพระมหากษัตริยและ พระบรมวงศานุ ว งศ เช น เจ า กรมเขื่ อ นเพชล อ ม พระราชวั ง เจ า กรมเขื่ อ นขั น ล อ มพระราชวั ง ซ า ย (มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตรและการเมือง 2529 เลม 10

1 : 182-228, 229-261) ดังนั้นการหามคนเหลานี้ พบปะกั น จึ ง เป น หนทางหนึ่ ง ที่ พ ระมหากษั ต ริ ย จ ะ ควบคุ ม มิ ใ ห ก ลุ ม คนที่ มี อํ า นาจและกํ า ลั ง อยู ใ นมื อ มี โอกาสซองสุมกําลังพล การห ามขุ นสนมหรื อเจ า พนั กงานในวั งคบ ลูกขุนทหารก็เปนการสะทอนใหเห็นวาพระมหากษัตริย ทรงไม ไว พระทั ยทหารเนื่ องจากทหารคื อผู มี ความสามารถทางการรบ เปนผูมีอาวุธอยูในมือ การ ปลอยใหลูกขุนเหลานี้คบหากันยอมจะเปนภัยตอองค พระมหากษัตริยได ฉะนั้นกษัตริยจึงตองหาการปองกัน โดยการออกกฎหมายห า มมิ ใ ห ค นเหล า นี้ ค บหากั น กรณี ห า มลู ก ขุ น นา 10000 ถึ ง นา 800 ไป คบหาพระราชบุตรพระราชนัดดานั้นเปนสิ่งที่เขาใจได เชนกันเพราะลูกขุนนา 10000 คือกลุมที่มีอํานาจและ กําลังคนอยูในมือดังกลาวแลวขางตน สวนลูกขุนนา 800 เมื่อพิจารณาพระไอยการตําแหนงนาพลเรือน พระไอยการตําแหนงนาทหารพบวาสวนใหญแลวเปน ปลัดกรมตางๆ เปนปลัดนั่งศาลบาง ปลัดทูลฉลองบาง รวมถึ งเป นปลั ดบั ญชี ทํ าหน าที่ ดู แลบั ญชี ไพร พล ถ า ไมเปนปลัดสวนหนึ่ง ก็เปนเจากรมแตเปนกรมทีม่ ขี นาด เล็ ก เช น เจ ากรมเกนหั ดหย างฝารั่ ง (อั กขรวิ ธี ตาม ตนฉบับ) เจากรมอาษาวิเศศขวา/ซาย (อักขรวิธีตาม ตนฉบับ) ฉะนั้นถาจะกลาวไปแลวลูกขุนนา 800 ก็ถือได วาเปนผูมีตําแหนงสําคัญในการบริหารราชการบานเมือง การหามบุคคลเหลานี้ขึ้นไปถึงผูมีศักดินา 10000 คบหา พระราชบุตรพระราชนัดดา จึงถือเปนสิ่งจําเปนและเปน การตัดทอนโอกาสที่จะใหบุคคลเหลานี้รวมกลุมกันคิด กบฏแยงชิงราชบัลลังก การระแวงพระโอรส พระราช นัดดาคงเปนเพราะเปนบุคคลใกลชิดและอาจมีโอกาส ลอบทํารายไดมากกวา บุคคลอื่น ยิ่งในกรณีพระราช บุตร พระราชนัดดาไดทรงกรมยอมทําใหมีไพรพลใน สังกัด โอกาสทาทายพระราชอํานาจจึงมีสูง ความใน พระราชพงศาวดารฉบั บพระราชหั ตถเลขาตอนหนึ่ ง ก็ ก ล า วถึ ง เรื่ อ งนี้ โ ดยว า ในสมั ย สมเด็ จ พระเจ า เสื อ เมื่ อเสด็ จคล องช างในป าได โปรดให พระเจ าลู กเธอ 2 พระองค (เจาฟาเพชร เจาฟาพร หรือสมเด็จพระเจา ทายสระและสมเด็จพระเจาบรมโกศ) ถมถนนขามบึง แต ด ว ยเหตุ ที่ ต อ งเร ง ทํ า ในเวลากลางคื น ทํ า ให ดิ น


ความสัมพันธระหวางพระมหากษัตริยกับลูกขุนขาทูลละออง ในกฎมณเทียรบาล ดร. วรพร ภูพงศพันธุ

ไมแนนพอ เมื่อสมเด็จพระเจาเสือทรงชางขาม เทาหนา ชางตนเหยียบถลําจมลงไปแตขึ้นมาได เหตุก ารณนี้ ทําใหสมเด็จพระเจาเสือทรงพิโรธมากดํารัสวา “อาย สองคนนี ้ม ัน เห็น วา กูแ กช ราแลว จึ ง ชวนกั น คิ ด เป น กบฏ และทําถนนใหเปนพลุหลมไว หวังจะใหชางซึ่ง กูขี่นี้เหยียบถลําหลมลมลงแลวมันจะชวนกันฆากูเสีย หมายจะเอาราชสมบัติ…” (พระราชพงศาวดารฉบับ พระราชหัตถเลขา เลม 2 2505 : 176) พระราชดํารัส ดั ง กล า วนี้ ไ ด ส ะท อ นให เ ห็ น ถึ ง ความไม ไ ว ใ จที่ พระมหากษั ตริ ย มี ต อพระราชโอรสออกมาให เห็ นได อยางชัดเจนที่สุด9 อนึ่ง เปนที่นา แปลกวากฎมณเทียรบาลไมมี ข อห ามเรื่ องพระอนุ ชาคบกั บเหล าลู กขุ นทั้ งๆ ที่ พ ระ อนุ ช าเป น บุ ค คลที่ มี สิ ท ธิ์ ใ นราชบั ล ลั ง ก แ ละเป น อี ก ผูหนึ่งที่มีโอกาสทาทายพระราชอํานาจได การห ามเจ า เมื อ งไปมาหากั น น า จะมาจาก เหตุผล 2 ประการ ประการแรก เพื่อปองกันไมใหซอง สุ ม กํ า ลั ง พลแล ว ยกทั พ เข า พระนครเพื่ อ แย ง ชิ ง ราช บั ล ลั ง ก ประการที่ ส อง เพื่ อ ป อ งกั น ไม ใ ห หั ว เมื อ ง รวมตัวกันแลวตั้งเปนกบฏแข็งเมืองไมขึ้นกับพระนคร กฎมณเทียรบาลนอกจากหามพระราชบุตร พระราชนัดดา ลูกขุน เจาเมืองคบหากันแลวยังหาม แมกระทั่งไมใหเจรจากระซิบกันสองตอสอง ดังปรากฏ ในความตอนทําพิธีถือน้ําพิพัฒนสัตยา “อ นึ่ ง ลู ก ขุ น ผู ใ ด ข า ด ถื อ น้ํ า พระพิพัทโทษถึงตาย… อนึ่ ง รั บเครื่ องแลมิ ได กิ นดอกไม มงคลมิไดใสหัว เอาใสพานหมากใสเจียดไว อนึ่ง ใหตกกลางพระโรงกลางดิน อนึ่ ง แลไปสบพระเนตรเจรจา กระซิบกัน เดิรออกมาแลจูงกันเจรจา ในประตู สั่ งกั น โทษในระวางกระบถ” (วินัย พงศศรีเพียร 2548 : 124)

นอกจากนี้ยังหามมิใหลูกขุน (ขุนหมื่น หัวพัน) มีใจเอนเอียงใหพระราชกุมาร พระราชนัดดา พระราช บุตรีโดยการเลือกชางดีมาดีใหดวยอาจเกรงวาชางมา ซึ่งเปนสัตวพาหนะที่เปนกําลังสําคัญทั้งในยามปกติและ ยามศึก จะตกอยูแกลูกหลานคนใดคนหนึ่งเปนพิเศษ ขณะเดียวกันก็ไดออกขอกําหนดใหเหลาลูกขุนตั้งแตนา 10000 ถึงนา 600 คอยดูแลวามีผูคบกันผิดกระทรวง อัยการหรือไม ถารูแลวมินําความกราบทูลหรือบอกกลาว ผูมีหนาที่เกี่ยวของจะตองถูกลงโทษตามโทษหนักเบา กฎมณเที ยรบาลอั น วา ดว ยการหามพบปะ กัน นี้ อ อกในสมั ยไหนไม ท ราบแนชั ด แตบ ทบั ญ ญั ติ ที่หามลูกขุนนา 10000 ถึงนา 1600 นา 800 พบปะกัน พบปะกับพระราชบุตร พระราชนัดดาอาจออกในสมัย สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถอันเปนสมัยที่เชื่อกันวาได มีการกําหนดศักดินาของลูกขุนแตละตําแหนงออกมา เปนกฎหมายอยางแนชัด (พระไอยการตําแหนงนา พลเรือน พระไอยการตําแหนงนาทหารหัวเมือง) อย า งไรก็ ดี บทบั ญ ญั ติ อ าจออกหลั ง จากนั้ น ก็ ไ ด เชนกัน แตทั้งนี้ไมวาบทบัญญัติสวนนี้จะออกในสมัย สมเด็ จ พระบรมไตรโลกนาถหรื อหลั ง จากนั้ น ก็ ต าม ผู ศึ ก ษาเชื่ อ ว า บทบั ญ ญั ติ นี้ ค งตั้ ง อยู บ นรากฐาน กฎหมายเกาที่มีมากอนหนานี้แลว ไมวากฎมณเทียรบาลตอนที่วาดวยการหาม เหลาเจานาย เจาเมือง ลูกขุน หามพบปะลอบเจรจากัน จะออกในสมัยไหนก็ตาม แตสมัยที่นาจะมีการนํา กฎหมายเหลานี้มาบังคับใชมากที่สุดคือสมัยราชวงศ ปราสาททอง สมเด็ จพระเจ าปราสาททองตนวงศนั้ น กอนจะสถาปนาพระองคเ องขึ้นเป น กษัต ริยเคยเป น ขุนนางทํางานในราชสํานักสมเด็จพระเจาทรงธรรมมา กอนในตําแหนงมหาดเล็ก พระหมื่นศรีสรรักษไตเตา ขึ้นมาถึงตําแหนงออกญาศรีวรวงศ และเมื่อออกญา ศรี ว รวงศ ร วมมื อกั บออกญาเสนาภิ มุ ข หั วหน ากรม อาษาญี่ปุนซึ่งมีกําลังทหารอยูในมือคอนขางมากใน เวลานั้นชวยใหพระเชษฐาธิราชโอรสของสมเด็จพระเจา

9

เหตุการณนี้พระราชดํารัสนี้เกิดขึ้นจริงหรือไม ไมทราบแนชัดเพราะในพระราชพงศาวดารฉบับอื่น เชน พระราชพงศาวดาร ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) ไมไดกลาวถึงไว ถาเหตุการณนี้เกิดขึ้นจริงก็เปนการยืนยันใหเห็นวาพระมหากษัตริยไมไววางใจพระโอรส แตถาหากเหตุการณนี้ไมไดเกิดขึ้น เนื้อความดังกลาวก็คือสิ่งสะทอนทัศนคติ ความเชื่อของผูแตง/ ผูชําระพระราชพงศาวดารเรื่อง กษัตริยทรงระแวงพระราชโอรสของพระองคเอง

11


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปที่ 30 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2553

ทรงธรรมขึ้นเปนกษัตริย ออกญาศรีวรวงศ ก็ไดเลื่อน ขึ้นเปนออกญากลาโหม ดวยตําแหนงดังกลาวออกญา กลาโหมได ข อร อ งให อ อกญาเสนาภิ มุ ข ช ว ยกํ า จั ด พระพั น ป ศ รี ศิ ล ป พ ระป ตุ ล าของสมเด็ จ พระเชษฐา ธิราชที่มีสิทธิในราชบัลลังกสืบตอจากสมเด็จพระเจา ทรงธรรมเช น กั น เมื่ อ กํ า จั ด พระพั น ป ศ รี ศิ ล ป แ ล ว ออกญากลาโหมซึ่ ง บั ด นี้ เ ป น ขุ น นางคนสํ า คั ญ ได ทาทายอํานาจของกษัตริยโดยการใหนําอัฐิของบิดา ซึ่งฌาปนกิจเรียบรอยแลวมาเผาใหมพรอมกับจัดงาน ปลงศพน อ งชาย ฟาน ฟลี ต ให ข อ มู ล เรื่ อ งนี้ ว า ตาม ประเพณี แ ล ว การนํ า อั ฐิ ม าเผาใหม นั้ น ทํ า ได เ ฉพาะ พระเจาแผนดินหรือพระมหาอุปราชซึ่งสืบราชบัลลังก การจัดงานคราวนี้พระราชพงศาวดารและขอมูลของ ฟาน ฟลี ต กล า วตรงกั น ว า มี ขุ น นางใหญ น อ ยไป รวมงานเปนจํานวนมากทําใหสมเด็จพระเชษฐาธิราช ทรงไมพอพระทั ย มากและทรงสั่งให ลงโทษออกญา กลาโหม ออกญาพระคลั ง พรรคพวกของออกญา กลาโหมจึงลอบออกจากวังไปเตือนออกญากลาโหม ออกญากลาโหมจึ ง ใช โ อกาสนี้ ข อความร ว มมื อ จาก เหลาขุนนาง (พระราชพงศาวดารวาใชวิธีขูแกมบังคับ) ที่ ไ ปร ว มงานศพพร อ มทั้ ง ไปขอร อ งออกญากํ า แพง หนึ่งในบรรดาขุนนางที่มีอํานาจมากที่สุดใหเปนพวก จากนั้นจึงนําพรรคพวกเข าวัง (ออกญาพระคลังเปด ประตูวังให) และจับสมเด็จพระเชษฐาธิราชสําเร็จโทษ เมื่อสําเร็จโทษกษัตริยแลวออกญากลาโหมและออกญา พระคลั งได ไปพบออกเสนาภิ มุ ขเรื่ องการตั้ งกษั ตริ ย องคใหม ออกญาเสนาภิมุขรูดีวาออกญากลาโหม อยากเปนกษัตริยเองแตก็เสนอใหพระโอรสองคหนึ่ง ของสมเด็จพระเจาทรงธรรมขึ้นเปนกษัตริยทรงพระนาม วา สมเด็จพระอาทิตยวงศ โดยมีออกญากลาโหมเปน ผูดูแลคุมครองพระเจาแผนดินและเปนผูสําเร็จราชการ แผ น ดิ น จากนั้ น ออกญากลาโหมได อาศั ยอํ านาจใน พระนามพระเจาแผนดินผูทรงพระเยาวกําจัดออกญา กําแพงโดยอางวาเปนผูยุยงใหขุนนางกอการกบฏเปน เหตุ ใ ห อ อกญากํ า แพงถู ก ลงโทษประหารชี วิ ต ส ว น ออกญาเสนาภิ มุ ขก็ ถู กส งตั วไปเป นเจ าเมื อง นครศรี ธ รรมราช เมื่ อ ขจั ดขุ น นางผู มี อํ า นาจได แ ล ว ออกญากลาโหมก็ ดําเนิ นการกําจัดยุว กษั ตริ ยใ หพ น 12

ทาง โดยอ า งว า แผ น ดิ น จะมีก ษัต ริย  2 องคไ มไ ด (พระราชพงศาวดารวาสมเด็จพระอาทิตยวงศยังทรง พระเยาวไดแตจับแพะจับแกะเลน เหลาขุนนางเกรงวา การแผ น ดิ น จะเสี ย ไปจึ ง พร อ มใจกั น มอบสมบั ติ ใ ห ออกญากลาโหม) ทายที่สุดออกญากลาโหมก็ไดขึ้น เสวยราชสมบัติเปนตนวงศใหมทรงพระนามวาสมเด็จ พระเจาปราสาททอง การที่สมเด็จพระเจาปราสาททองซึ่งเคยเปน ขุ น นางได ขึ้ น มาเป น กษั ต ริ ย โ ดยใช กุ ศ โลบายทาง การเมื อ งต า งๆ ดั ง กล า วอย า งสั ง เขปข า งต น ทํ า ให พระองค ไม ไว ใจขุ นนาง ดั งนั้ นกฎเกณฑ ห ามขุ นนาง พบปะกันจึงถูกนํามาใชมากในสมัยนี้จนบางครั้งเชื่อกัน วากฎหมายดังกลาวอาจตราออกมาในสมัยนี้ อยางไร ก็ ต ามข อ มู ล จากลา ลู แ บร ที่ ว า มี ก ฎหมายโบราณ สําหรับแผนดินตราขึ้นไวเพื่อคุมครองความปลอดภัย ของพระมหากษั ตริ ย โดยการห ามขุ นนางข าราชการ ทั้ ง ปวงมิ ใ ห ไ ปมาหาสู เยี่ ยมเยี ยนกั นนอกจากได รั บ พระบรมราชานุญาตแลวและมีแตงานวิวาหหรืองานปลง ศพเทานั้นขุนนางจึงไปชุมนุมพรอมกันได แตเวลาพบ กันก็ตองพูดคุยเสียงดังตอหนาบุคคลที่สาม (ลา ลูแบร 2510 : 460) ก็ พอจะเป นหลั กฐานยื น ยั น ว า กฎห า ม ขุ น นางพบปะกั น มี น านแล ว บางที ก รณี อ อกญา กลาโหมจัดงานศพปลงอัฐิบิดาและปลงศพนอ งชาย เพื่อชุมนุมเหลาขุนนางนอยใหญอาจเปนวิธีการเลี่ยง กฎหมายของออกญากลาโหมก็เปนได รัชสมัยสมเด็จ พระเจาปราสาททองไดชื่อวาเปนสมัยที่พระมหากษัตริย ระแวงเขมงวดกับขุนนางและพยายามควบคุมตัดทอน ไมใหสรางสมอํานาจขึ้นมาทาทายบารมีมากที่สุดสมัยหนึ่ง (Dhiravat na Pombejra 1984 : 100-102 ; มานพ ถาวรวัฒนสกุล 2536 : 222-225) เอกสารของฟาน ฟลีตใหขอมูลที่นาสนใจวาในสมัยพระเจาแผนดินองค กอนๆ บรรดาเจาเมืองที่อยูตามหัวเมืองจะเขามาที่ราช สํานักปละครั้งสองครั้ง ถาอยูไกลหนอยมา 3 ปครั้งหนึ่ง แตสมัยสมเด็จพระเจาปราสาททอง เจาเมืองเหลานั้น ตองเขามาพํานักที่อยุธยา (ยกเวนตะนาวศรีที่มีพอคา ตางชาติและคนพื้นเมืองที่ไวใจไมได) และละการปกครอง ใหกรมการเมืองทําหนาที่แทน สวนพวกขุนนางผูใหญก็ ทรงใหอยูในสายพระเนตรของพระองคที่ราชสํานักเสมอ


ความสัมพันธระหวางพระมหากษัตริยกับลูกขุนขาทูลละออง ในกฎมณเทียรบาล ดร. วรพร ภูพงศพันธุ

เพื่อที่จะไดไมอาจรวมกลุมกันกอการกบฏได พวกขุน นางต องมาเฝ า ที่ ท องพระโรงทุ ก วั น10 ในตอนเที่ ย ง ตอนบาย ตอนเย็น ทั้งนี้จะมีการจดชื่อทุกๆ คนไว ถา คนใดไมมาตองเปนเพราะปวยไขเทานั้น หากพระเจา แผนดินสงสัยก็จะสงหมอไปตรวจเยี่ยม ในกรณีที่ขุน นางชั้ นสู งจะพู ดคุ ยกั นก็ อนุ ญาตให ทํ าได เฉพาะในที่ ประชุมซึ่งไมใชที่รโหฐานเทานั้นและการพูดคุยนั้นให ทุกคนรวมทั้งทาสไดเห็นและไดยินดวย การไปพบปะ เยี่ยมเยียนกันนั้นแมแตพอกับลูกก็ทําไมไดถาไมกราบ บั ง คมทู ล ให พ ระเจ า แผ น ดิ น ทราบและอนุ ญ าตก อ น แม ว า เป น การเจ็ บ ไข ไ ด ป ว ยก็ ต อ งทํ า ตามกฎนี้ นอกจากนี้ฟาน ฟลีต ยังใหขอมูลที่นาสนใจไวอีกตอน หนึ่งวา ภรรยาของขุน นางผูใ หญค นสํ า คัญ ไมไ ดรั บ อนุญาตใหอยูนอกวังของพระราชินีไดเกิน 3 หรือ 4 วัน การที่ตองมาอยูในวังก็ดวยเหตุผลที่วาภรรยาของ ขุนนางเหลานี้ตองใหความเคารพพระเจาแผนดิน (ฟาน ฟลีต 2546 : 29, 95-97, 245, 342) สําหรับเหตุผลที่ แทจริงเกี่ยวกับเรื่องนี้นาจะเปนเรื่องการนําตัวมาเพื่อ เปนประหนึ่ง ตัวประกันมากกวา จะเห็นไดวาขอหาม ตางๆ ของสมเด็จพระเจาปราสาททองนี้บางเรื่องก็เปน สิ่งที่พระองคเคยทํามากอนเมื่อเปนขุนนาง เชน การ ลอบไปพบออกญาเสนาภิมุขในยามวิกาลทั้งๆ ที่เปน เรื่องผิดธรรมเนียม ฟาน ฟลีต ใหขอมูลไวชัดเจนวา การที่ อ อกญากลาโหมไปเยี่ ย มออกญาเสนาภิ มุ ข ที่ บานทุกวันเปนการขัดตอกฎและขนบธรรมเนียมของ ไทย (ฟาน ฟลีต 2546 : 310) การที่พระองคไมไวใจ เหลาขุนนางทําใหพระองคพยายามยกสถานะพระโอรส องคโตขึ้นเปนเจาฟา (เจาฟาไชย) ทั้งๆ ที่ไมไดประสูติ จากอั ครมเหสี แ ละส งเสริ มให มี อํ านาจทางการเมื อง (Dhiravat na Pombejra 1984 : 47) จนทายที่สุด ก็ นํ า มาสู ค วามวุ น วายและการแย ง ชิ ง อํ า นาจทาง การเมืองเมื่อสมเด็จพระเจาปราสาททองสวรรคต รั ช สมั ย สมเด็ จ พระนารายณ พ ระโอรสของ สมเด็จพระเจาปราสาททอง ความไมไววางใจขุนนาง ก็ยังมีอยูทั้งนี้อ าจเปนเพราะพระองคขึ้นครองราชย

โดยการแยงชิงราชสมบัติมาจากสมเด็จพระศรีสุธรรม ราชาผูเปนอา (กอนหนาสมเด็จพระศรีสุธรรมราชาขึ้น เปนกษัตริย พระนารายณก็รวมมือกับพระศรีสุธรรม ราชาแยงชิงราชสมบัติจากเจาฟาไชย ผูที่สมเด็จพระ เจ า ปราสาททองปรารถนาให เ ป น กษั ต ริ ย ต อ จาก พระองค) ซึ่งการแยงชิงราชสมบัติดังกลาวตา งฝา ย ตางก็ตองมีขุนนางที่เปนพรรคพวกของตนเองใหการ สนั บ สนุ น อย า งไรก็ ต ามได มี ก ารตั้ ง ข อ สั ง เกตว า ขุนนางในสมัยนี้มีเสถียรภาพในตําแหนงมากกวาสมัย สมเด็จพระเจาปราสาททอง เพราะไมปรากฏหลักฐาน วามีการสับเปลี่ยนตําแหนงบอยๆ (เรื่องการสับเปลี่ยน ตําแหนงจะกลาวตอไปขางหนา) แตสมเด็จพระนารายณ ก็ ท รงระวั งมิ ใ ห ขุ น นางฝ า ยปกครองที่ ไ ม ใ ช คนสนิ ท กุ ม อํ า นาจในมื อ มากเกิ น ไปด ว ยวิ ธี ก ารต า งๆ เช น ปลอยตําแหนงใหวาง ใหขุนนางที่ทรงไวใจทํางาน 2 ตําแหนง (มานพ ถาวรวัฒนสกุล 2536 : 246-249) การปลอยตําแหนงใหวางนี้มีหลักฐานยืนยันจากขอมูล ของแชรแวสและชัวซีย โดยวาสมเด็จพระนารายณทรง ปลอยตําแหนงมหาอุปราชและจักรีใหวางไวเนื่องจาก เปนตําแหนงที่มีอํานาจมากเกินไป สวนลา ลูแบรวา ออกญาพระเสด็ จ นอกจากเป น ผู ว า ราชการจั ง หวั ด พระนครโดยตํ า แหน ง แลว ยัง ทํ า หนา ที ่อ อกญา พระคลัง โดยพระบรมราชโองการอีก ตํา แหนง หนึ่ง ดวย นอกจากนี้ แชรแวสยังใหขอสังเกตวาในสมัย สมเด็ จ พระนารายณ มี ขุ น นางยศออกพระมากกว า ออกญาเปนจํานวนมากเพราะวาอํานาจหนาที่ดอยกวา ออกญาและไมอยูในสถานะที่จะสนับสนุนราชบัลลังก ได (ชัวซีย 2516 : 555-556 ; แชรแวส 2506 : 71, 111) การที่พระองคไมคอยไวใจขุนนางพื้นเมืองทําให สมเด็จพระนารายณหันไปใชขุนนางตางดาวมากกวา ดังเชนการเลือกใชฟอลคอน เปนตน ถาจะกลาวไปแลว สมเด็ จ พระนารายณ ไ ม เ พี ย งไม ไ ว ใ จขุ น นาง หาก พระองค ก็ ยั งระแวงพระอนุ ชาของพระองค ด วยโดย เกรงว าจะแย งราชสมบั ติ เดอะ แบสให ข อมู ลว าผู ที่ ยุยงใหสมเด็จพระนารายณไมไวใจพระอนุชาคือ ออกพระเพท

10

ขอกําหนดที่ขุนนางตองมาเฝาที่ทองพระโรงเปนเรื่องที่ตองทําทุกวันไมมียกเวน แมวาในชวงมีพระราชพิธีกฎนี้ ก็ตองถือ ปฏิบัติ ดังเชนระหวางพระราชพิธีลบศักราชที่กินเวลามากกวา 3 วัน เอกสารของฮอลันดาใหขอมูลวาเหลาขุนนางตองมารายงานตัวที่ พระราชวังหลวงทุกวันและการขานชื่อขุนนางจะทําทุกเที่ยงวันและทุกเย็น (Dhiravat na Pombejra 2001 : 94)

13


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปที่ 30 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2553

ราชา เจากรมพระคชบาล การที่พระองค ไมไวใจพระ อนุชาโดยไมใหทรงกรมเพื่อจะไดไมมีอํานาจอยูในมือ เปนเหตุหนึ่งที่ทําใหขุนนางคอยๆ มีอํานาจขึ้นมา (แบส 2528 : 142-145, 157-158, 196-200 ; Dhiravat na Pombejra 1984 : 422-427, 435-443) โดยเฉพาะ ออกพระเพทราชาซึ่ งเปนขุนนางผูใหญที่ป ระชาชน พลเมืองรักมากเนื่องจากเปนผูรูจักผอนหนักผอนเบา และมี ค วามสามารถในการรบ (ลา ลู แ บร 2510 : 397-398) ท า ยที่สุด ออกพระเพทราชาก็ สามารถยึ ด ราชสมบัติไดสําเร็จและตั้งราชวงศใหมขึ้นมาปกครอง ที่อยุธยา แม ว า สมั ย ราชวงศ ป ราสาททองจะนํ า กฎหมายวา ด ว ยการห า มพบปะกั น ระหว า งเจา นาย เจาเมือง และลูกขุนมาบังคับใชอยางเขมงวด แตการ ละเมิดกฎหมายก็ยังคงมีใหเห็น ในสมัยสมเด็จพระเจา ปราสาททอง พระราชพงศาวดารฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) ใหขอมูลวาป พ.ศ. 2180 (ค.ศ. 1637) พระ อาทิตยวงศโอรสสมเด็จพระเจาทรงธรรมไดสมคบคิดกับ ขุนนางที่ตองโทษถอดออกจากตําแหนงคุมพวก 200 คนเศษ บุกเขามาในพระราชวังโดยไมทันรูพระองค สมเด็จพระเจาปราสาททองตองลงเรือหนีแตพวกขุนนาง ทั้งหลายชวยกันลอมจับตัวกบฏได (ประชุมพงศาวดาร ฉบับกาญจนาภิเษก เลม 3 2542 : 383) เหตุการณ กบฏนี้ ไม มี ช าวต า งชาติ ก ล า วถึ ง ไว อี ก ทั้ ง ข อ มู ล ของ ฟาน ฟลีตก็วาสมเด็จพระอาทิตยวงศถูกสําเร็จโทษไป ตั้งแตครั้งสมเด็จพระเจาปราสาททองยังดํารงตําแหนง ออกญากลาโหม อยางไรก็ดี เอกสารฮอลันดาใหขอมูล วาชวงปลายเดือนธันวาคม พ.ศ. 2185 (ค.ศ. 1642) เกิ ด กบฏของเจ า ท า ทรายซึ่ ง เป น เชื้ อ สายกษั ต ริ ย ราชวงศกอน กบฏครั้งนี้มี ผูรวมกอการประมาณ 150200 คน กบฏนี้เขาโจมตีพระราชวังจนทําใหสมเด็จ 11

พระเจาปราสาททอง อัครมเหสีและพระราชโอรสองค โตเจ า ฟ า ไชยต อ งหนี อ อกจากวั ง แต ท า ยที่ สุ ด ฝ า ย สมเด็จพระเจาปราสาททองก็ยึดวังคืนได เหตุการณนี้ นาสนใจตรงที่วาผูรวมกอการกบฏหลายคนเปนทาส ของกษัตริยและผูกอการคนสําคัญหลายคนมีตําแหนง อยูในวังหลวง (Dhiravat na Pombejra 1984 : 217219) หรือการเกิดกลุมอํานาจในราชสํานัก 3 กลุม11 ชวงปลายรัชกาลสมเด็จพระเจาปราสาททองเพื่อแยง ชิงอํานาจทางการเมือง ในการขึ้นเปนกษัตริย โดยแต ละกลุมมีขุนนางระดับสูงหลายคนใหการสนับสนุนก็ เปนสิ่งหนึ่งที่ชวยยืนยันวาแมจะพยายามคุมขุนนาง และเจา นาย (ในที่ นี้ คือ พระอนุ ช าและพระราชโอรส ของสมเด็จพระเจาปราสาททอง) อยางเขมงวด เพีย งใดก็ไ มอ าจยับยั้ง การรวมกลุ ม ของขุน นางและ เจานายไดเลย ในสมั ย สมเด็ จ พระนารายณ ก็ มี ลั ก ษณะไม ตา งจากสมัย สมเด็ จ พระเจา ปราสาททอง หลัง จาก พระองคขึ้นครองราชยไมนาน (พ.ศ. 2200 / ค.ศ. 1657) ก็เกิดเหตุการณกบฏพระไตรภูวนาทิตยวงศ ซึ่งเปนพระอนุชาตางพระมารดา เหตุการณนี้มีขุนนาง ตํา แหน ง สู ง เข า รว มก อ การเป น อั น มากไม ว า จะเป น พระยากลาโหม พระยาพลเทพ พระยามหามนเทียร พระยาสุ โ ขทั ย พระยาวิชิ ตสุ ริ นทร พระยาศรีสุ น ทร ภักดี พระยาพัทลุง พระศรีภูริปรีชา 6 คนแรกนั้นลง ไปวังหลังอันเปนที่ประทับของพระไตรภูวนาทิตยวงศ ทั้งกลางวันกลางคืน (ประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนา ภิเษก เลม 3 2542 : 392-398 ; พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา เลม 2 2505 : 31-41 ; Dhiravat na Pombejra 1984 : 270-272) การที่กลุม ผูกอการสามารถวางแผนกบฏอีก ทั้งขุน นางผูใหญ หลายคนสามารถลักลอบพบปะกันอันเปนการกระทํา

กลุมอํานาจในราชสํานัก 3 กลุม ประกอบดวยกลุมเจาฟาไชย มีขุนนางชั้นสูงสนับสนุนหลายคน เชน ออกญาจักรี ออกญามหาอุปราช ออกญาพระคลัง (ออกญาสมบัติธิบาล) ออกหลวงทองสื่อ กลุมที่ 2 พระศรีสุธรรมราชา ไมมีหลักฐานระบุวาขุนนางที่ สนับสนุนมีใครบาง แตปรากฏภายหลังเมื่อขึ้นครองราชยแลววาคือ ออกญาจักรี (คนละคนกับฝายเจาฟาไชย) กลุมที่ 3 พระนารายณ ขุนนางระดับสูงที่สนับสนุนไดแก ออกญาสุโขทัย ออกญาวัง ออกพระอาลักษณ ขุนนางระดับรองไดแก หลวงเทพอรชุน พระจุลา นอกจากนี้คือชาวตางชาติที่พระองคสนิทสนมดวย (Dhiravat na Pombejra 1984 : 257-260, 265-266 ; มานพ ถาวรวัฒนสกุล 2536 : 231-232) การที่ออกญาจักรีทั้ง 2 คน (ที่สนับสนุนเจาฟาไชยและที่สนับสนุนพระศรีสุธรรมราชา) ไมสนับสนุนพระนารายณคง เปนเหตุผลหนึ่งที่เมื่อพระองคขึ้นครองราชยแลวปรารถนายุบตําแหนงนี้เสีย

14


ความสัมพันธระหวางพระมหากษัตริยกับลูกขุนขาทูลละออง ในกฎมณเทียรบาล ดร. วรพร ภูพงศพันธุ

ที่ ผิ ด กฎหมายได ย อ มแสดงให เ ห็ น ว า การละเมิ ด กฎหมายเป น สิ่ ง ที่ เ กิ ด ขึ้ น ได เ สมอแม ก ษั ต ริ ย จ ะ พยายามควบคุมอยางเขมงวดเพียงไรก็ตาม ถ า จะกล า วไปแล ว การละเมิ ด กฎหมายว า ดวยเรื่องการหามพบปะกันดังกลาวนี้12 มีใหเห็นอยู บอยครั้งตลอดสมัยประวัติศาสตรอยุธยา เหตุการณ การแยงชิงราชสมบัติแตละครั้งที่เกิดขึ้นไมวาจะเปน ชวงกอน-หลังหรือในสมัยราชวงศปราสาททองที่เห็น ไดชัดวาเขมงวดกับการบังคับใชกฎหมายเรื่องนี้มาก ที่สุด ลวนตองเกิดจากการสมคบคิดรวมกันวางแผน ของบรรดาผู กอ การกบฏไม วา จะเปน พระโอรสหรื อ พระอนุชาของกษัตริยที่ครองราชยอยูกับบรรดาเหลา ขุ น นางที่ เ ป น พวกพ อ งหรื อ เป น เพี ย งการวางแผน เฉพาะในกลุม ขุนนางเพื่อลมลางราชบัลลังกเชนกรณี สมเด็จพระเจาปราสาททองและสมเด็จพระเพทราชา ยิ่งการแยงชิงราชบัลลังกมีกลุมอํานาจหลายกลุมเขา มาเกี่ ยวข องก็ ยิ่ง สะทอ นใหเ ห็น ถึ ง ความล ม เหลวใน การบั ง คั บ ใช ก ฎหมายมากขึ้ น เท า นั้ น อย า งไรก็ ดี ทายที่สุดแลวอํานาจและความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมาย ก็ขึ้นอยูกับความสามารถและพระบรมเดชานุภาพของ กษัตริยแตละองคดวย ความหวาดระแวงที่ พ ระมหากษั ต ริ ย มี ต อ ฝายหนานอกจากหามไปมาหาสู เจรจากันแบบสอง ตอสองแลวยังออกกฎหมายหามขุนนาง ขาราชการที่ ไปราชการหั ว เมื อ งไม ว า จะไปตั ด สิน ดู แ ลคดี ไปทํ า สงครามหรือ ไปรั้งเมื องถา ไม เรีย กไมใ หเขา มา การ ห า มเข า พระนครก อ นได รั บ อนุ ญ าตนี้ ร วมไปถึ ง เจ า ประเทศราชทั้งหลายดวย นอกจากหามผูไปราชการหัวเมืองเขาพระนคร โดยพลการแล ว ยั ง มี ข อ ห า มอื่ น ๆ ที่ น า สนใจอี ก 3 ประการคือ

ประการที่หนึ่ง ถาพระราชกุมารพระราชบุตรี พระราชนั ด ดาเสด็ จ ไปไหนผิ ด เวลาที่ กํ า หนดไว ผูติดตามตองหามปราม ถามิหามผูตามเสด็จตองรับ โทษเอง แม ก ฎหมายข อ นี้ เ ป น การกํ า หนดโทษแก ผูรูเห็นการกระทําอันผิดแลวมิหาม แตกฎหมายขอนี้ ก็ ถื อ เป น มาตรการสํ า คั ญ อี ก ประการหนึ่ ง ในการ ปองกันมิใหเกิดการสมคบคิดในหมูเจานายและขุนนาง สวนการหามราชบุตรีนั้นนาจะเพื่อปองกันกรณีชูสาว ประการที่ ส อง เป น พระราชกํ า หนดว า ถ า พระมหากษัตริยเรียกผูใดพบในที่รโหฐาน ถาผูใดถาม หามมิใหบอก ประการที่ ส าม ถ า พระราชกุ ม ารต อ งโทษ ลูกขุนผูใดไปสงไปเยี่ยมใหของฝาก ผูนั้นถือเปนกบฏ กฏหมายขอนี้เปนการปองกันมิใหเกิดการสมคบคิด ระหวางเจานายและขุนนางเชนกัน สํ า หรั บ วิ ธี ก ารป อ งกั น การสมคบคิ ด กั น ก อ กบฏนอกจากใชกฎหมายเปนขอบังคับดังกลาวแลว ข า งต น กษั ต ริ ย ยั ง ใช วิ ธี ใ ห มี ผู ส อดแนมราชการ รายงานเหตุอันไมปกติตางๆ ดวย สมัยที่มีหลักฐาน ยืนยันอยางชัดเจนวากษัตริยทรงใชจารบุรุษสอดแนม ดูแลการเคลื่อนไหวและการทํางานของขุนนางคือสมัย สมเด็จพระเจาปราสาททองและสมเด็จพระนารายณ ฟาน ฟลีตใหขอมูลที่นา สนใจวา สมัยสมเด็จพระเจา ปราสาททองทรงโปรดให ค นสํ า คั ญ และขุ น นางเฝ า วั นละ 3 ครั้ งโดยในช วงบ ายพระองค จะทรงปรึ กษา หารือกับพวกที่ป รึกษาลับและคนที่สําคัญที่สุด สวน ชัวซียเลาวาถึงแมสมเด็จพระนารายณจะเก็บตัวอยูใน วั ง แต พ ระองค ท รงมี ค นสอดแนมอยู ภ ายนอก ถ า พระองค พ บว า มี ผู ป ด บั ง ข อ ความสํ า คั ญ ไว จ ะทรง ลงโทษอย า งรุ น แรง ส ว นลา ลู แ บร เ ล า ว า สมเด็ จ พระนารายณทรงแตงสายลับไวเปนอันมากและทรง

12

กฎหมายนี้ออกซ้ําอีกครั้งหนึ่งในสมัยสมเด็จพระเจาบรมโกศ แมเนื้อความไมเหมือนกันทั้งหมดแตใจความใกลเคียงกัน โดยวา “อนึ่งมีกฎใหไววา เจาพญาแลพญาพระหลวงขุนหมื่นจะไปแหงใดๆ ก็ดี ใหมีสัดโทน คนใชรูเหนไปมาดวย ถาแลมีกิจทุระศุข ทุกขใขเจบทําบุญฟงธรรม มิไดเปนญาติพี่นองกันอยาใหไปมาหาสูกัน ขึ้นเหลนเยาเรือนตึกจวนที่สงัดทังปวงนั้น ถาสัดโทนคนใชรู เหน ใหเอามาวาแกมหาดไทยกระลาโหม ณ ศาลาลูกขุน จึ่งคุมตัวสัดโทนผูนั้น ถาแลมิฟงไปมาหากันใหผิดดวยพระราชกําหนฎ กฎหมาย จะเอาตัวเปนโทษ แลสัดโทน คนใชรูเหนแลว มิเอามาวากลาวจะเอาเปนโทษดวย กฎใหไว ณ วัน ๕ + ๗ ค่ําจุลศักราช ๑๐๙๕ มีฉลู เบญศก” (ประมวลกฎหมายรัชกาลที่ 1 เลม 3 2529 : 74

15


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปที่ 30 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2553

แยกกันไลเรียงเอาทีละคน บางทีก็ทรงสงขุนนางคน สนิ ท มากกว า หนึ่ ง คนไปซั ก ถามบุ ค คลที่ มี ส ว น เกี่ยวของกับเรื่องที่พระองคมีพระราชประสงคจะทราบ (ฟาน ฟลีต 2546 : 20 ; ชัวซีย 2516 : 561-562 ; ลา ลูแบร 2510 : 461) นอกจากใชผูสอดแนมแลว สมเด็จพระเจาปราสาททองและสมเด็จพระนารายณ ยั ง ใช วิ ธี ก ารสั บ เปลี่ ย นตํ า แหน ง ขุ น นางบ อ ยๆ เพื่ อ มิ ใ ห ขุ น นางสามารถสั่ ง สมอํ า นาจทางการเมื อ งและ ทางเศรษฐกิ จ ขึ้ น ท า ทายกษั ต ริ ย ไ ด ฟาน ฟลี ต ให ข อ มู ล ว า สมเด็ จ พระเจ า ปราสาททองทรงโยกย า ย สับเปลี่ยนขุนนางบอยๆ จากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่งทุกๆ 4-8 เดือน คํากลาวของฟาน ฟลีตอาจเกินจริงไปบาง แตทั้งนี้ก็มีหลักฐานยืนยันวาในป พ.ศ. 2179 (ค.ศ. 1636) สมเด็จพระเจาปราสาททองทรงสับเปลี่ยน ตํา แหน งขุ น นางสํ า คัญ ครั้ ง ใหญ คื อ ออกญาวั ง เป น ออกญาพิษณุโลก ออกญาพลเทพไปเปนออกญาวัง ออกญากําแพงเพชรเปนออกญาพลเทพ ออกญาจักรี เปนออกญากําแพงเพชร ออกญากลาโหมเปนออกญา จักรี ออกญายมราชเปนออกญากลาโหม และออกญา ศรีสงครามเปนออกญายมราช (ฟาน ฟลีต 2546 : 94 ; Dhiravat na Pombejra 1984 : 188-189) สวนสมัย สมเด็จพระนารายณแมจะไมไดสับเปลี่ยนตําแหนงขุน นางบอยๆ แตพระองคก็เลือกที่จะใชขุนนางตางดาวที่ เปนผูชํานัญการพิเศษมากกวาขุนนางไทย สวนวิธีการปองกันเจาเมืองไมใหคิดและกอ การกบฏราชสํ า นั ก ใชวิ ธีตั้ง ยกกระบั ตรไปทํ า หนา ที่ ดูแลตางพระเนตรพระกรรณ 1.2 การระแวดระวังความปลอดภัยยามที่ กษัตริยทรงประกอบพระราชกิจตางๆ กฎมณเทียรบาลมีความหลายตอนกลาวถึง สิ่งที่ลูกขุนพึงกระทําเพื่อรักษาความปลอดภัยใหกับ พระมหากษัตริยยามที่ทรงประกอบพระราชกิจตางๆ บทบัญญัติเหลานั้ นแมมีจุดหมายเพื่อใหเหลาลูกขุน ทราบถึงหนาที่อันพึงปฏิบัติของตนเอง แตขณะเดียวกัน ก็สะทอนใหเห็นถึงความหวาดระแวงที่พระมหากษัตริย มีตอบุคคลอยูรายรอบพระองคไมวาจะเปนพระราช บุตร ขุนนาง ขาราชการหรือประชาชนทั่วไป ยิ่งสาระ ของกฎหมายเนนเรื่องการพยายามรักษาความปลอดภัย 16

มากเทาไรก็ยิ่งสะทอนใหเห็นความหวาดระแวงมาก ขึ้ น เท า นั้ น สํ า หรั บ การระวั ง ความปลอดภั ย ให กั บ พระมหากษัตริยที่ปรากฏในกฎมณเทียรบาลมี เชน 1.2.1 การระวังความปลอดภัยยามเสด็จ พระราชดําเนินไปในที่ตางๆ ดวยความหวาดระแวงวาจะถูกลอบทําราย กฎมณเทียรบาลจึงมีขอกําหนดอยางเขมงวดวาผูตาม เสด็ จ ต อ งปฏิ บั ติ เ ช น ไรเพื่ อ รั ก ษาความปลอดภั ย ให องค พ ระมหากษั ต ริ ย ในกรณี ที่ เ สด็ จ ทางชลมารค ขณะที่เสด็จอยูบนเรือนั้นมีเรืออื่นจะเขามาที่เรือพระที่ นั่งดวยจุดประสงคใดก็ตาม ผูตามเสด็จตองคอยกัน หรือไลใหออกไป ยกเวนแตพระมหากษัตริยเห็นและ โปรดฯ ใหเขามาได แตการเขามานั้นหามมิใหเขามา ดวยเรือตนเองตองมีเรืออื่นรับเขามาและมิใหเขาถึงตัว กษัตริย ทั้งนี้แมแตพระโอรสก็ไมยกเวน (อันที่จริงยิ่ง เปนเรือพระโอรสควรตองระวังมากเพราะพระโอรส อาจสมคบคิดกับขุนนางแยงชิงราชบัลลังก กษัตริยจึง ต อ งนํ า มาตรการทางกฎหมายมาใช เ พื่ อ ป อ งกั น พระองคเอง) ผูตามเสด็จคนใดละเวนไมปฏิบัติตาม ขอกําหนดนี้มีโทษถึงตาย “อนึ่ง ถาเสดจหนเรือ ผูบันดาแห ขุนดาบขุนเรือ แลเรือปะตูเรือดั้งแนมกัน ประทับอยูก็ดี ไปมาก็ดี แลเรือผูรายคือ กระบถโจรเมาเลาบาก็ดี แลถวายของ ถวายฎีกาก็ดี แลเขามาในประตูมหาดไท ประตูขุน ดาบ ประตูตํา รวจ ถึ งเรือดั้ ง เรือกันใหโบกผา ถามิฟงใหควางดวย อิดดวยไมดวยดาบ ถามิฟงใหวายน้ํา ยุ ด เอาเรื อ ออกมา ถ า ทอดพระเนตร เหนแลตรัสเรียกเขาไปไซ ใหเอาเรือใช รับ ถาแลผูใดเขาไป แลมิไดหามแหนไซ โทษขุ น ดาบขุ น เรื อ ตํ า รวจในฟ น ฅอ ริบเรือน” “อนึ่ง สมเดจหนอพระพุทธิเจาก็ดี พระราชกุมารก็ดี มีกิจแลเขามาในเรือ ประตูไ ซ ใหเรือ ประตูโ บกผา ถา มิฟง ใหควางดวยอิดดวยไมหัวตาย ถามิฟง


ความสัมพันธระหวางพระมหากษัตริยกับลูกขุนขาทูลละออง ในกฎมณเทียรบาล ดร. วรพร ภูพงศพันธุ

ใหพุงดวยหอก ถาทอดพระเนตรเหน ตรัสเรียก ใหเขามาไซใหเอาเรือปะตูรับ อยาใหเขามาดวยเรือเอง ครั้นมาถึงให อยูแตแคมเรือ ใหขุนตํารวจนั่งกลางกัน อยู ถ า มิ ทํ า ตามโทษถึ ง ตาย” (วิ นั ย พงศศรีเพียร 2548 : 89, 90) นอกจากขอกําหนดเรื่องขอพึงปฏิบัติยามมี บุ ค คลเข า มา ณ เรื อ พระที่ นั่ ง โดยมิ ไ ด อ นุ ญ าตแล ว กฎมณเทียรบาลยังกําหนดวาถาเรือพระที่นั่งเจอลม พายุ ใ หญ ค วรทํ า อย า งไรเพื่ อ ให พ ระมหากษั ต ริ ย ปลอดภัย รวมทั้ ง กํา หนดโทษผู ตามเสด็ จ เมื่อ เสด็ จ ไลเรือวา ถาไปทางลั ดมามิ ทันเรือพระที่นั่งตองโทษ ฟนคอริบเรือนขอกําหนดประการหลังนี้คงเกี่ยวพัน กับพระมหากษัตริยใน 2 กรณี กรณีแรกเพื่อปองกัน รั ก ษาความปลอดภั ย ให ก ษั ต ริ ย กรณี ที่ ส องคงเป น เรื่องเกี่ยวเนื่องกับการละทิ้งหนาที่ในการตามเสด็จ การรั ก ษาความปลอดภั ย เมื่ อ เสด็ จ ทาง สถลมารคหรือประพาสตามที่ตางๆ ผูตามเสด็จตอง ตรวจสอบใหแนใจวาสถานที่นั้นปลอดภัย ถาเสด็จไป แล ว เกิ ด เหตุ ไ ม ค าดคิ ด ขึ้ น ผู ต ามเสด็ จ ที่ ทํ า การ ตรวจสอบสถานที่ในเบื้องแรกตองถูกลงโทษ 1.2.2 การระวั ง รั ก ษาความปลอดภั ย เรื่องการเขาเฝาและการถืออาวุธเขามาในวัง พระมหากษัตริยระมัดระวังเรื่องคนเขาเฝา และการพกพาอาวุ ธของขุ นนางเข ามาในวั งค อนข าง มาก เรื่องการเขาเฝานั้นกฎมณเทียรบาลมีขอกําหนด ไวกวางๆ วาถาพระเจาอยูหัวเสด็จอยูในทองพระโรง หรือพระราชสถานใดๆ ถายังไมเสด็จเขามิใหผูเขา เฝานั้นลุกกอนและหามเจรจาใหมีเสียงดังในพระราช สถาน แตในตําราหนาที่ชาวที่ ตําราหนาที่มหาดเล็ก และตํ า ราหน า ที่ ตํ า รวจให ข อ มู ล ที่ น า สนใจหลาย ประการ และแตละประการก็สะทอนใหเห็นถึงความ หวาดระแวงที่ พ ระมหากษั ต ริ ย มี ต อ ผู เ ข า เฝ า เป น อย า งดี เช น ถ า เสด็ จ ออก ขุ น นางเฝ า ที่ พ ระลาน เจ า กรมปลั ด กรมเฝ า ทู ล ละอองฯ ล อ มวงอยู น อก กํ า แพงนอกระเนี ย ดนอกแผง เกณฑ ใ ห หั ว หมื่ น ตั ว สี ตํ า รวจเลวรั ก ษาประตู กํ า แพงแก ว ประตู ร ะเนี ย ด

แผงลับและชั้นใน เวลาค่ําใหทนายคบเอาคบเขาปกที่ ประตู กํ า แพงแก ว ประตู ร ะเนี ย ด แผงลั บ แล และ หนาฉานตามซายขวา ถาใหหาผูใดเขาไปเฝาผิดเวลา ตั้งแตคนหนึ่งขึ้นไปใหเจากรมปลัดกรมผูอยูเวรเขา ไปเฝาดวย ถากรมพระวังบวรฯ เสด็จ มาเฝา ชาวที่ ต อ งห า มมิ ใ ห ม หาดเล็ ก กรมพระราชวั ง บวรฯ หรื อ มหาดเล็ ก เจ า ต า งกรมเข า มาในที่ เ ข า เฝ า ด ว ย ส ว น มหาดเล็กของพระมหากษัตริยเมื่อเขาเฝานั้นหามมิให เฝาใกลพระที่นั่ง ขณะที่เดอะ แบสวาผูเขาเฝากษัตริย ตองเปลือยกายครึ่งทอนจากบั้นเอวตรงคาดเข็มขัด ขึ้นไปถึงศีรษะทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยของพระมหากษัตริย (ตําราแบบธรรมเนียมในราชสํานักครั้งกรุงศรีอยุธยา กับพระวิจารณของสมเด็จฯ กรมพระยาดํารงราชานุภาพ 2539 : 30, 37, 40-41 ; แบส 2528 : 148) เรื่องการพกอาวุธนอกจากทหารที่ทําหนาที่ รั ก ษาความปลอดภั ย ให พ ระองค แ ล ว (เดอ ชั ว ซี ย 2516 : 406-407) คนอื่นหามพกอาวุธเขาวังขอกําหนดนี้ คงเป น ที่ รั บ รู ทั่ ว กั น แม แ ต ช าวต า งชาติ ที่ เ ข า มาที่ อยุธยาก็กลาวไวทํานองเดียวกัน เชน ลา ลูแบร วา ใครจะถืออาวุธเขาไปในวังไมได เดอะ แบส วา ธรรมเนียมขุนนางทั้งหลายเมื่อเขาเขตพระราชฐาน ถึ ง องค พ ระที่ นั่ ง ที่ ป ระทั บ ของพระเจ า แผ น ดิ น แล ว จะตองวางอาวุธและผูติดตามของตัวไวภายนอกแลว เขาไปตามลําพัง (ลา ลูแบร 2510 : 430 ; แบส 2528 : 58-59) สวนกฎมณเทียรบาลมีขอกําหนดที่ เข ม งวดเรื่ อ งพระแสงของกษั ต ริ ย อ ยู ป ระการหนึ่ ง นั่ น คื อ มหาดเล็ ก เท า นั้ น ที่ มี สิ ท ธิ์ รั บ พระแสงจาก กษัตริย คนอื่นโดยเฉพาะเจาตางกรมไมมีสิทธิ์รับ ถา รับโทษหนัก นอกจากนี้ยังกําหนดวาถาถือพระแสง ตามเสด็จหามถอดฝก ถาถวายพระแสงใหเอาคมไว ขา งตัวสันไวขางองค ขอกําหนดเหลานี้ ออกมาเพื่อ ปองกันอันตรายใหกษัตริยเปนหลัก เชนเดียวกับกฎขอหามทั้งหลายแมจะพยายาม ระมัดระวังอยางเขมงวด การละเมิดกฎก็ยังมีใหเห็น เรื่องการหามนําอาวุธเขาวังนี้ก็เชนกันในสถานการณ ปกติ ก ารบั ง คั บ ใช ก ฎหมายอาจเป น ไปอย า งมี ประสิ ท ธิ ภ าพ แต ใ นสถานการณ ที่ ไ ม ป กติ เ ช น ช ว ง ผลัดเปลี่ยนแผนดินความหละหลวมของกฎหมายก็มี 17


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปที่ 30 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2553

ใหเห็น ยิ่งถาผูคิดชวงชิงราชบัลลังกเปนผูมีกําลังและ อํ า นาจในราชสํ า นั ก ด วยเหตุ นี้ ใ นช ว งปลายรั ช กาล สมเด็จพระเจาทรงธรรม ออกญาศรีวรวงศจึงสามารถ ลอบนําทหารเขามาไวในพระราชวัง 4,000 คน สวน ออกญาเสนาภิมุขพรรคพวกออกญาศรีวรวงศก็ลอบ นําทหารญี่ปุนเขามาในวังเปนจํานวนมาก ขอมูลเรื่อง จํานวนทหารของ ฟาน ฟลีต นี้อาจเกินเลยไปบางแต อยางนอยเอกสารนี้ก็บอกใหรูวาในสมัยนี้มีการละเมิด กฎหมายเกิ ด ขึ้ น เหตุ ก ารณ ป ลายรั ช กาลสมเด็ จ พระนารายณ ก็ ค ล า ยคลึ ง กั น แต เ หตุ นั้ น เกิ ด ที่ พระราชวังที่ลพบุรี นั่นคือ หลวงสรศักดิ์ (หรือสมเด็จ พระเจาเสือในเวลาตอมา) กับพรรคพวกลักลอบนํา อาวุธเขาไปในวังและใชอาวุธนั้นขมขูบรรดาขุนนางที่ ประชุมกันอยู ณ ตึกพระเจาเหาใหรวมมือกับตนเอง และพระเพทราชาผูเปนบิดา (ฟาน ฟลีต 2546 : 260261 ; พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา เลม 2 2505 : 113-115)

ความสัมพันธระหวางพระมหากษัตริยกับฝายใน ความสั ม พั น ธ ร ะหว า งพระมหากษั ต ริ ย กั บ ฝายในมีขอมูลหรือหลักฐานกลาวถึงไวไมมากนักเมื่อ เปรียบเทียบกับฝายหนา อันที่จริงแมแตเรื่องราวของ ฝายในก็มีขอมูลคอนขางจํากัด ความสัมพันธระหวาง พระมหากษัตริยกับฝายในแบงได 2 ประการใหญๆ คือความสัมพันธแบบหัวหนาครอบครัวที่พระมหากษัตริย มีตอพระภรรยาเจา พระสนม พระราชธิดาและบรม วงศานุวงศที่เปนหญิง และความสัมพันธแบบนายที่มี ตอขาราชบริพารที่เปนสตรีและนักเทศนขันที โดยทั่ ว ไปแล ว สตรี ฝ า ยในไม ค อ ยมี โ อกาส ออกไปนอกพระราชวั ง มากนั ก ยกเว น ตามเสด็ จ พระมหากษั ต ริ ย ไ ปในงานพระราชพิ ธี ถ วายผ า พระ กฐิน (ทั้งทางบกและทางน้ํา) และไปพระพุทธบาท การตามเสด็ จ ประการหลั ง นี้ มี ขึ้ น หลั ง ได พ บรอย พระพุ ท ธบาทในสมั ย สมเด็ จ พระเจ า ทรงธรรมแล ว ขอหามเรื่องมิใหสตรีฝายในออกไปนอกวังนี้ปรากฏใน กฎมณเทียรบาลดวย แตขอหามในกฎมณเทียรบาล กินความไปถึงพระราชกุมารและอาณาบริเวณที่หาม 18

ออกไปกินถึงนอกขนอนนอกดาน แนนอนวาขอหาม พระราชกุมารคงเพื่อปองกันการไปสมคบคิดกับขุนนาง หัวเมืองและเขามากอการกบฏ สวนการหามฝายใน จุดมุงหมายหลักนาจะอยูที่กรณี ชูสาวเปนสําคัญ แต ทั้ง นี้ ป ระเด็ น เรื่ อ งความระแวงทางการเมื อ งก็มิ อ าจ มองข า มได เ ช น กั น ข อ ห า มในกฎมณเที ย รบาล ดั ง กล า วนี้ คื อ “อนึ่ ง พระราชกุ ม าร พระราชบุ ต รี นักเทษขันที จาในเรือนคอมเตี้ย ออกไปนอกขนอน นอกดา น ผิดอายการ” (วินัย พงศศรีเพียร 2548 : 137) สวนชาวตางชาติที่เขามาที่อยุธยาเชน ลา ลูแบร ก็ ใ ห ข อ สั ง เกตไปในทางเดี ย วกั น ว า ผู ห ญิ ง ในวั ง จะ ออกไปไหนไม ไ ด เ ลยนอกจากตามเสด็ จ พระราช ดําเนิน แมแตพวกขันทีก็เชนกัน (ลา ลูแบร 2510 : 448) นอกจากไมคอยไดเสด็จออกนอกพระราชฐาน แลว บุรุษเพศก็ไมมีสิทธิไดพบเห็นสตรีฝายในเหลานี้ ยกเว น แต พ ระมหากษั ต ริ ย พระราชโอรสที่ ยั ง มิ ไ ด โสกันต เด็กชายที่มีอายุไมเกิน 10 ป และผูที่ไดรับ อนุญาตเปนการเฉพาะ (สํานักราชเลขาธิการ 2531 : 309) บุ ค คลที่ ก ล า วถึ ง หลั ง สุ ด นี้ ค งหมายรวมถึ ง พระสงฆดวย ถาจะกลาวไปแลวเมื่อเสด็จออกนอกวัง ไมเพียงบุรุษเพศเทานั้นที่ถูกหามมองเจานายฝายใน แมแตราษฎรทั่วไปที่เปนหญิงก็ถูกหามเชนกันคลายๆ กรณีหามมองกษัตริยเวลาเสด็จพระราชดําเนินผาน ข อ ห า มเรื่ อ งห า มพบปะบุ รุ ษ เพศหรื อ ห า มคนมอง เจานายฝายในนี้ ชาวตางชาติกลาวถึงไวแทบทุกคน ไมวาจะเปนฟาน ฟลีต ชัวซีย แชรแวส และลา ลูแบร เมื่ อ พิ จ ารณาอย า งผิ ว เผิ น สตรี ฝ า ยในอาจ ไม สู จ ะมี ค วามสํ า คั ญ มากนั ก แต ถ า พิ จ ารณาอย า ง ลึ ก ซึ้ ง แล ว สตรี เ หล า นี้ มี บ ทบาทสํ า คั ญ ในราชสํ า นั ก เนื่องจากเปนผูอยูใกลชิดพระมหากษัตริย (Dhiravat na Pombejra 2001 : 44) ลา ลูแบรใหขอมูลวาที่หอง ประทับของกษัตริยนั้นเจาพนักงานที่แทลวนเปนสตรี ทั้งสิ้นเปนผูแตงที่พระบรรทม แตงเครื่องพระกระยาหาร ทรงเครื่ อ งและคอยบํ า เรอพระยุ ค ลบาทเวลาเสวย ผูขนสงเครื่องโภชนาหารไปใหผูหญิงหองเครื่องตน ก็เปนขันที (ลา ลูแบร 2510 : 447) แมขอมูลของ ลา ลูแบร จะไมถูกตองทั้งหมดเนื่องจากมีพนักงานชาว


ความสัมพันธระหวางพระมหากษัตริยกับลูกขุนขาทูลละออง ในกฎมณเทียรบาล ดร. วรพร ภูพงศพันธุ

ที่พระบรรทม เบาะ มาน พรม เสื่อ แตงที่พระบรรทม ที่ เสด็จฯ ออกเปนชาย (ตําราแบบธรรมเนียมในราช สํานักครั้งกรุงศรีอยุธยากับพระวิจารณของสมเด็จ ฯ กรมพระยาดํารงราชา นุภาพ 2539 : 37) แตขอมูล ของเขาก็มีสวนถูกตองในการใหภาพความสําคัญของ ขาราชบริพารฝายในที่เปนหญิงและขันที สวนบทบาท ของเจ า นายฝ า ยในนั้ น ก็ มี อ ยู ไ ม น อ ย ในพระราช พงศาวดารไดก ล า วถึ งบทบาทของแม อยู หั วศรี สุด า จั นทรพระสนมเอกของสมเด็จพระชัยราชาธิราชที่ไ ด ชวยประคองราชการแผนดินใหแกสมเด็จพระยอดฟา พระโอรสแล วคิ ดยกขุ น วรวงศาธิ ร าชขึ้ น ว า ราชการ แทน การนี้ แม อยู หั วศรี สุ ดาจั นทร ไ ด ว างแผนกํ า จั ด พระยามหาเสนาซึ่ งไมพอใจการกระทําของพระนาง รวมทั้งไดเห็นชอบกับขุนวรวงศาธิราชในการสับเปลี่ยน ขุนนางหัวเมืองเหนือ 7 หัวเมืองที่กระดางกระเดื่อง ลงมาอยุธยาแลวเปลี่ยนคนใหมขึ้นไปแทน (ประชุม พงศาวดาร ฉบับกาญจนาภิเษก เลม 3 2542 : 225226) เพื่ อ สร า งเสถี ย รภาพให กั บ การปกครองของ พระนางและขุ น วรวงศาธิ ร าช การกระทํ า และการ วางแผนตางๆ ของแมอยูหัวศรีสุดาจันทรเหลานี้แสดง ใหเห็นวาพระนางมีอํานาจและบทบาททางการเมือง มากพอควรทีเดียว และถาขอมูลของแฟรนังค มังเดซ ปนตู เรื่อง “พระมเหสี (แมอยูหัวศรีสุดาจันทร) ซึ่งทรง มี ส วาทสั ม พั น ธ กั บ พนั ก งานรั ก ษาพระราชฐานใน ระหวางที่พระองค (สมเด็จพระชัยราชาธิราช) มิได ประทับในพระนคร ไดถวายยาพิษในน้ํานม (ในที่นี้คง หมายถึงยาคู) ใหทรงดื่มถึงโถหนึ่งเต็มๆ” (ปนโต 2526 : 67) เชื่อถือได (ที่กลาวเชนนี้เพราะฟาน ฟลีต ใหขอมูลในทางตรงขามโดยวาสมเด็จพระชัยราชาธิราช สิ้นพระชนมเนื่องจากสาเหตุธรรมชาติ) ยิ่งแสดงให เห็ นว าเจ านายฝ ายในมี บทบาทสํ าคั ญทางการเมื อง ไม แพ เจ านายฝ ายหน าเลยที เดี ยว เพี ยงแต บทบาท ดังกลาวมีใหเห็นไมมากนัก13

บทบาทสํา คั ญ ของเจ า นายสตรี โ ดยเฉพาะ ผูมีตําแหนงสูงสุดคือ พระอัครมเหสีนั้นคงเปนการดูแล ความเรี ย บร อ ยภายในราชสํ า นั ก และอาจทํ า หน า ที่ ตัดสินกรณีพิพาทที่ไมรายแรงนักในหมูขาราชบริพาร ขอสันนิษฐานนี้พิจารณาจากขอมูลของชาวตางชาติ เมื่อกลาวถึงพระธิดาของสมเด็จพระนารายณวาทรง ทําอะไรบาง ชัวซียและแชรแวสใหขอมูลไวคอนขาง สอดคลองกันวาพระธิดานั้นถือเครงในเรื่องมารยาท มาก แม มี ก ารกระทํ า ผิ ด เพี ย งเล็ ก น อ ยก็ จ ะลงโทษ อยางคอนขางรุนแรง แชรแวสวาแมนางสนองพระโอษฐ ดาทอกันก็จะสั่งโกนหัวทันที สวนชัวซียวาถาภรรยา ขุนนางผูใหญคนใดพูดมากเกินไปก็โปรดใหเอาเข็ม เย็ บ ปาก ถ า ผู ใ ดพู ด น อ ยเอาแต อ้ํ า อึ้ ง ก็ โ ปรดให ผ า ปากกวางออกไปจรดใบหู สวนลา ลูแบรใหขอมูลวา พระสนมองคอื่นของสมเด็จพระนารายณลวนยําเกรง พระธิดาที่ทรงพระเกียรติเยี่ยงพระอัครมเหสี14 เมื่อมี คดีค วามเกิดขึ้น ในหมูพระสนม นางกํา นัลและขัน ที พระธิดาทําหนาที่เปนผูชําระตัดสิน (ชัวซีย 2516 : 413 ; แชรแวส 2506 : 231 ; ลา ลูแบร 2510 : 449) ขอ มู ล ของชาวต า งชาติ เ หล า นี้ ค งไม ถู ก ต อ งทั้ ง หมด เรื่องการลงโทษของพระธิดาจริงเท็จประการใดไมอาจ ทราบไดแตก็สะทอนใหเห็นอํานาจพระธิดาที่ทําหนาที่ ประหนึ่งพระอัครมเหสี สวนเรื่องการตัดสินคดีนั้นคง เปนกรณีพิพาทเล็กๆ นอยๆ ในหมูชาววังดวยกัน แต ถาการพิพาทนั้นรุนแรง หรือเปนการพิพาทที่เกิดกับ คนที่เปนสมนอก (คนที่ไมไดขึ้นสังกัดกรมวัง) การ ตัดสินนั้นตองสงใหศาลกรมวังพิจารณา และถาฝายใน ตองพระราชอาญาหนักเบากฎมณเทียรบาลกําหนดวา ใหสงตัวแก “ทลวงฟนสนมหมื่นฟาด หมื่นโจม” (วินัย พงศศรีเพียร 2548 : 174) สํา หรั บ พระราชกิจ ของพระธิด าที่ชั ว ซีย ใ ห ขอมูลไวคือ ทุกเช า เย็น ต องเสด็จ ออกใหทา วนาง นางใน และบรรดาภรรยาของขุนนางชั้นผูใหญเขาเฝา

13

ในจดหมายเหตุฟาน ฟลีตใหขอมูลเรื่องบทบาทเจานายสตรีฝายในไวอีกองคหนึ่ง นั่นคือพระราชมารดาของสมเด็จพระ เชษฐาธิราช โดยวาพระนางไมพอใจออกญากลาโหม (สมเด็จพระเจาปราสาททอง) ที่ใหตําแหนงสําคัญๆ ของบานเมืองแกสมัครพรรค พวกของตนเอง จึงไดเพ็ดทูลใหพระเจาแผนดินเกิดความระแวงออกญากลาโหมที่ออกไปจัดงานปลงศพนองชายและเผาอัฐิบิดา และ วาพระนางทรงปรึกษาหารือและคบคิดกับเหลาศัตรูของออกญากลาโหม อยางไรก็ดีขอมูลดังกลาวนี้ไมปรากฏในพระราชพงศาวดาร ฉบับใดเลย (ฟาน ฟลีต 2546 : 287) 14 ดร.ธีรวัต ณ ปอมเพชร อธิบายวาเอกสารของฝรั่งเศสเรียกกรมหลวงโยธาเทพพระธิดาของสมเด็จพระนารายณวา “la Princesse – Reine” ซึ่งอาจแปลไดวา “สมเด็จเจาฟา (หญิง)/มเหสี” หรือ “เจาหญิง-ราชินี”

19


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปที่ 30 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2553

โดยพระนางจะประทั บ บนพระบั ล ลั ง ก แ ละให ส ตรี เหล า นั้ น หมอบเฝ า อยู กั บ พื้ น ห อ งก ม หน า ทํ า นอง เดียวกับที่สามีของตนเขาเฝาพระเจาแผนดิน ขอมูล ของชัวซียเรื่องนี้นาสนใจมากเพราะนี่อาจเปนพระราช กิจของผูเปนอัครมเหสี กฎมณเทียรบาลเองก็ใหขอมูล วาพระอัครมเหสี “มีพระธินั่งออกโรง” คือพระที่นั่ง สําหรับออกวาราชการ สวนขอมูลของฟาน ฟลีตก็วา ในสมัย สมเด็จ พระเจา ปราสาททองพวกภรรยาของ ขาราชการผูใหญคนสําคัญที่สุดไมไดรับอนุญาตใหอยู นอกวังของพระราชินี (พระอัครมเหสี) ไดเกิน 3 หรือ 4 วัน (ชัวซีย 2516 : 412-413 ; ฟาน ฟลีต 2546 : 29 ; วินัย พงศศรีเพียร 2548 : 76) พระราชกิจ เหล า นี้ ผ นวกกั บ การทํ า หน า ที่ ดู แ ลความเรี ย บร อ ย ภายในพระราชสํ า นัก แสดงให เห็น ว า พระอั ค รมเหสี หรื อเจา นายฝา ยในที่มี ตํา แหนงสูงสุดมีบทบาทและ อาจมีอํานาจมากกวาที่คิด แม เ จ า นายฝ า ยในจะมี บ ทบาทและอํ า นาจ แตในฐานะที่เปนบุคคลในครอบครัวของพระมหากษัตริย สิ่งที่พระมหากษัตริยพึงคาดหวังจากเจานายฝายในที่ มองเห็น ไดจ ากกฎมณเทียรบาลก็คือ การรัก ษาพระ เกียรติยศและจารีตประเพณี15 เชนเดียวกับเหลาขา ราชบริพารฝายในยอมตองปฏิบัติและประพฤติตัวให ถูกตองเหมาะสม ไมกระทําการอันหลูพระเกียรติยศ ของพระมหากษัตริยซึ่งเปนนายเหนือหัว การกระทํา อั น ถู ก ต อ งและเป น การรั ก ษาพระเกี ย รติ ข องพระ เจาอยูหัวที่ปรากฏในกฎมณเทียรบาลมี 2 ประการ ใหญคือ การไมประพฤติผิดในทางชูสาวและการไมทํา ผิดกฎระเบียบขอหามของพระราชวัง 1. การไมประพฤติผิดในทางชูสาว การไมประพฤติผิดในทางชูสาวที่ยกตัวอยาง จากความในกฎมณเทียรบาลมากลาวในที่นี้พิจารณา จากความผิดที่ฝายในสมยอมดวยเปนประการสําคัญ สํ า หรั บ ลํ า ดั บ ขั้ น การประพฤติ ผิ ด ในทางชู ส าวมี 3 ขั้นตอนคือ

15

20

ประเด็นแนะนําจากอาจารย ดร.ธีรวัต ณ ปอมเพชร

ขั้นตอนแรก ลอบเจรจา จับมือถือแขน เปน แมสื่อแมชัก และคบหากัน ทั้งที่ฝายหญิงเต็มใจและ ไมเต็มใจ โทษการทําผิดเบื้องแรกนี้ไมใชโทษตาย ยกเวนกรณีการเปนแมสื่อแมชักนําหนังสือกาพยโคลง จากขางนอกเขามาในวัง จึงมีโทษถึงตาย ขั้นตอนที่สอง การทําชูกัน โทษการทําชู กันนั้นจะรุนแรงกวาการทําผิดขั้นตอนแรก ยิ่งถาผูมี สวนในความผิดนั้นเปนชาวแมพระสนมดวยแลวโทษ ถึงตายเลยทีเดียว แตถาผูมีสวนรวมในการทําผิดนั้น เปนสาวใชนางกํานัลโทษเบาลงมาไมถึงตาย การทําชู ที่ปรากฏในกฎมณเทียรบาลมีทั้งที่คนขางนอกเขามา ทํา ชูห รือ การทํา ชูกับคนขางนอกและคนขา งในทํา ชู กันเอง ที่นา สนใจคือ กฎมณเทียรบาลกล า วถึง คนที่ เปนหญิงเหมือนกันแตทํากิริยาของดุจชายหญิงเปน... “อนึ่ง สนมกํานัลคบผูหญิงหนึ่งกัน ทําดู จเปนชูเมื ยกั นใหลงโทษด วยลวด ห นั ง ๕ ๐ ที ศั ก ฅ อ ป ร ะ จ า น ร อ บ พระราชวัง ทีหนึ่งใหเอาเปนชาวสดึง ที หนึ่งใหแกพระเจาลูกเธอ หลานเธอ” (วินัย พงศศรีเพียร 2548 : 135-136) แม กฎมณเที ยรบาลได กํ าหนดโทษฝ ายใน โดยเฉพาะพระสนมที่ลักลอบทําชูอันเปนการกระทําที่ กอใหเกิดการเสื่อมพระเกียรติยศไวถึงตาย กระนั้นก็ยัง มี ก ารทํ า ผิ ดข อห า มดั งกล า ว ลา ลู แ บร ให ข อ มู ล ที่ น า สนใจเกี่ ย วกั บ เรื่ อ งนี้ ว า “ในหมู น ารี ร าชบาท บริจาริกาของพระมหากษัตริยสยาม มาตรวาจะตกอยู ในที่แวดลอมกวดขันมั่นคงสักเทาไร ลางทีนางก็ยังสบ โอกาสที่จะมีชูชายจนได” สวนวิธีการลงโทษการทําชูนี้ ลา ลูแบรวาในชั้นแรกก็ใหมารวมสังวาสกับหญิงที่ทําผิด แลวจึงใหประหารชีวิตเสีย และกลาวตอวาเมื่อไมกี่ป มานี้ก็ทรงสั่งใหเสือขบเสียคนหนึ่ง ถ อยคําบอกเลา ของลา ลูแบรเรื่องการลงโทษโดยใหเสือขบหญิงฝายใน


ความสัมพันธระหวางพระมหากษัตริยกับลูกขุนขาทูลละออง ในกฎมณเทียรบาล ดร. วรพร ภูพงศพันธุ

ที่ มี ชู นี้ ช วนให นึ ก ถึ ง เรื่ อ งเล า ของเดอะ แบสที่ ว า พระสนมคนหนึ่งของสมเด็จพระนารายณถูกลงโทษ โดยวิธีการใหเสือกินเนื่องจากการลักลอบมีชู เดอะ แบสใหขอมูลวาพระสนมคนนี้ เป นคนโปรดของพระ เจาอยูหัวและเปนนองสาวของพระเพทราชา นางได ลอบมี ค วามสั ม พั น ธ กั บ เจ า ฟ า น อ ย พระอนุ ช าของ สมเด็จพระนารายณ พระสนมนางนี้เปนหญิง มักมาก ในกามคุณ กอนเปนชูกับเจาฟานอยก็เคยประพฤติ เสี ย หายจนเป น ที่ รั บ รู กั น ไปทั่ ว แม แ ต ในหมู ร าษฎร ดวยเหตุที่นางหาขออางออกไปนอกวังหลวงวาไปรักษา บาดแผลที่ขา (ที่นางทําขึ้นเอง) กับดาเนียล (Daniel Brochebourde) ศัลยแพทยของบริษัท VOC จากนั้น ก็ลอบไปที่คายโปรตุเกสทําพฤติกรรมไมเหมาะสมไม ระวั ง เนื้ อ ระวั งตั ว เมื่ อ เรื่ อ งที่ น างและเจ า ฟ า น อ ยมี ความสัมพันธกันถูกจับได นางถูกตัดสินโทษโดยใหเสือ กิน สวนเจาฟานอยควรถูกสําเร็จโทษ แตดวยคําขอรอง ของพระขนิษฐภคนีของสมเด็จพระนารายณจึงถูกโบย อยางหนัก (ลา ลูแบร 2510 : 329 ; แบส 2528 : 146-152) กรณี น างสนมหม อ มห า มลอบทํ า ชู นี้ พ บใน ราชสํ า นั ก พระเจ า ตากสิ น ด ว ยความในพระราช พงศาวดารฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และพระราช พงศาวดารฉบับพระหัตถเลขาใหขอมูลวา วันจันทร เดือนเจ็ด แรมหนึ่งค่ํา พ.ศ. 2312 (ค.ศ.1769) หมอมเจา อุบล บุตรกรมหมื่นเทพพิพิต หมอมเจาฉิมบุตรเจาฟา จิตที่ทรงเลี้ยงเปนหาม (นางหาม) กับนางละคร 4 คน เปนชูกับฝรั่งมหาดเล็ก 2 คน พิจารณาเปนสัตยแลว ใหฝพายทนายเลือกทําประจานอยาใหดูเยี่ยงอยางกัน ตอ ไป แล ว ตั ด แขน ตั ด ศี ร ษะผ า อกเสี ย ทั้ งชายหญิ ง เหตุที่เปนชูนั้นพระราชพงศาวดารทั้ง 2 ฉบับไมไดให ไว แ ต ม าปรากฏอยู ใ นจดหมายเหตุ ค วามทรงจํ า กรมหลวงนริ น ทรเทวี วา หนู เข า มากัด พระวิสู ต รจึ่ ง รับสั่งใหชิดภูบาล ชาญภูเบศร ฝรั่งคนโปรดทั้งคูมาไล จับหนูใ ต ที่เสวย เจา ประทุ ม (บุตรี ก รมพระราชวัง ที่ โปรดใหเลี้ยง เปนหาม) เปนผูทูลวาฝรั่งเปนชูกับ หมอมหามทั้ง 2 พรอมกับนางรํา 4 คน จดหมายเหตุ ฉบับนี้ใ หขอมูลเพิ่ม เติมวาเมื่อรับสั่งถามหมอมอุบล ไมรับแตหมอมฉิมรับจึงโปรดฯ ใหเฆี่ยนเอาน้ําเกลือ

รด ทําประจานดวยแสนสาหัส ประหารชีวิตผาอกเอา เกลือทา ตัดมือตัดเทา กรณีนางหามมีชูที่เกิดในสมัย สมเด็จพระเจาตากสินที่ปรากฏในจดหมายเหตุความ ทรงจํากรมหลวงนรินทรเทวีอีกเรื่องหนึ่งคือ นางหาม ประสูติเจาแลวทรงสงสัยวาเรียกหนเดียวไมนาใชลูก ของทาน จึงรับสั่งใหหาภรรยาขุนนางเขาไปถาม ได พยานมาคนหนึ่งวาทานไปหาหนเดียวมีบุตรจึงถาม นางหามวาทองกับใคร นางวาทองกับเจก จึ่งโปรดฯ ใหเฆี่ยนสิ้นชีวิต สวนลูก (ตนฉบับวาเจ็ก/บางฉบับวา เจาเล็ก) สมเด็จพระพุทธเจาหลวงพระอัยกาเอาไป เลี้ ย งไว (ประชุ ม พงศาวดาร ฉบั บ กาญจนาภิ เ ษก เลม 3 2542 : 490 ; พระราชพงศาวดารฉบับ พระราชหัตถเลขา เลม 2 2505 : 325 ; จดหมายเหตุ ความทรงจํ า กรมหลวง นริ น ทรเทวี แ ละพระราช วิจารณรัชกาลที่ 5 2516 : 3, 5) ความผิ ด อี ก กรณี ห นึ่ ง แม ไ ม ใ ช ก ารทํ า ชู แ ต นางสนมหรือเจาจอมจะตองโทษประหารชีวิตคือ การ ทําเสนหเพื่อใหพระเจาอยูหัวหลง การทําผิดเรื่องนี้มี กลาวถึงในพระราชพงศาวดาร 2 ครั้ง ครั้งแรกเกิด สมัยสมเด็จพระเจาเสือ พระองครัตนาซึ่งเปนพระสนม เอกที่ทรงโปรดปรานมากใหหาหมอทําเสนหเพื่อให พระเจาแผนดินทรงเสนหา รักใครลุมหลง ความเรื่องนี้ ทาสในเรือนรูจึงแจงเหตุแกทาวนางผูใหญๆ เอาเหตุ ขึ้นกราบทูล จึงทรงเรียกพระองครัตนาและหมอทํา เสนหมาไลเลียงสืบสาว ครั้นทราบความแลวก็ให ลงโทษพระองครัตนา หมอทําเสนห พอพระองครัตนา ถึงสิ้นชีวิต ครั้งที่ 2 เกิดสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธ ยอดฟ า จุ ฬ าโลก โดยเจ า จอมทองดี อ ยู ง านใน พระราชวังหลวงกับพรรคพวก 4 คน ไดหาหมอมาทํา เสนหเพื่อใหพระเจาอยูหัวโปรดปราน ทาสในเรือนรู เรื่องจึงมาแจงใหทาวนางผูใหญๆ จึงนําความขึ้นกราบ ทู ล เมื่ อ พิ จ ารณาได ค วามแล ว จึ ง โปรดฯ ให เ อาตั ว เจาจอมทองดีพรรคพวกและหมอทําเสนหไปประหาร ชี วิ ต ณ วั ด ตะเคี ย น (พระราชพงศาวดาร ฉบั บ พระราชหัตถเลขา เลม 2 2505 : 180-181, 459-460) ขั้นตอนที่สาม การลอบหนีตามกัน 2. การไม ทํ า ผิ ด กฎระเบี ย บข อ ห า มของ พระราชวัง 21


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปที่ 30 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2553

พระราชวัง หลวงเป น สถานที่ ศัก ดิ์สิ ทธิ์ แ ละ เปนสถานที่หวงหา ม มิใชคนทุกคนจะเขามาในเขต พระราชวังได สวนพระราชฐานฝายในก็ยิ่งเปนพื้นที่ เฉพาะเปนที่พักผอนพระราชอิริยบทของพระมหากษัตริย บุคคลที่เขามาไดนอกจากผูไดรับอนุญาตเปนพิเศษ แล ว (กลุ ม บุ ค คลที่ ไ ด รั บ อนุ ญ าตให เ ข า ไปใน พระราชฐานฝายในกลาวไวแลวขางตน) คือกลุมขาทูล ละอองที่ ทํ า งานรั บ ใช ฝ า ยในซึ่ ง เมื่ อ เข า มาแล ว ต อ ง ปฏิบัติตนใหถูกตองไมทําผิดกฎเกณฑ ขอหามของวัง กฎมณเที ย รบาลกํ า หนดกฎข อ ห า มที่ ฝ า ยในมิ พึ ง กระทําไวดังนี้ หามหักแผงแหวกมาน แหวกรั้ว หามนํา เหลาเขาวัง หามหนีออกจากวัง หรือออกจากวังโดย ไมบอกกลาว (ขอหามนี้เจาะจงไปที่พระสนม สวนผู ชวยเหลือมีโทษเชนกัน) หามลวงที่และเมื่อเขาเฝา หามลวงพระที่นั่ง หามวิวาท ดาเถียงกันในวังรวมทั้ง หามกระทําการใดๆ ซึ่งเปนเหตุใหโลหิตตกในวังอันจะ พาใหเกิดเสนียดจัญไรในพระนคร เทาที่กลาวมาขางตนจะเห็นวากฎมณเทียร บาลไดกําหนดขอหามตางๆ ไวอยางคอนขางละเอียด ทั้งนี้เพื่อใหเหลาขาราชบริพารฝายในไมประพฤติหรือ ปฏิ บั ติ ต นในทางที่ ไ ม เ หมาะไม ค วรอั น จะนํ า มา ซึ่ ง ความเสื่อมพระเกียรติยศขององคพระมหากษัตริย ความสั ม พั น ธร ะหว า งพระมหากษั ต ริย กั บ ลูก ขุน ขา ทูลละอองเทา ที่ก ลา วมาขางตนเปน ความ

สัมพันธที่มองจากองคพระมหากษัตริยลงมา ดังนั้น จึงเห็นภาพความหวาดระแวงที่พระมหากษัตริยมีตอ บุ ค คลที่ อ ยู ร อบข า งตั้ ง แต พ ระราชโอรสลงมาจนถึ ง ขุ น นางข า ราชการระดั บ ต า งๆ ความหวาดระแวง ดังกลาวเปนเหตุใหตองออกกฎหมายขอบังคับตางๆ ใหผูคนตองปฏิบัติตามทั้งเพื่อสรางความปลอดภัยให องคพระมหากษัตริยเอง ตั้งแตขอปฏิบัติขอหามไมให ขุนนางขาราชการ เจาเมือง พระราชกุมารไปมาหาสู กัน หามแมทัพนายกองกลับเขาพระนครกอนมีพระ ราชโองการหมายเรีย กไปจนถึง ขณะเสด็จ พระราช ดําเนิน หามผูคนรวมถึงพระราชโอรสเขามาเฝากอน ไดรับพระบรมราชานุญาต การเสด็จไปไหนมาไหน ตองมีการ จุกชองลอมวงระวังความปลอดภัย เปนตน ในสวนฝายในแมความหวาดระแวงเรื่องการแยงชิง ราชสมบัติ ไมปรากฏชัด แตเห็นไดวาพระมหากษัตริย ทรงคาดหวั งใหเจ า นายฝ า ยในรั ก ษาพระเกีย รติย ศ และจารี ต ประเพณี โ ดยไม ก ระทํ า การอั น หลู พ ระ เกียรติยศของพระองค ฉะนั้นกฎมณเทียรบาลจึงเปน กฎหรือขอกําหนดที่พระบรมวงศานุวงศ ขาราชการ ชั้นผูใหญ ผูนอยตองเรียนรูเพื่อจะไดประพฤติตนให ถู ก ต อ งไม มี ค วามผิ ด ในพระเจ า แผ น ดิ น (รวมเรื่ อ ง ราชาภิ เ ษก ธรรมเนี ย มราชตระกู ล ในกรุ ง สยาม พระราชานุกิจ และอธิบายวาดวย ยศเจา 2546 : 7677)

บรรณานุกรม จดหมายเหตุความทรงจํากรมหลวงนรินทรเทวีและพระราชวิจารณรัชกาลที่ 5. (2516). กรุงเทพฯ: องคการคาคุรุสภา. จักรฤทธิ์ อุทโธ. (2546). “พระธรรมนูน: การบริหารงานยุติธรรมและการบริหารราชการแผนดินของไทยสมัย โบราณ.” ใน เอกสารประกอบการประชุมสัมมนาทางวิชาการเรื่อง กฎหมายตราสามดวง : แวนสอง สังคมไทย ครั้งที่ 2. 3-4 ตุลาคม ณ หองประชุมหอสมุดแหงชาติ กรุงเทพมหานคร. ชัวซีย, เดอ. (2516). จดหมายเหตุรายวันการเดินทางไปสูประเทศสยาม ในป ค.ศ. 1685 และ 1686 ฉบับ สมบูรณ. แปลโดย สันต ท. โกมลบุตร. กรุงเทพมหานคร: สํานักพิมพกาวหนา. แชรแวส, นิโกลาส. (2506). ประวัติศาสตรธรรมชาติและการเมืองแหงราชอาณาจักรสยาม. แปลโดย สันต ท.โกมลบุตร. พระนคร: สํานักพิมพกาวหนา. ตําราแบบธรรมเนียมในราชสํานักครั้งกรุงศรีอยุธยากับพระวิจารณของสมเด็จฯ กรมพระยาดํารงราชานุภาพ. (2539). พิมพครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร กรมศิลปากร. ธีรวัต ณ ปอมเพชร. (2538). กบฏเจาทาทราย : กบฏนอกพระราชพงศาวดาร. โลกประวัติศาสตร 1 (1) : 9-13. 22


ความสัมพันธระหวางพระมหากษัตริยกับลูกขุนขาทูลละออง ในกฎมณเทียรบาล ดร. วรพร ภูพงศพันธุ

นิธิ เอียวศรีวงศ. (2539). การเมืองไทยสมัยพระนารายณ. พิมพครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: มติชน. แบส, เดอะ. (2528). บันทึกความทรงจําของบาทหลวงเดอะแบสเกี่ยวกับชีวิตและมรณกรรมของ ก็องสตังซ ฟอลคอน เอกอัครมหาเสนาบดีแหงพระนารายณ, พระเจากรุงสยาม. แปลโดย สันต ท. โกมลบุตร. พระนคร: โรงพิมพอักษรสัมพันธ. ประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เลม 3. (2542). กรุงเทพฯ: กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร กรมศิลปากร. ปนโต, แฟรนังด มังเดซ. (2526). การทองเที่ยวผจญภัยของแฟรนังด มังเดซ ปนโต ค.ศ. 1537-1558. แปลโดย สันต ท. โกมลบุตร. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. (2546). กรุงเทพมหานคร: นานมีบุคสพับลิเคชั่น. พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา เลม 2. (2505). พระนคร: โอเดียนสโตร. ฟาน ฟลีต. (2546). รวมบันทึกประวัติศาสตรอยุธยาของฟาน ฟลีต (วัน วลิต). กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร. มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตรและการเมือง. (2529). ประมวลกฏหมาย รัชกาลที่ 1 จุลศักราช 1166 พิมพ ตามฉะบับหลวง ตรา ๓ ดวง. พิมพครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพเรือนแกวการพิมพ. 3 เลม. มานพ ถาวรวัฒนสกุล. (2536). ขุนนางอยุธยา. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร. รวมเรื่องราชาภิเษก ธรรมเนียมราชตระกูลในกรุงสยาม พระราชานุกิจ และอธิบายวาดวยยศเจา. (2546). พิมพครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: เอดิสัน เพรส โพรดักส. (พิมพในงานพระราชทานเพลิงศพ พลอากาศตรีจํานง ผุสสราคมาลัย 13 ธันวาคม). รัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540. (2541). กรุงเทพฯ: โรงพิมพการศาสนา. รายงานการประชุมคณะอนุกรรมการชําระกฎหมายตราสามดวง ครั้งที่ 11/2547 วันศุกรที่ 2 กรกฎาคม 2547 ณ หองประชุม 1 ราชบัณฑิตยสถาน. ลา ลูแบร, เดอ. (2510). จดหมายเหตุลา ลูแบร ฉบับสมบูรณ เลม 1. แปลโดย สันต ท. โกมลบุตร. พระนคร: กาวหนา. แลงกาต, ร. (2526). ประวัติศาสตรกฎหมายไทย. เลม 1. ชาญวิทย เกษตรศิริ และวิกัลย พงศพณิตานนท, บรรณาธิการ. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตําราสังคมศาสตรและมนุษยศาสตร. วินัย พงศศรีเพียร, บรรณาธิการ. (2548). กฎมณเทียรบาล ฉบับเฉลิมพระเกียรติ. กรุงเทพฯ: โครงการวิจัย เมธีวิจัยอาวุโส สกว. กฎหมายตราสามดวง: ประมวลกฎหมายไทยในฐานะมรดกโลก. สมบัติ จันทรวงศ และชัยอนันต สมุทวณิชย. (2523). ความคิดทางการเมืองและสังคมไทย. กรุงเทพฯ: บรรณกิจ. สํานักราชเลขาธิการ. (2531). สถาปตยกรรมพระบรม มหาราชวัง เลม 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพกรุงเทพ. Dhiravat na Pombejra. (1984). A political history of Siam under the Prasatthong Dynasty 1629-1688. Ph.D. thesis, School of Oriental and African Studies, University of London. Dhiravat na Pombejra. (2001). Siamese court life in the seventeenth century as depicted in European sources. Bangkok: Faculty of Arts Chulalongkorn University International Series No.1.

23


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปที่ 30 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2553

24


การสราง “พระราชชายาเจาดารารัศมี” ใหเปนบุคคลสําคัญ ในประวัติศาสตร ทศวรรษ 2500 ปจจุบัน1 The Construction of “Phrarajjaya Chao Dararasmi” As a Historical Figure from the 1900s to the Present จิรชาติ สันตะยศ2 Chirachat Santayot

บทคัดยอ บทความนี้มีวัตถุประสงคเพื่อศึกษาความเปลี่ยนแปลงในการสราง “พระราชชายาเจาดารารัศมี” ใหเปน “บุค คลสํา คัญในประวั ติศาสตร” ตั้งแตทศวรรษ 2500 จนถึ งปจ จุบัน ซึ่งมี ค วามสั มพัน ธอย างลึกซึ้งกั บการจัด ความสัมพันธเชิงอํานาจ ระหวาง “ทองถิ่น” (ลานนา) กับ “ชาติไทย” และมีผลตอพระสถานภาพและพระราชอํานาจ ของพระมหากษัตริยแหงชาติไทยตลอดจนตอสถานภาพและพื้นที่ทางสังคมของเจานายฝายเหนือดวย การที่บุคคลหนึ่งถูกสรางใหเปน “บุคคลสําคัญในประวัติศาสตร” นั้น ยอมมีความหมายทางการเมืองแฝง อยูดวยเสมอ เพราะวา “ความทรงจํา” ที่ประวัติศาสตรสรางขึ้นมา มีผลตอการจัดความสัมพันธเชิงอํานาจในสังคม การเมืองที่เปนเจาของ “ความทรงจํา” นั้นๆ การศึกษาเรื่อง “การสราง ‘พระราชชายาเจาดารารัศมี’ ใหเปนบุคคล สําคัญในประวัติศาสตร” จึงมิใชการคนหาความจริงเกี่ยวกับชีวประวัติของบุคคล หากแตเปนการศึกษาถึงการ สถาปนามโนทัศนทางการเมืองที่เกี่ยวโยงกับการจัดความสัมพันธเชิงอํานาจระหวาง “ชาติไทย” กับ “ทองถิ่น” และ ความสัมพันธเชิงอํานาจภายใน “ทองถิ่น” และภายใน “ชาติไทย” ซึ่งปรากฏอยางชัดเจนในการสรางความทรงจํา เกี่ยวกับพระราชชายาเจาดารารัศมีโดยหลายฝายนับตั้งแตทศวรรษ 2500 เปนตนมา โดยแตละฝายไดสราง “โครงเรื่อง” และเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับพระราชชายาเจาดารารัศมีในฐานะบุคคลสําคัญในประวัติศาสตรทองถิ่น และ/หรือประวัติศาสตรชาติไทย ภายใตโครงเรื่องหลักและโครงเรื่องยอยที่แตกตางหลากหลาย และนําเสนอใน รูปแบบตาง ๆ เชน งานเขียนทางประวัติศาสตร งานเขียนเชิงสารคดี อนุสาวรีย พิพิธภัณฑ พิธีกรรม แสตมป ฯลฯ ทําให “โครงเรื่อง” มีความลื่นไหล ผันแปรไปตามบริบททางสังคมของผูสราง “โครงเรื่อง” เหลานั้น อยางไรก็ ตาม มีโครงเรื่องบางโครงเรื่องที่ไดรับการสืบทอดอยางเขมขน จนสรางความทรงจํากระแสหลักเกี่ยวกับพระราช ชายาเจาดารารัศมีขึ้นมา นั่นคือโครงเรื่องที่มาจากอุดมการณ “ราชาชาตินิยม” แบบที่เห็นวาทองถิ่นเปนสวนหนึ่งที่ มีคุณคาและนาภาคภูมิใจของชาติไทย โดยที่ความรักและความผูกพันระหวางพระราชชายาเจาดารารัศมีกับ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลาเจาอยูหัวไดกลายเปน “สายใยรักสองแผนดิน” ที่ชวยประสานลานนาเขากับชาติ ไทยอยางมั่นคงตลอดมา ในขณะที่ความทรงจํากระแสหลักดังกลาวขางตนไดรับการผลิตซ้ําจนมีอิทธิพลอยางมากในสังคม และยัง ผันแปรไปเปน “ลัทธิพระราชชายาฯ” ดวยนั้น เรื่องราวเกี่ยวกับพระราชชายาเจาดารารัศมีที่มีโครงเรื่องแบบ “ทองถิ่นนิยมที่ตอตานชาตินิยม” กลับไมไดรับการสืบทอดแตอยางใด ขณะเดียวกันความขัดแยงในยุคปฏิรูปประเทศ ปรับปรุงจากวิทยานิพนธของผูเขียนเรื่อง “การสราง “พระราชชายาเจาดารารัศมี” ใหเปนบุคคลสําคัญในประวัติศาสตร ทศวรรษ 2500 – ปจจุบัน. 2 นักศึกษาปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม. 1


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปที่ 30 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2553

การดูถูกเหยียดหยามทางชาติพันธุ และความขมขื่นตางๆลวนไดรับการใหความหมายหรือการอธิบายใหมเพื่อให สังคมไดรับรูและยอมรับวา “ทองถิ่น” เต็มใจรวมเขาเปนสวนหนึ่งของ “ชาติไทย” และไดรับผลดีอยางมากจากการ มี “สายใยรักสองแผนดิน” ดังนั้น “ทองถิ่น” จึงควรจงรักภักดีตอพระมหากษัตริยแหง “ชาติไทย” อยางสูงสุดและ รวมสรางสรรคความเจริญแกทองถิ่นเพื่อความเจริญรุงเรืองของ “ชาติไทย” โดยรวมตลอดไป การทําความเขาใจ “การสราง ‘พระราชชายาเจาดารารัศมีใหเปนบุคคลสําคัญในประวัติศาสตร ทศวรรษ 2500 – ปจจุบัน” จึงชวยใหเขาใจ “รัฐไทย” “ชาติไทย” และ “ความเปนไทย” อยางลึกซึ้งและซับซอนขึ้น รวมทั้งทํา ใหเขาใจงานเขียนประวัติศาสตรชาติและประวัติศาสตรทองถิ่นเรื่องอื่นๆ ซึ่งใหพื้นที่ทางสังคมหรือใหสิทธิและ อํานาจแกคนกลุมตางๆ ในทองถิ่นและในชาติแตกตางกันออกไป นอกจากนี้ยังชวยเสริมสรางวิจารณญาณใหแก คนไทยและชวยใหคนไทยเปนอิสระจากกระบวนทัศนครอบงําอีกโสดหนึ่งดวย คําสําคัญ : 1. เจาดารารัศมี พระราชชายาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลาเจาอยูหัว. Abstract

This article aims to study the dynamics of “The Construction of ‘Phrarajjaya Chao Dararasmi’ as a Historical Figure from the 1900s to the Present.” This is closely related to the power relations between the “local” (Lanna) and the “Thai nation,” which affected the status as well as authority of the King of Thailand and the social rank of the northern noble families. Construction of a historical figure always comes hand-in-hand with a political meaning hidden in its agenda because “collective memory” derived from historical knowledge is the basic cause of power relations in political society. Hence the study about the construction of ‘Phrarajjaya Chao Dararasmi’ as a historical figure is not a dry search for truth or facts of an individual biography. It is rather research about the foundation of political perception related to power relations between the “Thai nation” and the “local”, as well as the actual power relationships among the locals and the nation itself. Those are dramatically afforded in the diversity of the Construction of Phrarajjaya Chao Dararasmi as a heroine in local history and/or Thai history in different mainplots and subplots; these can be seen in the emergence of historical writings, documentaries, statues, rituals, stamp collections and so on. A variety of representatives and mediums make “the plot” liquidized according to the social contexts to which the writers belong. However, there are some plots which abided so unceasingly that they become the main stream of remembrance about Phrarajjaya Chao Dararasmi. This study asserts that these plots are based on a certain concept of “royal nationalism.” In this concept, it is believed that the locals are a contented part of Thailand as a whole. The plots reveal the love and relationship between Phrarajjaya Chao Dararasmi and King Chulalongkorn, the “Love beyond two boundaries” which efficiently helps to reconcile Lanna into the integrated part of the Thai nation. While the main-stream impressions are repeatedly reproduced in society, and even developed into “Phrarajjayaism,” the ‘plot’ containing ‘antipatriotic localization’ is neglected. It seems to have been conflicted in the reformation era. The discrimination and other bitterness in local history are left behind in the backstage of the romantic drama called “Love beyond two boundaries”; this romantic drama functioned to create the perception in society that the “local” was glad to degenerate herself to become 26


การสราง “พระราชชายาเจาดารารัศมี” ใหเปนบุคคลสําคัญในประวัติศาสตร ทศวรรษ 2500 - ปจจุบัน จิรชาติ สันตะยศ

part of the nation-state and acquired gratifying priority from the “Love beyond two boundaries” itself. Accordingly, the idea that the “ local” ought to be immensely loyal towards the King of Siam then creates growth to the “local”, as obligation, to make the Thai nation ever more glorious. Understanding “The Construction of ‘Phrarajjaya Chao Dararasmi’ as a Historical Figure from the 1900s to the Present” will help one to consider the Thai nation, the Thai state, and “being Thai” in a more complicated way. Moreover, how other national history and local history provide the social space, right and authority to various groups of people in local and state society will be also engaged. In another stage of the comprehension, this thesis could engender insight for the Thais and free people from the draconian dominance paradigm of the past. Keyword: 1. Chao Dararasmi, Phrarajjaya, consort of Chulalongkorn, King of Siam.

