v32-n.2-2012

Page 1

»‚·Õè 32 ©ºÑº·Õè 2 ¡Ã¡¯Ò¤Á - ¸Ñ¹ÇÒ¤Á ¾.È. 2555 Volume 32 Number 2, July - December 2012

“การพัฒนาประเทศจำเปนตองทำตามลำดับขั้น ตองสรางพื้นฐาน คือ ความพอมีพอกิน พอใชของประชาชน สวนใหญเปนเบื้องตนกอน โดยใชวิธีการและใชอุปกรณที่ ประหยัด แตถูกตองตามหลักวิชาเมื่อไดพื้นฐานมั่นคงพรอม พอควร และปฏิบัติไดแลวจึงคอยสรางคอยเสริมความเจริญ และฐานะเศรษฐกิจขั้นที่สูงขึ้นโดยลำดับตอไป หากมุงแตจะ ทุมเทสรางความเจริญ ยกเศรษฐกิจขึ้นใหรวดเร็วแตประการ เดียว โดยไมใหแผนปฏิบัติการสัมพันธกับสภาวะของประเทศ และของประชาชนโดยสอดคลองดวย ก็จะเกิดความไมสมดุล ในเรื่องตางๆ ขึ้น ซึ่งอาจกลายเปนความยุงยากลมเหลวได ในที่สุด” พระบรมราโชวาท พระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัว 2517 6 คุณลักษณะภาวะผูนำที่มีผลตอการพัฒนาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง นคเรศ ณ พัทลุง และยุวัฒน วุฒิเมธี


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย สาขาสังคมศาสตร มนุษยศาสตร และศิลปะ ปที่ 32 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม​-ธันวาคม พ.ศ. 2555) SILPAKORN UNIVERSITY JOURNAL Volume 32 Number 2 (July-December 2012) ISSN 0857-5428 หนวยงานที่รับผิดชอบ

สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร อ.เมือง จ.นครปฐม 73000

วัตถุประสงค 1. เพือ่ เผยแพรผลงานทางวิชาการสาขาสังคมศาสตร มนุษยศาสตร และศิลปะ ของนักวิชาการทัง้

ภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย 2. เปนสื่อกลางการแลกเปลี่ยนเรียนรูทางวิชาการในสาขาสังคมศาสตร มนุษยศาสตร และศิลปะ 3. สงเสริมใหนักวิชาการและผูสนใจไดนำ�เสนอผลงานวิชาการในรูปบทความวารสาร

ที่ปรึกษา

ศาสตราจารยเกียรติคุณ ดร. เจตนา นาควัชระ ศูนยมานุษยวิทยาสิรินธร ศาสตราจารย ดร. สันติ เล็กสุขุม ภาควิชาประวัติศาสตรศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ศาสตราจารย ดร. กุสุมา รักษมณี ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ผูชวยศาสตราจารย ดร. อริศร เทียนประเสริฐ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร

บรรณาธิการ รองศาสตราจารยระเบียบ สุภวิรี

ภาควิชาบรรณารักษศาสตร คณะอักษรศาสตร มหาวิทยาลัยศิลปากร ทุกบทความ​ไดรับการตรวจความถูกตองทางวิชาการโดยผูทรงคุณวุฒิ​

วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย สาขาสังคมศาสตร มนุษยศาสตร และศิลปะ ผานการรับรองคุณภาพของศูนยดัชนีการอางอิงวารสารไทย (TCI) และอยูในฐานขอมูล TCI และจะถูกคัดเลือกเขาสูฐานขอมูล ASEAN Citation Index (ACI)


กองบรรณาธิการ

ศาสตราจารยปรีชา เถาทอง ภาควิชาศิลปไทย คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ มหาวิทยาลัยศิลปากร ศาสตราจารย ดร. สุวิไล เปรมศรีรัตน สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเซีย มหาวิทยาลัยมหิดล รองศาสตราจารยพิษณุ ศุภนิมิตร ภาควิชาภาพพิมพ คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ มหาวิทยาลัยศิลปากร รองศาสตราจารย สุวัฒนา เลี่ยมประวัติ ภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร มหาวิทยาลัยศิลปากร ผูชวยศาสตราจารย ดร. มาเรียม นิลพันธุ ภาควิชาหลักสูตรและวิธีการสอน คณะศึกษาศาสตร มหาวิทยาลัยศิลปากร ผูชวยศาสตราจารย ดร. บูลยจีรา ชิรเวทย ภาควิชาภาษาอังกฤษ คณะอักษรศาสตร มหาวิทยาลัยศิลปากร

บรรณาธิการบริหารวารสาร

นางปรานี วิชานศวกุล

กำ�หนดออก ปละ 2 ฉบับ (มกราคม-มิถุนายน และ กรกฎาคม-ธันวาคม) จำ�นวนพิมพ 300 เลม ราคาจำ�หนาย เลมละ 120 บาท สอบถามขอมูลเพิ่มเติมไดที่

พิมพที่

รศ.ระเบียบ สุภวิรี บรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย สาขาสังคมศาสตร มนุษยศาสตร และศิลปะ คณะอักษรศาสตร มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร อ.เมือง จ.นครปฐม 73000 E-mail: dawgrabiab107@gmail.com หรือ คุณปรานี วิชานศวกุล บรรณาธิการบริหารวารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร 44/114 หมูบานเลิศอุบล ซอยพหลโยธิน 52 ถนนพหลโยธิน แขวงคลองถนน เขตสายไหม กรุงเทพฯ 10220 E-mail: pranee_aon1@hotmail.com Web site: http://www.journal.su.ac.th หรือ http://www.surdi.su.ac.th โรงพิมพมหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร อ.เมือง จ.นครปฐม 73000 โทรศัพท 034 – 255814


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย สาขาสังคมศาสตร มนุษยศาสตร และศิลปะ ปที่ 32 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม พ.ศ. 2555

สารบัญ บทบรรณาธิการ​

5

บทความประจำาฉบับ นิกายพุทธศาสนาในลานนา​ระหวางรัชสมัยพระเจาติโลกราชถึงพญาแกว​ (พ.ศ.​1984-2068)​:​ศึกษาจากพระพุทธรูปสัมฤทธิ์ที่มีจารึกในจังหวัดเชียงใหม​ ม.ล. สุรสวัสดิ์ ศุขสวัสดิ์

​7

ความเขาใจของชาวตางชาติที่มีตอผลิตภัณฑลวดลายไทย​ ​ สุภัทรา ลูกรักษ

​27

การสรางสรรคผลงานจากวัสดุกระดาษทำามือ​ เจะอับดุลเลาะ เจะสอเหาะ

39

การศึกษาและออกแบบหนังสือสามมิติ​เรื่อง​สุดสาคร​ ​ วินัดดา อุทัยรัตน

55

ชุดผลิตภัณฑมัดยอมสีธรรมชาติสำาหรับงานอดิเรก​ ​ เสาวนิตย กาญจนรัตน

69​

ศึกษาและออกแบบกราฟกบนบรรจุภัณฑเพื่อสื่อรสชาติ​รูปลักษณ​และคุณภาพ​ ของผลิตภัณฑเบเกอรี่:​กรณีศึกษา​ผลิตภัณฑเบเกอรี่คาสง ทิพยรัตน พำาขุนทด

85

โครงการออกแบบเครื่องเรือนรับแขกภายใตแนวคิดจิตรกรรมฝาผนังไทย​ นภดล สังวาลเพ็ชร

99


การทองเที่ยวแบบเมือง​ธุรกิจสถานบันเทิงยามราตรีและผลกระทบเชิงสังคม​ และวัฒนธรรมในเมืองเกาภูเก็ต ภาณุวัฒน ภักดีอักษร

115

6​คุณลักษณะภาวะผูนำาที่มีผลตอการพัฒนาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง​ ​ นคเรศ ณ พัทลุง และยุวัฒน วุฒิเมธี

131​

การใชวารสารวิชาการของนักศึกษาปริญญาโท​​มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม​ ​ ชัยเลิศ ปริสุทธกุล

145

กฎหมายสิ่งแวดลอมและผังเมืองสำาหรับการควบคุมมลพิษทางแสง​ ​ ปดิเทพ อยูยืนยง

163

บทความพิเศษ การประยุกต​Insulating​Concrete​Forms​(ICFs)​เพื่อการใชงานในประเทศไทย​ จรัญพัฒน ภูวนันท

177

ภาคผนวก ​

รายชื่อผูทรงคุณวุฒิอานบทความ​วารสาร​มหาวิทยาลัย​ศิลปากร​

187


บทบรรณาธิการ ​ วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย สาขาสังคมศาสตร มนุษยศาสตร และศิลปะ ฉบับนี้จะเปน ฉบับสุดทายที่มีขนาดรูปเลม A4 เพราะในปที่ 33 ของวารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร กองบรรณาธิการฉบับภาษา ไทย มีความเห็นรวมกันที่จะเปลี่ยนแปลงขนาดรูปเลมของวารสารใหเปนขนาดเดียวกันกับวารสารมหาวิทยาลัย ศิลปากร ฉบับภาษาอังกฤษ สาขาสังคมศาสตร มนุษยศาสตร และศิลปะ เพื่อใหเปนเอกลักษณของวารสารใน สาขาสังคมศาสตร มนุษยศาสตร และศิลปะ จึงขอเรียนใหผูอานไดรับทราบไวลวงหนามา ณ โอกาสนี้ ในวารสารฉบับนี้มีบทความทั้งสิ้นจำานวน 12 บทความ ซึ่งเปนบทความที่นำาเสนองานวิจัยที่มาจาก หลายสาขาวิชาแตเนนไปที่งานออกแบบวัสดุ และสื่อการเรียนการสอนและผลิตภัณฑเปนสวนใหญ เรื่องแรก ม.ล.​ สุรสวัสดิ์​ ศุขสวัสดิ์​ ไดเขียนบทความวิจัยเรื่อง นิกายพุทธศาสนาในลานนา ระหวางรัชสมัยพระเจา ติโลกราชถึงพญาแกว (พ.ศ. 1984-2068) : ศึกษาจากพระพุทธรูปสัมฤทธิ์ที่มีจารึกในจังหวัดเชียงใหม งานวิจัย ชิ้ น นี้ ต  อ งการศึ ก ษาว า แท จ ริ ง แล ว พุ ท ธศาสนานิ ก ายเถรวาทแบบลั ง กาวงศ บ นดิ น แดนล า นนามี ลั ก ษณะ ผสมผสานกับคติความเชื่อในลัทธิมหายานและวัชรยานจนเปนอันหนึ่งอันเดียวกัน ซึ่งจะเห็นไดจากพุทธลักษณะ ของพระพุทธรูปตลอดจนประเพณีและพิธกี รรมทีเ่ กีย่ วของ เรือ่ งทีส่ อง สุภทั รา​ลูกรักษ​นำาเสนองานวิจยั เรือ่ ง ความ เขาใจของชาวตางชาติที่มีตอผลิตภัณฑลวดลายไทย เปนการสำารวจขอมูลเกี่ยวกับความเขาใจของชาวตางชาติ ที่มีตอผลิตภัณฑลวดลายไทย และผลการวิจัยสรุปไววา การนำาลวดลายกราฟกไทยมาใชในการออกแบบตางๆ เปนการชวยอนุรักษภูมิปญญาไทยใหแพรหลายและเกิดการพัฒนาตอยอดไปในระดับสากลไดเปนอยางดี เรื่อง ที่สาม เจะอับดุลเลาะ​เจะสอเหาะ​ไดใหความเห็นวา กระดาษเปนวัสดุชนิดหนึ่งที่ศิลปนนิยมนำามาสรางสรรค ผลงาน เพราะความผูกพันระหวางมนุษยกับการใชกระดาษมีมายาวนาน จึงไดทำาการศึกษากระบวนการ สรางสรรคผลงานดวยกรรมวิธีจากวัสดุกระดาษทำามือ และพบวาเปนกรรมวิธีหนึ่งที่ ศิลปนสามารถแสดงออก ทางเทคนิคที่นาสนใจและสามารถสรางสรรคผลงานเปนอัตลักษณเฉพาะตนไดอยางสมบูรณ อีกทั้งสามารถ นำาไปใชในกระบวนการเรียนการสอนในหลักสูตรสาขาวิชาทัศนศิลปไดดวย เชนเดียวกับ วินัดดา​อุทัยรัตน​ ที่ไดทำาการศึกษาและออกแบบหนังสือสามมิติ เรื่อง สุดสาคร โดยมุงเนนใหเปนหนังสือประเภทสงเสริมการอาน ทีถ่ อื วาเปนสือ่ การเรียนชนิดหนึง่ โดยทำาการวิจยั เพือ่ ประเมินความพึงพอใจจากกลุม ตัวอยาง 4 กลุม คือ ผูเ ชีย่ วชาญ ครูประจำาชั้น นักเรียน และผูปกครอง วาสามารถนำาไปใชงานกับกลุมเปาหมายไดหรือไม สวน เสาวนิตย​ กาญจนรัตน​ ทำ า การวิ จั ย การออกแบบชุ ด ผลิ ต ภั ณ ฑ มั ด ย อ มสี ธ รรมชาติ สำ า หรั บ งานอดิ เ รกจากการผลิ ต สี ธรรมชาติดวยวิธีการอัดเม็ดสี ซึ่งผลการวิจัยสามารถใชเปนแนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑเพื่อสรางรายไดให กับชุมชน และเปน ผลิตภัณฑงานอดิเรกที่เปนตัวเลือกใหมสำาหรับทุกคนในอนาคต สวนทิพยรัตน​ พำาขุนทด​ ไดศึกษาผูบริโภคผลิตภัณฑเบเกอรี่คาสง ในเขตกรุงเทพฯ เพื่อศึกษาลักษณะของผลิตภัณฑและกลยุทธทาง การตลาดผลิตภัณฑเบเกอรีค่ า สง และการออกแบบกราฟกบนบรรจุภณ ั ฑเพือ่ สือ่ ถึงรสชาติ รูปลักษณ และคุณภาพ รวมทั้งการประเมินการรับรูและความพึงพอใจของผูบริโภคที่มีตอกราฟกบนบรรจุภัณฑ โดยมีผลิตภัณฑเบเกอรี่ คาสงเปนกรณีศกึ ษา และ นภดล​สังวาลเพ็ชร ทำาการวิจยั เพือ่ ศึกษารูปแบบ ภูมปิ ญ  ญา และแนวคิดในการสรางสรรค งานจิตรกรรมฝาผนังของไทยเพื่อใชเปนแนวทางในการออกแบบเครื่องเรือนรับแขก ที่เนนศึกษาถึงคุณลักษณะ คุณคา และคุณสมบัติของงานจิตรกรรมฝาผนังวัดใหญสุวรรณาราม จังหวัดเพชรบุรี ดานการทองเทีย่ ว ภาณุวฒ ั น​ภักดีอกั ษร​ เสนอการวิจยั เรือ่ ง การทองเทีย่ วแบบเมือง ธุรกิจสถานบันเทิง ยามราตรีและผลกระทบเชิงสังคมและวัฒนธรรมในเมืองเกาภูเก็ต เพื่อชี้ใหเห็นถึงความรวมมือจากคนในชุมชน ที่มีผลตอการเจรจากับภาคธุรกิจ รวมทั้งการเรียกรองการดูแลจากภาครัฐ เปนวิธีการชวยบรรเทาผลกระทบเชิง


ลบและรณรงคการจัดการการทองเที่ยวแบบเมืองที่ยั่งยืน ผลการศึกษามีประโยชนโดยตรงในการชวยวางแผน การจัดการการทองเที่ยวแบบเมืองอยางสรางสรรค นคเรศ ณ พัทลุง นำ�เสนอผลการวิจัยเรื่อง 6 คุณลักษณะ ภาวะผูนำ�ที่มีผลตอการพัฒนาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเปนการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรคือ ผูนำ�เครือขายพัฒนาชุมชนดีเดนที่ไดรับรางวัลพระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สวน ชัยเลิศ ปริสุทธกุล ตองการทราบถึงการใชวารสารวิชาการของนักศึกษาปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม จึง ไดทำ�การวิจัยจากกลุมตัวอยางที่เปนนักศึกษาระดับปริญญาโท ของมหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม ในปการศึกษา 2553 และพบวานักศึกษาเห็นความสำ�คัญของวารสาร แตใชวารสาร 4-6 ครั้งตอเดือน คนหาบทความโดยใช หัวเรื่อง เพื่อการศึกษาวิจัยและทำ�วิทยานิพนธ สำ�หรับ ปดิเทพ อยูยืนยง นักวิจัย ประจำ�สาขาวิชานิติศาสตร มหาวิทยาลัยเดอมงฟอรต สหราชอาณาจักร ไดเขียนบทความเกี่ยวกับกฎหมายสิ่งแวดลอมและผังเมืองสำ�หรับ การควบคุมมลพิษทางแสง เพราะเล็งเห็นวาผลกระทบจากมลพิษทางแสงจากการออกแบบและติดตัง้ หลอดไฟฟา หรือโคมไฟที่ไมเปนมิตรตอสิ่งแวดลอมในเวลากลางคืน รวมทั้งการขาดมาตรการทางกฎหมายผังเมืองเฉพาะ ที่สอดรับกับการขยายตัวของเมืองหรือรับกับการควบคุมการใชงานของหลอดไฟฟาหรือโคมไฟในเวลากลางคืน ลวนมีผลกระทบในทางลบตอกิจกรรมการศึกษาวิจยั ทางดาราศาสตร ระบบนิเวศวิทยาและความเปนอยูข องมนุษย ฉบับนี้กองบรรณาธิการไดรับเกียรติจาก ศาสตราจารย จรัญพัฒน ภูวนันท ที่ใหขอคิดเห็นเกี่ยวกับ รูปแบบและระบบผนัง Insulating Concrete Forms (ICFs) ซึ่งเปนวัสดุนำ�เขาจากตางประเทศที่นำ�มาใชเพื่อ การประหยัดพลังงานในอาคารนั้น โดยวิเคราะหใหเห็นถึงขอดีและขอจำ�กัดของ ICFs ที่จะมีผลตามมา และให ขอคิดวาการพัฒนาวัสดุหรือระบบการกอสรางทางเลือกเพื่อใชงานในประเทศไทยนั้น ไมควรมุงใหความสำ�คัญ เฉพาะการประหยัดพลังงานตามกระแสสังคมเพียงดานเดียว เพราะเศรษฐกิจและสภาพสังคมไทยมีความแตกตาง จากประเทศอุตสาหกรรมมาก โดยเฉพาะเรื่องระดับรายได คุณภาพชีวิต และสภาพอากาศหรือสิ่งแวดลอม กองบรรณาธิการจึงหวังเปนอยางยิ่งวา ผูสนใจที่ไดอานบทความตางๆ ดังกลาวจากวารสารฉบับนี้ จะได รับความรูและนำ�ไปใชประโยชนทางวิชาการเพื่อเปนแนวทางตอการศึกษาหาความรู หรือนำ�ไปใชประโยชน เพื่อการพัฒนาสรางสรรคสังคมและประเทศชาติตอไป

รองศาสตราจารยระเบียบ สุภวิรี บรรณาธิการ


นิกายพุทธศาสนาในลานนา ระหวางรัชสมัยพระเจาติโลกราชถึงพญาแกว (พ.ศ. 1984-2068) : ศึกษาจากพระพุทธรูปสัมฤทธิ์ที่มีจารึกในจังหวัดเชียงใหม 1 Buddhist Sects in Lān Nā between the Reigns of Phayā Tilōk to Phayā Kaeo (1441-1525) : Studies from Dated Bronze Buddha Images in Chiang Mai

ม.ล. สุรสวัสดิ์ ศุขสวัสดิ์ 2 M.L. Surasawasdi Sooksawasdi บทคัดยอ สังคมและวัฒนธรรมของคนในดินแดนเอเชียอาคเนยมีความเขมแข็งมาแตครั้งบรรพกาลเพราะสามารถ เลือกรับปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมจากภายนอกใหเหมาะสมกับสภาพสังคม ประเพณี และความเชื่อของตนเองอยู ตลอดเวลา ตรงกับทฤษฎี Syncretism (การประสานความแตกตางทางปรัชญาหรือศาสนา) ซึ่งสะทอนถึงการ ประนีประนอมเพื่อตอบสนองตอความตองการของคนในสังคมทั้งในดานจิตใจและการดำ �รงชีวิต หรือแมแตดาน การเมืองการปกครอง กรณีของพุทธศาสนาในลานนายุครุงเรืองระหวางรัชสมัยพระเจาติโลกราชถึงพญาแกว (พ.ศ. 1984-2068) ก็เชนกัน เพราะแมวาจะเปนที่เขาใจกันมาตลอดวามีที่มาจากคตินิกายเถรวาทหนพื้นเมือง และนิกาย ลังกาวงศหนสวนดอกและหนปาแดง แตแทจริงแลวพุทธศาสนานิกายเถรวาทแบบลังกาวงศบนดินแดนลานนา กลับมีลักษณะที่ผสมผสานเอาคติความเชื่อในลัทธิมหายานและนิกายวัชรยานเขามาแนบแนนจนเปนอันหนึ่ง อันเดียวกันไปแลว เห็นไดจากพุทธลักษณะของพระพุทธรูปตลอดจนประเพณีและพิธีกรรมที่เกี่ยวของ งานวิจัยชิ้นนี้ไดพยายามใชวิธีการศึกษาแบบสหสาขาวิทยาระหวางศาสตรตางๆ ทั้งทางประวัติศาสตร พุทธศาสนา และการเปรียบเทียบพุทธลักษณะตลอดจนเทคนิคการสรางพระพุทธรูประหวางลานนา ลังกา และ เนปาล-ทิเบต การศึกษากระบวนการปนหลอพระพุทธรูปในปจจุบันระหวางชางทั้ง 3 กลุม การศึกษามหาบุรุษ ลักษณะในคัมภีรมหายานและเถรวาท และการศึกษาคติปรัชญาศาสนาตลอดจนประเพณีและพิธีกรรมที่เกี่ยวของ อันไดแกพิธีพุทธาภิเษกและคติการบรรจุพระธาตุในองคพระพุทธรูป จากการศึ ก ษาพบว า พระพุ ท ธรู ป เชี ย งใหม ใ นช ว งยุ ค รุ  ง เรื อ งของล า นนาได รั บ เอาประติ ม านวิ ท ยาของ พระพุทธรูปแบบปาละทั้งจากแควนเบงกอล พิหาร และแควนโอริสสา รวมทั้งประติมานวิทยาของพระพุทธรูปแบบ เนปาล-ทิเบตบางประการในคติลัทธิมหายานและนิกายวัชรยานเขามาเปนของตนเอง ซึ่งนอกจากบทบาทของศิลปะ ปาละที่ปรากฏในพระพุทธรูปหมวดพระพุทธสิหิงคที่ทราบกันดีอยูแลว เรายังพบบทบาทศิลปะทิเบตในพระพุทธรูป ปางมารวิ ชั ย ขั ด สมาธิ ร าบแบบเชี ย งใหม บ างองค มหาบุ รุ ษ ลั ก ษณะหลายประการของพระพุ ท ธรู ป ล า นนา ยุครุงเรืองก็ตรงกับพระพุทธรูปเนปาล-ทิเบต ขณะเดียวกันพระพุทธรูปสัมฤทธิ์บางองคในยุคนี้ก็แสดงใหเห็น รองรอยประเพณีการบรรจุพระธาตุในอุษณีษะซึ่งสามารถถอดออกจากพระเศียรได ประเพณีการบรรจุหัวใจ

__________________

1 2

จากงานวิจัยเรื่องเดียวกันซึ่งไดรับการสนับสนุนโดยมหาวิทยาลัยเชียงใหม รองศาสตราจารย ประจำ�ภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป มหาวิทยาลัยเชียงใหม


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปีที่ 32 ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2555

พระเจาในพระพุทธรูปลานนาที่ยังคงปฏิบัติกันอยูในปจจุบันก็สามารถเทียบเคียงไดกับประเพณีรับเนของทิเบต ซึ่งตองมีการบรรจุซุงหรือธารณีและซกชิงหรือตนไมแหงชีวิตในพระพุทธรูป รวมถึงคติการเคารพบูชาพระพุทธรูป ทั้งในฐานะอุเทสิกเจดียและธรรมเจดียควบคูกัน พระเจาติโลกราชกษัตริยองคสำ�คัญในยุคนี้ยังทรงใชคติพุทธ ศาสนุปถัมภกและจักรวรรดิราชาในการแผขยายอำ �นาจของพระองคจนสรางความเขมแข็งแกราชวงศมังราย มาจนถึงรัชสมัยพญาแกว บันทึกการเดินทางของสงฆทิเบตที่กลาวถึงสังคมพุทธศาสนาในนครหริภุญไชย และ หลักฐานการเดินทางไปนมัสการพระธาตุเจดียที่พุกามของพระเถระเชียงใหมในชวงพุทธศตวรรษที่ 21-22 ยอม ยืนยันถึงบทบาทของคติลัทธิมหายานและนิกายวัชรยานที่เขามาผสมผสานกับวัฒนธรรมลานนา และเสนทางที่ พระสงฆในลัทธินิกายนี้ใชเดินทางเชื่อมตอกับดินแดนตางๆ ไดเปนอยางดี คำ�สำ�คัญ: 1. พระพุทธรูป. 2. ยุครุงเรืองของลานนา. 3. เถรวาท. 4. มหายาน. 5. วัชรยาน. 6. Syncretism. Abstract The social and cultural strength of the Southeast Asian region has prevailed since the ancient times due to adaptation to the cultures from outside and based on the social condition, customs and beliefs. This corresponds to the syncretism theory (blending philosophical and religious differences), which reflects the tendency for compromising to suit the needs, in both social and spiritual terms, as well as the politics and government. The same is true in the case of Buddhism in Lān Nā in its prosperous period during the reign of Phayā Tilōk to that of Phayā Kaeo (A.D. 1441-1525) although it was thought to have derived from beliefs of the Theravāda Lankan Sect of Suan Dok and Pa Daeng as well as the Theravāda Local Sect from Haripunchai. In reality the Lankan Theravāda Buddhism in Lān Nā is a blend of Mahāyāna and Vajrayāna beliefs to such an extent that it became one. Evidence can be seen from the characteristics of some of the Buddha images and relevant customs. In fact, the Lankan Buddhist art was partly derived from the Mahāyāna beliefs in the earlier times. This research is considered to be multi-disciplinary as it involves Buddhist history, a comparison of Buddha image features, construction techniques for Buddha image making of Lān Nā, Sri Lankan, Nepal-Tibetan, a study of the casting process of Buddha images at the present time among three schools of artisans, a study on auspicious features of a great man in Mahāyāna and Theravāda scriptures as well as beliefs about putting the Buddha relics inside some Buddha images. This research reveals that that there were some reasons to believe that during the time when Buddhism was prosperous, Lān Nā had received the Pala style of Buddha image fromBengal-Bihara, Orissa and Tibet based on Mahāyāna and Vajrayāna beliefs, which makes it difficult to identify the origins. In addition to the well-known characteristics of Phra Phuttha Sihing, the role of Tibetan art was also detected in the Māravijaya Buddhist image of the Chiang Mai style. Several characteristics of a great man found in La Na style Buddha images during its prosperous era were also found in the Nepal-Tibet Buddha images. At the same time, some bronze Buddha images of this period also reflect the custom of putting Buddha

8


นิกายพุทธศาสนาในลานนา ระหวางรัชสมัยพระเจาติโลกราชถึงพญาแกว ม.ล. สุรสวัสดิ์ ศุขสวัสดิ์

relics inside the images through usnīsa, . . . the head part, which could be opened. Another similar practice was placing the Buddha heart inside the Lān Nā Buddha images, which continues until today, which could be related to the Tibetan custom of Rub Gnas where gzung or Srog shing was put inside the Buddha images. This includes the belief about paying respect to the Buddha images as Udesikachedi and Dharmachedi. Phayā Tilōk who was an important king of that period used the Buddhist tradition of supporting Buddhism and Kingship in expanding his power, resulting in the strength of the Mangrai Dynasty until the reign of Phayā Kaeo. A record of Tibetan monks’ journey about the Buddhist society in the City of Haripunchai and evidence of pilgrimages to pay respect to the chedi housing the Buddha relic at Pagan of some revered monks from Chiang Mai during the 15th and 16th Centuries confirm the role and the route of the Mahāyāna and Vajrayāna sects that blended into Lān Nā culture very well. Keywords: 1. Buddha Image. 2. Golden Age of Lān Nā. 3. Theravāda. 4. Mahāyāna. 5. Vajrayāna. 6. Syncretism.

9


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปีที่ 32 ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2555

ฮันส เพนธ (2526 : 26-27) ไดใหนยิ ามยุครุง เรือง ของล า นนาหรื อ ยุ ค ทองล า นนาระหว า งรั ช สมั ย พญากื อ นาจนถึ ง พระเมื อ งแก ว ไว ว  า นั บ เป น ยุ ค ที่ เชี ย งใหม แ ละหั ว เมื อ งบริ ว ารมี ก องทั พ ที่ เ ข ม แข็ ง พระภิกษุมคี วามรูแ ตกฉานในพระธรรมวินยั มีกฎหมาย ที่ เ ป น ธรรม ช า งฝ มื อ ล ว นมี ค วามสามารถ และมี วิ วั ฒ นาการด า นเกษตรกรรมและการชลประทาน จนทำ � ให เ มื อ งเชี ย งใหม แ ละดิ น แดนล า นนาทั้ ง ปวง กลายเป น จุ ด ศู น ย ร วมแห ง อำ � นาจและวั ฒ นธรรมอั น รุ  ง เรื อ ง ภาพของเศรษฐกิ จ ล า นนาในยุ ค นี้ ยั ง เห็ น ไดจากกิจกรรมตางๆ เกี่ยวกับพุทธศาสนาทั้งในแง ของกษั ต ริ ย  แ ละประชาชนผู  อุ ป ถั ม ภ รวมไปถึ ง ช า งหล อ ช า งป  น และช า งก อ สร า งอาคารโบสถ วิ ห าร ต า งๆ ในยุ ค นี้ มี ก ารสร า งวั ด กั น เป น จำ � นวนมาก มิใชแตเฉพาะเชียงใหม แตทั่วทั้งดินแดนลานนา และ มีการหลอพระพุทธรูปจำ�นวนมาก ดังมีรายละเอียด ปรากฏในจารึ ก ต า งๆ ในการสร า งวั ด วาอาราม เหล า นั้ น ที่ สำ � คั ญ ผู  อุ ป ถั ม ภ ก ารสร า งวั ด ที่ เ ป น กษัตริย เชื้อพระวงศหรือขุนนางยังไดถวายที่ดินเพื่อ ผลประโยชนของวัด พรอมทั้งถวายผูคนเพื่อปฏิบัติ รักษาพระพุทธรูป และดูแลพระภิกษุสงฆ อยางไรก็ตาม อาจกลาวไดวาความรุงเรืองของพุทธศาสนาในลานนา ขณะนั้นยังขึ้นอยูกับความสามารถทางการเมืองการ ปกครองของพระเจาติโลกราชเปนอันมาก

นิ ก ายอารี แ ละหลั ก ฐานลั ท ธิ ม หายานและนิ ก าย​ วัชรยานในลานนา ในชวงยุครุง เรืองของลานนานัน้ ภิกษุสงฆลา นนา มีการติดตอกับดินแดนรอบขางและลังกาดวย ที่เห็นได ชัดเจนที่สุดก็คือหนสวนดอกซึ่งมีที่มาจากเมืองพันหรือ เมาะตะมะ และหนปาแดงซึง่ ไปสืบทอดพระพุทธศาสนา จากลังกาโดยตรง ในชินกาลมาลีนี (หรือชินกาลมาลี ปกรณ) ของหนปาแดงบันทึกไววาในป พ.ศ. 1998 หรื อ 1999 พระเจ า ติ โ ลกราชโปรดให ส ร า งอาราม ริมน้ำ�แมขา (โรหิณีนที) ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ของเมืองเชียงใหมถวายแดพระมหาอุตตมปญญาเถร พระสงฆลังกา 1 ใน 2 รูปที่กลับมาพรอมกับพระสงฆ เชี ย งใหม ที่ ไ ปบวชเรี ย นจากลั ง กาเมื่ อ ครั้ ง รั ช กาล

10

พญาสามฝงแกน (รตนปญญาเถระ 2554 : 199) พุทธ ศาสนิกชนลานนายังถือวาพุกามเปนศูนยกลางสำ�คัญ ของพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทดวย มีหลักฐานวา ภิกษุสงฆเชียงใหมนิยมเดินทางไปกระทำ�บุญกิริยาที่ พุกามตั้งแตครั้งรัชกาลพญาแสนเมืองมาแลว ดังจารึก พุกามหลักที่ 764 สรางขึ้นในป พ.ศ. 1936 ซึ่งกลาวถึง เหตุ ก ารณ ที่ พ ระมหาสามี ม หาเถระพระราชครู ข อง กษั ต ริ ย  เ ชี ย งใหม (น า จะได แ ก พ ญาแสนเมื อ งมา ครองราชย พ.ศ. 1928-1944) อัญเชิญแผนทองคำ� รู ป กลี บ บั ว ไปบู ช าพระบรมสารี ริ ก ธาตุ ที่ พ ระเจดี ย  ชเวซิกองพรอมทั้งถวายทรัพยเพื่อการปฏิสังขรณถึง 3 ครั้ง (Luce and Ba Shin 1961 : 332) การติดตอระหวางเชียงใหมและพุกามดังกลาว ชาวลานนานิยมใชเสนทางเชียงใหม - แมสะเรียง - น้ำ� แมคงหรือสาละวิน - ผาปูน - หงสาวดี ดังกลาวไวใน จามเทวีวงศ และในนิ ร าศลานนาคือโคลงมังทรารบ เชียงใหมราวพุทธศตวรรษที่ 22 เสนทางนี้คงจะเปนที่ รูจักกันดีตั้งแตครั้งที่ชาวมอญหริภุญไชยใชอพยพหนี โรคระบาดไปยังหงสาวดี พญามังรายก็คงจะใชเสนทาง นี้ยกทัพไปหงสาวดีและพุกาม เสนทางที่รูจักกันดีนี้อาจ เปนเสนทางที่ทานพุทธคุปตภิกษุชาวอินเดียใชเดิน ทางเขามายังหริภุญไชยตามบันทึกของทานตารนาถ ภิ ก ษุ ช าวทิ เ บตซึ่ ง เขี ย นขึ้ น เมื่ อ พุ ท ธศตวรรษที่ 22 บันทึกของทานตารนาถ (Chattopadhyaya 1990) นับเปนหลักฐานสำ�คัญที่แสดงใหเห็นวาพุทธศาสนา นิ ก ายมหายานได เ ผยแผ ม าสู  บ  า นเมื อ งในแถบ สุ ว รรณภู มิ เ ป น เวลานานแล ว ก อ นหน า ที่ ต ารนาถจะ เขี ย นงานของท า น โดยเฉพาะอย า งยิ่ ง ในบริ เ วณ ที่ เ รี ย กว า ดิ น แดนโกกิ ซึ่ ง กิ น อาณาเขตตั้ ง แต พุ ก าม ไปจนถึ ง จามปาและกั ม พู ช า ซึ่ ง แม ว  า ในเวลานั้ น พุ ท ธศาสนาลั ท ธิ ม หายานจะเสื่ อ มคลายจากพุ ก าม ไปแล ว แต ไ ม ใ ช ที่ ห ริ ภั ญ จะและบั ล คุ ซึ่ ง ท า น พุ ท ธคุ ป ต “มี โ อกาสได ยิ น ได ฟ  ง ตำ � ราจากชั้ น เรี ย น พระสู ต รและพระธรรมของมั น ตรที่ ลึ ก ลั บ ” (Ray 1936 : 87) แมวานิหรร-รานจัน เรยจะไมแนใจวา “บัลคุ” อาจจะตรงกับเมือง “พะโค” หรือไมก็ตาม แตเขาก็เห็น ดวยกับจิอุสเซปเป ตุกซี่ (Tucci 1931 : 683-702) ซึ่ง


นิกายพุทธศาสนาในลานนา ระหวางรัชสมัยพระเจาติโลกราชถึงพญาแกว ม.ล. สุรสวัสดิ์ ศุขสวัสดิ์

มั่นใจวาเมือง “หริภัญจะ” ในดินแดนโกกิที่ทานตารนาถ บันทึกไวคงจะกลายคำ�มาจาก “หริภุญไชย” วิถีชีวิต นักบวชลัทธิมหายานหรือนิกายวัชรยานทีห่ ริภญ ุ ไชยและ บัลคุยงั สะทอนใหเห็นไดจากบันทึกตอนหนึง่ ซึง่ กลาวถึง นักบวช 2 รูปคือทานธัมมากัษโฆษในนครหริภญ ั จะและ ฆราวาสบัณฑิตปรเหตนันทโฆษในดินแดนบัลคุ ทัง้ สอง เปนศิษยสำ�นักมหาสิทธะศานติปาทะ ในที่นี้สันนิษฐาน ไดวา ทานคงจะเปนนักบวชนิกายวัชรยานทีผ่ า นพนโยคะ ตันตระขั้นสุดทายคืออนุตตระโยคะตันตระไปแลว ดัง พิจารณาไดจากตำ�แหนง “มหาสิทธะ” ของทาน ประเด็น ตอมาลูกศิษยของทานที่บัลคุคือปรเหตนันทโฆษซึ่งใน บันทึกของทานตารนาถกลาวถึงดวยคำ�วา “ฆราวาส บัณฑิต” หรือ “lay pandita” ก็เทียบเคียงไดกับนักบวช ในเนปาลที่เรียกวาวัชรจารย (รูปที่ 1) ตามศาสนสถาน สถานตางๆ ที่เรียกวาบาฮา (หรือบาฮัล) และบาฮี (หรือ บาฮีล) ปจจุบนั วัชรจารยเหลานีม้ ชี วี ติ เชนฆราวาสทัว่ ไป คือมีครอบครัว แตยังมีสถานภาพเปนนักบวชและยังคง

ระหวางพุทธศาสนาแบบเถรวาทกับลัทธิมหายานและ นิกายวัชรยาน ชารล ดูรวั แซลเห็นวานิกายอารีเปนนิกาย หนึ่งในพุทธศาสนาสกุลสายเหนือซึง่ เต็มไปดวยแนวคิด และจริยาวัตรแบบตันตระ (Duroiselle 1911 : 126) ขณะที่หมองทินอองเห็นวานิกายนี้มีสวนผสมปนเปของ หลักในพุทธศาสนามหายานกับความเกรงกลัวอำ�นาจ ธรรมชาติแบบพื้นเมือง นักวิชาการหลายคนใหความ เห็นไววาภาพจิตรกรรมฝาผนังในวิหารปยะตองสูใน ยุคพุกามตอนปลายคือราวกลางพุทธศตวรรษที่ 18 ถึง กลางพุทธศตวรรษที่ 19 อาจมีเนื้อหาที่เกี่ยวของกับคติ ตันตระหรือนิกายอารีโดยเฉพาะอยางยิ่งภาพหญิงชาย สวมกอดกัน (Aung-Twin 1985 : 36-37) แม ว  า ยั ง ไม พ บเอกสารที่ ก ล า วถึ ง นิ ก ายอารี โดยตรง แต บ ทบาทของพุ ท ธศาสนาลั ท ธิ ม หายาน และนิกายวัชรยานที่ปรากฏในลานนามาแลวตั้งแตยุค หริ ภุ ญ ไชยอาจเห็ น ได จ ากลั ก ษณะมงกุ ฎ ของเศี ย ร ดินเผาในพิพิธภัณฑสถานแหงชาติหริภุญไชย จังหวัด ลำ�พูน (Stratton 2004 : 121, figs. 5.61 a and b) (รูปที่ 2) ซึ่งมีลักษณะใกลชิดเปนอยางยิ่งกับมงกุฎ ของรู ป เคารพในศิ ล ปะปาละราวกลางพุ ท ธศตวรรษ ที่ 16 ถึงกลางพุทธศตวรรษที่ 17 ซึ่งสรางขึ้นในลัทธิ ดังกลาว หลักฐานอีกชิ้นหนึ่งไดแกเศียรดินเผาจาก วัดประตูลี้ อำ�เภอเมืองลำ�พูน ซึ่งมีนัยนตาที่เบิกกวาง

รูปที่ 1. นักบวชเนวารทเี่ รียกกันวาวัชรจารย กำ�ลังทำ�พิธกี รรม ให พุ ท ธศาสนิ ก ชนที่ เ ดิ น ทางมานมั ส การเจดี ย  สวยัมภูนาถ เนปาล (ภาพโดยผูวิจัย)

ดำ�รงชีวิตดวยการรับทำ�พิธีกรรม ย อ นหลั ง ไปก อ นหน า นั้ น หลายศตวรรษบน ดินแดนโกกิก็มีนักบวชกลุมหนึ่งในนิกายอารีแพรหลาย อยูทั่วไปไมตางจากนักบวชนิกายศาวกยาน นับแตราว กลางพุทธศตวรรษที่ 18 ในกัมพูชาโบราณไปจนถึงกลาง พุทธศตวรรษที่ 22 ในดินแดนมอญ-พมา นิกายอารีซึ่ง กลายเสียงมาจากคำ�วาอารยะมีลักษณะผสมผสานกัน

รูปที่ 2. เศี ย รปู น ป  น ซึ่ ง อาจจะหมายถึ ง พระพุ ท ธเจ า ทรง ปราบพระยาชมพูบดีหรือตัวพระยาชมพูบดีเอง หรือ กษัตริยผูอุทิศการสราง ครึ่งแรกของพุทธศตวรรษที่ 17-18 (Stratton 2004)

11


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปีที่ 32 ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2555

มงกุฎใบไมหาใบของเศียรดินเผาดังกลาวนี้ก็ตรงกับ ที่พบทั่วไปในศิลปะพุกามระหวางกลางพุทธศตวรรษที่ 17 ถึงกลางพุทธศตวรรษที่ 18 (กรมศิลปากร 2552 : รูป ที่ 70) มีหลักฐานพระพิมพจากการขุดคนทางโบราณคดี ที่วัดประตูลี้ในเมืองลำ�พูนซึ่งสนับสนุนความสัมพันธ ดังกลาวอยางชัดเจน เพราะพระพิมพแบบซุมพุทธยา ที่ขุดไดนั้นมีรูปแบบเหมือนพระพิมพที่แพรหลายอยู ในพมาที่เมืองพุกามและเมืองพะโคชวงพุทธศตวรรษ ที่ 16 (ผาสุข อินทราวุธ 2536 : 71 และรูปที่ 13) พระพุทธรูปในลานนาหมวดพระสิงหหรือพระ พุทธสิหิงคนับเปนหลักฐานสำ�คัญอีกประการหนึ่งซึ่ง แสดงถึงความสัมพันธกับอินเดียผานทางพุกาม กริส โวลดเชื่อวาพระพุทธสิหิงคทั้งแบบออนโยนและแบบ กระดางมีที่มาจากศิลปะปาละซึ่งไดรับแรงบันดาลใจ จากปรัชญาพุทธศาสนาลัทธิมหายานและนิกายวัชรยาน ที่ผานมาทางพุกาม (Griswold 1957 : 32-33) ขณะ เดียวกันขอสังเกตของสแตรทตั้นเรื่องพระเนตรที่เบิก กวางของพระพุทธสิหิงคแบบกระดางบางองค (รูปที่ 3) อาจเกี่ยวของกับคติพุทธศาสนานิกายวัชรยานก็เปนได

เพราะลั ก ษณะนั ย น ต าเบิ ก กว า งของพระพุ ท ธสิ หิ ง ค ดั ง กล า วเที ย บเคี ย งได กั บ ประติ ม ากรรมดิ น เผา หริ ภุ ญ ไชยรู ป พระสาวกเบิ ก ตากว า ง (รู ป ที่ 4) ซึ่ ง หมายถึง “การตื่น” (awakening) หรือการบรรลุโดย ฉับพลัน (พิริยะ ไกรฤกษ 2528 : 118) ภายหลังมา วูดวารดจูเนียร (Woodward Jr. 1997 : 118) ไดเสนอ ความเห็นเพิ่มเติมวา ลักษณะของนัยนตาเบิกกวาง เชนนีค้ อื ลักษณะเดนทางประติมานวิทยาของศิลปกรรม เนื่องในนิกายอารี (อารียะ) ซึ่งมีธรรมเนียมปฏิบัติแบบ วัชรยาน หรือเรียกอีกอยางไดวาเปนพุทธศาสนาแบบ ตันตระ เปาหมายสูงสุดของตันตระคือการบรรลุธรรมโดย ไมจำ�เปนตองเดินตามแนวทางเปนขั้นเปนตอนเหมือน นิกายเถรวาท ซึ่งพระพุทธรูปในนิกายนี้มักมีพระเนตร หรี่ลงครึ่งหนึ่งในอาการของการเขาสมาธิวิปสสนา

รูปที่ 3. พระสหิงคพุทธรูป พ.ศ. 2012 สูง 133 ซม. สัมฤทธิ์ วัด พระเจาเม็งราย อ.เมือง จ.เชียงใหม (ภาพโดยผูวิจัย)

รูปที่ 4. รู ป พระสาวกดิ น เผา พุ ท ธศตวรรษที่ 17-18 พิพิธภัณฑสถานแหงชาติ หริภุญไชย จ.ลำ�พูน (ชลอ กะเรียนทอง และสุรชัย จงจิตงาม ภาพ)

12

พระเจาติโลกราชกับพระพุทธรูปทรงเครื่องและคติ จักรวาทิน ในชวงยุครุงเรืองของลานนาคือราวกลางพุทธ ศตวรรษที่ 20 ถึงกลางพุทธศตวรรษที่ 21 สภาพการณ


6 คุณลักษณะภาวะผูนำ�ที่มีผลตอการพัฒนาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง นคเรศ ณ พัทลุง และยุวัฒน วุฒิเมธี

ทางสังคมและการเมืองในภูมิภาคนี้มีการแขงขันกันสูง บนพื้นฐานปรัชญาจักรวาทินหรือจักรพรรดิราชา การที่ พระเจาติโลกราชทรงผนวชชั่วระยะเวลาสั้นๆ ณ วัด ป า แดงมหาวิ ห ารเช น เดี ย วกั บ การออกผนวชของ พญาลิ ไ ทแห ง กรุ ง สุ โ ขทั ย และสมเด็ จ พระบรม ไตรโลกนาถแหงกรุงศรีอยุธยานั้นยอมสะทอนถึงการ แขงขันดังกลาวไดเปนอยางดี นอกจากการออกผนวช ดังกลาวแลวการนิยมสรางพระพุทธรูปทรงเครื่องใน ยุ ค นี้ ยั ง มี นั ย ยะสำ � คั ญ ในเชิ ง การเมื อ งการปกครอง อยางชัดเจน เห็นไดจากคติของพระพุทธรูปทรงเครื่อง ซึ่งหมายถึงการปราบพญาชมพูบดีกษัตริยผูยิ่งใหญ แตมีมิจฉาทิฐิโดยพระพุทธองคในคัมภีรมหายานของ ชาวทิเบตเชน The Sutra of the Wise and the Foolish (mdo bdzans blun) ซึ่งถูกถายทอดมาสูชมพูบดีสูตร ในวั ฒ นธรรมพุ ท ธศาสนาแบบเถรวาทนั้ น (นิ ย ะดา เหลาสุนทร 2442 : 201-202) แสดงถึงการใหความหมาย ใหม จ ากจุ ด มุ  ง หมายในทางธรรมมาสู  เ ป า หมายใน

ทางโลกคือเปนการเสริมสรางบารมีแกกษัตริย ตัวอยาง ในล า นนาเห็ น ได จ ากเหตุ ก ารณ ที่ พ ระเจ า ติ โ ลกราช โปรดให ส ร า งพระพุ ท ธรู ป ฉลองพระองค (รู ป ที่ 5) ในป พ.ศ. 2009 เพื่อเฉลิมพระเกียรติยศในพิธีอภิเษก เป น “พระญาอโสกธั ม มิ ก ราชะ” หรื อ “สิ ริ ธ รรม จักรพรรดิติลกราชาธิราช” และเฉลิมพระราชมณเฑียร ณ บานศรีภูมิโดยพระเถระพุกามมังหลุงหลวางชาว เมืองพุกาม พระพุทธรูปทรงเครื่องดังกลาวซึ่งไดมา จากวั ด เจดี ย  ห ลวงมี พุ ท ธลั ก ษณะเช น เดี ย วกั บ พระอั ก โภษยะขุ ด พบที่ วั ด ปโทตามยาในเมื อ งพุ ก าม (รูปที่ 6) พุทธลักษณะที่คลายคลึงกันเห็นไดชัดเจน จากแนวเส น ขอบจี ว รที่ พ าดจากพระพาหาซ า ย ผานกลางพระอุระและพระนาภีลงไปยังขอพระกรซาย แลววกไปทางดานหลังพระเพลา (สุรศักดิ์ ศรีสำ�อาง 2551 : 71-73) ลักษณะชายจีวรเชนนี้ยังสะทอนถึงพุทธ ลักษณะของพระพุทธรูปลัทธิมหายานและนิกายวัชรยาน ฝมือชางเนปาล-ทิเบตอีกดวย

รูปที่ 5. พระพุทธรูปทรงเครื่องปางมารวิชัย ขัดสมาธิเพชร ตนพุทธศตวรรษที่ 21 สูง 82 ซม. จากวัดเจดียหลวง จ.เชียงใหม วัดเบญจมบพิตร กรุงเทพฯ (สุรศักดิ์ 2551)

รูปที่ 6. พระพุ ท ธรู ป ทรงเครื่ อ งปางมารวิ ชั ย ขั ด สมาธิ เ พชร (พระอักโษภยะ) พุทธศตวรรษที่ 17-18 ขุดพบที่วัด ปโทตามยา ภายในบริเวณกำ�แพงเมืองพุกาม (Strachan 1989)

13


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปีที่ 32 ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2555

ประเพณีการสรางพระพุทธรูปทรงเครื่องเพื่อ เฉลิมพระเกียรติการขึ้นครองราชยดังกลาวนี้ยังพบเห็น ไดทั่วไปในดินแดนประเทศพมาในระยะเวลาเดียวกัน หลั ก ฐานสำ � คั ญ ชิ้ น หนึ่ ง ได แ ก คั ม ภี ร  ใ บลานยะไข ที่ ชื่อวา พุทธาภิเษกมังคละ ซึ่งคัดลอกในป พ.ศ. 2086 คัมภีรฉบับนี้กลาวถึงขั้นตอนตางๆ ในพิธีราชาภิเษก ของกษัตริยยะไขซึ่งจะตองมีการสรางพระพุทธรูปทรง เครื่องเฉลิมพระเกียรติการอภิเษกที่เรียกวาพระพุทธ รูปราชาธิษฐาน (รูปที่ 7) ซึ่งกษัตริยจะตองอัญเชิญ เวียนประทักษิณรอบพระสถูปสำ�คัญ ทั้งนี้เนื่องมาจาก ธรรมเนี ย มของชาวยะไขที่ถื อวากษัต ริย จะตอ งเป น พุทธมามกะโดยการประกาศพระองคในพิธรี าชาภิเษกวา ทรงนับถือพุทธศาสนาและจะปกปองพุทธศาสนาและ ประชาชนจากขาศึกศัตรู (San Tha Aung 1997 : 5356) พาเมลา กัต๊ แมน (Gutman 2011 : 146-153) เห็นวา พระพุทธรูปทรงเครือ่ งยะไขนีม้ ที มี่ าจากศิลปะจีน-ทิเบต ในสมัยราชวงศหยวนและหมิง (พ.ศ. 1822-2187) ซึ่ง ได รั บ การพั ฒ นาขึ้ น มาโดยเหล า พระสงฆ ที่ เ ดิ น ทาง ติดตอกันระหวางวัดตางๆ ในแถบยะไข ทิเบต และ เบงกอลในอินเดีย เปนไปไดวาคติลัทธิมหายานและ นิกายวัชรยานตลอดจนพุทธลักษณะของพระพุทธรูป ทรงเครื่องในนิกายนี้ซึ่งหลอมรวมอยูในหมูสงฆนิกาย อารี ที่ พุ ก ามได ก ลายเป น ที่ ต  อ งการของพระเจ า ติ โ ลกราช เพราะสามารถตอบสนองความเป น พระ จั ก รพรรดิ ร าชไดโดยตรงอยางที่คณะสงฆลังกาวงศ ในเชี ย งใหม ไ ม ส ามารถทำ � ได พระพุ ท ธรู ป ฉลอง พระองคพระเจาติโลกราชองคนี้อาจเปนแรงบันดาล ใจต อ การสร า งพระพุ ท ธรู ป ทรงเครื่ อ งขนาดเล็ ก ที่ เรียกวา พระสิกขี ตอมา พระพุทธรูปเชียงใหมและพระพุทธรูปเนปาล-ทิเบต จากการศึกษาพบวาพระพุทธรูปเชียงใหมยุค รุงเรืองมีลักษณะทางประติมานวิทยาบางประการจาก พระพุ ท ธรู ป ในคติ ลั ท ธิ ม หายานและนิ ก ายวั ช รยาน แบบทิเบต ประการแรกที่เห็นไดชัดเจนคืออุษณีษะ ทรงกรวยสูงในพระพุทธรูปทิเบต ซึ่งพบในพระพุทธ สิ หิ ง ค แ บบกระด า งกลุ  ม หนึ่ ง เช น พระพุ ท ธสิ หิ ง ค ใ น วัดเบญจมบพิตรที่หลอขึ้นระหวางป พ.ศ. 2027 และ

14

รูปที่ 7. พระพุทธรูปทรงเครื่องแบบศิลปะยะไข อายุราวพุทธ ศตวรรษที่ 20-21 พิพิธภัณฑสถานแหงชาติ พระนคร (ภาพโดยผูวิจัย)

พ.ศ. 2028 (รูปที่ 8) เปนตน อุษณีษะทรงกรวยสูง เชนนี้ยอมสะทอนถึงการใหความหมายกับมหาบุรุษ ลักษณะสำ�คัญอันดับแรกในคัมภีรลลิตวิสตระ ของฝาย มหายานซึ่งจะเริ่มตนจากพระอุษณีษะ (อุษฺณีศีรฺษะ) ประการที่ 2 พระพุทธสิหิงคหมวดนี้บางองคในชวง รั ช สมั ย พระเจ า ติ โ ลกราชถึ ง พระยอดเชี ย งราย เช น พระพุทธสิหงิ ค พ.ศ. 2016 ในวัดผาขาว จังหวัดเชียงใหม มีนวิ้ พระหัตถเปนธรรมชาติคอื มีลกั ษณะสัน้ -ยาวเหมือน จริง (ตรงขามกับมหาบุรุษลักษณะในปฐมสมโพธิของ ฝ า ยเถรวาทซึ่ ง ระบุ ว  า นิ้ ว พระหั ต ถ แ ละพระบาทยาว เสมอกัน) โดยเฉพาะอยางยิ่งนิ้วพระหัตถขวาที่แสดง ปางมารวิชัยมักมีลักษณะโกงเหมือนกำ�ลังกระดิกนิ้ว จากการตีความของมาริลีน ไร และโรเบิรต เทอรแมน (Rhie and Thurman 1991 : 74-75) ตรงกับความเห็น แตแรกของผูว จิ ยั วาการกระดิกนิว้ ของพระพุทธรูปเชนนี้ ย อ มมี ที่ ม าจากการเรี ย กแม พ ระธรณี ใ นลั ก ษณะของ บุคคลาธิษฐานมาเปนพยานดวยการแตะนิ้วพระหัตถ


นิกายพุทธศาสนาในลานนา ระหวางรัชสมัยพระเจาติโลกราชถึงพญาแกว ม.ล. สุรสวัสดิ์ ศุขสวัสดิ์

กลางที่ฐาน อันพบเห็นไดตามปรกติในพระพุทธรูป ทิเบต ประการที่ 3 พุทธลักษณะลายตาขายรูปสี่เหลี่ยม ขนมเปยกปูนอยูบนฝาพระบาท (ชาลางฺคุลีหสฺตปาทะ) ซึ่ ง กล า วถึ ง ทั้ ง ในลลิ ต วิ ส ตระและปฐมสมโพธิ ก็ เ ป น พุ ท ธลั ก ษณะที่ พ บเสมอในพระพุ ท ธรู ป ทิ เ บตและ พระพุทธรูปเนปาล แม ว  า ประวั ติ ศ าสตร พุ ท ธศาสนาในล า นนา ลวนใหความสำ�คัญกับพุทธศาสนาแบบ ‘ลังกาวงศ’ แตเราแทบจะไมพบพระพุทธรูปสัมฤทธิ์ในยุครุงเรือง ที่ มี จ ารึ ก องค ใ ดมี สั ด ส ว นตรงตามระบบนวตละหรื อ เรียกอีกอยางหนึ่งวาระบบจตุรมาณะของชางลังกาเลย ในงานวิจัยชิ้นนี้พบวามีพระพุทธรูปเพียง 2 องคที่ สามารถวัดขนาดไดตามระบบจตุรมาณะคือพระพุทธ สิหิงคจำ�ลอง พ.ศ. 2024 และพระพุทธสิหิงคแบบ กระดาง พ.ศ. 2034 แตพระพุทธรูปทั้ง 2 องคนี้ซึ่ง ปจจุบันประดิษฐานอยูในวัดเบญจมบพิตรก็มิไดแสดง ปางสมาธิเชนพระพุทธรูปลังกาทั่วไป หากแสดงปาง มารวิชัยดังที่นิยมกันในภูมิภาคนี้ ดวยเหตุนั้นอาจกลาว ไดวาระบบสัดสวนของพระพุทธรูปลังกามิไดถูกนำ�เขา มาพรอมกับการเดินทางไปศึกษายังลังกาของพระสงฆ สุ โ ขทั ย และล า นนา ในทางตรงกั น ข า มดู เ หมื อ นว า ชางลังกาจะมีความชำ�นาญในการสลักพระพุทธรูปศิลา มากกวาการสรางพระพุทธรูปดวยเทคนิคการหลอ ยิ่ ง ไปกว า นั้ น พระพุ ท ธรู ป สั ม ฤทธิ์ เ ชี ย งใหม หลายองคก็แสดงรองรอยวิธีการหลอแบบโบราณซึ่ง นิ ย มกั น ในเนปาลและทิ เ บตเช น เดี ย วกั บ ล า นนา โดยเฉพาะอยางยิ่งวิธีการหลอแยกเปนสวนๆ แลวนำ� มาเชื่อมตอกันดวยสลักที่ทางลานนาเรียกวาพระเจา แสนแซวซึ่งพระเศียรมักจะหลอกลวง หากพิจารณาลึก ลงไปในรายละเอียดจะเห็นวาหลายครั้งที่พระพุทธรูป เหลานี้มีสวนอุษณีษะหรือพระเมาลีและพระรัศมีหลอ แยกต า งหากอี ก ชิ้ น หนึ่ ง โดยสามารถถอดออกจาก พระเศียรได (รูปที่ 9) วิธีการหลอเชนนี้ยอมสัมพันธ กับประเพณีการบรรจุพระธาตุในพระเศียรพระพุทธรูป ดังกรณีของพระลวปุระหรือพระเจาแขงคมซึ่งปจจุบัน อยูในวิหารวัดศรีเกิด จังหวัดเชียงใหม ตำ�นานกลาววา พระเจาติโลกราชผูส รางไดบรรจุพระธาตุจ�ำ นวน 500 องค จากหอพระสวนพระองคไวในพระเศียรดวย (รตนปญญา

รูปที่ 8. พระพุทธสิหิงค พ.ศ. 2027 สูง 78 ซม. สัมฤทธิ์ วัดเบญจมบพิตร มีอุษณีษะทรงกรวยสูง (พิริยะ ภาพ)

เถระ 2510 : 133-134 และ 2554 : 212-213) จาก การสำ�รวจเราก็พบรองรอยของอุษณีษะซึ่งหลอแยกชิ้น และสามารถเปดออกได หลักฐานสำ�คัญอีกชิน้ หนึง่ ไดแก พระพุทธสิหิงค พ.ศ. 2025 ในพิพิธภัณฑวัดพระธาตุ หริภุญชัย อุษณีษะที่ถอดออกไดของพระพุทธสิหิงค องคนี้ (รูปที่ 10) ทำ�เปนชองเก็บพระธาตุไวภายในอยาง ประณีตแตกตางจากที่พบโดยทั่วไป สิ่งนี้ยอมยืนยัน ถึงคติการบรรจุพระสารีริกธาตุในพระเศียรพระพุทธรูป ของคนลานนาไดชัดเจนที่สุด เทคนิ ค การหล อ พระพุ ท ธรู ป และพิ ธี พุ ท ธาภิ เ ษก พระพุทธรูปลังกา ทิเบต และลานนา กำ � เนิ ด พระพุ ท ธรู ป ในลั ง กานั้ น ควรจะเกิ ด ขึ้ น ในสำ�นักอภัยคีรีมากกวาสำ�นักมหาวิหาร โดยอาจรับ รูปแบบมาจากพุทธศิลปะแบบอมราวดีทางภาคใตของ อินเดียซึ่งคตินิกายมานธยมิกของทานนาคารชุนกำ�ลัง เฟองฟู ดังเห็นไดจากพระพุทธรูปเกาที่สุดในลังกา ซึ่งฟอนชโรเดอรกลาววาคนพบที่อาสนคระในสำ�นัก

15


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปีที่ 32 ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2555

รูปที่ 9. พระพุทธรูปปางมารวิชัย ขัดสมาธิราบ สัมฤทธิ์ ในอุโบสถวัดศรีสุพรรณ อ.เมืองเชียงใหม ซึ่งอาจจะสรางขึ้นกอนป พ.ศ. 2044 จะเห็นวาอุษณีษะหรือพระเมาลีที่หลอแยกชิ้นสามารถเปดออกได (ภาพโดยผูวิจัย)

อภัยคีรี อันมีลักษณะตรงกับพระพุทธรูปคนพบจาก ถูปาราม ซึง่ เชษฐ ติงสัญชลี (2552 : 44-47) ชีใ้ หเห็นวา มีเสนขอบจีวรที่พระเพลาและพระชงฆเทียบเคียงไดกับ พระพุทธรูปจากนาคารชุนโกณฑะ หลักฐานสนับสนุนอีก ประการหนึ่งคือคัมภีรจิตรกรรมศาสตรของพระมัญชุศรี อันเปนตำ�ราการสรางพระพุทธรูปทีร่ จู กั กันดีในลังกาก็มี ทีม่ าจากประติมานวิทยาของลัทธิมหายาน (Marasinghe 1991: xix) อยางไรก็ตามนาสังเกตวาเมื่อชางลังกาหัน มาสรางพระพุทธรูปดวยสัมฤทธิ์ไดเกิดมีขอหามบาง ประการมิใหหลอกลวง ดังที่คัมภีรสารีบุตร ซึ่งมีชื่อเต็ม วา พิมพมานะของโคตรมียศาสตรซึ่งไดรับฟงมาโดย ศารีบุตร ของฝายเถรวาทซึ่งอาจเขียนขึ้นในราวกลาง พุทธศตวรรษที่ 14 ถึงกลางพุทธศตวรรษที่ 15 ไดกลาว ถึงขอหามมิใหชางทำ�การหลอกลวง มิเชนนั้นจะเกิดภัย อันตรายตางๆ ตอตนเองและบานเมือง (Von Schroeder

16

1992 ; Marasinghe 1994 : 5-7) ตามความเห็นของผูวิจัย มีเหตุผลที่เชื่อไดวา ข อ ห า มดั ง กล า วอาจมาจากการแข ง ขั น ระหว า ง นิกายสงฆในลังกาในยุคเมืองอนุราธปุระ โดยสำ�นัก มหาวิหารของนิกายเถรวาทคงตองการมิใหมีการทำ � พิธีพุทธาภิเษกพระพุทธรูปตามแบบลัทธิมหายานได อยางไรก็ตามแมวาสำ�นักอภัยคีรีจะสูญสิ้นอำ�นาจและ บทบาทลงในสมัยพระเจาปรากรมภาหุที่ 1 หรือราว พุทธศตวรรษที่ 18 หรือในสมัยเมืองโปลนนารุวะเปน เมืองหลวง แตคติการบูชาพระพุทธรูปที่เริ่มตนในฝาย มหายานก็ไดเขามาเปนสวนหนึง่ ของวัฒนธรรมลังกาไป แลว เห็นไดจากคติพุทธานุสสติของชาวลังกาซึ่งตองมี การบูชาพระพุทธรูปดวย (Von Schroeder 1992 : 18) ทำ�นองเดียวกับการสวดมนตหรือการประกอบพิธีกรรม ของพุ ท ธศาสนิ ก ชนไทยซึ่ ง ต อ งมี พ ระพุ ท ธรู ป เป น


นิกายพุทธศาสนาในลานนา ระหวางรัชสมัยพระเจาติโลกราชถึงพญาแกว ม.ล. สุรสวัสดิ์ ศุขสวัสดิ์

รูปที่ 10. พระพุทธสิหิงคในพิพิธภัณฑวัดพระธาตุหริภุญชัย จ.ลำ�พูน จารึกที่ฐานระบุปที่หลอคือ พ.ศ. 2025 ภาย ในอุษณีษะที่ถอดออกไดของพระพุทธสิหิงคองคนี้ ทำ�เปนชองเก็บพระธาตุ (ภาพโดยผูวิจัย)

รูปที่ 11. พระพุทธรูปปางสมาธิ ขัดสมาธิราบ สลักจากหิน โดโลไมท ศิลปะลังกาแบบเมืองอนุราธปุระ กลางพุทธ ศตวรรษที่ 9 หรือ 10 พิพิธภัณฑกรุงโคลัมโบ (ภาพ โดยผูวิจัย)

สวนประกอบสำ�คัญในพิธี ประเด็นพิจารณาในที่นี้คือ แมวาพระพุทธรูปลังกาที่สรางดวยสัมฤทธิ์มักจะหลอ ทึ บ ตั น แต ช าวลั ง กาก็ ใ ห ค วามสำ � คั ญ กั บ การบรรจุ พระธาตุไวในพระพุทธรูปตามประเพณีที่สืบทอดมา จากยุ ค คั น ธาระเมื่ อ มี ก ารสร า งพระพุ ท ธรู ป ขึ้ น เป น ครั้งแรกในอินเดีย (Rhi 2005 : 169-211) พระสงฆและ พุทธศาสนิกชนในลังกายังถือวาพระพุทธรูปที่ศักดิ์สิทธิ์ สมควรกราบไหวบูชาไดนั้นจะตองมีพระธาตุบรรจุอยู โดยมักนิยมบรรจุไวในอุษณีษะหรือพระเมาลี ไมวา พระพุทธรูปองคนั้นจะสรางดวยสัมฤทธิ์หรือศิลาก็ตาม (รูปที่ 11 และ 12) ชาวลังกาก็เชนเดียวกับชาวเนปาล-ทิเบตและ ชาวไทยที่ เ ชื่ อ ว า รู ป เคารพทุ ก องค ไ ม ว  า จะเนื่ อ งใน ศาสนาฮินดูหรือพุทธศาสนาจะตองผานพิธีพุทธาภิเษก เสียกอนจึงจะนำ�ไปกราบไหวบูชาได (Von Schroeder 2001 : 29) พิธพี ทุ ธาภิเษกของชาวลังกาทีเ่ รียกวาเนตร ป ง กมะก็ ต รงกับ พิ ธี เ บิ ก พระเนตรที่ป ฏิ บั ติ กั น ในไทย นั่นเอง ซึ่งหากเปนพระพุทธรูปศิลาก็มักใชการแตมสีที่ ในตาดำ� หรือหากเปนพระพุทธรูปสัมฤทธิก์ อ็ าจติดนัยน ตาดำ�ดวยอัญมณี ในทางตรงขามรูปเคารพสัมฤทธิ์ ฝายมหายานและวัชรยานจำ�เปนอยางยิ่งที่ตองหลอ กลวง เพราะพิธีพุทธาภิเษกซึ่งชาวทิเบตพัฒนาจาก ประเพณี อิ น เดี ย ดั้ ง เดิ ม มาเป น ของตนเองที่ เ รี ย กว า รั บ เนโชกาหรื อ รั บ เนนั้ น จะต อ งทำ � การบรรจุ ซุ ง หรื อ ธารณีและซุงชุกหรือมวลสารศักดิ์สิทธิ์ตางๆ เขาไวใน พระพุทธรูปและรูปเคารพดวย พิธีพุทธาภิเษกแบบ ทิเบตไมไดจำ�กัดเฉพาะรูปเคารพหรืองานจิตรกรรม

รูปที่ 12. ชองเจาะเปนรูเหนืออุษณีษะของพระพุทธรูปศิลา รูปที่ 11 (ภาพโดยผูวิจัย)

17


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปีที่ 32 ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2555

เทานั้น แตพวกเขายังทำ�พิธีพุทธาภิเษกตอสิ่งสำ�คัญอีก 3 สิง่ คือหนังสือหรือคัมภีร พระวิหาร และพระสถูป ในฐานะ สัญลักษณที่รองรับพระวจนะ พระวรกาย และดวงจิต ของพระพุทธองค “เครื่องรองรับ”ดังกลาวนี้อาจแบง ออกไดเปน 3 กลุม คือ 1) รูปเคารพและภาพจิตรกรรม ซึ่งถือวาเปนเครื่องรองรับพระกายของพระพุทธองค 2) หนั ง สื อ หรื อ คั ม ภี ร  มั น ตระและธารณี ซึ่ ง ถื อ ว า เป น เครื่ อ งรองรั บ พระวจนะของพระพุ ท ธองค และ 3) พระสถูปซึ่งถือวาเปนเครื่องรองรับพระวิญญาณ ของพระพุทธองค สิ่งนี้อธิบายวาทำ�ไมตามปรกติแลว วัดในพระพุทธศาสนาลัทธิมหายานและนิกายวัชรยาน จึงมักประกอบดวยพระพุทธรูป ธงมนตหรือทังกา คัมภีร หรือพระสูตรตางๆ และสถูปบรรจุพระธาตุ สำ�หรับพิธี พุทธาภิเษกพระพุทธรูปของคนลานนาทุกวันนี้ซึ่งมีการ บรรจุหัวใจพระเจารวมทั้งปอด ตับ ไต และซี่โครงซึ่งมัก ทำ�ดวยเงิน (รูปที่ 13) อาจสะทอนภาพของพิธีดังกลาว ในอดีต ไดอ ยางชัดเจน ตำ � ราพิธีบรรจุหัวใจพระเจา บางฉบับก็แสดงภาพหัวใจพระเจาประกอบไวดวย เชน ตำ�ราคัดลอกดวยลายมือจากวัดทุงคา อำ�เภอแจหม จังหวัดลำ�ปาง (รูปที่ 14) ในกรณีของการสรางพระพุทธ รูปกอดวยอิฐก็ยังมีการบรรจุยันตปโชตาที่จารลงบนอิฐ ดิบคลายการวางศิลาฤกษในองคพระพุทธรูปอีกดวย

รูปที่ 13. หัวใจพระเจาใชในพิธีพุทธาภิเษกพระเจาทันใจ วัด พันเตา อ.เมืองเชียงใหม เมื่อเดือนกรกฎาคม 2552 (ภาพโดยผูวิจัย)

รูปที่ 14. ตำ�ราบรรจุหัวใจพระเจาฉบับลายมือเขียน ของทานเจาอาวาสวัดทุงคา อ.แจหม จ.ลำ�ปาง เขียนโดยครูบายาสลี (เจาอธิการ ทองสุข ธรรมฺสาโร) ในภาพจะเห็นหัวใจ ปอด และอวัยวะภายในซึ่งจะจำ�ลองขึ้นเพื่อบรรจุในองคพระพุทธรูปในพิธีพุทธาภิเษก (ภาพโดยผูวิจัย)

18


นิกายพุทธศาสนาในลานนา ระหวางรัชสมัยพระเจาติโลกราชถึงพญาแกว ม.ล. สุรสวัสดิ์ ศุขสวัสดิ์

รูปที่ 15. ภาพจำ�ลองการบรรจุยันตสุคโต ยันตปโชตา และหัวใจพระเจาในพระพุทธรูปกออิฐ ตามพิธีพุทธา ภิเษกแบบลานนา (พระจตุ พล จิตฺตสํวโร และพระศุภชัย ชยสุโภ 2542)

(รูปที่ 15) ซึง่ สันนิษฐานวาเปนประเพณีของหนสวนดอก ซึ่งเริ่มมีขึ้นในรัชกาลพระเจาติโลกราช (พระจตุพลและ พระศุภชัย 2542 : 6-7) หากพิ จ ารณาพิ ธี พุ ท ธาภิ เ ษกพระพุ ท ธรู ป ในลั ท ธิ ม หายานและนิ ก ายวั ช รยานแบบเนปาลและ ทิเบตกับประเพณีลานนา เราจะเห็นถึงความเชื่อมโยง ระหวางประเพณีและพิธีกรรมทั้ง 2 แหลงไดชัดเจน ใน ที่นี้อาจกลาวไดวาพวงหัวใจและชิ้นสวนภายในของ พระพุ ท ธรู ป ล า นนาคงจะมี ที่ ม าจากซุ ง หรื อ ธารณี ที่ นักบวชชั้นรินโปเชผูไดรับมอบหมายโดยเฉพาะบรรจุ ลงไปในองคพระพุทธรูปหรือรูปเคารพตางๆ (รูปที่ 16) เพื่อเปนการใหชีวิตตอองคพระปฏิมาหรือรูปเคารพนั้น ยันตปโชตาซึ่งจารบนอิฐที่ใชกอพระพุทธรูปเชนในสวน หนาตัก ในสวนลำ�ตัว ตลอดจนการใสหวั ใจลงแผนหลาบ เงินหรือทองในพระอุระ ตลอดจนการบรรจุยนั ตสขุ โตลง ในแผนคำ�ปกหัวพระพุทธรูปตามประเพณีลานนา ลวน ตรงกับการบรรจุซงุ ในพระพุทธรูปทิเบต สำ�หรับพระธาตุ ที่บรรจุในพระพุทธรูปหรือรูปเคารพแบบทิเบตนั้นก็มี

ความหมายครอบคลุมมากกวาที่พุทธศาสนิกชนลัทธิ เถรวาทยึดถือกัน นับตัง้ แตอฐั ธิ าตุของพระสงฆสำ�คัญซึง่ เปนทีเ่ คารพบูชาของลูกศิษยลกู หาทีเ่ รียกวารินเซล รวม ไปถึงเสนผม เล็บ ฟน สวนของกะโหลก หรือสวนของจีวร นอกจากนี้ยังมีสถูป พระพุทธรูป พระพิมพดินดิบ ภาพ วาด ภาพพิมพไม และธารณีมนต สวนบัลลังกกส็ ามารถ ใชบรรจุดินและหินที่เรียกกันในวงการพระเครื่องของ ไทยวา “มวลสาร” จากสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ตางๆ นอกจาก นั้นยังมี อัญมณี พืชสมุนไพร ธัญพืช และพืชพันธุไมที่ ชาวทิเบตถือกันวาศักดิ์สิทธิ์ (Leonov 1992 : 100-110) ตนไมแหงชีวิต แกนจักรวาลภายใน และพระธยานิ พุทธทั้งหา เชนเดียวกับโดแนล สแวเรอร (Swearer 2004) ผู  วิ จั ย เห็ น ว า พิ ธี พุ ท ธาภิ เ ษกหรื อ การอบรมพระเจ า คื อ การเปลี่ ย นสภาพพระพุ ท ธรู ป ไปสู  ค วามเป น พระ พุทธเจาที่มีชีวิตผานทางการจำ�ลองแบบพระพุทธองค การทำ�ใหพระพุทธรูปหรือรูปเคารพตามลัทธิมหายาน

19


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปีที่ 32 ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2555

รูปที่ 16. ภาพจำ�ลองการบรรจุซุงหรือธารณีมนตตามวิธีของ พระลามะงาวัง ซังโป (ภาพจำ�ลองโดยผูวิจัย)

และนิกายวัชรยานกลับมีชวี ติ ขึน้ มาใหมจะยังไมสมบูรณ จนกวาจะมีการบรรจุ ซกชิง (รูปที่ 17) หรือตนไมแหง ชีวิตลงไปดวย จะเห็นวาซกชิงซึ่งมีลักษณะเปนเสา 4 เหลี่ยมยอดแหลมมัดดวยเสนดาย 5 สีและเขียน มนตเฉพาะของพระธยานิพุทธ 5 พระองคลงไปดวย นั้น คือการสรางเหตุและปจจัยของการมีอยูเปนอยูตาม หลักปฏิจจสมุปบาทขึ้นมาเพื่อใหพระพุทธเจากลับมา ดำ�รงพระชนมในโลกนี้อีกครั้ง (นิรมานกาย) ในรูปของ พระปฏิมา (สัมโภคกาย) และสามารถสั่งสอนพระธรรม (ธรรมกาย) แกพุทธศาสนิกชนผูเลื่อมใสศรัทธา หากใน ที่นี้ถือเปนการสรางขึ้นดวยมนตหรือธารณีอันศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งหากพิจารณาแลวจะเห็นไดวาสอดคลองกับทฤษฎี ของไร (Rhi 2005 : 169-211) ที่กลาวถึงการประสาน กันอยางสลับซับซอนระหวางพระธาตุและตถาคตวิคฤหะ หรือพระพุทธรูปที่มีลักษณะเปนรูปธรรม ซึ่งทำ�ใหการ สื่อสารระหวางพุทธศาสนิกชนกับพระพุทธองค (ผาน ทางพระพุทธรูป) เปนไปโดยสมบูรณ ประเด็นนี้ยังอาจ เปนที่มาของคติพระธรรมเจดียในจารึก พ.ศ. 2092 จาก พิษณุโลกซึ่งเปรียบสวนตางๆ ขององคพระพุทธรูป

20

รูปที่ 17. ตัวอยาง ซกชิง หรือ ตนไมแหงชีวติ ทีล่ ามะตากยะพระ สงฆชาวทิเบตแหง Trikal Maitreya Buddha Vihara ที่ สถูปโพธานาถนำ�มาใหดู (ภาพโดยผูวิจัย)

กั บ พระพุ ท ธคุ ณ ต า งๆ ที่ นำ � ไปสู  ก ารตรั ส รู  เช น พระเศียรเปรียบดังพระสัพพัญูตญาณ (ญาณหยั่งรู สิ่งทั้งปวงที่เปนอดีต ปจจุบัน และอนาคต) อุณาโลม เปรียบดังพระปญญาในมหาวชิรสมา​บัติ (ปญญาคือ ความรู  แ จ ง ในสมาบั ติ ห รื อ ญาณ 8) เป น ต น (ฉ่ำ � ทองคำ�วรรณ 2527 : 277-281) ในที่นี้หากพิจารณา จากคุณลักษณะเฉพาะของพระธยานิพุทธแตละองคซึ่ง ประกอบกันขึ้นเปนซกชิงหรือตนไมแหงชีวิตแลวเรา จะเขาใจไดทันทีถึงการใหชีวิตแกพระพุทธรูปตามคติ มหายานดังกลาว เพราะพระธยานิพทุ ธแตละองคยงั เปน ตัวแทนของขันธทงั้ 5 ซึง่ เปนเหตุของการเกิดหรือไมเกิด โดยอาศัยปจจัยซึ่งกันและกันตามหลักปฏิจจสมุปบาท ไดแกวิญญาณ (พระมหาไวโรจนะ) รูป (พระวัชรสัตต อักโภษยะ) เวทนา (พระรัตนสัมภวะ) สัญญา (พระอมิ


นิกายพุทธศาสนาในลานนา ระหวางรัชสมัยพระเจาติโลกราชถึงพญาแกว ม.ล. สุรสวัสดิ์ ศุขสวัสดิ์

ตาภะ) และสังขาร (พระอโมฆสิทธิ) ในทำ�นองเดียวกัน หากจะพิจารณาในแงทวี่ า รางกายมนุษยเราลวนประกอบ ขึ้นจากการสนธิของธาตุทั้ง 5 คือ ดิน น้ำ� ลม ไฟ และ อากาศธาตุ พิธีกรรมนี้ก็อธิบายไดเชนกันเพราะตามคติ ลัทธิมหายานและนิกายวัชรยาน ถือวาพระมหาไวโรจ นะคือตัวแทนของอากาศธาตุ พระวัชรสัตตอักโษภยะคือ ธาตุน้ำ� พระรัตนสัมภวะคือธาตุดิน พระอมิตาภะคือ ธาตุไฟ ขณะที่พระอโมฆสิทธิคือธาตุลม ซกชิงหรือตนไมแหงชีวิตในพระพุทธรูปทิเบต อาจตีความไดอกี ประการหนึง่ วาหมายถึงแกนกลางของ รางกายซึ่งเปนเสนทางหมุนเวียนของลมปราณภายใน ตามตำ�ราจักระ 2 เสนทางคืออิฑา และปงคลา (สนอด กราส 2537 : 305-307) ลมปราณทั้ง 2 ยังเปรียบไดกับ สิ่งตางๆ ที่เปนคูตรงขามกันในจักรวาล เชน ปรัชญากับ อุปายะ ชายกับหญิง ไขกบั เชือ้ พันธุ ฯลฯ สิง่ ทีเ่ ปนคูตรง ขามกันเหลานี้จะรวมเขาเปนหนึ่งเดียว ณ จุดดอกบัวที่ กลางกระหมอมซึ่งจะไมมีความเปนคูตรงขามกันอีกตอ ไปดังที่เรียกวาอทไวตะ แตจะกลายเปนความวางหรือ สุญญตาอันเปนภาวะแหงความสุขอันยิ่งใหญคือมหา สุข สิ่งนี้เห็นไดชัดเจนจากอุษณีษะพระพุทธรูปลานนา ยุครุงเรืองเชนเดียวกับพระพุทธรูปเนปาล-ทิเบตที่เปด ออกสำ�หรับบรรจุพระธาตุดังกลาวมาแตตน แมในวัฒน ธรรมศิ ล าเช น พระพุ ท ธรู ป ศิ ล าในศิ ล ปะคั น ธาระและ ศิลปะลังกาก็มีชองเล็กๆ สำ�หรับบรรจุพระธาตุบนกระ หมอมหรือบนอุษณีษะเชนกัน อนึ่ง คัมภีรตางๆ ของ นิกายมหายานและลัทธิวชั รยานยังเปรียบเทียบจักรวาล ภายนอกกับจักรวาลภายในรางกายมนุษยอยูเสมอ การ บรรจุซกชิงและซุงในองคพระพุทธรูปและรูปเคารพในพิธี พุทธาภิเษกแบบทิเบตดังกลาวก็อาจสะทอนแนวความ คิดเชนนี้ดัวย เพราะหลักการของฝายมหายานและวัชร ยานถือวารางกายมนุษยอปุ มาเหมือนจักรวาลทีย่ อ ลงมา กระดูกสันหลังของมนุษยซงึ่ ตัง้ ตนทีบ่ ริเวณหัวเหนาผาน กงลอ (จักร) หลายอันขึ้นมาถึงกลางกระหมอมเปรียบ ไดกับเขาพระสุเมรุ กงลอ (จักร) เปรียบไดกับสวรรคชั้น ตางๆ ทีไ่ ลขนึ้ ไปตามความสูงของเขาพระสุเมรุ สวนยอด ศีรษะที่เรียกวาพรหมรันธระหรือ “ชองทางแหงพรหม” เปนจุดทีส่ วางจาเปรียบไดกบั พระอาทิตยบนยอดสุดของ

รูปที่ 18 ภาพแสดงจักระ 7 ตำ�แหนงในรางกายมนุษย ตามแนว กระดูกสันหลังหรือแกนตนไมแหงชีวิตซึ่งภาษาทิเบต เรียกวาซกชิง

จักรวาล หรือเปนจุดกำ�เนิดตลอดกาลของสรรพสิ่งที่ยัง ไมเกิดหรือยังไมปรากฏ (รูปที่ 18) ยอดศีรษะหรือกระ หมอมจึงถือวาเปนจุดศูนยกลางของตัวตนและเปนหลัก สูงสุดที่กอใหเกิดความมีตัวตนของมนุษย ดวยเหตุนั้น จุดประสงคของการปฏิบตั โิ ยคะตันตระคือการปนเขาพระ สุเมรุที่อยูภายในขึ้นไปทีละชั้น ผูฝกปฏิบัติจะพบความ สวางขึ้นเปนลำ�ดับจนในที่สุดมาถึงจุดสวางจาที่สุดดัง พระอาทิตยบนยอดจักรวาล คาถา เย ธฺมมา คาถาหัวใจพระพุทธสิหิงค และ​ คาถาปฐมัง นาสังเกตวาในประเทศอินเดียหลักธรรมเรื่อง ปฏิ จ จสมุ ป บาทเป น ที่ นิ ย มกั น มากในแคว น วั ล ภี ศู น ย ก ลางพุ ท ธศาสนาในภาคตะวั น ตกของอิ น เดี ย ระหว า งพุ ท ธศตวรรษที่ 11-12 ดั ง ที่ ห ลวงจี น อี้ จิ ง ไดบนั ทึกไววา เมื่อมีการสรางพระพุทธรูปหรือสถูปดวย ทอง เงิน ทองแดง เหล็ก ดิน อิฐ และหิน พุทธศาสนิกชน อุบาสก อุบาสิกา ตลอดจนพระสงฆ จะนิยมบรรจุ พระธาตุ (สรีระ) 1 ใน 2 ประเภทลงไปภายในพระพุทธ รูปหรือสถูป ประเภทแรกคืออัฐิธาตุของพระพุทธเจา ประเภทที่ 2 คือหลักธรรมคำ�สอนของพระพุทธองค

21


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปีที่ 32 ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2555

โดยเฉพาะอยางยิ่งคำ�สอนเรื่องปฏิจจสมุปบาท โดยมี ความเชื่อวาเมื่อบรรจุพระธาตุหนึ่ง ​ในสองประเภทนี้ ลงไปแล ว ตนเองจะได รั บ บุ ญ กุ ศ ลมากมาย การที่ หลักธรรมคำ�สอนเรื่องปฏิจจสมุปบาทถูกจัดใหอยูใน กลุ  ม สรี ร ะนั้ น แสดงว า มี ค วามสำ � คั ญ เที ย บเท า พระอัฐธิ าตุของพระพุทธเจาเลยทีเดียว (ผาสุข อินทราวุธ 2551 : 51) การตี ค วามในเชิ ง อภิ ป รั ช ญาดั ง กล า วคงจะ แพรมาถึงดินแดนลานนาผานเสนทางการเดินทางของ ทานพุทธคุปต ณ ชวงเวลาใดเวลาหนึ่งกอนที่ทาน ตารนาถได ร วบรวมและเขี ย นเป น หนั ง สื อ ในพุ ท ธ ศตวรรษที่ ๒๑ ภายหลังมาคงคอยๆ ถูกปรับเปลี่ยน มาสูความเขาใจของภิกษุลานนาในเชิงกายวิภาคซึ่ง ประกอบดวยหัวใจและอวัยวะภายในรวมทั้งมีการลง อักขระมงคลตางๆ เพื่อสื่อ “ความหมาย” หรือ “สาร” แหงพระธรรมควบคูไปกับความศักดิ์สิทธิ์ อันที่จริงสาร ดังกลาวก็ปรากฏอยางชัดเจนในยุครุงเรืองของลานนา ดังคาถาหัวใจพระพุทธสิหิงค (สมนิ ทุนิม สมทุ สนิทุ) ซึ่งพบบนฐานพระพุทธรูปสัมฤทธิ์เชียงใหมจำ�นวนหนึ่ง ที่เกาที่สุดที่พบในขณะนี้ไดแกพระพุทธรูปปางอุมบาตร สัมฤทธิ์ในวัดเชียงมั่น อำ�เภอเมืองเชียใหม ซึ่งสรางขึ้น ในป พ.ศ. 2008 (เพนธ 2519 : 55-56) เนื้อหาประเด็น หลักของคาถาหัวใจพระพุทธสิหิงคนี้ก็ตรงกันกับหลัก อริยสัจสี่นั่นเอง หัวใจพระพุทธศาสนาดังกลาวเชนนี้ยัง ปรากฏในรูปของพระคาถาเย ธมฺมาที่รูจักกันดีมาใน วัฒนธรรมทวารวดีทั่วประเทศไทย หากมีความหมาย ใกลเคียงกับปฏิจสมุปบาทที่ชาวอินเดียนิยมบรรจุใน สถูปหรือพระพุทธรูปดังกลาว ภายหลังมาชาวลานนา จึงเรียกวาคาถาปฐมัง (ปฐม) หรือปฐมัง 4 ดานเมื่อถูก นำ�ไปใชประกอบผายันต เปนไปไดหรือไมวาคาถาพระพุทธสิหิงคหรือ คาถาปฐมังซึ่งมีเนื้อหาสั่งสอนพระธรรมทำ�นองเดียว กับกับคาถาเย ธมฺมาและปฏิจสมุปบาทนี้อาจมีที่มาจาก ประเพณีพุทธศาสนานิกายฝายเหนือ จากการคนควา ของปเตอร สกิลลิ่งพบวาพระพุทธเจามิไดเปนผูแสดง พระคาถาเย ธฺมมาดวยพระองคเอง แตพระอัสสชิหนึ่ง ในป ญ จวั ค คี เ ป น ผู  แ สดงคาถาวั ต ถุ ป ระสงค ข องพระ

22

ศาสนาดังกลาวนี้แดอุปดิสสะ (พระสารีบุตร) ในกรุง ราชคฤห ดวยเหตุนั้นจึงถือวาคาถานี้เปนสาวกภาษิต ซึ่งสามารถสรุปคำ�สอนของพระพุทธเจา (พุทธภาษิต) ไดอยางสมบูรณจนเปนที่นิยมแผขยายออกไป ตอมา บรรดาพระสูตรฝายมหายานและตันตระตางๆ ทีแ่ ตงขึน้ ในภายหลังหันมาใหความสำ�คัญมากขึ้นโดยกลาววา พระพุทธองคเองที่เปนผูตรัสสั่งสอนคาถานี้ เชน พระ สู ต รชื่ อ ประจิต ยสมุตปาทนามมหายานสูต รกล า วว า พระพุ ท ธเจ า ทรงประทานคาถานี้ ใ นสวรรค ด าวดึ ง ส เปนตน พระสูตรในสำ�นักของทานนาคารชุนบางฉบับ ที่กลาวถึงคาถาเย ธมฺมา เชน ธรรมธาตุครรภวิวรณก็ ถูกถายทอดเปนภาษาทิเบตในราวกลางพุทธศตวรรษ ที่ 14 ที่สำ�คัญคือคาถาเย ธมฺมานี้นอกจากจะปรากฏบน ตราประทับในพระไตรปฎกทิเบตที่เรียกวากันจูรแลว ชาวทิเบตยังนิยมสลักพระคาถาเย ธมฺมานี้ตามแผนหิน ตางๆ เชนเดียวกับที่ฐานพระพุทธรูป (Skilling 2008 : 503-525) ทำ�นองเดียวกับความนิยมบรรจุคำ�สอนเรื่อง ปฏิ จ สมุ ป บาทในพระพุ ท ธรู ป ของชาวแคว น วั ล ภี ใ น อินเดีย อยางไรก็ตามทั้งหมดที่กลาวมานี้ลวนมีสวนใน การปลอบประโลมใหชาวลานนามีใจตั้งมั่นในวิถีของ พระพุทธองค สงผลใหเกิดประเพณีการอุทิศสิ่งกอสราง และพระพุทธรูป ตลอดจนผูคนและไรนาแกพระพุทธ ศาสนาอยางกวางขวาง ดังปรากฏเรื่องราวใหเห็นบน ศิลาจารึกและจารึกบนฐานพระพุทธรูปสัมฤทธิ์ ศิลา และไมจำ�นวนมากมาย สิ่งที่หลวงจีนอี้จิงไดเห็นมาใน อินเดียในยุคของทานนั้นยังสืบทอดผานกาลเวลา และ นิกายตางๆ ของพุทธศาสนาทั้งเถรวาท มหายาน และ วัชรยาน มายังเชียงใหมและลานนาในยุครุงเรือง ดวย กระบวนการทางประวัติศาสตร สังคม ศาสนา และ ศิลปกรรมที่เกี่ยวของกับการสรางพระพุทธรูปดังกลาว มาแตตน กิตติกรรมประกาศ ผูว จิ ยั ตองขอขอบคุณมหาวิทยาลัยเชียงใหมที่ ได ส นั บ สนุ น งบประมาณการวิ จั ย ชิ้ น นี้ ขอขอบคุ ณ คุ ณ ศรี เ ลา เกษพรหมผู  ช  ว ยเหลื อ ในการอ า นจารึ ก ตางๆ ตลอดจนใหขอมูลดานประเพณีและพิธีกรรม


นิกายพุทธศาสนาในลานนา ระหวางรัชสมัยพระเจาติโลกราชถึงพญาแกว ม.ล. สุรสวัสดิ์ ศุขสวัสดิ์

ลานนา รวมทั้งตองขอขอบคุณ ศาสตราจารย ดร.ผาสุข อินทราวุธ ที่กรุณาอานตนฉบับแรกพรอมทั้งขอแนะนำ� ปรั บ ปรุ ง ที่ ช  ว ยให ง านชิ้ น นี้ ส มบู ร ณ ขึ้ น ขอขอบคุ ณ คุณสราวุธ รูปน ผูมีสวนชวยเหลือในการเก็บขอมูลภาค สนามและคนหาขอมูลที่จำ�เปนอีกหลายประการ เชน เดียวกับคุณมุกุนดา บิสตา คุณโรหิต กุมาร รานจิตการ และกลุมศิลปนชางฝมือแหงเมืองปาตัน ประเทศเนปาล 

ขอขอบคุณ ดร. ศาหนาช ฮุสเน ชาฮัน สำ�หรับหนังสือ และเอกสารขอมูลอันมีคาซึ่งไมสามารถคนหาไดในไทย ขอขอบคุณอาจารยกฤษดาวรรณ หงศลดารมภ ประธาน มูลนิธิพันดารา ผูใหขอมูลดานวัฒนธรรมทิเบต รวมทั้ง อีกหลายทานทีม่ ไิ ดเอยนามมา ณ ทีน่ ี้ อยางไรก็ตามหาก มีขอบกพรองใดๆ ยอมเปนความรับผิดชอบของผูวิจัย เพียงผูเดียว 



23


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปีที่ 32 ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2555

บรรณานุกรม ภาษาไทย กรมศิลปากร. (2552). ศิลปะทวารวดีตนกำ�เนิดพุทธศิลปในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: อมรินทรพริ้นติ้งแอนด พับลิชชิ่ง. ฉ่ำ� ทองคำ�วรรณ, อาน แปล และอธิบาย. (2527). จารึกสมัยสุโขทัย. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร. เชษฐ ติงสัญชลี. (2552). เสนขอบจีวรที่พระเพลา-พระชงฆของพระพุทธรูปประทับนั่งในศิลปะอมราวดี-ลังกา และ ประเด็นเชื่อมโยงกับไทย. เมืองโบราณ 35 (1) : (มกราคม-มีนาคม). นิยะดา เหลาสุนทร. (2542). “จากพระสูตรมหายานมาถึงสังขศิลปชัย.” ใน ประวัติศาสตรปริทรรศน. กรุงเทพฯ: ดานสุทธาการพิมพ. ผาสุข อินทราวุธ ... และคนอื่นๆ. (2536). อารยธรรมโบราณในจังหวัดลำ�พูน. กรุงเทพฯ: ภาควิชาโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร. ผาสุข อินทราวุธ. (2551). ทวารวดีธรรมจักร. กรุงเทพฯ: ภาควิชาโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร. พระจตุพล จิตฺตสํวโร และพระศุภชัย ชยสุโภ. (2542). “พระคาถาปโชตา: มนตราประจำ�พระองคของพระญาติ โลกราช”. โครงการประชุมสัมมนาทางวิชาการเรื่อง 600 ปติโลกราชกับมิติทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร ลานนาในยุคปจจุบัน ณ สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม 10 กรกฎาคม 2552. พิริยะ ไกรฤกษ. (2528). ประวัติศาสตรศิลปในประเทศไทยฉบับคูมือนักศึกษา. กรุงเทพฯ: อมรินทรการพิมพ. รตนปญญาเถระ. (2510). ชินกาลมาลีปกรณ. แปลโดย แสง มนวิทูร. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร. _________. (2554). ชินกาลมาลีนี. แปลโดย พระยาพจนาพิมล. พิมพครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ศรีปญญา. ศรีเลา เกษพรหม, รวบรวมและเรียบเรียง. (2538). พิธีกรรมและมาตราสวนในการสรางพระพุทธรูป. เอกสาร อัดสำ�เนา. สนอดกราส, เอเดรียน. (2537). สัญลักษณแหงพระสถูป. กรุงเทพฯ: โรงพิมพมหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร. สุรศักดิ์ ศรีสำ�อาง, วิเคราะหและเรียบเรียง. (2551). วัดเบญจมบพิตรและพิพิธภัณฑสถานแหงชาติ วัด เบญจมบพิตร : พระพุทธรูปสำ�คัญ ณ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร. เพนธ, ฮันส. (2519). คำ�จารึกที่ฐานพระพุทธรูปในนครเชียงใหม. กรุงเทพฯ: คณะกรรมการจัดพิมพเอกสาร ทางประวัติศาสตร สำ�นักนายกรัฐมนตรี. _________. (2526). ประวัติความเปนมาของลานนาไทย. เชียงใหม: สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม, หนา 26-27. ภาษาอังกฤษ

Aung-Twin, Michael. (1985). Pagan: The origins of modern Burma. Honolulu: University of Hawaii Press. Chattopadhyaya, Debiprasad, editor. (1990). Taranatha’s history of Buddhism in India. Delhi: Private. Coomaraswamy, A. K. (1908). Medieval Singhalese art. S.l.: Broad Campden. Duroiselle, Charles. (1911). The Aris of Burma and Tantric Buddhism. Journal of Burma Research Society I, (i).

