จุลสารเครือข่าย

Page 1


บทบรรณาธิการ ฉบั บ นี้ ข อเริ่ ม ต้ น ด้ ว ยคอลั ม น์ เ ปิ ด โลกกว้ า งเรื่ อ ง “เครื อ ข่ า ยวิ จั ย อุ ด มศึ ก ษาภาคกลางตอนล่ า งกั บ ชุ ม ชน” โดย นายสุพรชัย มั่งมีสิทธิ์ นักวิจัยเชี่ยวชาญ จากสถาบันวิจัยและ พัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร และคอลัมน์ผลงานวิจัยขอนําเสนอ เรื่ อ ง “การจั ด การและการใช้ ป ระโยชน์ ข องวั ส ดุ เ หลื อ ทิ้ ง ใน กระบวนการแปรรู ป มะพร้ า วขาวในอํ า เภอทั บ สะแก จั ง หวั ด ประจวบคีรีขันธ์” โดย ผศ.ดร.สุดารัตน ตรีเพชรกุล และคณะ จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และคอลัมน์ ข่าวสารความเคลื่อนไหวของเครือข่ายวิจัยอุดมศึกษาภาคกลาง ตอนล่าง ขอเชิญท่านติดตามอ่านในเล่มนะคะ

สารบัญ เปิดโลกกว้าง 3 เครือข่ายวิจัยอุดมศึกษาภาคกลางตอนล่างกับ ชุมชน ผลงานวิจัย 6 การจัดการและการใช้ประโยชน์ของวัสดุเหลือทิ้งใน กระบวนการแปรรูปมะพร้าวขาวในอําเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ข่าวสารความเคลื่อนไหว 15 ประชุมคณะอนุกรรมการเครือข่ายวิจัยฯ ครั้งที่ 1/2555 16 ประชุมคณะอนุกรรมการเครือข่ายวิจัยฯ ครั้งที่ 2/2555 17 บรรยายพิเศษเรื่อง แนวทางพัฒนาการวิจัยภายใต้ กรอบยุทธศาสตร์การจัดการด้านอาหารฯ 18 ประชุมวิชาการระดับชาติ เครือข่ายวิจัย สถาบันอุดมศึกษา ประจําปี 2555 19 โครงการประชุมวิชาการ“ศิลปากรวิจัยและ สร้างสรรค์ ครัง้ ที่ 6:บูรณาการศาสตร์และศิลป์”

ที่ปรึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อริศร์ เทียนประเสริฐ ประธานคณะอนุกรรมการเครือข่ายวิจัยอุดมศึกษา ภาคกลางตอนล่าง (ผู้อํานวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร) ดร.ทศพร ทองเที่ยง รองประธานเครือข่ายฯ (ผู้ช่วยอธิการบดีวิทยาเขตราชบุรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี)

บรรณาธิการ นางอารีย์วรรณ นวมนาคะ

กองบรรณาธิการ นายสุพรชัย มั่งมีสิทธิ์ นางสาววัชรี น้อยพิทักษ์ นางสาวตปนีย์ พรหมภัทร นางสาวศศิกร ลิขิตวงศ์ตรีศรี

จัดพิมพ์และเผยแพร่โดย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร พระราชวังสนามจันทร์ นครปฐม 73000 โทรศัพท์ 0-3425-5808, 0-3421-9013 โทรสาร 0-3421-9013 Website : http://www.thaiwest.su.ac.th

พิมพ์ที่ โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร นครปฐม

วัตถุประสงค์ วั ต ถุ ป ระสงค์ ข องการจั ด ทํ า จุ ล สารเครื อ ข่ า ยวิ จั ย อุ ด ม ศึกษาภาคกลางตอนล่าง เพื่อเป็นสื่อกลางในการประสานงานการ ดําเนินงาน และความร่วมมือด้านต่างๆ ของเครือข่ายฯ เพื่อเป็น การประชาสัมพันธ์ การเผยแพร่ผลงานวิจัย และกิจกรรมการ ดําเนินงานด้านต่างๆ ของเครือข่ายฯและเพื่อเป็นการส่งเสริมและ สนับสนุนการดําเนินงานโครงการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อถ่ายทอด เทคโนโลยีสู่ชุมชนฐานรากของประเทศและโครงการวิจัยและ พัฒนาภาครัฐร่วมเอกชนในเชิงพาณิชย์

2 จุลสารเครือขายวิจัยอุดมศึกษาภาคกลางตอนลาง | ปที่ 7 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มิถุนายน 2555


เปดโลกกวาง

สุพรชัย มั่งมีสิทธิ์1

จุดเริ่มต้นของเครือข่ายวิจัยอุดมศึกษาภาคกลางตอนล่างใน ปั จ จุ บั น มี เ ค้ า ลางมาจากปั ญ หาวิ ก ฤติ ท างเศรษฐกิ จ ซึ่ ง เกิ ด ขึ้ น ใน ปี ๒๕๔๐ ทบวงมหาวิ ท ยาลั ย หรื อ สํ า นั ก งานคณะกรรมการการ อุดมศึกษา (สกอ.) ในปัจจุบันได้ริเริ่มโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็ง ให้แก่ชุมชนด้วยพลังความร่วมมือระหว่างสถาบันอุดมศึกษากับธุรกิจ ชุมชน ส่วนหนึ่งของโครงการนี้ คือ งานวิจัยเชิงพัฒนาแบบมีส่วนร่วม โดยมีชุมชนเป็นเป้าหมาย และโจทย์วิจัยมาจากชุมชนเพื่อแก้ปัญหา และหรือสนองตอบความต้องการของชุมชน โดยมีภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นฐานและนักวิชาการร่วมคิดร่วมวิจัยเพื่อต่อยอดในด้านเทคโนโลยี และขยายผลด้วยการนําผลงานสู่การปฏิบัติให้เกิดผลต่อชุมชนนั้นๆ และมุ่งหมายให้เกิดการขยายผลในวงกว้างต่อชุมชนในพื้นที่อื่นๆ ที่มี บริบทและความต้องการคล้ายคลึงกัน งานวิ จั ย เชิ ง พั ฒ นานี้ น อกจากจะได้ เ ชื่ อ มโยงคนในสถาบั น อุดมศึกษากับชุมชนแล้ว อีกเป้าหมายหนึ่งที่สําคัญคือ การระดมพัฒนา บุ ค ลากรรุ่ น ใหม่ ข องสถาบั น อุ ด มศึ ก ษาให้ เ ข้ า ใจสถานการณ์ ค วาม ต้องการของชุมชนก่อนการตั้งโจทย์วิจัยแทน การตั้งโจทย์ตามความ สนใจของตนเองเป็นหลัก ในส่วนนี้มีผลตามมาที่สําคัญ ๒ ประการ คือ การได้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับการใช้งานและการลงทุนในระดับที่ ชุ ม ชนจะจั ด การได้ ด้ ว ยตนเองอย่ า งมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพและต่ อ เนื่ อ ง ประการที่สองโครงการนี้เป็นจุดกําเนิดของเครือข่ายสถาบันอุดมศึกษา ของประเทศซึ่งรวมสถาบันอุดมศึกษาของรัฐและเอกชน และได้พัฒนา เป็นเครือข่ายอย่างเป็นทางการและดําเนินการต่อเนื่องรวม 9 เครือข่าย สถาบันในประเทศถึงปัจจุบัน

1

นักวิจัยประจําสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร

3 จุลสารเครือขายวิจัยอุดมศึกษาภาคกลางตอนลาง | ปที่ 7 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มิถุนายน 2555