27


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปที่ 30 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2553

การที่บุคคลหนึ่งถูกทําใหเปน “บุคคลสําคัญ ในประวัติศาสตร” มิไดหมายความแตเพียงวาบุคคล นั้ น จะอยู ใ นความทรงจํ า ของผู ค นโดยปราศจาก ความหมายทางการเมืองใดๆ เพราะ “ความทรงจํา” ที่ ประวั ติ ศ าสตร ส ร า งขึ้ น มานั้ น มี ผ ลต อ การจั ด ความสั ม พั น ธ เ ชิ ง อํ า นาจในสั ง คมการเมื อ งที่ เ ป น เจาของ “ความทรงจํา” นั้นๆ เสมอ พระราชชายาเจาดารารัศมี เปนพระธิดาของ พระเจาอินทวิชยานนทเจาผูครองนครเชียงใหม ลําดับ ที่ 7 (พ.ศ. 2416-2439) ทรงไดรับการถวายตัวเปน พระราชชายาในพระบาทสมเด็ จ พระจุ ล จอมเกล า เจ า อยู หั ว ใน พ.ศ. 2429 เมื่ อ มี พ ระชนมายุ ไ ด 13 พรรษาเศษ พระองคทรงมีพระราชธิดาเพียงพระองค เดียว คือ พระเจาลูกเธอพระองคเจาหญิงวิมลนาคนพี สี ซึ่งสิ้นพระชนมตั้งแตมีพระชันษาได 3 พรรษาเศษ หลั ง จากพระบาทสมเด็ จ พระจุ ล จอมเกล า เจา อยู หั ว สวรรคตแลวพระราชชายาเจาดารารัศมียังคงประทับ อยูในพระราชฐานชั้นในจนถึง พ.ศ. 2457 จึงเสด็จ ก ลั บ ม า ป ร ะ ทั บ ณ เ มื อ ง เ ชี ย ง ใ ห ม พ ร ะ อ ง ค สิ้นพระชนมใน พ.ศ. 2476 เมื่อมีพระชนมายุได 60 พรรษา แม จ ะทรงเป น พระธิ ด าเจ า ผู ค รองนคร เชียงใหมและเปนพระราชชายาในพระบาทสมเด็จพระ จุลจอมเกลาเจาอยูหัว และทรงมีบทบาทในดานตางๆ เชนทรงอุปถัมภบํารุงพุทธศาสนา ทรงประทานที่ดิน แกรัฐบาลและสาธารณะ ทรงอุปถัมภการศึกษาและ การศิ ล ปวั ฒ นธรรม เป น ต น แต ก อ นหน า ทศวรรษ 2490 พระราชชายาเจาดารารัศมีมิไดถูกสรางใหทรงมี พระสถานะเปน “บุคคลสําคัญในประวัติศาสตร” แต อย า งใด การมี พ ระสถานะเป น “บุ ค คลสํ า คั ญ ใน ประวั ติ ศ าสตร ” ของพระองค เป น เรื่ อ งที่ ไ ด รั บ การ “สร า ง” (constructed) ขึ้ น อย า งจริ ง จั ง ในทศวรรษ 2500 เปนตนมา และตลอดระยะเวลาราวครึ่งศตวรรษ ที่ ผ า น ม า นั้ น เ มื่ อ พิ จ า ร ณ า จ า ก ห ลั ก ฐ า น ท า ง ประวั ติ ศ าสตร ต า งๆ เช น งานเขี ย นเกี่ ย วกั บ พระ ประวัติ หนังสือและบทความเกี่ยวกับประวัติศาสตร ท อ งถิ่ น และประวั ติ ศ าสตร ไ ทย การสร า งอนุ ส าวรี ย การสรางพิพิธภัณฑพระราชชายาเจาดารารัศมี (พระ 28

ตําหนักดาราภิรมย) หนังสือที่ระลึก ของที่ระลึก และ พิธีกรรมตางๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับพระองค ฯลฯ ก็จะเห็น ไดวาพระสถานะของพระองคในฐานะ “บุคคลสําคัญใน ประวัติศาสตร” มิไดหยุดนิ่งคงที่ หากแตไดผันแปรไป ตามบริบททางการเมือง เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม ซึ่ง ทําใหความหมายของ “พระราชชายาเจาดารารัศมี” ใน ฐานะ “บุ ค คลสํ า คั ญ ในประวั ติ ศ าสตร ” มี ค วาม เปลี่ยนแปลงอยางนาสนใจ บทความเรื่อง “การสราง ‘พระราชชายาเจา ดารารั ศ มี ’ ให เ ป น บุ ค คลสํ า คั ญ ในประวั ติ ศ าสตร ทศวรรษ 2500 – ปจจุบัน” นี้ พบวา เรื่องราวที่ เกี่ ย วกั บ พระราชชายาเจ า ดารารั ศ มี ซึ่ ง ปรากฏต อ สัง คมในรูปลัก ษณตา งๆ เชน งานเขี ย นพระประวัติ งานเขี ย นทางประวั ติ ศาสตร อนุ ส าวรี ย พิ พิธ ภั ณ ฑ พิธีกรรม เพลง ฯลฯ นั้น ไดสรางความทรงจําเกี่ยวกับ พระองค ใ นฐานะบุ ค คลสํ า คั ญ ในประวั ติ ศ าสตร ที่ มี พลวัตอยางนาสนใจเปนอยางมาก กอนหนาทศวรรษ 2500 การสรางเรื่องราว เกี่ยวกับพระราชชายาเจาดารารัศมี ยังมิไดมุงทําให พระองค ท รงเป น “บุ ค คลสํ า คั ญ ในประวั ติ ศ าสตร ” ไมวาจะเปนประวัติศาสตร “ชาติไทย” หรือประวัติศาสตร “ทองถิ่น” จนกระทั่งในทศวรรษ 2500 เปนตนมา จึงมี ความพยายามที่ จ ะทํ า ให พ ระองค ท รงเป น “บุ ค คล สํ า คั ญ ในประวั ติ ศ าสตร ” ซึ่ ง หมายถึ ง การทํ า ให ค น ทั่วไปรับรูและมีความทรงจํารวมกันวา พระราชชายา เจาดารารัศมี ทรงมี บทบาทสําคัญอยา งยิ่งตอความ มั่นคงและความเจริญกาวหนาของ “ชาติไทย” และ/ หรือ “ทองถิ่น” (เชียงใหมและ/หรือลานนา) นับตั้งแต รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลาเจาอยูหัวเปน ตนมา ในสมัยรัชกาลที่ 5 พระสถานะของพระราช ชายาเจาดารารัศมีนั้น ขึ้นอยูกับบริบททางการเมืองใน ล า นนาและความสั ม พั น ธ ร ะหว า งล า นนากั บ สยาม ดังนั้นจึงจําเปนตองเขาใจบริบทดังกลาวนี้อยางชัดเจน จากหลักฐานทางประวัติศาสตรปรากฏวา กอนหนาที่ จะมี ก ารถวายตั ว “เจ า ดารารั ศ มี ” ประมาณสาม ทศวรรษ เชี ย งใหม ไ ด ก ลายเป น เมื อ งใหญ ที่ มี ความสําคัญทางเศรษฐกิจและการเมืองมากขึ้น และ


การสราง “พระราชชายาเจาดารารัศมี” ใหเปนบุคคลสําคัญในประวัติศาสตร ทศวรรษ 2500 - ปจจุบัน จิรชาติ สันตะยศ

เจาผูครองนครหรือเจาหลวงเชียงใหมในเวลานั้นคือ พระเจา กาวิ โ รรสสุริ วงศ ก็ มีอํ า นาจมาก จนได ชื่อว า “เจาชีวิตอาว” เพราะในชวงเวลาดังกลาวกรุงเทพฯ ยัง มีอํานาจไมมากพอที่จะเขามาถือครองผลประโยชนใน เมื อ งเชี ย งใหม โ ดยตรง ดั ง ที่ ป รากฏในบั น ทึ ก ของ มิ ช ชั น นารี คื อ ศาสนาจารย เ ดเนี ย ล แมคกิ ล วารี กลาววา “...พระเจากาวิโลรส ทรงเปน “เจาชีวิต” อยาง แทจริง ทรงเปนเจาแผนดินที่มีอํานาจสูงสุดทั้งศาสนา และการเมือง พระองคทรงไมมีคูแขงหรือขอขัดแยง ใดๆ... ในราชอาณาจั ก รของพระองค นั้ น พระองค สามารถกําจัด หรือบีบบังคับใหบรรดาผูที่เปนปฏิปกษ ยอมจํานนได แมแตในราชสํานักสยามยังเกิดความ กลัวที่จะเขาไปกาวกายกิจการภายในของพระองค... (แมคกิลวารี 2544 : 244-245) ในขณะที่ผลประโยชน ทางเศรษฐกิ จ ของเมื อ งเชี ย งใหม ข ยายตั ว ขึ้ น อย า ง รวดเร็ว โดยเฉพาะผลประโยชนจากปาไมและการคา ทํ า ให อํ า นาจและเกี ย รติ ย ศของเจ า ผู ค รองนคร เชียงใหมสูงขึ้นมาก อยางไรก็ตาม ในสมัยตอมาคือ สมัยของพระเจาอินทวิชยานนทซึ่งเปนพระบิดาของ พระราชชายาเจาดารารัศมีนั้น อํานาจของเจาผูครอง นครเชียงใหมกลับลดลง เนื่องจากพระองคขึ้นครอง เมืองเชียงใหมทามกลางการแยงชิงอํานาจกับเจานาย พระองคอื่น และสามารถดํารงตําแหนงเจาผูครองนคร เชี ย งใหม ไ ด ก็ ด ว ยการสนั บ สนุ น โดยตรงจาก พ ร ะ ม ห า ก ษั ต ริ ย แ ห ง ส ย า ม ซึ่ ง ใ น เ ว ล า นั้ น พระบาทสมเด็ จ พระจุ ล จอมเกล า เจ า อยู หั ว ทรงเริ่ ม ประสบความสําเร็จในการรวมอํานาจเขาสูศูนยกลาง ทําใหกรุงเทพฯ มีอํานาจเหนือเชียงใหมมากขึ้นเปน ลํ า ดั บ นอกจากนี้ ฐ านอํ า นาจทางการเมื อ งและ เศรษฐกิจสวนหนึ่งของพระเจาอินทวิชยานนทยังมา จากพระชายาของพระองค คือแมเจาทิพเกสร ซึ่งเปน พระมารดาของพระราชชายาเจ า ดารารั ศ มี ดั ง ที่ ปรากฏในบันทึกของศาสนาจารยเดเนียล แมคกิลวารี วา “...อิทธิพลของสตรีในทางวิเทโศบายตางๆ จึงเพิ่ม ทวีขึ้นมากมายตั้งแตครั้งเจาหลวงองคกอน(พระเจา กาวิโลรส)ยังทรงครองราชยอยู ทั้งนี้เนื่องจากพระองค ไม มี พ ระโอรส จึ ง เป น ธรรมดาอยู เ อง ที่ พ ระธิ ด า

กลายเปนผูมีอํานาจและไดรับการฝกฝนใหเขาใจถึง งานตางๆ ของรัฐดวย โดยกําเนิดแลว พระนางมียศ สูงกวาพระสวามี...ฐานะของพระนางจึงจําเปนตอการ คานอํานาจกับองคอุปราช...” (แมคกิลวารี 2544 : 163-164) และจากบั น ทึ ก ของคาร ล บ็ อ คกล า วว า “...เจาหลวงถูกครอบงําโดยพระชายาผูที่ดูเหมือนจะ เป น คนที่ มี จิ ต ใจเข ม แข็ ง ทดแทนความอ อ นแอของ พระองค...” (Bock 1985 : 226) แตพระชายาก็ สิ้น พระชนมตั้งแตเจา ดารารั ศมีทรงเยาวพ ระชัน ษา ดังนั้นพระเจาอินทวิชยานนท จึงมีอํานาจตอรองกับ กรุ ง เทพฯ ค อ นข า งน อ ยมาตั้ ง แต ต น การถวาย พระธิดา “เจาดารารัศมี” จึงเปนสวนหนึ่งของการ เชื่อมความสัมพันธกับกรุงเทพฯ เพื่อใหตําแหนงเจา ผู ค รองนครเชี ย งใหม ข องพระเจ า อิ น ทวิ ช ยานนท มี ความมั่นคงมากขึ้น โดยไดรับการรับรองและการค้ํา ประกันจากกรุงเทพฯ อยางเต็มที่ ในบริบทของทศวรรษ 2420 – 2430 ซึ่ง สถานการณทางการเมืองในเชียงใหมมีความขัดแยง สูงและกรุงเทพฯ ขยายอํานาจมายังเชียงใหมเขมขน ขึ้นตามลําดับนั้น สถานภาพและอํานาจของเจาผูครอง นครเชียงใหมขึ้นอยูกับการยอมรับของบุคคลหลาย ฝาย เชน เจานายและขาราชการจากสวนกลาง พอคา คนจีน พอคาชาวอังกฤษ มิชชันนารีอเมริกัน ตลอดจน เจานายลานนาที่กําลังขัดแยงกัน ปรากฏวา พระเจา อิ น ทวิ ช ยานนท ไ ด พ ยายามทํ า ให ค นทุ ก ฝ า ยรั บ รู เกี่ยวกับพระราชชายาเจาดารารัศมีกับพระราชธิดาใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลาเจาอยูหัว คือพระเจา ลูกเธอพระองคเจาหญิงวิมลนาคนพีสี ในแงมุมที่จะ ชวยยืนยันถึงความสัมพันธใกลชิดระหวางพระเจาอิน ทวิ ช ยานนท กับ พระมหากษั ต ริ ยแ ห ง ประเทศสยาม เพราะจะช ว ยรั ก ษาพระสถานภาพของเจ า หลวง เชียงใหมมิใหตกต่ําจนเกินไป เพราะคนกลุมตางๆ ดังกลาวขางตน ลวนแต ตระหนัก ในความสํ าคั ญ ของ พระมหากษัตริยแหงสยามเปนอยางดี หากพระเจา อินทวิชยานนทมีความสัมพันธใกลชิดกับพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกลาเจาอยูหัว คนเหลานี้โดยเฉพาะอยาง ยิ่ ง เจ า นายและข า ราชการจากส ว นกลางก็ จ ะยั ง คง 29


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปที่ 30 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2553

แสดงความยกย อ งและไม ก ล า ดู ถู ก เหยี ย ดหยาม หรือไมกลาที่จะกดขี่เอารัดเอาเปรียบเจาผูครองนคร เชียงใหมมากเกินไป จะเห็นไดวา พระเจาอินทวิชยานนทนั้น ได พยายามแสดงใหคนกลุมตางๆ เห็นถึงความสัมพันธที่ ใ ก ล ชิ ด ร ะ ห ว า ง พ ร ะ อ ง ค กั บ พ ร ะ บ า ท ส ม เ ด็ จ พระจุ ล จอมเกล า เจ า อยู หั ว ด ว ยวิ ธี ก ารต า งๆ เช น เมื่ อ ครั้ ง “เจา จอมมารดาเจ า ดารารั ศ มี” ทรงประสู ติ พระราชธิดา เจาหลวงเชียงใหมก็ไดจัดสงอางสรงน้ํา ทองคํา ไปถวายแกพระนัดดา (ศัน สนีย วีร ะศิลปชัย 2543 : 310 ) รวมทั้งไดจัดขบวนแหรับพระรูปฉายพระเจา หลานเธอและมีพิ ธีเ ฉลิ ม ฉลองอยา งใหญ โ ตในเมื อ ง เชียงใหม เปนตน ขณะเดียวกันพระเจาอินทวิชยานนท ก็พยายามที่เสริมสรางพระเกียรติยศของเจาดารารัศมี ให สู ง ส ง ที่ สุ ด ซึ่ ง หมายถึ ง การเสริ ม สร า งและรั ก ษา พระเกี ย รติ ย ศของพระบิ ด าและพระญาติ ว งศ คื อ พระเจาเชียงใหมและเจานายลานนาใหอยูในสถานะสูง ในสายตาของเจ า นายและข า ราชการกรุง เทพฯ ไป พร อ มกั น อั น จะส ง ผลให พ ระเจ า อิ น ทวิ ช ยานนท มี อํ า นาจต อ รองในเรื่ อ งต า งๆ กั บ กรุ ง เทพฯ มาก พอสมควร เชน หลังจากพระราชชายาเจาดารารัศมี เข า ถวายตั ว แล ว พระเจ า อิ น ทวิ ช ยานนท ไ ด ล งทุ น ก อ สร า งพระตํ า หนั ก ก อ อิ ฐ ฉาบปู น 3 ชั้ น แบบ สถาปตยกรรมตะวันตกในพระราชฐานชั้นใน เพื่อเปน ที่ประทับสวนพระองคของพระราชชายาเจาดารารัศมี เปนตน อยางไรก็ตามถึงแมวาพระเจาอินทวิชยานนท จะไดพยายามดําเนินการตางๆ เพื่อรักษาอํานาจและ เกียรติยศไวมากเพียงใดก็ตาม แตในที่สุดการปฏิรูป การปกครองก็ ไ ด ทํ า ให อํ า นาจทางเศรษฐกิ จ และ การเมืองของพระเจาเชียงใหมและเจานายลานนาตก ต่ําลงไปเปนอันมาก อีกทั้งพระราชชายาเจาดารารัศมี ก็ ป ระทั บ อยู ใ นพระราชฐานชั้ น ใน โดยได รั บ ความ กดดันตางๆ นานา โดยที่พระราชธิดาก็มีพระยศเพียง พระองคเจา เทากันกับพระราชโอรสหรือพระราชธิดา ที่เกิดจากเจาจอมมารดาที่เปนสามัญชนทั้งปวง หลั ง จากสมั ย พระเจ า อิ น ทวิ ช ยานนท แ ล ว กรุ งเทพฯ ยิ่งมีอํานาจทางการเมือง เศรษฐกิจ และ วัฒนธรรมเหนือลานนามากขึ้น การสรางความทรงจํา 30

เกี่ ย วกั บ พระราชชายาเจ า ดารารั ศ มี โ ดยฝ า ยต า งๆ ในชวงนี้ ยังคงเนนพระเกียรติยศของพระองคในฐานะ พระมเหสีของพระมหากษัตริยกรุงเทพฯและในฐานะ พระราชมารดาของพระธิดาที่เกิดแตพระมหากษัตริย สยาม ซึ่ ง มี วั ต ถุ ป ระสงค เ พื่ อ ให เ กิ ด การยอมรั บ กระบวนการรวมศูนยอํานาจเขาสูสวนกลาง และ/หรือ เปนการยืนยันในเกียรติยศของเจานายทองถิ่น ในชวง เวลาดังกลาวนี้สืบมาจนกระทั่งถึงทศวรรษ 2490 ยัง ไมไดเกิดการสรางความทรงจําเกี่ยวกับพระราชชายา เจาดารารัศมี ในฐานะที่ทรงเปนผูมีบทบาทสําคัญใน ประวัติศาสตร แตอยางใด ดังจะเห็นไดจาก “เรื่องเลา” เกี่ยวกับพระราชชายาเจาดารารัศมีที่หลายฝายสราง ขึ้น “ส ว นกลาง” ได ส ร า งเรื่ อ งเล า เกี่ ย วกั บ พระราชชายาเจ าดารารัศมีมาตั้งแต พ.ศ. 2427 ซึ่ง ปรากฏเอกสารที่กลาวถึงพระราชชายาเจาดารารัศมี เปนครั้งแรก คือ “จดหมายเหตุพระราชกิจรายวัน” ใน รัชกาลที่ 5 กลาววา “...หนังสือพระยาราชสัมภารากร ทูลเกลาฯถวายวาดวย พระเจาเชียงใหมปรึกษาดวย เรื่ อ งจะโกนจุ ก เจ า ดารา บุ ต รหญิ ง และว า พระเจ า เชี ย งใหม จ ะให เ จ า ราชภาคิ ไ นยคุ ม เครื่ อ งยศ เจ า อุปราชลงมาสงกรุงเทพฯ ไดเตือนใหจัดเงินพระคลัง ข า งที่ ให คุ ม ลงมาพร อ มกั น พระเจ า เชี ย งใหม รั บ แลว...” และ “...มีพระราชหัตถ ถึงพระยาราชสัมภารากร เรื่องพระเจาเชียงใหมจะโกนจุกบุตรนั้น พระราชทาน ตุมหูเพ็ชรไปทําขวัญ และใหบอกวาธรรมเนียมทาง ราชการไมมี นี่เปนการไปรเวต กับที่พูดหนวงเหนี่ยว วาเกรงจะทําเทียมกรุงเทพฯ นั้นดีอยู แตการโกนจุก ไม สํ า คั ญ อั น ใด ซึ่ ง ผ อ นผั น ไปนั้ น ชอบแล ว ...” (พู น พิสมัย ดิศกุล 2529 : 11) โดยนําเสนอเรื่องราว เกี่ยวกับพระองคภายใตมโนทัศนที่วา การเขาถวาย ตัวเปนเสมือน “ธรรมเนียม” ของหัวเมืองประเทศราช ที่จะตองปฏิบัติ และทางกรุงเทพฯ ก็ไดจัดการตอนรับ ตามธรรมเนียมเชนกัน ดังที่เอกสารจดหมายเหตุพระ ราชกิจรายวันในรัชกาลที่ 5 กลาวถึงการเขาถวาย ตัวรับราชการฝายในของเจาดารารัศมี เพียงวา“...วันนี้ เจ า ดารารั ศ มี ธิ ด าพระเจ า นครเชี ย งใหม เข า มาอยู ภายในพระบรมมหาราชวั ง พระเจ า นครเชี ย งใหม


การสราง “พระราชชายาเจาดารารัศมี” ใหเปนบุคคลสําคัญในประวัติศาสตร ทศวรรษ 2500 - ปจจุบัน จิรชาติ สันตะยศ

ถวาย โปรดให เ รื อ หลวงไปรั บ ...” (จดหมายเหตุ พระราชกิจรายวัน 2429) เหตุที่ทําใหเรื่องราวของ พระราชชายาเจ า ดารารั ศ มี มิ ไ ด เ ป น ที่ รั บ รู ใ นฐานะ บุคคลสําคัญในประวัติศาสตร และมิไดรับการกลา ว ขานถึงมากนัก แมวาพระองคจะทรงมีพระกรณียกิจ ตางๆมากมาย เปนเพราะวางานเขียนทางประวัติศาสตร ในเวลานั้นเนนแตพระราชกรณียกิจของพระมหากษัตริย ในอดีต ส ว นงานเขี ย นอื่ น ๆ ก็ มั ก จะเนน แต บ ทบาท ของผูชายในพื้นที่ทางสังคม (social space) หรือพื้นที่ สาธารณะ (public space) สวนผูหญิงจะถูกรับรูวามี บทบาทหรือทําหนาที่เฉพาะในครัวเรือน (domestic sphere) เรื่องราวเกี่ยวกับชีวิตของผูหญิงจึงมักปรากฏ เฉพาะในหนังสือที่ระลึกเนื่องในงานศพ ซึ่งชีวประวัติ ของผูหญิงแตละคนจะถูกเขียนขึ้นภายใต “โครงเรื่อง” เดียวกัน ซึ่งโครงเรื่องดังกลาวนี้จะทําหนาที่ประกอบ สร า งอั ต ลั ก ษณ ข องผู ห ญิ ง ให ผู ห ญิ ง รั บ รู ต นเองใน ฐานะของภรรยาและมารดาที่ดี เวนแต “วีรสตรี” ที่เชื่อ กั น ว า มี บ ทบาทในการต อ สู เ พื่ อ เอกราชของชาติ โดยตรง เช น สมเด็ จ พระศรี สุ ริ โ ยทั ย ท า วสุ ร นารี ทาวเทพกษัตรีและทาวศรีสุนทร เทานั้น ที่จะถูกทําให กลายเป น บุ ค คลสํ า คั ญ ในประวั ติ ศ าสตร แต ก็ จ ะ สังเกตเห็นไดวา “วีรสตรี” แตละทานมิไดกระทําหนาที่ ตอ “ชาติไทย” ในนามของตนเอง หากแตเปนการทํา หนาที่แทนสามีในฐานะของภรรยาที่ดีทั้งสิ้น ในชวงที่ยังทรงดํารงพระชนมอยูนั้น พระราช ชายาเจาดารารัศมีมิไดทรงเปนบุคคลที่มีความสําคัญ ต อ สยามมากนั ก การที่ ค นในส ว นกลางเริ่ ม ให ความสําคัญตอพระราชชายาเจาดารารัศมีในทํานอง ยกยองชื่นชมนั้น เกิดขึ้นภายหลังจากที่พระราชชายา เจาดารารัศมีสิ้นพระชนมไปแลว คือตั้งแต พ.ศ. 2476 เปนตนมา ในชวงกอนหนานี้ไมปรากฏหลักฐานวาใน ส ว นกลางมี ข อ เขี ย นหรื อ คํ า กล า วในเชิ ง ยกย อ ง สรรเสริ ญ พระราชชายาเจ า ดารารั ศ มี แ ต อ ย า งใด กระนั้นก็ตามกอนหนาทศวรรษ 2500 งานเขียนของ บุ ค คลในส ว นกลางก็ เ พี ย งแต ย กย อ งพระคุ ณ สมบั ติ ส ว นพระองค บ างประการเท า นั้ น ยั ง มิ ไ ด ย กย อ ง พระองคในฐานะบุคคลสําคัญในประวัติศาสตรแตอยาง

ใด และอาจกลาวไดวาชวงเวลาที่ทรงประสูติพระราช ธิดานั้น มีการรับรูเกี่ยวกับพระราชชายาเจาดารารัศมี ในฐานะพระมารดาของพระราชธิดาของพระมหากษัตริย ที่ ก รุ ง เทพฯ ซึ่ ง เป น การยื น ยั น ให ค นทุ ก กลุ ม ใน เชียงใหมและลานนาไดรับรูกันทั่วไปวา พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกลาเจาอยูหัวทรงโปรดปราน และพระราชทาน ความเมตตาแกพระราชชายาเจาดารารัศมีมากทีเดียว อีก ทั้ งพระราชชายาเจา ดารารั ศ มีมิ ไ ด ป ระทั บอยู ใ น กรุงเทพฯอยางคนที่ปราศจากความหมายแตอยางใด อัตลักษณและความทรงจําเกี่ยวกับพระราชชายาเจา ดารารัศมีดังกลาวนี้ นอกจากจะชวยเชิดชูพระเกียรติยศ ของพระราชชายาเจาดารารัศมีและศักดิ์ศรีของเมือง เชี ย งใหม แ ล ว ยั ง เป น ประโยชน ต อ เจ า ผู ค รองนคร เชียงใหมในการยืนยันถึงความสัมพันธพิเศษระหวาง เจ า ผู ค รองนครเชี ย งใหม กั บ พระมหากษั ต ริ ย แ ห ง กรุงเทพฯ ไดเปนอยางดี เปนที่นาสังเกตดวยวา ตั้งแตทศวรรษ 2490 เปนตนมา ในเชียงใหมไดเกิดความคิด “ทองถิ่นนิยม” ขึ้ น แล ว ทั้ ง แบบที่ เ ห็ น ว า ท อ งถิ่ น เป น ส ว นหนึ่ ง ของ “ชาติ ไ ทย” ที่ อ ยู ภ ายใต ก ารปกครองของรั ฐ บาล กรุงเทพฯ และแบบที่ตอตาน “ชาติไทย” แตอยางไรก็ ตาม เรื่องราวเกี่ยวกับพระราชชายาเจาดารารัศมี ที่ ปรากฏในชวงทศวรรษ 2490 ก็ยังคงเนนไปที่การเปน เจ า นายสํ า คั ญ ของราชตระกู ล ฝ า ยเหนื อ ยั ง มิ ไ ด กลาวถึงพระองคในฐานะบุคคลที่มีบทบาทสําคัญใน ประวัติศาสตรทองถิ่น หรือมีบทบาทสําคัญในการทํา ใหทองถิ่นเปนอันหนึ่งอันเดียวกันกับสวนกลาง ดังนั้น ความทรงจํา เกี่ยวกับพระราชชายาเจ า ดารารัศมีจึ ง ยังคงเปนเรื่องของบุคคลในสายตระกูลหนึ่ง ซึ่งแมวา จะเปนบุคคลสําคัญในฐานะที่ทรงมีพระสถานภาพและ พระเกี ย รติ ย ศสู ง แต ก็ มิ ไ ด มี บ ทบาทสํ า คั ญ ใน “ประวัติศาสตรชาติไทย” และ “ประวัติศาสตรทองถิ่น” แต อ ย า งใด ขณะเดี ย วกั น เรื่ อ งราวต า งๆ เกี่ ย วกั บ พระองค ก็ เ ป น ที่ รั บ รู เ ฉพาะในกลุ ม คนที่ ใ กล ชิ ด และ กลุมคนที่อานออกเขียนไดจํานวนหนึ่งเทานั้น จนกระทั่งในชวงทศวรรษ 2500 เปนตนมา ซึ่งอุดมการณ “ราชาชาตินิยม” มีพลังสูงขึ้นมาก เรื่อง 31


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปที่ 30 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2553

“พระราชชายาเจ า ดารารั ศ มี ” จึ ง ถู ก นํ า เสนอโดย ป ญ ญาชนของส ว นกลาง ภายใต อุ ด มการณ ร าชา ชาตินิยมและมโนทัศน “ชาติไทย” ที่เนนวา “ลานนา” หรือ “ลานนา” เปนสวนหนึ่งของ “ชาติไทย” เรื่องราว เกี่ ย วกั บ พระราชชายาเจ า ดารารั ศ มี จึ ง ได รั บ การ นําเสนอใหมในฐานะที่ทรงเปน “คนไทย” ที่ทรงทําคุณ ประโยชน อ ย า งไพศาลแก “ชาติ ไ ทย” และมี ค วาม จงรั ก ภั ก ดี อ ย า งสู ง สุ ด ต อ พระมหากษั ต ริ ย ไ ทย ภายใตโครงเรื่ อ งหลักเชน นี้ มีก ารนําเสนอเรื่องราว เกี่ยวกับพระองคใน “โครงเรื่องยอย” ดวยวา แมวา ในชวงเวลาที่พระองคทรงประทับอยูในพระราชฐาน ฝายในที่ กรุงเทพมหานคร พระองคจะทรงประสบกับ ปญหาตางๆ อยางมากมาย เชน “...การกระทํากลั่น แกล ง หยามเหยี ย ดต า งๆ ที่ พ วกเธอทั้ ง หลายมี ต อ พระราชชายา...ซึ่งวิธีการเลนสกปรกตางๆ ทําใหพระ ราชชายา ทรงรู สึ ก กลั ด กลุ ม ร อ นรุ ม พระทั ย ยิ่ ง นั ก ... แมแตในขันทองสรงน้ําของพระองค ก็มีกระดาษเขียน ตัวเลขยันตคลายคาถา...น้ําในหองสรงของพระองคก็ ถูกโรยดวยหมามุย...บางทีก็มีถุงเงินพระราชทานของ สมเด็จ พระพุ ทธเจ า หลวง มาวางอยูต ามทวารหอ ง บรรทมเพื่ อ หาเรื่ อ งให พ ระราชชายาว า ขโมยมา... ภายในสวนสวรรคขา งๆ พระตําหนัก ยังมีสิ่งปฏิกูล ของมนุษยทิ้งเรี่ยราดอยู... บางทีพระองคทรงไดยิน เสียงตะโกนลั่นผานหนาหองบรรทมวา “เหม็นปลารา” ...พระราชชายาเจาดารารัศมีทรงมีขันติอดทนอยางนา ชมเชย ...อยางไรก็ดีความก็ลวงรูถึงพระกรรณของ พระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัว...ทรงวากลาวตักเตือน บรรดาเจาจอม หมอมหาม พระสนมกํานัล ใหยุติการ กลั่ น แกล ง...กระทบกระเทื อ นพระทัย พระราชชายา โดยเด็ดขาด...” (ปราณี ศิริธร ณ พัทลุง 2538 : 10-11) และ “... “ภายหลังพายุรายก็ถึงซึ่งความสงบ” พระราช ชายาเจาดารารัศมี ก็ผานยุคเข็ญทารุณทางจิตใจและ ไม มี ผู ใ ดกล า กลั่ น แกล ง ทํ า ให เ สี ย ชื่ อ เสี ย งอี ก เลย... พระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวรัชกาลที่ 5 นับวาทรงมี พระคุณตอพระราชชายาอยางยิ่ง เปนที่ทราบกัน ภายหลังวาพระองคมิไ ดทรงเชื่อ หรือสนพระทัยกับ การยุยงสงเสริมจากพระสนมกํานัลเลย...” (ปราณี ศิริธร ณ พัทลุง 2538 : 11) แตก็ทรงยืนหยัดในความ 32

ถู ก ต อ งและความดี ง ามสมกั บ เป น “เจ า นายสตรี ศ รี เชียงใหม” และสิ่งสําคัญที่ชวยใหพระองคทรงสามารถ อดทนและอดกลั้นได ก็คือความจงรักภักดีสูงสุดตอ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลาเจาอยูหัว หรือสมเด็จ พระปยมหาราชของชาวไทยทั้งปวงนั่นเอง นับเปน การสรางความทรงจํารวมวาพระราชชายาเจาดารา รัศมีทรงเปนบุคคลสําคัญของทองถิ่นที่ชวยใหลานนา รวมเขาเปนอันหนึ่งอันเดียวกันกับประเทศสยาม ซึ่ง เปนประเทศของคนไทยดวยกัน การรวมเขากับสยาม นี้ไดสงผลใหลานนาไดรับความเจริญอยางมากมาย ขณะเดี ย วกั น พระองค ก็ ท รงเป น บุ ค คลสํ า คั ญ ของ “ชาติไทย” ไปพรอมกัน เพราะพระองคแทๆ ที่ทําให “ชาติไทย” มีเอกภาพและบูรณภาพทางดินแดนตราบ จนกระทั่งทุกวันนี้ ดังเชนขอความที่วา“...พระเจากรุง อังกฤษทรงสูขอเจาหญิงดารารัศมีไปเปนพระราชธิดา บุ ญ ธรรม และจะให เ ป น ทายาทเจ า ผู ค รองนคร เชี ย งใหม และนั บ ถื อ ยกย อ งให เ ป น เจ า นายในพระ ราชวงศ “วินเซอร” โดยสถาปนาเปนพิเศษตามแผนจะ ยึดครองหัวเมืองประเทศราชในมณฑลพายัพ แตพระ เจ า อิ น ทวิ ไ ชยานนท กั บ แม เ จ า ทิ พ ย ไ กรสรไม ท รง สนับสนุน และแสดงความจงรักภักดีตอพระบรมวงศ จักรีไมปรวนแปรและเอนเอียงไปยุงกับพวกตางชาติ มหาอํานาจ...เพราะนับรอยๆ ปที่ผานมา พระราชวงศ จัก รี ไดชวยคุม ครองปองกันภัยและสถาปนายกยอง บรรพชนของเจานายฝายเหนือมาตลอด 4-5-6 ชั่วคน แลวเปนขาในพระบรมราชวงศนี้ จะเปลี่ยนแปลงเปน อื่นมิได...” (ปราณี ศิริธร ณ พัทลุง 2538 : 13) เรื่องราวเกี่ยวกับพระราชชายาเจาดารารัศมี ภายใต “โครงเรื่อง” ดังกลาวขางตน ไดรับการเผยแพร ในหมูคนหลายกลุม ที่สําคัญก็คือมีการปลูกฝงใหแก นั ก เรี ย นโดยส ว นราชการที่ เ กี่ ย วข อ งกั บ การจั ด การศึกษา ทําใหสังคมวงกวา งเกิดการรับรูเกี่ยวกับ พระองค ใ นฐานะ “บุ ค คลสํ า คั ญ ในประวั ติ ศ าสตร ท อ งถิ่ น ” โดยที่ “ท อ งถิ่ น ” เป น ส ว นหนึ่ ง อั น มิ อ าจ แบงแยกไดของ “ชาติไทย” อาจกล า วได ว า ภายใต น โยบายการพั ฒ นา ประเทศและการตอตานคอมมิวนิสตในยุคสงครามเย็น ไดมีการนําอุดมการณ “ราชาชาตินิยม” มาใชในการ


การสราง “พระราชชายาเจาดารารัศมี” ใหเปนบุคคลสําคัญในประวัติศาสตร ทศวรรษ 2500 - ปจจุบัน จิรชาติ สันตะยศ

สรางความชอบธรรมทางการเมืองแกผูปกครองที่ใช อํานาจเผด็จการ และในการตอตานลัทธิคอมมิวนิสต อยางเต็มที่ จนทําใหอุดมการณ “ราชาชาตินิยม” ซึ่ง ได รั บ การรื้ อ ฟ น ขึ้ น มาตั้ ง แต ต น ทศวรรษ 2490 ทวี ความแข็งแกรงขึ้นมากในทศวรรษ 2500 เปนตนมา และมีผลโดยตรงตอการประกอบสราง (construction) “เรื่องเลา” (narratives) ที่ทําใหพระราชชายาเจาดารา รัศมีทรงกลายเปนบุคคลสําคัญในประวัติศาสตรอยาง ชัดเจน และความทรงจํา (memory) เกี่ยวกับพระราช ชายาเจาดารารัศมีในฐานะที่ทรงเปนบุคคลสําคัญใน ประวั ติ ศ าสตร นี้ ก็ มี ส ว นทํ า ให อุ ด มการณ “ราชา ชาติ นิ ย ม” แข็ ง แกร ง ขึ้ น ด ว ย จนกระทั่ ง อุ ด มการณ “ราชาชาตินิยม” สามารถเบียดขับความคิด “ทองถิ่น นิยม” แบบตอตาน “ชาตินิยม” ที่ปรากฏตัวขึ้นมาใน สังคมลานนาตั้งแตทศวรรษ 2490 ใหออนตัวลงไป การสรางความทรงจํา ที่เกี่ยวกับ “พระราช ชายาเจ า ดารารั ศ มี ” ในช ว งทศวรรษ 2500 ถึ ง ทศวรรษ 2510 กระทําดวยวิธีการตาง ๆ หลายวิธี ที่ สําคัญคือการสรางความทรงจําเกี่ยวกับพระองคผาน การจัดงานรําลึกครบรอบ 40 ป วันสิ้นพระชนม และ ครบรอบ 100 ป วันประสูติ ในป พ.ศ. 2516 พรอม กับการพิมพหนังสือที่ระลึก (คณะกรรมการผูจัดงาน อนุสรณ 2516) ซึ่งเลาถึงบทบาทที่สําคัญของพระองค ตอทองถิ่นและตอชาติไทย ซึ่งนับวามีสวนอยางมาก ในการสร า งความทรงจํ า เกี่ ย วกั บ พระราชชายาเจ า ดารารัศมี ที่ไดทรงมีพระกรณียกิจในดานตางๆที่เปน ประโยชน ต อ ท อ งถิ่ น และต อ ชาติ เ ป น อเนกประการ โดยเฉพาะในดานศิลปะและวัฒนธรรมแหง “ลานนา ไทย” ซึ่ งทํ า ให “ลานนาไทย” กลายเป น ท อ งถิ่น ที่ มี คุ ณ ค า อย า งสู ง ของ “ชาติ ไ ทย” ทํ า ให เ รื่ อ งราวของ พระองคที่ไดเลือนหายไปจากความทรงจําของผูคน ทั่วไประยะหนึ่ง ไดกลับมาอยูในความทรงจําของผูคน ในสั ง คมอี ก ครั้ ง ภายใต ก รอบความคิ ด ใหม ที่ ทํ า ให พระองคทรงเปน “บุคคลสําคัญในประวัติศาสตรชาติ ไทย” และ “ประวัติศาสตรทองถิ่น” อยางโดดเดน ในเวลาตอมาคือระหวางทศวรรษ 2530 ถึง ทศวรรษ 2540 เรื่องราวเกี่ยวกับ “พระราชชายาเจา

ดารารัศมี” ไดรับการนําเสนอภายใตอุดมการณราชา ชาตินิยมอันเปนความคิดกระแสหลักเปนสวนใหญ แต ก็มีหนังสืออีกจํานวนหนึ่งที่นําเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับ พระองคภายใตมโนทัศน “ทองถิ่นนิยม” หลากหลาย กระแส เชน ทองถิ่ นนิย มที่ยอมรับชาตินิยมตามคติ เชื้อชาตินิยม และพยายามยืนยันวาคนลานนาเปนคน ไทย ทองถิ่นนิยมที่ตองการพิสูจนคุณคาของลานนา ตอ ชาติ และเนน ว า ล า นนาเป น “ถิ่ น ไทยงาม” และ ท อ งถิ่ น นิ ย มที่ เ รี ย กร อ งให ย อมรั บ ความแตกต า ง หลากหลายทางวั ฒ นธรรม และให มี ก ารกระจาย อํานาจ เปนตน จึงทําใหเกิดการสรางความทรงจําที่ เกี่ย วกับ “พระราชชายาเจา ดารารั ศมี” แตกต างกั น ออกไปหลายแบบ ซึ่งนําเสนอโดยเจานายฝายเหนือ กลุมนักวิชาการในสวนกลาง และกลุมนักวิชาการใน ทองถิ่น หนังสือสําคัญที่สรางความทรงจํากระแสหลัก ไดแก หนังสือชื่อ “เสด็จลานนา” (บุญเสริม สาตราภัย 2532) ซึ่ ง แสดงให เ ห็ น ถึ ง ความสั ม พั น ธ ที่ ใ กล ชิ ด ระหว า งเจ า นายฝ า ยเหนื อ กั บ พระมหากษั ต ริ ย แ ละ เจานายในพระบรมราชจักรีวงศ รวมทั้งเปนการเนน ถึงความจงรักภักดีของเจานายฝายเหนือที่มีตอพระ บรมราชจัก รีวงศ สวนหนังสือชื่อ “วันวานที่ขานไข” (เอมอร ชิ ต ตะโสภณ 2536) ได เ ขี ย นขึ้ น ในกรอบ ความคิ ด แบบท อ งถิ่ น นิ ย มที่ ยื น ยั น ว า “ท อ งถิ่ น ” มี คุณคาตอ “ชาติไทย” โดยเนนความสามารถ บทบาท และความดีงามของชนชั้นนําในทองถิ่นที่ทําใหทองถิ่น เจริญรุงเรือง กลายเปนสวนหนึ่งที่นาภาคภูมิใจของ “ชาติ ไ ทย” เพื่ อ เป น แบบอย า งให ค นในท อ งถิ่ น ได ประพฤติปฏิบัติตาม ซึ่งจะสงผลให “ทองถิ่น” เปนสวน หนึ่งที่ดีงามของ “ชาติไทย” ตลอดไป ขณะที่หนังสือ “เจาหลวงเชียงใหม” (วงศสักก ณ เชียงใหม 2539) ได เนนพระกรณียกิจของพระราชชายาเจาดารารัศมีที่วา พระองค ท รงทํ า คุ ณ ประโยชน แ ก ค นในท อ งถิ่ น เป น สวนมาก รวมทั้งสามารถนําเสนอความภาคภูมิใจใน บรรพบุรุษของแผนดินลานนาที่มีประวัติศาสตรผูกโยง กั บ พระราชวงศ จั ก รี โ ดยมี ส ายสั ม พั น ธ ใ กล ชิ ด มา ยาวนาน สวนการสรางความทรงจําเกี่ยวกับพระราช 33


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปที่ 30 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2553

ชายาเจาดารารัศมีในหนังสือ “ดารารัศมี สายใยรักสอง แผนดิน” (จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย 2542) ไดใหภาพ ที่เดนชัดของพระองควา ทรงเปน “ขัตติยนารีศรีเมือง เชี ย งใหม ” ผู ท รงผนึ ก ดิ น แดนล า นนาให ร วมเป น ปกแผนเปนอันหนึ่งอันเดียวกันกับราชอาณาจักรไทย มาจนถึงทุกวันนี้ อีกทั้งเรื่องของพระองคเปนเสมือน ประจักษพยานของความรักตอชาติบานเมือง สืบสาน สั ม พั น ธ ค วามรั ก แห ง สองแผ น ดิ น ระหว า งแผ น ดิ น เชียงใหมและแผนดินรัตนโกสินทร หนังสือชื่อ “พระราช ชายาเจาดารารัศมีกับการรวมหัวเมืองภาคเหนือ” (อรุณ เวชสุวรรณ 2543) จุดเนนของเรื่องอยูที่ความสัมพันธ ระหวางพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลาเจาอยูหัวกับ พระราชชายาเจา ดารารัศมี วาเปนสายใยผูก พัน ให แควนลานนาไทยทั้งหมดเปนสวนหนึ่งของไทยในสมัย ฝรั่งลาอาณานิคม ซึ่งงานเขียนดังกลาวยังคงสะทอน ให เ ห็ น ภาพของความจงรั ก ภั ก ดี ข องล า นนาที่ มี ต อ สยาม สวนเรื่อง “พระราชชายาเจาดารารัศมี” (หนาน อินแปง 2546) ไดใชโครงเรื่องเดิมของปราณี ศิริธร ป พ.ศ. 2507 แตไดเนนดานความสัมพัน ธทาง การเมือง การเขาสูตําแหนงสนมของรัชกาลที่ 5 อัน เปนผลมาจากความตองการที่จะปองกันประเทศมิให ลานนาถูกผนวกเขา เปน อาณานิคมของมหาอํานาจ และดวยพระปรีชาญาณของรัชกาลที่ 5 จึงสามารถ รักษาเอกราชของ “ชาติไทย” เอาไวได เปนตน เรื่องราวเกี่ยวกับพระราชชายาเจาดารารัศมี ในมุมมองแบบ “ทองถิ่นนิยม” ที่ตอตาน “ชาตินิยม” ปรากฏอยางชัดเจนในงานเขียนของเจาประกายแกว ณ เชียงใหม เรื่องดารารัศมีรําลึก 9 ธันวาคม 2521 (ประกายแกว ณ เชียงใหม 2521) ซึ่งโจมตีผูมีอํานาจ ในส ว นกลางที่ ไ ด เ ข า มาแย ง ชิ ง ผลประโยชน จ าก เจานายลานนาและสรางความทุก ขใหญหลวงใหแ ก พระราชชายาเจ า ดารารั ศมี ส ว นเรื่ อ งราวเกี่ย วกั บ พระองคตามมุมมองแบบทองถิ่นนิยมที่เรียกรองใหคน ใน “ชาติไทย” ยอมรับความแตกตางหลากหลายทาง วั ฒ นธรรมและให มี ก ารกระจายอํ า นาจให แ ก ค นใน ทองถิ่น ปรากฏอยูในในผลงานของธเนศวร เจริญเมือง (2538) เรื่อง “เจาดารารัศมี” ในหนังสือมาจากลานนา ซึ่งกลาวถึงพระราชชายาเจาดารารัศมีวา ความสําคัญ 34

ของพระราชชายาเจาดารารัศมี ในกระบวนการปฏิรูป การปกครองสมั ย รั ช กาลที่ 5 ทรงได รั บ การดู ถู ก เหยี ย ดหยามทางชาติ พั น ธุ เ พราะทรงเป น ลาวเกิ ด ป ญ หาเรื่ อ งการยอมรั บ จากคนในวั ง หลวงที่ ดู ห มิ่ น ดู แ คลนทางเชื้ อ ชาติ แต ใ นท า ยที่ สุ ด พระองค ท รง ประสบความสําเร็จอยางมาก ในการเปนผูเชื่อมโยง ทางชนชั้ น และวั ฒ นธรรมของเชี ย งใหม เ ข า กั บ รัตนโกสิน ทรไ ดดีที่ สุด อยา งไรก็ ต ามงานเขี ย นของ ธเนศวร มิ ไ ด ต อ ต า น “ชาติ ไ ทย” แต ต อ งการยื น ยั น คุณคาของลานนาตอ “ชาติไทย” เปนสําคัญ นอกจากนี้ ยังปรากฏอยูในงานเขียนเรื่อง งานอนุสรณถวายแด พระราชชายาเจาดารารัศมี ในรัชกาลที่ 5 (9 ธันวาคม พ.ศ.2516) (คณะกรรมการผูจัดงานอนุสรณ 2516) ซึ่ ง มี ส ว นในการสร า งความทรงจํ า เกี่ ย วกั บ พระราช ชายาเจาดารารัศมี ที่ทรงมีพระกรณียกิจในดานตางๆ อั น เป น ประโยชน ต อ ท อ งถิ่ น และต อ ชาติ เ ป น อเนก ประการ โดยเฉพาะในดานศิลปะและวัฒนธรรมแหง “ลานนาไทย” ซึ่ ง ทํ า ให “ลานนาไทย” กลายเป น ทองถิ่นที่มีคุณคาอยางสูงของ “ชาติไทย” และงาน เขี ย นเรื่ อ ง พระประวั ติ พ ระราชชายาเจ า ดารารั ศ มี (26 สิงหาคม 2416 - 9 ธันวาคม 2476) โดยเจาแสง ดาว ณ เชียงใหม (แสงดาว ณ เชียงใหม 2517) ได ชวยยืนยันคุณคาของพระราชชายาฯ ในฐานะ “พระ ภรรยาเจาพระองคหนึ่ง” ของพระมหากษัตริยที่สําคัญ ยิ่งแหงพระบรมราชจักรีวงศ ซึ่งคนไทยทั้งปวงถวาย ความจงรักภักดีในฐานะสมเด็จพระปยมหาราช มิได เปนแตเพียงพระสนมที่ต่ําตอยและไรเกียรติแตอยาง ใด แต ต อ งการเน น ความเป น อั น หนึ่ ง อั น เดี ย วกั น ระหวางเชียงใหมกับกรุงเทพฯ ขณะเดี ย วกั น โครงเรื่ อ งและลี ล าการเขี ย น แบบปราณี ศิริธ ร ณ พัท ลุง ยัง คงไดรับ ความนิย ม อยางมาก เพราะมีลักษณะแบบนวนิยายที่มีนางเอก แสนดี พระเอกที่มีความรักและใจเปนธรรม และผูราย ที่เต็มไปดวยความอิจฉาริษยาซึ่งทําใหงานเขียนใน ลักษณะดังกลาวนี้กลายเปนสินคาขายดี ดังเชนงาน เขียนเรื่อง “พระราชชายาเจาดารารัศมี” (พ.ศ. 2546) โดยหนานอินแปง (นามปากกา)


การสราง “พระราชชายาเจาดารารัศมี” ใหเปนบุคคลสําคัญในประวัติศาสตร ทศวรรษ 2500 - ปจจุบัน จิรชาติ สันตะยศ

จะเห็นไดวา “โครงเรื่อง” เกี่ยวกับพระราช ชายาเจาดารารัศมีในฐานะบุคคลสําคัญในประวัติศาสตร มีความลื่นไหลผันแปร แตโครงเรื่องที่มีอิทธิพลมาก ที่สุดคือโครงเรื่องแบบราชาชาตินิยมที่ใหความสําคัญ แก “ท อ งถิ่ น ” ในฐานะที่ ท อ งถิ่ น เป น ส ว นหนึ่ ง อั น มี คุณคาของ “ชาติไทย” โครงเรื่องดังกลาวนี้แสดงออก ในหลากหลายรูปแบบ เชน ในงานเขียนทางประวัติศาสตร งานเขียนเชิงสารคดี อนุสาวรีย พิพิธภัณฑ การตกแตง สวนโดยรอบพิพิธภัณฑ พิธีกรรม หลักสูตรการศึกษา เกี่ยวกับทองถิ่น แสตมป ฯลฯ ซึ่งเรื่องราวเกี่ยวกับ พระราชชายาเจาดารารัศมีที่ไดรับการนํา เสนอผา น “สื่อ” เหลานี้ ยิ่งทําใหอุดมการณราชาชาตินิยมมีพลัง สูงขึ้น ภายใตอิทธิพลของอุดมการณราชาชาตินิยม และท อ งถิ่ น นิ ย ม ที่ เ ห็ น ท อ งถิ่ น เป น ส ว นหนึ่ ง ที่ น า ภาคภูมิใจของ “ชาติไทย” ไดมีการดําเนินการกอสราง พระอนุ สาวรี ย พ ระราชชายาเจา ดารารั ศ มี ใน พ.ศ. 2532 ณ กองกํากับการตํารวจตระเวนชายแดน เขต 5 คายดารารัศมี โดยทานผูหญิงฉัตรสุดา วงศทองศรี เปนประธานคณะกรรมการดําเนินงาน และตอมาใน ต น ทศวรรษ 2540 จุ ฬ าลงกรณ ม หาวิ ท ยาลั ย ได ดําเนินการกอสรางพิพิธภัณฑพระราชชายาเจาดารา รัศมี (พระตําหนักดาราภิรมย) โดยมีพระบรมวงศานุวงศ ในพระราชวงศ จั ก รี ท รงเป น ที่ ป รึ ก ษา พิ ธี ก รรมที่ เกี่ ย วกั บ อนุ ส าวรี ย และ “โครงเรื่ อ ง” ที่ ป รากฏใน พิ พิ ธ ภั ณ ฑ นี้ รวมทั้ ง สั ญ ลั ก ษณ ต า งๆ ตลอดจน บทเพลง และหนังสือที่ระลึก (นงเยาว กาญจนจารี 2533 ; จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย 2542) ที่นําเสนอ ในพิ พิ ธ ภั ณ ฑ ไ ด เ น น ให เ ห็ น ถึ ง ความสั ม พั น ธ อั น ดี ระหว างกรุ งเทพฯกั บเชี ยงใหม ในสมั ยรั ฐสมบู รณาญา สิทธิราชยใ หปรากฏชัดเจนยิ่งขึ้น ซึ่งการดําเนิน การ จั ด สร า งพระอนุ ส าวรี ย พ ระราชชายาเจ า ดารารั ศ มี ในช ว งต น ทศวรรษ 2530 นั้ น ถื อ เป น ความสํ า เร็ จ อยางยิ่งของการสรางใหพระองคเปน “บุคคลสําคัญใน ประวัติศาสตร” โดยทําใหเห็นอยางชัดเจนยิ่งขึ้นวา พระองคทรงเปน “บุคคลสําคัญในประวัติศาสตรชาติ ไทย” ที่ไดมีสวนสําคัญในการทําใหอาณาจักรลานนา

และอาณาจั ก รสยามรวมเป น แผ น ดิ น เดี ย วกั น อย า ง มั่นคงตราบจนปจจุบัน ปรากฏวาสถานศึกษาหลายแหงในจังหวัด เชี ย งใหม ได มี บ ทบาทในการใช อ นุ ส าวรี ย พ ระราช ชายาเจาดารารัศมีในการดําเนินการจัดการเรียนการ สอนเกี่ ย วกั บ ประวั ติ ศ าสตร บุ ค คลสํ า คั ญ และการ ปลูกฝงอุดมการณ เริ่มจากโรงเรียนดาราวิทยาลัยและ โรงเรี ย นแมริ ม วิ ท ยาคมทํา ให ค วามทรงจํ า เกี่ ย วกั บ พระราชชายาเจาดารารัศมีสงผลตอความรูสึกนึกคิด ของนักเรียนเปนอยางมาก ขณะเดี ย วกั น พบว า มี ก ารขยายพื้ น ที่ ก าร สร า งอนุ ส าวรี ย พ ระราชชายาเจ า ดารารั ศ มี ไ ปสู วั ด โดยวัดปาดาราภิรมย อําเภอแมริม จังหวัดเชียงใหม ได ทํ า การก อ สร า งพระอนุ ส าวรี ย พ ระราชชายา เจาดารารัศมีขึ้นมา วัดปาดาราภิรมยนี้ตั้งอยูในบริเวณ ชายเขตของพระตํา หนัก ดาราภิ ร มย (ประวั ติวั ด ป า ดาราภิรมย 2547) และปจจุบันมีความสําคัญในฐานะ พระอารามหลวง ไดสรางอัตลักษณของตนเองขึ้นมา เพื่ อ เน น ให เ ห็ น ว า วั ด มี ค วามเกี่ ย วข อ งโดยตรงกั บ พระราชชายาเจ า ดารารั ศ มี ซึ่ ง เป น บุ ค คลสํ า คั ญ ใน ประวัติศาสตรลานนาและประวัติศาสตรชาติไทย อัน จะสงผลใหวัดมีความสําคัญมากขึ้นและเปนที่นาสนใจ มากขึ้ น ในสายตาของนั ก ท อ งเที่ ย ว ซึ่ ง ปรากฏใน เอกสารประวัติวัดไดกลาวถึงสิ่งตางๆ ที่มีอยูในวัดเพื่อ ดึ ง ดู ด ให ป ระชาชนเข า มาเที่ ย วชมและทํ า บุ ญ ใน ระยะแรกวัดเนนเรื่องราวเกี่ยวกับพระราชชายาเจา ดารารัศมีในฐานะบุคคลสําคัญของทองถิ่น แตตอมา เมื่ อ ได มี บุ ค คลภายนอกที่ เ คารพสั ก การระในองค พระบาทสมเด็ จ พระจุ ล จอมเกล า เจ า อยู หั ว (ด ว ย อิทธิพลของอุดมการณราชาชาตินิยมผนวกกับลัทธิ “เสด็จพอ ร. 5”) เขามาขอสรางพระบรมราชานุสาวรีย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลาเจาอยูหัว ไวคูเคียง กับพระอนุสาวรียพระราชชายาเจาดารารัศมี ทางวัดก็ อนุญ าตดวยความเต็ม ใจซึ่ งทํา ใหผูเขา มาสัก การระ พระอนุส าวรียส ามารถจิน ตนาการถึงความสัม พั น ธ เชื่ อ มโยงระหว า ง “บุ ค คลสํ า คั ญ ของท อ งถิ่ น ” กั บ “บุคคลสําคัญของชาติไทย” ไดอยางชัดเจน 35


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปที่ 30 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2553

หลังจากการประดิษฐานพระอนุสาวรียเปน การถาวรแลว ตั้งแตป พ.ศ. 2533 เปนตนมา ทุกวันที่ 9 ธันวาคม ของทุกป ไดมีการจัดงานพิธีวางพวงมาลา ถวายสักการะพระอนุสาวรียพระราชชายาเจา ดารา รัศมีอยางตอเนื่อง ขณะเดียวกันไดมีการสรางคําไหว พระอนุสาวรียพระราชชายาเจาดารารัศมีซึ่งแตงขึ้นมา ใหมเ พื่ อ ใช เป น องค ป ระกอบของการถวายสั ก การะ พระอนุสาวรีย ซึ่งสงผลใหพระองคไดถูกสรางใหเปน “สิ่ง ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ ” ประจํ า เมื อ งเชี ย งใหม ซึ่ ง การรั บ รู ถึ ง ความศักดิ์สิทธิ์ของพระราชชายาเจาดารารัศมีนั้นได นํ า ไปสู ก ารบนบานและการแก บ น ทั้ ง นี้ ผู บ นบาน ไมไดจํากัดอยูเฉพาะแตคนในทองถิ่นเทานั้น หากแต ไดแพรข ยายวงกวางออกไป จะพบวามีผูศรัทธามา จากหลาย ๆ ทองถิ่นในประเทศไทย เชนกรุงเทพมหานคร กาญจนบุรี ราชบุรี ขอนแกน ฉะเชิงเทรา เปนตน จนกระทั่งมีการเกิดขึ้นของ “มาทรง” พระราชชายาเจา ดารารัศมี ซึ่งปรากฏวา พิธีกรรมของ “มาทรง” พระราช ชายาฯ ก็ ไ ด ถู ก ทํ า ให ก ลายเป น สิ น ค า อย า งชั ด เจน เพราะว าจารีตของทางภาคเหนือแต เดิมจะมีเฉพาะ “มาขี่” หรือ “มาทรง” ของผีปูยา ผีเจานาย ผีมดผีเม็ง ซึ่ ง ส ว นใหญ “ผี ” เหล า นี้ จ ะไม มี ป ระวั ติ ศ าสตร ฉ บั บ ทางการที่ แ สดงว า เคยมี ตั ว ตนอยู จ ริ ง การเข า ทรง พระราชชายาฯ เปน ลัก ษณะที่ไ ดรับอิ ทธิพ ลมาจาก ภาคกลางที่เกิดขึ้นมาไดไมนาน และเปนการเขาทรง ในเชิ ง พาณิ ช ย คื อ การแสวงหารายได ใ ห แ ก ต นเอง ของบรรดาคนทรง กลาวไดวา พระอนุสาวรียพระราชชายาเจา ดารารัศมีนี้เกิดขึ้นเพราะความตองการเนนใหเห็นถึง ความเปนอันหนึ่งอันเดียวกันระหวาง “ทองถิ่น” กับ “ชาติไทย” ตลอดจนความจงรักภักดีของลานนาที่มีตอ ชาติไทยและพระมหากษัตริยไทย โดยการใชเรื่องราว ของพระราชชายาเจาดารารัศมีเปนสื่อของการสราง ความทรงจําเพื่อประโยชนในการสื่อสารทางความคิด ความเชื่ อ ทั ศ นคติ ตลอดจนการหล อ หลอมกล อ ม เกลาความรูสึก นึ ก คิด ของประชาชน เมื่ อฝงแนน ใน การรับรูของประชาชนแลว พระราชชายาเจาดารารัศมี ก็ไดกลายเปนบุคคลสําคัญในประวัติศาสตร “ชาติไทย” และประวั ติ ศ าสตร “ท อ งถิ่ น ” อย า งสมบู ร ณ โดยที่ 36

“ทองถิ่น” เปนสวนหนึ่งอันแบงแยกไมไดของ “ชาติไทย” และในที่ สุ ด ก็ ไ ด รั บ การเปลี่ ย นสถานะมาเป น สิ่ ง ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ ป ระจํ า เมื อ งเชี ย งใหม ซึ่ ง แม แ ต ตั ว แทน อํานาจรัฐจากสวนกลางที่มาปกครองจังหวัดเชียงใหม ก็ตองแสดงความเคารพสักการะอยางสูง ไมวาจะเชื่อ ในความศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ ข องพระอนุ ส าวรี ย อ ย า งแท จ ริ ง หรือไมก็ตาม สําหรับการจั ดสรางพิพิธภัณฑพระตําหนัก ดาราภิรมยนั้น มีจุดมุงหมายแตแรกในการสรา งคือ เพื่อสรางความทรงจําเกี่ยวกับพระราชชายาเจาดารา รั ศ มี ใ นฐานะที่ พ ระองค ท รงอุ ทิ ศ พระองค เ พื่ อ สร า ง ความเจริ ญ รุ ง เรื อ งให แ ก ล า นนา ซึ่ ง เป น ทั ศ นะแบบ ทองถิ่นนิยม แตเมื่อมีการจัดพิพิธภัณฑเพื่อแสดงแก ผูชม ก็ไดเกิดการเนนโครงเรื่องแบบราชาชาตินิยม นั่นคือเนนความสําคัญของพระราชชายาเจาดารารัศมี ในแง ที่ ท รงเป น “สายใยรั ก สองแผ น ดิ น ” เพราะ พระองค ท รงทํ า ให อ าณาจั ก รล า นนาและอาณาจั ก ร สยามรวมกันเปนแผนดินเดียวภายใตพระราชอํานาจ และพระมหากรุ ณ าธิ คุ ณ ของพระมหากษั ต ริ ย แ ห ง สยาม ซึ่งเรื่องราวของพระราชชายาเจาดารารัศมีใน ฐานะบุ ค คลสํ า คั ญ ในประวั ติ ศ าสตร ช าติ ไ ทยและ ประวัติศาสตรทองถิ่นที่จัดแสดงไวในพิพิธภัณฑนั้น ไดรับการเผยแพรอยางเขมขนและตอเนื่อง จนเปนที่ รับรูกันทั่วไปในสังคมไทย แมวาคนสวนใหญจะไมมี โอกาสมาเยี่ยมชมพิพิธภัณฑดวยตนเอง ขณะเดียวกันการรับรูเกี่ยวกับพระราชชายา เจา ดารารัศมีนั้น จะไมสมบูร ณแ ละมีพลั งเต็ม เปย ม ได ห ากอาศั ย การสื่ อ สารผ า นอนุ ส าวรี ย พิ ธี ก รรม และพิ พิ ธ ภั ณ ฑ โดยปราศจากองค ป ระกอบอื่ น ๆ โดยเฉพาะงานเขียนพระประวัติ งานเขียนประวัติศาสตร วรรณกรรม บทเพลง และแบบเรียน ซึ่งถือวามีสวน อยางมากในการที่จะเสริมสรางความทรงจําเกี่ยวกับ พระราชชายาฯ หากไม มี อ งค ป ระกอบเหล า นี้ พระราชชายาเจาดารารัศมี อาจเปนเพียงบุคคลสําคัญ ที่รับรูกันเพียงแคในทองถิ่น หรือเฉพาะกลุมคนเล็กๆ เทานั้น ในป จ จุ บั น ความทรงจํ า เกี่ ย วกั บ พระราช ชายาเจาดารารัศมีที่แพรหลายที่สุด หรือเปนมโนทัศน


การสราง “พระราชชายาเจาดารารัศมี” ใหเปนบุคคลสําคัญในประวัติศาสตร ทศวรรษ 2500 - ปจจุบัน จิรชาติ สันตะยศ

ที่มีอิทธิพลมากที่สุด จนกลาวไดวาเปนความทรงจํา กระแสหลักนั้น ไดแกความทรงจําที่วาพระราชชายา เจ า ดารารั ศ มี ท รงเป น “สายใยรั ก สองแผ น ดิ น ” ซึ่ ง ทําใหพระองคทรงเปนบุคคลสําคัญในประวัติศาสตร ในแงที่ทรงมีบทบาทอยางสําคัญในการทําใหลานนา และสยามรวมกันเปนอันหนึ่งอันเดียวอยางราบรื่นและ มั่นคง ดวยสายใยรักที่เหนียวแนนไมแคลนคลาย โดย ที่พระราชชายาเจาดารารัศมีซึ่งทรงเปนตัวแทนของ ท อ งถิ่ น นั้ น มี ค วามจงรั ก ภั ก ดี อ ย า งลึ ก ซึ้ ง ต อ องค พระมหากษัตริยแหงชาติไทย ซึ่งมโนทัศนดังกลาวนี้ ไดชวยลบเลือนความบาดหมางที่มีอยูตั้งแตยุคปฏิรูป ประเทศ ทั้งการดูถูกเหยียดหยามทางชาติพันธุ การ แยงชิงผลประโยชนทางเศรษฐกิจ การลดอํานาจทาง การเมือง การกบฏและการปราบกบฏ ฯลฯ สงผลให ทองถิ่นยอมรับอํานาจที่เหนือกวาของสวนกลางดวย ความเต็มใจ รวมทั้งมีความจงรักภักดีตอ “ชาติไทย” และ “พระมหากษั ต ริ ย แ ห ง ชาติ ไ ทย” ตามคติ ร าชา ชาตินิยมอยางมั่นคง โดยลืมเลือนอดีตที่ทองถิ่นเคยมี อํ า นาจปกครองตนเองอย า งสิ้ น เชิ ง หรื อ หากไม ลื ม เลือนก็จะมีความรูสึกวาการที่เคยแยกออกมาเปนอีก อาณาจักรหนึ่งนั้นเปนสภาวะที่ไมพึงปรารถนา เพราะ เท า กั บ เป น ความแตกแยกของคนใน “ชาติ ไ ทย” ดวยกัน เป น ไปได ว า ความรู สึ ก หรื อ ความสํ า นึ ก ดั ง กล า วข า งต น นี้ เป น ป จ จั ย สํ า คั ญ ประการหนึ่ ง ที่ ทําใหอํานาจรัฐในสวนกลางเขมแข็ง และมีความชอบ ธรรมในการจัดการทรัพยากรของทองถิ่น โดยที่ค น สวนใหญใน “ทองถิ่น” และใน “ชาติไทย” ไมมีความ ตอ งการอยา งแท จ ริง ที่จ ะเรีย กรอ งให มีก ารกระจาย อํ า นาจในการจั ด การทรั พ ยากรให แ ก ค นในท อ งถิ่ น ดังนั้นการสราง “พระราชชายาเจาดารารัศมี” ใหเปน บุคคลสําคัญในประวัติศาสตรโดยผานสํานึก “ทองถิ่น นิยม” ในกรอบของ “ชาตินิยม” จึงเปนสวนสําคัญใน การเชื่อมโยงลานนาเขา เปนสวนหนึ่งของ “รัฐไทย” “ชาติไทย” และ “ความเปนไทย” รวมทั้งมีผลโดยตรง ตอการจัดความสัมพันธเชิงอํานาจระหวาง “ลานนา”

กับ “ชาติไทย” โดยที่ “ลานนา” ยอมรับอํานาจเหนือกวา ของ “ชาติไทย” โดยดุษณี นอกจากนี้ การสรางประวัติศาสตรเกี่ยวกับ พระราชชายาเจาดารารัศมีภายใตแนวคิ ด “ทองถิ่น นิยม” หลากหลายกระแสยังเสริมพลังใหแกการเขียน ประวั ติ ศ าสตร ท อ งถิ่ น ในเรื่ อ งอื่ น ๆ ที่ ใ ช ม โนทั ศ น เดียวกันกับประวัติศาสตรเกี่ยวกับพระราชชายาเจา ดารารัศมี ทําใหเกิดการเขียนประวัติศาสตรทองถิ่น จํานวนมาก ซึ่งใหพื้นที่ทางสังคม (สิทธิ อํานาจ) แก กลุม คนที่อ ยูใ นสถานะได เปรีย บ เชน ผู ป กครองรั ฐ ชาติ ไ ทย กลุม เจา นายฝา ยเหนือ ปญ ญาชนทองถิ่น นายทุนทองถิ่น เปนตน ในขณะที่การเขียนประวัติศาสตร แบบที่ เ น น ศั ก ยภาพและบทบาทของประชาชน ซึ่ ง เอื้ อ ให ป ระชาชนได มี พื้ น ที่ ท างสั ง คมโดยสามารถ กําหนดชะตากรรมของตนเองไดนั้น มีเปนจํานวนนอย กว ามาก และไดรับการเผยแพรกับไดรับความนิยม น อ ยกว า ประวั ติ ศ าสตร ก ระแสหลั ก อย า งเที ย บกั น ไมไดเลย การสราง “พระราชชายาเจาดารารัศมี” ให เปนบุคคลสําคัญในประวัติศาสตร จึงมีความสัมพันธ อยางซับซ อนกับอํานาจทางเศรษฐกิจและการเมือง ของคนใน “ชาติไทย” และใน “ทองถิ่น” ดังจะเห็นได ชัดเจนวา ในขณะที่พระราชชายาเจา ดารารัศมีทรง เปนบุคคลสํา คัญในประวัติศาสตรนั้น “อํานาจ” และ พระสถานภาพของ “พระมหากษัตริยแหงชาติไทย” ก็ สูงสงอยางยิ่ง ขณะเดียวกันสถานภาพของ “เจานาย ฝายเหนือ” ก็สูงขึ้นตามไปดวย โดยมีความพยายาม ในการเชื่อมโยงความสัมพันธใกลชิดระหวางเจานาย ฝายเหนือกับพระราชชายาเจาดารารัศมี และระหวาง เจานายฝายเหนือบางทานกับพระบรมวงศานุวงศใน พระบรมราชจักรีวงศ ถึงแมวาเจานายฝา ยเหนือ ใน ฐานะป จ เจกบุ ค คลจํ า นวนมากจะไม ส ามารถรั ก ษา อํานาจทางเศรษฐกิจและการเมือง ตลอดจนเกียรติยศ ของ “เจา” เอาไวได และความเปน “เจา” ของเจานาย ฝ า ยเหนื อ จะไม ไ ด รั บ การรั บ รองโดยกฎหมายเลย ก็ตาม

37


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปที่ 30 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2553

นอกจากนี้ยังเห็นไดชัดเจนดวยวาการสราง พระราชชายาเจ า ดารารั ศ มี ใ ห เ ป น บุ ค คลสํ า คั ญ ใน ประวัติศาสตรกับความเขมแข็งของอุดมการณราชา ชาตินิยม มีปฏิสัมพันธตอกันในเชิงเกื้อกูลซึ่งกันและ กัน และถึงแมวาการสรางและการรับรู “ประวัติศาสตร ชาติไทย” และ “ประวัติศาสตรทองถิ่น” จะขยายตัวขึ้น มาก แตสวนใหญแลวก็ยังคงเปนประวัติศาสตรชาติ และประวั ติ ศ าสตร ท อ งถิ่ น ในกรอบมโนทั ศ น ร าชา ชาตินิ ย ม ทํ า ให ผูนํ า แห ง ชาติแ ละอํ า นาจรวมศูน ย มี ความสําคัญและเปนที่ยอมรับสืบมา ในปจจุบันดวยการสรางพระอนุสาวรียและ การมีพิธีกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับพระอนุสาวรียพระราช ชายาเจาดารารัศมี ตลอดจนอิทธิพลของ “ลัทธิเสด็จ พ อ ร.5” ในบริ บ ทที่ ค นในสั ง คมไทยเผชิ ญ หน า กั บ กระแสโลกาภิ วั ต น อั น ทํ า ให สู ญ เสี ย ความมั่ น คงใน ชี วิ ต ซึ่ ง ทํ า ให ต อ งหั น ไปพึ่ ง สิ่ ง ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ ม ากขึ้ น (นอกเหนือไปจากการหวังพึ่งผูนําแหงชาติ) “พระราช ชายาเจาดารารัศมี” ไดทรงกลายเปนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ดัง ไดกลาวมาแลว การที่ “พระราชชายาเจาดารารัศมี” ทรงกลายเป น สิ่ ง ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ เ ช น นี้ มิ ไ ด เ กิ ด ขึ้ น เอง อยางทันทีทันใด หากแตมีรากฐานมาจากการที่พระองค ไดทรงถูกทําใหเปน “บุคคลสําคัญในประวัติศาสตร” มาเปนเวลานานเกือบครึ่งศตวรรษ โดยโครงเรื่องหลัก วางอยู บ นจุ ด เน น ที่ ว า พระองค ท รงเป น “พระราช

ชายา” ของ “สมเด็ จ พระป ย มหาราช” ซึ่ ง ทรงเป น “พระมหากษัตริยที่ยิ่ง ใหญแ หง ชาติไ ทย” ซึ่ ง ไดทรง รัก ษา “เอกราชของชาติไ ทย” และทรงสรา ง “ความ เจริญรุงเรืองใหแกชาติไทย” เปนอเนกประการ โครง เรื่องหลักของประวัติศาสตรไทยและ “ลัทธิพิธีพระราช ชายาฯ” เชนนี้เอง ที่ทําใหพระสถานะพระราชชายา เจาดารารัศมีที่ทรงเปนบุคคลสําคัญในประวัติศาสตร นั้ น เป น พระสถานะที่ มี ค วามมั่ น คงเป น อย า งมาก ในทางกลั บ กัน พระสถานะที่พ ระราชชายาเจ า ดารา รัศมีทรงเปน “บุคคลสําคัญในประวัติศาสตร” ก็ชวย เสริ ม ความแข็ ง แกร ง ให แ ก โ ครงเรื่ อ งหลั ก ของ ประวั ติ ศ าสตร ไ ทย อุ ด มการณ ร าชาชาติ นิ ย ม และ “ลั ท ธิ พิ ธี พ ระราชชายาฯ” ให มี พ ลั ง อยู ใ นสั ง คมไทย สืบไปอีกนาน โดยเฉพาะอยางยิ่งเมื่อโครงเรื่องของ ประวัติศาสตรเกี่ยวกับพระราชชายาเจาดารารัศมีได เปลี่ยนมาเนนในเรื่องของ “ความรัก” ซึ่งทําใหมีเสนห แกคนทั่วไปในสังคม ในบริบทที่ละครโทรทัศนไดทํา ใหคนทั้งในเขตเมืองและชนบทของไทยมองเห็นความ รักเปนสรณะและอุดมคติสูงสุดของชีวิต จึงคาดไดวา เรื่องราวเกี่ยวกับ “พระราชชายาเจาดารารัศมีในฐานะ บุ ค คลสํ า คั ญ ในประวั ติ ศ าสตร ” อุ ด มการณ “ราชา ชาตินิยม” และ “ลัทธิพิธีพระราชชายาฯ” จะมีอิทธิพล ในสังคมไทยสืบตอไปอีกนาน

บรรณานุกรม คณะกรรมการผูจัดงานอนุสรณวันพระราชชายาเจาดารารัศมี. (2516). งานอนุสรณถวายแดพระราชชายา เจาดารารัศมีในรัชกาลที่ 5 (9 ธันวาคม พ.ศ.2516). เชียงใหม: โรงพิมพกลางเวียง. จดหมายเหตุพระราชกิจรายวันในรัชกาลที่ 5 ประจําวันพฤหัส ขึ้น 113 เดือน 3 ปจอ อัฐศกศักราช 1248. (วันที่ 4 กุมภาพันธ พ.ศ. 2429). จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย. (2542). ดารารัศมีสายใยรักสองแผนดิน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพแหงจุฬาลงกรณ มหาวิทยาลัย. ธเนศวร เจริญเมือง. (2538). “เจาดารารัศมี” ใน มาจากลานนา. พิมพครั้งที่ 2. เชียงใหม: โรงพิมพมิ่งเมือง. นงเยาว กาญจนจารี. (2533). ดารารัศมี พระประวัติพระราชชายาเจาดารารัศมี. จัดพิมพเปนอนุสรณ เนื่องในงานฉลองพระอนุสาวรียพระราชชายาเจาดารารัศมี ณ กองกํากับการตํารวจตระเวนชายแดนที่ 5 คายดารารัศมี จังหวัดเชียงใหม วันที่ 27 มกราคม พ.ศ.2533. กรุงเทพฯ: ทรีดีการพิมพ. บุญเสริม สาตราภัย. (2532). เสด็จลานนา เลม 1. กรุงเทพฯ: ทิพยวิสุทธิ์. 38


การสราง “พระราชชายาเจาดารารัศมี” ใหเปนบุคคลสําคัญในประวัติศาสตร ทศวรรษ 2500 - ปจจุบัน จิรชาติ สันตะยศ

ประกายแกว ณ เชียงใหม. (2521). ดารารัศมีรําลึก. จัดพิมพเปนอนุสรณเนื่องในวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2521. ประวัติวัดปาดาราภิรมย. (2547). ฉบับพิมพเนื่องในพิธีสมโภชพระอาราหลวง วันที่ 30-31 มกราคม พ.ศ. 2547. เชียงใหม: เชียงใหมนันทพันธ. ปราณี ศิริธร ณ พัทลุง. (2538). เพ็ชรลานนา เลม 1. พิมพครั้งที่ 2. เชียงใหม: นอรทเทิรน พริ้นติ้ง. พูนพิศมัย ดิศกุล, ม.จ.หญิง. (2529). ประชุมพระนิพนธเลม 1. กรุงเทพฯ: บํารุงบัณฑิต. แมคกิลวารี, เดเนียล ดี.ดี. จิตราภรณ ตันรัตนกุล, แปล. (2544). กึ่งศตวรรษในหมูคนไทยและคนลาว. พิมพครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพมติชน. วงศสักก ณ เชียงใหม (บรรณาธิการ). (2539). เจาหลวงเชียงใหม. กรุงเทพฯ: อัมรินทรพริ้นติ้ง. ศันสนีย วีระศิลปชัย. (2543). ลูกแกวเมียขวัญ. พิมพครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: มติชน. แสงดาว ณ เชียงใหม. (2517). พระประวัติพระราชชายาเจาดารารัศมี (26 สิงหาคม 2416 – 9 ธันวาคม 2476) จัดพิมพเปนอนุสรณในงานทําบุญ 100 วัน เจาแสงดาว ณ เชียงใหม วันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2517. หนานอินแปง. (2546). พระราชชายาเจาดารารัศมี. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพไพลิน. อรุณ เวชสุวรรณ. (2543). พระราชชายาเจาดารารัศมี กับการรวมหัวเมืองภาคเหนือ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ เม็ดทราย. เอมอร ชิตตะโสภณ และคณะ. (2536). วันวานที่ขานไข. จัดพิมพเปนอนุสรณเนื่องในงาน “120 ป พระราช ชายาเจาดารารัศมี” ณ หองบานลานตอง อุทยานการคากาดสวนแกว เชียงใหม วันที่ 10-14 ธันวาคม พ.ศ. 2536. เชียงใหม: โรงพิมพกาดสวนแกว. Bock, Carl. (1985). Temple and Elephants. Bangkok: White Orchid Press.

39


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปที่ 30 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2553

40


ทวิอัตลักษณ: การตอสูและการปรับตัวของชาวไทใหญพลัดถิ่นในจังหวัดเชียงใหม ปานแพร เชาวนประยูร

ทวิอัตลักษณ: การตอสูและการปรับตัวของชาวไทใหญพลัดถิ่น ในจังหวัดเชียงใหม1 Double Identity : The fighting and adaptation of Tai diaspora in Chiang Mai ปานแพร เชาวนประยูร 1 Parnprae Chaoprayoon

บทคัดยอ ดวยความกดดันทางการเมือง เศรษฐกิจ และการดําเนินชีวิตประจําวัน ทําใหชาวไทใหญอาศัยในรัฐฉาน ประเทศพมา อพยพยายถิ่นออกมาจากถิ่นฐานเขามาในเชียงใหม รัฐไทยไดสรางและนิยามอัตลักษณของชาว ไทใหญวาเปนพมา เปนคนตางดาว เปนกลุมคนที่สรางปญหาใหกับรัฐไทย โดยที่อัตลักษณดังกลาวนั้นชาว ไทใหญไมอาจยอมรับจึงไดสรางและผลิตซ้ําอัตลักษณ “ความเปนไทใหญ” ขึ้นมา วัดปาเปาและวัดกูเตาจึงเปน พื้นที่ทางสังคมในการสรางและผลิตซ้ําทางอัตลักษณโดยผานการใชภาษาไทใหญ ธงชาติ บทเพลงไต ประเพณี และพิธีกรรม ตลอดจนเรื่องราวทางประวัติศาสตร การแสดงอัตลักษณดังกลาวเปนความพยายามในการแสดง ความเปนตัวตนของชาวไทใหญและความพยายามในการสรางความหมายเชิงวัฒนธรรมเพื่อใหชาวไทใหญได ตระหนักในคุณคาของชีวิตของตน ในขณะเดียวกันชาวไทใหญเองก็ไดมีการปรับตัวเขากับสังคมไทย และการ แสดงออกซึ่ง “ความเปนไทย” เพื่อใหรัฐไทยไดรับรูวาชาวไทใหญไมไดเปนศัตรูกับไทย มีความรักและจงรักภักดี ตอชาติ ศาสนาและพระมหากษัตริย และเพื่อความปลอดภัยในชีวิต จึงอาจกลาวไดวาชาวไทใหญเปนกลุมชาติ พันธุที่มีทวิอัตลักษณ คือเปนทั้งไทยและไทใหญ เพียงแตวาชาวไทใหญจะหยิบใชอัตลักษณไหนเมื่อไหรและ เพื่ออะไร โดยที่อัตลักษณที่ชาวไทใหญไดแสดงออกมานั้นสามารถเลื่อนไหลไปตามสภาพความเปนอยูและการ รับรูของตนเมื่อเขามาอยูในประเทศไทย คําสําคัญ : 1. ทวิอัตลักษณ. 2. ไทใหญในจังหวัดเชียงใหม. Abstract

The reasons why Shan moved to Chiang Mai in Thailand are politics, economic and everyday life pressures. Thai construct and define the identities of the Shan as being the Burmese, they are the aliens, and a group of people who cause the problems for the Thai government, but the Shan do not accept these identities. Therefore they reconstructed their identity in order to make Thai people perceive 1

ปรับปรุงจากวิทยานิพนธของผูเขียนเรื่อง “บทบาทของพุทธศาสนาตอกระบวนการผลิตซ้ําอัตลักษณของชาวไทใหญใน อําเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม” สาขาวิชาภูมิภาคศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม 2550. ผูเขียนขอขอบคุณโครงการ “มหาบัณฑิต สกว. ดานสังคมศาสตร-มนุษยศาสตร” ที่ใหทุนสนับสนุนการทําวิทยานิพนธ 2 นักศึกษาปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาบริหารศาสตร (การบริหารอุตสาหกรรมบริการ) วิทยาลัยบริหารศาสตร มหาวิทยาลัย แมโจ


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปที่ 30 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2553

that the Shan has an excellent culture and tradition. The Shan are of Buddhist faith, and have long time history that relates to Thais. The Shan used Ku-tao temple and Pa-pao temple as a social space reconstruct the identities of Shan Tai language, the Shan flag, Shan traditions and rituals, as well as Shan history. These identities proclaimed the Shan identity and tried to construct the meaning in a cultural way for the Shan to realize the value of themselves. At the same time the Shan adjusted themselves into Thai society and expressed Thai identities to Thai to show that they are not an enemy of Thai. The Shan love and respect the Thai state and Thai monarchy, for saving their lives. So the Shan is the euthenics that has a double identities which is “Thai” or “Shan” depending on when and what they use the identity for. The identity that they choose to show can be displaced in different situations; livelihood and perception, when they live in Thailand. Keywords: 1. Double identity. 2. Tai in Chiang Mai Province, Thailand.

42


ทวิอัตลักษณ: การตอสูและการปรับตัวของชาวไทใหญพลัดถิ่นในจังหวัดเชียงใหม ปานแพร เชาวนประยูร

บทนํา หลั ง จากผ า นประสบการณ อั น เจ็ บ ปวดใน สหภาพพมา ชาวไทใหญพลัดถิ่นในประเทศไทยตอง ตอสูและปรับตัวในบริบทสังคมไทย เพื่อที่จะอยูรอด อยางราบรื่น ปลอดภัย ที่สุดเทา ที่จะเปนไปได การ ต อ สู แ ละการปรั บ ตั ว นี้ เ กิ ด ขึ้ น ในหลายรู ป แบบ บทความชิ้นนี้เลือกวิเคราะหเฉพาะการตอสูและการ ปรับตัวที่ปรากฏอยูในพื้นที่วัดปาเปาและวัดกูเตา ใน เขตอําเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม โดยเนนถึงการสราง และการผลิตซ้ําทางอัตลักษณของชาวไทใหญ เหตุ ที่ เ ลื อ กศึ ก ษาชาวไทใหญ ใ นเขตพื้ น ที่ จังหวัดเชียงใหมก็เนื่องจากมีชาวไทใหญอพยพเขามา อยูเปน จํา นวนมาก และเหตุ ท่ีเลือ กศึก ษาวัดปาเปา และวัดกูเตา อําเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม ก็เนื่องจาก ชาวไทใหญ ไ ด เ ลื อ กวั ด ทั้ ง สองนี้ เ ป น สถานที่ จั ด กิจกรรมตาง ๆ ทั้งที่เกี่ยวของและไมเกี่ยวของกับพุทธ ศาสนา ที่ ส ะท อ นให เ ห็ น ถึ ง การสร า งและการผลิ ต ซ้ําอัตลักษณของชาวไทใหญไดเปนอยางดี บทความเรื่องนี้จึงสามารถสะทอนใหเห็นถึง ความพยายามของชาวไทใหญใ นการแสดง “ทวิอั ต ลัก ษณ ” ของตนเองในการตอ สูแ ละการปรับ ตัว ของ ตนเอง เพื่อใหตนเองสามารถใชชีวิตไดอยางปลอดภัย โดยไมกระทบตอความมั่นคงของประเทศไทย 1.

สถานการณในรัฐฉานที่คุกคามชาวไทใหญ

สหภาพพมาในปจจุบัน มีชาวไทใหญอาศัย อยูประมาณ 8 ลานคน ซึ่งนับวาเปนกลุมชาติพันธุที่มี ประชากรมากเป น อัน ดั บสองรองจากชาติพัน ธุพม า ภูมิหลังทางประวัติศาสตร ทําใหความขัดแยงและการ ต อ สู ร ะหว า งรั ฐ บาลทหารพม า กั บ ชาวไทใหญ ใ นรั ฐ ฉานในหลายทศวรรษที่ผานมามีความรุนแรง ซึ่งเปน ปจจัยสําคัญที่ทําใหเกิดการอพยพยายถิ่น สถานการณที่คุกคามชาวไทใหญตองหลบหนี และยายถิ่นเขามาในประเทศไทยนั้นสามารถแบงได ออกเปนหลายปจจัยสําคัญไดแก

• ปจจัยทางการเมืองและความขัดแยง ภายในประเทศ ปญหาทางการเมืองและความขัดแยงภายใน ระหวางรัฐบาลทหารพมาและชนกลุมนอยในพมานั้นมี มาอยางตอเนื่อง ในชวงป พ.ศ. 2495 กองทัพรัฐบาล กลางสหภาพพมายกมาถึงรัฐฉานเพื่อปราบปรามกอง พล 93 และกบฏคะฉิ่น ปรากฏวาทั้งกองพล 93 และ กองทหารสหภาพพมาไดบีบบังคับใหราษฎรทํางาน ใหแ กต น เชน เปน พลทหาร ขุ ด สนามเพลาะ สร า ง คาย จัดหาเสบียงอาหาร ปรนนิบัติรับใชสวนตัวใน ฐานกํ า ลั ง และเป น ลู ก หาบขนถ า ยอาวุ ธ และเสบี ย ง อาหาร นอกจากนี้ราษฎรยังถูกบังคับใหละทิ้งหรือเผา หมูบานของตนเอง และยายไปตั้งถิ่นฐานใหมในพื้นที่ ซึ่งกองทัพกําหนด และทหารพมายังพยายามแตงงาน กับหญิงชาติพันธุไทใหญเพื่อรับรางวัลจากรัฐบาลพมา ดวย ตอมาในป พ.ศ. 2501 เปนตนมา ไดจัดตั้ง กองกําลังชาวไทใหญในรัฐฉานเพื่อตอตานกองกําลัง ทหารรัฐบาลสหภาพพมาหลายกลุม ทําใหพื้นที่การ สูรบแผขยายไปทั่วรัฐฉาน รัฐบาลสหภาพพมาทําการ ปราบปรามรุ น แรง และมอบอํ า นาจให ก องทหาร ปกครองดู แ ลพื้ น ที่ แ ละตั ด สิ น คดี ค วาม รวมทั้ ง ให มี อํ า นาจประหารชี วิ ต ผู ที่ ใ ห ค วามช ว ยเหลื อ หรื อ ผู ที่ ฝกใฝกองกําลังที่เปนปฏิปกษกับรัฐบาลดวย ในสภาวการณที่เกิด “กบฏ” ในป พ.ศ. 2505 ของกลุ ม ชาติ พั น ธุ ไ ทใหญ คะฉิ่ น และกะเหรี่ ย ง กระจายไปทั่ ว ประเทศ นายพลเน วิ น ได ทํ า การ รัฐประหาร แลวใชกําลังปราบปรามฝายที่เปนปฏิปกษ นอกจากนี้ ในป พ.ศ. 2511 กองกําลังพรรคคอมมิวนิสต แหงพมา (The Communist Party of Burma) ไดแผ อิ ท ธิ พ ลควบคุ ม เมื อ งชายแดนรั ฐ ฉาน-จี น โดยกอง กําลังพรรคคอมมิวนิสตตั้งโรงงานผลิตและจําหนาย เฮโรอี น เพื่ อ หารายได ราษฎรในบริ เ วณดั ง กล า ว รวมทั้งในเขตเชียงตุงเหนือและเชียงตุงตะวันออก จึง ถูก เกณฑม าเป นแรงงานในไรฝน และเปนกองกํา ลัง ขนฝ น และเฮโรอี น รั ฐ บาลปฏิ วั ติ ข องนายพลเนวิ น 43


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปที่ 30 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2553

ทํ า การปราบปรามอย า งเด็ ด ขาดรุ น แรง รั ฐ ฉานจึ ง กลายเปนสนามรบระหวางกองทัพรัฐบาลกับกองกําลัง ของหลายฝาย ไดแกกองกําลังพรรคคอมมิวนิสตแหง พมา กองพล 93 ของนายพล Li Mi และกองทัพกูชาติ รัฐฉาน ใน พ.ศ. 2539 รัฐบาลทหารพมา (SLORC) ได ป ระกาศนโยบายบั ง คั บ ย า ยถิ่ น ฐาน (Relocation Program) โดยการบั ง คั บ ราษฎรประมาณราว 300,000 คน จากหมู บ า นจํ า นวนมากกว า 1,400 หมูบาน ใหยายออกจากพื้นที่ตอนกลางของรัฐฉานซึ่ง กินพื้นที่มากกวา 18,129 ตารางกิโลเมตร นโยบายนี้ สงผลใหสถานการณทวีความตึงเครียดมากขึ้น ในป นั้นทหารพมาไดจับชาวบานไทใหญบานกุนหัวยาน เขาแถวและสังหารหมู 3 ครั้ง ที่บานทรายขาวทหาร พมาไดฆาเด็กและผูหญิง จํานวน 53 คน ที่บานตาด ฟาโฮ ฆาหมูชาวไทใหญ 34 คน ที่บานกุนหัวยาน ฆาชาวไทใหญ 24 คน และฆาหมูยอย ๆ ครั้งละ 2 -3 คน รวม 992 คน (พันเอกเจายอดศึก 2549 : 107 – 108 ; นิพัทธพร เพ็งแกว 2550 ; มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชน แหงรัฐฉาน 2541 : 5 ; เสมอชัย พูลสุวรรณ 2546 : 126 ; ปณิธิ อมาตยกุล 2547 : 66.) นอกจากการฆาหมูแ ลว ผู หญิงไทใหญยัง ประสบกับความรุนแรงจากการถูกทหารพม าขมขืน จากบทความของ ปนแกว เหลืองอรามศรี ไดกลาววา หนวยงานที่ทํางานกับผูหญิงพลัด ถิ่นชาวพมา คือเครือขายผูหญิงชาว ไทใหญ (SWAN) และมูลนิธิสิทธิ มนุษยชนไทใหญ (SHRF) …พบขอมูล วา ผูหญิงที่ใหสัมภาษณจํานวน 173 คนได บ อกเล า เรื่ อ งราวการถู ก ทารุ ณ กรรมทางเพศที่ดําเนินอยางตอเนื่อง… กวา 5 ป โดยทหารพมากระทําตอ ผูหญิงและเด็กสาวชาวไทใหญจํานวน 625 คน ในแทบทุกกรณีเปนการขมขืน ตอหนากองทหารพมา…วิธีการขมขืน เปนไปอยางโหดรายทารุณ โดยเหยื่อ กวา 25 % เสียชีวิตจากการขมขืน 44

ในขณะที่ 61% ถูกขมขืนรวมหมู จํ า นวนไม น อ ยของเหยื่ อ เหล า นี้ ถู ก กักขังเพื่อการขมขืนตอเนื่อง (ปนแกว เหลืองอรามศรี 2546) • ปจจัยดานการถูกกดขี่จากกองทัพพมา ปจจัยหนึ่งที่ทําใหชาวไทใหญอพยพเขามา ในจังหวัดเชียงใหมก็คือการถูกกดขี่ของกองทัพพมา ดังที่ ผูอพยพอีกคนหนึ่งเปดเผยตอสํานักขาว S.H.A.N. วา “พวกผมพากันอพยพมานั้นใชวา อยากจะมาหางานทํ า ในประเทศไทย แตเปนเพราะไมอาจทนตอความกดขี่ ขมเหงของทหารพมาได เนื่องจากใน แตละสัปดาหตองถูกทหารพมาบังคับ ใหผลัดกันไปทํางานไมต่ํากวา 3 วัน จนไม มี เ วลาพอที่ จ ะทํ า งานให กั บ ครอบครั ว ทหารพม า ที่ บั ง คั บให พ วก ผมทํางาน ไดแก กองพันทหารราบเบา ที่ 524 นําโดยพันโทติ่นหลุน และกอง พันทหารราบที่ 246 นําโดยพันตรีมิ้น ออง...โดยพวกผมไดถูกบังคับใหปลูก ตนสบูดํา ทํานาปรัง พรอมกับตองผลัด กั น ไปทํ า งานในค า ย เช น ทํ า รั้ ว ขุ ด บั ง เกอร นอกนั้ น ก็ ซ อ มแซมถนน” (สํานักขาว S.H.A.N. 2550ก). สํานักงานขาว S.H.A.N. รายงานวา ตั้งแตป พ.ศ. 2539 – 2540 ชาวบานจากภาคกลางและภาคใต รัฐฉานพากันอพยพเขาประเทศไทยแลวนับแสนคน เนื่องจากถูกทหารพมาบังคับยายหมูบานและบังคับใช แรงงานอยางหนัก โดยกองทัพพมาใชนโยบาย 4 ตัด ได แ ก ตั ด เสบี ย งอาหาร ตั ด การติ ด ต อ สื่ อ สาร ตั ด เสนทางการคมนาคม และตัดขอมูลขาวสาร เพื่อมิให ชาวบานสนับสนุนกองกําลังไทใหญ สงผลใหชาวบาน มีค วามยากลํา บากในการประกอบอาชีพ เนื่อ งจาก ตองเขาออกหมูบานตามเวลาที่กําหนดและขาดการ รับรูขาวสารจากภายนอก (สํานักขาว S.H.A.N. 2550ก).


ทวิอัตลักษณ: การตอสูและการปรับตัวของชาวไทใหญพลัดถิ่นในจังหวัดเชียงใหม ปานแพร เชาวนประยูร

เอคํา คําวาว หญิงสาวชาวไทใหญ มาจาก เมืองลายคา รัฐฉาน ประเทศพมา ปจจุบันอาศัยอยูใน จั ง หวั ด เชี ย งใหม เรี ย นจบชั้ น มั ธ ยมปลายจาก การศึ ก ษานอกโรงเรีย น กลา วว า ไม มีใ ครอยากอยู หางไกลบานเกิดของตนเอง “แตสาเหตุจริงๆ ที่พวกหนู และคนไท ใหญเป นจํานวนมากตองเขามาอยูใ น ประเทศไทยนั้ น เป น เพราะป ญ หา การเมืองในพมา มีการสูรบกันตลอด... ทุกครอบครัวจะตองถูกเกณฑคน 1 คน ไปเปนแรงงาน ไปสร างถนน ไปปลูก ขาว แมกระทั่งตอนนี้ ก็มีขาววามีการ บังคับเกณฑชาวบานไปปลูกสบูดําเพื่อ หารายไดใหกับรัฐบาลทหารพมา จึงทํา ให ค นไทใหญ ไ หลเข า มาทํ า งานใช แรงงานในไทยมากขึ้นเรื่อยๆ (องอาจ เดชา 2549) จะเห็น ไดว า ทั้ง สองป จ จัย คื อป จ จัย ในเรื่ อ ง ของการเมืองและความขัดแยงภายใน กับปจจัยดาน การถูกกดขี่ของกองกําลังทหารพมา เปนผลสําคัญทํา ใหชาวไทใหญรูสึกวาตนเองถูกกดขี่ รูสึกไมปลอดภัย ในการใช ชี วิ ต ในประเทศบ า นเกิ ด ของตน ป จ จั ย ดังกลาวถือไดวาเปนปจจัยผลักดันที่ทําใหชาวไทใหญ อพยพออกนอกประเทศของตน และเดิ น ทางเข า สู พื้นที่เปาหมายในการอพยพคือจังหวัดเชียงใหม 2.

เชียงใหม : พื้นที่เปาหมายสําคัญของการอพยพ ยายถิ่นของชาวไทใหญ

เชี ย งใหม เ ป น หนึ่ ง ในหลายๆจั ง หวั ด พื้ น ที่ เป า หมายที่ช าวไทใหญอ พยพเขา มาตั้ งถิ่น ฐานและ ทํ า งานแบบชั่ ว คราวตามฤดู ก าลเป น จํ า นวนมาก โดยเฉพาะในเขตเมื อ ง เนื่อ งจากมีอัต ราในการจา ง แรงงานไร ฝ มื อ สู ง ทั้ ง ในระบบอุ ต สาหกรรมและ การเกษตร นอกจากนี้ยังมีชุมชนไทใหญอยูในหมูบาน ตางๆ อีกนับรอยหมูบานซึ่งกระจายอยูในเขตอําเภอ แมวาง อําเภอสันปาตอง อําเภอฝาง อําเภอเวียงแหง

อําเภอแมแตง อําเภอพราวและอําเภอแมอาย จังหวัด เชียงใหม ปจจัยสําคัญประการแรกที่ดึงดูดชาวไทใหญ ใหอพยพเขามาอาศัยอยูในเขตจังหวัดเชียงใหม คือ ป จ จั ย ทางเศรษฐกิ จ อั ต ราในการจ า ยค า แรงใน ประเทศไทยที่ สู ง กว า ในสหภาพพม า จึ ง เป น สิ่ ง ที่ ดึงดูดใหแรงงานจากสหภาพพมาหลั่งไหลเขามาใน ประเทศไทย โดยสวนใหญเขามาเปนแรงงานไรฝมือ เช น กรรมกรก อ สร า งและโรงสี ข า ว ลู ก จ า งในภาค เกษตรทั้งปศุสัตวและการผลิตพืชสวน รับจางปลูกและ เก็ บ เกี่ ย วพื ช ตามฤดู ก าลเช น ไร อ อ ย ถั่ ว เหลื อ ง ข า วโพด หอม กระเที ย ม ทํ า งานในโรงงาน อุต สาหกรรม เชน โรงอิฐ เหมื องแร และเหมืองหิ น และเป น แรงงานในบ า น ในร า นค า และร า นอาหาร ฯลฯ (ธนาคารแหงประเทศไทย 2543) นอกกจากการเขามาเปนแรงงานไรฝมือแลว การเติบโตของเมืองเชียงใหม ก็ถือไดวาเปนโอกาส หนึ่งของชาวไทใหญในการเขามาหางานทํา ไดแก เกษตรกรรมเชิงพาณิชย อุตสาหกรรมการเกษตร การ ท อ งเที่ ย ว และธุ ร กิ จ อื่ น ๆ ที่ เ ชื่ อ มโยงมากั บ การ ทองเที่ยวเชน ในสมัยของนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชิน วัตร ไดมีโครงการ “เชียงใหมเวิลด” ประกอบดวย โครงการตางๆ เชน ไนทซาฟารี อุทยานชาง อะควอเรี่ยม พืชสวนโลก ถนนวงแหวน โครงการบานจัดสรรฯลฯ ทําใหเชียงใหมกลายเปนแหลงจางงานขนาดใหญ ดัง สะทอนใหเห็นจากจํานวนของแรงงานตางดาวที่เพิ่ม มากขึ้นในการจดทะเบียนแรงงานในแตละป ป จ จั ย สํ า คั ญ อี ก ประการหนึ่ ง ที่ ช าวไทใหญ อพยพเขามาอาศัยอยูในเขตจังหวัดเชียงใหม คือการมี ความใกลเคียงกันทางวัฒนธรรมระหวางชาวไทใหญ กั บ ชาวไทย (ล า นนา) เช น การนั บ ถื อ พุ ท ธศาสนา เหมือนกัน การมีขนบประเพณีคลายคลึงกัน มีภาษา ที่ใกลเคียงกัน ปจจัยดังกลาวไดเอื้อใหชาวไทใหญ สามารถปรับตัวไดงายขึ้น เมื่ออพยพเขามาตั้งถิ่นฐาน เขามาหางานทําในประเทศไทย ขณะเดี ยวกันชาว ไทใหญบางสวนก็มีญาติพี่นองหรือเพื่อนบานอาศัยอยู ในเชียงใหมมากอนแลว จึงเปนการงายที่จะเขามาอยู ในเชียงใหมกอนแลวจึงหาทางยายไปยังที่อื่นๆ ตอไป 45


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปที่ 30 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2553

(ปณิธิ อมาตยกุล 2547 : 66) ในอดีตเชียงใหมเปน ศูนยกลางทางการคาที่สําคัญ จึงมีการเดินทางเขามา ของผูคนหลายชาติพันธุ โดยบริเวณริมฝงแมน้ําปงไป จนถึงประตูทาแพนั้นเปนที่ขนถายสินคาและที่พักของ พอคาชาติพันธุตางๆ ดังนั้น จึงมีการสรางวัดของคน แตละชาติพันธุตามนิกายที่ตนนับถือเปนศูนยรวมทาง จิตใจของกลุมคนนั้นๆ วัดหลายแหงเปนวัดของชาว ไทใหญสืบมาจนถึงปจ จุบัน บางวัดมีเจาอาวาสเปน คนไทยเชื้อสายไทใหญ และมีการประกอบพิธีกรรม ทางศาสนาแบบไทใหญ วัดเหลานี้เปนที่พึ่งของชาวไท ใหญพลัดถิ่นไดเปนอยางดี วัดที่ชาวไทใหญนิยมเขา ไปประกอบพิ ธี ก รรมทางศาสนาและร ว มกิ จ กรรม ตางๆ มากที่สุดในปจจุบัน ไดแก วัดปาเปา3 และวัด กูเตา4 วัดสองแหงนี้จึงมีบทบาทมากในการสรางและ ผลิ ต ซ้ํ า “ทวิ อั ต ลั ก ษณ ” ของชาวไทใหญ ดั ง จะ วิเคราะหโดยละเอียดตอไปขางหนา เห็น ไดวา ปจ จัยตางๆ ที่ไ ดกลา วมาแลว ใน ขางตน เปนปจจัยสําคัญที่ดึงดูดใหชาวไทใหญอพยพ เขามาตั้งถิ่นฐาน เขามาหางานทํา เขามาขายแรงงาน ในจั ง หวั ด เชี ย งใหม แ ละการที่ ช าวไทใหญ เ ข า มาใน ฐานะคนพลัดถิ่น ก็ทําใหชาวไทใหญประสบกับปญหา ในดานของการใชชีวิตในประเทศไทย และนอกจากนี้ แล ว ยั ง ส ง ผลต อ การบริ ห ารจั ด การในจั ง หวั ด เช น ปญหาเรื่องความมั่นคง ปญหาเรื่องสุขภาวะ เปนตน 3.

ปญหาในการใชชีวิตของชาวไทใหญพลัดถิ่นใน เมืองไทย

การที่ ช าวไทใหญ เ ข า มาอาศั ย ในจั ง หวั ด เชียงใหมในฐานะคนพลัดถิ่น พบวามีปญหาตางๆที่ กดดั น ให ช าวไทใหญ ต อ งหาทางต อ สู แ ละปรั บ ตั ว หนทางหนึ่งที่ชาวไทใหญตองแสดงออกมาเพื่อความ อยูรอดของตนเองก็คือการผลิตซ้ําอัตลักษณบางดาน และปรับเปลี่ยนอัตลักษณบางดาน เพื่อชวยลดปญหา และเพื่ อ จะมี ชี วิ ต ที่ ดี ขึ้ น หรื อ มี ค วามมั่ น คงมากขึ้ น

3

โดยเฉพาะอยางยิ่งเพื่อจะไดสิทธิ อํานาจ หรือโอกาส ในการเขาถึงทรัพยากรตางๆ มากขึ้น ดังนั้น กอนที่ จะเขาใจการสราง การสืบทอด หรือการปรับเปลี่ยน อั ต ลั ก ษณ ข องชาวไทใหญ อ ย า งลึ ก ซึ้ ง จํ า เป น ต อ ง ทํ า ความเข า ใจป ญ หาที่ ช าวไทใหญ เ ผชิ ญ เสี ย ก อ น ปญหาสําคัญ ๆ ของชาวไทใหญมีดังนี้ • การไมมีบัตรประชาชนไทยและไมได รับสถานะผูลี้ภัย คํา กล า วของชาวไทใหญพ ลัดถิ่น คนหนึ่ง ที่ ทํางานในบารเกย สะทอนปญหาในชีวิตของชาวไท ใหญ ที่ ไ ม มี บั ต รประชาชนได บ างส ว น กี ร ติ ก านต (นามแฝง) (2548 : 2) ดังนี้ “ผมลองอดทนทํ า งานก อ สร า ง แบบเดิมตอไปเรื่อยๆ เพราะไมมีที่ไป แลว จะไปทํางานอื่นก็ไมได เขาไมรับ เพราะไมมีบัตร ไมมีวุฒิการศึกษา ไมมี อะไรเลย คนจางเขากลัวทําผิดกฎหมาย แลวจะตองเสียคาปรับ จนวันหนึ่งผม มาเจอเพื่อนเกา... เขาก็บอกวาทํา อาชีพนี้ ผลก็เลยขอตามเขาไปทําดวย” เนื่องจากชาวไทใหญจํานวนมากยังไมไดรับ สถานะผู ลี้ ภั ย ในประเทศไทย จึ ง ไม ไ ด รั บ ความ ชว ยเหลื อ ทางมนุ ษ ยธรรม ส ว นหนึ่ งต อ งอยู อ ย า ง หลบๆ ซ อ นๆ บริ เ วณชายแดนไทย – พม า และ พยายามดิ้นรนหางานทํา โดยการขายแรงงานตาม ธุรกิจและอุตสาหกรรมตางๆ ขอมูลจากการสัมภาษณชาวไทใหญจํานวน หนึ่งแสดงใหเห็นวาชาวไทใหญที่ไมมีบัตรประชาชน นั้นทําใหชาวไทใหญขาดสิทธิในการมีบานพักอาศัย เปนของตนเอง ตองอาศัยอยูตามบานเชาหรือหอพัก อีกทั้งโอกาสในการประกอบอาชีพก็มีจํากัด เชน หาก

ตั้งอยูตําบลศรีภูมิ อําเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม วัดกูเตา (หรือวัดเวฬุวนารามวิหาร) ตั้งอยูตําบลศรีภูมิ อําเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม

4

46


ทวิอัตลักษณ: การตอสูและการปรับตัวของชาวไทใหญพลัดถิ่นในจังหวัดเชียงใหม ปานแพร เชาวนประยูร

ไมมีบัตรประชาชนหรือบัตรตางดาว หรือพูดภาษาไทย ภาษาไทยไมไดหรือพูดไดนอยแลวก็ยากที่จะประกอบ อาชีพคาขาย ตองเลือกอาชีพใหบริการตา งๆ เชน พนักงานเสิรฟ หมอนวด ชางเสริมสวย แคดดี้ใน สนามกอลฟ ขายบริการทางเพศ ฯลฯ งานวิ จั ยเกี่ ยวกั บแรงงานต างด าวของสถาบั น วิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดลไดคํานวณ ตัวเลขนําเขาผูหญิงขายบริการจากประเทศเพื่อนบาน ตั้งแตป พ.ศ. 2534 พบวามีผูหญิงตางชาติเขาสูสถาน บริการไมต่ํากวา 60,000 คน เฉลี่ยปละ 10,000 คน (กฤตยา อาชวานิ จ กุ ล 2540) หญิ ง สาวเหล า นี้ไ ม มี บัตรประชาชนจึงไมมีโอกาสเดินทางหางานทําอยาง อิสระ นายหนาในบริเวณแมสายสามารถชักชวนหญิง สาวเหลานี้ไปขายบริการไดอยางงายดาย เพราะหญิง สาวไทใหญจํานวนมากเหลานี้ไมรูวามีงานอื่นใหเลือก อีก เพราะคนที่เขามากอนก็ทํางานประเภทนี้ จึ ง อาจกล า วได ว า แรงงานชาวไทใหญ โดยมากมักจะอยูในสถานะผูลักลอบเขาเมือง มีรายได ต่ํ า และไม ส ามารถสื่ อ สารภาษาไทยได อ ย า งเข า ใจ (กรุงเทพธุรกิจ 2549) ทําใหตองทํางานเปนแรงงานไร ฝมือประสบกับปญหาอื่นๆ อีกหลายปญหาดวยกัน • การถู ก จับ กุม และความรุนแรงจาก เจาหนาที่ของรัฐ ชาวไทใหญที่อพยพเขามาอาศัยในจังหวัด เชียงใหมถือไดวาเปนคนเขาเมืองอยางผิดกฎหมาย ไมมีบัตรอนุญาตทํางานจึงหวาดกลัวตอการถูกจับกุม สวนใหญใชวิธีจายเงินใหกับเจาหนาที่ตํารวจเปน "คา จดทะเบียนเพื่อขออนุญาตทํางาน” แตนายจางมักจะ ยึดบัตรอนุญาตของแรงงานเอาไวเพื่อแรงงานจะไดไม สามารถหนีไปที่ไหนได ทําใหแรงงานเหลานี้ไมรอด พนจากการถูกจับกุมของเจาหนาที่ ชาวไทใหญหลาย คนจึงรูสึกวาการมีหรือไมมีบัตรอนุญาตทํางานก็ไมมี ความแตกตางกันมากนัก เพราะถึงอยางไรก็ตอง จายเงิน “คาคุมครอง” ใหกับเจาหนาที่ตํารวจอยูดี ทํ า ให แ รงงานข า มชาติ ห ลายคนใช วิ ธี ก ารจ า ยส ว ย ใหแกเจาหนาที่แทนการไปจดทะเบียน ในงานปใหมไทใหญที่จัดขึ้นที่วัดปาเปาและ วัดกูเตาในป พ.ศ. 2550 นั้น ปรากฏวามีจํานวนชาว

ไทใหญไปรวมงานไมมากดังแตกอน สาเหตุเนื่องจาก แรงงานสวนใหญเกรงจะถูกเจาหนาที่ตํารวจตั้งดาน สกัดจับกุมดังเชนงานออกพรรษา ซึ่งผูที่เดินทางไป รวมทําบุญที่วัดปาไดถูกเจาหนาที่ตํารวจจับกุมไปกวา 500 คน (สํานักขาว S.H.A.N. 2549) หนังสือพิมพ ทองถิ่นเชียงใหมนิวส ฉบับวันที่ 8 ตุลาคม 2549 รายงานวา “เจาหนาที่ตํารวจกองเมืองเชียงใหม จับกุมแรงงานตางดาวชาวไทใหญที่ไม พกบัตร หลังจากที่ชาวไทใหญเขามา เที่ ย วงานเทศกาลวั น ออกพรรษาวั ด ปาเปา ในวันที่ 7 ตุลาคม 2549 โดยที่ เจาหนา ที่ตํารวจไดควบคุมตัวชาวไท ใหญไดเปนจํานวนมากกอนนําไปสอบ ประวัติและเตรียมการผลักดันออกนอก ประเทศตอไปเนื่องจากกลัววาชาวไท ใหญบางรายไมผานการตรวจโรคจาก กรมแรงงาน หวั่น นํา เชื้อ โรคจาก ชายแดนมาแพรในเมือง...” • การถู ก ขู ด รี ด จากนายหน า และ นายจาง ชาวไทใหญ ถู ก ขู ด รี ด จากนายหน า ตั้ ง แต เริ่ ม ต น การเดิ น ทาง โดยที่ น ายหน า จะเป น ผู จั ด การ ตั้งแตเรื่องการเดินทาง การจัดหาที่พัก และการหา งานใหทํา แรงงานตางดาวชาวไทใหญตองเดิน ทาง แบบหลบซ อ นในรู ป แบบต า งๆ ซึ่ ง เสี่ ย งอั น ตราย แรงงานโดยเฉพาะผูหญิงมักจะถูกนายหนาหลอกไป ขายใหแ กสถานบริการและบังคับใหขายบริการทาง เพศ การจายคานายหนานั้น นายหนาสวนใหญจะใช วิธีเก็บเงินโดยตรงที่นายจาง และนายจางก็จะหักจาก คาแรง ซึ่งกลายเป นขออางของนายจา งที่จ ะไมจา ย คาแรงตามที่ไดตกลงกันไว ชาวไทใหญจํานวนไมนอย ตองทํางานโดยไดรับคาจางต่ํามาก หรือบางคนไมได รับคาจางเลย โดยทั่ ว ไปแล ว แรงงานต า งด า วมั ก จะถู ก นายจางกดคาแรง เนื่องจากไมมีกฎหมายรองรับ อีกทัง้ 47


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปที่ 30 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2553

ไมสามารถเรียกรองสิทธิใดๆ ชาวไทใหญพลัดถิ่นมัก ขาดช องทางที่ จ ะไดรับขอมู ลขาวสารเกี่ยวกับแหลง จ า งงานและสภาพแวดล อ มในการทํ า งาน ซึ่ ง ทํ า ให ยอมทํา งานให กั บ นายจ า งที่ เอาเปรี ย บมาก รวมทั้ ง ยอมทํางานที่มีอันตรายตอสุขภาพ จันทร แซหลี อาสาสมัครโครงการฯ ชาวไทใหญ เรียนจบชั้น มัธยมศึกษาปที่ 6 ที่ประเทศพมา และยายเขามาอยู ในไทยได 7 ป ปจจุบันกําลังเรียนหนังสือภาษาไทยใน ระดับชั้นประถม ของการศึกษานอกโรงเรียน (กศน.) เชียงใหม เลาวา “แรงงานไทใหญในสวนสม จะใช สารเคมี ฉี ด พ น ยาโดยไม ไ ด มี ก าร ปองกัน เมื่อฉีดพนยาเสร็จก็ไมทํา ความสะอาดรางกาย บางคนไปสูบบุหรี่ ดื่มเหลา เพราะเชื่อวาจะชวยใหสารเคมี นั้ น ไม ต อ งตกค า งในร า งกายได . .. แรงงานไมมีความรูในเรื่องการปองกัน อั น ตรายในการทํ า งานกั น เลย... นอกจากนี้ยังมีปญหาในเรื่องการกดขี่ ทางเพศ การกดขี่แรงงาน มีการใช แรงงานเปลา นายจางไมยอมจาย คาจาง จึงทําใหตองยายถิ่นฐานกัน ใหม” (องอาจ เดชา 2549) นอกจากถู ก ขู ด รี ด ค า แรงแล ว ชาวไทใหญ พลัดถิ่นยังถูกทํารายรางกายและลวงละเมิดทางเพศ อยางมาก มีงานวิจัยที่ชี้วาเมื่อเขามาในประเทศไทย แลวผูหญิงไทใหญจํานวนไมนอยไดถูกการลวงละเมิด ทางเพศและถูกทารุณกรรมอยางตอเนื่อง เพียงแต เปลี่ ย นพื้ น ที่ ที่ ถู ก ล ว งละเมิ ด ทางเพศจากหมู บ า น ชายแดนในพมา มาเปนสวนสม โรงงาน บานนายจาง สถานที่กอสราง สถานีตํารวจ ฯลฯ และเปลี่ยน ผูกระทําจากทหารพมามาเปนนายจาง เจาหนาที่ของ รัฐ ฯลฯ (ปนแกว เหลืออรามศรี 2546) • การถูกดูถูกจากคนนอกกลุม ปญหาการถูกดูถูกจากคนภายนอกกลุม ถือ ไดวาเปนปญหาที่ชาวไทใหญตองเผชิญเมื่อไดเขามา 48

อาศัยอยูในประเทศไทย นอกจากฐานะทางเศรษฐกิจ ที่ถูกมองวาเปนคนจน กลุมคนไมมีทางสูแลว การถูก มองวาเปน “พมา” ก็สรางปญหาใหไมนอย เพราะคน ไทยทั่วไปถูกปลูกฝงความรูทางประวัติศาสตรใหเห็น พมาเปนศัตรูของชาติ จากการสัมภาษณพบวามีชาว ไทใหญจํานวนมากถูกมองวาเปนคนพมา เชน น.ส. สา อายุ 19 ป กลาววา “ตนเองเปนชาวไทใหญอพยพ มาจากรัฐฉาน เขามาอยูในประเทศไทย 5 ปแลว แต พูดภาษาไทยไมชัด จึงมักจะมีคนเรียกวาพมา...” นอกจากนี้ชาวไทใหญมักจะถูกมองวาเป น กลุมคนที่สรางปญหาใหกับประเทศทางดานยาเสพติด จากการสั ม ภาษณ ช าวไทใหญ ซึ่ ง อาศั ย อยู บ ริ เ วณ แคมปกอสรางในหมูบานแมริม เลาใหฟงวา “ตนเอง ชื่อ บุญ เคยถูกตํารวจจับที่รานยาดองหนาปากซอย หมูบานเพราะตนเองพูดไมชัด...ตํารวจไดถามตนเอง วาในตัวมียาบารึเปลา ในกระเปามีอะไรบาง และขอ คนสิ่งของ...ตนเองก็ไมพอใจกับการกระทําดังกลาว แตก็ไมสามารถทําอะไรหรือเรียกรองอะไรไดเพราะ ตนเองไมใชคนไทย” การที่ชาวไทใหญตองเผชิญความกดดันและ ปญหาตางๆ อยางรุนแรงทั้งเมื่ออยูในประเทศพมา และในประเทศไทย ทําใหชาวไทใหญตองการแหลงที่ พึ่งพิงทางใจ ตองการสิ่งที่ชวยในการลดความตึง เครียดในการดํารงชีวิต ซึ่ง “พุทธศาสนา” เปนสิ่งที่ ชาวไทใหญใหความสําคัญและเปนสวนหนึ่งของชีวิต ชาวไทใหญ ที่ อ าศั ย อยู ใ นจั ง หวั ด เชี ย งใหม จึ ง มี “พระสงฆ” เปนผูที่ชวยบรรเทาปญหาทางจิตใจ นอกจากนี้ชาวไทใหญไดใชพื้นที่ “วัด” ในการรวมกัน ทํา กิ จ กรรมตา งๆ วัดจึ ง เปน พื้น ที่ ทางสั ง คมในการ สรางและผลิตซ้ํา ทางอัตลัก ษณ ของชาวไทใหญเปน อย า งดี โดยที่ ก ารจั ด กิ จ กรรม ภายในวั ด เช น นี้ สามารถกระทํ า ได อ ย า งปลอดภั ย เนื่ อ งจากรั ฐ และ สั ง คมไทยเห็ น ว า เป น เรื่ อ งของศาสนาที่ ไ ม เ ป น อันตรายตอสังคมและประเทศชาติ กิ จ กรรมในวั ด สะท อ นให เ ห็ น ว า “ทวิ อั ต ลักษณ” (dual identities) ในพื้นที่วัด (ซึ่งมีผลตอวิถี ชีวิตภายนอกวัดดวยนั้น) ชวยตอบสนองตอปญหาที่ ชาวไทใหญตองเผชิญในเมืองไทยไดมาก


ทวิอัตลักษณ: การตอสูและการปรับตัวของชาวไทใหญพลัดถิ่นในจังหวัดเชียงใหม ปานแพร เชาวนประยูร

ดานหนึ่ง ชาวไทใหญตองการเปน “ไทใหญ” ซึ่งชวยตอบสนองความจําเปนในชีวิตของชาวไทใหญ ทั้ ง การที่ จ ะได มี โ อกาสประพฤติ ป ฏิ บั ติ ต นตาม ขนบธรรมเนียมประเพณีที่ตนคุนเคย ซึ่งทําใหจิตใจ สงบสุข และมีอารมณความรูสึกที่มั่นคงขึ้น การที่ไ ด แสดงวาพวกตนเปน “ไทใหญ” ไมใช “พมา” การที่ได มีโอกาสหารายไดจากการขาย “สินคาวัฒนธรรม” ใน บริบทที่การทองเที่ยวขยายตัว และการที่ไดเสริมสราง ความสํ า นึ ก ว า เป น พวกเดี ย วกั น ซึ่ ง ควรจะให ก าร ชวยเหลือเกื้อกูลกัน จนเกิดเปน “เครือขายของชาวไท ใหญ” (ดังจะไดวิเคราะหโดยละเอียดตอไปขางหนา) อี ก ด า นหนึ่ ง ชาวไทใหญ ต อ งการเป น “ไทย ” ( ดั ง จะได วิ เ คราะห โ ดยละเอี ย ดต อ ไป เชนเดียวกัน) ซึ่งชวยตอบสนองความจําเปนในชีวิต ของชาวไทใหญพลัดถิ่น ในแงที่ทําใหชาวไทใหญถูก เพงเล็งจากเจาหนาที่ของรัฐนอยลง รวมทั้งไมถูกดูถูก เหยียดหยามวาเปนพมา มีโอกาสหางานทํากวางขวาง ขึ้น เขาถึงทรัพยากรตาง ๆ ของรัฐไดมากขึ้น ถูกกดขี่ เอารั ด เอาเปรี ย บจากนายจ า งน อ ยลง และสามารถ ดํารงชีวิตอยูในสังคมไทยอยางปลอดภัยมากขึ้นหรือ มีชีวิตที่มั่นคงขึ้นกวาเดิม 4.

