จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา

Page 1

ยูหัวภูมิพลอดุลยเดช

3 ประสบการณการทําวิจัยและสรางสรรค

ของ ผูชวยศาสตราจารย ดร.คีรีบูน จงวุฒิเวศย คณะศึกษาศาสตร มหาวิทยาลัยศิลปากร

8 การทํานาโยนกลา:อีกหนึ่งทางในการ เพิ่มผลผลิตของเกษตรกรทํานา

11 ดุลยภาพแหงสมาธิและกิเลส

16 ขาวสารความเคลื่อนไหว

ปณิธาน “ส่งเสริมการพัฒนาและเผยแพร่การวิจัยและงานสร้างสรรค์” ทุกทานสามารถแสดงความคิดเห็นในการใหบริการของสถาบันวิจัยและพัฒนาได 4 ชองทาง คือ 1. โทรศัพท 034-255-808 2. โทรสาร 034-219-013 3. e-mail : research_inst@su.ac.th 4. กลองรับความคิดเห็นหนาหองระเบียงวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา


ที่ปรึกษา

บทบรรณาธิการ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อริศร์ เทียนประเสริฐ ผู้อํานวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา

ฉ บั บ นี้ ข อ เ ริ่ ม ต้ น ด้ ว ย ค อ ลั ม น์ เ ปิ ด โ ล ก ก ว้ า ง เ รื่ อ ง “ประสบการณ์การทําวิจัยและสร้างสรรค์” ของ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.คีรีบูน จงวุฒิเวศย์ จากคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และจาก...ชุ ม ชน ขอนํ า เสนอเรื่ อ ง “การทํ า นาโยนกล้ า :อี ก หนึ่ ง แนวทางในการเพิ่มผลผลิตของเกษตรกรทํานา” โดย นายสุพรชัย มั่งมีสิทธิ์ นักวิจัยเชี่ยวชาญจากสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัย ศิลปากร ส่วนงานวิจัยขอแนะนําผลงานวิจัยเรื่อง “ดุลยภาพแห่ง สมาธิ แ ละกิ เ ลส” โดย นายอภิ รั ก ษ์ โพธิ ทั พ พะ คณะจิ ต รกรรม ประติ ม ากรรมและภาพพิ ม พ์ มหาวิ ท ยาลั ย ศิ ล ปากร พร้ อ มด้ ว ย ข่า วสารความเคลื่ อนไหวของสถาบัน วิจัยและพัฒ นา ขอเชิญ ท่า น ติดตามอ่านในเล่มนะคะ

บรรณาธิการ นางอารีย์วรรณ นวมนาคะ

กองบรรณาธิการ นายสุพรชัย มั่งมีสิทธิ์ นางสาววัชรี น้อยพิทักษ์ นางสาวตปนีย์ พรหมภัทร

เผยแพร่โดย

สารบัญ

สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร พระราชวังสนามจันทร์ นครปฐม 73000 โทรศัพท์ 0-3425-5808, 0-3421-9013 โทรสาร 0-3421-9013 E-mail : research.inst54@gmail.com Website : http://www.surdi.su.ac.th

เปิดโลกกว้าง 3 ประสบการณ์การทําวิจัยและสร้างสรรค์

ของ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.คีรีบูน จงวุฒิเวศย์

จาก...ชุมชน 8

การทํานาโยนกล้า:อีกหนึ่งแนวทางในการเพิ่ม ผลผลิตของเกษตรกรทํานา

วัตถุประสงค์

ผลงานวิจัย 11 ดุลยภาพแห่งสมาธิและกิเลส

จุล สารสถาบันวิจัยและพัฒ นา เป็นจุล สารอิเล็กทรอนิก ส์ (e-journal) ราย 3 เดือน/ฉบับ จัดทําขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ เผยแพร่ ข่ า วสาร กิ จ กรรมต่ า งๆ ของสถาบั น วิ จั ย และพั ฒ นา ตลอดจนความรู้ จ ากบทความวิ ช าการ และผลงานวิ จั ย ของ บุคลากรของมหาวิทยาลัยศิลปากร สถาบันวิจัยและพัฒนายินดี เป็น สื่อกลางในการเผยแพร่ผ ลงานวิจัย บทความทางวิช าการ และเกร็ดความรู้ต่างๆ ของชาวศิลปากรทุกท่าน

ข่าวสารความเคลื่อนไหว 16 อบรมเชิงปฏิบัติการ “การใช้โปรแกรมระบบบริหาร งานวิจัย (NRPM) เพื่อเสนอของบประมาณปี 2557” 17 การนําเสนอผลงานวิจัยแห่งชาติ 2555 18 อบรมเชิงปฏิบัติการ“การเขียนบทความภาษาอังกฤษ เพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารทางวิชาการฯ” 19 งานสัปดาห์วิทยาศาสตร์ประจําปี 2555 21 รางวัลผลงานวิจยั ดีเด่นประจําปี 2555 22 เสวนา “การวิจัยสร้างสรรค์ หนทางสู่ตําแหน่ง ทางวิชาการ” 23 นายภราเดช พยัฆวิเชียร รักษาราชการแทนอธิการบดี เข้าร่วมประชุมคณะที่ปรึกษาและคณะกรรมการประจํา สถาบันวิจัยและพัฒนา ครั้งที่ 5/2555 24 การประกันคุณภาพการศึกษาภายในประจําปี 2554

2 จุลสารสถาบันวิจยั และพัฒนา ปที่ 21 ฉบับที่ 3 เดือนกรกฎาคม-กันยายน 2555


เปดโลกกวาง

»Ãaʺ¡Òó ¡Ò÷íÒÇi¨aÂæÅaÊà ҧÊÃä ของ ผู้ชว่ ยศาสตราจารย์ ดร.คีรีบูน จงวุฒิเวศย์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร สัมภาษณ์โดย อารีย์วรรณ นวมนาคะ สถาบันวิจัยและพัฒนา

กระบวนการเสริ ม ศั ก ยภาพการวิ จั ย ชุ ม ชนที่ จั ง หวั ด มุ ก ดาหารก็ ทํ า ให้ เ ข้ า ใจและเรี ย นรู้ วั ฒ นธรรมและ ภูมิปัญญาของชาวภูไท ประเพณีวิถีชีวิตของคนภาคอีสาน อย่ า งไรก็ ต ามงานวิ จั ย ส่ ว นใหญ่ ก็ ทํ า ในพื้ น ที่ จั ง หวั ด นครปฐมและภูมิภาคตะวันตกที่อยู่ในพื้นที่เครือข่ายวิจัย ของมหาวิทยาลัยศิลปากร โครงการวิจัยที่ทําอยู่ในปัจจุบัน มีโครงการต่อ ยอดจากโครงการเดิมปี 2554 ที่ได้รับทุนวิจัยเรื่อง การ พั ฒ นาพิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ ท้ อ งถิ่ น เพื่ อ ส่ ง เสริ ม การศึ ก ษาเชิ ง สร้างสรรค์ ในปีนี้ได้ขยายงานโดยพยายามให้เป็นงานวิจัย ที่บูรณาการระหว่างสาขาวิชาต่างๆ ในคณะ โดยได้เสนอ เป็นชุดโครงการ เรื่อง รูปแบบการพัฒนานวัตกรรมการ เรี ย นรู้ แ บบมี ส่ ว นร่ ว มกั บ ชุ ม ชนโดยใช้ พิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ แ ละ แหล่ ง เรี ย นรู้ ใ นท้ อ งถิ่ น เพื่ อ ส่ ง เสริ ม การศึ ก ษาเชิ ง สร้ า งสรรค์ และอี ก โครงการที่ เ สนอต่ อ กระทรวง วั ฒ นธรรม เรื่ อ ง แนวทางการสร้ า งโอกาสการเรี ย นรู้ ตลอดชีวิตด้านมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมโดยชุมชน ซึ่งการวิจัยจะเป็นโครงการที่ต้องทํางานร่วมกับชุมชน เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรม ภูมิปัญญา แหล่งเรียนรู้ และเรื่อง การเรียนรู้ของชุมชนเป็นหลัก

1. ประสบการณ์ ก ารทํ า งานวิ จั ย ที่ ผ่ า นมาและ โครงการวิจัยที่ทําอยู่ในปัจจุบัน ประสบการณ์ ใ นการทํ า งานวิ จั ย ที่ ผ่ า นมาได้ ทํ า งานวิ จั ย มาอย่ า งต่ อ เนื่ อ งตั้ ง แต่ เ รี ย นจบแล้ ว มาเริ่ ม ทํางาน มีทั้งทํางานเดี่ยวและทําวิจัยเป็นทีม โดยงานส่วน ใหญ่จะเป็นการทําวิจัยเป็นทีม ทํากันหลายคนช่วยกันคิด ช่วยกันกระตุ้น ทําให้ได้มุมมองที่หลากหลาย มีการระดม ความคิดร่วมกัน มีประสบการณ์ร่วมกัน ได้ทั้งงานวิจัย และความสัมพันธ์ระหว่างผู้วิจัย ในส่วนของ เรื่องที่ทํา เป็นเรื่องที่เราสนใจและ เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาที่สอน ดังนั้นงานวิจัยก็จะมีเรื่องที่ เกี่ ย วกั บ ผู้ สู ง อายุ การเรี ย นรู้ แหล่ ง เรี ย นรู้ การจั ด สภาพแวดล้ อ มที่ เ อื้ อ ต่ อ การเรี ย นรู้ พิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ ท้ อ งถิ่ น การพัฒนาชุมชน และ ภูมิปัญญาท้องถิ่น วิธีการทําวิจัย อยากให้งานวิจั ยเป็นประโยชน์ และใช้ได้จริง ผลการวิจัยตอบแทนกลับสู่พื้นที่ที่ศึกษา ด้วย ดังนั้นจึงพยายามทํางานวิจัยแบบวิจัยและพัฒนา และในบางงานก็เป็นการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมซึ่ง เป็นประโยชน์มากเพราะงานที่ได้จะตรงกับความต้องการ ของพื้นที่ และยังเป็นการเรียนรู้และพัฒนาร่วมกันกับคน ในชุมชนไปพร้อมๆ กัน พื้ น ที่ ที่ ทํ า วิ จั ย มี ป ระสบการณ์ ทั้ ง ที่ ทํ า ทั่ ว ประเทศ เช่น ในงานประเมินโครงการอาสาสมัครท้องถิ่น ในการดู แ ลรั ก ษามรดกทางศิ ล ปวั ฒ นธรรม ต้ อ งไป ประเมินทุกภาค งานวิจัยผู้สูงอายุได้ไปสัมภาษณ์ผู้สูงอายุ ทุกภาคเช่นกัน ทําให้ได้ประสบการณ์ที่หลากหลายรู้จัก ผู้ ค นและพื้ น ที่ แ ทบทุ ก จั ง หวั ด และงานวิ จั ย เรื่ อ งการ สื บ ค้ น ประวั ติ ศ าสตร์ วั ฒ นธรรมท้ อ งถิ่ น : การเรี ย นรู้