24


นิกายพุทธศาสนาในลานนา ระหวางรัชสมัยพระเจาติโลกราชถึงพญาแกว ม.ล. สุรสวัสดิ์ ศุขสวัสดิ์

Griswold, A. B. (1957). Dated Buddha images of northern Siam. S.l.: Artibus Asiae Supplementum XVI Publishing. Gutman, Pamela. (2001). Burma’s lost kingdoms: splendours of Arakan. Bangkok: Orchid Press. Leonov, Gennady. (1992). The rite of consecration in Tibetan Buddhism. Arts of Asia 22, (5), (September - October). Luce, G.H., and Ba Shin. (1961). A Chieng Mai Mahathera Visits Pagan (1393 A.D.). Artibus Asiae 24. Marasinghe, E. W. (1991). The Citrakarmasastra Ascribed to Manjusri. Delhi: A.R. Printers. __________. (1994). The Bimbamana of Cautamiyasastra as heard by Sariputra. Delhi: Sri Satguru. Penth, Hans. (1976). Kunst im Lan Na Thai: Carl Bocks Buddhafiguren aus Fang. Artibus Asiae 38 (2/3). __________. (1994). Jinakālamālī index. Chiang Mai: Silkworm Books. Ray, Nihar-Ranjan. (1936). Sanskrit Buddhism in Burma. Rangoon: Buddha Sasana Council Press. Rhi, Juhyung. (2005). Images, relics, and jewels: The assimilation of images in the Buddhist Relic cult of Gandhāra: or Vice Versa. Artibus Asiae 65, (2). Rhie, Marylin M. and Thurman, Robert A. F. (1991). The sacred art of Tibet. London: Thames and Hudson Press. Rowland, Benjamin. (1981). The Pelican history of art : The art and architecture of India; Buddhist/Hindu/Jain. Kingsport: Kingsport Press. San Tha Aung. (1997). The Buddhist art of ancient Rakhine. 2nd ed. Yangon: U Myint Win Maung A.Z Offset. Skilling, Peter. (2008). “Buddhist sealings and the ye dharma stanza.” In Archaeology of early historic south Asia. New Delhi: Pragati Publications, p. 503-525. Stratton, Carol. (2004). Buddhist sculpture in northern Thailand. Chiang Mai: Silkworms Book. Swearer, Donald K. (2004). Becoming the Buddha. New Jersey: Princeton University Press. Tucci, Giuseppe. (1931). The sea and land travels of a Buddhist Sadhu in the sixteenth century. The Indian Historical Quarterly (Calcutta) VII, (no.4), December. Von Schroeder, Ulrich. (1992). The golden age of sculpture in Sri Lanka. Hong Kong: Visual Dharma Publications. __________. (2001). Buddhist sculptures in Tibet, vol. 1-2. Hong Kong: Visual Dharma. Woodward, Hiram. (2003). The art and architecture of Thailand: from prehistoric times through the thirteenth century. Leiden ; Boston: Brill. Woodward Jr., Hiram. (1997). The sacred sculpture of Thailand. Bangkok: River Book.

25



ความเขาใจของชาวตางชาติที่มีตอผลิตภัณฑลวดลายไทย Understanding of Foreigners on the Thai Graphic Design สุภัทรา ลูกรักษ 1 Supatra Lookraks บทคัดยอ การวิจัยครั้งนี้เปนการสำ�รวจขอมูลเกี่ยวกับความเขาใจของชาวตางชาติที่มีตอผลิตภัณฑลวดลายไทย กรณี ศึกษาผลิตภัณฑผาไหมไทยจิมทอมสัน วัตถุประสงคเพื่อศึกษาระดับความเขาใจของผูบริโภคชาวตางชาติที่มีตอ ผลิตภัณฑลวดลายไทย พรอมทั้งเก็บรวบรวมและวิเคราะหขอมูลที่นำ�ไปใชเปนแนวทางการออกแบบลวดลายไทย ใหกับผลิตภัณฑตางๆ มีความเปนสากล งานวิจัยนี้ท�ำ ใหทราบถึงความเขาใจในดานตางๆ ของผูบริโภคชาวตางชาติ ไมวาจะเปนคุณภาพของผาไหม ไทยหรือการเลือกซื้อผาไหมเพื่อนำ�ไปเปนของที่ระลึก ยังคงเปนที่นิยมของชาวตางชาติในระดับที่ดี ลวดลายกราฟก และสีสันของผาไหมไทยก็ถือไดวาเปนสิ่งหนึ่งที่ผูบริโภคใชตัดสินใจในการเลือกซื้อผลิตภัณฑผาไหมไทยมากดวย และผูบริโภคยังใหความสำ�คัญในการตัดสินใจเลือกซื้อจากเนื้อผาการสัมผัส ลวดลายกราฟกแบบเสมือนจริงรวมทั้ง แบบนามธรรมและลวดลายไทยนั้นยังคงอยูในระดับปานกลาง ไมสามารถแสดงความสวยงามที่ดึงดูดใจผูบริโภคไดดี เทาที่ควร การพัฒนารูปแบบลวดลายใหทันสมัยมากยิ่งขึ้นจะชวยสงเสริมและสื่อสารศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณีไทยไดเปนอยางดี ผลงานลวดลายไทยกราฟกรูปสัตวกลับทำ�ใหผูบริโภคชาวตางชาติรูจักผลิตภัณฑผาไหม ไทยไดเปนอยางดี ถานักออกแบบที่คิดจะสรางสรรคผลงานดานลวดลายกราฟกไทย นาจะเปนจุดเริ่มตนที่ดีได ผลการวิจัยครั้งนี้ ทำ�ใหไดแนวทางออกแบบลวดลายกราฟกไทยที่จะนำ�มาใชในลักษณะที่ควรมีลายละเอียด ไมซับซอนมากจนเกินไป สามารถที่จะสื่อสารไดเขาใจงายๆ แตก็ไมควรออกแบบใหผิดไปจากแบบแผนไทยมาก จนทำ�ใหเสียความเปนเอกลักษณของลวดลาย การนำ�ลวดลายกราฟกไทยมาใชในการออกแบบตางๆ ชวยอนุรักษ ภูมิปญญาไทยใหแพรหลายและเกิดการพัฒนาตอยอดไปในระดับสากล คำ�สำ�คัญ : 1. ลวดลายไทย. 2. ผลิตภัณฑลวดลายไทย. 3. สากล. 4. ลวดลายกราฟก.

__________________

1

อาจารยประจำ� สาขาวิชาออกแบบกราฟกและมัลติมีเดีย คณะเทคโนยีอุตสากรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปีที่ 32 ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2555

Abstract This research concerns the perceptions of foreign consumers on the Thai Graphic design of Thai silk products. The objective was to study the understanding levels of the foreigner perception and their acknowledge of the Graphic design of Thai products, as well as to collect and analyze data which can be used as guidelines for promoting Thai graphic design to the world class. It was found that both of the quality of Thai silk and tradition of buying a souvenir are still popular. Thai graphic design and colors of Thai silk are what the consumers consider when deciding to purchase Thai silk. The texture of fabrics is also found to be an important factor. The realistic, abstract and Thai-style patterns have not attracted much interest. The Thai-style pattern needs to be developed as it is also one of the ways to promote Thai culture and tradition. What the consumers prefer was found to be the animal graphic design which makes Thai silk popular among foreigners. Those who work on graphic design could then start with it. This research suggests that Thai graphic design should not be too complicated. Instead, it should be the design which is easy to understand. However, Thai traditional style should still be used as a basis for designing. The use of Thai graphic design helps conserve Thai wisdom and should be promoted to the world class. Keywords: 1. Thai international. 2. Consumers’ perceptions. 3. International. 4. Graphic design.

28


ความเขาใจของชาวตางชาติที่มีตอผลิตภัณฑลวดลายไทย สุภัทรา ลูกรักษ

ความเปนมาและความสำ�คัญของการวิจัย ลวดลายไทย ถือไดวาเปนงานกราฟกประเภท หนึ่ ง ที่ ส ามารถถ า ยทอดความเป น เอกลั ก ษณ ข อง ประเทศไทยซึ่ ง ในป จ จุ บั น ถู ก นำ� ไปใช ใ นทางการค า กันมากขึ้น การนำ�ลวดลายไทยมาใชกับการออกแบบ ผลิตภัณฑนั้นมีอยูหลากหลายรูปแบบ ซึ่งนอกจากจะ สามารถเปนสื่อกลางในการถายทอดเอกลักษณของ ประเทศและความเปนชนชาตินั้นๆ แลว ยังชวยในการ ถายทอดศิลปะ วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี ตลอดจนการดำ � รงชี วิ ต ของคนในแต ล ะท อ งถิ่ น หรื อ ชุ ม ชนนั้ น ได อ ย า งชั ด เจน ความชั ด เจนในความ หลากหลายที่เกิดขึ้นในแตละชุมชนของภูมิภาคนั้นๆ มาจากอิ ท ธิ พ ลของลวดลายที่ เ กิ ด ขึ้ น ในแต ล ะแห ง ที่ ถายทอดมาจากภูมิปญญาและเอกลักษณของคนใน ทองถิ่นหรือชุมชนนั้นจากรุนสูรุนอยางตอเนื่อง ทำ�ให ยั ง คงความเป น เอกลั ก ษณ ข องแต ล ะชุ ม ชนได อ ย า ง ชัดเจนจากการใชลวดลาย เมื่อเวลาผานไปอาจจะมี การดัดแปลง ปรับเปลี่ยน แกไข ใหเกิดความทันสมัยได การถือกำ�เนิดเกิดขึ้นมาของงานศิลปะรวมทั้ง ลวดลายตางๆ เกิดขึ้นทั้งในระบบสมบูรณาญาสิทธิราช ควบคูไปกับวิถีชีวิตแบบเกษตรกรรม สวนหนึ่งมักจะมา จากการวางเวนศึกสงครามในอดีตกาลเมื่อมีเวลาและ ความสงบสุขมากขึ้นก็สามารถทำ�ใหเกิดความพิถีพิถัน ในการสรางสรรคผลงานการออกแบบเกี่ยวกับขาวของ เครื่องใชใหเกิดความประณีตสวยงาม ไมวาจะเปนอดีต หรือปจจุบนั ชางหรือศิลปนก็ยงั คงใหความสำ�คัญกับการ ออกแบบสิ่งของเครื่องใชในชีวิตประจำ�วันที่แฝงไวซึ่ง นัยสำ�คัญมากกวาความตองการใชงานเพียงอยางเดียว อีกทั้งชวยสรางภาพลักษณและรสนิยมใหกับผูใชได อีกดวย ดังนั้นลวดลายจึงเปนสวนหนึง่ ของการตัดสินใจ ซือ้ ผลิตภัณฑไดเปนอยางดี การทำ�วิจยั นีไ้ ดแรงบันดาลใจ มาจาก การเห็ น ผลิ ต ภั ณ ฑ ไ ทยหลากหลายชนิ ด นำ � ลวดลายไทยมาใชในการออกแบบและสรางสรรคผลงาน ใหเกิดความสวยงามและดึงดูดใจผูบ โิ ภค โดยเฉพาะผูท ี่ ชื่ น ชอบในศิลปะ วัฒนธรรม ขนบธรรมเนี ย ม และ ประเพณีไทย ทั้งที่เปนผูผลิตชาวไทยและชาวตางชาติ ซึ่งเปนเหตุผลที่ทำ�ใหผูวิจัยไดศึกษาและรวบรวมขอมูล เกี่ยวกับลวดลายไทยตางๆ ที่ปรากฏใหเห็นอยูในตัว

ผลิตภัณฑแตละประเภท ซึง่ ลวนแสดงถึงการสรางสรรค ลวดลายไทยตามแบบแผนไทยหรือแบบประเพณีนิยม และการปรับปรุงใหมจากแมลายจนเกิดเปนลวดลาย แบบใหมๆ อีกหลากหลาย รูปแบบที่หลากหลายของ ลวดลายไทยที่เกิดขึ้นสวนใหญมักมาจากชางฝมือเอง มากกวาความตองการของผูบริโภค แตในปจจุบันเมื่อ ความตองการสามารถตรวจสอบไดจากยอดจำ�หนาย สินคา การคนหาความตองการจึงทำ�ไดโดยการสำ�รวจ ข อ มู ล ของผู  บ ริ โ ภค เพื่ อ ให ไ ด ม าซึ่ ง ลวดลายไทยที่ ตอบสนองความตองการของผูบริโภคอยางแทจริงและ เปนไปตามแบบแผนการออกแบบลวดลายไทย จนเกิด ประโยชนรวมกันในการสรางสรรคลวดลายไทยที่ตรง กับความตองการควบคูกับยอดจำ�หนาย โดยไมเสีย เวลาในการลองผิดลองถูกในการคัดเลือกลวดลายไทย มาใชกับการออกแบบผลิตภัณฑประเภทตางๆ และ ทำ�ใหไดมาซึง่ ลวดลายไทยทีย่ งั คงรากฐานตามแบบแผน ไทยแตสามารถตอบสนองความตองการของผูบ ริโภคได เมื่อปจจัยสำ�คัญของการออกแบบผลิตภัณฑลวดลาย ไทยในปจจุบันคือกลุมผูบริโภคแลว อีกปจจัยหนึ่งที่ สำ�คัญไมแพกนั เลยก็คอื การสอดแทรกศิลปะ วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีของไทยเขาไปในลวดลายไทย ซึ่งเปนอีกเหตุผลหนึ่งที่ผูบริโภคตัดสินใจซื้อสินคาไทย โดยเฉพาะชาวตางชาติที่อาจมีความเขาใจที่แตกตาง กันไปในการเลือกซื้อผลิตภัณฑลวดลายไทย เนื่องจาก ลวดลายไทยเปนงานกราฟกประเภทหนึ่งที่ไดบรรจุ สิ่งตางๆ เกี่ยวกับวิถีชีวิต ความเปนอยูของไทยอยาง หลากหลายไว ดังนั้นนอกจากจะตองทำ�ความเขาใจ ในความต อ งการของลู ก ค า ชาวต า งชาติ แ ล ว เรายั ง ต อ งสอดแทรกองค ค วามรู  ด  า นศิ ล ปะ วั ฒ นธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีไทยที่แฝงอยูในแตละลวดลาย ให กั บ ชาวต า งชาติ ไ ด เ ข า ใจถึ ง แก น แท ข องรากฐาน ความเปนไทยควบคูไ ปกับธุรกิจการออกแบบผลิตภัณฑ ลวดลายไทยที่ถูกตองและเหมาะสม ผลิตภัณฑลวดลายไทยที่มีอยูมากมายหลาก หลายรู ป แบบในงานออกแบบระดั บ พื้ น ถิ่ น ประเภท โครงการหนึ่งตำ�บลหนึ่งผลิตภัณฑ โครงการอยูดีมีสุข โครงการสนับสนุนชวยเหลือชุมชนดวยเงินทุนสหกรณ ในการสงเสริมธุรกิจชุมชนในรูปแบบสหกรณ ฯลฯ ถึง

29


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปีที่ 32 ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2555

จะอยูในรูปแบบของโครงการใดก็ตามการจัดหมวดหมู ของผลิตภัณฑก็ยังสามารถแบงเปนประเภทไดดังนี้ ผลิตภัณฑอุปโภค บริโภค ขนสงและบริการ ซึ่งในแตละ ประเภทของผลิตภัณฑนั้นเราสามารถนำ�ลวดลายไทย ไปใชประกอบการออกแบบไดอยางหลากหลาย เชน การแกะสลักผลไมไทย การเขียนลายบนเครือ่ งถวยชาม ไทย การแกะสลักเครื่องเรือน เปนตน ทั้งที่เปนองค ประกอบหลักและองคประกอบรอง ลวดลายไทยก็ยัง สามารถเข า ไปมี บ ทบาทเพื่ อ สร า งทั ศ นคติ ที่ ดี ใ ห กั บ สินคาไทยพรอมทัง้ ชวยสงเสริมภาพลักษณของประเทศ ไทยที่บงบอกถึงความอุดมสมบูรณ สงบสุข มาตั้งแต ครัง้ อดีต เห็นไดจากการสรางสรรคลวดลายไทยอันวิจติ ร มากมายหลากหลายรูปแบบ ซึ่งตองใชความรูความ สามารถและความเชี่ยวชาญความชำ�นาญเฉพาะทาง ทีเ่ กิดจากการฝกฝนมาเปนเวลายาวนาน หากบานเมือง ไมมีความสุขสงบจริงก็คงไมสามารถที่จะสรางสรรค ผลงานลวดลายไทยอันวิจิตรสวยงามตางๆ ออกมา มากมายไดอยางไมมที สี่ นิ้ สุดจากการตอลายจากแมลาย ทีย่ ดึ ถือเปนแบบแผนสามารถตอเติม เพิม่ ลดใหเกิดเปน ลวดลายไทยใหมๆ เหมาะสมกับการใชงาน ลวดลายไทย ที่เกิดขึ้นจากอดีตจนถึงปจจุบันจึงมีการพัฒนารูปแบบ และการใชงานมาเรื่อยๆ สามารถตอบสนองความตอง การและสรางทางเลือกใหมใหกบั ผูบ ริโภคในรูปแบบของ ธุรกิจ ซึง่ นับวันการแขงขันทางการคายิง่ สูงขึน้ ผูบ ริโภค ก็สามารถที่จะเลือกซื้อสิ้นคาไดมากมาย หลากหลาย สะดวก รวดเร็ว ตรงกับความตองการไดมากทีส่ ดุ ผูว จิ ยั ไดเล็งเห็นถึงความสำ�คัญและแนวทางที่จะชวยใหการ ออกแบบสรางสรรคผลิตภัณฑลวดลายไทยสามารถ ตอบสนองความตองการที่มากขึ้นของผูบริโภค ซึ่งมี ความเปลีย่ นแปลงไปตามสภาพสังคม เศรษฐกิจ วิถชี วี ติ ความเปนอยูตลอดจนเทคโนโลยีที่มีความทันสมัยและ พัฒนาอยูตลอดเวลา ยอมทำ�ใหเกิดความตองการที่ แปลกใหมเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา รูปแบบของ ผลิตภัณฑ รูปแบบของลวดลายไทยนั้นก็ตองพัฒนา ใหทันกับความตองการและสามารถแขงขันกับนานา ประเทศได ไมวา จะเปนเครือ่ งอุปโภค บริโภค ขนสงและ บริการตางๆ เชน ของใชในชีวิตประจำ�วัน เครื่องเรือน เครื่องประดับ เครื่องนุงหม ยานพาหนะ และผลิตภัณฑ

30

อืน่ ๆ ซึง่ นอกเหนือจากความตองการทางปจจัยสี่ เปนตน การที่ผลิตภัณฑไดรับการออกแบบที่ดีและทันสมัยตรง กับความตองการ มักจะเปนตัวเลือกลำ�ดับตนๆ ของ การตัดสินใจเลือกซื้อสินคาและบริการนั้นๆ การออกแบบที่ ต รงกั บ ความต อ งการของ ผู  บ ริ โ ภคได ม ากที่ สุ ด มั ก จะเป น หนทางแรกที่ จ ะนำ� ความสำ � เร็ จ มาสู  ผ ลิ ต ภั ณ ฑ นั้ น ๆ แต ก ารตอบสนอง ความตองการของผูบ ริโภคเพียงอยางเดียวก็มใิ ชค�ำ ตอบ เดียวของนักออกแบบ นักออกแบบที่ดีตองนำ�เสนอ สิง่ ใหมๆ ควบคูก บั ความตองการทีผ่ บู ริโภคคาดหวังและ ไมไดคาดหวังดวย ซึง่ ในบางครัง้ การนำ�ลวดลายไทยของ คนไทยมาใชก็ยังไมเหมาะสม หรือนำ�มาใชแลวไมตรง กับความตองการของกลุม ผูบ ริโภคไดจริง จึงเปนสาเหตุ ใหผูวิจัยทำ�การศึกษาขอมูลประกอบการออกแบบให ตรงความตองการของกลุมผูบริโภคมากที่สุด แตยังคง รักษาขนบธรรมเนียม ประเพณีไทยไวดวย โดยเลือก กรณีศึกษาจากกลุมตัวอยางของผูบริโภคชาวตางชาติ ที่ เ ลื อ กซื้ อ และมี ค วามสนใจในผลิ ต ภั ณ ฑ ล วดลาย ไทยประเภทผ า ไหมไทย “จิ ม ทอมสั น ” เนื่ อ งจาก กลุมผูบริโภคชาวตางชาติสามารถเปนตัวกลางชวย ประชาสัมพันธประเทศไทยใหเปนที่รูจักอยางถูกตอง และกวางขวางมากยิ่งขึ้น เพื่อเปนฐานในการขยาย ธุรกิจการคาของไทยภายใตภูมิปญญาและฝมือของ ชางไทยใหเพิ่มมากขึ้น ทั้งยังชวยสงเสริมใหคนไทย เห็ น คุ ณ ค า ในงานช า งฝ มื อ ไทยสามารถใช ค วามรู  ความชำ � นาญและภู มิ ป  ญ ญาไทยในการเลี้ ย งชี พ ได อยางมั่นคง คนรุนใหมไดเห็นคุณคาของการสืบทอด ภูมปิ ญ  ญาไทยในระดับสากลของการออกแบบผลิตภัณฑ ลวดลายไทยไดอีกหนทางหนึ่ง เมื่อกลุมผูบริโภคชาว ตางชาติมีความเขาใจที่ถูกตองเพิ่มมากขึ้นก็จะหันมา สนใจงานกราฟกในรูปแบบของผลิตภัณฑลวดลายไทย มากยิ่งขึ้น ขอมูลที่ไดก็จะสามารถนำ�ไปใชเปนแนวทาง ในการออกแบบผลิ ต ภั ณ ฑ ล วดลายไทยที่ ส ามารถ สอดแทรกศิลปะ วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีไทย ไดอยางเหมาะสม วัตถุประสงคของการวิจัยในครั้งนี้ก็เพื่อศึกษา ระดั บ ความเข า ใจของผู  บ ริ โ ภคชาวต า งชาติ ที่ มี ต  อ ผลิตภัณฑลวดลายไทยจากผาไหมไทย และเก็บรวบรวม


ความเขาใจของชาวตางชาติที่มีตอผลิตภัณฑลวดลายไทย สุภัทรา ลูกรักษ

วิเคราะหขอมูลในการออกแบบลวดลายไทยใหสามารถ นำ�ไปใชกับการออกแบบผลิตภัณฑสูความเปนสากล ไดอยางเหมาะสม โดยผูวิจัยไดกำ�หนดขอบเขตของ การวิจัยจากลวดลายผาไหมไทยจากรานผาไหมไทย จิมทอมสัน ซึ่งเปนรานขายผาไหมไทยที่ชาวตางชาติ นิยมซื้อใช และนำ�ไปเปนของฝาก ของที่ระลึกจาก ประเทศไทย รู ป แบบและลวดลายนั้ น แปลกใหม ไ ม เหมือนลวดลายไทยที่เคยมีมากอน จึงเปนที่นาสนใจ ในการศึกษาและเก็บรวบรวมขอมูลเพือ่ นำ�ไปใชประกอบ การออกแบบใหมๆ ได การออกแบบใหมนั้นจำ�เปนตอง ทำ�การศึกษาความตองการของผูบริโภคชาวตางชาติ เพื่ อ ใช เ ป นขอมูลในการวิเคราะหหาแนวทางในการ ออกแบบ นอกจากนั้ น ยั ง ศึ ก ษาลวดลายไทยจาก ตำ�ราลายไทยถึงความเปนมา ประเภทของลายไทย ขั้นตอน วิธีการตอลาย แมลายที่ใชเปนหลักในการ ต อ ลาย และคติ ค วามเชื่ อ ตามแบบแผนไทย ส ว น ขั้นตอนการดำ�เนินงานวิจัยจะทำ�การเก็บรวบรวมขอมูล ความตองการ ระดับความเขาใจจากชาวตางชาติทั้งใน และตางประเทศดวยแบบสอบถาม สรุปขอมูลลวดลาย ผ า ไหมไทยที่ นิ ย มซื้ อ และเลื อ กใช จ ากตั ว แปรต น ซึ่ ง เปนชาวตางชาติ แลวรวบรวมขอมูลตัวแปรตามซึ่งเปน ผาไหมไทยที่นิยมซื้อและเลือกใชจากกลุมชาวตางชาติ จากนั้ น ทำ � การคั ด เลื อ กลวดลายผ า ไหมไทยที่ ช าว ต า งชาติ ชื่ น ชอบมาวิ เ คราะห เพื่ อ หาแนวทางการ ออกแบบที่เปนที่นิยม และสรุปขอมูลเพื่อเลือกแนวทาง การออกแบบที่ ส อดคล อ งความต อ งการตามแบบ แผนไทยที่สามารถนำ�ไปใชในการออกแบบผลิตภัณฑ ลวดลายไทยไดอยางทันสมัยและเปนสากลตรงกับความ ตองการของผูบริโภคชาวตางชาติที่สามารถสอดแทรก และถายทอดศิลปะ วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี ไทย ให เ ป น ที่ ย อมรั บ ในการออกแบบผลิ ต ภั ณ ฑ ใ น ระดับสากล การวิ เ คราะห ข  อ มู ล จากแบบสอบถามในงาน วิ จั ย นี้ แ บ ง เป น สองส ว นเพื่ อ ให ไ ด คำ � ตอบที่ ส ามารถ ใช เ ป น แนวทางในการออกแบบสองลั ก ษณะทั้ ง ใน รูปแบบที่เปนขอมูลในสวนแรก และในสวนที่สองเปน ภาพประกอบทีใ่ หผตู อบแบบสอบถามไดเลือกตามความ พึงพอใจของแตละบุคคล จึงทำ�ใหไดขอมูลทั้งที่เปน

รูปธรรมและนามธรรม ซึ่งเปนแรงบันดาลใจและความ สำ�เร็จทีเ่ ปนตัวอยางทีด่ ตี วั อยางหนึง่ ของผลิตภัณฑไทย ที่ ก  า วสู  ต ลาดสากล ดั ง นั้ น หากสามารถที่ จ ะช ว ยให แรงบันดาลใจนี้สามารถเปนแรงบันดาลใจของชุมชน ตางๆ ตอไปได ก็จะทำ�ใหประเทศไทยมีผลิตภัณฑไทย ที่ มี คุ ณ ภาพและเป น ที่ ย อมรั บ ได ใ นระดั บ สากลมาก ขึ้น ซึ่งก็ถือไดวาผลิตภัณฑผาไหมไทยจิม ทอมสัน สามารถชวยสรางแนวทางการออกแบบทีส่ ามารถเปนที่ ยอมรับในระดับสากลใหกับชุมชนและนักออกแบบที่ ถือเปนแบบอยางตอไปได โดยนำ�รูปแบบที่มีผูตอบ แบบสอบถามเลือกมากที่สุดในแตละชุดการออกแบบ มาเปนตนแบบในการวิเคราะหใหไดแนวทางในการ ออกแบบใหม ที่ น  า จะใช เ ป น ตั ว เลื อ กที่ จ ะใช ใ นการ ออกแบบตอไป ซึง่ ขอมูลของชาวตางชาติทที่ ำ�การเลือก แบบนัน้ มาจากแหลงทองเทีย่ วตางๆ ในกรุงเทพมหานคร เชน ราชประสงค ชิดลม สยาม เปนตน ในชวงเทศกาล ทองเที่ยว โดยแจกเอกสารและตัวอยางผาไหมไทย ใหนกั ทองเทีย่ วไดเลือกลวดลายทีค่ ดิ วาชืน่ ชอบมากทีส่ ดุ ในแต ล ะประเภทที่ แ บ ง แยกไว ต ามรู ป แบบของงาน ออกแบบในแต ล ะชุ ด งานที่ มี จำ� หน า ยจริ ง ส ว นของ คำ�ถามใน 3 ขอแรก เปนการสำ�รวจความเขาใจในดาน คุ ณ ค า ของผลิ ต ภั ณ ฑ ว  า เป น ที่ ย อมรั บ ของผู  บ ริ โ ภค มากน อ ยเพี ย งไร ซึ่ ง ถ า หากผลคะแนนออกมาสู ง ก็ จะทำ�ใหสามารถทราบไดวา ผูบริโภคมีความเขาใจ ในคุณคาของผลงานภูมิปญญาไทย ที่กวาจะไดเปน ผลิตภัณฑขนึ้ มามีความมานะอดทนมากเพียงไร รวมทัง้ วั ส ดุ ที่ ใ ช ใ นการผลิ ต มี คุ ณ ค า ควรแก ก ารตั ด สิ น ใจซื้ อ และคำ�ถามที่เหลือทั้งหมดเปนสวนที่เกี่ยวของกับการ ออกแบบลวดลาย ที่จะนำ�มาใชในรูปแบบกราฟกที่ จะชวยทำ�ใหผลงานใหม ที่ไดออกมาเปนไปในรูปแบบ ที่สามารถสื่อสารกันไดตรงความตองการทั้งที่ภาษา วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีที่มีความแตกตาง กันได วิ ธี ก ารดำ � เนิ น การวิ จั ย ครั้ ง นี้ ไ ด ข  อ มู ล มาจาก การตอบแบบสอบถามของกลุมเปาหมายชาวตางชาติ ซึ่งทำ�ใหไดขอมูลจริงที่แสดงออกมาจากความคิดเห็น โดยตรงจากกลุมเปาหมายและขอมูลที่ไดมาก็นำ�มา ทำ�วิเคราะหดวยคาทางสถิติ เพื่อที่จะไดแนวทางการ

31


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปีที่ 32 ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2555

ออกแบบลวดลายกราฟกสำ�หรับผลิตภัณฑ โดยคำ�ถาม ที่ ใ ช จ ะถามเกี่ ย วกั บ เรื่ อ งของคุ ณ ภาพผ า ไหมไทย (Quality of Thai Silk) ความรูสึกของผูบริโภคชาว ตางชาติตอ ผาไหมไทย ความเหมาะสมของราคาผาไหม ไทยเหมาะสมกับคุณภาพเพียงไร (Money value for Thai Silk.) ผาไหมไทยเหมาะสำ�หรับเปนของฝาก เพียงไร (Thai Silk for souvenir) ลวดลายเปนปจจัย ในการตัดสินใจซื้อ (Graphic Design on Thai Silk [Chintz] determines the cost) สีสันถือเปนปจจัยใน การตัดสินใจซื้อผาไหมไทยไหม (Color on Thai Silk determines the cost) เนื้อผาถือเปนปจจัยในการ ตั ด สิ น ใจซื้ อ ผ า ไหมไทย (Texture of Thai Silk determines the cost) ลวดลายเหมือนจริงชวยใหเขาใจ ได (Realistic styles on Thai Silk which are symbolic of Thailand) ลวดลายนามธรรมชวยใหเขาใจได (Abstract styles on Thai Silk which are symbolic of Thailand) ลวดลายสัตวไทยเขาใจได (Animal’s beauty pattern on Thai Silk which are symbolic of Thailand) จังหวะ การวางลวดลายไทยเขาใจได (Thai Graphic aesthetic which are symbolic of Thailand) คำ�ถามตางๆ เหลานี้

32

เปนสวนหนึ่งที่ชวยใหเราเขาใจความรูสึก นึกคิดของ กลุ  ม ผู  บ ริ โ ภคที่ เ ป น ชาวต า งชาติ ม ากขึ้ น เพื่ อ นำ � ไป ประยุกตใชกับการออกแบบของไทยใหสามารถสื่อสาร กับชาวตางชาติไดมากยิ่งขึ้น การวิ เ คราะห ข  อ มู ล จากแบบสอบถามครั้ ง นี้ คำ�นวณจากสูตรที่เลือกใชทำ�ใหไดคาตัวเลขที่สามารถ นำ�ไปใชเปนแนวทางในการออกแบบไดชัดเจนขึ้น โดย เลือกใช สีสัน พื้นผิว และลวดลายสัตว สำ�หรับใชในการ ออกแบบเพื่อตอบสนองความตองการของผูบริโภคจาก ขอมูลที่ไดรับมีคาคะแนนจากผลการสรุปสูงเทากัน ซึ่ง ไมรวมปจจัยพื้นฐานในการตัดสินใจเลือกซื้อ คือ ของที่ ระลึก ราคา และความเหมาะสม การเลือกใชใหสอดคลอง และเหมาะสมกั บ ผลิ ต ภั ณ ฑ ก็ เ ป น ส ว นหนึ่ ง ที่ ช  ว ย สงเสริมสินคาใหนาสนใจและเปนที่ยอมรับจากผูบริโภค มากยิ่ ง ขึ้ น อี ก ทั้ ง ยั ง สามารถนำ � ข อ มู ล ที่ ไ ด นี้ ไ ป สรางสรรครูปแบบของลวดลายไทยสมัยใหมๆ ตอไป ทั้งยังชวยสรางแนวทางใหกับกลุมผลิตผลงานชุมชน และเพิ่มมูลคาสินคาดวยการออกแบบลวดลาย ซึ่งถือ ไดวา เปนผลงานกราฟกทีช่ ว ยเผยแพรศลิ ปะ วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณีไทยใหเปนที่รูจักในระดับ สากล จากตารางที่ 1


ความเขาใจของชาวตางชาติที่มีตอผลิตภัณฑลวดลายไทย สุภัทรา ลูกรักษ

ตารางที่ 1. คาการคำ�นวณทางสถิติของการวิจัยจากขอมูลแบบสอบถาม FOREIGN TITLE

Excellent Good Fair

Not Sure

No comment

SUM.

MEAN

MODE

1. Quality of Thai Silk.

39

39

4

7

11

100

3.88

39

195

156

12

14

11

388

2. Money value for Thai Silk.

15

46

13

20

6

100

0.2907

46

75

184

39

40

6

344

3. Thai Silk for souvenir.

18

62

6

10

4

100

3.8

62

90

248

18

20

4

380

4. Graphic Design on Thai Silk [Chintz] determines the cost.

28

43

15

10

4

100

3.81

43

140

172

45

20

4

381

5. Color on Thai Silk determines the cost.

26

42

21

6

5

100

3.78

42

130

168

63

12

5

378

6. Texture of Thai Silk determines the cost.

16

42

16

22

4

100

3.44

42

80

168

48

44

4

344

7. Realistic styles on Thai Silk which are symbolic of Thailand.

15

25

16

36

8

100

3.03

36

75

100

48

72

8

303

8. Abstract styles on Thai Silk which are symbolic of Thailand.

14

22

20

31

13

100

2.93

31

70

88

60

62

13

293

9. Animal’s beauty pattern on Thai Silk which are symbolic of Thailand.

42

36

12

4

6

100

4.04

42

210

144

36

8

6

404

10. Thai Graphic present on Thai Silk which are symbolic of Thailand.

19

20

15

22

24

100

2.88

24

33


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปีที่ 32 ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2555

จากตารางที่ 2 คุณภาพของผาไหมไทยนัน้ เปนที่ รูจักในระดับดีมากผลิตภัณฑคุณภาพ (3.9) แตในเรื่อง ของราคาที่ตองจายยังไมเปนที่ตองการเทาที่ควร (0.3) อาจเนื่องมาจากผูบริโภคนั้นตองการสินคาคุณภาพดี แตราคาไมแพงก็เปนได ถึงอยางไรก็ตามผูบริโภคก็ ยังคิดวาผลิตภัณฑผาไหมไทยนั้นเหมาะสมในการซื้อ ไปเปนของฝากไดเปนอยางดี (3.8) สวนในเรื่องของ ลวดลายกราฟ ก และสี สั น บนผื น ผ า ไหมไทยก็ เ ป น ที่ ยอมรั บ ของผู  บ ริ โ ภคว า มี ส  ว นสำ � คั ญ ในการเลื อ กซื้ อ เชนกัน (3.8) อีกทั้งเนื้อผาและลวดลายกราฟกอื่นใน ผืนผาไหมไมวาจะเปนลวดลายที่ประดิษฐจากภาพจริง ภาพนามธรรม รวมไปถึงลวดลายไทยตางๆ นัน้ สามารถ สือ่ สารความงามไดตรงใจผูบ ริโภคชาวตางชาติไดไมมาก (3) แตลวดลายสัตวกลับเปนที่ชื่นชอบ (4) จึงทำ�ใหเห็น

วาการสื่อสารลวดลายกราฟกไทยใหชาวตางชาติเขา ใจไดดีควรเลือกใชลวดลายกราฟกสัตวไทยชวยในการ ออกแบบ เนือ่ งจากผลคะแนนจากการตอบแบบสอบถาม ทำ�ใหสามารถตีความไดวา ผูบริโภคชาวตางชาตินั้น สามารถรับรูถึงการสื่อสารดวยภาพที่ชัดเจนไดดีกวา ภาพจินตนาการ ซึ่งตองใชความรูและความเขาใจใน ศิลปะ วัฒนธรรมไทยมากพอสมควร จึงจะสามารถรับรู ถึงความหมายของภาพทีส่ อื่ สารผานลวดลายตางๆ ของ ผาไหมที่นำ�มาใหเลือกได อีกทั้งคาคะแนนในขอตางๆ ยังสามารถนำ�ไปเปนตัวชวยในการออกแบบได เมื่อ ตองการออกแบบลวดลายสำ�หรับผลิตภัณฑใหมก็จะไม คำ�นึงถึงเฉพาะรูปแบบของลวดลาย แตจะคำ�นึงถึงพื้น ผิวสัมผัส เนือ้ หาทีต่ อ งการสือ่ สาร และอืน่ ๆ อีกมากมาย เพื่อใหไดแบบที่ลงตัวมากที่สุด

ตารางที่ 2. ผลการคำ�นวณคาตามสูตรสถิติเพื่อสรุปการวิจัยสูแนวทางการออกแบบ NO.

TITLE

MEAN

1

Quality of Thai Silk.

3.9

2

Money value for Thai Silk .

0.3

3

Thai Silk for souvenir.

3.8

4

Graphic Design on Thai Silk [Chintz] determines the cost.

3.8

5

Color on Thai Silk determines the cost.

3.8

6

Texture of Thai Silk determines the cost.

3.4

7

Realistic styles on Thai Silk which are symbolic of Thailand.

3

8

Abstract styles on Thai Silk which are symbolic of Thailand.

2.9

9

Animal’s beauty pattern on Thai Silk which are symbolic of Thailand.

4

10

Thai Graphic present on Thai Silk which are symbolic of Thailand.

2.9

จากแบบสอบถามทำ�ใหทราบความรูสึกของ ผูบริโภคชาวตางชาติที่มีตอคุณภาพของผลิตภัณฑผา ไหมผาไหมไทยวามีความเขาใจในเรื่องของคุณคาของ ผลิตภัณฑไทยไดดี ความเหมาะสมของราคาผาไหมไทย ในสายตาชาวตางชาตินั้นยังแพงมาก อันเนื่องมาจาก

34

ไมทราบขั้นตอนทำ�มือที่ยุงยากก็เปนได แตก็ยังซื้อผา ไหมไทยสำ�หรับเปนของฝากพอสมควร สวนลวดลาย ก็เปนปจจัยในการตัดสินใจซื้อผาไหมไทยที่ดีทีเดียว สามารถนำ�ไปใชเปรียบเทียบราคาเปนสากลได สีสนั ก็ถอื เปนปจจัยในการตัดสินใจซือ้ ผาไหมไทย เนือ้ ผาก็ถอื เปน


ความเขาใจของชาวตางชาติที่มีตอผลิตภัณฑลวดลายไทย สุภัทรา ลูกรักษ

เพียงปจจัยปานกลาง อาจตองปรับปรุงใหเขาใจถึงขั้น ตอนกระบวนการผลิตมากขึ้น ลวดลายเหมือนจริงชวย สะทอนความเขาใจในเอกลักษณไทยไดเพียงปานกลาง อาจตองปรับปรุงใหเขาใจงายขึน้ ลวดลายนามธรรมชวย สะทอนความเขาใจในเอกลักษณไทยไดเพียงปานกลาง อาจตองปรับปรุงใหเขาใจงายขึน้ ลวดลายทีส่ ะทอนความ งามจากสัตวไทยสือ่ ถึงเอกลักษณไทยดีทเี ดียว สามารถ นำ�ไปใชไดดีเปนสากล ความงามจากลวดลายไทยและ จังหวะไทยสื่อถึงเอกลักษณไทยไดเพียงปานกลาง อาจ ตองปรับปรุงใหเขาใจงายขึ้น นอกจากคำ�ถามตางๆ เหลานีท้ ที่ �ำ ใหทราบความ ตองการดานการออกแบบแลว การเลือกภาพตางๆ ตาม ตัวอยางแตละชุดลวดลายผาไหมไทยจากกรณีศกึ ษาของ ผลิตภัณฑผาไหมไทยรานจิมทอมสัน ผูวิจัยสามารถ สรุปแนวทางการออกแบบไดวา ลวดลายที่ใชไดดีที่สุด ในการวิจัยครั้งนี้เปนลวดลายสัตว โดยเฉพาะความ งามจากสัตวประจำ�ชาติที่ดึงดูดใจผูบริโภคชาวตางชาติ

ไดดี แตก็ใชวาลวดลายอื่นๆ จะไมสามารถสื่อสารให เขาใจได เพียงแตผูออกแบบจำ�เปนที่จะตองประยุกต ลวดลายใหเหมาะสมและสามารถดึงดูดใจผูบ ริโภคใหได ทั้งที่เปนการเลือกใชลวดลาย สีสัน พื้นผิวสัมผัส และ เรื่องราวที่ตองการสอดแทรกเกี่ยวกับศิลปะ วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีไทยใหเปนที่รูจักไปที่ละนอย สวนรูปแบบของลวดลายทีไ่ ดมาแสดงใหเห็นวาผูบ ริโภค ชาวตางชาตินั้นตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑผาไหมไทย จากลวดลายกราฟกที่มีลายเสนไมซับซอน ซึ่งภาพ ตัวอยางที่ไดมาทำ�ใหเห็นแนวทางของการออกแบบ ลวดลายกราฟกที่ชัดเจนยิ่งขึ้น ดังนั้น นักออกแบบ ที่จะออกแบบลวดลายกราฟกไทย อาจนำ�แนวทางนี้ ไปใชในการออกแบบที่ตองตัดทอนลายละเอียดลงเพื่อ ใหสามารถสื่อสารงานอยางเปนสากลไดมากขึ้น โดย ที่ ต  อ งคำ � นึ ง ถึ ง แบบแผนของการออกแบบและเขี ย น ลวดลายไทยควบคู  กั น ไปให เ หมาะสมก็ จ ะทำ � ให ไ ด ผลงานไทยที่เปนสากลที่ดีได

ภาพที่ 1. ตัวอยางลวดลายสัตวแบบใหมและแบบดั้งเดิมของผาไหม

ภาพที่ 2. ตัวอยางสีสันของผาไหมไทยสมัยใหมและแบบดั้งเดิม

35


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปีที่ 32 ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2555

ภาพที่ 3. ตัวอยางพื้นผิวสัมผัสของผาไหมไทยสมัยใหม

การวิ จั ย ครั้ ง นี้ ทำ � ให ท ราบถึ ง ความรู  สึ ก ของ ผู  บ ริ โ ภคชาวต า งชาติ ที่ มี ต  อ ผลิ ต ภั ณ ฑ ผ  า ไหมไทย ในดานตางๆ ที่สามารถนำ�ไปใชเปนแนวทางประกอบ การออกแบบใหทันสมัยและตรงกับความตองการของ กลุมเปาหมายมากที่สุด แตยังคงไวซึ่งแนวทางการ ออกแบบตามแบบแผนไทย โดยผลการวิจัยที่ไดมา ประกอบไปดวย คุณภาพของผาไหมไทยที่ยังเปนที่ นิยมของชาวตางชาติในระดับดี (Good) ในราคาที่ยัง คอนขางสูงเกินไป เนื่องจากคาคะแนนอยูในระดับที่ ไมตองการแสดงความคิดเห็น (No comment) ทำ�ให ทราบได อี ก ว า ยั ง คงมี ผู  บ ริ โ ภคไม เ ข า ใจในที่ ม าของ ผลิตภัณฑผาไหมไทยจึงไมแสดงความคิดเห็น ซึ่งมี ขั้นตอนและกระบวนการผลิตที่ยุงยาก อยางไรก็ตาม ผู  บ ริ โ ภคก็ ยั ง คงแสดงความคิ ด เห็ น เกี่ ย วกั บ ความ เหมาะสมของผลิตภัณฑผาไหมไทยในการนำ �ไปเปน ของที่ระลึกไดดี (Good) ลวดลายกราฟกและสีสันของ ผ า ไหมไทยก็ ยั ง ถื อ ได ว  า เป น สิ่ ง หนึ่ ง ที่ ผู  บ ริ โ ภคใช

ตัดสินใจในการเลือกซื้อผลิตภัณฑผาไหมไทยมากดวย (Good) ผูบริโภคยังใหความสำ�คัญในการตัดสินใจเลือก ซื้อจากเนื้อผาสัมผัส ลวดลายกราฟกแบบเสมือนจริง แบบนามธรรมและลวดลายไทยนั้นยังคงอยูในระดับ ปานกลาง (Fair) ทำ�ใหทราบไดวาลวดลายกราฟก ที่ ก ล า วมานั้ น ยั ง ไม ส ามารถช ว ยส ง เสริ ม และสื่ อ สาร ศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีไทยไดมาก เทาทีค่ วร แตกลับเลือกทีจ่ ะสือ่ สารความงามผานลวดลาย กราฟกของสัตวประจำ�ชาติ ที่สามารถทำ�ใหผูบริโภค ชาวตางชาติรูจักผลิตภัณฑผาไหมไทยไดในระดับดี (Good) ได ดังนั้น การออกแบบลวดลายกราฟกสำ�หรับ ใชกับงานออกแบบผลิตภัณฑใหตรงกับความตองการ และช ว ยเผยแพร ศิ ล ปวั ฒ นธรรม ขนบธรรมเนี ย ม ประเพณีไทยใหเปนที่รูจักและนิยมเลือกใชผลิตภัณฑ มากยิ่งขึ้นได ก็จะทำ�ใหผลิตภัณฑมีการพัฒนาลวดลาย กราฟกไทยใหเปนสากลมากยิง่ ขึน้ อีกทัง้ ยังชวยสงเสริม และเผยแพรวัฒนธรรมไทยได

ภาพที่ 4. ตัวอยางผลงานการออกแบบลวดลายไทยใหกับผลิตภัณฑตางๆ ที่มีอยูในทองตลาด 

36






ความเขาใจของชาวตางชาติที่มีตอผลิตภัณฑลวดลายไทย สุภัทรา ลูกรักษ

บรรณานุกรม กรมสงเสริมอุตสาหกรรม. (2542). รูปแบบผลิตภัณฑหัตถกรรมไทย. กรุงเทพฯ: กรมสงเสริมอุตสาหกรรม. คมกริช สวัสดิรมย. (2539). ลายไทยในจิตรกรรมรวมสมัย. วิทยานิพนธปริญญาศิลปะศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร. จิมทอมสัน. (2551). ผาไหมจิมทอมสัน. [ออนไลน]. สืบคนเมือ่ 28 กรกฎาคม 2551. จาก http://www.jimthomson.com ฉันทิดา กรินพงศ. (2547). การศึกษาพฤติกรรมและทัศนคติของผูบ ริโภคทีม่ ตี อ ความตองการใชผา ไหมไทย. วิทยานิพนธการศึกษาครุศาสตรอุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สถาบัน เทคโนโลยีพระจอมเกลาพระนครเหนือ. ณัฎฐภัทร จันทวิช. (2545). ผาและการแตงกายในสมัยโบราณจากจิตรกรรมฝาผนังบนพระทีน่ งั่ พุทไธสวรรย. กรุงเทพฯ: อาทิตย โพรดักส กรุป. _____________. (2545). ผาพิมพลายโบราณในพิพิธภัณฑสถานแหงชาติ. กรุงเทพฯ: ชวนพิมพ. ทรงศรี สุรเวคิน. (2547). ทัศนคติและพฤติกรรมของนักทองเที่ยวจากกลุมประเทศยุโรป ตอการซื้อสินคา ที่ระลึกไทยในกลุมผาไหม. วิทยานิพนธการศึกษาครุศาสตรอุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สถาบัน เทคโนโลยี พระจอมเกลาพระนครเหนือ. ผลิตภัณฑพน้ื ถิน่ ในเขตกรุงเทพ. (2550). OTOP. [ออนไลน]. สืบคนเมือ่ 1 สิงหาคม 2550. จาก http://www.google.com วัชรินทร จรุงจิตสุนทร. (2548). หลักการและแนวคิดการออกแบบผลิตภัณฑ. กรุงเทพฯ: iDESIGN Publishing. วิมลสิทธิ์ หรยางกูร. (2535). พฤติกรรมมนุษยกับสภาพแวดลอม มูลฐานทางพฤติกรรมเพื่อการออกแบบ และวางแผน. กรุงเทพฯ: สำ�นักพิมพจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย. วิรุณ ตั้งเจริญ. (2545). ประวัติศาสตรศิลปและการออกแบบ. กรุงเทพฯ: อีแอนดไอคิว. ศิริ ผาสุก. (2545). ผาไหมพื้นบาน. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร. โสรชัย นันทวัชรวิบูลย. (2545). สูเสนทางกราฟกดีไซเนอร. กรุงเทพฯ: เอ.อาร.อินฟอรเมชันแอนดพับลิเคชัน. Alain-Rene Hardy. (2006). Art Deco Textiles. Singapore: Thames&Hudson.

37



การสรางสรรคผลงานจากวัสดุกระดาษทำ�มือ The Creation Art Work from Hand-made Materials เจะอับดุลเลาะ เจะสอเหาะ 1 Jehabdulloh Jehsorhoh บทคัดยอ การสรางสรรคผลงานศิลปะดวยเทคนิคจากวัสดุกระดาษทำ�มือ เปนวัสดุชนิดหนึ่งที่ศิลปนนิยมมาสรางสรรค ผลงาน ความผูกพันระหวางมนุษยกับการใชกระดาษมีมาอยางยาวนาน ตั้งแตอดีตกาลจนถึงสมัยปจจุบัน ในโลก ตะวันตกและตะวันออกตางมีความสัมพันธกับการใชกระดาษทั้งสิ้น ทั้งในแงของการใชในลักษณะการตอบสนองทาง ดานกายภาพ และทางดานจิตใจ หมายถึง การใชอยูในชีวิตประจำ�วัน เชนการบันทึก การสื่อสาร หรือใชกับภาชนะ ขาวของเครื่องใชในชีวิตประจำ�วัน เปนตน สวนการตอบสนองทางดานจิตใจ คือการบันทึกบทสวดตามความชื่อและ ความศรัทธาในลักษณะของคัมภีรตางๆ ที่เกิดขึ้นในแตละศาสนา จากการศึกษากระบวนการสรางสรรคผลงานดวย กรรมวิธีจากวัสดุกระดาษทำ �มือ พบวาเปนกรรมวิธีหนึ่งที่ศิลปนสามารถแสดงออกทางเทคนิคที่นาสนใจและ สามารถสรางสรรคผลงานเปนอัตลักษณเฉพาะตนไดอยางสมบูรณ อีกทั้งยังเปนแบบอยางของการสรางสรรคและ เปนอีกแนวทางหนึ่งที่ศิลปนรุนหลังสามารถนำ�ไปบูรณาการทางเทคนิคในผลงานสรางสรรคของตนเองได ทั้งนี้ ยังสามารถนำ�ความรูแ ละประสบการณจาก การทดลองสรางสรรคผลงาน ไปใชในกระบวนการเรียนการสอนในหลักสูตร สาขาวิชาทัศนศิลป คณะศิลปกรรมศาสตร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร วิทยาเขตปตตานี และเปนประโยชนแก ผูสอนโดยทั่วไป เพื่อเปนแนวทางการแสดงออกตลอดจนเปนแบบอยางในการสรางสรรคผลงานศิลปะตอไป คำ�สำ�คัญ: 1. การสรางสรรคผลงานจากวัสดุกระดาษทำ�มือ.

__________________

1

อาจารยประจำ�สาขาวิชาทัศนศิลป คณะศิลปกรรมศาสตร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร วิทยาเขตปตตานี


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปีที่ 32 ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2555

Abstract Hand-made paper materials is one of the most popular materials used by creative artists. The relationship between human beings and the use of paper has been going on for a long time. Both East and West have formed relationships with paper in which both physical and psychological responses have been found. In terms of physical response, we use paper for writing messages down to communicate with other people, in addition to its use with some kinds of containers in our daily life. In terms of psychological response, we use it for recording religious chanting. This study focuses on the processes of creating pieces of art using hand-made paper materials. It was found that the process expresses the artists’ creativity and technical ability to work as well as their identity. It is also an example of creativity and a way that an artist could go back to the technical integration of their creative works. Creative experiments are used by the faculty of Fine and Applied Arts at Prince of Songkla University, Pattani campus, in the teaching process within the field of visual arts. Not only is this method very useful for teaching in general, it could help as a guide as well as an exemplary expression of the creative works of art in the future. Keyword: 1. The creation art work from hand-made materials.

40


การสรางสรรคผลงานจากวัสดุกระดาษทำ�มือ เจะอับดุลเลาะ เจะสอเหาะ

บทนำ� การสรางสรรคผลงานศิลปะแตละชนิดยอมมี ความแตกตางและโดดเดนทีเ่ ปนเฉพาะของแตละบุคคล ไมวาจะเปนเรื่องราว เนื้อหา ความคิดหรือกรรมวิธีที่นำ� มาใชในการสรางสรรคผลงานขึ้นมา การสรางสรรค ผลงานศิลปะ ศิลปนจำ�เปนจะตองแสวงหาความเปน อัตลักษณเฉพาะ กระบวนการหรือเทคนิควิธีการเปน กรรมวิธีชนิดหนึ่งที่สามารถหาความเปนปจเจกบุคคล การสร า งสรรค ผ ลงานศิ ล ปะด ว ยเทคนิ ค จาก วัสดุกระดาษทำ�มือ เปนวัสดุชนิดหนึ่งที่ศิลปนนิยมมา สรางสรรคผลงาน ความผูกพันระหวางมนุษยกับการใช กระดาษมี ม าอย า งยาวนาน ตั้ ง แต อ ดี ต กาลจนถึ ง ยุคสมัยปจจุบัน ในโลกตะวันตกและตะวันออกตางมี ความสัมพันธกับการใชกระดาษทั้งสิ้น ทั้งในแงของ การใชในลักษณะการตอบสนองทางดานกายภาพ และ ทางดานจิตใจ หมายถึง การใชอยูในชีวิตประจำ �วัน เชนการบันทึก การสื่อสาร หรือใชกับภาชนะขาวของ เครื่องใชในชีวิตประจำ�วันเปนตน สวนการตอบสนอง ทางด า นจิ ต ใจ คื อ การบั น ทึ ก บทสวดความเชือ่ และ ความศรัทธาในลั ก ษณะของคั ม ภี ร  ต  า งๆ ที่ เ กิ ด ขึ้ น ใน แตละศาสนา ในโลกของตะวั น ออกที่ ป รากฏขึ้ น จากงาน ก ร ะ ด า ษ เ ป  น สิ่ ง ที่ เ กิ ด จ า ก ก า ร ร ว ม ตั ว ข อ ง ประสบการณ อั น ยาวนาน ส ง ผลให เ กิ ด พั น ธนาการ ทางดานกรรมวิธี รูปแบบ เนื้อหา เปนแบบอยางเฉพาะ ตั้งแตงานที่ตอบสนองความศรัทธาทางศาสนา เชน คัมภีรตางๆ ไปถึงการแสดงออกที่เปนสภาวะแหงตน ผานงานศิลปกรรมของศิลปน ที่สอดคลองกับสภาพ แวดลอมทางวัฒนธรรม แตละยุคสมัย สวนในโลกตะวันตกโดยเฉพาะอยางยิ่งศิลปะ สมัยใหม เปนยุคสมัยที่มีความผูกพันกับงานกระดาษ เปนอยางสูง สิ่งที่บงชี้วางานกระดาษชวยสรางความ สมัยใหมใหกับตะวันตก คือกระบวนการสรางสรรค ผลงานของศิลปนสมัยใหมทมี่ งี านกระดาษเปนแรงดลใจ อยางสำ�คัญ พาโบล ปกัสโซ นับวาเปนศิลปนเริ่มแรกที่ใช กระดาษพัฒนางานปะติด และการจัดรวมวัสดุทพี่ านพบ ในแนวทางบาศนิยมสังเคราะห รวมกับจอรจ บราค

แมวากรรมวิธีดังกลาวจะใชกระดาษลักษณะตางๆ เชน กระดาษหนังสือพิมพ ตั๋วมหรสพ กระดาษปดผนัง หรือ เศษของจดหมาย มาปะติด หรือจัดรวมใหเปนรูปทรง เพื่อใชแทนคาภาพลักษณของวัตถุ เชน กีตาร แตงาน กระดาษดั ง กล า วบ อ ยครั้ ง ที่ ศิ ล ป น เจาะจงแสดงออก ถึงความบริสุทธิ์พิเศษของพื้นผิวของกระดาษที่ศิลปน พึงพอใจ (นรินทร รัตนจันทร 2543 : 51)

ภาพที่ 1. แสดงภาพผลงาน พาโบล ปกัสโซ (Pablo Picasso) Guitar 1913 Papiers colles,charcoal,India ink and chalk on paper, 66.4 x 49.6 cm. (Walther 1993 : 202)

ชัก โคลส เปนศิลปนอีกคนหนึ่งในยุคปจจุบันที่ ใชกรรมวิธีกระดาษมาเปนผลงานของตนเอง ลักษณะ การใชกระดาษของชัก โคลส ใชกรรมวิธีการยอยสลาย ใหเปนเยื่อกระดาษแลวนำ�มาวางเปนพื้นระนาบแบง ชองไฟเปนตารางเทาๆกัน จากนั้นจึงระบายสีตามคา น้ำ�หนักของรูปทรงที่กำ�หนด

41


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปีที่ 32 ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2555

ภาพที่ 2. แสดงภาพผลงาน ชัก โคลส (chuck close), selfportrait,rigid 1982, handmade paper pulp 97.8 x 72.4 cm. (Close 2005 : 28)

สำ�หรับในประเทศไทย มีศลิ ปนหลายทานทีน่ ยิ ม การใชกระดาษในกระบวนการสรางสรรคเปนผลงาน ศิลปะของตนเองขึ้นมา ศิลปะรวมสมัยในประเทศไทย ที่มีการพัฒนามาอยางตอเนื่อง สงผลตอรูปแบบและ กรรมวิธีในการสรางสรรคผลงานศิลปะที่หลากหลาย และเปนลักษณะเฉพาะตนมากขึ้น มีศิลปนกลุมหนึ่ง ที่ยังคงใชกรรมวิธีจากวัสดุกระดาษทำ�มือ เชน ผลงาน ของ ศาสตราจารยชลูด นิ่มเสมอ ดร.กมล ทัศนาญชลี ศาสตราจารยเดชา วราชุน รองศาสตราจารยพิเชษฐ เปยรกลิ่น เปนตน ตางใชกระดาษในการรองรับเทคนิค ของตน เนื่ อ งจากกระดาษเป น วั ส ดุ ที่ ห าได ง  า ยและ ผลิ ต ด ว ยวั ส ดุ จ ากธรรมชาติ ซึ่ ง สอดคล อ งกั บ วิ ธี คิ ด และกรรมวิธีของศิลปน โดยเฉพาะปรัชญาตะวันออก ที่มีความสัมพันธกับการใชกระดาษในชีวิตประจำ �วัน ด ว ยลั ก ษณะโครงสี ข องกระดาษทำ � มื อ ตลอดจนพื้ น ผิ ว ร อ งรอยขรุ ข ระของกระดาษที่ มี ค วามงดงามแบบ ธรรมชาติ ส ง ผลให เ กิดทั ศนธาตุใ นผลงานศิ ล ปะใน แบบธรรมชาติ อาจเปนเพราะเหตุนี้ศิลปนสวนใหญ มักนำ�กระดาษทำ�มือมาใชและรองรับความคิดสรางสรรค

42

ลงในผลงานศิลปะของตน อย า งไรก็ ต ามผลงานศิ ล ปะที่ ใ ช ก รรมวิ ธี จ าก วั ส ดุ ก ระดาษก็ ยั ง มี ก ารนิ ย มใช กั น อย า งต อ เนื่ อ งนั บ ตัง้ แตอดีตจนถึงปจจุบนั ถึงแมเทคโนโลยีจะมีการพัฒนา กาวไปไกลแลวนั้น ซึ่งอาจสงผลตอความรูสึก ความคิด และกรรมวิธีใหมๆที่ใหศิลปนไดใชและนำ�เสนอเกี่ยวกับ ผลงานของตนเอง โดยใชสื่อแบบใหมตามเทคโนโลยี ที่ไดพัฒนาใหผูคนไดเห็นอยูตลอดเวลา แตก็มีศิลปน บางกลุมที่ยังใชกรรมวิธีจากวัสดุกระดาษทำ�มือใหเห็น อยูจนถึงปจจุบัน ศาสตราจารยชลูด นิม่ เสมอ เปนศิลปนทีม่ กี ารใช กระดาษทำ�มือในการสรางสรรคผลงานที่เปนลักษณะ เฉพาะตนอยางเห็นไดชัด รูปแบบของผลงานที่นำ�เสนอ โดยใชปรัชญาตะวันออกที่มีลักษณะแบน และใชสีที่ เป น ไปในโทนสี ข องธรรมชาติ แ บบจิ ต รกรรมฝาผนั ง โบราณและใช จั ง หวะการซ้ำ � ของรู ป ทรงที่ ป รากฏใน ชิ้นงาน สวนรูปทรงของผลงานเกิดจากการสรางรูปทรง ที่เปนทั้งรูปทรงอิสระและรูปทรงที่อยูในกรอบสี่เหลี่ยม แบบฉบั บ ตะวั น ออกที่ ไ ด ใ ห ค วามบั น ดาลใจจาก สิ่ ง ที่ ธ รรมชาติ แ ละมนุ ษ ย ส ร า งขึ้ น เช น ต น ไม แ ละ สถาปตยกรรม เปนตน

ภาพที่ 3. แสดงภาพผลงาน ศาสตราจารยชลูด นิม่ เสมอ, ตนไม/ tree เทคนิคผสม-Mixed Techniques, 86 x 84 cm., 1992. (ชลูด นิ่มเสมอ 2553 : 68)


การสรางสรรคผลงานจากวัสดุกระดาษทำ�มือ เจะอับดุลเลาะ เจะสอเหาะ

ดร.กมล ทัศนาญชลี นับเปนศิลปนทีใ่ ชกระดาษ ไดอยางสนุกและกลมกลืนระหวางเทคนิคกับเนื้อหา ลักษะของผลงานทีม่ คี วามโดดเดนในรูปแบบและกรรมวิธี ทีส่ รางรูปทรงของวัสดุกระดาษทำ�มือ ซึง่ เปนองคประกอบ หนึ่ง ของเนื้อหาในผลงานผสมผสานกับวัสดุอ่ืน ๆ ที่ นำ�มาใชในงาน อยางผลงานชุดหนังใหญ เปนตน

ภาพที่ 5. แสดงภาพผลงาน ศาสตราจารย เ ดชา วราชุ น , Woman3, Acylic on Handmade Paper, 80 x 55 cm, 2007. (เดชา วราชุน 2553) ภาพที่ 4. แสดงภาพผลงาน อาจารยกมล ทัศนาญชลี, Nang-Yai Lover, 2002, Mixed Media, Acrylic, Wood on Handmade Paper 34” x 30” (กมล ทัศนาญชลี 2548 : 68)

ศาสตราจารยเดชา วราชุน ศิลปนที่สรางสรรค ผลงานในแนวนามธรรม ซึ่ ง เป น อี ก ท า นที่ ทำ � งาน โดยการใช วั ส ดุ จ ากกระดาษทำ � มื อ ผลงานของ ศาสตราจารยเดชา วราชุน จะใชผื้นผิวที่เกิดรองรอย ขรุขระในการสรางคาน้ำ�หนักดวยการระบายสีทับไป ทับมาเพื่อใหเกิดพื้นผิวและมีคาน้ำ�หนักของสีปรากฏ ขึ้นมา จากนั้นสรางรูปทรงนามธรรมบนพื้นผิวกระดาษ ที่เตรียมพื้นไว เพื่อเชื่อมโยงความคิดและเนื้อหาใน ผลงาน

รองศาสตราจารยพิเชษฐ เปยรกลิ่น ศิลปน ผูบ กุ เบิกวงการศิลปกรรมรวมสมัยในภาคใต เปนศิลปน ทีช่ อบทดลองการสรางสรรคผลงานทีห่ ลากหลายเทคนิค กรรมวิธีการสรางสรรคผลงานดวยวัสดุจากกระดาษ ทำ�มือเปนอีกเทคนิคหนึ่งที่รองศาสตราจารยพิเชษฐ เปยรกลิ่น ไดนำ�มาใชกับผลงานของตน ลักษณะผลงาน ที่ปรากฏโดดเดนคือการสรางรูปทรงใบเสมาและใบบัว ดวยเยื่อกระดาษทำ�มือที่เปนอัตลักษณเฉพาะตน

43


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปีที่ 32 ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2555

เวลาโดยการนำ�เยื่อกระดาษมาผสมกับน้ำ�เพื่อใหเปยก อีกครัง้ หนึง่ แตหากผูส รางสรรคมคี วามประสงคจะใชงาน ทันทีภายหลังจากการปนแลวก็ไมตองนำ�ไปตากแหง สามารถใชไดเลย อนึ่งการนำ�กระดาษที่ปนยอยเปน เยือ่ กระดาษไปตากแหงใหสนิท เปนการยึดอายุระยะเวลา ของการใชงานตัวเยื่อกระดาษใหไดนานมากขึ้น เพราะ หากไมนำ�ไปตากแดดใหแหงสนิท อายุของการใชงาน ก็จะสั้นลงเนื่องจากเกิดเชื้อราในเยื่อกระดาษและเยื่อ กระดาษจะมีกลิ่นเหม็น ซึ่งสงผลใหเกิดความเสียหาย ตอผลงานที่สรางสรรคขึ้นมา

ภาพที่ 6. แสดงภาพผลงาน รองศาสตราจารยพเิ ชษฐ เปยรกลิน่ , Sema 16, Tempera, Pastel on Paper Handmade, 60 x 70 cm. (พิเชษฐ เปยรกลิ่น 2550 : 18)

กระบวนการสร า งสรรค ผ ลงานด ว ยวั ส ดุ จ าก กระดาษทำ�มือ ในกระบวนการสรางกระดาษทำ�มือไดกำ�หนด กรรมวิธีและขั้นตอน โดยจะตองเตรียมวัสดุอุปกรณ ประกอบไปดวยเครื่องสำ�หรับการปนกระดาษ กระดาษ สำ � หรั บ การสร า งกระดาษให เ ป น แผ น พลาสติ ก ใส สำ�หรับรองกระดาษทีส่ รางแผนกระดาษ ดังกระบวนการ ขั้นตอนดังนี้ 1. ขัน้ ตอนการปน กระดาษ ในขัน้ ตอนนีจ้ ะตองนำ� กระดาษที่ใชแลวมาฉีกใหเปนชิ้นเล็ก เพื่อความเร็วและ งายในการปน มาใสลงไปในเครื่องปนกระดาษ จากนั้น ใสน้ำ�ในอัตราสวนที่ตองการ เปดเครื่องปนจนละเอียด หลังจากปน จนละเอียดกลายเปนเยือ่ กระดาษแลว นำ�เยือ่ กระดาษมาบีบน้ำ�ใหแหง แลวจึงนำ�ไปตากแดดใหแหง สนิท เพื่อไมใหเชื้อราขึ้นกระดาษ และสามารถใชงาน ไดในระยะเวลาที่ยาวนาน เนื่องจากหากผูสรางสรรคมี ความประสงคจะใชกระดาษในระยะเวลาที่ยาวนานก็ สามารถนำ�เยื่อกระดาษที่แหงแลวนั้นมาใชไดตลอด

44

ภาพที่ 7. แสดงภาพขั้นตอนการปนกระดาษ เพื่อยอยกระดาษ ใหละเอียด ในขั้นตอนนี้จะตองหมั่นสังเกตของเยื่อ กระดาษที่ปนเพื่อใหไดความละเอียดของกระดาษ ตามความตองการ โดยจะใชเวลาในการปนประมาณ 30 นาทีถึง 1 ชั่วโมง


การสรางสรรคผลงานจากวัสดุกระดาษทำ�มือ เจะอับดุลเลาะ เจะสอเหาะ

ภาพที่ 8. แสดงภาพขั้นตอนการนำ�เยื่อกระดาษไปตากแหงเพื่อยืดระยะเวลาในการใชงาน

2. ขัน้ ตอนการสรางแผนกระดาษ นำ�เยือ่ กระดาษ ทีต่ ากแหงไวแลว มาใสถงั ผสมกับกาวลาเท็กซ พรอมกับ ใสน�้ำ ในอัตราสวนทีต่ อ งการ คลุกใหเขากัน จึงนำ�มาสราง

กระดาษเปนแผนตามขนาดทีไ่ ดก�ำ หนด เสร็จแลวนำ�ไป ตากแดดใหแหงสนิทเพื่อนำ�ไปวาดรูปตอไป

ภาพที่ 9. แสดงภาพขัน้ ตอนการนำ�เยือ่ กระดาษผสมกาวลาเท็กซกบั น้�ำ คลุกใหเขากันเพือ่ ประสานระหวางเยือ่ กระดาษ กาวลาเท็กซและ น้ำ�ใหเปนเนื้อเดียวกัน

45


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปีที่ 32 ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2555

ภาพที่ 10. แสดงภาพขั้นตอนการนำ�เยื่อกระดาษที่เปนเนื้อเดียวกันมาผสมกับสีที่ผูสรางสรรคมีความตองการใหแผนกระดาษมีสีสัน โดยไมตองระบายสีรองพื้น ในขั้นตอนนี้จะใชเมื่อตองการใหกระดาษเปนสีในเนื้อเดียวกันของตัวกระดาษ ซึ่งหากไมตองการ ใหกระดาษเปนสีเดียวกัน ไมจำ�เปนจะตองผสมสีลงไปในเยื่อกระดาษ ใชกระดาษผสมกับกาวลาเท็กซและน้ำ�เทานั้น

46


การสรางสรรคผลงานจากวัสดุกระดาษทำ�มือ เจะอับดุลเลาะ เจะสอเหาะ

ภาพที่ 11. แสดงภาพขั้นตอนการสรางกระดาษเปนแผนดวยเยื่อกระดาษตามขนาดที่ตองการ ในขั้นตอนนี้ผูสรางสรรคสามารถกำ�หนด รูปทรงตางๆไมวา จะเปนรูปทรงอิสระหรือรูปทรงทีอ่ ยูใ นกรอบของสีเ่ หลีย่ ม ทัง้ นีย้ งั สามารถกำ�หนดพืน้ ผิวของกระดาษไดตาม ความตองการ เชนพื้นผิวเรียบ พื้นผิวขรุขระแบบนูนต่ำ�หรือนูนสูง นอกจากนี้หากมีความประสงคอยากใหมีวัสดุอื่นมาปะติด เพิ่มเติมก็สามารถทำ�ไดทั้งในชวงกระดาษยังไมแหงหรือกระดาษแหงสนิทแลว เชนไม กระจก เชือก ท​องแดง เปนตน สวน ขนาดของกระดาษที่เปนชิ้นงานสามารถกำ�หนดขนาดไดตามความตองการของผูสรางสรรคเชนกัน

ภาพที่ 12. แสดงภาพขัน้ ตอนการสรางกระดาษเปนแผนดวยเยือ่ กระดาษตามขนาดทีต่ อ งการแลวนำ�ไปตากแดด เพือ่ ใหแหงสนิทกอนนำ� ไปใชในขัน้ ตอนตอไป

47


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปีที่ 32 ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2555

ลักษณะผลงานที่เสร็จสมบูรณ

ภาพที่ 13. แสดงภาพตัวอยางผลงานจิตรกรรมชุด แรงบันดาลใจจากธรรมชาติ สีอะครายลิคบนเยื่อกระดาษทำ�มือ ขนาด 70 x 200 เซนติเมตร

ภาพที่ 14. แสดงภาพตัวอยางผลงานจิตรกรรมชุด แรงบันดาลใจจากธรรมชาติ สีอะครายลิคบนเยื่อกระดาษทำ�มือ ขนาด 60 x 200 เซนติเมตร

ภาพที่ 15. แสดงภาพตัวอยางผลงานจิตรกรรมชุด จิตรกรรมวัสดุผสมที่ไดรับแรงบันดาลใจจากลวดลายเรือกอและ สีอะครายลิคบนเยื่อ กระดาษทำ�มือ ขนาด 70 x 90 เซนติเมตร

48


การสรางสรรคผลงานจากวัสดุกระดาษทำ�มือ เจะอับดุลเลาะ เจะสอเหาะ

ภาพที่ 16. แสดงภาพตัวอยางผลงา​นจิตรกรรมชุด จิตรกรรมวัสดุผสมที่ไดรับแรงบันดาลใจจากลวดลายเรือกอและ สีอะครายลิคบนเยื่อ กระดาษทำ�มือ ขนาด 59 x 165 เซนติเมตร

ภาพที่ 17. แสดงภาพตั ว อย า งผลงานจิ ต รกรรมชุ ด จิ ต รกรรมวั ส ดุ ผ สมที่ ไ ด รั บ แรงบั น ดาลใจจากลวดลายเรื อ กอและ สีอะครายลิคบนเยื่อกระดาษทำ�มือ ขนาด 79 x 120 เซนติเมตร ภาพที่ 18. แสดงภาพตัวอยางผลงานจิตรกรรมชุด รูปลักษณจากทองถิ่นปตตานี สีอะครายลิคบนเยื่อ กระดาษทำ�มือ ขนาด 129 x 193 เซนติเมตร ภาพที่ 19. แสดงภาพตั ว อย า งผลงานจิ ต รกรรมชุ ด รู ป ลั ก ษณ ข องท อ งถิ่ น ป ต ตานี สี อ ะครายลิ ค บนเยื่ อ กระดาษทำ � มื อ ขนาด 102 x 227 เซนติเมตร

49


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปีที่ 32 ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2555

ภาพที่ 20. แสดงภาพตัวอยางผลงานจิตรกรรมชุด พระจันทรคือชีวิต สีอะครายลิคบนเยื่อกระดาษทำ�มือ ขนาด 38 x 56 เซนติเมตร ภาพที่ 21. แสดงภาพตัวอยางผลงานจิตรกรรมชุด พระจันทรคือชีวิต สีอะครายลิคบนเยื่อกระดาษทำ�มือ ขนาด 200 x 200 เซนติเมตร

ภาพที่ 22. แสดงภาพตัวอยางผลงานจิตรกรรมชุด รูปลักษณของทองถิ่นปตตานี สีอะครายลิคบนเยื่อ กระดาษทำ�มือ ขนาด 170 x 200 เซนติเมตร

50


การสรางสรรคผลงานจากวัสดุกระดาษทำ�มือ เจะอับดุลเลาะ เจะสอเหาะ

ภาพที่ 23. แสดงภาพตัวอยางผลงานจิตรกรรมชุด รูปลักษณของทองถิ่นปตตานี สีอะครายลิคบนเยื่อ กระดาษทำ�มือ ขนาด 170 x 200 เซนติเมตร

ภาพที่ 24. แสดงภาพตัวอยางผลงานจิตรกรรมชุด รูปลักษณทองถิ่นปตตานี สีอะครายลิคบนเยื่อกระดาษทำ�มือ ขนาด 150 x 150 เซนติเมตร

51


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปีที่ 32 ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2555

จากการศึกษากระบวนการสรางสรรคผลงาน ดวยกรรมวิธีจากวัสดุกระดาษทำ�มือของศิลปนตางๆ ตลอดจนของขาพเจาเองพบวา ศิลปนแตละทานมีวิธี การนำ�เสนอทีแ่ ตกตางกัน โดยเฉพาะในเรือ่ งของเนือ้ หา ทางศิลปะ โดยกรรมวิธที างเทคนิคการใชกระดาษทำ�มือ มีทั้งความคลายกันและแตกตางกัน กลาวโดยสรุป คือ ศิลปนทานแรก พาโบล ปกัสโซ ไดนำ�เสนอใน เรื่องของรูปทรงกีตาร โดยการนำ�วัสดุกระดาษที่ใชแลว มาสร า งรู ป ทรงด ว ยกระดาษหนั ง สื อ พิ ม พ กระดาษ ปดผนัง ตั๋วมหรสพ เศษจดหมาย มาปะติดใหเกิดเปน รู ป ทรงที่ ต  อ งการ นำ � เสนอในลั ก ษณะการตั ด ทอน รูปทรงลัทธิควิ บิสซ แบบเรียบงายและนาสนใจ ซึง่ ตางจาก ผลงานของ ชัก โคลส โดยเฉพาะกรรมวิธีของการใช เยื่อกระดาษทำ�มือ ชักโคลสไดใชเยื่อกระดาษในการ สรางรูปทรงและเนือ้ หาของผลงาน ซึง่ ไดน�ำ เยือ่ กระดาษ มาสรางเปนแผนแลวแบงชองตารางสรางคาน้ำ�หนัก ทีละชองจนปรากฏเปนรูปทรงของใบหนาคนไดอยาง นาอัศจรรย สำ�หรับศาสตราจารยชลูด นิ่มเสมอ ทานเปน นักทดลองนักสรางสรรคอยูตลอดเวลา ผลงานของทาน ในชิ้นนี้ ทานไดนำ�เสนอเรื่องราวที่ไดแรงบันดาลใจจาก ธรรมชาติตนไม โดยสรางรูปทรงอิสระคลายตนไมดวย เยื่อกระดาษทำ�มือ ใชสีในโทนธรรมชาติแบบจิตรกรรม ฝาผนังโบราณ อีกทัง้ ยังใชวสั ดุจากธรรมชาติอยางเศษไม มาปะติดบนชิ้นงานทำ�ใหมีความนาสนใจ สรางความ กลมกลืนระหวางเทคนิคกับเนื้อหาในผลงาน ดร.กมล ทัศนาญชลี ไดนำ�เสนอในเรื่องราวของ หนังใหญ ผสมผสานวัฒนธรรมตะวันออกและตะวันตก เขาดวยการ ดวยการนำ�สีสัน สื่อวัสดุ และการจัดวาง เนื้อหาที่เปนเอกลักษณเฉพาะของศิลปนไดอยางสนุก เป น ผลงานที่ มี ลั ก ษณะโดดเด น ในเรื่ อ งรู ป แบบและ กรรมวิ ธี ก ารสร า งพื้ น ผิ ว กั บ รู ป ทรงด ว ยเยื่ อ กระดาษ ทำ�มือมาผสมผสานกับวัสดุอื่นๆที่ศิลปนไดนำ�มาใชใน งานไดอยางมีเอกภาพ ในขณะที่ศาสตราจารยเดชา วราชุน นำ�เสนอใน รู ป แบบนามธรรมซึ่ ง เป น แนวทางในการสร า งสรรค ผลงานของศิลปนตั้งแตอดีตจนถึงปจจุบัน ในผลงาน ชิ้นนี้ศิลปนไดใชพื้นกระดาษทำ�มือในการรองรับ รูปราง

52

รูปทรงของเนือ้ หาดวยวิธกี ารสรางพืน้ ผิวใหเกิดรองรอย ขรุขระ เพื่อสรางคาน้ำ�หนัก ใหสีสันระบายทับไปทับมา จนเกิดคาน้ำ�หนักของรูปทรงที่ตองการ ดวยชนิดของ วัสดุกระดาษทำ�มือที่มีพื้นผิวและรองรอยของกระดาษ ที่ชัดเจน ทำ�ใหเอื้อตอการสรางสรรคผลงาน จนกลาย เปนเอกลักษณที่โดดเดนของศิลปน และศิลปนอีกทานหนึ่งที่สรางสรรคผลงานโดย ใชวัสดุจากกระดาษทำ�มือคือ รองศาสตราจารยพิเชษฐ เปยรกลิ่น ศิลปนไดใชคุณสมบัติพิเศษของเยื่อกระดาษ ทำ�มือ ดวยการสรางรูปทรงใบเสมาและสรางพื้นผิว ใหเกิดรองรอยขรุขระเพื่อใหเกิดน้ำ�หนักและความตาง ของผิวกระดาษ ทั้งนี้จุดเดนอีกอยางหนึ่งที่ศิลปนไดน�ำ มาใชเปนเทคนิคคือการใชเทคนิคการตอกกระดาษให ทะลุเพื่อใหเกิดรูปทรงที่เปนเรื่องราวเนื้อหาทางพุทธ ศาสนา จากที่ไดกลาวสรุปของการสรางสรรคผลงาน ของศิลปนแตละทานทั้งในเรื่องของรูปแบบและเนื้อหา ที่นำ�เสนอหรือกระทั้งกรรมวิธีทางเทคนิคที่ศิลปนได นำ�มาใชในการสรางสรรคผลงานโดยรวมแลวแตละทาน จะมีลักษณะการแสดงออกที่ตางกันโดยเฉพาะเนื้อหา ในงานศิลปะที่แตละคนมีแนวความคิดที่เปนลักษณะ เฉพาะตน สัญลักษณทศี่ ลิ ปนนำ�มาใชในงานมีความตาง อยางสิน้ เชิง ในสวนของกระบวนการทางเทคนิคมีความ ใกลเคียงกันโดยเฉพาะการใชเยือ่ กระดาษทำ�มือมาสราง รูปทรงเพือ่ รองรับเนือ้ หาของตนเอง มีเพียงของ พาโบล ปกสั โซ เพียงคนเดียวทีใ่ ชวสั ดุกระดาษทีผ่ า นการใชงาน แล ว นำ � มาปะติ ด ให เ ป น รู ป ทรงใหม เ พื่ อ ให เ กิ ด ความ รูสึกใหมขึ้นมา จากการศึกษากระบวนการสรางสรรคผลงาน ดวยกรรมวิธีจากวัสดุกระดาษทำ�มือ พบวาเปนกรรมวิธี หนึ่งที่ศิลปนสามารถแสดงออกทางเทคนิคที่นาสนใจ และสามารถสรางสรรคผลงานเปนอัตลักษณเฉพาะ ตนไดอยางสมบูรณ อีกทั้งยังเปนแบบอยางของการ สรางสรรคและเปนแนวทางอีกทางหนึ่งที่ศิลปนรุนหลัง สามารถหยิ บ นำ � ไปบู ร ณาการทางเทคนิ ค ในผลงาน สรางสรรคของตนเองได ทั้งนี้กระบวนการสรางสรรค ผลงานของขาพเจาก็เปนอีกแนวทางหนึ่งที่สามารถ คนพบแนวทางการทำ�งานทีม่ ลี กั ษณะเฉพาะตน สามารถ


การสรางสรรคผลงานจากวัสดุกระดาษทำ�มือ เจะอับดุลเลาะ เจะสอเหาะ

เปนแบบอยางหรือเปนแนวทางใหกับผูสนใจในการ สรางสรรคผลงานศิลปะดวยกรรมวิธีจากวัสดุกระดาษ ทำ�มือตอไป สำ�หรับปญหาในกระบวนการขั้นตอนของการ ทำ�กระดาษทำ�มือพบวา ในขั้นตอนของการผสมกาว กั บ เยื่ อ กระดาษที่อัต ราสวนของกาวลาเท็ก ซ แ ละน้ำ � ยังไมลงตัว เนื่องจากแผนกระดาษที่นำ�ไปตากใหแหง สนิทนั้น เมื่อนำ�กระดาษมาใชงานจะพบวากระดาษจะ ขาดงาย เพราะวาผสมกาวนอยเกินไป ซึ่งตองแกไข ปญหาโดยใชวธิ กี ารทากาวบนกระดาษเพิม่ เติม นอกจาก นีย้ งั พบปญหาทีเ่ กีย่ วของกับสภาพอากาศ เพราะสภาพ ภูมิอากาศในพื้นที่จังหวัดปตตานีมีฝนตกชุกตลอดป โดยเฉพาะในฤดูฝนหรือมรสุมมีผลกระทบตอกระบวน การสรางสรรคผลงาน โดยเฉพาะขั้นตอนของการทำ� เยื่อกระดาษ ซึ่งจะตองอาศัยแสงแดดจัดในการตากเยื่อ กระดาษเพื่อใหแหงสนิท สภาพภูมิอากาศดัง กล า ว จึงเปนปญหาตอการสรางรูปทรงกระดาษใหเปนแผน ทำ�ใหกระดาษแหงชาและเกิดเชื้อราบนกระดาษ ปญหา ดังกลาวที่เกิดขึ้นในขั้นตอนการปฏิบัติงานนั้น ถือเปน การแกไขปญหาตางๆ ในขณะทำ�งาน การรับรูถ งึ ปญหา ในครั้งนี้ ซึ่งเปนผลดีตอกระบวนการพัฒนาและแกไข ปญหาของกรรมวิธีการสรางสรรคผลงานดวยวัสดุจาก กระดาษทำ�มือกลาวคือ ผูสรางสรรคจะตองมีการเตรียม ความพรอมในทุกๆดานทั้งในเรื่องของสถานที่ในการ ปฏิบัติงาน การศึกษาคนควาหาขอมูลที่เกี่ยวของกับ การผลิตกระดาษทำ�มือ และทีส่ �ำ คัญจะตองมีการวางแผน ในขั้นตอนและกระบวนการตางๆ ในการปฏิบัติงาน อยางเปนระบบตลอดจนตองหมั่นทดลองใหมากและ สม่ำ�เสมอเพื่อใหรับรูถึงปญหาและอุปสรรค ซึ่งสามารถ แกปญหาไดถูกจุด นอกจากนี้จะตองมีการดูแลเอาใจ 

ใส กั บ รายละเอี ย ดของผลงานการสร า งสรรค เ ป น กรณีพิเศษ เพื่อปองกันปญหาและความผิดพลาดที่จะ เกิดขึ้นมาภายหลัง ผลผลิ ต จากการทดลองของกรรมวิ ธี ก าร สร า งสรรค ผ ลงานจากวั ส ดุ ก ระดาษทำ � มื อ นั บ เป น ประสบการณที่สงผลตอผูสรางสรรคเปนอยางยิ่ง โดย เฉพาะคุณคาทางดานศิลปะ ที่มีการสรางสรรคผลงาน ในลักษณะกรรมวิธีเฉพาะตน ทั้งรูปแบบ และเทคนิค ในการสรางสรรคผลงาน นอกจากนี้ยังสงผลตอระบบ ทางความคิด ระเบียบและวินัยในการดำ�รงชีวิต การ แกไขปญหาเฉพาะหนา ตลอดจนความศรัทธาตอการ สรางสรรคผลงานศิลปะอยางตอเนื่อง การสรางสรรค ผลงานศิ ล ปะในแต ล ะครั้ ง จำ � เป น ที่ จ ะต อ งวางแผน กระบวนการทำ�งานอยางเปนระบบ มีการทดลองและ ทำ�งานอยางสม่�ำ เสมอเพือ่ รักษาระดับมาตรฐานของการ สรางสรรคผลงานใหเกิดความตอเนื่อง อีกทั้งยังตอง มี ค วามศรั ท ธาต อ งานศิ ล ปะที่ ไ ด รั ง สรรค ขึ้ น มาด ว ย ความทุมเทอีกดวย บทสรุปที่ไดกลาวมาขางตน จะเปนพลังในการ กระตุนตอแรงกายแรงใจในการสรางจิตวิญญาณของ นักสรางสรรค สงผลตอความกาวหนาในหนาที่การงาน และชีวิตที่สูงสงในบริบทของนักสรางสรรค อีกทั้งยัง สามารถนำ�ความรูแ ละประสบการณจากการทดลองการ สรางสรรคผลงาน ไปใชในกระบวนการเรียนการสอน ในหลักสูตรสาขาวิชาทัศนศิลป คณะศิลปกรรมศาสตร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร วิทยาเขตปตตานี และ เปนประโยชนแกผูสอนโดยทั่วไป เพื่อเปนแนวทาง การแสดงออกตลอดจนเปนแบบอยางในการสรางสรรค ผลงานศิลปะตอไป





53


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปีที่ 32 ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2555

เอกสารอางอิง ภาษาไทย กมล ทัศนาญชลี. (2548). นิทรรศการเชิดชูเกียรติศิลปนแหงชาติ กมล ทัศนาญชลี ในวาระครบ 60 ป. กรุงเทพฯ: อมรินทรพริ้นติ้งแอนดพับลิชชิ่ง. ชลูด นิ่มเสมอ. (2553). สายธารชีวิต. กรุงเทพฯ: อมรินทรพริ้นติ้งแอนดพับลิชชิ่ง. เดชา วราชุน และนนทิวรรธน จันทนะผะลิน. (2553). ศิลปกรรมสองศิลปน. กรุงเทพฯ: อมรินทรพริ้นติ้งแอนด พับลิชชิ่ง. นรินทร รัตนจันทร. (2543). ปจเจกภาพของงานกระดาษสรางบุคลิกใหตะวันออกและความสมัยใหมให ตะวันตก : ศิลปกรรมไทย 2000-2002. กรุงเทพฯ: อมรินทรพริ้นติ้งแอนดพับลิชชิ่ง. พิเชษฐ เปยรกลิ่น. (2550). รูปลักษณแหงศรัทธา. ปตตานี: โรงพิมพปตตานีการชาง. ภาษาอังกฤษ Close, Chuck. (2005). Chuck Close : Self-Portraits 1967-2005. With essays by Siri Engberg, Madeleine Grynsztein, Douglas R. Nickel. San Francisco: San Francisco Museum of Modern Art ; Minneapolis: Walker Art Center. Walther, Ingo F. (1993). Pablo Picasso, 1881-1973 : genius of the century. English translation by Hugh Beyer. Köln: Benedikt Taschen.