บทบาทของวั ด และพระสงฆ ใ นการสร า งและ ผลิตซ้ําทวิอัตลักษณของชาวไทใหญ

ชาวไทใหญเมื่อมาอยูในจังหวัดเชียงใหมแลว ไดนําวัฒนธรรมเดิมหลายประการมาเปนสวนหนึ่งใน วิถีชีวิตของตน โดยปรับเปลี่ยนตามความจําเปนเพื่อ ตอบสนองบริ บ ทที่ เ ปลี่ ย นไป พร อ มกั น นั้ น ก็ รั บ เอา วัฒนธรรมใหมบางประการเขามาเปนสวนหนึ่งของวิถี ชีวิต ซึ่งทําใหเกิดอัตลักษณสองดานที่ปรากฏใหเห็น อย า งชั ด เจนทั้ ง ในหมู ช าวไทใหญ ด ว ยกั น และใน สายตาของสังคมภายนอก กลาวคือ ดานหนึ่งชาวไทใหญมี ความเปนไทใหญ” อยางชัดเจน แตขณะเดียวกันก็มี “ความ

เปนไทย” จนเรียกไดวาเปน “ทวิอัตลักษณ” อัตลักษณ ทั้งสองดานนี้อาจแสดงออกพรอม ๆ กัน โดยเฉพาะ อยางยิ่งในบริบทของวัดหรือพื้นที่ทางพุทธศาสนา ซึ่ง ชาวไทใหญ ส ามารถแสดงอั ต ลั ก ษณ ทั้ ง สองด า น ออกมาไดอยางปลอดภัย อยางไรก็ตามในบางบริบท ชาวไทใหญ อ าจเน น “ความเป น ไทใหญ ” มากกว า หรือในบางบริบทอาจจะเนน “ความเปนไทย” มากกวา ก็เปนได วัดปาเปา เปนวัดที่ชาวไทใหญรูจักกันอยาง กวางวาเปน “วัดไทใหญ” เจาอาวาสองคปจจุบันนั้นมี สัญชาติไทย แตก็มีความเปนไทใหญมากเพราะมี เชื้อสายไทใหญ สามารถพูด ฟง อานและเขียนภาษา ไทใหญ ไ ด อี ก ทั้ ง มี ค วามรู เ กี่ ย วกั บ ขนบธรรมเนี ย ม ประเพณีและวัฒนธรรมไทใหญ และสนับสนุนกิจกรรม ตางๆ ที่เกี่ยวกับงานประเพณีของชาวไทใหญอยาง มาก พระภิกษุและสามเณรที่บวชเกือบทั้งหมดในวัดนี้ มีเชื้อสายไทใหญ พระพุทธรูปที่ประดิษฐานอยูในพระ วิหารก็เปนประติมากรรมแบบไทใหญ การใหศีลให พรของพระสงฆ ก็ จ ะให เ ป น ภาษาไทใหญ ทํ า ให วั ด ปาเปาเปนที่พึ่งทางใจอยางดียิ่ง เมื่อชาวไทใหญเขา มาประกอบกิจ กรรมทางพุทธศาสนาในวัดนี้ชวยให ชาวไทใหญมีความรูสึกเสมือนอยูในบานเกิดเมืองนอน ของตนเอง สวนวัดกูเตา เจาอาวาสในปจจุบัน คือ ครูบา จันทรรังสี แมจะไมมีเชื้อสายไทใหญ แตก็รูภาษาไท ใหญและสนับสนุนกิจกรรมของชาวไทใหญเปนอยาง มาก จากการสัมภาษณผูนําชาวไทใหญในการจัดงาน ประเพณีปใหม เกี่ยวกับการริเริ่มเขามาจัดงานภายใน วัดกูเตา พบวาวัดปาเปานั้นไมสามารถรองรับจํานวน คนที่เพิ่มมากขึ้นได ประกอบกับความคิดเรื่องรูปแบบ ในการจัดงานนั้นมีความแตกตางกัน ทางคณะผูจัดงาน จึงไดมาขอรองกับเจาอาวาสวัดกูเตา ขอใชพื้นที่ในการ

49


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปที่ 30 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2553

วัดปาเปา จังหวัดเชียงใหม

วัดปาเปา จังหวัดเชียงใหมพื้นที่ในการจัด

50


ทวิอัตลักษณ: การตอสูและการปรับตัวของชาวไทใหญพลัดถิ่นในจังหวัดเชียงใหม ปานแพร เชาวนประยูร

จัดงานงานปใหม หลังจากการจัดงานปใหมในครั้งนั้น แลว จึงไดมีการจัดกิจกรรมตางๆ ที่เกี่ยวของกับชาว

ไทใหญมากขึ้น เชน การจัดงานปอยสางลอง การสอน ภาษาไทใหญ เปนตน

วัดกูเตา จังหวัดเชียงใหม

เจดีย วัดกูเตา จังหวัดเชียงใหม 51


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปที่ 30 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2553

จะเห็นไดวากิจกรรมที่ชาวไทใหญไดประกอบ ขึ้นภายในวัดทั้งสองนั้นมีความแตกตางกัน โดยที่วัด ปาเปาจะเนนกิจกรรมที่เกี่ยวของกับพุทธศาสนา สวน วัดกูเต า นั้นจะเนน กิจกรรมที่ตอบสนองความรื่นเริง ของชาวไทใหญ โดยกิจกรรมตางๆ ก็สามารถลดความ ตึ ง เครี ย ดในการใช ชี วิ ต ของชาวไทใหญ ท า มกลาง ความหวาดกลัวและความหวาดระแวงไดเปนอยางดี นอกจากนี้ วัดยังมีบทบาทสําคัญในการผลิต ซ้ํ า “ความเป น ไทใหญ ” รวมทั้ ง โลกทั ศ น ต ลอดจน คานิยมตางๆ ของไทใหญ ผานสื่อนานาชนิด เชน มีหนังสือแบบเรียน นวนิยาย นิทาน ตํารับตําราตางๆ ที่ เ ขี ย นเป น ภาษาไทใหญ และมี ซี ดี เ พลงไทใหญ วางขายภายในวัดปาเปาและวัดกูเตาในชวงที่มีงาน เทศกาลตางๆ โดยกลุมคนที่มาซื้อตําราเหลานี้จะเปน ชาวไทใหญที่ไดรับการศึกษาและบางสวนซื้อเพื่อให ลูกหลานไดอานเพื่อใหไดความรูเพิ่มเติม ชาวไทใหญ ที่อพยพและอาศัยอยูในจังหวัดเชียงใหมนั้นไดมีการ ใชภาษาไทใหญในชีวิตประจําวัน ทั้งการพูด อาน เขียน แมวาชาวไทใหญบางคนจะพูดภาษาไทยได แต เมื่ออยูภายในกลุมชาวไทใหญดวยกัน ชาวไทใหญ มักพูดภาษาไทใหญเพื่อแสดงความเปนกลุมเดียวกัน เด็กเล็กชาวไทใหญจึงสามารถที่จะฟงภาษาไทใหญ รูเรื่อง โดยผานการเรียนรูจากพอแม ผานการอาน จากหนังสือนิทานที่เปนภาษาไทใหญ และเปนที่นา สังเกตวาเพลงไทใหญทั้งที่เปนเพลงสตริงและเพลง เพื่อชีวิต มีสวนชวยใหเด็กรูจัก “ความเปนไทใหญ” มากยิ่งขึ้น นอกจากที่กลาวมาแลวพระสงฆมีสวนสําคัญ ในการเน น ย้ํ า ความเป น ไทใหญ โ ดยการใช ภ าษา ไทใหญ ใ นการสื่ อสาร ไม วา จะเป น การทั ก ทายเพื่ อ ไตถามสารทุกขสุขดิบ การเทศนและการใหศีลใหพร เปนภาษาไทใหญ หรือแมแตการติดประกาศ ขอความ บทกลอนภายในวัดก็ลวนเปนภาษาไทใหญแทบทั้งสิ้น 5

ในดานงานประเพณีที่จัดขึ้นในวัด ก็เนนความ เปนไทใหญอยางมาก ในงานปใหมไตที่จัดขึ้นภายในวัด ปาเปาและวัดกูเตาในเดือนเจง (เดือนที่หนึ่ง) ขึ้นหนึ่ง ค่ํา มีการเฉลิมฉลองโดยการทําบุญ “ตานขาวใหม” และขาวตํางา ถวายแดพระพุทธเจาและถวายอาหาร แดพระภิกษุสงฆ มีการประกวดนางงามไทใหญและการ แสดงตามประเพณีของชาวไทใหญ การบวชเณรหรือ “ปอยสางลอง”5 มีความสําคัญมากตอชาวไทใหญ ทั้ง วัดปาเปาและวัดกูเตาก็ไดมีการจัดงานปอยสางลอง ทุกป วัดปาเปานั้นเจาอาวาสสนับสนุนใหมีการจัดงาน ดังกลาวครั้งแรกในป พ.ศ. 2536 และไดจัดขึ้นมา อยางตอเนื่องทุกป สวนวัดกูเตานั้นเพิ่งจะเริ่มจัดขึ้น เมื่อป พ.ศ. 2546 แตชาวไทใหญก็ไดสงลูกหลานของ ตนมาบวชป ล ะหลายร อ ยคน งาน “ปอยออกหว า ” (ออกพรรษา) ชาวไทใหญก็ ไ ดใ หค วาม สํ า คั ญ มาก โดยชาวไทใหญจ ะรว มกันไปทํา บุญ ที่วัดปาเปาและ วัดกูเตาและถือโอกาสพบปะเพื่อนฝูงและญาติพี่นอง จํานวนหลายพันคน ชาวไทใหญไดรวมกันถวาย เครื่องสังฆทานจนแนนขนัด มีการเหมารถสองแถว จากเขตอําเภอรอบนอกเพื่อเดินทางมายังวัด และชาว ไทใหญจะนําศิลปะการฟอนรําที่สงางามมาแสดง ในงานปอยตางๆ ที่จัดขึ้นภายในบริเวณวัด ชาวไทใหญจะจัดใหมีการฟอนนกกิงกะหรา (กินรี) ซึ่ง เกี่ ย วโยงกั บ ความเชื่ อ ทางพุ ท ธศาสนา กล า วคื อ ในช ว งเข า พรรษานั้ น พระพุ ท ธองค จ ะเสด็ จ ไปจํ า พรรษาที่สวรรคชั้นดาวดึงส เพื่อเทศนาอภิธรรมโปรด พระมารดา และจะเสด็จกลับมนุษยโลกในวันแรม 1 ค่ํา เดือน 11 พระอานนทจึงประกาศใหมวลมนุษยและ เวไนยสัตวทั้งหลายไดทราบทั่วกัน เมื่อถึงวันแรม 1 ค่ํา เดือน 11 จึงไดมีการตอนรับ โดยเชาวันที่พระพุทธ องคเสด็จลงมาจากดาวดึงสนั้น พุทธมามกะทั้งหลาย จะพรอมใจกันนําอาหารไปตักบาตรเรียกวา “ตักบาตร เทโวฯ” และบรรดาสัตวตาง ๆ รวมทั้งสัตวจากปาหิมพานต

ชาวไทใหญในเชียงใหมยังคงมีความเชื่อวา “สางลอง” คือ ผูมีบุญอันบริสุทธิ์ สามารถสรางมหากุศลใหเกิดแกบิดามารดา และแกตนเองตลอดจนผูใหการสนับสนุน“ปอยสางลอง” เจตนารมณของการจัด “ปอยสางลอง” มี 2 ประการ คือ เพื่อแสดงกตัญู กตเวทิตาตอบิดา-มารดา หรือตอผูใหการอุปการะเลี้ยงดู ซึ่งเปนผูมีพระคุณอยางสูงในการใหกําเนิด และเลี้ยงดู และเพื่อการศึกษา อบรม เพราะเมื่อผานพนวัยเด็กแลวเด็กชายซึ่งจะตองกาวออกไปเปนผูนําของสังคม ตองไดรับการศึกษาอบรมใหเปนผูมีสติปญญา ความรูความสามารถ เพื่อจะไดเลี้ยงชีพและดูแลสังคมตามปทัสฐานและคานิยมของชาวไทใหญ

52


ทวิอัตลักษณ: การตอสูและการปรับตัวของชาวไทใหญพลัดถิ่นในจังหวัดเชียงใหม ปานแพร เชาวนประยูร

ก็พากันมาฟอนมาเตน แสดงความชื่นชมยินดีกับการ เสด็จกลับของพระพุทธองค ตอมาจึงนิยมทํารูปสัตว

ตางๆ มาแสดงเลียนแบบกิริยาของสัตวเหลานั้นเพื่อ ถวายเปนพุทธบูชาสืบตอกันมาจนถึงปจจุบัน

"โต" การละเลนของชาวไทใหญ

"โต" รวมในงานปอยสางลองที่วัดกูเตา 53


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปที่ 30 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2553

ชาวไทใหญ ต ระหนั ก ว า การฟ อ นนกกิ ง กะหร า มี ค วามสํ า คั ญ ต อ การสื บ ทอด “ความเป น ไทใหญ ” อย า งมาก และเป น ศิ ล ปะที่ ส ร า งความ ภาคภูมิใจในวัฒนธรรมประเพณีของชาวไทใหญ จาก การสัมภาษณพระลูกวัดวัดปาเปา ไดกลาววา “ตนเอง รูสึกดีใจที่เยาวชนไตสามารถฟอนรําและพูดภาษาไต ได เพราะถาเราไมทําอีกหนอยการแสดงที่ทําใหเห็น วาเรามีศิลปะที่สวยงามก็จะหายไป และการจัดงาน ที่ทางวัด ไดจัดขึ้นในแตละครั้งนั้น ทางวัดยินดีที่จ ะมี การแสดงของชาวไตมากกวาการแสดงอื่น” นายแสนเมือง กลาววา “การฟอนนกกิ่งกะหรานั้นจริงๆแลวเปนของ ชนชั้นสูง เราจะแสดงก็ตอเมื่อมีงานสําคัญ จะไมนํามา แสดงเวลามีงานแตง งานศพ หรือตามรานอาหาร จําพวกขันโตก... แตเราก็ไมสามารถหามได เพื่อการ ทองเที่ยวและเพื่อประชาสัมพันธศิลปวัฒนธรรมของ ชาวไทใหญ แตทางกลุมของตนจะไมมีการจัดการ แสดงฟอนนกกิ่งกะหราในรูปแบบที่ผิดตางจากเดิม” ในปจจุบัน เห็นไดชัดวาการฟอนรํา “นกกิง กะหรา” ไดถูกนํามาใชในความหมายใหม คือมิใชเพื่อ เปนพุทธบูชา แตมุงแสดงถึงอัตลักษณไทใหญในแง ที่วาชาวไทใหญมีศิลปวัฒนธรรมที่ดีงาม ควรที่จะ ไดรับการอนุรักษเพื่อใหศิลปวัฒนธรรมอันงดงามของ ชาวไทใหญดํารงอยูตอไป นอกจากนี้ภาครัฐยังนําเอา การฟ อ นนี้ ม าใช เ พื่ อ ส ง เสริ ม การท อ งเที่ ย วอี ก ด ว ย นอกจากเขารวมในงานประเพณีตาง ๆ ที่จัดขึ้นในวัด แลว ชาวไทใหญยังแสดงออกถึงความเปนไทใหญใน ฐานะของผูเครงครัดในหลักคําสอนของพุทธศาสนา ดวยการไปทําบุญที่วัดเปนประจํา พระภิกษุวัดกูเตา เลาวา “ในทุกวันพระจะมีพี่นองชาวไทใหญมาทําบุญที่ วัดจํานวนมาก โดยชาวไทใหญจะเอาสังฆทานมา ถวายและขอพรจากพระ พระสงฆจะใหพรชาวไทใหญ เป น ภาษาไทใหญ พร อ มทั้ ง รดน้ํ า มนต แ ละให สายสิญจน ถาเปนชวงที่เปนวันสําคัญทางพุทธศาสนา ที่วัดจะมีการเทศนเปนภาษาไทย” นายสายเลาวา “พี่นองชาวไทใหญจะมา ทํ า บุ ญ ที่ วั ด นั้ น มี ทุ ก เดื อ นเพราะเป น วั น สํ า คั ญ ทาง ศาสนา ชาวไทใหญนับถือศาสนาพุทธจึงตองไปทําบุญ

54

ที่วัดทุกวันพระ เพื่อชีวิตจะไดมีความสุข มีการงานที่ดี มีชีวิตครอบครัวที่สงบสุข” นอกจากนี้พระอธิการอินตา อินฺทวิโร ยังได จัดตั้งมูลนิธิสงเสริมการศึกษาศิลปวัฒนธรรมภายใน วัดปาเปา ทําการพื้นฟูศิลปวัฒนธรรมไทใหญ เชน ประเพณีเขาพรรษา ออกพรรษา ปอยจองพารา (เขง สางปูด) ปอยปใหมไตเดิม มีการแตงกายแบบชาวไต กินน้ําเนง(น้ําชา) กินขาวปูก (กินขาวตํางา) กินขาว เสน(ขนมจีน) กินขาวหลาม ประเพณีปอยสางลอง (บวชลูกแกว) และประเพณีสงกรานต เปนตน บทเพลงไต กับการสรางความทรงจําและ สํานึกความเปน “ชาติไทใหญ” ในงานประเพณีที่ ชาวไทใหญจัดขึ้นภายในวัด ไดมีการเปดเพลงไทย ใหญและจําหนายเทปและซีดีเพลงไทใหญ เพลงและ ดนตรีถือไดวาเปนเครื่องมือสําคัญอีกประการหนึ่งที่ ชาวไทใหญไดใชเพื่อเปนการกระตุนใหชาวไทใหญมี ความรูสึกเดียวกัน มีความตองการแบบเดียวกัน ชาว ไทใหญและคณะผูจัดทําไดมีการจัดการแสดงและรอง เพลงโดยศิลปนที่มีชื่อของชาวไทใหญ ซึ่งเนื้อหาของ เพลงนั้ น มี ห ลายประเภทไม ว า จะเป น ความรั ก การ สรางความเปนอันหนึ่งอันเดียวกัน จากการที่ถูก รุกรานโดยพมาจนไมมีประเทศของตนเอง เปนชน กลุมนอยทั้งในพมาและในประเทศไทย การถูกรังแก เยี่ยงทาสเมื่อตองตกอยูภายใตการปกครองของพมา เชน เพลงสัญญาปางโหลง หรือ “ลิ่กหอมหมายปาง โหลง” วงดนตรีการเมืองกลุมแรกของชาวไทใหญได ถือกําเนิดขึ้นเมื่อ 20 ปที่ผานมาโดยกลุมนายทหาร ไทใหญ ซึ่ ง ใช ชื่ อ วงเป น ภาษาไทใหญ ว า เจิ ง แลว (Freedom Way) บทเพลงที่วางขายนั้นมีทั้งที่เกี่ยวกับ สภาพสังคม การเมืองในรัฐฉาน สภาพชีวิต ความ เปนอยูของทหารไทใหญในแงมุมตางๆ ทั้งความรัก ความทุกขและความหวัง เชนเพลง “เนวินโจรปลน แบงครอย” เปนบทเพลงที่กลาวถึงการยกเลิกใช ธนบัตรไทใหญในป พ.ศ. 2509 เพลง “หอหลวงเชียง ตุง” กลาวถึงการทุบทําลายวังและเปลี่ยนเปนโรงแรม ของรัฐบาลพมา ถือไดวาเปนการทํารายความรูสึกของ ชาวไทใหญโดยที่บทเพลงดังกลาวคร่ําครวญถามหาคน


ทวิอัตลักษณ: การตอสูและการปรับตัวของชาวไทใหญพลัดถิ่นในจังหวัดเชียงใหม ปานแพร เชาวนประยูร

เฝาวังวาหายไปไหน ทําไมถึงปลอยใหคนมาทําลาย วังได หรือเพลง ”ไทใหญยังจํา” โดยที่เนื้อหาของ เพลงนั้ น ย้ํ า เตื อ นคนไทใหญ แ ละคนภายนอกว า แผ น ดิ น รั ฐ ฉานเป น ของชาวไทใหญ ม าเนิ่ น นาน ใต แผนดินผืนนี้มีกระดูกของบรรพบุรุษของเราฝงอยู คน ไทใหญจึงยังจําไดดีวาแผนดินนี้เปนของใคร นอกจาก บทเพลงที่จะทําใหเปนการกระตุน สํานึกของชาวไท ใหญ แ ล ว นั ก ร อ งเองก็ มี ค วามต อ งการที่ จ ะกระตุ น ความเป น ไทใหญ ขึ้ น มาเช น กั น จายแสงจ อ มฟ า ศิลปนชื่อดังของชาวไทใหญกลาววา “ในหนึ่งอัลบั้มผม จะตองมีเพลงที่กระตุนใหชาวไทใหญรักในภาษาและ วัฒนธรรมอยางนอยสองเพลง เพราะมันเปนหนาที่ ของเราที่ จ ะต อ งช ว ยกั น รั ก ษาเอกลั ก ษณ ข องคน ไทใหญเอาไวใหดํารงสืบไป” (เคอไต 2550) บทเพลง ของชาวไทใหญที่ไดมีการวางขายในประเทศไทยทั้ง ในรูปแบบเทปซีดีและวีซีดีนั้นไดรับความนิยมในกลุม ชาวไทใหญเปนอยางมาก มีการจัดจําหนายในรานคา บริ เ วณชุ ม ชนที่ มี ช าวไทใหญ อ าศั ย อยู เ ช น บริ เ วณ รอบๆ วัดปาเปา ในหมูบานชาวไทใหญเชนที่บาน เปยงหลวง นอกจากนี้แลัวยังมีการจัดจําหนายในชวง ที่วัดมีการจัดงานกิจกรรมตางๆ เปนตน นอกจากนักรองชาวไทใหญแลว นักรองไทย เองก็ไดมีการรองและแตงเพลงสําหรับชาวไทใหญดวย เชนกัน แอด คาราบาว ไดทําอัลบั้มเพลง “รัฐฉาน ตํานานที่โลกลืม” ขึ้น โดยเนื้อหาภายในนั้นเกี่ยวกับ ชาวไทใหญ แ ละดิ น แดนที่ เ รี ย กว า รั ฐ ฉานทั้ ง อั ล บั้ ม ทําใหเห็นถึงการถูกเอาเปรียบกดขี่จากทหารพมา การ สูญเสียดินแดน การสูรบ และการปลุกระดมใหเกิดการ รวมตัวเพื่อรัฐฉานของตนอีกครั้ง โดยใชบทเพลงใน อัลบั้มทั้ง 10 เพลงนั้นเปนสิ่งที่สื่อสารใหผูฟงที่มี ความรูสึกรวมหรือกลุมคนที่เคยผานเหตุการณนั้นๆ มา รูสึกเปนอันหนึ่งอันเดียวกัน มีความแคนและถูก รังแกมาเหมือนกัน ไมวาจะเปนเพลง”สงครามเลือด สาละวิน” ที่มีเนื้อหาของชนเผาของพมาที่อยูบริเวณ ลุมแมน้ําสาละวิน ที่รวมกันลงนามในสัญญาปางโหลง และเฝารอวันที่ไดไดรับเอกราชจากพมาแตสุดทายก็ ไมไดเปนอยางนั้น จึงไดมีการตอสูเพื่อดินแดนของตน เพลง”เหตุเกิดที่ตองจี” เลาถึงเหตุการณที่หญิงชาวไท

ใหญถูกรุกรานจากทหารพมา ไมวาจะเปนการขมขืน ถูกทรมาน คนในครอบครัวถูกฆา ที่ปกซีดีของแอด คาราบาว ในอัลบั้ม “รัฐฉานตํานานที่โลกลืม” นี้ ที่ หนาปกเปนรูปศิลปกรรมของชาวไทใหญและมีภาพ ธงชาติของชาวไทใหญ โดยที่มีความหมายถึงชาติไต และไดใชในวันชาติไต ถึงแมคํารองจะเปนภาษาไทย แตเนื้อหาภายในเปนเรื่องเกี่ยวกับชาวไทใหญที่ถูก รังแกโดยพมา และการพยายามกูชาติของชาวไทใหญ แทบทั้งสิ้น เทปและซีดีเพลงดังกลาวนี้มีจําหนายใน งานตางๆ ที่จัดขึ้นในวัดปาเปา วัดกูเตา และวัดอื่นๆ ที่ชาวไทใหญไปรวมงาน โดยที่แอด คาราบาวไดรับ ความนิยมจากชาวไทใหญเปนอยางมาก ภาพถ า ยกั บ การสร า งความทรงจํ า ร ว ม ภายในวั ด ป า เป า ได มี ก ารสร า งความทรงจํ า ร ว มกั น ระหว า งชาวไทใหญ โดยอาศั ย ภาพถ า ยที่ แ สดง ประวัติความเปนมาของชาวไทใหญที่เคยมีบานเมือง เปนของตนเอง มีผูนําเปนของตนเอง มีการรวมมือกัน สรางสรรคสิ่งที่มีคุณคาตาง ๆ ภาพถายเหลานี้ ไดแก ภาพเมืองเชียงตุง ภาพเจาฟาไทใหญที่เปนเจาเมือง ตางๆ ในอดีต และภาพเจานายไทใหญอื่นๆ ภาพหอ หลวงเมืองเชียงตุง ภาพชาวเชียงตุงที่ไดรวมกันสราง วัดปาเปา ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีการรวบรวมขาวของ เครื่องใชตางของชาวไทใหญไวภายในวัด เพื่อที่ชาว ไทใหญจะไดเห็นและระลึกถึงบานเกิดเมืองนอนของ ตนเองอยูเสมอ นอกจากภาพประดับตางๆ ที่กลาวมาใน ขางตนแลว ภายในวัดปาเปาและวัดกูเตาแลว รานคา รอบๆ ชุมชนวัดปาเปาและวัดกูเตา ยังวางขายสิ่ง ตางๆ ที่สรางความรูสึกผูกพันกับ “ชาติไทใหญ” เชน ปฏิทินประจําป ค.ศ.2006 เปนปฏิทินที่ชาวไทใหญ ในเชี ย งใหม ไ ด จั ด ทํ า ขึ้ น มาเพื่ อ เป น ที่ ร ะลึ ก ในวาระ ครบรอบ 100 ปของการกอสรางหอหลวงเชียงตุง ภาพในปฏิ ทิ น ชุ ด นี้ ป ระกอบด ว ยภาพของหอหลวง เชียงตุงซึ่งเปนที่อยูของเจาฟา สรางขึ้นเมื่อ ป พ.ศ. 2449 แตไดถูกทหารพมาทําลายทิ้งเมื่อ พ.ศ. 2534 นอกจากนี้ยังมีรูปเจาฟาเชียงตุงเจากอนแกวอินแถลง ซึ่งครองราชยระหวาง พ.ศ. 2439 – 2478 รูปเจากอนไต ซึ่งครองราชยตั้งแต พ.ศ. 2480 - 2480 และไดถูกลอบ 55


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปที่ 30 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2553

การประกวดนางงามชาวไทใหญในงานปใหมประจําป ปลงพระชนมหนาหอหลวงเชียงตุง รูปเจาจายหลวง เจาฟาหลวงเชียงตุงคนสุดทาย ซึ่งครองราชย พ.ศ. 2489 – 2505 โดยพระองคไดถูกรัฐบาลทหารพมา จับกุมและจําคุกเปนเวลา 6 ป กระทั่งสิ้นพระชนมเมื่อ พ.ศ. 2540 การทํ า บุ ญ ให กั บ บุ ค คลสํ า คั ญ ของชาว ไทใหญ ก็มีผลในเชิงของการสรางสํานึกใน “ชาติ ไทใหญ” อยางมาก เชนในกรณีของ “เจาชาง หยอง หวย” ผูนํากลุมไทยใหญคนสําคัญซึ่งเสียชีวิตที่ แคนาดาเมื่อ 24 กรกฎาคม 2547 ชาวไทใหญในผ จังหวัดเชีย งใหมไ ด จัดพิธีไ วอ าลัยขึ้น และไดมีก าร ประกอบพิธีทางพุทธศาสนาที่วัดปาเปาและวัดกูเตา เชนเดียวกับ การสรางหรือบูรณปฏิสังขรณโบสถ วิหาร ก็เปนสวนหนึ่งของการสรางอัตลักษณของชาว ไทใหญวาเปนพุทธศาสนิกชนที่ดี อันเปนสิ่งที่ชาวไทย ยกยอง เชน ในวัดปาเปามีปายแสดงรายนามชาวไทใหญ 6

จากถิ่นตาง ๆ ที่ไดรวมกันบริจาคเงิน เพื่อสรา งพระ วิหารวัดปาเปา ซึ่งนอกจากจะมีเจายอดศึก หัวหนา RCSS แลว ยังมีคนในครอบครัว ลูกนอง เจาอาวาส วัดพระนอนจังหวัดแมฮองสอน และศรัทธาวัดปาเปา อีกจํานวนหนึ่ง การใช สั ญ ลั ก ษณ ธ งชาติ ข องไทใหญ 6 เปนการเนน “ความเปนไทใหญ” และ “ชาติไทใหญ” อยางเห็นไดชัด ในกรณีธงชาตินี้ ไมไดประดับเปนธง ผื น ผ า ที่ โ บกสะบั ด ในบริ เ วณวั ด เพราะอาจจะมี ความหมายแฝงในแง ข องการรวมกํา ลัง ในการต อ สู ของชาวไทใหญเพื่อกอบกูดินแดนและอํานาจอธิปไตย ของตน ซึ่งหนวยงานของรัฐที่ดูแลเรื่องความสัมพันธ ระหวางไทยกับพมาและดูแลเรื่องความมั่นคงของชาติ ไมสามารถอนุญาตใหเกิดขึ้นได ดังนั้น ทางวัดจึง ประดับเฉพาะผืนธงชาติไทย แตจะมีการใชธงชาติไทใหญ ในรูปแบบแฝงเรนอื่นๆ เปนตนวา การใชสีของธงชาติ

การใหความหมายของเเถบสีของธงชาติฉานนั้น สีเหลืองหมายถึงสีผิวของชาวไทใหญบางก็บอกวาหมายถึงความเคารพ ในศาสนา ดินแดนที่เปนพุทธศาสนาเพราะสีเหลืองนั้นคลายกับสีของจีวรของพระสงฆ สีเขียว หมายถึง น้ํา ดิน หิน ผา ธรรมชาติ ตนไมใบหญาในเเผนดินที่เขียวขจีอุดมสมบูรณซึ่งเปนพื้นฐานทางเศรษฐกิจของฉาน สีเเดง มีความหมายไปถึงเลือดเนื้อของชาวไทย ใหญที่เขมขุนขน กลาหาญชาญฉลาด มีความทรนง ไมยอมอยูใตการปกครองของใครทั้งนั้น และสีขาว ในวงกลมหมายถึง วาจาเเละ คําพูดที่ออกจากปากของชาวไทยใหญมีเเตความบริสุทธิ์ การเปนกลุมคนที่รักอิสระรักความสงบสุข

56


ทวิอัตลักษณ: การตอสูและการปรับตัวของชาวไทใหญพลัดถิ่นในจังหวัดเชียงใหม ปานแพร เชาวนประยูร

การสราง “ความเปนไทย” และ “ความเปนพี่-นอง ระหวางไทใหญกับไทย”

ท า นได เ ดิ น ทางไปร ว มงานสั ม มนาทางวิ ช าการที่ กรุงเทพ เรื่อง “สถานการณผูลี้ภัย ในประเทศไทย” เ มื่ อ วั น ที่ 25 ม ก ร า ค ม 2550 แ ล ะ ไ ด ใ ห นิ ย า ม ความหมายแกกลุมผูลี้ภัยวาเปน “คน(ที่)ไหลมา” เพราะการไหลมา นั้นมีมานานแลว และมีหลายสาเหตุที่ ทําใหตองไหลมา เชน การไหลเพื่อ หวั ง มาพึ่ ง พาพระบรมโพธิ ส มภาร ของพระเจ า อยู หั ว หรื อ เห็ น ว า ประเทศไทยเปนประเทศประชาธิปไตย ไมไดมาอยางสมัครใจ แตเผชิญกับ ความลําบาก อยูบานเกิดไมได กิน ไมได การไหลมาของชาวไทใหญนั้นก็ หวัง พึ่ง ญาติพี่ นอ งที่เ ป น สายโลหิ ต เดียวกัน ยามทุกขยากจึงขอมาพึ่งพา สงบก็กลับไปที่เดิม ตอมาเมื่อถูกนิยาม เปน “ผูลี้ภัย” “คนหนีเขาเมือง” จึง เดือดรอนคิดทําอยางไร อยูไมได กลับ ไมได ซึ่งวัดก็ไดใหความชวยเหลือแก คนเหลานี้บางตามสมควร

“ความเปนไทใหญ” ที่ทางวัดปาเปาและ วั ด กู เ ต า ได พ ยายามเน น ย้ํ า ที่ ทั้ ง เรื่ อ ง “ความเป น ไทย” และเน น “ความเป น พี่ -น อ ง” หรื อ “การมี สายโลหิตเดียวกันระหวางไทใหญกับไทย” ดวย เช น การติ ด ภาพถ า ยและรู ป ป น ของพระนเรศวร ภายในวัด เพื่อเนนวาชาวไทใหญและชาวไทยมี ประวัติศาสตรความเปนมารวมกัน มีความเปนเมืองพี่ เมืองนองกัน เคยชวยกันทําสงครามกับพมาเพื่อกอบกู เอกราชของชาติ ภาครัฐของไทยก็มีบทบาทมากใน การปลูก ฝง “ความเปน ไทย” ที่สัม พั น ธใ กลชิดกับ “ความเปนไทใหญ” เชน นายกองคการปกครองสวน ทองถิ่นเชียงใหมไดมอบอนุสาวรียสมเด็จพระนเรศวรฯ และพระบรมสาทิส ลั ก ษณ ข องสมเด็ จ พระนเรศวรฯ และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลาเจาอยูหัวใหแก วัดกูเตาและวัดปาเปา พระอธิการอินตา อินทวิโร เจาอาวาสวัด ปาเปาไดเคยมีบทบาทโดยตรงในการเนนอัตลักษณ ไทใหญในฐานะชาติที่มีสายเลือดเดียวกันกับคนไทย

คํ า กล า วของเจ า อาวาสวั ด ป า เป า ข า งต น สอดคลองกับบทเพลงที่แอด คาราบาว ไดแตงขึ้นเมื่อ ป 2549 กลาวถึงชาวไทใหญวาเปน “คนไทย” หรือ เปน “พี่-นองกันกับคนไทย” เพราะเคยอยูในแผนดิน จีนมาดวยกัน เมื่อถูกจีนรุกรานจึงอพยพลง ชาวไท ใหญ ไ ปอยู ที่ รั ฐ ฉาน ต อ งสู ญ เสี ย ดิ น แดนจากการ รุกรานของพมา ตัวอยางเชน เพลง “ฉานเสเตท” (พูด) ชนชาติไตหรือไทใหญคือ พี่นองของ คนไทยสยาม พวกเขามีแผนดินของตนเองคือรัฐฉาน ในสหภาพพมา แต 50 ปที่ผานมาภายใตอํานาจการ ปกครองของเผด็จการทหารพมา รัฐฉานของชาวไต ถูกยึดครอง ประชาชนชาวไตถูกเขนฆา ขมขืนและ ถูกทารุณกรรมคนแลวคนเลานับแสนนับลานคน ชาวไต ภายใต ก ารนํ า ของเจ า ยอดศึ ก จึ ง ผนึ ก กํ า ลั ง กั น เป น กองทัพ ภายใตชื่อวาฉานสเตทอารมี่ หรือ SSA จาก อดีตถึงปจจุบันสถานการณดานซาย 10 นาฬิกาของ ไทยสยาม ไมเคยแปรเปลี่ยน ผลงาน เพลงชุดนี้คือ

ไทใหญ ในการทาสี บั นไดขึ้ นวิ หารที่ วั ดป าเป า การติ ด สติ๊ ก เกอร ที่ มี ภ าพธงชาติ ไ ทใหญ ข องมู ล นิ ธิ Community for promotion of Tai cultural and literature ที่ห นา ตู รับบริ จ าคภั ต ตาหารพระและเณรในบริเ วณ วิหารวัดปาเปา การใสธงชาติไทใหญไวในสติ๊กเกอร แมเหล็ก ภาพสกรีนบนเสื้อผา ภาพบนหนังสือหรือบน แผนเพลง ตลอดการใชสีธงชาติประดับในงานกิจกรรม ตางๆ นอกจากนี้ยังมีพอค าขายเสื้อยืดที่ มีการสกรีน ภาพธงชาติ ข องชาวไทใหญ หรื อ ภาพเสื อ ที่ เ ป น สัญลักษณแหงอํานาจและความกลาหาญของของชาว ไทใหญ เห็นไดวาการสรางและการผลิตซ้ําทางอัตลักษณ ของชาวไทใหญนั้น สามารถทําไดหลายรูปแบบ โดย ที่สิ่งตางๆที่ชาวไทใหญไดสรางและผลิตซ้ําขึ้น ทําให ชาวไทใหญ มีค วามรู สึ ก เปน พวกพ อ งเดี ย วกั น เป น กลุมชาติพันธุที่มีลักษณะเฉพาะ โดดเดน มีเอกลักษณ เปนของตนเอง ซึ่งแตกตางจากกลุมชาติพันธุอื่นๆ 5.

57


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปที่ 30 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2553

แนวรวมจากคนไทยสยามคนหนึ่ง คือกําลังใจจากมิตร สหาย ที่ เ ฝ า ปรารถนาให พี่ น อ งชาวไตบรรลุ วั ต ถุ ป ระสงค ใ นการต อ สู เ พื่ อ ให ไ ด ม าซึ่ ง อธิ ป ไตย นั่นคือเสรีภาพเหนือดินแดน อันเปนถิ่นกําเนิดของ ชนชาติไต ขางซายสิบนาฬิกานั้น ตะวันยังเศรายัง โศกศัลยเหตุการณผานเลยนับแสนวัน ถอยมาดวยกัน ทั้งฉานไต เมื่อเจงกีสขานกรีทาทัพ รุกตีเขามาถึงจีน ใตเขาถอยรนมาเปนไทย แตไทยใหญ เราถอยรนมา เปนไทย แตไทยนอย * ฉานสเตท ฉานสเตท ฉานสเตท ฉานสเตท ไทยใหญ ไทยใหญ ไทยใหญ ไทยใหญ ดินแดนที่ปรกคลุมดวยเทือกเขา มีดอกไมขาวพิษยางราย วันนี้อบอวลดวยควันไฟ ที่เผาลางมลทินคอยนินทา เพื่อลบคําตราหนาวาคาฝน เพื่อกอบกูแผนดินจากพมา แลววันนี้ไทยนอยจงเปดตา ซาย 10 นาฬิกามีชนชาติไต มีภาษาเปนของตนเอง มีหนังสือเปนของตัวเอง มีแผนดินเปนของตัวเอง มีลูกหลานดูตัวเอง ประชาชนชาวไตเจาฟาโปโมเฮงขุนศึกขุนสาลุกขึ้นสูกองทัพพมา เพื่อแผนดินบิดร มารดา เพื่ออนาคตไทยใหญ ไทย ขางซายสิบนาฬิกานั้น คือรัฐฉานบานชองของไทใหญ เขาตอสูเพราะเขาคือคนไทย ไมใชหมองโสรงขี้โกงเมือง อยาเห็นเปนเรื่องของชาวบาน ตามตํานานคือพี่นองคือผองเพื่อน อยาเปนกันชนกันคนเถื่อนที่ลบเลือนประวัติศาสตรของชนชาติไต

เนื่องจากพระอธิการอินตา อินฺทวิโร เจาอาวาส วัดปาเปา เนนวาไทใหญและไทยมีสายเลือดเดียวกัน จึงไดเนนทั้งความเปนไทใหญและความเปนไทยไป พรอมกัน เชน ทานไดแตงหนังสือ วิธีเรียนหนังสือ ไทย 200 ชั่ ว โมงแบบง า ยๆ และหนั ง สื อ ไทใหญ และจัดตั้งโรงเรียนศึกษาผูใหญในวัดปาเปาขึ้น เพื่อ สอนภาษาไทใหญและสอนภาษาไทย ปจจุบัน (พ.ศ. 2550) โรงเรียนศึกษาผูใหญนี้ถูกยกเลิกไปแลว เหลือแต การศึ ก ษาภาคค่ํ า ซึ่ ง ครู ที่ ส อนมี ทั้ ง พระภิ ก ษุ แ ละ ฆราวาส สวนผูเรียนโดยมากจะเปนชาวไทใหญและ ชาวเขาที่ ใ ช เ วลาว า งมาเรี ย นหนั ง สื อ เพื่ อ ให รู ภาษาไทย และสามารถประกอบอาชีพที่ดีกวา ในการ สอนภาคค่ํานี้มีการปลูกฝงอุดมการณใหมแกผูเรียน อยางเขมขน จากการสัมภาษณอาจารยทานหนึ่ง ได ใหขอมูลวา “ตนเองเปนคนเชียงดาว บรรพบุรุษมา จากพมาเพราะฉะนั้นตนเองสามารถพูดภาษาไทใหญ ได ตนเองเปนอาจารยสอนที่มูลนิธิไดหลายป... 58

หลั ก สู ต รที่ ต นเองสอนนั้ น ใช แ บบเดี ย วกั บ ที่ ส อน ชาวเขา เนนใหรักชาติ ศาสนาและพระมหากษัตริย ไทยเพราะตอนนี้เราอาศัยอยูในแผนดินไทย ” การแสดงความจงรักภักดีตอพระมหากษัตริย ไทยเชนนี้ ปรากฏในหมูชาวไทใหญ ทั้งในและนอก พื้นที่วัด เชน การประดับพระบรมสาทิสลักษณไวใน บานเรือน พันเอกเจายอดศึกผูนําสูงสุดของ SSA และ RCSS ประธานในพิธีเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จ พระเจาอยูหัว ซึ่งจัดระหวางวันที่ 8-10 มิถุนายน 2549 ไดกลาวถึงสาเหตุที่ตนเองและประชาชนไทยใหญ เคารพศรัทธาพระเจาอยูหัวของคนไทยเปนอยางยิ่งวา "ตั้ ง แต ผ มเป น ผู นํ า กองทั พ ไทย ใหญและมาตั้งฐานอยูที่ดอยไตแลงเมื่อ ป 2542 เปนตนมา ผมจัดพิธีบูชา คารวะพระบาทสมเด็ จ พระเจ า อยู หั ว และสมเด็จพระนางเจาฯ พระบรมราชินีนาถ มาตลอดทุกปในวันเฉลิมพระชนมพรรษา อันที่จริงผมเริ่มคิดมาตั้งแตยุค MTA (พ.ศ.2528-2538) ที่ขุนสาเปนผูนําแลว แตผมยังเปนแคนายทหารเล็กๆ ทําอะไร ไมไดจึงไดแตเคารพพระองคทานอยูในใจ... ความนับถือในพระราชวงศไ ทย ของผม มีเหตุมาตั้งแตเมื่อป พ.ศ.2520 ตอนผมอายุราวๆ 17-18 ป... เพิ่งเขามา เปนทหารกูชาติ เจากอนเจิงผูนําไทย ใหญตอนนั้นคัดเลือกผมกับเพื่อนทหาร ไทยใหญประมาณ 10 คน ไปเปน รปภ. รวมกับหนวย ตชด.327 ของไทย ไปถวาย อารักขาสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เมื่อครั้งเสด็จ หมูบานเปยงหลวง อําเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม... พระองคทานถาม ผมวา สบายดีหรือเปลา เปนไทยใหญ หรือเปลา อยูที่ไหน ผมตอบวา เปน ไทยใหญครับ อยูบนดอย วันนั้นทาน สอนใหรักสามัคคีกัน ใหเรียนหนังสือให เกง ถาเกงจะทําอะไรก็งาย" (นิพัทธพร เพ็งแกว 2550)


ทวิอัตลักษณ: การตอสูและการปรับตัวของชาวไทใหญพลัดถิ่นในจังหวัดเชียงใหม ปานแพร เชาวนประยูร

ชาวไทใหญที่อาศัยอยูในจังหวัดเชียงใหมได เลือกวันสําคัญของไทยในหลายวัน เพื่อทํากิจกรรมขึ้น ภายในวัด เพื่อตองการแสดงใหรัฐเห็นวาตนเองเปน สวนหนึ่งของคนไทย มีความรัก และจงรักภักดีตอชาติ ศาสน กษั ต ริ ย เ หมื อ นกั บ คนไทย เช น วั น เฉลิ ม พระชนมพรรษาพระบาทสมเด็ จ พระเจ า อยู หั ว หรื อ วั น พ อ แห ง ชาติ วั น เฉลิ ม พระชนมพรรษาสมเด็ จ พระนางเจ า พระบรมราชิ นี น าถหรื อ วั น แม แ ห ง ชาติ วันเด็ก ฯลฯ และชาวไทใหญไดมีการจัดงานประเพณี ตางๆ เชนเดี ย วกับชาวเชีย งใหม เช น วัน สงกรานต วัน ลอยกระทง รวมไปถึงวั น สํ า คั ญ ทางพุ ทธศาสนา ตางๆ ดังในกรณีชวงวันที่ 9 มิถุนายน 2549 ซึ่งภาครัฐ และเอกชนของไทยไดจัดงานเพื่อฉลองที่พระบาทสมเด็จ พระเจาอยูหัวครองราชยครบ 60 ป ทางวัดปาเปาก็มี กิจกรรมขึ้นภายในวัด โดยมีการรณรงคใหชาวไทใหญ ใสเสื้อสีเหลือง มีการออก รานขายของรวมทั้งเสื้อสี

เหลือง สายรัดขอมือ (wrist band) สีเหลือง การจัด งานดังกลาวยิ่งใหญไมแพกับงานปใหมที่เพิ่งผานไป ตอนตนป จากการสัมภาษณ นางสาวแอน เกี่ยวการ รณรงคใหใสเสื้อสีเหลืองและสายรัดขอมือ ไดเลาให ผูวิจัยฟงวา “ตนเองใสเสื้อ สีเหลืองเพราะทางโทรทัศน ไดมี ก ารรณรงคจึ งซื้ อ มาใสแ ละเพื่อ เเสดงให เห็ น ว า ตนเองรักและเคารพในหลวง และทางโรงเรียนศึกษา ผูใหญก็ไดมีการรณรงคใหใสเชนกัน” กรณีการจัดงานปอยสางลอง ครั้งที่ 14 ที่ วัดปา เปานั้น ไดรับการสนับสนุนจากการทองเที่ยว แหงประเทศไทย นายกเทศบาลนครเชียงใหมและ องคกรทั้งภาครัฐ เอกชนอื่นๆ โดยที่งานดังกลาวได จัดขึ้นระหวางวันที่ 4-6 เมษายน 2550 เพื่อรวม เทิดพระเกียรติองคพระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวใน วโรกาสทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ป และมี พระชนมายุครบ 80 พรรษา

งานปอยสางลอง (งานบวชลูกแกว) ของชาวไทใหญ

59


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปที่ 30 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2553

"สางลอง" ในงานปอยสางลอง (งานบวชลูกแกว) ของชาวไทใหญ กรณี ก ารจั ด งานปอยส า งลองระหว า งวั น ที่ 23 – 26 มีนาคม 2550 ที่วัดกูเตา มีขอความที่เขียน ขี้นเพื่อติดบนเวที ความวาเปนการงานปอยสางลอง ครั้งที่ 5 เพื่อเฉลิมพระชนพรรษาพระบาทสมเด็จ พระเจาอยูหัวครบ80 พรรษา มีการประดับธงชาติไทย ในงานปอยสางลองประจําป ที่วัดปาเปา การนําเอาธง ชาติไทยมาใชในขบวนในการแหสางลองในงานปอย สางลองประจําป 2550 ของวัดกูเตา การจัดงานเพื่อ รวมเฉลิมฉลองในวโรกาสดังกลา วที่วัดปาเป า ไดมี การจั ด คอนเสิ ร ต “สานน้ํ า ใจพี่ น อ งไต ร ว มถวาย พระพรแดในหลวง” โดยมีศิลปนยอดนิยมชาวไต จายเจิ ง หาญ และจายหาญแลง ในคื น วั น ที่ 3 และ 4 มิถุนายน 2549 โดยในวันที่ 4 มิถุนายน 2549 มีพิธี ทําบุญตักบาตรขาวสารอาหารแหง ทําพิธีทางศาสนา และถวายพระพรแด พ ระบาทสมเด็ จ พระเจ า อยู หั ว โดยในชวงค่ํานอกจากมีการแสดงคอนเสิรตแลว ยังมี การแสดงศิลปวัฒนธรรมชาวไตถวายพระพรเบื้องหนา พระบรมฉายาลักษณ ในการนี้คณะทํางานจะถวาย เงิ น จากการจั ด งานดั ง กล า วแด พ ระบาทสมเด็ จ พระเจ า อยู หั ว เพื่ อ เป น พระราชกุ ศ ลในวโรกาสทรง ครองราชยครบ 60 ป โดยมีนายอําเภอเมืองเชียงใหม 60

เปนผูรับมอบ ผูมารวมงานจุดเทียนชัยถวายพระพร และถวายสั ต ย ป ฏิ ญ าณว า จะร ว มกั น ทํ า ความดี เ พื่ อ ถวายเปนพระราชกุศลในวโรกาสที่ทรงครองสิริราช สมบัติครบ 60 ป จะไมยุงเกี่ยวกับยาเสพติด และไมกอ อาชญากรรม เพราะสํานึกในพระมหากรุณาธิคุณที่ได อาศัยผืน แผน ดิน ไทยอยูอ ยางรม เย็นเปน สุข ภายใต พระบารมี นอกจากนี้ยังไดรวบรวมเงินจํานวนหนึ่ง มอบใหกับนายชนะศึก หนูชัย ปลัดอําเภอเมือง เชี ย งใหม เพื่ อ สมทบทุ น มู ล นิ ธิ อ าสาเพื่ อ นพึ่ ง (ภา) ยามยากนํ า ไปใช ใ นสาธารณกุ ศ ลต อ ไป (ธนวรรณ ชุมแสง 2549) การจั ด งานประเพณี ป ใ หม ไ ตก า วเข า สู ป ที่ 2549 ที่วัดกูเตา ไดมีการรวมมือกันระหวางพระสงฆ องคกรพัฒนาเอกชนและหนวยงานของรัฐ หลังจาก ครูบาจันทรังสี เจาอาวาสวัดกูเตา ใหพรเปนภาษา ไทใหญ แ ล ว รองนายเทศมนตรี เทศบาลเมื อ งนคร เชียงใหมซึ่งเปนประธานเปดงานนี้ ไดกลาวถวาย พระพรแดองคพระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวตอหนา พระบรมฉายาลักษณ พรอมรวมกันรองเพลงสรรเสริญ พระบารมี


ทวิอัตลักษณ: การตอสูและการปรับตัวของชาวไทใหญพลัดถิ่นในจังหวัดเชียงใหม ปานแพร เชาวนประยูร

นอกจากนี้แลว ในดานการศึกษา เนื้อหา ในวิชาภาษาไทยนั้นจะเนนใหผูมาเรียนมาความสํานึก ในความเปนไทยที่มีชาติ ศาสนาและพระมหากษัตริย เปนหัวใจ เชน การสอนวิชาภาษาไทยเรื่อง “พระมหากษัตริย” เนนวา ประเทศไทยมีการปกครองระบบประชาธิปไตย อั น มี พ ระมหากษั ต ริ ย เ ป น ประมุ ข พระองค ท รงเป น มิ่ ง ขวั ญ และทรงเป น ศู น ย ร วมจิ ต ใจของคนในชาติ พระราชกรณียกิจที่สําคัญในการทํานุบํารุงประเทศชาติ ใหเจริญรุงเรือง ไดแก การเกษตร การจัดการแหลง น้ําจัดที่ทํากินและสงเสริมการประกอบอาชีพ ทรงทํานุ บํารุงศาสนาทุกศาสนา และใหทุกคนมีเสรีภาพในการ นับถือ ดานการศึกษาทรงสนับสนุนทางดานการศึกษา ได ท รงมี ทุ น การศึ ก ษาให กั บ นั ก เรี ย นที่ เ รี ย นดี แ ต ยากจน ดานสาธารณสุข ทรงสนับสนุนใหการบริการ ทางดานสาธารณสุขไปสูชนบทอยางทั่วถึง จากการสัมภาษณแอน นักเรียนในหองเรียน ภาษาไทย ในโรงเรียน กศน. ที่ วัดปาเปา ไดเลา วา “ในวิชาภาษาไทยที่เรียนในวันนี้อาจารยผูสอนจะให คัดไทยตามคําศัพทที่อาจารยไดเขียนใหบนกระดาน ในวันนี้จะเปนคําเกี่ยวกับชาติ ศาสนาและพระมหากษัตริย โดยที่อาจารยผูสอนจะอธิบายความหมายของคําแตละ คํา โดยสวนตัวคิดวาการมาเรียนหนังสือที่โรงเรียนนี้ จะชวยใหสามารถพูดภาษาไทยไดจะไดมีงานที่ดีทํา เมื่อเรียนจบ” ทวิ อั ต ลั ก ษณ ข องชาวไทใหญ มิ ไ ด ป รากฏ เฉพาะที่วัดปาเปาและวัดกูเตาเทานั้น ยังปรากฏใน พื้นที่อื่นๆ อีกมาก เชน การจัดงานปอยสางลองที่วัด เปยงหลวง สะทอนทวิอัตลักษณของชาวไทใหญ ทั้ง เพื่อประโยชนของการทองเที่ยวและเพื่อแสดงออกถึง ความจงรักภักดีตอ “ความเปนไทย” ดังที่พระมหา ไกรสร กลฺญาณธโร เจาอาวาสวัดเปยงหลวง และ ประธานจัดงานฝายสงฆ กลาววา “การจัดงานในปนี้จะเนนตามแบบประเพณี ดั้ ง เดิ ม ของไทยใหญ ใ ห ม ากที่ สุ ด ทั้ ง นี้ เ พื่ อ ให นั ก ท อ งเที่ ย วที่ ขึ้ น ไปเที่ ย วยั ง ชายแดนไทย-พม า บริเวณบานเปยงหลวง จะไดมีโอกาสสัมผัสวิถีชีวิต ความเปนอยูและประเพณีวัฒนธรรมของชาวไทยใหญ อยางแทจริง สําหรับวัตถุประสงคในการจัดงาน เพื่อ

อนุรักษประเพณีวัฒนธรรมไทใหญ เนื่องจากใน หมูบานแหงนี้ประชาชนสวนใหญเปนคนไทใหญ และ เพื่อเปนการสงเสริมใหเยาวชนไดใชเวลาวางในชวง ปดเทอมมีโอกาสศึกษาหลักธรรมในพระพุทธศาสนา ร ว ม ทั้ ง เ พื่ อ เ ป น ก า ร ร ว ม เ ทิ ด พ ร ะ เ กี ย ร ติ อ ง ค พระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัว ในวโรกาสทรงครองสิริ ราชสมบัติครบ 60 ป และมีพระชนมายุครบ 80 พรรษา ดวยการจัดงานปอยสางลองในครั้งนี้ไดรับการ สนับสนุนจากกํานัน ผูใหญบาน องคการบริหารสวน ตําบล และองคการบริหารสวนจังหวัดเชียงใหม โดย ตลอดงานรวม 5 วัน จะมีการแสดงมหรสพหลายอยาง ซึ่ ง ในป นี้ ท างคณะผู จั ด ได เ ชิ ญ คณะจ า ตไต(ลิ เ ก ไทใหญ) จากเมืองสี่ปอ จอกเม ภาคเหนือรัฐฉาน มารวมแสดงดวย สวนพิธีเปดงานจะมีขึ้นในวันที่ 22 เมษายน 2550 โดยจะมีเจาธวัชวงค ณ เชียงใหม นายกองค ก ารบริ ห ารส ว นจั ง หวั ด เชี ย งใหม ไ ปเป น ประธานเปดงาน” (สํานักขาว S.H.A.N. 2550ข) 6.

ผลจากการสร า งและผลิ ตซ้ํ า ทวิ อั ตลั ก ษณ ข อง ชาวไทใหญ

การอาศัยวัดและพุทธศาสนาเปนพื้นที่ทาง สังคมในการแสดงออกซึ่งประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อ และประวัติศาสตรชาติ รวมทั้งการมีสวนรวมของกลุม คนในประเพณี แ ละวั ฒ นธรรมทั้ ง ที่ เ ป น คนไทใหญ คนไทย และนักทองเที่ยว ลวนสงผลตอการยืนยันและ การรั บ รู ใ นอั ต ลั ก ษณ ห รื อ ความเป น ตั ว ตนของชาว ไทใหญไดเปนอยางดี ในดานที่ชาวไทใหญแสดงออกซึ่งอัตลักษณ ไทยนั้ น ช ว ยให เ กิ ด ความสั ม พั น ธ ที่ ร าบรื่ น กว า เดิ ม ระหว า งชาวไทใหญ พ ลั ด ถิ่ น กั บ คนไทย สั ง คมไทย และภาครัฐของรัฐไทย แตที่สําคัญก็คือ การยอมรับอัต ลักษณที่เปนไทยในบางดานนั้น ทําใหชาวไทใหญไดมี โอกาสสรา งและผลิตซ้ํา อัตลัก ษณไทใหญไ ดสะดวก โดยไมถูกระแวงหรือถูกตอตานจากคนไทยและภาครัฐ ของไทย แมจะเคยมีการจับกุมชาวไทใหญพลัดถิ่นที่ กําลังเดินทางมารวมงานประเพณีอยูบาง แตก็ไมได เขามาจับกุมในเขตวัดแตอยางใด ชาวไทใหญยังคง สามารถจัดกิจกรรมในวัดไดอยางตอเนื่อง อาจกลาว 61


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปที่ 30 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2553

ไดวาการยืนยันในความจงรักภักดีตอ “ชาติไทย” และ “ความเปนไทย” ทําใหชาวไทใหญมีโอกาสแสดงออก ซึ่ ง ความผู ก พั น กั บ “ชาติ ไ ทใหญ ” และ “ความเป น ไทใหญ ” เป น ต น ว า การแสดงความจงรั ก ภั ก ดี ต อ พระมหากษัตริยไทย ทําใหสามารถใชวัดจัดกิจกรรม ตางๆ โดยไดรับความสนับสนุนจากภาครัฐของไทย เปนอยางดี เชน การสนับสนุนจากการทองเที่ยวแหง ประเทศไทยและองคการบริหารสวนทองถิ่นจังหวัด เชียงใหม เปนตน ทวิอัตลักษณยังชวยในการสรางภาพลักษณวา ชาวไทใหญเปนสวนหนึ่งของสังคมไทย ทําใหคนไทย และรั ฐไทยเห็น ว า ชาวไทใหญ เป น กลุม คนที่มี ค วาม สามัคคี รักพวกพอง มีความปรองดองและเปนอันหนึ่ง อันเดียวกันชวยเหลือกันในยามที่มีปญหา และยังได รวมกันทํากิจกรรมในเชิงสรางสรรค เชน สามารถจัด กิจกรรม เชนงาน “คอนเสิรตชาวเครือไตเพื่ออนุรักษ สัตวปา” ซึ่งจัดขึ้นวันที่ 16 -17 กันยายน 2549 ที่ สวนสั ต ว เ ชี ย งใหม โดยมี น ายธนภั ท ร พงษ ภ มร ผู อํ า นวยการสวนสั ต ว เ ชี ย งใหม ร ว มกั บ นางชู ศ รี เชาว ว าทิ น นั ก จั ด รายการวิ ท ยุ ภ าคภาษาไทใหญ ประจํ า สถานี วิ ท ยุ ก ระจายเสี ย งแห ง ประเทศไทย จังหวัด เชียงใหมเปน ผูดําเนิ น งาน คณะผูจั ดงานได เชิญนักนักรองชื่อดังขวัญใจชาวไทใหญมารวมแสดง สองคน ได แ ก จายหาญแลง แสดงในวั น แรก และ จายเจิงหาญ แสดงในวันที่สอง สําหรับวัตถุประสงคใน การจัดงานก็เพื่อสงเสริมการทองเที่ยวของสวนสัตว และเพื่อเสริมความรูใหกับแรงงานชาวไทใหญเกี่ยวกับ การอนุรักษสัตวปา ภายในงานนอกจากจะมีการแสดง คอนเสิรตที่สรางความสนุกสนานแลว ยังมีการให ความรูเกี่ยวกับการรักษาพันธุสัตวปาและปาไมจาก เจา หน า ที่ อี ก ทั้ งมีเ จา หน า ที่จ ากกรมการจัดหางาน และเจาหนาที่สาธารณสุขไปตั้งเต็นทคอยใหความรู ดานแรงงานและสุขภาพดวย สําหรับการจัดกิจกรรมตางๆ ที่เนนถึงอัตลักษณ หรื อ “เอกลั ก ษณ ” ไทใหญ ส ง ผลให เ กิ ด เครื อ ข า ย ไทใหญขึ้น ซึ่งเปนประโยชนอยางมากตอชาวไทใหญ

62

7.

อัตลักษณไทใหญกับการสรางเครือขายของชาว ไทใหญ

การสรางอัตลักษณดานที่มีความเปน “ไทใหญ” ชวยสรางชุมชนไทใหญในจินตนาการ ใหรูสึกถึงความ เปน พวกเดียวกัน เปนกระบวนการเดียวกัน กับ การ แลกเปลี่ยนขอมูลขาวสารที่จํา เปนตอการดํารงชีวิต เชน ความรูทางดานกฎหมายและความรูอื่น ๆ ทีช่ ว ยให ชาวไทใหญไมถูกเอารัดเอาเปรียบ การดูแลสุขภาพ ตลอดจนการจั ด กิ จ กรรมเพื่ อ นั น ทนาการ โดยมี วิ ท ยุ ก ระจายเสี ย งคลื่ น ความถี่ ต า งๆ เป น สื่ อ ในการ ชวยเชื่อมโยงเครือขายของชาวไทใหญ ที่สําคัญไดแก วิทยุกระจายเสียงแหงประเทศไทย (คลื่นความถี่ AM 1476 MHZ) ซึ่งออกอากาศเปนภาษาไทใหญในบาง ชวงเวลา เนื่องจากเปนคลื่นวิทยุความถี่สูง จึงรับฟง ไดในอาณาบริเวณที่กวางขวาง มีผูฟงเปนชาวไทใหญ ในประเทศไทย พมา ยูนนาน และลาว และคลื่นวิทยุ ชุมชน FM 99 MHz ของมูลนิธิ MAP เปนตน คลื่ น วิ ท ยุ เ หล า นี้ เ ชื่ อ มโยงชาวไทใหญ ด ว ยการเป ด เพลงภาษาไทใหญ และเปดโอกาสใหผู ฟงโทรศัพท เขามาเพื่อสงขาวสารถึงชาวไทใหญดวยกัน จากการสั ม ภาษณ ลุ ง แสนเมื อ ง นั ก จั ด รายการวิ ท ยุ ช าวไทใหญ ที่ ทํ า งานให กั บ มู ล นิ ธิ เ พื่ อ สุ ข ภาพและการเรี ย นรู ข องแรงงานกลุ ม ชาติ พั น ธุ เลา ใหฟ งเกี่ยวกั บการทํา งานของตนที่เกี่ย วของกั บ ทางวัดปาเปาและวัดกูเตาอยางนาสนใจวา “เนื่องจาก ผมเปนคนไทยที่มีเชื้อสายเปนชาวไทใหญ และผมได เข า มาร ว มกิ จ กรรมต า งๆ ที่ ท างวั ด ป า เป า ได จั ด ขึ้ น ตั้งแตปแรกที่เปนกิจกรรมที่เกี่ยวของกับชาวไทใหญ การทํางานของผมคือเปนนักจัดรายการวิทยุ หนาที่ ของผมคือเปนนักประชาสัมพันธ จึงมีหนาที่ในการ ประชาสัมพันธทั้งในสวนของหนาที่ บริการตางๆ ของ องคกร และเชิญชวนใหพี่นองชาวไทใหญไปรวมงาน ที่วัดปาเปาและกูเตาไดจัดขึ้นในทุกป ไมวาจะเปนงาน ปใหมไต งานปอยสางลองงานปอยออกหวาน ทางดาน ความสัมพันธสวนตัวนั้นตนเองไดเปนคนประสานงาน ในการจัดกิจกรรมกับทางเจาอาวาสทั้งสองวัด เชนใน


ทวิอัตลักษณ: การตอสูและการปรับตัวของชาวไทใหญพลัดถิ่นในจังหวัดเชียงใหม ปานแพร เชาวนประยูร

งานปใหมไตของวัดกูเตาผมจะเปนคนดําเนินการแทน เจาอาวาสไมวาจะเปนการติดตอนัก รองมาแสดงใน งานดังกลาว สําหรับทานเจาอาวาสจะมีหนาที่ในการ ให คํา อวยพรแก พี่ นอ งชาวไทใหญใ หใ ชชี วิต อย า งมี ความสุขตลอดปเปนภาษาไทใหญ” ภายในวัดปาเปามีการติดปายประชาสัมพันธ เพื่อรับสมัครอาสาสมัครชาวไทใหญเปนผูใหขอแนะนํา ทางกฎหมายทางด า นแรงงานแกก ลุ ม เพื่อ นชาวไท ใหญ และภายในวัดกูเตามีปายประกาศรับสมัครงาน ของบริ ษั ท เอกชนที่ ติ ด เพื่ อ ให ช าวไทใหญ ที่ เ ข า ไป ทําบุญและสนใจที่จะทํางานสมัครไดโดยตรงที่บริษัท ดังกลาว ซึ่งเปนประโยชนโดยตรงตอการหางานทํา ชาวไทใหญ การสรางเครือขายชาวไทใหญนั้นนอกจาก ภายในจังหวัดเชียงใหมและภายในประเทศไทยแลว ชาวไทใหญยังไดมีการรวมตัวและการสรางเครือขาย ระหว า งประเทศอี ก ด ว ย ชาวไทใหญ มี ค วามเป น เอกภาพคอนขางมาก จึงมีการสรางเครือขายทางชาติ พันธุขามพรมแดน จากการสอบถาม นายจางที่มีบาน เกิดอยูที่เชียงตุง อายุ 42 ป กลาววา “ผมมีความสัมพันธ กับชาวไทใหญดวยกันทั้งในไทย ในพมาและจีน เพราะ บรรพบุรุษอยูจีน ผมเกิดที่เชียงตุง ประเทศพมาและ ตอนนี้เขามาอาศัยอยูในประเทศไทยได 20 ปแลว สาเหตุที่เขามาเพราะตองการมาหางานทําและมีญาติ เขามาอาศั ยอยูกอนแลวแถวชางเผือก เงิน ที่ไดจาก คาแรงก็จะสงไปใหครอบครัวที่พมาและตนเองก็ระลึก ถึงญาติของผมที่เมืองจีนอยูเสมอ ชาวไทใหญหลายคนกลาวในการใหสัมภาษณ วา จากการเขามาทํากิจกรรมรวมกันที่วัดทั้งวัดปาเปา และวัดกูเตาทําใหทราบวาญาติพี่นองของตนอยูที่ไหน บ า ง และต อ งการความช ว ยเหลื อ อย า งไร เช น การเงิน การทํางานและการสนับสนุนอื่นๆ จากการ สัมภาษณนายสมชาย (ตามชื่อไทย) ไดเลาวา “ในชวง ที่ตนเองอพยพเขามาในเชียงใหมประมาณ 10 กวาปที่ แล ว ตอนนั้ น ผมยั ง ไม มี เ งิ น เดื อ นที่ พ อจะซื้ อ มื อ ถื อ การที่จะติดตอหาญาติพี่นองนั้นที่วัดปาเปาจะดีที่สุด เพราะชาวไทใหญรูจักวาเปนวัดของชาวไทใหญและ เปนที่ที่สามารถจะนัดหรือทํากิจกรรมตางๆ รวมกัน

ได ในชวงวันพระหรือวันที่ตองไปทําบุญที่ วัดพี่นอง ชาวไทใหญจะมาทําบุญที่วัดโดยไมไดนัดหมาย จึง เปนชวงที่ดีที่จะทําใหไดพบญาติพี่นอง ทําใหทราบวา มี ใ ครทํ า อะไรอยู ที่ ไ หน ป จ จุ บั น มื อ ถื อ เริ่ ม เข า มามี บทบาทเป น ช อ งทางหนึ่ ง ในการติ ด ต อ ระหว า งกั น แตผมก็ยังคงนัดเจอกันที่วัดเพราะสะดวกและตํารวจ ไมเขามายุงวุนวาย” นอกจากนี้แลววัดกูเตาไดหนุนชวยการสราง เครื อ ข า ยของชาวไทใหญ ผ า นคลื่ น วิ ท ยุ ด ว ยการ อนุญาตใหติดปายประชาสัมพันธคลื่นวิทยุ AM 1476 MHz ภายในบริเวณวัด คลื่นวิทยุดังกลาวนี้นอกจาก ออกอากาศเปนภาษาไทใหญและภาษาชนกลุมนอย อื่นๆ แลว ยังออกอากาศเปนภาษาไทย เพื่อปลูกฝง “ความเปนไทย” ไปพรอมกัน เชน มีรายการปาฐกถา ธรรมและรายการเกี่ยวกับพระมหากษัตริย นอกจากนี้ ทั้ ง ที่ วั ด ป า เป า และวั ด กู เ ต า มั ก มี ป า ยประกาศ ประชาสั ม พั น ธ กิ จ กรรมต า งๆ ของชาวไทใหญ เ ป น ภาษาและตัวอักษรไทใหญ หรือมีขอความภาษาไทย และตั ว อั ก ษรไทยอยู คู กั น กั บ ภาษาและตั ว อั ก ษรไท ใหญ ติดอยูตามกําแพงวัดเสมอ ๆ เชน ปายเชิญชวน ใหชาวไทใหญนําลูกหลานมาบวชในงานปอยสางลอง เปนตน จากความสํานึกในอัตลักษณไทใหญ ทําให เยาวชนชาวไทใหญ ใ นจั ง หวั ด เชี ย งใหม ไ ด จั ด ตั้ ง เครื อ ข า ยเยาวชนที่ เ รี ย กว า กลุ ม เยาวชนไต เชียงใหม ขึ้น สมาชิกของกลุมคนหนึ่งกลาววา “ สมาชิกของกลุมเยาวชนไตนั้นมี มาก ไม ท ราบจํ า นวนที่ แ น น อน มี ทั้ ง ผูชายและผูหญิง โดยมากเปนชาวไท ใหญ ที่ยา ยถิ่น เขา มาในเชีย งใหม เพื่ อ ขายแรงงาน อายุของสมาชิกในกลุมมี ตั้งแต 15 ปขึ้นไปจนเกือบ 30 ป จะมี การนัด ประชุม กัน ทุกเดือนที่บานของ ผูนํากลุมซึ่งเปนรานอาหาร กิจกรรมที่ ทํ า ร ว มกั น นั้ น สํ า หรั บ ผู ช ายก็ จ ะเล น ฟุตบอล เลนดนตรีที่ทันสมัย เพื่อออก งานตางๆ เพื่อนในกลุมที่เลนดนตรีนั้น 63


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปที่ 30 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2553

จะร อ งเพลงได ทั้ ง เพลงไทใหญ แ ละ เพลงไทย สําหรับเพื่อนที่เปนผูหญิงนั้น มีการฝกหัดการแสดงของชาวไทใหญ เชน การฟอนนกกิงกะหรา การฟอน ไต เพื่อแสดงในชวงงานเทศกาล การ แสดงที่ ล านอนุ ส าวรี ย ส ามกษั ต ริ ย ในชวงที่มีถนนคนเดิน และในงาน ที่ จัดขึ้นที่วัดปาเปาและวัดกูเตา สมาชิก กลุมเยาวชนไตเชียงใหมก็ไดไปแสดง ”

สรุปและขอเสนอแนะ การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงคเพื่อศึกษา การตอสูและการปรับตัวของชาวไทใหญที่ปรากฏอยู ในพื้ น ที่ วั ด ป า เป า และวั ด กู เ ต า ในเขตอํ า เภอเมื อ ง จั งหวั ด เชีย งใหม โดยเน น การสรา งและการผลิตซ้ํ า อั ต ลั ก ษณ ข องชาวไทใหญ เพื่ อ จะอยู ใ นสั ง คมไทย อยางราบรื่นขึ้น ซึ่งผลการศึกษาพบวาการสรางและ การผลิตซ้ําทางอัตลักษณของชาวไทใหญไดออกมาใน รู ป แบบของทวิ อั ต ลั ก ษณ อั ต ลั ก ษณ ทั้ ง สองแบบได เปนเครื่องมือสําคัญสําหรับชาวไทใหญในการตอสูและ ปรับตัวเพื่อการดํารงชีวิตในสังคมไทยไดอยางสงบสุข โดยที่มีวัดเปนพื้นที่ทางสังคมใหชาวไทใหญสรางและ ผลิ ต ซ้ํ า ทางอั ต ลั ก ษณ ข องตน โดยได มี ก ารแสดง ออกมาในรูป แบบของกิจกรรม งานประเพณี ความ เชื่อและผานสื่อตางๆ ซึ่งชาวไทใหญไดมีการเรียนรู และปรั บ ตั ว โดยการสร า งความเป น ไทยขึ้ น มา และ รัฐไทยเองก็ไดประโยชนจากชาวไทใหญในแงมุมของ การทองเที่ยว โดยนํามาเปนจุดขายแกนักทองเที่ยว ทั้งชาวไทยและชาวตางชาติ ทวิอัตลักษณเปนทางเลือกของชาวไทใหญ พลั ด ถิ่ น ที่ ไ ด ส ร า งและแสดงออกขึ้ น เพื่ อ ที่ เ ปลี่ ย น อัตลักษณที่รัฐไทยและสังคมไทยรับรู และเพื่อสรา ง เครื อ ข า ยของชาวไทใหญ ทั้ ง เครื อ ข า ยที่ ไ ม เ ป น ทางการและเครื อ ข า ยที่ จั ด ตั้ ง ขึ้ น มาเป น องค ก ร ทวิ อั ต ลั ก ษณ ยั ง ส ง ผลให รั ฐ ไทยมี ค วามเชื่ อ ใจ ไม หวาดระแวงในกลุมชาวไทใหญที่อาศัยอยูในประเทศ ไทย และผอนคลายมาตรการในการจัดการกับแรงงาน 7

แรงงานและกลุมคนตางดาว ซึ่งจะสงผลใหชาว ไท ใหญผลัดถิ่นสามารถอาศัยอยูในประเทศไทยไดอยาง ปรกติสุขมากน การผลิตซ้ําทางอัตลักษณของตนเอง อยางตอเนื่อง ยังมีประโยชนโดยตรงตอชาวไทใหญ นอกจากการสรางเครือขายการใหความชวยเหลือซึ่งกัน และกันระหวางชาวไทใหญแลว ยังมีผลตอการที่ชาว ไทใหญ รุ น หลั ง ได เ รี ย นรู วั ฒ นธรรมของตนเองและ ความรูสึกถึงเปนอันหนึ่งอันเดียวกันของชาวไทใหญที่ ชวยสรางความมั่นคงทางจิตใจ หน ว ยงานต า งๆ ที่ เ กี่ ย วข อ งโดยเฉพาะ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงพัฒนาสังคมและความ มั่ น คงของมนุ ษ ย ซึ่ ง มี ห น า ที่ รั บ ผิ ด ชอบเกี่ ย วกั บ ผูอพยพและการบริหารจัดการเรื่องแรงงานตางดาว จึงควรกําหนดนโยบายและแนวทางปฏิบัติเชิงบูรณาการ ทั้ ง ทางด า นศาสนา วิ ถี ชี วิ ต และการจั ด การป ญ หา ต า งๆ ที่ เ อื้ อ ให ช าวไทใหญ ไ ด มี โ อกาสเข า ร ว ม กิจกรรมที่ทางวัดไดจัดขึ้น ซึ่งนอกจากจะสงผลดีตอ ชาวไทใหญแลว ยังมีผลตอการจัดระเบียบแรงงานชาว ไทใหญ ไ ด อ ย า งเหมาะสม ในสภาวะที่ สั ง คมไทย ก็ ต อ งการใช ป ระโยชน จ ากแรงงานราคาถู ก และ ตองการรายไดจากการทองเที่ยว การที่ชาวไทใหญไดใชวัดในพุทธศาสนาเปน พื้นที่ทางสังคมในการสรางและผลิตซ้ําทางอัตลักษณ ของชาวไทใหญ โดยมีพระสงฆเปนสื่อกลางนั้น ถือวา เปนกระบวนการที่กลมกลืนกับความเชื่อและประเพณี วัฒนธรรมของชาวไทใหญและคนไทย โดยเฉพาะวัด ซึ่ ง เป น พื้ น ที่ ใ นการประกอบพิ ธี ก รรมทางศาสนา ประกอบกิจกรรมตางๆ รวมทั้งเปนที่พักพิงในยามที่ เดือดรอน ตลอดจนการเปนที่พักพิงเพื่อเตรียมตัวใน การออกสูตลาดแรงงาน ซึ่งชาวไทใหญบางสวนพักพิง อยู ใ นวั ด ในฐานะฆราวาสและบางส ว นได บ วชเรี ย น โดยอาศัยการบวชเรียนเปนชองทางในการสรางความ มั่ น คงแก ชี วิ ต เช น เพื่ อ จะได เ รี ย นภาษาไทยและมี การศึกษาสูงขึ้นซึ่งชวยในการทํางานในอนาคต การสรางและการผลิตซ้ําทางอัตลักษณของ ชาวไทใหญไ ด สง ผลดีอย า งมากตอ การส ง เสริม การ ทองเที่ยว โดยเฉพาะงานกิจกรรมปอยสางลอง7 การ

ปจจุบันการท องเที่ยวแหงประเทศไทยไดเขามามีบทบาทอยางมากในการสง เสริมประเพณีปอยสางลอง รวมทั้งการ รวบรวมกําหนดการจัดงานปอยสางลองในวัดตางๆ แสดงไวในเว็บไซตของการทองเที่ยวแหงประเทศไทย เพื่อประชาสัมพันธแก นักทองเที่ยวชาวไทยและชาวตางประเทศ

64


ทวิอัตลักษณ: การตอสูและการปรับตัวของชาวไทใหญพลัดถิ่นในจังหวัดเชียงใหม ปานแพร เชาวนประยูร

ฟ อ นนกกิ ง กะหร า ตลอดจนอาหารไทใหญ แ ละ สถาป ต ยกรรมต า งๆ ที่ ส ะท อ นอั ต ลั ก ษณ ข องชาว ไทใหญ ซึ่งประเพณีวัฒนธรรมเหลานี้จะมีฤดูกาลและ วิถีที่เชื่อมโยงกับ ความเชื่อ ของชาวไทใหญโดยตรง ดังนั้นหนวยงานตางๆ ที่เกี่ยวของกับการทองเที่ยว เชน การทองเที่ยวแหงประเทศไทย (ททท.) เทศบาล

นครเชียงใหมและองคการบริหารสวนจังหวัดเชียงใหม (อบจ. เชียงใหม) ตลอดจนวัดปาเปาและวัดกูเตา จึง ควรกําหนดนโยบายที่มีผลตอการสงเสริมการรักษา ขนบธรรมเนียมประเพณีของชาวไทใหญในแนวทางที่ เอื้อตอวิถีชีวิตของชาวไทใหญแ ละเอื้อประโยชนตอ การทองเที่ยวเชิงวัฒนธรรมไปพรอมกัน

บรรณานุกรม กรุงเทพธุรกิจ. (2549). งาน 60 ปในหลวงของกองทัพกูชาติไทยใหญ. [ออนไลน]. สืบคนเมื่อ 2 กุมภาพันธ 2550. จาก http://www. archanwell.org/autoprint./print.php?t =2&s_id=4&d_ id=4&page=1. กฤตยา อาชวนิจกุล. (2540). สถานะของชาวเขาและชนกลุมนอยในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัย ประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. กีรติกานต. (2548). ชีวิตในมุมมืด ของชายขายบริการไทยใหญ. สาละวินโพสต 26 : 2-9. เกษียร เตชะพีระ. (2538). วิวาทะโลกาภิวัตน. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพผูจัดการ. โกเมี่ยนต เวย. (2546). บันทึกชีวิตแรงงานพมา จากแรงงานทาสสูแรงงานเถื่อน. กรุงเทพฯ: คณะกรรมการรณรงคเพื่อประชาธิปไตยในพมา. โกศล ศรี ม ณี . (2534). “ปอยส า งลอง.” เอกสารส ง เสริ ม การอนุ รั ก ษ วั ฒ นธรรมจั ง หวั ด แม ฮ อ งสอน. พฤศจิกายน 2534. ขจัดภัย บุรุษพัฒน. (2515). ปญหาชนกลุมนอยในประเทศไทย. พระนคร: แพรพิทยา. คณะกรรมการประชาสัมพันธการจัดระบบการจางแรงงานตางดาว. (2549). คูมือการจัดระบบการจางแรงงาน ตางดาว. กรุงเทพฯ: อาลาโมด แอท แอนดปริ้น. คณะสังคมศาสตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม. (2545). สังคมศาสตรขามพรมแดน. เชียงใหม: นพบุรีการพิมพ เชียงใหม. เคอไต. (2550). นักรองไทใหญยอดนิยม. [ออนไลน]. สืบคนเมื่อ 6 พฤษภาคม 2550. จาก http://www.lannaworld.com/cgi/lannaboard /reply_topic.php?id=44802 ฉลาดชาย รมิตานนท. (2541). ไท (TAI). เชียงใหม: โรงพิมพมิ่งเมือง. ธงชัย วินิจจะกูล. (2530). “ประวัติศาสตรการสรางตัวตน” อยูเมืองไทย. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร. ธนวรรณ ชุมแสง. (2549). วัดปาเปา จังหวัดเชียงใหม รวมกับพี่นองชาวไต ในจังหวัดเชียงใหมและ ใกลเคียง รวมจัดกิจกรรมเทิดพระเกียรติรวมฉลองวาระ 60 ป แหงการครองราชยพระบาทสมเด็จ พระเจาอยูหัว. [ออนไลน]. สืบคนเมื่อ 9 มิถุนายน 2549. จาก http://region3.prd.go.th /chiangmai/ detail_ new.php?id=943. ธนาคารแหงประเทศไทย. (2543). แรงงานตางดาวในภาคเหนือ. [ออนไลน]. สืบคนเมื่อ 2 กันยายน 2550. จาก http://www. Bot.or.th/BotHomepage/databank/RegionEcon/northern/public/Econ/ch 7/42BOX04. HTM. ธันวา สิริเมธี. (2548). บทเพลงไทใหญเหนือเสนพรมแดน. สาละวินโพสต 20. ธีระ ภักดี. (2528). สํารวจประเพณีไทใหญแมสอด. กําแพงเพชร: วิทยาลัยครูกําแพงเพชร.

65


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปที่ 30 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2553

ดนั ย สิทธิเ จริญ . (2535). สาระทางการศึกษาในกระบวนการสา งลองของชาวไทใหญในจั งหวั ด แมฮองสอน. เชียงใหม: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม. นันทสิงห, สมปอง ไตตุมแกน และ ฉัตรทิพย นาถสุภา. (2540). ประวัติศาสตรไทใหญ. กรุงเทพฯ: โครงการ ประวัติศาสตรสังคมและวัฒนธรรรมชนชาติไทย. นิธิ เอียวศรีวงศ. (2548). คนไทยกับ 3 คําเจาปญหา: เชื้อชาติ กลุมชาติพันธ อัตลักษณ. ศิลปวัฒนธรรม 26 (9) : 53. นิพัทธพร เพ็งแกว. (2550). บทความพิเศษ : เราจะกูชาติดวยวัฒนธรรม. [ออนไลน]. สืบคนเมื่อ 6 มิถุนายน 2550. จาก http://www. sarakadee.com/web/modules.php?name =Sections&op=printpage &artid=734) ________. (2549). 60 ปในหลวงบนดอยไตแลง. [ออนไลน]. สืบคนเมื่อ 9 มิถุนายน 2549. จาก http://www.bangkokbiznews.com/ 2006/06/16/w006_112549. php?news_id = 112549. ปณิธิ อมาตยกุล. (2547). การยายถิ่นของชาวไทใหญเขามาในจังหวัดเชียงใหม. วิทยานิพนธปริญญา ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภูมิภาคศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม. ปนัดดา บุณยสาระนัย. (2544). กลุมชาติพันธุสวนนอยในภูมิภาคเอเชียอาคเนยเชียงใหม. สถาบันวิจัย สังคมมหาวิทยาลัยเชียงใหม. ปนแกว เหลืองอรามศรี. (2546). อัตลักษณ ชาติพันธุและความเปนชายขอบ . กรุงเทพฯ: ศูนยมานุษยวิทยาสิรินธร . พรสุข เกิดสวาง. (2545). สั่งอพยพ โครงการบังคับโยกยายถิ่นฐานชาววาในเขตรัฐฉานตะวันออก (25422544). เชียงใหม: โครงการเพื่อนไรพรมแดน. พระอธิการอินตา อินทวิโร. (ม.ป.ป.). วิธีเรียนหนังสือไทย 200 ชั่วโมงแบบงายๆ และหนังสือไทใหญ. ม.ป.ท.: ม.ป.พ. พันเอกเจายอดศึก. (2549). แผนดินฉานในมานหมอก 1 ทศวรรษดอยไตแลง 50 ป ของการกูชาติไท ใหญ. กรุงเทพฯ: openbooks. พิมุข ชาญธนะวัฒน. (2546). กลุมชาติพันธุในรัฐฉาน เลาขานจากแบบเรียนไทใหญ. ศิลปวัฒนธรรม 24 (3) : 100. ภูวไนย พลไชย. (2549). ปอยสางลอง ประเพณีบรรพชาสามเณรอันงดงามของไทใหญ. กุลสตรี : 186-189. มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนแหงรัฐฉาน. (2541). NGO ประณามพมาโจมตี-เผาบานเรือนชาวบานรัฐฉาน. [ออนไลน]. สืบคนเมื่อ 13 สิงหาคม 2552. จาก http://www. bangkokbiznews.com. รัตนาภรณ เศรษฐกุล. (2537). “กลามองไต: ประวัติศาสตรไทยใหญในสายตาชาวตะวันตก.” เอกสาร ประกอบการสัมมนาเรื่อง “วัฒนธรรมชนชาติไทย: การศึกษาเกี่ยวกับประวัติศาสตร สังคม และ วัฒนธรรมไทยใหญ” วันที่ 8-9 สิงหาคม 2537 สํานักบริการวิชาการ, มหาวิทยาลัยเชียงใหม. วันดี สนติวุฒิเมธี. (2545). กระบวนการสรางอัตลักษณทางชาติพันธุของชาวไทใหญชายแดนไทย-พมา กรณีศึกษาหมูบานเปยงหลวง อําเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม. วิทยานิพนธปริญญาสังคมวิทยาและ มานุษยวิทยามหาบัณฑิต สาขาวิชามานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร. วันดี สันติวุฒิเมธี. (2541). บนเสนทางชีวิตของแรงงานตางดาวในเมืองไทย. สารคดี 14 (160) : 112-127. วีระพงค มีสถาน. (2544). สารานุกรมกลุมชาติพันธุไทใหญ. นครปฐม: สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อ พัฒนาชนบท มหาวิทยาลัย มหิดล.

66


ทวิอัตลักษณ: การตอสูและการปรับตัวของชาวไทใหญพลัดถิ่นในจังหวัดเชียงใหม ปานแพร เชาวนประยูร

ศู น ย ม านุ ษ ยวิ ท ยาสิ ริ น ธร. (2547). ชาติ แ ละชาติ พั น ธุ : ความเป น ไทย/ความเป น ไท. กรุ ง เทพฯ: ศูนยมานุษยวิทยาสิรินธร. ศูนยมานุษยวิทยาสิรินธร. (2547). ชาติและชาติพันธุ: วาดวยแนวทางการศึกษาชาติพันธุ. กรุงเทพฯ: ศูนยมานุษยวิทยาสิรินธร. สมพงศ วิทยศักดิ์พันธุ. (2541). “ถิ่นฐานของกลุมชาติพันธุไทในผืนแผนดินใหญเอเชียตะวันออกเฉียงใต” ไท TAI. เชียงใหม: โรงพิมพมิ่งเมือง. ________. (2541). ถิ่นที่อยูคนไทในจังหวัดเชียงใหม. เชียงใหม: คณะมนุษยศาสตร มหาวิทยาลัย เชียงใหม. ________. (2542). ประวัติศาสตรสังคมและวัฒนธรรมไทใหญ. กรุงเทพฯ: สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย. สรัสวดี อองสกุล. (2539). ประวัติศาสตรลานนา. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพอมรินทร. สายชล สัตตยานุรักษ. (2546). สมเด็จฯกรมพระยาดํารงราชานุภาพ การสรางอัตลักษณเมืองไทยและชั้น ของชาวสยาม. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพมติชน. ________. (2545). อาจารยนิธิกับการเปลี่ยนอัตลักษณจีนในเมืองไทย. วารสารกองทุนศรีบูรพา ฉบับวัน นักเขียน : 68-74. สํานักขาว S.H.A.N. (2549). ชาวไทใหญเชียงใหมหวั่นถูกตํารวจจับกุมไมกลารวมงานปใหม. [ออนไลน]. สืบคนเมื่อ 2 กุมภาพันธ 2550. จาก http://www.thaingo.org/board_2/view. php?id=584. ________. (2550ก). ชาวไทใหญถูกพมาบังคับใชแรงงานอพยพเขาไทยไมหยุด. [ออนไลน]. สืบคนเมื่อ 10 กรกฎาคม 2550. จาก http://www.thaingo.org/board_2/view. php?id=672. ________. (2550ข). ชาวไทใหญบานเปยงหลวงเตรียมจัดใหญ “งานปอยสางลอง” รับนักทองเที่ยว. [ออนไลน]. สืบคนเมื่อ 2 กันยายน 2550. จาก http://www.thaingo. org/board_2/view.php? id=739. สุเทพ สุนทรเภสัช. (2546). คนเมืองความสํานึกและการสรางอัตลักษณทางชาติพันธของชาวไทยเหนือใน บริบทการ เปลี่ยนแปลงทางประวัติศาสตร. ศิลปวัฒนธรรม 25 (1) : 70–89. สุภาพร นาคบัลลังก. (2546). การปรับตัวและการจัดการทางวัฒนธรรมของชุมชนรอบวัดเพื่อการดํารง อยูของวัฒนธรรมลานนา. เชียงใหม: คณะสังคมศาสตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม. สุรสม กฤษณะจูฑะ. (2546). สิทธิของผูพลัดถิ่น: ศึกษากรณีชาวไทใหญจากประเทศพมา(รายงานวิจัย ยอยฉบับสมบูรณ). กรุงเทพฯ: สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย. เสมอชัย พูลสุวรรณ. (2546). รัฐฉาน (เมืองไต): พลวัตของ “ชาติพันธุ” ในบริบทประวัติศาสตรและสังคม การเมืองรวมสมัย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร. องอาจ เดชา. (2549). รายงานพิเศษ : คําบอกเลาของชาวไทใหญ ทําไมตองมาเปนแรงงานขามชาติใน ไทย? [ออนไลน]. สืบคนเมื่อ 2 กันยายน 2550. จาก http:// www.prachatai.com/05web/th/home/ page2.php?mod=mod_ptcms&ContentID=4855&SystemModuleKey=HilightNews&SystemLanguage =Thai. อภิญญา เฟองฟูสกุล. (2530). กระบวนการสรางความรับรูเกี่ยวกับความเปนจริงทางสังคม. วารสารรมพฤกษ 6 (21) : 135-154. ________. (2546). อัตลักษณการทบทวนทฤษฏีและกรอบแนวคิด. กรุงเทพฯ: คณะกรรมการสภาวิจัย แหงชาติ สาขาสังคมวิทยา. อานไตย ไคขานฟา. (2547). คอนเสริตชนเผารวมใจตานภัยสังคม. สาละวินโพสต 19 : 26-27. ________. (2547). จายเจิงหาญ นักรองดาวรุงยอดนิยมของชาวไทใหญ. สาละวินโพสต 19 : 22-23. อานันท กาญจนพันธุ. (2539). สถานภาพการวิจัยพัฒนาการทางสังคมและวัฒนธรรมไทใหญ. เชียงใหม: คณะสังคมศาสตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม. 67


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปที่ 30 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2553

อุดม ธีรพัฒนานนทกุล. (2545). บทบาทของพระสงฆในฐานะผูเชื่อมสัมพันธทางวัฒนธรรมบริเวณ ภาคเหนือตอนบนของประเทศไทยกับรัฐฉานของพมา. วิทยานิพนธปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภูมิภาคศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม. Amnesty International. (1998). MYANMAR 1988 to 1998 Happy 10th anniversary? Ethnic Nationalities. N.p. Michael, Aung-Thwin. (1985). Pagan: The Origins of Modern Burma. Honolulu: University of Hawaii Press. Nel Adam Alias. (1998). Sao Noam Oo: The Tai of The Shan State. N.p.

68


จิตรกรรมภาพพระโพธิสัตวในสมัยพระอนาคตพุทธเจา 10 พระองค บนแผงไมคอสอง ศาลาการเปรียญหลังเกา วัดในกลาง จังหวัดเพชรบุรี สุพิชฌาย แสงสุขเอี่ยม

จิตรกรรมภาพพระโพธิสัตวในสมัยพระอนาคตพุทธเจา 10 พระองค บนแผงไมคอสอง ศาลาการเปรียญหลังเกา วัดในกลาง จังหวัดเพชรบุรี Bodhisattva in Future 10 Buddha on Panel Painting from the old Sermon Hall Wat Nai-Klang, Phetchaburi Province สุพิชฌาย แสงสุขเอี่ยม1 Supicha Sangsukiam

บทคัดยอ จิตรกรรมแผงไมคอสองศาลาการเปรียญหลังเกา วัดในกลาง อําเภอบานแหลม จังหวัดเพชรบุรี เปนงาน จิตรกรรมที่สืบทอดเทคนิคจากจิตรกรรมในสมัยรัชกาลที่ 3 อีกทั้งเรื่องราวที่นํามาเขียนมีความนาสนใจเปนอยางยิ่ง เนื่องจากเขียนภาพพระโพธิสัตวในสมัยพระอนาคตพุทธเจา 10 พระองค ที่มีความสอดคลองกับเนื้อหาจากคัมภีร ทสโพธิสตฺตุทฺเทส ซึ่งเปนเรื่องในพุทธศาสนาที่ไมคอยพบเห็นในปจจุบัน และภาพพระโพธิสัตวในสมัยพระอดีต พุทธเจา 24 พระองค ที่สอดคลองกับเรื่องในคัมภีรพุทธวงศ ที่รวบรวมอยูในพระไตรปฎก หมวดพระสุตตันตปฎก ขุททกนิกาย โดยมีอักษรกํากับเรื่องราวโดยยอ จิตรกรรมแหงนี้มีการแสดงออกแตกตางไปจากที่พบโดยทั่วไป กลาวคือ จิตรกรรมเนนถึงการสื่อความหมายใหทราบถึงการบําเพ็ญบุญบารมีและความเพียรของพระโพธิสัตวใน แตละชาติ โดยไดสะทอนออกมาในจิตรกรรมที่ใชพระโพธิสัตวเปนตัวเดินเรื่อง แสดงใหเห็นวาชางเขียนไดเปลี่ยน ทัศนคติไปจากคติปรัมปราดั้งเดิมที่เปนเพียงภาพสัญลักษณซึ่งแสดงดวยภาพพระพุทธเจานั่งเรียงราย มาเปนการ เขียนภาพตามความคิดความเขาใจที่มุงเนนหาเหตุผลที่สามารถอธิบายไดและอิงกับความเปนจริงมากขึ้น ทั้งนี้ยัง เป น การเพิ่ ม ความเข า ใจและช ว ยให เ กิ ด ความศรั ท ธาแก ผู พ บเห็ น ประหนึ่ ง เหมื อ นได อ า นคั ม ภี ร ด ว ยตนเอง นอกจากนี้เรื่องราวของพระอนาคตพุทธเจาทําใหมีผูศรัทธานํามาเปนแนวทางในการปฏิบัติเพื่อใหเขาสูโพธิญาณ และกลายเปนแนวทางปฏิบัติเพื่อแสดงความจงรักภักดีและพัฒนากลายเปนลัทธิไปในที่สุด ดังปรากฏหลักฐาน เกี่ยวกับการนับถือพระอนาคตพุทธเจาที่อาจไดรับแรงบันดาลใจจากเนื้อหาในคัมภีรทสโพธิสัตตุเทสในเรื่องการ ปฏิบัติตนเพื่อเปนพุทธบูชาและปรารถนาที่จะเปนอนาคตพุทธเจาในสมัยรัตนโกสินทรตน ซึ่งไดแก เรื่องของ นายเรืองและนายนกเผาตัวเพื่อถวายเปนพุทธบูชา คําสําคัญ : 1. วัดในกลาง, จังหวัดเพชรบุรี. 2. จิตรกรรมภาพพระโพธิสัตว. 3. พระอนาคตพุทธเจา.

1

อาจารยประจําหมวดวิชาทัศนศิลป คณะอักษรศาสตร มหาวิทยาลัยศิลปากร นครปฐม

69


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปที่ 30 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2553

จิตรกรรมภาพพระโพธิสัตวในสมัยพระอนาคตพุทธเจา 10 พระองค บนแผงไมคอสอง ศาลาการเปรียญหลังเกา วัดในกลาง จังหวัดเพชรบุรี สุพิชฌาย แสงสุขเอี่ยม

Abstract

The Panel Painting from the old sermon hall Wat Nai - Klang, BanLaem District, Phetchaburi Province is an interesting panel painting, since it illustrates the past of 24 Buddhas and Bodhisattva, and Bodhisattva to be future of 10 Buddhas, that can rarely be found nowadays and does not appear to depict the period it was drawn. It was found from the study that there are 34 parts of the Panel Painting; each part can be divided into 2 sets. The first set includes 24 painting which illustrate Budhisattva former life that corresponds to the story appearing in buddhavasa scripture collected in The Tripitaka, Chapter Suttanta – Pitaka, Dukkha Nikaya. The second set includes the painting of Bodhisattva that is the future of 10 Buddha that corresponds to the content from Tosabhodhi Sattatateta scriptures. The expression of the scene and events is narrated according to the stories appearing in the scripture. This painting is assumed to be created in the era of King Rama 4th ; it has been used on techniques of painting from paintings from the era of King Rama 3rd that corresponds to the form of architecture of the old sermon hall. Keywords: 1. Wat Nai–Klang, Phetchaburi Province, Thailand. 3. The future Buddha.