2. ทุนวิจัยที่ได้รับและเทคนิคการหาทุนเพื่อใช้ในการ สนับสนุนการทําวิจัย ทุนวิจัยที่ได้รับมาจากหลายแหล่งโดยแรกๆก็จะ เป็นทุนที่ได้รับการสนับสนุนจากสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร จากคณะศึกษาศาสตร์ และต่อมา ได้พยายามขอจากแหล่งทุนภายนอกที่เคยได้รับทุนเช่น จาก กรมศิลปากร สํานักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ 3

จุลสารสถาบันวิจยั และพัฒนา ปที่ 21 ฉบับที่ 3 เดือนกรกฎาคม-กันยายน 2555


มี ก ารจั ด ประชุ ม นานาชาติ ซึ่ ง ในปั จ จุ บั น คิ ด ว่ า มี เ วที สํ า หรั บ การเสนอผลงานวิ จั ย มากนอกจากที่ ค ณะแล้ ว บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันวิจัยและพัฒนาก็มีการจัดประชุม วิ ข าการเพื่ อ เสนอผลงานวิ จั ย ให้ และแทบทุ ก สถาบั น การศึ ก ษาก็ จ ะมี ก ารจั ด ประชุ ม วิ ช าการสํ า หรั บ เสนอ งานวิ จั ย เพราะเป็ น เงื่ อ นไขสํ า หรั บ นั ก ศึ ก ษาระดั บ บั ณ ฑิ ต ศึ ก ษาที่ ต้ อ งนํ า เสนอผลงานวิ จั ย ก่ อ นสํ า เร็ จ การศึกษาและสําหรับอาจารย์ที่ต้องการเผยแพร่งานวิจัย สู่สาธารณะด้วย นอกจากการนําเสนอในที่ประชุมทาง วิชาการแล้วที่คณะมีวารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย และวารสารศึกษาศาสตร์ วารสารบริหารการศึกษาที่ให้ นักศึกษาและอาจารย์ได้เผยแพร่งานวิจัยอีกด้วย

สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และ ทบวงมหาวิทยาลัย เทคนิ ค การหาทุ น คงไม่ มี เ ทคนิ ค อะไรพิ เ ศษ เพราะเมื่อได้เห็นประกาศทุนและคิดว่าตรงกับความสนใจ ของเรา และเป็นเรื่องที่น่าจะทําได้ก็เขียนขอไป อาจมี การหาข้ อ มู ล เพิ่ ม เติ ม บ้ า งจากต้ น สั ง กั ด ที่ ใ ห้ ทุ น ว่ า เขา ต้องการจะเน้นด้านใด โดยดูได้จากนโยบายขององค์กร นั้นๆ หรือสอบถามจากผู้เกี่ยวข้อง และในการทํางานดังที่ บอกว่าส่วนใหญ่จะทําเป็นทีมการระดมสมองช่วยกันคิด ช่ ว ยกั น เขี ย น ช่ ว ยกั น หาข้ อ มู ล ก็ จ ะเร็ ว และสนุ ก ด้ ว ย อย่างไรก็ตามเราก็ต้องขยันเขียนส่งไปด้วยมีหลายครั้งที่ เขี ย นส่ ง ไปแล้ ว ก็ ไ ม่ ไ ด้ ก็ พ ยายามต่ อ ในครั้ ง ต่ อ ไปหาก ใกล้ เ คี ย งกั บ เรื่ อ งเดิ ม ก็ จ ะมาประชุ ม ทบทวนและปรั บ โครงการ ทําให้ใช้เวลาไม่มากนัก

5. การทํางานวิจัยแบบบูรณาการกับสาขาวิชาอื่นๆ ทั้ง ในมหาวิ ท ยาลั ย ศิ ล ปากร และหน่ ว ยงานภายนอก (ที่ ผ่ า นมามี ก ารดํ า เนิ น การหรื อ ไม่ อนาคตมี ค วาม คิดเห็นอย่างไร)

3. ประสบการณ์การสร้างทีมวิจัย การสร้างทีมวิจัยเป็นเรื่องที่สําคัญมาก งานวิจัยที่ ทําส่วนใหญ่ทําเป็นทีมเพราะเห็นประโยชน์ว่าได้ช่วยกัน คิด ช่ ว ยกั น ทํ า ลงทั้ ง แรงกายและแรงสมอง และผลที่ ออกมาย่อมทวีคูณมากกว่าคิดคนเดียวแน่ๆ เพราะผ่าน การถกเถียงและวิพากษ์และเรียนรู้จากกันและกัน ความสํ า คั ญ ในการทํ า งานเป็ น ที ม คื อ การให้ เกียรติและเข้าใจเพื่อนร่วมทีม มนุษยสัมพันธ์ และการ สื่อสารระหว่างทีมสําคัญมากจึงต้องมีการประชุมชี้แจง เพื่อทําความเข้าใจเรื่องงานวิจัยและเรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ตลอด ทุกความคิดเห็นมีความสําคัญต้องทําให้ทุกคนรู้สึก ได้ว่าเขาเป็นส่วนหนึ่ง(และที่สําคัญด้วย)ของงานที่ทํา การบริ ห ารงานวิ จั ย ในลั ก ษณะที่ ทํ า เป็ น ที ม นอกจากการประชุมแล้วต้องชี้แจงสถานการณ์ต่างๆของ งานให้ทีมได้รับรู้ ปัจจุบันมีระบบการสื่อสารทางเครือข่าย คอมพิวเตอร์ที่ทําให้การส่งข้อมูลและการนัดหมายต่างๆ สะดวกขึ้นมาก

การทํางานวิจัยที่ร่วมกับคณะอื่นที่ผ่านมาได้เคย ทํางานวิจัยร่วมกับ รศ.ระพีพรรณ ฉลองสุข คณะเภสัช ศาสตร์ เรื่อง การพัฒนากระบวนการเรียนรู้เรื่องสมุนไพร ชุมชนปลักไม้ลาย อําเภอกําแพงแสน จังหวัดนครปฐม ซึ่งคิดว่าเป็นการทํางานร่วมกับอาจารย์ต่างสาขาและได้ เรียนรู้จากกันและกันมากโดยเฉพาะเรื่องยาและสมุนไพร และ ได้เคยทํางานร่วมกับ ผศ.สุวิดา ธรรมณีวงศ์ และ ผศ.สมคิ ด ภู มิ โ คกรั ก ษ์ จากคณะอั ก ษรศาสตร์ เรื่ อ ง รูปแบบและแนวทางการพัฒนาความเข้ม แข็งของการ รวมกลุ่ ม ในชุ ม ชนสาคลี จากงานนี้ ไ ด้ เ รี ย นรู้ เ รื่ อ ง การศึกษาชุมชนและการพัฒนากิจกรรมเพื่อเสริมความ เข้ ม แข็ ง และการใช้ ร ะบบสารสนเทศภู มิ ศ าสตร์ เ พื่ อ วิเคราะห์ชุมชน ในอนาคตคิดว่าการทํางานวิจัยทั้งแบบเป็นทีม และบูรณาการกับสาขาวิชาอื่นเป็นเรื่องจําเป็นและคิดว่า เป็นเรื่องที่หน่วยงานต่างๆ (คณะวิชาและสถาบันวิจัยและ พัฒนา) ควรต้องหาวิธีการที่จะช่วยเชื่อมความสัมพันธ์ ของคณาจารย์ทั้งในคณะและต่างคณะให้มีวงวิชาการที่ คุยกันเพื่อหาประเด็นที่จะสามารถทําวิจัยร่วมกันได้

4. คณะมีเวทีวิชาการเสนอผลงานวิจัยของคณาจารย์ ในคณะหรือไม่อย่างไร ที่ ค ณะศึ ก ษาศาสตร์ มี ก ารจั ด ประชุ ม วิ ช าการ เสนอผลงานวิจัยและวิทยานิพนธ์ทุกปี และในปีหน้าก็จะ 4