ชุมชนกับโครงการวิจัยฯ ตามกรอบที่ สํ า นั ก งานคณะกรรมการการ อุดมศึกษา (สกอ.)ได้วางไว้สําหรับการดําเนินงานวิจัยเชิง พัฒนานั้น เครือข่ายวิจัยอุดมศึกษาภาคกลางตอนล่าง ได้ ดํ า เนิ น การสนั บ สนุ น งบประมาณโครงการวิ จั ย และ นวัตกรรมเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชนฐานราก จาก การศึกษาผลสัมฤทธิ์โครงการวิจัยฯที่ดําเนินการระหว่าง พ.ศ. ๒๕๔๘ – ๒๕๕๒ ในพื้นที่ภาคกลางตอนล่าง รวม ๘ จังหวัด พบว่า โครงการวิจัยส่วนใหญ่ชุมชนได้เข้ามามีส่วน ร่วมในการนําความรู้ที่เกิดจากการวิจัยและถ่ายทอดไป ปรั บ ใช้ ใ นวิ ถี ชี วิ ต ของชุ ม ชน เช่ น โครงการวิ จั ย ภายใต้ ยุทธศาสตร์การวิจัยมะพร้าว ได้มีการศึกษาอย่างต่อเนื่อง ตลอดระยะเวลา ๕ ปี มีโครงการวิจัยที่ดําเนินการรวมทั้ง สิ้ น ๑๐ โครงการ และชุ ม ชนได้ นํ า ความรู้ ที่ นั ก วิ จั ย ได้ ถ่ายทอดไปปรับปรุงกระบวนการผลิตน้ํามันมะพร้าวสกัด เย็ น โดยวิ ธี ก ารหมั ก จนได้ น้ํ า มั น มะพร้ า วบริ สุ ท ธิ์ เ ป็ น ผลิตภัณฑ์ของชุมชนในพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จาก เดิ ม นั้ น น้ํ า มั น มะพร้ า วไม่ ค่ อ ยเป็ น ที่ รู้ จั ก กั น ในวงกว้ า ง เท่าใดนัก แต่เมื่อมีโครงการวิจัยลงไปในพื้นที่นักวิจัยได้ รณรงค์สร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องให้กับสังคมควบคู่ ไปกับการช่วยปรับปรุงคุณภาพของผลิตภัณฑ์ จนน้ํามัน มะพร้าวสกัดเย็นกลายเป็นสินค้าที่ผู้รักสุขภาพซื้อหามา บริโภคกันมากขึ้น ซึ่งผิดกับในอดีตที่จะมีแต่ข้อมูลด้านลบ ของน้ํามันมะพร้าวเผยแพร่ออกมาจนผู้คนเข้าใจผิด หั น ไปบริ โ ภคน้ํ า มั น พื ช อื่ น โดยเฉพาะน้ํ า มั น ถั่ ว เหลื อ งและ น้ํามันปาล์มซึ่งมีผลเสียอื่น ๆ ตามมา นอกจากนี้ยังมีโครงการวิจัยในยุทธศาสตร์ด้านอาหารและเกษตรอุตสาหกรรม ที่ชุมชน สามารถนําผลการวิจัยไปปรับปรุงขั้นตอนการผลิตของชุมชนได้ ที่ผ่านมาในอดีตชุมชนไม่มีเทคนิควิธีการที่จะดํารงกระบวนการ ผลิตอาหารที่เป็นธรรมชาติให้คงอยู่กับท้องถิ่นได้ เมื่อมีโครงการวิจัยเชิงพัฒนาลงไปในพื้นที่ นักวิจัยได้นําเสนอแนวทางขั้นตอน การผลิตอาหารปลอดภัยให้กับชุมชนได้นําไปปรับปรุงวิธีการผลิต เช่น โครงการวิจัยการปรับปรุงสุขาภิบาลด้านการผลิตน้ําตาล มะพร้าวในระดับครัวเรือน ในพื้นที่จังหวัดสมุทรสงคราม ซึ่งเป็นแหล่งผลิตน้ําตาลมะพร้าวรายใหญ่ของภูมิภาคนี้ กลุ่มนักวิจัย จากหลายสถาบันได้เข้าไปให้ความรู้จนสามารถผลิตสินค้าของตนเอง สู่ตลาดได้ตามความต้องการของผู้บริโภค ที่ต้องการ อาหารสะอาดปลอดสารพิษปนเปื้อน จากองค์ความรู้ที่ผ่านกระบวนการวิจัยและถ่ายทอดให้ชุมชนเป้าหมาย ได้นําไปประยุกต์ใช้ก่อให้เกิดการพัฒนาบน ฐานความรู้ในชุมชนต่างๆ อันจะนําไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป

4 จุลสารเครือขายวิจัยอุดมศึกษาภาคกลางตอนลาง | ปที่ 7 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มิถุนายน 2555


การบูรณาการเพื่อชุมชน ตามยุทธศาสตร์การวิจัยทั้ง ๕ ด้าน ของเครือข่ายวิจัยอุดมศึกษาภาคกลางตอนล่าง ที่ใช้เป็นกรอบในการวิจัยและ ถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชนฐานรากในช่วงที่ผ่านมา หากสามารถเชื่อมโยงโจทย์วิจัยเข้าด้วยกันในลักษณะทํางานวิจัยเชิงบูรณา การให้มากขึ้น เพื่อให้โครงการวิจัยเหล่านั้นส่งผลต่อการพัฒนาท้องถิ่นในวงกว้างมากขึ้น ก็จะเกิดผลดีกับชุมชนเป็นอย่างมาก รวมทั้งเป็นการรวมบุคลากรจากมหาวิทยาลัยต่างๆที่เป็นสมาชิกเครือข่ายวิจัยอุดมศึกษาภาคกลางตอนล่าง ที่มีศักยภาพในสาขาที่ จะทําวิจัยมาช่วยกันทําโครงการวิจัยที่เป็นรูปธรรม และนําผลการวิจัยกลับไปใช้ในพื้นที่ต่อไป

5 จุลสารเครือขายวิจัยอุดมศึกษาภาคกลางตอนลาง | ปที่ 7 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มิถุนายน 2555


ผลงานวิจัย

การจัดการและการใชประโยชนของวัสดุเหลือทิ้งในกระบวนการแปรรูป มะพราวขาวในอําเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรขี นั ธ Management and utilization of waste from white flesh coconut processing in Thap Sakae district, Prachuap Khirikhan province ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ ดร.สุดารัตน์ ตรีเพชรกุล ผูอ้ าํ นวยการแผนงานวิจยั กลุม่ วิจยั การจัดการทรัพยากรฐานชุมชน สถาบันพัฒนาและฝึกอบรมโรงงานต้นแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุร ี วิทยาเขตบางขุนเทียน

บทคัดย่อ จากวิถีตลาดมะพร้าวที่มีทั้งการจําหน่ายมะพร้าว ผลทั้ ง ลู ก การผลิ ตน้ํ า มั น มะพร้ า ว และการแปรรู ป ต่ า งๆ พบว่า สัดส่วนของการแปรรูปมะพร้าวขาวมีมากที่สุดคือ ร้อยละ 36 ของปริมาณมะพร้าวทั้งหมดของจังหวัด ประจวบคีรีขันธ์ ผู้ประกอบการมะพร้าวขาวประสบปัญหา หลัก 2 ด้าน คือการควบคุมคุณภาพเนื้อมะพร้าวขาวให้ได้ มาตรฐาน และการจัดการวัสดุเหลือทิ้งจากกระบวนการ แปรรูปมะพร้าวขาว การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ(1) ประยุ ก ต์ ใ ช้ เ ทคโนโลยี ส ะอาดในกระบวนการแปรรู ป มะพร้ า วขาวเพื่ อ ลดการสู ญ เสี ย ของผลผลิ ต ลดการ ปลดปล่อยของเสีย และ (2) การใช้ประโยชน์ของวัสดุเหลือ ทิ้งจากการแปรรูปมะพร้าวขาว เพื่อการทําเครื่องดื่มเพื่อ สุขภาพจากน้ํามะพร้าวแก่ และปุ๋ยน้ําสกัดจากปุ๋ยหมักขุย มะพร้าว จากการประยุกต์ ใช้ เทคโนโลยี สะอาด (Cleaner Technology) ในโรงงานแปรรูปมะพร้าวขาวระดับชุมชน (ก) และ ระดับอุตสาหกรรม(ข) กําลังการผลิต 10 ตันต่อวัน พบว่าของเหลือทิ้งหลักประเภทของแข็ งได้แก่ เปลื อกและ กะลาประมาณ 6.3 และ 5.14 ตันต่อ10 ตันมะพร้าวขาว ตามลําดับและของเหลว ได้แก่ น้ําทิ้งประมาณ 45,120 และ 32,990 ลิตรต่อ 10 ตันมะพร้าวขาว และน้ําทิ้งปนเปื้อน คลอรีนประมาณ 12,880 และ 2,010 ลิตรต่อ 10 ตันมะพร้าว ขาว สําหรับโรงงาน ก และ ข ตามลําดับ ข้อเสนอแนะการ จัดทําเทคโนโลยีสะอาด คือ (1) การจัดลําดับการใช้วัตถุดิบ โดยระบบ “First in – First out” สามารถลดการเกิดเนื้อ