70

2. Panel Painting of Bodhisattva.


จิตรกรรมภาพพระโพธิสัตวในสมัยพระอนาคตพุทธเจา 10 พระองค บนแผงไมคอสอง ศาลาการเปรียญหลังเกา วัดในกลาง จังหวัดเพชรบุรี สุพิชฌาย แสงสุขเอี่ยม

บทนํา จังหวัดเพชรบุรีนับไดวาเปนแหลงศิลปกรรม ที่ มี ฝ มื อ ชั้ น เลิ ศ อยู ม ากมาย จากหลั ก ฐานที่ ป รากฏ พบวาสวนใหญเปนงานศิลปกรรมในสมัยอยุธยาตอน ปลาย เช น จิ ต รกรรมฝาผนั ง วั ด ใหญ สุ ว รรณาราม จิตรกรรมฝาผนังวัดเกาะแกวสุทธาราม งานปูนปนวัด สระบัว เปนตน นอกจากนี้จังหวัดเพชรบุรียังปรากฏ งานศิลปกรรมในสมัยรัตนโกสินทรโดยเฉพาะในสมัย รัชกาลที่ 4 อยูหลายแหงเชนกัน เชน พระราชวังบน เขามหาสวรรค วัดมหาสมณาราม เปนตน จากการสํารวจจิตรกรรมในจังหวัดเพชรบุรี พบวานอกจากจิตรกรรมฝาผนังแลว ยังพบจิตรกรรม อีกกลุมหนึ่งที่เขียนอยูบนแผงไมคอสองของศาลาการ เปรี ย ญ ส ว นใหญมั ก จะเขี ย นภาพพุ ท ธประวั ติ พุ ท ธ ชาดกและการละเลนพื้นบาน เชน ศาลาการเปรียญวัด ดอนไกเตี้ย ศาลาการเปรียญวัดเกาะแกวสุทธาราม เปนตน หากแตมีงานจิตรกรรมบนแผงไมคอสองอยู แหงหนึ่งที่มีความแตกตางไปจากที่อื่นๆ คือ ศาลาการ เปรียญหลังเกา วัดในกลาง เนื่องจากเขียนภาพพระ โพธิสัตวในสมัยพระอนาคตพุทธเจา 10 พระองค ซึ่ง เปนเรื่องในพุทธศาสนาที่ไ มคอยพบเห็น ในปจ จุบั น และภาพพระโพธิ สั ต ว ใ นสมั ย พระอดี ต พุ ท ธเจ า 24 พระองค ที่ มี รู ป แบบแตกต า งออกไปจากที่ พ บ โดยทั่วไป โดยมีอักษรกํากับเรื่องราวโดยยอไวใตภาพ การวิจัยนี้มีจุดประสงคท่ีจะนําเสนอเนื้อหา แนวความคิดในการเขียนภาพพระโพธิสัตวที่จะเปน พระอนาคตพุทธเจา 10 พระองค ซึ่งเปน ภาพที่พบ นอยมากในปจจุบัน โดยมีกรอบความคิดที่ใชในการ วิจัยครั้งนี้คือ เรื่องพระโพธิสัตวที่จะเปนพระอนาคต พุทธเจา 10 พระองค เปนเรื่องที่มาจากคัมภีรคัมภีร ทสโพธิสัตตุเทสซึ่งมีปรากฏในสมัยอยุธยาตอนปลาย พรอมทั้งทําการสันนิษฐานกําหนดอายุของจิตรกรรม โดยวิธีการศึกษาจากเทคนิคของงานจิตรกรรมฝาผนัง ไทยประเพณี แ ละรู ป แบบสถาป ต ยกรรมของศาลา การเปรียญ

ประวัติความเปนมาและรูปแบบศาลาการเปรียญ วัดในกลาง ประวั ติ ค วามเป น มา วั ด ในกลางหรื อ วั ด กลางสนามจั น ทร ตั้ ง อยู ที่ ตํ า บลบ า นแหลม อํ า เภอ บ า นแหลม จั ง หวั ด เพชรบุ รี วั ด นี้ ไ ม มี ป ระวั ติ ค วาม เปนมาที่ชัดเจนมีเพียงเรื่องเลาวา เมื่อครั้งเสียกรุงศรี อยุ ธ ยาครั้ ง สุ ด ท า ยพระมารดาของสมเด็ จ พระเจ า ตากสินไดลี้ภัยมาพักแรมอยูกับญาติที่ตําบลบานแหลม อําเภอบานแหลม จังหวัดเพชรบุรี เมื่อสมเด็จพระเจา ตากสิ น กอบกู เ อกราชได สํ า เร็ จ ทรงมี ค วามกั ง วล พระทั ย ถึ ง พระมารดามาก และเมื่ อ ทรงทราบว า พระมารดาลี้ภัยมาอยูที่ตําบลบานแหลม จึงโปรดใหรื้อ และยายพระที่นั่งจากกรุงศรีอยุธยามาปลูกไวที่วัดใน กลาง และพระราชทานพระพุทธรูปสมัยสุโขทัยเปน การตอบแทนความดีของชาวบานแหลมที่ไดอารักขา พระมารดาไวโดยปลอดภัย (คฑา จันทลักษณา และคณะ 2541: 45) ศาลาการเปรียญหลังเกา (ภาพที่ 1) อยูใน ผั ง สี่ เ หลี่ ย มผื น ผ า วางตั ว ในแนวทิ ศ ตะวั น ออกตะวันตก มีลักษณะเปนอาคารทรงไทยสรางดวยไมสัก ทั้งหลังยกใตถุนสูง มีขนาดความยาว 7 หอง ทั้งสอง ดานของความยาวมีศาลานอยสกัดขวางเชื่อมตอดวย ชานที่ เ ป น ปู น ภายในศาลาการเปรี ย ญมี จิ ต รกรรม ประดับบนแผงไมคอสองในดานทิศเหนือ ในปจจุบัน ศาลาการเปรียญหลังเกาไดถูกบูรณะขึ้นใหมโดยยึด ตามรูปแบบเดิม การบูรณะใหมนี้ไดเปลี่ยนเครื่องไมที่ ชํา รุดออก และสวนที่ยังใชงานได เชน คันทวยและ พรึง ก็นํามาใชงานตอไป ในสวนของหนาบันศาลามี การทํ า เพิ่ ม ซึ่ ง แต เ ดิ ม นั้ น เป น หน า บั น แบบเรี ย บ (สํานักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแหงชาติที่ 1 ราชบุรี ม.ป.ป, อัดสําเนา) จากรู ป แบบสถาป ต ยกรรมของศาลาการ เปรียญแหงนี้ พบวาไมสอดคลองกับประวัติวัดตามคํา บอกเลาที่กลาววา สรางขึ้นในสมัยสมเด็จพระเจาตาก สินมหาราช เนื่องจากรูปแบบของศาลาหลังนี้เปนแบบ ที่ นิ ย มที่ ส ร า งในสมั ย รั ต นโกสิ น ทร ช ว งรั ช กาลที่ 4

71


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปที่ 30 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2553

จิตรกรรมภาพพระโพธิสัตวในสมัยพระอนาคตพุทธเจา 10 พระองค บนแผงไมคอสอง ศาลาการเปรียญหลังเกา วัดในกลาง จังหวัดเพชรบุรี สุพิชฌาย แสงสุขเอี่ยม

ภาพที่ 1 ศาลาการเปรียญหลังเกา วัดในกลาง จังหวัดเพชรบุรี ที่มา : สํานักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแหงชาติที่ 1 ราชบุรี, “รายงานการสํารวจวัดในกลาง,” (ม.ป.ป.). (อัดสําเนา) กลาวคือ ในสมัยรัชกาลที่ 4 มีความนิยมในการสราง ศาลาการเปรี ย ญให มี อ าคารประธาน 1 หลั ง และมี ศาลาขนาดเล็กวางตัวในแนวขวางทางดานหนา-หลัง ศาลาขวางกั บ ศาลาการเปรี ย ญ ศาลาการเปรี ย ญ รู ป แบบนี้ มั ก พบตามวั ด ในหัว เมื อ งต า งจั ง หวั ด เช น ศาลาการเปรี ย ญวั ด ราชประดิ ษ ฐ ส ถิ ต มหาสี ม าราม กรุ ง เทพฯ ศาลาการเปรีย ญวัด แกว ไพฑูร ย จัง หวั ด นนทบุรี ศาลาการเปรียญวัดศาลาปูน และวัดเชิงทา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ศาลาการเปรียญวัดใหญ อ า งทอง จั ง หวั ด ราชบุ รี เป น ต น จึ ง อาจกล า วได ว า ศาลาการเปรี ย ญวั ด ในกลาง น า จะสร า งขึ้ น ในสมั ย รัตนโกสินทรชวงรัชกาลที่ 4

สันนิษฐานกําหนดอายุจิตรกรรมแผงไมคอสอง บนศาลาการเปรียญ จิ ต รกรรมบนแผงไม ค อสองของศาลาการ เปรียญ วัดในกลาง ในอดีตสันนิษฐานวามีเปนจํานวน มาก ปจจุบันเหลือ 5 แผง โดยทางวัดไดเก็บรักษาไว ภายในกุฏิสงฆ ภาพที่พบทั้งหมดมีจํานวน 34 ภาพ แบงออกเปน 2 ชุด คือ จิตรกรรมภาพ พระอดีตพุทธเจา 24 พระองค และภาพพระโพธิสัตวในสมัยพระอนาคต 72

พุทธเจา 10 พระองค โดยในงานวิจัยครั้งนี้จะขอกลาว รายละเอียดเฉพาะเรื่องพระอนาคตพุทธเจา 10 พระองค ซึ่ ง เป น เรื่ อ งที่ ไ ม ค อ ยเป น ที่ รู จั ก กั น มากนั ก และ เนื่องจากจิตรกรรมแหงนี้ขาดหลักฐานดานจารึกที่ระบุ ถึงระยะเวลาการสรางที่ชัดเจน ดังนั้นในการวิจัยครั้งนี้ จึงไดทําการสันนิษฐานกําหนดอายุของจิตรกรรม โดย ศึกษาจากเทคนิคของงานจิตรกรรมฝาผนังที่ปรากฏ ดังตอไปนี้ การเขีย นภาพทิว ทัศ น จิต รกรรมประดับ แผงไม ค อสองแห ง นี้ มี ก ารเขี ย นภาพทิ ว ทั ศ น ด ว ย เทคนิคการเกลี่ยสี ดังปรากฏการเขียนทองฟาโดยใช เทคนิค การเกลี่ยสีจ ากน้ํา เงิ นเขม ที่ข อบบนไลลงมา เปนสีออนดานลาง ซึ่งเปนลักษณะที่พบเสมอในงาน จิ ต รกรรมสมั ย รั ช กาลที่ 3 และ 4 นอกจากนี้ มี ก าร เขียนทองฟาในลักษณะการทํากอนเมฆซอนเปนชั้นๆ ซึ่งเปนเทคนิคที่เริ่มปรากฏชัดเจนในสมัยรัชกาลที่ 4 การเขี ย นภาพต น ไม ภาพต น ไม ใ นงาน จิ ต รกรรมแห ง นี้ เ ขี ย นด ว ยการแต ม สี ล งไปเพื่ อ ให มี ลัก ษณะเปน พุม ใบแสดงให เห็ น แสงเงาที่ สมจริง ใน สวนของลําตนเขียนแบบแสดงดานที่ถูกแสงและดาน เงาอย า งชั ด เจนโดยไม มี ก ารตั ด เส น ซึ่ ง เทคนิ ค


จิตรกรรมภาพพระโพธิสัตวในสมัยพระอนาคตพุทธเจา 10 พระองค บนแผงไมคอสอง ศาลาการเปรียญหลังเกา วัดในกลาง จังหวัดเพชรบุรี สุพิชฌาย แสงสุขเอี่ยม

ดังกล าวเปนเทคนิคที่เริ่มนิยมทําในสมัยรัชกาลที่ 3 เปนตนมา การเขียนภาพภูเขาและพื้นดิน ภาพภูเขา ที่ปรากฏในจิตรกรรมแหงนี้ทั้งหมด เขียนเปนภาพเขา มอแบบแสดงใหแสงเงาอยางสมจริงโดยไมมีการตัด เส น รอบนอก การเขี ย นภาพเขามอนั้ น เริ่ ม เข า มา แทนที่ภาพเขาไมตั้งแตสมัยรัชกาลที่ 3 และนิยม เพิ่ ม ขึ้ น ต อ มาเรื่ อ ยๆ จนภาพเขาไม ห ายไปในที่ สุ ด สวนของสีที่ใชในการระบายพื้นดินสวนใหญจะเปนสี ในโทนมืด อันไดแก สีน้ําตาลแดง สีน้ําตาลเขม และสี เทา ซึ่งการใชสีในโทนมืดระบายพื้นดิน นี้แทบจะไม พบมากอนในจิตรกรรมสมัยกอนรัชกาลที่ 3 การเขียนภาพบุคคล คํานึงถึงสัดสวนและ ขนาดตามความเปนจริง ภาพพระพุทธเจาในเรื่องพระ อดีตพุทธเจา 24 พระองค และภาพพระโพธิสัตวนั้น ทรงครองจีวรที่มีการประดับลายทอง ซึ่งการประดับ ลวดลายสีทองบนจีวรนั้นนิยมมากตั้งแตในสมัยรัชกาล ที่ 3 เรื่อยมา ในสวนภาพบุคคลประกอบฉากที่มีการ แสดงอารมณทางใบหนาและมีกริยาทาทางที่สมจริง ซึ่งการเขียนภาพบุคคลที่แสดงอารมณบนใบหนานั้น ไดปรากฏในงานจิตรกรรมสมัยรัชกาลที่ 3 เปนตนมา การเขี ย นภาพสถาป ต ยกรรม ภาพ สถาปตยกรรมเขียนแบบ 3 มิติ โดยปรากฏลักษณะ ทางสถาปตยกรรม 2 แบบ คือ แบบประเพณีนิยมซึ่ง ลักษณะสถาปตยกรรมนี้โดยมากพบในสมัยรัชกาลที่ 4 และแบบที่ไดรับอิทธิพลจีนซึ่งเริ่มและนิยมมากใน สมั ย รั ช กาลที่ 3 และมี ก ารจั ด องค ป ระกอบภาพอยู ภายในชองสี่เหลี่ยม โดยเลือกเฉพาะเหตุการณสําคัญ ใ น แ ต ล ะ ต อ น ม า เ ขี ย น แ ล ะ เ น น จุ ด ส น ใ จ ไ ป ที่ พระพุทธเจาและพระโพธิสัตว ซึ่งคลายกับการเขียน จิตรกรรมที่พระอุโบสถวัดเครือวัลยวรวิหาร และใน ศาลาราย 2 หลัง หนาพระมหาเจดีย วัดพระเชตุพนฯ ซึ่งสรางในสมัยรัชกาลที่ 3 การเขี ย นฉากธรรมชาติ การใช ฉ าก ธรรมชาติแทนเสนสินเทาในจิตรกรรมแหงนี้ สวนใหญ จะเขียนตอนสํา คัญของเรื่องเพียงตอนเดียว โดยให ความสํ า คั ญ กั บ ภาพพระพุ ท ธเจ า และพระโพธิ สั ต ว และมีภาพบุคคลอื่นประกอบ เพื่อทําใหภาพเกิดความ

สมบูรณและนาสนใจมากยิ่งขึ้น แตก็มีบางเรื่องที่เขียน เปนฉากเหตุการณตอเนื่องโดยใชฉากธรรมชาติทํา หนาที่คั่นเหตุการณ ซึ่งรูปแบบการใชฉากธรรมชาติ คั่นเหตุการณแทนแถบสินเทา อันเปนสัญลักษณอยาง หนึ่งของความเปนปรัมปราคตินั้น เริ่มปรากฏความ นิยมในสมัยรัชกาลที่ 3 ซึ่งการใชแถบสินเทาเริ่มหมด ลงในที่สุดในรัชกาลตอมา เชน จิตรกรรมฝาผนังพระ อุโบสถ วัดเครือวัลยวรวิหาร เปนตน จากที่ ก ล า วมาข า งต น พอจะสรุ ป ได ว า จิตรกรรมบนแผงไมคอสองแหงนี้มีลักษณะของงาน จิ ต รกรรมทั้ ง ในสมั ย รั ช กาลที่ 3 และรั ช กาลที่ 4 ปรากฏรวมกันอยู จึงสันนิษฐานกําหนดอายุจิตรกรรม ประดั บ แผงไม ค อสองแห ง นี้ ไ ด ว า น า จะสร า งขึ้ น ใน สมั ย รั ช กาลที่ 4 โดยได รั บ การสื บ ต อ เทคนิ ค งาน จิ ต รกรรมมาจากสมั ย รั ช กาลที่ 3 ซึ่ ง สอดคล อ งกั บ รูปแบบสถาปตยกรรมของศาลาการเปรียญหลังเกา ที่ มี รู ป แบบเดี ย วกั บ ศาลาการเปรี ย ญที่ ส ร า งในสมั ย รัตนโกสินทรชวงรัชกาลที่ 4

การตีความเนื้อหาจิตรกรรมบนแผงไมคอสอง ภาพพระโพธิสั ต วใ นสมั ย พระอดี ตพุ ท ธ เจา 24 พระองค เปนจิตรกรรมชุดหนึ่งที่ปรากฏบน แผงไมคอสองศาลาการเปรียญวัดในกลาง ซึ่งเขียน เลาเรื่องแตละตอนตอกันบนแผน ไมจํานวน 3 แผน โดยเขี ย นแยกแต ล ะตอนภายในกรอบอย า งชั ด เจน จํานวน 24 ตอน ภาพชุดดังกลาวสอดคลองกับเรื่อง พระอดีตพุทธเจาที่ปรากฏในคัมภีรพุทธวงศ ซึ่งรวบรวม อยูในพระไตรปฎก หมวดพระสุตตันตปฎก ขุททกนิกาย คติเรื่องการนับถือพระอดีตพุทธเจาปรากฏ อยูทั่วไปในงานจิตรกรรมฝาผนัง ซึ่งนิยมเขียนเปน ภาพพระอดีตพุทธเจานั่งเรียงกันจํานวน 24 องคบาง 28 องค บ า ง หรื อ อาจมี จํ า นวนมากหรื อ น อ ยกว า นี้ ตามแต ค วามเข า ใจของช า งเขี ย น หากแตภ าพพระ อดี ต พุ ท ธเจ า 24 พระองค ที่ วั ด ในกลางนี้ กลั บ มี รู ป แบบที่ แ ปลกแตกต า งออกไปจากภาพพระอดี ต พุทธเจาที่พบโดยทั่วไป กลาวคือในภาพเขียนเนนถึง การบําเพ็ญบุญญาบารมีของพระโพธิสัตวตลอด 24 ชาติ ที่ไดพบกับพระอดีตพุทธเจาทั้ง 24 พระองค ตัวอยางเชน 73


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปที่ 30 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2553

จากเนื้อเรื่องในสมัยพระทีปงกรพุทธเจา ครั้งนั้นพระ โพธิสัตวเสวยพระชาติเปนสุเมธดาบส ซึ่งไดทอดกาย เปนสะพานถวายแดพระทีปงกรพุทธเจาและพระสาวก พระทีปงกรพุทธเจาจึงตรัสพยากรณวาดาบสนี้จะเปน พระพุทธเจานามวาโคดม (มหามกุฏราชวิทยาลัยใน พระบรมราชูปถัมภ 2530 : 282-305) ภาพที่แสดง ประกอบเนื้อหาตอนพระทีปงกรพุทธเจาและพระสาวก ยืนเรียงรายตอกันมีพระสุเมธดาบสนอนทอดกายเปน สะพานใหเหลาอริยสงฆเดินผานไป (ภาพที่ 2)

ภาพที่ 2 พระโพธิสัตวเสวยพระชาติเปนสุเมธดาบส ในสมัยพระทีปงกรพุทธเจา และ จารึกดานลาง จิตรกรรมแผงไมคอสองศาลาการเปรียญ วัดในกลาง จังหวัดเพชรบุรี รูปแบบของภาพพระอดีตพุทธเจาที่ปรากฏนี้ แสดงให เห็ น ว า ช า งเขีย นไดตี ค วามเนื้อ หาในคัม ภี ร พุทธวงศ เพื่อสื่อความหมายใหทราบถึงการบําเพ็ญ บุ ญ บารมี แ ละความเพี ย รของพระโพธิ สั ต ว ใ นแต ล ะ ชาติ ที่ ไ ด พ บกั บ พระอดี ต พุ ท ธเจ า โดยได ส ะท อ น ออกมาในงานเขียนที่ใชพระโพธิสัตวเปนตัวเดินเรื่อง มี ภ าพพระอดี ต พุ ท ธเจ า และบุ ค คลอื่ น ๆ เป น เพี ย ง บุคคลประกอบ การเขียนภาพชุดนี้แสดงใหเห็นวาชาง เขียนไดเปลี่ยนทัศนคติไปจากคติปรัมปราแบบเดิมที่ เ ป น เ พี ย ง ภ า พ สั ญ ลั ก ษ ณ ซึ่ ง แ ส ด ง ด ว ย ภ า พ พระพุทธเจา นั่งเรียงราย มาเปนการเขียนภาพตาม ความคิ ด ความเข า ใจที่ มุ ง เน น หาเหตุ ผ ลที่ ส ามารถ อธิบายไดและอิงกับความเปนจริงมากขึ้น ทั้งนี้ยังเปน 74

การเพิ่มความเขาใจและชวยใหเกิดความศรัทธาแกผู พบเห็ น ประหนึ่ ง เหมื อ นได อ า นคั ม ภี ร พุ ท ธวงศ ด ว ย ตนเอง ภาพพระโพธิ สั ต ว ใ นสมั ย พระอนาคต พุทธเจา 10 พระองค ภาพพระโพธิสัตวในสมัยพระ อนาคตพุทธเจา 10 พระองค บนแผงไมคอสองศาลา การเปรี ยญหลังเกา วัดในกลาง เขียนเลา เรื่ องแตละ ตอนตอกันบนแผนไมจํานวน 2 แผน โดยเขียนแยก แตละตอนภายในกรอบอยางชัดเจน จํานวน 10 ตอน จากการศึกษาเนื้อหาภาพพบวาสอดคลองกับเนื้อหา เรื่องพระอนาคตพุทธเจาจากคัมภีรทสโพธิสตฺตุทฺเทส ซึ่งเปนเรื่องราวของพระโพธิสัตวที่จะเปนพระอนาคต พระพุทธเจา 10 พระองค เปน เรื่องที่ไ มไดรับความ แพร ห ลายและพบหลั ก ฐานน อ ยมาก ทั้ ง นี้ อ าจ เนื่องจากคัมภีรทางพุทธศาสนาที่กลาวถึงพระอนาคต พุทธเจา 10 พระองค ในปจจุบันพบเพียง 2 ฉบับ ไดแก คัมภีรทสโพธิสัตตุปปตติกถา และคัมภีรทสโพธิ สัตตุเทส จากการศึ ก ษาคั ม ภี ร ทั้ ง สองฉบั บ พบว า คัมภีรทสโพธิสัตตุปปตติกถานาจะแตงขึ้นในประเทศ ลังการาวปลายพุทธศตวรรษที่ 19 (Saddhatissa 1975 : 19) สวนคัมภีรทสโพธิสัตตุเทสนาจะไดโครงเรื่อง มาจากคัมภีรทสโพธิสัตตุปปติกถาที่แตงขึ้นกอนโดย ดัดแปลงและเพิ่มเติมเนื้อหาในสวนอภิปาฏิหาริยเขา ไป (สุภาพรรณ ณ บางชาง 2533 : 201-204) อีกทั้ง ยั ง น า จะแต ง ขึ้ น ในประเทศไทยเนื่ อ งจากลั ก ษณะ โครงสรางของเนื้อเรื่อง ที่ไมมีบทปณามคาถา ไมมี นิ ค มคาถา เนื้ อ หาเสนออยู ใ นรู ป ของบทสนทนา สอดแทรกคํ า ถาม-คํ า ตอบในประเด็ น ที่ น า สงสั ย พร อ มกั บ แทรกพรรณนาเชิ ง ปาฏิ ห าริ ย และมี โครงสรางของเนื้อเรื่องสอดคลองกับคัมภีรมาลัยยวัตถุ ทีปนีฎีกาที่แตงขึ้นในสมัยอยุธยาราวพุทธศตวรรษที่ 22 (สุภาพรรณ ณ บางชาง 2533 : 473 ; Likhit Likhitanon 1969 : 269-297) ปจจุบันคัมภีรทสโพธิสัตตุเทสเหลือ หลักฐานปรากฏเปนฉบับคัดลอกที่จารบนใบลานเปน ภาษาบาลี แบบบาลี-ไทย จํานวน 17 ฉบับ สันนิษฐานวา จารขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3-4 (ผาน วงษอวน 2522) จึง อาจจะเปนไปไดวาคัดลอกจากคัมภีรเกาที่แตงขึ้นใน


จิตรกรรมภาพพระโพธิสัตวในสมัยพระอนาคตพุทธเจา 10 พระองค บนแผงไมคอสอง ศาลาการเปรียญหลังเกา วัดในกลาง จังหวัดเพชรบุรี สุพิชฌาย แสงสุขเอี่ยม

สมัยอยุธยาประมาณปลายพุทธศตวรรษที่ 22-23 (สุภาพรรณ ณ บางชาง 2533 : 195 ; ประชุมหนังสือ เกา, ภาคที่ 1 2459 : 12) คัม ภี ร ท สโพธิ สตฺ ตุ ทฺเ ทส มีเนื้ อ หาเกี่ย วกั บ การบํ า เพ็ ญ บารมี ข องพระอนาคตพุ ท ธเจ า ทั้ ง 10 พระองค ดําเนินเรื่องโดยพระพุทธศากยโคดมตรัสเลา แกพระสารีบุตรถึงเรื่องราวเมื่อถึงสั ตถันดรกัลป วา มนุษยจะฆาฟนกัน หลังจากนั้น 7 วัน มนุษยผูเปน บัณฑิตจะพากันรักษาศีลจนชมพูทวีปกลายเปนทวีปที่ งดงามสมบรูณ แลวจึงมีพระผูมีพระภาคเจากําเนิดขึ้น (สุภาพรรณ ณ บางชาง 2533 : 196) ซึ่งก็คือพระ อนาคตพุทธเจาทั้ง 10 พระองค โดยมีนามดังนี้ 1.พระ เมตไตรยพุ ท ธเจ า 2.พระรามพุ ท ธเจ า 3.พระธรรม ราชาพุทธเจา 4.พระธรรมสามีพุทธเจา 5.พระพระนารท พุ ท ธเจ า 6.พระรั ง สิ มุ นี พุ ท ธเจ า 7.พระเทวาเทพ พุทธเจา 8.พระนรสีหะพุทธเจ า 9.พระติสสพุทธเจา 10.พระสุมังคละพุทธเจา ซึ่งพระโพธิสัตวทุกพระองค ล ว นเคยเกิ ด ร ว มสมั ย กั บ พระโคดมพุ ท ธเจ า มี ทั้ ง ที่ ปรากฏในพระไตรปฎกและไมปรากฏในพระไตรปฎก ชื่ อที่ มี ป รากฏในพระไตรป ฎ ก ไดแ ก พระเมตไตรย เป น พระอชิ ตะ พระธรรมราชาพุท ธเจา เป น พระเจ า ปเสนทิโกศล พระนารทพุทธเจาเปนราหูอสุรินทะ พระ รังสิมุนีเปนชังกีพราหมณ พระเทวาเทพพุทธเจาเปน สุ ภ พราหมณ พระนรสี ห ะพุ ท ธเจ า เป น โตเทยย พราหมณ พระติ ส สพุ ท ธเจ า เป น ช า งนฬาคิ ริ พระ สุมั ง คละเป น ช า งปาลิ ไ ลยกะ และชื่อ ที่ ไ ม ป รากฏใน พระไตรปฎก ไดแก พระรามพุทธเจาเปนอุตตมรามราช พระธรรมสามีพุทธเจาเปนอภิภูเทวราช ซึ่งแตละองค มีเรื่องราวที่แตกตางกันดังนี้ พระเมตไตรยพุทธเจา (ภาพที่ 3) ทรงเกิดใน ตระกูลพราหมณ ณ เกตุมดีนคร บิดาเปนปุโรหิตของ พระเจ า จั ก รพรรดิ น ามว า สุ พ รหมพราหมณ มารดา นามวาพรหทวดี มีภรรยานามวาจันทมุขี ตอมาเมื่อ กํ า เนิ ด พรหมวั ฒ นกุ ม าร พระองค ก็ ท รงเห็ น นิ มิ ต 4 ประการ จึงออกอภิเนษกรมณโดยปราสาท และได ตรัสรูใตตนกากะทิง พระองคมีพระสรีระสูง 88 ศอก พุทธรั ศมีมีพรรณ 6 ประการ ขมแสงสวางของดวง

ภาพที่ 3 พระศรีอาริยเมตไตรย เสวยพระชาติเปน พระยาสังขจักร ในสมัยพระสิริมันตพุทธเจา อาทิตยและดวงจันทรจนมนุษยไมอาจรูเวลาวันและ กลางคื น เมื่ อ พระองค เ สด็ จ ไปที่ ใ ด ณ ที่ นั้ น มนุ ษ ย ทั้งปวงจะสมบูรณดวยความสุข การที่ในยุคของพระ อาริยเมตไตรยพุทธเจามีความสมบูรณเชนนี้ เนื่องมาจาก ทรงบําเพ็ญบารมี 10 ประการ ซึ่งปรากฏชัดประการ หนึ่ ง คื อ ในสมั ย พระสิ ริ มั ต พุ ท ธเจ า พระโพธิ สั ต ว เสวยพระชาติเปนพระยาสังขจักร ครองนครอินทปตถ เมื่อไดฟงธรรมจากองคพระสัมมาสัมพุทธเจา แลวเกิด ความซาบซึ้งจึงตัดเศียรแลววางบนฝาพระหัตถถวาย เป น เครื่ อ งบู ช าพระธรรมที่ พ ระพุ ท ธเจ า ตรั ส แก พระองค (ผาน วงษอวน 2522 : 185-195) พระรามพุทธเจา (ภาพที่ 4) มีพระสรีระสูง 80 ศอก ตรัสรูใตตนจันทน มีพระชนมายุเกาหมื่นป พระองคมีพระรัศมีสองสวางทั้งกลางวันและกลางคืน ในยุ ค ของพระองค ม นุ ษ ย จ ะอาศั ย ต น กั ล ปพฤกษ ที่ เกิดจากอานุภาพของพระองคเปนที่เลี้ยงตนและสัตว

ภาพที่ 4 พระรามพุทธเจาทรงเสวยพระชาติเปน นารทมาณพ ในสมัยพระกัสสปะพุทธเจา 75


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปที่ 30 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2553

ทั้งหลายจะไมมีการตกนรก การที่ในยุคของพระราม พุทธเจามีความสมบูรณเชนนี้ เนื่องมาจากทรงบําเพ็ญ บารมี 10 ประการ ซึ่งปรากฏชัดประการหนึ่งคือ ใน สมัยพระกัสสปะพุทธเจา พระโพธิสัตวทรงเสวยพระชาติ เปนนารทมาณพ ไดจุดไฟบนศีรษะเปนประทีปถวาย องคพระสัมมาสัมพุทธเจา (ผาน วงษอวน 2522 : 195-197) พระธรรมราชพุ ท ธเจ า (ภาพที่ 5) มี พ ระ สรีระสูง 16 ศอก ตรัสรูใตตนกากะทิง มีพระชนมายุ ห า หมื่ น ป ในยุ ค ของพระองค ม นุ ษ ย จ ะอาศั ย ต น กัลปพฤกษที่เกิดจากอานุภาพของพระองคเปนที่เลี้ยง ตน การที่ ใ นยุ ค ของพระธรรมราชพุ ท ธเจ า มี ค วาม สมบูรณเชนนี้ เนื่องมาจากทรงบําเพ็ญบารมี 10 ประการ ซึ่ ง ปรากฏชั ด ประการหนึ่ ง คื อ ในสมั ย พระโกนาคม พุทธเจา พระโพธิสัตวทรงเสวยพระชาติเปนสุทธมาณพ ไดถวายดอกบัวและผา 2 ผืน พรอมกับอธิฐานวาการ ที่ตนถวายทานที่จะพอหาไดตาม อัตภาพนี้ขอใหได สําเร็จโพธิญาณในอนาคต (ผาน วงษอวน 2522 : 197-199)

ภาพที่ 5 พระธรรมราชาพุทธเจาเสวยพระชาติเปน สุทธมาณพ ในสมัยพระโกนาคมพุทธเจา พระธรรมสามี พุ ท ธเจ า (ภาพที่ 6) มี พ ระ สรีระสูง 60 ศอก ตรัสรูใตตนสาลพฤกษ มีพระชนมายุ แสนป พระองคมีพุทธรัศมีประดุจแสงแหงดวงอาทิตย และดวงจั น ทร ไม ว า จะทรงดํ า เนิ น ไปที่ แ ห ง ใดจะมี เศวตฉัตรสูง 3 โยชน กางกั้นอยูเสมอ ในยุคของ พระองคจะเกิดขุมทรัพยใหมนุษยทั้งหลายใชเลี้ยงชีพ ตน การที่ ใ นยุ ค ของพระธรรมสามี พุ ท ธเจ า มี ค วาม สมบูรณเชนนี้ เนื่องมาจากทรงบําเพ็ญบารมี 10 ประการ ซึ่ ง ปรากฏชั ด ประการหนึ่ ง คื อ ในสมั ย 76

พระกัสสปะพุทธเจา พระโพธิสัตวทรงเสวยพระชาติ เป นโพธิ อํ า ม า ต ย ไ ด ตั้ งใ จถวา ย ทา นแ ด อ ง ค พระพุ ท ธเจา ถึง แม ว า จะถู ก พระเจา กิง กิ ส สมหาราช ประหารชีวิตก็ตาม และตั้งจิตขอใหผลทานในครั้งนี้ทํา ใหไดเปนพระพุทธเจาในอนาคต (ผาน วงษอวน 2522 : 200-203)

ภาพที่ 6 พระธรรมสามีพุทธเจาเสวยพระชาติเปน โพธิอํามาตย ในสมัยพระกัสสปพุทธเจา พระนารทพุทธเจา (ภาพที่ 7) มีพระสรีระสูง 27 ศอก ตรัสรูใตตนจันทน มีพระชนมายุหมื่นป ในยุค ของพระองคจะเกิดปฐพีรส 7 ประการ มนุษยทั้งหลาย จะบริโภคปฐพีรสเลี้ยงตน การที่ในยุคของพระนารท พุทธเจามีสมบัติที่ยิ่งใหญนี้ เนื่องมาจากทรงบําเพ็ญ บารมี 10 ประการ ซึ่งปรากฏชัดประการหนึ่งคือ เมื่อ ครั้ง ในสมัย ของพระกัส สปพุท ธเจา พระโพธิสัต ว เสวยพระชาติเปนพระเจาสิริคุตราชา ไดบริจาคราช ทรั พ ย แ ละบุ ต ร ธิ ด าเป น ทาน โดยตั้ ง จิ ต อธิ ฐ านว า ขอใหผลแหงการทําทานนี้ทําใหสําเร็จโพธิญาณเปน พระพุทธเจาในอนาคต (ผาน วงษอวน 2522 : 203205)

ภาพที่ 7 พระนารทพุทธเจาเสวยพระชาติเปนพระเจา สิริคุตราชา ในสมัยของพระกัสสปพุทธเจา


จิตรกรรมภาพพระโพธิสัตวในสมัยพระอนาคตพุทธเจา 10 พระองค บนแผงไมคอสอง ศาลาการเปรียญหลังเกา วัดในกลาง จังหวัดเพชรบุรี สุพิชฌาย แสงสุขเอี่ยม

พระรังสีมุรีพุทธเจา (ภาพที่ 8) พระสรีระสูง 60 ศอก ตรัสรูใตตนปปผลิ มีพระชนมายุหาพันป มี พระรัศมีสองสวางเปนแสงสีทองในเวลากลางวันและ สองสวางเปนแสงสีเหลืองในเวลากลางคืน ในยุคของ พระองคมนุษยเลี้ยงชีพดวยการเปนพอคาและกสิกร และมี ผิ ว พรรณงามเหมื อ นสี ท อง การที่ ใ นยุ ค ของ พระองคมีสมบัติที่ยิ่งใหญนี้ เนื่องมาจากทรงบําเพ็ญ บารมี 10 ประการ ซึ่งปรากฏชัดประการหนึ่งคือ ใน สมั ย พระกกุ ส นธสั ม มาสั ม พุ ท ธเจ า พระโพธิ สั ต ว เสวยพระชาติเปนมาฆมาณพ ซึ่งเปนพอคาที่ฉลาดและ โลภมากแตไมวาจะคาขายสักเทาไรก็ศูนยเสียทรัพย เทานั้น ไดถวายผาแดงและทองทั้งหมดที่ตนเองมีแด พระสาวก และตั้งความปรารถนาใหผลแหงการถวาย ทานนี้ทําใหสําเร็จพระสัพพัญุตญาณ (ผาน วงษอวน 2522 : 206)

ภาพที่ 8 พระรังสีมุนีพุทธเจาเสวยพระชาติเปน มาฆมาณพ ในสมัยพระกกุสนธพุทธเจา พระเทวเทพพุทธเจา (ภาพที่ 9) พระสรีระ สูง 80 ศอก ตรัสรูใตตนจัมปา มีพระชนมายุแปดหมื่น ป พระรั ศ มี ไ ม มี ค วามร อ นไม มี ค วามเย็ น ส อ งสว า ง ครอบคลุ ม ทั้ ง โลก ในยุ ค ของพระองค ม นุ ษ ย จ ะมี ผิ ว พรรณดั ง สี ท องและมี ข า วสาลี ห อมที่ เ กิ ด จาก อานุ ภ าพของพระองค เ ป น ที่ เ ลี้ ย งตน อี ก ทั้ ง ยั ง มี ต น กัลปพฤกษที่มีเครื่องประดับและอาภรณตางๆ มนุษย ตองการประดับดวยสิ่งใดก็สมปรารถนา การที่ในยุค ของพระธรรมสามี พุ ท ธเจ า มี ค วามสมบู ร ณ เ ช น นี้ เนื่องมาจากทรงบําเพ็ญบารมี 10 ประการ ซึ่งปรากฏ ชัดประการหนึ่งคือ ในสมัยของพระโกนาคมพุทธเจา พระโพธิ สั ต ว เ สวยพระชาติ เ ป น พระยาฉั ท ทั น ต ได

บริ จ าคงาเพื่ อ ทํ า เป น โกศประดิ ษ ฐานสรี ร ะของพระ เถระ พรอมกับตั้งความปรารถนาขอใหผลทานในครั้ง นี้ทําใหไดเปนพระพุทธเจาในอนาคต (ผาน วงษอวน 2522 : 209-211)

ภาพที่ 9 พระเทวพุทธเจาเสวยพระชาติเปนพระยา ชางฉัททันต ในสมัยของพระโกนาคมพุทธเจา พระนรสีพุทธเจา (ภาพที่ 10) พระสรีระสูง 60 ศอก ตรัสรูใตตนแคฝอย มีพระชนมายุแปดหมื่นป ทรงมีเศวตฉัตรสูงประมาณ 3 โยชน กางกั้นอยูเหนือ พระเศี ย รตลอดเวลา ในยุ ค ของพระองค ม นุ ษย จ ะมี ผิ ว พรรณดั ง สี ท องและมี ข า วสาลี ห อมที่ เ กิ ด จาก อานุ ภ าพของพระองค เ ป น ที่ เ ลี้ ย งตน อี ก ทั้ ง ยั ง มี ต น กัลปพฤกษ การที่ในยุคของพระนรสีพุทธเจามีความ สมบูรณเชนนี้ เนื่องมาจากทรงบําเพ็ญบารมี 10 ประการ ซึ่ ง ปรากฏชั ด ประการหนึ่ ง คื อ ในสมั ย พระกัส สปพุท ธเจา พระโพธิ สัต วเ สวยพระชาติเป น นันทมาณพ ไดถวายทานผากัมพลผืนหนึ่งและทอง แสนตําลึง และสรางศาลาถวายทาน พรอมกับตั้ง ความปรารถนาขอการถวายทานนั้ น ทํ า ให เ ป น พระพุทธเจาในอนาคต (ผาน วงษอวน 2522 : 211213)

ภาพที่ 10 พระนรสีหพุทธเจาเสวยพระชาติเปน นันทมาณพ ในสมัยพระกัสสปพุทธเจา 77


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปที่ 30 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2553

พระติสสพุทธเจา (ภาพที่ 11) พระองคทรงมี พระสรีระสูง 80 ศอก ตรัสรูใตตนนิโครธ มีพระชนมายุ แปดหมื่นป พระรัศมีสวางเหมือนเปลวไฟสองสวางทั้ง กลางวั น และกลางคื น ในยุ ค ของพระองค มี ต น กัลปพฤกษ ซึ่งมีของบริโภคตางๆ อยูบนตน มนุษย ตองการบริโภคสิ่งใดก็เก็บเอาจากตนกัลปพฤกษนั้น การที่ในยุคของพระติสสพุทธเจามีความสมบูรณเชนนี้ เนื่องมาจากทรงบําเพ็ญบารมี 10 ประการ ซึ่งปรากฏ ชัดประการหนึ่งคือ ในสมัยพระโกนาคมพุทธเจานั้น พระโพธิสัตวเสวยพระชาติเปนพระธรรมเสนกุมาร ได บริจาคภรรยาและบุตรเปนทาน ตอมาไดฟงธรรมของ พระพุทธเจาจึงเกิดความเลื่อมใส ตัดศีรษะถวายเปน พุทธบูชาพรอมกับตั้งความปรารถนาเปนพระพุทธเจา ในอนาคต (ผาน วงษอวน 2522 : 214-221)

เปนพระเจา มหาปนาทะ ไดสละราชสมบัติแ ลวออก บรรพชา ตอมาเมื่อไดฟงธรรมจากพระพุทธเจาจึง บั ง เกิ ด ความเลื่ อ มใสตั ด ศี ร ษะถวายเป น พุ ท ธบู ช า พรอมกับกลาวขอใหพระพุทธสัมมาสัมพุทธเจาทรง โปรดสัตวกอน สวนตัวของพระองคเองขอใหผลทาน ในครั้งนี้ทําใหเปนพระพุทธเจาในอนาคต (ผาน วงษ อวน 2522 : 221-226)

ภาพที่ 12 พระสุมังคลพุทธเจาเสวยพระชาติเปน พระเจา มหาปนาทะ ในสมัยพระกกุสันธพุทธเจา

ภาพที่ 11 พระติสพุทธเจาเสวยพระชาติเปน พระธรรมเสนกุมาร ในสมัยพระโกนาคมพุทธเจา พระสุ มังคลพุทธเจา (ภาพที่ 12) พระองค ทรงมีพระสรีระสูง 60 ศอก ตรัสรูใตตนกากะทิง มีพระ ชนมายุแสนป พระรัศมีเปนแสงสีทองในเวลากลางวัน และเปลี่ยนเปนแสงสีเงินในเวลากลางคืน ในยุคของ พระองค มี กั ล ปพฤกษ ใ ห ม นุ ษ ย ไ ด เ ก็ บ เอาสิ่ ง ของที่ ตอ งการไปเลี้ ยงชีพตน การที่ใ นยุค ของพระสุมังคล พุทธเจามีความสมบูรณเชนนี้ เนื่องมาจากทรงบําเพ็ญ บารมี 10 ประการ ซึ่งปรากฏชัดประการหนึ่งคือ ใน สมัยพระกกุสันธพุทธเจา พระโพธิสัตวเสวยพระชาติ

78

จากการศึกษาเนื้อหาของคัมภีรทสโพธิสตฺตุทฺเทส เปรียบเทียบกับภาพเขียน พบวาชางเขียนจึงเลือกนํา ฉากเหตุการณตอนสําคัญที่สุดของเรื่องมาเขียน เพื่อ เปนการสื่อใหเขาใจเรื่องราวไดงายที่สุด ทั้งนี้เนื่องจาก การเขียนภาพบนแฝงไมคอสองมีขอจํากัดในเรื่องของ พื้นที่และเนื้อเรื่องที่ปรากฏในคัมภีรก็กลาวถึงรายละเอียด ตางๆ มาก ในด า นความหมายของการเขีย นภาพพระ โพธิสัตวบําเพ็ญเพียรกับพระอนาคตพุทธเจานี้ แสดง ใหเ ห็ น ว าเพื่ อสร างตั วอย า งของความศรัท ธาที่ มีต อ พระพุทธเจา ในอันที่จะเปนกุศโลบายใหพุทธศาสนิกชน ที่ไดเห็นภาพ รําลึกถึงการบําเพ็ญบุญบารมีของพระ โพธิสัตวในชาติตางๆ เพื่อที่จะบรรลุโพธิญาณในภาย ภาคหนา โดยใชคําจารึกทั้งดานบนและดานลางบอก ชื่ อ เรื่ อ งราวในแต ล ะตอนเพื่ อ ใช อ ธิ บ ายเรื่ อ งราวให เขาใจมากขึ้น


จิตรกรรมภาพพระโพธิสัตวในสมัยพระอนาคตพุทธเจา 10 พระองค บนแผงไมคอสอง ศาลาการเปรียญหลังเกา วัดในกลาง จังหวัดเพชรบุรี สุพิชฌาย แสงสุขเอี่ยม

ความเชื่อเรื่องพระอนาคตพุทธเจาในสมัยรัตนโกสินทร ตอนตน เรื่อ งราวของพระอนาคตพุท ธเจา ทํ า ใหมี ผู ศรั ท ธานํา มาเปน แนวทางในการปฏิบัติเพื่อใหเขา สู โพธิ ญ าณ และกลายเป น แนวทางปฏิ บั ติ เ พื่ อ แสดง ความจงรักภักดีและพัฒนากลายเปนลัทธิไปในที่สุด ดั ง ปรากฏหลั ก ฐานเกี่ ย วกั บ การนั บ ถื อ พระอนาคต พุทธเจาที่อาจไดรับแรงบันดาลใจจากเนื้อหาในคัมภีร ทสโพธิสั ตตุ เ ทสในเรื่อ งการปฏิ บัติ ต นเพื่ อ เปน พุท ธ บู ช าและปารถนาที่ จ ะเป น อนาคตพุ ท ธเจ า ในสมั ย รัตนโกสินทรตน ซึ่งไดแก เรื่องของนายเรืองและนาย นกเผาตัวเพื่อถวายเปนพุทธบูชา ในจารึกหลักที่ 133 (ธบ. 10) และ 136 (ธบ. 9) เรื่ อ งของนายเรื อ งและนายนกปรากฏใน จารึก 2 แผนคือ จารึกที่ฐานรูปประติมากรรมสลักจาก หินนายเรืองผูเผาตัว (ธบ.10) และจารึกที่ฐานรูป ประติมากรรมสลักจากหินนายนกผูเผาตัว (ธบ.9) ปจจุบันตั้งอยูที่ศาลาเล็กบริเวณพระอุโบสถ วัดอรุณ ราชวราราม แขวงวัดอรุณ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร (ภาพที่ 13, 14) เนื้อความในจารึกทั้ง 2 แผน อานโดย อาจารยประสาร บุญประคอง และพิมพเผยแพรใน หนังสือประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 6 ตอนที่ 1 (พ.ศ. 2517) มีความวา

ภาพที่ 13 รูปนายเรืองผูเผาตัวและจารึก

ภาพที่ 14 รูปนายนกผูเผาตัวและจารึก

คําปริวรรต จารึกที่ฐานรูปนายเรืองผูเผาตัว “รูปนี้รูปนายเรืองผูเผาตัว ณ วันศุกร เดือน 3 ขึ้น 8 ค่ํา เพลาทุมเศษ จุลศักราช 1152 ปจอ โทศก (ตรงกับ พ.ศ. 2333) เมื่อแตกอนเผาตัว 9 วัน 10 วัน นั้น นาย เรืองกับสหาย 2 คน คือ ขุนศรีกัณฐัศวกรมมา แลนาย ทองรั ก พากั น ไป ณ พระอุ โ บสถวั ด ครุ ฑ ต า ง ปรารถนาพุทธภูมิ เสี่ยงดอกบัวออนคนละดอกวา ถา ใครจะสําเร็จโพธิญาณแลว ขอดอกบัวผูนั้นจงบาน ครั้นรุงขึ้นก็บานแตดอกบัวของนายเรือง ตั้งแตนั้น นายเรืองก็มาอยูที่การเปรียญเกา วัดอรุณราชธาราม สมาทานอุโบสถศีล ฟงเทศนา เอาน้ํามันชุบสําลีเปน เชื้อพาดแขนทั้ง 2 จุดไฟตางประทีปทุกวัน จนถึงวัน เผาตัว นายเรืองฟงเทศนาจบแลวก็นุงหมผาชุบน้ํามัน เดินออกมาหนาการเปรียญ นั่งพับเพียบพนมมือ รักษาอารมณสงัดดีแลวก็จุดไฟเผาตัวเขาเมื่อเปลวไฟ วูบขึ้นทวมตัวนั้น นายเรืองรองวา สําเร็จปรารถนา แลว ขณะนั้นคนซึ่งยืนดูอยูประมาณ 5 รอย 6 รอย เศษ บางก็รองสาธุการ เปลื้องผาหมโยนบูชาเขาไป กองไฟ ชั้นแตแขกภายนอกพระศาสนาก็ถอดหมวก คํานับ โยนเขาไปในไฟดวย ครั้นไฟโทรมแลว คนที่มี ศรั ท ธาช ว ยกั น ยกศพใส โ ลงไว ใ นศาลาการเปรี ย ญ สวดพระอภิธรรม 2 คืน แลวพาศพไปไวที่ทุงนาวัด หงษ เมื่อเผาศพไฟชุมนั้นปลาในทองนาประมาณ 11 ปลา 12 ปลา โลดขึ้นมาเขาในกองไฟตายดวย ครั้น ไฟดับแลว เห็นอัฐินายเรืองสีเขียวขาวเหลืองขาบดู ประหลาด ก็ชวนกันเก็บอัฐิใสในโกฐดีบุก ไวในการ เปรียญเกา วัดอรุณราชธารามนี้” (พันธุทิพย ธีระเนตร 2548 ; ประสาร บุญประคอง 2517 : 11-12) คําปริวรรต จารึกที่ฐานรูปนายนกผูเผาตัว “รูปนี้รูป (นายนกผูเผาตัว เมื่อวันพุธ เดือน 6 แรม 7) ค่ํา จุลศักราช 1179ปฉลู นพศก (ตรงกับ พ.ศ. 2360) ที่วัดอรุณราชธาราม วันนั้นฝนตก (ตั้งแตเวลาพลบ จน 11 ทุม) จึงขาดเมล็ดแลว ครั้นเพลาเชาขึ้น คนจึง มาเห็น นายนกนั่งสมาธิเผาตัวตายอยูภายใตตนพระ มหาโพธิ์ หนาพระวิหารเกา แตไฟนั้นดับแลว อนึ่ง เมื่อกอนนี้ประมาณเดือนเศษ นายนกไดบอกญาติมิตร แลชาวบานที่ชอบใจกันวา เราจะประพฤติสุจริตธรรม ทําบุญรักษาศีล ตั้งจิตปรารถนาพระนิพพานธรรม แต 79


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปที่ 30 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2553

นั้นมานายนกก็ปฏิบัติมักนอย ละบานเรือนญาติมิตร เสีย ออกไปสมาทานศีล เจริญภาวนารักษาจิตอยูใน การเปรียญเกา ณ วัดอรุณราชธาราม จะไดเปนกังวล ดวยการซึ่งจะบํารุงกายแลกิจที่จะบริโภคนั้นหามิได เมื่อใครมีศรัทธาใหอาหารก็ไดบริโภคบางทีอดอาหาร มื้อหนึ่งบางวันหนึ่งบาง ทรมานตนมาจนวันเผาตัว ตาย แตเมื่อนายนกเผาตัวนั้นจะไดบอกกลาวแกญาติ มิตรผูใดผูหนึ่งใหรูหามิได คนทั้งปวงเมื่อเห็นศพนาย นกเผาตัวตาย ก็มีศรัทธาพากันมาทําบุญบังสกุลสการ ศพนายนกเปนอันมาก” (พันธุทิพย ธีระเนตร 2548 ; ประสาร บุญประคอง 2517 : 15) เรื่องของนายเรืองและนายนก นอกจากจะ ปรากฏในจารึกที่ฐานรูปทั้งสองแลว ยังปรากฏใน เอกสารทางประวั ติ ศ าสตร อื่ น ๆ อี ก หลายฉบั บ กลาวคือ เรื่องของนายเรืองผูเผาตัว ซึ่งเกิดขึ้นใน พ.ศ. 2333 ตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระ พุทธยอดฟาจุฬาโลก (พ.ศ. 2325-2352) มีกลาวถึงใน พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร รัชกาลที่ 1 ฉบับ เจ า พระยาทิ พ ากรวงศมหาโกษาธิ บ ดี ในหนั ง สื อ ประวัติวัดอรุณราชวราราม ที่รวบรวมและเรียบเรียง โดยกรมศิลปากรก็กลาวถึงเรื่องของนายเรือง โดยใช ชื่อเรื่องวา "สําเนาจารึก เรื่องนายเรืองเผาตัวที่วัด อรุณราชวราราม จุลศักราช 1152 (พ.ศ. 2333)" ตอนทายไดกลาวถึงที่มาดวยวา คัดจากจดหมายเหตุ รัชกาลที่ 1 จุลศักราช 1152 เลขที่ 1 สมุดกระดาษฝรั่ง และในพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร รัชกาลที่ 2 ฉบับพระนิพนธของสมเด็จฯ กรมพระยาดํารง ราชานุภาพ สวนเรื่องของนายนกนั้น เกิดขึ้นใน พ.ศ. 2360 ตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศ หลานภาลัย (พ.ศ. 2532-2367) มีกลาวถึงในพระราช พงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร รัชกาลที่ 2 ฉบับ เจาพระยาทิพากรวงศมหาโกษาธิบดี และพระราช พงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร รัชกาลที่ 2 ฉบับพระนิพนธ ของสมเด็จฯ กรมพระยาดํารงราชานุภาพดวย ทั้งนี้ ในพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร รัชกาลที่ 2 ฉบับ

80

พระนิพนธของสมเด็จฯ กรมพระยาดํารงราชานุภาพนั้น ไดกลาวถึงทั้งเรื่องของนายเรืองและนายนก โดยใน สวนของนายเรือง ซึ่งเกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 1 นั้น กรมพระยาดํารงฯ ทรงกลาวถึงในลักษณะเลาเรื่อง ยอนหลัง โดยไดใหขอคิดประกอบไวดวย ดังนี้ "ปฉลู นพศก จุลศักราช 1179 พ.ศ. 2360 นายนกเผาตัว ตายที่วัดอรุณ เปนการเอาชีวิตบูชาพระรัตนตรัย การ ที่คนมีความเลื่อมใสในศาสนาแกกลาจนถึงสละชีวิต ตน ดวยเขาใจวาจะแลกเอามรรคผลในทางศาสนานั้น มีทุกลัทธิศาสนา ในสวนคติพระพุทธศาสนาแมมี สิกขาบทหามในพระวินัย ก็ยังมีหนังสืออื่นที่โบราณาจารย แตงยกยองการสละชีวิตใหเปนทาน เพื่อแลกเอา พระโยชนพระโพธิญาณ จึงทําใหคนแตกอนโดยมากมี ความนิยมวา การสละชีวิตเชนนั้นเปนความประพฤติ ชอบ ในกรุงรัตนโกสินทรนี้เมื่อในรัชกาลที่ 1 มีนาย เรืองคน 1 ไดเผาตัวเองเชนนายนกไดทํารูปไวที่วัด อรุณทั้งนายเรืองและนายนกและมีศิลาจารึกไว (ดํารง ราชานุภาพ, สมเด็จพระเจาบรมวงศเธอ กรมพระยา 2533 : 212- 213) จากเรื่ องนายเรือ งและนายนกที่เ ผาตัว เอง เพื่อเปนพุทธบูชานั้น สะทอนใหเห็นถึงความศรัทธา ใน พระพุทธศาสนาอยางแรงกลาของคนในสังคมชวง รัตนโกสินทรตอนตน จนถึงกับแสดงออกดวยการเผา ตัวเองจนตาย เพื่อหวังบรรลุโพธิญาณในภายภาคหนา ซึ่งแนวความคิดเชนนี้อาจไดรับแรงบันดาลใจจากเรื่อง การบํ า เพ็ ญ บารี ข องพระโพธิ สั ต ว 10 พระองค ใน คัมภีรทสโพธิสตฺตุทฺเทส ที่ยอมอุทิศชีวิตเพื่อถวายเปน พุทธบูชา เชน การบําเพ็ญบารมีของนารทมาณพใน สมัยพระกัสสปพุทธเจา โดยการจุดไฟเผารางกายตาง ประทีปเพื่อถวายเปนพุทธบูชา พรอมกับตั้งจิตอธิฐาน ขอใหไดเกิดเปนพระสัมมาสัมพุทธเจาในอาคต เปน ตน ซึ่งคัมภีรทสโพธิสตฺตุทฺเทสนี้มีหลักฐานปรากฏใน รูป แบบของคั ม ภี ร ตั้ งแต ส มั ย อยุ ธ ยา ประมาณพุ ท ธ ศตวรรษที่ 22 และรัตนโกสินทรในชวงรัชกาลที่ 3 - 4 และในรูปแบบจิตรกรรมที่ศาลาการเปรียญ วัดในกลาง จังหวัดเพชรบุรี


จิตรกรรมภาพพระโพธิสัตวในสมัยพระอนาคตพุทธเจา 10 พระองค บนแผงไมคอสอง ศาลาการเปรียญหลังเกา วัดในกลาง จังหวัดเพชรบุรี สุพิชฌาย แสงสุขเอี่ยม

สรุป จิตรกรรมแผงไมคอสอง วัดในกลาง มีลักษณะ ของงานจิตรกรรมในสมัยรัชกาลที่ 3 และรัชกาลที่ 4 ปรากฏอยูรวมกัน จึงสันนิษฐานกําหนดอายุจิตรกรรม วา นาจะสรางขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 โดยไดรับการสืบ ต อ เทคนิ ค งานจิ ต รกรรมมาจากสมั ย รั ช กาลที่ 3 สอดคลองกับรูปแบบสถาปตยกรรมศาลาการเปรียญ หลังเกา ซึ่งมีรูปแบบเดียวกับศาลาการเปรียญที่สราง ในสมัยรัตนโกสินทรชวงรัชกาลที่ 4 จิตรกรรมแผงไมคอสองของศาลาการเปรียญ แหงนี้ เขียนภาพพระโพธิสัตวในสมัยพระอดีตพุทธเจา 24 พระองค และภาพพระโพธิสัตวในสมัยพระอนาคต พุทธเจา 10 พระองค ซึ่งเปนเรื่องในพุทธศาสนาที่ไมคอย พบเห็นในปจจุบัน จิตรกรรมแสดงออกดวยการเลือก นํา ฉากเหตุก ารณต อนสํา คั ญ ที่ สุ ดของเรื่อ งมาเขีย น เพื่อเปนการสื่อใหเขาใจเรื่องราวไดงายที่สุดและเปน การประหยั ด พื้ น ที่ ใ นการเขี ย นจิ ต รกรรม ในด า น ความหมายของการเขียนภาพพระโพธิสัตวบําเพ็ญเพียร

กับพระอนาคตพุทธเจานี้ แสดงใหเห็นถึงความศรัทธา ที่มีตอพระพุทธเจา ซึ่งเปนกุศโลบายใหพุทธศาสนิกชน ที่ไดพบเห็นภาพ รําลึกถึงการบําเพ็ญบุญบารมีของ พระโพธิสัตวในชาติตางๆ เพื่อที่จะบรรลุโพธิญาณใน ภายภาคหนา โดยใชคําจารึกทั้งดานบนและดานลาง บอกชื่อเรื่องราวในแตละตอนเพื่อใชอธิบายเรื่องราวให เขาใจมากขึ้น แนวความคิดเรื่องการบําเพ็ญบารมี เพื่อหวัง บรรลุโพธิญาณในภายภาคหนานี้ นอกจากจะปรากฏ ในจิ ต รกรรมแผงไม ค อสอง ศาลาการเปรี ย ญวั ด ใน กลางแลว ยังปรากฏการปฏิบัติตนของผูศรัทธานํามา เปนแนวทางในการปฏิบัติเพื่อใหเขาสูโพธิญาณ และ กลายเปนแนวทางปฏิบัติเพื่อแสดงความจงรั กภัก ดี และพัฒนากลายเปนลัทธิไปในที่สุด ดังปรากฏหลักฐาน ที่ อ าจได รั บ แรงบั น ดาลใจมาจากเรื่ อ งราวในคั ม ภี ร ทสโพธิสตฺตุทฺเทส คือ เรื่องของนายเรืองและนายนก จุดไฟเผาตนเอง เพื่อหวังบรรลุโพธิญาณในภายภาคหนา ในสมัยรัชกาลที่ 1 และ รัชกาลที่ 2 อีกดวย

เอกสารอางอิง คฑา จันทลักษณา และคณะ. (2541). รายงานการตรวจสภาพศาลาการเปรียญวัดในกลาง อําเภอบานแหลม จังหวัดเพชรบุรี. รายงานวิชาอนุรักษอาคารประวัติศาสตรและโบราณสถานในประเทศไทย รหัสวิชา 262-406 ภาคการศึ ก ษาที่ 2 ป ก ารศึ ก ษา 2541 สาขาวิ ช าประวั ติ ศ าสตร ส ถาป ต ยกรรม ภาควิ ช า สถาปตยกรรม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร. (อัดสําเนา) ดํารงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจาบรมวงศเธอกรมพระยา. (2533). พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร ใน รัชสมัยพระบาท สมเด็จพระพุทธเลิศหลานภาลัย รัชกาลที่ 2. พิมพครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: มูลนิธิ พระบรมราชานุสรณ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหลานภาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ. ประชุมหนังสือเกา. ภาคที่ 1. (2459). พระนคร: โรงพิมพโสภณพิพรรฒธนากร. (หมอมเจาปยภักดี นารท พิมพอุทิศสวนกุศลสนอง พระเดชพระคุณพระเจาบรมวงศเธอ กรมหมื่นวิศณุนารถนิภาธร ปมะโรง อัฐศก พ.ศ. 2459). ประสาร บุญประคอง. (2517). “หลักที่ 133 ศิลาจารึกที่ฐานรูปนายเรืองผูเผาตัว,” ใน ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 6 ตอนที่ 1 : ประมวลจารึกสมัยกรุงรัตนโกสินทร ที่พบในภาคเหนือ ภาคตะวันออกและภาคกลาง. กรุงเทพฯ: คณะกรรมการจัดพิมพเอกสารทางประวัติศาสตร สํานักนายกรัฐมนตรี. ________. (2517). “หลักที่ 136 ศิลาจารึกที่ฐานรูปนายนกผูเผาตัว.” ใน ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 6 ตอนที่ 1 : ประมวลจารึกสมัยกรุงรัตนโกสินทร ที่พบในภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลาง. กรุงเทพฯ: คณะกรรมการจัดพิมพเอกสารทางประวัติศาสตร สํานักนายกรัฐมนตรี.

81


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปที่ 30 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2553

ผาน วงษอวน. (2522). คัมภีรอนาคตวงส อุเทศที่ 1 - 10: การตรวจชําระและศึกษาเชิงวิเคราะห. วิทยานิพนธปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาภาษาตะวันออก บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ มหาวิทยาลัย. พันธุทิพย ธีระเนตร. (2548). “จารึกที่ฐานรูปนายเรืองผูเผาตัว.” ใน ฐานขอมูลจารึกในประเทศไทย. ศูนย มานุษยวิทยาสิรินธร. [ออนไลน]. สืบคนจาก http://www.sac. or.th/jaruk ________. (2548). “จารึกที่ฐานรูปนายนกผูเผาตัว.” ใน ฐานขอมูลจารึกในประเทศไทย. ศูนยมานุษยวิทยา สิรินธร. [ออนไลน]. สืบคนจาก http://www.sac.or.th/jaruk มหามกุฏราชวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ. (2530). พระสูตรและอรรถกถาแปล ขุททกนิกาย พุทธวงศ. เลมที่ 9, ภาคที่ 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพมหามกุฎราชวิทยาลัย. (เนื่องในวโรกาส เฉลิมพระชนมพรรษา ครบ 5 รอบ พระนักษัตร 5 ธันวาคม พุทธศักราช 2530). สํานักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแหงชาติที่ 1 ราชบุรี. (ม.ป.ป.). “รายงานการสํารวจวัดในกลาง.” (อัดสําเนา) สุภาพรรณ ณ บางชาง. (2533). วิวัฒนาการวรรณคดีบาลีสายพระสุตตันปฎกที่แตงในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย. Likhit Likhitanon. (1969). The Pali Literature of Thailand. Ph.D. Thesis Submitted to Faculty of Arts, Magadh University. Saddhatissa, H. (1975). “The Birth – Stores of the Ten Bodhisattas and the Dasabodhisatuuppattikath.” in Sacred books of Buddhist. Vol. xxxIx. London: The Pali Text Society.

82


จิตรกรรมฝาผนังในพระอุโบสถวัดชุมพลนิกายาราม : มุมมองใหมเกี่ยวกับการปฏิเสธ อิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริยในพุทธประวัติสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกลาเจาอยูหัว อิสรา อุปถัมภ

จิตรกรรมฝาผนังในพระอุโบสถวัดชุมพลนิกายาราม : มุมมองใหมเกี่ยวกับการปฏิเสธอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริยใ นพุทธประวัติ สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกลาเจาอยูหัว Murals in Ubosoth Wat Chumpolnikayaram : A new analysis on the rejection of miracle parts of the Buddha’s life in the reign of King Rama the Fourth อิสรา อุปถัมภ1 Isara Upathum

บทคัดยอ พระอุโบสถวัดชุมพลนิกายารามเปนพระอุโบสถในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกลาเจาอยูหัว ที่เขียน จิ ต รกรรมฝาผนั ง พุ ทธประวั ติแ ต ไ มป รากฏภาพตอนมารวิ ชัย นั ก วิ ช าการบางท า นอธิ บ ายถึ ง สาเหตุ ข องการ ไมปรากฏภาพตอนนี้วาเปนเพราะพุทธศาสนาในแนวความคิดของพระบาทสมเด็จพระจอมเกลาเจาอยูหัวนั้น ตองการปฏิเสธเรื่องราวที่เปนอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริยของพระพุทธเจา ซึ่งขัดแยงกับขอสรุปที่ไดจากการศึกษานี้ แทจริงแลวการเรียบเรียงพุทธประวัติในแนวความคิดของพระบาทสมเด็จพระจอมเกลาเจาอยูหัวนั้นนาจะ เชื่อในสิ่งที่พิจารณาแลววาเปนขอความในพระไตรปฎกบาลีโดยตรง ทําใหมีเรื่องราวจํานวนมากที่เชื่อวาแตงขึ้น ภายหลังเชนในชั้นอรรถกถาลงมานั้นไมไดรับการยอมรับ และไมปรากฏบนจิตรกรรมฝาผนังในพระอุโบสถวัด ชุมพลนิกายาราม คําสําคัญ: 1. จิตรกรรมฝาผนังสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกลาเจาอยูหัว. 2. จิตรกรรมฝาผนังภาพพุทธประวัติ. Abstract

The ubosoth of Wat Chumpolnikayaram, renovated in the reign of King Rama the Fourth, houses murals depicting the life of Buddha. But the scene of subduing Mara does not exist. The former belief that King Rama the Fourth rejected miracle parts of the Buddha’s life, and the present day conclusion of this study are contradictory. In fact, the rewritten version of the Buddha’s life story appears to be based on stories believed to be authentic. Only the messages in the Tri-Pitaka were applied. So many episodes believed to be newer have been found to be unacceptable. It also greatly affected the drawing of murals in this ubosoth. Keywords: 1. Murals painting in the reign of King Rama the Forth. 2. Murals painting in the life of Buddha. 1

นักวิจัย สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร

83


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปที่ 30 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2553

วัดชุมพลนิกายาราม ปจจุบันเปนพระอาราม หลวงชั้นโทชนิดราชวรวิหาร ตั้งอยูใกลกับพระราชวัง บางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา วัดแหงนี้เชื่อวา สรางขึ้นในสมัยสมเด็จพระเจาปราสาททอง (กรม ศิลปากร 2511 : 344, 867) ตอมาไดรับการปฏิสังขรณ ครั้ ง ใหญ ใ นสมั ย พระบาทสมเด็ จ พระจอมเกล า เจาอยูหัว เนื่องจากพระองคมีพระราชประสงคจะทํา ผาติกรรมพระราชวังนารายณราชนิเวศที่ลพบุรี ซึ่ง ไดรับการกําหนดวิสุงคามสีมาเปลี่ยนเปนวัดในปลาย สมัยสมเด็จพระนารายณมหาราชใหก ลับคืนมาเปน พระราชวั ง อี ก ครั้ ง โดยการทํ า ผาติ ก รรมครั้ ง นั้ น พระบาทสมเด็จพระจอมเกลาเจาอยูหัวทรงโปรดใหมี

การปฏิสังขรณวัดชุมพลนิกายาราม วัดเสนาสนาราม และวัดกวิศราราม (กรมศิลปากร 2511 : 34 - 45) แม ห ลั ก ฐานทางเอกสารที่ ร ะบุ ถึ ง การ บูรณปฏิสังขรณในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกลา เจาอยูหัวจะมิไดกลาวถึงรายละเอียดดานงานชางวามี การเปลี่ ย นแปลงพระอุ โ บสถอย า งไรบ า ง แต เ มื่ อ พิจารณารูปแบบทางสถาปตยกรรมของพระอุโบสถ (ภาพที่ 1) แลวแทบจะกลาวไดวา มีเฉพาะสวนของ รากฐานเทานั้นที่มิไดรับการเปลี่ยนแปลง พระอุโบสถ วัดชุมพลนิกายารามที่ปรากฏในปจจุบันนอกจากงาน บูรณะเล็กนอยในภายหลังแลวก็นาจะเปนงานในสมัย พระบาทสมเด็จพระจอมเกลาอยูหัวทั้งสิ้น2

ภาพที่ 1 พระอุโบสถวัดชุมพลนิกายาราม

2

ดู ก ารเปรี ย บเที ย บรู ป แบบพระอุ โ บสถวั ด ชุ ม พลนิ ก ายารามกั บ พระอุ โ บสถและพระวิ ห ารวั ด อื่ น ๆ ที่ ส ร า งในสมั ย พระบาทสมเด็จพระจอมเกลาเจาอยูหัว ใน สมคิด จิระทัศนกุล 2547 : 120 - 132)

84


จิตรกรรมฝาผนังในพระอุโบสถวัดชุมพลนิกายาราม : มุมมองใหมเกี่ยวกับการปฏิเสธ อิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริยในพุทธประวัติสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกลาเจาอยูหัว อิสรา อุปถัมภ

จิตรกรรมฝาผนังในพระอุโบสถวัดชุมพลนิกายาราม : การปฎิเสธอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย ? พระอุ โ บสถวั ด ชุ ม พลนิ ก ายารามเป น ที่ ประดิ ษ ฐานพระประธานขนาดแตกต า งกั น 7 องค (ภาพที่ 2) และยังมีจิตรกรรมฝาผนังประกอบดวย ภาพประวัติของพระพุทธเจาในอดีตและปจจุบันรวม 7 พระองค3 เทากับจํานวนของพระประธาน ภาพประวัติ ของพระพุทธเจาองคปจจุบันวาดไวเต็มพื้นที่ผนังสกัด หนาตรงขามกับพระประธาน การวาดจิตรกรรมฝาผนัง ในพระอุ โ บสถวั ด ชุ ม พลนิ ก ายารามน า จะมี ค วาม เกี่ยวของกับ จดหมายเหตุรัชกาลที่ 4 จ.ศ.1225 เลขที่ 134 เรื่อง “สมณสาสน เรื่องสมณสาสนมาแตลังกา” เพราะเอกสารฉบับนี้ไดระบุถึงการเขียนจิตรกรรมฝา ผนั ง ที่ วั ด แห ง หนึ่ ง อั น ประกอบด ว ยประวั ติ ข อง พระพุทธเจา 6 พระองคตั้งแตพระวิปสสีจนถึง พระกัสสปะที่ผนังดานขางทั้งสองดาน ดานละ 3 เรื่อง และประวัติของพระโคตมะอยูบนผนังดานตรงขามพระ ประธาน ซึ่ ง สอดคล อ งกั บ จิ ต รกรรมฝาผนั ง ในพระ อุโบสถวัดชุมพลนิกายารามเปนอยางยิ่ง ทําใหมั่นใจ ได ว า จิ ต รกรรมฝาผนั ง ในพระอุ โ บสถแห ง นี้ เ ป น จิ ต รกรรมที่ ส ร า งขึ้ น ในรั ช กาลสมเด็ จ พระจอมเกล า เจ า อยู หั ว อย า งแท จ ริ ง แม ไ ม ท ราบว า บุ ค คลใดเป น ผู เ ขี ย นเอกสารฉบั บ นี้ ขึ้ น แต ก็ มี ค วามเป น ไปได ว า อาจจะเปนการรับสั่งโดยตรงมาจากพระบาทสมเด็จ พระจอมเกลาเจาอยูหัว

ไดเคยมีผูศึกษาเกี่ยวกับจิตรกรรมฝาผนังใน พระอุ โ บสถวั ด ชุ ม พลนิ ก ายารามแล ว ได ข อ สรุ ป ว า จิตรกรรมฝาผนังในพระอุโบสถแหงนี้มีความพยายาม ที่ จ ะหลี ก เลี่ ย งจารี ต และโครงสร า งในเนื้ อ หาตาม แบบเดิมดวยการจงใจขามเหตุการณท่ีเปนหัวใจของ การเลาเรื่องแบบจารีต อันไดแกตอนปราบพระยามาร ตอนแสดงยมกปาฏิหาริย และตอนเสด็จลงจากสวรรค ชั้นดาวดึงส ซึ่งเปนตอนที่แสดงใหเห็นความยิ่งใหญ ของพุทธภาวะ (ศิรินทร ใจเที่ยง 2544 : 75 - 76) นอกจากนี้ ยังกลา วอีก วา การที่จิต รกรรมฝาผนังใน พระอุโบสถวัดชุมพลนิกายารามเลือ กเรื่อ งจากมหา ปทานสูตร4 ที่มิไดแสดงอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริยของพระ พุ ท ธองค 5 อาจเนื่ อ งมาจากการเคลื่ อ นไหวของ พระสงฆธรรมยุติกนิกายที่มีการเรียบเรียงคัมภีรพุทธ ประวั ติ ขึ้ น ใหม ตั ด ส ว นที่ เ ป น อิ ท ธิ ฤ ทธิ์ ป าฏิ ห าริ ย ออกไป (ศิรินทร ใจเที่ยง 2544 : 80) ความเชื่อที่วา การที่พระบาทสมเด็จพระจอม เกลาเจาอยูหัวและธรรมยุติกนิกายปฏิเสธภาพตอน มารวิชัย ยมกปาฏิหารย และการเสด็จลงจากดาวดึงส เพราะเหตุการณเหลานี้เปนเรื่องอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย นั้น เปนความเชื่อดั้งเดิมที่มีมานานแลว ทําใหเกิดขอ สงสั ย ว า ภาพการแสดงปาฏิ ห าริ ย ป ราบชฎิ ล สาม พี่นองและการเสวยวิมุ ติสุขตามสถานที่ตา ง ๆ ของ พระพุทธองคซึ่งลวนแลวแตเปนเรื่องอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย ดวยเชนกันนั้น เหตุใดจึงยังคงปรากฏอยูในจิตรกรรม ฝาผนังในสมัยของพระองค

3

เรื่องราวของพระพุทธเจา 7 พระองค ประกอบดวยพระอดีตพุทธเจา 6 พระองค ไดแก พระวิปสสี สิขี เวสสภู กกุสันธะ โกนาคมนะ กัสสปะ และพระพุทธเจาองคปจจุบัน คือ พระโคตมะ 4 มหาปทานสูตร คือพระสูตรหนึ่งในพระไตรปฎกบาลี กลาวถึงเรื่องราวของพระพุทธเจา 7 พระองค โดยกลาวถึงพระประวัติ ของพระวิปสสีหนึ่งในพระอดีตพุทธเจาไวอยางละเอียดที่สุด 5 ความจริงแลวมหาปทานสูตรก็มีเรื่องราวที่เกี่ยวกับอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริยมากมาย เชนความมหัศจรรยที่เกิดขึ้นในขณะที่ พระโพธิสัตวประสูติ เปนตน

85


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปที่ 30 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2553

ภาพที่ 2 พระประธาน 7 องค ในพระอุโบสถวัดชุมพลนิกายาราม

จิตรกรรมฝาผนังตอนตรัสรูและเสวยวิมุติสุข : มารวิชัยไมใชของแท การเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังพุทธประวัติ ตอนที่เกี่ยวของกับการตรัสรูของพระพุทธองคมักจะ เขี ย นภาพตอนมารวิ ชั ย 6 จนดู เ หมื อ นว า การปราบ พระยามารหรือมารวิชัยและการตรัสรูของพระพุทธ

6

องคนั้นมีความสําคัญเสมอกันตามความคิดของชาง สมั ย โบราณ ในพระอุ โ บสถวั ด ชุ ม พลนิ ก ายาราม ไม ปรากฏภาพตอนมารวิ ชั ย แต ปรากฏเพี ยงตอนหลั ง จากการตรัสรูแลว หรือที่เรีย กวา ตอนเสวยวิมุติสุข (ภาพที่ 3)

เหตุ ก ารณ ต อนมารวิ ชั ย หรื อ มารผจญนั้ น เป น เหตุ ก ารณ ที่ เ กิ ด ก อ นการตรั ส รู ข องพระพุ ท ธองค มั ก แสดงด ว ยภาพ พระพุทธเจาประทับนั่งปางมารวิชัย นิ้วพระหัตถขวาชี้ลงสูพื้นดิน มีพระแมธรณีบีบมวยผมทําลายกองทัพพระยามาร หลังจากพระยา มารพายแพไปแลว พระพุทธองคทรงเขาสมาธิขั้นสูงและตรัสรูในเวลาตอมา ซึ่งนิยมแสดงภาพพระพุทธเจาประทับนั่งปางสมาธิและมี พระรัศมีรอบพระวรกาย

86


จิตรกรรมฝาผนังในพระอุโบสถวัดชุมพลนิกายาราม : มุมมองใหมเกี่ยวกับการปฏิเสธ อิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริยในพุทธประวัติสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกลาเจาอยูหัว อิสรา อุปถัมภ

ภาพที่ 3 จิตรกรรมฝาผนังพุทธประวัติตอนตรัสรูและเสวยวิมุติสุข ในพระอุโบสถวัดชุมพลนิกายาราม เรื่องราวตอนเสวยวิมุติของพระพุทธเจาใน ปฐมสมโพธิกถา7 ไดกลาวถึงสถานที่ตางๆ 7 แหง เรี ย กว า สั ต ตมหาสถาน จิ ต รกรรมฝาผนั ง ในสมั ย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกลาเจาอยูหัว เชน จิตรกรรม ในพระอุโบสถวัดสุทัศนเทพวรารามก็เขียนเรื่องราว ตามนี้ แต จิต รกรรมฝาผนั ง ในพระอุ โ บสถวั ด ชุม พล นิกายาราม (ภาพที่ 3) ปรากฏสถานที่ตางๆ นอยกวา นั้น คือปรากฏพระพุทธเจาในสถานที่เพียง 4 แหง ไดแก ใต ต น พระศรี ม หาโพธิ์ ใต ต น อชปาลนิ โ ครธบริ เ วณ ที่มีเด็กเลี้ยงแพะ ใตตนจิกริมสระมุจลินท และใตตน ราชายตนะ การปรากฏสถานที่ตางๆ เพียงเทานี้ สอดคลองกับ พระวิ นั ย ป ฎ ก มหาวรรค มหาขั น ธกะ ซึ่ ง อธิ บ าย เหตุการณตอนเสวยวิมุตติสุขของพระพุทธองค โดยมี รายละเอียดดังนี้ (พระวินัยปฎก เลม 1 ภาค 1 และอรรถกถา 2527 : 1 - 7)

เมื่อพระพุทธเจาตรัสรูแลวไดประทับนั่งเสวย วิมุตติสุข ณ โคนไมตางๆ 4 แหง เปนเวลาทั้งสิ้น 5 สัปดาห ไดแก สัปดาหที่ 1 ประทับนั่ง ณ โคนไมโพธิ์ที่ตรัสรู พิจารณาปฏิจจสมุปบาท สัปดาหที่ 2 ประทับนั่ง ณ โคนไมอชปาลนิโครธ เสวยวิมุติสุข พราหมณที่ชอบตวาดคนเขาเฝา สัปดาหที่ 3 ประทับนั่ง ณ โคนไมจิกพญามุจลินท มาขนดรอบพระวรกายของพระพุทธเจา สัปดาหที่ 4 ประทับนั่ง ณ โคนไมราชายตนะ พานิช 2 คน ถวายขาวสัตตุกอนและสัตตุผง สั ป ดาห ที่ 5 กลั บ มาประทั บ นั่ ง ณ โคนไม อชปาลนิโครธอีก ครั้ง นอมพระทัยจะไมแสดงธรรม การที่มีสถานที่ตางๆ เพิ่มขึ้นมาเปน 7 แหง หรือที่ เรียกวาสัตตมหาสถานนั้น มีที่มาจากการที่พระอรรถ กถาจารยไดแทรกเรื่องราวเพิ่มเติมไวในคัมภีรอรรถกถา

7

คัมภีรฉบับหนึ่งที่เรียบเรียงพุทธประวัติอยางละเอียด แตงเพิ่มเติมในสมัยหลังกวาพระไตรปฎกและอรรถกถา

87


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปที่ 30 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2553

สมนฺตเพื่ออธิบายตํานานอภิธรรม โดยเพิ่มเหตุการณ ตอนเสวยวิมุตติสุขเพิ่มขึ้นอีก 3 สัปดาหเลื่อนสัปดาห ที่ 2 ไปเปนสัปดาหที่ 5 (สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จ พระสังฆราช 2542 : 15 – 17) สัปดาหที่แทรกมา คือ สัปดาหที่ 2 เสด็จจากโคนไมโพธิ์ไปทางทิศ อีสาน จองดูไมโพธิ์จากที่นั่น จึงเรียกวา อนิมิตตเจดีย แปลวา เจดียที่ทรงจองดูโดยมิไดกระพริบพระเนตร สัปดาหที่ 3 เสด็จมาอยูระหวางไมโพธิ์และอนิมิตต เจดี ย เนรมิ ต ที่ จ งกรมแล ว เสด็ จ จงกรม ณ ที่ นั้ น เรียกวา รัตนจงกรมเจดีย แปลวา ที่จงกรมแกว สัปดาหที่ 4 ประทับนั่งขัดบัลลังกในทิศ ปศจิมหรือทิศพายัพแหงไมโพธิ์ ทรงพิจารณาอภิธรรม เรียกวา รัตนฆรเจดีย แปลวา เรือนแกว จะเห็นวา จิตรกรรมฝาผนังในพระอุโบสถวัด ชุ ม พลนิ ก ายารามตอนเสวยวิ มุ ต ติ สุ ข นี้ มี ที่ ม าจาก พระวินัยปฎกบาลี ปฏิเสธเรื่องราวในคัม ภีร ชั้น หลัง เชนในอรรถกถา หรือหลังกวานั้นเชนปฐมสมโพธิกถา จิตรกรรมฝาผนังในพระอุโบสถวัดโสมนัสวิหาร8 ก็เปน อีกแหงหนึ่งซึ่งแสดงฉากเสวยวิมุติสุขปรากฏสถานที่ เพียง 4 แหง เมื่ อ พิ จ ารณาต อ ไปจึ ง เกิ ด คํ า ถามว า แล ว ภาพใดจะเป น ตั ว แทนของตอนที่ มี ค วามสํ า คั ญ ยิ่ ง นั่น คื อ ตอนตรั สรู ข องพระพุท ธองค จากเดิม ที่มั ก ใช ภาพตอนมารวิ ชั ย สื่ อ ถึ ง การตรั ส รู แต ที่ วั ด ชุ ม พล นิกายารามนั้น กลับไมปรากฏภาพนี้ การตรั ส รู ข องพระวิ ป สสี ใ นมหาปทานสู ต ร ไดกลาววาพระวิปสสีทรงตรัสรูธรรมหลังจากพิจารณา ธรรมที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยเหตุที่เกี่ยวโยงกันเหมือน ลูก โซ ทรงพิ จ ารณาความเกิ ด ความดั บแหง ขั น ธ 5 (พระสูตรและอรรถกถา แปล ทีฆนิกาย มหาวรรค เลม ที่ 2 ภาคที่ 1 2527 : 34 – 39) ซึ่งหลักธรรมดังกลาว ก็คือปฏิจจสมุปบาท ภายหลังเรื่องราวตอนตรัสรูของ

8

พระวิปสสีในมหาปทานสูตรสวนนี้ไดนํามาอธิบายถึง การตรัสรูของพระโพธิสัตวโคตมะในปฐมสมโพธิกถา แบบธรรมยุติ (สา ปุสฺสเทว 2513 : 41 – 52) จึงทําให เห็ น ว า พระโพธิ สั ต ว นั้ น จะตรั ส รู ห ลั ง จากพิ จ ารณา ปฏิจจสมุปบาท ในทํานองเดียวกับปฐมสมโพธิกถาที่ กลาววา “...หลังจากพระโพธิสัตวขจัดมาร เรียบรอย แลวกอนพระอาทิตยตก...” (ปรมานุชิตชิโนรส 2530 : 94) “...ลวงเขาราตรีกาล ทรงระลึกบุพเพนิวาสานุสติญาณ ทรงชําระทิพพจักขุญาณ หลังจากทรงหยั่งพระญาณ ลงในปฏิจจสมุปบาทก็ตรัสรูในเวลารุงสาง (ปรมานุชิต ชิโนรส 2530 : 97 -100) เมื่อพิจารณาจากจารึกหินออน9 บริเวณ สวนลางของผนังพระอุโบสถวัดชุมพลนิกายาราม ซึ่ง กลาววา “…เวลาเย็นรับกําหญาคาที่โสตถิยพราหมณ ถวาย ลาดลงใตตน อัสสัฐ มหาโพธิ์ นั่ง คูบัลลังกตรึ ก ธรรมได ต รั ส เปน พระพุ ท ธเจ า มี น ามว า พระโคดม และไปประทับในที่ใกลตนไทรใหญ แลประทับ ณ ริม ฝงสระมุจลินท พระยามุจลินทนาคราชขึ้นมาเอาขนด กายวงรอบพระกายแลวแผพังพานกั้นในเบื้องบน” จะ เห็นวามีการกลาวไวเพียงวาพระพุทธเจาประทับนั่ง ตรัสรูใตตนพระศรีมหาโพธิ์ จากนั้นก็เสด็จไปประทับ ใต ต น ไทร ต อ ด ว ยเหตุ ก ารณ ที่ เ กี่ ย วกั บ พญานาค มุจลินท โดยมิไดกลาวถึงเหตุการณในสัปดาหที่ 1 แต อยางใด อยางไรก็ดีการระบุวานั่งคูบัลลังกตรึกธรรม “ธรรม” ที่วานี้นาจะหมายถึงปฏิจจสมุปบาท จึงเปนไปได วา ภาพพระพุทธเจาประทับนั่งใตตนพระศรีมหาโพธิ นั้น เปนไดทั้งภาพตอนตรัสรูและภาพตอนเสวยวิมุติ สุ ข ในสั ป ดาห ที่ 1 หรื อ กล า วอี ก นั ย หนึ่ ง ว า ภาพที่ เกี่ ย วข อ งกั บ การตรั ส รู ข องพระพุ ท ธองค ใ นสมั ย พระบาทสมเด็จพระจอมเกลาเจาอยูหัว ไดเปลี่ยนแปลง จากเดิ ม ที่ มั ก แสดงด ว ยภาพมารวิ ชั ย มาเป นภาพ พระพุทธองคประทับนั่งใตตนพระศรีมหาโพธิ ภาพพระ

วัดโสมนัสวิหาร เปนวัดในสังกัดธรรมยุติกนิกาย สรางขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกลาเจาอยูหัว ในพระอุโบสถวัดชุมพลนิกายารามจะมีการสลักขอความลงบนแผนหินออนบรรยายเหตุการณตาง ๆ ในจิตรกรรมฝาผนัง ฝงไวทางตอนลางของภาพ ซึ่งทําใหงายตอการพิจารณาวาภาพตางๆ ที่วาดนั้นหมายถึงเหตุการณตอนใด แมแตภาพที่ชํารุดหรือ ไดรับการเปลี่ยนแปลงไปมากก็สามารถตีความไดอยางไมยากเย็นนัก 9

88


จิตรกรรมฝาผนังในพระอุโบสถวัดชุมพลนิกายาราม : มุมมองใหมเกี่ยวกับการปฏิเสธ อิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริยในพุทธประวัติสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกลาเจาอยูหัว อิสรา อุปถัมภ

พุทธเจาประทับนั่งใตตนพระศรีมหาโพธิในพระอุโบสถ วั ดชุ มพลนิ กายาราม วางอยู ในตํ าแหน งกึ่ งกลางตอน บนสุดของผนังดานตรงขามพระประธาน ซึ่งสื่อใหเห็น ถึงการใหความสําคัญเปนพิเศษแกเหตุการณตอนนี้ ภาพเหตุการณตอนตรัสรูและเสวยวิมุตติสุข ของพระพุทธองคในลักษณะนี้มิไดเริ่มเกิดขึ้นในสมัย พระบาทสมเด็ จ พระจอมเกล า เจ า อยู หั ว แต เ กิ ด ขึ้ น กอนหนานั้นแลว มีหลักฐานคือภาพพุทธประวัติสลักที่ ฐานศิลาของพระเจดียกาไหลทอง พระเจดียกาไหล ทององคนี้ประดิษฐานอยูภายในฐานพระเจดียใหญวัด บวรนิเวศวิหาร สันนิษฐานวาสรางขึ้นในป พ.ศ.2387 (มหามกุ ฏ ราชวิ ท ยาลั ย 2546 : 101) ในสมั ย พระบาทสมเด็จ พระนั่งเกล าเจา อยูหัว ชวงเวลานั้ น พระบาทสมเด็ จ พระจอมเกลาเจา อยูหัวขณะยังทรง ครองสมณะเพศอยูนั้นไดทรงครองวัดบวรนิเวศวิหาร แห ง นี้ อ ยู ด ว ย จึ ง เชื่ อ ว า ภาพสลั ก ศิ ล าดั ง กล า วนี้ สามารถเปนตัวแทนภาพพุทธประวัติในระยะหัวเลี้ยว

หัวตอซึ่งกําลังเปลี่ยนแปลงจากในสมัยพระบาทสมเด็จ พระนั่ ง เกล า เจ า อยู หั ว และจะปรากฏต อ มาในสมั ย พระบาทสมเด็จพระจอมเกลาเจาอยูหัว ภาพสลักที่ ฐานเจดียนี้มีทั้งสิ้น 4 ดาน เปนภาพเรื่องราวและจารึก ขอความพุทธอุทาน ที่เกี่ยวของกับเหตุการณสําคัญ 4 เหตุการณไดแก ประสูติ ตรัสรู (และเสวยวิมุตติสุข) ปฐมเทศนา และปรินิพพาน ภาพสลักบนฐานดานทิศตะวันออกของเจดีย ที่วัดบวรนิเวศวิหาร (ภาพที่ 4) เปนภาพตอนตรัสรู และเสวยวิมุติสุขในสัปดาหที่ 1 ที่แสดงภาพพระพุทธ องค ป ระทั บ นั่ ง ใต ต น พระศรี ม หาโพธิ ใ นลั ก ษณะ เดี ย วกั บ จิ ต รกรรมฝาผนั ง ในพระอุ โ บสถวั ด ชุ ม พล นิ ก ายาราม ทั้ ง มี ก ารระบุ ส ถานที่ บ างแห ง ประกอบ เรื่องราวที่เกี่ยวของกับการเสวยวิมุติสุขไวดวย ไดแก ทางดานซายของพระพุทธองคเปนตนอชปาลนิโครธ ซึ่งมีฝูงแพะ และดานขวามีสระน้ํา ซึ่งมีพญานาค มุจลินท

ภาพที่ 4 ภาพพุทธประวัติสลักที่ฐานศิลาดานทิศตะวันออกของพระเจดียกาไหลทอง วัดบวรนิเวศวิหาร ที่มา : มหามกุฏราชวิทยาลัย. วัดบวรนิเวศวิหาร. พิมพครั้งที่ 3. (กรุงเทพ ฯ: มหามงกุฎราชวิทยาลัย, 2546): 96.

89


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทยจิตรกรรมฝาผนังในพระอุโบสถวัดชุมพลนิกายาราม : มุมมองใหมเกี่ยวกับการปฏิเสธ ปที่ 30 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2553 อิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริยในพุทธประวัติสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกลาเจาอยูหัว อิสรา อุปถัมภ

ในสมัยโบราณเมื่อมีการเรียบเรียงพระไตรปฎก บาลี ขึ้ น เรี ย บร อ ยแล ว ภายหลั ง พระสงฆ ผู มี ค วามรู ความสามารถก็จะแตงคัม ภีรเพื่อขยายเนื้อความใน พระไตรปฎกตามความเขาใจของตนใหละเอียดยิ่งขึ้น ในชั้ น แรกเรี ยกว า อรรถกถา ต อ มาก็ มี พระสงฆ ผู มี ความรูแตงคัมภีรเพื่อขยายเนื้อความในอรรถกถาขึ้น อีก ในชั้นนี้เรียกวา ฎีกา หลังจากนั้นก็จะมีคัมภีรอื่นๆ แตง เพิ่ ม เติม ขึ้น อีก มากมายซึ่ งล ว นแล วแตใ หม ก ว า พระไตรปฎกบาลีทั้งสิ้น ในพระไตรปฎ กมหาปทานสูตรไดก ลา วถึง เหตุการณตอนตรัสรูของพระวิปสสีไ วอยา งละเอียด เป น อั น มาก 10 โดยกล า วถึ ง เฉพาะการพิ จ ารณา ปฏิจจสมุปบาทเหตุแหงการตรัสรูเทานั้น มิไดกลาวถึง การปราบ พญามารแมแตนอย ตอนปราบพญามาร นั้น ระบุ ไ ว ใ นคั ม ภีร ชั้ น อรรถกถา ไม ว า จะเป น อรรถ กถาของมหาปทานสูตร11 หรืออรรถกถาพุทธวงศ12 ในพุทธวงศ13 จะปรากฏเพียงขอความสั้นๆ วา “ทรง ย่ํายีกองทัพมาร” (พระสูตร และอรรถกถา แปล ขุ ททกนิกาย พุทธวงศ เลมที่ 9 ภาคที่ 2 2527 : 608) จะเห็ น ว า ภาพตอนตรั ส รู ที่ เ กิ ด ขึ้ น ตามแนวคิ ด ของ พระบาทสมเด็จพระจอมเกลาเจาอยูหัวนั้น ไดแสดงใน ลั ก ษณะใหม ซึ่ ง เกี่ ย วข อ งกั บ มหาปทานสู ต ร มิ ใ ช แสดงออกในลั ก ษณะที่ อ ลั ง การตามที่ ร ะบุ ไ ว อ ย า ง ละเอี ย ดในปฐมสมโพธิ ก ถาที่ ป รากฏทั้ ง กองทั พ พระยามาร และพระแมธรณีบีบมวยผม สวนเหตุการณ ตอนเสวยวิมุติสุขนั้น เปนการยอนกลับไปเชื่อเนื้อหา

10

ในพระไตรปฎ กอยา งแทจ ริง โดยปฏิ เสธเรื่อ งราวที่ เพิ่มขึ้นในภายหลัง ทั้งในอรรถกถา และปฐมสมโพธิกถา จิตรกรรมฝาผนังตอนอาฏานาฏิยสูตร : ทาวจตุโลกบาลที่วาดแตกตางกัน อ า ฏ า น า ฏิ ย สู ต ร เ ป น พ ร ะ สู ต ร ห นึ่ ง ใ น พระไตรป ฎ กบาลี ว า ด ว ยท า วจตุ โ ลกบาลเข า เฝ า พระพุทธเจา ทาวเวสสุวรรณหนึ่งในจตุโลกบาลถวาย มนต คุ ม ครองที่ ชื่ อ ว า อาฏานาฏิ ย ะ ขึ้ น ต น ด ว ยคํ า นมัสการพระพุทธเจา 7 พระองค ไดแก พระวิปสสี สิขี เวสสภู กกุ สั น ธะ โกนาคมนะ กั ส สปะ และโคตมะ (พระสูตรและอรรถกถา แปล ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เลมที่ 3 ภาคที่ 2 2527 : 124 - 125) แมวาอาฏานา ฏิยสูตรจะมีความสําคัญในฐานะที่เปนบทสวดมนตที่ เกี่ยวของกับพิธีตรุษ หนึ่งในพระราชพิธีสําคัญที่มีมา นานแลว (ดํารงราชานุภาพ 2484 : 44) แตพุทธ ประวัติตอนอาฏานาฏิยสูตรก็มิไดรับการรวบรวมไวใน ปฐมสมโพธิกถา และไมนิยมนํามาเขียนเปนจิตรกรรม ฝาผนัง ปจจุบันพบเพียงในพระอุโบสถวัดชุมพลนิกา ยารามเทานั้น (ภาพที่ 5) ซึ่งสาเหตุของการเขียนภาพ นี้ น า จะเป น เพราะอาฏานาฏิ ย สู ต รเป น เรื่ อ งราว เกี่ ย วกั บ พระพุ ท ธเจ า 7 พระองค รั บ กั น กั บ ภาพ จิ ต รกรรมฝาผนั ง พระประวั ติ ข องพระพุ ท ธเจ า 7 พระองค และพระประธาน 7 องคที่ประดิษฐานอยูใน พระอุโบสถ

สันนิษฐานวา เรื่องราวตาง ๆ ที่ใชในการเรียบเรียงพุทธประวัติของพระวิปสสี หนึ่งในพระอดีตพุทธเจา ก็คงจะใชโครง เรื่องพุทธประวัติของพระโคตมะ พระพุทธเจาองคปจจุบัน ดังนั้น การตรัสรูของพระวิปสสีที่ปรากฏในมหาปทานสูตร แทจริงแลวก็ควร จะเปนการตรัสรูของพระพุทธเจาองคปจจุบันดวย 11 อรรถกถามหาปทานสูตร คือคัมภีรที่แตงขึ้นภายหลังเพื่อขยายความในมหาปทานสูตร 12 อรรถกถาพุทธวงศ คือคัมภีรที่แตงขึ้นภายหลังเพื่อขยายความในพุทธวงศ 13 พุทธวงศ คือพระสูตรหนึ่งในพระไตรปฎกบาลี กลาวถึงเรื่องราวของพระอดีตพุทธเจาและพระพุทธเจาองคปจจุบันรวม 28 พระองค ซึ่งแตกตางจากมหาปทานสูตรซึ่งเปนพระสูตรในพระไตรปฎกบาลีเชนกัน แตระบุจํานวนของพระอดีตพุทธเจาที่แตกตางกัน

90


จิตรกรรมฝาผนังในพระอุโบสถวัดชุมพลนิกายาราม : มุมมองใหมเกี่ยวกับการปฏิเสธ อิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริยในพุทธประวัติสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกลาเจาอยูหัว อิสรา อุปถัมภ

ภาพที่ 5 จิตรกรรมฝาผนังพุทธประวัติตอนอาฏานาฏิยสูตร ในพระอุโบสถวัดชุมพลนิกายาราม ภาพเหตุการณตอนนี้ไดรับการระบุเจาะจง ใหวาดในพระอุโบสถวัดชุมพลนิกายาราม ดังปรากฏ ในจดหมายเหตุรัชกาลที่ 4 จ.ศ.1225 เลขที่ 134 ชื่อ เรื่อง “สมณสาสน เรื่องสมณสาสนมาแตลังกา” โดย ระบุไววา “...เรื่ อ งพระโคดมอยู ด า นน า เขี ย นเปนเลาไปตั้ ง แต ป ระสู ต รจน นิพพาน แลใหมีเรื่องอาฏานาฏิยะสูตร อยูตรงกลางวางประตู เรื่องวาพระองค เสดจประทั บ อยู เ ฃาคิ ช ณกู ฏ ท า ว มหาราชทั้ ง 4 มาเฝ า พร อ มด ว ยหมู ยัก ษแลคนธรรภ กุม ภัณ ฑ นาค เปน อันมาก มาตั้งกองรักษาอยูทั้ง 4 ทิศ” (สะกดคําตามตนฉบับ) การเลื อ กคั ม ภี ร ที่ ม าในการวาดและการ แสดงออกตามที่ระบุไวในคัมภีรอยางใกลชิดปรากฏ ชั ด เจนอี ก ครั้ ง ในภาพตอนอาฏานาฏิ ย สู ต รนี้ โดย

พิ จ ารณาจากการวาดภาพท า วจตุ โ ลกบาล ท า วจตุ โลกบาลเปนมหาราชในสวรรคชั้นจาตุมหาราชิกาอัน เปนสวรรค ชั้นแรกถัดจากแผนดินที่เราอยูขึ้นไป (กรม ศิลปากร 2511 : 159) สวรรคชั้นนี้แบงการปกครอง ดูแลเปน 4 สวน กลาวคือ ทาวธตรฐ ดูแลทิศตะวันออก ทาววิรุฬหก ดูแลทิศใต ทาววิรูปกข ดูแลทิศตะวันตก ทาวเวสสุวรรณ ดูแลทิศเหนือ (กรมศิลปากร 2517 : 159 - 160) จิตรกรรมฝาผนังพุทธประวัติในพระอุโบสถ วัดชุมพลนิกายาราม ทาวจตุโลกบาลปรากฏพระองค ขึ้นสามครั้ง ครั้งแรก ตอนประสูติ (ภาพที่ 6) ครั้งที่สอง ตอนถวายบาตร (ภาพที่ 7) ครั้งที่สาม ตอนอาฏานาฏิยสูตร (ภาพที่ 8)

91


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปที่ 30 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2553

ภาพที่ 6 จิตรกรรมฝาผนังพุทธประวัติตอนประสูติ ในพระอุโบสถวัดชุมพลนิกายาราม

ภาพที่ 7 จิตรกรรมฝาผนังพุทธประวัติตอนถวายบาตร ในพระอุโบสถวัดชุมพลนิกายาราม

92


จิตรกรรมฝาผนังในพระอุโบสถวัดชุมพลนิกายาราม : มุมมองใหมเกี่ยวกับการปฏิเสธ อิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริยในพุทธประวัติสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกลาเจาอยูหัว อิสรา อุปถัมภ

ภาพที่ 8 ทาวจตุโลกบาลในจิตรกรรมฝาผนังพุทธประวัติตอนอาฏานาฏิยสูตร ในพระอุโบสถวัดชุมพลนิกายาราม ทวาทาวจตุโลกบาลที่ปรากฏพระองคขึ้นทั้ง สามครั้งนี้ ทาวจตุโลกบาลที่ปรากฏตอนประสูติ (ภาพ ที่ 6) และตอนถวายบาตร (ภาพที่ 7) วาดเปนเทวดา เชนเดียวกันทั้งหมด แตทาวจตุโลกบาลที่ปรากฏใน ตอนอาฏานาฏิ ย สู ต ร (ภาพที่ 8) วาดแตกต า งกั น กลาวคือ ทาวธตรฐ วาดเปนเทวดา ทาววิรุฬหก วาดเปนยักษ ทาววิรูปกข วาดเปนเทวดา ทาวเวสสุวรรณ วาดเปนยักษ อาฏานาฏิยสูตร ไดกลาวไวอยางชัดเจนวา ทาวเวสสุวรรณนั้นเปนใหญของยักษทั้งหลาย (พระ สูตรและอรรถกถา แปล ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เลมที่ 3 ภาคที่ 2 2527 : 133) ทาววิรูปกษเปนใหญของ พวกนาค (พระสูตรและอรรถกถา แปล ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เลมที่ 3 ภาคที่ 2 2527 : 129) ทาว วิรุฬหกมีพวกกุมภัณฑลอมรอบ (พระสูตรและอรรถกถา

แปล ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เลมที่ 3 ภาคที่ 2 2527 : 128) ทาวธตรฏเปนเจาเปนใหญแหงคนธรรพ (พระสูตรและ อรรถกถา แปล ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เลมที่ 3 ภาคที่ 2 2527 : 126) จะเห็นไดวา จิตรกรรมฝาผนังตอนอาฏานา ฏิยสูตรในพระอุโ บสถวั ดชุม พลนิกายารามวาดภาพ ทาวจตุโลกบาลตามที่ระบุไวในอาฏานาฏิยสูตรอยาง แทจริง กลาวคือ ทาวเวสสุวรรณวาดเปนยัก ษ ทา ว วิรุฬหก ก็วาดเปนยักษเชนกันเพราะกุมภัณฑนั้นก็คือ ยักษประเภทหนึ่ง ทาวธตรฏซึ่งเปนคนธรรพวาดเปน เทวดา ซึ่งก็ถูกตองแลว สวนทาววิรูปกษซึ่งเปนนาค แต ก ลั บ วาดเป น เทวดาไม ว าดเป น งู ห รื อ นาคนั้ น สามารถอธิบายไดวา เพราะจะไมเปนการเหมาะสม เมื่ อ เข า อยูใ นกลุ ม ของท า วจตุโ ลกบาลองค อื่น ๆ ซึ่ ง เปนยักษหรือเทวดาจึงจํา ตองวาดเปนนาคจําแลง 14 คือเทวดาสวมมงกุฎยอดนาค

14

นาคในพุทธศาสนาเมื่อขึ้นมาอยูในโลกมนุษยมักจะจําแลงกายเปนมนุษยหรือเทวดาอยูเสมอ

93


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปที่ 30 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2553

ในคั ม ภี ร ส มั ย หลั ง คื อ อาฏานาฏิ ย ปริ ต ร 15 กลาววาทาววิรุฬหกเปนเจาแหงเทวดา16 หรือในอรรถ กถาอาฏานาฏิยสูตร17 ก็กลาวไวเชนเดียวกันวาทาว วิรุฬหกเปนพวกเทวดา18 ซึ่งแตกตางจากที่กลาวไวใน อาฏานาฏิ ย สู ต รที่ ร ะบุ ว า ท า ววิ รุ ฬ หกนั้ น เป น พวก กุมภัณฑ (พระสูตรและอรรถกถา แปล ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เลมที่ 3 ภาคที่ 2 2527 : 133) ไมไดเปน เทวดา ในพระอุโบสถวัดชุมพลนิกายาราม การวาด ภาพทาวจตุโลกบาลที่ปรากฏในตอนอาฏานาฏิยสูตร ให ถูก ตอ งตามที่ร ะบุไ วใ นอาฏานาฏิยสูตร แสดงให เห็นถึงความละเอียดถี่ถวนและความถูกตองที่เกิดจาก การสื บ ค น คั ม ภี ร ท างศาสนาที่ ต อ งมี ที่ ม าจากคั ม ภี ร ดั้งเดิม ไมวาดทาวจตุโลกบาลเปนเทวดาทั้งสี่องคตาม ความนิยมเดิมที่มีมากอนหนานั้นนานแลว ดังปรากฏ ในตอนประสูติและตอนถวายบาตร จิตรกรรมฝาผนังตอนแสดงโอวาทปาฏิโมกข : ภาพสําคัญดั้งเดิมที่เพิ่มมาใหม ภาพเหตุการณอีกตอนหนึ่งที่มักปรากฏบน จิตรกรรมฝาผนังในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกลา เจาอยูหัว ก็คือ ภาพพระพุทธเจาแสดงโอวาทปาฏิโมกข จิ ต รกรรมฝาผนั ง ตอนนี้ ใ นพระอุ โ บสถวั ด ชุ ม พล นิกายารามไดรับการบูรณปฏิสังขรณเปลี่ยนแปลงจาก ที่ควรเปนไปมาก แตก็ยังคงมีลักษณะที่สังเกตไดคือ เปนภาพพระพุทธเจาประทับนั่งทามกลางสงฆจํานวน

15

มาก เรื่องราวของการแสดงโอวาทปาฏิโมกขนั้น ได ระบุไวอยางละเอียดในมหาปทานสูตร อธิบายถึงการ แสดงโอวาทปาฏิโมกขของพระพุทธเจา 7 พระองค ซึ่งรวมถึงการแสดงโอวาทปาฏิโมกข ของพระพุทธเจา องคปจจุบันดวย (พระสูตรและอรรถกถา แปล ทีฆ นิกาย มหาวรรค เลมที่ 2 ภาคที่ 1 2527 : 55 - 66) การใหความสําคัญกับเหตุการณตอนแสดง โอวาทปาฏิโมกขนั้นปรากฏชัดเจนในสมัยพระบาทสมเด็จ พระจอมเกลาเจาอยูหัว เนื่องดวยในสมัยนี้พระองค ทรงมีพระราชดําริใหมีการจัดพระราชพิธีมาฆบูชาขึ้น เปนครั้งแรก ตามแบบโบราณที่ไดนิยมไววาเปนวันที่ มีพระอรหัตสาวก 1250 รูปมาประชุมพรอมกัน และ พระพุทธเจาไดตรัสโอวาทปาฏิโมกขในที่พระชุมสงฆ (จุลจอมเกลาเจาอยูหัว, พระบาทสมเด็จพระ. 2514 : 117 – 118) พุทธประวัติตอนแสดงโอวาทปาฏิโมกขเปน พุทธประวัติตอนสําคัญตามแนวคิดของพระบาทสมเด็จ พระจอมเกลาเจาอยูหัว เปนตอนที่นําเนื้อหาโดยตรง จากพระไตรป ฎ กเพิ่ ม เติ ม เข า มาใหม เ ป น ตอนที่ ไ ม ปรากฏในปฐมสมโพธิกถาอันเปนคัมภีรที่มาของการ วาดภาพพุทธประวัติแบบเกา ภาพตอนนี้นิยมวาดบน จิตรกรรมฝาผนังตั้งแตสมัยพระบาทสมเด็จพระจอม เกลาเจาอยูหัวลงมา เชนภาพในพระอุโบสถวัดโสมนัส วิหาร (ภาพที่ 10) โดยมีรูปแบบเปนภาพพระพุทธเจา ประทับนั่งทามกลางพระสงฆจาํ นวนมากเชนเดียวกัน

อาฎานาฎิยปริตร คือบทสวดมนตเรียบเรียงโดยใชเนื้อหาในอาฏานาฏิยสูตร ในอาฏานาฏิยปริตรกลาวไววา “ทกฺขิณสฺมึ ทิสาภาเค สนฺติ เทวา มหิทฺธิกา” แปลวา เทวดาทั้งหลายผูมีฤทธิ์มาก มีอยู ในทิศทักษิณ ยอมแสดงใหเห็นวา ทาววิรุฬหกผูเปนใหญแหงทิศทักษิณนั้นยอมเปนเจาแหงเทวดาดวย อางอิงจาก บทสวด 12 ตํานาน อาฏานาฏิยปริตร ใน พระศาสนโศภน, 2517 : 125 17 อรรถกถาอาฏานาฏิยสูตร คือคัมภีรที่แตงขึ้นภายหลังเพื่อขยายความในอาฏานาฏิยสูตร 18 ในอรรถกถากลาวขยายความ “เปนเจาเปนใหญของพวกกุมภัณฑ” ในอาฏานาฏิยสูตร โดยกลาวเพิ่มเติมวา “ไดทราบวา เทวดาเหลานั้นเปนผูมีทองใหญ” แสดงใหเห็นวาอรรถกถานั้นตีความพวกกุมภัณฑวาเปนเทวดา เทากับหมายความวา ทาววิรุฬหก ผูเปนเจาแหงกุมภัณฑก็ยอมตองเปนเจาแหงเทวดาดวยเชนกัน (พระสูตรและอรรถกถา แปล ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เลมที่ 3 ภาคที่ 2, 2527 : 148) 16

94


จิตรกรรมฝาผนังในพระอุโบสถวัดชุมพลนิกายาราม : มุมมองใหมเกี่ยวกับการปฏิเสธ อิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริยในพุทธประวัติสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกลาเจาอยูหัว อิสรา อุปถัมภ

ภาพที่ 9 จิตรกรรมฝาผนังพุทธประวัติตอนแสดงโอวาทปาฏิโมกข ในพระอุโบสถวัดชุมพลนิกายาราม

ภาพที่ 10 จิตรกรรมฝาผนังพุทธประวัติตอนแสดงโอวาทปาฏิโมกข ในพระอุโบสถวัดโสมนัสวิหาร 95


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทยจิตรกรรมฝาผนังในพระอุโบสถวัดชุมพลนิกายาราม : มุมมองใหมเกี่ยวกับการปฏิเสธ ปที่ 30 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2553 อิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริยในพุทธประวัติสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกลาเจาอยูหัว อิสรา อุปถัมภ

จิตรกรรมฝาผนังตอนที่ขาดหายไป : พุทธประวัติ แบบธรรมยุติ ภาพพุ ท ธประวั ติ ใ นพระอุ โ บสถวั ด ชุ ม พล นิ ก ายารามมี จํ า นวนตอนไม ม ากนั ก โดยเฉพาะ เหตุการณหลังจากการตรัสรูปรากฏเพียง ตอนปฐม เทศนา ตอนพระพุทธองคทรงทรมานชฎิล 3 พี่นอง ตอนพระสารีบุตร และพระโมคคัลลานะพรอมบริวาร เฝ า พระพุ ท ธเจ า และพระพุ ท ธเจ า ทรงแสดงโอวาท ปาฏิโมกข และตอนพระพุทธองคทรงแสดงอาฏานา ฏิยสูตร สาเหตุที่พุทธประวัติในพระอุโบสถวัดชุมพล นิกายารามปรากฏเรื่องราวเพียงเทานี้เปนเพราะเมื่อ พิจ ารณาจากพระวิ นัย ปฎ ก มหาวรรค มหาขัน ธกะ หลังจากแสดงปฐมเทศนาซึ่งรวมถึงการแสดงอนัตต ลั ก ขณสู ต รแล ว พระพุ ท ธองค ก็ จ ะทรงแสดงธรรม โปรดยสกุ ล บุต ร โปรดชฎิ ล 3 พี่น อง โปรดพระเจ า พิมพิสาร และตอดวยเรื่องราวการออกบวชของพระ สารีบุตรและพระโมคคัลลานะ (พระวินัยและอรรถกถา แปล มหาวรรค มหาขันธกะ เลมที่ 1 ภาคที่ 1 2527 : 7 - 15) ซึ่งสะทอนใหเห็นวาพุทธประวัติที่วัดชุมพลนิ กายารามนั้นเลือกเรื่องราวที่ไมมากไปกวาที่ปรากฏใน คัมภีรดังกลาวนี้ นอกเหนือจากตอนอาฏานาฏิยสูตรที่ มี ก ารระบุ ใ ห เ ขี ย นเพิ่ ม เข า ไปให ส อดคล อ งกั บ ศิลปกรรมอื่น ๆ ในพระอุโบสถดังไดกลาวไปแลว การเลือกเรื่องราวที่เกี่ยวกับพุทธประวัติใน ส ว นหลั ง การตรั ส รู ต ามที่ ป รากฏในพระวิ นั ย ป ฎ ก มหาวรรค มหาขันธกะ นั้นปรากฏตอมาอยางชัดเจน ในปฐมสมโพธิแบบธรรมยุติของสมเด็จพระสังฆราชสา ซึ่ ง ปรากฏจํ า นวนเรื่ อ งราวสํ า คั ญ ต า ง ๆ ในทํ า นอง เดียวกัน และอาจกลาวไดวาเปนพุทธประวัติที่เชื่อถือ กันในพระสงฆสายธรรมยุติ และนาจะเปนแนวทางที่ ใช ใ นการวาดจิ ต รกรรมฝาผนั ง พุ ท ธประวั ติ ใ นวั ด ที่ เกี่ยวของกับพระบาทสมเด็จพระจอมเกลาเจาอยูหัว และวัดในสายธรรมยุติกนิกาย

96

สรุป ธรรมยุติกนิกายเปนพุทธศาสนาที่มีแนวคิดที่ แตกต าง เกิ ดขึ้ นในประเทศสยามตั้ งแต สมั ยพระบาท สมเด็ จพระนั่ งเกล าเจ าอยู หั ว โดยการนํ าของพระบาท สมเด็จพระจอมเกลาเจาอยูหัวในขณะที่ยังทรงครอง เพศบรรพชิ ต อยู ธรรมยุ ติ ก นิ ก ายมี ก ารเคลื่ อ นไหว หลายอยาง หนึ่งในนั้นคือการเรียบเรียงพุทธประวัติ ขึ้นใหมอยางแตกตางจากความนิยมในสมัยนั้น สงผล ตอการสรางงานศิลปกรรมโดยเฉพาะอยางยิ่งในงาน จิตรกรรมฝาผนัง นั่นคือการปฏิเสธภาพตอนมารวิชัย ซึ่งมักจะใชสื่อถึงการตรัสรูของพระพุทธเจา ทําใหมี นักวิชาการบางทานมีความเชื่อวา พุทธประวัติแบบ ธรรมยุ ติ มี ก ารตั้ ง เป า หมายหลั ก ไว แ ล ว ว า ต อ งการ ปฏิเสธเรื่ องราวอิทธิฤทธิ์ ปาฏิหาริย ทําใหการเลือก คัมภีรที่จะใชในเรียบเรียงพุทธประวัติแบบใหมนี้ถูก จํากัดอยูเฉพาะคัมภีรที่ไมเนนเรื่องปาฏิหาริยของพระ พุทธองคเทานั้น แทจริงแลว พุทธประวัติแบบใหมที่เรียบเรียง ขึ้นนี้มิไดมีเปาหมายหลักที่จะปฏิเสธเรื่องราวอิทธิฤทธิ์ ปาฏิ ห าริ ย พุ ท ธประวั ติ แ บบใหม นี้ ต อ งการความ น า เชื่ อ ถื อ ความถู ก ต อ ง สมบู ร ณ แ ละเป น ของแท ดั้งเดิม มิใชสิ่งที่ถูกแตงเติมขึ้นในสมัยหลัง สะทอนถึง มูลเหตุแหงการเกิดขึ้นของธรรมยุติกนิกายที่ตองการ ปฏิ วั ติ ค วามเสื่ อ มทรามของวั ต รปฏิ บั ติ ข องสงฆ อั น เนื่องมาจากการหางไกลจากธรรมวินัยดั้งเดิมที่แทของ พระพุทธองค คัมภีรที่ไดรับการเลือกสรรมาใชในการ เรียบเรียงพุทธประวัติแบบใหมนี้จึ งตองเปนของแท ดั้ ง เดิ ม ด ว ย นั่ น คื อ พระไตรป ฎ กบาลี ซึ่ ง เชื่ อ ว า เป น คัมภีรชั้นตนทางพุทธศาสนา หาใชคัมภีรในชั้นอรรถ กถา หรือหลังกวานั้น เชนปฐมสมโพธิกถาที่บรรยาย เหตุ ก ารณ ต อนมารวิ ชั ย ไว อ ย า งละเอี ย ดพิ ส ดาร นอกจากนี้เหตุการณบางเหตุการณที่ไมเคยปรากฏใน พุทธประวัติสมัยกอนหนานั้นก็สามารถปรากฏอยูใน พุทธประวัติสมัยนี้ได ถาเปนเรื่องราวที่กลาวถึงในคัมภีร


จิตรกรรมฝาผนังในพระอุโบสถวัดชุมพลนิกายาราม : มุมมองใหมเกี่ยวกับการปฏิเสธ อิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริยในพุทธประวัติสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกลาเจาอยูหัว อิสรา อุปถัมภ

ดั้งเดิม เชนเหตุการณตอนอาฏานาฏิยสูตร และการ แสดงโอวาทปาฏิโมกข เปนตน แต ใ นเรื่ อ งของการสร า งงานศิ ล ปกรรมนั้ น จําเปนตองมีขอยกเวน เนื่องจากไมเปนการงายที่จะมี การเปลี่ ย นแปลงได อ ย า งเด็ ด ขาดฉั บ พลั น งาน ศิลปกรรมเปนเรื่องที่ตองกระทําสืบเนื่อง ฝกฝนฝมือ สืบตอกันมา ชา งที่สร างงานในสมัยพระบาทสมเด็จ พระจอมเกลาเจาอยูหัวสวนใหญก็ยอมตองเคยสราง งาน ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกลาเจาอยูหัวมา ก อ น จิ ต รกรรมฝาผนั ง ในพระอุ โ บสถวั ด ชุ ม พล นิกายารามเปนตัวอยางที่ดีในเรื่องนี้ ภาพพุทธประวัติ บางตอนมี รู ป แบบที่ ค ล า ยคลึ ง กั บ จิ ต รกรรมฝาผนั ง พุ ท ธประวั ติ ที่ มี ม าก อ นในสมั ย พระบาทสมเด็ จ พระ

นั่งเกลาเจาอยูหัว สวนตอนสําคัญ ๆ เชน ตอนตรัสรู และเสวยวิ มุ ต ติ สุ ข นั้ น ชั ด เจนว า เป น พุ ท ธประวั ติ ใ น แนวคิดของพระบาทสมเด็จพระจอมเกลาเจา อยูหั ว อยางแทจริง จุดเดนของงานจิตรกรรมฝาผนังในสมัย พระบาทสมเด็ จ พระจอมเกล า เจ า อยู หั ว อีก ประการ หนึ่ ง ก็ คื อ เมื่ อ ต อ งการที่ จ ะวาดภาพใด ก็ จ ะมี ก าร สื บ ค น คั ม ภี ร เ พิ่ ม เติ ม ให ไ ด ม าซึ่ ง ความถู ก ต อ งใน รายละเอี ย ดที่จ ะทํา การวาด โดยใหค วามสํ า คั ญ กั บ คัม ภี รที่ เป น ของแทดั้ ง เดิม กว า เสมอ ภาพตา ง ๆ ที่ วาด ไมวา จะวาดตามพุท ธประวัติ แ บบใหมห รือเก า ก็จ ะมี แ นวโนม ที่จ ะแสดงออกตามที่ ร ะบุไ วใ นคั ม ภี ร อยางใกลชิด

เอกสารอางอิง กรมศิลปากร. (2510). คําใหการชาวกรุงเกา คําใหการขุนหลวงหาวัด และพระราชพงศาวดารกรุงเกา ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์. พระนคร: คลังวิทยา. ________. (2511). ประชุมประกาศรัชกาลที่ 4 พ.ศ. 2405 – 2411. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร. ________. (2523). ประวัติวัดชุมพลนิกายาราม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. กรุงเทพฯ: อัมรินทร. กรมศิลปากร. กองโบราณคดี. งานอนุรักษจิตรกรรมฝาผนัง. (2523). รายงานการสํารวจจิตรกรรมฝาผนัง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เลม 5. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร. “จดหมายเหตุรัชกาลที่ 4.” หอสมุดแหงชาติ. สมุดขอเฝา. เสนดินสอขาว. จ.ศ.1225. เลขที่ 134. จุลจอมเกลาเจาอยูหัว, พระบาทสมเด็จพระ. (2514). พระราชพิธีสิบสองเดือน. พิมพครั้งที่ 11. พระนคร: บรรณาคาร. ธนิต อยูโพธิ์. (2535). อานุภาพพระปริตต พรอมดวยตํานานและคําแปลทวาทสปริตตหรือสิบสอบ ตํานาณ. พิมพครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: โรงพิมพมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. ปรมานุชิตชิโนรส. (2530). ปฐมสมโพธิกถา. กรุงเทพฯ: กองวรรณคดีและประวัติศาสตร กรมศิลปากร. พระวินัยปฎก เลม 1 ภาค 1 และอรรถกถา. (2527). กรุงเทพฯ: มหามกุฎราชวิทยาลัย. พระสูตรและอรรถกถา แปล ขุททกนิกาย พุทธวงศ เลมที่ 9 ภาคที่ 2. (2527). กรุงเทพฯ: มหามกุฎราช วิทยาลัย. พระสูตรและอรรถกถา แปล ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เลมที่ 1 ภาคที่ 1. (2527). กรุงเทพฯ: มหามกุฎราช วิทยาลัย. พระสูตรและอรรถกถา แปล ทีฆนิกาย มหาวรรค เลมที่ 2 ภาคที่ 1. (2527). กรุงเทพฯ: มหามกุฎราช วิทยาลัย. มหามกุฏราชวิทยาลัย. (2546). วัดบวรนิเวศวิหาร. พิมพครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: มหามกุฏราชวิทยาลัย. ศิรินทร ใจเที่ยง. (2544). อดีตพุทธจิตรกรรมสมัยรัชกาลที่ 3 และ 4 ในกระแสของความเปลี่ยนแปลง. เมืองโบราณ 27 (2) : 71 - 81. 97


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปที่ 30 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2553

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ สุวฑฺฒโน). (2542). ความเขาใจเรื่องพระอภิธรรม. พิมพ ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: มหามกุฏราชวิทยาลัย. สา ปุสฺสเทว. (2513). ปฐมสมโพธิ ธรรมสมบัติ หมวดที่ 1. พิมพครั้งที่ 16. พระนคร: มหามกุฏราชวิทยาลัย. สํานักนายกรัฐมนตรี. คณะกรรมการจัดพิมพเอกสารทางประวัติศาสตร. (2521). ประชุมศิลาจารึกภาคที่ 6 ตอนที่ 2 : ประมวลจารึกสมัยกรุงรัตนโกสินทร ที่พบในภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลาง. กรุงเทพฯ: คณะกรรมการจัดพิมพเอกสารทางประวัติศาสตร สํานักนายกรัฐมนตรี.