54


การศึกษาและออกแบบหนังสือสามมิติ เรื่อง สุดสาคร Study and Design of Pop-up Book on Thai Legend of Sudsakorn วินัดดา อุทัยรัตน 1 Vinadda Uthirat บทคัดยอ การวิจัยครั้งนี้น�ำ เสนอการออกแบบหนังสือสามมิติ เรื่อง สุดสาคร โดยมุงเนนใหเปนหนังสือประเภทสงเสริม การอานที่ถือวาเปนสื่อการเรียน (Instructional media) ชนิดหนึ่ง สำ�หรับนักเรียนชวงชั้นที่ 1 โดยมีวัตถุประสงคใน การวิจยั เพือ่ ศึกษาและออกแบบหนังสือสามมิตเิ รือ่ งสุดสาคร และเพือ่ ประเมินความพึงพอใจของผูเ ชีย่ วชาญ ครู นักเรียน ชวงชัน้ ที่ 1 และผูป กครอง ทีม่ ตี อ หนังสือนิทานสามมิติ เรือ่ ง สุดสาคร กลุม ตัวอยางทีใ่ ชในงานวิจยั แบงออกเปน 4 กลุม คือ กลุมที่ 1 กลุม ผูเ ชีย่ วชาญดานพฤติกรรมเด็กและนิทาน จำ�นวน 3 ทาน กลุมที่ 2 ตัวแทนครูประจำ�ชัน้ ป.3/2 โรงเรียน อนุบาลพิบูลเวศม จำ�นวน 1 ทาน กลุม ที่ 3 กลุม นักเรียนชัน้ ป.3/2 โรงเรียนอนุบาลพิบูลเวศม จำ�นวน 30 คน และ กลุม ที่ 4 กลุม ผูป กครองของนักเรียนชวงชัน้ ที่ 1 โรงเรียนอนุบาลพิบูลเวศม จำ�นวน 30 คน โดยแบงวิธีดำ�เนินการวิจัยออก เปน 2 ขั้นตอน ตามวัตถุประสงค คือ 1.) ขั้นตอนการศึกษาและออกแบบหนังสือสามมิติ เรื่อง สุดสาคร เครื่องมือที่ ใชในการวิจัย ไดแก หนังสือสามมิติ เรื่อง สุดสาคร จำ�นวน 1 เลม (1 รูปแบบ) และ แบบสอบถามดานการประเมินผล งานการออกแบบตามความคิดเห็นของกลุมตัวอยางกลุมที่ 1 ที่มีตอหนังสือสามมิติ เรื่องสุดสาคร และ 2.) ขั้นตอน การประเมินความพึงพอใจ เครือ่ งมือทีใ่ ชในการวิจยั ไดแก หนังสือสามมิติ เรื่อง สุดสาคร ที่ปรับปรุงตามความคิดเห็น ของกลุมตัวอยางกลุมที่ 1 จำ�นวน 10 เลม (1 รูปแบบ) พรอมกับแบบสอบถามดานการประเมินความพึงพอใจที่มีตอ หนังสือสามมิติ เรือ่ ง สุดสาคร ของกลุม ตัวอยางทัง้ 4 กลุม ซึง่ ผลการวิจยั พบวา ผลการประเมินงานออกแบบจากความ คิดเห็นของกลุมตัวอยางกลุมที่ 1 โดยรวมทุกดานอยูในระดับดี ( = 4.09) และมีผลการประเมินความพึงพอใจของ กลุมตัวอยางทั้ง 4 กลุม ในภาพรวมพบวา กลุมที่1 มีความพึงพอใจมาก ( = 4.49) 2) กลุมที่ 2 มีความพึงพอใจ มาก ( = 3.81) กลุมที่ 3 มีความพึงพอใจมากที่สุด ( = 4.89) และ กลุมที่ 4 มีความพึงพอใจมากที่สุด ( = 4.51) สรุปไดวาการออกแบบหนังสือสามมิติ เรื่อง สุดสาคร สามารถนำ�ไปใชงานกับกลุมเปาหมายได และนำ�ไปเปน แนวทางการออกแบบพัฒนาหนังสือสามมิติเรือ่ งอืน่ ๆ ตอไปได คำ�สำ�คัญ: 1. หนังสือสามมิต.ิ 2. สุดสาคร. 3. นักเรียนชวงชัน้ ที่ 1. 4. สือ่ การเรียน.

__________________ 1 นักศึกษาปริญญามหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีผลิตภัณฑอุตสาหกรรม คณะครุศาสตรอุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยี พระจอมเกลาเจาคุณทหารลาดกระบัง


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปีที่ 32 ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2555

Abstract This research presents the design of pop-up book on Thai Legend of Sudsakorn that emphasizes on instructional media for student in the primary age (grade 1- grade 3). The objective of this research is to study and design pop-up book on Thai Legend of Sudsakorn and to evaluate satisfaction from experts, teacher, students in primary age and parents. The samples in this study are divided in four groups. The first group consist of 3 experts in children behavior and fairy tale. The second group comprises teachers from grade 3/2, Anubanphibunwes School selected by means of purposive sampling. The third group consists of 30 students from grade 3/2, Anubanphibunwes School selected by means of purposive sampling. The last group comprises parents of students in the primary age at Anubanphibunwes School selected by means of purposive sampling. The instruments used in this study are a pop-up book on Thai Legend of Sudsakorn and 2 questionnaires for the evaluation of design and satisfaction. Research procedure consists of 2 main steps. The first step concerns studying and designing a pop-up book on Thai Legend of Sudsakorn. The second step concerns evaluation of satisfaction of all four example groups toward the pop-up book on Thai Legend of Sudsakorn. Results show that the first group of the samples consider the design of the book to be at the level of good ( = 4.09). With respect to their satisfaction, it was found that the first group considered the book to be at the level of very satisfaction ( = 4.49). The second group considered the book to be at the level of very satisfaction ( = 3.81). The third group considered the book to be at the level of most satisfaction ( = 4.89). The fourth group considered the book to be at the level of most satisfaction ( = 4.51). In conclusion, the design of this pop-up book on Thai Legend of Sudsakorn works proficiently with the samples and could be used as a basis for developing pop-up book design in the future. Keywords: 1. Pop-up book. 2. Thai Legend of Sudsakorn. 3. Primary age. 4. Instructional media.

56


การศึกษาและออกแบบหนังสือสามมิติ เรื่อง สุดสาคร วินัดดา อุทัยรัตน

บทนำ� พระยาอนุมานราชธนหรือเสถียรโกเศศ (2518 : 14) ไดกลาวถึงความสำ �คัญของวรรณคดีสรุปไดวา โลกจะเจริญไดเพราะวิทยาศาสตร แตความเจริญทาง อารยธรรมนั้น จำ�เปนตองใชศิลปะ และวรรณคดีเปน ตัวขัดเกลา ความบันเทิงใจเชนนี้จะทำ�ใหใจที่กระดาง สลายไป คงไวแตคณ ุ งามความดี ดังนัน้ วรรณคดี จึงเปน ศาสตรที่ปุถุชนจะตองศึกษาเพื่อความเจริญกาวหนา ทางจิตใจ แตเพราะวรรณคดีไทยสวนใหญแตงดวย คำ�ประพันธประเภทรอยกรอง ทำ�ใหคนสวนใหญคิด วา “อานยาก” เปนผลใหวรรณคดีไทยไมไดรับความ สนใจจากเยาวชนเทาที่ควร (ผูจัดการออนไลน 2553) ดังนั้น เราควรจะปลูกฝงใหเด็กอานวรรณคดีไทย โดย เริ่มตนจากการปลูกฝงนิสัยรักการอาน ซึ่งตองกระทำ� ตั้งแตผูอานอายุนอย เพราะการอานเปนสิ่งที่ตองฝกฝน ตองอานจนกระทั่งเกิดเปนนิสัย (ฉวีวรรณ คูหาภินันทน 2542) เด็กในชวงชั้นการเรียนที่ 1 (ป.1 - ป.3) เปนวัย เริ่มตนการศึกษา โดยตามธรรมชาติเด็กวัยนี้จะมีความ อยากรูอยากเห็นเปนทุนเดิมอยูแลว ถาเด็กไดหนังสือที่ อยากอานก็จะแสดงความสนใจออกมาทันที “สุ ด สาคร” เป น ตอนหนึ่ ง ของวรรณคดี ไ ทย เรื่อง “พระอภัยมณี” ผลงานของสุนทร​ภู กวีเอกแหง กรุง​รัตนโกสินทรตอนตน ที่มีแกนเรื่องเกี่ยวกับการ ผจญภัย ซึ่งเปนที่ชื่นชอบของเด็กชวงชั้นที่ 1 (ฉวีวรรณ คูหาภินันทน 2542) อีกทั้งยังแฝงขอคิดเรื่องธรรมะ ชนะอธรรม ตนฉบับของวรรณคดีเรือ่ งนีเ้ ปนบทรอยกรอง ดังนั้น ผูวิจัยจึงไดปรับคำ�ประพันธใหเปนบทรอยแกว คือ ใชภาษาธรรมดาในการเลาเรื่อง ซึ่งจะสงผลใหเด็ก อานและทำ�ความเขาใจเรื่องไดงายขึ้น ทำ�ใหเกิดความ พึงพอใจในการอาน สงผลใหเด็กรักการอานวรรรคดีไทย นอกจากเนื้อเรื่องตามที่กลาวมาแลว ทางดานภาพ ประกอบก็เปนสื่ออีกอยางหนึ่ง ที่ทำ�ใหเด็กเกิดความ พึงพอใจที่จะอานวรรณคดีไดเชนกัน โดยเฉพาะภาพ ประกอบแบบสามมิติ (Pop-up) คือ ภาพประกอบที่มี ลักษณะคลายของเลน เมื่อเปดภาพจะยกตั้งขึ้นจากพื้น ลักษณะดังกลาวนาจะสามารถดึงดูดความสนใจของเด็ก ใหมีตอการอานหนังสือได ดังนั้นผูวิจัยจะใชแนวทางนี้ ในการนำ�มาใชชักจูงใหเด็กสนใจการอานวรรณคดีไทย

ดวยเหตุผลที่กลาวมาแลวขางตน ผูวิจัยจึงมี ความคิดที่จะศึกษาและออกแบบหนังสือสามมิติ เรื่อง สุดสาคร โดยมุงเนนใหเปนหนังสือสำ�หรับเด็ก ประเภท สงเสริมการอาน ที่ถือวาเปนสื่อการเรียน (Instructional media) ชนิดหนึ่งที่เปนอีกหนึ่งแรงกระตุนใหเด็กอาน วรรณคดีไทย มองเห็นคุณคาในการอนุรกั ษ และสืบทอด วรรณคดีของไทยสืบไป วัตถุประสงคการวิจัย 1. เพือ่ ศึกษาและออกแบบหนังสือสามมิติ เรือ่ ง สุดสาคร 2. เพื่อประเมินความพึงพอใจของผูเชี่ยวชาญ ครู นักเรียนชวงชั้นที่ 1 และผูปกครอง ที่มีตอหนังสือ นิทานสามมิติ เรื่อง สุดสาคร วรรณกรรมที่เกี่ยวของ 1. ขอมูลทีเ่ กีย่ วของกับจิตวิทยาเพือ่ การสราง นิสัยรักการอานของนักเรียนชวงชั้นที่ 1 เพื่ อ ศึ ก ษาเกี่ ย วกั บ พฤติ ก รรม ความพร อ ม ความสนใจและความตองการ รวมถึงปจจัยทางสิ่งแวด ลอม ที่ชวยสงเสริมการอานใหกับนักเรียนชวงชั้นที่ 1 จากแนวคิดของ ฉวีวรรณ คูหาภินันทน (2542) พบวา เด็กชวงชั้นที่ 1 ตามหลักสูตรการศึกษา พ.ศ. 2544 คือ นักเรียนที่กำ�ลังศึกษาอยูระดับชั้นประถมศึกษาปที่ 1-3 ซึง่ ถูกแบงระดับชัน้ ไวตามระดับพัฒนาการในชวงวัยของ เด็ก เปนวัยทีเ่ ริม่ เขาโรงเรียน ความตองการอานหนังสือ ของเด็ ก ในช ว งวั ย นี้ นั้ น จะชอบฟ ง นิ ท านแนวลึ ก ลั บ ผจญภัย ความสนใจในการอานยาวประมาณ 15-20 นาที หลักสำ�คัญทีจ่ ะสงเสริมการอานไดส�ำ เร็จนัน้ คือ พยายาม ใหเด็กคุนเคยกับหนังสือ เชน ใหหยิบใหจับหนังสือ นั่นจะทำ�ใหเกิดความคุนเคยและกลายเปนทักษะไปเอง ผูที่มีหนาที่เกี่ยวของกับเด็กควรหมั่นใสใจเด็ก เมื่อเด็ก มีปญ  หาในการอานควรรีบแกไขใหกบั เด็ก และพยายาม เลือกหนังสือเสริมประสบการณใหกบั เด็กนอกเหนือจาก แบบเรียนทีใ่ ชในโรงเรียน เพือ่ ใหเด็กไดศกึ ษาหาความรู ดวยตัวเอง โดยหนังสืออาจมีรูปภาพสวยงาม และมี เนื้อเรื่องตามที่เด็กสนใจ เพื่อกระตุนใหเด็กรักการอาน เปนตน

57


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปีที่ 32 ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2555

2. ขอมูลที่เกี่ยวของกับนิทาน และวรรณคดี ไทยเรื่องสุดสาคร เพื่อศึกษารูปแบบนิทานซึ่งทำ�ใหทราบถึงการ นำ�วรรณคดีไทยมาเลาเรือ่ งใหเหมาะสมกับนักเรียนชวง ชั้นที่ 1 จากการทบทวนวรรณกรรม ผูวิจัยไดเลือกที่จะ นำ�เสนอเรือ่ ง “สุดสาคร” ในแกนเรือ่ งของการผจญทีส่ อด แทรกขอคิดการเอาชนะอุปสรรคตางๆ ระหวางการเดิน ทาง เนนเรื่องของธรรมชนะอธรรม ตามลักษณะนิทาน ไทยประเภทจักรๆ วงศๆ มีบทความในรูปแบบรอยแกว ที่มีการเลาเรื่องและใชภาษาธรรมดา เพื่อใหเขาถึง ตัวผูอาน 3. ขอมูลที่เกี่ยวของกับการออกแบบภาพ ประกอบสำ�หรับเด็ก เพื่อศึกษาถึงหนาที่บทบาท และภาพประกอบที่ เด็กชอบ ซึ่งเปนอีกหนึ่งในการจูงใจใหเด็กรักการอาน จากแนวคิดของ เกริก ยุนพันธ (2543) พบวา ภาพ ประกอบมีบทบาทมากในการทีจ่ ะทำ�ใหเด็กกระตือรือรน ที่จะสนใจอานหนังสือ ดังนั้นการสื่อความหมายดวย องคประกอบในการออกแบบ และสีสันจึงมีความสำ�คัญ และมีความหมายมาก เด็กมักจะชอบภาพที่มีสีสันสดใส ภาพวาดดวยสีน้ำ� และสีหมึกจะสงผลใหเกิดจินตนาการ ไดดี ภาพประกอบตองสอดคลองกับเนื้อหา เด็กจะชอบ ภาพขนาดใหญมากกวาภาพที่มีขนาดเล็ก เด็กชายและ เด็กหญิงชอบภาพประกอบในหนังสือไมตางกัน ในการ ออกแบบภาพประกอบทีด่ จี ะตองคำ�นึกถึงความตองการ ความสนใจของเด็กเปนหลักสวนหนึง่ และความคิดสราง สรรคที่ดีของผูออกแบบอีกสวนหนึ่งเปนสำ�คัญในการ ดึงดูดความสนใจใหเด็กชื่นชอบภาพ สงผลไปถึงการ ชื่นชอบหนังสือนิทานดวย 4. ขอมูลที่เกี่ยวของกับหลักการและทฤษฎี เกี่ยวกับภาพสามมิติ เพื่ อ นำ � ภาพประกอบนิ ท านไปสร า งเป น ภาพ สามมิ ติ โดยใช ท ฤษฎี ก ลไกการพั บ กระดาษให เ กิ ด เปนภาพสามมิติ จากแนวคิดของ วิริยะ สิริสิงห (2545) พบวา ประเภทของหนังสือภาพสามมิตินั้นจะขึ้นอยูกับ องศาของการกางภาพออก ไดแก การเกิดภาพสามมิติ เมื่อกางภาพตามมุมประมาณ 90 องศา เปนเทคนิคใน การทำ�ที่งายที่สุดเหมาะแกผูเริ่มตน สามารถนำ�ทฤษฎี

58

การพับแบบเสนขนานมาใชได ตอมาคือการเกิดภาพ สามมิตเิ มือ่ กางภาพออกประมาณ 180 องศา คือ ภาพจะ มีความกวาง ยาว และลึก เหมือนจำ�ลองมาจากของจริง เมื่อภาพถูกกางออกวางราบกับพื้น มีเทคนิคในการทำ� ที่ซับซอนยุงยาก ตองออกแบบชิ้นสวนทีละชิ้น เพื่อนำ� มาประกอบกันอีกครั้งในตัวหนังสือ แตสามารถสราง ความตืน่ ตาตืน่ ใจไดมาก สามารถนำ�ทฤษฎีการพับแบบ เสนขนาน ทฤษฎีการพับแบบตัว V และทฤษฎีพับมุม 45 องศา มาประยุกตใชรวมกันได จะไดภาพที่สวยงาม และดูเรียบรอย และสุดทายการเกิดภาพสามมิติเมื่อ กางภาพออกประมาณ 360 องศา หรือหนังสือแบบมอง ลอด (Peep show book) สามารถกางออกไดรอบตัว สามารถมองเห็นรายละเอียดไดทุกชิ้นสวน นอกจากนี้ การใชเทคนิคดึงเคลื่อนภาพ หมุนภาพ หรือ ปด-เปด ภาพก็จัดไดวาเปนประเภทของภาพสามมิติในรูปแบบ หนึ่งเชนกัน นอกจากวิธีการพับแลววัสดุที่นำ�มาใช เชน กระดาษ และกาว ก็ตองเลือกใหเหมาะสมกับวิธีการ พับดวย 5. ขอมูลที่เกี่ยวของกับความพึงพอใจ เพือ่ ศึกษาถึงองคประกอบของความพึงพอใจของ ผูบริโภค จากแนวคิดของ นฤมล สุขศรีแกว (2552) พบวา การทำ�ใหผูเรียนบรรลุผลสำ�เร็จในเรื่องใดก็ตาม แลว ตองคำ�นึงถึงความพึงพอใจของผูเรียนเปนสำ�คัญ เพราะจะสงผลถึงการสรางแรงจูงใจในการทำ�กิจกรรม จนบรรลุผล อาทิ ตองตอบสนองในเรื่องของการจัด บรรยากาศ และสถานการณ รวมทัง้ สือ่ อุปกรณการเรียน การสอนที่เด็กชื่นชอบตองการ เปนตน การดำ�เนินการวิจัย 1. กลุมผูใหขอมูล กลุมตัวอยางที่ใชในการวิจยั ในครัง้ นี้ แบงออกเปน 4 กลุม ดวยกัน ไดแก กลุม ที่ 1 กลุม ผูเ ชีย่ วชาญดานพฤติกรรมเด็ก และนิทาน จำ�นวน 3 ทาน กลุมที่ 2 ครูประจำ�ชัน้ ประถมศึกษาปท่ี 3/2 โรงเรียนอนุบาลพิบูลเวศม จำ�นวน 1 ทาน ซึง่ ไดจากการ สุม แบบเฉพาะเจาะจง (Purposive sampling) กลุมที่ 3 กลุมนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปท่ี 3/2 โรงเรียนอนุบาลพิบูลเวศม จำ�นวน 30 คน


การศึกษาและออกแบบหนังสือสามมิติ เรื่อง สุดสาคร วินัดดา อุทัยรัตน

(1 หองเรียน) ซึ่งไดจากการสุมแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive sampling) กลุม ที่ 4 กลุม ผูป กครองของนักเรียนชวงชัน้ ที่ 1 โรงเรียนอนุบาลพิบูลเวศม จำ�นวน 30 ทาน ซึ่ง ไดจากการสุม แบบเฉพาะเจาะจง (Purposive sampling) โดยถือวานักเรียนแตละคนจะมีผูปกครองจำ�นวน 1 ทานเปนขอมูลในการศึกษาวิจัย (สมนึก พลอยประดับ 2553) 2. วิธีการเก็บขอมูล ผู  วิ จั ย แบ ง วิ ธี ก ารเก็ บ ขอมูลออก 2 ขั้นตอนตามวัตถุประสงคการวิจัย โดย มีรายละเอียด ดังนี้ 2.1 วิธีการเก็บขอมูลการออกแบบหนังสือ สามมิติ เรื่อง สุดสาคร กลุมผูใหขอมูล ไดแก กลุมตัวอยางกลุมที่ 1 (ผูเชี่ยวชาญ) เครื่องมือที่ใชในการวิจัย ไดแก หนังสือสามมิติ เรื่อง สุดสาคร จำ�นวน 1 เลม (1 รูปแบบ) และแบบ สอบถามความคิดเห็นดานการออกแบบ ที่กลุมที่ 1 มีตอหนังสือสามมิติ เรื่อง สุดสาคร เปนแบบสอบถาม ชนิดมาตราสวนประมาณคา (Ratting scale) 5 ระดับ ตามวิธีของ ลิเคอรท (Likert scale) ที่ผานการวิเคราะห คา IOC (Index of Item Objective Congruence) จาก ผูทรงคุณวุฒิเรียบรอยแลว วิธีการเก็บขอมูล ผูวิจัยจะนำ�เครื่องมือที่ใชใน การวิจัยไปใหกลุมตัวอยางกลุมที่ 1 ทำ�การประเมิน ความคิดเห็นดานการออกแบบที่มีตอหนังสือสามมิติ เรื่อง สุดสาคร ในดานตางๆ จากนั้นนำ�ผลที่ไดมาหาคา เฉลีย่ ของระดับความคิดเห็น แลวนำ�มาเปรียบเทียบ เพือ่ แปลผลความหมายตามเกณฑการประเมินผลงานการ ออกแบบหนังสือสามมิติ ดังนี้ 4.51 – 5.00 แปลความวา ดีมาก 3.51 – 4.50 แปลความวา ดี 2.51 – 3.50 แปลความวา พอใช 1.51 – 2.50 แปลความวา ควรปรับปรุง 1.00 – 1.50 แปลความวา ควรปรับปรุง ทั้ ง นี้ เ พื่ อ นำ � ผลที่ ไ ด ม าปรั บ ปรุ ง หนั ง สื อ สาม มิติ เรื่องสุดสาคร กอนนำ�ไปประเมินความพึงพอใจใน ขั้นตอนตอไป

2.2 วิธีการเก็บขอมูลการประเมินความพึง พอใจของกลุม ตัวอยางทัง้ 4 กลุม ทีม่ ตี อ หนังสือสาม มิติ เรื่อง สุดสาคร กลุมผูใหขอมูลในขั้นตอนนี้ คือ กลุมตัวอยางทั้ง 4 กลุม เครื่องมือที่ใชในการวิจัย ไดแก หนังสือสามมิติ เรื่อง สุดสาคร จำ�นวน 10 เลม (1 รูปแบบ) ที่ปรับปรุง การออกแบบแลว และแบบสอบถามความพึงพอใจที่ กลุมตัวอยางทั้ง 4 กลุม มีตอหนังสือสามมิติ เรื่อง สุดสาคร โดยแบบสอบถามเปนชนิดมาตราสวนประมาณ คา (Ratting scale) 5 ระดับ ตามวิธขี อง ลิเคอรท (Likert scale) ที่ผานการวิเคราะหคา IOC (Index of Item Objective Congruence) จากผูท รงคุณวุฒเิ รียบรอยแลว วิ ธี ก ารเก็ บ ข อ มู ล ในขั้ น ตอนนี้ มี วิ ธี ดำ � เนิ น การตาม ประเภทกลุมตัวอยาง ดังนี้ กลุมที่ 1 ผูวิจัยนำ�เครื่องมือที่ใชในการวิจัยเส นอตอกลุมผูเชี่ยวชาญอีกครั้ง เพื่อทำ�การประเมินในขั้น สุดทาย กลุมที่ 2-3 ผูวิจัยทำ�การเก็บขอมูลรวมกัน คือ ใหครูประจำ�ชัน้ ทดลองอานหนังสือสามมิติ เรือ่ ง สุดสาคร ใหนักเรียนทั้งหมดฟง จากนั้นจึงแบงกลุมนักเรียนออก เปนกลุม กลุมละ 3 คน เพื่อทดลองอานหนังสือดวย ตนเอง เมื่อเสร็จเรียบรอยแลว ผูวิจัยจะทำ�การแจก แบบสอบถาม อธิบายวัตถุประสงคในการวิจัย ตลอด จนวิธีการตอบแบบสอบถาม เพื่อใหเกิดความเขาใจที่ ถูกตอง และทำ�การเก็บรวบรวมพรอมตรวจสอบความ สมบูรณของแบบสอบถาม กลุ ม ที่ 4 ผู  วิ จั ย นำ� เครื่ อ งมื อ ที่ใ ชใ นการวิจัย เสนอต อ กลุ  ม ผู  ป กครอง โดยผู  วิ จั ย ดำ � เนิ น การนั ด พบผูปกครองที่โรงเรียน เพื่อใหคำ�แนะนำ�ในการใชงาน หนังสือสามมิติเรื่องสุดสาคร กอนที่จะทำ�การเก็บขอมูล และตรวจสอบความสมบูรณของแบบสอบถาม จากนั้นนำ�ผลที่ไดมาหาคาเฉลี่ยของระดับความ พึงพอใจ แลวนำ�มาเปรียบเทียบ เพือ่ แปลผลความหมาย ตามเกณฑความพึงพอใจของกลุมตัวอยางทั้ง 4 กลุม ที่ มีตอหนังสือสามมิติ เรื่อง สุดสาคร ดังนี้

59


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปีที่ 32 ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2555

ตารางที่ 1. การแปลความระดับความพึงพอใจของกลุมตัวอยางทั้ง 4 กลุม คาเฉลี่ยระดับความพึงพอใจ​ ของกลุมตัวอยางที่ 1,3 และ 4

คะแนนคาความพึงพอใจ​ ของกลุมตัวอยางที่ 2

แปลความวา

4.51 – 5.00

5

พึงพอใจมากที่สุด

3.51 – 4.50

4

พึงพอใจมาก

2.51 – 3.50

3

พึงพอใจ

1.51 – 2.50

2

นอย

1.00 – 1.50

1

นอยที่สุด

ผลการดำ�เนินงาน การนำ�เสนอผลการดำ�เนินงานแบงออกเปน 2 ขัน้ ตอน ตามวัตถุประสงคในการวิจยั มีรายละเอียด ดังนี้ 1. ผลการออกแบบหนังสือสามมิติ เรื่อง สุดสาคร แบงเปน 2 สวน ตามเครื่องมือที่ใชวิจัย ดังนี้ 1.1 หนังสือสามมิติ เรือ่ ง สุดสาคร จำ�นวน 1 เลม (1 รูปแบบ) สรุปผลงานการออกแบบที่ได ดังนี้ ขนาดหนังสือ 210 Í 210 Í 40 มิลลิเมตร (กวาง Í ยาว Í หนา) วัสดุใชเปนกระดาษหนา 200 แกรม, ใชเทปกาว สองหนาชนิดบางประกอบรูปเลม เนื้อหาทั้งหมด มี 11 ฉาก และใชเทคนิคซอน เนื้อหาไวในภาพประกอบ ภาพประกอบใชเทคนิคการลงสีน� ้ำ สวนลักษณะ การเกิดภาพสามมิติที่เลือกใช คือ การเกิดภาพสามมิติ เมือ่ ผูอ า นกางหนังสือทำ�มุม 180 องศา โดยใชทฤษฎีการ พับแบบตัว V, ทฤษฎีการพับแบบเสนขนาน, ทฤษฎีการ พับมุม 45 องศา รวมไปถึงการใชเทคนิคการเลื่อนภาพ และหมุนภาพ รวมกัน ซึง่ ตัวอยางผลงานการออกแบบทีเ่ สร็จเรียบรอย แลว (ดูภาพที่ 1-9) มีรายละเอียด ดังนี้

1.1.1 รูปเลมของหนังสือสามมิติ

ภาพที่ 1. รูปเลมจริงของหนังสือสามมิติ เรื่อง สุดสาคร

ภาพที่ 2. การเขาเลมของหนังสือสามมิติ เรื่องสุดสาคร

60


การศึกษาและออกแบบหนังสือสามมิติ เรื่อง สุดสาคร วินัดดา อุทัยรัตน

1.1.2 หนาปกของหนังสือสามมิติ

ภาพที่ 3. ปกของหนังสือสามมิติ เรื่องสุดสาคร

1.1.3 ภาพประกอบและภาพสามมิติ

ภาพที่ 4. ภาพสามมิติแสดงรูปอนุสาวรียสุนทรภู เมื่อผูอานกางหนังสือทำ�มุม 180 องศา

ภาพที่ 5. ฉากเกาะแกวพิสดารใชเทคนิคสรางภาพขนาน เพื่อใหเกิดซอนกันเปนสามมิติหลายชั้น

61


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปีที่ 32 ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2555

ภาพที่ 6. ฉากมานิลมังกร และฉากเรือสำ�เภา ใชเทคนิคการพับแบบตัว V และพับมุม 45 องศา เพื่อใหเกิดภาพสามมิติที่สามารถมองเห็นไดทุกมุมมอง

ภาพที่ 7. ฉากสุดสาครเขาเมืองผีดิบ มีการนำ�เทคนิคภาพหมุน (วงลอ) มาใชรวมกับการสรางภาพสามมิติ

ภาพที่ 8. ฉากชีเปลือยผูวิเศษ มีการนำ�เทคนิคดึงเลื่อนมาใช เพื่อทำ�ใหเกิดภาพเคลื่อนไหว

62


การศึกษาและออกแบบหนังสือสามมิติ เรื่อง สุดสาคร วินัดดา อุทัยรัตน

] ภาพที่ 9. ตัวอยางการซอนเนื้อหาไวในภาพประกอบ และการจัดวางตัวอักษรในฉากกนเหว

1.2 ผลการวิเคราะหขอมูลการประเมินผล งานออกแบบหนังสือสามมิติ เรื่อง สุดสาคร เครื่องมือที่ใช คือ แบบสอบถามความคิดเห็น

ดานการออกแบบ ที่กลุมตัวอยางกลุมที่1 (ผูเชี่ยวชาญ) มีตอ หนังสือสามมิติ เรือ่ ง สุดสาคร เปนแบบประมาณคา (Ratting scale) 5 ระดับ ซึ่งสรุปผลไดดังนี้

ตารางที่ 2. ความคิดเห็นดานการออกแบบของกลุมตัวอยางที่ 1 รายการประเมิน

S.D

ความหมาย

ดานการออกแบบรูปเลม

4.55

1.37

ดี

- ขนาดของเลมเหมาะกับเด็ก - การเย็บเลมเหมาะกับภาพสามมิติทำ�ใหเปดงาย - จำ�นวนหนาเหมาะสมกับเนื้อหา ดานการออกแบบหนาปก - ภาพสวยงามเราความสนใจใหเด็กอยากอานเรื่อง - ภาพปกสอดคลองกับเนื้อเรื่อง - ตัวอักษรบนปกดึงดูดความสนใจ ดานการออกแบบภาพประกอบและภาพสามมิติ - ภาพประกอบทำ�ใหเด็กเขาใจเรื่อง - ภาพสีสวยงามเราความสนใจเด็ก - ขนาดภาพเหมาะกับหนากระดาษ - ขนาดอักษรเหมาะกับหนากระดาษ - ภาพ 3 มิติทำ�ใหเด็กเกิดความสนใจ

4.33 4 3.67 4.22 4.33 4 4.33 4.13 4 4.33 4.33 3.33 4.67

0.58 1.00 1.53 1.11 1.16 1 1.16 1.09 1 1.16 1.16 1.53 0.58

ดี ดี ดี ดี ดี ดี ดี ดี ดี ดี ดี ดี ดีมาก

63


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปีที่ 32 ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2555

ตารางที่ 2. ความคิดเห็นดานการออกแบบของกลุมตัวอยางที่ 1 (ตอ) รายการประเมิน ดานเนื้อหา - สรางเสริมนิสัยที่ดีใหกับเด็ก - เรื่องตอเนื่อง เขาใจเรื่องไดตลอด - ความยาวเหมาะสมกับความสนใจตามวัยของเด็ก - ใหสารประโยชนควรคาใหเด็กอาน ดานภาษาที่ใชในหนังสือ - ภาษาเหมาะสมกับชวงวัยของเด็ก - ประโยคสั้น งาย ไมซับซอน ดานคุณคาและประโยชนที่ครูไดรับจากหนังสือ: เปนเครื่องมือชวยฝกทักษะในการอานใหเด็กไดดี ดานคุณคาและประโยชนที่นักเรียนไดรับจากหนังสือ - ชวยใหเด็กเกิดการเรียนรูไดดียิ่งขึ้น - ชวยใหความบันเทิงกับเด็ก - ชวยใหเด็กรักการอานมากขึ้น - ชวยสงเสริมใหเด็กเกิดความคิดสรางสรรค ดานคุณคาและประโยชนที่ผูปกครองไดรับจากหนังสือ - ชวยใหเด็กชอบอานหนังสือมากขึ้น - เปนสื่อใหผูปกครองใกลชิดกับเด็ก - ใหประโยชนคุมคาอานไดหลายครั้ง สรุปความคิดเห็นรวมทุกดาน 2. ผลการประเมินความพึงพอใจของกลุม ตัวอยาง 4 กลุม ทีม่ ตี อ หนังสือสามมิติ เรือ่ ง สุดสาคร แบงออกไดเปน 2 สวน ตามเครือ่ งมือทีใ่ ชในการ วิจัย ดังนี้ 2.1 หนั ง สื อ สามมิ ติ เรื่ อ ง สุ ด สาคร จำ�นวน 10 เลม (1 รูปแบบ / ปรับปรุงการออกแบบ) จากความคิดเห็นดานการออกแบบของกลุมตัวอยางที่ 1 ผูวิจัยพบวาตองปรับปรุงหนังสือในดานภาษาที่ใชใน หนังสือ ( = 3.17) ซึ่งไดทำ�การปรับปรุงโดยการตัด คำ�ฟุมเฟอย เรียบเรียงประโยคใหมใหกระชับ รวมถึง

64

3.92 4 4 3.67 4 3.17 3.33 3

S.D 1.13 1.00 1.00 1.53 1.00 1.08 1.16 1.00

ความหมาย ดี ดี ดี ดี ดี พอใช พอใช พอใช

3.67

1.53

ดี

4.58 4.33 4.67 4.33 5 4.4 4.33 4.33 4.67

0.73 1.16 0.58 1.16 0 0.58 0.58 0.58 0.58

ดีมาก ดี ดีมาก ดี ดีมาก ดี ดี ดี ดีมาก

4.09

1.08

ดี

เวนวรรคไมใหฉีกคำ� และจัดวางตัวอักษรใหมใหหาง จากขอบกระดาษมากขึ้น เพราะผูเชี่ยวชาญมีความเห็น วาการแกไขในสวนดังกลาว จะสงผลที่ดีตอการอาน และทำ�ความเขาใจในเรื่องของเด็กไดมากขึ้น 2.2 ผลการวิเคราะหขอมูลดานความ พึงพอใจที่กลุมตัวอยาง 4 กลุม มีตอหนังสือสาม มิติ เรื่อง สุดสาคร เครื่องมือที่ใช คือ แบบสอบถาม การประเมินความพึงพอใจของกลุมตัวอยางทั้ง 4 กลุม แบบเปนแบบประมาณคา (Ratting scale) 5 ระดับ สรุปผลได ดังนี้


การศึกษาและออกแบบหนังสือสามมิติ เรื่อง สุดสาคร วินัดดา อุทัยรัตน

ตารางที่ 3. ความพึงพอใจโดยรวมของกลุมตัวทั้ง 4 กลุม ที่มีตอหนังสือสามมิติ เรื่อง สุดสาคร รายการการประเมิน

1. ขนาดของหนังสือ 2. ความหนา​ของหนังสือ 3. ควา​มแข็ง​แรง​ของหนาปก​หนังสือ 4. รูปภาพบนหนาปกของหนังสือ 5. สีสันบนหนาปกของหนังสือ 6. ลักษณะภาพประกอบในหนังสือ 7. สีสันที่ใชบนภาพประกอบในหนังสือ 8. รูปแบบภาพสามมิติที่ใชในหนังสือ 9. ขนาดของตัวอักษรที่ใชในหนังสือ 10. เนื้อหาของนิทาน 11. วัสดุที่นำ�มาใชผลิตหนังสือ รวม

, S.D และ ระดับความพึงพอใจของกลุมที่ 1​ (N = 3)

2​ (N = 1)

3​ (N = 30)

4​ (N = 30)

= 4.33 S.D = 0.58 มาก = 4.67 S.D = 0.58 มากที่สุด = 5.00 S.D = 0.00 มากที่สุด = 3.67 S.D = 2.00 มาก = 4.67 S.D = 0.58 มากที่สุด = 4.67 S.D = 0.58 มากที่สุด = 4.67 S.D = 0.58 มากที่สุด = 4.67 S.D = 0.58 มากที่สุด = 4.33 S.D = 0.58 มาก = 4.33 S.D = 0.58 มาก = 4.33 S.D = 0.58 มาก = 4.49 มาก

4 คะแนน

= 4.83 S.D = 0.46 มากที่สุด = 4.93 S.D = 0.25 มากที่สุด = 5.00 S.D = 0.00 มากที่สุด = 2.00 S.D = 2.00 มากที่สุด = 4.97 S.D = 0.18 มากที่สุด = 4.93 S.D = 0.25 มากที่สุด = 4.83 S.D = 0.38 มากที่สุด = 4.90 S.D = 0.31 มากที่สุด = 4.77 S.D = 0.50 มากที่สุด = 4.80 S.D = 0.48 มากที่สุด = 4.87 S.D = 0.35 มากที่สุด = 4.89 มากที่สุด

= 4.37 S.D = 0.67 มาก = 4.33 S.D = 0.71 มาก = 4.73 S.D = 0.52 มากที่สุด = 4.53 S.D = 0.57 มากที่สุด = 4.47 S.D = 0.73 มาก = 4.73 S.D = 0.45 มากที่สุด = 4.43 S.D = 0.73 มาก = 4.67 S.D = 0.55 มากที่สุด = 4.40 S.D = 0.89 มาก = 4.50 S.D = 0.68 มาก = 4.47 S.D = 0.68 มาก = 4.51 มากที่สุด

มาก 4 คะแนน มาก 4 คะแนน มาก 4 คะแนน มาก 4 คะแนน มาก 4 คะแนน มาก 4 คะแนน มาก 3 คะแนน พอใจ 3 คะแนน พอใจ 4 คะแนน มาก 4 คะแนน มาก = 4.49 มาก

65


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปีที่ 32 ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2555

อภิปรายและสรุปผล ผลการออกแบบในตารางที่ 2 พบวา กลุม ตัวอยาง กลุม ที่ 1 (ผูเ ชีย่ วชาญ) มีความคิดเห็นดานการในภาพรวม อยูในระดับดี ( = 4.09) สวนในขั้นตอนที่สอง การ ประเมินความพึงพอใจของกลุมตัวอยางทั้ง 4 กลุม ที่ มีตอหนังสือนิทานสามมิติ เรื่อง สุดสาคร (ตารางที่ 3) ผู  วิ จั ย ได แ ยกผลการอภิ ป รายออกตามประเภทของ กลุมตัวอยาง โดยมีรายละเอียดดังตอไปนี้ กลุมตัวอยางที่ 1 ไดแก กลุมผูเชี่ยวชาญดาน พฤติกรรมเด็กและนิทาน ทัง้ 3 ทาน มีความพึงพอใจโดย รวมตอหนังสือสามมิติเรื่องสุดสาคร ในระดับพึงพอใจ มาก ( = 4.49) กลุมตัวอยางที่ 2 ไดแก ตัวแทนครู จำ�นวน 1 ทาน มีความพึงพอใจโดยรวมตอหนังสือสามมิติเรื่อง สุดสาคร อยูในระดับพึงพอใจมาก ( = 3.81) ซึ่งผล ดังกลาวมีความสัมพันธกบั ผลการประเมินงานออกแบบ ของกลุมตัวอยางกลุมที่ 1 ในดานคุณคาและประโยชน ที่ครูไดรับจากหนังสือ คือ สามารถใชเปนเครื่องมือ ชวยฝกทักษะในการอานใหเด็กไดในระดับดี ( = 3.67) ซึง่ สอดคลองกับงานวิจยั ของ อมรรัตน เกสะวัฒนะ (2533 : 68) ไดทำ�การวิจัยเรื่อง การสรางหนังสือ การตูนภาพยกระดับจากวัสดุราคาเยา เรื่องโสนนอย เรือนงาม สำ�หรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปที่ 3 ผล การวิจัยสรุปไดวา หนังสือภาพยกระดับที่สรางขึ้นมี ประสิทธิภาพทีจ่ ะนำ�ไปสอนได ทำ�ใหเด็กเกิดความสนใจ ซึ่งมีผลตอผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนเพิ่ม สูงขึ้น เมื่อเปรียบกับการสอนปกติ กลุมตัวอยางที่ 3 ไดแก กลุมตัวแทนนักเรียน จำ�นวน 30 คน มีความพึงพอใจโดยรวมตอหนังสือ สามมิติเรื่องสุดสาคร อยูในระดับพึงพอใจมากที่สุด ( = 4.89) และจากการสังเกตของผูว จิ ยั ขณะทำ�การทดลอง พบวา เมื่อเด็กอานเรื่อง สุดสาคร จบแลว 1 รอบ ก็มัก จะเปดดูรูปภาพและอานเรื่องซ้ำ�ตอกันหลายครั้ง ซึ่ง ผลที่ไดสอดคลองกับ งานวิจัยของ ศิริพร เมฆอโนทัย (2533 : 101) ที่ไดทำ�การศึกษาและผลิตหนังสือนิทาน เด็กรูปแบบ 3 มิติ ประเภทเพลงกลอมเด็ก พบวา เด็กๆ ใหความสนใจและพอใจกับการใชหนังสือที่มีภาพ 3 มิติ อีกทั้งกลุมตัวอยางที่ 1 (ผูเชี่ยวชาญ) ยังมีความคิด

66

เห็นวาหนังสือสามมิติ เรื่อง สุดสาคร มีการออกแบบ ที่สามารถมอบคุณคาและประโยชนใหแกนักเรียนได ในดานของการชวยใหความบันเทิงแกเด็กไดในระดับ ดีมาก ( = 4.67) และยังสามารถสงเสริมใหเด็ก เกิดความคิดสรางสรรคไดในระดับดีมาก ( = 5.00) อีกดวย กลุม ตัวอยางที่ 4 ไดแก กลุม ตัวแทนผูป กครอง จำ�นวน 30 ทาน มีความพึงพอใจโดยรวมตอหนังสือ สามมิติเรื่องสุดสาคร อยูในระดับพึงพอใจมากที่สุด ( = 4.51) อีกทัง้ กลุม ตัวอยางที่ 1 (ผูเ ชีย่ วชาญ) ยังมีความ คิดเห็นวาหนังสือสามมิติ เรื่อง สุดสาคร มีการออกแบบ ที่สามารถมอบคุณคาและประโยชนใหแกผูปกครอง ไดในดานของการชวยเปนสือ่ ใหผปู กครองใกลชดิ กับเด็ก ไดในระดับดี ( = 4.33) อีกทั้งยังชวยใหเด็กชอบอาน หนังสือมากขึ้น ไดระดับดี ( = 4.33) ซึ่งสอดคลองกับ งานวิจัยของ Cazden (อางใน ศิริรัตน สินประจักษผล 2537 : 23) ไดทดลองเกี่ยวกับการพัฒนาภาษาของเด็ก กับการใชภาษาของผูใ หญกบั เด็ก พบวากลุม ทดลองที่ 2 ที่ใชวิธีการใหแมอานวรรณกรรมใหเด็กฟงแลวสนทนา กับเด็กเกี่ยวกับเรื่องที่อาน ผลการทดลองปรากฏวา กลุมทดลองกลุมนี้ เด็กจะมีการพัฒนาทางภาษาสูงกวา กลุมอื่น โดย Cazden ไดชี้ใหเห็นวาการอานใหเด็กฟง จะมีสวนชวยในการเรียนภาษาของเด็ก และผลที่เด็ก ไดรบั มี 2 ประการ คือ ประการแรกเด็กจะไดรบั ความอบ อุนจากการที่ไดใกลชิดกับผูใหญ ประการที่ 2 การอาน และพูดคุยเรือ่ งทีอ่ า นจะชวยใหเด็กไดรบั การพัฒนาทาง ภาษาโดยอัตโนมัติ สรุปไดวาการออกแบบหนังสือสามมิติ เรื่อง สุดสาคร นี้ สามารถนำ�ไปใชงานกับกลุมเปาหมายได และนำ � ไปเป น แนวทางการออกแบบพั ฒ นาหนั ง สื อ สามมิติเรื่องอื่นๆ ตอไปได ซึ่งในงานวิจัยนี้ ผูวิจัยก็มี ขอเสนอแนะสำ�หรับใชเปนแนวทางการออกแบบหนังสือ สามมิติ ชนิดเกิดภาพไดในขณะตั้งโตะ 180 องศา ดังนี้ วัสดุที่ใชในในการประกอบภาพสามมิติ ควร เลือกกระดาษที่มีความหนา 150-200 แกรม เพราะ ความหนา-บาง ของกระดาษจะสงผลถึงการยกตั้งของ ภาพสามมิติ สวนวัสดุทนี่ ำ�มายึดติดชิน้ สวนแตละชิน้ นัน้ ผูว ิจยั เลือกใชเทปกาว 2 หนาชนิดบาง ซึ่งไดผลลัพธทดี่ ี


การศึกษาและออกแบบหนังสือสามมิติ เรื่อง สุดสาคร วินัดดา อุทัยรัตน

คือ ไมตองรอใหกาวแหง สามารถขจัดปญหาติดกาว แลวกระดาษยนได อีกทั้งงานยังมีความแข็งแรงและ สะอาดอีกดวย การพิมพ ปกติแลวชิน้ สวนของภาพสามมิตชิ นิด นี้ จะมีการพิมพลวดลาย 2 หนา ซึ่งทำ�ใหตนทุนในการ ผลิตสูง ทั้งนี้เพื่อเปนการลดตนทุน ในงานวิจัยนี้ผูวิจัย จึงไดพิมพลายเฉพาะดานหนา สวนดานหลังภาพเลือก พิมพเฉพาะสีพื้น หรือ ไมพิมพสีเลย ซึ่งจากสังเกตใน ขณะทดลองกับกลุมตัวอยาง พบวา กลุมตัวอยางสวน ใหญจะสนใจเฉพาะภาพดานหนา เทานั้น ซึ่งวิธีการนี้ นอกจะลดตนทุนลงแลว ยังทำ�ใหสะดวกในการวางแบบ 

กอนตีพิมพอีกดวย และสุดทาย ผูวิจัยพบวามีงานวิจัยหลายฉบับ ทั้งในและนอกประเทศ มีผลการวิจัยตรงกันวาภาพ การตูน โดยเฉพาะภาพสามมิติ สามารถขยายโลกของ การอานใหกวางกวาตัวหนังสือ ภาพปลุกเราจินตนาการ ของเด็กไดดี จึงขอเสนอแนะในการวิจัยครั้งตอไป ควร นำ�วรรณคดีเรื่องอื่นๆ ของไทย มาสรางเปนหนังสือ สามมิติสองภาษา (ภาษาอังกฤษ) เพราะนอกจากจะ ทำ�ใหเด็กไทยรักการอานวรรณคดีไทยแลว ยังเปนการ เผยแพรวัฒนธรรมอันดีงามของไทยไปสูตางชาติโดย ใชภาษาสากลอีกดวย 



67


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปีที่ 32 ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2555

เอกสารอางอิง เกริก ยุนพันธ. (2543). การออกแบบและเขียนภาพประกอบหนังสือสำ�หรับเด็ก. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาสน. ฉวีวรรณ คูหาภินันทน. (2542). การอานและการสงเสริมการอาน. กรุงเทพฯ: โสภณการพิมพ. นฤมล สุขศรีแกว. (2552). การสรางหนังสือสงเสริมการอานวรรณคดีไทย เรื่องขุนชางขุนแผน ตอนกำ�เนิด พลายงาม สำ�หรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปที่ 6 โรงเรียนเทศบาล 1 หนองตมศึกษา (จิ้นตง) อำ�เภอ พรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก. ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยนเรศวร. ผูจัดการออนไลน. (2553). ทำ�ไม! เด็กไทยไมชอบอานวรรณคดี. [ออนไลน]. สืบคนเมื่อ 27 กุมภาพันธ 2554. จาก www.manager.co.th. วิริยะ สิริสิงห และคณะ. (2545). POP-UP ศิลปะการประดิษฐกระดาษเปนรูปสามมิติ. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาสน. ศิริพร เมฆอโนทัย. (2533). หนังสือนิทานสำ�หรับเด็กรูปแบบ 3 มิติ. ศิลปนิพนธ (ศศ.บ. (ศิลปะ)) ภาควิชาศิลปะ และวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร. ศิริรัตน สินประจักษผล. (2537). อานหนังสือใหเด็กฟง เพิ่มพลังพัฒนาเด็ก. ปาริชาติ (1) : 23-25. สมนึก พลอยประดับ. (2553). ความพึงพอใจของผูปกครองที่มีตอการบริหารการศึกษาของ โรงเรียนสมคิด จิตตวิทยา จังหวัดชลบุรี. สารนิพนธการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัย บูรพา. อนุมานราชธน, พระยา. (2518). การศึกษาวรรณคดีในแงวรรณศิลป. พิมพครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: บรรณาคาร อมรรัตน เกสะวัฒนะ. (2533). การสรางหนังสือการตูนภาพยกระดับจากวัสดุราคาเยา เรื่องโสนนอย เรือนงาม สำ�หรับนักเรียนชัน้ ประถมศึกษาปที่ 3. วิทยานิพนธการศึกษามหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีการ ศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร.

68


ชุดผลิตภัณฑมัดยอมสีธรรมชาติสำ�หรับงานอดิเรก Natural Color Tie-Dye Product Kit for Hobby เสาวนิตย กาญจนรัตน 1 Saowanit Kanchanarat บทคัดยอ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงคเพื่อออกแบบชุดผลิตภัณฑมัดยอมสีธรรมชาติสำ�หรับงานอดิเรกจากการผลิตสี ธรรมชาติดว ยวิธกี ารอัดเม็ดสีและศึกษาความคิดเห็นของผูบ ริโภคทีม่ ตี อ ชุดผลิตภัณฑ โดยชุดผลิตภัณฑออกแบบภายใต แนวคิดตอยอดภูมิปญญาของชุมชน ซึ่งดำ�เนินการวิจัยโดยสังเกตการณกลุมผูผลิตผามัดยอมสีธรรมชาติในชุมชน จังหวัดนครศรีธรรมราช สำ�รวจความตองการรูปแบบชุดผลิตภัณฑกับกลุมเปาหมาย และนำ�ขอมูลมาใชออกแบบ บรรจุภณ ั ฑ 2 แบบ ซึง่ แนวคิดแรกสือ่ ความเปนพืน้ ถิน่ และแนวคิดทีส่ องสือ่ ความทันสมัย หลังการออกแบบและพัฒนา เปนผลิตภัณฑแลวไดทดลองใชกบั กลุม ตัวอยางขนาดเล็กเพือ่ ทำ�การปรับปรุง และผลิตเปนตนแบบสำ�หรับทดลองใชกบั กลุมตัวอยางขนาดใหญตอไป การเก็บขอมูลความคิดเห็นทำ�โดยใชแบบสอบถาม สอบถามจากกลุมตัวอยางจำ�นวน 200 คน อายุระหวาง 20-60 ป โดยอายุ 20-29 ป มี 82 เปอรเซ็นต และอายุ 30 ปขึ้นไป มี 18 เปอรเซ็นต ซึ่งเปน นักศึกษา และเปนพนักงานของรัฐ/เอกชนและอาชีพอิสระในพื้นที่กรุงเทพมหานคร วิเคราะหขอมูลดวยสถิติพื้นฐาน และคา t-test ผลการวิจัยพบวา กลุมตัวอยางสวนใหญอายุ 20-29 ปเห็นดวยมากกับลักษณะของชุดผลิตภัณฑ แตมี ความคิดเห็นตอชุดผลิตภัณฑแนวคิดแรกกับแนวคิดที่สองแตกตางกันอยางมีนัยสำ�คัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 95 เปอรเซ็นต โดยเห็นดวยกับชุดผลิตภัณฑในแนวคิดทีส่ องมากกวาชุดผลิตภัณฑในแนวคิดแรก ผลการวิจยั อาจเปน แนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑเพื่อสรางรายไดใหกับชุมชน และอาจเปนผลิตภัณฑงานอดิเรกตัวเลือกใหมสำ�หรับ ทุกคนในอนาคต คำ�สำ�คัญ: 1. ชุดผลิตภัณฑมัดยอม. 2. สีธรรมชาติ. 3. งานอดิเรก.

__________________ 1 ผูชวยศาสตราจารย ดร. ประจำ�ภาควิชาเทคโนโลยีศิลปอุตสาหกรรม คณะสถาปตยกรรมและการออกแบบ มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีพระจอมเกลาพระนครเหนือ


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปีที่ 32 ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2555

Abstract This research reports on design of natural color tie-dye product kits for hobbies to produce natural colors in a tablet form and to study the customers’ opinions toward this product kit. The product was based on enriched creativity of local wisdom. Therefore the research methodology consists of 2 main steps. The first step involves observing the natural color tie-dye producing groups in a community at Nakhon Si Thammarat Province. The second step involves surveying the customers’ desire for tie-dye kits from the target group. The third step involves designing two types of the product packaging kit. Concept designs showed in both packaging were in traditional form and in the modern form. The sets of product were designed and tried out with a small group and will later be improved to produce a prototype to test among a large target group. The customers’ opinions were collected from questionnaires answered by 200 target customers. The customers aged between 20-60 years old and comprised about 82% 20-29 years and about 18% 30-60 years. They were students and government and private sector workers in the Bangkok area. Basic statistics and a t-test for statistic analysis were performed to describe the level of customers’ opinions. It was found that most respondents whose ages are 20-29 years preferred the hobby product to the natural tied-dye. The product packing designed in the modern form was found to be at the confidence level of 95%. The results of this research could serve as a guideline for the development of an alternative product as a hobby to increase income of the community in the future. Keywords: 1. Tie-Dye kit. 2. Natural color. 3. Hobby product.

70


ชุดผลิตภัณฑมัดยอมสีธรรมชาติสำ�หรับงานอดิเรก เสาวนิตย กาญจนรัตน

บทนำ� มั ด ย อ มเป น เทคนิ ค การย อ มผ า ด ว ยวิ ธี ก าร กันสียอมวิธีหนึ่ง ทำ�โดยนำ�ผามามัดดวยวัสดุตางๆ เชน เชือก หนังยาง ตัวหนีบกระดาษ เพื่อกันสียอม ไมใหแทรกซึมเขาไปติดในสวนนี้ หลังจากนัน้ นำ�ผาทีม่ ดั แลวลงไปจุมยอมสี เมื่อแกะวัสดุที่มัดออกจะไดลวดลาย บนผา (Gleser 1999 : 20) จารีตนิยมในการตกแตง ผืนผาดวยกระบวนการกันสียอมเปนภูมิปญญาของคน แถบเอเชียตะวันออกที่ไดคิดริเริ่มขึ้น ความรูเหลานี้ได เผยแพรไปสูแอฟริกา เปรู เม็กซิโก และแถบตะวันตก เฉี ย งใต ข องอเมริ ก าตามเส น ทางสายไหม (Belfer 1992 : 88) การทำ�มัดยอมในอดีตยอมดวยสีธรรมชาติ ที่สกัดจากแรธาตุในดิน พืช และสัตวในทองถิ่น เมื่อนัก วิทยาศาสตรคนพบการผลิตสีสังเคราะห ซึ่งเปนสีที่มี คุณภาพ มีหลายสี สีสด ติดทน มีกระบวนการยอมไม ยุงยากเหมือนสีธรรมชาติ การใชสีธรรมชาติยอมผาจึง ลดความนิยมลง จนกระทัง่ นักวิทยาศาสตรเองไดคน พบ ความเปนพิษของสีสงั เคราะหซงึ่ มีผลเสียตอสุขภาพของ ผูยอมและทำ�ลายสิ่งแวดลอม สีธรรมชาติจึงกลับมา ไดรับความนิยมใชกันอีกครั้ง โดยไดรับการศึกษาวิจัย ภูมิปญญาการสกัดสีแบบเดิมและการพัฒนาปรับปรุง คุ ณ ภาพของการผลิ ต สี ใ นรู ป แบบต า งๆ ทั้ ง จากนั ก วิชาการไทยและตางประเทศ รวมทัง้ ในชุมชนไทยหลาย แหงมีชาวบานรวมกลุมกันสืบสานการผลิตผายอมสี ธรรมชาติเปนงานอดิเรก หารายไดเสริมเลีย้ งครอบครัว ผลผลิตสวนใหญเปนงานออกแบบผลิตภัณฑประเภท เสื้อผา เครื่องแตงกาย สถานที่ที่ทำ�การผลิตจะจัดเปน แหล ง ให ค วามรู  ใ นเรื่ อ งนี้ แ ก ผู  ค นที่ ส นใจทั่ ว ไปด ว ย ผูเขาเยี่ยมชมสวนใหญนอกจากเขามาซื้อผลิตภัณฑ แลวยังสนใจรวมกิจกรรมการผลิตผามัดยอมสีธรรมชาติ ดวย ผลที่ไดรับคือผามัดยอมฝมือตนเองและความ ภาคภูมิใจ แตไมสามารถนำ�ภูมิปญญา รวมทั้งวัสดุ อุปกรณการทำ�มัดยอมและสียอ มกลับไปทำ�เองทีบ่ า นได เพราะชุมชนผูผ ลิตไมไดจ�ำ หนายสิง่ เหลานี ้ อันอาจเนือ่ ง จากสียอมสำ�หรับทำ�มัดยอมในชุมชนเปนสียอมรอน ซึ่งเปนของเหลวไมสะดวกในการพกพาและขนสง วัสดุ อื่นๆ ตองหาซื้อจากหลายแหลง บางอยางเชนไมไผชิ้น เล็กไมมีจำ�หนายทั่วไป และหากผูทำ�ไมรูเทคนิคการ

ทำ�ที่ชัดเจนก็ไมมีโอกาสทำ�ไดสำ�เร็จ สภาพดังกลาวนี้ เปนปญหาทำ�ใหชุมชนขาดโอกาสขายผลิตภัณฑแหง ภูมิปญญาที่ตอเนื่องจากความประทับใจในกิจกรรมการ ทำ�มัดยอมดวยตนเอง แตหากชุมชนสามารถสรางความ สะดวกในการจัดหาวัสดุอุปกรณใหผูบริโภคนำ�กลับไป ทำ�เองทีบ่ า นไดอยางเพลิดเพลิน ก็จะสรางโอกาสในการ เพิ่มรายไดจากภูมิปญญาไดมากขึ้นนอกเหนือจากการ ขายเครื่องแตงกายสำ�เร็จรูป งานที่ผูคนสามารถทำ�อยางเพลิดเพลินในยาม วางตามความสนใจ โดยมีจุดมุงหมายเพื่อทำ�ใหเกิด ความพึงพอใจในผลงานที่ไดทำ�ขึ้นเอง เราเรียกวา งาน อดิเรก ซึ่งองคการอนามัยโลกกลาวถึงประโยชนของ งานอดิเรกวาเปนสิ่งที่ชวยเสริมสรางคุณภาพชีวิตของ มนุษย ทำ�ใหเราผอนคลายความตึงเครียดลง โดยเฉพาะ อยางยิ่งคุณภาพชีวิตของคนในสังคมกลุมคนที่มีรายได มีการศึกษาดี มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ แตไมมี ความมั่นคงทางจิตใจ มีความเครียดสูง ซึ่งแกปญหาได โดยการทำ � งานอดิ เ รกเพื่ อ ผ อ นคลายความเครี ย ด (ธนาคารกสิกรไทย 2552) จากสถานการณในชุมชน รวมทั้งความสำ�คัญของงานอดิเรก ทำ�ใหผูวิจัยมองเห็น ช อ งว า งทางการตลาดของผลิ ต ภั ณ ฑ ผ  า มั ด ย อ ม ที่ สามารถแก ป  ญ หาได ด  ว ยแนวคิ ด ของการออกแบบ ผลิตภัณฑโดยการตอยอดของเดิม ซึ่งวัชรินทร จรุงจิต สุนทร (2548 : 147) ไดกลาวไววา ไมมีความคิดใดที่ จะเปนเรื่องสรางสรรคใหมโดยสิ้นเชิง ทุกอยางลวนเกิด ต อ จากความคิ ด อื่ น ที่ มี อ ยู  แ ล ว เสมอ การออกแบบ ผลิตภัณฑใหมดวยการตอยอดโดยการใชฐานขอมูลที่มี อยูมาทำ�ใหเกิดประโยชนอยางมีคุณคา จะเปนแนวทาง หนึ่งที่สงเสริมการคิดคนผลิตภัณฑใหมในระดับขั้นสูง และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ผูวิจัยไดเล็งเห็นความสำ�คัญ ของฐานข อ มู ล ภู มิ ป  ญ ญาการทำ � มั ด ย อ มสี ธ รรมชาติ ที่มีในชุมชน และลักษณะของงานอดิเรกที่ทำ�ใหผูคน เพลิดเพลิน จึงทำ�วิจยั เพือ่ ออกแบบชุดผลิตภัณฑมดั ยอม สีธรรมชาติสำ�หรับงานอดิเรกนี้ขึ้น เพื่อเปนแนวทางใน การทำ�ผลิตภัณฑชุดใหมที่สามารถสรางรายไดใหกับ ชุมชนในอนาคต และผูสนใจทำ�งานอดิเรกไดมีตัวเลือก ใหมๆ ที่นาสนใจในตลาด

71


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปีที่ 32 ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2555

วัตถุประสงคของการวิจัย 1. เพือ่ ออกแบบชุดผลิตภัณฑมดั ยอมสีธรรมชาติ สำ�หรับงานอดิเรก 2. เพื่อผลิตสีธรรมชาติสำ�หรับทำ�มัดยอมเปน งานอดิเรก 3. เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผูบริโภคที่มีตอ ชุดผลิตภัณฑ วิธีดำ�เนินการวิจัย การวิจัยนี้เปนการวิจัยเชิงปริมาณ มีขั้นตอนใน ดำ�เนินการวิจัยดังนี้ 1. สั ง เกตการณ ชุ ม ชนผู  ผ ลิ ต ผ า มั ด ย อ มสี ธรรมชาติ จังหวัดนครศรีธรรมราช และสำ�รวจความ ต อ งการรู ป แบบชุ ด ผลิ ต ภั ณ ฑ มั ด ย อ มของกลุ  ม ผู  มี อายุระหวาง 18 - 25 ป จำ�นวน 70 คน ในพืน้ ทีก่ รุงเทพฯ พบวา 80 เปอรเซ็นต ตองการชุดผลิตภัณฑชุดเล็ก มากกว า ชุ ด ใหญที่มีอุปกรณชิ้นใหญอยางเตาไฟฟ า กะละมังตม เปนตน 2. นำ � ข อ มู ล ที่ ไ ด ม าออกแบบชุ ด ผลิ ต ภั ณ ฑ ผลิตสีธรรมชาติในรูปผงอัดเม็ด ออกแบบบรรจุภัณฑ 2 รูปแบบที่มีขนาดกะทัดรัด จากแนวคิด 2 แนวคิดที่ แตกตางกัน 3. ออกแบบการผลิ ต สี ธ รรมชาติ โดยสกั ด สี ธรรมชาติดวยวิธีการตมพืชกับน้ำ�เปลา กรองน้ำ�สี นำ�สี ไปเขาเครือ่ งพนแหง และเครือ่ งอัดเม็ด (Lab scale) และ เก็บรักษาไวในถุงกันความชื้น 4. ทดสอบการใชชุดผลิตภัณฑกับกลุมตัวอยาง ขนาดเล็ก จำ�นวน 5 คน 5. นำ�ขอมูลที่ไดมาพิจารณาความเปนไปไดใน การปรับปรุง ปรับปรุงเพื่อผลิตตนแบบชุดผลิตภัณฑ 6. นำ � ต น แบบไปทดลองใช กั บ กลุ  ม ตั ว อย า ง ขนาดใหญ จำ�นวน 200 คน และสอบถามความคิดเห็น ทีม่ ตี อ ชุดผลิตภัณฑทงั้ 2 แบบ ประมวลผล วิเคราะหและ สรุปผลการดำ�เนินการวิจัย ประชากรและกลุมตัวอยาง ประชากรในการวิจัย คือ ผูที่คาดวาจะเปน ผูบริโภคในอนาคต อยูในพื้นที่กรุงเทพมหานคร กลุม ตัวอยางไดจากการสุมแบบโควตา (Quota sampling)

72

จำ�นวน 200 คน ไดแก กลุมคนอายุระหวาง 20 - 60 ป โดยอายุ 20 - 29 ป มีประมาณ 80 เปอรเซ็นต และอายุ 30 - 60 ป มีประมาณ 20 เปอรเซ็นต (เปนนักศึกษา และเปนผูป ระกอบอาชีพในสวนงานราชการ เอกชน และ อาชีพอิสระ) ขอบเขตการวิจัย การออกแบบผลงานทีไ่ ดจากการศึกษาขอมูลนำ� มาแสดงออกในลักษณะชุดผลิตภัณฑในบรรจุภัณฑ 2 แบบ ลวดลายมัดยอม 4 ลาย และสีสกัดธรรมชาติจาก พืช 3 ชนิด ไดแก มังคุด หูกวาง และหมาก ออกแบบ ภายใตแนวความคิด “ตอยอดจากภูมปิ ญ  ญาของชุมชน” โดยใชเทคโนโลยีการผลิตสี การออกแบบลวดลาย และ การออกแบบบรรจุภัณฑรวมกัน ตั ว แปรที่ ใ ช ใ นการวิ จั ย ตั ว แปรต น คื อ ชุ ด ผลิตภัณฑมัดยอมสำ�หรับงานอดิเรก และตัวแปรตาม คื อ ความคิ ด เห็ น ของผู  บ ริ โ ภคที่ มี ต  อ ชุ ด ผลิ ต ภั ณ ฑ สมมุติฐานในการวิจัยคือ ผูบริโภคจะมีความคิดเห็นตอ ชุดผลิตภัณฑแบบพื้นถิ่นกับแบบทันสมัยแตกตางกัน เครื่องมือที่ใชในการวิจัย เครื่ อ งมื อ สำ � หรั บ การออกแบบชุ ด ผลิ ต ภั ณ ฑ มัดยอมสำ�หรับงานอดิเรก แบงเปน 3 สวน สวนแรกเปน เครื่องมือในการผลิตสี ไดแก กระทะทองเหลือง ถานไม พืชใหสี 3 ชนิด คือ ใบมังคุด ใบหูกวาง ผลหมากสุก และ สารชวยติดสี 2 ชนิด คือ โซเดียมซิลิเกต และปูนขาว เครือ่ งพนแหง และเครือ่ งอัดเม็ด สวนทีส่ องเปนเครือ่ งมือ ในการออกแบบ ไดแก กระดาษลูกฟูก การดาษหอของ สีน้ำ�ตาล พลาสติกขุน และกระดาษเทาขาว ซึ่งใชทำ� ตนแบบชุดผลิตภัณฑมัดยอมสีธรรมชาติสำ�หรับงาน อดิเรก และสวนที่สาม เปนเครื่องมือเก็บขอมูลความ คิดเห็นของผูบริโภค ไดแก แบบสอบถามความคิดเห็น ของผูบริโภคที่มีตอชุดผลิตภัณฑแบบพื้นถิ่นกับแบบ ทันสมัย จำ�นวน 1 ฉบับ การเก็บรวบรวมและการวิเคราะหขอมูล 1. การออกแบบชุ ด ผลิ ต ภั ณ ฑ มั ด ย อ มสี ธรรมชาติ สำ � หรั บ งานอดิ เ รกใช แ บบบั น ทึ ก ตาม กระบวนการออกแบบผลิตภัณฑ 6 ขั้นตอนของ Earle (อางถึงใน นิรัช สุดสังข 2548 : 31) ไดแก การตีปญหา การออกแบบเบื้ อ งต น การกลั่ น กรองการออกแบบ


ชุดผลิตภัณฑมัดยอมสีธรรมชาติสำ�หรับงานอดิเรก เสาวนิตย กาญจนรัตน

การวิเคราะห การตัดสินใจ และตนแบบขั้นสมบูรณ วิเคราะหขอมูลและนำ�เสนอเชิงพรรณนา 2. การทดลองผลิตสีธรรมชาติส�ำ หรับทำ�มัดยอม เปนงานอดิเรกใชแบบบันทึกผลการทดลอง (ผูวิจัย ดั ด แปลงจากรู ป แบบการรายงานผลของโรงงานพ น แหงสี) วิเคราะหผลการทดลองและการนำ�ไปใชในการ ออกแบบลวดลายมัดยอม นำ�เสนอผลเปนตาราง 3. การสำ�รวจความคิดเห็นของผูบริโภคที่มีตอ ชุดผลิตภัณฑใชแบบสอบถามที่ผูวิจัยสรางขึ้น ผูวิจัย แจกและเก็บแบบสอบถามดวยตนเอง หลังจากทีใ่ หกลุม ตัวอยางไดทดลองใชชุดผลิตภัณฑแลว วิเคราะหขอมูล โดยใชสถิติพื้นฐาน และ t-test นำ�เสนอผลเชิงพรรณนา สรุปและอภิปรายผล 1. ผลการออกแบบชุดผลิตภัณฑมดั ยอมสำ�หรับ งานอดิเรกตามกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ การออกแบบแนวความคิดที่ 1 หรือชุดผลิตภัณฑ A (ภาพที่ 1) ตองการสื่อถึงความเปนพื้นถิ่น จึงเลือกใช กระดาษลูกฟูกลอนอีเปนโครงสรางของบรรจุภณ ั ฑ ขนาด กลองกวาง 11 เซนติเมตร ยาว 15 เซนติเมตร ลึก 3.5 เซนติเมตร โดยตัดกระดาษ 1 ชิ้นตอ 1 กลอง พั บ ใช วิ ธี ส อดเพื่ อ เป ด ป ด กราฟ ก บนบรรจุ ภั ณ ฑ พิมพลายสีน้ำ�ตาลซึ่งเปนสีธรรมชาติตามแบบที่สกัด ไดจากผลหมากสุกทำ�เปนสีพื้น พิมพชื่อตราสินคาดวย ตัวอักษรแบบลายมือ ระบุชนิดของผลิตภัณฑเปนภาษา อังกฤษ คำ�วา Art Hobby Natural Color Tie Dye Set ดานหลังระบุคุณลักษณะเฉพาะของผลิตภัณฑ และ คำ�เตือน ดานขางมีตัวเลือกสำ�หรับผูบริโภคในเรื่องสี และลาย โดยมีใหเลือก 3 สี มีลายใหเลือก 4 ลาย การ บรรจุสงิ่ ของภายใน สิง่ ของภายใน ไดแก โซเดียมซิลเิ กต ปูนขาว ไมไผ ยางรัด ผาฝายสีขาวเย็บสำ�เร็จ คูม อื การทำ� มัดยอมสีธรรมชาติ สีธรรมชาติอดั เม็ด หลอดฉีดยา วัสดุ อุปกรณแตละชิ้นหอดวยกระดาษสีน้ำ�ตาลเปดปดซอง ดวยการสอดกระดาษตามรอยที่กรีดไว ปองกันการ กระจายออกเมื่อกลองไดรับการกระทบกระเทือนดวย การติดสติ๊กเกอรตรงที่สอดกระดาษนั้น ทั้งหมดบรรจุ ภายในกลอง

การออกแบบแนวความคิ ด ที่ 2 หรื อ ชุ ด ผลิตภัณฑ B (ภาพที่ 2) ตองการสื่อถึงความทันสมัย ดึงดูดใจวัยรุน แสดงสินคาภายใน โครงสรางของบรรจุ ภัณฑจึงขึ้นรูปดวยพลาสติกขุน ขนาดกลองกวาง 11 เซนติเมตร ยาว 15 เซนติเมตร ลึก 3.5 เซนติเมตร โดยตัดพลาสติก 1 ชิ้นตอ 1 กลอง พับใชวิธีสอดเพื่อ เปดปด ไมใชกาว ตัวกั้น (inner) ตัดพับกระดาษเทา ขาว 1 แผนตอ 1 กลอง กราฟกบนบรรจุภณ ั ฑ พิมพลาย บนกระดาษตัดเปนแถบกวาง 5 เซนติเมตร ยาว 30 เซนติเมตร พันรอบกลอง สีพื้นเปนสีน้ำ�ตาลสมจาก ใบมังคุด ลายเปนลายดาวครึ่งดวงซึ่งเปนลักษณะเสน หยักๆ ดึงดูดตา ตราสินคาและขอมูลตางๆ เหมือนกับ บรรจุภัณฑรูปแบบที่ 1 แตมีขนาดอักษรเล็กกวาเพราะ มีขนาดพื้นที่ของการพิมพนอยกวา การบรรจุสิ่งของ ภายใน สิ่งของภายในเหมือนกับชุดผลิตภัณฑ A บรรจุ วัสดุอุปกรณแตละชิ้นโดยวางลงในแตละชองของตัวกั้น ที่ออกแบบไว ยกเวนผาและคูมือจะวางอยูใตตัวกั้น การออกแบบทัง้ 2 แนวคิดตามกระบวนการพัฒนา ผลิตภัณฑภายใตแนวคิดหลักคือ ตอยอดภูมิปญญา ของชุมชน โดยใชเทคโนโลยีการผลิตสี การออกแบบ ลวดลาย และการออกแบบบรรจุภัณฑ ซึ่งเปนสิ่งที่มี หลั ก การต า งๆ อยู  แ ล ว มาผสมผสานเพื่ อ ก อ ให เ กิ ด ผลิตภัณฑใหมนั้น สอดคลองกับความเห็นของวัชรินทร จรุงจิตสุนทร (2548 : 147) ที่กลาววา ไมมีความคิดใดที่ จะเปนเรื่องสรางสรรคใหมโดยสิ้นเชิง ทุกอยางลวนเกิด จากความคิดอืน่ ทีม่ อี ยูแ ลวเสมอ การออกแบบผลิตภัณฑ ใหมดวยการตอยอด โดยการใชฐานขอมูลที่มีอยูมา ทำ�ใหเกิดประโยชนอยางมีคุณคาจะเปนแนวทางหนึ่ง ที่สงเสริมการคิดคนผลิตภัณฑใหม นอกจากนั้นการ ออกแบบโดยมีโครงสรางเปนรูปทรงกลอง พิมพกราฟก เฉดสีกลางๆ โดยใชแบบจากสียอมผาที่สกัดไดเปน สีพนื้ พิมพสองสีเพราะคำ�นึงถึงตนทุนการผลิต ลวดลาย กราฟกแบบลายมือเรียบงาย ไทยๆ ใชทั้งอักษรภาษา ไทย และภาษาอังกฤษ สอดคลองกับผลการวิจัยของ ปยพร ศรีสุขสวัสดิ์ (2547) ที่ไดออกแบบเลขนศิลป บนบรรจุภัณฑสำ�หรับสินคาที่ระลึกที่เนนเอกลักษณ ทองถิ่นภาคใต ในจังหวัดนครศรีธรรมราช พบวา การ

73


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปีที่ 32 ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2555

ภาพที่ 2. ชุดผลิตภัณฑ B บรรจุกลองพลาสติกขุน

ภาพที่ 1. ชุดผลิตภัณฑ A บรรจุกลองกระดาษลูกฟูก

74

ออกแบบสำ�หรับผามัดยอมของชุมชนนั้นผูวิจัยไดใช วัสดุจากธรรมชาติมาพันรอบมวนผา และพิมพฉลาก เปนสี ผูเชี่ยวชาญจึงมีขอเสนอแนะวาควรออกแบบใน รูปแบบกลองบาง ในสวนของสินคาผามัดยอมควรมี พลาสติกหุม กราฟกควรใชสีออนๆ หรือสีกลางๆ โดย นำ � มาจากสี ข องผ า และสอดคล อ งกั บ งานวิ จั ย ของ สถาบันวิทยาศาสตรและเทคโนโลยีแหงประเทศไทย (2553) พบวา กลุมตัวอยางทั้งผูซื้อและผูขายผลไมสด ที่ จั ด จำ � หน า ยเป น สิ น ค า ของขวั ญ ภายในประเทศ สวนใหญมีความพึงพอใจตอรูปแบบกลองกระดาษแข็ง ลายกราฟกแบบไทยๆ ซึ่งใชทั้งตัวอักษรภาษาไทยและ ภาษาอังกฤษ ชุ ด ผลิ ต ภั ณ ฑ ที่ อ อกแบบขึ้ น เป น ผลิ ต ภั ณ ฑ ขายปลีก ดังนั้น แนวคิดแรกจึงเลือกใชวัสดุกระดาษ ลูกฟูกลอนอีสีขาว ใชกระดาษบางสีน้ำ�ตาลหอสินคา


ชุดผลิตภัณฑมัดยอมสีธรรมชาติสำ�หรับงานอดิเรก เสาวนิตย กาญจนรัตน

ภายใน และแนวคิ ด ที่ ส องใช พ ลาสติ ก ในการขึ้ น รู ป โครงสรางของกลอง ใชกระดาษแข็งเปนตัวกั้น ผลิต เพื่อใชทดสอบการใชงานเพียงจำ�นวนนอย จึงเลือกการ พิมพกราฟกในระบบดิจิตอลและพิมพเพียง 2 สี ซึ่งมี เหตุผลสอดคลองกับหลักการเลือกใชวัสดุสำ�หรับผลิต บรรจุภัณฑที่สถาบันวิทยาศาสตรและเทคโนโลยีแหง ประเทศไทย (2546 : 24-35) อธิบายถึงคุณสมบัติขอดี และความเหมาะสมของวัสดุดังกลาววา กลองกระดาษ แข็ ง หรื อ กระดาษลูกฟูกทำ� จากแผนกระดาษแข็ ง ที่ มี คุณภาพ ใชเปนบรรจุภัณฑขายปลีกอยางแพรหลาย ด ว ยเหตุ ผ ลการใช ง านที่ ห ลากหลาย คื อ ประหยั ด ตนทุน พิมพลายไดสวยงาม สามารถปกปองฝุนละออง และแสงสวางได จับถือสะดวกเมื่ออยูในรายขายปลีก มี ความคงรูปหรือทนตอการโคงงอ กลองกระดาษลูกฟูก ใชผลิตบรรจุภณ ั ฑไดหลายประเภทแมแตงานหัตถกรรม และของใช ทั่ ว ไป กระดาษลู ก ฟู ก ลอนอี นิ ย มใช ทำ � บรรจุภัณฑขายปลีก สวนกลองพลาสติกแมมีราคาแพง กวากลองกระดาษแตมีขอดีที่ชวยแสดงตัวสินคาและ สงเสริมการขาย กรรมวิธกี ารพิมพจ�ำ นวนนอยมีขอ เสนอ แนะวาควรพิมพในระบบดิจติ อลซึง่ ตนทุนสำ�หรับจำ�นวน พิมพตั้งแต 1-1,000 แผนหรือฉลากซึ่งเปนการพิมพ บนบรรจุ ภั ณ ฑ จำ � นวนน อ ย เหมาะกั บ งบประมาณ สำ�หรับทดลองตลาดของผลิตภัณฑใหมหรือการสงเสริม การขายในช ว งระยะเวลาสั้ น ๆ และพิ ม พ ส อดสี ใ น ปริมาณนอยๆ ได 2. ผลการผลิ ต สี ธ รรมชาติ สำ � หรั บ ทำ � มั ด ย อ ม เปนงานอดิเรก พบวา ผลการทดลองสกัดสียอมเย็น

เพื่อนำ�มาทำ�ผงสีจากพืช 3 ชนิด ภาวะที่ไมเหมาะสมใน การสกัดสี คือ การตมใบกับน้ำ�เปลาแบบคอยๆ เคี่ยว คอยๆ เติมน้�ำ ใบหรือผลหลายๆ ชัว่ โมง ภาวะทีเ่ หมาะสม ในการสกัดสี คือ ใบหูกวาง และใบมังคุดใชวิธีตมกับน้ำ� เปลา อัตราสวน 1 : 7 ใชเวลา 2 ชั่วโมง ผลหมากสุก ใชวิธีตมกับน้ำ�เปลากับปูนแดง อัตราสวน 1 : 7 : 0.10 ใชเวลา 2 ชั่วโมง เมื่อนำ�น้ำ�สีที่ไดไปเขาเครื่องพนแหง พบวาอุณหภูมิเขา/ออก คือ 180°C/90°C รอบปมอยู ระหวาง 20 - 30 เฮริ์ต ความเขมขนของของแข็งที่อยูใน น้ำ�สี 4.0 - 4.4 คาความเปนกรด-ดางของใบหูกวาง 4.32 ใบมังคุด 4.53 และผลหมากสุก 7.25 ผลผลิตที่ ไดของน้ำ�สีจากใบหูกวาง ใบมังคุด และผลหมากสุก เทากับ 45.83 เปอรเซ็นต 50.00เปอรเซ็นต และ 50.18 เปอรเซ็นต ตามลำ�ดับ ไมมีคาความชื้นในผงสี สวนคา ความหนาแนนของผงสี (กรัม/ตารางนิ้ว) ของน้ำ�สีสกัด จากใบหูกวาง เทากับ 8.50 น้ำ�สีสกัดจากใบมังคุด เทากับ 600 และน้ำ�สีจากผลหมากสุก เทากับ 0 กลิ่น ของสีมลี กั ษณะเฉพาะของพืชนัน้ ๆ สีใบหูกวางไดสเี ขียว อมเหลือง สีใบมังคุดไดสีสมออน สีผลหมากสุกไดสีมวง เขม ผงสีอัดดวยเครื่องอัดเม็ดไดขนาดเม็ดสีหนา 2 มิลลิเมตร เสนผาศูนยกลาง 8 เซนติเมตร สีธรรมชาติ อัดเม็ดที่ผลิตขึ้นมีอายุการใชงานอยางนอย 1 ป การ นำ�ไปใชในงานออกแบบลวดลาย พบวา เมื่อใชโซเดียม ซิลเิ กตเปนสารชวยติดสีเพียงชนิดเดียวจะไดคา น้ำ�หนัก (Value) 2 คาน้ำ�หนัก เมื่อใชทั้งโซเดียมซิลิเกตและ ปูนขาวเปนสารชวยติดสีในงานชิ้นเดียวกันจะได 3 คา ซึ่งทำ�ใหเกิดมิติของลวดลายมากขึ้น (ตารางที่ 1.)