มะพร้ า วเสี ย ซึ่ ง เกิ ด จากระบบการจั ด เก็ บ วั ต ถุ ดิ บ ที่ ไ ม่ เหมาะสม (2) การแช่เนื้อมะพร้าวขาวในสภาพที่น้ําท่วมเนื้อ มะพร้ า วขาว สามารถลดปริ มาณการเกิ ดสี เ หลื อ งในเนื้ อ มะพร้าวขาว (3) การลดปริมาณการใช้คลอรีนในขั้นตอนการ ล้างเนื้อมะพร้าวขาวด้วยน้ําผสมคลอรีนลงประมาณร้อยละ 20 ของปริมาณที่ใช้เดิม (4) การใช้หัวฉีดน้ําแรงดันสูงแทน สายยางฉีดน้ําในขั้นตอนการล้างทําความสะอาดเครื่องจักร และพื้นโรงงาน ในกระบวนการแปรรูปมะพร้าวขาวมีน้ํามะพร้าว แก่เหลือทิ้งประมาณ 4,200-6,860 ลิตร ต่อ10 ตันมะพร้าว ขาว การศึกษานี้จึงได้นําน้ํามะพร้าวแก่มาใช้ประโยชน์และ เพิ่มมูลค่าด้วยการพัฒนาการผลิตเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพจาก น้ํามะพร้าว จากการคัดเลือกหัวเชื้อจุลินทรีย์เพื่อใช้ในการ ผลิตเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ 4 ชนิด ได้แก่ L. acidophilus, L. casei, L. delbrueckii และหัวเชื้อจากนมเปรี้ยวพร้อม ดื่ม พบว่า L. acidophilus และ L. casei มีการเจริญและ การอยู่รอดสูงกว่า L. delbrueckii อย่างมีนัยสําคัญทาง สถิติ (p<0.05) การศึกษานี้สนใจเพิ่มคุณภาพของปุ๋ย หมักขุยมะพร้าวในด้านการป้องกันโรคพืช โดยการนําไปทํา ปุ๋ยน้ําสกัดแบบให้อากาศ ผลการศึกษาพบว่า การนําปุ๋ย หมักขุยมะพร้าวหมักร่วมกับกากน้ําตาล ที่ระยะเวลา 1248 ชั่วโมง ช่วยเพิ่มปริมาณแบคทีเรียทั้งหมด แลคติคแอซิค แบคที เ รี ย รา และแอคติ โ นมั ย ซี ส และช่ ว ยเพิ่ ม ปริ ม าณ กรดอินทรีย์ในปุ๋ยน้ําสกัด ปุ๋ยน้ําสกัดที่ 24 ชั่วโมง มี ประสิ ท ธิ ภ าพการยั บ ยั้ ง การเจริ ญ ของเส้ น ใยเชื้ อ รา Colletotrichum capsici และ C. gloeosporioides

6 จุลสารเครือขายวิจัยอุดมศึกษาภาคกลางตอนลาง | ปที่ 7 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มิถุนายน 2555


ซึ่งวัดในรูปขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของ clear zone เมื่อ เปรี ย บเที ย บกั บ ชุ ด ทดลองที่ใ ช้ น้ํ า กลั่ น ประมาณร้ อ ยละ 345 และ 343 ตามลําดับ กล่าวโดยสรุปการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสะอาดใน การจัดการกระบวนการแปรรูปมะพร้าวขาว สามารถช่วย ลดการสูญเสียของผลผลิต การใช้ทรัพยากรที่ไม่คุ้มค่า การ ลดการปลดปล่อยของเสียออกจากกระบวนการ รวมทั้งการ แก้ปัญหาคุณภาพของเนื้อมะพร้าวขาว นอกจากนี้ของเหลือ ใช้ในกระบวนการผลิต ได้แก่ น้ํามะพร้าวแก่มีศักยภาพใน การนํ า มาผลิ ต เป็ น ผลิ ต ภั ณ ฑ์ เ ครื่ อ งดื่ ม เพื่ อ สุ ข ภาพ แต่ จําเป็นต้องมีการศึกษาวิจัยหาสภาวะที่เหมาะสมสําหรับการ ผลิ ต ในเชิ ง การค้ า ต่ อ ไป ส่ ว นการผลิ ต ปุ๋ ย น้ํ า สกั ด จากปุ๋ ย หมักขุยมะพร้าวนับได้ว่าเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการพัฒนา ผลิตภัณฑ์ชีวินทรีย์ อย่างไรก็ตามควรได้มีการทดสอบการ ใช้กับพืชในระดับภาคสนามต่อไป คําสําคัญ: กระบวนการแปรรูปมะพร้าวขาว/เทคโนโลยี สะอาด (CT) /น้ํามะพร้าวแก่/ขุยมะพร้าว/ เครื่องดื่มเพื่อ สุขภาพ /ปุ๋ยน้ําสกัด Abstract Studies on coconut market chain including whole coconut sale, virgin coconut oil production and others indicated that the white flesh coconut processing accounts for 36% of total coconut produced in Prachuap Khirikhan province. White flesh coconut manufacturers encountered 2 mains problems which are quality control of coconut white produced and management of byproduct derived from the manufacturing process. Objectives of this study are i) to reduce yield losses and amount of waste discharged in the white flesh coconut production process by applying cleaner technology (CT) concepts and ii) to utilize by-product from the process to produce health drink and compost tea from mature coconut water and coir pith compost, respectively. Preliminary study showed that for white flesh coconut manufacturing process of two producers, community (A) and industrial (B) scale, with the production capacity of 10 tons per day, the principal solid by-product are coconut peel and coconut shell, approximately 6.3 and 5.14

tons a day whereas the major liquid by-product is wastewater, 45,120 and 32,990 liters, and chlorine contaminated wastewater, e.g., 12,880 and 2,010 liters, for the community and industrial scale factories, respectively. Results on CT implementation suggested that (i) an application of the “first in-first out” concept to raw material management led to a reduction of coconut losses, (ii) complete submersion of the white flesh coconut resulted in a decrease in yellowing of white flesh coconut, (iii) Reduction of chlorine employed in the white flesh coconut cleaning process by approximately 20% of the amount originally used and (iv) utilization of high pressure water nozzle instead of hose nozzle for cleaning the machines and factory floor lowered water consumption. Large amount of mature coconut water produced approximately 4,200-6860 liters daily was utilized as raw material for producing health drink. Results indicated that among 4 inocula adopted, namely, L. acidophilus, L. casei, L. delbreueckii and ready-made drinking yogurt, L. acidophilus and L. casei yielded better growth as well as higher survivability than those obtained with L. delbreueckii statistically significant (p<0.05). Additionally, this study aimed at improving the anti-plant pathogenic quality of coir pith compost by producing coir pith compost tea. Result revealed that fermentation of coir pith compost together with molsses for 12-48 hours enhanced the total counts of total bacteria, lactic acid bacteria, mold and actinomycetes and led to an increase in the concentration of organic acids present in the achieved compost. At 24 hours post fermentation, compost tea prepared yielded higher inhibitory activity expressed as inhibitory zone against Colletotrichum capsici and C. gloeosporioides than that obtained with control, approximately 345 and 343 %, respectively. In conclusion, CT implementation on white flesh coconut manufacturing process led to

7 จุลสารเครือขายวิจัยอุดมศึกษาภาคกลางตอนลาง | ปที่ 7 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มิถุนายน 2555


reduction of (i) product yield losses, (ii) uneconomical resource utilization and (iii) amount of waste discharged from the process as well as alleviating the yellowing of white flesh coconut. In addition, this study proposed to add value to the both mature coconut water and coir pith compost by producing health drink and coir pith compost tea. However, in order for both products to be commercially realized, further studies on optimization and filed trial must be conducted. Keywords: White Flesh Coconut Manufacturing Process/Cleaner Technology (CT)/ Mature coconut juice/Coir pith/ Health drink/Compost tea บทนํา จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นแหล่งผลิตมะพร้าวใหญ่ ที่สุดของประเทศไทย ประมาณ 0.53 ล้านตันต่อปี หรือ ร้อย ละ 35 ของผลผลิตมะพร้าวทั้งประเทศ แหล่งผลิตมะพร้าว และผู้ ป ระกอบการแปรรู ป มะพร้ า วขาวส่ ว นใหญ่ อยู่ ใ น อําเภอทับสะแก จ.ประจวบคีรีขันธ์ โดยมีปริมาณผลผลิต มะพร้าวประมาณ 0.21 ล้านตันต่อปี หรือคิดเป็นร้อยละ 40 ของปริมาณมะพร้าวทั้ งจั งหวัดประจวบคีรีขันธ์ [สํานักงานเกษตรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์, 2551] จากวิถี ตลาดมะพร้ า วของจั ง หวั ด ประจวบคี รี ขั น ธ์ ซึ่ ง มี ทั้ ง การ จําหน่ายมะพร้าวผลทั้งลูกในจังหวัด และต่างจังหวัด การ ผลิตน้ํามันมะพร้าว และการแปรรูปต่างๆ พบว่า สัดส่วน ของการแปรรูปมะพร้าวขาวมีมากที่สุด ร้อยละ 36 ของ ปริมาณมะพร้าวทั้งหมดของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ [ทศพร ทองเที่ยง, 2548] จากศักยภาพด้านการแปรรูปมะพร้าวขาวในพื้นที่ อําเภอทับสะแก จังหวั ดประจวบคี รี ขั นธ์ คณะวิจัยได้ล ง พื้นที่เพื่อสํารวจข้อมูลเบื้องต้นร่วมกับผู้ประกอบการแปรรูป มะพร้า วขาว พบว่ า ผู้ ป ระกอบการมะพร้ า วขาวประสบ ปัญหา 2 ด้านหลัก คือ ความไม่สม่ําเสมอของคุณภาพของ มะพร้าวขาว เมื่อขนส่งถึงผู้รับซื้อจึงถูกกดราคาหรือไม่รับ ซื้ อ ผลผลิ ต ก่ อ ให้ เ กิ ด ความเสี ย หายต่ อ ผู้ ป ระกอบการ มะพร้าวขาว นอกจากนี้ในกระบวนการผลิตมีวัสดุเหลือทิ้ง ทั้งในรูปของแข็งและของเหลวหลายชนิดเกิดขึ้นและยังไม่มี การนําไปใช้ประโยชน์อย่างเต็มศักยภาพ จึงถูกปล่อยทิ้งใน พื้นที่ก่อให้เกิดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศน์