จุลสารสถาบันวิจยั และพัฒนา ปที่ 21 ฉบับที่ 3 เดือนกรกฎาคม-กันยายน 2555


6. ความคาดหวังต่อการส่งเสริมและสนับสนุนการทํางานวิจัยจากมหาวิทยาลัยศิลปากร คิดว่าในปัจจุบันคณะวิชาต่างๆ และมหาวิทยาลัยได้ให้การสนับสนุนการทําวิจัยมาก ทั้งการจัดอบรม การให้ทุน สนับสนุนการวิจัย การจัดเวทีนําเสนอ มีวารสารวิชาการรองรับ แม้ในระดับภาควิชาก็มีระบบสนับสนุนงานวิจัยด้วยเช่นกัน ทั้งการให้ทุนวิจัย การให้ทุนไปนําเสนอและรางวัลการเผยแพร่ การที่จะผลักดันให้มีการทําวิจัยนอกจากการสนับสนุนด้าน ทรัพยากรแล้วก็น่าจะเป็นการสนับสนุนให้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และการเรียนรู้ร่วมกันในการทําวิจัย การหาโจทย์ วิจัย และการทํางานวิจัยข้ามสาขาในลักษณะบูรณาการ การให้นักวิจัยที่มีประสบการณ์เป็นพี่เลี้ยงให้แก่นักวิจัยรุ่นใหม่เป็น การสร้างคนทําวิจัยและต่อยอดความรู้ของผลงานวิจัยที่ได้เคยทําแล้วไปสู่มิติอื่นๆ หรือเป็นการขยายจากผลงานวิจัยเดิม ทั้งนี้ความหวังก็คงขึ้นอยู่กับบุคลากรในมหาวิทยาลัยที่จะลุกขึ้นมาทําวิจัยเมื่อไหร่เท่านั้น

ประวัติและผลงาน

1. ชื่อ-นามสกุล (ภาษาไทย) (ภาษาอังกฤษ) 2. ตําแหน่งปัจจุบัน

คีรีบูน จงวุฒิเวศย์ KIRIBOON JONGWUTIWES ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ระดับ 8 ภาควิชาการศึกษาเพื่อการพัฒนามนุษย์และสังคม คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ภาควิชาการศึกษาเพื่อการพัฒนามนุษย์และสังคม คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร จังหวัดนครปฐม 73000 โทรศัพท์/โทรสาร 0 3425 5777 kiriboonj@gmail.com

3. สถานที่ทํางาน

4. ประวัติการศึกษา ปีที่จบ ระดับปริญญา การศึกษา 2518 ศิลปศาสตรบัณฑิต

อักษรย่อ ศศ.บ.

2522

Master of Arts in Agrarian Studies

MA.AS.

2529

Doctor of Philosophy

Ph.D.

สาขาวิชาเอก

ชื่อสถานศึกษาและประเทศ

ภาษาอังกฤษ

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ประเทศไทย Agrarian Studied University of the Philippines, Philippines

Higher and Adult University of Missouri Columbia, Education U.S.A.

5 จุลสารสถาบันวิจยั และพัฒนา ปที่ 21 ฉบับที่ 3 เดือนกรกฎาคม-กันยายน 2555


5. ผลงานวิจัย 1. คีรีบูน จงวุฒิเวศย์ และคณะ. รายงานการวิจัยเรื่อง สภาวะการทํางาน ความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนและแนวทางการพัฒนา วิชาชีพศึกษาศาสตร์ของบัณฑิตที่สําเร็จการศึกษาจากคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. : นครปฐม, 2541. 2. สุวิดา ธรรมมณีวงศ์ และคณะ. รายงานการวิจัยเรื่อง รูปแบบและแนวทางการพัฒนาความเข้มแข็งของการรวมกลุ่มในชุมชนสาคลี จังหวัด พระนครศรีอยุธยา. : นครปฐม, 2541. 3. มาเรียม นิลพันธุ์ และคีรีบูน จงวุฒิเวศย์. รายงานการวิจัยเรื่องการศึกษาและพัฒนา จัดทําหลักสูตรการอบรมอาสาสมัครท้องถิ่นในการดูแล รักษามรดกทางศิลปวัฒนธรรม กรมศิลปากร : กรุงเทพมหานคร, 2542. 4. คีรีบูน จงวุฒิเวศย์ และมาเรียม นิลพันธุ์. รายงานการวิจัยเรื่อง การศึกษาและจัดทําคู่มืออาสาสมัครท้องถิน่ ในการดูแลรักษามรดกทาง ศิลปวัฒนธรรม กรมศิลปากร : กรุงเทพมหานคร, 2542. 5. ลิขิต กาญจนาภรณ์ และคณะ. รายงานการวิจัยเรื่อง การประเมินผลโครงการจัดตั้งอาสาสมัครท้องถิ่นในการดูแลรักษามรดกทางศิลปวัฒนธรรม (อส.มศ.) : นครปฐม, 2542. 6. ศิริณา จิตจรัส และคีรีบูน จงวุฒิเวศย์. ประเมินศักยภาพและผลการดําเนินงานโครงการฝึกอบรมสถาบันพัฒนาผู้บริหารการศึกษา. : นครปฐม, 2542. 7. สุวิดา ธรรมมณีวงศ์ และคณะ. รายงานการวิจัยเรื่อง แบบแผนการเรียนรู้เกี่ยวกับชนบทไทยในภาคกลาง : ศึกษาเฉพาะกรณี จังหวัด พระนครศรีอยุธยา. : นครปฐม, 2543 8. คีรีบูน จงวุฒิเวศย์ และคณะ. รายงานการวิจัยเรื่อง พฤติกรรมสุขภาพของนักศึกษามหาวิทยาลัย : ศึกษากรณีมหาวิทยาลัยศิลปากร : นครปฐม, 2545. 9. คีรีบูน จงวุฒิเวศย์ และคณะ. รายงานการวิจัยเรื่อง การพัฒนากระบวนการเรียนรู้เรื่องสมุนไพรชุมชนปลักไม้ลาย อําเภอกําแพงแสน จังหวัด นครปฐม. : นครปฐม, 2546. 10. คีรีบูน จงวุฒิเวศย์ และคณะ. รายงานการวิจัยเรื่อง การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้และความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเองของ นักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. : นครปฐม, 2546. 11. คีรีบูน จงวุฒิเวศย์ และคณะ. รายงานการประเมินผลการดําเนินงานวิทยาลัยชุมชนจังหวัดมุกดาหาร. : มุกดาหาร, 2546. 12. คีรีบูน จงวุฒิเวศย์ และคณะ. รายงานการวิจัยเรื่อง การสืบค้นประวัตศิ าสตร์วัฒนธรรมท้องถิ่น: การเรียนรู้กระบวนการเสริมศักยภาพการวิจัย ชุมชนในพื้นที่อําเภอหว้านใหญ่และอําเภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหาร. : มุกดาหาร, 2548 13. มาเรียม นิลพันธุ์ และคณะ. รายงานการวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการครุศึกษาเชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพ : กรณีศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. : นครปฐม, 2549. 14. คีรีบูน จงวุฒิเวศย์ และคณะ. รายงานการวิจัยเรื่อง การศึกษาและพัฒนาศักยภาพชุมชนตลาดบางหลวง. : นครปฐม, 2551. 15. คีรีบูน จงวุฒิเวศย์.รายงานการวิจัยเรื่อง การจัดการเรียนการสอนโดยใช้การวิจัยเป็นฐานของนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย ศิลปากร. : นครปฐม, 2551. 16. มาเรียม นิลพันธุ์ และคณะ รายงานการวิจัยเรื่อง การศึกษาการเรียนรู้และแนวทางการพัฒนาการเรียนรู้ในการจัดการศึกษาของคณะกรรมการ สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. : นครปฐม, 2552. 17. คีรีบูน จงวุฒิเวศย์.รายงานการวิจัยเรื่อง รูปแบบและวิธีการที่เหมาะสมในการจัดสวัสดิการสังคม โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสําหรับ ผู้สูงอายุ. : นครปฐม, 2552. 18. คีรีบูน จงวุฒิเวศย์. รายงานการวิจัยเรื่อง การศึกษากระบวนการเรียนรูข้ องชุมชนและการถ่ายทอดความรู้ของพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นในจังหวัด นครปฐม. : นครปฐม, 2553. 19. คีรีบูน จงวุฒิเวศย์ และคณะ. รายงานการวิจัยเรื่อง การพัฒนาพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการศึกษาเชิงสร้างสรรค์. : นครปฐม, 2554.

บทความวิชาการ/วิจัย คีรีบูน จงวุฒิเวศย์. (2545) พฤติกรรมสุขภาพของนักศึกษามหาวิทยาลัย : ศึกษากรณีมหาวิทยาลัยศิลปากร. จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร หน้า 2-11. คีรีบูน จงวุฒิเวศย์. (2547) การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้และความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย ศิลปากร. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 (พย.46- มีค.47) หน้า 143-154. คีรีบูน จงวุฒิเวศย์. (2547) การพัฒนากระบวนการเรียนรู้เกี่ยวกับสมุนไพรในชุมชนปลักไม้ลาย ตําบลทุ่งขวาง อําเภอกําแพงแสน จังหวัดนครปฐม เอกสารเสนอใน การประชุมทางวิชาการ เรื่อง การวิจัยเกี่ยวกับการปฏิรูปการเรียนรู้ จัดโดย สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา วันที่ 19-20 กรกฎาคม 2547. หน้า 155-164. คีรีบูน จงวุฒิเวศย์. (2550) การสืบค้นประวัติศาสตร์วัฒนธรรมท้องถิ่น : การเรียนรู้กระบวนการเสริมศักยภาพนักวิจัยชุมชน ในพื้นที่อําเภอหว้านใหญ่ และอําเภอ หนองสูง จังหวัดมุกดาหาร.วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยศิลปากร ปีที่ 4. ฉบับที่ 1,2 (มิถุนายน 2549-มีนาคม 2550. หน้า 168-181. คีรีบูน จงวุฒิเวศย์. (2553). รูปแบบและวิธีการที่เหมาะสมในการจัดสวัสดิการสังคมโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสําหรับผู้สูงอายุ. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ปีที่ 7. (1,2) (มิถุนายน 2552-มีนาคม 2553).