75


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปีที่ 32 ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2555

ตารางที่ 1. การนำ�ผลการทดสอบคุณภาพสีหลังจากเก็บไวนาน 1 ปไปใชในงานออกแบบผลิตภัณฑ ลาย

สารชวยติดสี A

สารชวยติดสี A และ B

สีผลหมาก

สีใบหูกวาง

สีผลหมากสุก

สีใบมังคุด

สีใบหูกวาง

สีใบหูกวาง

ลายดาว

ลายสามเหลี่ยม

ลายเดือนเพ็ญ

หมายเหตุ A คือ โซเดียมซิลิเกต B คือ ปูนขาว

การสกัดสียอ มเย็นเพือ่ นำ�มาทำ�ผงสีใชใบหูกวาง หรือใบมังคุดตมกับน้ำ�เปลา หรือใชผลหมากสุกตมกับ น้ำ�เปลากับปูนแดงในอัตราสวนดังกลาว โดยใชกระทะ ทองเหลืองเปนภาชนะ ใชถานเปนเชื้อเพลิง น้ำ�สีที่ สกัดไดมีความเขมขนมากกวาการตมใบกับน้ำ�เปลา แบบคอยๆ เคี่ยว คอยๆ เติมน้ำ�ใบหรือผล ซึ่งเปนการ

76

ทำ�ใหเจือจางจึงมีความเขมขนนอยไมเพียงพอตอการ ทำ�ใหติดสีบนผืนผา ผลการวิจัยประเด็นนี้ สอดคลอง กับงานวิจยั ของ อนันตเสวก เหวซึ่งเจริญ (2543) พบวา การใชเปลือกผลมังคุดตมสกัดสีจะใชปริมาณเทาใดขึ้น อยูกับความเขมของสีที่เราตองการ และงานวิจัยของ Saowanit and Nuanchawee (2008) พบวา การตม


ชุดผลิตภัณฑมัดยอมสีธรรมชาติสำ�หรับงานอดิเรก เสาวนิตย กาญจนรัตน

สกัดสียอมรอนที่เขมขนคือใชปริมาณพืชจำ�นวนมาก เมือ่ สีเย็นแลวสามารถระบายบนผาไหมและฝายสีตดิ ทน โดยเฉพาะการใชสองสีระบายปนกันสีจะติดแนนกวาใช สีเดียว เชน การใชสีน้ำ�ตาลแดงจากสีสกัดจากผลหมาก สงผสมปูนแดงกับสีสม อมน้�ำ ตาลจากสีสกัดจากใบมังคุด การทดลองนำ � น้ำ � สี ที่ ไ ด ไ ปเข า เครื่ อ งพ น แห ง พบประเด็นที่นาสนใจ คือ ผลผลิตที่ไดจากน้ำ�สี 100 เปอรเซ็นต ไดผงสีจากผลหมากสุกมากที่สุดถึง 50.18 เปอรเซ็นต รองลงมาคือใบมังคุด 50 เปอรเซ็นต และใบ หูกวาง 45.83 เปอรเซ็นต คาความเขมขนของของแข็ง ที่อยูในน้ำ�สีใบหูกวางนอยที่สุด สวนน้ำ�สีใบมังคุดและ ผลหมากสุกมีคาความเขมขนของของแข็งอยูในน้ำ�สี เทากัน คาความหนาแนนของผลสีของใบมังคุดมากทีส่ ดุ รองลงมาคือใบหูกวาง สวนผงสีของผลหมากสุกมีคา เปน ศูนย ถึงแมวาน้ำ�สีจากผลหมากสุกไดผลผลิตเปนผงสี สูงกวาน้�ำ สีจากพืชอีก 2 ชนิด แตมคี า ความหนาแนนของ ผงสีเปนศูนย และมีคา pH 7.25 ใกลความเปนกลางมาก เมื่อละลายผงสีแลวจึงไดสีออนกวาผงสีที่สกัดไดจาก ใบมังคุดและใบหูกวาง หากตองการใหสีเขมเทากับสีที่ สกัดไดจากใบตองผสมน้�ำ ลงไปในปริมาณทีน่ อ ยกวาหรือ ไมก็เติมจำ�นวนเม็ดสีใหมากกวา 1 เม็ด ซึ่งกรณีนี้จะมี ผลตอคุณภาพของสีและตนทุนการผลิตชุดผลิตภัณฑ และทีน่ า สังเกตคือ เมือ่ มองดวยตาเปลา น้�ำ สีสกัดมีสเี ขม โดยเฉพาะสีสกัดจากผลหมากมีสีเขมมาก เมื่อนำ�มา อัดเม็ดก็ไดสีเขม แตเมื่อละลายน้ำ�แลวยอมผา น้ำ�หนัก สีที่ปรากฏบนผืนผาสีออนลง ผลการวิจัยนี้คลายกับผล การวิจัยของเสาวนิตย กาญจนรัตน (2550) ที่สกัดสี จากใบมังคุดเพื่อทำ�มัดยอมและบาติก แลวใชเครื่องวัด คาความเขมของสีระบบ CIE พบวา คาความเขมของ สียอมที่ไดแตกตางกันตามลำ�ดับจากมากไปนอย คือ น้ำ�สีที่สกัดได สีบนผายอมเย็น และสีบนผายอมรอน การนำ�สีธรรมชาติอัดเม็ดไปใชในงานออกแบบ ลวดลายของผลิตภัณฑมัดยอม พบวา เมื่อยอมผาโดย ใชโซเดียมซิลเิ กตเปนสารชวยติดสีหลังยอม จะชวยเพิม่ ความเขมของสีท�ำ ใหไดสเี ขมกับออน และเมือ่ ใชโซเดียม ซิลเิ กตและปูนขาวเปนสารชวยติดสีหลังยอมจะไดสเี ขม กลาง และออน ผลการวิจัยนี้สอดคลองกับงานวิจัยของ นักวิจัยหลายคนซึ่งพบวา เมื่อใชสารชวยติดสีตางกัน

จะทำ�ใหไดเฉดสีตางกัน เชน งานวิจัยของ อนันตเสวก เหวซึ่งเจริญ (2543) พบวา การตมสกัดสีจากเปลือก มังคุดใชเหล็กเปนสารชวยติดสีหลังยอมจะไดสีน้ำ�ตาล งานวิจัยของ ศุภวรรณ สอนสังข (2548) พบวา การ สกัดสีโดยการตมใบมังคุด ใชสารชวยติดสีหลังยอมใน สารตางชนิดกันใหสีที่ตางกัน คือ ใชน้ำ�โคลนจะไดสีเทา ใชน้ำ�สารสมจะไดสีสมออน ใชน้ำ�ปูนและน้ำ�ดางจะให สีน�้ำ ตาล การสกัดสีจากใบหูกวางก็เชนเดียวกัน จากการ วิจยั ของ สุขใจ สมพงษพนั ธุ และคณะ (2548) พบวา การ ใชสารชวยติดสีที่เปนกรดจะทำ�ใหสีธรรมชาติติดคงทน และสวย สีสกัดจากใบหูกวางเมื่อยอมบนผาไหมโดย ใชสารชวยติดสีตางกัน เชน การใชสารสม น้ำ�ใบมะขาม น้�ำ มะนาว จะไดสตี า งกัน เชน สีเหลืองไพล สีเหลืองทอง สีเปลือกไข ตามลำ�ดับ จากการวิจยั เพือ่ พัฒนาผามัดยอม สีธรรมชาติของ เสาวนิตย กาญจนรัตน (2550) พบวา สีสกัดจากใบหูกวางเมื่อใชโซเดียมซิลิเกตเปนสารชวย ติดสีจะไดสีเขียวอมเหลือง งานวิจัยของ สุพจน ชุติพันธ (2547) พบวา การนำ�หมากสงมาสกัดกับแกนแกแลจะ ไดสีกากีแกมเหลือง ซึ่งผลวิจัยของการยอมสีเดียวหรือ สองสีปนกัน การใชสารชวยติดสีตางกันใหเฉดสีตางกัน นักออกแบบสามารถนำ�มาเปนแนวทางการพัฒนาเฉดสี ของผลิตภัณฑผาได 3. ผลการศึ ก ษาความคิ ด เห็ น ของผู  บ ริ โ ภคที่ มีตอชุดผลิตภัณฑ พบวา สถานภาพของกลุมตัวอยาง สวนใหญเปนเพศหญิงรอยละ 58.5 อายุ 20 - 29 ป รอยละ 82 และอายุ 30 - 60 ปรอยละ 18 มีสถาน ภาพโสดรอยละ 88 เปนนักศึกษารอยละ 75 มีรายได ตอเดือนต่ำ�กวา 5,000 บาท รอยละ 40 รองลงมา 5,000 - 10,000 บาท รอยละ 37 มีการศึกษาระดับ ปริญญาตรีรอยละ 89 งานอดิเรกที่มีผูเลือกมากที่สุด 3 อันดับแรก คือ ศิลปะ ดนตรี และเลนคอมพิวเตอร ตามลำ�ดับ และงานอดิเรกที่มีผูไมเลือกตอบมากที่สุด 3 อันดับแรก คือ ทำ�อาชีพเสริม อานหนังสือ และทำ�งาน หัตถกรรม หลังจากกลุมตัวอยางทดสอบการใชงานชุด ผลิตภัณฑและตอบแบบสอบถาม พบวา ความคิดเห็น โดยรวมดานลักษณะของชุดผลิตภัณฑ ชุด A และชุด B คือเห็นดวยมาก โดยมีคา เฉลีย่ 4.25 และ 4.22 ตามลำ�ดับ ความคิดเห็นโดยรวมดานลักษณะของบรรจุภัณฑชุด A

77


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปีที่ 32 ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2555

และชุด B คือเห็นดวยมาก โดยมีคา เฉลีย่ 4.05 และ 4.15 ตามลำ�ดับ และความคิดเห็นโดยรวมดานลักษณะของ สีธรรมชาติในชุด A และชุด B คือ เห็นดวยมาก โดย มีคาเฉลี่ย 4.18 และ 4.24 ตามลำ�ดับ เมื่อเปรียบเทียบ ความแตกตางของคาเฉลีย่ ระดับความคิดเห็นของผูต อบ แบบสอบถามทีม่ ตี อ ชุดผลิตภัณฑ A และชุด B พบวา มี ความแตกตางกันอยางมีนยั สำ�คัญทางสถิตทิ รี่ ะดับความ เชื่อมั่น 95 เปอรเซ็นต โดยเห็นดวยกับชุดผลิตภัณฑ B (แบบทันสมัย)มากกวาชุด A (แบบพืน้ ถิน่ ) สำ�หรับคำ�ถาม ปลายเปดมีผูแสดงความคิดเห็นและใหขอเสนอแนะ รอยละ 66.50 ความคิดเห็นและขอเสนอแนะที่พบมาก ที่สุด ดานลักษณะของชุดผลิตภัณฑคือ ตองการความ หลากหลายของระดับความยากงายของการทำ� แยก ชุ ดขายโดยมีขนาดบรรจุและราคาตางกันตามความ เหมาะสม ดานลักษณะของบรรจุภัณฑคือบรรจุภัณฑ พลาสติกดูทันสมัย ดึงดูดใจเมื่อไดเห็นสินคาภายใน เมื่ อ พิ จ ารณาความคิ ด เห็ น ของกลุ  ม ตั ว อย า ง เปนรายดาน พบวา ดานคุณลักษณะของชุดผลิตภัณฑ ความคิดเห็นโดยรวมเห็นดวยมากเรียงตามลำ�ดับคา เฉลี่ ย มากไปน อ ยคื อ วั ส ดุ อุ ป กรณ ใ นการทำ � มั ด ย อ ม ครบถวนเพียงพอ คูมือชัดเจนเขาใจงายทำ�ตามดวย ตนเองได ชุ ด ผลิ ต ภั ณ ฑ เ หมาะสมที่ จ ะใช เ ป น งาน อดิเรก ผลิตภัณฑใหความรูสึกเหมือนไดอยูใกลชิดกับ ธรรมชาติ และผลิตภัณฑทำ�แลวรูสึกเพลิดเพลิน สนุก ทาทาย เหตุผลที่ทำ�ใหกลุมตัวอยางสวนใหญเห็นดวย มาก เพราะมุมมองของลูกคาที่ตองการการตอบสนอง ดานตางๆ ดังที่ Kotler (1997) ใหความเห็นไววา มีหลาย ดาน เชน ดานคุณคาที่ลูกคาจะไดรับการดูแลเอาใจใส ความสำ � เร็ จ ในการตอบสนองความต อ งการ ความ สะดวกสบายไมสามารถรอได การทีช่ ดุ ผลิตภัณฑมวี สั ดุ ครบถวน มีคูมือประกอบ ยอมทำ�ใหรูสึกสะดวกสบาย ไมตองรอใครมาอธิบาย ทำ�ดวยตนเองได การไดรับ การดูแลเอาใจใสจากคำ�อธิบายที่ชัดเจนของคูมือ ชุด ผลิ ต ภั ณ ฑ ใ ห ค วามรู  สึ ก เหมื อ นได อ ยู  กั บ ใกล ชิ ด กั บ ธรรมชาติและทำ�แลวรูสึกเพลิดเพลิน สนุกนั้นเปนการ ออกแบบที่ตอบสนองความตองการดานคุณคาที่ลูกคา จะไดรับและความสำ�เร็จของการทำ�มัดยอมดวยตนเอง ทีจ่ ะเกิดขึน้ ได นอกจากนัน้ คุณคาทีไ่ ดรบั การตอบสนอง

78

เกี่ ย วกั บ งานอดิ เ รกก็ มี ผ ลต อ ความคิ ด เห็ น ของกลุ  ม ตัวอยาง ซึ่งกลุมตัวอยางสวนใหญเห็นดวยมากกับ ลักษณะของชุดผลิตภัณฑวาเหมาะสมที่จะใชเปนงาน อดิเรก ผลการวิจัยนี้สอดคลองกับงานวิจัยของ พฤทธิ์ ทวีรัตน (2554) ที่พบวา กลุมตัวอยางสวนใหญเปน เพศหญิง มีอายุระหวาง 18 - 30 ป มีจุดมุงหมายใน การทำ�งานอดิเรกเพื่อผอนคลายความตึงเครียดและ ชวยสงเสริมใหชีวิตมีความสุขมากขึ้น ดังนั้น เมื่อชุด ผลิตภัณฑมัดยอมที่สรางขึ้นนี้สามารถตอบสนองดาน คุณคาของชีวิตได โอกาสในการผลิตเชิงพาณิชยก็นา จะมีความเปนไปไดในอนาคต ความคิดเห็นดานคุณลักษณะของบรรจุภัณฑ พบวา กลุมตัวอยางสวนใหญเห็นดวยมากกับลักษณะ ที่บรรจุภัณฑสามารถเปดไดงายไมยุงยาก รองลงมา คือหยิบของใชขางในไดสะดวก บรรจุภัณฑสามารถ รวบรวมและปกปองผลิตภัณฑภายในไดดี และกราฟกมี รายละเอียดชัดเจน ตามลำ�ดับ ซึ่งสอดคลองกับคำ� อธิบายของ Kotler (1997) และชัยสมพล ชาวประเสริฐ (2550) ทีว่ า ลูกคาตองการความสะดวก ความสบาย การ สือ่ สารทีช่ ดั เจน ระบุคณ ุ คาทีล่ กู คาจะไดรบั เมือ่ พิจารณา ความคิดเห็นของกลุมตัวอยางที่มีตอบรรจุภัณฑชุด A ซึ่ ง เป น กล อ งกระดาษ ภายในบรรจุ สิ่ ง ของไว ใ นห อ กระดาษขนาดเล็กอีกชั้นหนึ่งและวางเรียงสลับไปมา ไดนั้น กลุมตัวอยางเห็นดวยนอยกวาบรรจุภัณฑชุด B ซึ่งเปนกลองพลาสติกขุน ภายในมีตัวกั้นบรรจุสิ่งของ ภายในเปนระเบียบเปลีย่ นทีไ่ มไดวางแนนสนิท เหตุผลที่ ทำ�ใหกลุมตัวอยางเห็นดวยมากกวาเปนเพราะลูกคา ต อ งการความมั่ น คงปลอดภั ย หากสิ่ ง ของภายใน เลือ่ นสลับทีก่ นั ได อาจทำ�ใหรสู กึ ไมแนใจ ไมมนั่ คง กังวลวา เมื่อหยิบออกมาใชแลวจะวางที่เดิมตรงไหน อยางไร ก็ตาม ผลการวิจยั พบวา กลุม ตัวอยางสวนใหญเห็นดวย มากวาบรรจุภัณฑทั้งสองแบบสามารถทำ �หนาที่ของ บรรจุภัณฑไดดี ซึ่งการออกแบบครั้งนี้ผูวิจัยไดออก แบบอยูบนพื้นฐานหลักการออกแบบบรรจุภัณฑ ดังที่ สถาบันวิจยั วิทยาศาสตรและเทคโนโลยีแหงประเทศไทย (2546 : 1) และ Mew6 Design (2546) ไดอธิบายวา การออกแบบบรรจุภัณฑเปนงานเทคนิคที่ตองอาศัย ประสบการณ และความคิดสรางสรรคที่จะออกแบบ


ชุดผลิตภัณฑมัดยอมสีธรรมชาติสำ�หรับงานอดิเรก เสาวนิตย กาญจนรัตน

หีบหอใหเหมาะสมกับสินคา คุมครองสินคา และเนน ประโยชนใชสอย อาทิ ความสะดวกสบายในการหอบ หิ้ว การพกพา หรือการใช นั่นเอง สวนความคิดเห็นเกีย่ วกับกราฟกบนบรรจุภณ ั ฑ มั ด ย อ มสี ธ รรมชาติ สำ � หรั บ งานอดิ เ รก พบว า กลุ  ม ตัวอยางเห็นดวยมากกับกราฟกบนบรรจุภัณฑทั้ง 2 แบบวาดึงดูดใจไดดี มีรายละเอียดชัดเจน และสวย ตามลำ�ดับ ซึง่ ลักษณะของกราฟกใชสพี นื้ เปนสีตามแบบ สีธรรมชาติที่สกัดได และออกแบบตราสัญลักษณเปน ลายมือเขียนเปนรูปใบไมแบบเรียบๆ ไทยๆ ผลการ วิ จั ย นี้ ส อดคล อ งกั บ ผลการวิ จั ย ของ สถาบั น วิ จั ย วิทยาศาสตรและเทคโนโลยีแหงประเทศไทย (2553 : 7-18) ที่พบวา กราฟกตราสัญลักษณบนบรรจุภัณฑ ผลไม ส ดสิ น ค า ของขวั ญ ภายในประเทศนั้ น ทั้ ง กลุ  ม ตัวอยางทีเ่ ปนผูซ ื้อและผูขายพึงพอใจในรูปแบบกราฟก แบบไทย ๆ มากที่สุด สอดคลองกับคำ�อธิบายของ Grip Design (2011) วาบรรจุภัณ ฑที่มีประสิท ธิ ภ าพจะ สามารถสรางความประทับใจตอผูพ บเห็นไดในทันที ซึ่ง Mew6 Design (2546) อธิบายวาการออกแบบตัวอักษร ภาพประกอบและสีสนั ทีใ่ ช ควรสอดคลองกับรสนิยมของ ผูบริโภค กรณีนี้อธิบายตามทฤษฎีพฤติกรรมผูบริโภค ที่ Kotler (1997) กลาววา ปจจัยที่มีอิทธิพลตอการซื้อ ไดแก ปจจัยทางดานวัฒนธรรม ที่มนุษยไดรับการรับรู ปลูกฝงจากคนในครอบครัว สิ่งแวดลอม มีรสนิยมตาม เชื้อชาติ พื้นที่ทางภูมิศาสตร ผูคนที่มาจากวัฒนธรรม เดี ย วกั น จะมี ผ ลต อ การเลื อ กซื้ อ สิ น ค า และบริ ก ารใน ลั กษณะที่คลายๆ กัน คนไทยเห็นสินคาไทยมีต รา สั ญ ลั ก ษณ ไ ทยๆ ย อ มดึ ง ดู ด ใจเพราะจิ ต ใจมี ค วาม โนมเอียงเห็นเปนพวกพองเดียวกัน ความคิดเห็นดานคุณลักษณะของสีธรรมชาติ อัดเม็ด พบวา กลุมตัวอยางสวนใหญเห็นดวยมากที่สุด ในประเด็นของความสะดวกในการพกพา และการเก็บ รักษา และเห็นดวยมากกับลักษณะของสีทใี่ ชงา ย ละลาย เร็ว เขมและสวย ซึ่งเปนการผลิตรูปแบบของสีที่บรรลุ วัตถุประสงคของการวิจัยเพื่อแกปญหาความไมสะดวก ในการพกพา การขนสงน้ำ�สียอมรอน และการใชงานที่ งายสะดวกไมตอ งสกัดสีเอง อีกทัง้ ยังคงรักษาคุณภาพ ความเข ม และความสวยของสี ไ ว ไ ด เหตุ ผ ลที่ ทำ� ให

กลุมตัวอยางเห็นดวยนั้นสอดคลองกับคำ�อธิบายของ Kotler (1997) และชัยสมพล ชาวประเสริฐ (2550) เกี่ ย วกั บ มุ ม มองและพฤติ ก รรมของลู ก ค า ว า ลู ก ค า ตองการความสะดวกสบาย ความรวดเร็ว ความมั่นคง ปลอดภัย ความสำ�เร็จในการตอบสนองความตองการ นอกจากนั้น สีธรรมชาติที่ผลิตขึ้นมาในการวิจัยครั้งนี้ มี 3 สี ไดแก สีน้ำ�ตาล สีสมอมน้ำ�ตาล และสีเขียว อมเหลืองนั้น กลุมตัวอยางสวนใหญซึ่งมีอายุต่ำ�กวา 30 ป เห็นดวยมาก วาเปนสีที่เขมและสวย ผลการวิจัย ประเด็นนี้สอดคลองกับผลการวิจัยของ ดาริน รุงกลิ่น (2552) และปราการ ศรีบุตร (2550) ที่พบวา กลุม ตัวอยางซึ่งเปนลูกคาที่ซื้อผายอมสีธรรมชาติสวนใหญ นิยมผาเฉดสีน้ำ�ตาล แตผลการวิจัยครั้งนี้ไมสอดคลอง กับผลวิจัยของ เสาวนิตย กาญจนรัตน (2551) ที่ พบวา ผูบริโภคอายุมากกวา 30 ป มีความพึงพอใจใน ผลิตภัณฑเสื้อลำ�ลองลายบาติกสีธรรมชาติเฉดสีน้ำ�ตาล มากกวาผูบริโภคอายุต่ำ�กวา 30 ป เมื่ อ เปรี ย บเที ย บความแตกต า งของค า เฉลี่ ย ระดับความคิดเห็นของกลุม ตัวอยางทีม่ ตี อ ชุดผลิตภัณฑ A และชุด B โดยรวมพบวามีความแตกตางกัน เมื่อ พิจารณาเปนรายดาน พบวา กลุมตัวอยางมีความคิด เห็ น แตกต า งกั น ในด า นลั ก ษณะของบรรจุ ภั ณ ฑ แ ละ ด า นลั ก ษณะของสี ธ รรมชาติ อั ด เม็ ด ส ว นด า นที่ ไ ม แตกต า งกั น คื อ ด า นลั ก ษณะของชุ ด ผลิ ต ภั ณ ฑ ซึ่ง เป น ที่ น  า สั ง เกตว า สิ่ ง ที่ ต  า งกั น ในการวิ จั ย ครั้ ง นี้ คื อ บรรจุภัณฑและลักษณะของการบรรจุ บรรจุภัณฑ 2 แบบ สื่อภาพลักษณตางกันตามวัตถุประสงคของผูวิจัย แตรูปแบบของผลิตภัณฑสี และการจัดชุดวัสดุอุปกรณ เปนสิ่งเดียวกัน ผลการวิจัยนี้สามารถใหเหตุผลได โดย อางอิงจากผลการวิจัยของ Desmet and Hekkert (2007 : 57-66) ซึ่งอธิบายถึงอิทธิพลของรูปลักษณงาน ออกแบบผลิ ต ภั ณ ฑ ว  า มี ศั ก ยภาพด า นความงาม ความหมาย และอารมณความรูสึกในตัวของมันเองที่จะ สงผลตอผูพบเห็นหรือผูใช 3 สิ่งนี้จะทำ�ใหผูพบเห็น หรื อ ผู  ใ ช ไ ด รั บ ประสบการณ ค วามงามที่ ส ร า งความ เบิกบานยินดี ประสบการณแหงความหมายที่เปรียบ เสมือนสัญลักษณที่มีนัยสำ�คัญที่แสดงบุคลิกภาพของ ผลิ ต ภั ณ ฑ นั้ น อย า งชั ด เจน และประสบการณ แ ห ง

79


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปีที่ 32 ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2555

อารมณ ความรูสึก ซึ่งแสดงตัวออกมาอยางสอดคลอง กับความหมายของผลิตภัณฑ บรรจุภณ ั ฑทอี่ อกแบบมา จากความคิดสรางสรรคนั้นสามารถสรางความเบิกบาน ยินดี พรอมๆ กับเปนชุดผลิตภัณฑทมี่ คี ณ ุ คามีความหมาย สำ�หรับผูบริโภค อาจทำ�ใหกลุมตัวอยางขณะทดสอบ การใช ง านชุ ด ผลิ ต ภั ณ ฑ นี้ เกิ ด อารมณ ค วามรู  สึ ก โนมเอียงไปในทางชอบ ไมชอบ ชอบมากกวา หรือนอย กวาได ซึ่งสงผลใหกลุมตัวอยางของการวิจัยครั้งนี้ มี ความคิดเห็นตอลักษณะของผลิตภัณฑสีในบรรจุภัณฑ รู ป ลั ก ษณ ทั น สมั ย แตกต า งไปจากบรรจุ ภั ณ ฑ แ บบ พื้นถิ่น นอกจากนั้น พฤติกรรมโดยทั่วไปของลูกคามีคา นิยมและรสนิยมชอบสินคาที่ทันสมัยอยูแลว (Kotler 1997 ; ชัยสมพล ชาวประเสริฐ 2550) จึงกลาวไดวา คุณลักษณะของผลิตภัณฑและผูบริโภคตางก็มีอิทธิพล ตอการสรางประสบการณตอกัน ดังนั้น นักออกแบบจึง ควรตระหนักถึงความสำ�คัญของทั้งการออกแบบและ ความต อ งการของกลุ  ม ผู  บ ริ โ ภคเป า หมายในเวลา เดียวกัน ขอเสนอแนะ 1. ผลการวิจัยพบวากลุมตัวอยางสวนใหญเปน เพศหญิง มีอายุ 20 - 29 ป เห็นดวยมากกับการผลิตชุด ผลิตภัณฑมัดยอมสีธรรมชาติสำ�หรับงานอดิเรก ใน รูปแบบของบรรจุภัณฑพลาสติกที่ดูทันสมัยและมีขอ เสนอแนะเพิ่มเติมใหออกแบบกราฟกแตละกลองตามสี ที่บรรจุไวในกลอง ดังนั้น กลุมผูผลิตหรือกลุมธุรกิจที่ สนใจอาจทดลองออกแบบและเปดตลาดสำ�หรับผูบ ริโภค กลุมดังกลาวนี้ 2. ผลการวิจัยพบวา กลุมตัวอยางสวนใหญมี ความเห็นวาชุดผลิตภัณฑมดั ยอมสีธรรมชาติเหมาะทีจ่ ะ เป น งานอดิ เ รก ซึ่ ง ทำ � แล ว สนุ ก เพลิ ด เพลิ น ดั ง นั้ น สถานศึ ก ษาหรื อ สถาบั น อื่ น ๆ อาจนำ � ชุ ด ผลิ ต ภั ณ ฑ ไปใชเปนวัสดุส�ำ หรับกิจกรรมกลุม เพื่อสรางความสนุก คลายเครียดสำ�หรับบุคคลวัยตางๆ ก็ได 3. ผลการวิจัยพบวาผูบริโภคมีความคิ ด เห็ น ตอลักษณะของผลิตภัณฑสีธรรมชาติตางกันเมื่อบรรจุ อยูในบรรจุภัณฑที่มีบุคลิกภาพตางกัน จึงควรมีการ วิจัยเพื่อทดสอบประสิทธิภาพของบรรจุภัณฑที่มีบุคลิก

80

ภาพตางกัน ผลทางดานจิตวิทยา อิทธิพลตอการรับรู ประสบการณแหงความหมายของสิ่งของภายในตางกัน มากนอยเพียงใดหรือมีปจจัยอื่นๆ อีกที่เกี่ยวของ เพื่อ นำ�มาพัฒนาการออกแบบบรรจุภัณฑสำ�หรับงานอดิเรก ในอนาคต 4. ผลการวิจัยพบวามีกลุมตัวอยางจำ�นวนหนึ่ง ให ข  อ เสนอแนะเกี่ ย วกั บ ความต อ งการสี ธ รรมชาติ บรรจุหลอด และตองการบรรจุภัณฑจากธรรมชาติ จึง ควรมีการวิจัยทดลองผลิตและประเมินจุดคุมทุนของ การใชเทคโนโลยีในการผลิต ซึ่งอาจรวมมือกันจาก นักวิจัยดานออกแบบ วิทยาศาสตร และเศรษฐศาสตร เปนตน 5. ผลการวิจัยพบวามีกลุมตัวอยางจำ�นวนหนึ่ง ใหขอเสนอแนะเกี่ยวกับการผลิต เพื่อจำ�หนายตลาด ตางประเทศจึงควรมีการวิจยั การออกแบบชุดผลิตภัณฑ รวมกันของนักวิจัยดานออกแบบ ธุรกิจระหวางประเทศ สังคมและวัฒนธรรมระหวางประเทศ เปนตน สรุป ชุ ด ผลิ ต ภั ณ ฑ มั ด ย อ มสี ธ รรมชาติ สำ� หรั บ งาน อดิเรกออกแบบภายใตแนวคิดตอยอดภูมิปญญาชุมชน โดยใชเทคโนโลยีการผลิตสียอมเย็นอัดเม็ดซึ่งสามารถ สรางความสะดวกสบายในการใชและพกพา และสามารถ นำ�เฉดสีไปประยุกตใชกบั การออกแบบลวดลายมัดยอม ทีม่ คี วามยากระดับปานกลาง ซึง่ รับประกันใหผลสำ�เร็จที่ แนนอน มีคมู อื การทำ�ชัดเจนเขาใจงาย บรรจุวสั ดุอปุ กรณ ครบชุ ด ในกล อ งบรรจุ ภั ณ ฑ ข นาดกะทั ด รั ด ซึ่ ง กลุ  ม ตัวอยางสวนใหญอายุ 20-29 ป เปนนักศึกษามีรสนิยม ชอบบรรจุ ภั ณ ฑ แ บบทั น สมั ย มากกว า แบบพื้ น ถิ่ น การดำ � เนิ น การวิ จั ย ครั้ ง นี้ บ รรลุ วั ต ถุ ป ระสงค ใ นการ แก ป  ญ หาการไม มี ชุ ด ผลิ ต ภั ณ ฑ มั ด ย อ มสี ธ รรมชาติ ที่ทาทาย และทำ�ไดดวยตนเองสำ�หรับเปนงานอดิเรก และป ญ หาความไม ส ะดวกในการใช แ ละพกพาน้ำ � สี ยอมรอนทีม่ ใี นชุมชนผูผ ลิตผามัดยอมสีธรรมชาติ ผลการ วิจยั ไดองคความรูก ารผลิตสี การออกแบบลวดลาย และ รู ป แบบบรรจุ ภั ณ ฑ ที่ ต อบสนองความต อ งการของ ผูบริโภคเฉพาะกลุม พรอมที่จะนำ�ไปถายทอดสูชุมชน ตามเปาหมายที่วางไว


ชุดผลิตภัณฑมัดยอมสีธรรมชาติสำ�หรับงานอดิเรก เสาวนิตย กาญจนรัตน

ดร.นฤภร มนตมธุรพจน นักวิจัยจากศูนยเทคโนโลยี โลหะและวัสดุแหงชาติ ทีช่ ว ยออกแบบการทดลองผลิตสี และอำ�นวยความสะดวกในการใชหองปฏิบัติการ

กิตติกรรมประกาศ ข อ ข อ บ คุ ณ ม ห า วิ ท ย า ลั ย เ ท ค โ น โ ล ยี พระจอมเกลาพระนครเหนือทีส่ นับสนุนทุนวิจยั ขอบคุณ 





81


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปีที่ 32 ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2555

เอกสารอางอิง ภาษาไทย ชัยสมพล ชาวประเสริฐ. (2550). การตลาดบริการ. พิมพครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น. ดาริน รุงกลิ่น. (2552). พฤติกรรมผูบริโภคและปจจัยทางการตลาดในการเลือกซื้อผลิตภัณฑผามัดยอม ของกลุมมัดยอมสีธรรมชาติบานคีรีวง จังหวัดนครศรีธรรมราช. การศึกษาอิสระปริญญาบริหารธุรกิจ มหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ. ธนาคารกสิกรไทย. (2552). ซึมเศรา-โรคขี้เหงาของคนเมือง. จดหมายขาว. 22 ธันวาคม 2552. นิรัช สุดสังข. (2548). การวิจัยการออกแบบผลิตภัณฑอุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร. ปราการ ศรีบุตร. (2550). การศึกษาพฤติกรรมผูบริโภคสินคาหนึ่งตำ�บลหนึ่งผลิตภัณฑ : กรณีศึกษาสินคา ประเภทผาและเสื้อผาพื้นเมือง. วิทยานิพนธปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาชนบท ศึกษาและการ พัฒนา สำ�นักบัณฑิตอาสาสมัคร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร. ปยพร ศรีสุขสวัสดิ์. (2547). การออกแบบเลขนศิลปบนบรรจุภัณฑสำ�หรับสินคาที่ระลึกที่เนนเอกลักษณ ทองถิ่นภาคใต. วิทยานิพนธปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการออกแบบนิเทศศิลป มหาวิทยาลัยศิลปากร. พฤทธิ์ ทวีรัตน. (2554). การศึกษาความมุงหมายของงานอดิเรกที่มีตอการสงเสริมคุณภาพชีวิตการทำ�งาน ของพนักงานวัยทำ�งานองคกรเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร. การศึกษาคนควาดวยตนเอง ปริญญา บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร. วัชรินทร จรุงจิตสุนทร. (2548). หลักการและแนวคิดการออกแบบผลิตภัณฑ. กรุงเทพฯ: แอปปา พริน้ ทตงิ้ กรุป . ศุภวรรณ สอนสังข. (2548). รายงานการวิจัยโครงการหนึ่งตำ�บลหนึ่งผลิตภัณฑในกิจกรรมสงเสริมงานวิจัย ปฏิบัติการแบบมีสวนรวมเพื่อพัฒนามาตรฐานคุณภาพผลิตภัณฑระดับชุมชนในผาทอพื้นบานทุก ภูมิภาคและอาหารแปรรูป 4 เครือขายผลิตภัณฑในภาคกลาง กรณีศึกษา : ผาทอพื้นบาน บานทา กระจายและบานในเขา อ.ทาชนะ จ.สุราษฎรธานี. สำ�นักงานคณะกรรมการอุดมศึกษาภาคใต สถาบัน ราชภัฏสุราษฎรธานี และกระทรวงอุตสาหกรรม. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตรและเทคโนโลยีแหงประเทศไทย. (2546). หลักการออกแบบบรรจุภัณฑ. กรุงเทพฯ: บางกอกบล็อก. ___________________________________________. (2553). กลองบรรจุภัณฑสำ�หรับผลไมสดเพื่อเปนของ ขวัญ. วารสารการบรรจุภัณฑ. 18 (2) : 7-18. สุพจน ชุติพันธ. (2547). สียอมธรรมชาติ. [ออนไลน] สืบคนเมื่อ 7 มีนาคม 2549. จาก http://www. wdoae. go.th/old_news2/new93.html 16/09/2547. สุขใจ สมพงษพันธุ, กนกวรรณ ศรชัย และวิมลทิพย กมลวัฒนานนท. (2551). การพัฒนารูปแบบการยอมไหม สีธรรมชาติดวยหูกวางและใบขี้เหล็ก. รวมบทความงานวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏ สุรินทร เอกสารประกอบการนำ�เสนอผลงานวิจัยแหงชาติ 2551 Thailand Research Expo 2008. เสาวนิตย กาญจนรัตน. (2551). การวิจยั และพัฒนาหัตถกรรมผามัดยอม กรณีศกึ ษาบานนากุน ตำ�บลสระแกว อำ�เภอทาศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช. ในการประชุมวิชาการศิลปากรวิจัย ครั้งที่ 2 มหาวิทยาลัย ศิลปากร 19 ธันวาคม 2551. _________________. (2550). สีสกัดจากใบมังคุดเพื่อการมัดยอมและบาติก. ในการประชุมวิชาการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ประจำ�ปการศึกษา 2550 เรือ่ ง ผลงานวิจยั และนวัตกรรมสูก ารพัฒนาทีย่ งั่ ยืน 6 สิงหาคม 2550 : 121-127.

82


ชุดผลิตภัณฑมัดยอมสีธรรมชาติสำ�หรับงานอดิเรก เสาวนิตย กาญจนรัตน

อนันตเสวก เหวซึ่งเจริญ, บรรณาธิการ. (2543). คูมือยอมสีธรรมชาติ ฉบับชาวบาน สีเขียว สีน้ำ�ตาล และ สีดำ� เลม 1. เชียงใหม: หนวยพิมพเอกสารวิชาการ คณะวิทยาศาสตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม. ภาษาตางประเทศ Belfer, Nancy. (1992). Batik and Tie Dye techniques. New York: Dover. Desmet, Pieter and Hekkert, Paul. (2007). Framework of product experience. International Journal of Design. 1(1) : 57-66. Gleser, Virginia. (1999). Tie-Dye : the how-to book. Summertown: Book Publishing Company. Grip Design. (2011). 1000 package designs : a comprehensive guide to packing it in. China: Rock port Publishers. Kotler, P. (1997). Marketing management. 9th ed. Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall. Mew6 Design. (2546). บรรจุภัณฑ. [ออนไลน]. สืบคนเมื่อ 7 พฤษภาคม 2554. จาก http://www.mew6.com/ composer/package/package_0.php. Saowanit Kanchanarat and Nuanchawee Sangchai. (2008). The research and development of natural color Batik product in community : case study in Namo Batik Group, Nakhon Si Thammarat, Thailand. The International Journal of the Arts in Society 4 (2) : 88-96.

83



ศึกษาและออกแบบกราฟกบนบรรจุภัณฑเพื่อสื่อรสชาติ รูปลักษณ และคุณภาพของ​ ผลิตภัณฑเบเกอรี่: กรณีศึกษา ผลิตภัณฑเบเกอรี่คาสง Study and Design Graphic on Packages to Communicate Flavor, Appearance,​ and Qualities of Bakery Product: A Case Study of Wholesale Bakery ทิพยรัตน พำ�ขุนทด 1 Tippharat Phumkuntod​ บทคัดยอ การวิ จั ย นี้ มี วั ต ถุ ป ระสงค เ พื่ อ 1.) ศึ ก ษาลั ก ษณะของผลิ ต ภั ณ ฑ แ ละกลยุ ท ธ ท างการตลาดผลิ ต ภั ณ ฑ เบเกอรีค่ า สง 2.) ออกแบบกราฟกบนบรรจุภณ ั ฑเพือ่ สือ่ ถึงรสชาติ รูปลักษณ และคุณภาพของผลิตภัณฑเบเกอรีค่ า สง 3.) ประเมินการรับรูและความพึงพอใจของผูบริโภคที่มีตอกราฟกบนบรรจุภัณฑ โดยมีผลิตภัณฑเบเกอรี่คาสง เปนกรณีศึกษา กลุมตัวอยางในการวิจัยครั้งนี้ คือผูบริโภคผลิตภัณฑเบเกอรี่คาสง ในเขตกรุงเทพมหานคร จำ�นวน 246 คน เครือ่ งมือทีใ่ ชในการเก็บรวบรวมขอมูลเปนแบบสัมภาษณและแบบสอบถามจำ�นวน 2 ชุด วิเคราะหขอ มูล โดยการคำ�นวณคารอยละ คาเฉลี่ยเลขคณิต และสวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบวา 1.) การกำ�หนดกลุมเปาหมายใหชัดเจน ทำ�ใหสามารถออกแบบบรรจุภัณฑใหตรงตอความตองการของกลุม เปาหมายได อีกทั้งตำ�แหนงสินคาในรานคือกลยุทธทางการตลาดที่สำ�คัญของผลิตภัณฑเบเกอรี่คาสง 2.) ผูบริโภคเห็นดวยวาบรรจุภัณฑดึงดูดความสนใจได ทำ�ใหมองหาผลิตภัณฑที่ตองการไดเร็วขึ้น และ ชวยใหคาดเดาไดถงึ รสชาติของผลิตภัณฑ และผูบ ริโภคสวนใหญตดั สินใจเลือกซือ้ ผลิตภัณฑเบเกอรีจ่ ากบรรจุภณ ั ฑที่ มีภาพถาย ภาพวาด และลวดลายบนบรรจุภณ ั ฑ มีบริเวณโปรงใสมองเห็นผลิตภัณฑ และบอกขอมูลสวนประกอบของ ผลิตภัณฑชดั เจน ปจจัยทีม่ ผี ลตอการรับรูร สชาติ รูปลักษณ และคุณภาพของผลิตภัณฑเบเกอรีค่ า สง คือโทนสีส�ำ หรับ พื้นหลัง รูปภาพประกอบ รูปทรงบรรจุภัณฑ การใหขอมูลรายละเอียดบนบรรจุภัณฑ 3.) สีของบรรจุภัณฑทำ�ใหสามารถแยกแยะรสชาติได มีการรับรูไดถึงกลิ่น และรสชาติของผลิตภัณฑ เบเกอรี่คาสง การใชภาพถายใหลักษณะภาพที่เหมือนจริง มีความชัดเจนทำ�ใหเกิดการรับรูไดถึงรสชาติ รูปทรง บรรจุภัณฑทำ�ใหรับรูไดถึงผลิตภัณฑดานใน การใหขอมูลรายละเอียดบรรจุภัณฑที่ครบถวน โดยใหทั้งภาพและ ตัวอักษรทำ�ใหผูบริโภคมีความเชื่อมั่นในคุณภาพ บรรจุภัณฑมีความสวยงาม มีรูปแบบทันสมัย มีสีสันดึงดูดใจ เมื่อ เห็นบรรจุภัณฑแลวสนใจวาเปนผลิตภัณฑใด และผูบริโภคชื่นชอบในตัวบรรจุภัณฑ คำ�สำ�คัญ: 1. ผลิตภัณฑเบเกอรี่คาสง. 2. กราฟกบนบรรจุภัณฑ. 3. บรรจุภัณฑ. 4. การรับรู.

__________________ 1 นักศึกษาปริญญามหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีผลิตภัณฑอุตสาหกรรม คณะครุศาสตรอุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยี พระจอมเกลาเจาคุณทหารลาดกระบัง


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปีที่ 32 ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2555

Abstract This research is three-fold. First, it aims to study bakery product elements and marketing strategies. Second, it aims to study the graphic design that can express flavors, looks and qualities of a product. Third, it aims to evaluate customers’ perception and satisfaction of the graphics. The wholesale bakery product is presented as a case study. The samples of this research are 246 bakery product seller in Bangkok district. Data are collected by interviewing and analyzed by calculating the percentages, the arithmetic mean and standard deviation. The results are as follows. 1. If the target is clear, the packaging can be designed to meet the needs of the target customers. Moreover, product placement is also a key of marketing strategy in wholesale bakery products. 2. Consumers agree that packaging is what attracts customers’ attention. From the appearance, the flavor of the product can be easily predicted. Most consumers purchase the product based on the looks of the packaging with some pictures, paintings and designed graphics including the product visibility and whether information of the key ingredients is provided. The factors that communicate flavors, looks and feels as well as the quality of the product consists of background color, illustrations, shape and form and the information on the packaging. 3. Complete information with images and captions on the packaging make the consumers feel more confident about the products. Fine packaging with modern forms and attractive colors can draw consumers’ attention and satisfaction. Keywords: 1. Wholesale bakery. 2. Package design. 3. Packages. 4. To perceive.

86


ศึกษาและออกแบบกราฟกบนบรรจุภัณฑเพื่อสื่อรสชาติ รูปลักษณ และคุณภาพ ทิพยรัตน พำ�ขุนทด

ความเปนมาของปญหา ผลิตภัณฑเบเกอรี่นั้นไดรับความนิยมตลอดมา ผูบริโภคทุกเพศทุกวัยใหความสนใจหันมารับประทาน กันมาก และผลิตภัณฑเบเกอรี่ไมเพียงรับประทานเปน อาหารในมือ้ เชาเทานัน้ แตยงั ขยายบทบาทออกไปถึงมือ้ อื่นๆ รวมถึงเปนของวาง ของหวานในแตละวัน เพราะ สะดวก ประหยัดเวลา และใหคณ ุ คาโภชนาการ (ศูนยวจิ ยั กสิกรไทย 2551) ตลาดผลิตภัณฑเบเกอรี่เติบโตอยาง ตอเนื่อง จึงเห็นผูผลิตรายใหมๆ กาวเขามารวมชิง สวนแบงตลาดมากมาย ทำ�ใหมีการแขงขันคอนขาง รุนแรงเชนเดียวกับสินคาอุปโภคบริโภคทั่วไป เดิมผลิตภัณฑเบเกอรี่ประเภทนี้จัดเปนสินคา ที่ ว างจำ � หน า ยหน า ร า นจำ � หน า ยผลิ ต ภั ณ ฑ เ บเกอรี่ เทานั้น แตปจจุบันการนำ�เขาไปวางจำ�หนายในราน สะดวกซื้อ นับวาเปนการตอบสนองความตองการของ ผูบริโภค เนื่องจากสินคามีใหเลือกหลากหลาย ราคา ไมแพง และมีบรรจุภณ ั ฑทสี่ วยงาม ถือเปนการยกระดับ ผลิตภัณฑเบเกอรี่ที่เคยมีวางจำ�หนายในรานคาปลีก กลยุ ท ธ นี้ ป ระสบความสำ � เร็ จ อย า งมาก แต รู ป แบบ บรรจุ ภั ณ ฑ ผ ลิ ต ภั ณ ฑ เ บเกอรี่ ค  า ส ง ที่ มี จำ � หน า ยใน ปจจุบัน ปญหาที่พบสวนใหญเกิดจากผูประกอบการ ขาดความเอาใจใส ใ นการพั ฒ นาบรรจุ ภั ณ ฑ ทำ � ให บรรจุ ภั ณ ฑ เ ดิ ม ไม ส ามารถสื่ อ ถึ ง คุ ณ ลั ก ษณะและ คุณภาพของผลิตภัณฑได โดยทั่วไปที่พบมีเพียงการ ติ ด ฉลากบนผลิ ต ภั ณ ฑ เ พื่ อ บอกตราสิ น ค า และราคา เทานั้น ทำ�ใหบรรจุภัณฑทำ�หนาที่ไดเพียงแคหอหุม ตัวผลิตภัณฑ ไมสามารถเพิ่มมูลคาใหกับผลิตภัณฑ หรื อ สร า งความแตกต า งจากคู  แ ข ง ดั ง คำ � กล า วของ นิพนธ โพธิ์พัฒนชัย (2551) ปจจุบันผลิตภัณฑอาหาร เบเกอรี่ ไดแก ขนมปง และผลิตภัณฑขนมอบเปนที่ นิ ย มของผู  บ ริ โ ภคและมี แ นวโน ม การบริ โ ภคที่ สู ง ขึ้ น ส ง ผลให ผู  ป ระกอบการบางรายใช ก ลยุ ท ธ ใ นการ ดึงดูดลูกคาดวยการตกแตงฉลากใหสวยงาม จนขาด ข อ มู ล ที่ จำ � เป น ต อ ผู  บ ริ โ ภค โดยอาจมี ส าเหตุ จ าก ผูป ระกอบการขาดความรูค วามเขาใจ ในขอกำ�หนดของ กฎหมายหรือเกิดจากความรูเทาไมถึงการณ หรือขาด การสนับสนุนดานวิชาการและเงินทุนจากหนวยงาน ที่เกี่ยวของ จากขอมูลและปญหาที่พบขางตน

ผูวิจัยจึงสนใจที่จะศึกษาและออกแบบกราฟก บนบรรจุภัณฑ เพื่อสื่อรสชาติ รูปลักษณ และคุณภาพ ของผลิตภัณฑ ซึง่ คาดวาจะสงผลดีกบั ทัง้ ผูป ระกอบการ และผูบริโภค การวิจัยนี้เชื่อมโยงพื้นฐานทฤษฎีตางๆ และงานวิจัยที่เกี่ยวของ ดังงานวิจัยของมหิศรา อรุณ สวัสดิ์ (2545) เรือ่ งการใชสบี นบรรจุภณ ั ฑเพือ่ สือ่ รสชาติ ขนมขบเคี้ยววัยรุน ศึกษาพบวาสีบนซองบรรจุภัณฑ ขนมขบเคี้ยวสามารถสื่อรสชาติได นอกจากนี้สีมีความ สำ� คั ญ ต อ ผู  บ ริ โ ภคในด า นการทำ �ให จ ดจำ � และสี บน บรรจุภณ ั ฑดงึ ดูดความสนใจได อีกทัง้ ยังชวยใหผบู ริโภค สามารถคาดเดารสชาติขนมขบเคี้ยวได ผูวิจัยพบวา อีกปจจัยที่สงผลตอการรับรูรสชาติ คือปจจัยดานภาพ ประกอบ จากการศึ ก ษาเรื่ อ งป จ จั ย ด า นกราฟ ก บน บรรจุภัณฑที่สงผลตอความเขาใจในรสชาติของบะหมี่ กึ่งสำ�เร็จรูปของศักดา บุญยืด (2545) พบวาปจจัยดาน ภาพประกอบมีผลตอความเขาใจรสชาติมากทีส่ ดุ ปจจัย รองลงมา คื อ รู ป แบบการจั ด หน า และตั ว อั ก ษรบอก ชื่ อ รสและการจั ด วาง ตามลำ � ดั บ จากป จ จั ย ต า งๆ ดั ง กล า ว พบว า เนื้ อ หาเป น อี ก ป จ จั ย หนึ่ ง ที่ สำ � คั ญ อยางมาก เพราะบรรจุภัณฑจะตองแบกรับหนาที่ใน การส ง สารให แ ก ผู  บ ริ โ ภค อาทิ เ ช น วิ ธี ก ารและ ชวงเวลาในการใช ขอหามในการใช และเหตุผลในการ ห า มใช เป น ต น และผู  บ ริ โ ภคให ค วามใส ใ จต อ การอ า นและใช ป ระโยชน จ ากข อ มู ล กั น มากขึ้ น สอดคล อ งกั บ งานวิ จั ย เรื่ อ งการศึ ก ษาแนวทางการ ออกแบบและพั ฒ นาเอกลั ก ษณ ร  า นเบเกอรี่ โ ฮมเมด กรณีศกึ ษาศูนยการคาแบบไลฟสไตล มอลล ของสรินยา วิมุขตะลพ (2553) พบวาปจจัยดานการสงเสริมการ ขายควรมีเอกสารใหความรูดานโภชนาการปจจัยดาน บรรจุภัณฑควรมีการแสดงขอมูลการผลิต - สวนผสม วันผลิต - วันหมดอายุ บนบรรจุภัณฑ เชนเดียวกันงาน วิจัยเรื่องศึกษาปจจัยผลิตภัณฑและปจจัยการออกแบบ บรรจุภณ ั ฑอาหารทีม่ ผี ลตอการตัดสินใจซือ้ ของผูบ ริโภค ของจิตราพร ลีละวัฒน (2548) พบวา ปจจัยผลิตภัณฑ อาหารผูบริโภคใหความสำ�คัญมากที่สุด คือ ความ ปลอดภัย และควรมีตรารับประกันคุณภาพ และผูบ ริโภค ยังใหความสำ�คัญกับปจจัยหนาทีท่ างดานการตลาดของ บรรจุภัณฑดวย คือ ฉลากแสดงขอมูลอาหารครบถวน

87


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปีที่ 32 ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2555

ขอมูลทีร่ ะบุถกู ตองชัดเจนอานงาย จากขอมูลทีก่ ลาวมา ทำ�ใหสามารถวิเคราะหไดวาผูบริโภคสวนใหญใหความ สำ�คัญในดานคุณภาพ ความปลอดภัยในดานโภชนา การเปนอยางมาก นอกเหนือจากความสวยงาม เพราะ บรรจุภัณฑนอกจากจะเปนสิ่งที่กระตุนใหผูบริโภคเกิด ความตองการในตัวผลิตภัณฑแลว ขอมูลรายละเอียดบน บรรจุภัณฑยังเปนสวนสำ�คัญในการสรางความเชื่อมั่น ในคุณภาพของผลิตภัณฑ เพือ่ สือ่ รสชาติรปู ลักษณ และ คุณภาพของผลิตภัณฑเบเกอรี่ วัตถุประสงค 1. เพื่ อ ศึ ก ษาลั ก ษณะของผลิ ต ภั ณ ฑ และ กลยุทธทางการตลาดผลิตภัณฑเบเกอรี่คาสง 2. เพื่ อ ออกแบบกราฟ ก บนบรรจุ ภั ณ ฑ เพื่ อ สื่ อ รสชาติ รู ป ลั ก ษณ และคุ ณ ภาพของผลิ ต ภั ณ ฑ เบเกอรี่คาสง 3. เพื่ อ ประเมิ น การรั บ รู  แ ละความพึ ง พอใจ ของผูบริโภคที่มีตอกราฟกบนบรรจุภัณฑผลิตภัณฑ เบเกอรี่คาสง อุปกรณและวิธีการ ขั้นที่ 1 การศึกษาลักษณะของผลิตภัณฑ และ กลยุทธทางการตลาดผลิตภัณฑ - แบบสัมภาษณ เพือ่ ใชส�ำ หรับศึกษาขอมูล เกี่ยวกับลักษณะของผลิตภัณฑ ดานบรรจุภัณฑ และ กลยุทธทางการตลาดผลิตภัณฑเบเกอรี่คาสง ขั้นที่ 2 การออกแบบกราฟ ก บนบรรจุ ภั ณ ฑ เพื่อสื่อรสชาติ รูปลักษณ และคุณภาพของผลิตภัณฑ เบเกอรี่คาสง แบงออกเปน 2 ขั้นตอน คือ 1. การศึกษาขอมูลพฤติกรรมการบริโภคและ ปจจัยดานองคประกอบกราฟกบนบรรจุภัณฑที่คาดวา จะสงผลตอการรับรูรสชาติ รูปลักษณ และคุณภาพของ ผลิตภัณฑเบเกอรี่คาสง - แบบสอบถาม เพื่อใชสอบถามพฤติกรรม การบริโภคและปจจัยดานองคประกอบกราฟกที่คาด วาจะสงผลตอการรับรูรสชาติ รูปลักษณ และคุณภาพ ของผลิตภัณฑ ของผูบริโภคผลิตภัณฑเบเกอรี่คาสง ดานองคประกอบของบรรจุภัณฑที่คาดวาจะมีผลตอ

88

การรับรูในประเด็นตางๆ เชน โทนสีสำ�หรับพื้นหลัง รู ป ภาพประกอบ รู ป ทรงบรรจุ ภั ณ ฑ การให ข  อ มู ล รายละเอี ย ดบนบรรจุ ภั ณ ฑ และรู ป แบบการจั ด วาง กราฟกบนบรรจุภณ ั ฑทมี่ ผี ลตอความดึงดูดใจ ความสนใจ ความชอบ และความตั้งใจซื้อของผูบริโภค นำ�ปจจัย เหล า นั้ น มาสร า งภาพจำ � ลองเพื่ อ ใช ท ดสอบป จ จั ย ที่ สงผลตอการรับรู 3 ดาน 2. การออกแบบกราฟกบนบรรจุภัณฑเพื่อ สื่ อ รสชาติ รู ป ลั ก ษณ และคุ ณ ภาพของผลิ ต ภั ณ ฑ เบเกอรี่คาสง - แบบสอบถาม เปนแบบสอบถามประกอบ ภาพจำ � ลองเกี่ ย วกั บ ความคิ ด เห็ น ที่ มี ต  อ รู ป แบบการ ออกแบบกราฟกเพื่อสื่อรสชาติ รูปลักษณ และคุณภาพ ของผลิ ต ภั ณ ฑ โ ดยทำ � การสอบถามด า นการรั บ รู  และความพึงพอใจของผูเชี่ยวชาญที่มีตอกราฟกบน บรรจุภัณฑผลิตภัณฑเบเกอรี่คาสง ขั้นที่ 3 การประเมินการรับรูและความพึงพอใจ ของผูบริโภคที่มีตอกราฟกบนบรรจุภัณฑผลิตภัณฑ เบเกอรี่คาสง - แบบสอบถาม เปนแบบสอบถามประกอบ ภาพจำ�ลองเกี่ยวกับความคิดเห็นที่มีตอรูปแบบกราฟก บนบรรจุภัณฑ โดยทำ�การสอบถามดานการรับรูและ ความพึงพอใจของผูบ ริโภคทีม่ ตี อ กราฟกบนบรรจุภณ ั ฑ ผลิตภัณฑเบเกอรี่คาสง ประชากรและกลุมตัวอยางประกอบดวย 1. ตัวแทนผูผ ลิตผลิตภัณฑเบเกอรีค่ า สง จำ�นวน 1 ทาน 2. กลุ  ม ตั ว อย า ง คื อ ผู  บ ริ โ ภคผลิ ต ภั ณ ฑ เบเกอรี่คาสงในเขตกรุงเทพมหานคร จำ�นวน 246 คน ซึ่งไดจากการการสุมตัวอยางแบบเจาะจง (Purposive sampling) เลือกเขตพื้นที่วัฒนา และเขตสวนหลวง 3. ผู  เ ชี่ ย วชาญด า นการตลาดผลิ ต ภั ณ ฑ เบเกอรี่คาสงและบรรจุภัณฑ จำ�นวน 3 ทาน ตัวอยางแบบสอบถาม ในประเด็นการรับรู รสชาติสอบถามโดยการใหเลือก 1 สี จากกลุมสีใน ระบบมันเซล (The Munsell Colors System) 3 กลุมสี คือกลุม สีออ น (Bright) กลุม สีปานกลาง (Vivid) และกลุม


ศึกษาและออกแบบกราฟกบนบรรจุภัณฑเพื่อสื่อรสชาติ รูปลักษณ และคุณภาพ ทิพยรัตน พำ�ขุนทด

สีเขม (Dark) ในสวนของภาพประกอบ มีลักษณะเปน เชิงเปรียบเทียบระหวางรูปภาพ 2 ภาพ (รูปภาพ 1 และ รูปภาพ 2) ประเด็นการรับรูรูปลักษณ สอบถามดวยรูปทรง บรรจุภณ ั ฑ แบบสอบถามมีลกั ษณะเปนเชิงเปรียบเทียบ

ระหวางรูปภาพ 2 ภาพ (รูปภาพ 1 และรูปภาพ 2) ประเด็นการรับรูคุณภาพของผลิตภัณฑ สอบถา มดวยขอมูลรายละเอียดบนบรรจุภัณฑ แบบสอบถาม มีลักษณะเปนเชิงเปรียบเทียบระหวางรูปภาพ 2 ภาพ (รูปภาพ 1 และรูปภาพ 2)

ภาพที่ 1. ภาพตัวอยางกลุมสีและภาพประกอบแบบสอบถามการรับรูรสชาติ

ภาพที่ 2. ภาพตัวอยางรูปทรงบรรจุภัณฑประกอบแบบสอบถามการรับรูรูปลักษณ

ภาพที่ 3. ภาพตัวอยางประกอบแบบสอบถามรับรูคุณภาพ

89


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปีที่ 32 ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2555

ประเด็นสุดทาย ความพึงพอใจดานประสิทธิผล ของกราฟกบนบรรจุภัณฑของผลิตภัณฑเบเกอรี่คาสง สอบถามดวยภาพจำ�ลองรูปแบบการจัดวางองคประกอบ

กราฟกทีแ่ ตกตางกัน ใหผตู อบแบบสอบถามเลือกระดับ ตัวเลข 1-5 ตามความคิดเห็นในประเด็นความดึงดูดใจ ความสนใจ ความชอบ และความตั้งใจซื้อ

ภาพที่ 4. ภาพตัวอยางแบบสอบถามความพึงพอใจดานประสิทธิผลของกราฟกบนบรรจุภัณฑ

ผลการวิจัย ผูวิจัยไดแบงการเสนอผลการวิเคราะหขอมูล ในแตละขั้นตอน ดังรายละเอียดตอไปนี้ 1. ผลการวิ เ คราะห ก ารศึ ก ษาลั ก ษณะของ ผลิตภัณฑ และกลยุทธการตลาดผลิตภัณฑเบเกอรีค่ า สง จากการสัมภาษณ คุณภัทราวุธ เจริญสิริภควัต ผูจัดการทั่วไปอาวุโสสายโรงงาน บริษัท ซี.พี. คาปลีก และการตลาด จำ�กัด (กิจการเบเกอรี)่ สรุปใจความสำ�คัญ ไดวา บรรจุภณ ั ฑมคี วามสำ�คัญเปนอยางมาก และมีการ ปรับเปลี่ยนรูปแบบใหมีความแปลกใหมอยูเสมอ และ เพือ่ ใหสองคลองกับพฤติกรรมทีเ่ ปลีย่ นแปลงตลอดของก ลุม ผูบ ริโภค เพราะฉนัน้ จึงตองมีทมี ออกแบบและพัฒนา รูปแบบบรรจุภณ ั ฑ ซึง่ ทำ�งานรวมกับทีมการขายและการ ตลาด แตสิ่งที่สำ�คัญที่สุดในการปรับปรุงบรรจุภัณฑจะ ขึ้นอยูกับพฤติกรรมการบริโภคของกลุมเปาหมาย ซึ่ง ครอบคลุมทัง้ ดานรูปแบบการดำ�รงชีวติ ความชอบ ความ สนใจ ลวนแตเปนสิ่งสำ�คัญในการวิจัยเพื่อการออกแบบ ผลิ ต ภั ณ ฑ เ บเกอรี่ ข องซี . พี . ที่ มี จำ � หน า ย ในรานสะดวกซื้อมี 2 ตราสินคา ไดแก เบเกอรแลนด และเลอแปง โดยเบเกอรแลนดนั้น เปนสินคาที่ ซี.พี. ผลิ ต เพื่ อ จำ � หน า ยเฉพาะในร า นเซเว น อี เ ลฟเว น เท า นั้น กลุมลูกคามีรายไดคอนขางสูง เปนกลุมผูที่ทำ�งาน ตามอาคารสำ�นักงานในยานธุรกิจตางๆ สวนเลอแปง

90

ซี.พี. ผลิตและจำ�หนายตามรานคาทั่วไป กลุมลูกคา มีรายไดปานกลาง เปนกลุมนักศึกษา จากความแตก ตางของกลุมเปาหมาย ทำ�ใหรูปแบบบรรจุภัณฑของ เบเกอรแลนดและเลอแปงตางกัน ในหนึ่งป ซี.พี. มี ผลิตภัณฑใหมมากถึง 100 ชนิด ดวยพฤติกรรมที่ ตางกันกันของผูบริโภค สินคาบางประเภทมียอดจำ� หนายสูงในกรุงเทพฯ แตกลับไมไดรับความนิยมในตาง จังหวัด เพราะเหตุนจี้ งึ สรุปไดวา ขึน้ อยูก บั พฤติกรรมของ ผูบริโภคในแตละภูมิภาค ราคาผลิตภัณฑเบเกอรี่คาสงเปนสินคาสะดวก ซื้อ เพื่อใหเขาถึงผูบริโภคไดราคาจึงไมควรสูงมาก เพราะคุณสมบัติของผลิตภัณฑคือสามารถซื้อหาไดงาย เหมาะกั บ ทุ ก เพศทุ ก วั ย และสามารถซื้ อ หามารั บ ประทานไดทุกวัน การจัดจำ�หนาย เนือ่ งจากของผลิตภัณฑเบเกอรี่ คือความใหมสด เพราะฉนัน้ รัศมีในการขนสงไมควรไกล มาก ซึ่งสามารถแกปญหาเรื่องการขนสงที่มีระยะทาง ไกลไดโดยการมีโรงงานผลิตตั้งอยูทั่วประเทศ เพื่อลด ระยะการสงมอบได ทำ�ใหสามารถกระจายสูต ลาดไดเร็ว ขึ้น การสงเสริมการตลาดที่สำ �คัญของผลิตภัณฑ เบเกอรี่คาสง คือ ตำ�แหนงสินคาในราน หรือ ณ จุดขาย ทั้ ง นี้ เ พราะบรรจุ ภั ณ ฑ จ ะเกี่ ย วข อ งกั บ การรั บ รู  ข อง


ศึกษาและออกแบบกราฟกบนบรรจุภัณฑเพื่อสื่อรสชาติ รูปลักษณ และคุณภาพ ทิพยรัตน พำ�ขุนทด

ผูบริโภค และบรรจุภัณฑนั้นจะสรางความมั่นใจแก ผูบ ริโภคได ลวนเกิดจากองคประกอบของตัวผลิตภัณฑ เบเกอรี่คาสงเอง รวมถึงการตั้งราคาสินคา ตลอดจน การโฆษณา, การประชาสั ม พั น ธ ห รื อ อื่ น ๆ ล ว นมี อิ ท ธิ พ ลทำ � ให เ กิ ด การซื้ อ ดั ง นั้ น ผู  ป ระกอบการจึ ง จำ � เป น อย า งยิ่ ง ที่ ต  อ งมี ค วามรู  เ รื่ อ งการออกแบบ บรรจุภัณฑใหมีความเหมาะสมกับผลิตภัณฑ 2. ผลการวิเคราะหการออกแบบกราฟกบน

บรรจุภัณฑ เพื่อสื่อรสชาติ รูปลักษณ และคุณภาพ ของผลิตภัณฑเบเกอรี่คาสง ผูว จิ ยั ไดแบงสวนการวิเคราะหออกไดเปน 2 สวน ดังตอไปนี้ 2.1 การศึกษาขอมูลพฤติกรรมการบริโภค และปจจัยดานองคประกอบกราฟกที่คาดวาจะสงผลตอ การรับรูรสชาติ รูปลักษณ และคุณภาพของผลิตภัณฑ เบเกอรี่คาสง

ตารางที่ 1. ขอมูลทั่วไปของผูบริโภคผลิตภัณฑเบเกอรี่ รายการ เพศ อายุ

ระดับการศึกษา สูงสุด

รายได้เฉลี่ย ต่อเดือน

ความถี่

รอยละ

ชาย

120

48.80

หญิง

126

51.20

9

3.70

19 - 22 ป

103

41.90

23 - 28 ป

96

39.00

29 ปขึ้นไป

38

15.40

ต่ำ�กวาหรือเทียบเทามัธยมศึกษาตอนตน

8

3.30

มัธยมศึกษาตอนปลาย/ปวช.

31

12.60

อนุปริญญา/ปวส.

45

18.30

ปริญญาตรี

129

52.40

สูงกวาปริญญาตรี

31

12.60

อื่นๆ

2

0.80

ต่ำ�กว่า 5,000 บาท

7

2.85

5,001 – 10,000 บาท

80

32.50

10,001 – 15,000 บาท

64

26.00

15,001 – 20,000 บาท

52

21.10

20,001 – 25,000 บาท

27

11.00

25,001 บาทขึ้นไป

16

6.55

รวม

246

100

ต่ำ�กวา 18 ป

91


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปีที่ 32 ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2555

จากตารางที่ 1. แสดงให เ ห็ น ว า ผู  บ ริ โ ภค สวนใหญเปนเพศหญิง จำ�นวน 126 คน คิดเปนรอยละ 51.20 และเพศชาย จำ�นวน 120 คิดเปนรอยละ 48.80 สวนใหญมอี ายุระหวาง 19 – 22 ป จำ�นวน 103 คน คิดเปน รอยละ 41.90 รองลงมามีอายุระหวาง 23-28 ป จำ�นวน 96 คน คิดเปนรอยละ 39.00 รองลงมามีอายุ 29 ป ขึ้นไป จำ�นวน 38 คน คิดเปนรอยละ 15.40 สวนใหญมี การศึกษาสูงสุดอยูในระดับปริญญาตรี จำ�นวน 129 คน คิดเปนรอยละ 52.40 รองลงมามีการศึกษาสูงสุดอยูใน ระดับอนุปริญญา/ปวส. จำ�นวน 45 คน คิดเปนรอยละ

18.30 รองลงมามีการศึกษาสูงสุดอยูในระดับมัธยม ศึกษาตอนปลาย/ปวช. จำ�นวน 31 คน คิดเปนรอยละ 12.60 และสูงกวาปริญญาตรี จำ�นวน 31 คน คิดเปน รอยละ 12.60 สวนใหญมีรายไดเฉลี่ยตอเดือนอยูใน ระดับ 5,001 - 10,000 บาท จำ�นวน 80 คน คิดเปน รอยละ 32.50 รองลงมามีรายไดเฉลี่ยตอเดือนอยูใน ระดับ 10,001-15,000 บาท จำ�นวน 64 คน คิดเปน รอยละ 26.00 รองลงมามีรายไดเฉลี่ยตอเดือนอยูใน ระดับ 15,001-20,000 บาท จำ�นวน 52 คน คิดเปน รอยละ 21.10

ตารางที่ 2. ความถี่ในการบริโภค/สัปดาห รายการ

ความถี่

รอยละ

1 ครั้ง

30

12.20

2-4 ครั้ง

158

64.20

5-7 ครั้ง

45

18.30

มากกวา 7 ครั้ง

13

5.30

246

100

รวม จากตารางที่ 2. แสดงให เ ห็ น ว า ผู  บ ริ โ ภค สวนใหญจ�ำ นวน 158 คน มีความถีใ่ นการบริโภค/สัปดาห 2-4 ครั้ง คิดเปนรอยละ 64.20 รองลงมา จำ�นวน 45 คน

มีการบริโภค/สัปดาห 5-7 ครั้ง คิดเปนรอยละ 18.30 รองลงมา จำ�นวน 30 คน มีการบริโภค/สัปดาห 1 ครั้ง คิดเปนรอยละ 12.20

ตารางที่ 3. ประเภทของผลิตภัณฑเบเกอรี่ที่รูปลักษณเปนปจจัยสำ�คัญในการเลือกซื้อ รายการ

ความถี่

รอยละ

ขนมปงแซนวิชหรือขนมปงปอนด

39

15.90

ขนมปงทาหนา

46

18.70

ขนมปงบันนสอดไส

22

8.90

ขนมปงหวานไมมีไส

14

5.70

แซนวิชสอดไส

32

13.00

เคกชิ้นและโรล

93

37.80

246

100

รวม

92


ศึกษาและออกแบบกราฟกบนบรรจุภัณฑเพื่อสื่อรสชาติ รูปลักษณ และคุณภาพ ทิพยรัตน พำ�ขุนทด

จากตารางที่ 3. แสดงให เ ห็ น ว า ผู  บ ริ โ ภค สวนใหญ จำ�นวน 93 คน มีความเห็นวาผลิตภัณฑ เบเกอรี่ ที่ รู ป ลั ก ษณ เ ป น ป จ จั ย สำ � คั ญ ในการเลื อ กซื้ อ คือเคกชิ้นและโรล คิดเปนรอยละ 37.80 รองลงมา

จำ�นวน 46 คน คือขนมปงทาหนา คิดเปนรอยละ 18.70 รองลงมา จำ�นวน 39 คน คือขนมปงแซนวิชหรือ ขนมปงปอนด คิดเปนรอยละ 15.90

ตารางที่ 4. ความเห็นของผูบริโภคที่มีตอบรรจุภัณฑในการเลือกซื้อ รายการ บรรจุภัณฑสามารถดึงดูดความสนใจของทานได

สีของบรรจุภัณฑทำ�ใหทานมองหาผลิตภัณฑที่ตองการไดเร็วขึ้น

สีของบรรจุภัณฑทำ�ใหทานคาดเดาได ถึงรสชาติของ ผลิตภัณฑเบเกอรี่ รวม

จากตารางที่ 4. แสดงให เ ห็ น ว า ผู  บ ริ โ ภค สวนใหญ จำ�นวน 209 คน เห็นดวยวาบรรจุภัณฑ ดึงดูดความสนใจ คิดเปนรอยละ 85.00 รองลงมา จำ�นวน 34 คน เฉยๆ วาบรรจุภัณฑดึงดูดความสนใจ คิ ด เป น ร อ ยละ 13.80 รองลงมา จำ � นวน 3 คน ไมเห็นดวย วาบรรจุภัณฑดึงดูดความสนใจ คิดเปน รอยละ 1.20 สวนใหญ จำ�นวน 209 คน เห็นดวยวา สี ข องบรรจุ ภั ณ ฑ ทำ � ให ม องหาผลิ ต ภั ณ ฑ ไ ด เ ร็ ว ขึ้ น คิดเปนรอยละ 85.00 รองลงมา จำ�นวน 36 คน เฉยๆ วาสีของบรรจุภัณฑทำ�ใหมองหาผลิตภัณฑไดเร็วขึ้น

ความถี่

รอยละ

เห็นดวย

209

85.00

เฉยๆ

34

13.80

ไมเห็นดวย

3

1.20

เห็นดวย

209

85.00

เฉยๆ

36

14.60

ไมเห็นดวย

1

0.40

เห็นดวย

157

63.80

เฉยๆ

73

29.70

ไมเห็นดวย

16

6.50

246

100

คิดเปนรอยละ 14.60 รองลงมา จำ�นวน 1 คน ไมเห็นดวย ว า ของบรรจุ ภั ณ ฑ ทำ � ให ม องหาผลิ ต ภั ณ ฑ ไ ด เ ร็ ว ขึ้ น คิดเปนรอยละ 0.40 สวนใหญ จำ�นวน 157 คน เห็น ด ว ยว า สี ข องบรรจุ ภั ณ ฑ ทำ � ให ค าดเดารสชาติ ข อง ผลิตภัณฑเบเกอรี่ได คิดเปนรอยละ 63.80 รองลงมา จำ�นวน 73 คน เฉยๆ วาสีของบรรจุภณ ั ฑ ทำ�ใหคาดเดา รสชาติ ข องผลิ ต ภั ณ ฑ เ บเกอรี่ ไ ด คิ ด เป น ร อ ยละ 29.70 รองลงมา จำ�นวน 16 คน ไมเห็นดวย วาสีของ บรรจุภัณฑทำ�ใหคาดเดารสชาติของผลิตภัณฑเบเกอรี่ ได คิดเปนรอยละ 6.50

93


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปีที่ 32 ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2555

ตารางที่ 5. ปจจัยที่มีผลตอการตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑเบเกอรี่ รายการ มีภาพถาย ภาพวาดหรือลวดลายบนบรรจุภัณฑ มีบริเวณโปรงใส มองเห็นผลิตภัณฑ บอกขอมูลสวนประกอบของผลิตภัณฑชัดเจน สีสัน สดใสสะดุดตา มีเครื่องหมายรับรองคุณภาพของผลิตภัณฑ บอกคุณคาทางโภชนาการ อื่นๆ รวม

จากตารางที่ 5. แสดงใหเห็นวาเหตุผลในตัว บรรจุ ภั ณ ฑ ที่ ผู  บ ริ โ ภคส ว นใหญ จำ � นวน 144 คน ตั ด สิ น ใจเลื อ กซื้ อ ผลิ ต ภั ณ ฑ เ บเกอรี่ ที่ บ อกข อ มู ล ส ว นประกอบของผลิ ต ภั ณ ฑ ชั ด เจน คิ ด เป น ร อ ยละ 16.94 รองลงมา จำ�นวน 133 คน ตัดสินใจเลือกซื้อ

ความถี่ 133 128 144 105 93 88 12

รอยละ 19.76 19.02 16.94 15.60 13.81 13.07 1.80

246

100

ผลิตภัณฑเบเกอรี่ที่มีภาพถายภาพวาดหรือลวดลาย บนบรรจุภัณฑ คิดเปนรอยละ 19.76 รองลงมา จำ�นวน 128 คน ตั ด สิ น ใจเลื อ กซื้ อ ผลิ ต ภั ณ ฑ เ บเกอรี่ ที่ มี บริเวณโปรงใสมองเห็นผลิตภัณฑ คิดเปนรอยละ 19.02

ตารางที่ 6. องคประกอบกราฟกที่มีผลตอการรับรูประเด็นดานรสชาติ รูปลักษณ และคุณภาพ โทนสีพื้นหลัง

รูปภาพ รูปทรงบรรจุภัณฑ ขอมูลสวนประกอบ ขอมูลโภชนาการ สัญลักษณทางโภชนาการจีดีเอ ขอแนะนำ�ในการเก็บและบริโภค

94

รายการ โทนสีออน (Bright) โทนสีปานกลาง (Vivid) โทนสีเขม (Dark) ภาพเสมือนจริง

ความถี่ 63 124 59 175

รอยละ 31.95 45.50 22.55 71.14

ภาพกราฟก

71

28.86

รูปทรงเรขาคณิต รูปทรงอิสระ บอกสวนเฉพาะประกอบที่สำ�คัญ บอกสวนประกอบที่สำ�คัญและสวนผสมที่อาจทำ�ใหแพ ขอมูลโภชนาการแบบเต็ม ขอมูลโภชนาการแบบยอ แสดงขอมูลเพียงบางสวน แสดงขอมูลตามรูปแบบ Thai FDA บอกขอแนะนำ�ดวยตัวอักษร บอกขอแนะนำ�ดวยภาพและตัวอักษร รวม

76 170 107 139 198 48 53 193 97 149 246

30.90 69.10 43.50 56.50 80.50 19.50 21.50 78.50 39.40 60.60 100


ศึกษาและออกแบบกราฟกบนบรรจุภัณฑเพื่อสื่อรสชาติ รูปลักษณ และคุณภาพ ทิพยรัตน พำ�ขุนทด

จากตารางที่ 6. จากผลการศึกษาวิจัยพบวาสีที่ ผูบริโภคสวนใหญ จำ�นวน 124 คน เลือกโทนสีพื้นหลัง ปานกลาง คิดเปนรอยละ 45.50 รองลงมา จำ�นวน 63 คน เลือกโทนสีพื้นหลังออน คิดเปนรอยละ 31.95 รองลงมา จำ�นวน 59 คน เลือกโทนสีพนื้ หลังเขม คิดเปน รอยละ 22.55 ผูบริโภคสวนใหญ จำ�นวน 175 คน เลือกรูปภาพเปนภาพเสมือนจริง คิดเปนรอยละ 71.14 รองลงมา จำ�นวน 71 คน เลือกรูปภาพเปนภาพกราฟก คิดเปนรอยละ 28.86 ผูบริโภคสวนใหญ จำ�นวน 170 คน เลือกรูปทรงบรรจุภัณฑเปนรูปทรงอิสระ คิดเปน รอยละ 69.10 รองลงมา จำ�นวน 76 คน เลือกรูปทรง บรรจุภัณฑเปนรูปทรงเรขาคณิต คิดเปนรอยละ 30.90 ผูบริโภคสวนใหญ จำ�นวน 139 คน เลือกขอมูลสวน ประกอบ แบบบอกสวนประกอบที่สำ�คัญและสวนผสม ที่ อ าจทำ � ให แ พ คิ ด เป น ร อ ยละ 56.50 รองลงมา จำ�นวน 107 คน เลือกขอมูลสวนประกอบ แบบบอก

สวนประกอบที่สำ�คัญ คิดเปนรอยละ 43.50 ผูบริโภค สวนใหญ จำ�นวน 198 คน เลือกขอมูลโภชนาการ แบบเต็ม คิดเปนรอยละ 80.50 จำ�นวน 48 คน เลือก ข อ มู ล โภชนาการแบบย อ คิ ด เป น ร อ ยละ 19.50 ผูบริโภคสวนใหญ จำ�นวน 193 คน เลือกสัญลักษณ ทางโภชนาจี ดี เ อ (คื อ การแสดงสั ญ ลั ก ษณ ท าง โภชนาการเพิ่ ม เติ ม จากการแสดงฉลากโภชนาการ โดยแสดงในรูปแบบเปนคาพลังงาน ไขมัน น้ำ�ตาล และโซเดียม) แบบแสดงขอมูลตามรูปแบบ Thai FDA คิดเปนรอยละ 78.50 รองลงมา จำ�นวน 53 คน เลือก สั ญ ลั ก ษณ ท างโภชนาการจี ดี เ อ แบบแสดงข อ มู ล เพียงบางสวน คิดเปนรอยละ 21.50 ผูบริโภคสวนใหญ จำ � นวน 149 คน เลื อ กข อ แนะนำ � ในการเก็ บ และ บริ โ ภค แบบบอกข อ แนะนำ � ด ว ยภาพและตั ว อั ก ษร คิดเปนรอยละ 60.60 รองลงมา จำ�นวน 97 คน เลือก ข อ แนะนำ � ในการเก็ บ และบริ โ ภค แบบบอกข อ แนะ นำ�ดวยตัวอักษร คิดเปนรอยละ 39.40

ตารางที่ 7. ประสิทธิผลของการออกแบบกราฟกบนบรรจุภัณฑที่มีตอผูบริโภค ประสิทธิผลของกราฟก บนบรรจุภัณฑดานตางๆ

xˉ ความดึงดูดใจ ความสนใจ ความชอบ ความตั้งใจซื้อ รวม ประสิทธิผลของกราฟก บนบรรจุภัณฑดานตางๆ ความดึงดูดใจ ความสนใจ ความชอบ ความตั้งใจซื้อ รวม

4.16 3.94 3.95 3.89 3.96

xˉ 3.62 3.46 3.41 3.41 3.48

ความพึงพอใจของผูบริโภค แนวทางที่ 1 แนวทางที่ 2 xˉ SD ระดับความ SD ระดับความ พึงพอใจ พึงพอใจ 0.87 มาก 3.11 1.03 ปานกลาง 0.87 มาก 2.78 0.98 ปานกลาง 0.93 มาก 2.65 0.96 ปานกลาง 0.97 มาก 2.60 1.03 นอย 0.91 มาก 2.79 1.00 ปานกลาง แนวทางที่ 3 แนวทางที่ 4 xˉ SD ระดับความ SD ระดับความ พึงพอใจ พึงพอใจ 1.08 มาก 3.09 1.12 ปานกลาง 0.97 มาก 2.90 1.12 ปานกลาง 1.09 มาก 2.78 1.12 ปานกลาง 1.09 มาก 2.71 1.07 ปานกลาง 1.06 มาก 2.87 1.11 ปานกลาง

95


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปีที่ 32 ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2555

จากตารางที่ 7. จากผลการศึกษาวิจัยพบวา สวนใหญ ผูบ ริโภคมีความพึงพอใจ แนวทางที่ 1 คิดเปน รอยละ 3.96 รองลงมา ผูบ ริโภคมีความพึงพอใจ แนวทาง ที่ 2 คิดเปนรอยละ 3.48 รองลงมา ผูบริโภคมีความ พึงพอใจ แนวทางที่ 4 คิดเปนรอยละ 2.87 2.2 การออกแบบกราฟ ก เพื่ อ สื่ อ รสชาติ ​ รูปลักษณ และคุณภาพของผลิตภัณฑเบเกอรี่คาสง ผลการศึกษาขอมูลพฤติกรรมการบริโภคและ ปจจัยดานองคประกอบกราฟกที่คาดวาจะสงผลตอ การรับรูรสชาติ รูปลักษณ และคุณภาพของผลิตภัณฑ เบเกอรีค่ า สง ผูว จิ ยั สามารถสรุปแนวทางการออกแบบได ดังนี้ โทนสีของบรรจุภัณฑ คือกลุมสีปานกลาง เนนใช สีที่สดใส ภาพประกอบดานหนาบรรจุภัณฑใชภาพถาย สวนภาพกราฟกใชตกแตงเปนลวดลายบนบรรจุภัณฑ รูปทรงของบรรจุภัณฑเปนรูปทรงอิสระ ไมมีลักษณะที่ ตายตัว อาจใชรปู แบบของการบรรจุดว ยมือ ใหมลี กั ษณะ คลายผลิตภัณฑเบเกอรีท่ �ำ เองทีบ่ า น ประเด็นเนือ้ หาควร บอกสวนประกอบที่สำ�คัญและสวนผสมที่อาจทำ�ใหแพ แสดงขอมูลโภชนาการแบบเต็มรูปแบบ ควรมีการแสดง สัญลักษณทางโภชนาการแบบจีดีเอ และขอแนะนำ�ใน การเก็บรักษาควรใชภาพกราฟกทีม่ ขี อ ความอธิบายภาพ ดานรูปแบบการจัดหนาและการวางตำ�แหนงตัวอักษร ควรจัดหนาแนวตัง้ และบอกชือ่ รสชาติ 1 ครัง้ วางดานบน และมีบริเวณเจาะชองใหมองเห็นตัวผลิตภัณฑที่อยู ภายใน อภิปรายและสรุปผล ผลจากการศึกษาพบวา ผูบริโภคสวนใหญเปน เพศหญิง มีอายุระหวาง 19-22 ป เปนชายจำ�นวน 120 คน และหญิงจำ�นวน 126 คน การศึกษาสูงสุดอยูใน 

96



ระดับปริญญาตรี และมีรายไดเฉลีย่ ตอเดือนสูงสุดใระดับ 5,001 – 10,000 บาท สวนใหญมีความถี่ในการบริโภค/ สัปดาห 2-4 ครั้ง อีกทั้งผูบริโภคสวนใหญมีความเห็น ว า เค ก ชิ้ น เป น ผลิ ต ภั ณ ฑ ป ระเภทที่ รู ป ลั ก ษณ เ ป น ปจจัยสำ�คัญในการเลือกซื้อ โดยสวนใหญเห็นดวยวา บรรจุภัณฑดึงดูดความสนใจได ทำ�ใหมองหาผลิตภัณฑ ที่ตองการไดเร็วขึ้น และชวยใหคาดเดาไดถึงรสชาติ ของผลิตภัณฑ และผูบริโภคสวนใหญตัดสินใจเลือกซื้อ ผลิ ต ภั ณ ฑ เ บเกอรี่ จ ากบรรจุ ภั ณ ฑ ที่ มี ภ าพถ า ย ภาพวาด และลวดลายบนบรรจุภัณฑ รองลงมาคือมี บริเวณโปรงใสมองเห็นผลิตภัณฑ และบอกขอมูลสวน ประกอบของผลิ ต ภั ณ ฑ ชั ด เจน ประเด็ น การศึ ก ษา ป จ จั ย ที่ ค าดว า จะมี ผ ลต อ การรั บ รู  ใ นประเด็ น ต า งๆ อาทิเชน โทนสีส�ำ หรับพืน้ หลัง รูปภาพประกอบ รูปทรง บรรจุภัณฑ การใหขอมูลรายละเอียดบนบรรจุภัณฑ และรูปแบบการจัดวางองคประกอบ จากผลสรุปขางตน (ขอ 2.2) สามารถนำ�ไปสูการเสนอแนะแนวทางการ ออกแบบกราฟกบนบรรจุภณ ั ฑเพือ่ สือ่ รสชาติ รูปลักษณ และคุณภาพของผลิตภัณฑได และเนื่องดวยงานวิจัยนี้ เปนบางสวนของการศึกษา และผลการศึกษายังไม สมบูรณ ผลการวิจัยจึงเปนเพียงการเสนอแนะแนว ทางออกแบบกราฟ ก บนบรรจุ ภั ณ ฑ เ พื่ อ สื่ อ รสชาติ รูปลักษณ และคุณภาพของผลิตภัณฑ โดยการสรุป และวิ เ คราะห ข  อ มู ล จากการสั ม ภาษณ ผู  เ ชี่ ย วชาญ การสำ � รวจบรรจุ ภั ณ ฑ และการเก็ บ รวบรวมข อ มู ล แบบสอบถาม ดังนัน้ ในงานวิจยั นี้ ผูว จิ ยั จึงตองนำ�ขอมูล ที่ไดไปใชเปนแนวทางการออกแบบและนำ�ไปประเมิน การรับรูและความพึงพอใจของผูบริโภคที่มีตอกราฟก บนบรรจุภณ ั ฑผลิตภัณฑเบเกอรีค่ า สงเปนขัน้ ตอนตอไป




ศึกษาและออกแบบกราฟกบนบรรจุภัณฑเพื่อสื่อรสชาติ รูปลักษณ และคุณภาพ ทิพยรัตน พำ�ขุนทด

เอกสารอางอิง จิตราพร ลีละวัฒน. ( 2548). การศึกษาปจจัยความสำ�เร็จในการออกแบบบรรจุภัณฑที่มีผลตอการตัดสินใจ ซื้อผลิตภัณฑอาหาร: กรณีศึกษา ประเภทธุรกิจขนาดกลางและขนาดยอม (SMEs). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีปทุม. นิพนธ โพธิพ์ ฒ ั นชัย. (2551). อย.ติวเขม! เบเกอรีตดิ ฉลากขนมใน 6 เดือน. [ออนไลน]. สืบคนเมือ่ 1 พฤษภาคม 2553. จาก http://www.manager.co.th. มหิศรา อรุณสวัสดิ.์ (2545). การใชสบี นบรรจุภณ ั ฑเพือ่ สือ่ รสชาติอาหารขบเคีย้ ววัยรุน . วิทยานิพนธ ศิลปกรรม ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานฤมิตศิลป จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย. ศักดา บุญยืด. (2545). ปจจัยดานกราฟกบนซองบรรจุภัณฑที่สงผลตอความเขาใจในรสชาติของบะหมี่ กึ่งสำ�เร็จรูป. รวมบทความและรายงานการวิ จั ย ศาสตร แ ห ง การออกแบบ. กรุ ง เทพฯ: โรงพิ ม พ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย. สรินยา วิมขุ ตะลพ. (2553). แนวทางการออกแบบและพัฒนาเอกลักษณรา นเบเกอรีโ่ ฮมเมด : กรณีศกึ ษาในศูนยการคา แบบไลฟสไตล มอลล. Veridian E – Journal, Silpakorn University 3 (1). [ออนไลน]. สืบคนเมื่อ 1 ธันวาคม 2553. จาก http://www2.graduate.su.ac.th/ejournal/images/3/3_a6.pdf. ศูนยวิจัยกสิกรไทย. (2551). ผลิตภัณฑเบเกอรี่ปเติบโตอยางตอเนื่อง ป 2550. [ออนไลน]. สืบคนเมื่อ 19 พฤษภาคม 2553. จาก http://www.kasikornresearch.com.

97



โครงการออกแบบเครื่องเรือนรับแขกภายใตแนวคิดจิตรกรรมฝาผนังไทย Living Room Furniture Design Through the Concept of Traditional Thai Mural Paintings นภดล สังวาลเพ็ชร 1 Noppadol Sangwalpetch บทคัดยอ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงคเพื่อศึกษารูปแบบ ภูมิปญญา และแนวคิดในการสรางสรรคงานจิตรกรรมฝาผนัง ของไทยเพื่อใชเปนแนวทางในการออกแบบเครื่องเรือนรับแขก โดยใชวิธีการสัมภาษณ จากชางผูเชี่ยวชาญดาน งานจิตรกรรมฝาผนังไทยสกุลชางเพชรบุรี จำ�นวน 30 ทาน เนนศึกษาถึง คุณลักษณะ คุณคา และคุณสมบัติของ งานจิตรกรรมฝาผนังวัดใหญสุวรรณาราม จังหวัดเพชรบุรี พบวาเรื่องราวเทพชุมนุม เปนเรื่องราวที่สามารถสะทอน คุณลักษณะทีเ่ ปนเอกลักษณของงานจิตรกรรมฝาผนัง วัดใหญสวุ รรณารามไดอยางชัดเจนทีส่ ดุ ซึง่ เรือ่ งราวเทพชุมนุม มีองคประกอบศิลปที่โดดเดนไดแก เสนสินเทา สี ประกอบดวย พื้นขาว 50% สีแดงชาด 25% สีทอง (ทองคำ�เปลว) 15% และเขียวหมน 10% นอกจากนีย้ งั ประกอบดวยลวดลายอีก 3 ลักษณะ ไดแก ลายไทย ลายไทยเลียนแบบธรรมชาติ และลายธรรมชาติ ประกอบกับลักษณะของแสงที่สองเขามาจากชองประตูทั้ง 5 บาน ซึ่งองคประกอบศิลปเหลานี้ สามารถนำ�มาประยุกตเปนแนวทางในการออกแบบเครื่ อ งเรื อ นรั บ แขกเพื่ อ สะท อ นถึ ง คุณ ค า ทางด า นอารมณ ความรูสึก 2 รูปแบบดวยกัน คือ ความสงางามภูมิฐาน และนาเลื่อมใสศรัทธา อีกทั้งยังสามารถนำ�มาปรับปรุงให เกิดประโยชนในการใชสอยเพื่อกิจกรรมในการรับแขกรูปแบบอื่นๆ ไดอยางลงตัว คำ�สำ�คัญ: 1. การออกแบบเครื่องเรือนรับแขก. 2. เครื่องเรือนรับแขก. 3. จิตกรรมฝาผนังไทย.

__________________

1

นักศึกษาสาขาวิชาการออกแบบผลิตภัณฑ ระดับปริญญามหาบัณฑิต คณะมัณฑนศิลป มหาวิทยาลัยศิลปากร


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปีที่ 32 ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2555

Abstract The purpose of this research is to study the style, wisdom and rationale of the creation of Thai mural paintings with an aim to use the results as a guideline to designing living room furniture. It was conducted through interviews with 30 Thai mural painting experts from a Petchaburi local arts clan, focusing on the style, value and characteristics of the mural painting work in Wat Yai Suwannaram at Phetchaburi. It was found that the Tepchumnum is the story that can most clearly reflect the identity of Wat Yai Suwannaram Phetchaburi mural painting style. One of the outstanding elements of art from the Tepchumnum is Sintao line, consisting of 50 percent of white in the background, 25 percent of vermilion red, 15 percent of gold from gold leaves, and 10 percent of dim green. Other outstanding elements include three particular patterns: Thai pattern; Thai pattern imitating nature; and rational pattern which interacts with the sun light that shines through the five doorways. All of these elements are able to be applied to design living room furniture that articulates two types of emotional values: dignified elegance and faithfulness. This can be taken further to develop the usefulness of the functionality of other living room activities. Keywords: 1. Living Room Furniture Design. 2. Living Room Furniture. 3. Traditional Thai Mural Paintings.

100


โครงการออกแบบเครื่องเรือนรับแขกภายใตแนวคิดจิตรกรรมฝาผนังไทย นภดล สังวาลเพ็ชร

บทนำ� ในยุคที่เทคโนโลยีเขามามีบทบาทแทนที่การ ผลิตดวยแรงงานมนุษยแบบเดิม สงผลใหสินคาที่ออก สูต ลาดมีคณ ุ ภาพ รูปรางลักษณะคลายคลึงกัน ผูผ ลิตจึง เกิดการตื่นตัวในการสรางกลยุทธการผลิตใหเกิดความ โดดเดน มีเอกลักษณเฉพาะตัวเพื่อสรางความแตกตาง ความนาสนใจใหกบั ผลิตภัณฑ ภายใตแนวคิด เศรษฐกิจ สรางสรรค ซึ่งเปนการนำ�เทคโนโลยีมาผนวกเขากับ คุ ณ ลั ก ษณะเด น จากพื้ น ฐานที่ มี อ ยู  อั น เกิ ด จาก สิ่งแวดลอม ทักษะ และศิลปวัฒนธรรม ซึ่งถือเปน ภูมิรูภูมิปญญาอันเปนรากฐานสำ�คัญในการพัฒนา และ ยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ อีกทั้งเปนการสรางมูลคา จากคุณคาทางวัฒนธรรม เพื่อตอบสนองความตองการ ของผูบริโภค (อภิสิทธิ์ ไลสัตรูไกล 2553 : 5) ศิ ล ปวั ฒ นธรรมจึ ง ถื อ เป น สิ่ ง พิ เ ศษที่ มี คุ ณ ค า สามารถนำ�มาสรางมูลคา เพื่อตอบสนองความตองการ ของผูบริโภคในปจจุบันไดเปนอยางดี เพราะยิ่งความ เจริ ญ ทางวั ต ถุ ข องโลกก า วหน า มากเพี ย งใดความ ต อ งการในการแสดงออกถึ ง ความเป น มนุ ษ ย จ ะยิ่ ง เพิ่มพูนขึ้น ซึ่งสิ่งที่จะแสดงออกถึงความเปนมนุษย ไดดที สี่ ดุ อยางหนึง่ ในชีวติ ประจำ�วันคือ การบริโภคสินคา ที่เกิดจากภูมิปญญาหรือทักษะของมนุษยดวยกันเอง (ศิริอร หริ่มปราณี 2553 : 15) จิตรกรรมฝาผนังนับไดวาเปนภูมิปญญาหนึ่งที่ เปนมรดกทางวัฒนธรรมประจำ�ชาติ ที่มีมาตั้งแตอดีต สรางสรรคสืบตอกันมาจนไดเอกลักษณประจำ�ชาติที่มี รูปแบบตามอุดมคติที่แสดงออกทางความคิดผานการ เขียนเสน สี รูปทรง การจัดองคประกอบ และเรื่องราว เปนศิลปะที่มีความวิจิตรงดงาม ประณีตละเอียดออน แฝงไวดวยอารมณและความรูสึกอยางลึกซึ้ง ลักษณะ จิ ต รกรรมฝาผนั ง เป น ภาพเขี ย นระบายสี แ บนเรี ย บ ตัดเสนเปนภาพสองมิติที่ใหความรูสึกเพียงดานกวาง และดานยาวเทานั้น ลักษณะพิเศษอีกอยางหนึ่งคือ การจัดวางภาพเปนแบบเลาเรือ่ งเปนตอนๆ ใชสนี มุ นวล ออนหวาน อันเปนเอกลักษณของจิตรกรรมไทย (สมชาติ มณีโชติ 2529 : 1) เมือ่ ประมวลคุณคาของงานจิตรกรรมฝาผนังไทย จะเห็นไดวามีลักษณะของความงามผาน เสน สี และ

ลวดลาย ที่สามารถโนมนาวใหเกิดความเชื่อ ความ รู  สึ ก เลื่ อ มใสศรั ท ธาเป น สำ � คั ญ นอกจากคุ ณ ค า ทาง ดานความงามแบบจิตรกรรมแลว ภาพจิตรกรรมฝาผนัง ยังมีคุณคาทางประวัติศาสตร และโบราณคดีซึ่งเปน คุ ณ ค า พิ เ ศษ เพราะนอกจากวั ต ถุ ป ระสงค เ พื่ อ การ ตกแตงแลว ยังแฝงไวดวยคติ แนวคิด ซึ่งขึ้นอยูกับ วั ต ถุ ป ระสงค ข องตั ว อาคารที่ ส ร า งขึ้ น ด ว ย ดั ง เช น ภายในโบสถวิหารตองใหความรูสึกอันกอใหเกิดอาการ สำ�รวม จิตรกรรมภายในโบสถวิหารจึงควรใหความรูสึก สงบ เพื่อชวยใหนอมจิตไปในทางกุศล นอกจากนี้ภาพ จิตรกรรมฝาผนังยังเปนภาพทีแ่ สดงเรือ่ งราวอันเปนจริง ตามจารีตประเพณี และระเบียบแบบแผนที่มีอยูในอดีต ด ว ยเหตุ นี้ ภ าพจิ ต รกรรมฝาผนั ง จึ ง เป น ของมี ค  า ใน การศึกษาคนควาทางประวัติศาสตรไดเปนอยางดี อนึ่ง โดยอาศัยภาพจิตรกรรมเหลานี้อาจศึกษาความเปนอยู ของประเทศไทยตั้งแตชีวิตของเจานายในราชสำ�นัก จนถึงความเปนอยูต ลอดจนภูมปิ ญ  ญาของชาวไรชาวนา ไดเปนอยางดีอีกดวย (วิบูลย ลี้สุวรรณ 2546 : 29) โดยเฉพาะภูมปิ ญ  ญาทีใ่ ชในการสรางสรรคงานตลอดจน อุปกรณทใี่ ชสรางสรรคภาพจิตรกรรมฝาผนัง ซึง่ ลวนถูก ประดิษฐขนึ้ มาจากวัสดุธรรมชาติ อาทิเชนพูกนั ทีไ่ ดจาก ขนหูวัว เปลือกไม รากไม ดินสอจากดิน ยางไมสำ�หรับ ผสมสี (สมชาติ มณีโชติ 2529 : 39) ตลอดจนการ เตรียมพื้นผนังที่ตองใชความละเอียดออนและความ ประณีตพิถพี ถิ นั เปนอยางมากเพือ่ ใหภาพเหลานัน้ คงทน ถาวรอยูตลอดไป สิ่งเหลานี้นับเปนภูมิปญญาที่มีคุณคา สามารถแสดงออกซึ่งอัตลักษณความเปนไทยไดอยาง ชัดเจน (ประยูร อุลุชาฎะ 2550 : 99) ป จ จุ บั น จิ ต รกรรมแนวประเพณี ไ ด รั บ ความ นิยมมากในการประดับตกแตงอาคาร ที่เกี่ยวของกับ ชาวต า งชาติ งานประดั บ อาคารทั น สมั ย เหล า นี้ ใ ช แนวทางของงานศิลปกรรมไทยโบราณมาประยุกตใช การลงทุน และการแขงขันทางดานธุรกิจมีสว นทำ�ใหเกิด การเรงผลิตจิตรกรรมแนวประเพณีไทยเปนอุตสาหกรรม (สันติ เล็กสุขุม 2542 : 193) อยางไรก็ตาม รูปแบบ แนวคิด และภูมปิ ญ  ญาจากงานจิตรกรรมฝาผนังลวนเปน คุณลักษณะพิเศษที่มีคุณคาสามารถนำ�มาเพิ่มคุณคา ใหกับผลิตภัณฑซึ่งเปนที่ตองการของสังคมความเปน

101


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปีที่ 32 ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2555

มนุ ษ ย ใ นป จ จุ บั น และอนาคต ด ว ยการหล อ หลอม รูปแบบที่มีคุณลักษณะเฉพาะตัว คุณสมบัติของวัสดุ และภูมิปญญาในกระบวนการสรางสรรคงาน รวมถึง คติแนวคิดในงานจิตรกรรมฝาผนังไทย มาผนวกเขากับ เทคโนโลยีกระบวนการผลิตสมัยใหม เพื่อเปนแนวทาง ในการออกแบบเครื่องเรือนรับแขกที่ตองการคุณคา ดานความสงางามภูมิฐาน นาเลื่อมใสศรัทธา อีกทั้งเปน การยกระดั บ เครื่ อ งเรื อ นที่ ส ามารถแสดงความเป น ตั ว ตน และคุ ณ ค า ความเป น ไทยแฝงไปกั บ วิ ถี ชี วิ ต สมัยใหมไดอยางลงตัว วัตถุประสงค ศึกษารูปแบบ ภูมปิ ญ  ญา แนวคิดในการสรางสรรค งานจิตรกรรมฝาผนังของไทย เพือ่ ใชเปนแนวทางในการ ออกแบบเครื่องเรือนรับแขก ขอบเขตของการศึกษา ศึกษาคนควาขอมูลเกี่ยวกับรูปแบบ ภูมิปญญา และแนวคิ ด ในการสร า งสรรค ง านจิ ต รกรรมฝาผนั ง สกุลชางเพชรบุรี (วัดใหญสวุ รรณาราม จังหวัดเพชรบุร)ี เพื่ อ นำ � มาเป น แนวทางในการออกแบบเครื่ อ งเรื อ น รับแขก กรอบแนวคิดและทฤษฎี - คุ ณ ลั ก ษณะ (เส น สี เรื่ อ งราว การจั ด องคประกอบในงานจิตรกรรมฝาผนังไทย) - คุณสมบัติ (ประโยชนในงานจิตรกรรมฝาผนัง) - คุณคา (ความงาม เรื่องราว และภูมิปญญาใน งานจิตรกรรมฝาผนังไทย) ประโยชนที่คาดวาจะไดรับ เกิดความรูความเขาใจถึงรูปแบบ ภูมิปญญา แนวคิ ด ในการสร า งสรรค ง านจิ ต รกรรมฝาผนั ง ไทย และไดแนวทางในการออกแบบเครื่องเรือนที่ใหทั้งดาน การใชสอยและยังแฝงไปดวยคุณคาจากรากฐานความ เปนไทย สามารถใชเปนเครือ่ งศึกษาถึงคติ รูปแบบ และ ภูมิปญญาไทยไดอีกทางหนึ่ง

102

วิธีการดำ�เนินงานวิจัย ประชากร คือ ชางเขียนจิตรกรรมฝาผนังสกุลชาง เพชรบุรี และผูเชี่ยวชาญดานจิตรกรรมฝาผนังไทย จำ�นวน 30 ทาน เครื่องมือที่ใชในงานวิจัย 1. แบบสัมภาษณ เปนแบบจัดลำ�ดับความสำ�คัญ ทางดานเรื่องราวที่สามารถแสดงเอกลักษณของงาน จิตรกรรมฝาผนังวัดใหญสุวรรณาราม จังหวัดเพชรบุรี โดยจัดลำ�ดับเปน ลำ�ดับที่ 1, 2 และ 3 (ลำ�ดับที่ 1 มีคา คะแนน เทากับ 3, ลำ�ดับที่ 2 มีคาคะแนน เทากับ 2 และ ลำ�ดับที่ 3 มีคาคะแนน เทากับ 1 นำ�คาคะแนนที่ไดทำ� การหาคาเฉลี่ย และเปรียบเทียบแปลความหมายตาม ลำ�ดับมากนอย 2. แบบสัมภาษณ เปนแบบประเมินระดับที่ สามารถแสดงถึงคุณลักษณะ คุณคาของงานจิตรกรรม ฝาผนั ง วั ด ใหญ สุ ว รรณาราม จั ง หวั ด เพชรบุ รี โดย แบงเปน 5 ระดับ คือ มากที่สุด มาก ปานกลาง นอย และนอยที่สุด โดยกำ�หนดคะแนน 5, 4, 3, 2 และ1 ตาม ลำ�ดับ นำ�มาหาคาเฉลี่ย และสวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน นำ� ค า เฉลี่ ย ที่ ไ ด ม าเปรี ย บเที ย บกั บ เกณฑ แ ปลความ หมาย โดยใชเกณฑดังนี้ (บุญสม ศรีสะอาด 2543) คาเฉลี่ย 4.50 - 5.00 หมายถึง สามารถแสดง เอกลักษณไดมากที่สุด คาเฉลี่ย 3.50 - 4.49 หมายถึง สามารถแสดง เอกลักษณไดมาก คาเฉลี่ย 2.50 - 3.49 หมายถึง สามารถแสดง เอกลักษณไดปานกลาง คาเฉลี่ย 1.50 - 2.49 หมายถึง สามารถแสดง เอกลักษณไดนอย คาเฉลี่ย 1.00 - 1.49 หมายถึง สามารถแสดง เอกลักษณไดนอยที่สุด การวิเคราะหขอมูล 1. วิเคราะหหาคาคะแนนเฉลี่ย จัดลำ�ดับความ สำ�คัญของเรื่องราวที่สามารถแสดงเอกลักษณในงาน จิ ต รกรรมฝาผนั ง วั ด ใหญ สุ ว รรณารามได ดี ที่ สุ ด ดั ง แสดงผลในตารางที่ 1


โครงการออกแบบเครื่องเรือนรับแขกภายใตแนวคิดจิตรกรรมฝาผนังไทย นภดล สังวาลเพ็ชร

ตารางที่ 1. แสดงระดับคะแนนเฉลี่ย เรื่องราวที่สามารถสะทอนเอกลักษณของงานจิตรกรรมฝาผนัง วัดใหญ สุวรรณารามจังหวัดเพชรบุรี ภาพ/เรื่องราวจากจิตรกรรมฝาผนัง

คะแนนเฉลี่ย

ลำ�ดับความสำ�คัญ

2.40

ลำ�ดับที่ 1

2.10

ลำ�ดับที่ 2

1.50

ลำ�ดับที่ 3

เทพชุมนุม

ทวารบาล

มารผจญ

2. วิ เ คราะห ห าค า เฉลี่ ย และส ว นเบี่ ย งเบน มาตรฐานของความสามารถในการแสดงเอกลักษณใน งานจิตรกรรมฝาผนังไทย (วัดใหญสุวรรณาราม จังหวัด เพชรบุรี) นำ�คาเฉลี่ยที่ไดมาเปรียบเทียบกับเกณฑแปล ความหมายคาเฉลีย่ เปนระดับความสามารถในการแสดง เอกลักษณในงานจิตรกรรมฝาผนังไทย ดังแสดงใน ตารางที่ 2, 3, 4, 5 และ 6 ผลการวิจัย 1. ผลการจัดลำ�ดับความสำ�คัญของเรื่องราว ที่สามารถแสดงเอกลักษณของงานจิตรกรรมฝาผนัง วัดใหญสุวรรณาราม จังหวัดเพชรบุรี พบวาเรื่องราว เทพชุมนุมสามารถแสดงเอกลักษณของงานจิตรกรรม

ฝาผนังวัดใหญสุวรรณารามไดดีที่สุด โดยมีคาระดับ คะแนน 2.40 คะแนน 2. ผลการวิ เ คราะห รู ป แบบของเส น ที่ สามารถแสดงเอกลั ก ษณ ง านจิ ต รกรรมฝาผนั ง วั ด ใหญสุวรรณาราม จังหวัดเพชรบุรี พบวา เสนสินเทา สามารถแสดงเอกลักษณความเปนจิตรกรรมฝาผนังของ วัดใหญสวุ รรณารามไดดที สี่ ดุ โดยมีคา เฉลีย่ เทากับ 4.13 3. ผลการวิเคราะห การจัดองคประกอบของ สี ที่สามารถแสดงเอกลักษณงานจิตรกรรมฝาผนัง วัด ใหญสุวรรณาราม จังหวัดเพชรบุรี พบวา มี 3 ชุดสี ที่ สามารถแสดงเอกลักษณความเปนจิตรกรรมฝาผนังของ วัดใหญสุวรรณารามไดดีที่สุด ประกอบดวย

103


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปีที่ 32 ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2555

ตารางที่ 2. แสดงคาเฉลี่ยและสวนเบี่ยงเบนมาตรฐานรูปแบบของเสน ในเรื่องราวเทพชุมนุมที่สามารถแสดงออกถึง เอกลักษณของวัดใหญสุวรรณาราม ลายเสน จากภาพจิตรกรรมฝาผนัง

คาเฉลี่ย (Mean)

สวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)

ความสามารถในการ แสดงเอกลักษณ

4.13

.973

มาก

4.03

.556

มาก

2.73

.907

ปานกลาง

1.03

.809

นอยที่สุด

ชุดที่ 1 สีแดงชาด 50% สีขาว (พืน้ ผนังปูน) 50% โดยมีคาเฉลี่ย เทากับ 2.77 ชุดที่ 2 สีแดงชาด 50% สีจันทรออน 30% ทองคำ�เปลว 20% โดยมีคาเฉลี่ย เทากับ 2.53 ชุดที่ 3 สีขาว (พืน้ ผนังปูน) 50% สีแดงชาด 25% สีเขียวหมน 10% ทองคำ�เปลว 15% โดยมีคาเฉลี่ยเทา กับ 3.23 4. ผลการวิเคราะห รูปแบบของลวดลาย ที่ สามารถแสดงเอกลั ก ษณ ง านจิ ต รกรรมฝาผนั ง วั ด ใหญสุวรรณาราม จังหวัดเพชรบุรี พบวา ลวดลาย

104

ในกรอบสินเทา สามารถแสดงเอกลักษณความเปน จิ ต รกรรมฝาผนั ง ของวั ด ใหญ สุ ว รรณารามได ดี ที่ สุ ด โดยมีคาเฉลี่ย เทากับ 3.73 5. ผลการวิเคราะห รูปแบบของแสง ที่สามารถ สงเสริมบรรยากาศใหดูนาเลื่อมใสศรัทธา พบวา แสงที่ ผานเขาจากประตูดานหลังทั้ง 2 บาน 100% สามารถ สงเสริมบรรยากาศนาเลื่อมใสศรัทธาไดดีที่สุด โดยมี คาเฉลี่ย เทากับ 4.57 6. ผลการวิเคราะห รูปแบบของแสง ที่สามารถ สงเสริมบรรยากาศใหดสู งางามภูมฐิ าน พบวา แสงทีผ่ า น


โครงการออกแบบเครื่องเรือนรับแขกภายใตแนวคิดจิตรกรรมฝาผนังไทย นภดล สังวาลเพ็ชร

ตารางที่ 3. แสดงคาเฉลี่ยและสวนเบี่ยงเบนมาตรฐานของชุ ดสี ใ นเรื่ อ งราวเทพชุ ม นุ ม ที่ ส ามารถแสดงออกถึง เอกลักษณของวัดใหญสุวรรณาราม ชุดสีจาก ภาพจิตรกรรมฝาผนัง

คาเฉลี่ย (Mean)

สวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)

ความสามารถในการแสดง เอกลักษณ

2.77

1.478

ปานกลาง

2.53

1.252

ปานกลาง

3.23

1.569

ปานกลาง

เขาจากประตูดานหลังทั้ง 2 บาน 100% จากดานหนา เพียงบานกลาง 1 บาน 100% สามารถสงเสริมบรรยากาศ ใหดูสงางามภูมิฐานไดดีที่สุด โดยมีคาเฉลี่ย เทากับ 4.83 7. ผลการวิเคราะห คุณคาทางดานอารมณและ ความรู  สึ ก ที่ แ ฝงอยู  ใ นงานจิ ต รกรรมฝาผนั ง วั ด ใหญ สุวรรณารามจังหวัดเพชรบุรี พบวาในงานจิตรกรรม เรื่องราวเทพชุมนุมสามารถแสดงคุณคาทางอารมณ ความรูสึกผาน เสน สีสัน ลวดลาย และแสง ได 2 รูปแบบ คือ สะทอนอารมณความสงางามภูมิฐาน และ นาเลื่อมใสศรัทธา

สรุปผลการศึกษาและอภิปรายผล จากการศึกษารูปแบบ ภูมิปญญา แนวคิดใน การสร า งสรรค ง านจิ ต กรรมฝาผนั ง ไทย (วั ด ใหญ สุวรรณาราม จังหวัดเพชรบุร)ี พบวาเรือ่ งราวเทพชุมนุม เป น เรื่ อ งราวที่ ส ามารถแสดงเอกลั ก ษณ ข องงาน จิ ต รกรรมฝาผนั ง วั ด ใหญ สุ ว รรณารามได ดี ที่ สุ ด โดยแสดงออกจาก 3 แนวทางไดแก 1. รูปแบบ ภาพเทพชุมนุมจะเขียนภาพเปน แถวซอนกันเปนชั้นๆ ทั้งหมด 5 ชั้น แตละชั้นมีลาย หนากะดาน เปนตัวคั่นโดยเขียนเทพยดาประเภทละ

105


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปีที่ 32 ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2555

ตารางที่ 4. แสดงคาเฉลี่ยและสวนเบี่ยงเบนมาตรฐานของลวดลายในเรื่องราวเทพชุมนุมที่สามารถแสดงออกถึง เอกลักษณของวัดใหญสุวรรณาราม ลวดลาย จากภาพจิตรกรรมฝาผนัง

106

คาเฉลี่ย (Mean)

สวนเบี่ยงเบน มาตรฐาน (S.D.)