จากปัญหาดังกล่าว ผู้ประกอบการแปรรูปมะพร้าว ขาวในพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จึงมีความต้องการให้ คณะผู้วิจัยช่วยเรื่องการจัดการกระบวนการแปรรูปมะพร้าว ขาวและการนํ า วั ส ดุ เ หลื อ ทิ้ ง โดยเฉพาะน้ํ า มะพร้ า วแก่ และขุยมะพร้าวจากการแปรรูปมะพร้าวขาวมาใช้ประโยชน์ สําหรับน้ํามะพร้าวแก่อุดมด้วยสารอาหารและวิตามินต่างๆ หลากหลายชนิดนั้น มีรายงานว่าสามารถนํามาใช้เป็นแหล่ง อาหารของจุลินทรีย์ได้ [นพมณี โทปุญญานนท์, 2545; เพ็ญจันทร์ เมฆวิจิตรแสง และคณะ, 2542] ดังนั้นจึงอาจ นํามาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเป็นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ หรือที่เรียกว่า Probiotic ส่วนขุยมะพร้าวแม้จะมีการนํามาใช้ประโยชน์ใน การทําปุ๋ยหมักบ้างแล้ว[พรทิพย์ เฟื่องวรวงค์, 2550] แต่ปุ๋ย หมักมีจุดด้อย คือมีปริมาณของกรดอินทรีย์และฮอร์โมนพืช ค่อนข้างต่ํา และประสิทธิภาพในการยับยั้งการก่อโรคในพืช ยังไม่เป็นที่แน่ชัด การทําปุ๋ยน้ําสกัด (Compost tea) นับได้ ว่ า เป็ น เทคนิ ค ใหม่ ที่ ส ามารถให้ ส ารอาหาร ฮอร์ โ มนพื ช กรดอะมิโน กรดอินทรีย์ รวมไปถึงสารประกอบที่ใช้ไล่แมลง และป้ อ งกั น โรคพื ช ที่ ส ามารถใช้ เ วลาการผลิ ต สั้ น ลง [Souleymane et al., 2009] งานวิจัยนี้จึงสนใจที่จะนําปุ๋ย หมั ก ขุ ย มะพร้ า วมาใช้ เ ป็ น วั ต ถุ ดิ บ ในการทํ า ปุ๋ ย น้ํ า สกั ด (Compost tea) จากเหตุผลดังกล่าวงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษากระบวนการจัดการการแปรรูปมะพร้าวขาวและการ ใช้ประโยชน์ของวัสดุเหลือทิ้งจากการแปรรูปมะพร้าวขาว ได้ แ ก่ ขุ ย มะพร้ า วเพื่ อ การทํ า ปุ๋ ย น้ํ า สกั ด จากปุ๋ ย หมั ก ขุ ย มะพร้าว และการผลิตเครื่องดื่มสุขภาพจากน้ํามะพร้าวแก่ ผลการศึกษานํามาสู่การลดการสูญเสียของผลผลิต และลด การปลดปล่อยของเสียจากกระบวนการแปรรูปมะพร้าวขาว และช่วยเพิ่มมูลค่าของวัสดุเหลือทิ้ง รวมทั้งลดปัญหาด้าน สิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในพื้นที่ วิธีดําเนินการวิจัย 1. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสะอาดในกระบวนการผลิต มะพร้ า วขาวของโรงงานระดั บ ชุ ม ชน (ก) และระดั บ อุตสาหกรรม (ข) กําลังการผลิต 10 ตันมะพร้าวขาว/วัน ตั้งอยู่ที่อําเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ การศึกษา เริ่ม จากจัดทํ า แผนภาพกระบวนการผลิต ประเมิน สารที่ ป้อนเข้าและออกจากระบบทั้งหมด คัดเลือกประเด็นสําคัญ ทางด้านสิ่งแวดล้อม ตรวจประเมินหาสาเหตุของของเสีย และสร้างข้อเสนอสําหรับแก้ไขปัญหา [สถาบันสิ่งแวดล้อม อุตสาหกรรม, 2541]

8 จุลสารเครือขายวิจัยอุดมศึกษาภาคกลางตอนลาง | ปที่ 7 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มิถุนายน 2555


2. การศึกษาการผลิตเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพจากน้ํามะพร้าว แก่ โดยการศึกษาผลของชนิดหัวเชื้อจุลินทรีย์ 4 ชนิดได้แก่ หัวเชื้อจากนมเปรี้ ยวพร้ อมดื่ ม และหัวเชื้อบริสุท ธิ์ Lactobacillus acidophilus, Lactobacillus casei, Lactobacillus delbrueckii ตามลําดับ ต่อคุณภาพของ ผลิตภัณฑ์ในด้านค่า pH ปริมาณกรดแลคติก [AOAC, 1995] และการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ [Johnson and Case, 1989] 3. การทําปุ๋ยน้ําสกัด (Compost tea) จากปุ๋ยหมักขุย มะพร้ า ว โดยการนํ า ปุ๋ ย หมั ก ขุ ย มะพร้ า วมาหมั ก ร่ ว มกั บ กากน้ําตาลร้อยละ 10 ใช้เวลาหมักอย่างน้อย 24 ชั่วโมง ทํา การตรวจวัดคุณภาพปุ๋ยน้ําสกัด [AOAC, 1995] และ ความสามารถในการยับยั้งจุลินทรีย์ก่อโรคในพืชได้แก่ เชื้อ รากลุ่ม Colletotrichum capsici และ Colletotrichum gloeosporioides [Parente et al., 1995]

ผลการวิจัย 1. การตรวจประเมินกระบวนการผลิตมะพร้าวขาว โดยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสะอาด รูปที่ 1 ก และ ข แสดงกระบวนการผลิตมะพร้าว ขาวของโรงงานผลิ ตมะพร้าวขาวระดับชุมชน (โรงงาน ก) และระดับอุตสาหกรรม (โรงงาน ข) ตามลําดับ โดยขั้นตอนที่ แตกต่างกันของทั้ง 2 โรงงานคือ วัตถุดิบที่ใช้เริ่มต้น ขั้นตอน การล้างทําความสะอาด และการแช่น้ําผสมคลอรีน ทั้งนี้ สัดส่วนค่าใช้จ่ายในกระบวนการผลิตมะพร้าวขาว ได้แ ก่ วัตถุดิบ สารเคมี ไฟฟ้า และน้ํา สําหรับโรงงาน ก คิดเป็น ร้อย 99.65, 0.13, 0.01, และ 0.21 ตามลําดับ ส่วน โรงงาน ข คิดเป็นร้อยละ 99.60, 0.02, 0.16 และ 0.22 ตามลําดับ ดังนั้นในกระบวนการผลิตมะพร้าวขาวทั้ง 2 โรงงานจึงต้องให้ความสําคัญกับการจัดการวัตถุดิบและลด การสูญเสียในกระบวนการผลิตเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์สูงสุด

(ก)

(ข)

รูปที่ 1 แผนผังกระบวนการผลิตมะพร้าวขาว (ก) โรงงาน ก (ระดับชุมชน) และ (ข) โรงงาน ข (ระดับอุตสาหกรรม)

ในการตรวจประเมินเบื้องต้น เพื่อวิเคราะห์ประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อมของกระบวนการผลิตมะพร้าวขาวทั้ง 2 โรงงาน พบว่า ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่สําคัญของทั้ง 2 โรงงาน คือ ปริมาณน้ําทิ้งจากขั้นตอนการล้าง (ประมาณ 32,990 – 45,120 ลิตร/10 ตันมะพร้าวขาว และน้ําทิ้งผสมคลอรีน (ประมาณ 2,010 – 12,880 ลิตร/ 10 ตันมะพร้าว) ปริมาณน้ําใช้ (น้ําดี) (ประมาณ 35,000 – 58,000 ลิตร/ 1 ตันมะพร้าวขาว) ปริมาณการเน่าเสียของมะพร้าว (0.24 – 0.27 ตัน/ 10 ตันมะพร้าวขาว) มะพร้าว ขาวสีเหลือง/เขียว ( 0.03 – 0.05 ตัน/ 10 ตันมะพร้าวขาว) (รูปที่ 2) และวัสดุเหลือทิ้ง (เปลือกมะพร้าว กะลามะพร้าว ผิวดํา และน้ํามะพร้าว ประมาณ 6.3 ตัน, 3.15-5.14 ตัน และ 4,200-6,860 ลิตร) ตามลําดับ 9 จุลสารเครือขายวิจัยอุดมศึกษาภาคกลางตอนลาง | ปที่ 7 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มิถุนายน 2555


(ข)

(ก)

รูปที่ 2 ลักษณะการเสียหายจากการเน่าเสียของมะพร้าวที่ใช้เป็นวัตถุดิบ (ก) และการเกิดสีเหลืองของเนื้อมะพร้าวขาว (ข)