6 จุลสารสถาบันวิจยั และพัฒนา ปที่ 21 ฉบับที่ 3 เดือนกรกฎาคม-กันยายน 2555


คีรีบูน จงวุฒิเวศย์.(2554) สัมฤทธิ์พิศวงตีแผ่ “ความสําเร็จ” ในมุมที่คุณคาดไม่ถึง บทวิจารณ์หนังสือ วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย ปีที่ 2 (2) (มกราคมมิถุนายน 2554).หน้า 351-354. Kiriboon Jongwutiwes.(2004) Faculty Learning Environment and Self – Directed Learning Readiness of Students in Faculty of Education Silpakorn University. Paper presented in The International Conference Managing Teacher Education for Excellence, July 11-14,2000 Bangkok Thailand. P 115. Kiriboon Jongwutiwes.(2004) The Development of Learning Process on Herb in the Plakmailai Community,Kampangsaen District, Nakhon Pathom Province Paper presented in Fourth International Forum on Education Reform : Learner- centered Approach towards Education for Sustainable Development, September 6-10, 2004. Organized by Office of the Education Council, Thailand.p.133138. Wardle J,Haase Anne,Steptoe Andrew, Kiriboon Jongwutiwes, Maream Nillapun.(2004) Gender differences in food choice : the contribution on health beliefs and dieting. INSERM U341 : France.Apr;27(2):107-116. Kiriboon Jongwutiwes. (2007) Conclusion Recommendation and Action Planning. The Proceedings of the International Conference: Poverty Alleviation Through Lifelong Learning Strategy, Organized by Faculty of Education, Chulalongkorn University p. 138-141. Kiriboon Jongwutiwes. (2012) The Development of Local Museum to Enhance Creative Education. Paper presented in The International Journal of Arts and Sciences (IJAS) : International Conference for Academic Disciplines, April 1-5,2012 Vienna, Austria. รางวัล 1. ได้รับรางวัลผลงานวิจัยดีสาขาวิชาสังคมศาสตร์ ประจําปี 2547 จากผลงานวิจัยเรื่อง “การพัฒนากระบวนการเรียนรู้เรื่องสมุนไพรชุมชนปลักไม้ลาย อําเภอกําแพงแสน จังหวัดนครปฐม” จากสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร 2. ได้รับรางวัลผลงานวิจัยดีสาขาวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ประจําปี 2555 จากผลงานวิจัยเรื่อง “การพัฒนาพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นเพื่อส่งเสริม การศึกษาเชิงสร้างสรรค์” จากสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร

7 จุลสารสถาบันวิจยั และพัฒนา ปที่ 21 ฉบับที่ 3 เดือนกรกฎาคม-กันยายน 2555


จาก...ชุมชน

¡Ò÷íÒ¹Òo¹¡Å Ò : oա˹ึ§è æ¹Ç·Ò§ã¹¡Òà e¾ièÁ¼Å¼Åiµ¢o§e¡ÉµÃ¡Ã·íÒ¹Ò สุพรชัย มั่งมีสิทธิ์ นักวิจัยเชี่ยวชาญ สถาบันวิจัยและพัฒนา

เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2555 ผู้เขียนมีโอกาสไป ร่ ว ม เ ส ว น า แ ล ะ กิ จ ก ร ร ม ข อ ง ศู น ย์ วิ ท ย พั ฒ น า มหาวิ ท ยาลั ย สุ โ ขทั ย ธรรมาธิ ร าช ที่ จั ง หวั ด เพชรบุ รี หั ว ข้ อ เรื่ อ ง “ศู น ย์ วิ ท ยพั ฒ นามหาวิ ท ยาลั ย สุ โ ขทั ย ธรรมาธิ ร าช จั ง หวั ด เพชรบุ รี กั บ การพั ฒ นาแหล่ ง เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง” ภาคเช้าเป็นการเสวนาแนว ทางการพั ฒ นาชุ ม ชนตามปรั ช ญาของเศรษฐกิ จ พอเพียง ภาคบ่ายเป็นการทํานาแบบโยนกล้า มีชุมชน ที่ อ ยู่ ร อบๆ ศู น ย์ ฯ และนั ก เรี ย น นัก ศึ ก ษา ตลอดจน บุ ค ลากรของศู น ย์ วิ ท ยพั ฒ นา มหาวิ ท ยาลั ย สุ โ ขทั ย ธรรมาธิราช เข้าร่วมกิจกรรมกันอย่างพร้อมเพียง จากการได้ ฟั ง และร่ ว มแลกเปลี่ ย นกั บ ผู้ รู้ ท้ั ง เกษตรกรและนักวิชาการทางด้านเกษตร มีความรู้ใหม่ เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับเทคนิคหรือวิธีการทํานาให้ได้ผลผลิต สูงและง่ายต่อการบํารุงรักษา ตลอดจนลดต้นทุนค่า เมล็ดพันธุ์ข้าว ที่จะนําเสนอต่อท่านผู้อ่านดังนี้ครับ 1.นาโยนกล้า คืออะไร ท่านผู้อ่านหลายท่านที่ไม่อยู่ในภาคการเกษตร หรือเกี่ยวข้องกับวิชาการเกษตร อาจจะยังไม่มีข้อมูล การทํานาโยนกล้า ดังนั้นผู้เขียนขออนุญาตนําเสนอ เรื่ อ งราวการทํ า นาโยนกล้ า พอเป็ น สั ง เขป เราท่ า น ทั้งหลายคงเคยได้ยินหรือทราบเกี่ยวกับการทํานาของ พี่น้องชาวนาในอดีตว่ามีการทํานาหว่านน้ําตม นาดํา

แต่นาโยนกล้าเพิ่งเริ่มเป็นที่รู้จักในหมู่ผู้ทํานาเมื่อปีสอง ปีนี้เอง แล้วเขาทํากันอย่างไร

หากจะมองย้อนกลับไปในอดีต หลาย ๆ คนคงจะหวน นึ ก ถึ ง ภาพความทรงจํ า เก่ า ๆ ของการทํ า นาของ ประเทศไทย ที่มีชาวนาจํานวนมากช่วยกันลงแขก ใน การ“ดํานา” (ปักดํา) ปลูกข้าวกันอย่างแข็งขันในผืนนา ชาวนาไทยเชื่อกันว่าถ้าหากดํานาได้ดี ปักดําต้นกล้า ลงในผืนนาที่พอเหมาะ และระยะห่างของต้นกล้าแต่ ละต้นพอดี ต้นข้าวก็จะเจริญงอกงามดี ให้ผลผลิตที่

8 จุลสารสถาบันวิจยั และพัฒนา ปที่ 21 ฉบับที่ 3 เดือนกรกฎาคม-กันยายน 2555


2. จุดเด่นของการทํานาโยนกล้า 1. ดิ น ที่ มี ลั ก ษณะดิ น อ่ อ นนุ่ ม หล่ ม ก็ ส ามารถเตรี ย ม แปลงเพื่อการหว่านต้นกล้าได้ แต่ไม่สามารถปลูก โดยวิ ธี ก ารปั ก ดํ า ด้ ว ยเครื่ อ งปั ก ดํ า ได้ เนื่ อ งจาก เครื่องจะติดหล่ม 2. ใช้ อั ต ราเมล็ ดพั น ธุ์ น้ อ ยกว่ า การหว่ านน้ํ า ตมและ การปักดํา 3. สามารถควบคุ ม และลดปริ ม าณวั ช พื ช และข้ า ว วัชพืชได้ดีกว่าการทํานาหว่านน้ําตม 4. ลดการใช้สารเคมีในการป้องกันกําจัดศัตรูข้าวเมื่อ เทียบกับการหว่านน้ําตม

อุดมสมบูรณ์และมีคุณภาพดี ปัจจุบันพบว่าต้นทุนใน การทํานาพุ่งสูงขึ้นอย่างน่าตกใจ การทํานาไม่ได้กําไร ทุกปีและในบางปีที่ประสบปัญหาภัยทางธรรมชาติ ภัย แล้ ง ฝนฟ้ า ไม่ ต กต้ อ งตามฤดู ก าล น้ํ า ท่ ว มนาข้ า วที่ กําลังจะเก็บเกี่ยว ทําให้ชาวนาขาดทุนย่อยยับ แนวทาง ในการทํ า นารู ป แบบใหม่ ๆ จึ ง เกิ ด ขึ้ น อย่ า งต่ อ เนื่ อ ง “การหว่านตม” (การหว่านข้าวแทนการดํานา) เป็น อีกวิธีหนึ่งที่ชาวนาได้เลือกและนิยมนํามาใช้กันอย่าง แพร่หลายเพราะวิธีนี้สามารถลดต้นทุนค่าจ้างในการ ดํานาได้ประมาณไร่ละ 1,100 บาท แต่หนทางนี้ก็ยังไม่ ถือว่าดีเสียทีเดียวเพราะปัญหาตามมาจากการเลือกใช้ วิธีน้ี เช่น ปัญหาเรื่องวัชพืช ต้องเพิ่มการดูแลต้นข้าว มากขึ้น และทําให้ผลผลิตข้าวที่ได้ลดลงอย่างเห็นได้ชัด เปรียบได้กับสํานวนที่ว่าคือ ได้อย่างแต่ก็ต้องเสียอย่าง การทํานาด้วยวิธีการ “โยนกล้า” เป็นอีกหนึ่ง แนวทางในการทํ า นารูป แบบใหม่ ที่ กํ าลั ง ได้ รับ ความ สนใจจากชาวนาไทยมากยิ่งขึ้น โดยมีข้ันตอนการเพาะ ต้ น กล้ า ในถาดพลาสติ ก ก่ อ น เมื่ อ ต้ น กล้ า ได้ อ ายุ ที่ กํ า หนดก็ นํ า ไปโยนในพื้ น ที่ น าที่ ไ ด้ เ ตรี ย มดิ น ไว้ เหมื อนกั บการทํ านาปกติ รู ป แบบการทํา นาแบบนี้ แตกต่างจากการทํานาหว่านน้ําตม หรือนาดําในบาง ขั้ น ตอน แต่ ส ามารถประหยั ด ต้ น ทุ น ทั้ ง เรื่ อ งเวลา แรงงาน เมล็ดพันธุ์ ได้มากกว่า 2 วิธีที่ชาวนาเคยทํามา ในอดีต