ความสามารถในการ แสดงเอกลักษณ

3.73

1.461

มาก

2.47

1.479

นอย

3.13

1.167

ปานกลาง

2.20

1.769

นอย


โครงการออกแบบเครื่องเรือนรับแขกภายใตแนวคิดจิตรกรรมฝาผนังไทย นภดล สังวาลเพ็ชร

ตารางที่ 5. แสดงคาเฉลี่ยและสวนเบี่ยงเบนมาตรฐานของแสงที่สามารถสงเสริมบรรยากาศนาเลื่อมใสศรัทธา รูปแบบของแสง ภายในพระอุโบสถ

คาเฉลี่ย (Mean)

สวนเบี่ยงเบน ความสามารถในสง มาตรฐาน (S.D.) เสริมบรรยากาศ

4.20

0.80

มาก

4.07

0.74

มาก

3.90

1.02

มาก

4.57

0.50

มากที่สุด

107


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปีที่ 32 ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2555

ตารางที่ 6. แสดงคาเฉลี่ยและสวนเบี่ยงเบนมาตรฐานของแสงที่สามารถสงเสริมบรรยากาศสงางามภูมิฐาน รูปแบบของแสง ภายในพระอุโบสถ

108

คาเฉลี่ย สวนเบี่ยงเบน ความสามารถในสง (Mean) มาตรฐาน (S.D.) เสริมบรรยากาศ

4.83

0.37

มากที่สุด

4.53

0.50

มากที่สุด

3.37

0.92

ปานกลาง

4.00

0.78

มาก


โครงการออกแบบเครื่องเรือนรับแขกภายใตแนวคิดจิตรกรรมฝาผนังไทย นภดล สังวาลเพ็ชร

2 องค เริ่มจาก พระพรหม คนธรรพ ยักษ นาค ครุฑ และเทวดา ในการเขียนเทพยดาในแตละองคจะทำ�การ แยกออกจากกันดวยการใชเสนสินเทา อันทำ�ใหเกิด ลักษณะฟนปลาทั้งแถว การใชเสนสินเทายังเปนการ แสดงทักษะการบรรจุลายลงในชองวางระหวางสินเทา ซึ่งถือเปนคุณลักษณะเดนของภาพจิตรกรรมผาผนัง วัดใหญสุวรรณาราม จังหวัดเพชรบุรี 2. แนวคิด เนื่องจากเรื่องราวของเทพชุมนุม เปนภาพที่เขียนเปนรูปเทพเทวดาที่มีทาทางสงางาม ภูมิฐาน นั่งพนมมือไปในทิศทางเดียวกันตลอดทั้งแนว (หันหนาเขาหาองคพระประธาน) สงผลใหดูแลวชวย นอมนำ�จิตไปสูความรูสึกสงบ อีกทั้งสามารถสะทอน คุณคาทางดานอารมณได 2 แนวทาง คือ สงางามภูมฐิ าน และนาเลื่อมใสศรัทธา 3. ภูมิปญญา ภาพจิตรกรรมฝาผนังเปนศิลปะ ที่สรางสรรคสืบตอกันมาจนไดเอกลักษณประจำ�ชาติ ที่ มี รู ป แบบตามอุ ด มคติ แ สดงออกทางความคิ ด ผ า น คุณสมบัติทาง เสน สี ลวดลาย และแสง ดังตอไปนี้ 3.1 เสนสินเทา มีลักษณะเปนเสนตั้งตรง เขี ย นขนานกั น ไปตลอดตามรอยหยั ก ฟ น ปลาที่ ทำ � หนาที่แบงองคเทพแตละองค ดวยลักษณะของเสนที่ ตั้งตรงที่เรียงตอกันจำ�นวนมากจึงสงผลใหเกิดความ รู  สึ ก สง า งาม และมั่ น คง ทำ � หน า ที่ เ ป น เส น กั้ น แบ ง องคเทพแตละองค จึงนำ�มาใชในการออกแบบเครือ่ งเรือน เพื่ อ ใช เ ป น ส ว นพนั ก พิ ง ช ว ยบอกขอบเขตของพื้ น ที่ ของเครื่องเรือน 3.2 สี ประกอบดวย - สีแดงชาด เปนสีที่อยูบริเวณพื้นหลัง องคเทวดา เพื่อรองรับและขับใหองคเทวดาเดนขึ้นนำ� มาใชเปนสวนพนักพิง - สีจันทรออน เปนสีที่ใชบริเวณผิวเนื้อ ของตัวละคร แสดงวรรณะ กษัตริย หรือเทวดา นำ�

มาใชตกแตงสวนพนักพิง - สีทอง (ทองคำ�เปลว) ใชประดับตกแตง ในสวนสำ�คัญๆของภาพ เชน เครือ่ งประดับ หรือเครือ่ งทรง ใชประดับตกแตงโดยเฉพาะเครือ่ งประดับเพือ่ เพิม่ ความ เดน และยังเปนสีทชี่ ว ยประสานใหเกิดความตอเนือ่ งของ งาน นำ�มาใชตกแตงลวดลายเพื่อใชเปนตัวประสาน ใหเกิดความกลมกลืนของเครื่องเรือน 3.3 ลวดลายตางๆ ในกรอบเสนสินเทา มี 3 ลักษณะ คือ ลายไทย ลายไทยเลียนแบบธรรมชาติ และลายธรรมชาติ ซึ่งเปนลวดลายที่ชวยสรางความ ออนชอย และสงเสริมคุณคาใหกับงาน 3.4 แสง ด ว ยลั ก ษณะของพระอุ โ บสถ วัดใหญสุวรรณารามที่มีการเจาะชองประตูเพียงแค 5 บาน ไมมีการเจาะชองหนาตาง แสงที่เขามาจึงสราง บรรยากาศของความสงางามภูมิฐาน และนาเลื่อมใส ศรั ท ธา โดยทิ ศ ทางแสงจะมาจากประตู ด  า นหน า พระประธานบานกลางเพียงบานเดียว และดานหลัง พระประธานทั้งสองบาน ทิศทางของแสงดังกลาวจึงจะ สร า งความสง า งามภู มิ ฐ านได ดี ที่ สุ ด และจากประตู ดานหลังทั้ง 2 บาน 100% สามารถสงเสริมบรรยากาศ นาเลื่อมใสศรัทธาไดดีที่สุด การนำ�ผลงานวิจยั มาใชในการออกแบบเครือ่ งเรือน รับแขก ผลสรุปจากแบบสัมภาษณชางผูเชี่ยวชาญดาน งานจิตรกรรมฝาผนังไทย สามารถนำ�มาเปนแนวทาง ในการออกแบบไดเปน 2 แนวทางไดแก เครื่องเรือนที่ สงเสริมความนาเลือ่ มใสศรัทธา และสงเสริมความสงางาม ภูมฐิ านใหกบั เจาบาน โดยใชคณ ุ ลักษณะ คุณสมบัติ และ คุณคาจากงานจิตรกรรมฝาผนังวัดใหญสุวรรณาราม จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งประกอบดวยองคประกอบศิลปดังนี้

109


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปีที่ 32 ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2555

เสนสินเทา

จากองคประกอบทางศิลปะดังกลาว เปนแนวทาง สงผลใหเกิดรูปแบบของเครือ่ งเรือน 2 แนวทาง 6 รูปแบบ ดังนี้ 1. นาเลื่อมใสศรัทธา ซึ่งเปนการนำ�เอาลักษณะ จากความเป น เทพมาใช ใ นการออกแบบให เ สมื อ น เครื่องเรือนลอยไดเพื่อสรางความนาเลื่อมใสศรัทธา ใหกับเจาบาน

ลวดลาย​ดอกไมรวง

A1 สี

แสง

A2 ​จังหวะ​การ​ซ้ำ� ภาพแสดงองคประกอบศิลป ผลสรุปจากแบบ สัมภาษณชางผูเชี่ยวชาญ

110


โครงการออกแบบเครื่องเรือนรับแขกภายใตแนวคิดจิตรกรรมฝาผนังไทย นภดล สังวาลเพ็ชร

B2 A3 2. สงางามภูมิฐาน เปนการออกแบบโดยนำ� ท า ทางการนั่ ง ขององค เ ทพที่ ส ง า งามมาใช ใ นการ ออกแบบเพื่ อ รองรั บ อิ ริ ย าบถในการนั่ ง ของเจ า บ า น ใหมีความสงางามภูมิฐาน

B3

B1

ขอเสนอแนะ ขอเสนอแนะเพื่อนำ�ผลการวิจัยไปใช 1. การวิจยั ครัง้ นีเ้ ปนการศึกษารูปแบบภูมปิ ญ  ญา แนวคิดในงานจิตรกรรมฝาผนังไทย เพือ่ ใชเปนแนวทาง ในการออกแบบผลิตภัณฑรูปแบบใหมๆ โดยนำ�เอา เอกลั ก ษณ ค วามเป น ไทยจากภาพจิ ต รกรรมฝาผนั ง วัดใหญสุวรรณาราม จังหวัดเพชรบุรีมาใช โดยสามารถ แสดงถึงคุณคา คุณลักษณะ และคุณสมบัติของงาน จิตรกรรมฝาผนังไทย 2. เพื่ อ เป น แนวทางในการนำ � ไปพั ฒ นาเป น ผลิตภัณฑอื่นๆ เชนของประดับตกแตงบาน โรงแรม หรือรีสอรท ของที่ระลึก และอื่นๆ โดยคำ�นึงถึงคุณคา คุณลักษณะและคุณสมบัติความเปนไทย

111


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปีที่ 32 ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2555

ขอเสนอแนะเพื่อการวิจัยครั้งตอไป 1. ควรมีการศึกษาเรือ่ งราวอืน่ ๆ ในงานจิตรกรรม ฝาผนังไทย รวมถึงองคประกอบดานอืน่ ๆ เพือ่ นำ�มาเปน แนวทางในการออกแบบให ส อดคล อ งกั บ วิ ถี ชี วิ ต ใน ปจจุบัน เปนการยกระดับภูมิปญญาไทยสูระดับสากล และเปนการดำ�รงไวซึ่งเอกลักษณความเปนไทย 

112

2. ควรมีการศึกษาภาพจิตรกรรมฝาผนังไทยใน สมัยอืน่ ๆ และภูมปิ ญ  ญาอืน่ ๆ ทีแ่ ฝงอยูใ นงานจิตรกรรม ฝาผนังไทย เพื่อนำ�มาเปนแนวทางในการออกแบบ ผลิตภัณฑใหมีความหลากหลายมากขึ้น และเปนที่ ยอมรับของตลาดในประเทศและตางประเทศ






โครงการออกแบบเครื่องเรือนรับแขกภายใตแนวคิดจิตรกรรมฝาผนังไทย นภดล สังวาลเพ็ชร

บรรณานุกรม ทองรวง เอมโอษฐ. (2555). ศิลปนแหงชาติประจำ�ป 2554 สาขาทัศนศิลป. สัมภาษณ, 3 กุมภาพันธ. บุญสม ศรีสะอาด. (2543). การวิจัยเบื้องตน. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาสน. ประยูร อุลุชาฎะ. (2550). ความงามในศิลปะไทย. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ. วรพงศ วรชาติอุดมพงศ. (2542). ออกแบบตกแตง. พิมพครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: ศิลปาบรรณาคาร. วัฒนะ จูฑะวิภาค. (2548). ศิลปะการออกแบบตกแตงภายใน. พิมพครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน. วิบูลย ลี้สุวรรณ, บรรณาธิการ. (2546). ศิลปะวิชาการ ศาสตราจารยศิลป พีระศรี. กรุงเทพฯ: วิสคอมเซ็นเตอร. ศิริอร หริ่มปราณี. (2553). สรางเศรษฐกิจไทยดวยความคิดสรางสรรค. คิด 2, (2) : 15. สมชาติ มณีโชติ. (2529). จิตรกรรมไทย. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร. สันติ เล็กสุขุม. (2542). ศิลปะอยุธยา งานชางหลวงแหงแผนดิน. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ. อภิสิทธิ์ ไลสัตรูไกล, บรรณาธิการ. (2553). คุณคาที่ขายได. คิด 2, (2) : 5.

113



การทองเที่ยวแบบเมือง ธุรกิจสถานบันเทิงยามราตรีและผลกระทบเชิงสังคม และวัฒนธรรมในเมืองเกาภูเก็ต Urban Tourism, Nightlife Entertainment Business and its Impacts on the Socio-Culture of Phuket’s Old Town ภาณุวัฒน ภักดีอักษร 1 Panuwat Phakdee-auksorn บทคัดยอ งานวิจัยเรื่อง “การทองเที่ยวแบบเมือง ธุรกิจสถานบันเทิงยามราตรีและผลกระทบเชิงสังคมและวัฒนธรรมใน เมืองเกาภูเก็ต” มีวตั ถุประสงคเพือ่ 1.) เพือ่ ศึกษาโครงสรางและลักษณะทางประชากรศาสตรของผูพ กั อาศัยในเขตชุมชน เมืองเกาภูเก็ต 2.) เพือ่ วิเคราะหความคิดเห็นของประชาชนในเขตเมืองเกาภูเก็ตตอผลกระทบเชิงสังคมและวัฒนธรรม จากการเปดสถานบันเทิงยามราตรี 3.) เพื่อศึกษาวิธีการแกไขปญหาที่เกิดขึ้นจากการเปดสถานบันเทิงยามราตรีของ ประชาชนในเขตเมืองเกาภูเก็ต มีวธิ กี ารศึกษาแบบการวิจยั เชิงพรรณนาโดยมีแบบสอบถามเปนเครือ่ งมือในการรวบรวม ขอมูลจากผูตอบแบบสอบถามจำ�นวน 560 คน ผลวิจัยพบวา ในภาพรวมผลกระทบเชิงสังคมและวัฒนธรรมจาก การเปดธุรกิจสถานบันเทิงยามราตรีในเขตเมืองเกายังอยูในระดับปานกลาง อยางไรก็ตาม ชุมชนแสดงความกังวล ตอปญหาสำ�คัญสามดาน คือ ปญหาการดื่มสุราและยาเสพติดที่เพิ่มขึ้นในกลุมเยาวชน ปญหาการคาประเวณีและ ปญหาอาชญากรรมภายในชุมชน นอกจากนี้ การวิจัยยังชี้วา ความรวมมือจากคนในชุมชน การเจรจากับภาคธุรกิจ รวมทั้งการเรียกรองการดูแลจากภาครัฐเปนวิธีการชวยบรรเทาผลกระทบเชิงลบและรณรงคการจัดการการทองเที่ยว แบบเมืองที่ยั่งยืน ผลการศึกษามีประโยชนโดยตรงในการชวยวางแผนการจัดการการทองเที่ยวแบบเมืองอยาง สรางสรรค คำ�สำ�คัญ: 1. การทองเที่ยวแบบเมือง. 2. ผลกระทบเชิงสังคมและวัฒนธรรม. 3. ธุรกิจสถานบันเทิงยามราตรี.

__________________

1

อาจารย ดร. ประจำ�สาขาวิชาการจัดการการทองเที่ยว คณะการบริการและการทองเที่ยว มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปีที่ 32 ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2555

Abstract The study of urban tourism, nightlife entertainment business and its impacts on the socio-culture of Phuket’s Old Town intends 1. to describe the present socio-demographic profile of residents in Phuket Old’s Town, 2. to analyse the perception of the local residents towards socio-cultural tourism impacts arising from the opening of nightlife entertainment businesses within their community, 3. to explore methods that residents think will be most useful when dealing with impacts. This study employs a descriptive study approach by using a questionnaire survey with 560 respondents living in Phuket’s Old Town. It reveals that overall the socio-cultural impacts from the opening of nightlife entertainment is moderate. However, the community has shown their concerns over the drinking, drug, prostitution and crime problems. Nonetheless, the study indicates that community’s cooperation, discussion with business owners as well as support from the government are ways to alleviate negative impacts while promoting sustainable urban tourism. In conclusion, this study will be useful for the effective future urban tourism planning. Keywords: 1. Urban Tourism. 2. Socio-Cultural Impacts. 3. Nightlife Entertainment Business.

116


การทองเที่ยวแบบเมือง ธุรกิจสถานบันเทิงยามราตรีและผลกระทบเชิงสังคมและวัฒนธรรมในเมืองเกาภูเก็ต ภาณุวัฒน ภักดีอักษร

บทนำ� ในบริบทของการศึกษาและงานวิจัย ดา นการ ทองเที่ยว การทองเที่ยวแบบเมือง (Urban Tourism) เป น หั ว ข อ ที่ ไ ด รั บ ความสนใจน อ ยมากจากนั ก วิ จั ย (Ashworth and Page 2011) ที่ผานมาจึงมีรายงาน การวิจัยเพียงไมกี่ฉบับที่เกี่ยวกับรูปแบบการทองเที่ยว ในลักษณะนี้ที่ไดรับการตีพิมพและปรากฏในวารสาร วิชาการ เชน งานของ Spink (1994) เรือ่ ง การทองเทีย่ ว แบบเมืองกับการเดินทางในเมือง Rotterdam งานของ Buhalis, Maitland and Viveiros (2000) เรื่อง การ ทองเที่ยวแบบเมือง หรือการศึกษาของ Haley, Snaith and Miller (2005) ซึ่งไดรายงานผลการศึกษาดานผล กระทบเชิงสังคมจากการทองเที่ยวแบบเมืองโดยตรง กรณีศึกษาเมือง Bath ประเทศสหราชอาณาจักร ดังนั้น อาจกลาวไดวา จำ�นวนการศึกษาวิจัยที่คอนขางจำ�กัดนี้ เองเป น สาเหตุ สำ � คั ญ ประการหนึ่ ง ที่ ทำ � ให ป  จ จุ บั น องคความรูเกี่ยวกับการจัดการการทองเที่ยวแบบเมือง ทัง้ ในแงทฤษฎีและปฏิบตั ยิ งั อยูใ นระดับทีไ่ มนา พอใจนัก งานวิจัยเรื่องนี้จึงเปนความพยายามสวนหนึ่งเพื่อชวย เติมเต็มความรูและตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงใดๆ ใน เชิ ง สั ง คมและวั ฒ นธรรมอั น เนื่ อ งมาจากการเป ด ธุ ร กิ จ สถานบั น เทิ ง ยามราตรี เ พื่ อ เป น สิ น ค า สำ � หรั บ การทองเที่ยวแบบเมือง ภู เ ก็ ตกั บ การทองเที่ยวแบบเมือง (Phuket and Urban Tourism) ภูเก็ตถือเปนเมืองเกาแกที่มีประวัติความเปน มายาวนานนั บแตอดีต ประกอบดว ยสถานที่ สำ � คั ญ ทางประวัติศาสตรหลายแหง มีอัตลักษณดานวิถีชีวิต ภาษา ประเพณี อาหารการกินและลักษณะความเปนอยู แบบเฉพาะของตนเองหรือที่เปนที่รูจักกันโดยทั่วไปใน นามวัฒนธรรม “เปอรานากัน” (Peranakan) ที่สำ�คัญ ภู เ ก็ ต ยั ง มี เ อกลั ก ษณ ใ นด า นรู ป แบบสิ่ ง ก อ สร า งและ สถาป ต ยกรรม โดยเฉพาะอาคารบ า นเรื อ นในเขต เมืองเกา ซึ่งปจจุบันยังคงรักษารูปแบบสถาปตยกรรม การกอสรางในแบบดั้งเดิมที่เรียกวา “ชิโนโปรตุกีส” (Chino-Portuguese) เปรี ย บเสมื อ นตั ว แทนหรื อ สั ญ ลั ก ษณ ที่ ส ะท อ นความมั่ ง คั่ ง และอดี ต อั น รุ  ง โรจน

ของภู เ ก็ ต ในฐานะเมื อ งท า และหั ว เมื อ งการค า ของ นักเดินทางยุคโบราณ ดวยตนทุนมรดกวัฒนธรรมอัน ทรงคุณคาเหลานี้ทำ�ใหการลงทุนและการสงเสริมการ ทองเที่ยวแบบเมืองของภูเก็ตใหประสบความสำ �เร็จ เป น รู ป ธรรมจึ ง เป น สิ่ ง ที่ เ ป น ไปได สู ง หากได รั บ การ จัดการและการสนับสนุนที่ดี Verbeke (1996) อธิ บ ายว า การท อ งเที่ ย ว แบบเมือง หมายถึง การทองเที่ยวในเขตตัวเมืองโดย มี วั ต ถุ ป ระสงค เ พื่ อ เยี่ ย มชมตึ ก อาคารที่ มี ลั ก ษณะ ทางสถาป ต ยกรรมเก า แก ห รื อ สถานที่ สำ � คั ญ ทาง ประวัติศาสตร พิพิธภัณฑ หอศิลปะ โรงละคร การชม การแขงขันกีฬา การเขารวมเทศกาลและการชื่นชม ทัศนียภาพและภูมิสถาปตยของเมือง ในเมืองทองเที่ยว ที่สำ�คัญหลายแหงของโลก ยกตัวอยาง เชน ลอนดอน การเดินทางเพื่อทองเที่ยวแบบเมืองไดรับความนิยม เปนอยางสูง ในแตละวัน นักทองเที่ยวที่เดินทางมา ลอนดอนมักจะเดินทางไปเยี่ยมชมหอนาฬิกาบิกเบน อาคารรัฐสภา พิพธิ ภัณฑลอนดอน ในปารีสนักทองเทีย่ ว ก็นิยมเดินทางเยี่ยมชมสถานที่สำ�คัญตางๆ เชน หอ ไอเฟล พระราชวังแวรซายส รานขายน้ำ�หอม เชน เดียวกันกับในเอเชีย ฮองกง ปกกิ่ง โตเกียวหรือแมแต มะละกาก็เปนเมืองที่สงเสริมการทองเที่ยวแบบเมือง อย า งจริ ง จั ง ทั้ ง นี้ เ พราะการท อ งเที่ ย วแบบเมื อ งมี ความสั ม พั น ธ เ ชื่ อ มโยงกั บ ความสำ � เร็ จ ของแหล ง ท อ งเที่ ย ว มี นั ย สำ � คั ญ และประโยชน โ ดยตรงต อ พั ฒ นาการการท อ งเที่ ย วของแหล ง ท อ งเที่ ย วนั้ น ๆ (Ashworth and Page 2011) การทองเที่ยวแบบเมืองของจังหวัดภูเก็ตมีจุด สนใจสำ�คัญ (Attraction) คือ อาคารและบานเรือนใน แบบชิโนโปรตุกีส (Chino-Portuguese) ซึ่งเปนรูปแบบ สถาปตยกรรมการกอสรางที่เปนเอกลักษณผสมผสาน ระหวางวัฒนธรรมจีนและโปรตุเกส มีอายุรวมรอยป สรางขึ้นในสมัยที่พระยารัษฎานุประดิษฐเปนเจาเมือง (ปรานี สกุลพิพัฒน 2543) โดยอาคารที่มีลักษณะ สวยงามโดดเดนและสวนใหญมักเปนบานของพอคา คหบดีชาวภูเก็ต ตั้งเรียงรายอยูในบริเวณสองฟากฝง ของถนนถลาง ถนนเยาวราช ถนนดีบุก ถนนกระบี่และ ถนนพังงา (จันทนี พวงแกว 2546) ซึ่งเปนยานการคา

117


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปีที่ 32 ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2555

ใจกลางเมืองภูเก็ต เต็มไปดวยรานคา ภัตตาคาร และ ร า นจำ � หน า ยผลิ ต ภั ณ ฑ สิ น ค า พื้ น เมื อ งและสิ น ค า อุปโภคและบริโภคในชีวิตประจำ�วัน ในปจจุบันเพื่อเปน การชวยสงเสริมการทองเที่ยว เจาของบานและอาคาร เก า แก บ างแห ง ได เ อื้ อ เฟ  อ เป ด บ า นของตนเองและ อนุญาตใหนักทองเที่ยวที่มีความสนใจเขามาศึกษาและ เยีย่ มชม ในขณะเดียวกันบานบางหลังไดท�ำ การปรับปรุง เพื่อเปดเปนที่พักรับรองแบบ Guesthouse ไวบริการ สำ�หรับนักทองเที่ยว นอกจากนี้ในแตละป จังหวัดภูเก็ต ก็ไดกำ�หนดใหมีการจัดงานยอนรอยอดีตถนนถลางขึ้น ในชวงเดือนกุมภาพันธเพือ่ เปนการรวมอนุรกั ษ สงเสริม ฟนฟู สืบสาน เลาตำ�นานและวิถีชีวิตของชาวภูเก็ตใน อดีตใหคงอยูสืบไป ประเด็นปญหา ผลกระทบและอันตรายของธุรกิจ สถานบันเทิงยามราตรีกับการทองเที่ยวแบบเมือง โดยทั่วไป นักทองเที่ยวที่เดินทางมาทองเที่ยว ในบริเวณตัวเมืองภูเก็ตทั้งที่เดินทางมาดวยตนเองและ บริษัทนำ�เที่ยว มักมีจุดประสงคหลักในการเดินทางเพื่อ มาสัมผัส เรียนรูวิถีชีวิตประจำ�วันของชาวเมืองและ ชื่ น ชมภู มิ ส ถาป ต ย ข องเมื อ งในช ว งเวลากลางวั น (Day tour) รวมทั้งจับจายเลือกซื้อสินคา อยางไรก็ตาม ในชวง 2-3 ปทผี่ า นมา เจาของอาคารและธุรกิจบางแหง ในยานนี้ไดปรับเปลี่ยนรูปแบบจากการประกอบธุรกิจ การคาขายสินคาอุปโภคบริโภคทั่วๆ ไปไปสูการเปด ธุรกิจบริการในรูปสถานบันเทิงยามราตรี (Nightlife entertainment) มี ก ารเป ด ธุ ร กิ จ ในลั ก ษณะกึ่ ง ผั บ กึ่งรานอาหาร (Pub and restaurant) นับสิบแหง แมวา ธุรกิจสถานบริการยามค่ำ�คืนเหลานี้จะมีสวนชวยสราง สีสนั ดึงดูดใจใหนกั ทองเทีย่ วไปใชบริการ (Enright and Newton 2004 ; Melián-González, Moreno-Gil and Araña 2011) และเปลีย่ นบรรยากาศเมืองทีเ่ คยเงียบเหงา ใหมีความคึกคัก กระตุนเศรษฐกิจโดยการสรางรายได และอาชีพใหแกคนในทองถิ่น ในทางตรงกันขาม งาน วิ จั ย บางชิ้ น ได ชี้ ใ ห เ ห็ น ถึ ง อั น ตรายและผลกระทบ ดานลบของธุรกิจประเภทนี้ ปจจุบันแมวาผลกระทบจากการเปดสถานธุรกิจ บันเทิงยามราตรีในเขตเมืองเกาภูเก็ตยังไมประจักษชัด

118

แตผลวิจัยในอดีตเชน การศึกษาของ Reisinger (2009) ชี้วา แมการเปดธุรกิจยามราตรีจะไมแสดงอาการและ สงผลกระทบตอสังคม วัฒนธรรมทองถิน่ และภาพลักษณ ของแหลงทองทองเที่ยวมากนักในระยะเริ่มตน แตใน ระยะยาวเมื่ อ แหล ง ท อ งเที่ ย วได รั บ ความนิ ย มและมี ยอดนักทองเที่ยวสูงขึ้น ผลกระทบเชิงลบดานตางๆ จะ ปรากฏใหเห็นเปนรูปธรรมตอสังคม ยกตัวอยางเชน ปญหามลพิษทางเสียง ปญหามลพิษของขยะ อุบัติเหตุ การทะเลาะวิวาท อาชญากรรมรวมทั้งการแอบแฝงการ คาประเวณี (Andereck … et al. 2005 ; Choi and Sirakaya 2005 ; Yen and Kerstetter 2009) ขอคนพบ นี้มีสวนใกลเคียงและสอดคลองกับสภาพความเปนไป และขอเท็จจริงจากเหตุการณปจจุบันที่นักทองเที่ยว และสาธารณชนทั่ ว ไปสามารถรั บ รู  จ ากข า วตาม หนังสือพิมพและสื่อชองทางตางๆ นอกจากนี้ อาจจะ ยังพบเห็นดวยตนเองในบริเวณแหลงทองเที่ยวอื่นๆ ยกตัวอยางเชน ยานถนนขาวสาร ชุมชนเล็กๆ ใน กรุ ง เทพมหานคร ซึ่ ง เป น ที่ รู  จั ก กั น ทั่ ว โลกในฐานะ แหล ง ท อ งเที่ ย วยามราตรี ที่ เ ลื่ อ งชื่ อ แห ง หนึ่ ง ของ เมืองไทย Shapira (2004, 2007) รายงานวา ชุมชนใน บริ เ วณถนนข า วสารได ป ระสบกั บ ป ญ หาการค า ยา เสพติด แกงมาเฟย อาชญากรรมขามชาติสารพัดรูปแบบ ปญหาโสเภณี การทะเลาะวิวาท ปญหาความขัดแยงของ พอคาแมคา ตลอดจนปญหาความสัมพันธระหวางบุคคล ซึ่งสงผลกระทบตอวิถีชีวิตและความเปนอยูของชุมชน ซึ่งครั้งหนึ่งเคยอยูอยางสงบ สิ่งเหลานี้ลวนเปนปญหา เรื้อรังและสงผลกระทบโดยตรงตอภาพลักษณในทาง เสื่อมเสียของการทองเที่ยวกรุงเทพฯ และประเทศไทย มาอยางยาวนาน ในอีกทางหนึ่งก็เปนตัวการกระตุน ใหนกั ทองเทีย่ วไรคณ ุ ภาพบางประเภทเดินทางหลัง่ ไหล มายั ง ประเทศไทยมากขึ้ น เช น นั ก ท อ งเที่ ย วแบบ Sex tour หรืออาชญากรขามชาติที่แฝงตัวมาในรูปนัก ทองเที่ยว เปนตน บทเรียนจากถนนขาวสารเปนสิ่งที่นักพัฒนา และวางแผนการทองเที่ยวตองพึงตระหนัก เพราะแมวา การทองเที่ยวยามราตรีจะเปนประโยชนตอเศรษฐกิจ แตการทองเที่ยวในรูปแบบนี้ก็แฝงดวยอันตราย ดังนั้น


การทองเที่ยวแบบเมือง ธุรกิจสถานบันเทิงยามราตรีและผลกระทบเชิงสังคมและวัฒนธรรมในเมืองเกาภูเก็ต ภาณุวัฒน ภักดีอักษร

หากภูเก็ตตองการพัฒนาการทองเที่ยวแบบเมืองใน ลักษณะทีเ่ ปนอยู การควบคุม การวางแผนและการจัดการ อยางรอบคอบเปนหัวใจสำ�คัญที่จะบรรเทาผลกระทบ เชิงลบใหไดมากที่สุด เพื่อมิใหชุมชนเมืองเกาภูเก็ต กลายสภาพตามรอยถนนขาวสาร งานวิจยั ฉบับนีจ้ งึ เปน งานวิจัยฉบับแรกเกี่ยวกับการทองเที่ยวแบบเมืองของ จังหวัดภูเก็ต มีจุดมุงหมายหลักเพื่อสำ�รวจตรวจสอบ สภาพปญหาดานสังคมและวัฒนธรรมจากการพัฒนา ธุรกิจสถานบันเทิงยามราตรีในบริเวณชุมชนเมืองเกา ภูเก็ตเพือ่ เปนผลิตภัณฑการทองเทีย่ วโดยอาศัยมุมมอง จากเจาบาน (Host) ซึง่ เปนกลุม บุคคลทีไ่ ดรบั ผลกระทบ ทัง้ ทางตรงและทางออมมากทีส่ ดุ เพือ่ จะไดน�ำ ขอมูลหรือ ผลการวิจัยไปใชเปนสวนหนึ่งในการวางแผนและการ จั ด การการท อ งเที่ ย วแบบเมื อ งของจั ง หวั ด ภู เ ก็ ต ใน อนาคตใหมีประสิทธิภาพ วัตถุประสงคการวิจัย 1. เพื่ อ ศึ ก ษาโครงสร า งและลั ก ษณะทาง ประชากรศาสตรของผูพักอาศัยในเขตชุมชนเมืองเกา ภูเก็ต 2. เพื่อวิเคราะหความคิดเห็นของประชาชนใน เขตเมืองเกาภูเก็ตตอผลกระทบเชิงสังคมและวัฒนธรรม จากการเปดสถานบันเทิงยามราตรี 3. เพื่ อ ศึ ก ษาวิ ธี ก ารแก ไ ขป ญ หาที่ เ กิ ด จาก การเปดสถานบันเทิงยามราตรีของประชาชนในเขต เมืองเกาภูเก็ต สมมติฐานการวิจัย ผูตอบแบบสอบถามที่มีเพศ อายุ ระดับการ ศึกษา อาชีพ ระยะเวลาพำ�นัก และความเปนสมาชิกภาพ แตกตางกัน มีความคิดเห็นตอผลกระทบเชิงสังคมและ วัฒนธรรมแตกตางกัน ประโยชนที่ไดรับ งานวิจัยฉบับนี้จะเปนประโยชนโดยตรงในการ 1.) ฉายภาพและอธิบายลักษณะสภาพทางสังคมและ เศรษฐกิ จ ของประชาชนที่ พั ก อาศั ย ในบริ เ วณชุ ม ชน เมื อ งเก า ภู เ ก็ ต 2.) ทำ � ให ท ราบความคิ ด เห็ น ของ

ประชาชนผู  พั ก อาศั ย ต อ การเข า มาของธุ ร กิ จ สถาน บันเทิงยามราตรี และ 3.) วิธีการจัดการกับผลกระทบที่ เหมาะสมในมุมมองของเจาบาน ในเชิงวิชาการ ผลวิจยั จะชวยเติมเต็มองคความรูเ กีย่ วกับการจัดการทองเทีย่ ว โดยเฉพาะในบริบทของการทองเที่ยวแบบเมืองซึ่งยัง คงมีคอนขางนอยในปจจุบันทั้งระดับจังหวัดและระดับ ประเทศ ในเชิงปฏิบัติ ผลวิจัยจะชวยสรางความกระจาง และเปนประโยชนโดยตรงตอหนวยงานทีเ่ กีย่ วของ เชน เทศบาลนครภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต สำ�นักงานการทองเทีย่ ว แหงประเทศไทย ในการชวยวางมาตรการและแผนการ จัดการการทองเที่ยวแบบเมืองของจังหวัดภูเก็ตใหเกิด ประสิทธิภาพอยางยั่งยืน ขอบเขตการวิจัย การศึกษาในครั้งนี้เปนการมุงศึกษาเฉพาะกรณี เชิงพื้นที่ (Area-based case study) คือ ศึกษาเฉพาะ บริเวณเขตพื้นที่เมืองเกาภูเก็ต เนื่องจากเปนพื้นที่ที่มี การเปดและดำ�เนินธุรกิจสถานบันเทิงยามราตรีทเี่ ดนชัด ที่สุดในตัวเมืองภูเก็ตในระยะ 3 ปที่ผานมา และเปน บริเวณยานใจกลางเมืองที่มีอาคารสถาปตยกรรมแบบ ชิโนโปรตุกสี ทีส่ ะทอนประวัตศิ าสตรและความเปนภูเก็ต ตั้งอยูจำ�นวนมาก วิธีการดำ�เนินการศึกษา ประชากรและการสุมตัวอยาง งานวิจัยครั้งนี้ไดกำ�หนดกลุมประชากรในการ ศึกษา คือ ครัวเรือนที่พักอาศัยอยูในชุมชนเมืองเกา ภูเก็ต ซึ่งเปนกลุมประชากรที่มีลักษณะจำ�กัด (Finite population) เพื่อกำ�หนดขอบเขตและจำ�นวนครัวเรือน ใหมีความแมนยำ� ผูวิจัยไดดำ�เนินการสำ�รวจจำ�นวน ประชากรในพืน้ ทีช่ มุ ชนเมืองเกาดวยตนเองโดยใชวธิ นี บั และจดบานเลขทีข่ องบานทุกหลังทีต่ งั้ อยูบ นพืน้ ทีเ่ ฉพาะ เขตเมืองเกาภูเก็ตเทานัน้ ผลสรุปวา มีจ�ำ นวนครัวเรือน ทัง้ สิน้ 840 หลังคาเรือน ผูว จิ ยั ไดตดั สินใจใชวธิ เี ก็บขอมูล จากทุกครัวเรือน (Census population) ทั้งนี้ เพื่อให ผลวิจัยมีความถูกตอง แมนยำ�และนาเชื่อถือมากที่สุด

119


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปีที่ 32 ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2555

เครื่องมือที่ใชในการวิจัย การศึ ก ษานี้ เ ป น การศึ ก ษาแบบพรรณนา (Descriptive study) โดยใชแบบสอบถามเปนเครื่องมือ แบงออกเปน 3 ตอน คือ ตอนที่ 1. แบบสอบถามขอมูล ทั่วไป จำ�นวน 13 ขอ เปนแบบตรวจสอบรายการเพื่อ สำ�รวจลักษณะขอมูลทางประชากรเกี่ยวกับเพศ อายุ ระดับการศึกษา การเปนสมาชิกภาพของชุมชน (โดย กำ�เนิดหรือยายมาจากที่อื่น) ลักษณะอาชีพ (เกี่ยวของ หรือไมเกีย่ วของกับการทองเทีย่ ว) และรายได ตอนที่ 2. ตรวจสอบความคิดเห็นของประชาชนที่มีตอผลกระทบ เชิงสังคมและวัฒนธรรม โดยใชคำ�ถามแบบมาตรสวน ประมาณคา (Rating Scale) ตามวิธีของ Likert แบง ออกเปน 5 ระดับ คือ เห็นดวยมากที่สุด เห็นดวยมาก เห็นดวย รูสึก​เฉยๆ เห็นดวยนอย และเห็นดวยนอย ที่สุด จำ�นวน 15 ขอ ตัวอยางเชน จำ�นวนนักทองเที่ยว ยามราตรีที่เพิ่มจำ�นวนมากขึ้นทำ�ใหเศรษฐกิจชุมชน ดีขึ้น ธุรกิจสถานบันเทิงยามราตรีทำ�ใหมีการจางงาน ในชุมชนเพิ่มขึ้น ซึ่งผูวิจัยไดสรางขึ้นโดยพัฒนาและ ประยุกตเพื่อใหสอดคลองกับบริบทของเมืองเกาภูเก็ต โดยอาศัยงานวิจัยในอดีต เชน งานของ Andereck … et al. (2005) ; Haley, Snaith and Miller (2005) ; Park and Stokowski (2009) รวมทั้งปรึกษากับผูทรงคุณวุฒิ ที่สำ�เร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกดานการทองเที่ยว ตอนที่ 3. เปนการสอบถามแนวทางการรับมือหรือวิธี การแกไขปญหาทางดานสังคมและวัฒนธรรมที่มีความ เหมาะสม โดยใหเลือกวิธีการที่เห็นดวย 3 วิธีโดยเรียง ลำ�ดับความสำ�คัญจาก 1 ถึง 3 จากตัวเลือกทัง้ หมด 7 วิธี ดวยกัน เชน ทานตัดสินใจขายบานเพื่อไปอยูที่อื่น ทาน ตัดสินใจใหผอู นื่ เชาบานหรืออาคารของทาน ทานเปลีย่ น อาชีพเพื่อทำ�ธุรกิจที่เกี่ยวของกับการทองเที่ยวโดยตรง ในบานหรืออาคารของทาน การตรวจสอบคุ ณ ภาพเครื่ อ งมื อ โดย ผูเชี่ยวชาญ 3 ทานเพื่อตรวจสอบหาความเที่ยงและ ความตรงตามเนื้อหา และนำ�ไปทดสอบหาความเชื่อมั่น โดยใชคาสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค (Cronbachcoefficient of alpha) โดยพบวามีคาเทากับ 0.824 ซึ่ง เปนคาความเชื่อมั่นระดับสูงและสามารถนำ�ไปใชได

120

การวิเคราะหขอมูล ภายหลังการเก็บรวมรวมขอมูล ผูวิจัยไดนำ� แบบสอบถามมาตรวจสอบความครบถวนสมบูรณ โดย มีแบบสอบถามที่สมบูรณจำ�นวนทั้งสิ้น 560 ชุด จาก นั้นจึงนำ�ไปประมวลผลดวยโปรแกรมคอมพิวเตอร 1. เพื่อวิเคราะหขอมูลเกี่ยวกับโครงสรางและ ลักษณะทางเศรษฐกิจและสังคมผูตอบแบบสอบถาม ใชสถิติพื้นฐานไดแก คาความถี่ (Frequency) และ คารอยละ (Percentage) เพือ่ สรุปลักษณะของประชากร ส ว นการวิ เ คราะห ค วามคิ ด เห็ น ต อ ผลกระทบการ ทองเที่ยวเชิงสังคมและวัฒนธรรม ใชคาเฉลี่ย (Mean) และสวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) 2. เพือ่ ทดสอบสมมุตฐิ าน ความแตกตางระหวาง ความคิดเห็นของผูตอบแบบสอบถามจำ�แนกตามเพศ (ชาย - หญิง) อาชีพทีเ่ กีย่ วของกับการทองเทีย่ ว (อาชีพ ทีเ่ กีย่ วของ - ไมเกีย่ วของกับการทองเทีย่ ว) และการเปน สมาชิกภาพ (เปนสมาชิกภาพตัง้ แตก�ำ เนิด - ยายถิน่ ฐาน มาจากที่อื่น) ใชวิธีทดสอบคาที (Independent Sample T-Test) และเพือ่ เปรียบเทียบความแตกตางตามกลุม ชวง อายุ แบงออกเปน 4 กลุม คือ นอยกวา 20 ป, 20-29 ป, 30-60 ป และ มากกวา 60 ป ระยะเวลาพำ�นักแบง ออกเปน 4 กลุม คือ นอยกวา 5 ป, 5-10 ป, 11-20, และ มากกวา 21 ป และระดับการศึกษาแบงออกเปน 3 กลุม คือ ประถมศึกษาหรือต่ำ�กวา, มัธยมศึกษาตอนตน ตอน ปลาย ปวช. ปวส., ปริญญาตรีหรือสูงกวา ใชสถิติการ วิเคราะหความแปรปรวนทางเดียว (One-way Analysis of Variance) 3. การวิเคราะหขอมูลจากการเลือกเรียงอันดับ ความสำ�คัญวิธีการรับมือและแกไขปญหา สรุปผลโดย ใชสถิติพื้นฐาน ไดแก คาความถี่ (Frequency) และคา รอยละ (Percentage) ผลการวิจัย ผลการศึกษาการทองเทีย่ วแบบเมือง ธุรกิจสถาน บันเทิงยามราตรีและผลกระทบเชิงสังคมและวัฒนธรรม ในเมืองเกาภูเก็ต สรุปไดดังนี้


การทองเที่ยวแบบเมือง ธุรกิจสถานบันเทิงยามราตรีและผลกระทบเชิงสังคมและวัฒนธรรมในเมืองเกาภูเก็ต ภาณุวัฒน ภักดีอักษร

ตอนที่ 1 โครงสร า งและลั ก ษณะทาง ประชากรศาสตรของผูพักอาศัยในเขตชุมชนเมือง เกาภูเก็ต ผลการวิเคราะหขอมูลพบวา ผูตอบแบบ สอบถามสวนใหญเปนเพศหญิงมากกวาเพศชาย โดย มีเพศหญิงรอยละ 61.80 และเพศชายรอยละ 38.20 ใน ภาพรวมผูตอบแบบสอบถามสวนใหญมีชวงอายุอยูใน วัยทำ�งาน คือ มีอายุระหวาง 30-60 ป รอยละ 54.50 มี พื้นฐานการศึกษาในระดับสูง โดยพบวา เกือบกึ่งหนึ่ง รอยละ 49.80 สำ�เร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือ สู ง กว า และร อ ยละ 45.50 สำ � เร็ จ การศึ ก ษาระดั บ มัธยมศึกษา ในดานการเปนสมาชิกภาพของชุมชน พบวา ปจจุบันสัดสวนของผูที่เปนชาวชุมชนเมืองเกาภูเก็ต โดยกำ�เนิดมีปริมาณนอยกวาผูที่เขามาพำ�นักอยูใหม โดยพบวา มีเพียงรอยละ 39.80 เทานั้น ขณะที่รอยละ 60.20 เปนผูท ยี่ า ยถิน่ ฐานมาจากทีอ่ นื่ และเมือ่ พิจารณา ในรายละเอียดพบวา ผูตอบแบบสอบถามเกือบกึ่งหนึ่ง รอยละ 48.90 เปนผูที่อาศัยอยูในชุมชนมานานกวา 10 ป ขณะที่รอยละ 23.80 ยอมรับวา ตนเพิ่งเขามาอยูใน ชุมชนเปนเวลานอยกวา 5 ป ในดานอาชีพนั้น พบวามีผูตอบแบบสอบถาม ร อ ยละ 27.70 ที่ป ระกอบอาชี พ ที่เ กี่ย วข อ งกั บ การ ทองเที่ยว โดยประเภทของกิจการที่พบมากที่สุด 3 ลำ�ดับแรก คือ 1 การใหบริการอาหารและเครื่องดื่ม 2 การขายสินคาของที่ระลึกหรืองานศิลปหัตถกรรม 3 การใหบริการเชาที่พักแรม ทั้งนี้เกือบกึ่งหนึ่ง รอยละ 49.03 มีรายไดจากกิจการดังกลาวอยูในระหวางรอยละ 25-50 ของรายไดรวมทั้งหมดตอเดือน ขณะเดียวกัน ก็ มี ผู  ที่ ไ ด รั บ รายไดจากการธุร กิจ ที่เกี่ย วขอ งกั บ การ ทองเที่ยวเกินรอยละ 51 ขึ้นไปคิดเปนจำ�นวนรอยละ 34.84 สำ�หรับผูท รี่ ะบุวา ไมไดประกอบอาชีพทีเ่ กีย่ วของ กับการทองเที่ยวพบวา โดยทั่วไปประกอบอาชีพธุรกิจ สวนตัว รอยละ 41.00 รับจางและเปนพนักงานเอกชน รอยละ 41.00 และมีเพียงรอยละ 12.00 ที่ทำ�งานกับ หนวยงานในภาครัฐ

ตอนที่ 2 ผลวิ เ คราะห ค วามคิ ด เห็ น ของ ผูตอบแบบสอบถามดานผลกระทบเชิงสังคมและ​ สิ่ ง แวดล อ มจากการเป ด ธุ ร กิ จ สถานบั น เทิ ง ยาม ราตรี พบวา ความคิดเห็นของผูตอบแบบสอบถามตอ ผลกระทบจากการเปดธุรกิจสถานบันเทิงยามราตรีใน ดานสังคมและวัฒนธรรมโดยรวมทุกดานอยูในระดับ ปานกลางหรือรูสึกเฉยๆ ( = 3.24, S.D. = 0.71) แต เ มื่ อ พิ จ ารณาเป น รายข อ พบว า มี 8 ข อ ที่ ผู  ต อบ แบบสอบถามไดแสดงทัศนะวา มีความเห็นดวยกับ ผลกระทบดังกลาวที่เกิดขึ้น เมื่อนำ�จัดเรียงลำ�ดับโดย ใชคา เฉลีย่ จากมากไปหานอย ผลสำ�รวจระบุวา 1.) ธุรกิจ สถานบั น เทิ ง ยามราตรี ก  อ ให เ กิ ด การดื่ ม สุ ร าในกลุ  ม เยาวชนและยาเสพติ ด เพิ่ ม ขึ้ น เป น ผลกระทบที่ มี ค  า เฉลีย่ สูงสุด คือ เทากับ 4.26 2.) ธุรกิจสถานบันเทิงยาม ราตรีกอใหเกิดการคาประเวณีเพิ่มขึ้นเปนผลกระทบ ( = 4.09) 3.) ธุรกิจสถานบันเทิงยามราตรีทำ�ให อาชญากรรมในชุมชนเพิ่มขึ้น ( = 3.95) 4.) การเพิ่ม จำ�นวนของธุรกิจสถานบันเทิงยามราตรีทำ �ใหชุมชน เกิดความแออัดมากขึ้น ( = 3.89) 5.) หากไมมีธุรกิจ สถานบั น เทิ ง ยามราตรี ส ภาพชุ ม ชนน า จะดี ก ว า นี้ ( = 3.77) 6.) การขยายตัวของธุรกิจสถานบันเทิง ยามราตรี ทำ�ใหวิถีชีวิตและความสัมพันธระหวางคน ในชุมชนเมืองเกาภูเก็ตแยลง ( = 3.77) 7. ธุรกิจ สถานบั น เทิ ง ยามราตรี ทำ � ให ชุ ม ชนเมื อ งเก า ภู เ ก็ ต มี ภาพลักษณในเชิงลบ ( = 3.72) และ 8.) ธุรกิจสถาน บันเทิงยามราตรีในชุมชนทำ�ใหความสุขและความอบอุน ในครอบครัวของลดลง ( = 3.72) ในขณะเดียวกัน ผูต อบแบบสอบถามก็แสดงความไมเห็นดวยกับขอความ ทีว่ า ธุรกิจสถานบันเทิงยามราตรีกระตุน ใหเกิดจิตสำ�นึก ในการอนุรกั ษวฒ ั นธรรมทองถิน่ ( = 2.65) ธุรกิจสถาน บันเทิงทองเที่ยวยามราตรีทำ�ใหชุมชนรูสึกภาคภูมิใจที่ ไดเห็นนักทองเที่ยวมาเยี่ยมชม ( = 2.71) ผูประกอบ การธุรกิจสถานบันเทิงยามราตรีใหความเคารพตอสิทธิ ของผูท อี่ าศัยอยูใ นเขตเมืองเกาภูเก็ต ( = 2.86) ดังแสดง ในตารางที่ 1

121


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปีที่ 32 ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2555

ตารางที่ 1. แสดงคาเฉลีย่ ( x ) และสวนเบีย่ งเบนมาตรฐาน (S.D.) ของผลกระทบทีเ่ กิดจากการเปดธุรกิจสถานบันเทิง ยามราตรีในดานสังคมและวัฒนธรรม ผลกระทบเชิงสังคมและวัฒนธรรม

คาสถิติ

x

S.D.

1. นักทองเที่ยวยามราตรีแสดงออกถึงความเคารพในวัฒนธรรมทองถิ่นในชุมชน

2.41

1.14

2. นักทองเที่ยวยามราตรีที่พบในชุมชนมีความสุภาพ

2.48

1.15

3. ธุรกิจสถานบันเทิงยามราตรีทำ�ใหอาชญากรรมในชุมชนเพิ่มขึ้น

3.95

1.01

4. ธุรกิจสถานบันเทิงยามราตรีกอใหเกิดการคาประเวณีเพิ่มขึ้น

4.09

0.99

5. ธุรกิจสถานบันเทิงยามราตรีกอใหเกิดการดื่มสุราในกลุมเยาวชนและยาเสพติดเพิ่มขึ้น

4.26

0.88

6. ธุรกิจสถานบันเทิงยามราตรีในชุมชนทำ�ใหความสุขและความอบอุนในครอบครัวของทานลดลง

3.72

1.15

7. การขยายตัวของธุรกิจสถานบันเทิงยามราตรี ทำ�ใหวิถีชีวิตและความสัมพันธระหวางคนใน ชุมชนเมืองเกา ภูเก็ตแยลง

3.77

1.07

8. การเพิ่มจำ�นวนของธุรกิจสถานบันเทิงยามราตรีทำ�ใหชุมชนเกิดความแออัดมากขึ้น

3.89

0.99

9. คนในชุมชนเมืองเกาภูเก็ตทยอยยายไปอาศัยที่อื่นๆ มากขึ้น หลังจากการเขามาของธุรกิจ สถานบันเทิงยามราตรี

3.63

1.04

10. การมีสวนรวมของชุมชนเมืองเกาภูเก็ตเกี่ยวกับการกำ�หนดทิศทางการทองเที่ยวเริ่มลด นอยลงหรือหมดไปหลังจากการเขามาของธุรกิจสถานบันเทิงยามราตรี

3.58

1.04

11. ธุรกิจสถานบันเทิงยามราตรีทำ�ใหชุมชนเมืองเกาภูเก็ตมีภาพลักษณในเชิงลบ

3.72

1.10

12. หากไมมีธุรกิจสถานบันเทิงยามราตรี สภาพชุมชนของทานนาจะดีกวานี้

3.77

1.08

13. ผูประกอบการธุรกิจสถานบันเทิงยามราตรีใหความเคารพตอสิทธิของผูที่อาศัยอยูในเขตเมือง เกาภูเก็ต

2.86

1.24

14. ธุรกิจสถานบันเทิงทองเที่ยวยามราตรีทำ�ใหชุมชนรูสึกภาคภูมิใจที่ไดเห็นนักทองเที่ยวมาเยี่ยมชม

2.71

1.23

15. ธุรกิจสถานบันเทิงยามราตรีกระตุนใหเกิดจิตสำ�นึกในการอนุรักษวัฒนธรรมทองถิ่น

2.65

1.28

3.24

0.71

รวมเฉลี่ย

ตอนที่ 3 ผลการทดสอบสมมุติฐาน ตารางที่ 2 เสนอผลการวิเคราะหปจจัยที่มีผลตอความคิดเห็นตอ ผลกระทบทางสังคมและวัฒนธรรมจำ�แนกตามลักษณะ ของผูตอบแบบสอบถาม

122


การทองเที่ยวแบบเมือง ธุรกิจสถานบันเทิงยามราตรีและผลกระทบเชิงสังคมและวัฒนธรรมในเมืองเกาภูเก็ต ภาณุวัฒน ภักดีอักษร

ตารางที่ 2. การเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นโดยแยกตามตัวแปรตางๆ

อายุ

ระดับการศึกษา

อาชีพ

การเปนสมาชิกภาพ

ระยะเวลาพำ�นัก

คานัยสำ�คัญ (P-Value) จำ�แนกตามลักษณะตางๆ ของ ผูตอบแบบสอบถาม

เพศ

1. นักทองเที่ยวยามราตรีแสดงออกถึงความเคารพใน วัฒนธรรมทองถิ่นในชุมชน

.055

.890

.813

.067

.294

.399

2. นักทองเที่ยวยามราตรีที่พบในชุมชนมีความสุภาพ

.007**

.701

.510

.070

.125

.350

3. ธุรกิจสถานบันเทิงยามราตรีทำ�ใหอาชญากรรมในชุมชนเพิ่มขึ้น

.859

.552

.223

.027*

.455

.511

4. ธุรกิจสถานบันเทิงยามราตรีกอใหเกิดการคาประเวณีเพิ่มขึ้น

.717

.068

.188

.131

.618

.595

5. ธุรกิจสถานบันเทิงยามราตรีกอใหเกิดการดื่มสุราในกลุมเยาวชน และยาเสพติดเพิ่มขึ้น 6. ธุรกิจสถานบันเทิงยามราตรีในชุมชนทำ�ใหความสุขและ ความอบอุนในครอบครัวของทานลดลง

.196

.292

.199

.248

.165

.151

.198

.681

.844

.177

.199

.237

7. การขยายตัวของธุรกิจสถานบันเทิงยามราตรี ทำ�ใหวิถีชีวิตและ ความสัมพันธระหวางคนในชุมชนเมืองเกาภูเก็ตแยลง

.768

.485

.413

.023*

.847

.756

8. การเพิ่มจำ�นวนของธุรกิจสถานบันเทิงยามราตรีทำ�ใหชุมชน เกิดความแออัดมากขึ้น

.485

.446

.129

.001**

.426

.230

9. คนในชุมชนเมืองเกาภูเก็ตทยอยยายไปอาศัยที่อื่นๆ มากขึ้น หลังจากการเขามาของธุรกิจสถานบันเทิงยามราตรี

.720

.605

.384

.006**

.549

.243

10. การมีสวนรวมของชุมชนเมืองเกาภูเก็ตเกี่ยวกับการกำ�หนด ทิศทางการทองเที่ยวเริ่มลดนอยลงหรือหมดไปหลังจาก การเขามาของธุรกิจสถานบันเทิงยามราตรี

.046*

.272

.150

.121

.854

.205

11. ธุรกิจสถานบันเทิงยามราตรีทำ�ใหชุมชนเมืองเกาภูเก็ตมี ภาพลักษณในเชิงลบ 12. หากไมมีธุรกิจสถานบันเทิงยามราตรี สภาพชุมชนของทาน นาจะดีกวานี้ 13. ผูประกอบการธุรกิจสถานบันเทิงยามราตรีใหความเคารพตอ สิทธิของผูที่อาศัยอยูในเขตเมืองเกาภูเก็ต

.804

.509

.093

.281

.326

.349

.434

.252

.157

.246

.299

.335

.000*** .160

.482

.012*

.217

.009**

14. ธุรกิจสถานบันเทิงทองเที่ยวยามราตรีทำ�ใหชุมชนรูสึก ภาคภูมิใจที่ไดเห็นนักทองเที่ยวมาเยี่ยมชม

.051

.150

.459

.050

.001**

.010*

15. ธุรกิจสถานบันเทิงยามราตรีกระตุนใหเกิดจิตสำ�นึกในการ อนุรักษวัฒนธรรมทองถิ่น

.027*

.511

.720

.090

.016*

.026*

ผลกระทบเชิงสังคมและวัฒนธรรม

หมายเหตุ: * หมายถึง มีนัยสำ�คัญทางสถิติ ณ ระดับความเชื่อมั่นรอยละ 95 ** หมายถึง มีนัยสำ�คัญทางสถิติ ณ ระดับความเชื่อมั่นรอยละ 99 *** หมายถึง มีนัยสำ�คัญทางสถิติ ณ ระดับความเชื่อมั่นรอยละ 99.90

123


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปีที่ 32 ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2555

จากตารางที่ 2 พบวา ปจจัยดานเพศมีอิทธิพล ตอความคิดเห็นตอผลกระทบทางสังคมและวัฒนธรรม ในประเด็นที่ 10 และ 15 แตกตางกันอยางมีนัยสำ�คัญ ทางสถิติ ณ ระดับความเชื่อมั่นรอยละ 95 ประเด็นที่ 2 แตกตางกันอยางมีนัยสำ�คัญทางสถิติ ณ ระดับความ เชื่อมั่นรอยละ 99 และประเด็นที่ 13 แตกตางกันอยาง มี นั ย สำ � คั ญ ทางสถิ ติ ณ ระดั บ ความเชื่ อ มั่ น ร อ ยละ 99.90 สวนปจจัยดานอาชีพในประเด็นที่ 3, 7 และ 13 แตกตางกันอยางมีนัยสำ�คัญสถิติ ณ ระดับความเชื่อมั่น รอยละ 95 ประเด็นที่ 8 และ 9 แตกตางกันอยางมี นัยสำ�คัญสถิติ ณ ระดับความเชื่อมั่นรอยละ 99 ปจจัย ดานการเปนสมาชิกภาพของชุมชนในประเด็นที่ 15 แตกตางกันอยางมีนัยสำ�คัญทางสถิติ ณ ระดับความ เชื่อมั่นรอยละ 95 และประเด็นที่ 14 แตกตางกันอยาง มีนยั สำ�คัญทางสถิติ ณ ระดับความเชือ่ มัน่ รอยละ 99.90 ปจจัยดานระยะเวลาพำ�นักในประเด็น 14 และ 15 แตกตางกันอยางมีนัยสำ�คัญทางสถิติ ณ ระดับความ เชื่อมั่นรอยละ 95 และในประเด็นที่ 13 แตกตางอยาง มี นั ย สำ � คั ญ สถิ ติ ณ ระดั บ ความเชื่ อ มั่ น ร อ ยละ 99 สวนปจจัยดานอายุและระดับการศึกษา พบวา ไมมคี วาม แตกตางกันอยางมีนัยสำ�คัญทางสถิติ

ตอนที่ 4 ผลการวิเคราะหวิธีการรับมือและ แกไขปญหาผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเปดสถาน บันเทิงยามราตรีในชุมชนเมืองเกาภูเก็ต (พิจารณา ตารางที่ 3 ประกอบ) พบวา ในบรรดา 7 วิธีการ ผูตอบ แบบสอบถามเห็นวา วิธีการลำ�ดับแรกที่จะนาจัดการ กับปญหาอยางมีประสิทธิภาพ คือ การรณรงคใหคนใน ชุมชนรวมมือกันเพื่อจัดการการทองเที่ยวในชุมชนใหมี ระบบและมีผลกระทบนอยที่สุดมีความเหมาะสมมาก ที่สุด โดยมีผูเลือกรอยละ 39.60 ลำ�ดับที่สองคือ การทำ� ความเขาใจกับเจาของธุรกิจสถานบันเทิงยามราตรีให มี จิ ต สำ � นึ ก และความรั บ ผิ ด ชอบต อ ชุ ม ชนมากขึ้ น มีผูเลือกทั้งสิ้นรอยละ 34.50 เปนลำ�ดับแรกในอันดับ ที่สอง และยังถูกเลือกใหเปนวิธีการแรกในอันดับที่สาม เชนเดียวกัน (รอยละ 25.70) สวนการตัดสินใจขายบาน เพื่อไปอยูที่อื่น ตัดสินใจใหผูอื่นเชาบานหรืออาคารของ ทาน หรือการเปลี่ยนอาชีพเพื่อทำ�ธุรกิจที่เกี่ยวของ กับการทองเที่ยวโดยตรงในบานหรืออาคารของทาน เปนทางเลือกที่มีผูเห็นดวยคอนขางนอย แตอยางไร ก็ตาม มีขอสังเกตวา ผูตอบแบบสอบถามสวนหนึ่ง เห็นดวยกับการทำ�ใจและยอมรับกับการเปลีย่ นแปลงใน วิถีชีวิต โดยมีผูเลือกเปนจำ�นวนถึงรอยละ 20.20

ตารางที่ 3. วิธีการแกปญหาที่เกิดจากผลกระทบการเปดธุรกิจสถานบันเทิงยามราตรี วิธีการปรับตัว/แกปญหาที่เกิดจากผลกระทบ การเปดธุรกิจสถานบันเทิงยามราตรี

เลือก (รอยละ) อันดับ 1

อันดับ 2

อันดับ 3

ไมเลือก (รอยละ)

รวม (รอยละ)

1. ตัดสินใจขายบานเพื่อไปอยูที่อื่น

1.10

0.90

1.40

96.60

100

2. ตัดสินใจใหผูอื่นเชาบานหรืออาคารของทาน

3.60

2.70

4.60

89.10

100

3. เปลี่ยนอาชีพเพื่อทำ�ธุรกิจที่เกี่ยวของกับการทองเที่ยว โดยตรงในบานหรืออาคารของทาน

5.50

4.30

5.50

84.60

100

4. รณรงคใหคนในชุมชนรวมมือกันเพื่อจัดการการทองเที่ยว ในชุมชนของทานใหมีระบบและมีผลกระทบนอยที่สุด

39.60

23.90

19.10

17.30

100

5. เรียกรองใหหนวยงานของภาครัฐที่เกี่ยวของบังคับใช กฎหมายอยางเครงครัด

24.10

28.20

19.60

28.00

100

6. ทำ�ความเขาใจกับเจาของธุรกิจสถานบันเทิงยามราตรีใหมี จิตสำ�นึกและความรับผิดชอบตอชุมชนมากขึ้น

19.10

34.50

25.70

20.70

100

7. ทำ�ใจและยอมรับกับการเปลี่ยนแปลงในวิถีชีวิต

6.10

4.30

20.20

69.50

100

124


การทองเที่ยวแบบเมือง ธุรกิจสถานบันเทิงยามราตรีและผลกระทบเชิงสังคมและวัฒนธรรมในเมืองเกาภูเก็ต ภาณุวัฒน ภักดีอักษร

การอภิปรายและสรุปผล สภาพเศรษฐกิจและสังคมของประชาชนทีพ่ กั อาศัยในเขตชุมชนเมืองเกาภูเก็ต โดยภาพรวม งานวิจยั ในครัง้ นีไ้ ดฉายภาพสภาพ ปจจุบันของชุมชนเมืองเกาภูเก็ตที่เปลี่ยนแปลงไปจาก เดิม หากนำ�ผลวิจัยที่ไดมาเปรียบเทียบกับผลวิจัยของ จันทนี พวงแกว (2546) ทีร่ ะบุวา ในอดีตชุมชนเมืองเกา ภูเก็ตเปนชุมชนที่เคยมีความเปนอยูแบบสังคมชนบท ผูคนสวนใหญสืบเชื้อสายมาจากชาวจีน มีความเปนอยู และวิถีชีวิตแบบจีนที่เรียบงาย ผูคนสวนใหญยึดอาชีพ คาขายและระบบเศรษฐกิจมีความเกี่ยวกันแนบแนน กั บ กิ จ การค า แร ดี บุ ก จะพบว า ป จ จุ บั น สภาพของ เมืองเกาภูเก็ตไดปรับเปลี่ยนไปจากเดิม โดยเฉพาะ จากระบบเศรษฐกิจที่อิงอาศัยกับการคาแรเปลี่ยนเปน ธุรกิจที่เกี่ยวของกับการทองเที่ยวมากขึ้น มีการเปด ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม การขายสินคาของที่ระลึก และงานศิลปหัตถกรรม การเปดใหบริการที่พักแรม แกนักทองเที่ยว นอกจากนี้ในแงสัดสวนของผูอยูอาศัย ก็พบวา ปจจุบันมีประชากรดั้งเดิมที่เปนชาวเมืองเกา ภูเก็ตแทๆ เหลือเพียงรอยละ 39.80 ในขณะที่มีผูคน จากทั่วสารทิศไดเดินทางเขามาพักอาศัยเพื่อประกอบ อาชีพและแสวงหาประโยชนทางธุรกิจมากถึงรอยละ 60.20 การเขามาของบุคคลตางถิ่นเหลานี้ยอมสงผล โดยตรงตอการเปลี่ยนแปลงของชุมชนในเชิงสังคมและ วัฒนธรรม ดังที่ ฤดี ภูมิถาวร (2550) อธิบายวา ความ สัมพันธระหวางคนในชุมชน บาน วัด โรงเรียนเริม่ หางเหิน กั น มากขึ้ น การให ค วามช ว ยเหลื อ เกื้ อ กู ล แบบให เปลาเปลี่ยนเปนการซื้อขาย ทุกอยางกลายเปนธุรกิจ และตางคนตางอยู และสงผลตอความรูสึกเปนเจาบาน รัก หวงแหนและผูกพันกับพืน้ ที่ และทายทีส่ ดุ การคำ�นึง ถึงผลประโยชนและภาพลักษณของชุมชนอาจลดนอยลง หากเทียบกับผูที่อยูอาศัยมาแตเดิม ผลกระทบเชิ ง สั ง คมและวั ฒ นธรรมจาก การเป ด สถานบั น เทิ ง ยามราตรี ใ นทั ศ นะของ ประชาชน ดังทีไ่ ดกลาวมาแลวในสวนบทนำ� การทองเทีย่ ว แบบเมืองของภูเก็ตมีองคประกอบหลายประการ ทัง้ การ เยี่ยมชมสภาพบานเมือง อาคารสถาปตยกรรมและ

ความนาสนใจอื่นๆ ของ “ความเปนภูเก็ต” (Phuketness) อยางไรก็ตาม งานวิจัยฉบับนี้ไดมุงความสนใจ ไปที่ ก ารตรวจสอบและประเมิ น ผลกระทบเชิ ง สั ง คม และวัฒนธรรมจากการเปดสถานบันเทิงยามราตรีใน เขตพื้นที่เมืองเกาภูเก็ตวาสงผลอยางไรบางตอชุมชน ในฐานะเจาบาน โดยผลวิจยั ไดแสดงใหเห็นวา นับตัง้ แต การเปดใหบริการสถานบันเทิงเมือ่ เมือ่ ป 2552 ในสำ�นึก รับรูของชาวเมืองเกาภูเก็ต ผลกระทบตางๆ ที่เกิดขึ้น โดยภาพรวมยังอยูในระดับปกติ ขอคนพบนี้มีความ สอดคลองกับแนวคิดวงจรชีวิตของแหลงทองเที่ยวของ Butler (1980) ที่ชี้วา ในวงจรขั้นที่ 1 หรือ 2 ผลกระทบ จากพัฒนาการของแหลงทองเที่ยวใดๆ (Destination) จะอยู  ใ นระดั บ ต่ำ � จนแทบไม ส ามารถสั ง เกตเห็ น ได นอกจากนี้หากพิจารณาจากขอเท็จจริงที่วา ผลกระทบ เชิงสังคมและวัฒนธรรมจัดเปนผลกระทบที่มีลักษณะ ความเปนนามธรรมสูง ไมสามารถมองเห็นหรือสัมผัส ไดชัดเจนอยางเปนรูปธรรมเหมือนกับผลกระทบเชิง สิง่ แวดลอมหรือเศรษฐกิจ (Haley, Snaith and Miller 2005) อาจเปนเหตุผลประกอบสำ�คัญทีอ่ ธิบายวา เพราะเหตุใด ในความรูสึกของชาวเมืองเกาภูเก็ต ผลกระทบตางๆ ที่เกิดขึ้นจึงอยูในระดับที่ไมนากังวลใจเทาใดนัก ใน ขณะเดี ย วกั น ผลวิ จั ย ก็ เ ป น บทพิ สู จ น สั ม ฤทธิ ผ ลของ หนวยงานภาครัฐทีเ่ กีย่ วของวา ทีผ่ า นมาสามารถควบคุม ดูแลใหธรุ กิจสถานบันเทิงราตรีอยูใ นขอบเขตทีเ่ หมาะสม รวมทัง้ สะทอนความรวมมือของเจาของสถานบันเทิงยาม ราตรีทปี่ ฏิบตั ติ ามกฎหมายและเคารพในสิทธิของชุมชน เจาบาน แมขอคนพบจากงานวิจัยจะเปนที่นายินดี โดย ภาพรวมธุรกิจสถานบันเทิงยามราตรีไมไดกอใหเกิด ความเดื อ นร อ นรำ � คาญหรื อ สร า งผลกระทบในขั้ น วิกฤติตอชุมชนเมืองเกาภูเก็ต แตหากวิเคราะหลึกลง ไปในรายละเอียด ผลวิจยั ก็สะทอนใหเห็นประเด็นปญหา สำ�คัญหลายประการทีไ่ มควรมองขามและสมควรหยิบยก ขึ้นมาพิจารณาใหลึกซึ้ง โดยเฉพาะความคิดเห็นและ ความรูส กึ ของชุมชนตอปญหาการดืม่ สุราและยาเสพติด ที่เพิ่มขึ้นในกลุมเยาวชน ปญหาการคาประเวณีและ ป ญ หาอาชญากรรมภายในชุ ม ชน ข อ ค น พบนี้ เ ป น สัญญาณสำ�คัญทีช่ วี้ า หากปราศจากการวางแผนจัดการ

125


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปีที่ 32 ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2555

การบัญญัติกฎเกณฑ ผลกระทบดานลบอาจมีแนวโนม ลุ ก ลามขยายตั ว จนกลายเป น ป ญ หาใหญ ที่ บั่ น ทอน ความสงบสุขของสังคมเมืองเกาภูเก็ตในระยะยาว ที่ สำ�คัญปรากฏการณนี้ยังมีความสอดคลองกับผลการ วิจัยในอดีตที่ผานมาหลายฉบับ เชน งานของ BastiasPerez and Var (1995) ; Johnson, Snepenger and Akis (1994) ; Lawton (2005) ; Sirakaya, Teye and Sonmez (2002) และ Teye and Sirakaya (2002) ที่ สรุปตรงกันวา พัฒนาการการทองเที่ยวนำ�มาซึ่งปญหา โสเภณี การชักจูงใหเกิดการขายบริการทางเพศ การ ใชยาเสพติด การลักขโมยในแหลงทองเที่ยว ในทาง ตรงกัน ขามเมื่อพิจารณาผลกระทบเชิงบวกจากการ เขามาของธุรกิจสถานบันเทิงยามราตรีผลวิจัยก็พบวา ประโยชนที่จะไดรับจากการเปดธุรกิจสถานบันเทิงยาม ราตรีมีคอนขางนอยในทุกประเด็น ทั้งในแงการกระตุน ใหชุมชนเกิดจิตสำ�นึกในการอนุรักษวัฒนธรรมทองถิ่น หรือทำ�ใหชุมชนรูสึกภาคภูมิใจที่ไดเห็นนักทองเที่ยว มาเยี่ยมเยือน นอกจากนี้ยังคนพบวา ในมุมมองของ ชาวเมืองเกาภูเก็ต ธุรกิจในลักษณะนี้วาเปนตัวแปรที่ ทำ�ใหเกิดภาพลักษณเชิงลบตอชุมชนได ขอคนพบเหลานี้จึงเปนสิ่งจำ�เปนที่ผูเกี่ยวของ ทุกฝายตองขบคิดอยางจริงจัง เพราะแมวาธุรกิจบันเทิง ยามราตรีจะไมใชสงิ่ ทีผ่ ดิ ปกติและมักเปนสิง่ ทีเ่ ราคุน เคย กันดีในแหลงทองเที่ยวทั่วไป แตในพื้นที่ที่มีลักษณะ พิ เ ศษและละเอี ย ดอ อ นอย า งกรณี ข องพื้ น ที่ ชุ ม ชน เมืองเกาภูเก็ตที่มีความหมายของการเปน “ภูมิทัศนเชิง ประวั ติ ศ าสตร แ ละวั ฒ นธรรม” (Histo-cultural landscape) อั น เป น อั ต ลั ก ษณ สำ � คั ญ ของชาว เปอรานากัน การแสวงหาผลกำ�ไรสูงสุดโดยการพัฒนา ใหพื้นที่กลายเปนแหลงทองเที่ยวโดยใชธุรกิจสถาน บันเทิงยามราตรีเพื่อเปนแมเหล็กดึงดูดนักทองเที่ยว อาจเปนดาบสองคม ในทางเศรษฐกิจเมืองเกาภูเก็ตมี รายไดดีขึ้น แตในอีกทางหนึ่งก็อาจสรางปญหาความ เสื่อมโทรมและกระทบตอสังคม วัฒนธรรมและศีลธรรม อันดีไดเชนกัน (Haralambopoulos and Pizam 1997 ; Tosun 2002) และทายที่สุดอาจนำ�ไปสูการลมสลาย ทางจิ ต วิ ญ ญาณของพื้ น ที่ เ มื่ อ ถู ก ผลประโยชน แ ละ อำ�นาจทางธุรกิจครอบงำ�จนสูญเสียเสนหและทำ�ลาย

126

เอกลักษณความเปนเมืองเกาแกที่แทจริง ดังที่เคยเกิด ขึ้นในหลายแหลงทองเที่ยวทั่วโลก เชน ในเมืองไซงอน (Saigon) ตั้งอยูทางตอนใตของเวียดนามที่ดนตรี แสงสี เหลาเบียร ยาเสพติดและนักคาบริการทางเพศไดรุม ทำ�ลายบรรยากาศแหงความเปนเมืองวัฒนธรรมของ เวียตนามไปอยางนาเสียดาย (Bystrzanowski and Aramberri 2003) หรือเมืองทองเที่ยวอยางเกาะ Goa ในอินเดียทีก่ ลายสภาพจากสรวงสวรรคของนักทองเทีย่ ว เปนนรกบนดินไปโดยปริยาย ซึ่งสวนหนึ่งของปญหา มี ที่ ม าจากการขยายตั ว ของสถานบั น เทิ ง สำ � หรั บ นั ก ทองเทีย่ วทีไ่ รขอบเขตและตองประสบกับภาวะตกต่�ำ จน ทุกวันนี้ (Naronha 1999) วิธีการแกไขปญหาที่เกิดจากการเปดสถาน บันเทิงยามราตรีของประชาชนในเขตเมืองเกาภูเก็ต การวางแผนและการจัดการการทองเที่ยวที่ดี เปนกุญแจทีท่ �ำ ใหภเู ก็ตกาวไปสูก ารเปนแหลงทองเทีย่ ว คุ ณ ภาพชั้ น นำ � ในระดั บ ภู มิ ภ าคและระดั บ โลก เมื่ อ พิจารณาจากสภาพความเปนไปและระดับพัฒนาการ การทองเที่ยวแบบเมืองที่ภูเก็ตกำ�ลังเผชิญอยู ผนวก กับผลสำ�รวจจากเจาบานที่ตองการสรางความรวมมือ ทั้ ง จากคนในชุ ม ชน การเจรจากั บ ภาคธุ ร กิ จ รวมทั้ ง เรียกรองการดูแลจากภาครัฐเพื่อรณรงควิธีการจัดการ การทองเที่ยวแบบเมืองที่เหมาะสม ภูเก็ตอาจเปดเวที เสวนาเพื่อระดมความคิดเห็นจากทุกฝายในการบูรณา การแผนการจั ด การท อ งเที่ ย วแบบเมื อ งที่ ยั่ ง ยื น (Sustainable urban tourism) นอกจากนี้ในเบื้องตน ภู เ ก็ ต อาจพิ จ ารณาเพิ่ ม กิ จ กรรมพิ เ ศษอื่ น ๆ ในช ว ง กลางคืน เชน การกำ�หนดเปดกิจกรรมถนนคนเดิน การแสดงวัฒนธรรมพื้นเมืองของชาวภูเก็ต การเปด บริการอาหารและเครื่องดื่มทองถิ่น เพื่อเปดโอกาส ใหชุมชนในฐานะเจาของพื้นที่ไดมีสวนรวมในกิจกรรม การทองเที่ยวแบบเมืองมากขึ้น ผลที่ไดนอกจากจะชวย ใหมีการกระจายรายไดและสงผลใหเศรษฐกิจขยายตัว แลว ยังสงผลดีโดยตรงในการชวยลดทอนผลกระทบ เชิงลบจากการมีเพียงสถานบันเทิงในฐานะ “สิ่งดึงดูดใจ หลัก” (Primary attraction) แตเพียงอยางเดียวในเวลา กลางคื น วิ ธี ก ารนี้ อ าจช ว ยส ง เสริ ม ภาพลั ก ษณ แ ละ ประชาสัมพันธความเปนเมืองวัฒนธรรมของภูเก็ตไดดี


การทองเที่ยวแบบเมือง ธุรกิจสถานบันเทิงยามราตรีและผลกระทบเชิงสังคมและวัฒนธรรมในเมืองเกาภูเก็ต ภาณุวัฒน ภักดีอักษร

ยิ่งขึ้น ที่สำ�คัญภูเก็ตควรศึกษาและเทียบเคียงแนวทาง การจัดการการทองเที่ยวแบบเมืองจากแหลงทองเที่ยว ทีม่ กี ารจัดการการทองเทีย่ วทีม่ คี ณ ุ ภาพ อยางเมืองปนงั หรือมะละกาในประเทศมาเลเซียซึ่งทั้งสองเมืองพื้นฐาน ลักษณะทางสถาปตยกรรม รูปแบบวัฒนธรรมประเพณี ที่คลายคลึงเปนอันมากกับเกาะภูเก็ต โดยปจจุบันเมือง ปนังและเมืองมะละกาไดรับการยกยองและจดทะเบียน จากองคการยูเนสโกใหเปนเมืองมรดกโลก (Chai 2011) นอกจากนี้ ภู เก็ต เองก็ต องใหความสำ � คัญต อ ศึ ก ษา ความตองการและพฤติกรรมนักทองเที่ยวในปจจุบัน โดยเฉพาะนักทองเที่ยวเฉพาะกลุม (Niche Market) คุณภาพทีช่ นื่ ชอบการเดินทางเพือ่ มาสัมผัสกับประเพณี วัฒนธรรมและวิถีชีวิตของผูคน ทายที่สุด ขอมูลจากการทดสอบสมมุติฐานของ งานวิจัยฉบับนี้ยนื ยันผลการวิจัยทีผ่ า นมาวา ปจจัยดาน เพศ อาชีพ การเปนสมาชิกภาพของชุมชน และระยะเวลา ในการพักอาศัยในชุมชนของผูตอบแบบสอบถามมีอิทธิ พลตอระดับความคิดเห็นผลกระทบการทองเที่ยวที่เกิด ขึ้น ดังที่ปรากฎในงาน Andereck … et al. (2005) ; Haralambopoulos and Pizam (1996) ; Wang, Bickle and Harrill (2010) ที่ไดรายงานผลวิจัยในลักษณะ เดียวกัน ขณะเดียวกันก็ไดปฏิเสธวา ระดับการศึกษาไมมี อิทธิพลใดๆ ตอความคิดเห็นผลกระทบการทองเที่ยว 



ซึ่งขัดแยงกับงานของ Tosun (2002) และ Husbands (1989) ที่ ชี้ ว  า ป จ จั ย ด า นการศึ ก ษาเป น ตั ว แปร สำ�คัญตอการรับรูผลกระทบการทองเที่ยวของเจาบาน ที่แตกตางกัน ขอเสนอแนะงานวิจัย การศึกษาและทำ�ความเขาใจเกีย่ วกับผลกระทบ อันเนื่องจากการพัฒนาการทองเที่ยวที่มีตอชุมชนเปน สิ่งที่สำ�คัญสำ�หรับหนวยที่เกี่ยวของทุกระดับ เพราะผล สำ�เร็จของการพัฒนาการทองเที่ยวใดๆ ยอมมีปจจัย พื้นฐานจากความรวมมือของคนในทองถิ่นเปนสำ�คัญ งานวิ จั ย เรื่ อ งนี้ เ ป น งานวิ จั ย ฉบั บ แรกที่ ไ ด สำ � รวจ ตรวจสอบผลกระทบจากการพั ฒ นาการท อ งเที่ ย ว แบบเมื อ งโดยมี พื้ น ที่ ชุ ม ชนเมื อ งเก า ภู เ ก็ ต เป น กรณี ศึกษา ดังที่ Butler (1980) ไดกลาววา การทองเทีย่ วเปน อุตสาหกรรมที่มีพัฒนาการตามชวงระยะเวลา ดังนั้น ในอนาคตการวิจยั ติดตามระยะยาว (Longitudinal study) เพื่ อ เก็ บ ข อ มู ล และตรวจสอบวั ด ทั ศ นคติ แ ละการ เปลีย่ นแปลงของระดับผลกระทบในชุมชนเมืองเกาภูเก็ต ทุก 3 หรือ 5 ปจึงเปนสิ่งจำ�เปนเพราะจะทำ�ใหไดขอมูล เชิงเปรียบเทียบ นอกจากนีน้ กั วิจยั ทีส่ นใจอาจใชวธิ กี าร รวบรวมขอมูลเชิงคุณภาพเพื่อใหไดขอคนพบในระดับ รายละเอียดไดดียิ่งขึ้น 

127


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปีที่ 32 ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2555

เอกสารอางอิง ภาษาไทย จันทนี พวงแกว. (2546). ยานการคาเกาภูเก็ต 100 ป แหงวิถีชีวิตชุมชน (พ.ศ. 2444-2543). วิทยานิพนธศิลป ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาสังคม คณะมนุษยศาสตรและสังคมศาสตร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร. ปราณี สกุลพิพัฒน. (2543). ยอนอดีตเมืองภูเก็จ. ภูเก็ต: วิเศษ. ฤดี ถาวรบุตร. (2550). ภูเก็ต. ภูเก็ต: ภูเก็ตบูลเลทิน. ภาษาอังกฤษ Andereck, K. L. ... et al. (2005). Residents’ perceptions of community tourism impacts. Annals of Tourism Research 32 (4) : 1056-1076. Ashworth, G. and Page, S. (2011). Urban tourism research: Recent progress and current paradoxes. Tourism Management 32 (1) : 1-15. Bastias-Perez, P. and Var, T. (1995). Perceived impacts of tourism by residents. Annals of Tourism Research 22 (1) : 208-210. Buhalis, D., Maitland, R., and Viveiros, L. (2000). Urban tourism. Annals of Tourism Research 27 (1) : 229-231. Butler, R. W. (1980). The concept of tourist area life cycle of evolution: implications for management of resources. Canadian Geographer 24 (1) : 5-12. Bystrzanowski, J. and Aramberri, J. (2003). The iron laws of sex tourism. Tourism Recreation Research 28 (3) : 83-91. Chai, L. T. (2011). Culture Heritage Tourism Engineering at Penang: Complete The Puzzle Of “The Pearl Of Orient.” Systems Engineering Procedia 1 (1) : 358-364. Choi, H. S. C. and Sirakaya, E. (2005). Measuring residents’ attitude toward sustainable tourism: Development of sustainable tourism attitude scale. Journal of Travel Research 43 (4) : 380-394. Enright, M. and Newton, J. (2004). Tourism destination competitiveness: a quantitative approach. Tourism Management 25 (6) : 777-788. Haley, A. J., Snaith, T., and Miller, G. (2005). The social impacts of tourism: a case study of Bath, UK. Annals of Tourism Research 32 (3) : 647-668. Haralambopoulos, N. and Pizam, A. (1996). Perceived impacts of tourism : the case of Samos. Annals of Tourism Research 23 (3) : 503-526. Husbands, W. (1989). Social status and perception of tourism in Zambia. Annals of Tourism Research 16 (2) : 237-253. Johnson, J. D., Snepenger, D. J., and Akis, S. (1994). Residents’ perceptions of tourism development. Annals of Tourism Research 21 (3) : 629-642. Lawton, L. J. (2005). Resident perceptions of tourist attractions on the Gold Coast of Australia. Journal of Travel Research 44 (2) : 188-200.

128


การทองเที่ยวแบบเมือง ธุรกิจสถานบันเทิงยามราตรีและผลกระทบเชิงสังคมและวัฒนธรรมในเมืองเกาภูเก็ต ภาณุวัฒน ภักดีอักษร

Melián-González, A., Moreno-Gil, S., and Araña, J. (2011). Gay tourism in a sun and beach destination. Tourism Management 32 (5) : 1027-1037. Naronha, F. (1999). Ten years later, Goa still uneasy over the impact of tourism. International Journal of Contemporary Hospitality Management 11 (2/3) : 100-106. Park, M. and Stokowski, P. A. (2009). Social disruption theory and crime in rural communities : comparisons across three levels of tourism growth. Tourism Management 30 (6) : 905-915. Reisinger, Y. (2009). Local resident perception: International tourism: Culture and behaviour. Oxford: Elsevier. Shapira, K. (2004). Sustainable urban tourism: involving local agents and partnerships for new forms of governace (SUT governance) Project legacy and the new challenge. Karlsruhe: The institute for technology assessment and system analysis (ITAS). _________. (2007). New paradigms in city tourism management: redefining destination promotion. Journal of Travel Research 4 (1) : 108-114. Sirakaya, E., Teye, V., and Sonmez, S. (2002). Understanding residents’ support for tourism development in the Central Region of Ghana. Journal of Travel Research 41 (1) : 57-67. Spink, J. (1994). Urban tourism and city trip, Rotterdam. Tourism Management 15 (6) : 471-472. Teye, V. and Sirakaya, E. (2002). Residents’ attitudes toward tourism development. Annals of Tourism Research 29 (3) : 668-688. Tosun, C. (2002). Host perceptions of impacts: a comparative tourism study. Annals of Tourism Research 29 (1) : 231-253. Verbeke, J. (1996). Scanning musuem visitors: urban tourism marketing. Annals of Tourism Research 23 (2) : 364-375. Wang, S., Bickle, M., and Harrill, R. (2010). Residents’ attitudes toward tourism development in Shandong, China. International Journal of Culture, Tourism and Hospitality Research 4 (4) : 327-339. Yen, I. and Kerstetter, D. (2009). Tourism impacts, attitudes and behavioral intentions. Tourism Analysis 13 (5/6) : 545-564.