จากการตรวจประเมินละเอียดสามารถนําข้อมูลมาใช้ในการจัดทําข้อเสนอ CT 4 ส่วนหลักคือ การจัดการวัตถุดิบที่เน้น ระบบ First in – First out การปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิต การจัดการการผลิตให้มีประสิทธิภาพ และการนําของ เหลือทิ้งไปใช้ประโยชน์ รายละเอียดดังตารางที่ 1 สําหรับผลตอบแทนทางการเงิน ตลอดจนผลการลดของเสียที่คาดว่าจะได้รับ จากการปรับปรุง พบว่า การจัดการวัตถุดิบ ระบบ “First in – First out” สามารถลดมะพร้าวเสีย 200-400 กก./10 ตันของ มะพร้าวขาว ส่วนการแช่เนื้อมะพร้าวขาวในน้ําที่ท่วมถึง ช่วยลดมะพร้าวขาวมีสีเหลืองหรือเขียวคล้ําลง 30-50 กก./10 ตันของ มะพร้าวขาว การล้างเนื้อมะพร้าวขาวในน้ําผสมคลอรีนที่ลดปริมาณการใช้คลอรีนลงร้อยละ 20 ช่วยลดปริมาณคลอรีนลง 16 กก./10 ตันของมะพร้าวขาว และการใช้หัวฉีดน้ําแรงดันสูงแทนสายยางฉีดน้ํา สามารถลดปริมาณน้ําใช้ลงประมาณ 30,000 ลิตร/10 ตันของมะพร้าวขาว หรือร้อยละ 95 ของปริมาณน้ําใช้ทั้งหมด ตารางที่ 1 ข้อเสนอการจัดทําเทคโนโลยีสะอาดในกระบวนการผลิตมะพร้าวขาวของโรงงาน ก และ ข ข้อเสนอ การจัดทําเทคโนโลยีสะอาด 1. การจัดการวัตถุดิบ 2. การปรับเปลี่ยนเทคโนโลยี

3. วิธีการผลิต/การจัดการ

โรงงาน ก (ระดับชุมชน)

โรงงาน ข (ระดับอุตสาหกรรม)

• การจัดการและการจัดลําดับการรับซื้อวัตถุดิบ โดย ระบบ “First in – First out” • การปรับลดความเร็วรอบของการหมุนของเครื่อง ล้างมะพร้าวขาว • การติดตั้งวาล์วควบคุมปริมาณน้ําในบ่อสําหรับแช่ มะพร้าวขาว • การลดปริ ม าณการใช้ โ ซเดี ย มไฮโปคลอไรด์ (NaOCl) ในขั้นตอนการแช่หรือล้างเนื้อมะพร้าว ขาวในน้ําผสมคลอรีน • การแช่เนื้อมะพร้าวขาว โดยแช่ในน้ําไม่เกิน 1 ชม. และแช่ให้น้ําท่วมเนื้อมะพร้าวขาว • การแยกท่อน้ําทิ้งระหว่างขั้นตอนการล้างทําความ สะอาดเครื่องมือ/พื้น กับขั้นตอนการล้างทําความ สะอาดมะพร้าวขาว และขั้นตอนการแช่หรือล้า ง เนื้อมะพร้าวขาวในน้ําผสมคลอรีน

• การใช้หัวฉีดน้ําแรงดันสูงแทนสายยาง • การลดปริ ม าณการใช้ โ ซเดี ย มไฮโปคลอไรด์ (NaOCl) ในขั้นตอนการแช่หรือล้างเนื้อ มะพร้าวขาวในน้ําผสมคลอรีน • การแช่เนื้อมะพร้าวขาว โดยแช่ในน้ําไม่เกิน 1 ชม. และแช่ให้น้ําท่วมเนื้อมะพร้าวขาว • การแยกท่อน้ําทิ้งระหว่างขั้นตอนการล้างทํา ความสะอาดเครื่องมือ/พื้น กับขั้นตอนการล้าง ทําความสะอาดมะพร้าวขาว และขั้นตอนการ แช่หรือล้างเนื้อมะพร้าวขาวในน้ําผสมคลอรีน

• การติ ดตั้ งบ่ อดั กตะกอนและไขมั น ของน้ํ า ทิ้ ง จาก • การติดตั้งบ่อดักตะกอนและไขมันของน้ําทิ้งจาก ขั้นตอนการแช่และล้างเนื้อมะพร้าวขาวก่อนปล่อย ขั้นตอนการแช่และล้างเนื้อมะพร้าวขาวก่อน ทิ้งลงบ่อรวม ปล่อยทิ้งลงบ่อรวม 4. การใช้ประโยชน์ในด้านอื่นๆ

• มะพร้าวเสีย และเนื้อมะพร้าวขาวที่มีสีเหลืองหรือสี • มะพร้าวเสีย และเนื้อมะพร้าวขาวที่มีสีเหลือง หรือสีเขียวคล้ํา นําไปผลิตเป็นมะพร้าวแห้ง เขียวคล้ํา นําไปผลิตเป็นมะพร้าวแห้ง

10 จุลสารเครือขายวิจัยอุดมศึกษาภาคกลางตอนลาง | ปที่ 7 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มิถุนายน 2555


2. การผลิตเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพจากน้ํามะพร้าวแก่ สําหรับการนําน้ํามะพร้าวแก่ซึ่งเป็นวัสดุเหลือทิ้งจากการแปรรูปมะพร้าวขาวมาใช้ประโยชน์ในการผลิตเครื่องดื่มเพื่อ สุขภาพ โดยทดลองใช้หัวเชื้อ 4 ชนิดได้แก่ ใช้หัวเชื้อจากนมเปรี้ยวพร้อมดื่ม และหัวเชื้อบริสุทธิ์ Lactobacillus acidophilus, Lactobacillus casei, Lactobacillus delbrueckii ตามลําดับ ในการผลิต พบว่า ชุดทดลองที่ใช้ L. casei เป็นหัวเชื้อมี คุณภาพของผลิตภัณฑ์ผ่านเกณฑ์มาตรฐานได้เร็วที่สุด กล่าวคือมีจํานวนจุลินทรีย์สูงที่สุด ในขณะที่ชุดทดลองที่ใช้ L. delbrueckii เป็นหัวเชื้อมีจํานวนจุลินทรีย์ต่ําที่สุด เจริญได้ช้าและมีอัตราการอยู่รอดต่ําที่สุด (ตารางที่ 2) ตารางที่ 2 การเปรียบเทียบคุณภาพของเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพจากน้ํามะพร้าวแก่ที่ใช้หัวเชื้อจุลินทรีย์ต่างชนิดกันกับมาตรฐาน Time Viable cell count pH Acidity (% as lactic acid) survival rate (%) (hr.) (Log cfu/mL) Dringking Yoghurt 48 8.56±0.23c 3.77±0.01c 0.33±0.00c 95.4a L. acidophilus 18 8.90±0.06b 3.88±0.04b 0.41±0.01a 89.4b L. casei 12 9.16±0.03a 3.90±0.03b 0.37±0.01b 94.4a L. delbrueckii 24 7.57±0.06d 4.16±0.03a 0.31±0.02d 0 Standard 7** 4.3* 0.3** หมายเหตุ *มาตรฐานน้ําหมักพืชของสํานักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (2547) **มาตรฐานนมเปรี้ยวของกระทรวงสาธารณสุข (2548) ตัวอักษรภาษาอังกฤษแสดงการเปรียบเทียบค่าทางสถิติของแต่ละพารามิเตอร์ในชุดทดลองที่ต่างกัน Inocula

3. การผลิตปุ๋ยน้ําสกัดจากขุยมะพร้าว

จากการผลิตปุ๋ยน้ําสกัดจากปุ๋ยหมักขุยมะพร้าวร่วมกับกากน้ําตาลแบบให้อากาศ พบว่าการนําปุ๋ยหมักจากขุยมะพร้าว มาหมักต่อช่วยให้ปุ๋ยน้ําสกัดทีไ่ ด้มีปริมาณธาตุอาหาร (N, P, K) จุลินทรียแ์ ละกรดอินทรีย์ชนิดต่าง ๆ เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสําคัญทาง สถิติ (P<0.05) ตารางที่ 3 สมบัติทางกายภาพ เคมี และชีวภาพของปุ๋ยน้ําสกัดจากปุ๋ยหมักขุยมะพร้าว (เปรียบเทียบผลของการ เติมกากน้ําตาล) พารามิเตอร์

ก่อนหมัก

หลังหมัก

8

8

สมบัติทางกายภาพ - เนื้อสัมผัส - สี - กลิ่น ความเป็นกรด-ด่าง ค่าการนําไฟฟ้า (ds/m)

8 4.08±0.01a 0.29±0.00a

ธาตุอาหาร ไนโตรเจน (%N) ฟอสฟอรัส (%P2O5) โพแทสเซียม (%K2O)