3. การเพาะต้นกล้า มีวิธีการและอุปกรณ์ ดังนี้ 1. ถาดพลาสติกสําหรับเพาะกล้า 2. เมล็ดพันธุ์ข้าวตามที่ชอบ 3. ดินสําหรับใส่ลงไปในหลุมถาดเพาะ 4. วิธีการทํา 1. ใส่ดินในหลุมประมาณ ครึ่งหนึ่งของหลุม 2. หว่านเมล็ดข้าวงอกลงในหลุม ขั้นตอนที่ 1 โดยใช้อัตรา 3-4 กก./ 60-70 ถาด/ไร่ 3. ใส่ ดิ น ปิ ด เมล็ ด พั น ธุ์ ข้ า วระวั ง อย่ า ให้ ดิ น ล้ น ออกมานอกหลุมเพราะจะทําให้ ขั้นตอนที่ 2 รากข้ า วที่ ง อกออกมาพั น กั น เ ว ล า ห ว่ า น ต้ น ข้ า ว จ ะ ไ ม่ กระจายตัว 4. หาวัสดุ เช่นกระสอบป่าน คลุมถาดเพาะ เพื่อ เวลารดน้ํ า จะได้ ไ ม่ ก ระเด็ น รดน้ํ า เช้ า เย็ น ประมาณ 3-4 วัน ต้นข้าวจะงอกทะลุกระสอบ ป่าน ให้เอากระสอบป่านออก แล้วรดน้ําต่อไป ขั้นตอนที่ 3 จนกล้าอายุ 15 วัน 9

จุลสารสถาบันวิจยั และพัฒนา ปที่ 21 ฉบับที่ 3 เดือนกรกฎาคม-กันยายน 2555


ผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจผันผวนทั่วโลก ดังนั้น การพัฒนารูปแบบการทํานาแบบโยนกล้า น่าจะเป็น แนวทางที่ช่วยให้เกษตรกรลดต้นทุนการผลิตและอาจ ทําให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นมากกว่าการทํานาแบบเดิม ๆ ที่ ผ่านมา แต่ท้ังนี้การทํานาในรูปแบบดังกล่าวเหมาะกับ พื้ น ที่ ที่ มี ร ะบบชลประทานเข้ า ถึ ง หรื อ มี ก ารบริ ห าร จัดการน้ําที่เหมาะสม หากสามารถพัฒนาการทํานา แบบโยนกล้าให้เหมาะกับทุกภาคของประเทศไทย ก็จะ เป็ น ทางเลื อกให้ ช าวนาไทยยัง คงครองตํ า แหน่ ง การ ผลิตข้าวได้มากกว่าใครในอาเซียน ซึ่งขณะนี้เวียดนาม เป็นประเทศที่กําลังมาแรงและอาจจะแซงไทยในไม่ช้านี้ ในเรื่องการผลิตข้าว ส่วนการเป็นผู้ส่งออกข้าวแซงไทย ไปเรียบร้อยแล้ว

5. นํ า กล้ า ที่ ไ ด้ ไ ปหว่ า นในแปลงที่ เ ตรี ย มไว้ ให้ สม่ําเสมอ การตกกล้า 1 คน สามารถตกได้ 2 ไร่ (140 กระบะ) /วัน ขั้นตอนที่ 4

5. การโยนกล้า ให้มีน้ําในแปลงนาประมาณ 1 ซม. นํากระบะ กล้าข้าวที่มีอายุ 15 วัน ไปวางรายในแปลงที่เตรียมไว้ ให้กระจายสม่ําเสมอ อัตรา 60-70 กระบะต่อไร่ จากนั้นคนที่จะโยนกล้าจะหยิบกระบะกล้ามาวางพาด บนแขน แล้วใช้มือหยิบกล้าข้าวหว่านหรือโยนในแปลง โดยโยนให้สูงกว่าศีรษะ ต้นกล้าจะพุ่งลงโดยใช้ส่วนราก ที่มีดินติดอยู่ลงดินก่อน การหว่านกล้า 1 คน สามารถ หว่านได้วันละ 4 - 5 ไร่ 6. สรุป จ า ก ก า ร แ ล ก เ ป ลี่ ย น เ รี ย น รู้ จ า ก ผู้ รู้ ทั้ ง นักวิชาการและเกษตรกร ทําให้เข้าใจว่าการทํานาแบบ โยนกล้ า น่ า จะเป็ น ทางเลื อ กที่ เ หมาะสมกั บ ยุ ค สมั ย เนื่ อ งจากทุ ก ภาคส่ ว นการผลิ ต ในปั จ จุ บั น ต่ า งได้ รั บ

10 จุลสารสถาบันวิจยั และพัฒนา ปที่ 21 ฉบับที่ 3 เดือนกรกฎาคม-กันยายน 2555


งานวิจัย

´uÅÂÀÒ¾æË §ÊÁÒ¸iæÅa¡ieÅÊ BALANCE OF MEDITATION AND PASSIONS อภิรักษ โพธิทพั พะ คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ มหาวิทยาลัยศิลปากร

of the Lord Buddha while subduing Mara (devils). Indeed, all these clearly represent the practice of concentration. Nonetheless, the concentration illustrated in this particular art work does not focus on formats. Rather, it focused on the substance of concentration for the application in the daily life. This art work has thus been researched, analyzed and conceptually developed on the basis of the principles of Buddhist Philosophy as well as systematic process and techniques for the completeness in light of art values and aesthetics.

บทคัดย่อ ประเด็นสําคัญของผลงานสร้างสรรค์จิตรกรรมใน ชุดวิทยานิพนธ์นี้ คือการสร้างรูปลักษณ์ที่แสดงถึงเนื้อหา ของการเจริญสติ และสมาธิในรูปแบบร่วมสมัย ซึ่งต่าง จากรูปลักษณ์ของงานจิตรกรรมไทยในอดีต ที่เน้นถึง เรื่องราวพุทธประวัติ ทศชาดก เทพชุมนุม หรือภาพพุทธ ประวัติตอนมารผจญ ทีม่ ีการสื่อถึงรูปแบบการปฏิบัติ สมาธิอย่างชัดเจน ดังนั้นรูปลักษณ์ของการทําสมาธิใน ผลงานสร้างสรรค์ชุดนี้ จึงมิได้เป็นการเน้นในรูปแบบ ท่าทาง แต่เป็นการเน้นถึงแก่นสาระของสมาธิ เพื่อนํามา ปฏิบัติประยุกต์ใช้ได้จริงในชีวิตประจําวัน ซึ่งผลงาน สร้างสรรค์ในชุดนี้ได้ผ่านการค้นคว้า วิเคราะห์ มีการ พัฒนาในด้านของความคิด หลักพุทธปรัชญา รูปแบบ เทคนิควิธีการอย่างเป็นขั้นตอน เพื่อให้ได้ความสมบูรณ์ ทั้งในคุณค่าประเด็นทางศิลปะ และเชิงสุนทรียศาสตร์

Keywords : To encounter the sufferings and desires with Consciousness/ Balance of meditation and Passions

คําสําคัญ : การเผชิญกับกิเลสและความทุกข์ด้วยความ มีสติ/ดุลยภาพแห่งสมาธิและกิเลส

บทนํา ศาสนากับมนุษย์ มีความผูกพันเชื่อมโยงทางด้าน จิตใจด้วยกันมาอย่ างยาวนาน ทุกศาสนาล้วนมีคําสอน สําคัญ เพื่อเป็นบรรทัดฐานให้ผู้คนในสังคมมีความ ประพฤติดี ดํารงชีวิตอยู่ได้อย่างปกติสุข เมื่อกาลเวลาผ่าน ไป แม้ คํ า สอนจะคงอยู่ ใ นรู ป แบบของการจารึ ก ด้ ว ย ตัวอักษร แต่ภายในใจของผู้คนในปัจจุบันนั้น กลับลบ เลือนหายไป และผลที่สอดคล้องกันนั้นคือเส้นทางที่นํา มนุษย์ไปสู่ความดีงามก็ย่อมจางหายไปเช่นกัน ศาสนาพุทธเป็นอีกศาสนาหนึ่งที่เน้นความสําคัญ ในการดู “จิต” ของตนเองมากกว่า “รูป” ซึ่งอยู่ภายนอก

Abstract The main idea lied at heart of the art work in this particular thesis was to create an image representing the contents related to the reflection of consciousness and concentration through the contemporary style. This is different from the characteristics of traditional Thai paintings that put an emphasis on, for example, Lord Buddha’s life, the Ten Jatakas of Buddha, divine assembly motifs and depiction of the life 11