129



6 คุณลักษณะภาวะผูนำ�ที่มีผลตอการพัฒนาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง Six Characteristic of Charismatic Leadership in Effecting on the Philosophy of Sufficiency Economy นคเรศ ณ พัทลุง1 และยุวัฒน วุฒิเมธี 2 Nakarait Napattalung and Yuwat Wuttimatee บทคัดยอ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงคเพื่อ 1.) ศึกษาคุณลักษณะภาวะผูนำ�บารมีและผลสัมฤทธิ์การพัฒนาตามหลัก ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 2.) ศึกษาปจจัยคุณลักษณะภาวะผูนำ�บารมีตอผลสัมฤทธิ์การพัฒนาตามหลักปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง 3.) วิเคราะหคุณลักษณะภาวะผูนำ�บารมีกับผลสัมฤทธิ์การพัฒนาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียง การวิจัยในครั้งนี้เปนการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรคือผูนำ�เครือขายพัฒนาชุมชนดีเดนที่ไดรับรางวัล พระราชทานจากสมเด็จพระเทพฯ โดยเลือกกลุมตัวอยางแบบเจาะจงเปนผูนำ�ที่ไดรับรางวัล “ผูนำ�องคกรเครือขาย พัฒนาชุมชนดีเดน” จำ�นวน 375 คน ทีเ่ ปนแกนหลักสำ�คัญในการพัฒนาหมูบ า นเศรษฐกิจพอเพียงประจำ�ป พ.ศ. 2554 และผูทรงคุณวุฒิที่คัดเลือกแบบเจาะจง จำ�นวน 50 คน จากผูนำ�ภาครัฐและผูนำ�ภาคประชาชนเปนการใหขอมูลการ วิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใชในการเก็บรวบรวมขอมูลคือแบบสอบถาม และแบบสอบถามประกอบการสัมภาษณ สถิติที่ใชในการวิจัย ไดแก คารอยละ คาเฉลี่ย สวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐาน ใชคาสถิติสัมประสิทธิ์ สัมพันธ และคาสมการถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบวา คุณลักษณะภาวะผูน�ำ บารมีที่ก�ำ หนดในการวิจัย 8 ตัว คือ การมีวิสัยทัศนที่เขมแข็ง ความสามารถทางการบริหาร ทักษะทางสังคม การทำ�ใหสมาชิกรูสึกมีความสามารถ การ มุง ปฏิบตั ใิ หบรรลุผล แบบอยางเชิงคุณสมบัติ แบบอยางเชิงพฤติกรรม และแบบอยางเชิงจิตใจ ผลการวิจยั ชีใ้ หเห็นวา คุณลักษณะผูน �ำ บารมี 4 ปจจัย ไดแก การมีวสิ ยั ทัศนทเี่ ขมแข็ง ความสามารถทางการบริหาร การมุง ปฏิบตั ใิ หบรรลุผล และแบบอยางเชิงจิตใจ มีความสัมพันธอยางมีนัยสำ�คัญกับผลสัมฤทธิ์การพัฒนาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือ ดานการมีวสิ ยั ทัศนทเี่ ขมแข็งและความสามารถทางการบริหาร มีความสัมพันธอยางมีนยั สำ�คัญทางสถิตทิ รี่ ะดับ .01 สวนการมุง ปฏิบตั ใิ หบรรลุผล และแบบอยางเชิงจิตใจ มีความสัมพันธอยางมีนยั สำ�คัญทางสถิตทิ รี่ ะดับ .05 สวนทีเ่ หลือ ไมมีความสัมพันธกับผลสัมฤทธิ์การพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียง ผลการวิเคราะหจากการสัมภาษณ พบวา คุณลักษณะ หลักของภาวะผูนำ�บารมีที่สงผลตอผลสัมฤทธิ์การพัฒนาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ประกอบดวย การมีวิสัย ทัศนที่เขมแข็ง ความสามารถทางการบริหาร การมุงปฏิบัติใหบรรลุผล และแบบอยางทางจิตใจเชิงคุณธรรม ขณะที่ คุณลักษณะรองที่สงเสริมสนับสนุนการพัฒนาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ไดแก ทักษะทางสังคม และ แบบอยางเชิงพฤติกรรม คำ�สำ�คัญ : 1. ผูนำ�บารมี. 2. ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. 3. ผลสัมฤทธิ์การพัฒนา. __________________ สยาม

1

อาจารย ประจำ�คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสติ และนักศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบณ ั ฑิต มหาวิทยาลัย

2

ศาสตราจารย (พิเศษ) ประธานสมาพันธองคการพัฒนาชุมชนแหงประเทศไทย และที่ปรึกษางานวิจัย


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปีที่ 32 ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2555

Abstract The objectives of this research were 1.) to study charismatic leadership and its achievement in community development based on the philosophy of sufficiency economy, 2.) to study charismatic leadership factors in predicting the achievement in community development based on the philosophy of sufficiency economies, and 3.) to analysis charismatic leadership factors affecting the achievement in community development based on the philosophy of sufficiency economies. The study employed a quantitative research method. The respondents in this study were 375 leaders who were granted “The Excellent Leader in a Community Development Network Awards in the year 2011” and 50 technicians from government sectors and community leaders selected by the purposive sampling method. Questionnaires and interviews were used as a tool for collecting data. The statistics used in this research included percentage, mean, standard deviation and correlation coefficient test, regression analysis for hypothesis testing. It was found that from 8 characteristics of leadership (i.e., strong vision, management ability, social skill, making his/her workers feel capable, goal-oriented working style, model property, model behavior, and model mentality), 4 leadership characteristics (strong vision, management skill, goal-oriented working style, and model mentality) were significantly related to efficiency of development based on the philosophy of sufficiency economies. Strong vision and management skill are related at the level of 0.1. Goal-oriented working style and model mentality are related at the level of 0.5. The other 4 characteristics are not related to efficiency of development based on the philosophy of sufficiency economies. Additionally, from the interviews, it was found that strong vision, management skill, goal-oriented working style, model mentality were major leadership characteristics affecting the efficiency of development based on the philosophy of sufficiency economies. Social skill and model behavior, however, were considered to be minor leadership characteristics affecting the efficiency of development based on the philosophy of sufficiency economies. Keywords: 1. Charismatic leadership. 2. The philosophy of sufficiency economy. 3. Achievement of development.

132


6 คุณลักษณะภาวะผูนำ�ที่มีผลตอการพัฒนาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง นคเรศ ณ พัทลุง และยุวัฒน วุฒิเมธี

บทนำ� “การพัฒนา (Development)” เปนสิ่งที่ทุกสังคม ยอมรับและใหความสำ�คัญ และพยายามหาทางที่จะไป สูผลสัมฤทธิ์ ดวยแนวทางและวิธีการตางๆ ตามระบบ ความคิด ความเชือ่ และปรัชญาทีเ่ รียกวา “กระบวนทัศน การพัฒนา” (Development paradigm) ที่ปรากฏอยูใน สังคม ซึ่งไมไดคงที่ตายตัวอยูตลอดไป เพราะแนวคิด เกี่ ย วกั บ การพั ฒ นาเป น แนวความคิ ด เชิ ง ปทั ส ถาน (Normative Concept) จึงมีการเปลี่ยนแปลงไดตาม ปจจัยที่เกี่ยวของ (โกลดสเวอรธี 2530 : 3) กระบวน ทัศนการพัฒนาในสังคมใดสังคมหนึ่งยอมมีอิทธิพลใน การกำ�หนดอุดมการณเปาหมายและแนวทาง รวมถึง นโยบายและกลยุทธการพัฒนาอันมีผลตอวิถีการดำ�รง ชีวิตดานตางๆ ของคนในสังคมนั้น สั ง คมไทยในอดี ต เป น สั ง คมที่ มี วิ ถี ชี วิ ต แบบ เรี ย บง า ย เศรษฐกิจพื้นฐานเปนการผลิตเพื่ อ ยั ง ชี พ สำ�หรับการบริโภคใชสอยในครัวเรือนและชุมชน มิใชเพือ่ การแลกเปลีย่ นในระบบเศรษฐกิจเพือ่ การคา วัตถุดบิ ใน การผลิตสำ�หรับการดำ�รงชีพไดมาจากสภาพธรรมชาติ ที่อยูรอบตัวทำ�ใหวิถีชีวิตของคนในสังคมมีความใกลชิด ผูกพันและตระหนักในคุณคาของสิ่งแวดลอม ความ สั ม พั น ธ ข องคนในชุ ม ชนเป น ความสั ม พั น ธ ใ นระบบ เครือญาติและความสัมพันธทางสายเลือดเปนหลัก วิถี ชีวิตเชนนี้มีความเหมาะสมกับการใชทรัพยากรรวมกัน การแบงปนผลผลิตและการพึง่ พาอาศัยกันในดานตางๆ (ฉัตรทิพย นาถสุภา และพรพิไล เลิศวิชา 2537) จวบจนกระทั่งเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญใน สังคมไทย เมื่อประเทศไดกาวเขาสูกระบวนการพัฒนา ที่ มุ  ง เน น ความทั น สมั ย ตามแบบตะวั น ตกในรู ป แบบ ตางๆ เชน การเผยแพรความรูท างวิชาการ การใหความ ชวยเหลือผานโครงการเงินกู การใหคำ�แนะนำ�ของ ผูเชี่ยวชาญชาวตางประเทศ เปนตน การเผยแพรความ คิดดังกลาวไดสรางความหมายในลักษณะคูตรงขาม คูหนึ่งใหเกิดขึ้นคือ “การพัฒนา” (Development) และ ความดอยพัฒนา (Underdevelopment) เพือ่ การจัดแบง ประเภทของประเทศตางๆออกเปนประเทศทีพ่ ฒ ั นาแลว กับประเทศที่ยังดอยพัฒนา (ไชยรัตน เจริญสินโอฬาร 2540 : 87) จนมีผลทำ�ใหประเทศไทยถูกใหความหมาย

ว า เป น ประเทศด อ ยพั ฒ นาประเทศหนึ่ ง สำ � นั ก งาน คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแหงชาติ ไดกลาวถึง ผลการพัฒนาที่ผานมาวา เศรษฐกิจของ ประเทศมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยมากกวารอยละ 7 ตอป ประชากรมีรายไดตอหัวเพิ่มขึ้นประมาณ 30 เทา คนไทยสวนใหญไดรับบริการโครงสรางพื้นฐาน และบริการพื้นฐานทางสังคมมากขึ้นในระดับที่นาพอใจ ไมวาจะเปนถนนไฟฟาน้ำ�ประปา รวมทั้งการศึกษาและ สาธารณะสุข อยางไรก็ตาม การพัฒนาก็ไดกอใหเกิด ปญหาทางสังคม และสิ่งแวดลอมดวย การพัฒนาที่ มุงเนนการแขงขันเพื่อสรางความมั่นคงในดานรายได ทำ�ใหสงั คมไทยมีความเปนวัตถุนยิ มมากขึน้ คนในสังคม มีปญหาดานพฤติกรรมคือ การยอหยอนในศีลธรรม จริยธรรม เอารัดเอาเปรียบผูอื่น พรอมที่จะทำ�ทุกอยาง เพือ่ ประโยชนของตนเอง โดยไมค�ำ นึงถึงผูอ นื่ หรือสังคม ส ง ผลให วิ ถี ชี วิ ต และค า นิ ย มดั้ ง เดิ ม ที่ ดี ง านของไทย สูญสลายไป กลาวโดยสรุปผลของการพัฒนาทีเ่ นนความ ทันสมัยเปนการพัฒนาที่เศรษฐกิจดี สังคมมีปญหา และการพัฒนาไมยั่งยืน นำ�ไปสูการลมสลายของชุมชน (สำ�นักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แหงชาติ ม.ป.ป. : 1-3) จากที่กลาวมาสรุปไดวา ปจจุบันแนวทางใน การพัฒนาที่เกิดขึ้นเปนการพัฒนาแบบกระแสทุนนิยม (Capitalism) หรือเปนการพัฒนาในลักษณะไมมีขีด จำ�กัด (Unlimited development) ที่มุงผลทางเศรษฐ กิจเปนหลัก โดยไมคำ�นึงถึงผลกระทบตอระบบนิเวศน ทำ�ใหเกิดปญหาตางๆ ตามมาทั้งสิ่งแวดลอมถูกทำ�ลาย ขยะลนเมือง น้ำ�เสีย อากาศเปนพิษ โดยเฉพาะอยางยิ่ง ปญหาภาวะโลกรอน (Global warming) คนรุนใหมมี ความสุขจากการใชเทคโนโลยี เกิดคานิยมที่หรูหรา ฟุมเฟอย เกิดความเห็นแกตัวและมีการทุจริตคอรัปชั่น ปญหาตางๆเหลานี้มีแนวโนมที่จะขยายตัวมากขึ้นใน อนาคต เปนการสะทอนใหเห็นวาการพัฒนาที่ผานมา ขาดสมดุลในบริบทของการพัฒนา จากพระปณิธานทีว่ า “เราจะครองแผนดินโดย ธรรมเพื่อประโยชนสุขของมหาชนชาวสยาม” ซึ่ง ไดทรงแสดงออกอยางเปนรูปธรรมตอสังคมไทยตลอด มาและที่สำ�คัญ คือ ทรงมีพระราชดำ�รัสชี้แนะเกี่ยวกับ

133


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปีที่ 32 ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2555

แนวทางในการแกไขปญหาความยากจน และยกระดับ คุณภาพชีวติ ของประชาชนใหดขี นึ้ ตลอดจนแนวทางใน การพั ฒ นาเศรษฐกิ จ และสั ง คมของประเทศให มี ความเจริญรุงเรืองอยางสมดุล มั่นคง และยั่งยืน “หลัก เศรษฐกิจพอเพียง” เปนปรัช​ญาที่ชี้แนวทางการดำ�รง ชีวติ ทีพ่ ระ​บาท​สมเด็จพระปรมินทรมหา​ภมู พิ ลอดุลยเดช มี พ ระราชดำ� รั สแก ชาวไทยนั บ ตั้ง แตป  พ.ศ. 2517 เปนตนมา “การพัฒนาประเทศจำ�เปนตองทำ�ตามลำ�ดับ ขัน้ ตองสรางพืน้ ฐาน คือความพอมีพอกิน พอใชของ ประชาชนสวนใหญเปนเบื้องตนกอน โดยใชวิธีการ และใชอุปกรณที่ประหยัด แตถูกตองตามหลักวิชา เมื่อไดพื้นฐานมั่นคงพรอมพอควรและปฏิบัติไดแลว จึงคอยสรางคอยเสริมความเจริญและฐานะเศรษฐกิจ ขั้นที่สูงขึ้นโดยลำ�ดับตอไป หากมุงแตจะทุมเทสราง ความเจริญ ยกเศรษฐกิจขึ้นใหรวดเร็วแตประการ เดียว โดยไมใหแผนปฏิบัติการสัมพันธกับสภาวะ ของประเทศและของประชาชนโดยสอดคลองดวย ก็ จะเกิดความไมสมดุลในเรื่องตางๆ ขึ้น ซึ่งอาจกลาย เปนความยุงยากลมเหลวไดในที่สุด” ที่มา : ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัว 2517

จากพระบรมราโชวาท พระองคทา นไดทรงเนนย้�ำ แนวทางการพัฒนาบนพืน้ ฐาน “การพึง่ ตนเอง” ความพอมี พอกิน พอมีพอใช การรูจ กั ความพอประมาณ การคำ�นึงถึง ความมีเหตุผล การสรางภูมคิ มุ กัน ตระหนักถึงการพัฒนา ตามลำ�ดับขั้นตามหลักวิชา ตลอดจนมีคุณธรรมเปน กรอบในการดำ � รงชี วิ ต แต ก ระบวนการขั บ เคลื่ อ น เศรษฐกิจพอเพียง หรือการนำ�ไปประยุกตใชใหเกิดผล ในทางปฏิบัติ ทุกภาคสวนของสังคมอันประกอบดวย ภาคเอกชน ภาคประชาชน รวมทั้งหนวยงานภาครัฐ จะตองรวมแรงรวมใจกันเพือ่ ใหเกิดผลทีแ่ ทจริง หลายๆ รัฐบาลทีผ่ า นมา ไดมคี วามพยายามนำ�หลักการดังกลาว มาใชในการบริหารประเทศ แตก็สามารถบรรลุวัตถุ ประสงคในระดับหนึ่งเทานั้น

134

ในการบรรลุ ผ ลสั ม ฤทธิ์ ข องการพั ฒ นาใดๆ รวมทั้งการประยุกตใชปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเปน แนวทางในการพัฒนา ยอมจะตองมาจากเหตุปจจัย หลายประการ ซึ่งปจจัยที่สงผลใหเกิดการพัฒนานั้น มีอยูดวยกันหลายปจจัย ไดแก ปจจัยทางเศรษฐกิจ ทรัพยากรธรรมชาติ ทรัพยากรมนุษย และปจจัยทาง สังคม ฯลฯ ซึ่งปจจัยเหลานี้ เรียกวา “ปจจัยภายนอก ที่มีผลตอการพัฒนา” สวนปจจัยภายใน ไดแก ตัวผูนำ� คานิยมของสมาชิก การตัดสินใจที่ไมดี ปญหาดานการ สื่อสารที่ไมดี ปญหาแรงงาน ฯลฯ และปจจัยดานผูนำ� เปนปจจัยประการหนึ่งที่สำ�คัญและสงผลตอการพัฒนา ซึ่งลักษณะการพัฒนานั้นสามารถเกิดไดทั้งในองคการ แบบโครงสรางอยางชัดเจน และองคการที่มีโครงสราง แบบหลวมๆ เชน สังคม ชุมชน หมูบาน ซึ่งนักพัฒนา ชุ ม ชนนิ ย มเรี ย ก “นั ก พั ฒ นา ผู  นำ � แห ง การพั ฒ นา” สวนในองคการแบบมีโครงสรางนิยมเรียก “ผูนำ�การ เปลี่ยนแปลง” และมีผลสำ�คัญยิ่งในหนวยงานทั้งภาค รัฐ และภาคเอกชน เพราะบุคคลดังกลาวมีหนาที่ในการ ริเริ่มและสามารถในการปรับเปลี่ยนบริบทตามที่ตอง การได สอดคลองกับ Berlew (1974) กลาววา ผูนำ� การเปลี่ยนแปลงจะนำ�การเปลี่ยนแปลงภายในองคการ ซึ่งแตกตางจากผูนำ�ที่เนนการพัฒนาสังคมและชุมชน ที่จำ�เปนตองมีลักษณะพิเศษที่ เรียกวา “ผูนำ�บารมี (Charisma leadership)” ซึ่งมีบทบาทสำ�คัญในการ พัฒนาสังคมและชุมชน จากที่กลาวมาแลวขางตน คุณลักษณะผูนำ�โดย เฉพาะอยางยิ่งคุณลักษณะผูนำ�แบบมีบารมีเปนปจจัย สำ�คัญประการหนึ่งตอผลสัมฤทธิ์ของการพัฒนาชุมชน ในบริบทของสังคมไทย แตอยางไรก็ดี ผลการศึกษา วิจัยในระยะเวลาที่รัฐบาลไดสงเสริมการดำ�เนินงานการ พัฒนาชุมชนบนหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตาม แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแหงชาติตั้งแตฉบับที่ 8 เปนตนมา มักเปนการศึกษาการพัฒนาชุมชนที่ประสบ ความสำ�เร็จในการดำ�เนินงานในรูปแบบงานวิจัยเชิง คุณภาพ สวนงานวิจัยที่แสดงใหเห็นถึงความสำ �เร็จ ของการดำ�เนินงานการพัฒนาชุมชนตามหลักเศรษฐกิจ พอเพียง อันเนื่องมาจากการมีคุณลักษณะภาวะผูนำ�


6 คุณลักษณะภาวะผูนำ�ที่มีผลตอการพัฒนาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง นคเรศ ณ พัทลุง และยุวัฒน วุฒิเมธี

บารมี นั้นยังไมมีการศึกษาความสัมพันธของปจจัย ดังกลาวแตอยางไร ดวยเหตุนี้การศึกษา คุณลักษณะ ภาวะผูนำ�บารมีที่สงผลตอการพัฒนาตามหลักปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง จึงมีความนาสนใจและมีความสำ�คัญ ในการพัฒนาองคความรูในทางวิชาการ และในการนำ� ไปประยุกตใชในการบริหารราชการแผนดินใหบรรลุ วัตถุประสงคในการพัฒนาประเทศชาติ ชุมชน และสังคม อยางยั่งยืนตอไป วัตถุประสงคของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาคุณลักษณะผูนำ�บารมี และผล สัมฤทธิ์การพัฒนาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 2. เพื่อศึกษาปจจัยคุณลักษณะผูนำ�บารมีตอผล สัมฤทธิ์การพัฒนาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 3. เพื่อวิเคราะหคุณลักษณะผูนำ�บารมี กับผล สัมฤทธิ์การพัฒนาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ประโยชนจากการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ ในการศึกษาวิจัยในครั้งนี้จะไดรับประโยชนทั้ง ทางด า นวิ ช าการและด า นการนำ � ไปใช ก ล า วคื อ ประโยชน ท างด า นวิ ช าการ ได ค วามรู  เ กี่ ย วกั บ คุ ณ ลักษณะผูนำ�บารมี ที่เหมาะสมในการพัฒนาตามหลัก ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ทั้งในสวนของแนวทฤษฎี และการนำ�ไปประยุกตสูการปฏิบัติ สวนประโยชนทาง ดานการนำ�ไปใช นำ�ไปสงเสริมคุณลักษณะผูนำ� และ ภาวะผูนำ� ใหแก ผูนำ�ชุมชน สังคม หรือผูนำ�หมูบาน ที่เปนเปาหมายที่จะพัฒนาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียง และหนวยงานอื่นๆ จะนำ�ขอคนพบไปพัฒนา ภาวะผูนำ�ภายในองคการใหใชหลักเศรษฐกิจพอเพียง ในการบริหารจัดการ ซึ่งจะเปนสวนรวม ในการขยาย ขอบเขตของการพัฒนาหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง อยางตอเนื่อง

ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ดังเชน ทฤษฎี Terms model (สัญญา สัญญาวิวัฒน 2536) ตัวแบบ พระธรรมปฎก (พระธรรมปฎก ป.อ. ปยุตโต 2549) ตัวแบบการพัฒนายั่งยืน (พระเทพโสภณ 2540) ตัว แบบสภาพัฒนฯ (ธรรมรักษ การพิศษิ ฏ 2543) ทฤษฎี ใหมในการพัฒนาประเทศ (มูลนิธิชัยพัฒนา 2544) เพื่อคัดเลือกปจจัยทีส่ ำ�คัญ (Major factor selection) ไป ตั้งเปนองคประกอบหลักได 4 ดาน ไดแก ดานคนสังคม เศรษฐกิจ เทคโนโลยี และดานทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดลอม 2. คุ ณ ลั ก ษณะภาวะผู  นำ � บารมี เป น การ สรางตัวแปรแบบสามเสา ไดแก 1.) ภาวะผูน �ำ บารมีแบบ ตะวันตก 17 ทฤษฎี อาทิเชน ทฤษฎีภาวะผูนำ�บารมี (Charisma leadership theories) (Bass 1990 ; Conger & Kanango 1989 ; Nadler & Tushman 1990) ทฤษฎีการพัฒนาคุณลักษณะบารมี (Development of charisma) (DuBrin 1998) และทฤษฎีคุณลักษณะการ ปรุงแตงของภาวะผูนำ�บารมี (An attribution theory of charisma) (Conger and Kanungo 1989) เปนตน 2.) ภาวะผูนำ�บารมีแบบตะวันออก (พุทธศาสนา) ไดแก ทศพิธราชธรรม พรหมวิหาร 4 สังคหวัตถุ 4 การเวน จากอคติธรรม 3.) ผลการศึกษางานวิจัย ภาวะผูนำ�ใน บริษทสังคมไทย ที่เกี่ยวของกับการพัฒนาสังคมชุมชน ดังนั้น คุณลักษณะภาวะผูนำ�บารมี ที่ไดจากการบูรณา การแนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยแบบสามเสาได 8 กลุม ตัวแปรดังนี้ การมีวสิ ยั ทัศนทเี่ ข็มแข็ง (Strong visionary) ความสามารถทางการบริหาร (Management ability) ทักษะทางสังคม (Social skills) การทำ�ใหสมาชิกรูสึก สามารถ (Feel capable) การมุงปฏิบัติใหบรรลุผล (An action orientation) แบบอยางเชิงคุณสมบัติ (Attributes) แบบอยางเชิงพฤติกรรม (Behavior) แบบอยางเชิงจิตใจ (Mental)

แนวคิด ทฤษฎี และผลงานวิจัยที่เกี่ยวของ การศึกษาวิจัยครั้งนี้ไดศึกษาแนวคิดทฤษฎีที่ เกี่ยวของกับตัวแปรในกรอบแนวคิดดังนี้ 1. ผลสัมฤทธิ์การพัฒนาตามหลักปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง ผูว จิ ยั ไดรวบรวมตัวชีว้ ดั การพัฒนา

องคประกอบตัวแปรที่ใชในการวิจัย จากการศึ ก ษาแนวคิ ด ทฤษฎี แ ละงานวิ จั ย ที่ เกี่ยวของ จึงไดองคประกอบตัวแปรที่ใชในการวิจัย ดังนี้ 1.) ตัวแปรอิสระ (Independent variables) คือ คุณลักษณะภาวะผูน �ำ บารมี ประกอบดวย การมีวสิ ยั ทัศน

135


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปีที่ 32 ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2555

ที่เข็มแข็ง ความสามารถทางการบริหาร ทักษะทาง สังคม การปฏิบัติใหบรรลุผล การทำ�ใหสมาชิกรูสึก มีความสามารถ แบบอยางเชิงคุณสมบัติ แบบอยาง เชิงพฤติกรรม แบบอยางเชิงจิตใจ 2.) ตัวแปรผล (Dependent variables) คือ ผลสัมฤทธิ์การพัฒนา ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ไดแก ดานสังคม ดาน เศรษฐกิจ ดานเทคโนโลยี และดานทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดลอม

คุณลักษณะผูนำ�บารมี การมีวิสัยทัศนที่เขมแข็ง ความสามารถทางการบริหาร ทักษะทางสังคม การทำ�ใหสมาชิกรูสึกสามารถ การมุงปฏิบัติใหบรรลุผล แบบอยางเชิงคุณสมบัติ แบบอยางเชิงพฤติกรรม แบบอยางเชิงจิตใจ

กรอบแนวคิดการวิจัย จากการทบทวนวรรณกรรม แนวคิดและทฤษฎี คุณลักษณะภาวะผูนำ�และภาวะผูนำ�แบบมีบารมี 17 ทฤษฎี (Bass 1990 ; Conger & Kanango 1989 ; Nadler & Tushman 1990 ; DuBrin 1998) ซึ่งเปนแนวคิด ทฤษฎีทพี่ ฒ ั นาขึน้ โดยนักวิชาการตะวันตก และผูศ กึ ษา ได บู ร ณาการกั บ แนวคิ ด แบบตะวั น ออก (เชิ ง พุ ท ธ) พรอมกับทบทวนงานวิจัยในบริบทของสังคมไทยเพื่อ สรางเปนกรอบแนวคิดในการวิจัย (ดังภาพที่ 1.) ผลสัมฤทธิ์การพัฒนา ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ดานสังคม ดานเศรษฐกิจ ดานเทคโนโลยี ดานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอม

ภาพที่ 1. กรอบแนวคิดในการวิจัย สมมติฐานในการวิจัย สมมติฐาน ตัวแปรอิสระทั้ง 8 ตัวคือ ดานการมี วิสัยทัศนที่เขมแข็ง ดานความสามารถทางการบริหาร ด า นทั ก ษะทางสั ง คม ด า นการทำ � ให ส มาชิ ก รู  สึ ก สามารถ ดานการมุงปฏิบัติใหบรรลุผล ดานแบบอยาง เชิงคุณสมบัติ ดานแบบอยางเชิงพฤติกรรม และดาน แบบอยางเชิงจิตใจ มีตัวใดตัวหนึ่งซึ่งสามารถทำ�นาย ผลสั ม ฤทธิ์ ก ารพั ฒ นาตามหลั ก ปรั ช ญาเศรษฐกิ จ พอเพียงไดอยางมีนัยสำ�คัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 วิธีดำ�เนินการวิจัย การวิ จั ย ครั้ ง นี้ เ ป น การวิ จั ย ทางสั ง คมศาสตร แบบผสมผสาน (Mix research) คือ การวิจยั เชิงปริมาณ (Quantitative research) แบบมีสมมติฐาน ประชากรที่

136

ศึกษาในครั้งนี้เปน “ผูนำ�องคกรเครือขายพัฒนาชุมชน ดีเดน” แกนนำ�หมูบ า นเศรษฐกิจพอเพียง “อยูเ ย็น เปนสุข” ที่ ไ ด รั บ รางวั ล พระราชทานจากสมเด็ จ พระเทพรั ต น ราชสุ ด าฯ สยามบรมราชกุ ม ารี โดยเจาะจงเฉพาะ ป 2554 จำ�นวน 375 คน โดยการเก็บรวบรวมขอมูล โดยใชเครื่องมือ เปนแบบสอบถาม (Questionnaire) แบบ LIKERT-SCALE ผูวิจัยรางแบบสอบถามโดยมี เนื้อหาหลัก (Contexts) และรายละเอียด (Content) ที่ ครอบคลุมปจจัยที่เกี่ยวกับคุณลักษณะของผูนำ�บารมี ที่มีสวนเกี่ยวของกับความสำ�เร็จในการดำ�เนินงานตาม โครงการเศรษฐกิจพอเพียงภายใตโครงการหมูบาน เศรษฐกิจพอเพียง “อยูเย็น เปนสุข” จัดเก็บรวบรวม โดยการแจกแบบสอบถามใหแก ผูนำ�องคกรเครือขาย พัฒนาชุมชนดีเดน ในงานพิธีมอบโลรางวัลเชิดชูเกียติ


6 คุณลักษณะภาวะผูนำ�ที่มีผลตอการพัฒนาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง นคเรศ ณ พัทลุง และยุวัฒน วุฒิเมธี

และไดรับการตอบกลับมาทั้งหมด การหาคุณภาพของ เครือ่ งมือผูว จิ ยั ไดท�ำ การหาคาความเทีย่ งตรง (Validity) นำ � ร า งแบบสอบถาม ปรึ ก ษาขอรั บ คำ � แนะนำ � จาก คณาจารยผทู รงคุณวุฒเิ ปนทีป่ รึกษา จากนัน้ ผูว จิ ยั ไดท�ำ การตรวจรางแบบสอบถามใหมีความสมบูรณที่สุด โดย พิจารณาจากคา (Index of Item-Objective Congruence : IOC) และทดสอบคาความเชื่อมั่น (Testing reliability) ของแบบสอบถามโดยใชสูตรสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่น ของครอนบาค (Cronbach ’s Alpha Coefficience) ผลของการทดสอบปรากฏว า ค า ความเชื่ อ มั่ น ของ แบบสอบถามทัง้ ฉบับ เทากับ .9604 การวิเคราะหขอ มูล และสถิตทิ ใี่ ชในการทดสอบสมมุตฐิ าน ประกอบดวย การ วิเคราะหสัมประสิทธิ์สัมพันธ (Correlation coefficient)

การวิ เ คราะห พ หุ ถ ดถอย (Multiple Regression Analysis) สวนเชิงคุณภาพ (Qualitative research) ผูวิจัยใชการสัมภาษณเชิงลึกผูนำ�ภาครัฐ และผูนำ�ภาค ประชาชนเพื่ อ เป น ข อ มู ล สนั บ สนุ น ในการวิ เ คราะห วิจารณผลวิจัยครั้งนี้ สรุปผลการวิจัย 1. สรุปผลการวิเคราะหเชิงปริมาณ ผูวิจัย ได วิ เ คราะห ค วามสั ม พั น ธ ร ะหว า งตั ว แปรต น เพื่ อ ศึ ก ษาความสั ม พั น ธ กั น เองของตั ว แปรซึ่ ง เรี ย กว า Multicollinearity โดยใชวิธีการ Correlation Analysis ระหวางตัวแปรอิสระ คือ คุณลักษณะภาวะผูน ำ�บารมีทงั้ 8 คุณลักษณะ ดังตารางที่ 1.

ตารางที่ 1. เมทริกซสหสัมพันธระหวาง คุณลักษณะภาวะผูนำ�บารมีทั้ง 8 คุณลักษณะ ภาวะผูนำ�บารมี คุณลักษณะภาวะผูนำ�บารมี (Y) ดานวิสัยทัศนที่เขมแข็ง (X1)

(Y)

(X1)

(X2)

(X3)

(X4)

(X5)

(X6)

(X7)

(X8)

1.00 .531

.563 .497 .508 .369 .414 .465 .402

1.00

.758 .576 .601 .549 .591 .449 .325

ดานสามารถทางการบริหาร (X2) ดานทักษะทางสังคม (X3) ดานทำ�ใหสมาชิกรูสึกสามารถ(X4) ดานมุงปฏิบัติใหบรรลุผล (X5)

1.00 .682 .675 .557 .578 .547 .395 1.00 .722 .580 .607 .660 .501 1.00 .622 .526 .706 .575 1.00 .679 .669 .569

ดานแบบอยางเชิงคุณสมบัติ (X6)

1.00 .634 .574

ดานแบบอยางเชิงพฤติกรรม (X7)

1.00 .816

ดานแบบอยางเชิงจิตใจ (X8) จากตารางที่ 1. ผลการวิจยั พบวาตัวแปรตนหรือ ตัวแปรอิสระทั้งหมด ไมปรากฎวาความสัมพันธคูใด มีคาความสัมพันธเกินกวา 0.85 จึงถือวาตัวแปรตนทั้ง หมดไมมีปญหาความสัมพันธกันเอง จึงสามารถศึกษา วิเคราะหตัวแปรตนทั้งหมดที่สงผลตอตัวแปรตามดวย เทคนิ ค การวิ เ คราะห ส มการพหุ ถ ดถอย (Multiple Regression Analysis) เพื่อศึกษาอิทธิพลของตัวแปร

1.00 ตนที่มีตอตัวแปรตามได การทดสอบสมมติฐานตัวแปรอิสระทั้ง 8 ตัวมี ตัวใดตัวหนึ่งซึ่งสามารถทำ�นายผลสัมฤทธิ์การพัฒนา ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ไดอยางมีนัยสำ�คัญ ทางสถิติ ที่ระดับ .05 การวิเคราะหขอมูลโดยวิธี Enter Multiple Regression

137


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปีที่ 32 ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2555

ตารางที่ 2. คาสัมประสิทธิ์และคาสถิติทดสอบ คุณลักษณะภาวะผูนำ�บารมี ที่สงผลตอ ผลสัมฤทธิ์การพัฒนาตาม หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (Enter Multiple Regression) คุณลักษณะภาวะผูนำ�บารมี

Unstandardized Coefficients B

Std. Error

.985

.198

ดานวิสัยทัศนที่เขมแข็ง (X1)

.243

.066

ดานความสามารถทางการบริหาร (X2)

.246

ดานทักษะทางสังคม (X3)

คาคงที่

Standardized Coefficients

t

Sig.

Beta 4.967

.00*

.246

3.657

.00*

.075

.239

3.300

.00*

.085

.062

.092

1.360

.17_

ดานทำ�ใหสมาชิกรูสึกมีความสามารถ (X4)

.070

.067

.075

1.043

.29_

ดานการมุงปฏิบัติใหบรรลุผล (X5)

-.117

.056

-.131

-2.067

.03*

ดานแบบอยางเชิงคุณสมบัติ (X6)

-.015

.059

-.017

-.256

.79_

ดานแบบอยางเชิงพฤติกรรม (X7)

.076

.082

.082

.929

.35_

ดานแบบอยางเชิงจิตใจ (X8)

.133

.062

.155

2.141

.03*

SEest = ± .372 R = .628 R2 = .394 F = 29.789**

จากตารางที่ 2 พบวา ปจจัยหลัก 4 ตัวแปร ซึ่ง เปนตัวพยากรณผลสัมฤทธิ์การพัฒนาตามหลักปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง ถูกคัดเลือกเขาสมการพยากรณ ปจจัยหลักที่เปนตัวพยากรณ ไดแก ดานวิสัยทัศนที่ เขมแข็ง (X1) ดานความสามารถทางการบริหาร (X2) ดานการมุงปฏิบัติใหบรรลุผล (X5) และดานแบบอยาง เชิงจิตใจ (X8) โดยปจจัยทั้ง 4 สามารถอธิบายผล สั ม ฤทธิ์ ข องการพั ฒ นาตามหลั ก ปรั ช ญาเศรษฐกิ จ พอเพียง (R2) ไดรอยละ 39.40 และมีความคาดเคลื่อน ในการพยากรณ (SEest) เทากับ .372 ที่ระดับนัยสำ�คัญ ทางสถิติที่ระดับ .01 โดยคาสถิติจากตารางนำ�มาสราง เปนสมการพยากรณผลสัมฤทธิ์การพัฒนาตามหลัก ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ไดดังนี้ สมการ y = 0.985 + 0.243 x1 + 0.246 x2 - 0.117 x5 + 0.113 x8

138

สมการมาตรฐาน y = 0.246 x1 + 0.239 x2 - 0.131 x5 + 0.155 x8 เมื่อ y แทน ผลสัมฤทธิ์การพัฒนาตามหลัก ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง X1 แทน ดานวิสัยทัศนที่เขมแข็ง X2 แทน ดานความสามารถทางการบริหาร X5 แทน ดานมุงปฏิบัติใหบรรลุผล X8 แทน ดานแบบอยางเชิงจิตใจ สรุปคุณลักษณะภาวะผูนำ�บารมีที่สงผลตอการ พัฒนาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีเพียง 4 คุณลักษณะ ไดแก ดานวิสัยทัศนที่เขมแข็ง (x1) ดาน ความสามารถทางการบริหาร (x2) ดานมุงปฏิบัติให บรรลุผล (x5) และดานแบบอยางเชิงจิตใจ (x8) 2. สรุปผลการสัมภาษณ การวิจัยในครั้งนี้ ได สั ม ภาษณ เ ชิ ง ลึ ก เพื่ อ ทวนสอบผลการศึ ก ษาเชิ ง


6 คุณลักษณะภาวะผูนำ�ที่มีผลตอการพัฒนาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง นคเรศ ณ พัทลุง และยุวัฒน วุฒิเมธี

ปริมาณ คุณลักษณะภาวะผูนำ�บารมีที่มีอำ�นาจในการ พยากรณ ต  อ ผลสั ม ฤทธิ์ ก ารพั ฒ นาตามหลั ก ปรั ช ญา เศรษฐกิ จ พอเพี ย ง โดยผู  ใ ห ข  อ มู ล สำ � คั ญ เป น ผู  นำ � ภาคราชการและผูนำ�ภาคประชาชน 2.1) ผลการสัมภาษณใหความสำ�คัญสอดคลอง กับเชิงปริมาณ ประกอบดวย X 1 การมีวิสัยทัศนที่ เขมแข็ง X2 ความสามารถทางการบริหาร X8 แบบอยาง เชิงจิตใจ และ X5 การมุงปฏิบัติใหบรรลุผล ดังบท สัมภาษณทกี่ ลาววา ผูน �ำ ชุมชนจะตองมีความรูแ ละความ เขาใจในทฤษฎี และมีความรอบรูหลากหลาย อาทิเชน ดานการออม การเกษตร และปญหายาเสพติด บริหารงาน ดวยความเขาอกเขาใจ เปดใจยอมรับฟงปญหาความ ขัดแยง (Conflict) ของชาวบาน มีการจัดการความรู โดย การจัดเวทีประชาคม และกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู โดยเงื่อนไขของความมุงมั่นตั้งใจ โดยผูนำ�อุทิศแรงกาย แรงใจ เสียสละ เห็นแกเห็นประโยชนของชุมชนมากกวา ประโยชนของตน 2.2) ผลการสัมภาษณใหความสำ�คัญเพิ่มเติม 2 ตัวแปร คือ X3 ทักษะทางสังคม และX7 แบบอยาง เชิงพฤติกรรม ดังบทสัมภาษณที่กลาววา ผูนำ�ในการ พั ฒ นาชุ ม ชนต อ งมี ค วามสั ม พั น ธ ส นิ ท สนมกั บ กลุ  ม สมาชิกผูนำ�เชน กำ�นัน ผูใหญบาน นายกอบต. อบจ. สส. สจ พรอมรวมมือเพื่อแกไขปญหา ผูนำ�มีความ สัมพันธกบั ผูต าม มีความสนิทสนมกับชาวบาน ชาวบาน สามารถสอบถามและปรึกษาหารือในการแกปญ  หา และ การมีความสัมพันธกับภาครัฐ โดยการชวยเหลือเกื้อกูล และร ว มมื อ เชน การเชิญพัฒนากร ผูมีค วามรู  ม า ใหคำ�แนะนำ�แนวทาง ความรู และสนับสนุนทรัพยากร ต า งๆให แ ก ชุ ม ชน โดยผู  นำ � จะต อ งมี พ ฤติ ก รรมที่ ดี ทำ�ใหผูตามเกิดความเชื่อถือ ใหความไววางใจ เคารพ ศรัทธา และเกิดความภาคภูมิใจเมื่อรวมงาน นอกจากนี้ ยังทำ�ใหผูตามยอมรับ และการยกยองในการกระทำ� ตางๆ 2.3) ผลการสั ม ภาษณ ไ ม ใ ห ค วามสำ � คั ญ 2 ตัวแปร คือ X4 การทำ�ใหสมาชิกรูส กึ มีความสามารถ และ X6 แบบอยางเชิงคุณสมบัติ ดังบทสัมภาษณที่กลาววา ในการพัฒนาชุมชนจำ�เปนตองเนนรูปแบบการพัฒนา แบบมีสวนรวม (Participation) มากกวาการกระตุน

ความสำ � เร็ จ ของคนใดคนหนึ่ ง ส ว นแบบอย า งเชิ ง คุณสมบัติทั้งดานบุคลิกภาพที่ดี การแตงกายดี การ วางตั ว ดี การพู ด จาดี และแสดงออกที่ ดี ไม ไ ด ส  ง ผลใหเกิดการพัฒนาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สรุ ป ผลการวิ จั ย ทั้ ง เชิ ง ปริ ม าณและผล การสัมภาษณ พบวา คุณลักษณะภาวะผูนำ�ที่สงผล ตอการพัฒนาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มี 6 คุณลักษณะ สามารถจำ�แนกเปน 2 กลุมคือ 1.) คุ ณ ลั ก ษณะหลั ก ของผู  นำ � บารมี ที่ มี อำ � นาจพยากรณ ต อ ผลสั ม ฤทธิ์ ก ารพั ฒ นาตามหลั ก ปรั ช ญาเศรษฐกิ จ พอเพียง ไดแก การมีวิสัยทัศนที่เขมแข็ง ความสามารถ ทางการบริหาร การมุง ปฏิบตั ใิ หบรรลุผล และแบบอยาง เชิงจิตใจ 2.) คุณลักษณะรองของผูนำ�บารมีที่สนับสนุน และสงผลตอประสิทธิภาพในการพัฒนาตามหลักปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง ไดแก ทักษะทางสังคม และแบบอยาง เชิงพฤติกรรม การอภิปรายผล 1. คุณลักษณะภาวะผูนำ�ที่สงผลตอผลสัมฤทธิ์ การพั ฒ นาตามหลั ก ปรั ช ญาเศรษฐกิ จ พอเพี ย ง 4 คุณลักษณะ ไดแก X1 การมีวสิ ยั ทัศนทเี่ ขมแข็ง X2 ความ สามารถทางการบริหาร X8 แบบอยางเชิงจิตใจ และX5 การมุงปฏิบัติใหบรรลุผล และผลการสัมภาษณใหความ สำ�คัญกับวิสยั ทัศนของผูน ำ�ซึง่ ถือวาเปนทิศทางทีส่ ำ�คัญ ของผูน �ำ ในการพัฒนา สวนความสามารถทางการบริหาร เปนเครื่องมือที่จะทำ�หนาที่ขับเคลื่อนวิสัยทัศนดังกลาว และแบบอยางเชิงจิตใจที่ดีงาม เชน ความเสียสละและ เอื้อเฟอเผื่อแผ จะเปนคุณลักษณะเฉพาะตัวของผูนำ�ใน บริบทสังคมไทย ซึ่งผลการวิจัยครั้งนี้มีความสอดคลอง กันพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัว (2512) ที่ทรงใหแกผูวาราชการจังหวัดวา “การพัฒนา ชนบทเปนงานที่สำ�คัญ เปนงานยาก เปนงานที่จะตอง ทำ�ใหไดดวยความสามารถ ดวยความเฉลียวฉลาด คือ ทั้งเฉลียวทั้งฉลาด ตองทำ�ดวยความบริสุทธิ์ใจ” และ แมแตผลการวิจัยของนักวิชาการชาวตะวันตกหลาย ทานที่แมจะอยูตางบริบทสังคมหรือเปนการศึกษาจาก บริบทสังคมที่เนนโครงสรางหนาที่ ยังคงใหความสำ�คัญ ต อ คุ ณ ลั ก ษณะของผู  นำ � ด า นการมี วิ สั ย ทั ศ น ความ

139


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปีที่ 32 ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2555

สามารถทางการบริหารและการมีคุณธรรม เชน Caryle (1888) พบวา ทฤษฎีผนู �ำ ทีย่ งิ่ ใหญ (Great man theory) ประกอบดวยคุณลักษณะการมีคุณธรรม การมีความ เข า ใจการเปลี่ ย นแปลง การมี ค วามสามารถในการ กระตุนระดับบุคคลและระดับองคการเพื่อใหเกิดการ เปลี่ยนแปลง การมีทักษะทางดานสังคมและการมีจิตใจ ที่ดี สวนแนวคิดแบบตะวันออก (เชิงพุทธศาสนา) ที่ เกี่ ย วกั บ ธรรมของนั ก ปกครองยั ง ให ค วามสำ � คั ญ กั บ ลักษณะของผูนำ�กับการปกครอง ดานการมีวิสัยทัศน การมีความสามารถ และการมีจิตใจที่ดี ดังเชน ทศพิธ ราชธรรม (2530) ซึ่ ง เป น หลั ก พระราชจริ ย วั ต รที่ พระเจาแผนดินทรงประพฤติเปนหลักธรรม ไดแก การ ใหทาน การเสียสละทรัพยสิ่งของ การเสียสละเวลา ความสุขสวนตน เพื่อความสุขสวนรวม ความซื่อตรง ฐานะของผูปกครอง ความออนโยนอยางมีสัมมาคารวะ ไมเบียดเบียน ไมกอ ทุกขใหแกผอู นื่ และความหนักแนน ถือความถูกตอง เที่ยงธรรม นอกจากนี้ผลการวิจัย ที่ศึกษาในบริบทของสังคมไทยยังใหความสำ�คัญกับ ลั กษณะผู  นำ�ชุมชนดานการมีวิสัยทัศน การมีค วาม สามารถ และการมีจติ ใจทีด่ ี อาทิ ทองใบ สิงสีทา (2552) พบวา ผูนำ�ชุมชนในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง ตองเปนผูมีความรู ความสามารถ และมีเจตคติในระดับ สูง ปรีชา วุฒกิ ารณ (2548) ไดศกึ ษาตัวชีว้ ดั คุณลักษณะ ผูนำ�ดานการบริหารจัดการชุมชนเขมแข็ง มี 5 มิติ ดั ง นี้ 1.) มิ ติ ด  า นความพร อ มต อ การเปลี่ ย นแปลง 2.) มิติดานการบริหารจัดการ 3.) มิติดานวิสัยทัศน 4.) มิติดานการแกปญหาอยางบูรณาการ และ 5.) มิติ ดานการสรางสรรคสังคมอยางยั่งยืน 2. คุณลักษณะภาวะผูน �ำ ทีส่ นับสนุนการพัฒนา ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง แตผลการสัมภาษณ ยังใหความสำ�คัญตอประสิทธิผลการพัฒนาตามหลัก ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มี 2 คุณลักษณะ ไดแก ดาน ทั ก ษะทางสั ง คม และด า นแบบอย า งเชิ ง พฤติ ก รรม ผลการสัมภาษณ พบวา ผูนำ�ใชหลักการมีสวนรวมโดย ผูนำ�ตองทำ�หนาที่เปนตัวกลาง ทำ�หนาที่ประสานงาน ระหว า งภาครั ฐ กั บ ประชาชนภายในหมู  บ  า น มี ก าร ประสานงานดำ�เนินกิจกรรมและนำ�นโยบายการพัฒนา เศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช ดังพระบรมราโชวาทของ

140

พระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวฯตอนหนึ่งที่วา (ภูมิพล อดุ ล ยเดช, พระบาทสมเด็ จ พระเจ า อยู  หั ว (2533) “ขอใหทุกคนระลึกวา ปญหาทุกอยางมีทางที่จะแกไข ได ถาแกคนเดียวไมไดก็ชวยกันคิดชวยกันแกหลายๆ คน หลายๆ ทางดวยความรวมมือปรองดองกัน ปญหา ที่เกิดขึ้นนั้นจักไดไมกลายเปนอุปสรรคขัดขวาง และ บัน่ ทอนทำ�ลายความเจริญและความสำ�เร็จของการงาน” สวนแบบอยางเชิงพฤติกรรมของผูน �ำ ตองมีความโปรงใส ประหยัด และหลีกเลี่ยงการใชอำ�นาจเพื่อประโยชน สวนตน สอดคลองกับทฤษฎีภาวะผูนำ�แบบมีบารมีของ เฮาส (House’s charismatic leadership theory)” House (1977) พบวา ผูนำ�ที่ประสบความสำ�เร็จจะตอง เปนแบบอยางที่ดีแกผูตาม ยิ่งผูตามชื่นชอบผูนำ�มาก เทาใด ผูตามก็จะยึดผูนำ�เปนแบบอยางมากขึ้นเทานั้น บทสรุป จากการศึกษาคุณลักษณะภาวะผูนำ�บารมีตาม ทฤษฎีทั้ง 8 ประการ พบวา คุณลักษณะภาวะผูนำ�ที่มี ผลตอการพัฒนาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีเพียง 6 คุณลักษณะ แบงเปน 2 ระดับ ดังนี้ 1.) คุณลักษณะหลัก (Core characteristic) คือ คุณลักษณะ ภาวะผูนำ�บารมีที่สงผลตอผลสัมฤทธิ์การพัฒนาตาม หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมี 4 คุณลักษณะ ไดแก X1 การมีวิสัยทัศนที่เขมแข็ง X2 ความสามารถทางการ บริหาร X8 แบบอยางเชิงจิตใจ และX5 การมุงปฏิบัติ ใหบรรลุผล 2.) คุณลักษณะสนับสนุน (Supporting characteristic) คื อ คุ ณ ลั ก ษณะภาวะผู  นำ � บารมี ที่ ทำ�ใหเกิดประสิทธิภาพในการพัฒนาตามหลักปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง 2 ลักษณะ ไดแก ดานทักษะทาง สังคม และดานแบบอยางเชิงพฤติกรรม ขอเสนอแนะ ขอเสนอแนะจากผลการวิจัย 1. ดานการวางนโยบาย นำ�ผลการวิจัยคือ คุณลักษณะภาวะผูนำ�บารมี 6 ประการ ไปใชในการ พัฒนาผูนำ�ภาคประชาชน และผูนำ�ในหนวยงานภาครัฐ ที่เกี่ยวของกับงานพัฒนาชุมชน โดยภาครัฐหนวยงาน สวนกลาง อยางเชน กระทรวงมหาดไทย ควรมอบหมาย


6 คุณลักษณะภาวะผูนำ�ที่มีผลตอการพัฒนาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง นคเรศ ณ พัทลุง และยุวัฒน วุฒิเมธี

ให คณะกรรมการบริหารจังหวัด (กบจ.) และคณะ กรรมการบริ ห ารอำ� เภอ (กบอ.) ศึ ก ษาวิ จั ย เพื่ อ นำ � คุณลักษณะภาวะผูน �ำ ทีไ่ ดการบูรณาการใชหลักปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียงในการพัฒนาระดับจังหวัดและระดับ อำ�เภอ มีการจัดการแบบบูรณาการ ทัง้ ดานวิชาการ ดาน งบประมาณ และดานกำ�ลังคน เพื่อพัฒนาผูนำ�ภาค ประชาชน และผูนำ�ในหนวยงานภาครัฐที่เกี่ยวของกับ งานพัฒนาชุมชน 2. ดานการปฏิบตั ิ นำ�ผลการวิจยั คือ คุณลักษณะ ภาวะผูนำ�บารมี 6 ประการ ไปปฏิบัติโดยบูรณาการ ประสานความรวมมือระหวางหนวยงานทัง้ ในภาครัฐและ ภาคเอกชน องคกรอิสระ (NGO) และภาคประชาชน ที่ เปนหนวยงานที่เกี่ยวของกับการพัฒนาชุมชน เริ่มจาก 

ผูน �ำ ภาคประชาชนมีการประสานกลุม ผูน ำ� ไดแก กำ�นัน ผูใหญบาน ผูนำ�อาสาพัฒนาชุมชน (อช.) ผูนำ�กลุมหรือ องคกรที่เปนแกนหลักในการพัฒนาหมูบาน และผูนำ� ศูนยประสานงาน เพื่อใหกลุมผูนำ�ดังกลาวเปนตัวกลาง แลกเปลี่ยนความตองการระหวางหนวยงานภายนอก และชาวบานในชุมชน ข อ เสนอแนะจากผลการวิ จั ย ครั้ ง ต อ ไป ควรศึกษาวิจัยตอยอดองคความรูและสรางนวัตกรรม การบริหารจัดการในมิติใหม ไดแก 1.) พัฒนาระบบ เทคโนโลยีสารสนเทศตอการปฏิบัติงานของผูนำ�ชุมชน 2.) การพั ฒ นากลยุ ท ธ เ พื่ อ เสริ ม สร า งความคิ ด ริ เ ริ่ ม สำ�หรับผูนำ�ชุมชน 3.) กลยุทธเสริมสรางความสามารถ และความมุงมั่นในการทำ�งานของผูนำ�ชุมชน 



141


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปีที่ 32 ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2555

เอกสารอางอิง ภาษาไทย กรมการพัฒนาชุมชน. (2554). ทำ�เนียบผูนำ�องคกรเครือขายพัฒนาชุมชน. กรุงเทพมหานคร: บีทีเอสเพรส การปโตรเลียมแหงประเทศไทย (ปตท.) (2554). โครงการรักษปา สรางคน 84 ตำ�บล วิถีพอเพียง. [ออนไลน] สืบคนเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2554. จาก www.pttplc.com. โกลดสเวอรธี เดวิด. (2530). มองทฤษฎีการพัฒนาอยางวิเคราะห (Analyzing Theories of Development.) ม.ร.ว. พฤทธิสาณ ชุมพล, ผูแปล. กรุงเทพมหานคร: ศูนยศึกษาการพัฒนาสังคม คณะรัฐศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย. คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแหงชาติ, สำ�นักงาน. (2553). การประยุกตใชเศรษฐกิจพอเพียง. [ออนไลน]. สืบคนเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2554. จาก www.nesdb.go.th คณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำ�ริ กปร., สำ�นักงาน. (2550). บทบาทของ ผูนำ�ตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพมหานคร: สำ�นักงาน กปร. จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา. (2552). การประยุกตใชเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพมหานคร: สำ�นักงานคณะกรรมการ พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแหงชาติ. ฉัตรทิพย นาถสุภา และพรพิไล เลิศวิชา. (2537). วัฒนธรรมหมูบานไทย. กรุงเทพมหานคร: พิมพลักษณะ. ไชยรัตน เจริญสินโอฬาร. (2540). การบริหารรัฐกิจเปรียบเทียบ:บทสำ�รวจพรมแดนแหงความรูแนววิพากษ. พิมพครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร. ณัฐนรี ศรีทอง. (2552). ภาวะความเปนผูนำ�ในงานพัฒนาชุมชน. กรุงเทพมหานคร: โอ.เอส. พริ้นติ้ง เฮาส. ทศพิธราชธรรม. (2530). พระราชพิธีมหามงคลสมัย เฉลิมพระชนพรรษา 5 รอบ. [ออนไลน]. สืบคนเมื่อ 18 มิถุนายน 2555. จาก www.dhammajak.net. ทองใบ สิงสีทา. (2552). การพัฒนาศักยภาพผูนำ�ชุมชนในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงบานรางแจง หมูที่ 9 ตำ�บลทาดิน อำ�เภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี. วิทยานิพนธศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี. ธรรมรักษ การพิศิษฎ. (2543). วิสัยการวางแผนพัฒนาประเทศในสหัสวรรษหนา. กรุงเทพมหานคร: เพชรรุง การพิมพ. ธันวา จิตตสงวน. (2550). การพัฒนาที่ยั่งยืนตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง:กระแสไทในความเปน กระแสสากล. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร. ปรีชา วุฒกิ ารณ. (2548). การสรางตัวชีว้ ดั คุณลักษณะผูน �ำ ในการบริหารจัดการชุมชนเขมแข็ง. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย. พระธรรมปฎก (ป.อ.ปยุตโต). (2549). การพัฒนาที่ยั่งยืน. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิพุทธธรรม. พระเทพโสภณ (ประยูร ธัมมจิตโต). (2540). กาวสูศ ตวรรษใหมดว ยพุทธธรรมและเทคโนโลยี. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิพุทธธรรม. ภูมพิ ลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระเจาอยูห วั . (2517). พระบรมราโชวาทในพิธพี ระราชทานปริญญามหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร วันพฤหัสบดีที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2517. [ออนไลน]. สืบคนเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2554. จาก www.ohmpps.go.th ________. (2533). พระบรมราโชวาทในพิธพี ระราชทานปริญญาของจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย ณ จุฬาลงกรณ มหาวิทยาลัย วันศุกรที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2533. สืบคนเมือ่ 18 พฤศจิกายน 2554. จาก www.ohmpps.go.th มูลนิธิชัยพัฒนา. (2544). ทฤษฎีใหมในการพัฒนาประเทศ. กรุงเทพมหานคร: ชัยพัฒนาสนามเสือปา.

142


6 คุณลักษณะภาวะผูนำ�ที่มีผลตอการพัฒนาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง นคเรศ ณ พัทลุง และยุวัฒน วุฒิเมธี

ยุวตั น วุฒเิ มธี. (2553). เอกสารประกอบการสอนวิชาการประกอบการและการจัดการรัฐกิจ. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยสยาม. สมเกียรติ ออนวิมล. (2550). วิกฤต “เศรษฐกิจพอเพียงปรัชญา ไมใชทฤษฎี”. มติชน 26 กุมภาพันธ : 11. สัญญา สัญญาวิวัฒน. (2536). สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีกับงานพัฒนา. กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพรผลงานวิจัย ฝายวิจัย จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย. _______________. (2551). ทฤษ​ฎีและกลยุทธการพัฒนาสังคม. พิมพครั้งที่ 8. กรุงเทพมหานคร: สำ�นักพิมพ แหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย. ภาษาตางประเทศ Bass, B. M. (1990). From transactional to transformational leadership : learning to share the vision. Organizational dynamics (Winter) : 19-31. Retrieved June 8, 2011. from http://changing.minds,org/ disciplines/leadership/theories/bass-transformation.html Berlew, D. E. (1974). “Leadership and organizational excitement.” In Organizational psychology : a book of readings. Ed. by D.A. Kolb, I.M. Rubin, & J.M. McIntyre. 2nd ed. Englewood Cliffs, N. J: Prentice-Hall. : 60-63. Carlyle, Thomas. (1888). On Heroes, Hero-Worship and the Heroic in History. N.Y.: Fredrick A. Stokes & Brother. Conger, J. A., & Kanango, R. N. (1989). Charismatic leadership : the elusive factor in organizational effectiveness. Retrieved June 8, 2011. from http://www.coastwiseonsulting.com/charismatic%20 Leadership%20%20CRED.pdf DuBrin, J.A. (1998). Leader research findings, practice and skills. New Jersey: Houghton Mifflin. House, R.J. (1977). “A theory of charismatic leadership.” In Leadership : the cutting edge : a symposium held at Southern Illinois University, Carbondale, October 27-28, 1976. Ed. by James G. Hunt and Lars L. Larson. Carbondale, IL.: Southern Illinois University Press : 189-207. Nadler, D. A., & Tushman. M. L. (1990). Beyond the charismatic leader: leadership and organization change. California Management Review 32 (2) : 77-97. The Economist. (2007). In Rebranding Thaksinomics and wrecking the economy, with the UN’s ill-judged backing. Bangkok: The Economist Newspaper. United Nations Conference for Environment and Development; UNCED. (1992). Sustainable development. [Online]. Retrieved June 8, 2011. from http://www.unced.co.th.

143



การใชวารสารวิชาการของนักศึกษาปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม Journal Usage of Graduate Students in Nakhon Pathom Rajabhat University ชัยเลิศ ปริสุทธกุล 1 Chailerd Parisuttakoon บทคัดยอ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงคดังนี้ 1.) เพื่อศึกษาสภาพการใชวารสารวิชาการสำ�หรับการคนควาของนักศึกษา ปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม 2.) เพือ่ ศึกษาวิธกี ารประเมินวารสารวิชาการสำ�หรับการคนควาของนักศึกษา ปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม และ 3.) เพื่อศึกษาปญหาการใชวารสารวิชาการสำ�หรับการคนควาของ นักศึกษาปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม กลุมตัวอยาง คือ นักศึกษาระดับปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏ นครปฐม ปการศึกษา 2553 จำ�นวน 256 คน เครือ่ งมือวิจยั คือ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ สถิตทิ ใี่ ชวเิ คราะหขอ มูล ไดแก รอยละ คาเฉลี่ย และสวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบวา 1. นักศึกษามีความคิดเห็นวา การใชวารสารวิชาการในรูปสิ่งพิมพมีความจำ�เปนตอการเรียนและการทำ� วิทยานิพนธ โดยใชวารสารวิชาการ 4-6 ครั้งตอเดือน นิยมใชวารสารฉบับใหมมากที่สุดและเปนภาษาไทย อาน เนื้อหาในบทความทั้งหมด สืบคนโดยใชหัวเรื่อง และสืบคนจากฐานขอมูลวารสาร (รายการสาธารณะแบบออนไลน หรือOPAC) โดยมีวตั ถุประสงคเพือ่ การศึกษาคนควาการทำ�วิจยั หรือทำ�วิทยานิพนธ แหลงคนควาคือสำ�นักวิทยบริการ และเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม 2. นักศึกษามีวธิ กี ารประเมินเพือ่ เลือกใชวารสารวิชาการโดยพิจารณาจากสาระสังเขปและเนือ้ หาในบทความ และตองอานแลวเขาใจงายทั้งภาษาและวิธีเขียน และพิจารณาจากความรูความสามารถ คุณวุฒิของผูแตง และเลือก วารสารวิชาการที่ตรงกับสาขาวิชาที่ตองการ 3. นักศึกษามีความคิดเห็นตอปญหาการใชวารสารวิชาการ ไดแก วารสารวิชาการมีกำ�หนดออกไมตอเนื่อง ไมสะดวกในการใชบริการวารสารในหองสมุด เนื่องจากขอยืมออกนอกหองสมุดไมได และแกไขปญหาโดยใช วัสดุสารสนเทศอื่นๆ แทนวารสารวิชาการ คำ�สำ�คัญ: 1. การใชวารสารวิชาการ. 2. วารสารวิชาการ. 3. นักศึกษาปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

__________________ 1 รองศาสตราจารยประจำ� โปรแกรมวิชาบรรณารักษศาสตรและสารสนเทศศาสตร คณะมนุษยศาสตรและสังคมศาสตร มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปีที่ 32 ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2555

Abstract The purposes of this research were as follows: 1) To study journals usage of Nakhon Pathom Rajabhat University’s master graduate students; 2) to study journal assessment methods of Nakhon Pathom Rajabhat University’s master graduate students; and 3) to study the problems of journals usage of Nakhon Pathom Rajabhat University’s master graduate students. The sample consisted of 256 students in the academic year 2010. The research tools were questionnaires and interviews. Percentage, average, and standard deviation were used for statistic analysis. The findings were as follows. 1. In terms of printed journal usage, the students thought that journals were necessary to their learning and thesis writing. They used journals 4-6 times a month. They used current issues the most. The journal language was Thai and subject-headings were used for their searching by the journal online database (OPAC). The objectives of journal usage were to study or write their thesis. Their motivation of journal usage was to study. They used the journals in the Academic Resources and Information Technology Center in Nakhon Pathom Rajabhat University 2. According to journal assessment, they considered the contents of articles. They usually read abstracts. They needed articles that were easy to understand both in language used and in writing style. They considered journals from authors’ qualifications and then chose those that matched their interest. 3. As regards problems in using journals, they encountered all problems at a moderate level. The issues were not uniform across journals. Using the library services, it is not convenient to use journals because they could not borrow journals from the library. They, therefore, used other sources of information instead of journals. Keywords: 1. Journals Usage. 2. Journal. 3. Master Graduate Students, Nakhon Pathom Rajabhat University.

146


การใชวารสารวิชาการของนักศึกษาปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ชัยเลิศ ปริสุทธกุล

ความเปนมาและความสำ�คัญของปญหา ปจจุบันวัสดุสารสนเทศมีหลากหลาย มีการใช เทคโนโลยีสารสนเทศทีท่ นั สมัยเพือ่ ความสะดวกรวดเร็ว ในการจัดเก็บและการสืบคน เชน ขาวกฤตภาคออนไลน วารสารอิ เ ล็ ก ทรอนิ ก ส หนั ง สื อ พิ ม พ อิ เ ล็ ก ทรอนิ ก ส บทเรียนอิเล็กทรอนิกส หนังสืออิเล็กทรอนิกส ฐานขอมูล ออนไลน วิทยานิพนธอิเล็กทรอนิกส แตการคนควา จากสารสนเทศประเภทสิ่งพิมพ ยังคงเปนที่แพรหลาย อยางมาก โดยเฉพาะอยางยิง่ วารสาร ซึง่ ไดรบั ความนิยม ใชคอ นขางสูง เนือ่ งจากมีการผลิตออกมามากมายหลาย ชื่ อ เรื่ อ ง มี กำ � หนดออกตามวาระอย า งต อ เนื่ อ งและ ทันสมัย เพราะวารสารเสนอบทความวิชาการ บทความ วิจัย และความรูที่คนพบใหม เห็นไดวานักวิชาการ นั ก วิ จั ย นิ ย มเป น สมาชิ ก วารสารวิ ช าการที่ ต นเอง เกี่ ย วข อ งกับวิชาชีพ เพื่อติ ดตามขอมูลใหม ความ เคลื่อนไหว ความกาวหนาของขาวสารทางวิชาชีพที่ ทันสมัยตลอดเวลา วารสารจึงมีคุณคาตอนักวิจัย เปน สิ่ ง พิ ม พ ที่ สำ � คั ญ ที่ สุ ด สำ � หรั บ ผู  อ ยู  ใ นแวดวงวิ ช าการ เนื่องจากผูใชสามารถเขาถึงไดเร็วกวาสิ่งพิมพอื่นๆ ดังที่แฟรริงตัน (Farrington 2000 : 6-20) กลาววา “วารสารวิ ช าการทั้ ง ฉบั บ เก า และฉบั บ ใหม ยั ง เป น ประโยชนตอการศึกษาคนควา เนื่องจากเปนเครื่อง บันทึกความคิดเห็น ความสนใจ และสะทอนปญหา สังคมในชวงระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง” ข อ มู ล ที่ ส นั บ สนุ น ให เ ห็ น คุ ณ ค า และความ สำ�คัญของวารสารวิชาการ คือ สถาบันสารสนเทศทาง วิทยาศาสตรของประเทศสหรัฐอเมริกา (Institute for Scientific Information หรือ ISI) ไดสรางฐานขอมูล ชื่อวา “Journal Citation Report” สำ�หรับประเมินและ จัดลำ�ดับคุณภาพวารสารวิชาการระดับนานาชาติใน ทุกสาขา เพื่อเปนดรรชนีชี้วัดวา วารสารใดมีสถิติถูก นำ�ไปอางอิงมากนอยเพียงใดที่เรียกวา “ดรรชนีผล กระทบการอางอิงของวารสาร (Journal Impact Factor หรือ JIF)” หมายความวา วารสารที่มีคา JIF สูง จะได รับความนิยมสูงในการพิจารณาสงบทความลงตีพิมพ ของผูเขียนบทความ (The Institute for Scientific Information, 2000) ขณะเดียวกันวารสารนั้นๆ ก็มี โอกาสคัดเลือกงานวิจัยที่มีคุณภาพดีลงพิมพไดมากขึ้น

ดวย (Green 2000 : 311 อางถึงใน ณรงคฤทธิ์ สมบัติ สมภพ และคณะ 2544 : 357) ขณะเดียวกัน หองสมุด มหาวิทยาลัยตางๆ สามารถใชคา JIF ในการพิจารณา ตัดสินใจบอกรับเปนสมาชิกวารสารใหตรงตามความ ตองการของนักวิจัย เมื่อนักวิจัยที่คนควาจากวารสาร ที่มี JIF แลวนำ�ไปอางอิง งานวิจัยก็มีคุณภาพนาเชื่อถือ ตามไปดวย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมไดตั้งปรัชญาวา “เปนสถาบันอุดมศึกษาเพือ่ การพัฒนาทองถิน่ และสังคม ไทย มุงสรางองคความรูเพื่อทองถิ่นและปวงชน” จัด การศึกษาทั้งระดับปริญญาตรี และระดับบัณฑิตศึกษา ทั้งนี้การเรียนการสอนจะเนนการทำ�วิทยานิพนธกอน สำ�เร็จการศึกษา เนือ่ งจากมีแนวความคิดวา วิทยานิพนธ เป น การค น พบความรู  ใ หม และยั ง เป น รายงานการ ค น คว า วิ จั ย ที่ เ รี ย บเรี ย งขึ้ น อย า งเป น ระเบี ย บตาม ขั้ น ตอนของกระบวนการวิ จั ย ที่ ส ลั บ ซั บ ซ อ นและ ลุมลึกกวารายงานทั่วไป ใชระเบียบวิธีวิจัย (Research methods) หลายวิธี ไดแก การวิจัยเชิงทดลอง การ วิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงคุณภาพ นอกจากนั้น จะตองคนควาอางอิงจากสื่อความรูประเภทตางๆ เชน สื่อสิ่งพิมพ สื่อโสตทัศน และสื่ออิเล็กทรอนิกส ดังนั้น การทำ�วิทยานิพนธจะทำ�ใหนกั ศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ไดเรียนรูและสรางประสบการณในการทำ�วิจัย เปนการ แสดงศักยภาพและความสามารถของนักศึกษาวา มี ความรูค วามสามารถเพียงพอทีจ่ ะศึกษาคนควา แสวงหา ความรู หาคำ�ตอบเพือ่ แกปญ  หาตางๆ สรางองคความรู ไดอยางเปนระบบตามกระบวนการวิจัยที่ถูกตอง และ เชื่อถือได วารสารวิ ช าการคื อ สื่ อ ความรู  ที่ จั ด ทำ � ขึ้ น เพื่ อ เสริมความรูดานวิชาการตางๆ เนื้อหาภายในมีลักษณะ เปนบทความวิจารณ บทความปริทศั น บทความวิชาการ และบทความวิจยั นำ�เสนอผลของการคนควาวิจยั คนพบ ความรูใหมที่เกิดขึ้น ขณะเดียวกัน นักวิจัย นักวิชาการ ตางก็นยิ มใชวารสารวิชาการเพือ่ การคนควา เนือ่ งจากมี บทความทีม่ ขี อ มูลแสดงความกาวหนา ความเคลือ่ นไหว เปนปจจุบนั มากทีส่ ดุ เพราะบทความในวารสารวิชาการ มีแนวคิดใหม ทันสมัย มีความเปนปจจุบันมากกวา หนังสือ ผลงานวิจัยบางประเภทจะไดรับการเผยแพรใน

147


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปีที่ 32 ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2555

วารสารวิชาการเทานั้น วารสารวิชาการจึงมีคุณคา สำ�หรับนักคนควา นักวิจัย และผูเกี่ยวของในวิชาชีพที่ จะศึกษาหาความรูท ที่ นั ตอเหตุการณ โดยเฉพาะอยางยิง่ นั ก ศึ ก ษาปริ ญ ญาโทที่ ต  อ งทำ � วิ จั ย หรื อ วิ ท ยานิ พ นธ จำ�เปนตองใชวารสารวิชาการเพือ่ แสวงหาขอมูล ความรู ที่ทันสมัย และประกอบการคนควา การอางอิง ซึ่งจะ ทำ�ใหวทิ ยานิพนธของตนเองมีความนาเชือ่ ถือ เหมาะสม ที่จะนำ�ไปเผยแพรตอไป ผู  วิ จั ย ในฐานะอาจารย ป ระจำ � โปรแกรมวิ ช า บรรณารักษศาสตรและสารสนเทศศาสตร มหาวิทยาลัย ราชภัฏนครปฐมไดวิเคราะหขอมูลเบื้องตนดวยการ สั ง เกตการใช ว ารสารของนั ก ศึ ก ษาภายในสำ � นั ก วิ ท ยบริ ก ารและเทคโนโลยี ส ารสนเทศ รวมทั้ ง การ สนทนากั บ บรรณารั ก ษ ฝ  า ยวารสาร และนั ก ศึ ก ษา ปริญญาโท ประกอบกับการวิเคราะหรายการอางอิงและ บรรณานุกรมในวิทยานิพนธของนักศึกษาปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม พบวา นักศึกษาอาน วารสารวิชาการคอนขางนอย โดยเฉพาะวารสารภาษา ตางประเทศ แมวา ฝายวารสารของสำ�นักวิทยบริการและ เทคโนโลยีสารสนเทศไดเพิ่มงบประมาณสั่งซื้อวารสาร วิชาการมากขึ้นทั้งฉบับพิมพภาษาไทยและภาษาตาง ประเทศ (สมรัก เปลงเจริญศิริชัย 2553 : สัมภาษณ) ดังนั้น ผูวิจัยจึงสนใจที่จะศึกษา “การใชวารสารวิชาการ ของนักศึกษาปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม” ผลจากการวิจัยจะไดรณรงคใหนักศึกษาไดเห็นความ สำ�คัญและนำ�ความรูจ ากวารสารวิชาการไปใชประโยชน ในการคนควาอางอิงเพือ่ ทำ�วิทยานิพนธหรือการเพิม่ พูน ความรูมากขึ้น รวมทั้งหนวยงานที่ใหบริการสารสนเทศ เชน หองสมุดจะไดพัฒนารูปแบบการใหบริการวารสาร ที่ตรงตอความตองการของผูใชมากที่สุด วัตถุประสงคการวิจัย เพื่อศึกษาสภาพการใชวารสารวิชาการ วิธีการ ประเมิ น วารสารวิ ช าการ และป ญ หาการใช ว ารสาร วิ ช าการเพื่ อ การค น คว า ของนั ก ศึ ก ษาปริ ญ ญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

148

ขอบเขตการวิจัย 1. การวิจยั ครัง้ นีม้ งุ ศึกษาการใชวารสารวิชาการ ของนักศึกษาปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ใน 4 ประเด็นหลักคือ 1) สภาพการใชวารสารวิชาการ 2) วิธีการประเมินวารสารวิชาการ 3) ปญหาการใช วารสารวิชาการ และ 4) ขอเสนอแนะการใชวารสาร วิชาการ โดยทำ�การศึกษาเฉพาะวารสารวิชาการภาษา ไทยและภาษาตางประเทศที่เปนฉบับพิมพเทานั้น 2. เก็บขอมูลโดยใชแบบสอบถามกับประชากร คือ นักศึกษาระดับปริญญาโททุกคนและทุกสาขาวิชาที่ กำ�ลังศึกษารายวิชาตางๆ ในปการศึกษา 2553 จำ�นวน 256 คน และใชแบบสัมภาษณกับกลุมตัวอยางที่เปน ตัวแทนประชากรทุกสาขาวิชา จำ�นวน 20 คน 3. ข อ มู ล ที่ ไ ด จ ากแบบสอบถามและแบบ สัมภาษณ จะนำ�คำ�ตอบแปลงเปนตัวเลขเพื่อนำ�ขอมูล ทัง้ หมดไปประมวลและวิเคราะหดว ยเครือ่ งคอมพิวเตอร ดวยคารอยละ (Percentage) คาเฉลีย่ ( X ) สวนเบีย่ งเบน มาตรฐาน (S.D.) และสถิติเชิงพรรณนา (Descriptive statistics) เพื่อสรุปขอมูล ประโยชนที่คาดวาจะไดรับ 1. คณะกรรมการบัณฑิตศึกษาใชผลการวิจัย เปนนโยบาย และวางขอกำ�หนดขั้นต่ำ�ในการใชวารสาร วิ ช าการเพื่ อ การค น คว า อ า งอิ ง ของวิ ท ยานิ พ นธ ใ น แตละสาขา 2. หนวยงานทีใ่ หบริการสารสนเทศ เชน หองสมุด สามารถนำ�ไปพัฒนารูปแบบการใหบริการวารสารที่ ตรงตอความตองการของผูใชมากที่สุด และแนะนำ�การ คนควาและการใชวารสารวิชาการที่ถูกตองทั้งในรูป สิ่งพิมพและในรูปสื่ออิเล็กทรอนิกส 3. นั ก ศึ ก ษาปริ ญ ญาโทมี ค วามรู  ค วามเข า ใจ เห็นความสำ�คัญของวารสารวิชาการ มีการใชเพื่อการ คนควาและนำ�มาอางอิงมากขึ้น เพิ่มคุณคาที่นาเชื่อถือ ในการทำ�วิทยานิพนธ 4. นั ก ศึ ก ษาปริ ญ ญาโทเห็ น ความสำ � คั ญ และ เขาใจถึงลักษณะบทความวิจัย เทคนิคและวิธีการเขียน บทความวิจัยเพื่อการเผยแพร


การใชวารสารวิชาการของนักศึกษาปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ชัยเลิศ ปริสุทธกุล

ความรูทั่วไปเกี่ยวกับวารสาร 1. ประวัติความเปนมาของวารสาร คำ�วา “วารสาร” เขาใจกันวา พิมพขนึ้ ครัง้ แรก ที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เมื่อป ค.ศ. 1731 ชื่อวา “The Gentlemen’s Magazine” ขณะที่สหรัฐอเมริกามี วารสารครั้งแรก ในค.ศ. 1741 ที่เมืองฟลาเดลเฟย ชื่อ วา “American Magazine” (วราวุธ ผลานันต 2537 : 67-69) ขณะที่เทยเลอร (Taylor 1982 : 10) กลาววา มีการจัดพิมพวารสารฉบับแรกที่ชื่อวา Journal des Scavans เมื่อ ค.ศ. 1665 ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส พิมพรายสัปดาห แตเนื้อหาสาระมีลักษณะเปนสาระ สังเขปมากกวานำ�เสนอรายงานวิจัย สำ�หรับวารสารใน ประเทศไทยนั้น มีขึ้นครั้งแรกในปลายรัชสมัยพระบาท สมเด็ จ พระนั่ ง เกล า เจ า อยู  หั ว เมื่ อ พ.ศ. 2387 ชื่ อ “Bangkok Recorder” จัดทำ�โดย แดน บีช บรัดเลย เปนมิชชันนารีชาวอเมริกัน ตอมาในรัชสมัยพระบาท สมเด็จพระจอมเกลาเจาอยูหัว เมื่อ พ.ศ. 2401 ออก สิ่งพิมพชื่อ “ราชกิจจานุเบกษา” วารสารสมัยแรกๆ เปนกิจการของเจานายชั้นสูง ตอมาจึงแพรหลายไปสู สามัญชนมากขึ้น จนกระทั่งถึงปจจุบันมีวารสารที่จัดทำ� ขึ้นสำ�หรับผูอานเฉพาะกลุมมากขึ้น ซึ่งสอดคลองกับ ทฤษฎีพัฒนาการของสื่อมวลชนคือ สื่อมวลชนมีจุดเริ่ม ตนจากชนชั้นสูง แลวพัฒนาไปเปนสื่อสำ�หรับมวลชน และพัฒนามาเปนสื่อเฉพาะกลุมหรือเฉพาะดานมากขึ้น (พีระ จิระโสภณ 2532 : 206) การผลิตวารสารในประเทศตางๆ ไดเพิม่ จำ�นวน มากขึ้นอยางรวดเร็ว โดยเฉพาะตั้งแตป ค.ศ. 2000 มี วารสารทีพ่ มิ พทวั่ โลกกวา 161,200 ชือ่ เรือ่ ง นับเปนการ ดำ�เนินธุรกิจการพิมพวารสารอยางมหาศาล ประกอบกับ มีความตองการในการคนควาวิจัยมากขึ้นดวย ทำ�ให การผลิตและการเพิม่ จำ�นวนวารสารมากขึน้ อยางรวดเร็ว และมีความตองการตามยุคสมัยตามความกาวหนาทาง วิทยาศาสตรเทคโนโลยี และเทคโนโลยีการพิมพสมัยใหม จึ ง มี ก ารลงทุ น และเพิ่ ม ค า ใช จ  า ยสู ง มากขึ้ น ตาม สภาวการณ ทำ�ใหวารสารมีราคาสูงขึน้ หองสมุดบางแหง ถึงกับหยุดรับการเปนสมาชิกวารสารภาษาตางประเทศ ฉบับพิมพ และหันมารับวารสารอิเล็กทรอนิกสแทนเพื่อ ลดภาระคาใชจาย

2. ความหมายของวารสาร วารสาร ตรงกั บ คำ � ภาษาอั ง กฤษว า “periodical” ตามความหมายของวิ ท ยานุ ก รม บรรณารักษศาสตรของจารุวรรณ สินธุโสภณ (2521 : 90-91) ไดอธิบายความหมายของคำ�วา “วารสาร” คือ สิ่งพิมพประเภทหนึ่ง มีกำ�หนดการพิมพที่แนนอน หรือ คอนขางแนนอน วารสารแตละชื่อจะมีลักษณะรูปเลม ภายนอกเหมือนกันทุกฉบับ ชวยใหผูอานสังเกตหรือ จำ�วารสารนั้นได ชุติมา สัจจานันท (2530 : 53) ระบุ ความหมายของวารสาร (journal) วา “คือสิ่งพิมพที่มี กำ�หนดออกสม่ำ�เสมอตอเนื่องกัน เชน ออกเปนราย สัปดาห รายปกษ รายเดือน รายคาบ เปนตน เนือ้ หาภายใน เลมประกอบดวย บทความเรื่องราวทั่วไป ในหลาย สาขาวิชาหรือในสาขาวิชาใดวิชาหนึง่ โดยเฉพาะลักษณะ รูปเลมวารสารแตละชื่อจะเปนรูปแบบเดียวกัน เชน ระบุปที่ (volume) ฉบับที่ (number) และวัน เดือน ป ประจำ�เลม ซึ่งเลขที่ดังกลาวมีความสัมพันธกับเลมอื่นๆ ที่พิมพมาแลว หรือที่จะพิมพตอไป ผูจัดทำ�วารสาร อาจจะเปนหนวยงานราชการ สถาบันเอกชน องคการ สมาคม โดยปกติจะระบุวตั ถุประสงคในการออกวารสาร นั้นดวย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พุทธศักราช 2542 ใหความหมายของวารสาร หมายถึง หนังสือที่ ออกเปนคราวๆ (ราชบัณฑิตยสถาน 2546) สารานุกรม อเมริกานา เลมที่ 21 (The Encyclopedia Americana vol. 21 1979 : 591) ใหความหมายไววา วารสาร (Serial) เปนสิ่งพิมพที่ออกเปนชุดตอเนื่อง มีกำ�หนดระยะเวลา ออกอยางสม่ำ�เสมอ ตั้งแตสัปดาห 2 ฉบับ จนถึงปละ หลายฉบับหรือปละฉบับ โดยไมนับรวมถึงหนังสือพิมพ ขณะทีอ่ อสบอรน (Osborn 1986 : 8-9) กลาววา วารสาร (Serials) เปนสื่อความรูประเภทหนึ่งที่ออกเปนระยะ ทั้ ง ที่ มี กำ � หนดแน น อนและไม แ น น อน แต ล ะฉบั บ มี วันเดือนปกำ�กับ กำ�หนดออกมากกวาปละ 1 ครั้ง วารสารแตละฉบับบรรจุบทความหลายๆ บทความโดยมี ผูแ ตงหลายคน โคล และวิลเลีย่ ม (Cole & Williams 1992 : 265) ไดขยายความหมายของวารสาร หรือสิ่งพิมพ ตอเนื่อง หมายถึง สิ่งพิมพที่อยูในรูปแบบสื่อสิ่งพิมพ หรือไมใชก็ตาม ที่ออกตอเนื่องกัน มีการระบุหมายเลข

149


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปีที่ 32 ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2555

หรือลำ�ดับวัน เดือน ป และมีเจตนาที่จะออกตอเนื่อง ตลอดไป ซึ่ ง สิ่งพิมพตอเนื่องเหลานี้รวมถึงวารสาร (Periodicals) หนังสือพิมพ (Newspapers) สิ่งพิมพ รายป รายงาน หนังสือรายป (Annuals report, Yearbooks) วารสารวิชาการ (Journals) บันทึกความจำ� (Memories) รายงานการประชุมทางวิชาการ (Proceedings) รายงาน กิจการของสมาคม (Transactions of societies) และ เอกสารชุดที่มีหมายเลขกำ�กับ (Monographic series) 3. ความสำ�คัญของวารสารวิชาการ วารสารวิชาการ (Journal) เปนวารสารทีจ่ ดั ทำ� ขึ้นเพื่อสงเสริมความรูวิชาการตางๆ สาขาใดสาขาหนึ่ง เนื้ อ หาภายในมี ลั ก ษณะเป น บทความวิ ช าการและ บทความวิ จั ย รวมทั้ ง นำ � เสนอผลงานทางวิ ช าการ การวิเคราะหการวิจารณ ฯลฯ ที่ยังไมเคยพิมพเผยแพร มากอน วารสารวิชาการจึงมีความสำ�คัญดังนี้ 3.1 บทความในวารสารวิชาการมีความเปน ปจจุบันและทันสมัยมากกวาหนังสือ นักวิจัยจึงมักได แนวคิดใหมๆ จากบทความในวารสารวิชาการมากกวา หนังสือ 3.2 เนื้อหาที่เปนที่นาสนใจในแตละชวงเวลา หรืองานวิจัยบางประเภทจะไดรับการตีพิมพในวารสาร วิ ช าการเท า นั้ น และไม ไ ด รั บ การตี พิ ม พ ใ นหนั ง สื อ หรือสิ่งพิมพประเภทอื่นๆ 3.3 ผูเชี่ยวชาญบางสาขาวิชาไมนิยมเขียน หนังสือ แตนยิ มเขียนบทความตีพมิ พในวารสารวิชาการ เพื่อเผยแพรในแวดวงวิชาชีพ มักพบเสมอวา นักวิจัย ดานวิทยาศาสตรและเทคโนโลยีนยิ มเขียนบทความวิจยั บทความวิชาการ เมื่อทำ�วิจัยหรือคนพบความรูใหมๆ และตีพิมพเผยแพรลงในวารสาร 3.4 วารสารวิชาการที่มีการทำ�สาระสังเขป ของบทความแต ล ะบทความ สาระสั ง เขปจะเป น ประโยชนตอการคนควา อางอิง เนื่องจากผูใชสามารถ คนหาคำ�ตอบที่ตองการไดจากสาระสังเขปทันที 3.5 วารสารวิชาการที่มีดรรชนีทายเลม หรือ ดรรชนีรวมเลมประจำ�ป มีประโยชนตอ ผูใ ชในการคนควา วรรณกรรมหรือเรื่องที่ตองการ เชน “วารสารหองสมุด” “Library Journal” สรุปไดวา วารสารเปนแหลงขอมูลทั้งดาน

150

วิชาการและขาวสารตางๆ เพื่อศึกษาคนควา เปนแหลง ขอมูลปฐมภูมิ (Primary source) ทีใ่ หความรูใ หม ทันตอ เหตุการณและเปลีย่ นแปลงไปตามสังคมและโลกปจจุบนั มี เ นื้ อ หาข า วสารที่ เ น น ในสาขาใดสาขาหนึ่ ง พิ ม พ เผยแพรสม่ำ�เสมอและตอเนื่องกันในกำ�หนดที่แนนอน โดยไมระบุระยะเวลาสิน้ สุด เสนอขอมูลขาวสารทีท่ นั สมัย รวดเร็วและเปนปจจุบัน วารสารมีหลายประเภท คือ วารสารวิชาการ วารสารสารคดี วารสารบันเทิงคดี ป จ จุ บั น วารสารมี ลั ก ษณะการจั ด ทำ � และ เผยแพรแบงออกเปน 3 รูปแบบ ไดแก วารสารในรูป สิ่งพิมพ วารสารในรูปวัสดุยอสวน และวารสารในรูป สื่ออิเล็กทรอนิกส 1. วารสารในรูปสิ่งพิมพ วารสารในรู ป สิ่งพิมพ (Printed journals) เปนวารสารที่มีการบันทึก ลงในกระดาษเปนรูปเลม ถือไดวา เปนสือ่ การศึกษาแบบ ดั้งเดิมที่การใชอยางแพรหลายในการเผยแพรความรู บันทึกขอมูล และผลการวิจยั ตางๆ วารสารทีเ่ ปนสิง่ พิมพ สามารถใชไดงาย แตในอนาคตจำ�นวนวารสารรูปแบบ สิ่งพิมพอาจมีจำ�นวนลดลง เพราะสำ�นักพิมพตางๆ ใหความสนใจที่จะนำ�สิ่งพิมพเหลานี้เผยแพรในรูปแบบ อิเล็กทรอนิกสมากขึ้น (Chen 1995 : 8) 2. วารสารในรูปวัสดุยอสวน วารสารใน รูปวัสดุยอสวน (Microforms journals) เปนวารสารที่ บันทึกในลักษณะวัสดุยอ สวน เชน ไมโครฟลม ไมโครฟช และไมโครแจ็กเก็ตในลักษณะยอสวน การใชงานตองมี เครื่องอานและเครื่องทำ�สำ�เนาวัสดุยอสวน การผลิต วารสารในรูปสือ่ วัสดุยอ สวนเปนตัวชวยเสริมใหหอ งสมุด มีแหลงขอมูลทีก่ วางขวางมากขึน้ ประหยัดเนือ้ ทีจ่ ดั เก็บ โดยเฉพาะการจัดเก็บวารสารฉบับยอนหลัง (เบญจา รุงเรืองศิลป 2539 : 2) 3. วารสารในรู ป สื่ อ อิ เ ล็ ก ทรอนิ ก ส วารสารในรูปแบบสื่ออิเล็กทรอนิกสเปนการผสมผสาน ระหวางอักขระ ภาพนิ่ง เสียง รวมทั้งภาพเคลื่อนไหว สามารถตกแตงใหสวยงามไดอยางรวดเร็ว มีขอ ผิดพลาด น อ ยที่ สุ ด (Lancaster 1989 : 316) วารสาร อิ เ ล็ ก ทรอนิ ก ส เ ป น สื่ อ อิ เ ล็ ก ทรอนิ ก ส ป ระเภทหนึ่ ง ที่ มีบทบาทอยางมาก เพราะเปนแหลงรวบรวมความรู สาขาตางๆ เผยแพรความรูไดอยางทั่วถึงทุกมุมโลก


การใชวารสารวิชาการของนักศึกษาปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ชัยเลิศ ปริสุทธกุล

ผูใชสามารถเขาถึงสารสนเทศไดอยางรวดเร็ว โดย เฉพาะวารสารอิเล็กทรอนิกสบนเครือขายอินเทอรเน็ต นงลักษณ วิรัชชัย (2541) จัดประเภทของ วารสารวิชาการออกเปน 3 ประเภท คือ 1.) วารสาร วิชาการเฉพาะทาง เปนวารสารที่มีจุดเนนของลักษณะ บทความต า งกั น บางฉบั บ เน น บทความที่ เ ป น การ วิเคราะหเชิงทฤษฎีและการศึกษาเชิงประจักษทางการ ศึกษา 2.) วารสารแนวปริทัศน (review) วารสาร ประเภทนี้จะเนนการพิมพบทความแนวบูรณาการ หรือ การสังเคราะหงานวิจัยหรือแนวคิดทฤษฎี ตลอดจน การพัฒนากรอบความคิดในสาขาวิชาตางๆ ตามจุดเนน ของวารสาร 3.) วารสารวิชาการทีม่ ลี กั ษณะเปนวารสาร รายเดือน หรือพิมพมากกวา 6 ฉบับตอป รับเฉพาะ บทความวิชาการขนาดสั้นที่เปนความคิดเห็น แนวคิด วิสัยทัศน การวิเคราะห อภิปรายเทานั้น สำ�นักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม เปนหนวยงานที่มีฐานะ เทียบเทาคณะ ตามพระราชบัญญัตมิ หาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 โดยรวมหนวยงานสองหนวยงานเดิม คือ สำ�นักวิทยบริการ และศูนยคอมพิวเตอร ทำ�หนาที่เปน ศูนยกลางของมหาวิทยาลัย โดยการรวบรวมทรัพยากร สารสนเทศทีส่ อดคลองกับหลักสูตร รวมถึงการใหบริการ สารสนเทศเพือ่ การเรียน การสอน การวิจยั ตามพันธกิจ ของมหาวิทยาลัย มีหนาที่ใหบริการคอมพิวเตอรระบบ เครื อ ข า ย เพื่ อ สนั บ สนุ น การบริ ห าร การบริ ก าร การเรียนการสอนและการวิจัย จัดเก็บและประมวลผล สารสนเทศเพือ่ การบริหารและบริการในระบบฐานขอมูล กลาง เปนองคกรที่เอื้อตอการเรียนรูดวยตนเองของ นักศึกษาในการแสวงหาสารสนเทศ และเพิ่มทักษะใน การใชระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบฐานขอมูล และ ระบบการเรียนการสอน สำ � หรั บ การให บ ริ ก ารวารสารจะสั ง กั ด “หนวยวารสารและหนังสือพิมพ” มีหวั หนางานหองสมุด กำ�กับดูแลโดยตรง หนวยวารสารและหนังสือพิมพมี บรรณารั ก ษ หั ว หน า หน ว ยวารสารและหนั ง สื อ พิ ม พ เป น ผู  ดู แ ลรับผิดชอบ หนาที่ของหนวยวารสารและ หนังสือพิมพ คือ จัดหาวารสารและหนังสือพิมพ ลง ทะเบียนวารสารและหนังสือพิมพ ทำ�ดรรชนีวารสาร