98


การสรางตําแหนงแหงที่ของ “เมืองแพร” ในประวัติศาสตร “ชาติไทย” : จากเมืองกบฏสูเมืองที่จงรักภักดี ชัยพงษ สําเนียง

การสรางตําแหนงแหงที่ของ “เมืองแพร” ในประวัติศาสตร “ชาติไทย” : จากเมืองกบฏสูเมืองที่จงรักภักดี1 Formation of Mueng Phrae's Status in "Thai National History" : From the Rebel to the Humble ชัยพงษ สําเนียง2 Chaiyapon Samnieng

บทคัดยอ การเขาใจกระบวนการสรางประวัติศาสตรของเมืองแพร เปนเสมือนแบบจําลองของพลวัตของความ เปลี่ยนแปลงแนวคิดทางประวัติศาสตรของสังคมไทย และประวัติศาสตรยังมีสถานะเปนเครื่องยืนยันตําแหนงแหง ที่ใน “ชาติไทย” ที่แสดงใหเห็นวาบานเมืองตางๆ ผูกพันเชื่อมโยงกับ “ชาติไทย” ในสถานะใด ซึ่งจะสงผลตอ “การ รับรู” ภาพลักษณ และความทรงจําตอบานเมืองนั้นๆ อยางมีนัยยะสําคัญ ประวัติศาสตรจึงเปน “ความหมาย” ที่กําหนดทิศทางของบานเมืองอยางไมอาจหลีกเลี่ยงได และที่สําคัญ ประวัติศาสตรนํามาสูตัวตนของบานเมือง และผูคนของบานเมืองนั้นๆ ซึ่งนํามาสูการสรางประวัติศาสตรของ บานเมืองของตนภายใตกระแสประวัติศาสตรที่ทรงอิทธิพลในเวลานั้นๆ ประวัติศาสตรเมืองแพรในบทความนี้จึงมุงเสนอใหเห็นพลวัตของประวัติศาสตรในสังคมไทยที่มีความผัน แปร และเปลี่ยนแปลงอยางไมหยุดยั้ง ทําใหพรมแดนของประวัติศาสตรมีการปกและถอนอยูตลอดเวลา รวมถึง ประวัติศาสตรไมเคยตาย แตรับใชผูคนอยางไมหยุดยั้ง คําสําคัญ : 1. ประวัติศาสตรเมืองแพร. Abstract

Perception towards the historical process of Mueng Phrae is a model portraying dynamic transformation in historical paradigm in Thai society. Moreover, history itself remains as evidence for the position of different cities in the “Thai nation”. It reveals hierarchical relationships between municipalities and the “Thai nation”, which significantly affect “perception” towards image and memory on each particular city. Unsustainably, history is “the note” that is derived to direct the nation. History devises the identity of the nation, as well as those nation’s citizens, and constructs national history with certain influential historical schools at that moment. 1

บทความนี้เปนสวนหนึ่งของวิทยานิพนธ เรื่อง พลวัตการสรางและการรับรูประวัติศาสตรเมืองแพร พ.ศ. 2445-2549 โดย ไดรับการสนับสนุนจากโครงการทุนวิจัยมหาบัณฑิต สกว.ดานสังคมศาสตร-มนุษยศาสตร ประจําป พ.ศ. 2550. 2 นักศึกษา ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปที่ 30 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2553

In this article, Meung Phrae history reveals the dynamics of historical approaches in Thai society that perpetually vary and alter, which makes the border of history vitally move. History will never die but always serves people eternally. Keyword :

100

1. History of Phrae Province, Thailand.


การสรางตําแหนงแหงที่ของ “เมืองแพร” ในประวัติศาสตร “ชาติไทย” : จากเมืองกบฏสูเมืองที่จงรักภักดี ชัยพงษ สําเนียง

ความนํา เมื อ งแพร มี ป ระวั ติ ศ าสตร ค วามเป น มาที่ ยาวนาน คนกลุมตางๆ ในเมือ งแพรและนอกเมือง แพรสรรสราง “โครงเรื่อง (plot) ” ประวัติศาสตรเมือง แพร อ ย า งหลากหลาย ทํ า ให ป ระวั ติ ศ าสตร “เมื อ ง แพร” มีพลวัตที่นาสนใจ อาจกลาวไดวาประวัติศาสตร “เมืองแพร” เหลานี้ไดรับการสรางขึ้นภายใตโครงเรื่อง ประวั ติ ศ าสตร 3 แบบด ว ยกั น คื อ โครงเรื่ อ ง ประวั ติ ศ าสตร แ บบราชาชาติ นิ ย ม โครงเรื่ อ ง ประวั ติ ศ าสตร แ บบท อ งถิ่ น นิ ย ม และโครงเรื่ อ ง ประวัติศาสตรแบบทองถิ่นราชาชาตินิยม ด ว ย เ งื่ อ น ไ ข ป จ จั ย ท า ง ก า ร เ มื อ ง วั ฒ นธรรมในสั ง คมการเมื อ งไทย ทํ า ให โ ครงเรื่ อ ง ประวั ติ ศ าสตร เ มื อ งแพร บ างชุ ด ได รั บ การสถาปนา อยางสะดวกราบรื่น จนมีตําแหนงแหงที่อันมั่นคงใน ความทรงจํ า ของผู ค น และช ว ยเพิ่ ม พลั ง ให แ ก อุดมการณกระแสหลักในสังคมการเมืองไทย โครง เรื่ อ งประวัติศาสตรเมืองแพรบางแบบ เปน แตเพียง “ประวัติศาสตรชายขอบ” เทานั้น ในช ว งหลายทศวรรษที่ ผ า นมา ความรู เกี่ยวกับประวัติศาสตรเมืองแพรที่ไดรับการสรางและ ได รั บ ความสนใจมากที่ สุ ด คื อ ประวั ติ ศ าสตร ข อง เหตุการณกบฏเงี้ยวเมืองแพร พ.ศ. 2445 เพราะ เหตุการณในครั้งนั้นเปน “ประวัติศาสตรบาดแผล” ที่ ทํ า ให ส ถานะและตํ า แหน ง แห ง ที่ ข องเมื อ งแพร ใ น ประวัติศาสตรชาติไทย เปนที่รับรูในฐานะ “เมืองกบฏ” การรั บ รู ค วามเป น “เมื อ งกบฏ” นี้ ส ง ผลกระทบต อ “ตัวตน” ของคนเมืองแพรเปนอยางมาก ทําใหกลุม คนต า งๆ พยายามสร า งและให ค วามหมายต อ ประวั ติ ศ าสตร ใ นห ว งเวลานี้ ใ หม ภายใต โ ครงเรื่ อ ง หลายแบบ ดังจะไดวิเคราะหตอไปขางหนา

บทความนี้พยายามแสดงใหเห็นวา ถึงแมวา ประวัติศาสตรเมืองแพร รวมทั้งประวัติศาสตร “กบฏ เงี้ ย ว” ภายใต โ ครงเรื่ อ งบางโครงเรื่ อ งจะได รั บ การ ย อ ม รั บอ ย า งก ว า งข ว า ง แ ล ะ อ ย า ง ซึ ม ลึ ก แ ต ประวัติศาสตรเมืองแพรภายใตโครงเรื่องแบบอื่น ก็ ไดรับการสรางขึ้นในชวงเวลาตางๆ อยางหลากหลาย จนเปนประวัติศาสตรที่มีพลวัตในมิติเวลา กลาวคือมี การสร า งใหม แ ละมี ก ารปะทะกั น ของโครงเรื่ อ งที่ ตา งกัน จนทํ า ให พ รมแดนของประวั ติ ศ าสตรเ มื อ ง แพรมีการปกและการถอนอยางไมสิ้นสุด

โครงเรื่ อ งประวั ติ ศ าสตร ที่ มี อิ ท ธิ พ ลต อ การสร า ง ประวัติศาสตรทองถิ่น โครงเรื่องประวัติศาสตรแบบราชาชาตินิยม3 ลักษณะสําคัญของประวัติศาสตรแบบนี้ก็คือ การถือเอาชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย เปนแกน แกนในการอธิบายประวัติศาสตร ประวัติศาสตรสกุลนี้ มีพัฒนาการมาตั้งแตสมัยรัชกาลที่ 5 ตั้งแตมีการรวม ศูนยอํานาจการปกครอง โดยชนชั้นนําใหความสนใจ ตอ ประวั ติ ศ าสตร ภายใต บริ บ ทของการคุ ก คามของ จั ก รวรรดิ นิ ย มตะวั น ตก ทํ า ให เ กิ ด การรวบรวม ประวัติศาสตรของทองถิ่นตางๆ รวมถึงประวัติศาสตร ประเทศเพื่อนบานอยางละเอียด แลว กลับมาคน หา ตัว ตนของตนเอง เพราะการที่ ช นชั้ น นํ า ในยุ ค นี้ ใ ห ความสําคัญกับประวัติศาสตรเกิดจากวิกฤติอัตลักษณ ที่ ว า “ฉั น คื อ ใคร และฉั น จะอยู ใ นโลกยุ ค ใหม นี้ ไ ด อยางไร?” (นิธิ เอียวศรีวงศ 2550 : 3-39) รวมถึงการ ใชป ระวัติศาสตรเพื่อยืน ยั น สิทธิเ หนือดิน แดนที่ เพิ่ ง ถูกผนวกเขามาเปนสวนหนึ่งของประเทศสยามอยาง แทจริง คือ ลานนา และอีสานดวย

3

อุดมการณราชาชาตินิยม เปนแนวคิดที่เสนอโดย ธงชัย วินิจจะกูล เปนการสรางคํา เพื่ออธิบายแนวคิด ชาตินิยมที่ พระมหากษัตริยทรงมีความสําคัญสูงสุดตอชาติ มีอิทธิพลตอการศึกษาประวัติศาสตรและศาสตรสาขาอื่นๆ ในสายมนุษยศาสตรและ สั ง คมศาสตร เป น แนวคิ ด ที่ แ สดงให เ ห็ น บทบาทของกษั ต ริ ย และสถาบั น กษั ต ริ ย ต อ สั ง คมไทย ดู เ พิ่ ม ใน,ธงชั ย วิ นิ จ จะกู ล . ประวัติศาสตรไทยแบบราชาชาตินิยม จากยุคอาณานิคมอําพรางสูราชาชาตินิยม ใหมหรือลัทธิเสด็จพอของกระฎมพีไทยในปจจุบัน. ศิลปวัฒนธรรม, 23 (1) (พฤศจิกายน 2544).

101


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปที่ 30 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2553

ตอมาในชวงรัชกาลที่ 6 เกิดความมุงหมาย ในการใชประวัติศาสตรเพื่อเปนเครื่องมือทางการเมือง ในการสราง “ชาติ” ที่มีพระมหากษัตริยเปนแกนแกน โดยทรงเป น ผู นํ า ชาติ ไ ทย หรื อ ทรงเป น ผู ผ ลั ก วิ ถี ประวัติศาสตรของชาติไทยใหดําเนินไปสูความกาวหนา เพื่อตอบสนองตอปญหาทางการเมืองในรัชกาลที่ 6 ที่ เกิ ด ความแตกแยกในกลุ ม เจ า นาย และเกิ ด การ เปรียบเทียบระหวางรัชสมัยของพระองคและรัชสมัย ของพระราชบิดา(รัชกาลที่ 5) ยุคนี้พระมหากษัตริยจึง ทรงพยายามสถาปนาแนวคิ ด ชาติ นิ ย มที่ เ น น ความสําคัญของพระมหากษัตริย ซึ่งเรียกกันในเวลา ตอมาวา “ราชาชาตินิยม” กลายเปนอุดมการณ “ชาติ ศาสน กษั ตริย ” ที่มิไ ดสูญ สลายไปพรอมกั บระบอบ สมบูรณาญาสิทธิราชย แม ว า อุ ด มการณ ร าชาชาติ นิ ย มนี้ จ ะเสื่ อ ม อิทธิพลลงไปบางในชว งหลัง การปฏิวัติ พ.ศ. 2475 แต ก็ ไ ดรับการรื้อฟนอยา งเข ม ขนในทศวรรษ 2490 และยิ่งมีพลังสูงขึ้นมากในทศวรรษที่ 2500 เปนตนมา เมื่ อ มี ก ารนํ า อุ ด มการณ ร าชาชาติ นิ ย มมาใช ใ นการ ตอตานคอมมิวนิสต และสรางความชอบธรรมใหแก รัฐบาลเผด็จการของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต หลังเกิด เหตุ ก ารณ 14 ตุ ลาคม พ.ศ.2516 อุ ด มการณ ร าชา ชาติ นิ ย มยิ่ ง มี พ ลั ง มากขึ้ น เพราะสั ง คมรั บ รู ว า พระมหากษัตริยทรงนําประชาธิปไตยกลับคืนมา และ เหตุการณที่รัฐบาลทหารใชอาวุธปราบปรามนักศึกษา และประชาชนที่ เ รี ย กร อ งรั ฐ ธรรมนู ญ ก็ ยุ ติ ล งด ว ยดี เพราะพระบารมีปกเกลาฯ ปวงชนชาวไทย นอกจากนี้ โครงการในพระราชดํ า ริ ก็ ไ ด รั บ การประชาสั ม พั น ธ อยางตอเนื่องวาเกิดขึ้นดวยพระเมตตาและพระมหา กรุ ณ าธิ คุ ณ ที่ ท รงมี ต อ ราษฎร โดยทรงยอมลํ า บาก ตรากตรําพระวรกายเพื่อชวยใหราษฎรพนจากความ ยากจน (ชนิดา ชิตบัณฑิต : 2550) กลาวไดวา “ราชาชาตินิยม” ในทศวรรษ 2500 เปนตนมา เปนอุดมการณที่ถือวาพระมหากษัตริยคือ หัวใจของชาติ ทรงเปนผูนําทางดานศีลธรรม คุณธรรม ทั้งนี้พระมหากษัตริยทรงเปนผูมีสถานภาพสูงกวาคน ทุกชั้นในสังคมไทย ทรงเปนผูคอยควบคุมดูแลใหฝาย บริหารและขาราชการใหทํางานเพื่อความอยูเย็นเปน 102

สุขของราษฎร โดยที่ประชาชนไมตองคอยตรวจสอบ ถวงดุลผูนํา (สายชล สัตยานุรักษ 2548 : 239-258) จากอุ ด มการณ ข า งต น ทํ า ให อุ ด มการณ “ราชา ชาตินิยม” ตอบสนองตอการปกครองระบอบเผด็จการ ของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต โดยในสมัยจอมพลสฤษดิ์ ไดสรางเสริมพระบารมีใหแกสถาบันกษัตริยเปนอยาง มาก เชน การสงเสริมใหเสด็จประพาสยังตางประเทศ เพื่อเปนตัวแทนประเทศไทยในการเชื่อมสัมพันธไมตรี ระหว า งประเทศ ซึ่ ง การเสด็ จ ประพาสต า งประเทศ ทําใหชาวตะวันตกมีความประทับใจในประเทศไทย ประชาชนไทย และรัฐบาลไทย นอกจากนี้ยังชวยหัน เหความสนใจของประชาชนในการวิพากษวิจารณการ กระทําของรัฐบาล และลดคําวิจารณของชาวตางชาติ ตอรัฐบาลเผด็จการของไทยดวย (ทักษ เฉลิมตรีรณ 2548 : 255-259) จอมพลสฤษดิ์ ยั ง ไดเ ปลี่ ย นแปลงวั น ชาติ จากวันที่ 24 มิถุนายน ที่รัฐบาลจอมพล ป. พิบูล สงคราม หรืออีกนัยยะหนึ่งคือตัวแทนคณะราษฎรได กํ า หนดไว ใ นป พ.ศ. 2481 มาเป น วั น เฉลิ ม พระ ชนมพรรษา 5 ธันวาคมแทน ในป พ.ศ. 2503 รวมถึง รื้อฟนสถานภาพและประเพณีที่เกี่ยวของกับสถาบัน กษัตริย เชน การเสด็จพยุหยาตราทางชลมารค งาน เฉลิมพระชนมพรรษา พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรก นาขวัญ (สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล 2547 : 70-121) เปน ต น รวมถึ ง พระราชกรณี ย กิ จ ของพระบาทสมเด็ จ พระเจาอยูหัวรัชกาลที่ 9 ที่กระทําอยางตอเนื่องเปน เวลาหลายปและสรางคุณประโยชนใหแกประเทศไทย เชน โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริ (ชนิดา ชิต บัณฑิต : 2550) นอกจากนี้ยังทรงระงับวิกฤติใน สังคมไทยหลายครั้ง เชน เหตุการณ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 และเหตุ ก ารณ “พฤษภาคมทมิ ฬ ” ใน พ.ศ. 2535 ทําใหพระบารมีของพระองค “สถิต” อยูในใจ ราษฎร ทําใหอุดมการณ “ราชาชาตินิยม” ฝงลึกใน สัง คมไทย และมีผ ลตอการเขีย นประวัติศาสตรใ หมี ความสัมพันธเชื่อมโยงกับสถาบันพระมหากษัตริยใน แงที่เนนความจงรัก ภักดี ทั้งประวัติศาสตรชาติและ ประวัติศาสตรทองถิ่น


การสรางตําแหนงแหงที่ของ “เมืองแพร” ในประวัติศาสตร “ชาติไทย” : จากเมืองกบฏสูเมืองที่จงรักภักดี ชัยพงษ สําเนียง

แมวาในชวงเวลาเดียวกันนี้จะเกิดการเขียน ประวัติศาสตรภายใตโครงเรื่องอื่น เชน ประวัติศาสตร แบบทองถิ่นนิยม และประวัติศาสตรแนวสังคมนิยม แต ก็ ไ ม ท รงพลั ง เท า ประวั ติ ศ าสตร แ บบ “ราชา ชาติ นิ ย ม” ที่ ถื อ ว า เป น ประวั ติ ศ าสตร ก ระแสหลั ก ที่ ครอบงําการรับรูประวัติศาสตรชาติไทยและประวัติศาสตร ทองถิ่น ซึ่งยังคงมีอิทธิพลอยางสูงมาจนถึงปจจุบัน โครงเรื่องประวัติศาสตรแบบทองถิ่นนิยม เป น ประวั ติ ศ าสตร ก ระแสใหม ที่ เ กิ ด ใน ทศวรรษที่ 2520 เปนประวัติศาสตรที่ใหความสําคัญ กั บ สั ง คมท อ งถิ่ น ความเป น มาของผู ค นในท อ งถิ่ น เดียวกัน ทั้งดานประเพณี ความเชื่อ และความทรงจํา โดยถื อ เอาท อ งถิ่ น เป น ศู น ย ก ลางของการอธิ บ าย ประวัติศาสตร โครงเรื่องประวัติศาสตรแบบทองถิ่น นิยมนี้ เกิดขึ้นภายใตความเปลี่ยนแปรของสํานึกทาง ประวั ติ ศ าสตร ภ ายหลั ง การปฏิ วั ติ ข องนั ก ศึ ก ษา ประชาชนในป พ.ศ. 2516 ที่หันมาใหความสนใจใน ประวัติศาสตรทองถิ่น (ยงยุทธ ชูแวน : 2548) ทําใหมี การศึ ก ษาประวั ติ ศ าสตร ท อ งถิ่ น ต า งๆมากขึ้ น รวมถึ ง การจั ด สั ม มนาประวั ติ ศ าสตร ท อ งถิ่ น ใน วิทยาลัยครูที่ตั้งอยูในทองถิ่นตางๆ ในชวงทศวรรษที่ 2520 ทําใหเกิดความตื่นตัวของการศึกษาประวัติศาสตร ท อ งถิ่ น มากขึ้ น ดู ไ ด จ ากงานวิ ท ยานิ พ นธ ข อง นั ก ศึก ษาตามมหาวิท ยาลัยตา งๆ เชน จุ ฬ าลงกรณ มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ที่หันมา ศึ ก ษาเรื่ อ งราวในท อ งถิ่ น อื่ น ๆ นอกเหนื อ จาก ประวัติศาสตรของรัฐราชาธิราชในลุมแมน้ําเจาพระยา อยางไรก็ตาม การศึกษาประวัติศาสตรสกุล ทองถิ่นนิยมนี้ ในชวงแรกเปนแตเพียงความสนใจและ การขั บ เคลื่ อ นจากสถาบั น การศึ ก ษา มิ ไ ด เ กิ ด จาก ความตื่นตัวของทองถิ่นอยางแทจริง และการศึกษา

ประวั ติ ศ าสตร ท อ งถิ่ น ในช ว งแรกนี้ ส ว นหนึ่ ง เป น การศึกษาทองถิ่นในฐานะที่เปนสวนหนึ่งของชาติไทย (ซึ่งเรียกในที่นี้วา โครงเรื่องประวัติศาสตรแบบทองถิ่น นิยม-ราชาชาตินิยม) และอีกสวนหนึ่งเปนการศึกษา เพื่ อ หาตั ว ตนของท อ งถิ่ น โดยมองท อ งถิ่ น เป น ศู น ย ก ลางของท อ งเรื่ อ งทางประวั ติ ศ าสตร ซึ่ ง การศึ ก ษาประวั ติ ศ าสตร ใ นโครงเรื่ อ งแบบที่ ม อง ทองถิ่นเปนศูนยกลางในตัวเองนี้มีเปนสวนนอย แมวา จะมี พั ฒ นาการที่ น า สนใจ เพราะในเวลาต อ มาจะ คลี่คลายมาเปน “การศึกษาประวัติศาสตรชุมชนเพื่อ ชุ ม ชน” ที่ เ น น ให ค นในชุ ม ชนเข า มามี ส ว นร ว มใน การศึกษาประวัติศาสตรชุมชน เพื่อเสริมสรางความ เข ม แข็ ง ทางภู มิ ป ญ ญาให แ ก ค นในชุ ม ชนต า งๆ (อรรถจักร สัตยานุรักษ : 2548) การศึกษาประวัติศาสตรทองถิ่น ทําใหผูคน ในท อ งถิ่ น ตระหนั ก ในความสํ า คั ญ ของการเข า ใจ ประวัติศาสตรความเปนมาของตนเองมากขึ้น จนทํา ให ก ารศึ ก ษาประวั ติ ศ าสตร ใ นสกุ ล “ประวั ติ ศ าสตร ทองถิ่น(นิยม)” ขยายตัวอยางรวดเร็ว อยางไรก็ตาม แม ว า จะมี ค วามตื่ น ตั ว ของการศึ ก ษาประวั ติ ศ าสตร ทองถิ่นในจังหวัดตางๆ ในชวงทศวรรษ 2520 แต ความสนใจประวั ติ ศ าสตร เ มื อ งแพร ยั ง มี น อ ย ทั้ ง นี้ ก็เพราะในจังหวัดแพรไมมีวิทยาลัยครู หรือสถาบัน การศึกษาขนาดใหญ ทําใหความสนใจตอประวัติศาสตร ของบานเมืองมีจํากัด ที่มีอยูบางก็เปนการผลักดันจาก สวนราชการ เชน การผลิตหนังสือ ประวัติมหาดไทย สวนภูมิภ าคจังหวั ดแพร แตใ นระดับของบุค คลใน ทองถิ่นนั้น มีผูที่สนใจศึกษาประวัติศาสตรเมืองแพร น อ ยมาก 4 ป จ จั ย สํ า คั ญ ประการหนึ่ ง ที่ ทํ า ให ค นใน จังหวัดแพรไมตองการเขียนประวัติศาสตรเมืองแพร ก็เพราะประวัติศาสตรเมืองแพรเปน “ประวัติศาสตร

4

เทาที่คนพบ ไดแก จินตนา ยอดยิ่ง, “ประวัติของชื่อตําบลและหมูบานในเขตอําเภอเมืองแพร จังหวัดแพร” วิทยานิพนธ การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2519. ซึ่งพยายามสืบคนประวัติการตั้งถิ่นฐานของคนในหมูบานตางๆ ในเขต อําเภอเมือง จังหวัดแพร โดยอาศัยการสัมภาษณคนในทองถิ่น ซึ่งทําใหทราบเรื่องราวในอดีตที่ยอนหลังไปไดเพียงสองชั่วอายุคน เทานั้น, เลิศลวน วัฒนนิธิกุล, เมืองแพร 800 ป. แพร: เมืองแพรการพิมพ, ม.ป.พ. กลาวถึงเหตุการณในเมืองแพรยอนหลังไปหลาย รอยป แตเปนการบันทึกตามลําดับเวลา หากจะมีการอธิบาย ก็เปนการนําเอาคําอธิบายที่มีมาแลว มาพิมพไวในลักษณะของการ รวบรวมขอมูล ไมมีโครงเรื่องหลักที่คุมขอมูลทั้งหมดใหอยูในกรอบคิดใดกรอบคิดหนึ่ง

103


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปที่ 30 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2553

บาดแผล” นั่นเอง หากเขียนประวัติศาสตรเมืองแพร ในโครงเรื่องแบบใดก็ตาม ก็หลีกเลี่ยงไมไดที่จะตอง กลาวถึงเหตุการณกบฏ เพราะเปนเหตุการณใหญที่มี ผลสะเทือนสูง จนกระทั่งในระยะหลัง คือในทศวรรษ 2540 เมื่ อ มี ก ระบวนการสร า งโครงเรื่ อ งใหม ใ ห ประวั ติ ศ าสตร ข อง “เมื อ งกบฏ” เปลี่ ย นเป น เมื อ งที่ จงรักภักดีแลว จึงมีการเขียนประวัติศาสตรเมืองแพร มากขึ้น โดยเนนเรื่องราวของเจาผูครองเมืองแพรใน อดีต ดังจะไดวิเคราะหตอไปขางหนา เป น ที่ น า สั ง เกตว า ในช ว งของการร า ง รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 บรรยากาศทางความคิดใน สังคมไทยใหความสําคัญแก ภูมิปญญาทองถิ่น และ สิทธิของชาวบานในทองถิ่นอยางมาก ซึ่งนาจะเปนผล มาจากการสร า งความรู ป ระวั ติ ศ าสตร ท อ งถิ่ น แนว วัฒนธรรมชุมชน บทบาทของนักพัฒนาเอกชนแนว วั ฒ นธรรมชุ ม ชน และการเมื อ งภาคประชาชน ตลอดจนการเคลื่ อ นไหวทางสั ง คมแนวใหม (New social movements) เพื่อเรียกรองสิทธิใหแกคนชาย ขอบ ที่ ดํ า เนิ น ไปอย า งคึ ก คั ก ในช ว งก อ นหน า นั้ น ภายหลั ง การประกาศใช รั ฐ ธรรมนู ญ ป พ.ศ. 2540 แลว ปรากฏวามีหลายมาตราเอื้อตอการสรางสํานึก ทองถิ่น นิ ยม เชน มาตรา 46 ที่ กําหนดให “บุค คลที่ รวมตัวกันเปนชุมชนทองถิ่นดั้งเดิมยอมมีสิทธิอนุรักษ ฟ น ฟู จ ารี ต ประเพณี ภู มิ ป ญ ญาท อ งถิ่ น ศิ ล ปะหรื อ วัฒนธรรมอันดีงามของทองถิ่นและของชาติ” และ มาตรา 56 ที่ระบุวา “สิทธิของบุคคลที่จะมีสวนรวมกับ รัฐและชุมชนในการบํารุงรักษา และการไดประโยชน จากทรั พ ยากรธรรมชาติ แ ละความหลากหลายทาง ชี ว ภาพ และในการคุ ม ครอง ส ง เสริ ม และรั ก ษา คุ ณ ภาพสิ่ ง แวดล อ ม เพื่ อ ให อ ยู ไ ด อ ย า งปกติ แ ละ ต อ เนื่ อ ง...” เป ด โอกาสให ท อ งถิ่ น ได เ ข า มาจั ด การ ทรั พ ย า ก ร ใ น ท อ งถิ่ น ม า ก ขึ้ น น อ ก จ า ก นี้ แล ว รัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ.2540 ยังไดกําหนดบทบัญญัติ ในการเขาถึงทรัพยากรของทองถิ่นในมาตรา 79, 84 (กระทรวงศึกษาธิการ 2542 : 15, 19, 24, 25) ที่ให สิท ธิ แ ละเสรี ภ าพแก ป ระชาชนและท อ งถิ่ น มากกว า รัฐธรรมนูญฉบับอื่น

104

บรรยากาศทางความคิดที่ใหความสําคัญแก ท อ งถิ่ น ในช ว งนี้ ทํ า ให เ กิ ด งานเขี ย นประวั ติ ศ าสตร ทองถิ่นแนวใหม ดังปรากฏในงานวิจัยประวัติศาสตร ชุมชนของนักวิจัยภายใตการประสานงานของอรรถ จักร สัตยานุรักษ ที่ไดเปดพื้นที่ใหชาวบานเขามามี ส ว นร ว มในการวิ จั ย ทางประวั ติ ศ าสตร แกนของ โครงการวิจัยเปนเรื่องการจัดการทรัพยากรที่คนใน ทองถิ่นหรือชุมชนตางๆ เคยมีศักยภาพในการจัดการ ด ว ยตนเอง นั บ เป น กระบวนการสร า งความรู ท าง ประวั ติ ศ าสตร ที่ เ อื้ อ ให ค นในท อ งถิ่ น หรื อ ชุ ม ชนมี ความรูและจิตสํานึกในการรวมกันจัดการทรัพยากร ของท อ งถิ่ น อย า งเป น ธรรมและยั่ ง ยื น (อรรถจั ก ร สัตยานุรักษ : 2548) อยางไรก็ตาม ในขณะเดียวกับที่ “ทองถิ่น” และ “ชุ ม ชน” มี ค วามสํ า คั ญ มากขึ้ น ในการรั บ รู ข อง สังคม อุดมการณราชาชาตินิยมกลับยังคงมีพลังสูง อยางยิ่ง กลาวคือมีพลังสูงกวาอุดมการณทองถิ่นนิยม และชุมชนนิยมอยางเทียบกันไมได และมีผลตอการ สร า งและการรื้ อ ฟ น ประวั ติ ศ าสตร แ ละความทรงจํ า เกี่ยวกับทองถิ่นภายใตโครงเรื่องแบบราชาชาตินิยม อยางกวางขวาง กอปรกับในป พ.ศ. 2539 เปนปที่ พระบาทสมเด็ จ พระเจ า อยู หั ว องค ป จ จุ บั น ทรง ครองราชยครบ 50 ป จึงมีการจัดงานเฉลิมฉลองตางๆ เชน งานฉลองเชียงใหม 700 ป การสรางอนุสาวรีย พญาพลเมืองแพร เปนตน การสรางอนุสาวรีย และ หนังสืออนุสรณจึงเฟองฟูภายใตบริบทของความเปนป มหามงคล และการเฉลิมฉลองดังกลาวนี้ ประวัติศาสตรทองถิ่นที่เปนการผสมระหวาง ประวัติศาสตรราชาชาตินิยมและทองถิ่นนิยม ซึ่งอาจ เรียกวา “ประวัติศาสตรทองถิ่น-ราชาชาตินิยม” นี้ทรง พลังสูงสุดในชวงทศวรรษ 2530 เปนตนมา เนื่องจาก เปนชวงเวลาที่อุดมการณราชาชาตินิยมมีอิทธิพลสูง มาก เมื่อตอ งการทํา ให ทองถิ่น และคนในทองถิ่น มี ความสําคัญหรือมีความหมายตอชาติ ก็ตองอธิบาย ประวั ติ ศ าสตร ท อ งถิ่ น ให เ ชื่ อ มโยงเกี่ ย วข อ งกั บ ประวัติศาสตรชาติภายใตพระบารมีของพระมหากษัตริย เพื่อใหทองถิ่นมีตําแหนงแหงที่ในประวัติศาสตร ซึ่งจะ


การสรางตําแหนงแหงที่ของ “เมืองแพร” ในประวัติศาสตร “ชาติไทย” : จากเมืองกบฏสูเมืองที่จงรักภักดี ชัยพงษ สําเนียง

เห็นไดวาประวัติศาสตรเมืองแพรที่สรางในทศวรรษ 2530 นั้น ดานหนึ่งวางอยูบนความตองการแสวงหา ตัวตนของทองถิ่ น แต ข ณะเดียวกัน ก็ตองพยายาม พิสูจนคุณคาของเมืองแพรในกรอบอุดมการณราชา ชาตินิยม ตัวตนของทองถิ่นจึงมิใชตัวตนที่มีอิสระ แต เปนตัวตนที่จงรักภักดีตอชาติที่พระมหากษัตริย ทรงมี ความสําคัญสูงสุด ซึ่งทองถิ่นจะมีคุณคาไดก็ตอเมื่อมี ความจงรักภักดีตอพระมหากษัตริย ตั ว ตนของท อ งถิ่ น ดั ง กล า วข า งต น นี้ มิ ไ ด แสดงออกเฉพาะในงานเขี ย นประวั ติศ าสตรเ ทา นั้ น หากแตยังปรากฏในอนุสาวรียอีกดวย

อนุสาวรีย : การสรางวีรบุรุษทองถิ่นภายใตอุดมการณ ราชาชาตินิยม วีรบุรุษ คือ คนที่อยูในสํานึก ความทรงจํา เป น ผู ป ระกอบคุ ณ งามความดี ใ ห แ ก ท อ งถิ่ น นั้ น ๆ วีรบุรุษอาจเปนบุคคลที่มีตัวตนอยูจริง หรือเปนบุคคล ในตํานาน หรือไมมีตัวตนก็ได แตคนจะเชื่อกันวามี อยู จ ริ ง ทํ า ให มี ก ารสร า งสิ่ ง สมมติ แ ทนบุ ค คลนั้ น ๆ เพื่ อ เคารพบู ช า เพื่ อ ระลึ ก ถึ ง และอาจกลายเป น ผีประจําเมือง หรือเปนเทพไปในที่สุด (นิธิ เอียวศรีวงศ 2547 : 83) การสรางวีรบุรุษในทองถิ่น เปนการตอกย้ํา สํา นึ ก ความทรงจํา และความภาคภู มิ ใ จในทอ งถิ่ น ของตน วีรบุรุษมิไดมีความหมายเฉพาะสิ่งที่ผานมา ในอดี ต แตวีร บุ รุษสะท อนตัว ตนของคนในปจ จุบั น เปนกระจกเงาสะทอนวิธีคิดและความเชื่อของคนใน สมัย ที่ ส รา งวี ร บุ รุษนั้ น ๆ ดั ง เชน การสร า งอนุ สาวรี ย ปูพญาพล และพระญามังไชยของเมืองแพร ปูพญาพล : วีรบุรุษผูสรางเมืองแพร พญาพล หรื อ ปู พ ญาพล เป น วี ร บุ รุ ษ ใน ตํ า นานของเมื อ งแพร ชาวแพร รั บ รู ใ นฐานะผู ส ร า ง เมืองแพรในป พ.ศ. 1371 โดยเชื่อวา ชื่อเมืองพล ที่ เปนชื่อเดิมของเมืองแพร ก็เกิดจากชื่อพญาพลนี้เอง โดยคนท อ งถิ่ น ที่ มี ค วามคิ ด ท อ งถิ่ น นิ ย มเชื่ อ ว า “...เมืองแพรมีชื่อเดิมวา “เมืองพล” ซึ่งตั้งตามชื่อของ ผูนํากลุมชนรุนแรกที่บุกเบิกการสรางบานแปงเมือง

“เมืองแพร”... และทานผูนั้นคือ “ปูพญาพล” นั่นเอง” ดวยความเชื่อ ว า พญาพลเปน ผูสร า งเมือ งแพร และ ประกอบคุณงามความดีตอเมืองแพร “อยางเต็มพระ สติกําลังความสามารถ ทั้งดานการมองหาทําเลที่อยูที่ ทํากินของไพรฟาประชาชน ดานการอบรมศีลธรรม คุ ณ ธรรม จริ ย ธรรมแก พ ลเมื อ ง ด า นการสื บ ทอด พระพุทธศาสนา ซึ่งปูพญาพลไดสรางวัดหลวงขึ้นเปน วัดแรกในป พ.ศ. 1372…เมื่อประชาชนมีจิตใจงามอยู ในศี ล ธรรมแลว สั ง คมก็ส งบเรีย บรอ ยปูพ ญาพลจึ ง เปน “ผูเบิกฟา พลิกดิน” ใหแกชาวเมืองแพรโดย แท”) จะเห็นวาพญาพลในการรับรูของคนทองถิ่นเปน ทั้งผูสรางเมือง และเปนผูมีบุญคุณอยางลนเหลือตอ เมื อ งแพร ถึ ง กั บ มี ก ารเน น ว า “หากไม มี ปู พ ญาพล เมืองพล หรือเมืองแพร จะถือกําเนิดขึ้นไดอยางไร?” (วรพร บําบัด 2546 : 27-28) การสรางอนุสาวรียปูพญาพลเกิดขึ้นภายใต อุ ด มการณ “ราชาชาติ นิ ย ม” ในวโรกาสที่ พ ระบาท สมเด็ จ พระเจ า อยู หั ว ทรงมี พ ระชนมพรรษาครบ 6 รอบ ผสมกั บ กระแสท อ งถิ่ น นิ ย มหลั ง ประกาศใช รัฐ ธรรมนู ญ ป พ.ศ.2540 โดยความร ว มมื อ ของทาง ราชการ เอกชน และองคกรปกครองสวนทองถิ่นใน จั ง หวั ด แพร เริ่ ม ด ว ยการแต ง ตั้ ง ผู ท รงคุ ณ วุ ฒิ ใ น ท อ งถิ่ น ให สื บ หาประวั ติ เ รื่ อ งราวของพญาพล และ ดํา เนิ น การออกแบบกอ สร า ง ในการนี้ไ ดมี ก ารออก แบบสอบถามประชาชนในจังหวัดแพรจํานวน 2,286 ชุด มีผูสงแบบสอบถามจํานวน 1,991 ชุด ในจํานวนนี้ มีผูตองการใหสรางอนุสาวรียพญาพลจํานวน 1,332 คน ใหสรางอนุสาวรียเจาพิริยะเทพวงศจํานวน 248 คน และเห็ น ว า สมควรสร า งอนุ ส าวรี ย เ จ า มั ง ไชย จํานวน 175 คน (วรพร บําบัด 2546 : 1, 15) จะเห็น ได จ ากการตอบแบบสอบถามว า พญาพล ซึ่ ง เป น วีรบุรุษในตํานาน มีความสําคัญในสายตาของชาวแพร มากกว า วี ร บุ รุ ษ ท า นอื่ น โดยที่ ค นในท อ งถิ่ น เชื่ อ ว า พญาพลมีตัวตนจริงในอดีต และเปนผูสรางเมืองแพร ขึ้นมา จะเห็ น ได ว า กระบวนการสร า งอนุ ส าวรี ย พญาพลและพระญามังไชย ซึ่งจะกลาวตอไปขางหนา 105


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปที่ 30 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2553

มีการแสวงหาความรวมมือจากกลุมองคกรตางๆ ทั้ง ขาราชการ องคกรปกครองสวนทองถิ่น และประชาชน นอกจากการออกแบบสอบถามความคิดเห็นแลว ยัง ใชวิธีการอื่น อีก กลา วคื อ “เพื่อ ใหชาวแพรไดมีสวน รวมโครงการ...จังหวัดแพรจึงไดจัดตั้งกองทุน...โดยตั้ง ชื่อกองทุนวา “กองทุน 20 บาท”...นอกจากนี้ยังไดจัด ใหมีการเชาบูชาเหรียญพระพุทธโกศัยเพื่อนําเงินที่ได ไปสมทบทุน 20 บาท” (จังหวัดแพร 2546 : 17-18) กระบวนการดึงมวลชนเขามามีสวนรวมในการสราง อนุสาวรีย เปนการเนนย้ําวา “พญาพล” คือ “สมบัติ ของคนแพร” เปนผูมี “ตัวตน” ที่คนแพรทุกคนลวนมี ส ว นแสดงความกตั ญ ู ก ตเวที แ ละเป น “เจ า ของ” อนุสาวรียพญาพล แมกลุมผูนําในการจัดสรางจะเปน ขาราชการก็ตาม แตคนแพรไดเขามามีสวนรวม ทําให ความสํ า นึ ก และการรั บ รู ต อ พญาพลยิ่ ง ฝ ง แน น ขณะเดียวกัน การสรางอนุสาวรียพญาพลนี้ เปนการ ตอกย้ําความเกา แก และความมี “ตัวตน” ของเมือง แพรตั้งแตพุทธศตวรรษที่ 14 ซึ่งสรางความภาคภูมิใจ ใหแกชาวแพรไดเปนอยางดี อยางไรก็ตาม การสรา งอนุสาวรียพญาพล มิไดเปนผลมาจากอุดมการณทองถิ่นนิยมอยางโดด ๆ แต ยั ง เกิ ด จากอุ ด มการณ ร าชาชาติ นิ ย มที่ ถื อ ว า พระมหากษัตริยทรงเปนผลักวิถีประวัติศาสตรอยาง ชัดเจน ดังวัตถุประสงคขอ 1 ของการสรางอนุสาวรีย ระบุ ว า “เพื่ อ เฉลิ ม พระเกี ย รติ พ ระบาทสมเด็ จ พระเจาอยูหัว ในวโรกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิม พระชนมพรรษา ๖ รอบ” (จังหวัดแพร 2546 : 4) รวมถึ งการเนนวา “ทานเหลานี้ (พญาพลและพระญา มังไชย : ผูเขียน)ไดบําเพ็ญคุณงามความดีมีความกลา หาญ ซื่อสัตยและจงรักภักดีตอพระมหากษัตริยและ แผ น ดิ น ไทยสมควรแก ก ารยกย อ งเชิ ด ชู เ กี ย รติ คุ ณ สืบไปชั่วกาลนาน” (จังหวัดแพร 2546 : 15) ทั้งๆ ที่ ในสมั ย พุ ท ธศตวรรษที่ 14 ยั ง ไม มี ทั้ ง สํา นึ ก ในเรื่ อ ง ชาติและประเทศไทย 5

จะเห็นไดวา ภายใตกระบวนการสรางพญา พลที่เปนวีรบุรุษในตํานานใหมีตัวตนขึ้นมานี้ เกิดขึ้น ภายใต สํ า นึ ก ท อ งถิ่ น นิ ย มที่ ต อ งการบอกเล า ความ เปนมาของทองถิ่นที่เกาแกยาวนาน รวมถึงคุณูปการ ของ “คนในอดี ต ” ที่ ส ร า งสมคุ ณ งามความดี ใ ห แ ก ท อ งถิ่ น และ “ประเทศชาติ ” ขณะเดี ย วกั น ก็ เ กิ ด ขึ้ น ภายใต อุ ด มการณ ร าชาชาติ นิ ย ม เรื่ อ งเล า เกี่ ย วกั บ พญาพลจึ งกลา วถึงความซื่อสัตย และจงรักภักดีตอ พระมหากษัตริยและแผนดินไทย ทําใหอนุสาวรียพญา พลกลายเป น ตั ว แทนแห ง ความสํ า นึ ก ในพระมหา กรุณาของพระมหากษัตริยไทยและแผนดินไทยของ ชาวเมืองแพรทั้งปวง กล า วได ว า อนุ ส าวรี ย พ ญาพลเป น สนาม การเมือ งของความทรงจํ า ทํา ให เกิ ด การรั บ รู “ชาว แพร” ในฐานะ “คนไทย” และรับรูเมืองแพรในฐานะ “ทองถิ่นไทย” ภายใตพระบารมีของ “พระมหากษัตริย ไทย” เปนสวนหนึ่งของ “ประวัติศาสตรทองถิ่น-ราชา ชาตินิยม” หรือเปน “ประวัติศาสตรพันทาง”5 ที่ผลิต สรางประวัติศาสตรทองถิ่น ใหเชื่อมโยงเกาะเกี่ยวกับ ประวัติศาสตรชาติ โดยมีความสํานึกวา ทองถิ่นเปน สวนหนึ่งของชาติไทย สวนพญาพลจะเปนเจาอธิราช อิ ส ระแห ง แว น แคว น เอกราชหรื อ ไม ก็ ต าม แต ณ ปจ จุบั น พญาพล คื อ สัญ ลั ก ษณข องข า แผ น ดิ น ไทย ภายใต ก ารผลิ ต สร า งและการรั บ รู ป ระวั ติ ศ าสตร ใ น แบบ “ท อ งถิ่ น นิ ย ม-ราชาชาติ นิ ย ม” ของคนในยุ ค ปจจุบัน พระญามังไชย : วีรบุรุษผูจงรักภักดีตอสยาม พระญามั งไชย 6 หรือ พญาเมือ งใจ 7 ไดรั บ การรับรูในฐานะผู “ฟนมา น” (ประกาศตนเปนอิสระ จากพมา ) ในรัชสมัยของพระเจา กรุงธนบุรี การฟน ม า นและสวามิ ภั ก ดิ์ ต อ สยามในรั ช สมั ย พระเจ า กรุ ง ธนบุรีนี้ นับเปนวีรกรรมที่ทําใหพระญามังไชยถูกสราง ใหเปนวีรบุรุษของทองถิ่นในทศวรรษที่ 2540 ในบริบท

คือ ประวัติศาสตรลูกผสมระหวางประวัติศาสตรชาตินิยม และทองถิ่นนิยม การใชคํานี้ผูเขียนเห็นวาสื่อความหมายได ชัดเจนและเปนที่รับรูที่งายแกการเขาใจของคนทั่วไป 6 การใชคําวาพญา หรือ พระญาในที่นี้มีนัยยะที่แตกตางกัน คือ คําวา พญา มักใชกับบุคคลในตํานาน ซึ่งอาจมีตัวตนหรือ ไมมีตัวตนก็ได สวนคําวา พระญา เปนยศของเจาเมืองที่ปรากฏในเอกสารของลานนาในสมัยหลัง 7 เมืองใจ คือ การสรางตัวตนของพระญามังไชยในการรับรูของนักวิชาการทองถิ่น แตในงานเขียนครั้งนี้ผูเขียนจะใช “มังไชย”

106


การสรางตําแหนงแหงที่ของ “เมืองแพร” ในประวัติศาสตร “ชาติไทย” : จากเมืองกบฏสูเมืองที่จงรักภักดี ชัยพงษ สําเนียง

ที่กระแสประวัติศาสตรทองถิ่น(นิยม)ขยายตัวอยา ง กวางขวาง8 ดังปรากฏในงานของ บดินทร กินาวงศ เรื่ อ ง พญาแพร เมื อ งใจ วีร บุ รุ ษที่ ถู ก ลืม งานของ ไพฑูรย สุวรรณาภา เรื่อง “วีรบุรุษเจาเมืองแพร พระยา เมืองชัย (พระยาศรีสุริยวงศ) เจาหลวงเมืองแพร พ.ศ. 2310-2358” ใน จากพลนคร ฮอดเมืองแพร งาน ของ ชูขวัญ ถุงเงิน และ สิริกร ไชยมา เรื่อง เมืองแพร บานเรา และงานของ บัวผิว วงศพระถาง พระยา เมืองไชย หรือเมืองไจย (มังไชย หรือมังไชยยะ) วีรบุรุษขุนศึก 3 แผนดินของเมืองแพร(กอน พ.ศ. 2310-2319 และพ.ศ.2347-2360) งานเขียนประวัติศาสตรเมืองแพรทั้ง 4 เรื่อง ในช ว งทศวรรษที่ 2540 นี้ จะกล า วถึ ง วี ร กรรมของ พระญามังไชยอยางพิสดาร เชน เปนผูที่รัชกาลที่ 1 ทรงโปรดปราน พระญามังไชยเปนแมทัพที่สําคัญใน การยกทัพขึ้นไปกวาดตอนกํ า ลังคนที่แตกฉานซ า น เซ็นอยูในหัวเมืองฝายเหนือ ซึ่งจะแตกตางจากงาน ในชวงทศวรรษที่ 2520 ที่จะไมกลาวถึง วีรกรรมของพระญามังไชยอยางพิสดาร9 งานเขียนในทศวรรษ 2540 เหลานี้ ยกยอง พระญามังไชย ซึ่งไดรับพระราชทานบรรดาศักดิ์เปน พระยาศรี สุ ริ ย วงศ ว า เป น วี ร บุ รุ ษ ผู ก ล า หาญ สามารถ “ฟนมาน” ประกาศความเปนอิสระใหเมือง แพร โดยเนนดวยวาพระญามังไชยนําเมืองแพรมา สวามิ ภั ก ดิ์ ต อ พระมหากษั ต ริ ย แ ห ง สยาม ก็ เ พราะ พระญามังไชยมีความรักเมืองแพร และจงรักภักดีตอ พระเจ า ตากสิ น ดัง ความวา “พระยาศรีสุริ ย ะวงศ มี นามเดิ ม ว า พญามั ง ไชยยะ เป น ชาวพม า ถู ก ส ง มา ปกครองเมืองแพร ระหวางป พ.ศ. 2311-2353 เพื่อ

ไมใหเมืองแพรแข็งเมือง แตพญามังไชยยะมีความรัก เมืองแพร เปนคนกลา หาญไม กลัวตาย สามารถพูด “คําเมือง”...ไดคลองแคลว” และ “...พญามังไชยยะมี ความจงรัก ภัก ดีต อ พระเจ า ตากสิน ...” และยั งกลา ว ดวยวา “ในแผนดินสมเด็จพระพุทธยอดฟาจุฬาโลก พระยาศรีสุริยวงศไดรวบรวมไพรพลคนเมืองแพรชวย กองทั พ จากกรุ ง เทพฯ ขั บ ไล ข า ศึ ก ชาวพม า ในเขต ลานนา…” (ชูขวัญ ถุงเงิน และสริกร ไชยมา 2542 : 139) จะเห็ น ได ว า มี ก ารสร า งโครงเรื่ อ งภายใต อุ ด มการณ ร าชาชาติ นิ ย มที่ พ ยายามเชื่ อ มโยง พระญามั ง ไชยกั บ พระเจ า กรุ ง ธนบุ รี แ ละพระบาท สมเด็จพระพุทธยอดฟาจุฬาโลก วาพระญามังไชยมี ความจงรักภักดีและทรงโปรดปรานจนทรงพระกรุณา โปรดเกลาฯ เลื่อนยศเลื่อนตําแหนงให แมวาในความ เปนจริงอาจเปนไปไดวาพระบาทสมเด็จพระพุทธยอด ฟาจุฬาโลกมิไดทรงไววางพระทัยในตัวพระญามังไชย เลย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกลาฯ ใหพระญามังไชย สรางบานเรือนและทําราชการอยูในกรุงเทพฯ (นฤมล ธีรวัฒน 2539 : 98) มิไดโปรดเกลาฯ ใหกลับไปเมือง แพร อั น เป น ฐานอํ า นาจเดิ ม โดยหลั ก ฐานทาง ประวัติศาสตรเทาที่สืบคนไดในปจจุบันไมปรากฏวา พระญามังไชยไดกลับไปครองเมืองแพรอีก อยางไรก็ตาม ในเมืองแพรปจจุบันไดมีความ พยายามสร า งให พ ระญามั ง ไชยเป น วี ร บุ รุ ษ ของ ทองถิ่นและของชาติ เปนวีรบุรุษที่แสดงถึงความเปน คนของ “รั ฐ ไทย” ที่ มี ตั ว ตนในประวั ติ ศ าสตร (ซึ่ ง แตกตางจาก “พญาพล” ที่มิใชเปนคนของรัฐไทยอยาง เต็ ม ตั ว ) ดั ง นั้ น พระญามั ง ไชยจึ ง เป น ตั ว แทนของ ความภักดี ความซื่อตรง ซื่อสัตย ของคนในทองถิ่นที่

8

โปรดดูความคิดในการเขียนประวัติศาสตร, หนา 160-165. งานเขียนเกี่ยวกับพระญามังไชยที่ผลิตในชวงทศวรรษที่ 2520-2530 ไมมีการกลาวถึงวีรกรรมของพระญามังไชยมากนัก เช นงานของ เลิศ ลว น วัฒ นนิ ธิกุ ล ประวั ติศ าสตร เมือ งแพร 800 ป และหนั ง สื อ ที่ ก ระทรวงมหาดไทยจั ด ทํ า ขึ้ น เรื่ อ ง ประวั ติ มหาดไทยสวนภูมิภาคจังหวัดแพร งานทั้ง 2 ชิ้นนี้เปนงานที่ผลิตโดยขาราชการ แมจะเสนอวาพระญามังไชยเปนผู “ฟนมาน” และ สวามิภักดิ์ตอพระเจากรุงธนบุรี1 แตยอมรับวาพระญามังไชยเปนพมา1 และหลังจากกลาวถึงพระญามังไชยตามความในพระราช พงศาวดารดังกลาวมานี้แลว ก็ไมไดกลาวถึงพระญามังไชยอีกเลย (งานทั้งสองชิ้นมีขอความเหมือนกันทุกตัวอักษร สันนิษฐานวา ผูเขียนเปนคนเดียวกัน) 9

107


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปที่ 30 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2553

มีตอชาติและพระมหากษัตริยอยางดีเลิศ และเรื่องราว เกี่ยวกับพระญามังไชยก็สงผานอุดมการณประวัติศาสตร แบบ “ราชาชาตินิยม” ไดดีกวาพญาพล ดังปรากฏวา วีรกรรมครั้งอดีตของพระญามังไชยไดรับการแตงแตม สี สั น อย า งโลดโผน รวมถึ ง ความพยายามในการ เปลี่ยนพระญามังไชยจากคนพมามาเปน “คนเมือง” เชน การบอกวาพระญามังไชยเปน “คนเมือง” เพราะ คําวา “มัง” ก็คือ เมือง หรือ ไชยยะ ก็คือ ใจ ดังที่มี การอางวา “. . . คํ า ว า “มั ง ” ผู ศึ ก ษ า คื อ อาจารย ไ พฑู ร ย สุ ว รรณาภา ได ไ ป สั ม ภาษณ ผู รู ด า นภาษาตะวั น ออกที่ มหาวิทยาลัยเชียงใหมแลว ไดขอสรุป วา “มัง” หรือ “เมือง” คือคําๆ เดียวกัน เมื่อจารึกลงในคัมภีรโบราณ คนแตละ ทองถิ่นออกเสียงตางกัน” (จังหวัดแพร 2546 : 17-18) โดยแท จ ริ ง แล ว คํ า ว า “มั ง ” ไม มี ท างกลาย เสียงเปน “เมือง” ไดเลยตามลักษณะการกลายเสียง ทางภาษาศาสตร คําวา “มัง” หมายถึงเจาหรือกษัตริย เปนภาษาพมา เชน มังทรา สวนคําวา “พระเมือง” บางยุคของลานนาก็หมายถึงกษัตริย เชน พระเมือง แกว เปนตน แตคํา 2 คํานี้ไมอาจกลายเสียงหรือแทน กันไดแน ส ว นคํ า ว า ไชยยะ หรื อ ชั ย จะได รั บ การ ตีความวาเปนคําเดียวกับคําวา “ใจ” ดังปรากฏชัดใน หนั ง สื อ ของ บดิ น ทร กิ น าวงศ ที่ ชื่ อ ว า พญาแพร เมืองใจ วีรบุรุษที่ถูกลืม โดยที่บดินทรไมไดอธิบาย ที่ ม า ของความคิด ขา งต น แมว า โดยทั่ ว ไปแล วคน เมืองหรือคนทองถิ่นของภาคเหนือตอนบนมักจะออก ช. เปน จ. แตคําวา ไชยยะ นี้ ตามหลักภาษาแลวไม อาจจะออกเสียงเปน “ใจ” ไดเลย

108

อย า งไรก็ ต าม ไม ว า จะเป น การสร า งให พระญามั ง ไชย เป น พญาเมื อ งใจ หรื อ พระยาแพร หรือการแปลงสัญชาติพระญามังไชย จากคนพมา ให เป น “คนเมื อ ง” ที่ จ งรั ก ภั ก ดี ต อ พระมหากษั ต ริ ย แหงชาติไทย ลวนแสดงใหเห็นสํานึกและการรับรูทาง ประวัติศาสตรของคนเขียนที่อยูในโลกของรัฐชาติและ อยูภายใตอุดมการณราชาชาตินิยม จึงไดนําความคิด เรื่อง “ชาติ” “รัฐชาติ” “ชาติพันธุ” ในแบบที่เรารับรูใน ปจจุบันไปทาบบนตัวตนของพระญามังไชย เพื่อสื่อ ความหมายแกคนในปจจุบัน สาเหตุที่สําคัญประการหนึ่งที่ทําใหเกิดการ สร า งอนุ ส าวรี ย แ ละงานเขี ย นเกี่ ย วกั บ วี ร บุ รุ ษ ที่ จงรักภักดีตอชาติและพระมหากษัตริย ก็เนื่องมาจาก การที่ เ มื อ งแพร ถู ก รั บ รู ใ นฐานะ “เมื อ งกบฏ” มา ยาวนานนั่นเอง การสรางเรื่องราววีรกรรมของพญา พลและพระญามังไชยซึ่งทําใหคนแพรอยูในฐานะ “คน ในชาติ ไทย” ที่ มี ค ว า ม จ ง รั ก ภั ก ดี ต อ ช าติ แ ล ะ พระมหากษั ต ริ ย แ ห ง ชาติ ไ ทย จึ ง เป น เสมื อ น “วาท กรรม” โตตอบการรับรูประวัติศาสตรในฐานะ “เมือง กบฏ” อั น ทํ า ให ค นแพร มี ศั ก ดิ์ ศ รี ทั ด เที ย มคนไทย ทั่วไป อนุ ส าวรี ย และงานเกี่ ย วกั บ พญาพลและ พระญามั ง ไชย จึ ง เป น เวที ข องการสร า งอดี ต เพื่ อ เชื่อมโยงปจจุบัน ภายใตกรอบคิดของคนในปจจุบัน อนุสาวรียมีความหมายที่มาจากจุดประสงคของคนใน ป จ จุ บั น ในการเผยแพร อุ ด มการณ ข องตนผ า น อนุสาวรียที่สรางขึ้น (มาลินี คุมสุภา 2548 : 23-33) แตใชวาการสรางอนุสาวรียจะมีความหมายตามผูสราง เทานั้น บางครั้งการสรางเพื่อวัตถุประสงคหนึ่ง ผูรับรู อาจรับรูอีกอยางก็ได (นิธิ เอียวศรีวงศ 2547 : 81-112) จึงทําใหอนุสาวรียในชวงเวลาตางๆ มีความหมายที่ไม สิ้นสุด กรณีอนุสาวรียของพญาพล และพระญามังไชย ในป จ จุ บั น ที่ มี ก ารสร า งความหมายในฐานะวี ร บุ รุ ษ ทองถิ่น ที่มีความเชื่อมโยงเกี่ยวของกับประวัติศาสตร


การสรางตําแหนงแหงที่ของ “เมืองแพร” ในประวัติศาสตร “ชาติไทย” : จากเมืองกบฏสูเมืองที่จงรักภักดี ชัยพงษ สําเนียง

ชาติ ภายใตอุดมการณทองถิ่น-ราชาชาตินิยม ซึ่งเวลา จะเป น เครื่ อ งพิ สู จ น ว า ความหมายของอนุ ส าวรี ย ที่ สรางขึ้นขางตนจะทรงพลังดังที่ผูสรางตองการหรือไม เพราะในป จ จุ บั น คนแพร ที่ รั บ รู ค วามหมายของ อนุสาวรียยังอยูในวงจํากัด10 และจากการออกแบบ สํารวจวาควรสรางอนุสาวรียของวีรบุรุษเมืองแพรทาน ใด ก็ มี ผู เ ห็ น ด ว ยกั บ สร า งอนุ ส าวรี ย พ ระญามั ง ไชย เพียง 175 คน จากจํานวนผูตอบแบบสอบถามทั้งสิ้น 1,991 คน (จังหวัดแพร 2546 : 15) หรือประมาณรอยละ 9 ของการสํารวจเทานั้น จะเห็นไดวาคนเมืองแพรมี การรั บ รู วี ร กรรมของพระญามั ง ไชยน อ ยมาก เมื่ อ เปรียบเทียบกับการรับรูเรื่องราวเกี่ยวกับพญาพล แต อยางไรก็ตามพระญามังไชย คือ ผูที่ทําการสูรบกับ ศั ต รู ข องชาติ ด ว ยความจงรั ก ภั ก ดี จนกระทั่ ง ได รั บ พระราชทานยศถาบรรดาศั กดิ์จากพระมหากษัตริย แหงชาติไทย จึงเปนสัญลักษณของ “ความเปนไทย” ไดมากกวาพญาพล อนุสาวรียพระญามังไชยจึงนาจะ เปนพื้นที่สงทอดความทรงจําที่คนในเมืองแพรใชตอบ โตกับปายที่ตราหนาพวกเขาเปน “เมืองกบฏ” ไดดีกวา อนุสาวรีย “พญาพล”

การเปลี่ยนกบฏใหเปนวีรบุรุษ การต อ สู กั บ วาทกรรม “เมื อ งกบฏ” ภายใตพลังการครอบงําของอุดมการณราชาชาตินิยม ปญหาใหญที่จะตองจัดการเปลี่ยนความหมายใหได ก็คือ การที่เจาหลวงเมืองแพรรวมมือกับพวกเงี้ยว ใน การกบฏตอพระมหากษัตริยแหงชาติ ดังนั้น จึงเกิด การสรางคําอธิบายเรื่องกบฏเงี้ยวใหม ที่นําสูการรับรู ฐานะของเจาหลวงพิริยเทพวงศ จากผูรวมมือในการ “กบฏ” มาเปน “ผูจงรักภักดี” อยางสูงสุด ในฐานะ “เจาหลวงผูเสียสละ” “เจาหลวงผูมีความคิดกวางไกล ในดานการพัฒนา” หรือ “เจาหลวงผูอาภัพ” จนนํามาสู การสรางอนุสาวรียเจาหลวงพิริยเทพวงศหลายแหง ดัง

ความที่วา “...สํานึกถึงบุุคุณของเจาหลวง พิริยเทพวงศ ที่ไดทําประโยชนแกเมืองแพร ทั้งในดานการปกครอง การศึก ษา และการศาสนาเป น อย า งดี ยิ่ ง” (อนุ ส รณ เจาพิริยเทพวงศ เจาหลวงองคสุดทาย ผูครองเมือง ของแพร 2544 : 3) ดังเชน คําบอกเลาของนายรัตน วังซาย ผูเปนทายาทของเจาวังซายที่ทํางานใกลชิด กั บ เจ า หลวงพิ ริ ย เทพวงศ ซึ่ง เปน ที่ รับ รู แ พร ห ลาย (อนุสรณเจาพิริยเทพวงศ เจาหลวงองคสุดทายผูครอง เมืองของแพร 2544 : 3) และไดรับการผลิตซ้ําใน รูปลักษณตางๆ มากมาย นายรั ต น วั ง ซ า ย เริ่ ม ด ว ยการกล า วถึ ง เจาหลวงพิริยเทพวงศ วาเจาหลวงมิไดตอตา นการ ปฏิรูปการปกครอง อีกทั้งมีความสัมพันธใกลชิดกับ เจานายซึ่งเปนผูนําในการจัดระบบการปกครองแบบ เทศาภิบาล คือสมเด็จฯ กรมพระยาดํารงราชานุภาพ ทั้งนี้ ก็เพื่อตอบโตคําอธิบายเดิมที่ไดรับการสืบทอด มาอยางตอเนื่องที่วาเจาหลวงพิริยเทพวงศรวมมือใน การก อ กบฏเพราะสู ญ เสี ย ผลประโยชน จ ากการที่ กรุ ง เทพฯ ดํ า เนิ น การปฏิรู ป การปกครอง นายรั ต น วังซายระบุวา ทานเปนคนทันสมัย ทานอยากพัฒนาเมือง แพรใหเจริญ ตอนแรกทานไมรูหนังสือไทย...แตทาน คุยเคยใกลชิดกับสมเด็จกรมพระยาดํารงราชานุภาพ ...สมเด็จกรมดํารงก็พาเจาหลวงไปเรียนภาษาไทยที่ พระนคร เรียนรูระบบการปกครองสมัย ใหมจ นทา น เห็นดีเห็นงาม...เจาหลวงทานเต็มใจทําตามคําสั่ง ยอม สละยศตําแหนงทุกอยางเพื่อความเจริญของบานเมือง (รัตน วังซาย 2548 : 27 อางใน ไขมุกต วงศบุรี (ประชาศรัยสรเดช) นายรัตน วังซาย ยังระบุวา การเปลี่ยนแปลง การปกครองในเมื อ งแพร นั้ น เกิ ด ขึ้ น เมื่ อ “เจ า หลวง ตั ด สิ น ใจเปลี่ ย นแปลงการปกครอง” แล ว แต ค วาม ขัด แย งเกิดขึ้น ภายหลัง จากพระยาไชยบูร ณ ซึ่ง

10

สัมภาษณนายประสาท ประเทศรัตน ณ. ศูนยกลางเรียนรูศิลปวัฒนธรรมตองตึง หลังวัดสวรรคนิเวศ อ.เมือง จ.แพร วันอังคารที่ 14 กุมภาพันธ 2549, พระครูสมุหวาร ปฺญาวุโร เจาอาวสาวัดวุฒิมงคล (รองแหยง) ณ วัดวุฒิมงคล ต.ดอนมูล อ.สูงเมน จ.แพร วันจันทรที่ 13 กุมภาพันธ 2549, นางมา แซไหล ณ 85 ม.2 ต.ดอนมูล อ.สูงเมน จ.แพร วันอาทิตย ที่ 12 กุมภาพันธ 2549, น.ส. อัมพวรรณ สีหมอก 66/2 ม. 2 ต.บานเหลา อ.สูงเมน จ.แพร วันอังคาร ที่ 14 กุมภาพันธ 2549, น.ส. อัมพิกา โปธิกุล 80/3 ม. 11 ต.เวียงทอง อ.สูงเมน จ.แพร วันพุธที่ 15 กุมภาพันธ 2549.

109


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปที่ 30 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2553

เปนขาราชการจากกรุงเทพฯ ใหเจาหนาที่ตรวจเงิน แผนดิน พบวาเงินขาดไป 55,000 บาท “คนตรวจก็สั่ง อายัดตัวเจาหลวงไปขัง” แมตอนหลัง “ลูกหลานก็หา เงินมาใชให เจาหลวงจึงถูกปลอยตัว คนแพรโกรธกัน มาก เพราะเปนการลงโทษโดยไมฟงความใดๆ” ซึ่ง เปนการเปดโอกาสใหศัตรูแหงชาติ คืออังกฤษเขามา แทรกแซง กลาวคือ อั ง กฤษเอาปมนี้ เ ป น เหตุ ทํ า ให ค นแตก สามัคคี...อังกฤษสงเงี้ยวชื่อพะกาหมองมาเกลี้ยกลอม เจาหลวง วาทานโดนรังแก อังกฤษจะชวยยึดแผนดิน จะให เ งี้ ย วมาก อ การกบฏ สมั ย นั้ น เงี้ ย วอยู ใ นความ ปกครองของอังกฤษ ...มีการตกลงกันวาจะไมใหเจเห ลวงเดือดรอน แผนของอังกฤษคือจะใหเราฆาเงี้ยว แลวเรียกคาเสียหาย...” (รัตน วังซาย 2548 : 27-30 อางใน ไขมุกต วงศบุรี ประชาศรัยสรเดช) อยางไรก็ ตาม ตามคํ า บอกเล า ของนายรั ต น วั ง ซ า ยนั้ น เจ า หลวงพิริยเทพวงศหาไดรวมมือกับอังกฤษไม ตรงกัน ขาม “เจาหลวงรายงานใหรัชกาลที่ 5 ทรงทราบ ทาน ก็ เ รี ย กเจ า หลวงไปพบ แล ว ท า นก็ สั่ ง เจ า หลวงให ยอมรับเงื่อนไขของอังกฤษ เปนแผนซอนแผน บอกให เจาหลวงยอมเปนกบฏเพื่อจะเปนขออางปราบเงี้ยว เพราะถาไมยอมรับเปนกบฏก็ไมมีเหตุปราบ...” และ เมื่อตกลงรวมมือกับอังกฤษตามแผนแลว เจาหลวง พิ ริ ย เทพวงศ ก็ ยั ง ย อมรั บ แ ต เ พี ย ง ก า ร ฆ า ฟ น ขาราชการจากกรุงเทพฯ แต “หามฆาผูหญิงกับเด็ก และลูกเมียของขาราชการไทย” เพื่อใหเรื่องราวที่เลา นาเชื่อถือยิ่งขึ้น และเพื่อเปนการอธิบายวาเพราะเหตุ ใดจึงไมมีผูใดบอกเลาถึง “แผนซอนแผน” นี้มากอน นายรั ต น วัง ซ า ยระบุว า ทุ ก คนที่ รู เรื่ อ งนี้ต อ งดื่ ม น้ํ า สาบานวาจะเก็บเปนความลับ แตที่นายรัตน วังซาย รูเรื่องนี้ก็เปนเพราะปูกับบิดาของนายรัตน วังซายเอง เปนผูไดรับเลือกใหเขารวมงาน ดังความวา

11

เจาหลวงรับคํามาปรึกษากับเขา ราชบุตร...ตกลงกันวาจะเอาเจาวังซาย มารวมงานดวย...เจาหลวงใหเอาชาย ฉกรรจ พร อ ม อาวุ ธ ไ ปซ อ นในป า ป อ งกั น ไม ใ ห เ งี้ ย วมาขอกํ า ลั ง เพิ่ ม ... ตองมีค นคุม กํา ลังในปา เจา วังซา ย เสนอชื่อ...เจานอยหมวกมาคุมกําลังรบ เจานอยหมวกนี้คือพอของผมเอง ทาน ก็เรียกเจานอยหมวกไปดื่มน้ําสาบาน จะเห็ น ได ว า ในทศวรรษ 2540 มีก ารสร า ง ภาพใหเจาหลวงพิริยเทพวงศเปนผูจงรักภักดีตอชาติ และพระมหากษัตริยอยางยิ่ง นอกจากนี้ยังเห็นคุณคา ของ “ความเปนไทย” รวมทั้งมีความสนใจเรียน “หนั ง สื อ ไทย” จนกระทั่ ง “เป น ที่ โ ปรดปรานของ เจ า นายในวัง มาก” และท า ยสุ ด เปน ผูส รา งโรงเรี ย น เทพวงศ ซึ่ ง สอนหนั ง สื อ ตามหลั ก สู ต รที่ รั ฐ บาล กรุงเทพฯ กํา หนดขึ้น 11 มีก ารสถาปนาให เจ า หลวง พิริยะเทพวงศเปน “บิดาแหงพิริยาลัย” ในฐานะเปนผู มีคุณูปการในการวางรากฐานการศึกษา เปนที่มาของ การสร า งอนุ ส าวรี ย เ จ า พิ ริ ย เทพวงศ ไ ว ใ นโรงเรี ย น พิริยาลัยเพื่อเปนการรําลึกถึงบุญคุณของทาน ดังความวา“...ในวัยหนุมทานไดเคยเลาเรียน หนังสือไทย (ภาษากลางที่กรุงเทพฯ กลาวกันวาเปนที่ โปรดปรานของเจานายในวังมาก... เห็นความสําคัญ ของการศึกษา...” และ“ทานเปนผูเห็นความสําคัญของ การศึ ก ษาอย า งยิ่ ง ...ทํ า ให ท า นเกิ ด ความคิ ด อยาก วางรากฐานความเจริ ญ สู ลู ก หลานชาวแพร บ า ง จึ ง จัดตั้ง “โรงเรียนเทพวงษ” (สมาคมศิษยเกาพิริยาลัย จังหวัดแพร 2546 : 20-23) นอกจากนี้ยังมีการสรางภาพของเจาหลวง พิริยเทพวงศเปนนักพัฒนาที่นําความเจริญและความ ทันสมัยแบบกรุงเทพฯ มาสูเมืองแพร โดยการสรางคุม

แมวาพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกลาเจาอยูหัวจะทรงพระกรุณาโปรดเกลาฯ ใหเปลี่ยนชื่อเปนโรงเรียนพิริยาลัย แตก็ยังคง เปนชื่อของเจาหลวงพิริยเทพวงศ

110


การสรางตําแหนงแหงที่ของ “เมืองแพร” ในประวัติศาสตร “ชาติไทย” : จากเมืองกบฏสูเมืองที่จงรักภักดี ชัยพงษ สําเนียง

แบบตะวันตก (เชนเดียวกับการสรางพระตําหนักตางๆ เปนตึกแบบตะวันตกในกรุงเทพฯ) เพื่อตอนรับแขก บ า นแขกเมื อ งอี ก ด ว ย (สมาคมศิ ษ ย เ ก า พิ ริ ย าลั ย จังหวัดแพร 2546 : 24) ความทรงจําใหมที่มีการสราง ใหเจาหลวงพิริยเทพวงศ เปนการสรางตามสํานึกของ คนทองถิ่น โดยนําเอาความคิดของปจจุบันไปตีความ อดี ต และสรา งภาพแทนความจริง ซึ่ง อาจจริงหรือ ไม จ ริ ง ก็ ไ ด และไม ม องบริ บ ทของการกระทํ า นั้ น ว า เปนไปเพื่ออะไร เชน กรณีการสรางคุมในสมัยนั้น ถา มองอยางมีบริบทก็ควรมองวาเปนความพยายามสราง ความแตกต า งเพื่ อ บ ง บอกสิ ท ธิ แ ละอํ า นาจที่ สู ง กว า ราษฎร หาใชแสดงความทันสมัยกาวหนาอยางที่คน ปจจุบันคิดไม ซึ่งในชวงเวลานั้นเจาเมืองในเมืองอื่นๆ ก็สรางคุมแบบตะวันตกเชนเดียวกัน เชน เมืองนาน เป น ต น รวมถึ ง การสร า งโรงเรี ย นก็ อ าจเกิ ด เพื่ อ ประโยชน ข องตั ว เจ า หลวงเอง เพราะเป น การสร า ง ความดีความชอบตอทางราชการ ที่สงเสริมใหมีการ ขยายการศึกษาในขณะนั้น เจาหลวงพิริยเทพวงศจะ คิดถึงประโยชนของลูกหลานขางหนาหรือไมเพียงใด ก็ไมปรากฏหลักฐานใหรูได เปนที่นาสังเกตวา การใหความหมายใหมแก เจาหลวงพิริยเทพวงศนี้ เกิดจากบทบาทของเชื้อสาย ของเจ า หลวงพิ ริ ย เทพวงศ 12 ซึ่ ง จะได ป ระโยชน โดยตรงจากการเปลี่ ย นภาพลั ก ษณ ข องเจ า หลวง อยางไรก็ตาม การที่คนในเมืองแพรรับรูวาผูใหขอมูล ใหม เกี่ยวกับ บทบาทของเจาหลวงพิ ริย เทพวงศ ใน “กบฏเงี้ยว” เปน ลูกหลานผูใกลชิดกั บเจาหลวงพิริย เทพวงศ ทําใหขอมูลใหมดังกลาวนาเชื่อถือมากขึ้น เพราะเห็ น วา เปน ข อมู ล ที่ม าจากคนวงในที่ไ ด รูเ ห็ น เหตุการณในอดีตดวยสายตาตนเอง อย า งไรก็ ต ามงานในกลุ ม นี้ ก็ แ สดงให เ ห็ น อิทธิพลของอุดมการณราชาชาตินิยมที่ตองทําความดี

ภายใต พ ระมหากษั ต ริ ย และผู นํ า คื อ ผู ผ ลั ก วิ ถี ประวัติศาสตร แสดงใหถึงความคิดความเห็นของคน กลุมตางๆ ภายในสังคมที่เขามามีบทบาทตอการสราง หรื อ เปลี่ ย นความหมายของเหตุ ก ารณ ห นึ่ ง ๆ เพื่ อ ตอบสนองผลประโยชน สถานภาพ และอํานาจของ คนเหลานั้น

เจาพิริยะเทพวงศในฐานะผีประจําเมือง เจ า พิ ริ ย ะเทพวงศ จ ากฐานะ “กบฏ” ผู ไ ม มี ความจงรักภักดีตอบานเมืองและพระมหากษัตริย จน ตองลี้ภัยไปถึงแกพิราลัย ณ ตางแดน(หลวงพระบาง) แต ใ นอี ก 100 ป ต อ มาได ถู ก สร า งให เ ป น ผู มี ค วาม จงรักภักดี เสียสละ เปนนักพัฒนาที่กาวหนา ทันสมัย ทายสุดกลายมาเปนผีอารักษเมือง หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ประจําเมือง ดังมีเรื่องเลาถึงปาฏิหาริยตางๆ ในการ สรางอนุสาวรียเจาหลวงพิริยะเทพวงศ ที่เลาถึงความ ศักดิ์สทิ ธิ์วา “...บรรยากาศเหมือนกับวันพิธีเท ทองหลอรูปเหมือน (เจาพิริยเทพวงศ) . . . มี เ ม ฆ ก อ น ใ ห ญ เ ข า ม า บั ด บั ง แสงอาทิตย ใหรมเย็น มีลมพัดเอื่อย ๆ เยื อ กเย็ น ดี ต ลอดเวลา จนกระทั่ ง วาง องคทานแลวเสร็จเรียบรอย... ...ขออํ า นาจดวงวิ ญ ญาณของ “เจ า หลวงพิ ริ ย เทพวงศ ” จงช ว ยดล บั น ดาลให ทุ ก ท า นมี ค วามสุ ข ความ เจริญ คิดประสงคสิ่งใด ขอใหไดดั่งใจ ปรารถนาทุกประการเทอญ” (อนุสรณ เจาพิริยเทพวงศ เจาหลวงองคสุดทาย ผูครองเมืองแพร 2544 : 56)

12

นอกจากนายรัตน วังซาย แลว ยังมีงานเขียนของลูกหลานเจานายเมืองแพรคนอื่นๆ เชน ไขมุกด วงศบุรี ประชาศรัยสร เดช, ประวัติ อนุสรณในงานพระราชทานเพลิงศพเจาไขมุกด วงศบุรี ประชาศรัยสรเดช ณ ฌาปนสถานประตูมาร จังหวัดแพร 19 กรกฎาคม 2548. และขอเขียนตางๆ ในหนังสือ อนุสรณเจาพิริยเทพวงศเจาหลวงองคสุดทายผูครองเมืองแพร พิมพเปน อนุสรณเนื่องในงานเปดอนุสาวรียเจาพิริยเทพวงศ 19 สิงหาคม 2548 เปนตน

111


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปที่ 30 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2553

ในปจจุบัน มีรางทรงที่อางวาประทับทรงเจา พิริยะเทพวงศเกิดขึ้นในเมืองแพรเพื่อเปนที่พึ่งทางใจ ใหแกคนทั่วไป ทําใหสถานะของของเจาพิริยเทพวงศ ที่ เ ป น ผี อ ารั ก ษ เ มื อ งผู ค อยป ด เป า เคราะห ภั ย ของ ชาวเมืองแพรปรากฏชัดเจนยิ่งขึ้น รวมถึงอนุสาวรีย ของเจาหลวงฯตามสถานที่ตางๆ ก็มีผูคนไปกราบไว ขอโชคลาภ นอกจากนี้ ก ารลงผีเจ า นายในคุม หลวง เมืองแพร(จวนผูวาราชการจังหวัด) เจาพิริยเทพวงศก็ เปนหนึ่งในผีประจําสายตระกูล สถานะ “ผี” หรือสิ่ง ศักดิ์สิทธิ์ของเจาพิริยเทพวงศ นี้ นับเปนความหมาย ใหมท่ถี ูกผลิตสรางขึ้นในปจจุบัน จะเห็นไดวา ทามกลางกระแสประวัติศาสตร ทองถิ่น -ราชาชาติ นิยม นํ า มาซึ่ ง การใหค วามหมาย ของเรื่องราวในอดีต ซึ่งไมตองการความจริง แตเปน การสร างและรับรูตามความเชื่อ อารมณ ความรูสึก เพื่อความภูมิใจของคนในทองถิ่น ตลอดจนผลประโยชน ในเชิงของการเปลี่ยนสถานภาพทางสังคม กอใหเกิด การสรางประวัติศาสตรและสรางถาวรวัตถุเพื่อยืนยัน จนกระทั่งเรื่องราวที่ไดรับการสรางขึ้นนั้น กลายเปน “ความรู” และ “ความจริง” ในทายที่สุด

การรับรูเมืองแพรโดย “คนอื่น”13 : ความหมาย และ การชวงชิง เทาที่กลาวมานี้จะเห็นไดวาการสรางและการ รั บ รู ป ระวั ติ ศ าสตร เ มื อ งแพร ใ นโครงเรื่ อ งช ว ง เหตุ ก ารณ ก บฏเงี้ ย วเมื อ งแพร ถู ก คนในท อ งถิ่ น ให คําอธิบายใหมและสรางโครงเรื่องใหม เพื่อให “เมือง แ พ ร ” มี ตํ า แ ห น ง แ ห ง ที่ อั น น า ภ า ค ภู มิ ใ จ ใ น “ประวัติศาสตรชาติ” อยางไรก็ตาม คนนอกเมืองแพร 13

จํานวนมากยังรับรูเมืองแพรในฐานะ “เมืองกบฏ” ดัง คํ า กล า วที่ ว า “เมื อ งแพร เ ป น เมื อ งลู ก หลานกบฏ ลู ก หลานเงี้ ย ว”14 หรื อ “เมื อ งแพร เ ป น เมื อ งกบฏ” “เมื อ งแพร เ ป น เมื อ งเงี้ ย ว” 15 หรื อ ไม ก็ มี คํา ถามที่ มี ลักษณะของการเยาะเยยถากถาง หรือเปนเรื่องชวน หั ว เรื่ อ งตลกขบขั น ของคนที่ ถ าม เช น “เมื อ งแพร ทําไมไมมี นามสกุล ณ แพร ไดยินมาวาในสมัยกอน เจาเมืองแพรและชาวเมืองแพรพากันแหระเบิดแลว ระเบิดแตก ทําใหไมมีนามสกุล ณ แพร ใชไหม”16 คํ า ถามในลั ก ษณะนี้ ค นแพร มั ก ประสบพบ เจออยูเปนประจํา และมักสรางความอึดอัดใหแกคน แพร17 บางกรณีก็นํามาสูการตอบโตแบบประชด เชน นักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหมที่มาจากจังหวัดแพร จะปกหรือสกรีนรูประเบิดไวขางหลัง และมีตัวอักษรวา “แพร แ ห ร ะเบิ ด ” และการบู ม ของนั ก ศึ ก ษาที่ ม าจาก จังหวัดแพรก็จะมีข อ ความวา “...แพรแ หระเบิดบูม ” แสดงใหเห็นการตอบโตการรับรูเมืองแพร ที่ออกมาใน รูปของการยอมรับ “อัตลักษณ” ที่คนอื่นสรางให แต ทําใหเกิดความหมายใหม ในแงที่ทําใหเห็นวาเปน เรื่องปกติธรรมดา ไมมีอะไรผิดปกติจนตองขบขันแต อยางใด และ “ระเบิด” ก็ไมสอใหเห็นถึงความรุนแรง อีก ตอ ไป กลายเปน คําธรรมดาที่คลองจองกั บคํา วา “แพร” เทานั้นเอง อยางไรก็ตาม การรับรูป ระวัติศาสตรเมือง แพร ก ระแสหลั ก ยั ง คงอยู ใ นกรอบ “ชาติ นิ ย ม” หรื อ “ราชาชาตินิยม” จะเห็นไดวา ในสมัยหลังยังมีการผลิต งานเขี ย นทางประวั ติ ศ าสตร ที่ ส ร า งการรั บ รู อ ย า ง กวางขวาง ทั้งในฐานะแหลงขอมูล และแหลงอางอิง โดยเนนโครงเรื่อง “กบฏเงี้ยว” ที่พระยาไชยบูรณเปน

คนอื่น ในที่นี้มุงหมายใหเปนคนนอกเมืองแพร เชน คนเชียงใหม พะเยา นาน ลําปาง ฯลฯ สัมภาษณ เทพธิดา ชื่นชม (อายุ 36 ป ภูมิลําเนา จ.ลําพูน) ณ อาคารเรียนรวม RB 5 มหาวิทยาลัย เชียงใหม 20 กันยายน 2549. 15 สัมภาษณ จ.ส.ต. เสนาะ บุญสม ณ หอพักชายอาคาร 1 มหาวิทยาลัยเชียงใหม 5 สิงหาคม 2549 16 สัมภาษณ จ.ส.ต. เสนาะ บุญสม ณ หอพักชายอาคาร 1 มหาวิทยาลัยเชียงใหม, นายสมจิตน จันทศรี ณ หอพักชาย อาคาร 1 มหาวิทยาลัยเชียงใหม, นางอนงคพันธุ ใบสุขันธ (อายุ 45 ป ภูมิลําเนา จ. ลําพูน) ณ อาคารเรียนรวม RB 5 มหาวิทยาลัยเชียงใหม 20 กันยายน 2549, น.ส. ชญาดา พงศอราม (อายุ 19 ป ภูมิลําเนา จ.ชุมพร) ณ หอพักชายอาคาร 6 มหาวิทยาลัยเชียงใหม, 17 สัมภาษณนายวสันต จินดาคํา ณ มหาวิทยาลัยแมโจ วันพุธ ที่ 22 กุมภาพันธ 2549 (วสันต เปนคนบานสวนหลวง อ.เดนไชย จ.แพร), นางสาวพัชรมล แนวณรงค ณ 42 ถ.บานใหม ต.ในเวียง อ.สูงเมน จ.แพร วันพุธ ที่ 15 กุมภาพันธ 2549 14

112


การสรางตําแหนงแหงที่ของ “เมืองแพร” ในประวัติศาสตร “ชาติไทย” : จากเมืองกบฏสูเมืองที่จงรักภักดี ชัยพงษ สําเนียง

วี ร บุ รุ ษ “ซึ่ ง เสี ย ชี วิ ต เพราะความเด็ ด เดี่ ย วรั ก ชาติ บานเมืองยิ่งชีพ ทางราชการถือวามีความชอบ จึงได จัดสรางอนุสาวรียวีรชนผูไมยอมแพ...ณ บริเวณที่ถูก เงี้ย วประหารชี วิต” (สมัย สุทธิ ธ รรม และสุทธิ จิต รา สุทธิธรรม 2548 : 47) ขณะเดียวกันการรับรู “กบฏ เงี้ยวเมืองแพร” ยังสัมพันธเชื่อมโยงกับการรับรูปญหา ความมั่นคงของชาติที่มีศัตรูคุกคาม เงี้ยวจึงมีสถานะ เปนกบฏที่กอการกบฏโดย “ไดรับการสนับสนุนจาก อังกฤษ” (อภิรัตน รัตนชัย 2544 : 111) นอกจากนี้ยังมีการสรางโครงเรื่อง “วีรบุรุษ” คนอื่น ๆ ผูมีบทบาทในการปกปองเอกราชชาติไ ทย ดังปรากฏใน เรื่อง เจนเสน : ฝรั่งวีรบุรุษสยาม ที่ มองว า “ร.อ. มารค วอรด เจนเสน ตํา รวจไทยชาว เดนมารกที่เสียสละชีวิตเพื่อปกปองแผนดินสยาม.... หากไม มี วี ร บุ รุ ษ ท า นนี้ แ ล ว แพร ลํ า ปาง ลํ า พู น เชียงใหม และเมืองเหนืออื่นๆ อาจไมรวมอยูในแผนที่ ไทยอย า งเช น ทุ ก วั น นี้ หากต อ งเสี ย เมื อ งแก เ งี้ ย ว” (อภิรัตน รัตนชัย 2544 : 111) พรอมกันนั้นก็มีการเนน “ความเปนคนอื่น” ของกลุ ม คนหลายชาติ พั น ธุ ที่ “ไม รั ก ชาติไ ทย” เช น กลาววา “เงี้ยว ลื้อ ลาว ขมุ ฯลฯ พวกนี้บางสวนก็ ไดเปนสายใหกองทัพเงี้ยว บางสวนก็แทรกซึมแลว เขาสมทบกับเงี้ยวทําการใหญในป พ.ศ. 2445 (ร.ศ. 121) ปลนเมืองแพรไวไดสําเร็จ” (อภิรัตน รัตนชัย 2544 : 112) ภาพเหตุการณกบฏที่เกิดขึ้นในเมือง แพรจึงถูกทําใหมีชื่อวา “กบฏเงี้ยว” รวมทั้งการเขียน ถึงเหตุการณ กบฏดังกลาวโดยใช ขอความวา “เงี้ยว ปลนเมืองแพร” หรือ “เงี้ยวกอการจลาจล” (พระธรรม วิมลโมลี : 2545)18 ซึ่งทําใหภาพของ “คนเมือง” (ซึ่ง ต อ มาถื อ เป น คนไทย) ที่ เ ข า ร ว มในการก อ กบฏลบ เลือนไป ในปจจุบันความทรงจํากระแสหลักเกี่ยวกับ “เมื อ งแพร ” นอกจากจะอยู ภ ายใต ก รอบอุ ด มการณ ราชาชาตินิยมแลว ยังมีการสรางภาพลักษณเมืองแพร

เพื่อตอบสนองการทองเที่ยว ดังคําขวัญเมืองแพรที่วา “หมอฮอม ไมสัก ถิ่นรักพระลอ ชอแฮศรีเมือง ลือเลื่อง แพะเมืองผี คนแพรนี้ใจงาม” ตําแหนงแหงที่ของเมืองแพรในชาติไทยจึง เป น เมื อ งที่ มี คุ ณ ค า เมื อ งหนึ่ ง เพราะเป น ของผู ที่ มี ความจงรักภักดีตอชาติและพระมหากษัตริยตลอดมา นับตั้งแตพญาพลไดสรางเมืองแพรขึ้นมา เมื่อมาถึง สมัยปฏิรูปการปกครองเมืองแพรก็ไมไดเปนเมืองกบฏ แตถูกพวกเงี้ยวเขาปลนเมือง เจาหลวงเมืองแพรได ชวยพระมหากษัตริยแหงกรุงเทพฯ ในการรักษาเอก ราชของชาติจากภัยคุกคามของอังกฤษ และเจาหลวง เมืองแพรมีความเต็มใจที่จะสละผลประโยชนสวนตัว ยอมรั บ การปฏิ รู ป การปกครองเพราะเห็ น ว า เป น ประโยชนตอบานเมือง ในปจจุบันเมืองแพรเปนเมืองที่ ทุ ก คนควรจะมาท อ งเที่ ย ว เพื่ อ สั ม ผั ส ธรรมชาติ ศิลปวัฒนธรรม และคนใจงาม ที่มีอยูอยางบริบูรณใน เมืองแพรแหงนี้ ตําแหนงแหงที่ของเมืองแพรดังกลาวนี้ เปน สิ่ ง ที่ ไ ด รั บ การสร า งขึ้ น ย อ มมิ ใ ช ตํ า แหน ง แห ง ที่ อั น ตายตัวชั่วนิรันดร แตจะถูกทาทายหรือถูกปรับเปลี่ยน มากน อ ยเพี ย งใด อย า งไร เป น เรื่ อ งที่ เ กี่ ย วโยงกั บ ความเปลี่ยนแปลงทางการเมือง เศรษฐกิจ วัฒนธรรม ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต สิ่งที่นาคิดก็คือ คนเมืองแพร และคนไทยทั่ ว ไปได รั บ ผลโดยตรงและโดยอ อ ม อยางไรบาง จากตําแหนงแหงที่ของเมืองแพรดังกลาว มานี้ และควรมีบทบาทเพียงใด อยางไร ในการรักษา ตําแหนงแหงที่ของเมืองแพรในความหมายเดิม หรือ วาควรจะเปลี่ยนแปลงความหมายหรือเปลี่ยนตําแหนง แหงที่ของเมืองแพรเพื่อจะบรรลุผลอันพึงปรารถนาใน อนาคต และหากต อ งการจะเปลี่ ย นให เ มื อ งแพร มี ความหมายใหม แ ล ว ควรจะต อ งเคารพต อ “สั จ จะ” หรือไม เพียงใด คําถามทั้งหมดนี้เปนเรื่องที่คนสวน ใหญพึงชวยกันคิด ไมปลอยใหคนกลุมเล็ก ๆ ผูกขาด อํานาจในการสรางความหมายใด ๆ อีกตอไป

18

พระราชวิสุทธิโสภณ หรือ พระธรรมวิมลโมลี คือ คนคนเดียวกัน ปจจุบันดํารงสมณศักดิ์ที่ “พระอุบาลีคุณูปมาจารย” วัดศรีโคมคํา หรือวัดพระเจาตนหลวง จ.พะเยา

113


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปที่ 30 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2553

บรรณานุกรม กระทรวงศึ ก ษาธิ ก าร. สํ า นั ก งานคณะกรรมการการประถมศึ ก ษาแห ง ชาติ . (2542). รั ฐ ธรรมนู ญ แห ง ราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540. กรุงเทพฯ: การศาสนา. กลุมลูกหลานเมืองแพร. (2548). ศึกษาเมืองแพร. แพร: ไทยอุตสาหการพิมพ. ________. (2548). สาวความเรื่องเมืองแพร. แพร: ไทยอุตสาหการพิมพ. ไขมุกต วงศบุรี ประชาศรัยสรเดช. (2548). ประวัติ. พิมพเปนอนุสรณในงานพระราชทานเพลิงศพเจาไขมุกต วงศบุรี ประชาศรัยสรเดช 19 กรกฎาคม 2548 ณ ฌาปนสถานประตูมาร อ.เมือง จ.แพร. จังหวัดแพร. (ม.ป.ป.). ที่ระลึกในคราวเสด็จพระราชดําเนินเยี่ยมราษฎรจังหวัดแพร. ม.ป.ท. จังหวัดแพร. (2528). ประวัติมหาดไทยสวนภูมิภาคจังหวัดแพร. ม.ป.ท. จังหวัดแพร. (2546). จากพลนครฮอดเมืองแพร. แพร: เมืองแพรการพิมพ. จิ น ตนา ยอดยิ่ ง . (2519). ประวั ติ ข องชื่ อ ตํ า บลและหมู บ า นในเขตอํ า เภอเมื อ งแพร จั ง หวั ด แพร . วิทยานิพนธปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาประวัติศาสตร มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ชนิดา ชิตบัณฑิต. (2550). โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริ : การสถาปนาพระราชอํานาจนําใน พระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัว. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตําราสังคมศาสตรและมนุษยศาสตร. ชูขวัญ ถุงเงิน และ สิริกร ไชยมา. (2542). เมืองแพรบานเรา. แพร: แพรไทยอุตสาหกรรม. เตช บุนนาค. (2524). ขบถ ร.ศ. 121. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช. ________. (2532). การปกครองระบบเทศาภิบาลของประเทศสยาม พ.ศ. 2435 - 2458. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร. ทักษ เฉลิมเตียรณ. (2548). การเมืองระบบพอขุนอุปถัมภแบบเผด็จการ. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตํารา สังคมศาสตรและมนุษยศาสตร. ทัศทรง ชมพูมิ่ง. (2523). เหตุเกิดที่เมืองโกศัย รายงานเรื่องเงี้ยวปลนเมืองแพร เมื่อรัตนโกสินทรศก 121. อนุสรณ ในงานฌาปนกิจศพเจาทองดวง วงศบุรี ณ ฌาปนสถานประตูมาร จังหวัดแพร 29 มีนาคม 2523. นครินทร เมฆไตรรัตน. (2546). “กบฏบวรเดช : การเมืองของประวัติศาสตรและประวัติศาสตรของการเมือง.” ใน ความคิด ความรู และ อํานาจการเมืองในการปฏิวัติสยาม 2475. กรุงเทพฯ: ฟาเดียวกัน. นฤมล ธีรวัฒน, ชําระ. (2539). พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร รัชกาลที่ 1 ฉบับเจาพระยาทิพากรวงศ ฉบับตัวเขียน. กรุงเทพฯ: อมรินทร. นิธิ เอียวศรีวงศ. (2547). ชาติไทย, เมืองไทย แบบเรียนและอนุสาวรียวาดวยวัฒนธรรม, รัฐ และรูปแบบ การจิตสํานึก. กรุงเทพฯ: มติชน. ________. (2550). 200 ป ของการศึกษาประวัติศาสตรไทย และทางขางหนา. ใน กรุงแตกพระเจาตากฯและ ประวัติศาสตรไทย วาดวยประวัติศาสตรและประวัติศาสตรนิพนธ. กรุงเทพฯ: มติชน. บัวผิว วงคพระถาง และคณะ. (ม.ป.ป). เชื้อสายเจาหลวงเมืองแพร 4 สมัย (พ.ศ. 2361 – 2445). ม.ป.ท. ประชากิจกรจักร, พระยา. (2507). พงศาวดารโยนก. กรุงเทพฯ: คลังวิทยา. ประชุม อัมพุนันทน. (2527). เที่ยวไปในอดีตเมื่อเงี้ยวปลนเมืองแพรและเมืองนครลําปาง. กรุงเทพฯ: มหามกุฎราชวิทยาลัย. พระธรรมวิมลโมลี. (2545). 100 ป เหตุการณเงี้ยวกอการจลาจล ในมณฑลพายัพ พ.ศ. 2445. พะเยา: นครนิวสการพิมพ. 114


การสรางตําแหนงแหงที่ของ “เมืองแพร” ในประวัติศาสตร “ชาติไทย” : จากเมืองกบฏสูเมืองที่จงรักภักดี ชัยพงษ สําเนียง

พระราชวิสุทธิโสภณ. (2538). “เงี้ยวบุกเมืองพะเยา.” ใน ประวัติศาสตรสังคมวัฒนธรรมเมืองพระเยา. กรุงเทพฯ: มติชน. ภักดีกุล รัตนา. (2543). ภาพลักษณ “ผูหญิงเหนือ” ตั้งแตปลายพุทธศตวรรษที่ 25 ถึงตนพุทธศตวรรษที่ 26. วิทยานิพนธปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาประวัติศาสตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม. มาลินี คุมสุภา. (2548). อนุสาวรียประชาธิปไตยกับความหมายที่มองไมเห็น. กรุงเทพฯ: วิภาษา. ยงยุทธ ชูแวน. (2548). โครงการประมวลวิเคราะหและสังเคราะหความรูเพื่อเขียนตํารา เรื่องการศึกษา ประวัติศาสตรทองถิ่นไทย. กรุงเทพฯ: สํานักงานสงเสริมการวิจัย. เลิศลวน วัฒนนิธิกุล. (ม.ป.ป.). เมืองแพร 800 ป. แพร: เมืองแพรการพิมพ. วรพร บําบัด. (2546). ปูพญาพล มหาบุรุษผูสถาปนาเมืองแพร. ใน จากพลนครฮอดเมืองแพร. แพร: เมือง แพรการพิมพ. สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล. (2547). ประวัติศาสตรวันชาติไทย จาก 24 มิถุนา ถึง 5 ธันวา. ใน ฟาดียวกัน 2 (2) : 70-121. สมัย สุทธิธรรม และ สุทธิจิตรา สุทธิธรรม. (2548). แพรดินแดนแหงลุมน้ํายม. กรุงเทพฯ: แสงดาว. สมาคมศิษยเกาพิริยาลัยจังหวัดแพร. (2546). เจาหลวงพิริยเทพวงศบิดาแหงพิริยาลัย. แพร: เมืองแพรการพิมพ. สรั สวดี ประยูรเสถียร. (2523). การปฏิรูป การปกครองมณฑลพายัพ ( พ.ศ.2436-2476). วิท ยานิพนธ ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาประวัติศาสตร มหาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร. สรัสวดี อองสกุล. (2536). พื้นเมืองนาน. เชียงใหม: ภาควิชาประวัติศาสตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม. ________. (2544). ประวัติศาสตรลานนา. กรุงเทพฯ: อมรินทร. ________. (2546). พื้นเมืองเชียงแสน. กรุงเทพฯ: อมรินทร. สายชล สัตยานุรักษ. (2545). ชาติไทยและความเปนไทยโดยหลวงวิจิตรวาทการ. กรุงเทพฯ: มติชน. ________. (2546). สมเด็จฯกรมดํารงราชานุภาพ การสรางอัตลักษณ “เมืองไทย” และ “ชั้น” ของชาว สยาม. กรุงเทพฯ: มติชน. ________. (2548). ประวัติศาสตรความคิด “ชาติไทย” กระแสหลัก. ใน ประวัติศาสตรความคิดไทยและ กับแนวคิดชุมชน. กรุงเทพฯ: สรางสรรค. เสรี ชมภูมิ่ง. (ม.ป.ป). เมืองแปปน แหงหองโกศัย. ม.ป.ท. อนุสรณเจาพิริยเทพวงศ เจาหลวงองคสุดทายผูครองเมืองแพร. (2544). พิมพเปนอนุสรณเนื่องในงานเปด อนุสาวรียเจาพิริยเทพวงศ ในวันที่ 19 สิงหาคม 2544. อภิญญา เฟองฟูสกุล. (2546). อัตลักษณ Identity. กรุงเทพฯ: คณะกรรมการสภาวิจัยแหงชาติ สาขาสังคม วิทยา. อภิรัตน รัตนชัย. (2544). เจนเสน : ฝรั่งวีรบุรุษสยาม. ใน ศิลปวัฒนธรรม 28, 12. อรรถจัก ร สัตยานุรักษ. (2548). ประวัติศ าสตรเพื่อชุมชนทิศทางใหมของการศึกษาประวัติศาสตร. กรุงเทพฯ: สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

115


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปที่ 30 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2553

116


ชีวิตราษฎรไทยสมัยสงครามมหาเอเชียบูรพา : มุมมองผานการเขามา ควบคุมทางรถไฟสายใตของกองทัพญี่ปุน จิรชาติ สันตะยศ

ชีวิตราษฎรไทยสมัยสงครามมหาเอเชียบูรพา : มุมมองผานการเขามาควบคุมทางรถไฟสายใตของกองทัพญี่ปนุ 1 Thais’ Way of Life during the Greater East Asia War : From the Perspective of the Japanese Army’s Control of Thailand’s Southern Railways พวงทิพย เกียรติสหกุล2 Puengthip Kiattisahakul

บทคัดยอ บทความนี้มีวัตถุประสงคเพื่ออธิบายใหเห็นผลกระทบจากการเขามาควบคุมทางรถไฟสายใตที่มีตอการ ดําเนินชีวิตของราษฎรไทยในทองถิ่น โดยเฉพาะจังหวัดสงขลาอันเปนที่ตั้งของสถานีปาดังเบซาร ที่กองทัพใชใน การขนสงกําลังบํารุงจากไทยขามแดนไปยังมลายู รวมทั้งจังหวัดราชบุรี กาญจนบุรี ชุมพรและระนองซึ่งเปนที่ตั้ง ของเสนทางรถไฟสายไทย-พมา และทางรถไฟสายชุมพร-กระบุรีที่กองทัพสรางเชื่อมตอจากทางรถไฟสายใตที่มี อยูเดิมเพื่อขนสงกําลังบํารุงไปยังพมา ผลจากการวิจัยพบวา ในขณะที่กองทัพญี่ปุนบรรลุเปาหมายในการใชทาง รถไฟสายใตและทางรถไฟทหารสายใหมทั้งสองสายในการขนสงกําลังทหาร อาวุธยุทโธปกรณ และเสบียงอาหาร เพื่อเปนกองกําลังบํารุงใหกับกองทัพทั้งในมลายูและพมาไดสําเร็จ แตการเขามาควบคุมทางรถไฟสายใตของ กองทัพญี่ปุนไดสงผลใหราษฎรไทยในทองถิ่นตองประสบกับปญหาการใชเงินดอลลารทหารญี่ปุน ปญหาเครื่อง อุปโภคบริโภคราคาสูง ปญหาการขาดแคลนขาวสาร และปญหาเรื่อง “ผูหญิงปลอบขวัญ” ของทหารญี่ปุน ผลของ การวิจัยนี้จึงนําไปสูขอสรุปที่วาการเขามาควบคุมทางรถไฟสายใตของกองทัพญี่ปุนในสมัยสงครามมหาเอเชีย บู รพาเปน กรณีศึก ษาที่สะทอ นใหเห็น ถึง การใชอํา นาจทางการทหารเขา มาควบคุม และมีอํา นาจเหนื อ ในการ เรียกรองใหฝายไทยจัดหาเครื่องอํานวยความสะดวกตอการขนสงบนทางรถไฟสายใต รวมทั้งเครื่องอุปโภคบริโภค โดยเฉพาะขาวใหกับกองทัพอยางเรงดวนและตอเนื่องตลอดสงคราม โดยไมไดคํานึงถึงผลกระทบที่ราษฎรไทย ไดรับ คําสําคัญ : 1. ชีวิตคนไทยในสงครามมหาเอเชียบูรพา. 2. สงครามมหาเอเชียบูรพา. 3. กองทัพญี่ปุน. 4. ทางรถไฟสายใตของไทย

1

บทความนี้แกไขปรับปรุงจากบทความเรื่อง “เสนทางรถไฟสายใตสมัยสงครามมหาเอเชียบูรพา : ภาพสะทอนชีวิตราษฎร ไทย” ซึ่งเสนอในการสัมมนาเรื่อง “ไทยกับเอเชีย : สายใยอดีตถึงปจจุบันสานสัมพันธสูอนาคต” เมื่อวันอังคารที่ 14 มีนาคม 2549 ณ หอง 503 อาคารบรมราชกุมารี จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย. จัดโดยศูนยประวัติศาสตรความสัมพันธไทยกับประเทศในเอเชีย และ สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย. 2 ผูชวยศาสตราจารย ดร. ประจําภาควิชาประวัติศาสตร คณะอักษรศาสตร มหาวิทยาลัยศิลปากร นครปฐม


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปที่ 30 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2553 Abstract

This article has the objective of explaining the impacts of the Japanese control of the southern railways on the way of life of Thai people, especially those living in Songkhla, in which the Padang Besar Station was used to transport reinforcements from Thailand to Malaya, and the Thais living in Ratchaburi, Kanchanaburi, Chumphon and Ranong, in which the Thai-Burma Railway was contructed to connect the original southern railway to transport reinforcements to Burma. The study revealed that the Japanese army succeeded in using the southern railway and the other two constructed railways to transport troops, weapons, and food supplies to the Japanese soldiers in Malaya and Burma. However, the control of the southern railways had negative impacts on the local Thai people, including the use of Japanese army dollars, high price commodities, rice shortages, and Japanese soldiers’ Phuying Plopkhwan (comfort women). What can be concluded in this paper is that the Japanese control of the southern railways during the Greater East Asia War is a case study reflecting the use of military power to control and impose on Thailand sovereignty to urgently and consistently prepare transportation facilities of the southern railways and commodities especially rice for the Japanese army during the war, without taking into consideration of the negative impacts that Thai people had encountered. Keywords : 1. Thais’ Way of Life in the Greater East Asia War. 2. Greater East Asia War. 3. Japanese Army. 4. Thailand’s Southern Railways.

118


ชีวิตราษฎรไทยสมัยสงครามมหาเอเชียบูรพา : มุมมองผานการเขามา ควบคุมทางรถไฟสายใตของกองทัพญี่ปุน พวงทิพย เกียรติสหกุล

ความนํา ระหวางสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุนไดทํา สนธิสัญญาไตรภาคี (Tripartite Pact) กับเยอรมนีและ อิตาลี ใน พ.ศ. 2483 โดยมีสาระสําคัญวาหากประเทศ ใดประเทศหนึ่ ง ทํ า สงครามกั บ ประเทศอื่ น อี ก สอง ประเทศจะชวยเหลือ ดังนั้นเมื่อกองทัพเยอรมันมีชัย ชนะในระยะแรกของสงครามโลกที่ เ กิ ด ขึ้ น ในทวี ป ยุโรป กองทัพญี่ปุนก็เริ่มตระหนักเห็นถึงโอกาสของ ตนเองในเอเชี ย ตะวั น ออกเฉี ย งใต ม ากขึ้ น และได ขยายแผนการจัดระเบียบใหมในเอเชียตะวันออกให กวางขวางมากขึ้นโดยการสถาปนา “วงศไพบูลยมหา เอเชียบูรพา” (“Greater East Asia Co - Prosperity Sphere”) ซึ่งมิไดจํากัดขอบเขตการขยายอํานาจของ กองทัพญี่ปุนเฉพาะในจีน เกาหลี และแมนจูกัวเทานั้น แต ไ ด ข ยายแผนดํ า เนิน การลงสู ภู มิ ภาคทางด า นใต มากขึ้ น โดยรวมเอาหมู เ กาะอิ น เดี ย ตะวั น ออกของ เนเธอรแลนด อินโดจีน พมา ฮองกง มลายู สิงคโปร ฟ ลิ ป ป น ส และไทยเข า ไว ด ว ย การขยายแผนการ สถาปนา “ระเบียบใหมในเอเชียตะวันออก” ไปสู “วงศ ไพบูลยมหาเอเชียบูรพา” ของกองทัพญี่ปุนไดสงผลให มหาอํ า นาจตะวั น ตกโดยเฉพาะอั ง กฤษและสหรั ฐ อเมริกามีปฏิกิริยาตอตาน จนกลายเปนสงครามมหา เอเชียบูรพาที่เปนสวนหนึ่งของสงครามโลกครั้งที่สอง ดวย เอเชียตะวันออกเฉียงใต จึงกลายเปนสมรภูมิ และดิ น แดนภายใต ก ารยึ ด ครองของญี่ ปุ น กองทั พ ญี่ปุนจึงเขามามีบทบาทสําคัญทั้งทางดานการทหาร การเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมในภูมิภาคนี้ ภายใตสถานการณดังกลาว ไทยซึ่งมีทําเลที่ ตั้ ง อยู บ ริ เ วณตอนกลางของประเทศต า งๆ บนผื น แผนดินใหญของภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต และเปน เพี ย งประเทศเดี ย วในภูมิ ภ าคนี้ ที่มิ ไ ด ตกเป น อาณา นิคมของมหาอํานาจตะวันตก จึงทําใหกองทัพญี่ปุน เล็งเห็นความสําคัญของไทยในฐานะเปนจุดยุทธศาสตร ที่ สํ า คั ญ ทั้ ง เป น ฐานการขนส ง กํ า ลั ง ทหาร เสบี ย ง อาหาร และอาวุ ธ ยุ ท โธปกรณ เ พื่ อ ใช เ ป น กองกํ า ลั ง บํารุงใหกับกองทัพญี่ปุนในพมาและมลายู ดังนั้นทันที ที่กองทัพญี่ปุนยกกองกําลังเขาสูประเทศไทยไดแลว

ญี่ปุนจึงเรงดําเนินการเจรจาเพื่อขอความรวมมือจาก ไทยในการจัดหาเครื่องอํานวยความสะดวกที่จําเปน ตอการคมนาคมขนสง โดยแผนการดําเนินนโยบายตอ ไทยที่สํา คัญที่สุดประการหนึ่งคือ การเขามาดําเนิน การควบคุ ม เส น ทางรถไฟของไทย ทั้ ง 3 สายคื อ สายเหนื อ สายตะวัน ออก และสายใต จากการวิ จั ย พบว า กองทั พ ญี่ ปุ น ให ค วามสํ า คั ญ กั บ การเข า มา ควบคุมทางรถไฟสายใตมากที่สุด เพราะเปนเสนทาง ที่กองทัพญี่ปุนสามารถใชในการขนสงกองกําลังบํารุง ให กั บ แนวหน า ของกองทั พ ได ทั้ ง ในพม า และมลายู โดยกองทั พ ญี่ ปุ น ได เ ข า มาดํ า เนิ น การควบคุ ม ทาง รถไฟสายใตใน 2 ลักษณะ กลาวคือ ลักษณะแรก การ จัดขบวนรถไฟพิเศษ เพื่อการขนสงในราชการทหาร ของกองทัพญี่ปุนบนทางรถไฟสายใต นับตั้งแตสถานี ธนบุ รี (บางกอกน อ ย) จากกรุ ง เทพฯ ลงไปยั ง นครปฐม ราชบุ รี เพชรบุ รี ประจวบคี รี ขั น ธ ชุ ม พร สุ ร าษฎร ธ านี นครศรี ธ รรมราช จนถึ ง สถานี ป าดั ง เบซาร ในจังหวัดสงขลา ทั้งนี้ภายหลังจากที่กองทัพ ญี่ ปุ น ได ย กกํ า ลั ง ทหารจากภาคใต ข องไทยบุ ก เข า ยึ ด ครองมลายู แ ละสิ ง คโปร ไ ด สํ า เร็ จ เมื่ อ วั น ที่ 11 มกราคม 2485 และ 15 กุมภาพันธ 2485 ตามลําดับ แลว ทางรถไฟมลายูทั้งสายตะวันตกที่เปนเสนทาง เชื่อมระหวางทางรถไฟสายใตจากสถานีหาดใหญไป ยั ง ปาดั ง เบซาร – อลอร ส ตาร – กั ว ลาลั ม เปอร – สิงคโปร และทางรถไฟสายตะวันออกที่เปนเสนทาง เชื่อมระหวางสถานีหาดใหญไปยังสุไหงโกลก - ตัมปต – โกตาบารู – สุไหงกุเซียล – กัวลาลิปส ตางตกอยู ภายใตการควบคุมและการบริหารจัดการของกองทัพ ญี่ปุนทั้งสิ้น ดวยเหตุนี้กองทัพจึงสามารถขนสงกําลัง บํารุงใหกับแนวหนาของทหารญี่ปุนผานทางรถไฟสาย ใตของไทยขามแดนไปยังมลายูไดโดยสะดวกตลอด เสนทาง สวนลักษณะที่สอง การสรางทางรถไฟทหาร สายใหมเชื่อมตอจากสถานีรถไฟสายใตที่มีอยูเดิมไป ยังประเทศพมา ถึง 2 เสนทาง ไดแก ทางรถไฟทหาร สายแรกคือ ทางรถไฟสายหนองปลาดุก - กาญจนบุรี - ทันบีอูซายัต (ทางรถไฟสายไทย-พมา) เปนทาง รถไฟที่ท หารรถไฟญี่ปุนสรางเชื่อ มตอ จากสถานี 119


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปที่ 30 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2553

หนองปลาดุก ในจังหวัดราชบุรี ผานจังหวัดกาญจนบุรี ไปยังเมืองทันบีอูซายัตในประเทศพมา ตาม “ขอตกลง ไทย-ญี่ปุน เกี่ยวกับการสรางทางรถไฟเชื่อมระหวาง ประเทศไทยกับพมา” เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2485 ส ว นทางรถไฟทหารสายที่ ส องคื อ ทางรถไฟสาย ชุมพร-กระบุรี (ทางรถไฟสายคอคอดกระ) เปนทาง รถไฟทหารสายใหมท่ีกองทัพญี่ปุนสรางเชื่อมตอจาก สถานีชุมพรไปยังสถานีกระบุรี ในจังหวัดระนอง และ ทําการขนสงลงทางเรือไปยังวิคตอเรียพอยต (Vitoria Point) ของพมาตาม“ขอตกลงเกี่ยวกับการสรางทาง รถไฟผานคอคอดกระ” เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2486 ทั้งนี้ กองทัพญี่ปุนมีจุดมุงหมายที่จะใชทางรถไฟสาย นี้ เปนเสนทางขนสงเสบียงอาหารใหกับกองทัพญี่ปุน ในพมาเพื่อแบงเบาภาระการขนสงของทางรถไฟสาย ไทย-พม า ที่ กํ า ลั ง ดํ า เนิ น การก อ สร า งอยู โดยทาง รถไฟสายไทย-พม า และทางรถไฟสายคอคอดกระ สรางเสร็จและเปดใชนับตั้งแตวันที่ 17 ตุลาคม 2486 และวันที่ 25 ธันวาคม 2486 ตามลําดับ บทความเรื่องนี้มีจุดมุงหมายที่จะสะทอนให เห็นภาพชีวิตของราษฎรไทยสมัยสงครามมหาเอเชีย บู ร พา โดยมองผ า นการเข า มาควบคุ ม ทางรถไฟ สายใตของกองทัพญี่ปุน ทั้งนี้เพราะผูวิจัยไดตระหนัก เห็น ว า การเขามาควบคุม การจัดขบวนรถไฟพิเศษ เพื่ อ การขนส ง ในราชการทหารบนเส น ทางรถไฟ สายใต รวมทั้งการสรางทางรถไฟทหารสายไทย-พมา และทางรถไฟทหารสายคอคอดกระของกองทัพญี่ปุน มี ผ ลให ท หารญี่ ปุ น เชลยศึ ก สั ม พั น ธมิ ต ร กรรมกร มลายูและจีนจํานวนมากเขามาพักอาศัยอยูในทองที่ อันเปนที่ตั้งของเสนทางรถไฟทหารสายใหม รวมทั้ง ในจั ง หวั ด ที่ ตั้ ง อยู บ นทางรถไฟสายใต ที่ สํ า คั ญ อั น ได แ ก ราชบุ รี กาญจนบุ รี สงขลา ชุ ม พร และ ระนอง ซึ่งการเขามาของทหารและกรรมกรตางดาว 3

4 ประการ ไดแก ปญหาการใชเงินดอลลารของทหาร ญี่ปุน ปญหาเครื่องอุปโภคบริโภคราคาสูง ปญหาการ ขาดแคลนขาวสาร และปญหาเรื่อง “ผูหญิงหยอนใจ” ของทหารญี่ปุน ซึ่งผูวิจัยจะไดสะทอนให เห็นสภาพ ของปญหาดังกลาวโดยลําดับดังนี้

ปญหาการใชเงินดอลลารของทหารญี่ปุน การเขามาควบคุมทางรถไฟสายใตของกองทัพ ญี่ ปุ น ในสมั ย สงครามมหาเอเชี ย บู ร พา นอกจากจะ สงผลกระทบใหเกิดปญหาเงินเยนพิเศษซึ่งเปนเรื่อง ของการชําระเงินกูระหวางประเทศ อันเกิดจากการให กองทั พ ญี่ ปุ น กู ยื ม เงิ น เพื่ อ สร า งทางรถไฟสายไทยพมา และทางรถไฟสายคอคอดกระแลว ยังสงผลให เกิดปญหาการใชเงินดอลลารของทหารญี่ปุน ซึ่งเปน ผลกระทบในระดับทองถิ่นอีกดวย กลาวคือ เมื่อทหาร ญี่ปุนไดเขามาในประเทศไทยในเดือนธันวาคม 2484 ไดนําเงินตราตางประเทศโดยเฉพาะเงินดอลลารทหาร ญี่ปุน และเงินสเตรตสเซ็ทเติลเมนท ซึ่งใชในมลายู3 เขามาใชซื้อสิ่งของจากรานคาของราษฎรในทองถิ่น ของไทย โดยเริ่มแพรหลายอยูในจังหวัดตาง ๆ ของ ภาคใต โ ดยเฉพาะที่ จั ง หวั ด สงขลา (สจช.บก.สู ง สุ ด 2.6.9/6 2485-2486) ทั้งนี้เพราะเปนที่ตั้งของสถานี ปาดังเบซารซึ่งเปนสถานีรถไฟชายแดนที่ทหารญี่ปุน ได เ ข า มาซื้ อ สิ น ค า อุ ป โภคบริ โ ภคเพื่ อ เป น เสบี ย ง อาหาร ส ง ให กั บ กองทั พ ญี่ ปุ น ในมลายู แ ละสิ ง คโปร ด ว ยเหตุ นี้ จึ ง มี เ งิ น ดอลลาร ท หารญี่ ปุ น เข า มา แพรหลายเปนจํานวนมาก อยางไรก็ดี ตามจดหมายลงวันที่ 6 มกราคม 2485 ของสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุนประจําประเทศ ไทย ที่ ก รุ ง เทพฯ ถึ ง นายวนิ ช ปานะนนท ประธาน คณะข า หลวงเศรษฐกิ จ ไทยสมั ย สงคราม ได ข อให เจาหนาที่การคลังของไทยในภาคใตยอมรับเงินดอลลาร

เงินตราตางประเทศที่ทหารญี่ปุนนําเขามาใชซื้อสินคาในประเทศไทยสมัยสงครามมหาเอเชียบูรพา เปนเงินตราชนิดเดียวกับที่ กองทัพญี่ปุนใชในภูมิภาคทางดานใต ซึ่งอยูภายใตการยึดครองของญี่ปุน โดยรวมทั้งมลายูและสิงคโปร สําหรับกรณีประเทศไทยได เหลา นั้นไดสงผลกระทบโดยตรงตอการดํา เนินชีวิต ปรากฏหลักฐานสวนหนึ่งในเอกสารกองบัญชาการทหารสูงสุด จากหอจดหมายเหตุแหงชาติ ซึ่งไดเรียกชื่อเงินตราชนิดนี้รวมกันวา “เงิน ของราษฎรไทยในทองถิ่น ดังกลาวมากกวาในจังหวัด ดอลลารทหารญี่ปุน” หรือ “เงินเยนทหาร” อางจาก หจช.,บก.สูงสุด 2.6.9/2 การรับแลกธนบัตรดอลลารทหารญี่ปุนใชกันในจังหวัด อื่น ๆปดัระเทศไทย งจะเห็นได(27จากตั วอยา2484 งของผลกระทบที ่สําคัญ ภาคใต ธันวาคม - 3 ธันวาคม 2485).