จุลสารสถาบันวิจยั และพัฒนา ปที่ 21 ฉบับที่ 3 เดือนกรกฎาคม-กันยายน 2555


หากเรามีจิตที่สะอาด บริสุทธิ์ สงบ นั่นย่อมส่งผลทําให้ การกระทําที่ออกสู่ภายนอกให้ดีงามตามไปด้วย ปัญหาที่ เกิดขึ้นในปัจจุบันก็คือ มนุษย์ส่วนใหญ่ มักให้ความสําคัญ กับรูปหรือวัตถุที่อยู่ภายนอก มากกว่าการเรียนรู้เรื่องจิต ภายใน ซึ่งทําให้การใส่ใจในการแสวงหาความดีงามและ ความสงบทางใจลดหายไปด้วย ผู้คนในปัจจุบันเน้นไปที่ การแสวงหาสิ่งต่างๆภายนอก มาปรุงแต่ง “กาย” ให้มีสุข โดยเข้ า ใจว่ า เป็ น ความสุ ข ที่ แ ท้ จ ริ ง ของจิ ต ด้ ว ย ในทาง ตรงกันข้าม สิ่งที่มนุษย์แสวงหามาปรุงแต่งนั้น กลับให้ ความทุก ข์เ สีย มากกว่ า เพราะถ้ า เมื่ อ ไรเราขาดสิ่ งที่ ม า ปรนเปรอรูปภายนอกจนเคยชิน เราย่อมเกิดความไม่พึงใจ หรื อ เมื่ อ หากเราพบเห็ น สิ่ ง ที่ ดี ก ว่ า สวยงามกว่ า หรื อ ตอบสนองความต้อ งการได้ ม ากกว่ า ก็ จ ะกระตุ้ น ความ ต้ อ งการของเราเรื่ อ ยไปอย่ า งไม่ รู้ จ บ สิ่ ง ที่ ม าปรุ ง แต่ ง ความต้องการของมนุษย์เรานี้ หากกล่าวโดยสรุปก็คอื เป็น สิ่งที่มากระตุ้นกิเลส ตัณหา และราคะที่อยู่ภายในจิตของ เรานั่นเอง ด้วยปัญหาดังที่ได้กล่าวมานั้น ทําให้ข้าพเจ้าเกิด แรงบันดาลใจ ในการสร้างสรรค์ผลงาน ที่เน้นถึงการ ยกระดับความสําคัญของจิตภายใน มากกว่าการใส่ใจวัตถุ ทางโลกที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อตอบสนองความสุขเพียงแค่ ชั่ ว ครั้ ง ชั่ ว คราว โดยอาศั ย การศึ ก ษาหลั ก ปรั ช ญาทาง พระพุทธศาสนา เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาสร้างสรรค์ ผลงาน

ขอบเขตในการสร้างสรรค์ 1. ด้านเนื้อหา แสดงสภาวะในการแก้ปัญหาที่มา รุมเร้าจิตใจ โดยเริ่มจากภายในจิต ซึ่งเป็นการรักษาสมดุล ของจิตเมื่อเผชิญกับกิเลส โดยใช้ภาพลักษณ์ของตัวบุคคล และสั ญ ลั ก ษณ์ อื่ น ๆที่ ไ ด้ จ ากการศึ ก ษาค้ น คว้ า ในทาง ปรัชญาพุทธศาสนา นํามาถ่ายทอดเนื้อหาทางความคิด และอารมณ์ความรู้สึก 2. ด้านรูปแบบ เป็นผลงานจิตรกรรมสองมิติ มี ลักษณะกึ่งนามธรรม 3. ด้านกลวิธี ใช้สีอะครีลิคบนผ้าใบ (Acrylic on canvas) เป็นสื่อในการแสดงออก โดยมีทั้งการสร้างพื้นผิว จริงและสร้างพื้นผิวลวงขึ้นโดยกลวิธีทางจิตรกรรม วิธีการศึกษา 1. ค้นคว้าจากแหล่งข้อมูลที่สําคัญ เพื่อใช้ศึกษา ในการสร้างสรรค์ผลงาน 2. ศึกษาและแปรสัญลักษณ์ที่ได้จากข้อมูล 3. พัฒนาและค้นคว้ากลวิธีทางจิตรกรรม ขั้นตอนการดําเนินการ 1. รวบรวมข้อมูล โดยเริ่มจากประสบการณ์ใน ชีวิตประจําวัน เช่น ปัญหาที่เกิดขึ้นกับตัวเราหรือบุคคล รอบข้าง 2. ศึกษาแหล่งข้อมูลจากหลักปรัชญาทางพุทธ ศาสนา เพื่อทําความเข้าใจหลักของการใช้สติในการแก้ เหตุของการเกิดทุกข์ เมื่อรวบรวมและสามารถตีความได้ แล้วจึงเข้าสู่กระบวนการแปรเป็นสัญลักษณ์เพื่อใช้สื่อแทน ความคิ ด ประสบการณ์ นํ า มาถ่ า ยทอดเป็ น ผลงาน สร้างสรรค์ต่อไป 3. นํ า ความรู้ ความคิ ด หลั ก ปรั ช ญาที่ ไ ด้ กลั่นกรองเป็นสัญลักษณ์แล้ว นํามาทดลองเป็นภาพร่าง ต้นแบบโดยนําข้อมูลจากรูปถ่ายบุคคล รูปถ่ายวัตถุหรือ สิ่งแวดล้อมต่างๆเข้ามาประกอบในการสร้างภาพร่าง และ พัฒนาปรับปรุงเป็นผลงานสร้างสรรค์ต่อไป 4. สร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรม โดยขั้นตอนนี้ จะ มี ก ารปรั บ ปรุ ง แก้ ไ ขเพิ่ ม เติ ม จากภาพร่ า งต้ น แบบ ใน ผลงานจริงไปพร้อมกัน

วัตถุประสงค์ของการสร้างสรรค์ ข้ า พเจ้ า มี เ ป้ า หมายในการเน้ น และให้ ความสํ า คั ญ ของความสงบภายในจิ ต ใจ อั น ทํ า ให้ เ กิ ด “สติ ” ในการไตร่ ต รอง เพื่ อ ต่ อ สู้ แ รงกระตุ้ น จากวั ต ถุ สิ่งแวดล้อมและสังคมภายนอก โดยข้าพเจ้าได้ศึกษาหลัก ปรั ช ญาทางพระพุ ท ธศาสนา โดยเริ่ ม จากการฝึ ก สมาธิ ศึกษาทําความเข้าใจสัญลักษณ์เพื่อถ่ายทอดความหมาย ของการมีสติ และภาวะของกิเลส ความต้องการในรูปแบบ ต่างๆ เพื่อนํามาพัฒนา และถ่ายทอดเป็นผลงานจิตรกรรม ที่สะท้อนถึงเนื้อหาของการใช้สติในการเผชิญกับสิ่งเร้าที่ เกิดจากกิเลสอันก่อให้เกิดความทุกข์ขึ้นในจิตใจ

12 จุลสารสถาบันวิจยั และพัฒนา ปที่ 21 ฉบับที่ 3 เดือนกรกฎาคม-กันยายน 2555


2. แหล่งข้อมูลขั้นทุติยภูมิ หลังจากที่ได้ศึกษาทํา ความเข้าใจจากแหล่งข้อมูลปฐมภูมิแล้ว จึงนําความรู้ที่ได้ นั้นมาแปรเป็นสัญลักษณ์ ในการถ่ายทอดความคิดและ อารมณ์ ค วามรู้ สึ ก ซึ่ ง สั ญ ลั ก ษณ์ ที่ นํ า มาใช้ ส่ ว นใหญ่ มี ลักษณะเป็นรูปธรรม จึงต้องอาศัยจากแหล่งข้อมูลดังนี้ 2.1 รูปภาพที่ได้จากการค้นคว้าจากหนั งสื อ นิตยสาร สื่ออินเตอร์เน็ต 2.2 รูปภาพที่ได้จากการถ่ายรู ปแหล่งข้อมูล หรือสถานที่จริง เช่น คน ธรรมชาติ

5. วิเคราะห์สิ่งที่ต้องพัฒนาจากผลงานในชิ้นแรก นํามาแก้ไขในภาพร่างต้นแบบชิ้นต่อไปแล้วจึงสร้างสรรค์ ผลงานจริง พัฒนาตามกระบวนการนี้ จนกระทั่งจนจบ ผลงานในชุดวิทยานิพนธ์ 6. สรุ ป และประเมิ น ผลงานสร้ า งสรรค์ โ ดย คณาจารย์ รวมทั้ ง ในรู ป แบบเอกสารประกอบวิ ท ยา นิพนธ์ แหล่งข้อมูล 1. แหล่งข้อมูลขั้นปฐมภูมิ 1.1 แหล่ ง ข้ อ มู ล จากการศึ ก ษาหลั ก พุ ท ธ ปรัชญา 1.2 ค้นคว้าจากแหล่งสื่อต่างๆ เช่น ภาพยนตร์ วิทยุ โทรทัศน์ 1.3 จากประสบการณ์ของตนเองในการเผชิญ กับความทุกข์

อุปกรณ์ที่ใช้ในการทําวิทยานิพนธ์ อาทิ อุปกรณ์ที่ใ ช้ ในการรวบรวมข้อมูล ได้แ ก่ กล้องถ่ายรูป Flash Drive อุปกรณ์ที่ใช้ในการทํากรอบ ไม้ขึงผ้าใบ ได้แก่ ไม้ ตะปู ค้อน ผ้าใบ อุปกรณ์ที่ใช้ในการ สร้างสรรค์ผลงาน ได้แก่ พู่กัน สีอะครีลิค สื่อสีอะครีลิค