การสำ�รวจวารสารและนำ�รายชื่อวารสารขึ้นเว็บไซต การสำ�เนาสารบัญวารสารออนไลน การจำ�หนายวารสาร หนังสือพิมพออกจากทะเบียน ฝกประสบการณวิชาชีพ นักศึกษาทัง้ ในและนอกมหาวิทยาลัย บริการตอบคำ�ถาม และชวยการคนควา บริการฐานขอมูลออนไลน (ฐาน ขอมูลดัชนีวารสาร กฤตภาคออนไลน) จัดปายนิเทศ แนะนำ�วารสาร จัดเก็บสถิติ จัดกิจกรรมสงเสริมการ อาน จัดกิจกรรมบริการชุมชน ปฐมนิเทศนักศึกษาใหม แนะนำ�การใชวารสาร (ประสานงานกับอาจารยโปรแกรม วิชาบรรณารักษศาสตร) วิธกี ารจัดหาวารสาร มีวธิ ปี ฏิบตั ิ คื อ สมั ค รเป น สมาชิ ก โดยตรงกั บ สำ � นั ก พิ ม พ ห รื อ ผูจัดพิมพ สั่งซื้อผานตัวแทนจำ�หนาย สมัครโดยผาน ตัวแทนจำ�หนาย (กรณีของวารสารตางประเทศ) และ การขอรับบริจาค ปจจุบันมีวารสารภาษาไทย จำ�นวน 621 ชื่อเรื่อง วารสารภาษาอังกฤษ จำ�นวน 55 ชื่อเรื่อง รวม 676 ชื่อเรื่อง (รวมทั้งวารสารวิชาการและนิตยสาร ที่ เ ป น สมาชิ ก และได รั บ บริ จ าค) มี ว ารสารเย็ บ เล ม จำ�นวน 752 ชื่อเรื่อง (รวมทั้งวารสารวิชาการ นิตยสาร และวารสารชื่ออื่นๆ ที่ไมไดบอกรับเปนสมาชิก) ไดรับ งบประมาณ 294,600 บาท มีผูเขาใชบริการเฉลี่ย วันละ 150 คน ปญหาการใหบริการวารสาร คือ นักศึกษา ไมชอบคนควาจากวารสารภาษาอังกฤษ ขาดบุคลากร ที่จะทำ�ดรรชนีว ารสารภาษาอัง กฤษได (ปจ จุบั นจึง มีดรรชนีวารสารจำ�นวนนอยมาก) ขาดงบประมาณ สถานที่คับแคบ งานวิจัยที่เกี่ยวของ ยุพดี จารุทรัพย (2535) ไดศึกษาเรื่อง การใช บริการวารสารในหองสมุด เพื่อศึกษาลักษณะการใช ปญหาการใช และความตองการใชบริการวารสารของ ผูใ ชหอ งสมุดมหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวัง สนามจันทร กลุมประชากร คือ อาจารย ขาราชการ นักศึกษา ผลการวิจัยพบวา มีการใชบริการวารสาร วิชาการภาษาไทยรอยละ 85.82 และใชวารสารวิชาการ ภาษาตางประเทศ รอยละ 78.20 ซึ่งขัดแยงกับงาน วิจยั ของเมตตา เปรมปรีดิ์ (2541) ทีศ่ กึ ษาความตองการ และป ญ หาการใช ว ารสารภาษาอั ง กฤษ สาขาการ พยาบาลของนั ก ศึ ก ษาพยาบาล สถาบั น อุ ด มศึ ก ษา

151


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปีที่ 32 ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2555

เอกชน พบวา ความตองการการใชวารสารภาษาอังกฤษ สาขาการพยาบาล ในระดับมาก คือ เพื่ออางอิงในการ ทำ � รายงาน และเพื่ อ ติ ด ตามความก า วหน า ทาง วิชาการสาขาการพยาบาล ปญหาในการใชวารสารคือ มีวารสารไมครบทุกฉบับ วารสารมีจำ�นวนไมเพียงพอ ตอความตองการ หาวารสารเลมที่ตองการไมพบ ขาด ดรรชนีวารสารชวยคน ขณะที่มนิสรา สินปรุ (2546) วิ จั ย เรื่ อ ง การศึ ก ษาการใช ว ารสารวิ ช าการภาษา ตางประเทศฉบับพิมพและวารสารอิเล็กทรอนิกสใน ศู น ย บ รรณสารและสื่ อ การศึ ก ษา มหาวิ ท ยาลั ย เทคโนโลยีสุรนารี พบวา คณาจารยมีวัตถุประสงคใน การใชวารสารเพื่อการคนควาวิจัย สวนนักศึกษาใช วารสารเพือ่ ประกอบการเรียน ดานวิธกี ารสืบคนวารสาร ฉบับพิมพ คณาจารยและนักศึกษาใชวิธีเดียวกันคือ สื บ ค น จากรายการบรรณานุ ก รมออนไลน (OPAC) สวนการเขาถึงวารสารอิเล็กทรอนิกส คณาจารยและ นั ก ศึ ก ษาส ว นใหญ ใ ช วิ ธี ก ารเข า ถึ ง โดยใช Search engine คณาจารยมีความถี่ในการใชวารสารฉบับพิมพ และวารสารอิเล็กทรอนิกสไมแนนอน ทั้งนี้ขึ้นอยูกับ ความตองการและความจำ�เปนในการใชวารสาร และ นักศึกษา มีความถีใ่ นการใชวารสารฉบับพิมพไมแนนอน ขึ้นอยูกับความตองการ ความจำ�เปนหรือการไดรับ มอบหมายงานจากอาจารยผูสอน ใกลเคียงกับงานวิจัย ของสุวนั นา ทองสีสขุ ใส, ศิรพิ ร วิธนิ นั ทกิตต, สุพนิ อุดมผล และอุทัยวรรณ ศิริเลิศ (2539) ที่ศึกษาการอางถึงใน งานวิ จั ย ของอาจารย ม หาวิ ท ยาลั ย ขอนแก น พบว า อาจารยใชวารสารภาษาอังกฤษรอยละ 44.70 ใชวารสาร ภาษาไทยรอยละ 54.30 สิริพร วิธินันทกิตต, ศิริพร พูลสุวรรณ, กานดา แสนทรงศั ก ดิ์ , และอรพิ ณ โกมลไพศาล (2536) ศึ ก ษาเรื่ อ ง การใช ว ารสารสาขามนุ ษ ยศาสตร แ ละ สั ง คมศาสตร ใ นห อ งสมุ ด คณะมนุ ษ ยศาสตร แ ละ สังคมศาสตรและหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยขอนแกน ผลการวิจัยพบวา วารสารภาษาไทยและวารสารภาษา ตางประเทศที่มีการใชมากที่สุดคือ มีอายุระหวาง 0-5 ป หรืออยูในชวง 6 ป ประเภทสาขาวิชาของวารสารภาษา ไทยที่มีการใชมากที่สุดคือ สาขาวิชาพาณิชยศาสตร สวนประเภทสาขาวิชาของวารสารภาษาตางประเทศ

152

ที่มีการใชมากที่สุดคือ สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร ขณะที่สุวันนา ทองสีสุขใส, ศิริพร วิธินันทกิตต, สุพิน อุดมผล, และอุทัยวรรณ ศิริเลิศ (2539) ศึกษาการ อ า งถึ ง งานวิ จั ย ของอาจารย ม หาวิ ท ยาลั ย ขอนแก น พบวา ผลงานวิจัยของคณาจารยมหาวิทยาลัยขอนแกน ใชบทความวารสารเพื่อการอางอิงมากที่สุด โดยเฉพาะ ผลงานวิจัยทางสังคมศาสตร สอดรับกับงานวิจัยของ กมลรัตน ตัณฑเกยูร (2528) ที่พบวา การเรียบเรียง วิทยานิพนธของนักศึกษาปริญญาโท คณะวิศวกรรม ศาสตร สถาบั น เทคโนโลยี พ ระจอมเกล า วิ ท ยาเขต เจาคุณทหารลาดกระบัง จะคนควาและใชวารสารวิชาการ เพื่อการอางอิงมากที่สุดที่อายุเฉลี่ย 0-5 ป เชนเดียวกับ ทีศ่ ริ พิ ร พูลสุวรรณ (2542) ศึกษาเรือ่ ง การใชวารสารใน สำ�นักบรรณสารการพัฒนา สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหาร ศาสตร กลุ  ม ประชากรคื อ นั ก ศึ ก ษาปริ ญ ญาโทและ ปริญญาเอก พบวา มีการใชวารสารรวมกัน จำ�นวน 236 ชื่ อ คิ ด เป น ร อ ยละ 69.20 วารสารสาขาวิ ช า เศรษฐศาสตรและการพาณิชยมีการใชมากที่สุด ชวง อายุของวารสารที่มีการใชมากที่สุดอยูในชวงป 0-5 ป ขณะที่เซย (Tsay 1997) ศึกษาความสัมพันธระหวาง การใชวารสารและการอางอิงของผูใชหองสมุดคณะ แพทยศาสตร โรงพยาบาล Veterans General Hospital ที่กรุงไทเป โดยศึกษาความถี่ในการอางอิง ปจจัยที่มี ผลกระทบ อายุของวารสารที่ใชอางอิง พบวา มีความ สั ม พั น ธ กั น ของความถี่ ใ นการใช กั บ ความถี่ ใ นการ อางอิง และมีความสัมพันธของความถี่ในการใชกับ ปจจัยทีม่ ผี ลกระทบ คาเฉลีย่ ของอายุวารสารทัง้ หมดคือ 3.43 ป การอางอิงจากวารสารมีความถี่มากที่สุดคือ ชวงอายุ 3 ปแรกของวารสาร ตอจากนั้นความถี่ในการ ใชอางอิงจะลดลงเรื่อยๆ ตามอายุของวารสารนั้นๆ เชน เดียวกับงานวิจัยของแอนเดอรสัน (Anderson 1983) ที่ศึกษาการใชสิ่งพิมพตอเนื่อง สิ่งพิมพประเภทตางๆ ในหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยซินซินเนติ (The Central Library, University of Cincinnati) พบวา อัตราสวนการ ใชสิ่งพิมพอื่นๆ กับวารสาร คือ 1.3 : 1 การใชวารสาร และสิ่งพิมพในสาขาวิทยาศาสตรและสังคมศาสตรนั้น ผูใชมักจะใชจากฉบับปพิมพลาสุดมากที่สุด และยังพบ อีกวา การใชวารสารในสาขามนุษยศาสตรมีอัตรานอย


การใชวารสารวิชาการของนักศึกษาปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ชัยเลิศ ปริสุทธกุล

กวาสาขาวิทยาศาสตรและสังคมศาสตร อัจฉรา พิมพสกุล (2539) ศึกษาการใชวารสาร ศิลปะของอาจารยและนักศึกษาศิลปะในมหาวิทยาลัย ของรัฐ พบวา อาจารยและนักศึกษามีวัตถุประสงคเพื่อ คนควาขอมูลและเทคนิคใหมๆ ทีจ่ �ำ เปนในการสรางสรรค ผลงานและเพื่อติดตามความกาวหนาทางวิชาการใน สาขาวิชาศิลปะและสาขาวิชาที่เกี่ยวของในระดับมาก ใช ว ารสารวิ ช าการจากทุ ก แหล ง ในระดั บ ปานกลาง แหลงที่มีคาเฉลี่ยสูงสุดคือหองสมุดคณะ และกิ่งแกว อวมศรี (2545) ไดวิจัยเรื่อง สภาพการใชบริการวารสาร ในหองสมุดคณะแพทยศาสตร โรงพยาบาลรามาธิบดี พบวา ผูใชหองสมุดมากกวารอยละ 50 ตองการใหทาง หองสมุดบอกรับวารสารวิชาการเพิ่มขึ้น และมีปญหา ในการใชวารสารคือ หาวารสารที่ตองการในหองสมุด ไม พ บ จึ ง เสนอแนะให พั ฒ นาห อ งสมุ ด และพั ฒ นา เจาหนาที่ผูใหบริการใหมีประสิทธิภาพสูงขึ้น เพื่อให เกิดประโยชนสูงสุดแกผูใชหองสมุด ขณะที่แดน แสนมี (2545) วิจยั เรือ่ ง การใชวารสารวิชาการในหอสมุดกลาง มหาวิ ท ยาลั ย ขอนแก น ของนั ก ศึ ก ษาหลั ก สู ต ร ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแกน เพือ่ ศึกษา สภาพปญหาและขอเสนอแนะการใชวารสารวิชาการ ในหอสมุดกลาง พบวา นักศึกษาสวนใหญใชวารสาร เพื่ อ ประกอบการทำ � วิ ท ยานิ พ นธ หรื อ รายงานการ ศึ ก ษาอิ ส ระ ช ว งวั น จั น ทร - วั น ศุ ก ร นั ก ศึ ก ษาส ว น ใหญใชวารสารในชวงเวลาที่ไมแนนอน นักศึกษาสวน ใหญใชวารสาร 4-6 ครั้งตอเดือน ใชวารสารภาษา ไทย อานวารสารในหองวารสารภาษาไทย ใชวารสาร ฉบับใหมลาสุด และนักศึกษาสวนใหญคนขอมูลดวย รายการสาธารณะแบบออนไลน (OPAC) และงานวิจัย ของเนเวลล (Newell 1992) รายงานผลการศึกษาดาน การเขาถึงสารสนเทศจากวารสารฉบับพิมพ และผล กระทบจากวารสารอิเล็กทรอนิกสของหองสมุดวิทยา เขต มหาวิ ท ยาลั ย เทคโนโลยี แ ห ง ควี น สแลนด (Queensland University of Technology) และวิทยาเขต ของวิทยาลัยการศึกษาบริสเบน (Brisbane College of Advanced Education) พบวา การเขาถึงสารสนเทศ สวนมากไดมาจากการใชวารสารวิชาการฉบับพิมพที่ เปนฉบับปจจุบัน และฉบับยอนหลัง

งานวิ จั ย ในประเทศเกี่ ย วกั บ การใช ว ารสาร วิชาการ สรุปไดวา สวนมากเปนการศึกษาการใชวารสาร ในระดับสถาบันอุดมศึกษา นิยมใชวารสารในรูปสิง่ พิมพ และมีแนวโนมใชวารสารรูปสื่ออิเล็กทรอนิกส อายุของ วารสารที่ใชคือไมเกินหาป แหลงที่ใชคนควาวารสาร คือหองสมุดคณะและหองสมุดมหาวิทยาลัย ตองการให หองสมุดปรับปรุงการใหบริการวารสาร เชน จัดหาวารสาร ใหครบ ตรงตามความตองการของผูใช แนะนำ�วิธีการ สืบคนเพื่อใหใชวารสารอยางถูกวิธี รวมถึงมีการศึกษา การใชบริการวารสารอิเล็กทรอนิกส งานวิจัยดังกลาว เปนดรรชนีชใี้ หเห็นวา วารสารวิชาการมีความสำ�คัญและ มีบทบาทตอการคนควาของนักศึกษา คณาจารย นักวิจยั ในสถาบันอุดมศึกษา ขณะที่งานวิจัยในตางประเทศมี ลักษณะเปนความตองการและการใชวารสารในบริบท ตางๆ แสดงใหเห็นวา วารสารวิชาการเปนทรัพยากร สารสนเทศที่มีความสำ�คัญยิ่งตอการศึกษาคนควา การ วิจัยเรื่องวารสาร ไมวาวารสารจะอยูในรูปแบบใด มี แนวโนมเพิ่มความตองการมากขึ้น โดยเฉพาะวารสาร ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส เนื่องจากมีปจจัยเกื้อหนุน หลายประการ ส ง เสริ ม ให ผู  ใ ช หั น มาให ค วามนิ ย ม วารสารอิเล็กทรอนิกส ทำ�ใหผใู ชมคี วามตองการวารสาร ฉบับพิมพลดลง ซึ่งอาจขัดแยงกับงานวิจัยของซัมมิท และลี (Summit & Lee 1998 : 7-10) ที่พบวา ถึงแมวา จะมีวารสารในรูปแบบอิเล็กทรอนิกสเพิ่มขึ้น ก็จะไมมี ผลกระทบตอวารสารในรูปแบบสิ่งพิมพ แตกลับจะชวย เกื้ อ หนุ น ฐานข อ มู ล ออนไลน ที่ ม าจากแหล ง ปฐมภู มิ โดยตรง เพราะจะเปนที่จะตองการและยอมรับมากขึ้น อีกทั้งเปนตัวกลางในการตัดสินใจเลือกคนขาวทันโลก การคนเรือ่ งจากวารสารไมจ�ำ เปนตองบอกรับเปนสมาชิก และวารสารก็คงเปนที่นิยมสำ�หรับผูอานที่เลือกอาน เฉพาะบทความที่ตนสนใจ วิธีดำ�เนินการวิจัย 1. ประชากร ประชากรที่ใชในการวิจัย คือนักศึกษาระดับ ปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ปการศึกษา 2553 จำ�นวน 256 คน ประกอบดวย สาขาวิชาการ บริหารการศึกษา 48 คน สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน

153


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปีที่ 32 ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2555

51 คน สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม 11 คน สาขา วิชาสังคมศาสตรเพือ่ การพัฒนา 35 คน สาขาวิชาภาษา อังกฤษ 17 คน สาขาวิชาการจัดการทั่วไป 78 คน สาขา วิชาระบบเกษตรยั่งยืน 6 คน สาขาวิทยาศาสตรศึกษา 9 คน และสาขาวิชาวิศวกรรมทรัพยากรน้ำ� 1 คน 2. เครื่องมือที่ใชเก็บรวบรวมขอมูล เครื่ อ งมื อ วิ จั ย ที่ ใ ช เ ก็ บ รวบรวมข อ มู ล เพื่ อ ประกอบการวิจัยครั้งนี้ ไดแก แบบสอบถาม และแบบ สัมภาษณ ดังนี้ 2.1 แบบสอบถามมี 5 ตอน คือ ตอนที่ 1 สถานภาพของผูตอบแบบสอบถาม ไดแก เพศ อายุ อาชีพ รายไดตอ เดือน และสาขาวิชาทีศ่ กึ ษา เปนคำ�ถาม แบบเลือกตอบ จำ�นวน 5 ขอ ตอนที่ 2 สภาพการใช วารสารวิ ช าการฉบั บ พิ ม พ ข องนั ก ศึ ก ษาปริ ญ ญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม เปนคำ�ถามแบบเลือกตอบ จำ�นวน 11 ขอ ตอนที่ 3 วิธีการประเมินวารสารวิชาการ สำ�หรับการคนควาของนักศึกษาปริญญาโท มหาวิทยาลัย ราชภัฏนครปฐม เปนคำ�ถามแบบเลือกตอบ จำ�นวน 5 ขอ ตอนที่ 4 ปญหาการใชวารสารวิชาการสำ�หรับ การค น คว า ของนั ก ศึ ก ษาปริ ญ ญาโท มหาวิ ท ยาลั ย ราชภั ฏ นครปฐม เป น คำ � ถามแบบเลื อ กตอบชนิ ด มาตราสวนแบบประมาณคา (Rating scale) จำ�นวน 22 ขอ ตอนที่ 5 ปญหา ขอเสนอแนะการใชวารสาร วิชาการสำ�หรับการคนควาของนักศึกษาปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม เปนคำ�ถามปลายเปด จำ�นวน 5 ขอ คำ�ถามที่เปนคำ�ถามแบบมาตราสวน ประมาณคา (Rating scale) ซึ่งกำ�หนดไว 5 ระดับ ตามวิธีของ Likert (พวงรัตน ทวีรัตน 2540 : 107) ดังนี้ 5 หมายถึง ระดับมากที่สุด 4 หมายถึง ระดับมาก 3 หมายถึง ระดับปานกลาง 2 หมายถึง ระดับนอย 1 หมายถึง ระดับนอยที่สุด สำ�หรับการสรางและพัฒนา แบบสอบถามโดยใหผูเชี่ยวชาญ 3 ทาน ตรวจสอบ สอบความเที่ยงตรงในเนื้อหาดวยการหาคาดัชนีความ สอดคลอง (IOC) โดยเลือกเฉพาะขอที่มี IOC>.50 และแกไขปรับปรุงขอที่ผูเชี่ยวชาญเสนอแนะ จากนั้น นำ�แบบสอบถามไปทดลองใชกับประชากรที่มิใชกลุม ตัวอยาง จำ�นวน 30 คน (นักศึกษาปริญญาโทที่กำ�ลัง ทำ�วิทยานิพนธ) มาคำ�นวณหาความเชื่อมั่นโดยวิธีการ

154

ของครอนบาค (Cronbach 1974 : 161) ไดคาความ เชื่อมั่นที่ ระดับ .7854 2.2 แบบสัมภาษณ ผูว จิ ยั สรางขึน้ ตามแนวคิด ทฤษฎีและเอกสารงานวิจยั ทีเ่ กีย่ วของ เพือ่ ใหครอบคลุม ขอบเขตและวัตถุประสงคการวิจัย แบบสัมภาษณมี ลักษณะเปนคำ�ถามแบบมีโครงสราง 3 ประเด็นหลัก (จำ�นวน 9 ขอ) คือ สภาพการใชวารสารวิชาการฉบับ พิมพ วิธกี ารประเมินวารสารวิชาการสำ�หรับการคนควา และปญหาการใชวารสารวิชาการสำ�หรับการคนควา 3. การเก็บรวบรวมขอมูล 3.1 แบบสอบถาม ได ดำ � เนิ น การส ง แบบ สอบถามให ป ระชากรและรั บ กลั บ คื น ด ว ยตนเอง จำ�นวน 256 ชุด โดยประสานงานกับอาจารยผูสอนและ ขออนุญาตชี้แจงใหทราบวัตถุประสงคการวิจัย ไดรับ แบบสอบถามกลับคืนจำ�นวน 256 ชุด แลวทำ�การ คัดเลือกแบบสอบถามฉบับสมบูรณ คิดเปนรอยละ 100 3.2 แบบสัมภาษณ ไดสุมกลุมตัวอยางจาก ประชากรทุกสาขาวิชา จำ�นวน 20 คน เพื่อสัมภาษณ คือสาขาวิชาการบริหารการศึกษา จำ�นวน 3 คน สาขา วิชาหลักสูตรและการสอน จำ�นวน 3 คน สาขาวิชา เทคโนโลยีอุตสาหกรรม จำ�นวน 2 คน สาขาวิชา สังคมศาสตรเพื่อการพัฒนา จำ�นวน 2 คน สาขาวิชา ภาษาอังกฤษ จำ�นวน 2 คน สาขาวิชาการจัดการทั่วไป จำ�นวน 3 คน สาขาวิชาระบบเกษตรยั่งยืน จำ�นวน 2 คน สาขาวิทยาศาสตรศึกษา จำ�นวน 2 คน และสาขา วิชาวิศวกรรมทรัพยากรน้ำ� 1 คน 4. การวิเคราะหขอมูล ผูวิจัยไดวิเคราะหขอมูลจากแบบสอบถามที่ ไดรับกลับคืนมา และวิเคราะหขอมูลจากแบบสัมภาษณ มีลำ�ดับขั้นตอนในการจัดกระทำ�ขอมูล ตามขั้นตอนคือ 4.1 เมือ่ ไดรบั แบบสอบถามกลับคืนมา ผูว จิ ยั ได นำ � มาตรวจสอบความสมบู ร ณ ข องแบบสอบถาม จากนั้นจึงแจงนับระดับคะแนน วิเคราะหขอมูลหาคา รอยละ คาเฉลี่ย และสวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน มีการ ประมาณคาโดยแบงเปน 5 ระดับ คือ มากที่สุด มาก ปานกลาง นอย และนอยทีส่ ดุ เมือ่ นำ�ไปแปลความหมาย จะถือเกณฑในการประมาณคาตามชวงคะแนนดังนี้ (ประคอง กรรณสูต 2542 : 73) 4.50-5.00 หมายถึง


การใชวารสารวิชาการของนักศึกษาปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ชัยเลิศ ปริสุทธกุล

ระดั บ มากที่ สุ ด 3.50-4.49 หมายถึ ง ระดั บ มาก 2.50-3.49 หมายถึ ง ระดั บ ปานกลาง 1.50-2.49 หมายถึง ระดับนอย และ1.00-1.49 หมายถึง ระดับ นอยที่สุด 4.2 วิ เ คราะห ข  อ มู ล สถานภาพของผู  ต อบ แบบสอบถาม ไดแก เพศ อายุ อาชีพ รายไดตอเดือน และสาขาวิชาที่ศึกษา วิเคราะหโดยการนำ�มาแจกแจง ความถี่ แ ละคำ � นวณ ค า ร อ ยละ โดยใช โ ปรแกรม คอมพิวเตอรสำ�เร็จรูป 4.3 วิเคราะหสภาพการใชวารสารวิชาการ ฉบับพิมพของนักศึกษาปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏ นครปฐม วิเคราะหโดยการนำ�มาแจกแจงความถี่ และ คำ�นวณคารอยละ 4.4 วิเคราะหวิธีการประเมินวารสารวิชาการ สำ�หรับการคนควาของนักศึกษาปริญญาโท มหาวิทยาลัย ราชภัฏนครปฐม วิเคราะหโดยการนำ�มาแจกแจงความถี่ และคำ�นวณคารอยละ 4.5 วิเคราะหปญหาการใชวารสารวิชาการ สำ�หรับการคนควาของนักศึกษาปริญญาโท มหาวิทยาลัย ราชภัฏนครปฐม วิเคราะหโดยใชคาเฉลี่ย ( X ) และ สวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) 4.6 สถิ ติ ที่ ใ ช ใ นการวิ เ คราะห ข  อ มู ล ครั้ ง นี้ พิจารณาตามลักษณะของแบบสอบถามในแตละตอน คือ สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive statistics) เพื่อ สรุปขอมูล โดยใชรอยละ คาเฉลี่ย และสวนเบี่ยงเบน มาตรฐาน 4.7 ข อ มู ล ที่ ไ ด จ ากคำ � ถามปลายเป ด ของ แบบสอบถามและจากการสัมภาษณ วิเคราะหขอมูลที่ ได ดวยวิธกี ารวิเคราะหเนือ้ หา (Content analysis) และ นำ�เสนอแบบพรรณนา สรุปผลการวิจัยและอภิปรายผลการวิจัย 1. สภาพการใชวารสารวิชาการ นักศึกษาสวนใหญมีความคิดเห็นวาวารสาร วิ ช าการมี จำ � เป น ต อ การเรี ย น/การทำ � งานมากที่ สุ ด รอยละ 62.89 เนื่องจากการเรียน/การทำ�งานจะตองมี การแสวงหาความรู  ใ หม ๆ เพื่ อ นำ � มาเพิ่ ม พู น และ สร า งสรรค ง าน และเพื่ อ การติ ด ตามความก า วหน า

ทางวิชาการ มีบทความที่ทันสมัย มีขอมูลแสดงความ กาวหนาความเคลื่อนไหวเปนปจจุบันมากที่สุดซึ่งเปน ทีย่ อมรับ สอดคลองกับผลการวิจยั ของเมตตา เปรมปรีดิ์ (2541) ที่พบวา ความตองการการใชวารสารเพื่ออางอิง ในการทำ�รายงาน และเพื่อติดตามความกาวหนาทาง วิชาการสาขาการพยาบาล ประเภทของวารสารวิชาการที่ใชมากที่สุดคือ วารสารฉบั บ ใหม ห รื อ ฉบั บ ป จ จุ บั น ร อ ยละ 53.13 รองลงมาคือ วารสารเย็บเลม รอยละ 42.19 สอดคลอง กับผลการวิจัยของศิริพร พูลสุวรรณ (2542) ที่พบวา วารสารที่มีการใชมากที่สุดมีอายุระหวาง 1-5 ป หรือ อยูในชวง 6 ป และ Anderson (1983) ที่พบวา อายุของวารสารที่อาจารยและนักศึกษาสวนใหญใชอยู ในชวงปปจจุบันหรือฉบับปพิมพลาสุด หรือยอนหลัง ไมเกิน 3 ป สอดคลองกับผลการวิจัยของเซย (Tsay 1997) ที่พบวา สภาพโดยทั่วไปของการใชการอางอิง มีความถีม่ ากทีส่ ดุ คือ ชวง 3 ปแรกของวารสาร ตอจากนัน้ ความถี่ในการใชอางอิงจะลดลงเรื่อยๆ ตามอายุของ วารสารนั้นๆ แตขัดแยงกับชัยเลิศ ปริสุทธกุล (2551) ที่วิเคราะหการอางถึงวารสารวิชาการในวิทยานิพนธ ทุกสาขาของนักศึกษาปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏ นครปฐม จำ�นวน 60 เลม พบวา นักศึกษาใชวารสาร วิ ช าการภาษาไทยเพื่ อ อ า งอิ ง ในเนื้ อ หาวิ ท ยานิ พนธ คอนขางนอย คิดเปนรอยละ 26.67 เทานั้น และไมใช วารสารภาษาไทยเพื่อการอางอิงเลย คิดเปน รอยละ 60.00 ใชวารสารภาษาอังกฤษเพื่อการอางอิงในเนื้อหา คิ ด เป น ร อ ยละ 26.67 และที่ ไ ม มี ก ารอ า งอิ ง เลยใน วิทยานิพนธ คิดเปนรอยละ 70.00 ดานอายุวารสารทีใ่ ช พบวา ใชวารสารภาษาไทยทีม่ อี ายุระหวาง 16 ถึง 30 ป เพื่ออางอิงในวิทยานิพนธ คิดเปนรอยละ 15.00 ใช วารสารภาษาไทยทีม่ อี ายุมากทีส่ ดุ คิดเปนรอยละ 60.00 ใชวารสารภาษาอังกฤษที่มีอายุระหวาง 21 ถึง 30 ป และมีอายุระหวาง 31 ถึง 40 ป คิดเปนรอยละ 8.33 สำ�หรับวารสารภาษาอังกฤษที่มีอายุมากที่สุด คือ 51 ป และที่ไมมีการอางอิงเลยในวิทยานิพนธ คิดเปนรอยละ 70.00 (ปรากฏในวิทยานิพนธทุกสาขา) แสดงใหเห็นวา นักศึกษาอาจเห็นความสำ�คัญของวารสารวิชาการ แตไม นำ�ใชเพื่อการอางอิงในวิทยานิพนธ

155


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปีที่ 32 ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2555

ประเภทของคำ�คนที่ใชในการคนหาหรือสืบคน วารสารทีใ่ ชมากทีส่ ดุ คือ หัวเรือ่ ง รอยละ 38.67 รองลงมา คือ ผูแตง รอยละ 21.48 เนื่องจากคำ�คนประเภท หั ว เรื่ อ ง เป น คำ � ที่ แ ทนเนื้ อ หาสาระของเนื้ อ หาได ครอบคลุมที่สุด ทำ�ใหนักศึกษามีโอกาสเลือกบทความ หรือเนื้อหาที่ตองการไดมากขึ้น รูปแบบของเนื้อหา ในวารสารวิ ช าการที่ ใ ช ม ากที่ สุ ด คื อ เนื้ อ หาทั้ ง หมด รอยละ 47.27 รองลงมาคือ บทคัดยอ รอยละ 30.08 สอดคลองกับผลการวิจัยของ มนิสรา สินปรุ (2546) ที่ พบวา ลักษณะของขอมูลวารสารทีอ่ าจารยและนักศึกษา ต อ งการ คื อ ข อ มู ล วารสารในลั ก ษณะของเอกสาร ฉบับเต็ม (Full text) นั ก ศึ ก ษาส ว นใหญ มี วั ต ถุ ป ระสงค ใ นการใช วารสารวิ ช าการเพื่ อ การศึ ก ษาค น คว า วิ จั ย หรื อ ทำ � วิทยานิพนธ รอยละ 73.44 รองลงมาคือ เพื่อคนควา ประกอบการเรียน เชน ทำ�รายงาน ฯลฯ รอยละ 45.70 สวนใหญมีแรงจูงใจในการใชวารสารเพราะตองทำ�การ คนควาสำ�หรับประกอบการศึกษา รองลงมาคือ ทราบถึง ประโยชนหรือความสำ�คัญ สอดคลองกับผลการวิจัย ของเมตตา เปรมปรีดิ์ (2541), กิ่งแกว อวมศรี (2545), Gordon (1982) และ Stewart (1996) ที่ พ บว า ส ว นใหญ มี วั ต ถุ ป ระสงค ห รื อ มี ค วามต อ งการการใช วารสาร เพือ่ อางอิงในการทำ�รายงาน การทำ�วิทยานิพนธ การศึกษาคนควาวิจยั และเพือ่ ติดตามความกาวหนาทาง วิชาการ รวมทั้งสอดคลองกับผลการวิจัยของเอื้อมพร ศรีเดือนดาว (2543) ที่พบวา ผูบริหารและผูใหบริการ มีความเห็นวา การจัดหาวารสารควรคำ�นึงถึงวารสาร ที่เกี่ยวของกับการเรียนการสอนและความถี่ของการใช แหลงในการใชวารสารคือ ใชบริการของหองสมุด มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม รอยละ 82.81 รองลงมา คื อ ใช บ ริ ก ารของห อ งสมุ ด มหาวิ ท ยาลั ย อื่ น ๆ เช น หองสมุดมหาวิทยาลัยศิลปากร หองสมุดมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร เปนตน รอยละ 32.81 สอดคลองกับ ผลการวิจัยของจีระประภา นาคนิยม (2539), อัจฉรา พิมพสกุล (2539) และ Gordon (1982) ทีพ่ บวา สวนใหญ จะใช บ ริ ก ารวารสารที่ ห  อ งสมุ ด ของมหาวิ ท ยาลั ย ที่ ตนสังกัด เชน สำ�นักหอสมุดกลาง หองสมุดคณะ ลั ก ษณะการใช ว ารสารคื อ ใช ว ารสารภาษา

156

ไทยมากที่สุด รอยละ 56.20 ใชบริการภายในหองสมุด รอยละ 85.55 รองลงมาคือ ยืมไปถายสำ�เนาเอกสาร รอยละ 50.39 สอดคลองกับผลการวิจัยของแดน แสนมี (2545) พบวา นักศึกษานิยมอานวารสารในหองวารสาร ภาษาไทยมากที่สุด รองลงมาคือ ยืมไปถายเอกสาร แตไมสอดคลองกับผลการวิจยั ของสายทอง มโนมัยอุดม (2531) และมนิสรา สินปรุ (2546) ที่พบวา สวนใหญ ไมมาใชวารสารที่หองสมุด เนื่องจากไมสะดวกในการ มาใช จะมาใชเมื่อมีความจำ�เปนตองใชเทานั้น และ วารสารฉบับที่ตองการไมมีอยูบนชั้น เครื่องมือที่ใชในการคนหาหรือสืบคนวารสาร วิ ช าการคื อ สื บ ค น จากฐานข อ มู ล บทความวารสาร (OPAC) รองลงมาคือ เดินหาตามชัน้ วารสารดวยตนเอง รอยละ 47.66 สอดคลองกับผลการวิจัยของแดน แสนมี (2545) และมนิสรา สินปรุ (2546) ที่พบวา นักศึกษา สวนใหญคนขอมูลดวยรายการสาธารณะแบบออนไลน (OPAC) แตขดั แยงกับผลการวิจยั ของสายทอง มโนมัย อุดม (2531) พ​บวา อาจารยไมนยิ มใชคมู อื ชวยคน แตจะ ดูจากตัวเลมวารสารโดยตรง 2. วิธกี ารประเมินวารสารวิชาการสำ�หรับการ คนควา นักศึกษาสวนใหญมวี ธิ กี ารประเมินเพือ่ เลือก ใชวารสารวิชาการโดยพิจารณาจากเนือ้ หา รอยละ 67.97 รองลงมา คือ ชื่อบทความ รอยละ 61.33 สวนใหญอาน เฉพาะบทคัดยอ รอยละ 71.09 รองลงมาคือ อานเฉพาะ เนือ้ หา รอยละ 66.02 โดยเลือกลักษณะเนือ้ หาบทความ วารสารวิชาการที่ตองการคือ เขาใจงาย ทั้งภาษาและ วิธีเขียน รอยละ 62.89 รองลงมาคือ เนื้อหาชัดเจน ตรงประเด็น รอยละ 62.11 ลักษณะผูแตงบทความ วารสารวิชาการที่ตองการคือ มีความรูความสามารถ (คุณวุฒิ) รอยละ 76.17 รองลงมาคือ มีความเชี่ยวชาญ มีประสบการณการทำ�งาน รอยละ 59.77 และจะเลือก ลักษณะชื่อวารสารวิชาการหรือหัววารสารวิชาการที่ ต อ งการจากที่ ต รงกั บ สาขาวิ ช าที่ ต  อ งการหรื อ สนใจ รอยละ 90.23 รองลงมาคือ มีกำ�หนดออกอยางตอเนื่อง ร อ ยละ 29.69สอดคล อ งกั บ ผลการวิ จั ย ของมนิ ส รา สินปรุ (2546) ที่พบวา ลักษณะของขอมูลวารสารที่ อาจารยและนักศึกษาตองการ คือ ขอมูลวารสารใน


การใชวารสารวิชาการของนักศึกษาปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ชัยเลิศ ปริสุทธกุล

ลักษณะของเอกสารฉบับเต็ม (Full text) 3. ปญหาการใชวารสารวิชาการสำ�หรับการ คนควา 3.1 ดานวารสาร พบวา นักศึกษามีปญหา การใชวารสารวิชาการสำ�หรับการคนควาโดยรวมอยูใน ระดับปานกลาง ( X = 2.87) เมื่อพิจารณาเปนรายขอ พบวา นักศึกษามีปญหาที่มีคาเฉลี่ยสูงสุด ( X = 2.95) คือ วารสารวิชาการมีกำ�หนดออกไมตอเนื่อง ซึ่งมักจะ พบในวารสารที่ออกโดยหนวยงานราชการที่บางครั้ง มี กำ � หนดออกที่ ล  า ช า หรื อ มี ช  ว งหยุ ด การเผยแพร สอดคลองกับผลการวิจัยของมนิสรา สินปรุ (2546) ที่ พบวา หองสมุดไดรับตัวเลมวารสารลาชากวาที่กำ�หนด รองลงมาคือ เนื้อหาเขาใจยาก รูปแบบเนื้อหานำ�ไปใช งานยาก มีเนื้อหาไมครอบคลุม 3.2 ดานผูใ ชวารสาร พบวา นักศึกษามีปญ  หา การใชวารสารวิชาการสำ�หรับการคนควา โดยรวมอยูใ น ระดับปานกลาง ( X = 2.95) เมื่อพิจารณาเปนรายขอ พบวา นักศึกษามีปญหาที่มีคาเฉลี่ยสูงสุด ( X = 3.17) คือ ใชสารสนเทศอืน่ เชน หนังสือ รายงานวิจยั รองลงมา คือ ไมมีคนแนะนำ� ไมทราบวิธีใชวารสาร ไมทราบวิธี คนหาหรือสืบคนวารสาร ซึ่งปญหาที่เกิดขึ้นมักเกิดจาก การที่ นั ก ศึ ก ษามี ค วามเชื่ อ มั่ น กั บ ข อ มู ล ที่ ไ ด จ าก สารสนเทศอื่นๆ โดยเฉพาะหนังสือและรายงานวิจัยที่มี จำ�นวนมาก ครอบคลุมทุกสาขาวิชา แตส�ำ หรับวารสารนัน้ นักศึกษามักจะใชบริการจากหองสมุด ซึ่งมีกฎระเบียบ มาก เชน การไมใหยืมออกนอกหองสมุด การมีจำ�นวน ไมเพียงพอ ไมตรงตอความตองการ รวมถึงไมทราบวิธี ใชวารสาร สอดคลองกับผลการวิจัยของมนิสรา สินปรุ (2546) ดังนั้นสิ่งที่สำ�คัญคือ หองสมุดมหาวิทยาลัยตอง เปนหนวยงานหลักที่จะพัฒนาดำ�เนินการดานวารสาร ใหสอดคลองกับความตองการของผูใ ช สอดคลองกับผล การวิจัยของสุวันนา ทองสีสุขใส, ศิริพร วิธินันทกิตต, สุพิน อุดมผล และอุทัยวรรณ ศิริเลิศ (2539) 3.3 ดานการใหบริการของหองสมุด พบวา นักศึกษามีปญหาการใชวารสารวิชาการสำ �หรับการ คนควาโดยรวมอยูในระดับปานกลาง ( X = 3.00) เมื่อ พิจารณาเปนรายขอพบวา นักศึกษามีปญหาที่มีคา เฉลี่ยสูงสุด ( X = 3.34) คือ ไมสะดวกในการใชวารสาร

ยืมออกนอกหองสมุดไมได รองลงมาคือ ไมมีรูปแบบ ออนไลนหรืออิเล็กทรอนิกส เครื่องคอมพิวเตอรส�ำ หรับ การสืบคนมีจำ�นวนนอย ( X = 3.23) จำ�นวนวารสาร มีนอย ไมครอบคลุมทุกสาขาวิชา ( X = 3.12) สอดคลอง กับผลการวิจยั ของเอือ้ มพร ศรีเดือนดาว (2543) ทีพ่ บวา ขาดเครื่องมือชวยคนหาบทความและแหลงที่ใหบริการ วารสารทีท่ นั สมัย ดังนัน้ หองสมุดควรพัฒนาการบริการ วารสารและเจาหนาทีผ่ ใู หบริการใหมปี ระสิทธิภาพสูงขึน้ เพื่อใหเกิดประโยชนสูงสุดแกผูใชหองสมุดเปนประการ สำ�คัญ 4. ข อ เสนอแนะการใช ว ารสารวิ ช าการ สำ�หรับการคนควา ขอเสนอแนะการใชวารสารวิชาการสำ�หรับ การคนควาที่วิเคราะหไดจากแบบสอบถามปลายเปด พบวา นักศึกษาตองการใหมีการบอกรับวารสารใหมาก ขึ้น เนนวารสารที่ตรงกับสาขาวิชาที่มีการเปดการเรียน การสอน มีการอบรมการใชหองสมุดโดยควรจะบรรจุ เปนวิชาหนึ่งในหลักสูตร ควรมีบริการเพิ่มความสะดวก ใหแกผูใชบริการ เชน สามารถยืมวารสารกลับบานได เชนเดียวกับการยืมหนังสือ นักศึกษามีสวนรวมในการ เสนอแนะรายชื่อวารสารหรือหนังสือเพื่อใหหองสมุด บอกรับ รวมทั้งเพิ่มปริมาณคอมพิวเตอรในการสืบคน ใหมากขึน้ และเพิม่ ปริมาณเครือ่ งถายเอกสารทีใ่ หบริการ ในหองสมุด 5. ความคิดเห็น ขอเสนอแนะ ปญหา และ ความตองการของนักศึกษาปริญญาโท (จากแบบ สัมภาษณ) 5.1 ดานสภาพการใชวารสารวิชาการสำ�หรับ การคนควา พบวา กลุมตัวอยางจะคนหาจากหองสมุด ของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมกอน ถาไมมีเรื่อง ที่ ต  อ งการจะไปค น หาในห อ งสมุ ด ของมหาวิ ท ยาลั ย อื่น เชน มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวัง สนามจันทร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร วิทยาเขต กำ�แพงแสน มหาวิทยาลัยมหิดล (ศาลายา) ใชหนังสือ ความรู  ทั่ ว ไปเกี่ ย วกั บ เรื่ อ งที่ เ กี่ย วข อ ง รายงานวิจัย รวมทั้งวิทยานิพนธเรื่องตางๆ ที่มีเนื้อหาใกลเคียงกับ เรื่ อ งที่จ ะทำ� การค น คว า ควรเพิ่ ม จำ� นวนวารสารให หลากหลาย เพิ่มวารสารสาขาทางดานวิทยาศาสตร

157


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปีที่ 32 ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2555

พบวา ปริมาณของวารสารวิชาการทั้งภาษาไทยและ ภาษาตางประเทศมีมาก แตก็มีปญหาเรื่องการแปล เปนภาษาไทย บริการอื่นที่กลุมประชากรชื่นชอบ คือ มีบริการ one stop service มีวารสารวิชาการใหเลือก อานมากมายและมีวารสารตรงตามตองการมีจำ �นวน วารสารมากกว า สำ � นั ก วิ ท ยบริ ก ารและเทคโนโลยี สารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

ดรรชนีวารสารภาษาตางประเทศมีนอยมาก สถานที่ ใหบริการวารสารคับแคบ แสงสวางไมเพียงพอ วารสาร บางเลมมีฝุนมากมายจับวารสาร ไมสะดวกในการหยิบ มาใช ทำ�ใหเปนโรคภูมิแพ มีอาการจามและคันจมูก 5.2 ด า นวิ ธี ก ารประเมิ น วารสารวิ ช าการ สำ�หรับการคนควา พบวา บางก็ใชอินเทอรเน็ตเปน เครื่องมือสืบคน โดยเขาไปคนหาในฐานขอมูล ThaiLis Digital เพื่อประเมินในเบื้องตนกอน หรือสืบคนจากฐาน ขอมูลหองสมุดโดยตรง เว็บไซตของมหาวิทยาลัยตางๆ ที่ มีบริการวารสารวิชาการแบบออนไลน หรือผานโปรแกรม สืบคนกูเกิล (Google) คนจากฐานขอมูล Journal link และคนจากฐานขอมูล OPAC ของสำ�นักวิทยบริการและ เทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม และของมหาวิทยาลัยอื่นๆ 5.3 ดานปญหาการใชวารสารวิชาการสำ�หรับ การคนควา พบวา การใหบริการของสำ�นักวิทยบริการ และเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม สวนมากมีความพึงพอใจ เจาหนาที่และบรรณารักษมี ความเปนกันเอง ยิม้ แยมแจมใส ทักทายพูดคุยดี มีน�้ำ ใจ เต็มใจบริการ มักไดค�ำ ตอบเปนทีพ่ อใจ เจาหนาทีอ่ �ำ นวย ความสะดวกตอนักศึกษาเปนอยางดี สำ�หรับปญหา อุปสรรคการใชวารสารวิชาการที่พบ ไดแก เจาหนาที่ บางคนจะทำ�หนาดุ เมื่อมีผูใชสงเสียงดังรบกวนผูอื่น เจาหนาที่จะทำ�หนาเครียด ถามไมตอบ มีระบบการจัด หมวดหมูที่ทันสมัย แตก็พบปญหาบางเชน สืบคนจาก OPAC ได แตเมื่อไปหาเลมจริงที่ตูกลับไมพบ การใช บริการวารสารวิชาการในหองสมุดของมหาวิทยาลัยอื่น 

158

ขอเสนอแนะ 1. สำ�นักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ควรสงเสริมการใชวารสารวิชาการฉบับพิมพและฉบับสือ่ อิเล็กทรอนิกส โดยเฉพาะวารสารฉบับพิมพใหสามารถ ยืมไดเชนเดียวกับการยืมหนังสือ เนื่องจากนักศึกษา ระดับบัณฑิตศึกษาตองทำ�การศึกษาคนควาอยางจริงจัง และตอเนื่อง 2. ผู  บ ริ ห ารสำ� นั ก วิ ท ยบริ ก ารและเทคโนโลยี สารสนเทศ ควรสงเสริมทักษะการคนควาวารสารวิชาการ ทั้งภาษาไทยและภาษาตางประเทศ รวมถึงฐานขอมูล อิเล็กทรอนิกส ใหเห็นคุณคา ประโยชนและการใช วารสารวิชาการ 3. คณาจารย แ ละนักศึกษาควรมี สว นร ว มใน การคัดเลือกวารสารวิชาการทั้งภาษาไทยและภาษา ตางประเทศ ทั้งนี้เพื่อใหวารสารตรงตามความตองการ มากที่สุด 4. การวิ จั ย ครั้ ง ต อ ไป ควรศึ ก ษาการเข า ถึ ง วารสารอิ เ ล็ ก ทรอนิ ก ส ข องนั ก ศึ ก ษาระดั บ บั ณ ฑิ ต ศึกษาในมหาวิทยาลัยราชภัฏ 




การใชวารสารวิชาการของนักศึกษาปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ชัยเลิศ ปริสุทธกุล

บรรณานุกรม ภาษาไทย กมลรัตน ตัณฑเกยูร. (2528). การวิเคราะหการอางถึงในวิทยานิพนธของนักศึกษาขัน้ ปริญญามหาบัณฑิตและ งานวิจยั ของคณาจารยคณะวิศวกรรมศาสตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกลาเจาคุณทหารลาดกระบัง. วิทยานิพนธปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาบรรณารักษศาสตรและสารนิเทศศาสตร บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย. กิง่ แกว อวมศรี. (2545). การศึกษาสภาพการใชบริการวารสารในหองสมุด คณะแพทยศาสตร โรงพยาบาลรามาธิบดี: รายงานการวิจัย. วารสารหองสมุด 46 (4) : 32-44. จารุวรรณ สินธุโสภณ. (2521). วิทยานุกรมบรรณารักษศาสตร (A cyclopedia of librarianship). กรุงเทพฯ: สมาคมหองสมุดแหงประเทศไทย. จีระประภา นาคนิยม. (2539). การใชวารสารธุรกิจของอาจารยและนักศึกษา คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัย เอกชน. วิทยานิพนธปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบรรณารักษศาสตรและสารนิเทศศาสตร บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย. ชัยเลิศ ปริสทุ ธกุล. (2551). รายงานการวิจยั เรือ่ ง การศึกษากระบวนการทำ�วิทยานิพนธของนักศึกษาปริญญา โท มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. นครปฐม: โปรแกรมวิชาบรรณารักษศาสตรและสารนิเทศศาสตร คณะ มนุษยศาสตรและสังคมศาสตร มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. ชุติมา สัจจานันท. (2530). สารนิเทศวิทยาศาสตรและเทคโนโลยี. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. ณรงคฤทธิ ์ สมบัตสิ มภพ และคณะ. (2544). ดัชนีผลกระทบการอางอิงของวารสารวิชาการภายในประเทศ : ตอนที่ 1 รายงานผลงานวิจัยเบื้องตน. วารสารวิจัยและพัฒนา มจธ 24(3) : 355-368. แดน แสนมี. (2545). การใชวารสารวิชาการในหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยขอนแกนของนักศึกษาหลักสูตร ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแกน. วิทยานิพนธปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขา บรรณารักษศาสตรและสารนิเทศศาสตร บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแกน. นงลักษณ วิรัชชัย. (2541). การเขียนบทความวิจัย. ใน เอกสารประกอบการบรรยายในโครงการ “เที่ยงวัน วิชาการ” ณ คณะครุศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย. เบญจา รุงเรืองศิลป. (2539). การบริการวารสาร. วารสารหองสมุด 40 (4) : 1-6. ประคอง กรรณสูต. (2542). สถิติเพื่อการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร. พิมพครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: สำ�นักพิมพแหง จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย. พวงรัตน ทวีรัตน. (2540). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตรและสังคมศาสตร. พิมพครั้งที่ 7 (ฉบับปรับปรุง ใหมลาสุด). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. พีระ จิระโสภณ. (2532). นิตยสารและวารสาร. ใน ความรูเบื้องตนเกี่ยวกับสื่อสิ่งพิมพ หนวยที่ 1-7, หนา 206. พิมพครั้งที่ 4. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. มนิสรา สินปรุ. (2546). การศึกษาการใชวารสารวิชาการภาษาตางประเทศฉบับพิมพและวารสาร อิเล็กทรอนิกสในศูนยบรรณสารและสือ่ การศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสรุ นารี. วิทยานิพนธปริญญา ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบรรณารักษศาสตรและสารสนเทศศาสตร บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย ขอนแกน.

159


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปีที่ 32 ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2555

เมตตา เปรมปรีดิ์. (2541). ความตองการและปญหาการใชวารสารภาษาอังกฤษ สาขาการพยาบาลของ นักศึกษาพยาบาล สถาบันอุดมศึกษาเอกชน. วิทยานิพนธปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิตสาขา บรรณารักษศาสตรและสารนิเทศศาสตร บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรามคำ�แหง. ยุพดี จารุทรัพย. (2535). การใชบริการวารสารในหองสมุด. นครปฐม: สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัย ศิลปากร. ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: นานมีบุคส. วราวุธ ผลานันต. (2537). งานวารสารและหนังสือพิมพในหองสมุด. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร. วัชรียพ ร คุณสนอง. (2546). การใชวารสารอิเล็กทรอนิกสของคณาจารยมหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยานิพนธปริญญา ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบรรณารักษศาสตรและสารนิเทศศาสตรบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ. ศิริพร พูลสุวรรณ. (2542). รายงานวิจัยเรื่อง การใชวารสารวิชาการในสำ�นักบรรณาสารการพัฒนา สถาบัน บัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร. สมรัก เปลงเจริญศิริชัย, หัวหนางานหองสมุด สำ�นักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏ นครปฐม. (2553). สัมภาษณ. 6 ธันวาคม. สายทอง มโนมัยอุดม. (2531). การศึกษาการใชวารสารภาษาตางประเทศในสำ�นักหอสมุด มหาวิทยาลัย เชียงใหมของอาจารยมหาวิทยาลัยเชียงใหม. เชียงใหม: คณะมนุษยศาสตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม. สิริพร วิธินันทกิตต, ศิริพร พูลสุวรรณ, กานดา แสนทรงศักดิ์ และอรพิณ โกมลไพศาล. (2536). รายงานวิจัยเรื่อง การใชวารสารสาขามนุษยศาสตรและสังคมศาสตรในหองสมุดคณะมนุษยศาสตรและหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยขอนแกน. ขอนแกน: สำ�นักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยขอนแกน. สุวันนา ทองสีสุขใส, ศิริพร วิธินันทกิตต, สุพิน อุดมผล และอุทัยวรรณ ศิริเลิศ. (2539). รายงานการวิจัยเรื่อง การอางถึงงานวิจัยของอาจารยมหาวิทยาลัยขอนแกน. ขอนแกน: มหาวิทยาลัยขอนแกน. อัจฉรา พิมพสกุล. (2539). ศึกษาการใชวารสารศิลปะของอาจารยและนักศึกษาศิลปะในมหาวิทยาลัยของ รัฐ. วิทยานิพนธปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาบรรณารักษศาสตรและสารนิเทศศาสตร บัณฑิต วิทยาลัย จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย. เอื้อมพร ศรีเดือนดาว. (2543). การใชวารสารดานวิทยาศาสตรและเทคโนโลยีรวมกันระหวางหองสมุด มหาวิทยาลัยของรัฐ. วิทยานิพนธปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาบรรณารักษศาสตรและสารนิเทศ ศาสตร บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรามคำ�แหง. ภาษาอังกฤษ Anderson, P. M. (1983). A study of collection use at The University of Cincinnati Central Library. Ohio: University of Cincinnati. Chen, C. D. (1995). Serial management: A practical guide. Chicago: American Library Association. Cole, J. E. & Williams, J. (1992). Serial cataloging: Modern perspectives and International development. New York: Haworth Press. Cronbach, L. J. (1974). Essentials of psychological testing. 3rd ed. New York: Harper & Row. The Encyclopedia Americana vol. 21. (1979). Danbury Connecticut: Americana Corporation.

160


การใชวารสารวิชาการของนักศึกษาปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ชัยเลิศ ปริสุทธกุล

Farrington, J. W. (2000). Serial management in academic libraries: Guide to issuse and practices. Westport: Greenwood. Gordon, M. (1982). Periodicals Use of Small College Library. Serials Librarian 6 (3) : 63-73. The Institute for scientific information. (2000). Journal Citation Report. Retrieve May 20, 2011. from http://www.isinet.com. Lancaster, F. (1989). Electronic publishing. Library Trends 37 (3) : 316-325. ________. (1995). The evolution of electronic publishing. Library Trends 43 (4) : 518-527. Newell, A. H. (1992). Access to journal information and the impact of new technologies. Australian & New Zealand Journal of Serials 3 (2) : 45-68. Osborn, A. D. (1986). Serial publications: Their place and treatment in libraries. 3rd ed. Chicago: American Library Association. Rusch-Feja, D. (1999). Evaluation of usage and acceptance of electronic journal. [Online]. Retrieved 6 June, 2010. from http//www.dlib.org/dlip/october99/rusch-feja/10rusch-feja-summary.html Stewart, L. (1996). User acceptance of electronic journals: Interviews with at Chemists Cornell University. College & Research Library 57 (4) : 339-349. Summit, R. & Lee, A. (1998). Will full–text online files become ‘electronic Periodicals? Serials Review (14) : 7-10. Taylor, D. C. (1982). Managing the serials explosion: The issues for publishers. White Plains, New York: Knowledge Industry. Tomney, H. & Burton, P. F. (1998). Electronic journals: a study of usage and attitudes among academic. Journal of Information Science 24 (6) : 419-429. Tsay, Ming-Yueh. (1997). The Relationship between journal use in a medical library and citation use. [CD-ROM]. Abstract from: Proquest File: Dissertation Abstract Item: 9702691.

161



กฎหมายสิ่งแวดลอมและผังเมืองสำ�หรับการควบคุมมลพิษทางแสง Environmental and Planning Law for Light Pollution Control ปดิเทพ อยูยืนยง1 Pedithep Youyuenyong บทคัดยอ ผลกระทบจากมลพิษทางแสงจากการออกแบบและติดตัง้ หลอดไฟฟาหรือโคมไฟทีไ่ มเปนมิตรตอสิง่ แวดลอมใน เวลากลางคืน ประกอบกับการขาดมาตรการทางกฎหมายผังเมืองเฉพาะทีส่ อดรับกับการขยายตัวของเมืองหรือสอดรับ กับการควบคุมการใชงานหลอดไฟฟาหรือโคมไฟในเวลากลางคืน ลวนทำ�ใหเกิดผลเสียตอกิจกรรมการศึกษาวิจยั ทาง ดาราศาสตร ระบบนิเวศวิทยาและความเปนอยูของมนุษย ดังนั้น หลายประเทศจึงไดตอบสนองตอปญหามลพิษทาง แสง โดยกำ�หนดมาตรการทางกฎหมายผังเมืองเฉพาะเพือ่ ควบคุมมลพิษทางแสงทีอ่ าจกระทบตอทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดลอมในระยะยาว เชน สหรัฐอเมริกา สาธารณรัฐเช็คและประเทศญี่ปุน เปนตน คำ�สำ�คัญ: 1. มลพิษทางแสง. 2. ประเภทของมลพิษทางแสง. 3. ผลกระทบของมลพิษทางแสง. 4. กฎหมาย ผังเมือง. Abstract Artificial light from premises at night can have a detrimental impact on the astronomical observation, nocturnal ecology and human health. Poor lighting fixtures and design contributes to many environmental effects. Light pollution not only generates significant negative effects including negative impacts on wildlife, health, astronomy, and wasted energy, but also includes light trespass from artificial light at night emitted from public and private premises. Therefore, many central governments and local governments, such as the United States of America, Czech Republic, Japan, for example, have adopted legislations designed to control light pollution from environmental areas lighting design and other fixtures. Keywords: 1. Light pollution. 2. Types of light pollution. 3. Effects of light pollution. 4. Planning law.

__________________

1

นักวิจัย ประจำ�สาขาวิชานิติศาสตร มหาวิทยาลัยเดอมงฟอรต สหราชอาณาจักร


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปีที่ 32 ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2555

1. บทนำ� แสงประดิษฐ (Artificial light) เปนนวัตกรรมที่ มนุษยคิดคนขึ้น ซึ่งโดยสภาพของแสงประดิษฐไมใช มลพิษแตประการใด กลาวคือ ไมอาจกอใหเกิดผลกระทบ ตอคุณภาพของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอม หรือโทษภัยตอสุขภาพอนามัยของมนุษยแตประการใด แตอยางไรก็ดี การใชแสงประดิษฐทไี่ มเหมาะสมในเวลา กลางคืน จากการการออกแบบหลอดไฟฟาหรือโคมไฟ (Light design) ที่ไมเปนมิตรตอสิ่งแวดลอมและการ ติดตั้งหลอดไฟฟาหรือโคมไฟ (Light fixture) ที่ไมได มาตรฐาน อาจกอใหเกิดผลกระทบตอสิ่งแวดลอมได (Morgan-Taylor 2006 : 1114) เชน ปริมาณทีแ่ สดงถึงขนาด พลังไฟฟาหรือกำ�ลังไฟฟาของอุปกรณที่ไมเหมาะสม (Watt) และแสงสว า งที่ มี ป ริ ม าณการส อ งสว า งหรื อ ความเข ม ของการส อ งสว า งที่ ไ ม ไ ด ม าตรฐาน (Illuminance) เปนตน ตั้งแตปลาย ค.ศ. 1900 โทมัส อัลวา เอดิสัน (Thomas Alva Edison) และนักวิทยาศาสตรคนอื่นๆ ไดพยายามคนควาและวิจัยเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ หรื อ ศั ก ยภาพของหลอดไฟฟ า หรื อ โคมไฟเพื่ อ ใช ประโยชนจากแสงประดิษฐในการอำ�นวยความสะดวกใน ชีวิตประจำ�วันของมนุษยและดำ�เนินบริการสาธารณะ ของภาครั ฐ และองค ก รปกครองส ว นท อ งถิ่ น ในเวลา กลางคืน (Morgan-Taylor & Huges 2005 : 1131) เชน โคมไฟถนนที่ถูกติดตั้งเพื่อประโยชนในการสัญจร ของประชาชนและหลอดไฟฟาที่ติดตั้งบนปายโฆษณา เพื่อประโยชนในเชิงพาณิชยกรรม เปนตน ซึ่งนอกจาก การใชงานแสงประดิษฐจากหลอดไฟฟาหรือโคมไฟเพือ่ ประโยชนในดานตางๆ แลว การขยายตัวของชุมชนเมือง และจำ�นวนผูอาศัยอยูในชุมชนเมืองตางๆ ยอมสงผล ใหเกิดการใชหลอดไฟฟาหรือโคมไฟในเวลากลางคืน ที่มากขึ้นตามการขยายตัวของชุมชนเมืองและจำ�นวน ผูอาศัยที่อยูในชุมชนเมืองดังกลาว แมวาประชาชนที่อาศัยอยูในชุมชนเมืองและ ประชาชนโดยทั่วไปจะไดรับประโยชนจากการใชแสง ประดิ ษ ฐ จ ากหลอดไฟฟ า หรื อ โคมไฟประเภทต า งๆ

164

ในเวลากลางคืน แตอยางไรก็ดี การกอใหเกิดแสงสวาง จาเกินสมควร (Excessive light) หรือแสงที่รุกล้ำ�ไป ยังทรัพยสินของผูอื่น (Obtrusive light) ยอมสงผลราย ตอการดำ�เนินชีวติ ของมนุษยและสิง่ มีชวี ติ ในระบบนิเวศ ทีต่ อ งอาศัยบรรยากาศหรือสภาวะแวดลอมในเวลากลาง คืนในการดำ�รงชีพ (Nocturnal life) ดังนั้น รัฐบาลกลางและรัฐบาลระดับมลรัฐหรือ องค ก รปกครองส ว นท อ งถิ่ น ของหลายประเทศจึ ง ได พ ยายามแสวงหามาตรการทางกฎหมายผั ง เมื อ ง (Planning law and measures) ไมวาจะเปนการ ควบคุ ม ผั ง เมื อ งรวมและผั ง เมื อ งเฉพาะเพื่ อ กำ � หนด หลักเกณฑและมาตรการในการควบคุมมลพิษทางแสง ในเวลากลางคืนที่เกิดขึ้นจากการใชหลอดไฟฟาหรือ โคมไฟจากการออกแบบผลิตภัณฑหลอดไฟฟาหรือ โคมไฟที่ไมไดมาตรฐานและการติดตั้งหลอดไฟฟาหรือ โคมไฟที่อาจกอใหเกิดมลพิษทางแสงประเภทตางๆ ได (Hughes and Morgan-Taylor 2004 : 215) ซึ่ง นอกจากภาครั ฐ และองค ก รปกครองส ว นท อ งถิ่ น ใน หลายประเทศที่ ไ ด ต ระหนั ก ถึ ง โทษภั ย ของมลพิ ษ ทางแสงแลว ภาคเอกชนของหลายประเทศยังไดรวม กลุมกันเพื่อแสวงหาความรวมมือและแนวทางในการ แกปญ  หามลพิษทางแสงในระยะยาวอีกดวย เชน สมาคม รณรงคทองฟามืดมิดนานาชาติ (International DarkSky Association – IDA) ที่เกิดจากการรวมกลุมของ นักดาราศาสตรในการแสวงหาแนวทางในการลดการ เกิ ด มลพิ ษ ทางแสงและควบคุ ม มลพิ ษ ทางแสง เพื่ อ ไมสงผลกระทบตอกิจกรรมทางการศึกษาหรือวิจัยทาง ดาราศาสตร เปนตน เนื้ อ หาของบทความเรื่ อ งนี้ ผู  เ ขี ย นประสงค ที่ จะใหความรูพื้นฐานทั่วไปดานมลพิษทางแสงเพื่อให ตระหนักและรับทราบถึงโทษภัยของมลพิษทางแสงที่ อาจสงผลเสียตอมนุษยและทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดลอมในอนาคต นอกจากนี้ ผูเขียนยังประสงคที่ จะให ค วามรู  เ บื้ อ งต น เกี่ ย วกั บ แนวคิ ด ของกฎหมาย ผังเมืองที่เกี่ยวของกับการควบคุมมลพิษทางแสงและ กฎหมายทองถิ่น (Domestic law) ของประเทศตางๆ


กฎหมายสิ่งแวดลอมและผังเมืองสำ�หรับการควบคุมมลพิษทางแสง ปดิเทพ อยูยืนยง

2. มลพิษทางแสง จากอดีตที่ผานมา ไดมีผูศึกษาเกี่ย วกับ แสง ประดิษฐจากหลอดไฟฟาหรือโคมไฟกับผลกระทบตอ ชีวิตมนุษยและระบบนิเวศเปนจำ �นวนมาก ซึ่งคณะ กรรมาธิการกิจการชนบทและสิ่งแวดลอมของประเทศ อังกฤษไดก�ำ หนดนิยามมลพิษทางแสง กลาวคือ มลพิษ ทางแสง (Light pollution) หมายถึง มลพิษที่เกิดมาจาก การใชงานแสงสวางอันเกินสมควรจากการแสงประดิษฐ ที่สวางจาเกินสมควรและแสงประดิษฐที่เกิดจากการ ออกแบบหลอดไฟฟ า หรื อ โคมไฟที่ ไ ม ไ ด ม าตรฐาน (U.K. Department of Environment and Countryside Commission 1997 : 17) เหตุที่กรรมาธิการชุดดังกลาว ของประเทศอั ง กฤษได กำ � หนดนิ ย ามความหมายไว เชนนัน้ ก็เพือ่ กำ�หนดนิยามหรือความหมายใหสอดคลอง กับแนวทางการพัฒนานโยบายสาธารณะและมาตรการ

ทางกฎหมายสิ่งแวดลอมและผังเมืองในการควบคุม มลพิ ษ ทางแสงในเวลากลางคื น โดยกำ� หนดวิ ธี ก าร เพือ่ ลด (Mitigate) ผลกระทบจากแสงประดิษฐทแี่ สงสวาง อันเกินสมควร (Excessive) แสงประดิษฐที่ไมจำ�เปน (Unnecessary) และแสงประดิษฐทรี่ กุ ล้ำ�ไปยังทรัพยสนิ ของผูอื่น (Obtrusive) (U.K. House of Commons Science & Technology Committee 2003 : 17) จาก นิยามดังกลาวอาจเห็นไดวา แสงประดิษฐโดยตัวเอง ไมไดเปนมลพิษแตประการใด แตเมื่อหลอดไฟฟาหรือ โคมไฟที่กอใหเกิดแสงประดิษฐไดผานการออกแบบ ที่ไมเปนมิตรตอสิ่งแวดลอมหรือการติดตั้งที่อาจกอให เกิดผลเสียตอสิ่งแวดลอมและความเปนอยูของมนุษย ยอมทำ�ใหแสงประดิษฐกลายเปนมลพิษที่จะกอใหเกิด ผลกระทบหรื อ ผลเสี ย ต อ มนุ ษ ย แ ละระบบนิ เ วศ (Marchant 2004 : 441)

ภาพที่ 1. การขยายตัวของชุมชนเมืองโดยปราศจากการวางผังเมืองที่ดีเปนสาเหตุหนึ่งที่ทำ�ใหเกิดมลพิษทางแสง ที่มา: University of Hong Kong. Seeing the Light. [Online]. Retrieved May 29, 2012. From http://www.hku.hk/ research/stories_21.html

165


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปีที่ 32 ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2555

3. ประเภทของมลพิษทางแสง แสงประดิษฐทปี่ ลอยออกมาในเวลากลางคืน จาก หลอดไฟฟาหรือโคมไฟที่ไดรับการออกแบบหรือติดตั้ง ที่ไมไดมาตรฐานและเปนมิตรตอสิ่งแวดลอม ยอมสงผล กระทบตอทรัพยากรธรรมชาติและสิง่ แวดลอม ซึง่ มลพิษ ทางแสงที่เกิดจากการใชแสงประดิษฐจากหลอดไฟฟา หรือโคมไฟในเวลากลางคืนอาจจำ�แนกประเภทไดเปน 3 ประเภทดังตอไปนี้ 3.1 แสงเรืองไปยังทองฟา แสงเรืองไปยังทองฟา (Sky glow) ไดแก แสงสีสมที่สองขึ้นไปบนทองฟาหรือสองขึ้นไปยังชั้น บรรยากาศ อันเนื่องมาจากแสงจากหลอดไฟฟาหรือ แสงจากแหลงกำ�เนิดตางๆที่สองไปยังทองฟา ซึ่งมัก เกิ ด ในบริ เ วณชุ ม ชนเมื อ งหรื อ ชุ ม ชนขนาดใหญ ที่ มี ประชากรอาศัยกันอยูหนาแนน (Austria. International Commission on Ilumination 2003 : 2) เช น กรุงเทพมหานคร ลอนดอน นิวยอรกและฮองกง เปนตน ซึ่งแสงที่เรืองไปยังทองฟายอมกอใหเกิดผลกระทบตอ ความงดงามทางธรรมชาติและกิจกรรมทางดาราศาสตร เพราะแสงที่เรืองไปยังทองฟาในเมืองหรือชุมชนใหญๆ อาจทำ�ใหประชาชนทีอ่ าศัยในบริเวณดังกลาวไมสามารถ มองเห็นดวงดาวดวยตาเปลาได (U.K. House of Commons Science & Technology Committee 2003 : 18) และนักดาราศาสตรทั้งสมัครเลนและอาชีพไมสา มารถใชกลองโทรทรรศน (Telescope) ในการสังเกต ปรากฏการณทางดาราศาสตรไดอยางชัดเจน เพราะ แสงเรืองไปยังทองฟาไดท�ำ ลายประสิทธิภาพของกลอง โทรทรรศน อั น เป น อุ ป กรณ ท างดาราศาสตร พื้ น ฐาน การศึกษาความเปนไปของธรรมชาติบนทองฟา 3.2 แสงบาดตา แสงบาดตา (Glare) ไดแก แสงประดิษฐ จากหลอดไฟฟาหรือโคมไฟที่สองสวางจามาเขาตา มนุษยโดยตรง ซึ่งแสงบาดตาที่สวางจานี้ อาจลดทอน ศักยภาพในการมองเห็นและลดความคมชัดระหวางวัตถุ ที่สายตามองเห็น (U.K. House of Commons Science

166

& Technology Committee 2003 : 19) เชน แสงบาดตา ที่สองมาจากโคมไฟหนารถยนต ซึ่งทำ�ใหผูใชรถยนต คันอื่นๆ หรือผูที่สัญจรทางเทาบนทองถนน อาจเกิด อาการระคายเคืองตาหรือสูญเสียความสามารถในการ มองเห็นขณะหนึ่ง (Momentary blindness) หรืออาจ ทำ�ใหเกิดอาการเจ็บตาจากการหดตัวของกลามเนื้อ ควบคุมมานตา (Iris) กะทันหันได เปนตน ทั้งนี้ แสง บาดตายอมกอใหเกิดอันตรายตอมนุษยโดยตรงในดาน ความปลอดภัยในการสัญจรบนทองถนนและเพิ่มความ เสี่ยงตอผูสัญจรบนทองถนนจากการบดบังทัศนวิสัย จากแสงบาดตาที่อาจกอใหเกิดอุบัติเหตุบนทองถนนได (U.K. Department of Environment and Countryside Commission 1997 : 20) 3.3 การรุกล้ำ�ของแสง การรุกล้ำ�ของแสง (Light trespass) ไดแก การทีแ่ สงสองรุกล้� ำ (Trespass) ไปยังทรัพยสนิ ของผูอ นื่ หรื อ พื้ น ที่ ใ นความครอบครองของผู  อื่ น ที่ ไ ม ต  อ งการ ใหแสงสองไปถึง (U.K. House of Commons Science & Technology Committee 2003 : 20) ซึ่งการรุกล้ำ� ของแสงยอมกอใหเกิดความเดือดรอนรำ�คาญตอการ ดำ�เนินชีวิต สุขภาพและทรัพยสินของผูอื่น เชน การ ที่แสงสองเขาไปยังหองนอนของผูอื่นทำ�ใหผูอื่นนอน หลับไมสนิท เปนตน ซึ่งการรุกล้�ำ ของแสงอาจมีสาเหตุ มาจากการออกแบบและติดตั้งหลอดไฟฟาหรือโคมไฟ รักษาความปลอดภัยนอกบาน (exterior security light) ที่ไมไดมาตรฐานหรือการออกแบบโคมไฟที่ไมมีโลไฟ (Light shield) ที่ปองกันการกระจายของแสง (Full-cut off) (Institution of Lighting Engineers 2009 : 2) ทั้งนี้ การรุกล้ำ�ของแสงในหลากกรณีเปนสาเหตุใหมี การฟองรองทางแพงโดยอาศัยมูลละเมิดหรือเหตุจาก การละเมิด (Tort) ในประเทศที่อาศัยระบบกฎหมาย ลายลักษณอักษร (Civil law) หรือการฟองรองกรณีที่ กอใหความเดือดรอนรำ�คาญจากมลพิษทางแสง (Light nuisance) จากการรุกล้ำ�ของมลพิษทางแสงในประเทศ ที่มีระบบกฎหมายจารีตประเพณี (Common law)


กฎหมายสิ่งแวดลอมและผังเมืองสำาหรับการควบคุมมลพิษทางแสง ปดิเทพ อยูยืนยง

ภาพที่ 2. มลพิษทางแสงแตละประเภทและผลกระทบ ที่มา (Institution of Lighting Engineers 2005 : 1)

4.​ผลกระทบของมลพิษทางแสง ​ มลพิษทางแสงทีเ่ กิดมาจากการใชงานแสงสวาง อันเกินสมควรจากการแสงประดิษฐทสี่ วางจาเกินสมควร และแสงประดิษฐที่เกิดจากการออกแบบหลอดไฟฟา หรือโคมไฟที่ไมไดมาตรฐานยอมกอใหเกิดผลกระทบ ตอมนุษย ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอมหลาย ประการ 4.1​ม ล พิ ษ ท า ง แ ส ง กั บ กิ จ ก ร ร ม ท า ง ดาราศาสตร ​ ​ ภายหลังจากทีโ่ ทมัส อัลวา เอดิสนั (Thomas Alva Edison) ไดประดิษฐคิดคนหลอดไฟฟาเปนตนมา ตั้งแตปลายศตวรรษที่ 19 ทำาใหมนุษยไดนำาหลอด ไฟฟาและโคมไฟมาใชประโยชนอยางแพรหลายมาก ยิ่งขึ้น (Ploetz 2002 : 992) ประกอบกับการขยายตัว ของชุ ม ชนเมื อ งที่ ทำ า ให มี พื้ น ที่ ชุ ม ชนเมื อ งที่ ใ ช แ สง ประดิษฐจากหลอดไฟฟาหรือโคมไฟเพิม่ ขึน้ นอกจากนี ้ พืน้ ทีช่ นบทหรือบริเวณพืน้ ทีช่ านเมือง กลับถูกรุกคืบจาก การขยายตัวของชุมชนเมืองมากยิง่ ขึน้ ดังนัน้ การหลอด ไฟฟ า หรื อ โคมไฟในเวลากลางคื น ของชุ ม ชนเมื อ งที่ เพิม่ มากขึน้ ยอมทำาใหเกิดแสงเรืองไปยังทองฟา (Glow) อันเปนมลพิษทางแสงที่อาจสงผลกระทบตอธรรมชาติ ในเวลากลางคืน ซึ่งโดยทั่วไปแลวมนุษยสามารถมอง เห็นดวงดาวในเวลากลางคืนไดดวยตาเปลาในบริเวณ

พืน้ ทีท่ ไี่ มมมี ลพิษทางแสงประเภทแสงเรืองไปยังทองฟา นอกจาก มลพิษทางแสงทีอ่ าจสงผลกระทบตอธรรมชาติ ในเวลากลางคืนทีส่ ามารถมองเห็นดวงดาวดวยตาเปลา แลว มลพิษทางแสงยังไดสง ผลกระทบตอนักดาราศาสตร (Astronomers) บุคคลกลุมแรกที่ทำาการศึกษาเกี่ยวกับมลพิษ ทางแสง ไดแก นักดาราศาสตร ซึง่ ไมวา จะเปนการศึกษา ดาราศาสตรแบบอาชีพ (Professional astronomy) และ การศึกษาดาราศาสตรสมัครเลน (Amateur astronomy) ต า งก็ ไ ด รั บ ผลกระทบจากมลพิ ษ ทางแสง เพราะ แสงประดิ ษ ฐ ใ นเวลากลางคื น ที่ เ ป น มลพิ ษ สามารถ ทำาใหลดประสิทธิภาพกลองโทรทรรศน (Telescope) เพื่อการศึกษาและวิจัยทางดาราศาสตร (U.K. House of Commons Science & Technology Committee 2003 : 6) โดยนักดาราศาสตรภายในหลายประเทศไดมา รวมกลุมกันเพื่อทำากิจกรรมเพื่อรณรงคใหมีการควบคุม มลพิษทางแสงหรือรณรงคใหทองฟาในเวลากลางคืน มืดมิดและปลอดมลพิษทางแสง อันทำาใหเกิดสภาพ ตามธรรมชาติที่มนุษยทั่วไปสามารถมองเห็นดวงดาว ไดดวยตาเปลาและนักดาราศาสตรสามารถใชกลอง โทรทรรศนไดอยางมีประสิทธิ์ภาพในเวลากลางคืนเพื่อ ทำาการศึกษาและวิจัยทางดาราศาสตร

167


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปีที่ 32 ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2555

ฉะนั้ น นั ก ดาราศาสตร จึ ง ได ม ารวมกลุ  ม กั น เพื่ อ ทำ � กิ จ กรรมรณรงค ท างมลพิ ษ ทางแสงด า น ดาราศาสตร (Astronomical light pollution) กลาวคือ นักดาราศาสตรหลายกลุม จากหลายประเทศไดพยายาม แสวงหาแนวทางทั้ ง ด า นนโยบายและมาตรการทาง กฎหมายผังเมือง (Planning policy & Legislation) เพื่อ เสนอตอรัฐบาลของแตละประเทศในการลดปญหาหรือ ขจัดปญหามลพิษทางแสงทีอ่ าจสงผลกระทบตอกิจกรรม ดาราศาสตรและระบบนิเวศ เชน โครงการรณรงคเพื่อ ท อ งฟ า อั น มื ด มิ ด ของสมาคมดาราศาสตร อั ง กฤษ (British Astronomical Association’s Campaign for Dark Skies - CfDS) และสมาคมทองฟาอันมืดมิด นานาชาติ (International Dark-Sky Association – IDA) เปนตน สำ � หรั บ มาตรการทางกฎหมายผั ง เมื อ งที่ นั ก ดาราศาสตร ห ลายประเทศได นำ � เสนอให รั ฐ บาล

ในแตละประเทศไดจัดทำ�นั้น เชน การกำ�หนดพื้นที่ใน การควบคุมมลพิษทางแสง (Environmental zones for exterior lighting control) ซึ่งกำ�หนดใหมีการ จั ด ย า นในผั ง เมื อ งของท อ งถิ่ น เพื่ อ จำ � แนกพื้ น ที่ เ พื่ อ ควบคุมมลพิษทางแสง ที่ปริมาณหรือระดับแตตางกัน ออกไป โดยกำ � หนดให พื้ น ที่ ใ นเขตอนุ รั ก ษ ป  า ไม (Conservation Park) ที่ระดับมลพิษทางแสงในพื้นที่ ดังกลาวมีปริมาณนอยที่สุด เปนพื้นที่เพื่อการศึกษา ดาราศาสตรหรือพื้นที่ที่สามารถสังเกตการณกิจกรรม ทางดาราศาสตรไดอยางชัดเจน (Intrinsically dark landscapes) ในทางตรงกันขามพื้นที่ในบริเวณเมือง ที่มีชุมชนหนาแนนอาจไดรับการจำ�แนกใหเปนพื้นที่ ทีม่ มี ลพิษทางแสงมาก (High district brightness areas) โดยระบุ ใ ห เ ป น พื้ น ที่ ที่ ไ ม เ หมาะสมกั บ กิ จ กรรมทาง ดาราศาสตรและระบบนิเวศ เปนตน

ตารางที่ 1. การจัดยานในผังเมืองทองถิน่ เพือ่ จำ�แนกพืน้ ทีเ่ พือ่ ควบคุมมลพิษทางแสงทีป่ ริมาณหรือระดับแตกตางกัน Category

Examples

E1

Intrinsically dark landscapes (National Parks, Areas of Outstanding Natural Beauty)

E2

Low district brightness areas (Rural, small villages or relatively dark urban locations)

E3

Medium district brightness areas (Small town centres or urban locations)

E4

High district brightness areas (Town/city centres with high levels of night time activity)

ที่มา: Environmental Protection. U.K. (2012). Light Pollution. [Online]. Retrieved May 29, 2012. From http://www.environmental-protection.org.uk/neighbourhood-nuisance/light-pollution/

4.2 มลพิษทางแสงกับระบบนิเวศ แสงประดิษ ฐจากการใชง านหลอดไฟฟ า หรือโคมไฟในเวลากลางคืนที่ไมเหมาะสม ไมวาจะเปน จากการออกแบบผลิตภัณฑหลอดไฟฟาหรือโคมไฟฟา และการติ ด ตั้ ง หลอดไฟฟ า หรื อ โคมไฟในลั ก ษณะที่ ไมเหมาะสม ยอมสงผลกระทบตอชีวิตและความเปนอยู

168

ของมนุษยและสัตวซงึ่ เปนสวนหนึง่ ของระบบนิเวศอยาง หลีกเลี่ยงไมได โดยมลพิษทางแสงอาจกระทบตอความ เปนอยูของสิ่งมีชีวิตที่ตองอาศัยชวงเวลากลางคืนหรือ ความมืดในเวลากลางคืนในการดำ�รงชีพ ตัวอยางเชน มลพิษทางแสงทีส่ ง ผลกระทบกับการวางไขของเตาทะเล (Marine turtle hatchlings) และการเคลื่อนที่ของลูกเตา


กฎหมายสิ่งแวดลอมและผังเมืองสำ�หรับการควบคุมมลพิษทางแสง ปดิเทพ อยูยืนยง

ทะเลที่พึ่งฟกตัวออกจากไขใหมๆ ซึ่งลูกเตาทะเลถือ เปนสัตวเลื้อยคลาน (Reptiles) ที่อาศัยธรรมชาติจาก แสงอาทิตยในการหาความสวางจากเสนขอบฟาในทะเล หลังจากที่โผลพนออกจากเปลือกไขแลว เพื่อกำ�หนด ทิศทางการเคลื่อนที่จากชายฝงในบริเวณที่ฟกตัวออก จากทีว่ างไขกลับลงไปสูท อ งทะเล เหตุทเี่ ปนเชนนีเ้ พราะ ลูกเตาทะเลสับสนกับแสงไฟ (Confusion) จากมลพิษ ทางแสงที่เกิดจากการติดตั้งหลอดไฟฟาหรือโคมไฟ บริเวณชายหาดที่ไมเปนมิตรตอสิ่งแวดลอมและไมเปน มิตรตอการเคลื่อนที่ของเตาทะเล ซึ่งแทนที่ลูกเตาทะเล จะเคลื่อนตัวมุงหนาสูทองทะเลตามธรรมชาติหลังจาก ที่ฟกตัวออกจากไขเสร็จแลว เตาทะเลกลับเคลื่อนที่ มุ  ง หน า สู  พื้ น ที่ บ ริ เ วณพื้ น ดิ น ในทิ ศ ทางตรงข า มกั บ ชายฝงได ดังนั้น การที่เตาทะเลเคลื่อนที่กลับทิศทาง จากธรรมชาติที่ตองเคลื่อนที่เขาหาทองทะเลหลังจาก วางไขโดยอาศัยแสงอาทิตยยามเชาเปนเข็มทิศตาม ธรรมชาติในการบอกทิศทาง อาจทำ�ใหลูกเตาทะเล มี อ าการเหนื่ อ ยและตายจากอาการขาดน้ำ � ในที่ สุ ด (Nicholas 2001 : 77) นอกจากนี้ มลพิษทางแสงยังสง ผลกระทบตอที่อยูอาศัยของคางคาว (Roost) ในเวลา กลางคืน (Stone, Jones, and Harris 2009 : 1) กลาวคือ แสงประดิษฐจากหลอดไฟฟาหรือโคมไฟจาก ไฟถนนอาจกอใหเกิดผลกระทบตอความเปนอยูของ คางคาวในเวลากลางคืนได ทั้งนี้ จากการขยายตัวของ เมืองอยางรวดเร็วทำ�ใหแสงไฟประดิษฐจากเสาไฟฟา ทำ � ลายบรรยากาศของพื้ น ที่ อั น เป น ที่ อ ยู  อ าศั ย ของ คางคาวในเวลากลางคืน (Illuminating a bat roost creates disturbance) (Swift 1980 : 190) เปนตน จากตัวอยางที่หยิบยกในเรื่องของผลกระทบ มลพิษทางแสงตอลูกเตาทะเลและคางคาว อาจพบวา ปญหาอันเกิดมาจากผลกระทบดังกลาวมีสาเหตุประการ หนึง่ มาจากการขยายตัวของชุมชนเมืองทีป่ ราศจากการ คำ�นึงถึงผลกระทบของมลพิษทางแสงกับการทำ�ลาย

ระบบนิเวศจากการใชแสงประดิษฐจากหลอดไฟฟาหรือ โคมไฟ ดังนั้น ในหลายประเทศจึงไดมีการรณรงคใหมี การจัดการผังเมืองและมีกฎหมายทองถิ่นหรือขอบังคับ ทองถิ่นเพื่อควบคุมมลพิษทางแสงไมใหกระทบตอสัตว หรือสิง่ มีชวี ติ ประเภทตางๆ ในระบบนิเวศ เชน กฎหมาย มลรัฐฟลอริดาในการคุมครองเตาทะเล ที่ไดกำ�หนด มาตรการทางกฎหมายในการควบคุมผลกระทบจาก การใช ห ลอดไฟฟ า หรื อ โคมไฟบริ เ วณชายฝ  ง ที่ ไ ม เหมาะสม โดยกฎหมายดังกลาวไดกำ�หนดแนวทาง ในการกำ�หนดมาตรฐานในการติดตั้งไฟถนนบริเวณ ชายฝง (Model standards for beachfront lighting) เปนตน (Butler 1998 : 339) 4.3 มลพิษทางแสงกับสุขภาพของมนุษย มลพิ ษ ทางแสงจากการใช ป ระโยชน จ าก แสงประดิ ษ ฐ จ ากหลอดไฟฟ า หรื อ โคมไฟอาจส ง ผล กระทบต อ สุ ข ภาพของมนุ ษ ย ไ ด ซึ่ ง มลพิ ษ ทางแสง อาจกอใหเกิดผลกระทบตอวงจรการดำ�รงชีพของมนุษย (human circadian rhythms) เชน การหลั่งสารเมลา โทนินในรางกาย (Melatonin) และฮอรโมนเพศหญิง (Oestrogen) อาจทำ�ใหเกิดปญหาทางสุขภาพหลาย ประการ เชน ปญหาการนอนไมหลับ (Sleep disorder) และปญหามะเร็งในเตานมในสุภาพสตรี เปนตน (Pauley 2004 : 2-3) นอกจากนี้ มลพิษทางแสงบางประเภทอาจ กระทบกับการดำ�รงชีวิตประจำ�วันของมนุษยโดยตรง เชน แสงบาดตา (Glare lighting) ที่สองมาจากโคมไฟ หนารถยนต ทำ�ใหเกิดอาการระคายเคืองตาหรือสูญเสีย ความสามารถในการมองเห็นขณะหนึ่งหรืออาจทำ�ให เกิดอาการเจ็บตาจากการหดตัวของกลาวเนื้อควบคุม มานตา (Iris) กระทันหันได อันเปนการเพิ่มความเสี่ยง ต อ ผู  สั ญ จรบนท อ งถนนจากการบดบั ง ทั ศ นวิ สั ย จาก แสงบาดตาที่ อ าจก อ ให เ กิ ด อุ บั ติ เ หตุ บ นท อ งถนนได (U.K. Department of Environment and Countryside Commission 1997 : 20) เปนตน

169


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปีที่ 32 ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2555

ภาพที่ 3. แผนภาพแสงผลกระทบของมลพิษทางแสงตอดาราศาสตรและระบบนิเวศ ทีม่ า: Longcore, T. & Rich, C. (2004). Ecological light pollution. Frontiers in Ecology and the Environment 2 (4) : 191-198.