0.11±0.01a 0.01±0.00a 0.32±0.01a

0.20±0.02b 0.03±0.00b 0.35±0.00b

จุลินทรีย์ (Log cfu/ml) แบคทีเรียทั้งหมด แบคทีเรียผลิตแลกติก รา แอคติโนไมซิส

5.75±0.03a 4.81±0.06a 5.01±0.03a 5.03±0.03a

6.96±0.03b 6.54±0.04b 6.92±0.08b 6.32±0.02b

น้ําตาลอ่อน

น้ําตาลเข้ม กลิ่นเปรี้ยว/แอลกอฮอล์

4.41±0.01a 0.28±0.00b

11 จุลสารเครือขายวิจัยอุดมศึกษาภาคกลางตอนลาง | ปที่ 7 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มิถุนายน 2555


พารามิเตอร์ กรดอินทรีย์ เอทานอล (mM) กรดอะซิติก (mM) กรดบิวทริริก (mM) กรดโพพิโอนิก (mM)

ก่อนหมัก

หลังหมัก

0.00±0.00a 0.00±0.00a 0.00±0.00a 0.00±0.00a

230.00±0.00b 466.00±16.97b 539.00±11.31b 184.50±0.71b

145.00±0.00 a 142.50±2.89 a

345.00±4.08 b 343.75±2.00 b

ประสิทธิภาพการยับยั้งจุลินทรีย์ก่อโรค (ร้อยละ)*

Colletotrichum capsici Colletotrichum gloeosporioides

หมายเหตุ : 8 ไม่เกิดการเปลี่ยนแปลง * วัดในรูปขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของ clear zone เมื่อเปรียบเทียบกับชุดทดลองที่ใช้น้ํากลั่น ค่าเฉลี่ยที่พิมพ์ด้วยตัวอักษรพิมพ์เล็กเปรียบเทียบค่าทางสถิติของชุดทดลองในแต่ละตัวที่ช่วงเวลาต่างๆกัน

เมื่อทดสอบประสิทธิภาพในการยับยั้งจุลินทรีย์ก่อโรคในพืชได้แก่ เชื้อรากลุ่ม Colletotrichum capsici และ Colletotrichum gloeosporioides ซึ่งเป็นเชื้อราที่ก่อให้เกิดโรคแอนแทรคโนสในผลไม้ [สนธยา พุทธวงศ์ และศศิธร วงศ์เรือง, 2552] และ พืชผักสวนครัว [Than et al., 2008] เป็นต้น ของปุ๋ยน้ําสกัด พบว่า ปุ๋ยน้ําสกัดจากปุ๋ยหมักขุยมะพร้าวที่ผ่านการมี ประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญเส้นใยของเชื้อราก่อโรคในกลุม่ Colletotrichum capsici และ Colletotrichum gloeosporioides ได้สูงถึงร้อยละ 345 และ 343 ตามลําดับ ซึ่งสูงกว่าชุดควบคุมที่ใช้น้ํากลั่นเป็นตัวทดสอบอย่างมีนัยสําคัญ ทางสถิติ (P<0.01) สรุปผลการวิจยั (1) จากการใช้หลักของเทคโนโลยีสะอาด (CT) เพื่อนํามาใช้ปรับปรุงกระบวนการแปรรูปมะพร้าวขาวในโรงงานระดับ ชุมชน (ก) และระดับอุตสาหกรรม (ข) พบว่าปัญหาสิ่งแวดล้อมที่สําคัญของทั้ง 2 โรงงาน คือ (1) น้ําทิ้งมีปริมาณ คลอรีนสูงเกินมาตรฐาน จากขั้นตอนการล้างมะพร้าวขาวด้วยน้ําผสมคลอรีนเพื่อฆ่าเชื้อก่อนเข้าตู้แช่เย็นเพื่อส่งไป ยังโรงงานผลิตกะทิต่อไป (2) ปริมาณการใช้น้ําสูง จากขั้นตอนการล้างมะพร้าวขาวโดยเครื่องล้างที่ปล่อยน้ําทิ้ง ตลอดเวลาของโรงงาน ก และขั้นตอนการล้างทําความสะอาดเครื่องจักรและพื้นโรงงานโดยใช้สายยางฉีดน้ําของ โรงงาน ข (3) เนื้อมะพร้าวขาวส่วนที่ไม่แช่น้ําเกิดสีเหลือง สาเหตุจากการเกิดปฏิกริยาออกซิเดชั่นของเนื้อมะพร้าว ส่วนที่แช่พ้นน้ํา สําหรับโรงาน ข ยังพบปัญหาการเน่าเสียของวัตถุดิบ เนื่องจากการขาดการจัดเก็บวัตถุดิบที่เป็น ระบบข้อเสนอ การจัดทําเทคโนโลยีสะอาดในกระบวนการผลิตมะพร้าวขาวคือ (1) การจัดการวัตถุดิบ ระบบ “First in – First out” และผลตอบแทนทางการเงิน (2) การแช่เนื้อมะพร้าวขาวในน้ําที่ท่วมถึง (3) การแช่เนื้อ มะพร้าวขาวในน้ําที่ท่วมถึง และ(4) การใช้หัวฉีดน้ําแรงดันสูงแทนสายยางฉีดน้ํา (2) การผลิตเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพจากน้ํามะพร้าวแก่ หัวเชื้อที่มีศักยภาพในการนํามาใช้ในการผลิตคือ Lactobacillus acidophilus และ Lactobacillus casei, Lactobacillus delbrueckii ผลิตภัณฑ์ที่ได้มีคุณภาพทั้งในด้าน จํานวนโพรไบโอติกแบคทีเรีย, ความเป็นกรด-ด่างและปริมาณกรดแลคติกตามเกณฑ์มาตรฐานน้ําหมักพืชของ สํานักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (2547) และมาตรฐานนมเปรี้ยวของกระทรวงสาธารณสุข (2548) (3) การทําปุ๋ยน้ําสกัดจากปุ๋ยหมักขุยมะพร้าวแบบให้อากาศ พบว่า ขุยมะพร้าวที่ผ่านการหมักเพื่อเป็นปุ๋ยหมักนั้น สามารถนํามาใช้เป็นวัตถุดิบในการทําปุ๋ยน้ําสกัด ปุ๋ยน้ําสกัดที่ได้นอกจากมีประโยชน์ในเชิงการใช้เป็นธาตุอาหารแก่ พืชแล้ว ยังมีประสิทธิภาพในการยับยั้งจุลินทรีย์ก่อโรคของเชื้อราก่อโรคในกลุ่ม Colletotrichum capsici และ Colletotrichum gloeosporioides

12 จุลสารเครือขายวิจัยอุดมศึกษาภาคกลางตอนลาง | ปที่ 7 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มิถุนายน 2555