120


ชีวิตราษฎรไทยสมัยสงครามมหาเอเชียบูรพา : มุมมองผานการเขามา ควบคุมทางรถไฟสายใตของกองทัพญี่ปุน พวงทิพย เกียรติสหกุล

ทหารญี่ ปุ น และเงิ น สเตรทส เ ซ็ ท เทิ ล เมนท ที่ ท หาร ญี่ ปุ น นํ า เข า มาใช ซื้ อ สิ น ค า โดยทางสถานเอกอั ค ร ราชทูตรับรองที่จะแลกเงินตราเหลานั้นกลับคืนเปน เงินบาทในอัตราที่กองทัพญี่ปุนกําหนดขึ้นเอง (สจช. บก.สูงสุด 2.6.9/2 2484-2485) แตในทางปฏิบัติ ปรากฏว า กองทั พ ญี่ ปุ น ที่ ตั้ ง กองบั ญ ชาการอยู ที่ จังหวัดสงขลาซึ่งไดจายเงินดอลลารทหารญี่ปุนซื้อขาย ติดตอกับราษฎรไทยในทองถิ่น ยอมรับแลกเปลี่ยนเงิน กลั บคืนใหกับราษฎรในระยะสั้นมาก โดยในวัน ที่ 5 มกราคม 2485 ไดงดรับแลกเปลี่ยนโดยไมมีเงื่อนไข อย า งใดเลย การกระทํ า ดัง กลา วได ส ง ผลให ร าษฎร สวนหนึ่งในจังหวัดสงขลาและทองถิ่นใกลเคียงที่ทหาร ญี่ปุนเขามาซื้อสินคาไดรับความเดือดรอน ในชั้นตน ทางกระทรวงการคลังจึงไดติดตอมายังสถานเอกอัคร ราชทูตญี่ปุนโดยตรงเพื่อขอทราบเหตุผลแตไมไดรับ การชี้แจงเหตุผล ดังนั้นพลตรีเภา บริภัณฑ-ยุทธกิจ รัฐมนตรีวาการกระทรวงการคลังในขณะนั้นจึงมีบัญชา ใหนายอภิรมย ดิฐ ณ สงขลา ผูแทนกระทรวงการคลัง ซึ่งเปนผูติดตอประจํา คณะกรรมการผสมไทย-ญี่ปุน สงจดหมายดวนมาก ลงวันที่ 24 มกราคม 2485 ถึง พันโทไชย ประทีปะเสน ประธานคณะกรรมการผสม ไทย-ญี่ปุน เพื่อใหพิจารณาดําเนินการแกไขปญหา การใชเงินดอลลารของทหารญี่ปุนโดยดวนที่สุด (สจช. บก.สูงสุด 2.6.9/2 2484-2485) และในวันเดียวกันนั้น กระทรวงการคลังยังไดอาศัยพระราชบัญญัติวาดวย การนํ า เงิ น ตราต า งประเทศเข า มาในราชอาณาจั ก ร พุทธศักราช 2482 มาใชโดยประกาศเปน “ประกาศ กระทรวงการคลังวาดวยการนําเงินตราตางประเทศ เขามาในราชอาณาจักร ณ วันที่ 24 มกราคม 2485” โดยได กํ า หนดจํ า นวนเงิ น ดอลลาร ท หารญี่ ปุ น และ เงินตราสเตรตสเซ็ทเติลเมนทที่สามารถนําติดตัวเขา มาเพื่อใชเองโดยมิตองรับอนุญาตกอนเปนจํานวนไม เกิ น สิ บ บาท โดยคิ ด ตามอั ต ราแลกเปลี่ ย นในวั น ที่ นําเขาก็ตาม แตในทางปฏิบัติพบวานายทหารและพล ทหารญี่ ปุ น ยั ง คงนํ า ธนบั ต รดอลลาร ท หารทั้ ง ฉบั บ ราคา 5 ดอลลาร และราคา 10 ดอลลาร เขามาใชใน การซื้ อ สิ่ ง ของและแลกเปลี่ ย นเป น เงิ น ตราไทยกั บ รานคาของชาวจีนทวีมากขึ้น โดยคิดราคาแลกเปลี่ยน

1 ดอลลาร ตอ 1 บาท ซึ่งพอคาชาวจีนสวนหนึ่งใน ภาคใตยินดีรับเงินดังกลาว เพราะสามารถนําไปขาย แลกเปลี่ย นเป น เงิ น ไทยในเขตมลายู ภายใต ก ารยึ ด ครองของญี่ปุนไดถึง 100 ดอลลาร ตอ 120 บาท (สจช.บก.สูงสุด 2.6.9/2 2484-2485) ทําใหไดผลกําไร จํานวนมาก แตเปนการดําเนินการคาที่ผิดกฎหมาย และทํ า ให เ กิ ด ความเสี ย หายต อ เศรษฐกิ จ ของ ประเทศชาติ ดวยเหตุนี้กระทรวงการคลังจึงพยายาม หาวิ ธี ก ารแก ไ ขป ญ หาโดยการขอให ก ระทรวงการ ต า งประเทศเจรจากั บ สถานเอกอั ค รราชทู ต ญี่ ปุ น ประจํ า ประเทศไทยให ร ะงั บ การใช ธ นบั ต รดอลลาร ทหารญี่ ปุน ในราชอาณาจั ก รไทยโดยสิ้ น เชิง กั บอี ก ทางหนึ่งนับตั้งแตวันที่ 24 มกราคม 2485 ไดเรงรัดให คณะกรรมการผสมฝ า ยไทยเจรจากั บ ฝ า ยญี่ ปุ น ให เป ด รั บ แลกธนบั ต รเหรี ย ญดอลลาร ท หารญี่ ปุ น ใน จั ง หวั ด ภาคใต ใ หม แ ต ยั ง ไม ท ราบผลการเจรจา จนกระทั่งวันที่ 3 เมษายน 2485 หลังจากรอผลการ เจรจายาวนานถึง 2 เดือนกวา จึงไดรับการยืนยันจาก ทูตทหารบกญี่ปุนประจําประเทศไทยวา กองทัพญี่ปุน จะเปดรับแลกธนบั ต รดอลลารท หารญี่ปุน อีก ครั้งใน วงเงินรับแลกทั้งหมดไมเกิน 630,000 บาท โดยใน ครั้ ง นี้ ท างกระทรวงการคลั ง ได ข อให ฝ า ยญี่ ปุ น ส ง เจาหนาที่ญี่ปุนเขามาเปนกรรมการตรวจรับแลกเงิน ดอลลารรวมกับเจาหนาที่กระทรวงการคลังของไทย ดวย เพื่อรวมรับผิดชอบในเรื่องเงินปลอมแปลง ซึ่งทูต ทหารบกญี่ปุนไดตกลงจะจัดเจาหนาที่ให ดังนั้นตอมา ในวันที่ 1 พฤษภาคม 2485 พลตรีเภา บริภัณฑยุทธ กิจ รัฐมนตรีวาการกระทรวงการคลังจึงออกประกาศ กระทรวงการคลัง วาดวยการรับแลกเปลี่ยนธนบัตร เหรียญดอลลารทหารญี่ปุนในจังหวัดภาคใต โดย กํ า หนดรั บ แลกเฉพาะที่ ศ าลากลางจั ง หวั ด สงขลา ระหวางวันที่ 15 พฤษภาคม - 15 มิถุนายน 2485 เปนระยะเวลา 1 เดือน กําหนดอัตรารับแลกเปลี่ยน ธนบัตรเหรียญดอลลาร ทหารญี่ปุน 1 ดอลลาร ตอ 1 บาท (สจช.บก.สูงสุด 2.6.9/2 2484-2485) ซึ่งเทากับเปน การลดคาเงินบาทลงมาเทากับเงินเยนญี่ปุนและเงิน ดอลลารทหารญี่ปุน แตเมื่อสิ้นสุดการรับแลกวันที่ 15 มิถุนายน 2485 กลับปรากฏวาจังหวัดตาง ๆ ใน 121


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปที่ 30 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2553

ภาคใต ข องไทยได ส ง เงิ น เข า มาแลกเปลี่ ย นจํ า นวน นอยมาก โดยมีจังหวัดยะลาสงเขามาแลก จํานวน 27 ดอลลาร จังหวัดนครศรีธรรมราช จํานวน 5 ดอลลาร 50 เซนต และจังหวัดภูเก็ตจํานวน 5 ดอลลาร 10 เซ็ น ต (สจช.บก.สู ง สุ ด 2.6.9/2 2484-2485) รวม จํ า นวนธนบั ต รและเหรี ย ญดอลลาร ท หารญี่ ปุ น ของ จังหวัดในภาคใตที่สงเขามาแลกเพียง 37 ดอลลาร 60 เซ็นต ซึ่งเปนที่นาสังเกตวาในจังหวัดสงขลา อันเปน จังหวัดที่มีการแพรหลายของดอลลารทหารญี่ปุนมาก ที่สุด กลับไมมีพอคานําเงินเขามาแลกเปนเงินไทยเลย ทั้งนี้สืบเนื่องมาจากอัตราการแลกเปลี่ยนเงินในวงการ คาที่ใหอัตราแลกเปลี่ยนสูงถึง 120 บาท ตอ 100 ดอลลาร จึงสงผลใหพอคาชาวจีนสวนหนึ่งในจังหวัด สงขลาเลือกที่จะนําเงินดอลลารทหารญี่ปุนไปขายแลก เป น เงิ น ไทยในเขตมลายู ม ากกว า อี ก ทั้ ง ยั ง เข า มา กว า นซื้ อ เงิ น ดอลลาร ท หารญี่ ปุ น ในกรุ ง เทพฯ และ จั ง หวั ด ในภาคเหนื อ เพื่ อ หวั ง ผลกํ า ไร จากการขาย แลกเปนเงินบาทในเขตมลายูภายใตการยึดครองของ ญี่ปุนอีกดวย แมวาการนําเงินดอลลารของทหารญี่ปุนเขา มาใช ใ นภาคใต ไ ด ทํ า ผลกํ า ไรให กั บ พ อ ค า บางกลุ ม ดังกลาวขางตนก็ตาม แตสําหรับพอคารายยอยและ ราษฎรไทยในทองถิ่นโดยทั่วไปที่ไมมีสวนเกี่ยวของ กับการขายแลกเงินดอลลารเปนเงินบาทเพื่อหวังผล กํ า ไรกลั บ ได รั บ ความเดื อ ดร อ นยุ ง ยาก เพราะเมื่ อ ทหารญี่ปุนเขาไปซื้อของตามรานตางๆ แลวเอาเงิน ดอลลารไปให ถาเจาของไมยอมขายก็อาจมีเรื่องขึ้น หรือถายอมขายใหแตไมยอมรับเงินอื่นนอกจากเงิน ไทย ทหารญี่ปุนก็จะบังคับซื้อโดยเอาของไปแลวทิ้ง เงินไวให หรือไม เชนนั้นจะเอาของไปเฉยๆ โดยไม จายเงิน ซึ่งที่ผานๆ มา ทหารญี่ปุนไดกระทําเชนนี้ อยูเรื่อยๆ ดวยเหตุนี้พอคารายยอยและราษฎรไทย จึงไดรับความเดือดรอนที่ตองสูญเสียของไปเปลา ๆ ถ า จะฟ อ งร อ งก็ จํ า หน า ไม ไ ด บางร า นจึ ง ต อ งแก ไ ข ปญหาโดยการปดรานในชวงที่ทหารญี่ปุนเขามาซื้อ ของ จากเหตุ ก ารณ เ หล า นี้ ส ะท อ นให เ ห็ น ว า แม กระทรวงการคลัง ไดเ จรจากับ เอกอั ค รราชทู ตญี่ปุ น ประจํ า ประเทศไทยให ร ะงั บ การใช ธ นบั ต รดอลลาร 122

ทหารและเงิ น ตราต า งประเทศทุ ก ชนิ ด ในการซื้ อ สิ่งของในราชอาณาจักรไทยโดยสิ้นเชิง อีกทั้งยังได อํานวยความสะดวกโดยการสํารองเงินบาทไวที่คลัง จังหวัดเปนจํานวนมากเพื่อใหฝายญี่ปุนมาขอแลกเปลี่ยน เงิ น กอนที่จ ะนํ า ไปใชซื้อสิน คา จากราษฎรเพื่อ ใชใ น ราชการทหารแลวก็ตาม แตในทางปฏิบัติทหารญี่ปุน ยังคงนําเงินตราตางประเทศเขามาใชซื้อสิ่งของจาก ราษฎรไทยโดยตลอดรวมทั้งในจังหวัดกาญจนบุรี ซึ่ง เปนอีกพื้นที่หนึ่งอันเปนที่ตั้งของทางรถไฟทหารสาย ไทย-พมา ไดมีทหารญี่ปุนจากพมานําเงินรูปของพมา เขามาทําการซื้อขายสินคากับพอคาและราษฎรไทยใน จังหวัดกาญจนบุรี จนสงผลใหเกิดความเดือดรอน เชนกัน ดังกรณีตัวอยาง การยื่นคํารองขอแลกเงินรูป เปนเงินไทยของนายเพ็ง โพธิ และนางทองหลอ นิล กํ า แหง ถึ ง ร อ ยเอกสุ ร จิ ต อิ น ทรกํ า แหง ข า หลวง ประจําจังหวัดกาญจนบุรี เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2486 จากการสืบสวนที่มาของเงินดังกลาวพบวา ได ม าจากร อ ยโทคะมะดะ นายทหารญี่ ปุ น จากกอง พลาธิการประจําจังหวัดกาญจนบุรีไดเขามาซื้อสินคา โดยจายเปนเงินรูปใหกับนายเพ็ง โพธิ จํานวน 8,940 รูป และนางทองหลอ นิลกําแหง จํานวน 13,000 รูป รวมสองรายเปนเงิน 21,940 รูป ซึ่งการใชเงินรูปของ ทหารญี่ปุน เขามาซื้อสินคาในลักษณะเชน นี้ไดสรา ง ความเดือดรอนใหกับราษฎรอยางมาก เพราะเงิน ที่ ไดรับไมอาจนําไปใชประโยชนตอไปได อันเปนสาเหตุ อยางหนึ่งที่ทําใหราคาเครื่องอุปโภคบริโภคแพงขึ้น เกินสมควร และเปนการยากที่จะควบคุม (สจช.บก. สูงสุด 2.6.9/15 2486-2487) การเข า มาควบคุ ม ทางรถไฟสายใต ข อง กองทั พ ญี่ ปุ น ในสมั ย สงครามมหาเอเชี ย บู ร พาไม เพียงแตสงผลกระทบใหเกิดปญหาการใชเงินดอลลาร ทหารญี่ ปุ น เงิ น สเตรตส เซ็ ท เติ ล เมนทแ ละเงิ น รู ป ที่ สร า งความเดื อ ดร อ นให กั บ ราษฎรในจั ง หวั ด ต า ง ๆ ของภาคใต และจังหวัดกาญจนบุรี ดังที่ไดยกตัวอยาง ไปแลวเทานั้น แตยังไดสงผลกระทบใหเกิดปญหาการ ขาดแคลนธนบัตรไทยสําหรับ หมุนเวียนในทองตลาด ทั้ ง นี้ เ พราะในระหว า งสงคราม รั ฐ บาลไทยต อ งให กองทัพญี่ปุนกูยืมเงินบาทไปใชจายในกองทหารญี่ปุน


ชีวิตราษฎรไทยสมัยสงครามมหาเอเชียบูรพา : มุมมองผานการเขามา ควบคุมทางรถไฟสายใตของกองทัพญี่ปุน พวงทิพย เกียรติสหกุล

อยูเรื่อย ๆ อีก ทั้งยังตองสํารองเงินบาทใหกับทหาร ฝายญี่ปุน ซึ่งนําเงินเยนเขามาขอแลกเปลี่ยนเปนเงิน บาทไปใชในราชการทหารเปนจํานวนมากอยางเรงดวน อยูเนืองๆ จึงสงผลใหธนบัตรไทยที่มีอยูใกลขาดมือลง (สจช.บก.สูงสุด 2.6.9/3 2485-2488) ประกอบกับ ตั้งแตตนสงคราม รัฐบาลไทยเริ่มเกิดปญหาการขาด แคลนธนบัตรอยูกอนแลว เพราะแตเดิมรัฐบาลไทยได จางบริษัทโทมัสเดอลาลู ซึ่งเปนบริษัทของอังกฤษ พิมพธนบัตรไทย แตภายหลังจากที่ไทยไดประกาศ สงครามกั บ อั ง กฤษและสหรั ฐ อเมริ ก า เมื่ อ วั น ที่ 25 มกราคม 2485 แลว จึงไมสามารถติดตอกับบริษัท โทมัสเดอลาลูได มิหนําซ้ําจํานวนธนบัตรที่จางพิมพ ไวกอนสงครามก็ยังตกคางอยูที่อังกฤษถึง 16.2 ลาน บาท ทํ า ให ข าดแคลนธนบั ต รตั้ ง แต 100 บาทลงมา ตอมาใน พ.ศ. 2486 รัฐบาลไทยจึงตกลงจางญี่ปุน พิมพธนบัตรจํานวน 57.5 ลานบาท (แถมสุข นุมนนท 2544 : 148-150) โดยมีบริษัทมิตซุยบุซซันไกซาเปน ผูดําเนินการ แตเมื่อสงครามทวีความรุนแรงมากขึ้น การสงธนบัตรจากประเทศญี่ปุนมายังประเทศไทยทั้ง ทางทะเลและทางอากาศ ทําไดยากและมีความเสี่ยง สูง รัฐบาลไทยจึงไดตัดสินใจพิมพธนบัตรขึ้นเองโดย ใช โรงพิมพในประเทศทั้งโรงพิมพกรมแผนที่ทหารบก และต อ มาไดใ ชห นวยงานราชการเปน สถานที่พิม พ ธนบัตรเพิ่มขึ้น เชน กรมอุทกศาสตรทหารเรือ มหาวิทยาลัย วิ ช าธรรมศาสตร แ ละการเมื อ ง และศาลลู ก ขุ น ใน พระบรมมหาราชวัง รวมทั้งโรงพิม พของหนวยงาน เอกชน คือ โรงพิมพกรุงเทพวนิช อยูที่ราชวงศ โรง พิมพกัมไปอยูตรงขามจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย โรง พิมพคณะชาง ที่ถนนอุฌากรรณและโรงพิมพจันกวงที่ ถนนเสื อ ป า แต ธ นบั ต รที่ พิ ม พ ขึ้ น ใช ใ นประเทศนี้ มี คุ ณ ภาพต่ํ า เนื่ อ งจากใช วั ส ดุ แ ละการพิ ม พ ที่ ไ ม ไ ด มาตรฐานในประเทศ (พรรณี บัวเล็ก 2540 : 99-100) อยางไรก็ตามในชวงเดือนมิถุนายน 2487 กระทรวง การคลั ง ได ข อความช ว ยเหลื อ ไปยั ง กระทรวง ตางประเทศใหชวยเจรจากับทางสถานเอกอัครราชทูต ญี่ ปุ น ประจํ า ประเทศไทย เพื่ อ เร ง รั ด ให ญี่ ปุ น จั ด ส ง ธนบัตรชนิดฉบับละ 1,000 บาทเขามาถึงกรุงเทพฯ โดยทางเครื่องบินของญี่ปุนโดยเร็ว แตปรากฏวาทาง

ฝา ยญี่ปุ น ยั งไม ไ ดล งมื อพิ ม พ ด ว ยเหตุ นี้ นายดิ เ รก ชัยนาม ในฐานะรัฐมนตรีวาการกระทรวงการตางประเทศ จึงแจงไปยังสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุนเพื่อขอรองให ฝายญี่ปุนระงับการเบิกเงินบาทไวกอนจนกวาไทยจะ ไดรับธนบัตรที่สั่งพิมพเพิ่มเติมมาจากประเทศญี่ปุน และทันทีที่ธนบัตรจํานวน 32.8 ลานบาทสงมาถึง กรุงเทพเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2487 ฝายญี่ปุนก็ได เขามาเบิกเงินบาทจากกระทรวงการคลังอยางรวดเร็ว แตภายหลังจากนั้นในวันที่ 9 กรกฎาคม 2488 ทาง การทหารญี่ปุนไดแจงความจําเปนดวนขอแลกธนบัตร ฉบับละ 1,000 บาท เปนธนบัตรปลีกยอยจํานวน 20 ลานบาท เพื่อเตรียมจัดซื้ออุปกรณและเสบียงอาหาร สํารองไวใหกับกองทัพ (สจช.บก.สูงสุด 2.6.9/3 24852488) การขอความรวมมือในการจัดหาเงินบาทใหกับ กองทัพญี่ปุน เพื่อใชในราชการทหารเปนจํานวนมาก อย า งเร ง ด ว นและกะทั น หั น อยู ต ลอดเวลาในช ว ง สงครามเชนนี้ ไดกอใหเกิดปญหาการขาดแคลนเงิน บาทหมุนเวียนในทองตลาดซึ่งสรางความปนปวนทาง การเงินใหกับรัฐบาลไทยอยางมาก อยางไรก็ตามการ สั่งพิมพธนบัตรไทยเพิ่มขึ้นจํานวนมากเปนผลใหเกิด สภาวะเงินเฟอ สินคาอุปโภคบริโภคราคาสูงขึ้นซึ่งได สงผลกระทบตอคาครองชีพของราษฎรไทยถีบตัวสูง มากขึ้นดังจะไดกลาวถึงในประเด็นตอไป

ปญหาเครื่องอุปโภคบริโภคราคาสูง การกว า นซื้ อ เสบี ย งอาหารและสิ่ ง ของ เครื่องใชที่จําเปนสําหรับทหารญี่ปุนทั้งที่ประจําการใน พมา มลายู และประเทศไทย สงผลใหเครื่องอุปโภค บริโภคในประเทศไทย โดยเฉพาะในจังหวัดที่มีการ เพิ่มขึ้นของทหารญี่ปุน เชลยศึกสัมพันธมิตร กรรมกร มลายูและจีนจํานวนมากที่กองทัพนําเขามาในจังหวัด กาญจนบุ รี ราชบุ รี ชุ ม พร ระนอง สุ ร าษฎร ธ านี นครศรี ธ รรมราช และสงขลา ย อ มได รั บ ผลกระทบ โดยตรงมากกว า ในจั ง หวั ด อื่ น ๆ ซึ่ ง ในการจั ด ซื้ อ เครื่องอุปโภคบริโภคของกองทัพญี่ปุนนั้นไดดําเนินการ โดยผาน “กองจัดหาอาหาร” ที่กองทัพไดจัดตั้งขึ้น จากนั้นกองจัดหาอาหารจึงติดตอไปยังพอคาเอกชน ญี่ปุนที่เคยทําการคาอยูในประเทศไทยใหเปนผูจัดซื้อ 123


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปที่ 30 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2553

สิ่งของให (สจช.บก.สูงสุด 2.6.2/2 2484-2485) โดย พ อ ค า ที่ เ ป น นายหน า ได ใ ช วิ ธี ก ารกว า นซื้ อ สิ น ค า จํานวนมากตามที่กองทัพตองการจากทั้งรานคาและ ผูขายรายปลีกยอย แลวฉวยโอกาสขายสินคาในราคา แพงใหกับกองทัพ เพราะเห็นวาทหารญี่ปุนไมทราบ ราคาสินคาที่แทจริง วิธีการนี้มีผลใหรานคาและพอคา ปลีกยอยในทองถิ่นตางๆ หันมาติดตอคาขายกับนายหนา ของกองทัพโดยตรง เพราะสามารถขายสินคาไดใ น ปริมาณมาก และราคาสูงกวาการขายใหกับราษฎร โดยทั่วไป ดวยเหตุนี้จึงสงผลกระทบใหเกิดปญหาการ ขาดแคลนเครื่องอุปโภคบริโภคจําหนายในทองตลาด หรือถามี ราษฎรก็จําเปนตองซื้อสินคาในราคาที่แพง เกินควรมากยิ่งขึ้นดวย (สจช.บก.สูงสุด 2.6/14 2485) จากปญหาดังกลาวทางอนุกรรมการเศรษฐกิจของไทย จึ ง พยายามหาทางแก ไ ขโดยการรั บ เป น ฝ า ยจั ด หา เครื่องอุป โภคบริโภคใหกับกองทัพญี่ปุนในประเทศ ไทย โดยใหก องทั พ ยื่น บัญ ชี สิ่ง ของที่ ตอ งการมาให ฝ า ยไทยเป น ผู จั ด หา ทั้ ง นี้ เ พื่ อ ฝ า ยไทยจะสามารถ ควบคุมราคาซื้อของกองทัพญี่ปุนได แตในทางปฏิบัติ บริษัทมิตซุยบุซซันไกซา (Mitsuibussankaisa) และ บริษัทมิตซูบิชิโชจิ (Mitsubishishoji) ซึ่งเปนบริษัท รายใหญที่ไดรับอนุมัติจากกองทัพใหเปนผูจัดซื้อของ ฝายญี่ปุนมักจะดําเนินการติดตอซื้อสิ่งของกับรานคา ที่ ท างบริ ษั ท คุ น เคยไว ล ว งหน า (สจช.บก.สู ง สุ ด 2.6.2/4 2484-2485) แลวสงบัญชีของที่ตองการซื้อ มายังอธิบดีกรมพาณิชยเพียงเพื่อขออนุมัติเทานั้น ดัง ปรากฏตัวอยางในจดหมาย ลงวันที่ 31 ธันวาคม 2484 จากผูจัดการบริษัทมิตซุยบุซไกซาถึงอธิบดีกรม พาณิชย เพื่ออนุญาตขอซื้อน้ําตาลทรายจํานวน 6,820 กระสอบ โดยในวั น ที่ 11 มกราคม 2485 ทาง คณะกรรมการควบคุมเครื่องอุปโภคบริโภคอนุมัติให บริ ษั ท ซื้ อ น้ํ า ตาลทรายได เ พี ย ง 2,000 กระสอบ เพราะเกรงว า หากปล อ ยให บ ริ ษั ท ซื้ อ ได ม ากตาม จํานวนที่ตองการแลว จะสงผลกระทบใหราษฎรไทย ขาดแคลนน้ําตาลสําหรับบริโภค แตเมื่อทางบริษัทไม สามารถซื้อน้ําตาลไดตามจํานวนที่ตองการ ในเวลา ต อ มาจึ ง หาทางออกโดยการกว า นซื้ อ น้ํ า ตาลทราย และเครื่ อ งอุ ป โภคบริ โ ภคอื่ น ๆ จากตลาดมื ด แทน 124

อย า งไรก็ ต ามในช ว งปลายสงครามความต อ งการ เครื่องอุปโภคบริโภคของกองทัพไดเพิ่มมากขึ้นตาม จํานวนกําลังทหารญี่ปุนที่เขามาประจําการในประเทศ ไทย ดั ง ปรากฏรายละเอี ย ดในบั ญ ชี ร ายการเสบี ย ง อาหารที่ทหารญี่ปุนขอใหไทยจําหนายให ตัวอยางเชน ในชวงตนสงครามกองทัพไดแจงขอใหไทยจําหนาย ผั ก สดให วั น ละ 4-5 ตั น เนื้ อ โคและเนื้ อ กระบื อ สด วันละ 1-2 ตัน เมื่อถึงชวงปลายสงครามไดแจงเพิ่ม เปนวันละ 6-7 ตัน และ 3-4 ตันตามลําดับ (สจช.บก. สูงสุด 2.6.2/2 2484-2485) ซึ่งในจํานวนนี้ ยังไมได รวมกับจํานวนที่หนวยทหารญี่ปุนบางหนวยไดทําการ กวานซื้อจากรานคาปลีกยอยในทองถิ่นตางๆ เอง อีก เปนจํานวนมาก การกวานซื้อสิ่งของและสินคาตางๆ ในราคาสูง เพื่อกักตุนไวเปนเสบียงอาหารของกองทัพ ดังกลาวขา งตน สงผลใหราคาเครื่องอุปโภคบริโภค ของไทยในชวงสงครามมหาเอเชียบูรพาถีบตัวสูงขึ้น อยางมาก ภายหลังจากไดศึกษาและพิจารณาเอกสาร ชั้นตนของคณะรัฐมนตรีที่ไดทําการสํารวจและจัดทํา บัญชีเปรียบเทียบราคาขายปลีกเครื่องอุปโภคบริโภค ของสวนกลางในชวงกอนสงคราม (1 ธันวาคม 2484) กับในระหวางสงคราม (31 มีนาคม 2487) พบวา ราคาเครื่องอุปโภคสูงขึ้น โดยเฉลี่ย 170 เปอรเซ็นต ซึ่งสามารถแยกเปนราคาขาวสูงขึ้น 38 เปอรเซ็นต ปลา 191 เปอรเซ็นต ผักและพืชผล 307 เปอรเซ็นต เนื้อสัตวตางๆ 192 เปอรเซ็นต ของชําตางๆ 181 เปอรเซ็นต แปง 109 เปอรเซ็นต สวนเครื่องอุปโภค ราคาสูงขึ้น โดยเฉลี่ย 1,226 เปอรเซ็นต แยกเปนของ ใชเบ็ดเตล็ดสูงขึ้น 848 เปอรเซ็นต เครื่องนุงหมสูงขึ้น ถึง 1,604 เปอรเซ็นต (สจช. [2] สร.0201.98.6/8 2485-2488) อยางไรก็ดีหากเปรียบเทียบราคาขาย ปลี ก สิ น ค า เครื่ อ งอุ ป โภคบริ โ ภคแต ล ะชนิ ด ระหว า ง สวนกลางกับในจังหวัดตางๆ ของภาคใต จากรายงาน การประชุ ม คณะกรรมการควบคุ ม เครื่ อ งอุ ป โภค บริโภคในชวงปลายสงครามพบวาสินคาในภาคใตมี ราคาสู ง กว า อย า งมาก ตั ว อย า งเช น ข า ว 15% สวนกลางขายกิโลกรัมละ 0.21 บาท จังหวัดสงขลา กิโลกรัมละ 1.60 - 2.00 บาท ขาว 30% สวนกลาง


ชีวิตราษฎรไทยสมัยสงครามมหาเอเชียบูรพา : มุมมองผานการเขามา ควบคุมทางรถไฟสายใตของกองทัพญี่ปุน พวงทิพย เกียรติสหกุล

ขายกิโลกรัมละ 0.16 บาท จังหวัดสงขลาขาย 1.50 1.80 บาท หมูเนื้อแดง สวนกลางขายกิโลกรัมละ 2.50 บาท จังหวัดสงขลาขาย 4.50 บาท เนื้อวัวสดสวนกลาง ขายกิโลกรัมละ 1.50 บาท จังหวัดสงขลาขาย 3.00 บาท ไขไกสดสวนกลางขายฟองละ 0.09 บาท จังหวัดสงขลาขาย 0.20 บาท ผักบุงสวนกลางขาย กิโลกรัมละ 0.10 บาท จังหวัดสงขลาขาย 0.80 บาท ผักคะนาสวนกลางขายกิโลกรัมละ 0.45 บาท จังหวัด สงขลาขาย 1.50 บาท น้ําตาลทรายขาวสวนกลาง ขาย 0.66 บาท จังหวัดสงขลาขาย 6.00 บาท (สจช. 0201.98.6/10 2486-2487) เป น ต น และเมื่ อ ได สั ม ภ า ษ ณ ร า ษ ฎ ร ไ ท ย ใ น จั ง ห วั ด ส ง ข ล า ซึ่ ง มี ประสบการณรวมสมัยไดกลาวถึงราคาเครื่องอุปโภค บริโภคที่สูงขึ้นอยางมากในชวงสงคราม ซึ่งสอดคลอง กับรายงานการประชุมคณะกรรมการควบคุมเครื่อง อุปโภคบริโภควา ในสมัยสงครามของกินของใชตาง ๆ หายาก โดยเฉพาะขาวสารหายากและราคาแพงมาก ถึงถังละ 80 บาท ซึ่งกอนหนานั้นมีราคาเพียงถังละ 20 บาท (สัมภาษณนางผุสดี 2546) นอกจากขาวสาร แล ว สิ่ ง ที่ ห ายากและราคาแพงมากอี ก อย า งหนึ่ ง คื อ เสื้อผา ซึ่งแตกอนมีการสงเสื้อผาจากสิงคโปรและปนัง เขามาขายในจังหวัดสงขลา แตในชวงปลายสงคราม การขนสงทําไดยากลําบาก เสื้อผาจึงหาซื้อไดยากและ ราคาแพงมาก ราษฎรสวนใหญจึงมีพอใชเพียง 2-3 ชุดเทานั้น (สัมภาษณนายสุธน 2546) เมื่ อ พิ จ ารณาหาสาเหตุ ที่ ทํ า ให ร าคาสิ น ค า อุปโภคบริโภคของจังหวัดตางๆ ในภาคใตมีราคาสูง กวาสวนกลาง นาจะมาจากสาเหตุหลักที่เกี่ยวของกับ การเขามาควบคุมทางรถไฟสายใตของกองทัพญี่ปุน 2 ประการคือ ประการแรก จังหวัดตางๆ ในภาคใตสวน ใหญเปนพื้นที่ที่มีการเพิ่มขึ้นของทหารญี่ปุน กรรมกร มลายู แ ละจี น ที่ ก องทั พ ญี่ ปุ น นํ า เข า มาควบคุ ม ทาง รถไฟสายใต และเปนแรงงานในการสรางทางรถไฟ สายคอคอดกระเปนจํานวนมาก จึงทําใหมีการกวาน ซื้อเครื่องอุปโภคบริโภคของกองทัพญี่ปุนมีมากกวาที่ อื่ น ๆ ประการที่ ส อง การขาดแคลนรถจั ก รและตู รถไฟเพื่ อ การขนส ง ลํ า เลี ย งสิ น ค า ที่ จํ า เป น สํ า หรั บ ราษฎรในภาคใต อันเปนผลสืบเนื่องมาจากการนํารถ

จักรและตูรถไฟไทยขนสงทหารและเสบียงอาหารของ กองทัพญี่ปุนขามแดนจากจังหวัดสงขลาไปตกคางอยู ในมลายู เ ป น จํ า นวนมากอย า งต อ เนื่ อ ง อี ก ทั้ ง ช ว ง ปลายสงครามในเดือนกันยายน 2487 กองทัพญี่ปุนยัง ไดเพิ่มขบวนรถไฟพิเศษเพื่อการขนสงทางการทหาร บนทางรถไฟสายใตอีก 1 ขบวน เปนวันละ 3 ขบวน รวมทั้ ง เพิ่ ม รถพ ว งโดยใช ตู ร ถไฟไทยในการขนส ง ระหวางสถานีปาดังเบซาร-หนองปลาดุก อีกวันละ 80 ตู และระหวางสถานีปาดังเบซาร-ชุมพร อีกวันละ 20 ตู (สจช.บก.สูงสุด 2.4.1.6/1 2484-2485) จากสาเหตุ ของการเพิ่มจํานวนขบวนรถไฟและตูรถไฟไทยในการ ขนส ง บนเส น ทางรถไฟสายใต ข องกองทั พ ญี่ ปุ น จํานวนมากมาย เชนนี้ไดสงผลใหเกิดปญหาการขาด แคลนตูรถไฟในการขนสงสินคาที่จําเปนสําหรับการ ดํารงชีวิตของราษฎรในทองถิ่นภาคใตทั้งในสวนของ การขนสงจากกรุงเทพฯ และการขนสงระหวางจังหวัด ตางๆ ของภาคใตดวยกันเอง สาเหตุทั้งสองประการ จึงน า จะมีส วนผลัก ดั น ใหร าคาสิน ค า อุป โภคบริ โ ภค ของจังหวัดตางๆ ในภาคใตสูงกวาทางสวนกลาง อยา งไรก็ ต ามภายใตส ภาวะเครื่อ งอุป โภค บริ โ ภคราคาสู ง ซึ่ ง ได ส ร า งความเดื อ ดร อ นให กั บ ราษฎรไทยทั้งในสวนกลางและสวนทองถิ่น รัฐบาล ไทยภายใต ก ารนํ า ของกระทรวงมหาดไทย และ กระทรวงพาณิชย จึงไดพยายามหาวิธีการแกไขโดย เริ่ ม ต น จากประกาศ “ระเบี ย บการป น ส ว นเครื่ อ ง อุปโภคบริโภคบางหยาง (ฉบับที่ 1)” เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2485 โดยมีค วามมุงหมายที่สําคั ญ 2 ประการคือ 1) เพื่อแบงเฉลี่ยเครื่องอุปโภคบริโภค บางอยางที่จําเปนใหราษฎรไดใชตามสวนที่สมควร อยางทั่วถึง และ 2) เพื่อสนับสนุนการตั้งรานจําหนาย สินคาของไทย ในชวงแรกของการกําหนดเกณฑการ ป น ส ว นเครื่ อ งอุ ป โภคบริ โ ภคได เ ริ่ ม จั ด การป น ส ว น สินคาที่จําเปนเพียง 3 ชนิด คือ น้ําตาลทรายขาว ไม ขีดไฟ และน้ํามันกาด สวนสินคาอื่นๆ อาจจะกําหนด เพิ่ม ขึ้น ภายหลัง เมื่อ ทางราชการเห็น สมควร (สจช. [2]สร.0201.98/8 2485-2488) ทั้งนี้ทางคณะกรรมการ ป น ส ว นเครื่ อ งอุ ป โภคบริ โ ภคที่ มี รั ฐ มนตรี ว า การ กระทรวงพาณิชยเปนประธานกรรมการ ไดพยายาม 125


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปที่ 30 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2553

กํ า หนดระเบีย บการจํ า หนา ยสิ น ค า ป น ส ว นไว อ ย า ง รัดกุมเพื่อปองกันปญหาการทุจริต แตในทางปฏิบัติ ยังคงเกิดปญหาและความยุงยากหลายประการ เชน เมื่อราษฎรบางครอบครั วไดยา ยที่อยูแ ตไมแจงยา ย ออกจากอําเภอเดิม ทางคณะกรรมการปนสวนประจํา อํ า เภอจึ ง ยั ง คงแบ ง จํ า นวนสิ น ค า ป น ส ว นให แ ก ร า น จํ า หน า ยไว เ ท า เดิ ม จึ ง กลายเป น ช อ งทางให ร า น จําหนายบางแหงนําสินคาที่เหลือออกไปขายในตลาด มืด นอกจากนั้นยังมีบางกรณีที่เจาของรานจําหนาย สิ น ค า ป น ส ว นเดิ น ทางไปรั บ ซื้ อ สิ น ค า จากหอสิ น ค า ประจํ า อํ า เภอ แต ห อสิ น ค า อ า งว า สํ า นั ก งานกลาง ประจํ า จั ง หวั ด ไม ไ ด ส ง สิ น ค า มาให จึ ง ไม มี สิ น ค า จําหนา ยอยูเรื่อยๆ ดวยเหตุนี้ในแตละเดือนเจาของ ร า นจํ า หน า ยจึ ง ต อ งเสี ย ค า ใช จ า ย ในการเดิ น ทาง ออกไปรับซื้อสินคาหลายครั้ง และในบางครั้งสินคาที่ ได รั บ ไม เ ต็ ม ตามจํ า นวน เช น น้ํ า ตาลทรายขาว กระสอบละ 100 กิโลกรัม ขาดหายไป 5-6 กิโลกรัม เมื่ อ เป น เช น นี้ เ จ า ของร า นจึ ง หาทางออกโดยการ ยั ก ยอกสิ น ค า ป น ส ว นไปขายหลั ง ร า นเกิ น ราคาที่ กระทรวงพาณิชยกําหนด (สจช. [2] สร.0201.98/8 2485-2488) สุดทายความเดือดรอนตกอยูกับราษฎร ที่ ต อ งซื้ อ สิ น ค า ในราคาแพง จากตั ว อย า งป ญ หาที่ เกิดขึ้นขางตน สงผลใหการดําเนินการปนสวนเครื่อง อุปโภคบริโภคของกระทรวงพาณิชยในสมัยสงคราม มหาเอเชียบูรพาไมบรรลุผลสําร็จตามความมุงหมาย ทั้ ง ๆ ที่ ท างกระทรวงได พ ยายามแก ไ ขป ญ หาโดย ประกาศปรับระเบียบการปนสวนเครื่องอุปโภคบริโภค ให มี ค วามรั ด กุ ม มากขึ้ น อยู เ ป น ระยะๆ ก็ ต าม ซึ่ ง ปญหาในเรื่องนี้ไดรับการยืนยันจากการบอกเลาของ ราษฎรที่มีประสบการณรวมสมัยในทองถิ่นวา ราษฎร โดยทั่วไปไดรับบัตรครอบครัวสําหรับปนสวนเครื่อง อุปโภคบริโภคไมทั่วถึง แตครอบครัวที่ไดรับบัตรสวน ใหญเปนครอบครัวของขาราชการ อยางไรก็ดีถึงแม ราษฎรบางครอบครัวไดรับบัตรปนสวนบางก็ตาม แต ไมสามารถซื้อสิ่งของปนสวนได เพราะรานจําหนาย สิน ค า อางว า ไมมีสิน คา ขาย (สัม ภาษณนายสุพาสน 2546) ครั้นจะซื้อตามรานคาทั่วไปในตลาดก็ไมมีขาย เพราะพ อ ค า กั ก ตุ น เอาไว เ ก็ ง กํ า ไร (สั ม ภาษณ น าง 126

สิวออง 2546) ดังนั้นราษฎรไทยโดยทั่วไปจึงตองหา ทางแกไขปญหาดวยตนเอง โดยการใชน้ํามันมะพราว หรือน้ํามันยางแทนน้ํามันกาด ใชแทงเหล็กหรือหิน 2 ชิ้นตีกันใหเกิดประกายไฟแลวเอาเปลือกตนเตาราง (คลายๆเปลือกตนหมาก) หรือเศษนุนรองไวดานลาง เพื่อใหติดไฟแทนการใชไมขีดไฟ จากนั้นใชเศษไม หรือคบเพลิงที่ทําขึ้นเองคอยสุมไฟไวใชไดตลอดทั้ง วัน (สัมภาษณนายลาภ 2546) จากตัวอยางปญหา และความยุ งยากตา งๆที่ไ ดก ลา วมาทั้ ง หมดขา งต น พอจะสะทอนใหเห็นไดวา ในชวงที่กองทัพญี่ปุนไดเขา มาควบคุ ม ทางรถไฟสายใต ข องไทยสมั ย สงคราม เอเชียบูรพาไดสงผลกระทบใหราษฎรไทยในทองถิ่น ตอ งประสบกั บ ป ญ หาเครื่ อ งอุ ป โภคบริโ ภคราคาสู ง อีกทั้งในบางทองที่ตองประสบปญหาถึงขึ้นการขาด แคลนขาวสารที่จําเปนสําหรับการดํารงชีวิต โดยเฉพาะ บางจังหวัดในภาคใต ไดแก จังหวัดชุมพร สุราษฎร ธานี ภูเก็ต ตรัง และระนอง ซึ่งในภาวะปกติตองพึ่งพา ขาวสารจากจังหวัดใกลเคียง รวมทั้งขาวสารบางสวน จากภาคกลางอยูแลว แตในยามสงครามกองทัพญี่ปุน ได เ ข า มากว า นซื้ อ ข า วเพื่ อ เป น เสบี ย งอาหารให กั บ ทหารญี่ปุนทั้งที่ประจําการอยูในประเทศไทย รวมทั้ง เพื่อสงออกไปยังมลายูและญี่ปุน อีกเปน จํานวนมาก จึ ง ส ง ผลกระทบให ร าษฎรในภาคใต ต อ งประสบกั บ ปญหาการขาดแคลนขาวสารอยางหนักดังจะไดกลาว โดยละเอียดในประเด็นตอไป

ปญหาการขาดแคลนขาวสาร ในระหวางที่ประเทศไทยตกอยูในภาวะคับ ขั น ของสงครามมหาเอเชี ย บู ร พานั บ ตั้ ง แต เ ดื อ น ธันวาคม 2484 และตอเนื่องดวยปญหาอุทกภัยใน พ.ศ.2485 อันเปนเหตุใหการทํานาโดยทั่วไปเกิด ความเสียหายและไดรับปริมาณขาวลดนอยลง (สจช. บก.สูงสุด [3] 0201.29.1/43 2487) โดยเฉพาะอยางยิ่ง จังหวัดตางๆ สวนใหญในภาคใตซึ่งภายใตภาวะปกติ ผลิตขาวไดไมเพียงพอสําหรับบริโภคในจังหวัดอยูแลว มี เ พี ย งจั ง หวั ด นครศรี ธ รรมราช สงขลา และพั ท ลุ ง เทานั้นที่มีผลผลิตขาวเหลือเพียงพอที่จะปอนจังหวัด อื่ น ๆ ใกล เ คี ย งในภาคใต ไ ด บ า ง (สจช.บก.สู ง สุ ด


ชีวิตราษฎรไทยสมัยสงครามมหาเอเชียบูรพา : มุมมองผานการเขามา ควบคุมทางรถไฟสายใตของกองทัพญี่ปุน พวงทิพย เกียรติสหกุล

2.6.2/31 ปก4 2485-2486) ดังนั้นเมื่อเขาสูภาวะ คั บ ขั น ของสงคราม จั ง หวั ด ส ว นใหญ ใ นภาคใต จึ ง ประสบกับปญหาการขาดแคลนขาวมากกวาในภาค อื่นๆ ประกอบกับสาเหตุจากการเพิ่มกําลังทหารเพื่อ เขามาควบคุมทางรถไฟสายใต การเพิ่มกรรมกรมลายู และจี น เพื่ อ สร า งทางรถไฟสายคอคอดกระ สาเหตุ เหลานี้มีผลใหความตองการขาวเพิ่มมากขึ้น จึงสงผล กระทบให ร าษฎรในจั ง หวั ด ต า งๆ ของภาคใต ต อ ง ประสบกับปญหาการขาดแคลนขาวสารสําหรับบริโภค มากยิ่งขึ้นอยางตอเนื่องตลอดชวงสงครามมหาเอเชีย บูรพา อยา งไรก็ดีใ นชวงสงครามกองทัพญี่ปุน ไม เพียงแตกวานซื้อขาวไทยเพื่อใชเปนเสบียงอาหารของ ทหารญี่ ปุ น เฉพาะที่ ป ระจํ า การอยู ใ นประเทศไทย เทา นั้น แตยังกวา นซื้อขาวเพื่อส ง ออกใหกับ ทหาร ญี่ปุนในมลายูอีกดวย อีกทั้งยังใชอํานาจทางการทหาร ในการสนั บ สนุ น ให บ ริ ษั ท มิ ต ซุ ย บุ ส ซั น ไกซาและ บริษัทมิตชูบิ-ชิโชจิเขามากวานซื้อขาวเพื่อสงออกไป จําหนายยังมลายู โดยแอบอางวาเปนของกองทัพเพื่อ หลีกเลี่ยงการชําระอากรสงออก สําหรับในกรณีของ ภาคใต แมวาจังหวัดสวนใหญไมสามารถผลิตขาวได เพียงพอกับการบริโภคภายในจังหวัดก็ตาม แตทหาร ญี่ปุนยังคงสนับสนุนใหบริษัทของญี่ปุนกวานซื้อขาว จากจั งหวัด นครศรีธ รรมราช สงขลา และพัทลุ ง ซึ่ ง เปนเพียง 3 จังหวัดที่สามารถสงขาวปอนจังหวัดอื่นได ดั ง กรณี ตั ว อย า งการกว า นซื้ อ ข า วจากจั ง หวั ด นครศรีธรรมราชของบริษัทมิตซูบิชิโชจิ ระหวางวันที่ 20 พฤษภาคม - 22 มิถุนายน 2485 เพียงแค 1 เดือน บริ ษั ท ได ส ง ออกข า วของภาคใต เ ฉพาะจากจั ง หวั ด นครศรีธรรมราชไปยังมลายู เปนจํานวนรวมถึง 73,810 กระสอบ น้ําหนัก 133,902.72 หาบ และ เปนที่นาสังเกตวาขาวสารสวนใหญ เปนขาวสารชนิด 50-55 เปอรเซ็นต4 จํานวนถึง 42,300 กระสอบ หรือ คิดเปน 57.31 เปอรเซ็นต ของขาวสารทั้งหมดที่สงไป ยังมลายู ซึ่งถือวาเปนขาวสารคุณภาพต่ํากวาปกติที่

กองทัพญี่ปุนสงเปนเสบียงอาหารใหกับทหารโดยสวน ใหญ เ ป น ข า วชนิ ด 30 เปอร เ ซ็ น ต (สจช.บก.สู ง สุ ด 2.4.6/9 2485-2486) จากข อ สั ง เกตข า งต น จึ ง เป น เหตุผลที่พอจะสันนิษฐานไดวา ขาวสารที่บริษัทมิตซูบิ ชิโชจิสงไปยังมลายูสวนนี้ไมไดเปนขาวที่สงไปเพื่อใช ในราชการทหารของกองทัพญี่ปุน แตเปนขาวสารของ บริ ษั ท ที่ ส ง ออกไปจํ า หน า ยให กั บ ราษฎรในมลายู มากกวา อยางไรก็ดีขาวสารจํานวนนี้ยังไมไดรวมกับ ที่ ท หารญี่ ปุ น กว า นซื้ อ จากภาคใต แ ล ว จั ด ส ง ออกใน นามของทหารโดยไม ไ ด รั บ อนุ ญ าตและไม ย อมให ตรวจตราควบคุมหรือเสียอากรอีกเปนจํานวนมาก มี เพียงแตหนังสือหรือใบรับรองจากทหารญี่ปุนที่ไดระบุ วา “ไห (ระบุชื่อผูถือหนังสือ) มาทําการซื้อขาวสาร เพื่อไปไชในราชการทหานยี่ปุนไนมลายู” (สจช.บก. สูงสุด 2.6.2/31 ปก3 2485-2486) และโดยเฉพาะ บริษัท มิตซุยบุสซันไกซาและบริษัทมิตซูบิชิโชจิซึ่ง เป น บริ ษั ท รายใหญ จึ ง มี อํ า นาจในการกว า นซื้ อ ขาวสารจากอําเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช ได เ ป น จํ า นวนมากถึ ง ขนาดต อ งเช า ตลาดสดของ เอกชนเปดเปนโกดังเก็บขาวสาร แตยังไมเพียงพอกับ ความต อ งการจึ ง ส ง ผู แ ทนเข า ไปกว า นซื้ อ ข า วทาง จังหวัดสงขลาอีกดวย อีกทั้งยังไดใชอํานาจของทหาร ญี่ปุนยึดเอากระสอบขาวของพอคาแขกจากรัฐกลันตัน และตรังกานูที่เขามาแขงขันซื้อขาวที่ปากพนัง ซึ่งถือ เปนการกดดันโรงสีที่ไมไดขายขาวใหกับบริษัททั้งสอง ดวยเหตุนี้บริษัทจึงสามารถกดราคาซื้อขาวใหต่ําได ตามความพอใจ ดั ง ปรากฏในจดหมายลั บ -ด ว น ลงวั น ที่ 2 กรกฎาคม 2485 จากรั ฐ มนตรี ว า การ กระทรวงมหาดไทยถึงนายกรัฐมนตรี ซึ่งไดรายงาน ถึงปญหาการกวานซื้อขาวสารใหจังหวัดภาคใตของ บริ ษั ท มิ ต ซุ ย บุ ส ซั น ไกซา และบริ ษั ท มิ ต ซู บิ ชิ โ ชจิ พร อ มทั้ ง เสนอวิ ธี ก ารแก ไ ขโดยการเร ง ดํ า เนิ น การ รวบรวมโรงสีขาวทั้งหมด ในจังหวัดนครศรีธรรมราช สงขลา และพั ท ลุ ง ตั้ ง เป น บริ ษั ท ในความดู แ ลของ บริษัทขาวไทย และตอมาในวันที่ 24 กันยายน 2485

4

ขาวสารชนิด 50-55 เปอรเซ็นต เปนขาวสารที่มีคุณภาพต่ํากวาขาวสารชนิด 30 เปอรเซ็นต เพราะเปนขาวที่มีเมล็ดขาว แตกหักถึงรอยละ 50-55.

127


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปที่ 30 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2553

กรมการคาตางประเทศ กระทรวงพาณิชยยังไดสั่งการ ไปยังขา หลวงประจํา จั งหวัด ชายแดนมลายูใ หร ะงับ การอนุ ญ าตส ง สิ น ค า ข า วออกไปอย า งเด็ ด ขาด แต ในทางปฏิบัติ ฝายญี่ปุนยังคงกวานซื้อขาวในจังหวัด ตางๆ ของภาคใตแทบทุกแหงอยา งตอเนื่อง (สจช. บก.สูงสุด 2.6.2/31 ปก1 2485-2486) แมฝายไทยไดเรงรัดเพื่อเจรจาตกลงเกี่ยวกับ ระเบี ย บการขนสง ในราชการทหารใหมีค วามรัดกุ ม มากขึ้น เพื่อปองกันการแอบอางนําขาวสารออกไปยัง มลายูในนามของทหารญี่ปุนก็ตาม แตในทางตรงกัน ขามเจาหนาที่ประจําสํานักงานทูตทหารบกญี่ปุนยังคง ใหการสนับสนุนบริษัทมิตซูบิชิโชจิ โดยรอยโทซูดะได เขามาแจงเพื่อขอใหบริษัทเปนตัวแทนในการจัดซื้อ ขาวเฉพาะจากทางภาคใตสงไปยังมลายูเพิ่มขึ้นเปน จํานวนเดือนละ 3,000 - 4,000 ตันอยางตอเนื่อง โดย จะเริ่มตั้งแตเดือนธันวาคม 2485 เปนตนไป (สจช.บก. สูงสุด 2.6.2/31 ปก1 2485-2486) ซึ่งขาวสารจํานวน นี้ ไ ม ไ ด ร วมอยู กั บ จํ า นวน 5,000 ตั น ต อ เดื อ นที่ กองทั พ ขอให ฝ า ยไทยจั ด ส ง ให ท หารญี่ ปุ น ในมลายู ตามข อ ตกลงในสั ญ ญาเศรษฐกิ จ เมื่ อ เป น เช น นี้ จึ ง สงผลใหขาวสารที่ผลิตไดในภาคใตลดลงอยางรวดเร็ว และมี ร าคาสู ง ขึ้ น เรื่ อ ยๆ จนเริ่ ม เข า สู ภ าวการณ ขาดแคลน ราษฎรเริ่มไดรับความเดือดรอน ดวยเหตุนี้ ในเดื อ นสิ ง หาคม 2486 พลโทศั ก ดิ์ เสนาณรงค ผูบัญชาการมณฑลทหารบกที่ 6 จึงเสนอใหมีการ กักกันขาวในภาคใต เพื่อปองกันการขาดแคลน ต อ มาในวั น ที่ 25 สิ ง หาคม 2486 ผู บั ญ ชาการ ทหารบกได มี คํ า สั่ ง ลั บ -เฉพาะ อนุ มั ติ ใ ห ม ณฑล ทหารบกที่ 6 ในภาคใตกักกันขาวสะสมเปนเสบียง อาหารเพื่อ ไวเ ลี้ ย งตนเองในภาวะคั บขั น ได โดยได กํ า หนดให บ ริ ษั ท ข า วไทยป ก ษ ใ ต จํ า กั ด ร ว มกั บ มณฑลทหารบกที่ 6 เตรียมสํารองขาวไวใหมีปริมาณ

5

นครศรี ธ รรมราช พั ท ลุ ง และสงขลา ปฏิ บั ติ ต าม นโยบายของมณฑลทหารบกที่ 6 ในการสํารองขาว ใหเพียงพอสําหรับการบริโภคของราษฎรใน 3 จังหวัด อยางนอยเปนเวลา 6 เดือนเชนกัน หากมีขาวเหลือ จากการเลี้ยงดูทหารในภาคใตและราษฎรใน 3 จังหวัด แลว จึงจะอนุญาตใหจําหนายขาวที่เหลือออกนอกเขต จังหวัดใกลเคียงที่เคยอาศัยขาวจากจังหวัดนั้น ๆ หรือ ออกนอกเขตภาคใต และนอกประเทศไดตามลําดับ (สจช.บก.สูงสุด 2.6.2/31 ปก3 2485-2486) ภายใต หลักการดังกลาว บริษัทขาวไทยปกษใต จํากัด ซึ่งเริ่ม เปดดําเนินงานมาตั้งแตวันที่ 9 กันยายน 2485 จึงเปน ผู รั บ ผิ ด ชอบในการเตรี ย มสํ า รองข า วให เ พี ย งพอ สํ า หรั บ การบริ โ ภคของทหารและราษฎรในภาคใต ภายใตภาวะฉุกเฉินในยามสงคราม5 อยางไรก็ตาม ในวัน ที่ 5 ตุล าคม 2486 หมอ มหลวงเดช สนิทวงศ รัฐมนตรีวาการกระทรวงพาณิชย ซึ่งไมคอยเห็นดวย กับคําสั่งกักกันขาวภาคใตของมณฑลทหารบกที่ 6 จึง ได ส ง จดหมายลั บ ถึ ง เจ า กรมประสานงานพั น ธมิ ต ร โดยแสดงความคิดเห็นวา การที่บริษัทขาวไทยปกษ ใต จํากัด และขาหลวงประจําจังหวัดนครศรีธรรมราช สงขลา และพัทลุง ตองปฏิ บัติตามคําสั่งของมณฑล ทหารบกที่ 6 เรื่องการกักกันขาวของทั้ง 3 จังหวัด ไมให จํ า หน า ยออกนอกประเทศ และมี แ นวโน ม ที่ จ ะออก คํ า สั่ ง กั ก กั น ข า วในทุ ก จั ง หวั ด ของภาคใต ด ว ย จึ ง เกรงวาคําสั่งดังกลาวจะกระทบกระเทือนตอขอตกลง กับฝายทหารญี่ปุนในเรื่องการอนุญาตใหญี่ปุนซื้อขาว จากปากพนังไว จึงขอใหกรมประสานงานพันธมิตร พิจารณาขอความผอนผัน หรือปรึกษาทําความตกลง กับกระทรวงกลาโหมโดยตรงกอน ตอมาในวันที่ 3 ธันวาคม 2486 พลโทศักดิ์ เสนาณรงค ผูบัญชาการ มณฑลทหารบกที่ 6 ไดมีโทรเลขลับ-เฉพาะ-ดวนที่สุด ถึงจอมพล ป. พิบูลสงคราม ผูบัญชาการทหารสูงสุด

ในการจัดตั้งบริษัทขาวไทยปกษใต จํากัด ซึ่งมีบริษัทขาวไทย จํากัด เปนผูถือหุนสวนใหญ จํานวน 60 เปอรเซ็นต สวนที่ เหลื ก 40 าเปอร เปนทหุหารในภาคใต นของเจาของโรงสีอใยนจัางงน หวัอดภาคใต เพี ยออีงพอสํ หรั บเซ็เลีน้ตย งดู ย โดยเฉลี่ยตามสวน แตมิไดมีการบังคับใหเจาของโรงสีในจังหวัด ภาคใตทุกโรงเขารวมหุนดวย โดยใหเปนไปตามความสมัครใจ ดวยเหตุนี้ จึงมีโรงสีอีกหลายโรงที่มิไดเขารวมหุนกับบริษัทขาวไทย เป น เวลา 6 เดื อ น และให ข า หลวงประจํ า จั ง หวั ด ปกษใต จํากัด อางจาก สจช., [3] สร 0201.29.1/51 การคาขาวในจังหวัดภาคใตหรือเรื่องบริษัทขาวไทยปกษใต (8 สิงหาคม 2488).

128


ชีวิตราษฎรไทยสมัยสงครามมหาเอเชียบูรพา : มุมมองผานการเขามา ควบคุมทางรถไฟสายใตของกองทัพญี่ปุน พวงทิพย เกียรติสหกุล

แจงเรื่องความเดือดรอนของราษฎรในภาคใตที่ตอง ประสบกับปญหาการขาดแคลนขาว และราคาขาวที่ ตื่ น ตั ว สู ง ขึ้ น อย า งมาก อั น เป น ผลมาจากการที่ กระทรวงพาณิ ช ย อนุ ญ าตให พอ คา หนา เลือ ด หรื อ พวกเศรษฐี ส งครามส ง ข า วตากออกจํ า หน า ยนอก ประเทศไดโดยไมมีขอจํากัด (สจช.บก.สูงสุด 2.6.2/3 ปก2 2485-2486) โดยขอความในสําเนาโทรเลขลับ ดั ง กล า วได ส ะท อ นให เ ห็ น อย า งชั ด เจนถึ ง ความ เดื อ ดร อ นของราษฎรไทยในท อ งถิ่ น ภาคใต ที่ ต อ ง ประสบปญหาการขาดแคลนขาวสาร และปญหาราคา ขาวถีบตัวสูงขึ้นอยางมากในชวงสงครามมหาเอเชีย บูร พาจากเดิม กระสอบละ 17-19 บาท เพิ่ ม ขึ้ น เป น กระสอบละ 26-28 บาท ซึ่งสาเหตุหลักของปญหาสืบ เนื่องมาจากการกวานซื้อขาวของทหารญี่ปุนในชวง สงคราม ประกอบกับสาเหตุจากความไม สอดคลอง ของการดําเนินการปองกันการขาดแคลนขาวสารของ ภาคใต ระหวางการดําเนินการของมณฑลทหารบกที่ 6 กับกระทรวงพาณิชย ทั้งนี้ทางมณฑลทหารบกที่ 6 ไดชี้แจงถึงสาเหตุของปญหาการขาดแคลนขาวสารใน ภาคใตวาเกิดจาก การที่กระทรวงพาณิชยอนุญาตให พอคาสงขาวตากออกไปจําหนายภายนอกประเทศได โดยไมจํากัด ดังนั้นผูบัญชาการมณฑลทหารบกที่ 6 จึ ง ได ข อความกรุ ณ าให ผู บั ญ ชาการทหารสู ง สุ ด พิ จ ารณาสั่ ง การห า มกระทรวงพาณิ ช ย มิ ใ ห อ อก ใบอนุญาตใหผูใดผูหนึ่งนําขาวตาก แปง เสนหมี่ และ ผลิ ต ภั ณ ฑ ที่ ม าจากข า วของจั ง หวั ด ในภาคใต อ อก นอกประเทศโดยเด็ ด ขาด (สจช.บก.สู ง สุ ด 2.6.2/3 ปก2 2485-2486) ในระหวางการดําเนินการแกไขปญหาการ ขาดแคลนขาวสารในจังหวัดตาง ๆ ของภาคใต ความ ขัดแยงในการดําเนินการระหวางมณฑลทหารบกที่ 6 ซึ่งอยูในสังกัดกระทรวงกลาโหมกับกระทรวงพาณิชย ก็ยังคงมีอยูอยางตอเนื่อง กลาวคือ ในขณะที่กระทรวง พาณิชยไดออกคําสั่งเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2486 ให ขาหลวงประจําจังหวัดทั้ง 14 จังหวัด ในภาคใตหาม ส ง ข า วตากที่ ผ ลิ ต ขึ้ น ในจั ง หวั ด ออกนอกประเทศ โดยเด็ ด ขาดตามคํ า สั่ ง ของกระทรวงกลาโหมแล ว ก็ ต าม แต ใ นเดื อ นมกราคม 2487 ปลั ด กระทรวง

พาณิ ช ย ก ลั บ ได เ สนอเรื่ อ งและพยายามดํ า เนิ น การ เจรจากับปลัดกระทรวงกลาโหมใหยกเลิกการกักขาว จากจัง หวั ดหนึ่ง ไปยัง อีก จังหวัด หนึ่ ง ภายในภาคใต เพื่อใหมีการถา ยเทขาวไปยังจั งหวัดที่ขาดแคลนได เพราะเห็นวาการสั่งกักขาวในจังหวัดนครศรีธรรมราช ยอมสงผลกระทบกระเทือนตอจังหวัดอื่นที่เคยอาศัย ขาวจากนครศรีธรรมราช และหากยังคงมีเหลืออีกควร จะสงออกจําหนายยังตางประเทศได ซึ่งในเรื่องนี้ทาง กระทรวงกลาโหมไมขัดของ แตไดตั้งขอเสนอเพื่อย้ํา หลั ก การเดิ ม และให ก ระทรวงพาณิ ช ย ยื น ยั น ความ รับผิดชอบในปญหาที่อาจจะเกิดขึ้นรวม 4 ประการคือ 1.) ขอให ห า มมิ ใ ห นํ า ข า วในเขตป ก ษ ใ ต อ อกนอก ประเทศ 2.) ห า มมิใ ห นํ า ขา วออกนอกเขตป ก ษ ใ ต 3.) หามมิใหพอคาเปลี่ยนสภาพของขาวเปนอยางอื่น เพื่อนําออกนอกประเทศ หรือนําออกนอกเขตปกษใต และ 4.) สํ า หรั บ การที่ จ ะอนุ ญ าตให ส ง ออกนอก ประเทศนั้นควรเปนขาวทางภาคกลาง ภาคเหนือ และ ภาคตะวันออกที่เหลือจากบริโภคแลว แตถากระทรวง พาณิชยเห็นวาขาวภาคใตมีเหลือมากอาจเสียหายได จําตองถายเทออกนอกประเทศแลว ตองรับผิดชอบวา เมื่อเกิดการขาดแคลนขึ้นไมวาเกี่ยวแกการใดๆ ก็ตาม เมื่อไมทําใหทหารตองขาดขาวแลวก็ไมขัดของ แตขอ กรุณาตอบรับรองกอนดวย (สจช. [3] สร.0201.29.1/43 2487) ซึ่งในเรื่องนี้ทางกระทรวงพาณิชย ได ต อบกลั บ ว า เป น การยากที่ ก ระทรวงพาณิ ช ย จ ะ รับรองได แตเชื่อวาขาวมีจํานวนเพียงพอ เพียงแต ติดขัดอยูที่การขนสงลําเลียง ไมสะดวก และอาจเกิด เหตุสุดวิสัยขึ้น เชน ทางรถไฟอาจถูกทําลาย หรือการ ขนสงทางเรือไมได เพราะถูกหามเนื่องจากเกรงจะถูก ทุนระเบิด เปนตน เมื่อเปนเชนนี้กระทรวงพาณิชยจึง ไดพยายามอีกครั้ง โดยการแจงตอไปยังปลัดกระทรวง มหาดไทย เพื่อขอใหยกเลิกการกักขาวภายในระหวาง จังหวัดของภาคใตเสีย ซึ่งเรื่องนี้ปลัดกระทรวงมหาดไทย ไดลงไปตรวจการดวยตนเอง และเห็นวาบางจังหวัด ในภาคใตมีขาวเหลือเพียงพอ แตยังไมอาจยกเลิกได เพราะขัดคําสั่งของทหาร (สจช.บก.สูงสุด 2.6.2/31 ปก3 2485-2486) 129


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปที่ 30 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2553

อยางไรก็ดีตอมาในเดือนตุลาคม 2487 ที่ ประชุ ม คณะรั ฐ มนตรี เริ่ ม ดึ ง อํ า นาจหน า ที่ ใ นการ ดํ า เนิ น การแก ไ ขป ญ หาการขาดแคลนข า วสารของ ภาคใต มาเปนหนาที่ของกระทรวงมหาดไทยมากขึ้น ดั ง กรณี ตั ว อย า งของการมอบหน า ที่ ใ นเรื่ อ งการจั ด จําหนายขาวใหแกราษฎรในจังหวัดภาคใตเพื่อปองกัน การขาดแคลนใหเปนหนาที่ของกระทรวงมหาดไทย ดําเนินการตอไปตามมติของคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2487 ทั้งนี้กระทรวงการคลังไดพิจารณา เห็นชอบ ตั้งงบประมาณป 2488 เปนจํานวนเงิน 1,500,000 บาท เพื่อเปนทุนสํารองใหกับกระทรวง มหาดไทยใชหมุนเวียนในการจัดจําหนายขาวใหแก ราษฎรในภาคใต (ภาค 5) เพื่อบรรเทาปญหาการขาด แคลน ทั้งนี้รัฐบาลไดกําหนดใหกระทรวงพาณิชยมี หน า ที่ จั ด ส ง ข า วให ท างรถไฟ กรมรถไฟซึ่ ง สั ง กั ด กระทรวงคมนาคมมีหนาที่บรรทุกขาวไปสงถึงสถานี ปลายทาง และกระทรวงมหาดไทยมีหนาที่รับขาวจาก ปลายทางไปจัดจําหนายในจังหวัดตาง ๆ ของภาคใต ตอไป (สจช. [3] สร.0201.29.1/40 2486-2497) ในชวงปลายสงครามมหาเอเชียบูรพาขณะที่ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงพาณิชย และกระทรวง คมนาคมกําลังรวมดําเนินการจัดสงขาวสารจากภาค กลางไปบรรเทาปญหาการขาดแคลนในจังหวัดภาคใต นั้น ในเดือนมิถุนายน 2488 กองทัพญี่ปุนไดมีหนังสือ ขอซื้อขาวสารจากจังหวัดนครศรีธรรมราช เปนจํานวน 1,020 ตั น โดยอ า งว า ได จั ด การซื้ อ ไว แ ล ว ข า หลวง ประจําจังหวัดนครศรีธรรมราชเห็นวาเปนการตกลงที่ ไดผา นการพิ จ ารณาของกรมประสานงานพัน ธมิต ร ประจํ า ภาคใต ไ ว ก อ นแล ว จึ ง ได อ นุ ญ าตให ก องทั พ ญี่ปุนขนขาวตามจํานวนดังกลาวออกไปแลว (สจช. บก.สูงสุด 2.6.2/31 ปก5 2485-2486) ซึ่งการเขามา ซื้อขาวของกองทัพญี่ปุนจากจังหวัดภาคใตเพื่อเปน เสบียงอาหารใหกับทหารญี่ปุนนั้น ถือเปนการกระทํา ที่ผิดขอตกลงที่วา เมื่อกองทัพตองการขาวเพื่อเปน เสบียงอาหารใหกับทหารญี่ปุนจะตองจัดหาจากภาค กลาง เพราะภาคใตไมมีขาวเพียงพอจึงตองขอสงวน ไว สํ า หรั บ การบริ โ ภคของทหารและราษฎรไทยใน ทองถิ่ นเท า นั้น (สจช. [3] สร.0201.29.1/24 2482130

2496) เมื่อกองทัพญี่ปุนไดเขามาซื้อขาวจากภาคใต ไปเป น เสบี ย งให กั บ ทหารจํ า นวนมากเช น นี้ ทาง กระทรวงพาณิชยจึงเกรงวาจะกอใหเกิดปญหาตอการ ดํารงชีวิตของราษฎรในภาคใตมากขึ้น จึงไดนําเรื่อง เขาที่ประชุมคณะรัฐมนตรีในเดือนกรกฎาคม 2488 ที่ ประชุมคณะรัฐมนตรีจึงไดลงมติอนุมัติเงินทุนหมุนเวียน ชวยบรรเทาการขาดแคลนขาวในจังหวัดภาคใต (ภาค 5) และจัง หวั ด ประจวบคี รีขั น ธ เป น จํา นวนเงิ น รวม 10,000,000 บาท โดยเงินจํานวนนี้ไดแบงใหขาหลวงตรวจ ราชการกระทรวงมหาดไทย ภาค 5 ไปดํา เนิน การ ชวยเหลือสําหรับจังหวัดที่อยูใตลุมแมน้ําตาปลงไป คือ จั ง หวั ด สุ ร าษฎร ธ านี นครศรี ธ รรมราช พั ท ลุ ง ตรั ง พังงา กระบี่ สงขลา ปตตานี นราธิวาส ยะลา ภูเก็ต และสตูล เปนจํานวนเงิน 6,500,000 บาท แบงใหกรม ประชาสงเคราะหสําหรับชวยเหลือจังหวัดที่อยูเหนือ แมน้ํา ตาปขึ้น มาคือ จังหวัดชุ มพร ระนอง ประจวบ คี รี ขั น ธ และอํ า เภอตะกั่ ว ป า เป น จํ า นวนเงิ น 3,500,000 บาท (สจช. [3] สร.0201.29.1/50 24882494) ตอมาในวันที่ 15 สิงหาคม 2488 สถานการณ สงครามสิ้ น สุด ลงดว ยการพ า ยแพข องกองทัพญี่ปุ น แต ฝ า ยญี่ ปุ น ยั ง คงเสนอเรื่ อ งมายั ง ผู แ ทนกระทรวง พาณิช ยใ ห อํา นวยความสะดวกในการจํา หนา ยข า ว เพื่อเปนเสบียงอาหารใหกับกองทัพญี่ปุนบางสวนที่ ยังคงประจําการอยูในอินโดจีน แตทางกรมประสานงาน พันธมิตรไดแจงใหฝายญี่ปุนทราบวาสงครามไดสิ้นสุด ลง จึงไมมีความจําเปนที่จะตองขนสงขาวออกไปยัง อิ น โดจี น อี ก ต อ ไป (สจช.บก.สู ง สุ ด 2.6.3/31 ป ก 6 2485-2486) อยางไรก็ตามแมสงครามจะสิ้นสุดลงแต ปญหาการขาดแคลนขาวของจังหวัดตาง ๆ ในภาคใต ก็ยังคงอยู ดวยเหตุนี้กระทรวงมหาดไทยจึงไดรายงาน ไปยังคณะรัฐมนตรีเพื่อขออนุมัติขยายเวลาการใชจาย เงิ น ทุ น สํ า รอง ในการซื้ อ ข า วส ง ไปจํ า หน า ยให แ ก ราษฎรในภาคใต ต อ ไปจนกว า การดํ า รงชี วิ ต ของ ราษฎรจะกลั บ คื น สู ส ภาพปกติ ดั ง นั้ น ประเด็ น การ แกไขปญหาการขาดแคลนขาวของจังหวัดตางๆ ใน ภาคใตภ ายหลัง สงครามมหาเอเชียบูรพาจึงเปน อีก ประเด็นหนึ่งที่นาสนใจศึกษาตอไป


ชีวิตราษฎรไทยสมัยสงครามมหาเอเชียบูรพา : มุมมองผานการเขามา ควบคุมทางรถไฟสายใตของกองทัพญี่ปุน พวงทิพย เกียรติสหกุล

ปญหาเรื่อง “ผูหญิงปลอบขวัญ” ของทหารญี่ปุน การจั ด ตั้ ง “สถานบริ ก ารเพื่ อ ปลอบขวั ญ ทหาร” (comfort station)6 ของกองทัพญี่ปุนมีขึ้นครั้ง แรกในระหวางเหตุการณเซี่ยงไฮ (Shanghai Incident) ซึ่ ง เป น สงครามระหวา งจี น กับ ญี่ปุ น ใน พ.ศ. 2475 (Yuki Tanaka 2003 : 8) หลังจากนั้นเมื่อกองทัพญี่ปุน ตอ งสง กํ า ลัง ทหารออกไปทํ า สงคราม เพื่ อ ยึ ด ครอง ประเทศตางๆ กองทัพไดจัดสง “ผูห ญิงปลอบขวัญ ” (“comfort women” หรือ “ianfu”) เพื่อไปใหบริการทาง เพศกับทหารญี่ปุนในแนวหนาดวย เชนเดียวกันเมื่อ สงครามมหาเอเชี ย บู ร พาเกิ ด ขึ้ น ในเดื อ นธั น วาคม 2484 กระทรวงสงคราม (Ministry of War) ของญี่ปุน เริ่มดําเนินการจัดตั้งสถานบริการเพื่อปลอบขวัญทหาร และจั ด ส ง ผู ห ญิ ง ปลอบขวั ญ ให กั บ กองทหารญี่ ปุ น หนวยตางๆ ในเขตเอเชียแปซิฟก ตามแผนการของ กระทรวงสงครามที่วางไวลวงหนาหลายเดือนกอนการ โจมตีเพอรฮาเบอร (Yuki 2003 : 26) อยางไรก็ตาม จากรายงานการประชุม ผู นํากระทรวงสงคราม เมื่ อ วันที่ 3 กันยายน 2485 ไดรายงานรายละเอียดของ การจั ด ตั้ ง สถานบริ ก ารเพื่ อ ปลอบขวั ญ ทหารใน ตางประเทศวาไดมีการ จัดตั้งในประเทศจีนตอนเหนือ 100 แหง จีนตอนกลาง 140 แหง จีนตอนใต 40 แหง เอเชียตะวันออก-เฉียงใต 100 แหง แปซิฟกตะวันตก เฉียงใต 10 แหง ซัคคาลินทางตอนใตอีก 10 แหง รวม ทั้งหมด 400 แหง (Yuki 2003 : 27) ทั้งนี้กระทรวง สงครามพยายามจะเขาไปควบคุมดูแลการจัดระเบียบ สถานบริการเพื่อปลอบขวัญทหาร ซึ่งถือเปนสิ่งจําเปน ทางการทหารเพิ่มมากขึ้น ทั้งในดานของการจัด หา ผู ห ญิ ง ชาวพื้ น เมื อ ง การออกกฎให ท หารญี่ ปุ น ใช ถุงยางอนามัย และการจัดใหมีการตรวจโรค ทั้งนี้เพื่อ เปนการปองกันปญหาการขมขืนผูหญิงพื้นเมืองและ ปองกันการติดตอกามโรคที่อาจเกิดขึ้นกับทหารญี่ปุน ดวย อยางไรก็ตามในระหวางสงครามมหาเอเชีย บูรพา กองทหารญี่ปุนที่เขาไปประจําการในพื้นที่ตาง ๆ

ไดใชวิธีการจัดหาผูหญิงปลอบขวัญจาก 2 วิธีการหลัก คือ วิธีการแรก เปนการขอความรวมมือจากผูนําและ เจาหนาที่ในทองถิ่นใหจัดหาผูหญิงชาวพื้น เมือ งมา ใหบ ริก ารแกท หารญี่ปุน ด ว ยเหตุนี้จึง สงผลให ผูหญิงจํานวนมากที่ไมมีอาชีพโสเภณีถูกบังคับใหมา ขายบริการทางเพศแกทหารญี่ปุน ดังในกรณีตัวอยาง ของ Mun P’ilgi และ Mun Okuchu หญิงสาวชาว เกาหลี ถูกตํารวจลับของญี่ปุน (kempetai) และตํารวจ ชาวเกาหลีจับและบังคับโดยสงตัวเธอไปเปนผูหญิง ปลอบขวัญทหารญี่ปุนในประเทศจีน (Yuki Tanaka 2003 : 26) นอกจากนั้นยังมีตัวอยางของหญิงชาว อินโดนีเซียอายุระหวาง 15-19 ป จํานวนประมาณ 200 คน ถูกทหารญี่ปุนหลอกวาไดรับคัดเลือกใหไป ศึ ก ษาภาษาญี่ ปุ น การพยาบาล และผดุ ง ครรภ ใ น ประเทศญี่ ปุ น แต สุ ด ท า ยถู ก ลํ า เลี ย งลงเรื อ บรรทุ ก สินคามาเปนผูหญิงปลอบขวัญ ทหารญี่ปุนที่สิงคโปร และกรุงเทพฯ เปนตน (Yuki 2003 : 79-80) สวน วิธีการที่สอง กองทหารญี่ปุนคัดเลือกผูหญิงที่ประกอบ อาชี พ โสเภณีอ ยู แ ล ว มาจากสถานบริ ก ารที่ เป นของ เอกชน โดยเจาของสถานบริการเหลานั้นจะไดรับความ คุม ครองจากตํา รวจลับของญี่ปุน และตํา รวจประจํา ทองที่นั้นๆ ดวย จากวิธีการจัดหาผูหญิงปลอบขวัญ ของทหารญี่ ปุ น ทั้ ง สองวิ ธี ข า งต น จึ ง ทํ า ให เ ข า ใจ ได ว า หญิ ง สาวชาวเกาหลี ไต ห วั น จี น ฟ ลิ ป ป น ส อินโดนีเซีย และมาเลเซียจํานวนมากที่ถูกสงไปบริการ ทางเพศใหแก ทหารญี่ปุนในสมัยสงครามมหาเอเชีย บู ร พามาจากวิ ธี ก ารจั ด หาในลั ก ษณะดั ง กล า ว เชนเดียวกัน อย า งไรก็ ต ามสํ า หรั บกรณี ป ระเทศไทยซึ่ ง เปนประเทศเอกราชที่ไมไดถูกกองทัพญี่ปุนยึดครอง เปนเมืองขึ้น ถึงแมกองทัพญี่ปุนไมไดใชวิธีการเกณฑ ผูหญิงไทยไปเปนผูหญิงปลอบขวัญ ของทหารญี่ปุน ดวยวิธีก ารบั งคับที่รุนแรงเหมือ นในเกาหลี ไตห วัน และจีนก็ตาม แตในเอกสารลับ ของกองบัญชาการทหาร

6

สถานบริการเพื่อปลอบขวัญทหาร ในภาษาญี่ปุนเรียกวา “ianjo” อางจาก Yuki Tanaka, Japan’s Comfort Women : Sexual slavery and prostitution during World War II and the US occupation, reprinted (New York : Routledge, 2003), p. 8.

131


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปที่ 30 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2553

สู ง สุ ด จากหอจดหมายเหตุ แ ห ง ชาติ ข องไทยได กล า วถึ ง การให ค วามร ว มมื อ ของอนุ ก รรมการผสม ไทย-ญี่ปุน ประจําจังหวัดลําปาง ในการจัดหา “หญิง หย อ นใจ” เพื่ อ ให บ ริ ก ารทางเพศแก ท หารญี่ ปุ น ดั ง ปรากฏรายละเอียดในสําเนาบันทึกการประชุมเรื่อง เปดสถานที่หยอนใจ เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2485 ดังนี้ (สําเนา) บันทึกการประชุมเรื่องเปดสถานที่หยอนใจ วันที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๕ เรื่อง ทหารญี่ปุนตองการใหเปดสถานที่หยอนใจ และการตั้งสารวัตรญี่ปุน ผูที่มาประชุม ฝายไทย ขาหลวงประจําจังหวัดลําปาง (อนุกรรมการ ผะสม) ผบ.จว.ทบ.ล.ป. (อนุกรรมการผะสม) ผูกํากับการตํารวจภูธรจังหวัดลําปาง ฝายญี่ปุน ร.ท.มาเอดา ลามญี่ปุน นายอุเอฮารา วันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๔๘๕ เวลา ๑๐.๐๐ น. ถึง ๑๑.๐๐ น. ไทย เรื่องจะตั้งสถานที่หยอนใจนั้นทางญี่ปุนมี แผนการจะปฏิบัติอยางไร ญี่ปุน

ไทย ญี่ปุน

132

แผนการที่ตั้งสถานที่หยอนใจนั้น มีดังนี้คือ “ในอาทิตยหนึ่งจะตองมีหญิงมาประจํา อยู กั บ สถานที่ นี้ ป ระมาณ ๑๕ ถึ ง ๒๐ คน และจะมี แ พทย ท หารฝ า ยญี่ ปุ น มาตรวจ รางกายทุกอาทิตย กอนที่หญิงพวกนี้จะมา ประจําแพทยจะตองตรวจรางกายวาไมเปน โรคเสียกอน ทหารญี่ปุนจะมาทีละมากๆ หรือ และจะมา กลางวันหรือกลางคืน ไม ท ราบแน สํ า หรั บ พลทหารญี่ ปุ น นั้ น มี กําหนดกลับหนวยและกองเวลา ๑๗.๐๐ น. มีเวลาเที่ยวผูหญิงไดในเวลากลางวัน สวน เวลากลางคืนนั้นนายสิบและนายทหารจะมา เที่ยว

ไทย ญี่ปุน ไทย

ญี่ปุน ไทย ญี่ปุน

ไทย ญี่ปุน ไทย ญี่ปุน

ไทย

เรื่องจํานวนผูหญิงนั้น ขอใหทางญี่ปุนจัดหา มาไดไหม ขอใหชวยแบงหากัน คือ ฝายไทยหา ๘ คน ฝายญี่ปุนหา ๗ คน เปนอันตกลง และขอใหทางฝายญี่ปุนจัดการ ควบคุม และจัดหาแพทยต รวจใหเรียบรอย ไมใหเรื่องรุนแรงเกิดขึ้นได ทางฝายไทยจะ จัดเจาหนาที่ไปตรวจดูแลผูหญิงและสถานที่ จะไดไหม ได แตขอใหไปพรอมกับเจาหนาที่ญี่ปุน เรื่องเงิน จะจัดใหแกผูหญิงครั้งละเทาไร ทางฝายญี่ปุนไดเคยจัดมาแลว มีดังนี้ สําหรับพลทหารคนหนึ่งเสีย ๑.๐๐ บาท ตอ ๑ ช.ม. สํ า หรั บ นายสิ บ คนหนึ่ ง เสี ย ๑.๕๐ บาท ตอ ๑ ช.ม. สําหรับนายทหารคนหนึ่ง เสี ย ๒.๕๐ บาท ต อ ๑ ช.ม. เงิ น ที่ ไ ด ม านี้ แบงใหแกผูจัดการสถานที่ ๓๐ เปอรเซ็น ต ให แ ก ห ญิ ง ๗๐ เปอร เ ซ็ น ต พลทหารไม มี โอกาสนอนกับผูห ญิงตลอดคืน แตนายสิบ นายทหารมีโอกาสนอนตลอดคืน คือ ตั้งแต ๒๒.๐๐ น. ถึง ๐๗.๐๐ น. สําหรับผูที่จะนอน ตลอดคืน จะตองเสียคาธรรมเนียมดังนี้ นาย สิบตองเสียคืนละ ๔.๕๐ บาทนายทหารตอง เสียคืนละ ๗.๕๐ บาท สําหรับการหาผูหญิงใหนั้นตองรอชาหนอย ไมเปนไร รอไปอีกสัก 2-3 วันก็ได สถานที่จะเอาที่ไหน สถานที่จะเอาที่โฮเต็ลยุงฮิง สําหรับคาเชา สถานที่เคยไปติดตอแลว เจาของโฮเต็ลจะ เอา ๔๐๐ บาท แตจะขอใหเพียง ๓๐๐ บาท เพราะถ า เสี ย ค า สถานที่ แ พงผู ห ญิ ง ก็ จ ะได คาธรรมเนียมถูก ดังนี้ขอใหลดคาเชาลงอีก จะติดตอให และจะไปเรียกเจาของโฮเต็ลมา ติดตอเดี๋ยวนี้ (เจาของโฮเต็ลเปนชนชาติจีน ไดมาที่ที่ประชุม) ทางญี่ปุนเขาขอลดคาเชา ลงอีกจะไดไหม เจาของลดไดอีกก็เพียง ๒๐ บาท เพราะจําเปนจะตองซอมและสรางของ


ชีวิตราษฎรไทยสมัยสงครามมหาเอเชียบูรพา : มุมมองผานการเขามา ควบคุมทางรถไฟสายใตของกองทัพญี่ปุน พวงทิพย เกียรติสหกุล

บางสิ่งบางอยางใหอีกหองทั้งหมดขางบนมี ๑๑ หอง ขางลางมี ๒ หอง ไทย เอาเขาเพียง ๓๕๐ บาท ก็แลวกัน ญี่ปุน ตกลง ไทย เวลากลางวันผูหญิงจะกลับบานไดไหม ญี่ปุน ๓-๔ วัน อนุญาตใหกลับในเวลากลางวันได ครั้งหนึ่ง ไทย เรื่องการตั้งสถานที่หยอนใจเปนอันวาตกลง กั น เสร็ จ เรี ย บร อ ยแล ว อยากจะขอให ท าง ญี่ปุนจัดสารวัตรมารวมกับกองสารวัตรไทย สัก 2-3 คน ถาไมไดจริงๆ ก็ขอใหหามาคน เดี ย วก็ เ อา เพราะทหารญี่ ปุ น มาทํ า เรื่ อ ง เสมอๆ เช น ดั บ ไฟร า นขายของแม ค า แล ว กอดผูหญิง กอดเมียเขาบาง เปนตน ญี่ปุน คิ ด ว า ไม จํา เป น ก็ ไ ด เพราะเมื่ อ มี ส ถานที่ หยอนใจตั้งขึ้นแลว ทหารญี่ปุนจะไมเกะกะเลย ที่มา : พวงทิพย เกียรติสหกุล, คัดและรวบรวม จาก หจช., บก.สูงสุด 2.5.3/8 อนุกรรมการผสม ประจําจังหวัดลําปาง (18 มีนาคม 2485 – 13 สิงหาคม 2488). จากบันทึกการประชุมเรื่องการเปดสถานที่ หย อ นใจของคณะกรรมการผสมไทย-ญี่ ปุ น ประจํ า จังหวัดลําปางขางตนไดแสดงใหเห็นอยางชัดเจนวา แมประเทศไทยจะไมไดเปนเมืองขึ้นของกองทัพญี่ปุน ก็ตาม แตทางอนุกรรมการผสมฝายไทยจําเปนตองให ความร ว มมื อ ในการจั ด หา “หญิ ง หย อ นใจ” หรื อ “ผูหญิงปลอบขวัญ” เพื่อใหบริการทางเพศกับทหาร ญี่ปุนดวยเชนกัน ทั้งนี้ยังตองใหความรวมมือในการ จั ด หาสถานที่ เ ช า เป น สถานบริ ก ารเพื่ อ ปลอบขวั ญ ทหาร ซึ่ ง ในที่ นี้ ไ ด ติ ด ต อ เช า โฮเตลยุ ง ฮิ ง ในจั ง หวั ด ลําปาง ซึ่งเปนโรงแรม 2 ชั้น มี 13 หอง คาเชา 350 บาท ใชเปนสถานที่บริการที่ยังมีการเจรจารายละเอียดของ การกํ า หนดคา บริ ก ารอย า งชั ด เจนว า พลทหารเสี ย คาบริการ 1 บาท ตอ 1 ชั่วโมง นายสิบ 1.50 บาท ตอ 1 ชั่วโมง นายทหาร 2.50 บาท ตอ 1 ชั่วโมง โดย พลทหารไม ส ามารถใช บ ริ ก ารได ต ลอดทั้ ง คื น แต นายสิ บ และนายทหารสามารถใช บ ริ ก ารได คื น ละ

4.50 บาท และ 7.50 บาท ตามลําดับ โดยหญิง หยอนใจเหลานั้นจะไดรายได 70 เปอรเซ็นต อีก 30 เปอร เ ซ็ น ต ใ ห แ ก ผู จั ด การ (สจช.บก.สู ง สุ ด 2.5.3/8 ปก1 2485-2488) ซึ่งผูหญิงเหลานี้จะตองหาอาหาร มารับประทานเอง หากจะใหผูจัดการหาอาหารใหก็จะ ถูกหักเงินรายไดเพิ่มอีก 10 เปอรเซ็นต อยางไรก็ดี เมื่อผูหญิงเขามาบริการทางเพศใหกับทหารญี่ปุนที่โอ เตลยุงฮิงแลว พบวาถูกกระทําการทางเพศที่รุนแรง โดยทหารญี่ปุน เลน ท า พลิก แพลงตา งๆ เปน เหตุใ ห อวัยวะของลับฝายหญิงตองเสียและพิการไป จนเปน เหตุ ใ ห “หญิ ง หย อ นใจ” เหล า นั้ น หลบหนี อ อกจาก สถานีบริการ แตทางอนุกรรมการผสมฝายญี่ปุนไดใช อํานาจทางการทหารขมขูและบังคับใหฝายไทยเกณฑ ผู ห ญิ ง มาให บ ริ ก ารทางเพศอยู เ รื่ อ ยๆ ทั้ ง ๆ ที่ อนุกรรมการฝายไทยไดขอรองใหทหารญี่ปุนปฏิบัติ ตามขนบธรรมเนี ย มประเพณี ไ ทย ซึ่ ง จะบั ง คั บ ซื้ อ ผูหญิงมาเปนหญิงหยอนใจไมได หญิงจะมาอยูไดก็ ด ว ยความสมั ค รใจของหญิ ง เอง (สจช.บก.สู ง สุ ด 2.5.3/8 ปก2 2485-2488) อยางไรก็ดี ในขณะนี้ยังคง พบหลักฐานเฉพาะที่จังหวัดลําปาง แตผูวิจัยสันนิษฐานวา นาจะมีการบังคับขอความรวมมือในการจัดหา “หญิง หยอนใจ” ของอนุกรรมการผสมฝายญี่ปุนในจังหวัด อื่นๆ โดยเฉพาะในจังหวัดกาญจนบุรี ราชบุรี ระนอง และชุมพร ซึ่งเปนที่ตั้งของกองพลทหารรถไฟหนวย ตาง ๆ จํานวนมากมายดวยเชนกัน อย า งไรก็ ต ามในส ว นของจั ง หวั ด ชุ ม พร พบหลั ก ฐานชั้ น ต น ที่ ก ล า วถึ ง การค า ประเวณี เ ถื่ อ น ให กั บ ทหารญี่ ปุ น ที่ เ รี ย กว า “ห อ งหญิ ง นครโสเภณี ” ของนางบุญชวย เอี๋ยวตระกูล เปนหัวหนา หญิงนคร โสเภณี โดยมีนายวาดผูเปนสามีและกํานันผูมีอิทธิพล ของตําบลบางหมาก อําเภอเมือง จังหวัดชุมพร เปนผู คุม (สจช.บก.สูงสุด 2.7.3.2/44 2485) และคอยจัดหา ผูหญิงไทยมาขายบริการทางเพศแกทหารญี่ปุนดวย ความสมัครใจเพราะไดคาตอบแทนสูง ซึ่งสวนนี้ไดรับ การยืน ยัน จากราษฎรในทอ งถิ่ น ว า ในช วงสงคราม มหาเอเชียบูรพา กิจการคาประเวณีในบริเวณตลาด จัง หวั ด ชุม พรขยายตั ว มากขึ้ น ไมไ ด มี เ พี ย งแค ซ อ ง โสเภณีของนางบุญชวยเทานั้น เพราะพลทหารชาว 133


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปที่ 30 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2553

ญี่ปุนไดเขามาใชบริการเปนจํานวนมาก แตกระนั้นก็ ตามซองโสเภณีก็ยังไมเพียงพอกับความตองการของ ทหารญี่ ปุ น (ขอสงวนนามผู ใ ห สั ม ภาษณ ) ทั้ ง ๆ ที่ ในชวงที่กองทัพญี่ปุนเขามาควบคุมทางรถไฟสายใต ของไทยนั้ น กองทั พ ได จั ด ส ง หญิ ง ปลอบขวั ญ ชาว เกาหลีและไตหวันเขามาใหบริการทางเพศกับทหาร ญี่ปุนที่ประจําการอยูในประเทศไทยเปนจํานวนมาก อยางตอเนื่องแลวก็ตาม ดังกรณีตัวอยางการสงหญิง ปลอบขวัญชาวเกาหลีและไตหวันเขามาตั้งแตเริ่มแรก ของการก อ สร า งทางรถไฟสายไทย-พม า ในเดื อ น กันยายน 2485 และเมื่อการกอสรางทางรถไฟซึ่งเต็ม ไปด ว ยความยากลํ า บากแล ว เสร็ จ ในเดื อ นตุ ล าคม 2486 ทางกองทั พ ได จั ด ให มี ก ารเฉลิ ม ฉลองความ สําเร็จและใหรางวัลแกทหารญี่ปุนที่ทํางานหนัก โดย การจัดสงผู ห ญิ ง ปลอบขวัญ ชาวเกาหลี จํานวน 6-7 คนโดยทางรถไฟ และหยุดใหบริการทางเพศแกทหาร ญี่ ปุ น ตามสถานี ต า งๆ สถานี ล ะ 1 คื น ซึ่ ง ในแต ล ะ สถานีมีทหารประมาณ 60 นาย ที่รอใชบริการ (Hicks 1995 : 99) อยางไรก็ดีจากการสัมภาษณราษฎรใน ทองถิ่นทั้งในจังหวัดกาญจนบุรี ชุมพร และระนอง ซึ่ง เปนพื้นที่ที่มีการกอสรางทางรถไฟทหารของกองทัพ ญี่ปุนนั้นไดบอกเลาถึงประสบการณตรงกันวา กองทัพ ญี่ปุนไดนําผูหญิงปลอบขวัญชาวเกาหลีจํานวนมาก เข ามาใหบริการทางเพศแกทหารญี่ปุน รวมทั้ งยังมี หญิงขายบริการชาวไทย ในจังหวัดสวนหนึ่งที่สมัครใจ ขายบริการทางเพศใหแกทหารญี่ปุน ทั้งนี้ทางทหาร ญี่ปุนไดเชาบานพักหรือหองแถวในบริเวณตลาดทั้งใน จั ง หวั ด กาญจนบุ รี แ ละชุ ม พรให ผู ห ญิ ง เหล า นั้ น พั ก อาศั ย เมื่ อ นายทหารญี่ ปุ น เสร็ จ ภาระกิ จ จากการ ควบคุมการกอสรางทางรถไฟแลว จึงเดินทางเขามา ใชบริการ ซึ่งสวนใหญจะเปนระดับนายทหารจึงมีสิทธิ เข า มาใช บ ริ ก ารได (ขอสงวนนามผู ใ ห สั ม ภาษณ ) อยางไรก็ดี ขอมูลของไทยที่เกี่ยวของกับการใหความ รวมมือในการจัดหญิงหยอนใจหรือผูหญิงปลอบขวัญ ของไทยให กั บ ทหารญี่ ปุ น รวมทั้ ง การข ม ขื น และ กระทําชําเราหญิงไทยของทหารญี่ปุน มักจะถูกปกปด เป น ความลั บ ไม ใ ห ห นั ง สื อ พิ ม พ ลงข า วเพื่ อ รั ก ษา

134

ความสัมพันธอันดีระหวางไทยกับญี่ปุน ตามขอตกลง ของอนุ กรรมการประสานงานโฆษณาการไทย-ญี่ ปุ น เมื่ อ วั น ที่ 7 กรกฎาคม 2485 (สจช.บก.สู ง สุ ด 3.1.4.10/6 2485) ดว ยเหตุนี้จึงทํา ใหดูเ หมือนวา ทหารญี่ปุนปฏิบัติตอหญิงไทยในลักษณะที่ดีกวา ใน ประเทศอื่นๆของเอเชียตะวันออกเฉียงใตที่กองทัพ ญี่ปุนเขา มา ยึดครองเปน เมืองขึ้น ทั้ง ๆ ที่ ห ลัก ฐาน เทาที่ปรากฏ และไดยกตัวอยางขางตนมีการเกณฑ ผูหญิงไทย ทั้งที่ไมเคยมีอาชีพขายบริการทางเพศมา กอน รวมทั้งผูหญิงที่มีอาชีพขายบริการทางเพศอยู แลว มาเปนผูหญิงปลอบขวัญ เพื่อใหบริการทางเพศ แก ท หารญี่ ปุ น ทั้ ง ในลั ก ษณะของการถู ก บั ง คั บ และ สมัครใจ ซึ่งเปนวิธีการเกณฑที่ใกลเคียงกับวิธีการที่ใช ในเมืองขึ้นของกองทัพญี่ปุน หากแตจะแตกตางกันที่ การปฏิบัติตอหญิงไทยในลัก ษณะที่รุนแรงนอยกวา และไมมีการจัดสงผูหญิงไทยไปเปนผูหญิงปลอบขวัญ ทหารญี่ปุนในตางแดนเทานั้น

สรุป การเขามาควบคุมเสนทางรถไฟสายใตของ กองทั พ ญี่ ปุ น ในสมั ย สงครามมหาเอเชี ย บู ร พา ไดสงผลกระทบตอการดําเนินชีวิตของราษฎรไทยใน ทองถิ่น โดยเฉพาะทองถิ่นอันเปน ที่ตั้งของเสนทาง รถไฟทหารสายใหม รวมทั้งทองถิ่นที่ตั้งอยูบนทางรถไฟ สายใตที่มีทหารญี่ปุน เชลยศึกสัมพันธมิตร กรรมกร มลายูและจีนจํานวนมากเขามาพักอาศัย อันไดแก จังหวัด ราชบุรี กาญจนบุรี สงขลา ชุมพร และระนอง ตางไดรับ ผลกระทบจากป ญ หาการใช เ งิ น ดอลลาร ข องทหาร ญี่ปุน ปญหาเครื่องอุปโภคบริโภคราคาสูง และปญหา การขาดแคลนขาวสาร ซึ่งปญหาเหลานี้เปนตัวอยาง ภาพสะทอนปญหาการดํารงชีวิตที่ราษฎรไทยในพื้นที่ ดั ง กล า วได รั บ โดยตรงและรุ น แรงมากกว า ในพื้ น ที่ อื่นๆ นอกจากนั้นการเขามาควบคุมทางรถไฟสายใต ของกองทัพญี่ปุนในสมัยสงครามยังเปนกรณีตัวอยาง ที่ ส ะท อ นให เ ห็ น ถึ ง การใช อํ า นาจทางการทหารที่ เหนือกวาของกองทัพญี่ปุน ในการเขามาจัดการและ ควบคุมเสนทางการคมนาคมของไทยอีกดวย


ชีวิตราษฎรไทยสมัยสงครามมหาเอเชียบูรพา : มุมมองผานการเขามา ควบคุมทางรถไฟสายใตของกองทัพญี่ปุน พวงทิพย เกียรติสหกุล

บรรณานุกรม เอกสารชั้นตน สจช. บก.สูงสุด 2.4.1.6/4. การเคลื่อนไหวของทหารญี่ปุนในจังหวัดราชบุรี-กาญจนบุรี (23 ก.พ. 2485 - 30 มิ.ย. 2488). สจช. บก.สูงสุด 2.5.2/10. การเคลื่อนไหวของทหารญี่ปุนในจังหวัดชุมพร (2 มี.ค. 2486 - 25 พ.ย. 2487). สจช. บก.สูงสุด 2.5.2./11. การเคลื่อนไหวของทหารญี่ปุนในจังหวัดระนอง (8 มี.ค. 2486 - 5 ก.ค. 2488). สจช. บก.สูงสุด 2.5.2/12. การเคลื่อนไหวของทหารญี่ปุนในเขตมณฑลที่ 6 (17 มี.ค. 2486 - 1 ก.ย. 2487). สจช. บก.สูงสุด 2.5.3/3. อนุกรรมการผสมประจําจังหวัดกาญจนบุรี (7 ม.ค. 2485 - 31 ม.ค. 2488). สจช. บก.สูงสุด 2.5.3/5. อนุกรรมการผสมประจําจังหวัดในเขตมณฑลที่ 6 (23 ม.ค. 2485 - 5 พ.ค. 2488). สจช. บก.สูงสุด 2.5.3/8. อนุกรรมการผสมประจําจังหวัดลําปาง (18 มี.ค. 2485 - 13 ส.ค. 2488). สจช. บก.สูงสุด 2.5.3/9. อนุกรรมการผสมประจําจังหวัดระนอง (24 มี.ค. 2485 - 7 พ.ค. 2488). สจช. บก.สูงสุด 2.6.2/4. ญี่ปุนขอซื้อน้ําตาล (23 ธ.ค. 2484 - 25 ก.ค. 2485). สจช. บก.สูงสุด 2.6.2/31. ขาว (9 มิ.ย. 2485 - 8 ก.ย. 2488). สจช. บก.สูงสุด 2.6.4/9. ทหารญี่ปุนขนสงขาวออกนอกประเทศ (25 ก.พ. 2485 - 15 มี.ค. 2486). สจช. บก.สูงสุด 2.6.4/13. ทหารญี่ปุนละเมิดพิธีการศุลกากรที่สุไหงโกลก (19 มิ.ย. 2485 - 8 ก.พ. 2486). สจช. บก.สูงสุด 2.6.9/2. การรับแลกธนบัตรดอลลารทหารญี่ปุนที่ใชในจังหวัดภาคใตประเทศไทย (27 ธ.ค. 2484 - 3 ธ.ค. 2485). สจช. บก.สูงสุด 2.6.9/3. ธนบัตรปลีกยอยที่ฝายญี่ปุนขอแลกและเรื่องธนบัตรที่สั่งพิมพที่ประเทศญี่ปุน (15 เม.ย. 2485 - 16 ก.พ. 2488). สจช. บก.สูงสุด 2.6.9/6. เรื่องการกูเงินจากประเทศญี่ปุนและการชําระเงินระหวางประเทศไทยและญี่ปุน ดวย เยนพิเศษ (22 ส.ค. 2485 - 20 เม.ย. 2486). สจช. บก.สูงสุด 2.6.9/15. การแลกเงินรูปทหารญี่ปุนที่ใชกันในจังหวัดกาญจนบุรี (10 พ.ย. 2486 - 25 ก.พ. 2487). สจช. บก.สูงสุด 3.1.4.10/6. บันทึก (ลับ) การประชุมอนุกรรมการประสานงานโฆษณาการไทยญี่ปุน ครั้งที่ 25 (7 ก.ค. 2485). สจช., [2] สร. 0201.98/30. ญี่ปุนกวานซื้อสิ่งของและสินคาตาง ๆ (31 ก.ค. 2485 - 3 ส.ค. 2488). สจช., [2] สร. 0201.98/36. กองทัพญี่ปุนขอซื้อเนื้อโคและเนื้อกระบือ (23 - 28 เม.ย. 2486). สจช., [2] สร. 0201.98/44. ทหารญี่ปุนยึดจังหวัดระนอง (12 ก.ย. - 31 ต.ค. 2487). สจช., [2] สร. 0201.98/46. การประสานงานกับพันธมิตรทางภาคใต (26 ต.ค. 2487 - 25 ม.ค. 2488). สจช., [2] สร. 0201.98.6/2. การกักกันและการคากําไรเกินควร (15 ก.ย. 2482 - 14 ก.พ. 2491). สจช., [2] สร. 0201.98.6/8. การปนสวนเครื่องอุปโภคบริโภค (18 ต.ค. 2485 - 11 เม.ย. 2488). สจช., [2] สร. 0201.98.6/9. การจําหนายและรานคาของปนสวน (13 พ.ย. 2485 - 12 มิ.ย. 2487). สจช., [2] สร. 0201.98.6/10. รายงานการประชุมคณะกรรมการควบคุมเครื่องอุปโภคและบริโภค (11 มิ.ย. 2486 15 ต.ค. 2487). สจช., [2] สร. 0201.98.6/13. เงินสินบนเกี่ยวกับการควบคุมเครื่องอุปโภคบริโภค (18 พ.ย. 2487). สจช., [3] สร.0201.29.1/40. การสะสมขาวสารในจังหวัดภาคใต หรือการชวยเหลือขาราชการและพลเมืองภาคใต ในเรื่องขาวแพง (2 มิ.ย. 2486 - 8 ม.ค. 2497). 135


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปที่ 30 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2553

สจช., [3] สร.0201.29.1/50. ทุนหมุนเวียนซื้อขาวบรรเทาความขาดแคลนจังหวัดตาง ๆ (1 ก.ค. 2488 – 23 ม.ค. 2494).

ภาษาไทย แถมสุข นุมนนท. (2521). เมืองไทยสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง. กรุงเทพฯ: โรงพิมพเรือนแกวการพิมพ. นากามูระ อาเคโตะ, พลเอก. (2534). บันทึกผูบัญชาการกองทัพญี่ปุนประจําประเทศไทยเกี่ยวกับ สงครามโลกครั้งที่ 2. แปลโดย มูราซิมา เออิจิ และนครินทร เมฆไตรรัตน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพมหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร. พรรณี บัวเล็ก. (2540). จักรวรรดินิยมญี่ปุนกับการพัฒนาทุนนิยมไทย : ระหวางสงครามโลกครั้งที่ 1-2 (พ.ศ. 2457 – 2484). กรุงเทพฯ: คอมแพคพริ้นท. โยชิกาวา โทชิฮารุ. (2538). ทางรถไฟสายไทย-พมาในสมัยสงครามมหาเอเชียบูรพา. แปลโดย อาทร ฟุงธรรม สาร และคณะ. กรุงเทพฯ: อมรินทรพริ้นติ้งแดนดพับลิชชิ่ง.