5. กฎหมายผังเมืองกับการควบคุมมลพิษทางแสง จากผลกระทบดานมลพิษทางแสงที่กลาวมาใน ขางตน อาจพบไดวาปญหาของมลพิษทางแสงและ ผลกระทบจากมลพิษทางแสงที่เกิดขึ้นตอการศึกษา ดาราศาสตร ระบบนิเวศและสุขภาพของมนุษย เกิดจาก การปราศจาการควบคุ ม ทางด า นผั ง เมื อ งและการ พัฒนาเมืองที่ดี (Planning and development control) ซึ่งไมวาจะเปนมลพิษทางแสงประเภทแสงเรืองไปยัง ทองฟา แสงบาดตาและการรุกล้ำ�ของแสงลวนแลวแต เกิดขึ้นมาจากการปราศจากระบบการวางผังเมืองใน บริเวณชุมชนเมืองและชนบท (Town and country planning system) ทำ�ใหมลพิษทางแสงประเภทตางๆ เพิ่ ม มากขึ้ น ประกอบกั บ การขยายตั ว ของเมื อ งที่ ปราศจากการควบคุมอยางดี (Jewkes 1998 : 258-259) ดังนั้น รัฐบาลประเทศตางๆ จึงตองแสวงหามาตรการ ทางกฎหมายผังเมืองเพือ่ ควบคุมมลพิษทางแสงโดยอาจ กำ�หนดมาตรการผังเมืองทั่วไปและมาตรการผังเมือง เฉพาะ ในการลดและควบคุมมลพิษทางแสง ไมใหเกิด การขยายตัวของมลพิษทางแสงจากการใชแสงประดิษฐ ในเวลากลางคืน (Morgan-Taylor 1997 : 33) เชน ในการขออนุญาตการกอสราง (Building permission)

170

ในแตละครั้ง นอกจากองคกรปกครองสวนทองถิ่นจะ พิจารณาถึงองคประกอบและโครงสรางอาคารโดยทัว่ ไป แลว องคกรปกครองสวนทองถิน่ ควรพิจารณาถึงลักษณะ การติดตัง้ หลอดไฟฟาหรือโคมไฟภายนอกอาคารเพือ่ ลด การเกิดมลพิษทางแสงอันอาจกอใหเกิดความเดือดรอน รำ�คาญตอเพื่อนบาน (light nuisance) หรือกอใหเกิด ผลกระทบตอสิ่งแวดลอมภายนอกบริเวณสถานที่นั้นๆ ดวย (Mizon 2002 : 193) ฉะนั้น การอาศัยกลไกทางการควบคุมผังเมือง จึงมีความจำ�เปนตอการควบคุมมลพิษทางแสงไมใหเกิด ผลกระทบในระยะยาวตอสิ่งแวดลอม (Jewkes 1998 : 10-11) ซึ่งมาตรการทางกฎหมายผังเมืองเพื่อควบคุม มลพิษทางแสงควรมีสาระสำ�คัญ 4 ประการที่สำ�คัญ ดังตอไปนี้ 5.1 มาตรการควบคุ ม และการอนุ ญ าตให กอสรางอาคาร กอสรางที่จอดรถ ดัดแปลงอาคาร และดัดแปลงที่จอดรถ ตองคำ�นึงถึงผลกระทบจาก มลพิษทางแสง ในการก อ สร า งหรื อ ดั ด แปลงอาคารหรื อ ที่จอดรถ องคกรปกครองสวนทองถิ่นจำ�ตองพิจารณา ถึงการใชความสวางในเวลากลางคืนจากแสงประดิษฐที่


กฎหมายสิ่งแวดลอมและผังเมืองสำ�หรับการควบคุมมลพิษทางแสง ปดิเทพ อยูยืนยง

มาจากการติดตั้งหลอดไฟฟาหรือโคมไฟประเภทตางๆ ซึ่งแสงประดิษฐจากไฟรักษาความปลอดภัยภายนอก อาคาร ไฟสองสนาม (Outdoor flooding Light) และโคม ไฟประเภทอืน่ ๆทีต่ ดิ ตัง้ โดยรอบบริเวณอาคาร พืน้ ทีโ่ ดย รอบอาคารและลานจอดรถ ใหสามารถใชประโยชนตาม ลักษณะการใชงานของโคมไฟในแตละประเภทได โดย ไมกอ ใหเกิดมลพิษทางแสงอันอาจกระทบตอระบบนิเวศ และสุขภาพมนุษยในแตละทองถิ่นนั้น ทั้งนี้ รัฐบาลประเทศตางๆควรบัญญัติกฎหมาย ทีใ่ หอ�ำ นาจแกองคกรปกครองสวนทองถิน่ ในการจัดการ กั บ ป ญ หามลพิ ษ ทางแสงโดยให อำ � นาจแก อ งค ก ร ปกครองส ว นท อ งถิ่ น ในการควบคุ ม และอนุ ญ าต การกอสรางหรือการดัดแปลงสิ่งกอสรางประเภทตางๆ (Planning permission) ที่ตองมีการติดตั้งหลอดไฟฟา หรือโคมไฟ เพื่อใหทองถิ่นสามารถจัดการกับปญหา ที่ เ กิ ด จากมลพิ ษ ทางแสงประเภทต า งๆโดยวิ ธี ก าร ควบคุมทางผังเมือง (U.K. Department for Environment Food & Rural Affairs 2006 : 31) นอกจากนี้ องคกร ปกครองสวนทองถิ่นควรมีหนาที่ใหการใหความรูความ เขาใจเกี่ยวกับมลพิษทางแสงแกประชาชนทั่วไปและ ผูที่กำ�ลังจะดำ�เนินการขออนุญาตกอสรางหรือดัดแปลง อาคาร ที่การกอสรางหรือการดัดแปลงนั้นอาจมีการ ติดตั้งหลอดไฟฟาหรือโคมไฟภายนอกอาคารดวย เชน การจัดอบรมใหแกประชาชนโดยทั่วไป การเผยแพร ประชาสัมพันธแผนพับแกประชาชนและการเรียกผูขอ อนุญาตกอสรางหรือดัดแปลงอาคารประเภทตางๆ มา ทำ � ความเขาใจเกี่ยวกับมลพิษทางแสงกับการติ ด ตั้ ง หลอดไฟฟาหรือโคมไฟภายนอกอาคาร เปนตน 5.2 มาตรการควบคุ ม การออกแบบเพื่ อ ลดมลพิษทางแสงจากไฟถนนในการกอสรางทาง สาธารณะประเภทตางๆ จากการขยายตั ว ของเมื อ งอย า งรวดเร็ ว ทำ�ใหปริมาณการติดตั้งเสาไฟฟาบริเวณทองถนนหรือ ทางเทาอื่นๆ มีจำ�นวนเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้ การเพิ่มขึ้น ของการติดตั้งเสาไฟฟาประเภทตางๆ อาจกระทบตอ ประชาชนในชุ ม ชนได เช น การรุ ก ล้ำ � ของแสงและ แสงเรืองไปยังทองฟา เปนตน ดังนั้น ทองถิ่นควร แสวงหาแนวทางที่เหมาะสม เพื่อใหเกิดความมั่นใจวา

มลพิษทางแสงจะไมกอใหเกิดผลกระทบตอชุมชนและ ระบบนิเวศในชุมชนเมืองนั้นๆ (U.K. Department for Environment Food & Rural Affairs 2006 : 32) ดังนั้น ทองถิ่นควรสนับสนุนการออกแบบ การติดตั้ง และการซ อ มบำ � รุ ง หลอดไฟฟ า หรื อ โคมไฟถนน เพื่ อ ควบคุ ม มลพิ ษ ทางแสงไม ใ ห เ กิ ด ผลกระทบต อ ประชาชน นอกจากนี้ องคกรปกครองสวนทองถิ่นใน ชุมชนที่มีผูอาศัยหรือสัญจรทางสาธารณะไมมากใน เวลากลางคืน อาจอาศัยเทคโนโลยีการเปดปดหลอด ไฟฟาอัตโนมัติหรืออาจกำ�หนดเวลาเปดปดไฟถนน ซึ่ง นอกจากจะเปนการลดมลพิษทางแสงแลวยังเปนการ สนั บ สนุ น การประหยั ด พลั ง งานสำ � หรั บ ท อ งถิ่ น ด ว ย (Institution of Lighting Engineers 2009 : 3) 5.3 มาตรการกำ � หนดพื้ น ที่ ค วบคุ ม เพื่ อ จำ � แนกพื้ น ที่ ใ นการควบคุ ม มลพิ ษ ทางแสงที่ ​ ปริมาณหรือระดับแตกตางกันขององคกรปกครอง​ สวนทองถิ่น รั ฐ บาลและองค ก รปกครองส ว นท อ งถิ่ น ควรจัดลำ�ดับและกำ�หนดพื้นที่ในการควบคุมโดยอาศัย กำ�หนดพื้นที่ในการควบคุมมลพิษทางแสง ซึ่งกำ�หนด ให มี ก ารจั ด ย า นในผั ง เมื อ งของท อ งถิ่ น เพื่ อ จำ � แนก พื้นที่เพื่อควบคุมมลพิษทางแสง ที่ปริมาณหรือระดับ แต ต  า งกั น ออกไป เช น การกำ� หนดให พื้ น ที่ ใ นเขต อนุรักษปาไม (Conservation park) ที่ระดับมลพิษ ทางแสงในพื้นที่ดังกลาวมีปริมาณนอยที่สุด เปนพื้นที่ เพื่ อ การศึ ก ษาดาราศาสตร ห รื อ พื้ น ที่ ที่ ส ามารถ สังเกตุการณกิจกรรมทางดาราศาสตรไดอยางชัดเจน ในทางตรงกั น ข า มพื้ น ที่ ใ นบริ เ วณเมื อ งที่ มี ชุ ม ชน หนาแน น อาจถู ก กำ � หนดให เ ป น พื้ น ที่ ที่ มี ม ลพิ ษ ทาง แสงมาก ที่ไมเหมาะสมกับกิจกรรมทางดาราศาสตร และระบบนิเวศ เปนตน 5.4 มาตรการควบคุมการกอสรางสิง่ กอสราง เพื่ อ ใช อำ � นวยความสะดวกที่ ใ ช เ พื่ อ การบริ ก าร สาธารณะ รั ฐ บาลและองค ก รปกครองส ว นท อ งถิ่ น ในแตละประเทศควรใหมีการควบคุมมลพิษทางแสงที่ เกิดขึน้ จากการสิง่ กอสรางเพือ่ ใชจดั ทำ�บริการสาธารณะ (Public service facilities) เชน สถานนีรถไฟ ทาอากาศยาน

171


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปีที่ 32 ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2555

และทาเรือขนสงสินคา เปนตน เพราะสถานที่เหลานี้มี การใชแสงประดิษฐจากหลอดไฟฟาหรือโคมไฟภายนอก อาคารเพื่ อ อำ � นวยความสะดวกในงานด า นบริ ก าร สาธารณะคอนขางมากและมีพื้นที่ในการติดตั้งหลอด ไฟฟาหรือโคมไฟทีม่ ากกวาอาคารทีพ่ กั อาศัยโดยทัว่ ไป (U.K. Aviation Environment Federal 2011 : 2-7) 5.5 มาตรการควบคุมการกอสรางสิง่ กอสราง เพื่ อ ใช อำ � นวยความสะดวกที่ ใ ช เ พื่ อ กิ จ กรรม นันทนาการและการกีฬา รั ฐ บาลและองค ก รปกครองส ว นท อ งถิ่ น ในแตละประเทศอาจจัดใหมีพื้นที่เพื่อกิจกรรมนันทนา การทองถิ่น ซึ่งนอกจากพื้นที่ดังกลาวจะใชเปนพื้นที่ นันทนาการสำ�หรับประชาชนในชุมชนและประชาชน ทั่วไปแลว ทองถิ่นอาจกำ�หนดใหพื้นที่ดังกลาวเปน พื้นที่ที่มีความเปนมิตรกับสิ่งแวดลอมเปนพิเศษดวย (U.K. Department for Environment Food & Rural Affairs 2006 : 37) เชน สวนสาธารณะของชุมชนและ สนามเด็กเลนของชุมชน เปนตน ทั้งนี้ สิ่งอำ�นวยความ สะดวกในสวนสาธารณะประเภทตางๆ อาจมีการติดตั้ง ไฟสองสนามประเภทตางๆ เพือ่ กอใหเกิดความปลอดภัย ในเวลาสัญจรภายในสวนสาธารณะหรือพืน้ ทีน่ นั ทนาการ ซึ่งไฟประดิษฐที่สองมาจากไฟสองสนามประเภทตางๆ อาจกอใหเกิดผลกระทบตอระบบนิเวศ หรือประชาชน ที่อาศัยรอบๆสวนสาธารณะหรือพื้นที่นันทนาการนั้นๆ เชน การรุกล้ำ�ของแสง เปนตน นอกจากนี้ ในการออกแบบและกอสราง สาธารณูปโภคทางการกีฬา (Sports facilities) ทองถิ่น ควรคำ�นึงถึงการติดตั้งหลอดไฟสองสนามในสนามกีฬา ประเภทตางๆ ทั้งนี้ หลอดไฟสองสนามในสนามกีฬา อาจกอใหเกิดการรุกล้ำ �ของแสงบริเวณชุมชนรอบๆ สนามกีฬานั้นๆ ซึ่งแมวาแสงสวางจากสนามกีฬาใน เวลากลางคืนจะทำ�ใหมนุษยสามารถประกอบกิจกรรม การกีฬาในเวลากลางคืน แตอยางไรก็ดี แสงดังกลาว อาจกระทบตอสิง่ แวดลอมและประชาชนทีอ่ ยูโ ดยรอบได สำ � หรับ กรณี ไ ฟประดับ อาคารในเทศกาล และมหรสพตางๆ เพือ่ การประกอบกิจกรรมนันทนาการ ภายนอกอาคาร เชน การแสดงแสงเลเซอร การฉายไฟ ขึน้ ไปยังทองฟา และการแสดงแสงไฟยามค่�ำ คืน เปนตน

172

ควรไดรับการควบคุมจากทองถิ่น เพราะแสงประดิษฐ จากกิจกรรมนันทนาการภายนอกอาคารเหลานี้ ลวนเปน สาเหตุ ใ ห เ กิ ด มลพิ ษ ทางแสงได เ ช น เดี ย วกั น (U.K. Department for Environment Food & Rural Affairs 2006 : 32) 6. ตัวอยางของกฎหมายผังเมืองตางประเทศเพื่อ ควบคุมมลพิษทางแสง หลายประเทศไดมีการจัดทำ�กำ�หนดมาตรการ ทางกฎหมายผังเมืองเฉพาะเพื่อคุมครองสุขภาพมนุษย ความหลากหลายเชิงนิเวศ และการศึกษาดาราศาสตร (UNESCO 2009 : 27) และทำ�ใหการควบคุมมลพิษ ทางแสงเปนไปอยางยัง่ ยืน เชน การกำ�หนดพืน้ ทีค่ วบคุม มลพิษทางแสง (Areas of illumination) การกำ�หนด ระยะเวลาในการใชหลอดไฟฟาหรือโคมไฟ (Duration of illumination) และการกำ�หนดวิธีการเพื่อลดปริมาณ การปลอยแปลงในเวลากลางคืน เปนตน 6.1 สาธารณรัฐเช็ค สาธารณรัฐเช็คเปนประเทศแรกทีไ่ ดก�ำ หนด มาตรการทางกฎหมายระดับประเทศ (Bill, Act) ขึ้นเพื่อ กำ�หนดมาตรการในการกำ�หนดมาตรฐานการควบคุม มลพิษทางแสงทัว่ ประเทศ ทัง้ นี้ กฎหมายสาธารณรัฐเช็ค ระดับพระราชบัญญัติ (Protection of the Atmosphere Act 2002) ไดใหอำ�นาจแกองคกรปกครองสวนทองถิ่น ในการออกขอกำ�หนดทองถิ่น (Regulations) ในการ ปองกันมลพิษทางแสงในแตละทองถิน่ เพือ่ ลดผลกระทบ จากมลพิษทางแสงทีส่ อ งขึน้ ไปบนทองฟาหรือสองขึน้ ไป ยังชั้นบรรยากาศ อันเนื่องมาจากแสงจากหลอดไฟฟา หรือแสงจากแหลงกำ�เนิดตางๆ ที่สองไปยังทองฟาจาก การใชไฟประดิษฐในชุมชนตางๆ ซึ่งกฎหมายระดับ พระราชบั ญ ญั ติ ดั ง กล า วได กำ � หนดนิ ย ามของมลพิ ษ ทางแสงไว โดยประสงคใหองคกรปกครองสวนทองถิ่น กำ � หนดมาตรการผั ง เมื อ งเฉพาะของแต ล ะท อ งถิ่ น ใหสอดคลองกับกฎหมายระดับชาติที่ไดวางหลักเกณฑ เอาไว 6.2 สหรัฐอเมริกา หลายมลรั ฐ ในสหรั ฐ อเมริ ก าได กำ � หนด มาตรการทางกฎหมายสิ่ ง แวดล อ มและผั ง เมื อ งขึ้ น


กฎหมายสิ่งแวดลอมและผังเมืองสำ�หรับการควบคุมมลพิษทางแสง ปดิเทพ อยูยืนยง

เพื่ อ กำ � หนดกลไกและวิ ธี ก ารในการควบคุ ม มลพิ ษ ทางแสง ไมใหมลพิษทางแสงที่เกิดจากการติดตั้งและ การออกแบบหลอดไฟฟาหรือโคมไฟที่ไมไดมาตรฐาน กอใหเกิดอันตรายตอสิ่งแวดลอมในเวลากลางคืนได ตัวอยางเชน กฎหมายระดับมลรัฐหรือรัฐบัญญัติของ มลรั ฐ เอริ โ ซน า (Arizona House Bill, Title 49, Chapter 7) ไดกำ�หนดใหบานเรือนติดตั้งหลอดไฟฟา หรือโคมไฟ ที่มีการติดตั้งโคมไฟที่มีโลไฟ (light shield) เพื่ อ ป อ งกั น มลพิ ษ ทางแสงประเภทแสงเรื อ งไปยั ง ทองฟา ที่อาจกระทบตอกิจกรรมทางดาราศาสตรใน มลรัฐเอริโซนา เหตุทกี่ ฎหมายระดับมลรัฐหรือรัฐบัญญัติ วางหลักเกณฑไวเชนนี้ ก็เพราะมลรัฐเอริโซนาเปนพืน้ ที่ สภาพทางธรรมชาติในเวลากลางคืนที่เหมาะสมกับการ ศึกษาดาราศาสตร นอกจากนี้ กฎหมายของมลรัฐหรือรัฐบัญญัติ ของมลรัฐนิวเม็กซิโก (Night Sky Protection Act 1999) และรัฐบัญญัตขิ องมลรัฐอารแคนซอส (Shielded Outdoor Lighting Act 1987) ไดกำ�หนดใหมีการบัญญัติใน เรื่องของระยะเวลาในการใชหลอดไฟฟาหรือโคมไฟ ภายนอกบาน (Outdoor lighting curfew time) โดย กำ�หนดใหประชาชนตองปดไฟนอกบาน (Outdoor light) ในเวลา 23 นาฬิกา เชน ไฟรักษาความปลอดภัย เสาไฟฟาหนาบาน และหลอดไฟประดับภายนอกบาน นอกจากนี้ ขอกำ�หนดของมลรัฐแคลิฟอรเนีย (California Code of Regulations on California’s Energy Efficiency Standards for Residential and Nonresidential Building 1978) ไดกำ�หนดมาตรการ ทางผั ง เมื อ งเพื่ อ ควบคุ ม การใช แ สงประดิ ษ ฐ ใ นเวลา กลางคืน จากการใชไฟภายนอกอาคาร การใชไฟถนน การใชไฟโฆษณา การใชไฟในสนามกีฬา และการใชไฟ ในศูนยการคา โดยกำ�หนดใหมขี อ บังคับควบคุมผังเมือง ทีเ่ กีย่ วของกับการใชไฟฟาในสิง่ กอสรางตางๆ (Building Energy Efficiency Standards 2005) ซึ่งขอกำ�หนด ดังกลาวของมลรัฐแคลิฟอรเนีย ไดกำ�หนดมาตรการ ในการกำ�หนดพื้นที่ควบคุมการใชไฟฟาภายนอกบาน เพื่อกำ�หนดพื้นที่ใหการควบคุมมลพิษทางแสงจากแสง ประดิษฐในเวลากลางคืน (Outdoor lighting zones) เปนตน

6.3 ประเทศญี่ปุน เมืองไบเซอิ (Bisei) เปนเมืองเล็กๆ ที่ตั้ง อยูในตำ�บลโอดา (Oda District) เมืองโอกายามา (Okayama) ประเทศญีป่ นุ ซึง่ เปนทีต่ งั้ ของฐานปฏิบตั กิ าร ดาราศาสตรทใี่ หญทสี่ ดุ ของรัฐบาล (Bisei Astronomical Observatory - BAO) ที่ใชในการศึกษาและทำ�กิจกรรม ดาราศาสตรของญี่ปุน ดังนั้น เมืองไบเซอิจึงไดบัญญัติ ขอบัญญัติทองถิ่นเฉพาะขึ้น (Optical Environmental Disruption (Light Pollution) Prevention Ordinance in Bisei 1989) เพื่อกำ�หนดใหเมืองไบเซอิเปนพื่นที่ ปลอดมลพิษทางแสงเพื่อการศึกษาและทำ�การวิจัยทาง ดานดาราศาสตร ดังนั้น กฎหมายทองถิ่นดังกลาวจึง ไดกำ�หนดมาตรการทางกฎหมายเพื่อปองกันมลพิษ ทางแสงโดยอาศั ย ความร ว มมื อ จากประชาชนและ ภาคเอกชนในการมีสวนรวมทำ�ใหเมืองไบเซอิปลอด จากมลพิษทางแสง เชน กำ�หนดใหประชาชนตองปดไฟ นอกบาน ในเวลา 22 นาฬิกา และกำ�หนดใหประชาชน เสริมสรางความรวมมือกับทางภาครัฐในการรณรงค เพื่อควบคุมมลพิษทางแสง เปนตน ดังนั้น อาจเห็น ได ว  า ข อ บั ญ ญั ติ ท  อ งถิ่ น ไบเซอิ ข องญี่ ปุ  น ฉบั บ นี้ มี วั ต ถุ ป ระสงค ที่ ใ ช เ พื่ อ สนั บ สนุ น บริ ก ารสาธารณะใน การศึกษาและค น ควา วิ จั ย ทางดา นดาราศาสตร ของ ญี่ปุน ซึ่งเปนลักษณะคลายคลึงกับรัฐบัญญัติของมลรัฐ เอริโซนา เพราะบริเวณพื้นที่ของมลรัฐเอริโซนาและ เมืองไบเซอิ ก็มีการดำ�เนินกิจกรรมบริการสาธารณะ ดานวิทยาศาสตรและเทคโนโลยีในการศึกษา คนควา และวิจัยทางดานดาราศาสตรเชนเดียวกัน 7. บทสรุป ผลกระทบจากมลพิษทางแสงจากการออกแบบ และติ ด ตั้ ง หลอดไฟฟ า หรื อ โคมไฟที่ ไ ม เ ป น มิ ต รต อ สิ่ ง แวดล อ มในเวลากลางคื น ประกอบกั บ การขาด มาตรการทางกฎหมายผังเมืองทีส่ อดรับกับการขยายตัว ของเมืองหรือสอดรับกับการควบคุมการใชงานหลอด ไฟฟาหรือโคมไฟในเวลากลางคืน ลวนทำ�ใหเกิดผลเสีย ตอกิจกรรมการศึกษาวิจัยทางดาราศาสตร ระบบนิเวศ วิทยาและความเปนอยูของมนุษย ดังนั้น หลายประเทศ ดังที่ไดยกตัวอยางมาในขางตนไดตอบสนองตอปญหา

173


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปีที่ 32 ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2555

มลพิ ษ ทางแสง โดยกำ � หนดมาตรการทางกฎหมาย ผังเมืองขึ้น เพื่อควบคุมมลพิษทางแสงที่อาจกระทบตอ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอมในระยะยาว เชน มาตรการกำ�หนดกำ�หนดเวลาเปดปดไฟถนนและหลอด ไฟฟาหรือโคมไฟที่ใชตามบานและมาตรการจัดลำ�ดับ และกำ�หนดพื้นที่ในการควบคุมโดยอาศัยกำ�หนดพื้นที่ ในการควบคุมมลพิษทางแสง เปนตน ประเทศตางๆ ในโลกจึงควรหันมาใสใจกับปญหา และผลกระทบจากมลพิษทางแสงที่อาจสงผลกระทบ ตอมนุษยและสิง่ แวดลอมทีอ่ ยูร อบตัวของมนุษยโดยตรง ซึ่งไมวาจะเปนการรณรงคระดับทองถิ่นตลอดไปจนถึง การบัญญัติกฎหมายระดับชาติ ลวนแลวแตมีความ สำ�คัญตอการจัดการปญหาจากผลกระทบจากมลพิษ ทางแสงทั้งสิ้น แตอยางไรก็ดี การอาศัยแนวทางจาก มาตรการทางกฎหมายผังเมืองในการกำ�หนดมาตรการ 

174

เฉพาะและวิธีการในการจัดการกับมลพิษทางแสงเพื่อ การควบคุมมลพิษทางแสง ยอมมีประโยชนตอ ประชาชน ในระยะยาวทำ � ให ป ระชาชนตระหนั ก ถึ ง โทษภั ย จาก มลพิษทางแสงไดมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ การกำ�หนดมาตรการ ทางกฎหมายผังเมืองอาจมีการบัญญัติที่มีลักษณะของ มาตรการเฉพาะแตกตางกันไปในแตละทองถิ่นทั้งนี้ ขึ้นอยูกับระดับความรุนแรงของผลกระทบและลักษณะ ของแตละพื้นที่ที่มีความแตกตางกัน ฉะนั้ น การบั ญ ญั ติ ม าตรการทางกฎหมาย ผังเมืองเพื่อควบคุมมลพิษทางแสงจึงอาจเปนทางเลือก หนึ่งสำ�หรับผูมีอำ�นาจตัดสินใจนโยบายที่จะขับเคลื่อน และสรางกระบวนการและวิธีการในการควบคุมมลพิษ ทางแสงไมใหมลพิษทางแสงสงผลกระทบตอประชาชน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอมภายในประเทศ






กฎหมายสิ่งแวดลอมและผังเมืองสำ�หรับการควบคุมมลพิษทางแสง ปดิเทพ อยูยืนยง

บรรณานุกรม Astronomical Society of New South Wales Incorporated. (1954). Light Pollution Awareness. [Online] Retrieved May 26, 2012. From http://www.asnsw.com/articles/lightpollution.asp Austria. International Commission on Ilumination. (2003). Guide on the limitation of the effects of obtrusive light from outdoor lighting installations. Vienna: International Commission on Ilumination. Butler, K. R. (1998). Coastal protection of sea turtles in Florida. Journal of Land Use & Environmental Law 13 : 399-441. [Online]. Retrieved May 30, 2012. From http://www.law.fsu.edu/journals/landuse/ vol132/butl.htm Hughes, D. and Morgan-Taylor, M. (2004). And can’t look up and see the stars. Journal of Environmental Law 16 (2) : 215-232. Illuminating Engineer Society and International Dark - Sky Association. (2011). Joint IDA – IES Model Lighting Ordinance (MLO) with user’s guide. Arizona: International Dark-Sky Association. Institution of Lighting Engineers. (2005). Guidance notes for the reduction of obtrusive light. Rugby: Institution of Lighting Engineers. __________. (2009). Domestic security lighting, friend or foe. Rugby: Institution of Lighting Engineers. Jewkes, P. (1998). Light pollution and the law: what can you do?. Journal of the British Astronomical Association 108 (5) : 258-260. [Online]. Retrieved May 30, 2012. From http://articles.adsabs. harvard.edu//full/1998JBAA..108..258J&data_type=PDF_HIGH&whole_paper=YES&type=PRINTER &filetype=.pdf ­­­­­­­­­­__________. (1998). Light pollution : a review of the law. Journal of Planning and Environment Law : 10-22. Longcore, T. and Rich, C. (2004). Ecological light pollution. Frontiers in Ecology and the Environment 2 (4) : 191-198. [Online]. Retrieved May 30, 2012. From http://urbanwildlands.org/Resources/ LongcoreRich2004.pdf Marchant, P. R. (2004). A Demonstration that the claim that brighter lighting reduces crime is unfounded. British Journal of Criminology 44 : 441 - 447. [Online]. Retrieved May 30, 2012. From http://bjc. oupjournals.org/cgi/content/abstract/44/3/441 Mizon, B. (2002). Light pollution responses and remedies. London: Springer-Verlag. Morgan-Taylor, M. P. (1997). And god divided the light from the darkness: has humanity mixed them up again?. Environmental Law & Management 9 (1) : 32-39. __________. (2006). Light pollution and nuisance: the enforcement guidance for light as a statutory nuisance. Journal of Planning & Environment Law (August) : 1114-1127. Morgan-Taylor, M. P. and Huges, D. (2005). Exterior lighting as a statutory nuisance. Journal of Planning Law (September) : 1131-1144. Nicholas, M. (2001). Light pollution and marine turtle hatchlings: the straw that breaks the camel’s back?. Protecting Dark Skies 18 (4) : 77-82.

175


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปีที่ 32 ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2555

Pauley, S. M. (2004). Lighting for the human circadian clock: recent research indicates that lighting has become a public health issue. Medical Hypotheses 63 : 588-596. [Online]. Retrieved May 30, 2012. From http://www.darkskysociety.org/handouts/pauley.pdf Ploetz, Kristen M. (2002). Light pollution in the United States: an overview of the inadequacies of the common law and state and local regulation. New England Law Review 36 (4) : 985-1039. [Online]. Retrieved May 30, 2012. From http://www.nesl.edu/lawrev/vol36/4/Ploetz.pdf Stone, Emma Louise , Jones, Gareth , and Harris, Stephen. (2009). Street lighting disturbs commuting bats. Current Biology 19, 1-5 (14 July). [Online]. Retrieved May 30, 2012. From http://www. plan-actions-chiropteres.fr/IMG/pdf_street_lighting_commuting_rhihip.pdf. File DOI item: 10.1016/j. cub.2009.05.058. Swift, S. M. (1980). Activity patterns of pipistrelle bats (Pipistrel- lus pipistrellus) in North-East Scotland. Journal of Zoology (190) : 285-295. U.K. Aviation Environment Federal. (2011). Airport and Planning. London: Aviation Environment Federal. U.K. Department for Environment Food and Rural Affairs. (2006). Statutory Nuisance from Insects and Artificial Light. London: Department for Environment Food & Rural Affairs. U.K. Department of Environment and Countryside Commission. (1997). Lighting in Countryside: towards good practice. London: Department of Environment and Countryside Commission. U.K. Environmental Protection. (2012). Light Pollution. [Online]. Retrieved May 29, 2012. From http://www. environmental-protection.org.uk/neighbourhood-nuisance/light-pollution/ U.K. House of Commons Science & Technology Committee. (2003). Light pollution and astronomy. London: The House of Commons. UNESCO. (2009). Starlight reserves and world heritage scientific, cultural and environmental values. [Online]. Retrieved May 29, 2012. From http://www.starlight2007.net/pdf/FinalReportFuerteventuraSL. pdf University of Hong Kong. Seeing the Light. [Online]. Retrieved May 29, 2012. From http://www.hku.hk/ research/stories_21.html

176


บทความ​พิเศษ การประยุกต Insulating Concrete Forms (ICFs) เพื่อการใชงานในประเทศไทย Insulating Concrete Forms (ICFs) and Applications for Housing Construction in Thailand จรัญพัฒน ภูวนันท 1 Charunpat Puvanant บทคัดยอ บทวิจารณน ี้ ไดกลาวถึงรูปแบบ และระบบผนัง Insulating Concrete Forms (ICFs) ในตางประเทศ ทีพ่ ฒ ั นาขึน้ เพือ่ ชวยใหประหยัดพลังงานในอาคาร โดยเสนอแนะ ตัง้ ขอสังเกต และใหแนวคิดหรือแนวทาง ในการพัฒนา ออกแบบ และประยุกต ICFs สำ�หรับการกอสรางอาคารพักอาศัยในประเทศไทย เพื่อใหมีประสิทธิภาพคุมคากวาการนำ�เขา ผลิตภัณฑตางประเทศมาใชโดยตรง ซึ่งในประเทศไทยยังมีประเด็นวิจัยที่ควรทำ�การศึกษาอีกมาก เพื่อบูรณาการ ใหไดผลวิจัยที่ใชงานไดกับโครงการกอสรางจริง โดยผูผลิตหรือกลุมอุตสาหกรรมโฟมในประเทศควรมีหนาที่ หรือสวนรวมโดยตรง ในการพัฒนาผลิตภัณฑ (R&D) ของตน หรือสนับสนุนใหเกิดนวัตกรรมการกอสรางในประเทศ เพื่อเตรียมรองรับการขยายตัวของตลาดธุรกิจอสังหาริมทรัพย ที่จะเฟองฟูขึ้นอีก ตามวัฏจักรของเศรษฐกิจในอนาคต คำ�สำ�คัญ: 1. ผนังโฟมสำ�เร็จรูป. 2. แบบหลอถาวร. 3. ระบบการกอสรางกึ่งสำ�เร็จรูป. 4. บานประหยัดพลังงาน.

Abstract This article comments on the models and systems of Insulating Concrete Forms (ICFs) developed for energy-savings buildings in foreign countries. Some suggestion, remarks, and conceptual guidelines are provided for further development in which ICFs can be used for residential construction in Thailand. Basically, the ICFs applications is more efficient than using products imported from other countries. There are, however, several issues about ICFs products that needs to be studied further. Results from studies can sever as a basis for a real construction project. The manufacturers and foam industry groups should directly take responsibility and collaborate in R & D of their products and encourage alternative construction innovation. Well preparation is needed for suppliers and builders to compete in real estate business as it usually takes place in an economic cycle. Keywords: 1. Insulating wall panel. 2. Permanent formwork. 3. Hybrid construction. 4. Green building __________________

1

ศาสตราจารย ประจำ�ภาควิชาเทคนิคสถาปตยกรรม คณะสถาปตยกรรมศาสตร มหาวิทยาลัยศิลปากร วัง​ทา​พระ


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปีที่ 32 ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2555

เกริ่นนำ� Insulating Concrete Forms หรือ ICFs ถูก พัฒนาขึ้นใชงานครั้งแรกในประเทศเยอรมัน ชวงหลัง สงครามโลกครั้งที่ 2 (ค.ศ.1950-60) โดยสืบเนื่องจาก มีอุตสาหกรรมพลาสติกโฟมสมัยใหมเกิดขึ้น ไดมีการ ยื่นขอสิทธิบัตร ICFs ครั้งแรก ใน ค.ศ.1966 โดย ผูก อ สราง Werner Gregori ชาวแคนาดา หลัง ค.ศ. 1970 ICFs เปนทีร่ จู กั และใชงานในกลุม ประเทศอุตสาหกรรม เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในทวีปอเมริกาเหนือ ยุโรป และ สหราชอาณาจักร ปจจุบนั ไดมกี ารจดสิทธิบตั รในประเทศ ดังกลาวรวมกันไมนอยกวา 70 ราย NAHB (National Association of Home Builders) ในประเทศสหรัฐ อเมริกาเคยใหขอมูลวา ใน ค.ศ. 2002 มีบานพักอาศัย ที่กอสรางดวย ICFs จำ�นวนประมาณ 48,000 หลัง และอาคารธุรกิจ 10,000-15,000 หลัง หลังจากปนั้น ยอดขายไดเพิ่มขึ้นประมาณ 30% ทุกป (Panushev and Vanderwerf 2004A : 14) เมื่อสังคมโลกใหความ สำ�คัญกับวัสดุและระบบการกอสรางที่ประหยัดพลังงาน หรือการอนุรักษสิ่งแวดลอมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ นโยบาย พัฒนาที่อยูอาศัยของรัฐ ขอกำ�หนดทางกฎหมายหรือ มาตรฐานการกอสราง และเงื่อนไขของธุรกิจพัฒนา อสังหาริมทรัพย มีสว นสำ�คัญทีท่ �ำ ให ICFs เปนทีย่ อมรับ ของตลาดเพิม่ ขึน้ และถูกนำ�ไปสรางในภูมภิ าคทีม่ อี ากาศ รอน หรือรอนชื้นดวยเชนกัน วัสดุและระบบการกอสรางที่นำ�เขาจากประเทศ อุตสาหกรรมสวนใหญ มักมีปญหาดานราคา และความ เหมาะสมในการใช ง าน เนื่ อ งจากเป น ผลิ ต ภั ณ ฑ ที่ ออกแบบหรือผลิตขึ้นเพื่อแกปญหาในประเทศตนแบบ และอิงอยูกับกฎหมาย หรือมาตรฐานการกอสรางของ ประเทศอุตสาหกรรมเปนสำ�คัญ อีกทัง้ การลงทุนทำ�การ ตลาด หรือตัง้ โรงงานประกอบในประเทศไทย เปนปจจัย สำ�คัญประการหนึ่ง ที่จะชวยเพิ่มโอกาสแขงขันกับวัสดุ หรื อ ระบบการก อ สร า งที่ นิ ย มอยู  เ ดิ ม ได อ ย า งยั่ ง ยื น อย า งไรก็ ต ามประเทศไทยมี อุ ต สาหกรรมซี เ มนต และคนไทยมีความคุนเคยกับงานคอนกรีตมาชานาน ประกอบกั บ ป จ จุ บั น อุ ต สาหกรรมโฟมในประเทศได พัฒนา และผลิตผนังโฟมสำ�เร็จรูปเพื่อการสงออกได

178

นานแลว จึงควรพัฒนาผลิตภัณฑ และประยุกตระบบ การกอสราง ICFs ขึ้นใชเองได ซึ่งถามีการลงทุนพัฒนา ใหใชงานไดหลากหลาย และทำ�การตลาดที่ตอเนื่อง ระยะยาว ก็อาจใชเปนระบบการกอสรางทางเลือกหนึ่ง ที่มีประสิทธิภาพและชวยประหยัดพลังงานในอาคาร บางประเภท หรือในตลาดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ไดเชนกัน องคประกอบของผนัง Insulating Concrete Forms (ICFs) ICFs เป น ระบบการก อ สร า งผนั ง คอนกรี ต ชนิดหลอในที่ โดยใชโฟมเปนแบบหลอถาวรของผนัง คอนกรีต มีองคประกอบสำ�คัญ 2 สวน คือ แบบหลอ คอนกรีตที่ผลิตขึ้นจากฉนวนหรือโฟมชนิดแข็ง (Rigid foam) เพื่อทำ�หนาที่เปนฉนวนกันความรอนใหกับผนัง ไดในตัว อีกสวนหนึ่ง คือ คอนกรีตที่ซอนอยูภายใน แบบหลอถาวร (โฟม) ซึง่ ทำ�หนาทีร่ บั แรงทางโครงสราง หรือเปนผนังรับน้ำ�หนักนั่นเอง ความหนาของโฟมที่หุม คอนกรีตจึงมีผลโดยตรงตอคาความตานทานความรอน ของผนัง สวนความหนาของผนังคอนกรีต จะมีผลตอ ความแข็งแรงหรือการรับแรงทางโครงสรางโดยตรง ซึ่ง มวลคอนกรีตจะมีผลตอความสามารถในการกักเก็บ (Thermal mass) หนวง (Time lag) และถายเทความ รอนของผนังดวย จึงอาจออกแบบชิ้นสวนผนัง ICFs ใหมีความหนาของโฟมและมีสัดสวนของมวลคอนกรีต มากหรื อ น อ ย ได ต ามความเหมาะสมกั บ ภู มิ อ ากาศ ในแตภมู ภิ าค ซึง่ สามารถศึกษา วิเคราะห และพิสจู นผล ไดทั้งในขั้นตอนการออกแบบ และการใชอาคาร ทั้งใน ระยะสั้นหรือระยะยาวไดเชนกัน โดยอาจออกแบบใหมี มาตรฐานอาคารที่แตกตางกันได ตามประเภทอาคาร งบประมาณ และขอจำ�กัดในแตละโครงการ หรือภูมภิ าค ตางๆ เพื่ อ ให ใ ช ICFs ทำ� หน า ที่ เ ป น ผนั ง อาคารที่ สมบูรณ จึงตองมีวัสดุแผนปดหุมโฟมทั้ง 2 ดาน เพื่อใช เปนผิวสำ�เร็จของผนัง หรือใชรองรับการทำ�ผิวปูนฉาบ และวัสดุตกแตงผิวสำ�เร็จอื่นๆ ที่อาจนำ�มากรุทับให สวยงามไดตามที่ตองการ


การประยุกต Insulating Concrete Forms (ICFs) เพื่อการใชงานในประเทศไทย จรัญพัฒน ภูวนันท

รูปที่ 1 ตัวอยางผลิตภัณฑ ICFs ของตางประเทศ (รูปออนไลนจากเว็บไซทของผูผลิต)

รูปแบบและระบบของ Insulating Concrete Forms (ICFs) ในตางประเทศไดพัฒนาผลิตภัณฑ ICFs ใหมี รูปแบบหลากหลายชนิด เพือ่ ความสะดวกในการกอสราง และความเหมาะสมในการใชงาน หรือตามประเภท อาคาร โดยไดใหความสำ�คัญกับ 1) ขนาดของชิ้นสวน ผนัง ICFs หรือแบบหลอที่ผลิตขึ้นจากโฟม 2) รูปแบบ ของชองกลวงภายในทีใ่ ชหลอโครงสรางคอนกรีต และ 3) รูปแบบหรืออุปกรณที่ใชยึดวัสดุกรุผนังใหติดกับ ICFs หรือแผนโฟมทั้ง 2 ดาน (VanderWerf and Munsell 1995 : 1-5) ซึ่งแบงออกไดเปนหลายระบบ และมี ลักษณะ และขอจำ�กัดในการใชงานแตกตางกัน สรุปได ดังนี้ 1. หากแบงกลุม ICFs ตามขนาดชิ้นสวนที่ผลิต สามารถแบงออกไดเปน 3 ระบบ ไดแก ระบบบล็อก (Block system) ระบบแผนยาว (Plank system) และ ระบบแผนขนาดใหญ (Panel system) ทุกระบบอาจ ออกแบบใหมีลักษณะเปนแผนโฟมที่วางขนานกัน 2 แผน โดยมีอุปกรณยึดบังคับโฟมใหมีชองวางสำ�หรับเท คอนกรีตตามความหนาที่ตองการได หรืออาจออกแบบ ICFs ใหเปนโฟมหนา (กอน แทง หรือแผน) ทีม่ ชี อ งกลวง อยูภายในสำ�หรับใชเทคอนกรีตได

1.) ระบบบล็อก (Block system) มีขนาด ใกลเคียงกับคอนกรีตบล็อก (เชน 0.40 x 0.20 หรือ 0.60 x 0.30 เมตร ฯลฯ) ที่ ขอบบล็อกมักมีเดือยหรือรองบังคับเพื่อ ใหติดตั้งไดสะดวก คลายตัวตอของเด็ก เลน (Lego block) การกอสรางมีลกั ษณะ เชนเดียวกับการกอคอนกรีตบล็อคทีใ่ ชใน งานกอสรางโดยทั่วไป ICFs จึงเปนแบบ หลอคอนกรีตและชิน้ สวนผนัง (Block) ทีม่ ี น้�ำ หนักเบา เปนฉนวนกันความรอนไดใน ตัว แตมีขนาดเล็ก สามารถประกอบหรือ ติดตั้งไดสะดวก 2.) ระบบแผนยาว (Plank system) เปนระบบ ที่ออกแบบใหชิ้นสวน (แผนโฟม) มีความ ยาวเพิ่มขึ้น เพื่อความรวดเร็วในการติด ตั้งแบบหลอ และชวยลดรอยตอลง ขนาด ชิ้นสวนจะใกลเคียงกับฝาไมหรือแผนไม (เชน 1.20 x 0.30 เมตร ฯลฯ) จึงสามารถ ติดตั้งไดรวดเร็วกวาระบบบล็อค 3.) ระบบแผนขนาดใหญ (Panel system) ออกแบบใหเปนชิ้นสวนขนาดใหญเพื่อ ใหตดิ ตัง้ ไดรวดเร็วเพิม่ ขึน้ อีก โดยมีขนาด

179


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปีที่ 32 ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2555

ใกลเคียงกับวัสดุแผนกรุผนัง (1.20 x 1.20 หรือ 2.40 x 1.20 เมตร ฯลฯ) ระบบนี้ อาจจำ�เปนตองใชอุปกรณยึดและค้ำ�ยัน เพิม่ ขึน้ ดวย เพือ่ เสริมความแข็งแรงใหกบั แบบหลอ (ICFs) ที่มีความสูงเพิ่มขึ้น คอนกรีตมีแรงดันมาก และเทคอนกรีต ไดยากขึ้น อาคารที่สูงหลายชั้น อาจตอง ใชนั่งรานชั่วคราว หรือทอสงคอนกรีต เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการทำ�งาน การขนสงชิน้ สวนประกอบ และการติดตัง้ จะไมสะดวกเทากับ 2 ระบบแรก

(1) Flat

(2) Plank (3) Panel

รูปที่ 2 ระบบ ICFs แบงตามขนาดของแบบหลอ (VanderWerf and Munsell 1995 : 4)

2. หากแบงกลุม ICFs ตามรูปแบบของชองหลอ คอนกรีต หรือโครงสรางภายในผนัง อาจแบงไดเปน 3 ระบบ ไดแก (1) ผนังคอนกรีตแผนเรียบตัน (Flat) (2) เปนโครงคอนกรีตรูปตาตาราง (Grid/Waffle) และ (3) เปนโครงคอนกรีตแบบเสาและคาน (Post-and-beam) ทั้ง 3 ระบบนี้ จะทำ�ใหผนัง ICFs มีสัดสวนของเนื้อ คอนกรีตกับเนื้อโฟมที่แตกตางกัน จึงมีผลโดยตรงกับ ความแข็งแรงของผนังหรือโครงสรางคอนกรีตทีซ่ อ นอยู ภายใน และคาความตานทานความรอนรวมของระบบ ผนังที่ขึ้นอยูกับความหนาของโฟมและคอนกรีตเปน สำ�คัญ

180

(3) Column & Beam

รูปที่ 3 ระบบ ICFs แบงตามรูปแบบของโครงสรางคอนกรีต (VanderWerf and Munsell 1995 : 5)

(1) Block

(2) Grid

ระบบที่เปนผนังคอนกรีตตันเหมาะที่จะใชเปน ผนังหองใตดิน เพื่อความแข็งแรง และสามารถกันน้ำ� หรือทำ�ระบบกันความชื้นไดดี สวนระบบเสาและคาน ใชกับโครงสรางเหนือดิน ซึ่งจะชวยใหการเจาะชองเปด บนผนังสามารถทำ�ไดงาย และประหยัด 3. ICFs ที่นำ�ไปใชในงานกอสรางจริง เมื่อ ผนังหรือโครงสรางคอนกรีตแข็งตัวดีแลว โดยปกติ จำ�เปนตองใชวัสดุแผน (Sheathing) ปดหุมแบบหลอ หรือโฟม (ICFs) ทั้ง 2 ดาน เพื่อปองกันความเสียหาย ของโฟม และใหคงทนถาวร เชน แผนไฟเบอรซเี มตบอรด แผนไมอัด แผนยิบซัมบอรด และแผนโลหะเคลือบ ฯลฯ บางชนิดใชเปนผิวสำ�เร็จไดในตัว แตถาตองการวัสดุ ตกแตงผิวสำ�เร็จชนิดอื่นที่สวยงามกวา ก็กอ หรือกรุปด เพิ่มขึ้นอีกชั้นหนึ่งก็ได เชน อิฐโชวแนว (Facing brick) ทำ�ผิวปูนฉาบ หรือกรุดว ยฝาไมจริง ไฟเบอรซเี มต โลหะ เคลือบ ฯลฯ จึงอาจแบงกลุม ICFs ออกไดตามระบบ (วิธกี ารหรืออุปกรณ) การติดตัง้ วัสดุผวิ สำ�เร็จออกไดเปน (1) ระบบที่ฝงโครงคราว พุก หรืออุปกรณยึดไวในแบบ หลอคอนกรีต ฯลฯ เพือ่ ใชรองรับ (Supporting) วัสดุแผน ผิวสำ�เร็จ และสามารถยิงสกรู ตะปูหรืออุปกรณชนิดอื่น ใหวัสดุแผนกรุผนังหรือวัสดุผิวสำ�เร็จยึดติดกับ ICFs หรือคอนกรีตไดถาวรยิ่งขึ้น (2) ระบบที่ใชกาวยึดแผน วัสดุกรุผิวติดกับโฟมหรือผนัง ICFs โดยตรง ฯลฯ ผลจากการพัฒนาและใชงาน ICFs ในทวีปยุโรป และอเมริกาทีผ่ า นมา 50 กวาปนนั้ หนวยงานทีร่ บั ผิดชอบ


การประยุกต Insulating Concrete Forms (ICFs) เพื่อการใชงานในประเทศไทย จรัญพัฒน ภูวนันท

ในการพั ฒ นาที่ อ ยู  อ าศั ย ในหลายประเทศได ใ ห ก าร ยอมรับและสงเสริมใหใช ICFs ในโครงการพัฒนาที่ อยูอาศัย ควบคูไปกับระบบการกอสรางเดิมที่ใชกัน ทั่วไป (Conventional systems) และระบบกอสรางทาง เลือกอื่น ที่มุงพัฒนาแขงขันกัน ทั้งในดานประสิทธิภาพ การใช ง าน การประหยั ด พลั ง งานหรื อ การอนุ รั ก ษ สิ่งแวดลอม ราคาคากอสราง และการใหบริการ ไดแก Wood Frame หรือ Steel Frame (CFS) และ Structural Insulated Panels (SIPs) เปนตน ปจจุบนั จึงมีมาตรฐาน ผลิตภัณฑ ICFs การออกแบบ และการกอสรางใหผอู อก แบบและผูกอสรางสามารถนำ�ไปใชงานไดสะดวกขึ้น โดยมีการศึกษา และประเมินพิสูจนผลการใชงานเพื่อ การพัฒนาและแขงขันในตลาด ซึ่งในประเทศเหลานั้น มีผลงานวิจัยเผยแพรทั้งในวงการวิชาการและวิชาชีพ ใหผูสนใจศึกษารายละเอียด ความกาวหนา และใช เปรียบเทียบกับวัสดุหรือระบบกอสรางอื่นๆ ได ขอดีและขอจำ�กัดของ ICFs และผลการใชงาน ในตางประเทศ จุดเดน และขอจำ�กัดของ ICFs คือ คุณสมบัติ เดนของผนังหรือโครงสรางคอนกรีตหลอในที่ คุณสมบัติ ของฉนวนโฟม และระบบการก อ สร า งกึ่ ง สำ � เร็ จ รู ป ประเด็นสำ�คัญไดแก 1. โครงสรางมีความแข็งแรงสูง สามารถตานทาน แรงกระทำ� และทนทานตอภัยธรรมชาติ หรืออัคคีภัย ไดดี มีความคงทนถาวรสูง เมื่อเปรียบเทียบกับระบบ การกอสรางอื่นที่ใชอยูทั่วไป โดยเฉพาะ Wood Frame หรือ Steel Frame และ Structural Insulated Panels (SIPs) ฯลฯ เนื่องจากผนัง ICFs มีโครงคอนกรีตซอน อยูภ ายใน และสามารถเพิม่ อัตราการทนไฟของผนังโฟม ได โดยกรุหุมดวยวัสดุแผนกันไฟ หรือพนทับดวยวัสดุ กันไฟไดตามมาตรฐานที่ตองการ 2. ICFs มีประสิทธิภาพการประหยัดพลังงาน และการปองกันเสียงไดดีมาก เนื่องจากเปนผนังตัน ที่มีฉนวนโฟมหุมตอเนื่องทุกสวนอาคาร ไมมีปญหา Thermal Bridges การกอสรางทั้งระบบมีรอยตอหรือ รูรวั่ ซึมนอย จึงชวยลดการรัว่ ซึมของอากาศ (Infiltration) และความชื้นไดดี ผนังมีคาความตานทานความรอนสูง

(R-value เกินกวา 3 K·m²/W หรือประมาณ R-17 ใน ประเทศสหรัฐอเมริกา) ในภูมิภาคที่อุณหภูมิภายในกับ ภายนอกอาคารมีความแตกตางกันมากในชวงกลาง วันกับกลางคืน มวลคอนกรีต (Thermal mass) อาจ ชวยใหประหยัดพลังงานไดดขี นึ้ (Passive design) ผนัง ICFs ทีม่ คี วามหนามาตรฐานมีคา Sound Transmission Coefficients (STC) ระหวาง 46 - 50 เมื่อเทียบกับคา 36 ของผนังยิบซั่มบอรดที่มีฉนวน Fiberglass ตาม มาตรฐาน (Panushev and Vanderwerf 2004A : 17) 3. เปนระบบการกอสรางกึง่ สำ�เร็จรูป โดยเฉพาะ สวนของผนัง ซึ่งใชโฟมเปนฉนวนและแบบหลอถาวร ผลิตสำ�เร็จรูปมาจากโรงงาน จึงชวยลดขัน้ ตอน และเวลา การกอสรางได แตยงั มีงานคอนกรีต (Wet construction) และใชวัสดุผิวสำ�เร็จมากรุปดหอหุมผนังทั้งภายในและ ภายนอก เชนเดียวกับ Wood Frame หรือ Cold-formed Steel Frame จึงตองใชเวลาติดตั้งวัสดุผิวภายนอก แตชว ยใหผอู อกแบบมีอสิ ระในการเลือกใชวสั ดุผวิ สำ�เร็จ ที่เหมาะสมกับการใชงาน มาตรฐานการกันความรอน หรือความชื้น ความสวยงามของอาคาร และราคาของ ระบบผนัง ไดตามความตองการของลูกคา สวนระบบพืน้ และหลังคา ICFs ที่ใชรวมกับผนังนั้น มีการผลิตและ จำ�หนายในตางประเทศเชนกัน แตผูออกแบบสามารถ เลื อ กวั ส ดุ หรื อ ชิ้ น ส ว นสำ � เร็ จ รู ป ทั่ ว ไปในท อ งตลาด มาใชรวมกันได ระดับของความเปนอาคารสำ�เร็จรูป จึงขึ้นอยูกับการประยุกตใช หรือการผสมผสานชิ้นสวน อาคารโดยรวมทัง้ หลัง (ระบบพืน้ ผนัง และหลังคา ฯลฯ) 4. ราคาคากอสรางของอาคาร ICFs ขึ้นอยูกับ พื้นฐานอุตสาหกรรมกอสราง รูปแบบอาคาร และสภาพ ความพรอมหรือขอจำ�กัดในแตละทองถิ่น และในชวง เวลาที่ ก  อ สร า ง ซึ่ ง มั ก มี ตั ว แปร และรายละเอี ย ดที่ แตกตางกัน จากรายงานกรณีศึกษาตางๆ ในประเทศ สหรั ฐ อเมริ ก า สรุ ป ได ว  า ICFs อาจช ว ยประหยั ด คากอสรางในสวนของหองใตดินไดถึง 40% ของผนัง คอนกรี ต หล อ ในที่ โ ดยทั่ ว ไป เนื่ อ งจากสามารถลด ระยะเวลาและคาแรงในการกอสรางลงได ในสวนของ โครงสรางเหนือดิน ICFs จะมีราคาแพงกวา Wood Frame แตในกรณีที่อาคารมีชองเปดกวางๆ และมี จำ�นวนมากอาจใช ICFs แทน Wood Frame ไดดี

181


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปีที่ 32 ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2555

เพราะสามารถเสริมเหล็กบริเวณรอบๆ ชองเปดเพิ่ม ไดงา ย และประหยัดกวาการเสริมความแข็งแรงโดยรอบ ชองเปดดวยไมขนาดใหญ ใน Wood Frame คากอสราง ของบาน ICFs โดยรวมมีราคาแพงกวาบานปกติ (Wood Frame) ประมาณ 3% - 7% แตสามารถลดคาไฟฟาลง ได และลดขนาดของระบบทำ�ความรอนและความเย็นได อีกทั้งชวยลดคาประกันภัยอาคารจากภัยธรรมชาติหรือ เพลิงไหมได และชวยลดภาษีจากการสงเสริม Green Building ได ฯลฯ ทัง้ นีข้ นึ้ อยูก บั ทองถิน่ ทีต่ งั้ อาคาร และ รายละเอียดแตละกรณีศึกษาดวย สวนปญหาของบาน ICFs ที่มีการกลาวถึงคือ การปองกันการเสื่อมสภาพของโฟมจากสภาพดินฟา อากาศ หรือแสงแดด และความชื้นที่ผิวโฟม โดยเฉพาะ ผนังหองใตดินและสวนที่ติดกับฐานราก จึงตองมีระบบ ปองกันความชืน้ ใหผนัง และมีระบบระบายน้ำ�ทีร่ ะดับดิน และระดับฐานราก รวมทั้งการปองกันปลวกหรือแมลง ที่อาจเขาไปกัดทำ�ลายโฟมได ผูผลิตบางรายจึงผลิต ICFs ทีก่ นั ปลวกได หรือกำ�หนดใหใชแผนโลหะกันปลวก (Termite shield) ในขั้นตอนการกอสราง ข อ เสนอแนะ และแนวทางการออกแบบหรื อ ประยุกต ICFs เพื่อการใชงานในประเทศไทย ความแข็ ง แรงทางโครงสร า งที่ ต  อ งการใน การออกแบบ (ประเภทของอาคาร) สภาพอากาศใน แตละทองถิ่น และราคาตอหนวยของ ICFs เปนปจจัย สำ�คัญที่ใชประกอบการพิจารณาเลือกระบบผนังเพื่อ นำ�ไปพัฒนา และออกแบบสำ�หรับการผลิตและกอสราง จริง จากการศึกษารายละเอียดของ ICFs ในตางประเทศ และประสบการณวิจัยที่ผานมา ขอตั้งขอสังเกตในการ เลือกระบบ ICFs และใหแนวทางการออกแบบ หรือ พัฒนาผลิตภัณฑ สำ�หรับการใชงานในประเทศไทย เพือ่ ใหมีประสิทธิภาพการใชงานที่ดี และคุมคากวาการนำ� เขาผลิตภัณฑตางประเทศมาใชโดยตรง ไดแก 1. เนื่องจากมาตรฐานการออกแบบ และการ กอสรางเพื่อความแข็งแรงของโครงสราง ที่กฎหมาย กำ�หนดไวในประเทศไทย โดยทั่วไปจะต่ำ�กวาในตาง ประเทศ (ตามสภาพแรงลม หรือภัยธรรมชาติ) ผนัง ICFs หรือโครงสรางที่ใชในตางประเทศสวนใหญมี

182

ความหนามาก เมื่ อ นำ � มาใช ง านในประเทศไทยจะ สิน้ เปลืองวัสดุ และคากอสราง การออกแบบ ICFs จึงควร ลดความหนาผนัง หรือขนาดรูปตัดของคอนกรีตลงได โดยเฉพาะสำ�หรับบานพักอาศัย 1-2 ชัน้ ICFs ทีเ่ ปนระบบ เสาและคานจึงนาจะประหยัดโครงสรางไดมากกวาระบบ อืน่ โดยอาจออกแบบใหเปนเสายอยๆ (Concrete stud) รับแรงเปน Uniform Load ซึ่งใกลเคียงกับระบบตา ตาราง (Grid/Waffle) ที่มีรูปแบบซับซอน ผลิตไดยาก และมีตน ทุนสูงกวา โดยเฉพาะในชวงทีต่ ลาดยังไมกวาง พอที่จะลงทุนซื้อเครื่องจักร หรือเครื่องมือใหมๆ ได 2. เนือ่ งจาก ICFs เปนระบบกอสรางกึง่ สำ�เร็จรูป ถึงแมโดยทั่วไปจะสรางไดเร็วกวาโครงสรางคอนกรีต หลอในที่ แตยังชากวา Wood Frame หรือ Steel Frame และ Structural Sandwich Panel ซึ่งใชชิ้นสวน สำ�เร็จรูปจากโรงงาน ICFs ระบบแผนขนาดใหญ (Panel System) จึงเหมาะที่จะประยุกตใชในประเทศไทยเพื่อ ลดแรงงาน โดยเฉพาะโครงการที่อยูอาศัยขนาดกลางขนาดใหญ ซึ่งผูกอสรางควรมีอุปกรณติดตั้งหรือเครื่อง มือเครือ่ งจักรพรอม สวนระบบบล็อค เหมาะกับโครงการ ขนาดเล็ก ไมเรงรีบ หรือใชชางพื้นบานทั่วไปได 3. ICFs สำ�หรับโครงการกอสราง ที่ตองการ ใชวัสดุแผนชนิดแข็ง (เชน แผนไฟเบอรซีเมนตบอรด แผนไมอัด แผนไมประสาน แผนฮารดบอรด ชิบบอรด แผนโลหะเคลือบ และยิบซัมบอรด ฯลฯ) กรุหมุ ดานนอก อาจออกแบบใหประกอบติดกับแบบหลอ (ICFs) ส�ำ เร็จรูป มาจากโรงงานไดเลย ซึง่ เหมาะกับ Panel System นอกจาก ชวยลดขั้นตอนการกรุแผนวัสดุปดผิวโฟมในหนางาน ไดแลว ยังชวยเพิ่มความแข็งแรงของแบบหลอ ICFs (รับแรงดันคอนกรีตไดเพิ่มขึ้น) และสามารถลดโครง ค้ำ�ยันลงไดดวย 4. เนื่ อ งจากในประเทศไทยโฟมเป น วั ส ดุ ราคาแพง แตมีกำ�ลังวัสดุต่ำ� เมื่อเปรียบเทียบกับวัสดุ กอสรางทั่วไป Extruded Polystyrene Foam มีราคา แพงกว า Polyurethane Foam และ Expanded Polystyrene มาก การเลือกระบบ หรือออกแบบ ICFs ทีป่ ระหยัดโฟมได จะชวยลดราคาผนังลงไดโดยตรง และ ควรพยายามลดความหนาของผนัง ใหใกลเคียงกับผนัง บานทั่วไป จึงจะประหยัด และสามารถใชวัสดุประกอบ


การประยุกต Insulating Concrete Forms (ICFs) เพื่อการใชงานในประเทศไทย จรัญพัฒน ภูวนันท

ในทองตลาดทั่วไปได (เชน วงกบประตูหนาตาง ฯลฯ) ซึ่งแกปญหาโดยการออกแบบใหผนังมีรูกลวง หรือ มีชองอากาศ (ไมจำ�เปนตองเทคอนกรีต) และควบคุม ความหนาโฟมที่หุมโครงสรางคอนกรีตไมใหเกินความ จำ�เปนตองใชเพื่อการประหยัดพลังงาน ซึ่งทั้ง 2 วิธีการ นั้น จะมีผลใหคาความตานทานความรอนรวมของผนัง ลดลงไปบาง แตโดยสภาพอากาศในประเทศไทย จะสง ผลกระทบตอคาพลังงานไฟฟาเพียงเล็กนอย เมือ่ เปรียบ เทียบกับราคาผนัง หรือคากอสรางโดยรวม 5. พื้นฐานของอุตสาหกรรมโฟมในประเทศ ยัง มีขอจำ�กัดในกระบวนผลิต เทคโนโลยี และมาตรฐาน ผลิตภัณฑ ICFs ที่มีรูปแบบซับซอนอาจเพิ่มตนทุน การผลิต หรือตองลงทุนอุปกรณ หัวฉีด หรือเครื่องจักร และเทคโนโลยีเพิ่มขึ้น ซึ่งถาไมมีตลาดรองรับสม่ำ�เสมอ มากพอ ก็จะมีผลใหตนทุนเฉลี่ยของผนังมีราคาแพง และจะแขงขันกับระบบกอสรางอื่นไดยาก 6. ภาพลักษณของโฟม หรือความเชือ่ ทีว่ า โฟม เปนวัสดุที่มีผลกระทบตอสิ่งแวดลอม และปลอยสารพิษ ทีเ่ ปนอันตรายตอสุขภาพหรือชีวติ เมือ่ เกิดเพลิงไหม และ มีผูตอตานการใชโฟม (ทุกชนิด) ในงานกอสราง จาก ขอมูลที่ศึกษา พบวาในปจจุบันอุตสาหกรรมผลิตโฟม ไดเปลี่ยนไปใช Blowing Agent ชนิดที่ไมกอใหเกิด สารที่ทำ�ลายโอโซน (CFCs หรือ HFCs) โฟมที่ใชใน อุตสาหกรรมกอสรางมีหลายเกรด และหลายชนิด มีทั้ง ที่ติดไฟและไมติดไฟ เมื่อไฟไหมจะปลอยควัน และสาร พิษในระดับที่แตกตางกันไป แตสารบางชนิดที่เกิดขึ้น จากการเผาไหมโฟมบางชนิด มีระดับต่ำ�กวาหรืออัน ตรายนอยกวา ที่เกิดจากการเผาไหมของวัสดุกอสราง ทั่วไปบางชนิดเชนกัน เชน ไม ไมอัด ผา พลาสติก หนังเทียม และกระดาษ ฯลฯ จึงควรเลือกใชชนิดโฟม ใหเหมาะสมกับมาตรฐานงานกอสรางทีต่ อ งการ ปจจุบนั ในประเทศอุ ต สาหกรรมที่ มี ม าตรฐานงานก อ สร า ง ความปลอดภัย และคุณภาพชีวิตสูงกวาประเทศไทย มาก ยังยินยอมใหใชโฟมในงานกอสราง ทั้งในอาคาร สาธารณะ และอาคารพักอาศัย ผลิตภัณฑโฟม และระบบ การกอสรางดวยโฟมหลายชนิดจึงมีแนวโนมการตลาด สูงขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากโฟมเปนฉนวนที่มีราคาถูก และ มีรายละเอียดการกอสรางทีใ่ หความปลอดภัยเพิม่ ขึน้ ได

เชน การหุม ดวยวัสดุแผน การฉาบ หรือพนทับดวยวัสดุ กันไฟ ฯลฯ อีกทั้งในอนาคตจะมีวัสดุที่ใชแทนโฟมเพื่อ การผลิต ICFs ไดเพิ่มขึ้น แตตองใชเวลาในเชิงธุรกิจ และอุตสาหกรรมการผลิต เชนเดียวกับการพัฒนาของ วัสดุหรือระบบกอสรางอื่นๆ ที่จะตองพัฒนาหรือยก ระดับมาตรฐานความปลอดภัยตอสุขภาพ หรือความ เปน Green Building ดวยเชนกัน 7. ควรมี ก ารศึ ก ษา และพั ฒ นาโฟมชนิ ด ที่ มี คุณสมบัติและราคาเหมาะสมกับการใชงานในประเทศ ไทยแทน Expanded Polystyrene Foam หรืออาจใช วั ส ดุ อื่ น ที่ มี ค  า ความต า นทานความร อ นต่ำ � กว า โฟม ทดแทน แตอาจใชงานไดดีหรือคุมคากวาโฟมได เชน วัสดุจากเสนใยพืชหรือผลิตภัณฑเหลือทิง้ จากการเกษตร ชิ้นหรือเศษไม และเศษกระดาษ ฯลฯ 8. ถึงแม ICFs จะมีระบบโครงสรางเฉพาะตัว แตผลิตภัณฑ ICFs ควรออกแบบใหสามารถประยุกต หรือผสมผสานใชงานรวมกับโครงสรางระบบอื่น และ อาคารประเภทอื่นไดดีดวย เชน ระบบเสาและคาน (คอนกรี ต และเหล็ ก ) และใช เ ป น ผนั ง ภายนอก (Claddings) สำ�หรับอาคารทั่วไป ฯลฯ 9. อาจตองศึกษาความจำ�เปน หรือการปองกัน ความชื้นจากการควบแนน (Condensation) ที่อาจ เกิ ด ขึ้ น ในช อ งว า งผนั ง หรื อ ระหว า งชั้ น วั ส ดุ แ ผ น ที่ กรุผนัง ที่เหมาะสมกับภูมิภาคตางๆ ในประเทศไทย เพื่ อ ใช เ ป น แนวทางในการออกแบบระบบผนั ง ให เหมาะสมกับโครงการ และงบประมาณการกอสราง อนึ่ ง การพั ฒ นาวั ส ดุ ห รื อ ระบบการก อ สร า ง ทางเลือกเพื่อใชงานในประเทศไทย ไมควรมุงใหความ สำ�คัญเฉพาะการประหยัดพลังงาน หรือ Green Building ตามกระแสสังคมโลก เพียงดานเดียวเทานั้น เนื่องจาก เศรษฐกิจและสังคมไทยมีความแตกตางจากประเทศ อุตสาหกรรมมาก โดยเฉพาะระดับรายไดหรือคุณภาพ ชีวิตของประชากร และสภาพอากาศหรือสิ่งแวดลอม ฯลฯ วัสดุและระบบการกอสรางเปนเพียงปจจัยหนึ่ง ที่ ช  ว ยให อ าคารประหยั ด พลั ง งานไฟฟ า หรื อ เป น Green Building ไดในระดับหนึ่งเทานั้น ซึ่งสอดคลอง กับรายงานวิจัยที่เกี่ยวของในประเทศไทยสวนใหญที่ พบวาคาพลังงาน หรือคาไฟฟาที่ประหยัดไดจริงจาก

183


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปีที่ 32 ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2555

การปรับเปลี่ยนวัสดุหรือระบบการกอสรางในบานพัก อาศัยโดยทั่วไปเพียงปจจัยเดียว ยังมีมูลคานอย เมื่อ เปรี ย บเที ย บกั บ ราคาค า ก อ สร า งบ า นทั้ ง หลั ง หรื อ กับผลการประหยัดพลังงานที่ไดจากการปรับเปลี่ยน พฤติกรรมของผูอยูอาศัย ฯลฯ การพัฒนา หรือเลือกใช วั ส ดุ แ ละระบบการก อ สร า งที่ เ หมาะสม จึ ง ควรให ความสำ�คัญกับมิติ หรือปจจัยอื่นประกอบดวย

ปรับวัสดุและระบบการกอสรางใหเหมาะกับการใชงาน และมี ร าคาที่ แ ข ง ขั น กั บ ระบบก อ สร า งทั่ ว ไปได แ ล ว เมื่อเศรษฐกิจถดถอยหรือธุรกิจอสังหาริมทรัพยซบเซา ก็ไมสามารถอยูไดยั่งยืน มักสูญหายไปจากตลาด และ วนกลั บ มาอี ก เมื่ อ เศรษฐกิ จ ฟ  น ตั ว รอบใหม ซึ่ ง ต อ ง ใชเวลานานนับสิบป และมีคูแขงใหมเพิ่มขึ้น ICFs เปน ผลิตภัณฑและระบบกอสรางที่มีจุดเดนหลายประการ ถ า ออกแบบผลิ ต ภั ณ ฑ ให ใ ช ก  อ สร า งเป น ผนั ง รั บ น้ำ�หนัก (Concrete stud) และหลอใหเปนเสาและคาน ค.ส.ล. ได หรืออาจใชเสาและคานเหล็ก (Cold-formed steel) แทนคอนกรีตโดยพัฒนาเปนระบบแหง (Dry construction) ได ก็จะชวยใหมีมีศักยภาพในการใชงาน และมีตลาดกวางขวางมากขึน้ รวมทัง้ อาจใชเปนผนังหุม ภายนอกโครงสราง (Claddings) ของอาคารสาธารณะ แทน Structural Sandwich Panels หรือ Aluminum Composite ก็ได จึงขึ้นอยูกับรูปแบบผลิตภัณฑ และ ความรู ความสามารถของผูออกแบบ และผูกอสราง เปนสำ�คัญ แตการวิจัยพัฒนา (R&D หรือ RD&D) เชิง บูรณาการลักษณะนี้ จำ�เปนตองอาศัยความรวมมือ และ การสนับสนุนจากหลายฝาย ทัง้ ภาครัฐ สถาบันการศึกษา หรือผูวิจัยจากหลายสาขาวิชา โดยเฉพาะภาคเอกชน หรือกลุมอุตสาหกรรมที่เกี่ยวของ ซึ่งเปนหนาที่โดย ตรงของผูผ ลิต หรือกลุม อุตสาหกรรมโฟม ทีจ่ ะตองสราง มูลคาเพิ่ม หรือขยายตลาดใหแขงขันกับวัสดุกลุมอื่น ได การวิจัยพัฒนาใหเห็นผลเชิงธุรกิจอยางจริงจัง ตอง ลงทุน และใชระยะเวลา จึงควรทำ�ควบคูไ ปกับการตลาด เพื่อการเรียนรู บูรณาการผล และสรางความพรอมใน การแขงขัน โดยเฉพาะเมื่อเศรษฐกิจของประเทศฟนตัว ตามรอบวัฏจักร และตลาดธุรกิจอสังหาริมทรัพยกลับมา เฟองฟูอีกในอนาคต

บทสงทาย การศึกษาวิจัย เพื่อประเมินประสิทธิภาพ ผล กระทบ และความคุมคาของวัสดุหรือระบบการกอสราง ที่ นำ � เข า จากต า งประเทศ ยั ง มี จำ � นวนน อ ยมากใน ประเทศไทย เพราะไมคอยมีหนวยงาน สถาบัน หรือ องคกรที่เกี่ยวของทำ�การศึกษาเรื่องนี้จริงจังมากนัก ทั้งๆ ที่นอกจากจะชวยคุมครองผูบริโภค และพัฒนา อุ ต สาหกรรมหรื อ ธุ ร กิ จ ของประเทศได โ ดยตรงแล ว ยังเปนองคความรูเพื่อการพัฒนา หรือการประยุกตใช ให คุ  ม ค า ในเชิ ง เศรษฐกิ จ ชาติ จะนำ � ไปสู  ก ารสร า ง นวัตกรรม การวางนโยบายทีอ่ ยูอ าศัย นโยบายประหยัด พลั ง งาน หรื อ Green Building และการพั ฒ นา อุตสาหกรรมรองรับในประเทศของรัฐ ใหมีทิศทาง หรือ เปาหมายที่ถูกตองยิ่งขึ้น ซึ่งยังตองอาศัยองคความรู หรือผลงานวิจัยสนับสนุนอีกมาก เพื่อชวยการตัดสินใจ ชี้นำ� และสนับสนุนใหเกิดการยอมรับรวมกันได ทั้งใน ภาครัฐ และเอกชน ประสบการณในอดีตชี้ใหเห็นชัดเจนวา วัสดุ หรือระบบการกอสรางตางประเทศที่ภาคธุรกิจนำ�เขา มาใชแกปญหาการขาดแคลนวัสดุ หรือแรงงาน และ เรงสนองความตองการของตลาดทีร่ อ นแรง ในชวงธุรกิจ อสังหาริมทรัพยเฟอ งฟูนนั้ ถาไมพฒ ั นาผลิตภัณฑ หรือ 

184






การประยุกต Insulating Concrete Forms (ICFs) เพื่อการใชงานในประเทศไทย จรัญพัฒน ภูวนันท

บรรณานุกรม

ภาษาไทย จรัญพัฒน ภูวนันท และคนอืน่ ๆ. (2555). การศึกษาและออกแบบผนังโฟมสำ�เร็จรูป ทีใ่ ชเปนแบบหลอคอนกรีต ไดในตัว เพื่อใชในการกอสรางบานประหยัดพลังงาน และเพื่อการผลิตทางอุตสาหกรรม. นครปฐม: โรงพิมพมหาวิทยาลัยศิลปากร. ___________. (2550). การศึกษาความเปนไปไดในการประยุกตระบบการกอสราง Structural Sandwich Panels เพื่อใชกับบานประหยัดพลังงานในประเทศไทย. นครปฐม: โรงพิมพมหาวิทยาลัยศิลปากร. จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย. สำ�นักงานวิจัยพลังงาน. (2541). โครงการออกแบบบานประหยัดพลังงาน. รายงาน วิจัยเสนอสำ�นักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแหงชาติ. ปรีชญา มหัทธนทวี, จรัญพัฒน ภูวนันท และ ดรุณี มงคลสวัสดิ์. (2550). ประสิทธิภาพในการประหยัดพลังงาน ของบานโครงสรางเหล็ก (Steel Framing) และบานโครงสรางไม (Wood Framing) ทีไ่ ดพฒ ั นาขึน้ ใชใน ประเทศไทย : รายงานการวิจัย. กรุงเทพฯ: คณะสถาปตยกรรมศาสตร มหาวิทยาลัยศิลปากร. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกลาเจาคุณทหารลาดกระบัง. คณะสถาปตยกรรมศาสตร. (2548). โครงการศึกษาวิจัย วัสดุผนังเพือ่ การประหยัดพลังงานสำ�หรับใชในการกอสรางอาคารพักอาศัย กรณีศกึ ษา โครงการบาน เอื้ออาทร. รายงานการวิจัยเสนอการเคหะแหงชาติ. สุนทร บุญญาธิการ. (2542). เทคนิคการออกแบบานประหยัดพลังงานเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีกวา. กรุงเทพฯ: สำ�นักพิมพแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย. ภาษาอังกฤษ Gajda, John. (2001). Energy use of single-family houses with various exterior walls. Report for Portland Cement Association, ICF Builder Magazine. (2012). History of ICFs. [Online]. Retrieved July 10, 2012. From http://www. icfmag.com/articles/features/history_of_icfs.html. . Kosny, J., and Kossecka, E. (2002). Multi-dimensional heat transfer through complex building envelope assemblies in hourly energy simulation programs. Energy and Buildings 34 : 445-454. NAHB Research Center. (1997). Insulating concrete forms for residential construction : demonstration homes. Report. ___________. (2012). Cost and benefit of insulating concrete forms for residential construction. [Online]. Retrieved September 21, 2012. From http://www.huduser.org/portal/publications/destech/ icfbenefits.html. Panushev, Ivan S. and Vanderwerf, Pieter A. (2004A). Insulating concrete forms construction. New York: McGraw Hill. ___________. (2004B). Insulating concrete forms construction: demand, evaluation, and technical practice. New York: McGraw-Hill. Portland Cement Association. (1998). Building with Insulation Concrete Forms. Concrete Technology Today 19, 2.

185


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปีที่ 32 ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2555

Quad-lock Building Systems Ltd. (2012). Energy performance & R-Values of insulated concrete forms. [Online]. Retrieved July 10, 2012. From http://www.quadlock.com/green_building/ICF_energy_ performance.htm. VanderWerf, Pieter A. and Munsell, W. Keit. (1995). Insulating concrete forms construction manual. New York: McGraw-Hill. VanderWerf, Pieter A. and others. (1997). Insulating concrete forms for residential design and construction. New York: McGraw-Hill. Wikipedia. (2012). Insulating concrete form. [Online]. Retrieved July 10, 2012. From http://en.wikipedia. org/w/index.php?title=Insulating_concrete_form.

186


​ราย​ชื่อผูทรง​คุณวุฒิอานบทความวารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร​ ปที่​32​ฉบับที่​2​(กรกฎาคม​-​ธันวาคม​พ.​ศ.​255​5) กฤติกา​ตันประเสริฐ,​ผูชวยศาสตราจารย​ดร. ​ ภาควิชาเทคโนโลยีการพิมพและบรรจุภัณฑ คณะครุศาสตรอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกลาธนบุรี กิ่งพร​ทองใบ,​รองศาสตราจารย​ดร.​ สาขาวิชาวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช กุลวรา​ชูพงศไพโรจน,​รองศาสตราจารย​ ​ สาขาวรรณกรรมสำาหรับเด็ก ภาควิชาบรรณารักษศาสตรฯ คณะมนุษยศาสตร มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จิรวัฒน​วงศพันธุเศรษฐ,​ผูชวยศาสตราจารย​ดร. ​ ภาควิชาออกแบบผลิตภัณฑ คณะมัณฑนศิลป มหาวิทยาลัยศิลปากร วังทาพระ นิพันธ​วิเชียรนอย,​รองศาสตราจารย​ดร. สาขาวิชาการผังเมือง คณะสถาปตยกรรมศาสตรและการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร นิรัช​​สุดสังข,​รองศาสตราจารย​ดร. ​ ภาควิชาศิลปะและการออกแบบ คณะสถาปตยกรรมศาสตร มหาวิทยาลัยนเรศวร บุญเลี้ยง​แกวนาพันธ,​ผูชวยศาสตราจารย ​ ประธานสาขาวิชา มีเดียอาตส มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกลาธนบุรี วิทยาเขตบางขุนเทียน ปรีชา​​เถาทอง,​ศาสตราจารย ​ ภาควิชาศิลปไทย คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ มหาวิทยาลัยศิลปากร วังทาพระ ผาสุข​อินทราวุธ,​ศาสตราจารย​ดร. ​ ภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร วังทาพระ พวา​พันธุเมฆา,​รองศาสตราจารย ภาควิชาบรรณารักษศาสตรและสารสนเทศศาสตร คณะมนุษยศาสตร มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พิเชษฐ​เปยรกลิ่น,​รองศาสตราจารย ​ สาขาวิชาทัศนศิลป คณะศิลปกรรมศาสตร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร วิทยาเขตปตตานี พิทักษ​ศิริวงศ,​ผูชวยศาสตราจารย​ดร. สาขาการจัดการชุมชน คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี พิศมัย​อาวะกุลพาณิชย,​ผูชวยศาสตราจารย ​ รองคณบดีฝายวิชาการ ภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป มหาวิทยาลัยเชียงใหม มาลี​กาบมาลา,​รองศาสตราจารย​ดร. สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร คณะมนุษยศาสตรและสังคมศาสตร มหาวิทยาลัยขอนแกน ระเบียบ​​สุภวิรี,​รองศาสตราจารย ภาควิชาบรรณารักษศาสตร คณะอักษรศาสตร มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร

187


รัชฎาวรรณ นิ่มนวล, ผูชวยศาสตราจารย ดร. ภาควิชาเทคโนโลยีการพิมพและบรรจุภัณฑ คณะครุศาสตรอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกลาธนบุรี วรรณา ศิลปอาชา, ผูชวยศาสตราจารย ดร. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ศิวฤทธิ์ พงศกรรังศิลป, ผูชวยศาสตราจารย ดร. สำ�นักวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ สันติ เล็กสุขุม, ศาสตราจารย ดร. ภาควิชาประวัติศาสตรศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร วังทาพระ สิทธิชัย สมานชาติ, ผูชวยศาสตราจารย ดร. คณะศิลปประยุกตและการออกแบบ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี สิทธิพร ภิรมยรื่น, รองศาสตราจารย ภาควิชาการออกแบบและวางผังชุมชนเมือง คณะสถาปตยกรรมศาสตร มหาวิทยาลัยศิลปากร วังทาพระ สุรสวัสดิ์ ศุขสวัสดิ์, รองศาสตราจารย ม.ล. ภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป มหาวิทยาลัยเชียงใหม อภิชัย ภิรมยรักษ, ผูชวยศาสตราจารย ภาควิชาศิลปะไทย คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร 

188






รายละเอียดการเตรียมบทความเพื่อสงตีพิมพ วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย สาขาสังคมศาสตร มนุษยศาสตร และศิลปะ 1. วัตถุประสงคการจัดพิมพ

เพื่อเผยแพรผลงานทางวิชาการสาขาสังคมศาสตร มนุษยศาสตร และศิลปะ ของนักวิชาการทั้งภายในและ ภายนอกมหาวิทยาลัย เปนสื่อกลางการแลกเปลี่ยนเรียนรูทางวิชาการในสาขาสังคมศาสตร มนุษยศาสตร และ ศิลปะ และสงเสริมใหนักวิชาการและผูสนใจไดนำ�เสนอผลงานวิชาการในรูปบทความวารสาร

2. กำ�หนดออก

ปละ 2 ฉบับ (มกราคม-มิถุนายน และ กรกฎาคม-ธันวาคม)

3. บทความที่รับตีพิมพ

1. บทความที่รับตีพิมพ ไดแก 1. บทความวิชาการ 2. วิทยานิพนธปริทัศน 3. บทความวิจัยจากงานวิจัย หรือวิทยานิพนธตนฉบับ 4. บทความปริทัศน 5. บทความพิเศษ 2. เปนผลงานใหมที่ยังไมเคยพิมพเผยแพรในสื่อใดๆ มากอน 3. ความยาวไมเกิน 15 หนา 4. สงตนฉบับ 3 ชุด พรอมไฟลขอมูลที่บันทึกลงแผน CD-ROM 1 แผน

4. การสงบทความ

1. สงเอกสารตนฉบับ 3 ชุด และ CD-ROM พรอมแบบฟอรมขอสงบทความเพื่อตีพิมพ ทางไปรษณีย มาที่ คุณปรานี วิชานศวกุล (บรรณาธิการบริหารวารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร) 44/114 หมูบานเลิศอุบล ซอยพหลโยธิน 52 ถนนพหลโยธิน แขวงคลองถนน เขตสายไหม กรุงเทพฯ 10220 2. เมื่อไดรับบทความแลว บรรณาธิการจะแจงกลับไปยังผูเขียนบทความใหทราบทางใดทางหนึ่ง 3. ทุ ก บทความที่ ตี พิ ม พ จะได รั บ การกลั่ น กรองจากกองบรรณาธิ ก าร และผ า นการพิ จ ารณาจาก ผูทรงคุณวุฒิในสาขาวิชานั้น ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยอยางนอย 2 คน

5. ขอกำ�หนดการเตรียมตนฉบับ

1. ขนาดกระดาษ A4 พิมพดวย Microsoft Word for Window 2. ระยะหางจากขอบบนและซายของกระดาษ 1.25 นิ้ว จากขอบลางและขวาของกระดาษ 1 นิ้ว 3. ตัวอักษร ใชอักษรโบรวาลเลีย นิว (Browallia New) • ชื่อเรื่อง ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ขนาด 16 พอยท กลางหนา ตัวหนา • ชื่อผูเขียน ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ขนาด 14 พอยท ชิดขวา ตัวหนา • บทคัดยอภาษาไทยและภาษาอังกฤษ - ชื่อ “บทคัดยอ” และ “Abstract” ขนาด 14 พอยท ชิดซาย ตัวหนา - รายละเอียดบทคัดยอ ขนาด 14 พอยท ชิดขอบซาย-ขวา ตัวธรรมดา - คำ�สำ�คัญ (Keyword) ขึ้นบรรทัดใหม ขนาด 14 พอยท ชิดซาย ตัวหนา สวนขอความของ คำ�สำ�คัญเปนตัวธรรมดา


• บทความ - หัวขอใหญ เวน 1 บรรทัด ชิดซาย ขนาด 14 พอยท ตัวหนา - หัวขอรอง ยอหนา 0.5 นิ้ว ขนาด 14 พอยท ตัวหนา - ขอความ ยอหนา 0.5 นิ้ว ชิดขอบซาย-ขวา ตัวธรรมดา - ใชตัวเลขอารบิคเทานั้น • รายละเอียดผูเขียนบทความ ประกอบดวย - ที่อยู ตำ�แหนงทางวิชาการ หนวยงานที่สังกัด อีเมลและโทรศัพทที่ติดตอไดสะดวก

6. การอางอิง 1. การอางอิงในเนื้อหาใชระบบนาม-ป (Name-year Reference) 1.1 การอางอิงในเนื้อหาจากสื่อทุกประเภท ลงในรูปแบบ “ชื่อผูเขียน ปพิมพ : เลขหนาที่ปรากฏ” อยูใน เครื่องหมายวงเล็บเล็ก 1.2 ผูเขียนคนไทยลงชื่อ-สกุล สวนผูเขียนชาวตางชาติลงเฉพาะนามสกุล ดังตัวอยาง - โสเกรติสย้ำ�วาการอานสามารถจุดประกายไดจากสิ่งที่นักอานรูอยูแลวเทานั้นและความรูที่ไดรับ มาไมไดมาจากตัวหนังสือ (แมนเกล 2546 : 127) - สุมาลี วีระวงศ (2552 : 37) กลาววา การที่ผูหญิงจะไปสื่อชักผูชายมาบานเรือนของตัวเองทั้งๆ ที่เขายัง ไมไดมาสูขอนั้น เปนเรื่องผิดขนบธรรมเนียมจารีตประเพณี หมายเหตุ: ทุกรายการที่อางอิงในเนื้อหา ตองปรากฏในรายการบรรณานุกรมเสมอ 2. บรรณานุกรม (Bibliography) - การเขียนบรรณานุกรมใชรูปแบบของ APA (American Psychology Association) ดังตัวอยางตามชนิด ของเอกสารดังนี้ 2.1 หนังสือ ชื่อ-สกุลผูแตง. \\ (ปพิมพ). \\ ชื่อหนังสือ. \\ ครั้งที่พิมพ. \\ เมืองที่พิมพ: \ สำ�นักพิมพ. ตัวอยาง แมนเกล, อัลแบรโต. \\ (2546). \\ โลกในมือนักอาน. \\ พิมพครั้งที่ 4. \\ กรุงเทพฯ: \ พิฆเณศ พริ้นติ้ง เซ็นเตอร. สุมาลี วีระวงศ. \\ (2552). \\ วิถีชีวิตไทยในลิลิตพระลอ. \\ พิมพครั้งที่ 3. \\ กรุงเทพฯ: \ สถาพรบุคส. Greenthal, Kathryn, Kozal, Paula M., and Ramirez, Jan Seidler. \\ (1986). \\ American figurative sculpture in the Museum of Fine Arts, Boston. \\ 2nd ed. \\ Boston: \ Museum of Fine Arts. Tidd, J., Bessant, J., and Pavitt, K. \\ (2001). \\ Managing innovation. \\ 2nd ed. \\ Chichester: \ John Wiley and Sons. 2.2 บทความวารสาร ชื่อ-สกุลผูเขียน. \\ (ป) \\ ชื่อบทความ. \\ ชื่อวารสาร \ ปที่, \ (ฉบับที่) \ : \ หนาที่ปรากฏบทความ. ตัวอยาง ผอง เซงกิ่ง. \\ (2528). \\ ศิลปกรรมอันเนื่องกับไตรภูมิ. \\ ปาจารยสาร 12 (2) \ : \ 113-122. Shani, A., Sena, J., and Olin, T. \\ (2003). \\ Knowledge management and new product development: a study of two companies. \\ European Journal of Innovation Management 6 (3) \ : \ 137-149.


2.3 วิทยานิพนธ ชื่อผูเขียนวิทยานิพนธ. \\ (ปการศึกษา). \\ ชื่อวิทยานิพนธ. \\ ระดับปริญญา \ สาขาวิชาหรือภาควิชา \ คณะ \ มหาวิทยาลัย. ตัวอยาง ปณิธิ อมาตยกุล. \\ (2547). \\ การยายถิ่นของชาวไทใหญเขามาในจังหวัดเชียงใหม. \\ วิทยานิพนธปริญญา ศิลปะศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภูมิภาคศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม. วันดี สนติวฒ ุ เิ มธี. \\ (2545). \\ กระบวนการสรางอัตลักษณทางชาติพนั ธุข องชาวไทใหญชายแดนไทย-พมา กรณีศกึ ษาหมูบ า นเปยงหลวง อำ�เภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม. \\ วิทยานิพนธปริญญาสังคมวิทยา และมานุษยวิทยามหาบัณฑิต สาขาวิชามานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร. 2.4 สื่ออิเล็กทรอนิกสตางๆ 2.4.1 หนังสือออนไลน (online / e-Book) ชือ่ ผูเ ขียน. \\ (ปทพี่ มิ พ) \\ ชือ่ เรือ่ ง. \\ [ประเภทของสือ่ ทีเ่ ขาถึง]. \\ สืบคนเมือ่ \\ วัน \ เดือน \ ป. \\ จาก \ แหลงขอมูล หรือ URL สรรัชต หอไพศาล. \\ (2552). \\ นวัตกรรมและการประยุกตใชเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในสหัสวรรษใหม : กรณีการจัดการเรียนการสอนผานเว็บ (Web-Based Instruction : WBI). \\ [ออนไลน]. \\ สืบคน เมื่อ 1 พฤษภาคม 2553. \\ จาก http://ftp.spu.ac.th/hum111/main1_files. De Huff, E. W. \\ (2009). \\ Taytay’s tales: traditional Pueblo Indian tales. \\ [Online]. \\ Retrieved January 8, 2010. \\ from http://digital.library.upenn.edu/women/dehuff/taytay/taytay.html. 2.4.2 บทความจากวารสารออนไลน (online / e-journal) Author, A. A., & Author, B. B. \\ (Date of publication). \\ Title of article. \\ Title of Journal \\ volume (number) : pages. \\ [Online]. \\ Retrieved …month date, year. \\ from….source or URL…. ตัวอยาง Kenneth, I. A. \\ (2000). \\ A Buddhist response to the nature of human rights. \\ Journal of Buddhist Ethics 8 (3) : 13-15. \\ [Online]. \\ Retrieved March 2, 2009. \\ from http://www.cac.psu.edu/jbe/ twocont.html. Webb, S. L. \\ (1998). \\ Dealing with sexual harassment. \\ Small Business Reports 17 (5) : 11-14. \\ [Online]. \\ Retrieved January 15, 2005. \\ from BRS, File: ABI/INFORM Item: 00591201. 2.4.3 ฐานขอมูล ธนาคารแหงประเทศไทย. \\ (2550). \\ แรงงานตางดาวในภาคเหนือ. \\ [ออนไลน]. \\ สืบคนเมื่อ 2 กันยายน 2550. \\ จาก http://www.Bot.or.th/BotHomepage/databank /RegionEcon/ northern /public/Econ/ch 7/42BOX04. HTM. Beckenbach, F. and Daskalakis, M. \\ (2009). \\ Invention and innovation as creative problem solving activities: A contribution to evolutionary microeconomics. \\ [Online]. \\ Retrieved September 12, 2009. \\ from http:www.wiwi.uni-augsburg.de/vwl/hanusch/emaee/papers/Beckenbach_neu.pdf.


สงบทความไดที่ :

คุณปรานี วิชานศวกุล (บรรณาธิการบริหารวารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร) 44/114 หมูบานเลิศอุบล ซอยพหลโยธิน 52 ถนนพหลโยธิน แขวงคลองถนน เขตสายไหม กรุงเทพฯ 10220 โทร. 080-5996680

ติดตอสอบถามไดที่ :

รศ.ระเบียบ สุภวิรี คุณปรานี วิชานศวกุล

E-mail: dawgrabiab107@gmail.com E-mail: pranee_aon1@hotmail.com

ผูเขียนบทความสามารถดาวนโหลดแบบฟอรมขอสงบทความเพื่อตีพิมพ ไดที่ http: //www.surdi.su.ac.th หรือ http://www.journal.su.ac.th


แบบฟอรมขอสงบทความเพื่อตีพิมพ วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย สาขาสังคมศาสตร มนุษยศาสตร์ และศิลปะ เรียน กองบรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย สาขาสังคมศาสตร มนุษยศาสตร และศิลปะ ขาพเจา ​ นาย ​ นาง ​ นางสาว ชื่อ-สกุล ภาษาไทย ....................................................................................................................... ภาษาอังกฤษ................................................................................................................. ตำ�แหนงทางวิชาการ ​  ศาสตราจารย  รองศาสตราจารย  ผูชวยศาสตราจารย  อาจารย ​  อืน่ ๆ (โปรดระบุ)......................................................................................................................... สถานที่ทำ�งาน .............................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................. โทรศัพทที่ทำ�งาน.......................................................โทรศัพทมือถือ.................................................... โทรสาร......................................................................อีเมล................................................................... มีความประสงคขอสงบทความ เรื่อง ภาษาไทย............................................................................................................................................... ......................................................................................................................................................................... ภาษาอังกฤษ.......................................................................................................................................... ......................................................................................................................................................................... กองบรรณาธิการสามารถติดตอขาพเจาไดที่  สถานที่ทำ�งาน ตามที่ระบุไวขางตน  สถานที่อยูที่ติดตอไดสะดวกรวดเร็ว ดังนี้ ................................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................................. โทรศัพทที่ทำ�งาน.......................................................โทรศัพทมือถือ.................................................... โทรสาร......................................................................อีเมล................................................................... ลงชื่อ.................................................................... (...........................................................) วัน-เดือน-ป........................................................... สงใบสมัคร พรอมตนฉบับ 3 ชุด และไฟลขอมูลที่บันทึกลงแผน CD-ROM 1 แผน มาที่ คุณปรานี วิชานศวกุล (บรรณาธิการบริหารวารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร) 44/114 หมูบานเลิศอุบล ซอยพหลโยธิน 52 ถนนพหลโยธิน แขวงคลองถนน เขตสายไหม กรุงเทพฯ 10220 เฉพาะเจาหนาที่ วันทีร่ บั เอกสาร............................................................ลงชือ่ ผูร บั เอกสาร.............................................................


»‚·Õè 32 ©ºÑº·Õè 2 ¡Ã¡¯Ò¤Á - ¸Ñ¹ÇÒ¤Á ¾.È. 2555 Volume 32 Number 2, July - December 2012

“การพัฒนาประเทศจำเปนตองทำตามลำดับขั้น ตองสรางพื้นฐาน คือ ความพอมีพอกิน พอใชของประชาชน สวนใหญเปนเบื้องตนกอน โดยใชวิธีการและใชอุปกรณที่ ประหยัด แตถูกตองตามหลักวิชาเมื่อไดพื้นฐานมั่นคงพรอม พอควร และปฏิบัติไดแลวจึงคอยสรางคอยเสริมความเจริญ และฐานะเศรษฐกิจขั้นที่สูงขึ้นโดยลำดับตอไป หากมุงแตจะ ทุมเทสรางความเจริญ ยกเศรษฐกิจขึ้นใหรวดเร็วแตประการ เดียว โดยไมใหแผนปฏิบัติการสัมพันธกับสภาวะของประเทศ และของประชาชนโดยสอดคลองดวย ก็จะเกิดความไมสมดุล ในเรื่องตางๆ ขึ้น ซึ่งอาจกลายเปนความยุงยากลมเหลวได ในที่สุด” พระบรมราโชวาท พระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัว 2517 6 คุณลักษณะภาวะผูนำที่มีผลตอการพัฒนาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง นคเรศ ณ พัทลุง และยุวัฒน วุฒิเมธี


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.