ตัวอย่างภาพผลงานระยะแรก

ตัวอย่างภาพผลงานระยะทีส่ อง

13 จุลสารสถาบันวิจยั และพัฒนา ปที่ 21 ฉบับที่ 3 เดือนกรกฎาคม-กันยายน 2555


ตัวอย่างผลงานก่อนวิทยานิพนธ์

ตัวอย่างผลงานวิทยานิพนธ์

บทสรุป การสร้างสรรค์ผลงานวิทยานิพนธ์ในชุด “ดุลยภาพแห่งสมาธิและกิเลส” ได้มุ่งเน้นในประเด็นของความเข้าใจหลัก ศีลธรรม เนื่องด้วยการเรียนรู้ และยึดมั่นในหลักของความดีงามนั้น ได้ลดบทบาทลงจากภาวะสังคมปัจจุบันที่มนุษย์มีการ แข่งขัน ทั้งด้านในอาชีพ การงาน เทคโนโลยีที่เจริญก้าวหน้ากว่าอดีตเป็นอย่างมาก ทําให้ผู้คนเริ่มสนใจวัตถุ หรือรูปลักษณ์ มายาที่เย้ายวน กระตุ้นความต้องการของกิเลสมนุษย์ได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด เมื่อมนุษย์เริ่มมีความต้องการเพิ่มขึ้น จึงมีการ แข่งขันกันเพิ่มขึ้น เพื่อให้ได้มาซึ่งวัตถุเพื่อตอบสนองกิเลสต่างๆ และเมื่อบางครั้งไม่สามารถแสวงหามาตอบสนองได้พอกับ ความต้องการ จึงเริ่มหาวิธีให้ได้มาอย่างไม่ถูกต้อง โดยไม่สนใจว่าผิดศีลธรรมหรือไม่ ด้วยจุดเริ่มจากความต้องการของกิเลส ภายใน ผนวกกับวัตถุสิ่งล่อตา ที่มนุษย์ได้สร้างขึ้นเองนั้น เป็นเหตุสําคัญที่ทําให้ผู้คนในปัจจุบันละเลยความสงบที่แท้จริง ซึ่งสามารถเริ่มที่จิตของเราเอง ข้าพเจ้าได้รับการปลูกฝังด้านจริยธรรมจากบิดามารดามาตั้งแต่เยาว์ ได้นําหลักปรัชญาทาง พระพุทธศาสนามาประยุกต์ใช้ในการข่มใจ และต่อสู้กับปัญหาที่เผชิญกับชีวิตประจําวัน ทําให้ข้าพเจ้าได้เห็นถึงความสําคัญ ของหลักพุทธปรัชญา ที่สามารถนํามาใช้ได้จริง โดยเฉพาะกับปุถุชนฆราวาสที่ต้องเผชิญกับกิเลส สิ่งเร้าต่างๆมากมาย ถูกล่อลวงให้ตกอยู่ในอบายภูมิได้โดยง่าย 14 จุลสารสถาบันวิจยั และพัฒนา ปที่ 21 ฉบับที่ 3 เดือนกรกฎาคม-กันยายน 2555


ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นแรงบันดาลใจ ให้ข้าพเจ้าได้สร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรม ที่นําเสนอถึงเนื้อหาของการนําหลักพุทธ ปรัชญา นํามาประยุกต์ใช้กับชีวิตในสังคมปัจจุบัน โดยข้าพเจ้าได้ศึกษาหลักปรัชญา ค้นคว้าในด้านรูปแบบทางศิลปกรรม เทคนิควิธีการ ตลอดจนพัฒนาผลงานจนสําเร็จเป็นผลงานสร้างสรรค์ที่แสดงถึงอัตลักษณ์เฉพาะตน ด้วยข้าพเจ้าเองนั้น หวังเป็นอย่างยิ่งว่าผลงานศิลปกรรมร่วมสมัยยังคงทําหน้าที่เป็นส่วนหนึ่งในการช่วยชําระล้าง ยกระดับจิตใจของผู้คนให้เข้า สู่ความสงบที่แท้จริง อย่างเช่นช่างเขียนบรมครูที่ท่านได้รังสรรค์ผลงานไว้เมื่อครั้งในอดีตกาล ข้อเสนอแนะในการนําผลสร้างสรรค์ไปใช้ การศึกษาเกี่ยวกับงานสร้างสรรค์ของข้าพเจ้า ควรวิเคราะห์ไปที่กระบวนการคิดเป็นหลัก วิธีการค้นคว้าสัญลักษณ์ วิธีการแปรข้อมูลต่างๆ จากภาษาเขียน และประสบการณ์ เป็นภาษาภาพ ซึ่งหากเรียนรู้ประเด็นเหล่านี้ได้ ก็จะสามารถ ประยุกต์นําไปใช้กับผลงานตนเองได้เช่นกัน ขอขอบคุณ การสร้างสรรค์ผลงานวิทยานิพนธ์ในชุด “ดุลยภาพแห่งสมาธิและกิเลส” สามารถสําเร็จลุล่วงไปได้นั้น ข้าพเจ้า ขอกราบขอบพระคุณ บิดามารดาที่เฝ้าอบรม สนับสนุน และคอยห่วงใยช่วยเหลือข้าพเจ้าทุกเมื่อ แม้ในยามที่ไม่มีใครสามารถ หยิบยื่นสิ่งใดให้ได้ ท่านยังคงดูแลและให้อภัยต่อความผิดพลั้งของข้าพเจ้าเสมอมา ขอกราบขอบพระคุณครู และคณาจารย์ ทุกท่าน นับตั้งแต่ข้าพเจ้ายังเยาว์วัยเรื่อยมาจนเติบใหญ่ ท่านได้คอยอบรมดูแล สั่งสอนให้ข้าพเจ้าเติบโต ทั้งความคิด สติปัญญา แม้ในยามที่ข้าพเจ้าดื้อรั้นและโง่เขลา ท่านยังคงให้ความเมตตา และคอยอบรมให้ความรู้เสมอมา ข้าพเจ้ามุ่งมั่น จากส่วนลึกของจิตใจว่า ข้าพเจ้าจะนําความรู้ที่ท่านทั้งหลายอันมีพระคุณได้ประสิทธิ์แก่ข้าพเจ้านั้น ไปสร้างสรรค์ความดีงาม ให้เกิดขึ้นต่อสังคมให้มากที่สุด ตราบเท่าที่ข้าพเจ้ายังคงมีสติและเรี่ยวแรงกําลัง แลด้วยผลบุญอันเกิดขึ้นจากการกระทําความดีงาม ทั้งจากการสร้างสรรค์ผลงานวิทยานิพนธ์ หรือบุญใดๆที่ ข้าพเจ้าได้สั่งสมไว้ ข้าพเจ้าขอน้อมอุทิศมอบแด่บิดามารดา ครูบาอาจารย์ ผู้มีพระคุณที่มิได้กล่าวถึง และมนุษย์หรือสัตว์โลก ทั้งหลายที่ข้าพเจ้าได้เคยเบียดเบียน ขอท่านทั้งหลายจงรับผลบุญความดีนี้ เพื่อมุ่งสู่ความสงบ ความเจริญตลอดไปตราบชั่ว กาลนาน บรรณานุกรม ชลูด นิ่มเสมอ. องค์ประกอบของศิลปะ. กรุงเทพฯ : บริษัท โรงพิมพ์ไทยวัฒนพาณิชย์, 2531. ดาร์เนียล มาโซนา(Daniel Marzona). คอนเซ็ปชวลอาร์ต. กรุงเทพฯ : บริษัท เดอะเกรทไฟน์อาร์ท จํากัด, 2552. เท็ตซึยะ ซารุวาตาริ. ทัฟ(Tough). กรุงเทพฯ : สยามอินเตอร์คอมมิกส์. บาร์บารา เฮสส์(Barbara Hess). แอ็บสแตรกต์เอกเพรสชั่นนิสม์. กรุงเทพฯ : บริษัท เดอะเกรทไฟน์ อาร์ท จํากัด, 2552. พัชรินทร์ ศุขประมุข, วิเศษ เพชรประดับ และเมธนี จิระวัฒนา. รูปสัญลักษณ์แห่งพระศากยพุทธ. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2532. เสมอชัย พูลสุวรรณ. สัญลักษณ์ในงานจิตรกรรมไทยระหว่างพุทธศตวรรษที่ 19 ถึง 24. กรุงเทพฯ : สํานักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2539. วอลเตอร์ ซูเรียน(Prof. Dr. Walter Schurian). ศิลปะแฟนตาสติก. กรุงเทพฯ : บริษัท เดอะเกรทไฟน์อาร์ท จํากัด, 2552. อัศนีย์ ชูอรุณ, 9 ศิลปินเอกของโลก. กรุงเทพฯ : สํานักพิมพ์โอเดียนสโตร์, 2529.