ข้อเสนอแนะในการนําผลวิจัยไปใช้ 1. จากการศึกษากระบวนการผลิตมะพร้าวขาวในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์โดยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสะอาด มี ข้อจํากัดในหลายๆด้าน ได้แก่ ความพร้อมของผู้ประกอบการต่อการยอมรับเทคโนโลยีและแนวทางการแก้ไขปรับปรุงตามหลัก CT การยอมรับของคนงานต่อการเปลี่ยนแปลงการปฏิบัติงานที่มีกฎและระเบียบที่เข้มงวดตามหลัก CT งบประมาณการลงทุนใน การปรับปรุงกระบวนการผลิตมะพร้าวขาวตามหลัก CT และข้อจํากัดด้านสถานที่ของโรงงานต่อการปรับปรุงกระบวนการผลิต มะพร้าวขาวตามหลัก CT ดังนั้นเพื่อให้การดําเนินการพัฒนากระบวนการผลิตมะพร้าวขาวร่วมกับผู้ประกอบในพื้นที่อําเภอทับ สะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยใช้หลักของเทคโนโลยีสะอาด (CT) สําเร็จได้ จึงจําเป็นต้องมีการติดตามผลการดําเนินการของ ผู้ประกอบการผลิตมะพร้าวขาวหลังจากการนําข้อเสนอ CT ไปปรับใช้ รวมทั้งการติดตามปัญหา/อุปสรรค ที่เกิดขึ้น เพื่อเป็น ข้อมูลสําหรับการวิจัยและพัฒนากระบวนการผลิตมะพร้าวขาวต่อไป 2. ในการผลิตเครื่องดื่มสุขภาพจากน้ํามะพร้าวแก่ พบว่าวิธีการเตรียมหัวเชื้อเป็นปัจจัยจํากัดต่อระยะเวลาที่ใช้ในการ หมักเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์เข้าสู่มาตรฐานเร็วที่สุด การเตรียมหัวเชื้อโดยการแยกอาหารเลี้ยงเชื้อที่มีการปนเปื้อนออกก่อนนําไปใช้ ส่งผลให้เชื้อ L. acidophilus และ L. casei มีการเจริญเติบโตได้ช้า ควรมีการปรับคุณภาพของวัตถุดิบตั้งต้นคือน้ํามะพร้าวแก่ ให้มีคุณสมบัติที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่ได้คุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน และใช้ระยะเวลา ในการผลิตสั้น ในการศึกษาต่อไปอาจต้องเติมสารอาหารพวกไนโตรเจนหรือใช้น้ําผลไม้ชนิดอื่นที่มีปริมาณไนโตรเจนสูงเพิ่มลงใน น้ํามะพร้าวแก่ก่อนนําไปผลิตเพื่อช่วยเพิ่มสารอาหารที่จําเป็นแก่จุลินทรีย์โพรไบโอติกและช่วยให้ได้กลิ่นและรสชาติที่ดียิ่งขึ้น 3. ปุ๋ ย น้ํ า สกั ด จากปุ๋ ย หมั ก ขุ ย มะพร้ า วมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพในการยั บ ยั้ ง การเจริ ญ เส้ น ใยของเชื้ อ ราก่ อ โรคในกลุ่ ม Colletotrichum capsici และ Colletotrichum gloeosporioides ซึ่งเป็นจุลินทรีย์ก่อโรคแอนแทรคโนสในผักและผลไม้ อย่างไรก็ตามปุ๋ยน้ําสกัดอาจมีความสามารถในการยับยั้งจุลินทรีย์ก่อโรคกลุ่มอื่นๆอีก ดังนั้นจึงควรมีการศึกษาต่อยอดในการ ทดสอบกับจุลินทรีย์ก่อโรคในกลุ่มอื่นอีกต่อไปในอนาคต รวมทั้งควรมีการนําปุ๋ยน้ําสกัดที่ผลิตได้ไปทดสอบสมบัติในการยับยั้ง โรคพืชกับพืชที่มีความสําคัญทางเศรษฐกิจในระดับภาคสนามต่อไป บรรณานุกรม ทศพร ทองเที่ยง นฤมล จียโชค สุเมธ ท่านเจริญ ภาวิณี พัฒนจันทร์ และ ทรงพล คูณศรีสุข. 2548.รายงานฉบับสมบูรณ์ “โครงการศึกษาแนวทาง พัฒนามะพร้าวและผลิตภัณฑ์จากมะพร้าว”.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. 88 หน้า นพมณี โทปุญญานนท์. 2545. การขยายพันธุ์พืชโดยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ. ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้. 162 หน้า. เพ็ญจันทร์ เมฆวิจติ รแสง จินดารัตน์ พิมพ์สมาน และ เลิศฤทธิ์ เลิศวัฒนวัลลี. 2542. จลนพลศาสตร์และการขยายขนาดการผลิต Acetobacter xylinum ในเครื่องปฏิกรณ์ชีวภาพในระบบกะ (Batch) และกึ่งกะ (Fed-batch). ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. สถาบันสิ่งแวดล้อมอุตสาหกรรม. 2541. คู่มือเทคโนโลยีสะอาดสําหรับประชาชน สนับสนุนโดย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย. USAEP. The Asia Foundation. กลุ่มความร่วมมือระหว่างองค์กรพัฒนาเอกชนและกลุ่มอุตสาหกรรมไทยเพื่อสิ่งแวดล้อม (IN GROUP). สนธยา พุทธวงศ์ และ ศศิธร วงศ์เรือง. 2552. สารสกัดจากพลูคาวและสาบเสือที่มีอิทธิพลต่อเชื้อ Colletotrichum capsici และ Fusarium oxysporum. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร 40 (3) (พิเศษ) : 225-228. สํานักงานเกษตรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์. 2551. สถิติการปลูกไม้ผลไม้ยืนต้น. อ้างจาก http://prachuap.doae.go.th/statistics%20plant/statistics%20fruit/fruit%202544.xls ณ วันที่ 22 มีนาคม 2552. Association Office Analytical Chemists International (AOAC), 1995. Official Methods of Analysis, 16th ed. The Association Office Agricultural Chemists, Verginia. Johnson, T.R. and Case, C.L., 1989. Laboratory Experiments in Microbiology. 2nd ed. The Benjamin Cummings Publishing Company. Inc. Califonia, 56-62. Parente, E., Brienza, C., Moles, M. and Ricciardi, A., 1995. “A comparison of methods for the measurement of bacteriocin activity”. Journal of Microbiological Methods 22. 95-108.

13 จุลสารเครือขายวิจัยอุดมศึกษาภาคกลางตอนลาง | ปที่ 7 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มิถุนายน 2555


Souleymane, B.K., Antoine, D., Russell, J.T., Hani, A. and Tyler, J.A., 2009. “Suppressive effect of non-aerated compost teas on foliar fungal pathogens of tomato”. Journal of Biological Control 52. 167–173. Than, P.P., Prihastuti, H., Phoulivong, S., Taylor, P.W.J. and Hyde, K.D., 2008. “Chilli anthracnose disease caused by Colletotrichum species”. Journal of Zhejiang University SCIENCE B 9(10). 764-778.

กิติกรรมประกาศ คณะผู้วิจัยขอขอบคุณผู้ประกอบการและเจ้าหน้าที่ของโรงงานแปรรูปมะพร้าวขาวระดับชุมชน(ก) และระดับอุตสาหกรรม (ข) พื้นที่ อําเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ที่อํานวยความสะดวกในการเข้าสํารวจและเก็บข้อมูลในโรงงาน ขอขอบพระคุณสํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ภายใต้การบริหารของเครือข่ายวิจัยอุดมศึกษาภาคกลางตอนล่าง ที่ได้ จัดสรรทุนอุดหนุนการวิจัย “โครงการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชนฐานราก ประจําปีงบประมาณ 2553”

คณะผู้ร่วมวิจยั ผู้ร่วมวิจัย ตําแหน่ง หน่วยงาน ผู้ร่วมวิจัย ตําแหน่ง หน่วยงาน ผู้ร่วมวิจัย ตําแหน่ง หน่วยงาน ผู้ร่วมวิจัย ตําแหน่ง หน่วยงาน ผู้ร่วมวิจัย ตําแหน่ง หน่วยงาน ผู้ร่วมวิจัย ตําแหน่ง หน่วยงาน

ดร. แสงชัย เอกประทุมชัย อาจารย์ สายวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะทรัพยากรชีวภาพและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี วิทยาเขตบางขุนเทียน ดร. ศิริวรรณ แดงฉ่ํา อาจารย์ สายวิชาเกษตรศาสตร์ คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี นายทรงพล คูณศรีสขุ ผู้ช่วยนักวิจัย กลุ่มวิจัยการจัดการทรัพยากรฐานชุมชน สถาบันพัฒนาและฝึกอบรมโรงงาน ต้นแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี วิทยาเขตบางขุนเทียน นางสาวศศิธร กู้สุวรรณวิจิตร ผู้ช่วยนักวิจัย กลุ่มวิจัยการจัดการทรัพยากรฐานชุมชน สถาบันพัฒนาและฝึกอบรมโรงงาน ต้นแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี วิทยาเขตบางขุนเทียน นางสาวกนกวรรณ พันธุ์ดี ผู้ช่วยนักวิจัย กลุ่มวิจัยการจัดการทรัพยากรฐานชุมชน สถาบันพัฒนาและฝึกอบรมโรงงาน ต้นแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี วิทยาเขตบางขุนเทียน นายธีรวุฒิ ลาภตระกูล ผู้ช่วยนักวิจัย กลุ่มวิจัยการจัดการทรัพยากรฐานชุมชน สถาบันพัฒนาและฝึกอบรมโรงงาน

14 จุลสารเครือขายวิจัยอุดมศึกษาภาคกลางตอนลาง | ปที่ 7 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มิถุนายน 2555


ขาวสารความเคลื่อนไหว ประชุมคณะอนุกรรมการเครือขายวิจยั อุดมศึกษาภาคกลางตอนลาง ครั้งที่ 1/2555 เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2555 ณ หองประชุม 1302 ชัน้ 4 สํานักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยศิลปากร

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อริศร์ เทียนประเสริฐ ประธานคณะอนุกรรมการเครือข่ายวิจัยอุดมศึกษาภาคกลาง ตอนล่าง ผู้อํานวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้ดําเนินการจัดประชุมคณะอนุกรรมการเครือข่าย วิจัยอุดมศึกษาภาคกลางตอนล่าง ครั้งที่ 1/2555 เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2555 ณ ห้องประชุม 1302 ชั้น 4 ตึกสํานักงาน อธิการบดี มหาวิทยาลัยศิลปากร พระราชวังสนามจันทร์ นครปฐม เพื่อพิจารณาการจัดสรรทุนอุดหนุนการวิจัยจากเงิน งบประมาณแผ่นดินปี 2555 และพบปะสังสรรค์เนื่องในวันส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ ผู้เข้าร่วมประชุมรวมทั้งสิ้นจํานวน 30 คน

15 จุลสารเครือขายวิจัยอุดมศึกษาภาคกลางตอนลาง | ปที่ 7 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มิถุนายน 2555


ประชุมคณะอนุกรรมการเครือขายวิจยั อุดมศึกษาภาคกลางตอนลาง ครัง้ ที่ 2/2555 เมือ่ วันที่ 16 มีนาคม 2555 ณ หองประชุมนริศรานุวัดติวงศ สํานักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ตลิ่งชัน