ภาษาญี่ปุน Ota Hirotake. (2001). “Nihon Senryoka no Maraya ni Okeru Tetsudo Unei Jijou” (สภาพการบริหาร จัดการทางรถไฟในมลายูภายใตการยึดครองของญี่ปุน) in Akaski Yoji, Nihon Senryoka no Eiryo Maraya - Shingaporu (มลายูและสิงคโปรภายใตการยึดครองของญี่ปุน). Tokyo: Iwanamishoten. Sanbo Honbu, editor. (1994). Sugiyama Memo Jo (บันทึกสุงิยะมะ เลมแรก). 2nd ed. Tokyo: Harashobo. Sanbo Honbu, editor. (1994). Sugiyama Memo Ge (บันทึกสุงิยะมะ เลมหลัง). 2nd ed. Tokyo: Horashobo. Yano Tooru. (1997). Nanshinron no Keifu (ประวัติความเปนมาของแนวคิดในการขยายอิทธิพลลงสูภูมิภาค ทางดานใต). 8th ed. Tokyo: Chu Kouronsha. Yano Tooru. (1979). Nihon no Nanyo Shikan (ประวัติศาสตรของแนวคิดตอภูมิภาคทางดานใตของญี่ปุน). Tokyo: Chu Kouronsha.

ภาษาอังกฤษ Follds, E. Thadeus. (1967). Japan’s Relations with Thailand : 1928 - 1941. A Thesis Submitted for the Degree of Doctor of Philosophy, University of Washington. Hicks, George. (1995). The Comfort Women : Sex Slaves of the Japanese Imperial Forces. 3rd ed. Chiang Mai: Silkworm Books. Nobutaka Ike, editor & translator. (1967). Japan’s Decision For War : Records of the 1941 Policy Conferences. California: Stanford University Press. Renolds, E. Bruce. (1994). Thailand and Japan’s Southern Advance, 1941 - 1945. New York: St Martin’s Press. Swan, L. Willam. (1986). Japanese Economic Relations with Siam : Aspects of Their Historical Development 1884 to 1942. A Dissertation Submitted for the Degree of Doctor of Philosophy, Australian National University. 136


ชีวิตราษฎรไทยสมัยสงครามมหาเอเชียบูรพา : มุมมองผานการเขามา ควบคุมทางรถไฟสายใตของกองทัพญี่ปุน พวงทิพย เกียรติสหกุล

Yuki Tanaka. (2003). Comfort Women : Sexual Slavery and Prostitution during World War II And the US Occupation. Reprinted. New York: Routledge.

สัมภาษณ นายประพฤติ สิทธิสังข. อายุ 84 ป. 99 ถนนแสงชูโต ซอย 4 ตําบลปากแพรก อําเภอเมืองจังหวัดกาญจนบุรี. สัมภาษณ, 17 ตุลาคม 2546. นางประยูร พงษประยูร. อายุ 85 ป. 179 ถนนนครนอก ตําบลบอยาง อําเภอเมือง จังหวัดสงขลา. สัมภาษณ, 9 ตุลาคม 2546. นายปน พงษประยูร. อายุ 85 ป. 179 ถนนนครนอก ตําบลบอยาง อําเภอเมือง จังหวัดสงขลา. สัมภาษณ, 9 ตุลาคม 2546. นายเปงฮั่ว แซเปา. อายุ 80 ป. 9/1 ตําบลหงาว อําเภอเมือง จังหวัดระนอง. สัมภาษณ, 6 ตุลาคม 2546. นางผุสดี เจริญพงศ. อายุ 83 ป. 15 ซอย 3 ถนนชายเขา อําเภอเมือง จังหวัดสงขลา. สัมภาษณ, 9 ตุลาคม 2546. พลโทรวมศักดิ์ ไชยโกมินทร. อายุ 82 ป. 21/3 ซอยกระตายทอง อําเภอเมือง จังหวัด กาญจนุบรี, สัมภาษณ, 17 ตุลาคม 2546. นายลาภ เรืองกําเนิด. อายุ 80 ป. 48 หมู 7 ตําบลทาแซะ อําเภอทาแซะ จังหวัดชุมพร. สัมภาษณ, 5 ตุลาคม 2546. นายสนั่น ชุมวรฐายี. อายุ 79 ป. 34/5 ถนนราษฎรวิถีกลาง อําเภอเมือง จังหวัดชุมพร. สัมภาษณ, 5 ตุลาคม 2546. นางสิวออง แซอุย. อายุ 96 ป. 36 ถนนทาเมือง ตําบลเขานิเวศน อําเภอเมือง จังหวัดระนอง. สัมภาษณ, 6 ตุลาคม 2546. นายสุธน เจริญพงศ. อายุ 83 ป. 15 ซอย 3 ถนนชายเขา อําเภอเมือง จังหวัดสงขลา. สัมภาษณ, 9 ตุลาคม 2546. นายสุพาสน ศิริพันธุ. อายุ 83 ป. 31/31 ถนนรัตนโกสินทร อําเภอเมือง จังหวัดระนอง. สัมภาษณ, 6 ตุลาคม 2546. นายแสวง ครุฑธานนท. อายุ 79 ป. บานหนองขาว อําเภอทามวง จังหวัดกาญจนบุรี. สัมภาษณ, 18 ตุลาคม 2546.

137


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปที่ 30 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2553

138


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปที่ 30 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2553

การสรางสรรคนวัตกรรมองคการ : กรณีศึกษาการประยุกตใชการจัดการความรู Organizational Innovativeness : A Case Study of Knowledge Management Application พยัต วุฒิรงค1 และ เจษฎา นกนอย2 Phayat Wutthirong and Chetsada Noknoi

บทคัดยอ ในยุ ค โลกาภิ วั ฒ น มี ก ารเปลี่ ย นแปลงอย า งรวดเร็ ว ทั้ ง ทางด า นเศรษฐกิ จ สั ง คม การเมื อ ง และ สภาพแวดลอม องคการจํานวนไมนอยใหความสนใจกับขอมูลขาวสารและเทคโนโลยีสมัยใหมมากยิ่งขึ้น มี วัตถุประสงคเพื่อสรางความไดเปรียบในการแขงขัน โดยการพัฒนานวัตกรรมสินคา บริการและกระบวนการใหมๆ เพื่อรองรับกับเศรษฐกิจฐานความรู หลายองคการมีการนําการจัดการความรูและนวัตกรรมมาใชเปนกลยุทธหลัก บทความนี้แสดงใหเห็นวา การจัดการความรูและนวัตกรรมเปนกระบวนการที่มีความสัมพันธกันและมีความสําคัญ ตอองคการเพื่อสรางความไดเปรียบในการแขงขันอยางยั่งยืน องคการตองมองกระบวนการทั้งสองเปนหนึ่งเดียว และทําควบคูกัน เมื่อองคการสามารถสรางใหพนักงานเกิดการจัดการความรูแลว นวัตกรรมในองคการเปนสิ่งที่จะ เกิดขึ้นตามมา นําไปสูการพัฒนาเปนองคการแหงนวัตกรรมและมีผลการปฏิบัติงานสูงในที่สุด คําสําคัญ : 1. การจัดการความรู. 2. นวัตกรรมองคกร. 3. การสรางสรรคนวัตกรรม. Abstract

In the globalization era, economics, society, politics, and the environment are changing rapidly. Organizations pay more attention to information and modern technologies. This is because they realize that the benefits of information and the advances of technology help increase the capacity of competition, which leads to development, innovations, services, and processes. The benefits also support a knowledge-based economy. Currently, knowledge management and innovation processes are used as key strategies. This paper indicates that knowledge management and innovation processes are closely related to each other and it is very important for organizations to create sustainable competitive advantage. Knowledge management and innovation processes must be considered as a single process and must be performed simultaneously. When employees in organizations are well-informed about knowledge management and innovation processes, the efficiency and the capacity of organizational developments will certainly increase. Keywords : 1. Knowledge management. 2. Organizational Innovativeness. 3. Innovativeness. 1

ดร. ผูจัดการการตลาด บริษัท ผลิตภัณฑและวัสดุกอสราง จํากัด ในเครือซิเมนตไทย (SCG) และอาจารยพิเศษ สถาบัน เทคโนโลยีแหงอโยธยา ศูนยศึกษาเมืองทองธานี 2 อาจารย ดร. ประจําสาขาบริหารธุรกิจ คณะเศรษฐศาสตรและบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยทักษิณ

139


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปที่ 30 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2553

บทนํา ในยุค โลกาภิวัฒนสถานการณตา งๆ มีการ เปลี่ ย นแปลงอย า งรวดเร็ ว องค ก ารที่ เ คยมี ค วาม ไดเปรียบในการแขงขันหากไมมีการปรับตัวจะสูญเสีย ความไดเปรีย บในระยะเวลาอั น สั้ น อัน เกิด จากการ แขงขันที่มีความรุนแรงมากขึ้น (D’Aveni 1994) ประกอบกั บ ในป จ จุ บั น เป น ยุ ค สั ง คมแห ง ความรู ค ว า ม รู ถื อ เ ป นห นึ่ ง ใ น ท รั พ ย า ก ร พื้ น ฐ า น ท า ง เศรษฐศาสตร ผูปฏิบัติงานที่มีความรูจะมีบทบาทที่ สําคัญ (Drucker 1998) ประเทศไทยอยูในกลุม ประเทศที่มีระดับรายไดปานกลาง การที่จะยกระดับ รายไดจําเปนตองมีการขับเคลื่อนสังคมไทยไปสูสังคม ฐานความรู มีการสรางความรูขึ้นมาและประยุกตใช ความรูนั้นในทุกกิจกรรมทุกภาคสวนของสังคม (พยัต วุ ฒิ ร งค 2550) การจั ด การความรู จึ ง มี ค วามสํ า คั ญ อย า งยิ่ ง ต อ เสถี ย รภาพของประเทศทั้ ง ทางด า น เศรษฐกิจและสังคม จึงจําเปนตองทําใหองคการตางๆ ตระหนั ก ว า พื้ น ฐานสํ า หรั บ ความได เ ปรี ย บในการ แขงขันคือ นวัตกรรม (Innovation) ซึ่งเปนการใช ความรูเพื่อสรางความรูใหม (Drucker 1993 : 173) เป น ที่ ย อมรั บ กั น ว า องค ป ระกอบของความรู ที่ เ ห็ น อยางชัดแจง (Explicit Knowledge) และความรูที่ ไมเห็นอยางชัดแจง (Tacit Knowledge) ขององคการ มีบทบาทสําคัญตอนวัตกรรม (Carneiro 2000 ; Davenport and Prusak 1998 ; Drucker 1999 ; Nonaka and Takeuchi 1995) ทั้งนี้เพราะการจัดการ ความรู (Knowledge Management) เปนสิ่งที่ตองทํา เพื่อใหองคการไดรับความรูมากที่สุด (Armbrecht… et al. 2001) เพราะยิ่งองคการมีความรูมากเทาไรก็ยิ่ง สามารถเรี ย นรู ใ นสิ่ ง ใหม ๆ ได ม ากขึ้ น เท า นั้ น (เจษฎา นกนอย 2549) ซึ่งหมายถึงโอกาสในการ เกิดขึ้นของนวัตกรรมภายในองคการ บทความนี้มีวัตถุประสงคเพื่อแสดงใหเห็นวา การผสานการจั ด การความรู แ ละนวั ต กรรมเป น กระบวนการเดียวกันเพื่อสรางความไดเปรียบในการ แขงขันอยางยั่งยืน ผูศึกษาไดทบทวนวรรณกรรมที่ เกี่ยวของและยกตัวอยางกรณีศึกษาเครือซิเมนตไทย ซึ่งถือวาเปนองคการที่มีการนําการจัดการความรูและ

140

นวัตกรรมมาใชไดอยางมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยใชวิธีการสัมภาษณเชิงลึก (In-depth Interview) และการสัมภาษณกลุมยอย (Focus Group Interview) สํ า หรั บ พนั ก งานและผู บ ริ ห ารของเครื อ ซิ เ มนต ไ ทย เกี่ยวกับการเชื่อมโยงกระบวนการดังกลาวเพื่อใหเห็น ภาพไดชัดเจนขึ้น

แนวความคิดเรื่องการจัดการความรูเพื่อสรางความ ไดเปรียบในการแขงขัน กลยุ ท ธ ก ารจั ด การความรู ถื อ เป น การให ความสําคัญกับความรูในฐานะเปนทรัพยากรหนึ่งของ องคการ (Resource-based View) ซึ่งเปนที่เขาใจวา เปนกระบวนการเปลี่ยนแปลงและทําใหเกิดสิ่งใหมใน องคการโดยการสรางนวัตกรรมผานการสงผานและใช ความรูใหม (Cohen and Levinthal 1990) การนํา กลยุทธการจัดการความรูมาใชทําใหความสามารถใน การเรียนรูขององคการดีขึ้น และทําใหการใชความรูดี ขึ้นดวย (Kogut and Zander 1992) ทรัพยากรใหม และความสามารถที่ถูกสรางขึ้นยากที่จะถูกลอกเลียนแบบ ถือเป น หัว ใจของความได เ ปรี ย บในการแขงขั น ที่จ ะ ทําใหความสามารถในการทํากําไรขององคการสูงขึ้น (Drucker 1993) สวนหนึ่งของความรูที่ถูกสรางขึ้นใน องคการสามารถเห็นไดอยางชัดแจงและงายตอการ จัดเก็บและสงตอ ขณะที่ ความรูที่ไ มสามารถเห็นได อยางชัดแจงไมสามารถแยกออกจากตัวคนได ทั้งนี้ ความรูเปนสิ่งที่มีความสําคัญเชิงกลยุทธเนื่องจากเปน สิ่งที่หายาก มีความสัมพันธกับองคการ และบางครั้ง ยากตอการสงตอ (โดยเฉพาะความรูที่ไมเห็นอยางชัด แจง) นอกจากนี้ยังมีคาและยากตอการลอกเลียนแบบ (Grant 1996b) การจั ด การความรู เ ป น กระบวนการเก็ บ รวบรวม กระจาย และใชทรัพยากรดานความรูอยางมี ประสิทธิภาพ (Davenport 1994) ทําใหวิธีการตางๆ ดีขึ้นในทุกระดับและทุกพื้นที่ขององคการ นําไปสูการ พัฒนาสินคาและวิธีการทํางาน O”Dell and Grayson (1998) ใหคํานิยามการจัดการความรูวาเปนกลยุทธที่ ถูกพัฒนาขึ้นในองคการ เพื่อใหแนใจวาความรูไปถึง คนที่ถูกตองในเวลาที่ถูกตอง เพื่อใหมีการแลกเปลี่ยน


การสรางสรรคนวัตกรรมองคการ : กรณีศึกษาการประยุกตใชการจัดการความรู พยัต วุฒิรงค และ เจษฎา นกนอย

และใชสารสนเทศในการพัฒนางานตางๆขององคการ สิ่งเหลานี้ทํา ใหองคการใหค วามสนใจที่จะสรา งการ เรียนรูอยางตอเนื่องทั่วทั้งองคการ กระบวนการในการ จัดการความรูประกอบดวยการสราง การจัดเก็บ การ กระจาย และการใชความรูซึ่งถือเปนวัฏจักรที่ตองเนน ความตอเนื่องและมีความสัมพันธอยางใกลชิดกับการ สรางนวัตกรรม (Forcadell and Guadamillas 2002) สิ่งสําคัญในกระบวนการสรางความรูคือ ตอง อยู บ นพื้ น ฐานของความรู ภ ายในองค ก าร การหา สารสนเทศและความรูจากภายนอกองคการ การรวม ความรูทั้งภายในและภายนอกองคการเขาดวยกันและ ใชในการแกปญหา การสรางความรูใหมและการสราง นวัตกรรมจากการรวมความรูเขาดวยกัน และสุดทาย ใหความสําคัญกับความสามารถขององคการในการซึม ซับความรูใหมๆ (Soo, Midgley and Devinney 1999) ทั้งนี้เพราะองคการเรียนรูผานทางพนักงานที่ตองการ เรียนรูเทานั้น (Senge 1990) จึงตองทําใหพนักงานมี ความสมัครใจ ไมใชกะเกณฑหรือบังคับ ทําใหการ เรียนรูเกิดขึ้นเมื่อคนอยากรูและตองการใชงาน และ ต อ งทํ า ให ค วามรู ที่ ไ ม เ ห็ น อย า งชั ด แจ ง (Tacit Knowledge) ออกมาสูความรูที่เห็นอยางชัดแจง (Explicit Knowledge) ใหไดมากที่สุด (พยัต วุฒิรงค 2549) เพราะเปาหมายของการจัดการความรูคือการ สรางความไดเปรียบในการแขงขันขององคการผาน ทางความรูที่มีคุณคา (Kim 1999 ; Wiig 1997) นักวิชาการหลายทานแสดงใหเห็นวา ความรู ใหมที่ถูก สร า งขึ้นเปนแหลงที่มาหลักของนวัตกรรม องคการ (Nonaka and Takeuchi 1995 ; Teece, Picano and Shuen 1997 ; Grant 1996b ; Kogut and Zander 1992) สิ่งที่คนพบสวนใหญเปนการสรางความรู ซึ่ง องคการตองการปรับปรุงเพื่อใหแนใจวาความรูเหลานี้ ไม ไ ด เ ป น สิ่ ง ที่ ล า สมั ย สํ า หรั บ การพั ฒ นานวั ต กรรม เพราะความรู ใ หม น อกจากจะเป น พื้ น ฐานสํ า หรั บ นวัตกรรมแลวยังเปนพื้นฐานสําหรับความรูในอนาคต ขององคการและสรางใหเกิดสิ่งใหมจากสิ่งที่มีอยูใ น ปจจุบันอีกดวย

แนวความคิ ด เรื่ อ งนวั ต กรรมและความได เ ปรี ย บ เชิงกลยุทธ นับแตทศวรรษ 1990 เปนตนมา การเนน นวัตกรรรมแสดงใหเห็นถึงคุณภาพและประสิทธิภาพ อันเปนแหลงที่มาของความไดเปรียบเชิงกลยุทธของ องคการ (Bolwijn and Kumpe 1990) นวัตกรรมเปน กระบวนการที่ เ กิ ด ขึ้ น ใหม ใ นองค ก าร ซึ่ ง ผู บ ริ ห าร พยายามคนหาแนวทางในการเปลี่ยนแปลงหรืออยาง นอยที่สุดเปนการปรับสิ่งที่นําเสนอ (นวัตกรรมสินคา หรื อ บริ ก าร) หรื อ ปรั บ การสร า งและส ง มอบสิ่ ง ที่ นําเสนอ (นวัตกรรมกระบวนการ) เพื่อลดความเสี่ยง ขององคการที่เกิดจากคูแขงขันและสภาพแวดลอมที่มี การเปลี่ยนแปลง (Bowen… et al. 1994) ใหความ สนใจกับประเด็นที่มีความเฉพาะเจาะจงกับองคการ เพื่อรองรับความทาทายที่เกิดขึ้น (Tidd, Bessant and Pavitt 2001) โดยศูนยกลางของกระบวนการเชิงกล ยุทธคือ ความรูดานเทคโนโลยี สินคา และตลาดของ องค ก าร รวมถึ ง แนวทางในการบริ ห ารความรู เ พื่ อ สรางความไดเปรียบในการแขงขันผานทางนวัตกรรม (Nonaka 1991 ; Leonard-Barton 1995) นวัตกรรมเปนการนําความคิดหรือพฤติกรรม ซึ่ ง เป น สิ่ ง ใหม ต อ องค ก ารมาใช อาจเป น สิ น ค า ใหม บริ ก ารใหม หรื อ เทคโนโลยี ใ หม อาจเป น การ เปลี่ ย นแปลงแบบค อ ยเป น ค อ ยไป หรื อ แบบก า ว กระโดด (Herkema 2003) ประกอบดวยมุมมอง 2 ดานคือ มุมมองที่เนนดานวัตถุ (Thing-Oriented) และ มุมมองที่เนนดานกระบวนการ (Process-Oriented) นวัตกรรมที่เนนดานวัตถุถูกพิจารณาจากสินคาหรือ ผลลั พ ธ ที่ เ ป น ความคิ ด สิ น ค า หรื อ เครื่ อ งมื อ ใหม ๆ (Damanpour and Evan 1984 ; Kimberly and Evanisko 1981) ในขณะที่นวัตกรรมที่เนนดานกระบวนการถูก พิ จ ารณาจากกระบวนการของการแนะนํ า สิ่ ง ใหม (Rogers 1995 ; Van de Ven and Rogers 1988) ผลลั พ ธ ด า นนวั ต กรรมถู ก แบ ง ออกตามเกณฑ ที่ กําหนด เกณฑที่มีความนิยมสวนใหญคือ เปาหมาย ของผลลัพธดานนวัตกรรม (สินคา (Product) กับ กระบวนการ (Process)) พื้นที่ของผลกระทบ (ดาน เทคนิค (Technical) กับดานการบริหาร (Administrative))

141


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปที่ 30 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2553

และระดับของการเปลี่ยนแปลง (เปลี่ยนแปลงอยา ง มาก (Radical) กับ คอยๆ เปลี่ยนแปลงทีละนอย (Incremental)) (Gopalakrishnan and Damanpour 1997) ในขณะที่การแบงประเภทชวยใหมีความเขาใจ ความซั บ ซ อ นของนวั ต กรรมมากขึ้ น แต ไ ม ไ ด ร ะบุ ลั ก ษณะของความรู ที่ เ กี่ ย วข อ งกั บ กระบวนการ นวัตกรรมองคการที่ชัดเจนและสรางความเขาใจเพิ่ม มากขึ้น Goplakrishnan and Bierly (2001) ไดแบง ความรูที่เกี่ยวของกับนวัตกรรมใน 3 มิติคือ มิติของ ความไมชัดแจงและชัดแจง (Tacit-Explicit Dimension) มี ค วามสั ม พั น ธ อ ย า งมากกั บ มิ ติ ด า นอื่ น ๆ และ เกี่ยวของกับการถายโอนความรูระหวางกัน มิติของ ความเป น ระบบและความเป น อิ ส ระ (SystemicAutonomous Dimension) จะเนนที่ความสามารถใน การรวมกั น เป น หนึ่ ง เดี ย ว เช น ขอบเขตของ องค ป ระกอบด า นความรู ส ามารถถู ก เชื่ อ มโยงกั บ องคประกอบของความรูอื่นๆ ในขณะที่มิติดานความ ซับซอนและความงาย (Complex-Simple Dimension)

เนนความซับซอนของความรูที่รวมเขาดวยกันในการ สรางนวัตกรรม บนพื้นฐานของมิติเหลานี้ Gopalakrishnan, Bierly and Kessler (1999) แยกประเภทผลลัพธของ นวัตกรรมออกเปน 2 ประเภทคือ ประเภทที่ 1 แบง ลักษณะตามการใชในรูปแบบ Tacit Systemic และ Complex ของความรู ประเภทที่ 2 แบงลักษณะตาม การใชในรูปแบบ Explicit Autonomous และ Simple ของความรู นวัต กรรมกระบวนการ เช น ระบบการ ตรวจสอบการกูเงินอัตโนมัติ เปนนวัตกรรมประเภท 1 ขณะที่นวัตกรรมสินคา เชน ATM และการฝาก เงิ น เ ดื อ นโดยตรง เป น น วั ต กรรมป ระเภท 2 นอกจากนั้น Gopalakrishnan and Bierly (2001) พบวา ผลลัพธของนวัตกรรมประเภท 1 มีแหลงที่มา จากภายในองคการ ในขณะที่ผลลัพธของนวัตกรรม ประเภท 2 มีแหลงที่มาจากภายนอกองคการ ตาราง 1 สรุ ป การจํ า แนกประเภทบนพื้ น ฐานความรู ข อง นวัตกรรมดังนี้

ตารางที่ 1 การจําแนกประเภทบนพื้นฐานความรูของนวัตกรรม (ที่มา: Gopalakrishnan, Bierly and Kessler 1999) Tacitness Autonomy Complexity ลักษณะของความรู ที่เกี่ยวของ Tacit Explicit Systemic Autonomous Complex Simple ประเภทของผลลัพธดานนวัตกรรม ประเภท 1 / / / (แหลงที่มาภายใน) ประเภท 2 / / / (แหลงที่มาภายนอก) Beckenbach and Daskalakis (2007) อธิบายวา กระบวนการในการสรางสิ่งใหมประกอบดวย 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนการประดิษฐ (Invention) เปนการสราง สิ่งใหมในรูปแนวคิดที่ถูกประยุกตในบริบทของธุรกิจ Nonaka and Takeuchi (1995) กลาววา เกิดจากพื้นฐาน ของความรู ที่ ไ ม ชั ด แจ ง ของแต ล ะบุ ค คล ในขณะที่ ขั้นตอนนวัตกรรม (Innovation) เปนการสรางสิ่งใหม โดยใชประโยชนจากความรู ความสําเร็จของขั้นตอนนี้ ขึ้ น อยู กั บ ความสามารถของผู นํ า มาประยุ ก ต ใ ช 142

(Cohen and Levinthal 1990) และการรวมสิ่งใหมที่ องค ก ารต อ งการทํ า กั บ ความรู ที่ มี อ ยู จ ริ ง (Grant 1996a) นอกจากนั้นการใชความรูที่หามาไดหรือ ความรูที่ถูกสรางขึ้นใหมจะตองทําใหเหมาะกับบริบท ขององคการ

บทบาทของการจัดการความรูในการสรางนวัตกรรม การจัดการความรูชวยเติมเต็มหนาที่ของการ สรางนวัตกรรมดังนี้


การสรางสรรคนวัตกรรมองคการ : กรณีศึกษาการประยุกตใชการจัดการความรู พยัต วุฒิรงค และ เจษฎา นกนอย

บทบาทแรกคือ การจัดการความรูเพื่อสราง นวัตกรรมจะทําใหเกิดการแลกเปลี่ยนและการเขารหัส ความรูที่ไมเห็นอยางชัดแจง ซึ่งเปนสิ่งสําคัญในการ สรางนวัตกรรมขององคการ (Cavusgil, Calantone and Zhao 2003) องคการที่มีศักยภาพในการสราง นวั ต กรรมในระดั บ สู ง จะมี ก ารเรี ย นรู โ ดยการลงมื อ ปฏิบัติ (Learning-by-Doing) ที่ทําใหคูแขงยากที่จะ ซื้อ Know-How ในตลาดและทําใหยากตอการทําซ้ํา การไดรับความรูที่ไมเห็นอยางชัดแจงจากลูกคาและ ผู ผ ลิ ต เป น แหล ง ที่ ม าที่ มี มู ล ค า สู ง สํ า หรั บ การสร า ง นวัตกรรมองคการ (Cavusgil, Calantone and Zhao 2003) ขณะที่ความสามารถในการเรียนรูโดยการลง มื อ ปฏิ บั ติ นํ า ไปสู น วั ต กรรมสิ น ค า และกระบวนการ (Cardinal, Allessandri and Turner 2001) ความรูที่ ไมเห็นอยางชัดแจงทําใหการแลกเปลี่ยนความรูและ การประยุ ก ต ใ ช ค วามรู ใ นกระบวนการนวั ต กรรมมี ความยากมากขึ้น อยางไรก็ดีองคการไมจําเปนตอง ห ว งเรื่ อ งความรู ที่ ไ ม เ ห็ น อย า งชั ด แจ ง ที่ มี อ ยู ทั้ ง นี้ เพราะการจัดการความรูทําใหความรูที่ไมเห็นอยางชัด แจงสามารถเขาถึงไดงาย ผานกระบวนการตางๆ เชน ผานทางฐานขอมูลของผูเชี่ยวชาญ ซึ่งจะชวยในการ เข า รหั ส ความรู ที่ ไ ม เ ห็ น อย า งชั ด แจ ง ให ก ลายเป น ความรูที่เห็นอยางชัดแจงได เพื่อใชสําหรับการสราง นวัตกรรมในอนาคต บทบาทที่ ส องของการจั ด การความรู ใ น กระบวนการนวัตกรรมถูกเชื่อมโยงกับความรูที่เห็น อย า งชั ด แจ ง แม ว า ความรู ที่ เ ห็ น อย า งชั ด แจ ง ไม ไ ด แสดงบทบาทที่เดนชัดเทากับความรูที่ไมเห็นอยางชัด แจงในกระบวนการนวัตกรรม เนื่องจากความจริงที่วา ความรูเกี่ยวกับนวัตกรรมสามารถเขาถึงไดงายจากคู แขงขัน แตความรูนั้นก็เปนองคประกอบสําคัญสําหรับ การสร า งนวัต กรรม ในการพั ฒ นากระบวนการทาง วิทยาศาสตร ความรูที่เห็นอยางชัดแจงมีความสําคัญ ตอกระบวนการวิจัยและพัฒนา (Du Plessis 2007) เชนเดียวกับความรูในชวงตนน้ํา (Upstream) ของการ คนพบในการวิจัยและพัฒนาซึ่งโดยปกติจะเปนสิ่งที่ไม สามารถเห็นอยางชัดแจง ขณะที่ความรูในชวงปลาย น้ํา (Downstream) ในหวงโซแหงคุณคา (Value

Chain) จะเห็นอยางชัดแจง (Cardinal, Allessandri and Turner 2001 ; Scarbrough 2003) ทั้งนี้การ จัด การความรูมีบทบาทสํา คัญในการทํา ใหความรูที่ เห็นอยางชัดแจงที่หามาไดรวมกันเพื่อสรางความคิด ใหมและนําไปสูการสรางนวัตกรรม บทบาทที่สามในการทําใหการจัดการความรู มี ผ ลต อ นวั ต กรรมคื อ ทํ า ให เ กิ ด การรวมกั น เป น ความสามารถของลูกคา ผูผลิต และพนักงานในการ สรางชุมชนเพื่อการแลกเปลี่ยนความรูภายในและขาม ขอบเขตขององค ก าร ทํ า ให เ ป า หมายขององค ก าร สามารถทําไดสําเร็จ (Du Plessis 2007) การรวมกันมี บทบาทสํ า คั ญ ในการถา ยโอนความรูที่ไ มเ ห็น อยา ง ชัดแจงและสรางการเก็บรวบรวมความรู (Cavusgil, Calantone and Zhao 2003 ; Pyka 2002 ; Rodan 2002 ; Scarbrough 2003) การรวมความรูที่ไมเห็น อย า งชั ด แจ ง จากการรวมกั น ของพั น ธมิ ต รช ว ยลด ความเสี่ ย งและต น ทุ น ในการสร า งนวั ต กรรม ทํ า ให แน ใ จในการสร า งสิ่ ง ที่ ทํ า ครั้ ง แรกให ถู ก ต อ ง (FirstTime-Right Approach) ซึ่งจะชวยลดวัฏจักรในการ พั ฒ นาสิ น ค า ให สั้ น ลง และทํ า ให แ น ใ จว า จะได นวัตกรรมที่มีประสิทธิผล (Cavusgil, Calantone and Zhao, 2003) ทั้งนี้การรวมกันดังกลาวจะตองเกิดขึ้น แบบเครือขายที่ไมเปนทางการ (Pyka 2002 ; Rodan 2002 ; Scarbrough 2003) เชน การอภิปรายทาง ออนไลน (Online) เปนตน 1. โมเดลการสรางนวัตกรรมผานการ จัดการความรู การจัด การความรูเป น กระบวนการและวิ ธี ปฏิบัติเกี่ยวกับการสราง การแสวงหาและจับความรู การแลกเปลี่ยนและการใชความรู รวมถึงทักษะและ ความเชี่ยวชาญ (Quintas, Anderson and Finkelstein 1996) การจัดการความรูเกี่ยวของกับทุนทางปญญา และทุนทางสังคมของพนักงานแตละคนเพื่อปรับปรุง ความสามารถในการเรียนรูขององคการ และตระหนัก ว า ความรู เ ป น แหล ง ที่ ม าหลั ก ของนวั ต กรรมของ องคการ (Marshall 1997 ; Castells 1996) องคกร นวัต กรรมเปน มากกวา การแพรก ระจายความรู แต ต อ งสร า งนิ สั ย ในการใช ค วามรู อ ย า งสร า งสรรค

143


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปที่ 30 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2553

(Basadur and Gelade 2006) Herkema (2003) อธิบายวา นวัตกรรมเปนกระบวนการจัดการความรูที่ เนนการสรางความรูใหมเพื่อพัฒนาไปสูแนวทางการ แกปญหาซึ่งสามารถใชไดในเชิงพาณิชย นวัตกรรม เป น กระบวนการที่ เ กิ ด จากความรู ที่ ห ามาได แลกเปลี่ยน และทํา ใหเขา กับเปา หมายในการสรา ง ความรูใหมที่ทําใหเกิดสินคาและบริการใหม ขณะที่ Cardinal, Allessandri and Turner (2001) ชี้ใหเห็น วา กระบวนการนวัตกรรมรวมถึงกิจกรรมดานเทคนิค กิจ กรรมดา นกายภาพ และกิจ กรรมบนพื้นฐานของ ความรู ที่ เ ป น ศู น ย ก ลางในการพั ฒ นาสิ น ค า อย า ง ตอเนื่อง โมเดลของนวัตกรรมมีหลายรูปแบบ แตละ รูปแบบชวยสรางมุมมอง ความเขาใจ และวิธีปฏิบัติให ดีขึ้น (Abernathy and Utterback 1978 ; Van de Ven, Angle and Poole 1989 ; Rothwell 1992 ; Jelinek and Litterer 1994 ; Utterback 1994 ; Dodgson and Rothwell 1995 ; Bellon and Wittington 1996 ; Pavitt 2000 ; Tidd, Bessant and Pavitt 2001) ในการสรางสินคาหรือกระบวนการ ใหมๆ Tranfield, Young and Partington (2003) ได แบงขั้นตอนกิจกรรมการสร างนวัตกรรมออกเปน 3 ขั้นตอนคือ การคนพบ (Discovery) การทําใหสัมฤทธิ์ ผล (Realisation) และการสนั บสนุ น (Nurture) เรียกวา โมเดล D-R-N กลาวคือ ขั้นตอนการคนพบ (Discovery) เนน ความตองการในการคนหาสภาพแวดลอม (ภายใน และภายนอก) จัดเก็บและสรางกระบวนการนวัตกรรม ที่ เ ป น ไปได ต อ งการประเภทของข อ มู ล ที่ มี ค วาม หลากหลาย เชน โอกาสที่จะเกิดขึ้นจากกิจกรรมใน การวิจัย แรงกดดันจากขอบังคับทางกฎหมาย หรือ พฤติ ก รรมของคู แ ข ง ขั น ทํ า ให ไ ด รั บ สิ่ ง กระตุ น ที่ องคการตองตอบสนองถาองคการตองการอยูรอดและ เติบโต (Coombs, Knights and Willmott 1992 ; Tidd, Bessant and Pavitt 2001) ขั้นตอนการทําใหสัมฤทธิ์ผล (Realisation) สนใจว า องค ก ารสามารถนํา สิ่ ง ที่ ค น พบไปสร า ง

144

นวัต กรรมใหป ระสบความสําเร็ จ ไดอย า งไร เกิดขึ้ น จากกระบวนการทางความคิ ด ที่ ผ า นขั้ น ตอนที่ หลากหลายไปสูขั้นตอนสุดทายเพื่ อเตรียมนําสินค า หรือบริก ารใหมๆ ออกสูตลาด หรื อนํ ากระบวนการ หรื อ วิ ธี ก ารใหม ๆ มาใช ภ ายในองค ก าร การทํ า ให สัมฤทธิ์ผลตองเลือกความรูที่มีศักยภาพในการสราง นวั ต กรรม กิ จ กรรมเหล า นั้ น จํ า เป น ต อ งได รั บ ทรัพยากรที่จํา เปนจากองคการ และแมองคก ารที่มี ทรัพยากรที่ดีที่สุดก็อาจไมสามารถทําทุกสิ่งใหสําเร็จ ได ดังนั้นองคการจึงตองเผชิญกับความทาทายในการ เลือกกิจกรรมที่ใชทรัพยากรที่มีอยูเพื่อสรางโอกาสที่ดี ที่ สุ ด เพื่ อ พั ฒ นาไปสู ค วามสามารถในการแข ง ขั น (Adler 1989 ; Roussel, Saad and Erickson 1991 ; Tidd, Bessant and Pavitt 2001) ขั้นตอนการสนับสนุน (Nurturing) มีผล มาจากการที่อ งคก ารมี ก ารเลื อ กทางเลือก องคก าร ตองมีการจัดหาทรัพยากร การพัฒนาวิธีการในการ สํารวจโดยการวิจัยและพัฒนา หรือผานทางการถาย โอนเทคโนโลยี สิ่งเหลานี้สามารถทําโดยการซื้อหรือ ใชประโยชนจากผลการวิจัย หรือการคนหาทรัพยากร ที่ เ หมาะสมที่ สุ ด ไม ใ ช เ พี ย งต อ งอาศั ย ความรู ที่ ถู ก เขารหัส (Codified Knowledge) อยางเปนทางการ เทานั้น แตตองอาศัยความรูที่ไมแสดงใหเห็นอยางชัด แจ ง ด ว ย ขั้ น ตอนนี้ ร วมถึ ง การรั ก ษาและสนั บ สนุ น นวั ต กรรม การปรั บ ปรุ ง ให ดี ขึ้ น และสะท อ นให เ ห็ น ขั้นตอนที่ผานมา การทบทวนประสบการณความสําเร็จ และลมเหลวเพื่อที่จะเรียนรูในการจัดการกระบวนการ ต า ๆ ใ ห ดี ขึ้ น ซึ่ ง เ ป น รู ป แ บ บ ที่ Rothwell and Gardiner (1984) เรียกวา “Re-Innovation” กิจกรรม ในขั้ น ตอนนี้ ร วมถึ ง การเรี ย นรู ผ า นการกระจาย (Diffusion) และการมีส วนร วมของผู ใ ช (UserInvolvement) ในนวัตกรรมเพื่อใหเกิดผลจากการ เรียนรู (Rogers 1995 ; Von Hippel 1988 ; Herstatt and Von Hippel 1992) ในทางปฏิ บั ติ อ งค ก ารที่ ม องกระบวนการ ตางๆ เปนเสนตรงยากที่จะทําใหนวัตกรรมเกิดขึ้นได


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปที่ 30 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2553

การสรางนวัตกรรมองคการ : กรณีศกึ ษาการประยุกตใชการจัดการความรู พยัต วุฒิรงค และ เจษฎา นกนอย

นวั ต กรรมส ว นใหญ เ กิ ด ความล ม เหลว เนื่ อ งจาก มีก ารเริ่ ม ตน ที่ผิ ด พลาด ล ม เหลวตอนจบ ก า วข า มขั้ น ตอน เป น ต น นั ก วิ ช าการหลายท า น พยายามทํ า นวั ต กรรมในขั้ น ตอนที่ แ ตกต า งกั น ตั ว อย า งเช น การมองกระบวนการเสมื อ นเป น ทาง รถไฟที่มีทางเลือกในการหยุดในสถานีที่แตกตาง เดิน ถอยหลัง ไปขางๆ แตความเห็นสวนใหญพบวา การ ดําเนินการตามลําดับพื้นฐานจะดีกวา (Van de Ven, Angle and Poole 1989)

2. การสั ง เคราะห ก ระบวนการจั ด การ ความรูสําหรับนวัตกรรม ในการรวมกลุมกิ จกรรมการจัดการความรู เพื่อใหเปนไปในแนวทางเดียวกันกับโมเดล D-R-N ใน กระบวนการนวัตกรรม Tranfield, Young and Partington (2003) ไดแบงกระบวนการเปน 8 ขั้นตอนบนพื้นฐาน ของกิ จ กรรมการจั ด การความรู คื อ การค น หา (Search) การจับความรู (Capture) การสื่อสาร (Articulate) การสรางบริบท (Contextualise) การ นํามาใช (Apply) การประเมินผล (Evaluate) การ สนับสนุน (Support) และการเปลี่ยนแปลงอีกครั้ง (Re-Innovate) ดังภาพที่ 1

ภาพที่ 1 กระบวนการจัดการความรูสําหรับนวัตกรรม (ที่มา: ปรับจาก Tranfield, Young and Partington 2003) การจัดการความรูสําหรับนวัตกรรม

การคนพบ

คนหา

จับ

การทําใหสัมฤทธิ์ผล

สื่อสาร

สรางบริบท

นํามาใช

การสนับสนุน

ประเมิน

สนับสนุน

ขั้นตอนการสราง นวัตกรรม

เปลี่ยนแปลงอีกครั้ง

กิจกรรมการจัดการความรู

สามารถอธิบายปจจัยดานการจัดการความรูและนวัตกรรม พรอมทั้งตัวอยางของกิจกรรมในการจัดการ ความรูที่เฉพาะเจาะจงเพื่อการสรางนวัตกรรมดังตารางที่ 2

145


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปที่ 30 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2553

ตารางที่ 2 การเชื่อมโยงขั้นตอนนวัตกรรมกับกิจกรรมการจัดการความรู (ที่มา: ปรับจาก Tranfield, Young and Partington 2003) ขั้นตอน นวัตกรรม การคนพบ

กิจกรรม การจัดการความรู การคนหาความรู

การจับความรู

การสื่อสาร

การทําให สัมฤทธิ์ผล

การสรางบริบท

การนํามาใช

การสนับสนุน

การประเมินผล

การสนับสนุน การเปลี่ยนแปลงอีก ครั้ง

ตัวอยางของรายละเอียดกิจกรรม การจัดการความรู วิธีการในเชิงรุกและรับเพื่อใหแหลงทีม่ า - การตรวจสอบสภาพแวดลอมที่มีอยู ของความรูที่มีศักยภาพถูกศึกษาใน (เทคโนโลยี ตลาด สังคม การเมือง) หัวขอที่สนใจ - การตรวจรายละเอียดในอนาคต - การทดลอง วิจัยและพัฒนา วิธีการเพื่อใหผลลัพธของความรูที่คนหา - การเก็บสัญญาณที่เกี่ยวของและ เขาสูองคการ สื่อสารภายในและขามองคการไปสู ผูเกี่ยวของ วิธีการเพื่อใหความรูที่ถูกจับมีการ - การระบุแนวคิดและสิ่งที่ควรทํา แสดงออกที่ชัดเจน - การวางแผนเชิงกลยุทธและการ ปฏิบัติงาน จากความเปนไปไดอยาง คราวๆ ไปสูแผนการปฏิบัติงานโดย ละเอียด วิธีการเพื่อใหความรูที่ถูกสื่อสารเขาสู - การวางแผนและการจัดหาทรัพยากร บริบทที่เหมาะสมกับองคการ ทั้งภายในและภายนอกองคการ - การสรางตนแบบและแนวคิดอื่นๆ ให เปนกิจกรรมที่ดีขึ้น - การระดมกําลังในเบื้องตนจากหนาที่ งานตางๆ เพื่อออกแบบสําหรับการผลิต วิธีการเพื่อนําความรูที่อยูมาใชรับมือกับ - การระดมทีมโครงการ ความทาทายตางๆ ที่มีตอองคการ - การสรางวัฏจักรการวางแผนโครงการ - การนําโครงการมาใชโดยพิจารณาวัฏ จักรของการเปลี่ยนแปลงที่สัมพันธใน ดานเทคโนโลยี ตลาด และขอบเขตของ องคการ - การเตรียมตัวและการดําเนินการ วิธีการเพื่อใหความรูที่มีประสิทธิภาพถูก - การทบทวนโครงการที่ผานมา ประเมิน - การใหขอมูลยอนกลับจากตลาดหรือ ผูใช - การเรียนรูจากการใช การผลิต วิธีการเพื่อใหการใชความรูมีความยั่งยืน - การรวบรวมขอมูลยอนกลับ - การแกปญหาที่เกิดขึ้น วิธีการเพื่อใหประสบการณและความรู - การเก็บสัญญาณที่เกี่ยวของเพื่อทําให ถูกใชในที่อื่นๆ ในองคการ เกิดวัฏจักรซ้ําๆ - การสรางแรงผลักดันใหเคลื่อนไปสู วัฏจักรใหม

นวัตกรรมที่ประสบความสําเร็จจะมีผลการ ดําเนินงานสูง มีพื้นฐานมาจากการแลกเปลี่ยน (การ เคลื่อนยายของความรู) อยางตอเนื่องของความรูใน 146

คําอธิบาย

องคการมากกวาการครอบครอง (การเก็บความรู) ไว (Tranfield, Young and Partington 2003) ความสัมพันธ ระหวางองคประกอบของโมเดล D-R-N และขั้นตอน


การสรางสรรคนวัตกรรมองคการ : กรณีศึกษาการประยุกตใชการจัดการความรู พยัต วุฒิรงค และ เจษฎา นกนอย

ในการจัดการความรูเปนกระบวนการที่เกิดควบคูกัน การจัดการความรูเปนกระบวนการที่มีความสามารถ ในการอํานวยความสะดวกหรือทําใหเกิดนวัตกรรม โดยการเชื่ อ มโยงระหว า งแหล ง ที่ ม าของความรู กั บ ความรูที่ตองการ แสดงใหเห็นวา การจัดการความรู เปนสมรรถนะในการปฏิบัติงานที่สรางการเคลื่อนยาย และการแลกเปลี่ ย นความรู เ หนื อ บทบาทของการ ครอบครองเพื่ อ จั ด เก็ บ และรั ก ษาความรู ในทาง กลั บกัน ความรู แ ละการจัด การความรูมีคุ ณคา โดยดู จากความมีประสิทธิผลตอบริบทขององคการ หรืออาจ อธิบายความหมายของการจัดการความรูใหมวา เปน กระบวนการที่ มี ค วามสามารถในการอํ า นวยความ สะดวกในการเชื่ อ มโยงแหล ง ที่ ม าของความรู กั บ ความรูที่ตองการโดยใชสมรรถนะในการดําเนินงาน ทํ า ให เ กิ ด การเคลื่ อ นย า ยและแลกเปลี่ ย นความรู มากกวา การเก็บ ครอบครองไว แ ละสรางคุ ณคาเพิ่ ม ภายใตบริบทขององคการ ทั้งนี้ภายใตสภาพแวดลอม การผลิตเปนจํานวนมาก มีความงายในการระบุและทํา ความเขาใจในการทําซ้ําเพื่อใหเกิดการเรียนรูและทํา ให ดี ขึ้ น แต ใ นการทํ า งานนวั ต กรรมบนพื้ น ฐานของ โครงการ เชน ในระบบที่มีความซับซอน แมวาแตละ โครงการจะมีลักษณะพิเศษเฉพาะ โครงการสวนใหญ สามารถแลกเปลี่ ย นลั ก ษณะที่ ค ล า ยคลึ ง กั น และ สามารถสรางรูปแบบกระบวนการในลักษณะทั่วไปได ถาองคการมีความตั้งใจจริงในการปรับปรุงการเรียนรู และสรางนวัตกรรมองคการ (McElroy 2000) 3. ตั ว ขั บ เคลื่ อ นการประยุ ก ต ใ ช ก าร จัดการความรูในนวัตกรรม ตั ว ขั บ เคลื่ อ นการประยุ ก ต ใ ช ก ารจั ด การ ความรูในนวัตกรรมประกอบดวย 3 องคประกอบ (Du Plessis 2007) คือ 1. การสรางและรักษาความไดเปรียบในการ แขงขันผานการใชความรูและการรวบรวมวิธีปฏิบัติ เนื่องจากความตองการของลู กคา ที่ เปลี่ยนแปลงไป การแข ง ขั น ที่ ม ากขึ้ น และการเปลี่ ย นแปลงอย า ง รวดเร็วของเทคโนโลยี ทําใหองคการมีความยุงยาก มากขึ้นในการสรางนวัตกรรม องคการขนาดใหญบาง แหงเชน ซีร็อกซ (Xerox) และ ฮิตาชิ (Hitachi) เริ่ม

สรางนวัตกรรมจากสิ่งที่อยูนอกขอบเขตขององคการ เพื่อใหแนใจวาสามารถสรางนวัตกรรมอยางยั่งยืนและ สร า งความได เ ปรี ย บในการแข ง ขั น (Cavusgil, Calantone and Zhao 2003) การจัดการความรูสามารถ สร า งความร ว มมื อ ซึ่ ง เป น สิ่ ง ที่ มี ป ระสิ ท ธิ ภ าพและ ประสิทธิผลในการสรางนวัตกรรม 2. ความรูเปนทรัพยากรที่ถูกใชเพื่อลดความ ซั บ ซ อ นในกระบวนการนวั ต กรรม ทั้ ง นี้ เ พราะการ จัดการความรูมีความสําคัญและการสรางนวัตกรรม ขึ้ น กั บ ความสามารถในการหาความรู ดั ง นั้ น ความ ซับซอนในการเขาถึงความรูจึงจําเปนตองไดรับการ จัดการ (Adams and Lamont 2003 ; Cardinal, Allessandri and Turner 2001 ; Darroch and McNaughton 2002 ; Pyka 2002 ; Shani, Sena and Olin 2003) กลาววา การเพิ่มขึ้นอยางรวดเร็วของความรูภายในองคการดู เหมื อ นจะเพิ่ ม ความซั บ ซ อ นในการออกแบบการ พัฒนาสินคาใหม แตความซับซอนนี้สามารถแกไขได ด ว ยการจั ด การความรู ใ นองค ก าร สอดคล อ งกั บ Cavusgil, Calantone and Zhao (2003) ที่อธิบายวา การจั ด การความรู เ ป น กลไกในการจั ด การความ ซับซอนของนวัตกรรม องคการที่สรางและใชความรู อย า งรวดเร็ ว และมี ป ระสิ ท ธิ ผ ลสามารถสร า งสรรค นวัตกรรมไดเร็วกวาและสรางความสําเร็จไดมากกวา องค ก ารที่ ไ ม ไ ด ใ ช ค วามรู ทั้ ง นี้ เ พราะการสร า ง เครือขายนวัตกรรมถูกขับเคลื่อนโดยการสรางและการ บริหารความรูรวมกัน (Pyka 2002) 3. การรวมกันของความรูทั้งภายในและ ภายนอกองค ก าร องค ก ารต อ งสร า งพนั ก งานให มี ความสามารถในการหาและเขาถึงความรูไดมากขึ้น เครื่องมือและกระบวนการในการจัดการความรูตอง ไดรับการอํานวยความสะดวกและทําใหเกิดการเรียนรู ของคนและองค ก ารเพื่ อ สร า งนวั ต กรรม ต อ งอาศั ย ความสามารถในการเชื่อมโยง ปรับตัว และพลวั ตร ของสารสนเทศและความรูขององคการ หากปราศจาก การจัดการความรูและสารสนเทศที่มีประสิทธิผลจะทํา ให อ งค ก ารไม ส ามารถใช ป ระโยชน จ ากความรู เ พื่ อ สรางนวัตกรรมได (Baddi and Sharif 2003 ; Chen, Zhaohui and Xie 2004)

147


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปที่ 30 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2553

สรุปไดวา การจัดการความรูสามารถสรา ง มูลคาเพิ่มเพื่อสรางความไดเปรียบในการแขงขันอยาง ยั่งยืนผานนวัตกรรม ขณะที่การจัดการความรูเพียง อยางเดียวไมสามารถทําได ทั้งนี้การเชื่อมการจัดการ ความรู กั บ ทรั พ ยากรและสมรรถนะหลั ก อื่ น ๆ ของ องค ก ารเป น สิ่ ง สํา คั ญ ในการพั ฒ นาและรัก ษาความ ได เ ปรี ย บในการแข ง ขั น ผ า นนวั ต กรรมสิ น ค า และ กระบวนการ (Du Plessis 2007) เพราะการจัดการ ความรู ทํ า ให ก ระบวนการพั ฒ นาทรัพ ยากรและการ เรี ย นรู ข ององค ก ารง า ยขึ้ น และมี พ ลั ง มากยิ่ ง ขึ้ น (Adams and Lamont 2003)

การจั ด การความรู แ ละนวั ต กรรมเพื่ อ สร า งความ ไดเปรียบในการแขงขันอยางยั่งยืน Adams and Lamont (2003) ชี้ใหเห็นวา องคการใชกิจกรรมและเครื่องมือในการจัดการความรู เชน การตรวจสอบสภาพแวดลอม การเปรียบเทียบ กับคูแขง (Benchmarking) อินทราเน็ต (Intranet) ทั้งนี้เพราะการจัดการความรูสามารถสรางมูลคาเพิ่ม ในการพัฒ นานวัตกรรมเพื่อสร างความไดเปรียบใน การแขงขันอยางยั่งยืน เชน การดูดซึมสารสนเทศและ ประยุ ก ต ใ ช ค วามรู ใ นการสร า งสิ น ค า และบริ ก าร (Adams and Lamont 2003) Gloet and Terziovski

(2004) สรุ ป ว า มี ค วามสั ม พั น ธ เ ชิ ง บวกระหว า งวิ ธี ปฏิ บั ติ ข องการจั ด การความรู แ ละนวั ต กรรม โดย องคการตองสรางการจัดการความรูที่ชวยในการสราง วัฒนธรรมองคการที่ทําใหเกิดนวัตกรรมเพื่อนําไปสู ความไดเปรียบในการแขงขัน ผลสํ า เร็ จ ของนวั ต กรรมทางเทคโนโลยี ใ น การสรางการเติ บโตทางธุรกิจอยา งยั่งยืนสงผลให มี ความสนใจในการสรางการจัดการความรูนวัตกรรม (Knowledge Innovation) เพื่อทําใหองคการสามารถ แขงขันไดในโลกธุรกิจปจจุบัน (Goh 2005) Amidon (1997) ใหความหมายของการจัดการความรูนวัตกรรมวา เปนการสราง ประเมิน แลกเปลี่ยน และประยุกตใ ช ความคิ ด ใ ห ม เ พื่ อ สร า งสิ น ค า และบริ ก ารเพื่ อ ความสํ า เร็ จ ขององค ก าร ซึ่ ง มี ค วามสํ า คั ญ ต อ ทั้ ง เศรษฐกิจของประเทศและความยั่งยืนทางสังคม ทั้งนี้ มีองคประกอบสําคัญ 2 ประการในคําจํากัดความนี้คือ การตระหนั ก ถึ ง ความสํ า คั ญ ของความรู ว า เป น องคประกอบหลักของนวัตกรรม ไมใชเทคโนโลยีหรือ เงิน และการปฏิบัติที่เกี่ยวเนื่องกับการเคลื่อนยายและ ใช ค วามรู ใ นกระบวนการนวั ต กรรมเป น อี ก หนึ่ ง องคป ระกอบที่สํา คัญ ภาพรวมของการรวมกัน ของ การจัดการความรูและนวัตกรรมที่มีผลตอความสําเร็จ ขององคการ แสดงดังภาพที่ 2

ภาพที่ 2 ความรูนวัตกรรมเครื่องมือสูความไดเปรียบในการแขงขันอยางยั่งยืน (ที่มา: ปรับจาก Goh 2005) ความไดเปรียบในการแขงขันอยางยั่งยืน

การจัดการความรู

การจัดการ ความรูนวัตกรรม

การจัดการนวัตกรรม

สินทรัพยความรูภายในและภายนอกองคการ

148


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปที่ 30 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2553

Nonaka (1991, 1994) กลาววา การสราง ความรูขององคการมี 4 รูปแบบ ในองคการที่มีการ สรางความรูอยางมีประสิทธิภาพรูปแบบทั้ง 4 จะถูก ปรับเปลี่ยนไปเรื่อยๆ จนเปนวัฏจักรที่ตอเนื่อง การ จัดการความรูจะเริ่มจากความรูสวนบุคคล เปนความรู ระดับกลุม และกลายเปนความรูระดับองคการในที่สุด หรือที่เรียกวา วงจร SECI (Nonaka and Takeuchi 1996) สํ า หรับกระบวนการในการคิดเพื่อสรา ง นวั ต กรรมสามารถเขี ย นได เ ป น 4 ขั้ น ตอนคื อ (Basadur and Gelade 2006) ขั้นตอนที่ 1 เป น การหา สร า งสารสนเทศ ใหมและมองแนวโน ม โอกาสและปญหา ซึ่ง Simon (1977) เรียกวา การตรวจหาโอกาส (Opportunistic Surveillance) ขั้นตอนที่ 2 เปนการสรางแนวคิดจากความ ทาทายและแนวคิดใหมๆ (Conceptualizing) ขั้นตอนที่ 3 เป น การพั ฒ นาและการสร า ง แนวทางในการแกปญหาใหมๆ (Optimizing) ขั้นตอนที่ 4 เปนการนําแนวทางการแกปญหา ใหมๆ มาใช (Implementing)

นักวิชาการบางทานไดเสนอกระบวนการใน การสรางนวัตกรรมที่คลายคลึงกันทั้งการเริ่มตน การ นํามาปฏิบัติ และการเผยแพรนวัตกรรม (Damanpour 1991 ; Rogers 1995 ; Zaltman, Duncan and Holbek 1984) Cumming (1998) ไดศึกษาเรื่องนวัตกรรม และวิเคราะหกระบวนการซึ่งนําไปสูนวัตกรรม อันจะ นําไปสูแนวทางการใชและการประยุกตใช กระบวนการ นวัตกรรมทั้ง 4 ขั้นตอนประกอบดวย การสรางสรรค (Invention) การพัฒนา (Development) การผลิต (Production) และการเผยแพร (Diffusion) (Kotz... et al. 2002) ในสวนของผูศึกษาไดสรุปกระบวนในการ สรางนวัตกรรมเปน 5 ขั้นตอนคือ การคนหาความรู ใหมจากปจจัยภายในและภายนอก (Generating) การ สรางแนวคิดจากจุดแข็ง จุดออน โอกาส และอุปสรรค (Conceptualizing) การพัฒนาและสรางแนวทางการ แกปญหาใหมๆ (Optimizing) การนําแนวทางการ แกปญหาใหมๆ มาใช (Implementing) และการ กระจายนวัตกรรมไปสูผูผลิตหรือผูใชคนอื่น (Diffusion) ทั้ ง นี้ ก ระบวนการจั ด การความรู แ ละกระบวนการ นวั ต กรรมสามารถมองเป น กระบวนการที่ เ กิ ด ขึ้ น ควบคูกันเสมือนเปนกระบวนการเดียวกันดังภาพที่ 3

ภาพที่ 3 การผสานกระบวนการจัดการความรูและกระบวนการนวัตกรรมเปนกระบวนการเดียวกัน

Knowledge Management

Innovation Management

Generating

Socialization

Conceptualizing Externalization

Diffusion

Internalization

Optimizing

Implementing

Combination

การผสานการจั ด การความรู แ ละนวั ต กรรมในกระบวนการเดี ย วกั น จะทํ า ให ผู เ กี่ ย วข อ งตระหนั ก ถึ ง ความสําคัญของกระบวนการทั้งสองในการสรางนวัตกรรม ซึ่งจะเปนประโยชนตอผูปฏิบัติงานในทุกระดับของ Firm-based or systemic

149


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปที่ 30 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2553

องคการที่จะนําการจัดการความรูมาสรางสรรค ใหเกิดนวัตกรรมองคกรเพื่อสรางความไดเปรียบใน การแขงขันอยางยั่งยืน

การผสานการจัดการความรูและนวัตกรรมเพื่อสราง ความไดเปรียบในการแขงขันอยางยั่งยืน : กรณีศึกษา เครือซิเมนตไทย แรงกดดันในความสามารถของการจัดการ ความรูสําหรับนวัตกรรมทําใหองคการสรางวิธีปฏิบัติ ในการจั ด การความรู ตั ว อย า งเช น การสร า ง อิ น ทราเน็ ต ภายในองค ก าร การสร า งชุ ม ชนความรู หรือการออกแบบหนาที่งานเพื่อใหเกิดการแลกเปลี่ยน ความรู แตโปรแกรมการจัดการความรูสวนใหญยังคง ใหความสํา คัญ กับการสรางฐานขอมูลหรือการสรา ง ระบบคอมพิวเตอรในการเก็บขอมูลและเผยแพรวิธี ปฏิบัติที่ดีที่สุด องคการที่จะสราง จากการศึ ก ษาการจั ด การความรู แ ละ นวัต กรรมของเครื อซิ เ มนตไ ทยพบวา เครื อซิ เ มนต ไทยเปนองคการหนึ่งที่มีการผสานการจัดการความรู และนวัต กรรมใหร วมกัน เปน หนึ่ง เครือซิเ มนตไ ทย เป น ที่ ย อมรั บ ว า เป น ผู นํ า ในการจั ด การความรู แ ละ นวัตกรรมในภาคอุตสาหกรรมของไทย หลายปที่ผาน มาเครือซิเมนตไทยสรางชื่อโดยการสรางนวัตกรรม เช น กระเบื้ อ งพิ ม าย หรื อ กระดาษถนอมสายตา Green Read ซึ่งทําใหเครือซิเมนตไทยอยูในตําแหนง ผู นํ า ในธุ ร กิ จ เครื อ ซิ เ มนต ไ ทยเชื่ อ ว า หากต อ งการ ประสบความสํ า เร็ จ ในตลาด องค ก ารนั้ น ต อ งการ ความรู เ พื่ อ สร า งความคิ ด ใหม แ ละวิ ธี ป ฏิ บั ติ ใ นการ จั ด การความรู ที่ ดี เ พื่ อ สร า งสรรค น วั ต กรรมให มี ประสิทธิผล เครือซิเมนตไทยมีการใชอินทราเน็ตและ อินเทอรเน็ตเพื่อทําใหองคการรวมความสามารถของ พนั ก งานและผู เ ชี่ ย วชาญเข า ไว ด ว ยกั น มี ก าร แลกเปลี่ยนความรูเพื่อกาวไปสูสิ่งที่ยังไมสามารถนึก ภาพได การจัดการความรูไดรับความสนใจในเครือซิ เมนต ไ ทยในฐานะองค ป ระกอบสํ า คั ญ ที่ ช ว ยตอบ คําถามวาทําอยางไรจะทําใหพนักงานสามารถทํางาน ได ภาวะการแขงขันที่รุนแรงมากขึ้นเปนแรงผลักดัน ใหพนักงานพยายามสรางนวัตกรรม เครือซิเมนตไทย

150

มี ก ารสร า งนวั ต กรรมที่ นํ า ไปสู ก ารจดสิ ท ธิ บั ต รเพื่ อ สรางความสามารถในการแขงขันที่สูงขึ้นและเติมเต็ม ช อ งว า งทางธุ ร กิ จ การจั ด การความรู ถู ก รวมไว ใ น โครงสรางการจัดการนวัตกรรมขององคการ เริ่มตน จากการสรางความคิดใหม การทดลองตนแบบ และ การติดตามโดยการออกสินคาใหม สิ่งเหลานี้ถือเปน สวนหนึ่งของปจจัยหลักที่มีผลตอความสําเร็จในการ ดํ า เนิ น งานนวั ต กรรมขององค ก าร การผสานการ จัดการความรูกับการจัดการนวัตกรรมชวยใหเครือซิ เมนตไทยมีภูมิตานทานและยังคงเปนหนึ่งในองคการ ชั้นนําของไทย 1. วิธีการวิจัย ในการทําความเขาใจการผสานการจัดการ ความรูและนวัตกรรมใหดีมากยิ่งขึ้น ผูศึกษาไดทําการ สัมภาษณเชิงลึก (In-depth Interview) ผูบริหารระดับ จัดการที่มีค วามรูความเขาใจการจัดการความรูและ นวัตกรรมของเครือซิเมนตไทยจํานวน 5 คนใน หนวยงานวางแผนกลาง งานบุคคลกลาง งานสื่อสาร องค ก ร งานทรั พ ย สิ น ทางป ญ ญา และศู น ย พั ฒ นา ความรูเครือซิเมนตไทย ในเดือนตุลาคม 2550 ใช เวลาสัมภาษณคนละ 1 ชั่วโมง 30 นาที นอกจากนี้ยัง มีการสัมภาษณกลุมยอย (Focus Group Interview) พนักงานระดับบังคับบัญชาที่ไดรับรางวัล Power of Innovation ซึ่งเปนการสงผลงานเขาประกวดจากแต ละกลุมธุรกิจภายในเครือซิเมนตไทย โดยมีเกณฑการ ตั ด สิ น ทั้ ง ทางด า นความคิ ด กระบวนการผลิ ต การตลาด รวมไปถึงโอกาสในการจดสิทธิบัตร จํานวน 4 กลุม กลุมละ 5 คนเกี่ยวกับความเปนมาของการ สร า งนวั ต กรรมและความเชื่ อ มโยงกั บ การจั ด การ ความรูเพื่อนําไปสูความสําเร็จ โดยทําการสัมภาษณ ในเดือนพฤศจิกายน 2550 ใชเวลาสัมภาษณกลุมละ 3 ชั่วโมง ผลการศึกษาสรุปไดดังนี้ 2. ผลการศึกษา เครือซิเมนตไทยเปนองคการอุตสาหกรรม ขนาดใหญชั้นนําของประเทศ บริษัทในธุรกิจหลัก มัก แสดงบทบาทเป น ผู เ ล น หลั ก ในแต ล ะภาคส ว นของ อุต สาหกรรม เปน องคก ารธุ ร กิ จ ขนาดใหญ สัญ ชาติ ไทยที่ไดรับการยอมรับจากสังคมวาดําเนินธุรกิจแบบ


การสรางสรรคนวัตกรรมองคการ : กรณีศึกษาการประยุกตใชการจัดการความรู พยัต วุฒิรงค และ เจษฎา นกนอย

มื อ อาชี พ มี ค วามมั่ น คง มี ผ ลประกอบการและ ผลตอบแทนการลงทุนที่ดี ผลิตสินคาที่มีคุณภาพ และ มีความรับผิดชอบตอสังคม ตั้งขึ้นจากพระราชดํารัส ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกลาเจาอยูหัว (รัชกาล ที่ 6) ใหกอตั้งบริษัท ปูนซิเมนตไทย จํากัด ขึ้นเมื่อป พ.ศ. 2456 ดวยพระราชประสงคที่จะใหประเทศไทย ผลิ ต ปู น ซี เ มนต ใ ช เ อง ลดการพึ่ ง พาการนํ า เข า จาก ต า งประเทศ และเพื่ อ จั ด สรรการใช ท รั พ ยากร ภายในประเทศอยางคุมคา เครือซิเมนตไทยดําเนิน ธุรกิจมาแลวถึง 94 ปผานเหตุการณตางๆ มามากมาย ในป พ.ศ. 2547 เครือซิเมนตไทยมีการเปลี่ยนแปลง ครั้ ง ใหญ โดยพยายามที่ จ ะปรั บ วั ฒ นธรรมให เ ป น องคกรแหงนวัตกรรม (Innovative Organization) ซึ่ง ไมไดมีเพียงการผลักดันนโยบายจากผูบริหารระดับสูง ลงมาในลักษณะบนลงลาง (Top Down) แตเพียง อยางเดียว แตยังมีการจัดกิจกรรมอยางเปนรูปธรรม เพื่ อ กระตุ น ให พ นั ก งาน มี ค วามตื่ น ตั ว ที่ จ ะคิ ด นอก กรอบมากขึ้น แลวทําไมตอง Innovation คุณกานต ตระกู ลฮุน กรรมการผู จั ด การใหญ ข องเครือซิ เ มนต ไ ท ย เ ค ย ต อ บ ไ ว ว า “วั น นี้ ธุ ร กิ จ เ ร า ก็ ป ร ะ ส บ ความสําเร็จและเปนผูนําอยูแลว แตก็เพราะความเปน ผูนํานี่แหละ ที่ทําใหเราตองมี Innovation เพราะผูนํา จะคอยตามคนอื่นอยูไมได เราตอง Innovative เพื่อ สรางสรรคและปรับเปลี่ยนตัวเราเองใหรวดเร็ว ตองทํา ตลอดเวลาให อ ยู ใ นสายเลื อ ด...ไม อ ย า งนั้ น เราจะ กลายเปน ผู ต ามโดยไม รู ตัว ” (จิ ร พรรณ อัญ ญะโพธิ์ 2549 : 140) เครือซิเมนตไทยสรางนวัตกรรมโดย อาศั ย ความรู ความคิ ด สร า งสรรค เทคโนโลยี การ จัดการ และนํามาผนวกเขากับการสงเสริมนวัตกรรม เพื่อใหเกิดการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม และนําไปสู การเปนวัฒนธรรมนวัตกรรม (Innovative Culture) ที่ สนั บ สนุ น ให พ ฤติ ก รรมของคนในองค ก รเปลี่ ย นไป “คน” ซึ่งเปนหัวใจขององคกรใหญแหงนี้ มีจํานวน ทั้งสิ้นประมาณ 23,000 คนทั่วประเทศ การฝกอบรม และพัฒนาพนักงานยังคงเปนเรื่องที่เครือซิเมนตไทย ใหความสําคัญมากที่สุด ชวง 2-3 ปที่ผานมา เครือซิ เมนตไทย เนนเรื่ององคกรนวัตกรรมและวัฒนธรรม นวัตกรรมเพื่อเตรียมบุคลากรที่จะออกไปทําธุรกิจใน

ภูมิภาค ใหความสําคัญกับการจัดการความรูโดยมีการ ตั้งศูน ยพัฒ นาความรูเ ครือซิเมนตไ ทย (Knowledge Management Center) อยางเปนทางการตั้งแตป 2544 มีวัตถุประสงคเพื่อวางแนวทางการบริหารองค ความรู ใ ห กั บ เครื อ ซิ เ มนต ไ ทยอย า งเป น รู ป ธรรม รวมทั้งสนับสนุนใหพนักงานมีความกระตือรือรนที่จะ พั ฒ นาตนเองเพื่ อ มุ ง ให เ กิ ด การพั ฒ นาความรู ความสามารถอยางยั่งยืน คุณ มนูญ สรรคคุณ ากร ผูอํานวยการ สํ า นั ก งานการบุ ค คลกลาง บริ ษั ท ปู น ซิ เ มนต ไ ทย จํากัด (มหาชน) อธิบายถึงการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรม องคการของเครือซิเมนตไทยวา ตั้งแตป 2547 คุณชุม พล ณ ลําเลียง อดีตกรรมการผูจัดการใหญ ไดพูดคุย แลกเปลี่ยนกับคณะจัดการหรือระดับบริหาร โดยกลาว วา “ณ วันนี้เราเหมือนเคยเปนนักเรียน จางครู ตางประเทศมาสอน สอนเสร็จนักเรียนก็เรียนเกง ขยัน คนควา เรียนจนกระทั่งความรูเทากับครู ครูก็หมดภูมิ จะสอน ประเด็นก็คือจะเอาครูที่ไหนมาสอน ไมมีแลว” (พยุงศักดิ์ วิริยะบัณฑิตกุล 2549 : 150) จึงเปนที่มา ของวั ฒ นธรรมนวัต กรรมในเครือซิเ มนตไ ทย มีก าร พัฒ นาผลิ ตภั ณ ฑ กระบวนการทํ า งาน และรู ป แบบ ธุรกิจเพิ่มมากขึ้น จากในอดีตเครือซิเมนตไทยจะซื้อ Know How จากตางประเทศ แตในปจจุบันจากการที่ มีการพัฒนาคนมาอยางตอเนื่อง และใหความสําคัญ กับการคิดเอง ทําเอง หาภูมิความรูเอง จึงเปนที่มา ของนวัตกรรม ซึ่งเปนเรื่องของการคิดสิ่งใหมๆ คิด นอกกรอบ และการกลาตัดสินใจ เพราะเครือซิเมนต ไทย มีความคิดวา การคิดแลวไมทําไมเกิดประโยชน จากเดิมที่คนของเครือซิเมนตไทย จะ “เชื่อผูนํา” โดย รอทิศทางจากผูใหญตลอด เพราะพนักงานเชื่อวา ผู บ ริ ห ารมี ค วามสามารถ แต ใ นป จ จุ บั น เทคโนโลยี สารสนเทศชวยใหพนักงาน สามารถคนควาเองได จึง มีการมอบการตัดสินใจใหพนักงาน (Empowerment) เพิ่มมากขึ้น (พยุงศักดิ์ วิริยะบัณฑิตกุล 2549) ในช ว งแรกของการเปลี่ ย นแปลง ฝ า ย ทรั พ ยากรบุ ค คลเริ่ ม ตน ให ค วามรู พ นัก งานโดยการ บรรยายจากผูเชี่ยวชาญดานนวัตกรรม เชน บริษัท 3M หรือ บริษัท BMW โดยอาศัยเทคโนโลยีเปน

151


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปที่ 30 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2553

เครื่ อ งมื อ ในการสร า งแหล ง การเรี ย นรู ที่ ทุ ก คนใน องคกรสามารถเขาถึงไดตลอดเวลา และปลูกฝงใหเกิด เปนนิสัยในการพัฒนาตนเองอยางตอเนื่อง เครือซิ เมนต ไ ทยมี ก ารฝ ก อบรมความรู ต ามสายงาน แต ที่ เปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้น คือ การกําหนดการฝกอบรมตาม สมรรถนะ (Competency) ซึ่ ง จะเจาะลึ ก ลงไปถึ ง คุณสมบัติของแตละบุคคลที่จะเขาไปทํางานในหนาที่ นั้น ๆ โดยในปจ จุ บัน เครือซิเ มนต ไ ทยใชระบบ เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ e-HR ทําใหคุณสมบัติ ตางๆ ความรูความสามารถ รวมทั้งทักษะที่พนักงาน แตละคนมีหรือขาดจะปรากฏอยูในฐานขอมูลกลางที่ หัวหนางานจะเปนผูพิจารณาไปพรอมกับตัวพนักงาน เอง ถาเห็นวาตนเองยังขาดทักษะอะไรก็รองขอการ ฝกอบรม เพื่อใหมีสมรรถนะตางๆ ครบ แลวยกระดับ ตัวเองขึ้นตามสายงานได เปนการพัฒนาบุคคลใน รายละเอียดปลีกยอยมากขึ้น ระบบการเรียนรูผาน อินทราเน็ตและ e-Learning เปนเครื่องมือสําคัญใน การปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมองคกร และปลูกฝงนิสัยการ เรียนรูและพัฒนาตนเองอยางตอเนื่อง โดยเปดโอกาส ใหพนักงานเขาถึงแหลงความรูไดโดยไมจํากัดเวลา และสถานที่ เครือซิเมนตไทยมีความเชื่อมั่นในคุณคาของ คนและให คุ ณ ค า กั บ การเรี ย นรู ม นุ ษ ย การจั ด การ ความรูเพื่อการสรางนวัตกรรมของเครือซิเมนตไทย สามารถสรุปไดดังนี้ 1. การแสวงหาความรู (Knowledge Acquisition) เครื อ ซิ เ มนต ไ ทยมี ก ารแสวงหาความรู ที่ มี ประโยชน จ ากแหล ง ต า งๆ ทั้ ง ภายในและภายนอก องคการดังนี้ 1) การแสวงหาและรวบรวมความรูจาก แหลงภายใน (Internal Collection of Knowledge) ความสามารถในการเรี ย นรู ข องบุ ค ลากร ภายในเครือซิเมนตไทยเปนปจจัยสําคัญประการหนึ่ง ในการไดมาซึ่งความรูตางๆ จากแหลงความรูภายใน ของเครือซิเมนตไทยเองมีการใหความรูกับพนักงาน ทั้งในรูปของการเรียนรูจากประสบการณตรงและการ ลงมือปฏิบตั ิ (Action Learning) การมอบหมายโครงงาน

152

ที่ทาทาย (Project Assignment) การหมุนเวียนงาน (Rotation) การแกไขปญหาอยางเปนระบบ (System Learning) และการเรียนรูจากความสําเร็จในอดีต (Best Practice) เพื่อสรางนวัตกรรมใหมๆ ดานสินคา และบริการใหสามารถตอบสนองกับความตองการของ ตลาดที่เปลี่ยนไป 2) การแสวงหาและรวบรวมความรูจาก แหลงภายนอก (External Collection of Knowledge) เครือซิเมนตไทยมีการแสวงหาความรูตางๆ จากแหล ง ภายนอกองค ก าร เช น การร ว มมื อ กั บ สถาบันการศึกษาชั้นนําของประเทศสหรัฐอเมริกาใน การจัดทําหลักสูตรการพัฒนาแกพนักงานของเครือซิ เมนตไทย การใหทุนการศึกษาแกพนักงานเพื่อศึกษา ตอในระดับปริญญาโท การสงพนักงานไปดูงานและ ปฏิบัติงานในตางประเทศ เพื่อสรางโอกาสใหพนักงาน ไดเพิ่มพูนความรูและประสบการณ นอกจากนี้เครือซิ เมนต ไ ทย จะมี ที ม รวบรวมองค ค วามรู เ กี่ ย วกั บ นวัตกรรมและวิธีปฏิบัติที่ดีที่สุด (Best Practice) ของ องคการภายนอกที่ประสบความสําเร็จ เพื่อจัดเก็บไว เปนกรณีศึกษา นอกจากนี้ยังมีการรวบรวมหนังสือที่มี ประโยชนโดยทําการสรุป (Book Briefing) เก็บไวใน อินทราเน็ต (Intranet) เพื่อเปน e-learning สําหรับ พนักงานทุกคน 2. การสรางความรู (Knowledge Creation) การสร า งความรู ใ หม โ ดยการปลู ก ฝ ง ผ า น กิ จ กรรมต า งๆ เพื่ อ ให พ นั ก งานทุ ก คนสามารถเป น ผูสรางความรูและไดรับประโยชนจากความรูที่เกิดขึ้น อยางเต็มที่ รูปแบบตางๆ ในการสรางความรูภายใน เชน การถายทอดความรูจากพนักงานผูมีความรูไปสู พนักงานอื่น การฝกอบรมภายใน การถายทอดความรู จากการทํางานรวมกันเปนทีม การนําความรูที่เครือซิ เมนต ไ ทยมี อ ยู เ ดิ ม บู ร ณาการเข า กั บ ความรู ข อง พนักงานแตละคนเพื่อใหเกิดเปนความรูใหมและมีการ แบงปนไปทั่วทั้งองคการ ความรูที่เกิดขึ้นพนักงาน สามารถคนพบแนวทางไดเองจากกิจ กรรมตา งๆ ที่ ดํ า เนิ น การเพื่ อ สร า งความรู ใ หม ใ ห เ กิ ด ขึ้ น จากการ แสวงหาความรู


การสรางสรรคนวัตกรรมองคการ : กรณีศึกษาการประยุกตใชการจัดการความรู พยัต วุฒิรงค และ เจษฎา นกนอย

3. การจั ด เก็ บ และค น คื น ความรู (Knowledge Storage and Retrieval) ในการจัดเก็บความรู เครือซิเมนตไทยได กําหนดสิ่งที่จะเก็บเปนองคความรูไวอยางชัดเจนทั้ง ในสวนที่เปนฐานขอมูล (Database) สารสนเทศ (Information) และฐานความรู (Knowledge Base) มี การจัดหมวดตามลักษณะงาน และประยุกตใชระบบ อินทราเน็ต (Intranet) เปนชองทางในการสื่อสาร ความรู ไ ปทั่ ว ทั้ ง เครื อ ซิ เ มนต ไ ทย ทํ า ให พ นั ก งาน สามารถเขามาคนคืนความรู (Retrieval) และนํา กลับไปใชประโยชนไดอยางสะดวก เครือซิเมนตไทย มี ก ารสื่ อ สารผ า นสื่ อ ต า งๆ ภายในองค ก รอย า ง สม่ํ า เสมอในลั ก ษณะการสื่ อ สารที่ ห ลากหลาย เช น วารสารรายเดือน นิทรรศการเคลื่อนที่ เว็บไซต เผยแพรขอมูลขาวสารดานนวัตกรรม การจัดทําดัชนี การคนคืนเอกสารความรู การจัดทําระบบกระดานขาว (Knowledge Sharing Board) โดยการถาม-ตอบ ระหวางผูถามไปสูผูเชี่ยวชาญภายในเครือซิเมนตไทย โดยตรง การสื่อสารผานโครงการ “รูแลวบอกตอ” ผาน e-mail ของพนักงาน บอรดประชาสัมพันธ ระบบทีวี ภายในและเสียงตามสาย เครื อขา ยการทํา งานตาม ความสั ม พั น ธ ข องงานหรื อ ตามลํ า ดั บ ชั้ น เครื อ ข า ย คณะทํ า งานและการประชุ ม และเครื อ ข า ยการ ฝกอบรม เปนตน นอกจากนี้เครือซิเมนตไทยยังมีการ รวบรวมความรูไวในระบบบริหารความรูที่มีเทคโนโลยี สารสนเทศทันสมัยมารองรับ เพราะตองการกระตุนให เกิดบรรยากาศแหงการเรียนรู ซึ่งจะเปนปจจัยสําคัญ

ของการเปนองคกรแหงนวัตกรรม เครือซิเมนตไทยมี การสนับสนุนใหเกิดการจัดการความรูในองคการ โดย จั ด ให มี ส ภาพแวดล อ มและสร า งชุ ม ชนปฏิ บั ติ (Community of Practice) ที่สามารถพัฒนาใหบุคคล เหล า นี้เ กิด การเรีย นรูใ นงานได อ ยา งตอ เนื่อ งตลอด ชีวิต 4. การถ า ยทอดความรู แ ละการใช ป ระโยชน (Knowledge Transfer and Utilization) การถายทอดความรูภายในเครือซิเมนตไทย มีระบบการจัดการที่มีประสิทธิภาพสูง ทําใหฐานความรู ที่ เ ครื อ ซิ เ มนต ไ ทยจั ด เก็ บ ไว มี ก ารกระจายและ ถ า ยทอดไปอย า งรวดเร็ ว และทั่ ว ถึ ง ทั้ ง เครื อ ซิ เ มนต ไทย เริ่มตนจากความตองการใชความรูของสมาชิก ภายในเครือซิเมนตไทย ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่ตนไมมี ความรู เ พี ย งพอหรื อ เป น สิ่ ง ที่ ต นเองสนใจ ซึ่ ง อาจ ตองการคําแนะนําจากผูเชี่ยวชาญ สมาชิกผูมีความ ตองการดังกลาวจะติดตอกับสื่อตางๆ ที่เครือซิเมนต ไทย จัดเตรียมไว เชน ระบบกระดานขาว หรือ เว็บ การจัดการความรู โดยระบุUser Name และ Password ของตนเพื่ อ เข า ถึ ง ฐานความรู ข องเครื อ ซิ เ มนต ไ ทย และนํ า ความรู ดั ง กล า วไปใช ต ามวั ต ถุ ป ระสงค ที่ ตองการ สํ า หรั บ ความสั ม พั น ธ ร ะหว า งการจั ด การ ความรูและนวัตกรรมตามความคิดเห็นของพนักงาน ในทีมที่ไดรับรางวัล Power of Innovation สรุปไดดัง ตารางที่ 3

153


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปที่ 30 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2553

ตารางที่ 3 ความสัมพันธระหวางการจัดการความรูและนวัตกรรมในเครือซิเมนตไทยเพื่อสรางความ ไดเปรียบในการแขงขันอยางยั่งยืน กระบวนการ จัดการความรู Socialization

กระบวนการ นวัตกรรม Generating

เครือซิเมนตไทยสนับสนุนใหมีการจัดการความรูภายในองคการ โดย เน น ให เ กิ ด การแลกเปลี่ ย นผ า นกระบวนการแบ ง ป น ความรู แ ละ ประสบการณของพนักงานแตละคน มีการใหพนักงานตั้งทีมเฉพาะกิจ ขึ้ น เพื่ อ สร า งนวั ต กรรม โดยเริ่ ม จากการมองป ญ หาที่ เ กิ ด ขึ้ น ใน หนวยงานและองคการ วิเคราะหแนวโนมของตลาดและความตองการ ของลูกคา โดยสอบถามและสังเกตจากเพื่อนรวมงาน ผูบังคับบัญชา ลูกคาและแหลงขอมูลตางๆ ทั้งภายในและภายนอก นอกจากนี้มีการดู กระบวนการของสินคา บริการ และกระบวนการผลิตอื่นๆ เพื่อนํามา ประยุกตใชในสิ่งที่ทีมตองการสรางขึ้น

Conceptualizing &

พนักงานในทีมเนนการสรางทางเลือกในการแกปญหาและพัฒนาเปน แนวคิดใหมจากปญหาที่เกิดขึ้น โดยมีการจัดประชุมกลุมยอยเพื่อให พนักงานแตละคนแสดงความคิดหรือยกตัวอยางนวัตกรรมที่ตองการ ทําและบันทึกความคืบหนาของโครงการเปนลําดับขั้นเพื่อใหทราบ แนวคิ ด ใหม ๆ ซึ่ ง ถื อ เป น ความท า ทายในการสร า งนวั ต กรรมเพื่ อ สามารถนํามาใชประโยชนไดจริงในองคการ

(Tacit->Tacit)

Externalization (Tacit->Explicit)

Optimizing

Combination (Explicit->Explicit)

154

ความสัมพันธระหวางการจัดการความรูและนวัตกรรม ในเครือซิเมนตไทย

Implementing

พนักงานในทีมมีการทดลอง วิจัย และพัฒนาอยางตอเนื่องโดยการ รวมหรือบูรณาการความรูที่มีอยูเพื่อใหเกิดความคิ ดใหม เช น การ สร า งกระเบื้อ งพิ ม าย จํ า เป น ต อ งมีก ารผสมผสานความรู ใ นการทํ า กระเบื้องหินทราย หินแกรนิต กับความรูเกี่ยวกับสถาปตยกรรมไทยที่ มีอยู เชน พิมายหรือพนมรุง บางครั้งอาจจําเปนตองทดลองหลายครั้ง โดยเครื อ ซิ เ มนต ไ ทย สนั บ สนุ น ค า ใช จ า ยเพื่ อ ให พ นั ก งานสร า ง นวัตกรรมใหมขึ้น เพื่อนําไปใชในเชิงพาณิชยตอไป และมีการจัดเก็บ ผลงานในฐานขอมูลที่พนักงานสามารถเขาไปคนควาขอมูลเพิ่มเติมได


การสรางสรรคนวัตกรรมองคการ : กรณีศึกษาการประยุกตใชการจัดการความรู พยัต วุฒิรงค และ เจษฎา นกนอย

ตารางที่ 3 ความสัมพันธระหวางการจัดการความรูและนวัตกรรมในเครือซิเมนตไทยเพื่อสรางความ ไดเปรียบในการแขงขันอยางยั่งยืน (ตอ) กระบวนการ จัดการความรู Internalization (Explicit->Tacit)

กระบวนการ นวัตกรรม Diffusion

ความสัมพันธระหวางการจัดการความรูและนวัตกรรม ในเครือซิเมนตไทย เครือซิเมนตไทยมีการจัดงาน Power of Innovation เพื่อใหทีมที่เขา ประกวดนําเสนอนวัตกรรมในรูปแบบของวีดีโอและการจัดบอรด เพื่อ อธิบายกระบวนการคิดในการสรางนวัตกรรม ปญหา อุปสรรค และ ประโยชนของนวัตกรรมที่สรางขึ้นใหพนักงานคนอื่นๆ ในองคการได ทราบเพื่อนําไปพัฒนาเปนนวัตกรรมใหมๆ ตอไป ซึ่งรางวัล Power of Innovation ที่จัดขึ้นครั้งแรกในป 2548 สรางความตื่นตัวใหกับ พนักงานเครือซิเมนตไทย โดยมีผลงานเขารวมการประกวดมากกวา 300 เรื่องจากทุกธุรกิจในเครือซิเมนตไทย ความสําเร็จที่เกิดขึ้นสงผล กับเครือซิเมนตไทยทั้งโอกาสในการสรางรายได การลดรายจาย ไป จนถึงการสรางความพึงพอใจใหกับลูกคาและคูคามากขึ้น สําหรับทีม ชนะเลิศเจาของผลงาน “กระเบื้องพิมาย” ที่ศึกษาแนวโนมความ ต อ งการระดั บ โลก แล ว พั ฒ นาสู ก ารจํ า ลองหิ น ทรายมาไว บ นแผ น กระเบื้องเซรามิกเปนรายแรกของโลก ดวยเครื่องจักรที่คิดคนและ พัฒนาขึ้นใหม ซึ่งไดรับการตอบรับจากลูกคาเปนอยางดี จนกลายเปน สินคาที่สรางชื่อเสียงใหกับเครือซิเมนตไทยในระดับโลกหลังจากสงไป ขายยั ง ประเทศชั้ น นํ า ด า นแฟชั่ น เช น ฝรั่ ง เศส อั ง กฤษ และอิ ต าลี เชนเดียวกับเจาของผลงาน “กระดาษถนอมสายตา Green Read ที่ได มีการพัฒนาไปสูการผลิตและจัดจําหนายจริงในปจจุบัน

โครงการ Power of Innovation ของเครือซิ เมนตไทยมีวัตถุประสงคเพื่อสราง Inno People (Innovative People) ที่เปนคุณลักษณะของพนักงาน ที่เรียกวา คนกลา 5 ประการ ไดแก กลาเปดใจรับฟง คนอื่น (Open Minded) เพื่อใหเกิด Idea ใหมๆ ขึ้นมา กลาคิดนอกกรอบ (Think Out of the Box) กลาพูด กลาทํา กลาแสดงออก (Assertiveness) กลาเสี่ยงกลา ริเริ่ม (Risk Taker) ซึ่งเปนสวนหนึ่งในการเรียนรู และ กลาเรียนและใฝรู (Personal Mastery) มีนิสัยหมั่น คนควา รักการเรียนรูดวยตนเอง และมี Inno Leader (Innovative Leader) เปนคุณลักษณะของพนักงาน ระดับบริหาร ที่เพิ่มความเปนผูนํา 3 ประการ ไดแก

ผูนําการเปลี่ยนแปลง ผูสนับสนุนการเปลี่ยนแปลง และผู บ ริ ห ารการเปลี่ ย นแปลง ด ว ยการทํ า เป น แบบอยาง มีการกระตุนใหเกิดการคิดคนสิ่งประดิษฐ ใหมๆ ทั้งเรื่องรูปแบบธุรกิจ กระบวนการผลิต และ นวัตกรรมสินคาใหม ถือเปนการนําการจัดการความรู และนวัตกรรมมาเปนเครื่องมือในการปรับเปลี่ยนไปสู วัฒนธรรมนวัตกรรมของเครือซิเมนตไทย โดยจะตอง มีการยกยองและใหรางวัลแกพนักงานที่มีสวนในการ พัฒนานวัตกรรมดวย เพื่อสนับสนุนใหพนักงานทุกคน มีความคิดสรางสรรคและสามารถแสดงความคิดเห็น ได อ ย า งอิ ส ระ ซึ่ ง การจั ด การความรู เ พื่ อ สร า ง นวัตกรรมของเครือซิเมนตไทยแสดงดังภาพที่ 4

155


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปที่ 30 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2553

ภาพที่ 4 การจัดการความรูเพื่อสรางนวัตกรรม (ที่มา: ปรับจาก Jang… et al. 2002) นวัตกรรมและการนํามาใช

นวัตกรรมสินคา กระบวนการ รูปแบบธุรกิจ

Know-what

ความรู

กลุม

Know-where

สราง ความรู

Know-how Know-why

ผลลัพธ

จัดเก็บ ความรู

คนคืน ความรู

ฐาน ความรู

ความสัมพันธ

ความรูที่แสดงใหเห็นชัดแจง

จากภาพที่ 4 ความรูแ ละสารสนเทศต า งๆ ถูกสรางขึ้นเพื่อสรางนวัตกรรมองคการ ผลลัพธของ นวัตกรรมมาจากความรูทั้งจากภายในและภายนอก องค ก าร เช น ความรู จ ากสิ น ค า บริ ก ารหรื อ กระบวนการภายในองค ก าร ความรู จ ากข อ มู ล และ วิธีการขององคการ ความสัมพันธระหวางองคการและ คนที่เกี่ยวของ ความรูที่แสดงใหเห็นอยางชัดแจงซึ่ง เปนความรูในเชิงทฤษฎี (Know-what) แหลงที่มาของ ความรู แ ละการนํ า ไปประยุ ก ต ใ ช กั บ ที่ ไ หน (Knowwhere) ความรูที่มาจากประสบการณ (Know-how) และความรูที่เปนความเขาใจและสามารถประยุกตใช ในบริบทขององคการ (Know-why) ในเครือซิเมนต ไทยความรูไมไดถูกเก็บในรูปแบบของกระดาษ แตถูก เก็ บ เข า ไว ใ นรู ป อิ เ ล็ ก ทรอนิ ก ส ใ นระบบฐานข อ มู ล เพื่อใหผูเกี่ยวของสามารถใชไดทุกที่ ทุกเวลา ไมวาจะ อยู ที่ ไ หนในองค ก ารก็ ต ามผ า นระบบอิ น ทราเน็ ต นอกจากนี้ยังมีการสรางรูปแบบการแลกเปลี่ยนความรู ที่เปนวิธีปฏิบัติที่ดีที่สุด (Best Practice) เพื่อให ความรูถูกกระจายไปสูคนอื่นๆ เชน การจัดประกวด 156

ถายทอด ใช ประโยชน

ความรู

กลุม ความรู

วิธีการ

ความรู

ความรู

ความรูที่ไมแสดงใหเห็นชัดแจง

Power of Innovation ซึ่งความรูเหลานี้ทําใหพนักงาน สามารถนํ า ไปต อ ยอดและพั ฒ นานวั ต กรรมต า งๆ ตอไป Wutthirong (2007) อธิบายวา การสราง ความยั่ ง ยื น ในการสร า งนวั ต กรรมไม ใ ช เ รื่ อ งยาก เพี ย งแค เ ริ่ ม ต น ด ว ยการจั ด การนวั ต กรรมโดยมี หลักการสําคัญคือ การเลือกเปาหมายที่เห็นไดชัดเจน ที่สามารถกระตุนใหพนักงานเห็นประสิทธิผลได และ การสรางระบบยอยเพื่อสนับสนุนนวัตกรรมโดยทําให พนักงานรูสึกวามีระบบสนับสนุน ซึ่งจะทําใหแนใจได ว า พนั ก งานหรื อ ผู มี ส ว นได เ สี ย ได รั บ ประโยชน จ าก นวัตกรรม และมีระบบประเมินผลนวัตกรรมที่เกิดขึ้น อยางเปนระบบดวย ทั้งนี้เพราะความคิดสรา งสรรค ของพนักงานแตละคนมีบทบาทในกระบวนการสราง นวั ต ก ร ร ม แ ต สิ่ ง สํ า คั ญ ที่ จ ะ ต อ ง ต ร ะ ห นั ก คื อ นวั ต กรรมเกิ ด จากความพยายามของกลุ ม ไม ใ ช พนักงานแตละคน (McElroy 2000) ซึ่ง Scarbrough (2003) กลาววา การสรางวัฒนธรรมในการจัดการ ความรูหรือการแลกเปลี่ยนความรูเพื่อสรางนวัตกรรม


การสรางสรรคนวัตกรรมองคการ : กรณีศึกษาการประยุกตใชการจัดการความรู พยัต วุฒิรงค และ เจษฎา นกนอย

มีสวนเกี่ยวของกับการบริหารทรัพยากรมนุษย เชน ก า ร ส ร า ง ทั ก ษ ะ ข อ ง พ นั ก ง า น ที่ เ กี่ ย ว ข อ ง กั บ กระบวนการนวัตกรรม ซึ่งทักษะที่จําเปนตองถูกคัด สรรเพื่อนํามาใชในกระบวนการนวัตกรรม การจัดการ ความรูเพื่อการสรางนวัตกรรมจําเปนตองมีการสราง ความรูและพฤติกรรมในการแลกเปลี่ยนที่สามารถวัด ไดและถูกนํามาเปนสวนหนึ่งในการใหรางวัล

จากการศึ ก ษาความสั ม พั น ธ ร ะหว า งการ จัดการความรูและนวัตกรรม พบวา การที่องคการใด องค ก ารหนึ่ งจะสร า งกระบวนการทั้ ง สองให ป ระสบ ความสําเร็จจําเปนตองมีการปรับเปลี่ยนในดานคนทั้ง ในตัวพนักงานและผูนําองคก าร โครงสรา งองคก าร กระบวนการทํางาน วัฒนธรรมองคการ และเทคโนโลยี ในการชวยสนับสนุนการจัดการความรูและนวัตกรรม ดังตารางที่ 4

ตารางที่ 4 ปจจัยที่สนับสนุนการจัดการความรูและนวัตกรรมของเครือซิเมนตไทย ปจจัย คนและ วัฒนธรรม องคการ

การผสมผสานการจัดการความรูและนวัตกรรม ผูบริหารมีนโยบายที่ชัดเจนและใหการสนับสนุนการจัดการความรูและนวัตกรรม ดังนั้น กระบวนการทั้ ง หมดจึ ง ถู ก สร า งขึ้ น เพื่ อ ให พ นั ก งานมี ก ารเปลี่ ย นแปลงไปสู วั ฒ นธรรม นวัตกรรม

โครงสราง องคการ

มีการปรับโครงสรางองคการ ระบบการทํางาน และการบริหารจัดการตางๆ ที่มีประสิทธิภาพ และสอดคล อ งไปในทางเดี ย วกั น เพื่ อ สนั บ สนุ น ให ก ารทํ า งานในส ว นต า งๆ ได ผ ลตาม ตองการ

กระบวนการ ทํางาน

มี ก ารปรั บ กระบวนการต า งๆ ให ส อดคล อ งกั บ สถานการณ ที่ เ กิ ด ขึ้ น มี ก ารเสริ ม สร า ง ความสามารถในวิธีการทํางานที่เทียบไดกับบริษัทชั้นนําระดับโลก โดยการสรางพื้นฐานการ ทํางานอยางสรางสรรคบนหลักการของ TQM (Total Quality Management) เพื่อเปนฐาน อัน แข็งแกรงของการดําเนิน งาน และเพื่อตอยอดให เกิดนวัตกรรมในดานสิน ค า บริก าร กระบวนการทํางาน และรูปแบบธุรกิจใหมๆ

เทคโนโลยี

มีการพัฒนาเทคโนโลยีเปนของตนเอง โดยนําแผนแมบทของเทคโนโลยีและแผนงานวิจัย และพัฒนามาใช เพื่อเปนฐานสําคัญในการสรางนวัตกรรมดานสินคาและบริการ

บทสรุป บทความนี้ แ สดงให เ ห็ น ว า กระบวนการ นวั ต กรรมทํ า ให เ กิ ด นวั ต กรรมเพิ่ ม มากขึ้ น ความรู ตา งๆ ถูกประยุก ตเพื่อสรางความรูใหม การจัดการ ความรูเปนความพยายามเพื่อสรางนวัตกรรมใหเพิ่ม มากขึ้น ทั้งนี้การเกิดขึ้นของการจัดการความรูเปนการ ตอบสนองตอการเปลี่ยนแปลงของกระบวนการติดตอ บนฐานของความรูของนวัตกรรม (Knowledge-based Interactive Process of Innovation) สิ่งนี้แสดงใหเห็น บทบาทที่มีศักยภาพของการจัดการความรูในการรวม

ความแตกต า งของความรู ที่ ม าจากแหล ง ที่ มี ค วาม หลากหลาย โดยสิ่งที่ตองคํานึงถึงคือ 1) การจัดการความรูตองถูกจัดการเสมือน เป น กระบวนการของนวั ต กรรมไม ใ ช เ ป น เพี ย งแค เครื่องมือ การเนนที่เทคโนโลยีจะทําใหละเลยระดับ ของการรวมความรูเพื่อสรางการติดตอระหวางกันหรือ นวัตกรรมบนพื้นฐานของความรู 2) ความลมเหลวของโครงการจัดการความรู เกิดจากความยากในการปลอยความรูจากโครงการ เนื่องจากการสรางรูปแบบเฉพาะเจาะจง ทําใหความรู ติดแนนและไมสามารถถายทอดไปสูบุคคลอื่นได 157


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปที่ 30 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2553

3) การรวมความรูเขาดวยกันไมใชกระบวนการ งายๆ ตองสรางสังคมเพื่อสรางกระบวนการนวัตกรรม รวมถึ ง การตระหนั ก ถึ ง เครื อ ข า ยความสั ม พั น ธ ท าง สั ง คมซึ่ ง เป น เรื่ อ งที่ สํ า คั ญ สํ า หรั บ การรวมและ แลกเปลี่ยนความรูในการสรางนวัตกรรมและทุนทาง ปญญา (Intellectual Capital) (Nahapiet and Ghoshal 1998) การสรางความไดเปรียบในการแขงขันอยาง ยั่งยืนองคการจําเปนตองผสานการจัดการความรูเขา กับนวัตกรรม โดยใชความรูและพนักงานเพื่อสรางให เกิดนวัตกรรมทางดานสินคา บริการ หรือนวัตกรรม

กระบวนการ เพื่อสรางมูลคาเพิ่มใหกับองคการและ นําไปสูความไดเปรียบในการแขงขันอยางยั่งยืน ดัง ตัวอย า งของเครื อซิเมนตไ ทยที่มีก ารนํา การจั ด การ ความรูและนวัตกรรมมาใชเปนกลยุทธหลักกระบวนการ ทั้งสองถูกดําเนินการควบคูกันและปฏิบัติเสมือนเปน กระบวนการเดีย วกั น เมื่ อ องคก ารสามารถสรา งให พนักงานเกิดการจัดการความรูที่ดีแลว นวัตกรรมใน องคการเปนสิ่งที่จะเกิดขึ้นตามมา พัฒนาไปสูองคการ แหงนวัตกรรม และมีผลการปฏิบัติงานสูงในที่สุด

บรรณานุกรม จิรพรรณ อัญญะโพธิ์. (2549). The great brand reloaded: when elephant dancing & competing with innovation. BrandAge 7 (4) : 138-142. เจษฎา นกนอย. (2549). พุทธธรรมกับการสรางองคการแหงการเรียนรู. Chulalongkorn Review 18 (70) : 56-70. พยั ต วุ ฒิ ร งค . (2549). การบริ ห ารทรั พ ยากรมนุ ษ ย เ พื่ อ การจั ด การความรู จ ากแนวคิ ด สู ก ารปฏิ บั ติ . Chulalongkorn Review 18 (71) : 5-28. ________. (2550). วัฒนธรรมองคการที่สงผลตอความสําเร็จในการจัดการความรูและ The Competing Values Framework (CVF). Chulalongkorn Review 19 (75) : 5-23. พยุงศักดิ์ วิริยะบัณฑิตกุล. (2549). Inno-People: Wind of Change. BrandAge 7 (4) : 150-5. Abernathy, W. and Utterback, J. (1978). Patterns of industrial innovation. Technology Review 80 : 40-47. Adams, G. and Lamont, B. (2003). Knowledge management systems and developing sustainable competitive advantage. Journal of Knowledge Management 7 (2) : 142-154. Adler, P. (1989). Product development Know-How: Trading tactics for strategy. Sloan Management Review 31 (1) : 7-17. Amidon, D. (1997). Innovation strategy for the knowledge economy: The Ken Awakening. Boston, Massachusetts: Butterworth-Heinemann. Armbrecht, F. ... et al. (2001). Knowledge management in research and development. Research Technology Management 44 (4) : 28-48. Baddi, A. and Sharif, A. (2003). Information management and knowledge integrating for enterprise innovation. Logistics Information Management 16 (2) : 145-155. Basadur, M. and Gelade, G. (2006). The role of knowledge management in the innovation process. Creativity and Innovation Management 15 (1) : 45-62.

158


การสรางสรรคนวัตกรรมองคการ : กรณีศึกษาการประยุกตใชการจัดการความรู พยัต วุฒิรงค และ เจษฎา นกนอย

Beckenbach, F. and Daskalakis, M. (2007). Invention and innovation as creative problem solving activities: A contribution to evolutionary microeconomics. [Online]. Retrieved from http:www.wiwi.uni-augsburg.de/vwl/ hanusch/emaee/ papers/Beckenbach_neu.pdf. Bellon, B. and Whittington, G. (1996). Competing through innovation. Dublin: Oak Tree Press. Bolwijn, P. and Kumpe, T. (1990). Manufacturing in the 1990s – productivity, flexibility and innovation. Long Range Planning 23 : 44-57. Bowen, K. … et al. (1994). The perpetual enterprise machine: Seven keys to corporate renewal through successful product and process development. New York: Oxford University Press. Capon, N., Farley, J., Donald, L. and Hulbert, J. (1992). Profiles of product innovators among large U.S. manufacturers. Management Science 36 (2) : 157-169. Cardinal, L., Allessandri, t. and Turner, S. (2001). Knowledge codifiability, resources, and science based innovation. Journal of Knowledge Management 5 (2) : 195-204. Carneiro, A. (2000). How does knowledge management influence innovation and competitiveness? Journal of Knowledge Management 4 (2) : 87-98. Castells, M. (1996). The rise of the network society. Oxford: Blackwell. Cavusgil, S., Calantone, R. and Zhao, Y. (2003). Tacit knowledge transfer and firm innovation capability. Journal of Business and Industrial Marketing 18 (1) : 6-21. Chen, J., Zhaohui, Z. and Xie, H. (2004). Measuring intellectual capital. Journal of Intellectual Capital 5 (1) : 195-212. Cohen, W. and Levinthal. (1990). Absorptive capacity: A new perspective on learning and innovation. Administrative Science Quarterly 35 : 128-152. Coombs, R., Knights, D. and Willmott, H. (1992). Culture, Control and Competition ; Towards a Conceptual Framework for the Study of Information technology in organizations. Organization Studies 13 (1) : 51-22. Cumming, B. (1998). Innovation overview and future challenges. European Journal of Innovation Management 1 (1) : 21-29. Damanpour, F. (1991). Organizational innovation: A meta-analysis of effects of determinants and moderators. Academy of Management Journal 34 (3) : 555- 590. Damanpour, F. (1996). Organizational complexity and innovation: Developing and testing multiple contingency models. Management Science 42 (5) : 693-716. Damanpour, F. and Evan, W. (1984). Organizational innovation and performance: The problem of “organizational lag. Administrative Science Quarterly 29 : 392-409. Darroch, J. and McNaughton, R. (2002). Examining the link between knowledge management practices and types of innovation. Journal of Intellectual Capital 3 (3) : 210-222. D”Aveni, R. (1994). Hypercompetition: Managing the dynamics of strategic maneuvering. New York: The Free Press. Davenport, T. (September 1994). “The coming soon.” Information Week : 5.

159


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปที่ 30 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2553

Davenport, T. and Prusak, L. (1998). Working Knowledge: How organizations manage what they know. Boston: Harvard Business School Press. Dodgson, M. and Rothwell, R., ed. (1995). The Handbook of industrial innovation. London: Edward Elgar. Drucker, P. (1993). Post capitalist society. New York: Butterworth Heineman. Drucker, P. (1998). The Coming of the New Organization. in Harvard Business Review on Knowledge Management. Boston: Harvard Business School Press. Drucker, P. (1999). Management challenges for the 21st century. New York: Harper Collins Publishers. Du Plessis, M. (2007). The role of knowledge management in innovation. Journal of Knowledge Management 11 (4) : 20-29. Forcadell, F. and Guadamillas, F. (2002). A case study on the implementation of a knowledge management strategy oriented to innovation. Knowledge and Process Management 9 (3) : 162-171. Gloet, M. and Terziovski, M. (2004). Exploring the relationship between knowledge management practices and innovation performance. Journal of Manufacturing Technology Management 15 (5) : 402-409. Goh, A. (2005). Harnessing knowledge for innovation: An integrated management framework. Journal of Knowledge Management 9 (4) : 6-18. Gopalakrishnan, S. and Bierly, P. (2001). Analyzing innovation and adoption using a knowledge-based approach. Journal of Engineering and Technology Management 18 : 107-130. Gopalakrishnan, S., Bierly, P. and Kessler, E. (1999). A reexamination of product and process innovations using a knowledge-based view. The Journal of High Technology Management Research 10 (1) : 147-166. Gopalakrishnan, S. and Damanpor. (1997). A review of innovation research in economics, sociology and technology management. Omega: The International Journal of Management Science 25 (1) : 15-28. Grant, R. (1996a). Propering in dynamically-competitive environments: Organizational capability as knowledge integration. Organization Science 7 (4) : 375-387. Grant, R. (1996b). Toward a knowledge based theory of the firm. Strategic Management Journal 17 : 109-122. Herkema, S. (2003). A complex adaptive perspective on learning within innovation projects. The Learning Organization 10 (6) : 340-346. Herstatt, C. and Von Hippel, E. (1992). FROM Experience: Developing new product concepts via the lead user method: A case study in a "Low-Tech" field. Journal of Product Innovation Management 9 (3) : 213-221. Jang, S. … et al. (2002). Knowledge management and process innovation: the knowledge transformation path in Samsung SDI. Journal of Knowledge Management 6 (5) : 479-485.

160


การสรางสรรคนวัตกรรมองคการ : กรณีศึกษาการประยุกตใชการจัดการความรู พยัต วุฒิรงค และ เจษฎา นกนอย

Jelinek, M. and Litterer, J. (1994). Organizing for technology and innovation. In Managing new technology development. Souder, W. and Sherman, J., eds. New York: McGraw Hill. Kim, L. (1999). Knowledge management and competitiveness. Proceedings of the Second Symposium of Knowledge Management. Seoul: 1-24. Kimberly, J. and Evanisko, M. (1981). Organizational innovation: The influence of individual, organizational, and contextual factors on hospital adoption of technological and administrative innovations. The Academy of Management Journal 24 (4) : 689-713. Kogut, B. and Zander, U. (1992). Knowledge of the firm, combinative capabilities and replication of technology. Organization Science 3 (3) : 383-397. Kotz, D. M. … et al. (2002). “Socialism and innovation.” Science and Society 66 (1) : 94-115. Leonard-Barton, D. (1995). Wellsprings of knowledge: Building and sustaining the sources of innovation. Boston, Massachusetts: Harvard Business School Press. Marshall, L. (1997). Facilitating knowledge management and knowledge sharing: new opportunities for information professionals. Online 21 (5) : 92-98. McElroy, M. 2000. “Using knowledge management to sustain innovation: Moving toward second generation knowledge management.” Knowledge Management Review 3, 4 : 34-37. Nahapiet, J. and Ghoshal, S. (1998). Social capital, intellectual capital and the organizational advantage. Academy of Management Review 23 : 243-266. Nonaka, I. (1991). The knowledge-creating company. Harvard Business Review 69 (6) : 96-104. Nonaka, I. (1994). A dynamic theory of organizational knowledge creation. Organization Science 5 (1) : 14-37. Nonaka, I. and Takeuchi, H. (1995). The knowledge-creating company: How Japanese companies create the dynamics of innovation. New York: Oxford University Press. Nonaka, I. and Takeuchi, H. (1996). A theory of organizational knowledge creation. International Journal of Technology Management: Special publication on unlearning and learning 11 (Issue 7/8) : 833-845. O”Dell, L. and Grayson, C. (1998). If only we know what we know. New York: The Free Press. Pavitt, K. (2000). Technology, management and systems of innovation. London: Edward Elgar. Pyka, A. (2002). Innovation networks in economics: From the incentive-based to the knowledge based approaches. European Journal of Innovation Management 5 (3) : 152-163. Quintas, J., Anderson, P. and Finkelstein, S. (1996). Managing professional intellect: Making the most of the best. Harvard Business Review 74 : 71-80. Rodan, S. (2002). Innovation and heterogeneous knowledge in managerial contact networks. Journal of Knowledge Management 6 (2) : 150-165 Rogers, E. M. (1995). Diffusion of innovations. 4th ed. New York: The New Press. Rothwell, R. (1992). Successful industrial innovation: Critical success factors for the 1990s. R&D Management 22 (3) : 221-239.

161


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปที่ 30 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2553

Rothwell, R. and Gardiner, P. (1984). Invention and Re-innovation: The Case of the Hovercraft. N.p. Roussel, P., Saad, K. and Erickson, T. (1991). Third Generation R&D: Managing the link to corporate strategy. Boston, Massachusetts: Harvard Business School Press. Scarbrough, H. (2003). Knowledge management, HRM and the innovation process. International Journal of Manpower 24 (5) : 501-516. Shani, A., Sena, J. and Olin, T. (2003). Knowledge management and new product development: A study of two companies. European Journal of Innovation Management 6 (3) : 137-149. Simon, H. (1977). The new science of management decisions. New York: Prentice-Hall. Soo, C., Midgley, D. and Devinney, T. (1999). The process of knowledge creation in organizations. Australia: University of New South Wales. Teece, D., Pisano, G. and Shuen, A. (1997). The dynamic capabilities and strategic management. Strategic Management Journal 18 (7) : 509-533. Tidd, J., Bessant, J. and Pavitt, K. (2001). Managing innovation. 2nd ed. Chichester: John Wiley and Sons. Tranfield, D., Young, M. and Partington, D. (2003). Knowledge management routines for innovation projects: Developing a hierarchical process model. International Journal of Innovation Management 7 (1) : 27-49. Utterback, J. (1994). Mastering the dynamics of innovation. Boston, Massachusetts: Harvard Business School Press. Van de Ven, A., Angle, H. and Poole, M. (1989). Research on the management of innovation. New York: Harper and Row. Van de Ven, A. and Rogers, E. (1988). Innovations and organizations: Critical perspectives. Communication Research 15 : 623-651. Von Hippel, E. and Foster, R. (1988). The sources of innovation. McKinsey Quarterly Winter 1 : 72-79. Wiig, K. (1997). Knowledge management: Where did it come from and where will it go? Expert Systems with Applications 13 (1) : 1-14. Wutthirong. (2007). Change and innovation management in public organization of Thailand. Proceedings of the 5th Annual International Conference "Public Administration in the XXI Century: Traditions and Innovations. Moscow, Russia. : 164-169. Zaltman, G., Duncan, R., and Holbek, J. (1984). Innovations and organizations. Malabar, Florida: R.E. Krieger.