15 จุลสารสถาบันวิจยั และพัฒนา ปที่ 21 ฉบับที่ 3 เดือนกรกฎาคม-กันยายน 2555


ขาวสารความเคลื่อนไหว อบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “การใช้โปรแกรมระบบบริหารงานวิจัย (NRPM) เพื่อเสนอของบประมาณประจําปี 2557”

สถาบันวิจัยและพัฒนาได้ดําเนินการจัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “การใช้โปรแกรมระบบ บริหารงานวิจยั (NRPM) เพื่อเสนอของบประมาณประจําปี พ.ศ.2557” วิทยากรโดย นายเวชยันต์ เฮงสุวนิช นางสาวศยามน ไชยปุรณะ และผู้ช่วยวิทยากร จากสํานักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2555 เวลา 08.30-12.00 น. ณ ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ชั้น 3 มหาวิทยาลัยศิลปากร นครปฐม ผู้เข้าร่วมโครงการอบรมฯประกอบด้วย คณาจารย์ ผู้ประสานงานคณะวิชาและหน่วยงาน รวมทั้งสิ้น จํานวน 68 คน

16 จุลสารสถาบันวิจยั และพัฒนา ปที่ 21 ฉบับที่ 3 เดือนกรกฎาคม-กันยายน 2555


การนําเสนอผลงานวิจัยแห่งชาติ 2555 (Thailand Research Expo 2012) ระหว่างวันที่ 24-28 สิงหาคม 2555 ณ ศูนย์ประชุมบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ Theme การนําเสนอผลงานภาคนิทรรศการ หัวข้อเรื่อง “งานวิจัยเพื่อคุณภาพชีวิต”

สถาบันวิจัยและพัฒนาได้รับมอบหมายจากมหาวิทยาลัยให้ดําเนินการจัดนิทรรศการผลงานในงานการ นําเสนอผลงานวิจัยแห่งชาติ 2555 (Thailand Research Expo 2012) หัวข้อเรื่อง “งานวิจัยเพื่อคุณภาพ ชี วิ ต ” ระหว่ า งวั น ที่ 24-28 สิ ง หาคม 2555 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม บางกอกคอนเวนชั น เซ็ น เตอร์ เซ็ น ทรั ล เวิ ล ด์ กรุงเทพฯ จัดโดย สํานักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ร่วมกับ หน่วยงานในระบบวิจัยทั่วประเทศ

17 จุลสารสถาบันวิจยั และพัฒนา ปที่ 21 ฉบับที่ 3 เดือนกรกฎาคม-กันยายน 2555


การอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การเขียนบทความภาษาอังกฤษเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร ทางวิชาการระดับนานาชาติ”

สถาบันวิจัยและพัฒนา ร่วมกับ เครือข่ายวิจัยอุดมศึกษาภาคกลางตอนล่าง สํานักงานคณะกรรมการ การอุดมศึกษา (สกอ.) ได้ดําเนินการจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “การเขียนบทความภาษาอังกฤษเพื่อ ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารทางวิชาการระดับนานาชาติ” วิทยากรโดย ผศ.ดร.เสงี่ยม โตรัตน์ ผศ.ดร.บํารุง โตรัตน์ และ อาจารย์ชัยวัฒน์ แก้วพันงาม จากคณะศึกษาศาสตร์ ระหว่างวันที่ 21-22 สิงหาคม 2555 เวลา 09.00 น.-16.30 น. ณ ห้องประชุม สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวัง สนามจันทร์ นครปฐม ผู้เข้าร่วมการอบรมประกอบด้วย คณาจารย์จากสถาบันอุดมศึกษาในเครือข่ายวิจัย อุดมศึกษาภาคกลางตอนล่าง รวมทั้งสิ้น 25 คน

18 จุลสารสถาบันวิจยั และพัฒนา ปที่ 21 ฉบับที่ 3 เดือนกรกฎาคม-กันยายน 2555


งานสัปดาห์วิทยาศาสตร์ ประจําปี 2555 สถาบันวิจัยและพัฒนา ร่วมกับ คณะวิทยาศาสตร์ ได้ดําเนินการจัดกิจกรรมในงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์ ประจําปี 2555 จํานวน 2 โครงการ ณ ลานหน้าสถาบันวิจัยและพัฒนา ดังนี้ 1.โครงการ Creative Inspiration Zone

การอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “การออกแบบสร้างสรรค์ลวดลายบนพื้นผ้าด้วยวิธีการมัดย้อมและ วิธีการทําบาติก” วิทยากรโดย อาจารย์บวรรัตน์ คมเวช จากคณะมัณฑนศิลป์ เมื่อวันที่ 15-16 สิงหาคม 2555 เวลา 9.00 -16.00 น. ผู้เข้าร่วมโครงการประกอบด้วย นักเรียน นักศึกษา บุคลากร และผู้สนใจทั่วไป รวมทัง้ สิน้ 75 คน

19 จุลสารสถาบันวิจยั และพัฒนา ปที่ 21 ฉบับที่ 3 เดือนกรกฎาคม-กันยายน 2555


2.โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่เหมาะสมสู่ชุมชนฐานราก

นายสุพรชัย มั่งมีสิทธิ์ นักวิจัยเชี่ยวชาญ ได้ดําเนินการจัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “การสร้าง เตาแก๊สชีวมวลตามวิถีพอเพียง” เมื่อวันที่ 15-17 สิงหาคม 2555 เวลา 8.30-16.30 น. ณ ลานหน้า สถาบันวิจัยและพัฒนา นอกจากนี้ ยังมีผลิตภัณฑ์จําหน่ายจากชุมชน เช่น น้ํามันมะพร้าว ข้าวกล้อง ยาสระผม สบู่ อีเอ็มบอล น้ําส้มควันไม้ และยาหม่องสมุนไพร ผู้เข้าร่วมโครงการประกอบด้วย นักเรียน นักศึกษา บุคลากร และผู้สนใจทั่วไป รวมทั้งสิ้น 152 คน

20 จุลสารสถาบันวิจยั และพัฒนา ปที่ 21 ฉบับที่ 3 เดือนกรกฎาคม-กันยายน 2555


รางวัลผลงานวิจัยดีเด่น ประจําปี 2555 ของสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร

อาจารย์ ดร.นันทนิตย์ วานิชาชีวะ ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้รับรางวัล ผลงานวิจัยดีเด่น ประจําปี 2555 เรื่อง “การออกแบบและสังเคราะห์ฟลูออเรสเซนต์เซ็นเซอร์เพื่อใช้ในการ ตรวจวัดไอออนปรอท” สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ประยุกต์ โดยได้รับเงินรางวัลจํานวน 30,000 บาท พร้อมใบประกาศเกียรติคุณในวันพระราชทานปริญญาบัตรประจําปีของมหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2555 ณ ศูนย์ศลิ ปวัฒนธรรมเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ นครปฐม

21 จุลสารสถาบันวิจยั และพัฒนา ปที่ 21 ฉบับที่ 3 เดือนกรกฎาคม-กันยายน 2555


เสวนาเรื่อง “การวิจัยสร้างสรรค์ หนทางสู่ตําแหน่งทางวิชาการ”

สถาบันวิจัยและพัฒนา ได้ดําเนินการจัดเสวนาเรื่อง “การวิจัยสร้างสรรค์ หนทางสู่ตาํ แหน่งทาง วิชาการ” วิทยากรโดย ศาสตราจารย์ ดร.ณัชชา พันธุ์เจริญ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดําเนินรายการโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อริศร์ เทียนประเสริฐ ผู้อํานวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา และผู้ช่วย ศาสตราจารย์อาวิน อินทรังษี คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เมื่อวันที่ 30 กรกฏาคม 2555 เวลา 13.30-16.30 น. ณ ห้อง 303 คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ กรุงเทพฯ ผู้เข้าร่วมเสวนา ประกอบด้วย คณาจารย์ทางสายศิลปะและการออกแบบ รวมทั้งสิ้น 56 คน

22 จุลสารสถาบันวิจยั และพัฒนา ปที่ 21 ฉบับที่ 3 เดือนกรกฎาคม-กันยายน 2555


การประชุมคณะที่ปรึกษาและคณะกรรมการประจําสถาบันวิจัยและพัฒนา ครั้งที่ 5/2555 เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2555 ณ ห้องประชุมสถาบันวิจัยและพัฒนา

นายภราเดช พยัฆวิเชียร รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร ให้เกียรติเข้าร่วมประชุม คณะที่ปรึกษาและคณะกรรมการประจําสถาบันวิจัยและพัฒนา ครั้งที่ 5/2555 เพื่อมอบนโยบายการขับเคลื่อน งานวิจัยสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2555 เวลา 13.30-16.30 น. ณ ห้องประชุม สถาบันวิจัยและพัฒนา ผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย ผู้อํานวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา คณะที่ปรึกษา คณะกรรมการประจําสถาบันวิจัยและพัฒนา และบุคลากรรวมทั้งสิ้น 30 คน

23 จุลสารสถาบันวิจยั และพัฒนา ปที่ 21 ฉบับที่ 3 เดือนกรกฎาคม-กันยายน 2555


การประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ประจําปีการศึกษา 2554

สถาบันวิจัยและพัฒนาได้รับการตรวจประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ประจําปีการศึกษา 2554 (วันที่ 1 มิถุนายน 2554- 31 พฤษภาคม 2555) เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2555 ที่ผ่านมา โดยมีคณะกรรมการประเมิน คุณภาพการศึกษาภายใน ประกอบด้วย ผศ.ดร.สมถวิล จริตควร ประธาน ผศ.ดร.จรุงแสง ลักษณบุญส่ง กรรมการ ผศ.ดร.วันชัย สุทธะนันท์ กรรมการ น.ส.นิศารัตน์ เวชประพันธ์ กรรมการและเลขานุการ และนางสาว วัชรี น้อยพิทักษ์ ผู้ประสานงาน ผลการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายในได้คะแนนเท่ากับ 4.55 อยู่ใน ระดับดีมาก

24 จุลสารสถาบันวิจยั และพัฒนา ปที่ 21 ฉบับที่ 3 เดือนกรกฎาคม-กันยายน 2555


สถาบันวิจยั และพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร พระราชวังสนามจันทร นครปฐม 73000 e-mail: research.inst54@gmail.com , http://www.surdi.su.ac.th โทรศัพท 0-3425-5808 โทรสาร 0-3421-9013


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.