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อริศร์ เทียนประเสริฐ ประธานคณะอนุกรรมการเครือข่ายวิจัยอุดมศึกษาภาคกลางตอนล่าง ผู้อํานวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้ดําเนินการจัดประชุมคณะอนุกรรมการเครือข่ายวิจัย อุดมศึกษาภาคกลางตอนล่าง ครั้งที่ 2/2555 เพื่อพิจารณาโครงการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน ฐานรากปีงบประมาณ 2555 และโครงการสนับสนุนการวิจัยของเครือข่ายวิจัยอุดมศึกษาภาคกลางตอนล่าง และ เรื่องอื่นๆ เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2555 เวลา 09.30-12.00 น. ณ ห้องประชุมนริศรานุวัดติวงศ์ สํานักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ตลิ่งชัน ผู้เข้าร่วมประชุมรวมทั้งสิ้นจํานวน 25 คน

16 จุลสารเครือขายวิจัยอุดมศึกษาภาคกลางตอนลาง | ปที่ 7 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มิถุนายน 2555


โครงการบรรยายพิเศษเรือ่ ง "แนวทางการพัฒนางานวิจัยภายใตกรอบยุทธศาสตร การจัดการดานอาหารของประเทศ"

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อริศร์ เทียนประเสริฐ ประธานคณะอนุกรรมการเครือข่ายวิจัยอุดมศึกษาภาคกลาง ตอนล่าง ผู้อํานวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นประธานเปิดงาน และเป็นผู้ดําเนินรายการ โครงการบรรยายพิเศษเรื่อง "แนวทางพัฒนาการวิจัยภายใต้กรอบยุทธศาสตร์การจัดการด้านอาหารของประเทศไทย" วิทยากรโดย คุณพัชนี อินทรลักษณ์ จากสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา และ เรื่อง "สวก.พบนักวิจัย" วิทยากร โดย รศ.ดร.พีรเดช ทองอําไพ ผู้อํานวยการสํานักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร และ ดร.นงลักษณ์ ปานเกิดดี ทีป่ รึกษา สํานักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2555 เวลา 8.30-12.00 ณ ห้องประชุมชั้น 5 อาคาร หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ผู้เข้าร่วมฟังการบรรยายประกอบด้วย คณาจารย์จากสถาบันอุดมศึกษาในเครือข่ายวิจัย อุดมศึกษาภาคกลางตอนล่าง และผูส้ นใจทั่วไป รวมทั้งสิน้ จํานวน 72 คน

17 จุลสารเครือขายวิจัยอุดมศึกษาภาคกลางตอนลาง | ปที่ 7 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มิถุนายน 2555


การประชุมวิชาการระดับชาติ เครือขายวิจัยสถาบันอุดมศึกษาประจําป 2555 "ชุมชนเขมแข็ง สังคมนาอยู เศรษฐกิจยั่งยืน ตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง"

เครือข่ายบริหารการวิจัยภาคเหนือตอนบน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้ดําเนินการจัดการประชุมวิชาการระดับชาติ เครือข่ายวิจัยสถาบันอุดมศึกษาประจําปี 2555 "ชุมชนเข้มแข็ง สังคมน่าอยู่ เศรษฐกิจยั่งยืน ตามแนวทางปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง" ระหว่างวันที่ 16-18 พฤษภาคม 2555 ณ ศูนย์ประชุมนานาชาติ โรงแรมดิเอ็มเพรส จ.เชียงใหม่ ในครั้งนี้ เครือข่ายวิจัยอุดมศึกษาภาคกลางตอนล่างได้เข้าร่วมนําเสนอผลงานวิจัย จํานวน 7 เรื่อง 1.เรื่อง “การพัฒนาหลักสูตรดนตรีจีนชุมชนบางหลวง” โดย วรชิน มั่งคั่ง มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม 2.เรื่อง “การจัดการความรู้เพื่อสร้างสรรค์คุณค่าผ้าจกราชบุรี” โดย เสรี เพิ่มชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง อัญชลี จันทาโภ มหาวิทยาลัยสยาม วราภรณ์ ลิ้มเปรมวัฒนา มหาวิทยาลัยสยาม และ พฤกษ์ จิรสัตยาภรณ์ มหาวิทยาลัย กรุงเทพธนบุรี 3.เรื่อง “หอยพิมกับวิถีชีวิตชุมชน : กรณีศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นในการใช้ประโยชน์จากหอยพิมในเขตพื้นที่จังหวัด สมุทรสาคร” โดย พิเชษฐ รุ้งลาวัลย์ วิทยาลัยแสงธรรม สุจิตตรา จันทร์ลอย มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง และ ประภัสสร ตอพล วิทยาลัยชุมชนสมุทรสาคร 4.เรื่อง “การพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์เครื่องใช้และของตกแต่งบ้านจากวัสดุต้นธูปฤาษีและก้านตาลของกลุ่มอาชีพ จักสาน จังหวัดเพชรบุรี” โดย วิมลวรรณ ศตะกูรมะ และสุขสันต์ พ่วงกลัด มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ 5.เรื่อง “การสื่อสารเชิงวัฒนธรรมภูมิปัญญาดนตรีจีนชุมชนบางหลวงในรูปแบบมัคคุเทศก์ท้องถิ่นและเรขศิลป์” โดย ปิยะวรรณ ปิ่นแก้ว ปิยนาถ อิ่มดี และ นงนุช ยังรอด มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม 18 จุลสารเครือขายวิจัยอุดมศึกษาภาคกลางตอนลาง | ปที่ 7 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มิถุนายน 2555


โครงการประชุมวิชาการและเสนอผลงานวิจยั และสร้างสรรค์ระดับชาติและนานาชาติ “ศิลปากรวิจัยและสร้างสรรค์ ครั้งที่ 6 : บูรณาการศาสตร์และศิลป์” 16-18 มกราคม 2556 ณ ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ นครปฐม ด้วยสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากรร่วมกับเครือข่ายวิจัยอุดมศึกษาภาคกลางตอนล่าง สํานักงานคณะกรรมการ การอุดมศึกษา (สกอ.) ได้กําหนดจัดโครงการประชุมวิชาการและเสนอผลงานวิจัยและสร้างสรรค์ระดับชาติและนานาชาติ “ศิลปากร วิจัยและสร้างสรรค์ ครั้งที่ 6 : บูรณาการศาสตร์และศิลป์” ระหว่างวันที่ 16-18 มกราคม 2556 ณ ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมเฉลิม พระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา มหาวิทยาลัยศิลปากร พระราชวังสนามจันทร์ นครปฐม ผลงานวิจัยและสร้างสรรค์ ประกอบด้วย - ผลงานวิจัย : ด้านวิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปะ - ผลงานสร้างสรรค์ : การออกแบบทุกสาขา ทัศนศิลป์ สถาปัตยกรรม ดนตรี การแสดง ภาพยนตร์ อนิเมชั่น และซอฟท์แวร์ อัตราค่าลงทะเบียน - ลงทะเบียนล่วงหน้าภายในกําหนดเวลา • ผู้เสนอผลงานวิจัยและสร้างสรรค์ (ตั้งแต่วันที่ 1-15 ตุลาคม 2555 เท่านั้น) - บุคคลทั่วไป 1,500 บาท/เรื่อง - นักศึกษา 700 บาท/เรื่อง (แนบสําเนาบัตรนักศึกษา) - ชาวต่างชาติที่มิได้พํานักในประเทศไทย 50 US$/เรื่อง • ผู้สนใจเข้าร่วมประชุม (ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม - 15 พฤศจิกายน 2555) - บุคคลทั่วไป 1,500 บาท - นักศึกษา 700 บาท (แนบสําเนาบัตรนักศึกษา) - ชาวต่างชาติที่มิได้พํานักในประเทศไทย 50 US$ - ลงทะเบียนล่าช้าสําหรับผู้สนใจเข้าร่วมประชุม (ตั้งแต่วันที่ 16 พฤศจิกายน 2555 เป็นต้นไป) - ผู้สนใจทั่วไป 2,500 บาท - นักศึกษา 1,000 บาท (แนบสําเนาบัตรนักศึกษา) - ชาวต่างชาติที่มิได้พํานักในประเทศไทย 80 US$ วิธีการชําระเงินมี 2 วิธี - ชําระด้วยตนเองที่ คุณสยุมพร ตามแนวธรรม สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร พระราชวังสนามจันทร์ นครปฐม 73000 - โอนเงินเข้าบัญชี เลขที่ 537-2-04286-0 ชื่อบัญชี สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร ประเภทบัญชีออมทรัพย์ ธนาคารทหารไทย จํากัด (มหาชน) สาขา ม.ศิลปากร-พระราชวังสนามจันทร์ (เมื่อโอนเงินเข้าบัญชีแล้ว กรุณา Scan ใบโอนเงินพร้อมแบบฟอร์มการชําระเงินค่าลงทะเบียน ถึง คุณสยุมพร ตามแนวธรรม ได้ท่ี e-mail : paysment_surf@hotmail.com เพื่อเป็นหลักฐานประกอบการออกใบเสร็จรับเงิน * กรุณารับใบเสร็จรับเงิน ณ จุดลงทะเบียนในวันงาน)

19 จุลสารเครือขายวิจัยอุดมศึกษาภาคกลางตอนลาง | ปที่ 7 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มิถุนายน 2555



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.