162


ศิลปหัตถกรรมพื้นบาน : เอกลักษณเฉพาะถิ่น วิบูลย ลี้สุวรรณ

ศิลปหัตถกรรมพื้นบาน : เอกลักษณเฉพาะถิน่ Folk Handicrafts : Local Identity วิบูลย ลี้สุวรรณ1 Viboon Leesuwan

บทคัดยอ ศิลปหัตถกรรมพื้นบานเปนเครื่องมือเครื่องใชดั้งเดิมของมนุษยพัฒนาจาก หัตถกรรมที่ทําเพื่อใชสอย มาขัดเกลาใหนาใชและมีความสวยงาม ศิลปหัตถกรรมพื้นบานเปนวัฒนธรรมทางวัตถุที่สะทอนกระบวนความคิด ในการออกแบบ การเลือกสรรวัสดุ รูปแบบของศิลปหัตถกรรมพื้นบานแสดงใหเห็นลักษณะการใชสอยที่สอดคลอง กับวิถีชีวิต ขนบประเพณี ความเชื่อ ประวัติศาสตรทองถิ่น จนถึงภูมิปญญาของชาง ศิลปหัตถกรรมมิไดมีเฉพาะ ประเทศไทยเทานั้น แตทํากันทั่วโลกกอนที่การปฏิวัตอุตสาหกรรมในคริสตศตวรรษที่ 19 ซึ่งเปลี่ยนเครื่องมือ เครื่องใชที่ผลิตดวยมือมาเปนการผลิตในระบบอุตสาหกรรม แตก็มีหลายสิ่งหลายอยางที่ยังเปนเครื่องมือเครื่องใช ที่ไ ม สามารถผลิตดวยเครื่ องจักรกล ทํ าใหศิลปหัตถกรรมพื้น บานหลายประเภทยังดํา รงคุณคา มาจนปจ จุบัน ศิลปหัตถกรรมพื้นบานดั้งเดิมเปนหลักฐานสําคัญในการศึกษาเพื่อใหเกิดองคความรูใหมๆ อยางนาสนใจ คําสําคัญ : 1. หัตถกรรม. 2. ศิลปหัตถกรรม. 3. ลักษณะเฉพาะถิ่น. 4. วิจิตรศิลป. 5. ประยุกตศิลป. 6. ศิลปะพื้นบาน. Abstract

Folk handicrafts are traditional tools and utensils which have been polished and refined so that they are not only useable but also decorative. These handicrafts are considered cultural materials which mirror the craftsmen’s idea regarding designing and choices of materials. Styles of folk handicrafts reflect their utilitarian purposes, which are interwoven with local lifestyles, traditions, beliefs, local histories and the craftsmen’s knowledge. Folk handicrafts did not originate only in Thailand. They were common all over the world before the industrial revolution in the 19th century replaced handiworks with manufactures. However, there are still a lot of items which cannot be made by machines. This is why several kinds of folk handicrafts have survived until today. Traditional handicrafts are significant evidence needed to be studied because it can bring about new knowledge. Keywords :

1. Handcraft. 2. Handicraft. 6. Folk art.

3. Local character. 4. Fine art. 5. Applied art.

1

ศาสตราจารย ประจําหมวดวิชาทัศนศิลป คณะอักษรศาสตร มหาวิทยาลัยศิลปากร นครปฐม

163


ศิลปหัตถกรรมพื้นบาน : เอกลักษณเฉพาะถิ่น วิบูลย ลี้สุวรรณ

ความนํา ปจจุบัน ศิลปะพื้นบาน หรือศิลปะชาวบาน ได รั บ ความสนใจค อ นข า งกว า งขวาง โดยเฉพาะ ศิ ล ปหั ต ถกรรมพื้ น บ า นได รั บ การพั ฒ นาเป น สิ น ค า หนึ่งตําบลหนึ่งผลิตภัณฑ หรือ OTOP มากมายหลาย ชนิ ด กระจายอยู ต ามท อ งถิ่ น ต า งๆ แต เ ป น ที่ น า เสี ย ดายว า งานศิ ล ปหั ต ถกรรมที่ ผ ลิ ต ออกมาเป น จํานวนมากนั้น ผูผลิตไมใครไดนําภูมิปญญาพื้นบาน มาประสานกั บ เทคโนโลยี ส มั ย ใหม แ ล ว สร า งขึ้ น บน พื้ น ฐานของวั ฒ นธรรมดั้ ง เดิ ม ของให เ กิ ด ประโยชน เท า ที่ ค วร จึ ง ทํ า ให ศิ ล ปหั ต ถกรรมพื้ น บ า นไม แ สดง เอกลักษณของทองถิ่นเหมือนในอดีตที่ผานมา ดวยเหตุนี้ หากมี ห น ว ยงานหรื อ สถาบั น การศึ ก ษา เข า ไปให ความรู สรางความเขาใจใหถูกตอง แกประชาชนก็จะ เกิดประโยชนในอนาคต บทความนี้เขียนอยางกวาง ๆ แสดงใหความเกี่ยวเนื่องและความเชื่อมโยงระหวาง ศิลปะพื้นบานของไทยกับวัฒนธรรมและกระแสของ การเคลื่ อ นไหวของศิ ล ปหั ต ถกรรมพื้ น บ า นในโลก ตะวันตก เพื่อชี้ใหเห็นวาศิลปหัตถกรรมพื้นบานไมใช สิ่งลาสมัย มีผูสนใจและใหความสําคัญทั่วโลก

ศิลปะและศิลปหัตถกรรมพื้นบาน : คํานิยามและ ความหมาย โดยทั่วไปสิ่งที่มนุษยสรางขึ้นดวยมือเรียกวา หัตถกรรม (craft, handicraft) ซึ่งมีวัตถุประสงคหลัก คือ การใชสอย ตอมาเมื่อมีประโยชนใชสอยสมบูรณ 2

แล ว มนุ ษ ย จึ ง สร า งให มี ฝ มื อ สู ง ขึ้ น โดยใช ทั ก ษะ เฉพาะตัว ผสานกับความรูสึกนึกคิด จินตนาการ และ ความงดงาม ทํ า ให ง านหั ต ถกรรมมิ ไ ด เ ป น เพี ย ง เครื่องมือเครื่องใชเทานั้น แตมีความงาม แฝงภูมิปญญา และคานิยมของชุมชน ซึ่งเปนตนเคาของสิ่งที่เรียกกัน ภายหลั ง ว า ศิ ล ปะ 2 (art) และเรี ย กหั ต ถกรรมที่ มี คุณลักษณะดังกลาววา ศิลปหัตถกรรม (art and craft) มนุษยใชศิลปหัตถกรรมเครื่องมือเครื่องใช ใน ชีวิตประจําวัน สนองความเชื่อทางศาสนา หรือเสริม อํานาจบารมีของชนชั้น (หัตถกรรมกับศิลปหัตถกรรม นั้ น แยกออกจากกั น อย า งเด็ ด ขาดยาก ดั ง นั้ น ใน บทความนี้จะเรียกรวมๆ วา ศิลปหัตถกรรม ซึ่งหมาย รวมถึ งหั ต ถกรรมด วย)ก อ นจะสร า งศิ ลปะที่ เรี ยกว า วิจิตรศิลป (fine art) ใหมีคุณคาและมีความงามใน ตั ว เองมากกว า ประโยชน ใ ช ส อย ศิ ล ปะที่ ส ร า งเพื่ อ ประโยชนใชสอยมากวาคุณคาทางสุนทรียภาพ เรียก ประยุกตศิลป(applied art) หรือศิลปะประยุกต แต กระนั้นก็ตาม ศิลปะทั้งสองประเภทนี้ก็ยากที่จะแยก จากกันชัดเจน เพราะมักเกี่ยวเนื่องกันเสมอ ตอมาใน คริ ส ต ศั ก ราช 1870 กระแสความนิ ย มศิ ล ปะที่ มี ลักษณะเปนปจเจกนิยมและคุณคาของสุนทรียภาพ สูงขึ้น จึงมีผูพยายามจะแยกศิลปะออกจากวัตถุประสงค อื่นเรียกศิลปะแนวนี้วา ศิลปะเพื่อศิลปะ3 (art for art’s sake) ซึ่งเปนแรงผลักดันสําคัญที่ทําใหศิลปนสมัยใหม สร า งสรรค ศิ ล ปะให ก า วหน า อย า งอิ ส ระ ในขณะที่ กระแสศิลปะสมัยใหมกําลังกาวไปขางหนานั้น ศิลปะที่

ศิลปะ(art)เขาใจวาเปนคําบัญญัติในสมัยรัชกาลที่ 6 มาจากคําวา “art” ซึ่งมาจากคําลาตินวา”ars”หมายถึง ทักษะ หรือ”skill”เดิมนั้นใชในความหมายกวางๆ กับสิ่งที่ทําดวยความชํานาญ การทําอาหาร ตอมาจึงใชในความหมายเชิงวิชาการศิลปะที่มี ลักษณะเปนงานสรางสรรค ไดแก วรรณกรรม กวีนิพนธ นาฏศิลป ดนตรี และทัศนศิลป หรือศิลปะที่รับรูไดดวยตา ไดแก จิตรกรรม ประติมากรรม ภาพพิมพ พจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน ฉบับ พ.ศ. 2542 อธิบายไว ฝมือทางการชาง,การทําใหวิจิตรพิศดาร,การ แสดงออกซึ่งอารมณสะเทือนใจใหประจักษดวยสื่อตางๆ อยางเสียง เสน สีผิว รูปทรง เปนตน คํานิยมของศิลปะมักเปลี่ยนไปตาม แนวคิ ด ของศิ ล ป น แต ล ะยุ ค แต ล ะสมั ย งานสร า งสรรค ที่ มี ป ระโยชน ค วบคู กั บ ความงามโบราณเรี ย กงานช า งหรื อ งานฝ มื อ (craft,handicraft)และเรียก ผูสรางงานวา ชาง(artisan)ตามประเภทของงานแตละชนิด เชน ชางเขียน ชางปน ชางแกะสลัก ชางรัก ชางทอง ชางไม การเรียกผูสรางงานศิลปะวา ศิลปน(artist)คงเกิดขึ้นพรอมกับคําวา ศิลปะ 3 ศิลปะเพื่อศิลปะ (art for art’s sake)วลีที่สัมพันธกับหลักการสุนทรียศาสตร ที่ถือวา ศิลปะตองมุงถึงคุณคาสูงสุดในศิลปะ เปนสําคัญ ไมตองคํานึงถึงคุณคาทางศีลธรรม สังคม เศรษฐกิจ หรือการเมือง นักเขียนและกวีของฝรั่งเศสและอังกฤษในชวงปลาย คริสตศตวรรษที่ 19 ไดนําวลีนี้มาใชเปนคําขวัญกันแพรหลาย โดยเฉพาะเตโอฟล โกดีเย(Theophile Gautier: 1811-1872) และชารลปแยร โบเดอแลร (Charles-Pierre Baudelaire: 1821-1867)นักประพันธชาวฝรั่งเศส วอลเตอร ฮอเรซีโอ เพเตอร(Walter Horatio Pater: 1839-1894) และออสการ ไวลด(Oscar Wilde:1854-1900)นักเขียนชาวอังกฤษ ศิลปนที่สรางงานตามแนวคิดนี้ ไดแก เจมส วิสดเลอร(James Abbott McNeill Whistler:1834-1903)จิตรกรและศิลปนภาพพิมพชาวอเมริกัน และ เซอรเอ็ดเวิรด โคลีย เบิรนโจนส(Sir Edward Coley Burne-Jones:1833-1898)จิตรกรและนักออกแบบชาวอังกฤษ เปนตน(ราชบัณฑิตยสถาน 2541 : 29)

164


ศิลปหัตถกรรมพื้นบาน : เอกลักษณเฉพาะถิ่น วิบูลย ลี้สุวรรณ

สรางโดยชาวบานหรือประชาชนทั่วถูกละเลย ชางฝมือ ลดจํานวนลงไปมาก เฉพาะชวงปลายคริสตศตวรรษที่ 19 งานชา งฝ มื อหรือ งานหัต ถกรรมของยุโ รปไดรั บ ผลกระทบจากการปฏิวัติอุตสาหกรรม ทําใหชางฝมือ ละทิ้งงานฝมือเขาสูระบบโรงงาน จนขาดแคลนชางงาน หัตถกรรมและศิลปหัตถกรรมถูกละเลย เพราะประชาชน นิยมผลิตภัณฑจากโรงงานอุตสาหกรรมที่มีราคาถูก ซื้อไดสะดวก คานิยมเชนนี้ทําให ศิลปน นักออกแบบ นักวิชาการศิลปะกลุมหนึ่งเกิดความกังวนวาศิลปหัตถกรรม ที่เปนงานฝมือของชางดั้งเดิมของชาติจะสูญไป จึงรวมกัน รณรงค ใ ห อ นุรั ก ษ ฝ มือ ช า งของแต ล ะถิ่ น เอาไว เกิ ด ขบวนการศิลปหัตถกรรม4 (arts and crafts movement) ขึ้นในประเทศอังกฤษ แลวแพรไปยังประเทศตางๆ ใน ยุโรป ศิลปนและนักออกนําลวดลายและรูปแบบของ งานศิลปหัตถกรรมไปประยุกตเปนศิลปะตกแตงหรือ มัณฑนศิลปแบบใหมที่เรียกวา นวศิลปหรือ art nouveau ช ว งคริ ส ต ท ศวรรษ 1880-1990 ซึ่ ง น า สั ง เกตว า ขณะนั้นตรงกับชวงปลายรัชกาลพระบาทสมเด็จพระ จุลจอมเกลาเจาอยูหัว อันเปนยุคที่ประเทศสยามกําลัง ปรับประเทศใหกาวหนาอยางอารยะประเทศตะวันตก ศิ ล ปะและวั ฒ นธรรมตะวั น ตกหลั่ ง ไหลเข า มามาก ส ง ผลกระทบต อ งานศิ ล ปหั ต ถกรรมประจํ า ชาติ เชนเดียวกับที่หลายประเทศในยุโรปไดรับผลกระทบ จากกระแสการปฏิวัติอุตสาหกรรม พระบาทสมเด็จ พระเจ า อยู หั ว รั ช กาลที่ 5 ทรงห ว งใยเกรงว า งาน ศิลปหัตถกรรมประจําชาติจะเสื่อมหายไปตามกระแส ของการพัฒนาเชนเดียวกัน จึงโปรดเกลาฯตั้ง สโมสร

ชาง ขึ้นใน พ.ศ. 2451 (หรือ ค.ศ.1908) ปถัดมาโอน สโมสรช า งไปขึ้ น กั บ สามั ค ยาจารย ส มาคม กรม ราชบัณฑิตยสถาน มีผูสมัครเขาเรียนวิชาชางไทยเปน จํานวนมาก จึงยกฐานะเปน โรงเรียนหัตถกรรมราช บูรณะ ขึ้นกับกระทรวงธรรมการ ในป พ.ศ. 2454 ตน รั ช กาลพระบาทสมเด็ จ พระมงกุ ฎ เกล า เจ า อยู หั ว รั ช กาลที่ 6 เริ่ ม สร า งอาคารถาวรของโรงเรี ย น หัตถกรรมราชบูร ณะเพื่ออุทิศถวายพระบาทสมเด็จ พระจุ ล จอมเกล า เจ า อยู หั ว เมื่ อ สร า งอาคารเสร็ จ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกลาเจาอยูหัว เสด็จพระ ราชดํ า เนิ น มาเป ด เมื่ อ วั น ที่ 7 มกราคม พ.ศ.2456 พระราชทานชื่ อ โรงเรี ย นใหม ว า โรงเรี ย นเพาะช า ง เพื่อ ใหเป น โรงเรีย นฝก หั ดชา งหัต ถกรรมของสยาม อาจถือไดวาเปน ขบวนการหรือการเคลื่อนไหวดาน ศิลปหัตถกรรมของประเทศสยาม ดั ง กล า วแล ว จะเห็ น ว า ศิ ล ปหั ต ถกรรม พื้นบานเปนรากเหงาสําคัญของศิลปะประจําชาติ ทั้ง ตะวั น ออกและตะวั น ตก เฉพาะในประเทศไทยนั้ น ศิ ล ปหั ต ถกรรมพื้ น บ า นเป น เครื่ อ งมื อ เครื่ อ งใช ที่ สะท อ นวั ฒ นธรรมหรื อ วิ ถี ชี วิ ต ของประชาชนทั่ ว ไป ส ว น ศิ ล ป หั ต ถ ก ร ร ม ข อ ง ช น ชั้ น สู ง ที่ เ รี ย ก ว า ศิลปหัตถกรรมราชสํานัก หรือ ศิลปะราชสํานัก (court art) บางทีเรียกประณีตศิลป(minor art) ศิล ปหั ต ถกรรมพื้ น บ า นเปน ศิ ล ปะประเภท หนึ่งของศิลปะพื้นบาน หรือ ศิลปะชาวบาน5 ศิลปะ ชาวบานปรากฏในวงการศึกษาดานศิลปะเมื่อ พระยา อนุมานราชธน เรียบเรียงศัพทศิลปะจากคําอธิบายของ

4

ขบวนการศิลปหัตถกรรม (Arts and Crafts Movement) การเคลื่อนไหวทางศิลปะที่เกี่ยวเนื่องกับงานหัตถอุตสาหกรรม ศิลปในประเทศอังกฤษในตนคริสตศตวรรษที่ 20 โดย วิลเลียม มอรริส (William Morris : 1834-96) นักเขียน จิตรกร นักออกแบบฯลฯ ชาวอังกฤษ จอหน รัสกิน (John Ruskin : 1819-1900) นักวิจารณศิลปะและจิตรกรสีน้ํานอรทมอร พูกิน (Augusttus Welby Northmore Pugin : 1812-52) นักเขียน สถาปนิก นักออกแบบชาวอังกฤษ เปนแกนนําในการนําศิลปหัตถกรรมแบบดังเดิมมาพัฒนา เปนเครื่องใชในชีวิตประจําวัน เชน เครื่องเรือน ลายประดับ ลายพิมพผา งานออกแบบหนังสือ ขบวนการนี้ใหอิทธิพลแกประเทศตางๆ ในยุโรปทําใหเกิดศิลปะประยุกตรูปแบบใหมในคริสตศตวรรษที่ 20 ที่เรียกวา นวศิลป หรือ art nouveau 5 ศิลปะพื้นบาน(folk art) ศิลปะพื้นถิ่น(vernacular art) เฉพาะคําวา folk art หนังสือ Encyclopedia Americana International, 1993 อธิบายวา folk art เกิดขึ้นเมื่อคริสตศตวรรษที่ 19 เมื่อนักประวัติศาสตรศิลปตองการจําแนกประเภทของศิลปะให ชัดเจนยิ่งขึ้น จึงใชคําวา “folk art”กับผลงานศิลปะที่สรางขึ้นเพื่อใชประโยชน(utilitarian)ที่เกิดขึ้นโดยชางหรือศิลปนที่ไมไดศึกษาจาก สถาบัน เดิมศิลปะชาวบานหรือศิลปะพื้นบานมักถูกประเมินวา มีคุณคาทางความงามต่ํา ไมอยูในประเภทศิลปะใดๆที่จัดแสดงใน พิพิธภัณฑศิลปะ แตหลังคริสตศตวรรษที่ 20 นักวิชาการศิลปะและประชาชนทั่วไปใหความสนใจมากขึ้น เห็นวา ศิลปะชาวบาน หรือ ศิลปะพื้นบานมีลักษณะพิเศษตางไปจากวิจิตรศิลปและประยุกตศิลป เปนศิลปะที่แสดงออกทางสุนทรียภาพสูง ไมยิ่งหยอนกวาวิจิตร ศิลป

165


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปที่ 30 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2553

ศาสตราจารยศิลป พีระศรี เมื่อประมาณ พ.ศ.2485-2491 ได จั ด พิ ม พ เ ป น หนั ง สื อ ชื่ อ “ศิ ล ปะสงเคราะห ”6 โดย เสฐียรโกเศศ หรือพระยาอนุมานราชธน ไดอธิบาย วา….ศิลปะชาวบาน (folk art) การรองรําทําเพลง จิตรกรรม การวาดเขียนและอื่นๆ ซึ่งมีกําเนิดมาจากชีวิตจิตใจ ของประชาชน เรียกวา ศิลปะชาวบาน ศิลปะชาวบาน อาจมาแตประชาชนเองเปน ผูสราง หรืออาจมาแตผูเปนศิลปนจริๆ ซึ่งมองเห็น ชีวิตความเปนอยู ประเพณีที่เปนปรัมปราคติ หรือ อะไรอื่นๆ ของชาวบานเปนผูสรางขึ้นก็ได ศิลปะชาวบาน มีแปลกๆ ตางๆ กันมากมาย เพราะประเทศหนึ่งๆ ก็มีแตกตางกันออกไป แมใน ประเทศเดียวกัน ตางถิ่นตางทองที่ก็มีแตกตางกัน เพราะฉะนั้น ศิลปะชนิดนี้จึงอุดมดวย ลักษณะที่แสดง ใหเห็นถึงความรูสึกนึกเห็นอยางงายๆ และถือเปน ปรัมปราคติสืบตอกันมาของประชาชนในประเทศ หรือ ในทองถิ่นนั้นๆ เปนเครื่องสองใหเห็นลักษณะพิเศษ เกี่ยวกับพุทธปญญาและจิตใจของประชาชนเหลานั้น ไมวาของชาติไรไดเปนอยางดี" จากคําอธิบายดังกลาว อาจสรุปไดวา ศิลปะ พื้นบาน มีลักษณะเฉพาะที่สําคัญคือ สรางโดย“ชาวบาน” หรือประชาชน หรือศิลปนเปนผูสราง(นักวิชาการ ศิลปะตะวันตกบางคนเรียก people art)โดยไดรับ ความบันดาลใจมาจากขนบประเพณี ความเชื่อของ ชาวบานที่สืบตอกันมาแตโบราณ จนมีเอกลักษณ เฉพาะถิ่น ชางหรือศิลปนชาวบานเปนผูถายทอด ความรูสึกนึกคิดเหลานั้นใหปรากฏออกมาอยางเรียบ ง า ยและแสดงให เ ห็ น ภู มิ ป ญ ญาของกลุ ม ชนนั้ น ๆ ดังนั้น ลักษณะเฉพาะประการหนึ่งของศิลปะพื้นบาน คือ ความเรียบงาย เพราะสรางขึ้นโดยชาวบานหรือ ช า งพื้ น บ า นที่ มี วั ต ถุ ป ระสงค เ พื่ อ ใช ส อยหรื อ สนอง ความตองการตามสภาพทองถิ่น ขนบประเพณีและ วัฒนธรรมของกลุมชน ความงาม ความไพเราะของศิลปะ

6

พื้นบานเกิดจากความชํานาญและการขัดเกลาสืบตอกัน มาเปนเวลานาน ตางจากงานศิลปะที่สรางโดยชาง หลวงหรื อ ช า งที่ ไ ด รั บ การศึ ก ษาอย า งเป น ระบบใน สถาบันการศึกษาที่มักใหความสําคัญกับความวิจิตร งดงามควบคูกับประโยชนใชสอย แตไมมีความสัมพันธ กับชุมชนแตอยางใด แมคําอธิบายใหคํานิยามของศิลปะชาวบาน ไวคอนขางชัดเจนดังกลาวแลวก็ตาม แตก็มิใชขอยุติ ซึ่งตอมามีผูนําคําวา ศิลปะพื้นบาน และศิลปะพื้นถิ่น มาใช คําวา ศิลปะชาวบานจึงเลือนไป ศิลปะพื้นบาน หรือ “folk art” ในโลกตะวันตก เพิ่งเห็นความสําคัญในคริสตศตวรรษที่ 19 เมื่อนัก ประวัติศาสตรศิลปตองการจําแนกศิลปะประเภทหนึ่ง ที่สรางเพื่อใชประโยชน (utilitarian) และไมสามารถจัด ไวใ นประเภทวิจิ ตรศิลปห รือ ประยุ ก ตศิลปไ ด จึงจั ด ศิลปะพื้นบานเปนศิลปะอีกประเภทหนึ่ง แตคํานิยาม เกี่ยวกับศิลปะพื้นบานของชาวตะวันตกก็ยังแตกตาง กันไป เชน หนังสือ Encyclopedia Britannica ค.ศ. 1993 ใหคําอธิบายวา ศิลปะพื้นบาน เปนคําที่ไมสามารถ ใหคําจํากัดความที่ตายตัวได แตนาจะหมายถึง ศิลปะ ของประชาชนทั่ ว ไป โดยเฉพาะประชาชนที่ อ ยู ใ น ชนบท หรือ หมายถึง ศิลปะที่ไมใชศิลปะของชนชั้นสูง (non-elite art) หรือ ศิลปะพื้นบาน หมายถึง ศิลปะที่ เกี่ยวเนื่องกับขนบประเพณี วัฒนธรรม ที่สะทอนภูมิปญญา ของชาวบาน การใหคํานิยาม ศิลปะพื้นบาน ของนักวิชาการ ชาวตะวันตก มีประเด็นที่นาสนใจอีกหลายประการ เชน คําวา“พื้นบาน (folk)” หมายถึง ชาวชนบท ที่ยัง รักษาวัฒนธรรมของตนไวได แตนักวิชาการสมัยใหม เห็นวา พื้นบาน ควรจะกินความกวางกวาความเปน ชาวบานหรือชาวชนบท เพราะในโลกตะวันตกยังมี กลุมชนดั้งเดิมที่อาศัยอยูในเมืองและยังสรางงานศิลปะ

เสฐียรโกเศศ หรือ พระยาอนุมานราชธน ผูเขียนหนังสือที่มีลักษณะเปนพจนานุกรมศัพทศิลปะอังกฤษ-ไทยเลมแรก ชื่อ ศิลปสงเคราะห แปลและเรียบเรียงจากคําบรรยายของศิลป พีระศรี. สํานักพิมพบรรณาคาร พ.ศ. 2515, 296 หนา ภาพประกอบ 36 ภาพ

166


ศิลปหัตถกรรมพื้นบาน : เอกลักษณเฉพาะถิ่น วิบูลย ลี้สุวรรณ

ตามแบบประเพณีดั้งเดิมที่มีลักษณะเฉพาะของกลุม อยูไมนอย ศิลปะของกลุมชนเหลานี้ มีลักษณะเฉพาะ ที่ตางจากศิลปะของชุมชนเมือง เชน การเย็บปกถักรอย ของชนบางเผ า อิ น เดี ย นแดงที่ อ าศั ย อยู ใ นเมื อ งใน ประเทศสหรัฐอเมริกา หรือการรองเพลงและเตนรํา ตามแบบดั้งเดิมของชนเผาที่อาศัยอยูในเมือง ศิลปะ เหลานี้นาจะเปนศิลปะพื้นบานดวย ศิล ปะพื้น บ า น คล า ยกับ ขนบประเพณีข อง ชาวบาน เชน การรองรําทําเพลงของกลุมชนพื้นบาน ที่มักสืบตอกันมาจนเปนประเพณี นอกจากนี้ ศิลปะ ชาวบานในบางทองถิ่นยังสัมพันธกับวัฒนธรรมการรู หนังสือดวย เชน การนําตัวอักษรมาทําเปนลวดลาย ตกแตงของชาวมุสลิม การนําตัวหนังสือมาทําเปนลาย ผ า ลายจั ก สาน ศิ ล ปะชาวบ า นลั ก ษณะนี้ พ บทั้ ง ใน ตางประเทศและในประเทศไทย เฉพาะในประเทศไทย มีศิลปะพื้นบานหรือศิลปหัตถกรรมพื้นบานลักษณะนี้ ในหลายท อ งถิ่ น เช น ชาวไทยมุ ส ลิ ม ในภาคใต ใ ช ตัวอักษรอาหรับมาทําเปนลวดลายตกแตงบาน ลาย ตกแต ง เรื อ กอและ การทอผ า พานช า งที่ ท อเป น ตัวอักษรของชาวบาน บานนาหมื่นศรี ตําบลนาหมื่นศรี อําเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง และการสานเสื่อกระจูด เสื่อลําเจียกเปนลายตัวหนังสือของชาวบานภาคใต นอกจาก ศิลปะพื้นบานในโลกตะวันตกจะมี ความหมายคอนขา งกวางดังกลา วแลว นั ก วิช าการ ชาวตะวันตกยังใหขอสังเกตเกี่ยวกับศิลปะพื้นบานที่ นาสนใจไวหลายประการ เชน ศิลปะพื้นบาน เปนศิลปะ ที่สรา งขึ้นตามความพอใจของผูสรางหรือเพื่อสนอง ความตองการของชุมชนในทองถิ่นนั้นๆ ศิลปะพื้นบาน มักอยูในกรอบของขนบประเพณี ไมปรากฏชื่อผูสราง ซึ่ ง มั ก เป น ช า ง(artisan)7 ที่ ทํ า งานบนพื้ น ฐานของ ทักษะ(skill)ที่ไดรับการฝกฝนสืบตอกันมาในกลุมชน นั้นๆ มากกวาการสรางสรรค(creation)ขึ้นใหม ดังกลาวแลว จะเห็นวา ศิลปะพื้นบาน เปน ศิลปะประเภทหนึ่งที่ยากจะกําหนดคํานิยามใชตายตัว

ชัดเจนได ขึ้นอยูกับกาลเวลาและสถานที่ ซึ่งเปน มูลเหตุสํา คั ญ ให ศิลปะพื้น บา นเปลี่ยนแปลงรู ป แบบ และแนวคิดในการสรางสรรคใหสอดคลองกับวิถีชีวิต ของแตละกลุมชนในแตละชวงเวลา ดังนั้น คํานิยาม และความหมายของศิลปะพื้นบานและศิลปหัตถกรรม พื้นบานแตละประเภท จึงขึ้นอยูกับเงื่อนไขทางวัฒนธรรม ของแต ล ะกลุ ม ชน แต ล ะช ว งเวลา ถึ ง กระนั้ น ก็ ต าม ศิลปะพื้นบานยังเปนศิลปะของประชาชนสวนใหญของ ประเทศเกษตรกรรมอยางประเทศไทย

ศิลปหัตถกรรมพื้นบาน : วิวัฒนาการและลักษณะ เฉพาะถิ่น หากยอนไปสํารวจเครื่องมือเครื่องใชที่มนุษย สมัยกอนประวัติศาสตรสรางขึ้นใชในชีวิต ประจําวัน จะ เห็ นว า มนุ ษย มี ความสามารถในการสร างเครื่ อ งมื อ เครื่ อ งใช ม าตั้ ง แต ส มั ย ก อ นประวั ติ ศ าสตร โดยใช วัตถุดิบที่มีอยูตามธรรมชาติและอยูใกลตัวมาใชใหเกิด ประโยชน เชน นําหินมากะเทาะ ขัด ฝน ใหคม เพื่อใช ตัด สับ ทุบ อยางที่เรี ยกวา เครื่องมือหินกะเทาะ และ ขวานฟา นํา เปลือกผลไม เชน เปลือ กน้ํา เตา มาทํ า เปนภาชนะใสอาหาร นําดินเหนียวมาปนเปนภาชนะ แล ว เผาไฟใหเ นื้อ แกร ง สํ า หรั บ ใส น้ํา และอาหาร ซึ่ ง พัฒ นามาเป น เครื่ อ งป น ดิ น เผาและเครื่ อ งเคลือ บใน ปจจุบัน ดิ น แดนที่ เ ป น ประเทศไทยป จ จุ บั น เคยมี มนุษยอาศัยอยูมานานถึง 10,000 ป กระจายอยูตาม ถิ่ น ต า งๆ ทุ ก ภาคของประเทศ ดั ง ปรากฏ "งาน หัตถกรรม” เปนหลักฐานอยูตามแหลงโบราณคดี สมัยกอนประวัติศาสตรหลายแหง หั ต ถกรรมสมั ย ก อ นประวั ติ ศ าสตร มี อ ายุ ตั้งแตลานปถึงหมื่นปหรือยุคหินเกา พบมากในบริเวณ จังหวัดกาญจนบุรี มักเปนเครื่องมือหินกะเทาะอยาง หยาบๆ ทําจากหินกรวดหรือที่ชาวบานเรียก หินแมน้ํา นักโบราณคดีสันนิษฐานวามนุษยยุคนี้ นอกจากจะรูจัก

7

ชางพื้นบาน มักไดรับการถายทอดความรูตางๆ สืบตอกันมาจากบรรพบุรุษหรือเพื่อนบานในทองถิ่นเดียวกัน จนมี ความสามารถและความชํานาญจนสรางงานหัตถกรรมหรือศิลปหัตถกรรมตามแบบอยางที่ทําสืบตอกันมาในทองถิ่นนั้นๆ

167


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปที่ 30 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2553

ทําเครื่องมือหินกะเทาะแลว อาจจะรูจักทําหอกไม ธนู และรูจักลาสัตว รูจักเก็บผลไม กอไฟ แตยังอาศัยอยู ตามเพิงผาและตามถ้ําตางๆ งานหัตถกรรมของมนุษย ยุคหินเกาเปนเพียงการเริ่มตนดัดแปลงวัตถุดิบตาม ธรรมชาติมาใชประโยชนอยางงายๆ ไมประณีต ต อ มาในช ว งเวลาประมาณ 10,000 ป ถึ ง 8,350 ปหรือยุคหินกลาง ยุคที่มนุษยรูจักทําเครื่องมือ เครื่ อ งใช ใ ห มี ค วามประณี ต ยิ่ ง ขึ้ น พบเครื่ อ งมื อ เครื่ อ งใช ใ นแหล ง โบราณคดี ห ลายแห ง เช น ถ้ํ า ผี อําเภอเมือง จังหวัดแมฮองสอน ถ้ําองบะ อําเภอศรี สวัสดิ์ จังหวั ดกาญจนบุรี เฉพาะที่ถ้ํา ผี นั้น ไดพบทั้ง เครื่ อ งมื อ หิ น และเครื่ อ งป น ดิ น เผาซึ่ ง สั น นิ ษ ฐานว า เกาแกที่สุด พบทั้งเครื่องปนดินเผาผิวเกลี้ยงและลาย เชื อกทาบ ป น โดยใช ไ ม กั บหิ น ดุ ตีดิ น เหนีย วใหเ ป น ภาชนะอย า งง า ยๆ รู ป ทรงและลวดลายไม ป ระณี ต มนุษยยุคนี้สามารถสรางรูปทรงของภาชนะดินเผาขึ้น เองโดยการใชไมตีและหินดุแทนการใชดินยาลงไปใน แมแบบ แมสามารถทําเครื่องปนดินเผาไดแลวก็ตาม แตก็ยังใชเครื่องมือหินประเภทตางๆ ดวย ชวงเวลาประมาณ 3,900-2,000 ปหรือ ยุค หินใหม มนุษยพัฒนาชีวิตความเปนอยูขึ้นมาอีกระดับ หนึ่ง รูจักเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว ทําเครื่องปนดินเผา เครื่องจักสาน และเครื่องมือเครื่องใชดวยเปลือกหอย และหิ น เครื่ อ งมื อ เครื่ อ งใช ข องมนุ ษ ย ยุ ค หิ น ใหม มี ความประณี ต มากขึ้ น พบในแหล ง โบราณคดี ห ลาย แห ง เช น ที่ ตํ า บลกลางแดด อํ า เภอเมื อ ง จั ง หวั ด นครสวรรค บานนาดี บานโนนนกทา ตําบลบานโคก อํ า เภอภู เ วี ย ง จั ง หวั ด ขอนแก น บ า นแซ เ สา ตํ า บล หินกอง อําเภอเมือง จังหวัดราชบุรี บานโคกเจริญ อําเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี และอีกหลายแหงใน จังหวัดกาญจนบุรี จากหลักฐานที่พบแสดงใหเห็นวา มนุ ษ ย มี ชี วิ ต ความเป น อยู ที่ ดี ขึ้ น อาจจะเริ่ ม สร า ง บ า นเรือ นหรื อ เพิ ง เป น ที่ อยู อ าศัย แล ว เพราะได พ บ หลุ ม เสามี ผั ง เป น รู ป ไข ที่ บ า นแซ เ สา อํ า เภอเมื อ ง จังหวัดราชบุรี นอกจาก มนุษยยุคหินใหมจะรูจักสรางบาน เป น ที่ อ ยู แ ทนการอาศั ย อยู ต ามเพิ ง ผาและถ้ํ า แล ว มนุ ษ ย ยุ ค นี้ ยั ง รู จั ก ประดิ ษ ฐ สิ่ ง สวยงามเพื่ อ ตกแต ง 168

รางกายดวย เพราะไดพบเครื่องประดั บหลายอยา ง เช น ลู ก ป ด ทํ า ด ว ยเปลื อ กหอย กระดู ก สั ต ว แ ละหิ น กํ า ไลข อ มื อ หิ น แสดงว า มนุ ษ ย ยุ ค นี้ เ ริ่ ม สร า งงาน หัตถกรรมใหเปน "ศิลปหัตถกรรม” โดยใชความรูสึก ทางสุ น ทรี ย ภาพมาเป น องค ป ระกอบของงาน หั ต ถกรรม จึ ง ไม แ ปลกที่ ม นุ ษ ย จ ะทํ า เครื่ อ งมื อ หิ น กะเทาะใหเปน ขวานหินขัด หรือ ขวานฟา ที่มีรูปราง สวยงามนาใชกวาเครื่องมือหินกะเทาะ เครื่องมือเครื่องใชที่ถือเปนหัตถกรรมสําคัญ ประเภทหนึ่งคือ เครื่องจักสาน ซึ่งอาจจะเริ่มจากการ นํ า เถาวั ล ย หวาย มาสานขั ด กั น อย า งหยาบๆเป น ภาชนะกอนที่จะพัฒนามาใช ตอก สานใหมีรูปแบบ และลวดลายละเอียดประณีตอยางทุกวันนี้ กลาวกันวา เครื่องจักสานเปนมารดาของเครื่องปนดินเผา เพราะ ไดพบเครื่องปน ดินเผาที่มีรอยของเครื่องจักสานอยู ดา นนอกที่ แ หล ง โบราณคดี สมั ย ก อ นประวั ติ ศ าสตร บานเชียง อําเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานีและแหลง โบราณคดี ใ นภาคกลาง แสดงว า มนุ ษ ย ส มั ย ก อ น ประวัติศาสตรทําภาชนะดินเผาโดยใชดินเหนียวไลลง ไปในภาชนะจั ก สาน เมื่ อ ดิ น แห ง แล ว นํ า ไปเผาไฟ ภาชนะจั ก สานที่ เ ป น แม แ บบจะไหม ไ ฟหมด เหลื อ ภาชนะดิ น เผาที่ มี รู ป ทรงเหมื อ นภาชนะจั ก สานที่ ปรากฏรอยสานอยูที่ผิ วดานนอกของภาชนะดินเผา เช น ภาชนะดิ น เผาผิ ว ด า นนอกมี ล ายสานสมั ย ก อ น ประวัติศาสตรใ นพิพิธ ภัณฑสถานแหงชาติพระนคร กรุ ง เทพฯ ภาชนะดิ น เผาผิ ว นอกมี ล ายสานใน พิ พิ ธ ภั ณ ฑสถานแห ง ชาติ พ ระนารายณ ม หาราช อําเภอเมือง จังหวัดลพบุรี นอกจากนี้ การสานยังเปนตนแบบของการ ถั ก ทอ โดยเริ่ ม จากการนํ า เส น ใยจากเปลื อ กไม ใ น ลักษณะเปนเสนหยาบๆมาสานเปนผืน สําหรับปูนอน หรือปกปดรางกาย กอนที่จะนําปุยฝาย ขนสัตว มา ปนดวยแว (spindle whorl) ใหเปนเสนหรือนําเสน ไหมมาสอดขัดกันทีละเสนๆ ดวยมือ โดยขึงดายเสน ยืนระหวางตนไมหรือเสากับหลังผูทอ แลวสอดเสนพุง เขาไปในแนวนอน ซึ่งเปนการทอโดยใชแผนหลัง (backstrap loom) ของผูทอชวยขึงเสนดาย ใหหยอน หรือตึง ตามตอ งการ การทอเชน นี้เ ปน การสานดว ย


ศิลปหัตถกรรมพื้นบาน : เอกลักษณเฉพาะถิ่น วิบูลย ลี้สุวรรณ

ดายหรือไหมมากกวาการทอ วิธีนี้ยังใชอยูในหมูชาว กะเหรี่ ย งบางท อ งถิ่ น มั ก ทอผา หน า แคบสํา หรั บทํ า ยามและเสื้อ ตอมาจึงพัฒนามาเปนการทอดวยกี่หรือ หูกทอผา (loom) เชนทุกวันนี้ มนุ ษ ย ส มั ย ก อ นประวั ติ ศ าสตร ไ ด เ รี ย นรู คุณสมบัติพิเศษของวัตถุดิบที่มีอยูตามธรรมชาติแตละ ชนิดอยางชาญฉลาด แลวนํามาใชใหเกิดประโยชนอีก หลายอยาง เชน นําแรทองแดง ทองเหลือง เหล็ก มา ทําเปนเครื่องมือเครื่องใช จนพัฒนามาเปนเทคโนโลยี โลหะกรรมที่สามารถทําเครื่องมือเครื่องใชหลากหลาย ซึ่งชวยใหคุณภาพชีวิตของมนุษยใหมีคุณภาพดีขึ้น สิ่ ง ที่ ส ะท อ นความสามารถของมนุ ษ ย สมั ย ก อ นประวั ติ ศ าสตร อี ก อย า งหนึ่ ง คื อ การนํ า ไม หรือกระดูกสัตวมาเผาใหเปนถานใชวาดรูปบนผนังถ้ํา หรือบดถานใหเปนผง ผสมยางไม ไขสัตว ใชวาดรูป เชนเดียวกับการนําดินแดง (hematite) ดินเหลือง (orche mine) มาบดเปนผงแลวกับผสมยางไม น้ําผึ้ง ใช เ ป น สีว าดรู ป เช น ภาพเขี ย นสีห รื อ จิ ต รกรรมบน ผนังถ้ําที่เมืองลาโกส (Lacaux) ในประเทศฝรั่งเศส ซึ่ง วาดเป น รู ป คนและสัต ว ภาพเขี ย นบนผนั งถ้ํ า อัล ตา มิรา (Alta Mira) ประเทศสเปน ภาพเขียนทั้งสองแหง มีอายุประมาณ 150,000–10,000 ป วาดดวยถานและ สี จ ากหิ น ที่ ผุ ก ร อ น นํ า มาบดเป น ผงผสมยางไม ภาพเขียนเหลานี้อาจเปนสวนหนึ่งของพิธีกรรมทาง ความเชื่ อ มากกว า ศิ ล ปะ แต ภ าพเหล า นี้ ก็ แ สดง ความรู สึ ก นึ ก คิ ด ของมนุ ษ ย อ อกมาอย า งอิ ส ระด ว ย รูปทรงที่งดงาม ซึ่งเปนพื้นฐานของการสรางงานศิลปะ ที่ไดรับความบันดาลใจมาจาก คน สัตว และวัตถุที่อยู ใกล ตั ว โดยที่ ยั ง คงรู ป ทรง(form)ของคน สั ต ว และ วั ต ถุ ที่ เ ป น โครงสร า งหลั ก ไว ซึ่ ง เป น กระบวนการ เบื้องตนของการสรางงานศิลปะแบบเหมือนจริงของ ตะวันตก การทําสีเขียนภาพแบบดั้งเดิมนั้นนําดิน หิน มาทุบใหเปนกอนเล็กๆแลวใสลงไปในหินที่มีลักษณะ เป น แอ ง หรื อ เป น หลุ ม ใช หิ น เนื้ อ แข็ ง บด (grinding stone) ใหละเอียดเปนผง หรือใชเปลือกไมเปนรางบด ให ล ะเอี ย ด คงทํ า กั น ทั่ ว ไปทุ ก ภู มิ ภ าคของโลหใน ชวงเวลารวมสมัยกัน เชน ชนพื้นเมืองหรือชาวอะบอริจิน

(Aborigine) ในประเทศออสเตรเลียบดดิน ใหเปน ผง แลวผสมยางไมเขียนรูปบนเปลือกไม(bark painting) ใชน้ําและกาวเปนตัวละลายและเชื่อมเนื้อสีใหติดกับ ผิวพื้นที่เขียนรูป เชน แผนหิน เปลือกไม และหนังสัตว เฉพาะสิ่ ง ที่ ใ ช เ ป น ตั ว เชื่ อ ม(medium)นั้ น ใช ทั้ ง ยาง มะขวิด ยางมะเดื่อ น้ําผึ้ง น้ําออย จนถึงไขแดงอยางที่ ชาวยุโรปใชผสมสีฝุนวาดรูปเมื่อตนคริสตศักราช ชางไทย เรียกสิ่งที่ใชผสมสีเหลานี้วา น้ํายา มนุษยสมัยกอนประวัติศาสตรคงใชเปลือก ไม เปลือกหอยเปนจานสี พูกันคงใชเปลือกไมทุบให ปลายแตกเปนเสน อยาง พูกันเปลือกกระดังงา หรือ พูกันรากลําเจียกของชางไทยโบราณ กอนใชขนกระรอก ขนหมู ขนกระตาย หรือขนวัว มามัดรวมกันแลวใชไม ทําเปน ดา มเพื่อ ใหจับถนัด ตอ มาจึงหุม ขนสั ตวดวย ปลอกโลหะให ติ ด กั บ ด า ม ซึ่ ง ทํ า ด ว ยไม ห รื อ วั ส ดุ สังเคราะหอยางพูกันที่ใชกันในปจจุบัน อยางไรก็ตาม มนุษยสมัยกอนประวัติศาสตร ใชวัตถุดิบพื้นถิ่น (indigenous materials) เขียนและ วาดภาพตามผนังถ้ํ า และเพิง ผานั้น พบทั่ว ไปทั้ งใน ดินแดนตะวันตกและตะวันออก เฉพาะในประเทศไทย ได พ บภาพเขี ย นสมั ย ก อ นประวั ติ ศ าสตร ห ลายแห ง เชน ภาพเขียนบนหนาผาภูปลาราในเขต อําเภอทับทัน ลานสัก บานไร จังหวัดอุทัยธานี ภาพเขียนผนังถ้ําที่ อําเภอบานผือ จังหวัดอุดรธานี ภาพเขียนที่หลืบผา ใกล น้ํ า ทะเล ตํ า บลเขาป น หยี อํ า เภอเมื อ ง จั ง หวั ด พังงา ภาพเขียนสมัยกอนประวัติศาสตรเหลานี้วาด ดวยสีแดงปนดํา สีแดง สีดํา เปนรูปคน วัว ปลา มัก วาดเสนรอบนอก (out line) เปนรูปทรงแลวระบายสี เปนสวนๆ ลักษณะเปนภาพเอ็ก-เรย (X-ray style) ที่ มองเห็นภายในคลายกับภาพเขียนของชาวอะบอริจิน ในประเทศออสเตรเลีย ภาพเหลานี้คงเกี่ยวเนื่องกับ ความเชื่ อ พิ ธี ก รรม และเป น ภาพบั น ทึ ก เหตุ ก ารณ มากกวาการแสดงออกทางศิลปะ ตอมามนุษยยังนําวัตถุดิบจากธรรมชาติทั้ง พืชและสัตวมาใชประโยชนอีกหลายอยาง เชน การนํา หนังสัตวมาทําเปนเครื่องนุงหม นําเสนใยพืชมาทอผา นําใบไมมาสานเปนเครื่องสวมศีรษะ

169


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปที่ 30 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2553

งานศิลปหัต ถกรรมแสดงถึง ความสามารถ และการพัฒนาทางสติปญญาของมนุษยยุคหินใหมที่ สําคัญอีกอยางหนึ่งคือ ซากเครื่องจักสานไมไผลายขัด ที่พบใกลกับโครงกระดูกยุคหินใหมที่ถ้ําแหงหนึ่งใน อํา เภอศรี สวั ส ดิ์ จั ง หวั ด กาญจนบุ รี แสดงให เ ห็ น ว า มนุษยสามารถทําเครื่องจักสานมาแลวราว 4,000 ป เก า แก ก ว า เครื่ อ งจั ก สานที่ พ บในทวี ป แอฟริ ก าและ ทวีปอเมริกา ช ว งเวลาที่ ม นุ ษ ย มี ค วามสามารถในการ สรางสรรคงานศิลปหัตถกรรมสูงยุคหนึ่งคือ ยุคโลหะ มนุษยยุคนี้สามารถนําแรธาตุจากธรรมชาติมาทําเปน เครื่องมือเครื่องใชตางๆ ทั้งที่นํามาแปรรูปโดยไมตอง หลอมและชนิดที่หลอมเปนเครื่องมือเครื่องใชดวยการ ใชไฟและแมพิมพ นักโบราณคดีไดพบ ขวานทองแดง ที่บานโนนนกทา อําเภอภูเวียง จังหวัดขอนแกน เมื่อ พ.ศ. 2511 ซึ่งเปนขวานที่ทําจากทองแดงธรรมชาติ โดยนําทองแดงธรรมชาติมาทุบเปนหัวขวานโดยไม ต อ งใช ไ ฟ ในขณะเดี ย วกั น ก็ พ บเบ า หรื อ แม พิ ม พ สํา หรั บหลอ สํา ริด ที่บ า นนาดี อํา เภอภู เวี ยง จั งหวั ด ขอนแกน แสดงวาคนกอนประวัติศาสตรเมื่อประมาณ 4,000 ปมาแลว สามารถทําเครื่องมือเครื่องใชโลหะใช แลว ตอมาในสมัยประวัติศาสตรเริ่มเมื่อประมาณ พันปมาแลว ยุคที่มนุษยมีความสามารถในการสราง งานศิลปหัตถกรรมหลายชนิดไดดี เชน เครื่องปนดินเผา เครื่องจักสาน หัตถกรรมโลหะ และการถักทอ กรรมวิธี ในการทํางานศิลปหัตถกรรมของมนุษยสมัยประวัติศาสตร คงไดรั บการสื บ ทอดมาจากสมัยก อ นประวัติ ศาสตร และอาจสื บทอดกันเรื่อ ยมาจนปจ จุบัน เชน การทํา เครื่องปนดินเผาดวยการตีดวยไมและหินดุ แลวเผา กลางแจงไมตองใชเตา ซึ่งปจจุบันนี้ก็ยังทํากันอยูใน หลายทองถิ่น เชน การทําเครื่องปนดินเผาที่บานคํา ออ ตํ า บลคํ า อ อ อํ า เภอหนองหาน จั ง หวั ดอุ ด รธานี บ า นหม อ ตํ า บลบ า นหม อ อํ า เภอเมื อ ง จั ง หวั ด มหาสารคาม นอกจากนี้ ยั ง มี หั ต ถกรรมโลหะที่ ใ ช กรรมวิธีการหลออยางงายๆที่อาจจะทํากันมาตั้งแต สมัยกอนประวัติศาสตร แมในปจจุบันก็ยังไมเปลี่ยนแปลง

170

มากนั ก ไดแก หัตถกรรมโลหะที่บานปะอาว ตําบล หนองขอน อําเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี เปนตน ดังกลาวแลว จะเห็นวาดินแดนที่เปนประเทศ ไทยในปจจุบันเปนถิ่นที่อยูอาศัยของมนุษยมาตั้งแต สมัยกอนประวัติศาสตรและพัฒนาความรูความสามารถ ในการทํ า เครื่ อ งมื อ เครื่ อ งใช ด ว ยมื อ หรื อ ที่ เ รี ย กว า หัตถกรรม ใหกาวหนาเรื่อยมาเปนลําดับ การทําเครื่องมือเครื่องใชประเภทหัตถกรรม มีความจําเปนตอการดํารงชีวิตขั้นพื้นฐานของมนุษย จึงทํากันทั่วไปในทุกภูมิภาคของโลก เชน หัตถกรรม ในวัฒนธรรมฮารัปปา (The Harappa Culture: 24002000 BC.) ในประเทศอินเดีย พบเครื่องปนดินเผา จํานวนมาก เชน ดินเผารูปคนนุงผาและมีภาชนะเทิน ศีรษะ อาจเปนเครื่องจักสาน สวนเครื่องนุงหมนั้นเปน หลักฐานที่แสดงวามีการทอผาใชแลว จึงเปนไปไดวา มีการทําเครื่องจักสานและทอผาไปดวยเชนกัน เพราะ การทอผา ใชกลวิ ธีที่ค ลา ยคลึงกับการสาน เพียงแต เปลี่ยนจากการสานดวยตอกมาเปนการสานดวยเสน ใย ด า ย หรื อ เส น ไหม ต อ มาในยุ ค ที่ มี ก ารค า ขาย ระหวางประเทศ เครื่องจักสานประเภท“ตาง”อาจเปน ภาชนะสําคัญในการขนสงสินคาทางบก นอกจากนี้ใน วัฒนธรรมตะวันตก เชน วัฒนธรรมอียิปตโบราณ กรีก และโรมัน พบงานศิลปหัตถกรรมที่มีคุณภาพสูงหลาย ชนิด เชน เครื่องปนดินเผา เครื่องโลหะ งานแกะสลัก ศิ ล ปหั ต ถกรรมเหล า นี้ เ ป น เครื่ อ งมื อ เครื่ อ งใช ใ น ชีวิตประจําวันที่ไดรับการพัฒนาเรื่อยมาทุกยุคทุกสมัย จนถึงยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมในชวงคริสตศตวรรษที่ 19 ที่ศิลปหัตถกรรมซบเซาไปชั่วระยะเวลาหนึ่ง ดังกลาวแลว แสดงใหเห็นวาศิลปหัตถกรรม พื้นบานเปนวัฒนธรรมทางวัตถุหรือวัตถุวัฒนธรรมที่ เปนหลักฐานสําคัญที่แสดงใหเห็นความเจริญรุงเรือง หรือความเสื่อมของกลุมชนผูเปนเจาของหรือกลุมชน ผูสราง ศิลปหัตถกรรมพื้นบานประเภทตางๆ การแบงประเภทงานศิลปหัตถกรรมพื้นบาน อาจแบงตามประเภทของวัตถุดิบ เชน เครื่องจักสาน เครื่องปนดินเผา เครื่องไม เครื่องโลหะ หรือแตงตาม ประเภทการใชสอย เชน เครื่องนุงหม เครื่องใชในครัวเรือน


ศิลปหัตถกรรมพื้นบาน : เอกลักษณเฉพาะถิ่น วิบูลย ลี้สุวรรณ

เครื่องใชในการประกอบอาชีพ หรือแบงตามกลวิธีการ ผลิต เชน ภาพเขียน รูปปนหลอและแกะสลัก สิ่งกอสราง เครื่องปนดินเผา ในนี่นี้จะแบงตามกรรมวิธีการสรางงาน ไดดังนี้ ภาพเขี ย น ได แ ก ภ าพวาดระบายสี ตาม โบสถ วิ ห าร หอไตร ศาสนสถาน อาคาร เรื อ ล อ ภาพเขียนพื้นบานมีรูปแบบ เนื้อหา เฉพาะถิ่นตาม ความนิ ย มของแต ล ะสกุ ล ช า ง เช น ในล า นนาหรื อ ภาคเหนือ มักวาดเรื่องราวในพุทธศาสนาตามผนังใน วิหาร แตภาคอีสานนิยมวาดนิทานพื้นบาน หรือชาดก ไวบนผนังดานนอกและดานในสิมหรือโบสถ รูปแบบ ของภาพเขียบนเหลานี้จะตางกันไปตามความนิยมที่ สืบทอดกันมาแตโบราณ สวนมากเปนฝมือชาง พื้นบานที่แสดงออกอยางเรียบงายและซื่อตรง งานปน หลอ และแกะสลัก ไดแก งานปน ดวยดินเหนียว ปูน ไมแกะสลัก และรูปหลอโลหะ ไดแก พระพุทธรูป รูปเคารพ และลวดลายตกแตง ประติมากรรมพื้นบานเหลานี้มีรูแบบที่แตกตางกันไป ตามความนิยมของแตละถิ่น เชน ชาวบานภาคอีสาน นิ ย มนํ า ไม ม าแกะสลั ก เป น พระพุ ท ธรู ป เล็ ก ๆ เพื่ อ ถวายเปนพุทธบูชา ชาวลานนานิยมทําปูนปนเปนรูป และลวดลายตกแตงอาคารพุทธศาสนา สวนงานหลอ โลหะมักหลอเปนพระพุทธรูปทองเหลืองและสัมฤทธิ์ เช น การป น หล อ พระพุ ท ธรู ป บ า นช า งหล อ อํ า เภอ เมืองเชียงใหม จังหวัดเชียงใหม บานชางหลอ เขต บางกอกน อ ย กรุ ง เทพฯ และการหล อ เครื่ อ งมื อ เครื่องใชทองเหลืองบานปะอาว อําเภอเมือง จังหวัด อุบลราชธานี อาคารและสิ่งกอสราง ไดแก การสราง บานเรือนที่อยูอาศัย อาคารพุทธศาสนา เชน โบสถ วิหาร ศาลาการเปรียญ หอไตร หอระฆัง ศาลาทาน้ํา สถูป เจดีย สิ่งกอสรางเหลานี้มีรูปแบบแตกตางกันไป เชน เรือนกาแลของภาคเหนือ ตางจากเรือนปนหยา และเรือนบลานอของภาคใต สวนภาคอีสานตางจาก โบสถ แ ละวิ ห ารภาคเหนื อ รู ป แบบ กรรมวิ ธี ก าร กอสรางตามแบบอยางที่สืบทอดกันมาในแตละกลุม ชน จนมีรูปแบบเฉพาะถิ่นที่สอดคลองกับการใชสอย จนมี เ อกลั ก ษณ ชั ด เจน สถาป ต ยกรรมชาวบ า น

นักวิชาการบางคนเรียก สถาปตยกรรมพื้นถิ่น(vernacular architecture หรือ indiginous architecture) เครื่องปนดินเผา ไดแก งานปนดินแลวเผา ไฟใหเนื้อดินแกรงสุกเปนสีอิฐหรือสีหมอใหม ทํากัน ทั่วไปทุกภาค ทั้งที่ปนดวยมืออยางที่เรียกวา ตีหมอ และปนดวยแปนหมุน เผากลางแจงหรือเผาในเตาเผา บางแหงสามารถเผาจนเนื้อแกรง เชน เครื่องปนดินเผา ดานเกวียน อําเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา เครื่องจักสาน ไดแก เครื่องจักสานไมไผ ซึ่งทํากันแพรหลายที่สุด มีทุกภาค แตละภาคมีเอกลักษณ และลักษณะเฉพาะถิ่นแตกตางกัน เชน ในภาคเหนือ มักทําเครื่องจักสานเปนภาชนะเครื่องใชในครัวเรือน เช น ก อ งเข า แอบเข า และเครื่ อ งมื อ เครื่ อ งใช ใ น ชีวิตประจําวันอีกหลายชนิด เชนเดียวกับภาคอื่นๆ ที่ ทําเครื่องจักสานกันทั่วไป โดยเฉพาะภาคใตนิยมสาน เครื่องจักสานดวย ตนกระจูด ใบลําเจียก ใบเตย และ ยานลิเพา เครื่องถักทอ ไดแก งานทอผาและการถัก ทอประเภทตางๆ เฉพาะงานทอผานั้น แตละภาคแต ละถิ่ น มี ก รรมวิ ธี ก ารทอและรู ป แบบต า งกั น ไป เช น การทอผาเปนตัวหนังสือของบานนาหมื่นศรี อําเภอ นาโยง จังหวัดตรัง การทอผา ขิด มัดหมี่ ผาไหมใน ภาคอีสาน เครื่องรัก ไดแก เครื่องใชที่นําเครื่องจักสาน เครื่องไม มาเคลือบดวยยางรัก มักเรียกวา เครื่องเขิน งานเครื่องรักมีทํากันในหลายประเทศในเอเชีย เชน จี น ญี่ ปุ น พม า และไทย กรรมวิ ธี ก ารโดยทั่ ว ไป คลายคลึงกัน แตรูปทรง ลวดลาย แตกตางกันไปตาม ความนิยมของแตละชาติ เครื่องโลหะ การเรียกงานศิลปหัตถกรรมที่ ผลิตจากโลหะชนิดตางๆ เชน เหล็ก ทองเหลือง สําริด เงิ น ทองคํ า เครื่ อ งโลหะเหล า นี้ มี ก ลวิ ธี ก ารผลิ ต แตกตางกันไป อาจเปนการแปรรูปโลหะอยางงายๆ เชน การตีเหล็กเปนมีด พรา เคียว จนถึงการแปรูป ทองคํ า เป น ทองรู ป พรรณที่ ต อ งใช ค วามละเอี ย ด ประณีตเปนพิเศษ เครื่ อ งหนั ง ศิ ล ปหั ต ถกรรมที่ แ ปรรู ป หนั ง สัตวเปนเครื่องใชหรือสวนประกอบการแสดงพื้นบาน 171


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปที่ 30 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2553

เชน ใชทําเปนตัวหนังใหญ ตัวหนังตะลุง ตัวหนังทั้ง สองชนิดนี้เปนการประสานกันระหวางความสามารถ เชิงชางใหสอดคลองกับความรูดานศิลปะการแสดง เครื่องไม ศิลปหัตถกรรมที่นําไมมาแปรรูป เปนเครื่องมือเครื่องใช เครื่องประดับตกแตง เครื่อง บูชา เชน นําไมมาทําเกวียน เรือ หรือแกะสลักไมเปน หย อ งหน า ต า งบ า น แกะเป น กาแลของเรื อ นกาแล แกะสลักไมเปนสัตภัณฑ ตุง ของภาคเหนือ จนถึงการ แกะสลักไมเปนพระพุทธรูปและรูปเคารพตางๆ ประเภทเบ็ดเตล็ด ไดแก งานศิลปหัตถกรรม ที่ตางจากประเภทใหญ ๆ ดังกลาวแลว เชน งานแกะสลัก เครื่ อ งสด งานแทงหยวก งานใบตอง งานกระดาษ แตละประเภทมีกรรมวิธีการทําและรูปแบบตางกันไป ดังกลาวแลวจะเห็นวาศิลปหัตกรรมเปนวัตถุ วั ฒ นธรรมที่ เ กี่ ย วของกั บ วิ ถี ชี วิ ต ของประชาชน สวนใหญและวัตถุประสงคในการผลิตก็ตางจากศิลปะ ประเภทอื่น สิ่งเหลานี้เปนคุณลักษณะพิเศษที่แตกตาง จากงานศิลปหัตถกรรมชั้นสูงและงานศิลปกรรมประเภท อื่นๆ ศิลปหัตถกรรมพื้นบานมีลักษณะเฉพาะดังนี้ 1. ผลิ ต เพื่ อ ใช ส อย อาจทํ า เพื่ อ ใช ส อยใน ครัวเรือนตามสภาพการดํารงชีวิต หรือเพื่อแลกเปลี่ยน กั บ ป จ จั ย การดํ า รงชี พ อื่ น ๆ ที่ ไ ม ส ามารถผลิ ต ได ใ น ครั ว เรื อ นของตน หรื อ ผลิ ต จํ า หน า ยเป น อาชี พ ใน ลัก ษณะหั ตถกรรมในครอบครั ว เชน ครอบครั ว ที่ มี ความสามารถในการทํา เครื่องจักสานแตไ มมี อ าชีพ ทํานา ทําไร อาจจะทําเครื่องจักสานเพื่อแลกเปลี่ยน กับขาวเปลือก ผัก ผลไม จากเพื่อนบาน หรือชาง ป น หม อ อาจป น หม อ หรื อ เครื่ อ งป น ดิ น เผาแลกกั บ ปจจัยการดํารงชีพหรือทําเปนอาชีพในครอบครัวของตน งานศิลปหัตถกรรมเหลานี้มักไมผลิตจํานวนมากเหมือน ผลผลิตจากโรงงานอุตสาหกรรม 2. ทํ า ด ว ยมื อ และเครื่ อ งมื อ พื้ น บ า น งาน ศิลปหัตถกรรมพื้นบานตองทําขึ้นดวยมือหรือเครื่องมือ ที่สรางขึ้นเอง เชน การปนหมอ หมอน้ํา ดวยการตี ดว ยไม แ ละหิ น ดุ หรือปน ดวยแปน หมุ น (มอน) ที่ทําขึ้นเอง หรือการหลอหลอมโลหะที่มีกรรมวิธีและ ใชเครื่องมือที่ทําขึ้นเอง เปนตน ลักษณะเชนนี้ทําให ศิ ล ปหั ต ถกรรมพื้ น บ า นผลิ ต ได จํ า นวนไม ม ากนั ก 172

ทํ า ให ร าคาของงานหั ต ถกรรมไม เ ปลี่ ย นแปลงมาก เกินไป ชาวบานสามารถคุมราคาและคุมปริมาณการ ผลิตใหสอดคลองกับความตองการ 3. กระบวนการผลิ ต และกรรมวิ ธีก ารผลิ ต สืบทอดกันมาจากบรรพบุรุษ ศิลปหัตถกรรมพื้นบาน แทบทุกประเภทจะมีกระบวนการและกรรมวิธีการผลิต ที่สืบทอดกันมาแตโบราณ ดังนั้น แตละทองถิ่นจึงมี กรรมวิธีและขั้นตอนการผลิตเฉพาะกลุม แมจะผลิต สิ่งของเครื่องใชประเภทเดียวกันก็ตาม เชน กรรมวิธี การปนหมอน้ําของภาคเหนือจะตางจากกรรมวิธีการ ปนหมอน้ําของภาคใต นอกจากกระบวนการผลิตที่ แตกตางกันแลว ผลผลิตที่ไดมักมีรูปแบบที่แตกตาง กันดวย 4. ใชวัตถุดิบที่ มีอยูใ นทองถิ่น ทํา ให ศิ ล ปหั ต ถกรรมพื้ น บ า นหลายชนิ ด มี รู ป แบบและ ลักษณะเฉพาะถิ่นที่แตกตางกัน เชน การทําเครื่องจัก สานในภาคใต มักสานดวย กระจูด ยานลิเพา และใบ ลําเจียก ซึ่งเปนวัตถุดิบที่มีมากในภาคใต ทําใหเครื่อง จักสานเหลานี้มีรูปแบบตางไปจากเครื่องจักสานไมไผ หรือเครื่องจักสานหวายที่สานในภาคอื่นๆ 5. มีลักษณะเฉพาะถิ่น เกิดจากองคประกอบ สําคัญหลายประการ เชน เกิดจากความตองการใช สอยตามสภาพการดํารงชีวิตของกลุมชน เชน ภาชนะ สําหรับขาวเหนียวนึ่งที่เรียก กลองขาว หรือ กองเขา และกระติบ ภาชนะที่ทําใชกันในกลุมชนที่บริโภคขาว เหนียวในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและ กลุ ม ชนเชื้ อ สายลาวที่ ก ระจายอยู ใ นท อ งถิ่ น ต า งๆ กรรมวิธีการสานและรูปแบบของกองขาวและกระติบ ตางกันไปตามความนิยมดานความงามของแตละกลุมชน นอกจากนี้ ลักษณะเฉพาะถิ่นยังเกิดจากขนบประเพณี คติความเชื่อของกลุมชน เชน การทําตุงหรือธงใน ภาคเหนือ ซึ่งนิยมทําตุงเพื่อใชในงานพิธีตางๆ ตาม ความเชื่อที่สืบตอกันมาแตโบราณ เชน ตุงกระดาง สรางถวายเปนพุทธบูชา ตุงไจ หรือตุงไชยใชแขวน ตกแตงอาคารบานเรือน ตุงสามหางในงานศพ เปนตน นอกจาก ลักษณะเฉพาะของศิลปหัตถกรรม พื้นบานดังกลาวแลว ผูที่สรางงานหรือผูผลิตงานเปน


ศิลปหัตถกรรมพื้นบาน : เอกลักษณเฉพาะถิ่น วิบูลย ลี้สุวรรณ

องคประกอบสําคัญที่ทําใหศิลปหัตถกรรมพื้นบานมี ลักษณะเฉพาะตางจากศิลปกรรมประเภทอื่น

ลักษณะเฉพาะของศิลปหัตถกรรมพื้นบาน ศิลปหัตถกรรมพื้นบานมีลักษณะเฉพาะถิ่น แตกตางกันไปตามถิ่นกําเนิด แหลงผลิต รูปแบบ กรรมวิธีการผลิต วัตถุดิบ และขนบประเพณี ความเชื่อ วิ ถี ชี วิ ต ของกลุ ม ชน องค ป ระกอบเหล า นี้ ทํ า ให ศิลปหัตถกรรมพื้นบานมีลักษณะเฉพาะดังนี้ 1. สร า งขึ้ น ความต อ งการของชุ ม ชนที่ มี ลักษณะทางวัฒนธรรมรวมกัน อาจทําเพื่อประโยชน ใชสอยในชีวิตประจําวัน เชน เครื่องมือเครื่องใชตางๆ หรือสรางเพื่อสนองความเชื่อ ขนบประเพณี เชน ภาพเขียนบนผนังโบสถหรือสิม ตุง ธาตุ และสัตภัณฑ นอกจากนี้ ศิลปหัตถกรรมพื้นบานที่ประกอบกการ แสดง เพื่อความบันเทิง สนุกสนานตามสภาพชีวิตและ ความนิยมของแตละทองถิ่น เชน การทําตัวหนัง สําหรับแสดงหนังตะลุง การทําเครื่องดนตรี 2. มีความเรียบงายตามวิถีชีวิตของชาวบาน และแสดงออกอย า งซื่ อ ตรง เพื่ อ ประโยชน ใ ช ส อย สอดคลองกับวิถีชีวิต ขนบประเพณี และความเชื่อของ ชุมชน 3. สรางโดยชางหรือชางศิลปนิรนาม ทั้งนี้ เพราะศิลปหัตถกรรมพื้นบานเปนผลิตผลของชุมชน หรื อ กลุ ม ชนที่ ม าจากขนบประเพณี ความเชื่ อ และ ความนิยมของผูเสพและผูสราง เปนเสมือนสมบัติ รวมกันของชุมชนหรือกลุมชน ไมใชผลงานของชาง โดยตรงเหมือนผลงานวิจิตรศิลปในปจจุบัน ที่สรางขึ้น ตามความตองการ และความรูสึกนึกคิดของศิลปน ผูใชไมสนใจวา ใครเปนผูทําใหความสนใจกับประโยชน ใชสอยของสิ่งนั้นๆ เปนสําคัญ มากกวาชื่อเสียงของชาง 4. ลักษณะเฉพาะถิ่น (local characteristic) เปนคุณลักษณะสําคัญประการหนึ่ง อาจเกิดจากการ ใชวัตถุดิบที่มีอยูในทองถิ่น เชน เครื่องจักสานภาคใต สานดวยตนจูด ใบเตยทะเล หรือใบลําเจียก ยานลิเพา วัตถุดิบเหลานี้ไมใครมีในภาคอื่น ทําใหเครื่องจักสาน ภาคใตมีลักษณะเฉพาถิ่นตางจากเครื่องจักสานภาคอื่น หรือศิลปหัตถกรรมที่ทําขึ้นในบางทองถิ่นเทานั้น เชน

การทอผ า ขิ ต ผ า มั ด หมี่ เป น ศิ ล ปหั ต ถกรรมที่ มี ลั ก ษณะเด น ของภาคอี ส าน นอกจากนี้ ลั ก ษณะ เฉพาะถิ่นยังเกิดจากความนิยม ขนบประเพณีและวิถี ชีวิตของแตละทองถิ่นดวย ลักษณะเฉพาะถิ่นของศิลปะพื้นบาน เกิด จากเหตุและปจจัยตางๆ ดังนี้ 1. เกิดจากความเชื่อ ขนบประเพณี และวิถี ชีวิตของชุมชน เชน เครื่องจักสานประเภทกองขาว กระติบ และภาชนะเครื่องใชที่เกี่ยวเนื่องกับวัฒนธรรม การบริโภคขาวเหนียว เชน กลุมชนเชื้อสายไทยยวน ลื้อ ลาว ในภาคเหนือ กลุมชนเชื้อสายลาวในภาค ตะวั น ออกเฉี ย งเหนื อ และกลุ ม ชนเชื้ อ สายลาวที่ บริโภคขา วเหนียวในภาคกลางบางถิ่น รูปแบบของ กองขา วต างกันไปตามความนิยมของแตละกลุมชน แตละทองถิ่น 2. เกิ ด จากลั ก ษณะการใช ส อยเฉพาะถิ่ น เชน ภาชนะจักสานที่สานดวยหวายหรือผิวคลาของ ชาวบานอําเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราชที่ เรียกวา โตระ สําหรับใสพืชผลหาบออกมาจากสวน หรื อ ไร นั้ น มี รู ป แบบเฉพาะถิ่ น ต า งไปจากภาชนะ ประเภทหลั ว หรื อ กระบุ ง ที่ ใ ช กั น ทั่ ว ไป รู ป แบบ เฉพาะถิ่ น ดั ง กล า วเกิ ด จากความต อ งการใช ส อย เฉพาะถิ่น ชางจึงสรางรูปแบบใหสอดคลองกับความ ตองการของชุมชน 3. เกิดจากการใชวัตถุดิบในทองถิ่น เชน เครื่องจักสานภาคใตมักสานดวยกระจูด ลําเจียก และ ยานลิเพา ซึ่งเปนวัตถุดิบที่มีมากในภาคใต วัตถุดิบที่ มีอยูเฉพาะถิ่นเหลานี้ ทําใหเครื่องจักสานมีรูปแบบ และการใชสอยตางไปจากเครื่องจักสานภาคอื่นๆ 4. เกิดจากประเพณีและคตินิยมของชุมชน หรือกลุมชน เชน ผูหญิงชาวบานเชื้อสายพวน ยวน นิยมนุงซิ่นลายขวางลําตัวและเสริมความงามของซิ่นที่ เชิงหรือตีนซิ่นดวยผาทอเปนลวดลายพิเศษดวยการ จก และเรียกผาชนิดนี้วา ตีนจก และเรียกผาที่เชิงหรือ ต อ ตี น ซิ่ น ด ว ยผ า ชนิ ด นี้ ว า ซิ่ น ตี น จก ซึ่ ง ต า งจาก ช า ว บ า น เ ชื้ อ ส า ย ล า ว ใ น ภ า ค อี ส า น ห รื อ ภ า ค ตะวันออกเฉียงเหนือ ที่นิยมนุงซิ่นที่มีลายขนานกับ

173


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปที่ 30 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2553

ลําตัว อาจจะเปนผามัดหมี่ หรือขิดสลับกับมัดหมี่ ไมมี ตีนซิ่นหรือมีตีนซิ่นแคบๆ เพื่อกันตีนซิ่นขาดเทานั้น ดังกลาวมาแลว จะเห็นวา ศิลปหัตถกรรม พื้น บานสรางขึ้นเพื่อสนองวิถีชีวิต ความเปนอยูข อง ชาวบานแทบทั้งสิ้น จึงเปนวัตถุของวัฒนธรรมของ ประชาชนทั่วไป (popular culture) จึงมีลักษณะเฉพาะ ตามถิ่นตางๆ กัน

ศิลปหัตถกรรมพื้นบานในโลกปจจุบัน การศึกษาเรื่องศิลปหัตถกรรมพื้นบานไมควร จํากัดเฉพาะของไทยเทานั้น หากศึกษาใหกวางออกไป ในโลกสากลจะช วยให เห็ นภาพของศิ ลปหั ต ถกรรม พื้นบานชัดยิ่งขึ้น เพราะวิวัฒนาการของศิลปหัตถกรรม พื้นบานแทบทั่วโลกมีลักษณะคลายคลึงกันแทบทั้งสิ้น ความเสื่อมถอย ลวนมาจากผลกระทบที่คลายกัน เชน ผลกระทบที่ เ กิ ด จากการปฏิ วั ติ อุ ต สาหกรรมใน คริ ส ต ศ ตวรรษที่ 1 9 ส ง ผลกระทบไปทั่ ว โลก โดยเฉพาะในประเทศอังกฤษซึ่งมีความกาวหนาทาง อุตสาหกรรมมาก ทําใหประชาชนสวนใหญใหความ สนใจผลิ ต ภั ณ ฑ ท างอุ ต สาหกรรมมากกว า งาน หัตถกรรมดั้งเดิม ซึ่งเปนสาเหตุหนึ่งที่ทําใหชางฝมือ ลดจํานวนลงและคุณภาพของงานศิลปหัตถกรรมดอย ลงเรื่อยๆ สภาวะเชนนี้สรางความวิตกกังวลใหกับผูที่ มองเห็ น คุ ณ ค า ทางศิ ล ปะและสุ น ทรี ย ภาพของงาน ศิลปหัตถกรรม จึงเกิ ดขบวนการศิลปหัตถกรรมขึ้น ดั ง กล า วแล ว ป จ จุ บั น หลายประเทศในยุ โ รปยั ง ให ความสนใจและสนับสนุน สงเสริม ใหมีการสรางงาน ศิลปหัตถกรรมพื้นบานในหลายประเทศ เชน อังกฤษ เยอรมัน รัสเซีย โปแลนด รวมถึงประเทศตุรกี บราซิล เม็กซิโก และประเทศในเอเชีย เชน จีน ญี่ปุน เกาหลี ฟ ลิ ป ป น ส อิ น โดนี เ ชี ย และไทย การสร า งงาน ศิ ล ปหั ต ถกรรมในประเทศต า งๆ เหล า นี้ มั ก เปลี่ ย น รูปแบบ วัตถุดิบ กลวิธี ไปตามการใชสอย หลายประเทศพยายามสงเสริมใหมีการจัดตั้ง องคกรเพื่อสงเสริมงานศิลปหัตถกรรม เชน มีการตั้ง สภาหัตถกรรม(The Crafts Council) ขึ้นในประเทศ อั ง กฤษ เดนมาร ก สวิ ส เซอร แ ลนด เนเธอร แ ลนด สหรัฐอเมริกา บางประเทศไมมีการสอนในโรงเรียน 174

โดยตรง แตเปดสอนหรืออบรมแกผูในใจโดยสมาคม หรื อ สภาหั ต ถกกรมในประเทศนั้ น ๆ แต ก็ มี ห ลาย ประเทศสอนหัตถกรรมจักสานในโรงเรียนของรัฐ เชน The French state basketry school (Ecole Nationae d’ Osierculture et de Vannerie) ในประเทศฝรั่งเศส The Polish Basketry school ในประเทศโปแลนด เสียดายที่แตเดิมมีการสอนจักสานในระดับประถมของ ไทยแตลมเลิกไป ทั้งนี้เพราะรัฐเห็นวาเปนเรื่องลาสมัย ทั้งที่สามารถปรับใหเขากับยุคสมัยได อยางที่หลาย ประเทศสงเสริม ใหสรา งงานจักสานในรู ปแบบของง วิจิตรศิลป เชน สภาหัตถกรรม(The Crafts Council) ของอั ง กฤษ ส ง เสริ ม ให มี ก ารจั ด แสดงงานจั ก สาน สรางสรรค ห ลายครั้ง ทั้งในประเทศและต า งประเทศ ระหวาง ค.ศ.1999-ค.ศ.2000 จัดพิมพวารสารหัตถกรรม (Crafts Magazine) ซึ่งหลายประเทศมีวารสารหัตถกรรม เปนของตน เชน American Craft Magazine และ Fiber arts Magazine ในประเทศสหรัฐอเมริกา Basketry News ประเทศญี่ปุน The Object ในประเทศออสเตรเลีย วารสารเหลานี้ชวยเผยแพรการเคลื่อนไหวของศิลปน สาขานี ้ แ ละเป น สื ่ อ ให ผู  ส นใจรู  ว  า มี ก ารแสดง ศิ ล ปหั ต ถกรรมรวมสมัยที่ใดบาง มีแหลงผลิต รา น จําหนายวัสดุอุปกรณ และมีการเรียน การสอน และ อบรมที่ใดบาง ตัวอยางของศิลปหัตถกรรมที่พัฒนามาเปน งานศิลปะสมัยใหมคือ เครื่องจักสาน ซึ่งแตเดิมผลิต จากวัตถุดิบธรรมชาติเปนหลัก ศิลปนรวมสมัยเปลี่ยน มาใชเสนใยสัง เคราะห พลาสติก และโลหะ เปลี่ยน วัตถุประสงคจากการใชประโยชนในชีวิตประจําวันมา เป น สร า งขึ้ น สนองความรู สึ ก นึ ก คิ ด ของศิ ล ป น เชนเดียวกับงานวิจิตรศิลปอื่นๆ งานจักสานรวมสมัย จึ ง เป น งานประติ ม ากรรมสามมิ ติ ส ามมิ ติ (threedimensional) ของศิ ล ป น แต มี พื้ น ฐานมาจากงาน จัก สาน ผลงานศิลปะลัก ษณะนี้ยังไมแ พรหลายและ ไดรับการยอมรับมากนัก ศิ ล ป น ในป จ จุ บั น มี ค วามรู สึ ก และความคิ ด เกี่ยวกับ เครื่องจักสาน แตกตางกั นไป เชน บางคน เห็ น ว า เครื่ อ งจั ก สานเป น ภาชนะขนส ง (container) ประจํากายของมนุษยที่สําคัญมาแตโบราณ ทุกวันนี้


ศิลปหัตถกรรมพื้นบาน : เอกลักษณเฉพาะถิ่น วิบูลย ลี้สุวรรณ

ก็ยังปรากฎอยู สิ่งเหลานี้มีรูปแบบ จังหวะ ผิว(texture) ที่งดงาม หากนํามาประยุกตใหตรงกับแนวคิดของตน ก็เปนงานทัศนศิลปที่นาสนใจอีกประเภทหนึ่ง ศิลปน บางคนเห็นวา งานจักสานเปนประติมากรรมแหงการ ถักทอและเปนงานสถาปตยกรรมที่มีโครงสรางมั่นคง แข็งแรง การสอดสาน ผู ก รัดกันของวัสดุนั้น มีกํา ลั ง มหาศาลหากเทียบกับขนาดและสัดสวนของมัน ศิลปน แตละคนไดรับความสูสึกนึกจากเครื่องจักสานแตกตาง กันไป รวมทั้งสถาปนิกสมัยใหมนําการสอดขัดกันเปน จังหวะและมั่นคงมาประยุกตเปนโครงสรางอาคาร แนวคิด รูปแบบ กลวิธีการสรางงานจักสาน สรางสรรคของศิลปนรวมสมัยแตกตางกัน มีทั้งอิงกับ รู ป แบบ กลวิ ธี ก ารสานแบบดั้ ง เดิ ม แต เ ปลี่ ย นวั ส ดุ บางคนใชลายอิสระตามความคิดของตน ไมเหมือน ลวดลายแบบประเพณี ดั้ ง เดิ ม เช น เดี ย วกั บ การ เลือกใชวัสดุก็แตกตางกันไป บางคนยังคงใชวัตถุดิบ ตามธรรมชาติ เชน ไมไผหวาย ผิวไม เปลือกไม บาง คนเปลี่ยนมาใชลวด เหล็ก สังกะสี ทองแดง พลาสติก เสนใยสังเคราะห ขนาดของงานที่สรางขึ้นอาจมีขนาด เล็กเพียงไมกี่เซนติเมตร จนถึงงานขนาดใหญที่สราง ขึ้นกลางแจงสูงหลายเมตร ศิลปนในคริสตศตวรรษที่ 20 จํานวนไมนอย ใหค วามสนใจกั บ งานศิล ปหัต ถกรรมพื้ น บา นที่มีอ ยู หลากหลาย กอใหเกิดประกายความคิดในการสราง งานศิลปกรรมดวย รูปทรง กลวิธี พื้นผิว(texture)และ เลือกใชวัสดุอยางอิสระ ทําใหไดผลงานศิลปะแบบใหม นอกจากนี้ศิลปนบางคนกลับนําอิทธิพลทางความคิด จากศิ ล ปะลั ท ธิ สํ า แดงพลั ง อารมณ แ นวนามธรรม (Abstract Expressionist) ทําใหศิลปนเสนใย(fiber artist)ละทิ้งกฎเกณฑเกี่ยวกับการสานแบบประเพณี มาใหความสําคัญกับรูปทรง ลวดลาย พื้นผิว และ พื้นที่วาง(space) อยางอิสระไมติดอยูในกฎเกณฑ ศิ ล ป น ที่ ส ร า งสรรค ผ ลงานลั ก ษณะนี้ มี อ ยู ใ นหลาย ประเทศ เชน Dail Behennah, Jackie Binns, Fioa BullocK ชาวอังกฤษ John Garrett, Barbara Cooper, Marry Giles, ชาวอเมริกัน Joleen Gordon ชาวแคนนาดา Z. Wcislo ชาวโปแลนด Birgitta Wenden ชาวสวีเดน Roland Seguret ชาวฝรั่งเศส Keiko

Takeda, Hisako Sekijima และ Jiro YoneZawa ชาว ญี่ปุน หัวใจสําคัญของงานศิลปหัตถกรรมรวมสมัย โดยเฉพาะงานจักสาน เครื่องปนดินเผา และเครื่อง ถักทอนั้น เปลี่ยนวัตถุประสงคจากการทําเพื่อการใช สอยมาเปนการสนองความรูสึกนึกคิดของศิลปน แตก็ มี ศิ ล ป น จํ า นวนไม น อ ยที่ นํ า กลวิ ธี รู ป แบบ ของ ศิ ล ป หั ต ถ ก ร ร ม แ บ บ ป ร ะ เ พ ณี นิ ย ม ใ น อ ดี ต ม า ประยุกตใชกับงานสมัยใหม เชน นําลวดลายจักสาน แบบดั้งเดิมผสมกับลวดลายอิสระเพื่อใหไดรูปทรงตาม ความตองการของศิลปน บางคนอาจใชลวดลายอิสระ ทั้งหมด เชนเดียวกับการเลือกใชวัสดุ ศิลปนบางคนใช วัสดุธรรมชาติ เชน ไมไผ หวาย เถาวัลย กิ่งไม ดิน หิน ทั้งหมด หรือผสมกันระหวางวัสดุเหลานี้กับโลหะ เช น ทองแดง เหล็ ก สั ง กะสี ลวด หรื อ ใช เ ส น ใย สังเคราะห หรือใชโลหะทั้งหมด เชน ใชแผนทองแดง เหล็ก สังกะสี สานใหเปนรูปทรงแทนการใชตอก ก า ร เ ป ลี่ ย น แ ป ล ง แ น ว คิ ด นี้ ทํ า ใ ห ง า น ศิลปหัตถกรรมไมใชงานประยุกตศิลปที่สรางเพื่อใช สอย หากแต เ ป น งานวิ จิ ต รศิ ล ป เ ช น เดี ย วกั บ งาน ประติมากรรมหรืองานสามมิติ คุณคาของงานเหลานี้ มิ ไ ด ขึ้ น อยู กั บ ประโยชน ใ ช ส อยแต อ ยู ที่ คุ ณ ค า การ สรางสรรคทางศิลปะ อย า งไรก็ ต าม ศิ ล ปหั ต ถกรรมร ว มสมั ย ใน ประเทศต า งๆเป น อี ก ช อ งทางหนึ่ ง ของศิ ล ป น ที่ จ ะ แสดงความรูสึกนึกคิดของตนผานกลวิธีที่มีรากฐานมา จากงานศิลปหัตถกรรมพื้นบานในอดีตมารังสรรคให เกิดงานศิลปกรรมรูปแบบใหมๆ

คุณคาของศิลปหัตถกรรมพื้นบาน การศึกษาวิเคราะหคุณคาของศิลปหัตถกรรม พื้ น บ า นเป น อี ก แง มุ ม หนึ่ ง ที่ ช ว ยให เ กิ ด ความเข า ใจ และซาบซึ้ง สามารถศึกษาหาคุณคาของศิลปหัตถกรรม พื้นบานไดดังนี้ 1. คุณคาในการแสดงออก ศิลปหัตถกรรม พื้ น บ า นเป น ผลงานแนวคิ ด การออกแบบอย า ง ตรงไปตรงมาเพื่อสนองประโยชนใชสอยใหมากที่สุด มีรูปแบบแบบเรียบงายตามความสามารถของชางที่ 175


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปที่ 30 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2553

ไมไดขัดเกลาดวยวิชาการทางศิลปะหรือความรูที่เปน หลั ก การกฎเกณฑ ใ ห ค วามงามตามหลั ก วิ ช า สุนทรียศาสตร ประชาชนทั่วไปสามารถรับรูไดไมยาก ตางไปจากงานศิลปะประเภทอื่นๆ โดยเฉพาะวิจิตร ศิ ล ป ที่ ศิ ล ป น มั ก อยู ใ นกรอบของกฎเกณฑ ทฤษฎี สุนทรียศาสตร และจริตของศิลปน ยากที่ประชาชน ทั่วไปจะรับรูได 2. คุ ณ ค า ของลั ก ษณะเฉพาะถิ่ น ศิ ล ปะ สะท อ นให เ ห็ น วิ ถี ชี วิ ต ขนบประเพณี ความเชื่ อ คานิยม การแสดงออกทางสุน ทรีย ภาพ (aesthetics expression) และรสนิยมของทองถิ่นที่แตกตางกัน เชน ลวดลายผาจก ผามัดหมี่ และผายกของแตละถิ่น แต ล ะกลุ ม ชนแตกต า งกั น เช น รู ป แบบของลายที่ แตกตางกันสะทอนใหเห็นความเชื่อ รสนิยมดานความ งามของกลุ ม ชนแตกต า งกั น แม จ ะทดด ว ยกลวิ ธี เดียวกันก็ตาม 3. คุณคาทางภูมิปญญา ศิลปหัตถกรรม พื้นบานหลายประเภท แสดงใหเห็นความชาญฉลาด ของชา งที่สามารถนํา วัตถุดิบในทองถิ่นมาใชใหเกิด ประโยชนไดอยางแยบยล เชน ชาวบานในภาคใตนํา ใบจากออนมาเรียงสอดเรียงกันแลวทําเปน หมาจาก เพื่ อ ใช ตั ก น้ํ า เช น เดี ย วกั บ ครุ หรื อ ชาวบ า นเรี ย นรู คุณสมบัติของพืชบางชนิดนําเปลือก ใบ ดอก มาทํา เปนสียอมเสนไหมและดาย สําหรับทอผาใหเปนสีสัน ตางๆ หรือชางไทยโบราณนําหินปูน(lime stone)มา เผาเพื่อไลน้ําออกแลวใชน้ําพรมจะเกิดปฏิกิริยาทาง เคมี กอนหินปูนจะแตกตัวเปนผง เมื่อแหงแลวนําไป บดหรือตําและรอนเอาแตผงปูนที่ละเอียดจะไดปูนขาว สําหรับใชงานตางๆ เชน นําไปผสมน้ําหมักใหคลาย ความเค็ม ผสมทราย เสนใยพืชหรือกระดาษ ตําใหเขา กันเปนเนื้อเดียว เรียก ปูนตํา ใชปนลวดลายประดับ หนาบัน ซุมประตูซุมหนาตาง ฐานเจดีย เมื่อปูนตําทํา ปฏิกิริยากับอากาศจะแหงแข็งตัวเหมือนหินปูนอีกครั้ง หนึ่ง นักวิชาการบางคนกลาววา“มนุษยผูปนดินใหมี รูปรางที่เต็มไปดวยเลือดเนื้อ มนุษยจึงเปนทั้งศิลปน และนั ก วิ ท ยาศาสตร ที่ ศึ ก ษาจนเกิ ด ความเข า ใจ เกี่ ย วกั บ ลั ก ษณะการเปลี่ ย นรู ป ของสาร และนํ า คุณลักษณะพิเศษดังกลาวมาใชใ หบรรลุจุดประสงค 176

ที่ตั้ง ไว ในเวลาเดียวกัน บรรดาชางฝ มือ แตละยุค ได เรียนรูเกี่ยวกับความเหมาะสมของวัสดุแตละชนิดที่ นํามาใชสรางงานศิลปะหรือสถาปตยกรรม...”

ศิ ล ปหั ต ถกรรมพื้ น บ า น : ประเด็ น ป ญ หาและ แนวทางการศึกษา ประเด็นปญหาที่ 1 ศิลปหัตถกรรมพื้นบาน ในป จ จุ บั น ไม ส ามารถใช เ ป น เป น หลั ก ฐานที่ แ สดง วั ฒ นาการของวิ ถี ชุ ม ชนและภู มิ ป ญ ญาท อ งถิ่ น ได เทาที่ควร เพราะชางไมไดซึมซับเอาวัฒนธรรมทองถิ่น มาเปนองคประกอบในการกําหนดรูปแบบ ศิลปหัตถกรรม พื้นบานจึงไมสะทอนวิถีชีวิต ขนบประเพณี ความเชื่อ และรสนิย มท อ งถิ่ น ส ว นมากเป น การผลิ ตจํ า หน า ย เปนจํานวนมาก จึงเปนเพียงสินคาประเภทหนึ่งเทานั้น ประเด็นปญหาที่ 2 ศิลปหัตถกรรมพื้นบาน หลายชนิดไมสอดคลองกับวิถีชีวิตปจจุบัน ไมเกี่ยวเนื่อง กับ ประวัติศาสตร ทองถิ่น จึง ไมส ามารถใชเปน วัตถุ วั ฒ นธรรมของชุ ม ชนได เพราะกระบวนการผลิ ต รูปแบบ และประโยชนใชสอยเปลี่ยนไป แนวทางการศึกษา 1. คัดสรรศิลปหัตถกรรมพื้นบานใหตรงกับ วัตถุประสงค เชน ศึกษาดานมานุษยวิทยา ความเชื่อ ขนบประเพณี โดยใช ศิ ล ปหั ต ถกรรมพื้ น บ า นเป น ฐานขอมูล ตองเลือกสรรงานศิลปหัตถกรรมพื้นบานให ตรงกับวัตถุประสงค และสนองประเด็นปญหาตางๆได เชน ใชผาทอและการแตงกายเพื่อศึกษาวิถีชีวิตของ คนไทยเชื้อสายไทย ซึ่งอาจจะกวางเกินไป เพราะ ชุมชนชาวไทยวนไมไดมีเฉพาะภาคเหนือ แตกระจาย อยูในหลายทองถิ่นในภาคกลางดวย ซึ่งแตละถิ่นอาจมี กระบวนการทอผา รูป แบบ ลวดลาย และการใชผา ตางกัน การเก็บขอมูลและการอานเรื่องราว เนื้อหา จากผาทอมือ อาจใหน้ําหนักกับประเด็นที่เกี่ยวเนื่อง กับวิถีชีวิตมากกวาคุณคาทางศิลปะ นอกจากนี้การ เก็ บ ตั ว อย า งและข อ มู ล ต อ งใช ดุ ล พิ นิ จ ให ดี เพราะ บางครั้ ง ผู ใ ห ข อ มู ล อาจให ร ายละเอี ย ดหรื อ ข อ มู ล บางอยางที่คลาดเคลื่อนได เชนเดียวกับการคัดสรรผา หรื อ เครื่ อ งถั ก ทอสํ า หรั บ ใช เ ป น ฐานอ า งอิ ง ก็ ต อ ง ตรวจสอบเช น เดี ย วกั น เพราะศิ ล ปหั ต ถกรรมหรื อ


ศิลปหัตถกรรมพื้นบาน : เอกลักษณเฉพาะถิ่น วิบูลย ลี้สุวรรณ

ผ า ทอบางท อ งถิ่ น มี อิ ท ธิ พ ลภายนอกปะปนอยู จึ ง จําเปนตองพิจารณาใหรอบคอบ 2. การศึกษาวิเคราะหเฉพาะดาน เปนการ สรางกรอบการศึกษาใหแคบลง จะชวยใหศึกษาเชิงลึก ไดมากขึ้น เชน ศึก ษาเรื่องเครื่องปน ดินเผาบานทุง หลวง อําเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย แทนที่จะศึกษา เครื่ อ งป น ดิ น เผาภาคกลางหรื อ ภาคเหนื อ ซึ่ ง กว า ง เกิ น ไป หากต อ งการศึ ก ษาเชิ ง ลึ ก ด า นใดด า นหนึ่ ง โดยเฉพาะ เชน ศึกษากระบวนการผลิต รูปแบบ โดย ใชขอมูลทางวัฒนธรรมเปนสวนกระกอบ 3. การศึ ก ษาแบบองค ร วม ผสมผสาน แนวทางที่ 1 และ 2 รวมกั น จําเปน ตองสื บคน ดา น ประวัติศาสตรทองถิ่น ขนบประเพณี ความเชื่อของ ชุมชนที่แสดงออกผานงานศิลปหัตถกรรมพื้นบาน

4. ศึกษาเปรียบเทียบและวิเคราะห เปน วิธีการศึกษาที่นาสนใจ เพราะสามารถแสวงหาองค ความรูใหมไดจากการเปรียบเทียบและวิเคราะห แต ตองระวังใหอยูในกรอบเดียวกันหรือประเภทเดียวกับ หากต อ งการเปรี ย บเที ย บเครื่ อ งจั ก สานไม ไ ผ ภาคเหนือกับเครื่องจักสานไมไผภาคใตสามารถทําได แตถาศึกษาเปรียบเทียบระหวางเครื่องปนดินเผากับ ผาทอนั้นเปนไปไมได เพราะกระบวนการผลิต การใช วัสดุตางกันอยางสิ้นเชิง การศึกษาลักษณะนี้สามารถ ศึกษาเปรียบเที ยบศิลปหัตถกรรมข ามประเทศหรือ ขา มภู มิภ าคก็ไ ด เช น ศึ ก ษาเปรี ย บเทีย บเครื่ อ งจั ก สานไทยกั บ เครื่ อ งจั ก สานประเทศเวี ย ดนาม หรื อ ศึกษาตัวหนังตะลุงภาคใตกับตัวหนังประเทศมาเลเซีย

บรรณานุกรม ภาษาไทย กําจร สุนพงษศรี. (ม.ป.ป.). ประวัติศาสตรศิลปะตะวันตก. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพสงเสริมศิลปศึกษา. ราชบัณฑิตยสถาน. (2543). พจนานุกรมศัพทศิลปะ อังกฤษ-ไทย. พิมพครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ราชบัณพิตยสถาน. วิบูลย ลี้สุวรรณ. (2539). ศิลปหัตถกรรมพื้นบาน. พิมพครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: ตนออแกรมมี่. . (2546). ศิลปะชาวบาน,พิมพครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: อมรินทร. . (2546). พจนานุกรมหัตถกรรม/เครื่องมือเครื่องใชพื้นบาน. พิมพครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ. ภาษาอังกฤษ Bhirasri, Silpa. (1959). The original and evolution of the Thai. Bangkok: Fine Arts Department, Silparkorn University, Thailand. Jane, Famer M. (1982). New American Paperwork. Champion International Corporation. Kieffer, Susan Mowery. (2006). 500 baskets: a celbration of the basketmaker’s art. N.Y.: Lark Books. LaPlantz, Shereen. (1993). Twill basketry : a handbook of designs, techniques, and styles. Asheville, N.C., U.S.A. : Lark Books, 1993. Mary Butcher. (1999). Contemporary international basketmaking. London: Merrell Holberton. Morris, Walter F. (1996). Handmade money : Latin American artisans in the marketplace. Washington, D.C.: Organization of American States. Newman, Thelma R. (1977). Contemporary Southeast Asian arts and crafts. New York: Crown Publishers.

177


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปที่ 30 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2553

Shoya, Yoshida. (1979). Folk-Art. Translated by P. Murray & Don Kenny. 6th ed. Japan: Hoikusha Publishing Co. Yanagi, Soetsu. (1978). The Unknown Craftsman. Adapted by Bernard Leach. Japan: Kodansha International. ภาพประกอบ

ภาพที่ 1 เชี่ยนหมากไมภาคอีสาน

ภาพที่ 2 ซิ่นตีนจก อุทัยธานี

178


ศิลปหัตถกรรมพื้นบาน : เอกลักษณเฉพาะถิ่น วิบูลย ลี้สุวรรณ

ภาพที่ 3 จิตรกรรมฝาผนังสมัยกอนประวัติศาสตร

ภาพที่ 4 หางนาภาคเหนือ

179


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปที่ 30 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2553

ภาพที่ 5 น้ําเตาภาคอีสาน

ภาพที่ 6 ขันถมทอง 180


ศิลปหัตถกรรมพื้นบาน : เอกลักษณเฉพาะถิ่น วิบูลย ลี้สุวรรณ

ภาพที่ 7 ตุกตาสังคโลก

ภาพที่ 8 บุง เครื่องรักภาคเหนือ

181


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปที่ 30 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2553

ภาพที่ 9 กองเขา บานเมืองมาย อําเภอแจหม จังหวัดลําปาง

ภาพที่ 10 กะเหล็บ ชาวไทโซง อําเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม 182


รายละเอียดการเตรียมบทความเพื่อสงตีพมิ พ วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย สาขาสังคมศาสตร มนุษยศาสตร และศิลปะ 1. วัตถุประสงคการจัดพิมพ

เพื่อเผยแพรผลงานทางวิชาการสาขาสังคมศาสตร มนุษยศาสตร และศิลปะ ของนักวิชาการทั้งภายใน และภายนอกมหาวิทยาลัย เปนสื่อกลางการแลกเปลี่ยนเรียนรูทางวิชาการในสาขาสังคมศาสตร มนุษยศาสตร และศิลปะ และสงเสริมใหนักวิชาการและผูสนใจไดนําเสนอผลงานวิชาการในรูปบทความวารสาร 2.

กําหนดออก ปละ 2 ฉบับ (มกราคม-มิถุนายน และ กรกฎาคม-ธันวาคม)

3.

บทความที่รับตีพิมพ

1. บทความที่รับตีพิมพ ไดแก 1. บทความวิชาการ 2. วิทยานิพนธปริทัศน งานวิจัยหรือวิทยานิพนธตนฉบับ 4. บทความปริทัศน 5. บทความพิเศษ 2. เปนผลงานใหมที่ยังไมเคยพิมพเผยแพรในสื่อใดๆ มากอน 3. ความยาวไมเกิน 15 หนา 4. สงตนฉบับ 3 ชุด พรอมไฟลขอมูลที่บันทึกลงแผน CD-ROM 1 แผน 4.

3. บทความวิจัยจาก

การสงบทความ

1. สงเอกสารตนฉบับ 3 ชุด และ CD-ROM พรอมแบบฟอรมขอสงบทความเพื่อตีพิมพ ทางไปรษณียมา ที่ คุ ณ ปรานี วิ ช านศวกุ ล (บรรณาธิ ก ารบริ ห ารวารสารมหาวิ ท ยาลั ย ศิ ล ปากร) 44/114 หมู บ า นเลิ ศ อุ บ ล ซอยพหลโยธิน 52 ถนนพหลโยธิน แขวงคลองถนน เขตสายไหม กรุงเทพฯ 10220 2. เมื่อไดรับบทความแลว บรรณาธิการจะแจงกลับไปยังผูเขียนบทความใหทราบทางใดทางหนึ่ง 3. ทุ ก บทความที่ ตี พิ ม พ จะได รั บ การกลั่ น กรองจากกองบรรณาธิ ก าร และผ า นการพิ จ ารณาจาก ผูทรงคุณวุฒิในสาขาวิชานั้น ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยอยางนอย 2 คน 5.

ขอกําหนดการเตรียมตนฉบับ 1. ขนาดกระดาษ A4 พิมพดวย Microsoft Word for Window 2. ระยะหางจากขอบบนและซายของกระดาษ 1.25 นิ้ว จากขอบลางและขวาของกระดาษ 1 นิ้ว 3. ตัวอักษร ใชอกั ษรโบรวาลเลีย นิว (Browallia New) • ชื่อเรื่อง ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ขนาด 16 พอยท กลางหนา ตัวหนา • ชื่อผูเขียน ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ขนาด 14 พอยท ชิดขวา ตัวหนา • บทคัดยอภาษาไทยและภาษาอังกฤษ - ชื่อ “บทคัดยอ” และ “Abstract” ขนาด 14 พอยท ชิดซาย ตัวหนา - รายละเอียดบทคัดยอ ขนาด 14 พอยท ชิดขอบซาย-ขวา ตัวธรรมดา


- คําสําคัญ (Keyword) ขึ้นบรรทัดใหม ขนาด 14 พอยท ชิดซาย ตัวหนา สวนขอความ ของคําสําคัญเปนตัวธรรมดา • บทความ - หัวขอใหญ เวน 1 บรรทัด ชิดซาย ขนาด 14 พอยท ตัวหนา - หัวขอรอง ยอหนา 0.5 นิ้ว ขนาด 14 พอยท ตัวหนา - ขอความ ยอหนา 0.5 นิ้ว ชิดขอบซาย-ขวา ตัวธรรมดา - ใชตัวเลขอารบิคเทานั้น • รายละเอียดผูเขียนบทความ ประกอบดวย - ที่อยู ตําแหนงทางวิชาการ หนวยงานที่สังกัด อีเมลและโทรศัพทที่ติดตอไดสะดวก 6.

การอางอิง

1. การอางอิงในเนื้อหาใชระบบนาม-ป (Name-year Reference) 1.1 การอางอิงในเนื้อหาจากสื่อทุกประเภท ลงในรูปแบบ “ชื่อผูเขียน ปพิมพ : เลขหนาที่ปรากฏ” อยูในเครื่องหมายวงเล็บเล็ก 1.2 ผูเขียนคนไทยลงชื่อ-สกุล สวนผูเขียนชาวตางชาติลงเฉพาะนามสกุล ดังตัวอยาง - โสเกรติสย้ําวาการอานสามารถจุดประกายไดจากสิ่งที่นักอานรูอยูแลวเทานั้นและความรูที่ไดรับมา ไมไดมาจากตัวหนังสือ (แมนเกล 2546 : 127) - สุมาลี วีระวงศ (2552 : 37) กลาววา การที่ผูหญิงจะไปสื่อชักผูชายมาบานเรือนของตัวเองทั้งๆที่เขายัง ไมไดมาสูขอนั้น เปนเรื่องผิดขนบธรรมเนียมจารีตประเพณี หมายเหตุ: ทุกรายการที่อางอิงในเนื้อหา ตองปรากฏในรายการบรรณานุกรมเสมอ 2. บรรณานุกรม (Bibliography) - การเขียนบรรณานุกรมใชรูปแบบของ APA (American Psychology Association) ดังตัวอยางตาม ชนิดของเอกสารดังนี้ 2.1 หนังสือ ชื่อ-สกุลผูแตง. \\ (ปพิมพ). \\ ชือ่ หนังสือ. \\ ครั้งที่พิมพ. \\ เมืองที่พิมพ: \ สํานักพิมพ. ตัวอยาง แมนเกล, อัลแบรโต. (2546). โลกในมือนักอาน. พิมพครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: พิฆเณศ พริ้นติ้ง เซ็นเตอร. สุมาลี วีระวงศ. (2552). วิถีชวี ิตไทยในลิลิตพระลอ. พิมพครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: สถาพรบุคส. Tidd, J., Bessant, J. and Pavitt, K. (2001). Managing innovation. 2nd ed. Chichester: John Wiley and Sons. 2.2 บทความวารสาร ชื่อ-สกุลผูเขียน. \\ (ป). \\ ชื่อบทความ. \\ ชื่อวารสาร \ ปที่, \ (ฉบับที่) \ : \ หนาที่ปรากฏบทความ. ตัวอยาง ผอง เซงกิ่ง. (2528). ศิลปกรรมอันเนื่องกับไตรภูมิ. ปาจารยสาร 12 (2) : 113-122. Shani, A., Sena, J. and Olin, T. (2003). Knowledge management and new product development: a study of two companies. European Journal of Innovation Management 6 (3) : 137-149.


2.3 วิทยานิพนธ ชื่อผูเขียนวิทยานิพนธ. \\ (ปการศึกษา). \\ ชื่อวิทยานิพนธ. \\ ระดับปริญญา \ สาขาวิชาหรือภาควิชา \ คณะ \ มหาวิทยาลัย. ตัวอยาง ปณิธิ อมาตยกุล. (2547). การยายถิ่นของชาวไทใหญเขามาในจังหวัดเชียงใหม. วิทยานิพนธปริญญาศิลปะศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาภูมิภาคศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม. วันดี สนติวุฒิเมธี. (2545). กระบวนการสรางอัตลักษณทางชาติพันธุของชาวไทใหญชายแดนไทย-พมา กรณีศึกษา หมูบานเปยงหลวง อําเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม. วิทยานิพนธปริญญาสังคม วิทยาและมานุษยวิทยามหาบัณฑิต สาขาวิชามานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร. 2.4 สื่ออิเล็กทรอนิกสตางๆ 2.4.1 หนังสือออนไลน (online / e-Book) ชื่อผูเขียน. \\ (ปที่พิมพ). \\ ชื่อเรื่อง. \\ [ประเภทของสื่อที่เขาถึง]. \\ สืบคนเมื่อ \\ วัน \ เดือน \ ป. \\ จาก \\ แหลงขอมูลหรือ URL สรรัชต หอไพศาล. (2552). นวัตกรรมและการประยุกตใชเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในสหัสวรรษใหม : กรณี การจัดการเรียนการสอนผานเว็บ (Web-Based Instruction : WBI). [ออนไลน]. สืบคน เมื่อ 1 พฤษภาคม 2553. จาก http://ftp.spu.ac.th/hum111/main1_files. De Huff, E. W. (2009). Taytay’s tales: Traditional Pueblo Indian tales. [Online]. Retrieved January 8, 2010. from http://digital.library.upenn.edu/women/dehuff/taytay/taytay.html 2.4.2 บทความจากวารสารออนไลน (online / e-journal Author, A. A., & Author, B. B. \\ (Date of publication). \\ Title of article. \\ Title of Journal volume (number) : pages. \\ [Online]. \\ Retrieved …month date, year. \\ from….source or URL…. ตัวอยาง Kenneth, I. A. (2000). A Buddhist response to the nature of human rights. Journal of Buddhist Ethics 8 (3) : 13-15. [Online]. Retrieved March 2, 2009. from http://www.cac.psu.edu/jbe/twocont.html. Webb, S.L. (1998). Dealing with sexual harassment. Small Business Reports 17 (5) : 11-14. [Online]. Retrieved January 15, 2005. from BRS, File: ABI/INFORM Item: 00591201. 2.4.3 ฐานขอมูล ธนาคารแหงประเทศไทย. (2550). แรงงานตางดาวในภาคเหนือ. [ออนไลน]. สืบคนเมื่อ 2 กันยายน 2550. จาก http://www.Bot.or.th/BotHomepage/databank /RegionEcon/ northern /public/Econ/ch 7/42BOX04. HTM. Beckenbach, F. and Daskalakis, M. (2009). Invention and innovation as creative problem solving activities: A contribution to evolutionary microeconomics. [Online]. Retrieved September 12, 2009. from http:www.wiwi.uni-augsburg.de/vwl/hanusch/emaee/ papers/Beckenbach_neu.pdf.


สงบทความไดที่ :คุณปรานี วิชานศวกุล (บรรณาธิการบริหารวารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร) 44/114 หมูบานเลิศอุบล ซอยพหลโยธิน 52 ถนนพหลโยธิน แขวงคลองถนน เขตสายไหม กรุงเทพฯ 10220 โทร. 080-5996680, 081-4934099

ติดตอสอบถามไดที่ :รศ.ระเบียบ สุภวิรี คุณปรานี วิชานศวกุล

E-mail: dawgrabiab107@gmail.com E-mail: pranee_aon@hotmail.com

ผูเขียนบทความสามารถดาวนโหลดแบบฟอรมขอสงบทความเพื่อตีพิมพ ไดที่ http: //www.surdi.su.ac.th หรือ http://www.journal.su.ac.th


แบบฟอรมขอสงบทความเพือ่ ตีพิมพ วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย สาขาสังคมศาสตร มนุษยศาสตร และศิลปะ เรียน กองบรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย สาขาสังคมศาสตร มนุษยศาสตร และศิลปะ ขาพเจา นาย นาง นางสาว ชื่อ-สกุล ภาษาไทย ............................................................................................................................. ภาษาอังกฤษ.......................................................................................................................... ตําแหนงทางวิชาการ ศาสตราจารย รองศาสตราจารย ผูชวยศาสตราจารย อาจารย อื่นๆ (โปรดระบุ)............................................................................................................... สถานที่ทํางาน ............................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................ โทรศัพทที่ทํางาน.......................................................โทรศัพทมือถือ.................................................... โทรสาร......................................................................อีเมล................................................................... มีความประสงคขอสงบทความ เรื่อง ภาษาไทย............................................................................................................................................. .......................................................................................................................................................................... ภาษาอังกฤษ........................................................................................................................................ .......................................................................................................................................................................... กองบรรณาธิการสามารถติดตอขาพเจาไดที่ สถานที่ทํางาน ตามที่ระบุไวขางตน สถานที่อยูที่ติดตอไดสะดวกรวดเร็ว ดังนี้ .......................................................................................................................................................................... .......................................................................................................................................................................... โทรศัพทที่ทํางาน.......................................................โทรศัพทมือถือ.................................................... โทรสาร......................................................................อีเมล................................................................... ลงชื่อ................................................................... (...........................................................) วัน-เดือน-ป........................................................... สงใบสมัคร พรอมตนฉบับ 3 ชุด และไฟลขอมูลที่บันทึกลงแผน CD-ROM 1 แผน มาที่ คุณปรานี วิชานศวกุล (บรรณาธิการบริหารวารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร) 44/114 หมูบานเลิศอุบล ซอยพหลโยธิน 52 ถนนพหลโยธิน แขวงคลองถนน เขตสายไหม กรุงเทพฯ 10220 เฉพาะเจาหนาที่ วันที่รับเอกสาร............................................................ลงชื่อผูรับเอกสาร.............................................................



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.